The Tales of Hoffmann (1951)


The Tales of Hoffmann

The Tales of Hoffmann (1951) British : Michael Powell, Emeric Pressburger ♥♥♥♥♡

จากคำแนะนำของวาทยากร Sir Thomas Beecham ชักชวนให้ Michael Powell สร้างภาพยนตร์ที่เป็นบันทึกการแสดง Ballet Opera ตัดสินใจเลือกผลงานแนว Fantastique ของคีตกวีสัญชาติฝรั่งเศส Jacques Offenbach เรื่อง Les contes d’Hoffmann (1881) ดัดแปลงจากสามสั้นเรื่องของ E. T. A. Hoffmann และยังให้เขากลายเป็นตัวละครหลักของทั้งสามเรื่องราวอีกด้วย

ผมเคยรับชม Opera อยู่สองสามครั้งที่เคยมาเปิดการแสดงในเมืองไทย บอกตามตรงว่าไม่ใช่รสนิยมเท่าไหร่ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรื่องราวหรือโปรดักชั่นแต่คือภาษาความเข้าใจ เพราะส่วนใหญ่ที่นักแสดงขับร้องไม่อิตาลี ฝรั่งเศส ก็เยอรมัน รัสเซีย ฯ ประเด็นคือมันฟังไม่รู้เรื่องนะครับ ว่าที่พวกเขากรีดร้องออกมานั้นมีเนื้อหาข้อความอะไร ได้ยินแต่เสียงโหยหวนแสบแก้วหู เลยไม่สามารถเข้าถึงอรรถรสของอุปรากรได้อย่างแท้จริง

สำหรับ The Tales of Hoffmann ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างมาสักพักใหญ่แล้ว แต่ก็คิดไปว่ามันคงเป็นภาษาฝรั่งเศส/เยอรมัน ตามต้นฉบับของคีตกวี Offenbach แต่พอพบว่าใช้คำร้องเป็นภาษาอังกฤษ นี่ทำให้ผมเกิดความสนใจอย่างยิ่งยวดขึ้นมาทันทีเลย อยากรู้เห็นว่ามันจะเป็นเช่นไร ดูสนุกรู้เรื่องขึ้นกว่าเดิมไหม? ก็พบว่าเป็นความเต็มอิ่มพึงพอใจสูงสุด ดั่งที่เคยครุ่นคิดจินตนาการไว้ไม่ผิดเลยว่า Opera คือการแสดงสุดยิ่งใหญ่อลังการ ที่ถ้าเราสามารถเข้าใจภาษาเนื้อเรื่องราว ก็จะมองเห็นความสวยงามระดับยิ่งๆสูงขึ้นไปได้อีก

อุปรากร (Opera) เป็นศิลปะการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแบบละครที่ดำเนินเรื่องโดยใช้ดนตรีเป็นหลักหรือทั้งหมด ถือเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีคลาสสิกตะวันตก มีความใกล้เคียงกับละครเวทีในเรื่องฉาก การแสดง และเครื่องแต่งกาย แต่สิ่งสำคัญที่แยกอุปรากรออกจากละครเวทีทั่วไป คือ ความสำคัญของบทเพลง ดนตรีที่ประกอบการร้อง ซึ่งจะมีเนื้อหาเรื่องราวสอดคล้องเข้ากับทำนองวงดนตรี ตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงวงออเคสตราขนาดใหญ่

นี่ถือเป็นครั้งแรกของวงการภาพยนตร์กับแนว Opera Film เท่าที่ผมลองหาดู พบว่ามีน้อยเรื่องมากๆ คงเพราะไม่ใช่แค่ผู้กำกับต้องมีความรู้เชี่ยวชาญการสร้างภาพยนตร์ แต่ยังต้องมีความสนใจ เคยกำกับอุปรากรมาก่อนด้วยเท่านั้น ถึงสามารถสร้างหนังลักษณะนี้ออกมาได้ เรื่องเท่าที่พอจะแนะนำได้ อาทิ
– La Bohème (1965) [ของ Puccini] กำกับโดย Franco Zeffirelli
– The Magic Flute (1975) [ของ Mozart] กำกับโดย Ingmar Bergman
– Le Nozze di Figaro (1975) [ของ Mozart] กำกับโดย Jean-Pierre Ponnelle
– La Traviata (1982) [ของ Verdi] กำกับโดย Franco Zeffirelli
– Carmen (1984) [ของ Bizet] กำกับโดย Francesco Rosi
ฯลฯ

Michael Latham Powell (1905 – 1990) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Bekesbourne, Kent เป็นลูกชาวนา เรียนจบที่ Dulwich College ทำงานเป็นนายธนาคาร National Provincial Bank พอรู้ตัวว่าไม่ใช่สิ่งชื่นชอบ ตัดสินใจเข้าสู่วงการภาพยนตร์เมื่อปี 1925 เริ่มจากเป็นเด็กรับใช้ กวาดพื้น ชงกาแฟ ส่งของ รับบทตัวประกอบเล็กๆในหนังเงียบเรื่อง The Magician (1926) ของผู้กำกับ Rex Ingram ต้วมเตี้ยมเป็นตากล้องภาพนิ่งให้กับ Alfred Hitchcock เรื่อง Champagne (1928) และ Blackmail (1929) กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Two Crowded Hours (1931)

Emeric Pressburger (1902 – 1988) ชื่อเดิม Imre József Pressburger นักเขียน ผู้สร้างภาพยนตร์สัญชาติ Hungarian เกิดที่ Miskolc, Austria-Hungary ในครอบครัวเชื้อสาย Jews เก่งคณิตศาสตร์ วรรณกรรมและดนตรี เข้าเรียนวิศวะที่ Universities of Prague and Stuttgart ไม่ทันจบต้องออกมาเพราะพ่อเสียชีวิต, เริ่มต้นทำงานเป็นนักข่าวอยู่ใน Hungary และ German จากนั้นกลายเป็นนักเขียน อพยพสู่ Paris เมื่อ Nazi เริ่มเรืองอำนาจ แอบขึ้นเกาะอังกฤษปี 1935 โดยไม่มี Passport ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น Emeric เมื่อตัดสินใจปักหลักอยู่ London

Powell พบเจอกับ Pressburger เมื่อปี 1939 ผ่านโปรดิวเซอร์ Alexander Korda ที่ว่าจ้างให้ Powell กำกับหนังเรื่อง The Spy in Black (1939) และ Pressburger เป็นผู้พัฒนาบทภาพยนตร์, ด้วยความที่ทั้งสองมีนิสัยพื้นฐานตรงกันข้าม แต่กลับกลายเป็นเพื่อนสนิทเพราะทัศนคติ แนวคิดต่อการสร้างภาพยนตร์เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ถึงขนาดมองตาก็รับรู้อีกฝ่ายครุ่นคิดอะไร ปี 1943 จึงร่วมกันก่อตั้งบริษัทชื่อ The Archers มีผลงานระดับตำนานอย่าง The Life and Death of Colonel Blimp (1943), A Matter of Life and Death (1946), Black Narcissus (1947), The Red Shoes (1948) ฯ รวมแล้วทั้งหมด 19 เรื่อง ก่อนแยกทางตัวใครตัวมัน ถือเป็นการร่วมงานของคู่หูเพื่อนรัก ที่ยิ่งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์

เกร็ด: ในช่วงแรกๆของการร่วมงาน Powell จะถือเครดิตผู้กำกับ Pressburger คือคนเขียนบท แต่ภายหลังจะยกขึ้นมาเทียบเท่า เป็นเครดิตร่วมทั้งเขียนบทและกำกับ

หลังเสร็จจาก The Red Shoes (1948) วาทยากร Sir Thomas Beecham (1879 – 1961) ที่กำกับออเครสต้าให้เฉพาะ Ballet of the Red Shoes เอ่ยปากชักชวนกึ่งท้าทาย Michael Powell ให้สร้างภาพยนตร์ที่เป็นบันทึกการแสดง Opera ล้วนๆ ซึ่งบังเอิญสอดคล้องกับความสนใจของเขาพอดี ที่มีความต้องการทำ ‘a composed film’ ได้ข้อสรุปร่วมกันจะทำอุปรากรเรื่อง The Tales of Hoffmann เพราะมีการดำเนินเรื่องที่น่าสนใจ และพื้นหลังเป็นแนวแฟนตาซีเหนือจินตนาการ สามารถใช้เทคนิคทางภาพยนตร์ในการเติมเต็มเรื่องราวนี้ได้

Les contes d’Hoffmann เป็นอุปรากรภาษาฝรั่งเศส ความยาว 3 องก์ ประพันธ์ดนตรีและคำร้องโดยคีตกวีสัญชาติฝรั่งเศส Jacques Offenbach (1819 – 1880) ดัดแปลงจากเรื่องสั้นโศกนาฎกรรมสามเรื่องของ E. T. A. Hoffmann (1776 – 1822) นักเขียนชาวเยอรมัน ที่มีอีกผลงานเขียนในตำนานคือ The Nutcracker and the Mouse King (1816) ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ Pyotr Ilyich Tchaikovsky ประพันธ์บทเพลงบัลเล่ต์ The Nutcracker (1892)

อุปรากรเรื่องนี้เริ่มต้นจากการเป็นบทละครเวทีเรื่อง Les contes fantastiques d’Hoffmann เขียนโดยสองพี่น้อง Barbier Carré และ Michel Carré เปิดการแสดงที่ Odéon Theatre เมือง Paris เมื่อปี 1851 ซึ่ง Offenbach มีโอกาสได้รับชมและเกิดความชื่นชอบอย่างยิ่ง, ผ่านไปหลายปี 1876 ผู้เขียนทั้งสองเกิดความสนใจดัดแปลงสร้างเป็นละครเพลง/Opera ติดต่อคีตกวีสัญชาติฝรั่งเศส Hector Salomon ให้ช่วยประพันธ์ทำนองคำร้องให้ แต่พอ Offenbach ทราบข่าวก็รีบแจ้นไปกดดันขันอาสาแสดงความสนใจ ทำให้ Salomon ยินยอมส่งมอบงานต่อให้ แต่การทำงานเป็นไปอย่างเชื่องช้าหลายปี มักถูกขัดจังหวะด้วยงานเข้าที่ไม่ค่อยมีคุณค่านัก

ราวกับจะรู้ตัวว่านี่กำลังเป็นผลงานสุดท้าย Offenbach มีความตั้งใจ ทุ่มเท พัฒนาอุปรากรเรื่องนี้อย่างมาก แต่สุดท้ายก็เสียชีวิตไปก่อน สิ้นลมขณะมือยังถือกระดาษเขียนโน๊ตเพลง แต่งองก์ 3 ยังไม่เสร็จ (เรื่องของโสเภณี Giulietta) เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 1880 โดยรอบปฐมทัศน์มีขึ้นวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1881 ที่โรงละคร Opéra-Comique มีเพียง 2 องก์แรกเท่านั้น ซึ่งการแสดงรอบหลังๆเมื่ออุปรากรเริ่มมีชื่อเสียงขึ้นเรื่อยๆ ได้รับการประพันธ์ตีความเพิ่มเติม ตามแต่ผู้จัดจะสนใจ

สำหรับเรื่องสั้นของ E. T. A. Hoffmann ที่ Offenbach นำเรื่องราวไปใช้ ประกอบด้วย
– Der Sandmann, The Sandman (1816) ใช้เรื่อง Olympia
– Rath Krespel, Councillor Krespel หรือ The Cremona Violin (1818) ใช้เรื่อง Antonia
– Das verlorene Spiegelbild (The Lost Reflection) เรื่องสั้นจากหนังสือ Die Abenteuer der Sylvester-Nacht, The Adventures of New Year’s Eve (1814) ใช้เรื่อง Giulietta

เรื่องราวเล่าถึงความผิดหวังในรักของชายชื่อ Hoffmann (รับบทโดย Robert Rounseville) ที่มีกับตุ๊กตากลไกชื่อ Olympia, โสเภณีชื่อ Giulietta, หญิงสาวนักร้อง Soprano ชื่อ Antonia, และ Epilogue นักแสดงบัลเล่ต์สาวชื่อ Stella ที่ต่างล้วนถูกกีดกันขัดขวางจากใครบางคน

สำหรับฉบับดัดแปลงเป็นภาพยนตร์นี้ พยายามอย่างยิ่งที่จะให้ตรงต่อ Opera ต้นฉบับ แต่ก็มีหลายสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามความสนใจของผู้กำกับ อาทิ
– Prologue การแสดงของ Stella จะเปลี่ยนจากขับร้องอุปรากร Don Giovanni (ของ Mozart) เป็นเต้นบัลเล่ต์เพลง The Ballet of the Enchanted Dragonfly
– บทเพลงที่ขับร้องเล่นเต้นในบาร์ แต่งขึ้นใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สามารถเกริ่นเข้าสามเรื่องเล่าของ Hoffmann ได้
– มีการสลับองก์ 2 กับ 3 (เดิมนั้นองก์ 2 เป็นเรื่องราวของ Antonia และองก์ 3 คือโสเภณี Giulietta)
– เปลี่ยนพื้นหลังเรื่องราวของ Antonia จากเมือง Milan กลายเป็น Greek Island, ประเทศ Greece

สำหรับนักแสดงในหนัง ทุกคนล้วนเป็นนักเต้น บ้างบัลเล่ต์ บ้างนักร้อง Soprano และถ้าคุณเคยรับชม The Red Shoes (1948) ย่อมต้องคุ้นหน้านักแสดงบางคนอย่างแน่นอน

Robert Rounseville (1914 – 1974) นักแสดง นักร้อง Tenor สัญชาติอเมริกัน มีผลงานใน Opera, Broadway Musical ฯ รับบท Hoffmann ชายผู้อาภัพรักในทุกกรณี ถูกสะกัดกั้นกีดขวางจากศัตรูผู้กลับชาติมาเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก เมื่อมันหลายครั้งเข้าจิตใจเลยเต็มไปด้วยความบอบช้ำทุกข์ทรมาน จมสุราให้เมามายกลายเป็นคนไร้สติสมประดี

Moira Shearer (1926 – 2006) นักแสดง นักเต้นบัลเล่ต์สัญชาติ British หญิงสาวที่รับบท Victoria Page ใน The Red Shoes (1948), รับบท Stella ควบ Olympia
– Stella คือนักเต้นบัลเล่ต์ ลีลาช่างพริ้วไหวอ่อนช้อย รับบทแมลงปอตัวเล็กๆ โบยบินกระโดดไปมาบนใบบัว หยอกล้อเล่นกับแมลงปอตัวผู้ สุดท้ายกระพือปีกบินตรงสู่แสงอาทิตย์นิรันดร์
– Olympia (ขับร้อง Opera โดย Dorothy Bond) คือหุ่นสาวที่เหมือนจะแข็งแกร่งแต่กลับเปราะบาง เมื่อถูกหมุนด้วยกลไกสามารถเคลื่อนไหว ร้องเล่นเต้นได้อย่างเหนือมนุษย์ แต่เพราะเธอเป็นเพียงหุ่น เมื่อถูกกระแทกกระทั้นจึงแตกหักเป็นเสี่ยงๆ แขน-ขา หัว-ลำตัว แม้จะแยกออกจากกันแล้ว กลับยังเคลื่อนไหวลืมตาอ้าปาก ขยับขา เห็นแล้วหลอนๆ สยองขวัญสิ้นดี

Ludmilla Tchérina (1924 – 2004) นักแสดง นักเต้นบัลเล่ต์ สัญชาติฝรั่งเศส เคยรับบท Irina Boronskaya ใน The Red Shoes (1948), รับบท Giulietta (ขับร้อง Opera โดย Margherita Grandi) หญิงสาวโสเภณีที่อ้างว่าเหมือนจะรัก Hoffmann แต่กลับทำทุกอย่างเพื่อให้เขาหลงรักตายใจเพื่อต้องการขโมยบางสิ่งอย่าง (เงาในกระจก) มอบให้ซาตาน แลกเปลี่ยนเพื่อจะได้อยู่ร่วมกับคนรักแท้จริงของเธอตราบชั่วนิรันดร์ ซึ่งสุดท้ายเหมือนจะกินยาฆ่าตัวตายตามแฟนหนุ่ม ที่พ่ายแพ้การดวลกับ Hoffmann

Ann Ayars (1918 – 1995) นักแสดง นักร้อง Soprano สัญชาติอเมริกา, รับบท Antonia หญิงสาวที่ป่วยเป็นโรคอะไรสักอย่างห้ามใช้เสียงมากเกินไป ตกหลุมรักคลั่งไคล้กับ Hoffmann แต่ถูกพ่อกีดกันขัดขวาง ทั้งคู่ยังคงแอบพบพรอดรัก ให้การสนับสนุนเธอทำในสิ่งที่อยากเป็นตามหัวใจ สุดท้ายหญิงสาวเลยร้องเพลงทำตามหัวใจ ติดตามแม่ที่เป็นวิญญาณไปจนสิ้นลมตัวตาย

Sir Robert Helpmann (1909 – 1986) นักแสดง นักเต้น สัญชาติ Australian เป็นอีกคนที่มีผลงานใน The Red Shoes (1948), รับบท Lindorf/Dr. Miracle/Coppélius/Dapertutto/ ศัตรูตัวร้าย คู่ปรับตลอดกาลในเรื่องความรักกับ Hoffmann ไม่ว่าจะในรูปแบบไหน ก็สามารถทำให้เขาสิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยากในความรัก จมอยู่กับความทุกข์โศกตลอดกาล

หนังไม่มีบทพูดสนทนาปกติทั่วไปนะครับ พวกเขาขยับปาก ร้องเล่นเต้น แสดงอารมณ์ไปตามทำนองเพลงที่บันทึกเสียงไว้ก่อนหน้า (pre-record) บางคนจะขับร้อง Soprano/Mezzo/Tenor ด้วยตนเองเอง แต่ส่วนใหญ่ใช้นักร้องตัวจริง ทับเสียงเอา (dubbing)

ถ่ายภาพโดย Christopher Challis หลังจากทำงานเป็น Camera Operator ในหนังหลายเรื่องของ The Archers เลื่อนขั้นมาเป็นตากล้องในยุคหลังๆ ผลงานเด่นๆอาทิ A Shot in the Dark (1964), Arabesque (1966), Chitty Chitty Bang Bang (1968), Top Secret! (1984) ฯ

ด้วยคอนเซ็ปการแสดง Opera จึงมีการสร้างฉากทั้งหมดขึ้นในสตูดิโอ ทำเป็นเหมือนละครเวที มีผ่านม่านปิดเปิด สามารถควบคุมการจัดแสงสี มุมกล้อง ทิศทางการเคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำไม่มีผิดเพี้ยน ซึ่งแต่ละองก์ของหนังก็จะมีตีม โทนสีที่โดดเด่นของตนเอง
– Prologue ผมไม่ค่อยแน่ใจสีที่เห็นนัก (คุณภาพไฟล์หนังที่รับชมค่อนข้างแย่) เหมือนจะเป็นสีน้ำเงิน/เขียวเข้ม (ผืนน้ำและใบบัว), ลวดลายผนังในห้องอาหาร เต็มไปด้วยเส้นลายดอกไม้ที่มีความคดเคี้ยวเลี้ยวลดประหนึ่งจิตใจของมนุษย์
– องก์ 1 เรื่องราวของ Olympia จะเน้นโทนสีเหลืองเป็นหลัก สะท้อนความสดใสซื่อบริสุทธิ์, ฉากที่ถูก Dr. Miracle ล่อลวงจะมีพื้นหลังสีแดง และขณะถูกแยกชิ้นส่วนจะมีพื้นดำสนิท (โทนสีเปลี่ยนไปตามสิ่งที่หญิงสาวได้พบเจอ)
– องก์ 2 เรื่องราวของ Giulietta จะเน้นโทนสีแดงเป็นหลัก รองลงมาคือเขียว-ดำ สะท้อนถึงความชั่วร้ายที่แอบซ่อนอยู่ในจิตใจของเธอ และของเล่นประกอบฉากทั้งหลาย เทียนไข กระจก ฯ ล้วนเต็มไปด้วยสิ่งน่าสะพรึง หลอนๆ (มีลักษณะคล้าย German Expressionist พอสมควร)
– องก์ 3 เรื่องราวของ Antonia จะเน้นโทนสีฟ้า-น้ำเงินเป็นหลัก แสดงถึงความคาดหวังเพ้อฝัน ช่วงนี้จะมีการซ้อนภาพค่อนข้างเยอะ มีนัยยะถึงในจินตนาการความคิดของหญิงสาว ที่ต้องพบเจอกับ ซากปรักหักพัง, ต้นไม้รกชัน, เปลวเพลิงเผาผลาญ ฯ วาดภาพสิ่งที่อยากกลายเป็น
– Epilogue โทนสีดำคือความมืดมิดที่สะท้อนจิตใจของตัวละคร Hoffman รวดร้าวทุกข์ระทม

หนังมีช็อตซ้อนภาพสวยงามระดับวิจิตรตราตรึงมากมาย ที่ช่วยขับเน้นความแฟนตาซีของหนังให้มีความลึกล้ำเหนือจินตนาการ ผู้ชมสมัยนี้อาจไม่ค่อยดื่มด่ำกับมันเสียเท่าไหร่เพราะหลายภาพมีความ Abstract ค่อนข้างสูง หาได้สมจริงจับต้องได้เข้าใจยาก

ฉากนี้ราวกลับปลาที่กำลังทะยานขึ้นสู่ผิวน้ำ แต่เพราะหญิงสาวรับบทเป็นแมลงปอ จึงควรมองว่าเป็นการบินลงมาโฉบเล่นผิวน้ำมากกว่า

ผมชอบการซ้อนภาพช็อตนี้ที่สุดแล้ว เมื่อ Olympia ถูกแยกชิ้นส่วนร่างกายออก แต่ขาและศีรษะกลับยังขยับเคลื่อนไหวได้อย่างเอกเทศน์ นี่ใช้การซ้อนภาพหลายๆชั้น กอปรเข้ากับสิ่งสัญลักษณ์ต่างๆมากมาย อาทิ เข็มนาฬิกา, ดอกทานตะวันรูปหน้าคน, หน้ากาก, สปริง (กลไก), เส้นสายใย (เหมือนเส้นเอ็น/เส้นเลือด) ฯ

กล่าวคือช็อตนี้ สิ่งสัญลักษณ์ต่างๆเปรียบได้กับองค์ประกอบ ชิ้นส่วน กลไกของหุ่นยนต์มนุษย์

การเดินทางขึ้นเรือของ Giulietta พื้นหลังจริงๆคือ Venice แต่เหมือนว่ากำลังข้ามแม่น้ำ Styx เสียมากกว่า (แม่น้ำในเทพปกรณัมกรีกซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างพิภพกับโลกบาดาล/นรก)

ท่าทางสายตาของหญิงสาว มุ่งมั่นไปข้างหน้าทิศทางเดียวไม่มีเปลี่ยนแปลงหรือเหลียวหลัง แสดงถึงความจริงใจรักแท้ต่อคนรัก ยินยอมเสียสละตนเอง ทำทุกสิ่งอย่างเพียงเพื่อเขาผู้เดียว

ความฝันของ Antonia คือการได้ขับร้องเพลงบนเวที ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง แต่เพราะสถานที่ที่ตัวเองอาศัยอยู่เป็นเกาะห่างไกล และร่างกายของตนมีความอ่อนแอ นี่จึงคือจินตนาการเพ้อฝันของหญิงสาว กำลังขับร้อง Soprano อยู่บนเวที,

จริงๆถ้าไม่บอกว่านี่คือภาพของเวทีการแสดง อาจมีหลายคนมองไม่ออก คิดว่าเป็นภาพวาดดวงดาว ปราสาทผีสิง (เห็นจากเทียนไข) หรืออะไรสักอย่างเห็นเป็นจุดๆ ไม่รู้ว่าคืออะไร

มีช็อตพิศวงหนึ่ง จะมีภาพการเต้นบัลเล่ต์จากสี่ทิศทาง แบ่งเฟรมภาพสี่มุม (บน-ล่าง ซ้าย-ขาว) ความพร้อมเพียงที่เกิดขึ้นแสดงว่าต้องจากการถ่ายครั้งเดียวโดยใช้กล้อง 4 ตัวเป็นแน่,

ความน่าสงสัยอยู่ที่ ถ่ายทำอย่างไรไม่ให้ติดกล้องที่ถ่ายจากมุมตรงกันข้าม, ผมคิดว่าคงเพราะการใช้ฉากหลังสีดำเข้าช่วย ฉายแสงส่องเฉพาะตัวนักแสดง แล้วนำไปใส่ฟิลเลอร์เพิ่มความมืดตอนล้างฟีล์ม ก็น่าจะเพียงพอให้มองไม่เห็นกล้องที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้ แล้วค่อยนำมาตัดแต่งแปะฟีล์ม เห็นเป็นสี่มุมมองพร้อมกันในช็อตเดียว

Martin Scorsese เคยยกย่องถึงความสวยงามล้ำจินตนาการของหนังเรื่องนี้ว่า ‘unlike anything I’d ever seen before’

ตัดต่อโดย Reginald Mills ขาประจำของ Tha Archer ที่เริ่มมีผลงานตั้งแต่ A Matter of Life and Death (1946), Black Narcissus (1947) ไฮไลท์ในอาชีพคือ The Red Shoes (1948) ที่ได้เข้าชิง Oscar: Best Edited แต่ไม่ได้รางวัล

ถึงหนังจะเป็นเรื่องราวของตัวละคร Hoffmann แต่เหมือนว่ามุมมองหลักของหนังจะเป็นเจ้าปีศาจร้าย Lindorf ที่แอบเฝ้ามอง รับรู้ทุกความเคลื่อนไหวเป็นไปของพระเอก ซึ่งจะคอยขัดขวางไม่ให้เขาได้พบประสบความสำเร็จในรัก

ความ ‘composed’ ของหนังเรื่องนี้ คือการตัดต่อภาพให้เข้ากับจังหวะทำนองของเพลงประกอบ, โดยปกติทั่วไปสมัยก่อน Post-Production การตัดต่อกับเพลงประกอบมักจะแยกออกจากกัน คือตัดหนังให้เสร็จสิ้นเสียก่อนแล้วถึงใส่เพลงประกอบ (หรือทำงานไปพร้อมๆกัน แล้วรวมเข้าทีหลัง) ที่มักเขียนทำนองให้สอดคล้องเข้ากับจังหวะของหนัง แต่เพราะหนังเรื่องนี้อุปรากร The Tales of Hoffmann เกิดขึ้นมีมากว่าร้อยปีแล้ว ไม่สามารถจะไปทำการแก้ไขปรับเปลี่ยนยืดทำนองอะไรได้ทั้งนั้น วิธีการเดียวคือ pre-record บันทึกเสียงและออเครสต้าให้เสร็จสิ้นตั้งแต่ก่อนเริ่ม ขณะถ่ายทำก็เปิดใช้เป็นทำนองประกอบนักแสดง และขณะ Post-Production ก็ยึดเป็นหลัก แล้วตัดต่อเลือกภาพหาจังหวะให้มีความเข้ากันลงตัว เป็นลักษณะที่ว่า ‘หนังประกอบเพลง/Opera’

เห็นว่าเดิมนั้น องก์ที่ 3 ของหนังมีความยาวมากกว่านี้ แต่โปรดิวเซอร์ Alexander Korda กลับมองว่าเป็นส่วนเกินยืดเยื้อยาวเกินไป มีความต้องการให้ตัดทิ้งออกไปทั้ง Sequence แต่ทั้ง Powell และ Pressburger ยืนกรานโต้เถียงว่าจำเป็นต้องคงไว้ แล้วทำการเล็มโน่นนี่ออกพอสมควร, นี่ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่ว่าหนังมีฉบับเต็มออกฉาย/หลงเหลืออยู่รึเปล่า เพราะเหมือนว่าผู้กำกับได้เคยเปรยๆตั้งแต่หนังฉาย ว่ามีความต้องการเก็บ ‘big cut’ นี้ไว้สำหรับผู้ที่สนใจในอนาคต

** หนังมีการ Restoration ระดับ 4K ออกฉายเดือนมีนาคม 2015 โดย Martin Scorsese ร่วมกับ Film Foundation, BFI และ Studio Canal, มีความยาว 136 นาที เห็นว่ารวมฟุตเทจที่ไม่เคยออกฉายมาก่อนเพิ่มเข้าไปด้วย ใครสนใจลองติดตามหาดูนะครับ Criterion น่าจะมีอยู่

เพลงประกอบ กำกับวงเรียบเรียงโดย Sir Thomas Beecham ร่วมกับ Royal Philharmonic Orchestra ถ้าหาหนังดูไม่ได้ รับฟังเต็มๆเพลงได้ใน Youtube นะครับ

มีบทเพลงท่อนแรกในองก์ที่ 2 พอได้ยินครั้งแรกหลายคนคงจะคุ้นหูมากๆ ระลึกได้จากหนังเรื่อง Life is Beautiful (1997) ของผู้กำกับ Roberto Benigni ชื่อเพลง Belle nuit, ô nuit d’amour (Beautiful night, Oh night of love) เรียกสั้นๆว่า Barcarolle มีลักษณะเป็นการขับร้อง Duet ประสานเสียงระหว่างนักร้อง Soprano และ Mezzo-Soprano

เสียงก๊าบ ก๊าบ แคว๊ก แคว๊ก ที่แท้มันคือการล้อทำนอง Duet ของนักร้องทั้งสองที่รำพันพรรณาถึงค่ำคืนแห่งความรัก ด้วยความที่มีทำนองเรียบง่ายจับใจ ฟังครั้งเดียวสามารถฮัมตามได้ทันที เลยกลายเป็นท่อนที่โด่งดังมีชื่อเสียงสุดของอุปรากรนี้

สัมผัสกลิ่นอายของบทเพลง มีความโหยหวนล่องลอย เพ้อฝันจินตนาการ เพราะเรื่องราวทั้งหมดมาจากการเล่าของ Hoffman (ราวกับจากประสบการณ์ตัวเอง) ความผิดหวัง โศกนาฎกรรมความรัก มันจึงเป็นการแสดงอารมณ์ความรู้สึกของเขาออกมาเป็นท่วงทำนอง ขับกล่อมชวนให้เกิดความเจ็บปวดรวดร้าวเดียวกัน เรียกว่าแทบไม่มีวินาทีไหนจะรู้สึกเป็นสุขสมหวัง ล้วนแต่โศกเศร้าหมอง เจ็บปวดรวดร้าวแสนสาหัส

เรื่องราวใจความของอุปรากร/หนังเรื่องนี้ คือโศกนาฎกรรมของความรักที่ไม่สุขสมหวัง ไม่แน่ใจเท่าไหร่ว่ามีอะไรเคลือบแฝงหลบซ่อนในกอไผ่หรือเปล่า ซึ่งถ้าไม่มีเราสามารถเรียกว่า pure-Tragedy ความบริสุทธิ์ของความโศกเศร้า, ไม่มีใครรู้เหตุผล ว่าทำไม Lindorf ถึงได้จองล้างจองผลาญรังควาญ Hoffman ถึงขนาดนี้ไม่มีที่สิ้นสุด แทนเชิงสัญลักษณ์คงหมายถึงศัตรูมารผจญ เหรียญอีกฝั่งด้าน ‘ที่ใดมีรักที่นั่นย่อมมีทุกข์’

ความเรียบง่ายบริสุทธิ์ของเรื่องราวที่ดูเหมือนจะธรรมดาไม่มีอะไรน่าสนใจ แต่กลับเป็นโปรดักชั่นงานสร้าง ที่มีความสวยงามประณีตวิจิตร สุดบรรเจิดล้ำจินตนาการ, การแสดงร้องเล่นเต้นที่ลื่นไหลเป็นธรรมชาติ และเพลงประกอบได้วาทยากรยอดฝีมือกำกับให้เกิดความเพ้อฝันล่อยลอยคล้อยตาม เหล่านี้ผสมผสานคลุกเคล้าเข้ากัน กลายเป็นความยอดเยี่ยมสมบูรณ์แบบลงตัว นี่เป็นสิ่งไม่มีวันที่คุณจะได้พบเจอจากแห่งหนไหนมาก่อนอย่างแน่นอน

แม้หลังจากนี้ถึงจะมีหนังแนว Opera Film เกิดขึ้นตามมามากมาย แต่เชื่อว่าไม่มีเรื่องไหนสามารถนำเสนอความแฟนตาซีล้ำจินตนาการได้เหนือชั้นกว่าหนังเรื่องนี้อย่างแน่นอน, ขอยกคำกล่าวของนักวิจารณ์ Roger Ebert ที่ผมจดจำได้ตอนเขียนถึงหนังเรื่อง Playtime (1967) ‘มีภาพยนตร์สายพันธุ์หนึ่ง จะเรียกว่าผ่าเหล่า/กลายพันธุ์ก็ได้ คือเกิดขึ้นมาครั้งเดียวแล้วสิ้นสูญพันธุ์ไปเลย ไม่สามารถสืบสานลักษณะได้ต่อ หรือเกิดซ้ำขึ้นใหม่ได้’

“[There] is one of a kind, complete in itself, a species already extinct at the moment of its birth.”

สำหรับผู้ไม่เคยรับชม Opera มาก่อน ต้องถือว่ามีความยากยิ่งในการรับชมหนังเรื่องนี้ แต่ให้ลองมองพิจารณาเป็นลักษณะหนังเพลง Musical แค่เสียงร้องของนักแสดงจะเป็นระดับ Soprano, Mezzo, Tenor แตกต่างจากการร้องปกติทั่วไปพอสมควร, ส่วนลีลาท่าทางการเต้นเคลื่อนไหว มีความเป็นสากลมากๆอยู่แล้ว ถ้าสามารถอ่านออกแปลได้ ก็จะเข้าใจ ‘ภาษากาย’ ได้ไม่ยาก และสำคัญที่สุดคือ ทำความเข้าใจความหมายนัยยะของภาษาภาพยนตร์ ก็จะมองเห็นความสวยงามลึกซึ้งของหนังเรื่องนี้, จัดระดับความยากอยู่ที่ professional คนชอบความท้าทายไม่ควรพลาดเลย

ไม่มีรายงานทุนสร้าง แต่ทำหนังเงินในอังกฤษ £105,035 ปอนด์ และอเมริกา $1.25 ล้านเหรียญ แนวโน้มน่าจะทำกำไรได้อยู่, เข้าชิง Oscar 2 สาขา (ไม่ได้สักรางวัล)
– Best Art Direction-Set Decoration, Color (พ่ายให้กับ An American in Paris)
– Best Costume Design, Color (พ่ายให้กับ An American in Paris)

– เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Berlin คว้ารางวัล Silver Bear: Best Musical
– ตามด้วยเทศกาลหนังเมือง Cannes คว้ารางวัล Special Award: For the transposition of a musical work into a film.

ผู้กำกับดัง Cecil B. DeMille หลังจากได้รับชมหนังเรื่องนี้ ส่งจดหมายถึง Powell กับ Pressburger บอกว่า

“For the first time in my life, I was treated to Grand Opera where the beauty, power and scope of the music was equally matched by the visual presentation.”

ขณะที่ผู้กำกับ George A. Romero ยกให้คือหนังเรื่องโปรดตลอดกาล และคือเหตุผลที่ทำให้อยากเป็นผู้สร้างภาพยนตร์

“favourite film of all time; the movie that made me want to make movies”.

เกร็ดขำๆ: สมัยก่อน การจะหาเช่ายืมรับชมภาพยนตร์สักเรื่อง ต้องเช่าโปรเจคเตอร์และฟีล์ม 16mm แต่เพราะความยุ่งยากวุ่นวาย ฟีล์มหนังเรื่องหนึ่งๆจึงมีจำนวนจำกัด ซึ่ง The Tales of Hoffmann บริเวณร้านเช่าแถวๆที่ Romero อาศัยอยู่ มักจะวนเวียนเปลี่ยนมืออยู่เพียงเขากับอีกคนเท่านั้น ที่แทบจะผลัดกันเช่าชม ครั้งหนึ่งได้บังเอิญพบเจอรู้จัก ชายผู้นั้นชื่อ Martin Scorsese

วินาทีที่ผมหลงใหลคลั่งไคล้หนังเรื่องนี้ เมื่อตอนที่เสียงก๊าบ ก๊าบ แคว๊ก แคว๊ก บทเพลง Barcarolle บรรเลงดังขึ้น ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเกิดอะไรขึ้น ราวกับฟ้าผ่าลงมากลางใจ เห้ยชอบว่ะ! จนตอนนี้ก็ยังไม่เข้าใจตนเองเท่าไหร่ว่าเพราะอะไร

บรรดาภาพยนตร์ที่อยู่ในลิส Favorite ของผมนั้น ส่วนใหญ่จะมีแนวคิด ปรัชญา อุดมการณ์ใช้ชีวิตที่ลึกล้ำ ยิ่งใหญ่ระดับเปลี่ยนมุมมอง โลกทัศนคติส่วนตัว, แต่ช่วงหลังๆเท่าที่สังเกตการค้นพบหนังโปรดเรื่องใหม่ๆ อาทิ Playtime (1967), The Wind Will Carry Us (1999), Moonlight (2016) ฯ เริ่มมีลักษณะของกลิ่นอาย รสสัมผัส บรรยากาศ เกิดความประทับใจลึกซึ้ง Nostalgia รับรู้มองเห็นเข้าใจความสวยงามขณะรับชม … ขอเวลาอีกสักพัก มีแนวโน้มสูงมากๆที่หนังเรื่องนี้อาจแปรสภาพกลายเป็นหนังโปรดเรื่องถัดไป เพราะตอนนี้ยังไม่เข้าใจตัวเองว่าทำไมถึงคลั่งไคล้หนังเรื่องนี้

เอาว่าเบื้องต้นนี่เป็นหนังที่มีความสวยงามประณีตวิจิตร สุดบรรเจิดล้ำจินตนาการ ในรูปแบบที่ไม่น่าจะเคยมีใครพบเห็นเจอมาก่อนอย่างแน่นอน

แนะนำกับคอการแสดง Opera, นักร้องเสียงสูง (Soprano, Mezzo, Tenor ฯ), นักเต้นบัลเล่ต์ทั้งหลาย, ชื่นชอบเรื่องราวรักโรแมนติก โศกนาฎกรรม แฟนตาซีเพ้อฝัน, งานภาพสวยๆ ตัดต่อเยี่ยม เพลงเพราะๆของ Jacques Offenbach การตีความล้ำๆของ Sir Thomas Beecham, แฟนๆ The Archers ของ Michael Powell และ Emeric Pressburger ไม่ควรพลาด

จัดเรต 13+ กับโศกนาฎกรรม ความตาย

TAGLINE | “The Tales of Hoffmann คือความสวยงามประณีตวิจิตร สุดบรรเจิดล้ำจินตนาการของ Powell & Pressburger หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LOVE

Silence (2016)


Silence

Silence (2016) hollywood : Martin Scorsese ♥♥♥

นี่อาจคือ passion โปรเจคของ Martin Scorsese ต่อการพิสูจน์ศรัทธา และความเชื่อในพระเจ้า แต่แท้จริงแล้วตัวเขาก็ดั่งตัวละคร Missionary ทั้งหลายในหนัง ไม่สนใจที่จะเปิดรับแนวคิด เรียนรู้วัฒนธรรม ศึกษาศาสนาของต่างชาติแม้แต่น้อย

Ingmar Bergman, Robert Bresson, Carl Theodor Dreyer ฯ ผมคงต้องใส่ชื่อของ Martin Scorsese เข้าไปอีกคน ในฐานะปรมาจารย์ผู้กำกับที่มีศรัทธายึดมั่นในคริสต์ศาสนาแรงกล้า สร้างภาพยนตร์อ้างว่าเพื่อท้าทายความเชื่อศรัทธาของตนเอง แต่แท้จริงแล้วกลับต้องการเผยแพร่แนวคิด ปลูกฝังสร้างค่านิยมชวนเชื่อ มองดูแล้วมีลักษณะไม่แตกต่างจาก Missionary สมัยก่อนสักเท่าไหร่

ว่าไป Martin Scorsese เคยสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับพุทธศาสนาเรื่องหนึ่ง Kundun (1997) ชีวประวัติของ Tenzin Gyatso องค์ดาไลลามะที่สิบสี่ ผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุดของทิเบตที่ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ หลังจากถูกรุกรานโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้เน้นรายละเอียดเกี่ยวกับพุทธศาสนามากนัก และ Marty ก็สร้างขึ้นในทัศนคติ มุมมองความเข้าใจของต่างชาติต่างศาสนา ไม่มีโอกาสซึมซับรับเอาแก่นแท้จิตวิญญาณของพุทธศาสนาเสียเท่าไหร่

ถือเป็นความผิดหวังของผมอย่างยิ่งยวดในการรับชมหนังเรื่องนี้ เพราะคาดหวังว่า Marty จะให้เหตุผลในการเลิกศรัทธา เปลี่ยนศาสนาของบาทหลวงทั้งหลายในเชิงที่สร้างสรรค์กว่านี้ เหตุผลที่การเผยแพร่ไม่สำเร็จนั้นพอเข้าใจได้ แต่กลับสร้างสถานการณ์ให้ถูกบีบบังคับถึงขีดสุด จนยินยอมจำนนพ่ายแพ้เจ็บปวดรวดร้าว แบบนี้ทั้งญี่ปุ่นและพุทธศาสนาได้กลายเป็นศัตรูผู้ชั่วร้ายในสายตาชาวโลก ยกย่องศาสนาคริสต์นี่แหละถูกต้องจริงแท้สากล!, ถึงคุณภาพโปรดักชั่นของหนังจะยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่อลังการสมบูรณ์แบบขนาดไหน ผมคงไม่ขอยกย่องการดูหมิ่นศาสนาอื่นของ Marty ครั้งนี้แน่ๆ

เมื่อปี 1989 ผู้กำกับ Akira Kurosawa ชักชวนให้ Martin Scorsese เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อรับบท Vincent van Gogh ในภาพยนตร์เรื่องใหม่ Dream (1990) ระหว่างการเดินทางมีโอกาสอ่านนิยายที่มอบให้โดย Reverend Paul Moore เรื่อง Silence (1966) [沈黙, Chinmoku] เขียนโดย Shūsaku Endō ได้แรงบันดาลใจจากบาทหลวงสองคนที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ Father Cristóvão Ferreira (1580–1650) [ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Sawano Chūan] และ Giuseppe di Chiara (1602 – 24 August 1685) [ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Okada San’emon]

เรื่องราวมีพื้นหลังต้นศตวรรษที่ 17 ยุค Edo Period กลุ่ม Missionary ชาว Portuguese นำโดยบาทหลวง Ferreira (รับบทโดย Liam Neeson) หลังจากเดินทางเข้าไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ คณะเยสุอิต ในประเทศญี่ปุ่นอยู่หลายปี ภายหลังได้รับการปฏิเสธต่อต้านจากคำสั่งจักรพรรดิ ถูกบีบบังคับให้ละทิ้งเปลี่ยนศาสนา (Apostasy) จากจดหมายส่งไปถึงบาทหลวง Alessandro Valignano ผู้ก่อตั้ง St. Paul’s College ที่ Macau ได้รับการร้องขอจากลูกศิษย์สองคน Sebastião Rodrigues (รับบทโดย Andrew Garfield) และ Francisco Garupe (รับบทโดย Adam Driver) ตัดสินใจเดินทางสู่ Nagasaki เพื่อค้นหาความจริงที่เกิดขึ้น

สำหรับคนที่สนใจอ่านประวัติศาสตร์พื้นหลังของญี่ปุ่น ที่มาที่ไปทำไมถึงต่อต้านคริสต์ศาสนา
LINK: https://pantip.com/topic/36778129

เกร็ด: Shūsaku Endō ได้รับการยกย่องว่า ‘Japanese Catholic Author’ เป็นนักเขียนสัญชาติญี่ปุ่นไม่กี่คน ที่ทั้งชีวิตสนใจแต่นำเสนอเรื่องราวมุมมองของชาว Christian ในประเทศญี่ปุ่น

เกร็ด 2: นิยาย Silence (1966) คว้ารางวัล Tanizaki Prize ทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘supreme achievement’ และหนึ่งในนิยายดีที่สุดในศตวรรษ 20 (one of the twentieth century’s finest novels)

เกร็ด 3: นิยายเรื่องนี้เคยได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วครั้งหนึ่ง Silence (1971) โดยผู้กำกับ Masahiro Shinoda คว้ารางวัล Mainichi Film Award: Best Film

Marty มีความหลงใหลในนิยายเล่มนี้อย่างมาก ตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์จาก Shūsaku Endō โดยทันที แต่กว่าจะได้สร้างก็ติดปัญหามากมาย เรื่องเงินทุนคงเป็นปัจจัยหลัก เพราะไม่มีสตูดิโอใหญ่ค่ายไหนให้ความสนใจโปรเจคแนวศาสนาลักษณะนี้อีกแล้ว และยิ่งความล้มเหลวที่เป็นบทเรียนจาก The Last Temptation of Christ (1988) [ถึงหนังได้รับคำชมล้นหลาม แต่กลับขาดทุนย่อยยับ และมีการประท้วงรุนแรงรับไม่ได้ ถูกสั่งห้ามฉายในหลายรัฐ/หลายประเทศ] ทำให้ต้องขึ้นหิ้งทิ้งไว้จนฝุ่นหนาเกรอะ

หลังผลัดวันประกันพรุ่งมาแสนนาน โปรเจคก็เริ่มเดินหน้าเมื่อปี 2009 ทีมงานออกแสวงหาสถานที่ถ่ายทำในญี่ปุ่น, แคนาดา ฯ ติดต่อนักแสดงนำอย่าง Daniel Day-Lewis, Benicio del Toro, Gael García Bernal, Ken Watanabe แต่ก็ไม่วายเงินทุนไม่เพียงพอ ทำให้ต้องชะลอการสร้าง นักแสดงถอนตัวออกไป Marty เซ็นสัญญากำกับหนังเรื่องอื่น Shutter Island (2010), Hugo (2011) จนกระทั่ง The Wolf of Wall Street (2013) ก็ตั้งปฏิธาณแน่แน่วว่าจะไม่รออีกแล้ว หนังเรื่องต่อไปต้องเป็น Silence เท่านั้น!

มีนักข่าวถาม Marty เป็นเวลา 26 ปี ที่คั่งค้างคาโปรเจคนี้ เพราะอะไรถึงยังคงมีความสนใจต้องการสร้างขึ้นมาอยู่อีก

“As you get older, ideas go and come. Questions, answers, loss of the answer again and more questions, and this is what really interests me. Yes, the cinema and the people in my life and my family are most important, but ultimately as you get older, there’s got to be more… Silence is just something that I’m drawn to in that way. It’s been an obsession, it has to be done… it’s a strong, wonderful true story, a thriller in a way, but it deals with those questions.”

สำหรับบทภาพยนตร์ Marty ร่วมกับ Jay Cocks พัฒนาขึ้นตั้งแต่ได้ลิขสิทธิ์มาเมื่อปี 1991 ใช้เวลาขัดเกลาต่อเนื่องยาวนานถึง 15 ปี และพอกำลังได้สร้าง ติดต่อ Van C. Gessel นักแปลนิยายฉบับทางการของ Shūsaku Endō มาให้คำปรึกษาและช่วยตรวจทานบทภาพยนตร์ ให้มีความใกล้เคียงตรงต่อต้นฉบับนิยายภาษาญี่ปุ่นที่สุด

สำหรับนักแสดงนำ Andrew Garfield (เกิดปี 1983) หนุ่มแมวหน้าเด็กสัญชาติอังกฤษ-อเมริกัน เกิดที่ Los Angeles County, California แต่ไปเติบโตขึ้นที่ Epsom, Surrey ประเทศอังกฤษ ครอบครัวเชื้อสาย Jews ตอนเด็กมีความสนใจยิมนาสติกและว่ายน้ำ เมื่ออายุ 16 ถึงเริ่มสนใจการแสดง เข้าเรียน Central School of Speech and Drama ที่ University of London

มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก Lions for Lambs (2007) ก่อนเป็นที่รู้จักจาก The Social Network (2010) และกลายเป็น Peter Parker ในทวิภาค The Amazing Spider-Man, ปี 2012 ได้แสดงนำละคร Broadway เรื่อง Death of a Salesman เข้าชิง Tony Award: Best Actor ในปี 2016 มีหนังถึงสองเรื่องติดที่ได้รับบทบาทคล้ายๆกัน คือ Hacksaw Ridge กับ Silence (2016)

รับบทบาทหลวง Sebastião Rodrigues ผู้มีความเชื่อมั่นศรัทธาในพระศาสนาเป็นอย่างยิ่งที่สุด พร้อมยินยอมเสียสละเลือดเนื้อกายใจให้กับผู้เปี่ยมด้วยศรัทธาแรงกล้า แต่มิอาจทนเห็นความทุกข์ทรมานจากการท้าให้พิสูจน์สัจธรรมความจริง เพราะพระเจ้าในมุมมองของเขาช่างเงียบงันไร้สุ่มเสียง มีแต่ความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวเองเท่านั้นที่สามารถจับต้องได้

Garfield เคยให้สัมภาษณ์บอกว่า ตอนเด็กเป็นคนเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งเรื่องพระเจ้า แต่พอโตขึ้นมามันเหมือนโชคชะตาฟ้าลิขิต ให้ต้องเล่นหนังเกี่ยวกับการพิสูจน์ศรัทธา มาตอนนี้คงเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมว่าพระองค์มีจริง, เห็นว่าใช้เวลาเตรียมรับบทยาวนานเป็นปี อาศัยศึกษาเรียนรู้อยู่กับพระอาจารย์ James Martin ที่ New York ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างจริงจังเคร่งขัด ถึงขนาดน้ำหนักลดลงกว่า 40 ปอนด์ (=18 กิโลกรัม)

การแสดงของ Garfield ในครึ่งแรก สายตาท่าทางคำพูดเต็มไปด้วย passion ในความหวังและศรัทธา ส่วนครึ่งหลังอัดแน่นไปด้วยความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ท้อแท้สิ้นหวัง ภายในจิตใจล้วนๆ (ตัวละครของ Garfield แทบไม่เคยถูกทรมานทางกายเลย แต่จิตใจกลับต้องพบความรวดร้าวแสนสาหัส), ต้องชมเลยว่า Garfield สามารถลบภาพลักษณ์เด็กเนิร์ด Peter Parker ไปได้อย่างหมดสิ้น เมื่อเทียบกับ Hacksaw Ridge (2016) ที่ออกฉายปีเดียวกัน ต้องถือว่ากับ Silence มีความหนักแน่น ทรงพลัง และเป็นผู้ใหญ่กว่ามาก

Adam Douglas Driver (เกิดปี 1983) นักแสดงหนุ่มสัญชาติอเมริกา เกิดที่ Fontana, San Bernardino County, California เติบโตขึ้นที่ Mishawaka, Indiana ตั้งแต่เด็กเป็นนักร้อง Choir ในโบสถ์ แต่มีนิสัย ‘misfit’ ชื่นชอบการปีนป่าย เข้าร่วม fight club (เพราะติดจากหนังเรื่องนั้นมา) หลังจาก 9/11 สมัครเป็นทหารเรือ รับใช้ชาติอยู่ 2 ปีกว่าๆ ได้รับอุบัติเหตุกระดูกสันอกหักขณะเล่น Mountain Bike ทำให้ถูกปลดประจำการก่อนเดินทางไป Iraq, เข้าเรียน University of Indianapolis อยู่ปีกว่าๆ แล้วย้ายไป Juilliard School สาขาการแสดง จบมาเริ่มมีผลงาน Broadway และ Off-Broadway ก่อนมีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก J. Edgar (2011) เริ่มมีชื่อเสียงจากซีรีย์ Girls (2012–2017), Inside Llewyn Davis (2013), Hungry Hearts (2014) คว้ารางวัล Volpi Cup: Best Actor จากเทศกาลหนังเมือง Venice และประสบความสำเร็จล้นหลามจากการรับบท Kylo Ren ใน Star Wars: The Force Awakens (2015)

รับบท Francisco Garupe พระสหายร่วมเดินทางกับบาทหลวง Rodrigues ทั้งสองมีแนวคิด ทัศนคติค่อนข้างแตกต่างตรงกันข้ามพอสมควร เช่นในเรื่องการเหยียบภาพพระคริสต์ หลวงพ่อ Rodrigues บอกว่าเหยียบไปเลย แต่ Garupe ไม่ว่ายังไงห้ามเหยียบ ยึดถือมั่นในศรัทธาของตนเองไว้จนตัวตาย นี่คือความเย่อหยิ่งในศักดิ์ศรี ที่ทำให้บาทหลวงทั้งสองเมื่อถึงจุดหนึ่งต้องแยกทางกัน

Driver ก็เหมือน Garfield ใช้เวลาเตรียมรับบท อาศัยศึกษาเรียนรู้อยู่กับพระอาจารย์ James Martin ที่ New York ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างจริงจังเคร่งขัด ถึงขนาดน้ำหนักลดลงกว่า 50 ปอนด์ (= 22 กิโลกรัม) แล้วพวกเขายังอธิษฐานไม่พูด (Silent Prayer Vigil) เป็นเวลา 7 วัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวเอง

ผมค่อนข้างติดตาภาพลักษณ์ Kylo Ren ของ Driver มาพอสมควร มันมีความคล้ายคลึงบางอย่างในด้านมืดของตัวละคร การกระทำที่ Rodrigues ทำไม่ได้ แต่ไม่ใช่กับ Garupe ผมไม่แน่ใจนักว่าคืออะไร เพราะหลังจากทั้งสองแยกจากก็แทบจะไม่เห็นเรื่องราวของตัวละครนี้เลย พบเจออีกทีก็ …

Liam John Neeson (เกิดปี 1952) นักแสดงสัญชาติ Northern Ireland เกิดที่ Ballymena, County Antrim ในครอบครัว Roman Catholic ตอนอายุ 11 รับบทนำในการแสดงละครโรงเรียนครั้งแรก ทำให้เกิดความสนใจด้านนี้ตั้งแต่นั้น ด้วยภาพลักษณ์ที่ราวกับออกมาจากคัมภีร์ไบเบิ้ล มักได้รับบทตัวละครที่มีความทรงภูมิ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกๆ Pilgrim’s Progress (1978) [รับบท Jesus Christ], Excalibur (1981) โด่งดังกลายเป็นที่รู้จักทั่วโลกจาก Schindler’s List (1993) [ครั้งแรกครั้งเดียวที่เข้าชิง Oscar: Best Actor] ผลงานอื่นๆ อาทิ Master Qui-Gon Jinn ใน Star Wars: Episode I – The Phantom Menace (1999), Gangs of New York (2002), Batman Begins (2005), ให้เสียง Aslan ในแฟนไชร์ The Chronicles of Narnia, เคยจะรับบท Abraham Lincoln ให้กับ Steven Spielberg เรื่อง Lincoln (2012) แต่ด้วยความล่าช้านับสิบปี เลยบอกปัดเมื่อหนังกำลังจะเริ่มถ่ายทำ (บทจึงตกเป็นของ Daniel Day-Lewis ทำให้คว้า Oscar: Best Actor ตัวที่สามไปครอง)

รับบท Father Cristóvão Ferreira บาทหลวงผู้ซึ่งประกาศละทิ้งเปลี่ยนศาสนา ใช้ชีวิตแต่งงานมีครอบครัวอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นจนเสียชีวิต, หนังทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าหลวงพ่อ Ferreira ไม่ได้มีความต้องการที่จะเปลี่ยนออกจากภายในแท้จริง ยังคงมีความเชื่อมั่นศรัทธาในพระเจ้า ศาสนาของตนเองอยู่ตลอดเวลา แค่โชคชะตานำพาให้ไม่สามารถเอาชนะปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบสะเทือนเข้าไปในจิตใจตนเองได้

Neeson ก็น้ำหนักลดลงเช่นกัน ประมาณ 20 ปอนด์ จากที่เคยอวบๆ (ในฉากที่พบเจอกับบาทหลวง Rodrigues เหมือนว่าถ่ายก่อน ร่างกายยังอิ่มหนำสมบูรณ์ดี) ฉากเปิดตัวต้นเรื่อง เห็นร่างซูบซีดผอม ทั้งๆที่เหมือนจะไม่ได้ถูกทรมานใดๆ แต่ก็กินไม่ได้นอนหลับไม่หลับ ทุกข์ทรมานทางใจอย่างเหลือล้น

ปรากฎการณ์น้ำหนักลดของสามตัวละครหลัก ไม่ได้เกิดจากความทุกข์ทรมาน เจ็บป่วย ทางร่างกายของตัวละคร แต่เป็นผลกระทบที่เกิดจากสภาพจิตใจ ทนรับต่อสิ่งที่พบเจอ เห็นผู้อื่นถูกฆ่าทรมาน หรือทำให้ตายทั้งเป็น (เพื่อปกป้องพวกเขาทั้งสาม), ทุกข์ใจหนักกว่าทุกข์กายมากๆเลยนะครับ แถมยังส่งผลกระทบต่อร่างกาย กินไม่ได้นอนไม่หลับไร้ซึ่งเรี่ยวแรงอีก

Yōsuke Kubozuka (เกิดปี 1979) นักแสดง โมเดลลิ่งสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Yokosuka, Kanagawa, มีผลงานเด่นกับละครโทรทัศน์ Kindaichi Case Files (1995), GTO (1998), Ikebukuro West Gate Park (2000)

รับบท Kichijiro ไกด์ชาวญี่ปุ่นที่โคตรความเห็นแก่ตัว สนแต่การมีชีวิตเอาตัวรอด ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกแต่ยังขอให้พระเจ้ายกโทษให้อภัย นี่เป็นตัวละครที่ท้าทายความเชื่อศรัทธาของชาวคริสต์อย่างมาก ในมุมมองของมนุษย์ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะสมควรยกโทษให้ แต่พระเยซูคริสต์ย่อมสามารถให้อภัยบุตรของพระองค์ได้เสมอ

การทำงานของ Marty ในหนังเรื่องนี้ Neeson เล่าว่ามีความ ‘intimidating’ เป็นอย่างยิ่ง ทุกคนในกองถ่ายต้องเงียบสนิท ห้ามส่งเสียงรบกวนใดๆระหว่างการถ่ายทำ ซึ่งถ้าเกิดอะไรดังขึ้นเพียงเล็กน้อย จะทำให้เขาหงุดหงิดหัวเสียเป็นอย่างมาก สูญเสียสมาธิ ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด

ผมค่อนข้างรู้สึกว่านักแสดงญี่ปุ่นสมทบในหนังเรื่องนี้ เล่นแบบฝืนๆขัดๆไม่เป็นธรรมชาติเสียเท่าไหร่ คิดว่ามี 2 สาเหตุ หนึ่งคือการสื่อสาร ภาษาความเข้าใจ และสองคือความแตกต่างในศาสนา ชาวญี่ปุ่นสมัยนี้ส่วนใหญ่นับถือ(พุทธ)ชินโต มันเลยทำให้เกิดความเก้งๆกังๆ ไม่รู้จะแสดงออกมาอย่างไรให้เป็นธรรมชาติเสมือนจริง

ถ่ายภาพโดย Rodrigo Prieto ตากล้องสัญชาติ Mexican เจ้าของผลงานเด่น Frida (2002), Brokeback Mountain (2005), Babel (2006), Lust, Caution (2007) ฯ เคยร่วมงานกับ Marty เรื่อง The Wolf of Wall Street (2013) ซึ่งกับหนังเรื่องนี้ได้เข้าชิง Oscar: Best Cinematography เป็นครั้งที่ 2 แต่พลาดให้กับ Linus Sandgren จาก La La Land (2016)

ด้วยความเส้นใหญ่ของ Marty ทำให้หนังเรื่องนี้ยังถ่ายทำด้วยฟีล์ม 35mm ทั้งๆที่ต้องแบกเข้าไปในป่าดงพงไพร เว้นแต่ฉากกลางคืนแสงน้อยๆไม่มีแหล่งกำเนิดไฟ ใช้เพียงแสงเทียน ถึงจะถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอล Arri Alexa เลนส์ Zeiss

เริ่มต้นด้วยหมอกควันสีขาว ความมืดมัวที่ทำให้มองไม่เห็นสิ่งต่างๆตรงหน้า นี่มีนัยยะถึงดินแดนญี่ปุ่นในทัศนะของ Missionary มืดมัว อันตราย คาดเดาสิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ ไร้ซึ่งอนาคตอันสดใส

ในช่วงแรกๆจะมีช็อตที่ผมขอเรียกว่า God’s Eye View ภาพถ่ายลงมาตรงๆจากเบื้องบน ตั้งฉาก 90 องศา ราวกับพระเจ้ามองลงมาจากสรวงสวรรค์ เห็นอยู่ 2-3 ครั้ง หลังๆจะไม่มีมุมนี้แล้ว (คงมีนัยยะว่า พระเจ้าไม่มองลงมาในดินแดนประเทศญี่ปุ่น)

หนังถ่ายทำที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ด้วยเหตุผลค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการไปถ่ายทำยังญี่ปุ่น ที่ตอนนี้กลายเป็นชุมชนเมืองตึกรามบ้านช่องไปหมดแล้ว (ได้รับคำแนะนำ ช่วยจัดหาโลเกชั่นโดยผู้กำกับ Ang Lee)
– ครึ่งแรกของหนังจะเน้นภาพของธรรมชาติพงไพร ป่าเขาลำธาร ต้นไม้ใบหญ้าสีเขียว โขนหิน คลื่นลมซัดริมฝั่ง ฯ ชาวบ้านตาดำๆยากจนข้นแค้น อาศัยอยู่ในกระท่อมผุพัง หากินมีชีวิตอยู่อย่างลำบากยากแค้น นี่มีนัยยะเปรียบเทียบการต่อสู้เอาตัวรอดระหว่าง มนุษย์vsธรรมชาติ จะพบว่าผู้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเฉลียวฉลาด ไร้การศึกษา จึงหันพึ่งพานับถือคริสต์ศาสนาเป็นเสียส่วนใหญ่
– ครึ่งหลังเมื่อหลวงพ่อ Rodrigues ถูกจับได้ จะเป็นฉากในคุกเสียส่วนใหญ่ เดินผ่านชุมชนเมือง ผู้คนมากหน้าหลายตา เกอิชา พ่อค้ามั่งคั่ง ซามูไร ฯ นี่แสดงถึงอารยธรรม วิวัฒนาการของมนุษย์ ไม่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับธรรมชาติอีกต่อไป แต่กลายมาเป็นแก่งแย่งเอาชนะ ขัดแย้งกันเอง มนุษย์vsมนุษย์ ที่นี่แทบจะไม่มีชาวคริสต์อาศัยอยู่เลย ทุกคนมีความคิดเฉลียวฉลาด เห็นต่าง มีศรัทธาเป็นของตนเอง

ภาพวาดพระเยซูคริสต์ ที่หลวงพ่อ Rodrigues หลงใหลยึดติด เป็นผลงานของ Doménikos Theotokópoulos (1541 – 1614) หรือ El Greco จิตรกร/นักแกะสลัก/สถาปนิก สัญชาติกรีก โด่งดังในยุคสมัย Mannerism, การเห็นภาพของพระองค์สะท้อนเป็นเงาประทับบนใบหน้าของตัวเอง มีนัยยะถึง ‘พระเจ้าสถิตกับตัวท่าน’

พิธีการเหยียบแผ่นโลหะรูปพระคริสต์หรือพระแม่มารีย์ที่เรียกว่า Fumi-e (แปลว่า stepping-on picture) ในประวัติศาสตร์มีจริงนะครับ จุดประสงค์เพื่อพิสูจน์ผู้นับถือ Kirishitan (Christians) ว่าไปก็คล้ายๆการหาแม่มดของชาวยุโรปยุคกลาง (Middle Age) แผ่นโลหะที่ว่านี้ยังมีหลงเหลือถึงปัจจุบัน สร้างเลียนแบบอ้างอิงในหนัง

ตัดต่อโดย Thelma Schoonmaker ขาประจำแทบจะคนเดียวของ Marty, หลังการถ่ายทำเสร็จสิ้น ช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2015 ใช้เวลาปีกว่าๆในกระบวนการตัดต่อและ Post-Production ได้ยินว่าฉบับแรกๆความยาวเกินกว่า 5-6 ชั่วโมง ก่อนลดทอนลงเรื่อยๆจนเหลือ 3 ชั่วโมง ได้ฉบับออกฉาย 161 นาที

หนังใช้การเล่าเรื่องโดยมุมมองผ่านเสียงอ่านจดหมาย ของ 3 ตัวละคร
– เริ่มจากของหลวงพ่อ Ferreira เป็นจดหมายฉบับสุดท้ายที่ส่งไปหา Alessandro Valignano
– เมื่อหลวงพ่อ Rodrigues เดินทางไปญี่ปุ่น ก็จะเป็นในมุมมองเรื่องเล่าของเขา จนกระทั่งฉบับสุดท้ายหลังจากที่เหยียบ Fumi-e ละทิ้งศาสนา
– เรื่องเล่าจากจดหมายของ Dieter Albrecht (รับบทโดย Béla Baptiste) พ่อค้าสัญชาติ Dutch ที่เดินทางมาค้าขายกับญี่ปุ่น

เป้าหมายของบาทหลวง Rodrigues และ Garupe ในการเดินทางสู่เกาะญี่ปุ่น เพื่อค้นหาหลวงพ่อ Ferreira (เหตุผลของศรัทธาที่สูญหาย) แต่กว่าจะได้พบตัวก็ค่อนไปทางครึ่งหลังของหนัง โดยในช่วงแรกๆจะเป็นการแนะนำชาวคริสต์ที่อาศัยอยู่แบบหลบๆซ่อนๆ Kakure Kirishitan (Hidden Christian) พูดถึงผู้ตรวจการ (Inquisitor) และสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อชาวคริสเตียนถูกค้นพบจับได้ จบองก์แรกด้วยการแยกย้ายไปตามทางของบาทหลวงทั้งสอง

ครึ่งหลังจะเป็นการสำรวจจิตใจของหลวงพ่อ Rodrigues เมื่อถูกจับได้คุมขัง ได้พบเจอกับที่ปรึกษาจักรพรรดิ Inoue Masashige (รับบทโดย Issey Ogata) ที่พยายามใช้กลวิธีการต่างๆ โน้นน้าว ชักจูง หลอกล่อเพื่อให้ละทิ้งเปลี่ยนศาสนา หนึ่งในนั้นก็คือพาตัวอดีตหลวงพ่อ Ferreira ให้มาพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยน จนกระทั่งสุดท้ายกับการบีบคั้นถึงขีดสุด เมื่ออดรนทนต่อไปไม่ได้ก็คราวพ่ายแพ้ใจตนเอง

Epilogue จะเป็นเรื่องราวหลังจาก Rodrigues กลับกลายเป็นคนธรรมดาสามัญ เลิกนับถือศาสนาคริสต์ งานที่ทำเพื่อมีชีวิตอยู่ แต่งงาน (เหมือนจะไม่มีลูก) จนกระทั่งเสียชีวิต และถูกเผาตามความเชื่อของศาสนาชินโต

เพลงประกอบโดย Kathryn Kluge และ Kim Allen Kluge อดีตผู้ควบคุมวง Quad City Symphony Orchestra, บอกตามตรงผมแทบจะไม่ได้ยิน Soundtrack ใดๆทั้งนั้น รับรู้ได้แต่เสียงของธรรมชาติ ฝนตก ลมแรง จิ้งหรีดเรไร คลื่นซัดริมฝั่ง ฯ ซึ่งเท่าที่ผมฟังจากอัลบัมเพลงประกอบ จึงได้ค้นพบว่า นั่นแหละครับเพลงประกอบของหนัง ผสมผสานแนบเนียนเข้าไปกับหนังอย่างกลมกลืน ถ้าไม่สังเกตตั้งใจฟังย่อมไม่สามารถได้ยินอยู่แล้ว

ผมไม่ค่อยแน่ใจกับสไตล์เพลงของหนังนัก เป็นส่วนผสมของ Medieval กับ Naturalist ให้สัมผัสคล้ายๆกับ New Age จับต้องไม่ได้ ล่องลอยราวกับความฝัน โลกที่คนทั่วไปไม่คิดว่าจะมีอยู่จริง แต่มันคือดินแดนที่มนุษย์มิสมควรย่างกรายเข้าไป, นี่มันดนตรีระดับ Masterpiece เลยนะครับ

สำหรับ Sound Effect ผมค่อนข้างติดใจเสียงของจักจั่น เมื่อตอนชื่อหนังปรากฎขึ้นต้นเรื่อง นี่เป็นเสียงที่ดังขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แทนที่ Silence จะมีนัยยะถึงความเงียบสงัด แต่ Marty กลับใช้เสียงจักจั่นนี้เป็นสัญลักษณ์แทนความเงียบ, ผมมองนัยยะของความเงียบนี้คือ ‘ธรรมชาติ’ ไม่ได้หมายถึงพระเจ้าไม่มีตัวตน แต่พระองค์อยู่รอบๆตัวเรา

เราจะได้ยินเสียงจักจั่นดังขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญอีกครั้งหนึ่งช่วงท้าย ไม่ขอสปอยแล้วกันว่าฉากไหน ลองตั้งใจสังเกตฟังให้ดีๆ เป็นวินาทีที่ทรงพลังอย่างยิ่งทีเดียง

ตอนขณะที่บาทหลวง Rodrigues ย่างเท้าเหยียบ Fumi-e (นี่ผมไม่ได้ทันสังเกตนะครับ) ได้ยินว่าจะมีเสียงไก่ขัน, ตามคัมภีร์ไบเบิ้ลอ้างว่า หลังจาก Saint Peter กล่าวถ้อยคำปฏิเสธพระเยซูคริสต์ถึงสามครั้ง จะมีเสียงไก่ขันดังขึ้น

After a little while, those standing there went up to Peter and said, “Surely you are one of them, for your accent gives you away.” Then he began to call down curses on himself and he swore to them, “I don’t know the man!” Immediately a rooster crowed. Then Peter remembered the word Jesus had spoken: “Before the rooster crows, you will disown me three times.” And he went outside and wept bitterly.

Matthew 26 : 73-75

ใช่ว่าทุกเมล็ดพันธุ์จะสามารถงอกงามได้ทุกผืนดินบนโลกที่กว้างใหญ่ใบนี้ อย่างน้อยก็เมล็ดพันธุ์ของศาสนาคริสต์ ไม่สามารถหยั่งรากลงสู่หนองบึง (Swamp) ผลิดอกแตกใบบนเกาะญี่ปุ่นนี้ได้, นี่เป็นประโยคที่คัดลอกมาจากนิยายของ Shūsaku Endō ตรงๆเลยนะครับ ที่มักเปรียบประเทศญี่ปุ่นเสมือนหนองบึง โคลนตม แตกต่างจะสถานที่อื่นในโลก ทำให้อะไรหลายๆอย่างมีความผิดแผกแปลกต่างออกไป ความไม่เหมือนนี้สามารถมองได้คือจุดแข็ง/จุดเด่น แต่ขณะเดียวกันก็คือความโดดเดี่ยว อ้างว้าง ลำพัง ไม่มีคนนอกทั่วไปจะสามารถเข้าใจให้การช่วยเหลือได้เมื่อมีปัญหา

Martin Scorsese ให้นิยามกับ Silence สั้นๆว่า ‘the necessity of belief fighting the voice of experience.’

ไม่มีสามัญชนคนไหนสามารถรับรู้ทุกสิ่งอย่างในสากลโลกและจักรวาล ดังนั้นกับสิ่งที่มนุษย์ไม่รู้ไม่เข้าใจ จึงมักเกิดเป็น ‘ความเชื่อ’ สมมติฐาน คาดการณ์ ได้ยินบอกต่อ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง ฯ ตราบใดที่ยังไม่ตรัสรู้แจ้งในสิ่งๆนั้น ก็มิอาจหาข้อสรุปเท็จจริงของสิ่งที่เราเรียกว่าความเชื่อนี้ได้ (แต่มันก็มีมนุษย์บางประเภท ที่ต่อให้เราสามารถพิสูจน์รู้แจ้งเห็นจริงได้แล้ว ก็ยังปฏิเสธไม่ยอมรับว่านั่นคือสิ่งถูกต้อง)

มนุษย์ทุกคนในโลกจำเป็นต้องมี ‘ความเชื่อ’ ต่ออะไรสักอย่าง (ไม่จำเป็นต้องต่อศาสนานะครับ) เช่นว่า ทำแบบนี้แล้วมีใครสักคนได้รับประโยชน์, ตายไปแล้วชีวิตไม่สูญเปล่า ฯ นี่ก็เพื่อว่าจะเป็นแรงจูงใจ ผลักดันให้เกิดเป้าหมายการมีชีวิตอยู่ สามารถดำรงชีพไปสู่ปลายทางสำเร็จของความเชื่อนั้นได้

แต่ความเชื่อเป็นสิ่งที่มักจะมาพร้อมกับอุดมการณ์ และศรัทธาที่เหนียวแน่นมั่นคง ตามเสียงลือเสียงเล่าอ้าง, ประชาคมหมู่, เสี้ยวความจริงบางส่วนที่ได้ค้นพบ, หรือตามบรรพบุรุษสั่งสมสร้างคัมภีร์สรุปรวบรวมคำสอนสั่งไว้เป็นแนวทาง ฯ เพราะแต่ละบุคคล ภาคส่วนของโลก ได้เรียนรู้สืบทอดแนวคิด ความเชื่อ ศรัทธา ค่านิยม ของชาติพันธุ์ตนเองไว้ มันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนนอกจะสามารถเข้ามาทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพราะมันหมายถึงเป้าหมาย วิถีชีวิตที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง

ลองคิดจินตนาการดูนะครับ สำหรับชาวพุทธ ความทุกข์ทรมานลำบากแสนเข็นในชีวิตชาตินี้ พระพุทธเจ้าบอกว่าเป็นผลกรรมจากอดีตชาติที่เคยสะสมก่อกระทำไว้ เราอาจเคยไปทำให้ผู้อื่นใดเกิดความเดือดร้อนทุกข์ใจ ชาตินี้จึงถูกเขากระทำกลับเป็นกงเกวียนกำเวียน วนเวียนซ้ำๆซากๆอยู่อย่างนี้จนกว่าจะหลุดพ้นวัฏฏะสังสาร, สำหรับบางคนที่ได้ยินเช่นนี้ แทนที่จะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายท้อใจ หวาดหวั่นเกรงกลัว กลับพยายามแสวงหาความจริงช่องทางอื่นเพื่อเอาหนีตัวรอด ซึ่งเรื่องราวเดียวกันนี้ ศาสนาคริสต์ให้คำแนะนำสั่งสอนว่า ก็จงอดทนไปต่อไปก่อน เชื่อมั่นศรัทธาในพระเจ้าเข้าไว้ พอถึงวันตายเสียชีวิตดวงจิตวิญญาณของเราจะได้เป็นสุขขึ้นสู่สรวงสวรรค์ อาศัยอยู่เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าตราบจนชั่วนิรันดร์ … คำสอนแบบนี้มันช่างยั่วยวนใจเสียเหลือเกินนะครับ แต่ความจริงสากลสัจธรรม มันควรจะมีแค่เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นนะที่ถูกต้อง!

ผมไม่ได้มีความต้องการอยากจะวิพากย์พาดพิง แต่มันก็อดไม่ได้ในเรื่องการสารภาพบาป เพราะหนังจงใจให้ชาวคริสต์ได้ครุ่นคิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย กับคนที่ยากจะให้อภัยแบบ Kichijiro ทรยศหลักหลังผู้อื่นซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำซากจนน่ารำคาญ แต่ตามหลักคำสอนพระผู้เป็นเจ้ากลับสามารถให้อภัย ยินยอมแบกรับความผิดทุกสิ่งอย่าง ให้เขากลับกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องได้ นี่เป็นสิ่งที่ชาวพุทธแท้ๆไม่สามารถยินยอมรับได้เลย เพราะเรามีคำสอนที่ว่า ‘กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมคืนสนอง’ สิ่งที่เขาเคยทำ สักวันย่อมได้รับผลตอบแทนกลับคืน วนเวียนกลับมาซ้ำรอยไม่ในชาตินี้ก็ภพหน้าต่อๆไป สารภาพบาปเพื่อให้รู้สึกนึก ย่อมไม่เพียงพอที่จะลบล้างมลทินความผิดนี้

ผมอาจจะเข้าใจอะไรผิดๆต่อแนวคิดของศาสนาคริสต์ แต่ที่เล่ามานี่คือจากมุมมองของคนนอกศาสนาที่เห็นจากหนังเรื่องนี้ เชื่อว่าคนไทยชาวพุทธหลายๆคนขณะรับชมหนัง คงจะต้องแอบให้กำลังใจเชียร์ฝั่งญี่ปุ่น บางคนอาจลุ้นให้พระเอกได้เรียนรู้ทำความเข้าใจ และแปรพักตร์เปลี่ยนมาเป็นศาสนาของเราแบบเข้าใจในแก่นแท้ แต่เพราะอย่างที่ผมบอกไปตั้งแต่ต้น หนังเรื่องนี้ไม่ใช่มุมมองของชาวคริสต์ที่อยากเปลี่ยนแปลงศาสนา แต่เพราะการถูกกดดันบีบบังคับ แบบไม่สมยอม นี่ทำให้ศาสนาอื่นสามารถมองญี่ปุ่นและศาสนาเราเป็นศัตรูทางความเชื่อศรัทธา ซึ่งผมมองเห็นว่านี่เป็นแนวคิดที่ชั่วร้าย แอบแฝงการมุ่งทำลายศาสนาอื่น โกหกโป้ปดหลอกลวง ยกย่องพระเจ้าของตนเองถูกต้องจริงแท้สากล

มีสิ่งหนึ่งที่ผมอยากรู้มากๆว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อผู้มีศรัทธาเชื่อมั่นในศาสนาตนเองอย่างแรงกล้า ค้นพบสัจธรรมความจริงของโลก ว่ามันมิได้เป็นเช่นดังคำสอนที่ตนเรียนรู้มา จิตใจของคนเหล่านั้นจะเป็นเช่นใด, นี่ก็เช่นเดียวกันกับพุทธศาสนานะครับ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้คุณเชื่อแบบหลับหูหลับตา หรือแม้แต่หัวปลักหัวปลำกับคำสอนของพระองค์เอง

กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่

  1. มา อนุสฺสวเนน – อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
  2. มา ปรมฺปราย – อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
  3. มา อิติกิราย – อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
  4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน – อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
  5. มา ตกฺกเหตุ – อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเดาว่าเป็นเหตุผลกัน
  6. มา นยเหตุ – อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมานคาดคะเน
  7. มา อาการปริวิตกฺเกน – อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเดาจากอาการที่เห็น
  8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา – อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
  9. มา ภพฺพรูปตา – อย่าปลงใจเชื่อ เพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ
  10. มา สมโณ โน ครูติ – อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

“เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้”

reference: http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=4930&Z=5092

“You may trample. You may trample. I more than anyone know of the pain in your foot. You may trample. It was to be trampled on by men that I was born into this world. It was to share men’s pain that I carried my cross.”

เพราะการดังขึ้นประโยคนี้ ไม่สมควรอย่างยิ่งเลยที่นิยาย/หนังจะใช้ชื่อว่า Silence มีนักวิจารณ์ตั้งชื่อใหม่ให้หนังว่า Message of God เสียด้วยซ้ำ, แต่ถ้ามองว่า Silence คือสภาวะของความคาดหวังการช่วยเหลือจากพระเจ้า นี่เป็นสิ่งที่พระองค์ไม่มีวันแสดงออก พูดความต้องการออกมาแน่ๆ

ด้วยทุนสร้างประมาณ $50 ล้านเหรียญ หนังทำเงินได้ทั่วโลก $23.7 ล้านเหรียญ ขาดทุนย่อยยับ ก็แน่ละหน้าหนังแทบไม่มีความน่าสนใจในกระแสของผู้ชมแม้แต่น้อย กว่าจะเริ่มโปรโมท ออกโปสเตอร์ Trailer ก็ใกล้ๆวันออกฉายแล้ว อีกทั้งยังถูกมองข้ามจากงานประกาศรางวัลปลายปี แม้ได้รับคำยกย่องว่าคือ Masterpiece แต่กลับเข้าชิง Oscar เพียงสาขาเดียว (Best Cinematography) เรียกว่าแทบไม่มีอะไรเป็นจุดขายแม้แต่น้อย นอกจากแฟนเดนตายของผู้กำกับ Martin Scorsese (แต่ชื่อนี้ก็ไม่ได้การันตีว่า หนังจะประสบความสำเร็จทำเงินสักเท่าไหร่)

ก่อนหนังจะออกฉายตอนสิ้นปี เห็นว่ามีการจัดรอบพิเศษให้บาทหลวงที่กรุงโรม, และปฐมทัศน์ที่วาติกัน ให้พิจารณารับชมก่อนเลย ว่าควรยกย่องสรรเสริญหรือต่อต้าน Blasphemous, แต่ผลลัพท์กลับเงียบฉี่ ไม่ได้ยินโป๊ปออกมาพูดอะไรถึงหนังทั้งนั้น (แต่มีภาพข่าวที่เห็น Marty จับมือกับ Pope Francis อยู่นะครับ)

จริงๆหนังถือว่าดูสนุกตื่นเต้น กดดันลุ้นระทึก แฝงสาระแนวคิดเกี่ยวกับศาสนาและประวัติศาสตร์ แต่เหตุผลที่ผมไม่ชื่นชอบเลยสักนิด เพราะประเด็นชวนเชื่อของศาสนาคริสต์ และการปฏิเสธต่อต้านแนวคิด วัฒนธรรม ศาสนาอื่นโดยสิ้นเชิง ซึ่งนี่ไม่ใช่แค่เรื่องราวของหนัง แต่ยังสะท้อนถึงตัวผู้กำกับ Martin Scorsese ที่ผมอุตส่าห์คาดหวังคิดว่า เขาจะเปิดใจกว้างรับเอาแนวคิด ศึกษาให้เข้าถึงศาสนาอื่นบ้าง แต่นี่… และตอนจบที่ภาพค่อยๆไหลเข้าไปจนเห็นมือของบาทหลวง Rodrigues กำไม้กางเขนอยู่ (ฉากนี้ไม่มีในนิยาย เป็น Marty ที่คิดใส่เพิ่มเข้าไปเอง) จบสิ้นกัน เพราะมันหมายถึงพี่แกทำหนังด้วย passion ในความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้าอันล้นพ้นเต็มเปี่ยม ไม่มีที่ว่างหลงเหลือให้ศาสนาเติมน้ำใส่แก้วแม้แต่น้อย

ถ้าคุณนับถือศาสนาคริสต์ แนะนำว่านี่เป็นหนัง “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แต่ถ้าเป็นชาวพุทธแนะนำให้หลีกเลี่ยงไปเลยจะดีกว่า ยกเว้นถ้าคิดว่าตัวเองมีวุฒิภาวะดีพอ แยกแยะตัดสินเรื่องราวต่างๆได้ ก็ลองหามารับชมเสี่ยงดูเองนะครับ

แนะนำกับคอหนังประวัติศาสตร์ Epic Drama ญี่ปุ่นยุคสมัย Edo Period, แฟนๆผู้กำกับ Martin Scorsese นักแสดงนำอย่าง Andrew Garfield, Adam Driver และ Liam Neeson ไม่ควรพลาด

จัดเรต 18+ กับปมประเด็นขัดแย้งทางความเชื่อ ศรัทธา และศาสนา

TAGLINE | “Silence อีกหนึ่งผลงาน Masterpiece ของ Martin Scorsese สิ่งที่เงียบไม่ใช่เสียงของพระเจ้า แต่คือความพยายามปิดปากศาสนาความเชื่ออื่น”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | WASTE

The Texas Chain Saw Massacre (1974)


The Texas Chain Saw Massacre

The Texas Chain Saw Massacre (1974) hollywood : Tobe Hooper ♥♥♥

ความรุนแรงบ้าคลั่งระดับหลุดโลกที่ปรากฎอยู่ในหนังเรื่องนี้ มันเป็นสิ่งที่คุณเห็นกับตา หรือครุ่นคิดไปเองว่าเห็น, จะบอกว่า The Texas Chain Saw Massacre ต้นฉบับภาคแรกสุดของผู้กำกับ Tobe Hooper มันอาร์ทระดับสมบูรณ์แบบเสียยิ่งกว่า Psycho (1960) อีกนะ

คือต้องถือว่า Tobe Hooper รับอิทธิพลจาก Psycho (1960) ของผู้กำกับ Alfred Hitchcock มาเต็มๆเลยละ ทฤษฏีที่เรียกว่า ‘Subliminal Images’ งานภาพเตรียมบรรยากาศความน่าสะพรึง หลอนระทึกไว้พร้อม ตัวละครแสดงการกระทำบางอย่างออกมา ผู้ชมจะไม่เห็นตรงๆว่าเขาทำอะไร แต่จิตใต้สำนึก/สันชาตญาณจะจินตนาการคิดไปเอง ว่ามีบางสิ่งอย่างนั้นกำลังเกิดขึ้น

The Texas Chain Saw Massacre ตอนออกฉายได้รับเสียงวิจารณ์ก้ำกึ่ง ส่วนใหญ่จะวิพากย์ความรุนแรงอันไร้ต้นสายปลายเหตุ ไม่มีจุดเริ่มต้นที่มาที่ไป และเหตุผลของความบ้าคลั่ง แต่สามารถเรียกได้ว่าเป็น pure-Horror หนังที่สร้างอารมณ์สะพรึงกลัว สยองขวัญสั่นประสาท ขนลุกขนพองให้กับผู้ชมเพียงอย่างเดียว แทบจะหาสาระประโยชน์อื่นใดไม่ได้, แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป เมื่อนักวิเคราะห์/วิจารณ์ ได้ทำการศึกษาวิธีการ เรียนรู้ค้นพบเทคนิคการเล่าเรื่องที่มีความเฉลียวฉลาด เล่นแง่ มาเหนือเมฆ ทำให้ค่อยๆได้รับการยกย่องชื่นชมเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา จนปัจจุบันกลายเป็นหนึ่งในหนังแนว Horror ระดับ Masterpiece สร้างอิทธิพลแรงบันดาลใจให้กับผู้สร้างภาพยนตร์รุ่นใหม่ โดยเฉพาะกับ Nicolas Winding Refn ผู้กำกับสัญชาติ Danish ที่มีผลงานอย่าง Drive (2011), Only God Forgives (2013), The Neon Demon (2016) ฯ นี่คือหนังเรื่องโปรดของเขาเลยละ

“When I was 14 I saw The Texas Chain Saw Massacre… I saw that film was an art form, meaning that I saw subliminal images. That’s when I realized the power of art: it’s not what you see, it’s what you think you see… That’s when it penetrates an audience. That’s when it goes deep. On the surface you watch like a brain, [and] you understand. But with subliminal images, or the thought of subliminal images, [that’s] when it has penetrated and the art has taken over your body.”

– Nicolas Winding Refn

William Tobe Hooper (1943 – 2017) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Austin, Texas ครอบครัวเป็นเจ้าของกิจการโรงภาพยนตร์ที่ San Angelo ทำให้ตัวเขามีความสนใจ จับกล้อง 8 mm เล่นถ่ายภาพยนตร์ตั้งแต่เด็ก โตขึ้นเข้าเรียนที่ University of Texas at Austin สาขา Radio-Television-Film และเรียนการแสดงที่ Dallas ภายใต้อาจารย์ Baruch Lumet, หลังเรียนจบทำงานเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัย ควบคู่กับเป็นตากล้องถ่ายทำสารคดี มีผลงานภาพยนตร์ทุนสร้างต่ำ Eggshells (1969), The Song Is Love (1969)

จุดเริ่มต้นของ The Texas Chain Saw Massacre มาจากความสนใจข่าวฆาตกรต่อเนื่อง Ed Gein เจ้าของฉายา The Butcher of Plainfield ที่ถูกจับได้เมื่อปี 1957 หลังจากทำการฆ่าหญิงสาวหลายคน แล้วทำการขุดศพขึ้นมาจากสุสาน เก็บกระดูก ผิวหนัง เส้นผมของเธอไว้เป็นรางวัลความสำเร็จ (Trophy)

เนื่องจากในหนังจะไม่มีการนำเสนอที่มาที่ไปของตัวละคร/เรื่องราว ผมจะขอเล่าพื้นหลังของ Ed Gein ให้ไว้เป็นข้อสังเกตแล้วกัน,

Edward Theodore Gein (1906 – 1984) เกิดที่ La Crosse County, Wisconsin มีพี่ชายอีกคนชื่อ Henry George Gein พ่อเป็นคนขี้เมาพึ่งพาอะไรไม่ค่อยได้ เคยเป็นเจ้าของร้านขายของชำ แต่พอกินเหล้าไร้สติกลับขายกิจการทิ้ง แล้วซื้อบ้านที่เป็นฟาร์มอยู่ห่างไกลผู้คนในเขต Plainfield, Waushara County ส่วนแม่ด้วยความเหม็นขี้หน้ารังเกียจทนสามีไม่ได้ ทำให้กลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เสี้ยมสอนปิดกั้นลูกๆทั้งสองไม่ให้คบพบเจอเพื่อนใหม่ ปลูกฝังแนวคิดการดื่มสุราเป็นสิ่งชั่วร้าย ผู้หญิงทั้งหลายคือโสเภณีปีศาจเชื้อโรค ทุกวันจะอ่านคัมภีร์ไบเบิ้ล เลือกบทที่เกี่ยวกับการตาย ฆาตกรรม และการลงโทษของพระเจ้า

จากพื้นหลังประมาณนี้คงไม่แปลกอะไรถ้าโตขึ้น Ed Gein จะกลายเป็นผู้มีปัญหาทางจิต อ้างว้างโดดเดี่ยวเพราะไม่มีเพื่อน/คนรัก โดยเฉพาะเมื่อพ่อ-แม่ เสียชีวิตจากไป และพี่ชายหัวใจล้มเหลว เลยเกิดความเข้าใจผิดต่อโลกเมื่อต้องอาศัยใช้ชีวิตเอาตัวรอดเพียงลำพัง, จะว่าเบื้องหลังแท้จริงที่ทำให้เกิดชายชื่อ Ed Gein มาจากผลกระทบของสภาพสังคม วิถีชีวิตของชาวอเมริกา ช่วงทศวรรษนั้นไปเสือกจุ้นวุ่นวายกับชาวโลก ไม่หันกลับมาดูพัฒนาประเทศตัวเอง ทิ้งขว้างประชาชนให้เกิดความเน่าเฟะขึ้นภายใน

ความตั้งใจของ Hooper ร่วมกับ Kim Henkel พัฒนาบทภาพยนตร์ที่นำพาให้ผู้ชมเกิดความหลงเชื่อ ‘film you are about to see is true’ จริงๆแทบทั้งหมดเป็นเพียงเรื่องแต่ง เพื่อให้สอดคล้อง เกิดความรู้สึกคล้ายๆกับการที่รัฐบาลของอเมริกา โกหก โป้ปดต่อประชาชนในเรื่อง สงครามเย็น, วิกฤตการน้ำมัน, สงครามเวียดนาม ฯ ภาพข่าวทั้งหลายที่นำเสนอในโทรทัศน์เต็มไปด้วยความรุนแรงโหดร้าย แต่ไฉนผู้คนกลับไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจ เจ็บปวดสั่นสะท้อน ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น

“man was the real monster here, just wearing a different face, so I put a literal mask on the monster in my film”.

เรื่องราวของหนังประกอบด้วยกลุ่มเพื่อน 5 คน เป็นชาย 3 หญิง 2 (เป็นคู่รักสองคู่ และไอ้อ้วนพิการเดินไม่ได้) ออกเดินทางเพื่อไปค้างแรมยังบ้านร้างหลังหนึ่ง อดีตเคยเป็นของปู่ทวด Sally Hardesty (รับบทโดย Marilyn Burns) แต่เมื่อไปถึงได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อเพื่อนๆทะยอยหายตัวไปทีละคนสองคน จนกระทั้งเหลือเธอเป็นคนสุดท้ายที่ได้พบกับ Leatherface ฆาตกรต่อเนื่องสวมหน้ากากหนัง วิ่งไล่ถือ Chain saw (เลื่อยไฟฟ้า) กวดตามหลังมาติดๆ

ด้วยความเป็นหนังทุนสร้างต่ำมากๆ ใช้นักแสดงหลักๆเพียง 5+3 คน ผู้กำกับจึงเลือกคนที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ค่าตัวไม่แพงนัก หมดไปเยอะกับค่าเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ประกอบฉากและ Special Effect มากมาย

Marilyn Burns (1949 – 2014) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกา เกิดที่ Erie, Pennsylvania เติบโตขึ้นที่ Houston, Texas มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นตัวประกอบ Brewster McCloud (1970) ได้รับบทนำครั้งแรกก็จาก The Texas Chain Saw Massacre (1974)

สำหรับบทบาท Sally Hardesty ต้องขอชื่นชมในเสียงกรีดร้องอันบ้าคลั่งแก้วหูแทบแตก ที่ทำให้ผมต้องลดเสียงลำโพงลงเพราะเกรงใจห้องข้างๆ (ดีนะไม่มีใครมาเคาะห้อง) ราวกับหมู/ไก่ ขณะกำลังจะถูกเชือด ดิ้นรนสุดชีวิตเพื่อเอาตัวรอดไม่อยากถูกฆ่า เห็นแบบนี้ทำเอาผมไม่อยากกินเนื้อสัตว์ไปเลยหลายวัน

หลังจากหนังเรื่องนี้ ว่ากันตามตรงแทบไม่มีใครอยากเลือก Burns ให้มาแสดงในหนังเท่าไหร่ เพราะติดภาพลักษณ์ผู้รอดชีวิตจากความตายอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งอีกบทบาทเด่นของเธอเป็น miniseries เรื่อง Helter Skelter (1976) ดัดแปลงจากเรื่องจริงของ Charles Manson และครอบครัวที่ได้วางแผนฆาตกรรมหมู่ Sharon Tate ตัวเธอรับบท Linda Kasabian ที่แปรพักตร์แล้วให้การขัดแย้งกับครอบครัว

สำหรับ Leatherface รับบทโดย Gunnar Milton Hansen (1947 – 2015) นักเขียนแสดงสัญชาติ Icelandic เกิดที่ Reykjavík, Iceland อพยพมาอยู่อเมริกาเมื่อตอน 5 ขวบ อาศัยอยู่ที่ Austin, Texas โตขึ้นเข้าเรียน University of Texas at Austin สาขาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ หลังจากเรียนจบได้ยินข่าวหนังเรื่องหนึ่งถ่ายทำแถวๆบ้าน จึงลองไปเสี่ยงดูทำให้ได้รับเลือก แต่พออ่านบทก็ปฏิเสธเพราะความรุนแรง แต่เพราะได้รับการโน้มน้าวจาก Marily Burns ที่เป็นเพื่อนกันมาก่อน จึงตัดสินใจลองเสี่ยงด้วยกัน

หน้ากาก Leatherface อ้างว่าทำมาจากหนังของมนุษย์ เหตุผลที่ต้องสวม ผู้กำกับอ้างว่าเพื่อแสดงถึงบุคลิกนิสัยของตัวละคร แต่ Hansen กลับบอกว่า เป็นการแสดงออกสีหน้าของตัวละคร ให้มีความน่ากลัว หลอกหลอนขึ้นมากกว่า (เพราะใบหน้าจริงๆของ Leatherface ด้วยฟันปลอมที่ทำให้พูดไม่ได้ ตัวละครคงไม่มีความน่าสะพรึงกลัวเสียเท่าไหร่)

แซว: จริงๆแล้ว Hansen วิ่งเร็วกว่า Burns มากๆ แต่เพื่อทำให้เหมือนดูวิ่งช้ากว่า จึงจำเป็นวิ่งวนไปมา ย่ำอยู่กับที่ กวัดแกว่งเลื่อยไฟฟ้า (จริงๆทำท่านี้เพื่อประชดผู้กำกับ Hooper ที่ไม่ค่อยเอาใจใส่ทีมงานนักแสดงของเขาเสียเท่าไหร่)

ถ่ายภาพโดย Daniel Pearl เห็นว่าตอนถ่ายทำหนังเรื่องนี้ ยังเป็นนักศึกษาอยู่ที่ University of Texas at Austin พบเจอกับ Hooper ในห้องแลปล้างฟีล์ม (ไม่แน่ใจเป็นศิษย์อาจารย์กันหรือเปล่า) หลังจากได้รู้จักกัน ชักชวนมาถ่ายทำหนังเรื่องนี้ด้วยเหตุผลว่า ‘It’s really important that I have a Texan shoot this film.’, หลังเรียนจบ Pearl เน้นทำงานเป็นตากล้อง Music Video รับถ่ายภาพยนตร์ประปราย มักกับหนังแนว Horror อาทิ The Texas Chainsaw Massacre (2003) [ฉบับ Remake], Aliens vs. Predator: Requiem (2007), Friday the 13th (2009)

เทคนิคของงานภาพที่โดดเด่นมากๆของหนังมีด้วยกันสองอย่าง
1) คือการค่อยๆ Zoom เข้าสู่วัตถุสิ่งของ/ตัวละคร ฯ นี่เพื่อให้ผู้ชมเกิดการโฟกัส ให้ความสนใจจุดสังเกตที่หนังนำเสนอ อาทิ เลื่อยไฟฟ้า, กระดูกสัตว์, รอยเลือดข้างรถตู้, สีหน้า/ดวงตาของตัวละคร ฯ เพราะมันกำลังมีอะไรบางอย่างกำลังจะเกิดขึ้นโดยสิ่งนั้น

คาดเดา: สัญลักษณ์รอยเลือดข้างรถตู้ ผมว่ามันคล้ายส่วนหัวและจงอยไก่ที่ถูกเชือด (รอยเลือดไหลเป็นทาง)

2) การค่อยๆเคลื่อนกล้อง รวมถึงช็อตติดตาม (Tracking Shot) นี่คือการสร้างบรรยากาศให้กับหนังล้วนๆ เกิดความลึกลับ พิศวงสงสัย สะพรึงกลัว ฯ โดดเด่นมากกับฉากที่ Pam ร้องเรียกหาแฟนหนุ่ม Kirk กล้องถ่ายภาพมุมเงยมองเห็นบ้านทั้งหลาย แล้วติดตามเลื่อนลอดเก้าอี้ขณะเดินเข้าไป (มุมเงยคือมุมที่ Lillian Gish เรียกว่า Devil’s Eye)

สังเกตว่าตัวละครผู้ชายจะถูกฆ่าเร็วมากๆ แบบไม่ทันตั้งตัวด้วย ส่วนหญิงสาวทั้งสองจะไม่มีความรีบเร่ง ปล่อให้วิ่งหนีวิ่งไล่ พอจับได้แล้วก็ลีลาพูดคุยหยอกเล่น ทรมานเหยี่อ (คือถ้าเป็นผู้ชาย มักจะไม่แค่วิ่งหนีแต่มักหาทางต่อสู้กลับด้วย ผิดกับผู้หญิงที่มักคิดว่าตัวเองสู้พลังฆาตกรไม่ได้แน่ ทางรอดสถานเดียวคือหนีเอาตัวรอดหาคนช่วย แบบไม่สนใจอะไรทั้งนั้น)

การฆาตกรรมของคู่แรก หญิงสาว Pam (รับบทโดย Teri McMinn) หลังจากพยายามวิ่งหนีถูก Leatherface ยกขึ้นจับห้อยกับที่แขวนเนื้อสัตว์ (meat hook) ก็ไม่รู้หรอกว่าทำได้อย่างไร เพราะเราจะไม่เห็นภาพด้านหลัง [นี่เป็นการเปรียบเทียบสะท้อนว่า มนุษย์ไม่ต่างอะไรจากสัตว์] ขณะเดียวกันแฟนหนุ่ม Kirk (รับบทโดย William Vail) ที่ถูกทุบหัวเสียชีวิตไปก่อนหน้า เราจะเห็นว่า Leatherface ยกถังมาวางไว้ กำลังจะทำอะไรสักอย่าง … ลองสังเกตฉากนี้ให้ดีๆว่าตัวละครกำลังทำอะไร แล้วเราเห็นภาพขณะทำหรือเปล่า มีเลือดหยดไหม? คือเพราะมันมีช็อตก่อนหน้าที่มีการเชือดคอไก่ให้เห็น ผู้ชมส่วนใหญ่จะหลงคิดจินตนาการตามไปว่า นี่เป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับตัวละคร ก็ใช่มันคงเกิดขึ้นแบบนั้น แต่ความเข้าใจนี้เกิดจากสมองของเราประมวลผล ไม่ใช่จากภาพที่มองเห็น

เช่นกันกับการตายของ Franklin (รับบทโดย Paul A. Partain) เราจะเห็นภาพจากด้านหลังรถเข็น Leatherface ทำการยกสะบัดกวัดแกว่ง Chain saw ไปมา แต่จะไม่มีภาพขณะที่ชายพิการถูกเลื่อยไฟฟ้าสัมผัสโดนตัวเลือดพุ่งกระฉูดแม้แต่น้อย เป็นความคิดจินตนาการเข้าใจของเราไปเองล้วนๆ, แต่มันก็มีช็อตหนึ่งช่วงท้าย Leatherface ล้มลงทำให้เกิดอุบัติเหตุเลื่อยไฟฟ้าถูกขาตนเอง เอาน่า ถือเป็นการแถมๆให้ผู้ชมเห็นภาพโหดๆสยองๆในไคลน์แม็กซ์เสียหน่อย จะได้หลงผิดคิดเข้าใจว่าเป็นแบบนี้ตลอดทั้งเรื่อง

เกร็ด: Hooper มีความตั้งใจให้หนังเรื่องนี้ได้เรต PG ถึงขนาดสอบถามกับ MPAA ว่าต้องทำอย่างไร ซึ่งผู้กำกับพยายามหลีกเลี่ยงการนำเสนอภาพความรุนแรง แทบไม่เห็นเลือดสาดกระเซ็น หรือการฆ่าแบบถูกเนื้อถูกตัว … กระนั้นไร้ภาพรุนแรงแต่ก็ยังเต็มไปด้วยความรุนแรง มันก็ตลกเกินไปแล้วละถ้าหนังได้เรต PG

ตัดต่อโดย Larry Carroll, Sallye Richardson หนังไม่ได้ใช้มุมมองของตัวละครใดเป็นพิเศษ แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 องก์
– องก์ที่ 1 แนะนำตัวละคร พูดคุยเรื่อยเปื่อยไร้สาระ เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์, ความรุนแรง, โชคดวงชะตา
– องก์ที่ 2 ฆ่ากันให้ตายๆไปให้หมด
– องก์ที่ 3 คนสุดท้ายที่ยังรอดชีวิต จะถูกนำไปทรมาน เปิดเผยแนะนำฝั่งผู้ร้าย และการหนีไคลน์แม็กซ์จะสำเร็จหรือไม่

ลีลาการตัดต่อถือว่าเป็นไฮไลท์ของหนัง ค่อยๆสร้างสัมผัสของความน่าสะพรึงกลัว กระวนกระวาย ลุ้นระทึก ฉงนสงสัย, หนังจงใจหลีกเลี่ยงการนำเสนอให้เห็นว่า Leatherface ทำอะไรกับเหยื่อทั้งหลาย มักจะตัดข้ามไม่นำเสนอพูดถึงแม้แต่น้อย ปล่อยให้เป็นหน้าที่จินตนาการของผู้ชมในการครุ่นคิดเอาเองว่าเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้น

ฉากที่ Sally ถูกจับมัดกับเก้าอี้ส่งเสียงกรีดร้องลั่นสุดเสียง มีการตัดสลับ Montage ระหว่างภาพ Close-Up ไปที่ใบหน้า ดวงตา การดิ้นรนของหญิงสาว สลับกับการหัวเราะเยาะเย้ย ท่าทางล้อเลี่ยนของฝั่งฆาตกร, ส่วนตัวรู้สึกรำคาญขยะแขยงกับฉากนี้นะ (นี่เป็นฉากที่ผมต้องลดลำโพงลงเยอะเลยละ) แต่ความทรงพลังที่ออกมา มันสั่นสะท้านบาดลึก เจ็บเข้าไปในทรวงหัวใจของผู้ชม,

เพลงประกอบโดย Wayne Bell กว่าจะเริ่มได้ยินก็เมื่อเหยื่อรายแรกถูกสังหาร แต่เห็นว่าไม่ได้มาจากเครื่องดนตรีใดๆทั้งนั้น (นำมาจากเสียงในโรงฆ่าสัตว์ หมู/ไก่ ถูกเชือด หรือเครื่องจักรกลไก ฯ) ให้สัมผัสสั่นสะท้าน ขนหัวลุกพอง สร้างบรรยากาศให้เกิดความสะพรึงกลัว สั่นประสาทยิ่งๆขึ้นไปอีก

เปลือกนอกของหนังเรื่องนี้ นำเสนอเหตุการณ์ Random อะไรก็ไม่รู้ที่มีแนวโน้มอาจเกิดขึ้นได้ กับคนธรรมดาสามัญ วัยรุ่นหนุ่มสาวทั่วไป ไม่เคยคิดว่าจะเกิดกลับพบเจอ นี่ก็เหมือนกับชีวิตที่ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะเป็นไปในรูปแบบไหน แต่กับสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องของโชคชะตาล้วนๆ ไม่มีเข้าใครออกใคร

สิ่งที่น่าสนใจและทำให้หนังเรื่องนี้กลายเป็นตำนาน ไม่ใช่แค่ความ Horror หลอกหลอน สั่นสะท้าน ตราติดตรึงใจผู้ชมเท่านั้น แต่ยังคือนัยยะที่แอบแฝง สะท้อนถึงอเมริกันชนได้อย่างลึกซึ้งถึงกึ๋น

การฆาตกรรม (Murder) หรือ Cannibalism (การกินเนื้อพวกเดียวกันเอง) สะท้อนถึงค่านิยมทางสังคมของชาวอเมริกันทุกยุคทุกสมัย นี่ไม่ได้แปลว่าพวกเขากินกันเองนะครับ แต่คือการเหยียบย่ำซ้ำเติมดูถูก โดยเฉพาะกับคนที่ไร้ประสิทธิภาพ หรือไม่ได้เป็นพวกเดียวกันเองกับตน (คนละสีผิว/เชื้อชาติ/ศาสนา จะไม่ได้รับการยินยอมรับให้เข้าพวก) ถึงปากจะอ้างว่าคือดินแดนแห่งเสรีชน แต่ไฉนกลับเป็นผู้ก่อให้เกิดสงครามเย็น, สงครามเวียดนาม, ความขัดแย้งกับคนผิวสี ฯ

เมื่อปี 1972 เกิดเหตุการณ์ Watergate Scandal (คดีวอเตอร์เกต) เหตุอื้อฉาวทางการเมืองของอเมริกา สืบเนื่องมาจากเกิดเหตุลักลอบโจรกรรมสำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต ณ อาคาร Watergate Complex ในกรุง Washington D.C. เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 1972 ในขณะที่คณะทำงานของประธานาธิบดี Richard Nixon พยายามปกปิดหลักฐานถึงการข้องเกี่ยวในเหตุโจรกรรมดังกล่าว เพราะมีเอกสารสำคัญหลายอย่าง, เทปลับบันทึกการสนทนา ฯ แต่ในที่สุดเรื่องอื้อฉาวก็ได้รับการเปิดเผย นำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรกครั้งเดียวในประวัติศาสตร์อเมริกัน, เหตุการณ์นี้ยังนำไปสู่การฟ้องร้อง ไต่สวน ลงโทษ และจำคุกบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 43 คน รวมไปถึงคณะทำงานระดับสูงของรัฐบาล Nixon อีกหลายสิบคน

ที่ผมยกเหตุการณ์นี้ขึ้นมา เพราะหนังมีการนำเสนอแบบ misdirection ความพยายามทำให้ผู้ชมเข้าใจผิด บิดเบือนความจริง นี่คือสิ่งที่อเมริกาเป็นอยู่ในทศวรรษนั้น และ Watergate Scandal ได้ทำให้ประชาชนฉุกคิดตระหนักขึ้นมาได้ว่า สิ่งที่พวกเขารับรู้จากรัฐบาล/สื่อต่างๆ หาได้มีความถูกต้องเป็นจริงเสมอไป นี่ทำให้เกิดความหวาดหวั่นวิตกกลัว คาดคิดไม่ถึงมาก่อน เสียงกรีดร้องที่ได้ยินในหนัง มันไม่ใช่แค่จากตัวละคร แต่รวมถึงเสียงของประชาชนที่เริ่มเข้าใจเบื้องหลังแท้จริงของประเทศตนเอง หาได้โลกสวยงามสดใสดั่งที่คิดเพ้อฝันไว้แม้แต่น้อย

ปั๊มน้ำมันเก่าๆ, สุสาน, บ้านร้าง ผุพัง, ลำธารไม่มีน้ำไหล, ห่างไกลไฟฟ้า ฯ เหล่านี้คือสิ่งสัญลักษณ์แสดงถึงจุดสิ้นสุด ปลายทาง ความสิ้นหวัง Wasteland, Apocalyptic Landscape นัยยะถึงชาติอเมริกัน

ตัวละคร Leatherface และครอบครัว ถูกมองว่าเป็นเหยื่อของ Industrial Capitalism การเข้ามาของโลกอุตสาหกรรม, สังเกตจากการพูดถึงโรงฆ่าสัตว์ (Slaughterhouse) สมัยก่อนมนุษย์ต้องเป็นผู้ลงมือฆ่าสัตว์ด้วยตัวเองทั้งหมด แต่ปัจจุบันมีการใช้เครื่องจักรกลไกประหยัดทุ่นมือ ทำให้แรงงานมนุษย์ไม่จำเป็นอีกต่อไป การกระทำฆาตกรรมของพวกเขา จึงสะท้อนจิตใต้สำนึก ความต้องการที่จะตอบโต้อะไรบางอย่างกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปนี้

ประเด็นสุดท้ายที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ หนังเรื่องนี้ได้รับคำอธิบายว่าเป็น ‘the ultimate pro-vegetarian film’ ด้วยความที่เปรียบเทียบมนุษย์ไม่ต่างอะไรจากสัตว์ นำตัวละครแทนตำแหน่งที่ หมู/ไก่ สัตว์ฟาร์มทั้งหลายถูกนำไปฆ่ากลายเป็นอาหาร, เห็นว่าผู้กำกับ Hooper ระหว่างสร้างหนังเรื่องนี้เขาตัดสินใจเลิกกินเนื้อชั่วคราว เคยให้สัมภาษณ์บอกว่า

“In a way I thought the heart of the film was about meat; it’s about the chain of life and killing sentient beings.”

ด้วยทุนสร้างเริ่มต้นเพียง $60,000 เหรียญ ก่อนทะยานขึ้น $300,000 เหรียญในช่วง Post-Production หนังทำเงินได้ $30.8 ล้านเหรียญ กลายเป็นหนัง Indy ทำเงินได้สูงสุดขณะนั้น (ก่อนถูกทำลายลงโดย Halloween ปี 1978)

ในอเมริกาได้เรต R บางประเทศจัดเรต X ไม่ก็ถูกสั่งให้เซนเซอร์ ตัดบางฉากทิ้งไป และหลายๆที่ห้ามฉาย อาทิ Brazil, Chile, Finland, France, Iceland, Ireland, Norway, Singapore, Sweden และ West Germany

ตำนานของหนังเรื่องนี้ ได้กลายเป็นอิทธิพลให้กับหนัง Horror ในยุคถัดมา อาทิ Halloween (1978), Friday the 13th (1980), The Evil Dead (1981), A Nightmare on Elm Street (1984), The Blair Witch Project (1999) แต่เรื่องสำคัญสุดคงเป็น Alien (1979) ของผู้กำกับ Ridley Scott ที่ยกให้เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการทำให้หนังมีความรุนแรง ตราตรึงขนาดนั้น

รสนิยมส่วนตัวไม่ได้ชื่นชอบหนังแนวนี้สักเท่าไหร่ ในความรุนแรงไร้เหตุผลที่มาที่ไป และผมไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ทำไมคนสติดีๆถึงมีความต้องการสร้างเรื่องราวอันบ้าคลั่งไร้สติขนาดนี้, จริงอยู่งานศิลปะมันไร้ขอบเขต และกลุ่มคนบางประเภทต้องการสิ่งตอบสนองรสนิยมเดียวกัน แต่ใช่ว่ามุมมองทัศนคติของพวกเขาเหล่านี้ เห็นโลกสิ้นหวัง ไร้ค่าไม่ต่างจากหนังเรื่องนี้หรือยังไง

แนะนำกับคอหนัง Horror, Cult Film แนว Serial Killer สยองขวัญสั่นประสาท น่าสะพรึงกลัว, เป็นผู้นิยมความรุนแรง รสนิยม Maso/Sado, คอหนัง Indy Art-House คุณภาพระดับตำนาน ไม่ควรพลาด

จัดเรต R ผู้ใหญ่ที่ดีไม่ควรเปิดหนังเรื่องนี้ให้เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะรับชม

TAGLINE | “The Texas Chain Saw Massacre คือ Masterpiece ของหนังแนว Horror สวยงามล้ำในแง่ของศิลปะ แต่ไร้ซึ่งขอบเขตจิตสำนึก เหตุผลทางมโนธรรม”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | WASTE

The Man Who Laughs (1928)


The Man Who Laugh

The Man Who Laughs (1928) hollywood : Paul Leni ♥♥♥♥♡

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถแสดงออกได้หลากหลายอารมณ์ ยิ้มร่า หัวเราะ ร้องไห้ ซึมเศร้า ทุกข์โศก ฯ แต่ถ้าคุณถููกทำให้ไม่ว่าอารมณ์ไหนสามารถแสดงออกได้เพียงแค่ยิ้มอย่างเดียว นี่มันไม่ใช่เรื่องน่าหัวร่อแม้แต่น้อย, หนังเงียบ Masterpiece เรื่องสุดท้ายของ German Expressionist ดัดแปลงจากนิยายของ Victor Hugo นำแสดงโดย Conrad Veidt ในภาพลักษณ์ The Laughing Man ได้กลายเป็นต้นกำเนิดรอยยิ้มกว้างของ The Joker ตัวร้ายตลอดกาลของ Batman, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

มีคำเรียกของคนถูกกรีดปาก รอยแผลเป็น หรือมีความผิดปกติทางร่างกายที่ทำให้มองเห็นเหมือนคนยิ้มตลอดเวลาว่า Glasgow Smile หรือ Chelsea Smile สองคำนี้มาจากเทรนด์ในยุค 20s – 30s ไม่รู้เริ่มต้นจากหนังเรื่องนี้หรือเปล่า ที่เมือง Glasgow, Scotland และ Chelsea, London กลุ่มอันธพาลข้างถนน นักเลงหัวไม้ (Hooligan) นิยมทำเป็นสัญลักษณ์ของแก๊งค์ให้กับเหยื่อผู้ถูกปล้น ฆ่า ขัดขืน ทำร้ายร่างกาย ฯ สร้างความหวาดหวั่นวิตก สะพรึงกลัวให้กับผู้คนทั่วไป [นี่น่าจะเป็นผลกระทบจาก Great Depression หลังสงครามโลกครั้งที่ 1]

ผมหยิบหนังเงียบเรื่องนี้มารับชม สืบเนื่องจากการเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่น Universal Monster มารับรู้ภายหลังว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมามีหนังฉบับภาษาฝรั่งเศสที่เข้าฉายในเมืองไทย The Man Who Laughs (2012) ของผู้กำกับ Jean-Pierre Améris ในชื่อ ปาฏิหาริย์รักจากโจ๊กเกอร์ แค่ชื่อก็ผมก็ละเหี่ยใจแล้ว อย่าไปเสียเวลารับชมเลยนะครับ หาฉบับหนังเงียบนี้มาจะบันเทิงใจกว่า รู้สึกมีหนังเต็มเรื่องอยู่ใน Youtube ถือเป็น Publish Domain ไปแล้ว

Universal Monster เป็นชื่อเรียกภาพยนตร์แนว Horror, Suspense และ Science Fiction ของสตูดิโอ Universal Picture ในช่วงทศวรรษ 20s – 50s ผมไม่แน่ใจว่าคำเรียกนี้เกิดขึ้นยุคหลังๆ หรือพูดกันมาตั้งแต่ต้นแล้ว ซึ่งในทศวรรษแรกสุดนับเฉพาะหนังเงียบ มีทั้งหมด 6 เรื่องที่ถูกจัดเข้ากลุ่ม ประกอบด้วย
– The Hunchback of Notre Dame (1923) นำแสดงโดย Lon Chaney
– The Phantom of the Opera (1925) นำแสดงโดย Lon Chaney, Mary Philbin
– The Cat and the Canary (1927) กำกับโดย Paul Leni นำแสดงโดย Laura La Plante
– The Man Who Laughs (1928) กำกับโดย Paul Leni นำแสดงโดย Conrad Veidt, Mary Philbin
– The Last Warning (1929) กำกับโดย Paul Leni นำแสดงโดย Laura La Plante
– The Last Performance (1929) นำแสดงโดย Conrad Veidt, Mary Philbin

จริงๆต้องถือว่า 3 เรื่องหลังเป็นกึ่ง-หนังเงียบ เพราะ The Man Who Laughs (1928) จะมี Sound Effect และเพลงประกอบ ส่วน The Last Warning (1929) กับ The Last Performance (1929) มีออกฉายทั้งฉบับหนังเงียบและหนังพูด แต่ถือว่าทั้งสามยังเป็นหนังเงียบอยู่ เพราะความตั้งใจของผู้สร้างยังคิดว่าตัวเองสร้างหนังเงียบ? ก็ตามนั้นนะครับไม่รู้จะไปขัดแย้งเขาทำไม

หลังความสำเร็จอันล้นหลามของ The Hunchback of Notre Dame (1923) ผู้บริหาร Carl Laemmle แห่งสตูดิโอ Universal และนักแสดงนำ Lon Chaney เกิดความกระตือรือล้นที่จะนำนิยายเรื่องอื่นๆของ Victor Hugo มาดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ต่อ เลือกเอา The Man Who Laughs ที่แม้หนังสือจะได้เสียงตอบรับไม่ค่อยดีเท่าไหร่ตอนออกขาย แต่ถูกทำเป็นภาพยนตร์มาแล้วถึงสองครั้ง พยายามติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์แต่ยังไม่สำเร็จเกิดความล่าช้า ทำให้ Chaney หนีไปแสดง The Phantom of Opera (1925) ทิ้งให้โปรเจคนี้รอคอยเวลาเหมาะสม

หลังเสร็จจาก The Phantom of Opera ก็ไม่รอช้า Laemmle เล็งผู้กำกับสัญชาติเยอรมัน Paul Leni ที่ประทับใจจากผลงาน Waxworks (1924) จับเซ็นสัญญาเดินทางสู่ Hollywood กำลังสุ่มทำอีกโปรเจคหนึ่ง The Cat and the Canary (1927) เสร็จเมื่อไหร่เดินหน้าโปรเจคนี้ต่อทันที แต่กลายเป็น Chaney ที่เบี้ยวผิดนัด หนีไปเซ็นสัญญาผูกพันธ์กับสตูดิโอ MGM ทำให้ต้องควาญหานักแสดงนำใหม่ มาลงเอยที่ Conrad Veidt สัญชาติเยอรมัน ก่อนหน้านี้รับบท Cesare ใน The Cabinet of Dr. Caligari (1920)

Paul Leni (1885 – 1929) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติ German ถือเป็นบุคคลสำคัญ (Key Figure) แห่ง German Expressionist เกิดที่ Stuttgart ในครอบครัวชาว Jews โตขึ้นมีความสนใจการวาดภาพสไตล์ Avant-Garde เข้าเรียนที่ Academy of Fine Arts ณ Berlin จบมาทำงานเป็นผู้ออกแบบฉาก (Set Designer) ให้กับโรงละครใน Berlin,

เข้าสู่วงการภาพยนตร์ปี 1913 เริ่มจากเป็นนักออกแบบฉาก เครื่องแต่งกาย Art Director ให้กับหนังของ Joe May, Ernst Lubitsch, Richard Oswald ฯ กำกับภาพยนตร์เรื่องแรกในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 มีชื่อเสียงจากผลงาน Blackstairs (1921), Waxworks (1924) ทำให้ถูกชักชวนสมองไหลสู่ Hollywood โดย Carl Laemmle เซ็นสัญญากับ Universal Picture ได้สร้างภาพยนตร์อีกเพียง 4 เรื่องก่อนเสียชีวิตจากการติดเชื้อในช่องปาก (ฟันผุ) คือ The Cat and the Canary (1927), The Chinese Parrot (1927), The Man Who Laughs (1928) และ The Last Warning (1929)

(ชะตากรรมของ Leni คล้ายกับ F. W. Murnau เลยนะครับ)

ดัดแปลงจาก L’Homme Qui Rit (1869) ของ Victor Marie Hugo (1802 – 1885) นักกวี แต่งนิยาย/บทละครสัญชาติฝรั่งเศส ในยุคสมัย Romantic/Gothic Era ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส, เกิดที่ Besançon, Doubs เป็นลูกของ Joseph Léopold Sigisbert Hugo หนึ่งในแม่ทัพ/นายพลของ Napoleon ที่ได้ขึ้นครองราชย์ เป็น Emperor of the French สองปีหลังเขาเกิด แต่พออายุ 13 เมื่อ Napoleon เสียชีวิต มีการเปลี่ยนสลับขั้วการเมือง ส่งผลกระทบรุนแรงต่อครอบครัว อันทำให้แนวคิดทัศนะทางการเมืองของ Hugo ยึดในความมั่นคงของอดีต กลายเป็นฝั่งอนุรักษ์นิยมขวาจัด (Republican)

สำหรับความสนใจในบทกวี นิยายเริ่มต้นตั้งแต่เด็ก โตขึ้นถึงได้เริ่มตีพิมพ์หนังสือเล่มแรก Han d’Islande (1823) จากนั้นค่อยๆซึมซับยุคสมัย Romanticism เข้ามาในตัว ผสมผสานกับความสนใจด้านการเมือง สังคม ศาสนา ที่ตรงกันข้ามกับค่านิยมฝักใฝ่ Modernism หลังจากการปฏิวัติ French Revolution (1789-1799) ผลงานของ Hugo จึงมักสะท้อนวิถีชีวิตของคนชนชั้นล่างที่อาศัยอยู่อย่างลำบากยากเข็น และชนชั้นผู้นำที่จ้องแต่คอยเอารัดเอาเปรียบไม่สนใจ แสวงหาความสุขสบายส่วนตนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อตอน Napoleon III กลับหวนคืนมายึดอำนาจ ปราบดาขึ้นเป็น Emperor of the French เมื่อปี 1851, Hugo เรียกพระองค์ว่าเป็นคนทรยศ (Traitor to France) ทำให้ต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่ Brussels, Belgium ตามด้วย Channel Island, Jersey เกาะเล็กๆ ใกล้ๆ Normandy, France

Hugo เขียนนิยายเรื่อง L’homme Qui Rit ระหว่างอาศัยอยู่ที่ Channel Island ใช้เวลาถึง 15 เดือน ด้วยความตั้งใจเสียดสีการเมือง ผู้ดีชั้นสูง และประชดประชัน Queen Victoria แห่งสหราชอาณาจักรขณะนั้น, แม้เสียงตอบรับ คำวิจารณ์จะไม่ดีเท่าไหร่ แต่ค่อยๆได้รับการพูดถึงเหนือกาลเวลา โดยเฉพาะหลังจากถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง ก็ทำให้กระแสของนิยายกลับมาได้รับความสนใจขึ้นอีก

เดิมนั้น Hugo ตั้งชื่อนิยายว่า On the King’s Command แต่เป็นเพื่อนสนิทที่แนะนำให้เปลี่ยน The Man Who Moans Loudly สุดท้ายเลยใช้ The Man Who Laughs ในฉบับแปลภาษาอังกฤษ

สำหรับฉบับภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย
– L’Homme Qui Rit (1908) หนังสั้นสัญชาติฝรั่งเศส ฟีล์มน่าจะสูญหายไปแล้ว
– Das grinsende Gesicht (1921) [The Grinning Face] หนังเงียบสัญชาติ Austrian

หลังจากหนังเรื่องนี้ก็มีอีก 2-3 ครั้ง
– L’uomo Che Ride (1966) ภาพยนตร์สัญชาติ Italian โดยผู้กำกับ Sergio Corbucci (เปลี่ยนพื้นหลังเป็นประเทศอิตาลี)
– L’homme Qui Rit (1971) ภาพยนตร์โทรทัศน์สัญชาติฝรั่งเศส มีทั้งหมด 3 ตอน
– L’homme Qui Rit (2012) ภาพยนตร์สัญชาติฝรั่งเศส โดยผู้กำกับ Jean-Pierre Améris

แต่ว่ากันตามตรง ไม่น่ามีครั้งไหนยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ได้เท่ากับ ฉบับนี้อีกแล้วเป็นแน่

พื้นหลังปลายทศวรรษที่ 17 อดีตกษัตริย์ King James II แห่งอังกฤษ ได้ประหารชีวิตศัตรูทางการเมืองคนสำคัญ Lord Clancharlie ด้วย Iron Maiden และกรีดปากลูกชาย Gwynplaine ให้กลายเป็นผู้ยิ้มเยาะตลอดเวลาเพราะความโง่เขลาของพ่อ เด็กชายถูกทอดทิ้งอย่างไร้เยื่อใย ขณะกำลังเร่รอนพบเจอกับทารกหญิงตาบอด ด้วยความเอ็นดูจึงพาเธอไปด้วย จนได้รับการช่วยเหลือจากนักเล่นปาหี่ Ursus (รับบทโดย Cesare Gravina) ให้การเลี้ยงดูพวกเขาจนเติบใหญ่

Hans Walter Conrad Veidt (1893 – 1943) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Berlin หลังจากพบเจอมีสัมพันธ์กับนักแสดงหญิง Lucie Mannheim จึงเกิดความสนใจด้านการแสดง แต่ต้องไปเป็นทหารแนวหน้าสงครามโลกครั้งที่ 1 ปลดประจำการออกมามีผลงานการแสดงที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงคือ The Cabinet of Dr. Caligari (1920), The Hands of Orlac (1924) ฯ รับคำชักชวนจากผู้กำกับ Paul Leni มา Hollywood มีผลงานอย่าง The Man Who Laughs (1928), The Last Performance (1929) ฯ อพยพลี้ภัยช่วง Nazi เรืองอำนาจ มาอยู่อังกฤษมีผลงานดังอย่าง The Thief of Bagdad (1940), Casablanca (1942) ฯ

รับบท Gwynplaine ชายหนุ่มเติบโตขึ้นกลายเป็นนักแสดงเจ้าของฉายา The Laughing Man สร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้อื่นที่พบเห็น แต่ตัวเขากลับไม่มีความสุขสงบเลย พยายามหลบซ่อนตัวอยู่ในผ้าคลุมปิดปาก เพราะหลายครั้งในชีวิตต้องการแสดงความรู้สึกอื่นออกมา แต่ใครๆกลับหลงคิดว่ากำลังยิ้มร่าเริงสนุกสนาน

รอยยิ้มของ Gwynplaine เกิดจากการใช้ฟันปลอม (dentures) ขนาดใหญ่ ที่สามารถง้างปากออกเป็นรอยยิ้มหุบไม่ได้ พูดออกเสียงก็ไม่ได้เช่นกัน ทำให้ต้องแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาทางสายตาและหน้าผากเท่านั้น, จะบอกว่าผมขนลุกทุกครั้งที่เห็นตัวละครนี้หลั่งน้ำตา มันคือความเจ็บปวดทุกข์ทรมานอยู่ลึกภายใน เพราะปากหุบไม่ได้ แรกๆคุณอาจจะหัวเราะขำออก แต่สักพักจะเริ่มอึดอัด แน่นออก จุกคอ Veidt สามารถถ่ายทอดอารมณ์ทุกสิ่งอย่างออกมาทางดวงตาได้ทรงพลังถึงขีดสุด

นี่คือการแสดงระดับสูงสุดของหนังเงียบแล้วนะครับ เพราะยุคสมัยนี้ไม่มีเสียงพูด ดังนั้นอารมณ์ความรู้สึกต่างๆต้องถ่ายทอดออกมาทางภาพ/การแสดงเท่านั้น ซึ่งเมื่อกำหนดกรอบข้อจำกัดให้มันอีก คือแสดงความรู้สึกออกมาทางสีหน้าไม่ได้เหลือแค่ดวงตา จะยิ่งมีความทรงพลังสูงสุด ถ้านักแสดงสามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้อย่างสมจริง

เกร็ด: Bill Finger (นักเขียน), Bob Kane (นักวาด) และ Jerry Robinson (นักวาด) ได้แรงบันดาลใจสร้างตัวละคร The Joker คู่ปรับตลอดกาลของ Batman จากภาพลักษณ์ของตัวละคร Gwynplaine ไม่ผิดเพี้ยนแน่นอน เว้นแต่บุคลิกนิสัยถือว่าตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

Mary Loretta Philbin (1902 – 1993) นักแสดงหญิงแห่งยุคหนังเงียบ สัญชาติอเมริกา เกิดที่ Chicago, Illinois ครอบครัวอพยพมาจากประเทศ Ireland เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากชนะการประกวด Beauty Contest ที่จัดโดย Universal Picture ทำให้ได้เซ็นสัญญาระยะยาว ร่วมงานกับผู้กำกับดังอย่าง Erich von Stroheim เรื่อง Foolish Wives (1922) [ไม่ได้เครดิต], Merry-Go-Round (1923) ที่ยกย่องเธอว่าคือ ‘Universal Super Jewel’, ผลงานเด่นๆ อาทิ The Phantom of the Opera (1925), Drums of Love (1928), The Man Who Laughs (1928) ฯ

รับบท Dea (รับบทโดย Mary Philbin) หญิงสาวทารกที่เติบโตขึ้นตามืดบอดสนิทมองอะไรไม่เห็น แต่ความใกล้ชิดค่อยๆก่อตัวกลายเป็นความรัก ทั้งๆที่มองไม่เห็นหน้าตาของ Gwynplaine มีความอัปลักษณ์ขี้เหล่น่าหัวร่อประการใด แต่เธอมองเขาคือแสงสว่าง ไม่ได้ด้วยตา ต้องใช้ใจเห็น

ภาพลักษณ์ของ Philbin ในเรื่องนี้สวยขึ้นจับใจเลยละ ตอน The Phantom of the Opera ผมว่าเธอไม่สวยเท่าไหร่ เพราะแสดงปฏิกิริยาต่อต้าน The Phantom ได้น่ารังเกียจมากๆ แต่กับเรื่องนี้เหมือนเธอแก้ตัวได้สำเร็จ ไม่มีสักครั้งที่หลุดหัวเราะ ประกายในแววตาไม่มี สีหน้าแสดงความรวดร้าวเจ็บปวด ผู้ชมเกิดความสงสารเห็นใจ หลงรักหลงใหลตัวละครนี้ ต้องการให้หญิงสาวตัวเล็กๆพบเจอสมหวังในความรัก

แล้วเรื่องวุ่นๆก็เกิดขึ้นเมื่อพวกเขาเดินทางไปเปิดการแสดงที่ London, ประเทศอังกฤษ แล้วดันมีคนจดจำได้ว่า Gwynplaine เป็นลูกของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง จึงถูกลักพามาแต่งองค์ทรงเครื่องเข้าเฝ้า Queen Anne (ครองราชย์ 1702 – 1707) แห่งอังกฤษ ทำให้ Ursus กับ Dea ถูกขับไล่ออกจากประเทศอังกฤษ นี่ทำให้ชายหนุ่มต้องเลือกระหว่าง ชีวิตชั้นสูงที่สุขสำราญสบายกายไปจนตาย หรือเลือกความรักที่ยากจนต้อยต่ำแต่สบายใจ

ถ่ายภาพโดย Gilbert Warrenton มีผลงานร่วมกับ Leni สองเรื่องคือ The Cat and the Canary (1927), The Man Who Laughs (1928)

จุดสูงสุดของสไตล์ German Expressionism คือความกลมกลืน ผสมผสานแนบเนื้อจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของหนัง โดยที่ผู้ชมสังเกตแทบไม่ออกเลยด้วยซ้ำว่าเป็น Expression แต่ก็มีที่โดดเด่นหลายช็อตสังเกตรู้ได้ อาทิ

ห้องนอนของอดีต King James II แห่งอังกฤษ สถาปัตยกรรมพื้นหลังของหนังไม่ได้อ้างอิงจากประวัติศาสตร์จริงนะครับ เพราะคงไม่มีปราสาทแห่งไหนในโลกจะเอารูปปั้นบุคคลสำคัญ อาทิ กษัตริย์ ปราชญ์ โป๊ป ฯ ตั้งตระหง่านไว้ในห้องนอนของตัวเองแน่นอน ต้องคนที่มีความทะเยอทะยาน Ego สูงๆ ถึงสามารถทนต่อสายตาจับจ้องเหล่านี้ได้

นี่ก็เช่นกัน เมื่อเด็กชาย Gwynplaine ถูกทิ้งให้เร่ร่อน เขาออกเดินไปท่ามกลางอะไร … ความตาย, สังเกตจะมีเสาห้อยแขวนคอนักโทษ, อีกาอยู่บนคานไม้, ก้อนหินหลักแหล่งหน้าตาแปลกประหลาด ฯ เหล่านี้คือ German Expression ภาพที่แสดงความรู้สึกออกมาจากภายใน

ลามมาถึง Title Card ซึ่งก็จะมีลูกเล่นบ้างเช่นกัน ภาพพื้นหลังคำอธิบายช็อตนี้ คาดไม่ถึงเลยว่า Expression จะมีอะไรสวยๆงามๆให้เห็นบ้าง นั่นเพราะในจิตใจของ Dea นี่คือสิ่งที่เธอมองเห็น Gwynplaine

ตัดต่อโดย Edward L. Cahn, Maurice Pivar หนังไม่ได้ใช้มุมมองของตัวละครใดเป็นพิเศษ ดำเนินไปตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะมีการตัดสลับระหว่างงาน Carnival กิจกรรมของคนชนชั้นต่ำ กับงานฟังดนตรีของคนชนชั้นสูง

มีการเปลี่ยนฉาก Cross-Cutting ซ้อนภาพขณะหนึ่ง เกิดการหน่วงเวลาให้ช้าลงกว่าปกติเล็กน้อย คือขณะที่ Gwynplaine พบเห็นใบหน้าของ Duchess Josiana เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ไม่หัวเราะจากการแสดงของเขา นั่นน่าจะเพราะความพิศวงหลงใหลในรูปลักษณ์อัปลักษณ์ คือ passion ความต้องการของหญิงสาว ในการครอบครองเป็นเจ้าของ (สนแต่ Sex) ความแปลกประหลาดนี้ ราวกับของเล่นที่มีชิ้นเดียวในโลก มีคุณค่าทางกายอย่างสูงสุด

“I am she who did not laugh. Was it pity, or was it love? My page will meet you at midnight.”

ฉบับออกฉายครั้งแรกสุดจะไม่มีเสียงและเพลงประกอบ แต่ด้วยความสำเร็จของหนังทำให้เกิดการ re-released ฉายซ้ำใหม่หลายครั้ง จึงมีการเพิ่ม Sound Effect เสียงของฝูงชน อาทิ เสียงหัวเราะ, ตะโกนโหวกเหวก, เป่าปาก ฯ และเพลงประกอบ When Love Comes Stealing เป็น Theme Song ให้กับหนัง

ทำนองโดย Ernö Rapée เคยใช้ประกอบหนังเรื่อง Robin Hood (1922) แต่งคำร้องเพิ่มโดย Walter Hirsch กับ Lew Pollack ฉบับที่ได้ยินในหนังเป็นเสียงผู้หญิง ไม่มีเครดิตว่าใคร (หาฟังไม่ได้ด้วย), นำฉบับขับร้องโดย Frank Munn มาให้รับฟังกัน

The Man Who Laughs เปลือกนอกเป็นเรื่องราวของคนที่ การแสดงออกภายนอกอย่างหนึ่ง แต่ข้างในจิตใจอาจคิดรู้สึกอยากที่จะแสดงออกมาอีกอย่างหนึ่งแต่ไม่สามารถกระทำได้ จนกว่าที่เขาจะรับรู้ว่า ‘สิ่งสำคัญที่สุดนั้นอยู่ภายใน’ ก็จะเกิดความขัดแย้งต่อต้าน อึดอัดอั้น ทุกข์ทรมานใจ อยากร้องไห้หลั่งน้ำตา แต่มันก็เอาแต่ยิ้มร่อทุกที

ความผิดปกติทางกายของ Gwynplaine เกิดจากการถูกสังคม/ผู้นำปกครอง กำหนดกฎกรอบระเบียบ ว่าคุณต้องแสดงออกมาในรูปแบบนี้เท่านั้น ‘laugh forever at his fool of a father’ ปิดกั้นทุกรูปลักษณะอื่น, นี่มีนัยยะถึงการวิพากย์วิจารณ์แสดงความเห็น ทางการเมือง ผู้นำปกครองประเทศ กษัตริย์/ราชินี ฯ สิ่งใดที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยรัฐ ประชาธิปไตย หรือจากประชาชน มองได้คือการถูกกดขี่ข่มเหง จำกัดสิทธิ์ในการพูด ออกเสียง แสดงความเห็น เป็นอนาคตที่มืดบอดมองไม่เห็น

ในทศวรรษที่ 17s ของประเทศอังกฤษ ความแตกต่างระหว่างคนชนชั้นสูงผู้นำปกครองประเทศ กับคนชนชั้นล่างกรรมกรแรงงานค้าขาย ยิ่งทวีความห่างชั้นขึ้นมาก คงเกือบถึงระดับฟ้ากับเหว ไม่มีใครอยากข้ามฟากไปมาหาสู่อยู่กินแต่งงานซึ่งกันและกัน, อย่าง Duchess Josiana จริงอยู่เธอหลงใหลอยากเป็นเจ้าของ Gwynplaine แต่เมื่อได้รับหนังสือที่บอกให้เธอแต่งงานกับเขาเพื่อฟื้นฟูสถานะทางสังคมของตนเอง นั่นทำให้เธอหัวเราะลั่นออกมา บ้าไปแล้ว นี่เป็นสิ่งขยะแขยง รับไม่ได้! (ฉากนี้เธอไม่ได้หัวเราะเพราะภาพลักษณ์ของ Gwynplaine นะครับ แต่เขาไม่เข้าใจจุดนี้เลยคิดว่า คนอย่างเธอก็หัวเราะเยาะเย้ยตน)

เช่นกันกับตอนที่ Gwynplaine ได้รับโอกาสฟื้นฟูสถานะของตนเองกลับสู่ความเป็นผู้ดีชนชั้นสูง แต่เพราะทั้งชีวิตไม่เคยได้รับรู้ว่า ‘ชั้นสูง’ มันเป็นเช่นไร ความประทับใจแรกก็พบว่าพวกเขาไม่ต่างอะไรจากคนชั้นล่างที่ตนพบเจอทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพิ่มแค่อำนาจลาภยศสรรเสริญ นี่ไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการแม้แต่น้อย ความกล้าหาญในการไม่ทำตามคำสั่ง Queen Anne คนกลุ่มนั้นคงมองหมอนี่เป็นกบฎ แต่ผู้ชมอย่างเราๆคงสามารถครุ่นคิดมองได้ว่า เขาก็คือคนธรรมดาทั่วไป ที่ต้องการแค่ทำตามหัวใจสั่งมาเท่านั้น

สำหรับ Dea หญิงสาวตาบอดพิการตั้งแต่เด็ก เปรียบได้คือประชาชนทั่วไปที่ไม่สามารถโงหัว คิดทำอะไรได้ด้วยตนเองทั้งนั้น อนาคตมืดมนไร้หนทาง, ฉบับนิยาย ตอนจบเธอเสียชีวิตบนเรือ เพราะความดีใจมากจนล้มพับสิ้นลม เมื่อรับรู้ว่า Gwynplaine ยังมีชีวิตอยู่ นี่มีนัยยะถึงความโชคร้ายของคนชั้นต่ำ กำลังจะได้มีความสุขกับอนาคตที่วาดฝััน ชีวิตกลับสิ้นสูญอย่างไร้ค่า นี่ทำให้ชายหนุ่มตัดสินใจกระโดดน้ำฆ่าตัวตายตาม

ค่อนข้างชัดเจนว่า Gwynplaine คือตัวแทนของ Victor Hugo ผู้ถูกสังคมพยายามยัดเยียดเสี้ยมสอนให้คิด/ปฏิบัติ/แสดงออก ตามสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่ข้างในจิตใจของ Hugo กลับไม่มีความคิดรู้สึกเช่นนั้นเลย ซึ่งเมื่อแสดงออกด้วยคำพูดต่อต้าน Napoleon III ก็จำต้องเก็บข้าวของอพยพลี้หนีภัยออกนอกประเทศฝรั่งเศส (มองเรื่องราวนี้เป็นกึ่งอัตชีวประวัติยังได้เลย)

เมื่อสังคมหนึ่งเขาไม่ยอมรับความคิด คำพูด การแสดงออกของเรา Victor Hugo ให้คำแนะนำตอนจบที่ว่า ‘จะไปทนอยู่ทำทำซากอะไร ก็อพยพลี้หนีภัยออกมา’ ฝืนอยู่ทำไมให้ตัวตายแบบไร้ค่า สู่ดินแดนที่เปิดกว้างให้อิสระเสรี สามารถทำตามใจสั่งมาได้ทุกสิ่งอย่าง อย่าไปยึดมั่นถือติดในสิ่งใด แค่อุดมการณ์ของตนเองต้องเลี้ยงไว้อย่าให้ไฟดับมอดเป็นพอ

หนังใช้ทุนสร้างสูงถึง $1 ล้านเหรียญ ไม่มีระบุรายรับ แต่คาดว่าน่าจะพอทำกำไรได้อย่าง

นี่เป็นหนังที่ผมตกหลุมรักแรกพบเลยละ เพราะทุกวินาทีเต็มไปด้วยความอึดอัดอั้น ทุกข์ทรมานเห็นใจ อยากรับรู้ว่าเมื่อไหร่ Gwynplaine จะสามารถเข้าใจ มองเห็นคุณค่าของตนเองสักที แค่การแสดงของ Conrad Veidt เพียงอย่างเดียว ก็ทำให้หนังอยู่ในระดับยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่สมบูรณ์แบบแล้ว

ความคับข้องเดียวที่ผมมีต่อหนัง คือช่วง Swashbuckler วิ่งหนีไล่ล่าช่วงท้าย ไฉนอยู่ดีๆ Gwynplaine กลับสามารถมีลีลาต่อสู้ฟันดาบเอาชนะทหารหาญ หนีเอาตัวรอดได้อย่างน่าขัดใจ แต่ก็เอาเถอะครับ มันคงกำลังเป็นเทรนด์กระแสนิยมสมัยนั้น ถ้าไม่มีฉากตื่นตาตื่นใจแบบนี้สักหน่อย หนังอาจไม่ประสบความสำเร็จแน่ (คือพอมีแล้วมันทำให้หนังไขว้เขวหลุดแนวของตัวเองไปสักหน่อย)

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” นี่เป็นหนังที่จะทำให้คุณเข้าใจว่า บุคคลที่มีรอยยิ้มไม่ได้แปลว่าเขาจะมีความสุขเสมอไป บางขณะอารมณ์สถานการณ์ การยิ้มก็เพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึกแท้จริงในจิตใจ มันอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในการแยกแยะให้ออกว่าอารมณ์เบื้องหลังการยิ้มคืออะไร แต่ถ้าคุณสังเกตบริบท รายละเอียดเล็กๆน้อยๆรอบข้าง เชื่อว่าก็น่าจะค้นพบได้ไม่ยาก

โดยเฉพาะกับคอหนังเงียบ สนใจ Universal Monster ชื่นชอบผลงานนิยายของ Victor Hugo ศิลปินผู้คลั่งไคล้ใน German Expressionist รูู้จักผู้กำกับ Paul Leni นักแสดง Conrad Veidt, Mary Philbin ไม่ควรพลาด

จัดเรต 13+ กับบรรยากาศของหนัง และรอยยิ้มอันหลอกหลอนของ Gwynplaine

TAGLINE | “The Man Who Laughs ของผู้กำกับ Paul Leni, ใบหน้ายิ้มเยาะของ Conrad Veidt จะทำให้คุณหัวเราะไม่ออก แต่รอยยิ้มของ Mary Philbin เติมเต็มหนังให้สมบูรณ์แบบ”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

The Hunchback of Notre Dame (1923)


The Hunchback of Notre Dame

The Hunchback of Notre Dame (1923) hollywood : Wallace Worsley ♥♥♥

Victor Hugo เขียนนิยายเรื่องนี้ในช่วงเวลาที่มหาวิหาร Notre-Dame กำลังถูกปล่อยปละละเลย ทิ้งขว้างไม่สนใจใยดี เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากปฏิวัติฝรั่งเศส (1789-1799) พรรณาให้ผู้อ่านเห็นคุณค่าความสำคัญของอาสนวิหารแห่งนี้ เปรียบเธอดั่งตัวละคร Esmeralda (Notre-Dame แปลว่า Our Lady) หญิงสาวที่ใครๆต่างตกหลุมรักคลั่งไคล้ แต่มีเพียงผู้เดียวที่บริสุทธิ์แท้จริงใจ คือชายอัปลักษณ์หลังค่อม Quasimodo รับบทโดย Lon Chaney ในบทบาทที่ทำให้เขาได้รับฉายา ‘ชายพันหน้า’

ผมค่อนข้างคิดหนักทีเดียวกับย่อหน้าแรกของบทความนี้ ตัดสินใจเปลี่ยนมาแนะนำเจ้าของนิยายพร้อมจุดประสงค์ความตั้งใจ เพราะรู้สึกว่าเกริ่นแบบนี้พบเห็นสาสน์สาระสำคัญ น่าดึงดูดกว่าสิ่งที่หนังนำเสนอออกมากลายเป็นเสียอีก ซึ่งผมยังเก็บย่อหน้าก่อนที่เขียนไว้ด้วย ลองเทียบกันดูแบบไหนมีความน่าสนใจมากกว่า

ปฐมบทแห่ง Universal Monster แม้เรื่องราวจะเป็นแนว Gothic Romantic-Drama ดำเนินเรื่อง ณ มหาวิหาร Notre-Dame กรุง Paris ปี 1482 แต่ด้วยภาพลักษณ์ของ Lon Chaney เจ้าของฉายา ‘ชายพันหน้า’ รับบทชายอัปลักษณ์หลังค่อม Quasimodo นี่สร้างความ Horror หลอนสะพรึง ตราติดตรึงใจผู้ชมไม่รู้เลือน

ขอกล่าวถึงผู้แต่งนิยายก่อนแล้วกัน Victor Marie Hugo (1802 – 1885) นักกวี แต่งนิยาย/บทละครสัญชาติฝรั่งเศส ในยุคสมัย Romantic/Gothic Era ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส ผลงานชิ้นเอกคือ Les Misérables (1862) และ Notre-Dame de Paris (1831) [หรือในชื่อภาษาอังกฤษ The Hunchback of Notre-Dame (1933)]

เกิดที่ Besançon, Doubs เป็นลูกของ Joseph Léopold Sigisbert Hugo หนึ่งในแม่ทัพ/นายพลของ Napoleon ที่ได้ขึ้นครองราชย์ เป็น Emperor of the French สองปีหลังเขาเกิด แต่พออายุ 13 เมื่อ Napoleon เสียชีวิต มีการเปลี่ยนสลับขั้วการเมือง ส่งผลกระทบรุนแรงต่อครอบครัว อันทำให้แนวคิดทัศนะทางการเมืองของ Hugo ยึดในความมั่นคงของอดีต กลายเป็นฝั่งอนุรักษ์นิยมขวาจัด (Republican)

สำหรับความสนใจในบทกวี นิยายเริ่มต้นตั้งแต่เด็ก โตขึ้นถึงได้เริ่มตีพิมพ์หนังสือเล่มแรก Han d’Islande (1823) จากนั้นค่อยๆซึมซับยุคสมัย Romanticism เข้ามาในตัว ผสมผสานกับความสนใจด้านการเมือง สังคม ศาสนา ที่ตรงกันข้ามกับค่านิยมฝักใฝ่ Modernism หลังจากการปฏิวัติ French Revolution (1789-1799) ผลงานของ Hugo จึงมักสะท้อนวิถีชีวิตของคนชนชั้นล่างที่อาศัยอยู่อย่างลำบากยากเข็น และชนชั้นผู้นำที่จ้องแต่คอยเอารัดเอาเปรียบไม่สนใจ แสวงหาความสุขสบายส่วนตนเท่านั้น

สำหรับ Notre-Dame de Paris ประมาณการณ์ว่า Hugo เริ่มต้นเขียนตั้งแต่ปี 1829 ด้วยความตั้งใจปลุกกระแสเคลื่อนไหวให้ชาวฝรั่งเศสเกิดความตื่นตระหนัก สนใจในสถาปัตยกรรม Gothic ที่กำลังค่อยๆถูกลืมเลือน ทำลายสิ้นสูญไปตามยุคสมัย แทนที่ด้วยตึกรามบ้านช่องในสไตล์รูปแบบใหม่, โดยเฉพาะกับ Notre-Dame de Paris สิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ Gothic กำลังค่อยๆถูกแปรสภาพกลืนกิน สูญเสียภาพลักษณ์ของตนเองไป

แต่เพราะความยุ่งส่วนตัวของ Hugo ทำให้เกิดความล่าช้าไปหลายปี กว่าจะเริ่มเขียนอย่างจริงจังก็เดือนกันยายน 1830 ใช้เวลา 6 เดือนเต็ม เสร็จสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 19831, ฉบับแปลภาษาอังกฤษโดย Frederic Shoberl ใช้ชื่อ The Hunchback of Notre Dame เพราะขณะนั้นนิยายแนว Gothic ได้รับความนิยมสูงกว่า Romantic การเพิ่มคำว่า Hunchback ให้สัมผัสถึงความมืดหม่นของเรื่องราว ตีพิมพ์ปี 1833

เรื่องราวของยิปซีสาว Esmeralda (รับบทโดย Patsy Ruth Miller) ในเทศกาลประจำปี (Festival of Fools) บริเวณหน้ามหาวิหาร Notre-Dame, Paris ปี 1482 ความงามของเธอตราตรึงชายหนุ่มทั้งหลาย ประกอบด้วย
– Phoebus de Chateaupers (รับบทโดย Norman Kerry) กัปตันหนุ่มสุดหล่อ เป็นพ่อมาลัยร้อยรักโปรยหว่านเสน่ห์ให้กับสาวๆ พลันตกหลุมแรกพบ Esmeralda แสดงความต้องการแต่งงานอยู่กินกับเธอทั้งๆที่ตัวเองมีคู่หมั้นอยู่แล้ว
> ฉบับนิยาย เหมือนว่า Phoebus จะสนแต่เรือนร่างของหญิงสาวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตอน Esmeralda ถูกปรับปรำตัดสินประหารแขวนคอ ก็ไม่เคยคิดจะไปแก้ต่างให้ สุดท้ายเลือกแต่งงานกับคู่หมั้น Fleur de Lys
> ฉบับภาพยนตร์ ก็ยังคงไม่แก้ต่างให้ Esmeralda แต่ได้เข้าช่วยเหลือ แสดงความรักมั่นคงต้องการแต่งงานกับเธอ ส่วนผลลัพท์เป็นอย่างไรต่อไป ดูแล้วคงไม่น่าสุขสมหวังแน่

– Claude Frollo (รับบทโดย Nigel De Brulier) มีตำแหน่ง Archdeacon ผู้ช่วยบาทหลวงแห่ง Notre-Dame
> ฉบับนิยายจะคือตัวร้ายที่คลั่งไคล้ในความงามของ Esmeralda ทำทุกอย่างโดยไม่สนถูกผิด และมีแผนการชั่วร้ายต้องการฮุบ Notre-Dam ให้เป็นของตนเอง
> ฉบับภาพยนตร์ Don Claude เปลี่ยนตรงกันข้ามให้เป็นคนดี ผู้ช่วยเหลือ Quasimodo ตั้งแต่เด็กให้กลายเป็นคนเขย่าระฆัง มีความปรารถนาหวังดีต่อทุกคน และยังให้การช่วยเหลือ Esmeralda ขณะหนีเข้ามหาวิหารของพระผู้เป็นเจ้า

– Jehan Frollo (รับบทโดย Brandon Hurst) น้องชายของ Claude Frollo
> ฉบับนิยาย เป็นคนสำมะเลเทเมา เสเพล แต่ไม่ได้มีความคิดชั่วร้ายแบบพี่ชาย
> ฉบับภาพยนตร์ คือบุคคลผู้มีความชั่วช้าร้ายกาจ เป็นเจ้านายของ Quasimodo ด้วยความคลั่งไคล้ในความงามของ Esmeralda ทำทุกสิ่งอย่างไม่สนถูกผิด วางแผนลักพาตัว, ป้ายสี Quasimodo, ลอบสังหาร Phoebus ฯ จนสุดท้ายกรรมตามทัน (นี่เอา Claude ฉบับนิยายมาแทนกันเลย)

– Clopin Trouillefou (รับบทโดย Ernest Torrence) ผู้เป็น King of Truands มีตำแหน่งสูงสุดใน Court of Miracles, มอง Esmeralda ด้วยสายตารักใคร่เอ็นดูเหมือนลูกรักแท้ๆ พยายามปกป้องเธอจาก Phoebus และตอนท้ายเป็นผู้รวมรวบสมัครพรรคพวกกระยาจก ก่อการจราจลเพื่อเข้าช่วยเหลือจากมหาวิหาร Notre-Dame

– Pierre Gringoire (รับบทโดย Raymond Hatton) นักกวีเร่ร่อน จับพลัดจับพลูหลงเข้าไปใน Court of Miracles ถูกตัดสินแขวนคอแต่ได้รับการช่วยเหลือโดย Esmeralda จึงมองเธอด้วยหนี้บุญคุณ
> ฉบับนิยาย Gringoire ต้องเลือกระหว่างถูกแขวนคอกับแต่งงานกับยิปซี ซึ่งก็ได้ Esmeralda ที่รับปากแต่งงานกับเขาใน 4 ปี แต่ใจบอกคงไม่มีวันรักเพราะมองว่าเป็นคนขี้ขลาดตาขาว (ตัวเองขณะนั้นตกหลุมรัก Phoebus อยู่ก่อนแล้ว)

– Quasimodo (รับบทโดย Lon Chaney) ชายหลังค่อมที่ปกติอาศัยอยู่แต่ในมหาวิหาร Notre-Dame ไม่เคยชื่นชอบใครเป็นพิเศษนอกจากเจ้านาย Claude กับ Jehan ครั้งหนึ่งพบกับความยากลำบาก ถูกใส่ร้ายป้ายสี เฆี่ยนตีกลางสาธารณะเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ด้วยความกระหายได้รับน้ำใจจาก Esmeralda ทำให้มองเธอราวกับพระแม่ผู้สูงส่ง จึงพยายามปกป้องเธอเมื่อเห็นว่ากำลังจะถูกตัดสินประหารชีวิต

จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้ เกิดจากความสนใจของ Lon Chaney ที่ต้องการรับบท Quasimodo มาช้านาน พยายามเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ชื่อเสียง หาเงินทุน รวมทั้งยังซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงจากนิยายไว้ในครอบครองแล้วด้วย แต่กลับหาสตูดิโอไหนให้ความสนใจไม่ได้ เพราะสเกลของหนังมีขนาดใหญ่มาก (ต้องจำลองสร้างมหาวิหาร Notre-Dame ขึ้นมาเลย) จนกระทั่งได้มาพบกับโปรดิวเซอร์ Irving Thalberg ที่แสดงความสนใจ นำโปรเจคนี้ไปพูดคุยเสนอกับ Carl Laemmle เจ้าของสตูดิโอ Universal จนได้รับทุนสร้างสูงถึง $1.25 ล้านเหรียญ (เป็นหนังทุนสร้างสูงสุดของ Chaney เลยละ)

สำหรับผู้กำกับ Chaney พยายามติดต่อ Frank Borzage, Erich von Stroheim, Allen Holubar, Chester Withey, Emile Chautard ก่อนมาลงเอย Wallace Worsley ที่เคยร่วมงานกันมาก่อน ฯ

Wallace A. Worsley, Sr. (1878 – 1944) นักแสดง/ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Wappingers Falls, New York ปู่ทวดอพยพมาจากอังกฤษ เริ่มต้นจากเป็นนักแสดงละครเวที ก่อนกลายมาเป็นนักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ ก่อนหน้านี้เคยร่วมงานกับ Chaney เรื่อง The Penalty (1920), A Blind Bargain (1922) [ฟีล์มสูญหายไปแล้ว]

Worsley ไม่ใช่ผู้กำกับที่มีความโดดเด่นในผลงานมากนัก แต่การที่สามารถควบคุมงานสร้างขนาดใหญ่ และปริมาณนักแสดงตัวประกอบได้เยอะเท่านี้ คงต้องถือว่ามีฝีไม้ลายมือระดับหนึ่งเลยละ

เกร็ด: เห็นว่านี่เป็นหนังเรื่องแรกของโลกที่มีการใช้วิทยุสื่อสาร (Radio Communication) และเครื่องขยายเสียง (Loudspeaker) เพื่อชี้แจงรายละเอียด พูดคุยสนทนากับนักแสดง/ผู้ช่วยกองถ่าย ระหว่างการถ่ายทำฉากใหญ่ๆ, จัดให้โดยบริษัท Western Electric

ใช้พื้นที่กว่า 9 เอเคอร์ ในการสร้างฉากมหาวิหาร Notre-Dame ขนาดเกือบเท่าของจริง ใช้คนงานกว่า 750 คนทั้งช่างไฟ ช่างไม้ ช่างทาสี ฯ รวมเวลาถึง 6 เดือนในการก่อสร้าง, ถ่ายทำเสร็จแล้วก็ไม่ได้รีบทุบทำลาย คงได้ใช้ประโยชน์อีกหลายครา จนกระทั้งถูกไฟไหม้มอดเป็นจุนเมื่อปี 1967

Leonidas Frank ‘Lon’ Chaney (1883 – 1930) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เจ้าของฉายา ‘The Man of a Thousand Faces’ เกิดที่ Colorado Springs ครอบครัวอพยพมาจากอังกฤษ พ่อ-แม่เป็นคนใบ้ทั้งคู่ (แต่ Chaney ไม่ได้เป็น) เลยเก่งภาษามือ เชี่ยวชาญละครใบ้ (Meme) เริ่มต้นทำงานเป็นนักแสดงละครเวที ค่อยๆมีชื่อเสียงประสบความสำเร็จขึ้นเรื่อยๆ จนปี 1913 เคยพยายามฆ่าตัวตายด้วยการกลืนสารปรอทแต่ไม่สำเร็จ ทำให้ถูกคนในวงการละครเวทีปฏิเสธ เลยผันตัวสู่วงการภาพยนตร์ ดิ้นรนอยู่หลายปี จนเริ่มมีชื่อเสียงจาก The Miracle Man (1919) รับบทเป็นกบ (The Frog) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่แต่งหน้าแต่งตาเองด้วย หลังจากนี้ก็มีแต่จะรุ่งขึ้นเรื่อยๆ ได้รับการจดจำจากภาพลักษณ์ที่ไม่เคยซ้ำเดิม Oliver Twist (1922), The Hunchback of Notre Dame (1923), He Who Gets Slapped (1924), The Phantom of the Opera (1925), The Unknown (1927), London After Midnight (1927) ฯ

น่าเสียดายที่ Chaney อายุสั้นไปเสียหน่อย น่าจะเพราะจากความพยายามฆ่าตัวตายครั้งนั้น ทำให้เขากลายเป็นมะเร็ง ตกเลือดในลำคอเสียชีวิต เพิ่งจะมีผลงานหนังพูดได้เพียงเรื่องเดียวคือ The Unholy Three (1930)

Quasimodo คือชายผู้มีความผิดปกติทางกาย หลังค่อม ตาพร่ามัว หูไม่ค่อยได้ยิน พูดไม่ได้ ทำให้ถูกสังคมรังเกียจต่อต้าน กลายเป็นคนกร้านโลก กักฬระ หัวรุนแรง ได้รับการช่วยเหลือจาก Don Claudio และ Jehan เรียกพวกเขาว่าเจ้านาย (Master) อาศัยอยู่แต่ภายในมหาวิหาร Notre-Dame ไม่ค่อยออกไปไหน รับหน้าที่เป็นคนเขย่าระฆังโบสถ์, การได้พบกับความมีน้ำใจของ Esmeralda ทำให้เขายกเธอเปรียบเสมือแม่พระ วาดหวังให้เป็นสุขสม สบาย ปลอดภัย ดูแล้วคงไม่ใช่ความรักแน่ๆ เพราะเจ้าตัวคงไม่เคยรู้จัก/ได้รับ จากใครมาก่อน

ในการเตรียมรับบทของ Lon Chaney ได้เดินทางไปศึกษาสัมภาษณ์บุคคลที่มีความผิดปกติลักษณะต่างๆ แล้วนำมาปรับประยุกต์ให้เข้ากับการแต่งหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหวของตัวเอง, หลังค่อมของเขาพอกด้วยปูนปลาสเตอร์ (plaster hump) น้ำหนักรวมๆประมาณ 10-15 ปอนด์ ไม่ได้ทำให้ Chaney เกิดปัญหาเกี่ยวกับหลังตามมา

ค่าตัวของ Chaney คือ $2,500 เหรียญต่อสัปดาห์ เริ่มต้นถ่ายทำเดือนธันวาคม 1922 เสร็จสิ้นเดือนมิถุนายน 1923 รวมๆแล้วกว่า $60,000 เหรียญ นี่ยังไม่ได้รวมโบนัสจากกำไรของหนัง ถือว่าเป็นรายรับสูงสุดในชีวิตของเขาเลยละ

Patsy Ruth Miller (1904 – 1995) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกา เกิดที่ St. Louis, Missouri ได้รับการค้นพบโดย Alla Nazimova ในงานเลี้ยง Hollywood ครั้งหนึ่ง ได้รับบทเล็กๆในหนังแจ้งเกิดเรื่อง Camille (1921) ประกบ Rudolph Valentino จนได้รับเลือกให้เป็น WAMPAS Baby Star เมื่อปี 1922, ผลงานโด่งดังที่สุด The Hunchback of Notre Dame (1923)

เกร็ด: WAMPAS Baby Star คือรางวัลที่ผู้สื่อข่าว/นักข่าว มอบให้กับกลุ่มนักแสดงหญิงที่ดูแล้วมีแนวโน้มจะกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงใน Hollywood ช่วงระหว่างปี 1922 – 1934

รับบท Esmeralda ตอนทารกถูกชาวยิปซีลักพาตัว สลับเปลี่ยนกับ Quasimodo ทำให้กลายเป็นเด็กเร่ร่อน เติบโตขึ้นกลายเป็นสาวแรกรุ่น น่ารัก สดใส บริสุทธิ์ ทำให้กลายเป็นที่หมายปองรักของชายหนุ่มทั้งหลาย ต้องการครอบครอบทั้งกายและใจ ซึ่งตัวเธอเหมือนจะตกหลุมรักในความหล่อเหลาผู้ดีชั้นสูงของ Phoebus แต่โชคชะตาจะพาให้เธอได้ครองคู่สำเร็จดั่งหมายปองหรือเปล่าคงต้องลุ้นกัน

น่าเสียดายที่ Miller ตัดสินใจรีไทร์ออกจากวงการเมื่อปี 1931 คงเพราะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับยุคสมัยหนังพูดได้

ถ่ายภาพโดย Robert Newhard, Tony Kornman, Virgil Miller, Stephen S. Norton, Charles J. Stumar ที่มีเครดิตถึง 5 คน คงเพราะสเกลงานที่ใหญ่ จำต้องใช้ Operator ควบคุมหมุนอยู่หลังกล้องหลายคน ก็ไม่รู้ส่วนใหญ่ที่เห็นในหนังเป็นผลงานของใคร แต่ก็ไม่ค่อยมีอะไรน่าพูุดถึงเท่าไหร่ เน้นการจัดวางองค์ประกอบในเฟรมภาพ เป็นเทคนิคคลาสสิกในยุคหนังเงียบ

ที่จะโดดเด่นคงเป็นการใส่สี ให้สัมผัสทางอารมณ์ของหนัง อาทิ เหลืองอำพัน (amber)=ถ่ายภายใน, สีน้ำเงิน=ถ่ายกลางคืน, สีม่วง=เจ็บปวดทุกข์ทรมาน ฯ

ตัดต่อโดย Edward Curtiss, Maurice Pivar, Sydney Singerman หนังใช้มุมมองของมหาวิหาร Notre-Dame ในการเล่าเรื่อง ซึ่งก็คือมุมมองเดียวกับ Esmeralda ตัวละครที่เป็นสัญลักษณ์แทน ตัดสลับเรื่องราวของตัวละครต่างๆ ที่วนเวียนอยู่รอบๆพวกเธอทั้งสอง

มีช็อตเล็กๆเชิงสัญลักษณ์ที่แทรกใส่เข้ามาสองสามครั้ง ความหมายค่อนข้างจะสากล อาทิ
– ตอนที่ Esmeralda ได้รับการช่วยเหลือจาก Phoebus ช็อตหนึ่งเป็นภาพเหยื่อติดใยแมงมุม (Esmeralda ติดกับตกหลุมรัก ยินยอมเป็นเหยื่อให้กับแมงมุม Phoebus)
– ตอน Phoebus ถูกแทง ตัดภาพไปที่ Quasimodo เป่าเทียนดับ, แสงสว่าง/ชีวิต กำลังถึงการดับสิ้น
– การเขย่าระฆังของ Quasimodo เสียงจากสวรรค์ บางครั้งมีความยินดีปรีดา, บางครั้งเป็นเสียงเพรียกแห่งความตาย ฯ

ใจความของหนังเรื่องนี้ ในวิสัยทัศน์ของผู้กำกับ Worsley และ Chaney คงคือเรื่องราวของหญิงสาวพบเจอผู้ชายประเภทต่างๆในสังคม มีทั้งที่รักบริสุทธิ์ รักเรือนร่าง รักริษยา รักเทิดทูน ฯ จะมีใครคนไหนดีพอที่จะได้ตกหลุมรักอาศัยร่วมกันอยู่กิน Happy Ending กับเธออย่างเป็นสุข

แต่ความตั้งใจจริงของนักเขียน Victor Hugo เมื่อเราแทน Esmeralda ด้วยมหาวิหาร Notre-Dame เหล่าชายหนุ่มทั้งหลายจะคือตัวแทนของผู้คนที่มีปฏิกิริยา ทัศนคติ มุมมองแนวคิด ความรักความรู้สึก ต่อสถานที่แห่งนี้เป็นเช่นไร (ผมจะขอวิเคราะห์ตรงนี้ โดยอิงจากเนื้อเรื่องของนิยายนะครับ)
– Phoebus เป็นตัวแทนของกลุ่มปกครองประเทศ ผู้ดีมีตระกูลชั้นสูง นิสัยกะร่อนปลิ้นปล้อน ปากอ้างว่ารักแต่ลับหลังหาได้แยแสสนใจใยดี
– Claude Frollo เป็นตัวแทนของบาทหลวง/ผู้นำมหาวิหาร Notre-Dame แทนที่จะสนใจปกป้องดูแลธำรงรักษา กลับไม่แยแสสนใจ ครอบครองแล้วไง จะทำให้เปลี่ยนไปในแนวทางของฉันเอง
– Clopin Trouillefou ตัวแทนคนชนชั้นล่างที่หาได้รับรู้ เข้าใจ สนใจ คุณค่าแท้จริงของมหาวิหาร Notre-Dame ปากอ้างว่าเธอเป็นของพวกเรา แต่กลับสามารถทุบทำลาย ก่อการร้ายจราจล
– Pierre Gringoire หนุ่มน้อยนักกวีผู้ขลาดเขลา เราสามารถมองว่าตัวละครนี้คือตัวแทนของ Victor Hugo ได้เลยนะครับ เพราะความที่เป็นนักเขียน/นักกวีเหมือนกัน ที่ได้แต่แสดงความสนใจ เห็นใจ เอื้อเฟื้อต่อ Esmeralda/มหาวิหาร Notre-Dame แต่ไม่สามารถกระทำอะไรได้นอกจากเขียนถ้อยคำพรรณาชื่นชมหลงใหล

ส่วน Quasimodo ชายหลังค่อม พูดไม่ได้ ตามองไม่ค่อยเห็น มีความผิดปกติมากมาย ผมไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่ แต่คิดว่าผู้เขียนน่าจะให้เป็นตัวแทนของผู้คนทั่วๆไป หลังค่อมเพราะทำตัวเหมือนคนแก่ไม่ยอมสนใจอะไร, มองไม่ค่อยเห็นคือปิดตาไม่พยายามรับรู้, พูดไม่ได้คือการไม่ยอมแสดงความคิดเห็น ฯ ทำงานเขย่าระฆัง คือดีแต่ป่าวประกาศ ส่งเสียงกึกก้อง แต่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรได้ทั้งนั้น

ในฉบับนิยายตอนจบ Esmeralda ถูกจับประหารเสียชีวิต มีนัยยะถึงจุดจบของมหาวิหาร Notre-Dame กำลังย่างกรายเข้ามาในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น Quasimodo เดินทางไปยัง Montfaucon สุสานที่เจ้าพนักงานโยนร่างของ Esmeralda ทิ้งไว้ ทรุดลงร้องไห้สิ้นลมข้างกายเธอ ประมาณ 18 เดือนถัดมา มีคนผ่านมา พยายามจะแยกกระดูกชิ้นส่วนของทั้งสองออกจากกัน แต่ปรากฎว่ามันสลายกลายเป็นผุยผง ไม่หลงเหลืออะไรทั้งนั้น

ว๊าว! นี่เป็นตอนจบของนิยายที่มีความทรงพลังขนลุกขนพองมาก ยิ่งใหญ่กว่าฉบับในหนังแบบเทียบกันไม่ติด แต่การเปรียบเช่นนี้ไม่ใช่สิ่งถูกต้องเสียเท่าไหร่, ก็เอาว่าในบริบทของหนัง เท่านี้ถือว่ายอดเยี่ยมพอใช้แล้ว โปรดักชั่นยิ่งใหญ่อลังกร ภาพลักษณ์การแสดงของ Lon Chaney ตราตรึงประทับจิตใจ แม้คุณภาพทุกสิ่งอย่างจะด้อยค่าลงไปตามกาลเวลา แต่ยังมีดีให้พูดถึงอยู่

ด้วยทุนสร้าง $1.25 ล้านเหรียญ ในปีแรกที่ฉายทำเงินได้ประมาณ $1 ล้านเหรียญ เป็นหนังทำเงินสูงสุดของ Universal ในปีนั้น, ยืนโรงฉายอยู่หลายปี รวมๆแล้วรายรับทั้งหมดประมาณ $3 ล้านเหรียญ กลายเป็นหนังทำเงินสูงสุดในชีวิตของ Lon Chaney อีกด้วย

หลังจากได้รับรู้ความยิ่งใหญ่ของนิยายต้นฉบับ ทำให้ผมรู้สึกเฉยสนิทกับหนัง แม้ลึกๆจะชอบการแสดงของอีกหลายๆคน แต่นัยยะแฝงและความหมาย มันเทียบไม่ติดเลยสักนิด หลงเหลือเพียงความบันเทิงน้อยนิดที่แค่พอประทัง แบบนี้ค่อนข้างน่าผิดหวังเสียดายสุดๆ

แนะนำกับคอหนังเงียบ ชื่นชอบแนว Epic อลังการ, รู้จัก เคยอ่านนิยายของ Victor Hugo, ติดตามจักรวาลของ Universal Monster, และแฟนของ Lon Chaney ไม่ควรพลาด

จัดเรต 13+ กับความอัปลักษณ์พิศดาร และความชั่วร้ายในจิตใจ

TAGLINE | “The Hunchback of Notre Dame แม้เทียบไม่ได้กับต้นฉบับนิยายของ Victor Hugo แต่มีความอลังการงานสร้าง และภาพลักษณ์การแสดงของ Lon Chaney ที่ตราตรึงติดใจ”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | SO-SO

The Phantom of the Opera (1925)


The Phantom of the Opera

The Phantom of the Opera (1925) hollywood : Rupert Julian ♥♥♥♡

ฉากที่ The Phantom ถูกกระชากหน้ากากออก ใบหน้าของ Lon Chaney เจ้าของฉายา ‘ชายพันหน้า’ สร้างความช็อค ตกตะลึง สะพรึงกลัว ให้กับทั้งนักแสดง (ปฏิกิริยาจริงๆ จากการเห็นเป็นครั้งแรก) ตากล้องอุทานออกมา ‘Are you NUTS?’ และผู้ชมกรี๊ดลั่น เป็นลมสลบไสล ถือเป็นภาพลักษณ์ที่ทำให้หนังยังคงได้รับการจดจำกล่าวขวัญถึงปัจจุบัน

ส่วนตัวยังไม่เคยรับชม The Phantom of the Opera ฉบับไหนๆมาก่อน นี่ถือเป็นครั้งแรก ต้องบอกว่าหนังสร้างความสั่นสะท้านเล็กๆให้กับผมเลยละ เพราะเมื่อถึงฉากไฮไลท์ขณะกระชากหน้ากาก กับคนที่ไม่เคยพบเห็นรับรู้มาก่อนว่าจะเจออะไร เชื่อว่าอย่างน้อยต้องได้สะดุ้งตกใจแน่ๆ มันคือความอัปลักษณ์ที่ผมเคยคิดว่าใบหน้าของ Count Orlok จาก Nosfertau (1922) มีความน่าสะพรึงหลอกหลอนที่สุดแล้ว(ในยุคหนังเงียบ) แต่พอได้พบเจอ The Phantom มันมีความลึกล้ำ สะท้านมากขึ้นไปอีก เป็นการแต่งหน้านักแสดงในยุคหนังเงียบที่หลอนเข้ากระดูกดำที่สุดก็น่าจะว่าได้

(แต่อย่าเอาไปเทียบความอัปลักษณ์กับ The Elephant Man หรือ The Fly นะครับ มันคนละยุคสมัยกัน)

น่าเสียดายที่คุณภาพโดยรวมด้านอื่นๆของหนัง ขาดความเป็นอมตะเหนือกาลเวลา ห่างชั้นกับ The Cabinet of Dr. Caligari (1920) หรือ Nosferatu (1922) อยู่พอสมควร นั่นอาจเพราะหนังขาดองค์ประกอบ German Expressionist ที่กว่าจะเข้ามาถึงอเมริกา ก็เมื่อ F. W. Murnau เซ็นสัญญาสร้างภาพยนตร์ Hollywood เรื่องแรก Sunrise (1927)

จุดเริ่มต้นของหนังเรื่องนี้ เมื่อปี 1922, Carl Laemmle หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Universal Picture ขณะเดินทางไปพักร้อนที่ Paris ได้พบเจอกับนักเขียนสัญชาติฝรั่งเศส Gaston Leroux (1868 – 1927) เอ่ยปากพูดชมเชย Paris Opera House ที่ได้มีโอกาสรับชมการแสดงโอเปร่า Leroux จึงมอบนิยาย Le Fantôme de l’Opéra (1910) ที่เขียนขึ้นเองให้ แค่เพียงคืนเดียวอ่านจบ Laemmle ตัดสินใจขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงภาพยนตร์โดยทันที มีภาพในหัว Lon Chaney แสดงนำเท่านั้น

เกร็ด: Gaston Leroux เป็นอดีตนักข่าว นักเขียนนิยายที่มีชื่อเสียงกับแนวสืบสวนสอบสวน เทียบชั้นกับ Sir Arthur Conan Doyle ของอังกฤษ และ Edgar Allan Poe ของอเมริกา โดยผลงานชิ้นเอกชื่อ The Mystery of the Yellow Room (1908) เป็นนิยายแนว Locked-Room Mystery (ฆาตกรรมในห้องปิด) เรื่องแรกๆของโลก

โปรดักชั่นของหนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยปัญหามากมาย (ราวกับคำสาปแช่งของ The Phantom) ผู้กำกับคนแรกที่ได้รับมอบหมายคือ Rupert Julian (1879 – 1943) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ New Zealand ที่เคยได้สานงานต่อ Merry-Go-Round (1923) ของ Erich von Stroheim ผู้ถูกไล่ออกระหว่างการถ่ายทำ, สำหรับหนังเรื่องนี้ก็ได้ทำหน้าที่จนเสร็จสรรพพร้อมฉาย แต่เพราะผลลัพท์ที่ออกมาได้เสียงตอบรับไม่ค่อยดี โปรดิวเซอร์จึงขอให้เขาถ่ายทำซ่อมเปลี่ยนแนวหนังแต่เจ้าตัวยืนกรานปฏิเสธ จึงทำให้สตูดิโอตดสินใจว่าจ้างผู้กำกับคนใหม่

คนที่สองคือ Edward Sedgwick (1889 – 1953) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์สัญชาติอเมริกัน เริ่มต้นจากเป็นนักแสดงตลก พอช่วงปลายทศวรรษ 20s เซ็นสัญญากับ MGM กลายเป็นผู้กำกับขาประจำคนเดียวที่นี่ของ Buster Keaton มีผลงานอาทิ The Cameraman (1928), Spite Marriage (1929), Free and Easy (1930), Doughboys (1930) ฯ, สำหรับหนังเรื่องนี้ได้เข้ามาเปลี่ยน direction ของหนัง ถ่ายทำซ่อมใหม่อย่างมาก จาก Gothic Horror กลายเป็นแนว Rom-Com ที่มีพื้นหลังเป็น Drama-Thriller ผลลัพท์ปรากฎว่าเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม ผู้ชมส่งเสียงโห่ไล่รับไม่ได้

สำหรับผลลัพท์สุดท้ายที่กลายมาเป็นหนังปัจจุบัน ไม่ได้ว่าจ้างผู้กำกับใหม่เพิ่ม แต่เป็นนักตัดต่อ Maurice Pivar กับ Lois Weber ที่ได้นำเอาทั้งสองฉบับมายำรวมกัน จุดไหนน่าสนใจก็คงไว้ (ส่วนใหญ่ที่ถ่ายเพิ่มของ Sedgwick จะถูกตัดทิ้ง) เปลี่ยนช่วงท้ายให้กลายเป็นการไล่ล่าระทึกขวัญ นี่ทำให้เสียงตอบรับดีขึ้นกว่าเก่ามากๆ

เรื่องราวเกิดที่ Paris Opera House ฤดูกาลใหม่กับโปรแกรมเรื่อง Faust ของ Charles-François Gounod นำแสดงโดย Christine (รับบทโดย Mary Philbin) ผู้เป็นตัวตายตัวแทน (understudy) ของ Carlotta ที่เกิดป่วยไม่สบาย ได้รัับจดหมายข่มขู่สารพัดสารเพจาก The Phantom (รับบทโดย Lon Chaney) ที่ตกหลุมรักในเสียง การแสดงและรูปลักษณ์ของ Christine เท่านั้น

Erik (ชื่อจริงของ The Phantom) อาศัยอยู่ภายใต้ Paris Opera House ที่เต็มไปด้วยกลไกซับซ้อน ครั้งหนึ่งได้ลักพาตัว Christine บังคับขู่เข็นสร้างเงื่อนไขให้เธอกลายเป็นคนรักของเขา แต่เมื่อใบหน้าแท้จริงได้รับการเปิดเผย มันทำให้หญิงสาวต่อต้านปฏิเสธชายหนุ่มโดยสิ้นเชิง

Leonidas Frank ‘Lon’ Chaney (1883 – 1930) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เจ้าของฉายา ‘The Man of a Thousand Faces’ เกิดที่ Colorado Springs ครอบครัวอพยพมาจากอังกฤษ พ่อ-แม่เป็นคนใบ้ทั้งคู่ (แต่ Chaney ไม่ได้เป็น) เลยเก่งภาษามือ เชี่ยวชาญละครใบ้ (Meme) เริ่มต้นทำงานเป็นนักแสดงละครเวที ค่อยๆมีชื่อเสียงประสบความสำเร็จขึ้นเรื่อยๆ จนปี 1913 เคยพยายามฆ่าตัวตายด้วยการกลืนสารปรอทแต่ไม่สำเร็จ ทำให้ถูกคนในวงการละครเวทีปฏิเสธ เลยผันตัวสู่วงการภาพยนตร์ ดิ้นรนอยู่หลายปี จนเริ่มมีชื่อเสียงจาก The Miracle Man (1919) รับบทเป็นกบ (The Frog) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่แต่งหน้าแต่งตาเองด้วย หลังจากนี้ก็มีแต่จะรุ่งขึ้นเรื่อยๆ ได้รับการจดจำจากภาพลักษณ์ที่ไม่เคยซ้ำเดิม Oliver Twist (1922), The Hunchback of Notre Dame (1923), He Who Gets Slapped (1924), The Phantom of the Opera (1925), The Unknown (1927), London After Midnight (1927) ฯ

น่าเสียดายที่ Chaney อายุสั้นไปเสียหน่อย น่าจะเพราะจากความพยายามฆ่าตัวตายครั้งนั้น ทำให้เขากลายเป็นมะเร็ง ตกเลือดในลำคอเสียชีวิต เพิ่งจะมีผลงานหนังพูดได้เพียงเรื่องเดียวคือ The Unholy Three (1930)

รับบท The Phantom/Erik ชายผู้ซึ่งมีใบหน้าอัปลักษณ์(ในนิยายบอกว่าตั้งแต่เกิด) ทำให้ถูกผู้คนรังเกียจต่อต้าน ขับไล่ไสส่งให้ไปอยู่ภายใต้ Dungeon คล้ายคุกใต้ดินของ Paris Opera House ด้วยเหตุนี้เขาจึงมีความเคียดแค้น ก้าวร้าว ทุกข์ทรมาน เห็นแก่ตัว เมื่อต้องการบางสิ่งอย่างก็ใช้กำลังเข้าบังคับขู่เข็น โดยเฉพาะกับ Christine ที่เขาตกหลุมรัก แต่ไม่สามารถแสดงความเป็นสุภาพบุรุษออกมาได้

การแสดงของ Chaney ไม่มีอะไรน่าพูดถึงเท่ากับภาพลักษณ์จากการแต่งหน้า ที่ทำให้เขากลายเป็นตำนานและได้รับฉายา ‘ชายพันหน้า’ ถือเป็นความพยายามซื่อตรงต่อนิยาย ที่ให้คำอธิบายใบหน้าของตัวละคร ว่าเหมือนหัวกระโหลกและมีปอยผมเล็กๆอยู่เหนือศีรษะ สิ่งที่ Chaney สร้างสรรค์ขึ้นคือ ทาขอบตาสีดำ เอาโครงเหล็กดามจมูกให้โด่งขึ้น ยัดสำลีจุ่มสีดำเข้ารูจมูก ใส่ฟันปลอมให้เหมือนปีศาจ ปกติทำได้แค่ขยับปากแต่ไม่สามารถพูดออกเสียงได้

นี่เป็นภาพลักษณ์มีความหลอกหลอนอย่างยิ่ง ราวกับโครงกระดูกเดินได้ก็ไม่ปาน, Charles Van Enger ผู้เป็นตากล้องของหนัง ได้ถูกรับเลือกให้เป็นหนูทดลอง เรียกตัวไปที่ห้องแต่งตัว แล้วอยู่ดีๆ Chaney ก็โผล่ขึ้นมาในหน้า Phantom ทำเอาเขาแทบจะขี่เยี่ยวเร็ดราด ก้าวถอยหลังจนติดผนัง สีหน้าตื่นตระหนกสะพรึงกลัว ตะโกนลั่น ‘Are you NUTS?’ เห็นว่า Chaney หัวเราะลั่น ถอดฟันปลอมออก ‘Never mind Charlie, you already told me what I wanted to know.’

รวมถึงนักแสดงที่ต้องเข้าฉากร่วมกัน Mary Philbin เห็นว่า Chaney จงใจไม่ให้เธอเห็นภาพลักษณ์การแต่งหน้าของเขาก่อนถึงฉากนี้ ซึ่งปฏิกิริยาที่ปรากฎออกมาในหนัง มาจากความหวาดกลัวของเธอจริงๆ ไม่ได้ปั้นแต่งจากการแสดงแม้แต่น้อย

Mary Loretta Philbin (1902 – 1993) นักแสดงหญิงแห่งยุคหนังเงียบ สัญชาติอเมริกา เกิดที่ Chicago, Illinois ครอบครัวอพยพมาจากประเทศ Ireland เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากชนะการประกวด Beauty Contest ที่จัดโดย Universal Picture ทำให้ได้เซ็นสัญญาระยะยาว ร่วมงานกับผู้กำกับดังอย่าง Erich von Stroheim เรื่อง Foolish Wives (1922) [ไม่ได้เครดิต], Merry-Go-Round (1923) ที่ยกย่องเธอว่าคือ ‘Universal Super Jewel’, ผลงานเด่นๆ อาทิ The Phantom of the Opera (1925), Drums of Love (1928) ของผู้กำกับ D. W. Griffith, The Man Who Laughs (1928) ฯ

รับบท Christine Daaé หญิงสาวที่มีความลุ่มหลงใหลในการแสดง ไต่เต้าจนได้รับโอกาสขึ้นเวที เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จัก แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่งในชีวิต จำเป็นต้องเลือกระหว่างชายที่ตนรัก กับอาชีพที่ตนไขว่คว้าหา

ผมไม่รู้สึกว่า Philbin เป็นนักแสดงที่มีความสวยสักเท่าไหร่ แต่เธอเจิดจรัสเมื่อพบอยู่ในหนังเงียบ การแสดง… ไม่สิ ปฏิกิริยาที่ปรากฎออกมา ถือว่าเป็นตัวตนแท้จริงของตนเอง ไม่เจือปนปั้นแต่งเสียเท่าไหร่ ทำให้มีความสมจริง รวดร้าวใจทุกข์ทรมานใจที่จับต้องได้ ราวกับมนุษย์คนหนึ่งที่พบเห็นความชั่วร้ายมวลรวมของโลก

หลังจากการมาของยุคหนังพูด Philbin ตัดสินใจรีไทร์ออกจากวงการเพื่อไปเลี้ยงดูแม่วัยชราของตน และไม่เคยกลับมาเล่นหนังอีกจนกระทั่งเสียชีวิต

Norman Kerry (1894 – 1956) นักแสดงสัญชาติอเมริกา เกิดที่ Rochester, New York ด้วยความหนุ่มแน่นหล่อเหลา เข้าสู่วงการจากคำชักชวนของ Rudolph Valentino ช่วงกลางทศวรรษ 10s ไม่ช้ากลายเป็น matinee idol ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มักได้รับบทนำหรือสมทบฝ่ายชาย ที่มีชื่อเสียงอาทิ The Hunchback of Notre Dame (1923), Merry-Go-Round (1923), The Phantom of the Opera (1925), The Unknown (1927) ฯ พยายามปรับตัวเข้ากับหนังพูดแต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ จึงค่อยๆจางหายไปจากวงการ

รับบท Vicomte Raoul de Chagny ชายหนุ่มที่เป็นเพื่อนวัยเด็ก จนกลายเป็นคนรักของ Christine Daaé แต่เพราะเธอมีความใฝ่ฝันด้านการแสดง ต้องการประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง ด้วยรักจึงยินยอมเสียสละ แต่พอรู้ว่าถูกลักพาตัวโดย The Phantom ร่วมกับ Carewe as Ledoux (รับบทโดย Arthur Edmund) นักสืบผู้รู้อดีตเบื้องหลังแท้จริง สามารถตามติดลงไปถึงขุมนรกชั้น 5

ถ่ายภาพโดย Charles Van Enger ตากล้องสัญชาติอเมริกา ขาประจำของ Ernst Lubitsch ในยุคหนังเงียบ, ลักษณะของงานภาพ มีการจัดเฟรม นักแสดงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่กำหนดเท่านั้น กล้องมักไม่มีการเคลื่อนไหว เทคนิคอื่นๆที่ใช้อาทิ ซ้อนภาพ (สองสิ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน), ใส่สีเพื่อแสดงสถานที่(ภายใน/ภายนอก)และอารมณ์ของฉากนั้น อาทิ เหลืองอำพัน (amber)=ถ่ายภายใน, สีน้ำเงิน=ถ่ายกลางคืน, สีเขียว=อารมณ์ลึกลับน่าสะพรึงกลัว, สีแดง=ไฟ ฯ

หนังจะมีฟุตเทจที่เป็นภาพสีความยาว 17 นาที ล้างด้วย Technicolor: Prizma II ในฉากการแสดงโอเปร่า Faust และงานเต้นรำหน้ากาก Bal Masqué แต่เหมือนฉากแรกจะสูญหายไปแล้ว, สำหรับคนที่รู้จัก Prizma II จะรู้ว่าภาพที่ล้างออกมา สีแดงมีความโดดเด่นชัดสุุด ซึ่งหนังก็เน้นชุดและผ้าคลุมของ The Phantom (ที่ขณะนั้นสวมหน้ากากหัวกระโหลก) ได้อย่างงดงาม

สำหรับ Stage 28 สถานที่ใช้ถ่ายทำหนังเรื่องนี้ใน Universal Studio ได้ทำการสร้างฉาก Paris Opera House ขึ้นมา รองรับตัวประกอบกว่าพันคน สร้างด้วยเหล็กและคอนกรีต (เป็นฉากแรกของวงการภาพยนตร์ที่สร้างด้วยวัสดุคุณภาพระดับนี้) ซึ่งหลังจากใช้งานถ่ายทำเสร็จสิ้นก็ไม่เคยถูกทุบทิ้ง ใช้ซ้ำกับภาพยนตร์/โทรทัศน์ นับเป็นร้อยๆเรื่อง อาทิ Dracula (1931), The Raven (1935), Phantom of the Opera (1943), Torn Curtain (1966), The Sixth Sense (1972) ฯ แถมหลังจาก Lon Chaney เสียชีวิต มีตำนานเล่าว่าใครก็ตามที่พยายามรื้อทำลายฉากนี้จะถูกผีหลอก ไม่ก็อุบัติเหตุร้ายแรง จึงคงรักษาไว้กลายเป็นสถิติโลก ‘ฉากภาพยนตร์สร้างขึ้นมีการใช้งานยืนยาวที่สุด’ จนกระทั่งปี 2014 รวมระยะเวลา 89 ปี จึงได้ถูกทุบทำลายลง

ตัดต่อฉบับแรกโดย Edward Curtiss
ฉบับที่สองโดย Gilmore Walker
และฉบับสุดท้าย Maurice Pivar, Lois Weber

เห็นว่าเรื่องราวบางส่วน เช่นตัวละคร Ledoux ในนิยายและหนังฉบับแรกคือชายไร้ชื่อเป็นชาว Persian เบื้องหลังคือเพื่อนสนิทคนเดียวของ Erik แต่ Title Card ที่ขึ้นคำอธิบายของหนัง ได้เปลี่ยนข้อความให้เขากลายเป็น Ledoux นักสืบอะไรสักอย่าง ถือเป็นการเปลี่ยนพื้นหลังตัวละครโดยแก้ไขจากข้อความคั่น, นี่ผมไม่คิดมาก่อนว่าจะสามารถทำแบบนี้ได้ เพราะนักแสดงที่รับบทนี้ ก็เล่นไปในความเข้าใจของตนเอง แต่ผลลัพท์สุดท้ายกลับสามารถเปลี่ยนไปได้ราวกับหนังคนละเรื่อง!

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้ข้อสังเกตถึงภายใต้ Opera House มีทั้งหมด 5 ระดับ ไม่นับชั้นเวทีการแสดงและห้องแต่งตัว จะประกอบด้วย
– ชั้นล่างที่ 1 เต็มไปด้วยเชือก กลไก เชื่อมต่อกับเวทีการแสดงชั้นบน
– ชั่นล่างที่ 2 จะมีภาพวาดของปีศาจน่าสะพรึงกลัวอยู่เบื้องหลัง
– ชั้นลับใต้ดินที่ 1 อยู่หลังกระจกห้องแต่งตัวแล้วเดินลงมาอีกชั้นหนึ่ง ต้องขึ้นขี่ม้าเพราะมีระยะทางไกล
– ชั้นลับใต้ดินที่ 2 ห้องพักของ The Phantom ต้องล่องเรือผ่านแม่น้ำ (คล้ายกับแม่น้ำ Styx ที่คั่นระหว่างโลกมนุษย์กับโลกบาดาล) ห้องนอนมีความหรูหร่า ฟู่ฟ่า แต่ตัวเองกลับนอนอีกห้องในโลงศพ
– ชั้นลับใต้ดินล่างสุด ราวกับขุมนรกอเวจี มีทั้งไฟที่แผดเผา และน้ำท่วมที่เย็นเฉียบ

แต่ละชั้นจะเชื่อมต่อกันด้วยบันได, ทางลาด, ประตูกล, แม่น้ำ ต้องใช้ม้าและเรือเป็นสิ่งสัญจร, นอกจากชั้นล่างแล้วยังถือว่า Opera House มีชั้นบนอีกอย่างน้อย 2 ระดับ คือ
– ชั้นบนสุดด่านฟ้า (ที่ Christine พรอดรักกับ Raoul แล้วมี The Phantom เกาะอยู่บนรูปปั้น)
– ชั้น Office ที่ทำงาน และชั้นของผู้ชม VIP (ที่นั่งบล็อค 5 ของ The Phantom)

ระดับชั้นต่างๆที่ว่ามานี้ เปรียบเทียบก็คล้ายกับสวรรค์-นรก จริงๆนะแหละ โดยชั้นของเวทีการแสดงเปรียบได้กับโลกมนุษย์ ที่พวกเราทั้งหลายต่างพยายามทำทุกอย่าง เพื่อให้มีชีวิตเอาตัวรอด หลงใหลในรูปรสกลิ่นเสียง ชื่อเสียงความสำเร็จที่เปรียบเสมือนหน้ากาก หาใช่ตัวตนแท้จริงของเราที่หลบซ่อนอยู่ภายใต้ส่วนลึกมิดชิดที่สุด

เราสามารถเปรียบชายในหน้ากาก The Phantom ประหนึ่งความชั่วร้าย/ด้านมืดในจิตใจ ที่พยายามฉุดรั้งจิตวิญญาณของเราสู่ความตกต่ำ ในขุมนรกชั้นลึกสุด แต่งงานแล้วอาศัยอยู่กินกับตนเองในสถานที่แห่งนี้, ตอนจบของหนังหญิงสาว Christine ยินยอมเสียสละตนเอง เปิดอกรับได้กับความชั่วร้ายนี้ เพื่อช่วยเหลือชายคนรักให้อยู่รอดปลอดภัย เอาตัวรอดออกจากขุมนรกชั้นลึกสุดนี้ได้ … ความเสียสละนี้มองได้คือ การเปิดใจยอมรับด้านมืดของตัวเอง รับรู้ตัวเองว่าก็มี แต่ใช่ว่าจะแสดงออกเปิดเผยหรือกลายเป็นบุคคลผู้ชั่วร้ายนั้น (การที่เราสามารถยินยอมรับ เปิดใจตัวเองว่ามีด้านมืดชั่วร้าย แอบแฝงฝังอยู่ลึกในใจ จะสามารถทำให้เรามีสติเบื้องต้นในการยับยั้งควบคุมตนเอง ไม่ให้กระทำตัวเป็นผู้ชั่วร้ายได้)

ผมจะขอเปรียบเทียบเรื่องราวในอีกมุมมองที่ต่างกัน โดยมีหญิงสาว Christine เป็นจุดหมุน, สำหรับผู้มีความเพ้อฝันทะเยอทะยานความสำเร็จในวงการบันเทิง เมื่อถึงจุดๆหนึ่งของชีวิตจะต้องเลือกระหว่าง
– Scorpion (แมงป่อง) ที่มีพิษร้าย เย่อหยิ่งทะนงตง ยอมแต่งงานกับ Erik เพื่อแลกกับชื่อเสียงเงินทองความสำเร็จ
– Glasshopper (ตั๊กแตน) ที่อ่อนแอไร้พิษสง แต่แท้จริงกลับซุกซ่อนด้วยระเบิด พร้อมทำลายล้างทุกสิ่งอย่าง รวมถึง Opera House นี่คือการเลือกกลับสู่ชีวิตธรรมดาสามัญชน

การเลือกของ Christine มีนัยยะถึงการยินยอมเสียสละทุกสิ่งอย่างของตนเอง เพื่อชื่อเสียงความสำเร็จในวงการ ละทิ้งความธรรมดาของสามัญชนไป แต่ในฉบับนิยายตอนจบ จะไม่มีการถูกสังคมไล่ล่ารุมประชาทัณฑ์ เพราะ Erik จะยินยอมปล่อยเธอไปหลังจากได้รับจุมพิตครั้งแรกในชีวิต (Erik จุมพิตที่หน้าผากของ Christine ก่อน แล้วเธอก็ประทับคืนรอยจูบให้กับเขาโดยไม่สะอิดสะเอียนต่อต้าน) พร้อมกับสัญญาที่จะกลับมาหาเขาอีกครั้งหลังจากตนเสียชีวิตไปแล้ว (แต่ก็ไม่เคยกลับมา เพราะ Erik จะตายเพราะพิษรักบน Organ หลังจากนั้น) นี่ตีความได้ว่า ถึงพอกลายยิ่งใหญ่จนกลายเป็นดาวค้างฟ้าแล้ว ใช่ว่าจะไม่สามารถกลับคืนสู่ความเป็นสามัญชนได้

ด้วยการมาถึงของยุคหนังพูด Universal ประกาศว่าจะมีการสร้างภาคต่อ The Return of the Phantom ซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงนิยาย-ของ Leroux ไว้แล้วด้วย ตั้งใจให้เป็นหนังพูดและมีสี แต่ Lon Chaney ขณะนั้นเซ็นสัญญาระยะยาวกับ MGM ตั้งใจจะยืมตัวมาแต่อาการป่วยเริ่มกำเริบ ไม่นานก็เสียชีวิต, เมื่อหมดสิทธิ์สร้างภาคต่อ เลยตัดสินใจ re-issue กลับมาฉายใหม่เสียเลย ด้วยการบันทึกเสียงพากย์ ใส่ Soundtrack และ Sound Effect เข้าไปในหนัง มอบหมายให้ Ernst Laemmle และ Frank McCormick ถ่ายทำแก้ไขบางฉาก มีนักแสดงหลักกลับมาให้เสียงคือ Mary Philbin และ Norman Kerry ส่วนเสียงของ Chaney ไม่มีเครดิตแต่คาดกันว่าน่าจะคือ Philips Smalley, ส่วนเพลงประกอบประพันธ์ขึ้นใหม่หมดโดย Joseph Cherniavsky

ถึงหนังจะมีปัญหามากมาย ถ่ายซ่อมใหม่หลายครั้ง แต่ผลลัพท์ทำเงินมหาศาลสูงถึง $2 ล้านเหรียญ (= $27.8 ล้านเหรียญ ปี 2016) แถมฉบับหนังพูดปี 1929 ยังทำเงินได้อีก $1 ล้านเหรียญ กำไรเน้นๆ

ถือเป็นความสำเร็จครั้งที่ 2 ของ Universal Monster ถัดจาก The Hunchback of Notre Dame (1923) ถือว่ากำลังเป็นการตั้งไข่ให้กับ Universal Picture เกิดความสนใจสร้างหนังแนวนี้ขึ้นมาอีกหลายเรื่อง อาทิ Dracula (1931), Frankenstein (1931), The Mummy (1932), The Invisible Man (1933) และ The Wolf Man (1941)

ส่วนตัวค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้ ความเซอร์ไพรส์การแต่งหน้าของ Lon Chaney ก็ระดับหนึ่ง แต่ผมสนใจแนวคิดแฝงเกี่ยวกับมุมมืดวงการภาพยนตร์ ซึ่งมันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆนะแหละ, น่าเสียดายที่คุณภาพของหนังเสื่อมค่าลงไปตามกาลเวลา แต่ถือว่ายังมีความสนุกสนานเพลิดเพลินบันเทิงอรรถรถพอสมควร

แนะนำกับคอหนังเงียบ ชื่นชอบแนว Horror กับนักแสดงพันหน้า Lon Chaney, ผู้เคยรับชม The Phantom of the Opera ไม่ว่าฉบับไหน ควรลองชมภาพยนตร์เรื่องแรกสุดนี้ดูด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่หลงใหลใน Opera House นั่นเป็นเสียงร้องของ Mary Philbin จริงๆนะครับ ไม่ควรพลาดเลย

จัดเรต 13+ กับภาพลักษณ์สุดอัปลักษณ์ของ Lon Chaney

TAGLINE | “The Phantom of the Opera ตราตะลึงกับภาพลักษณ์ของ Lon Chaney ที่เห็นแล้วจะไม่มีวันลืมเลือน”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

Häxan (1922)


Häxan

Häxan (1922) Swedish : Benjamin Christensen ♥♥♥

(mini Review) หนังเงียบกึ่งสารคดีเรื่องนี้ นำเสนอประวัติศาสตร์’แม่มด’โดยย่อ จากอดีตสู่ยุคทอง Middle Ages มาจนถึงปัจจุบัน (ต้นศตวรรษ 20) สร้างความตกตะลึง สะพรึงกลัว หวั่นวิตกให้กับผู้ชมนักวิจารณ์สมัยนั้น เพราะหลายคนยังแยกไม่ออก หลงคิดไปว่านี่คือเรื่องจริง!

สร้างโดย Benjamin Christensen (1879 – 1959) ผู้กำกับ-นักเขียน-นักแสดง สัญชาติ Danish เกิดที่ Viborg, Denmark ตั้งใจว่าจะเรียนหมอ แต่จับพลัดจับพลูเข้าเรียนการแสดงที่ Det Kongelige Teater (Royal Danish Theatre) ในเมือง Copenhagen กลายเป็นนักแสดงละครเวทีมืออาชีพ พอเบื่อผันตัวเป็นนายหน้าขายไวน์, ปี 1911 เปลี่ยนอาชีพอีกครั้งเป็นนักแสดงภาพยนตร์ และกลายเป็นผู้กำกับ มีผลงานเรื่องแรก Det hemmelighedsfulde X หรือ The Mysterious X (1914)

สำหรับ Häxan หรือ Heksen แปลว่า The Witches หรือ Witchcraft Through the Ages (เป็นชื่อที่ล้อกับหนังเรื่อง Intolerance: Love’s Struggle Throughout the Ages) Christensen ใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลพื้นหลังเกี่ยวกับการใช้เวทย์มนต์คาถา (Necromancy) อยู่ถึง 2 ปี ตั้งแต่ 1918 พบเจอกับหนังสือ Malleus Maleficarum (แปลว่า Hammer of Witches) ของชาว German เป็นคู่มือของนักบวช Catholic เขียนโดย Heinrich Kramer ที่ใช้สืบสวนสอบสวนตัดสินผู้เป็นแม่มด ตีพิมพ์เมื่อปี 1487

เกร็ด: Malleus Maleficarum เป็นหนังสือขายดี Bestseller อันดับ 2 ของโลก รองจากคำภีร์ไบเบิ้ล

หนังได้ทุนสร้างจากสตูดิโอ Svensk Filmindustri (ของสวีเดน) แต่เพราะ Christensen เป็นชาวเดนมาร์ก มีความต้องการถ่ายทำโปรดักชั่นในประเทศตัวเอง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – ตุลาคม 1921 ร่วมกับตากล้อง Johan Ankerstjerne ถ่ายทำเฉพาะตอนกลางคืน ในสตูดิโอพื้นที่ปิด เสร็จสิ้นแล้วใช้เวลา Post-Production อยู่อีกเกือบปี รวมทุนสร้างสูงถึง 1.5-2 ล้าน kronos กลายเป็นหนังเงียบทุนสูงสุดในแถบประเทศ Scandinavian ไปโดยพลัน

ลักษณะการดำเนินเรื่อง แบ่งออกเป็น 7 ตอน (7 reel) นำเสนอในลักษณะกึ่งสารคดี กึ่งดำเนินเรื่อง ซึ่งถ้าแบ่งเรื่องราวออกเป็นส่วนๆ จะพบว่ามีเพียง 4 องก์เท่านั้น
– Prologue (ตอนที่ 1) เริ่มจากยุคสมัยโบราณ ความเชื่อแนวคิดต่อการมีตัวตนของโลก นับตั้งแต่สมัย Persia, Egypt ตัดสลับ Title Card คำอธิบาย กับรูปภาพ(จากหนังสือ)/รูปปั้น/โมเดลจำลอง ฯ มีดินสอชี้บอกให้เห็นรายละเอียดชัดเจน จนกระทั่งมาถึงยุคกลาง Middle Age ความเชื่อต่อพระเจ้าและปีศาจ จนกลายมาเป็นพิธีกรรมของแม่มด นอกรีต
– Introduction (ตอนที่ 2) ต่อจาก Prologue นำเสนอปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติที่เกิดขึ้น, พฤติกรรมแปลกๆ (สาปแช่งแล้วเป็นจริง), ความเชื่อพิธีกรรมต่างๆ (ขายยา Love Potion), รวมถึงภาพลักษณ์ของซาตาน (ผู้กำกับ Benjamin Christensen สวมบทซาตานนี้เองเลย)
– The Witch (ตอนที่ 3-6) หญิงสูงวัยคนหนึ่งได้รับการกล่าวหาว่าเป็นแม่มด ถูกจับไต่สวนทรมานให้สารภาพความจริง สิ่งที่เธอเล่ามาจะประกอบด้วย
> ตอนที่ 4 ขณะถูกทรมานจนยอมรับสารภาพ มีการเล่าเรื่องราวพิธีกรรมที่ชื่อว่า Witch Sabbath
> ตอนที่ 5 เอ่ยนามหญิงสาวอีกสองคน ทำให้พวกเธอถูกจับทั้งๆที่อาจไม่รู้อีโน่อีเน่อะไรด้วยเลย นำมาทรมานให้สารภาพความจริงก่อนถูกนำไปเผา
> ตอนที่ 6 พฤติกรรมแปลกๆของแม่มด เช่น แปลงร่างเป็นสัตว์, ถูกปีศาจเข้าสิง, กลุ่มแม่ชีผู้เสียสติ ฯ
– Epilogue (ตอนที่ 7) เป็นการสรุปทุกสิ่งอย่างไล่ย้อนกลับไปถึงตอน 1 เปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นกับการค้นพบในยุคสมัยปัจจุบัน คำอธิบายสามารถลบล้างพฤติกรรม ความเชื่อ เรื่องเหนือธรรมชาติต่างๆ ได้แทบทั้งหมดด้วยหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

ตอนที่หนังออกฉาย ได้รับเสียงตอบรับอย่างหวาดหวั่นวิตกกลัว เพราะผู้ชม/นักวิจารณ์ส่วนใหญ่สมัยนั้น สนใจแต่เนื้อหาใจความของหนัง มิได้สนใจความสวยงามทางศิลปะที่ปรากฎขึ้นสักเท่าไหร่ ‘it is absolutely unfit for public exhibition.’ หรือ

“the satanic, perverted cruelty that blazes out of it, the cruelty we all know has stalked the ages like an evil shaggy beast, the chimera of mankind. But when it is captured, let it be locked up in a cell, either in a prison or a madhouse. Do not let it be presented with music by Wagner or Chopin, […] to young men and women, who have entered the enchanted world of a movie theatre.”

ด้วยกระแสวิจารณ์มาร้าย ขัดแย้ง Controversy แบบนี้ ยิ่งทำให้ผู้ชมในยุโรปเกิดความใคร่สนใจ หนังทำเงินได้ค่อนข้างสูงทีเดียว แม้จะไม่ได้ฉายในอเมริกา (ถูกแบนห้ามฉาย เพราะมีภาพนู้ด เครื่องทรมาน และเรื่องราวส่อทางเพศ)

แต่เมื่อเวลาผ่านไป Häxan ได้รับการยกย่องโดยนักวิจารณ์ในระดับ Masterpiece ผลงานยอดเยี่ยมที่สุุดของ Benjamin Christensen ลึกล้ำนำหน้ากาลเวลาแห่งยุคสมัย สามารถนำเสนอประวัติศาสตร์ ผสมผสานกับความเชื่อ Special Effect ดำเนินเรื่องได้อย่างสวยงามลงตัว และแฝงข้อคิดช่วงท้ายได้อย่างมีสติ ถึงจะมีความแปลกประหลาดแต่ตราตะลึง น่าสะพรึง หัวใจสั่นไหว

หนังหารับชมได้ใน Youtube แบบไร้ลิขสิทธิ์นะครับ แต่ถ้าอยากได้คุณภาพดีๆ Soundtrack เพราะๆ ลองหาจาก Criterion ดูได้เลย

ส่วนตัวค่อนข้างเฉยๆกับหนังเรื่องนี้ รู้สึกแอบเบื่อเพราะดำเนินเรื่องลักษณะกึ่งสารคดี มันจึงขาดอารมณ์ ความน่าสนใจไปพอสมควร กระนั้นความสวยงามในเชิงศิลปะ ลีลา direction และ Special Effect มีความน่าทึ่งและยังคงทรงพลังอยู่ไม่น้อยแม้จะเป็นหนังเงียบก็เถอะ

แนะนำกับคอหนัง Horror แม้อาจจะไม่หลอนๆแบบสะดุ้งตกใจหรือบรรยากาศน่าสะพรึงกลัว แต่มีความน่าสนใจว่าจะเป็นอย่างไร (ผมรับชมหนังเรื่องนี้ก็เพราะความน่าสนใจนี้แหละ) ชื่นชอบเรื่องราวประวัติศาสตร์ของแม่มด ยุคสมัย Middle Age ไม่ควรพลาดเลย

จัดเรต 15+ กับภาพนู้ด เครื่องทรมาน และเรื่องราวส่อทางเพศ

TAGLINE | “Häxan ของผู้กำกับ Benjamin Christensen มีแนวคิดการนำเสนอน่าสนใจ ผสมผสานประวัติศาสตร์และ Special Effect ในยุคหนังเงียบได้อย่างลงตัว”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | SO-SO

Dracula (1931)


Dracula

Dracula (1931) hollywood : Tod Browning ♥♥♥♡

Bela Lugosi ได้สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับท่าน Count Dracula มาดผู้ดีชั้นสูง ใส่สูทพร้อมผ้าคลุมสีดำ หวีผมอย่างเนี๊ยบ ตาจ้องเขม็งสว่างๆ และสำเนียงการพูดชัดถ้อยเล่นคำ กลายเป็น Iconic สัญลักษณ์ติดตราตรึงผู้ชมมาจนถึงปัจจุบัน

ครั้งที่ 3 ของวงการภาพยนตร์ในความพยายามดัดแปลงนิยาย Dracula (1897) ของนักเขียนสัญชาติไอริช Abraham ‘Bram’ Stoker (1847 – 1912) แต่ถือเป็นครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในการขอลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ทำเงินถล่มทลาย และเป็นหนังพูด, อีกสองครั้งก่อนหน้าประกอบด้วย
– Dracula’s Death (1921) ของผู้กำกับสัญชาติฮังกาเรียน Károly Lajthay ปัจจุบันคาดว่าฟีล์มสูญหายไปแล้ว
– Nosferatu (1922) ของผู้กำกับสัญชาติเยอรมัน F. W. Murnau เป็นฉบับเก่าแก่สุดที่หลงเหลืออยู่ แต่เพราะสร้างโดยไม่สนลิขสิทธิ์ของ Stoker ที่เสียชีวิตไปแล้ว ภรรยาหม้ายจึงฟ้องเรียกร้องความเสียหาย และต้องทำลายฟีล์มต้นฉบับไปเกือบหมด โชคดียังพอมีหลงเหลืออยู่บ้าง ปัจจุบันได้รับการยกย่องว่าคือ Masterpiece จุดเริ่มต้นของท่านเคาท์แดร็กคูล่า

จริงๆยังมีหนังอีกเรื่องหนึ่ง เริ่มสร้างก่อนหน้าแต่เสร็จออกฉายภายหลัง Vampyr (1932) ภาพยนตร์สัญชาติฝรั่งเศส-เยอรมัน ของปรมาจารย์ผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer แม้ตอนออกฉายได้รับเสียงวิจารณ์ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน แต่ภายหลังได้รับการยกย่องว่าคืออีกหนึ่ง Masterpiece ของหนังแนว Horror

Carl Laemmle Jr. (1908 – 1979) โปรดิวเซอร์สัญชาติอเมริกา ลูกชายของ Carl Laemmle หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Universal Pictures ได้เป็น Head of Production ระหว่างปี 1928-1936, หลังเห็นความสำเร็จของละคร Broadway เรื่อง Dracula ของ Hamilton Deane ครั้งแรกปี 1924 และ revised โดย John L. Balderston เมื่อปี 1927 (ฉบับหลังมี Bela Lugosi รับบท Count Dracula) เกิดความต้องการดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์อีกสักครั้ง จดจำบทเรียนจาก Nosferatu (1922) ติดต่อภรรยาหม้าย Florence Balcombe ปิดปากด้วยเงิน $40,000 เหรียญ ซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงมาครอบครอง มอบหมาย Garrett Fort ที่เพิ่งสร้างชื่อจาก Applause (1929) ให้มาดัดแปลงบทภาพยนตร์

ความตั้งใจแรกของ Laemmle ต้องการสร้างหนังให้ออกมายิ่งใหญ่อลังการระดับ The Hunchback of Notre Dame (1923), The Phantom of the Opera (1925) แต่ก็ถูกสตูดิโอเบรคครั้งใหญ่ ด้วยการให้ทุนสร้างมาเพียงน้อยนิดเท่านั้น

Tod Browning (1880 – 1962) ผู้กำกับ เขียนบท สร้างภาพยนตร์สัญชาติอเมริกา เกิดที่ Louisville, Kentucky มีความสนใจในคณะละครสัตว์และการแสดงตั้งแต่เด็ก พออายุ 16 เดินทางออกร่วมคณะทัวร์ไปตามสถานที่ต่างๆ เปิดการแสดงชุด ‘The Living Corpse’ ครั้งหนึ่งได้พบเจอกับ D.W. Griffith ชักชวนให้มาเป็นนักแสดง หนึ่งในตัวประกอบ Intolerance (1916) กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Jim Bludso (1917)

Browning มีผลงานประสบความสำเร็จปานกลางระดับหนึ่ง มักร่วมงานกับ Lon Chaney เรื่อง The Wicked Darling (1919), The Unholy Three (1925), The Unknown (1927), Where East is East (1929) ฯ เคยร่วมงานกับ Bela Lugosi ในหนังพูดเรื่องแรก The Thirteenth Chair (1929) ก่อนหน้าจะสร้าง Dracula (1931) เคยมีผลงานแนวแวมไพร์เรื่องก่อนหน้า London After Midnight (1927) แต่เหมือนว่าฟีล์มจะสูญหายไปแล้ว

ผลงานเอกของ Browning ประกอบด้วย Dracula (1931) และ Freaks (1932)

เดิมนั้น Browning ไม่ใช่ตัวเลือกแรกของ Laemmle แต่เป็นผู้กำกับ Paul Leni ที่ด่วนเสียชีวิตไปก่อน และพอ Browing เข้ามาคุมบังเหียร เลือก Lon Chaney ให้แสดงนำก็มาด่วนเสียชีวิตไปก่อนอีกคน! (เป็นหนังโคตรอาถรรพ์โดยแท้)

สำหรับนักแสดงนำที่จะมารับบท Count Dracula ทีแรก Laemmle ไม่ได้มีความสนใจ Bela Lugosi เลยแม้แต่น้อย เพราะค่าตัวคงสูงมากๆ นักแสดงที่อยู่ในความสนใจ อาทิ Lon Chaney, Paul Muni, Chester Morris, Ian Keith, John Wray, Joseph Schildkraut, Arthur Edmund Carewe, William Courtenay ฯ ล้วนถูก Lugosi เจ้าของบทบาทนี้ในฉบับละคร Broadways ล็อบบี้และต่อรองรับค่าตัวแสนถูก เพียงสัปดาห์ละ $500 เหรียญ รวมตลอด 7 สัปดาห์ถ่ายทำ ได้เงิน $3,500 ถือว่าต่ำมากสำหรับดารามีชื่อสมัยนั้น

Béla Ferenc Dezső Blaskó (1882 – 1956) หรือ Bela Lugosi นักแสดงสัญชาติ Hungarian เกิดที่ Lugos, Kingdom of Hungary (ปัจจุบันกลายเป็นประเทศ Romania) ไม่ไกลจากเมือง Transylvania มากนัก, ตอนอายุ 12 ลาออกจากโรงเรียน เริ่มต้นเป็นนักแสดงตัวประกอบละครเวที ค่อยๆไต่เต้าจนได้แสดงใน Hungary Royal National Theatre ที่ Budapest, หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดปฏิวัติฮังการี Hungarian Revolution of 1919 ทำให้ต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่เยอรมัน ก่อนขึ้นเรือค้าขาย ทำงานเป็นกะลาสีเดินทางสู่อเมริกา

ที่อเมริกา เริ่มต้นจากเป็นกรรมกรแบกหาม รวมกลุ่มกับเพื่อนนักแสดงฮังกาเรียนมีผลงานละคร Broadways จนประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงขึ้นเรื่อยๆ โด่งดังขีดสุดกับฉบับ Revised เรื่อง Dracula (1927) เปิดการแสดง 261 รอบ ส่วนผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก (ในอเมริกา) The Veiled Woman (1929)

หลังจากล็อบบนี้จนได้บน Dracula ก็กลายเป็น Typecasting โดยสิ้นเชิง ไม่สามารถรับบทบาทอื่นนอกจากตัวร้ายหนังแนว Horror ร่วมงานประกบกับ Boris Karloff หลายเรื่อง (แต่ได้เงินน้อยกว่า) อาทิ The Black Cat (1934), The Raven (1935), The Invisible Ray (1936), Son of Frankenstein (1939), Black Friday (1940) ฯ

หลังจากหมดยุครุ่งเรืองกับ Universal Monster ชีวิตการทำงานก็ค่อยๆเริ่มตกต่ำลง กลายเป็นนักแสดงเกรด B ชื่อเสียงค่อยๆจางหาย บั้นปลายได้รู้จักกับผู้กำกับ Ed Wood แม้คนส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นการหากินกับคนแก่ใกล้ตาย แต่มันก็ทำให้ Lugosi จากไปอย่างไม่ถูกลืมเลือน

สำหรับบทบาท Count Dracula ไม่ใช่เพียงแค่ภาพลักษณ์มาดผู้ดีชั้นสูง ใส่สูทพร้อมผ้าคลุมไหมสีดำ หวีผมอย่างเนี๊ยบ แต่ยังสายตาที่จ้องเขม็ง (มีแสงไฟส่องเข้าตา) ท่าทางการเคลื่อนไหวคล้ายกับนักแสดงหนังเงียบ/ละครเวที และสำเนียงการพูดส่อวงศ์ตระกูล ชัดถ้อยเล่นคำ

มีนักวิจารณ์ให้ข้อสังเกตการพูดของ Count Dracula แล้วคิดไปว่าเพราะ Lugosi พูดภาษาอังกฤษสำเนียงไม่ชัด เลยเหมือนสะกดออกมาทีละคำ นี่ไม่จริงเลยนะครับ เพราะเขาอพยพสู่อเมริกาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 20s ย่อมพูดคุยสื่อสารได้อยู่แล้ว แต่นี่เกิดจากการปั้นเสียงแต่งออกเสียงให้มีสไตล์โดดเด่น เว้นวรรคให้หายใจ ครุ่นคิด มีเสน่ห์ อาทิ
– I am Dracula.
– I bid you… welcome.
– I never drink … wine.
– For one who has not lived even a single lifetime, you are a wise man, Van Helsing.
– Listen to them. Children of the night. What music they make.

แค่วิธีการพูดก็ทำให้ตัวละครนี้มีความน่าสนใจ พิศวง แตกต่างจากมนุษย์มนาปกติทั่วไปอย่างมาก ถือว่าเข้ากันลงตัวกับพื้นหลังของตัวละคร ที่อาศัยเป็นอมตะอยู่ Transylvania แต่คงไม่มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษพูดคุยสื่อสารกับใครมากนัก จึงขาดความคล่องตัวและทันยุคสมัย

Lugosi ได้ทำให้ตัวละครนี้มีเสน่ห์ คมคาย ระดับสูง แตกต่างจาก Count Orlock ของ Nosferatu (1922) ที่เน้นให้ผู้ชมเกิดความหวาดหวั่นกลัวในภาพลักษณ์, ซึ่งการมาเนียนๆ หล่อหรูดูดีมีชาติตระกูลนี้ แฝงนัยยะบางอย่างที่ต้องบอกว่า ทำให้สาวๆที่ตกหลุมกลายเป็นเหยื่อตก หลงรักคลั่งไคล้อย่างยิ่งเป็นที่สุด

ผมจินตนาการไม่ออกเลยละ ว่าถ้าหนังได้ Lon Chaney มาแสดงนำ ผลลัพท์จะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน แต่ภาพลักษณ์ความน่ากลัวจะใช้ได้อยู่ เพราะเขามีผลงานรับบทตัวละครประหลาดๆจาก The Hunchback of Notre Dame (1923), The Phantom of the Opera (1925) จนได้ฉายาว่า ‘The Man of a Thousand Faces’ แต่รสนิยมความไฮโซชั้นสูงของตัวละคร นี่่น่าจะคนละระดับ เทียบชั้นไม่ได้กับ Lugosi

ถ่ายภาพโดย Karl W. Freund (1890 – 1969) ตากล้อง/ผู้กำกับสัญชาติ German ในครอบครัว Jewish, มีผลงานถ่ายภาพหนังแนว German Expressionist ในตำนานหลายเรื่อง อาทิ The Golem (1920), The Last Laugh (1924), Tartuffe (1926), Metropolis (1927) ฯ เป็นผู้ประดิษฐ์เทคนิค Unchained Camera (กล้องไม่จำเป็นต้องหยุดอยู่นิ่งกับที่ สามารถเคลื่อนไหวไปไหนได้ตลอดเวลา)

สำหรับหนังเรื่องนี้ แม้ลีลาของกล้องจะไม่เคลื่อนไหวมากเท่าไหร่ แต่โดดเด่นเรื่องการจัดแสงเงา และภาพวาดพื้นหลังที่รับอิทธิพล German Expressionist จาก Nosferatu (1922) มาพอสมควร อย่างปราสาทของท่าน Count Dracula ใช้การวาดภาพบนกระจกแก้ว (Matte Painting)

ภาพด้านซ้าย คือช็อตปราสาท Count Dracula ในหนังเรื่องนี้ ส่วนช็อตขวา เป็นหนังอีกเรื่อง Dracula’s Daughter (1936) [จะเรียกว่าภาคต่อก็ยังได้] ทำการ re-use วาดเพิ่มเติมเข้าไป

เวลาถ่ายภาพ Medium Shot/Close-Up เห็นใบหน้าของ Count Dracula จะมีแสงสว่างปรากฎเด่นชัดบริเวณดวงตาทั้งสองข้าง นี่เกิดจากการฉายสปอตไลท์ขนาดเล็ก (pencil-spotlights) นี่คงสร้างความรำคาญ แสบลูกตานักแสดงอย่างยิ่ง (ที่คงต้องทนไป ตาไม่บอดถือว่าโชคดีมากๆแล้ว)

เกร็ด: มีคนสังเกตว่า หนังทั้งเรื่อง Lugosi ไม่เคยกระพริบตาเลยนะครับ

เพราะความไม่เชี่ยวชำนาญใน German Expressionist ของผู้กำกับ Tod Browning ทำให้หลายๆฉาก ปล่อยให้ Freund กำกับนักแสดง/การเคลื่อนกล้อง/จัดแสง เองเลย ซึ่งมีปริมาณมากถึงขนาดควรได้รับเครดิตกำกับร่วมด้วยซ้ำ (บางทีก็ถือว่า Freund เป็นผู้กำกับร่วมของหนัง)

ตัดต่อโดย Milton Carruth กับ Maurice Pivar, เหมือนว่าหนังจะใช้มุมมองของ Renfield (รับบทโดย Dwight Frye) เริ่มต้นจากเดินทางไปยัง Transylvania กลายเป็นคนรับใช้ของ Count Dracula (เสียสติเป็นคนบ้า) พอกลับมาอังกฤษอาศัยอยู่ในโรงพยาบาลบ้า พบเจอกับ Van Helsing และชะตากรรมสุดท้ายของท่านเค้าท์

สังเกตว่าหลายๆการกระทำของ Dracula จะไม่ปรากฎพบเห็นบนจอ เช่น เขี้ยวของแดร็กคูล่า, รอยเขี้ยวที่ต้นคอ, ขณะกำลังดูดเลือด ฯ (แต่ในฉบับภาษาสเปน จะเห็นอยู่นะครับ) ส่วนตอนแปลงร่างกายเป็นค้างคาว/หมาป่า นี่เพราะไม่รูู้จะใช้เทคนิคไหนทำให้สมจริง เลยเล่นกับการตัดต่อเท่านั้น

ค้างคาวและหนู นั่นเป็นของเล่น Special Effect สร้างเลียนแบบจากฉบับละครเวทีที่ก็ต้องใช้ของเล่นมีกลไกแบบนี้เช่นกัน, ส่วนฉากมรสุมขณะเรือเดินทาง นั่นนำฟุตเทจมาจากหนังเงียบเรื่อง The Storm Breaker (1925) มาเร่งความเร็วให้ได้ 24 เฟรมเรต (ความเร็วโดยเฉลี่ยของหนังเงียบอยู่ที่ 15-20 ภาพต่อวินาที)

ต้นฉบับของหนังไม่มี Soundtrack ประกอบอย่างที่เราได้ยินกันนะครับ เพราะสมัยนั้นมีความเชื่อว่าการใส่เพลงเข้าไปมันขาดความสมเหตุสมผล ไร้คำอธิบาย ผู้ชมจะยอมรับไม่ได้ นี่แตกต่างจากหนังเงียบ ที่มีวง Orchestra บรรเลงเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศให้เกิดอารมณ์ขับเคลื่อน

ซึ่งเมื่อปี 1998 นักแต่งเพลง Philip Glass ได้ตัดสินใจประพัันธ์เพลงประกอบให้กับหนัง บรรเลงโดยวง Kronos Quartet ของ Michael Reisman ภายใต้การกำกับวงของ Glass เองเลย

“The film is considered a classic. I felt the score needed to evoke the feeling of the world of the 19th century — for that reason I decided a string quartet would be the most evocative and effective. I wanted to stay away from the obvious effects associated with horror films. With [the Kronos Quartet] we were able to add depth to the emotional layers of the film.”

ต้องชมอย่างยิ่งเลยว่า ทำนองเสียงเครื่องสาย สร้างความทรงพลังให้กับหนังมากๆ ระดับขนลุกขนพอง เสริมบรรยากาศความน่าสะพรึงหลอกหลอนลงตัว ไพเราะขนาดว่าผมต้องจัดให้เป็น rare SOUNDTRACK ไม่แน่ใจว่าทุกฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีดนตรีของ Glass ประกอบอยู่หรือเปล่านะครับ ถ้าไม่ก็ลองหาฉบับนั้นมารับฟังดู จะพบเห็นความแตกต่างที่มากทีเดียว

Dracula ในการตีความของ Bela Lugosi เป็นสิ่งมีชีวิตเพศชายที่มีความเท่ห์หล่อเหล่า Sexy ผู้ดีมีตระกูล ดูดกินเลือดแต่กับสาวๆจากต้นคอ (ท่าเหมือนกำลังจุมพิต) มีนัยยะถึงการเปิดบริสุทธิ์ (เสียพรหมจรรย์) ความตายของพวกเธอก็คือจุดไคลน์แม็กซ์เสพย์สมหวังดาวดึงส์ชั้น 7 ด้วยเหตุนี้เราจึงแทบไม่เห็น Dracula ดูดเลือดจากผู้ชาย (เพราะมันสื่อถึงเกย์ Homosexual) ซึ่งกับคนรับใช้ Renfield จึงได้กลายเป็นผู้บ้าคลั่งเสียสติ (เพราะ ชาย+ชาย มันคือความบ้าคลั่ง)

แซว: มีสำนวนใต้ดินหนึ่ง ประมาณว่า ‘ได้ร่วมรักสาวบริสุทธิ์ ราวกับจะเด็กลงพันปี’

วิธีการปราบปรามคาสิโนวา พ่อมาลัยร้อยรัก Dracula คำแนะนำโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้ใหญ่หัวฟู Van Helsing ให้ใช้หมุดตอกปักกลางหัวใจ ทำให้ตายสนิทในโลงศพของตนเอง สาวๆจะได้คลายมนต์เสน่ห์หลงใหล เห็นเค้าโครงกระดูกติดหนัง ร่างตัวตนแท้จริงที่ไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจ สังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง สาวๆอย่าเอาจิตใจไปยึดติด หลงใหลใคร่คลั่งรัก กับเลือดเนื้อกิเลสความต้องการ

ผมเคยวิเคราะห์ประเด็นอื่นๆในหนังเรื่อง Nosferatu (1922) กับ Vampyr (1932) ไปแล้วนะครับ ใครสนใจก็ลองหาอ่านดู ไม่มีอะไรหลงเหลือให้พูดถึง นอกจากความสำเร็จของหนังเรื่องนี้ ที่ได้เปิดประตูบานใหญ่ๆให้กับ Universal Monster ในยุคหนังพูด, จริงๆมีหนังของ Universal Monster สร้างขึ้นในยุคหนังเงียบมาแล้วหลายเรื่อง แต่ในช่วงฤดูผลัดใบของ Hollywood (จากหนังเงียบสู่หนังพูด) มันยังมีความไม่แน่นอนการันตีว่า จักรวาลแรกของวงการภาพยนตร์นี้สามารถเอาตัวรอดปรับตัวต่อไปได้หรือ ซึ่งความสำเร็จของหนังเรื่องนี้และ Frankenstein (1931) การันตีว่าในยุค pre-code จักรวาล Universal Monster ยังคงได้รับความนิยมอย่างสูงอยู่

ด้วยทุนสร้าง $355,000 เหรียญ หนังออกฉาย Roxy Theatre ที่เมือง New York ด้วยการตีข่าวที่ว่า มีผู้ชมเป็นลมหลังจากพบเห็นความ Horror ของหนัง นี่ทำให้ผู้คนเกิดความสงสัยใคร่อยากรู้เห็น ภายใน 48 ชั่วโมงจากนั้น ขายตั๋วได้กว่า 50,000 ใบ หนังทำกำไรได้ประมาณ $700,000 เหรียญ (ไม่มีตัวเลขรายรับรายงาน) เป็นหนังของ Universal ทำเงินสูงสุดในปีนั้น

ตอนที่หนังออกฉายเมื่อปี 1931 อเมริกายังไม่มี Hays Code ได้ความยาว 85 นาที แต่เมื่อออกฉายอีกครั้ง re-issued ปี 1936 ถูกสั่งให้ตัดบางฉากออก เท่าที่รู้ประกอบด้วย
– เสียงของ Dracula ช่วงท้ายขณะกำลังตาย กรีดร้องอย่างโหยหวน และ Renfield ราวกับคนใกล้ตาย มีคำเรียกว่า ‘death groans’
– ฉากที่ Dracula ดูดเลือดจาก Renfield (เพราะนี่สื่อถึง Homosexual)
– ตอนจบของหนัง จะมี Epilogue เป็นนักแสดง Edward Van Sloan (ที่รับบท Van Helsing) เดินออกมาพูดหน้าม่านกับผู้ชม บทพูดยังอยู่แต่ฟุตเทจสูญหายไปแล้วอย่างน่าเสียดาย

“Just a moment, ladies and gentlemen! A word before you go. We hope the memories of Dracula and Renfield won’t give you bad dreams, so just a word of reassurance. When you get home tonight and the lights have been turned out and you are afraid to look behind the curtains — and you dread to see a face appear at the window — why, just pull yourself together and remember that after all, there are such things as vampires!”

ในยุคแรกๆของหนังพูด เป็นเรื่องธรรมดาของ Hollywood ที่จะสร้างฉบับ ‘Foreign Language Versions’ ด้วยการใช้สถานที่ทีมงานชุดเดียวกัน เปลี่ยนตัวนักแสดงและหรือผู้กำกับ ฯ ซึ่งหนังเรื่องนี้ ยังมีฉบับหนังเงียบแทรกข้อความคั่น และฉบับภาษาสเปน นำแสดงโดย Carlos Villarías รับบท Conde Drácula ถ่ายทำควบคู่ไปพร้อมๆกัน, ตอนแรกคิดว่าฉบับภาษาสเปนสูญหายไปแล้ว แต่ได้รับการค้นพบปี 1970 และมีการ Restored หาพบได้ใน DVD: Classic Monster Collection, Legacy Collection, 75th Anniversary Edition และล่าสุดออก Blu-ray ของ Criterion ชื่อ Universal Monsters: The Essential Collection เมื่อปี 2012

ส่วนตัวค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้นะ ในการแสดงอันตราตรึงของ Bela Lugosi และเพลงประกอบเสริมเติมอันทรงพลังของ Philip Glass แต่ถ้าเทียบกับ Nosferatu (1922) และ Vampyr (1932) ต้องบอกว่า Dracula ห่างชั้นอยู่มาก หลายอย่างไม่สมเหตุสมผล เรื่องราวขาดความต่อเนื่อง กระโดดไปมาอย่างรวดเร็วเกิน โครงเรื่องไม่ตรงต่อต้นฉบับนิยายมากนัก หลายอย่างปรับเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่น่าอภิรมณ์เสียเท่าไหร่

คือหนังก็มีความคลาสสิกในตัวของมันเอง แต่แค่กาลเวลาทำให้ด้อยคุณค่าความสนุกสนานลง เหตุเพราะมีภาพยนตร์เกี่ยวกับ Dracula, Vampire ถูกสร้างขึ้นตีความใหม่มากมายนับครั้งไม่ถ้วน จึงเกิดการเปรียบเทียบ อันไหนยอดเยี่ยมกว่า ซึ่งมันแน่นอนอยู่แล้วว่าหนังเก่าฤาจะสู้หนังใหม่ กระนั้นความยิ่งใหญ่เรื่องแรกของแนวนี้ นี่เป็นตำนานที่ไม่มีหนังใหม่เรื่องไหนเปรียบเทียบต่อกรได้เป็นอันขาด

แนะนำกับคอหนัง Horror Gothic คลาสสิก pre-code, ศิลปินผู้หลงใหลใน German Expressionist, ชื่นชอบแนวแวมไพร์ดูดเลือด Count Dracula ของ Bela Lugosi ไม่ควรพลาด

จัดเรต 13+ กับบรรยากาศที่หลอนๆ น่าสะพรึงกลัว สั่นประสาท

TAGLINE | “Dracula ฉบับคลาสสิก 1931 นำแสดงโดย Bela Lugoci ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของท่านเคาท์ ที่ติดตราตรึงผู้ชมไปตลอดกาล”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

Vampyr (1932)


Vampyr

Vampyr (1932) French : Carl Theodor Dreyer ♥♥♥♥

ทั้งๆที่ฟุตเทจบางส่วนขาดหาย แต่กลับมีความสมบูรณ์แบบยิ่งใหญ่กว่า Nosferatu (1922) และ Dracula (1931) รวมกันเสียอีก โดยผู้กำกับ The Passion of Joan of Arc (1928) ลักษณะกึ่งหนังเงียบ สไตล์ Minimalist กอปรกับงานภาพหลอนๆ เพลงประกอบน่าสะพรึง ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดบรรยากาศขนลุกขนพอง เงาแวมไพร์น่ากลัวกว่าตัวจริงเสียอีก!

Nosferatu (1922) ของผู้กำกับ F.W. Murnau ได้รับการยกย่องว่าคือปฐมบท ต้นกำเนิดแห่งตำนานแวมไพร์ผีดิบดูดเลือด ตามด้วย Bela Lugosi ที่ได้สร้างเอกลักษณ์ให้ท่านเค้าท์แดร็กคูล่าใน Dracula (1931) กลายเป็นหนึ่งใน Universal Monsters (จักรวาลแรกของวงการภาพยนตร์) แต่สำหรับ Vampyr (1932) ขณะที่หนังออกฉายนักวิจารณ์ต่างเบือนหน้าหนี เพราะวงการภาพยนตร์กำลังอยู่ในช่วงผลัดใบเปลี่ยนยุคสมัย (จากหนังเงียบเป็นหนังพูด) ไฉนไยต้องทำให้มันก้ำกึ่ง ดำเนินเรื่องราวชักช้าอืดอาด น่าเบื่อสิ้นดี ผู้ชมออกจากโรงหนังเกิดการจราจลขอเงินคืน จนมีคำเรียกหนังว่า ‘a hallucinating film’ ด้วยเหตุนี้ฟีล์ม Negative ต้นฉบับจึงถูกทิ้งๆขว้างๆ จนสูญหายไปแล้ว แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ผู้ชมรุ่นใหม่ๆย้อนกลับไปค้นหารับชมดูถึงค่อยพบว่า นี่เป็นหนังที่มีบรรยากาศลึกล้ำเกินกว่าผู้ชมยุคสมัยนั้นจะเข้าใจได้ แต่การจะ restore ฟื้นฟูสภาพก็ทำได้แค่บางส่วนที่หลงเหลืออยู่เท่านั้น

การจะรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมแนะนำให้เตรียมความพร้อมก่อนสักนัก คือไปนั่งสมาธิสงบสติจิตใจอารมณ์ให้นิ่งเสียก่อน แม้ความยาวของหนังฉบับที่หลงเหลืออยู่จะเพียง 73 นาที แต่มันสามารถฆ่าคุณให้ตายได้ด้วยความเบื่อหน่าย เชื่องช้าสุดขีด อย่ารับชมตอนกำลังง่วงหรือสมองกำลังครุ่นคิดหมกมุ่นอะไรบางอยู่ จะไม่สามารถดื่มด่ำกับบรรยากาศของหนังได้อย่างแน่นอน

Carl Theodor Dreyer (1889 – 1968) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาว Danish เกิดที่ Copenhagen, Denmark เริ่มต้นจากการเป็นผู้กำกับหนังสั้นในช่วงต้นทศวรรษ 20s ต่อมาได้รับโอกาสกำกับภาพยนตร์ขนาดยาว ที่สร้างชื่อเสียงในประเทศคือ Master of the House (1925) จากนั้นเดินทางสู่ฝรั่งเศส ได้รู้จักกับ Jean Cocteau, Jean Hugo และศิลปิน/ผู้กำกับฝรั่งเศสมากมายแห่งยุค ทำให้มีโอกาสได้สร้างผลงาน Masterpiece แห่งวงการหนังเงียบ The Passion of Joan of Arc (1928) แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จทางรายได้ ทำให้ต้องพยายามดิ้นรนจนได้มีโอกาสพบกับบารอน Nicolas de Gunzburg เชื้อพระวงศ์ของฝรั่งเศส ผู้มีความคลั่งไคล้ในงานศิลปะการแสดง เมื่อพูดคุยกันถูกขันอาสาออกทุนสร้างให้แลกกับการรับบทนำแสดงเป็นตัวเอกในหนัง

เกร็ด: ในช่วงต้นทศวรรษ 30s ของฝรั่งเศส มีหนัง 3 เรื่องที่ได้ทุนสร้างจากผู้ดีชั้นสูง/เศรษฐีมีเงิน ประกอบด้วย L’Âge d’Or (1930) ของผู้กำกับ Luis Buñuel, The Blood of a Poet (1930) ของผู้กำกับ Jean Cocteau และหนังเรื่องนี้ Vampry (1932), คงเป็นค่านิยมในงานศิลปะสมัยก่อน นักสะสม/ผู้ดีชนชั้นสูงมีเงินเหลือเยอะ ถูกใจชื่นชอบผลงานถูกใจใครก็มักจะเสนอตัวเป็นสปอนเซอร์อุปถัมภ์

ผมเคยเข้าใจว่ามีหนัง 2 เรื่องของ Dreyer ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น Masterpiece แต่จริงๆมีทั้งหมด 5 เรื่องที่นักวิจารณ์ต่างประเทศพูดถึงกัน คือ The Passion of Joan of Arc (1928), Vampyr (1932), Day of Wrath (1943), Ordet (1955) และ Gertrud (1964) [เรียกว่าทศวรรษละเรื่อง!]

หนึ่งในเหตุผลความล้มเหลวของ The Passion of Joan of Arc (1928) เพราะยุคสมัยแห่งการผลัดใบได้เริ่มต้นขึ้นจาก Hollywood เมื่อปี 1927 เริ่มแพร่อิทธิพลส่งผลประทบสู่ยุโรป ใครๆต่างโหยหายต้องการความแปลกใหม่ Dreyer ถือเป็นผู้กำกับรุ่นเก่าที่ตัดสินใจต้องปรับตัวเอง เดินทางไปประเทศอังกฤษเพื่อเรียนรู้การใส่เสียงให้ภาพยนตร์ ทำให้มีโอกาสรู้จักกับ Christen Jul นักเขียนสัญชาติ Danish เพื่อนร่วมชาติที่อาศัยอยู่ใน London จึงร่วมงานกันพัฒนาบทภาพยนตร์ ได้ความสนใจเป็นเรื่องราวเหนือธรรมชาติ โดยขณะนั้นมีละเวทีชุดหนึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงทั้ง Broadways และ London คือ Dracula (1927) ถ้าเราสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ขณะกำลังเป็นเทรนด์แฟชั่น น่าจะได้รับความนิยมอย่างสูง นี่ก่อนหน้าที่ Dracula (1931) จะเริ่มตั้งไข่เสียอีกนะครับ

Vampyr มีส่วนผสมแรงบันดาลใจจาก In a Glass Darkly หนังสือรวมเรื่องสั้นของ Sheridan Le Fanu (1814 – 1873) นักเขียนสัญชาติ Irish แนว Gothic, Mystery หรือนิยายเกี่ยวกับผีๆสางๆในยุค Victorian Era ตีพิมพ์เมื่อปี 1872, หนังสือประกอบด้วย 5 เรื่องสั้น ซึ่ง Dreyer เลือกมา 2 คือ
– Carmilla** เรื่องราวของแวมไพร์หญิงชื่อ Carmilla ที่พยายามหาทางดูดเลือดหญิงสาววัยเยาว์คนหนึ่ง (ใจความแฝง เลสเบี้ยน) เพื่อให้ตัวเองกลับมาสวยใสอีกครั้ง
– The Room in the Dragon Volant นี่ไม่ใช่เรื่องผี แต่เป็น Mystery Story เรื่องราวเกี่ยวกับชายหนุ่มหน้าใสสัญชาติอังกฤษ อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส พยายามไขปริศนาของหญิงสาวคนหนึ่งที่ถูกฝังทั้งเป็น

เกร็ด: In a Glass Darkly ชื่อนิยายนำจากพระคัมคีร์ 1 Corinthians 13:12 ที่มีประโยคว่า ‘through a glass darkly’ คนละเรื่องกับหนังของ Ingmar Bergman เรื่อง Through a Glass Darkly (1961) แค่ชื่อนำมาจากข้อความเดียวกันเท่านั้น

เกร็ด2: นิยาย Dracula (1897) ของ Bram Stoker ถือว่าได้รับอิทธิพลจาก Carmilla เรื่องนี้มาเต็มๆเลย (แต่ Carmilla ไม่ใช่นิยายแวมไพร์เรื่องแรกของโลกนะครับ)

เรื่องราวของ Allan Gray (รับบทโดย Nicolas de Gunzburg) ชายหนุ่มผู้มีความสนใจเรื่องราวเหนือธรรมชาติ วันหนึ่งเดินทางมาถึงหมู่บ้าน Courtempierre, ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส สะดุ้งตื่นขึ้นกลางดึก พบเจอชายสูงวัยที่ก็ไม่รู้เปิดประตูห้องเข้ามาได้อย่างไร วางซองใส่หนังสือเขียนว่า ‘เปิดอ่านเมื่อฉันตาย’ ความน่าพิศวงนี้ราวกับมันกำลังมีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น Gray จึงตัดสินใจออกเดินสำรวจในหมู่บ้าน ทำให้พบเจอกับสิ่งต่างๆที่แม้แต่เขาเองก็คาดไม่ถึง

Nicolas Louis Alexandre de Gunzburg (1904 – 1981) หรือ Baron Nicolas de Gunzburg เกิดที่ Paris ในครอบครัว Russian-Jewish สืบเชื้อสายจาก Louis III, Grand Duke of Hesse ฐานะร่ำรวยระดับมหาเศรษฐี เติบโตขึ้นที่อังกฤษ ย้ายมาอยู่ Paris ช่วงทศวรรษ 20s – 30s ขึ้นชื่อเรื่องการใช้เงินกินทิ้งกินขว้าง สวมใส่เสื้อผ้าฟู่ฟ่าเว่ออลังการ หลังจากได้พบเจอกับ Dreyer เกิดความสนใจในการเป็นนักแสดง ใช้ชื่อว่า Julian West

รับบท Allan Gray ชายหนุ่มที่เต็มไปด้วยความเพ้อฝัน (Dreamer) ต้องการค้นพบเจอ หาคำตอบในเรื่องราวเหนือธรรมชาติ คงด้วยสันชาติญาณ นำพาให้พบเจอกับบางสิ่งอย่าง

แน่นอนว่าบารอนคนนี้มิได้มีความสามารถทางการแสดงแม้แต่น้อย แต่ Dreyer ได้กำกับให้เขามีการเคลื่อนไหว แสดงสีหน้า Expression ที่เรียบง่ายธรรมดา เข้ากับบริบทลักษณะหนัง ราวกับคนกำลังเพ้อฝันอยู่ แค่นี้ก็เพียงพอสำหรับนักแสดงสมัครเล่น ไม่ได้ต้องใช้ฝีมือทางการแสดงออกมาอะไรแม้แต่น้อย

ผมละชอบสายตาลุกโพลงราวกับเห็นผี ตอนสะดุ้งตื่นของท่านบารอน (และตอนร่างนอนอยู่ในโลงศพ) ขณะเห็นชายสูงวัยคนหนึ่งเดินเข้ามาในห้องเปิดประตูที่ล็อคอยู่ได้ นี่มันความฝันหรือความจริงกันเนี่ย, มันมีจุดสังเกตนิดนึงขณะประตูเปิดและปิด แสงสว่างอยู่ดีๆก็ปรากฎสว่างขึ้นแล้ววูบดับหายไป นี่แปลว่ามันอาจเป็นความฝัน นิมิต วิญญาณ ลางสังหรณ์ หรืออะไรก็ตามที่มันผิดปกติธรรมชาติ

Maurice Schutz (1866 – 1955) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เคยมีบทสมทบใน Napoléon (1927), The Passion of Joan of Arc (1928), รับบทชายสูงวัยปริศนา ที่เปิดประตูเข้ามาหา Allan Gray ภายหลังจะพบว่าเขาคือเจ้าของคฤหาสถ์ (Lord of the Manor) มีลูกสาว 2 คน
– คนพี่ Léone (รับบทโดย Sybille Schmitz) นอนอยู่บนเตียง ร่างกายอ่อนแอเพราะกำลังถูกแวมไพร์กำลังดูดเลือดไปจากตัว
– คนน้อง Giséle (รับบทโดย Rena Mandel) ที่ช่วงหลังถูกหมอประจำหมู่บ้านลักพาตัวไป

นักแสดงส่วนใหญ่ของหนังเป็นมือสมัครเล่น ไม่เคยสนใจหรือมีผลงานการแสดงมาก่อน อาทิ
– Jan Hieronimko ผู้กำกับพบเจอในรถไฟรอบดึกที่ Paris ออกปากชักชวนให้มาแสดงหนัง ตอนแรกพี่แกทำหน้ามึน(เมา)ไม่ตอบ ภายหลังถึงค่อยติดต่อกลับมากบอกตกลง, รับบท หมอประจำหมู่บ้านที่น่าพิศวงสงสัย แท้จริงคือคนรับใช้ของมารดาแวมไพร์ ไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่มีแนวโน้มสูงมากว่าจะเป็นแวมไพร์
– Henriette Gérard หญิงม่ายสูงวัย วันๆไม่ได้ทำอะไร ก็ไม่รู้ Dreyer พบเจอได้อย่างไร รับบท Marguerite Chopin มารดาแวมไพร์
ฯลฯ

ถ่ายภาพโดย Rudolph Maté ตากล้องสัญชาติ Polish ที่เคยร่วมงานกับ Dreyer เรื่อง The Passion of Joan of Arc (1928), หนังถ่ายทำสถานที่จริงทั้งหมด ยังหมู่บ้าน Courtempierre ตอนเหนือของฝรั่งเศส เพราะเหตุว่าทุนสร้างมีจำกัด จึงไม่มีงบประมาณสร้างฉากขึ้นใหม่ พบเจอสถานที่ไหนเหมาะสม เช่น โรงงานเก่าๆถูกทิ้งขว้าง ก็ใช้สถานที่แห่งนั้นถ่ายทำ

สังเกตว่างานภาพตลอดทั้งเรื่องจะมีลักษณะหยาบๆ เบลอๆ ไม่ค่อยคมชัดเสียเท่าไหร่ นั่นเพราะผู้กำกับใช้ผ้าพันแผลบางๆ (thin gauze) ครอบเลนส์ทำเป็น filter อีกชั้นในขณะถ่ายทำ ภาพที่ออกมาจึงมีความแปลกๆ ไม่เป็นธรรมชาติเท่าไหร่ คล้ายกับ dream-like ความฝันของตัวละคร (ซึ่งเราก็สามารถมองได้ว่าคือความฝันของ Allan Gray ทั้งเรื่อง)

ตัดต่อโดย Dreyer และ Tonka Taldy, ใช้มุมมองของ Allan Gray เล่าเรื่องทั้งหมด ซึ่งเราสามารถมองว่าคือความเพ้อฝัน สลับกับความจริงที่พบเจอขณะอาศัยอยู่ใน Courtempierre (คือเราไม่จำเป็นต้องไปวิเคราะห์แยก ไหนความจริง/ไหนความฝัน ก็ได้นะครับ มองให้เสมอสิ่งเดียวกันหมดเลยก็ได้จะไม่วุ่นวาย)

ผมไม่แน่ใจนัก แต่รู้สึกว่าหนังถ่ายทำด้วยเทคนิค Long-Take เสียส่วนใหญ่ แล้วใช้การตัดต่อสลับไปมาแบบ Montage ระหว่าง 2-3 สิ่งเหตุการณ์พร้อมกัน เพราะเท่าที่ผมสังเกตเห็น เมื่อหนังตัดกลับมายังเรื่องราวหลักตัวละครเดิม เหมือนว่าพวกเขายังคงเคลื่อนไหวไปด้วยความต่อเนื่องไม่สะดุดขาด, ถ้าคุณรับชมหนังของ Dreyer ในยุคหลังๆ จะพบว่าเขาเป็นผู้มีทัศนะความเชื่อ สไตล์การกำกับ/ถ่ายภาพแบบ Long-Take มาแต่ไหนแต่ไร (ก็อาจเริ่มต้นจากหนังเรื่องนี้) มองว่าการตัดต่อเร็วๆรัวๆ มันเป็นอดีตในยุคหนังเงียบ อนาคตของหนังพูดต้องเป็น Long-Take ยาวๆเท่านั้น

แต่ด้วยการถ่ายทำ Long-Take นักแสดงจำต้องมีสมาธิอย่างมากในการพูด เคลื่อนไหว กระทำสิ่งต่างๆ Dreyer จึงใช้การกำกับที่เรียกว่า Minimalist บทพูดสนทนาให้น้อยที่สุด เน้นการกระทำเคลื่อนไหวที่ก็ไม่กระโตกกระตาก ผิดธรรมชาติสำแดงของมนุษย์ นี่ทำให้หนังมีความเชื่องช้าเป็นอย่างมาก แต่มีความเป็นพื้นฐานธรรมดาต่ำที่สุด

มันน่าทึ่งทีเดียวกับการแพนนิ่ง 360 องศา (Circle Panning) หมุนกล้องไปรอบห้อง นี่แสดงว่าทีมงาน/ผู้กำกับ ถ้าไม่วิ่งตามกล้องก็ต้องหลบอยู่ข้างนอกฉาก (ผมเชื่อว่า น่าจะวิ่งตามกล้องกันเลยนะ) นี่สร้างความมึนงงสับสน และภาพเบลอๆเหมือนฝันให้กับหนัง

สิ่งโดดเด่นสุดในหนังเรื่องนี้คือเงา ที่สร้างความขนลุกขนพองให้กับผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง แรงบันดาลใจคงได้อิทธิพลมาจาก Nosferatu (1922) แต่ก็ได้ยกระดับเหนือขึ้นชั้นไปอีก เพราะมันสามารถเคลื่อนไหวได้เองราวกับมีชีวิต, ช็อตนี้เงากับตัวละครที่นั่งอยู่หาได้มีความเหมือนกันไม่ สังเกตให้ดีจะพบว่าเก้าอี้ที่นั่งมีสัดส่วนไม่ตรงกับเงา คาดว่าวิธีการคงใช้นักแสดงแทนยืนอยู่ด้านหลังฉาก(ผ้าสีขาว) แล้วใช้แสงส่องจะเห็นเป็นเงาขึ้นฉาก คล้ายๆหนังตะลุง

การซ้อนภาพ, จริงๆผมไม่เข้าใจเท่าไหร่นะ ถ้ามองว่าหนังทั้งเรื่องคือความฝันของ Gray แต่ทำไมเขาถึงยังสามารถถอดร่าง/วิญญาณ เห็นเป็นภาพซ้อนของตัวเอง จ้องมองร่างจริงในโลงศพ นี่มันเหมือนนิมิตพยากรณ์อนาคตเสียมากกว่า ที่พยายามบอกว่าถ้าไม่ทำอะไรให้เกิดขึ้นสักอย่าง มันจะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นแน่

ผมชอบมากๆตรงที่จะมี POV (Point of View) มุมมองสายตาของคนตายในโลง สิ่งที่เขามองเห็นจากการนอนและหน้าต่างช่องเล็กๆในโลงศพ ถือเป็นมุมแปลกประหลาด ให้ความรู้สึกเหมือนคนตาย (จะเรียกว่า มุมมองของศพ/คนตาย ก็ยังได้)

ช็อตนี้ได้รับการยกย่องสูงสุดของหนัง คงเพราะการที่วิญญาณมองดูร่างของตัวเอง ไม่ว่ามนุษย์คนไหนถ้าฝันหรือเห็นแบบนี้ ย่อมต้องเกิดความตื่นตระหนกตกใจหายวูบอย่างแน่นอน

การแทรกใส่ภาพเชิงสัญลักษณ์เข้ามา ถือเป็นอีกหนึ่งลายเซ็นต์สไตล์ของผู้กำกับ Dreyer ลองมาพิจารณาวิเคราะห์หากันดูว่า มีนัยยะหมายสื่อถึงอะไรได้บ้าง

ช็อตแรกๆของหนังที่มีความตราตรึงอย่างมาก ชายถือเคียว (คล้ายยมทูต) สัญลักษณ์การนำทางสู่ความตาย กำลังเคาะระฆังเรียกเรือ, แม่น้ำไหลเชี่ยวแทนด้วยชีวิต, เรือข้ามฟาก ฝั่งหนึ่งคือโลกมนุษย์ อีกฝั่งคือโลกแห่งความตาย และเมื่อข้ามแล้ว โดยปกติจะไม่สามารถหวนคืนกลับอีกฝั่งได้

เกร็ด: ตำนานข้ามแม่น้ำหลังความตาย มีปรากฎมาตั้งแต่เทพปกรณัมกรีก พุทธก็มี คริสต์ก็มี ถือเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างโลกมนุษย์กับโลกบาดาล

กงล้อ กงจักร กลไก -ดูไปคล้ายเครื่องทรมานใน The Passion of Joan of Arc (1928)- นี่เป็นสิ่งสัญลักษณ์ของการวนเวียน(ว่ายตายเกิด) มีชีวิต(เกิด)ก็ต้องสิ้นสูญ(ตาย) ไม่มีใครสามารถบิดเบือนแก้ไข ยืดเยื้อต่อไปได้นานนัก แม้แต่แวมไพร์เองก็ตาม ถึงสามารถขยายอายุไขให้ยังมีชีพต่อไป แต่เพราะการต้องสังเวยใครสักคน สักวันก็มีโอกาสถูกใครบางคนค้นพบความจริง ตอกหมุดกลางอก เอาคืนหมดสิ้นชีวิน

การตายของตัวละครหนึ่ง ถูกแป้งสามีบดทับ แต่ผมอยากเรียกว่า ‘หนูตกถังข้าวสารเสียชีวิต’ กล่าวคือเป็นมนุษย์ดีอยู่แล้วไม่รู้จักเจียมตนเอง ต้องการค้นพบเจอสิ่งที่เหมือนจะยิ่งใหญ่เกินตน ผลลัพท์เลยถูกความธรรมดาสามัญหล่นทับใส่ มือจับเหมือนกรงขัง สิ้นชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจไม่ออก

เดิมทีฉากนี้ไม่มีในบทภาพยนตร์ แต่เกิดขึ้นระหว่างการค้นพบเจอสถานที่ถ่ายทำ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนแปลงให้มีความน่าสนใจเข้ากับ ซึ่งต้องถือว่าเป็นฉากที่มีความทรงพลังอย่างมาก และตัดสลับกับ Gray และ Giséle ที่กำลังเดินเท้าออกจากป่า (หลุดพ้นจากความสับสนอลม่านวุ่นวาย/รอดชีวิตจากความตาย)

เห็นว่าฉากนี้และการตายของมารดาแวมไพร์ ถูกกองเซนเซอร์ประเทศเยอรมันสั่งให้ตัดออก (เพราะไม่ต้องการให้เห็นฉากการเสียชีวิตปรากฎในหนัง) ซึ่งทำให้หนังต้องตัดเอาฉาก Gray กับ Giséle เดินเท้าออกจากป่าทิ้งไปด้วย จบแค่พวกเขาทั้งสองขึ้นเรือ Ferry ข้ามฟาก

สิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้ถูกเรียกว่า กึ่งหนังเงียบ ‘Semi-Silent Film’ เพราะการที่หนังมีบทพูดน้อย และยังมี Title Card สำหรับอธิบายเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, สังเกตว่าบทพูดสนทนาของตัวละคร แทบจะมองหน้าเข้าใจ คุยกันด้วยคำถามสำคัญๆจริงๆเท่านั้น ไม่มีเรื่อยเปื่อยไร้สาขา แต่ขณะที่ Title Card มีความยาวเหยียดขี้เกียจอ่าน แต่มันคือสาระสำคัญที่ช่วยย่อเรื่องราว ทำให้กระชับรัดกุมได้ข้อสรุปเร็วขึ้นโดยพลัน

บอกตามตรงผมแอบรำคาญกับ Title Card ที่มีความยาวมากพอสมควร คือมันอ่านไม่ทันนะแหละ แถมสาระสำคัญ จุดเริ่มต้นและวิธีการปราบแวมไพร์ มันอยู่ในหนังสือเล่มนั้นทั้งหมด ถ้าคุณไม่อ่าน Title Card อาจเกิดความมึนงงสับสน แม้สามารถเข้าใจได้เพราะหนังแดรกคูล่าเรื่องไหนๆก็ใช้วิธีการนี้ แต่ถ้าเข้าใจสาระผ่านข้อความคั่นนี้ ก็จะมองเห็นมิติของหนังที่แตกต่างออกไป

สำหรับฟุตเทจที่สูญหายและพอจะระบุได้, ฉากที่ Gray พูดกับชายคนหนึ่ง (ที่จะไปรู้ภายหลังว่าคือ หมอประจำหมู่บ้าน) บอกว่าได้ยินเสียงหมาและเด็ก จริงๆถ้าเราตั้งใจฟังเสียง Sound Effect ก็จะได้ยินทั้งหมาเห่าและเด็กวิ่งเล่นจริงๆ แค่จะไม่เห็นภาพของพวกเขา (ไม่ใช่เงานะครับ) มันเคยมีฟุตเทจช็อตนี้อยู่ แต่ได้สูญหายไป ไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้

เพลงประกอบโดย Wolfgang Zeller คีตกวีสัญชาติ German ที่เคยทำเพลงประกอบให้อนิเมชั่นเรื่องเก่าแกสุดที่หลงเหลือในโลกปัจจุบัน The Adventures of Prince Achmed (1926), ต้องบอกว่างานเพลงคืออีกหนึ่งจุดเด่นไฮไลท์ของหนังเลยละ สื่อสารกับผู้ชมด้วยอารมณ์ราวกับเป็นคำพูดสนทนา ขณะนี้ควรมีรู้สึกอย่างไร ไม่เพียงแค่สร้างสัมผัสบรรยากาศหลอนๆ แต่ยังความเข้าใจต่อบริบทเนื้อหาของหนัง

ในบทหนังเดิมตอนจบนั้น Léone จะต้องเสียชีวิต แต่ในหนังเหมือนว่าเธอจะหายป่วยหลังจากมารดาแวมไพร์เสียชีวิต กระนั้นช็อตสุดท้าย Close-Up ใบหน้าของเธอ เห็นอยู่ว่ายังหายใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า (นี่ต้องชมการแสดงของ Sybille Schmitz ที่สร้างความฉงนให้กับผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง)

ใจความของหนังเรื่องนี้ ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างธรรมะกับอธรรม แต่คือการดิ้นรนเอาตัวรอด ต่อสู้กับโชคชะตาฟ้าดิน สิ่งเหนือธรรมชาติ
– มารดาแวมไพร์ ต้องการเอาชนะขีดจำกัดของมนุษย์ มีชีวิตยืนยาวต่อไปเรื่อยๆ
– Allan Gray ชายหนุ่มแห่งความเพ้อฝัน (จะมองว่ามีนัยยะถึงนักแสดง ท่านบารอน Nicolas de Gunzburg ก็ยังได้) ต้องการพบเจอเรื่องเหนือธรรมชาติ รับรู้อนาคตการตายของตัวเอง จึงต้องการต่อสู้แก้ไขเปลี่ยนแปลง

ไม่มีใครในโลกสามารถจะวิ่งหนีโชคชะตาชีวิตไปได้พ้น มีเกิดก็ต้องมีตาย ครั้งหนึ่งยิ่งใหญ่ก็ต้องตกต่ำ ไม่มีอะไรในชีวิตเป็นสิ่งจีรัง

สำหรับความหมายเชิงสัญลักษณ์ของแวมไพร์ การดูดเลือดก็คือ Sex ดังที่ผมบอกไปตั้งแต่ต้น มารดาแวมไพร์ดูดเลือกเด็กหญิงสาวเป็นประเด็นแฝงของเลสเบี้ยน (หญิง+หญิง) สายตาที่ตื่นตระหนกหวาดกลัว มองกลับตารปัตรคือจุดไคลน์แม็กซ์ความสมหวัง ในโลกแฟนตาซีฮาเล็มเพ้อฝันของชายหนุ่ม ซึ่งการที่หนังทำเป็นแนวสืบสวนค้นหาความจริง มันคือระหว่างทางการเล่นท่าหาความสุดเพื่อไปสู่เป้าหมายจุดสูงสุดของ … ไม่ขอวิเคราะห์ประเด็นนี้ต่อแล้วกัน

หนังของ Dreyer มักมีประเด็นศาสนาแฝงอยู่ด้วยเสมอ แต่ผมไม่ค่อยแน่ใจสักเท่าไหร่ว่าใช่ไหม, ถ้าเปรียบแวมไพร์เหมือนพวกนอกรีตต่างศาสนา ที่พยายามสูบเลือดสูบเนื้อ บ่อนทำลายชาวคริสเตียนให้มีความอ่อนแอลง วิธีการจะต่อสู้เอาชนะเข่นฆ่าอีกฝ่ายให้ดับสูญไป จำต้องปักหมุดให้ถูกจุดเข้าที่กลางหัวใจ ทำลายเรือนร่างและจิตวิญญาณการมีตัวตนของบุคคลผู้นั้น

เช่นกันกับเงาทั้งหลาย เป็นตัวแทนของความมืด/มวลรวมความชั่วร้าย ที่แม้จะไร้ตัวตนจับต้องไม่ได้ แต่สามารถคืบคลาน สร้างความสะพรึงหลอนหวาดกลัว, เลือกได้คงไม่มีใครอยากกลายเป็นเงา/หลงเหลือเพียงแค่เงา เพราะหมายถึงตัวตนความเป็นมนุษย์ก็จะสูญสิ้นหายไป ไม่ได้รับการพูดถึงจดจำ ราวกับการตายทั้งเป็น

สำหรับชื่อหนัง กว่าจะมาลงเอยที่ Vampyr เคยใช้ Destiny, Shadows of Hell, ตอนฉายให้ผู้สื่อข่าว The Strange Adventure of David Gray, ฉบับที่ฉายเยอรมันจะมีสร้อยต่อท้าย Vampyr – Der Traum des Allan Gray (Vampyr – The Dream of Allan Gray), ฉบับที่ฉายอเมริกา มีชื่อ Not Against The Flesh, Castle of Doom ฯ

เดิมนั้น Dreyer ต้องตัดต่อหนังให้ได้ทั้งหมด 3 ฉบับ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ ซึ่งก็ได้ให้นักแสดงขยับปากพูดทั้งสามภาษา แล้วไปทำการบันทึกเสียงใหม่หลังถ่ายทำ (Post-Production) แต่กลับสามารถเสร็จสิ้นได้เพียง 2 ฉบับฝรั่งเศส และเยอรมัน เพราะเสียงตอบรับต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ส่วนภาษาอังกฤษเลยมีแค่ Subtitle ซึ่งความล้มเหลวนี้เห็นว่าทำให้ Dreyer ถึงขั้นสติแตก (Nerve Breakdown) จนต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่ฝรั่งเศส เรียกว่าแทบจะสิ้นสูญทุกสิ่งอย่าง

ส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบหนังพอสมควร โดยเฉพาะส่วนของงานภาพและเพลงประกอบ มีความสวยงามเป็นศิลปะ เอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร ส่วนเนื้อเรื่องและการกำกับแบบ Minimalist สร้างความเหนื่อยหน่ายอึดอัดให้บ้าง เพราะนั่นคือบรรยากาศของหนังไม่ถือเป็นภัยต่อผมเสียเท่าไหร่ แต่แอบรำคาญการตัดต่อและ Title Card ที่เยอะเกินตัว, โดยรวมแล้ว Vampyr ยังมิอาจเทียบชั้นกับอีกสองผลงานของ Dreyer ที่ผมเคยรับชมมาแล้วอย่าง The Passion of Joan of Arc (1928) กับ Ordet (1955) แต่ก็ถือว่าระดับขึ้นหิ้ง จัดเป็นหนึ่งใน Masterpiece แนว Horror เลยก็ยังได้

แนะนำกับคอหนังแนว Horror ยุคแรกๆกึ่งหนังเงียบ เรื่องราวเกี่ยวกับแวมไพร์ เหนือธรรมชาติ, งานภาพสวยๆ เพลงประกอบสร้างบรรยากาศ, ติดใจผลงานของผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง

จัดเรต 15+ กับบรรยากาศชวนให้เครียด หลอนๆ

TAGLINE | “Vampyr หนังแวมไพร์ขึ้นหิ้งของ Carl Theodor Dreyer แค่เพียงเงา ก็ทำให้คุณฝันร้ายได้”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

A Page of Madness (1926)


A Page of Madness

A Page of Madness (1926) Japanese : Teinosuke Kinugasa ♥♥♥♥

ในโรงพยาบาลบ้าแห่งหนึ่ง ภรรยาถูกคุมขังเพราะพยายามฆ่าทารกของตัวเอง สามีเป็นอดีตทหารเรือแอบทำงานเป็นภารโรง พยายามแอบหาทางช่วยเหลือเธอให้หนีออกมา, เอิ่ม… ใครกันแน่ที่บ้ากว่ากันเนี่ย!

หนังเงียบในยุคแรกๆของญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ได้สูญหายไปหมดสิ้น ต้องขอบคุณแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ (Great Kantō) เมื่อปี 1923 และสงครามโลกครั้งที่ 2 หายนะจากระเบิดนิวเคลียร์ปี 1943, กระนั้นก็มีหนังเงียบเรื่องหนึ่ง Kurutta Ippēji ของผู้กำกับ Teinosuke Kinugasa จะว่าด้วยโชคชะตาคงใช่ ค้นพบอยู่ในห้องเก็บของเมื่อปี 1971 หลังคาดคิดว่าสูญหายไปกว่า 45 ปี

Teinosuke Kinugasa (1896 – 1982) นักแสดง/ผู้กำกับสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kameyama, Mie Prefecture เริ่มต้นจากการเป็น Onnagata นักแสดงภาพยนตร์ รับบทตัวละครเพศหญิง [ในช่วงแรกๆของวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่น จะไม่อนุญาติให้ผู้หญิงแสดง ผู้ชายจึงต้องรับบทเป็นผู้หญิง] แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง เมื่อผู้หญิงได้รับอนุญาตให้แสดงภาพยนตร์ได้แล้ว Kinugasa เลยผันตัวทำงานเบื้องหลัง กลายเป็นตากล้องให้กับผู้กำกับ Shozo Makino เมื่อเก็บเงินได้เอาไปซื้อกล้องภาพยนตร์ เปิดห้องแลปล้างฟีล์ม และกลายเป็นผู้กำกับหนัง Indy คนแรกๆของญี่ปุ่น

ผลงานเด่นของ Kinugasa ประกอบด้วย Kurutta Ippēji (1926) [A Page of Madness], Jujiro (1928) [Crossways], Jigokumon (1953) [Gate of Hell] เรื่องหลังสุดรางวัล Grand Prix (Palme d’Or) จากเทศกาลหนังเมือง Cannes

ช่วงต้นทศวรรษ 20s ในญี่ปุ่นเกิดการรวมตัวของกลุ่มนักศึกษาที่มีความชื่นชอบในวงการภาพยนตร์ เรียกตัวเองว่า Shinkankakuha (School of New Perceptions) ถ้าเทียบก็คงเหมือน French Surrealist ของ Luis Buñuel, Salvador Dalí หรือ Soviet Montage ของ Vsevolod Pudovkin, Alexander Dovzhenko โดยเป้าหมายของกลุ่มคือ ต้องการเอาชนะ Naturalistic หลักธรรมชาติของวงการภาพยนตร์ แต่เพราะไม่ได้มีบัญญัติคำเรียกแบบ Japan Surrealist จึงมีชื่อแค่ Avant-Garde

ซึ่งหนังเรื่องนี้ประกอบด้วยกลุ่มนักเขียนของ Shinkankakuha ถึง 4 คน ประกอบด้วยผู้กำกับ Teinosuke Kinugasa, Yasunari Kawabata** (น่าจะเป็นผู้คิด Original Story), Banko Sawada และ Minoru Inuzuka

เกร็ด**: Yasunari Kawabata คือนักเขียนญี่ปุ่นคนแรกที่คว้ารางวัล Nobel Prize for Literature เมื่อปี 1968

นำแสดงโดย Masao Inoue (1881 – 1950) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ehime Prefecture เริ่มต้นเป็นนักแสดงละครเวทีตั้งแต่อายุ 17 จากนั้นออกทัวร์ทั่วญี่ปุ่น จนได้รับโอกาสแสดงที่โตเกียว ไม่นานก็ได้เป็นเจ้าของโรงละคร ก่อตั้งโรงเรียนสอนการแสดง และได้รับเลือกเป็นประธาน Japan Art Academy, สำหรับวงการภาพยนตร์ Inoue ถือเป็นผู้สนับสนุนสื่อประเภทนี้กลุ่มแรกๆ เริ่มจากเป็นผู้กำกับ นำแสดงในหนังของ Shinkankakuha มีชื่อเสียงที่สุดก็ A Page of Madness (1926)

รับบทภารโรง/สามี/พ่อ ที่คงรักภรรยามากถึงขนาดพยายามหาทางช่วยเหลือ แอบทำงานเป็นภารโรงถือกุญแจห้องขัง พร้อมไขประตูพาหนีออกได้ทุุกเมื่อ แต่สาเหตุที่เธอปฏิเสธไม่ยอมรับการช่วยเหลือ เหมือนว่าในอดีตเคยถูกเขาทุบตีทำร้ายแสนสาหัส (Abuse) จึงไม่ต้องการหวนคืนกลับออกไปใช้ชีวิตคู่ด้วยกันอีก ราวกับจานแตกที่มิอาจรอยร้าวประสานได้

Yoshie Nakagawa (1886–1953) นักแสดงหญิงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo ได้ร่วมงานกับ Kinugasa อีกใน Jujiro (1928) และรับเชิญเล็กๆในหนังของผู้กำกับ Kenji Mizoguchi เรื่อง The Story of the Last Chrysanthemum (1939)

รับบทภรรยา/แม่ ความผิดปกติคือมองเห็นภาพหลอน ไม่รู้เป็นความผิดปกติทางจิตหรือการมองเห็นหรือการประมวลผลของสมอง แต่มีแนวโน้มผลกระทบจากการถูกสามีทุบตีทำร้ายแสนสาหัส, สาเหตุที่นำทารกชาย (ก็ไม่รู้ลูกของตนเองหรือเปล่านะ) ไปถ่วงทิ้งน้ำ คงเพราะมองเห็นเขาเป็นตัวอะไรสักอย่าง เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกระดุมเป็นแก้ว ฯ ด้วยเหตุนี้จึงถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลบ้าโดยพลัน

Ayako Iijima รับบทลูกสาวคนสวย ที่บังเอิญวันนั้นเดินทางมาเยี่ยมแม่ของตนพอดี คงเพราะไม่ได้พบเจอพ่อมานาน เห็นมาทำงานเป็นภารโรงก็ตกใจ เหมือนว่าเธอจะแต่งงานแล้ว/หรือกำลังจะแต่งงานไม่รู้ แต่มีท่าทางผิดหวังเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสามี/คนรัก ราวกับถูกทุบตีมา (นี่คงเป็นเรื่องราวสะท้อนชีวิตคู่ของ พ่อ-แม่ ว่าสาเหตุที่ทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลบ้า จับทารกถ่วงน้ำ เพราะอะไร)

คือเราไม่รู้ว่านับจากวันที่แม่เอาทารกไปถ่วงน้ำ จนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนัง ผ่านมาเป็นระยะเวลาเท่าไหร่แล้ว แต่รับรู้ว่าเด็กหญิงสาวที่เห็นในฉากย้อนอดีตนั้น ปัจจุบันเติบโตขึ้นกลายเป็นสาวแล้ว ส่วนเด็กชายอีกคน ก็ไม่รู้ว่าเขาคือทารกที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์นั้นหรือเปล่า อาจใช่หรือไม่ก็เป็นได้ทั้งนั้น

แถมให้กับนักแสดงอีกคน Eiko Minami รับบทหญิงสาวที่มีความเพ้อฝันทะเยอทะยานอยากเป็นนักเต้น แต่ความบ้าระห่ำของเธอคือต้องการซ้อม ซ้อม ซ้อม ตัดภาพสลับไปมากับเครื่องดนตรี ราวกับได้ยินเสียงเพลงดังกึกก้องตลอดเวลา ไม่มีวันเหน็ดเหนื่อยหยุดพัก ขนาดขาเลือดออกไหลเป็นทางก็ไม่ยอมหยุด, ภาพการเต้นขณะสวมหน้ากาก Noh ของเธอ เห็นแล้วหลอนเข้ากระดูกดำเลยละ นี่น่าจะเป็นภาพ Iconic ของหนังเรื่องนี้ได้เลย

(เส้นตรงสีขาวๆที่เห็นเบลอๆ นั่นคือภาพซ้อนของกรงขังนะครับ ซึ่งเฉพาะส่วนใบหน้าสวมหน้ากาก เหมือนว่าจะออกมานอกกรง สื่อนัยยะอะไรตามอ่านต่อช่วงท้าย)

ถ่ายภาพโดย Kôhei Sugiyama ใช้เวลาถ่ายทำประมาณ 1 เดือน ถือว่ายาวนานมากในสมัยนั้น และด้วยทุนสร้างที่มีค่อนข้างจำกัด ต้องให้เหล่านักแสดงหลับนอนอยู่ในออฟฟิสหรือฉากที่สร้างขึ้น

อิทธิพลงานภาพของหนัง ค่อนข้างชัดว่าได้แรงบันดาลใจจาก The Cabinet of Dr. Caligari (1920) ที่ก็มีเรื่องราวเกิดขึ้นในโรงพยาบาลบ้าเช่นกัน แต่จะไม่ออกแนว Expression เป็นแนวทดลอง Avant-Garde หรือ Surrealist เสียมากกว่า พบเห็นบ่อยครั้งกับกรงขัง (จิตใจ) และแสงเงาสป็อตไลท์ (โฟกัส ตัวตนแท้จริง)

มีหลายเทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพ เด่นๆคือการซ้อนภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาของการคิด จินตนาการ, ภาพบิดเบี้ยวด้วยเลนส์นูน เลนส์เว้าแหว่งขาดหาย นี่เป็นตอน POV (Point of View) มุมมองของตัวละครภรรยา ที่ทำให้รับรู้ว่าเธอมีปัญหาด้านการมองเห็น, Whip Pan เคลื่อนกล้องไปด้านข้างเร็วๆ เพื่อทำการเปลี่ยนฉาก ฯ

ผมสังเกตเห็นฉากที่เหมือนจะถ่ายในสวน หลายช็อตจะมีพื้นหลัง/ตัวละครเบลอๆภาพไม่ชัด สงสัยใช้การฉายภาพขึ้นฉากภายในสตูดิโอ แล้วให้นักแสดงปรากฎตัวด้านหน้า ไม่รู้นี่คือ Rear Projection หรือเปล่านะครับ แต่ด้วยคอนเซ็ปน่าจะประมาณนี้

ตัดต่อโดย -ไม่มีเครดิต- เห็นว่ามีประมาณ 800 ช็อต จาก 78 นาที (ต้นฉบับความยาว 108 นาที ฟุตเทจที่หายคงไม่มีวันหาพบแล้วละ) ถือว่าเยอะมากทีเดียวกับหนังสมัยนั้น เพราะมีการแทรกใส่ภาพเชิงสัญลักษณ์เข้ามามากมาย อาทิ ดอกไม้, จานแตก, ล้อหมุน ฯ

ใช้มุมมองของภารโรงเป็นหลัก จะมีทั้งภาพปัจจุบันที่เขามองเห็น, ความทรงจำในอดีต (Flashback), และความคิดเพ้อฝัน จินตนาการ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเขาพาเธอหนี (ช่วงนี้จะใช้เทคนิคซ้อนภาพทั้ง Sequence เลย)

หนังไม่มี Title Card ข้อความขึ้นคั่นสักประโยคเดียวนะครับ สืบเนื่องจากในญี่ปุ่นยุคนั้นมีนักพากย์หน้าโรงที่เรียกว่า Benshi จึงไม่แปลกที่ผู้สร้างจะไม่สนใจใส่ข้อความคั่นหนังให้เป็นที่ขัดอกขัดใจผู้ชม คาดหวังให้เป็นหน้าที่ของ Banshi ในการให้เสียงบรรยายประกอบ, นี่อาจทำให้ผู้ชมต่างประเทศอย่างเราๆดูหนังยากขึ้นนิดนึง เพราะไม่มีการบรรยายคำพูดใดๆของตัวละคร แต่ก็ไม่ถือว่ายากเกินความสามารถ ถ้าคุณเข้าใจภาษาภาพยนตร์ได้อย่างลึกซึ้ง

ในญี่ปุ่น ว่ากันว่าหนังจากประเทศรัสเซียไม่เคยถูกนำเข้ามาฉายเลยจนกระทั่งปี 1927 นั่นทำให้บรรดาผู้กำกับทั้งหลาย ไม่มีใครรู้จัก Soviet Montage มาก่อน แต่โดยไม่รู้ตัว หนังเรื่องนี้กลับมีลักษณะการตัดต่อที่ทำให้เกิดอารมณ์ร่วม สลับไปมาของสองสิ่งอย่างรวดเร็วและทรงพลัง, โดยไฮไลท์อยู่ที่ประมาณ 10 นาทีแรก ขณะฝนกำลังตก เพราะผู้ชมจะไม่ได้ยินเสียงฝน แต่การตัดภาพสลับไปมาระหว่างฝน แสงไฟกระพริบ ผู้ป่วยหญิงสาวในห้องขังที่กำลังเต้น ฯ ความรวดเร็วในการตัดต่อสลับไปมา ทำให้เกิดสัมผัสรับรู้สึกได้ตลอดเวลา ว่าขณะนี้ฝนกำลังตก และมีความบ้าคลั่งอยู่เต็มไปหมด ในโรงพยาบาลบ้าแห่งนี้

อะไรกันเป็นสิ่งตัดสินความบ้าคลั่ง อาการเสียสติของมนุษย์?
– การกระทำบางอย่างที่คนปกติทั่วไปจะไม่หมกมุ่นทุ่มเทขนาดนั้น
– มุมมองการเห็นรับรู้สัมผัส (ประสาทสัมผัสทั้ง 5 + Sixth Sense) ที่แตกต่างไปจากคนปกติ
– บุคคลที่คิดกระทำไม่เหมือนคนปกติ
ฯลฯ

ตอนท้ายของหนังที่ทุกคนในโรงพยาบาลต่างได้รับสวมหน้ากาก Noh (เป็นหน้ากากการแสดงในละครพื้นบ้านของญี่ปุ่น) นี่มีนัยยะถึงการสวมหน้ากากจริงๆในชีวิตประจำวันเลยนะครับ ไม่มีใครรู้หรอกว่าจิตใจผู้อื่นดีชั่ว ปกติผิดเพี้ยนประการใด เพราะทุกคนต่างสวมหน้ากากที่ทำให้แลเหมือนคนปกติ หลบซ่อนตัวตนแท้จริงไว้ภายใต้, จนกว่าหน้ากากนั้นจะหลุดออก ธาตุแท้ตัวตนภายในปรากฎเห็น เมื่อนั้นถึงสามารถรับรู้พิจารณาได้ว่า ใครปกติ ใครเป็นบ้าเสียสติ

ในหนังสือชีวประวัติของ Kinugasa เล่าถึงเหตุผลที่ทำให้เขาตัดสินใจสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะการได้พบกับสุภาพบุรุษชั้นสูงคนหนึ่ง (the entourage of a certain noble gentleman) ผู้ซึ่ง -เสียงกระซิบบอกว่า- ได้กลายเป็นองค์จักรพรรดิ Taishō (ครองราชย์ 1912 – 1926) นี่แปลว่าหนังมีนัยยะเชิงการเมืองที่ … ไม่ขอวิเคราะห์ดีกว่า

ช่วงทศวรรษนั้น โรงหนังในญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักฉายเฉพาะหนังที่สร้างในประเทศเท่านั้น ซึ่งความแตกต่างแปลกประหลาดพิศดารของหนังเรื่องนี้ ทำให้ถูกจัดส่งไปฉายเฉพาะในโรงภาพยนตร์ต่างประเทศ นี่ทำให้คอหนังสมัยนั้นเกิดความพิศวงงงงวยแปลกประหลาดใจจนกลายเป็นกระแสปากต่อปาก ได้รับความนิยมประสบความสำเร็จโดยไม่รู้ตัว

แอบแปลกใจเล็กน้อยที่โดยส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบหนังเรื่องนี้ คงเพราะความบ้าคลั่ง หลอนๆบางอย่างตราตรึงประทับ ท้าทายโสตประสาทและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ถ้าสามารถเข้าใจหนังเรื่องนี้ได้ ก็จะพบเห็นความสวยงามที่ลึกล้ำ แฝงแนวคิดที่งดงามดูชมทีเดียว

แนะนำกับคอหนังเงียบ ชื่นชอบแนว Horror หลอนๆสั่นประสาท ดำเนินเรื่องในโรงพยาบาลบ้าเต็มไปด้วยผู้ป่วยจิตเวช, คลั่งไคล้งานศิลปะแนว Avant-Garde (Surrealist) ท้าทายการคิดวิเคราะห์ และรู้จักผู้กำกับ Teinosuke Kinugasa ไม่ควรพลาด

สำหรับหมอพยาบาล จิตแพทย์ นักจิตวิทยาทั้งหลาย แนะนำสำหรับศึกษาประวัติศาสตร์โรงพยาบาลบ้า (Asylum/Bedlam) ของสมัยก่อน มันราวกับคุกดีๆนี่เอง ไม่ได้สะดวกสบายเหมือนในปัจจุบัน

จัดเรต 15+ กับความบ้าคลั่งในโรงพยาบาลบ้า

TAGLINE | “A Page of Madness เส้นแบ่งระหว่างคนปกติกับคนบ้าในแนวคิดของผู้กำกับ Teinosuke Kinugasa คั่นกลางด้วยกระดาษบางๆแผ่นเดียว”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE