Peter Pan (1953)


Peter Pan (1953) hollywood : Hamilton Luske, Clyde Geronimi, Wilfred Jackson ♥♥♡

Peter Pan ฉบับการ์ตูนโลกสวยของ Walt Disney ชักชวนผู้ชมโบยบินไปยังดินแดนแห่งความฝัน โลกที่เราสามารถเป็นเด็กตลอดกาล! แต่มันคือการ์ตูนที่เราควรให้เด็กๆรับชมจริงๆนะหรือ?

ผมมีความแปลกประหลาดใจอย่างมากๆว่า Peter Pan (1953) คือหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Hayao Miyazaki ได้อย่างไร? ทั้งๆเจ้าตัวเคยบอกว่าไม่ค่อยชื่นชอบการ์ตูนจาก Disney สักเท่าไหร่ แต่ด้วยเหตุผล …

Peter Pan’s flying scenes are predicated on the experience of flying in an airplane with a moving perspective. As a result viewers soar through the air with the story’s characters and feel liberated by the exhilarating vista unfolding below them, with moonlight casting shadows on the city streets. With the characters we share in the freedom of flying.

Hayao Miyazaki

อืม…สิ่งน่าสนใจที่สุดของ Peter Pan (1953) ก็คงเป็นการโบยบินอย่างที่ Miyazaki ว่ากล่าวไว้ เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมีภาพยนตร์/อนิเมชั่นเรื่องไหน ทำซีเควนซ์มนุษย์บินออกมาได้น่าประทับใจ (น่าจะไม่เคยมีมาก่อนด้วยซ้ำนะ) ถ้าเป็นฉบับคนแสดง (Live Action) ก็อาจต้องรอคอย Superman (1978)

เหตุผลที่ผมไม่เคยชื่นชอบ Peter Pan เพราะไอ้เด็กเวรตะไลนิสัยแย่มากๆ ชอบสร้างความวุ่นวาย กลั่นแกล้งใครอื่นไปทั่ว (Bully) ครุ่นคิดว่าตนเองคือศูนย์กลางจักรวาล และที่สำคัญไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ใช้ข้ออ้างความเป็นเด็กกระทำสิ่งชั่วร้ายมากมาย … #ยกเลิกกฎหมายเยาวชน

ต้นฉบับวรรณกรรมของ J. M. Barrie มีคำอธิบายจุดเริ่มต้น สาเหตุผล ที่มาที่ไปของ Peter Pan ทำไมถึงกลายเป็นไอ้เด็กเวรตะไล ไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่การ์ตูนของ Walt Disney ตัดทิ้งรายละเอียดส่วนนั้นทั้งหมด (เพราะมองว่ามันมืดหม่นเกินกว่าจะนำเสนอในการ์ตูนสำหรับเด็ก) เลยไม่สามารถทำให้ผู้ชมมองเห็นตัวละครในแง่มุมอื่น เพียงสามัญสำนึกที่ว่า เด็กและเยาวชนตราบยังไม่บรรลุนิติภาวะ ย่อมทำอะไรไม่ผิด! … แนวคิดลักษณะนี้ใกล้จะตกยุค ล้าหลังแล้วนะครับ

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าผิดหวังสุดๆสำหรับการตูนเรื่องนี้ ยิ่งกว่าพฤติกรรมของไอ้เด็กเวรตะไลเสียอีก นั่นคือการนำเสนอ Stereotype ชนพื้นเมืองอินเดียนแดง (Native American) ที่สะท้อนค่านิยมของคน(อเมริกัน)ยุคสมัยนั้น และโดยเฉพาะบทเพลงที่ไม่รู้ใช้สมองหรืออะไรแต่งขึ้น What Made the Red Man Red? … ฉบับรับชมทางออนไลน์ในปัจจุบัน อาจไม่ได้พบเห็นซีเควนซ์นี้แล้ว เพราะสตูดิโอ Disney มิอาจต่อต้านท้านกระแสสังคม (Woke Up)


ก่อนอื่นของกล่าวถึง J. M. Barrie ชื่อจริง Sir James Matthew Barrie, 1st Baronet (1860-1937) นักเขียนนวนิยาย บทละคอน สัญชาติ Scottish เกิดที่ Kirriemuir, Angus ในครอบครัว Calvinist เป็นบุตรคนที่เก้า(จากสิบคน) ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในการเล่าเรื่อง ชื่นชอบรับฟังนิทานก่อนนอน เมื่อตอนอายุหกขวบพบเห็นพี่ชาย David เสียชีวิตจากอุบัติเหตุระหว่างเล่นสเก็ตน้ำแข็ง มารดามีความเศร้าโศกเสียใจอยากหนัง จึงพยายามเข้าไปปลอบในห้องพัก แล้วเธอเกิดความเข้าใจผิดครุ่นคิดว่าคือบุตรชายที่เสียชีวิต “No, it’s no’ him, it’s just me.” แต่เหตุการณ์นั้นทำให้มารดาตระหนักว่าความตายของ David จะทำให้เขายังคงความเป็นเด็ก อยู่เคียงข้างกันตลอดไป

ด้วยความใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขียน สามารถสอบเข้า University of Edinburgh ขณะเดียวกันก็ตีพิมพ์เรื่องสั้น บทละคอนลงนิตยสารนักศึกษา Edinburgh Evening Courant จบออกมาทำงานหนังสือพิมพ์ The Scotsman ตามด้วย Nottingham Journal, เวลาว่างก็เขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคอนเวที ผลงานโด่งดังที่สุดก็คือ Peter Pan; or, The Boy Who Wouldn’t Grow Up (1904) แรกสุดคือละคอนเวที West End ก่อนดัดแปลงเป็นนวนิยาย Peter and Wendy (1911) วาดภาพประกอบโดย F. D. Bedford

เกร็ด: ชื่อตัวละคร Pan มาจากปรัมปรากรีก เทพเจ้าครึ่งมนุษย์ครึ่งแกะ มีเขางอกบนศีรษะ และใบหน้าเต็มไปด้วยหนวดเครา ถือเป็นเทพแห่งธรรมชาติ พงไพร การเลี้ยงแกะ ดนตรีชนบท และสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์

เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก Walt Disney เคยมีโอกาสรับชมการแสดง Peter Pan, or the Boy Who Wouldn’t Grow Up ที่มาออกทัวร์มายัง Cater Opera House ณ Marceline, Missouri เมื่อปี ค.ศ. 1913 สร้างความประทับ จับจิตจับใจ ไม่เพียงเท่านั้นเขายังเคยได้รับเลือกให้รับบทบาท Peter Pan ในการแสดงของโรงเรียน ติดสลิงโบยบิน ใครกันจะลืมเลือนประสบการณ์นั้นได้ลง

We were living on a farm, and one morning as we walked to school, we found entrancing new posters. A road company was coming to the nearby town of Marceline and the play they were presenting was Peter Pan with Maude Adams. It took most of the contents of two toy saving banks to buy our tickets, but my brother Roy and I didn’t care … I took many memories away from the theater with me, but the most thrilling of all was the vision of Peter flying through the air. Shortly afterward, Peter Pan was chosen for our school play and I was allowed to play Peter. No actor ever identified himself with the part he was playing more than I – and I was more realistic than Maude Adams in at least one particular: I actually flew through the air! Roy was using a block and tackle to hoist me. It gave way, and I flew right into the faces of the surprised audience.

Walt Disney

คงไม่ผิดอะไรจะบอกว่า Peter Pan ถือเป็น ‘Passion Project’ ของนาย Walt Disney เมื่อเริ่มมีประสบการณ์สรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมชั่น ครุ่นคิดวางแผนทำเป็นผลงานถัดจาก Snow White and the Seven Dwarfs (1937) แต่ลิขสิทธิ์ติดขัดอยู่กับ Paramount Pictures ทำการต่อรองอยู่หลายปีจนสามารถซื้อต่อได้สำเร็จ ค.ศ. 1939 พัฒนาบทแล้วเสร็จ ค.ศ. 1941 การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง เลยจำต้องขึ้นหิ้งโปรเจคนี้เอาไว้

ถ้าไม่นับ Dumbo (1941) กับ Bambi (1942) ที่เริ่มโปรดักชั่นตั้งแต่ก่อนสงครามคืบคลานมาถึงสหรัฐอเมริกา (การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941), ผลงานขนาดยาวของ Disney ในช่วงนี้มักเป็นแนวชวนเชื่อ (Propaganda) ไม่ก็วรรกรรมรวม (Anthology Film) กว่าจะสามารถเริ่มสรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวได้อีกครั้งก็เมื่อ Cinderella (1950), Alice in Wonderland (1951) และ Peter Pan (1953) … เป็นสามโปรเจคได้รับการพิจารณาพร้อมกันเมื่อปี ค.ศ. 1947 แต่ค่อยๆทะยอยทำให้เสร็จทีละเรื่อง

ในส่วนของบทอนิเมชั่น มีการปรับเปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับพอสมควร นอกจากตัดทิ้งเบื้องหลังของ Peter Pan ยังสร้างพล็อตใหม่ตอนต้นเรื่องให้เขาสูญเสียเงา จึงต้องออกติดตามหา จนมาพบเจอ Wendy Darling เลยชักชวนไปท่องเที่ยว Never Land (ทีแรกว่าจะลักพาตัว แต่มองว่าพล็อตโหดร้ายเกินไป), แต่ที่น่าเศร้าสุดก็คือพล็อต Tinker Bell ดื่มยาพิษแทน Peter จนเสียชีวิต (ตัดทิ้งเพราะว่าหดหู่เกินไป) … ใครอยากรับรู้ว่ามีพล็อตแปลกๆอะไรเกิดขึ้นบ้าง รับชมจากคลิปนี้

Peter Pan – The Peter Pan that Almost Was: https://www.youtube.com/watch?v=nqW629DQT-4


เรื่องราวเริ่มต้น ณ กรุง London ช่วงทศวรรษ Edwardian (1901-10), ยามค่ำคืน บิดา-มารดาเข้ามากล่อมลูกๆทั้งสามเข้านอน Wendy, John และ Michael แต่พอดึกดื่นพวกเขาถูกปลุกตื่นโดย Peter Pan ชักชวนโบยบินสู่ดินแดนสุดมหัศจรรย์ Never Land

ณ Never Land มีเรือโจรสลัดจอดเทียบท่า Captain Hook ผู้มีความโกรธเกลียด Peter Pan ที่ได้ตัดแขนข้างหนึ่งของตน จึงครุ่นคิดวางแผนการล้างแค้น เริ่มจากลักพาตัวเด็กสาวอินเดียนแดง Tiger Lily, จากนั้นล่อหลอก Tinker Bell ให้คายความลับสถานที่หลบซ่อนตัว แล้วจับกุมเด็กๆกำพร้ามาให้เลือกระหว่างลงนามลูกเรือ หรือกลายเป็นเหยื่ออันโอชะของจระเข้


Peter Pan เป็นเด็กรักอิสระ (เลยมีพลังพิเศษทำให้สามารถโบยบินไปไหนมาไหนอย่างอิสรภาพ) ชื่นชอบการผจญภัย ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานหรรษา ไม่ยี่ห่าอะไรใคร แต่เมื่อไหร่โดยกลั่นแกล้ง ใช้ความรุนแรง ผองเพื่อนถูกกระทำร้าย ก็มักโต้ตอบตาต่อตา ฟันต่อฟัน เต็มไปด้วยอคติต่อพวกผู้ใหญ่ เลยไม่ครุ่นคิดอยากให้ร่างกายเจริญเติบโตไปมากกว่านี้

ตัวละคร Peter Pan ถือเป็น ‘Cultural Icon’ สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เยาว์วัย (Youthful Innocence) ขณะเดียวกันเพราะไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เลยมักถูกตีความถึงการหลบเลี่ยง ไม่ยินยอมรับความเป็นจริง (Escapism) อิสรภาพที่ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น

ทั้งบทละครและนวนิยาย ผู้แต่ง Barrie ไม่เคยอธิบายรูปร่างหน้าตาตัวละคร มอบให้อิสระให้ผู้สร้างครุ่นคิดจินตนาการได้ตามใจชอบ ด้วยเหตุนี้จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติด้วยการคัดเลือกนักแสดงหญิงตัวเล็กๆรับบท แต่งองค์ทรงเครื่องนำแรงบันดาลใจจากเทพเจ้า Pan ในปรัมปรากรีก, สำหรับฉบับของ Disney ดั้งเดิมเคยคิดจะติดปีก แต่เพราะมีพิกซี่ Tinker Bell อยู่แล้วจึงเอาปีกออก แล้วออกแบบให้มีลักษณะเหมือน Elf หูแหลมยาว ตาน้ำตาล ผมแดง สวมใส่ชุดสีเขียว และหมวกทรงกรวยติดขนนกสีแดง (สัญลักษณ์ของอินเดียนแดง)

ในส่วนของการพากย์เสียง Peter Pan แต่ไหนแต่ไรตั้งแต่โปรดักชั่นละครเวที มักนิยมใช้นักแสดงหญิง (ทั้งๆที่เป็นตัวละครเพศชาย) ซึ่งนาย Disney ก็ครุ่นคิดอยากทำตามธรรมเนียมปฏิบัติ ในตอนแรกพยายามติดต่อ Mary Martin ซึ่งกำลังจะรับบท Peter Pan ในโปรดักชั่นละคอนเพลง ค.ศ. 1954 แต่ไม่สามารถแบ่งปันเวลาให้ได้, นักแสดงคนถัดมาที่ให้ความสนใจคือ Jean Arthur, สุดท้ายตัดสินใจใช้บริการ Bobby Driscoll (1937-68) นักแสดงเด็กคนแรกในสังกัด Disney ก่อนหน้านี้มีผลงาน Song of the South (1946), So Dear to My Heart (1948), The Window (1949), Treasure Island (1950), และเคยได้รับรางวัล Academy Juvenile Award เมื่อปี ค.ศ. 1950

เกร็ด: ไม่ใช่แค่การพากย์เสียงตัวละคร นักแสดงยังต้องเข้าฉากทำการแสดง (Live-Action) สำหรับเป็นต้นแบบในการวาดภาพตัวละครบนเครื่อง Rotoscoping เพื่อให้การเคลื่อนไหวออกมามีความสมจริง ใกล้เคียงความเป็นมนุษย์มากที่สุด!

Wendy Darling ชื่อเต็มๆ Wendy Moira Angela Darling บุตรสาวคนโตของครอบครัว Darling ใกล้ถึงวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ถึงอย่างนั้นเธอกลับเต็มไปด้วยจินตนาการเพ้อฝัน ชื่นชอบเล่าเรื่องการผจญภัยของ Peter Pan ให้กับน้องชายทั้งสอง John และ Michael ยินยอมร่วมออกเดินทางสู่ Never Land แต่ไม่เคยครุ่นคิดปักหลักถาวรอยู่ดินแดนแห่งนี้ พยายามโน้มน้าวชักชวนเด็กๆให้ฟื้นตื่น เดินทางกลับโลก หวนกลับสู่อ้อมอกมารดา

เฉกเช่นเดียวกับ Peter Pan ตัวละครนี้ไม่ได้คำอธิบายรูปร่างหน้าตา แค่เพียงบอกว่ามีลักษณะเหมือน ‘mother figure’ จึงออกแบบให้ดูสุภาพเรียบร้อย แต่งตัว(ชุดนอน)ในสไตล์เรียบง่าย บุคลิกภาพเต็มไปด้วยรอยยิ้มสดใส จิตใจอ่อนไหว พูดไปเรื่อยเปื่อย แต่มีพลังในการโน้มน้าว สามารถควบคุมดูแลเด็กๆให้อยู่ใต้บังคับบัญชา

ในส่วนการพากย์เสียง Disney มีความต้องการ “gentle and gracefully feminine” ก่อนตัดสินใจเลือก Kathryn Beaumont (เกิดปี 1938) ก่อนหน้านี้เพิ่งเคยร่วมงานให้เสียงตัวละคร Alice จากภาพยนตร์อนิเมชั่น Alice in Wonderland (1951) ถือเป็นสองบทบาทโด่งดังที่สุดในอาชีพการงาน … หลังจากเติบโตเป็นผู้ใหญ่ Beaumont ทำงานครูสอนโรงเรียนอนุบาลจนเกษียณอายุ ในเบื้องหลัง DVD/Blu-Ray เห็นว่ามีสัมภาษณ์ของเธอด้วยนะครับ

Captain Hook โจรสลัดผู้มีความโฉดชั่วร้าย (แต่กลับขลาดกลัวจระเข้หัวหด) เพราะเคยถูก Peter Pan ตัดแขนข้างหนึ่ง(แล้วโยนให้จระเข้รับประทาน) จึงมีความโกรธเกลียด ศัตรูคู่แค้น (Archenemy) ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อโต้ตอบเอาคืน กำจัดอีกฝ่ายให้พ้นทาง

ปล. มีการวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบ Captain Hook ผู้มีความหมกมุ่นล้างแค้น Peter Pan (และจระเข้) ช่างมีความละม้ายคล้าย Captain Ahab ตัวละครจากวรรณกรรม Moby-Dick (1851)

Frank Thomas ให้คำอธิบายว่าออกแบบตัวละคร Hook โดยมีโมเดลจาก Spanish King (ไม่ได้เจาะจงว่าคือผู้ใด) และพัฒนาตัวละครให้มีความเป็น ‘comical villain’ ลดทอนความโฉดชั่วร้าย กลายเป็นพฤติกรรมขี้ขลาดเขลา (เบาปัญญาอ่อน) เพื่อไม่เด็กๆพบเห็นแล้วเกิดอาการหวาดกลัวเกินไป

ในตอนแรกนาย Disney ยื่นข้อเสนอให้กับ Cary Grant ซึ่งก็แสดงความสนอกสนใจอยู่ไม่น้อย แต่สุดท้ายกลับเปลี่ยนมาเลือก Hans Conried (1917-82) เพราะประสบการณ์เป็นนักแสดงตลก/คอมเมอเดี้ยน สามารถละเล่นกับน้ำเสียง เดี๋ยวโฉด เดี๋ยวขลาดเขลา … และตามธรรมเนียมของผู้แสดงบทบาทนี้ มักรับบทบิดา George Darling ผู้ร้ายในชีวิตจริง สะท้อนกับภาพความฝัน

อีกบทบาทที่ต้องกล่าวถึงก็คือ Tinker Bell พิซซี่น้อย ขนาดเท่าฝ่ามือ แต่ร่างกายมีทรวงทรงองค์เอวเหมือนผู้สาว (เป็นตัวแทนผู้ใหญ่ในร่างเด็กน้อย) ไม่ใช่แค่เพื่อน ยังตกหลุมรัก Peter Pan เลยบังเกิดความอิจฉาริษยา Wendy ต้องการขับไล่ ผลักไส กำจัดศัตรูคู่แข่งหัวใจ ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าอยากกระทำสิ่งชั่วร้าย ทรยศหักหลังพวกพ้อง พร้อมยินยอมเสียสละตนเองเพื่อชายคนรัก

เกร็ด: ในขณะที่ Mickey Mouse คือมาสค็อตของ Disney, ตัวละคร Tinker Bell ถือเป็น “a symbol of ‘the magic of Disney'” ปรากฎตัวครั้งแรกก็ Peter Pan (1953) เรื่องนี้นี่แหละ

พฤติกรรมซึนเดเระของตัวละคร ทำให้หลายคนคาดเดาว่า Tinker Bell อาจมีต้นแบบจาก Marilyn Monroe แต่นักอนิเมอเตอร์ Marc Davis ยืนกรานอ้างอิงจากนักแสดงสาว Margaret Kerry (เกิดปี 1929) เคยได้รับฉายา “World’s Most Beautiful Legs” แม้ไม่มีบทพูด แต่การแสดงในส่วน Live Action ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากๆ เพราะต้องใช้การสื่อสารภาษากาย ทั้งยังต้องขยับเคลื่อนไหว ทำโน่นนี่นั่นอยู่แทบตลอดเวลา (Kerry เคยเป็นนักเต้นมาก่อน เลยสามารถจัดระเบียบร่างกายได้เป็นอย่างดี)

เกร็ด: นอกจากตัวละคร Tinker Bell นักแสดง Kerry ยังเป็นหนึ่งในโมเดลนางเหงือก (Mermaid)

พื้นหลังของ Peter Pan อยู่ในยุคสมัย Edwardian (1901-10) ช่วงเวลาสั้นๆภายใต้รัชสมัย King Edward VII (1841-1910, ครองราชย์ 1901-10) กษัตริย์ผู้โปรดปรานการท่องเที่ยว นำเทรนด์ศิลปะ แฟชั่น เริ่มให้โอกาสชนชั้นแรงงานและสิทธิสตรีมีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้น

แน่นอนว่าตึกรามบ้านช่อง เฟอร์นิเจอร์ สิ่งข้าวของเล่น ย่อมอ้างอิงจากยุคสมัย Edwardian รวมถึง London Bridge และหอระฆัง Big Ben ถือเป็นการ์ตูนเรื่องที่สองของ Disney เลือกพื้นหลังกรุง London ต่อจาก Alice in Wonderland (1951)

Neverland ชื่อเรียกเกาะสมมติ ตั้งอยู่ยังดินแดนห่างไกล เห็นว่าคอนเซ็ปแรกเริ่มของผู้แต่ง Barrie ตั้งชื่อว่า Never Never Land คาดกันว่าได้แรงบันดาลใจจาก Never Never คำเรียกพื้นที่ห่างไกล Australian Outback จากบทกวีของ Barcroft Boake นักเขียนชาว Australian … ใครเคยรับชมภาพยนตร์ Australia (2008) น่าจะเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้ง

Out on the wastes of the Never Never –
That’s where the dead men lie!
There where the heat-waves dance forever –
That’s where the dead men lie!

Barcroft Boake: Where the Dead Men Lie (1891)

แต่สถานที่ที่ใช้เป็นพื้นหลัง Never Land ไม่ได้มีระบุไว้อย่างชัดเจน ในนวนิยายจะเขียนบอกแค่ให้บินไปเรื่อยๆ “second to the right, and straight on till morning.” ส่วนฉบับการ์ตูนของ Disney เพิ่มเติมคำว่าดวงดาว “second star to the right, and straight on till morning.” ราวกับอยู่ในอวกาศอันไกลโพ้น โลกหลังสายรุ้ง ซึ่งก็ล้วนสามารถสื่อถึงดินแดนแห่งจินตนาการ

สำหรับแผนที่ก็ไม่มีอยู่ในต้นฉบับนวนิยาย ครุ่นคิดออกแบบโดย Disney เฉกเช่นเดียวกัน โดยมีประมาณ 5 จุดสังเกต

  • Cannibal Cove อ่าวโจรสลัด ห้อมล้อมด้วยผืนป่า Tiki Forest เต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ ดินแดนแห่ง “evil traps” แหล่งที่อยู่อาศัยของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน
  • Mermaid Lagoon สถานที่อยู่อาศัยของนางเงือก
  • Indian Camp และ Never Land Plains สถานที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองอินเดียนแดง
  • Hangman Tree สถานที่หลบซ่อนตัว บ้านพักอาศัยของ Peter Pan และแก๊งเด็กหาย (Lost Boys)
  • Skull Rock โขดหินกระโหลกศีรษะ เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ซุกซ่อนสมบัติของพวกโจรสลัด (สถานที่ที่ Tiger Lilly ถูกลักพาตัว)
  • Crocodile Creek หนองน้ำที่อยู่อาศัยของจระเข้กินคน

ในส่วนของการทำอนิเมชั่น Peter Pan (1953) คือผลงานสุดท้ายที่ Disney’s Nine Old Men เก้าผู้เฒ่ารุ่นบุกเบิกสตูดิโอ Disney ทำงานร่วมกัน ก่อนทะยอยแยกย้าย ล้มหายตายจาก ประกอบด้วย

  • Les Clark (1907-79) เจ้าของฉายา “The Mickey Mouse Master” เริ่มร่วมงานกับ Disney และ Ub Iwerks มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1927 มีความถัดในการวาดตัวการ์ตูน Mickey Mouse ทำงานในส่วนอนิเมชั่นมาจนถึง Lady and the Tramp (1955) ค่อยผันตัวมาเป็นผู้กำกับ
  • Marc Davis (1913-2000) โด่งดังจากการออกแบบตัวละคร Snow White, Bambi, Tinker Bell, Maleficent, Cruella de Vil ฯ
  • Ollie Johnston (1912-2008) เริ่มต้นจากเป็นผู้ช่วยอนิเมเตอร์ Snow White, โด่งดังจากทำอนิเมชั่นตัวละคร Pinocchio, ฉากความตายของมารดา Bambi, สำหรับ Peter Pan (1953) ดูแลในส่วนอนิเมชั่น Mr. Smee และบางฉาก Captain Hook
  • Milt Kahl (1909-87) มีความเชี่ยวชาญทำอนิเมชั่นสรรพสัตว์น้อยใหญ่ใน Snow White, Bambi, White Rabbit (Alice in Wonderland), รวมถึงตัวละคร Peter Pan และสมาชิกครอบครัว Darling
  • Ward Kimball (1914-2002) เข้าร่วมกับ Disney เมื่อปี ค.ศ. 1934 โดดเด่นกับการออกแบบตัวละครชวนหัว นิสัยบ้าๆบอๆ อาทิ Jiminy Cricket, Lucifer, Mad Hatter, Cheshire Cat ฯ
  • Eric Larson (1905-1988) เข้าร่วมกับ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ทำอนิเมชั่นตัวละคร Peg, Vultures, โด่งดังจากดีไซน์การบินของ Peter Pan, ภายหลังกลายเป็นครูฝึกนักอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ๆ
  • John Lounsbery (1911-1976) เริ่มจากทำงานผู้ช่วนอนิเมชั่น Snow White แต่ไม่นานก็ได้รับคำชื่นชมในสไตล์อนิเมชั่นที่มีความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน ยืดๆหดๆ กลายเป็นผู้กำกับอนิเมชั่น รวมถึงตัวละครอย่าง The Tramp, Colonel Haiti, Shere Khan, Robin Hood ฯ
  • Woolie Reitherman (1909-85) เข้าร่วมกับ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ทำงานเป็นนักอนิเมเตอร์ Silly Symphony, อนิเมชั่นกระจกวิเศษใน Snow White, การต่อสู้ของไดโนเสาร์ใน Fantasia, Timothy Q. Mouse เรื่อง Dumbo, ฉากไคลน์แม็กซ์ Maleficent สู้กับมังกร ฯ ก่อนก้าวขึ้นมากำกับ The Sword in the Stone (1963), The Jungle Book (1967) ฯ
  • Frank Thomas (1912-2004) เข้าร่วมกับ Disney เมื่อปี ค.ศ. 1934 ทำอนิเมชั่นตัวละคร Queen of Hearts, Captain Hook ฯ

อนิเมชั่นของ Peter Pan (1953) มีสองสิ่งที่ผมถือเป็นไฮไลท์ อย่างแรกคือตัวละคร Tinker Bell (ทำอนิเมชั่นโดย Marc Davis) ไม่ใช่แค่แสงสีเหลืองทองเปร่งประกาย ยังแทบทุกการขยับเคลื่อนไหวต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ‘fairy dust’ ละอองฝุ่นฟุ้งกระจาย สามารถโรยใส่ตัว ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถล่องลอย โบยบิน ช่างมีความมหัศจรรย์ยิ่งนัก!

ปล. ทุกครั้งที่พบเห็น ‘fairy dust’ มักได้ยินเสียงระฆัง (Chimes) ดังระยิบระยับ สอดคล้องรับกันอย่างกลมกล่อม

และไฮไลท์ในส่วนของอนิเมชั่นที่แม้แต่ Hayao Miyazaki ยังเกิดความลุ่มหลงใหล คือซีเควนซ์โบยบินบนท้องฟากฟ้า (อนิเมชั่นโดย Eric Larson) มันไม่ใช่แค่กางแขน-ขา พุ่งทะยานไปเบื้องหน้า แต่ตัวละครยังขยับเคลื่อนไหว กลิ้งม้วนหมุนแทบจะ 720 องศา ราวกับอยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง สามารถทำอะไรได้ทุกสิ่งอย่าง … นัยยะของการล่องลอย โบยบิน สื่อถึงอิสรภาพ/จินตนาการ คือสิ่งไร้ซึ่งพันธนาการ(แรงโน้มถ่วง)เหนี่ยวรั้ง

แซว: ผมสังเกตจากมนุษย์อวกาศ เอาจริงๆไม่มีใครสามารถขยับเคลื่อนไหวได้แบบนี้เลยนะ เพราะบนนั้นมันไม่แรงต้านทานใดๆ การโบยบินลักษณะนี้จึงถือว่าขัดแย้งต่อหลักฟิสิกส์อย่างที่สุด!

ตัดต่อโดย Donald Halliday (1913-72) เข้าทำงานสตูดิโอ Disney ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง Cinderella (1950), Peter Pan (1953), Lady and the Tramp (1955), Sleeping Beauty (1959), One Hundred and One Dalmatians (1961) และ The Sword in the Stone (1963)

การ์ตูนชื่อ Peter Pan (1953) แน่นอนว่าต้องให้ตัวละคร Peter Pan คือจุดศูนย์กลางเรื่องราว แต่การนำเสนอมักเล่าเรื่องผ่านมุมมอง Wendy Darling (ร่วมออกผจญภัยกับ Peter Pan) และหลายๆครั้งตัดสลับมายังฟากฝั่งผู้ร้าย Captain Hook ครุ่นคิดแผนการสุดเหี้ยมโหด เพื่อฆ่าล้างแค้นคู่อริตลอดกาล

  • ค่ำคืนดึกดื่น
    • บิดา-มารดา กล่อมลูกๆทั้งสามเข้านอน Wendy, John และ Michael
    • ดึกดื่นเด็กๆต่างถูกปลุกตื่นโดยการมาถึงของ Peter Pan และ Tinker Bell
    • ร่วมกันออกเดินทาง โบยบินสู่ท้องฟากฟ้า เป้าหมายคือ Never Land
  • แผนการชั่วร้ายของ Captain Hook กับ Tiger Lily
    • แนะนำตัวละคร Captain Hook ผู้หวาดกลัวจระเข้ จองล้างของผลาญ Peter Pan
    • เด็กๆออกสำรวจผืนป่า แล้วจู่ๆถูกจับกุมตัวโดยชนเผ่าอินเดียนแดง
    • Peter Pan และ Wendy ล่องลอยมาถึง Skull Rock แอบพบเห็น Captain Hook ลักพาตัว Tiger Lily เลยเข้าไปให้การช่วยเหลือ
    • เมื่อพา Tiger Lily กลับมา Indian Camp ก็มีงานเลี้ยงเฉลิมฉลองใหญ่โต
  • แผนการชั่วร้ายของ Captain Hook กับ Tinker Bell
    • Captain Hook ทำการโน้มน้าว ล่อหลอก Tinker Bell จนเธอยินยอมคายความลับ สถานที่หลบซ่อนตัวของ Peter Pan
    • หลังงานเลี้ยงอินเดียนแดง Peter Pan และแก๊งเด็กหลง (Lost Boys) เดินทางกลับมาหลับนอนยัง Hangman Tree
    • Captain Hook ลักพาตัว Wendy และแก๊งเด็กหลง จากนั้นส่งระเบิดเวลาให้กับ Peter Pan รอดตายอย่างหวุดหวิดจากการช่วยเหลือของ Tinker Bell
  • การโต้ตอบของ Peter Pan
    • ระหว่างที่ Wendy และเด็กๆต้องเลือกระหว่างลงนามลูกเรือ หรือกลายเป็นเหยื่ออันโอชะของจระเข้
    • Peter Pan เข้ามาเผชิญหน้าต่อสู้ Captain Hook
    • หลังได้รับชัยชนะ เด็กๆเดินทางกลับมาบ้าน ดึกดื่นตื่นขึ้นในห้องนอน ความฝันค่ำคืนนี้จักกลายเป็นความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน

ในส่วนของเพลงประกอบ (Soundtrack ที่ไม่มีเนื้อร้อง) โดย Oliver Wallace (1887-1963) นักแต่งเพลงสัญชาติอังกฤษ ร่วมงานขาประจำสตูดิโอ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 เริ่มจากเป็นวาทยากร เขียนเพลงประกอบ Dumbo (1941), Cinderella (1950), Alice in Wonderland (1951), Peter Pan (1953), และ Lady and the Tramp (1955)

งานเพลงของ Wallace ทำออกมาในสไตล์ ‘Silly Symphony’ ท่วงทำนองสอดคล้องการกระทำ สำหรับสร้างสีสัน บรรยากาศสนุกสนาน หยอกล้อเล่นระหว่างภาพและเสียง บางครั้งก็ใช้แทน ‘Sound Effect’ เพื่อไม่ให้การ์ตูนเกิดความเงียบสงัดนานเกินไป

ในส่วนของบทเพลงคำร้อง ผมรู้สึกว่า Peter Pan (1953) มีทั้ง Hit and Miss บางบทเพลงไพเราะเพราะพริ้ง หลายบทเพลงไม่ค่อยน่าจดจำสักเท่าไหร่ และอีกหนึ่งบทเพลงที่โคตรๆน่าผิดหวัง

เริ่มจากบทเพลงฮิตแรก Main Title ชื่อว่า The Second Star to the Right ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง The Jud Conlon Chorus & The Mellomen เป็นบทเพลงเกริ่นนำเข้าสู่เรื่องราว ชี้นำทางดวงดาวสู่ Never Land ซึ่งสิ่งที่ผมประทับใจมากๆคือการขับร้องประสาน สร้างความขนลุกขนพอง และโดยเฉพาะเสียงสูงของ Kathryn Beaumont ชักชวนให้ล่องลอย โบยบิน มุ่งสู่ดินแดนแห่งจินตนาการ

The second star to the right
Shines in the night for you
To tell you that the dreams you plan
Really can come true

The second star to the right
Shines with a light so rare
And if it’s Never Land you need
Its light will lead you there

Twinkle, twinkle, little star
So we’ll know where you are
Gleaming in the skies above
Lead us to the land we dream of

And when our journey is through
Each time we say “Goodnight”
We’ll thank the little star that shines
The second from the right

ผมมีความสองจิตสองใจกับบทเพลง You Can Fly! ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง The Jud Conlon Chorus & The Mellomen ท่วงทำนองถือว่ามีความไพเราะ แต่คำร้องจะมีขณะเร่งความเร็ว มันทำลายอรรถรสระหว่างการโบยบินพอสมควร

ไม่รู้ทำไมผมนึกถึง A Whole New World จาก Aladdin (1992) ซึ่งวินาทีได้ยินบทเพลงนี้ Aladin และ Jasmine ขึ้นพรมเหาะ กำลังโบยบินสู่ท้องฟากฟ้า ฟังแล้วรู้สึกตื่นตาตะลึง ราวกับได้เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ แตกต่างจาก You Can Fly! ที่เพียงสนุกสนาน เติมเต็มจินตนาการ เร่งรีบร้อนจนไม่ค่อยน่าจดจำสักเท่าไหร่

Chorus:
Think of a wonderful thought,
Any merry little thought,
Think of Christmas, think of snow, think of sleigh bells,
Off you go, like reindeer in the sky!
You can fly, you can fly, you can fly!!!

Think of the happiest things,
It’s the same as having wings,
Take the path that moonbeams make,
If the moon is still awake,
You’ll see him wink his eye
You can fly, you can fly, you can fly!!!

Off you go with a Heigh and Ho
To the stars beyond the blue
There’s a Never Land waiting for you
Where all your happy dreams come true
Every dream that you dream will come true

When there’s a smile in your heart
There’s no better time to start
Think of all the joy you’ll find
When you leave the world behind
And bid your cares good-bye
You can fly, you can fly, you can fly, you can fly, you can fly!

A Pirate’s Life นี่มันคือต้นฉบับก่อนทำการดัดแปลงสู่ Pirate of the Caribbean ใช่ไหมเนี่ย? ทำนองโดย Oliver Wallace, คำร้องโดย Erdman Penner, ขับร้องประสานเสียงโดย The Mellomen

Pirate Crew: Ohhhh!
A pirate’s life is a wonderful life
A-rovin’ over the sea
Give me a career as a buccaneer
As the life of a pirate for me
Ohhhh!
The life of a pirate for me

Ohhhh!
A pirate’s life is a wonderful life
They never bury your bones
For when it’s all over, a jolly sea rover
Drops in on his friend Davy Jones
Ohhhh!
His very good friend Davy Jones

Mr. Smee: My good friend Davy Jones

บทเพลงน่าอับอายขายขี้หน้าที่สุดของการ์ตูนเรื่องนี้คือ What Made the Red Man Red ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง Candy Candido & The Mellomen ถูกตีตราว่านำเสนอภาพ Stereotype ของชาวอินเดียนแดงในลักษณะ “Racist and Offensive”

My jaw hit the ground when I heard this song and saw these ‘redskins’ hopping around and making fools of themselves. Granted it was only a cartoon, but it was one in which the animators took the liberty of demeaning an entire race in the name of entertainment.

David Martinez ผู้เขียนหนังสือ American Indians and Film (2013)

I remember seeing it and not having the skills to understand why it made me feel embarrassed. What does that do to a child’s formation of identity, even if it’s subliminal and subconscious? The message is, ‘You’re not human. You’re a trend. You’re something that can be commodified and bought and sold.’

Sasha Houston Brown สมาชิกชนเผ่าอินเดียนแดง Santee Sioux อาจารย์ประจำ Minneapolis Community and Technical College

ลองอ่านคำแก้ตัวในมุมมองของผู้สร้างดูนะครับ

I’m not sure we would have done the Indians if we were making this movie now. And if we had we wouldn’t do them the way we did back then… The Indians were Ward Kimball’s stuff. Beautifully done. The Indians could not have been done that way nowadays. I like them. Very funny. Very entertaining, especially the Big Chief.

Marc Davis

It is important to remember that Peter Pan was supposed to represent a young boy’s impression of pirates, mermaids and Indians and, as a result, these fanciful creations bore more of a relation to popular culture storybooks than reality.

นักเขียน Jim Korkis ผู้รวบรวมประวัติศาสตร์ของ Walt Disney

ความอัปยศของ What Made the Red Man Red? ได้รับการเปรียบเทียบกับอีกบทเพลง Savages จากการ์ตูน Pocahontas (1995) ที่ทำให้ผู้ชมตั้งคำถามถึงสามัญสำนึกของผู้สร้าง ต่อให้อ้างว่าเพื่อความบันเทิง แต่สำหรับคนบางกลุ่มนี่ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานเลยสักนิด! แม้ปัจจุบันจะมีการตัดทั้งซีเควนซ์นี้ในฉบับฉายโทรทัศน์และออนไลน์ แต่มันก็มิอาจลบเลือนความเสียหายที่บังเกิดขึ้น

อีกบทเพลงไพเราะจับใจ Your Mother and Mine ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องโดย Kathryn Beaumont คำรำพันครุ่นคิดถึงแม่ ฟังแล้วน้ำตาตกใน คร่ำครวญอยากหวนกลับไป ซุกตัวอยู่ในอ้อมกอดมารดา เพื่อว่าค่ำคืนนี้จะได้นอนหลับฝันดี … แต่ผมว่าฟังแล้วเพลงนี้แล้วไม่น่าจะนอนหลับสักเท่าไหร่

น้ำเสียงของ Beaumont สร้างความประทับใจให้ผมอย่างมากๆ ชวนนึกถึง Judy Garland สมัยยังเป็นวัยรุ่น เชื่อว่าถ้าเลือกอาชีพนักแสดงน่าจะไปรุ่งแน่ๆ น่าเสียดาย น่าเสียดาย

Well a mother, a real mother, is the most wonderful person in the world
She’s the angel voice that bids you goodnight
Kisses your cheek, whispers sleep tight
Your mother and mine
Your mother and mine

The helping hand that guides you along
Whether you’re right, whether you’re wrong

Your mother and mine
Your mother and mine

What makes mothers all that they are
Might as well ask what makes a star
Ask your heart to tell you her worth
Your heart will say, heaven on earth
Another word for divine
Your mother and mine

ทิ้งท้ายกับบทเพลง Never Smile at a Crocodile เห็นว่าผู้แต่ง Frank Churchill เขียนขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 ช่วงที่โปรเจคนี้เพิ่งเริ่มตั้งไข่ ทำออกมาในสไตล์ ‘Comic Song’ ยังไม่ได้ใส่เนื้อร้อง (Jack Lawrence แต่งเพิ่มเอาภายหลัง) น่าเสียดายพี่แกฆ่าตัวตายเมื่อปี ค.ศ. 1942 ถึงอย่างนั้น Disney ก็ยังอุทิศให้กับเพื่อนผู้จากไป เลือกใช้ทำนองกวนๆนี้ในทุกๆขณะการปรากฎตัวของเจ้าจระเข้

ปล. ฉบับขับร้องโดย Stuart Foster and Judy Valentine ถูกตัดออกไปในการ์ตูน Peter Pan (1953) [แต่มีในอัลบัม Soundtrack] แค่เพียงทำนองสั้นๆระหว่างแนะนำตัวละคร Captain Hook แล้วเกิดอาการ PTSD เมื่อพบเห็นเจ้าจระเข้กำลังคืบคลานเข้ามา

Never smile at a crocodile
No, you can’t get friendly with a crocodile
Don’t be taken in by his welcome grin
He’s imagining how well you’d fit within his skin
Never smile at a crocodile
Never tip your hat and stop to talk awhile
Never run, walk away, say good-night, not good-day
Clear the aisle but never smile at Mister Crocodile
You may very well be well bred
Lots of etiquette in your head
But there’s always some special case, time or place
To forget etiquette
For instance

Never smile at a crocodile
No, you can’t get friendly with a crocodile
Don’t be taken in by his welcome grin
He’s imagining how well you’d fit within his skin
Never smile at a crocodile
Never dip your hat and stop to talk awhile
Never run, walk away, say good-night, not good-day
Clear the aisle but never smile at Mister Crocodile

Peter Pan นำเสนอการเดินทางสู่ดาวดวงที่สองจากขวามือ บินตรงไปถึงรุ่งเช้า Never Land ดินแดนแห่งการผจญภัย สถานที่ที่เด็กๆไม่มีวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เต็มไปด้วยความสนุกสนาน หรรษา โบยบินสู่อิสรภาพ เพลิดเพลินไปกับโลกแห่งจินตนาการ … ฟังดูราวกับ Wonderland (Alice in Wonderland) หรือดินแดนหลังสายรุ้ง Land of Oz (The Wonderful Wizard of Oz) สถานที่แฟนตาซีสร้างขึ้นสำหรับเติมเต็มความเพ้อฝันของเด็กๆ

Never Land, Wonderland หรือ Land of Oz ต่างเปรียบเสมือนสถานที่สำหรับหลบซ่อนตัว หนีออกจากโลกความจริง (Escapism) เพลิดเพลินไปกับสิ่งตอบสนองความสนใจ เติมเต็มความเพ้อฝันจินตนาการผู้สร้าง บางอย่างเคยสูญหายไปเมื่อครั้นยังเป็นเด็ก

ในกรณีของ Never Land คือประสบการณ์สูญเสียพี่ชายผู้แต่ง J. M. Barrie คำพูดมารดาทำให้ตระหนักว่า (พี่ชาย)จะคงสถานะความเป็นเด็กอยู่ในจิตใจของทุกคน สรรค์สร้างวรรณกรรม Peter Pan เพื่อหวนกลับหาช่วงเวลาแห่งความสุข ฉันเองก็อยากอาศัยอยู่ในโลกใบนั้น

มันไม่ใช่ว่าผมมีอคติอะไรกับวรรณกรรมเรื่องนี้นะครับ แต่เป้าหมายการโจมตีก็คือฉบับดัดแปลง Peter Pan (1953) ของค่าย Walt Disney ที่ทำการปู้ยี้ปู้ยำ สร้างโลกสวยเกินจริง ตัดทิ้งรายละเอียดสำคัญๆ โดยใช้ข้ออ้างการ์ตูนคือสื่อสำหรับเด็ก ไม่เหมาะที่จะนำเสนอเหตุการณ์รุนแรงเกินไป นั่นมันใช่สิ่งที่ผู้ใหญ่ควรครุ่นคิดแทนเสียที่ไหน ผลลัพท์กลายเป็นโลกอันบิดเบี้ยว ปลูกฝังค่านิยมผิดๆเพี้ยนๆ ผู้ชมรุ่นหลังยิ่งดูยิ่งละเหี่ยใจ

เอาจริงๆแนวคิดจิตวิญญาณยังเป็นเด็กตลอดกาล ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร! ศิลปิน จิตรกร นักเขียน การ์ตูน ทำงานสายอนิเมชั่น ฯ ล้วนต้องใช้จินตนาการ(ความเป็นเด็ก)เพื่อรังสรรค์สร้างผลงาน หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป ความรู้สึกเหมือนได้ย้อนกลับไปเป็นเด็ก (Nostalgia) สามารถช่วยพักผ่อนคลายความตึงเครียด ปลีกวิเวก หลบซ่อนตัว หนีออกจากโลกความจริง (Escapism) ก็ไม่เรื่องผิดเช่นกัน! แค่ควรต้องรู้จักเพียงพอดี ยินยอมรับสภาพเป็นจริง อย่าหลอกตนเอง ก็น่าจะเพียงพอแล้วละ


ด้วยทุนสร้าง $4 ล้านเหรียญ เสียงตอบรับค่อนข้างดี ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $87.4 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จแค่กลางๆ เพราะมาตรฐานของ Disney ช่วงทศวรรษนั้น ส่วนใหญ่รายรับเกินกว่า $100 ล้านเหรียญ! แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าผลงานก่อนหน้า Alice in Wonderland (1951) ที่ล้มเหลวอย่างย่อยยับเยิน ทุนสร้าง $3 ล้านเหรียญ ทำเงินได้เพียง $2.4 ล้านเหรียญ

Though it doesn’t delve deeply into the darkness of J. M. Barrie’s tale, Peter Pan is a heartwarming, exuberant film with some great tunes.

คำนิยมจากเว็บไซด์ Rottentomatoes ให้คะแนน 77%

แม้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม แต่พอกลายเป็นสวนสนุก (Theme Parks) เครื่องเล่น ขบวนพาเรด การแสดงสด รวมถึงสเก็ตลีลา (Disney On Ice) เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยว (Attraction) ได้รับความนิยมสูงสุดแทบจะทุกๆ Disneyland

Peter Pan ฉบับของ Disney มีภาคต่อด้วยนะครับ Peter Pan: Return to Never Land (2002) รวมถึงภาพแยก (Spin-Off) Tinker Bell (2008), ล่าสุดก็ดัดแปลงคนแสดง (Live Action) Peter Pan & Wendy (2023) ทีแรกว่าจะเข้าฉายโรงภาพยนตร์แต่คุณภาพคง !@#$% เลยปรับเปลี่ยนมาทาง Disney+

นอกจากภาพวาดสวยๆ อนิเมชั่นงามตา อะไรอย่างอื่นล้วนสร้างความอ่อนเปลี้ยเพลียแรง แถมบทเพลงก็ไม่ค่อยไพเราะติดหูสักเท่าไหร่ สไตล์ของ Disney เลยทำให้ผมหน้านิ่วคิ้วขมวด มอดไหม้ทรวงในตลอด 77 นาที ช่างเยิ่นยาวนานยิ่งนัก อดรนทนดูจบได้ก็รู้สึกประทับใจตนเองอย่างคาดไม่ถึง!

คงมีหลายคนที่ชื่นชอบ Peter Pan (1953) แล้วหลงเข้ามาอ่านบทความนี้ ก็ไม่ต้องอคติอะไรกับผมมากนะครับ มันเป็นความรู้สึกส่วนตัว คิดเห็นส่วนบุคคล ไม่จำเป็นที่คนเราต้องเหมือนกันอยู่แล้ว

แถมท้ายกับบุคคลมีชื่อเสียงที่โปรดปรานวรรณกรรม/การ์ตูน Peter Pan อาทิ J. R. R. Tolkien (Middle-earth=Never Land?), J.K. Rowling, Stephen King, Michael Jackson (ถึงขนาดตั้งชื่อฟาร์ม Never Land), Michael Stipe, Gwen Stefani, Bono, Steven Spielberg (กำกับภาพยนตร์ Hook (1991)), Guillermo Del Toro (มีแผนจะสร้างอยู่), Hayao Miyazaki, Robin Williams (รับบท Peter Pan ในภาพยนตร์ Hook (1991)), Angelina Jolie, Hugh Jackman ฯลฯ

จัดเรตทั่วไป แต่มันคือการ์ตูนที่เราควรให้เด็กๆรับชมจริงๆนะหรือ?

คำโปรย | Peter Pan (1953) ฉบับการ์ตูนโลกสวยของ Walt Disney คงความคลาสสิก ล่องลอยอยู่ในความฝัน จมปลักอยู่ในนั้น
คุณภาพ | คลาสสิก
ส่วนตัว | นิทานหลอกเด็ก

Fail Safe (1964)


Fail Safe (1964) hollywood : Sidney Lumet ♥♥♡

เข้าฉายปีเดียวกับ Dr. Strangelove (1964) ต่างนำเสนอเรื่องราวความผิดพลาดทางเทคนิค ‘Fail Safe’ ทำให้เครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ออกเดินทางมุ่งสู่ Moscow ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (รับบทโดย Henry Fonda) จึงพยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อหยุดยับยั้งสงครามโลกครั้งที่สาม

ผิดกับ Dr. Strangelove (1964) ที่ผู้กำกับ Stanley Kubrick ทำออกมาแนวตลกร้าย (Black Comedy) ล้อเลียนเสียดสีการเมือง (Political Satire) ผ่อนคลายความตึงเครียดในช่วงระหว่างสงครามเย็น (แต่ผู้ชมบางคนอาจขบขันไม่ออกสักเท่าไหร่), Fail Safe (1964) ของ Sidney Lumet คือภาพยนตร์ดราม่าระทึกขวัญ (Drama Thriller) บรรยากาศตึงเครียด เก็บกดดัน ดูจบแล้วบังเกิดความหวาดระแวง วิตกจริต รู้สึกไม่ค่อยปลอดภัย หวังว่าเหตุการณ์เลวร้ายแบบในหนังคงไม่เกิดขึ้นจริง … ทั้งสองเรื่องสามารถมองเป็น ‘accompany film’ สำหรับรับชมเคียงข้าง เติมเต็มกันและกัน

แต่ในขณะที่ Dr. Strangelove (1964) ขึ้นหิ้งกลายเป็นตำนานเหนือกาลเวลา! Fail Safe (1964) แม้คุณภาพจะไม่ย่อหย่อนกว่า คะแนนจากเว็บ imdb.com ก็สูงพอๆกัน (Dr. Strangelove คะแนน 8.4, Fail Safe คะแนน 8.0) แต่น้อยคนจะมีโอกาสรับรู้จัก อีกทั้งความไม่สมเหตุสมผลของเรื่องราว โดยเฉพาะการตัดสินใจของประธานาธิบดี เป็นสิ่งที่ผมมองว่ามันอุดมคติ เพ้อเจ้อ ไร้สาระเกินไป ต่อให้ในชีวิตจริงบังเกิดสถานการณ์คล้ายๆกันนี้ ก็ไม่มีวันที่ผู้นำชาติไหนจะทำเรื่องโง่เง่าเต่าตุ่น ด้วยการฆ่าล้างประชาชนแลกเปลี่ยนกับสันติภาพ

มันมีสิ่งอื่นมากมายที่สามารถใช้ต่อรองแลกเปลี่ยน สร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศประสบหายนะ แต่วิธีการของหนังมันสุดโต่ง บ้าอุดมการณ์ ทำลายความเชื่อมั่น(ของคนในชาติ) และยังไร้ซึ่งมนุษยธรรม … คือมันชัดเจนว่าต้นฉบับนวนิยายต้องการเสียดสีล้อเลียน ‘fail safe’ ไม่ใช่แค่ความผิดพลาดทางเทคนิค แต่มนุษย์ก็สามารถตัดสินใจพลาดพลั้งได้เช่นกัน

ทีแรกผมไม่ได้คาดหวังอะไรกับหนัง เพราะรับรู้ว่าคงไม่ทางยอดเยี่ยมไปกว่า Dr. Strangelove (1964) แต่พอพานผ่านสักครึ่งชั่วโมงก็เริ่มบังเกิดความชื่นชอบประทับใจ วิธีการนำเสนอของผกก. Lumet แตกต่างตรงกันข้ามกับ Kubrick สามารถทำให้ Fail Safe (1964) มีความโดดเด่น เฉพาะตัวเอง เกือบจะหลงใหลคลั่งไคล้ ถ้าไม่เพราะไคลน์แม็กซ์ที่แม้งโคตรไร้สาระ ทำลายทุกสิ่งอย่างอุตส่าห์สร้างมาโดยพลัน


Sidney Arthur Lumet (1924-2011) ผู้กำกับภาพยนตร์/โทรทัศน์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Philadelphia, Pennsylvania แต่มาเติบโตย่าน Lower East Side, Manhattan ในครอบครัวเชื้อสาย Jews อพยพมาจาก Poland, บิดาเป็นนักแสดง/ผู้กำกับละครเวที Yiddish Art Theatre ฐานะค่อนข้างยากจน ทำให้บุตรชายต้องขึ้นเวทีตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เคยให้เสียงละคอนวิทยุ ขึ้นแสดง Broadway, Off-Broadway และหนังสั้น, การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง อาสาสมัครทหาร U.S. Army ประจำการอยู่อินเดียและพม่า

หลังสิ้นสุดสงครามโลก ผันตัวจากหน้าเวทีสู่เบื้องหลัง ก่อตั้งเวิร์คช็อบ (Workshop) สอนการแสดง High School of Performing Arts กำกับโปรดักชั่น Off-Broadway เข้าสู่วงการโทรทัศน์จากเป็นผู้ช่วย Yul Brynner พัฒนาเทคนิคถ่ายทำ “lightning quick” สำหรับกำกับซีรีย์ด้วยความรวดเร็ว อาทิ Danger (1950-55), Mama (1949-57), You Are There (1953-57), บางตอนของ Playhouse 90 (1956-60), Kraft Television Theatre (1947-58) และ Studio One (1947-58) รวมๆแล้วมีเครดิตกว่า 250+ ตอน!

สไตล์การกำกับของ Lumet มีคำเรียกจากนักวิจารณ์ “Hardboiled Straight-Shooter” เพราะได้รับการฝึกฝนจากยุคสมัย Golden Age of Television ในช่วงทศวรรษ 50s จึงมีความรวดเร็ว เน้นประสิทธิภาพ เอ่อล้นด้วยพลังงาน (Energetic Style of Directing) นิยมทำการซักซ้อม (Rehearsal) ตระเตรียมตัวล่วงหน้าให้พร้อม ถ่ายทำจริงจึงแค่ไม่กี่เทค หัวข้อความสนใจมักมีลักษณะ Psychodramas, ศึกษาตัวละคร (Character Study), บ่อยครั้งตัวเอกปฏิลักษณ์ (Antiheroes), ตั้งคำถามความเป็นธรรมทางสังคม (Social Justice) และมักมีพื้นหลังมหานคร New York City

Someone once asked me what making a movie was like. I said it was like making a mosaic. Each setup is like a tiny tile. You color it, shape it, polish it as best you can. You’ll do six or seven hundred of these, maybe a thousand. Then you literally paste them together and hope it’s what you set out to do.

Sidney Lumet

สำหรับ Fail-Safe (1964) ภาพยนตร์สร้างขึ้นลำดับที่หก แต่ออกฉายเป็นเรื่องที่เจ็ด (โดยเฉลี่ยผกก. Lumet สร้างหนังปีละเรื่อง!) ต้นฉบับคือนวนิยายขายดี (Best-Selling) แต่งโดย Eugene Burdick และ Harvey Wheeler ในตอนแรกตีพิมพ์ลงนิตยสารรายสัปดาห์ Saturday Evening Post วันที่ 13, 20, 27 ตุลาคม ค.ศ. 1962 ก่อนรวมเล่มวางแผง 22 ตุลาคม ค.ศ. 1962 พอดิบพอดีคาบเกี่ยวระหว่างวิกฤตการวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา, Cuban Missile Crisis (16-28 ตุลาคม ค.ศ. 1962)

เกร็ด: เรื่องราวของนวนิยาย Fail-Safe มีความละม้ายคล้าย Red Alert (1958) แต่งโดย Peter George [ที่เป็นต้นแบบภาพยนตร์ Dr. Strangelove (1964)] เลยถูกฟ้องร้องลิขสิทธิ์ ได้รับการไกล่เกลี่ยนอกศาล และผกก. Kubrick ยังโน้มน้าวสตูดิโอ Columbia Pictures ให้ซื้อลิขสิทธิ์จัดจำหน่าย Fail Safe (1964) แล้วกำหนดวันเข้าฉายภายหลัง Dr. Strangelove (1964)

บทภาพยนตร์ดัดแปลงโดย Walter Bernstein (1919-2021) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน ที่เคยถูก Hollywood Blacklist ในช่วงทศวรรษ 50s เพราะเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มการเมืองฝั่งซ้าย และมีชื่อปรากฎในนิตยสาร Red Channels แต่ตัวเขาไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ เลยสามารถใช้นามปากกาทำงานวงการโทรทัศน์ จนกระทั่งผกก. Lumet ดึงตัวมาร่วมพัฒนาบท That Kind of Woman (1959), Fail-Safe (1964), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Front (1976), Semi-Tough (1977), Yanks (1979) ฯ


เรื่องราวมีพื้นหลังในช่วงสงครามเย็น (Cold War) ประกอบด้วยตัวละครดังต่อไปนี้

  • Brigadier General Black (รับบทโดย Dan O’Herlihy) แห่ง U.S. Air Force ดึกดื่นฝันเห็นนักสู้วัว (Matador) เข่นฆ่าวัวท่ามกลางฝูงชน ราวกับเป็นลางสังหรณ์อะไรบางอย่าง เช้าวันนั้นขับบินสู่ Washington, D.C. เพื่อร่วมประชุมแผนการรับมือสงครามเย็น
  • Professor Groeteschele (รับบทโดย Walter Matthau) ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธนิวเคลียร์/ที่ปรึกษาด้านพลเรือน ระหว่างงานเลี้ยงปาร์ตี้ แสดงทัศนะต่อต้านคอมมิวนิสต์ (Anti-Communist) พร้อมทำสงครามเพื่อชัยชนะแม้ต้องแลกกับผู้เสียชีวิตนับล้าน หลังเลิกงานเดินทางสู่ Washington, D.C.

ระหว่างการประชุมในห้อง War Room มีการแจ้งเตือนยานบินไม่ทราบสัญชาติ (Unidentified Aircraft, UFO) ตรงเข้ามาในพรมแดนสหรัฐอเมริกา กำลังจะผ่านจุดไม่ปลอดภัย ‘Fail Safe’ โชคดีสามารถตรวจพบว่าเป็นเครื่องบินพลเรือน แต่ทันใดนั้นเองเกิดความขัดข้องทางเทคนิคกับเครื่องบินทิ้งระเบิด Group 6 ได้รับสัญญาณโจมตีนิวเคลียร์ Colonel Jack Grady (รับบทโดย Edward Binns) จึงออกเดินทางมุ่งสู่ Moscow โดยพลัน

เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (รับบทโดย Henry Fonda) รับทราบเหตุการณ์ดังกล่าว จึงสั่งให้ทำทุกวิถีทางเพื่อหยุดยับยั้ง พอไม่ประสบความสำเร็จจึงโทรศัพท์ติดต่อผู้นำสหภาพโซเวียต พยายามแสดงความบริสุทธิ์จริงใจ ให้ความร่วมมือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบินทิ้งระเบิดลำนั้น และที่สุดยินยอมเสียสละพลเมืองบางส่วน มอบหมาย General Black ขับเครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลงยังมหานคร New York City เพื่อไม่ให้สงครามโลกครั้งที่สามอุบัติขึ้น


Henry Jaynes Fonda (1905-82) นักแสดงสัญชาติอเมริกา เกิดที่ Grand Island, Nebraska ในครอบครัว Christian Scientist วัยเด็กเป็นคนขี้อาย ชอบว่ายน้ำ เล่นสเก็ต และวิ่งแข่ง โตขึ้นวาดฝันอยากทำงานสายข่าว เข้าศึกษาต่อ University of Minnesota แต่ไม่ทันเรียนจบกลายมาเป็นนักแสดงที่ Omaha Community Playhouse อาศัยอยู่ร่วมห้องพักเดียวกับเพื่อนสนิท James Stewart, เริ่มมีชื่อเสียงจาก Broadway เรื่อง The Farmer Takes a Wife (1934) กลับมารับบทเดิมในฉบับภาพยนตร์ปี 1935, ติดตามด้วย You Only Live Once (1937), Jezebel (1938), Young Mr. Lincoln (1939), Jesse James (1939), ผลงานขึ้นหิ้ง อาทิ The Grapes of Wrath (1940), The Lady Eve (1941), The Ox-Bow Incident (1943), My Darling Clementine (1946), War and Peace (1956), 12 Angry Men (1957), How the West Was Won (1965) ฯ

รับบทประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อรับทราบความผิดพลาดทางเทคนิคบังเกิดขึ้น เดินทางไปยังห้องหลบภัยใต้ทำเนียบขาว อยู่ในห้องสองต่อสองกับล่ามแปลภาษา คอยสั่งการ ติดต่อสื่อสารกับผู้นำสหภาพโซเวียต พยายามบอกกล่าว โน้มน้าว ว่าเหตุการณ์บังเกิดขึ้นไม่ใช่ความจงใจ แสดงความจริงใจด้วยการเปิดเผยข้อมูลลับ และพร้อมรับผิดชอบด้วยการเสียสละพลเมือง New York City แลกกับการสูญเสียกรุง Moscow

เกร็ด: นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Fonda รับบทบาทประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ก่อนหน้านี้ยังมี Young Mr. Lincoln (1939) และอีกหลายปีถัดจากนี้ Meteor (1979)

การแสดงของ Fonda มีความซับซ้อนทางอารมณ์สูงมากๆ พยายามปั้นสีหน้า คำพูดจา ให้ออกมาสุขุมเยือกเย็น แต่ภายในโคตรๆตึงเครียด กดดัน อึดอัดอั้น เต็มไปด้วยความหวาดหวั่น สั่นสะพรึงกลัว ไม่รู้จะครุ่นคิดทำอะไร ต่อรองผู้นำรัสเซียยังไง ไม่ใช่เรื่องง่ายจะตัดสินใจ

บุคลิกภาพ ความน่าเชื่อถือ Charisma ของ Fonda มีความเป็นผู้นำสูงมากๆ แต่ประธานาธิบดีคนนี้ดูสุภาพนอบน้อม ประณีประณอม อ่อนข้อมากเกินไป แถมยังเป็นพวกบ้าอุดมการณ์ สนเพียงข้ออ้างสันติภาพ ยินยอมฆ่าล้างประชนชนในชาติ นั่นไม่ใช่หนทางออกที่ถูกต้อง อาจเพราะแรงกดดัน ไม่มีใครให้คำแนะนำ จึงเป็นการตัดสินใจที่เลวร้าย รุนแรงยิ่งกว่าความผิดพลาดทางเทคนิคเสียอีก!


Daniel Peter O’Herlihy (1919-2005) นักแสดงสัญชาติ Irish เกิดที่ Wexford, County Wexford ก่อนย้ายมาเติบโตยัง Dublin โตขึ้นร่ำเรียนสถาปนิก University College Dublin แต่ระหว่างศึกษามหาวิทยาลัย พบความลุ่มหลงใหลด้านการแสดง มีโอกาสเข้าร่วมคณะละคอนเวที Abbey Theatre พอเรียนจบก็มุ่งมั่นเอาจริงเอาจังด้านนี้ มีโอกาสแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Odd Man Out (1947), โกอินเตอร์กับ Macbeth (1948), Robinson Crusoe (1954), Fail Safe (1964), Waterloo (1970) ฯ

รับบท Brigadier General Warren A. “Blackie” Black เพื่อนสมัยเรียน/ที่ปรึกษาประธานาธิบดี ตื่นจากฝันร้าย เดินทางไปประชุม War Room ณ Pentagon ก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน มักคอยโต้ถกเถียง แสดงความคิดเห็นต่อต้าน Professor Groeteschele ไม่ต้องการให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สาม แต่ยินยอมรับคำสั่งของปธน. ขับเครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ยัง New York City (แล้วตัดสินใจกระทำอัตวินิบาต)

โดยปกติแล้ว ‘stereotype’ ของนายพลระดับสูง/ทหารอเมริกัน มักกระหายการต่อสู้ พร้อมเผชิญหน้าศัตรู เพื่อเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความเป็นหมาอำนาจจ้าวโลก แต่ตัวละครนี้กลับแสดงความคิดเห็นต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) ไม่ต้องการให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สาม ลักษณะแตกต่างตรงกันข้ามดังกล่าว ทำให้ผมรู้สึกเหมือนผู้แต่งนวนิยายต้องการเสียดสี ประชดประชัน นำเสนอความเป็นไปได้ที่ไม่น่าเป็นไปได้

ทั้งใบหน้าและน้ำเสียงของ O’Herlihy ดูสุภาพ นุ่มนวล แตกต่างจากภาพลักษณ์นายพลที่มักเย่อหยิ่ง ทะนงตน ดาวประดับเต็มบ่า อาจเพราะยังคงติดตากับฝันร้าย ลางสังหรณ์ เลยเกิดความหวาดกังวล จึงพยายามพูดโน้มน้าว แสดงความคิดเห็นต่อต้าน ไม่ต้องการให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สาม แต่เมื่อความผิดพลาดทางเทคนิคบังเกิดขึ้น เขาจึงยินยอมเสียสละตนเอง ยินยอมกลายเป็นนักล่าวัว (Matador) เหมือนกับในความฝันนั้นเอง!


Walter John Matthow (1920-2000) นักแสดง คอมเมอเดี้ยน สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Lower East Side, New York City ในครอบครัวเชื้อสาย Jews มารดาอพยพมาจาก Lithunia บิดาเป็นชาว Ukrainian, หลังกลับจากสงครามโลกครั้งที่สอง ฝึกฝนการแสดงยัง Dramatic Workshop จากนั้นแจ้งเกิดกับละคอนเวที A Shot in the Dark (1960-62)**คว้ารางวัล Tony Award: Best Actor, ภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ A Face in the Crowd (1957), Bigger Than Life (1956), Charade (1963), Fail Safe (1964), The Fortune Cookie (1966)**คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor, The Odd Couple (1968), Hello, Dolly! (1969), The Front Page (1974) ฯ

รับบท Professor Groeteschele ที่ปรึกษาฝั่งพลเรือนของประธานาธิบดี ได้รับเชิญมาร่วมประชุมยัง War Room ณ Pentagon ก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน พยายามแสดงความคิดเห็นส่งเสริม สนับสนุนสงคราม มองวิกฤตเป็นโอกาสกำจัดสหภาพโซเวียต/คอมมิวนิสต์ให้สิ้นสภาพ

เกร็ด: ในต้นฉบับนวนิยายมีการเล่าพื้นหลังของ Dr. Groeteschele ชายชาว German เชื้อสาย Jews อพยพหลบหนี Nazi Germany มาพร้อมกับครอบครัว แล้วได้ทำงานหน่วยข่าวกรอง U.S. Army เป็นผู้สอบปากคำทหารเยอรมันจับกุมได้ในค่ายกักกัน ขณะนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations)

ผมชอบความนิ่งๆ ไม่แสดงปฏิกิริยาสีหน้าของ Matthau ทำให้เวลาพูดมีความหนักแน่น จริงจัง แม้เนื้อหาฟังดูบ้าคลั่ง แต่เต็มไปด้วยเหตุผล หลักการ ซุกซ่อนอารมณ์เกรี้ยวกราด ทั้งบุคลิภาพ/ทัศนคติแตกต่างตรงกันข้ามกับตัวละคร O’Herlihy (ตัวละครที่เป็นตัวแทนฟากฝั่งประชาชน ไม่ใช่ว่าควรแสดงทัศนะต่อต้านสงครามหรอกหรือ แต่เขาคนนี้กลับให้การส่งเสริมสนับสนุนอย่างออกนอกหน้า!) … ในบริบทของหนังพยายามทำให้ผู้ชมรู้สึกโชคดีที่ไม่มีใครยินยอมทำตามความคิดเห็นของ Dr. Groeteschele แต่มุมมองของเขาไม่ถูกต้องจริงๆนะหรือ??

มันอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบตัวละครนี้กับ Dr. Strangelove เพราะต่างเป็นบุคคลสติเฟื่อง สนเพียงชัยชนะสงคราม ผู้คนล้มตายคือเรื่องธรรมดาสามัญ สันติภาพจักเกิดขึ้นเมื่อคอมมิวนิสต์ถูกโค่นล้างเบ็ดเสร็จ … Dr. Strangelove ดูติ๊งต๊อง เหนือจริง จับต้องไม่ได้ (ถือเป็นตัวละครในเชิงสัญลักษณ์) ผิดกับ Dr. Groeteschele มีการแสดงที่เป็นธรรมชาติ แต่ความคิดเห็นต่างๆทำให้ดูอันตราย บุคคลโฉดชั่วร้าย


ถ่ายภาพโดย Gerald Hirschfeld (1921-2017) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City, ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองประจำการหน่วย Army Signal Corps เป็นผู้ช่วย/ควบคุมกล้องให้กับ Leo Tover, Stanley Cortez จากนั้นเริ่มงานถ่ายทำสารคดี With These Hands (1950), ผลงานภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ Fail Safe (1964), Young Frankenstein (1974) ฯ

หลายๆลูกเล่นของงานภาพ ชวนให้ผมนึกถึง 12 Angry Men (1957) ผกก. Lumet ต้องถือว่าโดดเด่นในการสร้างบรรยากาศตึงเครียด กดดัน อัดอั้น (Claustrophobic) เลือกใช้ฟีล์มขาว-ดำ แล้วปรับแต่งภาพให้มีความคมชัดสูง (High Contrast), เงาคมข้ม Sharp Shadows, จัดแสง Low Key, สามารถสื่อถึงเหตุการณ์หายนะ ความมืดมืดที่กำลังคืบคลานเข้ามา

และโดยเฉพาะทิศทางมุมกล้อง ไม่ใช่แค่ระยะภาพใกล้-ไกล หรือการก้ม-เงย บ่อยครั้งยังจัดวางตำแหน่งแปลกๆ ภาพเอียงๆ บิดๆเบี้ยวๆ ดูขัดหูขัดตา แต่มันอาจคือความจงใจให้รู้สึกว่าประดิษฐ์ประดอย ฝืนธรรมชาติ เหมือนบังเกิดความผิดพลาด ‘fali saft’ ขึ้นระหว่างถ่ายทำ

นอกจากอารัมบทที่ออกไปถ่ายทำยังสถานที่จริง (ใน New York City) ฉากหลักๆอย่างห้องหลบภัยใต้ดิน White House, ห้องประชุม War Room ณ Pentagon, หน่วยบัญชาการยุทธศาสตร์ (SAG) และห้องเครื่องนักบิน ล้วนทำการสร้างฉากขึ้นยัง Fox Movietone Studio ตั้งอยู่ Fox East 68th Street, New York City


เริ่มต้นด้วยฝันร้ายของ Brigadier General Black นั่งอยู่ท่ามกลางฝูงชน พบเห็นนักสู้วัว (Matador) กำลังพยายามเข่นฆ่าวัวให้ตกตาย แต่ซีเควนซ์นี้มันช่างผิดแผกแปลกพิศดาร ทั้งๆหนังได้รับการบูรณะแล้วกลับเต็มไปด้วยริ้วรอยขีดข่วน แถมซ้อนภาพทำออกมาไม่แนบเนียน เสียงได้ยินก็มีความอื้ออึงแสบแก้วหู … ทั้งหมดนี้คือความจงใจให้ผู้ชมรับรู้สึกว่ามันคือความผิดพลาด ‘fail safe’

ความฝันนี้ถือเป็นนิมิต ลางสังหรณ์ ซึ่งจะไปล้อกับตอนจบเหตุการณ์บังเกิดขึ้นจริง(ในหนัง) Brigadier General Black ระหว่างขับเครื่องบินทิ้งระเบิดมุ่งสู่ New York City เกิดความตระหนักว่าตนเองไม่ต่างจากนักสู้วัว (Matador) กำลังจะเข่นฆ่ามนุษย์-วัวให้ตกตาย กลายเป็นความคลุ้มบ้าคลั่ง “The dream! The matador! Me!”

ภาพพบเห็นบนจอมอนิเตอร์นั้น ไม่ได้มาจาก “computer-generated” หรือใช้เทคนิคภาพยนตร์อะไรใดๆ แต่เกิดจากการวาดด้วยมือ อนิเมชั่นสองมิติ แนบเนียนสมจริงจนแยกแยะไม่ออก! กล่าวคือนักแสดงจับจ้องมองจอสีขาว แล้วไปลงรายละเอียดเอาภายหลัง Post-Production

ซีเควนซ์ในห้องประชุม War Room ณ Pentagon -ชวนให้นึกถึง 12 Angry Men (1957) อยู่ไม่น้อย- ตั้งโต๊ะรูปตัววี (V) มีการแบ่งแยกบุคคลสองขั้วตรงข้ามออกจากกัน Dr. Groeteschele นั่งอยู่ฟากขวา vs. Brigadier General ยืนอยู่ฝั่งซ้าย ทั้งสองคอยถกเถียง โต้แย้ง แสดงความคิดเห็นแตกต่างตรงกันข้าม โดยบุคคลนั่งอยู่กึ่งกลางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (Defense Secretary) Swenson คือผู้มีอำนาจตัดสินใจ (รองจากประธานาธิบดี)

ในห้องหลบภัยใต้ดิน White House จะมีแค่ประธานาธิบดีและล่ามแปลภาษา Buck แต่การจะถ่ายมุมกล้องเดิมๆซ้ำๆ มันคงน่าเบื่อหน่ายเกินไป ซึ่งถ้าใครสังเกตจะพบเห็นทิศทางมุมกล้อง องค์ประกอบภาพ สะท้อนอำนาจต่อรอง สภาพสิ้นหวังตัวละคร โดยเรายังสามารถเปรียบเทียบล่ามแปลภาษาเป็นตัวแทนผู้นำสหภาพโซเวียตได้ตรงๆเลยละ! … จะไม่มีปรากฎภาพบุคคลปลายสาย

  • ครั้งแรกพูดคุยโทรศัพท์กับผู้นำสหภาพโซเวียต สังเกตการจัดองค์ประกอบภาพ ประธานาธิบดีกับล่ามแปลภาษามีความสมมาตร คนละฟากฝั่ง
  • แต่การคุยครั้งถัดๆมาเริ่มมีการเอนเอียง สลับทิศทาง บางครั้งกล้องค่อยๆเคลื่อนไหลเข้าหาประธานาธิบดี แสดงถึงการค่อยๆสูญเสียอำนาจต่อรอง สร้างความตึงเครียด กดดัน อึดอัดอั้น เหตุการณ์ค่อยๆเลวร้ายลงตามลำดับ
  • ช่วงไคลน์แม็กซ์การต่อรองครั้งสุดท้าย มักถ่ายภาพระยะใกล้ (Close-Up Shot) สลับไปมาระหว่างประธานาธิบดีและล่ามแปลภาษา และพบเห็นใบหน้าครึ่งหนึ่งปกคลุมอยู่ในความมืดมิดตลอดเวลา

ผมไม่ค่อยแน่ใจเรื่องการใช้เลนส์นัก แต่แอบรู้สึกว่าทำออกมาแบบเดียวกับ 12 Angry Men (1957) ในช่วงแรกๆที่เริ่มพูดคุยโทรทัพท์จะมีการใช้เลนส์มุมกว้าง (Wide-Angle) จะนั้นจะค่อยๆปรับระยะเลนส์/ความยาวโฟกัส (Focal Length) เพื่อให้รู้สึกสถานที่แห่งนี้ดูคับแคบลง และเมื่อมาถึงไคลน์แม็กซ์ถ่ายภาพระยะประชิดใกล้ (Close-Up Shot) ด้วยเลนส์ระยะไกล (Telephoto) สร้างความอึดอัด เหมือนถูกบีบรัด

เห็นว่ากองทัพอากาศ (U.S. Air Force) ปฏิเสธให้ความร่วมมือกับหนัง เพราะกลัวจะทำให้ภาพลักษณ์เสียๆหายๆ (เรื่องราวนำเสนอความผิดพลาดทางเทคนิคที่ควบคุมไม่ได้) ด้วยเหตุนี้ทีมงานจึงต้องขุดคุยภาพจาก Archive/Stock Footage และหลายช็อตตอนกลางคืนใช้ภาพถ่ายเนกาทีฟ (Negative) กลับขาวเป็นดำ ดูเหมือนฝันร้ายชัดๆ

ระหว่างที่ Brigadier General Black กำลังเตรียมกดปุ่มปล่อยระเบิดนิวเคลียร์ มีการร้อยเรียงภาพวิถีชีวิต ผู้คนบนท้องถนน มหานคร New York City และเมื่อกดปุ่มจะมีการใช้เทคนิค Zoom-In และ Freeze Frame กับภาพเหล่านั้น (แบบเดียวกับตอนจบของ The 400 Blows (1959)) เพื่อสื่อถึงจุดจบสิ้น หลังจากนี้ไม่หลงเหลืออะไร ทุกสิ่งอย่างราบเรียบเป็นหน้ากลอง ผู้ชมหัวใจหายวาป หล่นลงตาตุ่ม เกิดความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง จากนั้นปรากฎขึ้น Closing Credt และเสียงสัญญาณหัวใจแน่นิ่ง

ตัดต่อโดย Ralph Rosenblum (1925-95) เกิดที่ Manhattan, ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเด็กฝึกงานยัง U.S. Office of War Information ภายใต้ Sidney Meyers และ Helen van Dongen, จากนั้นเธอได้ช่วยตัดต่อ Louisiana Story (1948), ตามด้วยซีรีย์, รายการโทรทัศน์, ได้รับชักชวนจากผกก. Sidney Lemet ร่วมงานกันสี่ครั้ง Long Day’s Journey into Night (1962), Fail-Safe (1964), The Pawnbroker (1964), The Group (1966), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ A Thousand Clowns (1965), The Producers (1967), Love and Death (1975), Annie Hall (1977) ฯ

ในช่วงอารัมบท เริ่มต้นด้วยการแนะนำ 3-4 ตัวละครหลักๆไล่เรียงกันมา พร้อมปรากฎข้อความ (Title Card) บ่งบอกสถานที่และช่วงเวลา

  • Brigadier General Black ตื่นจากฝันร้าย ร่ำลาภรรยาและบุตร จากนั้นขับเครื่องบินสู่ Washington D.C.
  • Professor Groeteschele กล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงปาร์ตี้ แล้วออกเดินทางสู่ Pentagon
  • General Bogan ออกจากหน่วยบัญชาการยุทธศาสตร์ เพื่อไปรับลูกน้องคนสนิท Colonel Cascio
  • หัวหน้านักบิน Colonel Jack Grady ระหว่างรอเที่ยวบิน เล่นสนุ๊กเกอร์ พูดคุยกับลูกน้องมาใหม่

จากนั้นเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ ความผิดพลาดทางเทคนิค การดำเนินเรื่องของหนังจะตัดสลับเวียนวนไปวนมาระหว่าง 3-4 สถานที่ ประกอบด้วย

  • ประธานาธิบดีและล่ามแปลภาษา อยู่ในห้องใต้ดิน White House
  • ห้องประชุม War Room ณ Pentagon ประกอบด้วย Brigadier General Black และ Dr. Groeteschele พูดคุยถกเถียง ให้คำแนะประธานาธิบดีในการตัดสินใจ
  • หน่วยบัญชาการยุทธศาสตร์ (Strategic Air Command, SAC) สำหรับคอยตรวจสอบ บัญชาการการบิน
  • และนานครั้งห้องนักบินเครื่องบินทิ้งระเบิด (Bomber Cockpit หรือ Vindicator Bomber)

ในส่วนของโครงสร้างดำเนินเรื่อง ผมแบ่งการเรื่องราวออกเป็นสี่องก์ ตามระดับรุนแรงของเหตุการณ์ที่มีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ประกอบด้วย

  • อารัมบท, แนะนำตัวละคร สถานที่ และการโต้ถกเถียงทางความคิด
    • แนะนำ 3-4 ตัวละครหลัก
    • การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้อง War Room ณ Pentagon
    • แนะนำหน่วยบัญชาการยุทธศาสตร์ และการมาถึงของ Unidentified Aircraft (UFO)
  • ความผิดพลาดบังเกิดขึ้นได้
    • บังเกิดความผิดพลาดจากสัญญาณสื่อสารขัดข้อง ทำให้เครื่องบินทิ้งระเบิดได้รับมอบหมายภารกิจ ออกเดินทางสู่ Moscow
    • หน่วยบัญชาการยุทธศาสตร์พยายามแก้ไขปัญหาเบื้องต้นแต่ไม่สำเร็จ จนต้องยกระดับเตือนภัยขั้นสูงสุด
    • แจ้งข่าวกับประธานาธิบดี ออกคำสั่งให้ยิงตกเครื่องบินทิ้งระเบิดแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
    • ประธานาธิบดีโทรศัพท์พูดคุยกับผู้นำสหภาพโซเวียตด้วยความปรารถนาดี
  • เมื่อเหตุการณ์เริ่มบานปลาย
    • เครื่องบินรบของสหภาพโซเวียตประสบความล้มเหลวในการโจมตีเครื่องบินทิ้งระเบิด
    • ประธานาธิบดี ยินยอมให้ความร่วมมือทุกวิถีทางกับสหภาพโซเวียต รวมถึงเปิดเผยความลับเกี่ยวกับเครื่องบินทิ้งระเบิด
    • แต่จนแล้วจนรอดก็ยังมีเครื่องบินทิ้งระเบิดลำหนึ่งหลุดรอดพ้นไปได้
  • การตัดสินใจของประธานาธิบดี
    • หลังจากผู้นำสหภาพโซเวียตเดินทางสู่สถานที่ปลอดภัย ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจึงแลกเปลี่ยนข้อเสนอเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลายสู่สงครามโลกครั้งที่สาม
    • และเมื่อระเบิดนิวเคลียร์ถูกทิ้งลง Moscow ก็ถึงคราของ New York City ด้วยเช่นเดียวกัน!

ลีลาการตัดต่ออาจไม่ได้แพรวพราว ระทึกขวัญเทียบเท่า Dr. Strangelove (1964) แต่ถือว่ามีการลำดับเรื่องราว สร้างสัมผัสทางอารมณ์ กดดัน บีบเค้นขั้น สลับไปมาระหว่าง 3-4 สถานที่ได้อย่างลื่นไหล ต่อเนื่อง ดูเป็นธรรมชาติ … หลายคนอาจเข้าใจผิดๆว่า Fail Safe (1964) ได้แรงบันดาลใจลีลาตัดต่อจาก Dr. Strangelove (1964) จริงๆแล้วทั้งสองเรื่องต่างรับอิทธิพลยุคสมัย Soviet Montage ตั้งแต่หนังเงียบโน่นเลย!


ดั้งเดิมนั้น Hal Schaefer (1925-2012) นักแต่งเพลง American Jazz ได้รับการว่าจ้างให้ทำเพลงประกอบ แต่แล้วผกก. Lumet กลับเปลี่ยนใจกลางคัน เลือกที่จะไม่แทรกใส่บทเพลงใดๆ เพื่อสร้างบรรยากาศตึงเครียด กดดัน นั่นทำให้ Schaefer ตัดสินใจออกอัลบัม Fail Safe Parts 1 and 2 บรรเลงโดย The Hal Schaefer Quintet ลองรับฟังแล้วอาจจะเข้าใจว่าทำไมถึงถูกตัดทิ้ง

มองผิวเผิน Fail Safe (1964) นำเสนอเรื่องราวความผิดพลาดทางเทคนิค อุปกรณ์สื่อสารขัดข้อง นำสู่เหตุการณ์ไม่คาดฝัน เครื่องบินทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ออกเดินทางสู่ Moscow ส่งผลกระทบเลวร้าย หายนะต่อมนุษยชาติ และความเป็นไปได้ของสงครามโลกครั้งที่สาม … เพื่อสร้างความตระหนักว่าเราไม่ควรพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่มากจนเกินไป!

แม้หายนะดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากอุปกรณ์สื่อสาร ความขัดข้องทางเทคนิค แต่มันไม่ใช่ปัญหาของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว! ยังรวมถึงความผิดพลาดมนุษย์ ไม่เคยครุ่นคิดแผนสำรอง มาตรการใดๆมารองรับเหตุหายนะ เพียงแต่วิธีทำลายล้างศัตรูให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่านั้น!

ความผิดพลาดมนุษย์ใน Fail Safe (1964) ผมยังเหมารวมถึงการตัดสินใจของประธานาธิบดี ที่ทำการแลกเปลี่ยนประชาชนกว่าสิบล้านคนใน New York City บริบทของหนังอาจฟังดูสมเหตุสมผล “ยื่นหมูยื่นแมว” แต่นั่นไม่ใช่วิถีอารยชน ไม่สนความเป็นมนุษย์ … วิธีการดังกล่าวไม่แตกต่างจาก Adolf Hitler เข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาว Jews

ผมเชื่อว่าผู้ชมส่วนใหญ่สามารถครุ่นคิดเองได้ (อาจยกเว้นชาวอเมริกัน) ไม่มีผู้นำประธานาธิบดี(สหรัฐอเมริกา)คนไหน จะยินยอมรับเสียสละผลประโยชน์ตนเอง/ประเทศชาติ เพื่อความสงบสุขสันติภาพของโลก! เพราะตั้งแต่ทศวรรษ 60s ที่ความคอรัปชั่นเริ่มได้รับการเปิดเผย เปิดโปง เต็มไปด้วยขยะซุกซ่อนใต้พรม ถ้าเกิดความผิดพลาดคล้ายๆเหตุการณ์ในหนัง ใครไหนกันจะยินยอมรับผิดชอบ วิธีแก้ปัญหาจักเป็นแบบคำตอบของ Dr. Groeteschele มองวิกฤตเป็นโอกาส กำจัดศัตรู สหภาพโซเวียต/คอมมิวนิสต์ให้พ้นภัยพาล … มันไม่ใช่ว่าผมมองโลกในแง่ร้าย แต่มันคือวิถีของประเทศเรียกตนเองว่า ‘หมาอำนาจ’

ผมรู้สึกว่าผกก. Lumet ไม่เคยก้าวข้ามจุด ‘Fail Safe’ ถ้าให้ถูกต้องเรียกว่า ‘Safe Zone’ มักเลือกผลงานที่ไม่เกินศักยภาพของตน ก่อนเริ่มต้นโปรดักชั่นทุกครั้ง จะมีการซักซ้อม เตรียมความพร้อม (Rehearsal) จนแทบไม่หลงเหลือโอกาสให้กับความผิดพลาด … เวลาถ่ายทำจริงมันอาจมีเหตุการณ์ขัดข้องทางเทคนิค แต่ก็ล้วนอยู่ภายใต้การควบคุม ไม่เคยใช้งบเกิน หรือล่วงเลยแผนการทำงาน

สำหรับผลงาน Fail Safe (1964) มันไม่ใช่ความผิดพลาดทางเทคนิค แต่ผมมองว่าผกก. Lumet ล้มเหลวกับการเลือกทิศทางหนัง บรรยากาศตึงเครียดทำให้ผู้ชมรู้สึกหวาดกังวล วิตกจริต ตระหนักถึงภัยสงครามเย็นก็จริง! แต่การตัดสินใจของประธานาธิบดี ทำให้เหตุการณ์จริงจังดูตลกขบขัน เพ้อเจ้อไร้สาระ ขัดย้อนแย้งกันเอง เลวร้ายคือผู้ชม(อเมริกัน)หลงเชื่อสนิทใจ ว่านั่นคือหนทางออกถูกต้องเหมาะสมที่สุด


การที่ Fail Safe (1964) เข้าฉายภายหลัง Dr. Strangelove (1964) ทำให้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากๆ

  • Dr. Strangelove (1964) เข้าฉายมกราคม สามารถทำเงิน $9.2 ล้านเหรียญ และได้เข้าชิง Oscar จำนวนสี่สาขา
  • Fail Safe (1964) เข้าฉายเดือนตุลาคม ทำเงินได้เพียง $1.8 ล้านเหรียญ และหลุดโผไม่มีลุ้นเข้าชิง Oscar

ความเจิดจรัสของ Dr. Strangelove (1964) บดบัง Fail Safe (1964) จนแทบจะเลือนหายตามกาลเวลา จนกระทั่ง Sony Pictures Entertainment ทำการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 4K เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2018 แต่ก็สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray ของค่าย Criterion Collection ได้รับสิทธิ์จัดจำหน่ายตั้งแต่ ค.ศ. 2020

This new 4K digital restoration was undertaken by Sony Pictures Entertainment, with restoration cervices provided by Cineric in New York. A new digital transfer was created at Cineric on the facility’s proprietary 4K high-dynamic-range wet-gate film scanner, primarily from the 35mm original camera negative. The original monaural soundtrack was remastered at Deluxe in Hollywood, under the supervision of Bob Simmons.

Transfer supervisor: Grover Crisp/Sony Pictures Entertainment.
Colorist: Sheri Eisenberg/Roundabout Entertainment, Burbank, CA.

ส่วนตัวชื่นชอบหนังประมาณ 80% ประทับใจในบรรยากาศตึงเครียด กดดัน อัดอั้น (Claustrophobic) หลายๆวิธีการของผกก. Lumet ช่างละม้ายคล้ายกับ 12 Angry Men (1957) แต่พอถึงไคลน์แม็กซ์ การตัดสินใจของประธานาธิบดี ทำให้ผมโคตรๆหงุดหงิด หัวเสีย นั่นไม่ใช่สามัญสำนึก วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องเลยสักนิด!

เอาจริงๆภาพยนตร์ที่ทำให้เกิดการโต้ถกเถียงอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ ล้วนมีความทรงคุณค่าด้วยกันทั้งนั้น ผมไม่ได้กีดกั้นว่าห้ามดูหนังเรื่องนี้ แต่พยายามชี้ให้เห็นถึงแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง ถ้าบิดาพลั้งพลาดทำให้บุตรชายเพื่อนเสียชีวิต เขาควรเข่นฆ่าของบุตรตนเองเพื่อชดใช้ความผิด จริงๆนะหรือ??

จัดเรต 15+ กับบรรยากาศสงครามเย็น ตึงเครียด กดดัน อุดมการณ์สุดโต่งเกินไป

คำโปรย | Fail Safe ไม่ใช่แค่ความผิดพลาดทางเทคนิค แต่ยังล้มเหลวเพราะอุดมการณ์สุดโต่งเกินไป
คุณภาพ | อุดมการณ์สุดโต่ง
ส่วนตัว | ล้มเหลว

Russkij kovcheg (2002)


Russian Ark (2002) USSR : Alexander Sokurov ♥♥♡

เตรียมงานสร้างสี่ปี สำหรับถ่ายทำเพียงหนึ่งวัน ผิดพลาดได้สี่ครั้ง เพื่อภาพยนตร์เทคเดียว ‘Single Take’ ความยาว 87 นาที! นำเสนอผ่านมุมมองวิญญาณล่องลอย เดินทางข้ามกาลเวลา ประวัติศาสตร์รัสเซียยาวนานกว่า 300+ ปี สำหรับประชาสัมพันธ์ Hermitage Museum ตั้งอยู่ St. Petersburg

แม้ในอดีตเคยมีภาพยนตร์ ‘Single Take’ อย่าง Rope (1948), Empire (1965), Running Time (1997), Time Code (2000) แต่ทุกเรื่องต่างมีข้อจำกัดของฟีล์มภาพยนตร์ ใครช่างสังเกตจะพบเห็นการตัดต่อ(อย่างแนบเนียน)เพื่อเชื่อมโยงระหว่างซีเควนซ์ ไม่สามารถถ่ายทำตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดได้ในครั้งคราเดียว

Russian Ark (2002) ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของโลก ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีกล้องดิจิทอล สามารถถ่ายทำ ‘Single Take’ ความยาว 87 นาที (ไม่รวมเครดิต 96 นาที) โดยไม่มีการตัดต่อหรือ ‘improvised’ สักครั้งเดียว!

If cinema is sometimes dreamlike, then every edit is an awakening. “Russian Ark” spins a daydream made of centuries.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนนเต็ม 4/4

ระหว่างปรับปรุงบทความ Last Year at Marienbad (1961) ผมก็ระลึกนึกถึง Russian Ark (2002) เพราะต่างเป็นภาพยนตร์ละเล่นกับ ‘Space & Time’ กล้องเคลื่อนไหลราวกับกาลเวลาดำเนินไป ในสถานที่แห่งนี้ อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ผสมผสานคลุกเคล้ากันอย่างลงตัว

แนวคิดของ Russian Ark (2002) คล้ายๆแบบเรือโนอาห์ (Noah’s Ark) ถ้าอนาคตโลกต้องจมอยู่ใต้บาดาล ภาพยนตร์เรื่องนี้เปรียบดั่ง ‘Time Capsule’ เก็บบันทึกประวัติศาสตร์รัสเซียตั้งแต่ยุคสมัย Peter the Great, Catherine the Great, Tsar Nicholas I & II, มาจนถึง Joseph Stalin ด้วยการรวบรวมผลงานศิลปะ-วัฒนธรรม จิตรกรรม ประติมากรรม เสื้อผ้าแฟชั่น รวมถึงบทเพลงแต่ละยุคสมัย ผสมผสานคลุกเข้าในพระราชวัง Winter Palace ตั้งอยู่ใน Russian State Hermitage Museum


Alexander Nikolayevich Sokurov, Александр Николаевич Сокуров (เกิดปี ค.ศ. 1951) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Russian เกิดที่ Podorvikha, Irkutsky District ในครอบครัวรับราชการทหาร สำเร็จการศึกษาคณะประวัติศาสตร์จาก Nizhny Novgorod University ต่อด้วยโรงเรียนสอนภาพยนตร์ Gerasimov Institute of Cinematography (VGIK) รับอิทธิพลจาก Andrei Tarkovsky ลุ่มหลงใหลโดยเฉพาะ The Mirror (1975), ผลงานช่วงแรกๆเริ่มจากถ่ายทำสารคดี เริ่มมีชื่อเสียงจาก Mournful Unconcern (1983) [ถูกแบนในรัสเซียจนถึงปี ค.ศ. 1987], Mother and Son (1997), Moloch (1999), Taurus (2001), Russian Ark (2002), Father and Son (2003), The Sun (2005), Faust (2011)**คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice

ช่วงปี ค.ศ. 1997, ผกก. Sokurov บังเกิดแนวคิดอยากถ่ายทำสารคดี บันทึกภาพ The State Hermitage Museum, Государственный Эрмитаж พิพิธภัณฑ์ศิลปะและวัฒนธรรมของรัสเซีย ตั้งอยู่ยัง Saint Petersburg สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1764 ในรัชสมัย Empress Catherine the Great (1729-96, ครองราชย์ 1762-96)

นำแนวคิดดังกล่าวไปพูดคุยโปรดิวเซอร์ Jens Meurer แล้วยังเสนอด้วยว่าอยากใช้กล้องดิจิทอล (Digital Camera) ถ่ายทำเพียงเทคเดียว ‘Single Take’ ฟังดูคาดว่าคงเป็นโปรเจคง่ายๆ ใช้เวลาไม่มาก งบประมาณก็ไม่น่าจะเยอะเท่าไหร่ แต่ที่ไหนได้พอเริ่มเตรียมงานสร้าง กลับต้องเสียเวลายาวนานถึง 4 ปี สำหรับการถ่ายทำเพียงหนึ่งวัน (ทีแรกพิพิธภัณฑ์จะให้เวลาผกก. Sokurov จำนวนสองวัน แต่เขากลับตอบปฏิเสธเพราะไม่ต้องการให้ปิดหลายวัน)

It turned out to be not just a small documentary of life in the Hermitage Museum, but a full-blown feature film

Jens Meurer

ทุกรายละเอียดของ Russian Ark (2002) ผกก. Sokurov มีการครุ่นคิดวางแผน พัฒนาบทร่วมกับนักเขียน Anatoli Nikiforov โดยนำแรงบันดาลใจไกด์ทัวร์ยุโรป (the European) มาจากผู้ดีฝรั่งเศส Marquis de Custine เคยเดินทางมาท่องเที่ยวเยี่ยมชม Winter Palace เมื่อปี ค.ศ. 1839 เขียนบอกเล่าในหนังสือ La Russie en 1839 (1843) ซึ่งเต็มไปด้วยถ้อยคำดูถูกเหยียดหยาม ถากถางอารยธรรมรัสเซียมีความป่าเถื่อน (Barbarism) เพราะ(ยุคสมัยนั้น)ถือกันว่าดินแดนแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย ไม่ใช่ชนชั้นสูง/ผู้ดีมีสกุลอย่างพวกยุโรป


ยามบ่ายวันหนึ่งในช่วงฤดูหนาว เสียงบรรยาย (ให้เสียงโดยผู้กำกับ Alexander Sokurov) เริ่มต้นด้วยความสับสน นี่ฉันเป็นใคร? สถานที่นี้คือแห่งหนไหน? พบเห็นคนหนุ่มสาวสวมชุดแฟชั่นศตวรรษที่ 19 กำลังลงจากรถม้า เดินเข้ามาพระราชวัง Winter Palace เขาจึงตัดสินใจออกติดตามไปไม่นานพบเจอชายชาวฝรั่งเศส Marquis de Custine (รับบทโดย Sergey Dreyden) บุคคลเดียวที่สามารถพูดคุยสื่อสาร (สบตาหน้ากล้อง) รับรู้การมีตัวตนของเสียงผู้บรรยาย

จากนั้นกล้องและไกด์พากันออกเดินไปยังห้องหับต่างๆ พบเห็น Peter the Great กำลังคุกคามลูกน้อง, การแสดงอุปรากรในยุคสมัย Catherine the Great, ห้องสะสมงานศิลปะ จิตรกรรม ประติมากรรม, ชายคนหนึ่งกำลังทำโลงศพช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง, Tsar Nicholas I ได้รับจดหมายขอโทษอย่างเป็นทางการจาก Shah of Iran, ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์พร่ำบ่นถึงการบูรณะพิพิธภัณฑ์ในยุคสมัย Joseph Stalin, กระบวนแถวของ Imperial Guard เตรียมการเผชิญหน้า Napolean, วิถีชีวิตอันฟู่ฟ่าของ Tsar Nicholas II และปิดท้ายด้วยงานเต้นรำในห้องโถง Nicholas Hall

สุดท้ายกล้องก็ร่ำลาจาก Marquis de Custine แล้วเคลื่อนตามฝูงชนระหว่างกำลังแยกย้ายเดินลงบันได Jordan Staircase แต่ทันใดนั้นพอดำเนินมาถึงบริเวณหน้าต่าง มองออกไปภายนอกกลับพบเห็นท้องทะเลยามค่ำคืน (จริงๆคือแม่น้ำ River Neva) สรุปแล้วสถานที่แห่งนี้คือแห่งหนไหนกัน?


ถ่ายภาพโดย Tilman Büttner (เกิดปี ค.ศ. 1964) ตากล้องสัญชาติ German, สำเร็จการศึกษาด้านการถ่ายภาพจาก Filmuniversität Babelsberg Konrad Wolf, เคยทำงานเป็นผู้ช่วย Frank Griebe ถ่ายทำภาพยนตร์ Run Lola Run (1998), โด่งดังจาก Russian Ark (2002) ด้วยการแบกกล้อง Steadicam น้ำหนักกว่า 35 กิโลกรัม (ไม่นับรวม Hard Disk และเครื่องบันทึกเสียงที่ให้ผู้ช่วยแบกติดตาม) ออกเดินรอบ 33 ห้องโถงของ Hermitage Museum ระยะเวลา 87 นาที รวมระยะทางประมาณ 1.3 กิโลเมตร

ในตอนแรกผกก. Sokurov อยากจะแค่ใช้กล้อง Mini-DV ซึ่งมีขนาดเล็ก ราคาย่อมเยา น้ำหนักเบา แต่คุณภาพก็ตามสภาพราคา บังเอิญว่า Büttner รับรู้จักเพื่อนในบริษัท Sony จึงสามารถติดต่อขอใช้กล้องดิจิทอลคุณภาพดีที่สุดขณะนั้นรุ่น Sony HDW-F900 เชื่อมต่อกับ Hard Disk ขนาด 1 Terabytes สามารถบันทึกภาพแบบ uncompressed HD ได้ประมาณ 100 นาที

Büttner เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมกับโปรเจคภายหลังบทหนังพัฒนาแล้วเสร็จ ซึ่งระหว่างการซักซ้อมเตรียมการ (Rehearsal) เขาก็ค้นพบว่าไม่มีทางที่กล้องจะสามารถเก็บรายละเอียดทั้งหมด ผกก. Sokurov จึงมอบอิสระในการบันทึกภาพ

You are the camera. You have the camera and you have the freedom.

Alexander Sokurov

ประมาณเจ็ดสัปดาห์ก่อนถึงวันถ่ายทำจริง Büttner ใช้เวลาปักหลักอยู่ Hermitage Museum เพื่อทำการซักซ้อม ทดลองเดินตามเส้นทางวางแผนไว้ สิ่งท้าทายคือการจัดแสงที่ต้องหาตำแหน่งหลบซ่อนไม่ให้ถ่ายติดเบื้องหน้า ส่วนสายไฟระโยงระยางค่อยไปแก้ปัญหาตอน Post-Production ลบเลือนภายหลังด้วย CGI (Computer Graphic)

วันถ่ายทำจริง 23 ธันวาคม ค.ศ. 2001 มีเวลาเตรียมการไม่ถึงครึ่งวัน (ตั้งแต่พิพิธภัณฑ์ปิดให้บริการ) เหลืออีกเพียงสี่ชั่วโมงสำหรับถ่ายทำ เพราะแสงธรรมชาติภายนอกหลงเหลือไม่มากนัก (และแบตเตอรี่ก็ใช้งานได้ประมาณ 4 ชั่วโมงเช่นกัน) เทคแรกถ่ายทำได้ประมาณ 5 นาทีก็ต้องยุติลงเพราะความผิดพลาดบางอย่าง เทคสอง-สามก็เช่นเดียวกัน โชคดีว่าเทคสุดท้าย(ที่สี่) สามารถถ่ายทำติดต่อเนื่องจนเสร็จสิ้นได้พอดี (ใครช่างสังเกตจะพบเห็นนักแสดงหันมาสบตาหน้ากล้องบ่อยครั้ง ซึ่งนั่นก็ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้)

ในส่วนของ Post-Production หลังจากได้ไฟล์ uncompressed HD ความยาว 87 นาที ก็ต้องใช้ CGI เข้ามาลบสิ่งส่วนเกิน สายเคเบิ้ล อุปกรณ์เครื่องใช้อื่นๆ จากนั้นนำแต่งเต็มเอ็ฟเฟ็ก หมอก หิมะ ท้องทะเล ปรับโฟกัส-คมชัด แสงสีสัน ใครช่างสังเกตอาจพบเห็นการเร่ง-ลดความเร็ว เพื่อให้เกิดความลื่นไหลระหว่างห้องหับ

ปล. หลายสำนักมีการประเมินว่าหนังใช้ทีมงาน นักแสดง ตัวประกอบไม่ต่ำกว่า 2,000 คน บางแหล่งข่าวคาดการณ์สูงถึง 4,500 คน แต่จากบทสัมภาษณ์ของ Büttner ได้ให้ตัวเลขแท้จริงน่าจะประมาณนี้

There were 1,300 extras and 186 actors. My crew included 10 for the camera and recording system, 14 lighting men, and 22 assistant directors. The ADs were most important because they rehearsed with the single actors and extras in factory hall, never in the Hermitage. I want to clarify that when we said that we didn’t have a rehearsal that means no full dress rehearsal. The dancing, the waltz, the hundreds of people at the ball, these were rehearsed with the AD.

Tilman Büttner

ในส่วนของเพลงประกอบ แน่นอนว่าต้องนำจากคีตกวีสัญชาติรัสเซีย ทั้งหมดดังขึ้นในลักษณะ ‘diegetic music’ (แต่ไม่แน่ว่าอาจเพิ่มเติมเข้าไปภายหลัง Post-Production) เรียบเรียงขึ้นใหม่โดย Sergey Yevtushenko บรรเลงโดย The State Hermitage Orchestra (ยกเว้น Mazurka บรรเลงโดย Mariinsky Theatre Orchestra) ประกอบด้วย

  • Mikhail Glinka: Mazurka (องก์สอง) จากอุปรากรโศกนาฎกรรมสี่องก์ A Life For The Tsar (1836)
  • Mikhail Glinka: Nocturne in E flat (1828)
  • Georg Philipp Telemann: Aria in G Major ท่อนที่ห้าจาก Ouverture in G Major (1765)
  • Henry Purcell: King Arthur, or The British Worthy (1691) กึ่งอุปรากรห้าองก์ (Semi-Opera) นำแรงบันดาลใจจากตำนาน King Arther
  • Pyotr Ilyich Tchaikovsky: Old French Song Op.39, No.16 จากทั้งหมด 24 เพลงของ Children’s Album, Op.39 (1878)

แต่ว่ากันตามตรง บทเพลงทั้งหมดที่ผกก. Sokurov เลือกมานี้ค่อนข้างน่าผิดหวังพอสมควร มันยังมีโคตรบทเพลงจากโคตรคีตกวีรัสเซียอีกมากมายที่เคยทำให้โลกตกตะลึง แต่ผมกลับไม่ค่อยรับรู้จักบทเพลงจากรายการนี้สักเท่าไหร่ อย่างน้อยที่สุดสมควรต้องมี The Mighty Five ห้าอัครบุคคล/ห้าคีตกวียิ่งใหญ่ที่สุดแห่งรัสเซีย Mily Balakirev, César Cui, Modest Mussorgsky, Nikolai Rimsky-Korsakov, Alexander Borodin ไม่มีเอ่ยกล่าวถึงสักนามเดียว (ผมหงุดหงิดที่สุดก็คือไม่มีคีตกวีคนโปรด Sergei Rachmaninoff)

ผมนำหนึ่งในบทเพลงที่ดังขึ้นระหว่างงานเลี้ยงเต้นรำ Mazurka, Мазурка จากอุปรากรสี่องก์ A Life For The Tsar, Жизнь за царя (1836) ประพันธ์โดย Mikhail Ivanovich Glinka (1804-57) คีตกวีสัญชาติรัสเซียคนแรกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ได้รับยกย่องกล่าวขวัญให้เป็น “Fountainhead of Russian classical music”

เกร็ด: เมื่อปี ค.ศ. 1913, Tsat Nicholas II จัดงานเต้นรำ (Grand Court Ball) ครั้งสุดท้ายในห้องโถง Nicholas Hall ก่อนการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และพระองค์ถูกยึดอำนาจหลังจากนั้น ห้องโถงแห่งนี้จึงไม่เคยถูกใช้จัดงานเต้นรำอีกเลยจนกระทั่งภาพยนตร์เรื่องนี้ … แต่สังเกตจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ย้อนยุคไปศตวรรษที่ 19th รัชสมัย Alexander I (1777-1825, ครองราชย์ 1801-25)

แถมให้อีกบทเพลงเพราะๆ Nocturne in E flat (1828) ประพันธ์โดย Mikhail Glinka, บรรเลงโดย Sergey Yevtushenko ดังขึ้นช่วงท้ายพร้อมกับ Closing Credit ใครรับรู้จักบทเพลงแนว Nocturne คีตกวีได้แรงบันดาลใจจากยามค่ำคืน มืดมิด มองไม่พบเห็นอะไร เปรียบดั่งชีวิตล่องลอยไร้จุดมุ่งหมาย ความตายกำลังใกล้เข้ามาเยี่ยมเยือน

เกร็ด: บทเพลงแนว Nocturne โด่งดังที่สุดน่าจะคือ Chopin: Nocturne Op.9 No.1&2 (โปรดปรานเป็นการส่วนตัว), Op.27 No.2 (น่าจะโด่งดังที่สุด) และ No.20 in C Sharp Minor (Chopin ไม่เคยตีพิมพ์เพลงนี้ในช่วงชีวิต แต่มีท่วงทำนองหดหู่สิ้นหวังที่สุด)

ภาพยนตร์ Russian Ark (2002) เปรียบดั่งเรือโนอาร์ (Noah’s Ark) ทำการรวบรวมประวัติศาสตร์รัสเซีย บุคคลสำคัญ ศิลปะ-วัฒนธรรม บทเพลง แฟชั่น ผสมผสานคลุกเคล้าในพระราชวัง Winter Palace เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสชื่นเชยชม

แต่ให้ตายเถอะโรบิน สิ่งที่ผกก. Sokurov พยายามผสมผสานคลุกเคล้าในภาพยนตร์เรื่องนี้ แม้งโคตรจะมั่วซั่ว หลายสิ่งอย่างไม่ได้สลักสำคัญประการใด เพียงเหตุการณ์ที่ผู้สร้างสนใจ นำมาปู้ยี้ปู้ยำ ทำเหมือนต้มยำ สร้างความเอือมระอาให้นักประวัติศาสตร์ หาความถูกต้องไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ (แค่โปรดักชั่นราคาแพงเท่านั้นเอง)

นี่ชวนให้ผมระลึกนึกย้อนไปถึงภาพยนตร์ October: Ten Days That Shook the World (1928) ของปรมาจารย์ผู้กำกับ Sergei Eisenstein (และ Grigori Aleksandrov) มันมีความจำเป็นที่หนังอ้างอิงประวัติศาสตร์ (Historical) ต้องนำเสนอเหตุการณ์บังเกิดขึ้นจริงอย่างตรงไปตรงมาด้วยหรือ? ไม่ใช่ว่าภาพยนตร์ควรสะท้อนมุมมอง ความคิดเห็น สิ่งที่ผู้สร้างสนใจหรอกฤๅ?

ผมสังเกตหลายๆเรื่องราวมักนำเสนอ ‘มุมมืด’ ของรัสเซีย (เหตุการณ์ทั้งหมดก็บังเกิดขึ้นในพระราชวัง Winter Palace) และทำการวิพากย์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาของไกด์/คนนอก Marquis de Custine อาทิ

  • Peter the Great กำลังคุกคามลูกน้อง
  • ความหรูหร่าฟู่ฟ่าในรัชสมัย Catherine the Great
  • Marquis de Custine วิพากย์วิจารณ์งานศิลปะรัสเซีย ลอกเลียนแบบมาจากยุโรปทั้งนั้น
  • คนทำโลงศพสำหรับสงครามโลกครั้งที่สอง
  • ลูกหลานของ Tsar Nicholas II วิ่งเล่นอย่างสนุกสนาน ขัดแย้งกับชาวรัสเซียขณะนั้นกำลังตกทุกข์ยากลำบาก
  • และภาพสุดท้ายของหนัง ยามค่ำคืน พื้นผิวน้ำดูเย็นยะเยือก ราวกับล่องลอยคออยู่ในมหาสมุทร (แบบเดียวกับเรือ Noah’s Ark)

Russian Ark (2002) มันก็คือการปู้ยี้ปู้ยำประวัติศาสตร์ของผกก. Sokurov นำเสนอสิ่งที่เจ้าตัวอยากเก็บบันทึกไว้ใน ‘Time Capsule’ และเพื่อสร้างประสบการณ์ ‘virtual tour’ ในรูปแบบภาพยนตร์ (ยุคสมัยนี้ก็คล้ายๆนิทรรศการออนไลน์ Google Arts & Culture ลองคลิกเข้าไปเล่นดูนะครับ)

I’m no theoretician, I’m a practical director. I have never had any desire to uncover anything new. This idea of the long, unbroken shot has existed for years. I never do anything new…I am interested only in classical form and content. In the professional world, much of the art has been utterly forgotten and therefore my conduct is sometimes seen as radical, but it’s simply that I remember a lot… the very fact of art itself is unshakeable; art was perfected long ago. Here, shooting in a single take is an achievement in formal terms, but more than that it is a tool with the aid of which a specific artistic task can be resolved.

Alexander Sokurov

เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes ถึงแม้ไม่ได้รางวัลอะไรติดไม้ติดมือกลับมา แต่คำโปรย ‘Single Take’ ทำให้มีโอกาสเข้าฉายตามเทศกาลต่างๆทั่วโลก ด้วยทุนสร้างประมาณ $2.5 ล้านเหรียญ สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกา $3 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $8.69 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในฐานะหนัง Art-House

I just love Russian Ark. I almost cried at the end of the film, it was so beautiful.

ผู้กำกับ Alejandro Gonzalez Inarritu

Russian Ark is one of my favorite films. It’s one shot. He only did three takes; the first two stopped after 20 minutes because there were mistakes but the last take went right through to the end. The cameraman almost died using the steadicam; it was an extraordinary experience.

ผู้กำกับ Steven Spielberg

In logistics alone — how to keep the camera moving, the crowds of costumed extras swirling, and the dialogue between the foreground characters flowing without a single cut — the film is some kind of masterpiece of movie engineering.

นักวิจารณ์ Dave Kehr

Russian Ark is a magnificent conjuring act, an eerie historical mirage evoked in a single sweeping wave of the hand by Alexander Sokurov… These keyhole flashes from the past evoke a sense of history that is at once intimate and distanced, and ultimately sad: so much life, so much beauty, swallowed in the mists of time.

นักวิจารณ์ Stephen Holden

ด้วยความที่หนังถ่ายทำด้วยกล้องดิจิทอล จึงไม่มีความจำเป็นต้องผ่านการบูรณะใดๆ ใครติดตามหา Blu-Ray ผมเห็นแต่ของค่าย Kino Lorber คุณภาพ HD (High-Definition) วางจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2013 แต่ถ้าใครอยากรับชมเบื้องหลัง ต้องหาจาก DVD ของ Artificial Eye และ Wellspring

นอกจากความน่าตื่นตาตื่นใจในโปรดักชั่น งานสร้าง ผลสำเร็จของ ‘Single Take’ ไทม์แคปซูล/เรือโนอาร์แห่งประวัติศาสตร์รัสเซีย หนังไม่ได้มีอะไรให้กับผู้ชม(ที่ไม่ใช่ชาวรัสเซีย)มากไปกว่าความประทับใจแรก ‘First Impression’ และประสบการณ์ ‘virtual tour’ พิพิธภัณฑ์ The State Hermitage Museum

ผมเคยรับชม Russian Ark (2002) ตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย หวนกลับมาคราวนี้หาวแล้วหาวอีก เหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่าย รู้สึกเลอะเทอะ เละเทะ แต่ละเหตุการณ์นำเสนอไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจ ปู้ยี่ปู้ยำจนหนังแทบไม่หลงเหลือมูลค่าใดๆทางประวัติศาสตร์

เผื่อใครสนใจอยากรับชมภาพยนตร์ที่ดูเหมือนถ่ายทำเพียง ‘Single Take’ แนะนำให้หาชม Fish & Cat (2013), Agadam (2013), Birdman (2014), Victoria (2015), Utøya: July 22 (2018), Blind Spot (2018), 1917 (2019) ฯลฯ

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | Russian Ark เรือโนอาห์ของรัสเซีย อาจมีเทคเดียวที่น่าตื่นตาตื่นใจ แต่การปู้ยี้ปู้ยำประวัติศาสตร์ของผู้กำกับ Alexander Sokurov ผลลัพท์ช่างเลอะเทอะ เละเทะ จมดิ่งสู่ก้นเบื้องมหาสมุทร
คุณภาพ | ตื่นตาตื่นใจ
ส่วนตัว | เลอะเทอะ เละเทะ

The Rocky Horror Picture Show (1975)


The Rocky Horror Picture Show (1975) British, hollywood : Jim Sharman ♥♥

โคตรหนังคัลท์ที่ยังคง(เฉิด)ฉายมาจนถึงปัจจุบัน ชักชวนให้วัยรุ่น คนหนุ่ม-สาว ได้เรียนรู้ เข้าใจตัวตนเอง ค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศ ปลดปล่อยน้ำกาม เปียกปอน ชุ่มฉ่ำ ความบันเทิงของชาว LGBTQIAN+

แม้ว่าเมื่อตอนออกฉาย The Rocky Horror Picture Show (1975) จะได้เสียงตอบรับต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ขาดทุนย่อยยับเยิน! แต่ปีถัดมาหลังกลายเป็นโปรแกรมรอบดึก (Midnight Movie) ณ โรงภาพยนตร์ Waverly Theater, New York City กระแสปากต่อปาก โดยเฉพาะวัยรุ่น คนหนุ่ม-สาว กอปรกับยุคสมัยที่กำลังเปิดกว้างเรื่องเพศ Sexual Revolution (1960s-70s) ทำให้ปีแล้วปีเล่า ยังมีผู้คนซื้อตั๋วเข้าชม จนกลายเป็นประเพณี วัฒนธรรมที่ชาว LGBTQIAN+ จะมาปลดปล่อย ค้นพบตัวตนเอง จนถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2023 ผ่านมา 48 ปี สตูดิโอ 20th Century Fox ขายกิจการให้ Walt Disney ก็ยังคงอนุญาตให้ฉายติดต่อเนื่อง … กลายเป็นภาพยนตร์ที่มีการฉายติดต่อเนื่อง(แบบจำกัดโรง)ยาวนานที่สุดตลอดกาล!

ผมไม่ได้มีอคติอะไรกับ Transvestite แต่การรับชม The Rocky Horror Picture Show (1975) กลับรู้สึกเหมือนโดนพ่นน้ำกามใส่หน้า ไม่พบเห็นอะไรไปมากกว่าการปลดปล่อย(ทางอารมณ์)ของผู้สร้าง บีบบังคับให้(ผู้ชม)เข้าร่วมลัทธินอกรีต มั่วกาม ชายก็ได้-หญิงก็ดี ขอแค่มีรูให้บดขยี้ ป่นปี้ แม้งโคตรไร้สาระ คุณธรรมต่ำตม ‘bad taste’ ยิ่งเสียกว่าภาพยนตร์ของผกก. John Waters

แต่ผมก็เข้าใจเช่นเดียวกันว่า The Rocky Horror Picture Show (1975) เป็นภาพยนตร์ที่อาจทำให้หลายคนได้เรียนรู้ เข้าใจตัวตนเอง ค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศ ก้าวออกมาจากตู้เสื้อผ้า (ตู้เสื้อผ้าคือสัญลักษณ์การปกปิด ซุกซ่อนรสนิยมทางเพศ) ด้วยวิธีการที่ถูกโต้ถกเถียงอย่างกว้างขวางว่า ‘บีบบังคับข่มขืนใจ’ หรือตัวละคร ‘สมยินยอม’ ลองผิดลองถูกในการร่วมเพศสัมพันธ์

ถึงส่วนตัวจะไม่ค่อยชอบหนัง แต่ก็มีหลายสิ่งอย่างต้องเอ่ยปากชมว่าน่าประทับใจ อาทิ บทเพลงเปิดชื่อว่า Science Fiction/Double Feature (ใครรับรู้จักทั้งหมดถือว่าคอหนังตัวจริง!) และการผสมผสานหนัง Sci-Fi & Horror เกรดบี (B-movie) อาทิ Dracula, Frankenstein, The Invisible Man, It Came From Outer Space, Forbidden Planet, Night of the Demon ฯลฯ สารพัดการอ้างอิงที่ทำให้ดูเพลิดเพลิน สร้างความบันเทิง ตลกขบขัน แม้งครุ่นคิดได้ยังไงกัน!

จุดเริ่มต้นของ The Rocky Horror Picture Show เกิดขึ้นจาก Richard O’Brien (เกิดปี 1942) นักเขียน/นักแสดงสัญชาติอังกฤษ ระหว่างกำลังว่างงานช่วงต้นทศวรรษ 70s ครุ่นคิดเขียนบทละครเวที ที่ได้แรงบันดาลใจจากความชื่นชอบหลงใหลนวนิยาย Science Fiction (Sci-Fi) และภาพยนตร์ Horror เกรด B (B-movie) โดยตั้งใจผสมผสานสไตล์ดนตรี Rock & Roll ทำออกมาในรูปแบบ Musical ตามกระแสนิยม ‘glam rock’ ในประเทศอังกฤษ

เกร็ด: Glam Rock เป็นประเภทหนึ่งของดนตรี Rock พัฒนาขึ้นในสหราชอาณาจักรช่วงต้นทศวรรษ 1970s เกิดจากการผสมคำ Glam หรือ Glamorous แปลว่า มีเสน่ห์ น่ามอง น่าดึงดูดใจ, ซึ่งนักร้องและวงดนตรีมักนิยมการแต่งหน้า ทำผม สวมใส่รองเท้าส้นสูง หรือชุดที่ดูแปลกประหลาด ยกตัวอย่างศิลปิน David Bowie, Gary Glitter, วงดนตรี Mott the Hoople, Sweet, Slade, Mud, Roxy Music ฯ

ในบทสัมภาษณ์ของ O’Brien อธิบายตนเองว่าเป็นคนข้ามเพศ (Transgender) หรือ Third Gender พานผ่านอะไรๆมามากทีเดียวกว่าจะรับรู้จักตัวตนเอง ค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศ

There is a continuum between male and female. Some are hard-wired one way or another, I’m in between. Or a third sex, I could see myself as quite easily.

Richard O’Brien

O’Brien นำเอาบทร่างแรก (Treatment) จำนวน 14 หน้ากระดาษส่งให้เพื่อนผู้กำกับ Jim Sharman เคยร่วมงานโปรดักชั่น Jesus Christ Superstar (เมื่อตอนมาเปิดการแสดงยัง London) อ่านแล้วเกิดความชื่นชอบประทับใจ เลยทำการทดลองสร้างเป็นโปรดักชั่นขนาดเล็ก ยังชั้นบนของ Royal Court Theatre (จำนวน 60 ที่นั่ง) ตั้งชื่อโปรเจค They Came from Denton High ก่อนเปลี่ยนเป็น The Rocky Horror Show

การแสดงรอบปฐมทัศน์ยัง Royal Court Theatre ได้เสียงตอบรับอย่างดีล้นหลาม ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนสถานที่สู่ Chelsea Classic Cinema (230 ที่นั่ง) ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1973 ก่อนย้ายมาปักหลัก King’s Road Theatre (500 ที่นั่ง) ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1973 ทำการแสดงติดต่อเนื่องยาวนานกว่า 6 ปี!

ละครเพลงเรื่องนี้ยังเดินทางสู่สหรัฐอเมริกา เริ่มจาก Roxy Theatre, Los Angeles ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1974 ยาวนานถึง 9 เดือน ก่อนไปต่อ Broadway ณ Belasco Theatre, New York City ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1975 แต่กลับเปิดการแสดงได้แค่ 45 รอบ เดือนกว่าๆเท่านั้น

ถึงอย่างนั้นโปรดิวเซอร์ Michael White และ Lou Adler มีโอกาสรับชมโปรดักชั่นละครเพลงเรื่องนี้ตั้งแต่ที่ London ช่วงต้นปี ค.ศ. 1973 เกิดความชื่นชอบประทับใจ ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงโดยทันที (ก่อนหน้าโปรดักชั่นจะเดินทางสู่สหรัฐอเมริกาเสียอีก!) และยังขอให้ Jim Sharman มารับหน้าที่ผู้กำกับภาพยนตร์


James David Sharman (เกิดปี 1945) ผู้กำกับภาพยนตร์/ละครเวที สัญชาติ Australian เกิดที่ Sydney, บิดาเป็นนักมวยโชว์ในคณะละครสัตว์ นั่นทำให้เขามีความสนใจด้านการแสดงตั้งแต่เด็ก โตขึ้นสำเร็จการศึกษา National Institute of Dramatic Art (NIDA) จากนั้นเข้าร่วม Experimental Theatre ยังโรงละคร Old Tote Theatre Company, แจ้งเกิดจากละครเพลง (Rock Musicals) เรื่อง Hair (1969), ติดตามด้วย Jesus Christ Superstar (1972) ทำให้มีโอกาสเดินมากำกับโปรดักชั่นที่ West End, โด่งดังระดับนานาชาติจาก The Rocky Horror Show และภาพยนตร์ The Rocky Horror Picture Show (1975)

เมื่อสองโปรดิวเซอร์ติดต่อเข้าหาผกก. Sharman พูดคุยถึงสองทางเลือก

  1. ทำออกมาในแบบหนังเพลงทั่วๆไป เลือกศิลปิน/นักแสดงที่พอมีชื่อเสียง ปรับแก้ไขเรื่องราวให้เหมาะสมกับผู้ชมทางบ้าน
  2. ลดงบประมาณรวมถึงระยะเวลาถ่ายทำ แต่สามารถใช้ทีมงานและนักแสดงจากโปรดักชั่นละครเวที รวมถึงมอบอิสรภาพในการสรรค์สร้างอย่างเต็มที่

คำตอบของ Sharman คือเลือกแบบที่สอง นั่นเพราะเขาและทีมงาน (รวมถึง O’Brien) ภาคภูมิใจในโปรดักชั่นนี้อย่างมากๆ มีความสนิทสนมชิดเชื้อ ไว้เนื้อเชื่อใจ (Camaraderie) เลยต้องการร่วมหัวจมท้าย ไปไหนไปด้วยกันให้ถึงปลายทาง

When Lou Adler and Michael White, the original producers, first invited me to direct the film, they gave me two options. One was a regular movie musical budget and schedule, with the proviso that I cast some established stars – current rock stars, movie stars, whatever; and the other was an essentially B-picture budget and a short 6 week schedule, if I stayed with key members of the original cast and creative team.

Rocky Horror had flouted conventional wisdom from the get-go and the B-picture route seemed truer to its spirit. That spirit was something I wanted to keep alive in the film – more spirit than polish was both the aim and the outcome. There was also a strong sense of camaraderie and like-mindedness amongst the original creative team, so I chose option B and that pretty much governed everything that followed – it created the best and the worst.

Jim Sharman

เรื่องราวของ Brad Majors (รับบทโดย Barry Bostwick) และคู่หมั้น Janet Weiss (รับบทโดย Susan Sarandon) ระหว่างเดินทางกลับจากงานแต่งงานเพื่อนสนิท ยามค่ำคืน ฝนตกหนัก ยางแตก รถเสียข้างทาง พวกเขาจึงจำต้องขอหลบฝน พักค้างแรมยังคฤหาสถ์โกธิคหลังหนึ่ง

เจ้าของคฤหาสถ์แห่งนี้คือ Dr. Frank-N-Furter (รับบทโดย Tim Curry) นักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง ชื่นชอบแต่งหญิง (Transvestite) อ้างว่าเดินทางมาจากดาวเคราะห์ Transsexual ในแกแลคซี่ Transylvania, ขณะนั้นกำลังทดลองสร้างสิ่งมีชีวิต Rocky Horror (รับบทโดย Peter Hinwood) ด้วยการปลูกถ่ายสมองของเด็กส่งของ Eddie (รับบทโดย Meat Loaf) แล้วใช้สายฟ้าฟาดลงมา (แบบเดียวกับนวนิยาย Frankenstein)

Brad กับ Janet ถูกล่อลวงในความมหัศจรรย์ของ Dr. Frank-N-Furter ทำให้มิอาจหยุดยับยั้ง ปล่อยตัวปล่อยใจ ปลดปล่อยน้ำกาม แต่เมื่อความแตกว่าต่างนอกใจคนรัก Janet จึงเปลี่ยนไปยั่วสวาท ร่วมเพศสัมพันธ์กับ Rocky Horror จนกระทั่งการมาถึงของ Dr. Everett V. Scott (รับบทโดย Jonathan Adams) ต้องการทวงคืนความยุติธรรมให้หลานชาย Eddie ที่ถูกเข่นฆาตรรมอย่างไร้เยื่อใย


Timothy James Curry (เกิดปี 1946) นักร้อง/นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Grappenhall, Cheshire โตขึ้นเข้าโรงเรียนประจำ Kingswood School ค้นพบความสามารถด้านการร้องเพลงเสียง Soprano แต่ตัดสินใจเข้าเรียนภาษาอังกฤษและการละคอน University of Birmingham เข้าร่วมโปรดักชั่น Hair ระหว่างทำการแสดงที่ London ทำให้มีโอกาสรับรู้จักเพื่อนนักแสดง Richard O’Brien ได้รับชักชวนให้ไปออดิชั่น The Rocky Horror Show

I’d heard about the play because I lived on Paddington Street, off Baker Street, and there was an old gym a few doors away. I saw Richard O’Brien in the street, and he said he’d just been to the gym to see if he could find a muscleman who could sing. I said, “Why do you need him to sing?” And he told me that his musical was going to be done, and I should talk to Jim Sharman. He gave me the script, and I thought, “Boy, if this works, it’s going to be a smash.”

Tim Curry

รับบทนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง Dr. Frank-N-Furter หลงใหลดนตรีร็อค ชื่นชอบแต่งหญิง (Transvestite) รสนิยมชายก็ได้-หญิงก็ดี ขอแค่มีรูให้บดขยี้ อ้างว่าเดินทางมาจากดาวเคราะห์ Transsexual ในแกแลคซี่ Transylvania จึงสามารถประดิษฐ์อุปกรณ์ไฮเทค ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย และยังให้ชีวิตกับมนุษย์ดัดแปลง Rocky Horror ตั้งใจเอาไว้ปรนเปรอนิบัติตนเอง แต่การฆาตกรรมเด็กส่งของ Eddie และมั่วกามกับ Brand & Janet กำลังก่อให้เกิดเรื่องวุ่นวาย เหตุการณ์เลวร้าย!

Dr. Frank-N-Furter มีสองลูกน้องคนสนิท หัวหน้าคนใช้หลังค่อม Riff Raff (รับบทโดย Richard O’Brien) และน้องสาวรับใช้ Magenta (รับบทโดย Patricia Quinn) แต่มักใช้งานพวกเขาเยี่ยงทาส พ่นคำดูถูกเหยียดหยาม จนเมื่อทั้งสองถึงจุดแตกหัก จึงเปิดเผยตัวตนแท้จริงว่าเป็นเอเลี่ยนต่างดาว กระทำการก่อกบฎ ข่มขู่ด้วยปืนเลเซอร์ แล้วออกเดินทางกลับดาวเคราะห์บ้านเกิด

ปล. หลายคนน่าจะคาดเดาได้ว่า Dr. Frank-N-Furter นำแรงบันดาลใจจากนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง Victor Frankenstein ที่สามารถสร้างสิ่งมีชีวิต ฟื้นคืนชีพความตาย ขณะเดียวกันยังมีส่วนผสมของ Count Dracula อาศัยอยู่ในปราสาท Transylvania พร้อมกับลูกน้องคนสนิท Renfield, ขณะที่ Brad & Janet ผมรู้สึกว่าใกล้เคียง Jonathan Harker กับคู่หมั้น Mina Murray (จาก Dracula) หนุ่ม-สาวมีความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา กำลังพานผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้พวกเขาปรับเปลี่ยนแปลงไปชั่วนิรันดร์

I’ve always thought of Frank as a cross between Ivan the Terrible and Cruella de Ville of Walt Disney’s 101 Dalmatians. It’s that sort of evil beauty that’s attractive.

Richard O’Brien

ไม่ใช่แค่ความสามารถด้านการร้อง-เล่น-เต้น Curry ยังทำให้ผู้ชมรับรู้สึกว่าว่าเขาคือเกย์/ชายข้ามเพศ (Transvestite) ตั้งแต่เสื้อผ้าหน้าผม บุคลิกภาพ ท่วงท่าทาง (ตัวจริงไม่เคยเปิดเผยต่อสาธารณะ เลยบอกไม่ได้ว่าเป็นเกย์หรือชายแท้ แต่รับรู้ว่าสนิทสนมกับ Freddie Mercury นักร้องนำวง Queen) เป็นจอมบงการ ชอบควบคุมครอบงำ เร้าร้อนรุนแรง บางครั้งก็เหี้ยมโหดร้ายทารุณ สามารถได้ทั้งรุก-รับ สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองตัณหาทางเพศ … ถือเป็นบุคคลอันตราย แต่ก็มีทั้งผู้ชมที่หลงใหลคลั่งไคล้ และรังเกียจต่อต้าน

I think Tim’s performance is right up there with Conrad Veidt in ‘The Cabinet of Dr. Caligari.

Jim Sharman

เกร็ด: ในตอนแรก Tim Curry ตั้งใจจะให้ตัวละครย้อมผมบลอนด์ มีสำเนียงเสียง German ฟังดูเย่อหยิ่ง ทะนงตน วางตัวหัวสูงส่ง แต่วันหนึ่งหลังจากได้ยินหญิงชาวอังกฤษพูด(สำเนียงอังกฤษ)ว่า “Do you have a house in town or a house in the country.” นั่นทำให้เขาเกิดความตระหนักว่า ควรให้ตัวละครออกสำเนียงอังกฤษ แบบเดียวกับ Queen Elizabeth II (เพื่อให้สมเกียรติกับตัวละคร Drag Queen)

บทบาทในภาพยนตร์/โปรดักชั่น The Rocky Horror Show แจ้งเกิดให้กับ Curry เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ผลงานถัดจากนี้มีทั้งภาพยนตร์ (ส่วนใหญ่มักได้รับบทตัวร้าย/ชายข้ามเพศ) ละครเวที ซีรีย์โทรทัศน์ ให้เสียงพากย์อนิเมชั่น (Voice Acting) รวมถึงออกอัลบัมเพลง ผลงานเด่นๆ อาทิ Annie (1982), Legend (1985), Pennywise มินิซีรีย์ It (1990), Captain Hook อนิเมชั่น Peter Pan & the Pirates (1990–1991), Chancellor Palpatine/Darth Sidious อนิเมชั่น Star Wars: The Clone Wars (2012–2014) ฯลฯ


Susan Abigail Sarandon (เกิดปี 1946) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Queens, New York City ลูกคนโตจากพี่น้อง 9 คน บิดาเป็นโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ สำเร็จการศึกษาด้านการแสดงจาก The Catholic University of America เข้าสู่วงการภาพยนตร์ Joe (1970), เริ่มมีชื่อเสียงจาก The Rocky Horror Picture Show (1975), Atlantic City (1981), Bull Durham (1988), Thelma & Louise (1991), Dead Man Walking (1995)**คว้า Oscar: Best Actress

รับบท Janet Weiss คู่หมั้นของ Brad Majors มีความสุภาพอ่อนน้อม ใสซื่อไร้เดียงสา ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อพบเจอ Dr. Frank-N-Furter รู้สึกหวาดระแวง วิตกจริต ต้องการหลบหนีไปให้ไกล แต่ก็ไม่สามารถจากไปไหน … หลังจากสูญเสียความบริสุทธิ์ กลายเป็นคนเข้มแข็ง กล้าพูด กล้าแสดงออก เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นใจ โหยหาบุรุษที่สามารถพึ่งพา ตอบสนองความต้องการของตนเอง มองหน้า(อดีต)ชายคนรักไม่ติดอีกต่อไป

Sarandon (และ Bostwick) ไม่ใช่นักแสดงจากโปรดักชั่น The Rocky Horror Show แต่เธอมีโอกาสรับชมละครเพลงที่ Los Angeles แล้วเกิดความประทับใจการแสดงของ Tim Curry วันหนึ่งบังเอิญเข้าไปทักทาย แล้วมีโอกาสทดสอบหน้ากล้อง ทั้งๆขับร้องเพลงไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่จับพลัดจับพลูได้รับเลือกบทนำ

A friend of mine was in the stage show in L.A., so I knew Tim Curry. And one day, I went by, just to say hi, when they happened to be casting. And they asked me to read, because nobody had made Janet very funny, but they were all much better singers. And so, I said, ‘No, I can’t really sing. Actually, I’m kind of phobic about singing.’ And they said, ‘Well, can you sing ‘Happy Birthday?’

So I actually went against my better judgment, thinking that maybe I would finally get over this phobia that I had about singing out loud, because I realized that it was just all ego. And eventually, I did the recording session and I kind of got somewhat over it. But it was just a fluke that I did get cast.

Susan Sarandon

บทบาทของ Sarandon อาจไม่ได้โดดเด่นเทียบเท่า Curry แต่ถือว่ามีวิวัฒนาการอันน่าทึ่ง จากสวยใสไร้เดียงสา กลัวๆกล้าๆ หลังสูญเสียความบริสุทธิ์ กลายมาเป็นสาวมั่น แรดร่านราคะ พร้อมโต้ตอบบุรุษ รับรู้ความต้องการของตนเอง … เสรีภาพทางเพศของตัวละครนี้ ไม่ได้จะสานสัมพันธ์หญิง-หญิง แต่เป็นการเปิดมุมมองต่อบุรุษเพศ ลบล้างค่านิยมรักเดียวใจเดียว ลุกขึ้นมาต่อต้านขัดขืนผู้ชายหลายใจ (รับไม่ได้กับการสูญเสียชายคนรักให้กับชายอีกคน!)

กองถ่ายของหนังใน London สร้างความยากลำบากให้กับสาวน้อย Sarandon ทั้งหนาวเหน็บ ทั้งเปียกปอน ทั้งยังต้องถอดเสื้อผ้า แถมเครื่องทำความร้อนดันไปตั้งใกล้อะไรสักอย่าง ติดไฟลุกไหม้ รถตู้ Trailer ของเธอเลยไม่หลงเหลืออะไร จนในที่สุดก็ล้มป่วยปอดอักเสบ (Pneumonia) แต่ก็เป็นโอกาส ประสบการณ์ไม่รู้ลืม

It was freezing, and then there was no heat in the studio, and we were obviously half-dressed and wet a lot of the time, so I got pneumonia. My trailer also caught fire, [so] I didn’t have anywhere to live. They kept moving me every few weeks. But anyway, it looked like we had fun, right?


Barry Knapp Bostwick (เกิดปี 1945) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ San Mateo, California โตขึ้นเข้าเรียนการแสดงยัง United States International University (USIU) แล้วเข้าร่วมคณะ Hillbarn Theatre ระหว่างนั้นศึกษาต่อ New York University Tisch School of the Arts, เริ่มมีชื่อเสียงจากละครเพลง Off-Broadway เรื่อง Salvation (1969), Rock Opera เรื่อง Soon (1971), โด่งดังกับภาพยนตร์ The Rocky Horror Picture Show (1975)

รับบท Brad Majors คู่หมั้นของ Janet Weiss หนุ่มเนิร์ดที่ดูทึ่มทือเหมือนสากกะเบือ เป็นลักษณะ ‘stereotype’ ของผู้ชายเถรตรงเกินไป (มีคำเรียกว่า ‘square’) แสดงความรังเกียจเดียดฉันท์ พยายามต่อต้านขัดขืน Dr. Frank-N-Furter แต่กลับรู้สึกสดชื่นหลังสูญเสียความบริสุทธิ์ ทำให้เรียนรู้จักตัวตนเอง ค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศ เข้าใจความต้องการแท้จริง!

วิวัฒนาการตัวละครของ Bostwick ดูจะสวนทางกับ Sarandon เพราะหลังจากสูญเสียความบริสุทธิ์ แม้สามารถค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง แต่บทบาทกลับค่อยๆเลือนลางจางหาย เต็มไปด้วยความสับสน มึนงง โล้เล้ลังเลใจ และกำลังใกล้สูญเสียทุกสิ่งอย่างไป (คู่หมั้นยินยอมรับพฤติกรรมสำส่อนนี้ไม่ได้, อีกทั้ง Dr. Frank-N-Furter ก็พร้อมทรยศหักหลัง ก่อนถูกเข่นฆาตกรรม)

มีผู้ชมบางคนมองว่าตัวละคร Brad คือตัวร้ายของหนัง? เพราะเป็นบุคคลทรยศหักหลัง Janet แถมชอบใช้คำพูดดูถูกเหยียดหยาม ช่วงแรกๆเต็มไปด้วยถ้อยคำต่อต้านพวกลักร่วมเพศ (Homophobia) แต่ทั้งหมดทั้งมวลราวกับกรรมสนองกรรม เคยกล่าวถ้อยคำอะไรไว้ สุดท้ายแล้วมันก็หวนย้อนกลับคืนสนอง


ถ่ายภาพโดย Peter Suschitzky (เกิดปี 1941) สัญชาติอังกฤษ สำเร็จการศึกษาด้านการถ่ายภาพจาก Institut des hautes études cinématographiques (IDHEC) เริ่มงานเป็นเด็กตอกสเลท, ควบคุมกล้อง, ถ่ายภาพเรื่องแรก It Happened Here (1964), มีชื่อเสียงโด่งดังจาก The Rocky Horror Picture Show (1975), Valentino (1977), The Empire Strikes Back (1980), แล้วกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ David Cronenberg ตั้งแต่ Dead Ringers (1988), Crash (1996), A History of Violence (2005), Eastern Promises (2007) ฯ

ผกก. Sharman ตัดสินใจเลือกใช้บริการทีมงานยกชุดเดียวมาจากโปรดักชั่นละครเพลง ประกอบด้วยออกแบบงานสร้าง (Production Designer) Brian Thomson, เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (Costume Designer) Sue Blane, รวมถึงผู้กำกับเพลง (Music Director) Richard Hartley, เพื่อให้ร่วมสรรค์สร้างผลงานซื่อตรงต่อจิตวิญญาณ และต้นฉบับมากที่สุด

ด้วยทุนสร้าง $1.4-1.6 ล้านเหรียญ ยุคสมัยนั้นดูเหมือนเยอะ แต่หมดไปกับค่าเช่าสถานที่ ตกแต่งฉาก (รับอิทธิพลมาไม่น้อยจากจาก German Expressionism) เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ซึ่งต้องทำออกมาใหม่หมดให้มีวิวัฒนาการขึ้นจากโปรดักชั่นละครเพลง โดดเด่นด้วยแสงสีสัน สิ่งข้าวของเครื่องใช้ อะไรก็ไม่รู้มากมายจนดูรกๆรุงรัก เพื่อสร้างบรรยากาศ Gothic รู้สึกหลอกหลอน ขนหัวลุกพอง

I was influenced by classic German cinema, also stage derived, and this thinking influenced my approach. There’s a big difference between the film and stage versions.

Jim Sharman

งานภาพของหนังก็มีความโฉบเฉี่ยว ขยับเคลื่อนเลื่อนกล้องอย่างฉวัดเฉวียน … ถ้าเป็นระหว่างพูดคุยสนทนา จะไม่ค่อยพบเห็นกล้องขยับเคลื่อนไหวสักเท่าไหร่ แต่เมื่อบทเพลงดัง ตัวละครกำลังขับร้องเพลง กล้องจะมีความโฉบเฉี่ยวฉวัดเฉวียน ดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาโดยทันที!

พื้นหลังของหนังดำเนินเรื่องในเมืองสมมติ Denton แต่ถ่ายทำ(ฉากภายใน)ยังสตูดิโอ Bray Studios และเลือกใช้คฤหาสถ์ Oakley Court ตั้งอยู่ยัง Maidenhead, Berkshire สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1857 ด้วยสถาปัตยกรรม Victorian Gothic ซึ่งเป็นสถานที่เลื่องชื่อเคยถูกใช้ถ่ายทำภาพยนตร์แนว Horror ของ Hammer Film Production ในช่วงทศวรรษ 50s

แผนการดั้งเดิมของ Opening Credit ต้องการนำเอาฟุตเทจนักแสดง/ภาพยนตร์เรื่องนั้นๆที่มีการอ้างอิงถึงในคำร้อง มาร้อยเรียง แปะติดปะต่อเข้าด้วย แต่ประเด็นคือเงินไม่พอจ่ายค่าลิขสิทธิ์! จึงเปลี่ยนมาภาพริมฝีปาก (ของ Patricia Quinn) ทำการลิปซิงค์ (Lipsync) แต่ดูเหมือนพยายามจะกลืนกิน … ริมฝีปากดูยังไงก็เหมือนเพศหญิง แต่กลับได้ยินเสียงร้องของผู้ชาย เป็นการสะท้อนแนวคิดข้ามเพศ (Transvestite)

เกร็ด: ได้แรงบันดาลใจจากภาพวาดริมฝีปากของศิลปินดาด้า Man Ray ชื่อว่า A l’heure de l’observatoire, les Amoureux (1932-34) แปลว่า Observatory Time, the Lovers

หลายคนอาจไม่ทันสังเกตบาทหลวง และคนรับใช้ชาย-หญิง คือนักแสดงคนเดียวกันกับ Dr. Frank-N-Furter และสองคนรับใช้ Riff Riff & Magenta, นอกจากนี้ Riff Riff ยังถือคราดเหล็ก ที่ดูไปดูมามีลักษณะคล้ายปืนเลเซอร์ตอนท้ายเรื่อง

ผมอาจจะจินตนาการไปไกล แต่โบสถ์หลังนี้(กลางวัน)ไม่แน่ว่าอาจคือคฤหาสถ์ลึกลับ(กลางคืน) สถานที่ที่ทำให้คนหนุ่ม-สาว ได้เรียนรู้ เข้าใจตัวตนเอง ค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศที่แท้จริง (ตอนกลางวันทำพิธีแต่งงานให้คู่รักชาย-หญิง, ตอนกลางคืนทำให้พวกเขาค้นพบตัวตนเองแท้จริง)

การยื้อๆยักๆ ชักแม่น้ำทั้งห้า ดูเหมือน Brad จะไม่ค่อยอยากสารภาพรักกับ Janet แถมป้ายประกาศด้านหลัง The Home of Happiness! มันช่างล่อตาล่อใจ โจ่งแจ้ง โจ๋งครึ่ม ปักธง ทุกสิ่งอย่างมันดูจอมปลอม ปอกลอก ราวกับภาพลวงหลอกตา? ใครสังเกตได้ตั้งแต่ตอนนี้ ก็อาจสามารถคาดเดาเหตุการณ์บังเกิดขึ้นต่อไป

ระหว่างที่ Brad & Janet เดินมาถึงคฤหาสถ์ลึกลับ ขับร้องเพลงอะไรสักอย่างเกี่ยวกับ Frankenstein ช็อตนี้มีลางบอกเหตุ กลุ่มแก๊งค์รถมอเตอร์ไซด์พุ่งมาจากด้านหลัง ทำให้ทั้งสองที่กำลังโอบกอด ต้องพลัดพราก แยกจากกัน (รถมอเตอร์ไซด์พุ่งผ่านกึ่งกลางระหว่างพวกเขา)

สิ่งที่ผมสนใจในช็อตนี้ไม่ใช่โครงกระดูกในเรือนนาฬิกา (คงอ้างอิงจากหนัง Horror สักเรื่อง) แต่คือภาพวาดศิลปวะ American Gothic (1930) โดย Grant Wood (1891-1942) จิตรกรชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิก American Art ในสไตล์ Regionalism

สำหรับภาพวาด American Gothic (1930) แฝงแนวคิด “the kind of people should live in that house” หลายคนมักเข้าใจผิดว่าบุคคลที่เป็นต้นแบบคือ Grant Wood และภรรยา แต่แท้จริงแล้วคือน้องสาว Nan Wood Graham และหมอฟัน Dr. Byron McKeeby (ไม่ได้แต่งงานกัน) วาดออกมาให้เค้าโครงหน้า แต่งตัวเหมือนชาวนา ดูสอดคล้องกับบ้าน (สไตล์ Gothic) ที่อยู่เบื้องหลัง

ในบริบทของหนัง หลายคนอาจครุ่นคิดว่าเป็นเปรียบเทียบภาพวาดนี้กับ Riff Riff และน้องสาว Magenta (เพราะมีหน้าตาละม้ายคล้ายกันอยู่) แต่เราสามารถเหมาแนวคิด “the kind of people should live in that house” รวมถึง Dr. Frank-N-Furter กับโครงกระดูก (หรือจะมองว่าคือ Rocky Horror ก่อนเป็นมัมมี่ก็ได้เช่นกัน)

ความตั้งใจดั้งเดิมของผกก. Sharman ต้องการให้หนังเริ่มต้นด้วยฟีล์มขาว-ดำ ทำแบบ The Wizard of Oz (1939) จนกระทั่งมาถึงบทเพลง Sweet Transvestite ขับร้องท่อน “I’m just a sweet transvestite from Transsexual, Transylvania.” ค่อยปรับเปลี่ยนมาเป็นฟีล์มสี เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมีชีวิตชีวาของชาว Transvestite แต่เหตุผลที่ไม่ได้ทำเช่นนั้นเพราะงบประมาณไม่เพียงพอ T_T

เกร็ด: DVD ฉบับครบรอบ 25 ปีของหนัง เหมือนว่าจะมีการทำ ‘Easter Egg’ ฉายภาพขาว-ดำ ตั้งแต่ฉากแรก (ยกเว้น Opening Credit) มาจนถึง Riff Riff เปิดประตูเชิญเข้ามาในคฤหาสถ์ … แต่ก็ไม่ได้เสียงตอบรับดีสักเท่าไหร่ มองว่าสตูดิโอ Fox มักง่ายเกินไป

สารพัดเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าหน้าผมของตัวละคร Sue Blane อธิบายว่าเธอไม่ได้นำแรงบันดาลใจจากหนัง Sci-Fi หรือแนว Horror เรื่องไหนๆ แต่ใช้สันชาตญาณเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยรับอิทธิพลจาก ‘punk music style’ (ที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษทศวรรษนั้น)

เกร็ด: งบประมาณในส่วนเครื่องแต่งกาย ฉบับละครเพลงเห็นว่ามีแค่ $400 เหรียญ ส่วนภาพยนตร์เพิ่มขึ้นเป็น $1,600 เหรียญ จึงจำต้องหาซื้อชุดมือสองราคาถูกๆ ตามตลาดนัด (Flea Market) แล้วค่อยมาปรับแก้ไขเอาภายหลัง

When I designed Rocky I never looked at any science fiction movies or comic books. One just automatically knows what spacesuits look like, the same way one intuitively knows how Americans dress. I had never been to the United States, but I had this fixed idea of how people looked there.

I thought Brad and Janet were supposed to be mid-sixties, while Eddie was straight out of the fifties. He was a mixture between a Hell’s Angel and a Teddy Boy, the English equivalent. The narrator was somewhere in the forties and Frank-N-Furter … well, who knows what period he was coming from. I’m not really that interested in recreating a certain era when I design. I like to concentrate on minute details instead, like wondering what type of pen Dr. Scott has in his pocket, whether his tie has stripes or not, or whether he’s got holes in his maroon socks. It also helps the actors tremendously in creating their characters.

Sue Blane

Rocky Horror ถือกำเนิดด้วยวิธีการเดียวกับ The Monster จาก Frankenstein โดยมีส่วนผสมของ The Mummy (ผ้าพันทั่วร่างกาย) สิ่งมีชีวิตนอกโลก (จะมีช็อตที่ห้อยโหนลงมาจากเบื้องบน) และมันสมองส่วนหนึ่งของ Eddie (เลยวิ่งวนไปรอบๆห้อง แบบเดียวกับตอนที่ Eddie ซิ่งมอเตอร์ไซด์ทะลุกำแพง)

ความตั้งใจของ Dr. Frank-N-Furter ต้องการสร้าง Rocky Horror ให้เป็นชายสมบูรณ์แบบ กล้ามใหญ่บึกบึน มีเพศสัมพันธ์ได้ทั้งชาย-หญิง กระทำสิ่งต่างๆตามคำสั่งของตน … แต่ผลลัพท์ Rocky ดูเป็นคนไม่ค่อยเต็มสักเท่าไหร่ แสดงอาการสับสน หวาดกังวล ถูกล่อลวงโดย Janet ทั้งยังต่อต้านขัดขืนคำสั่งบิดา/ผู้ให้กำเนิด ไม่ได้สร้างความ ‘Horror’ ให้ใครนอกจากตัวตนเอง

ผมอ่านพบเจอว่า Richard O’Brien พัฒนาตัวละคร Dr. Frank-N-Furter ให้มีพฤติกรรมจอมบงการไม่ต่างจากมารดา(ของเขาเอง) นี่แปลว่า Rocky Horror ถือเป็นตัวตายตัวแทน หรือก็คือ O’Brien เองนะแหละ! (อ่านชื่อ Richard O’Brien ก็ผันผวนเป็น Rocky Horror ได้กระมัง) ถือกำเนิดด้วยความคาดหวังครอบครัว แต่แสดงพฤติกรรมต่อต้านขัดขืน ไม่ยินยอมรับ ไม่เข้าใจตัวตนเอง เต็มไปด้วยอาการขลาด หวาดกลัว ทึ่มๆทื่อๆ ดื้อรั้น ดึงดัน โหยหาอิสรภาพ พยายามดิ้นหลบหนีออกจากสถานที่แห่งนี้

เกร็ด: แท้งค์น้ำที่ให้กำเนิด Rocky Horror เห็นว่าเคยถูกใช้ในภาพยนตร์ The Revenge of Frankenstein (1958) ปรับแต่งให้มีสีรุ้งเพื่อสื่อถึงความหลากหลายทางเพศ (แม้ภายนอกจะเป็นเพศชาย แต่ผมครุ่นคิดว่า Rocky Horror ได้หมดถ้าสดชื่น)

ตัวละคร Eddie ดูหลุดมาจากทศวรรษ 50s ขับรถมอเตอร์ไซด์ แต่งตัวสไตล์ Rock & Roll เป่าแซกโซโฟน ตกหลุมรัก Columbia ยินยอมมอบสมองส่วนหนึ่งให้กับ Rocky Horror ก่อนถูกเข่นฆาตกรรมโดย Dr. Frank-N-Furter น่าจะด้วยความอิจฉาริษยา ทนเห็นความสนุกสนานเฮฮาปาร์ตี้ของอีกฝ่ายไม่ได้!

ผมมองความตายของ Eddie สื่อถึง ‘loss of innocence’ การสูญเสียความสดใส/บริสุทธิ์ทางจิตใจ, ขณะที่ Brad & Janet กำลังจะสูญเสียความบริสุทธิ์ทางร่างกายให้กับ Dr. Frank-N-Furter ในอีกไม่ช้านาน

ผมแอบแปลกใจมากๆที่แสงสีในช็อตสูญเสียความบริสุทธิ์ของ Janet & Brad (ทำออกมาในลักษณะภาพเงา (Silhouette)) ไม่ใช่แดง-น้ำเงิน แต่กลับเป็นแดง-ขาว(ออกเทาๆ) มันอาจเพราะ …

  • เวลาหญิงสาวสูญเสียความบริสุทธิ์ย่อมมีเลือดสีแดงไหลออกมา
  • ส่วนบุรุษเมื่อถูกเปิดประตูหลัง มันคือคราบเทาๆดำๆ … อย่าไปจินตนาการมันเลยดีกว่า

เกร็ด: Farnese Atlas รูปแกะสลักตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ยุคสมัยโรมัน โดยมีเรื่องราวยักษ์ไททัน Atlas หลังพ่ายแพ้สงครามต่อเหล่าเทพ Olympia ถูกเทพเจ้า Zeus สั่งลงโทษให้เป็นผู้แบกท้องฟ้า (บางตำนานว่าเป็นลูกโลก) ไว้บนบ่า

แม้ว่าช็อตนี้ Rocky Horror จะนอนคว่ำบนเตียง แต่แผ่นหลังเปลือยเปล่า และถูกล่ามโซ่ตรวน ให้ความรู้สึกเหมือนเขากำลังแบกภาระทางโลกเอาไว้ ทั้งๆเพิ่งถือกำเนิดขึ้นมา กลับได้รับการคาดหวังโน่นนี่นั่นจาก(บิดา/ผู้ให้กำเนิด) Dr. Frank-N-Furter ไม่สามารถดิ้นหลุดพ้นพันธนาการดังกล่าว

เกร็ด: David (1501-04) ประติมากรรมชิ้นเอก รูปแกะสลักหินในยุคสมัย Italian Renaissance อีกผลงานมาสเตอร์พีซของ Michelangelo สัญลักษณ์แห่งความแข็งแกร่ง งดงาม และความหนุ่ม-สาวของ(ร่างกาย)มนุษย์

หลังจาก Janet พบเห็นภาพบาดตาบาดใจของคู่หมั้น Brad เธอจึงหันเหความสนใจมายัง Rocky Horror ซึ่งมีรูปร่างลักษณะไม่แตกต่างจากรูปแกะสลัก David เลยตัดสินใจยั่วเย้า อ่อยเหยื่อ ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ ให้อีกฝ่ายร่วมเพศสัมพันธ์กับตนเอง Touch-a, Touch-a, Touch-a, Touch Me

หนังอาจไม่ได้พูดออกมาตรงๆ แต่การนำศพของ Eddie ซ่อนไว้ใต้ผ้าคลุม เป็นการบอกใบ้ว่าอาหารมื้อนี้ อาจทำมาจากเนื้อหนัง อวัยวะภายใน (Human Cannibalism) แฝงนัยยะถึงการทรยศหักหลัง กัดกินเนื้อพวกเดียวกัน … สะท้อนได้ทั้งพฤติกรรมนอกใจของ Brad & Janet หรือแม้แต่ Rocky Horror ปฏิเสธทำตามคำสั่งบิดา/ผู้ให้กำเนิด Dr. Frank-N-Furter

Dr. Frank-N-Furter ทำการจู่โจมตี Dr. Scott, Brad, Janet, Rocky และ Columbia ด้วยเครื่อง Medusa Transducer สาปให้พวกเขากลายเป็นรูปปั้นหิน (Medusa ในเทพปกรณัมกรีก เป็นสัตว์ประหลาด Gorgo ใบหน้ามนุษย์ มีงูพิษเป็นผม หากจ้องมองเธอโดยตรงจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นหิน)

ผมอ่านเจอว่า Medusa ในปัจจุบันสามารถมองในเชิง Feminism สัญลักษณ์ความเกรี้ยวกราดของสตรี (female rage) ยุคสมัยก่อนเป็นสิ่งที่สังคมไม่ให้การยินยอมรับ (ผู้หญิงต้องเรียบร้อยดั่งผ้าพับไว้) เลยมีการสร้างปรัมปรา Medusa คือหญิงบ้า บุคคลอันตราย ห้ามชายใดเข้าใกล้

Medusa is widely known as a monstrous creature with snakes in her hair whose gaze turns men to stone. Through the lens of theology, film, art, and feminist literature, my students and I map how her meaning has shifted over time and across cultures. In so doing, we unravel a familiar narrative thread: In Western culture, strong women have historically been imagined as threats requiring male conquest and control, and Medusa herself has long been the go-to figure for those seeking to demonize female authority.

Elizabeth Johnston เขียนบทความ Nasty Woman ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Atlantic ฉบับเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016

ในบริบทของหนัง ผมมองว่าคือการเปลี่ยนแปรสภาพ จากมนุษย์กลายเป็นรูปปั้น ภาพยนตร์ = งานศิลปะ พวกเขาเหล่านี้คือบุคคลผู้เสียสละ เปลือยกาย นึกว่าตาย ก่อนกลายเป็นอมตะนิรันดร์

พวกเขาทั้งสี่ที่โดนสาปเป็นหิน ถูกบีบบังคับให้กลายเป็นนักเต้น เริงระบำ ทำการแสดงคาบาเร่ต์ (แต่ละคนก็จะมีเฉดสีของตนเอง) อารัมบทก่อนเปิดผ้าม่าน นำเข้าสู่การแสดงหลักของ Dr. Frank-N-Furter ปีนป่ายขึ้นเสาส่งสัญญาณ โลโก้สตูดิโอ RKO Picture (สตูดิโอที่สรรค์สร้างภาพยนตร์ Citizen Kane (1942)) แหวกว่ายสระน้ำ Michelangelo: The Creation of Adam

ผมมองการแสดงโชว์ครั้งนี้ มีลักษณะหนังซ้อนละคร (play within film) สรุปย่นย่อเหตุกาณ์บังเกิดขึ้นทั้งหมด ประมวลมาเป็นบทเพลง โลกทั้งใบของ Dr. Frank-N-Furter เลือนลางระหว่างความจริง vs. จินตนาการเพ้อฝัน (หรือจะมองว่า ละครเพลง vs. ภาพยนตร์ ก็ได้เช่นกัน)

ชุดมนุษย์ต่างดาวของ Riff Raff และ Magenta ผมยังนึกไม่ออกว่ามีความละม้ายคล้ายหนังไซไฟเรื่องไหน แต่ทรงผมฝ่ายหญิงมาจากภาพยนตร์ The Bride of Frankenstein (1935) ถืออาวุธปืนเลเซอร์/คราดเหล็กถางหญ้า … สิ่งข้าวของที่ดูสุดแสนธรรมดาๆ มันอาจมีมูลค่ามากมายมหาศาลซ่อนเร้นอยู่!

เอาจริงๆผมไม่ค่อยเข้าใจว่า Dr. Frank-N-Furter หวาดกลัวเกรงอะไรกับ Riff Riff และ Magenta (ต่างก็มาจากดาวเคราะห์ Transsexual เหมือนกันไม่ใช่หรือ?) อาจเพราะอีกฝ่ายมีปืนเลเซอร์ ใช้ข่มขู่ ข่มเหง เลยทำให้เขาหวาดวิตกกังวล ขอทำการแสดงชุดสุดท้าย รำพรรณาครุ่นคิดถึงบ้าน

แต่การแสดงชุดนี้ I’m Going Home ได้ทำการเลือนลางระหว่างความจริง (ไม่มีผู้ชม เก้าอี้ว่างเปล่า) vs. จินตนาการเพ้อฝัน (มีผู้ชมเต็มที่นั่ง หลังเสร็จสิ้นการแสดงลุกขึ้นยืนปรบมือให้) จะมองว่า Dr. Frank-N-Furter มีปัญหาทางจิต เหมือนคนวิกลจริต หรือสะท้อนความต้องการแท้จริง เป้าหมายเดินทางมายังดาวเคราะห์โลก หรือจะเปรียบเทียบในเชิงหนังซ้อนละคร (play within film) … ได้ทำในสิ่งเพ้อใฝ่ฝัน แม้อาจไม่มีใครรับชม แต่สามารถเติมเต็มความรู้สึกภายใน

แซว: ซีเควนซ์นี้ยังแอบพยากรณ์ตัวของหนังด้วยว่า จะมีช่วงที่ขาดทุนย่อยยับ (ไม่มีผู้ชมในโรง) ก่อนได้รับกระแสคัลท์ติดตามมา (ผู้ชมเต็มโรง ยืนปรบมือ ยกย่องสรรเสริญเหนือกาลเวลา)

จริงๆมีหลายช็อตที่พบเห็นภาพวาด Mona Lisa แต่ผมขอกล่าวถึงตรงนี้แล้วกัน ชื่อภาษาอิตาเลี่ยน La Gioconda (1503-07) ผลงานศิลปะ/ภาพวาดสีน้ำมันที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกของ Leonardo da Vinci สุภาพสตรีที่มีรอยยิ้มปริศนา ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่? เพียงรับรู้ว่าหญิงสาวนั่งอยู่คือคือ Lisa Gherardini ภริยาขุนนางนักธุรกิจไหมผู้มั่งคั่ง Francesco del Giocondo

ความงดงาม สมมาตรของใบหน้า อีกทั้งไม่รู้ว่ายิ้ม-หัวเราะ-ร้องไห้ แม้บุคคลต้นแบบคือผู้หญิง แต่ยังมีการโต้ถกเถียง/ทฤษฎีสมคบคิดว่าอาจเป็น da Vinci วาดขึ้นจากภาพสะท้อนตนเองในกระจก (Self-Portrait) นั่นกระมังคือเหตุผลที่ทำให้ภาพวาด Mona Lisa กลายเป็นสัญลักษณ์ของชาว Queer เพราะสามารถมองได้ทั้งบุรุษ-สตรี มีความคลุมเคลือในเพศสภาพ

จุดจบของ Dr. Frank-N-Furter (และ Rocky Horror)ปีนป่ายขึ้นบนเสาอากาศ เหมือนพยายามจะหลบหนีเอาตัวรอด แต่ผมมองในเชิงสัญลักษณ์ถึงสูงสุดหวนกลับสู่สามัญ เมื่อไปถึงยอดบน(เสาอากาศ)นั้น (ความทะเยอทะยาน/มักใหญ่ใฝ่สูง) ก็พลันตกลงมาในสระน้ำ Michelangelo: The Creation of Adam

ตรงข้ามกับตอนถือกำเนิด Rocky Horror (ในแท้งค์น้ำเล็กๆ แล้วปีนป่ายลงมาจากเบื้องบน) ขณะนี้คือความตาย (ตกลงมาจากเบื้องบน จมลงสระน้ำขนาดใหญ่) พระเจ้าสามารถให้กำเนิด และทำลายชีวิตได้เช่นกัน

แท้จริงแล้วคฤหาสถ์ลึกลับหลังนี้ก็คือยานอวกาศ แล้วใครจะไปคาดคิดว่า Dr. Frank-N-Furter เดินทางมาจากดาวเคราะห์ Transsexual ในแกแลคซี่ Transylvania ซึ่งขณะนี้ Riff Raff และ Magenta กำลังเตรียมตัวเดินทางกลับบ้าน … แต่จะว่าไปสายรุ้งที่พาดผ่าน ชวนให้นึกถึงโลโก้สตูดิโอ Walt Disney

ตัดต่อโดย Graeme Clifford (เกิดปี 1942) ผู้กำกับ/นักตัดต่อ สัญชาติ Australian เกิดที่ Sydney เข้าสู่วงการจากทำงาน Special Effect, ต่อด้วย Sound Recording/Mixing, ผู้ช่วยผู้กำกับ, พอเดินทางสู่ London ทำงานแผนกตัดต่อสถานีโทรทัศน์ BBC แล้วย้ายมาแคนาดาในสังกัด CBS ตัดต่อโฆษณา สารคดี ทำให้มีโอกาสรับรู้จัก Robert Altman กลายเป็นผู้ช่วยตัดต่อ That Cold Day in the Park (1969), จากนั้นมุ่งหน้าสู่ Hollywood แจ้งเกิดกับผลงานตัดต่อ Don’t Look Now (1973), The Man Who Fell to Earth (1973), The Rocky Horror Picture Show (1975), กำกับภาพยนตร์ อาทิ Frances (1982) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านการเรื่องเล่าของนักอาชญาวิทยา (Criminologist) รับบทโดย Charles Gray มักปรากฎตัวขึ้นมาอธิบายโน่นนี่ แสดงความครุ่นคิดเห็นโน่นนั่น บอกใบ้เหตุการณ์กำลังบังเกิดขึ้น ไม่ก็ให้คำแนะนำลีลาท่าเต้น โผล่มาอย่างไร้เหตุผล (และไร้ความจำเป็น)

โดยเรื่องเล่าของนักอาชญาวิทยานิรนามนี้ เกี่ยวกับคู่หมั้น Brad Majors และ Janet Weiss ระหว่างทางกลับจากงานแต่งงานเพื่อนสนิท ยามค่ำคืน ฝนตกหนัก ยางแตก รถเสียข้างทาง พวกเขาจึงจำต้องขอหลบฝน พักค้างแรมยังคฤหาสถ์โกธิคหลังหนึ่ง

  • อารัมบท
    • Opening Credit บทเพลง Science Fiction/Double Feature
    • หลังงานแต่งงานของเพื่อนสนิท Brad Majors ประกาศหมั้นหมายกับ Janet Weiss
    • นักอาชญากรวิทยา (Criminologist) เล่าเกริ่นเรื่องราวต่อจากนี้
  • เหตุการณ์ประหลาดๆในคฤหาสถ์ลึกลับ
    • ยามค่ำคืน ฝนตกหนัก ยางแตก รถเสียข้างทาง Brad & Janet จึงจำต้องขอหลบฝน พักค้างแรมยังคฤหาสถ์หลังหนึ่ง
    • เมื่อมาถึงได้รับการต้อนรับสุดแปลกประหลาด พอดิบพอดีตรงกับงานวันเกิดของ
    • Dr. Frank-N-Furter พา Brad & Janet ขึ้นไปบนห้องทดลอง พบเห็นการถือกำเนิดของ Rocky Horror
    • จู่ๆเด็กส่งของ Eddie ขับรถพุ่งผ่านกำแพง เข้ามาก่อกวนความสงบ สร้างความไม่พึงพอใจให้กับ Dr. Frank-N-Furter เลยถูกเข่นฆาตกรรม
  • ค่ำคืนแห่งการสูญเสียความบริสุทธิ์
    • Brad & Janet ถูกพาไปพักผ่อนคนละห้องพัก
    • Dr. Frank-N-Furter แอบเข้าห้องของ Janet
    • Dr. Frank-N-Furter แอบเข้าห้องของ Brad
    • เรื่องวุ่นๆหลังจาก Rocky Horror หลุดจากพันธนาการ
    • Janet พบเห็นภาพบาดตาบาดใจของ Brad เลยตัดสินใจเข้าหา Rocky Horror
    • Dr. Frank-N-Furter รับไม่ได้กับภาพบาดตาบาดใจของ Rocky Horror
  • ความโฉดชั่วร้ายของ Dr. Frank-N-Furter
    • Dr. Scott ออกติดตามหา Eddie มานถึงคฤหาสถ์ของ Dr. Frank-N-Furter
    • Dr. Frank-N-Furter เลี้ยงอาหาร(ไม่รู้มื้อดึกหรือมื้อเช้า)กับ Dr. Scott ก่อนเปิดเผยสิ่งบังเกิดขึ้นกับ Eddie
    • จากนั้น Dr. Frank-N-Furter ใช้เครื่องแปรสัญญาณ (Medusa Transducer) ทำให้ใครต่อใครกลายร่างเป็นรูปปั้นนู๊ด
  • สูงสุดกลับสู่สามัญของ Dr. Frank-N-Furter
    • จากนั้นบีบบังคับให้พวกเขาทำการแสดงคาบาเรต์ ยังเสาส่งสัญญาณ RKO และแหวกว่ายอยู่ในสระว่ายน้ำ
    • สองคนรับใช้ Riff Raff และ Magenta ตัดสินใจก่อการกบฎ เปิดเผยตัวตน ใช้ปืนเลเซอร์จัดการ Dr. Frank-N-Furter
    • หลังเสร็จภารกิจ ทั้งสองเดินทางกลับดาวเคราะห์บ้านเกิด ทอดทิ้ง Brad & Janet และ Dr. Scott หลบหนีหัวซุกหัวซุน

เพลงประกอบโดย Richard Neville Hartley (เกิดปี 1944) สัญชาติอังกฤษ ตั้งแต่เด็กฝึกฝนเปียโน โตขึ้นเป็นสมาชิกวง R&B ที่ Paris ชื่นชอบการแต่งเพลง ครั้งหนึ่งได้รับโอกาสให้มาช่วยคัดเลือกนักแสดงโปรดักชั่น Jesus Christ Superstar ณ กรุง London มีฝีไม้ลายมือเป็นที่ถูกใจผกก. Jim Sharman และ Richard O’Brien เลยชักชวนมาร่วมงาน The Rocky Horror Show

ฉบับละครเพลงเป็นการร้องสดๆระหว่างทำการแสดง จึงไม่มีการบันทึกเสียงไว้ล่วงหน้า ซึ่งแตกต่างจากภาพยนตร์ Hartley จำเป็นต้องเรียบเรียงหลายท่วงทำนองขึ้นใหม่ ปรับเปลี่ยนจังหวะช้า-เร็ว เพิ่มเติม-ตัดออกเนื้อคำร้อง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งก่อนเข้าห้องอัดเสียง จะมีซักซ้อมการแสดง (เพื่อให้นักแสดงรู้คิวของตนเอง) และพอบันทึกเสียงเสร็จ ค่อยกลับมาถ่ายทำจริงอีกครั้ง

The music for the film was re-arranged by Richard Hartley to suit the musical strengths of the cast. We also rehearsed before we recorded, so the songs were performed with a clear idea of the action involved, allowing the actors to characterize their songs. This resulted in a shift in interpretation between stage and film.

Jim Sharman

เกร็ด: อัลบัมเพลงประกอบ The Rocky Horror Picture Show (1975) ช่วงปีแรกๆขายไม่ออกสักเท่าไหร่ แต่พอหนังได้รับกระแสคัลท์ (Cult Following) จึงค่อยขายดีขึ้นตามลำดับ ตัวอัลบัมเคยทำอันดับสูงสุด 49 ชาร์ท Billboard 200 ประจำปี ค.ศ. 1978, และยอดขายเกิน 500,000 ก็อปปี้ (Gold Certified) เมื่อถึงปี ค.ศ. 1981


ผมจงใจนำ Science Fiction/Double Feature จากละครเพลงต้นฉบับ ขับร้องโดย Patricia Quinn (นักแสดงนำจากโปรดักชั่น London) เพื่อให้ลองเปรียบเทียบกับที่ได้ยินในหนัง ราวกับคนละบทเพลง! ส่วนตัวชื่นชอบฉบับเสียงนางฟ้านี้มากกว่า ฟังดูดัดจริต โรแมนติก กุ๊กกิ๊ก ดึงดูดความสนใจได้โดยทันที

ผิดกับฉบับภาพยนตร์ขับร้องโดย Richard O’Brien ทำเหมือนลิปซิงค์ (Lipsync) ดัดเสียง (ริมฝีปากผู้หญิง แต่เสียงร้องผู้ชาย) มีความเอื่อยๆ เฉื่อยๆ ยั่วเย้า เซ็กซี่ ร่านราคะ ขณะเดียวรู้สึกหลอกหลอน หวาดเสียวประตูหลัง … เพราะผมเป็นชายแท้ๆไง มันเลยแบบว่า !@#$%

Science Fiction onstage is a chirpy, witty, uptempo song – abrasive and attention demanding. It is, after all, the opening number of a stage show. In the film, it’s slow, sinuous and seductive – it draws you in.

Jim Sharman

ความน่าอึ้งทึ่งของบทเพลงนี้ คือการระยำสารพัดหนัง บุคคล แม้แต่ค่ายหนัง นำมาผสมผสานคลุกเคล้า ให้มีคำร้องสอดคล้อง เนื้อหาอะไรก็ไม่รู้ช่างหัวมัน แต่สามารถดึงดูดความน่าสนใจจากผู้ชมได้โดยทันที

Michael Rennie was ill
The day the Earth stood still
But he told us where we stand
And Flash Gordon was there
In silver underwear
Claude Rains was The Invisible Man

Then something went wrong
For Fay Wray and King Kong
They got caught in a celluloid jam
Then at a deadly pace
It came from outer Space
And this is how the message ran

Science fiction (ooh-ooh-ooh) double feature
Doctor X (ooh-ooh-ooh) will build a creature
See androids fighting (ooh-ooh-ooh) Brad and Janet
Anne Francis stars in (ooh-ooh-ooh) Forbidden Planet
Wo-oh-oh-oh-oh-oh
At the late night, double feature, picture show

I knew Leo G. Carroll
Was over a barrel
When Tarantula took to the hills
And I really got hot
When I saw Janette Scott
Fight a Triffid that spits poison and kills

Dana Andrews said prunes
Gave him the runes
And passing them used lots of skills
But when worlds collide
Said George Pal to his bride
I’m gonna give you some terrible thrills
Like a

Science fiction (ooh-ooh-ooh) double feature
Doctor X (ooh-ooh-ooh) will build a creature
See androids fighting (ooh-ooh-ooh) Brad and Janet
Anne Francis stars in (ooh-ooh-ooh) Forbidden Planet
Wo-oh-oh-oh-oh-oh
At the late night, double feature, picture show

I wanna go, oh-oh-oh-oh
To the late night, double feature, picture show
By R.K.O., wo-oh-oh-oh
To the late night, double feature, picture show
In the back row, oh-oh-oh-oh
To the late night, double feature, picture show

แม้นี่คือบทเพลงสารภาพรักของ Brad ต่อ Janet แต่ชื่อเพลงคือ Dammit Janet เอ๊ะ? มันยังไง? ขับร้องโดย Barry Bostwick และ Susan Sarandon, นี่เป็นการแอบบอกใบ้สถานการณ์ความรักระหว่างทั้งสองได้อย่างเนียนๆ ทุกสิ่งอย่างในซีเควนซ์นี้ดูปลอมๆ ปอกลอก ฝ่ายชายดูโล้เล้ลังเล เหมือนมีลับลมคมในอะไรบางอย่าง

[Brad Majors, spoken]
Hey, Janet

[Janet Weiss, spoken]
Yes, Brad?

[Brad Majors, spoken]
I’ve got something to say

[Janet Weiss, spoken]
Uh huh?

[Brad Majors, spoken]
I really love the…skillful way
You beat the other girls
To the bride’s bouquet

[Janet Weiss, spoken]
Oh…oh, Brad

[Brad Majors]
The river was deep but I swam it

[Chorus]
Janet

You might also like
Eddie
Richard O’Brien
Sweet Transvestite
Richard O’Brien
Over at the Frankenstein Place
Richard O’Brien

[Brad Majors]
The future is ours, so let’s plan it

[Chorus]
Janet

[Brad Majors]
So please don’t tell me to can it

[Chorus]
Janet

[Brad Majors]
I’ve one thing to say, and that’s
Dammit Janet, I love you
The road was long but I ran it

[Chorus]
Janet

[Brad Majors]
There’s a fire in my heart and you fan it

[Chorus]
Janet

[Brad Majors]
If there’s one fool for you then I am it

[Chorus]
Janet

[Brad Majors]
I’ve one thing to say, and that’s
Dammit Janet, I love you
Here’s a ring to prove that I’m no joker
There’s three ways that love can grow
That’s good, bad, or mediocre
Oh J-A-N-E-T, I love you so

[Janet Weiss]
Oh, it’s nicer than Betty Munroe had

[Chorus]
Oh, Brad

[Janet Weiss]
Now we’re engaged and I’m so glad

[Chorus]
Oh, Brad

[Janet Weiss]
That you met Mom and you know Dad

[Chorus]
Oh, Brad

[Janet Weiss]
I’ve one thing to say, and that’s
Brad, I’m mad, for you too
Oh, Brad

[Brad Majors]
Oh, dammit

[Janet Weiss]
I’m mad

[Brad Majors]
Oh, Janet

[Janet Weiss]
For you

[Brad Majors]
I love you too

[Brad & Janet]
There’s one thing left to do, ah-hoo

[Brad Majors]
And that’s go see the man who began it

[Chorus]
Janet

[Brad Majors]
When we met in his science exam-it

[Chorus]
Janet

[Brad Majors]
Made me give you the eye and then panic

[Chorus]
Janet

[Brad Majors]
Now I’ve one thing to say, and that’s
Dammit Janet, I love you
Dammit, Janet

[Janet Weiss]
Oh Brad, I’m mad

[Brad Majors]
Dammit, Janet

[Brad & Janet]
I love you

Time Warp ขับร้องโดย Richard O’Brien & Patricia Quinn & Nell Campbell อีกเพลงฮิตที่ทำการเคารพคารวะ ขณะเดียวกันต้องการล้อเลียนหนังเต้นยุคสมัยก่อน (parody) โดยไฮไลท์ที่ผมชื่นชอบมากๆคือลีลาการตัดต่อ บ่อยครั้งแทรกภาพนักอาชญาวิทยา (Criminologist) พูดสอนท่วงท่าเต้น ขยับเท้าซ้าย-ขวา สร้างความสนุกสนาน อยากลุกขึ้นมาขยับโยกตาม

[Riff Raff]
It’s astounding
Time is fleeting
Madness takes its toll
But listen closely

[Magenta]
Not for very much longer

[Riff Raff]
I’ve got to keep control

I remember doing the Time Warp
Drinking those moments when
The blackness would hit me

[Riff Raff & Magenta]
And the void would be calling

[All]
Let’s do the Time Warp again
Let’s do the Time Warp again

[The Criminologist]
It’s just a jump to the left

You might also like
Rich Men North of Richmond
Oliver Anthony Music
Sweet Transvestite
Richard O’Brien
​vampire
Olivia Rodrigo
[All]
And then a step to the right

[The Criminologist]
With your hands on your hips

[All]
You bring your knees in tight
But it’s the pelvic thrust
That really drives you insane

[All]
Let’s do the Time Warp again
Let’s do the Time Warp again

[Magenta]
It’s so dreamy
Oh, fantasy free me
So you can’t see me
No, not at all
In another dimension
With voyeuristic intention
Well secluded, I see all

[Riff Raff]
With a bit of a mind flip

[Magenta]
You’re into the time slip

[Riff Raff]
And nothing can ever be the same

[Magenta]
You’re spaced out on sensation

[Riff Raff]
Like you’re under sedation

[All]
Let’s do the Time Warp again
Let’s do the Time Warp again

[Columbia]
Well I was walking down the street
Just a having a think
When a snake of a guy gave me an evil wink
He shook-a me up, he took me by surprise
He had a pick up truck and the devil’s eyes
He stared at me and I felt a change
Time meant nothing, never would again

[All]
Let’s do the Time Warp again
Let’s do the Time Warp again

[The Criminologist]
It’s just a jump to the left

[All]
With a step to the right

[The Criminologist]
Put your hands on your hips

[All]
You bring your knees in tight
But it’s the pelvic thrust
That really drives you insane

Let’s do the Time Warp again
Let’s do the Time Warp again

I’m just a sweet transvestite from Transsexual, Transylvania.

นั่นคือประโยคคำร้องที่กลายเป็น ‘Iconic’ ของบทเพลง Sweet Transvestite (ผมถือว่าเป็นเพลงชาติของชาว Transvestite) ขับร้องโดย Tim Curry สำหรับเปิดตัวละคร Dr. Frank-N-Furter ได้อย่างหนักแน่น สุดเหวี่ยง ทรงพลัง ฟังเหมือนบุรุษมาดแมน แต่เสื้อผ้าสวมใส่ชัดเจนว่าคือชายข้ามเพศ … อย่าตัดสินคนแค่เพียงเปลือกภายนอก (Don’t judge a book by its cover)

How d’you do, I
See you’ve met my
Faithful handyman
He’s just a little brought down because
When you knocked
He thought you were the candy man

Don’t get strung out by the way that I look
Don’t judge a book by its cover
I’m not much of a man by the light of day
But by night I’m one hell of a lover

I’m just a sweet transvestite
From Transexual, Transylvania, ha ha

Let me show you around, maybe play you a sound
You look like you’re both pretty groovy
Or if you want something visual that’s not too abysmal
We could take in an old Steve Reeves movie

I’m glad we caught you at home
Could we use your phone?
We’re both in a bit of a hurry (right!)
We’ll just say where we are, then go back to the car
We don’t want to be any worry

Well, you got caught with a flat, well, how about that?
Well, babies, don’t you panic
By the light of the night, it’ll all seem alright
I’ll get you a satanic mechanic

I’m just a sweet transvestite
From Transexual, Transylvania, ha ha

Why don’t you stay for the night? (night)
Or maybe a bite? (bite)
I could show you my favorite obsession
I’ve been making a man
With blond hair and a tan
And he’s good for relieving my tension

I’m just a sweet transvestite
From Transexual, Transylvania, ha ha
Hit it, hit it, I’m just a sweet transvestite (sweet transvestite)
From Transexual, Transylvania, ha ha

So, come up to the lab
And see what’s on the slab
I see you shiver with antici-
-Pation
But maybe the rain
Is really to blame
So I’ll remove the cause
But not the symptom

The Sword of Damocles ขับร้องโดย Peter Hinwood หลังการถือกำเนิดของ Rocky Horror ซึ่งไม่ใช่แค่ผู้ชม แต่ยังตัวของ Rocky รู้สึกหลอกหลอนในตนเอง ฉันคือใคร? ทำไมมีความทรงจำบางส่วนของ Eddie? เต็มไปด้วยความสับสน หวาดกังวล วิ่งวนไปวนมารอบห้อง ไม่รู้จะทำอะไรยังไง

เกร็ด: The sword of Damocles is hanging over my head. คือสำนวนหมายถึง เหตุการณ์เลวร้ายสามารถทำลายตัวเราได้ทุกนาที (เหมือนมีดาบห้อยอยู่เหนือศีรษะ) ว่ากันว่ามาจากเรื่องเล่าชาวโรมัน กษัตริย์ Dionysius Exiguus แห่ง Syracuse ต้องการดับความอิจฉาของลูกน้องคนสนิท Damocles ที่ชอบเยินยอปอปั้น ลุ่มหลงใหลอำนาจ เงินๆทองๆ ด้วยการอนุญาตให้นั่งบนบัลลังก์ราชาได้หนึ่งวัน ขณะกำลังอิ่มเอมใจอยู่นั้น แหงนเงยหน้าขึ้นเห็นดาบห้อยอยู่เหนือศีรษะ บังเกิดความตระหนักว่าอำนาจ โชคลาภ แม้ทำให้ชีวิตสุขสบาย แต่ซุกซ่อนเร้นด้วยภยันตราย ความตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม

[Rocky]
The sword of Damocles is hanging over my head
And I’ve got the feeling someone’s going to be cutting the thread
Oh, woe is me
My life is a misery
Oh, can’t you see
that I’m at the start of a pretty big downer

I woke up this morning with a start
when I fell out of the bed

[Transylvanians]
That ain’t no crime

[Rocky]
And left from my dreaming
was a feeling of unamiable dread

[Transylvanians]
That ain’t no crime

[Rocky]
My high is low
I’m dressed up with no place to go
And all I know is I’m at the start
of a pretty big downer

[Transylvanians]
Sha la la la that ain’t no crime

[Rocky]
Oh, no no no!

[Transylvanians]
Sha la la la that ain’t no crime

[Rocky]
Oh, no no no!

[Transylvanians]
Sha la la la that ain’t no crime
That ain’t no crime
Sha la la

[Rocky]
The sword of Damocles is hanging over my head

[Transylvanians]
That ain’t no crime

[Rocky]
And I’ve got the feeling someone’s going to be cutting the thread

[All]
That ain’t no crime

[Rocky]
Oh woe is me
My life is a mistery
Oh can’t you see
that I’m at the start of apretty big downer

[Transylvanians]
Sha la la la that ain’t no crime

[Rocky]
Oh, no no no!

[Transylvanians]
Sha la la la that ain’t no crime

[Rocky]
Oh, no no no!

[Transylvanians]
Sha la la la that ain’t no crime
That ain’t no crime
Sha la la

Touch-A, Touch-A, Touch Me ขับร้องโดย Susan Sarandon, หลังความผิดหวังจากการพบเห็นคู่หมั้น Brad กระทำสิ่งบาดตาบาดใจกับ Dr. Frank-N-Furter จึงเกิดความรังเกียจ ขยะแขยง ยินยอมรับความจริงไม่ได้ จึงหันมายั่วราคะ Rocky Horror เรียกร้องให้สัมผัส จับต้อง ร่วมเพศสัมพันธ์ … จนกลายเป็น Creature of the night

[Janet]
I was feeling done in, couldn’t win,
I’d only ever kissed before,

[Columbia]
You mean she

[Magenta]
Uhu

[Janet]
I thought theres no use getting, into heavy petting,
It only leads to trouble and, seat wetting,
Now all I want to know, is how to go,
I’ve tasted blood and I want more (more, more, more)
I’ll put up no resistance, I want to stay the distance,
I’ve got an itch to scratch, I need assistance,

Toucha, toucha, toucha, touch me,
I wanna be dirty,
thrill me, chill me, fullfill me,
Creature of the night

[Janet]
Then if anything grows, while you pose,
I’ll oil you up and rub you down (down, down, down),
And thats just one small fraction, of the main attraction,
You need a friendly hand, oh i need action,

Toucha, toucha, toucha, touch me,
I wanna be dirty,
thrill me, chill me, fullfill me,
Creature of the night

[Columbia]
Toucha, toucha, toucha, touch me

[Magenta]
I wanna be dirty

[Columbia]
Thrill me, chill me fullfill me

[Magenta]
Creature of the night

[Janet]
Oh, toucha, toucha, toucha, TOUCH ME,
I wanna be dirty,
Thrill me, chill me, fullfill me,
Creature of the night,

[Rocky]
Creature of the night

[Brad]
Creature of the night

[Dr. Frank-N-Furter]
Creature of the night

[Magenta]
Creature of the night

[Riff Raff]
Creature of the night

[Columbia]
Creature of the night

[Rocky]
Creature of the night

[Janet]
CREATURE OF THE NIGHT

คลิปที่ผมนำมานี้ทำการรวมสามบทเพลง Rose Tint My World (2.48) Fanfare/Don’t Dream It, Be It (3.38) และ Wild and Untamed Thing (1.53) ประกอบการแสดงโชว์คาบาเร่ต์ ซึ่งมีความสุดเหวี่ยง คลุ้มบ้าคลั่ง นำโดย Dr. Frank-N-Furter และทาสกามทั้งหมาย Brad, Janet, Rocky, Columbia รวมถึง Dr. Scott ก่อนทุกสิ่งอย่างจะสิ้นสุดลงเพราะการมาถึงของ Riff Raff และ Columbia มิอาจอดรนทนได้อีกต่อไป

ทิ้งท้ายกับบทเพลง I’m Going Home ขับร้องโดย Tim Curry รำพันความทรงจำ กำลังจะต้องร่ำจากลาทุกสิ่งอย่าง แต่ในความเป็นจริงแล้ว Dr. Frank-N-Furter ถูกบีบบังคับให้ต้องเดินทางกลับบ้าน … แต่ไม่ใช่หมายถึงดาวเคราะห์บ้านเกิดหรอกนะครับ

[Verse 1]
On the day I went away (goodbye)
Was all I had to say (now I)
I want to come again and stay (oh my, my)
Smile, and that will mean I may

[Chorus]
‘Cause I’ve seen, oh, blue skies
Through the tears in my eyes
And I realise
I’m going home
(I’m going home)

[Verse 2]
Everywhere it’s been the same (feeling)
Like I’m outside in the rain (wheeling)
Free, to try and find a game (dealing)
Cards for sorrow, cards for pain

[Chorus]
‘Cause I’ve seen, oh, blue skies
Through the tears in my eyes
And I realise
I’m going home

[Outro]
I’m going home (I’m going home)
I’m going home (I’m going home)
I’m going home (I’m going home)

มองอย่างผิวเผิน The Rocky Horror Picture Show (1975) ทำการล้อเลียน ปู้ยี่ปู้ยำหนัง Sci-Fi และ Horror เกรด B (B-movie) ในสไตล์หนังเพลง Rock Opera ร้อง-เล่น-เต้น นำแสดงโดยผู้ชายข้ามเพศ แต่งหญิง (Transvestite) มีความเหนือจริง หลอกหลอน หวาดเสียวประตูหลัง

แต่เป้าหมายแท้จริงของหนัง ต้องการนำพาผู้ชมพานผ่านประสบการณ์สุดวิปริต แปลกพิศดาร คฤหาสถ์ลึกลับจากนอกโลก เพื่อเปิดมุมมอง วิถีชายข้ามเพศ (Transvestite) อาจทำให้สามารถเข้าใจตัวตนเอง ค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศ และปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ภายในออกมา

  • สำหรับคนที่ชื่นชอบหนัง มันไม่จำเป็นว่าต้องมีรสนิยมรักร่วมเพศเท่านั้นนะครับ แต่หมายถึงคุณสามารถเปิดมุมมอง ยินยอมรับ เข้าใจวิถีเพศสภาพที่แตกต่าง
  • ส่วนคนที่ไม่ชอบหนัง ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องมีอคติต่อกลุ่มคนรักร่วมเพศเท่านั้นเช่นกัน
    • ส่วนตัวผมเองที่ไม่ค่อยชอบหนัง เพราะมองว่าเป็นการบีบบังคับ ‘ข่มขืนใจ’ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประเด็นรักร่วมเพศ หรือรังเกียจตุ๊ด กะเทย (Drag Queen)

มันเป็นประเด็นปลายเปิดเมื่อ Dr. Frank-N-Furter เข้าไปในห้องของ Brad และ Janet ทั้งๆที่พวกเขาต่างหมั้นหมาย กำลังจะแต่งงาน แต่กลับถูกโน้มน้าว ลวงล่อหลอก ให้กระทำสิ่งขัดต่อหลักศีลธรรมจรรยา ค่านิยมอันดีงามของสังคม … ขึ้นอยู่กับผู้ชมจะมองว่าพวกเขาถูกบีบบังคับ หรือยินยอมพร้อมใจ

แต่พฤติกรรมทั้งหลายของ Dr. Frank-N-Furter สะท้อนแนวคิด วิถีชีวิต ธรรมชาติชาว LGBTQIAN+ ทำไมฉันต้องอดกลั้น ปิดบัง กักขังตนเองอยู่ในตู้เสื้อผ้า ยุคสมัยนี้ถึงเวลาที่ต้องรู้จักปลดปล่อย(น้ำกาม)ตัวตนเอง เลือกใช้ชีวิตด้วยสันชาตญาณ ตอบสนองตัณหาพึงพอใจ โดยไม่ต้องสนห่าเหวอะไรใคร ออกเดินทางสู่จักรวาลกว้างใหญ่

สำหรับ Richard O’Brien เจ้าของบทละครเพลง The Rocky Horror Show เคยพานผ่านการถูกกดขี่ข่มเหง เต็มไปด้วยความสับสน ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง แต่หลังจากค้นพบเสรีภาพทางเพศ เรียนรู้ที่จะปลดปล่อยความต้องการ สรรค์สร้างผลงานเรื่องนี้เพื่อนำทางพวกพ้อง ผองเพื่อน นี่คือช่วงเวลา Sexual Revolution (1960s-70s) ไม่จำเป็นต้องหลบซ่อนตัวอีกต่อไป

All my life, I’ve been fighting never belonging, never being male or female, and it got to the stage where I couldn’t deal with it any longer. To feel you don’t belong … to feel insane … to feel perverted and disgusting … you go f***ing nuts.

If society allowed you to grow up feeling it was normal to be what you are, there wouldn’t be a problem. I don’t think the term ‘transvestite’ or ‘transsexual’ would exist: you’d just be another human being.

I’d been fighting, going to therapy, treating what I was as though it were some kind of illness to be cured. But actually, no, I was basically transgender, and just unhappy.

Richard O’Brien

ผมหาข้อมูลเกี่ยวกับผกก. Jim Sharman ไม่ได้มากนัก! เลยไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับ The Rocky Horror Show แต่ความสนใจในละครเวทีแนวทดลอง (Experimental Theatre) บุกเบิกแนว Rock Opera แสดงถึงอุปนิสัยหัวขบถ ชื่นชอบความท้าทาย เปิดกว้างแนวคิดใหม่ๆ … อาจจะมีหรือไม่มีรสนิยมรักร่วมเพศ แต่วิสัยทัศน์ถือว่าลุ่มลึก ล้ำกาลเวลา

กระแสนิยมของ The Rocky Horror Picture Show (1975) ที่ยังคงฉายติดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 2023) แสดงว่าเรื่องราวของหนังยังคงสั่นพ้องผู้ชม ตอบสนองความสนใจคนรุ่นใหม่ ยังมีวัยรุ่นหนุ่ม-สาวอีกมากมายที่ไม่รู้จักตัวตนเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ‘พื้นที่’ สำหรับพวกเขาให้ได้เรียนรู้ ค้นพบ และเข้าใจความต้องการแท้จริง


แม้ว่าหนังใช้ทุนสร้างเพียง $1.4-1.6 ล้านเหรียญ แต่ในการออกฉายครั้งแรก ค.ศ. 1975 ด้วยเสียงตอบรับต่ำเตี้ยเรี่ยดิน เลยทำเงินเพียงน้อยนิด ยืนโรงไม่กี่วันก็ถูกถอดรอบออกหมด, ต่อมามีการฉายควบ (Double-Bill) ร่วมกับ Phantom of the Paradise (1974) ของผกก. Brian De Palma แต่ก็ไม่มีอะไรกระเตื้องขึ้นมา

ด้วยความสำเร็จการฉายรอบดึก (Midnight Movie) ของภาพยนตร์ Pink Flamingos (1972) ทำให้โปรดิวเซอร์อยากทำเช่นนั้นดูบ้าง โดยเริ่มจากทดลองฉายค่ำคืน April Fool’s Day วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1976 ตามด้วยทำเป็น ‘Secret Movie’ แอบเข้าฉาย Seattle International Film Festival จากนั้นลงหลักปักฐานยัง Waverly Theater, New York City คำแนะนำปากต่อปาก ทำให้ได้รับกระแสคัลท์ติดตามมาอย่างรวดเร็ว แพร่ระบาดไปตามหัวเมืองต่างๆทั่วสหรัฐอเมริกา จนถึงปัจจุบันหลายโรงภาพยนตร์ยังคงฉายติดต่อเนื่อง(เฉพาะรอบดึก)ยาวนาน 48+ ปี ประเมินรายรับสูงถึง $226 ล้านเหรียญ!

สำหรับฉบับ Home Video เหมือนจะไม่ได้รับกระแสนิยมเทียบเท่า (เพราะหนังเหมาะสำหรับรับชมในโรงภาพยนตร์มากกว่า) แต่ค่ายหนังก็เข็นฉบับครบรอบออกมาแทบจะทุกทศวรรษ

  • VHS ในโอกาสครบรอบ 15th Anniversary ค.ศ. 1990
  • DVD ในโอกาสครบรอบ 25th Anniversary ค.ศ. 2000
  • Blu-Ray (ของสตูดิโอ Fox) ในโอกาสครบรอบ 35th Anniversary ค.ศ. 2010 (ฉบับสแกนใหม่ 4K/2K)
  • Blu-Ray (ของสตูดิโอ Fox) ในโอกาสครบรอบ 40th Anniversary ค.ศ. 2015
  • Blu-Ray (ของสตูดิโอ Walt Disney) ในโอกาสครบรอบ 45th Anniversary ค.ศ. 2020

ครั้งหนึ่งผมเคยพบเจอชายแปลกหน้า เข้ามาสอบถามทางไปโน่นนี่นั่น ก็ให้คำแนะนำเท่าที่จะช่วยเหลือได้ หลายวันถัดมาบังเอิญพบกันอีก พูดคุยสนทนากันอย่างออกรส ยินยอมแลกเบอร์โทรศัพท์ อีกหลายวันถัดมาอีกฝ่ายโทรชักชวนไปดื่มกิน บอกจะมารับที่ห้อง ชายกับชายคงไม่เป็นอะไรหรอกกระมัง แต่ไปๆมาๆมือของหมอนั่นกลับเริ่มลุกล้ำ เกินเลยความเหมาะสม เห้ยมันไม่ใช่ …

รับชม The Rocky Horror Picture Show (1975) ทำให้ผมหวนระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น เหมือนถูกล่อลวง หลอกไปล่วงละเมิด ข่มขืนกระทำชำเรา พ่นน้ำกามใส่หน้า คือถ้าตนเองมีรสนิยมทางนั้นก็คงไม่ตะขิดตะขวงใจ แต่ความรู้สึกคือต่อต้านขัดขืน ไม่ยินยอมพร้อมใจ ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เฉกเช่นเดียวกัน!

ความชอบ-ไม่ชอบหนังเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องของรสนิยมล้วนๆเลยนะ ผมพยายามมองในแง่ความบันเทิง แม้จะมีหลายส่วนที่ประทับใจ บทเพลงไพเราะ ดูสนุกสนาน แต่เพราะความโจ่งแจ้ง โจ๋งครึ่ม ปล่อยตัวปล่อยใจ ไม่รู้จักควบคุมตนเอง นั่นคือเสรีภาพสุดโต่งเกินไป … ภาพยนตร์ลักษณะนี้สนเพียงตอบสนองตัณหาผู้สร้างเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

แต่ว่ากันตามตรง ผมโคตรอยากนำ The Rocky Horror Picture Show (1975) ใส่ในรายการ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” เพราะอาจทำให้วัยรุ่น คนหนุ่มสาว ได้มีโอกาสรับเรียนรู้ เข้าใจตัวตนเอง ค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศ เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ จะสามารถเอาตัวรอดจากบ้านผีสิง/ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้หรือไม่

จัดเรต NC-17 กับความสัปดลเรื่องเพศ

คำโปรย | The Rocky Horror Picture Show พื้นที่สำหรับการเรียนรู้ เข้าใจตัวตนเอง ค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศ เป็นความบันเทิงของชาว LGBTQIAN+ ปลดปล่อยน้ำกาม เปียกปอน ชุ่มฉ่ำ
คุณภาพ | สัปดล
ส่วนตัว | ปลดปล่อยน้ำกาม

The Hireling (1973)


The Hireling (1973) British : Alan Bridges ♥♥

หญิงสาวผู้ดีอังกฤษ Sarah Miles ล้มป่วยโรคซึมเศร้า (Depression) จากการสูญเสียสามี ว่าจ้างคนขับรถ Robert Shaw ชักชวนพูดคุยสนทนา ทำให้ค่อยๆสามารถปรับตัวเข้าหาผู้อื่น แต่ฝ่ายชายกลับเกิดความเข้าใจผิด ครุ่นคิดว่าเธอแอบชื่นชอบตกหลุมรัก, ภาพยนตร์รางวัล Palme d’Or ที่ไม่สมควรค่าสักเท่าไหร่!

รับชม The Hireling (1973) ทำให้ผมนึกถึง Driving Miss Daisy (1989) และ Green Book (2018) ต่างเป็นภาพยนตร์แนวลูกจ้างขับรถ-ลูกค้า ที่นำเสนอความแตกต่างทางชนชั้น สถานะทางสังคม สองเรื่องหลังถูกตั้งข้อครหาถึงความไม่สมควรค่าคว้ารางวัล Oscar: Best Picture เฉกเช่นเดียวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ได้ Palme d’Or ยังไงกัน?

ผมอุตส่าห์คาดหวังกับภาพยนตร์ดัดแปลงนวนิยายของ L.P. Hartley เพราะก่อนหน้านี้เพิ่งได้รับชม The Go-Between (1971) กำกับโดย Joseph Losey ที่สามารถคว้ารางวัล Palme d’Or คุณภาพเกือบๆจะมาสเตอร์พีซ แต่ก็ลืมไปว่ามันมีปัจจัยของผู้สร้าง ซึ่งแบ่งแยกระหว่างศิลปิน (Auteur) vs. ผู้กำกับหนังตลาดทั่วๆไป

อย่างไรเสียหนังก็ไม่ได้ย่ำแย่ไปเสียหมด ผมรู้สึกว่า Sarah Miles ตีบทแตกละเอียด! การแสดงของเธออาจดูปะแล่มๆในช่วงแรกๆ แต่นั่นคือสภาพของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว จากนั้นจะค่อยๆเริ่มมีพัฒนาการ สามารถปรับตัวเข้ากับผู้คนรอบข้าง จนเกือบหายกลายเป็นปกติ ก่อนทุกสิ่งอย่างพังทลายลงอีกครั้ง … เป็นหนังที่ดูน่าสนใจเพราะนำเสนอแนะวิธีรักษาดูแล รักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แต่ตอนจบแม้งดันวกกลับสู่จุดเริ่มต้น ทำลายทุกสิ่งอย่างอุตส่าห์สร้างมา!


ก่อนอื่นขอกล่าวถึง L. P. Hartley ชื่อเต็ม Leslie Poles Hartley (1895-1972) นักเขียนนวนิยาย/เรื่องสั้น สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Whittlesey, Cambridgeshire บิดาเป็นเจ้าของโรงงานก่ออิฐ (ถือเป็น Lower-Middle Class) ตั้งแต่เด็กค้นพบความชื่นชอบผลงานของ Edgar Allen Poe เริ่มหัดแต่งเรื่องสั้นตั้งแต่อายุ 11 ขวบ, ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอาสาสมัครทหาร เป็นเจ้าหน้าที่ประจำ Norfolk Regiment แต่ไม่ได้เข้าร่วมรบเพราะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจอ่อนแอ, หลังสงครามเรียนจบเกียรตินิยมอันดับสอง สาขาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ Balliol College, Oxford ทำงานเป็นนักเขียน ตีพิมพ์บทความ เรื่องสั้นลงนิตยสาร Oxford Poetry, โด่งดังกับนวนิยายไตรภาค Eustace and Hilda (1944–47), The Go-Between (1953) และ The Hireling (1954) [สองเรื่องหลังเมื่อได้รับการดัดแปลงภาพยนตร์ สามารถคว้ารางวัล Palme d’Or]

สำหรับ The Hireling นำเสนอเรื่องราวความรักต่างชนชั้น ของสองบุคคลผู้มีความโดดเดี่ยวอ้างว้าง ต่างฝ่ายต่างได้รับความเจ็บปวดทางจิตใจบางอย่าง เมื่อได้พบเจอ รับรู้จัก สามารถช่วยรักษาบาดแผลภายในของกันและกัน

I wanted to show the relationship between two people, both of whom were damaged in some way, and how they tried to heal each other. It’s a book about class, about loneliness, about how people try to find meaning in their lives. But at its heart, it’s a love story. I think it’s one of the best things I’ve written.

L. P. Hartley

เมื่อตอนนวนิยายจัดจำหน่าย ได้เสียงตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์ แม้ไม่ถึงขั้นกลายเป็น Best-Selling แต่ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญของ L. P. Hartley

The novel is a tour-de-force of observation and analysis, with a darkly romantic heart that beats beneath the surface of its social critique.

นักวิจารณ์จาก The New York Times

A novel of extraordinary power and subtlety… Hartley has caught, as few novelists have, the nuances of class and sexual conflict that mark the period.

นักวิจารณ์จาก The Observer

Alan Bridges (1927-2013) ผู้กำกับสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Liverpool โตขึ้นสามารถสอบเข้า Oxford University แต่เปลี่ยนความสนใจย้ายมาร่ำเรียนการแสดง Royal Academy of Dramatic Art (RADA) จบออกมาทำงานละครเวที ก่อนเปลี่ยนมากำกับซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องแรก Act of Murder (1964), ผลงานส่วนใหญ่มักดัดแปลงนวนิยายชื่อดัง อาทิ Great Expectations (1967), Les Miserables (1967), Brief Encounter (1974) ฯ

ความสำเร็จของ The Go-Between (1971) น่าจะคือแรงผลักดันให้ผกก. Bridge สนใจดัดแปลงนวนิยาย The Hireling ของ L. P. Hartley มอบหมายให้นักเขียน Wolf Mankowitz (1924-98) เคยพัฒนาบทภาพยนตร์อย่าง The Day the Earth Caught Fire (1961), Casino Royale (1967), The 25th Hour (1967) ฯ

บทภาพยนตร์มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขจากนวนิยายอยู่ไม่น้อย โดยรายละเอียดหลักๆประกอบด้วย

  • ฉบับภาพยนตร์ทำการตัดทิ้งเรื่องราวบุตรชายของ Lady Franklin ที่มีความสำคัญอย่างมากๆในนวนิยาย
  • ชื่อตัวละคร Parkin กลายมาเป็น Steven Ledbetter รวมพื้นหลังมีการระบุเพิ่มในภาพยนตร์ว่าเคยเป็นนักมวย และอดีตทหารผ่านศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
  • ในนวนิยายไม่มีตัวละคร Captain Hugh Cantrip รวมถึงการแข่งขันชกมวยชิงแชมป์ The Sir Thomas Franklin Challenge Cup
  • ในนวนิยายเหมือนว่า Lady Franklin จะใช้เวลาค่ำคืนร่วมกับลูกจ้างขับรถ แต่ภาพยนตร์ตัดประเด็นนั้นออกไป
  • และตอนจบที่ทั้งสองตัดสินใจพรากจากกันโดยดี กลับกลายมาเป็นลูกจ้างขับรถแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราด และใช้ความรุนแรงชกต่อย Captain Cantrip

เกร็ด: ในบทสัมภาษณ์ของผกก. Bridge บอกว่าผู้แต่งนวนิยาย L. P. Hartley ได้ร่วมงานดัดแปลงอย่างใกล้ชิดกับ Mankowitz แม้จะพลันด่วนเสียชีวิตก่อนรับชมภาพยนตร์ แต่ก็พึงพอใจในบทหนังอย่างมาก

Hartley was very happy with the script. He complimented us on it. I think he (would) liked the film very much.

Alan Bridges

เรื่องราวมีพื้นหลัง Bath, Somerset ภายหลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1914-18), เรื่องราวของแม่หม้ายยังสาว Lady Franklin (รับบทโดย Sarah Miles) หลังจากสูญเสียสามีล้มป่วยโรคซึมเศร้า ระหว่างเดินทางกลับจากโรงพยาบาลจิตเวช ได้พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับลูกจ้างขับรถ Steven Ledbetter (รับบทโดย Robert Shaw) รู้สึกว่าสามารถช่วยผ่อนคลายอาการหวาดกังวลได้ไม่น้อย

ด้วยเหตุนี้หลายต่อหลายครั้งที่ Lady Franklin ออกเดินทางแห่งหนไหน ก็จักคอยติดต่อจ้างงานลูกจ้างขับรถ Ledbetter ไปรับ-ไปส่ง จนเกิดความสนิทสนมชิดเชื้อ แต่นั่นทำให้เขาเกิดความหลงผิด ครุ่นคิดว่าเธอมีใจ บังเกิดความอิจฉาริษยา Captain Hugh Cantrip (รับบทโดย Peter Egan) จึงต้องการเปิดโปงข้อเท็จจริง พูดบอกความในใจของตนเอง


Robert Archibald Shaw (1927-78) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Westhoughton, Lancashire โตขึ้นเข้าเรียนการแสดงยัง Royal Academy of Dramatic Art จากนั้นมีผลงานละครเวที รับบทสมทบเล็กๆภาพยนตร์ The Lavender Hill Mob (1951), The Dam Busters (1955), เริ่มมีชื่อเสียงจากซีรีย์โทรทัศน์ The Buccaneers (1956–57), เป็นที่รู้จักระดับนานาชาติจาก From Russia with Love (1963), A Man for All Seasons (1966), The Sting (1973), Jaws (1975) ฯลฯ

รับบท Steven Ledbetter อดีตทหารผ่านศึก ดูมีความเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่าย ใช้ชีวิตวันๆอย่างไร้เป้าหมาย จนกระทั่งมีโอกาสเป็นลูกจ้างขับรถของ Lady Franklin ในตอนแรกๆก็พยายามรักษาระยะห่างนาย-บ่าว แต่เมื่อเกิดความสนิทสนมชิดเชื้อ จึงเริ่มหลงครุ่นคิดว่าเธอมีใจ แสดงสีหน้าอิจฉาริษยาต่อ Captain Hugh Cantrip ที่ได้อยู่เคียงชิดใกล้ เลยตัดสินใจฝืนพูดบอกความในออกมา

ตอนแรก Shaw ไม่ค่อยอยากตอบรับบทบาทนี้สักเท่าไหร่ เพราะเพิ่งเสร็จสิ้นถ่ายทำ The Sting (1973) เลยยังรู้สึกเหนื่อยๆ ต้องการหยุดรับงานสักพัก แต่หลังจากอ่านบทค่อยเกิดความสนอกสนใจ อีกทั้งตัวละครฉีกจาก ‘stereotypes’ เดิมๆของตนเองไปพอสมควร

ช่วงแรกๆของ Ledbetter ก็ไม่ต่างจาก Shaw ขณะนั้น เต็มไปด้วยความเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย ผลกระทบจากยุคสมัยหลังสงคราม (Great Depression) แต่ความสัมพันธ์ที่ค่อยๆสนิทสนมชิดเชื้อกับ Lady Franklin ปลุกตื่นความต้องการภายใน ครุ่นคิดว่าเธอคือคนที่ใช่ เต็มไปด้วยความกระตือลือร้น แต่ไม่นานก็รุกรี้รุกรน ไม่พึงพอใจต่อ Captain Cantrip จนแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด และใช้กำลังรุนแรง ชกต่อยกระทำร้ายร่างกาย … แม้สุดท้ายจะจบลงด้วยภาพจำ ‘tough guy’ แต่การแสดงของ Shaw เต็มไปด้วยความหลากหลาย พัฒนาการทางอารมณ์ ถือเป็นบทบาทน่าประทับใจไม่น้อยเลยละ!

Shaw is one of the few actors who can play a role like this and make it completely convincing. His acting is the key to the film’s success; if he were less than perfect, the whole structure would crumble.

นักวิจารณ์ Roger Ebert

แม้ว่าหนังพยายามแบ่งแยกความแตกต่างทางชนชั้น คือสิ่งกีดกันความสัมพันธ์ระหว่าง Lady Franklin กับ Ledbetter แต่ก่อนหน้านั้นเขาก็เคยบอกว่าตนเองแต่งงานมีบุตร พูดคุยหลายเรื่องของภรรยา นั่นถือเป็นเหตุผลหลักๆที่ทำให้เธอไม่ได้พัฒนาความรู้สึกใดๆ เพียงชายคนนี้ที่คิดเองเออเอง หลงเข้าใจอะไรผิดๆ แล้วแถมยังพยายามทำลายทุกสิ่งอย่าง แม้กระทั่งคนที่เขาตกหลุมรัก


Sarah Miles (เกิดปี 1941) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Ingatestone, Essex เมื่อตอนอายุ 15 สามารถเข้าเรียนการแสดง Royal Academy of Dramatic Art (RADA) จบออกมามีผลงานซีรีย์โทรทัศน์, ภาพยนตร์เรื่องแรก Term of Trial (1962) ได้เข้าชิง BAFTA Award: Best Newcomer, โด่งดังกับ The Servant (1963), Blowup (1966), Ryan’s Daughter (1970), The Hireling (1973), The Sailor Who Fell from Grace with the Sea (1976), Hope and Glory (1987) ฯ

รับบท Lady Franklin หลังสูญเสียสามี ล้มป่วยโรคซึมเศร้า เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจิตเวช การได้พบเจอ พูดคุยสนทนากับลูกจ้างขับรถ Steven Ledbetter ทำให้เธอค่อยๆสามารถปรับตัว เปิดหัวใจ พร้อมเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่กับ Captain Hugh Cantrip แต่หลังจากถูกคุกคามโดย Ledbetter ทุกสิ่งอย่างสร้างมาจึงล่มสลาย พังทลายโดยพลัน

ครึ่งแรกของหนังถือเป็นอีกไฮไลท์การแสดงของ Miles สีหน้าซีดเซียว ดวงตาลอยๆ น้ำเสียงสั่นๆ จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว นั่นคืออาการผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ภายในว่างเปล่า โดดเดี่ยวอ้างว้าง ต้องการอยู่เพียงลำพัง แต่วิธีรักษาคือต้องมองหาใครสักคนเคียงข้าง พูดคุยสนทนา คอยเป็นที่ปรึกษา อาการของ Lady Franklin จึงค่อยๆพัฒนาขึ้นหลังจากนั่งรถเล่นกับ Ledbetter

หลังจากพบเจอคบหากับ Captain Cantrip ก็ราวกับชีวิตกำลังได้เริ่มต้นใหม่ แต่แล้วการคุกคามของ Ledbetter กลับทำให้ทุกสิ่งอย่างพังทลาย วินาทีสุดท้ายสีหน้าของ Miles หวนกลับสู่จุดเริ่มต้น ตกอยู่ในสภาพหมดสิ้นหวัง แนวโน้มกำลังจะป่วยโรคซึมเศร้าอีกครั้ง

As the Lady Franklin, Miles is the very picture of sophistication and privilege, yet she manages to convey the deep loneliness and emptiness that lurks beneath her glamorous exterior.

นักวิจารณ์จาก The New York Times

ถ่ายภาพโดย Michael Reed (1929-2022) ตากล้องสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Wandsworth, London ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองทำงานแผนกถ่ายภาพ Hammer Films เริ่มจากเป็นเด็กตอกสเลท, ปรับโฟกัส, ได้รับเครดิตถ่ายภาพยนตร์ The Ugly Duckling (1959), Dracula: Prince of Darkness (1965), ผลงานเด่นๆ อาทิ On Her Majesty’s Secret Service (1969), The Hireling (1973) ฯ

โทนสีของหนังจะดูซีดๆ หม่นๆ ฉากภายในคฤหาสถ์/บ้านพักมักปกคลุมด้วยความมืดมิด เพื่อสะท้อนสภาวะจิตใจตัวละครล้มป่วยโรคซึมเศร้า, ตรงกันข้ามกับทิวทัศน์ภายนอกระหว่างขับรถเล่น มักพบเห็นท้องทุ่ง ต้นไม้สีเขียว สร้างความสดชื่น ผ่อนคลาย สบายตากว่า

แม้พื้นหลังของหนังคือ Bath, Somerset แต่จะพบเห็นถ่ายทำยังสถานที่จริงเพียงบ้านของ Lady Franklin ตั้งอยู่ย่าน Lansdowne Crescent ส่วนสถานที่อื่นๆเท่าที่ผมพอหาข้อมูลได้ ประกอบด้วย

  • คฤหาสถ์หลังใหญ่ Sutton Place ตั้งอยู่ยัง Woking, Surrey (ขณะนั้นเป็นบ้านของนักแสดง Paul Getty)
  • เนินเขาม้าเห็นมีหลายสถานที่ในอังกฤษ แต่ผมครุ่นคิดว่าน่าจะถ่ายทำยัง Cherhill White Horse บนเนินเขา Cherhill Down ทางตะวันออกของ Calne, Wiltshire

ตัดต่อโดย Peter Weatherley (1930-2015) สัญชาติอังกฤษ เริ่มต้นจากทำงานแผนกตัดต่อ Hammer Film ผลงานเด่นๆ อาทิ Scrooge (1970), The Hireling (1973), Brief Encounter (1974), Alien (1979) ฯ

ครึ่งแรกของหนังนำเสนอผ่านมุมมองตัวละคร Lady Franklin โดยเหตุการณ์ต่างๆจะดำเนินไปอย่างเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า เต็มไปด้วยการสนทนายืดยาวนาน, แต่ครึ่งหลังสลับสับเปลี่ยนมา Steven Ledbetter ซึ่งมีการตัดต่อที่รวดเร็ว กระชับ ฉับไว เพื่อสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ตัวละคร หงุดหงิด ไม่พึงพอใจ เต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราด

  • การเริ่มต้นใหม่ของ Lady Franklin
    • Lady Franklin ได้รับการปล่อยตัวจากโรงพยาบาล
    • ระหว่างทางกลับบ้าน พูดคุยสนทนากับลูกจ้างขับรถ Ledbetter
    • แต่พอกลับถึงบ้าน รับประทานอาหารกับมารดา พยายามรื้อฟื้นอดีตที่ไม่อยากจดจำ
  • Lady Franklin กับลูกจ้างขับรถ Ledbetter
    • Lady Franklin ว่าจ้างลูกจ้างขับรถ Ledbetter พาไปส่งคฤหาสถ์ Sutton Place
    • วันถัดๆมาเดินทางไปปิคนิคยัง Cherhill White Horse
    • Lady Franklin รับประทานอาหารกับมารดาอีกครั้ง แม้ยังปฏิเสธออกงานสังคม แต่อาการของเธอก็ดีขึ้นมากๆ
  • การแข่งขันชกมวยชิงแชมป์ The Sir Thomas Franklin Challenge Cup
    • Ledbetter เล่าถึงอดีตที่เคยเป็นนักมวย ปัจจุบันก็เปิดค่ายมวย จากนั้นชักชวน Lady Franklin ให้ร่วมสนับสนุนการแข่งขันชกมวยชิงแชมป์
    • การแข่งขันชกมวยชิงแชมป์
    • หลังเสร็จสิ้นการแข่งขัน Captain Cantrip ชักชวน Lady Franklin มาร่วมรับประทานอาหารเย็น
  • ความอิจฉาริษยาของ Ledbetter
    • Ledbetter เกิดความไม่พึงพอใจที่ Lady Franklin สานสัมพันธ์กับ Captain Cantrip จึงพยายามเล่นแง่
    • หาโอกาสค่ำคืนหนึ่งตัดสินใจใช้กำลังคุกคาม Lady Franklin แต่ก็ทำให้เขาตระหนักว่าอีกฝ่ายไม่ได้มีใจให้
    • หลังจากดื่มเหล้าเมามาย ขับรถไฟยังคฤหาสถ์ Sutton Place เผชิญหน้ากับ Lady Franklin และ Captain Cantrip

เพลงประกอบโดย Marc Wilkinson (1929-2002) นักแต่งเพลงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Paris โตขึ้นร่ำเรียนการประพันธ์เพลงยัง Columbia and Princeton Universities จากนั้นทำงาน BBC Radiophonic Workshop แล้วกลายเป็น Musical Director ให้กับ Royal Shakespeare Company ต่อด้วย Royal National Theatre, มีผลงานละครเวที ซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ If…. (1968), The Hireling (1973) ฯ

งานเพลงของหนังคละคลุ้งด้วยบรรยากาศอึมครึม หมองหม่น เพื่อสะท้อนความโดดเดี่ยวอ้างว้าง อาการป่วยซึมเศร้าของตัวละคร ราวกับระเบิดเวลานับถอยหลัง เต็มไปด้วยสัมผัสอันตราย สำเนียงเสียงที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Lady Franklin กับ Ledbetter ยังเหมือนเป็นการละเล่นกับไฟ ผลลัพท์เมื่อความจริงได้รับการเปิดเผย จึงมีแต่ความเจ็บปวด ทุกสิ่งอย่างสร้างมาพังทลาย

เรื่องราวของ The Hireling (1973) เริ่มต้นนำเสนอลักษณะอาการซึมเศร้า (Depression) นี่ไม่ใช่แค่ Lady Franklin ยังรวมถึง Steven Ledbetter และ Captain Cantrip ต่างเป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งหนึ่ง ไม่ถึงขั้นแสดงอาการ Shell Shock/PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) แต่สามารถมองว่าคือผลกระทบจากยุคสมัย Great Drepression, ทั้งสามต่างมีวิธีการจัดการสภาวะทางอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป

  • Lady Franklin เพราะไม่สามารถควบคุมตนเอง เลยแสดงอาการหวาดกลัว ตัวสั่น คลุ้มคลั่ง จนต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลจิตเวช เพื่อทำการสงบจิตสงบใจ
  • Ledbetter ทำการเก็บกด สะสมอารมณ์เกรี้ยวกราดไว้ภายใน ระบายความอัดอั้นด้วยการต่อยมวย ใช้กำลัง ความรุนแรง ราวกับระเบิดเวลาที่พร้อมปะทุออกทุกวินาที
  • Captain Cantrip กลายเป็นเพลย์บอย คาสโนว่า เจ้าชู้ประตูดิน สานสัมพันธ์ผู้หญิงมากมาย

ซึ่งวิธีรักษาอาการซึมเศร้าของทั้งสาม ก็คือให้พวกเขาพบเจอกันและกัน พูดคุยสนทนา สานสัมพันธ์ชาย-หญิง นั่นเพราะความรักจักช่วยเติมเต็มช่องว่างขาดหาย สามารถเป็นที่พึ่งพักพิงของร่างกาย-จิตใจ ร่วมกันก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย

ยุคสมัยนั้นยังเป็นช่วงเวลาที่มีการแบ่งแยกชนชั้น สถานะทางสังคม Lady Franklin และ Captain Cantrip ต่างเป็นตัวแทนชนชั้นกลาง (Upper-Middle Class) ผิดกับ Ledbetter ในฐานะลูกจ้างขับรถคือชนชั้นทำงาน (Working Class) ไม่อาจเอื้อมเด็ดดอกฟ้า นอกเสียจากใช้กำลังข่มขืนใจ ก็มิอาจได้เธอมาครอบครอง

แต่แม้ความสัมพันธ์ระหว่างนาย-บ่าว Upper-Middle Class vs. Working Class ในยุคสมัยนั้นจะเป็นไปไม่ได้ แต่ความรู้สึก/การแสดงออกของ Ledbetter เป็นเครื่องยืนยันว่าความรัก ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น สถานะทางสังคม เพียงเรื่องของสองบุคคล เมื่อพบเจอสานสัมพันธ์ เกิดความสนิทสนม ย่อมสามารถพัฒนาสู่ความรัก ครองคู่แต่งงาน สามี-ภรรยา

ตอนจบของนวนิยาย L.P. Hartley ตระหนักถึงข้อจำกัดทางสังคมยุคสมัยนั้น จึงให้ Lady Franklin กับลูกจ้างขับรถแยกจากกันโดยดี จดจำช่วงเวลาสั้นๆที่พวกเขาได้ครอบครอบรัก และร่วมกันก้าวข้ามผ่านปมเลวร้ายจากอดีต ตราฝังเก็บไว้ในความทรงจำชั่วนิรันดร์ (ใครเคยอ่าน/รับชม The Go-Between ก็น่าจะมักคุ้นใจความสำคัญลักษณะคล้ายๆกันนี้)

แต่สำหรับฉบับภาพยนตร์ เหมือนผู้สร้างต้องการปลุกระดมผู้ชม ให้บังเกิดอคติ ต่อต้านระบอบชนชั้น ไม่ยินยอมรับความสัมพันธ์ระหว่าง Lady Franklin และ Captain Cantrip ด้วยการแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดแบบเดียวกับ Ledbetter ขับรถพุ่งชนกำแพง ซ้ำแล้วซ้ำอีก (กำแพงกีดกั้นแบ่งชนชั้น ในอดีตไม่มีใครสามารถก้าวข้ามผ่าน ทำได้เพียงขับรถพุ่งชนจนหมดสิ้นสภาพ)

ผมพยายามมองหาความสัมพันธ์ของหนังและผกก. Bridges แต่ก็ไม่พบเจออะไร ทำไมถึงสนใจดัดแปลงนวนิยายเรื่องนี้? ว่าไปอาจไม่ต่างจากลูกจ้างขับรถรับจ้าง ‘The Hireling’ แค่นั้นกระมัง … นี่คือความแตกต่างระหว่างศิลปิน (auteur) vs. ผู้กำกับหนังตลาดทั่วๆไป


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes เสียงตอบรับถือว่าดีล้นหลาม โดยเฉพาะการแสดงของ Sarah Miles แม้ไม่ใช่ตัวเต็งคว้ารางวัล Palme d’Or (สมัยนั้นยังเรียกว่า Grand Prix) แต่คาดว่าคงถูกใจประธานกรรมการ Ingrid Bergman ผลลัพท์ถือว่าสร้างความประหลาดใจไม่น้อย

  • คว้ารางวัล Palme d’Or เคียงข้างกับ Scarecrow (1973)
  • Sarah Miles คว้ารางวัลพิเศษ Special Jury Prize

แซว: ผู้กำกับ Lindsay Anderson แสดงความผิดหวังอย่างรุนแรงที่ผลงานตัวเต็งของตนเอง O Lucky Man! (1973) ไม่ได้คว้ารางวัลใดๆจากเทศกาลหนังเมือง Cannes

I thought ‘The Hireling,’ that won the prize over my film in Cannes, was sentimental muck. Do they think they’re being subtle because Sarah Miles never goes to bed with her chauffeur? …That is not sour grapes. …And I don’t think ‘The Hireling’ will be as successful as my film at the box-office. You can fool the critics but you can’t fool the public.’

Lindsay Anderson

ปล. ภาพยนตร์ที่เข้าฉายปีนั้น แล้วได้รับการจดจำเหนือกาลเวลา อาทิ Fantastic Planet (1973), La grande bouffe (1973), O Lucky Man! (1973), Love & Anarchy (1973), The Hourglass Sanatorium (1973), The Mother and the Whore (1973) ฯ

หนังไม่มีรายงานทุนสร้างและรายรับ แต่เห็นว่าประสบความสำเร็จพอสมควรในประเทศอังกฤษ และช่วงปลายปีสามารถคว้ารางวัล BAFTA Award มาได้ถึงสามสาขา ประกอบด้วย

  • Best Art Direction
  • Best Costume Design
  • Most Promising Newcomer to Leading Film Roles (Peter Egan)

ปัจจุบันหนังน่าจะยังไม่ได้รับการบูรณะ ฉบับที่ผมรับชมคือ DVD ของค่าย Sony Pictures Entertainment แต่พบเห็นจัดจำหน่าย Blu-Ray ของค่าย ESC Editions (ฝรั่งเศส) ทำการสแกนฟีล์มใหม่ คุณภาพน่าจะดีกว่าพอสมควร

นอกจากคุณภาพที่ไม่ได้สักครึ่งหนึ่งของ The Go-Between (1971) ไคลน์แม็กซ์ของหนังทำเอาผมหงุดหงิด หัวเสียอย่างรุนแรง เพราะดูเหมือนพยายามปลุกระดมผู้ชมสมัยนั้น ด้วยการใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง ตัวละครสูญเสียสิ้นสติสตางค์ (ขับรถพุ่งชนกำแพง) ไม่รู้หรือว่าความเกรี้ยวกราดไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร กลับยิ่งทำให้ทุกสิ่งอย่างอุตส่าห์สร้างมาพังทลายย่อยยับเยิน

จัดเรต pg กับภาวะซึมเศร้า, อาการหลงผิด, อารมณ์เกรี้ยวกราด, ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา

คำโปรย | The Hireling (1973) คือความเกรี้ยวกราดของ Alan Bridges ว่าจ้าง Robert Shaw และ Sarah Miles มาย่ำเหยียบให้อยู่ในสภาพย่อยยับเยิน
คุณภาพ | ย่อยยับเยิน
ส่วนตัว | อิหยังว่ะ?

Tom Jones (1963)


Tom Jones (1963) British : Tony Richardson ♥♥♡

ชายหนุ่มนาม Tom Jones (รับบทโดย Albert Finney) เลื่องชื่อเรื่องความเจ้าชู้ประตูดิน เพศสัมพันธ์กับหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า นั่นคือสิ่งที่สังคมผู้ดีอังกฤษช่วงศตวรรษ 18 ยังไม่ให้การยินยอมรับ แต่การกำลังมาถึงของยุคสมัย Swinging London กลับสามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture และทำเงินอย่างเป็นกอบเป็นกำ

แม้ว่า Tom Jones (1963) จะเป็นภาพยนตร์แนวพีเรียต (Period) ดัดแปลงจากนวนิยายเขียนขึ้นตั้งแต่ศตวรรษ 18th แต่ก็ไม่มีใคร (หรือแม้แต่ผกก. Richardson) คาดคิดว่า Sex Comedy ที่น่าจะเจ๊งเรื่องนี้ กลับประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม! ซึ่งเหตุผลที่บรรดานักวิจารณ์/นักประวัติศาสตร์ต่างลงความเห็นตรงกัน เพราะอิทธิพลจากการกำลังมาถึงของยุคสมัย Swinging London

Swinging Sixties หรือ Swinging London ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี และแฟชั่น เกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงกลางทศวรรษ 60s ถือเป็นวิวัฒนาการต่อยอด (บ้างใช้คำว่า ‘metamorphosis’ การเปลี่ยนสัณฐาน) คนรุ่นใหม่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (post-Wars) พบเห็นครอบครัวพานผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากลำบาก (Great Depression) พวกเขาจึงพยายามมองหาสิ่งที่มีความสดใส แสงสีสว่าง บทเพลงจังหวะมันส์ๆ สำหรับปลดปล่อยตนเอง เป็นอิสระจากบริบทกฎกรอบทางสังคม การเมือง และเสรีภาพทางเพศ

By the mid-60s, all eyes were on London – the swinging capital of the world – where radical changes to social and sexual politics were fanned by a modern youth. Britain was undergoing a cultural revolution – symbolised by its pop and fashion exports, like Beatlemania and the miniskirt; the iconic status of popular shopping areas, the King’s Road, Kensington and Carnaby Street; the political activism of anti-nuclear campaigns; and sexual liberation.

คำนิยาม Swinging London ของนิตยสาร British Film Institute (BFI)

ผมมีความกระอักกระอ่วนอย่างมากๆๆในการรับชม Tom Jones (1963) แม้หลงใหลในลวดลีลา ความยียวนกวนบาทา ไว้สักวันหนึ่งจะหวนกลับมาเคารพคารวะผลงานอื่นๆของผกก. Richardson แต่เพราะเนื้อหา(ไร้)สาระเต็มไปด้วยความสัปดล Tom Jones เหมือนคนป่วยจิต กามวิปริต ไม่สามารถควบคุมตัณหา อารมณ์ทางเพศของตนเอง แล้วหนังจบลงอย่าง Happy Ending แม้งโคตรเหนือจริง (Surreal) ไม่น่าเป็นไปได้เลยสักนิด!

แม้แต่ผู้กำกับ Richardson ก็ไม่ได้มีความชื่นชอบผลลัพท์ของภาพยนตร์เรื่องนี้สักเท่าไหร่ (ถึงขนาดปฏิเสธเข้าร่วมงานประกาศรางวัล Oscar) เขียนอธิบายไว้ในหนังสือชีวประวัติ

I felt the movie to be incomplete and botched in much of its execution. I am not knocking that kind of success – everyone should have it – but whenever someone gushes to me about Tom Jones, I always cringe a little inside.

Tony Richardson

ก่อนอื่นขอกล่าวถึง The History of Tom Jones, a Foundling หรือเรียกสั้นๆว่า Tom Jones (1749) นวนิยายแต่งโดย Henry Fielding (1707-54) นักเขียนชาวอังกฤษ เรียนจบด้านกฎหมาย แต่ทำงานเขียนบทละครเวที เลื่องชื่อในผลงานแนวตลกขบขัน เสียดสีล้อเลียนสังคม/การเมือง บันเทิงคดีแนวผู้ร้ายผู้ดี (Picaresque)

สำหรับ Tom Jones นำจากประสบกามณ์ส่วนตัวของ Fielding เลื่องชื่อเรื่องความเจ้าชู้ประตูดิน ตั้งแต่อายุ 17 เคยพยายามลักพาตัวลูกพี่ลูกน้องที่แอบชื่นชอบหลงใหล Sarah Andrews แต่กลับหลบหนีไปได้ไม่ถึงไหน, เริ่มต้นเขียนนวนิยายเล่มนี้ภายหลังภรรยาคนแรกเสียชีวิต Charlotte Craddock (มีบุตรร่วมกัน 5 คน) แล้วสามปีถัดมาไม่สนคำทัดทานผู้ใด แต่งงานใหม่กับสาวรับใช้ Mary Daniel (มีบุตรร่วมกันอีก 5 คน), แต่ผลงานเล่มนี้อุทิศให้เพื่อนสนิทตั้งแต่เด็ก George Lyttelton, 1st Baron Lyttelton หรือ The Lord Lyttelton (1709-73) ที่คอยให้การช่วยเหลือ สนับสนุนผลงาน/การเงิน ‘patron of the arts’

สำหรับพื้นหลังของ Tom Jones คาบเกี่ยวช่วงเวลา Jacobite rising of 1745 หรือ Forty-Five Rebellion (ระหว่าง 19 สิงหาคม ค.ศ. 1745 ถึง 20 เมษายน ค.ศ. 1746) ระหว่างที่กองทัพอังกฤษกำลังแผ่ขยายอิทธิพลยังทวีปยุโรปในช่วง War of the Austrian Succession (1740-48), อดีตเจ้าชาย Charles Edward Stuart จึงฉวยโอกาสรวบรวมอดีตสมาชิกราชวงศ์ ก่อตั้งกลุ่มกบฎ Jacobites ต้องการทวงคืนสิทธิ์ในราชบัลลังก์อังกฤษ แต่สุดท้ายก็ประสบความพ่ายแพ้ … จะว่าไปเหตุการณ์ดังกล่าว สะท้อนหลายๆเรื่องราวรวมถึงพื้นหลังตัวละคร Tom Jones ได้เช่นกัน!

เกร็ด: รูปแบบการเขียน/ตีพิมพ์ของ Tom Jones (1749) ด้วยความยาวประมาณ 900+ หน้ากระดาษสมัยนี้ ถือได้ว่าเป็นนวนิยายมาสเตอร์พีซเล่มแรกๆของประเทศอังกฤษ


Cecil Antonio ‘Tony’ Richardson (1928-91) ผู้กำกับภาพยนตร์/ละครเวที เกิดที่ Shipley, West Yorkshire โตขึ้นสอบเข้า Wadham College, University of Oxford เป็นประธานชมรม Oxford University Dramatic Society และ the Experimental Theatre Club (the ETC), จบออกมามีผลงานละครเวที ซีรีย์โทรทัศน์ เข้าร่วมกลุ่ม Free Cinema แล้วกลายเป็นผู้บุกเบิก British New Wave กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Look Back in Anger (1959), โด่งดังกับแนว Kitchen Sink Realism อาทิ The Entertainer (1960), A Taste of Honey (1961), The Loneliness of the Long Distance Runner (1962), คว้ารางวัล Oscar: Best Director จากผลงาน Tom Jones (1963)

ความสนใจของ Richardson ต่อนวนิยาย Tom Jones (1749) ไม่ใช่เรื่องราวสัปดลทางเพศ หรือวิพากย์วิจารณ์บริบททางสังคม แต่มองการเฉลิมฉลองชีวิต วิถีความเป็นมนุษย์ สะท้อนวัฒนธรรม และความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ (สมัยนั้น)

We were out to make a film about what we liked in life, as opposed to what we didn’t like. It was a kind of celebration of bawdiness and joyfulness, rather than an attack on anybody.

Richardson ได้ลิขสิทธิ์นวนิยายของ Fielding ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 แล้วมอบหมายให้ John Osborne ทำการดัดแปลงบท โดยพยายามคงเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับ Sophie Western (นวนิยายกว่า 900+ หน้า เหลือเพียงสองชั่วโมงนิดๆ ถือว่าตัดทิ้งเนื้อหาไปเยอะมากๆ) แล้วมองหาวิธีนำเสนอให้มีความทันสมัย สอดคล้องเทคนิคภาพยนตร์รูปแบบใหม่

I think it is the funniest film I have ever seen. The sort of film that we want to make is one that, within the context of telling a story, will include everything – black comedy, broad comedy, farce, slapstick, and a sort of robust, irreverent quality.

John Osborne

Tom Jones (รับบทโดย Albert Finney) คือบุตรนอกสมรสของสาวรับใช้ แต่ได้รับการเลี้ยงดูแลเหมือนบุตรจาก Squire Allworthy พยายามเสี้ยมสอนความเป็นผู้ดีมีสกุล ถึงอย่างนั้นเขากลับรักอิสระ ชอบก่อความวุ่นวาย รวมถึงมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวไม่เลือกหน้า จนถูกตีตราเหมือนสัตว์ร้าย ไม่มีใครให้การยินยอม

วันหนึ่งระหว่าง Tom Jones ร่วมล่าสัตว์กับ Squire Western (รับบทโดย Huge Griffith) บังเอิญให้ความช่วยเหลือเพื่อนสาวรู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก Sophie Western (รับบทโดย Susannah York) โดยไม่รู้ตัวต่างชื่นชอบ ตกหลุมรัก

แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากลับไม่ได้รับการยินยอมรับ ขณะที่ Tom Jones ถูกใส่ร้ายป้ายสีจนโดนขับไล่ออกจากบ้าน, Sophie ถูกบิดาและน้า Miss Western (รับบทโดย Edith Evans) พยายามจับคู่แต่งงาน Mr. Blifil (รับบทโดย David Warner) เธอเลยตัดสินใจหลบหนีออกจากบ้าน, ระหว่างทางกำลังมุ่งหน้าสู่ London ทั้งสองก็พบเจอเรื่องวุ่นๆ สัปดล ชวนหัว รักครั้งนี้จะสมหวังหรือไม่?


Albert Finney (1936-2019) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Salford, Lancashire ร่ำเรียนการแสดง Royal Academy of Dramatic Art (RADA) จากนั้นมีโอกาสแสดงละครเวที สมทบซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องแรก The Entertainer (1960), เริ่มมีชื่อเสียงกับ Saturday Night and Sunday Morning (1960), เคยได้รับเลือกแสดงนำ Lawrence of Arabia (1962) แต่หลังจากเซ็นสัญญาโปรดิวเซอร์ Sam Spiegel ตัดสินใจบอกปัดโปรเจคดังกล่าว, ถึงอย่างนั้นก็ยังโด่งดังระดับนานาชาติกับ Tom Jones (1963), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Two for the Road (1967), Murder on the Orient Express (1974), Under the Volcano (1984), Erin Brockovich (2000) ฯลฯ

รับบท Tom Jones ชายหนุ่มรักอิสระ แม้ได้รับการเลี้ยงดูอย่างผู้ดีมีสกุล กลับเลือกใช้ชีวิตเตร็ดเตร่ สำมะเลเทเมา สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองความสนใจ ใครแสดงความยั่วเย้ายวนก็ร่วมเพศสัมพันธ์ ไม่รู้จักควบคุมความต้องการของตนเอง นั่นรวมถึงหญิงสาวที่ตกหลุมรัก Sophie Western ไม่เคยซื่อสัตย์ จงรักภักดี พิสูจน์ตนเองว่าสมควรค่าแก่เธอเลยสักครั้ง!

โปรดิวเซอร์แสดงความสนใจ Laurence Harvey และ Anthony Newley แต่หลังจากผู้กำกับ Richardson พบเห็นการพลิกบทบาทครั้งสำคัญของ Albert Finney จากละครเวที Billy Liar เลยเกิดความเชื่อมั่นว่าเหมาะสมกับบทบาทนี้

สำหรับ Finney ในตอนแรกอยากบอกปัดปฏิเสธ เพราะมองว่า Tom Jones มีความเป็น ‘passive’ ไม่ได้เน้นขายศักยภาพด้านการแสดง แต่ก็ต่อรองโปรดิวเซอร์/ผู้กำกับ เพื่อให้ตนเองมีอิสระในการสร้างสรรค์ตัวละคร รวมถึงบวก 10% จากกำไรหนัง … ผลลัพท์เห็นว่าได้ค่าตัวรวมโบนัสประมาณ $1 ล้านเหรียญ

ใบหน้าของ Finney อาจไม่ได้หล่อกระชากใจ แต่รอยยิ้มและสายตาอันเย้ายวน นั่นคือภาพลักษณ์เทพบุตร เพลย์บอย เสน่ห์ที่ทำให้สาวๆลุ่มหลงใหล ยินยอมพร้อมพลีกายถวาย แม้หนังทั้งเรื่องพยายามนำเสนอให้ Tom Jones ดูบริสุทธิ์ เป็นผู้ถูกเก็บแต้ม แต่การไม่รู้จักควบคุมตนเอง หักห้ามหัวใจ ไร้ความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ผู้ชายพรรค์นี้ไม่ได้มีมูลค่าราคา สมควรค่าครองรักแฟนสาว Happy Ending เลยสักนิด! … คิดหรือว่าหลังแต่งงาน หมอนี่มันจะปรับเปลี่ยนสันดานธาตุแท้ของตนเอง?

ผมรู้สึกว่าบทบาท Tom Jones นอกจากบุคลิก อุปนิสัย สีหน้าหื่นกระหาย การแสดงของ Finney ไม่ได้มีพัฒนาการอะไร ตั้งแต่ต้นจนจบก็ยังคงไร้สามัญสำนึก ทำตัวเอ้อละเหยลอยชายไปวันๆ … แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่กลับมองว่านี่คือบทบาทแจ้งเกิด ‘breakthrough’ ที่เต็มไปด้วยพลังของคนหนุ่ม ถ่ายทอดอารมณ์ที่หลากหลาย (เป็นได้ทั้งพระเอกโรแมนติก, ดราม่า และคอมเมอดี้) ขณะเดียวกันสามารถใช้ร่างกายแสดงความขบขัน (Physical Comedy หรือ Slapstick) ออกมาได้อย่างน่าประทับใจ

Finney gives one of the most exuberant and joyous performances in the history of cinema.

นักวิจารณ์ Roger Ebert

Susannah Yolande Fletcher (1939-2011) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Chelsea, London ในตระกูลนักธุรกิจ ตัวเธอไม่ชอบเรียนหนังสือแต่หลงใหลด้านการแสดง เข้าศึกษายัง Royal Academy of Dramatic Art (RADA) ร่วมรุ่นเดียวกับ Peter O’Toole, Albert Finney, Tom Courtenay, จากนั้นเข้าสู่วงการภาพยนตร์เรื่อง Tunes of Glory (1960), รับบทนำ The Greengage Summer (1961), แจ้งเกิดโด่งดัง Tom Jones (1963), ผลงานเด่นๆ อาทิ A Man for All Seasons (1966), They Shoot Horses, Don’t They? (1969), Images (1972), Superman (1978)

รับบท Sophie Western เพื่อนสาวตั้งแต่เด็กของ Tom Jones เดินทางไปร่ำเรียนหนังสือที่ฝรั่งเศส เพิ่งมีโอกาสหวนกลับมาบ้านชนบท ระหว่างร่วมออกไล่ล่าสัตว์ ม้าที่ควบขี่เกิดอาการฟืดฟาด ได้รับความช่วยเหลือ เลยเกิดความชื่นชอบ ตกหลุมรัก พบเห็นจิตใจอันบริสุทธิ์ของอีกฝ่าย แต่ไม่วายเต็มไปด้วยเรื่องสัปดล ข่าวคาวเสียๆหายๆ และเมื่อถูกบิดาบังคับให้แต่งงาน ตัดสินใจหลบหนีกลับกรุง London พักอาศัยอยู่กับ Lady Bellaston (ที่ก็เป็นอีกชู้รักของ Tom Jones)

York เป็นตัวเลือกแรกของผู้กำกับ Richardson เกิดความประทับใจจากการร่วมงาน The Greengage Summer (1961) เลยชักชวนมารับบทสำคัญในภาพยนตร์เรื่องใหม่

หน้าตาของ York เป็นหญิงสาวที่มีความร่าเริงสดใส เบิกบานด้วยรอยยิ้ม ไม่ถึงกับบริสุทธิ์ผุดผ่อง แต่ก็น่าเอ็นดูทะนุถนอม ชายใดพบเห็นย่อมต้องเกิดความลุ่มหลงใหล แต่ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเธอพบเห็นอะไรในตัว Tom Jones ยินยอมให้อภัยอีกฝั่งฝ่ายแม้หลักฐานตำตา ราวกับว่า ‘ความรักทำให้ตาบอด’ เพียงงอนตุ๊บป่อง ดื้อรั้น เอาแต่ใจ ไม่เคยครุ่นคิดหน้าหลัง แต่งงานไปแล้วจะสามารถสยบความเจ้าชู้อีกฝ่ายได้อย่างไร


Hugh Emrys Griffith (1912-80) นักแสดงสัญชาติ Welsh เกิดที่ Marian-glas, Anglesey หลังสอบไม่ผ่านมหาวิทยาลัย ทำงานเป็นเสมียนธนาคาร ก่อนเดินทางสู่ London ร่ำเรียนการแสดงยัง Royal Academy of Dramatic Arts, อาสาสมัครทหาร เดินทางสู่พม่าและอินเดียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, เมื่อเดินทางกลับมามีโอกาสแสดงละครเวที สำหรับภาพยนตร์โด่งดังกับ Ben-Hur (1959) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor, ผลงานเด่นๆ อาทิ Kind Hearts and Coronets (1949), Mutiny on the Bounty (1962), Tom Jones (1963), Oliver! (1968) ฯลฯ

รับบท Squire Western บิดาขี้เมาของ Sophie นิสัยเห็นแก่ตัวเอาแต่ใจ ชื่นชอบการล่าสัตว์ ใช้ชีวิตอยู่ฟาร์มปศุสัตว์ พยายามวางอำนาจบาดใหญ่ แต่ไม่เคยโต้ถกเถียงเอาชนะความสำบัดสำนวนของพี่สาว Miss Western ต้องการจับคู่บุตรสาวให้แต่งงาน Mr. Blifil กลับเต็มไปด้วยเรื่องวุ่นๆวายๆ ไม่มีอะไรเป็นดั่งใจสักสิ่งอย่าง

เกร็ด: Squire ไม่ใช่ชื่อตัวละครนะครับ แต่เป็นยศฐาบรรดาศักดิ์ หมายถึงสามัญชนมีที่ดินเป็นเอกสิทธิ์ ถือเป็นผู้มีอิทธิพลในชุมชน สถานะสูงกว่าคนปกติทั่วไป

Griffith ถือเป็นตัวขโมยซีน สร้างสีสันด้วยความขี้เมา อารมณ์เกรี้ยวกราด ถ้อยคำด่ากราด ทำตัวไม่เห็นเหมือนผู้ดีมีสกุล ชอบอวดอ้าง เบ่งบารมี แต่พฤติกรรมของตนเองก็แทบไม่แตกต่างจาก Tom Jones (Griffith ถือว่าเข้าขากันดีกับ Finney แม้ตัวจริงของทั้งคู่แทบจะแตกต่างตรงกันข้ามก็ตามที)

Griffith is a perfect foil to Finney’s exuberance.

นักวิจารณ์จากนิตยสาร Variety

แซว: เห็นว่าตลอดแทบทั้งการถ่ายทำ Griffith มักดื่มสุราจนมึนเมา เดินตุปัดตุเป๋ ล้มกลิ้ง รวมถึงสูญหายตัวจากกองถ่าย(ไปกินเหล้า)จนต้องมีบุคคลสำหรับคอยประกบ แอบติดตาม หลายครั้งพบเจอนอนหลับอยู่ตามผับบาร์


Dame Edith Mary Evans (1888-1976) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Pimlico, London ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งเด็ก มีโอกาสขึ้นเวทีตั้งแต่อายุ 15 โด่งดังเป็นที่รู้จักจากโปรดักชั่น The Way of the World (1924), สำหรับภาพยนตร์เคยมีผลงานตั้งแต่ยุคหนังเงียบ แต่หันมาเอาจริงเอาจังช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อาทิ The Nun’s Story (1959), Tom Jones (1963), The Chalk Garden (1964), The Whisperers (1967),

รับบท Miss Western พี่สาวของ Squire Western เต็มไปด้วยความเย่อหยิ่ง ทะนงตน ยึดถือมั่นในชาติผู้ดีมีสกุลนา พยายามวางตัวหัวสูงส่ง ด้วยวาทะศิลป์เฉียบคมคาย ดั้งเดิมอาศัยอยู่กรุง London แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนหลานสาวยังชนบท เพื่อช่วยจัดแจงหาคู่ครองให้สมวิทยฐานะ

จริตของ Miss Wester มีความจัดจ้าน เริดเชิดเย่อหยิ่ง วางตัวหัวสูงส่ง ถือเป็น ‘stock character’ ชนชั้นสูงสไตล์ผู้ดีอังกฤษ แต่ก็ต้องยอมรับว่า Dame Evans สร้างความแตกต่างด้วยลีลาวาทะศิลป์ เมื่อต้องต่อล้อต่อเถียงกับใคร ก็สามารถแสดงความเฉียบคม เหนือชั้นกว่า เรียกเสียงเฮฮา ขบขำกลิ้งได้ตลอดเวลา

ผมไม่เคยรับชมผลงานอื่นๆของ Dame Evans แต่สามารถคาดเดาไม่ยาก ว่ายิ่งแก่ยิ่งเก๋า เหมือนสำนวนไวน์ในโถหมักจริตของตัวละครสะท้อนประสบการณ์ พานผ่านอะไรๆมาอย่างโชคโชน จึงสามารถสร้างความโดดเด่นได้อย่างมีชั้นเชิง เฉียบคม สไตล์ผู้ดีอังกฤษ


ถ่ายภาพโดย Walter Lassally (1926-2017) สัญชาติ German เชื้อสาย Jews เกิดที่ Berlin อพยพสู่อังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1939 บิดาเป็นผู้กำกับสารคดี ทำให้บุตรชายมีความชื่นชอบด้านการถ่ายภาพ เริ่มต้นเข้าสู่วงการจากเป็นเด็กตอกสเลท Riverside Studios ไต่เต้าจนกลายเป็นช่างภาพขาประจำ British New Wave ผลงานเด่นๆ อาทิ A Taste of Honey (1961), The Loneliness of the Long Distance Runner (1962), Tom Jones (1963), Zorba the Greek (1964) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography (Black-and-White), Visions of Eight (1973), Heat and Dust (1983) ฯลฯ

หลังจากถ่ายทำหนังดราม่าเครียดๆ ‘Kitchen Sink Realism’ ติดต่อกันมาหลายเรื่อง ผกก. Richardson เลยวางแผนให้ Tom Jones เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ ท่องเที่ยวพักผ่อน “This is our holiday film”. แต่การถ่ายทำยังสถานที่จริง ท่ามกลางสภาพอากาศคาดเดาไม่ได้ พร้อมด้วยฟีล์มสี (Eastmancolor) ล้วนคือสาเหตุทำให้งบประมาณเบิกบานปลายไปเรื่อยๆ ถึงขนาดต้องหยุดพักกลางทางเพราะเงินหมด แถมไม่มีสตูดิโอไหนในอังกฤษอยากช่วยเหลือเพราะฟุตเทจมีความเละเทะ เลอะเทอะ ‘too much cut corner’ … โชคดีได้รับการอุ้มชูจากสตูดิโอ United Artists ก็ไม่รู้เล็งเห็นโอกาสอะไร แต่ก็ทำให้โปรดักชั่นรอดพ้นหายนะ

งานภาพของหนัง เต็มไปด้วยเทคนิค ลวดลีลา ผกก. Richardson พยายามมองหาวิธีแปลกใหม่ในการนำเสนอ -ตามสไตล์ British New Wave- ตั้งแต่อารัมบทสไตล์หนังเงียบ, ถ่ายทำจากเฮลิคอปเตอร์, ด้วยกล้องมือถือ (Hand-Held Camera), เสียงบรรยาย/ขึ้นข้อความ พร้อมภาพหยุดนิ่ง (Freeze Frame), สบตาหน้ากล้อง (Breaking the Fourth Wall), Jump Cut, Fast Motion, Whip Pan ฯลฯ

จุดประสงค์ของการใช้เทคนิคเหล่านี้ เพื่อสร้างความแปลกแยก ประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ชม ก็เหมือนตัวละคร Tom Jones ที่ถูกสังคมตีตราว่าเป็นพวกนอกคอก นอกรีตนอกรอย กระทำสิ่งต่างๆผิดแผกแตกต่างจากวิถีทางปกติ … นี่คือลักษณะของ New Wave ที่ชัดเจนอย่างมากๆ

หนังใช้เวลาโปรดักชั่น 4-5 เดือน ระหว่างมิถุนายน – ตุลาคม ค.ศ. 1962 โดยสถานที่ถ่ายทำ ประกอบด้วย

  • Castle Street อยู่ย่าน Bridgewater, Somerset
  • Abbey Street อยู่ย่าน Cerne Abbas, Dorset
  • Wilton House ณ Wiltshire
  • Old Wadour Castle ณ Tisbury
  • และฉากภายในถ่ายทำยังสตูดิโอ Woodfall Films ณ Curzon Street, London

การอารัมบทด้วยสไตล์หนังเงียบ (Silent Film) คือจะไม่ได้ยินเสียงพูดคุยสนทนา พบเห็นเพียงท่วงท่า อากัปกิริยา ตัดสลับกับข้อความตัวอักษรปรากฎขึ้นมา จุดประสงค์เพื่อเป็นการเปรียบเทียบคู่ขนานถึงยุคสมัยภาพยนตร์ ว่ามีความแบเบาะ ไม่ต่างจากเด็กทารกน้อย Tom Jones

ผมครุ่นคิดว่าความตั้งใจดั้งเดิมของผกก. Richardson ต้องการนำเสนอวิวัฒนาการ เทคนิคภาพยนตร์ ควบคู่ไปกับการดำเนินเรื่องราวของหนัง แต่ท้ายที่สุดแล้วกลับมีแค่ตอนอารัมบทหนังเงียบ และแทรกแซมเทคนิคอื่นๆประปราย ผลลัพท์น่าจะยังไม่ได้ครุ่นคิดคาดหวังไว้สักเท่าไหร่

หลังจาก Opening Credit หนังใช้วิธีการเล่าเรื่องด้วยเสียงบรรยาย (แทนข้อความปรากฎขึ้น) นำเสนอกิจกรรมไล่ล่าสัตว์ Tom Jones ไม่ต่างจากสุนัขล่าเนื้อ (Molly เรียกเขาว่า You Wicked Dog.) เมื่อพบเจอหญิงสาว แสดงท่าทางเชื้อเชิญ ส่งสัญญาณยั่วเย้ายวน ต้องการร่วมเพศสัมพันธ์ ใครกันจะไปอดรนทนไหว

แต่พอถาโถมเข้าใส่ โอบกอดจุมพิต ท่ามกลางผืนป่า แมกไม้ ใบหญ้าสีเขียว (สื่อถึงการกำลังจะร่วมเพศสัมพันธ์นี้ มันคือวิถีธรรมชาติชีวิต) กลับถูกแช่ภาพค้างไว้ ‘Freeze Frame’ สังคมสั่งให้หยุดยับยั้ง ด้วยคำอธิบาย …

It shall be our custom to leave such scenes where taste, decorum, and the censor dictate.

ภาพแรกของ Sophie Western ถ่ายติดหงส์กำลังเล่นน้ำอยู่เบื้องหลัง เป็นการสื่อให้เห็นถึงความงดงาม สูงส่ง เลิศเลอค่า แต่ของขวัญที่ Tom Jones มอบให้เธอนั้นคือนกที่อยู่ในกรง นี่น่าจะสื่อถึงความไร้อิสรภาพในชีวิตของหญิงสาว ถูกควบคุมครอบงำโดยบิดา ขนบกฎกรอบ และชนชั้นทางสังคม (บางคนอาจจะตีความ Tom ต้องการให้ Sophie มาเป็นนกในกรง/ภรรยาของตนเอง ก็ได้กระมัง)

แล้วซีนหลังจากนี้ Mr. Blifil ลูกพี่ลูกน้อง/ศัตรูของ Tom กลับแสร้งว่าเปิดกรง ปลดปล่อยนกสู่อิสรภาพ นั่นสื่อถึงการไม่ยินยอมรับ ไม่เชื่อว่าเดรัจฉาน(อย่าง Tom)จะสามารถอยู่ภายในขนบกฎกรอบ(กรงขัง) รวมถึงไม่ต้องการให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่บังเกิดขึ้น … มันคืออาการอิจฉาริษยานั่นเองนะครับ

การให้ความช่วยเหลือหญิงสาวที่โดนกลั่นแกล้ง ถูกกระทำร้ายร่างกาย ในบริบททางสังคมปัจจุบันสมควรเรียกว่า ‘สุภาพบุรุษ’ แต่ยุคสมัยก่อนถ้าฝ่ายหญิงมีพฤติกรรมสำส่อน โสเภณี ฝ่ายชาย(ที่ให้การช่วยเหลือ)ก็มักเหมารวมว่าเป็นพวกต่ำตม ชนชั้นเดียวกัน สังคมไม่ให้การยินยอมรับ … นี่แสดงให้เห็นถึงโลกทัศนคติของคนสมัยก่อน ยึดถือมั่นอยู่ในขนบกฎกรอบ ผิดแผกแตกต่างจากค่านิยมทางสังคมที่ปรับเปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน

ฉากนี้ถ่ายทำยังสุสานข้างโบสถ์ (หลังพิธีมิสซาวันอาทิตย์) สื่อถึงการรุมกระทำร้ายโดยคาดหวังให้อีกฝ่ายตกตายยังหลุมฝัง ขณะเดียวกันยังสะท้อนพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านั้น ราวกับปีศาจ สัตว์ร้าย ผุดขึ้นมาจากสุสาน

ในต้นฉบับนวนิยาย เห็นว่ามีการกล่าวถึงฉากไล่ล่าสัตว์แค่ไม่กี่บรรทัด แต่หนังกลับถ่ายทำซีเควนซ์นี้อย่างยิ่งใหญ่อลังการ ประกอบด้วยฝูงสุนัข ตัวประกอบควบขี่ม้า (อาจจะถึงหลักร้อย) และยังเฮลิคอปเตอร์ถ่ายทำจากเบื้องบน ‘bird’s-eye view’ ร้อยเรียงปะติดปะต่อยาวนานหลายนาที จุดประสงค์เพื่อต้องการเปรียบเทียบในเชิงสัญลักษณ์ ‘sex predator’ มนุษย์=หมาล่าเนื้อ เหยื่อก็คือหญิงสาว เป้าหมายแท้จริงต้องการครอบครอง เป็นเจ้าของ ร่วมเพศสัมพันธ์!

แซว: หลังจากพบเห็นฝูงชน ฝูงสุนัข กำลังไล่ล่าเจ้ากวางน้อย (ระดับมหภาค) ซีนถัดมาม้าของ Sophie จู่ๆควบคุมไม่อยู่ Tom เลยควบไล่ล่าติดตามไปช่วยเหลือ (ระดับจุลภาค) … กวางในอ้อมอก Squire Western = Sophie ในอ้อมอก Tom

Tom แขนหักจากการช่วยเหลือ Sophie เมื่ออาการดีขึ้นพวกเขาจึงออกเดินเล่นในแล้ว ได้ยินเสียงเปียโนนุ่มๆ ท่วงทำนองโรแมนติก แล้วจะมีการซ้อนภาพดอกไม้สีขาว (เราไม่จำเป็นต้องรับรู้จักชื่อดอกไม้นะครับ เอาแค่สีขาวสามารถแทนสัญลักษณ์ความรักอันบริสุทธิ์) รู้สึกเหมือนกำลังล่องลอยอยู่ในความเพ้อฝัน จากนั้นระหว่างล่องเรือ จู่ๆภาพหยุดแน่นิ่ง ‘Freeze Frame’ หลายคนอาจตีความว่าหญิงสาวต้องการจดจำช่วงเวลานี้ไว้ แต่ตอนต้นเรื่องเคยมีคำอธิบายธรรมเนียมปฏิบัติ ทุกครั้งที่หยุดแช่ภาพย่อมหมายถึงกำลังจะมีการร่วมเพศสัมพันธ์! รอยยิ้มพร้อมหันมาสบตาหน้ากล้อง ‘Breaking the Fourth Wall’ ช่างเต็มไปด้วยเลศนัยยิ่งนัก!

สำหรับคนที่ไม่ได้สังเกต ระหว่างการเปลี่ยนภาพ (Film transition) ป้ายสุสาน Bridget Allworthy (พี่สาวและชู้รักของ Squire Allworthy) จะมีลวดลีลาแยกภาพออกเป็นสี่ส่วน ดูลักษณะเหมือนไม้กางเขน

ขณะที่หลังงานศพจะมีการใช้ Iris Shot จับจ้องใบหน้าทนายความ หลังมอบจดหมายของ Bridget Allworthy ให้กับ Mr. Blifil โดยปกติแล้วการทำเช่นนี้มักต้องการสร้างจุดสนใจให้กับตัวละคร แต่ในขณะนี้กลับมอบความรู้สึกฉงนสงสัย บางสิ่งอย่างลับลมคมใน

บ้านฟาร์มของ Squire Western เต็มไปด้วยสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ซึ่งหนังก็ได้ทำการแทรกภาพสรรพสัตว์เหล่านี้ เพื่อสื่อถึงความเป็นผู้ดีในชนบท หน้าที่คือปกครองพวกมันเหล่านี้ ไม่ต่างจากมนุษย์สักเท่าไหร่ (แต่ไม่รู้ทำไมผมกลับนึกถึง Animal Farm ขึ้นมา)

แซว: มันจะมีช็อตที่ Miss Wester เดินเข้ามาพูดคุยกับ Squire Western เรื่องการหมั้นหมายแต่งงานหลานสาว Sophie สังเกตว่ามันจะมีไก่(และหมู)หลายตัวอยู่ในเฟรม ซึ่งสัตว์ชนิดนี้ชอบส่งเสียงขับขาน ไม่ต่างจากวาทะศิลป์ของตัวละคร

ช่วงระหว่างที่ Three Scrooges นำโดยญาติห่างๆ Mr. Blifil พยายามหาวิธีกดดัน Squire Allworthy เพื่อขับไล่ Tom Jones ออกไปจากมรดก/คฤหาสถ์หลังนี้ ภาพของตัวตลกทั้งสามจะถ่ายมุมเงยขึ้นด้านบน ส่วน Squire Allworthy ก็จะพบเห็นมุมก้ม แสดงถึงความกดดันจากผู้คนรอบข้าง จนทำให้เขาต้องตัดสินใจขับไล่บุตรชาย(ครุ่นคิดว่า)บุญธรรมออกจากบ้าน

และช็อตที่ Squire Allworthy พูดขับไล่ Tom Jones สังเกตว่ามุมกล้องก็ถ่ายจากเบื้องบนลงมา ราวกับว่านั่นคือสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้คนรอบข้าง … นี่ไม่เชิงว่าเชื่อคนง่าย แต่เขาไม่สามารถวางตัวอยู่เหนือกว่าบริบทกฎกรอบทางสังคม

ระหว่างการออกเดินทางของ Tom Jones พบเจอทหารอังกฤษที่กำลังเดินทางขึ้นเหนือ เพื่อไปสู้รบกับกบฎ Jacobite กลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์ House of Stuart ให้กลับคืนสู่ราชบัลลังก์อังกฤษ (แต่สุดท้ายก็ประสบความพ่ายแพ้) นี่เป็นการใช้เหตุการณ์อิงประวัติศาสตร์ Jacobite rising of 1745 เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของ Tom Jones ที่ไม่ต่างจากคนหัวขบถ กระทำสิ่งนอกรีตนอกรอย สังคมไม่ให้การยินยอมรับ เลยถูกขับไล่ออกจากบ้าน

ด้วยความสัมพันธ์ในเชิงสัญลักษณ์นั้นเอง ทำให้ฉากถัดมา Tom Jones จึงมีเรื่องขัดแย้งกับสมาชิกของกองทัพ จนเกิดการต่อสู้ เฉียดเป็นเฉียดตาย ทำให้อีกฝ่ายเคียดแค้นฝังหุ่น

แซว: ความขัดแย้งระหว่าง Tom Jones กับสมาชิกกองทัพคือเรื่องหญิงสาว Sophie Western ซึ่งถ้าเปรียบเทียบย้อนกลับ Jacobite rising of 1745 สามารถสื่อถึงราชบัลลังก์อังกฤษได้เลยนะ!

นายทหารที่ก่อนหน้านี้เพิ่งมีความขัดแย้งกับ Tom Jones (เลยตัดสินใจหลบหนีทหาร) ยังไม่ทันไรก็หวนกลับมาพบเจอกันอีกครั้ง คราวนี้กำลังพยายามข่มขืน Mrs. Waters แต่ได้รับการช่วยเหลือไว้ได้ทัน

ผมครุ่นคิดว่าฉากนี้ ต้องการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างข่มขืน vs. ความเจ้าชู้ประตูดินของ Tom Jones เพราะคนสมัยก่อนมักมองว่าคาสโนว่า เพลย์บอย เสือผู้หญิง มักทำการล่อลวง ขืนใจ ไม่ได้เกิดจากความยินยอมของอีกฝั่งฝ่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่!

  • การข่มขืน จะมีลักษณะบีบบังคับ ใช้กำลัง ความรุนแรง โดยที่ฝั่งฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมพร้อมใช้
  • สาวๆที่พลีกายให้กับ Tom Jones ล้วนส่งสายตาหยอกเย้า ท่าทางยั่วยวน ชักชวนอีกฝ่ายให้ร่วมเพศสัมพันธ์

ระหว่างเดินนำ Mrs. Waters ที่อยู่ในสภาพครึ่งเปลือย มันราวกับว่า Tom Jones สังเกตเห็นการมีตัวตนของกล้อง ไม่เพียงหันมาสบตา (Breaking the Fourth Wall) ยังหยิบหมวกขึ้นมาวางบดบัง … ฉากนี้เหมือนต้องการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ชม เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ และ(นำเอาหมวกมา)ปกปิดความครึ่งเปลือยของนักแสดงหญิงที่อยู่ด้านหลัง (ผมมองว่าเป็นวิธีล่อหลอกกองเซนเซอร์ได้อย่างน่าสนใจ)

ฉากดินเนอร์ระหว่าง Tom Jones และ Mrs. Waters ทั้งสองต่างแสดงท่าทางหยอกเย้า ยั่วยวน เต็มไปด้วยความรัญจวน ร่านราคะ นี่สามารถเปรียบเทียบในเชิงสัญลักษณ์ ทานอาหาร = เพศสัมพันธ์ นั่นคือสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์/สิ่งมีชีวิต ขาดไม่ได้เหมือนกัน!

แซว: ฉากนี้เห็นว่าใช้เวลาถ่ายทำนานถึงสามชั่วโมงกว่านักแสดงจะรู้สึกพึงพอใจ แต่ปรากฎว่าก็ทำให้ทั้งคู่ขึ้นอืด ขยาดอาหาร กินอะไรไม่ลงเป็นวันๆ

หลังจากที่ Tom Jones ตระหนักว่า Sophie พานผ่านมายังโรงแรมแห่งนี้ เขาตระหนักถึงความผิดพลาด รู้สึกละอาย หวาดกลัว หลากหลายอารมณ์ถาโถมเข้าใส่ จึงตัดสินใจ Fast-Motion กระทำทุกสิ่งอย่างเร่งรีบร้อนรน และพยายามหลบหนีจาก Squire Western (และ Miss Western) วิ่งหางจุกตูด … แต่ผมรู้สึกว่ามันยังไม่ค่อยเร็วพอที่จะสร้างความขบขันสักเท่าไหร่ น่าจะต้อง x3 หรือมากกว่านั้น!

ในงานเต้นรำหน้ากาก Squire Western และ Miss Western ต่างสวมใส่หน้ากากช้าง ซึ่งจะมีงวงยืดยาวออกมา หลายคนน่าจะคาดเดาได้ว่ามันสัญลักษณ์ของ ‘ลึงค์’ แสดงถึงความมีอำนาจ จ้าวโลก (ไม่จำเป็นว่าต้องสื่อถึงอวัยวะเพศชายเท่านั้น) ต้องการควบคุม ครอบงำ ทำทุกสิ่งอย่างให้ดำเนินไปตามความต้องการของตนเอง (นัยยะดังกล่าวสามารถสอดคล้องกับ Miss Western แม้เป็นเพศหญิงก็เถอะ)

หลังจาก ‘freeze frame’ กับ Lady Bellaston วันถัดมา Tom Jones ถูกจับแต่งองค์ทรงเครื่องให้กลายเป็นผู้ดีชาวเมือง สวมชุดหรู วิกปลอม แต่กลับจามฟุดฟิดเมื่อดมน้ำหอม นั่นแสดงถึงสันดานธาตุแท้ กลิ่นตัวตนแท้จริง (ภาพสะท้อนในกระจก) ไม่ใช่สิ่งสามารถปกปิด สร้างภาพ หรือปัจจัยภายนอกเหล่านี้

ปล. หญิงสาวทั้งหมดที่ Tom Jones ได้กระทำการร่วมเพศสัมพันธ์ ต่างเป็นตัวแทนของ

  • Molly Seagrim ตัวแทนหญิงสาวชนชั้นล่าง ถือว่ามีความต่ำตม เพศสัมพันธ์กับชายไม่เลือกหน้า
  • Mrs. Waters ตัวแทนชนชั้นกลาง(มั้งนะ) แต่งงานแล้ว ไม่ยินยอมถูกข่มขืน แต่พร้อมมีเพศสัมพันธ์กับชายที่ตนสนใจ
  • Lady Bellaston ตัวแทนชนชั้นสูง เป็นคนช่างเลือก รสนิยมไฮโซ (ไม่ได้เอากับใครก็ได้)

การต่อสู้ดวลดาบระหว่าง Tom Jones กับ Mr. Fitzpatrick (จะรวมถึงตอนดวลดาบ-ไม้ กับนายทหารคู่อริ ก็ได้ด้วย) ครุ่นคิดไปมาผมรู้สึกว่า ดาบสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์แทน ‘ลึงค์’ แท่งกลมๆยาวๆ สำหรับทิ่มแทง แต่สำหรับชาย-ชาย มันคือการแข่งขัน แก่งแย่งชิง ซึ่งในทั้งสองฉาก(ที่มีการดวลดาบ) ล้วนมีต้นสาเหตุความขัดแย้งจากเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงทั้งนั้น! … กล่าวคือเหตุผลการต่อสู้ของบุรุษ ล้วนเพื่อครอบครองเป็นเจ้าของสตรี!

อีกหนึ่งการเปลี่ยนภาพ (Film transition) ที่ผมรู้สึกว่าน่าสนใจไม่น้อย หลังจาก Squire Allworthy รับรู้ว่า Tom Jones กำลังติดคุกติดตาราง ระหว่างเปลี่ยนซีนทำเหมือนบานเกล็ดแนวดิ่ง ซึ่งมีความละม้ายซี่กรงเรือนจำ … จะมองว่านี่ล้อกับนกในกรงขังตอนต้นเรื่อง ก็ได้กระมัง

ผมรู้สึกว่าการร้อยเรียงภาพนิ่งระหว่าง Mr. Partridge และ Mrs. Millar กำลังแอบฟังอยู่ตรงประตู ดูไม่ค่อยเข้าท่าสักเท่าไหร่ เพราะมันไปซ้อนทับกับธรรมเนียม ‘Freeze Frame’ หลายคนอาจครุ่นคิดว่าบุคคลที่อยู่ในห้องกำลังร่วมเพศสัมพันธ์ แต่มันไม่ใช่เลยสักนิด!

วิธีการที่หนังเฉลยปริศนาชาติกำเนิดของ Tom Jones คือให้ Mrs. Waters หันมาพูดคุยอธิบายกับผู้ชมต่อหน้ากล้อง (Breaking the Fourth Wall) ความจริงก็คือ Tom เป็นบุตรของ Squire Allworthy กับพี่สาว Bridget Allworthy ซึ่งทั้งสองแอบเป็นชู้รัก ร่วมเพศสัมพันธ์ (Incest) แต่ฝ่ายหญิงไม่กล้าพูดบอกความจริงเพราะกลัวว่าเขาจะยินยอมรับไม่ได้ (ว่าบุตรชายเกิดจากเลือดเนื้อเชื้อไขเดียวกัน) จึงมอบหมายให้ Mrs. Waters นำทารกน้อยไปวางไว้บนเตียง แล้วเรื่องวุ่นๆก็บังเกิดขึ้นหลังจากนั้น!

นี่แสดงว่าพฤติกรรมหัวขบถ กระทำสิ่งนอกรีตนอกรอย สำส่อนทางเพศของ Tom Jones ไม่ได้มาจากชาติกำเนิด หรือชนชั้นทางสังคม เพราะทีแรกใครๆมองว่าเขาเป็นบุตรนอกสมรส (Bastard Son) ถือกำเนิดจากหญิงสาวชนชั้นต่ำ แต่พอเฉลยว่ามีเลือดเนื้อเชื้อไขของ Squire Allworth แสดงว่ามันไม่เกี่ยวอะไรกัน! … กล่าวคือ อุปนิสัยของคนไม่ได้เกี่ยวกับชาติกำเนิด หรือชนชั้นทางสังคม

มันช่างเป็นความน่าฉงนสงสัย ว่าเหตุไฉนนายทหารคู่เวรคู่กรรมของ Tom Jones ทำอะไรยังไงถึงได้เลื่อนขั้นกลายมาเป็นผู้ควบคุมการประหารชีวิต ควบขี่ม้านำขบวน พร้อมอำนวยอวยพร “Better luck in the next world”

ช็อตสุดท้ายของหนัง จบลงด้วยการแช่ภาพ ‘Freeze Frame’ หลังจาก Tom Jones โถมเข้ามากอดจูบ Sophia Western คงไม่ต้องอธิบายหลังฉากแล้วกระมัง นี่มันครั้งที่เท่าไหร่แล้วละเนี่ย

Happy the man, and happy he alone,
He who can call today his own:
He who, secure within, can say,
Tomorrow do thy worst, for I have lived today.

John Dryden (1631-1700) แปลจากบทกวีภาษาละติน Odes: Book 3.1, Odi profanum vulgus et arceo ประพันธ์โดย Horace (65-8 BCE)

ตัดต่อโดย Antony Gibbs (1925-2016) สัญชาติอังกฤษ เข้าสู่วงการในช่วงกลางทศวรรษ 50s จากเป็นผู้ช่วยตัดต่อ Ralph Kemplen และ Alan Osbiston จากนั้นร่วมงานขาประจำผู้กำกับรุ่น British New Wave ผลงานเด่นๆ อาทิ A Taste of Honey (1961), The Loneliness of the Long Distance Runner (1962), Tom Jones (1963), The Knack …and How to Get It (1965), Performance (1970), Walkabout (1971), Fiddler on the Roof (1971), Jesus Christ Superstar (1973), A Bridge Too Far (1977), Dune (1984) ฯลฯ

ตามชื่อหนัง Tom Jones คือจุดศูนย์กลางของเรื่องราว! แรกพบเจอตั้งแต่เมื่อครั้นยังเป็นทารกน้อย พอเติบใหญ่ก็ใช้เสียงบรรยายของ Micheál Mac Liammóir คอยเล่าเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ ความสัมพันธ์กับหญิงสาวหลากหลาย ตกหลุมรัก Sophie Western และหลังถูกขับไล่จากคฤหาสถ์ Allworthy ออกเดินทางผจญภัยมุ่งสู่กรุง London

  • อารัมบทสไตล์หนังเงียบ ทารกน้อย Tom Jones
  • พฤติกรรมสัปดลของ Tom Jones
    • วันๆชอบเที่ยวเตร่ สำมะเลเทเมา เพศสัมพันธ์กับ Molly Seagrim
    • เมื่อมีโอกาสหวนกลับมาพบเจอเพื่อนวัยเด็ก Sophie Western ต่างดูมีความชื่นชอบหลงใหล
    • กระทั่งกิจกรรมล่าสัตว์ของ Squire Western ทำให้ Tom Jones และ Sophie ตกหลุมรักกันและกัน
  • การมาถึงของ Miss Western พยายามจับคู่ให้ Sophie
    • อุบัติเหตุเกิดขึ้นกับรถม้าของ Squire Allworthy โชคดียังสามารถเอาตัวรอดชีวิต
    • แต่ Tom Jones กลับเฉลิมฉลองเกินกว่าเหตุ มึนเมาจนมีเพศสัมพันธ์กับ Molly Seagrim แล้วถูกจับได้ ตีไข่ใส่สี จนทำให้โดนขับไล่ออกจากบ้าน
    • Miss Western พยายามโน้มน้าวน้องชาย Squire Western ให้จับคู่แต่งงาน Sophie กับ Mr. Blifil แต่เธอกลับไม่ยินยอมพร้อมใจ แล้วแอบลักลอบหนีออกจากบ้านเช่นกัน
  • การผจญภัยของ Tom Jones ระหว่างเดินทางสู่ London
    • ระหว่างทาง Tom Jones พบเจอกับทหารอังกฤษที่กำลังจะเข้าร่วมสู้รบกับกลุ่มกบฎ Jacobite แล้วเกิดความขัดแย้งบางอย่าง
    • หลังจากออกเดินทางต่อ ให้ความช่วยเหลือ Mrs. Waters ระหว่างกำลังโดนข่มขืน
    • เดินทางมาถึงโรงแรมอีกแห่ง Tom Jones สานสัมพันธ์/ร่วมรักกับ Mrs. Waters แล้วเกิดเรื่องวุ่นๆให้เข้าใจผิดกับ Fitzpatrick (ครุ่นคิดว่า Mrs. Waters=Mrs. Fitzpatrick) รวมถึง Sophie (ขึ้นรถม้ามากับเพื่อนสาว Mrs. Fitzpatrick) ที่เพิ่งติดตามมาถึงติดๆ
  • เรื่องวุ่นๆยังกรุง London
    • Tom Jones ได้พบเจอกับช่างตัดผม Mr. Partridge ที่เคยถูกเข้าใจผิดว่าคือบิดา(ของ Jones) แล้วพักอาศัยอยู่กับอดีตแม่ครัว Mrs. Millar
    • ระหว่างนั้น Tom Jones พยายามติดต่อหา Sophie ที่อาศัยอยู่กับ Lady Bellaston แต่เขากลับถูกเธอล่อหลวง ร่วมเพศสัมพันธ์ แต่งองค์ทรงเครื่องให้กลายเป็นผู้ดีมีสกุล
    • วันหนึ่งที่ Tom Jones เดินทางมาขอความช่วยเหลือ Mrs. Fitzpatrick แล้วขากลับพบเจอกับสามีของเธอ ครุ่นคิดเข้าใจผิดว่าเขาแอบสานสัมพันธ์กันภรรยา เลยเกิดการต่อสู้ ดวลดาบ จนอีกฝ่ายเสียชีวิต
    • Tom Jones ได้รับการใส่ร้ายป้ายสีและกำลังจะถูกแขวนคอประหารชีวิต แต่ระหว่างนั้น Squire Allworthy ก็ได้รับทราบความจริงทั้งหมดจาก Mrs. Millar

ผมรู้สึกว่าหนังมีปัญหากับการลำดับเรื่องราวพอสมควร โดยเฉพาะช่วงระหว่างการเดินทาง รวมถึงเหตุการณ์ชุลมุนในกรุง London เต็มไปด้วยความสับสนมึนงง พยายามแทรกเรื่องราว/คอมเมอดี้ของตัวละครอื่นๆเข้ามาแย่งซีน Tom Jones จนแทบไม่พบเห็นพัฒนาการเปลี่ยนแปลงใดๆ พอเจอหญิงสาวคนใหม่ก็พร้อมถาโถมเข้าใส่ ทำให้เมื่อเฉลยปมปริศนา ทุกสิ่งอย่างมันเลยโคตรเหนือจริง จับต้องไม่ได้สักเท่าไหร่

และปัญหาใหญ่ก็คือการอารัมบทด้วยสไตล์หนังเงียบ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจมากๆ แต่หลังจากนั้นความตื่นเต้นกลับค่อยๆเลือนลางจางหาย เห็นว่าเกิดจากการสู้รบระหว่างผกก. Richardson กับโปรดิวเซอร์ที่ต้องการให้หนังเข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้น เทคนิค ลูกเล่นต่างๆจึงลดน้อยลงอย่างมากๆ


เพลงประกอบโดย John Mervyn Addison (1920-98) สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Chobham, Surrey ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบเครื่องดนตรี Oboe, พออายุสิบหกเข้าเรียนด้านการประพันธ์เพลง Royal College of Music, อาสาสมัครทหารช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเจ้าหน้าที่ประจำรถถังใน Battle of Normand, หลังสิ้นสุดสงครามกลับมาทำงานครูสอนวิชาแต่งเพลง Royal College of Music แล้วเริ่มมีโอกาสทำเพลงประกอบภาพยนตร์ ละครเวที ขาประจำผู้กำกับ Tony Richardson อาทิ The Entertainer (1960), A Taste of Honey (1961), The Loneliness of the Long Distance Runner (1962), Tom Jones (1963), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Torn Curtain (1966), Sleuth (1972), A Bridge Too Far (1977) ฯลฯ

งานเพลงถือเป็นอีกไฮไลท์ของหนัง (คว้ารางวัล Oscar และ Grammy Award) เต็มไปด้วยท่วงทำนองที่สร้างความสนุกสนาน ครึกครื้นเครง อลเวง ชวนหัว บางครั้งก็โรแมนติกหวานแหวว ซาบซึ้งกินใจ ยั่วเย้ายวนชวนหลงใหล เต็มไปด้วยอารมณ์มากมาย ส่วนสไตล์เพลงก็มีทั้ง Baroque, ยุคสมัย Romantic, รวมถึง Folk & Traditional Music และ Ballads Song (บทเพลงที่มีเนื้อคำร้อง) พยายามผสมผสานหลายสิ่งอย่างคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน

Main Theme เริ่มต้นด้วยกลิ่นอายสไตล์ Baroque ดนตรีแห่งความขัดแย้ง (มักใช้เครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดเล่น เปียโน vs. Harpsichord ท่วงทำนองสะท้อนกันและกัน คนละระดับเสียง สลับเสียง หรือย้อนแก่นสาร) รับอิทธิพลไม่น้อยจาก George Frideric Handel ซึ่งเหมาะกับหนังแนวพีเรียตย้อนยุค ที่มีตัวละครไม่ชอบอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบ และมีพฤติกรรมต่อต้านวิถีทางสังคม

บทเพลงที่ผมถือว่าคือไฮไลท์ของหนังคือ Swordplay (แนะนำให้หาฟังใน Spotify) ตรงกับฉากต่อสู้ดวลดาบระหว่าง Tom Jones vs. Mr. Fitzpatrick ทั้งๆพวกเขาพยายามเข่นฆ่าอีกฝ่ายให้ตกตาย แต่กลับเต็มไปด้วยความสนุกสนาครึ้นเครง นี่ต้องชมการตัดต่อ ทิศทางมุมกล้อง และออกแบบการต่อสู้ ทำให้ซีเควนซ์นี้เพิ่มความรุกเร้าใจขึ้นอย่างมากๆ

แซว: ผมรู้สึกว่าฉากต่อสู้ซีเควนซ์นี้ มีความน่าตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจกว่าการดวลดาบเจไดของ Star Wars (1977-80-83) สามภาคแรกเสียอีกนะ!

บทเพลงคำร้อง If He Swing by the String แต่งโดย John Addison และ Julian More ผมหาเครดิตไม่ได้ว่าใครขับร้อง ได้ยินตอน Tom Jones ถูกควบคุมขัง และกำลังเดินทางสู่ลานประหาร (และหนังยังพยายามร้อยเรียงชุดภาพ ให้มีความสอดคล้องกับเนื้อคำร้อง)

If he swing by the string
He will hear the bell ring
And then there’s an end to poor Tommy

He must hang by the noose
Where no hand will cut loose
The rope from the neck of poor Tommy

เนื่องจากผมหาบทเพลงที่ใช้ประกอบในหนังไม่ได้ แต่เหมือนว่า Marlene Dietrich มีความชื่นชอบบทเพลงนี้มากๆ จึงติดต่อขอบันทึกเสียง วางจำหน่ายปี ค.ศ. 1964

The History of Tom Jones, a Foundling คือนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติของ Henry Fielding เปรียบได้กับจดหมายรักมอบให้ภรรยาผู้ล่วงลับ ขอบคุณในความจงรักภักดี (มีบุตรร่วมกันถึง 5 คน) แม้ว่าตนเองจะเป็นคนหมกมุ่นมักมากในกามคุณ ร่วมเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นไม่ซ้ำหน้า แต่ความรักจากเธอยังทำให้ฉันคงความเป็นมนุษย์ ท่ามกลางสังคมที่ราวกับหมาล่าเนื้อ คอยไล่ล่า ฉีกกัดกิน พร้อมเข่นฆ่าบุคคลนอกคอกให้ตกตายจากหลังม้า

ขณะเดียวกัน Fielding ยังทำการเสียดสีล้อเลียนวิถีผู้ดีอังกฤษสมัยนั้น ที่มัวแต่ยึดถือมั่นในขนบประเพณี วิถีทางสังคม สรรหาสรรพข้ออ้างในการควบคุมครอบงำ กดขี่ข่มเหงบุคคลชนชั้นต่ำต้อยกว่า ตีตราว่าร้าย Tom Jones เพราะชาติกำหนดเป็นบุตรนอกสมรส (Bastard Son) แต่พอความจริงได้รับการเปิดเผย ความผิดทุกสิ่งอย่างกลับได้รับการยกโทษให้อภัย นั่นคือ ‘อภิสิทธิ์ทางชนชั้น’ ไม่มีทางเกิดขึ้นกับสามัญชน

คาสโนว่า เพลย์บอย เสือผู้หญิง มันผิดอะไรที่มนุษย์จะตกหลุมรัก มีเพศสัมพันธ์ แต่งงานกับหลายบุคคล (Polygamy) ความรู้สึกอคติ ไม่ยินยอมรับ ล้วนเกิดจากการที่เราถูกควบคุมครอบงำโดยบริบททางสังคม บางศาสนาสอนให้มีภรรยาเพียงหนึ่ง (ถึงสี่) อ้างว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งใหญ่ แสดงถึงอารยธรรมสูงส่ง ดูถูกเหยียดหยามบุคคลมักมากในกามคุณ มีภรรยาหลายคนไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน

พุทธศาสนาไม่ได้กำหนดข้อบังคับอะไรเกี่ยวกับจำนวนของภรรยา (คนที่ทำบุญบารมีจนได้ขึ้นสวรรค์ สามารถมีบริวาร/ภรรยานับพันหมื่นแสน) เพียงแต่ศีลข้อสามกาเมสุมิจฉาจาร อย่าไปผิดประเวณี ร่วมเพศสัมพันธ์กับบุคคลมีเจ้าของ เพราะนั่นอาจสร้างความไม่พึงพอใจ (ลองคิดดูว่าถ้าบุตร/ภรรยาของคุณถูกใครอื่นล่วงละเมิดทางเพศ จะยินยอมรับได้งั้นหรือ?) จนกลายเป็นกงเกวียนกรรมเกวียน เวียนวน เราไปเอาเมียเขา เขามาเอาลูกเรา ความขัดแย้งพัฒนาสู่ความเคียดแค้น เมื่อไหร่มันจักจบจักสิ้น

เรื่องราวของ Tom Jones เป็นสิ่งที่สังคม(ตะวันตก)ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนล้วนไม่ให้การยินยอมรับ แต่ในความจริงพวกเขาเหล่านั้นกลับเต็มไปด้วยความโหยหา อิจฉาริษยา เพราะตนเองไม่สามารถทำได้อย่างนั้น มันมีบางสิ่งอย่างมันค้ำคอเอาไว้ จึงต้องแสดงอคติ รังเกียจต่อต้าน พยายามขับไล่ผลักไส ประหัดประหารแขวนคอ … แต่พอตระหนักว่าอีกฝั่งฝ่ายคือเลือดเนื้อเชื้อไข ก็กุลีกุจอ พร้อมยกโทษให้อภัย แสดงถึงความกลับกลอกปอกลอก กะล่อนปลิ้นปลิ้น ออกกฎระเบียบเหล่านั้นเพียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น

ความสำเร็จของภาพยนตร์ Tom Jones (1963) ก็ชัดเจนมากๆถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม คนรุ่นใหม่ปฏิเสธการถูกบีบบังคับ ควบคุมครอบงำ ใครจะว่าอะไรฉันไม่สน โหยหาอิสรภาพให้กับตัวตนเอง นั่นรวมถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ สะท้อนการกำลังมาถึงของยุคสมัย Swinging London ไม่มีใครจะคาดคิดว่าอังกฤษ(ที่เลื่องชื่อเรื่องขนบกฎกรอบ)จะเป็นประเทศแรกๆ นำเทรนด์การปฏิวัติทางวัฒนธรรม (น่าจะเพราะเป็นประเทศมีสิ่งต่างๆบีบรัดมัดตัวมากที่สุด ผู้คนเลยพยายามหาหนทางดิ้นให้หลุดพ้นอย่างรุนแรงที่สุด)

ผู้กำกับ Richardson หลังจากสรรค์สร้างภาพยนตร์ ‘Kitchen Sink Realism’ สะท้อนสภาพสังคมประเทศอังกฤษ (Contemporary England) ที่เต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราด (Look Back in Anger (1959)) โดดเดี่ยวอ้างว้าง (The Loneliness of the Long Distance Runner (1962)) พอมาถึง Tom Jones (1963) คือช่วงเวลาแห่งการปลดปล่อย ระบายความอึดอัดอั้น อิสรภาพแห่งชีวิต ละทอดทิ้งโลกความเป็นจริง เลิกสนใจปัญหาสังคม-การเมือง ผลงานหลังจากนี้จะเน้นสร้างสิ่งตอบสนองตัณหาส่วนตนเป็นที่ตั้ง!

(เนื่องจากผมยังไม่เคยรับชมผลงานก่อนหน้านี้ของผกก. Richardson เลยบอกไม่ได้ว่าเขามีความอึดอัดอั้นอะไรที่ฝังอยู่ภายใน ไว้เขียนถึง ‘Kitchen Sink Realism’ ค่อยว่ากันอีกทีนะครับ)


หลังเข้าฉายรอบปฐมทัศน์ในประเทศอังกฤษ เดินทางต่อไปยังเทศกาลหนังเมือง Venice แม้เสียงตอบรับจะกลางๆ (Mixed Review) แต่สามารถคว้ารางวัล Best Actor (Albert Finney) ขณะที่ Golden Lion ปีนั้นตกเป็นของ Hands Over the City (1963) กำกับโดย Francesco Rosi

ด้วยทุนสร้าง £467,000 ปอนด์ (ประมาณ $1 ล้านเหรียญสหรัฐ) ไม่มีรายงานรายรับในอังกฤษ เพียงบอกว่า ‘Popular’ เมื่อเข้าฉายสหรัฐอเมริกาสามารถทำเงินได้สูงถึง $17 ล้านเหรียญ (อีกแหล่งข่าวรายงานว่า $37.6 ล้านเหรียญ) ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม

นอกจากนี้ยังมีลุ้นรางวัล Oscar, Golden Globe, BAFTA Award และสามารถกวาดรางวัลได้มากมาย (ถือเป็นหนึ่งในตัวเต็งเคียงข้าง Cleopatra (1963))

  • Academy Award
    • Best Picture ** คว้ารางวัล
    • Best Director ** คว้ารางวัล
    • Best Actor (Albert Finney)
    • Best Supporting Actor (Hugh Griffith)
    • Best Supporting Actress (Diane Cilento)
    • Best Supporting Actress (Edith Evans)
    • Best Supporting Actress (Joyce Redman)
    • Best Adapted Screenplay ** คว้ารางวัล
    • Best Art Direction – Color
    • Best Original Score ** คว้ารางวัล
  • Golden Globe Award
    • Best Motion Picture – Musical or Comedy ** คว้ารางวัล
    • Best Foreign Film – English-Language
    • Best Director
    • Best Actor – Musical or Comedy (Albert Finney)
    • Most Promising Newcomer – Male (Albert Finney) ** คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actor (Hugh Griffith)
    • Best Supporting Actress (Joan Greenwood)
  • BAFTA Award
    • Best Film from any Source ** คว้ารางวัล
    • Best British Film ** คว้ารางวัล
    • Best British Actor(Albert Finney)
    • Best British Actor (Hugh Griffith)
    • Best British Actress (Edith Evans)
    • Best Adapted Screenplay ** คว้ารางวัล

เกร็ด: เนื่องจากผกก. Tony Richardson ไม่ได้เข้าร่วมงานประกาศรางวัล Oscar ด้วยเหตุนี้นักแสดง Edith Evans จึงขึ้นรับแทนสาขา Best Director และ David Picker (ตัวแทนของ United Artist) ขึ้นรับ Best Picture

เกร็ด2: นอกจากนี้ Tom Jones (1963) ยังเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกเรื่องเดียวที่มีนักแสดงหญิงถึงสามคนเข้าชิง Oscar: Best Supporting Actress แต่ผู้ชนะกลับคือ Margaret Rutherford จากเรื่อง The V.I.P.s. (1963)

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 4K เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2018 ซึ่งมีทั้งฉบับดั้งเดิม Original Theatrical Version (129 นาที) และ Director’s Cut (121 นาที) ได้รับการอนุมัติโดยตากล้อง Walter Lassally สามารถหาซื้อ Blu-Ray และรับชมออนไลน์ได้จาก BFI และ Criterion

หรือใครสนใจคอลเลคชั่น Woodfall: A Revolution in British Cinema 1959-1965 รวบรวมผลงานยุคแรกๆของผู้กำกับ Tony Richardson จัดจำหน่ายโดย BFI Video มีจำนวน 8 เรื่อง (ได้รับการบูรณะแล้วทั้งหมด)

แม้จะเต็มไปด้วยลีลาภาพยนตร์อันจัดจ้าน รวมถึงสะท้อนสภาพสังคมยุคสมัยนั้น Swinging London แต่ผมกลับขื่นขำไม่ออกกับความเหนือจริงของเรื่องราว Sex Fantasy ที่พยายามสร้างมูลค่าให้ความสัปดลของ Tom Jones สมควรได้รับตอนจบ Happy Ending จริงๆนะหรือ?

สิ่งน่าหงุดหงิดใจที่สุดของหนังก็คือ การเป็นภาพสะท้อนสังคมยุคสมัยนั้น มันทำให้ผมเกิดข้อคำถามขึ้นมาว่า เราควรยินยอมรับ ‘เสรีภาพทางเพศ’ ขนาดไหนกัน? คุยเรื่องเพศกับลูกก็เรื่องหนึ่ง อยู่ก่อนแต่งก็เรื่องนึง โสเภณีขายตัวก็อีกเรื่องนึง แต่การไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ‘sex predator’ อะไรคือเส้นแบ่งบางๆระหว่างสำส่อน กามวิปริต จิตวิตถาร

จัดเรต 18+ กับความเจ้าชู้ประตูดิน เพศสัมพันธ์ไม่เลือกหน้า หยามเหยียดชนชั้น คำพูดกักฬระ

คำโปรย | ความชวนหัวที่เกิดจากพฤติกรรมสัปดลของ Tom Jones มีความแปลกประหลาด ตื่นตระการตา แต่อาจสร้างความขื่นขำไม่ออกให้กับผู้ชมส่วนใหญ่
คุณภาพ | สัปดล สับสน
ส่วนตัว | ขื่นขำ

Always (1989)


Always (1989) hollywood : Steven Spielberg ♥♡

สร้างใหม่จาก A Guy Named Joe (1943) หนึ่งในแรงบันดาลใจ Steven Spielberg ให้อยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ นำเสนอเรื่องราวความเชื่อว่าเมื่อคนรักตายจากไป อีกฝ่ายจะกลายเป็นวิญญาณ ยังคงล่องลอยอยู่เคียงข้าง ‘ตลอดไป’

Always (1989) เป็นภาพยนตร์ถูกตีตราว่าแย่ที่สุดของผู้กำกับ Steven Spielberg ปัญหาคือการดำเนินเรื่องที่มีความเอื่อยๆเฉื่อยๆ เต็มไปด้วยอารมณ์อ่อนไหว (Sentimental) จนรู้สึกเหมือนยัดเยียด ‘Message’ ความเชื่อเกี่ยวกับจิตวิญญาณ และเมื่อเปรียบเทียบต้นฉบับที่รีเมคมา คุณภาพก็ไม่ได้ดีเด่นไปกว่ากันสักเท่าไหร่

a remake that wasn’t remade enough.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 2/4

ส่วนตัวบอกเลยว่าไม่ได้ชื่นชอบหนังสักเท่าไหร่ แต่พอเข้าใจเหตุผลที่หลายๆคนโปรดปราน Always (1989) เพราะสามารถเป็นกำลังใจให้บุคคลประสบความสูญเสีย ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งความเศร้าโศกเสียใจ โดยใช้ข้ออ้างเกี่ยวกับ ‘ความเชื่อ’ ว่าเมื่อคนรักตายจากไป วิญญาณของอีกฝ่ายจะยังคงอยู่เคียงข้าง ไม่เหินห่างไปไหนไกล

แต่ไม่ว่าแฟนตาซีดังกล่าวจะจริงหรือไม่ มองอีกแง่มุมหนึ่งนั่นคือการลวงหลอกตัวเอง ไม่ยินยอมรับสภาพความจริง เพียงข้ออ้างสำหรับการมีชีวิต เต็มไปด้วยความหมกมุ่นยึดติด … สำหรับใครหลายๆคน การมีความเชื่อแค่เพียงเท่านั้นก็มากเกินพอแล้วละ!


Steven Allan Spielberg (เกิดปี 1946) เจ้าของฉายา ‘พ่อมดแห่งวงการภาพยนตร์’ เกิดที่ Cincinnati, Ohio ในครอบครัว Orthodox Jewish ปู่ทวดอพยพจากประเทศ Ukrane ชอบเล่าอดีตถึงญาติพี่น้องที่ต้องสูญเสียชีวิตในค่ายกักกันนาซี, ตั้งแต่เด็กค้นพบความสนใจในสื่อภาพยนตร์ Captains Courageous (1937), Pinocchio (1940), Godzilla, King of the Monsters (1956), Lawrence of Arabia (1962), รวมถึงหลายๆผลงานของผู้กำกับ Akira Kurosawa, กำกับเขียนบทภาพยนตร์เรื่องแรก Firelight (1963) โดยได้ทุนจากครอบครัว $500 เหรียญ

หลังเรียนจบมัธยมปลายมุ่งสู่ Los Angeles เข้าศึกษาต่อ California State University, Long Beach ระหว่างนั้นเป็นเด็กฝึกงานยัง Universal Studios มีโอกาสถ่ายทำหนังสั้น Amblin’ (1968) คว้ารางวัลมากมายจนไปเข้าตารองประธานสตูดิโอขณะนั้น Sidney Sheinberg จับเซ็นสัญญา 7 ปี ดรอปเรียนมหาวิทยาลัย เริ่มทำงานเป็นผู้กำกับซีรีย์โทรทัศน์ Night Gallery (1969) ตอน Eyes นำแสดงโดย Joan Crawford แม้เสียงตอบรับจะไม่ค่อยดีนัก แต่ได้รับคำชื่นชมจาก Crawford เชื่อเลยว่าไอ้เด็กคนนี้อนาคตไกลแน่ๆ

เมื่อครั้นสรรค์สร้าง Jaws (1974) ผกก. Spielberg มีโอกาสสนทนา Richard Dreyfuss เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อง A Guy Named Joe (1943) ค้นพบว่าต่างฝ่ายต่างมีความชื่นชอบโปรดปราน รสนิยมเดียวกัน!

  • Dreyfuss บอกว่าเคยดูหนังเรื่องนี้อย่างน้อย 35 รอบ (น่าจะนับถึงตอนเริ่มสรรค์สร้าง Always (1989) กระมัง!)
  • Spielberg เคยรับชมทางโทรทัศน์เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก คือหนึ่งในแรงบันดาลใจครุ่นคิดอยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์

ต่างฝ่ายต่างพยายามมองหาโอกาสร่วมกันสร้างใหม่ A Guy Named Joe (1943) จนกระทั่ง Spielberg หลังเสร็จจาก Indiana Jones and the Last Crusade (1989) ต้องการหยุดพักหนัง Blockbuster สักระยะ เพื่อเติมเต็มอีกหนึ่งความเพ้อฝันวัยเด็กสักที!

เกร็ด: A Guy Named Joe (1943) ภาพยนตร์แนว Romantic Fantasy Drama กำกับโดย Victor Fleming, นำแสดงโดย Spencer Tracy ประกบ Irene Dunne สามารถเข้าชิง Oscar: Best Original Story แต่พ่ายให้กับ Going My Way (1943)

บทหนังพัฒนาโดย Jerry Belson ทำการเปลี่ยนแปลงพื้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มาเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นในปัจจุบัน Pete Sandich คือนักบินดับเพลิง (จากเดิมเป็นนักขับเครื่องบินทิ้งระเบิด) ระหว่างเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ สามารถให้ความช่วยเหลือเพื่อนสนิท แต่ตนเองกลับจนประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต! (ดั้งเดิมคือเครื่องบินถูกศัตรูโจมตี Pete เสียสละตนเองเพื่อให้ลูกเรือคนอื่นรอดชีวิต)


เรื่องราวของ Pete Sandich (รับบทโดย Richard Dreyfuss) คือนักบินดับเพลิง ผู้ชื่นชอบชีวิตโลดโผน จนสร้างความไม่พึงพอใจต่อแฟนสาว Dorinda Durston (รับบทโดย Holly Hunter) พยายามโน้มน้าวให้เขาเลิกเล่นกับความเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย จนกระทั่งวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ แล้วเครื่องบินของเพื่อนสนิท Al Yackey (รับบทโดย John Goodman) มีปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้อง Pete เข้าไปช่วยเหลือ แต่กลับทำให้เขาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต

ภายหลังการตายของ Pete ตื่นขึ้นมาพบเจอกับพระเจ้า Hap (รับบทโดย Audrey Hepburn) อาจเพราะกรรมดีเคยทำไว้ก่อนตาย เลยได้รับแต่งตั้งเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์ Ted Baker (รับบทโดย Brad Johnson) มีหน้าที่ชี้แนะนำ พูดคำกรอกหูอีกฝั่งฝ่าย แต่ก็ดูเหมือนไม่ค่อยช่วยอะไรสักเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้นเขาก็มีโอกาสพบเจอ Dorinda เห็นการปรับตัว เปลี่ยนแปลง ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งสูญเสีย และเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง


ตัวละคร Pete Sandich ไม่ว่าจะ Spencer Tracy หรือ Richard Dreyfuss ผมรู้สึกว่าไม่ค่อยเข้ากับบทบาทนี้สักเท่าไหร่ ทั้งสองอายุค่อนข้างมาก (เห็นผมหงอกบนศีรษะ) น่าจะพานผ่านอะไรมาเยอะ ภาพลักษณ์ไม่เหมือนนักบินผาดโผน/วัยรุ่นอารมณ์ร้อน มีความกล้าบ้าบิ่น ชอบเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย แต่ในแง่มุมความดื้อด้าน หัวรั้น นิสัยเอาแต่ใจ ต้องถือว่าพวกเขาไม่สองรองใคร

Holly Hunter ในบทบาท Dorinda Durston ถือเป็นไฮไลท์ของหนัง! แม้เกลือกกลั้วโคลนตมก็ยังคงความเป็นเพชรเจิดจรัส ทั้งชุดเดรสสีขาว รวมถึงอุปนิสัยใจคอ ‘รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง’ ความสูญเสียทำให้ตกอยู่ในสภาวะหมดสิ้นหวัง แม้ยังคงพยายามรักษาภาพภายนอกที่เข้มแข็ง แท้จริงแล้วกลับเปราะบาง เพียงกะเทาะเบาๆก็แตกหัก แต่เธอจักค่อยๆปรับเปลี่ยนตนเอง ยินยอมรับสภาพความจริง จนสามารถข้ามผ่านช่วงเวลาเลวร้าย และกางปีกโบยบินสู่เสรีภาพ

บทบาทของ John Goodman คอยสร้างสีสัน บรรยากาศผ่อนคลาย เต็มไปด้วยคารมคมๆคายๆ สีหน้ายียวนกวนประสาท แต่มิตรภาพผองเพื่อนไม่เป็นสองรองใคร และภายหลังการสูญเสียยังกลายเป็นป๊ะป๋า คอยปกป้องดูแล Dorinda ยุงไม่ให้ไต่ ไร่ไม่ตอม เรียกเสียงหัวเราะขบขันอยู่บ่อยครั้ง

ผมเสียดายบทบาทการแสดงสุดท้ายของ Audrey Hepburn ที่แทบไม่มีอะไรน่าจดจำ รับบท Hap (ย่อมาจาก Happy หรือเปล่า?) เทวดา/นางฟ้า ผู้มอบโอกาสให้กับ Pete กลายเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์ คอยติดตาม ให้คำแนะนำ พูดกรอกหูโน่นนี่นั่น (แต่ไม่เห็นอีกฝ่ายจะคล้อยตามเลยสักนิด) ดูแล้วเหมือนพระเจ้าให้โอกาสตัวเขามากกว่า เพื่อว่าจะสามารถปล่อยละวางความหมกมุ่นยึดติด จักได้นอนตายตาหลับ ไปสู่สุขคติ

เกร็ด: สาเหตุที่ Hepburn ตอบตกลงแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ นอกจากเพื่อโอกาสร่วมงานผู้กำกับ Speilberg ยังนำค่าจ้าง $1 ล้านเหรียญ บริจาคการกุศลให้กับ UNICEF


ถ่ายภาพโดย Mikael Salomon (เกิดปี 1945) ตากล้องสัญชาติ Danish อพยพสู่สหรัฐอเมริกาช่วงปลายทศวรรษ 80s มีผลงานดังๆอย่าง The Abyss (1989), Always (1989), Backdraft (1991), มินิซีรีย์ Band of Brothers (2001), มินิซีรีย์ The Andromeda Strain (2008) ฯลฯ

งานภาพของหนังเต็มไปด้วยความโฉบเฉี่ยว กล้องเคลื่อนไหลอย่างมีชีวิตชีวา ตามสไตล์ลายเซ็นต์ผกก. Spielberg ความท้าทายคือฉากเครื่องบินโฉบลงมาดับไฟป่า นอกนั้นไม่มีอะไรให้พูดถึงสักเท่าไหร่, สถานที่ถ่ายทำหลักๆคือ Boise National Forest, Idaho

ตัดต่อโดย Michael Kahn ขาประจำของ Spielberg ร่วมงานกันมาตั้งแต่ Close Encounters of the Third Kind (1977), หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Pete Sandich สามารถแบ่งออกเป็นครึ่งแรก-ครึ่งหลัง เมื่อครั้นยังมีชีวิต-กลายเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์

  • ครึ่งแรก, เมื่อครั้นยังมีชีวิต
    • ภารกิจดับเพลิง กับเหตุการณ์เฉียดเป็นเฉียดตาย
    • งานเลี้ยงวันเกิด Dorinda Durston
    • Dorinda พยายามเกลี้ยกล่อม Pete ให้ละเลิกพฤติกรรมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย
    • Pete ให้ความช่วยเหลือเพื่อนสนิท เป็นเหตุให้ตนเองประสบโศกนาฎกรรม
  • ครึ่งหลัง, กลายเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์ (ชวนให้นึกถึง Wings of Desire (1987) อยู่ไม่น้อย)
    • Pete ฟื้นคืนชีพกลายเป็นวิญญาณ พบเจอกับ Hap อธิบายหน้าที่ใหม่
    • ออกติดตาม Ted Baker พบเจอแต่เรื่องวุ่นๆวายๆ
    • ก่อนตระหนักว่า Ted แอบชื่นชอบ Dorinda ทำได้เพียงมองด้วยสายตาอิจฉาระหว่างดินเนอร์
    • ภารกิจดับเพลิงครั้งใหม่ Dorinda แอบอาสาขึ้นบิน Pete คอยให้ความช่วยเหลืออยู่ข้างๆ
    • หลังเหตุการณ์นั้นทำให้ Pete สามารถปล่อยละวาง อำนวยอวยพรขอให้โชคดี

การนำเสนอเรื่องราวผ่านมุมมองวิญญาณล่องลอย –ชวนให้ผมนึกถึง Wings of Desire (1987)– อาจสร้างความโคตรรำคาญให้ใครหลายคน นั่นเพราะคำพูดของ Pete ล้วนถูก Ted ทำหูทวนลม แทบไม่สามารถปรับเปลี่ยนสิ่งใด แล้วจะให้กลายเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์ทำไมกัน? ผมมองว่าการหูทวนลมของ Ted ล้อกับพฤติกรรมก่อนหน้าของ Pete เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ไม่เคยรับฟังอะไรใคร -กรรมสนองกรรม- จุดประสงค์ก็เพื่อให้ตัวละครตระหนักถึงสันดานธาตุแท้ตัวเอง เรียนรู้ที่จะปล่อยวาง มอบความเชื่อมั่นแก่ผู้อื่น เพื่อท้ายสุดเขาจักได้ไปสู่สุขคติ/สรวงสวรรค์

เพลงประกอบโดย John Williams ขาประจำผู้กำกับ Spielberg ร่วมงานกันมาตั้งแต่ The Sugarland Express (1944), สำหรับ Always (1989) เต็มไปด้วยท่วงทำนองที่มีความอ่อนไหว (Sentimental) ให้ผู้ชมรู้สึกเคลิบเคลิ้ม ล่องลอยบนปุยเมฆ มอบสัมผัสของจิตวิญญาณ ที่มีทั้งความสุข-ทุกข์ ดีใจ-เศร้าโศก ยังคงโหยหาช่วงเวลาแห่งชีวิต ก่อนเรียนรู้ที่จะปล่อยวางทุกความหมกมุ่นยึดติด และไปสู่สุขคติ

สำหรับ Smoke Gets in Your Eyes ต้นฉบับแต่งโดย Jerome Kern, คำร้องโดย Otto A. Harbach, สำหรับละครเพลง Roberta (1933) และเคยประกอบภาพยนตร์ A Guy Named Joe (1943) ด้วยเช่นกัน! ฉบับที่ใช้ในหนังขับร้องโดย J. D. Souther

Pete Sandich เป็นบุคคลชื่นชอบความตื่นเต้นท้าทาย จนบางครั้งทำตัวโลดโผนเกินเลยเถิดไปไกล แถมไม่เคยสนใจใครอื่นรอบข้าง แม้แต่แฟนสาว Dorinda Durston ยังพยายามหักห้ามปรามก็ไม่เคยครุ่นคิดรับฟัง แถมยังกีดกันไม่ให้เธอกระทำสิ่งย้อนรอยแบบเดียวกับตนเองอีกต่างหาก

เพราะหนังนำเสนอผ่านมุมมองของ Pete (ไม่ใช่ Dorinda) เนื้อหาสาระจึงไม่ใช่แค่การก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งความเศร้าโศกเสียใจ (แต่คนส่วนใหญ่/ผู้ชมทั่วไป มักทำความเข้าใจได้แค่ประเด็นนี้) แต่คือบทเรียนเกี่ยวกับความเย่อหยิ่งทะนงตน บุคคลผู้ลุ่มหลงในตนเอง ชอบอวดอ้างปากดีว่าฉันเก่ง เลยกระทำสิ่งอันตราย ท้าความตาย โดยไม่รู้จักความรับผิดชอบต่อผู้อื่นใด ต้องรอให้ตกตายจริงๆก่อนหรือไร ถึงตระหนักในความโง่เขลา เบาปัญญาอ่อน

แต่เอาจริงๆหนังไม่ได้ต้องการหักห้ามบุคคลลักษณะเช่นนี้สักเท่าไหร่ เพราะมันคือ’เสรีภาพ’ในการแสดงออก ใครอยากจะทำอะไรบ้าบิ่นท้าความตายก็ตามสบาย เป้าหมายแท้จริงพยายามเสี้ยมสอนให้รู้จักความรับผิดชอบต่อตนเอง และมอบความเชื่อมั่นให้กับผู้คนอื่น

ถ้ามีคนที่เรารักและรักเรา ต้องการใช้ชีวิตครองคู่อยู่ร่วม เราก็ควรมองหาหนทางประณีประณอม โอนอ่อนผ่อนปรน แสดงออกอย่างให้เกียรติ เสมอภาคเท่าเทียม อย่ากระทำแต่สิ่งตอบสนองตัณหาส่วนตน แล้วปฏิเสธรับฟังความคิดเห็นของอีกฝั่งฝ่าย เรียนรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและคนที่เรารัก ยินยอมรับในสิ่งเขาเป็น เปิดโอกาส มองโลกในมุมกว้าง สักวันหนึ่งทั้งเธอและเขาก็จักได้รับอิสรภาพ และไปสู่สุขคติ

  • Pete Sandich เรียนรู้ที่จะปล่อยละวางชีวิต หมกมุ่นยึดติดกับแฟนสาว จนสุดท้ายก็ได้ไปสู่สุขคติ
  • Dorinda Durston เรียนรู้ที่จะก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งการสูญเสีย หมกมุ่นยึดติดกับตนเอง และสามารถเริ่มต้นชีวิต/รักครั้งใหม่

เท่าที่ผมอ่านจากชีวประวัติผู้กำกับ Spielberg เล่าว่ามีโอกาสรับชม A Guy Named Joe (1943) ร่วมกับบิดา ซึ่งเคยเป็นทหารผ่านศึกช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สูญเสียเพื่อนฝูง ญาติพี่น้องมากมาย นั่นกระมังที่สร้างความประทับฝังใจไม่รู้เลือน ครุ่นคิดสรรค์สร้าง Always (1989) เพื่อส่งต่อเรื่องราวดีๆ ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิต จิตวิญญาณของคนที่เรารัก จักยังคงอยู่เคียงข้างกันตลอดไป


หนังไม่มีรายงานทุนสร้าง เสียงวิจารณ์ค่อนไปทางย่ำแย่ สัปดาห์แรกเปิดตัวแค่อันดับ 5 รายรับในสหรัฐอเมริกา $43.8 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $74.1 ล้านเหรียญ แค่เพียงคืนทุนเล็กๆน้อยๆ ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่

นอกจากการแสดงของ Holly Hunter, บทบาทสุดท้ายของ Audrey Hepburn และเพลงประกอบเพราะๆของ John Williams อะไรอย่างอื่นผมแทบไม่เห็นความน่าสนใจ รู้สึกผิดหวัง เสียเวลา เอาจริงๆไม่อยากเขียนบทความนี้ด้วยซ้ำ แต่ครุ่นคิดอยากให้คนที่ชื่นชอบโปรดปราน Always (1989) ได้พบเห็นมุมมองด้านอื่นของหนังบ้าง

แทนที่จะเสียเวลารับชม A Guy Named Joe (1943) หรือ Always (1989) ผมแนะนำให้ไปหา It’s a Wonderful Life (1946) หรือ Wings of Desire (1987) หรือ Ghost (1990) จะสร้างความตระหนักถึง ‘คุณค่าของชีวิต’ ได้ตราตรึงกว่าเป็นไหนๆ

จัดเรต PG กับพฤติกรรมสุดบ้าบิ่น และการหลอกตัวเอง

คำโปรย | Always เพียงควันอันเลือนลางในบรรดาผลงานโลกตะลึงของ Steven Spielberg
คุณภาพ | เพียงควัน
ส่วนตัว | น่าผิดหวัง

Crash (1996)


Crash (1996) Canadian : David Cronenberg ♥♥

เริ่มต้นจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศคลุ้มคลั่ง โหยหาประสบการณ์เฉียดเป็นเสี่ยงตาย จนได้มีเพศสัมพันธ์ทั้งชาย-หญิง ประตูหน้า-หลัง และกับรถยนต์ คว้ารางวัล ‘Special’ Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes และกลายเป็นแรงบันดาลใจ Julia Ducournau สรรค์สร้างผลงาน Titane (2021)

ผมยังไม่เคยรับชม Titane (2021) แต่แค่เห็นตัวอย่าง (trailer) ก็ชวนให้ตกตะลึง อึ้งทึ่ง อ้าปากค้าง และยิ่งคำชมของประธานกรรมการเทศกาลหนังเมือง Cannes ปีนั้น Spike Lee ใครต่อใครก็น่าจะจินตนาการสิ่งบังเกิดขึ้นได้ไม่ยาก

To be honest, I’ve never seen a film in my life, I have to say I’ve seen a lot of films, but this is the first film ever where a Cadillac impregnated a woman.

Spike Lee กล่าวถึง Titane (2021)

Crash (1996) ไม่ได้ทำใครตั้งครรภ์ –” แต่พยายามเปรียบเทียบอุบัติเหตุบนท้องถนน กับความรุนแรงอื่นๆในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเสรีภาพของการมีเพศสัมพันธ์ มนุษย์ยุคสมัยนี้-นั้น มักโหยหาประสบการณ์แปลกใหม่ เพื่อให้เกิดสัมผัสอันเร้าร้อน ถึงจุดสูงสุดไคลน์แม็กซ์ยิ่งๆขึ้นไป ‘Extremity’ ไม่รู้จะต้องการถึงสรวงสวรรค์ชั้นไหน

ผมรู้สึกว่า Crash (1996) มีแนวคิดละม้ายคล้าย Videodrome (1983) เปลี่ยนจากความหลงใหลในสื่อสารมวลชน มาเป็นคลั่งไคล้อุบัติเหตุทางท้องถนน แตกต่างตรงไม่มีภาพน่ารังเกียจขยะแขยง (มากสุดก็สภาพรถพัง ฟกช้ำ เข้าเฝือกเหล็ก ฯลฯ) แต่เชื่อว่าหลายคนอาจรับไม่ได้เมื่อพบเห็นสารพัดลีลาระหว่างเพศสัมพันธ์

ใครตามอ่าน raremeat.blog น่าจะพอรับรู้ว่าผมค่อนข้างเปิดกว้างเรื่องทางเพศ ตราบใดที่มีความสวยงาม แลดูเป็นงานศิลปะชั้นสูง แต่สำหรับ Crash (1996) ทำเอาผมส่ายหัวรำคาญใจ แม้พยายามไล่ระดับประสบการณ์ทางเพศที่หลากหลาย แต่มันกลับไม่สามารถกระตุ้นอารมณ์ นำพาไปถึงไคลน์แม็กซ์ จุดสูงสุดเหมือน Videodrome (1983) … คือหนังยังไปไม่ถึงจุดที่สามารถมอบความรู้สึก ‘Extremity’ ให้กับผู้ชมยุคสมัยนี้สักเท่าไหร่


ก่อนอื่นของกล่าวถึง James Graham Ballard (1930-2009) นักเขียนนวนิยายชาวอังกฤษ เกิดที่ Shanghai International Settlement ย่านเซี่ยงไฮ้ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติในประเทศจีน ใช้ชีวิตพานผ่าน Second Sino-Japanese War (1937-45) จากนั้นขึ้นเรือกลับเกาะอังกฤษ สอบเข้าวิทยาลัยแพทย์ King’s College, Cambridge ตั้งใจจะเป็นนักจิตวิทยา แต่พอเริ่มเขียนเรื่องสั้น The Violent Noon (1951) คว้ารางวัลอะไรสักอย่าง จึงตัดสินใจย้ายมาร่ำเรียนวรรณกรรมภาษาอังกฤษยัง Queen Mary College และเขียนนวนิยายไซไฟขนาดยาว The Wind from Nowhere (1961), The Drowned World (1962) ฯลฯ

ผลงานของ Ballard มักสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยามนุษย์ (Human Psychology), การมีเพศสัมพันธ์, สื่อสารมวลชน, และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งล้วนมีลักษณะปลุกปั่น ‘provocative’ จี้แทงใจดำ สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ ผลงานเด่นๆ อาทิ Crash (1973), High-Rise (1975), Empire of the Sun (1984) ฯลฯ

I wanted to rub the human race in its own vomit, and force it to look in the mirror.

คำอธิบายนวนิยาย Crash (1973) ของ J.G. Ballard

เมื่อปี 1970, J.G. Ballard ได้จัดนิทรรศการชื่อว่า ‘Crashed Car’ ขึ้นที่ New Arts Lab ณ กรุง London ซึ่งประกอบด้วยเศษซากรถทั้งหมดสามคัน แลดูราวกับประติมากรรมชั้นสูง (แต่เขาไม่ได้ทำอะไรไปมากกว่าแค่นำเอารถที่ประสบอุบัติเหตุพุ่งชนกันบนท้องถนนมาจัดแสดงเท่านั้น!)

ปีถัดมา Ballard ได้สรรค์สร้างหนังสั้นแนวทดลองชื่อ Crash! (1971) นำไปเสนอต่อสถานีโทรทัศน์ BBC แม้จะไม่ได้รับโอกาสสรรค์สร้างเป็นซีรีย์หรือภาพยนตร์ แต่ก็กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เขาพัฒนาต่อยอดมาเป็นนวนิยาย Crach (1973)

The 20th Century reaches its highest expression on the highway. Everything is there: the speed and violence of our age, its strange love affair with the machine, with its own death. Are we just victims in a totally meaningless tragedy, or does it in fact take place with our unconscious and even conscious connivance? Each year, hundreds of thousands are killed in car crashes all over the world. Are these arranged deaths? Arranged by the colliding forces of our technological landscape, by our own unconscious fantasies about power and aggression?

To die in a car crash is a unique twentieth-century finale.

J. G. Ballard ผู้ประพันธ์นวนิยาย Crash (1973)

นำเสนอเรื่องราวการประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ‘sexual fetishism’ โหยหาประสบการณ์เสี่ยงเป็น ท้าความตาย จนกลายเป็นอาการผิดปกติทางจิต โรคกามวิปริต (Paraphilia)

  • Symphorophilia เกิดอารมณ์ทางเพศจากการพบเห็นภาพรุนแรง ภัยพิบัติ รวมถึงอุบัติเหตุบนท้องถนน
  • Autassassinophilia เกิดอารมณ์ทางเพศจากการประสบเหตุการณ์เสี่ยงเป็น ท้าความตาย ถูกบีบคอ หรือตนเองประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน

ว่ากันว่าแรงบันดาลใจของ J.G. Ballard มาจากการพบเห็นข่าวอุบัติเหตุ/โศกนาฎกรรมของ Jayne Mansfield และ James Dean ซึ่งก็มีอ้างอิงกล่างถึงในนวนิยาย แถมจัดฉากการเสียชีวิตของพวกเขาเหล่านี้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมบังเกิดอารมณ์ร่วม … ทุกเหตุการณ์ที่ตัวละครมีเพศสัมพันธ์ ล้วนเป็น ‘cautionary tale’ ให้ผู้อ่านเกิดความตระหนักถึงการแสดงออกที่ผิดปกติ กามวิปริต

Crash (1973)’s the first great novel of the universe of simulation.

นักวิจารณ์ Jean Baudrillard ในบทวิเคราะห์ Simulacra and Simulation

David Paul Cronenberg (เกิดปี 1943) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario บิดาเป็นนักเขียน/นักตัดต่อ พยายามเสี้ยมสอนบุตรชายให้หลงใหลในสื่อภาพยนตร์ แต่เขากลับชื่นชอบอ่านนวนิยาย Science-Fiction ในตอนแรกเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์ University of Toronto ก่อนเปลี่ยนมาคณะวรรณกรรมภาษาอังกฤษ จนกระทั่งเมื่อมีโอกาสรับชม Winter Kept Us Warm (1966) ถึงเริ่มค้นพบความสนใจในภาพยนตร์ กำกับหนังสั้น 16mm ร่วมก่อตั้ง Toronto Film Co-op กับเพื่อนสนิท Ivan Reitman, ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Stereo (1969), Crimes of the Future (1970), พัฒนาสไตล์ลายเซ็นต์ ‘body horror’ เริ่มตั้งแต่ Shivers (1975), Rabid (1977)

ผกก. Cronenberg ถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกภาพยนตร์แนว ‘body horror’ ด้วยความพยายามทำให้เรือนร่างกายมนุษย์มีความผิดปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพ (Transformation) มักจากเทคโนโลยีล้ำยุคสมัย ไม่ก็ติดเชื้อโรคบางอย่าง ซึ่งสามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ จิตวิเคราะห์ ผลงานส่วนใหญ่จึงมีลักษณะ Sci-Fi Horror แต่บางครั้งก็สรรค์สร้างแนว Psychological Thriller, Gangster Film ที่เต็มไปด้วยความรุนแรง คลุ้มบ้าคลั่ง

ผลงานเด่นๆ อาทิ The Brood (1979), Scanners (1981), Videodrome (1983), The Dead Zone (1983), The Fly (1986), Dead Ringers (1988), Naked Lunch (1991), Crash (1996), A History of Violence (2005), Eastern Promises (2007) ฯลฯ

หลังเสร็จจาก M. Butterfly (1993) ผกก. Cronenberg ได้รับการทาบทามให้กำกับ The Juror (1996) แต่เจ้าตัวบอกปัดปฏิเสธเพราะไม่มีความสนใจเรื่องราวดังกล่าว แล้วครุ่นคิดถึงนวนิยาย Crash (1973) เคยอ่านผ่านตามาเมื่อหลายปีก่อน ชอบคำสบประมาทที่ว่าเรื่องราวดังกล่าวไม่เหมาะแก่การนำมาสร้างภาพยนตร์ (อารมณ์เดียวกับ Naked Lauch เป็นนวนิยายที่ยากจะทำเป็นสื่ออื่น) เลยวางแผนดัดแปลงเป็นผลงานเรื่องถัดไป

I didn’t re-read the book carefully because it’s been my experience that you have to be prepared to betray the book in order to be faithful to it. And with Crash I really thought I was going to have to do what I did with Naked Lunch — do sort of a construct. Naked Lunch isn’t really just the book, its Burroughs’ life and this other preface that he wrote — all these other things. But to my surprise when I started Crash, it distilled into film terms pretty directly.

David Cronenberg กล่าวถึงการดัดแปลง Crash (1996)

การดัดแปลงนวนิยาย Crash (1973) ผกก. Cronenberg ค่อนข้างจะซื่อตรงเนื้อหาจากต้นฉบับ เพียงตัดทอนรายละเอียดที่ดูเฉิ่มเชยล้าหลัง เช่นความเพ้อฝันของ Robert Vaughan อยากขับรถพุ่งชน Elizabeth Taylor (Tayler แม้เป็น Superstar แห่งยุค 50s-60s แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นตอนเธอกลายเป็นคุณยายอายุ 60+ ไปแล้ว)


โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ James Ballard (รับบทโดย James Spader) มีความสัมพันธ์แบบเปิดกว้าง (open marriage) กับภรรยา Catherine Ballard (รับบทโดย Deborah Kara Unger) ต่างฝ่ายต่างมีชู้รัก เพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า (extramarital sex) กระทั่งวันหนึ่งระหว่างทางกลับบ้าน James ประสบอุบัติเหตุขับพุ่งชนรถสวนทางมา ทำให้เขาได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนคนขับรถอีกฝ่ายเสียชีวิตคาที่ ซึ่งก่อนเป็นลมหมดสติ พบเห็นบุคคลนั่งข้างๆ Helen Remington (รับบทโดย Holly Hunter) เหมือนจบใจโชว์หน้าอก ไม่สวมเสื้อชั้นใน

เมื่ออาการบาดเจ็บของ James ทุเลาบรรเทาลง บังเอิญพบเจอ Helen ยังสถานที่เก็บซากรถยนต์ ซึ่งระหว่างทางกลับพวกเขาก็ถาโถมเข้าใส่ ร่วมรัก มีเพศสัมพันธ์ แล้วเธอพาเขาไปรับชมการแสดง ‘performance arts’ รถชนกันของ Robert Vaughan (รับบทโดย Elias Koteas) แนะนำให้รู้จักสมาชิกที่ต่างชื่นชอบคลั่งไคล้ความรุนแรง ‘symphorophiliacs’ บังเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อพบเห็นอุบัติเหตุรถชนกัน


James Todd Spader (เกิดปี 1960) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Boston, Massachusetts มารดาเป็นครูสอนศิลปะ พออายุได้ 17 ตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน มุ่งสู่ New York เพื่อเป็นนักแสดง Endless Love (1981), รับบทนำครั้งแรก Tuff Turf (1985), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Pretty in Pink (1986), Wall Street (1987), โด่งดังกับ Sex, Lies, and Videotape (1989) คว้ารางวัล Best Actor จากเทศกาลหนังเมือง Cannes, ผลงานเด่นๆ อาทิ Stargate (1994), Crash (1996), Secretary (2002), Lincoln (2012) ฯลฯ

รับบท James Ballard โปรดิวเซอร์ผู้โหยหาความตื่นเต้น ประสบการณ์ทางเพศรุกเร้าใจ ไม่ยึดติดแนวคิดผัวเดียวเมียเดียว (Monogamy) ร่วมรักเลขาสาว แล้วต่อภรรยาตรงระเบียง กระทั่งเมื่อประสบอุบัติเหตุจึงราวกับได้พบเจอโลกใบใหม่ เลือกใช้ชีวิตกล้าเสี่ยง ท้าความตาย เพื่อเวลามีเพศสัมพันธ์จะได้ถึงไคลน์แม็กซ์ จุดสูงสุดกว่าครั้งอื่นใด

Spader เป็นตัวเลือกแรก ตัวเลือกเดียวของผกก. Cronenberg (น่าจะเพราะ Sex, Lies, and Videotape) ไม่ต้องโน้มน้าวอะไรใดๆ เพราะเคยอ่านนวนิยายต้นฉบับ แค่ใคร่สงสัยว่าตนเองจะร่วมรักกับใครบ้าง

after all, I get to f*ck everybody in this movie don’t I?

James Spader

ใบหน้าของ Spader เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น ใคร่อยากรู้อยากเห็น อยากลองทำโน่นนี่นั่น แสดงความอิจฉาริษยาทุกครั้งเมื่อต้องพบเห็นใครอื่นกำลังมีความสุขกระสันต์ พอถึงคราตัวเองก็ใส่ไม่ยั้ง ปลดปล่อยสัญชาติญาณ ต้องการเปิดประสบการณ์(ทางเพศ)ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา

ผมมองไม่เห็นพัฒนาการใดๆของ Spader พฤติกรรมต่างๆล้วนคาดเดาง่าย หมกมุ่นมักมาก สนเพียงตัณหาความใคร่ เพียงดำเนินชีวิตไปตามสัญชาติญาณ ไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉานสักเท่าไหร่ ถึงอ้างว่างเพียงนำเสนอในเชิงสัญลักษณ์ แต่เป็นตัวละครที่ไม่น่าติดตาม ไม่น่าจดจำ ไม่รู้จะทำอะไร เทียบไม่ได้กับ James Woods เรื่อง Videodrome (1983) ที่ยังมีภาพสุดอัปลักษณ์ติดตราฝังใจ


Deborah Kara Unger (เกิดปี 1966) นักแสดงสัญชาติแคนาดา เกิดที่ Vancouver, British Columbia แต่ไปเติบโตยัง Australia โตขึ้นเข้าเรียนการแสดงยัง National Institute of Dramatic Art จากนั้นเข้าสู่วงการโทรทัศน์ แสดงมินิซีรีย์ Bangkok Hilton (1989), Hotel Room (1993), แจ้งเกิดกับภาพยนตร์ Crash (1996), The Game (1997), The Hurricane (1999), Silent Hill (2006) ฯลฯ

รับบท Catherine Ballard แม้เป็นภรรยาของ James แต่ก็ยินยอมรับความสัมพันธ์แบบเปิดกว้าง (open marriage) ไม่ยึดติดแนวคิดผัวเดียวเมียเดียว โหยหาความตื่นเต้น เพศสัมพันธ์ที่รุกเร้าใจ เปิดประสบการณ์ใหม่ๆแบบเดียวกับสามี และเมื่อเรียนรู้จากเขาเกี่ยวกับกลุ่มของ Robert Vaughan จึงใครอยากลิ้มลองความเจ็บปวดซาดิสม์-มาโซคิสม์ (Sado-Masochist)

น่าเสียดายที่ตัวละครไม่ได้มีมิติมากไปกว่าหญิงสาวแรดร่านราคะ แต่ต้องชมมารยาการแสดงของ Unger ด้วยสายตาจิกกัด ท่าทางยั่วเย้ายวน โดยเฉพาะคำพูดที่สามารถปลุกเร้า สร้างอารมณ์ให้ตัวละคร(และผู้ชม) แต่การพยายามเอาหมอนมาปิดบังหน้าอก (ขณะร่วมรักบนเตียง) มันช่างย้อนแย้งและน่าตลกขบขันอยู่ไม่น้อย

ผมรู้สึกว่า Unger เป็นนักแสดงมีศักยภาพพอจะประสบความสำเร็จ แต่อาจเพราะ Crash (1996) แทนที่จะแจ้งเกิดโด่งดัง กลับสร้างข้อจำกัดจากความสัมพันธ์เปิดกว้าง (open marriage) เป็นสิ่งที่คนสมัยนั้น-นี้ ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถให้การยินยอมรับสักเท่าไหร่ โอกาสทางการแสดงของเธอจึงประปราย และไม่สามารถกลายเป็นดาวดาราค้างฟ้า


Elias Koteas (เกิดปี 1961) นักแสดงสัญชาติแคนาดา เกิดที่ Montreal, Quebec ในครอบครัวเชื้อสายกรีก, สำเร็จการศึกษาจาก American Academy of Dramatic Arts, New York มีผลงานการแสดง อาทิ Teenage Mutant Ninja Turtles (1990), Exotica (1994), Crash (1996), The Thin Red Line (1998), Ararat (2002), Zodiac (2007), Shutter Island (2010), Let Me In (2010) ฯลฯ

รับบท Robert Vaughan ผู้เชี่ยวชาญด้านอุบัติเหตุ บังเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อพบเห็นรอยบาดแผล ได้รับความเจ็บปวดทางร่างกาย, เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิการแสดง ‘Performance arts’ เลียนแบบเหตุการณ์ที่ทำให้ James Dean ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต พยายามโน้มน้าวชักชวน James Ballard เพื่อว่าตนเองจักได้มีเพศสัมพันธ์กับภรรยา และทางประตูหลังกับเขา

ต้องชมเลยว่า Koteas เป็นคนที่มี Charisma ด้านการแสดงสูงไม่น้อย! ทั้งภาพลักษณ์เข้มๆ รอยสัก แผลเป็น ใบหน้าดูโหดเหี้ยม เต็มไปด้วยความกระตือรือล้น (ในเรื่องที่ตัวละครให้ความสนใจ อุบัติเหตุ รอยแผล ความตาย) แสดงอารมณ์คลุ้มคลั่ง หื่นกระหาย มีความหลากหลาย รุนแรง ถือว่าโดดเด่นที่สุดในบรรดานักแสดงชุดนี้ก็ว่าได้

ตั้งแต่แสดงสีหน้าหื่นกระหายเมื่อพบเห็นรอยแผล เฝือกเหล็กของ Ballard นี่ก็สร้างความน่าฉงนสงสัยให้ตัวละครอย่างมากๆ กระทั่งการมาถึงของ ‘Performance arts’ สำแดงความลุ่มหลงใหล คลุ้มคลั่งในในความเจ็บปวดซาดิสม์-มาโซคิสม์ (Sado-Masochist) แต่ไฮไลท์คงนี้ไม่พ้นอาการคลุ้มคลั่ง ขับรถพุ่งชนคนโน่นนี่นั่น ใครอยากเข่นฆ่าผู้อื่นให้ตกตายไปจริงๆ จากนั้นมาร่วมรักประตูหลัง … แค่รับชมการแสดงยังรู้สึกว่า Koteas เล่นหนักและเหนื่อย ขณะที่คนอื่นๆแค่ปล่อยตัวกายใจให้ล่องลอยไปมา


Holly Hunter (เกิดปี 1958) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Conyers, Georgia จบการแสดงที่ Carnegie Mellon University, Pittsburgh เริ่มต้นเป็นมีผลงานละครเวที อาศัยอยู่ห้องเช่าเดียวกับ Frances McDormand แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก The Burning (1981), แจ้งเกิดกับเรื่อง Raising Zrizona (1987), คว้า Oscar: Best Actress เรื่อง The Piano (1993) และเข้าชิงอีก 3 ครั้งจาก Broadcast News (1987), The Firm (1993), Thirteen (2003) ฯ

รับบท Helen Remington ทำงานกรมศุลกากรยังสนามบินแห่งหนึ่ง แม้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนสามีเสียชีวิต แต่ก็ไม่ติดใจอะไรกับ James Ballard หนำซ้ำยังยินยอมมีเพศสัมพันธ์ และนำพาให้เขารับรู้จัก Robert Vaughan พาท่องโลกที่ความรุนแรง ความเจ็บปวด กระตุ้นต่อมทางเพศ ได้หมดถ้าสดชื่น

ผมอ่านเจอว่า Hunter พยายามล็อบบี้ บีบบังคับ เรียกร้องอยากร่วมงาน ผกก. Cronenberg บทเล็กๆก็ไม่ว่า แค่ยื่นข้อเสนอมาก็จะตอบตกลงโดยทันที

บทบาทของ Hunter เหมือนจะเลือนหายไปตอนกลางเรื่อง หลังนำพา James Ballard ให้รู้จักกับ Robert Vaughan โผล่มาอีกทีก็พบเห็นกำลังสานสัมพันธ์สาว-สาวกับ Catherine ถือเป็นตัวละครที่ไม่ได้มีความสลักสำคัญสักเท่าไหร่ น่าเสียดายศักยภาพนักแสดงรางวัล Oscar เพียงใช้ความกล้า ท้าทาย เปลือยกายขณะมีเพศสัมพันธ์ เหมือนคนเก็บกดดันอัดอั้นมานาน อยากระบายตัณหาความใคร่ เปิดเผยสันดานธาตุแท้แบบไม่ต้องปกปิดซุกซ่อนอะไรใดๆ … เชื่อว่าบทบาทนี้คงสร้างความเพลิดเพลินใจให้ Hunter ได้เป็นอย่างดี เพราะผลงานเก่าๆโดยเฉพาะ The Piano ตัวละครของเธอโคตรจะเก็บกดทางเพศสุดๆ ‘sexual repression’


ถ่ายภาพโดย Peter Suschitzky (เกิดปี 1941) สัญชาติอังกฤษ สำเร็จการศึกษาด้านการถ่ายภาพจาก Institut des hautes études cinématographiques เริ่มงานเป็นเด็กตอกสเลท, ควบคุมกล้อง, ถ่ายภาพเรื่องแรก It Happened Here (1964), โด่งดังจาก The Rocky Horror Picture Show (1975), Valentino (1977), The Empire Strikes Back (1980), แล้วกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ David Cronenberg ตั้งแต่ Dead Ringers (1988)

งานภาพของ Crash (1996) จะมีความเนิบนาบ เชื่องชักช้า ค่อยๆขยับเคลื่อนไหล ชวนให้น่าหลับใหล พยายามไม่สร้างความตื่นเต้นรุกเร้าใจ ซึ่งเป็นความต้องการ ‘anti-Hollywood’ ของผกก. Cronenberg เพื่อไม่ใช่ผู้ชมเกิดความบันเทิงเริงรมณ์ จากทั้งอุบัติเหตุรถชนกัน หรือหลากหลายรูปแบบเพศสัมพันธ์ … การพยายามทำให้ผู้ชมเซ็กซ์เสื่อม ไม่เกิดอารมณ์ใดๆ จุดประสงค์เพื่อให้ผู้ชมมองหนังในลักษณะนามธรรม (Subjective)

I wanted the dynamics of this film to be very much anti-Hollywood action movie.

David Cronenberg

มันอาจเป็นความตั้งใจที่ดีของผกก. Cronenberg ทำหนังให้น่าเบื่อ เพื่อผู้ชมจักไม่ลอกเลียนแบบตาม แต่นั่นคือจุดด้อยอย่างรุนแรง เพราะแม้เหตุการณ์ต่างๆมันมีความ ‘Extremity’ แต่ภาษาภาพยนตร์กลับไม่ตอบสนองความรู้สึกนั้น และผู้ชมยุคสมัยนี้ที่พานผ่านอะไรๆสุดโต่งมากมายในชีวิตประจำวัน ผมเลยรู้สึกว่ารับชม Crash (1997) แม้งโคตรน่าเบื่อหน่าย เพียงไม่กี่ฉากที่ยังพอมีความน่าสนใจ

พื้นหลังของนวนิยายคือกรุง London ทศวรรษ 70s แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัด ผกก. Cronenberg จึงต้องเปลี่ยนสถานที่มาเป็น Toronto, Canada ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านของเขาขับถเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น!


Opening Credit ของ Crash (1996) เมื่อเทียบกับหลายๆผลงานก่อนหน้า ผมรู้สึกว่าไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจสักเท่าไหร่ คาดว่าคงใช้โปรแกรมสามมิติ พยายามทำออกมาให้เหมือนผู้ชมนั่งอยู่ในรถยามค่ำคืน พบเห็นแสงไฟวูบวาบของคันที่กำลังสวนทางมา ส่วนตัวอักษรต้องการออกแบบให้คล้ายโครงเหล็ก (แต่ก็ไม่เหมือนสักเท่าไหร่นะ)

ภาพแรกของหนังคือ(โรงเก็บ)เครื่องบิน ซึ่งอาจทำให้หลายคนรู้สึกสับสนว่า Crash หมายถึงเครื่องบินชนกันหรือเปล่า? แต่พอกล้องเคลื่อนเลื่อนมาพบเห็นตัวละคร Catherine Ballard กำลังถอดเสื้อใน แล้วทำท่าเหมือน ‘ให้น้ำนม’

  • หลายคนอาจตีความว่าคือการเกิดอารมณ์ทางเพศ ‘sexual fetishism’ กับเครื่องบิน
  • แต่ผมมองว่าต้องการสื่อถึง มนุษย์คือผู้ให้กำเนิดเทคโนโลยี ความเจริญก้าวหน้าของโลกทุกวันนี้ ซึ่งรวมถึงรถรา เครื่องบิน สิ่งอำนวยความสะดวกนานับประการ

ทั้งๆที่หนังมีเรื่องราวเกี่ยวกับอุบัติบนท้องถนน รถชนกัน แล้วทำไมฉากแรกนี้กลับนำเสนอภาพ(โรงเก็บ)เครื่องบิน? เพราะมันคือสิ่งที่นำพาไปมนุษยชาติไปถึงไคลน์แม็กซ์ จุดสูงสุด ราวกับโบยบินอยู่บนสรวงสวรรค์ … เข้าใจความสองแง่สองง่ามที่อธิบายมานี้ไหมเอ่ย?

เพศสัมพันธ์ตรงระเบียงห้อง ถือเป็นรสนิยมของบางคู่รัก เพื่อสร้างความตื่นเต้นเร้าใจ หวาดกลัวว่าจะมีใครพบเห็นไหม สามารถกระตุ้นอารมณ์(ทางเพศ)ได้เป็นอย่างดี (แต่ส่วนใหญ่ถ้ามีคนยืนมอง หรือแอบถ่าย ก็มักแสดงอาการเหนียงอาย รีบใส่สวมใส่เสื้อผ้าโดยพลัน ซะงั้น!)

แต่นัยยะของหนังโดยเฉพาะช็อตนี้ ให้ความรู้สึกเหมือนพวกเขากำลังมี ‘sex’ กับทิวทัศน์เมือง Toronto หรือคือความสุขกระสันต์กับความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมมนุษยชาติ ตึกรามบ้านช่อง ท้องถนนหนทาง ยานพานะ ฯลฯ

มันดูเป็นความจงใจของ Helen Remington หลังประสบอุบัติเหตุรถชน เมื่อปลดเข็มขัดนิรภัย เปิดเผยหน้าอกตนเองต่อสายตา James Ballard เหมือนว่าก่อนหน้านี้เธอกำลังทำอะไรบางอย่างกับสามี (ไปจินตนาการเอาเองนะครับ) และเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ก็ทำให้อารมณ์ทางเพศพลุกพล่านขึ้นมา … ผมไม่แน่ใจว่า Helen รับรู้จัก Robert Vaughan มาก่อนหน้านี้หรือเปล่า แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงจากช็อตนี้แหละ บังเกิดอารมณ์ทางเพศหลังจากประสบอุบัติเหตุ เฉียดเป็นเฉียดตาย

การเข้าเฝือกด้วยโครงเหล็ก มันช่างดูเจ็บปวด น่าหวาดสะพรึงกลัวเสียเหลือเกิน จะมองว่ามันเป็น ‘body horror’ ก็คงได้กระมัง แถมช็อตนี้ยังจงใจวับๆแวมๆอวัยวะเพศของ James Ballard เพื่อสร้างความยั่วเย้ายวน ชวนให้เกิดอารมณ์ทางเพศ(จากความเจ็บปวด)ได้เช่นกัน

ถ้าโดยสามัญสำนึก อุบัติเหตุเลวร้ายขนาดนี้ย่อมต้องมีการฟ้องร้อง ขึ้นโรงขึ้นศาล เรียกค่าทำขวัญ แต่ Helen กลับไม่สนใจใยดี เมื่อมีโอกาสพบเจอ James Ballard เชื่อว่าหลายคนน่าจะพอดูออกในท่าทางซึนเดเระ พยายามยั่วเย้ายวน ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเขา (แทนค่าเสียหาย?)

หลังจากโถมตัวเข้าไปจูบ ทะยอยถอดเสื้อผ้า สิ่งถัดมาที่เธอทำก็คือเปิดหน้าอกให้เขายื่นมือมาจับ (แบบเดียวกับตอนประสบอุบัติเหตุ) จากนั้นย้ายไปร่วมรัก ลิงอุ้มแตงยังเบาะหลัง แล้วตัดไปยามค่ำคืน James กำลังมีเพศสัมพันธ์กับภรรยา Catherine ในท่วงท่าเดียวกัน (การเลียนแบบ Copy-Paste สะท้อนวิถีของคนยุคสมัยนี้ได้เป็นอย่างดี มักทำอะไรซ้ำๆ แค่เปลี่ยนสินค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพียงเท่านั้นก็สามารถประสบความสำเร็จ ไคลน์แม็กซ์ ถึงจุดสูงสุด)

ศิลปะสื่อการแสดงสด (Performance Arts) คือการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดเข้าด้วยกัน อาทิ การแสดง (Performance), ตัวบท (Text), ดนตรี (Music), เทคโนโลยี, สารสนเทศ ฯลฯ โดยมุ่งเน้นกระบวนการดำเนินกิจกรรม สร้างสรรค์ศิลปะซึ่งไม่มีความคงทนถาวร เกิดขึ้น-ดำเนินไป-และจบสิ้นลง ผลลัพท์หาใช่ผลผลิตศิลปวัตถุ (Art Object) แต่เน้นความสดใหม่ (Liveness) ของเหตุการณ์บังเกิดขึ้นระหว่างการแสดงนั้นๆ

ซีเควนซ์ที่ถือว่าน่าสนใจมากสุดของหนัง Robert Vaughan ทำการจำลองอุบัติเหตุ โศกนาฎกรรมบังเกิดขึ้นกับโคตรนักแสดง James Dean ด้วยการให้รถสองคันพุ่งชนกันต่อหน้าผู้ชม … นี่คือลักษณะของ ‘performance arts’ สรรค์สร้างผลงานศิลปะ เพื่อกระตุ้นสัมผัสทางอารมณ์ สะท้อนอิทธิพลของเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์มีความระริกระรี้ โหยหาสิ่งสามารถตอบสนองตัณหาความใคร่ เติมเต็มความต้องการของหัวใจ

แต่สังเกตว่าเหตุการณ์รถชนกันนี้ หนังพยายามนำเสนอออกมาอย่างง่ายๆ มุมกล้องเอียงๆ แทบไม่เห็นรายละเอียด ไร้ความตื่นเต้น ไม่น่าตื่นตาตื่นใจเลยสักนิด! ด้วยจุดประสงค์ย้ำเตือนสติผู้ชม เหตุการณ์นี้หาใช่สิ่งสมควรสร้างความอภิรมณ์ บันเทิงเริงใจ โดยเฉพาะหนัง Action จาก Hollywood ล้วนสร้างค่านิยมผิดๆเพี้ยนๆ จนเห็นเรื่องพรรค์นี้กลายเป็นของธรรมดาสามัญไปเรียบร้อยแล้ว

ฉากที่ผมรู้สึกว่ากระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้อย่างตราตรึง ทรงพลัง (ไหนบอกว่าหนังพยายามทำให้ผู้ชมเซ็กซ์เสื่อม??) คือการสนทนาระหว่างเพศสัมพันธ์ สังเกตว่าสิ่งที่ Catherine เอ่ยกล่าวออกมานั้น มักเป็นเรื่องสร้างความอิจฉาริษยาให้ James สวมบทบาทเป็นยัยตัวร้าย พูดสิ่งขัดย้อนแย้งศีลธรรม ใคร่อยากมีเพศสัมพันธ์ชายอื่น เลยต้องถูกกำราบ กระแทกกระทั้นด้วยความรุนแรงขึ้นๆตามลำดับ

มาครุ่นคิดดู ยุคสมัยนั้นอาจยังมองว่าการสนทนาระหว่าง Sex มีความแปลกประหลาด พิศดาร ไม่ใช่สิ่งคนส่วนใหญ่เปิดใจยินยอมรับ แม้มันเป็นเรื่องบนเตียงระหว่างคนสอง ก็อาจสร้างความห่อเหี่ยวกระเจี้ยวหด … แต่ยุคสมัยนี้ผมว่าเป็นเรื่องธรรมดาๆ แนะนำเลยว่าให้ลองทำกันดูนะครับ มันกระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้มากๆทีเดียว

การถ้ำมอง ‘Voyeurism’ จับจ้องใครอื่นกำลังมีเพศสัมพันธ์ นี่เช่นกันสามารถกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ใคร่อยากทำอะไรแบบนั้นบ้าง แต่แทนที่จะแอบในห้องมืดๆ มองลอดผ่านรู James กลับเป็นคนขับรถมองผ่านกระจกหลังที่ Robert กำลังปั่มป้าม (กับโสเภณีและภรรยา)

ใครเคยรับชม Rear Window (1954), Peeping Tom (1960) น่าจะพอเข้าใจนัยยะ ‘Voyeurism’ ของภาพยนตร์ สื่อที่ลุกล้ำเข้ามาในชีวิต บันทึกความเป็นส่วนบุคคล แล้วนำมาเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน รวมถึงการรับชมในโรงหนังที่ปกคลุมด้วยความมืดมิด ไม่ต่างจากการแอบถ้ำมอง สอดรู้สอดเห็นเรื่องของผู้อื่น

Robert มีเพศสัมพันธ์กับ Catherine ระหว่างกำลังล้างรถ (โดยมี James แอบถ้ำมองอยู่ที่นั่งคนขับ) ผมเกาหัวอยู่สักพักว่ามันแฝงนัยยะอะไร? จบกระทั่งพบเห็นทั้งสองกอดจูบลูบไล้ร่างกาย = อุปกรณ์ทำความสะอาดกำลังเช็ดๆถูๆภายนอกรถ พ่นน้ำ(กาม)ยาทำความสะอาด … บอกใบ้แค่นี้ก็พอกระมัง

แม้ฉากนี้ James กำลังมี Sex กับหญิงสาวขาพิการ แต่ผมกลับเห็นเหมือนเขากำลังร่วมรักกับขาเหล็ก เกิดอารมณ์ทางเพศกับวัตถุ ‘sex toy’ นี่เช่นกันคือสิ่งแปลกใหม่ คนสมัยนั้นยังยินยอมรับไม่ได้สักเท่าไหร่ (เดี๋ยวนี้พบเห็นได้ทั่วๆไป แทบจะเป็นอุปกรณ์ติดตัวสำหรับคนโสด)

หญิงสาวสวมขาเทียม คือสัญลักษณ์การผสมผสานระหว่างมนุษย์+วัตถุ ในลักษณะพึ่งพาอาศัย มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แม้ยุคสมัยนั้นยังมีความยุ่งยากลำบาก แต่คุณประโยชน์ถือว่ามากมายมหาศาล และสามารถเปิดประสบการณ์ทางเพศสำหรับคนอยากลิ้มลอง แต่อาจจะหายากสักหน่อย

รอยสัก แผลเป็น และเสรีภาพทางเพศ ชาย-ชาย หญิง-หญิง ต่างก็เป็นสิ่งกระตุ้นอารมณ์ทางเพศได้เช่นเดียวกัน หลายคนอาจจินตนาการไม่ออกว่าการโดนประตูหลังมันเป็นเช่นไร เรื่องพรรค์นี้ยุคสมัยนี้มันเปิดกว้างมากๆ เกย์ กะเทย สาวเสียบ ทอมดุ้น ทอมควีน เลสคิง ฯลฯ สารพัดรสนิยมทางเพศให้เติมเต็มประสบการณ์ใหม่ๆ

(เอาจริงๆหนังข้ามรสนิยมทางเพศไปเยอะมากๆ อาทิ สวิงกิ้ง, Group Sex, MILF ฯลฯ ยังมีอีกเยอะที่สามารถกระตุ้นอารมณ์รุนแรงกว่านี้ ผมเลยมองว่าหนังตกยุคตกสมัย ไปไม่ถึงไคลน์แม็กซ์ จุดสูงสุดสักเท่าไหร่)

เอาจริงๆผมมองว่านี่ควรจะเป็นไคลน์แม็กซ์ของหนังด้วยซ้ำ คือการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับรถยนต์ James สัมผัสลูบไล้พวงมาลัย บังเกิดอารมณ์ทางเพศ แล้วทำการช่วยตนเอง(ในรถยนต์) พบเห็นโดย Robert เลยขับรถพุ่งชน ถึงไคลน์แม็กซ์ จุดสูงสุด น่าจะในวินาทีนั้นพอดิบดี

มันอาจไม่ใช่การมี Sex กับรถยนต์แบบที่ใครหลายคนจินตนาการ (หรือเร่าร้อนรุนแรง กระแทกกระทั้นแบบ Titane (2021)) แต่นี่น่าจะรุนแรงสุดเท่าที่คนสมัยนั้นสามารถยินยอมรับกระมัง เพื่อสื่อถึงการผสมผสาน กลายเป็นอันหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์กับสรรพสิ่งอย่างรอบข้าง … เพศสัมพันธ์มันคือการผสมรวมระหว่างสองสิ่ง คล้ายๆร่างสุดท้ายของ The Fly (1986) แต่สำหรับ Crash (1996) เน้นความสมจริง เลยไม่มีภาพ ‘body horror’ ที่สร้างความหลอกหลอนระดับนั้น

ความตายของ Robert Vaughan ก็เพื่อให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีลักษณะ ‘cautionary tale’ ย้ำเตือนสติผู้ชมว่าการปล่อยตนเองให้หลงระเริงกับวัตถุ สิ่งข้าวของ เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการขับรถโดยประมาท อาจนำพาหายนะ ความตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม แทนที่จะได้ขึ้นสู่สรวงสวรรค์ กลับพลัดตกทางด่วนลงสู่ขุมนรก … คาดเข็มขัดนิรภัยก็อาจรอดชีวิต (เหมือนตอนต้นเรื่องที่ James และ Helen ต่างคาดเข็มขัดนิรภัย เลยไม่ได้พุ่งทะลุคันแบบสามีของเธอ)

James เบียดรถของภรรยา Catherine จนตกหล่นลงข้างทาง แต่แทนที่เขาจะเข้าไปช่วยเหลือ กลับโอบกอดจูบ แสดงความต้องการมีเพศสัมพันธ์ตรงนั้น โดยทันที! นี่สะท้อนความไม่ยี่หร่าต่ออะไรใคร สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจ ถึงไคลน์แม็กซ์ จุดสูงสุด จบสิ้นภาพยนตร์

นี่เป็นตอนจบที่ผมไม่รู้สึกว่าเป็นตอนจบสักเท่าไหร่ เพียงเวียนวนหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น (ตอนต้นเรื่อง James ประสบอุบัติเหตุ, มาตอนท้าย Catherine ก็กำลังจะได้รับประสบการณ์คล้ายๆกัน) ผิดกับผลงานเก่าๆของผกก. Cronenberg ไคลน์แม็กซ์มักเป็นการผสมผสานบางสิ่งอย่าง โคตรๆอัปลักษณ์พิศดาร สร้างความเกรี้ยวกราด แทบจะคลุ้มบ้าคลั่ง นำพาอารมณ์ผู้ชมไปจนถึงขีดสูงสุด

แต่เหตุผลที่หนังนำเสนออกมาเช่นนี้ ก็ด้วยความตั้งใจตั้งแต่แรกเริ่มของผกก. Cronenberg ไม่ต้องการให้ผู้ชมรู้สึกตื่นเต้น เร้าอารมณ์จากภาพอุบัติเหตุ ความรุนแรง จงใจให้เซ็กซ์เสื่อม เพื่อมองเหตุการณ์ดังกล่าวในเชิงสัญลักษณ์/นามธรรม … เหมือนต้องการบอกว่าชีวิตคนเราไม่มีหรอกจุดสูงสุด ทุกสิ่งอย่างมันก็เวียนวนไป-วนมา Copy-Paste เกิดขึ้นซ้ำๆรอยเดิม อยู่ที่ตัวเราเองจะรู้สึกเพียงพอใจกับมันเมื่อไหร่ (ฉันอยากจะจบหนังตรงนี้ ก็จบลงแค่นี้)

Crash1996

ตัดต่อโดย Ronald Sanders สัญชาติแคนาดา ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ David Cronenberg ตั้งแต่ผลงาน Fast Company (1979)

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ James Ballard หลังจากประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน พานผ่านประสบการณ์เฉียดความตาย หลังรักษาจนหายจากอาการบาดเจ็บ ได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ใหม่ เรียนรู้จักสิ่งที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ ความกระตือรือร้น ตัณหาความใคร่ และเลือกใช้ชีวิตบนความเสี่ยง สุดเหวี่ยง ได้หมดถ้าสดชื่น!

  • อารัมบท แนะนำตัวละคร
    • นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง James Ballard และภรรยา Catherine Ballard
    • อุบัติเหตุเกิดขึ้นกับ James
  • การแสดงของ Robert Vaughan
    • หลังอาการบาดเจ็บทุเลาลง James มีโอกาสพบเจอภรรยาของคู่กรณี Helen Remington แล้วทั้งคู่ก็ถาโถมเข้าใส่
    • Helen พา James มารับชมการแสดง ‘Performance arts’ ของ Robert Vaughan
    • แล้วพาไปแนะนำตัว เข้าร่วมกลุ่มของ Robert
  • การผจญภัยในโลกของ Robert Vaughan
    • James ร่วมรักกับภรรยา พร้อมเล่าประสบการณ์ที่พบเจอ Robert จนสร้างความสนใจให้กับเธอ
    • ครั้งหนึ่ง James เป็นคนขับรถ โดยเบาะหลังคือ Robert กำลังร่วมรักกับโสเภณี
    • จากนั้นพาภรรยา Helen มาแนะนำ และปล่อยให้ร่วมรักกับ Robert บนเบาะหลัง
    • ส่วน James ร่วมรักกับหญิงสาวขาพิการ
    • เมื่อพบเห็นรอยสักของ Robert พวกเขาจึงเพศสัมพันธ์ทางประตูหลัง
  • จุดจบของ Robert Vaughan
    • Robert พยายามขับรถเบียด Helen แต่ถูก Robert ผลักดันจนเขาตกทางด่วน
    • ต่อมา Robert พยายามเบียดรถของ Helen จนตกหล่นข้างทาง และเขาลงไปร่วมรักกับเธอ

ด้วยความตั้งใจ ‘anti-Hollywood’ ของผกก. Cronenberg ในส่วนของการตัดต่อ ก็คือปล่อยภาพดำเนินไปอย่างเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า ไม่มี rapid shot หรือ fast-cutting หรือเทคนิคใดๆที่จักสร้างความตื่นเต้นเร้าใจแก่ผู้ชม อย่างฉากรถชนกันก็นำเสนอแบบเลี่ยงๆ เลือกมุมกล้องเฉียงๆ ไม่ถ่ายให้เห็นว่าบังเกิดอะไรขึ้น

แม้หนังจะพยายามไล่ระดับ นำเสนอประสบการณ์ทางเพศที่แปลกใหม่ ดูน่าตื่นเต้นเร้าใจแก่ตัวละคร แต่การนำเสนอด้วยวิธีไม่สร้างอารมณ์ร่วมแก่ผู้ชม มันชวนให้หงุดหงิด โคตรรำคาญ ขัดย้อนแย้งกันเอง พบเห็นหลายครั้งจักเกิดความเบื่อหน่าย ซ้ำซากจำเจ ต่อให้แฝงนัยยะลุ่มลึกล้ำสักเพียงไหน ใครกันจะไปอยากครุ่นคิดตีความ


เพลงประกอบโดย Howard Leslie Shore (เกิดปี 1946) นักแต่งเพลงชาว Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario ค้นพบความสนใจด้านดนตรีตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ มีความสามารถเล่นดนตรีได้หลากหลาย เลยเข้าเรียนต่อ Berklee College of Music จากนั้นเป็นสมาชิกวงดนตรี Lighthouse แนว Jazz Fusion, ต่อด้วย Music Director ให้รายการโทรทัศน์อย่าง Saturday Night Live, สำหรับภาพยนตร์ได้รับคำชักชวนจาก David Cronenberg เริ่มต้นครั้งแรก The Brood (1979), The Dead Zone (1983), The Fly (1986), Dead Ringers (1988), Naked Lunch (1991), Crash (1996), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Silence of the Lambs (1991), Ed Wood (1994), Se7en (1995), The Game (1997), The Lord of the Rings trilogy (2001-03) ** คว้ารางวัล Oscar ทั้งหมด 3 ครั้ง, Gangs of New York (2002), The Aviator (2004), Hugo (2011) ฯลฯ

งานเพลงของ Crash (1996) ส่วนใหญ่จะใช้เสียงกีตาร์ไฟฟ้า (บรรเลงพร้อมๆกันน่าจะ 2-3 ตัวขึ้นไป) สร้างบรรยากาศอึมทึม ทะมึน มอบสัมผัสอันตราย ความตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม ทุกย่างก้าวเหมือนใครบางคนจับจ้องมอง ด้วยสายตาพิศวง ลุ่มหลงใหล ใคร่อยากปะทะ ขับรถพุ่งชน ประสบอุบัติเหตุ ได้รับความเจ็บปวด แล้วบังเกิดความสุขกระสันต์ พึงพอใจถึงสรวงสรรค์

เสียงก้อง (Echo) ของกีตาร์ไฟฟ้า คือสิ่งที่มอบสัมผัสอันตราย ขณะเดียวกันมันก็เหมือนลางสังหรณ์/สัญญาณเตือนภัย ทำให้มนุษย์เกิดความระแวดระวัง หวาดหวั่น เกรงกลัวความตาย จึงพยายามปกป้องกันภัย รักษาสติตนเองไว้จนกว่าจะถึงสถานที่ปลอดภัย

แม้บทเพลงจะมีความโดดเด่น สร้างเสียงเฉพาะตัวจากการใช้กีตาร์ไฟฟ้า แต่พอผมฟังอัลบัมนี้ไปได้สักพักก็เกิดความรำคาญ รู้สึกว่ามันหนวกหูเสียเหลือเกิน เป็นเสียงที่รบกวนสมาธิ สร้างความปั่นป่วนให้จิตวิญญาณ ไม่ค่อยเหมาะสำหรับฟังเพลินๆสักเท่าไหร่ … ประกอบเข้ากับหนัง ก็สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจแก่ผู้ชมได้เป็นอย่างดี

โดยปกติแล้วเวลาประสบอุบัติเหตุ พบเห็นรถประสานงานชนกัน มีบุคคลหรือตัวเราได้รับบาดเจ็บสาหัส แทบทั้งนั้นก็จะเซ็กซ์เสื่อม ไร้ปฏิกิริยาอารมณ์(ทางเพศ)ร่วมใดๆ แต่ใครที่บังเกิดความชื่นชอบหลงใหล รู้สึกพึงพอใจ เหมือนชีวิตได้รับการเติมเต็ม สุขกระสันต์ซ่าน(ทางเพศ)ถึงสรวงสวรรค์ นั่นถือเป็นความผิดปกติทางจิต โรคกามวิปริต (Paraphilia) อาจต้องปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาทางบำบัดรักษา

Late 20th-century western civilisation is like having been in a car crash.  Everybody is traumatised, everybody is overwhelmed, and what happens is you just shut down. You still have to function and interrelate, but the passion, the emotion, even the sexuality is gone. The characters in this movie have the passion to recover what has been lost, and they must go to extremes to find it.

David Cronenberg

แต่เป้าหมายของหนังนั้น ไม่ได้ต้องการตีแผ่ปัญหาผู้ป่วยกามวิปริต บังเกิดอารมณ์ทางเพศจากการพบเห็นภาพความรุนแรง หรือประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน ซาดิสม์-มาโซคิสม์ (Sado-Masochist)

เราต้องมองเปรียบเทียบในเชิงสัญลักษณ์ อุบัติเหตุ รถชน (Car Crash) ถือกำเนิดขึ้นจากวิวัฒนาการ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างความสุขสบายแก่มนุษย์ชาติ จากนั้นเมื่อเกิดความเบื่อหน่าย เคยชินชา (จากความสะดวกสบายดังกล่าว) จักทำให้คนเรามองหาสิ่งสามารถกระตุ้นความสนใจ อยากรู้อยากเห็น เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ อะไรๆทันยุคทันสมัย ตื่นเต้นเร้าใจ ตอบสนองความพึงพอใจยิ่งๆขึ้นกว่าเก่า

Throughout Crash I have used the car not only as a sexual image, but as a total metaphor for man’s life in today’s society. Needless to say, the ultimate role of Crash is cautionary, a warning against that brutal, erotic and over-lit realm that beckons more and more persuasively to us from the margins of the technological landscape.

J. G. Ballard

การนำเสนอประสบการณ์ทางเพศ(สัมพันธ์)ที่มีความแปลกใหม่ ทวีความรุกเร้าใจ ร่วมรักกับคนแปลกหน้า ยังสถานที่สาธารณะ แอบถ้ำมอง กับสิ่งของ รถยนต์ เพศเดียวกัน ฯลฯ ล้วนสะท้อนอิทธิพลของเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้า มันค่อยๆเข้ามามีบทบาทกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนมุมมอง ทิวทัศน์ภายนอก โลกทัศน์ภายใน รวมถึงวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่โหยหาอิสรภาพ เสรีภาพในการครุ่นคิดแสดงออก สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจ ซึ่งจะมีความผิดแผกแปลกประหลาด อัปลักษณ์พิศดารขึ้นเรื่อยๆ จนทำลายกรอบความคิด ทัศนคติ ความเชื่อที่เคยหมกมุ่นยึดติด ศรัทธาศาสนา อะไรที่มันโบราณคร่ำครึก็จะตกหล่นยุคสมัยไปโดยปริยาย

the film was a religious masterpiece.

Bernardo Bertolucci

(สิ่งที่อดีตนักวิจารณ์/ผู้กำกับ Bernardo Bertolucci กล่าวถึงนี้ไม่ใช่พุทธ-คริสต์-อิสลาม แต่ลักษณะของภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ต่างจากการสร้างลัทธิ ศาสนาใหม่ ซึ่งสามารถทำลายวิถีความเชื่อศรัทธาอื่นๆ ทำให้มนุษย์หันมาเทิดทูนบูชาศาสตร์แห่งนิยมวัตถุเงินตรา)

นัยยะคล้ายๆกับ Videodrome (1983) ตัวละคร Max Renn มีความลุ่มหลงใหลต่อรายการโทรทัศน์ Videodrome ค้นพบว่ามันสามารถกระตุ้นความรู้สึก บังเกิดอารมณ์ทางเพศ ทำให้สามารถร่วมรักแฟนสาวได้อย่างถึงอกถึงใจ แต่เมื่อพานผ่านประสบการณ์ครั้งแรก จึงต้องการสัมผัสอันเร่าร้อนรุนแรงยิ่งๆขึ้นไปอีก … คงไม่ผิดอะไรจะมองว่า Crash (1996) คือภาคต่อทางจิตวิญญาณของ Videodrome (1983)

The characters in Crash —their project is a creative one, but it’s less formally an artistic process, it’s almost performance art.

David Cronenberg

ความสนใจของผกก. Cronenberg มองอุบัติเหตุ รถชนกัน (ทั้งการแสดงจัดฉาก และสตั๊นพบเห็นในภาพยนตร์) มีลักษณะไม่แตกต่างจาก ‘Performance arts’ ศิลปะสื่อการแสดงสด ซึ่งเป็นการผสมผสานศาสตร์การแสดงเพื่อผลลัพท์เคลือบแฝงเชิงศิลปะ ในบริบทของหนังคือการกระตุ้นสัมผัสทางอารมณ์ สะท้อนอิทธิพลของเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์มีความระริกระรี้ โหยหาสิ่งสามารถตอบสนองตัณหาความใคร่ เติมเต็มความต้องการของหัวใจ

Crash (1996) ถือเป็นอารัมบทจุดเปลี่ยนยุคสมัยสุดท้ายของผกก. Cronenberg จากเคยนิยมชมชอบสรรค์สร้างภาพยนตร์ ‘body horror’ ที่มีความอัปลักษณ์ ขยะแขยง เหนือจริง (Surrealist) ทั้งไซไฟ ภาพหลอน เล่นยา ฯลฯ พัฒนามาเป็นเรื่องราวที่ใช้ความรุนแรงสุดโต่ง ‘Extremity’ บนพื้นฐานโลกความจริง จับต้องได้ในชีวิตประจำวัน


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes แม้ได้รับเสียงโห่ขับไล่จากผู้ชม แต่การตอบรับจากคณะกรรมการปีนั้นถือว่าดีมากๆ ถึงขนาดได้รับรางวัลพิเศษ Special Jury Prize เอาจริงๆน่าจะมีลุ้นคว้า Palme d’Or เสียงด้วยซ้ำ แต่ปัญหาน่าจะเกิดจากประธานกรรมการ Francis Ford Coppola ซึ่งผกก. Cronenberg เชื่อว่าเขาคือบุคคลผู้ต่อต้านภาพยนตร์เรื่องนี้หัวชนฝา พบเจอหน้ากันทีไรก็พยายามหลบเลี่ยงไม่ยอมพูดคุยสนทนา

I think he was the primary one. When I’m asked why (“Crash”) got this Special Jury Award, well, I think it was the jury’s attempt to get around the Coppola negativity, because they had the power to create their own award without the president’s approval. And that’s how they did it, but it was Coppola who was certainly against it.

David Cronenberg

ปล. โดยปกติแล้วเทศกาลหนังเมือง Cannes จะมีรางวัลสามใหญ่คือ Palme d’Or, Grand Prix และ Jury Prize นานๆครั้งถึงจะมอบ Special Jury Prize ซึ่งถือว่าเป็นกรณีพิเศษที่ไม่สามารถจัดเข้าพวกกลุ่มไหน (พูดง่ายๆก็คืออยากมอบนั่นเองแหละ)

ด้วยทุนสร้าง $9 ล้านเหรียญ แม้จะถูกแบนห้ามฉายในหลายๆประเทศ แต่ยังสามารถทำเงินรวมแล้วสูงถึง $23.2 ล้านเหรียญ ถือว่าเกินความคาดหมายอย่างมากๆ และยังได้รับกระแสคัลท์ติดตามมาอีกต่างหาก

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ คุณภาพ 4K ผ่านการตรวจทานจากตากล้อง Peter Suschitzky อนุมัติโดยผกก. David Cronenberg เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Venice เมื่อปี 2019 พร้อมๆรับรางวัล Golden Lion Honorary Award สามารถหารับชมได้ทาง Criterion Channel

เกร็ด: Martin Scorsese ให้การยกย่องยกย่อง Crash (1996) ติดอันดับ 8 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำทศวรรษ (Best Films of 1990s)

ส่วนตัวค่อนข้างผิดหวังอย่างรุนแรงกับหนัง แม้ช่วงแรกๆก็สร้างความระริกระรี้ กระปรี้กระเปร่า แต่พอพบเห็นซ้ำๆซากๆ แม้งก็ท่วงท่าเดิมๆ แค่เปลี่ยนคู่ขา เปลี่ยนลีลา มองหาประสบการณ์ใหม่ๆ มันกลับไม่สามารถกระตุ้นอารมณ์ ปลุกความเร้าใจใดๆให้สูงขึ้นกว่าเดิม

วิธีการที่ผกก. Cronenberg พยายามทำให้ผู้ชมไม่เกิดอารมณ์ร่วม เซ็กซ์เสื่อม มันขัดย้อนแย้งกับเรื่องราวเกินไป ไม่มีทางที่ใครจะไม่รับรู้สึกอะไร แถมกาลเวลาทำให้ความรุนแรงเหล่านั้นลดระดับลง หลงเหลือสภาพไม่ต่างจากหนังโป๊ทั่วๆไป ไม่สามารถไต่ระดับถึงไคลน์แม็กซ์ จุดสูงสุด (หนังโป๊สมัยนี้ยังมีความวิจิตรศิลป์มากกว่า Crash (1996) เสียอีกนะ!)

อีกทั้งหนังใช้ประโยชน์จากนักแสดงอย่าง Holly Hunter ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลยนะ!

Crash (1996) เหมาะกับคนเปิดกว้างเรื่องทางเพศ สามารถขบครุ่นคิดวิเคราะห์ในเชิงสัญลักษณ์ ใคร่สนใจหนังแนว Extremity และโดยเฉพาะ Titane (2021) น่าจะถือเป็น ‘accompany film’ สำหรับรับชมเคียงข้างกัน

จัดเรต 18+ เพศสัมพันธ์สุดเหวี่ยง หมกมุ่นกับความรุนแรง

คำโปรย | Crash คือพังทลายของโลกยุคสมัยใหม่ ทั้งทางวัตถุและจิตใจ มนุษยชาติก็เฉกเช่นเดียวกัน
คุณภาพ | พังทลาย
ส่วนตัว | เซ็กซ์เสื่อม

Possession (1981)


Possession (1981) Polish : Andrzej Żuławski ♥♥♥

ผู้กำกับ Andrzej Żuławski ตกอยู่ในอาการคลุ้มบ้าคลั่งเมื่อถูกภรรยาเลิกราหย่าร้าง สรรค์สร้าง Possession (1981) ด้วยการทำให้ฝ่ายหญิงดูอัปลักษณ์ น่ารังเกียจ ขยะแขยงที่สุด ไม่ต่างจากถูกปีศาจร้ายเข้าสิง แต่ใครกันแน่ที่สูญสิ้นความเป็นมนุษย์

เวลาที่ผมรับชมภาพยนตร์ จะมองความตั้งใจของผู้สร้างเป็นหลัก

  • ถ้าต้องการสะท้อนปัญหาการเมืองของประเทศ Poland ยุคสมัยนั้นภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ไม่ต่างจากถูก ‘possession’ ควบคุมครอบงำจากสหภาพโซเวียต แล้วทำการเปรียบเทียบหญิงสาว/ภรรยา แสดงอาการคลุ้มบ้าคลั่งออกมาเพราะถูกวิญญาณร้ายเข้าสิง … จากมหภาคสู่จุลภาค มีความน่าสนใจดี
  • แต่ในทิศทางกลับตารปัตร ฉันยินยอมรับการเลิกราหย่าร้าภรรยาไม่ได้ จึงสรรค์สร้างงานศิลปะที่ทำให้เธอดูอัปลักษณ์ น่ารังเกียจ ขยะแขยง แล้วทำการเปรียบเทียบการเมืองระดับมหภาค … แบบนี้เรียกว่าเก๋าเจ้ง ชาติหมา ไม่ใช่ลูกผู้ชายนี่หว่า แสดงสันดานว่าเป็นพวก Misogyny (เกลียดชังผู้หญิง)

ผมอยากจะชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้นะ แพรวพราวด้วยเทคนิค ลูกเล่นลีลา อารมณ์บีบเค้นคั้น ทำเอาผู้ชมนั่งแทบไม่ติดเก้าอี้ แต่เพราะความตั้งใจของผู้กำกับ Żuławski ก้าวล้ำขอบเขตสามัญสำนึกไปไกล งานศิลปะต่อให้เลิศเลอค่าสักเพียงไหน แต่ถ้าไร้ซึ่งความเป็นมนุษย์ มันก็แค่เศษขยะชิ้นหนึ่ง

ครึ่งแรกของ Possession (1981) ชวนให้ผมนึกถึงหลายๆผลงานของ John Cassavetes ขายดราม่าสองนักแสดงนำ Sam Neill และ Isabelle Adjani ใส่อารมณ์กันอย่างไม่ยั้ง สั่นเทือนระดับคลุ้มบ้าคลั่ง จนเมื่อถึงจุดๆหนึ่งหนังเปลี่ยนแปรสภาพมาเป็น (Body) Horror อย่าง(ตอนจบของ) Repulsion (1965), Eraserhead (1977), The Brood (1979) ที่น่าขยะแขยง สะอิดสะเอียด โดยผู้ออกแบบเอเลี่ยน E.T. the Extra-Terrestrial (1982)

Made with an international cast in still-divided Berlin, the movie starts as an unusually violent breakup film, takes an extremely yucky turn toward Repulsion-style psychological breakdown, escalates into the avant-garde splatterific body horror of the ’70s (Eraserhead or The Brood), and ends in the realm of pulp metaphysics as in I Married a Monster from Outer Space.

นักวิจารณ์ J. Hoberman

ปล. ทีแรกผมครุ่นคิดว่าโปสเตอร์หนังคือภาพเมดูซ่า (Medusa) มีงูพิษเป็นผม หากจ้องมองโดยตรงจะถูกสาปให้เป็นหิน (นิทานพื้นบ้านของเขมรมีคำเรียก งูเก็งกอง) แต่แท้จริงแล้วมันคือภาพหญิงสาวกำลังมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ประหลาด (ตัวเดียวกับในหนังนะแหละ) หนวดสีแดงแลดูเหมือนลิ้น (กำลังเลียหัวนม) พบเห็นแล้วบังเกิดอารมณ์(เหี่ยวหดเสียมากกว่า)


Andrzej Żuławski (1940-2016) นักเขียน/ผู้กำกับ สัญชาติ Polish เกิดที่ Lviv ในช่วงเวลาที่สหภาพโซเวียตยึดครอง Poland (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของ Ukraine), หลังสงคราม บิดาได้รับแต่งตั้งเป็นทูตที่ฝรั่งเศส (ทำให้พูดฝรั่งเศสได้คล่องแคล่ว) ก่อนย้ายมาอยู่กับย่าที่ Czechoslovakia แนะนำให้รู้จักภาพยนตร์ เกิดความชื่นชอบหลงใหล พอเติบโตขึ้นเลยเดินทาง(กลับฝรั่งเศส)มาร่ำเรียน Institut des hautes études cinématographiques (IDHEC) สนิทสนม Roman Polański เขียนจดหมายแนะนำ Andrzej Wajda จนมีโอกาสทำงานเป็นผู้ช่วย Samsom (1961), Love at Twenty (1962), The Ashes (1965) ระหว่างนั้นก็มีโอกาสเขียนบท/ทำหนังสั้นฉายโทรทัศน์ และกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก The Third Part of the Night (1971)

ระหว่างสรรค์สร้าง The Third Part of the Night (1971) ผู้กำกับ Żuławski เกี้ยวพาราสีนักแสดงนำ Małgorzata Braunek จนตอบตกลงแต่งงาน มีบุตรชายร่วมกันหนึ่งคน แต่เพราะความเหิ่นห่าง ต่างคนต่างแยกย้ายกันทำงาน เมื่อไม่ค่อยมีโอกาสชิดใกล้ ทำให้เธอขอหย่าร้างเมื่อปี 1976 จบความสัมพันธ์สั้นๆ ระยะเวลาเพียง 5 ปีเท่านั้น

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ Żuławski ตกอยู่ในสภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง (deep depression) กอปรกับโปรเจคที่กำลังสรรค์สร้างอยู่ขณะนั้น On the Silver Globe ถูกทางการบีบบังคับให้ยุติการถ่ายทำ แถมยังถูกตีตราขับไล่ ผลักไสออกจากประเทศ Poland ระหว่างกำลังลี้ภัยอยู่ฝรั่งเศสเคยคิดสั้น พยายามกระทำอัตวินิบาต แต่นั่นเองทำให้เขาบังเกิดความครุ่นคิดภาพยนตร์เรื่องใหม่

Żuławski recalled how he once returned home late in the evening and found his five-year-old son Xavier alone in the apartment, smeared with jam, after his wife left him alone for several hours – this scene was directly reflected in Possession.

Renata Kim ผู้เขียนหนังสือชีวประวัติ Żuławski Ostatnie Słowo (2011) แปลว่า Żuławski’s Last Word

Żuławski ติดต่อหาเพื่อนผู้กำกับ Danièle Thompson เพื่อขอให้ช่วยพัฒนาบทร่างของ Possession ตามคำร้องขอ (คาดว่าคงไม่กล้าจรดปากกา เขียนบทหนังขึ้นด้วยตนเอง) พอได้ความยาว 20 หน้ากระดาษ เดินทางไป New York (ตามคำแนะนำของ Thompson) เพื่อพบเจอนักเขียนชาวอเมริกัน Frederic Tuten ร่วมกันพัฒนาบทจนแล้วเสร็จ

สำหรับงบประมาณของหนัง เป็นการร่วมทุนสร้างระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมันตะวันตก โดยมีสตูดิโอ Gaumont (ฝรั่งเศส) เป็นหัวเรี่ยวแรง เลือกสถานที่ถ่ายทำยังกรุง Berlin (ตรงบริเวณกำแพง Berlin ที่กั้นแบ่งระหว่าง East & West German) และใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร (ภาพยนตร์เรื่องแรกเรื่องเดียวของผกก. Żuławski ถ่ายทำเป็นภาษาอังกฤษ)


เรื่องราวของ Mark (รับบทโดย Sam Neill) สายลับเพิ่งเสร็จสิ้นภารกิจ เดินทางกลับบ้านที่ West Berlin แต่หลังพบเจอภรรยา Anna (รับบทโดย Isabelle Adjani) เธอกลับแสดงความต้องการเลิกราหย่าร้าง โดยไม่ให้เหตุผลคำอธิบายใดๆ นั่นสร้างความสับสน มึนงง เกิดปฏิกิริยาเกรี้ยวกราด ถึงขั้นเสพยาเกินขนาด ครุ่นคิดจะฆ่าตัวตาย โชคดีได้บุตรชายทำให้หวนคืนสติ จึงพยายามสืบเสาะค้นหาว่ามันเกิดเหตุการณ์ห่าเหวอะไรขึ้น

ในตอนแรก Mark ได้พบเจอชู้รัก Heinrich (รับบทโดย Heinz Bennent) เป็นบุคคลท่าทางตุ้งติ้ง รสนิยม(ทางเพศ)แปลกประหลาด แต่ก็ค้นพบว่า Anna ยังมีความลึกลับยิ่งไปกว่านั้น จึงว่าจ้างนักสืบเอกชนให้ออกติดตามหา และสิ่งที่ค้นพบคือสัตว์ประหลาดหน้าตาอัปลักษณ์ มันกำลังร่วมรัก มีเพศสัมพันธ์กับเธอ


Isabelle Yasmina Adjani (เกิดปี 1955) นักร้อง/นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส บิดามีเชื้อสาย Algerian ส่วนมารดาอพยพจาก German พบเจอกันช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เลยตัดสินใจลงหลักปักถิ่นฐานอยู่กรุงปารีส (ทั้งๆต่างก็พูดฝรั่งเศสไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ แต่บุตรสาวพูดได้ทั้งฝรั่งเศส-เยอรมัน) วัยเด็กค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดง สามารถผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนต่อยัง University of Vincennes, มีโอกาสแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Le Petit Bougnat (1970), เริ่มมีชื่อเสียงระหว่างเข้าร่วมคณะการแสดงละครเวที Comédie-Française, แล้วมาแจ้งเกิดโด่งดังกับ The Story of Adèle H. (1975), ผลงานเด่นๆ อาทิ Nosferatu the Vampyre (1979), Possession (1981), Camille Claudel (1988), La journée de la jupe (2009) ฯลฯ

รับบทสองตัวละคร Anna/Helen ที่แม้มีใบหน้าเหมือนเปี๊ยบ (doppelgänger) แต่อุปนิสัยใจคอ พฤติกรรมแสดงออก กลับมีความแตกต่างตรงกันข้าม

  • Anna คือภรรยาของ Mark เพราะความเหินห่างทำให้แอบคบชู้ Heinrich แม้แสดงความต้องการเลิกราสามี แต่ก็ยังห่วงโหยหาบุตรชาย จึงหวนกลับมาเยี่ยมเยือนบ่อยครั้ง และเมื่อพบเจอเขาก็ไม่สามารถควบคุมสติ อารมณ์ ‘hysteria’ แสดงอาการคลุ้มบ้าคลั่งออกมาบ่อยครั้ง แต่สาเหตุผลแท้จริงนั้นเกิดจากการเสพติดเพศสัมพันธ์กับสัตว์ประหลาด มอบความสุขกระสันต์เหนือกว่ามนุษย์ผู้อื่นใด
  • Helen ครูสอนหนังสือผู้มีความสุภาพอ่อนน้อม แสดงเป็นห่วงเป็นใย Mark และบุตรชาย คอยให้การช่วยเหลือ ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาระยะห่างความสัมพันธ์ จนกระทั่ง…

ใครที่เคยรับชมผลงานการแสดงของ Adjani น่าจะมักคุ้นกับบทหญิงสาวหน้าตาสวยใส อ่อนวัยไร้เดียงสา แต่ภายในซุกซ่อนเร้นตัณหาราคะ ระริกระรี้แรดร่าน สวยสังหาร! แต่เชื่อเถอะว่าไม่มีครั้งไหนแสดงอาการกรีดกราย คลุ้มบ้าคลั่ง สูญเสียสติแตก ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณไปมากยิ่งกว่า Possession (1981) ทั้งๆไม่ได้ถูกปีศาจร้ายตนใดเข้าสิง กลับสามารถสร้างความหลอกหลอน สั่นสะท้านทรวงใน ไปจนถึงจุดที่หมดสูญสิ้นความเป็นมนุษย์

a dervish of unrestrained emotion and pure sexual terror.

นักวิจารณ์ Tom Huddleston จาก TIMEOUT

นักวิจารณ์ตั้งชื่อฉากเริงระบำ(ในสถานีรถไฟ)ได้ไพเราะมากๆว่า “aria of hysteria” [Aria คือบทร้องเดี่ยว สำหรับให้ตัวละครเพียงหนึ่งเดียวร้องในการแสดงอุปรากร] เพื่อแสดงถึงการฉายเดี่ยว แสดงอาการคลุ้มบ้าคลั่งเพียงตัวคนเดียว ได้อย่างโคตรๆๆเซอร์เรียล (Surreal) เหนือล้ำจินตนาการ … ว่ากันว่าฉากนี้สูบวิญญาณของ Adjani ถึงขนาดทำให้เธอคิดสั้นจะฆ่าตัวตายหลังถ่ายทำหนังเสร็จ (ได้รับการยืนยันจากผู้กำกับ Żuławski ว่าเป็นเรื่องจริง!)

There were two takes. This scene was filmed at five in the morning, when the subway was closed. I knew it was worth a lot of effort for [Adjani], both emotionally and physically, because it was cold there. It was unthinkable to repeat this scene endlessly. Most of what’s left on the screen is the first take. The second take was made as a safety net, as is customary when shooting difficult scenes, for example, in case the laboratory spoils the material.

Andrzej Żuławski

บทสัมภาษณ์ของ Adjani หลายปีให้หลัง บอกเล่าว่าไม่รับรู้ตนเองเหมือนกัน ตอนนั้นยินยอมตกลงแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อย่างไร! มันเป็นประสบการณ์ยากจะลืมเลือน ติดค้างคาอยู่ในจิตวิญญาณอยู่นานหลายปี ปฏิเสธรับบทบาทลักษณะเดียวกันนี้อย่างเข็ดหลากจำ

‘Possession’ is only the type of film you can do when you are young. He [Żuławski] is a director that makes you sink into his world of darkness and his demons. It is okay when you are young, because you are excited to go there. His movies are very special, but they totally focus on women, as if they are lilies. It was quite an amazing film to do, but I got bruised, inside out. It was exciting to do. It was no bones broken, but it was like, ‘How or why did I do that?’ I don’t think any other actress ever did two films with him.

Isabelle Adjani

Nigel John Dermot Neill หรือ Sam Neill (เกิดปี 1947) นักแสดงสัญชาติ New Zealand เกิดที่ Omagh, Northern Ireland พออายุได้ 7 ขวบ ย้ายตามครอบครัวสู่ New Zealand โตขึ้นเข้าเรียนวรรณกรรมภาษาอังกฤษที่ University of Canterbury จบโทที่ Victoria University, ต่อมาเกิดความสนใจในภาพยนตร์ ได้รับบทนำเรื่องแรก Sleeping Dogs (1977), กลายเป็นลูกศิษย์ของ James Mason มีผลงานระดับนานาชาติเรื่องแรก Omen III: The Final Conflict (1981), Possession (1981), Evil Angels (1988), Death in Brunswick (1990), The Hunt for Red October (1990), Jurassic Park (1993), The Piano (1993) ฯ

รับบท Mark สายลับทำภารกิจเสียสละเพื่อชาติมาหลายปี ถึงเวลาที่จะหวนกลับหาความสุขใส่ตัว ใช้เวลาเคียงคู่กับภรรยา แต่เธอกลับพยายามพูดบอกเลิกร้างรา นั่งสร้างความสับสน ว้าวุ่นวายใจ บังเกิดอาการเกรี้ยวกราดขึ้นภายใน ถึงขนาดเคยครุ่นคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่เพราะบุตรชายจึงสามารถเอาตัวรอดชีวิตมาได้ หลังจากนั้นจึงพยายามสืบเสาะหาความจริง ค่อยๆเรียนรู้จักสิ่งต่างๆรอบข้าง และเมื่อกำลังจะยินยอมโอบกอดรัดความสัมพันธ์ระหว่าง Anna กับปีศาจร้าย กลับกลายเป็นว่า …

ภาพจำของ Neill เป็นคนติ๋มๆ ดูอบอุ่น สุภาพอ่อนน้อม พร้อมยินยอมเสียสละตนเองเพื่อครอบครัว แต่เมื่อไหร่ถูกทรยศหักหลัง ก็สามารถแสดงบทบาทอันเกรี้ยวกราด คลุ้มบ้าคลั่ง พร้อมจะใช้กำลัง ความรุนแรง ปะทุระเบิดสิ่งชั่วร้ายภายในออกมา … มาครุ่นคิดดูตอน The Piano (1993) ก็เคยแสดงบทบาทคล้ายๆเดียวกันนี้ แต่เทียบไม่ติดกับ Possession (1981) อย่างแน่นอน!

I call it the most extreme film I’ve ever made, in every possible respect, and he asked of us things I wouldn’t and couldn’t go to now. And I think I only just escaped that film with my sanity barely intact.

Sam Neill ยกให้ Possession (1981) คือภาพยนตร์เรื่องโปรดที่มีโอกาสแสดงนำ

ตัวละครนี้ถือเป็นตัวตายตัวแทนของผู้กำกับ Żuławski ทุกสิ่งอย่างที่ประสบพบเจอ ล้วนสะท้อนเหตุการณ์จริง ประสบการณ์ตรง ทั้งเรื่องความรุนแรง เสพเล่นยา คิดสั้นฆ่าตัวตาย ฯลฯ ชีวิตช่างโชกโชน โชกเลือด กว่าจะสามารถยินยอมรับสภาพความจริง ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายนั้น ก็แทบสูญเสียความเป็นมนุษย์ไปแล้ว


ถ่ายภาพโดย Bruno Nuytten (เกิดปี 1945) ตากล้อง/ผู้กำกับชาวฝรั่งเศส เข้าสู่วงการจากการเป็นผู้ช่วยตากล้อง Ghislain Cloquet, หนังสั้น, ภาพยนตร์ อาทิ India Song (1975), Possession (1981), Jean de Florette (1986) ฯลฯ

สไตล์ของ Żuławski จะมีงานภาพที่ขยับเคลื่อนไหวอยู่แทบตลอดเวลาด้วยกล้อง Steadicam ติดตามตัวละคร บางครั้งก็หมุนวนรอบ ซูมเข้า-ซูมออก ก้มๆเงยๆ บิดๆเบี้ยวๆ เน้นระยะ Medium Shot เพื่อให้ผู้ชมสัมผัสถึงอารมณ์/ความรู้สึก(ของตัวละคร)ที่ผันแปรเปลี่ยนไป … รับชมหนังของ Żuławski สร้างความรู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนเรี่ยวแรง เหตุผลหนึ่งก็เพราะลีลาการเคลื่อนกล้องที่แทบจะไม่เคยหยุดอยู่นิ่งนี่แหละ ทำให้รู้สึกเหมือนถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา

นอกจากความโดดเด่นด้านเทคนิคลีลา หนังยังถูกปรับให้มีโทนสีน้ำเงิน บางครั้งก็เขียวแก่ๆ ออกซีดๆ ดูหมองหม่น เพื่อมอบสัมผัสอันหนาวเหน็บ เหือดแห้งแล้ง แทนความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังของตัวละคร ไร้ความสดชื่น ไร้สีสัน ไร้ชีวิตชีวา

การถ่ายทำหนังยัง West Germany ในอพาร์ทเม้นท์ที่อยู่ติดกับกำแพง Berlin สร้างบรรยากาศ/ความรู้สึกไม่ปลอดภัยเลยสักนิด! บางครั้งยังมีการแอบถ่ายทหารที่อยู่อีกฟากฝั่ง เพื่อบอกว่าอย่าริอาจทำอะไรแผลงๆ อย่างเช่นก้าวข้ามผ่านเส้นแบ่งแยกพรมแดน … แต่เอาจริงๆผู้กำกับ Żuławski สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ก้าวข้ามสามัญสำนึกไปไกลโข

  • 87 Sebastianstraße, Kreuzberg อพาร์ทเม้นท์ของสัตว์ประหลาด เห็นว่าปัจจุบันตึกหลังนั้นก็ยังคงตั้งตระหง่าน
  • สถานีรถไฟใต้ดิน Platz der Luftbrücke ปัจจุบันก็ยังคงเปิดให้บริการ มีสภาพแทบไม่แตกต่างจากเดิมสักเท่าไหร่

Opening Credit เริ่มต้นร้อยเรียงภาพการเดินทางเลียบกำแพง Berlin มาจนถึงหน้าอพาร์ทเม้นท์ แต่สถานที่แห่งนี้มีลักษณะสองตึกตั้งฉาก แล้วกล้องค่อยๆเคลื่อนไหลจากฟากฝั่งหนึ่งไปอีกฟากฝั่งหนึ่ง ล้วนสื่อถึงการแบ่งแยก แตกต่าง ความสัมพันธ์ที่เหินห่างระหว่าง Mark และ Anna แม้แต่บนเตียงภายหลังเพศสัมพันธ์ เหมือนมีบางสิ่งอย่าง(มองไม่เห็น)กีดกั้นขวางพวกเขาไว้ (กล้องเคลื่อนไหลจากฝั่งซ้ายของเตียง ไปฝั่งขวาของเตียง Anna → Mark)

ไม่ ใช่แค่ลีลาภาษาภาพยนตร์เท่านั้นนะครับ บทเพลงประกอบก็ร่วมด้วยช่วยสร้างบรรยากาศลึกลับ เหมือนมีบางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้นไว้ บอกใบ้ถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้พังทลาย จู่ๆทุกสิ่งอย่างก็ล่มสลายโดยไม่ทันรับรู้ตัว

ลีลาการถ่ายภาพของหนังคือให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่มากๆ อย่างฉากนี้ที่แม้มีเพียง Mark สนทนากับหัวหน้าสายลับอยู่ในมุมเล็กๆ แต่กล้องกลับเคลื่อนไหลไปรอบๆห้อง ราวกับพวกเขาคือศูนย์กลางจักรวาล สนเพียงจะครอบครองความยิ่งใหญ่ เหนือใคร ใต้หล้า

แต่ไม่รู้ทำไมฉากนี้ผมนึกถึงภาพยนตร์ Mother Joan of the Angels (1961) จะมีฉากที่แม่อธิการ Mother Joan เมื่อ(แสร้งว่า)ถูกปีศาจร้ายเข้าสิง เธอเดินย่องย่าง ค่อยๆคืบคลาน ลัดเลาะเลียบผนังอารามชี ก่อนตรงรี่เข้ามาเผชิญหน้าบาทหลวง Józef Suryn ซึ่งสาเหตุที่ต้องอ้อมค้อมก็เพื่อสร้างบรรยากาศอันหลอกหลอน สิ่งชั่วร้ายมักอาศัยอยู่ปลายขอบ(ทางศีลธรรมของมนุษย์)

การอ้างอิงหนังสือแบบนี้นี่มันสไตล์ Godardian ชัดเจนมากๆๆ นอกจาก Holy Bible เล่มอื่นๆที่ตัวละหยิบขึ้นมา ล้วนเกี่ยวกับศาสนา การฝึกจิตใจให้สงบ ซึ่งตรงกันข้ามกับเรื่องราวในหนังที่เต็มไปด้วยความคลุ้มบ้าคลั่ง … คงเป็นการแนะนำหนังสือสำหรับให้ปล่อยวางจากความหมกมุ่นยึดติด กระมัง

  • Die Kultur Des Zen (1977) แปลว่า The Culture of Zen เขียนโดย Thomas
  • Religious life of the Japanese people (1961) เขียนโดย Masaharu Die
  • Welt des Tantra in Bild und Deutung แปลว่า The world of tantra in image and interpretation เขียนโดย Mookerjee Ajit และ Madhu Khanna

Taj Mahal อนุสรณ์แห่งความรักทัชมาฮาล สร้างขึ้นในรัชสมัยจักรพรรดิชาห์ชะฮัน (Shah Jahan) อุทิศให้จักรพรรดินีผู้ล่วงลับ มุมตาซ มหัล (Mumtaz Mahal) … นี่เป็นการบอกใบ้ถึงความตาย คงเป็นบางสิ่งอย่างภายใน(ความรัก)ที่สูญสิ้นไป

I’ve seen half of God’s face here. The other half is you.

Heinrich

ทีแรกผมครุ่นคิดว่า Anna เขียนจดหมายนี้ส่งมาให้ Mark แต่กลับเป็นชู้รัก Heinrich พร่ำบอกรัก เธอคือนางฟ้าของฉัน … ในความเป็นจริงนั้นเหมือนจะกลับตารปัตรตรงกันข้ามเสียมากกว่า เพราะเมื่อหญิงสาวมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ประหลาด นั่นน่าจะคือปีศาจ/ซาตาน (ไม่ใช่พระเจ้า)

อีกสิ่งน่าสนใจคือครึ่งใบหน้าด้านหลัง มันไม่ได้แบ่งซ้ายขวาอย่างที่ใครหลายคนคาดคิดกัน แต่กลับเป็นส่วนบน-ล่าง หน้าผากของ Mark น่าจะคือส่วนของพระเจ้ากระมัง

ถ้าเป็นภาพยนตร์เรื่องอื่น การแบ่งแยกสองตัวละครออกจากกันมักต้องมีอะไรมาคั่นแบ่ง หรือใช้สองสิ่งแสง-สี การจัดองค์ประกอบภาพที่แตกต่างตรงกันข้าม แต่วิธีการของผู้กำกับ Żuławski ใช้แนวคิดของ ‘Isometric’ ในลักษณะของสามมิติ (ใครเรียนวิศวะหรือเคยเขียนแบบ น่าจะรับรู้จักเทคนิคดังกล่าวเป็นอย่างดี) หลายช็อตๆจึงมีลักษณะเอียงๆ 30-45 องศา สร้างความรู้สึกบิดๆเบี้ยวๆ แต่แท้จริงแล้วคืออัตราส่วนสมมาตรที่สุด

เกร็ด: คำว่า ISO มาจากภาษากรีกแปลว่า เท่ากันหรือเหมือนกัน, Metric หมายถึง หน่วยการวัด, เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น Isometric จึงหมายถึง ภาพสามมิติ ที่มีด้านเท่ากันทุกด้าน และมีขนาดเท่ากับของจริง

อย่างการเผชิญหน้าระหว่าง Mark และ Anna ในร้านอาหารแห่งหนึ่ง จริงๆเรียกเผชิญหน้าคงไม่ถูกเพราะต่างฝ่ายต่างนั่งคนโต๊ะ หันคนละทิศทาง ปฏิเสธมองหน้าสบตา ต้องการแยกย้ายจากไป แต่เพราะยังมีบางสิ่งอย่างฉุดเหนี่ยวรั้งเอาไว้ จึงยังคงนั่งเก้าอี้/โซฟาเดียวกัน

วินาทีแห่งการเมายา/คิดสั้นฆ่าตัวตายของ Mark กลิ้งไปกลิ้งมาบนเตียง ตัวสั่นๆ ชักกะตุก ดิ้นแด่วๆ น่าจะทำให้ใครหลายคนตระหนักถึงชื่อหนัง Possession ในบริบทนี้ไม่จำเป็นว่าต้องสื่อถึงการถูกผีเข้า หรือปีศาจร้ายตนใดเข้าสิงสถิตย์ แต่คืออาการของบุคคลไม่สามารถควบคุมตนเอง ปล่อยอารมณ์/ความรู้สึกเข้าควบคุมครอบงำจนสูญเสียสติสัมปชัญญะ ไม่สามารถครุ่นคิดตัดสินใจ กระทำสิ่งต่างๆโดยไร้สามัญสำนึกความเป็นมนุษย์ สภาพไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน

แซว: มันจะมีท่าชักกะตุกหนึ่งที่ทำเอาผมขำกลิ้งจนตกเตียง เพราะท่วงท่ากำหมัดแล้วชักขึ้นชักลง มันท่วงท่าช่วยตนเอง (Masterbates) ซึ่งเหตุผลที่ Mark แสดงอาการเช่นนี้เพราะยังโหยหารสรักจากภรรยา กระมัง

สิ่งที่ทำให้ Mark (และผู้กำกับ Żuławski) สามารถหวนกลับคืนสติจากอาการผีเข้า นั่นคือการพบเห็นบุตรชาย ใบหน้าเปลอะเปลื้อนคราบสีแดง แวบแรกใครต่อใครคงหัวใจหล่นสู่ตาตุ่ม ครุ่นคิดว่านั่นคือเลือด ใครเป็นอะไรหรือเปล่า แต่แท้จริงแล้วก็แค่แยมสตรอเบอร์รี่ (และช็อกโกแล็ต) รับประทานอย่างมูมมามตามประสาเด็กยังเล็ก

แม้เป็นเพียงแค่ความเข้าใจผิด (สตรอเบอร์รี่ผู้โชคร้าย) แต่มันก็ทำให้ตัวละคร/ผู้กำกับ และผู้ชมหลายคนตระหนักถึงภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเองต่อบุตรหลาน ถ้าฉันเป็นอะไรไปแล้วใครจะเลี้ยงดูแล หลงลืมไปชั่วครู่ ก็ยังดีกว่าละทอดทิ้งให้กลายเป็นปัญหาสังคม

แม้ Mark จะล้มเลิกแผนการครุ่นคิดฆ่าตัวตาย (เพราะบุตรชายทำให้ตระหนักได้) แต่คราใดเมื่อต้องพบเจอ Anna เขายังโกรธเกลียดเคียดแค้น เต็มไปด้วยความว้าวุ่น กระวนกระวาย ผมชอบมากๆกับฉากนี้ที่เขานั่งโยกเก้าอี้ไปมาอย่างสุดแรง (แทนสภาวะทางอารมณ์ของตัวละคร) ตรงกันข้ามกับภรรยายืนอยู่นิ่งๆ

แซว: ช่วงกลางเรื่องเมื่อ Mark ติดต่อว่าจ้างนักสืบเอกชน เก้าอี้ที่นั่งสามารถหมุนซ้าย-หมุนขวา ก็สามารถแทนความว้าวุ่น กระวนกระวายได้เช่นเดียวกัน

ต่อมาเมื่อ Anna พยายามจะดิ้นหลบหนี Mark ก็ลุกขึ้นเดินวนไปวนมารอบตัวเธอ พยายามพูดคำโน้มน้าว ปากบอกตนเองยกโทษให้อภัย แต่กลับพยายามชี้นิ้วออกคำสั่ง บีบบังคับให้อีกฝ่ายกระทำตาม เห็นเธอเป็นเพียงเงามืด สิ่งมีชีวิตที่เพียงรอคอยการถูกควบคุมโดยใครอื่น

ครูโรงเรียนอนุบาล Helen แทบจะถอดแบบพิมพ์เดียวมาจาก Anna พวกเธอเป็นพี่น้องกันหรือเปล่า? ทำไมหน้าตาเหมือนเปะกันขนาดนี้? (จริงๆแตกต่างตรงสีผม และสีของดวงตา) ลักษณะดังกล่าวนี้มีคำเรียกว่า doppelgänger ใครเคยรับชม The Third Part of the Night (1971) ผู้กำกับ Żuławski จักกล่าวว่านั่นคือ ‘ปาฏิหารย์’

แรกพบเจอ Helen สังเกตว่าเธอนั่งยองๆพูดคุยกับเด็กๆ นั่นถึงอุปนิสัยสุภาพอ่อนน้อม บริสุทธิ์ผุดผ่อง (เหมือนเด็กๆไร้เดียงสาเหล่านี้) ขณะเดียวกันเมื่อเทียบตำแหน่งของ Mark มันจะพอดิบพอดีตรงเป้ากางเกง เรียกว่ายินยอมศิโรราบ พร้อมทำตามทุกอย่าง จนมีนักวิจารณ์ให้คำเรียกตัวละครนี้ ‘Ideal Housewife’ อุดมคติจนเขาไม่กล้าสัมผัสแตะต้อง

Heinrich (รับบทโดย Heinz Bennent) เป็นตัวละครที่ต้องถือว่าแปลกประหลาด ตั้งแต่ถ้อยคำพูดมีความลึกล้ำสลับซับซ้อน (จนฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง) ท่าทางขยับเคลื่อนไหว ใช้มือพยายามสัมผัส/ลวนลามคู่สนทนา จนอาจสร้างความสับสนในอัตลักษณ์ทางเพศ หมอนี่ชายหรือหญิง หรือได้ทั้งชายและหญิง

ตัวละครนี้คือชู้รักของ Anna ที่ยังมีรูปร่างหน้าตาเป็นมนุษย์ แต่คารม ลีลา และบางครั้งก็เล่นยาเพื่อมอบประการณ์ทางเพศสูงสุดให้กับหญิงสาว … คงต้องถือว่า Heinrich เป็นชายสมบูรณ์แบบ ‘perfect male’ พระเอกของเราไม่มีทางต่อกรใดๆ

แซว: หลังจากผมขบครุ่นคิดมาสักพักก็ตระหนักว่า ลีลาการใช้มือของ Heinrich มีลักษณะคล้ายๆหนวดของสัตว์ประหลาด สัมผัส โอบกอด ลูบไล้ กล่าวคือพยายามควบคุมครอบงำ รุกล้ำพื้นที่ส่วนบุคคล หรือใช้คำว่า ‘ลวนลาม’ คงไม่ผิดอะไร

การโต้ถกเถียงระหว่าง Mark กับ Anna ค่อยๆทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจากในอพาร์ทเมนท์ ก้าวออกมาบนท้องถนน (ยังบริเวณที่กำลังปิดปรับปรุงซ่อมแซม=รอยร้าวความสัมพันธ์) แต่ขณะที่เธอพยายามเดินหลบหนี เฉี่ยวชนรถบรรทุกจนรถเศษเหล็กที่อยู่ด้านหลังตกหล่นลงมา (รถเศษเหล็ก สะท้อนสภาพป่นปี้ภายในจิตใจของทั้งสองตัวละคร)

วินาทีเฉียดตายนั้นเองทำให้ Anna ถอดแว่นตาดำ หยุดอาการคลุ้มบ้าคลั่ง แล้วเดินกำหมัดไปทางด้านหลัง ดูราวกับการสยายปีก โบยบินจากไป (เหมือนตนเองได้รับอิสรภาพอะไรสักอย่าง) ตรงกันข้ามกับ Mark กำหมัดไว้เบื้องหน้า แสดงอาการอึดอัดอั้น แล้วหันกลับเข้าอพาร์ทเมนท์ พร้อมเสียงเด็กๆเฮลั่นหลังเลิกโรงเรียน (เหมือนประกาศชัยชนะอะไรสักอย่าง)

เพื่อล้อกับชายสมบูรณ์แบบ Heinrich/ชู้รักของ Anna หญิงสาวที่ Mark แอบไปมีความสัมพันธ์ด้วยนั้นคือ Sara เธอประสบอุบัติอะไรสักอย่างจึงต้องเข้าเฝือกขา ท่าเดินกระโผกกระเผก ตรงเข้าโอบกอด ยั่วเย้า จะถอดเสื้อผ้าเขาตั้งแต่ยังไม่ทันเข้าตึก … ถือเป็นหญิงสาวที่ไม่สนอะไรไปมากกว่าเติมเต็มตัณหาราคะ ความต้องการทางเพศของตนเองและ Mark

หลายคนอาจเริ่มสับสนแล้วว่า Helen ควรเป็นขั้วตรงข้ามของ Heinrich ไม่ใช่หรือ?? แต่การแบ่งแยกแยะที่หนังพยายามนำเสนอน่าจะประมาณนี้นะครับ

  • Mark แต่งงานกับ Anna
    • (รูปธรรม) คบชู้กับ Sara หญิงขาพิการ แต่มีความต้องการทางเพศสูง ยั่วเย้ายวนเขาทุกครั้งเมื่อพบเจอกัน
    • (นามธรรม) แอบชื่นชอบ Helen ใบหน้าเหมือนเปี๊ยบกับ Anna (doppelgänger) ถือเป็นหญิงสาวในอุดมคติ ‘ideal housewife’ จึงพยายามรักษาระยะห่างความสัมพันธ์ ให้ความเคารพรัก และไม่เคยเกินเลยเถิดจนมีเพศสัมพันธ์
  • Anna แต่งงานกับ Mark
    • (รูปธรรม) คบชู้กับ Heinrich ชายสมบูรณ์แบบ ที่สามารถเติมเต็มตัณหาราคะด้วยลีลาอันเล่าร้อนรุนแรง
    • (นามธรรม) มีเพศสัมพันธ์อย่างเร่าร้อนรุนแรงกับสัตว์ประหลาด ‘sex machine’ โดยไม่สนห่าเหวอะไรทั้งนั้น แต่ถ้าใครเข้ามาบุกรุกราน ก็พร้อมเข่นฆาตกรรมให้ตกตาย และเจ้าสัตว์ประหลาดนี้เหมือนจะวิวัฒนาการกลายเป็น doppelgänger ของ Mark (ท้ายสุดอาจได้ครอบครองรักกับ Helen)

การทะเลาะเบาะแว้งในห้องครัว สร้างบรรยากาศที่อันตรายโคตรๆ เพราะเต็มไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือที่ถึงเลือดถึงเนื้อ ทั้งคมมีด เครื่องบด เครื่องปั่น เตาแก๊สก็ไม่ปลอดภัยเท่าไหร่ ฯลฯ แถมตัวละครทั้งสองยังโยกไปโยกมา เถียงกันอย่างขาดสติสัมปชัญญะ เสียวสันหลังว่าใครบางคนอาจนำเครื่องครัวมาใช้เป็นอาวุธทำร้ายกัน

สำหรับเครื่องบดเนื้อที่กำลังไหลย้อยออกมานี้ สามารถสื่อถึงความขัดแย้งของทั้งสองที่ทำให้ภายใน/สภาพจิตใจเหมือนถูกบดขยี้ แหลกละเอียด ไม่เป็นชิ้นดี (ก็เหมือนรถเศษเหล็กที่ตกหล่นจากรถบรรทุกในฉากก่อนหน้า) และเมื่อเอามีดกรีดแขนไม่ช่วยอะไร (เพลงอกหัก, Bodyslam) เรียกว่าสูญเสียความรู้สึกใดๆที่เคยมีต่อกัน

ขณะที่อพาร์ทเม้นท์ของ Mark มีความเลิศหรู อยู่สบาย สไตล์ทันสมัย (Modern) เต็มไปด้วยเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ (= West Germany) ตรงกันข้ามกับห้องพักของ Anna มีสภาพราวกับโบราณสถาน เก่าแก่ ชำรุดทรุดโทรม ภายในเพียงห้องโล่งๆ ไม่มีอะไรนอกจากเตียงรกๆ ฝุ่นตลบอบอวล (= East Germany)

สภาพภายในอพาร์ทเม้นท์ สามารถสะท้อนสภาวะทางอารมณ์/สภาพจิตใจตัวละครขณะนั้นๆ รวมถึงสมาชิกอยู่ร่วมอาศัย, สำหรับ Anna ที่แทบไม่อะไร เพียงเตียงนอน หมอน ผ้าห่ม และสัตว์ประหลาด (ไม่สนอะไรอื่นนอกจากประกอบกามกิจ) เมื่อใครพยายามบุกรุกเข้าไป ก็จักถูกเข่นฆาตกรรม จับแช่ตู้เย็น สำหรับบริโภคเป็นอาหาร

สถานภาพทางเพศของนักสืบทั้งสอง มีการพูดออกอย่างอ้อมๆว่าคือชายรักชาย (Homosexual) ผลลัพท์ทำให้เมื่อพวกเขารุกรานเข้ามายังอพาร์ทเม้นท์ของ Anna ต่างถูกเข่นฆาตกรรมให้ตกตาย

นี่แทบไม่ต้องครุ่นคิดตีความอะไร คือการแสดงทัศนะอย่างชัดเจนของผู้กำกับ Żuławski ว่ารังเกียจเดียดชังกลุ่มคนรักร่วมเพศ (Anti-Homosexual) และมันจะมีช็อตที่นักสืบและ Anna เดินเข้าประตูห้องสัตว์ประหลาดมาพร้อมกัน แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเหล่านี้นั้นอัปลักษณ์ น่ารังเกียจขยะแขยง หมกมุ่นมักมากในกามคุณ ไม่แตกต่างจากปีศาจร้ายเข้าสิง

Mark ได้รับม้วนฟีล์มจาก Heinrich พอนำมาเปิดชม เริ่มต้นพบเห็นการบันทึกภาพตนเอง (=ภาพยนตร์เรื่องนี้คือกึ่งๆอัตชีวประวัติผู้กำกับ Żuławski) จากนั้นถ่ายทำ Anna กำลังทำการสอนสาวๆ ฝึกซ้อมเต้น ยืดแข้งยืดขา ซึ่งจะมีเด็กหญิงคนหนึ่งที่เธอพยายามพูดกดดัน บีบบังคับ เค้นคั้นให้แสดงศักยภาพออกมา แต่ผลลัพท์กลับทำให้เธอเจ็บปวดทั้งร่างกาย-จิตใจ มิอาจอดรนทน จนวิ่งหลบหนีออกจากสถานที่แห่งนี้

เราสามารถเปรียบเทียบการกระทำของ Anna ไม่แตกต่างจากผู้กำกับ Żuławski พยายามบีบเค้นคั้นนักแสดงให้นำเอาศักยภาพ ความสามารถ (ด้านการแสดง) กลั่นออกมาจนถึงขีดสุด ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ!

ฉากถือเป็นไฮไลท์ ขีดที่สุดการแสดงของ Isabelle Adjani ย่อมหนีไม่พ้น “Aria of Hysteria” เริ่มต้นจาก Anna จับจ้องมองพระเยซูคริสต์ ไม่รู้กำลังครุ่นคิดอธิษฐานอะไร (หรือบังเกิดอารมณ์ทางเพศก็ไม่รู้นะ) แต่ระหว่างทางกลับอพาร์ทเม้นท์ ยังสถานีรถไฟใต้ดิน ราวกับถูกวิญญาณเข้าสิง ‘possession’ แต่ก็ไม่รู้ปีศาจหรือพระเป็นเจ้าที่พยายามขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากครรภ์ของเธอ (ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานแบบเดียวกับพระเยซูคริสต์)

I told Adjani to fuck the air.

Andrzej Żuławski

นี่เป็นฉากที่สูบทั้งร่างกายและจิตวิญญาณของ Adjani เพราะต้องถ่ายทำถึงสองเทค (เผื่อเอาไว้ถ้าเทคแรกมีปัญหา จะได้ใช้เทคสอง) ใส่อารมณ์ กรีดกราย เริงระบำอย่างสุดเหวี่ยง (ล้อกับที่ว่าตัวละครเป็นครูสอนเต้นบัลเล่ต์) เพื่อนำไปสู่ไคลน์แม็กซ์ของฉากนี้คือน้ำสีขาวๆไหลนองออกมาจากช่องคลอด … บางคนมองว่าคือการแท้งลูก (ที่มีกับสัตว์ประหลาด) แต่ส่วนใหญ่ครุ่นคิดว่าน้ำกามไหลหลั่ง

ภายในอพาร์ทเม้นท์ของ Mark จากเคยสะอาดเอี่ยมอ่อง จัดข้าวของเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่เมื่อภรรยาเลิกราหย่าร้าง สิ่งข้าวของก็เริ่มกระจัดกระจาย เรียงรายเกลื่อนกราด ไร้บุคคลคอยจัดเก็บ ทำความสะอาด ก็แทนที่จะว่าจ้างแม่บ้าน … นั่นเพราะผู้กำกับต้องการแสดงให้ถึงสภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจของตัวละคร (=สภาพภายในอพาร์ทเม้นท์) รวมถึงอาการผิดๆแผกๆของ Anna เอามือบิดๆถูๆ แสดงท่าทางรังเกียจขยะแขยง ไม่ยินยอมให้เขาสัมผัสจับต้องอีกต่อไป

แซว: ขณะที่โทนสีในอพาร์ทเม้นท์คือน้ำเงิน อันแห้งแล้ง หนาวเหน็บ แต่เจ้าโทรศัพท์กลับเป็นสีแดงโดดเด่นขึ้นมา ถ้าใครช่างสังเกตก็จะพบว่ามันเป็นเครื่องมือสื่อสารโลกภายนอก ที่มักนำพาเรื่องร้ายๆ ข่าวสารไม่ค่อยอยากรับฟัง ค่อยๆทำให้ห้องพักมีสภาพอย่างที่พบเห็น

ความตายของสองชู้ (ชายสมบูรณ์แบบ vs. หญิงไม่สมประกอบ) ต่างมีลักษณะน่าสมเพศเหลือทน

  • Heinrich ถูก Mark จับกดศีรษะลงในโถส้วมห้องน้ำ สถานที่สำหรับถ่ายสิ่งปฏิกูล ของเสีย แสดงถึงความต่ำตม สกปรกโสมม ตกตายโดยปราศจากลมหายใจ
  • Sara ดูจากร่อยรองแผล น่าจะเกิดจากถูก Anna กรีดคอจนเลือดอาบ ยังลิฟท์ที่เคลื่อนลงมายังชั้นล่าง ไม่ต่างจากนางฟ้าตกจากสรวงสวรรค์ สูญเสียความทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง

หลังจาก Mark เข่นฆ่าชายชู้ Heinrich, Anna เชือดคอหญิงชู้ Sara, ต่างฝ่ายต่างกลายเป็นปีศาจร้าย สูญสิ้นความเป็นมนุษย์ จึงสามารถมองตารู้ใจ หวนกลับมาคืนดี ยินยอมให้สัมผัสลูบไล้ และมีเพศสัมพันธ์ร่วมกันได้อีกครั้ง! สังเกตว่าเริ่มจากขณะยืน พอสำเร็จกามกิจก็นอนราบกับพื้น (ในห้องครัว สถานที่ปรุงรสความสัมพันธ์)

แต่แม้การร่วมรักครั้งนี้จะสร้างความพึงพอใจ แต่ก็ยังไม่เพียงพอให้ Anna ละเลิกจากการมี Sex กับสัตว์ประหลาด (ที่มอบประสบการณ์ทางเพศได้เหนือกว่า) นั่นสร้างความหมดสิ้นหวังโดยสิ้นเชิงให้กับ Mark

Carlo Rambaldi (1925-2012) นักออกแบบ Special Effects สัญชาติอิตาเลี่ยน เริ่มมาโด่งดังระดับนานาชาติจาก King Kong (1976), Alien (1979), E.T. the Extra-Terrestrial (1982), Dune (1984) ฯลฯ

แรงบันดาลใจของสัตว์ประหลาดตัวนี้ ออกแบบให้มีลักษณะเหมือนศิวลึงค์ (Phallic Monster) เต็มไปด้วยหนวดที่สามารถสอดใส่ กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ เพื่อเติมเต็มความต้องการทางเพศของหญิงสาว

Carlo Rambaldi: The producer told me it was a sort of sexual symbol.
Andrzej Żuławski: That’s not a symbol, it’s a penis.

นั่นแปลว่าเจ้าสัตว์ประหลาดตัวนี้ไม่ได้มีนัยยะเชิงสัญลักษณ์อะไรเลย เพียงแค่สิ่งนามธรรมเหนือธรรมชาติที่สามารถควบคุม ครอบงำ เข้าสิง ‘possession’ (ใช้หนวด)บงการมนุษย์กระทำสิ่งชั่วร้าย สังคมไม่ให้การยินยอมรับ ผู้ชม/ผู้กำกับ Żuławski พบเห็นแล้วรู้สึกน่ารังเกียจขยะแขยง … นั่นก็คือพฤติกรรมของอดีตภรรยา Braunek คบชู้นอกใจตนเอง

แซว: โดยปกติแล้วการเตรียมงานของ Carlo Rambaldi ต้องใช้เวลาหลายวัน บางช็อตก็เป็นเดือนๆ แต่สำหรับ Possession (1981) ด้วยทุนสร้างน้อยนิดจึงมีแค่ 7 วันสร้างสัตว์ประหลาด และ 2 วันถ่ายทำ เท่านั้นเอง!

วินาทีที่มารดาของ Heinrich ลาจากโลกนี้ไป จู่ๆลมพัดแรง ทำให้หน้าต่างเปิดออกมา เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้สึกขนลุกขนพองขึ้นโดยทันที หนังจงใจสร้างสัมผัสเหนือธรรมชาตินี้ เพื่อล้อกับการมีตัวตนของสัตว์ประหลาด คือสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุและผล (แต่สามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ สะท้อนความต้องการของผู้สร้างภาพยนตร์)

การเสียชีวิตของตัวละครนี้ ดูเหมือนไม่ได้มีความจำเป็นใดๆ แต่ผมครุ่นคิดว่าต้องการสื่อถึงบางสิ่งอย่างภายในจิตใจของ Mark ได้ตกตายจากไป หลังจากพบเห็น Anna ยังคงมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ประหลาด ทั้งๆเพิ่งหวนกลับมาคืนดีก่อนหน้านี้! … สิ่งที่สูญหายไปของ Mark น่าจะคือ ‘ความเป็นมนุษย์’ เพราะมารดาของ Heinrich ดูปกติสุด(เป็นมนุษย์ที่สุด)ในหนังแล้วกระมัง

ใครเคยรับชมผลงานเรื่องแรก The Third Part of the Night (1971) ของผกก. Żuławski ย่อมรู้สึกมักคุ้นเคยกับหลายๆองค์ประกอบ โดยเฉพาะความตายยังบันไดวน แล้วจู่ๆบุคคลหน้าเหมือน ‘doppelgänger’ ก็ปรากฎตัวขึ้นมา ทำให้ทุกสิ่งอย่างเหมือนเวียนวนกลับสู่จุดเริ่มต้น

นัยยะเชิงสัญลักษณ์ของ doppelgänger ก็คือบุคคลเดียวกันนะแหละ (หลายคนตีความว่าตัวปลอมนี้คือวิวัฒนาการของสัตว์ประหลาด กลายร่างมาเป็น Mark) แต่อาจมีลักษณะแตกต่างตรงกันข้าม หรือในบริบทนี้ต้องการสื่อถึงการถือกำเนิดใหม่ ตัวตนเก่ากำลังตกตายไป หรือบางสิ่งอย่างภายในจิตวิญญาณได้สูญสลาย

แซว: หลังจากถูกกราดยิง Anna ทรุดล้มลงนอนทับ Mark ตรงเป้ากางเกงพอดิบดี นั่นรวมถึงช็อตยิงตัวตายคู่(โดย Anna) มันต้องทำท่าพิศดารๆ ยิงจากข้างหลัง เพื่อให้ตำแหน่งพอดิบพอดีระหว่างมดลูกกับอวัยวะเพศชาย … ผมคงไม่ต้องอธิบายกระมังว่าหนังต้องการสื่อถึงอะไร

ไม่ใช่ว่า Mark สิ้นลมหายใจแล้วรึ? เหตุไฉนถึงสามารถผลักดันตนเองให้ตกลงมาเบื้องล่าง? แต่ผมมองฉากนี้ในเชิงสัญลักษณ์ เปรียบเทียบกับ doppelgänger ของ Mark ใช้หญิงสาวคนหนึ่งเป็นฐานปีนป่ายหลบหนีขึ้นบนหลังคา … กล่าวคือ การมีตัวตนของ Mark ตัวปลอม (กำลังปีนป่ายขึ้นจุดสูงสุด) ได้ทำให้ตัวจริงตกต่ำลงสู่ภาคพื้นดิน

ตัวประกอบสาวคนนี้ก็มีความน่าฉงนอย่างมากๆ แทนที่จะหวาดสะพรึงกลัวต่อคนตายหน้าห้อง กลับแสดงความลุ่มหลงใหลในกระบอกปืน (สัญลักษณ์ของลึงค์) ดูมีสีหน้าหื่นกระหาย ยินยอมศิโรราบต่อ doppelgänger ของ Mark ให้เขาเหยียบย่ำ ปีนป่าย (ใบหน้าของเธอตรงตำแหน่งเป้ากางเกงพอดิบดีอีกเช่นกัน) … ผมรู้สึกว่าฉากนี้เป็นการเหมารวมของผู้กำกับ Żuławski ไม่ใช่แค่อดีตภรรยา แต่ยังลามปามเหมารวมถึงสตรีคนอื่นๆ กล่าวหาว่ามีความหมกมุ่นมักมาก สนเพียงกามคุณ ทำตัวราวกับถูกปีศาจร้ายเข้าสิ่ง เพื่อตอบสนองตัณหาทางเพศไม่แตกต่างกัน

หนึ่งในหัวหน้าองค์กรสายลับ หลังกำจัดคนทรยศ Mark สิ่งที่เขาทำระหว่างเดินขึ้นบันได คือถอดรองเท้านำมาตรวจสภาพพื้น (ว่าไม่ได้เปลอะเปลื้อนเลือดของ Mark) เพื่อสื่อการไม่เห็นคุณค่าของชีวิตคน พยายามทำตัวขาวสะอาด แต่ภายในกลับสกปรกโสมม ขณะที่ถุงเท้าสีชมพู หลายคนอาจมองว่าชายคนนี้คือสัตว์ประหลาด รสนิยมรักร่วมเพศ (แบบเดียวกับสองทนาย) แต่ผมยังครุ่นคิดว่ามันคือสีฟอกแดง (เลือด) คราบเลือดที่พยายามทำความสะอาดให้ขาวบริสุทธิ์ แต่ก็เจือจางได้แค่นี้แหละ

เมื่อได้ยินสัญญาณเตือนภัย ไม่ใช่ว่าต้องหลบซ่อนใต้โต๊ะหรอกหรือ? แต่เด็กชาย Bob กลับวิ่งขึ้นบันไดวน แล้วลงไปดำผุดดำว่ายในอ่างอาบน้ำ นี่ทำให้ผมครุ่นคิดถึงทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง หลบซ่อนตัวอยู่ภายใต้จิตสำนึก ไม่ต้องการลุกขึ้นมาเผชิญหน้าโลกความจริง ปฏิเสธยินยอมรับพฤติกรรมของทั้งบิดา-มารดา

บางคนอาจมองแค่ว่าเด็กชายเหมือนมีจิตสัมผัสบางอย่าง รับรู้ว่าบุคคลที่อยู่ภายนอกห้องไม่ใช่บิดา จึงส่งเสียงเตือน Helen ไม่ให้เปิดประตูรับสิ่งชั่วร้ายเข้ามา แต่เพราะเธอปฏิเสธรับฟัง เขาจึงเริ่มทำการปิดกั้นตัวเอง

แสงไฟวูบๆวาบๆ แม้หนังให้คำอธิบายว่าคือสัญญาณเตือนภัย สถานที่แห่งนี้ราวกับกำลังจะถูก (East German) โจมตีทางอากาศ แต่อาจเหมารวมถึง doppelgänger ของ Mark เห็นเพียงเงาลางๆยืนอยู่หน้าประตูห้อง เหมือนต้องการบุกเข้ามากระทำสิ่งชั่วร้ายอะไรสักอย่าง

แต่ถึงอย่างนั้นกล้องที่ค่อยๆเคลื่อนเข้าหาใบหน้าของ Helen หันมาสบตาหน้ากล้อง (Breaking the Fourth Wall) ดูอันตราย โฉดชั่วร้าย เต็มไปด้วยเลศนัยบางอย่าง … แสงวูบๆวาบๆ เดี๋ยวมืด-เดี๋ยวสว่าง ผมมองในเชิงสัญลักษณ์ของพฤติกรรมเดี๋ยวดี-เดี๋ยวร้าย เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ ใครกันจะไปคาดคิดจินตนาการ หญิงสาวสวยคนนี้อาจมีสิ่งชั่วร้ายซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใน

แซว: ดวงตาของ Helen จู่ๆทำให้ผมครุ่นคิดว่าเธออาจไม่ใช่มนุษย์ แบบเดียวกับ doppelgänger ของ Mark คือสัตว์ประหลาดที่วิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ ก็ได้เช่นกัน!

หนังจงใจค้างคาตอนจบว่า Helen เปิดหรือไม่เปิดประตู? แต่เอาจริงๆมันคาดเดาไม่ยากเลยนะครับ สังเกตจากจากปฏิกิริยาสีหน้าตัวละคร ดูแล้วต้องเปิดออกอย่างแน่นอน … ซึ่งสามารถสะท้อนความ ‘Misogyny’ ที่เต็มไปด้วยอคติต่อภรรยาของผู้กำกับ Żuławski ได้อย่างชัดเจน!

ตัดต่อโดย Marie-Sophi Dubus และ Suzanne Lang-Willar,

เริ่มต้นหนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Mark ตั้งแต่เสร็จสิ้นภารกิจเพื่อชาติ แต่แทนที่จะได้รับความสงบสุข กลับต้องเผชิญหน้าช่วงเวลาแห่งความคลุ้มบ้าคลั่ง ถูกภรรยาขอเลิกราหย่าร้าง จับได้ว่าคบชู้ชายอื่น, ส่วนครึ่งหลังมุมมองของหนังจะสลับสับเปลี่ยนแปลงไป โดยมีจุดหมุนคือ Anna และ Helen (Doppelgänger ของกันและกัน)

  • ครึ่งแรก นำเสนอผ่านมุมมองของ Mark
    • Mark เดินทางกลับมาบ้าน สังเกตสภาพผิดปกติของภรรยา Anna
    • Anna พยายามเลิกราหย่าร้าง Mark แต่เขาแสดงความเกรี้ยวกราด ใช้ความรุนแรง ตกอยู่ในสภาพคลุ้มบ้าคลั่ง เสพยา และครุ่นคิดจะฆ่าตัวตาย
    • เมื่อฟื้นคืนสติก็เริ่มออกค้นหาสาเหตุผล ทำไมภรรยาถึงเปลี่ยนแปลงไป
  • ครึ่งหลัง
    • ผู้ช่วยนักสืบ ออกติดตาม Anna ไปจนถึงอพาร์ทเมนท์หลังหนึ่ง
    • Mark เริ่มต้นสานสัมพันธ์กับ Helen
    • นักสืบเอกชน ประสบโชคชะตาเดียวกับชายคนรัก (ผู้ช่วยนักสืบ)
    • อาการคลุ้มบ้าคลั่งของ Anna จนน้ำกามไหลหลั่ง
    • Heinrich ติดตามไปพบเจอ Anna ค่อยตระหนักถึงความคลุ้มบ้าคลั่ง ก่อนถูกฆ่าปิดปากโดย Mark
    • Mark พยายามจะคืนดีกับ Anna แต่สิ่งเกิดขึ้นกลับคือ Helen ครองรักกับอีกตัวปลอมของตนเอง

ครึ่งแรก-ครึ่งหลังของหนัง แทบจะเป็นหนังคนละม้วน มีความแตกต่างตรงกันข้าม หรือจะว่าคือวิวัฒนาการของชีวิตก็ได้เช่นกัน

  • ครึ่งแรกนำเสนอดราม่าเข้มข้น เรื่องราวจับต้องได้ในเชิงรูปธรรม ด้วยสไตล์ John Cassavetes ขายฝีไม้ลายมือด้านการแสดงของ Sam Neill และ Isabelle Adjani ใส่อารมณ์กันอย่างคลุ้มบ้าคลั่ง ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ตบกันเลือดอาบ สภาพปางตาย
  • ครึ่งหลังแปรสภาพสู่หนังแนว Body Horror ผสมกับ Sci-Fi ตั้งคำถามอภิปรัชญาถึงพระเจ้า-ซาตาน ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับปีศาจร้าย มีความเซอร์เรียล เหนือจริง อิ่มหนำด้วยภาษาภาพยนตร์ จนต้องขบครุ่นคิดในเชิงนามธรรม

แซว: ไม่รู้ทำไมรับชม Possession (1981) แล้วทำให้ผมนึกถึง From Dusk Till Dawn (1996) กำกับโดย Robert Rodriguez, เขียนบทโดย Quentin Tarantino แม้งก็อารมณ์คล้ายๆกันนี้เลยนะ ครึ่งแรกแนวโจรกรรมหลบหนี ส่วนครึ่งหลังกลายสภาพเป็นล่าแวมไพร์ซะงั้น!


เพลงประกอบโดย Andrzej Korzyński (1940-2022) นักแต่งเพลงชาว Polish สำเร็จการศึกษาจาก Fryderyk Chopin University of Music แล้วกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Andrzej Wajda และ Andrzej Żuławski มีผลงานเด่นๆ อาทิ The Birch Wood (1970), The Third Part of the Night (1971), Man of Marble (1977), Man of Iron (1981), Possession (1981) ฯลฯ

งานเพลงของ Korzyński มอบสัมผัสหลอกหลอน มีความสลับซับซ้อน เต็มไปด้วยการทดลองทางดนตรีที่หลากหลาย แต่หลักๆสามารถเหมารวมสไตล์ Psychedelic Rock เพื่อสร้างความสับสน กระวนกระวาย กรีดกรายทรวงใน สะท้อนสภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจตัวละคร สอดคล้องไดเรคชั่นผู้กำกับ Żuławski อย่างน่าอัศจรรย์ใจ … Żuławski และ Korzyński ถือเป็นอีกคู่ขวัญ ผู้กำกับ-นักทำเพลง ไม่สามารถแยกทั้งสองออกจากกัน

แค่เพียงเสียงแรกของบทเพลง The Night The Screaming Stops ก็สร้างความเสียวสันหลัง สั่นสะท้านทรวงใน สร้างบรรยากาศแห่งความลึกลับ สลับซับซ้อน มันต้องบางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้น ภยันตรายอยู่รอบข้างกาย ใครกันจะถูกปีศาจร้ายเข้าสิง … เป็นบทเพลงที่สามารถสร้างความแรกประทับใจ ‘first impression’ ได้โดยทันที ชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ของผู้กำกับ Dario Argento และนักทำเพลงคู่ขวัญ Goblin ขึ้นมาโดยพลัน!

ลองมาฟังท่วงทำนอง Main Theme ในแบบฉบับ Orchestra Theme ที่ต้องถือว่ามีความนุ่มนวล ลุ่มลึก สร้างความรู้สึกสั่นสะท้านทรวงใน แตกต่างจากสไตล์ Psychedelic Rock มุ่งเน้น(เสียงกลอง)ให้หัวใจโลดเต้นเป็นจังหวะ มอบสัมผัสภายนอก ขนลุกขนพอง ความเย็นสยองค่อยแทรกซึมซับเข้าสู่ภายใน

และอีกฉบับ Main Theme ที่หลงเหลือเพียงเสียงไวโอลินเป็นหลัก (บางครั้งบรรเลงเปียโน, เป่าขลุ่ย ฯลฯ) นี่ก็มอบสัมผัสที่แตกต่างจากทั้งสองฉบับ โดยจะมุ่งเน้นตัวบุคคล กำลังออกค้นหา พานพบเจอ หรือได้ทำบางสิ่งอย่างที่ชวนให้ผู้ชมบังเกิดความฉงนสงสัย กำลังจะมีอะไรบังเกิดขึ้นหรือเปล่า?

Possession (1981) นำเสนอเรื่องราวการเลิกราหย่าร้างของสามี-ภรรยา (หรือก็คือผู้กำกับ Andrzej Żuławski และภรรยา Małgorzata Braunek) ปฏิกิริยาแรกของฝ่ายชายคือสับสน งุนงง ฉันทำผิดอะไร? มันเกิดเหตุการณ์ห่าเหวอะไรขึ้น? เมื่อพบเจอฝ่ายหญิงก็แสดงความเกรี้ยวกราดออกมาอย่างรุนแรง จากนั้นทำร้ายตนเองด้วยการใช้สารเสพติด ครุ่นคิดจะทำอัตวินิบาต แต่เพราะบุตรชายจึงทำให้สามารถฟื้นคืนสติ และครุ่นคิดเริ่มต้นสืบสวนสอบสวน ค้นหาข้อเท็จจริง เพราะเหตุใด? ทำไมเธอถึงตัดสินใจทอดทิ้งจากไป?

ครึ่งหลังของหนังนำเสนอการปรับตัวของ Mark/ผู้กำกับ Żuławski ในทางกายภาพคือให้สามารถดำรงชีวิต ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย เริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่ ขณะเดียวกันทางจิตภาพกลับเต็มไปด้วยอคติต่ออดีตภรรยา Anna กลายเป็นบุคคลไม่สามารถควบคุมสติ อารมณ์ ความต้องการของตนเอง ไม่ใช่แค่คบหาชายชู้ แต่ยังเกินเลยเถิดไปถึงมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ประหลาด ไม่ต่างจากถูกปีศาจร้ายเข้าสิง จนต้องถือว่าหมดสูญสิ้นความเป็นมนุษย์

ไม่ว่าผมจะมองจากทิศทางไหน Possession (1981) คือภาพยนตร์ที่แสดงความ Misogyny (เกลียดชังผู้หญิง) นำเสนออคติของผู้กำกับ Żuławski ต่ออดีตภรรยา Braunek ด้วยการระบายความอึดอัดอั้น คลุ้มบ้าคลั่ง ไม่ยินยอมรับสิ่งที่บังเกิดขึ้น นำมันประจานออกสู่สาธารณะ (revenge film) เรียกร้องหาความเห็นใจจากผู้อื่น ฉันทำผิดอะไรถึงต้องทนทุกข์ทรมานเพียงนี้?

ผู้ชมส่วนใหญ่คงรู้สึกสงสารเห็นใจ ผกก. Żuławski แต่ผมอยากให้สังเกตว่าภาพยนตร์เรื่องนี้แม้งโคตรๆ ‘manipulate’ ให้รู้สึกว่าฉันถูก ฉันไม่เคยทำสิ่งเลวร้าย ยัยนั่นต่างหากที่คบชู้นอกใจ ไม่อธิบายเหตุผลใดๆที่จับต้องได้ เพียงนำเสนอผ่านมุมมองของตนเอง แล้วใส่อารมณ์ ความเกรี้ยวกราด ชี้นำว่าทั้งหมดทั้งมวลคือความผิดของเธอที่ทำให้ฉันคลุ้มบ้าคลั่ง จึงสาปแช่ง(ด้วยภาษาภาพยนตร์)จงกลายเป็นปีศาจร้าย และได้มีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ประหลาด

หรืออย่างสัตว์ประหลาดที่หญิงสาวมีเพศสัมพันธ์ด้วยนั้น ผมอธิบายไปแล้วว่าไม่ได้มีนัยยะเชิงสัญลักษณ์อะไรเลย เพียงแค่สิ่งเหนือธรรมชาติที่สามารถควบคุม ครอบงำ เข้าสิง ‘possession’ (ใช้หนวด)บงการมนุษย์กระทำสิ่งชั่วร้าย สังคมไม่ให้การยินยอมรับ ผู้ชม/ผู้กำกับ Żuławski พบเห็นแล้วรู้สึกน่ารังเกียจขยะแขยง … นั่นก็คือพฤติกรรมของอดีตภรรยา Braunek คบชู้นอกใจตนเอง

ใครกันแน่สมควรถูกเรียกว่าไร้ความเป็นมนุษย์? ระหว่าง…

  • ภรรยาตัดสินใจเลิกราหย่าร้างสามี ไม่ให้เหตุผล คำอธิบายใดๆ เพียงตีตนจากไป
  • สามีผู้ตกอยู่ในสภาพหดหู่ หมดสิ้นหวัง เคยคิดสั้นฆ่าตัวตาย แล้วนำเอาประสบการณ์ครั้งนั้นมาทำเป็นภาพยนตร์ สรรค์สร้างอวตารอดีตภรรยา ให้มีความอัปลักษณ์ พฤติกรรมน่ารังเกียจ และมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ประหลาด

เพื่อสำแดงความรังเกียจภรรยา ให้เป็นงานศิลปะชั้นสูง ผกก. Żuławski จึงนำเสนอพื้นหลังยังประเทศ Germany ที่ขณะนั้นถูกแบ่งแยกออกเป็น West Germany และ East Germany ถ่ายทำยังกำแพงตั้งตระหง่านกลางกรุง Berlin นั่นไม่แตกต่างจากสามี-ภรรยา ตัดสินใจเลิกราหย่าร้าง สร้างกำแพงที่มองไม่เห็นขึ้นมาขวางกั้นระหว่างกัน … เอาจริงๆนัยยะนี้เฉิ่มมากนะครับ เพราะผกก. Żuławski หน้ามืดตามัวอยู่กับปัจจุบัน ไม่ได้มีวิสัยทัศน์ถึงอนาคต ครุ่นคิดความเป็นไปได้ว่าสักวันหนึ่งกำแพง Berlin จักพังทลายลง

นอกจากนี้เรื่องราวของหนัง ยังสามารถสะท้อนถึงการที่ผกก. Żuławski ถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้นบัญชีดำ ขับไล่ผลักไสออกนอกประเทศบ้านเกิด Poland ระหว่างสรรค์สร้างภาพยนตร์ On the Silver Globe (เริ่มโปรดักชั่นปี 1976 แต่กว่าจะถ่ายทำเสร็จ ได้นำออกฉายปี 1988) ไม่รับรู้ด้วยซ้ำว่ากระทำความผิดอะไร? นี่ก็ไม่ต่างจากสามี-ภรรยา ตัดสินใจเลิกราหย่าร้างเช่นเดียวกัน!

ยังมีนักวิจารณ์บางคงมองหนังกว้างไปกว่านั้น สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง Eastern Bloc กับสหภาพโซเวียตในช่วงทศวรรษ 80s ที่กำลังเริ่มเหินห่าง บังเกิดรอยร้าวขัดแย้ง ใกล้ถึงจุดแตกแยก/ล่มสลาย เพราะประชาชนในกลุ่มประเทศเหล่านั้นต่างเริ่มลุกฮือขึ้นมาเรียกร้องเสรีภาพ ต้องการปลดแอกจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย

รับชม Possession (1981) ทำให้ผมตระหนักถึงสันดานธาตุแท้ของผกก. Żuławski ไม่แตกต่างจาก Jean-Luc Godard คือจอมเผด็จการในครอบครัวที่ชอบบงการ ชี้นิ้วโน่นนี่นั่น หุบปากแล้วทำตามคำสั่ง เหมือนตัวละคร Helen ที่ถือเป็น ‘ideal housewife’ … จะว่าไปหญิงสาวรสนิยม’ชายเป็นใหญ่’ก็มีอยู่เยอะนะครับ แต่ในยุคสมัย Feminist ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็น Blacklist ที่โคตรอันตรายจริงๆ


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes เสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ แต่การแสดงของ Isabelle Adjani เป็นที่ถูกอกถูกใจคณะกรรมการ เลยสามารถคว้ารางวัล Best Actress และยังส่งต่อให้ปลายปีเป็นผู้ชนะ César Awards: Best Actress (หนังไม่ได้เข้าชิง César Award รางวัลอื่นเลยนะครับ)

ด้วยทุนสร้าง $2.4 ล้านเหรียญ มียอดจำหน่ายตั๋วในฝรั่งเศสเพียง 541,120 ใบ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “Heaven’s Gate (1980) แห่งทวีปยุโรป” เพราะส่วนใหญ่ถูกแบนห้ามฉาย (ประเทศอังกฤษมีคำเรียกว่า ‘video nasties’) ไม่ก็ถูกหั่นฉากโน่นนี่นั่นออกจากต้นฉบับ 124 นาที หลงเหลือความยาวตั้งแต่ 80-97-119 นาที (เปลี่ยนแปลงไปตามกองเซนเซอร์ประเทศต่างๆ)

กาลเวลาทำให้ได้รับกระแสคัลท์ (Cult Following) จากยอดจำหน่าย VHS, CD/DVD, Blu-Ray และโรงฉายหนังรอบดึก (Midnight Screen) และนักวิจารณ์ได้ประเมินความคิดเห็นต่อหนังใหม่

one of the most enigmatic and uncompromising horror movies in the history of cinema.

นักวิชาการภาพยนตร์ Bartłomiej Paszylk

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะมาแล้วสองครั้ง ซึ่งได้ทำการฟื้นฟูจากฟีล์มต้นฉบับแท้ๆ (ไม่ใช่ฉบับที่ถูกหั่นออกเมื่อเข้าฉายหลายประเทศ) ครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 2021 คุณภาพ 4K (ในโอกาสครบรอบ 40 ปี) เมื่อเข้าฉายสหรัฐอเมริกา นักวิจารณ์รุ่นใหม่ๆก็ยังคงยกย่องสรรเสริญ ทรงพลัง เหี้ยมโหดร้าย เหนือกาลเวลา

remains one of the most grueling, powerful, and overwhelmingly intense cinematic experiences that you are likely to have in your lifetime.

นักวิจารณ์ Peter Sobczynski

รับชม Possession (1981) เป็นประสบการณ์ยากยิ่งจะลืมลง หลอกหลอน สั่นสะท้านทรวงใน ทำเอาค่ำคืนนั้นผมนอนไม่หลับไปหลายชั่วโมง คุณภาพระดับมาสเตอร์พีซ แต่ส่วนตัวคงไม่มีวันหวนกลับมาดูซ้ำอย่างแน่นอน เพราะจริตของผู้กำกับ Żuławski น่าขยะแขยงยิ่งกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เสียอีก!

Possession (1981) เหมาะสำหรับคนที่ชอบหนังหลอนๆ (Horror) เชิงจิตวิทยา (Psychology) มีความอัปลักษณ์พิศดาร สัตว์ประหลาดน่าขยะแขยง, ทำงานด้านการแสดง รับชม Masterclass ของ Sam Neill และ Isabelle Adjani,

จัดเรต NC-17 กับความระห่ำ บ้าเลือด โป๊เปลือย ใช้ความรุนแรง ฆาตกรโรคจิต

คำโปรย | Possession คือความเสียสติแตกของผู้กำกับ Andrzej Żuławski จนหมดสูญสิ้นความเป็นมนุษย์
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | เดรัจฉาน

Sous le soleil de Satan (1987)


Under the Sun of Satan (1987) French : Maurice Pialat ♥♥

เมื่อประธานกรรมการเทศกาลหนังเมือง Cannes ปีนั้น Yves Montand ประกาศรางวัล Palme d’Or อย่างเป็นเอกฉันท์! ทำให้เกิดทั้งเสียงปรบมือและโห่ขับไล่ ผู้กำกับ Maurice Pialat ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์บอกว่า ‘ถ้าคุณไม่ชอบผลงานผม ผมก็ไม่ชอบขี้หน้าพวกคุณเหมือนกัน’

I shall not fail to uphold my reputation. I am particularly pleased by all the protests and whistles directed at me this evening, and if you do not like me, I can say that I do not like you either.

Maurice Pialat กล่าวตอนขึ้นรับรางวัล Palme d’Or

ถือเป็นปีที่มีความดราม่าอันดับต้นๆของเทศกาลหนังเมือง Cannes เพราะชัยชนะของ Under the Sun of Satan (1987) เกิดจากเสียงโหวตอันเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการ แต่ผู้ชม/นักวิจารณ์ส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะตัวเต็งอย่าง Repentance (1984) และ Wings of Desire (1987) โดดเด่นกว่าอย่างเห็นได้ชัด และต่างเหนือกาลเวลาด้วยกันทั้งสองเรื่องเลยนะ!

ถ้าผมเข้าร่วมเทศกาลหนังเมือง Cannes ปีนั้น เชื่อว่าก็คงเป็นหนึ่งในคนที่ส่งเสียงโห่ไล่ แต่เหตุผลน่าจะแตกต่างจากผู้ชมชาวยุโรป (ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวคริสเตียน) คล้ายๆโคตรผลงาน Ordet (1955) ของผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer เป็นภาพยนตร์แห่งศรัทธาของคริสตชน แต่ถ้าคุณนับถือศาสนาอื่น ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า ก็จักเต็มไปด้วยอคติ ครุ่นคิดเห็นต่าง สนทนาอะไรก็ไม่รู้ เสียเวลารับชมชะมัด!

ขอเหมารวมอีกสองผลงาน Diary of a Country Priest (1951) และ Mouchette (1967) ของผู้กำกับ Robert Bresson ที่ก็ดัดแปลงจากนวนิยายของ Georges Bernanos (1888-1948) นักเขียนชาวฝรั่งเศส เคยเป็นทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เลยได้พบเห็นหายนะจากสงคราม ส่งอิทธิพลต่อผลงานประพันธ์ มักสร้างโลกเต็มไปด้วยความเหี้ยมโหดร้าย แต่ท่ามกลางความท้อแท้สิ้นหวังนั้น อาจยังมีประกายแห่งแสงสว่างนำทางสู่สรวงสวรรค์ … เป็นอีกสองผลงานระดับวิจิตรศิลป์ แต่อิงศรัทธาศาสนามากเกินพอดี

เนื้อหาสาระของ Under the Sun of Satan (1987) คือการตั้งคำถามเกี่ยวกับศรัทธา(คริสต์)ศาสนา ท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยความเหี้ยมโหดร้าย ภายใต้รัศมีของซาตาน -ผู้บริสุทธิ์ถูกใส่ร้าย คนชั่วลอยนวล- เรายังสามารถพบเห็นแสงสว่างแห่งความหวัง พระเป็นเจ้านำทางสู่สรวงสวรรค์ได้หรือไม่?

เอาจริงๆเหตุผลที่ผมไม่ค่อยชอบหนังเพราะปัญหาอื่นๆมากกว่า การดำเนินเรื่องที่เชื่องช้าน่าหลับ (ระยะเวลา 93 นาที แต่รู้สึกเหมือนสามชั่วโมง), ไดเรคชั่นผู้กำกับ Pialat โดยปกติมักทำการดั้นสด ‘improvised’ มอบอิสระในการพูดคุยสนทนา แต่เรื่องราวดัดแปลงจากนวนิยายไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ นักแสดงต้องท่องจำบท ศัพท์เฉพาะทาง(ศาสนา)เยอะมากๆ ทำให้การแสดงดูแข็งๆ ภาพรวมไม่กลมกลอมสักเท่าไหร่ (เป็นครั้งแรกครั้งเดียวที่ผู้กำกับ Pialat ดัดแปลงนวนิยาย กลายมาเป็นภาพยนตร์!)


Maurice Pialat (1925-2003) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Cunlhat, Puy-de-Dôme ในครอบครัวชนชั้นแรงงาน (Working Class) บิดาเป็นช่างไม้ ขายไวน์ ขุดถ่านหิน แต่หลังจากมารดาเสียชีวิต เลยถูกส่งไปอาศัยอยู่กับย่าที่ Villeneuve-Saint-Georges, วัยเด็กมีความเพ้อฝันอยากเป็นจิตรกร เข้าศึกษายัง École Nationale Supérieure des Arts Décoratifs แต่ช่วงขณะนั้นคาบเกี่ยวสงครามโลกครั้งที่สอง เลยไม่สามารถหาหนทางประสบความสำเร็จ จึงล้มเลิกความตั้งใจ มองหางานรับจ้างทั่วๆไปที่จับต้องได้ อาทิ เซลล์แมนขายเครื่องพิมพ์ดีด, นักแสดงละครเวที, เก็บหอมรอมริดจนสามารถซื้อกล้องถ่ายทำหนังสั้น กระทั่งเข้าตาโปรดิวเซอร์ Pierre Braunberger ได้รับงบประมาณสรรค์สร้าง L’amour existe (1960) ส่งเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Venice คว้ารางวัล Prix Lumière (ของหนังสั้น)

หนังสั้น L’amour existe (1960) สร้างความประทับใจผู้กำกับ François Truffaut อาสาจัดหาทุนภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Naked Childhood (1968) จากนั้นโอกาสก็ไหลมาเทมา ติดตามด้วย We Won’t Grow Old Together (1972), The Mouth Agape (1974), Graduate First (1978), Loulou (1980), Under the Sun of Satan (1987) ** คว้ารางวัล Palme d’Or, Van Gogh (1991) ฯลฯ

ระหว่างการสรรค์สร้าง The Mouth Agape (1974) ภาพยนตร์อัตชีวประวัติผู้กำกับ Pialat นำเสนอวาระสุดท้ายของมารดา ล้มป่วยนอนซมซาน ทนทุกข์ทรมานอยู่บนเตียงจนเสียชีวิต ช่วงเวลาดังกล่าวย่อมสร้างความเจ็บปวดรวดร้าว คือจุดเริ่มต้นทำให้เขาตระหนักถึงความเหี้ยมโหดร้ายของโลกใบนี้! ซึ่งคงค้นพบความสนใจนวนิยาย Sous le soleil de Satan (1926) ผลงานชิ้นเอกของ Georges Bernanos ครุ่นคิดอยากดัดแปลงมานาน แต่ยังหาโอกาส งบประมาณ นักแสดงที่เหมาะสมไม่ได้

หลังเสร็จจาก À Nos Amours (1983) ในที่สุดผู้กำกับ Pialat ก็ตระหนักว่าถึงเวลา ค้นพบทุกสิ่งอย่างพยายามติดตามหา, Gérard Depardieu เพื่อนสนิท/นักแสดงขาประจำ สามารถเล่นเป็นอวตารของตนเอง, ส่วนเด็กสาวหน้าใส Sandrine Bonnaire เหมาะสมอย่างยิ่งกับตัวละคร Mouchette

It has stuck with me for ten years, Father Donissan, one has the impression that it was written for Depardieu . He could be surprising in there. As for Sandrine Bonnaire, although she doesn’t have that ‘skinny cat’ side, she would surely make an interesting Mouchette.

Maurice Pialat

ร่วมพัฒนาบทภาพยนตร์โดย Sylvie Danton (เกิดปี 1960) สัญชาติฝรั่งเศส วัยเด็กเพ้อฝันอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่ไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลยหันมาเอาดีด้านภาพยนตร์ เริ่มจากทำงานในกองถ่าย Le Destin de Juliette (1982), ได้รับมอบหมายให้ดูแลงานสร้างฉาก À nos amours (1982) ถูกเกี้ยวพาราสีโดยผู้กำกับ Maurice Pialat ตอบตกลงอาศัยครองคู่ มีบุตรชายร่วมกันหนึ่งคน และช่วยเหลืองานสามีอยู่บ่อยครั้ง

เกร็ด: ก่อนหน้านี้นวนิยาย Sous le soleil de Satan เคยได้รับการดัดแปลงเป็น Téléfilm เมื่อปี 1971, กำกับโดย Pierre Cardinal, นำแสดงโดย Maurice Garrel และ Catherine Salviat


บาทหลวงคาทอลิก Donissan (รับบทโดย Gérard Depardieu) ถูกส่งตัวมาฝึกงานยังชนบทห่างไกล ภายใต้การควบคุมดูแลของ Menou-Segrais (รับบทโดย Maurice Pialat) แต่หลังจากพานพบเห็นสิ่งต่างๆ รับฟังคำสารภาพบาปนับครั้งไม่ถ้วน เริ่มเกิดความโล้เล้ลังเลในอาชีพนักบวช ละเหี่ยใจกับความชั่วร้ายของโลกปัจจุบันนี้ ที่มนุษย์กระทำสิ่งต่างๆโดยไร้ซึ่งจิตสำนึก ถูก-ผิด ชอบ ชั่ว-ดี

อีกเรื่องราวที่นำเสนอเคียงคู่กันไปคือเด็กสาววัยสิบหก Mouchette (รับบทโดย Sandrine Bonnaire) บุตรของพ่อค้าเบียร์ ค่ำคืนดึกดื่นเคาะประตูหาชายคนรัก Cadignan พยายามโน้มน้าวให้เขาหนีตามไปอยู่ด้วยกัน แต่เขาตอบปฏิเสธเพราะกำลังประสบปัญหาการเงิน เช้าวันถัดมาเธอจึงแสร้งทำเป็นเล่นปืนลูกซอง แล้วจ่อยิงเข่นฆาตกรรมระยะประชิดใกล้, วันถัดมาเดินทางไปหาอีกชายคนรัก Gallet หมอหนุ่มมีภรรยาอยู่แล้ว เธอพยายามโน้มน้าวชักจูงด้วยคำกลับกลอกปอกลอก แต่ขณะกำลังสารภาพว่าตนเองเข่นฆ่า Cadignan เขากลับโต้ตอบนั่นเป็นไปไม่ได้ (เพราะตนเองเป็นผู้ชันสูตรศพ และตัดสินว่าคือการฆ่าตัวตาย)

ครั้งหนึ่ง Donissan ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปยังอีกหมู่บ้านห่างไกล ต้องเดินทางระยะทางหลายกิโลเมตร แปลกที่ค่ำคืนดึกดื่นไม่ยอมถึงปลายทางสักที นั่นเพราะซาตานพยายามลวงล่อหลอกให้เขาหลงติดกับ พอไม่สำเร็จก็สาปแช่งด่าทอ หมายหัวให้ต้องประสบเรื่องร้ายๆ เช้าวันถัดมาระหว่างเดินทางต่อพบเจอกับ Mouchette สัมผัสถึงความผิดปกติ เลยพยายามโน้มน้าวให้กลับตัวกลับใจ ยินยอมสารภาพความผิด

แต่สิ่งที่ Mouchette กระทำเมื่อหวนกลับบ้านคือกรีดคอฆ่าตัวตาย ความทราบถึง Donissan ต้องการช่วยเหลือวิญญาณของเธอให้รอดพ้นจากเงื้อมมือซาตาน จึงอุ้มพามาวางยังแท่นบูชาในโบสถ์ แต่นั่นสร้างความไม่พอใจให้ใครต่อใคร (เพราะถือว่าคือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์) เลยถูกสั่งย้ายไปยังอีกสถานที่ห่างไกล


Gérard Xavier Marcel Depardieu (เกิดปี 1948) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Châteauroux, Indre บิดาเป็นช่างตีเหล็ก ฐานะยากจน มีพี่น้องห้าคน ตัดสินใจออกจากโรงเรียนตอนอายุ 13 ปี ทำงานเป็นช่างพิมพ์ ฝีกหัดต่อยมวย ค้าขายของโจร เคยถูกส่งตัวเข้าสถานพินิจหลายครั้ง พออายุ 20 เห็นเพื่อนสนิทเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ เลยตัดสินใจละทอดทิ้งการเป็นอันธพาลข้างถนน เดินทางมุ่งสู่กรุง Paris เริ่มทำงานตัวตลกยัง Café de la Gare, จากนั้นแสดงละคร โทรทัศน์ สมทบภาพยนตร์ เริ่มมีชื่อเสียงจาก Les Valseuses (1974), ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ Maurice Pialat ประกอบด้วย Loulou (1980), Police (1985), Sous le soleil de Satan (1987), Le Garçu (1995), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ 1900 (1976), The Last Metro (1980), Cyrano de Bergerac (1990), Green Card (1991), 1492: Conquest of Paradise (1992), Hamlet (1996), Life of Pi (2012) ฯลฯ

รับบทบาทหลวง Donissan อยู่ในช่วงจิตใจสับสน ไม่แน่ใจตนเองว่าเหมาะสมต่อการเป็นนักบวชหรือเปล่า กำลังจะถูกท้าทายจากพระเป็นเจ้าให้เผชิญหน้าซาตาน หลังสามารถเอาตัวรอดโดยยังคงความเชื่อมั่นศรัทธา พยายามช่วยเหลือ Mouchette ให้รอดพ้นเงื้อมมือซาตาน และช่วยท้ายฟื้นคืพเด็กชายจากความตาย … ถึงอย่างนั้นตัวเขาที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งภายใน ท้ายที่สุดก็มิอาจธำรงชีพอยู่ ตกตายในห้องรับฟังการสารภาพบาป

เกร็ด: ผู้แต่งนวนิยาย Georges Bernanos สรรค์สร้างตัวละคร Donissan โดยได้แรงบันดาลใจจากนักบุญ John Vianney (1786-1859) หรือที่รู้จักในชื่อ Curé d’Ars ผู้อุทิศตัวให้ภารกิจบาทหลวงที่เมือง Ars, France แต่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการให้คำปรึกษาผู้มาสารภาพบาป บางคนถึงขนาดสามารถปรับเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเอง เฉพาะปี 1855 มีประชาชนเดินทางมาขอสารภาพบาปกว่า 20,000+ คน! (เฉลี่ยวันละ 55+ คน)

ไม่ผิดอะไรจะบอกว่า Depardieu คือตัวตายตัวแทน/อวตารของผู้กำกับ Pialat ตั้งแต่รับรู้จักก็กลายเป็นเพื่อนสนิทสนม ซึ่งเราสามารถมองตัวละครนี้ Donissan = Depardieu = ผู้กำกับ Pialat เต็มไปด้วยความสับสนในศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า

สีหน้าสายตาของ Depardieu เต็มไปด้วยความท้อแท้สิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยาก พยายามอดอาหาร ทรมานตนเอง เดินไม่กี่ก้าวก็เหมือนจะล้มครืน ช่างดูอ่อนแอเปราะบาง ผิดกับหุ่นที่เริ่มอวบๆ (เหมือนอัดแน่นด้วยความหมกมุ่นยึดติด) เหล่านี้เพื่อสะท้อนความสับสน ว้าวุ่นวายใจ ไม่รู้จะครุ่นคิดดำเนินชีวิตต่อไปเช่นไร แม้การเผชิญหน้าซาตานจะทำให้เขามีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อพระเป็นเจ้ามากขึ้น แต่ปฏิกิริยาโต้ตอบกลับของคริสตจักรและประชาชน กลับยิ่งทำให้อับจนหนทาง

“ถ้าชีวิตฉันยังมีคุณค่าหลงเหลือ ก็ขอพระเป็นเจ้าช่วยให้รอดชีวิต” แต่ท้ายที่สุดแล้วตัวละครนี้กลับนอนตายอยู่ในห้องสารภาพบาป มองมุมหนึ่งเหมือนขยะที่ใช้แล้วทิ้ง ถูกซาตานฉุดคร่าลงขุมนรก ขณะเดียวกันสามารถมองว่าพระเจ้านำพาเขาสู่สรวงสวรรค์ ให้ไม่ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งชั่วร้ายในโลกใบนี้นี้อีกต่อไป


Sandrine Bonnaire (เกิดปี 1967) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Gannat, Allier ในครอบครัวชนชั้นทำงาน (Working Class) มีพี่น้อง 11 คน, เมื่ออายุ 16 ปี เข้าตาผู้กำกับ Maurice Pialat ได้รับเลือกแสดงนำ À nos amours (1983) แจ้งเกิดคว้ารางวัล César Award: Most Promising Actress, สองปีถัดมาโด่งดังระดับนานาชาติกับ Sans toit ni loi (1985), ตามด้วย Under the Sun of Satan (1987), Monsieur Hire (1989), La Cérémonie (1995), East/West (1999), The Final Lesson (2015) ฯ

รับบท Mouchette เด็กสาววัยสิบหก ชอบพูดโกหกพกลม นิสัยกลับกลอกปอกลอก สานสัมพันธ์บุรุษไม่เว้นหน้า แอบอ้างว่าตนเองตั้งครรภ์ แต่สนเพียงเติมเต็มตัณหาราคะ ความต้องการส่วนบุคคลเท่านั้น ซึ่งเมื่อใครทำอะไรไม่พึงพอใจ ก็พร้อมโต้ตอบเอาคืนอย่างสาสมควร

ปล. ผมเองเมื่อได้ยินชื่อตัวละคร Mouchette ก็ชวนให้นึกถึงภาพยนตร์ Mouchette (1967) ของผู้กำกับ Robert Bresson ที่ก็ดัดแปลงจากนวนิยายของ Georges Bernanos แต่พวกเธอไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไร อุปนิสัยก็แตกต่างตรงกันข้าม ยกเว้นตอนจบต่างลงเอยด้วยการกระทำอัตวินิบาต

หลังร่วมงาน À nos amours (1983) ผู้กำกับ Pialat มีความประทับใจในความบริสุทธิ์-แรดร่านของ Bonnaire ใกล้เคียงที่สุดสำหรับตัวละคร Mouchette … สมัยก่อนถือเป็นอีกบทบาทต้องห้าม เพราะกระทำสิ่งขัดต่อหลักศีลธรรม(ศาสนา)ทั้งๆอายุยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่หลังจากการปฏิวัติทางสังคม Mai ’68 แนวคิดของคนรุ่นใหม่ก็เปิดกว้าง เสรีทางเพศมากขึ้น

Sous le soleil de Satan was the most unique as we weren’t allowed to improvise, at least with regard to the text.

Sandrine Bonnaire

แม้ส่วนตัวจะยังประทับใจ Bonnaire จากเรื่อง À nos amours (1983) แต่ก็ต้องยอมรับว่าบทบาท Mouchette ทำให้เธอกลายเป็นนักแสดงระดับยอดฝีมือ ด้วยลีลาคำพูด-อารมณ์ที่ผันแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา กลับกลอกปลอกลอกแทบจะทุกประโยคสนทนา ชวนให้ผมนึกถึง Jeanne Moreau ตอนยังสาวๆสวยๆเล่นหนัง Jules et Jim (1962) ก็กวัดแกว่งเดี๋ยว Jules เดี๋ยว Jim ไม่ต่างกันสักเท่าไหร่

ฉากที่ทำให้ผมช็อคสุดๆไม่ใช่ตอนกรีดคอฆ่าตัวตาย แต่ขณะกรีดร้องลั่นหลังจากชู้รักคนที่สอง Gallet หมอหนุ่มไม่ยินยอมเชื่อว่าเธอเข่นฆาตกรรม Cadignan (เพราะตนเองเป็นชันศพ และให้ข้อสรุปว่าคือการฆ่าตัวตาย) เป็นเพียงการละเมอ เพ้อฝัน สับสนในตนเอง พยายามสร้างความสับสนให้ผู้ชมด้วยว่าหนังมีการทำอะไรกับฉากนั้นหรือเปล่า? … แต่เชื่อเถอะว่าฉากนี้ต้องการสะท้อนความกลับตารปัตรของโลก เหมือนคำทำนายของพระพุทธเจ้าเมื่อถึงกึ่งพุทธกาล อีแร้งกาที่ควรต่ำต้อยด้อยค่า ได้(กลับ)กลายเป็นผู้สูงส่งให้ราชสีมาต้องก้มศีรษะ


ถ่ายภาพโดย Willy Kurant (1934-2021) เกิดที่ Liège, Belgium บิดา-มารดาเป็นผู้อพยพชาว Polish เชื้อสาย Jewish, วัยเด็กชื่นชอบอ่านนิตยสาร Cinematographer เริ่มจากทำงานเป็นช่างภาพนิ่ง จากนั้นได้ถ่ายทำสารคดี มีโอกาสฝึกงานที่ Pinewood Studios แล้วมาแจ้งเกิดภาพยนตร์ Masculin Feminin (1966), The Creatures (1966), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Immortal Story (1968), Under the Sun of Satan (1987) ฯ

แซว: เดิมนั้น Kurant เป็นตากล้อง À Nos Amours (1983) แต่ถูกไล่ออกหลังถ่ายทำได้สองสัปดาห์ ไม่รู้ทำไมผู้กำกับ Pialat ถึงหวนกลับมาร่วมงานกันอีกครั้ง??

อาจเพราะความถนัดของ Kurant คือการถ่ายภาพขาว-ดำ (เรียกสองผลงานแจ้งเกิด Masculin Feminin และ The Creatures ว่าคือ ‘signature’ ของตนเอง) จึงไม่ค่อยเหมาะ À Nos Amours (1983) ที่เต็มไปด้วยความสว่างสดใส ผิดกับ Under the Sun of Satan (1987) ที่มักปกคลุมด้วยความมืดมิด ภายใต้รัศมีของซาตาน

เกร็ด: โดยปกติแล้วซาตานคือสัญลักษณ์ของความมืดมิด การใช้ชื่อ Under the Sun of Satan เพื่อสื่อถึงวิถีกลับตารปัตรตรงกันข้ามจากที่ควรเป็น แต่หนังก็ถ่ายทำฉากสำคัญๆตอนกลางคืนเป็นส่วนใหญ่

สถานที่ถ่ายทำหลักๆของหนังคือ Montreuil-sur-mer และ Fressin ต่างอยู่ในจังหวัด Pas-de-Calais ทางตอนเหนือสุดของฝรั่งเศส ติดกับช่องแคบโดเวอร์ (Strait of Dover) ในช่องแคบอังกฤษ (English Channel)


ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ในช่วงยุคกลาง (Middle Ages) เมื่อบุคคลหนึ่งตัดสินใจเข้าสู่สมณเพศและถือพรหมจรรย์ จะถูกโกนผมตรงกลางกระหม่อมออกหย่อมหนึ่ง เรียกว่าการปลงผม จุดประสงค์เพื่อสำหรับสวมใส่หมวก Zucchetto ซึ่งเป็นแบบแนบพอดีศีรษะ ใช้สำหรับแบ่งแยกสมณศักดิ์ผู้สวมใส่ ซึ่งจักสามารถปกคลุมบริเวณที่ถูกโกนออกไปพอดิบดี … เห็นกว่าการปลงผมดังกล่าวถูกยกเลิกไปภายหลังการประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง (ค.ศ. 1962-65)

ขณะที่พุทธศาสนาใช้การโกนศีรษะสำหรับบวช (พระ เณร ชี) คือสัญลักษณ์ของการปล่อยละวางความยึดติดในสังขาร ส่วนคริสเตียนโกนเพียงหย่อมเดียวเพื่อสำแดงสมณศักดิ์ แบ่งแยกระดับชนชั้นบาทหลวงผู้สวมใส่หมวก Zucchetto

การสนทนาระหว่าง Donissan และ Menou-Segrais จะมีรูปแบบแผน ‘formalism’ ในการนำเสนออย่างชัดเจน สามารถแบ่งออกเป็นสองช่วงขณะ เมื่อต่างคนต่างมีความคิดเห็น(ส่วนบุคคล)ที่ไม่ตรงกัน พวกเขามักอยู่ภายในเฟรมของตนเอง

  • Menou-Segrais ยืนอยู่บริเวณหน้าต่าง ข้างๆมีโคมไฟ กระจก นาฬิกา และรูปปั้นพระแม่มารีย์ ล้วนสื่อถึงความเชื่อศรัทธาที่มั่นคงต่อพระเป็นเจ้า
  • Donissan ยืนอยู่ตรงประตู มีเพียงรูปปั้นหญิงสาวชาวบ้าน แทนถึงสามัญชน คนธรรมดาๆทั่วไป ที่ยังต้องการคำชี้แนะนำในเรื่องความเชื่อศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า

เมื่อไหร่ที่ตัวละครอยู่ร่วมเฟรมเดียวกัน โดยปกติมักแสดงถึงความสนิทชิดเชื้อ ย่นย่อระยะห่างความสัมพันธ์ ซึ่งถ้ามองสถานะระหว่างพวกเขา อาจารย์/ผู้ดูแล-ลูกศิษย์ สามารถสื่อถึงการเสี้ยมสอน ให้คำแนะนำ

  • คนหนึ่งยืน-อีกคนนั่ง มีระดับสูง-ต่ำ คือการเสี้ยมสั่งสอน ในสถานะอาจารย์/ผู้ดูแล ให้คำแนะนำกับลูกศิษย์
  • เมื่อนั่งลงระดับศีรษะเดียวกัน แสดงถึงความเสมอเท่าเทียม คือคำแนะนำในสถานะเพื่อนมนุษย์ คนรู้จักกัน

ถึงได้รับคำแนะนำจาก Menou-Segrais ก็ไม่ได้ทำให้ Donissan คลายความสับสนในตนเอง เพียงเก็บคัมภีร์ไบเบิลที่เคยโยนทิ้งลงพื้น (สัญลักษณ์ของการทอดทิ้งพระเป็นเจ้า) แล้วลงทัณฑ์ตนเองให้ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน

เกร็ด: จุดประสงค์หลักๆของทุกรกิริยา ถูกมองเป็นวิธีการทางวินัยและการสักการะบูชา รูปแบบของการปลงอาบัติ เพื่อให้ผู้กระทำความผิดมีส่วนร่วมในความทุกข์ทรมานของพระเยซู โดยที่นิยมกันจะมีสวมเสื้อคลุมผม/ขนสัตว์ (Hairshirt) อดอาหาร และลงแส้แมวเก้าหาง

การลงแส้ของ Donissan สังเกตกล้องถ่ายมุมเงย ทุกครั้งที่เฆี่ยนตียังต้องแหงนศีรษะขึ้นฟ้า แสดงอาการเจ็บปวดและเป็นสุข (ที่ได้รับรู้ความทุกข์ทรมานของพระเยซู) และขณะกำลังแต่งตัวหลังเสร็จจากทุกรกิริยา เดินผ่านกระจกเงา พบเห็นการจัดแสง-เงาที่น่าทึ่งไม่น้อย

  • มองที่ตัวละคร จะเห็นใบหน้าปกคลุมด้วยความมืดมิด
  • แต่ถ้ามองในกระจก กลับเห็นแสงสว่างสาดส่องบนใบหน้า

นัยยะของช็อตนี้สามารถสื่อถึง(โลก)ภายนอกอันมืดมิด แต่จิตใจ(ภาพสะท้อนในกระจก)กลับสดใสสว่าง หลังการบำเพ็ญทุกรกิริยา … ถึงอย่างนั้นอาการสับสนของ Donissan ต่อวิถีโลกใบนี้ก็ยังไม่ได้จางหายไปนะครับ

เรื่องราวทางฝั่ง Mouchette ก็จักมีรูปแบบแผนในการนำเสนอที่ตารปัตรตรงกันข้ามกับ Donissan ในช่วงแรกๆระหว่างเธอกับหนุ่มๆทั้งสอง สังเกตว่าแทบจะตัวติดกัน มักอยู่ร่วมเฟรมโดยตลอด แต่เป็นฝั่งหญิงสาวพยายามเกี้ยวพาราสี ชักชวนให้ร่วมรักหลับนอน เติมเต็มตอบสนองตัณหา ความต้องการของหัวใจ

สำหรับหนุ่มๆทั้งสองก็มีความแตกต่างตรงกันข้าม

  • Cadignan คือทายาทของขุนนาง (marquis) ตระกูลพ่อค้า แต่กำลังประสบปัญหาขาดทุน ในอพาร์ทเม้นท์จึงเต็มไปด้วยสิ่งข้าวของที่เตรียมจะขายทิ้ง ยศฐาบรรดาศักดิ์เคยมีมากำลังสูญสิ้น
    • ความตายของ Cadignan ยังแฝงนัยยะถึงการล่มสลายของระบอบขุนนาง ราชาธิปไตย
  • Gallet คือหมอผู้มีความรู้ เชี่ยวชำนาญ ฐานะมั่นคง มั่งคั่ง แม้แต่งงานมีภรรยา แต่ก็ยังลุ่มหลงในมารยาของ Mouchette สนเพียงข้อเท็จจริง สิ่งพิสูจน์ด้วยตาเห็น ไม่เชื่อเรื่องสวรรค์-นรก การมีตัวตนของพระเป็นเจ้า
    • ตัวละครนี้สะท้อนถึงวิถีของโลกที่มนุษย์จะเชื่อในวิทยาศาสตร์ สิ่งสามารถพิสูจน์จับต้องได้ ซึ่งจะทำให้ความเชื่อศรัทธาศาสนาค่อยๆลดค่าความสำคัญลงไป

เช้าวันถัดมาหลังเสร็จกามกิจ Mouchette วางผลแอปเปิ้ลที่กัดแทะ (จากสวนอีเดน) แล้วหยิบปืนลูกซองขึ้นมาพิจารณา กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนไปหา Cadignan กำลังแต่งตัวอยู่อีกห้องหับ พูดบอกให้เธอวางอาวุธลง แต่ขณะเดินตรงเข้าหาได้ยินเสียงดัง ปัง!

การที่ผู้ชมไม่ได้พบเห็นเหตุการณ์เพราะถูกประตูบดบัง เลยมักคาดเดาว่าอาจเป็นฝืมือของ Mouchette เข่นฆาตกรรมชายคนรัก แต่หนังก็สร้างความเป็นไปได้ว่าอาจพลั้งพลาด ปืนลั่น! เพราะท่าจับที่เปลี่ยนแปลงไป และหญิงสาวร่ำร้องไห้ออกมาอย่างเสียสติ … มอบอิสระให้ผู้ชมครุ่นคิดทำความเข้าใจใน’มุมมอง’ของตนเอง

ช่วงท้ายระหว่าง Mouchette กับ Gallet จากเคยตัวติดกันตั้งแต่แรกพบเจอ ก็ถึงเวลา ‘น้ำแตกแยกทาง’ ต่างย้ายไปนั่งอยู่ในเฟรมของตนเองแล้วตัดสลับไปมา (กลับตารปัตรจาก Donissan กับ Menou-Segrais ที่เริ่มด้วยทั้งสองต่างแยกกันอยู่ แล้วค่อยมาอยู่ร่วมเฟรมกันช่างท้าย)

Gallet รับฟังเรื่องเล่าของ Mouchette มีลักษณะคล้ายแพทย์-ผู้ป่วย ซึ่งเขาก็ทำการวินิจฉัยเรื่องราวดังกล่าว แสดงความคิดเห็น และมอบข้อสรุปที่ทำให้หญิงสาวกรีดร้องลั่น! ตกลงแล้วมันจริงหรือไม่จริง ก็ขึ้นอยู่กับ’มุมมอง’ของผู้ชมอีกเช่นกัน!

Donissan ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปทำกิจของบาทหลวงยังชนบทห่างไกล แต่ต้องเดินทางพานผ่านท้องทุ่งเขียวขจี ไร้ซึ่งบ้านเรือน ผู้คน ถนนหนทางยังไม่มี เพียงความเวิ้งว่างเปล่า ราวกับสถานที่แห่งนี้ถูกพระเจ้าทอดทิ้ง กำลังก้าวสู่ขุมนรก อาณาจักรอันไพศาลของซาตาน

พอค่ำคืนย่างกรายมาถึง เฉดภาพก็เปลี่ยนเป็นโทนสีน้ำเงิน (ดูแล้วน่าจะถ่ายตอนกลางวัน แล้วใช้ฟิลเลอร์ ไม่ก็ ‘Day for Night’) แล้วใครก็ไม่รู้เดินติดตาม ปรากฎด้านหลัง Donissan เข้ามาพูดคุย แนะนำ ให้ความช่วยเหลือนำทาง หยุดพักผ่อน ก่อนเปิดเผยความจริงว่าฉันคือใคร?

เมื่อร่างกายของ Donissan มีความอ่อนแอที่สุด ทิ้งตัวลงนอนกับพื้น รอบข้างล้วนปกคลุมด้วยความมืดมิด ซาตานพูดคำหยอกเย้ายวน แถมยังจุมพิต (sexual harassment) พยายามโน้มน้าวให้เขาละทอดทิ้งความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้า แต่จนแล้วจนรอดก็ทำไม่สำเร็จ เลยถูกหมายหัวให้ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ร้ายๆ(ที่จักบังเกิดขึ้นต่อไป)

ภายหลังปฏิเสธซาตาน Donissan ฟื้นตื่นขึ้นยามเช้า แต่สังเกตว่าภาพยังคงมีโทนสีน้ำเงิน (เหมือนมันคือสัญลักษณ์ของเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ) และชายแปลกหน้าคนนี้เข้ามาให้ความช่วยเหลือ อาสานำทางไปจนเกือบถึงจุดหมาย โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ชวนให้ผมครุ่นคิดว่าเขาอาจคืออวตารของพระเป็นเจ้า!

ผมมองว่าตลอดทั้งซีเควนซ์นี้ เราสามารถตีความในเชิงนามธรรมถึงบททดสอบความเชื่อมั่นศรัทธา นั่นเพราะพระเป็นเจ้าอยู่ทุกแห่งหน เมื่อ Donissan ทำลายความหวังของซาตาน พระองค์จึงลงมานำทางให้หวนกลับสู่วิถีของโลกมนุษย์

Donissan พบเจอกับ Mouchette ท่ามกลางเศษซากปรักพัก (สามารถสื่อถึงอาณาจักรของพระเป็นเจ้าที่ล่มสลาย) สังเกตว่าทั้งสองมีความแตกต่างขั้วตรงข้าม เหมือนการเผชิญหน้าระหว่างตัวแทนของพระเจ้า vs. ซาตาน

  • หญิงสาวสวมชุดสีสว่าง กำลังพ่นคำโป้ปด ล่อลวง โดยไม่สนว่าอีกฝ่ายคือบาทหลวง (ที่เคยให้ศีลมหาสนิทเมื่อตอนต้นเรื่อง) ตัวเธอสูญเสียแฟนหนุ่มทั้งสอง ภายในหลงเหลือเพียงความว่างเปล่า
  • บาทหลวงสวมชุดสีเข้ม บอกว่ายังพบเห็นความบริสุทธิ์ที่อยู่ภายในหญิงสาว ต้องการให้ความช่วยเหลือเธอกลับสู่วิถีความรอด แต่จิตใจของเขากลับเต็มไปด้วยสับสน เรรวนปรวนแปร ใกล้สูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า

ต่างฝ่ายต่างพยายามพูดโน้มน้าวกันและกัน ก้าวเดินจากสถานที่ปรักหักพังออกมายังท้องทุ่งกว้าง คาดหวังว่าอีกฝั่งฝ่ายจะสามารถปรับเปลี่ยนแปลง เปิดเผยธาตุแท้จริงของตนเองออกมา

ทำไม Mouchette ถึงกระทำอัตวินิบาต? เพราะได้รับคำชี้นำจาก Donissan รู้สึกสาสำนึกผิด รับไม่ได้กับพฤติกรรมของตนเอง? หรือเพราะถูกซาตานเข้าสิง ต้องการทำลายชื่อเสียงของ Donissan เลยกระทำสิ่งที่พระเป็นเจ้าไม่สามารถยินยอมให้อภัย?

ในศาสนาคริสต์ เท่าที่ผมหาข้อมูลค้นพบว่า การกระทำอัตวินิบาตไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าคนๆนั้นจะได้ขึ้นสวรรค์หรือลงนรก ถ้าเชื่อในพระคริสต์อย่างแท้จริงก็จักอยู่รอดปลอดภัยชั่วนิรันดร์ แต่หากมีความโล้เล้ลังเลใจ ยังไม่ได้รับความรอด การฆ่าตัวตายคือการเร่งให้ไปสู่บึงไฟนรกเร็วขึ้น

reference: https://www.gotquestions.org/Thai/Thai-suicide-Bible.html

ฉากการฟื้นคืนชีพของเด็กชาย แวบแรกผมครุ่นคิดถึงโคตรภาพยนตร์ Ordet (1955) ของผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer แต่พออ่านความคิดเห็นของนักวิจารณ์หลายๆสำนัก ถึงค้นพบการโต้ถกเถียงเหตุการณ์นี้เป็นอิทธิฤทธิ์ของใคร พระเจ้าหรือซาตาน? นี่เป็นการสร้างความคลุมเครือที่ทรงพลังมากๆ ท้าทายความเชื่อศรัทธาของผู้ชมชาวคริสเตียนอย่างชัดเจน

  • ถ้าคุณเชื่อว่าคืออิทธิฤทธิ์ของพระเป็นเจ้า นี่จักคือแสงสว่างแห่งศรัทธาของ Donissan
  • แต่ถ้ามองว่าคืออิทธิฤทธิ์ของซาตาน ก็เพื่อทำให้ Donissan ตกอยู่ในความหมดสิ้นหวัง สูญสิ้นศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า

ปฏิกิริยาของ Donissan หลังเด็กชายฟื้นคืนชีพ คือเต็มไปด้วยความสับสน ขัดแย้งภายในตนเอง (เพราะไม่รู้ว่าพระเจ้าหรือซาตานที่ฟื้นคืนชีพเด็กชายคนนี้) เดินถอยหลังพิงผนังกำแพง ร่างกายปกคลุมด้วยความมืดมิด เพียงใบหน้าที่ยังอาบฉาบแสงสว่าง สามารถตีความได้ทั้งแสงสว่างจากพระเป็นเจ้า หรือศรัทธาอันน้อยนิดที่ยังหลงเหลืออยู่

การเสียชีวิตในห้องสารภาพบาปของบาทหลวง Donissan แม้รอบข้างปกคลุมด้วยความมืดมิด แต่กลับมีแสงสว่างสาดส่องลงบนใบหน้า คนส่วนใหญ่มักตีความว่าเขาถูก(พระเจ้า)ทอดทิ้งให้ตกตาย แต่ขณะเดียวกันเรายังสามารถมองว่าพระเป็นเจ้าทรงนำพาวิญญาณ(ของ Donissan)ออกไปจากขุมนรกแห่งนี้ได้เช่นกัน … แต่ก็สร้างความหลอกหลอน ขนลุกขนพอง ราวกับรัศมีของซาตานสาดส่องลงมามากกว่า

ตัดต่อโดย Yann Dedet (เกิดปี 1946) สัญชาติฝรั่งเศส เริ่มจากเป็นผู้ช่วยตัดต่อ The Bride Wore Black (1968), แล้วกลายเป็นขาประจำ François Truffaut ตั้งแต่ Two English Girls (1971), ส่วนผู้กำกับ Maurice Pialat เริ่มที่ผลงาน Loulou (1980) จนถึง Van Gogh (1991)

เกร็ด: Dedet ยังมาร่วมรับเชิญ (Cameo) แสดงเป็น Gallet หมอหนุ่ม/คนรักที่สองของ Mouchette

หนังดำเนินเรื่องคู่ขนานระหว่างบาทหลวง Donissan ตั้งแต่เริ่มเกิดอาการสับสนในความเชื่อศรัทธา จากนั้นตัดสลับไปหา Mouchette เด็กสาวแสดงพฤติกรรมโฉดชั่วร้ายต่างๆนานา จนเมื่อทั้งสองได้พบเจอหน้าก็ราวกับ พระเจ้า vs. ซาตาน ฝ่ายหนึ่งต้องการให้ความช่วยเหลือพากลับขึ้นมา แต่อีกฝั่งต้องการฉุดคร่าให้ตกลงสู่ขุมนรก

  • ความสับสนในศรัทธาของ Donissan
    • Donissan สารภาพต่อบาทหลวงผู้แล Menou-Segrais ถึงความสันสนในศรัทธาของตนเอง
  • พฤติกรรมโฉดชั่วร้ายของ Mouchette
    • Mouchette กับชายคนแรก Cadignan
    • Mouchette กับชู้รักคนที่สอง Gallet
  • การเผชิญหน้าระหว่าง Donissan vs. Mouchett (และซาตาน)
    • Donissan ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปชนบทห่างไกล แต่ค่ำคืนดึกดื่นก็ไม่ถึงเป้าหมายสักที นั่นเพราะถูกลวงล่อหลอกโดยซาตาน
    • เช้าวันถัดมา Donissan พบพานเจอ Mouchett ตระหนักถึงสิ่งชั่วร้ายที่เธอกระทำ เลยพยายามโน้มน้าวให้กลับใจ
    • แต่ Mouchett กลับตัดสินใจปาดคอฆ่าตัวตาย ทำลายความเชื่อมั่นศรัทธาของ Donissan
  • ฉันเกิดมาเพื่ออะไร?
    • Donissan ถูกส่งไปยังอีกชนบทห่างไกล กลายเป็นบาทหลวงที่ใครๆให้ความเคารพนับถือ สามารถฟื้นคืนชีพเด็กชายจากความตาย
    • Donissan ในสภาพหมดสิ้นหวัง อธิษฐานขอพรพระเป็นเจ้า แต่กลับพบเจอเสียชีวิตในห้องสารภาพบาป

ด้วยความยาว 93 นาที แต่ผมกลับรู้สึกเหมือนกำลังรับชมหนังสามชั่วโมง (The Mother and the Whore (1973) ดูสั้นลงทันตาเห็น!) ตัวละครพูดคุยสนทนาอะไรกันก็ไม่รู้ (ที่ผมฟังไม่ค่อยเข้าใจ เพราะมีศัพท์ศาสนาค่อนข้างเยอะ) กว่าจะมีเหตุการณ์อะไรสักอย่างเกิดขึ้น สัปหงกแล้วสัปหงกอีก … ไดเรคชั่นของผู้กำกับ Pialat เหมือนพยายามทำให้ผู้ชมต้องอดรนทนดำเนินทางผ่านขุมนรก ถึงมีแนวโน้มพบเจอแสงสว่าง/สรวงสวรรค์ที่ปลายอุโมงค์เสมอๆ


เพลงประกอบหนึ่งเดียวที่ดังขึ้นซ้ำๆอยู่ 3-4 ครั้ง คือ Symphony No. 1 (1951) ประพันธ์โดย Henri Dutilleux (1916-2013) คีตกวีสัญชาติฝรั่งเศส มีทั้งหมด 4 Movement แต่จะได้ยินในหนังเฉพาะ 3. Intermezzo ซึ่งมีความลุ่มลึกล้ำที่สุด(ในทั้งสี่ท่อน)

ผมนำทั้ง Symphony เพราะอยากให้เห็นถึงความลุ่มลึกล้ำของบทเพลงนี้ เต็มไปด้วยบรรยากาศทะมึน อึมครึม แม้สองท่อนแรก Passacaille (0:00) และ Scherzo molto vivace (07:07) จะพอมีเครื่องดนตรีที่มอบท่วงทำนองสนุกสนาน ครึกครื้นเครงอยู่บ้าง แต่เหมือนบางสิ่งอย่างถูกปกปิด ซุกซ่อนเร้นไว้ ก่อนได้รับการเปิดเผยออกมาเมื่อถึงท่อน Intermezzo (13:11) ค่อยๆไล่ระดับความเป็นจริงอันเหี้ยมโหดร้ายของโลกใบนี้ และท่อนสุดท้าย Finale con variazioni (19:07) คือการเผชิญหน้าต่อสู้ เต็มไปด้วยคลุ้มบ้าคลั่ง แต่สุดท้ายกลับลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ ไม่สามารถต่อกรสิ่งชั่วร้ายใดๆทั้งปวง

นั่นน่าจะคือเหตุผลที่ผู้กำกับ Pilat จงใจเลือกบทเพลงนี้ ไม่ใช่แค่ท่วงทำนองของ Intermezzo ที่สร้างบรรยากาศหมองหม่น (สามารถเทียบแทนสภาวะอารมณ์ตัวละคร Donissan) แต่นัยยะทั้ง Symphony สะท้อนวิถีของโลกที่ตกอยู่ภายใต้รัศมีซาตาน เต็มไปด้วยความจอมปลอม หลอกลวง ไม่มีทางที่มนุษย์จักต่อสู้เอาชนะสิ่งชั่วร้ายนี้ไปได้

เรื่องราวของ Under the Sun of Satan นำเสนอ ‘มุมมอง’ วิถีแห่งโลก (ต้องนับตั้งแต่ Georges Bernanos เขียนนวนิยายเล่มนี้เมื่อปี ค.ศ. 1926) พบเห็นสิ่งต่างๆกำลังพลิกกลับตารปัตร จิตสามัญสำนึกมนุษย์ได้ปรับเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริสุทธิ์ถูกใส่ร้ายป้ายสี ขณะที่คนทำชั่วได้ดิบได้ดี โลกใบนี้ถูกซาตานเข้ายึดครอบครองแทนพระเป็นเจ้าแล้วหรือไร?

คนที่จะมองโลกแง่ร้ายขนาดนั้น ล้วนต้องพานผ่านเหตุการณ์สั่นสะเทือนหัวใจ ในกรณีผู้แต่งนวนิยาย Bernanos คือเคยเป็นทหารเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้รับบาดเจ็บทั้งร่างกาย และอาการ ‘Shell Shock’ ทางจิตใจ จึงมักสรรค์สร้างผลงานที่มีคำเรียกว่า Defeatism, ส่วนผู้กำกับ Pialat ตั้งแต่เด็กเมื่อครั้นสูญเสียมารดา แล้วถูกบิดาทอดทิ้งไม่เหลือเยื่อใย พอเติบใหญ่ก็พานผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง คือสิ่งหล่อหลอมให้เขาพยายามสรรค์สร้างภาพยนตร์แนวสมจริง (Realist) ว่าไปก็ตั้งแต่ทำหนังสั้น/สารคดี L’amour existe (1960) บันทึกวิถีชีวิต สภาพสังคม ชุมชนเมือง ‘City Symphony’ พบเห็นการเปลี่ยนแปลงของฝรั่งเศส (หลังสงครามโลกครั้งที่สอง) ดูไม่น่าอภิรมณ์สักเท่าไหร่

น่าเสียดายที่ผมยังไม่สามารถหารับชม The Mouth Agape (1974) ภาพยนตร์อัตชีวประวัติของผู้กำกับ Pialat นำเสนอวาระสุดท้ายของมารดา ล้มป่วยนอนซมซาน ทนทุกข์ทรมานอยู่บนเตียงจนเสียชีวิต ขณะที่ครอบครัวญาติมิตร กลับแสดงพฤติกรรม … นั่นน่าจะคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขามองเห็นสันดานธาตุแท้ผู้คน เข้าใจวิถีทางสังคม และกฎการเอาตัวรอดบนโลกใบนี้ ที่มีความเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย

At Cannes, I said I was an atheist, which makes no sense. The word ‘atheist’ means nothing to me. You can’t be against something you don’t believe in. No, although I’d been into religion up to 14, and had dabbled in and out of it afterwards. For young people, the patronages had two attractions: first, that’s where you went to have fun; second, you could put on amateur theatre. So I stayed close to all that till I was 19. So I mean… If you believe what psychoanalysis has to say, that these are the years that leave the biggest impression on you… Later on, there was rebellion. There’s no-one better than those in the know, for figuring out where you went wrong. I basked in the aforementioned spirituality, but it didn’t mean anything.

Maurice Pialat

ผู้กำกับ Pialat เคย(แสร้งว่า)มีความเชื่อในศาสนาตอนอายุ 14 แต่จุดประสงค์แท้จริงเพื่อเข้าร่วมชมรมการแสดง สนุกสนานกับเพื่อนๆเท่านั้น ซึ่งพอถึงอายุ 19 ก็ไม่มีความจำเป็นต้องฝืนทำอีกต่อไป ถึงอย่างนั้นช่วงเวลาดังกล่าวก็มีโอกาสเรียนรู้จักอะไรๆเกี่ยวกับพระเจ้า-ซาตาน … แต่ก็ไม่เกิดศรัทธาขึ้นประการใด

ในมุมกลับตารปัตร ผู้กำกับ Pialat มองว่าโลกยุคสมัยนั้น การมีอยู่ของซาตานยังฟังดูน่าเชื่อถือมากกว่า(พระเป็นเจ้า) ดำเนินเดินเคียงข้างมนุษย์ คอยหยอกล้อเล่น แถมยัง sexual harassment เสียด้วยนะ! แต่นั่นไม่ได้แปลว่าเราถูกควบคุมครอบงำ (จากทั้งพระเจ้าหรือซาตาน) ทุกสิ่งอย่างล้วนยังขึ้นอยู่กับตัวเราเองครุ่นคิด-กระทำ

แต่เพราะมนุษย์มักตัดสินใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เอาตัวรอดปลอดภัย ตอบสนองความพึงพอใจ สร้างความสุขให้กับตนเอง ซึ่งมักได้รับอิทธิพลจากเพื่อนฝูง ครอบครัว สังคมรอบข้าง วิถีทางโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยไม่ใคร่สนใจสิ่งถูก-ผิด ดี-ชั่ว ศีลธรรม มโนธรรม ศาสนาราวกับเชือกที่ผูกมัดรัดตัว ทำไมต้องอดทน ทำไมต้องฝืนกลั้น อนาคต/หลังความตายเป็นยังไงช่างหัวมัน ปัจจุบันขอแค่ฉันได้กระทำตามใจสมหวัง ก็เหลือเฟือเพียงพอแล้วละ

ไม่มีทางที่มนุษย์จะต่อต้านทานวิถีทางโลกที่ปรับเปลี่ยนแปลงไป! นั่นคือมุมมองของผู้กำกับ Pialat ที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของศาสนา(คริสต์) เอาแต่เสี้ยมสอนให้มีความเชื่อมั่นต่อพระเป็นเจ้า แต่ถ้าเราสูญเสียศรัทธานั้นไป เผชิญหน้ากับซาตาน อาศัยอยู่บนโลกที่ราวกับขุมนรก ปัจจุบันยังแทบเอาตัวไม่รอด ทำอย่างไรถึงมีโอกาสกลับสู่สรวงสวรรค์?

อีกสิ่งหนึ่งที่หนังชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถามคือการสารภาพบาป กลายเป็นค่านิยมของชาวคริสเตียน เชื่อว่าจักทำให้สิ่งเลวร้ายเคยกระทำมาจบสูญสิ้นไป จริงๆนะเหรอ? ว่าไปก็คล้ายๆทัศนคติชาวพุทธ เข้าวัดบริจาคทาน สร้างภาพตนเองเป็นคนดีมีคุณธรรม แต่พอกลับบ้านทำผิดศีลไม่เว้นวัน ไม่เคยศึกษาพระธรรม ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่องใส สรุปแล้วบุญที่ทำมาได้อะไร?

แม้ว่าโลกที่ปกครองด้วยระบอบซาตานจะเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย แต่ชีวิตก็ยังต้องดำเนินไป บางคนเรียนรู้ที่จะปรับตัว ยินยอมรับสภาพความเป็นจริง แต่เราควรค้นหาสามัญสำนึกของตนเอง ต่อให้ไม่หลงเหลือศรัทธาศาสนาใดๆ จิตใจที่บริสุทธิ์และเมตตาธรรม จักสร้างสรวงสวรรค์ขึ้นภายในจิตใจ


เมื่อเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes ถูกมองข้ามจากองค์กรศาสนา SIGNIS (World Catholic Association for Communication) มอบรางวัล Prize of the Ecumenical Jury ให้ภาพยนตร์เรื่อง Repentance (1984) แต่คณะกรรมการปีนั้นนำโดยนักร้อง/นักแสดง Yves Montand ประกาศรางวัล Palme d’Or อย่างเป็นเอกฉันท์ให้แก่ Under the Sun of Satan (1987)

Palme d’Or had been given unanimously, because we considered that the work had succeeded Pialat was a work which put the cinema on another level, on another floor. One can inevitably — myself, I am like that — be sensitive to films that are perhaps a little more affordable, easier, but fortunately there are Pialats, Godards, Resnais, to bring cinema to another height.

Yves Montand กล่าวถึงการมอบรางวัล Palme d’Or ให้กับ Under the Sun of Satan (1987)

เกร็ด: ชัยชนะรางวัล Palme d’Or ของ Under the Sun of Satan (1987) ถือเป็นภาพยนตร์สัญชาติฝรั่งเศสเรื่องแรกในรอบ 21 ปี โดยครั้งล่าสุดคือ A Man and a Woman (1966) ของผู้กำกับ Claude Lelouch ฟังดูก็ไม่น่าเชื่อที่ประเทศเจ้าภาพจะห่างหายการเป็นผู้ชนะรางวัลใหญ่เทศกาลหนังเมือง Cannes เยิ่นยาวนานขนาดนั้น!

François Mitterrand ประธานาธิบดีฝรั่งเศสขณะนั้น ยังอดไม่ได้ต้องเขียนชื่นชมชัยชนะของภาพยนตร์เรื่องนี้

This Palme d’or of the fortieth Cannes Film Festival has symbolic force. It rewards the work of a filmmaker who was able to draw inspiration from one of our great writers. He designates cinema as a land of writing and beauty. He shows the vitality that French cinema can and must experience.

François Mitterrand

แม้เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์/ผู้ชมทั่วไปจะไม่ได้ดีสักเท่าไหร่ แต่ก็มียอดจำหน่ายตั๋วในฝรั่งเศสสูงถึง 815,748 ใบ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม และยังเข้าชิง César Awards ถึง 7 สาขา (แต่ไม่ได้สักรางวัล) พ่ายให้ Au Revoir les Enfants (1987) ของผู้กำกับ Louis Malle

  • Best Film
  • Best Director
  • Best Actor (Gérard Depardieu)
  • Best Actress (Sandrine Bonnaire)
  • Best Cinematography
  • Best Editing
  • Best Poster

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะคุณภาพ 2K มีความสวยสด คมชัดกริบ แล้วเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2015 สามารถหาซื้อแผ่น Blu-Ray ได้ทั้งของ Gaumont (ฝรั่งเศส/ยุโรป) และ Cohen Media Group (สหรัฐอเมริกา)

โดยส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อศรัทธา พระเจ้า-ซาตาน ซึ่งผู้กำกับ Pialat ก็ไม่ได้พยายามเลือกเข้าข้างฝั่งฝ่ายใด แต่ปัญหาใหญ่ๆคือการดำเนินเรื่องที่เชื่องชักช้า น่าเบื่อหน่าย ราวกับตกลงสู่ขุมนรก จนตอนจบผมก็มองไม่เห็นแสงสว่าง/สรวงสวรรค์รำไร พอกลับขึ้นมาไม่ได้ก็ตายหยังเขียด

แทนที่จะรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมแนะนำให้มองหา Ordet (1955), The Seventh Seal (1957), Nazarín (1959), Léon Morin, Priest (1961), Bergman’s Trilogy (Through a Glass Darkly (1961), Winter Light (1963), The Silence (1963)) หรือแม้แต่ Silence (2016) ล้วนเกี่ยวกับการพิสูจน์ศรัทธาศาสนา มีความงดงามทรงคุณค่า คุ้มกับการเสียเวลามากกว่านะครับ

จัดเรต 18+ กับอาการสับสนในศรัทธาศาสนา พฤติกรรมสำส่อน ฆาตกรรม โกหกหลอกลวง และกระทำอัตวินิบาต

คำโปรย | Under the Sun of Satan ต้องลงสู่ขุมนรกเพื่อทำความเข้าใจโลกของผู้กำกับ Maurice Pialat
คุณภาพ | โลกของซาตาน
ส่วนตัว | ลงนรก