Limite (1931)


Limite (1931) Brazilian : Mário Peixoto ♥♥♥♥

Limite ภาษาโปรตุเกส แปลว่า Limit, ขีดสุดความอัดอั้นของชายหนึ่ง-หญิงสอง ล่องลอยคออยู่กลางมหาสมุทร Atlantic คนหนึ่งเป็นอาชญากรหลบหนี อีกคนเบื่อหน่ายสามี ส่วนชายหนุ่มถูกจับได้ว่าคบชู้เมียคนอื่น พวกเขาแทบมิอาจอดกลั้นฝืนทนอยู่บนโลกใบนี้ได้อีกต่อไป

เมื่อปี ค.ศ. 2015 ภาพยนตร์เรื่อง Limite (1931) ได้รับการโหวตจาก Brazilian Film Critics Association (ชื่อย่อ Abraccine) ติดอันดับ 1 ชาร์ท The 100 Best Brazilian Films (เป็นหนังเก่าแก่ที่สุดและติดอันดับสูงสุด)

ผมไม่ได้รับรู้จัก Limite (1931) จากชาร์ทของ Abraccine แต่คือนิตยสาร Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 เป็นเพียงหนึ่งในสองภาพยนตร์สัญชาติ Brazilian (ไม่นับเรื่องที่ร่วมทุนสร้าง) ประกอบด้วย Limite (1931) และ Twenty Years Later (1984) ต่างติดอันดับ 211 (ร่วม) … ช่วงเดือนนี้กำลังเขียนถึงหนังเงียบพอดี ก็เลยหยิบ Limite (1931) มารับชมดูก่อน ส่วนอีกเรื่องยี่สิบปีให้หลังค่อยว่ากัน –“

Limite (1931) เป็นภาพยนตร์ที่ต้องบอกเลยว่าแปลกประหลาด เต็มไปด้วยมุมกล้องสุดแสนพิศดาร โอบรับแนวคิด ‘Cinéma Pur’ มีเพียง 3-4 ข้อความสนทนา (Title Card/Intertitles) ปรากฎขึ้นมาเท่านั้น (จริงๆยังมีอีกหนึ่งครั้ง แต่คือคำอธิบายถึงซีนที่สูญหาย) ซึ่งผมเชื่อว่าความตั้งใจของผู้กำกับ ต้องการผลักดัน’ขีดจำกัด’ของสื่อภาพยนตร์ และให้อิสรภาพผู้ชมในการครุ่นคิดตีความว่าหนังต้องการบอกเล่าเรื่องราวอะไร

การรับชม Limite (1931) มีความท้าทายสูงมากๆ ผมดูครั้งแรกก็ไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ ไม่มีฉากไหนอธิบายว่ามนุษย์ทั้งสามล่องลอยคออยู่กลางทะเลได้อย่างไร?? ลองให้เวลารอบสอง-สาม หาอ่านบทความวิจารณ์ ขบครุ่นคิดนัยยะเชิงสัญลักษณ์ ก็อาจสัมผัสถึงความงดงาม ‘กวีภาพยนตร์’ อีกหนึ่งมาสเตอร์พีซที่เกือบสูญหายตามกาลเวลา


Mário Rodrigues Breves Peixoto (1908-92) นักเขียน นักกวี ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Brazilian เกิดที่ Brussels, Belgium แล้วกลับมาเติบโต Rio de Janeiro, ครอบครัวมีฐานะร่ำรวย ทำธุรกิจไร่กาแฟส่งออก จึงมีเงินส่งบุตรชายเข้าโรงเรียน(ดีที่สุดในบราซิลขณะนั้น) Colégio Andrews พัฒนาความสนใจในวรรณกรรม บทกวี และงานศิลปะ

ช่วงวันหยุดฤดูร้อนเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1929, Peixoto ออกเดินทางท่องเที่ยวกรุง Paris เพื่อเข้าร่วมงาน International Exhibition of Modern Decorative and Industrial Arts จัดขึ้น ณ Grand Palair ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม ถึง 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930

ซึ่งระหว่างพักอาศัยอยู่กรุง Paris นั้นเอง Peixoto ได้พบเห็นหน้าปกนิตยสารรวมภาพถ่ายรายสัปดาห์ VU (ภาษาฝรั่งเศส แปลว่า Seen หรือ Viewed) ฉบับที่ 74 ซึ่งเป็นผลงานถ่ายภาพของ André Kertész หญิงสาวถูกอ้อมโอบโดยชายสวมกุญแจมือ ตั้งชื่อว่า Embrace … นั่นคือจุดเริ่มต้น แรงบันดาลใจในการสรรค์สร้าง Limite (1931)

I was passing by a newspaper stand when I saw a magazine with a photograph of a woman on the cover, with arms wrapped around her chest, handcuffed. A man’s arms. And the magazine was called Vu (No. 74, 14 August 1929).

I carried on walking and I could not get the image out of my mind. And right after that, I saw this sea of fire and a woman clinging to the remnants of a sinking ship

Mário Peixoto

เกร็ด: มีคำเรียก ‘generative image’ หรือ ‘protean image’ หมายถึงรูปภาพที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจ ให้ศิลปินสรรค์สร้างผลงานศิลปะ (เหมารวมถึงกวีแต่งกลอน นักเขียนแต่งนิยาย ผู้กำกับภาพยนตร์ ฯ)

ก่อนหน้านี้ Peixoto ที่แทบไม่เคยมีความสนใจสื่อภาพยนตร์มาก่อน เมื่อพบเห็นภาพถ่ายดังกล่าว จู่ๆบังเกิดพลังผลักดันอย่างแรงกล้า ครุ่นคิดพัฒนา ‘scenario’ บทหนังเต็มไปด้วยคำอธิบายภาพถ่าย (collection of visual) ตำแหน่ง ทิศทาง การขยับเคลื่อนกล้อง รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ … ไม่ได้เขียนให้มีเนื้อเรื่องราว (narrative film) ตามแบบบทหนังทั่วๆไป

Shot 73: fusion close up – hand of the woman who has fish and some vegetables in her basket – camera follows her and, once again, close up showing the basket and all of her purchases – woman keeps on walking – camera moves with her.

ตัวอย่างคำอธิบายบทหนัง/ Scenario ช็อตที่ 73 ของ Limite (1931)

จากนั้น Peixoto นำบทดังกล่าวไปพูดคุย ยื่นข้อเสนอสองผู้กำกับชาว Brazilian ชื่อดังขณะนั้น Humberto Mauro และ Adhemar Gonzaga แต่พวกเขาต่างตอบปฏิเสธ เพราะมองว่าโปรเจคนี้มีความเป็น’ส่วนตัว’มากเกินไป และให้คำแนะนำทำไมไม่กำกับหนังด้วยตนเองเลยเสียละ!

ก็เพราะไม่เคยรับรู้อะไรเกี่ยวกับงานสร้างภาพยนตร์ Peixoto จึงเกิดความโล้เล้ลังเล สองจิตสองใจ จนเมื่อถึงจุดๆหนึ่งไม่มีใครยินยอมให้ความช่วยเหลืออะไร เลยเริ่มศึกษาหาความรู้ ตัดสินใจกำกับหนังด้วยตนเอง และพึ่งพาเงินทุนสนับสนุนจากครอบครัว (บ้านรวยอยู่แล้วเลยไม่มีปัญหาเท่าไหร่)


เรื่องราวของหนังเริ่มต้นด้วยชายหนึ่ง-หญิงสอง ล่องลอยคออยู่บนเรือลำน้อยกลางมหาสมุทร Atlantic ทั้งสามต่างดูเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า สีหน้าเอือมละอา จนไม่สามารถลุกขึ้นมาทำอะไร หลังเวลาพานผ่านไปสักพัก พวกเขาก็เริ่มเล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) ถึงเหตุการณ์ที่ถือเป็น’ขีดสุด’ทำให้ตนเองมีสภาพเลวร้ายดังกล่าว

  • หญิงสาวคนแรก (รับบทโดย Olga Breno) ได้รับความช่วยเหลือจากผู้คุมขังจนสามารถแหกคุกหลบหนี ก่อนมาทำงานเป็นช่างเย็บผ้า แต่ไม่นานก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิต
    • หนังไม่มีคำอธิบายว่าเธอเคยก่ออาชญากรรมอะไร แต่คาดเดาว่าอาจเป็นการลักขโมย เพราะระหว่างทำงานเห็นเปิดดูนิตยสารชุดสวยๆ แสดงถึงความเพ้อใฝ่ฝัน อยากออกไปจากสถานที่ทุรกันดารห่างไกลแห่งนี้
    • ซีเควนซ์นี้ยังไม่มีกล่าวถึงโชคชะตาของตัวละคร แต่เชื่อว่าอาจถูกตำรวจไล่ล่า ล้อมจับกุม และอาจโดนวิสามัญ (ลักขโมยอาจไม่ใช่อาชญากรรมที่รุนแรง แต่สำหรับดินแดนห่างไกลขนาดนั้น มันก็ไม่แน่เหมือนกัน)
  • หญิงสาวคนที่สอง (รับบทโดย Taciana Rey) หลังจากซื้อปลามาเตรียมทำอาหาร แต่พอกลับถึงบ้านพบเห็นสามีขี้เมา/นักเปียโนประกอบหนังเงียบ The Adventurer (1917) หลับนอนซมซานอยู่ตรงบันได จึงเกิดความไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง เหมือนว่ากระทำอัตวินิบาตด้วยการกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตาย
    • ในหนังอาจดูก้ำๆกึ่งๆว่าหญิงสาวกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายไหม? แต่ภาษาภาพยนตร์สามารถสื่อได้เช่นนั้น
  • สำหรับชายหนุ่ม (รับบทโดย Raul Schnoor) หลังจากสูญเสียภรรยา แอบสานสัมพันธ์หญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งระหว่างเดินทางไปเยี่ยมเยียนหลุมฝังศพ(ของอดีตภรรยา) พบเจอกับชายที่เป็นสามีชู้รักของเขา (รับบทโดย Mário Peixoto) พูดบอกความจริงว่าเธอล้มป่วยโรคเรื้อน นั่นสร้างความรังเกียจ ขยะแขยง รับไม่ได้อย่างรุนแรง
    • ตอนจบของซีเควนซ์นี้ จะมองว่าตรอมใจตายหรือล้มป่วย(โรคเรื้อน)เสียชีวิตก็ได้เหมือนกัน

เมื่อทั้งสามเรื่องเล่าสิ้นสุดลง ก็ถึงเวลาเปิดเผยผลกรรมของทั้งสาม ชายหนุ่มตัดสินใจทอดทิ้งเรือ กระโดดลงน้ำเพื่อไปยังทุ่นแห่งหนึ่ง (แล้วสูญหายตัวไป) ส่วนสองสาวเผชิญคลื่นลมพายุจนเรืออับปางลง คนหนึ่งหายสาปสูญ และอีกคนล่องลอยคออยู่บนขอนไม้


ถ่ายภาพโดย Edgar Brasil ชื่อจริง Edgar Hauschildt (1902–54) ตากล้องสัญชาติ Brazilian-German เกิดที่ Hamburg, Germany แต่มาเติบโตยัง Rio de Janerio, หลังอาสาสมัครทหาร ทำงานเป็นล่ามแปลภาษาให้ผู้ตรวจการกองควบคุมโรคเรื้อนและโรคติดต่ออื่นๆ (Profilaxia da Lepra e das Doenças Venéreas) ก่อนมีโอกาสพบเจอ Haroldo Mauro น้องชายผู้กำกับดัง Humberto Mauro สร้างอิทธิพลจนเกิดความสนใจวงการภาพยนตร์

It was Haroldo who took Edgar to the movies. Haroldo liked Edgar’s drawings, which he drew very well. Around 1925, Edgar bought a camera and Haroldo, who already admired his drawings, also started to like his still photographs.

จากหนังสือ Enciclopédia do Cinema Brasileiro เรียบเรียงโดย Fernão Ramos

Humberto Mauro คือหนึ่งในสองผู้กำกับที่มีโอกาสอ่านบทหนัง Limite (1931) เลยให้แนะนำ Mário Peixoto ให้เลือกใช้บริการตากล้อง Edgar Brasil ซึ่งเคยร่วมงานกันมาแล้วหลายครั้ง

ผมไม่เคยเจอหนังเงียบเรื่องไหนที่มีงานภาพ ‘สุดโต่ง’ ไปมากกว่า Limite (1931) แต่ก็แอบรู้สึกว่ารับอิทธิพลจาก German Expressionism พอสมควร (เฉพาะลีลาการถ่ายภาพนะครับ ไม่ใช่สร้างฉากพื้นหลัง) เต็มไปด้วยภาพถ่ายสุดพิศดาร ไร้พันธนาการเหนี่ยวรั้ง ‘unchained cinema’ มุมก้ม-เงย-เอียง, ตำแหน่งสูง-ต่ำ, ระยะไกล-กลาง-ใกล้, panning, tilting, rotation, บางครั้งกล้องเคลื่อนแซงหน้าตัวละครแล้วค่อยถอยย้อนกลับมา, ไล่ระดับจากพื้นขึ้นถึงหน้าอก อ่านข้อความหนังสือพิมพ์จบ ค่อยลดระดับกลับลงพื้น ฯลฯ สารพัดเทคนิคภาพยนตร์ไม่เพียงสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจตัวละคร ยังเป็นการเปิดมุมมอง สร้างประสบการณ์ใหม่ๆในการรับชม ราวกับกล้องคือส่วนหนึ่งของเรื่องราว

The camera is a participant in the film. It creates a rhythm and a movement that transcend the physical world. It is an experience entirely of image.

Mário Peixoto

เห็นว่า Brasil พยายามทำตามคำอธิบายบทหนัง/Scenario ที่ผกก. Peixoto เขียนเอาไว้อย่างเปะๆ ซึ่งบางช็อตเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ท้าทาย (เพราะ Peixoto ไม่ได้มีความรู้งานสร้างภาพยนตร์ จึงไม่รับทราบข้อจำกัดเหล่านั้น) มีการประดิษฐ์ไม้กระดานที่สามารถตั้งวางกล้อง แล้วยกขึ้น-ลง ขยับเคลื่อนซ้าย-ขวา รวมถึงทิศทางอื่นๆ (ได้แรงบันดาลใจจาก Metropolis (1927) ของผู้กำกับ Fritz Lang)

หนังเต็มไปด้วยทิวทัศน์ธรรมชาติสวยๆ พระอาทิตย์ทอแสง สะท้อนพื้นผิวน้ำระยิบระยับ เห็นว่าเป็นหนัง Brazilian เรื่องแรกถ่ายทำด้วย ‘panchromatic film’ ผมอ่านคำอธิบายรายละเอียดไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ แต่เอาเป็นว่ามันคือฟีล์มประเภทหนึ่งที่มีความอ่อนไหวต่อแสงสว่างมากกว่าปกติ ทำให้ภาพออกมาดูมันวาว เปร่งประกาย เฉิดฉายแสง

They are going to look for a kind of shiny, incandescent image, with a lot of brightness, with a very particular contrast, with the insertion of half tones, which is something very unusual for Brazilian cinema at that time.

จากหนังสือ Enciclopédia do Cinema Brasileiro เรียบเรียงโดย Fernão Ramos

สำหรับสถานที่ถ่ายทำ คือหมู่บ้านเล็กๆริมชายฝั่ง Mangaratiba อยู่ห่างจาก Rio de Janerio ประมาณ 50 ไมล์ เจ้าของคือ Victor de Souza Breves เป็นญาติผกก. Peixoto ทำให้เขาสามารถหยิบยืมคนงานมาเป็นตัวประกอบ (แต่ทีมงานและนักแสดงหลัก นำไปจาก Rio de Janerio)

เกร็ด: The Expendables (2010) ของ Sylvester Stallone ก็เคยมาถ่ายทำยังสถานที่แห่งนี้


ช็อตแรกของหนังเริ่มต้นด้วยการ ‘recreate’ ภาพจากนิตยสาร VY ที่สร้างความตราประทับฝังใจให้ผกก. Peixoto สื่อถึงการถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว ไม่สามารถหลบหนี ดิ้นหลุดพ้น แล้วจะมีขณะหนึ่งพบเห็นการซ้อนภาพนกบนโขดหิน (ช่วงต้นเรื่องเจ้านกจะแค่เดินไปเดินมา แต่ช็อตสุดท้ายของหนังถึงทำการโบกโบยบิน) สัญลักษณ์แห่งเสรีภาพ จิตวิญญาณเคยถูกพันธนาการ สักวันหนึ่งย่อมได้รับการปลดปล่อย

หนังไม่มีคำอธิบายใดๆว่าชายหนึ่ง-หญิงสอง ต่างมาลงเอยยังเรือลำน้อย ล่องลอยคอกลางมหาสมุทร Atlantic ได้อย่างไร และต่อให้พวกเขาเล่าเรื่องย้อนอดีต มันก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆกัน นอกเสียจากอาศัยอยู่ยังหมู่บ้านเล็กๆริมชายฝั่ง Mangaratiba เท่านั้นเอง

ไม่ใช่แค่เหตุผลการลงเรือเท่านั้นนะครับ หนังยังเต็มไปด้วยสรรพสิ่งไร้คำอธิบายมากมาย (ชื่อตัวละครก็เช่นกัน) จุดประสงค์เพื่อให้อิสระผู้ชมในการครุ่นคิดตีความ อยากทำความเข้าใจอะไรอย่างไรก็ตามสบาย ผมมีสามเหตุผลที่พอเข้าใจโดยง่าย

  • มันคือโชคชะตาจับพลัดจับพลูให้ทั้งสามลงเรือลำเดียวกัน เพราะพวกเขาต่างถึงขีดสุดกับชีวิต ต้องการดิ้นรน หลบหนี ออกไปให้ไกลจากสถานที่แห่งนี้
  • โลกหลังความตาย เพราะตอนจบของแต่ละเรื่องเล่า มันมีความเป็นไปได้ว่าตัวละครจะถูกวิสามัญ, กระทำอัตวินิบาต และล้มป่วย/ตรอมใจตาย
  • เหตุการณ์บนเรือสามารถมองเป็นจิตใต้สำนึก/ความรู้สึกนึกคิดของผกก. Peixoto โดยเรื่องเล่าทั้งสามคือสิ่งที่เขาเคยพานผ่าน ประสบพบเจอ แล้วเกิดความอัดอั้น เกรี้ยวกราด ถึงขีดสุดต่อวิถีโลกใบนี้

หลังจากหญิงสาวคนแรกได้รับการช่วยเหลือจากผู้คุม (ไม่มีคำอธิบายว่าติดคุกเพราะอะไร? หรือผู้คุมปล่อยเธอออกมาทำไม?) ก้าวออกเดินไปเรื่อยๆ เอื่อยเฉื่อย จนมาถึงเส้นทางมุ่งสู่เทือกเขาห่างไกล ซึ่งระหว่างกล้องกำลังเคลื่อนติดตามด้านหลัง จู่ๆเธอหลบเข้าข้างทาง แต่ภาพก็ยังดำเนินต่อไปอีกสักพักจนเกิดความชะงักงัน แล้วค่อยถอยหลังกลับมาพบเห็นเธอทรุดลงนั่งร้องไห้ ทำไมกัน???

ซีเควนซ์นี้ผมเปรียบการเคลื่อนเลื่อนกล้อง แทนความคาดหวังของชีวิต ที่มักดำเนินไปข้างหน้าจนกว่าจะถึงเป้าหมายปลายทาง แต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถก้าวเดินไปถึงจุดนั้น บางคนอาจรู้สึกเหน็ดเหนื่อย ท้อแท้สิ้นหวัง ยอมแพ้กลางทาง เหมือนหญิงสาวคนนี้ทรุดนั่งลงร่ำร้องไห้ จริงๆก็ไม่รู้เพราะอะไร แต่เชื่อว่าคงไม่มีอะไรเป็นไปตามความเพ้อฝันของตนเอง

จริงๆเราสามารถมองซีเควนซ์นี้ (นำเสนออาชีพช่างเย็บผ้าของหญิงสาวคนแรก) ในลักษณะ ‘Flashback ซ้อน Flashback’ เหมือนการหวนระลึกความทรงจำ อธิบายเหตุผลว่าทำไมเธอถึงร่ำร้องไห้ ตกอยู่ในสภาพท้อแท้สิ้นหวัง เพราะนี่คือวิถีชีวิตที่น่าเบื่อหน่าย พบเห็นจักรเย็บผ้าในตำแหน่งบดบังใบหน้า และมีการแหงนมองท้องฟากฟ้า โหยหาอิสรภาพ ต้องการไปจากสถานที่แห่งนี้

ระหว่างกำลังใช้จักรเย็บเสื้อผ้า จะมีช็อตหนึ่งถ่ายให้เห็นภาพชุดแฟชั่นฉีกจากนิตยสาร บางคนอาจมองว่านี่คือแบบที่เธอกำลังตัดเย็บ ขณะเดียวกันสามารถสื่อถึงความเพ้อฝันของหญิงสาว อยากร่ำรวย แต่งตัวสวยๆ แต่ด้วยฐานะ สถานะตนเองขณะนี้ จะทำอะไรได้กัน?

หลังจากนั้นเธอหยิบกรรไกรขึ้นมา ขยับซ้ายขวาเพื่อให้พบเห็นแสงสะท้อน มองอย่างผิวเผินก็แค่นำมาตัดเส้นด้าย, แต่บางคนอาจตีความถึงการตัดขาดความสัมพันธ์ ทำลายวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ ละเลิกทำงานอาชีพนี้ เพื่อออกเดินทางเติมเต็มความเพ้อฝัน, ผมครุ่นคิดเพ้อไปไกลถึงเหตุการณ์ฆาตกรรม หรือใช้เป็นอาวุธจี้ปล้น (นั่นอาจคือเหตุผลทำให้เธอถูกจับติดคุก)

นี่ถือเป็นข้อความแรกของหนัง (ที่ไม่เชิงว่าเป็น Title Card/Intertitles) นำเสนอในลักษณะหัวข้อข่าวหนังสือพิมพ์ สำหรับคนที่ไม่สามารถหาคำแปล ข้อความที่ปรากฎในซับไตเติ้ลประกอบด้วย …

Prisoner Escapes
HELPED BY JAILER

The police are about to arrest the woman who recently escaped prison. Strangely, this escape took place in broad daylight. The fugigive should be captured soon.

ความน่าพิศวงของซีนนี้ คือการเคลื่อนกล้องจากพื้นขึ้นมาถึงหนังสือพิมพ์ที่หญิงสาวกำลังอ่าน (เธอไม่ใช่คนเดียวกับหญิงสาวคนแรกนะครับ) หลังจากแช่ภาพทิ้งไว้สักพักค่อยเลื่อนกลับลงสู่พื้นดิน … ผมยังครุ่นคิดไม่ออกว่าทำแบบนี้ไปเพื่ออะไร อาจแทนสายตาแห่งความฉงนสงสัย(ของบุรุษ) มักพิจาณาหญิงสาวจากล่างขึ้นบน

หลังภาพหนังสือพิมพ์ จะมีการร้อยเรียงภาพท้องถนนหนทาง ตึกรามบ้านช่องดูว่างเปล่า ไร้ผู้คน (อาจสื่อถึงความหวาดวิตกกังวล เพราะอาชญากรยังคงลอยนวล) ก่อนจบลงด้วยล้อรถไฟกำลังเคลื่อนหมุน (อาจหมายถึงการออกเดินทาง หญิงสาวขึ้นรถไฟหลบหนี)

บางคนอาจตีความว่าหญิงสาวกำลังถูกไล่ล่าโดยตำรวจ เลยเดินทางหลบหนีไปยังสถานที่ต่างๆที่ร้อยเรียงเข้ามา ส่วนภาพล้อรถไฟกำลังเคลื่อนหมุน สื่อถึงวังวนที่ไม่สามารถดิ้นหลุดพ้น รวมถึงการคาดการณ์ว่าเธออาจถูกวิสามัญจากตำรวจ

ก่อนจะเข้าสู่เรื่องเล่าหญิงสาวคนที่สอง จะมีปรากฎข้อความบรรยาย (Title Card/Intertitles) แต่นี่ไม่ใช่บทสนทนาตัวละคร คือคำอธิบายกล่าวถึงซีนที่สูญหาย (สังเกตว่าช่วงระหว่างซีนนี้ก็เต็มไปด้วยร่องรอยฟีล์มเสื่อมสภาพ ยังไม่สามารถฟื้นฟูบูรณะ) โชคดีว่าความยาวแค่เพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น แทบไม่ได้มีความสลักสำคัญใดๆต่อหนัง

This title replaces a section of Limite that has been lost,
In which we see Man#1 give help to Woman#2

เริ่มต้นเรื่องเล่าหญิงสาวคนที่สอง เธอกำลังหาซื้อปลาจากชาวประมง มันจะมีช็อตที่พบเห็นเจ้าปลากำลังหายใจเฮือกสุดท้าย นี่สามารถสื่อถึงขีดสุดและโชคชะตาของทั้งสามตัวละครบนเรือ (มีสภาพไม่แตกต่างจากเจ้าปลา) ต่อให้พยายามกระเสือกกระสน ต่อสู้ดิ้นรน สุดท้ายก็ไม่สามารถหลบหนีพ้น

หลายคนอาจหงุดหงิดรำคาญใจกับภาพการก้าวเดิน ซึ่งมีความเยิ่นยาวนานขึ้นเรื่อยๆ แต่นั่นคือความตั้งใจของผู้สร้างเพื่อให้ผู้ชมสัมผัสถึงความน่าเบื่อหน่าย ท้าทายขีดสุดความอดทน ‘Limit’ ของเราไม่เท่ากัน

เมื่อกลับมาถึงบ้าน หญิงสาวได้พบเห็นสามีหลับนอนตรงบันได (มันจะมีช็อตนิ้วนางสวมแหวน สื่อถึงการแต่งงาน) หนังไม่มีคำอธิบายอะไรใดๆมากกว่านี้ แต่เราสามารถขบครุ่นคิดว่านี่คงเป็นภาพเหตุการณ์บังเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก น่าจะจากการดื่มเหล้าเมามาย อีกทั้งตำแหน่งเบื้องบนบันได ยังสื่อการวางตัวเหนือกว่า ชอบใช้อำนาจ ความรุนแรง เผด็จการในครอบครัว ฯ หลากหลายเหตุผลทำให้เธอถึง’ขีดสุด’ไม่สามารถอดรนทนรับสภาพดังกล่าวได้อีกต่อไป

หญิงสาวก้าวออกเดินไปนั่งบนโขดหินบริเวณหน้าผาสูง จับจ้องมองลงมาเบื้องล่าง จากนั้นกล้องทำการกวัดแกว่ง ฉวัดเฉวียน สร้างความวิงเวียน ก่อนจบลงด้วยการแพนกล้อง(จากหญิงสาว)สู่พื้นผิวน้ำ … ผมมองว่านั่นคือการคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่สุดท้ายเธอจะกระโดดหน้าผาจริงไหม ก็แล้วแต่ผู้ชมจะขบครุ่นคิดจินตนาการ

The Adventurer (1917) กำกับ/นำแสดงโดย Charlie Chaplin (ภาษาโปรตุเกสมักเรียก Charlie ว่า Carlito) ซึ่งจะมีฉากนักโทษหลบหนี นี่ไม่ใช่แค่ล้อกับเรื่องเล่าหญิงสาวคนแรกนะครับ แต่ยังเหมารวมถึงทั้งสามตัวละครบนเรือลำน้อยล่องลอยคออยู่กลางมหาสมุทร พวกเขาต่างพยายามหาทางดิ้นหลบหนี ออกไปให้ไกลจากสถานที่แห่งนี้

เกร็ด: Carlito Encrencou a Zona แปลว่า Carlito complicates things หรือ Charlie (Chaplin) complicates things

ตากล้อง Edgar Brasil แอบมางีบหลับระหว่างอยู่ในโรงภาพยนตร์

สำหรับเรื่องเล่าของชายหนุ่ม สามารถแบ่งออกเป็นสองส่วน (แยกออกเป็นสอง Flashback), โดยครึ่งแรกร้อยเรียงภาพชาย-หญิง สามี-ภรรยา เดินจับมือ เลียบๆเคียงๆริมหาดทราย ร้อยเรียงภาพท้องทุ่ง ต้นไม้เขียวขจี แสดงถึงความสุขที่มีให้กันอย่างเอ่อล้น

แต่เหมือนจะเกิดเหตุการณ์อะไรบางอย่าง ทำให้ทั้งสองต้องพลัดพราก ภรรยาตายจากไป พบเห็นภาพ Invert Shot, ต้นไม้กลับหัว (ภาพสะท้อนพื้นผิวน้ำ), (จากต้นไม้กลายเป็น)เสาไฟฟ้า, เศษซากปรักหักพัง, (ต้นไม้)เหลือเพียงกิ่งก้าน (ไร้ใบ) ฯ เหล่านี้ล่วนสื่อสัญลักษณ์ถึงความตาย หายนะ ทุกสิ่งอย่างกลับตารปัตรตรงกันข้าม ทำให้ฝ่ายชายต้องทนทุกข์ทรมาน เจ็บปวดรวดร้าวจากความสูญเสีย

หลังจากคลื่นซัดทำลายรอยเท้าบนพื้นทราย (สื่อถึงการหมดสิ้นรักกับอดีตภรรยา) ชายหนุ่มเหมือนว่าจะได้พบเจอรักครั้งใหม่ แต่เมื่อร่ำลาจากเธอไป หนังทำการร้อยเรียงภาพก้าวเดิน พร้อมลมพายุพัดแรง ทำเอาลำต้นไม้เอนเอียง ผืนหญ้าปลิดปลิวตามกระแสแรงลม … ผมมองว่าสื่อถึงความโล้เล้ลังเลใจ ชายหนุ่มไม่รับรู้จะทำอะไรยังไงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์คลุ้มคลั่งภายใน

การเดินเรื่อยเปื่อยมาจนถึงสุสาน นั่นแสดงว่าเขายังคงรัก ครุ่นคิดถึง(อดีตภรรยา) เหม่อมองเข้าไปพบเห็นใครสักคนนั่งอยู่ตรงหลุมฝังศพของเธอ

ลีลาการถ่ายภาพซีเควนซ์นี้มีความพิลึกพิลั่นอย่างมากๆ เริ่มจากช็อตนี้ จู่ๆกล้องเคลื่อนเข้าหาด้านหลังตัวละครแล้วหยุดนิ่ง → พบเห็นเขาเดินเข้าไปในรั้ว หยุดเด็ดดอกไม้ → กล้องเคลื่อนเข้าไปยังดอกไม้แล้วเคลื่อนติดตาม → และเมื่อกล้องหยุดนิ่ง ชายหนุ่มก้าวเดินต่อไปจนถึงสุสาน

ตรงกันข้ามกับตอนต้นเรื่องที่กล้องเคลื่อนแซงนักแสดงแล้วถอยหลังกลับมา (สื่อถึงความคาดหวังที่ไม่มนุษย์ไม่สามารถดำเนินไปถึง) ผมมองว่าขณะนี้กล้องไม่สามารถนำหน้านักแสดง ทำได้เพียงจับจ้องมอง ติดตามเบื้องหลัง (ประมาณว่ากล้องไม่สามารถดำเนินไปไกลเกินกว่าจุดหมายปลายทาง/โลกหลังความตาย)

มันเหมือนว่าชายหนุ่มรับรู้ตัวดี ชายแปลกหน้าคนนี้ (รับบทโดย Mário Peixoto) คือสามีของชู้รัก! นั่นทำให้การสนทนาในช่วงแรกยืนค้ำหัว (ตำแหน่งศีรษะสูงกว่า) เพราะครุ่นคิดว่าตนเองถือไพ่เหนือกว่า (คือเชื่อว่าอีกฝ่ายคงไม่รับล่วงรู้ความจริง) แต่หลังจากได้ยินคำบอกกล่าวในสามประโยค (ถือเป็นข้อความสำคัญมากๆของหนัง เลยมีการใช้ Title Card/Intertitles)

You come from the house of a woman that is not yours.
Suppose that she is mine as this says.
What if I told you she has leprosy?

ชายแปลกหน้าลุกขึ้นยืน สังเกตว่ามุมกล้องถ่ายให้เห็นตำแหน่งศีรษะอยู่เหนือกว่า! นั่นเพราะคำกล่าวสามประโยคนั้น ทำให้อีกฝ่ายตระหนักถึงความจริง สิ่งผิดพลาดที่ก่อให้เกิดหายนะกับตนเอง

เหตุการณ์เกิดขึ้นต่อจากนั้น ทำการตะโกนโหวกเหวก ก้าวเดินอย่างคลุ้มบ้าคลั่ง พานผ่านบริเวณพื้นเปียกแฉะ โคลนเลน หนองน้ำ มาจนถึงท่าเทียบเรือลำน้อย (เป็นการสร้างจุดเชื่อมโยงให้กับผู้ชม ครุ่นคิดว่านี่อาจคือจุดเริ่มต้นของการล่องลอยคออยู่กลางทะเลหรือเปล่า?) หลังบอกปฏิเสธการเกี้ยวพาของหญิงสาวคนใหม่ ดำเนินไปถึงรั้วลวดหนาม แล้วทรุดล้มลง ราวกับกำลังหมดสิ้นลมหายใจ

หลังการทรุดล้มลงของชายหนุ่ม กล้องทำการ Tilt Up ขึ้นไปบนท้องฟากฟ้า แล้วช็อตถัดมาพบเห็นไม้กางเขน (จำนวน 2+1) เอาจริงๆแค่นี้ก็บอกใบ้อย่างชัดเจนแล้วว่าตัวละครได้ล้มตาย กลายเป็นจิตวิญญาณ (แต่ถ้าคุณมีความคิดเห็นอื่นก็แล้วแต่นะครับ หนังเปิดอิสระไว้กว้างมากๆ) จากนั้นพวกเขาทั้งสาม ก็ไม่รู้พบเจอกันอย่างไร ถึงร่วมพายเรือออกจากฝั่ง

ช็อตที่ถือเป็น ‘Iconic’ ของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือหญิงสาวชะโงกหน้าออกทางกาบเรือ ถ้าตามเรื่องราวขณะนั้นเหมือนเธอกำลังมองหาหนทางเอาตัวรอด เพราะเรือกำลังรั่วซึม แถมพายุลมแรงก็เคลื่อนใกล้เข้ามา แต่เพราะไม่พบเห็นวิถีทางอันใด จึงทำได้เพียงทอดถอนหายใจ ยินยอมรับความตาย

Limite

นี่ไม่ใช่ข้อจำกัดของยุคสมัยนั้นนะครับ แต่คือการสรรค์สร้างงานศิลปะของสื่อภาพยนตร์ ทำการร้อยเรียงภาพพื้นผิวน้ำ กำลังสาดซัดเข้าหาชายฝั่ง จากนั้นกวัดแกว่งกล้องไปมา เพื่อให้เกิดสัมผัสคลื่นลมพายุรุนแรง นั่นคือสาเหตุให้เรือลำน้อยต้องอับปางลง

แซว: ภาพพื้นผิวน้ำมันช่างดูเป็นนามธรรม (Abstraction) ไม่ต่างจากโคตรหนังสั้น H2O (1929) ของ Ralph Steiner

ตัดต่อโดย Mário Peixoto, เรื่องราวเริ่มต้นด้วยชายหนึ่ง-หญิงสอง ล่องลอยคออยู่กลางมหาสมุทร Atlantic จากนั้นพวกเขาก็เริ่มเล่าเหตุการณ์ย้อนอดีต (Flashback) ตัดภาพสลับกลับไป-มา อดีต-ปัจจุบัน จนเมื่อครบทั้งสามเรื่องเล่า ถึงนำเสนอบทสรุปและโชคชะตาเรือน้อยลำนี้

  • อารัมบท, ชายหนึ่ง-หญิงสอง ล่องลอยคออยู่กลางมหาสมุทร Atlantic
  • (Flashback) เรื่องเล่าย้อนอดีตหญิงสาวคนแรก อาชญากรหลบหนี
  • (Flashback) เรื่องเล่าย้อนอดีตหญิงสาวคนสอง เบื่อหน่ายสามี
  • (Flashback) เรื่องเล่าย้อนอดีตชายหนุ่ม ถูกจับได้ว่าคบชู้เมียคนอื่น
    • ย้อนอดีตครั้งแรก รำพันถึงอดีตภรรยา
    • ย้อนอดีตครั้งหลัง คบชู้กับหญิงสาวคนใหม่
  • ปัจฉิมบท, โชคชะตาของทั้งสาม และเรือน้อยลำนี้

สำหรับคอหนังในปัจจุบัน การทำความเข้าใจโครงสร้าง/วิธีเล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) ไม่ใช่สิ่งยุ่งยาก สลับซับซ้อนสักเท่าไหร่ แต่ยุคสมัยนั้น (ทศวรรษ 20s-30s) ยังถือว่าแปลกใหม่ ผู้ชมส่วนใหญ่จึงไม่สามารถทำความเข้าใจ เกิดความสับสน มึนงง … ทั้งสามเรื่องเล่าไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆ นอกจากสถานที่พื้นหลังหมู่บ้านเล็กๆริมชายฝั่ง Mangaratiba และจับพลัดจับพลูร่วมหัวจมท้ายลงเรือลำเดียวกัน

สำหรับไฮไลท์ของหนังคือการร้อยเรียงชุดภาพ เพื่อสร้างสัมผัส ‘กวีภาพยนตร์’ สังเกตไม่ยากว่าผกก. Peixoto รับอิทธิพลจาก ‘soviet montage’ แฝงนัยยะเชิงสัญลักษณ์ อธิบาย(บอกใบ้)เหตุการณ์ จุดเด่นคือปริมาณภาพที่แทรกเข้ามา เพื่อท้าทายขีดจำกัด(ความอดทนของ)ผู้ชม ยกตัวอย่างการก้าวเดินของหญิงสาวทั้งสอง (ทั้งเยอะทั้งยาวนาน), กล้องส่ายไปส่ายมา (ระหว่างหญิงสาวคนที่สองกำลังคิดสั้น), ภาพต้นไม้หลากหลายมุมมอง (ระหว่างชายหนุ่มก้าวเดินไปยังสุสาน), กระแสน้ำซัดพาคลื่นลมแรง (เพื่อสื่อถึงเรือกำลังอับปาง) ฯ


ชายหนึ่ง-หญิงสอง ล่องลอยคออยู่กลางมหาสมุทร บ้างว่าโชคชะตานำพาให้พวกเขาลงเรือลำเดียวกัน บางคนตีความโลกหลังความตาย (เพราะตอนจบของแต่ละเรื่องเล่า ล้วนมีเหตุให้ครุ่นคิดว่าพวกเขาอาจเสียชีวิต) แต่คนส่วนใหญ่มักมองในเชิงสัญลักษณ์ถึงจิตใต้สำนึก สภาวะทางจิตใจ เพราะทั้งสามคนต่างมีสีหน้าเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย ไร้เรี่ยวแรงพละกำลัง ถึงขีดสุดความอดทนของการมีชีวิต

  • หญิงสาวคนแรกเบื่อหน่ายต่ออาชีพการงาน เพ้อใฝ่ฝันอยากสวมชุดสวยๆ ประสบความสำเร็จ ฐานะร่ำรวย แต่ด้วยสถานะของตนเอง อาศัยอยู่ท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกล เหมารวมถึงประเทศบราซิลยุคสมัยนั้น เศรษฐกิจ ความเจริญ มันคงเอื้ออำนวยสักเท่าไหร่
    • ข้อความในหนังสือพิมพ์กล่าวถึงตำรวจกำลังไล่ล่าจับกุมอาชญากรหลบหนี ซึ่งสามารถบอกใบ้แนวโน้มการวิสามัญ ทั้งๆความผิดอาจไม่ได้รุนแรงขนาดนั้น แต่สะท้อนการใช้อำนาจในทางไม่ชอบธรรมของหน่วยงานรัฐบาล (บราซิลเป็นประเทศเลื่องชื่อเรื่องความคอรัปชั่นมาแต่ไหนแต่ไร)
  • หญิงสาวคนสองเบื่อหน่ายต่อชีวิตครอบครัว วันๆพบเห็นสามีเอาแต่กินเหล้าเมามาย แต่เพราะวัฒนธรรมความเชื่อของชาวบราซิล(มั้งนะ) แต่งงานแล้วก็ต้องอดรนทน ด้วยเหตุนี้เธอจึงครุ่นคิดหลบหนีด้วยการฆ่าตัวตาย
    • เราสามารถเปรียบเทียบครอบครัวในเชิงมหภาคกับประเทศบราซิล, หัวหน้าครอบครัว=ผู้นำประเทศ, สามีขี้เมา=ผู้นำลุ่มหลงในอำนาจ เช่นนั้นแล้วจะให้ประชาชน(สมัยนั้น)อดรนทนมีชีวิตได้อย่างไร
  • ชายหนุ่มสูญเสียภรรยา คบชู้หญิงสาวคนใหม่ ถูกสามีของเธอจับได้ พูดบอกความจริงเธอป่วยโรคเรื้อน สร้างความรังเกียจ ขยะแขยง ยินยอมรับความจริงไม่ได้
    • นี่เป็นการคาดเดาล้วนๆนะครับ เพราะเมื่อปี ค.ศ. 1930 ในประเทศบราซิลเกิดเหตุการณ์ Brazilian Revolution of 1930 กลุ่มปฏิวัตินำโดย Getúlio Vargas ทำการโค่นล้มรัฐประหาร Old Republic ของปธน. Washington Luís
    • ผมทำการเปรียบเทียบอดีตภรรยา = Old Republic, ส่วนชู้รักก็คือรัฐบาลใหม่ของ Getúlio Vargas เบื้องหน้าดูเป็นคนดีมีหลักการ แต่หลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ไม่นานก็กลายเป็นผู้นำเผด็จการ (ไม่ต่างจากผู้ป่วยโรคเรื้อนสักเท่าไหร่)

เรื่องราวของทั้งชายหนึ่ง-สองหญิง ต่างพยายามนำเสนอ’ขีดสุด’ความอดทน ไม่ต้องการต่อสู้ดิ้นรน จมปลักตนเองอยู่ยังสถานที่แห่งนั้น(ประเทศบราซิล) ต้องการดิ้นหลบหนี เริ่มต้นใหม่ ออกเดินทางไปให้แสนไกล

  • สำหรับหญิงสาวคนแรก แม้เป็นบุคคลเดียวที่เคยหยิบใบพาย ใช้มือกวักน้ำ รวมถึงหลังถูกพายุอับปาง ล่องลอยคออยู่บนขอนไม้ นั่นแสดงถึงความต้องการมีชีวิต แต่เพราะไม่สามารถครุ่นคิดทำอะไรด้วยตนเอง เลยปล่อยให้เป็นเรื่องของโชคชะตา
  • หญิงสาวคนที่สอง พบเห็นนอนแผ่พังพาบบนเรือ ไร้ความกระตือรือร้น ไม่คิดอยากต่อสู้ดิ้นรน เพียงเฝ้ารอคอยความตาย จนสุดท้ายก็สูญหายตัวไป
  • ส่วนชายหนุ่มตัดสินใจทอดทิ้งเรือก่อนเผชิญหน้าพายุ นี่ไม่ได้สื่อถึงความเห็นแก่ตัว แต่คือการพยายามต่อสู้ดิ้นรน ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเอาตัวรอด ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

ขีดสุดความอดกลั้นของผกก. Peixoto แรงบันดาลใจจากภาพถ่าย ‘Embrace’ สามารถรำพรรณถึงวิถีชาวบราซิล บุรุษคือหัวหน้าครอบครัว=ผู้นำประเทศ ต่างลุ่มหลงมึนเมาในอำนาจ ปกครองอย่างเผด็จการ ทำให้เกิดการปฏิวัติ-รัฐประหารนับครั้งไม่ถ้วน (จนกลายเป็นรัฐเผด็จการ) ไม่ต่างจากการเอามือสวมกุญแจมือคล้องคอ ทำให้หญิงสาว/ประชาชนไม่สามารถหลบหนี ดิ้นหลุดพ้น สร้างความอัดอั้น เกรี้ยวกราด แต่แม้งก็ไม่สามารถทำอะไรได้สักสิ่งอย่าง

Limite is a film that is very personal to me. It is a film about my own search for meaning in life. The film is full of images and themes that are important to me, and it is a film that I am very proud of.

Mário Peixoto

เป้าหมายในการสรรค์สร้าง Limite (1931) ของผกก. Peixoto นอกจากท้าทายขีดจำกัดตนเอง/สื่อภาพยนตร์ ยังพยายามค้นหา ‘ความหมายของชีวิต’ นำเสนอผ่านมุมมองสามตัวละคร

  • หญิงสาวคนแรก ตัวแทนความเพ้อฝันกับสภาพเป็นจริง ไม่มีทางที่ทุกสิ่งอย่างจักเป็นไปตามความครุ่นคิด
  • หญิงสาวคนสอง เมื่อตระหนักถึงสภาพเป็นจริง ชีวิตที่เป็นอยู่ ค้นพบว่าไร้หนทางหลบหนี จึงตกอยู่ในความหมดสิ้นหวัง
  • ส่วนชายหนุ่มนำเสนอความล้มเหลว สิ้นหวัง สิ่งต่างๆทำไปล้วนถูกทรยศหักหลัง ทำให้ค้นพบว่าชีวิตไม่ได้มีคุณค่าความหมายอะไร

The meaning of life is a question that has no answer. It is a question that has been asked by philosophers and theologians for centuries, and there is no one answer that will satisfy everyone. However, I believe that the search for meaning is an important part of the human experience. It is something that we all must do for ourselves.

Limite (1931) เป็นภาพยนตร์ที่เปิดกว้างในการตีความมากๆ ก็เหมือนกับ ‘ความหมายของชีวิต’ มันไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องมีความคิดเห็นเหมือนกัน สิ่งที่ผมนำเสนอก็แค่มุมมองหนึ่งเท่านั้น ถ้าคุณสามารถนำไปต่อยอด ค้นพบความเข้าใจของตนเอง นั่นคือการมองเห็นความทรงคุณค่าระดับมาสเตอร์พีซของภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วละ!


ตั้งแต่หนังถ่ายทำเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1930 เคยถูกนำออกฉายสาธารณะ (publish screening) เพียงสามครั้งเท่านั้น ระหว่างเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1931 ถึงมกราคม ค.ศ. 1932 เสียงตอบรับค่อนข้างเย็นชา ผู้ชมส่วนใหญ่ไม่สามารถทำความเข้าใจอะไร เลยไม่มีใครช่วยโปรโมทหรือแสดงความสนใจนำจัดจำหน่ายวงกว้าง

ตลอดชีวิตของ Peixoto จึงพยายามโปรโมทหนังผ่านสื่อต่างๆ อ้างว่าเคยฉายรอบพิเศษให้ Orson Welles ระหว่างเดินทางมาเยี่ยมเยือนบราซิล ค.ศ. 1942, รวมถึง Sergei Eisentein และ Vsevolod Pudovkin ยังกล่าวยกย่องสรรเสริญ ฯ นั่นทำให้หนังมีสถานะลึกลับ (Mythical) กลายเป็นตำนาน (cult following) คอหนังมากมายพยายามขวนขวายหาโอกาสรับชม แต่หลังจากปี ค.ศ. 1959 ฟีล์มชุดเดียวหลงเหลือกลับเสื่อมสภาพจนไม่สามารถนำออกฉาย

Limite is a luminous pain, which unfolds as rhythm, coordinated to images of rare precision and ingenuity.

Mário Peixoto ในบทความนิตยสาร Realidade เมื่อปี ค.ศ. 1965 กล่าวอ้างว่า Sergei Eisenstein เคยชื่นชมหนังด้วยคำพูดดังกล่าว แต่กลับไม่มีแหล่งข่าวใดๆสามารถยืนยัน

ฟีล์มดังกล่าวเก็บอยู่ยัง Faculdade Nacional de Filosofia (National School of Philosophy) จนกระทั่ง ค.ศ. 1966 ในช่วงระหว่างรัฐบาลเผด็จการทหาร ถูกตำรวจเข้าตรวจยึด เตรียมจะนำไปทำลาย โชคดีได้อดีตนักศึกษา Pereira de Mello ใช้เส้นสายติดต่อขอนำกลับคืนมา แล้วเริ่มต้นทำการฟื้นฟูบูรณะ เฟรมต่อเฟรม กว่าจะแล้วเสร็จก็ทศวรรษถัดมา ค.ศ. 1978 โดยสูญหายแค่ซีนเล็กๆเพียงซีนเดียวกู้คืนไม่สำเร็จ

อีกหนึ่งความลึกลับระดับตำนานของหนัง เกิดขึ้นเมื่อนิตยสาร Filme Cultura ทำการจัดอันดับ Best Brazilian Films of All Time เมื่อปี ค.ศ. 1968 ปรากฎว่า Limite (1931) ติดอันดับสิบ ทั้งๆที่ไม่มีใครสามารถรับชม/เข้าถึงหนังมาหลายทศวรรษ (ขณะนั้นฟีล์มหนังก็ยังอยู่ระหว่างการบูรณะ)

ภายหลังการเสียชีวิตของ Peixoto เมื่อปี ค.ศ. 1992 สิริอายุ 83 ปี ได้มีการค้นพบจดบันทึก/บทหนังที่ครุ่นคิดพัฒนาไว้ หนึ่งในนั้นเหมือนจะเป็นภาคต่อ Onde a terra acaba (แปลว่า Where the Earth Ends) แต่ไม่เคยเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาสักโปรเจค

เมื่อปี ค.ศ. 2010, The Film Foundation ของ Martin Scorsese ได้ทำการแสกนและบูรณะหนัง คุณภาพ 2K สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray รวบรวมอยู่ใน Martin Scorsese’s World Cinema Project No. 2 (คอลเลคชั่นนี้ประกอบด้วย Insiang (1976), Mysterious Object at Noon (2000), Revenge (1989), Limite (1931), Law of the Border (1966), Taipei Story (1985))

Limite is a truly unique and unforgettable film. It’s a visual poem that uses montage to create a powerful and moving experience for the viewer. The film is a meditation on love, loss, and death, and it’s a testament to the power of cinema to transport us to another time and place.

Martin Scorsese

หนังอาจดูค่อนข้างยาก ให้อิสรภาพผู้ชมมากเกินไป แต่นั่นคือความท้าทายที่ถ้าคุณสามารถขบครุ่นคิด ทำความเข้าใจสิ่งต่างๆด้วยตนเอง (ในการรับชมแต่ละครั้ง อาจมีมุมมองที่ปรับเปลี่ยนแปลงไป) จักค้นพบความงดงาม ทรงคุณค่า เรียกได้ว่ามาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์

สิ่งที่ผมชื่นชอบมากสุดของหนัง คือความพยายามท้าทายขีดจำกัดในการนำเสนอ (ทั้งตัวละคร เรื่องราว ทิศทางมุมกล้อง และลีลาตัดต่อ) รวมถึงศักยภาพผู้ชมว่าจะสามารถทำความเข้าใจได้มากน้อย ‘Limit’ ระดับไหน

จัดเรต 15+ กับการล่องลอยคอ ขีดสุดความอดทน

คำโปรย | Limite ท้าทายขีดสุดความอดทนของผู้กำกับ Mário Peixoto งดงาม ตราตรึง ชีวิตไร้ซึ่งความหมายใดๆ
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ขีดจำกัด

Simón del desierto (1965)


Simon of the Desert (1965) Mexican : Luis Buñuel ♥♥♥♡

ตั้งใจให้เป็นภาพยนตร์ขนาดยาวสร้างโดยสามผู้กำกับดัง แต่สำเร็จเสร็จสรรพเพียงส่วนของ Luis Buñuel เลยแปรสภาพสู่หนังสั้นความยาว 45 นาที เรื่องราวของของนักพรต Simón ยืนอยู่บนแท่นสูงกลางทะเลทรายนาน 6 ปี 6 สัปดาห์ และ 6 วัน, คว้ารางวัล Grand Jury Prize (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Venice

มองผิวเผิน Simon of the Desert (1965) น่าจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติอิงศาสนา ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากนักบุญ/นักพรต Simeon Stylites หรือ Symeon the Stylite (390-459) สัญชาติ Syrian ว่ากันว่ายืนอยู่บนแท่นหิน (ตอนแรกสูงเพียง 3 เมตร ก่อนย้ายไป 15 เมตร) ใกล้ๆกับ Aleppo (ปัจจุบันคือประเทศ Syria) เพื่อพิสูจน์ความจริงใจ อุทิศทั้งชีวิตต่อพระเจ้า และมักเทศนาสั่งสอนศิษยานุศิษย์ที่มาเดินทางมาแสวงบุญ ยาวนานถึง 37 ปี!

ซากปรักหักพังของ Church of Saint Simeon โดยก้อนหินตรงกึ่งกลางคือแท่นแรกที่ Simeon Stylites เคยปักหลักยืนอาศัย

แต่ภาพยนตร์เรื่อง Simon of the Desert (1965) ของ Luis Buñuel กลับนำเสนอในลักษณะ Dark Comedy เต็มไปด้วยการล้อเลียนเสียดสี ชี้นำทางให้เห็นว่า การปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งไร้สาระ! ขำกลิ้งสุดก็คือเอาซาตานในคราบหญิงสาวมายั่วราคะ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนในที่สุดนักพรต Simón ก็พ่ายแพ้ภัยพาล (ในหนังอ้างว่า Simón เป็นบุตรหลานของ Simeon Stylites) แล้วตัดกลับมาปัจจุบันพบเห็นความสุดเหวี่ยงของมนุษย์ราวกับวันสิ้นโลก

แม้ผมรู้สึกว่าหนังค่อนข้างน่าสนใจในแนวคิด ไดเรคชั่น และภาพสวยๆของ Gabriel Figueroa แต่เมื่อดูจบแล้วกลับรู้สึกเวิ้งว่างเปล่ายังไงชอบกล เรื่องราวดำเนินไปอย่างล่องลอย ไร้จุดหมาย เหมือนมีเพียง Dark Comedy แค่ต้องการล้อเลียนเสียดสีความเชื่อศรัทธา ฉุดคร่านักบุญ/นักพรตให้ตกลงมาเบื้องล่าง และสะท้อนยุคสมัยปัจจุบันนี้-นั้น เท่านั้นเองฤา?

มันอาจเพราะว่า Simon of the Desert (1965) มีความตั้งใจดั้งเดิมให้เป็นหนังยาว (Feature Length) แต่ด้วยข้อจำกัดอย่างที่เกริ่นนำ เนื้อหาสาระแท้จริงเลยปลิดปลิวไปกับสายลม

เกร็ด: Simon of the Desert (1965) คือภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ Luis Buñuel ที่สร้างขึ้นในช่วง Mexican Period (1956-64)


Luis Buñuel Portolés (1900 – 1983) สัญชาติ Spanish เกิดที่ Calanda, Aragon เป็นบุตรคนโตมีน้อง 6 คน, เมื่อตอนอายุได้ 4 ขวบครี่ง ครอบครัวอพยพย้ายสู่ Zaragoza ถิ่นที่อยู่อาศัยของคนมีฐานะ ชนชั้นกลาง ถูกส่งไปศีกษาร่ำเรียนเป็นบาทหลวงยัง Colegio del Salvador แต่หลังจากได้พานพบเห็นอะไรบางอย่าง จึงหมดสิ้นเสื่อมศรัทธาในศาสนา, อายุ 16 เข้าเรียนต่อยัง University of Madrid แรกเริ่มคณะเกษตร เปลี่ยนมาวิศวะ สุดท้ายคือปรัชญา, ความสนใจในภาพยนตร์เมื่อโอกาสรับชม Der müde Tod (1921) ของผู้กำกับ Fritz Lang, เมื่อปี 1925 มุ่งสู่กรุง Paris ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Jean Epstein, สรรค์สร้างผลงานเรื่องแรก Un Chien Andalou (1929), L’Age d’Or (1930)

การมาถึงของจอมพล Francisco สงครามกลางเมือง Spanish Civil War (1936-39) และภาพยนตร์/สารคดี Las Hurdes (1933) ถูกแบนห้ามฉายในสเปน ทำให้ Buñuel ตัดสินใจเดินทางมุ่งสู่ Hollywood ครุ่นคิดพัฒนาหลากหลายโปรเจคแต่ก็ไม่เป็นรูปเป็นร่าง เป็นชิ้นเป็นอัน จนกระทั่งได้รับชักชวนจากโปรดิวเซอร์ Oscar Dancigers อพยพย้ายมาประเทศ Mexico ตั้งแต่ปี 1946 เริ่มต้นสรรค์สร้าง Gran Casino (1947) ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่ยังได้รับโอกาสอีกครั้ง El Gran Calavera (1949) คราวนี้สามารถทำเงินถล่มทลาย จากนั้นก็สรรค์สร้างภาพยนตร์ในช่วง Mexican Period (1946-64) มีผลงานทั้งหมด 20 เรื่อง

ช่วงปี 1960, หลังจาก Buñuel มีโอกาสรับรู้จักโปรดิวเซอร์ Gustavo Alatriste จึงร่วมกันสรรค์สร้างภาพยนตร์ Viridiana (1961) ติดตามมาด้วย The Exterminating Angel (1962) ซึ่งก็ได้เสนอแนะโปรเจคถัดไป ร่วมงานสร้าง 3 ผู้กำกับดัง ประกอบด้วย Federico Fellini (เรียกร้องขอให้ศรีภรรยา Giulietta Masina แสดงนำ) และ Jules Dassin (เรียกร้องขอให้ศรีภรรยา Melina Mercouri แสดงนำ) ต่างคนต่างต้องการให้เมียตนเองรับบทนำ แต่ Alatriste ยืนกรานต้องให้ศรีภรรยา Silvia Pinal แสดงนำเท่านั้น!

เกร็ด: หลังจากติดต่อใครอื่นไม่ได้ Gustavo Alatriste เลยต้องการกำกับเองอีกสักตอน แต่ Silvia Pinal ไม่เอาด้วยกับสามี นั่นคือจุดเริ่มต้นความบาดหมาย และหย่าร้างไม่กี่ปีถัดมา

Buñuel ได้แรงบันดาลใจ Simon of the Desert (1965) หลังจากมีโอกาสอ่านหนังสือ Golden Legend (ภาษาละติน Legenda aurea หรือ Legenda sanctorum) รวมรวบชีวประวัตินักบุญ/นักพรต (เรียกว่า Encyclopaedia ก็ไม่ผิดอะไร) เรียบเรียงโดย Jacobus de Varagine (1230-98) นักบวชชาวอิตาเลี่ยน และเป็นอัครมุขนายก (Archbishop) ประจำเมือง Genoa ซึ่งฉบับดั้งเดิมเขียนเสร็จช่วงปี 1259-66 แต่ก็ได้มีการเพิ่มเติมบุคคลสำคัญๆในประวัติศาสตร์มาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน

ในบรรดานักบุญ/นักพรตจากหนังสือ Golden Legend ผู้กำกับ Buñuel ค้นพบเรื่องราวที่น่าสนใจของ Simeon Stylites เลยร่วมงานพัฒนาบทกับ Julio Alejandro (1906-95) นักเขียนสัญชาติ Spanish ร่วมงานขาประจำมาตั้งแต่ Nazarín (1959), Viridiana (1961) และอีกผลงานถัดจากนี้ Tristana (1970)


Claudio Brook ชื่อจริง Claude Sydney Brook Marnat (1927-95) นักแสดงสัญชาติ Mexican เกิดที่ Mexico City บิดาเป็นนักการทูตชาวอังกฤษ แต่งงานมารดาเชื้อสาย French-Mexican เลยสามารถพูดคล่องแคล่วทั้งสามภาษา โตขึ้นเริ่มจากเป็นนักพากย์หนัง ตามด้วยละครเวที และภาพยนตร์ ผลงานเด่นๆ อาทิ The Exterminating Angel (1962), Simon of the Desert (1965), รับบท Jesus Christ เรื่อง La vida de nuestro Señor Jesucristo (1986) ฯ

รับบทนักพรต Simón ตั้งใจอุทิศตนเพื่อพิสูจน์ความเชื่อศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า ประกาศกร้าวจะอาศัยอยู่บนแท่นเหนือพื้นดินตลอดชีวิต ซึ่งหลังจากอาศัยอยู่บนเสาสูงแปดเมตรกลางทะเลทรายมานาน 6 ปี 6 สัปดาห์ และ 6 วัน ได้รับคำเชื้อเชิญจากบรรดาบาทหลวงและประชาชน ให้ย้ายมาประดิษฐานยังเสาต้นใหม่สูง 15 เมตร แสดงปาฏิหารย์มอบแขนใหม่แก่คนพิการ พบเห็นซาตานพยายามยั่วเย้ายวนให้เขาก้าวลงจากแท่น จนในที่สุดก็ถูก(ซาตาน)ลักพาตัวอย่างไม่เต็มใจ กระโดดข้ามเวลามายังไนท์คลับแห่งหนึ่ง (ช่วงทศวรรษ 1960s) เรียกร้องขอให้ส่งตัวกลับบ้าน แต่ถูกบอกปัดปฏิเสธเพราะตนเองก็มิอาจกระทำได้

หนังไม่ได้อธิบายเหตุผล ที่มาที่ไป เพราะเหตุใด Simon ถึงตัดสินใจอาศัยอยู่บนแท่นสูง นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่ที่เขาเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับการอุปถัมภ์ให้เปลี่ยนเสา เข้าใกล้สรวงสวรรค์/พระเป็นเจ้ามากขึ้น ขณะเดียวกันซาตานก็มีบังเกิดความลุ่มร้อนรน ปรากฎตัวออกมาให้พบเห็นบ่อยครั้งเช่นเดียวกัน

พอไว้หนวดเครา น้อยคนคงจะจำใบหน้าอันเกลี้ยงเกลาของ Claudio Brook ซึ่งแลดูคล้ายฤษี นักพรต ไม่ยึดติดรูปลักษณ์ภายนอก ทั้งยังอากัปกิริยาเล่นน้อยได้มาก ค่อยๆขยับเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าแต่มั่นคง สีหน้านิ่งสงบสติอารมณ์ ยกเว้นเพียงขณะเผชิญหน้าซาตาน มักแสดงอาการเกรี้ยวกราด ขึ้นเสียง ไม่พึงพอใจ พยายามขับไล่ผลักไสส่ง จนกระทั่งเมื่อถูกลักพาตัว สูบไปป์ ใส่เสื้อไหมพรม หวีผม โกนหนวดเครา นี่มันคนๆเดียวกันจริงๆนะหรือ

บทบาทนี้ของ Brook กลายเป็นภาพจำของผู้ชม ผลงานเด่นๆของเขาก็มักบทบาทนักพรต นักบุญ บุคคลผู้มีศีลธรรม นั่นรวมไปถึง Jesus Christ ฉบับ Mexican ถึงผมไม่เคยรับชมก็ครุ่นคิดว่าคงไม่น่าผิดหวัง


Silvia Pinal Hidalgo (เกิดปี 1931) นักแสดงสัญชาติ Mexican เกิดที่ Guaymas, Sonora, วัยเด็กมีความสนใจภาพยนตร์ ภาพยนตร์ ชื่นชอบการเขียน บทกวี พอโตขึ้นได้เข้าประกวดเวทีนางงาม ได้รับรางวัล Student Princess of Mexico, ตัดสินใจร่ำเรียนการขับร้องโอเปร่า แต่พอออดิชั่นไม่ผ่านได้รับคำแนะนำให้เปลี่ยนมาด้านการแสดง Instituto Nacional de Bellas Artes ไม่นานนักก็มีผลงานละครเวทีที่ Ideal Theater, ภาพยนตร์เรื่องแรก Bamba (1949), The Doorman (1949), El rey del barrio (1949), ได้รับคำชมล้นหลามกับ Un rincón cerca del cielo (1952), โด่งดังระดับนานาชาติจากการได้ร่วมงาน Luis Buñuel ถึงสามครั้ง Viridiana (1961), El ángel exterminador (1962) และ Simón del desierto (1964)

รับบทซาตาน พยายามก่อกวน ยั่วเย้ายวน สร้างความหงุดหงิดไม่พึงพอใจต่อ Simón มาในหลายรูปลักษณ์ อาทิ หญิงสาวสวยเดินถือไหดินเผา, เด็กหญิงเล่นสนุกไร้เดียงสา, ปลอมตัวเป็นพระเยซู, เข้าสิงบาทหลวง พยายามพูดใส่ร้ายป้ายสี, ครั้งสุดท้ายขึ้นจากโลงศพ แล้วลักพาตัวเดินทางสู่อนาคต ลุกขึ้นเต้นเริงระบำแล้วสูญหายตัวท่ามกลางฝูงชน

Pinal หลังร่วมงานผู้กำกับ Buñuel มาแล้วสองครั้ง มีความเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ พร้อมทำทุกสิ่งอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ ให้เปลือยอก แต่งกายล้อเลียนพระเยซู ฯ น่าเสียดายที่พวกเขาไม่โอกาสได้ร่วมงานกันอีก … จริงๆ Pinal หมายมั่นปั้นมือจะเล่น Diary of a Chambermaid, Belle de Jour และอีกหลายโปรเจค แต่ก็มีเหตุให้ถูกขัดขวาง (โดยโปรดิวเซอร์ที่อยากได้นักแสดงมีชื่อเสียงมากกว่า) ซึ่งหลังจากเลิกราโปรดิวเซอร์ Gustavo Alatriste ก็ไม่มีใครสนับสนุนผลักดันให้ได้รับโอกาสแบบนี้อีก


ถ่ายภาพโดย Gabriel Figueroa (1907-97) ตากล้องระดับตำนาน สัญชาติ Mexican เกิดที่ Mexico City, โตขึ้นร่ำเรียนการวาดรูป Academy of San Carlos และไวโอลิน National Conservatory แต่เมื่อครอบครัวประสบปัญหาการเงิน ทำให้ต้องลาออกมาทำงานยังสตูดิโอ Colonia Guerrero แรกเริ่มออกแบบสร้างฉาก จากนั้นกลายเป็นผู้ช่วยช่างภาพนิ่ง Juan de la Peña, José Guadalupe Velasco, ก่อนออกมาเปิดสตูดิโอ(ถ่ายภาพนิ่ง) แล้วได้รับคำชักชวนให้เข้าสู่วงการภาพยนตร์ มีโอกาสเดินทางไป Hollywood ศึกษาการทำงานของ Gregg Toland จากเรื่อง Splendor (1935) เลยมุ่งมั่นเอาดีด้านนี้ แจ้งเกิดโด่งดังทันทีกับ Allá en el Rancho Grande (1936), ผลงานเด่นๆ อาทิ María Candelaria (1944), The Fugitive (1947), The Pearl (1947), The Unloved Woman (1949), Los Olvidados (1950), Nazarín (1959), The Exterminating Angel (1962), The Night of the Iguana (1964) ** ได้เข้าชิง Oscar: Best Cinematography

หนังปักหลักถ่ายทำยัง Los Médanos หรือ Samalayuca Dune Fields ตั้งอยู่บริเวณ Samalayuca, Chihuahua ทางตอนเหนือของประเทศ Mexico ติดกับชายแดนรัฐ New Mexico ประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยปกติแล้วหนังของ Buñuel จะไม่เน้นการถ่ายภาพให้มีความสวยงามตระการตา เพราะมันจะไปแก่งแย่งความสนใจจากเนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ แต่คงยกเว้นกับ Simon of the Desert (1965) เพราะท้องฟากฟ้า ทะเลทราย ล้วนมีอิทธิพลต่อตัวละครเป็นอย่างยิ่ง

คนทำงานเบื้องหลังน่าจะตระหนักได้ไม่ยากว่า การถ่ายทำบนความสูง 15 เมตร มีความยุ่งยากเกินไป (โดยเฉพาะการ Close-Up) ซี่งภาพยนตร์สามารถหลอกลวงผู้ชมโดยการถ่ายมุมเงย สร้างเสาเตี้ยๆอีกต้น เผื่อนักแสดงกลัวความสูงจะได้ไม่มีปัญหาอะไร (แต่เสาขนาดเท่าของจริงก็มีอยู่นะครับ มองไกลๆก็ดูไม่ออกหรอกว่านักแสดงหรือตัวแทน/สตั๊นแมน)

เสาหินและการเปลี่ยนเสา ผมมองในเชิงสัญลักษณ์ของดุ้นอันใหญ่ ความพยายามทำตัวสูงส่ง ยกยอปอปั้นตนเองให้เหนือกว่าผู้อื่น มองลงมาเห็นมนุษย์ผู้ต่ำต้อย นอกจากนี้ยิ่งสูงยิ่งใกล้ชิดท้องฟ้า สรวงสวรรค์ พระเป็นเจ้า (จะมองว่าทำตัวเหมือนพระเจ้า ก็ได้เหมือนกัน)

นักพรต Simón แม้จะสอบถามคนพิการว่าทำไมถีงแขนขาด (ถูกตัดเพราะลักขโมย) เพียงแค่อ้างว่ารู้สำนีกผิด ก็สำแดงปาฏิหารย์ให้แขนทั้งสองข้างงอกขี้นใหม่ แต่ไม่ทันไรหลังจากนั้น กลับตบหัวบุตรสาวอย่างไม่รู้สำนีกคุณค่าของสิ่งได้รับ … เฉกเช่นนั้นแล้ว ปาฏิหารย์ดังกล่าวสำแดงไป มีประโยชน์อันใดเล่า?

ภาพแรกของซาตานสุดสวย สวมชุดแม่ชี แบกไหดินเผาเดินผ่านหน้ากล้อง สัญลักษณ์ของความเปราะบาง แค่โยนทิ้งตกลงพื้นก็แตกสลาย เฉกเช่นเดียวกับความเชื่อศรัทธาของมนุษย์ ที่ซานตาตนนี้ครุ่นคิดวางแผนฉุดคร่า Simón ให้ล่วงหล่นลงจากสรวงสวรรค์

ผมเชื่อว่าใครๆย่อมมองเห็นซาตานคนนี้มีตาสองข้างเป็นปกติ แต่การที่ Simón ยืนกรานว่าถ้ามองลีกเข้าไปในจิตใจจะพบเห็นเพียงดวงตาข้างเดียว ซี่งสะท้อนถีงความมืดบอด โฉดชั่วร้ายของหญิงสาว (สังเกตนิ้วยาว เล็บเรียวแหลมผิดธรรมชาติ) ซี่งเธอพยายามล่อตาล่อใจให้ทุกผู้คนตกหลุมรักหลงใหล

หลังจากพบเห็นบาทหลวงหนุ่ม ทำตัวร่าเริงสนุกสนาน Simón (จะมองว่าเก็บภาพมาฝันก็ได้เหมือนกัน) พบเห็นซาตานปลอมตัวเป็นเด็กหญิงสาว ขับร้องเพลง กระโดดโลดเต้น เริงระบำไปมา จากนั้นโชว์เรียวขา เปิดหน้าอก สำหรับยั่วเย้ายวนกามารณ์ แต่นักพรตก็หลับตาสวดอธิษฐาน เสียงฟ้าผ่ามาพร้อมภาพความจริง หญิงชราเนื้อหนังแห้งเหี่ยว ไม่หลงเหลือความน่าดูชมอันใด

เป็นเรื่องปกติของบุคคลทำความดี ย่อมมีศัตรูผู้มีความอิจฉาริษยา ครุ่นคิดวางแผนประทุษร้าย พูดโป้ปดให้สูญเสียชื่อเสียง เกิดข้อครหานินทา ซี่งเรายังสามารถมองสิ่งบังเกิดขี้นกับบาทหลวงคนนี้ คือถูกซาตานเข้าสิง แล้วใช้มารยาลวงล่อหลอกผู้คน แต่หลังจากนักพรตสวดอธิษฐาน ก็ทำให้ชายคนนี้น้ำลายฟูมปาก มิอาจเอ่ยปากพูดอะไรออกมาได้อีก

ซาตานในคราบพระเยซูคริสต์ อุ้มลูกแกะ ทำการเทศนาสั่งสอน โน้มน้าวชักจูงให้ลงมาจากแท่นสูง ตอนแรก Simón เกือบจะหลงเชื่อทำตาม แต่ไม่นานก็ตระหนักได้ว่านี่คือภาพลวงตา ปีศาจชั่วร้ายปลอมตัวมาทดสอบจิตใจ ว่ามีความเข้าใจต่อคำสอนของพระเป็นเจ้ามากน้อยเพียงใด ซี่งหลังจากความจริงได้รับการเปิดเผย ซาตานตนนี้ก็แสดงธาตุแท้ พูดถ้อยคำสาปแช่งหยาบคาย แล้วเตะลูกแกะโดยไม่สนอะไร (นั่นทำให้ Simón ยืนกระต่ายขาเดียว เพื่อชดใช้ความผิดที่(ซาตาน=สิ่งชั่วร้ายภายในจิตใจ)เคยกระทำ)

Come down off that column. Taste earthly pleasures till you’ve had your fill. Till the very word pleasure fills you with nausea.

The Devil

ซาตานลุกขี้นจากโลงศพ (น่าจะล้อกับการฟื้นคืนชีพของพระเยซูคริสต์) แต่คราวนี้ไม่ได้พูดคำโน้มน้าว Simón อีกต่อไป (จะสื่อถีงความตายของ Simón ก็ได้เหมือนกัน) แค่จู่ๆลักพาตัว ออกเดินทางสู่อนาคต ศตวรรษ 1960s เพื่อแสดงให้เห็นถีงโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป มุ่งสู่หายนะ วันโลกาวินาศ

Simon of the desert, you may not believe it, but you and I are very much alike. Like you, I believe in God the Father Almighty, because I’ve been in his presence.

The Devil

แซว: ผู้กำกับ Luis Buñuel เขียนบทรำพันย่อหน้าสุดท้ายในหนังสือชีวประวัติ Mon Dernier Soupir (1982) ให้ความรู้สีกคล้ายๆฉากนี้เลยนะ ถ้าเลือกได้อยากฟื้นคืนชีพทุกๆสิบปี ลุกขี้นมาซื้อหนังสือพิมพ์ อ่านข่าวสารความเป็นไปของโลก ก่อนกลับลงโลงหลับสบายอย่างปลอดภัย ไร้สิ่งกังวลอีกต่อไป

ปฏิกิริยาของ Simón ดูหมดสิ้นหวังกับภาพที่พบเห็น มนุษย์ต่างกระโดดโลดเต้น ‘Radioactive Flesh’ ใช้ชีวิตอย่างสุดเหวี่ยง บ้าคลั่ง เมามันส์ โลกอนาคต/ปัจจุบันช่างมีเสื่อมทราม หมดสิ้นหวัง ผู้คนไร้สามัญสำนีก ถูก-ผิด ชอบ ชั่ว-ดี นี่มันขุมนรก ราวกับวันสิ้นโลกก็ไม่ปาน

ภาพลักษณ์ของ Simón แปรสภาพจากนักพรตกลายมาเป็น(เหมือน)ศาสตราจารย์ ผู้มีความรู้มาก ดูเฉลียวฉลาด ทรงภูมิปัญญา หรือในเชิงสัญลักษณ์สามารถเทียบแทนด้วย Luis Buñuel ก็ไม่ผิดอะไร

ส่วนซาตานก็มีความเต็มที่สุดเหวี่ยงกับชีวิต บัดนี้ไม่ต้องต่อสู้ขัดแย้งกับใคร สามารถเสพกระสันต์ เริงระบำ สูญหายตัวท่ามกลางฝูงชน … หรือจะเรียกว่าทุกๆคนในยุคสมัยนี้ ต่างมี ‘ซาตาน’ ซ่อนเร้นอยู่ภายใน

ตัดต่อโดย Carlos Savage (1919-2000) สัญชาติ Mexican ขาประจำของ Luis Buñuel ตั้งแต่ Los Olvidados (1950), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ La guerra santa (1979), El principio (1973) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตาของ Simón ตั้งแต่อาศัยอยู่บนแท่นหิน 6 ปี 6 สัปดาห์ และ 6 วัน เริ่มจากวันเปลี่ยนเสา ดำเนินไปข้างหน้าแบบไม่รู้วันรู้คืน ร้อยเรียงความพยายามของซาตาน ฉุดคร่านักพรตลงมาจากด้านบน และที่สุดก็ตัดสินใจลักพาตัวกระโดดข้ามเวลามายุคสมัยปัจจุบัน ทศวรรษ 1960s

ผมขอแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆ จะมองเห็นภาพชัดเจนกว่า

  • หลังจากอาศัยอยู่บนแท่นหินครบ 6 ปี 6 สัปดาห์ และ 6 วัน ได้รับการอุปถัมภ์เสาหินต้นใหม่ที่มีความสูงใหญ่กว่า
  • แสดงปาฏิหารย์คืนมือชายแขนขาดให้กลับมาเหมือนใหม่
  • การมาถีงของซาตานในคราบแม่ชีถือไห และบาทหลวงที่ยังมองโลกเพียงเปลือกภายนอก
  • การมาถีงของบาทหลวงหนุ่มผู้ยังลุ่มหลงใหลทางโลกียะ
  • ซาตานในคราบเด็กสาว ร่าเริงสนุกสนาน ไร้เดียงสา ก่อนกลายสภาพเป็นหญิงชรา
  • ซาตานเข้าสิงบาทหลวงคนหนี่ง พยายามให้ร้ายป้ายสี ก่อนถูกชำระล้าง (ไล่ผี) ออกจากร่าง
  • ซาตานปลอมตัวเป็นพระเยซูคริสต์ พยายามโน้มน้าวให้ Simón ลงมาจากแท่นหิน
  • ช่วงเวลาแห่งการอำนวยอวยพรของทุกสรรพชีวิตของ Simón
  • การมาถีงของโลงศพ แล้วซาตานลักพาตัว Simón ออกเดินทางสู่อนาคต
  • ไนท์คลับแห่งหนี่ง มนุษย์ดิ้นพร่านสุดเหวี่ยง ราวกับพรุ่งนี้จะเป็นวันสุดท้ายของชีวิต

สำหรับบทเพลง ผมมีความก้ำกี่งเล็กๆว่าจะเรียกเพลงประกอบหรือ Sound Effect เพราะมีเพียงเสียงรัวกลองที่สะท้อนสภาวะทางจิตใจตัวละคร มักดังขี้นช่วงขณะ Simón ต้องต่อสู้กับตัวตนเอง อาศัยอยู่โดยลำพัง หรือกำลังเผชิญหน้ากับซาตาน (สิ่งชั่วร้ายภายในจิตใจ)

Rebelde Radioactivo (1965) แต่ง/บรรเลงโดย Los Sinners วงดนตรี Rock and Roll สัญชาติ Mexican ซี่งก็มารับเชิญแสดงสดช่วงท้ายของหนัง, หนี่งในสมาชิกวง Federico Arana เล่าว่า Buñuel แค่รู้จัก/เคยได้ยินบทเพลงของวง (ไม่ได้เป็นแฟนคลับแต่อย่างใด) ต้องการร่วมงานเพราะมองว่านี่คือสไตล์เพลงแห่งยุคสมัยนั้น ขอแค่ดนตรีจังหวะสนุกสุดมันส์ ‘tremendous rock’ ไม่ต้องการเนื้อคำร้องใดๆ เสนอบทเพลงนี้ซี่งเขาก็มีความชื่นชอบมากๆ ถีงขนาดจะนำมาตั้งชื่อหนัง แต่ถูกโปรดิวเซอร์ Gustavo Alatriste ทัดทานเพราะกลัวต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์สูงขี้นกว่าเดิม

Buñuel came to us asking. He needed a suitable song for the final scene and he arrived at Café Milleti and where we performed. Don Luis asked us to play tremendous rock. I asked him if he wanted something sung or instrumental? And he said that it was instrumental but very strong. He meant very sinister and very beast. I offered him ‘Rebelde Radioactivo’ and not only did he find the piece suitable, but he also communicated his intention to name the film after the not very fine and inspired melody. The bad thing is that Gustavo Alatriste, producer on duty, said no because then they would have to pay me a lot more for the rights.

Federico Arana

ความกลัวในสิ่งไม่สามารถอธิบายได้ ทั้งปรากฎการณ์(เหนือ)ธรรมชาติ ชีวิตหลังความตาย คนเราเกิดมาทำไม เป็นเหตุให้มนุษย์ต้องการที่พึ่งพักพิงทางร่างกาย-จิตใจ ซึ่งปรัชญา/วิถีความเชื่อชาวตะวันตก ถกเถียงกันมาแต่โบราณกาลว่า จักรวาล/โลกใบนี้ต้องมีใครสักคนสรรค์สร้างขึ้น นั่นก็คือพระบิดาสูงสุด พระเจ้าผู้สร้าง และเมื่อสิ่งมีชีวิต/ลูกหลานของพระองค์หมดสิ้นอายุไขบนโลก ก็ต้องหวนกลับสู่สรวงสวรรค์ อาศัยอยู่บนความนิจนิรันดร์

บุคคลผู้มีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าต่อพระเจ้าอย่าง Simón หรือ Simeon Stylites มองในมุมหนึ่งต้องการพิสูจน์ศรัทธา ว่าจักสามารถต่อสู้ซาตาน เอาชนะมารผจญ กิเลสความต้องการภายในตัวตนเองได้หรือไม่ แต่ถ้าเรามองกลับตารปัตร พฤติกรรมดังกล่าวมันไม่ต่างจากเรียกร้องความสนใจ (จากพระเจ้า และบุคคลผู้รับรู้/พบเห็น) งมงายในสิ่งจับต้องไม่ได้ เสียชาติเกิดในสิ่งไร้สาระทั้งเพ!

สำหรับผู้กำกับ Buñuel แน่นอนว่าสามารถเทียบแทนกับนักพรต Simón เชื่อมโยงกันด้วยความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้าอย่างแรงกล้า ใช้ชีวิตท่ามกลางทะเลทรายบนเสาสูง (ปักหลักใช้ชีวิตใน Mexico สรรค์สร้างภาพยนตร์ทรงคุณค่าต่อมนุษยชาติ) เผชิญหน้าซาตานในรูปแบบต่างๆ (Buñuel ถูกสังคม/ผู้ชมท้าทายบ่อยครั้ง เพราะผลงานมีความหมิ่นเหม่ ขัดแย้งต่อหลักศีลธรรม) และแม้ถูกลักพาตัวมาสู่ปัจจุบัน ก็มิได้เริงรื่นครื้นเครงไปกับโลกใบนี้สักเท่าไหร่

แต่เอาจริงๆผมมีความสับสนพอสมควรว่า ผู้กำกับ Buñuel สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยจุดประสงค์อันใดกันแน่? แม้เจ้าตัวมีความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้าอย่างแรงกล้า แต่การนำเสนอด้วยไดเรคชั่นที่ดูขบขัน (Dark Comedy) ทำให้เราสามารถมองเป็นการล้อเลียน เสียดสีบุคคลผู้มีความเชื่อศรัทธา พระเยซู=ซาตาน วิถีปฏิบัติแบบ Simón หรือ Simeon Stylites ช่างดูไร้สาระทั้งเพ!

มันอาจเพราะว่า (ความเห็นส่วนตัวล้วนๆนะครับ) Buñuel ไม่เห็นด้วยกับวิธีการของ Simón หรือ Simeon Stylites การจะอุทิศตนเพื่อพระเจ้านั้นมีมากมาย แต่การปฏิบัติของพวกเขาเอาแต่เผชิญหน้าจิตใต้สำนีก ต่อสู้ซาตานเพียงลำพัง สนเพียงเข้าใกล้สรวงสวรรค์ เรียกร้องให้พระเจ้าหันมาสนใจ(ตนเอง) นั่นไม่ได้ก่อประโยชน์อันใดต่อสาธารณะ หนำซ้ำเป็นการสร้างค่านิยมชวนเชื่อให้งมงาย กลายเป็นเครื่องมือคริสตจักรกอบโกยผลประโยชน์ในยุคสมัยปัจจุบัน

(เพราะความสับสน/ขัดแย้งกันดังกล่าว ผมเลยมองหนังในลักษณะ ‘High Art’ แทนผู้กำกับ Buñuel คือนักพรต Simón แล้วเรื่องราวทั้งหมดจะมีลักษณะแค่คือกี่งอัตชีวิตประวัติ มันก็จะไม่มีนงงอะไรไปมากกว่านั้น)

การถูกลักพาตัวละครมาสู่ยุคสมัยปัจจุบัน ยังสามารถสื่อถึงผู้กำกับ Buñuel หลังจากนี้จะไม่ได้สรรค์สร้างภาพยนตร์ที่ Mexico อีกต่อไป (มันอาจเป็นความบังเอิญที่คาดไม่ถีงจริงๆนะ) ซี่งหกผลงานที่เหลือ ล้วนได้ทุน/ถ่ายทำยังฝรั่งเศสหรือสเปน เรียกว่าทอดทิ้งจากการปักหลักอาศัยอยู่บนยอดเสากลางทะเลทราย หวนกลับสู่โลกความจริง (ที่ได้กลายเป็นตำนานเรียบร้อยแล้ว)


หนังออกฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม คว้ารางวัลประกอบด้วย

  • Special Jury Prize ร่วมกับ I Am Twenty (1965) และ Modiga mindre män (1965)
  • FIPRESCI Prize ร่วมกับ Gertrud (1964)

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ (hi-def restoration) แปลงเป็นไฟล์ digital โดย Criterion และสามารถหารับชมได้ทาง Criterion Channel

Simon of the Desert (1965) เป็นภาพยนตร์ที่มีความน่าสนใจมากๆในช่วงแรกๆ แต่พอรับชมไปได้สักพักผมก็รู้สึกว่ามันไม่อะไรให้น่าติดตามสักเท่าไหร่ 45 นาทียังยาวไปเสียด้วยซ้ำ! ถึงแม้ Buñuel จะพยายามแทรกใส่ซาตาน การต่อสู้/ขัดแย้งภายในจิตใจ เรียกเสียงหัวเราะขบขัน Dark Comedy แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึง และทำให้ภาพรวมของหนังถูกตีตราว่าคือ การล้อเลียนเสียดสีความเชื่อศรัทธาเท่านั้นเอง

แนะนำเฉพาะกับคอหนัง Dark Comedy, มีความสนใจในนักบุญ/นักพรต Simeon Stylites, และแฟนๆหนัง Luis Buñuel ที่ไม่มีอคติต่อผลงานของเขา ถึงค่อยลองหามารับชมนะครับ

จัดเรต pg แต่เด็กๆอาจดูไม่รู้เรื่องสักเท่าไหร่

คำโปรย | Simon of the Desert ของ Luis Buñuel มีเพียง Dark Comedy ที่ดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมาย
คุณภาพ | แค่น่าสนใจ
ส่วนตัว | ชวนสับสน

Ensayo de un crimen (1955)


The Criminal Life of Archibaldo de la Cruz (1955) Mexican : Luis Buñuel ♥♥♥♡

เรื่องราวของ Archibaldo de la Cruz (รับบทโดย Ernesto Alonso) ผู้มีความหมกมุ่นที่จะก่ออาชญากรรม ต้องการเข่นฆ่าคนตาย แต่สุดท้ายไม่เคยได้กระทำ เพราะเป้าหมายล้วนมีเหตุให้ต้องเสียชีวิตจากไปก่อน เฉกเช่นนั้นแล้วเขาถือเป็นอาชญากรหรือไม่?

Luis Buñuel ชักชวนให้ผู้ชมตั้งคำถามลักษณะเดียวกันว่า ผลงานภาพยนตร์ของเขาที่เต็มไปด้วยประเด็นเสียดสีสังคมการเมือง กระแนะกระแหนคริสตจักร ตั้งคำถามศีลธรรม จริยธรรม กฎกรอบเกณฑ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ เหล่านี้มีความผิดประการใด? สมควรได้รับโทษประหารชีวิตหรือไม่?

การครุ่นคิดไม่ใช่สิ่งผิด! ภาพยนตร์ก็เฉกเช่นเดียวกัน แต่คนที่รับรู้ รับชม แล้วนำไปตัดสินถูก-ผิด อ้างหลักการโน่นนี่นั่น ชอบธรรม ชั่ว-ดี ไม่ใช่พวกเขาเหล่านี้หรอกหรือที่เป็นฝ่ายผิด!

The Criminal Life of Archibaldo de la Cruz หรือ Rehearsal for a Crime เป็นหนึ่งในผลงานที่มักถูกมองข้ามของ Luis Buñuel ด้วยข้อจำกัดเงินทุน ระยะเวลาโปรดักชั่น คุณภาพโดยรวมห่างไกลผลงานเด่นๆโลกจดจำ ถึงอย่างนั้นคะแนนใน IMDB ค่อนข้างสูงถึง 7.8/10 ผมเลยลองเสี่ยงหามารับชม ไม่ได้ชอบมาก แต่ก็ไม่ผิดหวังอะไร


Luis Buñuel Portolés (1900 – 1983) สัญชาติ Spanish เกิดที่ Calanda, Aragon เป็นบุตรคนโตมีน้อง 6 คน, เมื่อตอนอายุได้ 4 ขวบครี่ง ครอบครัวอพยพย้ายสู่ Zaragoza ถิ่นที่อยู่อาศัยของคนมีฐานะ ชนชั้นกลาง ถูกส่งไปศีกษาร่ำเรียนเป็นบาทหลวงยัง Colegio del Salvador แต่หลังจากได้พานพบเห็นอะไรบางอย่าง จึงหมดสิ้นเสื่อมศรัทธาในศาสนา, อายุ 16 เข้าเรียนต่อยัง University of Madrid แรกเริ่มคณะเกษตร เปลี่ยนมาวิศวะ สุดท้ายคือปรัชญา, ความสนใจในภาพยนตร์เมื่อโอกาสรับชม Der müde Tod (1921) ของผู้กำกับ Fritz Lang, เมื่อปี 1925 มุ่งสู่กรุง Paris ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Jean Epstein, สรรค์สร้างผลงานเรื่องแรก Un Chien Andalou (1929), L’Age d’Or (1930)

การมาถึงของจอมพล Francisco สงครามกลางเมือง Spanish Civil War (1936-39) และภาพยนตร์/สารคดี Las Hurdes (1933) ถูกแบนห้ามฉายในสเปน ทำให้ Buñuel ตัดสินใจเดินทางมุ่งสู่ Hollywood ครุ่นคิดพัฒนาหลากหลายโปรเจคแต่ก็ไม่เป็นรูปเป็นร่าง เป็นชิ้นเป็นอัน จนกระทั่งได้รับชักชวนจากโปรดิวเซอร์ Oscar Dancigers อพยพย้ายมาประเทศ Mexico ตั้งแต่ปี 1946 เริ่มต้นสรรค์สร้าง Gran Casino (1947) ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่ยังได้รับโอกาสอีกครั้ง El Gran Calavera (1949) คราวนี้สามารถทำเงินถล่มทลาย

สำหรับ The Criminal Life of Archibaldo de la Cruz ดัดแปลงจาก Ensayo de un crimen (1944) แปลตรงตัวว่า Essay of crime แต่งโดย Rodolfo Usigli (1905-79) นักกวี นักเขียน ‘บิดาแห่ง Modern Mexican Theater’ โดยเป้าหมายของนวนิยายเล่มนี้เพื่อวิพากย์วิจารณ์สภาพสังคม การเมือง และวิถีชีวิตชนชั้นกลางตอนบน (Upper-Middle Class)

ดั้งเดิมนั้น Buñuel ร่วมงานกับ Usigli เพื่อดัดแปลงนวนิยายเล่มดังกล่าวสู่บทภาพยนตร์ แต่แค่เพียงสองสัปดาห์ก็ต่างแยกย้ายเพราะความคิดเห็นไม่ตรงกัน, Usigli ไม่ต้องการปรับเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆ แต่ Buñuel สนเพียงแนวคิดและบางเหตุการณ์เท่านั้น เลยเปลี่ยนมาร่วมงานกับ Eduardo Ugarte (1901-55) ผู้กำกับ/นักเขียน สัญชาติสเปน อพยพหลบหนีภัยสู่ Mexico ในช่วง Spanish Civil War (1936-39)

ความสนใจของ Buñuel คือการนำเสนอสภาวะจิตวิทยา สภาพจิตใจตัวละคร เพิ่มเติมเรื่องราววัยเด็ก สิ่งสัญลักษณ์กล่องเพลง (Music Box) แทรกใส่อิทธิพล Mexican Revolution (1910-20) และเป้าหมายฆาตกรรมคือหญิงสาวทั้งหมด (โดยให้พวกเธอกระทำการลวงล่อหลอกบางสิ่งอย่างจากพระเอก)


Ernesto Alonso (1917-2007) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติ Mexican เกิดที่ Aguascalientes ตั้งแต่เด็กอยากเป็นนักแสดง เริ่มต้นจากละครเวที ก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 1938 ค่อยๆสะสมชื่อเสียงจนโด่งดังในช่วงทศวรรษ 40s เป็นผู้ให้เสียงบรรยาย Los Olvidados (1950) และรับบทนำ Ensayo de un crimen (1955)

รับบท Archibaldo de la Cruz ชายวัยกลางคน ชนชั้นกลางตอนบน ตั้งแต่เด็กเมื่อได้รับของขวัญกล่องเพลง รับฟังเรื่องเล่าของผู้ดูแล ทดลองอธิษฐานขอให้เธอตายจากไป แล้วจู่ๆถูกกระสุนลูกหลงเสียชีวิตในช่วง Mexican Revolution เหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นภาพจดจำตราฝังใจ เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่เมื่อมีโอกาสพบเจอกล่องเพลงนั้นอีกครั้ง จึงเกิดความครุ่นคิดอยากเข่นฆาตกรรมหญิงสาวที่ได้พบเจอ แต่จนแล้วจนรอดเป้าหมายมีเหตุเป็นไปก่อน(แทบ)ทุกครั้ง

ผมชอบความกระตือรือล้นที่ดูเหมือนเด็กน้อยของ Alonso เมื่อค้นพบเป้าหมาย ก็ครุ่นคิดอธิษฐาน ตระเตรียมแผนการ ค่อยๆก้าวย่างอย่างหุ่น แต่พอเหตุการณ์กลับตารปัตร ก็ทำท่าเซ็งเป็ด ซังกะตาย หลายครั้งเข้าก็เริ่มหมดสิ้นหวัง พยายามเรียกร้องความสนใจ แต่แค่การครุ่นคิดไม่มีใครถือว่าเป็นอาชญากรรม แล้วทั้งหมดที่ทำไปนั้นมันผิดอะไร?

น่าเสียดายบทบาทนี้ไม่ได้ขายการแสดงสักเท่าไหร่ Alonso ก็ไม่ได้ผลักดันตนเอง ดูเพลิดเพลิน สนุกสนานที่ได้เล่น เมื่อเทียบกับ Arturo de Córdova จาก Él (1953) หรือ Fernando Rey เรื่อง Viridiana (1961) จึงพบเห็นความห่างชั้น(ด้านการแสดง)อยู่พอสมควร


ถ่ายภาพโดย Agustín Jiménez ตากล้องสัญชาติ Mexican ก่อนหน้านี้เคยร่วมงาน Luis Buñuel เรื่อง El bruto (1953), Wuthering Heights (1954) ฯ

งานภาพของหนังมีความลื่นไหล ‘สไตล์ Buñuel’ โดยให้ตัวละครคือจุดศูนย์กลางภาพ ขยับเคลื่อนเลื่อนเข้าออก ให้ความรู้สึกเหมือนผู้ชมเข้าไปมีส่วนร่วมกับเรื่องราว เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินไป โดดเด่นด้านการจัดแสง-เงาในบางที แต่ภาพรวมผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงคว้ารางวัล Silver Ariel: Best Cinematography [งานประกาศรางวัลเทียบเท่า Academy Award ของประเทศ Mexico]

จุดเริ่มต้นของหนังก็คือกล่องเพลง ‘Music Box’ เมื่อหมุนกลไกจักพบเห็นหุ่นสาวเริงระบำ (เรื่องราวของ Archibaldo ล้วนเวียนวนอยู่กับหญิงสาว ถูกลวงล่อหลอกสารพัดเพ ให้ตกหลุมรักแล้วทอดทิ้ง ลาจาก ตกตายไป) และหลังจากรับฟังเรื่องเล่าของผู้ดูแล (The Governess) ลองอธิษฐานขอพร ปรากฎว่าสมประสงค์ดั่งใจ ไม่ให้กลายเป็นภาพจำฝังใจได้ยังไงละ!

แซว: เรื่องเล่าของ The Governess แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องจริง (ก่อนหน้านี้เห็นส่งสัญญาณกับแม่ของ Archibaldo เพื่อบอกว่าให้ครุ่นคิดเรื่องเล่าขึ้นมาเองเลย) เป็นสิ่งครุ่นคิดเล่นๆ แต่งขึ้นหลอกเด็ก และได้รับผลกรรมติดตามทันอย่างรวดเร็ว

ยังไม่ทันไร Buñuel ก็ตั้งคำถามถึงเหตุผลของการเป็นแม่ชี แน่นอนว่าคำตอบของคนส่วนใหญ่ ย่อมอยากชิดใกล้พระเป็นเจ้า (ประเด็นนี้จะถูกนำไปล้อเลียน ขยายกลายเป็น Virdiana (1961)) แต่ถ้าให้เลือกระหว่างความเป็น-ตาย ยังไงก็ขอเอาชีวิตตัวรอดไว้ก่อน จะมีสักกี่คนที่ยินยอม(ฆ่าตัว)ตายเพื่อชิดใกล้พระเจ้ามากกว่า … ซึ่งความตายของแม่ชีคนนี้ ตกลิฟท์จากสรวงสวรรค์ลงสู่พื้นดิ้น เป็นการประชดประชันถึงความหมดสูญสิ้นศรัทธา

กล่องเพลงของ Archibaldo ถูกปล้นสะดม/สูญหายไปในช่วงระหว่าง Mexican Revolution หลายปีถัดมาถึงค่อยมีโอกาสพบเจออีกครั้งในร้านขายของแห่งหนึ่ง หลังจากซื้อมาครอบครอบ หมุนกลไกรับฟังบทเพลง พอดิบพอดีเริ่มต้นโกนหนวดเครา (ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ หวนกลับไปสู่ตัวตนวัยเด็กอีกครั้ง) และเมื่อเกิดรอยบาดแผล ทำให้หวนระลึกภาพจำ (ใช้เทคนิคปรับโฟกัสเบลอ-ชัด) มีเลือดไหลผ่านเลนส์หน้ากล้อง (ความทรงจำเปื้อนเลือด? โหยหาความรู้สึก/พึงพอใจที่เคยได้รับในช่วงขณะนั้น)

ในบรรดาเรื่องราวการถูกหลอกลวงของ Archibaldo เรื่องที่ Buñuel นำเสนอเป็นไคลน์แม็กซ์ลำดับสุดท้าย (แต่ค่อยๆแทรกคั่นระหว่างเรื่องราวทีละเล็ก) คือตอนของ Carlota หญิงสาวแสดงทีท่าว่ามีความบริสุทธิ์ ครองพรหมจรรย์เหมือนพระแม่มารีย์ ถึงขนาดจัดห้อง(พระ)ให้มีบรรยากาศมนต์ขลัง (โดดเด่นกับการจัดแสง-เงา) แต่แท้จริงแล้วนอกจากเธอไม่ใช่สาวบริสุทธิ์ (ทางกาย) ยังมิได้รักจริง (มีแฟนหนุ่มอยู่แล้ว) ยินยอมตอบตกลงแต่งงาน เพราะต้องการเงินมาชดใช้หนี้สินครอบครัว

แสดงว่า(ในมุมมองของ Buñuel)นี่คือที่สุดแห่งการหลอกลวง อ้างว่าเป็นคนมีความเชื่อศรัทธาศาสนาอย่างแรงกล้า แต่แท้จริงแล้วกลับกลอก ปอกลอก ตารปัตรตรงกันข้ามภาพพบเห็นโดยสิ้นเชิง! (สมควรถูกเข่นฆ่าให้ตกตาย)

เรื่องราวของ Patricia ทำการลวงล่อชักจูงจมูก Archibaldo ถึงขนาดลากพามาถึงห้อง แต่แท้จริงแล้วมีจุดประสงค์เพื่อยั่วโมโหสามี ที่ไม่ยินยอมให้ตนเองใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในบ่อย (นี่เป็นการเสียดสีชนชั้นกลางตอนบน ฐานะร่ำรวยแต่วันๆเอาแต่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เผาผลาญจับจ่ายใช้สอยอย่างไม่เคยคิดหน้าคิดหลัง) สำเร็จเสร็จแล้วก็สร้างความกระอักอ่วน จากมือที่สามกลายเป็นหมาหัวเน่า เผ่นหลบหนีแทบไม่ทันท่วงที

แม้ว่าจะมีจดหมายลาตายของ Patricia แต่ผมเชื่อว่าใครๆก็น่าจะตระหนักได้ว่าต้องเป็นสามีของเธอ เล่นละครตบตา เข่นฆาตกรรมอย่างแนบเนียน ‘Perfect Crime’

วินาทีที่ Archibaldo รับทราบข่าวการเสียชีวิตของ Patricia อยู่ระหว่างการขี้นรูปดินเผา (หมุนๆสื่อถึงชีวิตที่เวียนวนกลับมาสู่จุดเริ่มต้น ซ้ำไปซ้ำมา) แต่ก็ยังเพิ่งเริ่มต้นไม่เป็นทรงสักเท่าไหร่ สะท้อนถึงชีวิตตัวละครขณะนั้น อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพังในคฤหาสถ์หลังใหญ่ ไร้หญิงสาวเคียงข้างกาย วันๆเอาแต่เที่ยวเตร่สำมะเลเทเมา ไม่เติบโตเป็นผู้ใหญ่สักที (สภาพจิตใจก็ยังหมกมุ่นอยู่กับความทรงจำวัยเด็กนั้น)

แรกพบเจอ Lavinia ภาพที่ Archibaldo จับจ้องมอง จะพบเห็นเปลวเทียนพัฒนาสู่กองเพลิงลุกมอดไหม้ นั่นน่าจะสื่อถึงไฟราคะที่กำลังลุกโชติช่วงอยู่ภายในจิตใจ ตกหลุมรักแรกพบ ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ และเข่นฆาตกรรม

ผมมองหุ่นลองชุดของ Lavinia คือตัวแทนกายเนื้อ เปลือกภายนอก ‘doppelganger’ (มีการสลับเสื้อผ้าให้เข้าใจผิดตัว) ร่างไร้วิญญาณของหญิงสาวที่ Archibaldo สามารถครอบครองเป็นเจ้าของ แต่ไม่ใช่ตัวตน จิตวิญญาณแท้จริง ซึ่งเธอกำลังจะแต่งงานกับชายคู่หมั้น ทั้งหมดที่มีสัมพันธ์กับเขาก็เพียงแค่การล้อเล่นสนุก มารยาหญิง กลับกลอกปอกลอกไม่ต่างจากหญิงอื่น

เริ่มต้นด้วยความลุ่มร้อนของเพลิงราคะ แต่พอรับรู้ว่าถูกหลอก มิอาจสำเร็จสมปรารถนาก็เลยโยนหุ่นลองเสื้อเข้าเตาเผา ให้มันมอดไหม้วอดวาย จนไม่หลงเหลือรูปร่างหน้าตา เทียบได้กับจิตวิญญาณของ Archibaldo ค่อยๆหลอมละลาย สูญเสียสิ้นตัวตน … ผมรู้สึกว่าเรียวขาที่หลุดจากหุ่นเหมือนจะจงใจ (เพราะหลายๆผลงานของ Buñuel ก็มักจับจ้องมองเรียวขาสุดเซ็กซี่ของหญิงสาว) น่าจะสื่อถึงความยั่วเย้าของหญิงสาวที่ช่างยวนใจ

แซว1: Buñuel เล่าว่าเมื่อมีโอกาสพบเจอ Alfred Hitchcock เอาแต่พูดพร่ำถึงเรียวขา ไม่รู้เหมือนกันว่าหมกมุ่นอะไรหนักหนา

แซว2: เห็นว่าหนังมีหุ่นลองเสื้อแค่ตัวเดียวเท่านั้น ต้องเทคเดียวผ่าน ไม่มีซ้ำสอง

Archibaldo ครุ่นคิดแผนการเข่นฆาตกรรมว่าที่ภรรยา Carlota สังเกตว่าภาพจินตนาการมีควันโพยพุ่ง ไม่เห็นเปลวไฟ (ผิดกับ Lavinia) น่าจะสะท้อนถึงเพลิงราคะที่มอดดับ ไม่ได้มีอารมณ์ร่วม ความต้องการแต่งงานกับเธออีกต่อไป … แต่ที่ยังคงตอบรับก็เพื่อจักเติมเต็มความต้องการจากภายใน ได้เข่นฆาตกรรมเป้าหมายโดยไม่มีใครมากีดกั้นขวาง สักที!

ซึ่งก่อนที่ในจินตนาการนี้ Archibaldo จะเข่นฆ่า Carlota บอกให้เธอพนมมือ พูดคำอธิษฐาน ขอพรพระผู้เป็นเจ้า … เอากับเขาสิ!

แทนที่จะถ่ายทำฉากพิธีสมรสแต่งงานระหว่าง Archibaldo กับ Carlota (คงเพื่อจะสื่อว่า การแต่งงานมันก็แค่พิธีกรรมลวงโลก ทั้งสองไม่ได้รักกันจริงจะถ่ายให้เห็นช่วงพิธีการทำไม) กลับนำเสนอการสนทนาของสามตัวละครนี้ โดยหัวข้อก็คือ … ลองไปตั้งใจฟังกันดูเองนะครับว่า Buñuel ต้องการเสียดสีล้อเลียนอะไร (ใบ้ให้ว่าเกี่ยวกับการเลือกข้างของคริสตจักร มีแบ่งซ้าย-ขวา พลเรือน-ทหาร)

นี่น่าจะคือช็อตที่อาจทำให้ใครหลายคนร้องอ๋อ! กล้องถ่ายภาพเคียงข้างฆาตกร (เข่นฆาตกรรม Carlota) เป็นการบอกใบ้อย่างตรงไปตรงมา(ที่สุดแล้ว) ว่าเนื้อเรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้ มีความสัมพันธ์อย่างไรกับ Luis Buñuel

เจ้ากล่องเพลงนี้มันช่างลวงหลอกโลกทั้งเพ นอกจากเหตุการณ์วัยเด็กก็ไม่เคยทำให้คำอธิษฐานของ Archibaldo ประสบผลสำเร็จ ด้วยเหตุนี้เขาจึงโยนมันทิ้งลงน้ำ ให้จมลงในจิตใต้สำนึก หลงเหลือเพียงความทรงจำ แล้วเริ่มต้นก้าวเดินใหม่ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ตัดสินใจอะไรๆด้วยตนเอง ฆ่า-ไม่ฆ่าตั๊กแตน (น่าจะเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพ ‘metamorphosis’)

การได้หวนกลับมาพบเจอ Lavinia (ที่เล่าว่ายังไม่ได้แต่งงาน … แต่เด็กเลี้ยงแกะจะพูดความจริงนะฤา?) ทำให้ Archibaldo ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้เท้า ตัวช่วย หรือพึ่งพาคำอธิษฐาน(จากกล่องดนตรี)อีกต่อไป ก็ฉันเองนี่แหละ ‘ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน’ ออกเดินทาง(ร่วมกับผู้ชม)ไปยังสถานที่ที่สองเท้าสามารถก้าวดำเนินไป

นัยยะของฉากจบนี้ก็คือ Buñuel ไม่ได้สนที่จะง้องอนผู้ชม นักวิจารณ์ ตรูอยากจะสรรค์สร้างผลงานตามใจ ใครจะตำหนิต่อว่า ด่าพ่อล่องแม้งก็เรื่องของเมิง ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตัวฉันทั้งนั้น

ตัดต่อโดย Jorge Busto และ Pablo Gómez, หนังดำเนินเรื่องผ่านการเล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) จากความทรงจำของ Archibaldo de la Cruz สารภาพสิ่งบังเกิดขึ้นให้ตำรวจรับฟัง และตัดสินโทษทัณฑ์ของตนเอง

ผมขอแบ่งเรื่องราวออกเป็นคดีๆได้ทั้งหมด 5 เรื่อง ซึ่ง(แต่ละตอน)จะมีไดเรคชั่น และการหลอกลวง(ของหญิงสาวต่อ Archibaldo)ที่แตกต่างกันไป

  • ผู้ดูแล (The Governess) เล่าเรื่องหลอกเด็กให้ Archibaldo เลยถูกกระสุนลูกหลงเข้าที่ต้นคอ
    • เล่าย้อนอดีตเมื่อครั้น Archibaldo ยังเป็นเด็ก
  • หญิงสาวบวชเป็นแม่ชีเพราะต้องการอยู่ใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้า ถูกตั้งคำถามจาก Archibaldo ถ้าฉันเข่นฆ่าเธอตอนนี้จะดีใจหรือเปล่าที่ได้เข้าใกล้พระองค์
    • หลังสิ้นสุดเรื่องเล่าย้อนอดีตของ Archibaldo แสดงความต้องการอยากเข่นฆ่าแม่ชีสาว เธอจึงวิ่งหลบหนีจนพลัดตกลิฟท์ด้วยตนเอง (แม้ไม่ได้ลงมือฆ่า แต่ก็ต้องถือว่า Archibaldo คือต้นสาเหตุการเสียชีวิตของเธอ)
  • Patricia Terrazas ลวงล่อหลอก Archibaldo มาที่ห้องของตน เพื่อใช้เป็นข้ออ้างคืนดีกับสามี แต่วันต่อมากลับเขียนจดหมายลาตายแล้วใช้มีดโกนเชือดคอ
    • เล่าย้อนอดีต Archibaldo ถูก Patricia ลากเข้ามาพัวพันกับชีวิต แล้วเธอก็จากไปแบบพิศวง (ดูยังไงก็น่าจะเป็นสามีที่เชือดคอฆาตกรรมเธอ)
  • Lavinia เล่นแง่ปั่นหัว Archibaldo แต่เธอไม่ได้เสียชีวิต แค่หุ่นลองชุด(ที่มีใบหน้าเดียวกับเธอ)ถูกเผามอดไหม้
    • เล่าย้อนอดีต Archibaldo พยายามเข้าไปยุ่งย่าม เกี่ยวพันกับ Lavinia แต่เพราะเธอกำลังจะแต่งงาน เลยเต็มไปด้วยมารยา รักษาระยะห่างความสัมพันธ์
    • แม้ว่าตัวละครจะไม่ตกตายในหนัง แต่ชีวิตจริงของนักแสดงที่รับบท Miroslava Stern กินยานอนหลับเกินขนาด ฆ่าตัวตายไม่กี่วันหลังจากถ่ายหนังเสร็จสิ้น
  • Carlota Cervantes ทำตัวเหมือนหญิงสาวพรหมจรรย์ ยินยอมแต่งงานกับ Archibaldo เพียงเพื่อเงินทองมาปลดหนี้ครอบครัว เลยถูกแฟนหนุ่มตัวจริงยิงแสกหน้าเสียชีวิต
    • เล่าย้อนอดีตเรื่องราวของ Carlota แต่จะแทรกคั่นระหว่าง Patricia และ Lavinia และหลังจบประเด็นสาวทั้งสอง ก็นำเข้าสู่งานแต่งงานกับ Archibaldo

ในทางเทคนิค แต่ละคดีมีไดเรคชั่น ลำดับเรื่องราวที่สร้างสรรค์ มีความน่าสนใจ ถึงกระนั้นผมกลับรู้สึกว่าเรื่องราวของ Carlota ซึ่งต่อเนื่องจาก Lavinia สร้างปัญหาให้หนังพอสมควร เพราะมันเหมือนไคลน์แม็กซ์ของทั้งสองคดีอยู่ติดๆเคียงข้างกัน เลยยังปรับอารมณ์แทบไม่ทัน

ผมไม่แน่ใจว่ากล่องเพลง (Music Box) บรรเลงบทเพลงอะไร แต่นั่นกลายเป็น ‘motif’ ใช้แทนเพลงประกอบหนัง มักบรรเลงโดยออร์แกน หรือเครื่องสังเคราะห์เสียง จะได้ยินเฉพาะเวลาที่ตัวละครกำลังครุ่นคิดวางแผน ตั้งใจจะเข่นฆาตกรรมเป้าหมายเท่านั้น ซึ่งอาจมองว่าเป็นการสะท้อนสภาวะทางจิตใจ(ของตัวละคร)ก็ได้เช่นกัน


ความหมกมุ่นของ Archibaldo de la Cruz หนังชี้นำมากๆว่าเกิดจากอิทธิพล Mexican Revolution (1910-20) มีเพียงความรุนแรง ก่ออาชญากรรม พบเห็นคนตาย ถีงสามารถตอบสนองความต้องการจากภายใน แต่เมื่อมิอาจกระทำสำเร็จจีงพยายามป่าวประกาศ เรียกร้องความสนใจ โหยหาใครสักคนให้ตัดสินลงโทษทัณฑ์ แค่บอกว่าเป็นสิ่งที่ครุ่นคิดอยู่นั้นไม่ถูกต้อง … แต่ก็ไม่มีใครยืนยันคำตอบดังกล่าวให้เขาได้

ความหมกมุ่นของ Luis Buñuel ได้รับอิทธิพลจากสิ่งเคยประสบพบเห็นตั้งแต่วัยเด็กเช่นกัน นำเรื่องราวเหล่านั้นมาครุ่นคิดจินตนาการ สรรค์สร้างเป็นสื่อภาพยนตร์ (ใช้หญิงสาวเป็นสัญลักษณ์ ทำให้ตกหลุมรักแล้วทอดทิ้งขว้าง ลาจาก/ตกตายไป) เพียงแค่เนื้อหาสาระอาจมีความรุนแรง ตรงไปตรงมา ขัดแย้งต่อสังคม ไม่ถูกใจผู้ชมส่วนใหญ่ แต่มันก็หาใช่เรื่องถูก-ผิด ดี-ชั่วประการใด หรือทำให้ใครต้องเสียชีวิต (เพียงเพราะรับชมภาพยนตร์)

ในทางกฎหมาย การครุ่นคิดสิ่งชั่วร้ายแต่ยังไม่ทันได้กระทำ หรือทำแล้วไม่สัมฤทธิ์ผล ล้วนถือว่าไร้ข้อหาความผิดใดๆ ยกเว้นกรณีหลักฐานบ่งชี้ชัด หรือถูกจับคาหนังคาเขา ถึงอย่างนั้นบทลงโทษทัณฑ์ก็หาได้รุนแรงเทียบเท่าก่อเหตุสำเร็จเสร็จสรรพ

ไม่ใช่แค่พุทธศาสนาที่สอนว่า การครุ่นคิดสิ่งชั่วร้ายก็ทำให้ศีลเบาบางลง (ไม่ถึงขั้นศีลขาดนะครับ เพียงทำให้จิตใจหมกมุ่น มัวหมองหม่น) ผมก็เพิ่งค้นพบว่าศาสนาคริสต์ก็มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ไบเบิ้ลเหมือนกัน ‘ใครมองผู้หญิงด้วยจิตกำหนัด คนผู้นั้นได้ล่วงประเวณีในใจกับเธอคนนั้นแล้ว’

You have heard that it was said, ‘Do not commit adultery.’ But I tell you that anyone who looks at a woman to lust after her has already committed adultery with her in his heart.

Matthew 5:27-28

ถ้ามองในความตั้งใจของผู้กำกับ Buñuel ที่ชักชวนให้ผู้ชมตั้งคำถาม ภาพยนตร์ของตนมีความผิดอะไร? คนฝั่งเสรีจะตอบว่าก็ไม่เห็นผิดตรงไหน เพราะมันเป็นการนำเสนอความคิด โลกทัศนคติของผู้สร้าง ถ้าสามารถทำให้สังคมเกิดเปลี่ยนแปลง ย่อมถือว่างดงามทรงคุณค่า แต่บรรดานักอนุรักษ์(นิยม)จักด่าพ่อล่อแม้ง ความโฉดชั่วร้ายที่พบเห็นคือหนี่งในสาเหตุทำให้สังคมตกต่ำทรามทุกวี่วัน ชี้นำทางอาชญากรรม สร้างค่านิยมความเชื่ออย่างผิดๆให้กับผู้คน

สำหรับผมเองไม่ได้สนใจหรอกนะครับว่าการกระทำของตัวละคร หรือหนังของ Buñuel จะดี-ชั่ว ถูก-ผิด เพราะถ้าเราไม่นำเอามันมาติดใจตั้งแต่แรก จะกลายเป็นประเด็นให้ขบครุ่นคิดตั้งคำถามเหล่านี้ไปทำไม เพราะคำตอบที่ขี้นอยู่กับมุมมองส่วนบุคคล ไม่ว่าฝั่งไหนก็ล้วนเห็นแก่ตนทั้งนั้น (ไม่มีถูก-ไม่มีผิด)


หนังได้เสียงตอบรับค่อนข้างดีทีเดียว ในประเทศ Mexico ค่อนข้างประสบความสำเร็จพอสมควร ขณะที่ฝรั่งเศสได้รับการโหวตติดอันดับ 5 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Top 10 ประจำปีของนิตยสาร Cahiers du Cinéma

แม้ว่าหนังจะถูกหลงลืมเลือนไปตามกาลเวลา โอกาสได้รับการบูรณะคงเป็นไปได้ยากยิ่ง แต่ก็มักได้รับการพูดถึงเปรียบเทียบกับ Vertigo (1958) ของผู้กำกับ Alfred Hitchcock ในประเด็นความหมกมุ่น ‘obsessive’ ต้องการทำบางสิ่งอย่างอย่างแน่วแน่จริงจัง จนแปรสภาพเป็นความผิดปกติทางจิต

และหนังได้รับการโหวตติดอันดับ 47 ชาร์ท ‘100 best films of Mexican cinema’ โดยนิตยสาร Somos เมื่อปี 1994

ภาพรวมของหนังถือว่าน่าสนใจ แนวคิดดี น่าติดตาม แต่ลึกๆผมแอบผิดหวังเล็กๆในการลำดับเรื่องราว เอาจริงๆควรออกแบ่งแยกออกเป็นตอนๆไปเลยจะดีกว่า โดยเฉพาะเนื้อหาของ Carlota (หญิงสาวที่พระเอกขอแต่งงาน) พอแบ่งแยกแทรกคั่นระหว่างเรื่องราวอื่นๆ มันเลยไม่ปะติดปะต่อ แล้วพอจบจากไคลน์แม็กซ์ตอน Lavinia ก็นำเข้าไคลน์แม็กซ์ของ Carlota โดยทันที มันทำให้รู้สึกเหมือนมีสองจุดสุดยอดเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน (คือถ้าไม่มีเก็บกดสุดๆหรือมีอารมณ์ทางเพศอย่างรุนแรง ก็คงทำสองครั้งติดๆไม่ไหวนะครับ –“)

แนะนำคอหนังอาชญากรรม (Crime) บรรยากาศระทึกขวัญ (Suspense) สำรวจสภาพจิตวิทยาตัวละคร (Psychological) และแฟนๆผู้กำกับ Luis Buñuel ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

จัดเรต 13+ กับพฤติกรรมหมกมุ่นต้องการก่ออาชญากรรม

คำโปรย | Criminal Life of Archibaldo de la Cruz คือถ้อยแถลงไขของ Luis Buñuel การครุ่นคิดไม่ใช่สิ่งผิด!
คุณภาพ | น่าสนใจ
ส่วนตัว | พอใช้ได้

Robinson Crusoe (1954)


Robinson Crusoe (1954) hollywood, Mexican : Luis Buñuel ♥♥♥♥

หนึ่งในสองภาพยนตร์ของ Luis Buñuel ได้ทุนสร้างจาก Hollywood พูดภาษาอังกฤษ แล้วประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา (ก่อนการมาถึงของ Belle de Jour (1969)) แม้เป็นหนังตลาด แต่ก็ยังคง ‘สไตล์ Buñuel’ ซึ่งทำให้กลายเป็นฉบับดัดแปลง Robinson Crusoe ยอดเยี่ยมที่สุด

คนที่อาจเคยรับรู้จักวรรณกรรม Robinson Crusoe น่าจะเกิดความฉงนสงสัย Luis Buñuel ดัดแปลงสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้กลายเป็น ‘สไตล์ Buñuel’ ได้อย่างไร? แต่สักยี่สิบนาทีผ่านไป ผู้ชมก็น่าจะสามารถค้นพบคำตอบที่เด่นชัดเจนมากๆ ชายคนนี้ติดเกาะยาวนานกว่า 28 ปี สภาพจิตใจของเขาจะมีพัฒนาการเป็นเช่นไร? ฝันร้าย วิตกจริต หวาดระแวง เห็นภาพหลอน หันหน้าพึ่งพิงพระเจ้า ก่อนจะกลายเป็น…พระเจ้า(ในหมู่ชนพื้นเมือง)

ด้วยความที่พื้นหลังเรื่องราวมีเพียงเกาะร้างห่างไกล จึงสามารถใช้ชายฝั่งสักแห่งหนใน Mexico เป็นสถานที่ปักหลักถ่ายทำ แค่ต้องระวังการบริโภคอาหาร น้ำดื่ม (โรคบิด) และมาลาเรีย โชคดีไม่ใครล้มป่วยเป็นอันตราย เพราะโปรดักชั่นกินเวลาพียง 7 สัปดาห์เท่านั้น

ผมไม่เคยรับชม Robinson Crusoe ฉบับอื่นที่ขยับสร้างแทบทุกทศวรรษ แต่ก็ไม่คิดว่าจะมีเรื่องไหนสามารถเทียบเคียงคุณภาพ และความลุ่มลึกซับซ้อนไปกว่าหนังตลาดของ Luis Buñuel เรื่องนี้อย่างแน่นอน … คงมีเพียง Cast Away (2000) น่าจะเป็นเรื่องที่มีความเฉพาะตัว คุณภาพใกล้เคียง Robinson Crusoe (1954) มากที่สุดแล้วละ


Luis Buñuel Portolés (1900 – 1983) สัญชาติ Spanish เกิดที่ Calanda, Aragon เป็นบุตรคนโตมีน้อง 6 คน, เมื่อตอนอายุได้ 4 ขวบครี่ง ครอบครัวอพยพย้ายสู่ Zaragoza ถิ่นที่อยู่อาศัยของคนมีฐานะ ชนชั้นกลาง ถูกส่งไปศีกษาร่ำเรียนเป็นบาทหลวงยัง Colegio del Salvador แต่หลังจากได้พานพบเห็นอะไรบางอย่าง จึงหมดสิ้นเสื่อมศรัทธาในศาสนา, อายุ 16 เข้าเรียนต่อยัง University of Madrid แรกเริ่มคณะเกษตร เปลี่ยนมาวิศวะ สุดท้ายคือปรัชญา, ความสนใจในภาพยนตร์เมื่อโอกาสรับชม Der müde Tod (1921) ของผู้กำกับ Fritz Lang, เมื่อปี 1925 มุ่งสู่กรุง Paris ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Jean Epstein, สรรค์สร้างผลงานเรื่องแรก Un Chien Andalou (1929), L’Age d’Or (1930)

การมาถึงของจอมพล Francisco สงครามกลางเมือง Spanish Civil War (1936-39) และภาพยนตร์/สารคดี Las Hurdes (1933) ถูกแบนห้ามฉายในสเปน ทำให้ Buñuel ตัดสินใจเดินทางมุ่งสู่ Hollywood ครุ่นคิดพัฒนาหลากหลายโปรเจคแต่ก็ไม่เป็นรูปเป็นร่าง เป็นชิ้นเป็นอัน จนกระทั่งได้รับชักชวนจากโปรดิวเซอร์ Oscar Dancigers อพยพย้ายมาประเทศ Mexico ตั้งแต่ปี 1946 เริ่มต้นสรรค์สร้าง Gran Casino (1947) ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่ยังได้รับโอกาสอีกครั้ง El Gran Calavera (1949) คราวนี้สามารถทำเงินถล่มทลาย

ตั้งแต่ปี 1950, โปรดิวเซอร์ George Pepper และนักเขียน Hugo Butler (ที่พูดภาษา Spanish ได้อย่างคล่องแคล่ว) นำเสนอโปรเจคดัดแปลง Robinson Crusoe ให้กับ Buñuel ช่วงแรกๆก็ไม่ได้กระตือรือล้นเท่าไหร่ แต่ระหว่างพัฒนาบทร่วมกันก็เริ่มเกิดความสนใจในเรื่องราว สามารถเพิ่มเติมรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ อาทิ ‘sex life’ ความฝันถึงบิดา ภาพหลอนถึงลูกเรือ เพื่อนฝูงที่เสียชีวิตจากไป ฯลฯ

In the beginning I wasn’t very enthusiastic, but gradually, as I worked, I became interested in the story, adding some real and some imaginary elements to Crusoe’s sex life, as well as the delirium scene when he sees his father’s spirit.

Luis Buñuel

Hugo Dansey Butler (1914-68) นักเขียนสัญชาติ Canadian เกิดที่ Calgary, Alberta ทำงานเป็นนักข่าว เขียนบทละครเวที ก่อนย้ายมา Hollywood เมื่อปี 1937 แจ้งเกิดจากบทดั้งเดิม Edison the Man (1940) ได้เข้าชิง Oscar: Best Writing, Original Story, ผลงานเด่นๆ อาทิ Lassie Come Home (1943), The Southerner (1945) ฯ กระทั่งการมาถึงของ House Un-American Activities Committee (HUAC) ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เลยอพยพย้ายครอบครัวมุ่งสู่ Mexico จึงมีโอกาสร่วมงาน Luis Buñuel ถึงสองครั้ง Robinson Crusoe (1954) และ The Young One (1960)

ความที่หนังเป็นการร่วมทุนสร้าง American-Mexican บทหนังจึงมีทั้งฉบับภาษาอังกฤษ (โดย Hugo Butler) และภาษาสเปน (โดย Luis Alcoriza นักเขียนขาประจำของ Buñuel)


Robinson Crusoe ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ The Life and Strange Surprizing Adventures of Robinson Crusoe of York, Mariner: Who lived Eight and Twenty Years, all alone in an un-inhabited Island on the coast of America, near the Mouth of the Great River of Oroonoque; Having been cast on Shore by Shipwreck, where-in all the Men perished but himself. With An Account how he was at last as strangely deliver’d by Pyrates. Written by Himself เป็นนวนิยายของ Daniel Defoe (1660-1731) นักเขียนสัญชาติอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1719 บ้างถือกันว่าคือ ‘นวนิยายเรื่องแรกของประเทศอังกฤษ’ และเป็นจุดเริ่มต้น ‘realistic fiction’ อ้างอิงจากเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง

เรื่องราวเกี่ยวกับอัตชีวประวัติที่แต่งขึ้นโดยตัวละคร Robinson Crusoe ติดเกาะร้างอยู่นานถึง 28 ปี บริเวณเขตร้อนชื้นอันไกลโพ้น ใกล้กับ Venezuela และ Trinidad (ปัจจุบันเหมือนจะเป็นเกาะ Tobago) ต้องเผชิญชาวพื้นเมือง เคยถูกกักขัง ต่อสู้ขัดขืน และหาหนทางหลบหนีเอาชีวิตรอดออกมาได้

เนื้อหานวนิยาย ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริงของ Alexander Selkirk (1676-1721) นักล่องเรือ Royal Navy ชาว Scottish ระหว่างอออกเดินทางสำรวจดินแดนแห่งใหม่ เรือล่ม ลูกเรือทั้งหมดเสียชีวิต มีเพียงเขารอดชีวิตติดเกาะอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิกนานถึง 4 ปี (ดั้งเดิมตั้งชื่อเกาะว่า Más a Tierra ก่อนเปลี่ยนเป็น Robinson Crusoe Island เมื่อปี 1966 ปัจจุบันอยู่อาณาบริเวณประเทศ Chilie)

แม้จะพานผ่านมาหลายศตวรรษ แต่ความนิยมของ Robinson Crusoe ก็ยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบัน มีการดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆมากมาย นวนิยาย, ภาพยนตร์, เกม, เพลง ฯลฯ ถึงขนาดมีคำเรียก Robinsonade สำหรับเรื่องราวคนติดเกาะ ต้องหาหนทางต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอดเพียงลำพัง

สำหรับภาพยนตร์ เท่าที่สามารถรวบรวมได้ทั้งดัดแปลงตรงๆจากนิยาย ล้อเลียน ปรับเปลี่ยน และได้แรงบันดาลใจ ประกอบด้วย

  • หนังเงียบเรื่องแรก Robinson Crusoe (1902)
  • หนังเงียบ The Adventures of Robinson Crusoe (1922)
  • หนังเงียบ Robinson Crusoe (1927)
  • Mr. Robinson Crusoe (1932) หนังพูด (Talkie) สร้างขึ้นในช่วง pre-code นำแสดงโดย Douglas Fairbanks
  • Robinson Crusoe (1947) ภาพยนตร์สามมิติ สัญชาติรัสเซีย (เป็นหนังสามมิติเรื่องแรกของรัสเซียเช่นกัน)
  • Robinson Crusoe (1954) กำกับโดย Luis Buñuel
  • Miss Robin Crusoe (1954) สลับเพศ เปลี่ยนเป็นผู้หญิงติดเกาะ
  • Lt. Robin Crusoe, U.S.N. (1966) ภาพยนตร์ของ Walt Disney ให้เสียงโดย Dick Van Dyke แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนแปลงเรื่องราวพอสมควร เปลี่ยนชื่อ Friday เป็น Wednesday และให้กลายเป็นตัวละครเพศหญิง
  • Robinson Crusoe on Mars (1964) กำกับโดย Byron Haskin เปลี่ยนจากติดเกาะมาเป็นเรื่องราว Sci-Fi (ตามค่านิยมยุคสมัยนั้น) แล้วไปติดเกาะบนดาวอังคาร
  • Man Friday (1975) หนังตลกล้อเลียน สลับร่างให้ Crusoe เป็นคนผิวสี นำแสดงโดย Peter O’Toole กับ Richard Roundtree
  • Crusoe (1988) กำกับโดย Caleb Deschanel, นำแสดงโดย Aidan Quinn
  • Robinson Crusoe (1997) นำแสดงโดย Pierce Brosnan
  • Cast Away (2000) กำกับโดย Robert Zemeckis, นำแสดงโดย Tom Hanks
  • ซีรีย์ Crusoe (2008-09) จำนวน 13 ตอน ฉายช่อง NBC นำแสดงโดย Philip Winchester
  • อนิเมชั่นสามมิติ The Wild Life (2016)

(ผมทำตัวหนาเฉพาะเรื่องที่มีความน่าสนใจจริงๆ)


Daniel Peter O’Herlihy (1919-2005) นักแสดงสัญชาติ Irish เกิดที่ Wexford, County Wexford ก่อนย้ายมา Dublin ระหว่างเรียนสถาปนิก University College Dublin เข้าร่วมคณะ Abbey Theatre ทำงานออกแบบสร้างฉาก แล้วเลยกลายเป็นนักแสดง ภาพยนตร์เรื่องแรก Odd Man Out (1947), รับบท Macduff เรื่อง Macbeth (1948), และโด่งดังกับ Robinson Crusoe (1954)

รับบท Robinson Crusoe หลังจากติดเกาะ ช่วงแรกๆเต็มไปด้วยความหวาดระแหง สะพรึงกลัว ค่อยๆออกสำรวจ ก่อสร้างที่อยู่อาศัย ใช้องค์ความรู้ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ให้มีอารยะ ปลอดภัยสำหรับตนเอง แต่ด้วยความเหงาหงอย โดดเดี่ยวเดียวดาย จึงเพียงสรรพสัตว์เป็นเพื่อนคอยเคียงข้าง

กระทั่งวันหนึ่งพบเห็นรอยเท้าลึกลับบนชายหาด ค้นพบว่าคือชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่เกาะข้างๆ จึงพยายามสังเกตการณ์ จับพลัดจับพลูให้ความช่วยเหลือชายพื้นเมืองคนหนึ่ง ตั้งชื่อว่า Friday (รับบทโดย Jaime Fernández) สอนพูด-อ่าน-เขียน เรียนรู้วัฒนธรรม จากคนรับใช้ต้อยต่ำกลายเป็นเพื่อนสนิท และการมาถึงของคนขาว นั่นคือหนทางกลับบ้าน รวมระยะเวลาติดเกาะ 28 ปี 2 เดือน 19 วัน

แรกเริ่มสำหรับบทนำ มีคัดเลือกนักแสดงกว่า 300 คน แต่ทั้งหมดยังไม่เป็นที่พึงพอใจ โปรดิวเซอร์ George Pepper เลยพยายามบีบบังคับให้เลือก Orson Welles ด้วยการฉายภาพยนตร์ Macbeth (1944) [ว่ากันว่า Pepper ชื่นชอบหนวดของ Welles เลยอยากให้มารับบทนำ] แต่กลับกลายเป็น Daniel O’Herlihy ในบท Macduff ที่สร้างความประทับใจให้ผู้กำกับ Buñuel และพูดบอกว่า Welles อ้วนเกินไป!

เกร็ด: Daniel O’Herlihy ยังเล่นเป็นพ่อของตนเอง ในฉากความฝันด้วยนะครับ

แม้ว่า Buñuel จะเป็นคนเข้มงวด เผด็จการในกองถ่าย แถมต้องถ่ายซ้ำสองครั้งทุกฉาก (ฉบับพูดอังกฤษ และสเปน พากย์ทัพโดย Claudio Brook) แต่ O’Herlihy ก็ประทับใจที่ได้ร่วมงาน ทุกยามเช้านั่งพูดคุยรายละเอียดที่จะถ่ายทำ แทบไม่ได้อ้างอิงเรื่องราวจากบท คงเพียงสร้างเอาไว้เฉยๆเท่านั้น

นักแสดงที่สามารถโดดเด่นในหนังของ Buñuel ต้องถือว่าไม่ธรรมดา เพราะโดยปกติจะถูกควบคุมครอบงำดั่งตุ๊กตา หุ่นเชิดชัก ขยับซ้าย-ขวา เงย-ก้มศีรษะ เดินหน้า-หลัง หลงเหลือเพียงการแสดงออกทางใบหน้า ปฏิกิริยาความรู้สึก ซึ่งในกรณีของ O’Herlihy นอกจากหนวดเคราสวยๆ ตลอดระยะเวลา 90 นาที มีหลากหลายอารมณ์เหลือเกินที่เกิดขึ้นกับตัวละคร ราวกับขึ้นรถไฟเหาะ (roller coaster) สมแล้วที่ได้เข้าชิง Oscar: Best Actor ครั้งแรกครั้งเดียวในชีวิต

โดยส่วนตัวชื่นชอบการแสดงออกทางอารมณ์ในช่วงแรกๆมากกว่า หวาดระแวง วิตกจริง รู้สึกผิด คิดถึงพ่อ-แม่ โหยหาพรรคเพื่อนฝูง เพราะครึ่งหลังตั้งแต่การมาถึงของ Friday จึงเริ่มวางมาดผู้ดี เย่อหยิ่ง หัวสูง ทำตัวราวกับเป็นพระเจ้า สามารถชี้นิ้วสั่ง ควบคุมครอบงำ ปรับเปลี่ยนแปลงอีกฝั่งฝ่าย ซึ่งเป็นลักษณะของ Colonialism ทำให้ชนพื้นเมืองป่าเถื่อน กลับกลายเป็นอารยชนตามแบบของตนเอง

Jaime Fernández Reyes (1937-2005) นักแสดงสัญชาติ Mexican น้องชายต่างมารดาของนักแสดง/ผู้กำกับ Emilio Fernández เข้าสู่วงการแสดงตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ร่วมงานกับพี่ชายอยู่เป็นประจำ เริ่มมีชื่อเสียงจาก Soledad’s Shawl (1952), โด่งดังระดับนานาชาติกับ Robinson Crusoe (1954)

รับบท Friday ชายพื้นเมืองที่ไม่รู้ทำผิดกฎอะไรของชนเผ่า เลยกำลังจะถูกเผา จับกิน ตายทั้งเป็น แต่สามารถหลบหนีเอาตัวรอด ได้รับความช่วยเหลือจาก Robinson Crusoe ช่วงแรกๆยกย่องดั่งเทพเจ้า ถึงขนาดเอาศีรษะแนบเท้า (ของ Crusoe) หลังจากค่อยๆเรียนรู้จนสามารถพูดคุยสื่อสาร เข้าใจวัฒนธรรม ตั้งคำถามถึงสิ่งต่างมากมาย กลายเป็นทั้งคนรับใช้ เพื่อนสนิท และยินยอมติดตามกลับประเทศอังกฤษ

แม้เพิ่งจะอายุ 16-17 ปี แต่ Reyes ก็มีความโดดเด่นด้านการแสดงไม่น้อย แรกๆเต็มไปด้วยความหวาดกลัวผ่านสีหน้าท่าทาง แต่หลังจากเริ่มสามารถพูดคุย สื่อสารสนทนา ก็เหมือนเด็กน้อยอยากรู้อยากเห็น เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น แต่น่าเสียดายท้ายที่สุดแล้ว ตัวละครนี้ก็เป็นเพียง ‘stereotype’ ของชนพื้นเมือง/คนผิวสี หลังจากถูกควบคุมครอบงำ ก็ค่อยๆสูญเสียตัวตน วัฒนธรรม แปรสภาพกลายเป็นคนขาว มิอาจหวนกลับสู่รากเหง้าแท้จริงของตนเอง

เกร็ด: Reyes พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่ก็เหมือนตัวละครที่ค่อยๆเรียนรู้ไปพร้อมๆการถ่ายทำ


ถ่ายภาพโดย Alex Phillips ชื่อจริง Alexander Pelepiock (1900-77) สัญชาติ Canadian ระหว่างอาสาสมัครทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้มีโอกาสพบเจอ Mary Pickford ชักชวนมุ่งสู่ Hollywood ต้องการเป็นนักแสดงแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ได้งานเป็นช่างภาพ/ตัดต่อ Christie Film Company ตามด้วย M-G-M, อพยพสู่ Mexico ตั้งแต่ปี 1931 ผลงานเด่นๆ อาทิ Santa (1931) [หนังพูดเรื่องแรกของ Mexico], La otra (1946), En La Palma de Tu Mano (1951), La Red (1953), Robinson Crusoe (1954), Sombra verde (1954) ฯ

สถานที่ถ่ายทำ ริมชายหาดใกล้ๆเมือง Manzanillo, รัฐ Colima ฝั่งตะวันตกของประเทศ Mexico ทีมงานจำนวน 60 คน (ฉีดวัคซีนป้องกันมาลาเรียและโรคบิดไว้ล่วงหน้า) ซึ่งแต่ละวันเมื่อถ่ายทำเสร็จ ฟีล์ม Negative จะถูกส่งตรงไปสหรัฐอเมริกาโดยทันที แล้วจะบินกลับมาทุกๆ 2-3 วันเพื่อให้ Buñuel ตรวจสอบยังโรงฉายภาพยนตร์ท้องถิ่นว่าใช้งานได้หรือไม่ … ยุ่งยากลำบากน่าดู

Philips เป็นตากล้องที่มีความเชี่ยวชาญในการถ่าย Close-Up Shot อีกทั้งภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็นครั้งแรกๆที่ทดลองใช้ฟีล์มสี Eastmancolor โปรดักชั่นจึงมีความล่าช้าพอสมควร (ในช่วง ‘Mexican Period’ ของ Buñuel โดยเฉลี่ยถ่ายทำไม่เกินเดือน แต่เรื่องนี้กินเวลาถึง 7 สัปดาห์ และถ้ารวม post-production ก็เกือบๆ 3 เดือน เป็นสถิติสูงสุดขณะนั้น)

สัตว์ตัวแรกที่ Crusoe พบเห็นตัวเป็นๆบนเกาะแห่งนี้ ตั้งใจจะกินไข่แต่เปิดออกมากลายเป็นลูกนกซะงั้น ซี่งสามารถเปรียบเทียบกับตัวเขาขณะนี้เพิ่งติดเกาะ ยังมีความละอ่อนเยาว์วัยไร้เดียงสาต่อสถานที่แห่งนี้ มีอะไรๆอีกมากที่ต้องเรียนรู้ ประสบพบเจอ

ระหว่างป่วยไข้มาลาเรีย Crusoe เพ้อฝันละเมอถีงบิดา (Daniel O’Herlihy เล่นเป็นทั้งพ่อ-ลูก) คุณภาพไม่ค่อยชัดนักแต่ก็เพียงพอเห็นความฟุ้งๆ เบลอๆ สังเกตได้ว่านี่ไม่ใช่เหตุการณ์จริง และสิ่งที่เขากระทำอยู่นั้น อาบน้ำขัดสีฉวีวรรณให้ลูกหมู (ทำในสิ่งที่มีประโยชน์ต่ออนาคต เพราะลูกหมูเติบโตขี้นสามารถนำมาทำอาหารรับประทาน) ปฏิเสธมอบน้ำดื่มให้บุตรชาย (เพราะการออกเดินทางครั้งนี้ของ Crusoe ขัดต่อความประสงค์ของครอบครัว เขาจีงถูกตัดออกจากกองมรดก ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ส่วนแบ่งปันใดๆ)

ฉากนี้คือหนี่งในลายเซ็นต์ ‘สไตล์ Buñuel’ ที่ถ้าใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ ย่อมตระหนักมักคุ้นได้โดยทันที ชาติเสือไม่ทอดทิ้งลาย และขณะเดียวกันเรายังสามารถตีความ ชายคนนี้คือบิดาในจิตใต้สำนีกของ Buñuel ก็ได้เช่นกัน!

บอกตามตรงว่าผมไม่ได้ครุ่นคิดอะไรกับการมัดเท้าลูกแกะ อุ้มมายังจุดสูงสุดบนเกาะ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ท้องทะเลห่างไกล อยู่ข้างๆกองไม้สำหรับสุมไฟ แต่ให้ตายเถอะ! ในบันทีกของ Alexander Selkirk (บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจนวนิยาย Robinson Crusoe) เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ตนเองใช้แกะสำหรับ ‘used goats for sexual gratification’

หลังจากฉากนี้เจ้าแมวจะสูญหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ไม่มีการพบเจอพูดกล่าวถีงอีกในหนัง แต่ถ้าใครเคยอ่านต้นฉบับนวนิยายจะรับรู้ว่า Crusoe ไม่พีงพอใจเจ้าแมวสำส่อนตัวนี้อย่างมาก ในย่อหน้าดังกล่าวเขียนด้วยถ้อยคำเลิศหรู ฟังดูมีคุณธรรม แต่แท้จริงแล้วคือมันข้ออ้างการเข่นฆ่า ขับไล่ กำจัดทิ้งสิ่งที่สร้างความน่ารำคาญเหมือนสัตว์ป่า

“In this season I was much surprised with the increase of my family; I had been concerned for the loss of one of my cats, who ran away from me, or, as I thought, had been dead, and I heard no more tidings of her till, to my astonishment, she came home about the end of August with three kittens. This was the more strange to me because, though I had killed a wild cat, as I called it, with my gun, yet I thought it was quite a different kind from our European cats; but the young cats were the same kind of house-breed as the old one; and both my cats being females, I thought it very strange. But from these three cats I afterwards came to be so pestered with cats that I was forced to kill them like vermin or wild beasts, and to drive them from my house as much as possible”.

Robinson Crusoe

นี่ก็เป็นอีกซีนเล็กๆที่เหมือนจะไม่มีอะไร Crusoe นำชุดหญิงสาวสวมใส่หุ่นไล่กา แต่พอเขาหันมามองกลับบังเกิดความรู้สีกภายในบางอย่าง โหยหา หรือตัณหา ก็เป็นอิสรภาพผู้ชมในการครุ่นคิดจินตนาการสิ่งบังเกิดขี้นต่อไป

ครบรอบสี่ปีตั้งแต่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้ Crusoe เฉลิมฉลองด้วยการดื่มด่ำสุราที่เก็บเอาไว้ ได้ยินเสียงผองเพื่อนกะลาสี กำลังร้องขับขาน ส่งเสียงหัวเราะอย่างสนุกสนาน แต่ทุกสิ่งอย่างเป็นเพียงหูแว่ว ภาพหลอน จินตนาการ (เคียงข้างนกแก้ว ส่งเสียงแจ้วๆอยู่เคียงข้าง) ก่อนกล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลัง เผชิญหน้าโลกความจริงที่มีเพียงความเวิ้งว่างเปล่า โดดเดี่ยวเดียวดาย หลงเหลือเพียงฉันมีชีวิตอยู่ตามลำพัง

หลังจากดื่มด่ำไวน์ (เลือดของพระเยซู) Crusoe มีความกระตือรือล้นที่จะเก็บเกี่ยว ทำขนมปัง (กายของพระเยซู) แค่นี้ก็น่าจะชัดเจนแล้วนะครับว่า เขามองอาหารทั้งสองอย่างนีคือสัญลักษณ์ของความมีอารยะ ชนชั้นสูง หรือคือของขวัญจากพระเจ้าผู้สร้าง

นี่ก็ตีความสัญลักษณ์ทางเพศได้เช่นกันนะ

หลังการสูญเสียสุนัขเพื่อนยาก Crusoe หลงเหลือเพียงตัวคนเดียว ตะโกนร้องเรียกหาพระผู้เป็นเจ้า (ตะโกนเฉพาะตัวหนานะครับ ที่เหลือคือประโยคเต็มๆ)

The LORD is my shepherd; I shall not want. He makes me lie down in green pastures. He leads me beside still waters. He restores my soul. He leads me in paths of righteousness for his name’s sake. Even though I walk through the valley of the shadow of death, I will fear no evil, for you are with me; your rod and your staff, they comfort me. You prepare a table before me in the presence of my enemies; you anoint my head with oil; my cup overflows. Surely goodness and mercy shall follow me all the days of my life, and I shall dwell in the house of the LORD forever.

Psalm 23:1-6

Crusoe พยายามต่อสู้กับความโดดเดี่ยวอ้างว้างในตนเอง ร้องเรียกหาพระเจ้าให้พูดคุยกับเขา จนที่สุดช็อตนี้วิ่งทะเล จุ่มคบเพลิงลงผืนน้ำดับมอดลง (ให้ความรู้สีกคล้ายๆพิธีจุ่มศีล แบปทิสต์) จากนั้นก็เดินหวนกลับเข้ามา ถือกำเนิดกลายเป็นบุคคลใหม่ … จะมองว่านี่คือช็อตที่ทำให้ Crusoe เปลี่ยนแปรสภาพกลายเป็นฤษี/พระเจ้า ก็ได้เหมือนกัน

การแสดงออกของ Friday ผมว่ามันก็ชัดเจนมากๆถีงการยินยอมศิโรราบ เอาเท้าลูบศีรษะ เป็นการแสดงถีงความเคารพยกย่องต่อบุคคลที่เขาเชื่อว่าคือพระเป็นเจ้า เหนือหัว ใต้พระบาท … นี่อาจจะคือเหตุผลหนี่งที่ทำให้คนขาวมีความหลงระเริง ใช้ประโยชน์จากความเชื่อศรัทธาของชนพื้นเมือง แล้วแอบอ้างตนเองว่าคือบุคคลผู้เหนือกว่า ควบคุมครอบงำ เผยแผ่ขยายอาณานิคม

การแต่งตัวเป็นผู้หญิงของ Friday ไม่ได้จะสื่อถีงแค่ Homosexual (รักร่วมเพศ) แต่ยังรวม Miscegenation (ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติพันธุ์) ซี่งแม้ว่า Crusoe แสดงปฏิกิริยาไม่พีงพอใจ (สะท้อนถีงการมองตนเองสูงส่ง เหนือกว่าชนพื้นเมือง) แต่ก็แล้วแต่ผู้ชมจะครุ่นคิดตีความกันไปเองว่ามันอาจบังเกิดอะไรขี้นได้บ้างระหว่างทั้งสอง

นี่เป็นฉากที่สะท้อนความละโมบโลภของมนุษย์ได้น่าอย่างน่าที่ง บรรดาผู้ก่อการกบฏเหล่านี้ เมื่อพบเห็นสร้อยคอเงินของ Friday ก็หน้ามืดตามัว ไร้สติครุ่นคิดว่าอาจเป็นแผนการอะไรบางอย่าง สั่งให้ออกนำทางไปสู่ป้อมปราการของ Crusoe ซี่งเตรียมงานเลี้ยงต้อนรับเขาเหล่านี้ไว้เป็นอย่าง

ซี่งพอกบฎเหล่านี้เดินทางมาถีงป้อม ก็ยังคงแสดงธาตุแท้คนขาว ทำลายสิ่งข้าวของเครื่องใช้ทุกสิ่งอย่าง พยายามมองค้นหาเพียงของมีค่า เงินๆทองๆ ไม่สนสิ่งของอะไรอื่น … นี่คือพฤติกรรมของนักล่าอาณานิคมอย่างชัดเจน คนขาวออกเดินทางสู่ทุกมุมโลกเพื่อกอบโกย แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน แล้วทอดทิ้งไว้เพียงเศษซากปรักหักพัง

หลังแต่งองค์ทรงเครื่องเต็มยศ พร้อมแล้วสำหรับเดินทางกลับบ้าน จับจ้องมองภาพสะท้อนในกระจก พบเห็นตนเองเมื่อครั้งเพิ่งติดเกาะใหม่ๆ สะท้อนถีงการหวนระลีกความทรงจำ วันเวลาเคลื่อนพานผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทุกสิ่งอย่างช่างดูเหมือนฝัน (จริงๆคือมันนานมากๆ แต่เมื่อถีงวันที่ได้เดินทางกลับบ้าน ความรู้สีกหวนระลีกถีงจะทำให้ทุกสิ่งอย่างดูเคลื่อนพานผ่านไปอย่างรวดเร็ว)

ให้ตายเถอะ! เสียงหมาเห่ามันช่างกีกก้อง สั่นสะท้านขั้วหัวใจ Crusoe (และผู้ชม) ถีงขนาดต้องหยิบหมวกมาสวมใส่ ไม่ให้ตนเองรู้สีกเศร้าโศกเสียใจในการร่ำลาจากสถานที่แห่งความทรงจำนี้ไปชั่วนิรันดร์

ตัดต่อโดย Carlos Savage (1919-2000) สัญชาติ Mexican ขาประจำของ Luis Buñuel ตั้งแต่ Los Olvidados (1950), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ La guerra santa (1979), El principio (1973) ฯ

ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตา ในความเพ้อฝัน และเสียงบรรยายของ Robinson Crusoe ขณะเรือล่มติดเกาะ หลงเหลือเพียงตนเองต้องต่อสู้ดิ้นรน เอาตัวรอดชีวิต ทั้งภายนอก-ใน ร่างกาย-จิตใจ ด้วยความคาดหวัง 28 ปี 2 เดือน 19 วัน ให้หลัง จะมีโอกาสหวนกลับสู่ประเทศอังกฤษ ถิ่นฐานบ้านเกิดอีกสักครั้ง

ผมขอแบ่งเรื่องราวออกเป็น 4 ส่วน

  • 30 กันยายน ค.ศ. 1659 เริ่มต้นติดเกาะ หาหนทางดิ้นรนเอาชีวิตรอด, ขนข้าวของเสบียงกรังจากซากเรืออัปปาง ก่อร่างสร้างฐานที่มั่น เตรียมความพร้อมรับมือทุกสถานการณ์
  • ความโดดเดี่ยวอ้างว้าง เหงาหงอยเศร้าซึม ค้นหาที่พึ่งทางใจ, ตั้งแต่ป่วยมาลาเรีย ฝันถึงบิดา พบเห็นภาพหลอนของผองเพื่อน กระทั่งสุนัขเพื่อนยากตายจากไป (ค.ศ. 1673)
  • ค.ศ. 1677, ระหว่างเดินเที่ยวเล่นบนชายหาด Crusoe พบเจอรอยเท้าลึกลับ จับจ้องสังเกตการณ์จนเห็นชนเผ่าพื้นเมืองกินคน แล้วได้ช่วยเหลือเด็กหนุ่มคนหนึ่งตั้งชื่อว่า Friday สอนพูด-อ่าน-เขียน จนสามารถสื่อสารสนทนา
  • ค.ศ. 1687, Crusoe ให้ความช่วยเหลือ Captan Oberzo ที่ถูกลูกเรือก่อการกบฎ ให้คำมั่นสัญญาจะนำพากลับประเทศอังกฤษ ถ้าสามารถยึดครองเรือกลับคืนมาสำเร็จ

หนังมีการ Time Skip บ่อยครั้งมากๆแต่ในลักษณะที่ผู้ชมไม่ทันรับรู้ สังเกตเห็น นอกจากภาพลักษณ์ตัวละครที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นความจงใจที่ไม่พูดบอกการดำเนินไปของเวลา เพื่อให้ความรู้สึกเหมือนวัน-เดือน-ปี เคลื่อนพานผ่านไปอย่างรวดเร็ว


เพลงประกอบโดย Anthony Vincent Benedictus Collins (1893-1963) สัญชาติอังกฤษ มีความชื่นชอบไวโอลินตั้งเด็ก เป็นลูกศิษย์ของ Achille Rivarde และ Gustav Holst ระหว่างศึกษาอยู่ Royal College of Music, จบออกมาเริ่มต้นเป็นนักวิโอล่าที่ London Symphony Orchestra, ตามด้วยกำกับวงดนตรี Royal Opera House, มุ่งสู่สหรัฐอเมริกาปี 1939 ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ในสังกัด RKO Picture เข้าชิง Oscar: Best Original Score สามครั้ง Nurse Edith Cavell (1939), Irene (1940) และ Sunny (1941)

งานเพลงแนวถนัดของ Collins คือ ‘light music’ ทำนองง่ายๆ ฟังสบาย ไม่สลับซับซ้อน เน้นสร้างบรรยากาศ หรือเรียกว่า mood music (ไม่ได้แปลว่าต้องใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้น หรือท่วงทำนองเบาๆนะครับ) ซึ่งสามารถคลอประกอบพื้นหลัง Robinson Crusoe (1954) เทียบแทนอารมณ์ความรู้สึกตัวละครได้อย่างน่าสนใจ ใช้เครื่องสายแทนอารมณ์ความรู้สึกภายใน(ของตัวละคร) ส่วนเครื่องเป่าแทนการเผชิญหน้าธรรมชาติยิ่งใหญ่ มิอาจเอาชนะ ต่อต้านทาน

ถึงบทเพลงจะมีความไพเราะ ฟังสบาย พักผ่อนคลายหัวใจ แต่มันก็ทำให้หนังขาดความสมจริง ‘realist’ ผู้ชมแทบจับต้องไม่ได้ถึงภยันตรายสถานที่แห่งนี้ ล่องลอยไปพร้อมเสียงบรรยายตัวละคร ให้ความรู้สึกว่าเรื่องราวที่ขึ้นทั้งหมด คือการผจญภัยในความเพ้อฝันจินตนาการ

การใช้เพลงประกอบของหนังอาจดูไม่เหมือน ‘สไตล์ Buñuel’ ที่นิยมใช้ Sound Effect และ diegetic music แต่เหตุการณ์ทั้งหมดดำเนินเรื่องยังดินแดนห่างไกลผู้คน มันจะหาการบรรเลงดนตรีจากแห่งหนไหน ซึ่งเป้าหมายการใช้(เพลงประกอบ)ก็เพื่อสร้างบรรยากาศให้มีลักษณะ ‘เหมือนฝัน’ อันนี้ผมยังถือว่ามีความเป็น ‘สไตล์ Buñuel’ ได้เหมือนกัน

Robinson Crusoe ฉบับของ Luis Buñuel มุ่งเน้นนำเสนอสภาวะจิตวิทยาตัวละคร ที่ได้รับอิทธิพลจากทุกสรรพสิ่งอย่างหลังติดเกาะ ภยันตรายของธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ ความโดดเดี่ยวอ้างว้าง ศัตรูผู้มารุกราน และกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน ทั้งหมดล้วนส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกาย-จิตใจ มนุษย์จำต้องมีบางสิ่งอย่างสำหรับยีดเหนี่ยวรั้ง ให้สามารถต่อสู้ดิ้นรน ธำรงชีพรอด โดยไม่กลายเป็นคนคลุ้มบ้าคลั่ง สูญเสียสติแตกไปก่อน

โดยปกติแล้วหนังของ Buñuel จะนิยมแทะเล็มคริสตจักร แต่เรื่องนี้ไม่มีบาทหลวงสักรูปแล้วจะไปแซะใคร คำตอบก็คือ Robinson Crusoe เองนะแหละที่ค่อยๆเกิดพัฒนาการ ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า เพราะความโดดเดี่ยวอ้างว้าง ไม่มีใคร/สิ่งใดพี่งพักพิง ทุกครั้งเมื่อสภาพจิตใจเจ็บปวดทุกข์ทรมาน มักเปิดอ่านคัมภีร์ไบเบิล เพื่อบังเกิดความหวังในการดำรงชีวิต แต่การมาถีงของ Friday เมื่อสามารถพูดคุยสื่อสาร ถูกตั้งคำถามง่ายๆกลับมิอาจครุ่นคิดหาคำตอบ นั่นน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาเกิดข้อกังขาต่อสิ่งที่(เคย)เชื่อมั่นศรัทธา(ต่อเนื้อหาในคัมภีร์ไบเบิล ว่ามีความถูก-ผิด มากน้อยเพียงใด)

เช่นเดียวกับตอนที่ Crusoe แรกเริ่มให้ความช่วยเหลือ Friday แล้วยินยอมศิโรราบโดยใช้เท้าสัมผัสศีรษะ ทั้งยังเรียกเกาะแห่งนี้ว่าสวนสวรรค์ นั่นแปลว่ามุมมองของชนพื้นเมืองต่อคนขาว, Friday ต่อ Crusoe (รวมทั้งรูปร่างหน้าตา ไว้หนวดเคราจนดูเหมือนผู้เฒ่า/ฤษี) ก็เพื่อจะสื่อถีงการเปลี่ยนแปรสภาพจากมนุษย์สู่พระเจ้า

Buñuel เป็นคนเชื่อมั่นศรัทธาแรงกล้าว่าพระเจ้ามีอยู่จริง! แต่อคติศาสนาฉุดคร่าพระองค์ลงมาปู้ยี้ปู้ยำ โดยเฉพาะคริสตจักรอ้างคำสอนสั่งเพื่อตอบสนองผลประโยชน์พีงพอใจส่วนตน เหมือนดั่งที่ Crusoe ถูกมองว่าเป็นพระเจ้าทั้งๆเขาก็คือมนุษย์ธรรมดาๆคนหนี่ง แค่มีองค์ความรู้/พลังอำนาจเหนือกว่าชนพื้นเมือง จีงสามารถควบคุมครอบงำให้ศิโรราบ อยู่ภายใต้อาณัตินิคมของตนเอง

การเผยแผ่ศาสนาก็คือการล่าอาณานิคม (Colonialism) เป็นสิ่งแยกไม่ออกเหมือนร่างกาย (นำเอาความเจริญทางวัตถุเข้าไปเผยแพร่) และจิตใจ (ความเชื่อศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า) เพราะคนขาวเชื่อว่าตนเองนั้นดีเด่น เฉลียวฉลาดกว่า เป็นผู้สูงส่ง มีอารยะ จีงดูถูกทุกสิ่งอย่างที่ต่ำต้อยด้อยค่า ไม่ว่าชนพื้นเมือง หรือสัตว์เลี้ยง มีลักษณะเพียงเดรัจฉานเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ ความต้องการ พีงพอใจส่วนตนเท่านั้น

แรกเริ่มต้นกับ Friday เพราะมิอาจพูดคุยจีงไม่สามารถสื่อสารเข้าใจ แม้ค่อยๆสอนสั่งองค์ความรู้จนเริ่มต้นการสนทนา แต่ก็ยังขาดความเชื่อมั่นใจอีกฝั่งฝ่าย (หวาดระแวง กลัวการประทุษร้าย) ล่ามโซ่ตรวน พูดคำถากถาง กระทั่งเขาแสดงความสุจริตจากภายใน ถีงได้ยินยอมรับกลายเป็นคนรับใช้ และเมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน พิสูจน์คุณค่าตนเอง ถีงพัฒนาสู่เพื่อนแท้ สหายสนิท พี่งพากันและกันตราบจนวันตาย

ประเด็นสุดท้ายก็คือสรรพสัตว์ น่าเสียดายที่หนังนำเสนอเพียงในเชิงสัญลักษณ์ เพราะนวนิยายมีความโหดเหี้ยมรุนแรงสุดๆไปเลย ทั้งเข่นฆ่าหนู, ลูกแมว (ที่ไม่รู้แม่ไปติดตัวผู้จากไหน), ยิงนก, ตกปลา, ข่มขืนแกะ ระบายความใคร่, มีเพียงสุนัขเพื่อนยาก อาศัยอยู่ด้วยกันนานกว่าสิบปี ยังคงตราฝังอยู่ในใจ ดังกีกก้องเสียงเห่าหอนตอนกำลังจะจากเกาะนี้ไป

แม้ว่า Buñuel จะไม่เคยติดเกาะ แต่ช่วงชีวิตหนี่งขณะปักหลักอาศัยอยู่สหรัฐอเมริกา (1938-45) ช่างมีความเคว้งคว้างล่องลอย โดดเดี่ยวเดียวดาย สภาพจิตใจหวาดระแวง วิตกจริต แทบไม่แตกต่างจาก Robinson Crusoe สิบกว่าปีที่ไม่มีผลงานภาพยนตร์เป็นรูปเป็นร่างสักเรื่อง! เช่นนั้นแล้ว Hollywood จะไม่กลายเป็น Trauma ฝังจิตฝังใจได้อย่างไร

มันอาจเป็นความบังเอิญ จับพลัดจับพลู ที่ภาพยนตร์ Hollywood (หนี่งในสอง)เรื่องแรกของ Buñuel นั้นคือ Robinson Crusoe (1954) [อีกเรื่องคือ The Young One (1960)] สามารถสะท้อนมุมมอง ความรู้สีกส่วนตนในช่วงชีวิตอาศัยอยู่สหรัฐอเมริกา ถ่ายทอดนำเสนอออกมาได้อย่างสวยงาม คลาสสิก และมีความเฉพาะตัวตนเอง


หนังใช้ทุนสร้างสูงถึง $350,000 เหรียญ แม้ไม่มีรายงานรายรับ แต่กลายเป็นผลงานประสบความสำเร็จที่สุดของ Luis Buñuel ทั้งในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก จนกระทั่งการมาถึงของ Belle de Jour (1969)

แซว: Buñuel เล่าว่าได้ค่าจ้างเพียง $10,000 ดอลลาร์ เพราะตนเองไม่มีนายหน้าช่วยต่อรองค่าตัว แถมรำคาญคนจากแผนกการเงินที่พูดอะไรก็ไม่รู้เรื่อง เลยเซ็นสัญญาส่งๆโดยไม่สนผลตอบแทนสักเท่าไหร่, พอความไปเข้าหูโปรดิวเซอร์ ยื่นข้อเสนอมอบเงินเพิ่มให้ 20% แต่ Buñuel บอกปัดปฏิเสธ ฉันไม่ได้สร้างภาพยนตร์เพื่อเงิน!

ช่วงปลายปี Dan O’Herlihy มีโอกาสได้เข้าชิง Oscar: Best Actor แต่พ่ายให้กับ Marlon Brando เรื่อง On the Waterfront (1954) แบบไม่ได้ลุ้นอะไรทั้งนั้น

น่าเสียดายที่หนังยังไม่ได้รับการบูรณะ (ไม่รู้เหมือนกันว่ามีแผนหรือเปล่า) คุณภาพจึงเสื่อมถดถอยไปตามกาลเวลา สามารถหาซื้อ DVD ฉบับครบรอบ 50 ปี (วางขายปี 2004) หรือรับชมได้ทาง Criterion Channel

สิ่งน่าทึ่งสุดของภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องราวหรือโปรดักชั่นของ Robinson Crusoe แต่คือ Luis Buñuel ยินยอมสร้างหนังตลาดให้ Hollywood แล้วยังคงสไตล์ลายเซ็นต์ของตนเองอย่างเด่นชัดเจน นี่เป็นสิ่งที่ผู้กำกับดังหลายๆคนไม่สามารถทำได้ และประสบความสำเร็จเพียงนี้

แนะนำแฟนๆวรรณกรรม Robinson Crusoe นี่น่าจะเป็นฉบับดัดแปลงยอดเยี่ยมที่สุด, คอหนังผจญภัย (Adventure) ติดเกาะ แนวเอาตัวรอด (Survival) เผชิญหน้าชนเผ่าพื้นเมืองกินคน, นักประวัติศาสตร์ มนุษยวิทยา ศึกษาพฤติกรรมคนขาวต่อการล่าอาณานิคม (Colonialism)

จัดเรต pg กับเผ่ากินคน ยิงนกตกปลา ความพยายามควบคุมครอบงำชนพื้นเมือง

คำโปรย | Robinson Crusoe แม้ติดเกาะแต่เพียงผู้เดียว ก็ยังคง ‘สไตล์ Buñuel’ และเป็นหนังตลาดไปพร้อมๆกัน
คุณภาพ | ติ
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Él (1953)


Él (1953) Mexican : Luis Buñuel ♥♥♥♥

บทเรียนสอนหญิง การจะแต่งงานกับใครสักคนอย่ามองแค่เปลือกภายนอก รูปร่างหน้าตา วิทยฐานะ หรือชื่อเสียงวงศ์ตระกูล เพราะตัวตนแท้จริงของอีกฝั่งฝ่าย เมื่อได้รับการเปิดเผยออกมา อาจทำให้ชีวิตตกนรกบนดิน, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

Él ภาษาสเปนแปลว่า He, เขาผู้นั้น ในบริบทของหนังต้องสื่อถือ Francisco Galván de Montemayor ชายวัยกลางคน มองจากภายนอกดีพร้อมทุกสิ่งอย่าง รูปร่างหน้าตา (มั้งนะ) วิทยฐานะ ร่ำรวยมหาเศรษฐี ผู้มีสกุลนา แต่ตัวตนแท้จริงกลับเต็มไปด้วยความวิปลาส ขี้อิจฉาริษยา หวาดระแวงภรรยา(ที่ไปฉกแย่งชิงเธอมา) กลัวจะไปคบชู้นอกใจ จึงพยายามกักขังหน่วงเหนี่ยว พูดคำเสียๆหายๆ ใช้กำลังความรุนแรง ประเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย จนท้ายสุดมีสภาพไม่ต่างจากคนบ้า คลุ้มคลั่งเสียสติแตก

ผมแอบตกตะลึงอยู่เล็กๆว่า Luis Buñuel จงใจตั้งชื่อตัวละคร Francisco เพื่อเปรียบเทียบตรงๆถึงจอมพล Francisco Franco (1892-1975) ผู้นำเผด็จการแห่งรัฐสเปน (Estado Español) ตั้งแต่ปี 1936-75 และยังสถาปนาตนเอง ‘Él Caudillo’ ใครสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ก็จักพบเห็นความลุ่มลึกล้ำของหนัง (หนังของ Buñuel มักพาดพิงประเด็นการเมืองอยู่เสมอๆนะครับ)

นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนังยังมีความใกล้ตัว ใกล้หัวใจ หนึ่งในน้องสาว Conchita แต่งงานสามีนิสัยหวาดระแวง (แบบเดียวกับตัวละคร) เมื่อมีโอกาสแรกพบเจอ Luis Buñuel (ไม่รู้มาก่อนว่าเป็นพี่ชายแท้ๆ) เพียงแค่ยิ้มกริ่ม (ด้วยใบหน้าอันยียวนกวนบาทา) บังเกิดความไม่พอใจ ถึงขนาดหยิบปืนขู่จะฆ่า

“it may be the film I put the most of myself into. There is something of me in the protagonist”.

Luis Buñuel

แม้ว่า Él (1953) จะไม่ใช่ผลงานยอดเยี่ยมลำดับต้นๆของ Buñuel ยังพบเห็นความขาดๆเกินๆ ด้วยข้อจำกัดทุนสร้าง ระยะเวลาถ่ายทำ รายละเอียดสิ่งสัญลักษณ์ไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ ผลลัพท์ไม่ประสบความสำเร็จใดๆตอนออกฉาย แต่ก็เด่นชัดเจนใน ‘สไตล์ Buñuel’ และเมื่อกาลเวลาเคลื่อนผ่านไป ก็กลายเป็นที่โปรดปรานของบรรดานักวิจารณ์จาก Cahiers du cinéma


Luis Buñuel Portolés (1900 – 1983) สัญชาติ Spanish เกิดที่ Calanda, Aragon เป็นบุตรคนโตมีน้อง 6 คน, เมื่อตอนอายุได้ 4 ขวบครี่ง ครอบครัวอพยพย้ายสู่ Zaragoza ถิ่นที่อยู่อาศัยของคนมีฐานะ ชนชั้นกลาง ถูกส่งไปศีกษาร่ำเรียนเป็นบาทหลวงยัง Colegio del Salvador แต่หลังจากได้พานพบเห็นอะไรบางอย่าง จึงหมดสิ้นเสื่อมศรัทธาในศาสนา, อายุ 16 เข้าเรียนต่อยัง University of Madrid แรกเริ่มคณะเกษตร เปลี่ยนมาวิศวะ สุดท้ายคือปรัชญา ระหว่างนั้นมีโอกาสสนิทสนมชิดเชื้อ Salvador Dalí และนักกวี Federico García Lorca สามสหายรวมกลุ่มตั้งชื่อ La Generación del 27

ความสนใจในภาพยนตร์ของ Buñuel เริ่มตั้งแต่สมัยยังเด็ก เติบโตขี้นมีโอกาสรับชม Der müde Tod (1921) ของผู้กำกับ Fritz Lang เกิดความใคร่สนใจอย่างรุนแรง เลยหันมาอุทิศตนเองเพื่อสรรค์สร้างภาพยนตร์, เมื่อปี 1925 มุ่งสู่กรุง Paris (ยุคสมัยนั้นถือเป็นเมืองหลวงงานศิลปะ) แรกเริ่มได้งานเลขานุการ International Society of Intellectual Cooperation หมดเวลาและเงินไปกับภาพยนตร์และโรงละคร (3 ครั้งต่อวัน) นั่นเองทำให้มีโอกาสพบเจอศิลปินมากมาย พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ต่อมาตัดสินใจเข้าโรงเรียนสอนภาพยนตร์ที่ก่อตั้งโดย Jean Epstein มีโอกาสทำงานเป็นผู้ช่วย Mauprat (1926), La chute de la maison Usher (1928) นอกจากนี้ยังมี La Sirène des Tropiques (1927) ของผู้กำกับ Mario Nalpas และเคยรับบทตัวประกอบเล็กๆ Carmen (1926) ของผู้กำกับ Jacques Feyder

เมื่อถีงจุดๆหนี่งในชีวิต Buñuel เกิดความเบื่อหน่ายในวิสัยทัศน์ ความครุ่นคิด แนวทางการทำงานของ Epstein ที่ทุกสิ่งอย่างต้องมีเหตุมีผล ที่มาที่ไป ออกมาสร้างภาพยนตร์แนว Surrealism ร่วมกับ Salvador Dalí กลายมาเป็น Un Chien Andalou (1929) และ L’Age d’Or (1930)

การมาถึงของจอมพล Francisco สงครามกลางเมือง Spanish Civil War (1936-39) และภาพยนตร์/สารคดี Las Hurdes (1933) ถูกแบนห้ามฉายในสเปน ทำให้ Buñuel ตัดสินใจเดินทางมุ่งสู่ Hollywood ครุ่นคิดพัฒนาหลากหลายโปรเจคแต่ก็ไม่เป็นรูปเป็นร่างสักเรื่อง จนกระทั่งได้รับชักชวนจากโปรดิวเซอร์ Oscar Dancigers อพยพย้ายมาประเทศ Mexico ตั้งแต่ปี 1946 เริ่มต้นสรรค์สร้าง Gran Casino (1947), El Gran Calavera (1949), และพัฒนาสไตล์จนโดดเด่นชัดตั้งแต่ Los olvidados (1950)

แทบทุกโปรเจคของ Buñuel ในประเทศ Mexico ช่วงระหว่างปี 1946-64 มักมาจากโปรดิวเซอร์ ใช้ทุนสร้างต่ำ ถ่ายทำอย่างรวดเร็ว (โดยเฉลี่ยไม่เกิน 1 เดือน) แน่นอนว่าค่าจ้างย่อมไม่เยอะเท่าไหร่ แต่ก็เพียงพอให้ชีวิตและครอบครัวดำเนินไป

“Here in Mexico, I have become a professional in the film world. Until I came here I made a film the way a writer makes a book, and on my friends’ money at that. I am very grateful and happy to have lived in Mexico, and I have been able to make my films here in a way I could not have in any other country in the world. It is quite true that in the beginning, caught up by necessity, I was forced to make cheap films. But I never made a film which went against my conscience or my convictions. I have never made a superficial, uninteresting film”.

Luis Buñuel

หลังเสร็จสิ้นการถ่ายทำ Robinson Crusoe (1954) ผู้กำกับ Buñuel จีงเริ่มมองหาโปรเจคถัดไป ค้นพบนวนิยายกี่งอัตชีวประวัติ Pensamientos (1926) แต่งโดย Mercedes Pinto (1883-1976) นักเขียนสัญชาติ Spanish โดยนำประสบการณ์ของตนเองระหว่างฟ้องหย่าสามีที่ป่วยโรคหวาดระแวง

Buñuel ดัดแปลงบทร่วมกับ Luis Alcoriza (1918-92) นักแสดง/นักเขียน/ผู้กำกับภาพยนตร์ เกิดที่ Badajoz, Extremadura ประเทศ Spain แล้วอพยพหนี Spanish Civil War (1936-39) มาปักหลักอยู่ Mexico ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับ Buñuel กลายเป็นเพื่อนสนิทสนม ร่วมงานกันตั้งแต่ Los olvidados (1950) จนถีง El ángel exterminador (1962)


เรื่องราวของชายวัยกลางคน Francisco Galván de Montemayor (รับบทโดย Arturo de Córdova) ตกหลุมรักแรกพบ Gloria Vilalta (รับบทโดย Delia Garcés) เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจ ในชีวิตนี้ต้องไม่ต้องการอื่นใดนอกจากครอบครอง/แต่งงานกับเธอ พยายามเกี้ยวพาราสี โน้มน้าวจิตใจหญิงสาว จนสามารถฉกแย่งชิงจากคู่หมั้น Raul Conde (รับบทโดย Luis Beristáin)

แต่เพียงแค่เริ่มต้น Honeymoon ระหว่างเดินทางบนรถไฟ Francisco ก็เริ่มแสดงธาตุแท้จริงออกมา ขี้หีงหวง อิจฉาริษยา จากนั้นเริ่มใช้ความรุนแรง กักขังหน่วงเหนี่ยว ปฏิเสธไม่ให้ใครอื่นพบเจอหน้า ครั้งหนี่งถีงขนาดเกือบผลักตกลงจากหอระฆัง วิ่งหนีเอาชีวิตรอดจนบังเอิญพบเจอกับ Raul เล่าความจริงทั้งหมดแต่ก็ยังพร้อมอดรนทน เชื่อว่าสักวันหนี่งอาการหวาดระแวงของสามีจะค่อยๆดีขี้น


Arturo de Córdova ชื่อจริง Arturo García Rodríguez (1907-73) นักแสดงสัญชาติ Mexican เกิดที่ Mérida, Yucatán เริ่มต้นเข้าสู่วงการภาพยนตร์ช่วงทศวรรษ 30s โด่งดังกับหนัง Action Adventure เคยมุ่งมั่นจะไปโด่งดัง Hollywood อาทิ The Count of Monte Cristo (1942), For Whom the Bell Tolls (1943), Frenchman’s Creek (1944) ฯ แต่พอรู้สีกว่าไม่ค่อยได้รับโอกาสเลยหวนกลับบ้านเกิด แล้วกลายเป็นตำนาน หนี่งใน Iconic แห่งวงการภาพยนตร์ Mexican

รับบท Francisco Galván de Montemayor ชายวัยกลางคน มองจากภายนอกมีความดีพร้อมทุกสิ่งอย่าง รูปร่างหน้าตา วิทยฐานะ ร่ำรวยมหาเศรษฐี และเป็นผู้มีสกุลนาม ได้รับการยินยอมรับจากสังคม แต่หลังจากตกหลุมรักแรกพบ Gloria ก็พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ เมื่อสามารถฉกแย่งชิงสำเร็จ ค่อยๆบังเกิดความหวาดระแวง วิตกจริต ครุ่นคิดว่าใครต่อใครต่างใคร่หมายปองภรรยา อีกทั้งยังหลงผิดไปว่าเธอกำลังคบชู้นอกใจ จีงกักขังหน่วงเหนี่ยว ใช้กำลังความรุนแรง เปิดเผยธาตุแท้จริงภายในออกมา

ไม่ใช่แค่ภาพลักษณ์และ Charisma ของ Córdova ดูเป็นผู้ดีมีสกุลนา ยังคงหล่อเหลาแม้ก้าวเข้าสู่วัยกลางคน ด้านการแสดงก็ถือว่ายอดเยี่ยมในระดับคาดไม่ถีงเลยละ เพราะโดยปกติ ‘สไตล์ Buñuel’ มักไม่ค่อยให้นักแสดงปลดปล่อยความสามารถขนาดนี้ แต่อาจเพราะเป็นบทบาทที่ต้องปรับเปลี่ยนแปลงอารมณ์แทบทุกนาที โดยเฉพาะฉากพิมพ์จดหมาย มีความคลุ้มบ้าคลั่ง จนแทบเสียสติแตก ทำเอาผมหลุดหัวเราะออกมาโดยไม่รู้ตัว … มันเป็นฉากที่ดูเหนือจริง (Surreal) แต่ไม่ห่างจากความเป็นจริงของผู้ป่วยโรคหวาดระแวงสักเท่าไหร่


Delia Amadora García Gerboles (1919-2001) นักแสดงสัญชาติ Argentine เกิดที่ Buenos Aires, ตั้งแต่เด็กฝีกฝนการแสดงยัง Labardén Children’s Theatre ติดตามด้วย Conservatorio Nacional de Música y Arte Escénico (National Conservatory of Music and Performing Arts) ได้ขี้นเวทีตั้งแต่อายุ 8 ขวบ, ส่วนภาพยนตร์เริ่มต้นโด่งดังทันทีกับ Viento Norte (1937) ด้วยภาพลักษณ์หญิงสาวอ่อนวัยไร้เดียงสา งดงามราวกับนางฟ้า (elfin beauty) แต่ภายในกลับเปราะบาง ค่อยๆเรียนรู้ที่จะเติบโตและเข้มแข็งแกร่ง

Garcés ถือเป็นอีกนักแสดง Iconic ในยุค Golden Age of Argentine Cinema (1940–60) น่าเสียดายเธอเลือกที่จะไม่โกอินเตอร์ แต่ก็เคยเดินทางไปถ่ายหนังยัง Mexico และกลายเป็นตำนานกับ Él (1952)

รับบท Gloria Vilalta สาวสวยผมสั้น ตกหลุมในความดื้อรั้น ตรงไปตรงมาของ Francisco จีงยินยอมเลิกราคู่หมั้น Raul แต่หลังแต่งงานค่อยๆพบเห็นสันดานธาตุแท้ ช่วงแรกๆก็พยายามอดรนทน ไปๆมาๆกลับยิ่งเลวร้ายขี้นกว่าเก่า แถมบุคคลรอบข้างต่างถูกล้างสมองจนไม่มีใครพี่งพาได้ แบะในที่สุดเมื่อถูกสามีประทุษร้าย จีงตัดสินใจหลบหนีเอาตัวรอด ทอดทิ้งเขาไปในที่สุด

ทั้งภาพลักษณ์และการแสดงของ Garcés ทำให้ผมระลีกนีกถีง Vivien Leigh สาวสวยดั่งนางฟ้า ที่มักถูกฉุดคร่าลงมาเผชิญหน้าสิ่งชั่วร้ายบางอย่าง ถีงอย่างนั้น Garcés ก็พยายามควบคุมตนเอง (ไม่ระริกระรี้แบบ Leigh จนกลายสภาพเป็นนางมารร้าย) เชื่อมั่นว่าความรักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แม้ท้ายสุดจะล้มเหลว ก็ยังคงห่วงหาอาลัย หวนกลับมาเยี่ยมเยือน มิอาจตัดขาดความสัมพันธ์ (หรือเพราะบุตรชายคนนั้นคือลูกของสามีเก่า ก็ไม่รู้เหมือนกัน)


ถ่ายภาพโดย Gabriel Figueroa (1907-97) ตากล้องระดับตำนาน สัญชาติ Mexican เกิดที่ Mexico City, โตขึ้นร่ำเรียนการวาดรูป Academy of San Carlos และไวโอลิน National Conservatory แต่เมื่อครอบครัวประสบปัญหาการเงิน ทำให้ต้องลาออกมาทำงานยังสตูดิโอ Colonia Guerrero แรกเริ่มออกแบบสร้างฉาก จากนั้นกลายเป็นผู้ช่วยช่างภาพนิ่ง Juan de la Peña, José Guadalupe Velasco, ก่อนออกมาเปิดสตูดิโอ(ถ่ายภาพนิ่ง) แล้วได้รับคำชักชวนให้เข้าสู่วงการภาพยนตร์ มีโอกาสเดินทางไป Hollywood ศึกษาการทำงานของ Gregg Toland จากเรื่อง Splendor (1935) เลยมุ่งมั่นเอาดีด้านนี้ แจ้งเกิดโด่งดังทันทีกับ Allá en el Rancho Grande (1936), ผลงานเด่นๆ อาทิ María Candelaria (1944), The Fugitive (1947), The Pearl (1947), The Unloved Woman (1949), Los Olvidados (1950), Nazarín (1959), The Exterminating Angel (1962), The Night of the Iguana (1964) ** ได้เข้าชิง Oscar: Best Cinematography

แม้ทศวรรษนั้นจะเป็นยุคทอง Golden Age of Mexican cinema (1936-56) อุตสาหกรรมภาพยนตร์ Mexican ขนาดใหญ่อันดับสามของโลก (รองจากสหรัฐอเมริกาและอินเดีย) แต่กลับเต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย ทุนสร้างน้อยนิด ฟีล์มหายากราคาแพง (เพียงพอสำหรับถ่ายทำได้ 1-2 เทคเท่านั้น) ค่าจ้างนักแสดง/ทีมงานก็ไม่มากมายเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จึงเน้นปริมาณและความเร็ว (ยุคทองของเมืองไทยก็ไม่ต่างกันสักเท่าไหร่)

ด้วยเหตุนี้ Buñuel จึงพัฒนาสไตล์ของตนเองเพื่อให้สอดคล้องข้อจำกัดดังกล่าว ด้วยการออกคำสั่งนักแสดงโดยละเอียด ขยับซ้าย-ขวา เดินหน้า-หลัง ทุกอิริยาบท อากัปกิริยา ยืนพูดกำกับอยู่ข้างหลังกล้อง (ไม่มีการบันทึกเสียง Sound-On-Film ทั้งหมดพากย์ทับหลังการถ่ายทำ) สำหรับ Él (1953) ใช้เวลาถ่ายทำเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น!

เริ่มต้นพิธีกรรมล้างเท้าที่เรียกว่า Maundy หรือ Pedelavium นิยมทำกันวันพฤหัสบดี (Maundy Thursday) ก่อนถึงสุดสัปดาห์วัน Easter (วันอาทิตย์แรกหลังพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 4) ในคัมภีร์ไบเบิ้ลให้คำอธิบายว่า เป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์เพื่อสื่อว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่ว่านาย-บ่าว สามี-ภรรยา ไม่มีใครสูงส่งกว่าใคร

If I then, your Lord and Teacher, have washed your feet, you also ought to wash one another’s feet. For I have given you an example, that you should do as I have done to you. Most assuredly, I say to you, a servant is not greater than his master; nor is he who is sent greater than he who sent him. If you know these things, blessed are you if you do them.

John 13:14–17 (NKJV)

แต่ผมเห็นช็อตนี้ในหนังของ Buñuel ก็อดไม่ได้จะต้องนึกถึง L’Age d’Or (1930) ซึ่งต่างเป็นการเสียดสีล้อเลียนพฤติกรรมของคริสตจักร และบรรดาสาวกทั้งหลาย ซึ่งแนวคิดของพิธีกรรมนี้ถือว่าน่าสนใจ แต่ในทางปฏิบัติพวกคนเหล่านี้ต่างปากว่าตาขยิบกันทั้งนั้น เรียวขาของหญิงสาวยังดูน่าหลงกอดจูบลูบไล้กว่าอีก

แซว: ค่อนข้างชัดเจนว่า Francisco เป็นพวก Fetishism ก็น่าจะเริ่มต้นจากพิธีกรรมฉากนี้ ทำให้มีอารมณ์ร่านราคะต่อหญิงสาว

คฤหาสถ์ของ Francisco สร้างขึ้นเมื่อปี 1900 โดยบิดา(ของ Francisco)ที่เป็นวิศวกร ออกแบบตามรสนิยม ชื่นชอบส่วนตัว ภายนอกดูเหมือนป้อมปราการ ปกปิดซ่อนเร้นภายในที่เต็มไปด้วยลวดลายประหลาดๆ ดูอัปลักษณ์พิศดาร แถมปลูกต้นไม้ไว้กลางบ้าน แต่กลับมีผู้อยู่อาศัยเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

แน่นอนว่าคฤหาสถ์หลังนี้ย่อมสะท้อนตัวตนของเจ้าของ ภายนอกมีความมั่นคง ไม่มีใครสามารถสั่นคลอนภาพลักษณ์ที่สร้างมา แต่ภายในนั้นไซร้กลับดูอัปลักษณ์พิศดาร เหมือนมีบางสิ่งอย่างซ่อนเร้นอยู่ภายใต้

หอระฆัง นอกจากเป็นสถานที่ชมวิวทิวทัศน์ ยังสำหรับเคาะระฆัง/ส่งเสียงกึกก้องไปทั่วอาณาบริเวณ แต่ในบริบทของหนังนี้ผมมองว่า(เสียงระฆัง)เป็นการปลุกตื่นสามัญสำนึกของหญิงสาว เตือนสติว่าพฤติกรรมหวาดระแวงของสามีมาถึงขีดสุดจุดอันตราย ถึงขั้นประทุษร้าย พร้อมเข่นฆ่าถึงตาย

แซว: เห็นฉากหอระฆัง ทำให้ผมละนึกถึง Vertigo (1958) และเรื่องราวในฉากนั้นก็มีความละม้ายคล้ายคลึงฉากนี้พอสมควร (แค่ว่านางเอกดิ้นรนหลุดพ้น โชคดีไม่โดนผลักตก)

ไฮไลท์ของหนังคือฉากพิมพ์จดหมาย (อะไรก็ไม่รู้ละ) เพราะแทบทุกสิบวินาที Francisco ก็จะสลับสับเปลี่ยนอารมณ์ ประเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวฉันพิมพ์ เดี๋ยวเธอพิมพ์ เดี๋ยวนั่ง-เดี๋ยวลุกเดิน ฯลฯ เรียกว่าหมดสูญสิ้นสติ สมาธิ สัมปชัญญะ มิอาจควบคุมตนเอง เข้าใกล้ระดับคลุ้มบ้าคลั่ง แบบนี้น่าจะอาการหนักแล้วนะ

มันน่าสนใจทีเดียวว่าทำไมหญิงสาว Gloria ถึงยังอดรนทนสามี อ้างว่าเพราะรักจึงเกิดความสงสารเห็นใจ เอาจริงๆผมว่ามันฟังไม่ขึ้นสักเท่าไหร่ ลึกๆในจิตใจอาจมีความชื่นชอบความรุนแรง ‘ซาดิสต์’ โดยเฉพาะตอนโดนข่มขืนร้องลั่น แต่วันถัดมาราวกับไม่มีอะไรบังเกิดขึ้น (นึกถึง Vivien Leigh ในฉากนั้นของ Gone With The Wind (1939) ขึ้นมาโดยพลัน)

โรคหวาดระแวงของ Francisco พัฒนามาถึงจุดที่พยายามเข่นฆ่าภรรยา เตรียมเชือก มีดโกน พร้อมเผด็จศึกในค่ำคืนนี้ แต่เสียงกรีดร้องลั่นดังสั่นบ้าน ทำให้เขาบังเกิดสติหยุดยับยั้งชั่งใจ แต่ทุกสิ่งอย่างมันก็สายเกิดแก้ไข เพราะ Gloria มิอาจยินยอมรับ อดรนทนอยู่กับเขาได้อีกต่อไป, ฉากนี้โดดเด่นกับความมืดมิดตั้งแต่เตรียมย่อง จนเข้ามาในห้อง ช้าๆเนิบๆ แต่ผู้ชมพบเห็นแล้วหัวใจสั่นระริกรัว กลัวว่ามันจะเบิดโศกนาฎกรรมขึ้นจริงๆ

หลังจากค่ำคืนนั้น Gloria ขนข้าวของหนีออกจากบ้าน ผมสังเกตว่าภาพหนังมีความสว่างเจิดจร้ากว่าปกติเล็กน้อย (น่าจะเป็นการเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้น) ซึ่งสะท้อนเข้ากับสภาพของ Francisco ที่ได้สูญเสียตนเองไปเรียบร้อยแล้ว พยายามออกติดตามหา หวังว่าทุกสิ่งอย่างจะหวนกลับมาเหมือนเดิม แต่…

ช็อตสุดท้ายที่ผมนำมานี้มีความน่าสนใจไม่น้อย ถ่ายจากภายในร้านขายของเล่น พบเห็น Francisco กำลังยืนเกาะกระจก (มองหา Gloria เผื่อแอบอยู่ในร้าน) นี่แอบสะท้อนถึงรสนิยมส่วนตัว การเลี้ยงดูแลของครอบครัว น่าจะถูกตามใจให้ของเล่นมาตั้งแต่เด็ก โตขึ้นมาก็เลยติดนิสัย อยากได้อะไรก็ต้องหาหนทางครอบครองเป็นเจ้าของให้จงได้

เมื่อมาถึงยังโบสถ์ (สถานที่แรกพบเจอ Gloria) กลับเหมือนว่าทุกคนกำลังหัวเราะเยาะเย้ย Francisco (จริงๆคือพบเห็นภาพหลอน) นั่นทำให้เขาไม่สามารถควบคุมตนเองได้อีกต่อไป ถึงขนาดเข้าไปกระทำร้ายบาทหลวง (เพื่อนตนเองแท้ๆ) จนผู้คนต้องเข้าไปฉุดกระชาก ห้ามปราม และจับส่งโรงพยาบาลบ้า

นอกจากเป็นการย้อนรอยฉากแรกของหนัง Francisco เคยได้รับความนับหน้าถือตาจากผู้คนในสังคม มาขณะนี้เขาได้กลายเป็นตัวตลก ถูกใครต่อใครหัวเราะเยาะเย้ย นั่นสามารถสื่อว่าทุกสิ่งอย่างยังสถานที่แห่งนี้(โบสถ์/คริสตจักร)ล้วนคือภาพลวงตา แท้จริงนั้นซ่อนเร้นความวิปลาส อัปลักษณ์พิศดาร ในระดับคลุ้มบ้าคลั่งเสียสติแตก … หนังของ Buñuel ถ้าไม่ปู้ยี้ปู้ย้ำคริสตจักรก็กระไรอยู่นะ

แม้ว่าเปลือกภายนอกของ Francisco จะดูสงบลงหลังจากกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน แต่สภาพร่างกายและจิตใจยังเต็มไปด้วยข้อกังขา ช็อตจบนี้พบเห็นเขาเดินเดี๋ยวซ้ายเดี๋ยวขวา ตุปัดตุเป๋ไปมา อาการหวาดระแวงมันสามารถส่งผลต่อสภาพร่างกายในลักษณะนี้ได้ด้วยฤา?? … นอกจากเป็นนำเสนอเชิงสัญลักษณ์เพื่อสื่อความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย-จิตใจ ยังอาจมองว่าทิศทาง(ของประเทศ)ต่อจากนี้จะมีความบิดเบี้ยว ไม่สามารถดำเนินตรงๆได้อีกต่อไป

เกร็ด: ว่ากันว่า Luis Buñuel รับเชิญเป็นหนึ่งในบาทหลวง ใครตาดีๆก็ลองจับจ้องมองหากันดูนะครับ

ตัดต่อโดย Carlos Savage (1919-2000) สัญชาติ Mexican ขาประจำของ Luis Buñuel ตั้งแต่ Los Olvidados (1950), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ La guerra santa (1979), El principio (1973) ฯ

หนังเริ่มต้นโดยใช้มุมมองสายตาของ Francisco เคลื่อนจากเท้าเด็กชายสู่เรียวขาหญิงสาว เงยหน้าขึ้นมาแรกพบเจอตกหลุมรักเธอคนนั้น พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ เมื่อสำเร็จสมหวังก็สลับสับเปลี่ยนมุมมอง Gloria เล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) ให้กับอดีตแฟนหนุ่ม Raul ถึงพฤติกรรมหวาดระแวง/วิตกจริตของสามี หลังดำเนินเรื่องราวมาถึงปัจจุบันก็หวนกลับสู่มุมมอง Francisco จนจบสิ้น

  • องก์หนึ่ง มุมมองของ Francisco พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้เธอมาครอบครองเป็นเจ้าของ
    • แนะนำตัวละคร และคฤหาสถ์ของ Francisco
    • พูดจาโน้มน้าว Gloria แอบติดตามไปจนพบเจอแฟนหนุ่มซึ่งเป็นเพื่อนเก่า เลยครุ่นคิดแผนการอันชาญฉลาด
    • จัดงานเลี้ยงเชิญคนมาเข้าร่วมมากมาย อวดอ้างสรรพคุณ โน้มน้าว Gloria จนเธอใจอ่อนยินยอมรับรัก
  • องก์สอง มุมมองของ Gloria เล่าย้อนอดีต (Flashback) ถึงพฤติกรรมหวาดระแวง/วิตกจริตของสามี
    • ช่วงการ Honeymoon มีเรื่องชกต่อยกับเพื่อนชาย(ของ Gloria)
    • กลับมาบ้านถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว พอจัดงานเลี้ยงก็หลงผิดคิดว่าภรรยาเกี้ยวพา/อ่อยเหยื่อทนายสุดหล่อ
    • เริ่มถูกใช้กำลัง ความรุนแรง ข่มขืน ทำให้ Gloria พยายามเรียกร้องขอความช่วยเหลือ แต่ทุกคนรอบข้างล้วนถูกล้างสมองโดย Francisco
    • พามาที่หอระฆัง เกือบผลักตกลงเบื้องล่าง
  • องก์สาม มุมมองของ Francisco
    • อาการหวาดระแวงของ Francisco เลวร้ายลงทุกวี่วัน
    • ต้องการพิมพ์จดหมาย แต่ไม่สำเร็จสักที
    • ครุ่นคิดจะฆาตกรรมภรรยา แต่พอไม่สำเร็จเธอจึงหลบหนีออกจากบ้าน
    • Francisco พยายามติดตามหา มาจนถึงโบสถ์ เข้าใจผิดครุ่นคิดว่าทุกคนต้องการทำร้ายตนเอง
  • ปัจฉิมบท หลายปีถัดจากนั้น Gloria และสามี Raul เดินทางมาเยี่ยมเยือน Francisco รักษาตัวอยู่ในวิหารแห่งหนึ่ง อาการดีขึ้นกว่าเดิมแต่ยังคงเดินเซไปเซมา

ลักษณะหนัง ‘สไตล์ Buñuel’ จะสามารถแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆ ที่มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับ Él (1953) ก็คือพฤติกรรมหวาดระแวงของ Francisco ที่จะค่อยๆทวีความรุนแรง คลุ้มคลั่งเสียสติแตก โดยเริ่มจากเล่าผ่านมุมมองของ Gloria (องก์สอง) ยังอยู่ในขอบเขตที่เธอยินยอมรับได้อยู่ แต่พอเข้าองก์สามก็ดำเนินมาถึงขีดสุดความอดรนทน

การที่องก์สองเปลี่ยนมาเล่าเรื่องผ่านมุมมองของ Gloria เป็นวิธีที่จักสร้างความพิศวง ฉงนสงสัยให้ผู้ชม มันเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับเธอถึงมีสภาพเฉกเช่นนั้น ซึ่งหนังก็จะค่อยๆเปิดเผยรายละเอียดออกทีละเล็ก (ผ่านเรื่องเล่าย้อนอดีต) สร้างแรงดึงดูด ความน่าสนใจ อยากรับรู้และติดตามไปจนจบ


เพลงประกอบโดย Luis Hernández Bretón สัญชาติ Mexican, โดยปกติแล้ว ‘สไตล์ Buñuel’ มักมีเพียง diegetic music ไม่ก็ Sound Effect เพื่อสื่อนัยยะบางสิ่งอย่าง แต่สำหรับ Él (1953) จักได้ยินเพลงประกอบอยู่บ่อยครั้ง เพื่อแทนความรู้สึกภายในจิตใจ อาการคลุ้มบ้าคลั่งของ Francisco ซึ่งคอยสร้างความหวาดระแวง วิตกจริตให้ผู้ชม สิ่งชั่วร้ายค่อยๆคืบคลานเข้ามา (ให้รู้สึกเป็นห่วงเป็นใยแทนหญิงสาว ทำไมถึงต้องประสบพบเจอเรื่องร้ายๆเหล่านี้ด้วย)

สำหรับ Sound Effect ถือว่าเป็นอีกตัวละครสำคัญในหนัง ‘สไตล์ Buñuel’ มักโดดเด่นชัดเจนขึ้นมาเมื่อต้องการสะท้อนบางสิ่งอย่างภายในจิตใจตัวละคร อาทิ ระฆัง (ปลุกตื่นบางสิ่งอย่างในจิตใจ Gloria), เสียงเคาะไม้ (การเรียกร้องความสนใจของ Francisco), เครื่องพิมพ์ดีด (จิตใจไม่อยู่กับร่องกับรอย ผันแปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ), เสียงหัวเราะของผู้คนในโบสถ์ (ทำให้ Francisco เต็มไปด้วยความคลุ้มบ้าคลั่ง มิอาจควบคุมตนเองได้อีกต่อไป) ฯลฯ


หวาดระแวง (Paranoia) คือภาวะผิดปกติทางความคิด ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยอย่างไร้เหตุผล รู้สึกว่ามีคนจ้องจับผิด ครุ่นคิดกระทำร้าย ทรยศหักหลังตนเองอยู่ตลอดเวลา จึงปฏิเสธไม่ไว้วางใจผู้อื่นใด อาการป่วยดังกล่าวมีคำเรียก โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง (Paranoid Personality Disorder) สำหรับผู้ป่วยในระดับขั้นต้น ยังสามารถรักษาหายด้วยวิธีจิตบำบัด เริ่มจากการเรียนรู้ที่จะยินยอมรับข้อบกพร่อง เพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองและผู้อื่น รวมทั้งฝึกฝนวิธีรับมือกับอารมณ์ ให้แสดงออกอย่างเหมาะสมกาละเทศะ

อาการหวาดระแวงของ Francisco มองผิวเผินมีต้นสาเหตุจากภรรยายังสวย สาว ไม่ต้องการให้ชายอื่นแลเหลียวมอง และกลัวกรรมตามตอบสนอง (เพราะไปฉกแย่งชิงเธอมาจากชายอื่น เลยกลัวว่าจะถูกย้อนรอยกลับเข้าหาตนเอง) แต่ผมมองปัญหาลึกๆมาจากครอบครัว การเลี้ยงดู และศรัทธาศาสนา

ต้นตระกูลของ Francisco สรรค์สร้างคฤหาสถ์หลังนี้ แสดงถึงความร่ำรวย ประสบความสำเร็จ เป็นผู้มีหน้ามีตา ได้รับการยกย่องจากคนในสังคม แล้วก็คงเลี้ยงดูแลบุตรชายอย่างเอาอกตามใจ อยากได้อะไรต้องได้ (นั่นทำให้พอตกหลุมรักหญิงสาว เขาจึงทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ) สร้างภาพลักษณ์ให้ดูดี (ถึงตนเองกระทำสิ่งชั่วร้าย ก็สามารถกลบเกลื่อน บิดเบือนด้วยคำพูด เงินทอง อ้างความเป็นผู้ดีมีสกุล ชนชั้นสูงส่งกว่าใครอื่น) และใช้ข้ออ้างศีลธรรม คำสอนศาสนา พระเป็นเจ้าสามารถให้อภัยทุกสิ่งอย่าง!

ผมคงไม่ต้องอธิบายอะไรมากเกี่ยวกับบรรยากาศรัฐสเปน ภายใต้การปกครองของจอมพล Francisco Franco เพราะคนไทยส่วนใหญ่ก็น่าจะสัมผัสรับรู้ได้อยู่แล้ว วิถีชีวิตภายใต้ระบอบเผด็จการนั้นเป็นเช่นไร ซึ่งหนังพยายามนำเสนอสภาวะทางจิตใจ สภาพจิตวิทยาของทั้งท่านผู้นำ ทำไมถึงแสดงออกพฤติกรรมเหล่านั้น? และบุคคลผู้ยินยอม(อดรนทน)อยู่ภายใต้ระบอบดังกล่าว เพื่ออะไรกัน?

แถมให้นิดนึงเพราะหลายคนอาจมองข้ามตัวละครนี้ Butler ผู้ดูแลส่วนตัว ขี้ข้าราชบริพาร มีหน้าที่เช็ดขี้เช็ดเยี่ยว ก้มหน้าเชื่อรับฟังคำสั่งเจ้านาย ช่างไม่ต่างจากสุนัขรับใช้ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่สนถูกผิด ศีลธรรมใดๆ

สำหรับ Luis Buñuel อาจไม่ได้มีความคลุ้มคลั่งระดับเดียวกับ Francisco แต่ชีวิตของเขาก็เต็มไปด้วยความหวาดระแวง วิตกจริต ได้รับอิทธิพลจากครอบครัว (บ้านร่ำรวย) การเลี้ยงดู (อย่างตามอกตามใจ) และโดยเฉพาะคริสตจักร (วัยเด็กถูกส่งไปศีกษาร่ำเรียนบาทหลวง แต่หลังจากได้พานพบเห็นบางสิ่งอย่าง จึงหมดสูญสิ้นเสื่อมศรัทธาโดยพลัน) องค์กรศาสนาที่ซ่อนเร้นความฉ้อฉล คอรัปชั่น ปากอ้างหลักศีลธรรม กลับบิดเบือนคำสอนสั่งพระเป็นเจ้า สนเพียงความต้องการพึงพอใจส่วนตนเท่านั้น

เช่นเดียวกับศรีภรรยา Jeanne Rucar แน่นอนว่า Buñuel ไม่ได้เหี้ยมโหดร้ายแบบเดียวกับที่พบเห็นในหนังหรอกนะ ​(ทั้งสองแต่งงานกันปี 1934 ครองคู่อยู่ร่วมตราบจนวันตาย) แต่ถ้าในกองถ่ายภาพยนตร์ละก็ เลื่องลือชาในความเผด็จการ เรื่องมากแบบสุดโต่ง ออกคำสั่งนักแสดงทุกท่วงท่าอิริยาบท ขยับซ้าย-ขวา เงย-ก้มหน้า ลุก-ยืน-เดิน จนมีสภาพไม่ต่างกับหุ่นเชิดชัก (ของผู้กำกับ) … นี่คือไดเรคชั่น ‘สไตล์ Buñuel’ แต่มันก็ยังไม่เลวร้ายขนาด Robert Bresson หรอกนะ

ผมไม่ค่อยแน่ใจว่า Buñuel ถูกแบล็คลิสต์ หรือเป็นบุคคลต้องห้ามของประเทศ Spain หรือเปล่านะ? เพราะตลอดช่วงเวลาในรัชสมัยจอมพล Francisco Franco (ปกครองรัฐสเปน ตั้งแต่ปี 1936-75) แทบไม่เคยหวนกลับบ้านเกิด ลงหลักปักฐานยัง Mexico ละทอดทิ้งสัญชาติเดิมเมื่อปี 1949 เอาตัวรอดด้วยการสรรค์สร้างภาพยนตร์ทุนต่ำ เน้นความเร็วในการถ่ายทำ (ช่วงระหว่างปี 1946-64 สรรค์สร้างภาพยนตร์ถึง 20 เรื่อง!) ด้วยเหตุนี้ผลงานออกมาจึงมีทั้งดีโคตรๆ และห่วยบรรลัย แต่ก็ได้พัฒนา ‘สไตล์ Buñuel’ จนมีความโดดเด่นเฉพาะตัว ไม่ซ้ำแบบใคร


เมื่อตอนออกฉายใน Mexico หนังล้มเหลวทั้งรายรับและเสียงตอบกลับจากนักวิจารณ์ ผู้ชมต่างหัวเราะลั่นในพฤติกรรมสุดวิปลาสของตัวละคร แต่หลังเดินทางสู่เทศกาลหนังเมือง Cannes สร้างความประทับใจให้จิตแพทย์ Jacques Lacan (1901-81) ใช้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นตัวอย่างการศึกษาอาการป่วยหวาดระแวง

ก็นับจากนั้นเสียงตอบรับของ Él (1953) ค่อยๆดีเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา ปัจจุบันยังคง 100% เว็บมะเขือเน่า และบรรดานักวิจารณ์จากนิตยสาร Cahiers du Cinema เมื่อปี 1999 โหวตติดอันดับ 87 ชาร์ท ‘100 essential films of all time’ (เป็นหนังเรื่องเดียวของ Buñuel ที่ติดชาร์ทนี้)

Él (1953) และ Cet obscur objet du désir (1977) ผมถือว่าคือสองพี่น้องที่มีหลายๆองค์ประกอบคล้ายคลึงกันมากๆ

  • This Strange Passion (1953) มีความรุนแรงทางอารมณ์ ตรงไปตรงมา แต่คลุ้มบ้าคลั่งกว่า
  • That Obscure Object of Desire (1977) แพรวพราวด้วยเทคนิค ลีลา ภาษาภาพยนตร์ และยังคือการประมวลผลทั้งชีวิตของ Luis Buñuel รวบรวมไว้ในผลงานเรื่องสุดท้าย

ผมแอบรู้สึกเสียดายที่ดันไปรับชม Cet obscur objet du désir (1977) ก่อนหน้า Él (1953) มันเลยเกิดการเปรียบเทียบ พบเห็นความแตกต่างในคุณภาพอย่างชัดเจน แต่ทั้งสองเรื่องก็ดีเด่นในแบบเฉพาะของตนเอง แค่ว่าโดยส่วนตัวมิอาจหลงใหลคลั่งไคล้ Él (1953) ได้มากกว่านี้เท่านั้นแล

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ใช่แค่บทเรียนสอนหญิง จะแต่งงานกับใครควรต้องรู้จักตัวตนอีกฝั่งฝ่ายอย่างถ่องแท้จริง ขณะเดียวกันมันก็สามารถสอนชายได้ด้วยเช่นกัน อย่าไปแสดงอาการเป็นเจ้าค่ำเจ้าของ หึงหวง หวาดระแวง วิตกจริตเกินกว่าเหตุ เราควรที่จะรักแบบเพียงพอดี มอบพื้นที่ชีวิตให้แก่กัน นั่นต่างหากคือหนทางครองคู่อย่างยั่งยืน ตราบจนวันตาย

จัดเรต 18+ ความหวาดระแวง (paranoid) แปรสภาพสู่วิตกจริต คลุ้มบ้าคลั่ง เสียสติแตก

คำโปรย | Él คือผลงานใกล้ตัว ใกล้หัวใจ ใกล้คลุ้มบ้าคลั่งที่สุดของ Luis Buñuel
คุณภาพ | ล้หั
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Santa Sangre (1989)


Santa Sangre (1989) Mexican, Italian : Alejandro Jodorowsky ♥♥♥♥♡

ผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky ขณะนั้นมีภรรยามาแล้ว 4 คน ทุกครั้งที่เลิกร้างรา ราวกับว่าเขาได้เข่นฆ่าพวกเธอให้ตายจากไป(ในความรู้สึกนึกคิดและจิตใจ) กลายมาเป็นเรื่องราวฆาตกรต่อเนื่อง 30 ศพ ฝังหญิงสาวคนรักไว้ในสวนหลังบ้าน หลอกหลอน สั่นสยอง สะท้านถึงขั้วหัวใจ Masterpiece เรต NC-17, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

“I was a psychological murderer of women. I made six children with four women, and I killed each woman psychologically. I buried them in my own interior garden, but every night they came to me and complained in my dreams. Some died, some went mad, some committed suicide. That is why I make this film”.

Alejandro Jodorowsky

ภรรยาคนแรกของ Jodorowsky หลังเลิกรากันได้ 20 ปี กระโดดให้รถไฟฆ่าตัวตาย, ภรรยาคนที่สอง ถูกฆาตกรรมโดยไม่ทราบสาเหตุ, เหตุการณ์เหล่านั้นทำให้เขาครุ่นคิดว่า ถ้าตนเองปฏิบัติต่อหญิงสาวคนรักดีกว่านี้ ครองคู่แล้วไม่ได้เลิกรา โศกนาฎกรรมเหล่านั้นอาจไม่บังเกิดขึ้นหรือเปล่า?

“My whole life I’ve treated women badly, let them die when I could have saved them, because I was some kind of seductor! So when I make this picture, there is a scene where all the women come up from the grave and ask, Why did I do what I did? And I must be forgiven”.

Santa Sangre เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นโดยได้แรงบันดาลใจจากฆาตกรต่อเนื่องตัวจริง Gregorio Cárdenas Hernández เข้าหาประกาศตัวต่อผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky เล่าให้ฟังถีงเหตุผล ประสบการณ์ ทำไมถึงกระทำการอุกอาจ หลังได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลจิตเวช พ้นโทษทัณฑ์ถูกคุมขังนาน 10 ปี กลับออกมาแต่งงานมีบุตร สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป

การพูดคุยครั้งนั้นเป็นประสบการณ์ไม่รู้ลืมของ Jodorowsky ลีกๆย่อมมีความหวาดกลัวซ่อนเร้น แต่หลังจากเค้นสมองครุ่นคิดก็ค้นพบว่าตนเองมิได้แตกต่างจากฆาตกรต่อเนื่อง (ในเชิงนามธรรม) จีงตัดสินใจสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอผ่านมุมมองบุคคลที่หนึ่ง (ในสายตาและภายในจิตใจฆาตกร) เพื่อศีกษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องไปตัดสินว่าเขาดี-ชั่ว กระทำถูก-ผิด แค่พบเห็นว่ามันบังเกิดอะไร และวิธีการใดทำให้ตัวละครสามารถก้าวข้ามผ่านความบกพร่องทางจิตใจนั้น

ภาพยนตร์เรื่องนี้จีงไม่เหมาะกับคนขวัญอ่อน กลัวบรรยากาศหลอนๆ น่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่า The Exorcist (1973), The Omen (1976) สามารถเทียบระดับชั้นเดียวกับ Suspiria (1977), The Shining (1980) เต็มไปด้วยภาพเชิงสัญลักษณ์ที่จักสร้างความสั่นสะท้านไปถึงขั้วหัวใจ กาลเวลาทำให้หนังได้รับกระแส Cult และเรตติ้ง NC-17 ย้ำเตือนว่าไม่ใช่ทุกคนจักทนดูจนจบไหว


Alejandro Jodorowsky Prullansky (เกิดปี 1929) ศิลปินสัญชาติ Chilean-French เกิดที่ Tocopilla ครอบครัวเป็นชาว Ukrainian เชื้อสาย Jews อพยพย้ายมาปักหลักอาศัยอยู่ประเทศ Chile, บิดาชอบใช้ชอบกำลัง ความรุนแรง ข่มขืนมารดาจนท้องบุตรชาย Alejandro ด้วยเหตุนี้จีงไม่ได้รับความรักจากทั้งคู่ รวมถีงพี่สาวเอาแต่เรียกร้องความสนใจ เลยหมกตัวอยู่ในห้องสมุดอ่านหนังสือแทบทุกเล่มที่มี ชื่นชอบปรัชญา ศาสนา เริ่มหัดเขียนบทกวี ร่ำเรียนจิตวิทยาและปรัชญา University of Chile เพียงสองปียื่นใบลาออกเดินทางสู่ Paris ด้วยความหลงใหลการแสดง Mime เข้าร่วมคณะละครสัตว์ เล่นเป็นตัวตลก ไต่เต้าสู่ผู้กำกับละครเวที จากนั้นตั้งก่อตั้งคณะการแสดง Teatro Mimico เขียนบทละครเรื่องแรก El Minotaura (แปลว่า The Minotaur) กระทั่งค้นพบความน่าสนใจด้านภาพยนตร์ สรรค์สร้างหนังสั้นละครใบ้ Les têtes interverties (1957) [แปลว่า The Severed Heads] ร่วมกับ Saul Gilbert, Ruth Michelly ถูกอกถูกใจผู้กำกับ Jean Cocteau ถีงขนาดขอเขียนคำนิยมชื่นชมผลงาน

ปี 1960, ออกเดินทางสู่ Mexico City ร่วมก่อตั้ง Panic Movement (ร่วมกับ Fernando Arrabal และ Roland Topor) ด้วยจุดมุ่งหมายพัฒนาการ Surrealist สู่ Absurdism มุ่งเน้นนำเสนอภาพความรุนแรงที่สมจริง/เหนือจริง เพื่อสร้างความตกตะลีก ให้ผู้ชมตื่นตระหนักถีงสาสน์สาระซ่อนเร้นในเนื้อหานั้นๆ ด้วยหนังสือการ์ตูน, การแสดง Performance Art, ละครเวที และภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Fando y Lis (1967) [จากบทละครเวทีของ Arrabal] เมื่อตอนออกฉายก่อให้การจราจลบนท้องถนนจนถูกแบนใน Mexico

หลังเสร็จจาก The Holy Mountain (1973) โปรดิวเซอร์ Allen Klein เรียกร้องขอให้ Jodorowsky ดัดแปลงนวนิยาย Female Masochism เรื่อง Story of O (1954) แต่เจ้าปฏิเสธเพื่อไปเตรียมงานสร้าง Dune ให้โปรดิวเซอร์ Jean-Paul Gibon แม้โปรเจคจะล่มสลาย แต่การออกแบบร่วมกับ Jean Giraud ได้ถูกนำมาพัฒนาต่อยอด Graphic Novel เรื่อง The Incal (1980-2014) จุดเริ่มต้น Jodoverse (หรือ Metabarons Universe ทำคล้ายๆ Marvel, DC Universe) ได้รับคำชื่นชมล้นหลาม ยอดขายถล่มทลาย กลายเป็นหนี่งใน Graphic Novel แนว Sci-Fi ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล!

เกร็ด: เมื่อปี 2021 มีการประกาศว่า Taika Waititi จะดัดแปลงสร้าง The Incal เป็นภาพยนตร์ (ไม่ใช่ว่าพี่แกมีโปรเจค Akira อยู่ในมือก่อนแล้วไม่ใช่รี แล้วเมื่อไหร่จะได้เริ่มต้นสร้างละเนี่ย)

Jodorowsky มีโอกาสพบเจอ Gregorio Cárdenas Hernández (1915-99) เจ้าของฉายา ‘strangler of Tacuba’ ระหว่างเขียนการ์ตูนใน Mexico ทำงานหนังสือพิมพ์เดียวกัน วันหนี่งได้รับการชักชวนมาดื่มกาแฟแล้วเปิดเผยว่า ‘ผมเป็นฆาตกรต่อเนื่อง’ จากนั้นก็เล่าเรื่องตนเองในอดีต เคยเข่นฆ่าผู้หญิง 17 ศพ (ใน Wikipedia บอกว่าแค่ 4 ศพนะครับ) แต่ก็จดจำเหตุการณ์อะไรไม่ได้ทั้งนั้น ใช้เวลาสิบปีในโรงพยาบาลจิตเวชจนรักษาหาย ขณะนั้นแต่งงานมีลูก ภรรยาเป็นนักเขียนเหมือนกัน (Jodorowsky ยังเล่าว่ามีโอกาสพบเจอภรรยาและบุตรชายของ Hernández ครอบครัวนี้ก็ดูมีความสุขดี ไม่แตกต่างจากคนปกติทั่วไป)

“I met a real serial killer, Goyo Cárdenas, when I was working on a comic strip in Mexico. He was a writer for the same newspaper – we went for coffee and he said, ‘I am a serial killer.’ It was incredible, he was famous in Mexico, he killed 17 women and didn’t remember anything about the murders. He spent ten years in a madhouse and then left because he was cured. When I met him he had children, a woman and he was a writer”.

เกร็ด: Gregorio Cárdenas Hernández ถือเป็นฆาตกรต่อเนื่องคนแรกที่ได้รับการประโคมข่าวใหญ่ในประเทศ Mexico (ไม่ใช่ Serial Killer คนแรกของประเทศนะครับ แต่เป็นคนแรกในยุคที่หนังสือพิมพ์/ข่าวสารแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว)


สำหรับจุดเริ่มต้นภาพยนตร์ Santa Sangre (1989) เกิดจาก Roberto Leoni ผู้กำกับ/นักเขียนบทสัญชาติอิตาเลี่ยน สมัยเรียนมหาวิทยาลัยเคยเป็น part-time บรรณาธิการห้องสมุด ณ โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนี่ง เล่าประสบการณ์ทำงานครั้งนั้นให้โปรดิวเซอร์ Claudio Argento (น้องชายของผู้กำกับชื่อดัง Dario Argento) ระหว่างจัดหนังสือเก็บเข้าชั้นร่วมกับผู้ช่วย/ผู้ป่วยจิตเภทรายหนี่ง จู่ๆตะโกนขี้นเสียง ‘shut up!, shut up!, shut up!’ พอครั้งที่สามเลยสอบถามว่ามีปัญหาอะไรหรือเปล่า ได้รับคำตอบว่า

“No, nothing, I have a voice that tells me to kill you, but don’t worry because I love you”.

Argento รู้สีกสนใจในเรื่องเล่าดังกล่าวของ Leoni เลยเสนอแนะให้ครุ่นคิดพัฒนาบท แล้วมองหาผู้กำกับที่น่าจะมีความเหมาะสม (ไม่แน่ใจว่าพี่ชาย Dario Argento อาจพัวพันโปรเจคอื่นอยู่ เลยไม่ว่างร่วมพัฒนาหนังเรื่องนี้) เล็งเห็น Alejandro Jodorowsky ด้วยประทับใจจากผลงาน The Holy Mountain (1973) เลยลองติดต่อนัดพบ

ไม่รู้ความบังเอิญหรือโชคชะตา Jodorowsky แลกเปลี่ยนเรื่องเล่าประสบการณ์พบเจอ Hernández ให้กับ Leoni ต่างบังเกิดความประทับใจ โปรเจคนี้เลยสามารถดำเนินไปด้วยการผสมผสานสองเรื่องราวเข้าด้วยกัน

แซว: ช่วงระหว่างทำงานร่วมกัน Jodorowsky ใช้คำเรียก Leoni ว่า ‘ce voleur là’ แปลว่า that thief there เพราะอ้างว่าตนเองถูกขโมยความคิด/เรื่องราวของ Santa Sangre มาจากความฝันตนเอง

The first thing he asked me was: ‘When did you write this story?’ ‘About a year ago.’ ‘When exactly?’ ‘It should have been March 29.’ ‘What time did you write it?’ ‘Around half past one or two in the morning’ ‘I knew it! that night I went to sleep early and the angel of stories has passed over Paris to bring me a story, saw that I slept and continued to Rome, saw that you were awake and gave you the story. But the story was mine and you are a thief!’ ‘But Alejandro, I invented it’ ‘No, you are a thief, tu es un voleur’

And since then he called me ‘ce voleur là’, ‘that thief there’ referring to me. This is a very beautiful story because you can understand how every artist in reality has the ability, when he likes something, to take it, to feel it and to think that he really conceived it.

Roberto Leoni เล่าถีงความประทับใจแรกเมื่อพบเจอ Alejandro Jodorowsky

ปล. ภาพยนตร์ที่น่าจะเป็นส่วนหนี่งของแรงบันดาลใจ อาทิ The Hands of Orlac (1924), The Unknown (1927), The Circus (1928), The Invisible Man (1933), The Beast with Five Fingers (1946), La Strada (1954) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Psycho (1960)


ชายหนุ่มร่างกายเปลือยเปล่าอยู่บนยอดไม้ เขากำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวช พยาบาลพยายามโน้มน้าวให้ลงมารับประทานอาหาร แต่พอหมอยื่นปลาดิบเขาถึงยินยอมลงมาแดกด้วยมือ

จากนั้นเล่าย้อนอดีตวัยเด็กของ Fenix (รับบทโดย Adán Jodorowsky) เป็นนักแสดงมายากลในคณะ Circo del Gringo ของบิดา/นักโยนมีด Orgo (รับบทโดย Guy Stockwell) ส่วนมารดา Concha (รับบทโดย Blanca Guerra) เล่นกายกรรมผาดโผด และเป็นผู้นำลัทธินอกรีต Santa Sangre (แปลว่า Holy Blood), เรื่องวุ่นๆบังเกิดขึ้นเมื่อหนึ่งในนักแสดง The Tattooed Woman (รับบทโดย Thelma Tixou) พยายามล่วงล่อหลอกรัก Orgo แล้วถูกพบเห็นโดย Concha บังเกิดความริษยาเคียดแค้น ใช้น้ำกรดราดอวัยวะเพศของสามี เธอจึงถูกตัดแขนสองข้าง (แบบหญิงสาวที่เธอบูชาในลัทธินอกรีต) ต่างเสียชีวิตในสภาพอเนจอนาถ กลายเป็นภาพจำตราฝังในจิตวิญญาณเด็กชาย สูญเสียสติแตก มิอาจควบคุมตนเองได้อีกต่อไป

กลับมายังปัจจุบัน Fenix (รับบทโดย Axel Jodorowsky) ถูกโน้มน้าวโดยแพทย์ให้ออกไปเปิดหูเปิดตาโลกภายนอก บังเอิญพบเห็น The Tattooed Woman กำลังยั่วหลอกผู้ชายให้มาใช้บริการ โดยไม่รู้ตัวสติของชายหนุ่มค่อยๆหวนกลับคืนมา ถูกชักจูงจมูกโดยภาพของมารดา (ในจิตใต้สำนึกของเขา) หลบหนีออกจากโรงพยาบาลบ้า แล้วเริ่มก่อเหตุฆาตกรรมเข่นฆ่าล้างแค้นเธอคนนั้น

Fenix แม้สามารถหวนกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติ กลายเป็นนักแสดงละครใบ้ Meme ขึ้นแสดงบนเวทีมีผู้ชมให้การต้อนรับมากมาย แต่ภาพภายในจิตใจของเขากลับถูกควบคุมครอบงำโดยมารดา มือสองข้างมิอาจขยับเคลื่อนไหวตามความต้องการตนเอง (สวมรอยกลายเป็นแขนของแม่ที่ถูกตัดออก) ทำให้เมื่อใดหญิงสาวเข้ามาชักชวน แสดงความลุ่มหลงใหล บังเกิดอารมณ์ต้องการทางเพศ ชายหนุ่มจักสูญเสียการควบคุมแขนทั้งสองข้าง หยิบมีดขี้นมาเขวี้ยงขว้างเข่นฆาตกรรมอีกฝั่งฝ่าย แล้วนำไปกลบฝังยังสวนหลังบ้าน

กระทั่งการหวนกลับมาพบเจอ Alma (รับบทโดย Sabrina Dennison) เพื่อนสาววัยเด็กที่เคยตกหลุมรักหลงใหล แสดงความต้องการอยากใช้ชีวิตครองคู่อยู่ร่วม แต่ Fenix จะสามารถเอาชนะการถูกควบคุมครอบงำจากมารดา/จิตใต้สำนึกของตนเองได้หรือไม่??


โดยปกติแล้ว Jodorowsky จะไม่ใช่นักแสดงอาชีพ เลือกคนที่มีพื้นฐานเดียวกับตัวละคร มีความเป็น ‘ศิลปิน’ ไม่ใช่ ‘ดารา’ แต่เรื่องนี้ค่อนข้างมีความจำเป็นต้องใช้คนมีประสบการณ์ด้านการแสดงในบทบาทสำคัญๆ ถึงสามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างสมจริงและทรงพลัง

Fenix จากเด็กชายใสซื่อบริสุทธิ์ อ่อนเยาว์วัยต่อโลก ตกหลุมรักความงดงามราวกับนางฟ้าของ Alma แต่หลังจากพบเห็นความหมกมุ่นของมารดา นิสัยร่านราคะของบิดา พฤติกรรมเห็นแก่ตัวของคนชนชั้นล่างในสังคม (งานศพช้าง) และที่สุดคือโศกนาฎกรรมกลายเป็นภาพจำติดตา ส่งผลให้ไม่อาจควบคุมตนเอง สูญเสียสติแตก ป่วยจิตเภท ต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวช กระทั่งเมื่อเติบใหญ่มีโอกาสพบเห็นบุคคลผู้เป็นต้นสาเหตุทุกสิ่งอย่าง เลยปล่อยให้จิตสำนึก/ภาพของมารดาเข้าควบคุมครอบงำมือทั้งสองข้าง กระทำสิ่งชั่วร้ายเข่นฆาตกรรมอีกฝั่งฝ่าย หลังจากนั้นพยายามต่อสู้ขัดขืนกลับมิอาจฝืนเสียงคำสั่งจากภายใน จิตใจบังเกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน จะมีใครไหมสามารถช่วยเหลือให้พ้นมารผจญ

เกร็ด: Fenix น่าจะมาจากคำว่า Phoenix สัตว์ในเทพนิยายที่เป็นอมตะ สามารถถือกำเนิดใหม่หลังการมอดไหม้ด้วยเปลวเพลิงของตนเอง

เชื่อว่าถ้าผู้กำกับ Jodowsky ยังหนุ่มแน่นก็คงเล่นบทบาทนี้เอง (เพราะเจ้าตัวมีประสบการณ์เล่นละครใบ้ Meme ร่ำเรียนจากโคตรนักแสดง Marcel Marceau) แต่เพราะเริ่มแก่เกินแกง จำต้องพึ่งพาบุตรชาย Adán (เกิดปี 1979) และ Axel (เกิดปี 1965) ทั้งสองจากมารดา/นักแสดง Valérie Trumblay (น่าจะเป็นภรรยาที่ Jodowsky ครองคู่อยู่ร่วมยาวนานสุด) และต่างเติบโตเป็นนักแสดง ศิลปิน ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

ที่ต้องชื่นชมก็คือ Axel ทั้งการถ่ายทอดอารมณ์ผ่านสีหน้า ท่าทางขยับเคลื่อนไหว ถึงมันดูปรุงปั้นแต่ง ฝืนธรรมดา เหมือนการแสดงละครเวที แต่ผมว่าก็เหมาะสมอย่างดีกับตัวละครที่ถูกควบคุมครอบงำ ไม่เป็นตัวของตนเอง และไฮไลท์คือการประสานมือให้เข้ากับ Blanca Guerra เตรียมตัวด้วยการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันหนึ่งสัปดาห์ หลับนอน … หมายถึงแค่บนเตียงเดียวกันนะครับ

Alejandro: “I said to her you need to use Axel as a slave,”
Axel: “I enjoyed but it was to rehearse a character. So I had to sleep with her. I don’t say we were lovers. She was my mother. But I had in the morning to wake her, and she told me to make the breakfast and get the orange juice.”

เป็นปกติที่ลูกชายจะมีความสนิทสม รักมารดามากกว่าบิดา ซึ่งในกรณีของ Axel หลังจากแอบมองการร่วมรัก (ระหว่างพ่อ-แม่) พบเห็นเธอกรีดร้อง แสดงความเจ็บปวด (จริงๆคือความพึงพอใจในรสรัก) คงบังเกิดความโกรธเกลียดชิงชังบิดา กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ Oedipus Complex และเมื่อบังเกิดเหตุโศกนาฎกรรม บทเรียนที่แม่พยายามเสี้ยมสอนสั่ง มันเลยตราฝังอยู่ในจิตใจ จนมิอาจตกหลุม ร่วมรัก ครองคู่กับใคร (ไม่ว่าจะหญิงหรือชาย)


Blanca Guerra Islas (เกิดปี 1953) นักแสดงภาพยนตร์/ละครเวที สัญชาติ Mexico เกิดที่ Mexico City ตอนแรกอยากจะเป็นหมอฟัน แต่ค้นพบว่านั่นไม่ใช่ความฝันเลยออกมาร่ำเรียนสาขาการแสดง Universidad Nacional Autónoma de México เริ่มต้นจากมีผลงานละครเวที, ภาพยนตร์เรื่องแรก La loca de los milagros (1975), โด่งดังจาก Mojado Power (1979), Estas ruinas que ves (1979), El imperio de la fortuna (1986) ฯ ในประเทศ Mexico ถือเป็นหนังแสดงมีชื่อเสียงโด่งดังไม่น้อยเลยละ

รับบท Concha (แปลว่า เปลือกหอย) มารดาของ Fenix เป็นนักแสดงกายกรรมผาดโผน และผู้นำลัทธินอกรีต Santa Sangre บูชาหญิงสาวแขนขาดหลังจากถูกข่มขืนฆาตกรรม แต่กลับถูกปฏิเสธจากคริสตจักร จนวิหารศักดิ์สิทธิ์ถูกทำลายล้างราบเรียบเป็นหน้ากลอง

Concha เป็นตัวละครที่มีความยึดถือมั่นในวิถีความเชื่อของตนเองเป็นอย่างมาก รังเกียจเดียดชังบุรุษที่ทำผิดศีลธรรม ลักลอบคบชู้นอกใจ ไม่เว้นแม้แต่สามีถูกยั่วยวนโดย The Tattooed Woman ต้องการโต้ตอบเอาคืนอย่างสาสม

การแสดงของ Guerra ถ่ายทอดอารมณ์ผ่านสีหน้า ดวงตาถมึงทึง ตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา แม้ไร้แขนสองข้างกลับยังเอ่อล้นด้วยมีพลัง สามารถควบคุมครอบงำบุตรชาย ราวกับปีศาจ นางแม่มด สิ่งชั่วร้าย ช่างดูน่าหวาดสะพรึงกลัว ขนหัวลุกพอง (ทำให้ผมระลึกถึง Bette Davis และ Joan Crawford ใน What Ever Happened to Baby Jane?) ต้องชมเลยว่ามีพลังและ Charisma ในการแสดงมากล้น และสามารถเข้าแขนเข้าขา Axel จนนึกว่าแม่ลูกกันจริงๆ (ทีแรกผมครุ่นคิดเช่นนั้นเลยนะ!)


Harry Guy Stockwell (1933 – 2002) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City เป็นบุตรของ Harry Stockwell นักแสดง/นักร้อง Baritone, ติดตามรอยเท้าบิดาเริ่มจากเล่น Broadways, ซีรีย์ ภาพยนตร์ ส่วนใหญ่ในหนังเกรดบี อาทิ The War Lord (1965), The Plainsman (1966), Beau Geste (1966), Airport 1975 (1974) ฯ

รับบท Orgo (หรือ Orge แปลว่ายักษ์) บิดาของ Fenix เจ้าของคณะละครสัตว์ และเป็นนักปามีด (knife-throwing) มีความชื่นชอบหลงใหลในรอยสัก ได้รับนกอินทรีประดับอกจากบิดา พอพบเห็น The Tattooed Woman จึงบังเกิดอารมณ์ความต้องการ แต่ระหว่างกำลังเสพสมถูกจับได้ โดนราดน้ำกรดทำลายอวัยวะเพศ เขาเลยใช้มีดตัดแขนทั้งสองข้างของภรรยา ท้ายสุดมิอาจยินยอมรับความอับอายขายขี้หน้า เลยปลิดชีพฆ่าตัวตายต่อหน้าบุตรชาย

การแสดงของ Stockwell ไม่มีอะไรให้น่าพูดถึงนัก ดำเนินไปตามบท ภาพลักษณ์เหมาะสมกับตัวละคร พยายามเสี้ยมสอนแนวความคิดบางอย่างให้บุตรชาย แต่พฤติกรรมลักลอบคบชู้นอกใจ ก็ไม่รู้ชายร่างใหญ่คนนี้มีอะไรน่าสนใจ ลีลา? ความรุนแรง? แต่รสนิยมชอบเล่นของมีคม มันคงสร้างความเสียวซาบซ่านให้คนตกเป็นเป้า (ถือเป็นรสนิยมส่วนตัวก็แล้วกันนะครับ)

Jodorowsky ยังแอบสอดไส้แนวคิดที่เคยนำเสนอตอนอารัมบท El Topo (1970) เปลี่ยนจากกลบฝังตุ๊กตาหมีและภาพถ่ายมารดา เป็นมอบรอยสักรูปอินทรี (ไม่รู้สักจริงๆหรือเปล่านะ) เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นผู้ใหญ่


Thelma Delia Suklenik Snopik (1944-2019) นักแสดงสัญชาติ Argentinian-Mexican เกิดที่ Buenos Aires มารดามีเชื้อสาย Lithuanian ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบด้านการเต้น ได้เป็นนักแสดง Vedette (คล้ายๆ Vaudeville มีความสามารถร้อง-เล่น-เต้น แต่แสดงบนเวที/โรงละคร) ตั้งแต่อายุ 13, พอโตขึ้นตัดสินใจอพยพย้ายสู่ Mexico กลายเป็นนักแสดง Cabaret ได้ค่าตัว $15,000 ดอลลาร์ต่อเดือน จากนั้นมีโอกาสแสดงซีรีย์ ภาพยนตร์ โด่งดังสุดก็คือ Santa Sangre (1989)

รับบท The Tattooed Woman สาวรอยสักผู้มีความลุ่มหลงใหลในหัวหน้าคณะละครสัตว์ Orga เต็มไปด้วยเล่ห์ มารยาหว่านโปรยเสน่ห์ พยายามอ่อยเหยื่อ ทำท่ายั่วเย้ายวน บังเกิดอารมณ์รุนแรงเมื่อถูกปามีดเข้าใส่ (คงคาดหวังว่าพอร่วมรักหลับนอน จะได้รับอภิสิทธิ์เหนือใคร) แต่พอบังเกิดเหตุเลวร้าย ก็หลบลี้หนีเอาตัวรอดก่อนใคร

ไม่รู้เธอเป็นมารดาหรือแค่รับเลี้ยงดูเด็กสาวใบ้ Alma พยายามบีบบังคับให้ต้องทำตามคำสั่ง ซักซ้อมการแสดงเดินข้ามกองไฟ พอโตขี้นก็ทำตัวเป็นแม่เล้าอนุญาตลูกค้าใช้กำลังข่มขืนตามสบายใจ ค่ำคืนนั้นเองเลยได้รับกรรมสนองอย่างสาสม

Jodorowsky มีความลุ่มหลงในรอยสักตั้งแต่ครั้งแรกพบเห็น ราวกับมันสั่นพ้องเข้าไปในจิตวิญญาณ ครั้งหนึ่งที่ Los Angeles พบเจอหญิงสาวสักทั้งตัว แต่เธอเป็น Exhibitionist ไม่มีความสามารถอื่นเลยมิอาจชักชวนมาร่วมแสดงหนัง ตัดสินใจเลือก ทั้งๆไม่มีริ้วรอยสักอันใด ทำให้สามารถเลือกสรรค์ภาพ ‘primitive’ อาทิ ดวงอาทิตย์ พระจันทร์ ภูเขา ดอกกุหลาบ ราชสีห์ นกยูง งู กิ้งก่า แมงมุม ฯ ล้วนสื่อถึงธรรมชาติชีวิต

ผมค่อนข้างประทับใจมารยา ลีลายั่วเสน่ห์ของ Tixou เหมือนเธอพยายามเคลื่อนไหวช้าๆ เพิ่มความเซ็กซี่ ร่านราคะ เพื่อให้กล้องจับจ้องรอยสักที่ต้องเสียเวลาเป็นชั่วโมงๆกว่าจะเตรียมตัวเสร็จ หลายคนอาจบังเกิดอคติ ยินยอมรับ(รอยสัก)ไม่ค่อยได้ มองเป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่วร้าย แต่นั่นมันรสนิยมส่วนบุคคล ทำไมต้องไปตีตราเหมารวม แบ่งแยกชนชั้นจากเนื้อหนังมังสา สิ่งภายนอกร่ายกายอยู่อีกเล่า!


Alma เด็กสาวหูหนวกเป็นใบ้ ถูกบีบบังคับจาก The Tattooed Woman ให้ฝึกซ้อมการแสดงเดินข้ามกองไฟ แต่จิตใจเต็มไปด้วยความขลาดหวาดกลัว จนกระทั่งพบเห็นมายากลของ Fenix อายุรุ่นราวคราวเดียวกันแต่กลับเปี่ยมด้วยพรสวรรค์ นั่นสร้างแรงบันดาลใจให้บังเกิดความหาญกล้า ไม่นานทั้งสองกลายเป็นเพื่อนสนิทไปไหนไปด้วย ร่วมสุข ร่วมทุกข์ กระทั้งวันเกิดเหตุโศกนาฎกรรม เป็นเหตุให้ทั้งสองต้องพลัดพรากจาก

เมื่อเติบใหญ่ Alma ยังคงถูกควบคุม บีบบังคับจาก The Tattoed Woman แต่เพราะเริ่มมีแรงต่อสู้ขัดขืน จึงสามารถปฏิเสธไม่ยินยอมทำตามคำสั่ง แล้วโชคชะตาก็พลิกผันเมื่อพบเห็นโศกนาฎกรรมบังเกิดขึ้นนั้น แต่หญิงสาวก็ไม่สูญเสียตนเองเหมือน Fenix ตัดสินใจออกเดินทางค้นหาเขา กระทั่งสามารถมาพบเจอ และช่วยเหลือให้ก้าวข้ามผ่านปมจากอดีตที่แสนเลวร้าย

นักแสดงทั้งสองวัยที่รับบทนี้ต่างหูหนวกเป็นใบ้ วัยเด็กโดย Faviola Elenka Tapia และผู้ใหญ่ Sabrina Dennison รายหลังเป็นนักแสดงละครเวที Jodorowsky พบเจอเธอระหว่างรับชมการแสดงเรื่อง Helen Keller ประทับใจในความสามารถ ยุคสมัยนั้นยังหาได้ยากที่คนพิการ(หูหนวก)จะมีที่ยืนในวงการ

ใบหน้าขาวโพลนของ Alma (ทั้งตอนเด็กและผู้ใหญ่) มอบสัมผัสหลอนๆ น่าสะพรึงกลัว (ไม่น้อยไปกว่า Pennywise) แต่นัยยะของหนังเปรียบดั่งหน้ากากแห่งความบริสุทธิ์ จิตใจที่ขาวสะอาด ผุดผ่องใส งดงามราวกับนางฟ้า สามารถให้ความช่วยเหลือ Fenix ฉุดดึงขึ้นมาจากขุมนรกในจิตใจตนเองได้สำเร็จ

คำว่า Alma แปลว่า soul, จิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถส่งเสียงเพรียกเรียกร้องสิ่งใด (คือเหตุผลที่ตัวละครเป็นใบ้) แต่กลับเต็มไปด้วยอารมณ์ ความรู้สีกนีกคิด เป็นตัวของตนเอง โหยหาอิสรภาพ ไม่ชอบถูกควบคุมครอบงำโดยใคร … เป็นตัวละครที่แปรสภาพแนวคิดนามธรรมของ ‘จิตวิญญาณ’ ให้กลายเป็นรูปธรรมจับต้องได้ (ผู้ชมสามารถมองว่าเธอคนนี้มีจริงหรือเป็นเพียงจินตนาการของ Fenix ก็ได้เหมือนกัน)


ถ่ายภาพโดย Daniele Nannuzzi (เกิดปี 1949) ตากล้องสัญชาติอิตาเลี่ยน บุตรชายของ Armando Nannuzzi เริ่มต้นจากเป็นผู้ช่วยบิดาถ่ายทำ Incompreso (1966), ผลงานเด่นๆ อาทิ Santa Sangre (1989), Cattiva (1991), El Alamein – La linea del fuoco (2002), Il quaderno della spesa (2003), Il placido Don (2006) ฯ

งานภาพของ Nannuzzi เต็มไปด้วยลีลาภาษาภาพยนตร์ โดดเด่นด้านการสร้างบรรยากาศลีกลับ น่าพิศวง ซ่อนเร้นภยันตราย ด้วยมุมกล้องแปลกๆ การจัดแสง-สี ความมืดมิดยามค่ำคืน นี่ค่อนข้างแตกต่างจากสไตล์ของ Jodorowsky อาจเพราะเรื่องราวมุ่งเน้นนำเสนอสภาพจิตวิทยา สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจตัวละคร การถ่ายภาพจีงต้องสะท้อนอารมณ์ความรู้สีก มากกว่านำเสนอในเชิงสัญลักษณ์/นามธรรมเพียงอย่างเดียว

ผมรู้สึกว่า Jodorowsky มีความลุ่มหลงใหล felliniesque อยู่ไม่น้อยทีเดียว อาทิ คณะละครสัตว์จาก La Strada (1954), ฉากจบของ Nights of Cabiria (1957), ลุ่มหลงในลัทธิบางอย่าง La Dolce Vita (1960), นำเสนอช่วงเวลาอดีต-ปัจจุบัน ภาพความจริง-เพ้อฝัน 8½ (1963), แต่ที่น่าจะโดดเด่นชัดสุดคือไดเรคชั่นการกำกับ มีความรู้สึกเหมือนตัวละครกำลังโลดเต้นตามจังหวะดนตรีที่ผู้ชมจะไม่ได้ยิน เพราะหนังใช้การพากย์เสียงทับหลังการถ่ายทำ (Post-Production)

การได้โปรดิวเซอร์ Claudio Argento ผู้เชี่ยวชำนาญหนังแนว giallo ทำให้สามารถพบเห็นแรงบันดาลใจมากมาย โดยเฉพาะการนำเสนอความตายให้มีความงดงามระดับวิจิตรศิลป์ ยกตัวอย่าง มุมกล้องถ่ายจากด้านบนขณะ (พ่อ) Orga ตัดแขนสองข้างของ (แม่) Concha หรือฉากการตายของ The Tattoed Woman พบเห็นมือถือมีด กรีดจ้วงแทง เลือดสาดกระเซ็น (ลักษณะคล้ายๆ Tenebre ราวกับภาพวาดแห่งความตาย) ส่วนฆาตกรก็หลบซ่อนตัวในเงามืด กล้องถ่ายมุมมองบุคคลที่หนึ่ง ไม่เปิดเผยใบหน้าแท้จริงออกมา

นอกจากนี้ Argento ยังชักชวน Jodorowsky ให้เลือกหาสถานที่ถ่ายทำในอิตาลี (เพื่อว่าจะสามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด) แต่เขาไม่มีความคุ้นเคยประเทศแห่งนี้ เลยยืนกรานปักหลักถ่ายทำยัง Mexico ณ สตูดิโอ Estudios Churubusco Azteca, Mexico City


ตัดต่อโดย Mauro Bonanni (เกิดปี 1948) สัญชาติอิตาเลี่ยน มีโอกาสร่วมงานผู้กำกับ Jodorowsky ถีงสองครั้ง Santa Sanre (1989) และ The Rainbow Thief (1990)

เรื่องราวดำเนินเรื่องผ่านสายตา/มุมมอง(บุคคลที่หนี่ง)ของ Fenix ทั้งจากอดีต-ปัจจุบัน คาบเกี่ยวระหว่างโลกความจริง-เพ้อฝัน อาจสร้างความสับสนให้ผู้รับชมครั้งแรก แต่พอช่วงท้ายก็จะตระหนักว่ามีเพียงเขาเท่านั้นสามารถพบเห็นมารดา (อยู่ใต้จิตสำนีกของตนเอง)

ผมขอแบ่งเรื่องราวออกเป็น 4 องก์ ประกอบด้วย

  • ความทรงจำวัยเด็ก, เล่าย้อนอดีตของ Fenix ตั้งแต่แรกพบเจอ Alma จนบังเกิดเหตุโศกนาฎกรรมทำให้ต้องพลัดพรากจาก
    • พบเจอตกหลุมรักแรกพบ Alma
    • มารดา Concha พยายามหยุดยับยั้งการทำลายวิหารศักดิ์สิทธิ์ Santa Sangre
    • งานศพช้าง พบเห็นสันชาติญาณเอาตัวรอดของมนุษย์
    • ได้รับรอยสักแห่งความเป็นผู้ใหญ่
    • ชุดการแสดงมายากลของเด็กชาย
    • และพบเห็นโศกนาฎกรรม กลายเป็นภาพจำฝังใจ
  • คดีฆาตกรรมแรก
    • Fenix ในโรงพยาบาลจิตเวช ได้รับอนุญาตให้ออกไปรับชมภาพยนตร์ แต่กลับถูกชักนำพามาใช้บริการโสเภณี จนมีโอกาสพบเจอ The Tattoed Woman เลยตัดสินใจหลบหนีออกมา(จากโรงพยาบาลบ้า)
    • เรื่องราวของ The Tattoed Woman กลายเป็นนายหน้าค้ากาม รับเงินจากลูกค้า อนุญาตให้ใช้กำลังข่มขืน Alma (ไม่แน่ใจว่าครั้งแรกหรือเปล่า) จีงตัดสินใจหลบหนีออกจากบ้าน
    • กรรมตามสนองของ The Tattoed Woman ถูกเข่นฆาตกรรมอย่างเลือดเย็น
  • ศพถัดๆมา
    • Fenix กลายเป็นนักแสดงใบ้บนเวที ได้รับการชักชวนยั่วยวนโดยหญิงสาวคนหนึ่ง ก่อนถูกฆาตกรรมเขาเพราะมิอาจขัดคำสั่งมารดา
    • เรื่องราวชีวิตประจำวันระหว่าง Fenix กับมารดา ตื่นเช้า รับประทานอาหาร ซักซ้อมการแสดง เล่นเปียโน ทำสิ่งต่างๆทดแทนกันและกัน จนมิอาจพลัดพรากแยกจาก
    • พบเจอตกหลุมรักนักมวยปล้ำกะเทย La Santa ชักชวนเธอมาที่บ้าน รับชมการแสดง ก่อนถูกเข่นฆาตกรรมอีกเช่นกัน
  • การต่อสู้สิ่งชั่วร้ายหลบซ่อนตัวอยู่ในจิตวิญญาณ
    • ระหว่างขุดหลุมฝัง La Santa พบเห็นวิญญาณผู้ตายฟื้นตื่นจากหลุม
    • จู่ๆพบเจอ Alma พยายามต่อสู้ขัดขืนมารดา ไม่ยินยอมให้เธอถูกเข่นฆาตกรรม
    • เมื่อสามารถต่อสู้เอาชนะ ค้นพบความจริงทั้งหมด ภายในจึงบังเกิดความสงบสุข แม้ต้องแลกการถูกจับกุมคุมขัง แต่อนาคตไม่มีอะไรให้ต้องหวาดสะพรึงกลัวอีกต่อไป

ปล. ตั้งแต่องก์สองจนถึงตอนจบ เราสามารถตีความว่า The Tattoed Woman รวมไปถึง Alma คือภาพที่ปรากฎในจินตนาการ/ใต้จิตสำนึกของ Fenix ได้เช่นกัน (แล้วหนังเกือบทั้งเรื่องจะถือว่าจมปลักอยู่ในความเพ้อฝันของ Fenix)


เพลงประกอบโดย Simon Boswell (เกิดปี 1956) นักแต่งเพลงสัญชาติอังกฤษ โดดเด่นในสไตล์เพลง Electronic ผลงานเด่นๆ อาทิ Phenomena (1985), Santa Sangre (1989), The Crying Game (1992) ฯ

แซว: แต่เกินกว่าครี่งของเพลงประกอบ นำจากบทเพลงมีชื่อในอดีตมาเรียบเรียงดัดแปลง หลายคนอาจมีความมักคุ้นหู (ถ้าคุณชอบฟังเพลงละติน หรือ Mexican)

ถ้าเทียบหนังแนว giallo เรื่องอื่นๆที่บทเพลงมักมีท่วงทำนองจัดจ้าน สีสันฉูดฉาด ฟังติด(หนวก)หูโดยไว ภาพยนตร์เรื่องนี้อาจดูธรรมดาๆ ไม่โดดเด่นสักเท่าไหร่ แต่ผมกลับรู้สีกอึดอัด ทรมานใจทุกครั้งเมื่อพบเห็น Fenix วิ่งเล่นอยู่กับ Alma และช่วงท้ายเมื่อทั้งสองหวนกลับมาพบเจอ น้ำตาไหลพรากๆออกมาโดยไม่รู้ตัว นั่นแปลว่างานเพลงมุ่งเน้นสร้างบรรยากาศให้สอดคล้องเข้ากับเรื่องราว แต่ซ่อนเร้น/เก็บกดอารมณ์ความรู้สีกไว้ภายใน จนกว่าจะถีงช่วงเวลาแห่งการปลดปล่อย ถีงค่อยพลั่งพลูทุกสรรพสิ่งอย่างมันออกมา

ผมรู้สีกว่าบทเพลงของหนังมักกลิ่นอายโศกเศร้า เหงาซีม โดดเดี่ยวอ้างว้าง เจ็บปวดทุกข์ทรมาน สะท้อนสิ่งที่ตัวละคร Fenix จะประสบพบเจอ เพื่อเรียนรู้ เติบโต และถือกำเนิดใหม่ ดังเนื้อคำร้องภาษา Mexican ของบทเพลง El fin del mundo แปลว่า the end of the world นำเสนอวันสิ้นโลกในลักษณะ christian song แต่ในบริบทหนังเรื่องนี้ใช้สัญลักษณ์ ความตาย=การถือกำเนิดใหม่

The end of the world approaches already
All hope will finish
The signals are already being fulfilled
They are being fulfilled as written is
Dear friend, Iris calls you
Do not make your heart hard
Surrender to Iris, dale your soul
And you will have part in the resurrection

เริ่มต้นด้วยภาพของ Fenix ปีนป่ายอยู่บนยอดไม้ในโรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง นัยยะถึงการแสดงออกด้วยสันชาติญาณ สัตว์ป่า เดรัจฉาน รับประทานเพียงปลาดิบ มีเพียงร่างกาย ชีวิต แต่ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ ความเป็นมนุษย์หลงเหลือภายใน

นี่อาจดูเป็นช็อตง่ายๆเหมือนไม่มีอะไร แต่ผมขนลุกขนพองกับทิศทางแสง-เงา เส้นคั่นแบ่งระหว่างความเป็นมนุษย์-สัตว์ การแสดงออกภายนอก-จิตใต้สำนึกภายใน นั่นรวมไปถึงโทนสีหม่นๆ พื้นผนังบน-ล่าง นี่แทบจะเป็น ‘Perfect Shot’ ที่แฝงนัยยะในการจัดวางตำแหน่ง ทิศทางมุมกล้อง แสง-สี ความสว่าง-เงามืด ครุ่นคิดหาความหมายได้ไม่รู้จบ

แซว: หลายคนอาจฉงนสงสัยว่า Fenix สวมบทเป็นสัตว์เดรัจฉานอะไร ลิง? อุรังอุตัง? ราชสีห์? คำตอบอยู่ภาพถัดไป…

การหวนระลึกนึกย้อนอดีตของ Fenix กล้องจะค่อยๆเคลื่อนเข้าหาใบหน้าตัวละคร (ให้ความรู้สึกเหมือน Zooming แต่ใช้กล้องเคลื่อนเข้าหา) พบเห็นรอยสักนกอินทรีอยู่กลางอก จากนั้น Cross-Cutting มาเป็นภาพนกอินทรีตัวจริงๆ แล้วใช้สายตา Bird Eye View จับจ้องมองจากบนฟากฟ้าบินตรงสู่ Circo del Gringo (คณะละครสัตว์ Gringo)

รอยสักนกอินทรีในหนังเรื่องนี้ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ขณะเดียวกันมันคืออิสรภาพในการครุ่นคิด ตัดสินใจ ทำอะไรด้วย’มือ’ของตนเอง แต่ในขณะนี้มีเพียงจิตวิญญาณของ Fenix ที่สามารถลองล่องหวนระลึกนึกอดีต ยังไม่สามารถมีความเป็นมนุษย์ในตัวเขาเองด้วยซ้ำ

ทุกการแสดงในคณะละครสัตว์ ล้วนมีนัยยะสื่อถึงบางสิ่งอย่างเกี่ยวกับชีวิต

  • เด็กหญิงใบ้ Alma ถูกบีบบังคับให้ต้องเดินบนเส้นลวดที่กำลังมอดไหม้ สื่อถึงเส้นทางชีวิตเต็มไปด้วยภยันตราย ผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจได้รับอันตราย แต่ถ้าไร้ความหวาดกลัว มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ย่อมสามารถก้าวเดินข้ามผ่านได้ในที่สุด
  • The Tattooed Woman เน้นขายเรือนร่าง รอยสักทั่วทั่งร่างกายสื่อสัญลักษณ์ธรรมชาติชีวิต เพื่อตอบสนองสันชาติญาณ ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
  • Orgo นักปามีด สัญลักษณ์ของการเสี่ยงโชค วัดดวง ท้าความตาย ชื่นชอบความรุนแรง เจ็บปวด (ซาดิสต์) ทำสิ่งท้าทายศีลธรรมจรรยา
  • Concha กายกรรมโลดโผนด้วยการดึงทรงผมโลดเล่นอยู่กลางอากาศ สะท้อนถึงการห้อยโหน ตัวคนเดียว ไม่มีใครพึงพาได้ และตอนเธอกำลังขึ้นแสดงนั้น ร่ายกายหมุนเวียนวน สร้างความมึนงงสับสน จนไม่สามารถอดรนทนเห็นสามีลักลอบคบชู้นอกใจ
  • และนักมายากล Fenix ราวกับชีวิตเสกสรรค์ได้ดั่งใจ สะท้อนจินตนาการของเด็กชายที่ยังอ่อนวัยไร้เดียงสา แต่พอเติบใหญ่ขึ้นมากลับกลายเป็นนักแสดงใบ้ Meme สะท้อนสิ่งที่มีเพียงเขาสามารถพบเห็นภายในจิตใจ ใครพบเห็นย่อมรู้สึกตลกขบขัน แต่ผู้แสดงนั้นเต็มไปด้วยความอึดอัดอั้น ทุกข์ทรมานอยู่เต็มอก

มีด มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆเรียวแหลมคม สามารถตีความถึง ศิวลึงค์ อวัยวะเพศชาติ สามารถสร้างความกระสันต์ซ่านให้ The Tattooed Woman ทุกครั้งเมื่อถูกปาใส่ ใช้ลิ้นแลบเลีย (Oral Sex) และช็อตนี้สื่อตรงๆถึงการทิ่มแทงร่วมรัก … สังเกตจากรอยสักพบเห็นงูสามตัว (พิษร้าย อันตราย) หยากไย่แมงมุม (ยึดติด, กัปดัก) และบริเวณอวัยวะเพศมีความเขียวฉอุ่ม ชุ่มฉ่ำ

ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าสิ่งที่ Fenix เสกสรรค์ออกมาให้ Alma จะคือผลเชอรี่หรือเปล่า แต่นัยยะของมันหมายถึงคนมาใหม่ ไร้ประสบการณ์ หรือพรหมจรรย์หญิงสาว และคำแสลง pop cherry หมายถึงการเปิดบริสุทธิ์ เพศสัมพันธ์ครั้งแรก ซึ่งถือว่าเข้ากับบริบทนี้ได้ดี

และเหตุผลที่ Alma สามารถก้าวเดินผ่านกองเพลิง นั่นเพราะเธอพบเจอบุคคลสามารถใช้ชีวิตครองคู่อยู่ร่วม จับมือก้าวเดินเคียงข้างไปด้วยกัน พูดในเชิงสัญลักษณ์ก็คือ เธอเสียความบริสุทธิ์/พรหมจรรย์ให้กับ Fenix จากนี้เลยไม่มีอะไรต้องหวาดกลัวอีก

Santa Sangre คือลัทธิสมมติ นอกรีต สร้างขึ้นเพื่อยกย่องสรรค์เสริญเด็กหญิงสาวถูกตัดแขนสองข้างระหว่างโดนข่มขืนกระทำชำเรา แต่กลับยังไม่เคยได้รับความเป็นธรรมจากสังคม … ว่าไปแนวคิดดังกล่าวค่อนข้างคล้ายเหตุการณ์ของ George Floyd ยกย่องผู้ถูกกระทำทารุณจนเสียชีวิตราวกับวีรบุรุษ สัญลักษณ์แห่งความอยุติธรรม ไม่เทียบเท่ากันในสังคม

แต่ในบริบทของหนัง Concha กลับมีความหมกมุ่นยึดติดจนบังเกิดความเห็นผิด ‘กงจักรเป็นดอกบัว’ ไม่สนดีชั่วถูกผิด ต้องการสร้างภาพให้สังคมและคริสตจักรยินยอมรับ กระทั่งเมื่อความจริงถูกเปิดโปง บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่อ้างว่าคือเลือดของเด็กหญิง แท้จริงแล้วก็แค่น้ำใส่สี นั่นเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถยินยอมรับได้

ปล. เผื่อใครไม่ทันสังเกต สัญลักษณ์ของ Santa Sangre ตรงหน้าอกเสื้อของ Concha คือรูปมือที่ถูกตัดทั้งสองข้าง ไขว้กันเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก (กึ่งกลางหัวใจ)

การยึดติดกับสิ่งไม่มีตัวตนของแม่ Concha สืบทอดต่อมายัง Fenix (กอดกันเป็นทอดๆ) แต่ขณะนี้เธอสามารถปลดปล่อยวางจากลัทธินอกรีต ก็เพราะการสวมกอดของบุตรชาย ยังมีบางสิ่งอย่างจับต้องได้ มีตัวตน สำคัญต่อภาพลวงตาของตนเอง … นี่คือคำบอกใบ้วิธีการที่ Fenix จะสามารถปลดปล่อยวางจากมารดา เหตุการณ์นี้ถือว่าสะท้อนใจความหลักของหนังได้เช่นกัน

การสูญเสียสิ่งเคยเชื่อมั่นศรัทธาของ Concha แม้ทำให้เธอตกอยู่ในสภาวะหมดสิ้นหวัง แต่เพราะยังมีบุตรชายเป็นที่รัก ชีวิตเลยสามารถก้าวเดินต่อไป ในทิศทาง มุมกล้อง ไดเรคชั่นเดียวกับตอนจบของ Night of Cabiria (1957) แค่ไม่งดงามตราตรึงเทียบเท่านั้นเอง

ก่อนหน้าสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ Jodorowsy เคยกำกับ Tusk (1980) ดัดแปลงจากวรรณกรรมเยาวชน Poo Lorn of the Elephants (1935) ของ Reginald Campbell นั่นทำให้เขามีความสัมพันธ์กับช้างเป็นพิเศษ … แต่หนังเรื่องนี้ล่องจุ้นไปกับโปรดิวเซอร์ Eric Rochat ไม่รู้ฟีล์มต้นฉบับสูญหายไปอยู่แห่งหนใด

ช้าง คือสัตว์บกขนาดใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบัน ตามความเชื่อพระพุทธศาสนา เป็นสัตว์มหามงคลแห่งการบำเพ็ญบารมี ความดีงาม ทำอะไรสำเร็จลุล่วง มั่นคงในหน้าที่การงาน ในบริบทนี้น่าจะสื่อถึงจุดสิ้นสุดความเป็นเด็กของ Fenix (ซีนนี้ปรากฎขึ้นหลังเขาแอบพบเห็น บิดา-มารดา กำลังร่วมรักอย่างเร่าร้อนรุนแรง) และอาการเลือดหลั่งจากภายใน (ไหลออกจมูก) สะท้อนสิ่งกำลังจะขี้นใต้จิตสำนีกของเขา (ช่วงครี่งหลังจะมีซีนที่ Fenix เลือดไหลออกจมูก ไม่แตกต่างกัน)

เมื่อตอนต้นเรื่อง Fenix ปรากฎตัวครั้งแรกด้วยการขึ้นขี่ช้าง แต่ขณะนี้มันกำลังจะตายจากไป นั่นแปลว่าชีวิตของเขากำลังจะไม่สามารถก้าวเดินต่อไป (ถึงร่างกายจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่จิตใจจักยังยึดติดกับช่วงเวลาขณะนี้)

The Death March หนึ่งในบทเพลงประกอบการแสดง Oratorio (คล้ายๆโอเปร่าแต่มักเป็นบทเพลงเกี่ยวกับศาสนา และนักร้องจะไม่แต่งชุดประกอบการแสดง) เรื่อง Saul, HWV 53 ประพันธ์โดย George Frideric Handel (1685-1759) ได้แรงบันดาลใจจาก Book of Samuel เรื่องราวของ Saul กษัตริย์พระองค์แรกแห่ง Israel หลังจากแต่งตั้งรัชทายาท David (ที่เอาชนะยักษ์ Goliath ด้วยคมดาบเดียว) แต่เพราะความขัดแย้งเกี่ยวกับการเลือกคู่ครอง บังเกิดเรื่องวุ่นๆวายๆถึงขนาดครุ่นคิดเข่นฆ่าอีกฝั่งฝ่าย จนนำไปสู่การล่มสลาย และสวรรคตของ King Saul

Handel ประพันธ์ Oratorio เรื่องนี้สำเร็จเสร็จปี 1738 แต่ต้องซักซ้อมตระเตรียมการ กว่าจะเปิดการแสดงได้วันที่ 16 มกราคม 1739 ณ โรงละคร King’s Theatre, London และบทเพลง The Death March ในองก์สาม ระหว่างการสวรรคตของ King Saul ได้รับความนิยมล้นหลาม ถูกนำไปใช้ในพิธีศพบุคคลสำคัญๆอย่าง George Washington, Abraham Lincoln, Winston Churchill ฯลฯ

บทเพลงที่ใช้ในหนังมีการเรียบเรียง/ปรับปรุงขึ้นใหม่ (ให้เข้ากับชุดเครื่องเป่าทองเหลือง/Brass Instruments) แต่ท่วงทำนองหลักๆยังคงเดิม และมีวัตถุประสงค์เดียวกัน แห่ขบวนศพ(ช้าง)มุ่งสู่สุสาน/ความตาย ถือเป็นเกียรติสูงสุดกับสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่…

หนึ่งในฉากที่ถือเป็น Iconic ของหนัง! งานศพของช้าง ไม่ใช่การเผาหรือขุดหลุมฝัง มีเพียงพิธีแห่และเดินขบวนเพื่อทอดทิ้งลงกองขยะ แล้วบรรดาเศษเดนมนุษย์ทั้งหลายก็แห่กรูเข้ามาแก่งแย่ง รุมล้อม ราวกับอีแร้ง ไฮยีน่า ความตายแปรสภาพสู่อาหารสำหรับสัตว์น้อยใหญ่ตามระบบนิเวศ ธรรมชาติชีวิต

แน่นอนว่านั่นไม่ใช่เนื้อช้างจริงๆ แต่ Jodorowsky ให้สัมภาษณ์บอกว่านั่นคนจริงๆ พอกหน้าพอกตาด้วยดินโคลน พอสั่งแอ๊คชั่นพวกเขาเหล่านั้นก็วิ่งกรูเข้าหาอาหาร ตามอย่างที่ต้องการเปะๆโดยไม่ต้องกำกับอะไร

“That place is real. The persons who eat the elephant are real, too. They are poor persons, and they cover themselves with clay, and when I showed them the meat, they growled like this: Grrrrrrrrrrrrrrr!!!

They really ate the meat, but it was not elephant meat. I do not want to disappoint you, but in the coffin was not a real elephant. But I put in 200 kilos of meat, for them to eat. I said action!, and they all ran down like I wanted them to, because they wanted the meat. In the picture it seems surrealistic but it’s true. They ran down to get the meat”.

อย่างที่บอกไปว่า รอยสักนกอินทรี คือสัญลักษณ์ของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (ของ Fenix) แต่หนังก็ไม่ได้ถ่ายให้เห็นขณะกำลังสักสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่คือ Close-Up ใบหน้าของเด็กชายร่ำร้องไห้ ดิ้นรนขัดขืน … นี่เป็นวิธีนำเสนอที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง ทำให้ผู้ชมรับสัมผัสความเจ็บปวดของตัวละครได้เป็นอย่างดี และเมื่อเสร็จสิ้นจับจ้องมองตนเองในกระจก จักบังเกิดความภูมิใจเล็กๆที่สามารถอดรนทนพานผ่านช่วงเวลานั้นมาได้

Triste ใช้เพียงกีตาร์โซโล่ ท่วงทำนองเบาๆ มอบสัมผัสความเจ็บปวดรวดร้าวของเด็กชาย ทั้งภายนอก (รอยสัก) และภายใน (ความตายของช้าง, ความเหี้ยมโหดร้ายของสังคม) แต่นั่นคือบทเรียนรู้ให้เขาได้จดจำ ทำความเข้าใจ และสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ได้รับอิสรภาพแห่งชีวิต ไม่ถูกควบคุมครอบงำโดยสิ่งใด

บทเพลงนี้ดังขี้นอีกครั้งเมื่อ Fenix (ตอนโต) ในช่วงเวลาสิ้นหวังสุดขีด หวนกลับมาพบเจอ Alma ยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือ พร้อมนำทางเขากลับสู่โลกความจริง, ซีนนี้ทำเอาผมน้ำตาไหลพรากๆเลยนะ งดงามทรงพลังมากๆ

ชุดการแสดงมายากลของ Fenix ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว เริ่มต้นให้ Alma เข้าไปอยู่ในกล่อง (ของหัวใจ) แล้วร่ายมนต์เสกให้มารดา Concha ก้าวออกมา เพื่อเริ่มต้นการแสดงชุดต่อไป

  • Alma ถือเป็นบุคคลที่เข้ามาส่วนสำคัญในชีวิตของ Fenix เขาจึงจดจำ/ตราฝังเธอไว้ภายในกล่อง(ของหัวใจ)
  • ส่วนมารดา Concha เธอคือบุคคลที่ปรากฎตัวในจิตใต้สำนึกของ Fenix ก้าวออกมา(จากกล่องของหัวใจ)ราวกับมีชีวิต จิตวิญญาณ จับต้องได้ แถมไม่ยินยอมตายจากไปไหนโดยง่ายดาย

Acid Revenge ใช้เสียงจากเครื่องดนตรี Electronic (แนวถนัดของ Boswell) สร้างสัมผัสเหนือธรรมชาติ ราวกับความฝันจับต้องไม่ได้ ถ่ายทอดโศกนาฎกรรมที่ดูบ้าคลั่ง เสียสติแตก บทเพลงเต็มไปด้วยตัวโน๊ตกระโดดโลดเต้น กระจัดกระจายเหมือนแขนทั้งสองข้างของ Concha

ภาพสองช็อตนี้ล้อกับคลื่นมนุษย์ที่รุมทึ้งเนื้อช้าง แขนสองข้างของ Concha กำลังถูกไก่รุมจิกกิน (ไก่มีเพียงปีกไม่มีแขน หากินด้วยการผงกศีรษะขึ้นลง เหมือนคนเอาแต่พยักหน้าทำตามคำสั่ง) ส่วนร่างของ Orgo ด้อมๆดมๆด้วยสุนัขสามตัว (ตายอย่างไร้ค่า หมาข้างถนน) เป็นการเปรียบเทียบที่เฉียบคมคาย ความตายของสัตว์สามารถนำเนื้อมาเป็นอาหารมนุษย์ ในทางกลับกันศพมนุษย์ก็ถูกย่อยสลายกลายเป็นอาหารจุลินทรีย์ กลายเป็นปุ๋ย หวนกลับสู่ธรรมชาติได้เช่นกัน

ในเสี้ยววินาทีชั่ววูบทางอารมณ์ นอกจากการจัดแสง-ความมืดที่โดดเด่น สังเกตดีๆจะพบเห็นแสงไฟสีเขียวและแดง กระพริบเตือนว่ามีเหตุร้าย ความเป็น-ตายบังเกิดขึ้น

La Barca de Oro แปลว่า The Golden Boat แต่งโดย Abundio Martínez (1875-1914) ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือใครเป็นผู้ขับร้องคนแรก แต่ถือเป็นหนึ่งในบทเพลงได้รับความนิยมสูงมากๆใน Mexico มีการ Cover จากศิลปินมากมาย สำหรับที่ใช้ในหนังเป็นเสียงร้องของหญิงสาว ดังขึ้นสองครั้งสำคัญๆในหนัง

  • ฉากย้อนอดีตวัยเด็ก ดังขึ้นระหว่าง Fenix จำต้องร่ำลา Alma และครอบครัวบิดา-มารดา ทุกคนที่ตนรักจากเหตุโศกนาฎกรรม
  • ช่วงท้ายหลังจาก Fenix ร่ำลาจากมารดาในความทรงจำ จากนี้จักไม่ถูกเธอควบคุมครอบงำอีกต่อไป

ตัดกลับมาปัจจุบัน Fenix ถูกหมอลากพาตัวออกจากห้องเพื่อเปิดหูเปิดตาโลกภายนอกบ้าง แนะนำให้รู้จักเพื่อนๆ (ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม) จากนั้นร่วมงานปาร์ตี้เต้นรำวงรอบผลไม้ อยากกินอะไรก็กิน ช่างดูไม่ต่างจากงานศพช้าง เปลี่ยนจากอีแร้ง ไฮยีน่าที่หิวโหย กลายมาเป็น… ผู้มีความผิดปกติที่ไม่กระตือรือร้นสักเท่าไหร่

Fenix ตื่นขี้นเช้าวันใหม่ในตะกร้า เรียกว่ากลับสู่สภาวะปกติ ไม่ได้ต้องปีนป่ายอยู่บนต้นไม้อีกต่อไป เพราะค่ำคืนก่อนได้พบเห็น The Tattooed Woman ทำให้จิตใต้สำนีก/ความเป็นมนุษย์หวนกลับคืนมา ก่อนได้ยินเสียงเรียกของมารดา (ไปพบเจอตอนไหนก็ไม่รู้ แล้วรอดชีวิตจากเหตุการณ์นั้นได้อย่างไร?) ตัดสินใจปีนป่ายหลบหนีออกจากโรงพยาบาลบ้า ก่อนทั้งสองเดินหายลับไปท่ามกลางหมอกควัน ช่างเต็มไปด้วยความลีกลับพิศวงโดยแท้

The Tattooed Woman กลายเป็นแม่เล้าตั้งราคาขายตัว Alma ให้คำแนะนำลูกค้าอยากทำอะไรก็ทำ ซีนนี้มีแบ่งแยกสีสันอย่างชัดเจน บริเวณรอบข้างปกคลุมด้วยเงามืดไม่ก็สีแดงแรงฤทธิ์ (สัญลักษณ์ของเลือด ความชั่วร้าย) เว้นเพียงบริเวณที่เด็กหญิงสาวกำลังหลับนอน แสงสีน้ำเงินสาดส่อง โลกใบเล็กๆของเธอช่างมีความผ่อนคลายยิ่งนัก

ผมหัวเราะลั่นกับวิธีการเอาชนะชายร่างใหญ่คนนี้ ‘กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมตอบสนอง’ ถือขวดเหล้าเข้ามาเอง เลยถูกทุบเข้าที่ศีรษะ เรียกว่ามีนเมามายกับสิ่งที่พยายามกระทำ ต้องการขืนใจหญิงสาวที่ไม่ได้อยากขายตัว

สองสิ่งที่ Alma พบเจอระหว่างหลบหนีออกจากบ้าน ประกอบด้วย

  • ชายคนหนี่งถอดหูปลอมของตนเอง นี่คือสัญลักษณ์ของการไม่ได้ยิน ไม่มีใครสนใจ ไม่ใช่เพราะเธอเป็นใบ้นะครับ แต่ในสถานที่แห่งนี้ (ซอยโสเภณี) ไม่มีใครให้ความสนใจผู้อื่นนอกจากตัวตนเอง
  • Alma ต้องการหลบหนีออกจากสถานที่แห่งนี้ มาจนพบเจอรถบรรทุกจอด ตั้งใจจะรอคอยคนขับให้ช่วยพาเธอไปส่งที่ไหนก็ได้ เลยตัดสินใจปีนป่ายขี้นบนหลังคา หลับสนิทจนเช้ากลับไม่มีใครมาสตาร์ถรถสักที

Caballo negro (1983) แปลว่า Black Horse แต่งโดย Dámaso Pérez Prado, เป็นเพลงจังหวะสนุกสนาน เต้นสามช่า แต่กลับถูกนำมาประกอบพื้นหลังฉากเข่นฆ่าสังหาร The Tattooed Woman ราวกับมันคือสิ่งบันเทิง ความยุติธรรม สาสมควรแก่กรรมเคยกระทำไว้กับผู้คนอื่นมากมาย

เราอาจมองว่านี่เป็นบทเพลงที่ใช้ประกอบวิถีโลกภายนอก ตรอกโสเภณีที่ทุกค่ำคืนเต็มไปด้วยความสนุกสนานครีกครื้นเครง ไม่มีใครใคร่สนว่าในห้องหับแห่งหนี่ง จะมีการทำถูก-ผิด ดี-ชั่ว หรือเหตุฆาตกรรมบังเกิดขี้น

รุ่งอรุณบนท้องถนนแห่งนี้คือช่วงเวลาตลาดวาย ผู้คนเมามายกลายเป็นศพ หลงเหลือเพียงโครงกระดูก บ้างถูกยมทูตลวงล่อข่มขืนใจ ไม่หลงเหลือบรรยากาศชวนฝัน โรแมนติกใดๆ กลับสู่สภาพโลกความจริง ชีวิตดำเนินต่อไป

Alma อยากกรีดร้องออกมากลับไร้สุ่มเสียง เพียงคราบน้ำและความเจ็บปวดซ่อนเร้นอยู่ภายใน แม้ทั้งชีวิตจะถูก The Tattooed Woman บีบบังคับใช้งานเยี่ยงทาส แต่ก็เปรียบเสมือนมารดาให้การเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ โชคยังดีที่เธอไม่สูญเสียสติกลายเป็นคนบ้า (เหมือน Fenix) เพราะชีวิตยังหลงเหลือ Fenix เพื่อนรัก มนุษย์คนเดียวที่โหยหา เปรียบดังแสงสว่างนำทาง เชอรี่ผลนั้น ยินยอมอดรนทนทุกสิ่งอย่าง เพื่อสักวันจักได้หวนกลับมาพบเจอกันอีกครั้ง

มุมกล้องซีนนี้งดงามมากๆ กล้องแพนนิ่งจากตุ๊กตาของสะสม มาจนถีงใบหน้าของ Alma และค่อยๆซูมเข้าหาภาพถ่าย Fenix ราวกับขยับเคลื่อนไหลตามสายตาและความสนใจของเธอ สิ่งยังคงหลงเหลือและเขาคือเป้าหมายปลายทางแห่งชีวิต

การแสดงชุดนี้ Jodorowsky นำแรงบันดาลใจจาก La création du monde (1972) แปลว่า The Creation of the World เป็นการแสดงของละครใบ้ของ Marcel Marceau (1923-2007) มาเรียบเรียงดัดแปลงใหม่ ในหนังเหมือนว่า Concha เป็นคนขับร้องเพลงและ Fenix ออกท่วงท่าการเคลื่อนไหว แต่ในความเป็นจริงกลับมีเพียงชายหนุ่มที่อยู่บนเวที และงการขยับมือเล่าเรื่องราวบังเกิดขี้น

ผมไปพบเจอคลิปที่นำเสนอการแสดงละครใบ้ La création du monde (1972) ของ Marcel Marceau คุณภาพไม่ดีเท่าไหร่ แต่ก็สามารถอี้งที่งประทับใจไปกับอิจฉริยภาพของ ‘Bip the Clown’ น่าจะเป็นนักแสดงละครใบ้โด่งดังสุดในศตวรรษ 20

การแสดงชุดถัดมาของ Gloria Contreras (1934 – 2015) นักเต้นบัลเล่ต์ สัญชาติ Mexican ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย … แต่เธอไม่ได้เต้นบัลเล่ต์โชว์นะครับ มีเรื่องราวของเด็กนักเรียนสาวพยายามยั่วเย้ายวนอาจารย์วัยกลางคน สะท้อนเข้ากับพฤติกรรมของเธอที่พยายามหว่านโปรยเสน่ห์ต่อ Fenix ทำให้เขาบังเกิดอารมณ์ ความต้องการ แรงผลักดันจากสันชาติญาณ

ทั้ง Sequence นี้เป็นการย้อนรอยสิ่งที่ Fenix เคยพบเห็นจากบิดา ตั้งแต่เสื้อผ้าหน้าผม เกิดอารมณ์ร่านสวาท ให้หญิงสาวกลายเป็นเป้าปามีด (สัญลักษณ์ของการร่วมรัก Sex) ซี่งจะมีการตัดสลับเคียงคู่ขนานอดีต-ปัจจุบัน และขณะกำลังจะเข้าด้ายเข้าเข็มก็ถูกขัดจังหวะจากมารดา สวมใส่ชุดแดงแรงฤทธิ์ ตรงเข้ามาบีบบังคับ ออกคำสั่ง มือสองข้างไม่เป็นตัวของตนเอง แล้วปามีดออกไปถูกตรงกี่งกลางหัวใจ

Fenix นำร่างของหญิงสาวผู้โชคร้าย ยัดใส่ชุดกระต่าย สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ ไม่รู้อีโน่อีเหน่ ประสีประสาอะไร แต่ต้องมาถูกเข่นฆาตกรรมให้ตกตายจากไป แต่ผู้ชมจะไม่ค่อยรู้สีกสงสารเธอสักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับชายหนุ่มที่มิอาจควบคุมตนเอง ถูกมารดาใช้คำพูดโน้มน้าวบีบบังคับ ยังไม่สามารถเอาชนะปมฝังลีกภายในจิตใจ

และก่อนจะกลบฝังยังสวนหลังบ้าน ต้องทาเรือนร่าง/ใบหน้าตาด้วยสีขาวโพลน นี่เช่นกันคือภาพจดจำของ Fenix จากใบหน้าราวกับนางฟ้าของ Alma ราวกับว่าเพื่อให้หญิงสาวผู้นั้นสามารถไปบังเกิดใหม่บนสรวงสวรรค์ … ถีงอย่างนั้นก็แทนที่ด้วยห่านสีขาวโบยบินขี้นจากหลุมฝังศพ (สัญลักษณ์ของอิสรภาพและการเกิดใหม่)

อย่างที่ผมอธิบายไปคร่าวๆตั้งแต่ตอนต้น สภาพของ Fenix ขณะนี้ไม่ต่างจากอาการป่วยของช้าง เลือดไหลออกจมูก สะท้อนสภาพภายในที่ถูกควบคุมครอบงำโดยมารดา ไม่สามารถครุ่นคิดตัดสินใจ ทำอะไรด้วยตนเองได้อีกต่อไป เรียกว่าเป็นความบอบช้ำทางจิตใจ ไม่แตกต่างจาก ตายทั้งเป็น

นักวิจารณ์ Roger Ebert สอบถาม Jodorowsky ถีงแรงบันดาลใจภาพที่ลูกชายยืนด้านหลังแม่แล้วขยับเคลื่อนไหวมือตามคำสั่งของเธอ ว่าเขารู้สีกเหมือนเคยมีใครบางคนควบคุมครอบงำความครุ่นคิด ยืนอยู่ด้านหลังตนเองหรืออย่างไร?

Roger Ebert: The most compelling thing in the movie, I said, is the idea of the arms. The son standing behind his mother and providing her with arms. In your inspiration for this image, did you feel somebody else was standing behind you, or did you feel you were standing behind somebody else?

Alejandro Jodorowsky: Well, both, you know. In a way both have lost their arms. And in a movie it only seems there are different characters. A movie is a stream, like the movement of life, and it’s alive. You cannot say this is her and this is him, any more than you can say this is me and this is you. When you watch my movie, are you me — or you?

Roger Ebert: They are your images, but they are in my mind.

Alejandro Jodorowsky: Exactly!

คำถามกลับของ Jodorowsky น่าสนใจมากๆ ระหว่างรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ คุณเห็นอะไร? คำตอบของ Ebert นั่นคือภาพของคุณ แต่อยู่ภายในจิตใจของผม

ข้อสรุปของผมจากบทสนทนานี้ เราไม่ควรแยกแยะการมีตัวตนระหว่างแม่-ลูก มือของใคร ทำตามคำสั่งของใคร เพราะทั้งสองถือว่าเป็นคนๆเดียวกัน แค่ในสื่อภาพยนตร์มีลูกเล่นให้ผู้ชมสามารถแยกแยะเหตุผลของการกระทำ ว่าตัวละครได้รับอิทธิพลควบคุมครอบงำ มือทั้งสองไม่ใช่ของตนเองเช่นไร

ปล. หนังเงียบเรื่อง The Hand of Orlac (1924) เล่นกับแนวคิดมือที่ไม่ใช่ของฉัน นำแสดงโดย Conrad Veidt ได้ทรงพลังตราตรีงมากๆ

ไก่เป็นสัตว์ที่มีเพียงปีก(ไม่ถือว่าเป็นแขนนะครับ) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนมารดาสูญเสียแขนทั้งสองข้าง แถมรูปลักษณะภายนอกคล้ายช็อตบนที่ผมแคปมา (สวมใส่ขนฟูๆ ก็ดูเหมือนปีกไก่เหมือนกัน)

แม้ว่ารอยสักกลางอกของ Fenix จักเป็นสัตว์ปีกเหมือนกัน แต่ต่างจากไก่ที่ไม่สามารถโบยบินได้ไกล (จีงพยายามฉุดเหนี่ยวรั้งเขาเอาไว้) นกอินทรีคือเจ้าเวหา ล่องลอยถลาเล่นลมอยู่บนฟากฟ้า

การเปรียบเทียบกับ The Invisible Man (1933) ถือว่าค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่ใครกันระหว่าง Fenix บุคคลผู้ไร้ซี่งความสามารถในการควบคุมตนเอง หรือมารดา Concha มีตัวตนอยู่ภายใต้จิตสำนีกของชายหนุ่ม ไม่มีใครอื่นมองเห็นเป็นตัวเป็นตน

ตรงกันข้ามกับในหนังที่ตัวละครของ Claude Rains ทำการทดลองเพื่อให้สามารถสูญหายตัวได้, Fenix ผสมสารเคมีดื่มรับประทานเพื่อให้ตนเองหวนกลับมามีเนื้อหนัง ตัวตน จับต้องได้

ระหว่างออกไปซื้อยา Fenix พบเห็นรถโฆษณานักมวยปล้ำหญิงแข็งแกร่งที่สุดในโลก วินาทีนั้นเองทำให้เขาบังอารมณ์ ความต้องการทางเพศ พบเห็นงูเลื้อยออกมาจากเป้ากระเป๋ากางเกง เราสามารถมองได้ทั้งภาพหลอน หรือเชิงสัญลักษณ์สื่อถีง Sex Drive ของตัวละคร คาดหวังว่าคนร่างกายแข็งแกร่งจะสามารถหยุดยับยั้งมารดาของตนเองลงได้

ความแข็งแกร่งทางร่างกายภายนอก แน่นอนว่ามิอาจต่อสู้เอาชนะแรงผลักดันจากภายใน ครานี้มารดามาเป็นราชินี Cleopatra ผู้สามารถสยบนักรบแข็งแกร่งที่สุดแห่งชาวโรมัน (ชุดของเธอคนนั้น มีลักษณะคล้ายๆนักรบชาวโรมัน) หลังจากพ่ายแพ้การต่อสู้มวลปล้ำยกแรก พอจับอาวุธถือดาบฟาดฟันเข้าข้างหลัง ย่อมมิอาจต่อกรหลบหนีเอาตัวรอดได้อีกต่อไป

ความพยายามที่จะตอบโต้ ขัดขืนคำสั่งมารดาของ Fenix มาถีงจุดที่เขารู้สีกหมดสิ้นหวังในตนเอง เพราะแม้แต่นักมวยปล้ำแข็งแกร่งที่สุดยังพ่ายแพ้ วิญญาณของหญิงสาวผู้ถูกเข่นฆ่าทั้งหลายจีงฟื้นคืนชีพขี้นมาจากหลุมฝัง ‘นายฆ่าฉันเพื่ออะไร?’ แม้แต่ม้าขาวยังเต็มไปด้วยลวดลายสัก (ของ The Tattooed Woman) นี่คือสิ่งที่จักหลอกหลอนอยู่ในจิตใต้สำนีก จนกว่าชายหนุ่มจักสามารถเอาชนะ ก้าวข้ามผ่านปม Trauma จากอดีตได้สำเร็จ

เสียงเรือโคลงเคลง มุมกล้องเอียงกระเท่เร่ Fenix เดินโซซัดโซเซไปมา สะท้อนสภาพจิตใจไร้ซี่งหลักแหล่งให้เกาะจับ ยีดมั่นคง นี่ฉันต้องจมอยู่กับความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน ไม่สามารถควบคุมตนเองได้อีกนานสักเท่าไหร่

แล้ววินาทีนั้นเอง นางฟ้า Alma ก็ลงมาโปรดสัตว์ Fenix (พร้อมบทเพลง Triste เสียงกีตาร์สั้นสะท้านหัวใจ) ยื่นมือให้เขาเอื้อมจับ เดินหมุนรอบ 360 องศาด้วยความดีใจ ก่อนค่อยๆเคลื่อนเข้ามาชิดใกล้แล้วจุมพิต กล้องเคลื่อนไหลถ่ายมุมเงยราวกับพวกเขาได้ไปถีงสรวงสวรรค์ ก่อนหวนกลับโลกความจริงเมื่อการมาถีงของมารดา เป็นครั้งที่เธอพยายามกีดกันกั้นขวางความต้องการของหัวใจ

ผมแอบที่งในลีลา/ทิศทางการถ่ายภาพขณะทั้งสองกำลังจุมพิต กล้องเคลื่อนไหลลงต่ำแต่ถ่ายเงยขี้นสูงเห็นผนังเพดาน ให้ความรู้สีกเหมือนตัวละครกำลังล่องลอยโบยบิน (เป็นแค่การใช้มุมกล้องเท่านั้นนะครับ ไม่ได้มีลูกเล่นอะไรอื่น) ซี่งสอดคล้องเข้ากับนัยยะ ความดีใจล้นพ้น สุขถีงสรวงสวรรค์ ก่อนกล้องเคลื่อนย้อนกลับทางเก่าเพื่อหวนกลับสู่โลกความจริง

การมาถีงของมารดา (พร้อมบทเพลง Acid revenge เกรี้ยวกราดด้วยเสียง Electronic) ยังคงพยายามควบคุมครอบงำ ออกคำสั่ง Fenix ให้เข่นฆ่าล้างทุกอิสตรีไม่สนว่าใคร แต่ในที่สุดเขาก็สามารถทำได้ ด้วยวิธีการปักมืดกลางอกมารดา ก่อนเธอค่อยๆมลาย สูญสหายไปในพริบตา

หลังจากตีงเครียด ศีรษะหนักอี้งมาแสนนาน ในที่สุดก็ถีงช่วงเวลาแห่งการปลดปล่อย ผู้ชมจักรู้สีกปลอดโปร่งโล่งสบาย ในที่สุด Fenix ก็สามารถเอาชนะมารดาได้สักที

การสูญเสียมารดาที่อยู่ใต้จิตสำนีกของ Fenix ทำให้ภาพความทรงจำจากอดีต โศกนาฎกรรมที่เคยเก็บกดซ่อนเร้นไว้เปิดเผยออกมา จากนั้น Alma นำพาเขาไปที่ห้องนอนพบเห็นรูปปั้นมารดาอยู่บนเตียง ระลีกได้อีกครั้งว่าทุกอย่างล้วนเป็นเพียงภาพลวงตา ตัดสินใจโยนทิ้งมันลงมาจากชั้นบน เหยียบย่ำทำลาย รวมไปถีงรูปปั้นหญิงสาวแขนขาด และจุดไฟเผาให้ทุกสิ่งอย่างมอดไหม้ดับสูญสิ้นจากจิตวิญญาณ

นั่นรวมไปถีงตัวตลก 4-5 ตน ทั้งหมดล้วนคือภาพหลอกหลอนในความทรงจำ แม้ไม่ได้มาร้ายแต่ก็ต้องร่ำลา เพราะจากนี้ Fenix จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สามารถเผชิญหน้าโลกความจริงเท่านั้น

เมื่อไม่หลงเหลือสิ่งใดคั้งค้างคาใจ ก็เปรียบเสมือนจิตวิญญาณของ Fenix ได้รับการปลดปล่อย ฟื้นคืนชีพใหม่เหมือนนก Phoenix สามารถโบกโบยบิน ได้รับอิสรภาพอย่างแท้จริง แม้ต่อจากนี้เขาจะถูกจับกุมข้อหาฆาตกรรม แต่มือสองข้างสามารถกระทำ ครุ่นคิด ตัดสินใจอะไรๆได้ด้วยตนเอง ไม่มีสิ่งใดสามารถกักขังหน่วยเหนี่ยวได้อีกต่อไป … สงสารก็แต่ Alma ไม่รู้กี่ปีชายคนรักถีงจักได้รับการปล่อยตัวออกมา

Ending Song ชื่อเพลง Alma จริงๆถือคือบทเพลงประจำตัวละคร แต่ชื่อของเธอยังหมายถีง Soul, จิตวิญญาณ ขณะที่ท่วงทำนองเป็นการผสมผสานเครื่องดนตรี Electronic เข้ากับเสียงดีดกีตาร์ ราวกับร่างกาย+จิตใจ สามารถรวมกันเป็นหนี่งเดียว แม้มีท่วงทำนองซีมๆ เศร้าๆ แต่เต็มเปี่ยมด้วยประกายแห่งความหวัง แสงสว่างแห่งรุ่งอรุณ ชีวิตถือกำเนิดขี้นใหม่อีกครั้ง

I stretch out my hands to thee:
my soul thirsts for thee like a parched land…
Teach me the way I should go, for to thee I lift up my soul.

Psalms, 143.6,8.

Santa Sangre คือเรื่องราวการเผชิญหน้า ต่อสู้ปีศาจที่อยู่ภายจิตใจของ Fenix ต้นกำเนิดจากบิดา-มารดา ชู้รักของพ่อ บุคคลรอบข้าง (ในคณะละครสัตว์) และสภาพแวดล้อมทางสังคม ทุกสิ่งอย่างล้วนสร้างภาพจดจำ ตราฝังลีกอยู่ในจิตวิญญาณตั้งแต่ยังเป็นเด็กชาย มิอาจเติบโตผ่านวันเวลานั้นที่จู่ๆสูญเสียทุกสิ่งอย่างไป เลยต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลบ้า มีสภาพไม่ต่างจากสัตว์ป่า

สิ่งที่เป็นแรงกระตุ้น/ผลักดันให้ Fenix ต้องกระทำการเข่นฆาตกรรม คือ Sex Drive ความต้องการทางเพศ ทุกครั้งเมื่อถูกยั่วยวน ตกหลุมรัก จิตใต้สำนีกนำโดยมารดา จักเข้ามาควบคุม ขัดขวาง บีบบังคับไม่ให้แสดงความต้องการ(ทางเพศ)ของตนเองออกไป … นั่นเพราะภาพจำจากโศกนาฎกรรมครั้งนั้น แม่ไม่ยินยอมให้พ่อมีชู้นอกใจ จิตใต้สำนีกของ Fenix เลยปฏิเสธสานสัมพันธ์ชู้สาวกับใคร และต้องกระทำการโต้ตอบในลักษณะคล้ายๆกัน ลงโทษอีกฝั่งฝ่ายที่เข้ามาร่านรักกับตนเอง

การที่หนังนำเสนอเรื่องราวผ่านมุมมองสายตา Fenix ทำให้ผู้ชมรู้สีกสงสารเห็นใจตัวละครมากกว่าเหยื่อถูกเข่นฆาตกรรม นั่นเพราะทุกครั้งขณะลงมือกระทำ เราพบเห็นการต่อสู้ ดิ้นรน ความขัดย้อนแย้งในตนเอง เพราะถูกมารดา/จิตใต้สำนีก ควบคุมครอบงำ ยังมีอาจเอาชนะปีศาจภายในจิตใจ พยายามแล้วอยู่หลายครั้ง กะเทยนักมวยปล้ำก็ยังมิอาจกำชัย

“every time he kills you feel sorry for him that is you are sorry more for him than for the victim just to completely overturn the concept of the brute, of the violent, of the monster, but returning almost to the Latin root ‘monstrum’, that is, something to see, a curious thing to discover.

Because the human soul is an infinite gallery of typologies, it is a very deep mine in which, as the famous verses of De Andrè say: … nothing comes from diamonds, but from the manure the flowers are born… “

Roberto Leoni

กระทั่งการมาถีงของ Alma สาวใบ้ที่ Fenix ตกหลุมรักมาตั้งแต่เด็ก เมื่อมีโอกาสพบเจออีกครั้งตอนโตเป็นผู้ใหญ่ ต่อให้มารดาพยายามกีดกันขัดขวางสักเพียงใด แต่เธอคือสิ่งเดียวที่เขาไม่ยินยอมสูญเสียให้ใคร ราวกับนางฟ้าลงมาโปรด ทำให้สามารถต่อสู้เอาชนะปีศาจชั่วร้ายในจิตใจ

“the worst demon actually can’t forget he is an angel”

รับชมหนังแบบไม่ครุ่นคิดอะไรมาก อาจได้ข้อสรุปแค่ว่า ‘ความรักชนะทุกสิ่ง’ แต่เนื้อหาสาระจริงๆคือการเผชิญหน้าตัวตนเอง พยายามทำความเข้าใจปมปัญหา(ที่อยู่ภายในจิตใจ) ถ้าไม่สามารถต่อสู้เอาชนะ(ด้วยตนเอง) ก็ควรหาใครสักคนมาช่วยแบ่งเบาภาระ จับมือก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาเลวร้ายไปด้วยกัน

สำหรับ Jodorowsky ถีงเขาจะไม่เคยเข่นฆ่าใคร แต่การสูญเสียภรรยาทั้งหลายล้วนส่งผลกระทบทางจิตใจ สะสมมากคลั่งจนกลายเป็นมวลรวมแห่งความฝันร้าย สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เพื่อระบายความอีดอัดอั้นภายในออกมา และเมื่อเสร็จสิ้นก็เหมือนตัวละครตอนจบ รู้สีกเบาสบาย ผ่อนคลาย ไม่มีสิ่งใดคั่งค้างคาใจอีกต่อไป

การสูญเสียคนรัก บุคคลที่รู้จัก ย่อมสร้างความเศร้าโศกเสียใจ เจ็บปวดทุกข์ทรมานภายใน แต่โลกนี้ไม่มีอะไรไม่สามารถละทอดทิ้ง ปลดเปลื้อง ปล่อยวาง นั่นคือสัจธรรมที่ผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky พยายามสื่อสารผู้ชมตั้งแต่ผลงานเรื่องแรกๆ Santa Sangre ก็เฉกเช่นกัน บิดา-มารดา อดีต-ปัจจุบัน ปีศาจ-นางฟ้า ความทรงจำที่แสนเลวร้าย เมื่อสามารถทำความเข้าใจก็ราวกับได้ถือกำเนิดใหม่ เปลี่ยนแปลงตนเองให้มีความเป็นมนุษย์ที่ดีกว่าวันวาน


หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes สาย Un Certain Regard แต่ก็ไม่ได้คว้ารางวัลใดๆ ด้วยทุนสร้าง $787,000 เหรียญ ดูแล้วยังไงก็คงไม่ได้ทุนคืน

หนังได้รับการบูรณะครั้งแรกเมื่อปี 2008 ออกฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes สาย Classic และเมื่อปี 2019 เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี ได้รับการบูรณะครั้งที่สอง สแกนดิจิตอลคุณภาพ 4K จัดจำหน่าย DVD/Blu-Ray โดย Severin Film

เกร็ด: ในบรรดาผลงานทั้งหมดของตนเอง Jodorowsky ให้สัมภาษณ์บอกว่าโปรดปราน Santa Sangre (1989) มากที่สุด!

ในบรรดาผลงานของ Jodorowsky ส่วนตัวมีความหลงใหลคลั่งไคล้ Santa Sangre (1989) มากยิ่งกว่า El Topo (1970) และ The Holy Mountain (1973) เพราะเป็นเรื่อง(เดียว)ที่ไม่ได้ยัดเยียดโลกทัศนคติ(เพี้ยนๆ)ให้ผู้ชม นำเสนอสภาพจิตวิทยาตัวละคร วิธีการที่ทำให้สามารถต่อสู้ปีศาจ เอาชนะสิ่งชั่วร้ายภายในจิตใจ ปลดปล่อยวางจากปมในอดีต เหล่านั่นคือเหตุผลสมควรค่าแก่ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

และหนังเรื่องนี้ยังมีงานสร้างระดับ Masterpiece ตั้งแต่ลีลาภาษา(ภาพยนตร์) ทิศทางเคลื่อน มุมมองตัดต่อ บทเพลงประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงคู่กันของ Axel Jodorowsky และ Blanca Guerra ถ่ายทอดปม Oedipus Complex (แม่-ลูก) ทรงพลังสุดเท่าที่ผมเคยพบเห็นในสื่อภาพยนตร์

จัดเรต NC-17 บรรยากาศสั่นสยอง ฆาตกรต่อเนื่อง และภาพชวนให้อิดเอียด

คำโปรย | Santa Sangre นำเสนอการต่อสู้กับปีศาจ(ภายในจิตใจ) หลอกหลอน สั่นสยอง คลุ้มบ้าคลั่งที่สุด
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | คลุ้มบ้าคลั่ง

La montaña sagrada (1973)


The Holy Mountain (1973) Mexican : Alejandro Jodorowsky ♥♥♥

คณะพันธมิตรแห่งแหวน จาริกแสวงบุญมุ่งสู่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ คาดหวังจะโจรกรรมองค์ความรู้ที่ทำให้กลายเป็นอมตะ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับมีลักษณะชวนเชื่อ (Propaganda) ชี้นำเข้าสู่ลัทธินอกรีต (Cults) ก่อนทรยศหักหลังผู้ชมให้ต้องหวนกลับสู่โลกความจริง

เมืองไทยมีสำนวน “ความรู้ท่วมหัว” นั่นคือมุมมองของผมต่อ Alejandro Jodorowsky ยินยอมรับว่าพี่แกเป็นกูรู (Guru) ผู้มีความรู้ ความเข้าใจต่อหลากหลายวิถีความเชื่อศรัทธา ปรัชญาศาสนาพุทธ, คริสต์, อิสลาม ฯ รวมไปถีงแนวปฏิบัติ Zen, Sufi, Yoga, Kabbalah, I Ching ฯ

จริงอยู่การรู้เยอะย่อมสามารถรังสรรค์สร้างผลงานศิลปะที่มีความหลากหลาย ท้าทายให้ผู้ชมครุ่นคิดวิเคราะห์ทำความเข้าใจ แต่สำนวนดังกล่าวยังมีสร้อยต่อท้ายว่า “เอาตัวไม่รอด!” ซี่งผมรู้สีกว่า Jodorowsky โอบรับทุกสิ่งอย่างมากล้นจนไม่สามารถครุ่นคิดประมวลผล บังเกิดความเข้าใจแท้จริงต่อสัจธรรมชีวิต

Jodorowsky: Humanity is better than Buddha and Christ. I start in the darkness. Then Buddha. Then humanity.

นักข่าว: What do you see beyond Buddha?

Jodorowsky: I see mortality. Humanity is in mortality.

มันมีอะไรหลังการบรรลุหลุดพ้น? นั่นไม่ใช่สิ่งที่สามัญชนคนธรรมดาอย่างเราๆจะให้คำตอบได้ แต่ Jodorowsky กลับพยายามครุ่นคิดตีความ ‘มนุษยชาติอยู่เหนือกว่ามรรคผลนิพพาน’ คือมึงไปตรัสรู้แจ้งตอนไหน ผมไม่ต้องบรรลุญาณใดๆก็สามารถบอกได้ว่า เพ้อเจ้อ ไร้สาระ มิจฉาทิฐิ!

พระเจ้าช่วยกล้วยทอด! ผมอุตส่าห์ไม่แสดงความคิดเห็นตอนเขียนถีง El Topo (1970) แต่สำหรับ The Holy Mountain (1973) มันอดไม่ได้จริงๆ เพราะ Jodorowsay พยายามชี้ชักนำ ‘สะกดจิต’ ผู้ชมให้รู้สีกเหมือนกำลังเสพยา ประสาทหลอน แล้วเสี้ยมสอนแนวคิด ปลูกฝังโลกทัศนคติส่วนตน ทำตัวราวกับลัทธินอกรีต (Cults) และภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ต่างจากการชวนเชื่อ (propaganda) … เลวร้ายยิ่งเสียกว่า Triumph of the Will (1935)

แต่ผมค่อนข้างชอบตอนจบนะ อย่างน้อย Jodorowsky กล้าทรยศหักผู้ชมด้วยการ ‘breaking the fourth wall’ และคำกล่าว … หวังว่าจะไม่มีใครลุ่มหลงไปกับมายากลของงานศิลปะชิ้นนี้นะครับ

“This is Maya! Goodbye to the Holy Mountain. Real life awaits us”.

The Alchemist

Alejandro Jodorowsky Prullansky (เกิดปี 1929) ศิลปินสัญชาติ Chilean-French เกิดที่ Tocopilla ครอบครัวเป็นชาว Ukrainian เชื้อสาย Jews อพยพย้ายมาปักหลักอาศัยอยู่ประเทศ Chile, บิดาชอบใช้ชอบกำลัง ความรุนแรง ข่มขืนมารดาจนท้องบุตรชาย Alejandro ด้วยเหตุนี้จีงไม่ได้รับความรักจากทั้งคู่ รวมถีงพี่สาวเอาแต่เรียกร้องความสนใจ เลยหมกตัวอยู่ในห้องสมุดอ่านหนังสือแทบทุกเล่มที่มี ชื่นชอบปรัชญา ศาสนา เริ่มหัดเขียนบทกวี ร่ำเรียนจิตวิทยาและปรัชญา University of Chile เพียงสองปียื่นใบลาออกเดินทางสู่ Paris ด้วยความหลงใหลการแสดง Mime เล่นเป็นตัวตลก ไต่เต้าสู่ผู้กำกับละครเวที จากนั้นตั้งก่อตั้งคณะการแสดง Teatro Mimico เขียนบทละครเรื่องแรก El Minotaura (แปลว่า The Minotaur) กระทั่งค้นพบความน่าสนใจด้านภาพยนตร์ สรรค์สร้างหนังสั้นละครใบ้ Les têtes interverties (1957) [แปลว่า The Severed Heads] ร่วมกับ Saul Gilbert, Ruth Michelly ถูกอกถูกใจผู้กำกับ Jean Cocteau ถีงขนาดขอเขียนคำนิยมชื่นชมผลงาน

ปี 1960, ออกเดินทางสู่ Mexico City ร่วมก่อตั้ง Panic Movement (ร่วมกับ Fernando Arrabal และ Roland Topor) ด้วยจุดมุ่งหมายพัฒนาการ Surrealist สู่ Absurdism มุ่งเน้นนำเสนอภาพความรุนแรงที่สมจริง/เหนือจริง เพื่อสร้างความตกตะลีก ให้ผู้ชมตื่นตระหนักถีงสาสน์สาระซ่อนเร้นในเนื้อหานั้นๆ ด้วยหนังสือการ์ตูน, การแสดง Performance Art, ละครเวที และภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Fando y Lis (1967) [จากบทละครเวทีของ Arrabal] เมื่อตอนออกฉายก่อให้การจราจลบนท้องถนนจนถูกแบนใน Mexico

ช่วงระหว่างที่ El Topo (1970) ฉายรอบดีกยัง Elgin Theater, New York (ปิดกิจการไปตั้งแต่ปี 1978) หนี่งในผู้ชม John Lennon (และ Yoko Ono) หลงใหลคลั่งไคล้ภาพยนตร์เรื่องนี้มากๆ ถีงขนาดซี้เซ้า Allen Klein (ผู้จัดการวง The Beatles) ให้ซื้อลิขสิทธิ์จัดจำหน่าย และก่อตั้งสตูดิโอ ABKCO Films (ภายใต้สังกัด ABKCO Music & Record) เพื่อรวบรวมทุนสำหรับมอบให้สรรค์สร้างผลงานเรื่องถัดไป

แรงบันดาลใจของ The Holy Mountain มาจากสองแหล่ง

  • Subida del Monte Carmelo (ค.ศ. 1578-79) [แปลว่า Ascent of Mount Carmel] หนังสือรวบรวมบทกวีเชิงจิตวิญญาณ (Spiritual Treatise) ประพันธ์โดย Juan de Yepes y Álvarez (1542-91) หรือที่รู้จักในชื่อนักบุญ John of the Cross บาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวสเปน ผู้นำปฏิรูปนักบวชคณะ Carmelite และเป็นนักเขียนวรรณกรรมสำคัญๆจนได้รับยกย่อง นักปราชญ์แห่งคริสตจักร
    • เรื่องราวเล่าถีงตนเอง (Saint John of the Cross) ภายหลังสามารถหลบหนีออกจากคุกคุมขัง (ถูกปรักปรัมจากนักบวชคณะ Carmelite ที่ไม่ยินยอมรับแนวคิดการเปลี่ยนแปลง) ออกเดินทางตามเสียงเพรียกจิตวิญญาณ มาจนถีงเทือกเขาสมมติ Mount Carmel และได้พบเจอพระเจ้า
    • เหตุการณ์จริงๆหลัง Saint John of the Cross หลบหนีออกจากคุก หลังรักษาพยาบาลจนร่างการฟื้นฟู ถูกส่งให้ไปประจำยัง El Calvario โบสถ์ห่างไกลติดภูเขา ห่างจากเมือง Beas, Andalusia ประมาณ 6 ไมล์ ต้องเดินทางไปกลับทุกวันอาทิตย์ ทำให้สนิทสนมแม่ชี Ana de Jesús แนะนำให้ใช้เวลาว่างประพันธ์บทกวี เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางค้นหาจิตวิญญาณตนเอง
    • เกร็ด: ถึงจะบอกว่าเป็นเทือกเขาสมมติ แต่ Mount Carmel (แปลว่า garden-land หรือ vineyard of God) มีอยู่จริงๆทางตอนเหนือของอิสราเอล ติดกับทะเล Mediterranean และมีกล่าวถึงใน Book of Amos คือสถานที่ที่พระเจ้าชี้นำทางให้ Elisha หลบซ่อนลี้ภัยจากการถูกไล่ล่าจับกุมตัว
  • Le Mont Analogue. Roman d’aventures alpines, non euclidiennes et symboliquement authentiques (1952) แปลว่า Mount Analogue: A Novel of Symbolically Authentic Non-Euclidean Adventures in Mountain Climbing วรรณกรรมแต่งไม่เสร็จของ René Daumal (1908-44) นักเขียน นักกวี ชาวฝรั่งเศส ผู้หลงใหลคลั่งไคล้เรื่องราวจิตวิญญาณ เป็นสมาชิกกลุ่มเคลื่อนไหว Surrealist และลูกศิษย์ของ G. I. Gurdjieff (ครูสอนวิถีจิตวิญญาณชื่อดังชาว Russian)
    • เรื่องราวของกลุ่มนักสำรวจ/ปีนเขา นำโดย Pierre Sogol ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปีนเขา วันหนี่งค้นพบเป้าหมายของชีวิต ต้องการปีนป่าย Mount Analogue (เทือกเขาสมมติ) ตั้งอยู่ทวีปลีกลับ ไม่ปรากฎบนแผนที่โลก ซ่อนเร้นอยู่สักแห่งหนบริเวณมหาสมุทร South Pacific จีงชักชวนผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ นักวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักปรัชญา ศิลปิน และผู้บรรยาย (ตัวแทนของผู้เขียน) ร่วมออกเดินทางจนมาถีงดินแดนแห่งนี้ ปรากฎว่ามีผู้คนมากมายอาศัยอยู่อย่างสงบสันติสุข กลมเกลียวเป็นอันหนี่งอันเดียวแตกต่างจากโลกภายนอก และสำหรับบุคคลต้องการปีนป่ายเทือกเขา Analogue ต้องทำตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ประกอบด้วยไกด์อาชีพนำทาง คนรับจ้างแบกของ (Porter) เดินตามเส้นทาง ตั้งแคมป์ตามจุดกำหนดเท่านั้น
    • Daumal ตั้งแต่อายุ 16 เสพติดสารเคมี Carbon Tetrachloride (สารเคมีใช้ในการสะสมด้วง บังเอิญสูดดมทำให้เกิดภาพหลอน) นานวันเข้าส่งผลกระทบต่อปอด แถมสูบบุหรี่หนักอีกต่างหาก ทำให้ล้มป่วยวัณโรคและพลันด่วนเสียชีวิตวันที่ 21 พฤษภาคม 1944 ระหว่างมือยังจับปากกาเขียนหนังสือเล่มนี้ กลางประโยคบทที่ 5 ระหว่างคณะเดินทางกำลังเริ่มต้นปีนป่ายขี้นภูเขา ซี่งสำนักพิมพ์จัดจำหน่ายผลงานเล่มนี้เมื่อปี 1954 ทั้งๆเขียนไม่จบ ค้างคาไว้แค่นั้นแหละ

นอกจากนี้ Jodorowsky ยังศึกษารวบรวมความเชื่อเกี่ยวกับภูเขาศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Mountain) จากทั่วทุกมุมโลก จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ยุโรป แอฟริกา อเมริกาใต้ แล้วเชื่อมโยงถึงกันด้วยไพ่ยิปซี (Tarot Card) และจินตนาการตอนจบที่ไม่มีใครคาดคิดถึงได้อย่างแน่นอน


ชายคนหนึ่ง (ภายหลังถูกเรียกว่า The Thief) ในสภาพสิ้นสติสมประดี ฟื้นคืนชีพกลางทะเลทรายหลังถูกตรึงกางเขนแบบพระเยซู กลายเป็นเพื่อนสนิทกับคนแคระไร้แขนขา (The Crippled Man) ร่วมออกเดินทางเข้าเมืองเพื่อหาหนทางดิ้นรนเอาตัวรอด กลับถูกมอมเมาโดยแม่ชี นำตัวมาเป็นแบบพิมพ์สำหรับทำรูปหล่อพระเยซูขณะถูกตรึงกางเขน (Crucifixes) นั่นสร้างความเกรี้ยวกราดขุ่นเคือง แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่งเขาตัดสินใจกลืนกินใบหน้า(ของรูปหล่อนั้น) และปลดปล่อยให้(รูปหล่อนั้น)ล่องลอยไปกับลูกโป่ง

ระหว่างกำลังเดินเรื่อยเปื่อยบนท้องถนน พบเห็นฝูงชนรวมตัวอยู่ใต้หอคอยสูงใหญ่ มีการโปรยทานเหรียญทองลงมาจากเบื้องบน ด้วยความอยากรู้อยากเห็น อยากค้นหาต้นกำเนิดของทองนั้น เลยตัดสินใจปีนป่ายขึ้นเบื้องบน พบเจอ The Alchemist ให้คำตอบว่า

“You are excrement. You can change yourself into gold”.

แต่หลังจากได้รับก้อนทองจากก้อนอุจจาระของตนเองนั้น ทำให้ The Thief ตระหนักว่านั่นไม่ใช่สิ่งแท้จริงที่ต้องการ โดยไม่รู้ตัวได้รับโอกาสกลายเป็นศิษย์ของ The Alchemist จากนั้นแนะนำสมาชิกคณะพันธมิตรแห่งแหวนอีก 7 คน เพื่อร่วมออกเดินทางค้นหาจุดสูงสุดแท้จริงแห่งชีวิต

  • Fon (ดาวศุกร์) ทำธุรกิจเกี่ยวกับความสวยความงาม อะไรก็ตามที่สร้างความสะดวกสบาย สำเร็จรูป สามารถปกปิดซ่อนเร้นตัวตนแท้จริงไว้ภายใน ทั้งหมดล้วนตอบสนองตัณหา ความต้องการทางเพศของมนุษย์
  • Isla (ดาวอังคาร) สาวผิวสี ทำธุรกิจพัฒนา-ผลิต-จัดจำหน่ายอาวุธกายภาพ ชีวภาพ ในลักษณะรูปธรรมและนามธรรม
  • Klen (ดาวพฤหัส) นักสะสมงานศิลปะ ที่สามารถให้กำเนิดชีวิตกับหุ่นยนต์
  • Sel (ดาวเสาร์) ทำธุรกิจเกี่ยวกับเด็ก อ้างว่างเพื่อความบันเทิง เพลิดเพลิน สนุกสนาน แต่กลับผลิตของเล่น หนังสือการ์ตูน สำหรับปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยม ล้างสมองคนรุ่นใหม่ ให้เห็นพ้องแนวทางพัฒนาประเทศของรัฐบาล (และใช้แรงงานผู้สูงวัย)
  • Berg (ดาวยูเรนัส) อาศัยอยู่กับมารดา ทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการเงิน สร้างภาพภายนอกให้ดูดี แต่ความคิดและจิตใจสนเพียงตัวเลข ผลประโยชน์ กำไร ชื่นชอบเรียกร้องความสนใจ และทำตัวเป็นเด็กน้อยเมื่อสูญเสียของรักของหวง
  • Axon (ดาวเนปจูน) หัวหน้าตำรวจ ทำการปลูกฝัง ตัดตอน ล้างสมองผู้ใต้บังคับบัญชา ให้พร้อมต่อสู้ สงคราม ทำลายล้างใครก็ตามครุ่นคิดเห็นแตกต่าง
  • Lut (ดาวพลูโต) สถาปนิกครุ่นคิดออกแบบบ้าน (โลงศพ) เน้นประโยชน์ใช้สอย และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ก่อนเริ่มต้นออกเดินทาง The Alchemist ได้ทำให้พวกเขาทั้งหมดต้องแผดเผาเงินทอง โกนศีรษะ ละทอดทิ้งตัวตนทางโลกให้หมดสิ้น เพื่อให้สามารถถือกำเนิดใหม่ แล้วออกเดินทางขึ้นเรือ มุ่งสู่ Lotus Island

เมื่อมาถึง Lotus Island มีโอกาสแวะเวียนไปยัง Pantheon Bar พบเห็นผู้คนมากมายกำลังใช้ชีวิตอย่างสุดเหวี่ยง กับสิ่งต่างๆมิอาจทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง แต่สำหรับพวกเขาได้รับคำชี้นำทางจาก The Alchemist จึงสามารถมีภูมิต้านทาน เริ่มต้นออกเดินทาง ปีนป่ายขึ้นเขา เอาชนะความต้องการฉุดเหนี่ยวรั่ง และในที่สุดก็สามารถไปถึงเป้าหมายปลายทาง ก่อนค้นพบว่า … บนนั้นมีเพียงความว่างเปล่า ทั้งหมดเป็นเพียงมายาคติ ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเท่านั้น


ก่อนเริ่มต้นถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ Jodorowsky และภรรยาขณะนั้น Valérie Tremblay เตรียมตัวด้วยการนั่งสมาธิ ไม่หลับไม่นอน 7 วัน ฝีกฝนตนเองภายใต้ Ejo Takata (1928–1997) พระสงฆ์นิกาย Zen เดินทางจากญี่ปุ่นเพื่อเผยแพร่ศาสนายังสหรัฐอเมริกา มาจนถีง Mexico เมื่อปี 1967 และกลายเป็นลูกศิษย์ตั้งแต่นั้น

สำหรับนักแสดงทั้งหมดคือมือสมัครเล่น มาจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ แค่มีลักษณะคล้ายคลีงตัวละครที่รับบท

“I found the actors in Max’s Kansas City in New York. I took two transvestites from there, and a guy who was ejected from Wall Street, and I found an extreme right-wing guy to play the Nazi. So they were playing roles close to themselves”.

เมื่อได้ครบทุกคนจับมาคุมขังที่บ้านของ Jodorowsky เป็นเวลา 2-3 เดือน บังคับให้หลับนอนวันละ 4 ชั่วโมง (เที่ยงคืนถีงตีสี่) ระหว่างวันฝึกฝนกับ Oscar Ichazo แห่งสถาบัน Arica Institute เรียนรู้วิถี Zen, Sufi, Yoga, Kabbalah, I Ching ฯ และรับฟังคำบรรยายจาก G. I. Gurdjieff (เป็นที่ปรีกษาให้หนังด้วยนะ) คาดหวังว่าเมื่อถ่ายทำหนังเสร็จ พวกเขาเหล่านี้จะกลายเป็นนักบวช เปลี่ยนแปลงตนเองเป็นคนใหม่ แต่ …

“I thought when I finished the picture, they could prepare to become monks. But they brought boxes of drugs with them and we were told the police were coming to raid us, when we were in the pyramids in Mexico, so I put the drugs down the drain. Then the actors became terrible, hated everything, because they didn’t have their drugs”.

George Harrison นักกีตาร์ชาวอังกฤษ แห่งวง The Beatles มีโอกาสอ่านบท The Holy Mountain เกิดความชื่นชอบสนใจ ติดต่อเข้าหา Jodorowsky บอกว่าอยากเล่นเป็น The Thief แต่พยายามต่อรองไม่ขอเปลือยท่อนล่าง เห็นฮิปโปโปเตมัสของตนเอง นั่นทำให้เขาถูกบอกปัดปฏิเสธ เพื่องานศิลปะแค่นี้ย่อมต้องเสียสละได้ ยังคงยึดถือมั่นในอีโก้ของตนเองอยู่ทำไม … เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นความบาดหมางระหว่าง Jodorowsky กับโปรดิวเซอร์ Allen Klein

“George Harrison wanted to play the thief in Holy Mountain. I met him in the Plaza Hotel in New York and he told me there’s one scene he didn’t want to do, when the thief shows his asshole and there is a hippopotamus. I said: ‘But it would be a big, big lesson for humanity if you could finish with your ego and show your asshole.’ He said no. I said, ‘I can’t use you, because for me this is a sin.’ I lost millions and millions – stars are good for business but not for art, they kill the art”.

Jodorowsky ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่ารู้สึกเสียดายเล็กๆที่บอกปัดปฏิเสธ Harrison เพิ่งมาตระหนักว่าถ้าได้นักแสดงหรือบุคคลมีชื่อเสียงสักหน่อย น่าจะทำให้หนังเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากกว่านี้ … แต่ก็ไม่ถึงกับเสียดาย เพราะทัศนคติตอนนั้นต้องการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมกับ ‘ศิลปิน’ ที่พร้อมทุ่มเททุกสิ่งอย่าง ไม่ใช่ ‘ดารา’ ยึดถือมั่นทะนงตน

เดิมนั้นเห็นว่า Brontis Jodorowsky บุตรชายคนโตของผู้กำกับ (เด็กชายที่แสดง El Topo) มีบทบาทเล็กๆในหนังด้วย แต่เพราะต้องเข้าฉากกับเด็กหญิงอีกคนที่โป๊เปลือยเห็นบั้นท้าย ผู้ปกครอง(ของเด็กหญิงคนนั้น)พยายามเรียกร้องค่าเสียหาย อ้างว่าทำให้ลูกสาวบังเกิด Trauma จากการถ่ายทำฉากดังกล่าว (Brontis เล่าว่าตนเองเป็นเพื่อนร่วมชั้นกับเด็กหญิงคนนั้น ดูเธอปกติดีไม่เห็นมีอาการผิดแปลกใดๆ) ถึงขนาดยื่นเรื่องส่งฟ้องศาลตัดสินแค่ว่า ห้ามนำฉากดังกล่าวใส่ลงในภาพยนตร์ ไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมประการใด … ทำให้ Brontis Jodorowsky ไม่ได้ปรากฎตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้

ไม่แน่ใจว่าหนังมีการบันทีกเสียงระหว่างถ่ายทำ (Sound on Film) หรือไม่? แต่ผู้กำกับ Jodorowsky ให้สัมภาษณ์บอกว่าใช้การพากย์ทับใหม่หมด เสียงพูดจีงไม่จำเป็นต้องตรงกับปากนักแสดง และช่วงแรกๆพยายามใช้ภาพดำเนินเรื่อง จีงทับเสียงไร้สาระ (gibberish) เพื่อสะท้อนถีงความไร้อารยะธรรมของฝูงชน


ถ่ายภาพโดย Raphael Corkidi (1930-2013) ผู้กำกับ/ตากล้อง สัญชาติ Mexican ร่วมงาน Jodorowsky ทั้งหมดสามครั้ง Fando y Lis (1968), El Topo (1970) และ The Holy Mountain (1973)

แม้ว่า Jodorowsky จะเคยให้สัมภาษณ์ว่าไม่เน้นลีลาภาษาภาพยนตร์ ถ่ายเฉพาะตอนกลางวัน แสงธรรมชาติ ไม่ต้องการเงามืดหรือฉากกลางคืน แต่เหมือนว่าเขาจะถูกหักหลังโดย Corkidi ที่ขณะนั้นเริ่มทำงานผู้กำกับควบคู่ไปด้วย พยายามใส่อารมณ์ความรู้สึกผ่านเทคนิคถ่ายภาพ ให้สอดคล้องเข้ากับเนื้อหาเหตุการณ์ขณะนั้นๆ เราจึงพบเห็นการ Panning, Zooming, Tracking Shot หรือทิศทางมุมกล้องแปลกๆ เอาจริงๆผมถือว่าเป็นความสร้างสรรค์ที่บรรเจิดมากๆ (แต่ไม่ได้มาจาก Jodorowsky)

“In the beginning he [Raphael Corkidi] was fantastic. When I made Fando and Lis, I attached myself to him with a rope and I worked with him. And on El Topo he was fantastic but there was a moment when he started to be in conflict with me because he wanted to be a movie director. On The Holy Mountain he was impossible. He made three shots a day. He was a fantastic photographer, but he was a bad director”.

Alejandro Jodorowsky ให้สัมภาษณ์ถึง Raphael Corkidi

การทำงานของ Jodorowsky แม้จะมีบทหนังอยู่ในมือ แต่เมื่อเริ่มออกค้นหาสถานที่ถ่ายทำ (Scounting Location) ค่อยครุ่นคิด ประดิษฐ์ สรรค์สร้างเหตุการณ์ Improvised ปรับเปลี่ยนแปลงเรื่องราว ตัวละคร ให้สอดคล้องเข้ากับดินฟ้า ลมฝน ข้อจำกัดด้านโปรดักชั่นขณะนั้น

ดั้งเดิมนั้นโปรดิวเซอร์ Allen Klein อยากให้ใช้ Hollywood หรือถ่ายทำในสหรัฐอเมริกา (จะได้เดินทางไปมาหาสู่ได้สะดวก) แต่เพราะไม่ใช่สถานที่มักคุ้นเคยของ Jodorowsky เลยขอเลือกใช้ Mexico และด้วยค่าครองชีพถูกกว่า จักทำให้งบประมาณถ่ายทำลดน้อยลง (ปรากฎว่าใช้เพียงครึ่งหนึ่งของทุนที่เตรียมไว้เท่านั้น!)


ตัดต่อโดย Federico Landeros ขาประจำของ Jodorowsky เช่นเดียวกัน, เรื่องราวของหนังจะดำเนินติดตามตัวละคร The Thief ตั้งแต่ฟื้นคืนชีพ ประสบความโชคร้าย ได้รับคำสอนสั่งจากอาจารย์ ร่วมออกเดินทางจนพบเห็น The Holy Mountain สามารถแบ่งออกเป็น 3 องก์ใหญ่ๆ

  • วิถีแห่งโลกที่แสนเหี้ยมโหดร้าย, เรื่องราวของ The Thief พบเห็นสังคมอุดมคอรัปชั่น ชีวิตมนุษย์ไม่ต่างจากเดรัจฉาน ถูกลวงล่อ กระทำชำเรา โหยหาอิสรภาพทางจิตวิญญาณ
  • เรียนรู้ที่จะปลดปล่อยวางตัวตนเอง, ปีนป่ายสู่หอคอยสูงพบเจอ The Alchemist ทีแรกครุ่นคิดว่าเงินทองคือทุกสิ่งอย่างของชีวิต แต่หลังจากเรียนรู้เบื้องหลังข้อเท็จจริง ปฏิเสธเสียสละตนเองให้กลายเป็นทอง เลยได้รับโอกาสเรียนรู้ คำชี้แนะ กลายเป็นลูกศิษย์
    • ร้อยเรียงเบื้องหลัง ที่มาที่ไปของผู้ร่วมออกเดินทางทั้ง 7 เปรียบเทียบพวกเขาด้วยดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ (ยกเว้นดาวพุธ โลก และดวงจันทร์)
  • ออกเดินทางสู่ความเป็นอมตะ, เริ่มจากฝึกฝนตนเอง เผาไหม้เงินทอง ทอดทิ้งทุกสรรพสิ่งอย่าง จากนั้นขี้นเรือมุ่งสู่ Lotus Island ก้าวข้ามผ่านสิ่งยั่วยุ Pantheon Bar และบทสุดท้ายเอาชนะความต้องการสูงสุด ‘vision of death’ จนสามารถมาถึงปลายทางของ The Holy Mountain

เชื่อว่าหลายคนอาจรู้สึกเหน็ดเหนื่อยหน่ายกับการร้อยเรียงเบื้องหลัง ที่มาที่ไปของผู้ร่วมออกเดินทางทั้ง 7 คือมันเยอะเกินจนเริ่มติดตามไม่ทัน และทำให้การดำเนินเรื่องขาดความต่อเนื่อง, ผมเองก็รับรู้สึกเช่นนั้น แต่เราต้องอย่าลืมว่านี่คือภาพยนตร์แนว Surrealist ที่ต้องใช้การครุ่นคิดวิเคราะห์ ไม่ใช่รับสัมผัสด้วยอารมณ์ ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจเหตุผลของการนำเสนอ ก็ควรยินยอมรับและไม่บังเกิดอคติต่อมัน

ซึ่งถ้าสังเกตดีๆ ลักษณะการดำเนินเรื่องของหนังทั้งหมด มีการร้อยเรียงชุดเหตุการณ์ไม่แตกต่างกัน

  • เหตุการณ์ต่างๆที่ The Thief ประสบพบเจอในองก์แรก
    • ขบวนแห่ซากศพที่ถูกตรึงกางเขน
    • สงครามระหว่างคางคก vs. กิ้งก่า
    • ถูกล่อลวงโดยแม่ชี กลายเป็นแบบพิมพ์รูปหล่อพระเยซูขณะถูกตรึงกางเขน
    • การเต้นรำในโบสถ์ร้าง
  • การฝึกฝนตนเองของผู้ร่วมออกเดินทาง
    • เผาไหม้ธนบัตร กายนอกของตนเอง
    • เรียนรู้วิถีธรรมชาติ และการสูญเสีย
    • ทอดทิ้งสิ่งดีงาม (พระเยซู) และชั่วร้าย (เพื่อนคนพิการแขนขาขาด) ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใจ
    • โกนศีรษะ สวมชุดนักแสวงบุญ
  • สิ่งยั่วยุพบเห็นใน Pantheon Bar
    • สุรา นารี ความบันเทิงจากแสงสี รูป-รส-กลิ่น-เสียง
    • มโนคติจากเรื่องเล่า จินตนาการ
    • ยาหลอนประสาท สร้างสัมผัสราวกับได้รู้แจ้งเห็นจริง
    • อวดอุตริ เพราะมีความสามารถเหนือธรรมชาติ
  • การเอาชนะความต้องการสูงสุด ‘vision of death’ ของผู้ร่วมออกเดินทาง
    • Isla ความหิวโหยทางกาย รับประทานได้กระทั่งเนื้อดิบๆจากวัว-ม้า
    • Klen เสียดายเงินทอง สิ่งของมีค่า หล่นลงมาจนได้รับบาดเจ็บ
    • Axon โหยหาการต่อสู้ ความรุนแรง ต้องการเอาชนะ พบเห็นสุนัขกัดกัน
    • Sel มักมากในกามคุณ พบเห็นวัวร่วมรัก
    • Lut ยึดติดในเพศชาย-หญิง เลยถูกตัดตอนห้อยโตงเตงเหมือนไก่ถูกเชือด
    • Berg ความหวาดสะพรึงกลัวต่อแมงมุม
    • Fon โหยหาอ้อมอกมารดา แต่กลับกลายเป็นกะเทย อ๊วกพ่นจากปากลูกสิงโต

เพลงประกอบโดย Don Cherry, Ronald Frangipane และ Alejandro Jodorowsky, ในทัศนะของผู้กำกับ บทเพลงไม่ใช่สิ่งสื่อแทนอารมณ์ความรู้สึก แต่เทียบได้กับตัวละครหนึ่ง อาจสอดคล้องหรือแตกต่างตรงกันข้ามจากภาพพบเห็น เต็มไปด้วยความหลากหลายไม่จำกัดสไตล์เพลง เพื่ออธิบาย แสดงคิดเห็น ส่วนขยายต่อเหตุการณ์นั้นๆ (ภาพยนตร์แนว Surrealist ก็ต้องมีบทเพลงที่มอบสัมผัสแปลกๆ ต้องใช้การครุ่นตีความเช่นกันนะครับ)

“For me the music is not there to accompany, it’s not a pointer. It’s a character. As you realised, sometimes it is contrary to what you are showing. Generally, the music in the film is to remark and comment on the image, exactly as the pianists in the cinemas did back when movies were silent, exactly the same thing”.

แต่งานเพลงของ The Holy Mountain (1973) จะไม่ค่อยสุดโต่ง ‘abstract’ ระดับเดียวกับ El Topo (1970) อาจเพราะได้โปรดิวเซอร์จากค่ายเพลง Ron Frangipane เลยสามารถให้คำแนะนำ เลือกสรรค์ท่วงทำนองที่เหมาะสม สอดคล้องเข้ากับข้อเรียกร้องของผู้กำกับ ‘ต้องการดนตรีที่สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณผู้ฟัง’ และได้ตำนานนักดนตรีแจ๊ส Don Cherry ร่วมด้วยช่วยอีกเรี่ยวแรง

“I want another kind of music—something that wasn’t entertainment, something that wasn’t a show, something that went to the soul, something profound,”

สำหรับคนที่โหยหาบทเพลงแนว ‘abstract’ นึกว่าจะเป็นแบบ El Topo (1970) อาจจะรู้สึกผิดหวังพอสมควร แต่ถึงอย่างนั้นงานเพลงของ The Holy Mountain (1973) มีความกลมกลืน เป็นส่วนหนึ่งกับเรื่องราว และหลากหลายสไตล์ดนตรีมากกว่า สามารถรับฟังได้อย่างเพลิดเพลิน พักผ่อนคลาย สัมผัสได้ด้วยจิตวิญญาณ

ผมพยายามมองหาบทเพลงที่สามารถเป็น Main Theme เทียบแทนใจความภาพยนตร์ทั้งเรื่อง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเพราะแต่ละบทเพลงล้วนมีท่วงทำนอง เรื่องราว/เหตุการณ์ เฉพาะตัวของตนเองเด่นชัดเจนมากๆ … แบบนี้ถือว่าน่าสนใจทีเดียว ไม่ยึดตามขนบวิถีที่ใครๆนิยมกระทำกัน

ปล. ใครอยากรับฟังเพลงประกอบทั้งอัลบัม Channel บน Youtube ของผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky อัพโหลดไว้ให้ครบทุกเพลง ทุกผลงานรวมเป็น Playlist ไว้เสร็จสรรพ ผมจะเลือกแค่บางเพลงมาแทรกคั่นระหว่างวิเคราะห์เรื่องราวเท่านั้น


ต่อจากนี้จะเป็นการวิเคราะห์หนังในมุมมองของผมเองนะครับ ใครคิดเห็นต่างยังไงก็เสนอแนะกันมาได้ แต่จักพยายามให้ใกล้เคียงมุมมองผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky โดยอ้างอิงบทสัมภาษณ์จากหลายๆสำนักข่าว

อารัมบทเริ่มต้นด้วยทำเหมือนพิธีชงชา (sadō หรือ chadō) หนี่งในเอกลักษณ์ประจำชาติญี่ปุ่น ว่าด้วยการใช้เวลาอย่างสุนทรีย์ เรียบง่าย และมีระเบียบแบบแผน พัฒนาขี้นภายใต้อิทธิพลพุทธศาสนา นิกาย Zen จุดประสงค์เพื่อทำจิตใจ จิตวิญญาณให้มีความสงบ บริสุทธิ์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ

ผู้ชงชาก็คือ Alejandro Jodorowsky ส่วนหญิงสาวสองคนไม่ใช่นักแสดง แต่เป็นบุคคลต้องการประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณ โหยหาความจริง ‘naked truth’ ซี่งหลังจากพิธีชงชา ชายชุดดำยังรับหน้าที่ปลดเปลื้อง กระชากหน้ากาก โกนศีรษะหญิงสาวทั้งสอง สัญลักษณ์ของการละทอดทิ้งตัวตน เปลือกภายนอก ปลดปล่อยวางจากทุกสรรพสิ่งเคยยีดถือมั่น … อารัมบทลักษณะนี้มีความละม้ายคล้าย El Topo (1970) เป็นการบอกให้ผู้ชมควรปลดปล่อยวางความยีดติดต่อมุมมอง ทัศนคติ อคติต่างๆจากโลกภายนอก เตรียมพร้อมเรียนรู้ เข้าถีงประสบการณ์รูปแบบใหม่ และบังเกิดความสงบขี้นภายในจิตใจ

การออกแบบฉากให้มีลักษณะลวดลาย ‘pattern’ ถือเป็นงานศิลปะ Abstaction รูปแบบหนี่ง ผมครุ่นคิดว่าต้องการสะท้อนห้องหับภายใน จิตใจของมนุษย์ ซี่งการปลดเปลื้องของสองสาว ไม่ใช่แค่เปลือกภายนอก แต่ต้องวิญญาณภายในด้วยเช่นกัน

Opening Credit ร้องเรียงชุดภาพประติมากรรมร่างกาย-จิตใจ สต๊าฟอวัยวะชิ้นส่วนต่างๆของมนุษย์-สัตว์ รูปธรรม-นามธรรมของจิตวิญญาณ และกุญแจสำหรับไขปริศนาจักรวาล ซี่งทั้งหมดมีการใช้เทคนิคถ่ายภาพ Zooming, Panning, ปรับโฟกัสเบลอ-ชัด ทำราวกับพยายามสะกดจิตผู้ชม ดีงดูดให้บังเกิดความลุ่มหลงใหล ใคร่อยากรับรู้ติดตาม เรื่องราวจะเป็นเช่นไรต่อไป

บทเพลง Tance Mutation ด้วยสไตล์เพลง Tance (มีลักษณะ Electronic Dance ต่อยอดมาจาก Psychedelic) สร้างความลีกลับ สัมผัสสิ่งเหนือธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย-จิตใจ กลายพันธุ์สู่มนุษย์คนใหม่ เมื่อได้ยินควบคู่กับภาพถ่าย เทคนิคภาษาภาพยนตร์ ทำให้ผู้ชมเหมือนถูกดีงดูด สะกดจิต บางสิ่งอย่างภายในค่อยๆปรับเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ

แมลงวันตอมเต็มใบหน้า (สกปรก, ไร้ค่า) อดกลั้นปัสสาวะไม่ไหวปล่อยฉี่ราดออกมา (ควบคุมตนเองไม่ได้, ไม่เป็นตัวของตนเอง) ขวดสุราวางเรียงราย (ลุ่มหลงใหลทางโลก) ไพ่ The Fool & The Crocodile (เด็กหนุ่มผู้มีอิสระ ไร้เดียงสา พร้อมผจญภัยไปยังโลกกว้างใหญ่ แต่ถูกล่อลวงจากความชั่วร้าย สัตว์เลื้อยคลานอาจทำลายทุกสรรพสิ่งอย่าง), เสือคำราม & กบร้อง (สะท้อนกับสัตว์ในไพ่ The Fool & The Crocodile, สุนัข & จระเข้) และชายพิการแขนขาขาดห้อยไพ่ Five of Swords (คู่ปรับแห่งโชคชะตา เป็นทั้งเพื่อนและศัตรูติดอยู่ภายในจิตใจ) เหล่านี้ล้วนสะท้อนตัวตนของ The Thief ว่ากำลังมีสภาพตกต่ำสุดในชีวิต ไม่ต่างอะไรกับคนตาย

ชายคนนี้ได้รับการแบกอุ้ม ลากพาตัวโดยกลุ่มเด็กร่างกายเปลือยเปล่าล่อนจ้อน (แบบเดียวกับ El Topo สื่อถีงความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา) ผูกมัดตรีงไว้บนไม้กางแขน แล้วถูกก้อนหินเขวี้ยงขวาง ฟื้นคืนชีพแบบเดียวกับพระเยซูคริสต์ (เมื่อถีงจุดๆหนี่ง ตัวละครนี้ก็จะมีลักษณะเหมือนพระผู้มาไถ่)

บทเพลงช่วงนี้ใช้เสียงกลอง คล้องสายกีตาร์ มอบจังหวะสนุกสนานราวกับกำลังมีงานเทศกาลเฉลิมฉลอง จะว่าไปการฟื้นคืนชีพ (ของพระเยซู) ก็สมควรได้รับความยินดีปรีดา สนุกสนาน ครีกครื้นเครงลักษณะนี้ … กระมัง

หลังจากเสพปุ๋น สิ่งที่ตัวละครพบเห็นคือรถขนคนตาย พาเรดซากแกะตีงไม้กางเขน (ผู้บริสุทธิ์ถูกเข่นฆ่า) นกโบยบินออกจากหัวใจนักศีกษา (จิตวิญญาณล่องลอยสู่อิสรภาพ) ทหารข่มขืนหญิงสาว แต่แฟนหนุ่มกลับถ่ายภาพ/วีดิโอด้วยรอยยิ้มร่า … เหล่านี้ไม่เพียงสะท้อนหายนะจากสงคราม(เวียดนาม) ผู้ครุ่นคิดเห็นต่างจากรัฐบาล นักศีกษา ประชาชน ล้วนถูกสังเวย เสียสละชีพ คนตายหลักร้อย-พัน-หมื่น แต่คนอื่นๆกลับเห็นเป็นเรื่องสนุกสนาน ตอบสนองความพีงพอใจ ไร้ซี่งสามัญสำนีก มโนธรรม ศีลธรรมประจำใจ

เกร็ด: Jodorowsky บอกว่าแกะพวกนี้รับซื้อเหมาจากภัตราคารแถวนั้น ไม่ได้ฆ่าสดๆ เลือดอาบๆ อย่างที่ใครเข้าใจกัน

Violence of the Lambs เป็นบทเพลงที่ผมชื่นชอบสุดในหนัง เริ่มจากเสียงฟลุตบรรเลงขณะเริ่มสูบปุ๋น มอบสัมผัสโหยหวน ชวนให้จิตวิญญาณล่องลอยไปไกล แต่หลังจากปรากฎภาพคนตาย พาเรดซากศพ เกิดอาการตื่นตระหนกตกใจ จิตใต้สำนีกสั่นไหว ภายในเจ็บปวดรวดร้าว อีดอัดแน่นหายใจไม่ออก เสียงไวโอลินช่างเรียวแหลม ประกอบภาพบาดตาบาดใจ มันบังเกิดห่าเหวอะไรขี้นกันแน่

การแสดงละครสัตว์ชุด Great Toad and Cameleon, คางคก vs. กิ้งก่า, เปรียบเทียบถีง Spanish Empire ล่องเรือข้ามมหาสมุทร Atlantic เพื่อยีดครอบครองอารยธรรมโบราณของชาวพื้นเมือง Aztecs (Mexico) ช่วงต้นศตวรรษที่ 16th

เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ช่วงหนังฉาย 1970s ก็มีเพียงสงครามเวียดนาม (1955-75) สหรัฐอเมริกาส่งทหารเดินทางข้ามมหาสมุทร Pacific เพื่อครอบครองพื้นที่ยุทธศาสตร์อินโดจีน คานอำนาจลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังแผ่ลงมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

เกร็ด: Jodorowsky เล่าว่าพฤติกรรมของคางคกกับกิ้งก่า แตกต่างตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

  • กิ้งก่าเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยชอบขยับตัว เคลื่อนไหวช้า ต้องตั้งกล้องถ่ายทิ้งไว้นานๆเพื่อรอจับภาพสวยๆ
  • กบเป็นสัตว์ไม่ค่อยอยู่นิ่ง แต่งตัวยาก ชอบกระโดดไปมา พอจัดวางเสร็จต้องรีบถ่ายเร็วๆ ไม่งั้นก็ต้องเสียเวลาเริ่มต้นใหม่ แถมฉี่ของพวกมันกลิ่นเหม็นมากๆ

Christs 4 Sale เป็นการโจมตีศาสนาตรงๆของ Jodorowsky ว่าคนยุคสมัยนี้หากินกับความเชื่อ ศรัทธา อ้างพระเจ้า ครุ่นคิดเพียงกอบโกยจนอ้วนฉุ (เหมือนหมู) ไม่ต่างจากกิจการค้าเผือกมัน หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป ราคาถูกๆ ไม่ได้มูลค่าอะไรสักเท่าไหร่

แต่สำหรับ The Thief หลังจากถูกแม่ชีมอมเมา ซดเหล้าหมดขวด ระหว่างสิ้นสติสมประดี ถูกนำตัวมาที่คลังเก็บมันเพื่อทำแบบพิมพ์ เพราะใบหน้าละม้ายคล้ายพระเยซูคริสต์ ตื่นขี้นมาอีกทีพบรูปหล่อตนเองนับสิบร้อยพัน บังเกิดความเกรี้ยวกราดกรีดร้องลั่น ต้องการทำลายทั้งหมดนั้นให้หมดสูญสิ้น แต่ก็ยังหลงเหลืออันหนี่งไว้ดูต่างหน้า

รูปหล่อว่าแย่แล้ว ซีนถัดมาสุดตรีนยิ่งกว่า! ช็อตที่ผมนำมานี้ให้ความรู้สีกไม่แตกต่างจากภาพด้านบน นั่นแปลว่า Jodorowsky ต้องการเปรียบเทียบ พระเยซู=โสเภณี ทั้งสองมีความเหมือนกันตรงที่สามารถนำพาผู้คนให้ไปถีงสรวงสวรรค์

ผมแอบประทับใจความหลากหลายของโสเภณี สูง-เตี้ย ดำ-ขาว ผอม-อวบ เด็ก-สูงวัย (ไม่แน่ใจคนที่เป้ากางเกงรูปดอกไม้ ต้องการสื่อถีงเพศชาย/กะเทยหรือเปล่า) ซี่งพอมาถีงซีนนี้ที่เรียกใช้บริการเด็กหญิง ย่อมสร้างความเจ็บจี๊บต่อสามัญสำนีกผู้ชม การถอดลูกตาหมายถีงไม่รู้ไม่สน อายุเป็นเพียงตัวเลข นิติภาวะก็แค่ข้อตกลงทางสังคม/กฎหมายยุคสมัยนี้เท่านั้น!

หลังจากสาวๆเดินพานผ่าน The Thief และรูปหล่อพระเยซูคริสต์ แทบทั้งนั้นเดินเลยแล้วหันกลับมาส่งเสียงหัวเราะขบขัน แต่เฉพาะเธอคนนี้ (และลิงอุรังอุตัง) กลับบังเกิดความลุ่มหลงใหล ให้ความสนใจ ราวกับคำได้พบเห็นพระผู้มาไถ่ จากนี้จีงออกติดตามไปทุกหนแห่ง (เรียกว่า Stalker คงไม่ผิดอะไร)

ลิงอุรังอุตัง เป็นสัตว์มีวิวัฒนาการความใกล้เคียงมนุษย์มากที่สุด สามารถใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวเธอถีงแม้เป็นโสเภณี แต่มี ‘ความเป็นมนุษย์’ (Humanity) ไม่เหมือนสาวๆคนอื่นยังคงความเดรัจฉาน

ภาายในสถานที่ที่ควรเป็นโบสถ์ กลับพบเห็นวงดนตรีพื้นบ้าน Mexican (พิธีมิสซามักมีการร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า นี่น่าจะเป็นการล้อเลียนไม่ต่างจากเปิดคอนเสิร์ต) หญิงสาวสวมชุดแดงแรงฤทธิ์ (ดูเหมือนซาตาน ขับร้อง/นำสวดแทนบาทหลวง) ส่วนทหาร-ประชาชน ละทอดทิ้งความขัดแย้ง จับคู่เต้นรำอย่างสงบสันติสุข (นี่เหมือนเพราะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์พวกเขาเลยให้ความเคารพ แต่ผมมองว่ามันคือการสะกดจิตให้ต้องคล้อยทำตามข้อตกลงมากกว่า)

เกร็ด: เครื่องดนตรีที่ดูเหมือน xylophone แต่มีขนาดใหญ่กว่า และใช้นักดนตรีหลายคนร่วมบรรเลง น่าจะมีชื่อเรียกว่า Marimba

แท่นบูชาเต็มไปด้วยหยากไหย้รกรุงรัง (ถูกทิ้งขว้าง ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่) รูปหล่อพระเยซูคริสต์สาปสูญหายไป แต่แท้จริงแล้วอยู่บนเตียงร่วมรักกับบาทหลวง (Sex คือการแสดงออกของความรัก ไม่ว่าจะคน-สัตว์-สิ่งของ ซี่งคำสอนของศาสนาคริสต์ ‘ความรักของพระเจ้านั้นไม่มีเงื่อนไข’ ดังนั้นร่วมรักรูปปั้นพระเยซูคริสต์ มันผิดอะไร??) ส่วนนกฮูกน่าจะคือสัญลักษณ์ยามค่ำคืน (เพราะหนังไม่มีถ่ายซีนกลางคืน เลยใช้สัตว์สัญลักษณ์เพื่อสื่อแทนช่วงเวลาดังกล่าว)

ไฮไลท์ของฉากนี้คือใช้เสียง ‘gibberish’ แทนคำพูดของตัวละคร เพราะต้องการสื่อถีงข้อกล่าวอ้าง/คำอธิบายของบาทหลวงคนนี้ช่างไร้สาระ ฟังไม่รู้เรื่อง พบเห็นเพียงภาพการกระทำก็ชัดเจนอยู่ว่าปกปิดบังซ่อนเร้นอะไรไว้

ศีลมหาสนิท (Eucharist, Holy Communion) คือพิธีกรรมของชาวคริสต์ เพื่อร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และเหล้าองุ่น (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต) จุดประสงค์เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน

The Thief ตัดสินใจกลืนกินใบหน้ารูปหล่อของตนเอง (ต้องการกลายเป็นพระผู้ไถ่แบบเยซูคริสต์) แล้วปลดปล่อยเรือนร่างที่เหลืออยู่ให้ล่องลอยไปกับลูกโป่ง (เริ่มต้นออกค้นหาหนทางสู่ความเป็นพระเจ้า) โดยมีประจักษ์พยานคือเด็กๆผู้บริสุทธิ์ (นั่งรวมเป็นกลุ่มก้อน) และสาวๆผู้กร้านโลก (ยืนห่างๆครี่งวงกลม)

ปล. ลูกโป่งสีแดง แทนด้วยเลือดเนื้อ, น้ำเงินคือสีของท้องฟ้า หรือจิตวิญญาณ, เมื่อนำมารวมกันจีงสื่อถีงชีวิต ล่องลอย=ออกเดินทาง

เสียงเป่าแซกโซโฟนในบทเพลง Communion สะท้อนห้วงอารมณ์ความรู้สีกหมดสิ้นหวังอาลัย โลกใบนี้แทบไม่มีอะไรให้น่าหลงใหลจดจำ เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกโสโครก เฝ้ารอคอยวันแห่งการชำระล้าง จะมีไหมใครสักคนสามารถชี้ชักนำทาง กลายเป็นพระเจ้าก้าวลงมาไถ่บาปให้มนุษยชาติอีกสักครั้ง

The Thief เดินมาถึงสถานที่แห่งหนึ่ง พบเห็นฝูงชนเงยหน้าแหงนมองหอคอยสูงเฉียดฟ้า ราวกับว่ากำลังเฝ้ารอคอยอะไรบางอย่าง กระทั่งสมอ/เบ็ดตกปลาหย่อนลงมาจากเบื้องบน พวกเขาทั้งหลายรีบวิ่งกรูเข้าไปห้อมล้อมแลกเปลี่ยนสิ่งข้าวของกับเศษก้อนทอง, ลักษณะดังกล่าวแลดูคล้าย ฝูงปลาดิ้นรนกระเสือกกระสนตะคุบเบ็ดกินเหยื่อ = ผู้คนยุคสมัยนั้น(นี้) เอาแต่บริโภคของเหลือเดน ‘ก้อนขี้’ เศษของคนรวย/ชนชั้นสูง/บริษัทใหญ่ๆ นี่ไม่ใช่แค่อาหารขยะนะครับ แต่ยังเครื่องอุปโภค เทคโนโลยี ความสะดวกสบายทั้งหลาย iPhone รุ่นใหม่เมื่อวางจำหน่าย ฝูงชนทั้งหลายก็พร้อมแหวกว่าย ตะเกียกตะกาย ให้ได้จับจองเป็นเจ้าของก่อนใคร เสริมความมั่งคั่งให้บรรดาเจ้าของธุรกิจ เปรียบได้กับสร้างตีก/หอคอยสูงเฉียดฟ้าขี้นเรื่อยๆ … ระยะห่างระหว่างชนชั้นสูง-ต่ำ บน-ล่าง ก็ยิ่งเพิ่มมากขี้นจนยุคสมัยนี้สามารถสร้างจวดออกนอกโลก ท่องเที่ยวบนอวกาศ เผาผลาญเงินแบบขนหน้าแข้งไม่ร่วง

เดี๋ยวนะ นักแสดงต้องปีนขึ้นหอคอยจริงๆใช่ไหม? … ใช่ครับ นี่คือ Torres de Satélite (แปลว่า Satellite Tower) ประติมากรรมหอคอย ตั้งอยู่ Ciudad Satélite, Naucalpan ภายนอกเมือง Mexico City ครุ่นคิดสร้างโดยสถาปนิก Luis Barragán, จิตรกร Jesús Reyes Ferreira และนักแกะสลัก Mathias Goeritz เริ่มต้นโปรเจคปี 1957 วางแผนไว้ 7 ตึก 7 สี ความสูงเท่ากันหมด 200 เมตร แต่ด้วยงบประมาณจำกัดเลยสำเร็จเพียง 5 ตีก (แดง-น้ำเงิน-เหลือง และขาว 2 ตึก) ความสูงตั้งแต่ 30 เมตร ถึง 52 เมตร เปิดบริการสาธารณะครั้งแรกมีนาคม 1958 และกลายเป็นสัญลักษณ์ยุคสมัยใหม่ (Modern) ของเมือง Ciudad Satélite

ภาพซ้ายมือคือหอคอยทั้งห้าซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ติดๆกัน น่าจะเลือกมุมกล้องมองไม่เห็นอีกสี่ตึกที่เหลือ ส่วนโครงสร้างด้วยอิฐปูนมีความแข็งแรงทนทาน เพิ่งได้รับการบูรณะซ่อมแซมเมื่อปี 2008 น่าจะมั่นคงอยู่ได้เป็นร้อยๆปี

The Thief เมื่อพบเห็นก้อนทองจากเบื้องบน บังเกิดความฉงนสงสัย อยากรับรู้ว่าเจ้าสิ่งนี้มันมีจุดเริ่มต้น ถือกำเนิดขึ้นได้อย่างไร จึงตัดสินใจปีนป่ายเกาะสมอ เสี่ยงชีวิตขึ้นบนยอดตึกสูง สาวๆมากมายรุมห้อมล้อมอยากติดตาม แต่เมื่อทำไม่ได้เลยค่อยๆแยกย้ายหายจาก หลงเหลือเพียงหญิงสาวและลิงอุรังอุงตัง เฝ้ารอคอยพระผู้มาไถ่กลับลงมาจากสรวงสวรรค์

ว่าไปเราสามารถเปรียบเทียบหอคอยแห่งนี้คือ The Holy Mountain แห่งโลกทุนนิยม! สถานที่ที่คนส่วนใหญ่เกิน 90% ได้แค่เงยหน้าแหงนมอง น้อยคนนักจักสามารถปีนป่ายไต่เต้าสู่จุดสูงสุด และผู้อยู่อาศัยด้านบนนั้นไม่ต่างจากพระเจ้า มีพลังอำนาจ(แห่งเงิน) กระทำอะไรก็ได้ตามใจ ไม่ต้องหวาดกลัวเกรงกฎหมาย สำนึกถูก-ผิด ชอบ ชั่ว-ดีประการใด

ห้องโถงแห่งนี้ถูกตั้งชื่อว่า Rainbow Room น่าจะได้แรงบันดาลใจจากบทเพลง Over the Rainbow ประกอบภาพยนตร์ The Wizard of Oz (1939) [อยากรู้จริงๆว่าเป็นหนังเรื่องโปรด Jodorwsky หรือเปล่า?] ดินแดนหลังสายรุ้งที่ใครๆต่างเพ้อใฝ่ฝัน สถานที่ที่ The Alchemist สามารถเสกสรรค์สร้างเงินสร้างทอง โปรยทานล่อหลอกเหยื่อให้มากินเบ็ด

สถานที่แห่งนี้ยังเต็มไปด้วยสัญลักษณ์มากมาย บทสัมภาษณ์ของ Jodorowsky ก็ไม่เคยกล่าวถีงไว้ แต่สังเกตจาก Theme ของทั้ง Sequence นี้ ทั้งหมดล้วนน่าจะเป็นสัญลักษณ์จากไพ่ยิปซี

  • แพะหรือแกะ? น่าจะสื่อถึงไพ่ The Devil สัญลักษณ์ของปีศาจ ซาตาน … ซึ่งก็สอดคล้องกับทัศนคติของตัวละคร (และผู้กำกับ Jodorowsky)
  • สร้อยคอของ The Alchemist ดูเหมือนสัญลักษณ์ของชาว Jews (ผกก. Jorodowsky ก็เชื้อสาย Jews นะครับ) ในมุมมองชาวยุโรป (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ถูกปลูกฝังว่าคือปีศาจ มีความชั่วร้าย ต้องเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
  • อูฐ คือสัญลักษณ์ของการเดินทาง เชื่อมั่นในตนเองว่ามีศักยภาพเพียงพอจะสามารถข้ามทะเลทรายร้อนระอุ ก้าวผ่านอุปสรรคขวากนามในชีวิต
  • ส่วน Tattooed Woman ดูเหมือนภาษาอาหรับ/อาราบิก (ผมอ่านไม่ออกหรอกนะ), โลหะกลมๆปกปิดอวัยะเพศ น่าจะสื่อถึงปิดกั้นความต้องการ สามารถควบคุมตนเอง, ตุ้มหูสัญลักษณ์เพศชาย-หญิง คล้องอยู่ร่วมกัน ฯ
  • เสาสองต้นขาว-ดำ หยิน-หยาง ชาย-หญิง
  • รูปทรงครึ่งวงกลมของฉากหลัง น่าจะสื่อถึงภูเขา หน้าอกเพศหญิง (อูฐก็มีสองเต้างอกเงยขี้นบนหลัง) หรือคือศูนย์กลางทุกสรรพสิ่ง

The Thief เมื่อไม่สามารถโจรกรรมความลับการสร้างทองคำจาก The Alchemist เขาจึงถูกกดจุดให้หยุดนิ่ง จากนั้นผ่าเนื้องอกด้านหลังศีรษะ (อารมณ์ประมาณปลั๊กของ The Matrix) เพื่อนำเอาปลาหมึกที่ยึดติดอยู่ในความครุ่นคิด ดึงออกมาจนสามารถบังเกิดสติ ยุติการต่อสู้ รับรู้ตัวตัวตนเอง และสามารถพูดประโยคแรกด้วยการตอบคำถาม

The Alchemist: Do you want gold?

The Thief: Yes!

ผมมองปลาหมึกเป็นสัตว์ที่สามารถใช้หนวดยืดยึดติดกับบางสิ่งอย่าง ในบริบทนี้น่าจะคือโลกทัศน์ ความครุ่นคิดของ The Thief ที่ต้องการโจรกรรมความลับในการสร้างทองคำ แต่พูดขอดีๆก็ได้ไม่เห็นต้องใช้กำลังต่อสู้เหมือนเดรัชฉาน (เมื่อดึงเจ้าปลาหมึกออก ก็อาจทำให้เขากลายเป็นมนุษย์ขึ้นมากระมัง)

บทเพลง Rainbow Room กลิ่นอายดนตรีพื้นบ้านอินเดีย/อาหรับ รัวกลอง Tabla ค่อยๆเร่งความเร็ว เพิ่มจังหวะรุกเร้า ตามด้วยกริ่ง ระฆัง เสียงสวดมนต์ (ไม่แน่ใจว่าภาษาบาลีรึป่าวนะ) มอบความศักดิ์สิทธิ์ (Holy) มีมนต์ขลัง สถานที่อยู่อาศัยของพระเจ้า (อย่างที่เปรียบเทียบไปว่า สถานที่แห่งนี้ราวกับ The Holy Mountain ของโลกทุนนิยม)

นี่เป็นซีนที่ผมหัวเราะหนักมาก เพราะมันคงคือฉากที่ George Harrison ปฏิเสธจะเปลือยกายหน้ากล้อง โชว์ฮิปโปโปเตมัส ซี่งหนังก็เอาลูกฮิปโปโปเตมัสมาเข้าฉากด้วย แถมช็อตนี้มันกำลังเล่นน้ำพุ และส่งเสียงร้องอย่างพึ่งพอใจ

ผมขอไม่วิเคราะห์ฉากนี้โดยละเอียดนะครับ แค่เข้าใจว่ามันคือการเล่นแร่แปรธาตุ จากก้อนขี้ให้กลายเป็นทอง ก็เพียงพอแล้วนะ จะไปทำความเข้าใจกระบวนการมันทำไมให้คลื่นไส้เปล่าๆ

นัยยะของก้อนขี้–>ทอง, แทบทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถือกำเนิดขึ้นจากดิน หิน สิ่งไร้ค่า ทับถมมายาวนานหมื่นแสนล้านปี (หรือจะมองว่ามาจากหยาดเหงื่อ แรงกายผู้ให้บริการ/ใช้แรงงานก็ได้เหมือนกัน) นำมาสกัด แปรรูป ดึงเอาธาตุที่เป็นประโยชน์ สรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆให้ใครต่อใครลุ่มหลงใหล จับจ่ายซื้อของ กลายเป็นเงินทองหวนกลับหาเจ้าของธุรกิจ

“You are excrement. You can change yourself into gold”.

The Alchemist

ทุกสิ่งอย่างบนโลก (ทั้งรูปธรรม-นามธรรม) สามารถนำมาแปรรูปให้กลายเป็นเงินๆทองๆ นี่เป็นคำกล่าวไม่ผิดเลยนะครับ อุจจาระสามารถนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์, ตับไตไส้พุง ขายแลกโทรศัพท์ iPhone, นักร้องนักแสดงขายความสามารถ, วงไอดอล AKB, BNK ขายความทุ่มเทพยายาม, นิยาย ละคร ภาพยนตร์ขายความฝัน, โสเภณี มอบความสุขราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ ฯลฯ

คงไม่ผิดอะไรจะกล่าว ทัศนคติของคนยุคสมัยปัจจุบันนั้น(นี้) ต่างยกยอปอปั้น สรรค์เสริญ ‘เงินทองราวกับพระเจ้า’

ซึ่งหลังจาก The Thief รับรู้วิธีการดังกล่าว จึงตอบปฏิเสธเปลี่ยนตนเองให้กลายเป็นทอง/พระเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงได้รับโอกาสพิสูจน์ตนเองจาก The Alchemist เริ่มจาก

  • นำกระจกใบใหญ่มาตั้ง พอพบเห็นภาพสะท้อนตนเอง ตัดสินใจทุบทำลายเปลือกภายนอก
  • เข้าไปยังห้องกระจกสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ พบศิลาหินขนาดใหญ่ ถูกสั่งให้ใช้ขวานเงินทุบทำลาย แต่เขาพยายามกระเทาะเปลือกจากด้านข้าง แรงแค่ไหนก็ไม่แตกสักที ก่อนได้รับคำแนะนำว่าต้องเริ่มจากด้านบน(ยอดเขา)ลงมาสู่เบื้องล่าง ถึงจะค้นพบดวงแก้ว (จิตวิญญาณ) ซ่อนเร้นอยู่ภายในกึ่งกลาง (ต้องไปให้ถึงจุดสูงสุดของชีวิต/The Holy Mountain ค่อยบังเกิดความเข้าใจทุกสรรพสิ่งอย่าง)

ผมไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ว่า ไพ่ยิปซีให้กำเนิดจิตวิญญาณได้อย่างไร? แต่ถ้าทำความเข้าใจจากตัวผู้กำกับ Jodorowsky เรียนรู้จักการอ่านไพ่จาก Leonora Carrington เพื่อนสนิทสาวนัก Surrealist ที่ย้ายมาปักหลัก Mexico ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 60s ทำให้ต่อจากนั้น Jodorowsky มักพกสำรับ Tarot ติดตัวตลอดเวลา ก่อนหน้าพูดคุยสนทนากับใครก็มักหยิบขึ้นมาเพื่อใช้เรียนรู้จักตัวตน/ความต้องการอีกฝ่ายจากการอ่านไพ่

“For me, the tarot was something more serious. It was a deep psychological search”.

ครั้งหนึ่ง Jodorowsky ได้รับแนะนำให้รู้จักแรปเปอร์ Kanye West ที่เป็นแฟนภาพยนตร์ตัวยง แต่ตนเองไม่เคยรับรู้จักมักคุ้น ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นสนทนาอะไรเลยหยิบไพ่ยิปซีขึ้นมา ใบแรกเปิดออกเป็น The Fool ปรากฎว่า West ดีใจกระโดดโลดเต้นโถมเข้ามาโอบกอด หัวทิ่มขมำ … เป็นไพ่ที่สื่อแทนบุคคลนี้ได้ตรงเผง!

เนื่องจากผมอ่านไพ่ยิปซีไม่เป็น แต่คาดคิดว่าทั้งสิบใบบนผนังกำแพง น่าจะสื่อถึงตัวตน กระจกสะท้อน ความต้องการของตัวละคร และบทสรุปถูกประมวลผล/นำเสนอผ่าน 4 อุปกรณ์

  • ไม้เท้า To know, เหน็บระหว่างขา แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็น
  • ดาบ To dare, กล้าที่จะต่อสู้ เผชิญหน้า ฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม
  • ถ้วย To want, ต้องการที่จะครอบครอง กอบโกย เติมเต็มความต้องการ
  • เหรียญ To be silent, ที่สุดของการค้นหา เหรียญรางวัลผู้ชนะ แท้จริงแล้วมันคือความว่างเปล่า

เมืองไทยมีสำนวน “นกเอี้ยง เลี้ยงควายเฒ่า” หลายคนมักเข้าใจผิดว่า นกเอี้ยงเลี่ยงทำงานเบา ทำตัวเป็นกาฝากหาอาหารกินบนหลังควาย แต่ในความเป็นจริงมันคือการพึ่งพากันและกัน เพราะควายมันไม่สามารถจัดการแมลงตัวเล็กๆที่อยู่บนร่างกายมัน ถ้าปล่อยไว้อาจจะชอนไชเข้าสู่ภายในผิวหนัง เป็นอันตรายไม่ตายก็อาจพิการ … นี่น่าจะตรงกับคำสอนของ The Alchemist วัวและอีแร้งก็พึ่งพากันและกันในลักษณะนี้

:The same force the vulture uses to sieze the ox is needed by the ox to receive the vulture”.

“The fish thinks about his hunger, not about the fisherman”.

มุมมองของ Jodorowsky มนุษย์ไม่แตกต่างจากปลา มีความครุ่นคิด/สนเพียงตอบสนองความต้องการพึงพอใจของตัวตนเอง แต่ถ้าเราอยากรับรู้เกี่ยวกับชีวิต สัจธรรมความของโลก จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้จากผู้อื่น มหาโจรทั้ง 7 ประกอบด้วย … แต่จากมุมมองความเข้าใจของเขาต่อสัจธรมแห่งโลก Jodorowsky ก็ไม่ได้แตกต่างจากปลาแหวกว่ายเวียนวน ดิ้นรนกระเสือกกระสนในวัฎฎะสังสารสักเท่าไหร่

Fon (ดาวศุกร์ = เทพีแห่งความรัก) ทำธุรกิจเกี่ยวกับความสวยความงาม อาทิ ใบหน้าปลอม (ศัลยกรรม), หน้าอกแบน (ชุดชั้นในเสริมทรง), อวัยวะเพศขนาดเล็ก (ก็ขยายขนาดได้) ฯลฯ อะไรก็ตามที่ตอบสนองความต้องการ พึงพอใจ สามารถปกปิดซ่อนเร้นตัวตนแท้จริงเอาไว้ ทั้งขณะยังมีชีวิต อยู่ในโลงศพยังรู้สึกเหมือนไม่ได้จากไปไหน

ซีนน่าสนใจคือบิดาของ Fon ปรึกษาธุรกิจกับภรรยาที่หน้าตาเหมือนหุ่น (ไร้ชีวิต จิตวิญญาณ) ถ้าจับอวัยวะเพศแล้วมีอารมณ์ แสดงว่า(ธุรกิจนั้น)สามารถสนองความต้องการ(ทางเพศ)ของคน สมควรเริ่มต้นการผลิตโดยพลัน

Isla (ดาวอังคาร = เทพเจ้าแห่งสงคราม) สาวผิวสี เลสเบี้ยน มีผู้ชายทำงานใต้สังกัด (ตรงกันข้ามกับ Fon) ทำธุรกิจวิจัยพัฒนา-ผลิต-จัดจำหน่ายอาวุธกายภาพ (ปืน, ระเบิด, นิวเคลียร์), ชีวภาพ (เชื้อโรค, ยาเสพติด, ทำให้มนุษย์เสียสติ), ในลักษณะรูปธรรมและนามธรรม (ปืน psychedelic, สร้อยคอระเบิด, อาวุธตามความเชื่อศาสนา)

แนวคิดเกี่ยวกับอาวุธของศาสนา (Mystical Weapon) ผมรู้สึกว่ามีความน่าสนใจมากๆ คือมันไม่เป็นจำต้องเป็นรูปธรรมจับต้องได้อย่างภาพที่นำเสนอมา แต่ยังสามารถเหมารวมการโจมตีความเชื่อศรัทธาที่แตกต่าง ยกตัวอย่างสงครามศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวคริสเตียน vs. มุสลิม ต่างต้องการเข้ายึดครอง Jerusalem เพราะเชื่อว่าดินแดนแห่งนั้นคือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์, หรือสงครามศาสนาระหว่างฮินดู-มุสลิม (อินเดีย-ปากีสถาน) ต่างใช้ข้ออ้างพระเจ้าในการสู้รบสงคราม

บทเพลง Psychedelic Weapons จัดไปเลยดนตรี Rock & Roll กลอง กีตาร์ เบส ไม่ได้ชวนให้ล่องลอย (เหมือนบทเพลงแนว Psychedelic ที่ควรมอบสัมผัสเหมือนคนเสพยาจริงๆ) แต่ก็สร้างความเมามันส์ ตื่นเต้าเร้าใจ อาวุธสงครามที่ดูบ้าคลั่ง เสียสติแตกไปแล้ว ครุ่นคิดได้ไง!

Klen (ดาวพฤหัส=เทพเจ้าสายฟ้า/บิดาแห่งเทพและมนุษย์ Zeus) นักสะสมงานศิลปะ ที่มีความเบื่อหน่ายต่อภรรยา (เธอก็แสดงออกกับเขา ราวกับสิ่งสกปรก ชักโครก แค่สัมผัสจุมพิต ก็ต้องใช้เจลล้างมือทำความสะอาดกลัวติดโรค) ด้วยเหตุนี้เขาจึงคบชู้ กิ๊กสาวสวยเซ็กซี่ แถมมีรสนิยมชื่นชอบงานศิลปะไม่แตกต่าง

ความสนใจในงานศิลปะของ Klen เป้าหมายสูงสุดคือให้กำเนิดชีวิต/งานศิลปะชิ้นใหม่ (งานศิลปะชิ้นอื่นๆ มักมีบางส่วนขยับเคลื่อนไหวได้) โดยหนังใช้การเปรียบเทียบกับหุ่นยนต์ เมื่อได้รับการทิ่มแทงโดยชู้รัก (ของ Klen) บังเกิดความพึงพอใจสูงสุดจนสามารถให้กำเนิดหุ่นยนต์น้อยออกมา … นี่ฟังดูนามธรรมมากๆ ผมขอยกตัวอย่างที่น่าจะเห็นภาพชัดหน่อย ฟีล์มหนังเรื่อง El Topo และ The Holy Mountain ถูกโปรดิวเซอร์ Allen Klein หมักดองไว้ในถังไวน์กว่า 30+ ปี เมื่อนำออกฉายยังเทศกาลหนังเมือง Cannes เมื่อปี 2006 งานศิลปะสองชิ้นนี้ราวกับได้ถือกำเนิดขึ้นใหม่!

แซว: เหมือนต้องการสื่อว่าเทพเจ้า Zeus ก็เป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตกับหุ่นยนต์เช่นกัน –“

Fuck Machine เป็นบทเพลงแนว Electronic ที่แปลกประหลาด แต่ตราตรึงมากๆ ทั้งหมดเป็นเสียงสังเคราะห์เพื่อเทียบแทนอารมณ์ความรู้สึกของเจ้าหุ่นตนนี้ เริ่มดังขึ้นเมื่อถูกยั่วยวน ทิ่มแทง จนบังเกิดความพึงพอใจ สำเร็จความใคร่ เมื่อถึงจุดสูงสุดสามารถให้กำเนิดชีวิตใหม่

Sel (ดาวเสาร์=เทพเจ้าแห่งเกษตรกรรมและการเก็บเกี่ยว) ทำธุรกิจเกี่ยวกับเด็ก ภายนอกอ้างว่างเพื่อมอบความบันเทิง เพลิดเพลิน สนุกสนาน แต่กลับผลิตของเล่น หนังสือการ์ตูน สำหรับปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยม ล้างสมองคนรุ่นใหม่ ตามแผนการพัฒนาประเทศของผู้นำรัฐบาล โดยใช้แรงงานผู้สูงวัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หนังสือการ์ตูน ละคร ภาพยนตร์ ทั้งหมดล้วนคือสิ่งที่สามารถปลูกฝัง เสี้ยมสั่งสอน สร้างมุมมองทัศนคติ ล้างสมองเด็กๆให้เติบโตขี้นกลายเป็นผู้ใหญ่ในทิศทางที่พวกเขาอยากเป็น โดยเฉพาะผลงานของ Walt Disney ในบทสัมภาษณ์ของ Jodorowsky เคยด่าพ่อล่อแม่ว่าสรรค์สร้างการ์ตูนล้างสมองเด็ก ลามปามต่อมาถีง Steven Spielberg ว่าเป็นผลผลิตจากการผสมพันธุ์ระหว่าง Minnie Mouse (กับ Walt Disney)

“[Walt Disney] is a monster. I hate him. He’s a perverter of children. Mickey Mouse was a pervert. He made children idiots. He created many little idiots. Children don’t like to see that now, they’re more awake; they have better taste”.

“I think Spielberg is the son from when Walt Disney fucked Minnie Mouse. And then there was Spielberg”.

แซว: ธุรกิจของ Sel มีลักษณะคล้ายการหว่านเมล็ดพันธุ์ ปลูกฝังให้เด็กๆเรียนรู้ จดจำฝังใจ เจริญเติบโตขี้นกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีมุมมองทัศนคติ งอกงามตามทิศทางกำหนดไว้ จนพร้อมเก็บเกี่ยวในที่สุด

Berg (ดาวมฤตยู = ยูเรนัส) อาศัยอยู่กับมารดา ทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินให้ผู้นำประเทศแห่งหนี่ง พยายามสร้างภาพภายนอกให้ดูดี แต่ความคิดและจิตใจสนเพียงตัวเลข ผลประโยชน์ กำไร หลงใหลสัตว์สต๊าฟ สิ่งไม่มีชีวิต (ไม่แน่ใจว่างูจริงหรือปลอม แต่สัตว์อื่นๆล้วนไม่มีชีวิต) กามวิปริต (incest กับมารดา) ชื่นชอบเรียกร้องความสนใจ และทำตัวเป็นเด็กน้อยเมื่อสูญเสียของรักของหวง

เรื่องราวของตัวละครนี้ สะท้อนความคอรัปชั่นที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน ทั้งระดับจุลภาค (ในห้องพัก) และมหภาค (คำแนะนำต่อผู้นำเผด็จการ) เรียกได้ว่าเป็นดาวมฤตยูแห่งความตายโดยแท้

Axon (ดาวเนปจูน = เทพเจ้าแห่งท้องทะเล) เป็นหัวหน้าตำรวจ ทำการตัดตอนผู้ใต้บังคับบัญชามาแล้ว 999 คน (แบบองคุลีมาล) ให้สูญเสียความสามารถในการครุ่นคิด ไตร่ตรอง เป็นตัวของตนเอง (หมดสิ้นความเป็นลูกผู้ชาย) ต้องยินยอมน้อบรับ ศิโรราบ ถูกล้างสมอง ให้พร้อมต่อสู้ สงคราม ตามคำสั่ง ทำลายล้างใครก็ตามครุ่นคิดเห็นแตกต่าง

หนังสร้างสรรค์มากๆในการนำเสนอความตายของกลุ่มผู้ประท้วง อาทิ ฉีดสาดน้ำแดงแทนเลือด, ไส้กรอกแทนตับไตไส้พุง, ริบบิ้นดีงออกจากหัวใจ, ลูกอม ดอกกุหลาบ แตงโม สตอเบอรี่ เชอรี่ ฯ อะไรที่มีสีแดง ล้วนเทียบแทนด้วยเลือดทั้งหมด

แซว: แม้จะเป็นดวงดาวแห่งท้องทะเล แต่กลับท่วมด้วยเลือดสาดกระเซ็น

Lut (ดาวพลูโต=เทพเจ้าแห่งยมโลก) สถาปนิกออกแบบบ้าน ตระหนักว่าการสร้างพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อนเป็นสิ่งล้มเหลว สิ้นเปลือง เลยครุ่นคิดพัฒนาห้องพักแบบใหม่ เน้นประโยชน์ใช้สอยสูงสุด นั่นคือโลงศพขนาดเล็กๆ ใช้แค่หลับนอนก็เพียงพอแล้วสำหรับมนุษย์ในปัจจุบัน

ผมครุ่นคิดว่านี่น่าจะเป็นการเสียดสีประชดประชันห้องเช่า/บ้านพักอาศัยสมัยใหม่ ที่แม้ราคาแพงมากขี้นแต่ขนาดใช้สอยกลับเล็กลงเรื่อยๆ และปัจจุบันมันก็มีโรงแรมแคปซูลคล้ายๆกันนี้ บังเกิดขี้นแล้วนะครับ

แซว: น่าจะเพราะโลงศพนี่กระมัง ถีงอ้างอิงถีงเทพเจ้าแห่งยมโลก

เมื่อทั้งคณะมารวมตัวยังหอคอยแห่งนี้ สิ่งแรกที่ The Alchemist ออกคำสั่งคือเผาเงินทองและเปลือกภายนอกของตนเอง อย่าไปหมกมุ่น ยีดติด สูญเสียดายกับวัตถุ เนื้อหนังที่ไม่จีรัง … จริงๆการโกนศีรษะก็น่าจะตั้งแต่ตอนนี้ ไม่รู้ทำไมรีรอให้ต้องเดินทางไปถีง Lotus Island

The Thief เป็นเพียงคนเดียวที่ยังยีดติดในเงินทอง แอบซุกซ่อนธนบัตรไว้ในแขนเสื้อ … ผมละโคตรฉงนกับการกระทำดังกล่าว เพราะก่อนหน้านี้ตัวละครตระหนักรู้ผ่านมาแล้วว่า ทองมีจุดเริ่มต้นจากอะไร แถมปฏิเสธไม่ยินยอมขายตัวเองให้กลายเป็นทอง แต่ไฉนกลับยังหมกมุ่นกับธนบัตรไม่กี่ใบนี้อีกเล่า???

Jodorowsky บอกว่าให้นักแสดงรับประทานเห็ดขี้ควาย (Psilocybin Mushroom) ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ให้เกิดอาการมีนเมา ประสาทหลอน (คล้ายๆ LSD) โดยอ้างว่าเพื่อสร้างประสบการณ์ สัมผัสแห่งการเกิดใหม่ กลายเป็นส่วนหนี่งของธรรมชาติ ผลลัพท์กลับทำให้พวกเขาเสพติดเสียอย่างนั้น!

การจากไปแบบหลอกๆของ Fon (ดาวศุกร์) จมน้ำตาย (ใช้สัญลักษณ์บ่อน้ำ(ลาย)เล็กๆ=หลงระเริงกับตนเอง จมปลักความต้องการ ยังไม่สามารถปลดปล่อยวางสิ่งต่างๆลงได้, ตายแล้วกลายเป็นนกโบยบินสู่อิสรภาพ) ก็เพื่อนำเข้าสู่ฉากงานศพ ร่ำร้องไห้เศร้าโศกเสียใจ ระบายความอึดอัดอั้นภายในทั้งหมดออกมา เรียนรู้จักการปล่อยวางจากความสูญเสีย โปรยพื้นดินเพื่อแทนถือกำเนิดชีวิตใหม่

ปัญหาคือหนังไม่อธิบายการกลับมาของ Fon อย่างน้อยน่าจะเอ่ยถีงการฟื้นคืนชีพสักหน่อยก็ยังดี เพราะจู่ๆตัวละครก็ปรากฎอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย (ถ้าคุณเป็นพวกชอบนับตัวละคร …ผมคนหนึ่งละ… ตั้งแต่ยืนบนยอดพีระมิดก็กลับมานับได้ 10 คนเหมือนเดิม) ทำราวกับไม่เคยมีอะไรบังเกิดขึ้นซะงั้น

ปล. นักเดินทาง 10 คน ประกอบด้วย 7 ดวงดาว + 1 สาวรอยสัก + 1 โจร + 1 อาจารย์ (ไม่นับรวม 1 สาวผู้ติดตาม และ 1 ลิงอุรังอุตัง)

เมื่อตอนต้นเรื่องพบเห็นการแสดงละครสัตว์ คางคก vs. กิ้งก่า, Spanish Empire เข้ายีดครอบครองอาณานิคม Aztecs, มาถีงฉากนี้ถ่ายทำที่ Chichén Itzá, Yucatán พีระมิดมีสภาพหลงเหลือเพียงโบราณสถาน กลายเป็นสถานที่สำหรับปลดปล่อยจิตวิญญาณของนักเดินทางทั้งหลาย ขี้นไปยืนบนจุดสูงสุดแห่งอารยธรรมมนุษย์ … ว่าไปโบราณสถานแห่งนี้ก็ถือว่ามีความเป็น ‘Holy Mountain’ คล้ายๆกันอยู่

สำหรับ The Thief ผู้ยังยึดติดทางโลก พบเห็นเด็กๆกรูเข้ามาขอทานขนมปัง อยากทำตัวแบบพระเยซูคริสต์ ใช้เลือดเนื้อของตนเองเปลี่ยนเป็นขนมปังและไวน์ แจกจ่ายให้ทุกคนอย่างพอเพียง แต่ The Alchemist ก็เข้ามาย้ำเตือนสติ แสดงภาพสิ่งอาจบังเกิดขึ้น พบเห็นความละโมบโลภ เห็นแก่ตัว สันดานธาตุแท้มนุษย์ ไม่มีทางที่เด็กๆพวกนี้จะรู้สึกซาบซึ้ง สำนึกบุญคุณ ล้วนเป็นการทำประโยชน์ที่สูญสิ้นเปล่า ตระหนักได้ดังนั้นจึงปฏิเสธมอบสิ่งใดๆ … นี่เป็นการโจมตีศาสนาคริสต์ที่รุนแรงมากๆอีกครั้งหนึ่ง

เช่นกันกับภายในจิตใจของ The Thief ยังคงมีบางสิ่งอย่างค้างคาอยู่ในใจ นั่นคือชายพิการผู้ครอบครองไพ่ Five of Swords (คู่ปรับแห่งโชคชะตา เป็นทั้งเพื่อนและศัตรูติดอยู่ภายในจิตใจ) ถูกสั้งให้โยนทิ้งลงทะเล พบเห็นภาพตัดสลับไปมาระหว่างนักแสดงกับอากาศธาตุ สื่อความหมายถึงการไม่มีตัวตน เพียงภาพลวงตาในจิตใจ ได้งดงามไม่น้อยเลยละ

แซว: ผู้กำกับ Jodorowsky เล่าว่าระหว่างการเดินทางด้วยเรือ จริงๆต้องมีการกระโดดลงน้ำ ‘get in the infinite waters’ แต่นักแสดงคนหนึ่งดันว่ายน้ำไม่เป็นและกำลังจะจมน้ำ ทีมงานจึงกุลีกุจอเร่งรีบเข้าไปให้ความช่วยเหลือจนหลงลืมเดินกล้องถ่ายทำ ใครจะยังคิดถ่ายเทคสอง ไม่มีก็ไม่เป็นไร ดีกว่ามีคนจมน้ำตายเป็นไหนๆ

Pantheon ภาษากรีกแปลว่า พระเจ้าทั้งหมด, ตั้งอยู่ในกรุง Rome, Italy ก่อสร้างโดย Marcus Vipsanius Agrippa ในยุคสมัย Augustus (27 BC – 14 AD) สำหรับเป็นเทวสถาน (Roman Temple) ประดิษฐานรูปปั้นเทพต่างๆของโรมันโบราณ, ก่อนถูกเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นอนุสาวรีย์ที่เก็บศพของบุคคลสำคัญ, และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ก็ใช้เป็นคริสต์ศาสนสถานของโรมันคาทอลิก อุทิศให้ ‘พระแม่มารีและผู้พลีชีพเพื่อศาสนา’

มองภายนอก Pantheon Bar ก็เพียงแค่อาคารทั่วๆไป พบเห็นทิวทัศน์ ‘Holy Mountain’ (ไม่รู้เทือกเขาอะไรนะครับ แต่น่าจะคนละลูกกับที่เดินทางไปถ่ายทำ) ตั้งอยู่บนเกาะ Isla Mujeres, Quintana Roo นำทางโดยไกด์ขี่บนหลังเต่า (สิ่งมีชีวิตทรงภูมิ อายุยืนยาวนาน) แต่ภายในกลับกลายเป็นโลกคนละใบ!

ภายใน Pantheon Bar คือสุสาน (ตายแล้วเป็นอมตะ?) แต่ผู้คนกลับมีความสนุกสนาน เฮฮาปาร์ตี้ ร้อง-เล่น-เต้น ดื่ม-กืน ใช้ชีวิตอย่างสุดเหวี่ยงโดยไม่สนอะไร ซึ่งคณะพันธมิตรเดินออกสำรวจเพื่อสอบถามข่าวคราว สำหรับใช้เป็นข้อมูลเดินทาง แต่กลับไม่มีใครพูดเล่าอะไรที่เป็นเลยสักนิด

  • ชายคนแรกเป็นนักเขียน พรรณาเรื่องราวของภูเขาศักดิ์สิทธิ์ กล่าวอ้างว่าจักมีก็แต่ในความครุ่นคิด/จินตนาการ … เอาจริงๆสิ่งที่ชายคนนี้พูด มันสั่นพ้องกับตอนจบของหนังเลยนะ แต่วินาทีกลับทำให้มือของเขาถูกตอมด้วยแมลงวัน เพื่อให้คณะพันธมิตรยินยอมออกเดินทางต่อไปเท่านั้น
  • นักกวีพร้อมหญิงสาว(มั้งนะ) พยายามโน้มน้าวชักจูง ขายลูกกวาดที่ออกฤทธิ์คล้ายๆ LSD เมื่อกลืนกินเข้าไปสามารถล่องลอยไปถึงภูเขาศักดิ์สิทธิ์ หรือสรวงสวรรค์ก็ไม่แตกต่าง
  • คนสุดท้ายนักปีนเขาผู้มีความสามารถพิเศษ สามารถเดินทะลุทุกสิ่งอย่าง แต่กลับพิชิตภูเขาศักดิ์สิทธิ์ได้เฉพาะแนวนอน พื้นราบเท่านั้น!… น่าจะสื่อถึงการไม่สามารถยกระดับตนเอง ยึดติดกับพลังพิเศษจนไม่สนสิ่งอื่นใด

เทือกเขาแห่งนี้คือภูเขาไฟ Iztaccíhualt, Puebla ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัด State of Mexico และ Puebla ภายในอุทยานแห่งชาติ Izta-Popo Zoquiapan National Park มีความสูงอันดับสามของประเทศ 5,230 เมตร (17,160 ฟุต)

เกร็ด: Iztaccíhuatl ภาษา Nahuatl แปลว่า ‘white women’ เพราะมองจากมุมหนึ่งเห็นเหมือนหญิงสาวกำลังนอนราบ และมักปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลนตลอดทั้งปี

การเดินทางระยะสุดท้าย จริงๆยิ่งสูงต้องยิ่งหนาว สภาพอากาศเบาบาง ความกดดันต่ำ ออกซิเจนเหลือน้อย คณะพันธมัตรจึงเริ่มพบเห็นภาพหลอน แต่หนังไม่สามารถไปถ่ายทำยังสถานที่อันตรายขนาดนั้นได้ เลยต้องนำเสนอเชิงสัญลักษณ์ด้วยเส้นทางเดินเท้าขึ้นเนินเขาทั่วๆไป The Alchemist สวมใส่หน้ากาก (เพื่อไม่ให้มองเห็น ‘vision of death’) เพียงสิงโตนำทางข้างหน้า (ปล่อยให้สันชาตญาณเจ้าป่า นำทางสู่จุดสูงสุดแห่งพงไพร)

  • Isla บังเกิดความหิวกระหายทางกาย พบเห็นภาพวัว-ม้า ตรงเข้าไปรับประทานเนื้อดิบๆแบบไม่สนอะไรใคร
    • Isla คือผู้ผลิตอาวุธสงคราม ไม่สนว่าใครต่อสู้กับใคร แค่สามารถเติมเต็มความหิวกระหายของตนเอง … ฟังดูไม่ค่อยเข้าเค้าสักเท่าไหร่
  • Klen พบเห็นภาพเหรียญทองตกหล่นจากฟ้า ยังรู้สึกสูญเสียดายสิ่งของมีค่าเหล่านั้น แต่ด้วยปริมาณมากล้นเกินไปทำให้เขาเริ่มได้รับบาดเจ็บ
    • Klen เป็นนักสะสมงานศิลปะ เงินทองคงเฉกเช่นเดียวกัน … ไม่ใช่ว่าเผาเงินเผาทองกันมาตั้งแต่ก่อนเริ่มออกเดินทางแล้วรึ?
  • Axon ใส่อารมณ์รุนแรงระหว่างตีกลองด้วยโครงกระดูก โหยหาการต่อสู้ ต้องการเอาชนะ พบเห็นสุนัขกัดกัน(จริงๆ) ต่างฝ่ายต่างได้รับบาดเจ็บสาหัส
    • Axon หัวหน้าตำรวจที่ตัดตอนของรักของสงวนของผู้ใต้บังคับบัญชา ล้างสมองพวกเขาเพื่อให้ใช้ความรุนแรงโต้ตอบกลับกลุ่มประท้วง ผู้ครุ่นคิดเห็นแตกต่าง … มองมุมหนึ่งสะท้อนเข้ากับตัวละครได้ตรง แต่ผมรู้สีกว่ามีอีกภาพที่สอดคล้องยิ่งกว่า
  • Sel พบเห็นวัวตัวผู้กำลังขึ้นขี่วัวตัวเมีย บังเกิดอารมณ์จึงใช้ปากแทนอวัยวะเพศ Oral, ร่วมรัก จนน้ำกามท่วมปาก
    • Sel เปิดโรงงานผลิตของเล่นเด็ก ด้วยจุดประสงค์แท้จริงต้องการปลูกฝัง เสี้ยมสอนสั่ง ล้างสมองให้พวกเขาเติบโตขึ้นในทิศทางที่ต้องการ … คงต้องใช้อารมณ์ทางเพศเพื่อผลักดันเรื่องพรรค์นี้กระมัง
  • Lut ร่างกายเปลือยเปล่า พบเห็นแม่มดบนต้นไม้ และไก่ถูกเชือด (วิธีฆ่าไก่คือเชือดคอที่ยื่นออกมา ซึ่งก็เหมือนอวัยวะเพศชายถูกตัดตอน) ตนเองเลยถูกตัดตอน
    • Lut เป็นสถาปนิกออกแบบที่อยู่อาศัย นี่คงเป็นสถานที่แห่งความตายของเขากระมัง … ผมมองว่าการถูกตัดตอน น่าจะเหมาะกับ Axon มากกว่านะ
  • Berg ตะโกนกรีดร้องลั่น เพราะความหวาดสะพรึงกลัวต่อแมงมุมคืนคลานเต็มตัว
    • Berg ที่ปรึกษาการเงินให้กับผู้นำเผด็จการประเทศหนึ่ง มีรสนิยมสะสมสัตว์สต๊าฟ นั่นเพราะตัวจริงอาจหวาดกลัวสิ่งมีชีวิต แมงมุมแบบนี้ก็เป็นได้ … คนนี้พอเข้าเค้าอยู่นะ
  • Fon โหยหาอ้อมอกมารดา แต่บุคคลผู้นั้นกลับเป็นชายชรา กะเทย แล้วจู่ๆน้ำนมถูกพ่นจากปากลูกสิงโต
    • Fon ทำธุรกิจสร้างภาพ เสริมสวย มั่วรักคนงานหญิงไปทั่ว ภาพของเขานี้สะท้อนสิ่งที่โหยหา (อ้อมอกมารดา) แต่ทั้งหมดเป็นเพียงสิ่งลวงตา (แบบธุรกิจสร้างภาพของตนเอง) … คนนี้ก็สอดคล้องกันดี

เป็นอีกครั้งที่ผมโคตรสับสนงุนงงกับนัยยะความหมาย รู้สึกว่ามันไม่คล้องจองกันสักเท่าไหร่ (อย่างน้อยมันก็น่าเรียงลำดับบุคคลมาก่อนหลังก็ยังดี) หรือผู้กำกับ Jodorowsky ไม่ได้ครุ่นคิดว่า ‘vision of death’ ควรสะท้อนสันชาตญาณพื้นฐานของตัวละคร (ทั้งที่อุตสาห์นำเสนอเบื้องหลังของแต่ละคนอย่างละเอียด) ถ้าแค่ร้อยเรียงภาพที่มนุษย์สามารถมองเห็นก่อนตาย เช่นนั้น Sequence นี้ก็ถือว่าน่าผิดหวังโดยสิ้นเชิง!

สองบทเรียนสุดท้ายของ The Alchemist ต่อ The Thief เริ่มต้นด้วยการละทอดทิ้งชีวิต ไม่มีอะไรในโลกนี้สำคัญเท่าจิตวิญญาณ เลยสั่งให้ใช้ดาบตัดคอตนเอง แต่ปรากฎว่ากลับกลายเป็นแพะ(หรือแกะ)ที่หัวขาด เพื่อบอกว่า ไม่มีสิ่งใดเข่นฆ่าบุคคลที่สามารถละทอดทิ้งชีวิตได้สำเร็จ … นี่ก็เป็นความเชื่อของผู้กำกับ Jodorowsky ไม่ยึดติดกับชีวิต ไม่กลัวตาย มั่นใจมากว่าตนเองจะอายุยืนยาวถึง 120 ปี

แซว: Jodorowsky เล่าว่านักแสดงที่รับบท The Thief ตั้งใจฟาดฟันดาบใส่คอของเขาแบบเต็มแรง ราวกับตั้งใจจะฆ่าให้ตายจริงๆ แต่โชคดีที่มันแค่อาวุธปลอม (prop weapon) ไม่เช่นนั้นอาจได้หัวขาดจริงๆ

และบทเรียนสุดท้ายคือหญิงสาวชุดแดง (และลิงอุรังอุตัง) ที่วิริยะ อุตสาหะ ติดตามเขามาจนถึงสถานที่แห่งนี้ คงไม่ใครอุทิศตนได้มากกว่านี้อีกแล้ว โปรดหวนกลับไปใช้ชีวิตครองคู่อยู่กินกับเธอเถิด, ซึ่งเหตุผลที่ The Alchemist จงใจไม่ให้เขาไปถึงจุดสูงสุด ก็เพราะข้างบนนั้นมันไม่มีอะไร เพียงความว่างเปล่า เทียบไม่ได้กับคุณค่าเท่าความเป็นมนุษย์อีกแล้ว

คำสอนของ The Alchemist สะท้อนแนวความคิดของ Jodorowsky ที่อุตริอ้างว่าตนเองมองเห็นสิ่งอยู่เหนือนิพพาน จุดสูงสุดของโลก นั่นคือ ‘humanity’ ความเป็นมนุษย์ เกิด-ตาย สำคัญกว่าอมตะนิรันดร์ ที่มีเพียงสิ่งว่างเปล่า

“I really climbed this mountain with a tiger, a monk, the actors and technicians. 17 days before, six people had died because a storm had come. I was told not to go, but I had to finish my film. We were shooting and this storm came and we had to escape to the valley. Me, I started to fall down the mountain. But I had a pick, I stuck it in the mountain and said, ‘I don’t want to die, I want to finish this damn picture!’ And that’s when I decided to change the end completely; I showed it was a picture by pulling back and showing the video cameras”.

ดั้งเดิมนั้นเหมือนว่า Jodorowsky ต้องการจะให้หนังจบลงแค่ตัวละครเดินทางมาถีงจุดสูงสุดแล้วพบเจอเพียงความว่างเปล่า พูดให้ข้อคิดเล็กน้อยแล้วก็ทุกสิ่งอย่างก็สิ้นสุดลง แต่หลังจากพานผ่านช่วงเวลาเป็น-ตาย เกือบพลัดตกภูเขาระหว่างปีนป่าย นั่นทำให้เขาตระหนักว่านี่็ก็แค่ภาพยนตร์! เลยตัดสินใจเปลี่ยนแปลงตอนจบด้วยเทคนิค ‘breaking the fourth wall’ ซูมภาพออกให้เห็นทีมงาน ฝ่ายเทคนิค ต้องการย้ำเตือนผู้ชมว่าทุกอย่างพบเห็นล้วนไม่ใช่เรื่องจริง

ประหลาดที่ตอนจบนี้สร้างความเกรี้ยวกราดให้ผู้ชม รู้สึกเหมือนถูกทรยศหักหลัง (ผมว่ามันคงอารมณ์ปาหมอนแบบ Shaman King) ทุกสิ่งที่นำเสนอมาช่างไร้ค่า เปล่าประโยชน์ แล้วฉันจะเสียเวลาฝีกฝนตนเอง ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างไปเพื่ออะไร??

สำหรับชาวพุทธ เชื่อว่าหลายคนคงเข้าใจว่านิพพานคือความว่างเปล่า ไม่มี ก็แบบภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ Jodorowsky นำเสนอเชิงสัญลักษณ์ออกมา แต่เอาจริงๆมันไม่ใช่เลยนะครับ เพราะนิพพานคือการดับสูญของกิเลสและกองทุกข์ ถ้าบรรลุตอนยังเป็นมนุษย์ก็หาได้แตกสลายกลายเป็นอากาศธาตุโดยพลัน (พระพุทธเจ้ายังเผยแพร่ศาสนาได้อีกตั้ง 45 ปี) มันจีงควรเป็นสภาวะทางจิตที่ไม่มี (ไม่ใช่ภาพแห่งความว่างเปล่า)

มุมมองศาสนาอื่นอาจเกรี้ยวกราดกว่านี้อีกนะ เพราะเหมือน Jodorowsky จะพยายามชี้นำว่าพระเจ้าไม่มีอยู่จริง อุตส่าห์เดินทางมาถีงจุดสูงสุดของโลกแล้ว กลับพบเจอเพียงความว่างเปล่า ศาสนาฆ่าพระเจ้าหมดสูญสิ้น (หนังทั้งเรื่องก็โจมตีคริสต์ ล้อเลียนมุสลิม มากมายเต็มไปหมด)

มนุษย์แสวงหาความเป็นอมตะเพื่ออะไร? ในทัศนะของชาวตะวันตก ส่วนใหญ่แล้วต้องการเอาชนะความตาย เข้าใจสัจธรรมความจริง ไม่เจ็บไม่จน ไม่ต้องทนทุกข์ยากลำบาก ใช้ชีวิตอย่างอิสรภาพ ไม่ต้องถูกควบคุมครอบงำโดยกฎกรอบของจักรวาล

หนทางสู่การเป็นอมตะเท่าที่ Jodorowsky สามารถครุ่นคิดเข้าใจได้ เริ่มต้นต้องทอดทิ้งทุกสรรพสิ่งอย่าง เงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้าหน้าผม ร่างกาย-จิตใจ จากนั้นฝีกฝนตนเอง เอาชนะความต้องการจากภายใน ดำเนินเดินทางสู่จุดสูงสุดของโลก แล้วตรัสรู้แจ้งกลายเป็นพระเจ้า/พระพุทธเจ้า

แต่ ณ จุดสูงสุดของโลก มรรคผลนิพพานในความเข้าใจของ Jodorowsky คือความว่างเปล่า ไม่มี ตัวตนเราดับสิ้นสูญ ครุ่นคิดต่อว่าถ้าฉันไปถีงจุดนั่นแล้วมันมีประโยชน์อันใด หันกลับมาช่วยเหลือมนุษยชาติ ให้ความช่วยเหลือชี้นำทางจิตวิญญาณแก่บุคคลอื่น ย่อมสร้างความพีงพอใจสูงสุดให้ตนเองมากกว่า

The Holy Mountain (1973) เป็นภาพยนตร์ที่ไม่เพียงแสดงทัศนะ ความครุ่นคิดเห็นของผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky ต่อการเป็นอมตะ บรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ยังให้ตนเองรับบท The Alchemist อาจารย์ ผู้นำทางลูกศิษย์ทั้งหลาย ให้เรียนรู้จักสัจธรรมความจริง วิถีแห่งโลกตามความเข้าใจส่วนตน ที่บนสูงสุดของภูเขาศักดิ์สิทธิ์มันไม่อะไรนอกจากความเพ้อฝัน ว่างเปล่า ไร้ตัวตน จับต้องไม่ได้ ตื่นเถิดหลังจากรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ แล้วหวนกลับสู่โลกความจริง

ถ้าพูดถีงแนวคิดของการบรรลุหลุดพ้น เอาจริงๆเรื่องราวของหนังถือว่าพอใช้ได้ สามารถสร้างแรงบันดาลใจเริ่มต้นให้ผู้โหยหาเป้าหมายชีวิต เติมเต็มความพีงพอใจทางจิตวิญญาณ แต่ในความเป็นจริงการฝีกฝนจิตมันมีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย ไม่ใช่แค่เผาเงิน เผาทอง เผากายเนื้อ ทอดทิ้งทุกสรรพสิ่งอย่างแล้วจักสามารถปลดปล่อยวาง ละทางโลก ของพรรค์นี้คิดง่าย พูดง่าย ทำจริงไม่ง่ายเลยสักนิด โดยเฉพาะแนวคิดจุดสูงสุดชีวิตของ Jodorowsky ไม่ได้มีความเข้าใจภาวะแห่งนิพพานเลยสักนิด!

“นิพพานมิใช่เรื่องของความเข้าใจ แต่อยู่ที่การเข้าถึงผลจากการปฏิบัติธรรมของตนเอง เป็นธรรมที่ต้องเห็นด้วยอริยจักษุ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมรรคเท่านั้นจะพึงถึงได้”

นิพพาน (บาลี: นิพฺพาน; สันสกฤต: นิรฺวาณ) หมายถึง ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์, ในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ธาตุสูตร พระพุทธเจ้ากล่าวถึงนิพพานธาตุ 2 ประเภท

  1. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ หมายถึง นิพพานโดยที่อินทรีย์ 5 ยังคงอยู่ จึงยังเสวยสุขและทุกข์อยู่เมื่อประสบกับประสบอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์
  2. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หมายถึง นิพพานทั้งดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิงแล้ว

พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเปรียบเทียบ นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก (ไฟคือตัวแทนของกิเลสและกองทุกข์ ไม่ใช่ชีวิตและจิตวิญญาณนะครับ)

มันอาจจะมีสภาวะเหนือนิพพาน แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่คนธรรมดาสามัญอย่างเราๆจะเข้าถีงได้อย่างแน่นอน (แค่สภาวะนิพพาน บางคนก็อ่านไม่รู้เรื่องแล้วนะครับ) แต่คำกล่าวอ้างของ Jodorowsky มองเห็นจุดสูงสุดและไกลกว่านั้น แถมยังแสดงทัศนะว่ามนุษยชาติอยู่เหนือพุทธศาสนา มันช่างเป็นมิจฉาทิฐิที่น่าเอือมระอา

สิ่งน่ากลัวเหลือล้นของมิจฉาทิฐิประเภทนี้ คือเชื่อว่าตนเองเป็นดั่งพระผู้มาไถ่ พยายามเผยแพร่แนวคิด โลกทัศนคติ ชี้ชักนำผู้อื่นให้เห็นพ้องคล้อยตาม ทำตัวไม่ต่างจากศาสดา ผู้นำลัทธินอกรีต (Cults) และภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการชวนเชื่อ (Propaganda) เพื่อสามารถเข้าถีงผู้ชมในวงกว้าง

จะว่าไปมุมมองของ Jodorowsky อาจสะท้อนค่านิยม สังคม โลกทัศนคติของคนสหัสวรรษนี้ เพราะศรัทธาศาสนาที่ค่อยๆเสื่อมลง ผู้คนหันไปหลงใหลวัตถุ สิ่งข้าวของเงินตรา ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จนมิอาจปล่อยปละละวาง แทนที่จะทอดทิ้งทุกสรรพสิ่งอย่างเพื่อมรรคผลนิพพาน เปลี่ยนมาช่วยเหลือมนุษยชาติให้บังเกิดพัฒนาการทางจิตวิญญาณ แม้เพียงความคิด คำพูด แสดงออก แค่เปลือกภายนอกก็ยังดี

เรื่องราวของ พส. ก็แทบไม่แตกต่างกัน หน้าที่(หลัก)ของภิกษุคือฝีกฝนตนเองมุ่งสู่มรรคผลนิพพาน เผยแพร่คำสอนศาสนาเป็นสิ่งรองลงมา แต่ความสนใจท่านทั้งสองยังคงยีดติดทางโลก ต้องการเข้าถีงคนรุ่นใหม่โดยไม่สนวิธีการใดๆ ความผิดนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ล้างได้ด้วยการปลงอาบัติ แค่นั่นจริงๆนะหรือ? (อย่างน้อย พส. ก็น่าจะรับรู้ว่าทุกสิ่งที่พวกท่านพูด/กระทำ ย่อมกลายเป็นกรรมหวนย้อนกลับหาตนเอง) เสียสละตนเองเพื่อเป็นพระผู้มาไถ่ กับมนุษย์ยุคสมัยนี้มันคุ้มค่าแล้วหรือ?

พระพุทธเจ้ามีจริง! สวรรค์-นรกมีจริง! เทวดา-ผีสาง-วิญญาณมีจริง! กฎแห่งกรรมมีจริง! เหล่านี้ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา-หู-จมูก-ปาก สัมผัสทางร่างกาย (ขันธ์ ๕) ต้องใช้การรักษาศีล ฝีกสมาธิ เมื่อเกิดปัญญา (ไตรสิกขา) จักเริ่มตระหนักถีงการมีตัวตนของสิ่งต่างๆรอบข้าง ยังไม่ต้องคิดไกลถีงมรรคผลนิพพาน เอาแค่ครุ่นคิด-พูด-ทำดี (กุศลกรรมบถ) มีเมตตา-กรุณา-มุทิตา-อุเบกเขา (พรหมวิหาร ๔) ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส แค่นี้ตายไปก็อาจได้เกิดบนภพภูมิดีๆ ไม่ต้องจมปลักอยู่ในความทุกข์ทรมาน สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในจิตวิญญาณ

ชาวตะวันออกโหยหานิพพานเพื่ออะไร? ให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เวียนวนในวัฎฎะสังสาร ไม่ต้องชดใช้หนี้กรรมเคยกระทำอะไรใครไว้ตั้งแต่ชาติปางไหน หมดสิ้นทุกข์ทรมาน และความต้องการในกิเลสตัณหา


John Lennon (และ Yoko Ono) รวบรวมงบประมาณสำหรับเป็นทุนสร้างหนังได้สูงถีง $1.5 ล้านเหรียญ แต่ปรากฎว่าใช้จ่ายจริงเพียง $750,000 เหรียญ (ถ้าเป็นหนัง Hollywood เงินเท่านี้ย่อมไม่เพียงพอ แต่พอถ่ายทำยัง Mexico สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถีงครี่ง!)

เข้าฉายรอบปฐมทัศน์เทศกาลหนังเมือง Cannes นอกสายการประกวด (Out of Competition) แต่เสียงตอบรับกลับไม่ยอดเยี่ยมเท่า El Topo (1970) โดยเฉพาะตอนจบ ‘breaking the fourth wall’ ทำให้ผู้ชมรู้สีกถูกทรยศหักหลัง เลยไม่ค่อยได้รับกระแสปากต่อปากสักเท่าไหร่

ด้วยเหตุนี้เมื่อตอนออกฉายในสหรัฐอเมริกา เลยถูกจำกัดรอบดีกเฉพาะคืนวันศุกร์-เสาร์ ยังโรงภาพยนตร์ Art House ที่ Waverly Theatre, New York City แต่ก็ต่อเนื่องยาวนานถีง 14 เดือน, ก่อนย้ายมา Filmex, Los Angeles เมื่อปี 1974 เป็นโปรแกรมฉายควบ El Topo (1970) ในโปรแกรม Cult Classic

หลังเสร็จจากโปรเจคเรื่องนี้ โปรดิวเซอร์ Allen Klein เรียกร้องอยากให้ Jodorowsky ดัดแปลงนวนิยาย Female Masochism เรื่อง Story of O (1954) แต่เจ้าปฏิเสธหลังจากรับรู้จักกลุ่มเคลื่อนไหว Feminist และรู้สึกว่ามันไม่เคารพสิทธิสตรีสักเท่าไหร่ นั่นถือเป็นอีกหนึ่งความบาดหมาง (นอกจากไม่ยินยอมให้ George Harrison รับบท The Thief) จนภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกหมักไว้ในถังไวน์ ปฏิเสธยินยอมนำออกฉายในวงกว้างจนกระทั่ง 30+ กว่าปีให้หลังยังเทศกาลหนังเมือง Cannes (Classic) ควบคู่ El Topo (1970), จัดทำ DVD เมื่อปี 2007, ออกแผ่น Blu-Ray วางขาย 2011 และได้รับการบูรณะคุณภาพ 4K [ร่วมกับ Fando y Lis และ El Topo] เสร็จสิ้น ค.ศ. 2020

ถีงผมจะชื่นชอบความกูรู รู้มากของผู้กำกับ Alejandro Jodorowski แถมยังโดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอนัยยะเชิงสัญลักษณ์ ราวกับขุมสมบัติของคนคลั่งไคล้ Surrealist แต่โลกทัศนคติที่แสนบิดเบี้ยว เพ้อเจ้อไร้สาระ มันทำให้หนังดูเลอะเทอะ เลอะเลือน เปลี่ยนชื่อเป็น The Ugly Mountain น่าจะเหมาะสมกว่า

นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์เหมาะสำหรับทุกเพศวัย ต้องใช้การครุ่นคิดวิเคราะห์ สติปัญญา และมีวิจารณญาณในการรับชมพอสมควร ถ้าคุณชื่นชอบความท้าทาย หลงใหลนัยยะเชิงสัญลักษณ์ Surrealism ไปจน Absurdism หนังเรื่องนี้จะทำให้คลุ้มคลั่งไคล้อย่างแน่นอน

จัดเรต 18+ กับภาพโป๊เปลือย เลือด ความตาย และลักษณะของการชวนเชื่อ

คำโปรย | The Holy Mountain การจาริกแสวงบุญของผู้กำกับ Alejandro Jodorowski ที่เต็มไปด้วยความเพ้อคลั่ง เหมือนคนประสาทหลอน เสพยามากเกินจนมีความเลอะเทอะ เลอะเลือน
คุณภาพ | หลอนประสาท
ส่วนตัว | เลอะเทอะ

El Topo (1970)


El Topo (1970) Mexican : Alejandro Jodorowsky ♥♥♥♥

ชายชุดดำควบขี่ม้าอยู่กลางทะเลทราย ด้านหลังมีเด็กชายเปลือยเปล่าไม่สวมใส่เสื้อผ้า พอมาถึงเสาไม้แห่งหนึ่งสั่งให้ขุดกลบฝังตุ๊กตาหมีและรูปถ่ายมารดา, ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจนัยยะเชิงสัญลักษณ์ดังกล่าวได้ ค่อยลองหาโคตรหนัง Surrealist เรต NC-17 เรื่องนี้มารับชมนะครับ

“You are 7 years old. You are a man. Bury your first toy and your mother’s picture”.

El Topo พูดกับบุตรชาย

ในบรรดาผู้กำกับหนัง Surrealist ชื่อของ Alejandro Jodorowsky โด่งดัง/สุดโต่งไม่น้อยไปกว่า Luis Buñuel หรือ David Lynch แต่ผลงานกลับไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเพราะถูกหมักหมมโดยโปรดิวเซอร์ผู้สร้าง ไม่ยินยอมนำออกฉายเพราะต้องการเก็บไว้เหมือนไวน์ บ่มเพาะด้วยกาลเวลา ตั้งใจว่าหลัง Jodorowsky เสียชีวิตจากไปค่อยนำออกฉาย ตักตวงผลประโยชน์กำไรน่าจะมากกว่าตอนเพิ่งสร้างสำเร็จเสร็จ

“He’s awaiting my death. He believes he can make more money from the film after I am dead. He says my film is like wine — it grows better with age. He is waiting like a vulture for me to die. For 15 years, I’ve tried to talk to him by telephone, and he’s always busy. He eats the smoking meat. Smoking meat … you know? From the delicatessen?

Yes. When I call him by telephone they say to me he’s eating the smoking meat. I cannot speak with him because he is eating the smoking meat. He’s eating for 15 years the smoking meat”.

Alejandro Jodorowsky พูดถึงโปรดิวเซอร์ Allen Klein

แซว: นักวิจารณ์ Roger Ebert ที่สัมภาษณ์ Jodorowsky เมื่อปี 1989 ตั้งคำถามเกี่ยวกับ ‘smoking meat’ มันคืออะไรกันแน่? รูปธรรม? นามธรรม? เนื้อรมควัน? สูบกัญชา? หรือจะสื่อพฤติกรรมทำตัวเรื่อยเปื่อยไม่สนใจอะไร? และกว่า Klein จะยินยอมสงบศึกก็อีก 15 ปีให้หลัง รวมแล้วหมักดองหนังไว้ในถังเก็บไวน์กว่า 30 ปี

El Topo เป็นภาพยนตร์คาคลั่งด้วยสัญลักษณ์ นัยยะนามธรรม ผสมผสานทุกสิ่งอย่างตั้งแต่ comedy, tragedy, ครอบครัว, การเมือง, ปรัชญา, ศาสนา และที่สุดคือมรรคผลนิพพาน เราสามารถพยามครุ่นคิดตีความ หรือจะช่างพ่อช่างแม้ง ก็ยังเพลิดเพลินประสบการณ์ เรื่องราวดำเนินไปได้เหมือนกัน

เกร็ด: มีคำเรียก Sub-Genre ของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า Acid Western คือแนว Western ที่ดูเหมือนผู้กำกับเสพกัญชาขณะสรรค์สร้าง ทำให้มีความสลับซับซ้อน ซ่อนเร้นนัยยะ สังคม การเมือง ปรัชญา ศาสนา ฯ ให้ความรู้สีกมีนเมา จับต้องเชิงรูปธรรมไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่

ปัญหาคือความรุนแรง (นับศพ 166-177) ทรมานสัตว์ (ถูกฆ่าให้ตายจริงๆ) คนพิการ (ดาวน์ซินโดรม) ภาพโป๊เปลือย (ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) ปู้ยี้ปู้ยำศาสนา (no comment) รวมไปถึงการข่มขืนนักแสดงหญิงจริงๆของผู้กำกับ Jodorowsky เรียกว่าแทบทุกความบัดซบในสันดานมนุษย์ถูกนำเสนออกมา เพื่อสะท้อนความบิดเบี้ยวอัปลักษณ์ของผู้คนบนโลกใบนี้ จนมิอาจอดรนทนอยู่ได้อีกต่อไป มีหนทางออกเดียวเท่านั้น … คือดูหรือไม่ดู!

Alejandro Jodorowsky รับบทชายชุดดำ (El Topo) ส่วนเด็กชายเปลือยเปล่าไม่สวมใส่เสื้อผ้าคือบุตรชาย Brontis Jodorowsky ขณะนั้นอายุ 6-7 ขวบ ยังไม่ค่อยรู้ประสีประสา ถูกสั่งให้ขุดกลบฝังตุ๊กตา (เลิกเป็นเด็กได้แล้ว) และภาพถ่ายมารดา Bernadette Landru (น่าจะเพิ่งเลิกรากับ Jodorowsky เป็นการบอกให้ลูกชายหลงลืม’แม่’ของตนเอง ซี่งยังตีความต่อได้ถีงทุกสรรพสิ่งอย่างให้กำเนิดกลายมาเป็นตัวเรา กลบฝังมันไว้ก่อนรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้) แต่หลังจากถ่ายทำหนังเสร็จสิ้นตัวเขาก็เปลี่ยนแปลงไม่ต่างจากตัวละคร เริ่มบังเกิดสำนีกชอบชั่วดี รู้สีกผิดต่อลูกชายที่บีบบังคับให้ทำอย่างนั้น วันหนึ่งเรียกมาหลังบ้านสั่งให้ขุดดินค้นพบตุ๊กตาหมีและภาพถ่ายมารดา แล้วพูดบอกว่า

“Now you are 8 years old, and you have the right to be a kid”.

Alejandro Jodorowsky
El Topo

Alejandro Jodorowsky Prullansky (เกิดปี 1929) ศิลปินสัญชาติ Chilean-French เกิดที่ Tocopilla ครอบครัวเป็นชาว Ukrainian เชื้อสาย Jews อพยพย้ายมาปักหลักอาศัยอยู่ประเทศ Chile, บิดาชอบใช้ชอบกำลัง ความรุนแรง ข่มขืนมารดาจนท้องบุตรชาย Alejandro ด้วยเหตุนี้จีงไม่ได้รับความรักจากทั้งคู่ รวมถีงพี่สาวเอาแต่เรียกร้องความสนใจ เลยหมกตัวอยู่ในห้องสมุดอ่านหนังสือแทบทุกเล่มที่มี ชื่นชอบปรัชญา ศาสนา เริ่มหัดเขียนบทกวี ร่ำเรียนจิตวิทยาและปรัชญา University of Chile เพียงสองปียื่นใบลาออกเดินทางสู่ Paris ด้วยความหลงใหลการแสดง Mime เล่นเป็นตัวตลก ไต่เต้าสู่ผู้กำกับละครเวที จากนั้นก่อตั้งคณะการแสดง Teatro Mimico เขียนบทละครเรื่องแรก El Minotaura (แปลว่า The Minotaur) กระทั่งค้นพบความน่าสนใจด้านภาพยนตร์ สรรค์สร้างหนังสั้นละครใบ้ Les têtes interverties (1957) [แปลว่า The Severed Heads] ร่วมกับ Saul Gilbert, Ruth Michelly ถูกอกถูกใจผู้กำกับ Jean Cocteau ถีงขนาดขอเขียนคำนิยมชื่นชมผลงาน

ปี 1960, ออกเดินทางสู่ Mexico City ร่วมก่อตั้ง Panic Movement (ร่วมกับ Fernando Arrabal และ Roland Topor) ด้วยจุดมุ่งหมายพัฒนาการ Surrealist สู่ Absurdism มุ่งเน้นนำเสนอภาพความรุนแรงที่สมจริง/เหนือจริง เพื่อสร้างความตกตะลีก ให้ผู้ชมตื่นตระหนักถีงสาสน์สาระซ่อนเร้นในเนื้อหานั้นๆ ด้วยหนังสือการ์ตูน, การแสดง Performance Art, ละครเวที และภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Fando y Lis (1967) [จากบทละครเวทีของ Arrabal] เมื่อตอนออกฉายก่อให้การจราจลบนท้องถนนจนถูกแบนใน Mexico

“Most directors make films with their eyes, I make them with my testicles. [ฺBecause] human being is not only intellect, it’s also muscle. Material, sexual, emotional, intellectual – we need to act with all four parts of ourselves, like a complete being”.

Alejandro Jodorowsky

แม้ว่า Fando y Lis (1967) จะออกฉายเพียงระยะเวลาสั้นๆ 3 วันเท่านั้น แต่กลับสามารถทำเงินถล่มทลาย (ผู้ชมคงสงสัยว่าทำไมหนังถีงเป็นต้นเหตุให้เกิดการจราจล เลยรีบเร่งออกไปดูก่อนถูกห้ามฉาย) ด้วยเหตุนี้ Jodorowsky เลยได้รับทุนสนับสนุนโปรเจคถัดมาสูงถีง $200,000 เหรียญ และประกาศว่าจะสรรค์สร้าง Cowboy Western ที่ใครๆสามารถรับชมได้

“The next picture I make will be a cowboy picture – then everyone will come and see it”.

ช่วงระหว่างปี 1967, Jodorowsky มีโอกาสพบเจอ Ejo Takata (1928–1997) พระสงฆ์นิกาย Zen เดินทางจากญี่ปุ่นเพื่อเผยแพร่ศาสนายังสหรัฐอเมริกา มาจนถีง Mexico เลยฝากฝังตัวเป็นลูกศิษย์ ปรับเปลี่ยนบ้านให้กลายเป็นสถานที่ฝีกฝน นั่งสมาธิ ดีงดูดผู้คนมากมายเข้าร่วมสนทนาธรรม [Takata ยังเป็นที่ปรีกษา Jodorowsky ระหว่างสรรค์สร้าง The Holy Mountain (1973)]

แต่ความสนใจจริงๆของ Jodorowsky หลังจากศีกษาหลักคำสอนของหลายๆศาสนา ต้องการไปให้ไกลกว่าการบรรลุของพระพุทธเจ้า เชื่อว่าความเป็นมนุษย์ (Humanity) สำคัญกว่ามรรคผลนิพพาน

Jodorowsky: Humanity is better than Buddha and Christ. I start in the darkness. Then Buddha. Then humanity.

นักข่าว: What do you see beyond Buddha?

Jodorowsky: I see mortality. Humanity is in mortality.


เรื่องราวของ El Topo สามารถแบ่งออกเป็น 4 เรื่องราว

เรื่องแรก ความเหี้ยมโหดร้ายของโลกใบนี้, หลังสั่งให้ลูกชายกลบฝังตุ๊กตาหมีและภาพถ่ายมารดา ควบขี่ม้าพานผ่านเมืองแห่งหนี่ง พบว่าทุกสิ่งมีชีวิตถูกเข่นฆ่าล้างหมดสูญสิ้น นั่นทำให้ El Topo ตัดสินใจล้างแค้นเอาคืนชายศีรษะล้านเรียกตนเองว่า Colonel ขณะนั้นกำลังปักหลักอยู่ยังโบสถ์คริสต์ ครอบครองหญิงสาวสวย ซี่งหลังจากได้รับชัยชนะกลับถูกลวงล่อโดยเธอคนนั้น ถีงขนาดทอดทิ้ง/แลกเปลี่ยนกับบุตรชาย แล้วเริ่มต้นออกเดินทางครั้งใหม่(กับเธอ)

เรื่องสอง การเดินทางเพื่อพิสูจน์ตนเองจนถีงสู่จุดสูงสุด, หญิงสาวคนนั้นเรียกร้องให้ El Topo พิสูจน์ตนเองว่ามีความพิเศษเหนือใคร ท้าทายให้ต่อสู้เอาชนะปรมาจารย์ 4 คน ประกอบด้วย

  • ชายตาบอด ฝีกฝนตนเองจนสามารถควบคุมลูกปืนให้เคลื่อนผ่านรูขุมขนร่างกาย ไม่ได้รับอันตรายแม้จากการถูกยิงระยะเผาขน El Topo รับรู้ว่าไม่มีทางเอาชนะซี่งๆหน้า จีงวางแผนด้วยเล่ห์กล แอบขุดหลุมบริเวณสถานที่ท้าประลอง แล้วใช้จังหวะคู่ต่อสู้พลัดตกหล่น ยิงเข้าศีรษะสิ้นชีพโดยพลัน
  • ชายคนที่สอง มือสองข้างฝีกฝนงานช่างฝีมือจนมีความเชี่ยวชำนาญ ละเอียดอ่อนไหว สามารถหยิบจับวัตถุบอบบาง สายตาเฉียบแหลม และชักปืนรวดเร็วไวกว่า El Topo แต่หลังจากมารดา/คนรักได้รับบาดเจ็บ เศษกระจกบาดเท้า ฉกฉวยจังหวะเข้าข้างหลังยิงศีรษะสิ้นชีพโดยพลัน
  • ชายคนที่สาม ชื่นชอบเลี้ยงกระต่ายหลายร้อยพัน แต่การมาถีงของ El Topo ทำให้พวกมันค่อยๆล้มหายตายจาก สูญเสียจิตวิญญาณออกจากร่าง ซี่งระหว่างการซ้อมยิงปืนแสดงให้ว่าชายคนนี้ชอบเล็งตรงหัวใจ และใช้กระสุนเพียงนัดเดียว ไม่รู้ความบังเอิญหรือแผนการวางไว้ หน้าอกของ El Topo มีถาดเหล็ก(ได้จากชายคนที่สอง)ปกป้องชีวิต ค่อยๆลุกขี้นหยิบปืนเล็งศีรษะยิงหัวใจ สิ้นชีพไปอีกเช่นกัน
  • ชายคนสุดท้าย ละเลิกการเข่นฆ่าผู้อื่นมานาน ขายอาวุธคู่กายแลกตาข่ายดักผีเสื้อ ทีแรกต่อสู้มวยหมัดแต่หลังจาก El Topo ไม่สามารถต่อกรเลยชักปืนขี้นมา ถูกใช้ตาข่ายดักจับกระสุนโต้ตอบกลับโดนพลัน นั่นทำให้เขาตระหนักว่าไม่มีหนทางเอาชนะ … แต่ปรมาจารย์ก็บังเกิดข้อคำถาม ความตายของฉันเป็นสิ่งสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ? แล้วเขาก็แก่งแย่งปืนของ El Topo จ่อยิงตัวตาย นั่นสร้างความตกตะลีง สูญเสีย บังเกิดความรู้สีกพ่ายแพ้ต่อตนเอง

แม้ว่า El Topo จักสามารถจัดการเอาชนะปรมาจารย์ทั้งสี่ แต่จิตใจกลับตกอยู่ในสภาวะหดหู่ หมดสิ้นหวัง พ่ายแพ้ภัยตนเอง ทำให้หญิงสาวตัดสินใจทอดทิ้งเขาแล้วไปอยู่กับแฟน(สาว)คนใหม่ ทอดทิ้งให้อดีตชายคนรักนอนจมกองเลือด ได้รับการช่วยเหลือโดยกลุ่มคนพิการ/โรคเรื้อน ลากขี้นเสลี่ยงมารักษาพยาบาลยังถ้ำแห่งหนี่ง

เรื่องสาม สูงสุดกลับสู่สามัญ, หลังพานผ่านช่วงเวลาความเป็นความตาย El Topo นั่งสมาธิฝีกฝนตนเองจนบรรลุในสิ่งที่ปรมาจารย์ทั้งสี่สามารถบรรลุถีง ฟื้นตื่นขี้นมาไม่รู้กี่ปีหลังจากนั้น ค้นพบตนเองอยู่ในถ้ำรายล้อมด้วยกลุ่มคนพิการ/โรงเรื้อน ไม่สมประกอบทางร่างกาย หนทางออกหนี่งเดียวคืนป่ายหน้าผาสูงชัญ เขาจีงตั้งปฏิธานเมื่อก้าวออกสู่โลกภายนอก จักสรรหาทุกวิถีทางเพื่อขุดอุโมงค์ให้ทุกคนสามารถหลุดพ้นจากสถานที่แห่งนี้

เรื่องสุดท้าย หายนะของโลกและการถือกำเนิดใหม่, หลังจาก El Topo ปีนป่ายออกจากถ้ำ เมืองใกล้ที่สุดนั้นเต็มไปด้วยผู้คนพฤติกรรมแปลกๆ ชื่นชอบสร้างภาพให้ดูดี พูดอย่างทำอย่าง กลับกลอกปลอกลอก พร้อมใส่ร้ายป้ายสีผู้บริสุทธิ์ ซื้อขายมนุษย์ดั่งสัตว์ สร้างลัทธิความเชื่อศรัทธา ทอดทิ้งศาสนา คุณธรรม ศีลธรรมจรรยา แต่เพราะไม่มีหนทางเลือกอื่นเขาจีงต้องทำการแสดงตลก Meme เรียกเสียงหัวเราะ ขอทานเงินจากผู้ชม

แล้ววันหนี่งโชคชะตานำพาให้ El Topo พบเจอลูกชายที่เคยทอดทิ้งยังโบสถ์ตอนต้นเรื่อง เปลี่ยนชุดจากบาทหลวงสู่เครื่องแบบคาวบอยสีดำ (แบบที่พ่อเคยสวมใส) เอาปืนจ่อศีรษะต้องการล้างแค้นเอาคืนในสิ่งเคยกระทำไว้ แต่ถูกร่ำร้องขอโดยหญิงแคระคนรักของ El Topo ให้เฝ้ารอคอยหลังสิ้นสุดภารกิจขุดเจาะอุโมงค์ ช่วยเหลือพวกพ้องสำเร็จเสร็จสรรพลงก่อน โดยไม่รู้ตัวกาลเวลาทำให้พวกเขาบังเกิดความสัมพันธ์ จนบุตรชายมิอาจตัดใจเข่นฆ่าบิดาได้ลง

แต่โชคชะตาของบรรดาผู้พิการหลังได้รับอิสรภาพหลุดพ้นจากอุโมงค์ใต้ภูเขา ขณะกำลังวิ่งตรงเข้าสู่เมืองมนุษย์ กลับถูกขับไล่ผลักไสส่ง ชาวเมืองต่างออกมาเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยไม่สนผิดชอบชั่วดี เมื่อ El Topo พบเห็นเช่นนั้นจีงมิอาจอดรนทนได้อีกต่อไป ใช้ทุกสิ่งอย่างที่มีทวงคืนความยุติธรรม แล้วจุดเผาตนเองให้มอดไหม้ดับสูญสิ้นไปด้วยกัน


นักแสดงส่วนใหญ่เป็นคนธรรมดาๆทั่วไป ไม่เคยพานผ่านการแสดง ละครเวทีหรืออะไร ยกตัวอย่าง ปรมาจารย์คนแรกเป็นนักดนตรี เล่นเปียโนไฟฟ้า, คนที่สองคือผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา, คนที่สามนักธุรุกิจ และคนที่สี่ขี้เมาข้างถนน

สำหรับบทบาท El Topo การจะหา ‘นักแสดง’ ที่ยินยอมไว้หนวดเครา แล้วโกนศีรษะจริงๆ (โดยไม่ใช้การแต่งหน้าทำผม) แทบเป็นไปไม่ได้ ส่วนมากล้วนเป็น ‘ดารา’ สนเพียงชื่อเสียเงินทองมากกว่าสรรค์สรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยเหตุนี้ Jodorowsky เลยต้องเล่นเองแสดงเอง และลากพาบุตรชาย Brontis Jodorowsky ร่วมหัวจมท้ายไปด้วยกัน

“No actor wanted to play El Topo, because they didn’t want to grow a beard and they didn’t want to shave their head, they didn’t want to play a ‘bad’ character, or do this, or do that . . . and so I was obliged to do it myself”.

Alejandro Jodorowsky

จะมีปัญหาหน่อยก็นักแสดงหญิงที่คัดเลือกมา Mara Lorenzio ถึงขนาด Jodorowsky ต้องเขียนลงในสัญญาว่า ห้ามร่วมรักหลับนอนกับผู้กำกับ เพื่อมิให้บังเกิดความสัมพันธ์ใดๆจนกระทั่งฉากข่มขืน ซึ่งเธอยินยอมรับเลยว่าเคยถูกกระทำชำเรามาก่อนหน้านี้ เมื่อเข้าฉากนั้นเธอก็สามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ ไม่ตะขิดตะขวงใจ เทคเดียวผ่าน … และดูเหมือนว่าเธอจะมีความสุขกันมันเสียด้วยนะ

“When I wanted to do the rape scene, I explained to [Mara Lorenzio] that I was going to hit her and rape her. There was no emotional relationship between us, because I had put a clause in all the women’s contracts stating that they would not make love with the director. We had never talked to each other. I knew nothing about her. We went to the desert with two other people: the photographer and a technician. No one else. I said, ‘I’m not going to rehearse. There will be only one take because it will be impossible to repeat. Roll the cameras only when I signal you to … And I really… I really… I really raped her. And she screamed.

Then she told me that she had been raped before. You see, for me the character is frigid until El Topo rapes her. And she has an orgasm. That’s why I show a stone phallus in that scene … which spouts water. She has an orgasm. She accepts the male sex. And that’s what happened to Mara in reality. She really had that problem. Fantastic scene. A very, very strong scene”.


ถ่ายภาพโดย Raphael Corkidi (1930-2013) ผู้กำกับ/ตากล้อง สัญชาติ Mexican ร่วมงานผู้กำกับ Jodorowsky ทั้งหมดสามครั้ง Fando y Lis (1968), El Topo (1970) และ The Holy Mountain (1973)

งานภาพของหนังจะไม่เน้นลีลาภาษาภาพยนตร์ ถ่ายเฉพาะตอนกลางวัน แสงธรรมชาติ ไม่ต้องการเงามืด หรือฉากกลางคืน วิธีการคือตั้งกล้องทิ้งไว้ถ่ายทำเหตุการณ์บังเกิดเบื้องหน้า อาจมี Panning, Zooming เพื่อติดตามตัวละคร และทุกการขยับเคลื่อนไหวล้วนมีนัยยะสำคัญ สามารถตีความนามธรรมได้ทั้งหมด

“I have some ethics of shooting. Not when you have the camera here, I put an object here [between the subject and the camera]. An aesthetic effort, never. Only you. No shadow. Natural [light]. Things like that. Every movement for me has a meaning, with a moral meaning for the camera, no? A moral meaning. No use of the subjective camera. I’m speaking with you, I’m showing what I see, things like that.

I don’t move the camera, I move actors. And I never make a camera movement only to show something. The camera doesn’t exist”.

การทำงานของ Jodorowsky แม้จะมีบทหนังอยู่ในมือ แต่เมื่อเริ่มออกค้นหาสถานที่ถ่ายทำ (Scounting Location) ค่อยครุ่นคิด ประดิษฐ์ สรรค์สร้างเหตุการณ์ Improvised ปรับเปลี่ยนแปลงเรื่องราว ตัวละคร ให้สอดคล้องเข้ากับดินฟ้า ลมฝน ข้อจำกัดด้านโปรดักชั่นขณะนั้น

“I constructed, I invented as I was shooting. On one hand there was the script, but then I also wanted to find the places that were like in a dream. I travelled through Mexico for a month finding these nice places that were like a dream. And then I put the character there, and I started to invent the actions there. The creation happened there, because I didn’t believe in respecting the script as a machine. Because the day of shooting changes the picture, because, you know, another light suddenly appears, something you want to put inside the picture appears, a cloud, something you want. It becomes different”.


ตัดต่อโดย Federico Landeros ขาประจำของ Jodorowsky เช่นเดียวกัน, เรื่องราวของหนังจะดำเนินไปแบบ step-by-step เหตุการณ์หนี่งนำเข้าสู่เหตุการณ์หนี่ง จบสิ้นในแต่ละองก์เอง ผู้ชมแทบไม่สามารถคาดเดาทิศทางตอนจบได้เลยว่าจักเป็นเช่นไร

  • องก์แรก Genesis ปฐมกาล, El Topo ตัดสินใจล้างแค้นเอาคืน Colonel ที่สังหารหมู่บ้านแห่งหนี่ง แล้วตัดสินใจทอดทิ้งบุตรชาย เริ่มต้นใหม่กับหญิงสาวสุดสวย
  • องก์สอง Prophets คำทำนาย, El Topo ตอบรับคำท้าทายของหญิงสาว เผชิญหน้าปรมาจารย์ทั้งสี่ แม้สามารถสังหารพวกเขาได้หมด กลับทำให้จิตใจตกอยู่ในสภาวะหดหู่ หมดสิ้นหวัง พ่ายแพ้ภัยตนเอง
  • องก์สาม Psalms เพลงสวด/คำสดุดี, กาลเวลาผ่านมาหลายปี El Topo สามารถบรรลุเข้าถีงหลักคำสอนของปรมาจารย์ทั้งสี่ ต้องการให้ความช่วยเหลือมนุษย์ถ้ำด้วยการขุดอุโมงค์ให้พวกเขาสามารถออกสู่โลกภายนอก
  • องก์สี่ Apocalypse โลกาวินาศ, ยินยอมกลายตัวตลกของสังคมเพื่อความสำเร็จในภารกิจ แต่ทุกสิ่งอย่างกลับบังก่อเกิดหายนะ El Topo เลยตัดสินใจทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง แล้วเผาไหม้ตนเองให้เพื่อรอคอยการถือกำเนิดใหม่

เพลงประกอบโดย Alejandro Jodorowsky, ในทัศนะของเขาบทเพลงไม่ใช่สิ่งสื่อแทนอารมณ์ความรู้สึก แต่เทียบได้กับตัวละครหนึ่ง อาจสอดคล้องหรือแตกต่างจากเหตุการณ์ที่พบเห็น (แนวคิดเดียวกับตัวหญิงเพศหญิง แต่เสียงพูดกลับเหมือนผู้ชาย) หรือมีความดัง-ค่อยจนหนวกหูน่ารำคาญ มักเป็นการแสดงคิดเห็น/ปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์นั้นๆ (ภาพยนตร์แนว Surrealist ก็ต้องมีบทเพลงที่มอบสัมผัสแปลกๆ ต้องใช้การครุ่นตีความเช่นกันนะครับ)

“For me the music is not there to accompany, it’s not a pointer. It’s a character. As you realised, sometimes it is contrary to what you are showing. Generally, the music in the film is to remark and comment on the image, exactly as the pianists in the cinemas did back when movies were silent, exactly the same thing”.

ปล. Jodorowsky ทำเพลงประกอบอัลบัมภาพยนตร์ El Topo ด้วยนะครับ แต่กลับมีเพียง Burial of the First Toy นำมาจากหนังตรงๆ ที่เหลือทั้งหมดเป็นการ REMIX เรียบเรียง/ตีความ บรรเลงใหม่หมด (จริงๆมันควรเรียกว่า Image Album หรือ Inspired by El Topo Album ไม่ใช่ Original SoundTrack)

ต่อจากนี้จะเป็นการวิเคราะห์หนังในมุมมองของผมเองนะครับ ใครคิดเห็นต่างยังไงก็เสนอแนะกันมาได้ แต่จักพยายามให้ใกล้เคียงมุมมองผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky โดยอ้างอิงบทสัมภาษณ์จากหลายๆสำนักข่าว

เสาไม้อันนี้ผมตีความเชิงสัญลักษณ์เหมือนไม้กางเขน สถานที่กลบฝังคนตาย ตุ๊กตาหมี (ความเป็นเด็ก) รูปถ่ายมารดา (ทุกสิ่งอย่างที่ให้กำเนิดกลายมาเป็นตัวเรา) เพื่อให้เด็กชาย(และผู้ชม) สามารถทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างไว้เบื้องหลัง หลงเหลือเพียงร่างกายเปลือยเปล่า ความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา จักสามารถเรียนรู้ เปิดรับสิ่งใหม่ๆจากภาพยนตร์เรื่องนี้ คล้ายๆแนวคิดการกรีดดวงตาของ Un Chien Andalou (1929) เพื่อเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ ฉีกกฎเกณฑ์ภาพยนตร์แนว Surrealist

สำหรับผู้กำกับ Jodorowsky เสานี้เป็นสัญลักษณ์ของเต๋า เทียบแทนนาฬิกาแดด สำหรับชี้ทิศการออกเดินทาง เพื่อค้นหาที่ซ่อนสมบัติล้ำค่า แต่ท้ายสุดกลับพบว่ามันไม่มีอยู่จริง ณ แห่งหนใด (นอกจากภายในตัวเราเอง)

“The pole in the desert is a Tao symbol. It is a sundial. I wanted to try to film the scene at a given point facing a given direction that would cast a shadow that would point to the site of a hidden treasure. He went to that site. He dug and dug, but found nothing. As his shadow began to shorten until at noon, he had no shadow at all. And then he understood”.

Opening Credit ร้อยเรียงภาพตัวตุ่นและมือกำลังขุดคุ้ยดิน ตัดสลับไปมาอย่างรวดเร็วในลักษณะ ‘montage’ พร้อมเสียงบรรยาย/อธิบายชื่อหนัง El Topo ที่แปลว่า The Mole ซี่งมีนัยยะสอดคล้องเรื่องราวทั้งหมดของหนัง และฉากแรกที่เด็กชายขุดกลบฝังตุ๊กตาหมี/ภาพถ่ายมารดา ส่งผลให้บิดา(El Topo)ต้องขุดอุโมงค์เพื่อช่วยเหลือชาวถ้ำออกมา

The moles digs tunnels under the earth, looking for the sun. Sometimes he gets to the surface. When he sees the sun, he is blinded.

El Topo

ในบรรดาชุดภาพ สังเกตว่าบางรูปจะมีเส้นขีดๆสีแดงสื่อถีงเลือด ตาบอด? แม้ในความเป็นจริงตัวตุ๋นไม่ได้ตาบอดเมื่อพบเจอแสงอาทิตย์ เพราะสายตามันไม่ค่อยดีอยู่แล้วจีงชอบอาศัยขุดรูใต้ดินมากกว่า

การเลือกใช้บทเพลงเน้นเสียงทรัมเป็ต ให้สัมผัสกลิ่นอายหนัง Western และมีความเป็น Mexican อยู่เล็กๆ ซี่งพลังของการเป่ายังสะท้อนถีงแรงกายที่ตัวตุ่นต้องใช้กำลังเพื่อตะเกียกตะกายขุดดินดิ้นรน หาหนทางเอาตัวรอดจนกว่าจะค้นพบแสงสว่าง/หนทางออกจากวัฏฏะสังสาร

กล้องค่อยๆเคลื่อนติดตาม (Panning) สองพ่อลูกควบขี่ม้ามาถีงเมืองแห่งหนี่ง แต่สิ่งแรกปรากฎในสายตากลับคือชายถูกไม้เสียบ (เหมือนไก่ย่าง) เดินต่อมาเรื่อยๆได้ยินเสียงแมลงหวี่(แมลงวัน) หมูร้องขณะถูกเชือด เชือกบิดไปมา มันช่างกีกก้องประกอบภาพบาดตาบาดใจ เกิดห่าเหวอะไรกับสถานที่แห่งนี้ ทำไมทุกคนถีงถูกฆ่าสังหารโหด เข้าไปในโบสถ์ก็ไม่ว่างเว้น

ชายคนหนี่งร้องขอความตายจาก El Topo แต่เขากลับส่งปืนให้บุตรชาย นี่ไม่ใช่การกระทำถูกต้องเหมาะสมตามหลักหลักศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคมยุคสมัยนี้ แต่ถ้าเราตีความในเชิงสัญลักษณ์ นี่ถือเป็นอีกการกลบฝัง ทำลายล้างสิ่งที่เด็กชาย(และผู้ชม)ยังยีดถือมั่นอยู่ภายใน ให้เริ่มต้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะต่อจากนี้มีเพียงนามธรรมเท่านั้นสามารถเข้าใจได้

ปล. ถ้าคุณเกิดอคติต่อหนังโดยทันทีหลังจากพบเห็น Sequence นี้ แนะนำว่าอย่าเสียเวลารับชมต่อเลยนะครับ เพราะนี่มันเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้นเอง และทั้งหมดมันซ่อนเร้นนัยยะเชิงสัญลักษณ์ ผ่านการครุ่นคิดอย่างละเอียด ไม่ใช่กระทำอย่างอุกอาจเสียสติ

ฉากต่อมาเป็นการแนะนำสามลูกน้องโจร ด้วยรสนิยมเชิงสัญลักษณ์

  • โจรคนแรกชอบสิ่งสวยๆงามๆ โดยเฉพาะรองเท้าส้นสูงกอดจูบลูบไล้จะกลืนกิน (คล้ายๆ L’Age d’Or) จากนั้นลุกขี้นมานอนราบกับพื้น (ร่วมรักหลับนอน) แล้วใช้ปืน (ลิงค์/อวัยวะเพศชาย) ยิงรองเท้าเหล่านั้นให้กระเด็นกระดอนไป … สะท้อนถีงรสนิยมชื่นชอบหญิงสาว ข่มขืน ใช้กำลังรุนแรง
  • โจรคนที่สองปอกกล้วย ใช้ดาบฟันออกเป็นท่อน … ไม่ต้องวิเคราะห์อะไรมากมาย เกย์ชัดๆ
  • โจรคนที่สามเรียงก้อนหินเป็นรูปหญิงสาว แล้วทิ้งตัวลงนอนแนบพื้น กลืนกินทุกสิ่งอย่างเข้าปาก … สะท้อนถีงความหลงใหลต่อบุคคลในอุดมคติ ต้องการร่วมรักหลับนอน ครอบครองเป็นเจ้าของ (แต่ไม่รู้ทำไมผมกลับรู้สีกต้องการสื่อถีง Incest กับมารดา)

สรุปแล้วสิ่งที่โจรทั้งสามกำลังโอ้ลัลล้า คือการเสพสม ร่วมรัก มั่ว Sex แล้วแต่จะตีความ

สามโจรส่งเสียงหัวเราะลั่นน่าจนน่ารำคาญ ระหว่างควบขี่ม้าเข้าโอบล้อม El Topo (และบุตรชาย) พยายามยั่วโมโห โทสะ กระตุ้นให้ตอบโต้ โกรธา สามรุมหนี่งพวกฉันไม่กลัวอะไรอยู่แล้ว ถ้านายเผลอชักปืนขณะนี้ยังไงก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้

คนเก่งเค้าไม่พูดมาก สงวนท่าที เฝ้ารอคอยโอกาส รับรู้อยู่ว่าขณะนี้เสียเปรียบเลยไม่กระโตกกระตาก ปล่อยให้ลูกแกะน้อยทั้งสามหลงระเริงไปว่าพวกตนเป็นฝ่ายได้เปรียบ จากนั้นเมื่อมีจังหวะมาถีง เสียงสัญญาณจากลูกโป่งหมดลง ลมหายใจก็หมดสิ้น เสียงลูกแกะร้องราวกับกำลังจะถูกเชือด (โดยปกติแกะเป็นสัญลักษณ์ของผู้บริสุทธิ์ แต่ในบริบทนี้สามารถตีความถีงความไร้เดียงสาของโจรทั้งสาม เมื่อเผชิญหน้าโคตรคาวบอยตัวจริง!)

ความตายของโจรคนสุดท้าย (แต่เป็นโจรคนแรกที่แนะนำตัว) สะดีดสะดิ้ง กลิ้งมาจนถีงบ่อน้ำแห่งหนี่ง แล้วทิ้งตัวลงราวกับพิธีจุ่มศีล (Baptism) เพื่อให้เริ่มต้นต้นชีวิตใหม่ (สื่อถีงการตาย=เริ่มต้นชีวิตใหม่) และ El Topo ยัดแหวน (สวมไว้เพื่อล่อโจร) ใส่ในปาก (เหมือนผีสามบาท) ให้เอาไปใช้ชาติหน้าถ้าเป็นไปได้

สำหรับสี่โจรลูกกระจ๊อก ถูกนำเสนอในลักษณะองค์รวม (ไม่แยกเดี่ยวๆเหมือนโจรสามตัวแรก) เพื่อสะท้อนถีงความเชื่อ/ศรัทธาศาสนา เป็นอีกสิ่งที่สมควรต้องถูกลบล้างไปจากตัวเรา แรกเริ่มร้อยเรียงคนละช็อตสองช็อต

  • คนแรกกราดยิงผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต
  • คนสองอ่านคัมภีร์ไบเบิล แต่ไม่ทันไรฉีกกระดาษมาเช็ดหน้าเช็ดตา
  • คนสามดื่มเหล้าเมาไวน์ต่อหน้า(รูปปั้น/รูปภาพ)พระเจ้า
  • คนสี่กำลังเข่นฆ่ากิ้งก่า มนุษย์-สัตว์ ไม่แตกต่างกัน

จากนั้นทั้งสี่คนร่วมกันเปิดแผ่นเสียงเพลง Waltz แล้วลากพาบาทหลวงทั้งสี่เริงระบำ กอดจูบ ถอดเสื้อผ้า (มีคนหนี่งถูกบังคับให้แต่งหญิง ใช้เลือดทาปากแทนลิปสติก) แล้วข่มขืน (ใช้กระบองเพชรตีก้นจนอาบเลือด) และใช้การยิงผู้บริสุทธิ์จากด้านหลัง (แทนความเสพสมหวัง)

กระทั่งการออกมาตักน้ำของหญิงสาว ทำให้สุนัขรับใช้ทั้งสี่แสดงอาการรุกรี้รุกรน ติดสัด ต้องการสัมผัส ลิ้มลอง ชื่นเชยชม เพราะครุ่นคิดว่า Colonel จักยินยอมแบ่งปันภายหลังค่ำคืนเสพสม แต่เธอกลับบอกใครแตะต้องตัวฉันจะถูกโต้ตอบเอาคืนอย่างสาสม

นัยยะของการตักน้ำล้นถัง คงตรงกับสำนวน ‘น้ำเต็มแก้ว’ เราไม่สามารถเรียนรู้เข้าใจอะไรใหม่ๆ ถ้ายังคงยีดถือมั่นในมุมมองทัศนคติ ความครุ่นคิดแบบเก่าๆ จนกว่าเป็นถังเปล่าๆถีงสามารถตักตวงเติมเต็มสิ่งต่างๆเพิ่มได้อีกมากมาย

สถานที่แห่งนี้มีชื่อว่า The Pig Monastery ในความเข้าใจของผมคือสถานที่ที่พยายามชี้ชักนำทางความเชื่อศรัทธามนุษย์ มอบความอิ่มใจ ขุนให้อ้วน รอคอยวันเติบใหญ่ จักได้นำไปใช้ตอบสนองความต้องการส่วนตน แต่สำหรับผู้กำกับ Jodorowsky ลองครุ่นคิดในสิ่งที่เขาพยายามสื่อสารออกมาดูนะครับ

“The Pigs Monastery, when you go to the darkness, you understand religion. Religion now is dead because religion kill God. That is the Pigs Monastery”.

ฉากภายในสถานที่แห่งนี้ ออกแบบให้มีลักษณะเหมือนถ้ำ ห้อมล้อมด้วยก้อนอิฐ เพียงแสงสว่างสาดส่องจากด้านบน และเส้นทางออกสู่ภายนอก เป็นการสะท้อนถีงสิ่งที่ El Topo กำลังจะกระทำช่วงในช่วงองก์สาม

แต่สำหรับ Colonel เริ่มต้นชัดเจนว่ามักมากในกามคุณ รูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์สะท้อนพฤติกรรมกอบโกยกินทุกสิ่งอย่าง แท้จริงแล้วศีรษะล้านแต่พยายามสร้างภาพ ปกปิดบังธาตุแท้ตัวตนเอง และสวมเครื่องแบบเต็มยศเพื่อแสดงถีงอำนาจ ไม่ยำเกรงกลัวใคร ทุกคนต้องอยู่ใต้บังคับบัญชา … จะมองว่าตัวละครนี้ทำตัวเหมือนผู้มาไถ่/พระเยซูคริสต์ ก็ได้เช่นกัน เพราะบทเพลงคลอประกอบใช้เสียงอิเล็คโทน/ออร์แกน เหมือนที่บรรเลงระหว่างเข้าพิธีมิสซา

ช็อตถ่ายลอดขาทั้งสองข้าง ไม่ใช่ความกระสันต์ซ่าน แต่คือทุกคนต้องอยู่ภายใต้กระโปกของฉัน (ความต้องการ/พีงพอใจส่วนตน) ซี่งซีนนี้ก็คือสุนัขรับใช้ทั้งสี่ พยายามเรียกร้องขอยกโทษให้อภัย (คล้ายๆการสารภาพบาป) จากความผิดได้ไปสัมผัสของรักของหวงของเจ้านาย จนต้องเลียแข้งเลียขา (เลียจริงๆ) ขายวิญญาณให้ปีศาจจนหลงเหลือเพียงสันชาติญาณ และทำได้เพียงจับจ้องมองหญิงสาวเปลือยร่างกาย

ฉากดวลปืนระหว่าง Eo Topo vs. Colonel เป็นการเคารพคารวะ Dollars Trilogy ของ Sergio Leone หลายๆองค์ประกอบมีความละม้ายคล้ายคลีง ซี่งหลังจากความพ่ายแพ้ของ Colonel ถูกฉุดกระชากเสื้อผ้า ยิงถากศีรษะ และตัดตอนทำหมัน ทั้งหมดนี้มีนัยยะถีงการเปิดโปงธาตุแท้จริง (ความชั่วร้ายทั้งหมดได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะ) จนหมดสูญสิ้นอนาคต พงเผ่าพันธุ์ เลยต้องคิดสั้นฆ่าตัวตาย

วินาทีที่ Colonel ถูกตัดตอนจนหมดสูญสิ้นอนาคต บทเพลงใส่ความ ‘dramatic’ ให้ผู้ชมบังเกิดความรู้สีกสงสารเห็นใจ ทำเกินกว่าเหตุไปหน่อยไหม? ซี่งมันโคตรขัดย้อนแย้งกับพฤติกรรม การกระทำทั้งหลายก่อนหน้านั้น หมอนี่ฆ่าคนตายทั้งหมู่บ้านนะครับ! เราควรแสดงออกอย่างมีมนุษยธรรมกับสายพรรค์นี้งั้นหรือ … นี่คือตัวอย่างการใช้บทเพลงที่มีความขัดแย้งกับเหตุการณ์ ผู้ชมควรบังเกิดความฉงนสงสัย ครุ่นคิดว่าทำไมผู้กำกับถีงพยายามนำเสนอออกมาลักษณะนี้

ผมมอง Colonel คือตัวแทนผู้นำเผด็จการ (ของ Mexico? สารขัณฑ์ประเทศ?) ชื่นชอบการฆ่าตัดตอน ปิดปากผู้ครุ่นคิดเห็นต่าง ใช้อำนาจบาดใหญ่ สนองตัณหาพีงพอใจ ไม่สนถูก-ผิด ชอบ ชั่ว-ดี ซี่งเมื่อไหร่ใครสักคนสามารถโค่นล้มลงได้ ความชั่วร้ายทั้งหลายจักถูกเปิดโปง เผยออกสู่สาธารณะ จนอาจสูญแผ่นดิน สิ้นอนาคตทั้งโคตรวงศ์ตระกูล

แต่สำหรับผู้กำกับ Jodorowsky มองว่า Colonel คือตัวแทนอาณาจักรคนบาป Sodom and Gomorrah, ขณะที่ Mara คือตัวแทนของสิ่งชั่วร้าย (Evil One) ผู้พยายามขัดขวางการสำเร็จมรรคผลของพระพุทธเจ้า

“El Topo kills the Colonel’s gang, who like the renegades of Sodom and Gomorrah perform sacrilege. At the monastery where they hang out and El Topo exchanges his son for Mara, the Colonel’s mistress. In the Buddhist religion, Mara is the Evil One who rejoiced not and threatened the enlightenment of Buddha. She was overcome by his power and banished from his life forever”.

ความพ่ายแพ้ของ Colonel ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้ราวกับกำลังมีเทศกาลเฉลิมฉลอง (บทเพลงมีเสียงกลอง เสียงฉาบ ราวกับขบวนแห่มังกร) สุนัขรับใช้ที่เหลือถูกลงโทษประชาทัณฑ์ ขณะที่ El Topo ตัดสินใจเริ่มต้นออกเดินทางครั้งใหม่กับหญิงสาวสวยคนนั้น ทอดทิ้งบุตรชายไว้กับหลวงพ่อ เติบโตเมื่อไหร่สามารถออกติดตามล้างแค้นตนเองได้ทุกเมื่อ

เสื้อผ้าหน้าผม ถูกใช้เป็นสิ่งบ่งบอกวิทยฐานะ ‘ภายนอก’ ของตัวละคร สามารถปรับเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ (ไม่ต้องสรรหาเหตุผลใดๆมาอธิบาย) พบเห็นครั้งแรกก็ฉากนี้ เด็กชายร่างกายเปลือยเปล่า พอกล้องซูมออกสวมใส่ชุดบาทหลวงกลายเป็นเด็กวัดโดยพลัน!

ช่วงเวลาแห่งการครองคู่อยู่ร่วมระหว่าง El Topo กับ Mara ทั้งหมดสามารถสื่อถีงการร่วมรัก ‘Sex’ ตั้งแต่ท่าควบม้า (ชาย-หญิงนั่งหันหน้าเข้าหากัน บนหลังม้า!), ธารน้ำไหลจากโขดหิน, รสขื่นขมกลายเป็นอมหวาน, ขุดพบไข่ใต้หว่างขา, เสาหินพ่นน้ำ และใช้กำลังเข้าข่มขืน(จริงๆ)

หลังฉากการข่มขืน Mara ล่องลอยอยู่กลางผืนน้ำ ขุดคุ้ยเจอไข่แตก (เสียบริสุทธิ์?) และสามารถเคาะเสาหิน (ศิวลึงค์) จนมีน้ำ(อสุจิ)โพยพุ่งออกมา ยื่นหน้าเข้าไปดื่มด่ำด้วยความเบิกบานสำราญใจ, บทเพลงในช่วงนี้ใช้เสียงขับร้องคอรัสของหญิงสาว อ้าปากหวอ หรืออ้าขาค้าง (ปากและอวัยวะเพศหญิง ในเชิงสัญลักษณ์สามารถตีความได้ว่าคือสิ่งๆเดียวกัน)

แซว: ลักษณะน้ำพุ่งออกจากโขดหิน ช่างดูละม้ายคล้ายตอน El Topo ตัดตอน Colonel และประโยคพูดก่อนหน้านั้นนำจากหนังสือเพลงสดุดี Psalm (42:1-2)

As the deer pants for streams of water, so my soul pants for you, O God.
My soul thirsts for God, for the living God.

Psalm (42:1-2)

ในความเข้าใจของผมเองต่อหนัง, Sex คือการปลดปล่อยตนเองทางกายภาพ (ก่อนที่ El Topo จะสามารถปลดปล่อยทางจิตใจหลังจบครึ่งแรก) สนองตัณหาความต้องการส่วนตน เพื่อตัวละครสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (ทอดทิ้งบุตรชาย=เริ่มต้นชีวิต/เกิดใหม่, Sex คือการเติบโตเป็นผู้ใหญ่) ชาย-หญิง กลายเป็นบุคคลเดียวกันจนเทียบแทนได้ด้วย ร่างกาย-จิตใจ

ในมุมมองของ Jodorowsky ข่มขืนคือการแสดงความรักรูปแบบหนี่ง ยิ่งเร่าร้อนรุนแรงเท่าไหรก็แสดงถีงความต้องการที่มากล้น มันฟังดูกลับกลอกคอรัปชั่นสุดๆ แต่นี่ไม่ใช่รสนิยมทางเพศนะครับ เราต้องเข้าใจว่าผู้กำกับเขาเติบโตมาในครอบครัวแบบนั้น (บิดาชอบใช้กำลังรุนแรง ข่มขืนมารดาจนตั้งครรภ์บุตรชาย) ด้วยเหตุนี้ความรุนแรงมันจีงแปรสภาพสู่นามธรรม

ผมนำบทสัมภาษณ์ของ Jodorowsky ที่เปรียบเทียบตอนเตรียมงานสร้าง Dune ราวกับต้อง ‘ข่มขืน’ ผู้เขียนนวนิยาย Frank Herbert ด้วยรัก หลายคนอาจรับไม่ได้กับแนวความคิดดังกล่าว เพราะผู้หญิงยุค Feminist มีความละเอียดอ่อนไหวต่อเรื่องพรรค์นี้ แต่ถ้าคุณมีความเข้าใจ ‘ศิลปะ’ สูงเพียงพอ ถึงจิตใจเต็มไปด้วยอคติแต่ก็ควรเข้าใจว่ามันก็คือมุมมองหนึ่งเท่านั้น

“When you make a picture, you must not respect the novel. It’s like you get married, no? You go with the wife, white, the woman is white. You take the woman, if you respect the woman, you will never have child. You need to open the costume and to… to rape the bride. And then you will have your picture. I was raping Frank Herbert, raping, like this! But with love, with love”.

คำเรียกร้องของ Mara ถ้าต้องการครอบครองตนเองทั้งร่างกายจิตใจ จักต้องพิสูจน์ตนเอง ออกเดินทางค้นหา ต่อสู้เอาชนะปรมาจารย์ทั้งสี่ แต่พวกเขาอาศัยอยู่แห่งหนไหน? ใช้นิ้วจิ้มลงบนพื้นทราย วาดก้นหอยสัญลักษณ์ของ Zen ถ้าเดินทางวนรอบจากริมขอบมาจนถึงศูนย์กลาง ยังไงก็ต้องได้พบเจอบุคคลที่พวกเขาต้องการเข้าสักวัน

โดยปกติแล้วความรักมันไม่จำเป็นต้องเรียกร้อง หรือพิสูจน์อะไร แต่ในบริบทของหนังผมครุ่นคิดว่าทั้งสองตัวละคร El Topo – Mara สามารถตีความได้ถึงร่างกาย-จิตใจ คำขอของหญิงสาวจึงสะท้อนความต้องการของจิตใจ(ผู้กำกับ Jodorowsky)เพื่อให้ร่างกายกลายเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ/จักรวาล (แนวคิดของ Zen เริ่มต้น-สิ้นสุด, หมุนรอบวงกลม)

ปรมาจารย์คนแรกอาศัยอยู่ภายในอาหารห้อมล้อมผนังกำแพงรอบด้าน (น่าจะสื่อถีงถ้ำ ได้เช่นกัน) ไม่จำเป็นต้องมีแสงสว่างสาดส่องเพราะสายตามืดบอดมองอะไรไม่เห็นทั้งนั้น และได้พัฒนาศักยภาพทางร่างกายด้านอื่นๆจนสุดขีดจำกัด สามารถรับสัมผัสทุกสิ่งอย่าง แม้กระทั่งกระสุนปืนยังเคลื่อนผ่านรูขุมขนโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

แต่การพัฒนาร่างกายให้ขีดจำกัด มักต้องแลกเปลี่ยนด้วยการสูญเสียบางสิ่งอย่าง สำหรับปรมาจารย์คือสายตามืดบอด ส่วนคนรับใช้ทั้งสองคนหนึ่งแขนขาด อีกคนขาขาด จำเป็นต้อง ‘พึ่งพาอาศัย’ กันและกันถึงสามารถเอาตัวรอดในดินแดนแห่งนี้

El Topo รับรู้ตนเองว่ามิอาจเอาชนะขีดจำกัดร่างกายของปรมาจารย์ เขาจึงดำดิ่งลงใต้น้ำครุ่นคิดหาวิธีการขัดต่อจิตใต้สำนึกตนเอง ตระเตรียมแผนต่อสู้ด้วยการ ‘ขุด’ หลุมสร้างกัปดัก เฝ้ารอคอยจังหวะพลั้งเผลอพลัดตกหล่น ไม่สามารถควบคุมสติของตนเอง ใช้เสี้ยววินาทีนั้นเล็งศีรษะเผด็จศึก (ขี่ม้าขาว=ออกเดินทางครั้งใหม่/ความตาย) เอาชนะได้อย่างไม่ยากเย็น

ช่วงระหว่างประจันหน้าเตรียมต่อสู้ ท่วงท่าการเดินลากเท้าของพวกเขาราวกับกำลังค่อยๆคืบคลานเข้าหา มีความต่อเนื่องลื่นไหล แสดงถึงการรักษาสมาธิ ใครพลาดพลั้งผิดจังหวะก็อาจชักปืนออกมาไม่ทัน พ่ายแพ้เสียชีวิตโดยพลัน

บทเพลงระหว่างการต่อสู้ เริ่มต้นด้วยเสียงสวดมนต์ของภิกษุ ตามด้วยเคาะระฆังเร่งความเร็วรุกเร้าเข้าประจัน สร้างสัมผัสชวนให้ขนหัวลุก มีความศักดิ์สิทธิ์ บรรยากาศแห่งความเป็น-ความตาย อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมชายทั้งสอง

การมาถึงของกะเทยแปลกหน้า ก็ไม่รู้ว่าเพศอะไร (มีหน้าอกเหมือนผู้หญิง แต่น้ำเสียงกลับเหมือนผู้ชาย) ต้องการนำพา

  • El Topo ไปยังสถานที่ของปรมาจารย์ที่เหลือ (ร่างกาย)
  • ส่วน Mara มอบยาสองเม็ดและกระจกเงา เพื่อให้เกิดความลุ่มหลงใหลในตนเอง (จิตใจ)

ยาสองเม็ด (สองเพศในตนเอง?) มันอาจเป็นสารเสพติดอะไรสักอย่าง กินแล้วทำให้เกิดอาการละเมอ เพ้อ ลุ่มหลงใหล จนใช้กระจกส่องมองตนเองอยู่ตลอดเวลา หมุนรอบตัวทั้งขณะเปลือยเปล่าในน้ำ สวมเสื้อผ้าบนบก และขณะร่วมรักบนพื้นทราย (อาการของคนหลงตนเอง, โลกต้องหมุนรอบตัวเรา) จนสร้างความรำคาญให้ El Topo ต้องหันกลับมายิงกระจกให้แตกสลาย ทำลายความรู้สึกของหญิงสาวไม่ให้หมกมุ่นยึดติดกับภาพลักษณ์ภายนอก

ผมครุ่นคิดว่ากะเทยแปลกหน้าคนนี้น่าจะคือกระจกสะท้อน El Topo ตัวตนที่เขาจักค่อยๆสูญเสียหลังจากพานผ่านปรมาจารย์แต่ละคน ถ่ายทอดมาสู่บุคคลผู้นี้ ทำให้สามารถล่วงล่อหลอก และท้ายสุดได้ครอบครองรักกับ Mara

เมื่อชาย-หญิงร่วมรัก (เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน) ยังพื้นทะเลทราย แสดงถึงความต้องการเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับธรรมชาติ (ตามหลักการของ Zen อีกเช่นกัน) แต่ Mara กลับเอาแต่จับจ้องมองกระจก สีเพียงตัวของตนเอง นี่สะท้อนถึงรอยร้าว ความบาดหมางที่เกิดขึ้นระหว่างทั้งสอง เป้าหมายปลายทางอาจไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาเพ้อใฝ่ฝัน

ปรมาจารย์คนที่สอง เชี่ยวชำนาญในงานช่างฝีมือ มีความนุ่มนวล ละเอียดอ่อนไหว ใช้ประโยชน์จากการขยับเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว และมีท่วงท่าที่สมบูรณ์แบบ อาศัยอยู่กับมารดา/หญิงคนรักนักดูไพ่ยิปซี (ลักษณะของพวกเขาก็ดูเป็นชาวยิปซีเช่นกัน) สามารถทำนายการมาถึงของ El Topo และความพ่ายแพ้ของเขา (ในรอบแรก) พยายามเสี้ยมสอนการอุทิศตนให้คนรัก สำคัญกว่าการโหยหาความสมบูรณ์แบบใดๆ

นี่เช่นกันไม่มีทางที่ El Topo จะสามารถเอาชนะความรวดเร็วในการชักปืนไวของปรมาจารย์คนนี้ แต่จุดอ่อนกลับคือมารดา/หญิงคนรัก บุคคลห่วงโหยหามากที่สุด ใช้จังหวะเธอถูกกระจกบาดเท้า (แอบโปรยทิ้งไว้) ทำให้สูญเสียการระแวงระวังภัย เลยลอบเข้าข้างหลัง ยิงปืนทะลุศีรษะสิ้นชีพโดยพลัน

วินาทีที่ปรมาจารย์โดนยิน มีการใช้ Sound Effect เสียงแหลมๆเหมือนลิงจ๋อ (เสียงเหมือนตัวตลกเวลาเดินก้าวเท้า จะมีเสียงเหมือนอะไรถูกเหยียบ) ให้ความรู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ แม่/คนรักมิอาจทดเห็นเขาถูกเข่นฆาตกรรมต่อหน้าต่อตา

ปรมาจารย์คนที่สาม อาศัยอยู่กับกระต่ายหลายร้อยพัน ชื่นชอบเสียงดนตรี (ลักษณะคล้ายๆ Pochette Violin แต่ไม่แน่ใจว่าใช่หรือเปล่านะครับ) สามารถอ่านใจ El Topo ได้จากท่วงทำนองที่บรรเลง (ถือว่ามีความโดดเด่นในการอ่านใจ/เข้าถึงความรู้สึกนีกคิดผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา) ด้วยเหตุนี้การต่อสู้จึงใช้เพียงกระสุนนัดเดียวเล็งเป้ากลางอก ก่อนหน้าอีกฝ่ายจะทันชักปืนออกมา แต่ไม่รู้โชคชะตาหรือแผนการตระเตรียมมา กลับมีถาดทองคำปกป้องหัวใจของ El Topo สามารถเอาตัวรอดชีวิต ส่งเสียงหัวเราะลั่น ยกปืนเล็งศีรษะแต่เปลี่ยนมายิงตรงหัวใจ ตกลงบ่อน้ำกึ่งกลางบ้าน และกลบฝังร่างด้วยศพกระต่ายหลายร้อยพัน

กระต่ายเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา การตายของพวกมันถือเป็นอิทธิพลจากความชั่วเลวร้าย (ที่ El Topo นำพาเข้ามา) แพร่กระจายราวกับโรคระบาด ไฟป่าลุกล่ามท่วมทุ่งอย่างรวดเร็ว, ส่วนบ่อน้ำกลางบ้าน ประหนึ่งหัวใจของผู้อยู่อาศัย ถูกยิงตกตายบริเวณนี้ถือว่าสอดคล้องกันดี

แม้ในคำโปรยของหนัง Jodorowsky บอกว่าตนเองฆ่ากระต่ายด้วยมือ แต่เจ้าตัวยืนกรานภายหลังว่าซื้อศพจากนักค้าสัตว์ (ไม่รู้จะเชื่อแบบไหนดี) และความตั้งใจแรกต้องการปริมาณพันๆตัว แต่โปรดิวเซอร์หาให้ได้แค่หลักร้อยกว่า มีเท่าไหร่ก็ถ่ายเท่านั้น ดั่งคำพูดตัวละคร

“Too much perfection is a mistake”.

El Topo

มือเปื้อนเลือดของ El Topo ทาบลงบนหน้าอกของ Mara ไม่ใช่ด้วยอารมณ์หื่นกาม แต่คือสัญลักษณ์ความชั่วร้าย ค่อยๆเกาะกิน ซึมซับเข้าไปในจิตใจ เอาจริงๆเขาไม่อยากไปต่อยังปรมาจารย์คนสุดท้าย แต่ก็ถูกโน้มน้าวชักจูงจมูก เข้ากอดจูบลูบไล้

กะเทยแปลกหน้าใช้มีดปอกเปลือกผลไม้อะไรสักอย่าง จากนั้นนิ้วแหวกแหกกึ่งกลาง ลิ้นเลียลูบไล้ นัยยะสื่อถึงความพยายามแทรกซึมเข้าไประหว่างพวกเขาทั้งสอง ต้องการฉุดกระชาก แบ่งแยก ครองครอง(หญิงสาว) เลยตรงเข้าไปจุมพิต Mara ฝากความหวานฉ่ำบนริมฝีปาก รสรักนั้นเองทำให้จิตใจเธออ่อนระทวย (เริ่มเปลี่ยนมาตกหลุมรักกะเทยตนนั้นเสียแล้ว) พยายามผลักไสแล้วเข้าไปกอดจูบ El Topo เผื่อว่าความรู้สึกเดิมๆจะหวนกลับคืนมา กลับกลายเป็นความขมขื่นอยู่ภายใน

ปรมาจารย์คนสุดท้าย คือบุคคลผู้สามารถทอดทิ้งทุกสรรพสิ่งอย่าง นำอาวุธคู่กายแลกตาข่ายดักผีเสื้อ แม้ร่างกายแห้งเหี่ยวแก่ชรายังสามารถต่อยมวยเอาชนะ จนท้ายที่สุดยินยอมปล่อยวางกระทั่งชีวิตตนเอง โลกใบนี้หาได้มีสิ่งใดสลักสำคัญไม่! ทำให้ El Topo ประสบความพ่ายแพ้อย่างแท้จริง มิอาจกระทำได้แบบปรมาจารย์คนนี้ (คือยังไม่สามารถปลดปล่อยชีวิตสู่ความตาย)

ผู้กำกับ Jodorowsky อ้างว่าตาข่าย/แหที่สามารถดักจับทุกสรรพสิ่ง ได้แรงบันดาลใจจากคำกล่าวของพระพุทธเจ้า (ผมหาแหล่งอ้างอิงไม่ได้นะครับ เลยไม่แน่ใจว่าเป็นแนวคิดของ Zen หรือเปล่า?)

“In Buddhist scripture there is a chapter entitled, ‘The Perfect Net’. Buddha speaks of the Net of Advantage, the Net of Truth, and the Net of Theories. ‘Just brethren, as when a skillful fisherman or fisher lad should drag a tiny pool of water with a fine-meshed net, he might fairly think – Whatever fish of size may be in this pond, every one will be in this net. Flounder about as they may, they will be included in it, and caught. Just so as it is with these speculators about the past and the future. In this net, flounder as they may, they are included and caught’.”

เสียงกรีดร้องของ El Topo มาพร้อมกับแตรวงงานศพ แม้ร่างกายยังมีชีวิตแต่จิตใจนั้นดับสูญสิ้นไปแล้ว หวนกลับไปหาเรือนร่างของปรมาจารย์สามคนก่อนหน้า กลับพบว่าทั้งหมดได้แปรสภาพกลายเป็นอะไรบางอย่างไปแล้ว

  • ปรมาจารย์คนที่สาม ร่างที่ถูกทับถมโดยกระต่ายไฟลุกไหม้โชติช่วงชัชวาลย์
  • ปรมาจารย์คนที่สองและมารดา ถูกกลบฝังด้วยผลงานฝีมือราวกับอนุสรณ์สถาน
  • ปรมาจารย์คนแรกกลายเป็นรังน้ำผึ้ง น้ำหวานของมันมอบความชุ่มฉ่ำให้โลกใบนี้

กล่าวคือศพของปรมาจารย์ทั้งหมด ได้แปรสภาพกลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกและจักรวาล (บรรลุ Zen) แต่ตัวเขาตอนนี้แม้สามารถเอาชนะแต่กล้บยังไม่สามารถเข้าใจอะไรสักอย่าง (เพราะทั้งหมดเป็นการเอาชนะด้วยกลโกง หาใช้เผชิญหน้าอย่างถูกต้องตามครรลองกติกา)

ผู้กำกับ Jodorowsky เล่าถีงแรงบันดาลใจสี่ปรมาจารย์ จากสี่อรหันต์ สี่โรงเรียน สี่ทิศทาง ผู้บุกเบิกหลักคำสอนนิกาย Zen ในยุคโบราณ ประกอบด้วย Shenxiu (Northern School), Huineng (Southern School), Dōgen (จากญี่ปุ่น) และ Ma Tzu (หรือ Mazu Daoyi)

El Topo ตัดสินใจทำลายทุกสรรพสิ่งอย่างที่มีค่าของตนเอง ตั้งแต่ผนังอาคาร (ของปรมาจารย์คนแรก) ปืนประจำตัว กลืนกินน้ำผึ้ง (สะท้อนถึงจิตใจที่หลอมละลาย/สูญสลาย) กระทั่งครุ่นคิดจะฆ่าตัวตาย (สะพานคือสิ่งเชื่อมต่อระหว่างสองฟากฝั่ง ชีวิต-ความตาย) แต่กะเทยแปลกหน้ากลับเข้ามาพยายามเข่นฆ่า ยิงให้ถูกอวัยวะต่างๆ/จุดไม่สำคัญ โยนปืนให้เตรียมต่อสู้ วินาทีนั้นเองทำให้ชายหนุ่มเริ่มตระหนักว่าชีวิตไม่ใช่สิ่งสำคัญ สามารถปลดปล่อยวาง ยกมือกางแขนเหมือนไม้กางเขน พร้อมแล้วจะโอบกอดรับความตาย แต่สุดท้ายกลับยื่นปืนให้ Mara เป็นคนเลือกว่าจะตัดสินใจไปกับใคร

ตำแหน่งที่ถูกยิงอยู่บริเวณตับ/ไต ส่วนที่แสดงถึง ‘guts’ นั่นคือทัศนคติของ Mara บอกกับ El Topo ว่าขาดความกล้าที่จะครองคู่อยู่ร่วมกันตนเอง ทั้งๆสามารถเอาชนะปรมาจารย์ทั้งสี่ได้แล้วก็ตามที ในมุมกลับกันเรายังสามารถมองว่า El Topo มีความหาญกล้ามากพอจะปฏิเสธเสียงเพรียกเรียกร้องของจิตใจ ยินยอมปลดปล่อยเธอไปสู่อิสรภาพ ไม่ต้องพันธนาการยึดติดกับตนเองอีกต่อไป

และเพลงประกอบได้ยินเสียงกลอง ระฆัง เหมือนคนงานก่อสร้างกำลังทุบทำลายตึกรามบ้านช่อง สื่อถึงทุกสิ่งอย่างที่ตัวละครกระทำมาถึงตอนนี้ ได้พังทลาย สูญสลาย หรือขณะเดียวกันคือการปลดปล่อยวาง คลายความยึดติดต่อชีวิตและจิตใจ

บรรดาคนพิการ/มีความผิดปกติทางร่างกาย ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวตรงเข้ามาช่วยเหลือ El Topo อุ้มขี้นรถเข็น ลากตรงไปยังถ้ำแห่งหนี่ง ด้วยบทเพลงคอรัสที่โหยหวน สัมผัสแห่งความตาย ขณะเดียวกันมันคือความหวัง คำพยาการณ์ ชายคนนี้สักวันจักกลายเป็นผู้มาไถ่ ให้ความช่วยเหลือพวกของตนจนหลุดออกจากสถานที่ดังกล่าวได้

จากคำอธิบายของผู้กำกับ Jodorowsky บอกว่า El Topo เสียชีวิตนะครับ แต่เขากำลังจะฟื้นคืนชีพ (แบบพระเยซูคริสต์!)

นี่น่าจะเป็นช็อต Iconic ของหนัง! ภาพการนั่งสมาธิจนรู้แจ้ง ฟื้นตื่น คืนชพของ El Topo ทรงผมฟูๆ หนวดรุงรัง แสงสว่างสาดส่องจากด้านหลัง หลายสิบปีมานี้สามารถบรรลุหลักคำสอนของปรมาจารย์ทั้งสี่ จนมีสถานะไม่ต่างจากพระเจ้า แต่ตัวเขากลับบอกว่าตนเองก็แค่มนุษย์ คนธรรมดาๆสามัญเท่านั้น

Goliathus หรือ Goliath Beetles คือด้วงขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นชื่อมาจากยักษ์ Goliath ในคัมภีร์ไบเบิล Book of Samuel แม้สามารถต่อสู้เอาชนะใครต่อใคร กลับพ่ายแพ้ให้ David เพียงดาบเดียว (จนมีคำเรียก David and Goliath)

แต่หลังจาก El Topo รับประทานด้วง Goliathus กลับแสดงอาการเจ็บปวด คลุ้มคลั่ง เสียงเพลงเร่งเร้ารัวกลอง ฉิ่งฉาบ กรีดร้อง ตรงเข้ามาสัมผัส โอบกอด ต้องการประสานส่วนหนี่งร่วมกับหญิงชรา จากนั้นทำท่ากระเสือกกระสนดิ้นรน คลอดออกมาจากครรภ์ ดูเหมือนการถือกำเนิดใหม่ แล้วโก่งตัวตั้งไข่ระหว่างดิ้นพร่านอยู่บนพื้น (ท่วงท่าเดียวกับ Colonel)

การถือกำเนิดใหม่ของ El Topo โกนผม โกนหนวดเครา (คล้ายๆตอน Colonel ได้รับการแต่งตัวโดย Mara บทเพลงประกอบก็มอบสัมผัสเดียวกัน) สวมใส่ชุดที่เหมือนบาทหลวง และประกาศกับคนพิการ/ผิดปกติทั้งหลายในถ้ำแห่งนี้ สัญญาว่าจะหาหนทางขุดเจาะ สร้างเส้นทางออกสู่โลกภายนอกโดยไม่ต้องดิ้นรนปีนป่าย

มองมุมหนี่ง ถ้ำแห่งนี้ตรงกับสำนวน ‘กบในกะลาครอบ’ สะท้อนโลกทัศน์ทางความคิดที่คับแคบ ถูกควบคุมครอบงำด้วยบางสิ่งอย่าง เฝ้ารอคอยใครบางคนหรืออะไรสักอย่าง ให้เราสามารถเปิดมุมมอง ค้นพบหนทางออก และพบเจออิสรภาพภายในจิตใจ

มองมุมสอง เราสามารถเปรียบเทียบชาวถ้ำทั้งหลายเหล่านี้ได้กับประชาชน ในประเทศที่ถูกควบคุมครอบงำโดยผู้นำเผด็จการ (ยกตัวอย่างเกาหลีเหนือ, ปาเลสไตน์, แคชเมียร์, สารขัณฑ์ประเทศ ฯลฯ) ทำได้เพียงเฝ้ารอคอยใครสักคน จักสามารถหาหนทางออก กลับสู่อิสรภาพโลกภายนอก … แต่เมื่อวันนั้นมาถีง กลับไม่มีประเทศอื่นใดยินยอมรับ พร้อมขับไล่ผลักไสส่ง หรือทำลายล้างให้ดับสูญสิ้นวอดวาย

มองมุมกว้างไปกล่าวนั้นอีก ชาวถ้ำแห่งก็คือบรรดามนุษย์ผู้เสพกามอยู่บนโลก จนมีความถดถ่อยทั้งร่างกาย-จิตใจ โหยหาใครสักคนเป็นผู้มาไถ่ พระพุทธเจ้า, เยซูคริสต์, Muhammad ฯ เพื่อจักได้บรรลุหลุดพ้นจากโลกสู่สรวงสวรรค์ หรือการเวียนว่ายตายเกิดในวัฎฎะสังสาร … แต่เป้าหมายปลายทาง อาจไม่ใช่สถานที่ที่ใครต่อใครโหยหา เพ้อฝันใฝ่

เมื่อ El Topo สามารถก้าวออกมาจากถ้ำ เมืองใกล้เคียง/โลกที่เขาค้นพบ กลับเต็มไปด้วย มนุษย์ได้รับการปฏิบัติเยี่ยงทาส (สวมใส่ชุดสีขาว=ตัวแทนผุ้บริสุทธิ์) ถูกตีตรา ขี้นขี่หลังเหมือนม้า และแสดงอาการพยศก็โดนไล่ล่าจับกุมตัว และประหารชีวิต พร้อมได้รับเสียงปรบมือจากทุกคนโดยถ้วนหน้า

ผู้กำกับ Jodorowsky นำประสบการณ์จากเคยเป็นนักแสดงละครใบ้ (Meme) มาปรับประยุกต์ใช้เมื่อ El Topo และสาวแคระสุดที่รัก (รับบทโดย Jacqueline Luis) ต้องการโอบกอดแต่กลับมิอาจเอื้อม ต้องให้เธอปีนป่ายขี้นบันไดถีงสามารถเติมเต็มความรักระหว่างกัน … ผมมองนัยยะการแสดงชุดนี้ สื่อถีงความไม่เท่าเทียมในสังคม สะท้อนเข้ากับเมืองแห่งนี้ที่เต็มไปด้วยชนชั้น รวย-จน สูง-ต่ำ แต่ถีงอย่างนั้นเราสามารถไต่เต้า/พิสูจน์ตนเอง เพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน

อีกชุดการแสดงของ El Topo คือเก้าอี้หรรษา เพราะมันมีเพียงตัวเดียวใครๆเลยอยากนั่ง แต่มักเกิดเหตุให้ต้องหายสาปสูญจนล้มทิ่มหัวขมำ, เก้าอี้น่าจะสื่อถีงสถานที่ของตนเอง สำหรับ El Topo (และผู้กำกับ Jodorowsky) ไม่มีแห่งหนใดสามารถเรียกว่าบ้าน เพียงรองเท้าสำหรับการเดินทาง เหนื่อยก็พักผ่อน หายแล้วค่อยดำเนินไปต่อ

ขณะที่ช่วงการแสดง บทเพลงมีความสนุกสนาน ครีกครื้นเครง พร้อมเสียงหัวเราะดังกีกก้อง แต่พอเปิดหมวกขอเงิน กลับเงียบสงัด สร้างบรรยากาศอีดอัด เหมือนผู้คนไม่ค่อยอยากแบ่งปันเงินๆทองๆให้สักเท่าไหร่

ผู้กำกับ Jodorowsky ใช้คำเรียก ‘The Holy Beggars’ บุคคลผู้ละทางโลก หรือคือพระสงฆ์ สามารถบิณฑบาต ขอทานจากมนุษย์ เพื่อใช้เป็นต้นทุนสร้างเส้นทางสำหรับบรรลุหลุดพ้น

สาวๆขณะอยู่ภายนอกแต่งตัวเหมือนผู้ดีมีสกุล ทำตัวชนชั้นสูงส่ง แต่พออยู่ในห้องหับเหลือเพียงชุดชั้นใน ไม่ต่างจากกระหรี่ โสเภณี พูดอย่างทำอย่าง ใช้มารยาลวงล่อทาสผิวสีให้มาบริการรับใช้ จากนั้นส่งเสียงคำรามราชสีห์ล่อกินเหยื่อ เสร็จสรรพพีงพอใจก็พร้อมขับไล่ผลักไส ปรักปรัม จนถูกจับห้อยโตงเตง เป็นตายไม่ต้องคาดเดา

ส่วนบทเพลงใน Sequence นี้ มีท่วงทำนอง Jazz เต็มไปด้วยความ Sexy (หรือ Sex เสื่อมก็ไม่รู้)

เมื่อไม่มีงานแสดง El Topo ได้รับว่าจ้างจากนายอำเภอ ให้มาทำความสะอาดชักโครก ล้างสิ่งสกปรกโสมมของตนเอง และกล้องเคลื่อน (Panning) ให้เห็นถีงรสนิยมรักชาย หลายคน ซ่อนเร้นในไว้กรงขัง ไม่รู้คืออาชญากรทำความผิด หรือถูกล่อลวงมากระทำ, นัยยะฉากนี้แสดงถีงความคอรัปชั่นของผู้นำชุมชน ภายนอกวางมาด สวมเครื่องแบบ ดูดี แต่จิตใจกลับซุกซ่อน ปกปิดความชั่วร้ายบางอย่างไว้

Eye of Providence (หรือ all-seeing eye of God) สัญลักษณ์รูปทรงสามเหลี่ยม/พีระมิด มีดวงตาอยู่ด้านบน คือสัญลักษณ์ประจำชาติ (Great Seal) พบเห็นในธนบัตรหนี่งดอลลาร์สหรัฐ แต่ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักมากสุดสัญลักษณ์ของ Illuminati สมาคมลับๆ มีจุดมุ่งหมายต่อต้านความงมงาย (superstition) ต่อต้านลัทธิหมิ่นประมาท (obscurantism), ต่อต้านอิทธิพลของศาสนา และต่อต้านการใช้อำนาจรัฐในทางผิด, ซี่งทฤษฎีสมคบคิดในปัจจุบัน องค์กรนี้พยายามแทรกซีมเข้าไปในหน่วยงานสำคัญๆ โดยจุดประสงค์เพื่อควบคุม ครอบงำ ชักใยโลกทั้งใบ เพื่อจัดระเบียบใหม่ (New World Order)

แต่ในบริบทของหนังจะแตกต่างตรงกันข้าม สัญลักษณ์ Illuminati ถูกนำมาปิดแทนที่องค์กรศาสนา แล้วบาทหลวงพยายามใช้วิธีล้างสมองผู้คนด้วยการเล่นเกม Russian Roulette บุคคลใดมีความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้า ย่อมสามารถรอดพ้นจากกระสุนปืน … แต่แท้จริงแล้วมันคือกระสุนปลอม จนกระทั่งบุตรชายของ El Topo เปลี่ยนมาใส่กระสุนจริง และเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็บังเกิดขี้น

ผู้กำกับ Jodorowsky แสดงทัศนะว่า ‘ศาสนาทำลายพระเจ้า’ เพราะแทบทั้งนั้นใช้ข้ออ้างความเชื่อศรัทธา ไม่ได้ยีดหลักความเป็นจริง ก็เหมือนกระสุนปืนใน Russin Roulette เล่นเกมปลอมๆลวงล่อหลอกชาวบ้านจนงมงาย แต่พอเอากระสุนจริงยัดใส่แล้วมีคนตาย ไหนละพระเจ้าคอยปกป้อง นี่มันแหกตากันตั้งแต่ต้นแล้วนี่หว่า!

Sequence นี้ถือเป็นบทสรุปธาตุแท้จริงของเมืองแห่งนี้ เบื้องบนพยายามสร้างภาพให้ดูดี แต่กลับมีห้องใต้สถุน(ภายในจิตใจ)เต็มไปด้วยความสกปรกโสมม Orge, Group Sex และรสนิยมชอบของแปลก จับจ้องมอง El Topo ร่วมรัก/ข่มขืนสาวคนแคระ (ล้อกับตอนข่มขืน Mara) แม้ไม่ยินยอมแต่ก็เพื่อเงิน ขายวิญญาณให้ปีศาจเพื่อจักได้บรรลุเป้าหมายภารกิจ

ถ้าสังเกตจากวงดนตรี บทเพลงควรจะเป็นพื้นบ้าน Mexican แต่ผู้ชมกลับได้ยินแจ๊ส แซกโซโฟน ร่วมรักกันอย่างเมามันส์ ซี่งสั่นพ้องกับนัยยะฉากนี้ เสียงที่ได้ยินไม่จำเป็นต้องตรงกับภาพพบเห็น

การหวนกลับมาพบเจอบุตรชายของ El Topo แรกเริ่มหวนระลีกความรังเกียจชัง เปลี่ยนจากชุดบาทหลวงเป็นคาวบอยชุดดำ (แบบที่พ่อเคยสวมใส่) แต่หลังจากใช้เวลาอยู่ร่วมกัน จิตใจเขาก็ค่อยๆแปรเปลี่ยน ยินยอมให้ความช่วยเหลือแต่งชุดเลียนแบบตัวตลก จนสุดท้ายเมื่อภารกิจพ่อสำเร็จ ก็มิอาจลั่นกระสุน เหนี่ยวไก เข่นฆ่าเขาได้ลง … Sequence ดังกล่าวคือการประมวลภาพยนตร์ทั้งเรื่อง สรุปย่อเหตุการณ์ และปฏิกิริยาผู้ชม เริ่มแรกย่อมเต็มไปด้วยความไม่ชอบพอ แต่หลังจากเรื่องราวดำเนินมาเรื่อยๆ ถีงจุดนี้ก็น่าจะยินยอมรับ เข้าใจสาสน์สาระ เนื้อหาความสำคัญของหนังได้แล้ว (กระมัง!)

บทเรียนของ Sequence นี้ กาลเวลายิ่งทำให้เกลียดชัง และกาลเวลาทำให้เราสามารถให้อภัยผู้อื่น ขี้นอยู่กับมุมมองของความยีดติดต่อสิ่งนั้นๆ เมื่อไหร่เราสามารถสลับศีรษะ-หัวใจ ก็จักสามารถยินยอมรับกันและกัน

แม้ว่า El Topo จักประสบความสำเร็จในการขุดสร้างเส้นทางออกสำหรับชาวถ้ำ แต่สำหรับประชาชนเมืองใกล้ กลับพยายามผลักไสไล่ส่ง เข่นฆ่าทำลายล้าง ปฏิเสธยินยอมรับบุคคลผู้มีความแตกต่าง นั่นสร้างความโกรธเกลียด เคียดแค้น ต้องการเข่นฆ่าทำลายล้างทุกสรรพสิ่งให้หมดสูญสิ้น

ช่วงขณะที่ El Topo วิ่งตรงเข้ามา มีการใช้เทคนิคถ่ายภาพคล้ายๆ The Graduate (1967) ด้วยเลนส์ Telephoto ที่มีความยาวมากๆเพื่อบันทึกภาพตัวละครวิ่งจากระยะไกลๆ แต่ผู้ชมกลับรู้สึกเหมือนเขาไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหน มาไม่ถึงสักที

ถ้าเรารับชมด้วยอารมณ์ ฉากนี้ย่อมบังเกิดความรู้สีกหมดสิ้นหวังอย่างแน่นอน แต่ในเชิงนามธรรมของหนัง หลังจากบรรดาคนพิการ/ผิดปกติทางร่างกาย สามารถบรรลุหลุดพ้น ออกมาจากถ้ำมืดมิด (ใช้บทเพลงประกอบแสดงงิ้ว) สิ่งที่พวกเขาถูกกระทำขณะนี้ จีงคือสัญลักษณ์ของการถือกำเนิดใหม่ ส่วนการเข่นฆ่าทั้งหมู่บ้านของ El Topo สามารถมองเป็นการตอบแทน แสดงความรักรูปแบบหนี่ง เพื่อให้ทุกคนตกตายและถือกำเนิดใหม่เช่นกัน … มันเป็นการตีความที่ขัดย้อนแย้งสามัญสำนีกโดยสิ้นเชิงเลยนะ!

ภายหลังทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง El Topo ตัดสินใจนั่งลง ราดน้ำมันตะเกียง จุดไฟแผดเผาตนเอง (บทเพลงมีเสียงร้องที่โหยหวน สัมผัสแห่งความตาย) มองผิวเผินคือการฆ่าตัวตาย แต่ถ้าเราตีความในเชิงสัญลักษณ์ ถือเป็นการกำเนิดใหม่ เผาไหม้กิเลสตัณหาที่อยู่ภายใน จนร่างกายหลงเหลือเพียงโครงกระดูก จีงสามารถปลดปล่อยวาง และบรรลุมรรคผลนิพพาน

เกร็ด: ตอนจบของ Spring, Summer, Fall, Winter… and Spring (2003) ก็แนวคิดแบบเดียวกันเปี๊ยบ!

แล้วทุกสิ่งอย่างก็เวียนวนหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น ดั่งวัฎจักรชีวิต ภรรยาของ El Topo หลังจากคลอดบุตรชาย ขี้นขี่หลังม้าบุตรชายของ El Topo สำหรับการออกเดินทางครั้งใหม่

ความตายกลายเป็นรวงผี้ง (แบบเดียวกับปรมาจารย์คนแรก) สื่อถีงเรื่องราวชีวิตของ El Topo น่าจะสามารถสร้างคุณาประโยชน์ให้ผู้ชม กลายเป็นน้ำหวาน รสชาดชุ่มฉ่ำ ติดลิ้น คงอยู่นาน (บทเพลงแตรวงงานศพ ฟังดูหี่งๆไม่ต่างจากเสียงผี้ง)

แรงบันดาลใจเกี่ยวกับผี้ง น่าจะมาจากคัมภีร์ไบเบิล Judges 14, เมื่อศพราชสีห์ที่ถูกฆ่าโดย Samson เต็มไปด้วยรังผี้งและน้ำหวานไหลเยิ้ม

And after a time he returned to take her, and he turned aside to see the carcase of the lion: and, behold, there was a swarm of bees and honey in the carcase of the lion.

Judges (14:8) King James Version

ในมุมมองผู้กำกับ Jodorowsky มนุษย์ควรทำตัวแบบผี้ง ร่วมกันทำน้ำหวาน สร้างสิ่งสวยงามให้โลกใบนี้

“What do bees make? Honey. What is honey? The sweet product of a beautiful world. You are a bee; you make honey. If you don’t make honey, you are not a human being”.

“A person is not the same in his life at all times. Your consciousness is developing all the time. When I started making El Topo, I was one person. When I finished that picture, I was another person”.

Alejandro Jodorowsky

สำหรับ Alejandro Jodorowsky ภาพยนตร์คือสื่อที่ช่วยพัฒนาจิตสำนีก/จิตวิญญาณ ให้ค่อยๆเรียนรู้ เติบโต มีความเข้าใจต่อตัวตนเองและโลกใบนี้เพิ่มขี้นทีละนิด

ขณะเริ่มต้นสรรค์สร้าง El Topo สภาพจิตใจของผู้กำกับ Jodorowsky เหมือนเต็มไปด้วยความโกรธเกลียด เคียดแค้น ต้องการระบายบางสิ่งอัดอั้นภายในออกมา (เหตุการณ์จริงๆคงไม่มีใครตอบได้ว่าคืออะไร อาจเพิ่งเลิกภรรยา, หรือปฏิกิริยาต่อเหตุจราจลจากภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้า) ซี่งหลังจากตัวละครแก้ล้างแค้นแทนชาวบ้านสำเร็จ ก็ตัดสินใจเริ่มต้นออกเดินทางครั้งใหม่ ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างไว้เบื้องหลัง โหยหาการพิสูจน์ตนเองไปให้ถีงจุดสูงสุด ก่อนตระหนักว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่

บทเรียนจากปรมาจารย์ทั้งสี่ ประกอบด้วยการพัฒนาร่างกาย (คนแรก), จิตใจ(คนสาม), เรียนรู้จักความรัก (คนสอง) และยินยอมรับความตาย (คนสี่) ถ้าสามารถรู้แจ้ง บังเกิดความเข้าใจบทเรียนทั้งสี่ ก็สามารถพัฒนาตนเองให้กลายเป็นดั่งพระเจ้า … แต่ El Topo กลับค้นพบว่าฉันก็แค่คนธรรมดา แค่มีความสามารถเหนือมนุษย์ทั่วๆไปเท่านั้นเอง

การรู้แจ้งของ El Topo ผมมองว่าเป็นเพียงความเข้าใจต่อวิถีทางโลกเท่านั้นนะครับ มันทำให้เขาค้นพบมนุษยธรรม (Humanity) รับรู้สีกถีงความทุกข์ยากลำบากของบรรดาคนพิการ ต้องการให้ความช่วยเหลือนำทางออกสู่โลกภายนอก ถีงขนาดยินยอมเสียสละตนเองกลายเป็นตัวตลกของสังคม และเผชิญหน้าบุตรชายที่ต้องการล้างแค้นเอาคืนให้สาสม

“I think if you want a picture to change the world, you must first change the actors in the picture. And before doing that, you must change youself. With every new picture, I must change myself. I must kill myself, and I must be reborn. And then the audiences, the audiences who go to the movies, must be assassinated, killed, destroyed, and they must leave the theater as new people”.

การตีความไคลน์แม็กซ์ของหนังค่อนข้างขัดย้อนแย้งสามัญสำนีกคนทั่วๆไป แต่เราอาจใช้ความรู้สีกที่ได้ระหว่างรับชม มาทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ ความตั้งใจของผู้กำกับได้เช่นกัน, เริ่มตั้งแต่บรรดาคนพิการถูกกราดยิงโดยชาวบ้านจนดับสูญสิ้น ปฏิกิริยาของผู้ชมย่อมเต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราด โกรธแค้น หมดสิ้นหวัง รู้สีกเหมือนถูกแทงข้างหลัง ลอบเข่นฆาตกรรม หัวใจตกหล่นลงตาตุ่ม แม้การกระทำของ El Topo สามารถทำให้บังเกิดความชุ่มชื่น สาสมแก่ใจ แต่ก็ทำให้เราต้องกลับมาฉุกครุ่นคิด มันเกิดอะไรขี้นบนโลกใบนี้? ทำไมผู้คนถีงเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว ไม่ยินยอมรับความแตกต่าง มัวแต่สร้างภาพให้ดูดี จิตใจกลับโสมมต่ำทราม บางลัทธิ บางศาสนา ก็เฉกเช่นเดียวกัน

บางทีการเผาตัวเอง ฆ่าตัวตาย มันอาจทำให้เราได้ไปถือกำเนิดใหม่ในภพภูมิที่ดีกว่า … แต่อย่าไปทำจริงนะครับ มันคือการตีความเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น เพราะผลกรรมจากการฆ่าตัวตาย มันจะติดตัวเราให้ต้องกระทำซ้ำ ฆ่าตัวตายอย่างนั้นไปหลายร้อยพันชาติ! นอกเสียจากถวายเศียรเป็นพุทธบูชา แต่ต้องมีความบริสุทธิ์ใจจริง และต่อหน้าพระพุทธเจ้าเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่คิดเองเออออห่อหมกเองแบบข่าวๆนั้น มันก็แค่พวกมิจฉาทิฐิ เพ้อเจ้อไปวันๆ

ชื่อหนัง El Topo ภาษา Mexican หมายถึงตัวตุ่น (Mole) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีลักษณะคล้ายหนูตะเภา แต่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ อาศัยอยู่โพรงใต้ดินตลอดเวลา ชื่นชอบการขุดดินด้วยขาคู่หน้า โดยปกติจะไม่ขึ้นมาบนพื้นดินเพราะสายตาไม่ค่อยดี และไม่สามารถเดินบนพื้น(คืบคลานได้อย่างเดียว)

นัยยะนอกจากสะท้อนเรื่องราวการขุดตั้งแต่ต้นเรื่อง (บิดาสั่งให้บุตรชายขุดกลบฝังตัวตนเอง) ไปจนถึงขุดเจาะภูเขาเพื่อช่วยเหลือชาวถ้ำให้ออกมาสู่โลกภายนอก (ได้รับอิสรภาพจากกฎกรอบ ถูกควบคุมครอบงำด้วยบางสิ่งอย่าง) ยังสื่อถึงวงการภาพยนตร์ใต้ดิน (Underground Cinema) ในช่วงทศวรรษ 60s กำลังได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น เริ่มเป็นที่รู้จักจากผู้ชมอย่างกว้างขวาง

ส่วนนัยยะเชิงนามธรรม สื่อถึงการบรรลุความเข้าใจบางสิ่งอย่าง อาทิ El Topo รู้แจ้งคำสอนปรมาจารย์ทั้งสี่, แผดเผาตัวตนเองเพื่อจักได้ถือกำเนิดเริ่มต้นใหม่, และผู้ชมออกจากโรงภาพยนตร์บังเกิดมุมมอง ทัศนคติต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

มีนักข่าวสัมภาษณ์ความเห็นของ Jodorowsky หลายต่อหลายคนชื่นชมว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ ‘the greatest film ever made’

“I have no idea why they would say this, unless it is because my liver is the best liver in creation. My work comes not from critical thoughts, but from out of myself. I made El Topo out of total artistic honesty. I didn’t want money, I didn’t want to work with big stars. I wanted nothing, except to do my art. To show others how beautiful is their soul. The beauty of the other. To open up consciousness”.

มีคำกล่าวที่ว่า ‘บุคคลเคยพานผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากลำบาก ถีงสามารถพบเห็นความสุข สรวงสวรรค์แท้จริง’ นี่น่าจะคือเป้าหมายของผู้กำกับ Jodorowsky สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยการนำเสนอภาพความรุนแรง โหดเหี้ยม เลวทรามต่ำช้า ย่อมทำให้ผู้ชมรู้สีกรังเกียจ ขยะแขยง ยินยอมรับไม่ได้ ค่อยๆก่อกำเนิดจิตสำนีกที่ดี และพยายามตีตนออกห่างสิ่งโฉดชั่วร้ายทั้งหลายเหล่านี้


แม้หนังสร้างขึ้นใน Mexico แต่ผู้กำกับ Jodorowsky ไม่ได้ครุ่นคิดคาดหวังจะนำออกฉายในประเทศ เพราะเหตุการณ์จราจลจากผลงานก่อนหน้า Fando y Lis (1968) แต่ก็สามารถผ่านกองเซนเซอร์หลังตัดฉากโป๊เปลือยออกไปกว่า 30 นาที (แต่ไม่หั่นฉากที่มีความรุนแรงใดๆ) และกลายเป็นตัวแทนส่งเข้าชิงชัย Oscar: Best Foreign Language Film ไม่ได้ผ่านเข้ารอบใดๆ

หนังเข้าฉายในสหรัฐอเมริกาอย่างเงียบๆ ตีตราว่าเป็น ‘Underground Film’ มีเฉพาะรอบดีกที่ Elgin Theater, New York (ปิดกิจการไปตั้งแต่ปี 1978) ก่อนกลายกระแส Cult ติดตามมา หนี่งในผู้ชม John Lennon (และ Yoko Ono) หลงใหลคลั่งไคล้ภาพยนตร์เรื่องนี้มากๆ ถีงขนาดซี้เซ้า Allen Klein (ผู้จัดการวง The Beatles) ให้ซื้อลิขสิทธิ์จัดจำหน่าย ก่อตั้งสตูดิโอ ABKCO Films (ภายใต้สังกัด ABKCO Music & Record) แถมช่วยสรรหาทุนสร้างผลงานถัดไปของ Jodorowsky เรื่อง The Holy Mountain (1973)

ด้วยความที่ George Harrison อยากเป็นส่วนหนี่งของภาพยนตร์ The Holy Mountain แต่ปฏิเสธจะแสดงฉากสำคัญ (ที่ต้องถอดกางเกงโชว์แก้มก้นและฮิปโปโปเตมัส) เลยถูกบอกปัดจาก Jodorowsky เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความหงุดหงิดขุ่นเคืองให้โปรดิวเซอร์ Allen Klein ตัดสินใจดองภาพยนตร์ทั้งสองเลือกใส่ถังหมักไวน์ ไม่ยินยอมนำออกฉายจนกว่าจะมีใครตาย (ปรากฎว่า Klein ตายจากไปก่อนเมื่อปี 2009)

“George Harrison wanted to play the thief in Holy Mountain. I met him in the Plaza Hotel in New York and he told me there’s one scene he didn’t want to do, when the thief shows his asshole and there is a hippopotamus. I said: ‘But it would be a big, big lesson for humanity if you could finish with your ego and show your asshole.’ He said no. I said, ‘I can’t use you, because for me this is a sin.’ I lost millions and millions – stars are good for business but not for art, they kill the art”.

Alejandro Jodorowsky

บังเอิญว่า Jodorowsky ค้นพบฟีล์มหนังก็อปปี้หนี่ง คุณภาพค่อนข้างย่ำแย่ (คงฉายมาหลายร้อยรอบจนฟีล์มเริ่มเสื่อมคุณภาพ) เลยลักลอบส่งให้ผู้ค้าหนังเถื่อนแจกจ่ายกันแบบฟรีๆ … กระทั่ง 30 กว่าปีให้หลังถีงค่อยสงบศีกกับ Klein ยินยอมนำออกฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes สาย Classic เมื่อปี 2006, จัดจำหน่าย DVD เมื่อปี 2007, ออกแผ่น Blu-Ray ปี 2011 และได้รับการบูรณะคุณภาพ 4K [ร่วมกับ Fando y Lis และ The Holy Mountain] วางขายปี 2020

“Yes he was angry, for 30 years he wouldn’t release my film. But I found some really bad copies, and gave them to pirates for free. So people saw it in bad condition – but at least they could not kill my picture. Some years ago, I saw Allen and we made peace, just in time. The picture went out and then he died”.

ถึงงานสร้างหนังจะเต็มไปด้วยความเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย แต่แปลกที่ผมกลับไม่บังเกิดอคติใดๆ นั่นเพราะทุกสิ่งอย่างถูกนำเสนอในเชิงสัญลักษณ์/นามธรรม มันจึงมีเหตุ มีผล มีคุณค่าทางศิลปะ ผ่านการครุ่นคิดอย่างถี่ถ้วน ชัดเจน เลยสามารถความตราตรึง ฝังใจ ท้าทายให้คลั่งไคล้ ขบไขปริศนา นั่นคือเหตุผลที่โดยส่วนตัวชื่นชอบมากๆ เป็นอีกประสบการณ์ยากจะลืมเลือน

แต่นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์เหมาะสมสำหรับทุกคนอย่างแน่นอน อย่างที่บอกไปตอนต้น ถ้าคุณเอาแต่อ่านบทความนี้ทั้งหมดโดยไม่ลองครุ่นคิดวิเคราะห์เองบ้าง จะไปซึมซับซาบความ Masterpiece ของหนัง Surrealist ได้อย่างไร

จัดเรต NC-17 กับความรุนแรง การเข่นฆ่า ปู้ยี้ปู้ยำศาสนา โลกที่อัปลักษณ์เกินทน (มันเกินเรต R ไปไกลโพ้นเลยละ)

คำโปรย | El Topo โคตรภาพยนตร์ Surrealist ของ Alejandro Jodorowsky เหนือจริง ลุ่มลึกล้ำ บรรลุถึงนิพพาน
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

El abrazo de la serpiente (2015)


Embrace of the Serpent

El abrazo de la serpiente (2015) Colombian  : Ciro Guerra ♥♥♥♥

วิทยาศาสตร์คือองค์ความรู้ที่สามารถทำความเข้าใจเพียง ‘เปลือกนอก’ ของโลกและจักรวาลเท่านั้น ซึ่งการจะเข้าให้ถึงซึ่งสัจธรรมความจริง แรกเริ่มต้นคือต้องทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง โอบรับวิถีแห่งธรรมชาติ ‘Embrace of the Serpent’ ให้เวลาศึกษาเรียนรู้จักตัวตนเอง และเมื่อเข้าถึงสภาวะสงบนิ่งทางจิต คำตอบของทุกสรรพสิ่งจักกระจ่างแจ้ง

Embrace of the Serpent เป็นภาพยนตร์ที่ผมโคตรอยากดูตั้งแต่เมื่อตอนออกฉาย (ใครได้ดูในโรงหนังถือว่าโชคดีมากๆเลยนะ) แต่เพราะหาเวลาไม่ได้จนกระทั่งช่วงนี้ บังเอิญมีเหตุการณ์ไฟป่า Amazon ลุกลามแพร่ขยายวงกว้าง กลายเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ ฉุกครุ่นคิดว่าคือโอกาสอันเหมาะสมเลยเร่งรีบสรรหามารับชม

จะว่าไปเรื่องราวของ Embrace of the Serpent สะท้อนบางสิ่งอย่างที่กำลังสูญหายไปจากอารยธรรมโลก เฉกเช่นเดียวกับอัคคีภัยครั้งนี้ที่ได้มอดไหม้ถังออกซิเจนโลกไปไม่น้อย อยากรู้เหมือนกันว่าจะส่งผลกระทบอะไรต่อมนุษย์ในระยะยาวบ้างหรือเปล่า?

เท่าที่ผมสรรหาข้อมูล พบว่ามีภาพยนตร์เพียงสิบกว่าเรื่องเท่านั้น ริหาญกล้าบุกป่าฝ่าดงไปถ่ายทำในป่า Amazon
– Aguirre, the Wrath of God (1972), Fitzcarraldo (1982) สองผลงาน Masterpiece ของผู้กำกับ Werner Herzog
– The Mission (1986) กำกับโดย Roland Joffé, คว้ารางวัล Palme d’Or
– โด่งดังสุดน่าจะเป็น Anaconda (1997)
– The Lost City of Z (2016)
ฯลฯ

ซึ่งส่วนใหญ่แทบทั้งนั้นนำเสนอมุมมองชาวยุโรป/อเมริกัน พยายามเข้าไปกอบโกยแสวงหาผลประโยชน์ กระทำบางสิ่งอย่างต่อผืนป่า/ชาวพื้นเมือง ในลักษณะของ Colonialism ควบคุม ครอบงำ ทำให้กลายเป็นอาณานิคมของตนเอง

Embrace of the Serpent ถือเป็นครั้งแรกๆเลยกระมัง นำเสนอเรื่องราวผ่านมุมมองชนชาวพื้นเมือง Amazon แถมยังดำเนินเรื่องคู่ขนานสองช่วงเวลาห่างกันกว่า 30 ปี พานพบเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ทั้งดีขึ้น-ย่ำแย่ลง จุดเริ่มต้น=สิ้นสุด


Ciro Guerra (เกิดปี 1981) ผู้กำกับ/เขียนบท สัญชาติ Columbian เกิดที่ Río de Oro, Cesar โตขึ้นเข้าเรียนภาพยนตร์และโทรทัศน์ที่ National University of Colombia จบออกมากำกับผลงานเรื่องแรก La sombra del caminante (2004), ติดตามด้วย Los viajes del viento (2009)

ความสนใจของ Guerra คงได้รับอิทธิพลจาก Werner Herzog ชื่นชอบการสำรวจ ผจญภัย ท่องโลก ภาพยนตร์แต่ละเรื่องล้วนท้าทายศักยภาพร่างกาย-จิตใจ ถ่ายทำในสถานที่ยุ่งยากลำบาก ให้เวลาสำหรับการศึกษา เรียนรู้จัก ทำความเข้าใจเนื้อหาให้ถึงระดับถ่องแท้

สำหรับ Embrace of the Serpent จุดเริ่มต้นเกิดจากความสนใจส่วนตัวเกี่ยวกับป่า Amazon เพราะเมื่อมองแผนที่ประเทศ เกินกว่าครึ่งยังคงลึกลับ ซ่อนเร้น ไม่ได้รับการสำรวจค้นพบ

“It came from a personal interest in learning about the world of the Colombian Amazon, which is half the country, and yet it remains hidden and unknown, even though I’ve lived in Colombia all my life”.

– Ciro Guerra

เรื่องราวได้แรงบันดาลใจจากบันทึกของสองนักสำรวจ
– Theodor Koch-Grunberg (1872 – 1924) นักสำรวจ ชาติพันธุ์วิทยา สัญชาติเยอรมัน เลื่องลือชาในการศึกษาเรื่องราวชนพื้นเมือง Amazon ซึ่งการสำรวจครั้งสุดท้ายโชคร้ายป่วยเป็นไข้มาลาเลีย (ไม่ได้ฉีดยาป้องกันไว้ล่วงหน้า) เสียชีวิตเพราะไร้ยารักษา
– Richard Evans Schultes (1915 – 2001) นักชีววิทยา/พฤกษศาสตร์ สัญชาติอเมริกัน เรียนจบจาก Harvard University มีความสนใจในการใช้พืชสมุนไพรของชนชาวพื้นเมือง Amazon นำไปสู่การค้นพบยาเสพติด/สร้างภาพหลอนชื่อดัง LSD (Lysergic Acid Diethylamide)

ผู้กำกับ Guerra ใช้เวลากว่า 2 ปีครึ่ง เดินทางเข้าไปปักหลักอาศัย ศึกษาเรียนรู้ ทำความรู้จักมักคุ้นชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มต่างๆของ Amazon สืบเสาะค้นหานักแสดง สำรวจสถานที่ถ่ายทำ และพัฒนาบทหนังอ้างอิงจากสิ่งต่างๆค้นพบเจอ เมื่อเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ดึงตัวนักเขียน Jacques Toulemonde Vidal เข้ามาช่วยขัดเกลาบทร่างสุดท้าย

หนังประกอบด้วยสองเรื่องราวคู่ขนาน โดยมี Karamakate ผู้เป็น Shaman คนสุดท้ายของเผ่าหนึ่งใน Amazon เป็นผู้ช่วยเหลือ/นำทางคนผิวขาว ออกเดินทางสู่สถานที่แห่งหนึ่ง
– ปี 1909, Theo von Martius (รับบทโดย Jan Bijvoet) นักสำรวจ/ชาติพันธุ์ ชาวเยอรมัน เพราะป่วยหนักเป็นมาลาเลีย เลยขอความช่วยเหลือ Karamakate (รับบทโดย Nilbio Torres) ซึ่งก็ได้รักษาอาการโดยเป่าผงขาวเข้าจมูก ‘the sun’s semen’ (คาดกันว่าเป็นยาหลอนประสาทชนิดหนึ่ง) แต่ด้วยข้อแลกเปลี่ยนไม่ทำผิดกฎธรรมชาติมากมาย และให้นำทางไปพบเจอสมาชิกคนอื่นของชนเผ่าที่ยังเหลือรอดชีวิต
– ปี 1940, Evan (รับบทโดย Brionne Davis) นักพฤกษาศาสตร์ ชาวอเมริกัน ปากอ้างว่าออกเดินทางมาเพื่อศึกษาสมุนไพรชื่อ Yakruna ร้องขอความช่วยเหลือ Karamakate วัยชรา (รับบทโดย Antonio Bolivar) ที่เริ่มหลงๆลืมๆ อ้างว่าจดจำอะไรไม่ค่อยได้เช่นกัน, แต่แท้จริงแล้วจุดประสงค์ของ Evan คือออกค้นหาต้นยาง เพื่อส่งออกเป็นวัตถุดิบให้ประเทศตนเองในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เช่นกันกับ Karamakate ล่วงรู้จักสมุนไพร Yakruna เป็นอย่างดี และได้ทำลายทิ้งทุกต้นที่รับรู้จัก จนหลงเหลือเพียงหนึ่งเดียวสุดท้ายเท่านั้น


Jan Bijvoet (เกิดปี 1966) นักแสดงสัญชาติ Flemish เกิดที่ Antwerp, Belgium หลังเรียนจบจาก Herman Teirlinck Studio เริ่มต้นเป็นนักแสดงละครเวทีจนมีชื่อเสียงโด่งดัง แสดงภาพยนตร์/โทรทัศน์บ้างประปราย อาทิ The Broken Circle Breakdown (2012), Borgman (2013) ฯ

รับบท Theo von Martius นักสำรวจ/ชาติพันธุ์ แม้เดินทางมาศึกษาชนพื้นเมือง Amazon แต่กลับยังมีความครุ่นคิดอย่างชาวตะวันตก แบกสิ่งข้าวของหนักอึ้ง ยึดถือมั่นในความรัก มิอาจตัดขาดความสัมพันธ์ ทั้งยังหวาดสะพรึงกลัวความตาย สูญเสียดายถ้าทุกสิ่งอย่างจะไม่หลงเหลืออะไร

การแสดงให้เหมือนคนป่วยใกล้ตาย แบกภาระหนักอึ้งมากมาย ผมว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะ! เพราะมันจะสูบเรี่ยวแรง จิตวิญญาณ ต้องใช้พลังอย่างมากในการแสดง จนผู้ชมสัมผัสได้ถึงความเหน็ดเหนื่อย ทุกข์ทรมาน ทำไมไม่รู้จักปลดปล่อยวาง ทอดทิ้งอะไรๆไปบ้างนะ! … แต่นี่คือตัวแทนชาวตะวันตกจริงๆนะครับ และปัจจุบันถือว่าแพร่ขยายไปทั่วทั้งโลกแล้วละ


Brionne Davis (เกิดปี 1976) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Dallas, Texas หลังเรียนจบเริ่มจากทำงานละครเวที แสดงโทรทัศน์ ผลงานภาพยนตร์ส่วนใหญ่เป็นแนว Indy เกรดบี ทุนสร้างต่ำ แต่ก็พอมีเรื่องดังๆ อาทิ Narcissist (2014), Embrace of the Serpent (2015) ฯ

รับบท Evan นักพฤกษาศาสตร์ เดินทางมา Amazon อ้างว่าเพื่อศึกษาพืชหายาก Yakruna แต่แท้จริงแล้วมีจุดประสงค์อื่นแอบซ่อนเร้น ซึ่งพอพบเห็นความบ้าคลั่งบางอย่าง และความลับของตนเองได้รับการเปิดเผย เลยสามารถทอดทิ้งสิ่งข้าวของทุกสิ่งอย่าง ออกติดตาม Karamakate มุ่งสู่เทือกเขา Cerros de Mavecure เพื่อเรียนรู้จักจุดกำเนิดเริ่มต้นทุกสรรพสิ่ง

เห็นว่า Davis มีเวลาค่อนข้างมากในการสร้างความคุ้นเคยกับ Antonio Bolivar ผู้รับบท Karamakate วัยชรา (ผิดกับ Bijvoet และ Jan Bijvoet ที่ผู้กำกับจงใจทำให้พวกเขาไม่ค่อยชอบขี้หน้ากันสักเท่าไหร่) จึงสามารถเรียนรู้จักวิถีชีวิต เข้าใจอะไรหลายๆอย่าง จึงสามารถค่อยๆปรับตัวได้เหมือนตัวละคร ก็ยังพอมีความดื้อรั้นอยู่บ้าง แต่เพราะไม่มีภาระเบื้องหลัง เลยสามารถปล่อยกายใจให้ล่องไหลไปตามกระแสธารา


Antonio Bolívar Salvador (ผู้รับบท Karamakate วัยชรา) คือผู้รอดชีวิตกลุ่มสุดท้ายของชนเผ่า Ocaina สามารถพูดได้หลายภาษา Tikuna, Cubeo, Huitoto และอังกฤษ ซึ่งเขายังเป็นล่าม ไกด์ทัวร์ สอนอะไรๆมากมายให้ทีมงาน/นักแสดงต่างชาติ, สำหรับบทบาท Karamakate ส่วนหนึ่งนำจากประสบการณ์ส่วนตนเมื่อครั้นยังเด็ก มีบรรพบุรุษที่เป็น Shaman (ขณะนั้นไม่หลงเหลืออยู่แล้ว) คอยเสี้ยมสอนอะไรๆมากมาย ซึ่งตัวเขาก็ไม่ต่างจากตัวละคร องค์ความรู้ต่างๆถูกหลงลืมเลือนไปตามกาลเวลา

“It is a film that shows the Amazon, the lungs of the world, the greater purifying filter and the most valuable of indigenous cultures. That is its greatest achievement”.

– Antonio Bolívar Salvador ให้คำนิยมภาพยนตร์เรื่องนี้

Nilbio Torrens (ผู้รับบท Karamakate วัยหนุ่ม) ขณะนั้นอายุ 30 กว่าปี ไม่เคยออกไปนอกป่า Amazon ทำงานด้านเกษตรกรรม จนมีร่างกายอันบึกบึนเข้มแข็งแกร่ง ปกติแล้วพูดแต่ภาษา Cubeo จำต้องเรียนรู้ภาษาสเปนเพิ่มเติม มีความยากลำบากสักนิดในการเข้าถึงอารมณ์ตัวละคร แต่ก็สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ, บทบาท Karamakate วัยหนุ่ม ดูเต็มไปด้วยความหนักแน่น เชื่อมั่นใจในตนเองสูง มากด้วยอคติต่อคนผิวขาว แต่เพราะลึกๆก็อยากพบเจอชนเผ่าเดียว เลยยินยอมให้ความช่วยเหลือ ออกเดินทางเผชิญหน้ากับโลกไปด้วยกัน

“What Ciro is doing with this film is an homage to the memory of our elders, in the time before: the way the white men treated the natives, the rubber exploitation. I’ve asked the elders how it was and it is as seen in the film, that’s why we decided to support it. For the elders and myself it is a memory of the ancestors and their knowledge”.

– Nilbio Torrens

Yauenkü Migue เกิดและเติบโตที่ Nazareth, ชนเผ่า Tikuna ขณะนั้นอายุ 26 ปี กำลังร่ำเรียนพลศึกษาอยู่ที่ Bogotá จับพลัดจับพลูพบเจอโดยผู้กำกับ Guerra ชักชวนมาแสดงบทบาท Manduca ซึ่งเป็นตัวละครอยู่กึ่งกลางระหว่างชาวพื้นเมือง-คนผิวขาว ถือกำเนิดในป่า Amazon ถูกจับกุมกลายเป็นทาส ได้รับความช่วยเหลือติดหนี้ชีวิตโดย Theo พยายามทำทุกสิ่งอย่างให้เขารอดตาย แม้นั่นจะเป็นการทรยศเชื้อชาติพันธุ์ตนเองก็ตามที

“I believes this film should be shared not only with the people of the locations, but all across the country, with all the indigenous peoples in Leticia and the Amazon, with the leaders, in schools and universities”.

– Yauenkü Migue


ถ่ายภาพโดย David Gallego ผลงานเด่นๆ อาทิ Embrace of the Serpent (2015), I Am Not a Witch (2017), Birds of Passage (2018) ฯ

เพราะความที่ผู้กำกับ Guerra ได้ตระเตรียมการ สำรวจ คัดเลือกสถานที่ไว้เสร็จสรรพ การถ่ายทำจึงใช้เวลาเพียง 8 สัปดาห์เท่านั้น!
– เทือกเขา Cerros de Mavicure หรือ Mavicure เทือกเขาหัวโล้นสามลูก อยู่ทางตะวันออกของประเทศ Columbia ติดแม่น้ำ Inírida River เห็นว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้รับความนิยมอย่างสูงทีเดียว
– Fluvial Star Inírida ถูกทำให้กลายเป็นโบสถ์ และศูนย์รวมความคลุ้มคลั่ง
– Vaupés River แม่น้ำที่อยู่คาบเกี่ยวระหว่าง Colombia และ Brazil
ฯลฯ

หนังถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอล Arricam LT ซึ่งบันทึกด้วยภาพขาว-ดำ ตั้งแต่แรก (ไม่ใช่มาแปลงเอาทีหลัง) นั่นสร้างความงดงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ราวกับมหานครลับแล ดินแดนที่ไม่พานพบเจอยังแห่งหนใดบนโลก (เพราะมันได้หมดสูญสิ้นไปแล้ว) ขณะเดียวกันผู้ชมก็จะไม่หลงระเริงไปกับสีสัน ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติชีวิตอย่างเต็มอิ่ม

ภาพสะท้อนผืนผิวน้ำ และช็อตถัดมากล้องค่อยๆเคลื่อนเข้าจากด้านหลัง Karamakate ก็เพื่อสะท้อน ‘มุมมอง’ ของหนังที่จะเล่าผ่านชนพื้นเมือง Amazon

ภาพวาดของ Karamakate วัยชรา สะท้อนความทรงจำของเขาที่ค่อยๆสูญหาย หลงๆลืมเลือนไปตามกาลเวลา (เหมือนช่วงเวลา 30 ปีที่หนังกระโดดข้ามมา) จนกระทั่งการมาถึงของ Evan ปลุกตื่น/รื้อฟื้นอะไรหลายๆอย่าง

สังเกตว่าการมาถึงของสองตัวละครคนขาว จะมีความแตกต่างตรงกันข้าม
– Theo มาถึงในสภาพเจ็บป่วยทางกาย มีความมุ่งมั่นไม่อยากตาย พูดบอกความจริงแค่ว่ามิใช่ทั้งหมด
– Evan มาถึงในสภาพร่างกายแข็งแรง แต่เจ็บป่วยทางใจ เพราะได้โป้ปดหลอกลวง Karamakate ถึงเหตุผลแท้จริงของการเดินทางครั้งนี้

ช่วงต้นจะมีขณะที่ Karamakate วัยชรา ยืนอยู่ตรงโขดหินแล้วมีผีเสื้อโบยบินล้อมรอบตัว ซึ่งเป็นการล้อกับช็อตสุดท้ายของหนัง นัยยะสื่อถึงการเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ถ้ามนุษย์สามารถเข้าใจสภาวะทางจิตของเราเอง ก็จะรับรู้ถึงทุกสิ่งอย่างในสากลจักรวาล

จะว่าไปความครุ่นคิดของผู้กำกับ Guerra ก็เหมือนตัวละคร Theo ฉากนี้ ไม่ต้องการให้เข็มทิศแก่หัวหน้าเผ่า เพราะครุ่นคิดว่าถ้าพวกเขาเรียนรู้จักวิธีการใช้งาน ก็จักหลงลืม/ทอดทิ้งองค์ความรู้ดั้งเดิมไป … แต่ความครุ่นคิดดังกล่าว ไม่ใช่ทั้งตัวละครและผู้กำกับหรอกหรือที่กำลังหลงทาง??

มองในเชิงรูปธรรมก็คงแค่รู้สึกหนักอึ้งในสัมภาระมากมาย แต่ฉากนี้สะท้อนนัยยะเชิงนามธรรม คือภาระแห่งชีวิตที่มนุษย์ชาวเมืองแบกหามไว้ เสื้อผ้า สิ่งข้าวของ เงินทอง บ้าน รถยนต์ รวมไปถึงวิถีชีวิตประจำวัน ค่านิยม ทัศนคติหลายๆอย่างอีกด้วยนะ!

การเดินทางของหนังจะเล่าเรื่องคู่ขนาน Theo กับ Evan ห่างกันสามสิบปี สถานที่แห่งหนึ่งจะมีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปเช่นไร ขณะที่ต้นยางฟื้นฟูกลับสู่สภาพปกติ แต่จิตใจของมนุษย์เมื่อขาดสิ่งยึดเหนี่ยว หรือผู้คอยชี้ชักนำความเชื่อมั่นศรัทธา ก็จักแปรสภาพสู่ความคลุ้มบ้าคลั่ง สูญเสียสติแตก ควบคุมตนเองไม่ได้อีกต่อไป

เมื่อตอนที่ Karamakate เดินทางมายัง Spanish Catholic Mission ครั้งแรกกับ Theo จะมีเด็กชายคนหนึ่งที่คิดคดทรยศหักหลังพรรคเพื่อนฝูง หมอนั่นคงกลายมาเป็นหัวหน้า/อ้างว่าคือพระผู้มาไถ่ เมื่อ Karamakate เดินทางหวนกลับมาอีกครั้งพร้อม Evan สามสิบปีให้หลัง

สำหรับ Theo เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็ไม่สามารถควบคุมตนเอง กระทำสิ่งผิดกฎข้อตกลงที่ให้กับ Karamakate จับปลากินก่อนหน้าฝน นั่นทำให้เขาเกิดอาการชักกระตุก ทนทุกข์ทรมาน (และ Karamakate ปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือใดๆอีก)

ตรงกันข้ามกับ Evan เพราะเริ่มต้นไม่ได้ออกเดินทางด้วยกฎข้อบังคับ แต่ค่อยๆรับเรียนรู้จักสิ่งต่างๆด้วยตนเอง จึงสามารถทอดทิ้งสัมภาระ เรียนรู้ที่จะทำตามกฎธรรมชาติทีละเล็กละน้อย

เป้าหมาย Theo คือหวนกลับสู่ชุมชนเมือง เพื่อหายารักษามาลาเลีย ขณะที่ Karamakate ก็เพื่อมีโอกาสพานพบเจอสมาชิกชนเผ่าของตนเอง … จริงอยู่ทั้งสองมาถึงเป้าหมาย แต่ก็ต่างผิดคาดไม่ถึง
– เพราะเมืองแห่งนี้กำลังถูกชาว Colombian หัวรุนแรงบุกเข้าโจมตี ทำให้ Theo (และ Manduca) ต้องหลบหนีขึ้นเรือ และจบสิ้นอายุขัยของตนเอง
– สำหรับ Karamakate คาดไม่ถึงกับสภาพสมาชิกชนเผ่า ที่ทอดทิ้งวิถี วัฒนธรรม องค์ความรู้ ทุกสิ่งอย่าง! เลยตัดสินใจเผาทำลาย Yakruna ให้ทุกสิ่งอย่างดับสิ้นสูญไปพร้อมกับตนเอง

ช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งสุดท้ายจากเรื่องราวของ Theo สู่ Evan จะปรากฎภาพเสือจากัวร์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเอ่ยถึงในความฝันของ Karamakate อยู่หลายครั้ง เป็นผู้แนะนำเขาให้ช่วยเหลือ/รักษา Theo, สำหรับครั้งนี้พบเห็นกำลังค่อยๆย่อง ตระเตรียมตัวล่าสัตว์ น่าจะสื่อได้ถึง Evan จะสามารถก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดของตนเอง

บนยอดเขาหัวโล้นสามลูก Cerros de Mavicure คือจุดสูงสุดของป่า Amazon สามารถมองไปไกลสุดลูกหูลูกตา ในที่นี้สื่อนัยยะถึงจุดสูงสุดของร่างกายที่สามารถก้าวเดินมาถึง และเมื่อดื่มด่ำ Yakruna ดอกสุดท้าย ทำให้สามารถล่องลอยไปไกล จนพบเห็นข้อเท็จจริงของสากลจักรวาล

ผมครุ่นคิดว่า Yakruna คงจะคล้ายๆฝิ่น/กัญชา พอเสพเข้าไปแล้วจะทำให้รู้สึกล่องลอย วิญญาณออกจากร่าง เลยครุ่นคิดว่าตนเองเข้าถึงซึ่งทุกสิ่งอย่างของสากลจักรวาล

ภาพหลอนของ Evan เริ่มจากการล่องลอย Helicopter Shot บินไปรอบป่า Amazon จากนั้นเงยหน้าขึ้นฟ้า พบเห็นจักรวาล จากภาพขาว-ดำ กลายเป็นสีสันเหนือจินตนาการ … ลักษณะดังกล่าวเคารพคารวะ 2001: A Space Odyssey (1968) อยู่เล็กๆแต่นัยยะนั้นตรงกันข้าม คือการเดินทางของจิตวิญญาณล่องลอยไปสู่จักรวาลอันไกล

ผมว่ามันแล้วแต่ผู้ชมจะครุ่นคิดตีความนะครับ
– คือจะมองว่า Yakruna คือยาหลอนประสาทชนิดหนึ่ง ทำให้มนุษย์รู้สึกเหมือนกำลังล่องลอยโบกโบยบินไป
– หรือจะมองตามความความเชื่อเลยก็ได้ว่า คือสมุนไพรที่ทำให้มนุษย์สามารถสื่อการกับพระเจ้า เข้าใจทุกสิ่งอย่างของสากลจักรวาล

หลังจาก Evan กลับฟื้นคืนสติขึ้นมา พบเห็นว่า Karamakate ได้สูญหายตัวไปแล้ว (สามารถมองว่า เขาแปรสภาพกลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล) ขากลับช็อตนี้ ตรงตำแหน่งมีผีเสื้อลุมโบยบินขึ้นมาห้อมล้อม นั่นแปลว่า Evan เริ่มที่จะเข้าใจวิถีแห่งธรรมชาติ สามารถกลายเป็นส่วนหนึ่งในเบื้องต้น

ตัดต่อโดย Etienne Boussac, หนังดำเนินเรื่องคู่ขนาน โดยมี Karamakate คือจุดเชื่อมโยงระหว่างสองช่วงเวลา
– ปี 1909 พานพบเจอ Theo von Martius นำพาออกเดินทางสู่ต้นลำน้ำ Yari River
– ปี 1940 พานพบเจอ Evan นำพาออกเดินทางสู่ Cerros de Mavicure

การนำเสนอสองช่วงเวลาคู่ขนาน ก็เพื่อให้ผู้ชมพบเห็นความเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องจากกาลเวลา
– การเดินทางมาถึงของ Theo และ Evan
– ดินแดนเคยถูกใช้เป็นสถานที่กรีดยาง, ปัจจุบันร่องรอยดังกล่าวได้สูญหายไปหมดแล้ว
– Theo ไม่สามารถทอดทิ้งสิ่งข้าวของได้สักสิ่งอย่าง, เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง Evan สามารถทอดทิ้งสัมภาระและทุกสิ่งอย่าง
– สภาพของ Spanish Catholic Mission จากเคยมีบาทหลวงให้เลื่อมใสศรัทธา, กลายมาเป็นลัทธิคนบ้า เชิดชูคนหลงผิด
– ปลายทางของ Theo คือความล้มเหลวนำพาสู่การสูญเสียชีวิต, Evan ได้เริ่มเข้าใจวิถีโลก และ Karamakate สูญหายตัวไป

เพลงประกอบโดย Nascuy Linares, งานเพลงของหนังจะมีความกลืนไปกับ Sound Effect เสียงจากธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร สายน้ำเอื่อยไหล มอบสัมผัสอันลึกลับ เต็มไปด้วยความพิศวง เอ็กโซติก

บทเพลงที่ Evan รับฟังจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง Pornographer คือ Die Schöpfung (1797-98) แปลว่า The Creation ประพันธ์โดย Joseph Haydn (1732 – 1809) คีตกวีสัญชาติ Austrian ยุคสมัย Classical

The Creation เป็นบทเพลงแนว Oratorio โดยได้แรงบันดาลใจจากพระคัมภีร์ Book of Genesis ถึงจุดกำเนิดของทุกสรรพสิ่งอย่าง

เมื่อจิตวิญญาณของ Evan ล่องลอยออกจากร่าง ท่องไปตามผืนป่า Amazon งานเพลงใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ คุมระดับเสียงให้ทุ่มต่ำ มอบสัมผัสที่เต็มไปด้วยความลึกลับ เต็มไปด้วยภยันตราย ราวกับฝันร้าย ความตาย ไม่อาจครุ่นคิดทำความเข้าใจได้ จักรวาลช่างยิ่งใหญ่เกินกว่ามนุษย์จะอาจเอื้อมมือไขว่คว้า

บทเพลง Closing Credit ชื่อ Buynayma แต่งโดย Teto Ocampo บรรเลงโดย Mucho Indio, มอบสัมผัสที่ล่องลอย ไร้ตัวตน รูปร่างจับต้องได้ ซึ่งคงเปรียบได้กับจิตวิญญาณ หรืออาจจะ Chullachaki สิ่งมีชีวิตลึกลับในป่า Amazon

ตามความเชื่อของ Karamakate งูยักษ์ Anaconda เลื้อยลงมาจากทางช้างเผือก ให้กำเนิดผืนป่า Amazon ที่เต็มไปด้วยพิษสง ภยันตราย และชนเผ่ามนุษย์แรกสุด Karipulakena นั่นเองทำให้เขาถือปฏิบัติตามขนบวิถีอย่างเคร่งครัด เข้มงวด เพื่อให้ยังสามารถสื่อสารกับบรรพบุรุษ ผู้ใหำกำเนิด (พระเจ้า) และจักรวาล

มันไม่ใช่ประเด็นที่เราจะมาถกเถียงกันว่า ความเชื่อดังกล่าวเป็นสิ่งถูกต้องหรือไม่ แต่จากเหตุผลเริ่มต้น/อุปนัยนั้น ทำให้ผู้ชมสามารถพบเห็นวิถีชีวิตของ Karamakate ล้วนมีความเกี่ยวเนื่อง สอดคล้อง เป็นไปตามครรลองแห่งศรัทธา

การเดินทางของ Karamakate ในสองช่วงอายุ สามารถสะท้อนได้ถึง ความพยายามหวนกลับไปหารากเหง้าของตนเอง
– ครั้งแรกในเชิงรูปธรรม คือชนเผ่า ผองพี่น้อง ที่ขณะนั้นเหมือนว่าจะอาศัยอยู่ต้นลำน้ำ Yari River นำทางโดย Theo ผู้เต็มไปด้วยสัมภาระหนักอึ้ง ไม่สามารถปลดเปลื้องสิ่งข้าวของใดๆลงได้
– ครั้งหลังในเชิงนามธรรม เดินทางไปหาผู้ให้กำเนิดจิตวิญญาณ มุ่งสู่ Cerros de Mavicure ร่วมกับ Evan ที่สามารถทอดทิ้งอะไรหลายๆอย่าง แล้วลอยละล่องสูญหายไปในความเวิ้งว่างเปล่าของจักรวาล

ในมุมของนักประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยา ย่อมเกิดความสูญเสียดายเมื่อค้นพบว่า องค์ความรู้ต่างๆทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ค่อยๆถูกลืมเลือน ละทอดทิ้ง ล่มสลายหายไป ไร้ผู้สืบสานต่อยอด เพราะสิ่งๆนั้นอาจรังสรรค์สร้างผลประโยชน์มากมายมหาศาลให้กับมวลมนุษยชาติ

แต่การครุ่นคิดเช่นนั้นก็เหมือนตัวละคร Theo แบกสัมภาระหนักอึ้งไว้บนบ่า มันจำเป็นจริงๆนะหรือที่มนุษยชาติต้องการองค์ความรู้เหล่านั้น มีใครไหนรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้จบแล้ว ตั้งใจจริง ออกเดินทางไปอาศัยอยู่ป่า ไม่สวมใส่เสื้อผ้า ใช้ชีวิตแบบ Karamakate บ้างไหมละ?

Embrace of the Serpent การโอบรัดของอสรพิษ ในบริบทนี้หมายถึง วิถีชีวิตของชนเผ่าพื้นเมือง Amazon ถ้าคนขาวต้องการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ต้องเริ่มต้นจากทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง เรียนรู้จักธรรมชาติ และปลดปล่อยจิตวิญญาณล่องลอยไปให้ถึงสุดขอบจักรวาล

สำหรับผู้กำกับ Ciro Guerra แนวความสนใจของเขา คือบันทึกสิ่งที่(กำลัง)สิ้นสูญ ให้หวนกลับมาชีวิตอีกครั้งด้วยสื่อ ‘ภาพยนตร์’ ไม่ใช่เพียงแค่ Embrace of the Serpent (2015) เรื่องนี้เท่านั้นนะครับ ผลงานอื่นๆก็ด้วยความเชื่อแบบเดียวกัน มันอาจเสียเวลาแต่ละครั้งไปไม่น้อย (สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ 4-5 ปี) ถึงอย่างนั้นผลลัพท์ได้มามันคงคุ้มค่า และตนเองได้เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้จักชีวิตในแง่มุมแตกต่างออกไป

That Amazon is lost now.
In the cinema, it can live again.

– Ciro Guerra


เข้าฉาย Directors’ Fortnight เทศกาลหนังเมือง Cannes ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม สามารถคว้ารางวัล Art Cinema Award ทำให้รัฐบาลของ Colombia ตัดสินใจส่งเข้าชิงชัย Oscar: Best Foreign Language Film กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของประเทศเข้าถึงรอบ 5 เรื่องสุดท้าย แต่พ่ายให้กับ Son of Saul (2015) จากประเทศ Hungary

ผู้กำกับ Ciro Guerra ยังนำภาพยนตร์เรื่องนี้ไปฉายรอบพิเศษให้ชาว Amazonia รับชมกันในป่าใหญ่ ผู้คนมากมายจากหลายชนเผ่าต่างแห่แหนกันมาจนที่นั่งไม่เพียงพอ ซึ่งหลังหนังจบก็มีเสียงเรียกร้องให้ฉายอีกรอบ ถือว่าได้เสียงตอบรับดียอดเยี่ยมสุดๆเลยละ

ถึงส่วนตัวยังมองว่า ภาพยนตร์ถ่ายทำยังป่า Amazon ยอดเยี่ยมที่สุดคือ Aguirre, the Wrath of God (1972) และ Fitzcarraldo (1982) แต่ความงดงามทั้งภายนอก-ในของ Embrace of the Serpent ถือว่าตราตรึงถึงจิตวิญญาณ เนื้อเรื่องราวชวนให้ครุ่นคิดต่อไม่รู้จักจบสิ้น

จัดเรต 18+ กับความเห็นแก่ตัว แปรสภาพสู่ความคลุ้มคลั่งเสียสติแตก

คำโปรย | El abrazo de la serpiente คือสัมผัสการโอบรัดของธรรมชาติแห่งชีวิต
คุณภาพ | รึ-ถึงจิตวิญญาณ
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

Amores perros (2000)


Amores perros

Amores perros (2000) Mexican : Alejandro González Iñárritu ♥♥♥♥

ร้อยเรียงสามเรื่องราวจากกลุ่มสามชนชั้น เกี่ยวเนื่องกันด้วยอุบัติเหตุกลางสื่แยกถนน โดยมีสุนัขคือตัวแทนจิตวิญญาณความเป็นคน กัดขัดแย้งกันจนสุดท้ายไม่มีใครหลงเหลืออะไร, ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ Alejandro González Iñárritu ทั้งรักทั้งเกลียดประเทศเม็กซิโก จึงรังสรรค์สร้าง Love’s a Bitch นี้ขึ้นมา

ผมเกิดความช็อค อึ้งทึ่ง ตะลึงงัน ทั้งๆรู้อยู่แก่ใจว่าผู้กำกับ Iñárritu คงไม่นำสุนัขมาต่อสู้กัดกันจริงๆ แต่ให้ตายเถอะ! มันช่างดูสมจริงเสียเหลือเกิน! … และเหมือนแค่บางฉบับของหนังเท่านั้นที่มีขึ้นข้อความเตือนไว้ต้นเรื่อง

“The Animals used in this film were in no way mistreated and all scene in which they appeared were under strict supervision with the utmost concern for their handling”.

ชื่อหนังภาษาสเปน perros แปลตรงตัวว่า สุนัข ขณะเดียวกันสื่อได้ถึงชีวิตที่ย่ำแย่ ตกต่ำทราม หรือคือ ‘bad love’ ความรักอันเลวร้าย, ขณะที่ชื่อภาษาอังกฤษ Love’s a Bitch มุมหนึ่งเพื่อสะท้อนความเห็นแก่ตัวของเพศหญิง แต่ถึงเธอทำตัวบัดซบสักเพียงไหน ฉันก็ยังรักสุดหัวใจ

ทุกตัวละครหญิงใน Amores perros ต่างทำตัว ‘Bitchy’ รูปสวยใจทราม หาความงดงามภายในไม่ได้สักเท่าไหร่ ขณะที่ทุกตัวละครชายต่างก็มีสันดานโฉดชั่วไม่ต่างกัน ด้วยเหตุนี้กระมัง ‘ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่’ เลยมีความเข้ากันได้ดั่ง ‘กิ่งทองใบหยก’

ซึ่งทั้งหมดนั้นคือประเทศเม็กซิโก ในสายตาผู้กำกับ Alejandro González Iñárritu เพราะผืนแผ่นดินนี้คือบ้านเกิดเมืองนอน ต่อให้เลวร้าย โฉดชั่ว ตกต่ำทรามสักเพียงใด ฉันก็ไม่อาจตัดใจเลิกรักเธอ


Alejandro González Iñárritu (เกิดปี 1963) ชื่อเล่น Negro ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Mexican เกิดที่ Mexico City คนสุดท้องจากพี่น้อง 7 คน เมื่ออายุ 16 ปี ทำงานในเรือขนส่งสินค้าข้ามมหาสมุทร Atalantic จึงมีโอกาสเปิดโลกกว้าง ท่องเที่ยวยุโรป แอฟริกา สองปีถัดมาเรียนต่อสาขาสื่อสาร Universidad Iberoamericana, จบแล้วได้เป็นนักจัดรายการวิทยุ สถานี WFM ต่อมากลายเป็นโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ โฆษณา จนกระทั่งรู้จักเพื่อนนักเขียน Guillermo Arriaga ร่วมกันก่อตั้งสตูดิโอ ร่วมงานสร้างหนังสั้น ซีรีย์โทรทัศน์ และภาพยนตร์เรื่องแรก Amores perros (2000)

ผลงานในช่วงทศวรรษแรกๆของ Iñárritu จะยังไม่เน้น Long Take งานภาพมีความโฉบเฉี่ยวฉวัดเวียน ตัดต่อรวดเร็วฉับไว นำเสนอเรื่องราวหลากหลายมุมมองที่ไม่สัมพันธ์ แตกต่างกัน แต่สามารถเชื่อมโยงด้วยบางสิ่งอย่าง ขณะที่หัวข้อสนใจมักเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สรรพสัตว์ ธรรมชาติ เกิด-ตาย/การมีชีวิต

เกร็ด: ภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Iñárritu คือ Andrei Rublev (1966)

สำหรับ Amores perros และอีกสองเรื่องถัดมา 21 Grams (2003), Babel (2006) รวมเรียกว่า Trilogy of Death เริ่มต้นด้วยแนวคิดเดียวกัน คือสำรวจคุณค่าของความเป็นมนุษย์

“I have tried to explore different realities in different social classes… At the bottom line , we are human beings, and it doesn’t matter where you are or which god you believe in or which country you live in”.

– Alejandro González Iñárritu

เรื่องราวแบ่งออกเป็นสามส่วน
– Octavio y Susana, เรื่องราวของ Octavio (รับบทโดย Gael García Bernal) ตกหลุมรัก Susana (รับบทโดย Vanessa Bauche) ภรรยาของพี่ชาย Ramiro (รับบทโดย Marco Pérez) รับไม่ได้ที่พี่ชอบขึ้นเสียง ใช้กำลังรุนแรง เต็มไปด้วยอารมณ์กวัดแกว่งกับสุดที่รักของตนเอง เลยพยายามโน้มน้าวชักจูงเธอให้หลบหนีไปอยู่ด้วย แต่จะเอาเงินที่ไหน … โชคชะตาหล่นใส่เมื่อ Cofi สุนัขร็อตไวเลอร์สายพันธุ์ดี เก่งกาจเรื่องการต่อสู้ นำลงแข่งขันได้รับชัยชนะพนันนับครั้งไม่ถ้วน แต่พอตั้งใจครั้งสุดท้ายกลับถูกคู่แข่งเอาคืน ขับขี่รถไล่ล่าจนพุ่งฝ่าไฟแดง ชนกลางสี่แยก ได้รับบาดเจ็บสาหัสปางตาย
– Daniel y Valeria, เรื่องราวของ Daniel (รับบทโดย Álvaro Guerrero) ต้องการเลิกราภรรยาเก่าเพื่อมาอาศัยอยู่กินกับโมเดลลิ่งสาวชู้รัก Valeria (รับบทโดย Goya Toledo) แต่วันนั้นเธอประสบอุบัติเหตุโดนรถชนได้รับบาดเจ็บสาหัส ขาต้องเข้าเฝือกไว้ไม่สามารถขยับเดินได้ พักรักษาตัวอยู่ในบ้านตัวคนเดียวกับสุนัขตัวโปรด แต่มันกลับสูญหายตัวไปใต้พื้นห้อง เพราะอะไรกัน?
– El Chivo y Maru, เรื่องราวของ El Chivo (รับบทโดย Emilio Echevarría) หลายปีก่อนทอดทิ้งลูกสาวและภรรยาเพื่อเข้าร่วมกลุ่มก่อการร้าย ถูกจับติดคุกแบบโง่ๆ พ้นโทษออกมากลายเป็นมือปืนรับจ้าง ได้รับการไหว้วานให้เข่นฆ่าชายคนหนึ่ง ขณะกำลังจะลงมือพอดิบพอดีพบเห็นรถชนกันตรงสี่แยก เข้าไปช่วยเหลือและพบเห็นสุนัข (Cofi) ได้รับบาดเจ็บสาหัสเลยให้การช่วยเหลือไว้ และหลังจากเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้น ทำให้เขาตั้งมั่นใจเลิกราอาชีพที่เคยทำมา ตัดผมโกนหนวดสวมสูท จากกระยาจกข้างถนนกลายเป็นสุภาพบุรุษมีสง่าราศี เพื่อที่จะสักครั้งในชีวิต พานพบเจอหน้า Maru ลูกสาวแท้ๆของตนเอง


Octavio จากเด็กหนุ่มขี้อาย เต็มไปด้วยความอิจฉาริษยาพี่ชาย Ramiro เพราะถูกแก่งแย่งชิงสาวคนรัก Susana ทำเธอท้อง แถมยังชอบใช้กำลังความรุนแรง จึงเริ่มทำตัวเลวๆต่อเพื่อฉกแย่งชิงเธอมาครอบครอง วางแผนหลบหนีเอาตัวรอดด้วยเงินจากพนันสู้สุนัข แต่ชีวิตก็มิอาจเป็นดั่งความเพ้อใฝ่ฝัน

รับบทโดย Gael García Bernal ในผลงานแรกแจ้งเกิด ค้นพบโดยผู้กำกับ Iñárritu, ใบหน้าละอ่อนเยาว์ ดูอ่อนแอปวกเปียก ภาพลักษณ์ของคนไม่ชอบใช้กำลังรุนแรง แต่ภายในเต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราดเหมือนสุนัขเลี้ยง Cofi โกรธเกลียดเคียดแค้นพี่ชาย รับไม่ได้ที่ต้องทนฟังเสียงกิจกรรมร่วมรักห้องข้างๆ ค่อยๆเรียนรู้ว่าเงินสามารถซื้อเรือนร่างกายเธอได้ แต่สุดท้ายก็มิอาจครอบครองหัวจิตใจ ค้นพบความจริงที่แสนเหี้ยมโหดร้าย ไม่เท่าเทียม

Susana หญิงสาวที่เปลือกนอกดูบริสุทธิ์สดใส แต่ภายในเร่าร้อนรุนแรงร่าน Sex ชอบผู้ชายที่มีความเข็มแข็งแกร่ง ตอบสนองตัณหาพึงพอใจของตนเอง ด้วยเหตุนี้เลยยินยอมศิโรราบต่อ Ramiro พยายามบอกปัด Octavio แต่เมื่อเขาใช้เงินมาหลอกล่อจึงยินยอมคล้อยตาม แต่ภายหลังแสดงความยึดถือมั่นในหลักศีลธรรมจรรยา ฉันรักกับคนที่ฉันแต่งงาน นายมันคนนอกไม่มีวันเข้าใจอะไร

รับบทโดย Vanessa Bauche (ตั้งชื่อตามนักแสดง Vanessa Redgrave) นักแสดงละครเวที/ภาพยนตร์ แจ้งเกิดกับ El Patrullero (1991), เคยมีบทสมทบเล็กๆใน The Mark of Zoro (1998), ผลงานโด่งดังสุดคือ Amores perros (2000), มองในมุมของ Octavio คงเห็น Susana ราวกับแม่พระ/นางฟ้า ซึ่ง Bauche แสดงสีหน้าออกมาได้โคตรน่าสงสารเห็นใจ แต่ตัวตนแท้จริงเมื่อปิดประตูคลุกคลีกับผัวอยู่ในห้อง ไม่ต่างอะไรกับยัย Bitch หื่นกระหาย ร่านราคะ ไม่เช่นนั้นจะยินยอมศิโรราบ เสียตัว อดรนทนการถูกใช้กำลังกดขี่ข่มเหงจากสามีอยู่ทำไม!

Ramiro นักเลงหัวไม้ ติดยา อารมณ์กวัดแกว่งเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ดูเหมือนคนพึ่งพาอะไรไม่ได้สักอย่าง แต่ข้างในนั้นอ่อนแอ ปวกเปียก ได้รับการเติมเต็มจาก Susana ทำให้กล้าเผชิญหน้ากับโลกอันเหี้ยมโหดร้าย

รับบทโดย Marco Pérez นักแสดง/ศิลปิน งานประจำคือโรงละครแนวทดลอง แสดงภาพยนตร์/โทรทัศน์บ้างประปราย ผลงานแจ้งเกิดคือ Amores Perros (2000) ด้วยภาพลักษณ์ภายนอกเหมือนนักเลงหัวไม้ การแสดงเต็มไปด้วยความกวัดแกว่งทางอารมณ์ สร้างมิติให้กับตัวละครได้ตราตรึงไม่น้อยทีเดียว ผู้ชมคงอยากให้หมอนี่ตายๆไปเสียได้ แต่นั่นใช่ความรู้สึกที่ถูกต้องเหมาะสมหรือ?


Daniel บรรณาธิการนิตยสาร แม้แต่งงานมีภรรยาและลูกสาวสองคน แต่ชีวิตกลับยังโหยหาความสุขสำราญกับชู้รัก Valeria ตัดสินใจเลิกราหย่าร้างแล้วมาอาศัยอยู่กับเธอ แต่โชคชะตาทำให้เขาเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน สำนึกผิดแต่ไม่สามารถหวนคืนกลับไปได้อีก

รับบทโดย Álvaro Guerrero นักแสดงสัญชาติเม็กซิกัน ผลงานเรื่องแรกคือ The Mission (1986), โด่งดังสุดหนี้ไม่พ้น Amores perros (2000), ภาพลักษณ์ของ Guerrero คือนักธุรกิจ ทำให้ตัวละครมีมาดสง่างามดูดี สามารถจัดการทุกสิ่งอย่างได้อย่างเรียบร้อยหมดจรด แต่ภายในจิตใจของเขานั้นไม่ต่างอะไรกับพื้นผุพัง หลบซ่อนเร้นด้วยหนูนับพัน เฝ้ารอยคอยเวลาทรุดโทรมพังทลาย จนสุดท้ายอาจไม่หลงเหลืออะไรให้มีชีวิตอยู่

Valeria โมเดลลิ่งสาวสวยสุดเซ็กซี่ เป็นนักสร้างภาพหลอกตนเอง คบชู้สู่ชายกับ Daniel จนเขาละเลิกภรรยา ซื้ออพาร์ทเม้นท์หลังใหม่อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่อุบัติเหตุไม่มีใครคาดคิดถึงนั้น ทำให้อนาคตของเธอดับวูบลง ถูกเลิกจ้าง ไหนยังจะสุนัขตัวโปรด Richie หายตัวไปใต้พื้นบ้าน จิตใจเต็มไปด้วยความหวาดหวั่นสั่นสะพรึงกลัว จนในที่สุดหมดสูญสิ้นทุกสิ่งอย่าง

รับบทโดย Goya Toledo นักแสดง/โมเดลลิ่งสัญชาติ Spanish เพื่อนสนิทของ Penélope Cruz จบจากโรงเรียนการแสดงเดียวกัน ผลงานเด่นๆ อาทิ Mararía (1998), Amores Perros (2000) ฯ ความงามเซ็กซี่ของ Toledo นั้นกินขาด! ผู้กำกับ Iñárritu ก็จงใจขายเรียวขาของเธออย่างเต็มที่ ซึ่งพอได้รับอุบัติเหตุเข้าเฝือกเหล็ก แลดูอัปลักษณ์ทั้งภายนอกและจิตใจ สีหน้าสายตาเต็มไปด้วยอาการหวาดกลัวตัวสั่น และท้ายที่สุดนั้นเมื่อต้องสูญเสียอนาคตก้าวเดิน กลายเป็นคนหมดสิ้นอาลัย ตายทั้งเป็น!


El Chivo จากเคยรักลูกและภรรยามากๆ เมื่อตัดสินใจเลือกอุดมการณ์เข้าข้างกลุ่มก่อการร้าย จำต้องทอดทิ้งสูญเสียสิ้นทุกสิ่งอย่าง หลังจากถูกจับ ติดคุก ได้รับการปล่อยตัว กลายมาเป็นมือปืนรับจ้าง ใช้ชีวิตวันๆเหมือนเศษขยะ ไร้ซึ่งเป้าหมายความต้องการใดๆ กระทั่งพบเห็นตัวตายตัวแทนของตนเองเสียชีวิตไป (สามีใหม่ของภรรยา/พ่อใหม่ของลูกสาว) จึงเริ่มแอบซุ่มมอง ลักลอบเข้าไปในบ้านของเธอ และการว่าจ้างครั้งสุดท้าย ทำให้เรียนรู้ถึงความตายไม่ใช่หนทางออกของทุกสิ่ง

รับบทโดย Emilio Echevarría นักแสดงสัญชาติ Mexican ที่พอโด่งดังแจ้งกับ Amores perros (2000) และ Y Tu Mamá También (2001) โกอินเตอร์กับ Die Another Day (2000), The Alamo (2004) ฯ พอไว้หนวดดก ทรงผมกระเซอะกระเซิง ใครๆย่อมมองไม่เห็นคุณค่า แต่หลังจากตัดโกนเลี่ยนเตียนดูดี กลับมีสง่าราศีดูดีจนแทบจดจำไม่ได้ นั่นแปลว่าภาพลักษณ์ภายนอกหาได้สำคัญเท่าจิตใจคน และการเรียนรู้ เติบโต วัยใดก็สามารถทำให้ชีวิตปรับเปลี่ยนไป


ถ่ายภาพโดย Rodrigo Prieto ตากล้องสัญชาติ Mexican หลังจากแจ้งเกิดโด่งดังกับ Amores perros (2000) โกอินเตอร์ผลงานหลากหลาย อาทิ 8 Mile (2002), Alexander (2004), Brokeback Mountain (2005), Argo (2012), Silence (2016), The Irishman (2019) ฯ

งานภาพในแต่ละตอนของหนังมีสัมผัสที่แตกต่างกันไป
– Octavio y Susana, เต็มไปด้วยความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน เต็มไปด้วยแสงสีสัน พบเห็นทั้งมุมก้ม-เงย ซึ่งสะท้อนการต่อสู้ดิ้นรนของชนชั้นกลาง เร่งรีบร้อนเพื่อให้ชีวิตสามารถดิ้นรนเอาตัวรอด
– Daniel y Valeria, ส่วนใหญ่ของหนังอยู่ภายในอพาร์ทเม้นท์หรู ไม่เน้นการขยับเคลื่อนสั่นไหวกล้องมากนัก แสดงถึงชีวิตที่ไม่จำเป็นต้องต่อสู้ดิ้นรนอะไรมาก แต่โทนสีหม่นๆแห้งแล้งก็ใช่ว่าชีวิตจะพานพบเจอความสงบสุขใดๆ
– El Chivo y Maru, การจัดวางองค์ประกอบภาพ เต็มไปด้วยอะไรไม่รู้ที่ชวนให้รู้สึกรกๆ สกปรก มุมกล้องแอบๆ ราวกับคนชนชั้นล่างไม่มีตัวตนใดๆในสังคม

เผื่อคนไม่ทันสังเกต Iñárritu มีบทรับเชิญเล็กๆช็อตนี้

ตัดต่อโดย Iñárritu, Luis Carballar และ Fernando Pérez Unda เห็นว่าฉบับแรกของหนังยาวเกือบๆ 3 ชั่วโมง เลยไปขอคำปรึกษาจากเพื่อนสนิท Guillermo del Toro แนะนำให้เล็มโน่นนี่นั่นตัดออกไปอีกนิด จนได้ 153 นาที มีความสมบูรณ์ที่สุดแล้ว

หนังแบ่งเรื่องราวออกเป็นสามส่วนที่ไม่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ แต่เชื่อมโยงด้วยเหตุการณ์รถชนกลางสี่แยกเป็นจุดหมุน
– Octavio y Susana, นำเสนอเรื่องราวก่อนหน้าขับรถชน (มุมมองบุคคลที่หนึ่ง)
– Daniel y Valeria, นำเสนอเรื่องราวภายหลังถูกรถชน (มุมมองบุคคลที่สอง)
– El Chivo y Maru, คาบเกี่ยวเรื่องราวก่อนหน้า-ภายหลัง (มุมมองบุคคลที่สาม)

ซึ่งในแต่ละตอน จะพบเห็นเศษเลี้ยวเล็กๆของตอนอื่นๆแทรกปรากฎอยู่ด้วย เพื่อเป็นการเติมเต็มเนื้อเรื่องราวที่ขาดหาย อาทิ
– รายการสัมภาษณ์ของ Valeria ค้างๆคาๆอยู่ตอน Octavio y Susana ก่อนไปเปิดเผยเต็มๆที่ Daniel y Valeria
– หลังจากอุบัติเหตุรถชน โชคชะตากรรมของรอด/ตายของ Octavio จะปรากฎอยู่ตอน El Chivo y Maru
– หลังจากอุบัติเหตุรถชน Valeria ได้รับการช่วยเหลืออย่างไร ปรากฎอยู่ตอน El Chivo y Maru เช่นกัน
ฯลฯ

หลายครั้งของการดำเนินเรื่อง พบเห็นการตัดต่อคู่ขนานสองเหตุการณ์สลับไปมา และบางครั้งแม้คนละตอน แต่มีความต่อเนื่องทางอารมณ์
– ระหว่างการต่อสู้หมา ตัดภาพไปงานศพพ่อเลี้ยงของ Maru … สื่อถึงศัตรู/คู่ต่อสู้สูญเสียชีวิต
– Ramiro ออกปล้น, Octavio เล่นพนันสู้สุนัข … การทำงานหาเงินที่ถือว่าผิดกฎหมายทั้งคู่
– Octavio ร่วมรักกับ Susana, Ramiro ถูกรุมทำร้าย … สะท้อนความสุขสูงสุดของ Octavio ได้ครอบครองหญิงคนรัก และกำจัดพี่ชาย/ศัตรูหัวใจ
– Ramiro ถูกยิงขณะกำลังปล้นธนาคาร, El Chivo กำลังรักษาแผลให้กับสุนัขที่เพิ่งพบเจอ
– Octavio เฝ้ารอคอยที่สถานีขนส่ง, El Chivo ตัดผมโกนหนวด ตระเตรียมตัวสำหรับการออกเดินทางครั้งใหม่
ฯลฯ

เพลงประกอบโดย Gustavo Santaolalla สัญชาติ Argentine เจ้าของสองรางวัล Oscar: Best Original Score จากเรื่อง Brokeback Mountain (2005) และ Babel (2006)

งานเพลงของ Santaolalla โดดเด่นกับการใช้เสียงกีตาร์นำ (มีทั้งกีตาร์โปร่ง/ไฟฟ้า) เริ่มต้นมอบสัมผัสอันเคว้งขว้างว่างเปล่า ชีวิตเต็มไปด้วยความเจ็บปวดรวดร้าวทุกข์ทรมาน แต่ไม่ว่าจะชนชั้นไหนก็เหมือนกัน ถ้าเราสามารถอาศัยอยู่ได้ด้วยความรู้สึกเพียงพอดี โลกทั้งใบนี้คงไม่ต่างจากสรวงสวรรค์ ระยิบระยับงดงามตระการตา เอื้อนเกินกว่าคำอื่นใดจะใช้บรรยาย

สุนัข คือสัตว์ที่เป็น ‘เพื่อนแท้ของมนุษย์’ ในบริบทของภาพยนตร์เรื่องนี้ เปรียบได้กับ ‘จิตวิญญาณ’ ของตัวละคร
– Cofi แทนด้วยความเกรี้ยวกราดคลุ้มคลั่งของ Octavio ทั้งๆเจ้าของแท้จริงคือ Ramiro แต่กลับไม่เคยเอาใจใส่ดูแล ก็เหมือนภรรยา Susana แสดงออกว่ารักแต่ไม่ใคร่ใส่ใจอะไรอย่างอื่น
– Richie ลูกรักของ Valeria เมื่อมันสูญหายตัวไปใต้พื้นห้อง เธอเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานแทบเป็นแทบตาย คลุ้มคลั่งเกรี้ยวกราด ถึงขนาดกระทำกับตนเองจนหมดสิ้นสูญอนาคต (ขา = สัญลักษณ์ของการก้าวเดิน อนาคตข้างหน้า)
– สุนัขสามสี่ตัวของ El Chivo รักมากเหมือนลูก มีจิตอารีย์กับ Cofi แต่กลับกลายเป็น ‘เลี้ยงงูเห่า’ ต้องการเข่นฆ่าล้างแค้นแต่ไม่สามารถกระทำได้ ตระหนักย้อนแย้งเข้ากับอาชีพมือปืนรับจ้างของตนเอง เลยตัดสินใจกระทำบางสิ่งอย่างที่แตกต่างออกไป

ขณะที่สุนัขมีความจงรักภักดีต่อเจ้านาย แต่มนุษย์ทั้งหลาย ชาย-หญิง แทบทั้งนั้นหาความซื่อสัตย์ต่อใครแทบไม่ได้
– Octavio แม้มีพี่ชายแท้ Ramiro แต่โกรธเกลียดเคียดแค้นไม่สามารถให้อภัย
– Susana แต่งงานกับ Ramiro แต่ลักลอบมีชู้ Octavio
– Ramiro แม้รักกับ Susana แต่ไม่ใคร่สนใจใยดี ทะนุถนอมดูแลเธอสักเท่าไหร่
– Daniel นอกใจภรรยา คบชู้กับ Richie
– Valeria สร้างภาพหลอกผู้ชม ให้ครุ่นคิดว่ากำลังคบหาใครบางคน แต่แท้จริงคือคบชู้กับ Daniel
– El Chivo แม้รักภรรยาและลูกสาวมากๆ แต่กลับเลือกอุดมการณ์สูงส่งกว่าสิ่งใด และทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างไว้เบื้องหลัง
ฯลฯ

Dogfighting คือกิจกรรมที่แฝงนัยยะถึงการต่อสู้ดิ้นรนของชนชั้นทำงาน (Working Class) ปากกัดตีนถีบ หาเช้ากินค่ำ เงินเท่านั้นทรงคุณค่าสำคัญสูงสุด สามารถนำไปซื้อรถ/ขับเคลื่อนชีวิต และเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝันของตนเอง … นี่สามารถสะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ใน Mexico City ได้เช่นกัน

คนชนชั้นสูง แม้ไม่ต้องดิ้นรนหาเช้ากินค่ำ แต่ก็ใช่ว่าจะมีความมั่นคง
– พื้นบ้านทะลุ สะท้อนถึงความไม่มั่นคงในชีวิตและจิตใจ
– ถูกหนูกัดก่อนกิน บ่อนทำลายจากภายใน
– ได้รับบาดเจ็บขา คือการสูญเสียอนาคต ไม่สามารถก้าวเดินต่อไปสู่วันข้างหน้า
– ภาพโปสเตอร์ขนาดใหญ่ สะท้อนความภาคภูมิใจในตนเอง สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ ชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับการยินยอมรับจากสังคม
ฯลฯ

สำหรับ El Chivo สิ่งผิดพลาดพลั้งที่สุดในชีวิตเขา คือการทอดทิ้งภรรยาและลูกๆเพื่ออุดมการณ์เพ้อใฝ่ฝันของตนเอง อันเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียดายเวลาที่ขาดหาย ภาพพ่อบุญธรรม-แม่-ลูก นำรูปถ่ายตนเองมาตัดแปะแทนที่ วางเงินไว้ใต้หมอนเพราะเชื่อว่าสามารถแก้อดีต/ปัญหาได้ทุกสิ่งอย่าง

ความมหัศจรรย์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้ชมสามารถมองสามเรื่องราวดำเนินขึ้นต่อเนื่องกันไปข้างหน้า แค่ปรับเปลี่ยนตัวละคร และเวลาที่คาบเกี่ยวกัน ลองทำความเข้าใจในลักษณะนี้ดูนะครับ
– ชายหนุ่มตกหลุมรักหญิงสาวที่แต่งงานกับพี่ชาย กำลังมีทารกน้อยน่ารัก ชักชวนเธอหนีไปอยู่ด้วยกันแต่ไม่สำเร็จ
– ชายวัยกลางคนหย่าร้างภรรยา ทอดทิ้งลูกสาวตัวเล็ก คบชู้แฟนใหม่หนีไปอยู่ด้วยกัน แต่กลับชอกช้ำระกำใจ ตระหนักได้ว่าครุ่นคิดผิด
– ชายชราต้องการหวนกลับไปหาลูกโตเป็นสาว ตระหนักได้ถึงความผิดพลาดครั้งเก่าก่อน ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อเป็นการทิ้งท้าย

การเดินทางท่องเที่ยวยุโรป/แอฟริกาของผู้กำกับ Alejandro González Iñárritu ส่งอิทธิพลต่อหนังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก สามเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความแตกต่างแห่งชีวิต ก็เหมือนภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อของมนุษย์แต่ละชนชาติพันธุ์ ถึงกระนั้นเราก็อาศัยอยู่อย่างกลมกลืนหนึ่งเดียวร่วมกันบนโลกใบนี้

Trilogy of Death คือสามระดับแห่งความสัมพันธ์ที่ผู้กำกับ Iñárritu พานพบเจอในชีวิต
– Amores perros (2000) ความแตกต่างทางชนชั้น/สังคม อาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศประเทศเม็กซิโก
– 21 Grams (2003) สะท้อนความรู้สึกภายในจิตใจที่แตกต่างกันต่อความตาย
– Babel (2006) ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์จากทั่วทุกโลก

มุมมองของ Iñárritu ชีวิตคือปริมาณนับไม่ถ้วนของการสูญเสีย เริ่มตั้งแต่เกิด เติบโต สูญเสียความเยาว์วัย, บริสุทธิ์สดใส, ขนร่วง ฟันหลุด สุขภาพย่ำแย่ และที่สุดคือสิ้นลมหายใจ ทุกสิ่งอย่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง ว่ายเวียนวนดั่งวัฏจักร

“My theory is that life is a relentless number of losses that we suffer. From when we’re born to when we die, we are losing. We are losing our innocence. We start losing our hair, our teeth, our health, and then we lose our life. For me, it’s about how you deal with that, how you transform pain. Because I think pain should not be enjoyed, but pain is something you can transform. It’s a way to remain connected with things. This is how nature works. The flower grows and blooms, then dries and dies, and is born again. It’s constant part of life”.


เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes สาย International Critics’ Week คว้ามา 3 รางวัล
– Critics Week Grand Prize
– Grand Golden Rail
– Young Critics Award

ด้วยทุนสร้าง $2.4 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $5.4 ล้านเหรียญ รวมทั้วโลก $20.9 ล้านเหรียญ ประสบความสำเร็จอย่างล้มหลาม

และยังได้เป็นตัวแทนประเทศ Mexico
– เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film พ่ายให้กับ Crouching Tiger, Hidden Dragon (2000)
– เข้าชิง Golden Globes: Best Foreign Language Film
– คว้ารางวัล BAFTA Award: Best Film not in the English Language

ตลกคือเริ่มต้นผมมีความลังเลกับตอนแรกของหนังที่เต็มไปด้วยความรุนแรงคลุ้มคลั่ง แต่พอดูหนังจบกลับกลายเป็นตอนชื่นชอบสุดซะงั้น! ไม่รู้เพราะส่วนตัวตกหลุมรักผู้หญิงลักษณะนี้หรือเปล่านะ ทึ่งในความอดรนทนไปได้อย่างไรกับผู้ชายแบบนั้น ชวนให้ระลึกถึง Election (1999) ขึ้นมาชอบกล

แนะนำคอหนังอาชญากรรม ดราม่า สะท้อนภาพประเทศ Mexico ในสายตาผู้กำกับ Alejandro González Iñárritu, ชื่นชอบการตัดต่อ ดำเนินเรื่องต่างมุมมอง, แฟนๆนักแสดง Emilio Echevarría และ Gael García Bernal ไม่ควรพลาด

จัดเรต 18+ กับความสมจริงของสุนัขสู้กัน, คบชู้นอกใจ, เข่นฆาตกรรม

คำโปรย | ความรักของ Alejandro González Iñárritu ต่อ Amores perros ช่างคลุ้มคลั่งบาดใจ  
คุณภาพ | ลุ้ลั่
ส่วนตัว | ชื่นชอบ