Why We Fight (1942-45)


Why We Fight (1942-45) hollywood : Frank Capra, Anatole Litvak ♥♥♥♡

หลังสหรัฐอเมริกาถูกโจมตี Pearl Harbor เสนาธิการทหารบก George C. Marshall ติดต่อขอให้ผู้กำกับ Frank Capra สรรค์สร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda Film) เพื่อโต้ตอบกลับ Triumph of the Will (1935) กลายมาเป็นหนังซีรีย์จำนวน 7 ภาคละ 40-83 นาที

มีซ้ายก็ต้องมีขวา โลกใบนี้มีสองด้านเสมอๆ เลยไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ฝ่ายสัมพันธมิตร จะครุ่นคิดสรรค์สร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อ เพื่อทำการโต้ตอบกลับ Triumph of the Will (1935) ของนาซีเยอรมัน!

แต่จะทำอย่างไรในการสรรค์สร้างภาพยนตร์ให้เอ่อล้นด้วยพลัง ทรงอิทธิพล และตราตรึงยิ่งกว่า? แน่นอนว่ามันเป็นไปได้เสียที่ไหน! ถึงอย่างนั้นวิสัยทัศน์ของผู้กำกับ Frank Capra กลับมีความโคตรๆน่าสนใจ ใช้วิธีการนำฟุตเทจ Triumph of the Will (1935) มาหั่นเป็นชิ้นๆ ขยี้ความจริง พูดชี้นำผู้ชม(ชาวอเมริกัน)ว่าอะไรถูกอะไรผิด และเสริมเติมภาพกราฟิกให้ดูน่าตื่นตาตื่นใจ

Use the enemy’s own films to expose their enslaving ends. Let our boys hear the Nazis and the Japs shout their own claims of master-race crud—and our fighting men will know why they are in uniform.

Frank Capra

สำหรับคนที่รับชมหนังดราม่ามาเยอะ ย่อมรู้สึกเบื่อหน่ายกับหนังซีรีย์เรื่องนี้แน่ๆ (ดูวันละตอนก็ได้นะครับ ไม่เห็นต้องรีบร้อนรวดเดียวจบ) แนะนำให้มองเป็นสารคดีบันทึกประวัติศาสตร์ ได้รับความรู้เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง เพลิดเพลินภาพกราฟิกสวยๆ (ออกแบบโดย Walt Disney) ตัดต่อยอดเยี่ยม เพลงประกอบลุ้นระทึก และโดยเฉพาะ …

  • ตอนแรก Prelude to War (1942) คว้ารางวัล Oscar: Best Documentary Feature Film
  • ตอนที่ห้า The Battle of Russia (1944) เข้าชิง Oscar: Best Documentary Feature Film

ผมรู้สึกว่ามันมีความจำเป็นมากๆที่เราควรรับชม Triumph of the Will (1935) เคียงคู่กับ Why We Fight (1942-45) เพื่อให้พบเห็นมุมมองโลกทั้งสองด้าน ต่างฝ่ายต่างก็ยึดถือมั่นในอุดมคติสุดโต่ง ปฏิเสธโอนอ่อนผ่อนปรน ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่าไม่มีฝั่งฝ่ายไหนถูกต้อง ก็อาจพบเห็นหนทางสายกลางแห่งความสงบสุขแท้จริง


Frank Russell Capra ชื่อเดิม Francesco Rosario Capra (1897 – 1991) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติ Italian-American เกิดที่ Bisacquino, Sicily ตอนอายุ 5 ขวบ ครอบครัวอพยพสู่สหรัฐอเมริกา ปักหลักอยู่ยัง Los Angeles ฝั่งตะวันออก (ปัจจุบันคือ Chinatown) ทำงานเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ก่อนไปโรงเรียน, โตขึ้นเข้าศึกษา California Institute of Technology สาขา Chemical Engineering, แล้วอาสาสมัครเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปลดประจำการออกมากลายเป็นพลเมืองอเมริกัน เร่ร่อนออกหางานทำได้ใบบุญจากโปรดิวเซอร์ Harry Cohn กลายเป็นนักเขียน ตัดต่อ ผู้ช่วย กำกับภาพยนตร์สามเรื่องแรกร่วมกับ Harry Langdon ก่อนฉายเดี่ยวเรื่อง For the Love of Mike (1927) มีชื่อเสียงโด่งดังจาก Lady for a Day (1933) ตามด้วย It Happened One Night (1934), Mr. Deeds Goes to Town (1936), Lost Horizon (1937), You Can’t Take It With You (1938), Mr. Smith Goes to Washington (1939), Meet John Doe (1941), It’s a Wonderful Life (1946) ฯ

ผลงานของ Capra มักมีลักษณะ ‘fantasy of goodwill’ เต็มไปด้วยความบันเทิงแฝงสาระ หรือเรียกว่า ‘message film’ เพราะชีวิตของเขาเริ่มต้นจากสลัมไต่เต้าขึ้นเป็นเศรษฐีผู้ประสบความสำเร็จ (Rags-to-Rich) จึงมักมีส่วนผสมของ ‘American Dream’ รวมอยู่ด้วย มีชื่อเล่นเรียกว่า ‘Capra-corn’ หรือ ‘Capraesque’

เมื่อทหารญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพ Pearl Harbor วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1971 และสหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้กำกับ Capra ที่เคยรับใช้ชาติเมื่อตอนสงครามโลกครั้งแรก อาสาสมัครหวนเข้ากลับรับราชการทหาร Signal Corps ภายใต้เสนาธิการทหารบก George C. Marchall

ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ละหน่วยงาน ภาครัฐ กองทัพ ฯ ต่างพยายามสร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda) เพื่อให้ชาวอเมริกันเกิดจิตสำนึก ความตระหนักถึงภยันตรายที่กำลังคืบคลานเข้ามา แต่ยังไม่เคยมีภาพยนตร์เรื่องไหนที่ทรงพลังมากพอจะต่อกรกับ Triumph of the Will (1935) จนกระทั่งการมาถึงของผู้กำกับ Capra

You were the answer to the General’s prayer. … You see, Frank, this idea about films to explain “Why” the boys are in uniform is General Marshall’s own baby, and he wants the nursery right next to his Chief of Staff’s office.

Now, Capra, I want to nail down with you a plan to make a series of documented, factual-information films—the first in our history—that will explain to our boys in the Army why we are fighting, and the principles for which we are fighting. … You have an opportunity to contribute enormously to your country and the cause of freedom. Are you aware of that, sir?

George C. Marchall

หลังการพบเจอครั้งนั้น Capra ถึงค่อยมีโอกาสรับชม Triumph of the Will (1935) (เพราะหนังชวนเชื่อเรื่องนี้ถูกแบนห้ามฉายในสหรัฐอเมริกา) แล้วเกิดความตระหนักว่านี่คือภาพยนตร์ที่น่าหวาดสะพรึง “terrifying motion picture”

[Triumph of the Will]’s the ominous prelude of Hitler’s holocaust of hate. Satan couldn’t have devised a more blood-chilling super-spectacle. Even this film fired no gun, dropped no bombs. But as a psychological weapon aimed at destroying the will to resist, it was just as lethal.

Frank Capra

Capra นั่งครุ่นคิดอยู่สักพักใหญ่ๆ จะหาวิธีการอันใดในการโต้ตอบกลับ Triumph of the Will (1935) เพราะองค์กรในสังกัดขณะนี้ไม่ใช่สตูดิโอภาพยนตร์ ไม่มีอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ หรือทีมงานคอยให้ความช่วยเหลือใดๆ ก่อนได้ข้อสรุปแนวคิดพื้นฐาน ที่เชื่อว่ามีความทรงพลังอย่างยิ่ง

I thought of the Bible. There was one sentence in it that always gave me goose pimples: “Ye shall know the truth, and the truth shall make you free.”

วิธีการก็คือนำเอาข้อมูลทุกสิ่งอย่างที่มาจากฝั่งศัตรู ฟีล์มข่าว (Newsreel), ฟุตเทจภาพยนตร์, คำกล่าวสุนทรพจน์, บทความหนังสือพิมพ์ ฯ นำมาร้อยเรียง ปะติดปะต่อ แล้วใส่คำอธิบายในเชิงชี้นำ เพื่อแสดงให้เห็นถึงสาเหตุผล ข้อเท็จจริง ‘Why We Fight?’

Use the enemy’s own films to expose their enslaving ends. Let our boys hear the Nazis and the Japs shout their own claims of master-race crud—and our fighting men will know why they are in uniform.


โปรดักชั่นเริ่มต้นระหว่าง ค.ศ. 1942-45 วางแผนไว้ทั้งหมด 7 ภาค ความยาว 40-76 นาที โดยนำเอา Stock Footage, Newsreel รวมถึงภาพยนตร์ชวนเชื่อนาซี มาร้องเรียง ปะติดปะต่อ อธิบายด้วยภาพกราฟิกออกแบบโดยสตูดิโอ Walt Disney พร้อมเสียงบรรยายของ Walter Huston, Elliott Lewis, Harry von Zell, Lloyd Nolan และเพลงประกอบบรรเลงโดย Army Air Force Orchestra

ปล. คำอธิบายภาษาอังกฤษ คือสรุปความ (synopsis) โดยผู้กำกับ Frank Capra

  1. Prelude to War (1942) ความยาว 52 นาที, อารัมบทสงครามโลกครั้งที่สอง อธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการแบ่งโลกออกเป็นสองใบ ฝ่ายสัมพันธมิตร vs. อักษะ (นาซีเยอรมัน, ฟาสซิสต์อิตาลี และจักรวรรดิญี่ปุ่น)
    • [Prelude to War] presenting a general picture of two worlds; the slave and the free, and the rise of totalitarian militarism from Japan’s conquest of Manchuria to Mussolini’s conquest of Ethiopia.
  2. The Nazis Strike (1943) ความยาว 41 นาที, นำเสนอจุดเริ่มต้นการบุกรุกรานของนาซีเยอรมัน เป้าหมายเพื่อยึดครอบครอง Austria, Czechoslovakia และ Poland
    • Hitler rises. Imposes Nazi dictatorship on Germany. Goose-steps into Rhineland and Austria. Threatens war unless given Czechoslovakia. Appeasers oblige. Hitler invades Poland. Curtain rises on the tragedy of the century—World War II.
  3. Divide and Conquer (1943) ความยาว 62 นาที, นำเสนอการบุกรุกราน Denmark, Norway, Switzerland และความพ่ายแพ้ของ France
    • Hitler occupies Denmark and Norway, outflanks Maginot Line, drives British Army into North Sea, forces surrender of France.
  4. The Battle of Britain (1943) ความยาว 52 นาที, นำเสนอการต่อสู้ทางอากาศกับประเทศอังกฤษ ที่ทำให้นาซีเยอรมันได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง
    • Showing the gallant and victorious defense of Britain by Royal Air Force, at a time when shattered, but unbeaten, British were the only people fighting Nazis.
  5. The Battle of Russia (1943) ความยาว 83 นาที, มีแบ่งออกเป็น Part I และ II, เริ่มต้นนำเสนอประวัติศาสตร์การสงครามระหว่างรัสเซียกับเยอรมัน และสามารถโต้ตอบนาซีจนได้รับความเสียหายอย่างย่อยยับ
    • History of Russia; people, size, resources, wars. Death struggle against Nazi armies at gates of Moscow and Leningrad. At Stalingrad, Nazis are put through meat grinder.
  6. The Battle of China (1944) ความยาว 65 นาที, นำเสนอการบุกรุกรานประเทศจีนของจักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ได้รับชัยชนะในคราแรก แต่ก็ถูกโต้ตอบกลับอย่างสาสม
    • Japan’s warlords commit total effort to conquest of China. Once conquered, Japan would use China’s manpower for the conquest of all Asia.
  7. War Comes to America (1945) ความยาว 65.20 นาที, เริ่มจากนำเสนอประวัติศาสตร์สร้างชาติสหรัฐอเมริกา มาจนถึงการถูกโจมตี Pearl Harbour คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชาวอเมริกันต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้
    • Dealt with who, what, where, why, and how we came to be the USA—the oldest major democratic republic still living under its original constitution. But the heart of the film dealt with the depth and variety of emotions with which Americans reacted to the traumatic events in Europe and Asia. How our convictions slowly changed from total non-involvement to total commitment as we realized that loss of freedom anywhere increased the danger to our own freedom. This last film of the series was, and still is, one of the most graphic visual histories of the United States ever made.

เกร็ด: Frank Capra ถือเป็นผู้กำกับหลักของหนังซีรีย์ชุดนี้ ยกเว้นเพียงตอนที่ห้า The Battle of Russia (1943) กำกับโดย Anatole Litvak


ความเห็นส่วนตัวนั้น Prelude to War (1942) เป็นภาคที่มีความน่าสนใจที่สุด (แต่ไม่ได้หมายความว่าดีที่สุดนะครับ) เพราะนำเสนอภาพรวม อธิบายเหตุผลการเกิดสงคราม โดยมีแบ่งแยกให้เห็นแนวคิดทางการเมืองระหว่างโลกสองใบ ฝ่ายอักษะ vs. สัมพันธมิตร แล้วทำการสรุปย่ออุดมการณ์สามชาติสมาชิกอักษะ นาซีเยอรมัน, ฟาสซิสต์อิตาลี และจักรวรรดิญี่ปุ่น ที่มีความสอดคล้อง จุดมุ่งหมายละม้ายคล้ายคลึงกัน! … แต่มันก็สร้างความฉงนสงสัยว่าข้อสรุปเหล่านั้น เป็นจริงตามกล่าวอ้าง หรือเพียงคำชวนเชื่อล้างสมอง เพราะเสียงบรรยายพยายามเหลือเกินจะชี้นำ นาซีเลวอย่างโน้น ฟาสซิสต์แย่อย่างนี้ จักรวรรดิญี่ปุ่นชั่วร้ายอย่างนั้น มันเป็นการดูถูกเหยียดหยามที่ไร้ชั้นเชิงสิ้นดี!

ตอนที่สอง-สาม The Nazis Strike (1943) และ Divide and Conquer (1943) ผมมองว่าเป็นส่วนต่อขยายจาก Prelude to War (1942) นำเสนอการสงครามของนาซีเยอรมัน เริ่มจากกลับกลอกคำมั่นสัญญา แล้วทำการบุกโจมตี ยึดครอบครองนานาประเทศที่มีอาณาเขตอยู่รอบข้าง นำเสนอพร้อมกับภาพกราฟิกให้ผู้ชมเห็นภาพได้อย่างชัดเจน … Divide and Conquer (1943) น่าจะเป็นภาคดีที่สุดของซีรีย์ชุดนี้ ตัดต่อได้กระชับ เพลงประกอบลุ้นระทึก ภาพกราฟิกน่าติดตาม และเป็นภาคเดียวที่ผมนั่งดูตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่รู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ (เพราะทั้งสองภาคนี้ เน้นนำเสนอข้อมูลสงครามล้วนๆ ทำให้รู้สึกเหมือนกำลังรับชมฟีล์มข่าว/Newsreel บันทึกเหตุการณ์เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์)

ตั้งแต่ภาคสี่ The Battle of Britain (1943) จะมีโครงสร้างการดำเนินเรื่องที่ผิดแผกแตกต่างจากสามตอนก่อนหน้า โดยจะมีการเริ่มต้นอารัมบท ด้วยการแนะนำพื้นหลัง ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต สภาพสังคม วัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ (อังกฤษ, รัสเซีย, จีน และสหรัฐอเมริกา) ก่อนค่อยๆนำเข้าสู่ความขัดแย้งกับนาซีเยอรมัน (ภาคสี่-ห้า) และจักรวรรดิญี่ปุ่น (ภาคหก-เจ็ด)

ผมคาดคิดว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างดังกล่าว เกิดขึ้นเพราะผกก. Capra มอบหมายให้ Anatole Litvak ซึ่งเป็นชาวรัสเซีย ดูแลงานสร้างในส่วน The Battle of Russia (1943) แล้วเสนอแนะวิธีดำเนินเรื่องโดยสมมติว่าผู้ชมไม่เคยรับรู้จักสหภาพโซเวียตมาก่อน ก็เลยเริ่มต้นด้วยการอธิบายพื้นหลัง ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต สภาพสังคม วัฒนธรรม และโดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างชนชาวรัสเซีย vs. เยอรมันนี ที่มีมาตั้งแต่ยุคโบราณกาลจนถึงปัจจุบัน

ย้อนกลับมา The Battle of Britain (1943) เอาจริงๆก็เป็นตอนที่น่าสนใจ แต่ผมรับรู้สึกว่าผู้กำกับ Capra พึ่งพาฟุตเทจจากภาพยนตร์ของประเทศอังกฤษมากเกินไป จนแทบกลายจะเป็นหนังแอ๊คชั่น ทั้งการสู้รบบนฟากฟ้า ระเบิดตกลงมา รวมถึงมุกตลกขบขันที่สอดแทรกอยู่เป็นระยะๆ … เอาว่าเป็นตอนดูสนุกที่สุดก็ว่าได้

สำหรับภาคห้า The Battle of Russia (1943) และหก The Battle of China (1944) ผมดูไปก็ขำไป เสียงผู้บรรยายพยายามสรรเสริญเยินยอปอปั้นผู้นำ Joseph Stalin และนายพลเจียงไคเช็ก เพราะยุคสมัยนั้นรัสเซียและจีนต่างเลือกข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ก็เลยต้องสร้างภาพชวนเชื่อ ทำให้ทั้งสองประเทศดูยิ่งใหญ่ (รัสเซีย) น่าเห็นอกเห็นใจ (จีน) แม้ลึกๆในสันดานอเมริกันชน จะรังเกียจเหยียดหยามชาวรัสเซียและคนเอเชียผิวเหลือง

ยิ่งการรับชมในปัจจุบัน ค.ศ. 2023 ปริ่มๆสงครามโลกครั้งที่สาม รัสเซียและจีนต่างกลายเป็นมหาอำนาจโลก พันธมิตรในอดีตกลายมาเป็นศัตรู ดูภาพยนตร์ชวนเชื่อเรื่องนี้แล้วรู้สึกว่าตรรกะประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา มันบิดๆเบี้ยวๆใกล้จะเกินเยียวยา

และโดยเฉพาะ War Comes to America (1945) ผมพยายามกดข้ามๆ ขี้เกียจทนดูชิบหาย เต็มไปด้วยคำสรรเสริญเยินยอปอปั้น อุดมการณ์ของฉันดีอย่างโน้น ยิ่งใหญ่เกรียงไกร เหนือกว่าใคร (การนำเสนอเช่นนี้มันต่างอะไรจากอุดมการณ์ฝ่ายอักษะ) ฉันจะไม่ยินยอมให้ผู้ใดมาเหยียดย่ำยี ทำลายสิทธิเสรีภาพ ระบอบประชาธิปไตย ต้องทำให้นาซีเยอรมัน ฟาสซิสต์อิตาลี (ไม่เห็นแม้งจะทำอะไร) และจักรวรรดิญี่ปุ่น พ่ายแพ้อย่างราบคาบเป็นหน้ากอง

The victory of the democracies can only be complete with the utter defeat of the war machines of Germany and Japan.

George C. Marshall

ดั้งเดิมนั้นหนังซีรีย์ Why We Fight (1942-45) มีกลุ่มเป้าหมายฉายเพียงทหารเกณฑ์ภายในกองทัพ แต่หลังจากปธน. Franklin Roosevelt มีโอกาสรับชมภาคแรก Prelude to War (1942) จึงออกคำสั่งให้นำออกฉายสาธารณะ คาดการณ์ว่าจนสิ้นสุดสงครามโลก มีชาวอเมริกันได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้กว่า 54 ล้านคน!

การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้มีสารคดี/ภาพยนตร์ชวนเชื่อผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด! เมื่อปี ค.ศ. 1941 สถาบัน Academy Award ได้มอบรางวัลพิเศษ (Special Awards) ให้กับ Kukan (1941) และ Target for Tonight (1941) รวมถึงก่อตั้งสาขา Best Documentary Short Film ผู้ชนะคือ Churchill’s Island (1941) หนังชวนเชื่อจากแคนาดา

ปีถัดมา ค.ศ. 1942 จึงทำการเหมารวม (ทั้งสารคดีขนาดสั้น-ขาว) กลายมาเป็นสาขา Best Documentary Feature Film โดยมีสารคดีเข้าชิงจำนวน 25 เรื่อง! และมอบรางวัลให้ภาพยนตร์ 4 เรื่อง ประกอบด้วย

  • The Battle of Midway (1942) กำกับโดย John Ford, หนังชวนเชื่อของกองทัพเรือ สหรัฐอเมริกา
  • Kokoda Front Line! (1942) กำกับโดย Ken G. Hall, หนังชวนเชื่อจากออสเตรเลีย
  • Moscow Strikes Back (1942) กำกับโดย Artkino, หนังชวนเชื่อจากสหภาพโซเวียต
  • Prelude to War (1942) กำกับโดย Frank Capra, หนังชวนเชื่อจากกระทรวงการสงครามสหรัฐ สหรัฐอเมริกา

แซว: น่าจะเพราะมีสารคดีเข้าชิงถึง 25 เรื่อง! ทำให้อีกปีถัดมา ค.ศ. 1943 สาขานี้จึงถูกจับแยกเป็น Feature Film และ Short Film สรุปคือ…

  • ค.ศ. 1941, มีการมอบรางวัลพิเศษ (Special Awards) และรางวัล Best Documentary Short Film
  • ค.ศ. 1942, ผนวกรวมสารคดีขนาดสั้น-ยาว Best Documentary Feature Length
  • ค.ศ. 1943 จนถึงปัจจุบัน, แบ่งออกเป็น Best Documentary Short Film และ Best Documentary Short Film

ปีถัดมาภาพยนตร์ภาคห้า The Battle of Russia (1943) กำกับโดย Anatole Litvak ก็มีโอกาสเข้าชิง Oscar: Best Documentary Feature Film แต่พ่ายให้กับ Desert Victory (1943) หนังชวนเชื่อจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเทศอังกฤษ

ปัจจุบัน US Army Pictorial Services อนุญาตให้ Why We Fight (1942-45) กลายเป็นสาธารณสมบัติ (Public Domain) สามารถหารับชมออนไลน์ คุณภาพ HD ได้บนเว็บไซต์ Youtube ครบทั้ง 7 ตอน

Why We Fight (1942-45) อาจไม่ใช่ภาพยนตร์/สารคดีที่มีความบันเทิงเริงรมณ์นัก แต่ผมกลับรู้สึกเพลิดเพลินในลีลาการนำเสนอ เทคนิคตัดต่อ เพลงประกอบลุ้นระทึก ภาพกราฟิกน่าตื่นตาตื่นใจ แม้มันอาจเทียบความยิ่งใหญ่ไม่ได้กับ Triumph of the Will (1935) ยังต้องถือว่าทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไม่แพ้กัน

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกเพลิดเพลินมากๆ คือสังเกตหาว่ามีการนำฟุตเทจมาจากแห่งหนไหน? ภาพยนตร์เรื่องอะไร? รับรู้จักมากน้อยเท่าไหร่? อาจยังไม่มากมายเทียบเท่า Histoire du cinéma (1988) หรือ The Image Book (2018) ของผู้กำกับ Jean-Luc Godard แต่สามารถมองในลักษณะ ‘essay film’ ไม่ต่างกัน!

แนะนำอย่างยิ่งกับผู้มีความสนใจในสงครามโลกครั้งที่สอง มุมมองฝ่ายสัมพันธมิตร โลกทัศนคติของสหรัฐอเมริกา Why We Fight (1942-45) ถือเป็นภาพยนตร์ทรงคุณค่าด้านวิชาการ คาบเรียนประวัติศาสตร์อย่างมากๆ … สมควรรับชมเคียงข้าง Triumph of the Will (1935) เพื่อให้สามารถเข้าถึงมุมมองทั้งสองฝั่งฝ่าย

จัดเรต 18+ กับภาพสงคราม ลักษณะชวนเชื่อ

คำโปรย | Why We Fight ภาพยนตร์ชวนเชื่อ ที่กลายเป็นบันทึกประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง
คุณภาพ | บันทึกประวัติศาสตร์
ส่วนตัว | ได้รับความรู้

Always (1989)


Always (1989) hollywood : Steven Spielberg ♥♡

สร้างใหม่จาก A Guy Named Joe (1943) หนึ่งในแรงบันดาลใจ Steven Spielberg ให้อยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ นำเสนอเรื่องราวความเชื่อว่าเมื่อคนรักตายจากไป อีกฝ่ายจะกลายเป็นวิญญาณ ยังคงล่องลอยอยู่เคียงข้าง ‘ตลอดไป’

Always (1989) เป็นภาพยนตร์ถูกตีตราว่าแย่ที่สุดของผู้กำกับ Steven Spielberg ปัญหาคือการดำเนินเรื่องที่มีความเอื่อยๆเฉื่อยๆ เต็มไปด้วยอารมณ์อ่อนไหว (Sentimental) จนรู้สึกเหมือนยัดเยียด ‘Message’ ความเชื่อเกี่ยวกับจิตวิญญาณ และเมื่อเปรียบเทียบต้นฉบับที่รีเมคมา คุณภาพก็ไม่ได้ดีเด่นไปกว่ากันสักเท่าไหร่

a remake that wasn’t remade enough.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 2/4

ส่วนตัวบอกเลยว่าไม่ได้ชื่นชอบหนังสักเท่าไหร่ แต่พอเข้าใจเหตุผลที่หลายๆคนโปรดปราน Always (1989) เพราะสามารถเป็นกำลังใจให้บุคคลประสบความสูญเสีย ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งความเศร้าโศกเสียใจ โดยใช้ข้ออ้างเกี่ยวกับ ‘ความเชื่อ’ ว่าเมื่อคนรักตายจากไป วิญญาณของอีกฝ่ายจะยังคงอยู่เคียงข้าง ไม่เหินห่างไปไหนไกล

แต่ไม่ว่าแฟนตาซีดังกล่าวจะจริงหรือไม่ มองอีกแง่มุมหนึ่งนั่นคือการลวงหลอกตัวเอง ไม่ยินยอมรับสภาพความจริง เพียงข้ออ้างสำหรับการมีชีวิต เต็มไปด้วยความหมกมุ่นยึดติด … สำหรับใครหลายๆคน การมีความเชื่อแค่เพียงเท่านั้นก็มากเกินพอแล้วละ!


Steven Allan Spielberg (เกิดปี 1946) เจ้าของฉายา ‘พ่อมดแห่งวงการภาพยนตร์’ เกิดที่ Cincinnati, Ohio ในครอบครัว Orthodox Jewish ปู่ทวดอพยพจากประเทศ Ukrane ชอบเล่าอดีตถึงญาติพี่น้องที่ต้องสูญเสียชีวิตในค่ายกักกันนาซี, ตั้งแต่เด็กค้นพบความสนใจในสื่อภาพยนตร์ Captains Courageous (1937), Pinocchio (1940), Godzilla, King of the Monsters (1956), Lawrence of Arabia (1962), รวมถึงหลายๆผลงานของผู้กำกับ Akira Kurosawa, กำกับเขียนบทภาพยนตร์เรื่องแรก Firelight (1963) โดยได้ทุนจากครอบครัว $500 เหรียญ

หลังเรียนจบมัธยมปลายมุ่งสู่ Los Angeles เข้าศึกษาต่อ California State University, Long Beach ระหว่างนั้นเป็นเด็กฝึกงานยัง Universal Studios มีโอกาสถ่ายทำหนังสั้น Amblin’ (1968) คว้ารางวัลมากมายจนไปเข้าตารองประธานสตูดิโอขณะนั้น Sidney Sheinberg จับเซ็นสัญญา 7 ปี ดรอปเรียนมหาวิทยาลัย เริ่มทำงานเป็นผู้กำกับซีรีย์โทรทัศน์ Night Gallery (1969) ตอน Eyes นำแสดงโดย Joan Crawford แม้เสียงตอบรับจะไม่ค่อยดีนัก แต่ได้รับคำชื่นชมจาก Crawford เชื่อเลยว่าไอ้เด็กคนนี้อนาคตไกลแน่ๆ

เมื่อครั้นสรรค์สร้าง Jaws (1974) ผกก. Spielberg มีโอกาสสนทนา Richard Dreyfuss เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อง A Guy Named Joe (1943) ค้นพบว่าต่างฝ่ายต่างมีความชื่นชอบโปรดปราน รสนิยมเดียวกัน!

  • Dreyfuss บอกว่าเคยดูหนังเรื่องนี้อย่างน้อย 35 รอบ (น่าจะนับถึงตอนเริ่มสรรค์สร้าง Always (1989) กระมัง!)
  • Spielberg เคยรับชมทางโทรทัศน์เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก คือหนึ่งในแรงบันดาลใจครุ่นคิดอยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์

ต่างฝ่ายต่างพยายามมองหาโอกาสร่วมกันสร้างใหม่ A Guy Named Joe (1943) จนกระทั่ง Spielberg หลังเสร็จจาก Indiana Jones and the Last Crusade (1989) ต้องการหยุดพักหนัง Blockbuster สักระยะ เพื่อเติมเต็มอีกหนึ่งความเพ้อฝันวัยเด็กสักที!

เกร็ด: A Guy Named Joe (1943) ภาพยนตร์แนว Romantic Fantasy Drama กำกับโดย Victor Fleming, นำแสดงโดย Spencer Tracy ประกบ Irene Dunne สามารถเข้าชิง Oscar: Best Original Story แต่พ่ายให้กับ Going My Way (1943)

บทหนังพัฒนาโดย Jerry Belson ทำการเปลี่ยนแปลงพื้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มาเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นในปัจจุบัน Pete Sandich คือนักบินดับเพลิง (จากเดิมเป็นนักขับเครื่องบินทิ้งระเบิด) ระหว่างเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ สามารถให้ความช่วยเหลือเพื่อนสนิท แต่ตนเองกลับจนประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต! (ดั้งเดิมคือเครื่องบินถูกศัตรูโจมตี Pete เสียสละตนเองเพื่อให้ลูกเรือคนอื่นรอดชีวิต)


เรื่องราวของ Pete Sandich (รับบทโดย Richard Dreyfuss) คือนักบินดับเพลิง ผู้ชื่นชอบชีวิตโลดโผน จนสร้างความไม่พึงพอใจต่อแฟนสาว Dorinda Durston (รับบทโดย Holly Hunter) พยายามโน้มน้าวให้เขาเลิกเล่นกับความเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย จนกระทั่งวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ แล้วเครื่องบินของเพื่อนสนิท Al Yackey (รับบทโดย John Goodman) มีปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้อง Pete เข้าไปช่วยเหลือ แต่กลับทำให้เขาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต

ภายหลังการตายของ Pete ตื่นขึ้นมาพบเจอกับพระเจ้า Hap (รับบทโดย Audrey Hepburn) อาจเพราะกรรมดีเคยทำไว้ก่อนตาย เลยได้รับแต่งตั้งเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์ Ted Baker (รับบทโดย Brad Johnson) มีหน้าที่ชี้แนะนำ พูดคำกรอกหูอีกฝั่งฝ่าย แต่ก็ดูเหมือนไม่ค่อยช่วยอะไรสักเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้นเขาก็มีโอกาสพบเจอ Dorinda เห็นการปรับตัว เปลี่ยนแปลง ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งสูญเสีย และเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง


ตัวละคร Pete Sandich ไม่ว่าจะ Spencer Tracy หรือ Richard Dreyfuss ผมรู้สึกว่าไม่ค่อยเข้ากับบทบาทนี้สักเท่าไหร่ ทั้งสองอายุค่อนข้างมาก (เห็นผมหงอกบนศีรษะ) น่าจะพานผ่านอะไรมาเยอะ ภาพลักษณ์ไม่เหมือนนักบินผาดโผน/วัยรุ่นอารมณ์ร้อน มีความกล้าบ้าบิ่น ชอบเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย แต่ในแง่มุมความดื้อด้าน หัวรั้น นิสัยเอาแต่ใจ ต้องถือว่าพวกเขาไม่สองรองใคร

Holly Hunter ในบทบาท Dorinda Durston ถือเป็นไฮไลท์ของหนัง! แม้เกลือกกลั้วโคลนตมก็ยังคงความเป็นเพชรเจิดจรัส ทั้งชุดเดรสสีขาว รวมถึงอุปนิสัยใจคอ ‘รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง’ ความสูญเสียทำให้ตกอยู่ในสภาวะหมดสิ้นหวัง แม้ยังคงพยายามรักษาภาพภายนอกที่เข้มแข็ง แท้จริงแล้วกลับเปราะบาง เพียงกะเทาะเบาๆก็แตกหัก แต่เธอจักค่อยๆปรับเปลี่ยนตนเอง ยินยอมรับสภาพความจริง จนสามารถข้ามผ่านช่วงเวลาเลวร้าย และกางปีกโบยบินสู่เสรีภาพ

บทบาทของ John Goodman คอยสร้างสีสัน บรรยากาศผ่อนคลาย เต็มไปด้วยคารมคมๆคายๆ สีหน้ายียวนกวนประสาท แต่มิตรภาพผองเพื่อนไม่เป็นสองรองใคร และภายหลังการสูญเสียยังกลายเป็นป๊ะป๋า คอยปกป้องดูแล Dorinda ยุงไม่ให้ไต่ ไร่ไม่ตอม เรียกเสียงหัวเราะขบขันอยู่บ่อยครั้ง

ผมเสียดายบทบาทการแสดงสุดท้ายของ Audrey Hepburn ที่แทบไม่มีอะไรน่าจดจำ รับบท Hap (ย่อมาจาก Happy หรือเปล่า?) เทวดา/นางฟ้า ผู้มอบโอกาสให้กับ Pete กลายเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์ คอยติดตาม ให้คำแนะนำ พูดกรอกหูโน่นนี่นั่น (แต่ไม่เห็นอีกฝ่ายจะคล้อยตามเลยสักนิด) ดูแล้วเหมือนพระเจ้าให้โอกาสตัวเขามากกว่า เพื่อว่าจะสามารถปล่อยละวางความหมกมุ่นยึดติด จักได้นอนตายตาหลับ ไปสู่สุขคติ

เกร็ด: สาเหตุที่ Hepburn ตอบตกลงแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ นอกจากเพื่อโอกาสร่วมงานผู้กำกับ Speilberg ยังนำค่าจ้าง $1 ล้านเหรียญ บริจาคการกุศลให้กับ UNICEF


ถ่ายภาพโดย Mikael Salomon (เกิดปี 1945) ตากล้องสัญชาติ Danish อพยพสู่สหรัฐอเมริกาช่วงปลายทศวรรษ 80s มีผลงานดังๆอย่าง The Abyss (1989), Always (1989), Backdraft (1991), มินิซีรีย์ Band of Brothers (2001), มินิซีรีย์ The Andromeda Strain (2008) ฯลฯ

งานภาพของหนังเต็มไปด้วยความโฉบเฉี่ยว กล้องเคลื่อนไหลอย่างมีชีวิตชีวา ตามสไตล์ลายเซ็นต์ผกก. Spielberg ความท้าทายคือฉากเครื่องบินโฉบลงมาดับไฟป่า นอกนั้นไม่มีอะไรให้พูดถึงสักเท่าไหร่, สถานที่ถ่ายทำหลักๆคือ Boise National Forest, Idaho

ตัดต่อโดย Michael Kahn ขาประจำของ Spielberg ร่วมงานกันมาตั้งแต่ Close Encounters of the Third Kind (1977), หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Pete Sandich สามารถแบ่งออกเป็นครึ่งแรก-ครึ่งหลัง เมื่อครั้นยังมีชีวิต-กลายเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์

  • ครึ่งแรก, เมื่อครั้นยังมีชีวิต
    • ภารกิจดับเพลิง กับเหตุการณ์เฉียดเป็นเฉียดตาย
    • งานเลี้ยงวันเกิด Dorinda Durston
    • Dorinda พยายามเกลี้ยกล่อม Pete ให้ละเลิกพฤติกรรมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย
    • Pete ให้ความช่วยเหลือเพื่อนสนิท เป็นเหตุให้ตนเองประสบโศกนาฎกรรม
  • ครึ่งหลัง, กลายเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์ (ชวนให้นึกถึง Wings of Desire (1987) อยู่ไม่น้อย)
    • Pete ฟื้นคืนชีพกลายเป็นวิญญาณ พบเจอกับ Hap อธิบายหน้าที่ใหม่
    • ออกติดตาม Ted Baker พบเจอแต่เรื่องวุ่นๆวายๆ
    • ก่อนตระหนักว่า Ted แอบชื่นชอบ Dorinda ทำได้เพียงมองด้วยสายตาอิจฉาระหว่างดินเนอร์
    • ภารกิจดับเพลิงครั้งใหม่ Dorinda แอบอาสาขึ้นบิน Pete คอยให้ความช่วยเหลืออยู่ข้างๆ
    • หลังเหตุการณ์นั้นทำให้ Pete สามารถปล่อยละวาง อำนวยอวยพรขอให้โชคดี

การนำเสนอเรื่องราวผ่านมุมมองวิญญาณล่องลอย –ชวนให้ผมนึกถึง Wings of Desire (1987)– อาจสร้างความโคตรรำคาญให้ใครหลายคน นั่นเพราะคำพูดของ Pete ล้วนถูก Ted ทำหูทวนลม แทบไม่สามารถปรับเปลี่ยนสิ่งใด แล้วจะให้กลายเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์ทำไมกัน? ผมมองว่าการหูทวนลมของ Ted ล้อกับพฤติกรรมก่อนหน้าของ Pete เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ไม่เคยรับฟังอะไรใคร -กรรมสนองกรรม- จุดประสงค์ก็เพื่อให้ตัวละครตระหนักถึงสันดานธาตุแท้ตัวเอง เรียนรู้ที่จะปล่อยวาง มอบความเชื่อมั่นแก่ผู้อื่น เพื่อท้ายสุดเขาจักได้ไปสู่สุขคติ/สรวงสวรรค์

เพลงประกอบโดย John Williams ขาประจำผู้กำกับ Spielberg ร่วมงานกันมาตั้งแต่ The Sugarland Express (1944), สำหรับ Always (1989) เต็มไปด้วยท่วงทำนองที่มีความอ่อนไหว (Sentimental) ให้ผู้ชมรู้สึกเคลิบเคลิ้ม ล่องลอยบนปุยเมฆ มอบสัมผัสของจิตวิญญาณ ที่มีทั้งความสุข-ทุกข์ ดีใจ-เศร้าโศก ยังคงโหยหาช่วงเวลาแห่งชีวิต ก่อนเรียนรู้ที่จะปล่อยวางทุกความหมกมุ่นยึดติด และไปสู่สุขคติ

สำหรับ Smoke Gets in Your Eyes ต้นฉบับแต่งโดย Jerome Kern, คำร้องโดย Otto A. Harbach, สำหรับละครเพลง Roberta (1933) และเคยประกอบภาพยนตร์ A Guy Named Joe (1943) ด้วยเช่นกัน! ฉบับที่ใช้ในหนังขับร้องโดย J. D. Souther

Pete Sandich เป็นบุคคลชื่นชอบความตื่นเต้นท้าทาย จนบางครั้งทำตัวโลดโผนเกินเลยเถิดไปไกล แถมไม่เคยสนใจใครอื่นรอบข้าง แม้แต่แฟนสาว Dorinda Durston ยังพยายามหักห้ามปรามก็ไม่เคยครุ่นคิดรับฟัง แถมยังกีดกันไม่ให้เธอกระทำสิ่งย้อนรอยแบบเดียวกับตนเองอีกต่างหาก

เพราะหนังนำเสนอผ่านมุมมองของ Pete (ไม่ใช่ Dorinda) เนื้อหาสาระจึงไม่ใช่แค่การก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งความเศร้าโศกเสียใจ (แต่คนส่วนใหญ่/ผู้ชมทั่วไป มักทำความเข้าใจได้แค่ประเด็นนี้) แต่คือบทเรียนเกี่ยวกับความเย่อหยิ่งทะนงตน บุคคลผู้ลุ่มหลงในตนเอง ชอบอวดอ้างปากดีว่าฉันเก่ง เลยกระทำสิ่งอันตราย ท้าความตาย โดยไม่รู้จักความรับผิดชอบต่อผู้อื่นใด ต้องรอให้ตกตายจริงๆก่อนหรือไร ถึงตระหนักในความโง่เขลา เบาปัญญาอ่อน

แต่เอาจริงๆหนังไม่ได้ต้องการหักห้ามบุคคลลักษณะเช่นนี้สักเท่าไหร่ เพราะมันคือ’เสรีภาพ’ในการแสดงออก ใครอยากจะทำอะไรบ้าบิ่นท้าความตายก็ตามสบาย เป้าหมายแท้จริงพยายามเสี้ยมสอนให้รู้จักความรับผิดชอบต่อตนเอง และมอบความเชื่อมั่นให้กับผู้คนอื่น

ถ้ามีคนที่เรารักและรักเรา ต้องการใช้ชีวิตครองคู่อยู่ร่วม เราก็ควรมองหาหนทางประณีประณอม โอนอ่อนผ่อนปรน แสดงออกอย่างให้เกียรติ เสมอภาคเท่าเทียม อย่ากระทำแต่สิ่งตอบสนองตัณหาส่วนตน แล้วปฏิเสธรับฟังความคิดเห็นของอีกฝั่งฝ่าย เรียนรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและคนที่เรารัก ยินยอมรับในสิ่งเขาเป็น เปิดโอกาส มองโลกในมุมกว้าง สักวันหนึ่งทั้งเธอและเขาก็จักได้รับอิสรภาพ และไปสู่สุขคติ

  • Pete Sandich เรียนรู้ที่จะปล่อยละวางชีวิต หมกมุ่นยึดติดกับแฟนสาว จนสุดท้ายก็ได้ไปสู่สุขคติ
  • Dorinda Durston เรียนรู้ที่จะก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาแห่งการสูญเสีย หมกมุ่นยึดติดกับตนเอง และสามารถเริ่มต้นชีวิต/รักครั้งใหม่

เท่าที่ผมอ่านจากชีวประวัติผู้กำกับ Spielberg เล่าว่ามีโอกาสรับชม A Guy Named Joe (1943) ร่วมกับบิดา ซึ่งเคยเป็นทหารผ่านศึกช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สูญเสียเพื่อนฝูง ญาติพี่น้องมากมาย นั่นกระมังที่สร้างความประทับฝังใจไม่รู้เลือน ครุ่นคิดสรรค์สร้าง Always (1989) เพื่อส่งต่อเรื่องราวดีๆ ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิต จิตวิญญาณของคนที่เรารัก จักยังคงอยู่เคียงข้างกันตลอดไป


หนังไม่มีรายงานทุนสร้าง เสียงวิจารณ์ค่อนไปทางย่ำแย่ สัปดาห์แรกเปิดตัวแค่อันดับ 5 รายรับในสหรัฐอเมริกา $43.8 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $74.1 ล้านเหรียญ แค่เพียงคืนทุนเล็กๆน้อยๆ ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่

นอกจากการแสดงของ Holly Hunter, บทบาทสุดท้ายของ Audrey Hepburn และเพลงประกอบเพราะๆของ John Williams อะไรอย่างอื่นผมแทบไม่เห็นความน่าสนใจ รู้สึกผิดหวัง เสียเวลา เอาจริงๆไม่อยากเขียนบทความนี้ด้วยซ้ำ แต่ครุ่นคิดอยากให้คนที่ชื่นชอบโปรดปราน Always (1989) ได้พบเห็นมุมมองด้านอื่นของหนังบ้าง

แทนที่จะเสียเวลารับชม A Guy Named Joe (1943) หรือ Always (1989) ผมแนะนำให้ไปหา It’s a Wonderful Life (1946) หรือ Wings of Desire (1987) หรือ Ghost (1990) จะสร้างความตระหนักถึง ‘คุณค่าของชีวิต’ ได้ตราตรึงกว่าเป็นไหนๆ

จัดเรต PG กับพฤติกรรมสุดบ้าบิ่น และการหลอกตัวเอง

คำโปรย | Always เพียงควันอันเลือนลางในบรรดาผลงานโลกตะลึงของ Steven Spielberg
คุณภาพ | เพียงควัน
ส่วนตัว | น่าผิดหวัง

The Sugarland Express (1974)


The Sugarland Express (1974) hollywood : Steven Spielberg ♥♥♥

สองสามีภรรยาหลบหนีออกจากเรือนจำ ปล้นรถตำรวจ ลักพาตัวสายตรวจ มุ่งหน้าสู่ Sugar Land เพื่อทวงคืนสิทธิ์การเลี้ยงดูบุตรชาย แต่ความเพ้อฝันของพวกเขาไม่ได้เคลือบด้วยน้ำตาล มันคือหนทางด่วนมุ่งสู่หายนะต่างหาก!

The Sugarland Express (1974) ถือเป็นผลงานเรื่องแรกของผู้กำกับ Steven Spielberg ที่สร้างขึ้นเพื่อเข้าฉายในโรงภาพยนตร์โดยตรง! (ก่อนหน้านี้ Duel (1971) สร้างขึ้นเพื่อสื่อโทรทัศน์ แล้วถึงได้รับโอกาสออกฉายในโรงภาพยนตร์) เอาจริงๆถ้าไม่คิดอะไรมากคือหนังที่เน้นขายความบันเทิง ชวนขำกลิ้ง “Ace in the Hole (1951) บนทางด่วน” เพลิดเพลินงานภาพสวยๆของ Vilmos Zsigmond และการร่วมงานครั้งแรกกับ John Williams แค่นั้นแหละ!

ปัญหาของ The Sugarland Express (1974) ผมมองว่าคือบทหนัง (แต่ดันไปคว้ารางวัล Best Screenplay จากเทศกาลหนังเมือง Cannes ซะงั้น!) เหมือนต้องการเสียดสีอะไรสักอย่างเกี่ยวกับสังคมอเมริกัน แต่ผู้ชมกลับไม่สามารถจับต้องประเด็นนั้น พยายามจะสื่อถึงอะไรกันแน่? ตำรวจแห่ติดตามกันมานับร้อยคันเพื่ออะไร? หลายๆเหตุการณ์ราวกับเพียงความบันเทิงของผู้สร้าง แค่นั้นเองหรือ?

และผมยังรู้สึกว่า Spielberg แทบไม่มีความเป็นตัวของตนเองในการสรรค์สร้างผลงานเรื่องนี้ พยายามอ้างอิงแนวคิด/คัทลอกเทคนิคจากภาพยนตร์หลายๆเรื่อง อาทิ Ace in the Hole (1951), Bonnie and Clyde (1967), Vanishing Point (1971), The Getaway (1972), รวมถึงอิทธิพลจาก Hitchcockian, Altmanesque ฯลฯ เอาจริงๆมันไม่ผิดอะไรนะครับ แต่พอนำมาผสมผสานคลุกเคล้า ผลลัพท์กลับยังไม่ค่อยน่าประทับใจสักเท่าไหร่

Spielberg is admittedly a skillful (if vulgar) technician, and he understands how to engineer car chases and crashes; but he doesn’t have an original idea or the slightest feeling for people. A good way to test a young director is to look at his handling of actors; Spielberg fails that test miserably. Under his direction even the nonprofessionals act like Hollywood hams, and Goldie Hawn pulls all the stops out in some hysterical screaming scenes that are embarrassingly amateurish.

นักวิจารณ์ Stephen Farber จาก The New York Times

Steven Allan Spielberg (เกิดปี 1946) เจ้าของฉายา ‘พ่อมดแห่งวงการภาพยนตร์’ เกิดที่ Cincinnati, Ohio ในครอบครัว Orthodox Jewish ปู่ทวดอพยพจากประเทศ Ukrane ชอบเล่าอดีตถึงญาติพี่น้องที่ต้องสูญเสียชีวิตในค่ายกักกันนาซี, ตั้งแต่เด็กค้นพบความสนใจในสื่อภาพยนตร์ Captains Courageous (1937), Pinocchio (1940), Godzilla, King of the Monsters (1956), Lawrence of Arabia (1962), รวมถึงหลายๆผลงานของผู้กำกับ Akira Kurosawa, กำกับเขียนบทภาพยนตร์เรื่องแรก Firelight (1963) โดยได้ทุนจากครอบครัว $500 เหรียญ

หลังเรียนจบมัธยมปลายมุ่งสู่ Los Angeles เข้าศึกษาต่อ California State University, Long Beach ระหว่างนั้นเป็นเด็กฝึกงานยัง Universal Studios มีโอกาสถ่ายทำหนังสั้น Amblin’ (1968) คว้ารางวัลมากมายจนไปเข้าตารองประธานสตูดิโอขณะนั้น Sidney Sheinberg จับเซ็นสัญญา 7 ปี ดรอปเรียนมหาวิทยาลัย เริ่มทำงานเป็นผู้กำกับซีรีย์โทรทัศน์ Night Gallery (1969) ตอน Eyes นำแสดงโดย Joan Crawford แม้เสียงตอบรับจะไม่ค่อยดีนัก แต่ได้รับคำชื่นชมจาก Crawford เชื่อเลยว่าไอ้เด็กคนนี้อนาคตไกลแน่ๆ

หลังจากกำกับซีรีย์/ภาพยนตร์โทรทัศน์ให้ Universal Television มาหลายเรื่อง Spielberg ก็พยายามโน้มน้าวโปรดิวเซอร์ Richard Zanuck และ David Brown ขอโอกาสในการสรรค์สร้างภาพยนตร์

นำเสนอโปรเจคดัดแปลงจากเหตุการณ์จริง! เรื่องราวของสองสามีภรรยา Robert ‘Bobby’ Dent (1946-69) และ Ila Fae Holiday/Dent (1947-89) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1969 ทำการปล้นรถตำรวจ ลักพาตัวสายตรวจ J. Kenneth Crone เดินทางมุ่งสู่ Wheelock, Texas เพื่อเยี่ยมเยียนบุตรชายที่อาศัยอยู่กับมารดา (ของ Ila Fae Holiday)

ร่วมพัฒนาบทกับ Hal Barwood และ Matthew Robbins ซึ่งทำการปรับเปลี่ยนหลายๆสิ่งอย่างจากเหตุการณ์จริงให้เหมาะสมกับสื่อภาพยนตร์ โดยเฉพาะจุดประสงค์การปล้นรถตำรวจ ลักพาตัวสายตรวจ และสถานที่ปลายทางจาก Wheelock มาเป็น Sugar Land, Texas

  • อารัมบทแหกคุกหลบหนี แต่จริงๆแล้ว Bobby ไม่ได้หลบหนีออกจากคุก เขาได้รับการปล่อยตัวตั้งแต่เดือนปลายเมษายน สองสัปดาห์ก่อนก่อเหตุดังกล่าว
  • จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์จริงเกิดจาก Bobby และ Fae ถูกตำรวจจราจรเรียกตรวจ แต่เขาเกิดอาการตื่นตระหนกเลยขับรถหลบหนี
  • จากนั้นทั้งสองทิ้งรถในพงไม้ วิ่งหลบหนีมายังบ้านไร่ โทรแจ้งตำรวจแสร้งว่าโดนปล้น ถูกทำร้ายร่างกาย จากนั้นดักทำร้ายสายตรวจ J. Kenneth Crone แล้วบังคับให้ช่วยขับรถพาหลบหนี
  • จริงๆแล้วทั้งสองไม่ได้มีเป้าหมายอะไรจริงจังในการก่ออาชญากรรมดังกล่าว ระหว่างทางเพียงครุ่นคิดอยากไปเยี่ยมบุตรชายที่บ้านของมารดา Wheelock, Texas แต่กลับมีรถตำรวจนับร้อยคันออกไล่ล่าติดตาม
  • เหตุการณ์จริงเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงหกชั่วโมง ระยะทาง 300+ ไมล์ และเมื่อพวกเขามาถึงบ้านของมารดา ขณะที่ Bobby กำลังเปิดประตูบ้าน ถูกยิงด้วยปืนลูกซองตายคาที!

LINK: เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นโดยละเอียด [คลิก]

เรื่องราวของ Lou Jean Poplin (รับบทโดย Goldie Hawn) เดินทางไปยังเรือนจำแห่งหนึ่ง พบเจอสามี Clovis Michael Poplin (รับบทโดย Ben Johnson) โน้มน้าวบีบบังคับให้แหกคุกหลบหนีออกมา แล้วมุ่งหน้าสู่ Sugar Land, Texas เพื่อเรียกร้องขอสิทธิรับเลี้ยงดูแลบุตรชาย ที่ถูกทางการฝากไว้กับครอบครัวบุญธรรม

แต่ระหว่างทางพวกเขาตัดสินใจปล้นรถ หลบหนีร้อยตำรวจ Captain Harlin Tanner (รับบทโดย Ben Johnson) และลักพาตัวสายตรวจ Maxwell Slide (รับบทโดย Michael Sacks) บังคับให้ขับรถออกเดินทางมุ่งสู่ Sugar Land, Texas สุดท้ายแล้วจะสามารถไปถึงเป้าหมายปลายทาง พบเจอบุตรชาย ได้รับสิทธิ์การรับเลี้ยงดูกลับคืนมาหรือไม่?


Goldie Jeanne Hawn (เกิดปี 1945) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Washington, D.C. มารดาเป็นชาว Jewish อพยพมาจาก Hungary เปิดกิจการร้านขายเครื่องประดับและโรงเรียนสอนเต้นรำ, ตั้งแต่สามขวบฝึกฝนบัลเล่ต์และ Tab Dance มีโอกาสขึ้นแสดงบนเวทีเมื่อตอนอายุ 10 ขวบ, พอโตขึ้นมีแมวมองชักชวนเล่นซิทคอม Good Morning World (1967-68), แจ้งเกิดกับ Sketch Comedy ในรายการ Rowan & Martin’s Laugh-In (1968–1970), ผลงานภาพยนตร์ อาทิ Cactus Flower (1969)**คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actress, The Sugarland Express (1974), Shampoo (1975), Private Benjamin (1980) ฯลฯ

รับบท Lou Jean Poplin พนักงานร้านเสริมสวย ขโมยเงิน $65 ดอลลาร์ สำหรับออกเดินทางมาเยี่ยมเยือนสามีในเรือนจำ แล้วทำการโน้มน้าว/บีบบังคับให้เขาแหกคุก เพื่อไปยื่นคำร้องขอสิทธิ์เลี้ยงดูบุตรชายที่ Sugar Land, Texas แต่กลับเกิดเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ สุดท้ายก็ไม่สามารถหนีพ้นโชคชะตากรรม

ช่วงทศวรรษนั้น Hawn เป็นนักแสดงระดับ ‘top star’ ฝีไม้ลายมือถือว่าไม่ธรรมดา (เพราะเคยคว้า Oscar มาก่อนหน้านี้แล้ว) แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับทำให้เธอดูบ้าๆบอๆ ‘dumb blone’ เหมือนคนเสียสติ จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เดี๋ยวดี-เดี๋ยวร้าย เอาแน่เอานอนไม่ได้ แถมเป็นจอมบงการสามี เรียกร้องโน่นนี่นั่น แม้จะบอกว่าต้องการให้ดูขบขัน ผู้ชมส่วนใหญ่น่าจะรู้สึกสมเพศเวทนามากกว่า

ปัญหาของ Hawn เกิดจากความแตกต่างในวิธีการแสดงกับ Atherton

  • Hawn เป็นนักแสดงเล่นดีมากๆใน 1-2 เทคแรก แต่ถ้าต้องถ่ายหลายๆครั้ง เหมือนเธอเกิดอาการเบื่อหน่าย ขาดความกระตือรือล้น สูญเสียความสนใจ
  • ตรงกันข้ามกับ Atherton มาจากสายละครเวที มักเล่นเทคแรกไม่ค่อยดี แต่จะค่อยปรับปรุงพัฒนาตนเองขึ้นเรื่อยๆ ถ่ายซ้ำหลายๆครั้งถึงได้รับความพึงพอใจ (บางครั้งเป็นสิบๆเทคเลยก็มี!)

วิธีการของผู้กำกับ Spielberg ก็คือเทคแรกๆจับจ้องใบหน้าของ Hawn ระยะใกล้ (Close-Ups) จนเมื่อเธอเริ่มหมดพลังการแสดงถึงค่อยถอยออกมาถ่ายคู่ (Two Shot) กับ Atherton แม้ผลลัพท์เหมือนจะออกมาดูดี แต่ผู้ชมมักสังเกตเห็นความเหนื่อยหน่ายของฝ่ายหญิง (ปรากฎค่อนข้างชัดเวลา Hawn อยู่ร่วมเฟรมกับ Atherton)


William Atherton Knight (เกิดปี 1947) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Orange, Connecticut โตขึ้นเข้าเรียนการละคอน Carnegie Mellon University, จากนั้นเข้าสู่วงการละครเวที Broadway, มีผลงานภาพยนตร์ อาทิ The Sugarland Express (1974), Ghostbusters (1984), Die Hard (1988) ฯลฯ

รับบท Clovis Michael Poplin นักโทษข้อหา … เหลือเวลาชดใช้ความผิดอีก 4 เดือน แต่กลับถูกภรรยาบีบบังคับให้แหกคุกออกมา ไม่เช่นนั้นจะเซ็นใบหย่าร้าง จำยินยอมต้องทำตาม พอสามารถหลบหนีก็ลักขโมยรถ หยิบปืนขึ้นมาจี้ตำรวจ สุดท้ายก็ไม่อาจหนีพ้นโชคชะตากรรม

ผมรู้สึกว่าการแสดงของ Atherton ดูเคอะๆเขินๆ เหมือนคนขาดความมั่นใจในตนเอง แม้พอมีสติปัญญาบางครั้งครา (โดยเฉพาะตอนครุ่นคิดว่ามีตำรวจหลบซ่อนตัวอยู่ในห้องสุขา) แต่เพราะลุ่มหลงงมงายความรักต่อภรรยา จึงยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่าง โดยไม่คิดหน้าคิดหลัง ไม่หยุดยับยั้งชั่งใจ ไม่รู้จักพูดเตือนสติอีกฝั่งฝ่าย

เพราะหนังนำเสนอตัวละคร Clovis ในภาพลักษณ์ที่ดูอ่อนแอ ขลาดเขลา ยินยอมทำตามคำสั่งภรรยา (Beta Male) ผู้ชมจึงมักรู้สึกสงสารเห็นใจในโชคชะตามากกว่า Lou Jean ที่ดูบ้าๆบอๆ จอมบงการ ชอบเรียกร้องโน่นนี่นั่น (Alpha Female) และการใช้ข้ออ้างสันชาติญาณเพศแม่ พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้เลี้ยงดูแลบุตร วิธีการของเธอไม่ถูกต้องเลยนะครับ กระทำสิ่งผิดกฎหมาย สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ถ้าไม่บีบบังคับให้เขาแหกคุกตั้งแต่ตอนแรก ก็คงไม่เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมนี้ขึ้น!


ถ่ายภาพโดย Vilmos Zsigmond (1930-2016) สัญชาติ Hungarian, เมื่ออายุ 17 ได้รับของขวัญจากคุณลุงคือหนังสือ The Art of Light รวบรวมภาพถ่ายขาว-ดำของ Eugene Dulovits เลยตัดสินใจทำงานโรงงาน เก็บเงินซื้อกล้อง ทดลองผิดลองถูก จนได้รับการสนับสนุนให้เข้าเรียน Színház- és Filmművészeti Egyetem (SZFE) สนิทสนิมกับ László Kovács ร่วมกันแอบถ่ายเหตุการณ์ 1956 Hungarian Revolution แล้วอพยพหลบหนีสู่สหรัฐอเมริกา ขายฟุตเทจดังกล่าวให้สถานีโทรทัศน์ CBS แล้วปักหลักอาศัยอยู่ Los Angeles เริ่มจากถ่ายทำหนัง Horror เกรดบี, กระทั่งมีโอกาสเป็นตากล้อง The Hired Hand (1971) ฝีมือเข้าตาผกก. Robert Altman ชักชวนมาร่วมงาน McCabe & Mrs. Miller (1971) จากนั้นกลายเป็นขาประจำกลาย American New Wave, เคยร่วมงานผู้กำกับ Steven Spielberg สองครั้ง The Sugarland Express (1974) และ Close Encounters of the Third Kind (1977)

ก่อนหน้านี้ผกก. Spielberg เคยมีประสบการณ์ถ่ายทำบนท้องถนนมาแล้วกับ Duel (1971) แต่การได้ยอดฝีมืออย่าง Zsigmond ผู้ช่ำชองการใช้แสงธรรมชาติ รวมถึงเคยร่วมงานผกก. Atlman เข้าใจศาสตร์แห่งการเคลื่อนเลื่อนกล้องสไตล์ Altmanesque ยิ่งทำให้งานภาพของ The Sugarland Express (1974) แทบจะติดปีกโบยบิน เต็มไปด้วยมุมกล้องสวยๆ (โดยเฉพาะขบวนรถตำรวจติดตามตูด) กลายเป็นส่วนน่าจดจำที่สุดของหนังก็ว่าได้!

The Sugarland Express (1974) เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำโดยกล้อง Panaflex 35mm ประดิษฐ์โดยบริษัท Panavision ซึ่งมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา (27 กิโลกรัม) และระบบบันทึกเสียงในตัว ทำให้สามารถนำกล้องเข้าไปในรถตำรวจ แพนนิ่งจากเบาะหน้าไป-กลับเบาะหลัง รวมถึงหมุนรอบ 360 องศา … ครั้งแรกในวงการภาพยนตร์ก็ว่าได้!

เกร็ด: ภาพยนตร์ก่อนหน้านี้เวลาจะถ่ายนักแสดงภายในรถยนต์ มักใช้ Rear Projection (ยุคคลาสสิก) หรือต่อเติมฐานเหล็กออกมาภายนอกรถสำหรับตั้งกล้องถ่ายทำ (ภาพที่นำมาประกอบ จากภาพยนตร์เรื่อง Bullitt (1968)) การมาถึงของกล้อง Panaflex ถือเป็นหนึ่งในการปฏิวัติวงการภาพยนตร์ครั้งสำคัญเลยก็ว่าได้!

หนังใช้เวลาโปรดักชั่นประมาณ 3 เดือน ระหว่างธันวาคม 1972 ถึงมีนาคม 1973, ถ่ายทำแบบไล่เลียงลำดับ (Chronological Order) เริ่มจากเรือนจำ Jester State Prison Farm (ในหนังอ้างว่าอยู่ Houston แต่จริงๆแล้วคือ Fort Bend County) พานผ่าน San Antonio, Live Oak, Floresville, Pleasanton, Converse, Del Rio ส่วนเป้าหมายปลายทางบ้านครอบครัวบุญธรรมที่ Sugar Land (แต่สถานที่ถ่ายทำคือ Floresville, Texas)

ตัวประกอบส่วนใหญ่ก็คือตำรวจ ชาวบ้าน ผู้คนอาศัยอยู่ในบริเวณที่ถ่ายทำ รวมถึงสายตรวจที่ถูกจับเป็นตัวประกัน James Kenneth Crone ก็มาเป็นที่ปรึกษา (Technical Advisor) และรับบทสมทบเล็กๆด้วยเช่นกัน


ภาพแรกของหนังพบเห็นความเวิ้งว่างเปล่าของรัฐ Texas และรถเก๋งคันหนึ่งจอดทิ้งขว้าง เศษซากปรักหักพัง นี่สามารถสื่อถึงสภาวะจิตใจตัวละคร Lou Jean Poplin (ที่เพิ่งสูญเสียสิทธิ์ในการเลี้ยงดูแลบุตร) และสะท้อนถึงสภาพสังคมสหรัฐอเมริกายุคสมัยนั้น (บอบช้ำจากสงครามภายนอก และความคอรัปชั่นภายใน)

ช็อตที่ชื่อหนังปรากฎขึ้น THE SUGARLAND EXPRESS จะพบเห็นป้ายสีแดง STOP เหมือนต้องการบอกใบ้ให้หยุดการเดินทาง หรือสิ่งที่ Lou Jean Poplin กำลังจะกระทำ (ซึ่งก็คือการบังคับให้สามีแหกคุกหลบหนี) และสังเกตว่าตัวละครสวมใส่เสื้อผ้าหลายชั้น ปกปิดบังความต้องการ/ตัวตนแท้จริงไว้ภายใน (จุดประสงค์แท้จริงคือนำไปให้สามีสวมใส่ระหว่างหลบหนีออกจากเรือนจำ)

ผมชอบการตีความ Sugarland (ที่ถูกตามชื่อเมืองต้องมีเว้นวรรค Sugar Land) ดินแดนขนมหวาน/น้ำตาล คือสิ่งที่เคลือบอยู่ภายนอก สำหรับปกปิดรสชาติขื่นขมภายใน เปรียบเทียบกับการเดินทางครั้งนี้ Lou Jean ต้องการได้รับสิทธิ์เลี้ยงดูแลบุตรชาย แต่ความจริงกลับไม่มีทางเป็นไปได้!

เรื่องราวของคุณปู่ขับรถด้วยความเร็ว 25 ไมล์ต่อชั่วโมง (ช้าเกินไป) ทำให้รถติดยาวเป็นขบวน รอคิวแซงนับสิบคัน นี่คือการอารัมบทก่อนนำเข้าเหตุการณ์หลัก สะท้อนปัญหาเกิดจากผู้นำที่มีทัศนคติเพี้ยนๆ (คุณปู่ขับรถช้าๆ, หรือคู่สามี-ภรรยาก่ออาชญากรรม) แล้วมีผู้ติดตามหลังมากมาย (ที่ก็ไม่ได้ทำอะไรทั้งนั้นนอกจากหลับหูหลับตาติดตาม)

แซว: การต่อขบวนรถเป็นแถวยาวๆ ไม่รู้ทำไมชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ Sanjuro (1962) ของผู้กำกับ Akira Kurosawa

สำหรับหนังที่ฉายในโรงภาพยนตร์ไดรฟ์อิน (Drive In Movie Theater) ประกอบด้วย

  • Sssssss (1973) หนังแนวสยองขวัญ (Horror) เกี่ยวกับอสรพิษ สร้างโดยโปรดิวเซอร์ Richard Zanuck และ David Brown (ผู้อนุมัติโปรเจค The Sugarland Express (1974))
  • และการ์ตูนสั้น Whoa, Be-Gone! (1958) ความยาว 6 นาที 14 วินาที เรื่องราวของ Wile E. Coyote กำลังไล่ล่าจับกุม Road Runner ยังบริเวณท้องทะเลทราย ซึ่งล้อกับเหตุการณ์ของหนังได้อย่างตรงๆเลยละ

การที่ Goldie Hawn พูดย้ำๆซ้ำๆจนรู้สึกผิดสังเกต “He’s peeing on me!” นั่นเพราะเจ้าหมูมันฉี่ใส่เธอจริงๆ แต่เอาจริงๆผมไม่รู้สึกว่าน่าขบขันเลยนะ เพราะผู้คนในเมืองแห่งนี้มีแต่พวกหลอกตนเอง เกาะกระแสสังคม ใช้เพียงอารมณ์/ความรู้สึกตนเองเป็นที่ตั้ง … ก็เหมือนเจ้าหมูตัวนี้นี่แหละ ปัสสาวะออกมาโดยสันชาติญาณ!

ผมอดไม่ได้ที่จะต้องพูดถึง ‘Vertigo Zoom’ ภาพช็อตนี้ขณะตำรวจหลบซ่อนตัวในบ้านครอบครัวบุญธรรม กำลังจับจ้องมองรถที่แล่นเข้ามาผ่านกระบอกปืนไรเฟิล กล้องจะมีการเคลื่อนถอยหลังพร้อมๆกับซูมไปข้างหน้า เพื่อสร้างสัมผัสอันตราย ความตายกำลังใกล้เข้ามาเยือน ผู้ชมรู้สึกหวาดวิตกกังวล จุดจบการเดินทางกำลังใกล้เข้ามาถึง

หลังถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส Clovis พยายามดื้นรนเฮือกสุดท้าย เหมือนต้องการพา Lou Jean ข้ามชายแดนสู่ Mexico แต่เส้นทางกลับค่อยๆไล่ระดับลงจากเนินเขา มาสิ้นสุดยังแม่น้ำ Rio Grande ซึ่งสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์ของความตาย และฟากฝั่งตรงกันข้ามคือหน้าผาสูงชัญ หมายถึงไม่ทางที่พวกเขาจะสามารถหลบหนีจากอาชญากรรมที่เคยกระทำ

ภาพยนตร์ยุคแรกๆของผู้กำกับ Spielberg ช็อตสุดท้ายต้องมีความงดงาม ระยิบระยับ แต่ภาพนี้ผมกลับรู้สึกห่อเหี่ยว ท้อแท้สิ้นหวัง เพราะแสงสีทองมันคือช่วงเวลา Golden Hour พระอาทิตย์กำลังจะลาลับขอบฟ้า ค่ำคืนมืดมิดกำลังคืบคลานเข้ามา สื่อถึงจุดจบของการเดินทาง รวมถึงอะไรๆหลายสิ่งอย่าง

ปล. The Sugarland Express (1974) เป็นภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องของผู้กำกับ Spielberg ที่จบลงอย่างเศร้าสลดเช่นนี้

ตัดต่อโดย Edward M. Abroms (Blue Thunder) และ Verna Fields (What’s Up, Doc?, American Graffiti, Paper Moon, Jaws)

เริ่มต้นจาก Lou Jean ลงรถโดยสาร เดินทางมาเยี่ยมเยือนสามี Clovis ในเรือนจำแห่งหนึ่งที่ Houston, Texas จากนั้นร่วมกันแหกคุก ปล้นรถ หลบหนีร้อยตำรวจ Captain Tanner และลักพาตัวสายตรวจ Slide บังคับให้ขับรถมุ่งสู่ Sugar Land, Texas

  • อารัมบท
    • Lou Jean เดินทางมาเยี่ยมเยือนสามี Clovis ยังเรือนจำที่ Houston
    • ร่วมกันแหกคุก ปล้นรถ หลบหนีตำรวจจราจร
  • วันแรกของการเดินทาง
    • ก่อนตัดสินใจปล้นรถตำรวจ ลักพาตัวสายตรวจ Slide
    • แวะจอดปั๊มน้ำมัน เข้าห้องน้ำ รับประทานอาหาร
  • ค่ำคืนพักผ่อน
    • พอฟ้ามืดเดินทางมาถึง San Antonio แล้วถูกรถตำรวจพุ่งชน (เลยสามารถหลบหนีได้ชั่วคราว)
    • หลบซ่อนตัวในโรงภาพยนตร์ไดรฟ์อิน (Drive In Movie Theater) หลับนอนบนรถ RV (Recreational Vehicle)
    • เช้าตื่นขึ้นมาถูกพวกหัวรุนแรงซ้ายจัดกราดยิง แต่สามารถเอาตัวรอดออกเดินทางต่อ
  • มุ่งสู่เป้าหมายปลายทาง
    • พานผ่านเมือง Rodrigo มีผู้คนมารอให้กำลังใจมากมาย
    • ในที่สุดก็มาถึงบ้านของครอบครัวบุญธรรมที่ Sugar Land
    • แต่หลังจาก Clovis ถูกยิง ขับรถต่อไปจนถึงริมแม่น้ำ Rio Grande ติดกับชายแดน Mexico

ตั้งแต่การลักพาตัวสายตรวจ จะมีการดำเนินเรื่องในลักษณะคู่ขนาน ตัดสลับไปมาระหว่างรถคันหน้า (Lou Jean, Clovis Michael และสายตรวจ Maxwell) กับฝูงรถตำรวจที่ค่อยๆเพิ่มปริมาณ ไล่ล่าติดตามขบวนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งนำโดยร้อยตำรวจ Captain Tanner พยายามครุ่นคิดค้นหาสารพัดวิธีการช่วยเหลือตัวประกัน จับกุมคนร้ายด้วยสันติวิธี ไม่ต้องการให้มีใครตาย/บังเกิดเหตุโศกนาฎกรรมขึ้น

แต่หนังเสียเวลาไปกับเรื่องวุ่นๆวายๆของตำรวจ แวะจอดระหว่างทาง รวมถึงหลับนอนยามค่ำคืน (ผมมองว่าฉากค้างคืนโคตรจะไม่จำเป็น!) เหล่านี้เมื่อมีปริมาณเยอะมากๆจนทำให้เรื่องราวขาดความต่อเนื่อง และกลบเกลื่อนวัตถุประสงค์แท้จริงของการเดินทาง

Spielberg has paid too much attention to all those police cars (and all the crashes they get into), and not enough to the personalities of his characters. We get to know these three people just enough to want to know them better.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 2.5/4

เพลงประกอบโดย John Towner Williams (เกิดปี 1935) นักแต่งเพลงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Flushing, New York City บิดาเป็นนักดนตรีแจ๊ส เคยเล่นให้กับวง Raymond Scott Quintet, เมื่อครอบครัวอพยพสู่ Los Angeles สามารถสอบเข้า University of California, Los Angeles (UCLA) ร่ำเรียนการแต่งเพลงกับ Mario Castelnuovo-Tedesco, จากนั้นอาสาสมัครทหารอากาศ แผนกดนตรี เล่นเปียโน กำกับวง U.S. Air Force Band, เมื่อปี 1955 หวนกลับมา New York City เพื่อร่ำเรียน Juilliard School ทีแรกตั้งจะเป็นนักเปียโนคอนเสิร์ต (Concert Pianist) แต่พอมีโอกาสรับชมการแสดงของ John Browing และ Van Cliburn เลยตัดสันใจเปลี่ยนมาเอาจริงเอาจังด้านการแต่งเพลง

หลังสำเร็จการศึกษาจาก Juilliard หวนกลับ Los Angeles ได้ทำงานเป็นนัก Orchestrator ให้นักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์อย่าง Franz Waxman, Bernard Herrmann, Alfred Newman, แล้วมีโอกาสเล่นเปียโนผลงาน South Pacific (1958), Some Like It Hot (1959), The Apartment (1960), Charade (1963) ฯลฯ ส่วนเครดิตเพลงประกอบเริ่มจาก Daddy-O (1958), Valley of the Dolls (1967), Goodbye, Mr. Chips (1969), Fiddler on the Roof (1971), The Poseidon Adventure (1972) ฯลฯ

ผู้กำกับ Spielberg มีความประทับใจ Williams จากผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์ The Reivers (1969) และ The Cowboys (1972) เลยติดต่อขอร่วมงาน The Sugarland Express (1974) โดยไม่รู้ตัวกลายเป็นเพื่อนสนิท ขาประจำ ร่วมงานกันแทบทุกครั้งตลอดระยะเวลากว่า 50+ ปี

ในตอนแรกผกก. Spielberg อยากได้บทเพลงคลาสสิกในสไตล์คีตกวี Aaron Copland แต่ความคิดเห็นของ Williams มองว่าหนังควรมีบรรยากาศเวิ้งว้าง เบาบาง เลือกใช้ Harmonica และเครื่องสายไม่กี่ชิ้น เพื่อสื่อถึงการเดินทางที่มุ่งหน้าสู่หายนะ เป้าหมายปลายทางมีเพียงความหมดสิ้นหวัง!

The Sugarland Express (1974) นำเสนอการเดินทางมุ่งสู่หายนะของคู่สามี-ภรรยา แม้ไม่ได้ครุ่นคิดจะกระทำสิ่งเลวร้าย แต่ด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมาย แหกคุก จี้ปล้น ลักพาตัว ฯ เหล่านี้ถือเป็นอาชญากรรม จึงถูกไล่ล่าหมายหัว ตำรวจรวมตัวกว่าร้อยนาย วางแผนแก้ปัญหาด้วยความสุดโต่ง รุนแรงเกินกว่าเหตุ จนก่อเกิดโศกนาฎกรรม

ผมมองเนื้อหาสาระของหนัง คือการเสียดสีวิถีอเมริกัน ‘เล็กๆไม่ใหญ่ๆทำ’ เจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งรัฐ Texas ไม่ต้องการสูญเสียชื่อเสียง ความนับหน้าถือตา พวกเขาเลยแห่กันออกมาร่วมขบวนไล่ล่า ต่อแถวยาวเป็นหางว่าว เอาจริงๆไม่ได้ช่วยห่าเหวอะไร คนร้ายก็หาใช่อาชญากรอันตราย ถึงขนาดต้องเข่นฆ่าให้ตกตาย … นี่มันคือการ ‘ขี่ช้างจับตั๊กแตน’ ทำในสิ่งเว่อวังอลังการ เกินความจำเป็น สิ้นเปลืองกว่าเหตุ

ถ้ามองในมุมของคู่สามี-ภรรยา พวกเขาก็ดูหลงตนเอง เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าฉันสมควรได้รับสิทธิ์เลี้ยงดูแลบุตร แต่แท้จริงแล้วนั่นการคือจมปลักอยู่ในจินตนาการ ดินแดนขนมหวาน (Sugar Land) เพราะสารพัดการกระทำ แหกคุก จี้ปล้น ลักพาตัว ล้วนคือสิ่งผิดกฎหมาย สังคมไม่ให้การยินยอมรับ ชัดเจนว่าไม่มีศักยภาพในความเป็นบิดา-มารดา คำกล่าวอ้าง “แม่ต้องมีสิทธิ์เลี้ยงลูก” จึงไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเลยสักนิด!

สิ่งน่าวิตกกังวลมากๆก็คือพลเมือง Rodrigo เต็มไปด้วยผู้คนแห่มาให้กำลังใจ ส่วนหนึ่งคงเป็นพวกเกาะกระแสสังคม แต่หลายคนกลับแสดงความคิดเห็นสนับสนุนอย่างออกนอกหน้า สนใจแค่ว่า “มารดาต้องมีสิทธิ์เลี้ยงดูแลบุตร” โดยไม่พิจารณาบริบทรอบข้าง ใช้เพียงความรู้สึกตนเองเป็นที่ตั้ง

โศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นกับอาชญากรทั้งสอง สามารถสะท้อนสภาพสังคมอเมริกันยุคสมัยนั้น ภายนอกดูไม่ต่างจากดินแดนขนมหวาน โลกแห่งจินตนาการเพ้อฝัน แต่แท้จริงแล้วประเทศชาติกำลังมุ่งสู่หายนะ

  • พวกผู้มีอำนาจ/ชนชั้นผู้นำ สนเพียงการสร้างภาพให้ดูดี แก้ปัญหาด้วยความรุนแรงสุดโต่ง ไร้ซึ่งมนุษยธรรม
  • ขณะที่ประชาชนก็เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว ไม่ให้ความสำคัญต่อกฎหมายบ้านเมือง สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองความพึงใจ ด้วยข้ออ้างเสรีภาพและความเป็นปัจเจกชน

ผิดกับ Duel (1971) ที่เปิดกว้างให้ผู้ชมสามารถขบครุ่นคิดตีความ, The Sugarland Express (1974) แม้ก็นำเสนอเรื่องราวของการถูกไล่ล่า (เปลี่ยนจากรถบรรทุก มาเป็นฝูงตำรวจ) แต่จำเพาะเจาะจงถึงวิถีอเมริกันชน ในยุคสมัยแห่งความหวาดระแวง (สงครามเย็น), ก่อการร้าย (ทศวรรษแห่งการลอบสังหาร John F. Kennedy, Malcolm X, Martin Luther King Jr. ฯลฯ) และคอรัปชั่นภายใน (ปธน. Richard Nixon)

ผมยังไม่เคยรับชม The Fablemans (2022) แต่ได้ยินว่าจะทำให้ผู้ชมตระหนักความสัมพันธ์ระหว่างผกก. Spielberg กับมารดา ที่มีความละม้ายคล้ายตัวละคร Lou Jean Poplin ใน The Sugarland Express (1974) เป็นยังไงก็ลองหาดูเอาเองนะครับ


ด้วยทุนสร้าง $3 ล้านเหรียญ สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกา $7.5 ล้านเหรียญ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่ที่ถือเป็นกำไรคือการคว้ารางวัล Best Screenplay จากเทศกาลหนังเมือง Cannes อย่างโคตรๆเซอร์ไพรส์ ประธานกรรมการปีนั้นคือ René Clair มอบรางวัล Palme d’Or ให้กับ The Conversation (1974)

ปัจจุบันหนังยังไม่มีข่าวคราวการบูรณะ สามารถหารับชมออนไลน์ได้ตาม Streaming ทั่วๆไป หรือใครงบเยอะแนะนำให้ลองหาซื้อ Steven Spielberg Director’s Collection Blu-ray รวบรวมภาพยนตร์ 8 เรื่องที่ผกก. Spielberg เคยร่วมงานกับ Universal Studios ทั้งหมดได้รับการสแกนใหม่ คุณภาพ 2K ถือว่าสวยสดงดงาม

ผมคุ้นๆว่าน่าจะเคยรับชม The Sugarland Express (1974) แต่บอกเลยว่าจดจำอะไรไม่ได้เลยสักสิ่งอย่าง (แสดงว่ามันไม่มีอะไรให้น่าจดจำ!) หวนกลับมาคราวนี้สัมผัสได้เพียงความบันเทิง ตลกขบขัน เหมือนจะเสียดสีสังคมอเมริกันอะไรสักอย่าง ดูจบประเดี๋ยวคงหลงลืม ถ้าไม่เพราะหอภาพยนตร์ชอบนำมาฉายก็คงไม่เขียนถึง

สิ่งที่สร้างความหงุดหงิดให้ผมอย่างมากๆ ก็คือการพยายามปลูกสร้างแนวคิด “สันชาตญาณแม่” ผ่านตัวละครของ Goldie Hawn (ซึ่งล้อกับมารดาผู้กำกับ Spielberg) ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อสิทธิ์ในการเลี้ยงดูแลบุตร แต่วิธีการอย่างแหกคุก จี้ปล้น ลักพาตัว ฯ ควรทำในเชิงตั้งคำถามถึงความถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช่ ‘romanticize’ ให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกสงสารเห็นใจ (เพราะจะทำให้ผู้ชมเข้าใจว่าการกระทำของตัวละครนั้นถูกต้อง!)

จัดเรต 13+ กับความบ้าๆบอๆ ก่ออาชญากรรม ความรุนแรง และโศกนาฎกรรม

คำโปรย | The Sugarland Express ของผู้กำกับ Steven Spielberg พยายามเคลือบด้วยน้ำตาล แต่รสชาติกลับขื่นขม หนทางด่วนสู่หายนะ!
คุณภาพ | เคลือบน้ำตาล
ส่วนตัว | ขำไม่ออก

Duel (1971)


Duel (1971) hollywood : Steven Spielberg ♥♥♥♥

ผลงานเรื่องแรกได้รับโอกาสฉายในโรงภาพยนตร์ของผู้กำกับ Steven Spielberg นำเสนอการท้าดวลระหว่างรถเก๋ง vs. รถบรรทุก ที่มีความเสี่ยงอันตราย ท้าความตาย เต็มไปด้วยความตื่นเต้นลุ้นระทึก และแฝงนัยยะลุ่มลึกอย่างคาดไม่ถึง

ดั้งเดิมนั้น Duel (1971) สร้างขึ้นสำหรับฉายรายการโทรทัศน์ Movie of the Week ออกอากาศทางช่อง ABC แต่ด้วยเสียงตอบรับที่ดีล้นหลาม เลยได้รับทุนเพิ่มเติมจาก Universal Television ขยับขยายกลายมาเป็นฉบับภาพยนตร์ความยาว 90 นาที อาจไม่ได้ทำเงินสักเท่าไหร่ แต่สามารถสร้างกระแส Cult Classic

นั่นเพราะเรื่องราวของ Duel (1971) สามารถตีความได้มากกว่าแค่การดวลกันระหว่างรถเก๋ง vs. รถบรรทุก, มนุษย์ (man) vs. จักรกล (machine), ยังเหมารวมถึงอัตลักษณ์ทางเพศ สถานะทางครอบครัว ชนชั้นทางสังคม แถมเรื่องราวเกิดขึ้นวันเดียวกับเหตุการณ์ลอบสังหารปธน. John F. Kennedy และยังมีนักวิจารณ์นำการต่อสู้ครั้งนี้ไปเปรียบเทียบปรัมปรา David and Goliath (Jack ผู้ฆ่ายักษ์) … สิ่งเหล่านี้แม้แต่ผกก. Spielberg ก็ยังบอกว่าครุ่นคิดไม่ถึงจริงๆ

It taught me to think a little more in the abstract […] It really instructed me not to just look at something and say, ‘Okay, everybody is bound to see this picture the way I see this picture. We’re going to see the same colors, the same sky and horizon. We’re going to interpret this exactly alike.’ I learned very early on that nobody ever sees the same picture the same way. It’s impossible.

Steven Spielberg

เอาจริงๆผมรู้สึกว่า Duel (1971) อาจเป็นผลงานยอดเยี่ยมที่สุดของผกก. Spielberg เสียด้วยซ้ำ! เต็มไปด้วยกลิ่นอาย Clouzot และ Hitchcockian ส่วนผสมระหว่าง The Wages of Fear (1953), Psycho (1960) และ Bullitt (1968) โดยเฉพาะลีลาตัดต่อที่สามารถสร้างความหวาดระแวง วิตกจริต (Suspense) และการใช้เสียง (Sound Effect) ราวกับรถทั้งสองคันสามารถพูดคุยสื่อสาร (ส่งเสียงบรื้นๆ มากกว่าบทพูดตัวละครเสียอีกนะ!)


Steven Allan Spielberg (เกิดปี 1946) เจ้าของฉายา ‘พ่อมดแห่งวงการภาพยนตร์’ เกิดที่ Cincinnati, Ohio ในครอบครัว Orthodox Jewish ปู่ทวดอพยพจากประเทศ Ukrane ชอบเล่าอดีตถึงญาติพี่น้องที่ต้องสูญเสียชีวิตในค่ายกักกันนาซี, ตั้งแต่เด็กค้นพบความสนใจในสื่อภาพยนตร์ Captains Courageous (1937), Pinocchio (1940), Godzilla, King of the Monsters (1956), Lawrence of Arabia (1962), รวมถึงหลายๆผลงานของผู้กำกับ Akira Kurosawa, กำกับเขียนบทภาพยนตร์เรื่องแรก Firelight (1963) โดยได้ทุนจากครอบครัว $500 เหรียญ

หลังเรียนจบมัธยมปลายมุ่งสู่ Los Angeles เข้าศึกษาต่อ California State University, Long Beach ระหว่างนั้นเป็นเด็กฝึกงานยัง Universal Studios มีโอกาสถ่ายทำหนังสั้น Amblin’ (1968) คว้ารางวัลมากมายจนไปเข้าตารองประธานสตูดิโอขณะนั้น Sidney Sheinberg จับเซ็นสัญญา 7 ปี ดรอปเรียนจากมหาวิทยาลัย เริ่มทำงานเป็นผู้กำกับซีรีย์โทรทัศน์ Night Gallery (1969) ตอน Eyes นำแสดงโดย Joan Crawford แม้เสียงตอบรับจะไม่ค่อยดีนัก แต่ได้รับคำชื่นชมจาก Crawford เชื่อเลยว่าไอ้เด็กคนนี้อนาคตไกลแน่ๆ

สำหรับ Duel (1971) ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Richard Matheson ได้แรงบันดาลใจจากประสบการณ์ตรง หลังเลิกเล่นกอล์ฟกับเพื่อนสนิท ระหว่างทางขับรถกลับบ้าน ถูกรถบรรทุกพยายามจี้ท้ายด้านหลัง พอปล่อยให้แซงกลับแสร้งขับช้าๆ ทำท่าทางยียวนกวนบาทา และที่จดจำไม่ลืมเพราะวันนั้น 22 พฤศจิกายน 1963 เดียวกับปธน. John F. Kennedy ถูกลอบสังหารเสียชีวิต!

เกร็ด: Richard Matheson (1926-2013) นักเขียนชาวอเมริกัน เจ้าของผลงานดังๆอย่าง I Am Legend (1954), The Shrinking Man (1956), What Dreams May Come (1978) ฯลฯ

Matheson พยายามนำประสบการณ์ดังกล่าวไปเสนอขายตามสถานีโทรทัศน์ แต่กลับไม่มีใครไหนให้ความสนใจ เลยลงมือเขียนเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Playboy แล้วถูกส่งต่อมาถึงผู้กำกับ Spielberg เข้าไปพูดคุยโปรเจคกับ Universal Television โดยทันที!

เรื่องราวของ David Mann (รับบทโดย Dennis Weaver) เซลล์แมนวัยกลางคน ระหว่างกำลังขับรถไปทำงาน พานผ่านเส้นทาง Mojave Desert พบเจอรถบรรทุกจี้ท้ายด้านหลัง พอปล่อยให้แซงอีกฝ่ายกลับแสร้งขับช้าๆ ท่าทางยียวนกวนประสาทไม่ยอมเลิกรา แวะพักข้างทางยังจอดรอ แถมที่ปั๊ม Snakerama ยังพุ่งชนตู้โทรศัพท์ จนเกิดอาการหวาดระแวง วิตกจริต ครุ่นคิดว่าไอ้คนขับรถคันนี้ต้องการเข่นฆาตกรรมตนเอง


William Dennis Weaver (1924-2006) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Joplin, Missouri ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งแต่ยังเด็ก เข้าศึกษายัง University of Oklahoma, ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อาสาสมัครทหารอากาศ ขับเครื่องบินต่อสู้ Grumman F4F Wildcat, หลังจากนั้นสมัครเข้าเรียน Actors Studio สนิทสนม Shelley Winters ช่วยเหลือให้เซ็นสัญญา Universal Studios, ภาพยนตร์เรื่องแรก The Redhead from Wyoming (1952), โด่งดังจากสมทบซีรีย์ Gunsmoke (1955-75), ภาพยนตร์ Touch of Evil (1958), Duel (1971) ฯลฯ

รับบท David Mann เซลล์แมนวัยกลางคน แม้แต่งงานมีบุตร แต่ดูแอบๆ ขาดความเชื่อมั่น เหมือนจะให้ภรรยาเป็นผู้นำครอบครัว ระหว่างขับรถไปทำงาน พอถูกรถบรรทุกจี้ท้าย เกิดอาการหวาดระแวง วิตกจริต ครุ่นคิดมาก แม้พยายามหลีกเลี่ยง ไม่ต้องการเผชิญหน้าปัญหา แต่เมื่อมิอาจอดรนทนต่อคำท้า จึงต่อสู้กลับ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เอาชีวิตรอดได้อย่างหวุดหวิด

ผู้กำกับ Spielberg พยายามล็อบบี้อยากได้ Weaver เพราะความประทับใจจาก Touch of Evil (1958) แต่อีกฝ่ายก็ยื้อยักเล่นตัว จนกระทั่งก่อนเริ่มโปรดักชั่นถ่ายทำเพียงวันเดียวถึงยินยอมเซ็นสัญญา ขับรถเองทุกฉากยกเว้นไคลน์แม็กซ์ ภายหลังติดอกติดใจภาพยนตร์เรื่องนี้มากๆ ถึงขนาดบอกว่าต้องหวนกลับมาดูอย่างน้อยปีละ 1-2 รอบ

อารมณ์ของตัวละครนี้ราวกับรถไฟเหาะ เดี๋ยวขึ้น-เดี๋ยวลง เดี๋ยวสงบ-เดี๋ยวบ้าคลั่ง เต็มไปด้วยความหลากหลาย ท้าทายการแสดงของ Weaver ที่น่าจดจำก็คือวิธีการ ‘method acting’ ทำให้นำเสนออาการหวาดระแวง วิตกจริต ผ่านทางสีหน้าท่าทาง คำพูดคุยกับตนเอง ผู้ชมสัมผัสถึงความผิดปกติ (ก็ไม่รู้ถึงขั้นป่วยจิตหรือเปล่า) ผสมเข้ากับเทคนิคภาพยนตร์ได้อย่างระทึก ทรงพลัง

ระหว่างรับชมผมไม่รู้สึกถึงความผิดปกติทางเพศใดๆของตัวละคร แต่เพราะมีการชนท้ายรถเก๋ง นั่นสามารถตีความถึงเพศสัมพันธ์ประตูหลัง ช่วงแรกๆ David Mann พยายามจะเร่งความเร็วหลบหนี (เพราะจะบอกว่าฉันไม่ใช่เกย์) แต่ไคลน์แม็กซ์ปล่อยให้อีกฝ่ายประสานงานอย่างเต็มที่ … ก็แล้วแต่ผู้ชมจะครุ่นคิดจินตนาการ ผู้กำกับ Spielberg ก็อ้ำๆอึ้งๆ ไม่เคยแสดงความคิดเห็นใดๆออกมา


ถ่ายภาพโดย Jack A. Marta (1903-91) ตากล้องสัญชาติอเมริกัน ในสังกัด Universal Television ผลงานตั้งแต่ยุคหนังเงียบ What Price Glory (1926), โด่งดังกับหนัง Western เกรดบีนับร้อยๆเรื่องช่วงทศวรรษ 30s-60s อาทิ Dark Command (1940), Hellfire (1949), The Last Bandit (1949), Cat Ballou (1965), ก่อนเปลี่ยนมาถ่ายซีรีย์/ภาพยนตร์ฉายโทรทัศน์ดังๆอย่าง Batman (1966), Duel (1971), Hawaii Five-O (1978-80) ฯลฯ

โปรดักชั่นซีรีย์โทรทัศน์จะมีความเร่งรีบรวดเร็วกว่าภาพยนตร์หลายเท่าตัว! เตรียมงานสร้างประมาณ 10 วัน ถ่ายทำอีก 10-13 วัน และตัดต่อ/หลังการถ่ายทำอีก 10 วัน รวมๆแล้วโดยเฉลี่ยของยุคสมัยนั้น หนึ่งเดือนตอนหนึ่ง (ตอนถ่ายทำเพิ่มก็ใช้เวลาแค่ 3 วันเท่านั้น!) ถือเป็นงานไม่ง่ายสำหรับผู้กำกับมือใหม่ แต่สามารถฝึกฝน เรียนรู้งาน สะสมประสบการณ์ได้อย่างดี

แม้หนังถ่ายทำด้วยฟีล์ม 35mm แลปสี Technicolor อัตราส่วน Widescreen (1.85:1) แต่เมื่อนำออกฉายทางโทรทัศน์ จำเป็นต้องตัดขอบซ้าย-ขวา (เพื่อให้เหมาะกับจอโทรทัศน์) อัตราส่วน Academy Ratio (1.33:1) นั่นหมายถึงเมื่อตอนถ่ายทำ ต้องพยายามจัดวางองค์ประกอบภาพให้อยู่กึ่งกลางเฟรมเสมอๆ … นั่นถือเป็นข้อจำกัดหนึ่งของสื่อโทรทัศน์สมัยก่อนก็ว่าได้

เห็นว่าตอนแรกโปรดิวเซอร์อยากให้หนังถ่ายทำในสตูดิโอ โดยใช้เทคนิค Rear Projection แต่ผู้กำกับ Spielberg ยืนกรานว่าต้องถ่ายทำบนท้องถนนจริงๆ เริ่มออกเดินทางจากโรงจอดรถบ้านหลังหนึ่งแถวๆ Bloomfield Street ใกล้ๆกับ Universal Studios พานผ่าน South Broadway ออกทางหลวงหมายเลขห้า (Highway 5) แล้วเลี้ยวเข้า Route 14 (ที่พานผ่าน Mojave Desert) จุดหมายปลายทางน่าจะแถวๆ California City (เพราะถ้าจะไป Bakersfield ตรงดิ่งทางหลวงหมายเลข 5 ไม่ง่ายกว่าหรือ?)

ช่วงที่รถแล่นอยู่บน Route 14 จะเฉี่ยวผ่าน Angeles National Forest, ขึ้นทางหลวง Sierra Highway, ก่อนจบลงที่ Vasquez Canyon Road พุ่งตกลง Vasquez Canyon ไปไม่ถึงเป้าหมายปลายทาง

ผู้กำกับ Spielberg ไม่ได้จำเพาะเจาะจงยี่ห้อรถ แต่เห็นว่ามีการ ‘audition’ โดยเลือกเอาคันที่มองภายนอกดูเหมือนใบหน้ามนุษย์ ประกอบด้วย

  • รถเก๋งของ Mann ยี่ห้อ Plymouth Valiant รุ่นปี 1970 เครื่องยนต์ 318 V-8 engine มีจำนวน 3 คัน
    • ผู้กำกับ Spielberg ขอให้ย้อมรถสีแดง เพื่อความโดดเด่นตัดกับทิวทัศน์ทะเลทรายพื้นหลัง
  • รถบรรทุก Peterbilt 281 รุ่นปี 1955 สภาพโทรมๆ เกรอะกรัง เครื่องยนต์ 260HP 1673 CAT สามารถบรรทุกของหนัก 30 ตัน (แต่ก็ไม่ได้ใส่อะไรไว้ด้านหลัง) สามารถวิ่งเร็วสุด 75-80 ไมล์ต่อชั่วโมง
    • ตอนถ่ายทำรอบแรกซื้อรถบรรทุกได้เพียงคันเดียว และถูกทำลายทิ้งฉากสุดท้าย แต่พอได้งบถ่ายทำเพิ่มรอบหลัง เลยจำเป็นต้องซื้อใหม่อีกคัน

ไม่ใช่แค่ภาพของรถ แต่ยังเสียงเครื่องยนต์ที่ดังกระหึ่มแทรกอยู่แทบตลอดเวลา ทำให้ทั้งสองคันราวกับมีชีวิตชีวา สามารถพูดคุยสนทนา ด้วยอารมณ์ต่างๆ จับต้องได้ สร้างบรรยากาศ ‘suspense’ เป็นอย่างดี! … และการที่บทพูดตัวละครมีน้อยนิด ทำให้หนังมีลักษณะกึ่งๆ ‘Semi-Silent’ หรือจะเรียกว่า ‘Pure Cinema’ ก็ได้เช่นกัน

ความแตกต่างด้านขนาดระหว่างรถเก๋ง vs. รถบรรทุก มีนักวิจารณ์อ้างอิงถึงคัมภีร์ไบเบิล (1 Samuel 17) เรื่องราวของ David and Goliath มนุษย์ตัวเล็กๆที่สามารถล้มยักษ์ Goliath เป็นคำเรียกที่กล่าวถึงสถานการณ์เบี้ยล่าง (underdog) ตัวเล็กกว่า อ่อนแอกว่า แต่กลับได้รับชนะเหนืออีกฝั่งฝ่ายที่ขนาดใหญ่กว่า เข้มแข็งแกร่งกว่า

เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน แทนที่จะเสียเวลาวาด Storyboard ฉากต่อฉาก เฟรมต่อเฟรม, ผู้กำกับ Spielberg ใช้วิธีวาดแผนที่เส้นทางมุมสูง (aerial perspective map) แล้วเขียนรายละเอียดว่าช่วงนี้มีเหตุการณ์อะไร เร่งความเร็ว แซงหน้า เบียดซ้าย ปาดขวา ฯลฯ ถ่ายทำอย่างไร ตั้งกล้องตรงไหน แบบนี้เห็นภาพการทำงานชัดเจนกว่ามากๆ … นี่เป็นภาพที่ผมแคปรูปมาจากคลิปเบื้องหลังถ่ายทำ (Behind the Scene)

ตลอดทั้งเรื่องผู้ชมและตัวละครต่างไม่เคยพบเห็นใบหน้าตาของคนขับรถบรรทุก มากสุดก็คือโบกมือให้แซงสองช็อตนี้แหละ! จุดประสงค์เพื่อสร้างความลึกลับ ระทึกขวัญ หมอนี่ใครกัน ไม่เคยพบเจอ ไม่รับรู้หน้าตา แต่เราสามารถเหมารวมในเชิงสัญลักษณ์ว่าคือ ‘รถบรรทุก’

การนำเสนอลักษณะนี้ก็เพื่อให้ ‘รถบรรทุก’ คือตัวแทนของผู้ร้าย (The truck as the villain) ใครก็ไม่รู้แต่มีพฤติกรรมแย่ๆ สร้างความหวาดกลัว หวาดระแวง เมื่อได้รับการกลั่นแกล้ง ‘bully’ จึงต้องการแก้แค้นทวงคืน

the effect of not seeing the driver makes the real villain of the film the truck itself, rather than the driver.

Steven Spielberg

แต่ใช่ว่ารถบรรทุกไม่มีคนขับนะครับ คือสตั๊นแมนชื่อ Carey Loftin อายุ 50 ปี ก่อนเริ่มถ่ายทำสอบถามแรงบันดาลใจตัวละครกับ Spielberg ได้รับคำตอบ “You’re a dirty, rotten, no-good son of a bitch.” เมื่อรับฟังเช่นนั้น Loftin ตอบกลับว่า “Kid, you hired the right man.”

ในหนังอาจพบเห็นว่า Loftin ขับรถได้ส้นตีนผีมากๆ แต่ในความเป็นจริงเขาขับไม่เกิน 30 ไมล์ต่อชั่วโมงเท่านั้น! แต่ใช้เทคนิคการถ่ายภาพอย่างกล้องสั่นๆ, ฝุ่นควันฟุ้งๆ, ถ่ายสูงจากพื้นแค่ 6 นิ้ว, มุมเงยเห็นล้อหมุนๆ, ตัวเลขไมล์สูงๆ, โดยเฉพาะถ่ายความเร็วสัมพัทธ์ (คันหน้าขับช้ากว่าคันหลัง) และให้ติดทิวทัศน์พื้นหลัง (จะพบเห็นเนินเขาเคลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็ว) ฯลฯ เหล่านี้สามารถสร้างความหลอกตาให้รู้สึกว่ากำลังการขับรถด้วยความเร็วสูง

เรื่องเล่าจากวิทยุ รวมถึงการโทรศัพท์หาภรรยาของ Mann (ทั้งๆเพิ่งออกจากบ้านไม่นาน) ล้วนเพื่อตั้งคำถามถึงสภาวะผู้นำครอบครัว มันมีความจำเป็นที่บุรุษต้องคือช้างเท้าหน้าหรือไม่? ต่อให้พยายามทำตัวกร่าง ยกเท้าขึ้นมาวางบนโต๊ะ แต่เมื่อมีหญิงขอเดินผ่าน เขาก็ยินยอมเปิดทางให้โดยดี นี่แสดงถึงความนอบน้อมถ่อมตน และมุมกล้องช็อตนี้ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังหลบซ่อนตัวอยู่หลังกระจกเครื่องซักผ้า (รวมถึงการหลบหลังพวงมาลัยรถยนต์เช่นเดียวกัน)

โดยปกติแล้วบุรุษผู้มีความเข้มแข็งแกร่ง (ในฐานะผู้นำครอบครัว, Alpha Male) เมื่อถูกท้าทายก็มักกล้าเผชิญหน้า ไม่ยอมสูญเสียเกียรติ ศักดิ์ศรี ความเป็นลูกผู้ชาย แต่สำหรับ Mann พอโดนรถบรรทุก ‘bully’ ไล่จี้ท้าย กลับมีอาการตื่นตระหนก ตกใจกลัว หวาดระแวง วิตกจริต ครุ่นคิดเพ้อคลั่งไปไกล ไม่ต้องการเผชิญหน้ากับใคร เหล่านี้แสดงถึงความอ่อนแอ ขี้ขลาดเขลา ไม่ต่างจากเพศหญิง เป็นได้เพียงช้างเท้าหลัง (Beta Male)

ร้านกาแฟ/ขายอาหาร Chuck’s Cafe ตั้งอยู่ยัง Le Chene 12625 บนทางหลวง Sierra Highway, Agua Dulce เห็นว่าปัจจุบันยังคงเปิดให้บริการ รูปลักษณ์ภายนอกถือว่าค่อนข้างแปลกประหลาด สะดุดตา ก่อสร้างด้วยก้อนหินตะปุ่มตะป่ำ แล้วทาสีขาวทั้งหลัง ซึ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในร้านแห่งนี้ นำเสนอช่วงเวลาความครุ่นคิดของตัวละคร เริ่มแสดงอาการสับสน หวาดระแวง จิตใจมีความผิดปกติ

เรื่องราวของรถโรงเรียน สามารถตีความได้อย่างน่าสนใจ

  • แสดงให้เห็นว่ารถขนาดเล็ก (รถเก๋ง) ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือ หรือต่อสู้เอาชนะรถขนาดใหญ่
    • มันจะมีช็อตที่เด็กๆแลบลิ้น ทำสีหน้ายียวนกวนประสาท ดูเหมือนการกลั่นแกล้ง ‘bully’ ที่รถคันใหญ่มีต่อรถขนาดเล็ก … ล้อกับการที่ Mann ถูก ‘bully’ โดยคนขับรถบรรทุก
  • คนขับรถบรรทุกไม่ได้มีนิสัยเลวร้าย เพราะยินยอมให้ความช่วยเหลือรถโรงเรียนจนสามารถหลุดจากหล่ม แต่อาจเป็น Mann ที่เกิดอาการหวาดระแวง วิตกจริตไปเอง
    • ขณะที่รถเก๋งดันรถโรงเรียน จะพบเห็นแต่ช็อตระยะประชิดใกล้ ตัดสลับไปสลับมา โดยเฉพาะขณะกันชนหน้ามุดเข้าไปใต้กันชนหลัง
    • แต่ขณะที่รถบรรทุกออกแรงดัน พบเห็นเพียงภาพมุมกว้าง ช็อตเดียวสำเร็จ ไม่ต้องยื้อยักเล่นตัวใดๆ

แซว: เมื่อตอนที่รถบรรทุกจอดในอุโมงค์แล้วเปิดสองไฟหน้า แลดูเหมือนดวงตาอันแดงกล่ำ เต็มไปด้วยความอาฆาตมาดร้าย

ไม่ได้พูดเป็นเล่นไป Sally’s Snakerama Station นั้นมีอยู่จริง! ตั้งอยู่ยัง 9661 Sierra Highway, Santa Clarita นอกจากเป็นปั๊มน้ำมัน จัดแสดงสรรพสัตว์เลื้อยคลายในทะเลทราย โดยเฉพาะงูหางกระดิ่งความยาว 8 ฟุต ซึ่งถือเป็นสัตว์อันตราย แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับความชั่วร้ายของรถบรรทุก ถูกพุ่งชนเสียหายย่อยับเยิน!

ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ปิดกิจการไปแล้วนะครับ (Sally ก็คงเสียชีวิตไปแล้วด้วยละ) ถูกขายต่อกลายเป็นปั๊มน้ำมันยี่ห้อ Valero

ผมอ่านเจอในเกร็ดหนังว่า ภาพสะท้อนตู้โทรศัพท์ของช็อตนี้แอบพบเห็นผู้กำกับ Spielberg หลบซ่อนตัวอยู่เบื้องหลัง (ตาดีได้ ตาร้ายเสีย!) เคยให้สัมภาษณ์บอกว่าเป็นความไม่ได้ตั้งใจ แต่ใครหาพบเจอแม้งก็ช่างสังเกตเหลือเกิน!

เพราะมีโอกาสถ่ายทำเพียงครั้งเดียวเท่านั้น! ไคลน์แม็กซ์ของหนังจึงถ่ายทำด้วยกล้อง(สโลโมชั่น)ถึง 6 ตัว วางตามตำแหน่งต่างๆที่คาดว่าจะสามารถบันทึกภาพรถบรรทุกขณะตกลงหุบเหว Vasquez Canyon แม้มันช่วยไม่ได้ที่ประตูด้านคนขับรถเปิดออก (เพราะสตั๊นแมนไม่สามารถปิดประตู ขณะกระโดดออกจากรถ) แต่ผลลัพท์ถือว่าโคตรๆประทับใจ โดยเฉพาะมุมกล้องที่นำมาใช้ในหนัง มีการขยับเคลื่อนติดตามรถบรรทุกจนถึงวินาทีสุดท้าย ผู้กำกับ Spielberg ยังกล่าวชื่นชมเลยว่า “that cameraman deserves a medal”.

เกร็ด: ช่วงระหว่างที่รถบรรทุกกำลังกลิ้งตกภูเขา มันจะมี ‘Sound Effect’ ที่ฟังเหมือนเสียงไดโนเสาร์ นี่เป็นความจงใจของผู้กำกับ Spielberg ต้องการสร้างสัมผัสของสิ่งลึกลับ เหนือธรรมชาติ รวมถึงจักรวาลเดียวกับตอนระเบิดฉลาม Jaws (1975) และแฟนไชร์ Jurassic Park (1993)

ผลงานยุคแรกๆของผู้กำกับ Spielberg มักลงท้ายด้วยช็อตสวยๆ (น่าจะได้รับอิทธิพลจาก François Truffaut อยู่ไม่น้อย) ซึ่งเรื่องนี้เป็นการซ้อนสองภาพ

  • เริ่มจาก Mann นั่งลงริมหน้าผา จับจ้องมองรถทั้งสองคันที่ตกลงยังหุบเหว
  • ซ้อนภาพเดียวกันแต่ถ่ายจากด้านข้าง ระหว่างพระอาทิตย์กำลังจะลาลับขอบฟ้า

แม้ว่า Mann ได้รับชัยชนะจากการท้าดวลรถบรรทุก แต่กลับทำให้เขาตกอยู่ในสภาพท้อแท้สิ้นหวัง จิตใจไม่ต่างจากสภาพรถทั้งสองคันเบื้องล่างหุบเหว ไม่รู้จะครุ่นคิดทำอะไร? กลับบ้านยังไง? อธิบายเหตุการณ์บังเกิดขึ้นอย่างไร? แสงสว่างใกล้ลาลับขอบฟ้า ช่วงเวลาแห่งความมืดมิด หนาวเหน็บกำลังคืบคลานมาถึง

ตัดต่อโดย Frank E. Morriss (1927-2013) สัญชาติอเมริกัน เข้าสู่วงการช่วงทศวรรษ 60s จากเป็นนักตัดต่อซีรีย์/ภาพยนตร์โทรทัศน์ ผลงานเด่นๆ อาทิ Duel (1971), Charley Varrick (1973), Blue Thunder (1983), Romancing the Stone (1984), Short Circuit (1986) ฯลฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมอง/สายตาตัวละคร David Mann ระหว่างกำลังขับรถไปทำงาน พานผ่านทะเลทราย Mojave Desert แล้วถูกไล่ล่าท้าดวลโดยรถบรรทุก พยายามจี้ท้าย ชนกระโปรงหลัง จนเกิดอาการหวาดระแวง วิตกจริต ครุ่นคิดว่าอีกฝ่ายต้องการเข่นฆาตกรรม

  • อารัมบท เริ่มต้นออกเดินทาง
    • ขับรถกินลม ออกจากเมือง พานผ่านทะเลทราย Mojave Desert และขับแซงรถบรรทุก
  • แวะจอดปั๊มน้ำมัน
    • หลังจากขับแซงรถบรรทุก แวะจอดปั๊มน้ำมัน คุยโทรศัพท์กับภรรยา
    • พอออกเดินทางต่อรถบรรทุกคันนั้นก็ขับจี้ท้าย โบกมือให้แซงแล้วอีกฝ่ายแสร้งขับช้า แถมพยายามกันท่า ท้าดวล จนมาถึง Chuck’s Cafe
  • แวะรับประทานอาหารยัง Chuck’s Cafe
    • เข้าไปในร้าน สั่งอาหาร ขณะเดียวกันก็ครุ่นคิดทบทวนเหตุการณ์บังเกิดขึ้น
    • เกิดอาการหวาดระแวง วิตกจริต ครุ่นคิดว่าลูกค้าในร้านคือคนขับรถบรรทุก
    • เข้าไปพูดคุย ต่อรอง ถึงขนาดใช้ความรุนแรงชกต่อย
  • แวะให้ความช่วยเหลือรถโรงเรียน
    • เมื่อพบเห็นรถโรงเรียนจอดติดหล่ม เลยพยายามเข้าไปช่วยเหลือ
    • จนกระทั่งพบเห็นรถบรรทุกคนนั้น สร้างความหวาดระแวง วิตกจริต จนต้องขับรถหนี
    • หลังจากรถบรรทุกช่วยเหลือรถโรงเรียน ก็ขับไล่จี้ ชนท้ายรถเก๋งของ Mann
  • แวะจอดปั๊มน้ำมัน Snakerama
    • แวะจอดปั๊มน้ำมัน Snakerama ต้องการโทรศัพท์แจ้งตำรวจ แต่กลับถูกรถบรรทุกขับพุ่งชน
  • แวะหลบข้างทางรถไฟ
    • แวะหลบข้างทางรถไฟ นอนหลับไปสักงีบ
    • พอตื่นขึ้นมากลับยังพบเห็นรถบรรทุกจอดรออยู่ จึงเกิดการไล่ล่า ท้าชน
    • Mann หยุดจอดรถกลางถนน ขอความช่วยเหลือจากคนขับรถสูงวัย แต่อีกฝ่ายกลับไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวใดๆ
    • จนในที่สุด Mann ก็ตัดสินใจล่อหลอกรถบรรทุก จนอีกฝ่ายพุ่งตกลงเหว

ลีลาการตัดต่อหนังถือว่าไม่ธรรมดา สลับไปสลับมา เก็บรายละเอียดจากแทบทุกมุมมอง ครอบคลุมความเป็นไปได้ระหว่างรถสองคัน (โดยใช้รถเก๋งของ Mann คือจุดศูนย์กลาง) เพื่อสร้างความหวาดระแวง วิตกจริต มีคนนับว่า Mann มองกระจกข้าง 65 ครั้ง และกระจกมองหลังอีก 54 ครั้ง นั่นคือการแสดงออกที่ผิดปกติอย่างแน่นอน!

สำหรับฉากที่ถ่ายเพิ่มจากฉบับฉายทางโทรทัศน์ 74 นาที ให้กลายเป็น 90 นาที ประกอบด้วย

  • เริ่มต้นออกเดินทาง เปิดโรงรถ ขับวนรอบเมือง น่าจะทั้งหมดของ Opening Credit
  • แวะเติมน้ำมัน โทรศัพท์หาภรรยา
  • ให้ความช่วยเหลือรถโรงเรียน ติดหล่มอยู่ตรงอุโมงค์ทางลอด
  • จอดรถตรงทางข้ามรถไฟ แล้ว Mann นอนหลับไปตื่นหนึ่ง

เพลงประกอบโดย William Leon Goldenberg (1936-2020) นักแต่งเพลงสัญชาติอเมริกัน เริ่มเล่นเปียโน ไวโอลินตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ตั้งใจอยากเข้าโรงเรียน Juilliard แต่พอบิดาถูกไล่ออกจากงาน เลยเปลี่ยนความสนใจสอบเข้า Columbia College ทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์อยู่สักพัก แล้วลาออกมาทำตามความฝัน เริ่มจากเขียนเพลงให้การแสดงตลก Broadway ของ Mike Nichols และ Elaine May, จากนั้นเข้าร่วม Universal Television ผลงานส่วนใหญ่คือซีรีย์/ละครโทรทัศน์, เคยร่วมงานผู้กำกับ Steven Spielberg ตั้งแต่กำกับตอน Night Gallery, Columbo, The Name of the Game และ Duel (1971)

ด้วยระยะเวลาโปรดักชั่นที่เร่งรัด Goldenberg เลยตัดสินใจเดินทางมายังกองถ่ายที่ Soledad Canyon เพื่อสังเกตบรรยากาศระหว่างถ่ายทำ ระหว่างนั้นโดนรบเร้าโดยผู้กำกับ Spielberg จนยินยอมขึ้นนั่งบนรถบรรทุก ขับโดยสตั๊นแมน เพื่อให้ได้รับประสบการณ์สุดหวาดเสียว ครั้งเดียวพอ!

นำกลับมาเขียนเพลงในหนึ่งสัปดาห์ ผสมผสานระหว่างเครื่องสาย เครื่องกระทบ และเครื่องสังเคราะห์เสียง (Moog Synthesiser) กลิ่นอายละม้ายคล้าย Bernard Herrmann (Vertigo, Psycho) เต็มไปด้วยท่วงทำนองซ้ำๆ บรรเลงอย่างกรีดกราย วุ่นวายแสบแก้วหู แต่สามารถสะท้อนห้วงอารมณ์ สภาพจิตวิทยาตัวละคร เมื่อเกิดอาการหวาดระแวง วิตกจริต จินตนาการเพ้อคลั่งไปไกล!

สไตล์เพลงลักษณะนี้จะมุ่งเน้นที่การเล่นจังหวะ (rhythmic vocabulary) ให้สอดคล้องการตัดต่อที่ก็สลับไปสลับมา เพื่อสร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทึก เฉี่ยวเป็นเฉี่ยวตาย วนซ้ำไปซ้ำมาอยู่หลายรอบ เพื่อให้ผู้ชมสัมผัสถึงสถานการณ์อันคลุ้มบ้าคลั่ง และสามารถครุ่นคิดตีความหนังในเชิงนามธรรม

Mann’s Thoughts เป็นบทเพลงที่นำเสนอช่วงเวลาแห่งการครุ่นคิด จมอยู่กับตนเอง พยายามทบทวนความทรงจำ ฉันเคยไปทำอะไรใคร? เหตุไฉนคนขับรถบรรทุกถึงพยายามไล่จี้ ชนท้าย ท้าทายตนเองอยู่ได้? ค่อยๆบังเกิดอาการสับสน หวาดระแวง เห็นผิดเป็นชอบ จินตนาการเพ้อคลั่งไปไกล ว่าอีกฝั่งฝ่ายต้องการเอาชีวิตให้ถึงตาย!

Duel (1971) แค่ชื่อก็อธิบายถึงเรื่องราวการแข่งขัน นำเสนอการท้าดวลระหว่างรถเก๋ง vs. รถบรรทุก แม้พวกเขาไม่เคยมีความขัดแย้ง บาดหมาง ผิดใจอะไรกันมาก่อน แต่ราวกับสุนัขกัดไม่ปล่อย ทำการไล่จี้ ติดตาม ชนท้าย ไม่ยินยอมละเลิกลา จนกว่าจะมีใครบางคนตกตาย ได้รับชัยชนะสุดยิ่งใหญ่

ความตั้งใจของผู้กำกับ Spielberg เพียงครุ่นคิดนำเสนอการเผชิญหน้าระหว่างมนุษย์ (man) vs. จักรกล (machine) ที่สร้างความตึงเครียด หวาดระแวง วิตกจริต เพราะยุคสมัยนั้นเป็นช่วงก้าวกระโดดของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ถึงขนาดว่ามนุษย์สามารถสร้างยานอวกาศ ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์เมื่อ ค.ศ. 1969 แล้วประชาชนคนธรรมดาๆ ทำงานหาเช้ากินค่ำ เซลล์แมน/คนขับรถบรรทุก จะต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอดได้อย่างไร?

ตัวละคร David Mann ทำงานบริษัท มีบ้าน มีรถเก๋ง สามารถมองเป็นตัวแทนชนชั้นกลาง (Middle Class) ขณะที่คนขับรถบรรทุกแม้ไม่เคยเห็นหน้าคาดตา ก็เหมารวมได้อยู่แล้วว่าคือชนชั้นแรงงาน (Working Class) ต้องต่อสู้ดิ้นรน หาเช้ากินค่ำ มีชีวิตอย่างทุกข์ยากลำบาก ทำได้เพียงวิ่งไล่ล่า ติดตามท้าย เพ้อใฝ่ฝันว่าสักวันจะถูกหวย ร่ำรวย และสุขสบาย! แต่นั่นสร้างความหวาดระแวง วิตกจริตให้พวกชนชั้นสูงกว่า ไม่ต้องการสูญเสียสถานะทางสังคม หรือคือยินยอมรับความเสมอภาคเท่าเทียม

การที่รถบรรทุกพุ่งชนท้ายรถเก๋ง มันคือสัญลักษณ์ของเพศสัมพันธ์ประตูหลัง รวมๆถึงพฤติกรรมแอบๆของ Mann ทำให้ตัวละครนี้ได้รับการตีความอัตลักษณ์ทางเพศหญิง ตุ๊ดแต๋ว ไม่ใช่ลูกผู้ชาย … นี่สะท้อนความคาดหวัง/โลกทัศน์ทางสังคมยุคสมัยนั้น ‘ชายเป็นใหญ่’ ต้องมีสถานะผู้นำครอบครัว เข้มแข็งแกร่งทั้งร่างกาย-จิตใจ แต่มันจำเป็นเช่นนั้นเสียที่ไหน!

เรื่องราวของหนังเกิดขึ้นวันที่ 22 พฤศจิกายน 1963 เดียวกับปธน. John F. Kennedy ถูกลอบสังหารเสียชีวิต! นี่ยังเป็นการสะท้อนบรรยากาศความกลัว หวาดระแวง วิตกจริต ที่เกิดขึ้นกับประชาชนชาวอเมริกัน (แพร่หลายสู่ผู้คนทั่วโลก) จะว่าไปเหมารวมถึงอิทธิพลจากสงครามเย็นได้ด้วยเช่นกัน

ผู้กำกับ Spielberg อธิบายความสัมพันธ์ของตนเองกับ Duel (1971) ว่าเพราะตนเองเป็นชาวยิว ตั้งแต่เด็กเลยมักถูกเพื่อนๆกลั่นแกล้ง ‘bully’ อยู่เป็นประจำ ไม่ต่างจากพฤติกรรมรถบรรทุกที่พยายามเร่งความเร็ว ขับจี้ท้าย ท้าทายรถเก๋งคันเล็กๆ ให้เกิดความกลัว หวาดระแวง วิตกจริต แต่มันก็เป็นบทเรียนสอนไม่ให้ใส่ใจกับคนพรรค์นั้น แม้โดนตีตรา ดูถูกเหยียดหยาม กล่าวหาว่าขี้แพ้ ตุ๊ดแต๋ว ไม่ใช่ลูกผู้ชายแล้วไง ทุกสิ่งอย่างล้วนขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ไม่จำต้องรับฟังเสียงเห่าหอนของหมูหมากาไก่

หลังจากถูกไล่จี้ชนท้ายมานาน ทำให้ Mann มิอาจอดรนทนต่อสถานการณ์บังเกิดขึ้นอีกต่อไป การลุกขึ้นมาทำบางอย่าง เอาชนะอาการขลาดหวาดกลัว เผชิญหน้าต่อสู้ศัตรู หลายคนตีความถึงคือการ ‘พิสูจน์ความเป็นลูกผู้ชาย’ หรือคือ ‘การเติบโตเป็นผู้ใหญ่’ พอดิบพอดีนี่คือผลงาน ‘breakthrough’ ของผกก. Spielberg ได้รับโอกาสฉายในโรงภาพยนตร์ (แต่ยังไม่ถึงจุดที่ค้นพบสไตล์ลายเซ็นต์ของตนเองนะครับ)

แซว: จะว่าไปภาพยนตร์แทบทุกเรื่องของผู้กำกับ Spielberg ล้วนเกี่ยวกับการ ‘ถูกไล่ล่า’ จากอะไรบางอย่าง อาทิ ฝูงตำรวจ The Sugarland Express (1974), ปลาฉลาม Jaws (1975), ไดโนเสาร์ Jurassic Park (1993), ทหารนาซี Schindler’s List (1993), เอเลี่ยนต่างดาว War of the Worlds (2005), Catch Me If You Can (2002) ฯลฯ

คนขับรถสมัยนี้ย่อมมีโอกาสพบเจอเหตุการณ์อย่าง Duel (1971) อยู่เป็นประจำ! ผมเองก็เคยถูกรถสิบล้อจี้ท้ายขณะเหยียบความเร็ว 120 km/h อดไม่ได้สถบด่าพ่อล่อแม่ มันจะแรงไปไหน คันออกใหญ่โต จำต้องเบี่ยงซ้ายหลบเจ้าพ่อ แต่เรียกว่าควายหลุดถนนน่าจะตรงกว่า … ไม่มีประโยชน์อะไรจะไปแข่งกับรถบรรทุกนะครับ อันตราย เสี่ยงตาย ควายเหมือนกัน!


เมื่อออกฉายรายการโทรทัศน์ Movie of the Week ทางช่อง ABC วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1971 มีส่วนแบ่งผู้ชมสูงถึง 33% คิดเป็นเรตติ้ง 20.9 ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม มีโอกาสลุ้นรางวัล Golden Globe และ Emmy Award ประกอบด้วย

  • Golden Globe Award
    • Best Television Film พ่ายให้ The Snow Goose (1971)
  • Emmy Award
    • Outstanding Achievement in Cinematography for Entertainment Programming – For a Special or Feature Length Program Made for Television พ่ายให้กับ Brian’s Song (1971)
    • Outstanding Achievement in Film Sound Editing ** คว้ารางวัล

ความสำเร็จดังกล่าว Universal Television เลยตัดสินใจให้งบประมาณเพิ่ม เพื่อทำเป็นภาพยนตร์ขนาดยาว รวมทุนสร้างทั้งหมด $450,000 เหรียญ ไม่มีรายงานรายรับ เพียงกระแส Cult Classic ได้รับความนิยมหลังวางขาย VHS (Video Home System) เสียมากกว่า!

ใครมีงบเยอะแนะนำให้ลองหาซื้อ Steven Spielberg Director’s Collection Blu-ray ทั้งหมด 8 เรื่องที่ผกก. Spielberg เคยร่วมงานกับ Universal Studios หรือถ้าต้องการคุณภาพเน้นๆ ล่าสุดผมเพิ่งเห็นแผ่น 4K Ultra HD กำลังจะวางขายปี ค.ศ. 2023

ปล. ผมบังเอิญพบเจอโปสเตอร์หนังไทย คาดว่าน่าจะนำเข้าฉายหลังจากความสำเร็จของ Jaws (1975) เลยใช้ชื่อ ‘ไอ้จอว์สบก 18 ล้อ’ ใครแม้งคิดว่ะ!

ส่วนตัวมีความโคตรๆประทับใจครึ่งชั่วโมงแรกของหนังอย่างมากๆ คาดไม่ถึงว่าสมัยหนุ่มๆผู้กำกับ Spielberg จะมีความดิบ จัดจ้าน กล้าทดลองผิดลองถูก วิสัยทัศน์ถือว่ากว้างไกล น่าประทับใจกว่าผลงานหลังค้นพบสไตล์ลายเซ็นต์ ตอนเป็น’พ่อมดแห่งวงการภาพยนตร์’เสียอีก!

ถ้ามีโอกาสก็อยากแนะนำให้ลองหาผลงานยุคแรกๆของผู้กำกับ Spielberg เพื่อศึกษารากเหง้า จุดเริ่ม พัฒนาการก่อนถูกกลืนกินโดย Hollywood โดยเฉพาะคอหนัง Thriller, Suspense, เกี่ยวกับรถยนต์, คนขับรถบรรทุก, และใครที่ชอบการขบครุ่นคิดวิเคราะห์ ไม่ควรพลาด “Greatest Made-for-Television Films Ever Made”

จัดเรต 13+ กับอาการหวาดระแวง (Paranoid) วิตกจริต

คำโปรย | Duel คือท้าดวลที่กลายเป็นตำนานของผู้กำกับ Steven Spielberg พร้อมชัยชนะอันลุ้นระทึก
คุณภาพ | ชั
ส่วนตัว | ระทึก

Titanic (1997)


Titanic (1997) hollywood : James Cameron ♥♥♥♥

วินาทีที่คุณหนูไฮโซ Kate Winslet ให้คำมั่นสัญญาหนีตามไอ้หนุ่มชนชั้นสาม Leonardo DiCaprio นั่นคือสิ่งที่สังคมสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ พอดิบพอดีกับเรือ RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งอย่างจัง กลายเป็นคำเรียกตำนาน ‘ชู้รักเรือล่ม’ ไม่มีวันจมหายตามกาลเวลา

ผู้กำกับ James Cameron มีความหลงใหลในโลกใต้น้ำมาตั้งแต่เด็ก ไม่เคยครุ่นคิดอยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เสียด้วยซ้ำ! แต่เพราะต้องการหาเงินสำหรับใช้เป็นทุนสำรวจโลกใต้น้ำ Piranha II: The Spawning (1982), The Abyss (1989), ซึ่งเหตุผลในการสรรค์สร้าง Titanic (1997) เพียงเพราะต้องการดำลงไปสำรวจซากเรือ RMS Titanic ที่จมอยู่ใต้มหาสมุทร Atlantic แม้อับปางมาตั้งแต่ ค.ศ. 1912 กลับเพิ่งมีเทคโนโลยีที่สามารถค้นพบเจอเมื่อปี ค.ศ. 1985

RMS Titanic was the Mount Everest of shipwrecks.

James Cameron

ด้วยทุนสร้างที่ค่อยๆเบิกบานปลาย จากเริ่มต้นวางแผนไว้ไม่กี่สิบล้านเหรียญ พุ่งทะยานถึง $200 ล้านเหรียญ! นั่นเป็นตัวเลขมหาศาล (มากกว่าค่าก่อสร้างเรือ Titanic ถ้าเทียบค่าเงินปัจจุบันนั้นเสียอีก) ด้วยความยาวเกินกว่าสามชั่วโมง แถมเสียงตอบรับรอบทดลองฉายค่อนข้างย่ำแย่ แทบทุกสำนักต่างคาดการณ์ว่าคงขาดทุนย่อยยับ สัปดาห์แรกทำเงินเพียง $28.6 ล้านเหรียญ ก็เกิดอาการร้อนๆหนาวๆ ใครจะไปคาดคิดว่าสามารถติดอันดับหนึ่งนับสิบสัปดาห์ จนทุบทำลายสถิติ Jurassic Park (1993) และกลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกทำเงินทั่วโลกถึงหลักพันล้านเหรียญ!

เกร็ด: ค่าก่อสร้างเรือ RMS Titanic เมื่อปี ค.ศ. 1910-12 คือ £1.5 ล้านปอนด์ เทียบเท่ากับ $7.5 ล้านเหรียญ เมื่อนำมาเทียบค่าเงินเฟ้อปี ค.ศ. 1997 จะประมาณ $120-150 ล้านเหรียญ

ผมไม่เคยรับชม Titanic (1997) ในโรงภาพยนตร์ หรือแม้แต่ตอนแปลงภาพสามมิติ นำกลับมาฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะไม่ได้อินกับเรื่องราวโรแมนติก รักๆใคร่ๆ ไม่เห็นความน่าสนใจใดๆ ที่ตัดสินใจเขียนถึงเพราะเห็นฉบับบูรณะ 4K กำลังเข้าฉาย ลองดูว่าเมื่อประสบการณ์ชีวิตเพิ่มสูงขึ้น จะมีมุมมองอะไรที่แตกต่างออกไป

เอาจริงๆผมแอบเซอร์ไพรส์กับเรื่องราวที่แม้ไม่ได้เข้าชิง Oscar แต่มันมีมากกว่าแค่รักๆใคร่ๆ คบชู้นอกใจ เราสามารถเปรียบเทียบ RMS Titanic คือส่วนย่นย่อ (microcosm) ของโลกทั้งใบ ความรักระหว่างชนชั้นยังเป็นสิ่งที่สังคมสมัยนั้นไม่ให้การยินยอมรับ แต่ต่อให้ฟ้าถล่มดินทลาย โลกทั้งใบล่มสลาย เรือชนภูเขาน้ำแข็งอับปางลง ก็คงไม่สิ่งใดทำลายความรู้สึกอันมั่นคงที่ฉันมีต่อเธอ

Titanic is powerful as a metaphor, as a microcosm, for the end of the world in a sense … The juxtaposition of rich and poor, the gender roles played out unto death, the stoicism and nobility of a bygone age, the magnificence of the great ship matched in scale only by the folly of the men who drove her hell-bent through the darkness. And above all the lesson: that life is uncertain, the future unknowable … the unthinkable possible.

James Cameron

James Francis Cameron (เกิดปี 1954) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Canadian เกิดที่ Kapuskasing, Ontario บิดาทำงานวิศวกรไฟฟ้า ส่วนมารดาเป็นนางพยาบาล, ช่วงวัยเด็กชอบครุ่นคิดประดิษฐ์โน่นนี่นั่น หลังเรียนจบมัธยมสอบเข้า Fullerton College ร่ำเรียนสาขาฟิสิกส์ แล้วเปลี่ยนมาภาษาอังกฤษ ก่อนตัดสินใจลาออกเพื่อหาทำงาน เริ่มจากรับจ้างทั่วไป เคยเป็นภารโรง ขับรถบรรทุก เวลาว่างๆเข้าห้องสมุดศึกษาเกี่ยวกับ Special Effect กระทั่งมีโอกาสรับชม Star Wars (1977) ถึงเกิดความมุ่งมั่นเข้าสู่วงการภาพยนตร์

จากนั้นทำการทดลองผิดลองถูก กำกับหนังสั้นเรื่องแรก Xenogenesis (1978) แล้วมีโอกาสทำงานผู้ช่วยกองถ่าย Rock ‘n’ Roll High School (1979) ต่อมากลายเป็นนักออกแบบโมเดลจำลอง (miniature) ในสังกัด Roger Corman Studios ดูแลในส่วน Art Director/Special Effect ให้กับ Battle Beyond the Stars (1980), Escape from New York (1981), Galaxy of Terror (1981), จนกระทั่งได้กำกับ Special Effect ภาพยนตร์เรื่อง Piranha II: The Spawning (1982) แล้วจู่ๆผู้กำกับคนเดิม Mike Drake ขอถอนตัวออกไป ส้มหล่นใส่ Cameron ถูกผลักดันขึ้นมากำกับภาพยนตร์เรื่องแรกอย่างไม่ค่อยเต็มใจสักเท่าไหร่

ฝันร้ายจากความล้มเหลวของ Piranha II: The Spawning (1982) ครุ่นคิดว่ามีนักฆ่าจากอนาคตย้อนเวลามากำจัดตนเอง นั่นกลายเป็นแรงบันดาลใจสรรค์สร้าง The Terminator (1984), ตามด้วยกำกับภาคต่อ Aliens (1986), เปลี่ยนมายังโลกใต้น้ำ The Abyss (1989), ภาคต่อคนเหล็ก Terminator 2: Judgment Day (1991) และสายลับจับบ้านเล็ก True Lies (1994)

ตั้งแต่ที่ซากเรือ RMS Titanic ได้รับการค้นพบโดย Robert Ballard เมื่อปี ค.ศ. 1985 และสารคดีสำรวจซากเรือถ่ายทำโดย National Geographic ออกฉายเมื่อปี ค.ศ. 1987 ทำให้ Cameron เกิดความมุ่งมั่นมองหาโอกาสเดินทางไปสำรวจโลกใต้น้ำ ครุ่นคิดแผนการล่อหลอกสตูดิโอ Fox ยื่นข้อเสนอโปรเจคภาพยนตร์เรื่อง Titanic โดยใช้คำโปรยว่า “Romeo and Juliet on the Titanic”

I made Titanic because I wanted to dive to the shipwreck, not because I particularly wanted to make the movie. The Titanic was the Mount Everest of shipwrecks, and as a diver I wanted to do it right. When I learned some other guys had dived to the Titanic to make an IMAX movie, I said, “I’ll make a Hollywood movie to pay for an expedition and do the same thing.” I loved that first taste, and I wanted more.

James Cameron

They were like, ‘Oooooohkaaaaaay — a three-hour romantic epic? Sure, that’s just what we want. Is there a little bit of Terminator in that? Any Harrier jets, shoot-outs, or car chases?’ I said, ‘No, no, no. It’s not like that.’

ปฏิกิริยาของ Peter Chernin ผู้บริหารสตูดิโอ Fox เมื่อรับฟังโปรเจค Titanic จากผู้กำกับ James Cameron

เมื่อได้รับไฟเขียวจากสตูดิโอ Fox แล้วต่อรองเบิกล่วงหน้า $4 ล้านเหรียญ แทนที่ Cameron จะเริ่มต้นพัฒนาบทภาพยนตร์ กลับติดต่อหา Robert Ballard หัวหน้าทีมค้นพบซากเรือ RMS Titanic แล้วใช้เวลาสำรวจ ด่ำดิ่งลงไปบันทึกภาพใต้น้ำ มีการพูดแซวกันว่า Cameron ใช้เวลาอยู่กับเรือยาวนานกว่าผู้โดยสารเมื่อปี ค.ศ. 1912 เสียอีก! (ลงไปสำรวจ 12 ครั้งละ 15-17 ชั่วโมง ในระยะเวลา 28 วัน)

เกร็ด: ว่ากันว่าการดำน้ำลงไปสำรวจซากเรือ RMS Titanic ครั้งแรกของ Cameron เมื่อกลับขึ้นมาบนเรือก็ร่ำร้องไห้อย่างหนักหน่วง ด้วยความรู้สึกเศร้าสลดต่อโศกนาฎกรรมที่เคยบังเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์

หลังเสร็จจากการสำรวจซากเรืออับปาง Cameron จึงทุ่มเวลากว่าหกเดือนในการค้นคว้าหารายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ RMS Titanic โดยแรงบันดาลใจหลักๆ ลักขโมยมาจากภาพยนตร์ A Night to Remember (1958) แต่ไม่ต้องการให้หนังออกมาเป็นแนวหายนะ (Disater film) พยายามสร้างเรื่องราวรักโรแมนติก ให้ซ้อนทับเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์

All my films are love stories, but in Titanic I finally got the balance right. It’s not a disaster film. It’s a love story with a fastidious overlay of real history.

เห็นว่าในบทหนังมีเรื่องราวของ SS Californian เรืออีกลำที่อยู่ไม่ห่างไกลจาก RMS Titanic แต่แสร้งว่าไม่เคยได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือใดๆ เหตุผลที่ถูกตัดออกทั้งหมด Cameron อธิบายว่าต้องการให้ผู้ชมจับจ้องสนใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในโลกปิด/บนเรือ RMS Titanic มากกว่า

The story of the Californian was in there; we even shot a scene of them switching off their Marconi radio set. But I took it out. It was a clean cut, because it focuses you back onto that world. If Titanic is powerful as a metaphor, as a microcosm, for the end of the world in a sense, then that world must be self-contained.


ในปี ค.ศ. 1996 นักล่าสมบัติ Brock Lovett ขึ้นเรือวิจัย Akademik Mstislav Keldysh ออกสำรวจค้นหาซากเรือ RMS Titanic อับปางลงกลางมหาสมุทร Atlantic เมื่อปี ค.ศ. 1912 สามารถเก็บกู้ตู้นิรภัย ซึ่งมีภาพวาดหญิงสาวสวมใส่สร้อยคอ Heart of the Ocean สืบค้นพบว่าเธอคนนั้นคือ Rose Dawson Calvert (รับบทโดย Gloria Stuart) ปัจจุบันนั้นอายุ 100 ปี ยังมีชีวิตอยู่! จึงเชื้อเชิญขึ้นเรือเพื่อเล่าประสบการณ์โศกนาฎกรรมดังกล่าว

ย้อนกลับไปปี ค.ศ. 1912 ณ ท่าเรือที่ Southampton เมื่อครั้น Rose DeWitt Bukater ยังเป็นหญิงสาวอายุ 17 ปี (รับบทโดย Kate Winslet) ถูกจับคู่หมั้นหมายกับ Caledon Hockley (รับบทโดย Billy Zane) ทายาทเจ้าของกิจการค้าเหล็ก กำลังเตรียมตัวโดยสารเรือชั้นหนึ่ง RMS Titanic เพื่อเดินทางไปแต่งงานยังสหรัฐอเมริกา, อีกฟากฝั่งหนึ่ง Jack Dawson (รับบทโดย Leonardo DiCaprio) ศิลปินกระยาจก สามารถเอาชนะพนันตั๋วโดยสารชั้นสาม RMS Titanic วิ่งขึ้นเรือได้ทันท่วงที

Rose มีความเบื่อหน่ายต่อสถานะทางชนชั้นของตนเอง ไม่พึงพอใจที่ถูกมารดาบีบบังคับให้แต่งงานกับ Caledon ค่ำคืนหนึ่งเลยครุ่นคิดจะฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงจากเรือ แต่ได้รับการโน้มน้าว ช่วยเหลือจาก Jack โดยไม่รู้ตัวทำให้พวกเขาตกหลุมรักแรกพบ สานสัมพันธ์ แอบคบชู้ ร่วมรักหลับนอน จนกระทั่ง RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็ง ต่างพยายามหาหนทางเอาตัวรอด เพื่อจะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยกัน


Leonardo Wilhelm DiCaprio (เกิดปี 1974) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles, California เมื่อตอนอายุ 5 ขวบ ได้รับคัดเลือกแสดงรายการเด็ก Romper Room แต่ถูกไล่ออกเพราะไปสร้างความวุ่นวายให้ผู้อื่น หลังจากนั้นมีผลงานโฆษณา ซิทคอม ซีรีย์ The New Lassie (1989-92), ภาพยนตร์เรื่องแรก Parenthood (1989), สมทบ Poison Ivy (1992), This Boy’s Life (1993), แจ้งเกิดโด่งดัง What’s Eating Gilbert Grape (1993), The Basketball Diaries (1995), Romeo + Juliet (1996), พลุแตกกับ Titanic (1997), แล้วกลายเป็นขาประจำของ Martin Scorsese ตั้งแต่ Gangs of New York (2002), The Aviator (2004), The Departed (2006), The Wolf of Wall Street (2013), และคว้ารางวัล Oscar: Best Actor จากเรื่อง The Revenant (2005)

รับบท Jack Dawson ชายหนุ่มกำพร้า ฐานะยากจน เกิดที่ Chippewa Falls, Wisconsin เดินทางมาร่ำเรียนศิลปะยังกรุง Paris ท้าเล่นโป๊กเกอร์จนชนะตั๋วโดยสารชั้นสาม RMS Titanic เพื่อเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา รีบออกวิ่งกับเพื่อนสนิทขึ้นเรือได้ทันท่วงที (เป็นคนสุดท้ายทั้งตอนขึ้นเรือ และทอดทิ้งเรือ) เรียกว่าเลือกใช้ชีวิตอย่างเสรีภาพ ชื่นชอบหลงใหลการวาดภาพร่าง ตกหลุมรักแรกพบ Rose DeWitt Bukater แม้รับรู้ตนเองไม่อาจเอื้อมดอกฟ้า แต่โชคชะตาก็นำพาให้พวกเขาพบเจอ สานสัมพันธ์ มอบคำมั่น ไม่มีสิ่งใดสามารถขัดขวางความรักของเราสอง

เกร็ด: Jack Dawson คือชื่อตัวละครสมมติที่ไม่ได้อ้างอิงจากอะไร แต่ภายหลังกลับพบว่ามีผู้เสียชีวิตในห้องเครื่องชื่อ J. Dawson มาจาก Joseph Dawson นั่นเป็นสิ่งคาดไม่ถึงทีเดียว! และมีผู้คนมากมายเข้าใจผิดครุ่นคิดว่าหลุมฝังศพ J. Dawson คือของตัวละครนี้ ช่วงหนังออกฉายจึงมีดอกไม้วางมากมาย

It wasn’t until after the movie came out that we found out that there was a J. Dawson gravestone.

โปรดิวเซอร์ Jon Landau

ด้วยความต้องการ “James Stewart type” ตัวเลือกแรกของผู้กำกับ Cameron คือ River Phoenix แต่เพิ่งมารู้ข่าวว่าอีกฝ่ายเสียชีวิตตั้งแต่ปี 1993, ต่อด้วยนักแสดงอย่าง Matthew McConaughey, Chris O’Donnell, Billy Crudup, Stephen Dorff, Jared Leto, Jeremy Sisto, Paul Rudd, Christian Bale, Johnny Depp หรือแม้แต่ Tom Cruise เรียกค่าตัวมหาศาล

สำหรับ DiCaprio ในตอนแรกไม่ได้อยากมาทดสอบหน้ากล้องด้วยซ้ำ แต่พอได้รับคำตักเตือนจาก Cameron เลยยินยอมอ่านบท แค่เพียงเสี้ยววินาทีก็สร้างความประทับใจเหลือล้น อีกทั้งเมื่อตอนรับ-ส่งกับ Winslet เธอยังอดไม่ได้ที่จะกระซิบบอกผู้กำกับ

He’s great. Even if you don’t pick me, pick him.

Kate Winslet

He read it once, then started goofing around, and I could never get him to focus on it again. But for one split second, a shaft of light came down from the heavens and lit up the forest.

James Cameron กล่าวถึงการทดสอบหน้ากล้องของ Leonardo DiCaprio

DiCaprio ตอนหนุ่มๆไม่เพียงหล่อเหลา ยังมีแววตาชวนฝัน ก็ตั้งแต่ Romeo + Juliet (1996) ทำให้สาวๆสมัยนั้น(สมัยนี้ด้วยมั้ง)เคลิบเคลิ้มหลงใหล เกิดกระแส “Leo-Mania” นั่นคือสาเหตุที่ไม่อยากเล่น Titanic (1997) เพราะกลัวจะกลายเป็น ‘typecast’ พระเอกหนังโรแมนติก แต่เมื่อได้รับการเกลี้ยกล่อมจาก Cameron จึงยินยอมเซ็นสัญญารับค่าตัวล้านแรกในชีวิต!

ถึงอย่างนั้นฝีไม้ลายมือด้านการแสดงของ DiCaprio ถือว่าโดดเด่นไม่แพ้หน้าตา สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้ตัวละครไม่ว่าขณะเป็นไอ้หนุ่มชั้นสาม หรือสวมสูทผูกโบว์ร่วมรับประทานอาหารกับไฮโซ ยังคงพบเห็นรากเหง้าตัวละครผ่านสำเนียงการพูด ท่าทางกระตือรือล้น พร้อมเรียนรู้อะไรใหม่ๆ แต่สุดท้ายก็ยังเลือกใช้ชีวิตปล่อยไปตามโชคชะตา โหยหาเสรีภาพ ไม่ยินยอมก้มหัวศิโรราบต่อสิ่งอื่นใด

เอาจริงๆผมว่า DiCaprio ดีพอจะเข้าชิง Oscar: Best Actor แต่เหตุผลที่โดน SNUB เพราะถูกมองว่าเป็นพระเอกหนังโรแมนติก มีดีแค่หน้าตา โดดเด่นกว่าฝีไม้ลายมือด้านการแสดง


Kate Elizabeth Winslet (เกิดปี 1975) นักแสดงหญิงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Reading, Berkshire ปู่ของเธอเป็นนักแสดงและเจ้าของโรงละครเวที ด้วยความสนใจด้านนี้เลยตัดสินใจกลายเป็นนักแสดงตั้งแต่เด็ก อายุ 11 เข้าเรียน Redroofs Theatre School รับบทนำการแสดงโรงเรียนทุกปี จนมีโอกาสแสดงซีรีย์โทรทัศน์ Dark Season (1991), ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด Heavenly Creatures (1994) ของผู้กำกับ Peter Jackson, ตามด้วย Sense and Sensibility (1995), กลายเป็นดาวค้างฟ้ากับ Titanic (1997), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Iris (2001), Eternal Sunshine of the Spotless Mind (2004), Finding Neverland (2004), Little Children (2006), Revolutionary Road (2008), และคว้ารางวัล Oscar: Best Actress จากเรื่อง The Reader (2008)

รับบท Rose DeWitt Bukater คุณหนูไฮโซจาก Philadelphia เดินทางมาท่องเที่ยวอังกฤษ แล้วถูกมารดาหมั้นหมายกับชายที่ไม่ได้รัก เพื่อรักษาสถานะทางการเงินของครอบครัว ตั้งแต่เด็กได้รับการเลี้ยงดูดั่งไข่ในหิน มีชีวิตราวกับนกในกรง เต็มไปด้วยความเบื่อหน่ายต่อแวดวงไฮโซถึงขนาดเคยครุ่นคิดสั้น แต่นั่นทำให้มีโอกาสรับรู้จักไอ้หนุ่มชั้นสาม Jack Dawson เกิดความชื่นชอบหลงใหลในอิสรภาพของอีกฝ่าย ค่อยๆปรับตัวเปลี่ยนแปลง ยินยอมเป็นนางแบบเปลือยกาย ร่วมรักหลับนอน และมอบคำมั่นสัญญาว่าจะหนีตามไปอยู่ด้วยกัน

ด้วยความต้องการ “Audrey Hepburn type” มีนักแสดงหลายคนถูกเรียกตัวมาทดสอบหน้ากล้อง Madonna, Gwyneth Paltrow, Winona Ryder, Claire Danes, Gabrielle Anwar, Reese Witherspoon, Jennifer Aniston, ขณะที่ Kate Winslet เมื่อได้อ่านบทมีความกระตือรือล้นเป็นอย่างมากๆ พยายามทำหลายสิ่งอย่างเพื่อสร้างความสนใจให้ผู้กำกับ Cameron อาทิ ส่งดอกกุหลาบและการ์ดข้อความเขียนว่า “From Your Rose” อีกครั้งหนึ่งโทรศัพท์หาเรียกร้องบอกว่า

I am Rose! I don’t know why you’re even seeing anyone else!

Kate Winslet

เพราะความดื้อรั้นเอาแต่ใจ ตื้อไม่ยอมเลิกของ Winslet ทำให้ Cameron เกิดความตระหนักว่าตัวละครก็มีอุปนิสัยไม่ต่างกัน เลยยินยอมมอบบทบาทนี้ให้โดยดี

ภาพลักษณ์ของ Winslet คือคุณหนูไฮโซ มีความสวยสาว เริดเชิดหยิ่ง แต่ตัวจริงไม่ต่างจากเด็กน้อย ละอ่อนเยาว์วัย สวยใสไร้เดียงสา ระริกระรี้แรดร่าน เต็มไปด้วยความสนุกสนานร่าเริง โหยหาเสรีภาพของชีวิต ไม่ต้องการถูกบีบบังคับ หรือใครบางคนชี้นิ้วออกคำสั่ง เพียงกระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจ เมื่อตกหลุมรักก็พร้อมทุ่มเททั้งชีวิตและทุกสิ่งอย่าง

คนที่เคยแต่รับชมผลงานยุคหลังๆของ Winslet อาจไม่ค่อยมักคุ้นกับภาพลักษณ์นี้สักเท่าไหร่ อย่างผลงานคว้า Oscar ก็เต็มไปด้วยความเก็บกด อึดอัดอั้น ซุกซ่อนเร้นความเจ็บปวดรวดร้าวไว้ภายใน เป็นการแสดงที่คนละขั้วตรงกันข้าม สาเหตุผลหนึ่งอาจเพราะความสำเร็จของ Titanic (1997) ทำให้เธอต้องเผชิญหน้าความคาดหวัง แรงกดดันที่ถาโถมเข้ามาในชีวิต (นี่ยังไม่รวมถึงปัญหาครอบครัว แต่งงาน-หย่าร้าง ฯลฯ) มีนักแสดงน้อยคนมากๆจะรักษาภาพลักษณ์เมื่อสมัยวัยรุ่นไว้ได้

ตรงกันข้ามกับ DiCaprio ผมไม่รู้สึกเลยว่า Winslet สมควรเข้าชิง Oscar: Best Actress เพราะการแสดงของเธอแทบไม่แตกต่างจาก Sense and Sensibility (1995) แถมระดับความน่ารำคาญเพิ่มขึ้นมากๆกว่าเก่า แต่อาจเพราะตัวละครมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดเจน จากเคยเป็นนกในกรงสามารถโบกโบยบินได้รับเสรีภาพ … ตามอุดมคติอเมริกันชน


Gloria Frances Stuart ชื่อเกิด Gloria Stewart (1910-2010) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Santa Monica, California ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งแต่เรียนมัธยมปลาย สามารถสอบเข้า University of California สาขาปรัชญาและการละคอน จบออกมามีผลงานละครเวที แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Street of Women (1931), จากนั้นได้รับเลือกเป็น WAMPAS Baby Star (นักแสดงที่มีแนวโน้ม “Most Likely to Succeed”) โด่งดังจากผลงาน The Old Dark House (1932), The Invisible Man (1933), Here Comes the Navy (1934), Gold Diggers of 1935 (1935), Poor Little Rich Girl (1936) ฯลฯ หลังจากแต่งงาน(ครั้งที่สอง)ก็ตัดสินใจออกจาวงการภาพยนตร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945

รับบทหญิงชรา Rose Dawson Calvert อายุกว่า 100+ ปี ยังเต็มเปี่ยมด้วยพละกำลัง เคลื่อนไหวกระฉับกระเฉง แถมคงความเริดเชิดตามแบบผู้ดีอังกฤษ (ตอนเดินทางมาถึงเรือวิจัย พบเห็นเต็มไปด้วยกระเป๋าสัมภาระ สัญลักษณ์ของความหมกมุ่นยึดติดกับสิ่งข้าวของต่างๆ รวมถึงอดีตที่ยังมิอาจปล่อยละวาง) เมื่อนั่งลงหวนรำลึกเล่าความหลัง สายตาดูโหยหาอาลัย แต่ก็รู้สึกซาบซึ้งกินใจ ที่ได้รับโอกาสเดินทางมาพบเห็นซากเรือ RMS Titanic

ผู้กำกับ Cameron บอกทีมงานว่าต้องการหญิงสูงวัยเฉียดร้อย ที่เคยมีประสบการณ์แสดงพานผ่านยุค Golden Age ช่วงทศวรรษ 30s-40s ในตอนแรกครุ่นคิดถึง Fay Wray (นางเอก King Kong (1933)) ไม่เคยรับรู้จัก/พบเห็นการแสดงของ Gloria Stuart จนกระทั่งรับชมการอ่านบทของเธอ พบเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจ และสายใยที่สามารถเชื่อมโยงกับ Kate Winslet ราวกับบุคคลเดียวกัน!

[Stuart] was just so into it, and so lucid, and had such a great spirit. And I saw the connection between her spirit and [Winslet’s] spirit. I saw this joie de vivre in both of them, that I thought the audience would be able to make that cognitive leap that it’s the same person.

James Cameron

ทุกครั้งที่หนังย้อนกลับมาปัจจุบัน สายตาของ Stuart จะเต็มไปด้วยความครุ่นคิดถึง โหยหาอาลัย เหมือนเธอได้ทำการเปรียบเทียบกับตนเองเมื่อครั้นยังสวยสาว เคยเป็นนักแสดงแห่งยุคสมัย Golden Age ทศวรรษ 30s-40s แม้ความทรงจำจะเลือนลาง แต่ความรู้สึกอิ่มสุขที่อยู่ภายในไม่มีวันจางหายไป

I was not the least bit nervous. I knew I would read Old Rose with the sympathy and tenderness that Cameron had intended.

Gloria Stuart

แม้เพียงบทบาทสมทบเล็กๆ แต่การแสดงของ Stuart สร้างความซาบซึ้งกินใจให้กับผู้ชม ถึงขนาดได้เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actress ขณะอายุ 87 ปี 221 วัน … กลายเป็นนักแสดงอายุมากสุดที่ได้เข้าชิง Oscar จนกระทั่งการมาถึงของ Christopher Plummer เรื่อง All the Money in the World (2017) ขณะอายุ 88 ปี 41 วัน

และใครจะไปคาดคิดว่า Stuart เสียชีวิตอย่างสงบเมื่อปี ค.ศ. 2010 จะอายุครบร้อยปีแบบเดียวกับตัวละคร Rose Dawson Calvert


ผกก. Cameron เลื่องลือชาถึงความเป็นเผด็จการในกองถ่าย ชื่นชอบความสมบูรณ์แบบ ‘perfectionist’ เมื่อมีใครทำอะไรไม่ได้ดั่งใจก็พร้อมจะขึ้นเสียง ใส่อารมณ์ ด่ากราดด้วยถ้อยคำรุนแรง จนได้รับฉายา “the scariest man in Hollywood” ในกองถ่ายจะมีคำเรียก “Mij” (สะกดกลับหลัง Jim) เพื่อสื่อถึง Alter-Ego ที่เต็มไปด้วยความโฉดชั่วร้าย

Filmmaking is war. A great battle between business and aesthetics.

James Cameron

แซว: เห็นว่า Kate Winslet มีอาการหวาดกลัวต่อความเผด็จการของ James Cameron อยู่ไม่น้อย! เคยให้สัมภาษณ์บอกว่าไม่คิดอยากจะร่วมงานกันอีก แต่ถ้าได้เงินเยอะก็ไม่แน่ นั่นคงเป็นสิ่งเกิดขึ้นกับ Avatar: The Way of Water (2022) และเห็นว่าอีโก้ของ Cameron ก็ลดลงกว่าเดิมมากๆ หลังจากเคยไปเยี่ยมกองถ่ายของ Ron Howard แล้วเกิดอาการใบ้แดก (dumbfounded) พบเห็นอีกฝ่ายใช้คำพูดกับทีมงานอย่างโคตรสุภาพ อ่อนโยน เอ่ยชมทุกครั้งเมื่อมีโอกาส

He demands excellence. If you don’t give it to him, you’re going to get chewed out. And that’s a good thing.

Sam Worthington

Jim knows exactly what he wants. Needless to say, when somebody felt a different way on the set of Titanic, there was a confrontation. Jim had it out with them right there in front of everybody. He lets you know exactly how he feels. But he’s of the lineage of John Ford. He knows what he wants his film to be.

Leonardo DiCaprio

มีอยู่ค่ำคืนหนึ่งระหว่างถ่ายทำบนเรือ Akademik Mstislav Keldysh ที่ Canada (เลยไม่มี DiCarpio และ Winslet) ใครสักคนคงเกิดความเคียดแค้นผู้กำกับ Cameron ถึงขนาดวางยา PCP (Phencyclidine) ในมื้ออาหาร ส่งผลให้ลูกเรือกว่า 50 คนถูกส่งเข้าโรงพยาบาล ขณะที่ Cameron อาเจียนออกมาก่อนยาเริ่มออกฤทธิ์ (คงจะทันเห็นอาการลูกเรือคนอื่นๆ) แต่ก็ทำให้ตาข้างหนึ่งของเขาแดงกล่ำ ไม่ต่างจากหุ่นเหล็ก Terminator … มีความพยายามสืบสวนสอบสวน แต่ก็ไม่พบเจอผู้กระทำความผิด


ถ่ายภาพโดย Russell Paul Carpenter (เกิดปี 1950) ตากล้องสัญชาติอเมริกัน ตั้งแต่เด็กมีงานอดิเรกถ่ายหนัง Super 8 โตขึ้นสอบเข้า San Diego State University สาขากำกับโทรทัศน์ แต่ภายหลังเป็นมาภาษาอังกฤษ ระหว่างนั้นทำงานพาร์ทไทม์ยังสถานีแห่งหนึ่ง จบออกมามีผลงานภาพยนตร์ อาทิ Hard Target (1993), True Lies (1994), Titanic (1997), Charlie’s Angels (2000), Ant-Man (2015), Avatar: The Way of Water (2022) ฯลฯ

งานภาพของหนังเต็มไปด้วยเครนช็อตที่ทำการโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน เคลื่อนไหลในทิศทางที่ชวนให้ผู้ชมอ้าปากค้าง นำเสนอทุกความเป็นไปได้ของเทคนิคภาพยนตร์ ผสมผสานระหว่างภาพถ่ายคนแสดงบนเรือ RMS Titanic สร้างขึ้นขนาดเท่าของจริง (แต่ก็ภายนอกเท่านั้นนะครับ) ร่วมกับโมเดลจำลอง (miniature) และภาพเสมือนด้วยคอมพิวเตอร์ CGI (Computer Generated Imagery)

เมื่อตอน A Night to Remember (1958) ยังพอมีเรือเก่าอายุ 40-50 ปีที่หลงเหลือจากทศวรรษ 1910s จึงสามารถติดต่อขอหยิบยืม ซ่อมแซม ทาสีใหม่ ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณในส่วนนี้สักเท่าไหร่ แต่สำหรับ Titanic (1997) ทุกสิ่งอย่างต้องเริ่มต้นนับหนึ่ง ก่อสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด โดยได้รับแบบแปลน/แม่พิมพ์เรือจาก Harland and Wolff (บริษัทอู่ต่อเรือที่ประกอบ RMS Titanic) อีกทั้งงานตกแต่งภายในก็ได้รับการสนับสนุนเฟอร์นิเจอร์ รูปภาพวาด ข้าวของเครื่องใช้ จากบริษัทเดินเรือ White Star Line (เจ้าของเรือ RMS Titanic)

เพราะต้องก่อสร้างเรือขนาดเท่าของจริง จึงไม่สามารถใช้พื้นที่อันคับแคบภายในสตูดิโอ Fox ที่ Hollywood จำต้องมองหาซื้อที่ดินติดชายหาด Rosarito, Baja California ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Mexico (ติดกับรัฐ California) ขนาด 40 เอเคอร์ มูลค่า $20 ล้านเหรียญ (บางแหล่งข่าวรายงาน 51 เอเคอร์ มูลค่า $57 ล้านเหรียญ) แล้วก่อตั้งสตูดิโอลูก Fox Baja Studios จากนั้นสร้างแท้งน้ำขนาดใหญ่ 17 ล้านแกลลอน (ที่สามารถสูบน้ำจากทะเลเข้า-ออก) และแท้งขนาดเล็กอีก 4 แห่งสำหรับฉากภายใน

เกร็ด: Fox Baja Studios นอกจาก Titanic (1997) ยังเคยใช้ถ่ายทำภาพยนตร์ดังๆ อาทิ Tomorrow Never Dies (1997), Deep Blue Sea (1999), Pearl Harbor (2001), Master and Commander: The Far Side of the World (2003), All Is Lost (2013) ฯลฯ

หนังมีการสร้างเรือ RMS Titanic ทั้งหมด 3 ลำ (รวมมูลค่าประมาณ $40 ล้านเหรียญ) ประกอบด้วย

  • ขนาดเท่าของจริง (สร้างขึ้นในแท้งน้ำขนาดใหญ่) แต่เฉพาะบริเวณลำตัวของเรือ พบเห็นด้านข้าง (แค่ฟากฝั่งเดียวด้วยนะ) และชั้นดาดฟ้า ส่วนหัวเรือจะแยกห่างออกมา ส่วนภายในเป็นเพียงเค้าโครงเหล็กสำหรับเป็นฐานรับน้ำหนักเท่านั้น
  • เรือขนาด 1/8 มีทั้งแบบเต็มลำ, ส่วนหัว (bow section) และโดยเฉพาะส่วนท้ายเรือ (stern section หรือ poop desk) ออกแบบให้วางบนฐานที่สามารถเอนเอียงจนกระทั่งตั้งฉาก 90 องศา
  • และโมเดลจำลองขนาด 1/20 มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับการใช้งาน ความยาวตั้งแต่ 40-60 ฟุต

ส่วนฉากภายในเรือ RMS Titanic นำรายละเอียดจากแบบแปลน รูปวาด ภาพถ่ายที่ยังคงหลงเหลือเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ SeaCity Museum, Southampton ใช้บริการช่างฝีมือชาว Mexican และ British รวมถึงว่าจ้างนักประวัติศาสตร์มาเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้ได้ความ ‘authentic’ ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด!

LINK: เผื่อใครสนใจรายละเอียด https://ultimatetitanic.com/inside-titanic/

แม้จะมีการสร้างเรือขนาดจริง/ขนาดย่อ/โมเดลจำลอง RMS Titanic เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย แต่ในส่วน Visual Effect ก็ยังจำเป็นอย่างมากๆ ว่าจ้างบริษัท Digital Domain และ Pacific Data Images ที่เคยร่วมงานผู้กำกับ Cameron มาตั้งแต่ The Abyss (1989) และ Terminator 2: Judgment Day (1991) โดยงานหลักๆมีอยู่สองสามอย่าง

  • เติมเต็ม Green Screen ผสมผสานระหว่างนักแสดง โมเดลจำลอง ผืนน้ำ ท้องฟากฟ้า รวมถึงรายละเอียดเพิ่มเติมของเรือ RMS Titanic ที่ไม่ได้ก่อสร้างขึ้น
  • ทำการ Motion Capture บรรดาตัวประกอบทั้งหลาย เพื่อนำไปแต่งเติมฝูงชน (Digital Extra) และสารพัดหายนะที่บังเกิดขึ้นระหว่างเรือกำลังจะจม อาทิ ลื่นไถล ตกจากที่สูง ถูกสิ่งของหล่นทับ ฯ

หนึ่งในช็อตที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้ทีมงาน VFX ก็คือคนตกหล่นจากเรือ กระแทกใบพัด แล้วหมุนติ้วๆก่อนสัมผัสพื้นผิวน้ำ ในตอนแรกเลือกมุมจากภายนอกเรือ (ดังภาพ Storyboard ที่นำมา) ความยาวแค่เสี้ยววินาที แต่ผู้กำกับ Cameron รู้สึกว่ามันรวดเร็วเกินไป! เลยมีการทดลองให้สตั๊นแมนกระโดดลงจากความสูงนั้นจริงๆ แล้วปรับเปลี่ยนมุมกล้องถ่ายจากบนดาดฟ้าเรือ แทนสายตาของ Jack พบเห็นคนตกหล่น ดูน่าหวาดสะพรึงและใช้ระยะเวลานานกว่า 2-3 วินาที

แซว: เพราะความโคตรๆวุ่นวายของช็อตนี้ ทำให้ทีม VFX เลือกใช้ใบหน้าของโปรดิวเซอร์ Jon Landau (ใครสามารถก็ลองไปสังเกตดูเองนะครับ)

The memorable thing about propeller guy was that I decided to put the producer’s face on him. So a scan of Jon was used as the basis of propeller guy. All in good fun, but a bit on the dark side of humour since he he falls to a brutal end.

แซว2: งานประกาศรางวัล Oscar พิธีกรปีนั้น Billy Crystal ยังมีการร้องเพลงแซว Propeller Guy ลองรับชมในคลิปเปิดงาน Opening Ceremony ดูนะครับ

LINK: https://www.youtube.com/watch?v=xYR2YJhRwTU&t=99s

ตั้งแต่เมื่อ RMS Titanic ชนภูเขาน้ำแข็ง อับปางลงเมื่อปี ค.ศ. 1912 มีความพยายามค้นหาซากเรือมายาวนาน แต่ด้วยข้อจำกัดด้านเงินทุนและเทคโนโลยี กว่าจะได้รับการค้นพบก็วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1985 โดยความร่วมมือระหว่างนักสมุทรศาสตร์ Jean-Louis Michel และนาวาเรือ Robert Ballard ยังตำแหน่งห่างจาก Queenstown ประมาณ 2,115 ไมล์ และ New York ประมาณ 1,200 ไมล์ ที่ระดับความลึก 12,500 ฟุต (3,800 เมตร, 2,100 ฟาทอม)

การค้นพบครั้งนั้นทำให้ได้ข้อสรุปวิธีจมลงของ RMS Titanic ว่าเกิดการแตกหักออกเป็นสองส่วนจริงๆ (พบส่วนหัวและเรือ อยู่ตำแหน่งห่างไกลกันพอสมควร) เนื่องจากรอยรั่วเกิดขึ้นที่บริเวณหัวเรือ แล้วซึมเข้าห้องพักผู้โดยสารชั้นล่าง ด้านหน้าจึงค่อยๆจมลงแล้วยกท้ายเรือขึ้นเหนือน้ำ พอรับน้ำหนักไม่ไหวก็แตกหักสองท่อน ทำให้ท้ายตั้งดิ่ง 90 องศา และจมลงอย่างรวดเร็ว

เกร็ด: มีการทดลองถ้า RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งแบบตรงๆ มีแนวโน้มสามารถล่องลอยคอได้นาน 1-2 วัน (เพราะด้านหน้าออกแบบให้รองรับการกระแทกมากกว่า) แต่เพราะมันชนแบบเฉี่ยวๆ โดนเฉพาะข้างๆ แถมหลายรู คือถ้ามันรั่วน้อยกว่านี้หน่อยก็คงไม่อับปางเร็วขนาดนี้!

กาลเวลาทำให้ซากเรือ RMS Titanic เต็มไปด้วยสนิมเกรอะกรัง เศษเหล็กเริ่มแตกหัก กลายเป็นที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์ในท้องทะเล ใครเงินหนาอยากลงไปสำรวจ พบเห็นกับตาของตนเอง เห็นมีทริปท่องเที่ยวดำน้ำอยู่เหมือนกัน ราคาถูกๆ $250,000 ดอลลาร์สหรัฐ

LINK: https://oceangateexpeditions.com/tour/titanic-expedition/

ผู้กำกับ Cameron ต้องการเข้าไปถ่ายทำภายในซากเรือ RMS Titanic ไม่ใช่แบบสารคดี IMAX เรื่อง Titanica (1992) ทำได้เพียงถ่ายจากเรือดำน้ำภายนอก ด้วยเหตุนี้จึงมอบหมายให้น้องชาย Mike Cameron ร่วมกับ Panivision ประดิษฐ์กล้อง ‘deep-sea camera’ ที่สามารถอดทนต่อแรงกดดัน 400 บรรยากาศ (5,878.38 psi)

บ้านพักของหญิงชรา Rose Dawson Calvert โทนสีส้มๆ บรรยากาศอบอุ่น เต็มไปด้วยรูปภาพถ่าย วัตถุโบราณ สิ่งของสะสมมากมาย (สื่อถึงความหมกมุ่นยึดติดอยู่กับอดีต ออกเดินทางไปไหนก็ต้องพกติดตัว ไม่สามารถปล่อยละวางได้ลง) แต่ที่โดดเด่นพิเศษคือโถปลาทอง (นัยยะเดียวกับนกในกรง เคยใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบทางสังคม) แต่ขณะนี้เธอนั่งขึ้นรูปดินเผาอยู่ภายนอกห้อง (หมายความว่าปัจจุบันไม่ได้เป็นแบบปลาในโถอีกต่อไป! สามารถกระทำทุกสิ่งอย่างด้วยอิสรภาพ/สองมือของตนเอง)

และตัวละครชื่อ Rose ก็ต้องมีดอกกุหลาบซุกซ่อนเร้นอยู่ หากันเจอหรือไม่??

ภาพสะท้อนใบหน้าคุณยาย Rose ในจอโทรทัศน์ที่กำลังฉายภาพการสำรวจซากเรือ RMS Titanic หลายคนอาจมองนัยยะถึงการหวนรำลึกนึกย้อนความทรงจำ อดีตเคยยิ่งใหญ่ เลิศหรูอลังการ ปัจจุบันหลงเหลือเพียงเศษซากปรักหักพัง แต่ผมมองความลอยๆดูเหมือนจิตวิญญาณ กำลังจับจ้องมองหา เผื่อว่าจะมีโอกาสพบเจอชายคนนั้นอีกสักครั้ง

สำหรับช็อตแรกของ Rose DeWitt Bukater กล้องถ่ายมุมก้มจากด้านบนเหนือศีรษะ (Bird’s Eye View) จากนั้นเคลื่อนเลื่อนหมุนมาจนพบเห็นใบหน้า นี่เป็นนำเสนอให้เห็นถึงความสูงส่ง เลิศเลอ ด้วยสถานะลูกคุณหนูไฮโซ ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง รวมถึงอุปนิสัยเริดเชิดเย่อหยิ่ง แต่ให้ความรู้สึกเหมือนชีวิตถูกครอบงำด้วยบางอย่างสิ่งอย่าง(ขนบกฎกรอบ วิถีทางสังคม)

ตรงกันข้ามกับ Jack กล้องจะค่อยๆเคลื่อนถอยจากวิวเรือ Titanic พบเห็นด้านหลังศีรษะตัวละคร ก่อนหมุนวนจนเห็นด้านข้างใบหน้า (สื่อถึงความเป็นคนธรรมดาสามัญ) กำลังท้าเล่นพนันโป๊กเกอร์ คาดหวังชัยชนะเพื่อโอกาสออกเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา ปล่อยชีวิตให้ขึ้นอยู่กับโชคชะตา

ภาพเบื้องหลังงานสร้างที่ผมนำมาให้ชมก่อนหน้านี้ หลายคนน่าจะพอสังเกตออกว่าเรือลำใหญ่ขนาดเท่าของจริงในแท้งน้ำ Fox Baja Studio หันคนละด้านกับภาพถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 1912 แต่ในหนังกลับพบเห็น RMS Titanic กำลังเคลื่อนออกจากท่าเรือ Southampton ในเห็นทิศทางเดียวกัน เพราะมีการใช้เทคนิคกลับภาพ ‘inverted image’ สลับขวาเป็นซ้าย ซ้ายเป็นขวา คล้ายภาพสะท้อนในกระจกเงา เอาตัวรอดไปอย่างเนียนๆ

I’m the King of the World! นี่เป็นประโยคที่สามัญชนคนทั่วไปคงไม่มีใครพูดกัน แต่เห็นว่า DiCaprio ดั้นขึ้นมาสดๆตอนนั้น ซึ่งมันสะท้อน Ego อันสูงลิบลิ่ว (ช็อตนี้ถ่ายมุมเงยด้วยนะ! เพื่อบ่งบอกว่าฉันยิ่งใหญ่เหนือกว่าผู้อื่นใด) ของผกก. Cameron ได้อย่างทรงพลัง บ้าระห่ำ แถมไม่น่าเชื่อว่าจะเอาตัวรอดจากหายนะ จนสามารถกลายเป็น King of the World! ประกาศกึกก้องระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ขึ้นรับรางวัล Oscar: Best Director

  • คำพูดประโยคนี้ติดอันดับ(สุดท้าย) 100 ในชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes
  • และติดอันดับ 4 ชาร์ท The 100 Greatest Movie Lines ของนิตยสาร Premiere

LINK: คลิปขึ้นรับรางวัล Oscar: Best Director ของ James Cameron แล้วปิดท้ายด้วยประโยคที่เจ้าตัวเคยสารภาพหลายปีให้หลังว่า รู้สึกอับอายขายขี้หน้าตัวเองชิบหาย https://www.youtube.com/watch?v=xJp7Wd6Af2A

ปล. ผมค่อนข้างมีความเชื่อมั่นว่า “I’m Gonna Be King Of The Pirates!” คำพูดติดปากของ Monkey D. Luffy จากมังงะ One Piece น่าจะได้แรงบันดาลใจจากฉากนี้แหละ!

เปรียบดั่งดอกฟ้ากับหมาวัด ครั้งแรกที่ Jack พบเห็น Rose เธอเดินออกมายืนอยู่บนดาดฟ้าชั้นบน ส่วนเขานั่งอยู่จับจ้องมองอยู่ชั้นล่าง นี่เป็นการแสดงให้ถึงความแตกต่างของสถานะ ชนชั้นทางสังคม (สูง-ต่ำ) และสังเกตว่าจะไม่มีช็อตที่เขาและเธออยู่ร่วมเฟรมเดียวกัน (เพื่อเป็นการแบ่งแยกระหว่างพวกเขา ไม่ควรมีปฏิสัมพันธ์ใดๆร่วมกัน)

ค่ำคืนนั้นระหว่าง Jack กำลังเหม่อมองท้องฟ้า ราวกับว่าเธอคนนั้นคือดวงดาวทอประกายแสง ที่เขาทำได้เพียงแค่เหม่อมอง พร่ำเพ้อจินตนาการ มิอาจเอื้อมมือไขว่คว้า ครอบครองเป็นเจ้าของ … แต่แล้วจู่ๆ Rose ก็วิ่งผ่านหน้าเขาไป นั่นคือโอกาสแห่งโชคชะตาที่ต้องรีบไขว่คว้าเอาไว้

จากเคยอยู่ห่างบน-ล่าง ชนชั้นสูง-ต่ำ แต่เมื่อชีวิตตกอยู่ในสถานการณ์เป็น-ตาย ชาย-หญิง Jack-Rose จึงหลงเพียงขอบรั้วบางๆขวางกั้น แค่เพียงเอื้อมมือก็สามารถไขว่คว้า ฉุดเธอกลับขึ้นมา นำพาให้เรียนรู้จักโลกกว้าง เปิดมุมมองทัศนคติใหม่ๆ ชีวิตไม่จำเป็นต้องเหมือนนกในกรง ปลาทองในโถแก้ว สามารถกางปีกโบยบิน ครุ่นคิดกระทำสิ่งต่างๆสนองตัณหาพึงพอใจส่วนตน

Heart of the Ocean ในบริบทนี้ที่คู่หมั้น Caledon Hockley สวมใส่ให้กับ Rose แม้มันมีมูลค่ามหาศาล แต่ไม่ต่างจากปลอกคอหมา เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าค่ำเจ้าของ เธอคือภรรยาของฉัน ขณะเดียวกันก็เหมือนบ่วงรัดคอ ไม่ให้หลบหนี ดิ้นหลุดพ้น ต้องยินยอมศิโรราบ ทำตามคำสั่งทุกสิ่งอย่าง

สำหรับจี้ Heart of the Ocean ได้รับการจัดทำโดยบริษัทเครื่องประดับสัญชาติอังกฤษ Asprey & Garrard โดยใช้เซอร์คอเนีย (Cubic Zirconia, CZ) คนไทยมักเรียกว่า เพชรสวิส เพชรเบลเยี่ยม หรือเพชรรัสเซีย, ส่วนสร้อยคอทำออกมาให้สอดคล้องยุคสมัย Edwardian, มีทั้งหมดสามรูปแบบ Original Prop, J. Peterman necklace และ Asprey necklace แต่ใช้ในหนังแค่สองแบบแรก

ความสำเร็จอย่างล้นหลามของหนัง Asprey & Garrard ได้รับมอบหมายให้ออกแบบ Heart of the Ocean ที่เป็นของจริงแท้ๆ โดยใช้ต้นแบบจาก Original Prop เปลี่ยนมาเป็นสร้อยคอ Platinum, Ceylon Sapphire เจียรูปหัวใจขนาด 171 กะรัต, ล้อมรอบด้วยเพชรอีก 103 เมตร, เคยพบเห็นออกสู่สาธารณะเพียงครั้งเดียวเมื่อตอน Céline Dion สวมใส่ระหว่างทำการแสดงงานประกาศรางวัล Academy Award จากนั้นได้รับการประมูล $1.4 ล้านเหรียญ มอบส่วนต่างให้องค์กรการกุศล Diana, Princess of Wales Memorial Fund และ Southern California’s Aid For AIDS

บันไดแห่งนี้มีคำเรียกว่า Grand Staircase ถือเป็นสัญลักษณ์ของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง แบ่งแยกระหว่างห้องพักส่วนตัวที่อยู่บริเวณด้านบน กับพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ร้านอาหาร ห้องนั่งเล่น ฯลฯ ผมเลือกสองช็อตนี้ขึ้นมากล่าวถึงก่อน พบเห็นก่อน-หลังรับประทานอาหารมื้อเย็น

  • ก่อนรับประทานอาหารเย็น Jack ยืนรอคอยอยู่ชั้นล่างของบันได เฝ้ารอคอยให้ Rose เดินลงมา
    • แม้เป็นการร่วมรับประทานอาหารกับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง แต่ให้ความรู้สึกเหมือน Rose กำลังลดตัวลงมา นำพาเขาไปยังรังอสรพิษ พบเจอบุคคลมากด้วยจริต พร้อมฉกจิกกัด ทำร้ายจิตใจผู้อื่นไปทั่ว
  • หลังรับประทานอาหารเย็น Jack ยืนรอคอยอยู่กลางบันได เฝ้ารอคอยให้ Rose เดินขึ้นมา
    • หลังจากนี้ Jack จะนำพา Rose ไปเต้นเริงระบำกับเพื่อนผู้โดยสารชั้นสาม สร้างความสนุกสนาน ครื้นเครง ผู้คนเป็นกันเอง ทำให้รู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวา

(เหมือนผู้กำกับ Cameron ต้องการสื่อว่าสังคมของชนชั้นสูงมีความตกต่ำตม ตรงกันข้ามกับคนชั้นล่างที่มีความสูงส่งเลอค่า)

แซว: ใครเคยรับชม Gone With the Wind (1939) น่าจะรู้สึกมักคุ้นกับบันไดโค้งๆ ระหว่างการยักคิ้วหลิ่วตาระหว่าง Clark Gable และ Vivien Leigh ให้ความรู้สึกละม้ายคล้ายฉากนี้มากๆ

ผู้กำกับ Cameron แอบปรากฎตัว (Cameo) อยู่ในช็อตนี้ ตาดีได้ ตาร้ายเสีย! เห็นว่ายังมีอีกครั้งระหว่างเฝ้ารอคอยเรือชูชีพ เมื่อตอนเจ้าหน้าที่เริ่มกราดยิงปืน แต่ผมหาไม่เจอว่าหลบอยู่ตรงไหน

ซีนสุดท้ายของงานปาร์ตี้นี้ Jack & Rose จับมือแล้วกระโดดหมุนวงกลม สามารถสื่อนัยยะถึง ‘โลกหมุนรอบตัวเรา’ ไม่จำเป็นต้องครุ่นคิดกระทำอะไรตามใคร เสรีภาพคือความเป็นเราเอง

สมัยก่อนที่ยังไม่มีชุดชั้นใน กุลสตรีชนชั้นสูงมักสวมใส่ชุดรัดตัว (Corset) เพื่อเสริมความงาม อวดทรวดทรงองค์เอว แต่ขณะเดียวกันมันคือสัญลักษณ์ของการกดทับ บีบบังคับ เพราะหญิงสาวต้องถูกรัดแน่น สร้างความอึดอัด หายใจอย่างยากลำบาก … ในบริบทนี้ก็คือ Rose ถูกมารดา/บริบททางสังคมบีบบังคับให้ต้องแต่งงานกับคู่หมั้นที่เธอไม่ได้ตกหลุมรัก

หลายคนถกเถียงกันว่าฉาก Iconic ของหนังนี้ใช้ CGI หรือไม่? เพราะภาพเบื้องหลังเห็นถ่ายกับ Green Screen? แต่เท่าที่ผมอ่านจากเกร็ดหนังพบว่าแสงสว่างเกิดจากการถ่ายทำในช่วงเวลา Golden Hour ต้องรอคอยท้องฟ้าโปร่งนานถึง 8 วัน ไม่มีทางที่คอมพิวเตอร์จะสร้างภาพออกมาได้สวยงดงามขนาดนี้

สำหรับ Green Screen ถ่ายเพื่อเป็นต้นแบบช็อตอื่นๆ รวมถึงการเคลื่อนไหลกล้องรอบเรือ RMS Titanic … ว่ากันตามตรงช็อตเหล่านี้ผมว่าไม่ค่อยจำเป็นสักเท่าไหร่ มันคือการ ‘show off’ ขายเทคนิคสร้างภาพ CGI ล้วนๆเลยนะ!

สำหรับนัยยะของฉากนี้ อ้างอิงจากคำพูดตัวละคร “I’m flying”. สื่อถึงการที่ Rose หลังจากได้พบเจอ Jack ทำให้เรียนรู้จักสิ่งเรียกว่า ‘อิสรภาพของชีวิต’ สามารถก้าวออกมาจากกรงขัง แล้วกางแขน กางปีก รู้สึกเหมือนกำลังโบยบิน นี่คือสัมผัสแรกของเสรีภาพ

แซว: Winslet ออกกฎการจุมพิตกับ DiCaprio ว่าห้ามดื่มกาแฟ ห้ามกินหัวหอม กระเทียม หรือสูบบุหรี่ก่อนการถ่ายทำ เห็นว่าในตอนแรกตอบตกลง แต่เขากลับทำทุกสิ่งอย่างจนเธอตั้งฉายา “Stinky Leo” แถมยังชอบแนบลิ้นเพื่อเป็นการกลั่นแกล้ง

แซว2: ทั้งการตะโกน “I’m King of the World” และท่ากางแขนกางปีก ได้รับความนิยมจากผู้โดยสารเรืออย่างมากๆ จนถูกแบนบนเรือสำราญแทบจะทุกลำ! เพราะมันมีความเสี่ยงสูงที่จะพลาดพลั้งตกน้ำ

ตามบทเปะๆต้องพูดว่า “Lie on that couch”. แต่เพราะนี่เป็นฉากแรกของการถ่ายทำ (ฉากอื่นๆยังสร้างไม่เสร็จ ถ่ายอะไรได้ก็เลยถ่ายไปก่อน) เพิ่งพบเจอกันก็ต้องถ่ายฉากเปลือยเสียแล้ว Winslet เลยละลายน้ำแข็ง (สำนวน Breaking the ice) ด้วยการเปลือยกายล่อนจ้อนต่อหน้าต่อตา DiCaprio เกิดอาการอ้ำๆอึ้งๆ ทำตัวไม่ถูก พูดจาตะกุกตะกัก ผิดพลาดเป็น “Over on the bed … uh, the couch”. ถูกอกถูกใจผู้กำกับจอมเนี๊ยบอย่าง Cameron ยินยอมให้เทคเดียวผ่าน ไม่ต้องปรับแก้ไขอะไร!

ศิลปินวาดภาพร่างของ Rose ก็คือผู้กำกับ Cameron เห็นว่ามี ‘photo session’ ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นโปรดักชั่น ขอให้เธอโพสท่าทางต่างๆเพื่อใช้สำหรับอ้างอิง แต่ไม่เปลือยกายนะครับ แค่สวมใส่บิกินี่ ก็เพียงพอให้จินตนาการภาพนู๊ดออกมา (มือที่เห็นในช็อตนี้ก็เป็นของ Cameron ปกติถนัดซ้าย แต่ตัวละครถนัดขวา รายละเอียดเล็กๆไม่ผิดพลาด)

เกร็ด: ภาพวาด Rose ถูกนำไปประมูลเมื่อปี ค.ศ. 2010 ได้ราคา $16,000 เหรียญ (ประมาณ 500,000 บาท)

ผมเพิ่งมาตระหนักได้ช็อตนี้ เมื่อพบเห็นกล้องซูมเข้าไปในด้วยตาของ Rose ว่ามีสีน้ำเงินเดียวกับจี้ Heart of the Ocean ซึ่งสอดคล้องกับสำนวน “ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ” และเมื่อตอนต้นเรื่องหญิงชรา Rose เคยพูดวลีเด็ด

A woman’s heart is a deep ocean of secret.

การสวมใส่จี้ Heart of the Ocean ระหว่างเปลือยกายเป็นนางแบบ จึงคือสัญลักษณ์ของการเปิดเผยธาตุแท้ตัวตน ปลดเปลื้องชีวิตที่เคยถูกควบคุมครอบงำให้ได้รับอิสรภาพ หลงเหลือเพียงร่างกายอันเปลือยเปล่า และหัวใจ/จิตวิญญาณของหญิงสาว ไม่มีความหวาดกลัวเกรงสิ่งอื่นใดอีกต่อไป

รถคันนี้คือ Renault Type CB Coupe de Ville รุ่นปี ค.ศ. 1912 ความเร็ว 25 แรงม้า มูลค่า 5,000 เหรียญ พบเห็นตั้งแต่ตอนยกขึ้นเรือ และขณะนี้กลายเป็นรังรักของ Jack & Rose แถมทิ้งรอยฝ่ามือประทับไว้ในความทรงจำ (เหมือนเวลาสุนัขยกขาปัสสาวะ ทำเครื่องหมายเพื่อบ่งบอกอาณาเขต เบ่งอำนาจ ฉันคือเจ้าของสถานที่แห่งนี้)

เกร็ด: รถคันนี้เป็นของ William E. Carter (1875–1940) มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ซึ่งพาครอบครัวไปเที่ยวยุโรปและซื้อรถคันนี้กลับมา เขาเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิต และมีการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย White Star Line ตามมูลค่าจริง

เกร็ด2: เมื่อตอนค้นพบซากเรือ RMS Titanic เหล่านั้นกู้สมบัติมีความพยายามหาซากรถคันนี้แต่กลับไม่พบเจอ คาดว่าอาจมีมูลค่านับล้านเหรียญในการประมูล เพราะแค่เมนูอาหารยังได้ราคาถึง 25,000 – 35,000 เหรียญ!

Rose รับรู้สถานะ RMS Titanic (ว่ากำลังจะอับปางลง) จากคำบอกกล่าวของวิศวกรออกแบบเรือ Thomas Andrews ยืนยันด้วยคำพูด “It’s a mathematical certainty”. (คัทลอกมาจาก A Night to Remember (1958)) ยังบริเวณบันได Grand Staircase สถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง นั่นหมายถึงการกำลังจะล่มสลายของแวดวงไฮโซ กลุ่มชนชั้นสูง … นี่รวมไปถึงเมื่อน้ำไหลบ่าเข้ามาเวลา 2.15 AM (เรือจมสนิทเวลา 2.20 AM) บันไดถูกกระแสน้ำพัดพา ก็หมายถึงจุดสิ้นสุดของโลกยุคเก่า ที่แบ่งแยกมนุษย์ด้วยสถานะทางสังคม!

แซว: Grand Staircase เป็นบันได Prop ที่ไม่ได้ออกแบบให้มีความแข็งแกร่งทนทาน (จริงๆออกแบบมาให้สามารถพังทลาย ล่องลอยไปกับสายน้ำ) จึงมีโอกาสถ่ายทำฉากน้ำท่วมนี้ได้แค่เทคเดียวเท่านั้น

เพราะเป็นเพียงพลเมืองชนชั้นสาม Jack จึงมักถูกเข้าใจผิด โดนใส่ร้ายป้ายสี(จากบุคคลชนชั้นสูงกว่า)ถึงสองครั้งครา

  • ครั้งแรกตอนต้นเรื่อง ลูกเรือเข้าใจผิดคิดว่า Jack กำลังจะข่มขืนใจ Rose
  • ครั้งหลังถูกคู่หมั้นของ Rose ใส่ร้ายป้ายสีว่าทำการลักขโมยจี้ Heart of the Ocean

นี่แสดงให้เห็นถึงจิตใจที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว คอรัปชั่นของคนชนชั้นสูง ไม่ต้องการสูญเสียอำนาจบารมี เกียรติยศศักดิ์ศรี สิ่งข้าวของ/บุคคลที่อยู่ในความครอบครอง หรือยินยอมรับสถานะอันต่ำต้อยของอีกฝั่งฝ่าย พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อธำรงรักษาความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง

กุญแจมือของ Jack ไม่ได้ถูกไขออกแต่ต้องใช้ขวานจาม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการใช้ความรุนแรง ซึ่งล้อกับตอนที่บรรดาผู้โดยสารชั้นสาม ใช้กำลังพังประตูเลื่อนออกไปยังดาดฟ้า สื่อถึงการอารยะขัดขืน ไม่ยอมก้มหัว ศิโรราบต่อความไม่ชอบธรรมอีกต่อไป … เมื่อความเป็น-ตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม สันชาติญาณคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์พยายามหาทางเพื่อธำรงชีพรอด

หนึ่งใน Deleted Scene ที่ผมอยากกล่าวถึงเป็นพิเศษ (โคลนนิ่งมาจาก A Night to Remember (1958)) เอาจริงๆเป็นฉากที่ไม่น่าตัดออก เพราะมีการกล่าวถึงรหัส SOS ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือนี้ แต่มันอาจเป็นคำพูดหยอกล้อที่ฟังดูไม่เหมาะสมกับสถานการณ์สักเท่าไหร่

Send SOS; it’s the new call, and it may be your last chance to send it.

เกร็ด: หลายคนอาจครุ่นคิดว่า SOS มาจาก Save Our Ship หรือ Save Our Soul แต่จริงๆแล้วมันไม่ได้ย่อมาจากอะไร เพียงเพราะเมื่อแปลงเป็นรหัสมอร์ส ( ▄ ▄ ▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄▄▄ ▄ ▄ ▄ ) มันกดง่ายที่สุด แค่นั้นเองนะครับ! (ในสถานการณ์ฉุกเฉิน บางครั้งสติสตางค์ไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว SOS มันเลยเคาะๆๆยาวๆๆง่ายที่สุด)

เมื่อตอนที่ Rose ยินยอมลงเรือชูชีพ เหมือนว่าคู่หมั้น Caledon จะสามารถคืนดีกับ Jack แต่แท้จริงแล้วชายคนนี้แอบยัดเงินให้ลูกเรืออีกลำ เพื่อว่าตนเองจะมีโอกาสลงเรือชูชีพลำอื่น … นี่มันหน้าไหว้หลังหลอกชัดๆ

แต่พอ Rose ปฏิเสธเอาตัวรอดแต่เพียงผู้เดียว ทำให้อีก Caledon น็อตหลุด ชักปืนขึ้นมาไล่ยิง Jack & Rose ต้องวิ่งหลบหนีลงยังห้องพักผู้โดยสารชั้นสาม หรือก็คือล่างสุดของบันได Grand Staircase พบเห็นกระแสน้ำกำลังเอ่อล้นขึ้นมา (นี่ก็สื่อถึงการกำลังล่มสลายของแวดวงไฮโซ กลุ่มชนชั้นสูง เช่นเดียวกัน!)

เกร็ด: Grand Staircase มีทั้งหมดหกชั้น Boat Deck, A-Deck ไปจนถึง E-Deck ซึ่งจะมีลวดลายรวมถึงความอลังการที่ลดหลั่นตามระดับชั้น ซึ่งช็อตนี้ย่อมคือ E-Deck เชื่อมต่อกับห้องพักผู้โดยสารชั้นสาม

ในฉากที่ Jack & Rose วิ่งหนีกระแสน้ำจนพัดมาติดประตูเลื่อน เห็นว่าเสื้อโค้ทของ Winslet เกี่ยวติดอะไรสักอย่าง ทำเอาเธอเกือบจมน้ำจริงๆสามารถเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิด แต่ระหว่างถ่ายทำก็ไม่เคยบอกกล่าวอุบัติเหตุนี้แก่ใคร ผกก. Cameron เองก็ไม่รับรู้ใดๆ

ประตูเลื่อนถูกล็อกกุญแจ แถมยังมีเจ้าหน้าที่คอยยืนเฝ้า เพื่อเป็นการแบ่งแยก ปิดกั้น กีดกันพลเมืองชั้นสาม ไม่ให้ขึ้นมาก่อการจราจล สร้างความวุ่นวาย แก่งแย่งสิทธิอันชอบธรรม(ในการขึ้นเรือชูชีพ)ของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง จนกว่าจะถึงสถานการณ์คับขับประตูบานนี้ถึงสามารถเปิดออก

เมื่อตอน A Night to Remember (1958) มีความเข้าใจผิดเล็กน้อยเกี่ยวกับภาพวาดในห้องนั่งเล่นชั้นหนึ่ง เพราะอ้างอิงจากหนังสือของ Walter Lord กล่าวถึงภาพวาด Approach to the New World มุ่งสู่ท่าเรือ New York แต่แท้จริงแล้วภาพดังกล่าวจัดแสดงบนเรือ RMS Olympic (ที่เป็น ‘sister ship’ ของ RMS Titanic)

ผู้กำกับ Cameron เลยจัดให้ที่ถูกต้องก็คือ Plymouth Harbour ผลงานของจิตรกรชาวอังกฤษ Norman Wilkinson (1878–1971) คนเดียวกับที่วาด Approach to the New World แต่การจะมองหาคงต้องจับจ้องกันสักหน่อย เพราะหนังไม่การเปิดเผยให้เห็นแบบชัดๆ แต่สามารถสังเกตจากสถานที่สุดท้ายที่ Thomas Andrews วิศวกรผู้ออกแบบเรือ RMS Titanic เลือกอาศัยอยู่พร้อมขณะเรือกำลังอับปาง

As we have lived together, so we shall die together.

Isidor & Ida Straus สองคู่รักผู้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้า Macy’s Department ในสหรัฐอเมริกา (Isidor ยังเคยเป็น ส.ส. ของ New York City) ทั้งคู่ต่างเป็นผู้สูงวัยที่ได้รับอภิสิทธิ์ให้ลงเรือชูชีพเป็นกลุ่มแรกๆ แต่ Isidor ยืนกรานขอให้ผู้หญิงและเด็กได้รับสิทธิ์นั้นก่อน ซึ่ง Ida ก็ขอเลือกอยู่เคียงข้างสามี บรรดาผู้รอดชีวิตพบเห็นพวกเขานั่งกุมมือกันบนม้านั่งบนดาดฟ้าเรือก่อนจมหายไป ไม่ได้นอนกอดกันบนเตียงเหมือนที่หนังนำเสนอช็อตนี้

ในบทหนังไม่ได้มีฉากนี้ แต่ตัวประกอบสมทบชาว Irish เสนอไอเดียให้กับ Cameron เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน Celtic เรื่อง Niamh and Oisin เรื่องราวของชายสามัญชน Oisin ตกหลุมรักนางฟ้าสาว Niamh (เปรียบเทียบตรงๆกับ Jack & Rose) พวกเขาครองรักกันยาวนานกว่า 300 ปี ยังดินแดนในอุดมคติ Tír na nÓg (แปลว่า Land of Youth) ที่ทุกคนจะมีความเยาว์วัย สวยใส และเป็นนิรันดร์ ซึ่งหนทางจะไปสู่สถานที่แห่งนั้น ต้องใช้เส้นทางผ่านมหาสมุทร … นี่ถือว่าล้อกับปัจฉิมบทได้เลยนะ!

จริงๆแล้วไม่มีใครรับรู้ว่า Captain Edward John Smith (1850-1912) เสียชีวิตอย่างไร? แต่ฉากนี้อ้างอิงจาก A Night to Remember (1958) นำเสนอการตายอย่างหาญกล้า ยังห้องควบคุม จมพร้อมกับเรือ RMS Titanic ก่อนพบเห็นเป็นซากศพล่องลอยคอ … Cap. Smith ตั้งใจจะเกษียณอายุทำงานหลังการเดินทางครั้งนี้ แต่โชคร้ายมีเหตุอันเป็นไปเสียก่อน

เกร็ด: เห็นว่านี่คือฉากสุดท้ายของการถ่ายทำ! ต้องใช้สตั๊นแมนและนักประดาน้ำ ซึ่งผกก. Cameron ก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมดำน้ำด้วยเช่นกัน

เกร็ด2: มีนักแสดงชื่อดังหลายคนบอกปัดปฏิเสธบทบาทนี้ อาทิ Robert DeNiro, Michael Caine ฯลฯ ก่อนส้มหล่นใส่ Bernard Hill ในบทบาทที่น่าจดจำไม่น้อยทีเดียว

ฉากเกี่ยวกับวงดนตรี แม้โคลนนิ่งแนวคิดมาจากภาพยนตร์ A Night to Remember (1958) แต่นักไวโอลินคนนี้อ้างอิงจากหัวหน้าวงดนตรี (Bandmaster) ที่มีตัวตนอยู่จริงๆ เสียชีวิตไปกับเรือ ชื่อว่า Wallace Hartley และคำกล่าวสุดท้ายต้องชมเลยว่าโคตรๆตราตรึง

Gentlemen, it has been a privilege playing with you tonight.

ส่วนบทเพลงสุดท้ายที่พวกเขาบรรเลงชื่อว่า Nearer, My God, to Thee ผมเรียกเพลงชาติประจำเรือ RMS Titanic ได้ยินมาตั้งแต่หนังพูดเรื่องแรกที่กล่าวถึงโศกนาฎกรรมนี้ Atlantic (1929)

นี่ถือเป็นอีกช็อตที่โคลนนิ่งจาก A Night to Remember (1958) ชายทั้งสองคนนี้ต่างตีหน้าเซ่อ ทำเนียนลงเรือชูชีพ แสดงความขี้ขลาดตาขาว หวาดกลัวตัวสั่น มิอาจหันหลังกลับไปมองเรือ RMS Titanic ที่กำลังอับปางลงด้านหลัง เป็นตัวละครสะท้อนว่าไม่ใช่ชายทุกคนจะมีความเข้มแข็ง กล้าหาญ สามารถเผชิญหน้าความตาย

แม้ควันพ่นออกจากปากจะใช้ลูกเล่นอะไรสักสิ่งอย่าง (อมเข้าไปในปากแล้วจะมีควันโพยพุ่งออกมา) แต่การถ่ายทำยามดึกดื่น อากาศหนาวๆ น้ำทะเลเย็นๆ ก็ทำให้ Winslat ป่วยเป็นปอดบวม มีอาการ Hypothermia (ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ) โชคดีไม่เป็นอะไรมาก … นี่ต่างจากตอนเธอถ่ายทำ Avatar: The Way of Water (2022) สระน้ำในสตูดิโอมีการควบคุมอุณหภูมิ ระยะเวลาทำงาน ความปลอดภัยในการทำงานแตกต่างกันอย่างมากๆ

ปล. มีความพยายามทดลองหาว่าจะทำอย่างไรถึงสามารถช่วยชีวิต Jack วิธีการก็คือให้พวกเขาถอดเสื้อชูชีพแล้วนำไปวางใต้แผ่นไม้ จะทำให้ทั้งสองสามารถขึ้นไปอยู่ด้านบนโดยไม่จมลง! … แต่ช่วงเวลาเฉียดเป็นเฉียดตายขนาดนั้น ใครกันจะไปครุ่นคิดได้ละครับ!

Heart of the Ocean มีวิวัฒนาการในเชิงสัญลักษณ์ที่น่าทึ่ง (ชวนให้นึกถึงต่างหูของ The Earrings of Madame De… (1953)) จากเคยเป็นสัญลักษณ์ปลอกคอหมา เธอคือภรรยาของฉัน! กลายมาเป็นสิ่งมีค่าของหัวใจ แทนช่วงเวลาแห่งความทรงจำ อดีตมิอาจลืมเลือน จนกระทั่งคุณยาย Rose หวนกลับมาพบเห็นภาพวาด และซากเรือ RMS Titanic ถึงทำให้เธอสามารถปล่อยละวาง ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง โยนให้มันจมหายกับสายน้ำ ไม่หลงเหลืออะไรติดค้างคาใจ

ก็เหมือนการที่ผู้กำกับ Cameron สามารถสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องได้สำเร็จ! … หรือจริงๆคือการได้ดำน้ำลงไปสำรวจซากเรือ RMS Titanic เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน นั่นคือจุดสูงสุดของทุกสิ่งอย่าง!

เมื่อตอน Jack ยังมีชีวิตอยู่ เคยคุยโวโอ้อวด แนะนำการกระทำโน่นนี่นั่น ดื่มเบียร์ราคาถูก ขึ้นรถไฟเหาะ ควบขี่ม้าไม่ใส่อาน ฯลฯ (ต่างเป็นการแสดงออกที่สื่อถึงเสรีภาพของชีวิต เหมือนการติดปีกโบยบิน/ขึ้นเครื่องบินสู่ท้องฟากฟ้า) แต่แม้เขาตายจากไป Rose ก็ยังทำทุกสิ่งอย่าง ใช้ชีวิตแทนเขา พบเห็นจากบรรดาภาพถ่ายที่พกติดตัวมาบนเรือวิจัยลำนี้

We’ll drink cheap beer. Ride on the roller coaster till we throw up. We’ll ride horses on the beach, in the surf. But you have to do it like a real cowboy. No sidesaddle stuff. … Chew tobacco like a man. And spit like a man.

สารพัดคำโปรยอิสรภาพชีวิตของ Jack

ผู้กำกับ Cameron ให้อิสระผู้ชมในการตีความปัจฉิมบทนี้ว่า คือความเพ้อฝันของคุณยาย Rose หรือเสียชีวิตขณะนอนหลับ แล้ววิญญาณล่องลอยหวนกลับหาผู้เสียชีวิตบนเรือ RMS Titanic ณ เวลา 2.19 AM ตรงบันได Grand Staircase (ในบริบทนี้น่าจะสื่อถึงบันไดสู่โลกหลังความตายได้กระมัง)

และการเอื้อมมือสัมผัสระหว่าง Jack & Rose ทำออกมาให้ดูละม้ายคล้ายภาพวาด Michelangelo: The Creation of Adam (1508-12) นี่ไม่ใช่แค่วิญญาณคนตายกับคนเป็น (หรือกำลังจะตาย) ยังรวมถึงสถานะทางสังคม การจับมือของชนชั้นสูง-ต่ำ (ยืนสลับตำแหน่งล่าง-บน เพื่อล้อกับตอนต้นเรื่องที่ Rose เป็นผู้ก้าวสู่โลกของ Jack) เพื่อสื่อถึงจุดสิ้นสุดยุคสมัยอดีต-ปัจจุบัน หรือจะมองว่าโลกหลังความตาย(หรือโลกในปัจจุบัน)ไม่มีการแบ่งแยกอะไรใดๆทั้งนั้น!

สำหรับทีมตัดต่อนำโดย James Cameron ร่วมงานกับสองขาประจำ Conrad Buff (The Empire Strikes Back, Raiders of the Lost Ark, E.T. the Extra-Terrestrial, T2, True Lies) และ Richard A. Harris (Downhill Racer, T2, The Bodyguard, True Lies)

หนังเริ่มต้นจากช่วงเวลาปัจจุบัน ค.ศ. 1996 นักล่าสมบัติ Brock Lovett ดำน้ำสำรวจซากเรือ RMS Titanic เพื่อค้นหาจี้ Heart of the Ocean แต่กลับพบเจอเพียงภาพเปลือยของ Rose Dawson Calvert จึงอัญเชิญหญิงชราเดินทางมาเล่าเรื่องราว หวนรำลึกความทรงจำ ย้อนอดีตเหตุการณ์โศกนาฎกรรมเคยบังเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1912

  • อารัมบท ช่วงเวลาปัจจุบัน ค.ศ. 1996
    • นักล่าสมบัติ Brock Lovett ดำน้ำสำรวจซากเรือ RMS Titanic พบเจอตู้เซฟ และภาพวาดเปลือยของ Rose Dawson Calvert
    • Rose Dawson Calvert เดินทางมาถึงยังเรือสำรวจ หวนระลึกความทรงจำ เล่าเหตุการณ์โศกนาฎกรรมเคยบังเกิดขึ้น
  • เตรียมตัวออกเดินทาง ขึ้นเรือ RMS Titanic
    • การมาถึงอย่างเลิศหรูของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง Rose DeWitt Bukater พร้อมมารดาและคู่หมั้น
    • Jack Dawson เอาชนะพนันได้รับตั๋วโดยสารชั้นสาม วิ่งทันขึ้นเรืออย่างหวุดหวิด
    • โบกมือร่ำลา เรือออกจากท่า Jack ตะโกนบนดาดฟ้าหัวเรือ “I’m King of the World”.
  • แรกพบเจอ สานสัมพันธ์ระหว่าง Jack & Rose
    • วิถีไฮโซอันน่าเบื่อหน่ายของ Rose vs ชีวิตอันน่าตื่นเต้นของ Jack
    • Rose พยายามจะฆ่าตัวตาย แต่ได้รับการโน้มน้าว ช่วยเหลือโดย Jack
    • Jack ได้รับการชักชวนให้ร่วมรับประทานอาหารเย็นร่วมกับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง
    • Jack พา Rose มาเริงระบำกับผู้โดยสารชั้นสาม
  • ความรักเบ่งบานระหว่าง Jack & Rose
    • แม้ว่า Rose จะถูกกีดกันจากมารดาและคู่หมั้น แต่เธอก็แอบสานสัมพันธ์กับ Jack กางแขนโบยบินอยู่บนดาดฟ้าหัวเรือ
    • แอบเข้ามาในห้องพักชั้นหนึ่ง Rose เปลือยกายเป็นนางแบบให้ Jack
    • จากนั้นวิ่งหลบหนีไปยังชั้นเก็บของ แล้วร่วมรักหลับนอนในรถ Renault 
  • การมาถึงของหายนะ/ความสัมพันธ์ต้องห้ามระหว่าง Jack & Rose
    • RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งอย่างจัง
    • Jack ถูกจับกุมข้อหาลักขโมย Heart of the Ocean
    • รายงานความเสียหายของ RMS Titanic พบว่าจะจมลงในอีก 1-2 ชั่วโมง จึงเริ่มต้นการอพยพ
    • Rose พยายามช่วยเหลือ Jack แล้วหาหนทางกลับขึ้นมาลงเรือชูชีพ
  • สถานการณ์เข้าขั้นวิกฤต/คำมั่นสัญญาระหว่าง Jack & Rose
    • Rose แม้จะลงเรือชูชีพไปแล้วแต่ก็หาหนทางปีนป่ายกลับขึ้นมา ทำให้เธอกับ Jack ถูกไล่ล่าโดยคู่หมั้น
    • ร่วมกับผู้โดยสารชั้นสาม ต่อสู้ดิ้นรนจนหวนกลับมาถึงชั้นดาดฟ้า
    • ลำตัวเรือค่อยๆยกตัวขึ้น ก่อนแตกหักเป็นสองท่อน แล้วทิ้งดิ่งลงมา
    • ผู้ยังรอดชีวิตต่างพยายามตะเกียกตะกาย แหวกว่าย เฝ้ารอคอยการช่วยเหลือ ที่กว่าจะมาถึงก็สายเกินเยียวยา
  • ปัจฉิมบท ย้อนกลับมาช่วงเวลาปัจจุบัน ค.ศ. 1996
    • Rose ตัดสินใจร่ำลากับ Heart of the Ocean โยนมันทิ้งลงท้องทะเล

เหตุผลที่หนังเริ่มเล่าเรื่องจากปัจจุบัน เพราะผู้กำกับ Cameron ต้องการโชว์ฟุตเทจที่ตนเองลงไปสำรวจถ่ายทำซากเรือ RMS Titanic ขณะเดียวกันก็ถือเป็นอารัมบท แนะนำให้ผู้ชมสามารถปะติดปะต่อเหตุการณ์จากอดีต รับรู้สึกว่าโศกนาฎกรรมดังกล่าวเคยเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เรื่องเล่า ปรัมปรา สิ่งเลือนหายไปตามกาลเวลา

ลีลาการตัดต่อของหนังก็เต็มไปด้วยความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน เพื่อสร้างความตื่นเต้น เร่งเร้าอารมณ์ เก็บรายละเอียดจากหลากมุมมอง หลายทิศทางมุมกล้อง แต่เรื่องราวหลักๆจะโฟกัสที่ Jack & Rose แตกต่างจาก A Night to Remember (1958) ที่ไม่รู้จะเชียร์ใครให้รอดชีวิต

หนังความยาว 3 ชั่วโมง 14 นาที (194 นาที) คิดแล้วเกือบนาทีละล้านเหรียญ! แม้สตูดิโอ Fox จะพยายามโน้มน้าวผู้กำกับ Cameron ตัดทอนรายละเอียดให้เหลือสักสองชั่วโมง (จริงๆถ้าตัดเหตุการณ์ในปัจจุบันทิ้งไป จะลดเวลาลงได้กว่าครึ่งชั่วโมง!) เพื่อสามารถเพิ่มรอบฉาย ลดความเสี่ยงการขาดทุน แต่พวกเขาได้รับคำตอกกลับ

You want to cut my movie? You’re going to have to fire me! You want to fire me? You’re going to have to kill me!

James Cameron บอกกับผู้บริหารสตูดิโอ Fox

เพลงประกอบโดย James Roy Horner (1953-2015) นักแต่งเพลงสัญชาติอเมริกัน, เริ่มเล่นเปียโนตั้งแต่อายุห้าขวบ แล้วเดินทางไปร่ำเรียนดนตรียัง Royal College of Music, London แล้วกลับมาศึกษาต่อ University of Southern California และปริญญาโท University of California, Los Angeles (UCLA) จากนั้นเริ่มทำเพลงประกอบหนังเกรดบี The Lady in Red (1979), มีชื่อเสียงจาก Star Trek II: The Wrath of Khan (1982), ผลงานเด่นๆ อาทิ Commando (1985), Cocoon (1985), Glory (1989), Apollo 13 (1995), Braveheart (1995), A Beautiful Mind (2001), House of Sand and Fog (2003) ฯลฯ

ช่วงระหว่างเขียนบทหนัง Cameron รับฟังบทเพลงอัลบัม Far and Away (1992) ของศิลปิน Enya พยายามชักชวนเธอมาทำเพลงประกอบภาพยนตร์แต่ได้รับคำบอกปัดปฏิเสธ ด้วยเหตุนี้จึงตัดสินใจติดต่อหา Horner ที่ก่อนหน้านี้เคยร่วมงาน Aliens (1986) แต่พวกเขามีความคิดเห็นไม่ลงรอยกันสักเท่าไหร่ ถ้าไม่เพราะความประทับใจจาก Braveheart (1995) จึงขอให้หลงลืมความขัดแย้งจากอดีต แล้วทั้งสองก็กลายเป็นเพื่อนสนิทสนม และร่วมงานกันอีกครั้งสุดท้าย Avatar (2009)

Horner เมื่อรับชมฉบับตัดต่อ Rough Cut เดินทางกลับบ้านนั่งเขียน Main Theme ของหนังในระยะเวลาเพียง 20 นาที จากนั้นถึงเริ่มสร้าง Variation ปรับเปลี่ยนท่วงทำนอง เครื่องดนตรีประกอบ เต็มไปด้วยกลิ่นอาย Irish Folk Song (เพราะเรือ RMS Titanic สร้างขึ้นที่ Belfast, Northern Ireland) เพื่อให้สอดคล้องตัวละคร สถานที่ และเหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้น

สำหรับ Main Title เริ่มด้วยเสียงปี่ Uilleann pipes (เครื่องดนตรีพื้นบ้าน Irish ที่มักได้ยินในพิธีศพ จะมองว่าเป็นสัญลักษณ์โศกนาฎกรรมของเรือ RMS Titanic ก็ได้กระมัง) ตามด้วยเสียงร้องโหยหวน แทนความเศร้าโศกจากหายนะที่ยังคงหลอกหลอนมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับเสียงร้องโหยหวนที่มีกลิ่นอาย New Age (เลียนแบบสไตล์เพลงของ Enya) เห็นว่า Horner ว่าจ้างศิลปินกว่า 25-30 คน ให้มาทดลองบันทึกเสียง แต่ก็ไม่เป็นที่พึงพอใจจนกระทั่งพบเจอกับ Sissel Kyrkjebø (เกิดปี 1969) นักร้องโซปราโนชาว Norwegian โด่งดังจากผลงานเพลง Eg Veit I Himmerik Ei Borg แปลว่า I Know in Heaven There Is a Castle ประกอบอัลบัม Innerst i sjelen (1994) แปลว่า Deep Within My Soul

ถ้าหลับตาฟังผมคงนึกว่าบทเพลงนี้ขับร้องโดย Enya ทั้งเทคนิค ลีลา น้ำเสียงร้อง รวมถึงท่วงทำนอง แทบจะโคลนนิ่งกันมาเหมือนเปี๊ยบ แต่เรียกว่าเป็นแรงบันดาลใจกันและกันดีกว่านะครับ สามารถทำให้ผู้ฟังล่องลอยราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ สั่นสะท้อนทรวงใน ไปถึงจิตวิญญาณ

ผมสองจิตสองใจว่าจะเลือกบทเพลง Leaving Port หรือ Take Her To Sea, Mr. Murdoch เพราะต่างเต็มไปด้วยท่วงทำนองอันฮึกเหิม เอ่อล้นด้วยพละกำลัง นำเสนอจุดเริ่มต้นการออกเดินทางของ RMS Titanic เรือแห่งความหวัง กำลังมุ่งสู่โลกใบใหม่ และเสียงตะโกนของ Jack Dawson หรือก็คือผู้กำกับ James Cameron ป่าวประกาศว่า “I’m King of the World!”

Rose หรือก็คือ My Heart Will Go On ฉบับเสียงร้องโหยหวนของ Sissel Kyrkjebø (เอาจริงๆผมชื่นชอบเพลงนี้กว่าฉบับขับร้องโดย Céline Dion เสียอีกนะ!) เป็นบทเพลงประจำตัวละคร Rose DeWitt Bukater ที่ถ่ายทอดความรู้สึกจากภายใน ความต้องการของหัวใจ หญิงสาวไม่ชอบการถูกบีบบังคับ เป็นนกในกรงขังของผู้ใด โหยหาอิสรภาพเสรี อยากโบกโบยบินอยู่บนท้องฟ้าไกล

Death of Titanic เป็นบทเพลงที่ผมรู้สึกว่า ‘underrated’ เมื่อตอนรับชบแทบจะไม่ได้ยิน ฟังไม่รู้เรื่อง เพราะถูกกลบเกลื่อนด้วยสารพัด Sound Effect ทั้งจากผู้คน คลื่นลม สิ่งข้าวของแตกหัก ฯลฯ ช่างเป็นช่วงเวลาแห่งความโกลาหล สับสนวุ่นวาย แต่ถ้ามาฟังแยกในอัลบัมเพลงประกอบจะรู้สึกว่าโคตรๆทรงพลัง นำเสนอความพยายามต่อสู้ดิ้นรน ไม่ย่นย่อท้อ ยินยอมรับความพ่ายแพ้ แต่จนแล้วจนรอดก็พบเพียงหายนะและความสิ้นหวัง

อัลบัม Soundtrack ของหนังได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ติดชาร์ท(อัลบัม)ขายดีแทบทุกประเทศ กลายเป็นอัลเพลงประกอบภาพยนตร์ขายดีที่สุดตลอดกาลในสหรัฐอเมริกา (และหลายๆประเทศทั่วโลก) ยอดทางการ 18.1 ล้านก็อปปี้ แต่ตัวเลขจริงๆอาจสูงถึง 27 ล้านก็อปปี้ จนปัจจุบันก็ยังไม่มีภาพยนตร์เรื่องไหนเฉียดใกล้ นั่นทำให้มีอัลบัมสะสมออกติดตามมาอีกมากมาย Standard Edition, Anniversary Edition, 20th Anniversary Edition ฯลฯ

ผมแอบแปลกใจไม่น้อยที่เพลงประกอบ Titanic (1997) ไม่ติดอันดับ AFI’s 100 Years of Film Scores อาจเพราะชาร์ทนี้เลือกมาแค่ 25 เรื่อง และคนส่วนใหญ่จดจำได้แต่บทเพลง My Heart Will Go On (ติดอันดับ 14 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Songs) โดดเด่นกว่า Soundtrack เสียอีกนะ!

ผู้กำกับ Cameron ไม่มีความต้องการบทเพลงขับร้อง เพราะครุ่นคิดว่าจะเป็นการทำลายบรรยากาศของหนัง แต่เป็น Horner มอบหมายให้ Will Jennings เขียนเนื้อคำร้อง และพยายามต่อรอง Céline Dion ที่ตอนแรกไม่ชอบการนำเสนอของ Hornor แต่ภายหลังได้รับการเกลี้ยกล่อมจากสามี René Angélil จึงยินยอมเข้าห้องอัด บันทึกเสียงเพียงเทคเดียวเท่านั้น! (แต่ความสำเร็จของหนังทำให้เธอเข้าห้องอัดเพลงนี้อีกนับครั้งไม่ถ้วน)

Horner เฝ้ารอคอยจน Cameron อยู่ในช่วงอารมณ์ดีๆถึงค่อยนำเสนอบทเพลงนี้ หลังรับฟังอยู่หลายรอบถึงยินยอมตอบตกลง ด้วยเหตุผลทางการตลาดในกรณีถ้าหนังขาดทุน ยอดขายอัลบัมเพลงประกอบอาจช่วยแบ่งเบาภาระได้ระดับหนึ่ง (จริงๆคือสตูดิโอจ่ายค่าลิขสิทธิ์อัลบัมเพลงประกอบไปล่วงหน้า $800,000 เหรียญ)

ความสำเร็จอันล้นหลามของบทเพลงนี้ คือตราประทับเคียงคู่กับภาพยนตร์ “imprinted on the movie’s legacy” อีกทั้งยังกลายเป็น “Signature Song” ประจำตัว Dion ติดอันดับหนึ่ง Billboard Hot 100 นานสองสัปดาห์ ยอดขายเฉพาะซิงเกิ้ลรวมทั่วโลกประมาณ 18 ล้านก็อปปี้ (เป็นรองเพียง I Will Always Love You ของ Whitney Houston ซิงเกิ้ลขายดีที่สุดตลอดกาลโดยนักร้องหญิง) รวมถึงกวาดรางวัลจากทุกสถาบันที่ได้เข้าชิง

  • Academy Award: Best Original Song
  • Golden Globe Award: Best Original Song
  • Grammy Award คว้ามาอีก 4 รางวัล
    • Record of the Year
    • Song of the Year
    • Best Female Pop Vocal Performance
    • Best Song Written Specifically for a Motion Picture or Television

เกร็ด: ในประวัติศาสตร์ Oscar มีเพียง 5 เรื่องที่ภาพยนตร์รางวัล Best Picture สามารถคว้า Best Original Song ประกอบด้วย Going My Way (1944), Gigi (1958), Titanic (1997), The Lord of the Rings: The Return of the King (2003), Slumdog Millionaire (2008)

เนื้อร้องของบทเพลง My Heart Will Go On ราวกับการเพ้อรำพันของ Rose เพื่อบอกกับวิญญาณของ Jack ภายหลังการสูญเสีย เหตุการณ์โศกนาฎกรรมครั้งนั้น ดั่งเคยให้คำมั่นสัญญา ว่าจะยังคงมีชีวิต ทำทุกสิ่งอย่างเคยครุ่นคิดวาดฝันไว้ เฝ้ารอคอยจนกว่าจะถึงวันหมดสิ้นลมหายใจ ฉันและเธอจักได้อยู่เคียงข้าง ครองคู่รักกันอีกครั้ง

MTV ยกย่องการแสดงของ Dion ในงานประกาศรางวัล Academy Award ถือว่าสมบูรณ์แบบ ไร้ที่ติ สมควรค่าแก่การรับชม จึงนำคลิปดังกล่าวมาทิ้งท้าย

This performance of “My Heart Will Go On” deserves a rewatch. That smoke machine rolling out a wispy ocean fog, the orchestra in all white, and Dion wearing a dress that could definitely still pass as stylish and the Heart of the Ocean. Not to mention, she sounds flawless as she effortlessly belts out the Best Original Song-winner that would become one of the best-selling singles of all time and the world’s best-selling single in 1998. This is true perfection.

มองอย่างผิวเผิน Titanic (1997) นำเสนอเรื่องราวความรักต่างวรรณะ ระหว่างไอ้หนุ่มชั้นสาม Jack กับคุณหนูไฮโซ Rose ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมยุคสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ พวกเขาจึงโดนกีดกัน ขวางกั้น แต่ต่อให้ฟ้าถล่มดินทลาย โลกทั้งใบล่มสลาย เรือชนภูเขาน้ำแข็งอับปางลง ก็คงไม่สิ่งใดทำลายความรู้สึกอันมั่นคงที่ฉันมีต่อเธอ

เราสามารถเปรียบเทียบ RMS Titanic คือส่วนย่นย่อของโลกทั้งใบ (บางคนตีความถึง Noah’s Ark ก็ได้เช่นกัน) ซึ่งสามารถสะท้อนสภาพสังคมในยุคสมัยนั้น (ช่วงต้นศตวรรษที่ 20th) ยังคงมีการแบ่งแยกชนชั้นสูง-กลาง-ล่าง แทนด้วยผู้โดยสารชั้นหนึ่ง-สอง-สาม ส่วนบรรดาลูกเรือก็คือชนชั้นผู้นำ กลุ่มผู้บริหารประเทศ (ให้เรือลำนี้สามารถเดินทางสู่เป้าหมาย) ก็มีจากระดับบนลงล่าง กัปตัน ต้นหน พนักงานสื่อสาร พ่อครัว พนักงานเสิร์ฟ ช่างเครื่อง และกรรมกรแรงงาน

การพุ่งชนภูเขาน้ำแข็งของ RMS Titanic หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องสุดวิสัย ความโชคร้ายสามารถบังเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าใครเคยรับชม A Night to Remember (1958) ย่อมตระหนักถึงสาเหตุผลแท้จริง ชี้ชัดเลวว่าเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ ประมาทเลินเล่อ เย่อหยิ่งทะนงตน ไม่มีใครเชื่อว่าเรือขนาดใหญ่ลำนี้จะจมลง กัปตัน/พนักงานสื่อสารหลับสบาย ไม่ได้สนใจโทรเลขเตือนภัย ไร้มาตรการรองรับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ฯลฯ

มองในเชิงสัญลักษณ์ก็คือความผิดพลาดในการบริหารจัดการ แทนที่ชนชั้นผู้นำจะใส่ใจผลประโยชน์ของประเทศชาติ มุ่งหน้าสู่เป้าหมายปลายทางแห่งความสำเร็จ มั่นคง ยั่งยืนยาวนาน กลับปล่อยปละละเลย เพิกเฉยเฉื่อยชา (ความคอรัปชั่นคือสิ่งที่ทำให้เรือลำนี้ค่อยๆรั่วไหล) เบิกบานปลายจนเกิดเหตุโศกนาฏกรรมขึ้นมา เมื่อถึงเวลานั้นทุกสิ่งอย่างก็สายเกินแก้ไข ทำให้เกิดความ ‘ล่มจม’ กันถ้วนหน้า

บางคนมอง RMS Titanic คล้ายๆกับหอคอยบาเบล (Tower of Babel) สิ่งก่อสร้างตามปรัมปราในหนังสือปฐมกาล (11:1-9) โดยมีจุดหมายให้สูงถึงสรวงสวรรค์ ต้องการรวบรวมอารยธรรมมนุษย์เข้าไว้ด้วยกัน แต่ยิ่งสร้างกลับยิ่งเกิดความเย่อหยิ่งผยอง จองหอง หลงตัวเอง ครุ่นคิดว่าฉันเก่ง กลายเป็นความต้องการท้าทายพระเจ้า สุดท้ายพอถูก(พระเจ้าดลบันดาลให้)สายฟ้าผ่า หอคอยแห่งนี้เลยพังทลายลงมา … การอับปางลงของเรือ RMS Titanic ก็สะท้อนความเย่อหยิ่งผยอง จองหอง หลงตัวเองของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี!

ไม่ต้องถึงระดับพระเจ้ากับมนุษย์ ยุคสมัยนั้นที่ยังมีการแบ่งแยกสถานะสูง-กลาง-ล่าง ความรักต่างชนชั้นเป็นสิ่งที่สังคมไม่ให้การยินยอมรับ วินาทีที่ Rose พูดคำมั่นสัญญาจะหนีตาม Jack พอดิบพอดี RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็งอย่างจัง! แต่เราสามารถตีความได้สองแง่สองง่าม

  • (ฝั่งอนุรักษ์นิยม) การคบชู้นอกใจเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เพราะจะทำลายทุกสิ่งอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา หรือคือสาเหตุให้เรือ RMS Titanic อับปางลง
  • (ฝั่งเสรีชน) ความรักเป็นสิ่งไม่แบ่งแยกชนชั้นฐานะ โลกที่สร้างขึ้นจากพื้นฐานทางสังคมดังกล่าว/เรือ RMS Titanic (ที่แบ่งแยกผู้โดยสารชั้นหนึ่ง-สอง-สาม) สมควรถูกทำลาย อับปางลงได้แล้ว!

RMS Titatic ยังเป็นตัวแทนของชนชาวอังกฤษ ประเทศที่ยังคงยึดถือมั่นในขนบประเพณี วิถีทางสังคมที่สืบทอดต่อกันมาอย่างเคร่งครัด แต่กลับอับปางลงกลางมหาสมุทร Atlantic ไปไม่ถึงเป้าหมายปลายทาง New York City, สหรัฐอเมริกาคือดินแดนแห่งเสรีภาพ

สำหรับผู้กำกับ Cameron การนำเสนอเรื่องราวความรักระหว่าง Jack & Rose ก็เพื่อเป็นตัวแทนความหลงใหลคลั่งไคล้ต่อการสำรวจซากเรือ RMS Titanic (เปรียบเทียบ Rose=Cameron, Jack=RMS Titanic ที่อับปางลง) อย่างที่อธิบายไปตั้งแต่ต้นว่านั่นคือสิ่งเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน สำคัญกว่าความสำเร็จ สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นเสียอีก!

ตั้งแต่ที่ทำบล็อคนี้มา บอกเลยว่าไม่เคยพบเจอผู้กำกับบ้าระห่ำอย่าง James Cameron ล่อหลอกสตูดิโอจ่ายเงินที่ควรไปนำสร้างหนัง มาเติมเต็มความเพ้อฝัน สำรวจโลกใต้น้ำ “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” โดยตนเองไม่ต้องออกเงินสักแดงเดียว! และคงจะแต่มีบุคคลลักษณะนี้ ที่กล้าให้ตัวละครตะโกนโหวกเหวกบนดาดฟ้าหัวเรือ “I’m King of the World”.


เมื่อตอนที่ 20th Century Fox ตระหนักถึงความล่าช้าของโปรเจค (จากแผนงาน 138 วัน เพิ่มระยะเวลาโปรดักชั่นเป็น 160 วัน) และงบประมาณที่เบิกบานปลายไปไกล เคยครุ่นคิดจะขับไล่ผกก. Cameron แต่เพราะลงทุนไปเยอะแล้ว สายเกินกว่าจะทำอะไร จึงตัดสินใจเข้าหา Paramount Pictures เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ออกเงินคนละครึ่ง ในกรณีถ้าภาพยนตร์เรื่องนี้ขาดทุนย่อยยับ ผลกระทบจะไม่สาหัสสากรรจ์แบบเมื่อครั้น Heaven’s Gate (1980)

หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Tokyo International Film Festival ได้เสียงตอบรับอย่างจืดชืด (ใช้คำว่า tepid) จนกระทั่งเมื่อเข้าฉายช่วงสิ้นปีที่สหรัฐอเมริกา นักวิจารณ์ถึงเริ่มให้คำชื่นชม และมีการเปรียบเทียบ Leo & Kate กับ Clark Gable & Vivien Leigh จากภาพยนตร์ Gone With the Wind (1939)

It is flawlessly crafted, intelligently constructed, strongly acted, and spellbinding … Movies like this are not merely difficult to make at all, but almost impossible to make well.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 4/4

Meticulous in detail, yet vast in scope and intent, Titanic is the kind of epic motion picture event that has become a rarity. You don’t just watch Titanic, you experience it.

นักวิจารณ์ James Berardinelli จาก Reelviews

Cameron’s magnificent Titanic is the first spectacle in decades that honestly invites comparison to Gone With the Wind.

นักวิจารณ์ Janet Maslin จาก The New York Times

ขณะที่คำวิจารณ์ในแง่ลบก็มีอยู่ไม่น้อยทีเดียว ส่วนใหญ่กล่าวถึงบทภาพยนตร์มีความเฉิ่มเชย น้ำเน่า บางสำนักถึงขนาดจัดให้ “the worst movie of all time”

The number of times in this unbelievably badly written script that the two [lead characters] refer to each other by name was an indication of just how dramatically the script lacked anything more interesting for the actors to say.

นักวิจารณ์ Barbara Shulgasser จาก The San Francisco Examiner ให้คะแนน 1/4

the most dreadful piece of work I’ve ever seen in my entire life.

ผู้กำกับ Robert Altman

I agree completely with what Jean-Luc said in this week’s Elle: it’s garbage. Cameron isn’t evil, he’s not an asshole like Spielberg. He wants to be the new De Mille. Unfortunately, he can’t direct his way out of a paper bag. On top of which the actress is awful, unwatchable, the most slovenly girl to appear on the screen in a long, long time. That’s why it’s been such a success with young girls, especially inhibited, slightly plump American girls who see the film over and over as if they were on a pilgrimage: they recognize themselves in her, and dream of falling into the arms of the gorgeous Leonardo.

ผู้กำกับ Jacques Rivette

จากทุนสร้างตั้งต้น $65 ล้านเหรียญ พุ่งทะยานถึง $200 ล้านเหรียญ ยังไม่รวมค่าประชาสัมพันธ์ ต้องทำเงินไม่น้อยกว่า $400-$500 ล้านเหรียญถึงคืนทุนทำกำไร แต่แค่สัปดาห์แรกในสหรัฐอเมริกาทำเงินได้เพียง $28.6 ล้านเหรียญ สร้างความหนาวๆร้อนๆต่ำกว่ายอดคาดหวังไว้ ถึงอย่างนั้นกลับสามารถยืนอันดับหนึ่งยาวนานถึง 15 สัปดาห์ (สิบสัปดาห์แรกล้วนทำเงินเกินกว่า $20 ล้านเหรียญ) รายรับ $600.7 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $1.843 พันล้านเหรียญ สร้างปรากฎการณ์ภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดตลอดกาล! ก่อนถูกโค่นล้มโดย Avatar (2009) ซึ่งก็เป็นผลงานของผกก. Cameron ในอีกทศวรรษถัดมา

ภาพซ้าย George Lucas ทำโปสเตอร์แสดงความยินดีกับ James Cameron ภายหลังจาก Titanic (1997) ทำเงินแซงหน้า Star Wars (1977), ส่วนภาพขวาคือตอน Avengers: Endgame (2019) โค่นสถิติของ Titanic (1997)

ความสำเร็จของหนังไม่ใช่แค่ขณะฉายโรงภาพยนตร์ แต่ยังรวมถึง Home Video เห็นว่ามีการลงทุนทำการตลาดสูงถึง $50 ล้านเหรียญ สามารถทำยอดขาย VHS (Video Home System) สามเดือนแรกในสหรัฐอเมริกาสูงถึง 25 ล้านก็อปปี้ คิดเป็นมูลค่า $500 ล้านเหรียญ, รวมทั่วโลก 58-59 ล้านก็อปปี้ $995 ล้านเหรียญ! (นี่ยังไม่รวม DVD, Blu-Ray, 3D, Boxset ครบรอบ 20 ปี, 25 ปี, บูรณะ 4K ฯลฯ)

ช่วงปลายปีก็กวาดรางวัลเป็นว่าเล่น สามารถเข้าชิง Oscar จำนวน 14 สาขา [ถูกมองข้ามนักแสดงนำชาย (Leonardo DiCaprio) และบทภาพยนตร์] ได้รับการคาดหมายไว้ 7-8 รางวัล แต่สามารถคว้ามาถึง 11 รางวัล สูงสุดเทียบเท่า Ben-Hur (1959) และ The Lord of the Rings: The Return of the King (2003)

  • Best Picture
  • Best Director
  • Best Actress (Kate Winslet) พ่ายให้กับ Helen Hunt จาก As Good as It Gets (1997)
  • Best Supporting Actress (Gloria Stuart) พ่ายให้กับ Kim Basinger จาก L.A. Confidential (1997)
  • Best Art Direction
  • Best Cinematography
  • Best Costume Design
  • Best Film Editing
  • Best Makeup พ่ายให้กับ Men in Black (1997)
  • Best Original Dramatic Score
  • Best Original Song บทเพลง My Heart Will Go On
  • Best Sound
  • Best Sound Effects Editing
  • Best Visual Effects

นักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึงนี้ ปัจจัยหลักๆเกิดขึ้นจากกระแสปากต่อปากของวัยรุ่นสาว (45% ของผู้ชมหนังคือหญิงสาวอายุต่ำกว่า 25 ปี) ที่มีอาการคลั่งรัก “Leo-Mania” หวนกลับมาดูซ้ำนับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะรอบดึกเต็มทุกที่นั่งถึงแถวหน้าสุด

It’s a great movie for 15-year-old girls.

นักวิจารณ์ Scott Meslow จาก The Atlantic

ขณะเดียวกันหนังยังสร้างความประทับใจให้ชายวัยกลางคน (Middle-Aged men) เพราะเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกๆที่ทำให้หลายคนน้ำตาไหลพรากๆออกมา จึงมักแนะนำบอกต่อเพื่อนมิตรสหาย ญาติพี่น้อง ผู้แก่แม่เฒ่า แห่กันออกมาดูกันทั้งครอบครัว

Middle-aged men are not ‘supposed’ to cry during movies. The ending of Titanic as having generated such tears. If they have felt weepy during [this film], have often tried to be surreptitious about it.

นักวิเคราะห์ Finlo Rohrer จาก BBC

แซว: เพราะความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Titanic (1997) ทำให้ James Cameron ได้ส่วนแบ่งกำไรมากพอที่จะออกสำรวจ ประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับถ่ายทำโลกใต้น้ำ สรรค์สร้างสารคดีฉาย IMAX อาทิ Ghosts of the Abyss (2003), Aliens of the Deep (2005) ฯลฯ


ส่วนตัวบอกเลยว่าไม่ชื่นชอบ Titanic (1997) สักเท่าไหร่! เบื่อหน่ายในความพยายาม ‘romanticize’ ปรุงปั้นแต่งทุกอย่างออกมาให้สวยเลิศเลอ หญิงสาวเพ้อฝันถึงเจ้าชายขี่ม้าขาว เรื่องราวน้ำเน่าจนจับต้องไม่ได้ เต็มไปด้วยการชักจูงทางอารมณ์ ‘manipulate’ และเทิดทูนอุดมคติความรักมากเกินไป

ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องชื่นชมในวิสัยทัศน์ ความทะเยอทะยาน และเป็นส่วนตัวของผู้กำกับ James Cameron ไม่ใช่แค่หนังรักๆใคร่ๆ โรแมนติกน้ำเน่า ขาย Visual Effect ตื่นตระการตา แต่ยังแฝงนัยยะที่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม เห็นเพียงความอิจฉาริษยา ประสบความสำเร็จเกินหน้าเกินตา ไม่อยากยินยอมรับว่านี่คือ “King of the world!”

Titanic (1997) ในสายตาของผมอาจไม่ใช่ภาพยนตร์สมควรค่าแก่การ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แต่ยังอยากแนะนำสำหรับผู้ชมทั่วๆไป หรือใครที่มีอคติต่อหนัง อยากให้ลองเปิดใจกว้างสักหน่อย หามารับชมสักครั้งหนึ่ง (ถ้าในโรงภาพยนตร์จอใหญ่ IMAX จะคุ้มค่ามากๆ) อาจพบเห็นความงดงามแฝงนัยยะ เพลิดเพลินกับหายนะระดับ ‘ไททานิค’ แปลว่า ใหญ่โต มหึมา ขนาดยักษา

จัดเรต 13+ กับโศกนาฎกรรม ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น

คำโปรย | Titanic (1997) จดหมายรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของผู้กำกับ James Cameron ไม่มีวันจมหายตามกาลเวลา
คุณภาพ | นิ
ส่วนตัว | ชื่นชม

A Night to Remember (1958)


A Night to Remember (1958) British : Roy Ward Baker ♥♥♥♥

แม้ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายรับ แต่ค่ำคืนนั้นได้รับการจดจำว่าสามารถจุดประกายภาพยนตร์แนวหายนะ (Disaster Films) เต็มไปด้วยรายละเอียดใกล้เคียงประวัติศาสตร์ และอาจยอดเยี่ยมยิ่งกว่าหนังเคยทำเงินสูงสุดในโลกเรื่องนั้น!

คนละค่ำคืนกับหนังตลกลึกลับ A Night to Remember (1942) กำกับโดย Richard Wallace, นำแสดงโดย Loretta Young และ Brian Aherne, A Night to Remember (1958) คือดึกดื่นแห่งหายนะของ RMS Titanic ที่ใครต่อใครอาจรับรู้จักแค่ Titanic (1997) ภาพยนตร์เคยทำเงินสูงสุดในโลกของ James Cameron แต่ยังมีผลงานอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับเรือลำนี้ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า

ขณะที่ Titanic (1997) เล่าเรื่องราวความรักต่างชนชั้นที่อาจคือสาเหตุทำให้เรือล่ม! A Night to Remember (1958) นำเสนอในลักษณะ Docudrama อธิบายเหตุการณ์หายนะเกิดขึ้นจากความเย่อหยิ่ง หลงตัวเอง ไม่มีทางที่ RMS Titanic จะจมลง! ด้วยความคาดหวังให้เป็นบทเรียนสอนใจอะไรบางอย่าง

Every Britisher is proud of the unsinkable Titanic”.

จริงๆคือผมขี้เกียจเขียนถึง Titanic (1997) เพราะคิดว่าบทความต้องยาวมากแน่ๆ ก็เลยมองหาภาพยนตร์เรื่องอื่นที่เกี่ยวกับ RMS Titanic แล้วได้พบเจอฉบับบูรณะ A Night to Remember (1958) ในคอลเลคชั่นของ Criterion แสดงว่ามันต้องมีดี ดูจบบอกเลยว่าโคตรคลาสสิก ด้วยเทคนิคล้ำยุคสมัยนั้น แถมยังพบเห็นอะไรหลายๆสิ่งอย่างที่ James Cameron รีไซเคิลมาใช้กับผลงานตนเอง

สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจฉงนสงสัย ไม่ใช่ว่า RMS Titanic มีการแตกหักสองท่อนระหว่างจมลงหรอกหรือ? คือเราต้องเข้าใจก่อนว่ายุคสมัยนั้น แนวคิดดังกล่าวเป็นเพียงทฤษฎี คำกล่าวอ้างของผู้รอดชีวิต ยังมีการถกเถียงว่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่? ภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยข้อจำกัดด้านเทคนิคและงบประมาณ ก็เลยทำได้เท่านี้แหละ และเห็นว่าเพิ่งมีการค้นพบซากเรืออัปปางเมื่อปี ค.ศ. 1985 ถึงสามารถยืนยันว่าเรือมีการแตกหักสองท่อนจริง!


RMS Titanic ชื่อเต็ม เรือไปรษณีย์หลวงไททานิก (Royal Mail Ship Titanic) เคยเป็นสิ่งของเคลื่อนได้ขนาดใหญ่ที่สุด ดำเนินการโดย White Star Line สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1909-1911 ที่อู่ต่อเรือ Harland and Wolff, Belfast มูลค่า £1.5 million (เทียบเท่า £150 ล้านปอนด์ในปี 2019) ออกแบบโดยวิศวกรชาวอังกฤษ Thomas Andrews สามารถบรรทุกผู้โดยสาร 2,224 คน

เกร็ด: ชื่อเรือ Titanic มาจากปกรณัมกรีก Titans คำเรียกเทพสิบสององค์ที่เรืองอำนาจในช่วงยุคทอง (Golden Age หรือ pre-Olympian) ก่อนถูกล้มล้างอำนาจโดยเทพโอลิมปัส (Olympian) ประกอบด้วยหกชาย Oceanus, Coeus, Crius, Hyperion, Iapetus, Cronus และหกหญิง (มักเรียกว่าTitanides หรือ Titanesses) Theia, Rhea, Themis, Mnemosyne, Phoebe, Tethys

ออกเดินทางเที่ยวแรก (มีคำเรียกว่า Maiden Voyage) จากท่าเรือ Southampton วันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ประสบอุบัติเหตุชนภูเขาน้ำแข็งวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เวลาประมาณ 11:40 PM จมลงสู่ก้นเบื้องมหาสมุทร Atlantic ในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 40 นาที ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1,514 ศพ นับเป็นภัยพิบัติทางทะเลในยามสงบครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

การจมลงของเรือที่ได้รับขนานนามว่า ‘unsinkable’ เป็นเหตุการณ์สร้างความตื่นตระหนก ตกตะลึง เกรี้ยวกราโกรธา โดยเฉพาะความล้มเหลวของกฎระเบียบและปฏิบัติการซึ่งนำไปสู่ภัยพิบัตินั้น รวมถึงมาตรการช่วยเหลือผู้รอดชีวิต การไต่สวนสาธารณะในอังกฤษและสหรัฐอเมริกานำมาซึ่งพัฒนาหลักความปลอดภัยในทะเล จัดตั้งอนุสัญญาความปลอดภัยของชีวิตในทะเลระหว่างประเทศ (Safety Of Life At Sea, SOLAS) เมื่อปี ค.ศ. 1914

เรื่องราวของ RMS Titanic ถือว่ามีมูลค่าทางศิลปะวัฒนธรรมอย่างมากๆ โดยเฉพาะสื่อภาพยนตร์ อาทิ

  • เริ่มจากหนังสั้น Saved from The Titanic (1912) ความยาว 10 นาที ออกฉาย 29 วันหลังหลังเหตุการณ์โศกนาฎรรม น่าเสียดายฟีล์มสูญหายไปกับกองเพลิง
  • La hantise (1912) กำกับโดย Louis Feuillade นำเสนอเรื่องราวของหญิงสาวได้รับการทักจากหมอดู อ่านลายมือว่าคนรักจะเสียชีวิต เธอจึงพยายามร่ำร้องขอสามีไม่ให้เดินทางไปกับเรือ RMS Titanic
  • In Nacht und Eis (1912) นำเสนอการเดินทางของเรือ RMS Titanic จนกระทั่งอับปางลง, ฟีล์มหนังเคยสูญหายไปหลายปี พอมีการค้นพบก็ได้รับการบูรณะโดยทันที
  • Atlantic (1929) หนังพูดกำกับโดย E. A. Dupont แต่มีการเปลี่ยนจากชื่อเรือ RMS Titanic มาเป็น Atlantic และเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีการใช้บทเพลง Nearer, My God, to Thee ขับร้องโดยผู้โดยสารระหว่างกำลังจมลง
  • Titanic (1943) ภาพยนตร์ชวนเชื่อนาซี (Nazi Propaganda) เปลี่ยนตัวละครทั้งหมดเป็นชาวเยอรมัน (โดยใช้ชื่อเรือรบ Titanic) สู้รบทหารอังกฤษ และจมลงอย่างกล้าหาญ
  • Titanic (1953) หนังดราม่าสัญชาติอเมริกัน กำกับโดย Jean Negulesco, นำแสดงโดย Clifton Webb, Barbara Stanwyck, คว้ารางวัล Oscar: Best Original Screenplay และเข้าชิงสาขา Best Art Direction
  • A Night to Remember (1958) ดัดแปลงจากนวนิยาย A Night to Remember (1955) แต่งโดย Walter Lord นำเสนอในลักษณะ DocuDrama ด้วยทุนสร้างภาพยนตร์สูงสุดของประเทศอังกฤษยุคสมัยนั้น
  • The Unsinkable Molly Brown (1968) หนังเพลงเกี่ยวกับชีวิตของ Molly Brown (นำแสดงโดย Debbie Reynolds) ระหว่างโดยสารเรือ RMS Titanic
  • Raise the Titanic (1980) ภาพยนตร์แนวผจญภัย ดัดแปลงจากนวนิยายขายดี Raise the Titanic! (1976) แต่งโดย Clive Cussler ด้วยทุนสร้าง $40 ล้านเหรียญ ขาดทุนย่อยยับเยิน!
  • Titanica (1992) สารคดี IMAX บันทึกภาพการค้นพบซากเรือ RMS Titanic ที่จมลง
  • Titanic (1997) ภาพยนตร์มหากาพย์แนวหายนะ กำกับโดย James Cameron, นำแสดงโดย Leonardo DiCaprio และ Kate Winslet เคยเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดตลอดกาล คว้ารางวัล Oscar ทั้งหมด 11 จาก 14 สาขา รวมถึง Best Picture
  • The Legend of The Titanic (1999) และ Titanic: The Legend Goes On (2000) ต่างคือภาพยนตร์อนิเมชั่นเกี่ยวกับเรือ RMS Titanic
  • The Six (2021) สารคดีเกี่ยวกับคนจีน 6 คนที่รอดชีวิตจากการอับปางของเรือ RMS Titanic

ปล. ผมยังไม่ได้รวมสารคดี มินิซีรีย์ ภาพยนตร์ที่ฉายทางโทรทัศน์อีกนับสิบๆเรื่องนะครับ แล้วเดี๋ยวนี้มีคลิปใน Youtube ที่พยายามอธิบายการจมลงของเรือ RMS Titanic อีกนับไม่ถ้วน (ใครอยากเห็นภาพจำลองสามมิติขณะเรืออับปาง ก็ลองค้นหาดูเองนะครับ)

สำหรับคลิปนำมานี้คือฟุตเทจ Newreel รายงานข่าว(การอับปาง)ของสตูดิโอ Gaumont บันทึกภาพจริงๆของ RMS Titanic ระหว่างออกจากท่าเรือ Southampton

แม้ภาพยนตร์เกี่ยวกับ RMS Titanic จะพบเห็นมากมายตั้งแต่ปีที่อับปางลง แต่กลับไม่มีนวนิยายเรื่องไหนเคยกล่าวอ้างถึงเหตุการณ์ดังกล่าว จนกระทั่ง A Night to Remember (1955) แต่งโดย Walter Lord (1917-2002) นักเขียนชาวอเมริกัน เรียบเรียงบทสัมภาษณ์ผู้รอดชีวิตจำนวน 63 คน ตีพิมพ์ครั้งแรก 60,000 เล่ม ขายหมดเกลี้ยงในระยะเวลาเพียง 2 เดือน!

ปล. แม้ว่า Walter Lord จะเกิดไม่ทันโศกนาฎกรรมดังกล่าว แต่ช่วงวัยเด็กเคยมีโอกาสโดยสารเรือ RMS Olympic ซึ่งถือเป็น ‘sister ship’ ของ RMS Titanic เดินทางไป-กลับ New York สู่ทวีปยุโรป นั่นกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เขาค้นคว้าหาข้อมูล เรียบเรียงเขียนหนังสือเล่มนี้

ปล2. สาเหตุที่ไม่มีใครเขียนถึงโศกนาฎกรรมดังกล่าว คาดเดาไม่ยากว่ายุคสมัยนั้นถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนไหว ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถทำใจยินยอมรับ แต่เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน 3-4 ทศวรรษ ก็เริ่มหลงลืมเลือน เหลือเพียงตำนานเล่าขาน ที่ต้องรื้อฟื้นกันขึ้นมาเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม!

ความสำเร็จอย่างล้นหลามของภาพยนตร์ดราม่า Titanic (1953) ทำให้กระแสเกี่ยวกับเรือ RMS Titanic ได้รับความสนใจขึ้นอีกครั้ง นั่นรวมถึงหนังสือ A Night to Remember (1955) ขายดีระดับ Best-Selling ทำให้มีการแก่งแย่งซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงโดยทันที!

ครั้งแรกได้รับการสร้างเป็น TV Play โดยสถานีโทรทัศน์ NBC รวมอยู่ในซีรีย์ Kraft Television Theatre ซีซัน 9 ตอนที่ 25 ออกอากาศวันที่ 28 มีนาคม 1956, กำกับโดย George Roy Hill, ดัดแปลงบทโดย John Whedon (บิดาของผู้กำกับ Joss Whedon) ด้วยคำโปรโมทสุดอลังการ “the biggest, most lavish, most expensive thing of its kind” 31 ฉาก, 107 นักแสดง, ถังน้ำ 3,000 แกลอน, มีผู้ชมกว่า 28 ล้านคน, เข้าชิง Emmy Award ห้าสาขา และคว้ารางวัล Best Live Camera Work

สำหรับฉบับภาพยนตร์ มีจุดเริ่มต้นจากโปรดิวเซอร์ William MacQuitty เมื่อครั้นวัยเด็กเคยพบเห็น RMS Titanic ออกจากอู่สร้างที่ Belfast พอมีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ (ได้รับจากภรรยา) จึงรีบติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงโดยทันที (ตัดหน้าสตูดิโอใหญ่ๆก่อนที่ TV Play จะออกฉาย) และมอบหมายหน้าที่กำกับให้ Roy Ward Baker (1916-2010) ซึ่งก็มีความสนใจไม่ต่างกัน

Roy Ward Baker ชื่อเดิม Roy Horace Baker (1916-2010) ผู้กำกับภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ London บิดาเป็นพ่อค้าปลา โตขึ้นจับพลัดจับพลูได้งานเด็กเสิร์ฟชาที่ Gainsborough Studios ไต่เต้าจนจนกลายเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ, ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อาสาสมัครทหารเข้าร่วม Army Kinematograph Unit, กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก The October Man (1947), โด่งดังกับ A Night to Remember (1958), หลังจากนั้นขยันสร้างหนัง Horror เกรดบี อาทิ The Vampire Lovers (1970), Scars of Dracula (1970), Asylum (1972), The Vault of Horror (1973) ฯลฯ

สำหรับบทภาพยนตร์ดัดแปลงโดย Eric Ambler (1909-98) นักเขียนนวนิยาย/ดัดแปลงบทภาพยนตร์ ก่อนหน้านี้มีผลงาน อาทิ The October Man (1947), The Cruel Sea (1953), Yangtse Incident: The Story of H.M.S. Amethyst (1957) ฯลฯ


ถ่ายภาพโดย Geoffrey Unsworth (1914-78) ตากล้องระดับตำนาน สัญชาติอังกฤษ เริ่มต้นทำงานยัง Gaumont British ต่อด้วยเป็นผู้ช่วยตากล้องในหลายๆผลงานของ Powell and Pressburger จนกระทั่งได้รับเครดิตถ่ายภาพเมื่อย้ายมา Rank Organisation ผลงานเด่นๆ อาทิ A Night to Remember (1958), Becket (1964), 2001: A Space Odyssey (1968), Cabaret (1972), Murder on the Orient Express (1974), A Bridge Too Far (1977), Superman (1978), Tess (1979) ฯลฯ

งานภาพของหนังอาจไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียด Mise-en-scène แต่เต็มไปด้วยลูกเล่น Special Effect และผสมผสานระหว่างการเข้าฉากของนักแสดงยังฉากขนาดเท่าของจริง (เห็นว่ามีประมาณ 30 ฉากที่สร้างขึ้น) และโมเดลจำลอง (miniature) ถ่ายทำในแท้งค์น้ำที่สตูดิโอ Pinewood, London คลุกเคล้าเข้ากันได้อย่างแนบเนียน

ทศวรรษ 50s เป็นช่วงเวลาของหนังมหากาพย์สุดยิ่งใหญ่ ‘Historical Epics’ อาทิ Quo Vadis (1951), Helen of Troy (1956), The Ten Commandments (1956), Ben-Hur (1959) ฯลฯ ซึ่งล้วนถ่ายทำด้วยฟีล์มสี Eastmancolor หรือ Technicolor แต่แปลกที่ A Night to Remember (1958) กลับเลือกถ่ายทำด้วยฟีล์มขาว-ดำ … ผมคาดว่าเพราะหนังนำเสนอหายนะ เหตุการณ์โศกนาฎกรรม (เหมือนเป็นการไว้อาลัยให้ผู้เสียชีวิต) แถมเรื่องราวส่วนใหญ่ถ่ายทำตอนกลางคืน จึงไม่มีความจำเป็นในการถ่ายทำด้วยฟีล์มสีให้สิ้นเปลือง

ปล. ผมเห็นคลิปหนังใน Youtube มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แปลงสี ‘Colorization’ แต่เท่าที่ดูผ่านๆรู้สึกว่ามันไม่ค่อยเวิร์คสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะความไม่สมจริงของโมเดลจำลอง (miniature) มีความชัดเจนขึ้นกว่าฉบับฟีล์มขาว-ดำ


ขอเริ่มจากโมเดลจำลองเรือ RMS Titanic ทำการว่าจ้างบริษัท Shawcraft Models ออกแบบโดย Bill Warrington ใช้โครงเหล็กเพื่อความแข็งแกร่งทนทาน ขนาดความยาว 35 ฟุต (=10.7 เมตร) ก่อสร้างนาน 6 สัปดาห์ แถมยังต้องติดตั้งหลอดไฟฟ้าภายในเรือ สามารถควบคุมติด-ดับได้จากภายนอก และความที่แท้งค์น้ำใน Pinewood Studios ไม่ได้มีความลึกสักเท่าไหร่ (ดูจากภาพจะเห็นคนยืนในแท้งค์น้ำ ความสูงระดับเอวเท่านั้น) เลยยังต้องออกแบบให้สามารถแบ่งแยกชิ้นส่วนหัว-ท้ายออกจากกัน

เกร็ด: ใครอยากรับชมเบื้องหลังการงานสร้าง ให้ลองหาสารคดี The Making of “A Night to Remember” (1993) มีอยู่ใน Special Feature ของค่าย Criterion Collection

นอกจากโมเดลจำลอง หนังยังต้องสร้างเรือขนาดเท่าของจริงสำหรับถ่ายทำร่วมกับนักแสดง แต่ก็ไม่ได้เริ่มต้นจากนับหนึ่งนะครับ สามารถติดต่อขอเรือที่สิ้นอายุใช้งาน RMS Asturias สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1925 พานผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง ปลดประจำการเมื่อปี 1957 กำลังรอคอยแยกชิ้นส่วนอยู่ที่ท่าเรือ His Majesty’s Naval Base, Clyde (HMNB Clyde) หรือ Faslane

เอาจริงๆภาพซ้าย RMS Asturias (ความยาวเรือ 630 ฟุต, 192.18 เมตร) มีขนาดเล็กกว่าภาพขวา RMS Titanic (882″9 ฟุต, 269.1 เมตร) แต่หนังไม่ได้ถ่ายทำทั้งลำนะครับ เพียงแค่ฉากภายนอกบางส่วน และบนดาดฟ้าเท่านั้นเอง (ส่วนภายในเรือ สร้างฉากถ่ายทำยังสตูดิโอ Pinewood)

เกร็ด: เพื่อความสมจริงในรายละเอียดถ่ายทำ หนังมีที่ปรึกษา (Technical Advisors) นับสิบๆคนจากทั้งผู้รอดชีวิต และผู้บัญชาการทหารเรืออังกฤษ บางคนเดินทางมาเยี่ยมเยือนกองถ่าย ร่วมแสดงรับเชิญ และเห็นว่ามีคนหนึ่งครุ่นคิดจะฆ่าตัวตายไปพร้อมกับเรือ

สำหรับฉากล่องลอยคอกลางมหาสมุทร Atlantic ใช้สถานที่อ่างเก็บน้ำ/ชายหาดเทียม Ruislip Lido อยู่ย่าน West London ถ่ายทำเวลาตีสอง ช่วงเดือนพฤศจิกายน อากาศกำลังหนาวเหน็บ ทีแรกไม่มีใครอยากกระโดดลงน้ำ แต่หลังจากนักแสดงนำ Kenneth More อาสาทำเป็นแบบอย่าง แค่เพียงสัมผัสความหนาวเย็นเข้ากระดูก ก็ตระหนักว่าคิดผิดอย่างรุนแรง!

I leaped. Never have I experienced such cold in all my life. It was like jumping into a deep freeze just like the people did on the actual Titanic. The shock of the cold water forced the breath out of my lungs. My heart seemed to stop beating. I felt crushed, unable to think. I had rigor mortis, without the mortis. And then I surfaced, spat out the dirty water and, gasping for breath, found my voice. ‘Stop!’ I shouted. ‘Don’t listen to me! It’s bloody awful! Stay where you are!’ But it was too late, as the extras followed suit.

Kenneth More

ภาพวาดที่อยู่ในห้องนั่งเล่นชั้น First Class มีชื่อว่า Approach to the New World มุ่งสู่ท่าเรือ New York ผลงานของ Norman Wilkinson (1878–1971) ซึ่งมีการอ้างอิงถึงในหนังสือของ Walter Lord แต่จริงๆแล้วเป็นภาพที่เขาเคยพบเห็นบนเรือ RMS Olympic ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ยัง Southampton City Museums

ส่วนภาพจริงๆที่อยู่บนเรือ RMS Titanic คือท่าเรือ Plymouth Harbour ซึ่งก็วาดโดย Norman Wilkinson ใครช่างสังเกตจะสามารถพบเห็นภาพนี้ใน Titanic (1997)

สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกอึ้งทึ่ง อดไม่ได้จะพูดกล่าวถึง คือการถ่ายมุมกล้องเอียงๆ นี่ไม่ใช่แบบ Titanic (1997) ที่มีงบประมาณสำหรับสร้างฉากบนเครื่องไฮดรอลิก แล้วสามารถปรับระดับความลาดชัน ลื่นไถลเหมือนมีแรงโน้มถ่วง แต่สำหรับ A Night to Remember (1958) ทุกช็อตฉากที่พบเห็นความเฉียงๆ ล้วนเป็นการละเล่นกับมุมกล้อง และนักแสดงพยายามยืนอย่างเอียงๆ ได้ยังไงกัน!

หนังพยายามอย่างยิ่งจะนำเสนอความเพิกเฉยเฉื่อยชาของเรือ SS Californian เพราะจอดอยู่ไม่ห่างไกลจาก RMS Titanic ถูกตั้งคำถามว่าถ้าเดินทางมาช่วยเหลือได้ทันท่วงที จะสามารถหยุดยับยั้ง/ลดการสูญเสียจากเหตุโศกนาฎกรรม แต่หลังจากมีการสืบสวนสอบสวนของ Marine Accident Investigation Branch (MAIB) กลับแถลงข้อสรุปอย่างข้างๆคูๆ แถไถจนสีข้างถลอก ฟังไม่ขึ้นเลยสักนิด

the effect of Californian taking proper action would have been no more than to place on her the task actually carried out by Carpathia, that is the rescue of those who escaped … [no] reasonably probable action by Captain Lord could have led to a different outcome of the tragedy.

ตัดต่อโดย Sidney Hayers (1921-2000) ผู้กำกับ/นักตัดต่อสัญชาติอังกฤษ จากเคยทำงานแผนกเสียง เลื่อนมาเป็นนักตัดต่อ จากนั้นกลายเป็นผู้กำกับกองสอง A Night to Remember (1958), A Bridge Too Far (1977) และมีผลงานกำกับ อาทิ Rebound (1959) ฯลฯ

ด้วยความที่หนังใช้แนวคิดของ DocuDrama เลยไม่ได้นำเสนอผ่านมุมมองตัวละครหนึ่งใด แต่ใช้ RMS Titanic คือจุดศูนย์กลางเรื่องราว โดยทำการร้อยเรียงชุดภาพผู้คนจากหลากหลายระดับ/ชนชั้นฐานะ เมื่อต้องเผชิญหน้าเหตุการณ์ต่างๆ พวกเขาจะมีเรื่องราว ปฏิกิริยาแสดงออกเช่นไร

  • ก่อนการออกเดินทาง
    • ร้อยเรียงภาพผู้คนร่ำลาญาติมิตรสหาย เตรียมตัวเพื่อเดินทางขึ้นเรือ RMS Titanic
  • กิจวัตรของผู้คนบนเรือ RMS Titanic
    • ดินเนอร์ของผู้โดยสารชั้น 3, ชั้น 2 และ First Class
    • ภาพการทำงานของลูกเรือ จากแรงงานระดับล่าง แผนกสื่อสาร ต้นหน กัปตัน รวมถึงเรือลำอื่นๆที่อยู่บริเวณย่านน้ำนั้น
    • กัปตันได้รับคำเตือนเกี่ยวกับภูเขาน้ำแข็งแต่กลับเพิกเฉยเฉื่อยชา เจ้าหน้าที่สื่อสารก็มัวยุ่งวุ่นวายอยู่กับการส่งโทรเลขส่วนตัว
  • การพุ่งชนภูเขาน้ำแข็ง
    • RMS Titanic พุ่งชนภูเขาน้ำแข็ง หลังตรวจสอบความเสียหายพบว่าเรือกำลังจะอับปาง
    • พยายามติดต่อขอความช่วยเหลือจากเรือที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
    • ทำการอพยพผู้โดยสารชั้นหนึ่งลงเรือชูชีพ
    • ความชุลมุนวุ่นวายเริ่มเกิดขึ้นเมื่อผู้โดยสารชั้นสอง-สาม ขึ้นมาถึงดาดฟ้า
    • ความพยายามครั้งสุดท้ายเมื่อเรือกำลังจมลง
  • ภายหลังการอับปางของ RMS Titanic
    • ผู้รอดชีวิตล่องลอยคออยู่บนผืนน้ำอันหนาวเหน็บ ก่อนได้รับความช่วยเหลือจาก RMS Carpathia

การร้อยเรียงชุดภาพผู้คนโดยไม่เจาะจงกลุ่มคนหนึ่งใด ถือเป็นการสร้างสัมผัสกวีภาพยนตร์ ให้ผู้ชมพบเห็นเรื่องราวจากหลากหลายมุมมอง คลอบคลุมเหตุการณ์ทั้งหมด แม้วิธีการนี้จะทำให้หนังดูวุ่นๆวายๆ ไม่รู้จะเชียร์ใครให้เอาตัวรอด แต่ถือว่าสอดคล้องแนวคิด DocuDrama กึ่งสารคดีผสมเหตุการณ์จริง!


เพลงประกอบโดย William Alwyn (1905-1985) คีตกวีสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Northampton วัยเด็กหลงใหลใน Flute และ Piccolo เข้าศึกษาต่อยัง Royal Academy of Music ณ กรุง London จากนั้นเป็น Flautist ให้กับ London Symphony Orchestra ขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์สอนทฤษฎีดนตรี แล้วมีโอกาสทำเพลงออร์เคสตรา Concerto, Piano Suite, Chamber Music, ละครเวที และประกอบภาพยนตร์ อาทิ The True Glory (1945), The October Man (1947), Odd Man Out (1947), The Crimson Pirate (1952), A Night to Remember (1958), The Running Man (1963)

อาจเพราะหนังต้องการสร้างบรรยากาศสมจริง บทเพลงส่วนใหญ่ที่ได้ยินจึงเป็นการบรรเลงของวงดนตรีในลักษณะ ‘diegetic music’ แต่ก็มีอยู่สองสามครั้งเพื่อเสริมเติมบรรยากาศความวุ่นๆวายๆ (ระหว่างการอพยพลงเรือชูชีพ และขณะ RMS Titanic กำลังจะจมลง) ถึงมีการแทรกใส่ Soundtrack ที่เต็มไปด้วยความสับสนอลม่าน

Opening Theme เริ่มต้นด้วยท่วงทำนองแสดงถึงความยิ่งใหญ่อลังการของเรือ RMS Titanic แล้วจะค่อยๆได้ยินเสียงที่มอบสัมผัสอันตราย สิ่งชั่วร้าย หายนะกำลังคืบคลานเข้ามา นำเสนอในลักษณะของ ‘Impressionist’ ไม่ได้บีบเค้นคั้น หรือสร้างอารมณ์สิ้นหวังขนาดนั้น!

แม้จะไม่ใช่ครั้งแรกของภาพยนตร์เกี่ยวกับ RMS Titanic ที่มีการใช้บทเพลง Nearer My God to Thee (แทบจะกลายเป็นชาติประจำเรือ Titanic) ได้ยินระหว่างเรือกำลังจมลงสู่ก้นเบื้อง Atlantic … ครั้งแรกคือ Atlantic (1929) ผู้โดยสารที่ตกค้างบนเรือ ร่วมกันขับร้องประสานเสียง

แต่ A Night to Remember (1958) คือครั้งแรกที่มีการนำวงดนตรีมาทำการแสดง รวมถึง ‘diegetic music’ บทเพลงอื่นๆ อาทิ Off to Philadelphia, Barbary Bell, The Blue Danube, Funeral March ฯลฯ

เกร็ด: James Cameron ชื่นชอบวงดนตรีนี้มากๆ ถึงขนาดรีไซเคิลแนวคิด (รวมถึงบทเพลง Nearer My God to Thee) รวมถึงเพิ่มเติมประโยคเด็ดใน Titanic (1997)

ภาพยนตร์แนวหายนะในยุคแรกๆ ไม่ได้มุ่งเน้นความน่าตื่นตาตื่นใจ อลังการงานสร้าง หรือทุ่มงบประมาณมหาศาลกับ Special/Visual Effect แต่มักนำเสนอปัญหาของการเอาตัวรอด มีบางสิ่งอย่างเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ อันเนื่องจากความเพิกเฉยเฉื่อยชา ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ถ้ามีมาตรการป้องกันที่ดีกว่านี้ ก็อาจไม่เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมขึ้นก็เป็นได้

หายนะที่เกิดขึ้นกับ RMS Titanic ไม่ได้มีสาเหตุหลักจากการพุ่งชนภูเขาน้ำแข็ง แต่คือความประมาทเลินเล่อ เย่อหยิ่งทะนงตนของผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย ไม่มีใครเชื่อว่าเรือขนาดใหญ่ลำนี้จะสามารถจมลง กัปตัน/พนักงานสื่อสารหลับสบาย ไม่ได้สนใจโทรเลขเตือนภัย ไร้มาตรการรองรับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ฯลฯ

What troubled people especially was not just the tragedy—or even its needlessness—but the element of fate in it all. If the Titanic had heeded any of the six ice messages on Sunday … if ice conditions had been normal … if the night had been rough or moonlit … if she had seen the berg fifteen seconds sooner—or fifteen seconds later … if she had hit the ice any other way … if her watertight bulkheads had been one deck higher … if she had carried enough boats … if the Californian [just 10 miles away] had only come. Had any one of these ‘ifs’ turned out right, every life might have been saved. But they all went against her—a classic Greek tragedy.

Walter Lord

A Night to Remember (1958) แค่ชื่อก็พยายามเรียกร้องขอให้ผู้ชม/ผู้อ่าน จดจำเหตุการณ์นี้ไว้ ไม่มีใครอยากให้โศกนาฎกรรมบังเกิดขึ้น แต่เมื่อมีเหตุสุดวิสัย ภัยพิบัติ เราต้องรู้จักมีสติ ควบคุมตนเอง ไม่ตกอยู่ในความประมาท และทำตามกฎระเบียบ/มาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

อีกสิ่งหนึ่งที่เราสามารถเรียนรู้จาก A Night to Remember (1958) คือปฏิกิริยาแสดงออกเมื่อต้องเผชิญหน้าหายนะ ตระหนักว่าความตายใกล้เข้าเยือน บางคนยินยอมรับโชคชะตา บางคนเสียสละเพื่อเกียรติ/ศักดิ์ศรี บางคนพยายามต่อสู้ดิ้นรน ทำทุกสิ่งอย่างโดยไม่สนห่าเหวอะไรทั้งนั้น … ไม่ใช่ทุกคนสามารถเผชิญหน้าความหวาดกลัว แล้วจะหลงเหลือความเป็นมนุษย์


ด้วยงบประมาณ £600,000 ปอนด์ (ประมาณ £13.1 ล้านปอนด์เมื่อเทียบค่าเงินปี 2019) น่าจะเป็นภาพยนตร์ทุนสร้างสูงสุดของประเทศอังกฤษขณะนั้น ไม่มีรายงานรายรับ เพียงบอกว่าทำรายได้ปานกลาง (เพราะใช้งบค่อนข้างเยอะ เลยไม่กำไรสักเท่าไหร่)

แต่หนังได้เสียงตอบรับดีมากๆจากนักวิจารณ์ สามารถคว้ารางวัล Golden Globe Award: Best English-Language Foreign Film (สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ) นอกจากนี้ยังได้รับคำชื่นชมจากนักประวัติศาสตร์ นำเสนอเรื่องราวได้ใกล้เคียงเหตุการณ์จริง

และ A Night to Remember (1958) ยังถือเป็นภาพยนตร์ที่จุดประกายยุคสมัย “The Golden Age of the Disaster Film” เริ่มจาก Airport (1970), ติดตามด้วย The Poseidon Adventure (1972), Earthquake (1974), The Towering Inferno (1974) ฯลฯ

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ HD ตั้งแต่ปี 2012 โดย Criterion Collection ในแผ่น DVD/Blu-Ray ยังมีแถมสารคดีเกี่ยวกับ RMS Titanic อีกสามเรื่อง The Making of “A Night to Remember” (1993), En natt att minnas (1962) และ The Iceberg That Sank the “Titanic” (2006) สามารถหารับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel

เพราะความสำเร็จอย่างเว่อวังอลังการของ Titanic (1997) ทำให้ผมไม่ได้คาดหวังอะไรกับ A Night to Remember (1958) แต่ผลลัพท์ต้องบอกเลยว่าผิดคาด! แม้ด้วยข้อจำกัดยุคสมัยนั้น กลับสามารถสร้างแรงดึงดูด ยังดูมีความยิ่งใหญ่ ตื่นตระการตา แม้ไม่มีใครให้เชียร์ว่ารอดหรือไม่รอด แต่นำเสนอภาพรวมของหายนะ โศกนาฎกรรม ได้อย่างโคตรๆน่าจดจำ

เอาจริงๆการเปรียบเทียบระหว่าง A Night to Remember (1958) และ Titanic (1997) ไม่ใช่สิ่งถูกต้องสักเท่าไหร่ เพราะแม้ต่างเกี่ยวกับข้องกับการอัปปางของ RMS Titanic แต่นัยยะสาระของทั้งสองเรื่องมีความแตกต่างกันมากๆ ขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้จะชื่นชอบความสมจริงในลักษณะ DocuDrama หรือการ ‘romanticize’ ใส่ความโรแมนติกให้กับเหตุการณ์โศกนาฎกรรม

จัดเรต 13+ กับโศกนาฎกรรม

คำโปรย | A Night to Remember ค่ำคืนแห่งโศกนาฎกรรมที่สมควรได้รับการจดจำ
คุณภาพ | น่จำ
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

The Cyclist (1989)


The Cyclist (1989) Iranian : Mohsen Makhmalbaf ♥♥♥♡

ภรรยาล้มป่วยหนักไม่มีเงินค่ารักษา สามีจึงตัดสินใจปั่นจักรยาน 7 วัน 7 คืน อยากจะทำเหมือน Ace in the Hole (1951) แต่ก็ได้แค่เวียนวนไปวนมา วังวนแห่งหายนะของผู้อพยพชาว Afghan

หลายคนน่าจะรับรู้จัก The Cyclist (1989) และ Mohsen Makhmalbaf จากการกล่าวอ้างถึงในโคตรภาพยนตร์กึ่งสารคดี Close-Up (1990) ของ Abbas Kiarostami ที่ชายคนหนึ่งแอบอ้างตัวเองเป็นผกก. Makhmalbaf และยังพูดบอกว่า “the cyclist is a part of me”.

แต่ก่อนหวนกลับไป revisit ภาพยนตร์เรื่องนั้น ผมเลยตัดสินใจลองหา The Cyclist ที่ก็ไม่รู้ออกฉายปี 1987 หรือ 1989 (ใน Wikipedia และ IMDB ขึ้นคนละปี แถมในเว็บไซด์ทางการ makhmalbaf.com หน้าโปรไฟล์ขึ้น 1987 แต่พอคลิกเข้าไปบอกออกฉาย 1989) อาจจะหารับชมยากสักหน่อย คุณภาพตามมีตามเกิด ลีลาตัดต่อแม้งก็ฉวัดเฉวียน ชวนให้วิงเวียนศีรษะ แต่ต้องยอมรับแนวคิดถือว่าน่าสนใจ

สิ่งที่ผมรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ คือผกก. Makhmalbaf พยายามสอดไส้/ยัดเยียดประเด็นการเมืองจนล้นทะลัก แถมนำเสนอแบบผ่านๆโดยไม่มีที่มาที่ไป อะไรก็ไม่รู้โคตรชุลมุนวุ่นวาย มันเลยไม่ค่อยเพลิดเพลินผ่อนคลายแบบ Ace in the Hole (1951) ของผู้กำกับ Billy Wilder เพียงความเหน็ดเหนื่อย ท้อแท้สิ้นหวังในการรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้


Mohsen Makhmalbaf, محسن مخملباف (เกิดปี 1957) ผู้กำกับสัญชาติ Iranian เกิดที่ Tehran, เมื่ออายุ 15 เข้าร่วมกลุ่มต่อต้านสมเด็จพระเจ้าชาห์ Mohammad Reza Pahlavi (1919-80), แล้วตอนอายุ 17 เคยใช้มีดทิ่มแทงตำรวจนายหนึ่ง จริงๆถูกตัดสินโทษประหารชีวิต แต่หลังจากติดคุกอยู่ห้าปีได้รับการปล่อยตัวในช่วง Iranian Revolution (1978-79) เพราะสามารถโค่นล้มระบอบกษัตริย์ เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran)

I was in jail four and a half years. When I came out, I continued the same struggle against injustice, but instead of using weapons, I began to use art and cinema.

Mohsen Makhmalbaf

ช่วงระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ Makhmalbaf ใช้เวลาว่างอ่านหนังสือกว่า 2,000+ เล่ม หลังได้รับการปล่อยตัวก็เริ่มเกิดความสนใจในสื่อภาพยนตร์ กลายมาเป็นช่างภาพ ตากล้อง เขียนเรื่องสั้น พัฒนาบทหนัง Towjeeh (1981), Marg Deegari (1982), กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Tobeh Nosuh (1985) ถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิก Iranian New Wave โด่งดังจากผลงาน The Cyclist (1989), Once Upon a Time, Cinema (1992), Hello Cinema (1995), A Moment of Innocence (1996), Gabbeh (1996), Kandahar (2001) ฯลฯ

สำหรับ بايسيكلران อ่านว่า Bicycle-ran ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ The Cyclist ได้แรงบันดาลใจจากประสบการณ์วัยเด็กของผกก. Makhmalbaf พบเห็นนักปั่นจักรยานชาว Pakistani ประกาศจะปั่นจักรยานต่อเนื่องยาวนานสิบวัน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ประเทศ Pakistan

When I was ten years old there were rumors that in a basketball field located in Khorasan Sq., in Tehran, a Pakistani cyclist has got onto a bicycle and wants to cycle for 10 constant days for helping the flood victims of Pakistan.

Mohsen Makhmalbaf

แต่ในความเป็นจริงไม่ได้มีการนำเงินไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอะไรหรอก เพียงข้ออ้างสำหรับล่อหลอกผู้ชมจ่ายค่าตั๋ว 5 เรียลอิหร่าน ยามค่ำคืนมักแอบสลับสับเปลี่ยนคนปั่น วันหลังๆจะมีการตั้งร้านรวง ขยับขยายกลายเป็นเทศกาลงานวัดขนาดย่อมๆ (Carnival)

Later I heard that the same man has repeated this story in other cities. I can even say that sometimes the cyclist is not a special person in some places; it is a class, a society, and a nation. 

บทร่างแรกของหนัง ผกก. Makhmalbaf แทบไม่ได้ปรับเปลี่ยนรายละเอียดใดๆจากความทรงจำวัยเด็ก แตกต่างเพียงตอนจบเมื่อนักปั่นจักรยานหยุดปั่น เขาไม่สามารถก้าวเดินเป็นเส้นตรง วนไปวนมาอยู่รอบฝูงชน แล้วทิ้งตัวล้มลงขาดใจตาย … แต่บทร่างดังกล่าวก็ถูกทัดทานจากโปรดิวเซอร์ “Why don’t you think more globally?”

I really liked to make the story as I wrote it first. I mean when the cyclist apparently succeeded and stopped cycling he could not walk on a straight line anymore. He went towards the mass crowd in the opposite street in circles from this Bazaar and in a place, a little further, when he had finished his work, he died.

ผกก. Makhmalbaf เลยต้องลบภาพความทรงจำที่เคยพบเห็นยัง Khorasan Square มาพัฒนาเรื่องราวจากมุมมองของนักปั่นจักรยาน เปลี่ยนจากสัญชาติ Pakistani มาเป็นผู้อพยพชาว Afghan และแทนที่จะมีเป้าหมายช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ นำเสนอความจำเป็นที่ต้องหาเงินจ่ายค่ารักษาภรรยาล้มป่วยหนัก


เรื่องราวของ Nasim (รับบทโดย Moharram Zaynalzadeh) ผู้อพยพชาว Afghani จำต้องหาเงินมาเป็นค่ารักษาภรรยาล้มป่วยหนัก ในตอนแรกรับจ้างขุดบ่อแต่โดนนายจ้างเบี้ยวค่าแรง กำลังจะรับงานลักลอบขนคนเข้าเมืองกลับถูกตำรวจบุกตรวจค้น และเคยคิดสั้นจะให้รถเหยียบดันไม่มีใครให้ความสนใจ

ความที่ในอดีตเคยเป็นแชมป์แข่งขันจักรยานมาราธอน เลยได้รับการท้าทายให้ปั่นวนรอบจัตุรัส 7 วัน 7 คืน เพราะไม่มีหนทางอื่นจึงจำยินยอมตอบตกลง จากผู้ชมไม่กี่คนค่อยๆขยับขยาย มีผู้คนมากมายเดินทางมารับชม ขณะเดียวกันบรรดาคนใหญ่คนโตต่างพยายามหาหนทางกีดขัดขวาง ไม่ต้องการให้ Nasim สามารถปั่นจักรยานได้ครบกำหนด


Moharram Zaynalzadeh (เกิดปี 1951), محرم زینال‌زاده นักแสดงสัญชาติ Iranian เกิดที่ Khoi, West Azerbaijan (ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน) เข้าเรียนการแสดงยัง Tehran Art Institute จบออกมาเป็นนักแสดงละครเวที มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก Zangha (1985), เคยร่วมงานผู้กำกับ Mohsen Makhmalbaf ตั้งแต่ The Peddler (1987), The Cyclist (1989), A Moment of Innocence (1996) ฯลฯ

รับบท Nasim ชายผู้มีความหมดสิ้นหวังกับชีวิต เพราะเป็นผู้อพยพจาก Afghan เลยไม่ได้รับโอกาสเหมือนชาวอิหร่าน แต่เขาก็ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่าง เพื่อหาเงินมาจ่ายค่ารักษาภรรยา ตอบตกลงปั่นจักรยานเจ็ดวันเจ็ดคืน ครึ่งหลับครึ่งตื่น แต่พอครบกำหนดกลับไม่สามารถหยุดยับยั้งตนเอง

การแสดงของ Zaynalzadeh ถือว่ามีความซับซ้อนทางอารมณ์ ถ่ายทอดผ่านสีหน้าท่าทาง เต็มไปด้วยความเหน็ดเหนื่อย ท้อแท้สิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยาก เพราะไม่ต้องการให้เรื่องร้ายๆเกิดขึ้นกับครอบครัว (รวมถึงฝันเห็นบุตรชายพลัดตกหลุม) มันจึงเป็นแรงผลักดันต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ให้เขาปั่นจักรยาน ล้มลุกคลุกคลาน จนไม่สามารถหยุดยับยั้ง สูญสิ้นสติสัมปชัญญะ กลายเป็นบุคคลไร้ซึ่งวิญญาณ

ตัวละคร Nasim ถือเป็นตัวแทนผู้อพยพชาว Afghan ที่พอหลบหนีเข้าสู่อิหร่าน ตกอยู่ในสภาพราวกับ ‘หนีเสือปะจระเข้’ ไร้ซึ่งสิทธิ เสรีภาพ ไม่ได้รับโอกาสอะไรใดๆ หนำซ้ำยังถูกกดขี่ข่มเหง เอารัดเอาเปรียบ ใช้แรงงานเยี่ยงทาส ถือเป็นพลเมืองชั้นสาม … ปัจจุบันก็เหมือนว่ายังคงเป็นเช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลง


ถ่ายภาพโดย Ali Reza Zarrindast (เกิดปี 1945), علیرضا زرین‌دست ตากล้องสัญชาติอิหร่าน เข้าสู่วงการตั้งอายุ 20 ปี จากเป็นช่างภาพนิ่ง ผู้ควบคุมกล้อง (Camera Operator) เริ่มมีชื่อเสียงจาก Goodbye Friend (1971), The Report (1977), The Peddler (1987), The Cyclist (1989), Close-Up (1990) ฯลฯ

แม้คุณภาพฟีล์มหนังจะห่วยสักแค่ไหน แต่เพชรในตมก็ยังคือเพชร ต้องชมวิสัยทัศน์ของผู้กำกับ Makhmalbaf โดยเฉพาะการเลือกทิศทางมุมกล้อง บันทึกภาพบรรยากาศโดยรอบ มีความมากมาย หลากหลาย เก็บรายละเอียดได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เต็มไปด้วยความแปลกใหม่ ครุ่นคิดถ่ายทำออกมาได้ยังไงกัน

ความโคตรๆเก็บรายละเอียดของหนัง ชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ของ Robert Bresson ที่เต็มไปด้วยช็อตระยะใกล้ (Close-Up Shot) และมักสลับสับเปลี่ยนทิศทางมุมกล้อง เพื่อผู้ชมสามารถพบเห็นสิ่งที่อยู่ในสายตาตัวละคร (บางครั้งก็ตัดสลับใบหน้านักแสดง เพื่อให้เห็นว่ากำลังจับจ้องมองสิ่งๆนั้นอยู่)

ผมหารายละเอียดได้แค่ว่าหนังถ่ายทำในกรุง Tehran แต่ไม่แน่ใจว่ายัง Khorasan Square สถานที่ที่ผู้กำกับ Makhmalbaf เคยพบเห็นการปั่นจักรยานเมื่อครั้งสมัยวัยเด็กหรือเปล่า (ผมลองค้นหาใน Google Maps แต่กลับไม่ค่อยมีภาพถ่าย Street View เหมือนว่าอิหร่านจะไม่ให้ความร่วมมือกับ Google สักเท่าไหร่)


มอเตอร์ไซด์ไต่ถัง ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในเชิงเปรียบเทียบ ไม่ใช่แค่การปั่นจักรยานเวียนวนไปวนมารอบจัตุรัส แต่ยังรวมถึงการขุดหลุมขุดบ่อ และ Nasim ฝันเห็นบุตรชายพลัดตกจากเบื้องบน (ล้อกับตอนกลางเรื่องที่คนขับมอเตอร์ไซด์ไต่ถัง ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต)

ส่วนความหมายเชิงสัญลักษณให้สังเกตจากสิ่งที่หนังพยายามนำเสนอเคียงคู่ขนาน แทรกภาพภรรยาเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ล้มป่วยโรคอะไรก็ไม่รู้ แฝงนัยยะถึงวังวนแห่งความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน (การไม่ได้บอกชื่อโรค เพื่อให้ผู้ชมมองอาการเจ็บป่วยในเชิงนามธรรม)

นี่เป็นอีกมุมกล้องที่น่าสนใจ ณ ห้องจ่ายเงิน สะท้อนมุมมองของหมอ/โรงพยาบาล ความสนใจในการให้บริการผู้ป่วย พบเห็นใบหน้าของ Nasim ยื่นเข้ามาอยู่ในช่องครึ่งวงกลมเล็กๆ ถ้าไม่มีเงินจ่ายก็ไม่ได้รับสิทธิ์ใดๆในการรักษา ขณะที่ภรรยานอนดิ้นกระแด่วๆ ตายแหล่มิตายแหล่ อยู่ด้านหลังลิบๆ

แซว: ระยะใกล้-ไกลของช็อตนี้ชวนให้นึกถึง Citizen Kane (1941) โดยเฉพาะภรรยาที่อยู่ไกลสุดไม่ต่างจากเด็กชายนอกหน้าต่าง ไร้ซึ่งสิทธิ์เสียง เพียงรอคอยโชคชะตา

เราสามารถซีเควนซ์นี้ในเชิงสัญลักษณ์ทั้งหมด อาการป่วย(ทางร่างกาย)ของภรรยาสามารถสื่อถึงความทุกข์ยากลำบากของคนจน/ผู้อพยพชาว Afghan แต่เมื่อไหร่ร่ำรวยเงินทอง ไม่เพียงทำให้อาการป่วยทุเลาลง แต่ยังสร้างความสุขสบายให้กับชีวิต

การขุดหลุมขุดบ่อ ขุดเส้นทางน้ำ ขุดถนนหนทาง สารพัดจะขุดที่พบเห็นในหนัง ผมมองว่าคือสัญลักษณ์ของวังเวียนวน ไม่แตกต่างจากการปั่นจักรยาน เพราะมันไม่รู้จักจบจักสิ้น มีอะไรก็ไม่ให้รู้ให้ขุดแล้วขุดอีก ขุดได้ทุกวี่ทุกวัน ขุดหลุมฝังศพของตนเองหรือไร?

ฝั่งหนึ่งพบเห็นคนควบขี่ม้า กำลังรุมล้อมแก่งแย่งเนื้อสัตว์ <ตัดสลับกับ> ภาพชายคนหนึ่งนอนราบบริเวณใต้ท้องรถ รอคอยให้ถูกรถทับ

ผมมองทั้งสองเหตุการณ์นี้ สะท้อนภาพความสิ้นหวังของชีวิตที่ถูกกดทับ เต็มไปด้วยความเครียด เก็บกดดัน เพราะต้องต่อสู้แข่งขัน แก่งแย่งชิง ถ้าไม่สามารถเอาชนะ ก็เพียงเฝ้ารอคอยความตาย (นอกจากจะมีคนสงสารเห็นใจ ยินยอมให้ความช่วยเหลือ)

ผมละขำกลิ้งกับภาพความฝันของภรรยา หลังจากได้ยินเรื่องเล่าของบุตรชาย พบเห็นแสงระยิบระยับอาบฉาบบนใบหน้า จินตนาการเห็นภาพเทวดา(สามี)ปั่นจักรยานอยู่บนท้องฟ้า … แสดงถึงความพร่ำเพ้อฝันของคนจน อยากมีชีวิตที่ร่ำรวย สุขสบาย แต่ไม่เคยตระหนักถึงความทุกข์ยากลำบากของสามี ต้องทำงาน/ปั่นจักรยานเหน็ดเหนื่อยขนาดไหน

มุมกล้องที่ติดตามถ่ายใบหน้าตัวละครระหว่างปั่นจักรยาน Tracking Shot หลายคนอาจรู้สึกว่ามันดูไม่ค่อยสมจริงสักเท่าไหร่ แต่ผมมองความลอยๆของช็อตเหล่านั้น เป็นการสร้างสัมผัสเหนือจริงให้กับการปั่นจักรยาน ชักชวนผู้ชมค้นหานัยยะเหตุผล สิ่งที่ชายคนนี้กำลังทุ่มเททำอยู่เพื่ออะไรกัน?

แซว: ช่วงท้ายของหนัง (วันสุดท้ายเมื่อนักข่าวมารอทำข่าว) จะมีการเปิดเผยให้เห็นเบื้องหลังฉากนี้ ถ่ายทำด้วยเครนยังไง

ชาว Afghan ก็ไม่ต่างจากเด็กๆทั้งสอง ต้องหลบซ่อน (อยู่ใต้เตียง) แถมเป็นภาระให้ชาวอิหร่าน (พยายามแอบขึ้นไปนั่งด้านหลังรถม้า) จึงไม่ได้รับการยอมรับ แถมยังถูกขับไล่ ผลักไสส่ง (คนขับไม่ยินยอมให้เด็กๆทั้งสองขึ้นรถฟรี จึงพยายามใช้ไม้เฆี่ยนตีให้ลงจากหลังรถ)

เกร็ด: นักแสดงที่เล่นเป็นเด็กหญิงก็คือ Samira Makhmalbaf บุตรสาวของผู้กำกับ Mohsen Makhmalbaf พอโตขึ้นก็กลายเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ มีผลงานระดับตำนานอย่าง The Apple (1998), Blackboards (2000), At Five in the Afternoon (2003) ฯ

มีหลากหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นระหว่างการปั่นจักรยาน ซึ่งล้วนสะท้อนความคอรัปชั่นอะไรสักสิ่งอย่าง ยกตัวอย่าง…

  • ค่ำคืนที่สามหลังจาก Nasim หมดสิ้นเรี่ยวแรง ฟุบหลับ เอาจริงๆมีประจักษ์พยานหลายคน หนึ่งในนั้นคือนักดนตรีแสร้งว่าตาบอด แต่เขาก็ทำเป็นมองไม่เห็น เหมือนไม่เคยมีอะไรบังเกิดขึ้น รับสินบนเป็นที่เรียบร้อย!
  • เช่นเดียวกับคนที่เป็นกรรมการ (ผมเรียกว่า โค้ชฟุตบอล) คอยจ้องจับผิด ตรวจสอบว่า Nasim ปั่นจักรยานได้ตามคำอวดอ้างหรือไม่ ท่าทางตั้งอกตั้งใจ แต่เบื้องหลังกลับมีเส้นสายคนใหญ่คนโต ทำการแบล็กเมล์ พูดจาข่มขู่
    • ผมมองตัวละครนี้เป็นตัวแทนหน่วยงานที่คอยตรวจสอบ สอดส่อง จ้องจับผิด ไม่ต่างจากกองเซนเซอร์ภาพยนตร์

ใครช่างสังเกตน่าจะพบเห็นหลายๆช็อต ภาพถ่ายของบุคคลจะมีบางสิ่งอย่างขวางกั้น อาทิ เสาไม้(ที่แลดูเหมือนกรงขัง), ขวดแก้ว, ตู้เลี้ยงปลา ฯลฯ เหล่านี้แสดงถึงความลับลมคมใน ตัวละครนั้นกำลังซุกซ่อนเร้นบางสิ่งอย่าง (ส่วนใหญ่จะเป็นแผนการชั่วร้าย เพื่อทำการหยุดยับยั้ง Nasim ไม่ให้ปั่นจักรยานได้สำเร็จ)

เหตุผลหนึ่งที่ Nasim ไม่สามารถหยุดปั่นจักรยาน เพราะมีการแทรกภาพภรรยากำลังรอคอยการรักษา นี่เป็นการสื่อว่าเขายังไม่สามารถดิ้นหลุดพ้น ออกจากวังวน ความยากจน ไม่มีอะไรปรับเปลี่ยนแปลงไป จิตใจยังคงทนทุกข์ทรมาน ร่างกายเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า ทำเพียงกัดฟันสู้ชีวิต ดิ้นรน จนกว่าจะล้มลง แล้วแต่สวรรค์ดลบันดาล

ตัดต่อโดย Mohsen Makhmalbaf, นำเสนอเรื่องราวโดยใช้ตัวละคร Nasim เป็นจุดศูนย์กลาง สามารถแบ่งหนังออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ

  • อารัมบท: นำเสนอที่มาที่ไป แรงจูงใจ ระหว่าง Nasim (และบุตรชาย) กำลังมองหางานทำ เพื่อนำเงินมาจ่ายค่ารักษาภรรยา
    • Nasim พาภรรยาไปรักษาตัวยังโรงพยาบาล แต่เจ้าหน้าที่สั่งให้เขาจ่ายเงินก่อนถึงยินยอมทำการรักษา
    • รับจ้างขุดบ่อแต่โดนนายจ้างเบี้ยวค่าแรง
    • กำลังจะรับงานลักลอบขนคนเข้าเมืองกลับถูกตำรวจบุกตรวจค้น
    • เคยคิดสั้นจะให้รถเหยียบดันไม่มีใครให้ความสนใจ
  • เรื่องราวหลัก: เมื่อพบเจอนายหน้าท้าทายให้ปั่นจักรยาน 7 วัน 7 คืน แต่ละวัน-คืนก็จะมีเรื่องวุ่นๆวายๆเกิดขึ้นมากมาย
    • วันแรกไม่มีเหตุการณ์ใหญ่ๆ เพียงคนทะยอยกันมาให้กำลังใจ บุตรชายนำเงินไปจ่ายค่ารักษามารดา และยามค่ำคืนมีรถพยาบาลมาประจำการ
    • วันสองก็ยังเงียบๆ ไม่มีเหตุการณ์น่าสนใจ
    • วันสามเริ่มมีกลุ่มคนเข้ามาก่อกวน สร้างความไม่สงบ จนต้องมองหาสถานที่ปั่นใหม่, ยามค่ำคืน Nasim หมดสิ้นเรี่ยวแรง ฟุบหลับ เลยมีการแอบเปลี่ยนคนปั่น
    • วันสี่มีเหตุการณ์คนขับรถมอเตอร์ไซด์ไต่ถังประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต, ยามค่ำคืนฝนตกหนัก
    • วันห้ามีโทรศัพท์สายเข้าพยายามจะแบล็กเมล์ Nasim บุตรชายก็ถูกกลุ่มนักเลงควบคุมตัว, ยามค่ำคืนมีการวางเข็มหมุดทำให้ยางแตก เลยต้องเปลี่ยนจักรยานคันใหม่
    • วันหกไม่มีเหตุการณ์น่าสนใจ
    • และวันที่เจ็ดมีนักข่าวมากมายมารอทำข่าว แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลา Nasim กลับไม่สามารถหยุดปั่นจักรยาน

ลีลาการตัดต่อหนังมีความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน ชวนให้วิงเวียน ก็ไม่รู้จะเร่งรีบร้อนไปไหน แต่ที่ต้องชมคือการร้อยเรียงชุดภาพ Montage สำหรับเก็บรายละเอียด สลับสับเปลี่ยนมุมมอง และนำเสนอคู่ขนาน สลับไปสลับมาระหว่างสองภาพเหตุการณ์ เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ/สร้างความเชื่อมโยงบางอย่าง อาทิ มอเตอร์ไซด์ไต่ถัง <> ปั่นจักรยานรอบจัตุรัส, คนควบขี่ม้ากำลังรุมล้อมแก่งแย่งเนื้อสัตว์ <> ชายคนหนึ่งนอนอยู่บริเวณใต้ท้องรถ กำลังรอคอยให้ถูกรถทับ ฯลฯ

เกร็ด: ฉบับที่หารับชมได้ทั่วไปความยาว 78 นาที แต่ในเว็บไซด์ IMDB กลับบอกว่า 82 นาที ผมไม่รู้ว่าหนังถูกเซนเซอร์หรืออย่างไร? แต่ในภาพยนตร์ Close-Up (1990) มีการกล่าวถึงประเด็นนี้อยู่ (ว่าหนังอาจถูกเซนเซอร์)


เพลงประกอบโดย Majid Entezami, مجید انتظامی (เกิดปี 1948) คีตกวีชาว Iranian บุตรชายของนักแสดงชื่อดัง Ezzatollah Entezami ค้นพบความชื่นชอบด้านดนตรีตั้งแต่วัยเด็ก ร่ำเรียน Oboe ยัง Tehran Conservatory จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อ State University of West Berlin เคยร่วมทำการแสดงกับ Berlin University Symphony Orchestra พอกลับมาอิหร่านก็ได้รับจดหมายเชิญเข้าร่วม Tehran Symphony Orchestra กลายเป็นครูสอนดนตรี จากนั้นมีผลงานประพันธ์ซิมโฟนี่ เพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ The Cyclist (1988), Once Upon a Time, Cinema (1991), A Moment of Innocence (1995) ฯลฯ

เพลงประกอบของ Entezami ถือเป็นอีกไฮไลท์ของหนัง ทำหน้าที่ชี้ชักนำพาอารมณ์ ให้ผู้ชมสามารถสัมผัสได้โดยทันที ว่าขณะนั้นนี้ต้องการสื่อถึงอะไร ส่วนใหญ่มีท่วงทำนองโหยหวน สะท้อนห้วงความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง เสียงกรีดร้องดังออกจากจิตวิญญาณ ไร้หนทางหลบหนี ปั่นจักรยานเวียนอยู่ในวงกลม ไม่รู้จักจบจักสิ้นเสียที

ใครเคยรับชมหนังอินเดีย/ฮินดีมาเยอะ น่าจะมักคุ้นกับท่วงทำเพลง เพราะมีการใช้เครื่องดนตรีอย่าง Sitar, กลอง Tabla ฯ เพื่อสร้างความผิดแผกแปลกแยกในฐานะ ‘ผู้อพยพชาว Afghan อาศัยอยู่ในอิหร่าน’

และช่วงท้ายๆของหนังหลังจากปั่นจักรยานครบ 7 วัน แต่ชายนั้นนั้นกลับไม่สามารถหยุดปั่น จากทำนองเพลงพื้นบ้าน ค่อยๆแปรสภาพสู่ดนตรีไฟฟ้า (Electronical Music) ด้วยเครื่องสังเคราะห์เสียง (Synthesizer) เพื่อมอบสัมผัสเหนือจริง แฝงนัยยะเชิงนามธรรม

แซว: แม้คุณภาพเสียงจะถือว่าห่วย มีความอู้ๆอี้ๆ บิดๆเบี้ยวๆ แต่กลับโคตรเข้าบรรยากาศหนังชิบหาย! โดยเฉพาะเสียงร้อยโหยหวน (ที่สะท้อนห้วงความรู้สึกตัวละคร) มันเพิ่มระดับความหลอกหลอนขึ้นกว่าเท่าตัว


The Cyclist (1989) นำเสนอวังเวียนวนแห่งความทุกข์ยากลำบากของชาว Afghan ที่แม้สามารถอพยพหลบหนีลี้ภัย มาปักหลักอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินอิหร่าน แต่พวกเขาก็ราวกับ ‘หนีเสือปะจระเข้’ ไม่เคยได้รับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียม มักถูกกดขี่ข่มเหง เอารัดเอาเปรียบ ใช้แรงงานหนัก ปฏิบัติเยี่ยงทาส ถือเป็นพลเมืองชั้นสาม

ผู้อพยพคือหนึ่งในปัญหาสังคมที่แก้ไม่เคยตก (เมืองไทยก็มีปัญหาเรื่องโรฮิงญา) ฝ่ายหนึ่งอ้างมนุษยธรรม เราควรต้องช่วยเหลือกันและกัน แต่เมื่อเปิดรับพวกเขาเข้ามา ก็ต้องส่งเสียเลี้ยงดู จัดหาที่อยู่ทำกิน เอาเงินจากไหน? ใครรับผิดชอบ? แล้วมันคุ้มได้คุ้มเสียหรือเปล่า?

สถานะชาว Afghan ในประเทศอิหร่าน คงไม่ต่างจากคนไทยนิยมเรียกแรงงานพม่า ลาว กัมพูชาว่า ‘ต่างด้าว’ เป็นคำที่ผมรู้สึกว่าออกไปทางดูถูก ไม่เห็นความสำคัญ มองอีกฝ่ายต่ำต้อยกว่าตนเอง นั่นไม่ใช่สิ่งถูกต้องเลยสักนิด! เราควรจะล้มเลิกความครุ่นคิด รวมถึงคำเรียกนี้ได้แล้วนะครับ (เรียกภาษาทางการ ‘ต่างชาติ’ ก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไร)

การปั่นจักรยาน ใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อสะท้อนวิถีชีวิตของผู้อพยพชาว Afghan ราวกับติดอยู่ในวังวน เวียนวงกลม ไร้หนทางออก คล้ายๆกับ ‘rat race’ ที่ต้องก้มหน้าก้มตา ทำงานหาเงิน เหน็ดเหนื่อยแค่ไหนก็ต้องกัดฟันดิ้นรน คาดหวังว่าสักวันจะสามารถดิ้นหลุดพ้น … แต่มีไม่กี่คนเท่านั้นถึงสามารถเอาตัวรอดกลับออกมา

แม้หนังนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับผู้อพยพชาว Afghan แต่จะว่าไปสถานะทางการเมืองของอิหร่านก็ไม่ได้ดีเด่นกว่ากันสักเท่าไหร่ เพราะแม้คณะปฏิวัติจะสามารถโค่นล้มอำนาจจากสมเด็จพระชาห์ เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran) รัฐบาลใหม่ที่ได้รับเลือกจากประชาชน กลับเต็มไปด้วยความคอรัปชั่น ไม่เคยสนหัวประชาชน เอาแต่กอบโกยผลประโยชน์ส่วนตน ราวกับทุกสิ่งอย่างมันกำลังเวียนวน หวนกลับสู่จุดเริ่มต้น ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม … อาจจะเลวร้ายยิ่งกว่าเก่าก่อนเสียอีก!

ผู้กำกับ Makhmalbaf เป็นคนที่มีความคิดเห็นการเมืองรุนแรงสุดโต่งมาตั้งแต่สมัยวัยรุ่น แม้หลังจากติดคุกจะเริ่มโอนอ่อนผ่อนเบาลง แต่ไม่นานเขาคงตระหนักถึงสภาพของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ไม่ได้แตกต่างจากรัฐจักรวรรดิแห่งอิหร่าน (Imperial State of Iran) จากเคยเป็นนักปฏิวัติ (pro-revolution) เริ่มแสดงความคิดเห็นต่อต้าน (anti-revolution)

  • ช่วงปลายทศวรรษ 80s ออกมาวิพากย์วิจารณ์การทำงานรัฐบาลอย่างถึงพริกถึงขิง
  • ช่วงทศวรรษ 90s ลามปามถึงหลักคำสอนศาสนาอิสลาม ว่าคือต้นสาเหตุของปัญหา
  • และเมื่อถึงจุดแตกหัก ค.ศ. 2005 เลยตัดสินใจอพยพหนีออกนอกประเทศ หลบซ่อนตัว ลี้ภัยอยู่ฝรั่งเศส

มันช่างเป็นวังเวียนวนที่น่าอัศจรรย์โดยแท้ ใครจะไปคาดคิดว่าผู้กำกับ Makhmalbaf สุดท้ายแล้วจะกลายมาเป็นผู้อพยพลี้ภัย แบบเดียวกับเรื่องราวที่เคยสรรค์สร้างใน The Cyclist (1989)


ข้อมูลจาก IMDB บอกว่า The Cyclist เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนัง Fajr Film Festival เมื่อปี 1989 (นี่น่าจะถือว่าเป็นปีที่หนังเข้าฉายจริงๆ) สามารถคว้ามาถึงสามรางวัล Best Director, Best Screenplay และ Best Music

น่าเสียดายที่หนังยังไม่ข่าวคราวการบูรณะ แม้แต่ในเว็บไซต์ทางการ makhmalbaf.com ก็ไม่มีลิ้งค์รับชม (ไม่รู้ลิขสิทธิ์ตกเป็นของค่ายไหน) ผมเห็นฉบับ ‘bootleg’ ได้คะแนนกลมๆ 0/5 จากเว็บ dvdbeaver แต่ยังพอมีอีกฉบับที่ดูได้ตั้งแต่ต้นจนจบ (ใน Youtube) คุณภาพตามมีตามเกิด

ส่วนตัวรู้สึกว่าหนังค่อนข้างเลอะเทะ เต็มไปด้วยความว้าวุ่นวาย พยายามยัดเยียดโน่นนี่นั่นโดยไม่มีคำอธิบายใดๆ แต่ต้องชมการสร้างบรรยากาศ และเพลงประกอบของ Majid Entezami มอบสัมผัสแห่งความหมดสิ้นหวัง วังเวียนวนไร้หนทางออก

สำหรับคนชื่นชอบภาพยนตร์ลักษณะคล้ายๆ The Cyclist (1989) แนะนำให้ลองค้นหา Ace in the Hole (1951), Guide (1965), The Sugarland Express (1974), Peepli Live (2010) ฯลฯ

จัดเรต 15+ กับบรรยากาศสิ้นหวัง ความวุ่นๆวายๆ ครุ่นคิดฆ่าตัวตาย

คำโปรย | The Cyclist คือกงเกวียนกรรมเกวียน เวียนวงกลม วังวนแห่งหายนะ
คุณภาพ | วนไปวนมา
ส่วนตัว | ชื่นชอบแนวคิด

The Runner (1984)


The Runner (1984) Iranian : Amir Naderi ♥♥♥♥

เด็กชายถูกทอดทิ้งอยู่บริเวณเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย ต้องหาหนทางต่อสู้ดิ้นรน ทำงานหาเลี้ยงชีพรอดด้วยตนเอง ใช้การวิ่งคือนัยยะเชิงสัญญะ ฉันจะดำเนินชีวิตต่อไปได้ไกลแค่ไหน มีโอกาสถึงเป้าหมายเส้นชัยหรือไม่

The Runner (1984) ถือเป็นเสาหลักไมล์ต้นแรกของวงการภาพยนตร์อิหร่าน ภายหลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง Iranian Revolution (1978-79) หรือเรียกว่า post-Revolutionary เพราะได้ทำการลบล้างแนวคิดการดำเนินเรื่อง ‘narrative film’ มาเป็นลักษณะของ ‘essay film’ ซึ่งมีความผิดแผกแปลกต่างจากวิถีทางในอดีต และเรื่องราวนำเสนอผ่านมุมมองเด็กชาย พบเห็นการเข้ามาถึงของเครื่องบิน เรือลำใหญ่ สัญลักษณ์ของโลกยุคสมัยใหม่ (Modernity)

รับชมฉบับบูรณะของหนัง จะยิ่งทำให้พบเห็นความงดงามระดับวิจิตรศิลป์ ทั้งการถ่ายภาพ ตัดต่อ กลิ่นอาย Neorealism แฝงนัยยะเชิงสัญลักษณ์ของการแหวกว่าย ปีนป่าย ปั่นจักรยาน ออกวิ่งติดตามขบวนรถไฟ เรือลำใหญ่ และเครื่องบิน สัมผัสถึงความลุ่มลึกล้ำที่ไม่ใช่แค่เหนือกาลเวลา แต่ยังทรงคุณค่าระดับมาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์

ในชาร์ท Asian Cinema 100 Ranking ของเทศกาลหนังเมืองปูซาน The Runner (1984) ติดอันดับ 83 อาจดูไม่สูงเท่าไหร่ แต่ภาพยนตร์ติดชาร์ทนี้ก็ถือว่าไม่ธรรมดาแล้วนะครับ!

Amir Naderi (เกิดปี 1946), امیر نادری ผู้กำกับภาพยนตร์สัญชาติ Iranian เกิดที่ Abadan เมืองท่าทางตอนใต้ของอิหร่าน ตั้งแต่เด็กมีความสนใจการถ่ายรูปและภาพยนตร์ หลงใหลผลงานภาพนิ่งของ Henri Cartier-Bresson และกลุ่มเคลื่อนไหว Italian Neorealist, โตขึ้นเดินทางสู่ Tehran ทำงานเป็นตากล้อง มีโอกาสถ่ายภาพนิ่งให้ภาพยนตร์ Qeysar (1969), Hassan, the Bald (1970), กำกับผลงานเรื่องแรก Khodahafez Rafigh (1971), โด่งดังจาก Sazdahani (1973), Tangsir (1973) ฯลฯ

สำหรับ دونده อ่านว่า Davandeh แปลว่า The Runner มีจุดเริ่มต้นจากผู้กำกับ Naderi ต้องการบันทึกภาพวิถีชีวิตของเด็กกำพร้า เติบโตขึ้นมาบริเวณเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf) พยายามนำไปเสนอของบประมาณจากสตูดิโอ สถานีโทรทัศน์ แต่ไม่เคยได้รับการตอบอนุมัติ

จนกระทั่งได้ยินข่าวว่าสถาบัน Institute for the Intellectual Development of Children and Young Adults (IIDCYA) กำลังมองหาโปรเจคเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน จึงนำบทหนังไปยื่นเสนองบประมาณ ในตอนแรกคณะกรรมการส่วนใหญ่มองว่าพล็อตธรรมดาเกินไป ไม่มีความน่าสนใจ แต่หลังจากพยายามปรับแก้ไขอยู่หลายๆครั้ง Behrouz Gharibpour (เกิดปี 1950), بهروز غریب‌پور นักเขียน/ผู้กำกับละครเวทีและหุ่นเชิด (Persian Puppet Theatre) เลยให้คำแนะนำสิ่งที่ควรแก้ไขปรับปรุง

Mr. Amir Naderi proposed the initial scenario of ‘The Runner’ which was rejected on TV, twice to the committee, which was also rejected by the committee. And everyone said it was weak. But it was clear that Mr. Naderi thought of pictures in his mind. I was also a serious opponent of this script. But the last time he presented the script, I told the other committee that the problem with this script is these things, and I wrote them down and told Mr. Naderi to tell him that this movie can be made in a much better way, and if he finds this way, then will be usable.

Behrouz Gharibpour

แม้ว่า Gharibpour จะร่วมพัฒนาบทหนังจนได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการของ IIDCYA แต่ผู้กำกับ Naderi เมื่อตอนถ่ายทำก็แทบไม่ได้สนใจรายละเอียดเหล่านั้นสักเท่าไหร่ เลือกสรรค์สร้างผลงานที่สะท้อนวิสัยทัศน์ของตนเอง … นั่นเพราะ Gharibpour มาจากสายการละคอน พัฒนาเรื่องราวในลักษณะของ ‘narrative story’ แต่ผู้กำกับ Naderi ต้องการนำเสนอผ่านภาพถ่าย การตัดต่อ สื่อสารด้วยภาษาภาพยนตร์ในลักษณะ ‘essay film’

เกร็ด: สถาบัน IIDCYA เคยอนุมัติทุนสร้างภาพยนตร์ดังๆอย่าง The Traveller (1974), Where Is the Friend’s Home? (1987), Bashu, the Little Stranger (1989), And Life Goes On (1992), Children of Heaven (1998) ฯลฯ


เรื่องราวมีพื้นหลังยัง Bandar Abbas, بندر عباس (แปลว่า Port of Abbas) ชื่อเล่น The Crab Port เมืองท่าของจังหวัด Hormozgan ติดอ่าวเปอร์เซีย ชายฝั่งทางตอนใต้ของอิหร่าน

เด็กชาย Amiro อายุประมาณ 11-12 ปี ถูกครอบครัวทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง จำต้องหาหนทางดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยตนเอง เริ่มจากขุดคุ้ยกองขยะ เก็บค้าของเก่า ต่อด้วยว่ายน้ำเก็บขวด ขายน้ำดื่มเย็นๆ และกลายเป็นเด็กขัดรองเท้า เมื่อเริ่มมีเงินเหลือเก็บก็มักหาซื้อนิตยสารที่มีรูปเรือ เครื่องบิน เพ้อฝันว่าสักวันจะได้รับโอกาสขึ้นไปทำงานบนนั้น

จนกระทั่งวันหนึ่งพ่อค้านิตยสารพูดคุยสอบถาม ทำไมโตป่านนี้ถึงยังอ่านหนังสือไม่ออก? นั่นกลายเป็นแรงผลักดันให้เขาสมัครเข้าโรงเรียน ต้องการอ่านออกเขียนได้ มีโอกาสอย่างคนทั่วๆไป แม้หนังจะจบลงแค่การท่องพยัญชนะ 32 ตัวอักษรเปอร์เซีย แต่ Amiro ก็แสดงออกว่าจะไม่ย่นย่อท้อแท้ จนกว่าวิ่งถึงเป้าหมายเส้นชัย


ถ่ายภาพโดย Firooz Malekzadeh (เกิดปี 1945), فیروز ملک‌زاده ตากล้องสัญชาติ Iranian เคยร่วมงานผู้กำกับ Bahram Beyzai เมื่อครั้นถ่ายทำหนังสั้น Safar (1972), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Traveler (1974), Stranger and the Fog (1976), The Runner (1984), The Mare (1986), Bashu, the Little Stranger (1989) ฯลฯ

ประสบการณ์จากเคยเป็นช่างภาพนิ่งของผู้กำกับ Naderi ทำให้งานภาพมีความประณีต ละเมียดไม งดงามระดับวิจิตรศิลป์ ตั้งแต่การจัดวางองค์ประกอบ ทิศทางมุมกล้อง เล่นกับระยะใกล้-ไกล ขยับเคลื่อนไหล ซูมเข้า-ออก ทั้งยังใช้เพียงแสงธรรมชาติ ปรับแต่งโทนสีสันให้มีความซีดๆ ดูเหือดแห้งแล้ง และยังใช้สัญลักษณ์น้ำ-ไฟ ที่ขัดย้อนแย้ง แฝงนัยยะความหมายบางอย่าง

แม้หนังจะมีกลิ่นอาย Neorealist จากการถ่ายทำยังสถานที่จริง ด้วยแสงธรรมชาติ และใช้เพียงนักแสดงสมัครเล่น แต่ผมกลับไม่รู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติของหนังสักเท่าไหร่! เพราะทุกช็อตฉากล้วนปรุงปั้นแต่ง ดูสวยงามเกินไป … แต่มันก็ไม่ได้ผิดหลักเกณฑ์อะไรนะครับ องค์ประกอบ Neorealist ถือว่าครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้ว!


เด็กชาย Amiro ชอบโบกไม้โบกมือ ตะโกนโหวกเหวก (ล้อกับภาพยนตร์ Tarzan ที่เคยรับชม) ส่งเสียงเรียกเรือและเครื่องบิน สิ่งสร้างความลุ่มหลงใหล ใคร่สนใจอย่าง ‘overwhelming’ เพ้อใฝ่ฝันว่าสักวันจะมีโอกาสขึ้นไปทำงาน ใช้ชีวิตอยู่บนนั้น ก้าวออกไปจากดินแดนโกโรโกโสแห่งนี้

ผมรู้สึกว่า The Runner (1984) เป็นภาพยนตร์ที่มีความใกล้เคียงชีวประวัติผู้กำกับ Naderi เพราะใช้ชีวิตวัยเด็ก เติบโตยังเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย สิ่งที่เขาพบเห็นย่อมสร้างอิทธิพลให้กับชีวิตแบบเดียวกับเด็กชาย Amiro … จะว่าไปชวนให้ผมนึกถึงผู้กำกับ Jacques Demy อยู่เล็กๆ

หนังเต็มไปด้วยสารพัดการแข่งขันของเด็กๆ ซึ่งสามารถเรียกตามชื่อหนัง ‘The Runner’ พบเห็นการวิ่งแข่ง ปีนป่าย ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ฯ โดยผู้ชนะเข้าถึงเส้นชัยคนแรก มักได้รับรางวัลคือเครื่องดื่ม น้ำอัดลม และก้อนน้ำแข็งสำหรับดับกระหายคลายร้อน

การแข่งขันเหล่านี้มักแทรกคั่นช่วงระหว่างเปลี่ยนอาชีพของ Amiro เพื่อสื่อถึงการต่อสู้ดิ้นรน ‘ชีวิตคือการแข่งขัน’ ไล่ล่าวิ่งตามความฝัน เพื่อสักวันจะได้ไปถึงเป้าหมายเส้นชัยชนะ

ผลงานของผู้กำกับ ‘auteur’ มักต้องหาหนทางกล่าวอ้างอิงถึงภาพยนตร์ที่ชื่นชอบโปรดปราน นอกจากพบเห็นนิตยสารจากร้านขายหนังสือข้างทาง ยังมีกล่าวถึง Tarzan และท่าทางเดินเลียนแบบ Charlie Chaplin

เกร็ด: ผมลองค้นข้อมูลดูเล่นๆนิตยสาร Sight & Sound หน้าปก Orson Welles พบเจอว่าคือฉบับเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1975 (แต่หนังฉายปี 1984)

ชัยชนะจากการวิ่งแข่งครั้งสุดท้าย ถ้วยรางวัลคือก้อนน้ำแข็ง (ท่าดีใจของเด็กชายช่างมีความเว่อวังอลังการ!) ซึ่งเป็นสิ่งข้ดย้อนแย้งกับภาพเปลวไฟลุกโชติช่วงด้านหลัง หลายคนคงพยายามครุ่นคิดนัยยะเกี่ยวกับความร้อน vs. เยือกเย็น, การแข่งขันที่เข้มข้น เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น (ดั่งเปลวเพลิงที่ลุกโชติช่วง) แล้วชัยชนะทำให้ดับกระหายคลายร้อน จิตใจสงบเย็นลง ฯ

แต่ผมมองว่าหนังต้องการนำเสนอการผสมผสานสองสิ่งขั้วตรงข้าม ยกตัวอย่าง อิทธิพลจากโลกตะวันตก(น้ำแข็ง)กำลังแผ่ปกคลุมมาถึงดินแดนทะเลทรายในตะวันออกกลาง(เปลวเพลิง) อันจะก่อให้เกิดการผสมผสาน เติมเต็มกันและกัน จนกลายเป็นอันหนึ่งเดียวกัน

The Runner

ภาพสุดท้ายของหนังพบเห็น Amiro กำลังท่องพยัญชนะ 32 ตัวอักษรเปอร์เซีย พร้อมๆเครื่องบินกำลังทะยานขึ้นสู่ท้องฟากฟ้า นี่คือสัญลักษณ์จุดเริ่มต้นการเดินทางครั้งใหม่ ความรู้หนังสือจะเป็นสิ่งทำให้เด็กชายสามารถติดปีกโบยบิน ไปได้ไกลกว่าการวิ่งอยู่บนพื้นดิน

ผมเห็นด้วยว่าการศึกษามีความสำคัญ คือจุดเริ่มต้นให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ มีโอกาสพบเห็นโลกกว้าง ก้าวข้ามผ่านความยากจน สามารถกระทำสิ่งเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน แต่การรู้หนังสือไม่ใช่ทุกสิ่งอย่าง! ใบปริญญาก็เพียงแค่กระดาษใบหนึ่ง สมัยก่อนคนจบ ป.4 ก็สามารถประสบความสำเร็จ มันอยู่ที่ตัวเราเองมีความมุมานะ ทุ่มเทพยายามสักเพียงไหน (ผมมองว่าสิ่งนี้อาจสำคัญกว่าการอ่านออกเขียนได้อีกนะ!)

ตัดต่อโดย Bahram Beizai ผู้กำกับภาพยนตร์/ละครเวทีชื่อดัง เจ้าของผลงาน Downpour (1972), Bashu, the Little Stranger (1989) ฯลฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของเด็กชาย Amiro หลังจากถูกทอดทิ้งให้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพียงลำพัง เริ่มจากขุดคุ้ยกองขยะ เก็บค้าของเก่า ต่อด้วยว่ายน้ำเก็บขวด ขายน้ำดื่มเย็นๆ กลายเป็นเด็กขัดรองเท้า และท้ายสุดคือตัดสินใจสมัครเข้าโรงเรียน ต้องการพูด-อ่าน-เขียน ได้รับโอกาสเหมือนคนทั่วไป

  • อาชีพแรกขุดคุ้ยกองขยะ เก็บค้าของเก่า แต่มักไม่ค่อยพบเจออะไร ทั้งเสียเวลา ได้เงินมาเพียงน้อยนิด
  • ได้รับการชักชวนให้ว่ายน้ำออกทะเล เก็บขวดแก้ว(ที่ซัดมาเกยตื้น)ไปขาย แต่แค่วันแรกก็มีความขัดแย้งเพื่อนฝูง แถมแถวนั้นฉลามชุกชุม
  • เลยเปลี่ยนมาเป็นขายน้ำดื่มเย็นๆ แม้ราคาแค่เหรียญเดียวกลับยังถูกคดโกง และยังมีโจรคอยดักปล้นน้ำแข็งกลางทาง
  • กลายมาเป็นเด็กขัดรองเท้า อาชีพที่ต้องใช้ทักษะฝีมือ เลยไม่ต้องกลัวการถูกคดโกง แต่เด็กชายกลับถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวขโมย (ทั้งๆไม่ได้ทำอะไร)
  • และท้ายสุดตัดสินใจสมัครเข้าโรงเรียน ต้องการพูด-อ่าน-เขียน จนสามารถท่องพยัญชนะ 32 ตัวอักษรเปอร์เซีย

แม้ว่าอาชีพการงานจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่แทบทุกครั้ง Amiro มักหวนกลับหาเพื่อนๆ ร่วมวิ่งแข่งขัน ปั่นจักรยาน ไล่ติดตามขบวนรถไฟ ฯ โดยผู้ชนะมักได้รางวัลเป็นเครื่องดื่ม น้ำอัดลม และไคลน์แม็กซ์คือก้อนน้ำแข็ง (ดูราวกับถ้วยรางวัล) ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ดิ้นรน มุ่งสู่เป้าหมายปลายทาง เติมเติมความเพ้อใฝ่ฝันของตัวละคร

เพื่อสร้างสัมผัส Neorealist หนังจึงไม่มีการใช้บทเพลงประกอบ (Soundtrack) แต่จะเป็นลักษณะของ ‘Diegetic music’ ได้ยินเด็กๆขับร้อง-เล่น (บนขบวนรถไฟ) หรือดังจากวิทยุ/เครื่องกระจายเสียง (บาร์ริมท่าเรือ) มีทั้งท่วงทำนอง Jazz, บทเพลงดังๆอย่าง Louis Armstrong: What A Wonderful World, Frank Sinatra: Around The World ฯลฯ


The Runner (1948) นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของเด็กชายที่ถูกทอดทิ้ง แต่เขาไม่ต้องการเป็นคนพ่ายแพ้ เลยตัดสินใจลุกขึ้นออกวิ่ง กระทำสิ่งเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน ไต่เต้าจากล่างขึ้นบน แม้จุดสูงสุดของหนังจะแค่เพียงสามารถท่องพยัญชนะ 32 ตัวอักษรเปอร์เซีย แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความมุมานะ ทุ่มเทพยายาม ต้องการไปให้ถึงเป้าหมายเส้นชัย

นักวิ่ง ‘The Runner’ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้แข่งขัน เพื่อสามารถกระทำสิ่งเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน ไม่ใช่แค่ธำรงชีพรอดในสังคม แต่มุ่งมั่นต้องการให้ถึงจุดสูงสุด คว้าชัยชนะด้วยเรี่ยวแรงพละกำลัง ทุกสิ่งอย่างที่ฉันพึงมี ดูสิว่าจะไปได้ไกลสักเพียงไหน

A runner is someone who is in competition with people or with forces and must give all his breath and energy to surpass them. 

Behrouz Gharibpour

แนวคิดดังกล่าวค่อนข้างจะมีความเป็นตะวันตก (Westernization) ผิดแผกแตกต่างจากวิถีโลกตะวันออก(กลาง) นี่แสดงให้เห็นอิทธิพล(ของตะวันตก)ที่กำลังแผ่ปกคลุมมาถึงอิหร่าน และกำลังนำพาประเทศก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ (Modernity) … นี่ถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสมัย post-Revolutionary ได้เป็นอย่างดี

ตั้งแต่จักรยาน รถยนต์ รถไฟ เรือลำใหญ่ และเครื่องบิน ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องยนต์กลไก (Machinery) ยุคสมัยอุตสาหกรรม (Industrial) หรือโลกยุคสมัยใหม่ ซึ่งต้องนำเข้าจากชาติตะวันตก สามารถสร้างความสะดวกสบาย มองดูหรูหรา สามารถแบ่งแยกชนชั้นฐานะ (แสดงถึงความร่ำรวยของผู้เป็นเจ้าของ) สิ่งเหล่านี้จักสร้างอิทธิพลต่อเยาวชน คนรุ่นใหม่ ใคร่อยากได้อยากมี พยายามต่อสู้ดิ้นรน พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อครอบครองวัตถุเหล่านี้

น้ำกับไฟ ถือว่าเป็นสองสิ่งขั้วตรงกันข้าม ก็คล้ายๆโลกตะวันออก-ตก เอเชีย-ยุโรป คนขาว-ผิวสี ฯลฯ ในยุคสมัยนั้นเริ่มเกิดการผสมผสาน กำลังจะกลายเป็นอันหนึ่งเดียว สะท้อนแนวคิดร่วมสมัย (Contemporary) ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เฉกเช่นเดียวกัน!

ผู้กำกับ Naderi เกิดและเติบโตยังเมืองท่าริมอ่าวเปอร์เซีย แม้ไม่ได้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเหมือนเด็กชาย Amiro แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีกลิ่นอายชีวประวัติ ด้วยการบันทึกภาพวิถีชีวิต อิทธิพล ความหลงใหลคลั่งไคล้ที่มีต่อชาติตะวันตก … ไม่น่าแปลกใจที่ผู้กำกับ Naderi ตัดสินใจอพยพย้ายสู่สหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1990s


หลังจากเข้าฉายในอิหร่าน ปีถัดมาก็ตระเวนไปตามเทศกาลหนัง Venice, London (นอกสายการประกวด) ได้เสียงตอบรับอย่างดีล้นหลาม บางเทศกาลก็สามารถคว้ารางวัลอย่าง …

  • Nantes International Film Festival คว้ารางวัล Grand Prix
  • Melbourne International Film Festival คว้ารางวัล International Jury Prize

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะโดย Iranian National Cinema แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี 2019 คุณภาพ 4K เข้าฉายปฐมทัศน์เทศกาล Fajr International Film Festival สามารถหาซื้อ Blu-Ray จัดจำหน่ายโดยค่าย Elephant Films

ส่วนตัวมีความชื่นชอบหนังอย่างมากๆ สัมผัสถึงความประณีต ละเมียดไม งดงามระดับวิจิตรศิลป์ รู้สึกเพลิดเพลินผ่อนคลาย เต็มไปด้วยนัยยะเชิงสัญญะ ท้าทายการครุ่นคิดวิเคราะห์ เป็นกำลังใจให้เด็กชาย สามารถวิ่งไปถึงเป้าหมาย ได้รับชัยชนะสุดยิ่งใหญ่

แนะนำคอหนัง Art House ชื่นชอบการครุ่นคิดวิเคราะห์, หลงใหล Neorealist บันทึกภาพวิถีชีวิต การต่อสู้ดิ้นรน อิหร่านภายหลังการปฏิวัติ, นักคิด นักปรัชญา นักเขียนนวนิยาย เพลิดเพลินบทกวีภาพยนตร์, โดยเฉพาะบุคคลผู้กำลังท้อแท้สิ้นหวัง ประสบความพ่ายแพ้ หรือสูญเสียเป้าหมายชีวิต The Runner (1984) อาจสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ลุกขึ้นมา ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายไปได้

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | The Runner ของผู้กำกับ Amir Naderi ออกวิ่งจนถึงเป้าหมาย และได้รับชัยชนะสุดยิ่งใหญ่
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | งดงามมากๆ

Still Life (1974)


Still Life (1974) Iranian : Sohrab Shahid-Saless ♥♥♥♡

พนักงานรถไฟสูงวัย จู่ๆได้รับจดหมายเกษียณอายุเลิกจ้าง ชีวิตตกอยู่ในความสิ้นหวัง ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป! โคตรหนัง ‘slow cinema’ ต้นแบบอย่าง The Turin Horse (2011) คว้ารางวัล Silver Bear: Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Berlin

A journey that is clearly towards nothingness.

นักวิจารณ์ชาวอิหร่าน Daniyal Hashmipour

Still Life (1974) เป็นภาพยนตร์ที่เหมือนจะไม่มีอะไร วิธีการก็แค่ตั้งกล้องทิ้งไว้ (ถ่ายทำแบบ Long Take) บันทึกภาพวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวันอันเรียบง่าย แต่ทุกรายละเอียดล้วนผ่านการครุ่นคิด เพื่อสร้างบรรยากาศท้อแท้สิ้นหวัง ราวกับวันโลกาวินาศ ตัวละครขยับเคลื่อนไหวอย่างคนไร้จิตวิญญาณ

ระหว่างรับชมผมนึกเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ Jeanne Dielman, 23, quai du Commerce, 1080 Bruxelles (1975) เพราะต่างนำเสนอกิจวัตรประจำวันอันเรียบง่ายในสไตล์ ‘minimalist’ แต่พอถึงครึ่งชั่วโมงสุดท้ายแห่งความสิ้นหวังก็บังเกิดภาพของ The Turin Horse (2011) ลองเทียบหลายๆช็อตก็รู้สึกว่าละม้ายคล้ายกันไม่น้อย

สำหรับคนรับรู้สถานการณ์การเมืองประเทศอิหร่านช่วงทศวรรษ 70s น่าจะสามารถทำความเข้าใจนัยยะของหนังได้ไม่ยาก สิ่งที่ผู้กำกับ Shahid-Saless ต้องการนำเสนอออกมาก็คือบรรยากาศความสิ้นหวัง ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าชาห์ ผู้ไม่สนห่าเหวประชาชน แบบเดียวกับเหตุการณ์บังเกิดขึ้นกับพนักงานรถไฟสูงวัย จู่ๆได้รับจดหมายเกษียณอายุเลิกจ้าง แล้วอะไรยังไงต่อ?? ปล่อยให้เป็นเรื่องของโชคชะตากรรมเช่นนั้นหรือ??


Sohrab Shahid-Saless (1944-98), سهراب شهید ثالث นักเขียน/ผู้กำกับสัญชาติ Iranian เกิดที่ Tehran โตขึ้นเดินทางไปร่ำเรียนภาพยนตร์ยังกรุง Vienna ต่อด้วย Conservatoire Libre du Cinéma Français (CLCF) ณ กรุง Paris เมื่อกลับมาอิหร่านได้กำกับสารคดีขนาดสั้นให้กระทรวงศิลปะและวัฒนธรรม, ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก A Simple Event (1973) บันทึกชีวิตประจำวันของเด็กชายสิบขวบ มารดาล้มป่วยหนัก ส่วนบิดาหาเลี้ยงชีพด้วยการลักลอบขนส่งปลาผิดกฎหมาย

A Simple Event has no plot. It is only a report on the daily life of a boy.

Sohrab Shahid-Saless

ผกก. Shahid-Saless ถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิก Iranian New Wave ไม่นิยมสร้างภาพยนตร์ตามตลาด แต่มีทิศทางความต้องการของตนเองที่ผิดแผกแตกต่าง ถ่ายทำในลักษณะเกือบเป็นสารคดี ใช้เพียงนักแสดงสมัครเล่น นำเสนอวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวัน และมักเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่จะทำให้ทุกสิ่งปรับเปลี่ยนแปลงไป

สำหรับผลงานชิ้นเอก طبیعت بی‌جان อ่านว่า Tabiate Bijan แปลตรงตัวคือ Inanimate Character แต่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ Still Life นำเสนอเรื่องราวของชายสูงวัย Mohamad Sardari (รับบทโดย Zadour Bonyadi) ทำงานการรถไฟมากว่าสามสิบปี มีหน้าที่กดเปิด-ปิด เสากั้น/สัญญาณทางข้ามรถไฟ อาศัยอยู่บ้านพนักงานร่วมกับภรรยา ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่ได้มีความคาดหวัง ไม่ต้องการอะไรไปมากกว่านี้ แต่อยู่มาวันหนึ่งได้รับจดหมายเกษียณอายุเลิกจ้าง ทุกสิ่งอย่างก็จบสิ้นลงแค่นี้นะหรือ?


ถ่ายภาพโดย Houshang Baharlou (เกิดปี 1936), هوشنگ بهارلو ตากล้องระดับสัญชาติอิหร่าน เดินทางไปร่ำเรียนภาพยนตร์ยัง Experimental Cinematography Center ณ กรุง Rome แต่พอกลับมากลายเป็นช่างภาพให้นิตยสาร Setare Cinema ก่อนผันมาทำงานตากล้องภาพยนตร์ ขาประจำผู้กำกับ Dariush Mehrjui ผลงานเด่นๆ อาทิ Mr. Gullible (1970), Still Life (1974), Chess of the Wind (1976), The Cycle (1977), Dead End (1977), Desiderium (1978) ฯลฯ

แม้งานภาพของหนังจะเป็นเพียงตั้งกล้องไว้เฉยๆ ถ่ายภาพ ‘Long Take’ แต่คนช่างสังเกตจะพบเห็นการจัดองค์ประกอบ ทิศทางมุมกล้องระดับสายตา โทนสีสันที่สร้างบรรยากาศสิ้นหวัง รวมถึงการเคลื่อนไหวนักแสดง จะมีความแม่นยำ ตามคำชี้แนะนำของผู้กำกับอย่างค่อยเป็นค่อยไป

The mise-en-scènes are so quiet that the audience realizes the soullessness and stillness of the work when they see a single frame of the film. Quiet and cold but poetic and beautiful.

นักวิจารณ์ชาวอิหร่าน Daniyal Hashmipour

ในส่วนการกำกับนักแสดงนั้น ผมมีความรู้สึกว่าผกก. Shahid-Saless รับอิทธิพลจาก Robert Bresson ไม่ใช่ให้ทำการแสดงซ้ำๆหลายสิบ-ร้อยเทคนะครับ แต่คือพยายามทำให้ตัวละครดูเหมือนคนไร้จิตวิญญาณ ขยับเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าๆ ไม่มีการแสดงออกทางอารมณ์ คำพูดสนทนาก็แค่ประโยคสั้นๆ ที่เหลือคือกำกับการลุก-นั่ง-ยืน-เดิน สูบบุหรี่ ดื่มชา รับประทานอาหาร กิจวัตรประจำวันทั่วๆไป

ปล. มันก็ไม่เชิงว่าเหมือนเปี๊ยบ แต่ก็มีบางช็อตของ Still Life (1974) ช่างดูละม้ายคล้าย/กลายเป็นอิทธิพล The Turin Horse (2011) ต่างนำเสนอเรื่องราวของบุคคลผู้กำลังตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง ราวกับวันโลกาวินาศใกล้เข้ามาถึง

ตัดต่อโดย Ruhallah Emami (1941-1999) สัญชาติ Iranian ผลานเด่นๆ อาทิ Still Life (1974), Far From Home (1975), Dead End (1977) ฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของชายสูงวัย Mohamad Sardari เดินไปเดินมาระหว่างทางข้ามรถไฟ และบ้านพักพนักงานที่อยู่ไม่ห่างไกล จนกระทั่งวันหนึ่งได้รับจดหมายเกษียณอายุเลิกจ้าง ถึงตัดสินใจโบกรถไฟเข้าเมืองพูดคุยกับหัวหน้า ก่อนหวนกลับมาเก็บข้าวเก็บของ ออกเดินทางไปไหน??

  • ครึ่งชั่วโมงแรก/วันแรก นำเสนอกิจวัตรประจำวันทั่วๆไปของ Mohamad Sardari ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ
  • ครึ่งชั่วโมงถัดมา/วันที่สอง ช่วงเวลาวุ่นๆเมื่อบุตรชายกลับมาเยี่ยมเยียน และมีลูกค้าเข้ามาซื้อพรม
  • ครึ่งชั่วโมงสุดท้าย คือช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง
    • วันหนึ่งจู่ๆได้รับจดหมายเกษียณอายุเลิกจ้าง
    • วันถัดมีพนักงานคนใหม่เดินทางมาถึง
    • อีกวันถัดมาตัดสินใจโบกรถไฟเข้าเมือง เพื่อพูดคุยกับหัวหน้า
    • (วันสุดท้าย) เก็บข้าวเก็บของ แล้วออกเดินทางจากไป

โครงสร้างการดำเนินเรื่องของหนัง ชวนให้ผมระลึกถึง Jeanne Dielman, 23, quai du Commerce, 1080 Bruxelles (1975) ที่ก็แบ่งออกเป็นสามองค์คล้ายๆกัน และครึ่งชั่วโมงสุดท้ายคือช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ที่จักทำลายกิจวัตร สูญเสียวิถีชีวิต และทุกสรรพสิ่งอย่างพังทลายลงไป

หนังไม่มีการใช้เพลงประกอบใดๆ ส่วนใหญ่จะเป็น ‘Sound Effect’ เสียงขบวนรถไฟ นี่เป็นการสร้างบรรยากาศอันตึงเครียด เงียบงัน และว่างเปล่า ราวกับโลกทั้งใบก็มีกันอยู่แค่ 2-3 ตัวละคร

The film is dominated by complete and deadly silence, which is broken by the passage of a train from time to time. This silence makes the lifeless nature of the film more visible and lethargy dominates the world of the film.

นักวิจารณ์ชาวอิหร่าน Daniyal Hashmipour

Still Life (1974) มองผิวเผินคือเรื่องราวของการสูญเสียอาชีพ วิถีชีวิต กิจวัตรประจำวัน ชายสูงวัยถูกบีบบังคับให้เกษียณอายุ ออกจากงานโดยไม่ทันตั้งตัว ทำให้ไม่สามารถตระเตรียมความพร้อม จำต้องออกเดินทางโดยไม่รู้เป้าหมาย อนาคต โชคชะตาขึ้นอยู่กับฟ้าดินกำหนด

ภาพยนตร์ที่มีความเรียบง่าย บริสุทธิ์ ‘Cinéma Pur’ มักต้องการนำเสนอความรู้สึก ‘มวลรวม’ ของผู้สร้างต่อเหตุการณ์บางสิ่งอย่าง ด้วยการตัดทอดทอนรายละเอียดที่อาจสร้างความขัดแย้ง เสี่ยงถูกแบนจากกองเซนเซอร์ พัฒนาเรื่องราวดูไม่เกี่ยวกับ แต่ซุกซ่อนเร้นความสัมพันธ์ทางอารมณ์ไว้อย่างแนบเนียน

ในกรณีของ Still Life (1974) ก็คือบรรยากาศความท้อแท้สิ้นหวังต่อรัฐจักรวรรดิแห่งอิหร่าน (Imperial State of Iran) หรืออิหร่านปาห์ลาวี (Pahlavi Iran) อันเนื่องจากการปกครองของสมเด็จพระเจ้าชาห์ Mohammad Reza Pahlavi ที่ไม่เคยสนใจใยดีต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ก่อตั้งรัฐบาลที่เต็มไปด้วยความคอรัปชั่น ข้าราชการก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไม่ต่างจากเครื่องยนต์กลไก พอครบอายุก็ปลดเกษียณโยนทิ้งขว้าง ไม่มีแม้แต่เงินบำเน็ดบำนาญ

ตัวละคร Mohamad Sardari ก็คือตัวแทนประชาชนตัวเล็กๆ แม้อุทิศตนทำงานมานานกว่า 30+ ปี แต่กลับไม่เคยได้รับความสนใจ หรือมีใครหันมาเหลียวดูแล เพียงถูกขับไล่ ผลักไส ราวกับไม่มีตัวตน ชีวิตไม่หลงเหลืออะไร สภาพไม่ต่างจากตกตายทั้งเป็น

แซว: ผมรู้สึกว่าชื่อหนังภาษาอังกฤษ Still Life เป็นคำที่ไม่ค่อยเหมาะสมสักเท่าไหร่ (เพราะไม่รู้สึกว่าตัวละครเหมือนยังมีชีวิตอยู่) คำแปลตรงๆจากภาษาเปอร์เซีย Inanimate Character อาจฟังดูแปลกๆ แต่สามารถสื่อถึงสภาพไร้จิตวิญญาณของตัวละครได้ชัดเจนกว่า

ช็อตสุดท้ายของหนังที่ Mohamad Sardari จับจ้องมองภาพสะท้อนตนเองในกระจกเงา คงกำลังครุ่นคิดทบทวนถึงระยะเวลา 30+ กว่าปี ทุกสิ่งอย่างที่ฉันทำลงไป มันไม่คุณค่าอะไรเลยใช่ไหม!

เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Berlin เสียงตอบรับดียอดเยี่ยมมากๆ สามารถคว้ามาถึง 4 รางวัล ขณะที่ Golden Bear ปีนั้นตกเป็นของภาพยนตร์ตลกสัญชาติอังกฤษ The Apprenticeship of Duddy Kravitz (1974) กำกับโดย Ted Kotcheff, นำแสดงโดย Richard Dreyfuss (ในบทบาทที่เจ้าตัวครุ่นคิดว่าเล่นได้แย่สุดๆ)

  • Silver Berlin Bear: Best Director
  • FIPRESCI Prize
  • OCIC Award – Recommendation: Competition
  • Interfilm Award – Otto Dibelius Film Award

ความสำเร็จของ Still Life (1974) ทำให้ผู้กำกับ Shahid-Saless ตัดสินใจลงหลักปักฐานที่เยอรมัน (สมัยนั้นคือ West German) เพราะเชื่อว่าจะได้รับโอกาส และอิสรภาพในการสรรค์สร้างภาพยนตร์มากกว่า ผลงานเด่นๆ อาทิ Far From Home (1975), Coming of Age (1976), Utopia (1983) ฯลฯ

อาจเพราะผมไม่ได้เตรียมตัวจะรับชม ‘slow cinema’ มันเลยเกิดความหงุดหงิด รำคาญใจ คุณภาพที่หาได้ก็ตามมีตามเกิด สุดท้ายเลยไม่ค่อยชอบพอหนังสักเท่าไหร่ แต่ก็ตระหนักถึงวิธีการอันเรียบง่าย สัมผัสบรรยากาศแห่งความสิ้นหวัง ต้องชมว่างดงามระดับมาสเตอร์พีซ (ไม่รู้จะมีโอกาสรับชมฉบับบูรณะหรือเปล่านะ)

แนะนำคอหนัง ‘slow cinema’ บรรยากาศท้อแท้สิ้นหวัง ราวกับวันโลกาวินาศ สำหรับคนชื่นชอบผลงานของ Chantal Akerman, Béla Tarr, เจ้ย อภิชาติพงศ์ ฯลฯ ลองหามารับชมดูนะครับ

จัดเรตทั่วไป แต่เด็กๆคงอดรนทนได้ไม่กับความเชื่องช้าน่าหลับ

คำโปรย | Still Life นำเสนอความหมดสิ้นหวังของชีวิต
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | หมดสิ้นหวัง