The King of Comedy (1982)


The King of Comedy (1982) hollywood : Martin Scorsese ♥♥♥♥

แม้ตอนออกฉายจะไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่เรื่องราวตลกร้ายของ The King of Comedy (1982) สะท้อนความอึดอัดอั้นของผู้กำกับ Martin Scorsese ไม่สามารถระบายอารมณ์คลุ้มบ้าคลั่ง และกลายเป็นแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Joker (2019)

ถ้าผมมีโอกาสรับชม The King of Comedy (1982) ก่อนหน้าปี ค.ศ. 2019 เชื่อว่าตนเองคงไม่รู้สึกประทับใจหนังสักเท่าไหร่ เป็นภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศอึดอัดอั้น แม้งไม่มีใครสนใจรับฟังกันและกัน เอาแต่พูดพร่ำไม่ยอมหยุด ไคลน์แม็กซ์ก็ไร้สิ่งตบมุก ไม่สามารถระบายอารมณ์คลุ้มบ้าคลั่งออกมา

nobody listens in this film; everybody’s just waiting for the other person to stop talking so they can start. And everybody’s so emotionally isolated in this movie that they don’t even seem able to guess what they’re missing.

This sounds like an entertaining story, I suppose, but Scorsese doesn’t direct a single scene for a payoff. The whole movie is an exercise in cinema interruptus… Scorsese doesn’t want laughs in this movie, and he also doesn’t want release. The whole movie is about the inability of the characters to get any kind of a positive response to their bids for recognition.

นักวิจารณ์ Roger Ebert

ตอนผมมีโอกาสรับชม Joker (2019) ก็เต็มไปด้วยความรู้สึกอับอาย กรีดกราย อยากเบือนหน้าหนีหลายครั้งครา ถ้าไม่เพราะหนังทำเงินพันล้าน เข้าชิง Oscar หลายสาขา ก็คงไม่เสียเวลาอดรนทน โชคดีว่าพอถึงไคลน์แม็กซ์สามารถสร้างความพึงพอใจสูงสุด! ระบายอารมณ์อัดอั้น สะท้อนสถานการณ์โลกปัจจุบันนั้น-นี้ ที่เต็มไปด้วยความรุนแรงระดับคลุ้มบ้าคลั่ง

จริงๆไม่ใช่เพราะ Joker (2019) ที่ทำให้ผมมีภูมิต้านทานภาพยนตร์ลักษณะนี้ แต่คือสามผลงานสุดท้ายของผกก. Luis Buñuel ที่เต็มไปด้วยการขัดจังหวะระหว่างกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม The Discreet Charm of the Bourgeoisie (1972), The Phantom of Liberty (1974) และโดยเฉพาะ That Obscure Object of Desire (1977) ซึ่งถ้าเราสามารถปีนป่ายบันได ทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้สร้างต้องการนำเสนอออกมา ก็จักค้นพบความน่าอึ่งทึ่ง มหัศจรรย์พันธุ์ลึก สะท้อนอารมณ์ศิลปินด้วยกันทั้งนั้น!


Martin Charles Scorsese (เกิดปี 1942) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Queen, New York City ก่อนย้ายมาเติบโตยัง Little Italy, Manhattan ครอบครัวเชื้อสาย Italian อพยพมาจาก Palermo, Sicily นับถือศาสนา Roman Catholic อย่างเคร่งครัด! วัยเด็กป่วยโรคหอบหืดทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬา ออกไปทำกิจกรรมภายนอก พ่อ-แม่และพี่ๆจึงมักพาไปดูหนัง เช่าฟีล์มกลับมารับชมที่บ้าน ค่อยๆเกิดความหลงใหลในสื่อภาพยนตร์ โตขึ้นศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ Washington Square College (ปัจจุบันชื่อ College of Arts and Science) แล้วต่อปริญญาโทวิจิตรศิลป์ School of the Arts (ปัจจุบันชื่อ Tisch School of the Arts)

ระหว่างร่ำเรียน Tisch School of the Arts ก็เริ่มกำกับหนังสั้น What’s a Nice Girl like You Doing in a Place like This? (1963), It’s Not Just You, Murray! (1964), The Big Shave (1967), พอสำเร็จการศึกษาก็สรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Who’s That Knocking at My Door (1967), แจ้งเกิดโด่งดังกับ Mean Streets (1973), Taxi Driver (1967), Raging Bull (1980) ฯ

ผกก. Scorsese เคยครุ่นคิดจะรีไทร์จาก Hollywood หลังเสร็จสร้างภาพยนตร์ Raging Bull (1980) แล้วออกเดินทางสู่ยุโรป ไม่ก็เปลี่ยนมาสรรค์สร้างสารคดี แต่เพราะความล้มเหลวของหนัง รวมถึงผลลัพท์ยังรู้สึกไม่พึงพอใจ (unsatisfied) ไม่พบเจอความสงบสุขภายใน (inner peace) เลยเกิดต้องการอยากทิ้งท้ายอีกโปรเจค ชีวประวัติพระเยซูคริสต์ The Last Temptation of Christ โดยคาดหวังให้ Robert De Niro รับบท Jesus Christ

แต่ทว่า De Niro ไม่มีความสนใจอยากแสดงเป็น Jesus Christ พยายามโน้มน้าวผกก. Scorsese ให้ตอบตกลงโปรเจค Black Comedy ที่เคยพูดคุยกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 เรื่อง The King of Comedy จากบทหนังของนักเขียน/นักวิจารณ์ Paul D. Zimmerman

I read it, but I didn’t quite get it… After making Raging Bull, I was at a different point in my life, and was able to absorb The King of Comedy better. To a point. In 1981, when I was shooting [King of Comedy], I realized that I had to wipe the slate clean as a filmmaker and start all over again. I literally started re-learning how to make movies. That’s what King of Comedy really helped me to do.

Martin Scorsese

Paul D. Zimmerman (1938-93) นักเขียน/นักวิจารณ์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City ก่อนหน้านี้ทำงานเป็นนักวิจารณ์ภาพยนตร์ให้กับนิตยสาร Newsweek (ระหว่าง ค.ศ. 1967-75) จากนั้นผันตัวมาเขียนบทรายการโทรทัศน์ Sesame Street, พัฒนาบทภาพยนตร์ The King of Comedy (ทีแรกตั้งใจจะเขียนนวนิยาย ก่อนเปลี่ยนใจมาทำเป็นบทหนังดีกว่า) โดยได้แรงบันดาลใจจาก …

  • แขกรับเชิญทางบ้านที่มาออกรายการ The David Susskind Show ซึ่งเป็นนักล่าลายเซ็นต์ดารา (autograph-seeker) บ่นอุบว่า “Barbra [Streisand] is hard to work with.” แปลว่า Barbra Streisand เป็นคนที่เข้าหาตัวยาก พูดง่ายๆก็คือไม่ชอบแจกลายเซ็นต์ แต่ … มันเป็นเรื่องส่วนตัวของอีกฝ่ายไม่ใช่รึ จะมาบ่นห่าพระแสงอะไร??
  • บทความจากนิตยสาร Esquire กล่าวถึงชายคนหนึ่งมีความหลงใหลคลั่งไคล้ แฟนคลับเดนตายของ Johnny Carson พิธีรายการทอล์คโชว์ The Tonight Show Starring Johnny Carson (1962–92) ทั้งแอบติดตาม (Stalker) จดบันทึกไดอารี่ พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเรียกร้องความสนใจ

I started to think about the connections between autograph-hunters and assassins. Both stalked the famous – one with a pen and one with a gun

Paul D. Zimmerman

ในตอนแรก Bob Fosse (Cabaret, All That Jazz) แสดงความสนใจอยากเป็นผู้กำกับ แล้วเลือก Andy Kaufman รับบท Rupert Pupkin, Sammy Davis Jr. รับบท Jerry Langford แต่ไม่นานขอบอกผ่านเพื่อไปรับงานภาพยนตร์ Star 80 (1983), ตัวเลือกถัดมาคือ Michael Cimino แต่เพราะความล่าช้าระหว่างการตัดต่อ Heaven’s Gate (1980) เลยจำต้องถอนตัวออกไปเช่นกัน

คล้ายเมื่อตอน Raging Bull (1980) บทหนัง The King of Comedy ถูกส่งมาถึงมือ De Niro มองเห็นความเป็นไปได้ในการร่วมงานผกก. Scorsese แต่เจ้าตัวกลับพยายามยื้อยั้ง บอกปัดปฏิเสธ เพราะไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับตนเอง ซึ่งขณะนั้น (หลังเสร็จสิ้น Raging Bull (1980)) ร่างกายยังเจ็บปวดอิดๆออดๆ ล้มป่วยโรคปอดบวม/ปอดอักเสบ (Pneumonia) เข้าๆออกๆโรงพยาบาล จากการโหมงานหนักเกินไป รวมทั้งถูกเร่งรีบจากโปรดิวเซอร์ กลัวว่าอาจจะมีการประท้วงหยุดงานของ Directors Guild of America (DGA)

I didn’t really understand where I stood in relationship to the film, the story, Rupert Pupkin, and Jerry Langford, too, until I was in the process of making the film—the shooting, the editing. I don’t think I necessarily liked what I found. What I mean is: I saw myself in Rupert, on the surface, as somebody that came from that appreciation of early television of the 50s—particularly New York variety comedy shows. Steve Allen, Jack Paar. These personalities were so vivid and so strong that they became something very new to me. I really appreciated that part of what I guess you’d call “show business.” That part of me is there in Rupert, there is no doubt.

Martin Scorsese

แซว: ก่อนหน้านี้สไตล์การกำกับของผกก. Scorsese มักให้อิสระนักแสดงในการดั้นสด ‘improvised’ แต่บทของ Paul Zimmerman เต็มไปด้วยประโยคคำพูดที่ไม่สามารถปรับแก้ไขอะไรได้เลย และ Marty ยังเคยแซวว่าไม่เคยพูดทัน Zimmerman เร็วติดจรวดยิ่งกว่าตนเองเสียอีก!

The King of Comedy had very little improvisation, just wall-to-wall dialogue, which is not surprising since the screenwriter, Paul Zimmerman, speaks even faster than me!


เรื่องราวของ Rupert Pupkin (รับบทโดย Robert De Niro) อ้างตัวเองว่าเป็นตลกยืนเดี่ยว (Stand-up Comedy) กำลังมองหาโอกาสในอาชีพการงาน วันหนึ่งจับพลัดจับพลูได้ขึ้นรถของ Jerry Langford (รับบทโดย Jerry Lewis) พิธีกรรายการ Late-Night Show พยายามพูดโน้มน้าว ขายความสามารถ เพื่อโอกาสปรากฎตัวเป็นแขกรับเชิญในโทรทัศน์ แต่กลับถูกเพิกเฉยเฉื่อยชา วันถัดมาติดต่อกลับไปได้กลับโดนปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย

Rupert จึงครุ่นคิดวางแผนร่วมกับ Masha (รับบทโดย Sandra Bernhard) แฟนคลับเดนตายของ Jerry Langford ที่มีอาการทางประสาทอยู่เล็กๆ เพื่อทำการจี้ปล้น ลักพาตัว แล้วต่อรองโอกาสสำหรับปรากฎตัวในรายการโทรทัศน์ มาลุ้นกันว่าพวกเขาจะสามารถทำสำเร็จได้หรือไม่??


Robert Anthony De Niro Jr. (เกิดปี 1943) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Manhattan, New York พ่อมีเชื้อสาย Irish-Italian ประกาศตนว่าเป็นเกย์หย่าขาดกับแม่ตอน De Niro อายุได้ 2 ขวบ เติบโตขึ้นในบริเวณ Little Italy เคยแสดงละครเวทีงานโรงเรียน รับบทเป็น Cowardly Lion เรื่อง The Wizard of Oz ทำให้เริ่มมีความสนใจด้านนี้ พออายุ 16 มุ่งสู่ HB Studio, Stella Adler Conservatory และ Actors Studio กลายเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของ Lee Strasberg, แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก The Wedding Party (1963) ของผู้กำกับ Brian De Palma แนะนำให้รู้จักจนกลายเป็นขาประจำกับ Martin Scorsese ร่วมงานครั้งแรก Mean Streets (1973) ผลงานเด่นๆ อาทิ The Godfather: Part II (1974) ** คว้า Oscar: Best Supporting Actor, Taxi Driver (1976), The Deer Hunter (1978), Raging Bull (1980) ** คว้า Oscar: Best Actor, Cape Fear (1991), Silver Linings Playbook (2012) ฯ

รับบท Rupert Pupkin เรียกตัวเองว่า ‘The King of Comedy’ ชายผู้มีอาการทางจิต ประสาทหลอน (delusional) ครุ่นคิดเพ้อใฝ่ฝัน อยากประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงโด่งดัง ไต่เต้าจากตลกยืนเดี่ยว (Stand-up Comedy) ได้ออกรายการโทรทัศน์ กลายเป็นพิธีกรทอล์คโชว์ และที่สุดคือสามารถครอบครองรัก แต่งงานแฟนสาว Rita Keene (รับบทโดย Diahnne Abbott)

การเตรียมตัวรับบทบาทนี้ของ De Niro นอกจากรับชมสารพัดรายการทอล์คโชว์ ยังพัฒนาเทคนิคเรียกว่า “Role-Reversal” ด้วยการออกไล่ล่าบรรดานักล่าลายเซ็นต์ พูดคุยสอบถามความต้องการ หนึ่งในนั้นคือบุคคลแอบติดตาม (Stalker) De Niro มานานถึงเก้าปี! เพียงเพราะอยากชักชวนอีกฝ่ายไปรับประทานอาหารที่บ้าน ทักทายมารดา โอ้อวดกับเพื่อนฝูงว่าได้สามารถทำสิ่งไม่มีใครคาดคิดถึง

บทบาท Rupert Pupkin มีความละม้ายคล้ายทุกๆตัวละครในหนังของผกก. Scorsese แต่ผมรู้สึกว่าใกล้เคียงที่สุดกับ Travis Bickle จากภาพยนตร์ Taxi Driver (1976) ต่างเป็นบุคคลมีความหมกมุ่น จริงจัง ใช้ชีวิตอย่างสันโดษเดี่ยว (ถึงอาศัยอยู่กับมารดา แต่ไม่แน่ว่าเธออาจมีอยู่จริง) ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อพิสูจน์การมีตัวตน! แต่ทว่า Rupurt ไม่ใช่ฆาตกรกำจัดขยะสังคม เพียงความลุ่มหลงในโลกมายา ต้องการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง เติมเต็มความเพ้อฝันเล็กๆ “Better to be king for a night than schmuck for a lifetime.”

ขณะที่ภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ผมยังพอมองเห็นตัวตนของ De Niro ปรากฎอยู่ในตัวละครนั้นๆ แต่ไม่ใช่สำหรับ The King of Comedy (1982) ทั้งภาพลักษณ์และการแสดง สวมวิญญาณกลายเป็น Rupert Pupkin ล่องลอยอยู่ในมายาคติ ทุกสิ่งอย่างดูจอมปลอม แต่กลับมีความเสมือนจริง (realness) นั่นสร้างความหลอกหลอน ถือเป็นบุคคลอันตราย ต้องส่งเข้ารักษาโรงพยาบาลจิตเวชสถานเดียว

เกร็ด: ผกก. Scorsese มองว่านี่คือบทบาทการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Robert De Niro

People in America were confused by The King ofComedy and saw Bob as some kind of mannequin. But I felt it was De Niro’s best performance ever. The King of Comedy was right on the edge for us; we couldn’t go any further at that time.

Martin Scorsese

Jerry Lewis ชื่อจริง Joseph Levitch (1926-2017) นักแสดง พิธีกร นักร้อง คอมเมอเดี้ยน สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Newark, New Jersey ในครอบครัวเชื้อสาย Jewish บิดาคือพิธีกร/นักแสดงละครเวที อพยพมาจาก Russian Empire, ช่วงวัยรุ่นนิสัยเกเร กลั่นแกล้งเพื่อนจนถูกไล่ออกจากโรงเรียนตอนอายุ 15 กลายมาเป็นนักแสดงตลก บ้าใบ้ (mime) กระทั่งได้พบเจอ Dean Martin กลายเป็นคู่หู Martin and Lewis ร้องรำทำเพลง จัดรายการวิทยุ The Martin and Lewis Show, พิธีกรรายการโทรทัศน์ Comedy Hour, รวมถึงพิธีกรประกาศรางวัล Academy Award ค.ศ. 1955, จากนั้นแยกย้ายฉายเดี่ยว ออกอัลบัม แสดงภาพยนตร์ The King of Comedy (1982) ซึ่งทำให้เขาได้รับฉายา “The King of Comedy” ในฝรั่งเศสเรียกว่า “Le Roi du Crazy”

รับบท Jerry Langford พิธีกรรายการโทรทัศน์ The Jerry Langford Show ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงโด่งดัง แต่เจ้าตัวกลับเหน็ดเหนื่อยหน่ายต่อบรรดาแฟนๆที่ชอบติดตามตื้อ รุกล้ำพื้นที่ส่วนบุคคล เมื่อครั้นถูกลักพาตัวมีสามารถในการเกลี้ยกล่อม ต่อรอง แสดงไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า จนเอาตัวรอดหลบหนีออกมาได้สำเร็จ

เกร็ด: Paul D. Zimmerman เขียนบทหนังเรื่องนี้ในช่วงปลายทศวรรษ 60s โดยมีภาพของ Dick Cavett ขณะนั้นเป็นพิธีกรรายการ The Tonight Show และ The Dick Cavett Show

มีพิธีกร/นักแสดงใน ‘show business’ มากมายที่สามารถรับบทบาทนี้ Johnny Carson, Frank Sinatra, Dean Martin, Sammy Davis, Jr., Joey Bishop หรือแม้แต่ Orson Welles, ตัวเลือก Jerry Lewis แม้ถูกทัดทานโดย De Niro เพราะมองว่าอีกฝ่ายมีความ ‘old school’ เกินไป ไม่น่าจะเล่นบทบาทดราม่าได้ดี แต่เพราะ Lewis คือไอดอลของผกก. Scorsese เลยไม่ครุ่นคิดจะเลือกใครอื่น

เกร็ด: ตามบทหนังดั้งเดิม ตัวละครชื่อว่า Bobby Langford แต่ที่เปลี่ยนมาเป็น Jerry Langford ตามชื่อของนักแสดง Jerry Lewis เพราะต้องการให้ผู้ชมรู้สึกมักคุ้นเคยกับนักแสดง เลือนลางระหว่างความจริง-เหตุการณ์ปลอมๆในหนัง

เอาจริงๆผมไม่ค่อยรู้สึกว่า Lewis จะทำอะไรกับบทบาทนี้ไปมากกว่าเป็นตัวของตนเอง เคร่งเครียด เข้มขรึม สวมแว่นทำให้ดูจริงจัง แต่ด้วยบุคลิก ภาพลักษณ์ และประสบการณ์พานผ่านงานด้านนี้ ทำให้เขามีความ ‘น่าเชื่อถือ’ เหมือนมืออาชีพ รวมถึงสามารถถ่ายทอดความรู้สึกตัวละครในสถานการณ์ต่างๆ (เพราะหลายเหตุการณ์เคยพบเจอมากับตัวมาทั้งนั้น)

การร่วมงานกับพิธีกร/นักแสดงจาก ‘show business’ เป็นประสบการณ์ท้าทายและแปลกใหม่สำหรับผกก. Scorsese เพราะพวกเขาเหล่านั้นทุกวินาทีคือเงิน! จะให้มารอคิวถ่ายทำก็เสียเวลา อีกทั้งทิฐิก็สูงลิบลิ่ว (เพราะเป็นบุคคลมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมารับงานภาพยนตร์ก็ยังได้) โชคดีที่ Lewis เข้าใจวิถีของวงการภาพยนตร์

I know I’m Number Two in this picture. I won’t give you any difficulty and I’ll do what you want. I’m a consummate professional. I know where I stand. If you want me to wait around, you’re paying for my time, I’ll do that.

Jerry Lewis

ถ่ายภาพโดย Fred Schuler (เกิดปี 1940) สัญชาติเยอรมัน เกิดที่ Munich, จากเคยเป็นผู้ควบคุมกล้อง (Camera Operator) Dog Day Afternoon (1975), Annie Hall (1977), ผลงานเด่นๆ อาทิ Gloria (1980), Arthur (1981), The King of Comedy (1982) ฯ

สำหรับคนที่รับชมผลงานของผกก. Scorsese ไล่เรียงลำดับมาเรื่อยๆจนกระทั่งเรื่องล่าสุด Raging Bull (1980) ที่มีความแพรวพราว ตระการตาด้วยเทคนิคภาพยนตร์ ย่อมเต็มไปด้วยความคาดหวังต่อ The King of Comedy (1982) แต่เชื่อว่าหลายคนคงรู้สึกผิดหวังอย่างยิ่งยวด เพราะผลงานเรื่องนี้แทบไม่มีลูกเล่นโดดเด่นอะไร ดูธรรมดาสามัญ ไม่หลงเหลือสไตล์ลายเซ็นต์ให้น่าจดจำ

จริงๆมันทำความเข้าใจไม่ยากนะครับ เพราะว่า Raging Bull (1980) คือจุดสูงสุดในอาชีพการงานของผกก. Scorsese ทุ่มเทใส่ทุกสิ่งอย่างลงในผลงานเรื่องนี้ ถึงขนาดเรียกว่า “kamikaze way of making movies” ตั้งใจจะให้เป็นภาพยนตร์ทิ้งท้ายก่อนตาย/รีไทร์จาก Hollywood ซึ่งหลังเสร็จภารกิจก็ย่อมหมดเรี่ยวแรงกาย-ใจ อีกทั้งร่างกายเจ็บปวดอิดๆออดๆ (เพราะโหมงานหนักไป) เลยพยายามมองหาโปรเจคง่ายๆ ถ่ายทำด้วยวิธีการไม่ซับซ้อน นำแรงบันดาลใจ ‘visual style’ จากยุคสมัยหนังเงียบ Life of an American Fireman (1903) กำกับโดย Edwin S. Porter

I decided my next picture was going to be 1903 style, more like Edwin S. Porter’s Life of an American Fireman (1903), using more static camera shots and fewer dramatic close-ups.

Martin Scorsese

วิธีการนี้ของผกก. Scorsese ทำให้เขาไม่ต้องเสียเวลากับเทคนิคถ่ายทำ เพียงรายละเอียด/องค์ประกอบในแต่ละเฟรม แต่กลับเป็นเหตุให้ต้องถ่ายทำมากเทคขึ้นเรื่อยๆ บางช็อตใช้เวลาหลายวัน มีอยู่ฉากหนึ่งลากยาวถึงสองสัปดาห์! โหยหาความสมบูรณ์แบบ ‘perfectionist’ สิ้นเปลืองฟีล์มไปไม่น้อย แถมยังเพิ่มงานตัดต่ออีกต่างหาก (เพราะมีฟุตเทจใช้งานไม่ได้มากมาย)

การชุมนุมประท้วงของ Writers Guild of America (WGA) ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน (ถึง 12 กรกฎาคม) ค.ศ. 1981 สร้างความหวาดหวั่นวิตกต่อหลายๆสตูดิโอ เพราะกลัวว่าสมาคมอื่นโดยเฉพาะ Directors Guild of America (DGA) จะเรียกร้องหยุดงานเช่นกัน ซึ่งนั่นย่อมส่งผลกระทบต่อภาพยนตร์หลายๆเรื่องอย่างแน่นอน! ด้วยเหตุนี้โปรดิวเซอร์ Arnon Milchan จึงรีบเร่งผกก. Scorsese ที่ขณะนั้นร่างกายอิดๆออดๆ ไม่พร้อมก็ต้องเปิดกล้องถ่ายทำตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ทำงานหามรุ่งหามค่ำ (กลางคืนยังต้องเข้าห้องตัดต่ออีก) ผลลัพท์ทำให้เข้าๆออกๆโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น ไหนจะอารมณ์ ‘perfectionist’ รวมๆแล้วใช้เวลาถ่ายทำกว่า 20 สัปดาห์ (จนถึงช่วงเดือนตุลาคม) … สุดท้ายแล้ว DGA ก็ไม่ได้มีการประท้วงหยุดงานแต่ประการใด

สำหรับสถานที่ถ่ายทำ ปักหลักอยู่ยัง Manhattan, New York City โดยสำนักงาน/สตูดิโอของ Jerry Langford เลือกใช้ตึก Paramount Building ในย่าน Broadway [แต่หนังจัดจำหน่ายโดย 20th Century Fox]


ชื่อหนัง The King of Comedy ปรากฎขึ้นระหว่างการแช่ภาพ ‘freeze frame’ หญิงสาวคนหนึ่ง (Masha) ยกมือตะเกียกตะกายอยู่ภายในรถ ราวกับต้องการขวนขวายไขว่คว้าบางสิ่งอย่าง ชื่อเสียง ความสำเร็จ ในกรณีของ Masha คืออยากได้พูดคุยสนทนา ครอบครองเป็นเจ้าของ Jerry Langford

ภาพยนตร์ที่ Jerry รับชมในอพาร์ทเม้นท์ก็คือ Pickup on South Street (1953) แนวสายสืบ (Spy) ช่วงสงครามเย็น (Cold War) กำกับโดย Samuel Fuller, เรื่องราวเกี่ยวกับหัวขโมยล้วงกระเป๋าเงินหญิงสาว แต่โดยไม่รู้ตัวซุกซ่อน microfilm ข้อมูลลับของรัฐบาลที่กำลังจะถูกส่งต่อให้พวกคอมมิวนิสต์ … ผมยังครุ่นคิดไม่ออกถึงความสัมพันธ์กับหนังสักเท่าไหร่

ดั้งเดิมนั้น Liza Minnelli ตัวจริงๆมารับเชิญ ‘cameo’ รายการทอล์คโชว์ The Jerry Langford Sho (ในเครดิตยังปรากฎชื่อเธออยู่เลยนะครับ) แต่ไม่รู้ทำไมผกก. Scorsese ถึงตัดซีเควนซ์นั้นออกไป เพราะเราสามารถนำมาเปรียบเทียบคู่ขนานกับซีนนี้ เหตุการณ์จริง-จินตนาการเพ้อฝัน, พูดคุยกับกระดาษแข็ง vs. สัมภาษณ์บุคคลจริงๆ (แต่ถือเป็นแฟนตาซีของ Rupert)

ปล. มารดาของ Rupert ให้เสียงโดย Catherine Scorsese มารดาของผกก. Scorsese ซึ่งการไม่เคยปรากฎตัวทำให้สามารถตีความสองแง่สองง่าม อาจมีตัวตน หรือเพียงเสียงหลอกหลอนที่คอยย้ำเตือนสติ (เพราะตัวละครก็มีอาการเห็นภาพหลอนอยู่แล้ว รวมหูแว่วไปด้วยคงไม่ผิดกระไร)

นี่เป็นช็อตที่ผมมองว่ามีความน่าสนใจที่สุดของหนัง Rupert หลังเสร็จจากการอัดเสียงสุนทรพจน์ (Monologue) จู่ๆก็มายืนพูดต่อหน้ารูปภาพฝูงชน กล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลังราวกับกำลังลอดผ่านอุโมงค์แห่งความเพ้อฝัน ได้ยินเสียง ‘Sound Effect’ ผู้คนอื้งอึง ตอบรับมุกตลกของเขา

สาเหตุเพราะซีนนี้มันมีความเลือนลางไม่ใช่แค่เหตุการณ์จริง-จินตนาการเพ้อฝัน แต่ยังลูกเล่นกับเสียงของ Rupert (ที่พูดออกมาจริงๆ) และเสียงอื้ออึงของผู้คน (ไม่รู้ดังมาจากแห่งหนไหน) ซึ่งสร้างบรรยากาศหลอกหลอน หวาดสะพรึง ราวกับโลกทั้งสองใบผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน

เหตุการณ์นี้นำจากประสบการณ์ตรงของ Jerry Lewis เคยพบเจอหญิงสูงวัยกำลังพูดคุยโทรศัพท์ ตอนแรกแค่ขอลายเซ็นต์ก็ยินยอมมอบให้ พร้อมกล่าวคำสรรเสริญเยินยอ “You’re just wonderful.” แล้วได้คืบจะเอาศอก สลับสับเปลี่ยนมุมกล้อง ร้องขอให้เขาสนทนากับญาติในสาย พอตอบปฏิเสธกลับสาปแช่งด่าทอ “I hope you get cancer!” นี่มันลักษณะอาการของผู้ป่วย Bi-Polar … ซีนเล็กๆนี้สะท้อนพฤติกรรมหวาดระแวง ความขัดแย้งในตัวเองของชาวอเมริกันทศวรรษนั้นได้เป็นอย่างดี

ในขณะที่บ้านพักชานเมืองของ Jerry มีความโอ่โถง แสงส่องสว่าง ฝาผนังเต็มไปด้วยภาพวาดผู้คน, ตรงกันข้ามกับบ้านของ Masha โทนสีหม่นๆ ปกคลุมด้วยความมืดมิด รูปภาพ Abstract ยามกลางคืนใช้เพียงแสงเทียน (เหมือนไม่มีเงินจ่ายค่าไฟ) … ความแตกต่างดังกล่าวสะท้อนวิถีชีวิตของพวกเขา คนหนึ่งทำงานเพื่อสาธารณะ ได้รับนับหน้าถือตาจากผู้คน ส่วนสอง Stalker หลบซ่อนตัวอยู่ในความมืดมิด จมปลักอยู่ในจินตนาการเพ้อฝัน

ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าภาพวาด Abstract ด้านหลังคือผลงานของใคร แต่สังเกตจากรูปลักษณะ และรองพื้นสีแดง ดูราวกับความรุนแรง อารมณ์ปะทุระเบิด ซึ่งน่าจะสอดคล้องความรู้สึกของสอง Stalker ที่ทำการลักพาตัว Jerry Langford เพราะมิอาจอดรนทนต่อการถูกมองข้าม ไม่เห็นหัว ราวกับไร้ตัวตน เลยตัดสินใจกระทำสิ่งชั่วร้าย (แต่ไม่ได้มาร้าย) แค่ให้ได้

  • Rupert โอกาสในการกล่าวสุนทรพจน์ (monologue) ออกอากาศทางโทรทัศน์
  • Masha โอกาสในการได้ใกล้ชิด พูดคุยกับ Jerry แสดงออกความรัก และต้องการร่วมเพศสัมพันธ์

ผกก. Scorsese รับบทเป็นผู้กำกับรายการโทรทัศน์ The Jerry Langford Show

Better to be king for a night, than schmuck for a lifetime.

Rupert Pupkin aka. The King of Comedy

ในขณะที่ Rupert ได้กระทำสิ่งตอบสนองตอบสนองความพึงพอใจ กล่าวถ้อยคำสุนทรพจน์ (monologue) ออกอากาศทางโทรทัศน์ เปิดให้กับ Rita มีโอกาสชื่นเชยชม, ตรงกันข้าม Masha ไม่สามารถเติมเต็มตัณหา ร่วมเพศสัมพันธ์กับ Jerry หนำซ้ำยังปล่อยให้เขาหลบหนีเอาตัวรอดได้อย่างปลอดภัย (ส่วนเธอเปลือยกายล่อนจ้อนขณะวิ่งไล่ติดตาม อับอายขายขี้หน้าประชาชีทั่วท้องถนน)

ผมมองนัยยะของการนำเสนอคู่ขนานนี้ คือเส้นแบ่งบางๆระหว่างความสำเร็จ-ล้มเหลว น่าภาคภูมิใจ-อับอายขายขี้หน้า อัจฉริยภาพ-คนบ้าเสียสติ ซึ่งเหมารวมกับชีวิต-การละคอน เหตุการณ์จริง-จินตนาการเพ้อฝัน ในโลกสมัยนั้น-นี้คือสิ่งที่มนุษย์เริ่มจะไม่สามารถแบ่งแยกแยะออกจากกัน

ปัจฉิมบทของหนังนำเสนอภาพข่าวจากโทรทัศน์ (เลยดูเบลอๆ แตกๆ คุณภาพต่ำๆ) หลังจาก Rupert ได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนด เขียนหนังสือขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และสุดท้ายได้กลายเป็นพิธีกรรายการทอล์คโชว์สมดั่งใจหวัง … นี่มันคล้ายๆตอนจบ Taxi Driver (1976) ที่สามารถตีความได้สองแง่สองสาม มอบอิสรภาพผู้ชมในการครุ่นคิดตีความ ว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นจริง หรือแค่เพียงจินตนาการเพ้อฝันของตัวละคร

ตัดต่อโดย Thelma Schoonmaker (เกิดปี 1940) ขาประจำผกก. Martin Scorsese คว้าสามรางวัล Oscar: Best Film Edited จากภาพยนตร์ Raging Bull (1980), The Aviator (2004) และ The Departed (2006)

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Rupert Pupkin ซึ่งจะมีความเลือนลาง สลับสับเปลี่ยนไปมาระหว่างเหตุการณ์จริง-จินตนาการเพ้อฝัน (หรือจะมองว่าอาการเห็นภาพหลอน, Delusional) ผู้ชมต้องคอยสังเกตแยกแยะเอาเอง เพราะผกก. Scorsese จงใจไม่สร้างจุดสังเกตความแตกต่าง ต้องการให้มันผสมผสาน กลายเป็นอันหนึ่งเดียวกัน … เห็นว่าได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ของ Powell & Pressburger ที่มักทำการผสมผสานเหตุการณ์จริง-แฟนตาซี คลุกเคล้าเข้ากันอย่างกลมกล่อม

  • Rupert Pupkin และ Jerry Langford
    • เข้าสู่รายการ The Jerry Langford Show
    • Rupert และผองพวกนักล่าลายเซ็นต์ มาดักรอ Jerry Langford อยู่หน้าทางออก
    • Rupert สบโอกาสขึ้นรถร่วมกับ Jerry พยายามพูดคุยโน้มน้าว ร้องขอโอกาสในการเป็นแขกรับเชิญ ปรากฎตัวในรายการโทรทัศน์
  • ความตั้งใจ/เป้าหมายของ Rupert
    • Rupert เพ้อฝันว่าได้ชักชวน Jerry มาร่วมรับประทานอาหาร แล้วอีกฝ่ายพยายามโน้มน้าวร้องขอให้เขาช่วยจัดรายการแทน
    • Rupert ชักชวนเพื่อนสมัยเรียนที่เคยแอบชื่นชอบ Rita Keene มารับประทานอาหาร สารภาพความจริง พร้อมขายฝันความสำเร็จ
    • Rupert พยายามติดต่อหา Jerry ตามคำสัญญาที่เคยให้ไว้ แต่ต้องพานผ่านหลายกระบวนการ
    • กลับอพาร์ทเม้นท์มาบันทึกเทป ทำการแสดงทอล์คโชว์ เพื่อส่งให้กับเลขาของ Jerry
    • เพ้อฝันจินตนาการว่าได้มีโอกาสอัดรายการร่วมกับ Jerry
  • ความเป็นจริงที่โหดร้าย
    • แต่ความจริงนั้นเทปของ Rupert ถูกบอกปัดเสธจากเลขา
    • สร้างความไม่พึงพอใจ จึงบุกเข้าไปในสำนึกงาน ก่อนถูกขับไล่ออกมา
    • Rupert ชักชวน Rita ไปที่บ้านของ Jerry แต่กลับถูกอีกฝ่ายขับไล่ออกมาอย่างขายขี้หน้า
  • แผนการลักพาตัว
    • Rupert ร่วมงานกับ Masha ทำการลักพาตัว Jerry เพื่อเรียกร้องโอกาสในการบันทึกเทปรายการโทรทัศน์
    • ในที่สุด Rupert ก็ได้ออกรายการโทรทัศน์ตามความเพ้อฝัน
    • ก่อนถูกจับกุม เปิดโทรทัศน์ในบาร์ของ Rita เพื่อแสดงตนว่าได้ทำสำเร็จตามความเพ้อฝัน

ผมว่าหนังดูง่ายกว่า 8½ (1963) เพราะจินตนาการของ Rupert มักเกี่ยวกับการเป็นพิธีกร จัดรายการทอล์คโชว์ ประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน รวมถึงครองรัก-แต่งงานกับแฟนสาว ทุกสิ่งอย่างดูเลิศหรู อุดมคติ สมบูรณ์แบบ ตรงกันข้ามกับชีวิตจริง! … ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้ชม(และตัวละคร)ต่างเพ้อใฝ่ฝันด้วยกันทั้งนั้น


ในส่วนของเพลงประกอบ แบบเดียวกับ Raging Bull (1980) ไม่มีการแต่งขึ้นใหม่ ‘Original Soundtrack’ ทั้งหมดเป็นบทเพลง Pop, Jazz, Classical จากศิลปินชื่อดังอย่าง Ray Charles, The Pretender, Rick Ocasek, Talking Heads, B.B. King, Van Morrison ฯ ล้วนนำจากคอลเลคชั่นชื่นชอบส่วนตัวของผกก. Scorsese รวบรวมเรียบเรียงโดย Robbie Robertson ทำออกมาในลักษณะ ‘diegetic music’

จริงๆมีอีกเหตุผลหนึ่งที่หนังไม่มี ‘Original Soundtrack’ เพราะเต็มไปด้วย Sound Effect และบทพูดสนทนาเยอะมากจนไร้ช่องว่างสำหรับแทรกใส่บทเพลง ท่วงทำนองสร้างสัมผัสทางอารมณ์ ด้วยเหตุนี้เลยเลือกใช้ ‘diegetic music’ คลอประกอบพื้นหลังเบาๆดีกว่า

We couldn’t fit the music in, and though Robbie Robertson put together a terrific soundtrack you can’t hear it in the film because it would have drowned out the dialogue.

Martin Scorsese

Come Rain or Come Shine แต่งโดย Harold Arlen, คำร้องโดย Johnny Mercer, ต้นฉบับประกอบละครเพลง St. Louis Woman (1946), ส่วนฉบับที่ได้ยินระหว่าง Opening Credit ขับร้องโดย Ray Charles ประกอบอัลบัม The Genius of Ray Charles (1959) และช่วงระหว่างการลักพาตัว Jerry Langford จะได้ยินเสียง Sandra Bernhard (ผู้รับบท Masha) ขับร้องสดบทเพลงนี้ด้วยเช่นกัน

I’m gonna love you, like no one loves you
Come rain or come shine
High as a mountain, deep as a river
Come rain or come shine

I guess when you met me
It was just one of those things
But don’t ever bet me
‘Cause I’m gonna be true if you let me

You gonna love me, like no one love me
Come rain or come shine
Happy together, unhappy together
Wouldn’t it be fine

Days may be cloudy or sunny
We’re in or we are out of the money, yeah
But I’m with you always
I’m with you rain or shine

You gonna love me, like nobody’s loved me
Come rain or come shine
Happy together, unhappy together
Wouldn’t it be fine

Days may be cloudy or sunny
We’re in or we are out of the money, yeah
I’m with you always
I’m with you rain or shine

สำหรับ Closing Song ชื่อว่า Wonderful Remark แต่ง/ขับร้องโดย Van Morrison ดั้งเดิมบันทึกเสียงไว้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1969 แต่ไม่เคยนำออกเผยแพร่วางจำหน่าย เก็บเข้ากรุไว้จนกระทั่งได้รับเลือกให้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ The King of Comedy (1990)

It was about people who were supposed to be helping you and they weren’t there. It was about the business I’m in and the world in general. A lot of the times you can’t count on anybody.

Van Morrison

How can you stand the silence
That pervades when we all cry?
How can you watch the violence
That erupts before your eyes?
How can you tell us something
Just to keep us hangin’ on?
Something that just don’t mean nothing
When we see it, you are gone
Clinging to some other rainbow
While we’re standing, waiting in the cold
Telling us the same old story
Knowing time is growing old

That was a wonderful remark
I had my eyes closed in the dark
I sighed a million sighs
I told a million lies, to myself, to myself

How can we listen to you
When we know your talk is cheap?
How can we ever question
Why we give more and you keep?
How can your empty laughter
Fill a room like ours with joy?
When you’re only playing with us
Like a child does with a toy?
How can we ever feel the freedom
Or the flame lit by the spark
How can we ever come out even
When reality is stark?

That was a wonderful remark
I had my eyes closed in the dark, yeah
I sighed a million sighs
I told a million lies, to myself
To myself
Baby, to myself
Baby, to myself, to myself
To myself, to myself

Rupert Pupkin หลายคนมักอ่านนามสกุลผิดๆเป็น Pumpkin ที่แปลว่าฟักทอง แสดงถึงพฤติกรรม(ทอง)ไม่รู้ร้อน ไม่สนใจใยดี สะท้อนเรื่องราวของหนังที่ไม่ค่อยมีใครอยากรับฟังกันและกัน เอาแต่ตะโกนโหวกเหวกโวยวาย แสดงความคิดเห็นโน่นนี่นั่น อยากพิสูจน์การมีตัวตน เรียกร้องความสนใจ เก่งแต่ปาก นักเลงคีย์บอร์ด … ยุคสมัยนั้น-นี้ เรื่องพรรค์นี้ไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่

ความหมกมุ่นลุ่มหลงใหลในรายการทอล์คโชว์ของ Rupert สะท้อนอิทธิพลสื่อสารมวลชน (Mass Communication) โทรทัศน์คือหนึ่งในสื่อที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ก้าวทันโลก นำเทรนด์แฟนชั่น รวมถึงรับชมสิ่งบันเทิง สร้างความเพลิดเพลินผ่อนคลาย โดยไม่รู้ตัวกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน (ปัจจัยที่ห้าของคนยุคสมัยนั้น)

ในบางมุมมอง ‘โทรทัศน์เปรียบเสมือนยาเสพติด’ ที่เมื่อได้ลิ้มลองจะเกิดพฤติกรรมหมกมุ่น ลุ่มหลงใหล คลุ้มคลั่งไคล้ อยากเข้าไปมีส่วนร่วม กลายเป็นส่วนหนึ่ง สักวันฉันต้องได้ออกรายการโทรทัศน์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ใครต่อใครพูดกล่าวถึง สร้างความภาคภูมิใจ ตายไปก็ไม่เสียดายอะไร

Stalker อาจคือบุคคลที่มีปัญหาทางจิตบางอย่าง (จากครอบครัว สังคม บุคคลรอบข้างไม่ให้การยินยอมรับ ฯ) แต่ขณะเดียวกันความมุ่งมั่นที่จะทำบางสิ่งอย่างจริงจัง ไม่ได้แตกต่างจากบุคคลทั่วไป เพียงเส้นแบ่งบางๆระหว่างคนบ้า-อัจฉริยะ ขึ้นอยู่กับเราจะสามารถทำความเข้าใจ สังคมให้การยินยอมรับ และสิ่งที่แสดงออกก่อให้เกิดประโยชน์-โทษ สร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นมากน้อยเพียงไหน

  • ในกรณีของ Rupert มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะออกรายการโทรทัศน์ กล่าวสุนทรพจน์ (Monologue) ซักซ้อมหลายร้อยครั้งจนจดจำขึ้นใจ แม้ใช้ด้วยวิธีการลักพาตัว Jerry Langford ต่อรองจนได้รับโอกาสดังกล่าว เอาจริงๆเทปที่อัดจะไม่นำออกอากาศเลยก็ยังได้ แต่สุดท้ายโปรดิวเซอร์คงมองว่าไม่ได้เลวร้ายเกินไป นั่นคือความสำเร็จเล็กๆที่เกิดจากความพยายาม ถึงจะบ้าแต่สามารถจัดเข้าพวกอัจฉริยะ
  • ตรงกันข้ามกับ Masha เริ่มต้นด้วยความรุนแรง ตะเกียกตะกาย ถ้อยคำหยาบคาย เป้าหมายของเธอคือครอบครองเป็นเจ้าของ Jerry Langford และเมื่อได้อยู่กับเขาสองต่อสอง ก็ปลดเปลื้องเปลือยกาย ต้องการร่วมเพศสัมพันธ์ นั่นคือสิ่งที่ไม่มีใครให้การยินยอมรับ แม้แต่ Jerry ก็มิอาจอดกลั้นฝืนทน ตบหน้าเธอฉาดใหญ่ก่อนหลบหนีออกมา นั่นบ้าแท้ๆ ต้องเข้ารักษาโรงพยาบาลจิตเวช

แซว: แม้ว่า Rupert Pupkin จะเรียกตัวเองว่า The King of Comedy แต่ถ้าสังเกตจากภาพโปสเตอร์หนัง ตัวเขาอยู่ในกรอบไพ่ Joker (มันช่างเป็นความเข้ากันได้ดีกับภาพยนตร์ Joker (2019)) ขณะที่ The King ตัวจริงก็คือ Jerry Langford

สำหรับผกก. Scorsese แรกเริ่มต้นไม่สามารถหาจุดเชื่อมโยงตนเองกับเรื่องราวของหนัง (ผิดกับ De Niro ซึ่งเป็นนักแสดง มีชื่อเสียงโด่งดัง จึงไม่แปลกจะเคยพบเจอนักล่าลายเซ็นต์/Stalker ติดตามตัวไปทุกแห่งหน) มากสุดก็แค่ชื่นชอบรายการทอล์คโชว์ ยกให้ Jerry Lewis คือไอดอลส่วนตัว

แต่ระหว่างการถ่ายทำได้ไม่นาน เริ่มตระหนักถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง ภาพยนตร์คือส่วนหนึ่งของ ‘show business’ หวนระลึกถึงหลายๆประสบการณ์ ตั้งแต่สมัยยังวัยรุ่นคลั่งไคล้นักแสดง ประหม่าทุกครั้งขณะเข้าหาผู้กำกับรุ่นใหญ่/ไอดอลประจำใจ แล้วพอตนเองกลายเป็นบุคคลมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จในวงการภาพยนตร์ พบเห็นคนรุ่นใหม่พยายามเข้าหาไม่แตกต่างกัน

I went to the ten p.m. show of King of Comedy. On the screen, the scene is playing where Rupert pushes Jerry into Jerry’s limousine and says he’s gotta talk to him. He’s out of breath. “Take it easy, kid,” Jerry tells him. Meanwhile, in the back row of the theater, a kid grabs me by the arm and he’s saying he’s got to talk to me. He’s out of breath. I tell him to take it easy. It’s the exact same scene that’s on the screen!

Martin Scorsese

ผมอ่านเจอบทสัมภาษณ์หนึ่งของผกก. Scorsese บอกว่า The King of Comedy (1982) เป็นภาพยนตร์ที่ไม่มีความอยาก ไม่เคยหวนกลับมารับชมนานนับทศวรรษ เพราะความรู้สึกอัดอั้น อับอาย ช่วงเวลาในชีวิตที่ไม่น่าอภิรมณ์เริงใจสักเท่าไหร่ (คงเป็นเหตุผลเดียวกับที่ Marty ยังไม่ยอมดู Joker (2019) ไถสีข้างว่าตนเองเป็นโปรดิวเซอร์ เคยอ่านบท พบเห็นฟุตเทจ เข้าใจรายละเอียดทุกสิ่งอย่าง เลยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบรับชม)

สืบเนื่องจากความล้มเหลวของ New York, New York (1977) สร้างหายนะทั้งร่างกาย-จิตใจให้ผกก. Scorsese โชคดีได้รับความช่วยเหลือจาก De Niro สรรค์สร้าง Raging Bull (1980) คาดหวังให้เป็นผลงานทิ้งท้าย(ก่อนตาย) แต่ผลลัพท์กลับยังไม่สามารถเติมเต็มบางสิ่งขาดหาย บังเกิดความสงบสุขขึ้นภายใน (inner peace) เลยเกิดความตั้งใจใหม่ว่าจะระบายทุกสิ่งอย่างกับโปรเจคในฝัน The Last Temptation of Christ

แต่ก่อนถึงวันนั้นจำต้องสรรค์สร้างภาพยนตร์ขัดตาทัพ The King of Comedy (1982) นำเสนอเรื่องราวของคนบ้า กล้าที่จะทำทุกสิ่งอย่าง พยายามต่อรองร้องขอให้ตนเองได้ออกรายการโทรทัศน์ (Marty ขอโอกาสจากสตูดิโอเพื่อสรรค์สร้างโปรเจคในฝัน The Last Temptation of Christ) ถ้าฉันทำสำเร็จตามความฝัน จะเป็นจะตาย อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนั้นก็ช่างหัวมัน

นอกจากนี้ The King of Comedy (1982) ยังคือภาพยนตร์ที่ผกก. Scorsese ถือเป็นจุดเปลี่ยนยุคสมัย ทั้งกับตัวตนเอง และวิถีของโลกที่กำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป

  • เริ่มจากวิธีคิด สไตล์การทำงาน ผสมผสานลูกเล่นภาพยนตร์ โดยเฉพาะพฤติกรรมหมกมุ่นความสมบูรณ์แบบ ‘perfectionist’ ฯลฯ ถือได้ว่าปรับเปลี่ยน แตกต่างจาก Raging Bull (1980) และผลงานก่อนหน้านั้นพอสมควร
  • การล่มสลายของ United Artists ภายหลังขาดทุนย่อยยับกับ Heaven’s Gate (1980) ทำให้แนวทางการสร้างภาพยนตร์กำลังค่อยๆปรับเปลี่ยนแปลงไป ผู้กำกับเริ่มสูญเสียอิสรภาพในการทำงาน ถูกสตูดิโอ/โปรดิวเซอร์เข้ามาก้าวก่าย (โดยเฉพาะหนังทุนสูง) ไม่ค่อยอนุมัติโปรเจคที่มีความเป็นส่วนตัวหรือมีความเสี่ยงสูงอีกต่อไป

โดยไม่ทราบสาเหตุ หนังเริ่มต้นการฉายที่ประเทศ Iceland ช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 ก่อนมาถึงสหรัฐอเมริกาวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 แล้วได้รับเลือกเป็นหนังเปิดเทศกาลหนังเมือง Cannes ค.ศ. 1983 น่าเสียดายไม่ได้รางวัลใดๆติดไม้ติดมือกลับมา

ด้วยความที่ Raging Bull (1980) แพรวพราวด้วยเทคนิคภาพยนตร์ งดงามระดับวิจิตรศิลป์, ผลงานถัดมา The King of Comedy (1982) กลับแทบไม่มีลูกเล่นอะไรให้พูดกล่าวถึง นั่นอาจสร้างความผิดหวังให้ผู้ชม/นักวิจารณ์ ด้วยทุนสร้าง $19 ล้านเหรียญ เลยสามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกาได้เพียง $2.5 ล้านเหรียญ ถือว่าขาดทุนย่อยยับสามเรื่องติดของผกก. Scorsese (ถัดจาก New York, New York (1977) และ Raging Bull (1980)) จึงถูกมองข้ามจากทั้ง Oscar และ Golden Globe ถึงอย่างนั้นกลับยังได้เข้าชิง BAFTA Award จำนวน 5 สาขา คว้ามาหนึ่งรางวัล

  • Best Director
  • Best Actor (Robert De Niro)
  • Best Supporting Actor (Jerry Lewis)
  • Best Original Screenplay**คว้ารางวัล
  • Best Editing

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoraion’ คุณภาพ 4K เสร็จสิ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 ฉบับ Blu-Ray มีแต่ของค่าย Twentieth Century Fox ไม่รู้สามารถหารับชมช่องทาง Disney+ ได้หรือยัง แต่พบเห็นออนไลน์ทาง Amazon Prime

เกร็ด: The King of Comedy (1982) คือหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของผู้กำกับ Akira Kurosawa

ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยติดตามดูรายการทอล์คโชว์ Tonight Show, Late Night Show สัมภาษณ์ดารานักแสดง รับฟังมุมมองคิดเห็นที่แตกต่าง แต่ก็ติดตามพิธีกรอยู่แค่ไม่กี่คนอย่าง Conan, David Letterman, Craig Ferguson, Graham Norton (ส่วนใหญ่เกษียณไปหมดแล้ว) เลยค่อนข้างชื่นชอบภาพยนตร์ที่นำเสนอความวุ่นๆวายๆ ทั้งเบื้องหน้า-หลังจอโทรทัศน์

แม้ครึ่งแรกของหนังจะทำให้ผมรู้สึกอับอาย กรีดกราย อยากเบือนหน้าหนีหลายครั้งครา แต่ตั้งแต่การลักพาตัว Jerry Langford/Lewis สามารถสร้างเสียงหัวเราะ อารมณ์ขบขัน ผ่อนคลายบรรยากาศตึงเครียด และค่อยๆสามารถทำความเข้าใจเป้าหมายของผกก. Scorsese ที่คั่งค้างมาจาก Raging Bull (1980) จนเสร็จสร้าง The King of Comedy (1982) ก็ยังไม่สามารถผ่อนคลายความรู้สึกอัดอั้นภายใน

จัดเรต 15+ กับการลักพาตัว พฤติกรรม Stalker พร่ำเพ้ออยู่ในโลกแห่งความฝัน

คำโปรย | The King of Comedy ตลกร้ายที่สร้างความขัดอกขัดใจ สะท้อนความอึดอัดอั้นทรวงในของผกก. Martin Scorsese ไม่สามารถระบายอารมณ์คลุ้มบ้าคลั่งออกมา
คุณภาพ | ร้
ส่วนตัว | ขัดอกขัดใจ

Polyester (1981)


Polyester (1981) hollywood : John Waters ♥♥♥♥

มีคำเรียก Odorama เมื่อซื้อตั๋วหนังจะได้รับแผ่นกระดาษ (Scratch-and-Sniff Card) ที่มีหมายเลข 1-10 ระหว่างรับชมพบเห็นตัวเลขอะไร ก็ให้เอาเหรียญขูดๆ สูดดมกลิ่น สดชื่นบ้าง เหม็นหึ่งบ้าง สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในการรับชมภาพยนตร์

ทีแรกผมตั้งใจจะข้ามไปเขียนถึง Hairspray (1988) ภาพยนตร์กระแสหลัก (mainstream) ประสบความสำเร็จสูงสุดของผกก. John Waters, แต่บังเอิญไปพบเห็น Polyester (1981) ในคอลเลคชั่น Criterion เพิ่งได้รับการบูรณะ 4K และมีกล่าวถึงลูกเล่น (Gimmick) ทดลองเกี่ยวกับกลิ่น Odors+Rama = Odorama เลยเกิดความอยากรู้อยากเห็นขึ้นมา

เกร็ด: Polyester (1981) ไม่ใช่ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทำการทดลองเกี่ยวกับกลิ่น ช่วงทศวรรษ 50s มีการแข่งขันกันระหว่าง Behind the Great Wall (1958) [AromaRama] กับ Scent of Mystery (1960) [Smell-O-Vision] ด้วยการเอาน้ำหอมใส่เครื่องปรับอากาศระหว่างฉายภาพยนตร์

วิธีการของ Polyester (1981) ด้วยการใช้เหรียญขูดๆแล้วสูดดม ถือว่ามีความคิดสร้างสรรค์ เสียงตอบรับดีเยี่ยม ประสบความสำเร็จอย่างมากๆ ขนาดว่าในปัจจุบันโปรแกรมระลึกความหลัง (Retrospect) ก็มักนำแผ่นกระดาษ Scratch-and-Sniff ผลิตขึ้นใหม่ มาใช้เสริมสร้างประสบการณ์รับชมภาพยนตร์ … ผมลองค้นหาแผ่นกระดาษกลิ่นขนาด 5″ x 11″ ใน e-bay พบว่าราคาพุ่งทะยานสูงกว่า $30-$100 ดอลลาร์ (เกินพันบาท)

ตัวอย่างแผ่นกระดาษ Scratch-and-Sniff สำหรับ Odorama

ไม่ใช่แค่ลูกเล่นการทดลองเกี่ยวกับกลิ่น Polyester (1981) ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของผกก. Waters ค่อยๆหันเข้าหากระแสหลัก (mainstream) ไม่นำเสนอสิ่งอัปลักษณ์ ภาพน่าขยะแขยงเกินไป (เป็นหนังเรื่องแรกได้รับเรตติ้ง R ก่อนหน้านี้มีแต่ X กับ NC-17) รับอิทธิพลจาก Douglas Sirk ตั้งแต่การถ่ายภาพ จัดแสง โทนสีสัน โดยเฉพาะเรื่องราว Melodrama ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ‘น้ำเน่า’ มีความรันทด หดหู่ ดูแล้วทุกข์ทรมานกาย-ใจ

นอกจากนี้ Polyester (1981) ยังจัดเป็น Woman’s Film (จริงๆควรเรียกว่า Trans’ Film น่าจะตรงกว่า) แนวหนังที่มีตัวละครเพศหญิงคือจุดศูนย์กลาง นำเสนอปัญหาชีวิต ส่วนตัว/ครอบครัว ความเป็นมารดา เสียสละเพื่อลูก เพ้อฝันถึงรักโรแมนติก คบชู้นอกใจสามี ฯ … เป็นแนวหนังเคยได้รับความนิยมช่วงทศวรรษ 30s-40s โดยผู้กำกับดังๆอย่าง George Cukor, Douglas Sirk, Max Ophüls, Josef von Sternberg ฯ


John Samuel Waters Jr. (เกิดปี 1946) ศิลปิน นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Baltimore, Maryland ได้รับการเลี้ยงดูแบบ Roman Catholic แต่ตั้งแต่รับชม Lili (1953) เกิดความหลงใหลหุ่นเชิดสไตล์ Punch and Judy (ที่ชอบใช้ความรุนแรง), วัยเด็กสนิทสนมกับ Glenn Milstead (หรือ Divine) หลังได้รับของขวัญวันเกิด กล้อง 8mm จากคุณยาย ร่วมกันถ่ายทำหนังสั้น Hag in a Black Leather Jacket (1964), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Mondo Trasho (1969), ตามด้วย Multiple Maniacs (1970)

Waters (และผองเพื่อน) ชื่นชอบการใช้ชีวิตอย่างสุดเหวี่ยง เล่นยา มั่วกาม รสนิยมรักร่วมเพศ (เป็นเกย์เปิดเผย) กระทำสิ่งนอกรีตนอกรอย ไม่สนห่าเหวอะไรใคร หลงใหลวัฒนธรรม Counter-Cultural (ทำในสิ่งต่อต้านจารีตสังคม) กำไรจากภาพยนตร์หมดไปกับสิ่งอบายมุขทั้งหลาย

แซว: ผกก. Waters มีสองเอกลักษณ์ติดตัว คือชอบไว้หนวดดินสอ (เหมือนเอาดินสอมาขีดเป็นหนวด) และกิริยาท่าทางมีคำเรียกว่า ‘Camp Personality’ ไม่ต่างจากตัวละครในภาพยนตร์ ดูดัดจริต โอเว่อวังอลังการ

We are polar opposites when it comes to our politics, religious beliefs. But that’s what I loved about the whole trip. It was two people able to agree to disagree and still move on and have a great time. I think that’s what America’s all about.

John Waters

ความสนใจของ Waters ต้องการสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่นำเสนอด้านมืดของมนุษย์ มีความสกปรกโสมม ต่ำตม อาจม ท้าทายขนบกฎกรอบสังคม โดยรับอิทธิพลจากผู้กำกับหนังใต้ดินอย่าง Kenneth Anger, Andy Warhol, Mike & George Kuchar ฯ

To me, bad taste is what entertainment is all about. If someone vomits watching one of my films, it’s like getting a standing ovation. But one must remember that there is such a thing as good-bad taste and bad-bad taste. It’s easy to disgust someone; I could make a ninety-minute film of someone getting their limbs hacked off, but this would only be bad-bad taste and not very stylish or original. To understand bad taste, one must have very good taste. Good-bad taste can be creatively nauseating but must, at the same time, appeal to the especially twisted sense of humor, which is anything but universal.


หลังเสร็จจาก ‘Trash Trilogy’ ผกก. Waters เริ่มครุ่นคิดอยากทำอะไรที่แตกต่าง ไม่ต้องการให้ผู้ชมจดจำตนเองจากการกำกับหนังสกปรกโสมม รับประทานอาจมเพียงอย่างเดียว

I had done the shock-value thing, and it was becoming boring … I had this nightmare of myself at eighty, making movies about people eating colostomy bags.

จุดเริ่มต้นของ Polyester (1981) เกิดจากผกก. Waters ได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์ Robert Shaye ผู้ก่อตั้ง New Line Cinema แต่เดิมเคยเป็นแค่สตูดิโอจัดจำหน่ายหนัง (Film Distribution) เมื่อเริ่มทำกำไรได้มาก จึงครุ่นคิดขยับขยาย เพิ่มแผนกโปรดักชั่น … ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองของค่าย New Line Cinema ต่อจาก Stunts (1977)

เกร็ด: New Line Cinema ได้สิทธิ์เป็นผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ของผกก. Waters มาตั้งแต่ Multiple Maniacs (1970) รวมถึง ‘Trash Trilogy’

เรื่องราวของ Polyester (1981) มาจากความชื่นชอบผลงานภาพยนตร์ของ Douglas Sirk ตั้งแต่การถ่ายภาพ จัดแสง โทนสีสัน และโดยเฉพาะแนวหนัง Melodrama ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ‘น้ำเน่า’ ที่ดูจอมปลอม ปอกลอก สะดวกซื้อ เหมือนเส้นใยสังเคราะห์ Polyester กำลังได้รับความนิยมในทศวรรษ 70s-80s

ขณะที่ลูกเล่นกระดาษกลิ่น ได้แรงบันดาลใจจากเจ้าพ่อกิมมิค William Castle (1914-77) ที่ผกก. Waters ยกย่องให้เป็น “William Castle was God.” ยกตัวอย่าง

  • Macabre (1958) มีขึ้นข้อความบนใบปิดว่าทำประกันชีวิต $1,000 เหรียญ (ในกรณีเสียชีวิตระหว่างรับชมหนัง) ซึ่งระหว่างฉายมีการว่าจ้างนางพยาบาล รถขนศพ บางโรงภาพยนตร์ยังตั้งโลงศพ เพื่อให้ใครบางคนลุกขึ้นมา
  • House on Haunted Hill (1959) มีการนำโครงกระดูกติดไฟสีแดงในดวงตา เวลาถึงฉากหลอนๆจะห้อยโหนโครงกระดูกลงมาจากเชือกเบื้องบน
  • The Tingler (1959) ตอนจบของหนังเมื่อนักแสดงบนจอบอกให้ “Scream-Scream for your lives!” ตัวจริงของนักแสดงก็ปรากฎออกมาไล่ล่าผู้ชม ส่งเสียงกรีดร้องลั่น วิ่งหนีออกจากโรงภาพยนตร์
  • Homicidal (1961) ฉากที่พระเอกกำลังเข้าไปในบ้านฆาตกรโรคจิต ผู้ชมมีเวลา 45 วินาทีในการออกจากโรงหนังเพื่อไปขอคืนค่าตั๋วเต็มจำนวน (แต่เห็นว่ามีผู้ชมแค่ประมาณ 1% ที่ออกไปขอเงินคืน)
  • Mr. Sardonicus (1961) เมื่อถึงไคลน์แม็กซ์ ผกก. Castle จะปรากฎตัวในหนังให้ผู้ชมโหวตตัดสินโชคชะตาของผู้ร้าย ลงโทษหรือให้อภัย ก็จะฉายตอนจบเช่นนั้น (แต่ปรากฎว่าไม่มีครั้งไหนที่ผู้ชมเลือกให้อภัย เลยไม่เคยฉาย Alternate Ending)
  • I Saw What You Did (1965) มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในเก้าอี้โรงหนัง เมื่อผู้ชมขวัญผวาจะได้ไม่สามารถลุกขึ้นจากเก้าอี้
    ฯลฯ

ผกก. Waters เมื่อครั้งยังเป็นเด็กมีโอกาสรับชม The Tingler (1959) แล้วได้รับประสบการณ์จดจำไม่รู้ลืม นั่นคือเหตุผลที่เขาครุ่นคิดลูกเล่น (Gimmick) เกี่ยวกับกลิ่นสำหรับภาพยนตร์ Polyester (1981)


พื้นหลังต้นทศวรรษ 1980s เรื่องราวของแม่บ้านผู้อาภัพ Francine Fishpaw (รับบทโดย Divine) อาศัยอยู่บ้านหรูชานเมือง Baltimore, Maryland ตามวิถีชนชั้นกลาง (Upper-Middle Class) กำลังเผชิญหน้าวิกฤตครอบครัว ดังต่อไปนี้

  • สามี Elmer (รับบทโดย David Samson) เจ้าของโรงภาพยนตร์ผู้ใหญ่ (Adult Movie Theater) สนใจเพียงชื่อเสียง ความสำเร็จ แอบคบชู้กับเลขาวสาว Sandra Sullivan (รับบทโดย Mink Stole)
  • มารดา La Rue (รับบทโดย Joni Ruth White) แสร้งทำเป็นคนสูง เย่อหยิ่งทะนงตน แต่มาเยี่ยมเยียนบุตรสาวเพราะต้องการเงินนำไปเสพติดโคเคน
  • บุตรสาว Lu-Lu (รับบทโดย Mary Garlington) ได้รับการเลี้ยงดูอย่างตามใจ จึงมีความระริกระรี้แรดร่าน ตกหลุมรักแฟนหนุ่ม Bo-Bo Belsinger (รับบทโดย Stiv Bators) จนพลั้งพลาดตั้งครรภ์ ครุ่นคิดจะนำบุตรออก/ทำแท้ง แต่กลับสูญเสียลูกโดยไม่ทันตั้งตัว
  • บุตรชาย Dexter (รับบทโดย Ken King) ท่าทางมึนๆ ตาลอยๆ จากการดมกาว แล้วเกิดความพึงพอใจเมื่อได้ย่ำเท้าผู้อื่น จนกระทั่งถูกตำรวจจับกุม ควบคุมขังในสถานพินิจ

เรื่องวุ่นๆเกิดขึ้นเมื่อ Francine ร้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนสนิท/อดีตแม่บ้านกลายเป็นเศรษฐินี Cuddles Kovinsky (รับบทโดย Edith Massey) ให้แอบติดตามสามี Elmer พบเจอว่าเขาคบชู้เลขาสาว เป็นเหตุเธอตัดสินใจยื่นฟ้องหย่าร้าง แต่กลับถูกอีกฝ่ายติดตามมาระรังควาญ กลายเป็นคนติดเหล้า ขี้เมา (Alcoholic) มีปัญหาทางจิต ค่อยๆอาการดีขึ้นระหว่างลุ่มหลงเสน่ห์หนุ่มใหญ่ Todd Tomorrow (รับบทโดย Tab Hunter) โดยไม่รับรู้ว่าอีกฝ่ายเต็มไปด้วยลับเล่ห์ลมคมใน


Divine ชื่อจริง Harris Glenn Milstead (1945-88) นักร้อง/นักแสดงชาย สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Baltimore, Maryland ในครอบครัวชนชั้นกลาง (Upper Middle-class) ได้รับการเลี้ยงดูอย่างตามใจจนร่างกายอวบอ้วน เลยมักถูกเพื่อนๆกลั่นแกล้ง ล้อเลียน (Body Shaming) ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง, พออายุ 15 ระหว่างทำงานพาร์ทไทม์ร้านดอกไม้ ค้นพบรสนิยมชื่นชอบแต่งหญิง (Drag) โปรดปรานนักแสดง Elizabeth Taylor, ด้วยความสนิทสนม John Waters มาตั้งแต่เด็ก ได้รับการชักนำพาเขาสู่แวดวง Counter-Cultural รวมถึงตั้งชื่อ Divine (นำจากตัวละครในหนังสือ Our Lady of the Flowers (1943))

รับบทแม่บ้านสุดอาภัพ Francine Fishpaw ทั้งรักทั้งปรนิบัติสามีเป็นอย่างดี กลับถูกทรยศหักหลัง คบชู้นอกใจ บุตรชาย-สาวก็พึ่งพาอะไรไม่ได้ จึงหันมาดื่มเหล้ามึนเมามาย กลายเป็นคนขี้เมา (Alcoholic) จากจดตกต่ำสุดของชีวิต อะไรๆจึงเริ่มพัฒนาในทางที่ดีขึ้น แอบชื่นชอบหลงใหลหนุ่มใหญ่ Todd Tomorrow ถึงอย่างนั้นทุกสิ่งอย่างกลับไม่ต่างจากเส้นใยสังเคราะห์ Polyester

แซว: นามสกุล Fishpaw ปลาที่ไหนมันมีอุ้งมือ อุ้งเท้า แค่ชื่อก็บ่งบอกถึงจินตนาการเพ้อฝัน สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง (แต่คนนามสกุลนี้มีอยู่จริงๆ)

ถือเป็นการพลิกบทบาทครั้งสำคัญ อีกไฮไลท์การแสดงของ Divine ก่อนหน้านี้มักรับบทสาวใหญ่ ไม่ยี่หร่าอะไรใคร โหยหาอิสรภาพ ระบายอารณ์เกรี้ยวกราด (มีนักวิจารณ์ให้คำนิยาม ‘goddess of destruction’) เหมือนคนมึนเมาเสพยา ของขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ตัวละคร Francine มีแต่เรื่องเลวร้ายถาโถมเข้าใส่ ไม่สามารถระบายอารมณ์อัดอั้น ตกอยู่ในความสิ้นหวัง ‘Desperate Housewife’ จึงหันมาพึ่งสุราเมามาย เกือบกลายเป็นคนคลุ้มบ้าคลั่ง ทุกสิ่งอย่างล้วนขึ้นกับโชคชะตากรรม … ราวกับสิ่งที่เธอเคยทำไว้จากผลงานภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ ได้หวนย้อนกลับหา ‘กรรมสนองกรรม’

หลายคนอาจชื่นชอบพลังทำลายล้างของ Divine มากกว่าการเก็บกด อัดอั้น ตกอยู่ในสภาพสิ้นหวัง แต่ผมมองว่ามันเหมือนหยิน-หยาง สองขั้วตรงกันข้ามที่สามารถเติมเต็มกันและกัน ก่อนที่เธอจะสามารถปล่อยพลังการแสดงรุนแรงขนาดนั้น ประสบการณ์วัยเด็กที่เคยถูกกลั่นแกล้ง บูลลี่ มิอาจโต้ตอบอะไรใคร นั่นทำให้บทบาท Francine มีมิติทางอารมณ์ที่ซับซ้อนแต่จับต้องได้ ทำให้ผู้ชมรู้สึกสงสารเห็นใจ ส่งกำลังใจให้เอาตัวรอดพ้นเหตุการณ์เลวร้ายทั้งหลาย


ถ่ายภาพโดย David Insley จากเคยเป็นผู้ช่วยตากล้อง Female Trouble (1974), Desperate Living (1977), ได้รับโอกาสจากผกก. John Waters ถ่ายทำภาพยนตร์ Polyester (1981), Hairspray (1988), Cry-Baby (1990) ฯ

ด้วยงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้น บีบบังคับให้ผกก. Waters ต้องถ่ายทำด้วยกล้องมือถือ (Hand Held) Arriflex Cameras ฟีล์ม 35mm ซึ่งมีความคมชัด สีสันสดใส สามารถขยับเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ (ก่อนหน้านี้ด้วยทุนสร้างจำกัด เลยต้องใช้กล้องถูกๆ ฟีล์ม 16mm แล้วทำการ ‘blow up’ เป็น 35mm ได้คุณภาพต่ำๆ)

ด้วยเหตุนี้จึงรับอิทธิพลการถ่ายภาพจาก Douglas Sirk ทั้งการจัดแสง โทนสีสัน ออกแบบสร้างฉากให้มีความหรูหรา ทันสมัยใหม่ สอดคล้องเข้ากับวิถีชนชั้นกลาง (Upper-Middle Class) แต่ทุกสิ่งอย่างดูพลาสติก จอมปลอม ปอกลอก สะดวกซื้อ … เพื่อให้สอดคล้องชื่อหนัง(เส้นใยสังเคราะห์) Polyester

หนังใช้เวลาถ่ายทำเพียง 3 สัปดาห์ ช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1980 ยังบริเวณชานเมือง Baltimore, Maryland เต็มไปด้วยบ้านจัดสรร ถิ่นที่อยู่อาศัยของชนชั้นกลาง (Upper-Middle Class) … ผิดกับผลงานก่อนหน้านี้ของผกก. Waters จะพบเห็นแต่ Baltimore ย่านสลัม ถิ่นฮิปปี้ โบฮีเมียน ที่อยู่อาศัยของชนชั้นแรงงาน (Working Class)


ลูกเล่นกระดาษกลิ่น (Scratch-and-Sniff Card) อย่างที่อธิบายไปแล้วว่าผกก. Waters ได้แรงบันดาลใจจากเจ้าพ่อกิมมิค William Castle และภาพยนตร์ Scent of Mystery (1960) ที่เคยทำการทดลอง Smell-O-Vision ใส่น้ำหอมลงในเครื่องปรับอากาศระหว่างฉายหนัง

I actually got the audience to pay to smell shit!

John Waters

ตอนต้นของหนังจะมีคลิปอธิบายวิธีการใช้กระดาษกลิ่น เมื่อปรากฎตัวเลขกระพริบขึ้นบนหน้าจอภาพยนตร์ ให้ใช้เหรียญหรือสิ่งแหลมคม ขูดๆขีดๆวงกลมตัวเลขแล้วสูดดม ทั้งสิบหมายเลข (พัฒนาโดยบริษัท 3M) ประกอบด้วย

  1. ดอกกุหลาบ (Roses)
  2. กลิ่นผายลม/ท้องอืด (Flatulence)
  3. กลิ่นกาว (Model airplane glue)
  4. พิซซา (Pizza)
  5. แก๊สโซลีน (Gasoline)
  6. สกังก์/ตัวเหม็น (Skunk)
  7. แก๊สธรรรมชาติ (Natural gas)
  8. กลิ่นรถใหม่ (New car smell)
  9. รองเท้าเหม็น (Dirty shoes)
  10. น้ำหอมปรับอากาศ (Air freshener)

เกร็ด: ลูกเล่นกระดาษกลิ่น (Scratch-and-Sniff Card) นอกจาก Polyester (1981) ยังมีภาพยนตร์อีกเรื่อง Spy Kids: All the Time in the World (2011) แต่เปลี่ยนมาใช้ชื่อ Aromascope

บ้านของครอบครัว Fishpaw ตั้งอยู่ยัง 538 Wyman Way (ไม่มีอยู่จริง) ซึ่งชื่อถนน Wyman เป็นการอ้างอิงถึงนักแสดง Jane Wyman จากภาพยนตร์ All That Heaven Allows (1955) ของผู้กำกับ Douglas Sirk

เกร็ด: บ้านหลังดังกล่าวตั้งอยู่ 540 Heavitree Hill, Severna Park จนถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 2021) ก็ยังอยู่ตรงนั้น ด้วยราคาประมูล $900,000 เหรียญ

เมื่อตอนที่ Todd Tomorrow นำพา Francine Fishpaw ไปดูหนัง ‘drive-in’ พบเห็นข้อความ

Dusk To Dawn
3 Marguerite Duras Hits
The Truck – India Song – Destroy, She Said

ประกอบด้วยภาพยนตร์ของ Marguerite Duras จำนวนสามเรื่อง Le camion (1977), India Song (1975) และ Destroy, She Said (1969)

เกร็ด: โรงภาพยนตร์ Edmondson Drive-In Theater ตั้งอยู่ยัง 6000 Baltimore National Pike, Catonsville เปิดให้บริการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 ยุคเฟื่องฟูสามารถจอดรถได้ถึง 1,200 คัน ก่อนปิดกิจการเมื่อปี ค.ศ. 1991 ปัจจุบันเท่าที่ผมดูจาก Google Map ปรับเปลี่ยนเป็นห้างสรรพสินค้า The Home Depot ขายสิ่งข้าวของเครื่องใช้เกี่ยวกับบ้าน

Francine กำลังอ่านนิตยสาร Cahiers du Cinéma ฉบับที่ 314 ฉบับเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ค.ศ. 1980 ภาพหน้าปกจากภาพยนตร์ Mon oncle d’Amérique (1980) แปลว่า My American Uncle กำกับโดย Alain Resnais, นำแสดงโดย Gérard Depardieu

ผมครุ่นคิดว่าผกก. Waters ต้องการอ้างอิงถึง Mon oncle d’Amérique (1980) ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทำการผสมผสานงานศิลปะเข้ากับการทดลองวิทยาศาสตร์ … คล้ายแบบ Polyester (1981) ใช้การทดลองเกี่ยวกับกลิ่น เพื่อเพิ่มประสบการณ์รับชมภาพยนตร์

ตัดต่อโดย Charles Roggero, หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองแม่บ้านผู้อาภัพ Francine Fishpaw (รับบทโดย Divine) อาศัยอยู่บ้านหรูชานเมือง ตามวิถีชนชั้นกลาง (Upper-Middle Class) จากนั้นจะเริ่มร้อยเรียงสารพัดปัญหา กำลังเผชิญหน้าวิกฤตครอบครัว จับได้ว่าสามีคบชู้นอกใจ บุตรสาวพลั้งพลาดตั้งครรภ์ บุตรชายถูกจับกุมหลังก่ออาชญากรรม ทำให้เธอรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง กลายเป็นคนติดสุรา พยายามมองหาใครสักคนสำหรับพึ่งพักพิง

  • อารัมบท, คำแนะนำวิธีใช้กระดาษกลิ่น
  • ความผิดปกติของครอบครัว Fishpaw ในระยะเวลา 1 วัน (เริ่มจากยามเย็น ถึงบ่ายอีกวัน)
    • เริ่มต้นจากการชุมนุมประท้วงหน้าบ้านครอบครัว Fishpaw ไม่ยินยอมรับกิจการโรงภาพยนตร์ฉายหนังผู้ใหญ่
    • แต่สามี Elmer กลับมองเห็นเป็นโอกาส เรียกนักข่าวมาสัมภาษณ์
    • รับประทานอาหารมื้อเย็นพร้อมหน้า
    • บุตรสาว Lu-Lu หาข้ออ้างออกจากบ้าน ขับรถเล่นกับแฟนหนุ่ม
    • ค่ำคืนนั้น Francine ได้ยินเสียงกรน ค้นพบความลับของสามี
    • เช้าหลังรับประทานอาหาร มารดา La Rue แวะเวียนมาขอเงินไปช็อปปิ้ง
    • เพื่อนสนิท Cuddles เดินทางมาเยี่ยมเยียน Francine อาสาเป็นนักสืบติดตาม Elmer
    • โทรศัพท์จากครูใหญ่ แจ้งว่าบุตรชาย Dexter ไม่เคยไปโรงเรียน
    • บุตรสาว Lu-Lu สอบตกทุกวิชา ตั้งใจจะลาออกจากโรงเรียน แล้วปีนหน้าต่างหลบหนีไปขับรถเล่นกับแฟนหนุ่ม
  • วิกฤตครอบครัว Fishpawn
    • Cuddles แจ้งข่าวกับ Francine เดินทางมาม่านรูด จับสามีคบชู้ได้คาหนังคาเขา
    • Francine ดื่มเหล้ามึนเมามาย กลายเป็นคนติดสุรา
    • บุตรสาว Lu-Lu บอกกับมารดาว่าพลั้งพลาดตั้งครรภ์ ครุ่นคิดจะนำลูกออก/ทำแท้ง
    • บุตรชาย Dexter กระทืบเท้าหญิงสาวในห้างสรรพสินค้า ถูกจับกุมเข้าสถานพินิจ
  • ช่วงเวลาแห่งความรันทด ต้องอดรนทนต่อวิกฤตครอบครัว
    • Francine ต้องการบำบัดอาการติดสุรา แต่ก็เหมือนยังไม่ดีขึ้นสักเท่าไหร่
    • บุตรสาว Lu-Lu กำลังจะนำบุตรออกแต่ก็มีเหตุบางอย่างเกิดขึ้น เลยถูกส่งเข้าสถานบำบัด กลายเป็นแท้งอย่างไม่ได้ตั้งใจ
    • จินตนาการคลั่งรักของ Francine
    • ตำรวจบุกค้นบ้านหลังจับกุมบุตรชาย Dexter
    • Francine เดินทางไปปิกนิคกับ Cuddles 
    • ค่ำคืน Halloween, มารดา La Rue ถูกแฟนหนุ่มของ Lu-Lu กระทำร้ายร่างกาย ยิงโต้ตอบจนอีกฝ่ายเสียชีวิต, นั่นทำให้ Lu-Lu ครุ่นคิดจะฆ่าตัวตายตาม
  • ฟ้าหลังฝน และวิกฤตการณ์ครั้งสุดท้าย
    • เริ่มจากบุตรชาย Dexter ได้รับการปล่อยตัว ปลอดสารเสพติด และกลายเป็นศิลปิน
    • บุตรสาว Lu-Lu กลายเป็นสาวฮิปปี้ ค้นพบความสนใจการถัก Macramé
    • Francine พบรักครั้งใหม่กับ Todd Tomorrow
    • แต่แล้วความจริงก็เปิดเผยว่า Todd แอบมีความสัมพันธ์กับมารดา La Rue ในค่ำคืนที่อดีตสามี Elmer กำลังย่องเบาจะมาฆ่าปิดปาก Francine
    • สุดท้ายแล้วครอบครัวนี้จะลงเอยเช่นไร??

ฉบับบูรณะ 4K ของ Criterion มีการรวบรวมฉากที่ถูกตัดออก (Deleted Scene) รวมถึงซีนไม่ได้นำมาใช้ (Alternate Takes) ผมบังเอิญเห็นมีคนอัพโหลดไว้ เผื่อใครสนใจรับชม

เพราะเป็นหนังกระแสหลัก ทำให้ผกก. Waters ไม่สามารถลักลอบแอบใช้เพลงติดลิขสิทธิ์ได้อีกต่อไป แก้ไขง่ายๆด้วยการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีทั้ง Soundtrack และบทเพลงคำร้อง (ที่มีเนื้อหาสอดคล้องเข้ากับเรื่องราวขณะนั้นๆ)

Title Song ท่วงทำนองมีสัมผัสล่องลอย น่าจะเป็นแนว New Wave ชื่อเดียวกับหนัง Polyester แต่งโดย Chris Stein & Debbie Harry (แห่งวง Blonde), ขับร้องโดย Tab Hunter (พร้อมเสียงคลอประกอบโดย Debbie Harry) เป็นบทเพลงที่ให้นิยามความหมาย Polyester (Queen) = Francine Fishpaw

เกร็ด: ดั้งเดิมนั้น Chris Stein ตั้งใจจะขับร้องเพลงนี้ด้วยตนเอง แต่ติดสัญญากับต้นสังกัด เลยจำต้องเปลี่ยนมาเป็นนักแสดง Tab Hunter (รับบท Todd Tomorrow)

See the houses
Look at the trees
Swaying
In the cool breeze, mm-hmm
Oh, what a lovely street
It’s a dead end
Hey, why don’t you come on in?

French provincial
They do their best
To stay neutral
Expressionless, ah-hah
Come on upstairs
Meet your polyester queen

(เสียงคลอประกอบพื้นหลัง)
Francine… Francine… Francine…

You know about abundant women
Well, this girl only aims to please
Outside there’s a load
Of noisy neighbors
Upstairs there’s a polyester squeeze

The Best Thing (Love Song) แต่งโดย Debbie Harry & Michael Kamen, ขับร้องโดย Bill Murray (ก่อนหน้าจะเป็นนักแสดงโด่งดัง เคยเป็นนักร้องนำมาก่อน) รำพันความรักครั้งใหม่ของ Francine Fishpaw กับ Elmer Fishpaw

แซว: แม้ว่าผกก. Waters จะติดต่อให้ Bill Murray มาขับร้องบทเพลงนี้ แต่เขาไม่ได้ชื่นชอบการแสดงของอีกฝ่ายสักเท่าไหร่ ตรงกันข้ามเคยให้สัมภาษณ์ว่า “I hated Bill Murray.” มีคนวิเคราะห์ไว้ว่า “John’s humor was not doofusy like Bill Murray’s. John was angry, gay, and shocking, and he didn’t want it diluted.”

ในขณะที่ Female Trouble (1974) ร้อยเรียงสารพัดปัญหาของหญิงสาว, Polyester (1981) มุ่งเน้นวิกฤตครอบครัว (Family Crisis) ถาโถมเข้าใส่แม่บ้านผู้อาภัพ ค้นพบสามีคบชู้นอกใจ บุตรสาวพลั้งพลาดตั้งครรภ์ บุตรชายถูกจับกุมหลังก่ออาชญากรรม ชีวิตสุดแสนรันทดทำให้เธอรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง กลายเป็นคนติดสุราเมามาย พยายามมองหาใครสักคนสำหรับพึ่งพักพิงเคียงข้างกาย

สารพัดปัญหาของ Francine Fishpaw เกิดจากวิถีการใช้ชีวิต (ตามอุดมคติอเมริกัน) ทำตัวราวกับอยู่ในจินตนาการเพ้อฝัน ทุกสิ่งอย่างสวยเลิศหรู สุขสบายกาย ตอบสนองความพึงพอใจ แต่กลับไม่เคยระแวดระวังภัย สนสิ่งใดๆรอบข้าง ปล่อยปละละเลยสามี มารดา บุตรชาย-สาว แถมพอรับรู้เบื้องหลังความจริง ยังไร้ภูมิต้านทานปกป้องตนเองจากหายนะดังกล่าว

สไตล์ของผกก. Waters เมื่อครั้งยังอยู่วงการหนังใต้ดิน (Underground Film) มักนำเสนอสิ่งอัปลักษณ์ กระทำสิ่งสังคมไม่ให้การยินยอมรับ มีความน่ารังเกียจขยะแขยง พบเห็นแล้วเกิดความตื่นตระหนกตกใจ (ให้คำนิยามว่า ‘Shock Value’) ชักชวนให้ผู้ชมขบครุ่นคิด ต่อต้านขนบวิถีทางสังคม

พอผุดขึ้นมาสรรค์สร้างภาพยนตร์กระแสหลัก (mainstream) ผกก. Waters จึงจำต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด พัฒนาเรื่องราวที่สะท้อนปัญหาชีวิต วิกฤตครอบครัว นำเสนอเหตุการณ์พบเจอในสังคมทั่วๆไป แต่ใช้การถ่ายภาพสวยๆ สีสันสดใส ‘Candy Color’ ซึ่งดูจอมปลอม ปอกลอก สะดวกซื้อ เหมือนเส้นใยสังเคราะห์ Polyester กำลังได้รับความนิยมในทศวรรษ 70s-80s

My favorite movie idea is to do a movie where everything’s fake — the trees, the grass, even the sun.

John Waters

เรื่องราวของ Polyester (1981) ไม่ใช่แค่นำเสนอร้อยเรียงสารพัดปัญหาครอบครัว ยังสะท้อนวิกฤตอุดมคติอเมริกัน คนส่วนใหญ่/ชนชั้นกลาง (Upper-Middle Class) ใช้ชีวิตราวกับอยู่ในจินตนาการเพ้อฝัน บ้านหรูหรา สวมใส่เสื้อผ้าโก้หรู โหยหาชื่อเสียง เงินทอง ความสำเร็จ โดยไม่เคยสนใจใครรอบข้าง มองข้ามปัญหาใกล้ตัว เพียงกระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจส่วนตน

เกร็ด: Polyester คือเส้นใยสังเคราะห์ที่ใช้ในสิ่งทอและเสื้อผ้า เป็นนวัตกรรมที่พลิกโฉมอุตสาหกรรมเครื่องทอทั้งหลาย ทำให้สามารถผลิตเสื้อผ้าได้รวดเร็ว ราคาถูก และปริมาณมาก

การเลือกใช้ชื่อหนัง Polyester นอกจากจะสื่อถึงตัวละคร Francine Fishpaw ที่ใช้ชีวิตราวกับอยู่ในจินตนาการเพ้อฝัน สร้างโลกสังเคราะห์ของตนเองขึ้นมา, ยังหมายถึงวิถีอเมริกันที่มีความจอมปลอม ปอกลอก ทุกสิ่งอย่างล้วนสำเร็จรูป ราคาถูก สะดวกซื้อ ไร้ซึ่งมูลค่าทางจิตใจ

สำหรับกลิ่นหอม-เหม็น เปรียบได้กับชีวิตที่มีขึ้นๆลงๆ สุข-ทุกข์ ดีใจ-เศร้าโศก เหมือนพยายามทำให้สอดคล้องเข้ากับเนื้อเรื่องราวขณะนั้นๆ เพื่อเพิ่มอรรถรส เสริมประสบการณ์รับชม แสดงแสนยานุภาพนวัตกรรมสมัยใหม่ (ที่สามารถสร้างกลิ่นได้จากการใช้เหรียญขูดๆ) ช่วยให้เข้าถึงกลิ่นอายชีวิต (ของ Francine Fishpaw) รวมถึงวิถีสำเร็จรูปของโลกปัจจุบัน(นั้น)


เมื่อตอนสรรค์สร้าง ‘Trash Trilogy’ ผกก. Waters ใช้งบประมาณเพียงหลักหมื่น ($10,000-$65,000 เหรียญ) แต่พอหันเข้าหากระแสหลัก Polyester (1981) หมดทุนสร้างสูงถึง $300,000 เหรียญ! โชคดีที่เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ออกมาดีเยี่ยม พร้อมลูกเล่นกระดาษกลิ่น เป็นสิ่งแปลกใหม่ ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม จึงสามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกา $1.12 ล้านเหรียญ!

Ordinarily, Mr. Waters is not everyone’s cup of tea — but Polyester, which opens today at the National and other theaters, is not Mr. Waters’ ordinary movie. It’s a very funny one, with a hip, stylized humor that extends beyond the usual limitations of his outlook. This time, the comic vision is so controlled and steady that Mr. Waters need not rely so heavily on the grotesque touches that make his other films such perennial favorites on the weekend Midnight Movie circuit. Here’s one that can just as well be shown in the daytime.

นักวิจารณ์ Janet Maslin จากนิตยสาร The New York Times

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 4K ตรวจอนุมัติโดยผู้กำกับ John Waters แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2023 สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray และรับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel (หน้าปกรูปคู่ Divine & Tab Hunter มีความสวยงามทีเดียว)

แม้ผมจะไม่มีกระดาษกลิ่น (จริงๆ Criterion ก็น่าจะแถมกระดาษกลิ่นใน DVD/Blu-Ray ด้วยนะ!) แต่ระหว่างรับชมพบเห็นตัวละครทำจมูกฟุดฟิด แสดงปฏิกิริยาสีหน้า คำพูดบรรยายออกมา ก็เพียงพอจินตนาการเตลิดเปิดเปิงไปไกล (แต่ก็ยังอยากได้ประสบการณ์ทางกลิ่นนั้นอยู่ดีนะ) แถมตัวหนังดูสนุก คลุกความบันเทิง ไม่ขยะแขยงเท่าผลงานเก่าๆ คุณภาพน้ำเน่า ตลบอบอวน หอมหวน … ผมว่าเนื้อเรื่องราวมีความกลมกล่อมกว่า Pink Flamingos (1972) เสียอีกนะ!

เอาจริงๆผมแอบเสียดายที่ผกก. Waters เลิกทำหนังสุดโต่งแบบ ‘Trash Trilogy’ แต่เราต้องเข้าใจว่ามันคือวิวัฒนาการของศิลปิน/ผู้สร้างภาพยนตร์ ปรับเปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลยุคสมัย (คล้ายๆ Pablo Picasso ที่มีสารพัดยุคสมัย Blue Period, Rose Period, African Art, Cubism, Neoclassicism ฯ) ชวนให้นึกถึง Rainer Werner Fassbinder อยู่ไม่น้อยทีเดียว

จัดเรต 18+ กับสารพัดการกระทำขัดต่อหลักศีลธรรม

คำโปรย | Polyester สูดดมกลิ่น สดชื่นบ้าง เหม็นหึ่งบ้าง แต่มีความหอมหวน ตลบอบอวล สร้างความรัญจวน สามารถเข้าถึงผู้ชมในวงกว้าง
คุณภาพ |
ส่วนตัว | ตลบอบอวล

À propos de Nice (1930)


À propos de Nice (1930) French : Jean Vigo, Boris Kaufman ♥♥♥♥♡

ระหว่างกำลังร้อยเรียงภาพเมือง Nice, France รวมถึงเทศกาล Nice Carnival (Carnaval de Nice) จู่ๆมีการแทรกภาพจระเข้ หญิงสาวเปลือยกาย ชายทาครีมกันแดดสีดำ หลากหลายสิ่งอัปลักษณ์ปรากฎแวบขึ้นมา เพื่อจะสื่อว่าเปลือกภายนอกที่ดูวิจิตรงดงาม อาจซุกซ่อนเร้นสิ่งชั่วร้ายบางอย่าง

À propos de Nice แปลว่า About Nice หรือ Regarding Nice กล่าวถึงเมืองนีซ (Nice), จังหวัด Alpes-Maritimes ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ถือเป็นส่วนหนึ่งของ French Riviera ติดทะเล Mediterranean และเชิงเทือกเขา French Alps ได้รับสมญานาม Nice la Belle แปลว่า ‘นิซที่งดงาม’ นอกจากทิวทัศน์สวยงามตา ยังมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ภูมิอากาศอบอุ่นแบบ Mediterranean เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว ปัจจุบันกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีผู้มาเยี่ยมเยือนมากที่สุดของฝรั่งเศส (รองจากกรุง Paris)

เกร็ด: ผมเคยเขียนถึงภาพยนตร์อีกเรื่องที่มีพื้นหลังเมือง Nice, France นั่นคือ Bay of Angels (1963) กำกับโดย Jacques Demy, นำแสดงโดย Jeanne Moreau, บันทึกภาพชายหาดสวยๆ Baie des Anges (Bay of the Angels) แต่เต็มไปด้วยบ่อนคาสิโน เดี๋ยวรวย-เดี๋ยวจน เล่นชนะก็อารมณ์ดี พ่ายแพ้อัปลักษณ์ยิ่งกว่าผี

หลังจากที่ผมได้รับชม ‘city symphony’ มาปริมาณหนึ่ง ก็ครุ่นคิดว่าหนังแนวนี้น่าจะหมดสิ้นความแปลกใหม่ แต่แล้ว À propos de Nice (1930) กลับสร้างความโคตรๆประหลาดใจ ด้วยวิธีแทรกภาพที่สะท้อนความครุ่นคิดเห็น ลายเซ็นต์ศิลปิน (Cinéma Vérité) สัมผัสถึงอารมณ์เกรี้ยวกราด อึดอัดอั้นของผู้กำกับ Jean Vigo ทำไมโลกใบนี้มันช่างจอมปลอม หลอกลวง มีแต่คนสร้างภาพภายนอกให้ดูดี จิตใจกลับวิปริตพิศดาร

In this film, by showing certain basic aspects of a city, a way of life is put on trial. It is a portrait of a society so lost in its escapism that it sickens you and makes you sympathetic to a revolutionary solution.

Jean Vigo

Jean Vigo (1905-34) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่กรุง Paris, บิดา Miguel Almereyda เป็นผู้ฝักใฝ่ Anarchist ทำให้ต้องใช้ชีวิตอย่างหลบๆซ่อนๆด้วยชื่อปลอม Jean Sales อาศัยหลับนอนห้องใต้หลังคาที่เต็มไปด้วยแมว (แบบเดียวกับภายในเรือ L’Atlante) หลังจากบิดาโดนจับกุม (แล้วเสียชีวิตในเรือนจำเมื่อปี ค.ศ. 1917) ถูกส่งไปโรงเรียนประจำ ทำเรื่องเสียๆหายๆบ่อยครั้ง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1922 ถึงค่อยมีโอกาสหวนกลับหามารดาที่กรุง Paris

ตั้งแต่เด็ก Vigo มีความสนใจในศิลปะ วรรณกรรม และภาพยนตร์ โตขึ้นเคยทำงานเป็นผู้ช่วยตากล้องสตูดิโอ Franco Film แต่เพราะร่างกายอิดๆออดๆ ล้มป่วยวัณโรค (น่าจะเพราะแมวในห้องใต้หลังคา) จึงย้ายไปปักหลักอาศัยอยู่ Nice ซึ่งระหว่างพักรักษาตัว Espérance sanatorium ณ Font-Romeu พบเจอ ตกหลุมรัก แต่งงานกับ Elisabeth ‘Lydou’ Lozinska และได้ค่าทำขวัญจากพ่อตา $250 เหรียญ นำไปซื้อกล้องมือสองเพื่อเตรียมใช้ถ่ายทำหนังสั้นเรื่องแรก

ผกก. Vigo มีความลุ่มหลงใหลผลงานของ Dziga Vertov ช่วงปี ค.ศ. 1929 เมื่อได้ยินข่าวคราวว่านำหนังมาฉาย ณ กรุง Paris จึงรีบออกเดินทางไปหา แต่กลับพบเจอน้องชายคนเล็ก Boris Kaufman ซึ่งถูกส่งมาร่ำเรียนยัง University of Paris หลังจากพูดคุยถูกคอ รับชมสองสามผลงาน เกิดความชื่นชอบประทับใจ จึงชักชวนร่วมออกเดินทางสู่ Nice เพื่อร่วมสร้างโปรเจคหนังสั้น À propos de Nice (1930)

He [Vigo] came to Paris, called me up, and asked me to show him some of my films. Then he invited me to come down to Nice with him to make a satire on the futility of idle existence. We spent a few weeks in Nice shooting the film, which was called À propos de Nice. It was a very difficult shoot, but it was also a very rewarding experience. I learned a lot from Vigo, and I made a lifelong friend.

Boris Kaufman

Boris Abelevich Kaufman (1906-80) ตากล้องสัญชาติ Russian เกิดที่ Białystok, Grodno Governorate ขณะนั้นคือส่วนหนึ่งของ Russian Empire (ปัจจุบันคือประเทศ Poland), ในครอบครัวเชื้อสาย Jews เป็นน้องชายคนเล็กของ Dziga Vertov (ชื่อจริง Denis Kaufman) และ Mikhail Kaufman, พี่ชายทั้งสองตัดสินใจส่งน้องมาร่ำเรียนยัง University of Paris จากนั้นถ่ายทำหนังสั้น The March of the Machine (1927), 24 heures en 30 minutes (1928) เข้าตาผู้กำกับ Jean Vigo ร่วมงานขาประจำ À propos de Nice (1930), Zéro de conduite (1933), L’Atalante (1934), จากนั้นไปโกอินเตอร์ On the Waterfront (1954) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography (Black-and-White), Baby Doll (1956), 12 Angry Men (1957), Splendor in the Grass (1961), The Pawnbroker (1964) ฯลฯ

ในบทสัมภาษณ์ของ Kaufman เล่าว่าหนังมีการตระเตรียมแผนงานล่วงหน้าพอสมควร แต่รายละเอียดต่างๆล้วนเกิดขึ้นระหว่างถ่ายทำ เต็มไปด้วยการดั้นสด (Improvised) ปรับเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์จริง

The structure of the film evolved from the shooting itself. We would often improvise and would sometimes let ourselves be surprised by the screen when the rushes came to us. The ideas continually developed. It was very much improvised.

Many inspirations were dictated by what we actually found. We didn’t set up anything, you know. We took the life as it was. One of the most amazing things to us was the cemetery of Nice, which was in a very rococo style. It permitted us to film the statuary, which was very expressive. In the case of where a child was buried, there was a statue of a mother tearing her hair and breasts. And we actually found a way of using parallel montage to relate the people on the Promenade des Anglais with the statuary in the cemetery.

Boris Kaufman

เกร็ด: À propos de Nice (1930) เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกเรื่องเดียวที่ใช้เครดิตร่วมกำกับ Jean Vigo & Boris Kaufman จากนั้นถึงแบ่งแยกบทหนังโดย Jean Vigo และถ่ายภาพโดย Boris Kaufman


ผกก. Vigo ไม่ได้ต้องการนำเสนอหนังในเชิง ‘travelogue’ เป้าหมายคือการเสียดสีล้อเลียน (Satire) บรรดาชนชั้น Upper Class (หรือ Bourgeoisie) ด้วยการร้อยเรียงภาพความหรูหราสุขสบาย จับจ่ายฟุ่มเฟือย ทิ้งเงินลงบ่อนคาสิโน กิจกรรมคาร์นิวัลสุดเหวี่ยง แล้วตัดสลับภาพความยากจน ผู้คนอาศัยอยู่ในสลัม หรือสรรพสิ่งเชิงสัญลักษณ์ที่มีความอัปลักษณ์ พบเห็นแล้วเกิดความตระหนักถึงบางสิ่งไม่ชอบมาพากล

แม้จะเป็นเครือญาติของ Dziga Vertov & Mikhail Kaufman แต่การถ่ายภาพของ Boris Kaufman ไม่เคยได้รับการเสี้ยมสอน/อิทธิพลใดๆจากพี่ชายทั้งสอง ทุกสิ่งอย่างล้วนเกิดจากการลองผิดลองถูก ไม่จำกัดตนเองอยู่ภายใต้กฎกรอบ ‘unchained cinema’ เริ่มด้วยถ่ายทำจากเฮลิคอปเตอร์ (Bird’s Eye View), นั่งรถเข็นเคลื่อนไปตาม Baie des Anges (Bay of the Angels), เพราะไม่สามารถเข้าไปถ่ายทำในคาสิโน เลยสร้างโมเดลจำลองขึ้นมาล้อเลียน ฯ การทำงานของหนังดูไม่แตกต่างจากกองโจร (guerrilla unit)

สำหรับเทคนิคภาพยนตร์ของการถ่ายภาพ ถือว่ามีความหวือหวา แปลกตาระดับหนึ่ง แทบทั้งหมดล้วนเกิดจากการดั้นสด (improvised) พบเห็นอะไรน่าสนใจก็บันทึกภาพเก็บไว้ เครื่องบินแล่นผ่านก็แพนนิ่งกล้องติดตาม, สาวๆเต้นมันส์ๆก็เลยถ่ายแบบสโลโมชั่น, เอียงหมุนกล้อง (Dutch Angle), มุมก้ม-เงย, แอบถ่าย, ซ้อนภาพ, เคลื่อนติดตาม ฯ มอบสัมผัสที่ดูละม้ายคล้ายการกรีดตาของ Un Chien Andalou (1929) เพื่อเปิดเผยสิ่งที่ถูกปกปิด ซุกซ่อนเร้นภายใน

(ผกก. Vigo หลงใหลคลั่งไคล้ Un Chien Andalou (1929) อย่างมากๆๆ เคยกล่าวยกย่องว่าเป็น ‘true social cinema’ นำเสนอภาพแฟนตาซี/เหนือจริง ที่สะท้อนสภาพความเป็นไปของสังคมได้อย่างเฉียบแหลมคม)

Vigo’s camera is like a scalpel, cutting through the surface of Nice to reveal the truth that lies beneath.

นักวิจารณ์ André Bazin กล่าวเปรียบเทียบการถ่ายภาพของ À propos de Nice (1930)

ภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial Shot) จากเฮลิคอปเตอร์ (Bird’s Eye View) มองผิวเผินคือลักษณะของ ‘Establishing Shot’ เพื่อแนะนำสถานที่พื้นหลังของหนัง Nice, France ขณะเดียวกันยังสามารถสื่อถึงมุมมองที่เป็นเพียงเปลือกภายนอก ทุกสิ่งอย่างขนาดเล็กจิ๋ว ไม่พบเห็นรายละเอียดใดๆ

เพราะไม่มีบ่อนคาสิโนแห่งหนไหนอนุญาตให้เข้าไปถ่ายทำ ผกก. Vigo จึงสร้างโมเดลจำลอง ขบวนรถไฟ ตุ๊กตากลายเป็นชิป เพื่อเสียดสีล้อเลียนสิ่งที่ถือเป็นภาพจำเมือง Nice สถานที่แห่งการละลายทรัพย์ … คล้ายๆปอยเปต บ่อเต็น ลาสเวกัส ฯ

คลื่นกระทบชายฝั่ง เป็นภาพที่ให้อิสระผู้ชมในการครุ่นคิดตีความ พบเห็นหลายต่อหลายครั้งจนรู้สึกเหมือนถูก(คลื่นน้ำ/พลังงานบางอย่าง)กระแทกกระทั้นภายใน

  • ภาพของคลื่นซัดกระทบชายฝั่ง ดูรุนแรง บ้าคลั่ง สามารถสื่อถึงอารมณ์ของผกก. Vigo ภายในเต็มไปด้วยความอัดอั้น เกรี้ยวกราด ไม่พึงพอใจต่อบางสิ่งอย่าง
  • สะท้อนสถานะของมนุษย์ (Human Condition) ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน ดำผุดดำว่าย ตะเกียกตะกาย หาหนทางขึ้นฝั่งเพื่อเอาตัวรอดปลอดภัย
  • เนื่องจากคลื่นมีพลังงานมาก สามารถซัดพา ทำลายล้าง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผมจึงมองว่าสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์ ‘การปฏิวัติ’ ได้ด้วยกระมัง

ช่วงต้นเรื่องจะมีการถ่ายภาพมุมเงยต้นปาล์ม สัญลักษณ์ของเมือง Nice (กระมังนะ) แต่ตอนท้ายเรื่องมุมเงยเหมือนกัน แต่เปลี่ยนเป็นป่องควันโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับเผาไม้เชื้อเพลิงอะไรบางอย่าง, สองสิ่งนี้อาจดูไม่ได้มีความละม้ายคล้ายคลึง แต่วิธีการนำเสนอ(ด้วยมุมเงยเหมือนกัน)เป็นการบอกใบ้ความสัมพันธ์บางอย่าง … ผมครุ่นคิดว่าผกก. Vigo ต้องการเปรียบเทียบถึง

  • ต้นปาล์ม มีความงดงาม เป็นหน้าเป็นตา สัญลักษณ์เบื้องหน้าของเมือง Nice
  • ป่องควันโรงงานอุสาหกรรม คือสิ่งหลบซ่อนอยู่เบื้องหลัง สถานที่คนทำงานงกๆ เหน็ดเหนื่อยสายตัวแทบขาด

ขณะเดียวกันลักษณะของต้นปาล์มและป่องควัน ช่างดูเหมือนลึงค์ (อวัยวะเพศชาย) ตั้งโด่เด่ สูงเฉียดฟ้า แทนความเย่อหยิ่ง ทะเยอทะยาน หมกมุ่นมักมากของมนุษย์ รวมถึงแก่นแท้เมือง Nice ก็เฉกเช่นเดียวกัน

การนำเสนอภาพศิลปินกำลังลงสีรูปปั้น ตระเตรียมงานเทศกาลคาร์นิวัล สามารถสื่อนัยยะตรงๆถึง ‘เบื้องหลัง’ สิ่งที่คนทั่วไปมักไม่ค่อยมีโอกาสพบเห็น (นอกเสียจากเมื่อเตรียมงานเสร็จ กำลังเดินขบวนแห่) หรือจะมองว่าถูกปกปิดซ่อนเร้นก็ได้เช่นกัน

และอีกช็อตรอยยิ้มรูปปั้น มันช่างดูมีลับเลศนัย คงเป็นความตั้งใจผกก. Vigo เพื่อให้ผู้ชมบังเกิดความเอะใจ ฉงนสงสัย เคลือบแอบแฝงอะไรหรือเปล่า?

ผมเพิ่งรับชม In Spring (1929) ไปเมื่อไม่กี่วันก่อน จึงยังจดจำนัยยะของการหมุนเอียงกล้อง (จากภาพปกติหมุนสู่มุมเอียง) เพื่อสื่อถึงการเปลี่ยนแปลง ผันแปรฤดูกาล (จากหิมะกลายเป็นใบไม้ผลิ)

ซึ่งสำหรับ À propos de Nice (1930) เหมือนจะมีทิศทางกลับกัน คือเริ่มจากภาพมุมเอียง (Dutch Angle) หมุนกลับสู่มุมมองปกติ ส่วนนัยยะก็เพื่อสร้างสัมผัสผิดปกติ รู้สึกเหมือนบางสิ่งอย่างเคลือบแอบแฝง ปกปิดซ่อนเร้น เต็มไปด้วยลับลมคมใน … ตึกสวยๆเหล่านี้ ผมคาดเดาว่าภายในน่าคือโรงแรม บ่อนคาสิโน กระมังนะ!

ไม่ใช่เรื่องแปลกของศิลปินที่จะบันทึกภาพของตนเอง แต่การมีสองช็อต (Vigo & Kaufman) กลับเคลือบแฝงนัยยะซ่อนเร้นบางอย่าง

  • ภาพแรกคือตากล้อง Boris Kaufman ถ่ายระดับสายตา ติดท้องทะเล ผู้คนเดินผ่านไปมา ไม่มีอะไรให้ปกปิดบัง
    • ‘เบื้องหน้า’ ภาพภายนอกพบเห็นของเมือง Nice ทิวทัศน์สวยงามตา
  • น่าจะคือผู้กำกับ Jean Vigo หลบซ่อนอยู่ในผ้าคลุม ถ่ายมุมเงยติดอาคารด้านหลัง
    • บางสิ่งอย่างถูกปกปิด ซุกซ่อนเร้นอยู่ ‘เบื้องหลัง’

นี่เป็นสองช็อตที่อยู่ติดๆกัน แต่เคลือบแฝงนัยยะที่สะท้อนเข้ากับใจความของหนัง

  • หญิงสาวนั่งหลบมุมอยู่ข้างต้นเสา พยายามยกมือขึ้นมา ใช้หมวกปกปิดบังใบหน้า เหมือนไม่ต้องการพบเจอใคร (จริงๆอาจจะไม่ต้องให้ตนเองติดกล้อง)
  • ส่วนชายสูงวัย ล้วงผ้าเช็ดหน้าขึ้นมาวางบนโต๊ะ ท่าท่างก็ดูสบายๆ เปิดเผย ไม่มีอะไรให้ต้องปกปิด

กล้องถ่ายภาพหญิงสาวคนหนึ่งนั่งอยู่ตรงเก้าอี้ จากนั้นมีสลับเปลี่ยนชุดแต่งกาย (นัยยะของกิ้งก่าเปลี่ยนสี ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ภาพนอกไปตามกาลเวลา) แล้วจู่ๆภาพสุดท้ายกลับกลายเป็นภาพเปลือยกาย ย่อมสร้างความตกอกตกใจ ฉงนสงสัย มันมีอะไรเคลือบแอบแฝงอยู่หรือเปล่า?

ร่างกายที่เปลือยเปล่า สามารถสื่อถึงตัวตนแท้จริง สิ่งที่มนุษย์มักปกปิดบังซ่อนเร้นอยู่ภายใน แม้หญิงสาวคนนี้ไม่ได้มีหน้าตาขี้เหร่ รูปร่างอัปลักษณ์ แต่ยุคสมัยนั้นการเปลือยกายในที่สาธารณะ ยังเป็นสิ่งที่สังคมมิอาจยินยอมรับ แถมยังตีตราว่าร้าย ยัยโสเภณี ไม่รู้จักมารยาทผู้ดี ไร้ศักดิ์ศรีสกุลนา

ผมไม่ค่อยแน่ใจนักว่าภาพชายนอนอาบแดด แล้วโบ๊ะผิวสีดำแฝงนัยยะอะไร แต่การตัดไปภาพจระเข้ที่ก็นอนอาบแดดอยู่ริมบ่อน้ำ นั่นคือการเปรียบเทียบอย่างตรงไปตรงมา มนุษย์=จระเข้ สัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้ล่า มีความดุร้าย ชอบล่อหลอกเหยื่อให้ตายใจ จากนั้นฉีกกัดเนื้อหนัง กลืนกินเหยื่อทั้งๆยังมีลมหายใจ (พฤติกรรมของจระเข้ สามารถสะท้อนสันดานธาตุแท้ของคนชนชั้น Upper Class)

หลังจากร้อยเรียงภาพเบื้องหน้า ชายทะเลสวยๆ ผู้คนร่ำรวย ก็ถึงเวลาปรับเปลี่ยนมายังเงามืดเบื้องหลัง รายล้อมรอบด้วยอาคารสูงใหญ่ บดบังวิสัยทัศน์ แสงอาทิตย์สาดส่องลงมาไม่ถึงด้วยซ้ำ นั่นคือบริเวณสลัม พบเห็นความยากจน การต่อสู้ดิ้นรน พื้นถนนสกปรกโสมม … ช่างมีความแตกต่างตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง!

ระหว่างที่กลุ่มเด็กๆกำลังละเล่นเกมคล้ายๆเป่ายิงฉุบ (แต่มีมากกว่าค้อน-กรรไกร-กระดาษ) จู่ๆก็ปรากฎภาพมือเด็กชายมีนิ้วขาดแหว่ง (ไม่รู้ป่วยโรคเรื้อนหรือเปล่านะ) นี่คือภาพความอัปลักษณ์ที่แม้พบเห็นเพียงเสี้ยววินาที กลับสร้างความตื่นตกอกตกใจ นี่ฉันตาไม่ฝาดใช่ไหม ทำให้ตระหนักถึงความผิดปกติบนโลกใบนี้/ภาพยนตร์เรื่องนี้ มันต้องมีลับเลศนัยอะไรบางอย่าง

จะว่าไปเกมการละเล่นของเด็กๆ สามารถล้อกับสารพัดกิจกรรมของผู้ใหญ่ที่พบเห็นก่อนหน้านั้น อาทิ เล่นการพนัน, แล่นเรือ, เปตอง, แข่งรถ ฯ สะท้อนความแตกต่างระหว่างเบื้องหน้า-หลัง ฐานะร่ำรวย-ยากจน สถานะชนชั้นสูง-ต่ำ

Nice Carnival (Carnaval de Nice) หนึ่งในสี่เทศกาลคาร์นิวัลมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในโลก (อีกสามแห่งก็คือ Brazillian Carnival, Venetian Carnival และ Mardi Gras) มักจัดขึ้นช่วงระหว่างกุมภาพันธ์-มีนาคม (ระยะเวลา 2 สัปดาห์) ตามจดหมายเหตุบันทึกว่ามีการเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1294 สำหรับเฉลิมฉลองตามปฏิทินคริสเตียน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1873 ถึงเริ่มมีขบวนแห่ รูปปั้น สวมหน้ากาก จัดงานประกวด ฯลฯ ดึงดูดนักท่องเที่ยวกว่าล้านๆคนในปัจจุบัน

ในขณะที่ Nice Carnival พบเห็นขบวนแห่สุดยิ่งใหญ่ ผู้คนมากมาย สนุกสนานครื้นเครง หนังจงใจนำเสนอต่อด้วยภาพขบวนแห่งานศพ ญาติมิตรสวมชุดดำไว้ทุกข์ เศร้าโศกเสียใจ … เป็นการเปรียบเทียบที่สุดโต่งไม่น้อย นั่นเพราะผกก. Vigo ล้มป่วยวัณโรคมานาน เขาจึงไม่ค่อยยินดีกับสุขจอมปลอม เลยเปรียบเทียบสองเหตุการณ์นี้เข้าด้วยกัน

เทศกาลคาร์นิวัลอาจดูยิ่งใหญ่ จุดขายการท่องเที่ยว นำพาความเจริญ เศรษฐกิจมั่งคั่ง! แต่ขณะเดียวกันมันยังเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือย สิ้นเปลือง หนึ่งในซีนที่สร้างความละเหี่ยใจให้กับผมอย่างมากๆ พบเห็นหญิงสาวกำลังเก็บดอกไม้จากสวน แล้วมันกลับถูกเขวี้ยงขว้างในขบวนพาเรด ตกหล่นลงพื้นถนน เจ้าสุนัขดอมดมแล้วคาบขึ้นมา … ดอกไม้ที่ร่วงหล่น ถูกย่ำเหยียบ จักสูญสิ้นความงดงามโดยพลัน!

ภาพที่กลายเป็น ‘iconic’ ของหนัง คือกลุ่มสาวๆกำลังโยกเต้นเริงระบำ สนุกสนานไปกับงานเทศกาลคาร์นิวัลอย่างสุดเหวี่ยง เมาปลิ้น ดิ้นจนไม่สนห่าเหวอะไรใครทั้งนั้น! แรกๆก็อาจดูสวยงามตา แต่พอกล้องถ่ายมุมเงยสูงขึ้นเรื่อยๆ(จนวับแวมกางเกงใน)พร้อมฉายภาพสโลโมชั่น ผู้ชมก็น่าจะเริ่มรู้สึกถึงความอัปลักษณ์ มันจะมากเกินเลยเถิดไปไหม … ผมว่ายุคสมัยนั้น นี่อาจเป็นภาพที่สังคมยินยอมรับไม่ได้ ยิ่งเห็นกางเกงในวับแวบ (แบบท่าเต้นเพลง Can-Can) คงเต็มไปด้วยอคติรุนแรง ไม่ต่างจากภาพหญิงสาวนั่งเปลือยกายก่อนหน้านี้

การที่มุมกล้องค่อยๆเงยสูงขึ้นเรื่อยๆ ผมมองว่าต้องการสะท้อนถึงอนาคตที่สังคมมนุษย์จะค่อยๆให้ค่า (สโลโมชั่นคือการเน้นย้ำ เพิ่มความสำคัญ) กับอิสรภาพ การปลดปล่อย หลบหลีกหนี (Escapist) กิจกรรมสร้างความบันเทิงเหล่านี้ จักได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ยกย่องเทิดทูนราวกับพระเป็นเจ้า … เป็นคำพยากรณ์ที่ถูกเผงเลยทีเดียว!

À propos de Nice

ระหว่างที่สาวๆกำลังเริงระบำอย่างสโลโมชั่น จะมีการแทรกภาพรูปปั้น ทูตสวรรค์ นางฟ้า (เป็นความขัดแย้งระหว่างภาพเคลื่อนไหว-รูปปั้นสงบนิ่ง) ถ่ายทำยังสุสาน Tombeau Des Époux Fauchon Pouillot นอกจากนัยยะการเปรียบเทียบถึงอนาคต กิจกรรมเหล่านั้นอาจได้รับการยกย่องเทิดทูน ไอดอลไม่ต่างจากพระเจ้า! ผมยังแอบรู้สึกว่าต้องการสื่อถึง(พระเจ้ายัง)เอือมละอา ดินแดนแห่งนี้ไม่ต่างจากเมืองคนบาป Sodom and Gomorrah

ซีเควนซ์สุดท้ายของหนังน่าจะคือหลังงานคาร์นิวัล เมื่อต้องเอารูปปั้น ขยะทั้งหลายมาเผาทำลาย แต่ภาพถ่านหิน กองเพลิง และป่องควัน สามารถสื่อถึงความตาย จุดจบของมนุษยชาติ และวันสิ้นโลกาวินาศได้เช่นกัน

ในส่วนของการตัดต่อ (ไม่มีเครดิต คาดว่าน่าจะโดยผกก. Vigo) หนังถือว่าไม่มีเนื้อเรื่องราว หรือทิศทางดำเนินเรื่อง (non-narrative) แต่ใช้เมือง Nice, France คือจุดศูนย์กลาง แล้วทำการแปะติดปะต่อ ร้องเรียงชุดภาพเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งพอสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ดังต่อไปนี้

  • อารัมบท, นำเข้าสู่เมือง Nice, France พบเห็นภาพถ่ายจากเบื้องบน ตัดสลับหาดทราย ต้นไม้ และบ่อนคาสิโน
  • ยามเช้า, พนักงานตระเตรียมเปิดร้านอาหาร คนงานกำลังเตรียมงานคาร์นิวัล
  • ยามสาย, ผู้คนมากมายยัง Baie des Anges (Bay of the Angels) ตามด้วยกิจกรรมล่องเรือ แข่งรถ เปตอง ฯ
  • ยามบ่าย, สาวๆไฮโซลงจากรถ แล้วไปนั่งกินลมชมวิวริมชายหาด
  • ยามเย็น, พบเห็นคนยากไร้ อาศัยอยู่ในสลัม เด็กๆวิ่งเล่น เป่ายิงฉุบกันอย่างสนุกสนาน
  • ยามค่ำ, ดินเนอร์ของบรรดาชนชั้นสูง พร้อมการเริงระบำอย่างหรูหรา
  • วันงานเทศกาลคาร์นิวัล Nice Carnival (Carnaval de Nice)
    • พบเห็นขบวนแห่อลังการ สาวๆเต้นระบำกันอย่างสนุกสนาน
    • ตามด้วยภาพขบวนแห่งานศพ มาถึงยังสุสาน พบเห็นรูปปั้นทูตสวรรค์ ถ่ายภาพป่องควัน และทุกสิ่งอย่างมอดไหม้ในกองเพลิง

ลีลาการตัดต่อของผกก. Vigo มีความจำเพาะที่สามารถแยกตนเองออกจากกลุ่ม ‘soviet montage’ หลายครั้งมักแทรกภาพซ้ำๆ คลื่นกระทบหาดทราย ต้นปาล์ม-ป่องควัน หญิงสาวเต้นระบำ ฯ เหล่านี้ไม่ใช่แค่ซุกซ่อนนัยยะเชิงสัญลักษณ์ แต่ยังทำการเสียดสีล้อเลียน (Satire) และบางครั้งพยายามเปรียบเทียบถึงบางสิ่งอย่าง

ไฮไลท์คือการแทรกภาพสิ่งอัปลักษณ์ จระเข้ หญิงสาวเปลือยกาย ชายทาครีมกันแดดสีดำ ฯ ปรากฎขึ้นมาเพียงแวบเดียวเท่านั้น! ครั้งแรกๆอาจไม่ทันสังเกต แต่บ่อยครั้งย่อมเริ่มรู้สึกเอะใจ เกิดความฉงนสงสัย เหมือนว่ามันต้องมีลับลมคมใน เคลือบแฝงอะไรบางอย่าง ซึ่งเป้าหมายของผกก. Vigo ไปไกลกว่าที่พบเห็นในหนังอย่างมากๆ ต้องการสะท้อนสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยสิ่งลับเล่ห์ลมคมในเหล่านี้

The aim of the social documentary is achieved when it succeeds in revealing the hidden meaning of a gesture, when it shows up the hidden beauty or the grotesqueness of an ordinary-looking individual. The social documentary must lay bare the mechanism of society by showing it to us in its purely physical manifestations.

And it must do this so forcefully that the world we once looked at with such indifference now appears to us in its essence, stripped of its falsehoods. The social documentary must rip the blinkers from our eyes.

Jean Vigo กล่าวถึงเหตุผลการแทรกภาพสิ่งอัปลักษณ์ ปรากฎขึ้นมาเพียงแวบเดียว!

โดยปกติสำหรับหนังเงียบ ผมมักไม่ค่อยกล่าวถึงบทเพลงประกอบ (Music Accompany) เพราะส่วนใหญ่เป็นการตีความขึ้นใหม่ หาใช่ความตั้งใจของผู้สร้าง สำหรับ À propos de Nice (1930) ก็เฉกเช่นเดียวกัน แต่ผมรับชมฉบับของ Michael Nyman แล้วเกิดความหงุดหงิดหัวเสียอย่างมากๆ แม้มีความไพเราะ ท่วงทำนองติดหู ใช้เพียงแอคคอร์เดียนบรรเลง แต่กลับไม่สามารถจับต้องอารมณ์ขันของหนังได้เลยสักนิด! กล่าวคือบทเพลงก็บรรเลงไป ไม่สนห่าเหวภาพเหตุการณ์ใดๆ


นีซ (Nice) เมืองที่มีความหรูหรา สะอาดสะอ้าน ภูมิอากาศอบอุ่น ท้องฟ้าคราม ทะเลแสนงาม เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนช่วงวันหยุดฤดูหนาว แต่ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นเพียงการสร้างภาพ เปลือกภายนอก เพราะสถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยบ่อนคาสิโน แถมเบื้องหลังยังซุกซ่อนสลัม ผู้คนมากมายต้องหาเช้ากินค่ำ ต่อสู้ดิ้นรน ไม่ได้อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ด้วยความชื่นมื่นอย่างที่ใครๆพบเห็น

The city of Nice is a microcosm of modern society, with all its contradictions and tensions. The rich and the poor, the old and the young, the workers and the bourgeoisie, all come together in Nice, but they do not live together in harmony.

The film shows the city as a place of pleasure and excitement, but also as a place of poverty and exploitation. It is a film about the beauty and the ugliness of modern life, and it is a film that challenges us to think about the world around us.

Jean Vigo

จุดประสงค์ของหนังแนว ‘city symphony’ มักชักชวนให้ผู้ชมมองหาแก่นแท้ (essence) หรือจิตวิญญาณของเมืองนั้นๆ ด้วยการสังเกตจากภาพภูมิทัศน์ ประเพณีวัฒนธรรม กิจวัตรประจำวัน รวมถึงวิถีชีวิตผู้คน แต่สำหรับ À propos de Nice (1930) ยังมีการแทรกใส่อารมณ์ผู้สร้าง สัมผัสได้ถึงความอัดอั้น เกรี้ยวกราด ไม่พึงพอใจต่อสภาพความเป็นอยู่อย่างรุนแรง!

อารมณ์ศิลปินของผู้สร้าง (auteur) ผู้ชมสามารถสัมผัสจับต้องได้จากลูกเล่นลีลา วิธีการนำเสนอ ไม่ใช่แค่ภาพเชิงสัญลักษณ์ของสิ่งที่ดูอัปลักษณ์เท่านั้นนะครับ อย่างการปรากฎภาพเดิมๆซ้ำๆ (หรือที่มีรูปลักษณะคล้ายๆกัน) ตัดต่อเดี๋ยวช้า-เดี๋ยวเร็ว กวัดแกว่งกล้อง ภาพสโลโมชั่น ถ่ายมุมเอียง ก้ม-เงย ฯ แทบจะทุกเทคนิคภาพยนตร์ ล้วนเคลือบแอบแฝงนัยยะที่เป็นสไตล์ลายเซ็นต์ (Cinéma Vérité)

ความเกรี้ยวกราดของผกก. Vigo คือสิ่งที่สะสมมาตั้งแต่เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก เคยต้องใช้ชีวิตอย่างหลบๆซ่อนๆ บิดาถูกไล่ล่าเพราะความเห็นต่างทางการเมือง รวมถึงอาการป่วยวัณโรค ร่างกายเจ็บปวดทนทุกข์ทรมาน ฯ ล้วนทำให้เขามองโลก(ในแง่ร้าย)ด้วยมุมที่แตกต่าง พบเห็นความอัปลักษณ์ จอมปลอม ผู้คนสวมหน้ากาก สร้างภาพหลอกหลวง พยายามปกปิดพฤติกรรมคอรัปชั่น ซุกซ่อนความโฉดชั่วร้ายไว้ภายใน

สำหรับเมืองนีซ (Nice) ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้คนสามารถหลบหนีจากโลกความจริง (escapist) ละทอดทิ้งความเหน็ดเหนื่อย ชีวิตที่ต้องอดรนทนทุกข์ยากลำบาก เดินทางมาท่องเที่ยว พักผ่อนคลาย ไม่ต้องสนใจห่าเหวอะไร แต่ในมุมมองผกก. Vigo นั่นคือการหลอกตนเอง ละเลยสภาพความเป็นจริง เพราะสถานที่แห่งนี้ก็ไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่

In À propos de Nice, Jean Vigo shows us a city that is a trap, a place where people come to escape from reality, but where they only find more of the same.

นักวิจารณ์ André Bazin

ขณะที่ À propos de Nice (1930) นำเสนออารมณ์เกรี้ยวกราด ความอึดอัดอั้นของผกก. Vigo ที่สะสมอยู่ภายใน ผลงานเรื่องถัดไป Zéro de conduite (1933) เป็นการปะทุระเบิดโดยใช้การปฏิวัติของเด็กๆ สะท้อนความเพ้อฝันที่อยากพบเห็นการเปลี่ยนแปลงระดับมหภาค (แต่สังคมยุคสมัยนั้นยังไม่สามารถยินยอมรับ หนังจึงถูกแบนห้ามฉาย กลัวทำลายความมั่นคงของรัฐ)


หนังฉายรอบปฐมทัศน์วันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 ณ โรงภาพยนตร์ Théâtre du Vieux-Colombier ในกรุง Paris เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ค่อนข้างผสมๆ เพียงชื่นชมแนวคิดใหม่ๆ วิธีการวิพากย์สังคม แต่รบกวนจิตใจเกินไป

À propos de Nice (1930) is not an easy film to watch. It is a film that is full of sadness and anger, and it is a film that will stay with you long after you have seen it. However, it is also a film that is important and necessary. It is a film that reminds us of the importance of social justice, and it is a film that challenges us to think about the world around us.

นักวิจารณ์ James Agee จากนิตยสาร The Nation

À propos de Nice (1930) is a harsh and uncompromising look at the dark side of human nature. The film is a series of impressionistic sketches of Nice, showing the city as a playground for the rich and a slum for the poor. The rich are seen gambling, yachting, and lounging on the beaches, while the poor are seen working in the factories, living in crowded slums, and begging in the streets.

The film is technically very well done, but its social commentary is heavy-handed and its message is depressing. It is not a film for the faint of heart.

นักวิจารณ์ Mordaunt Hall จาก The New York Times

อิทธิพลของ À propos de Nice (1930) มีมากล้นต่อบรรดาผู้กำกับ French New Wave อาทิ Jean-Luc Godard, François Truffaut, Jacques Rivette, Agnès Varda, Chris Marker ฯ

À propos de Nice (1930) was a revelation for me. It was the first time I saw a film that was so visually striking and so emotionally powerful. It showed me what cinema could be. It showed me that cinema could be used to express the truth about the world, and it inspired me to become a filmmaker.

Jean-Luc Godard

My favorite directors are Jean Vigo, Robert Bresson, and Jacques Tati. I admire Vigo’s use of montage, Bresson’s simplicity, and Tati’s humor.

François Truffaut

À propos de Nice (1930) is a film that has everything: poetry, humor, social commentary, and a beautiful use of montage. It’s a great inspiration to me, and I think it’s one of the most important films ever made.

Agnès Varda

ไม่ได้มีการระบุใน DVD/Blu-Ray ฉบับของ Criterion ว่าภาพยนตร์ À propos de Nice (1930) ได้รับการบูรณะแล้วหรือไร แต่คุณภาพก็ถือว่ายอดเยี่ยม (น่าจะแค่แสกนใหม่) รวบรวมอยู่ใน Boxset ชื่อว่า The Complete Jean Vigo พร้อมกับอีกสองเรื่อง Zéro de conduite (1933) และ L’Atalante (1934)

ถ้าผมมีโอกาสรับชม À propos de Nice (1930) เมื่อหลายปีก่อน คงยังไม่สามารถทำความเข้าใจรายละเอียดเล็กๆที่ปรากฎแวบขึ้นมา เพราะมันต้องใช้ประสบการณ์ การช่างสังเกต และรู้จักขบครุ่นคิดวิเคราะห์ เทียบไม่ได้กับ L’Atalante (1934) ที่มีความเรียบง่าย ตราตรึง ตรงถึงจิตวิญญาณ … แต่การรับชมหนังในปัจจุบันได้สร้างความก้ำๆกึ่งๆ บอกเลยว่าเลือกไม่ได้ À propos de Nice (1930) >= หรือ <= L’Atalante (1934) ต่างแสดงถึงอัจฉริยภาพ และความเป็นศิลปินของผกก. Vigo

ในบรรดา ‘city symphony’ ผมมีความหลงใหลคลั่งไคล้ À propos de Nice (1930) ไม่น้อยไปกว่า In Spring (1929) และถ้านับเฉพาะช่วงทศวรรษ 20s-30s ต้องถือว่าอยู่ในระดับ Top 3 อีกเรื่องก็คือ Regen (1929)

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | À propos de Nice เป็นเมืองที่ภายนอกดูวิจิตรงดงาม แต่ซุกซ่อนเร้นสิ่งอัปลักษณ์ไว้มากมาย
คุณภาพ | วิจิศิป์
ส่วนตัว | ลุ่มหลงใหล

Orlando (1992)


Orlando (1992) British : Sally Potter ♥♥♥

ชีวิตสามศตวรรษของ Orlando พบเห็นความเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่สิ่งน่าสนใจที่สุดคือบทบาททางทางเพศในสังคมผู้ดีอังกฤษ เมื่อชายกลับกลายเป็นหญิง รับบทโดยนักแสดงคนเดียว Tilda Swinton (เล่นเป็นทั้งชายและหญิง) งดงาม ท้าทาย แต่อาจต้องปีนป่ายบันไดสูงสักหน่อย

คนที่ยังไม่รับชมหนังอาจเกิดความตงิดใจเล็กๆ สามศตวรรษ อิหยังว่ะ? นั่นเพราะ Orlando (1992) เป็นภาพยนตร์กึ่งๆแฟนตาซี ด้วยการให้ตัวละครอายุยืนยาวนานกว่าสามร้อยปี ตั้งแต่ถูกสาปให้พรโดยพระราชินี Queen Elizabeth I (ครองราชย์ 1558-1603) ไม่แก่ไม่เฒ่ามาจนถึงปัจจุบันนั้น ค.ศ. 1992

จุดประสงค์ของผู้แต่งนวนิยาย Virginia Woolf เห็นว่าต้องการเสียดสีล้อเลียน (Satire) เปรียบดั่งจดหมายรักถึงแฟนสาว Vita Sackville-West เต็มไปด้วยถ้อยคำหวานแหวว โรแมนติก อีโรติก ขณะเดียวกันยังพาดพิงสังคมผู้ดีอังกฤษแต่ละยุคละสมัย

The effect of Vita on Virginia is all contained in Orlando, the longest and most charming love letter in literature, in which she explores Vita, weaves her in and out of the centuries, tosses her from one sex to the other, plays with her, dresses her in furs, lace and emeralds, teases her, flirts with her, drops a veil of mist around her.

Nigel Nicolson บุตรชายของ Vita Sackville-West กล่าวถึงอิทธิพลของมารดาต่อนวนิยาย Orlando: A Biography (1928)

แต่การรับชมภาพยนตร์ Orlando (1992) กลับไม่ทำให้ผมรับรู้สึกถึงความสัมพันธ์ใดๆระหว่างผกก. Potter ตัวละครของ Swinton หรือแม้แต่นวนิยายต้นฉบับของหนัง เพราะต่างคนต่างมีความสนใจที่แตกต่างกันออกไป

  • ผกก. Potter ไม่ใช่เกย์ ไม่ใช่เลสเบี้ยน สนใจในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางเพศของตัวละคร (ผลงานของเธอหลังจากนี้ ก็มักใช้นักแสดงหญิงรับบทตัวละครที่ควรเป็นเพศชาย) รวมถึงบทบาทสตรีเพศในยุคสมัยต่างๆของประเทศอังกฤษ
  • Swinton สนใจในความสง่างาม เข้มแข็งแกร่งของตัวละคร Orlando ไม่ได้สนใจอัตลักษณ์ทางเพศ จะชายหรือหญิง เกย์หรือเลสเบี้ยน เควียร์หรือนอนไบนารี่ ได้หมดถ้าสดชื่น
  • ส่วนเรื่องราวจากนวนิยายของ Woof อย่างที่อธิบายไปแล้วว่าเป็นแนวเสียดสีล้อเลียนแฟนสาว และพาดพิงถึงวิถีสังคมผู้ดีอังกฤษ

แม้การแสดงของ Swinton จะถือเป็นไฮไลท์ในอาชีพการงาน, โปรดักชั่นงานสร้าง เสื้อผ้าหน้าผม งดงามระดับวิจิตรศิลป์, การกำกับของผกก. Potter ดูมีความน่าสนใจ แต่นำเสนอออกมาอย่างเอื่อยเฉื่อย น่าเบื่อหน่าย ใส่ลูกเล่นลีลามากเกินไป ‘style over substance’

Orlando is a self-indulgent film that is more interested in style than substance. The film is full of beautiful images, but it’s also empty of meaning. I found myself feeling bored and disengaged.

นักวิจารณ์ Peter Travers เขียนบทความลง Rolling Stone

Orlando is a confused film about gender. The film seems to be trying to say that gender is fluid, but it also seems to be saying that there are essential differences between men and women. I found the film’s message to be confusing and ultimately unsatisfying.

นักวิจารณ์ Manohla Dargis เขียนบทความลง The New York Times

ก่อนอื่นขอกล่าวถึง Adeline Virginia Stephen (1882-1941) นักเขียนสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ South Kensington, London เป็นบุตรคนที่เจ็ดจากพี่น้องแปดคน, ตั้งแต่เด็กมีความสนใจด้านวรรณกรรม ชื่นชอบการอ่านเขียน ร่ำเรียนประวัติศาสตร์ King’s College London ได้รับการผลักดันจากบิดาให้กลายเป็นนักเขียน จนมีโอกาสเข้าร่วม Bloomsbury Group (กลุ่มปัญญาชนชาวอังกฤษ ในช่วงต้นศตวรรษ 20th), เมื่อปี ค.ศ. 1912 แต่งงานกับ Leonard Woolf ร่วมกันก่อตั้งสำนักพิมพ์ Hogarth Press และตีพิมพ์นวนิยายเล่มแรก The Voyage Out (1915)

ช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1922 ณ งานเลี้ยงของพี่เขย คือสถานที่ที่ Virginia Woolf แรกพบเจอ Vita Sackville-West เพียงมองตาก็รับรู้ความต้องการของกันและกัน แต่พวกเธอต่างแต่งงานมีสามี เลยแอบสานสัมพันธ์อย่างลับๆ (ในประเทศอังกฤษยุคสมัยนั้น ความสัมพันธ์ชาย-ชายคือสิ่งผิดกฎหมาย แต่ไม่ใช่สำหรับหญิง-หญิง)

Victoria Mary, Lady Nicolson หรือ Vita Sackville-West (1892-1962) นักเขียนนวนิยาย สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Knole House, Kent ในตระกูลขุนนาง ผู้ดีอังกฤษ วัยเด็กเป็นคนขี้อาย ไม่ค่อยคบหากับใคร แต่ตระหนักถึงรสนิยมทางเพศชื่นชอบผู้หญิง โหยหาอิสรภาพแบบเดียวกับชาวยิปซี (Romani) เริ่มเขียนนวนิยาย/บทละครตั้งแต่อายุ 14, แต่งงานเมื่อปี ค.ศ. 1913 กับสามีนักการทูต Harold Nicholson (เคยไปประจำการอยู่ Constantinople) แต่ก็แอบสานสัมพันธ์ลับๆกับ Rosamund Grosvenor, Violet Keppel, ก่อนมาถึง Virginia Woolf

ทั้ง Woolf และ Sackville-West ต่างมีชีวิตวัยเด็กที่ถูกครอบครัวกดขี่ข่มเหง (abused) มีชีวิตอย่างโดดเดี่ยวอ้างว้าง เมื่อได้พบเจอพูดคุย พวกเธอจึงพัฒนาความสัมพันธ์ เข้าใจกันและกัน รวมถึงช่วยผลักดัน รักษาแผลใจ จนกระทั่งวันหนึ่ง Woolf ได้แรงบันดาลใจนวนิยายเรื่องใหม่

And instantly the usual exciting devices enter my mind: a biography beginning in the year 1500 and continuing to the present day, called Orlando: Vita; only with a change about from one sex to the other.

Virginia Woolf เขียนในไดอารี่วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1927

ตัวละคร Orlando ได้แรงบันดาลใจมาจาก Sackville-West ตั้งแต่รูปลักษณ์ หน้าตา (ที่บรรยายในนวนิยาย) จิตวิญญาณรักอิสระ เรื่องราวต่างๆที่พวกเธอได้พูดคุยสนทนา แลกเปลี่ยนจดหมาย อาทิ ความสนใจในชาวยิปซี (Romani), อาศัยอยู่กับสามีนักการทูตที่ Constantinople, และโดยเฉพาะอัตลักษณ์ทางเพศ คงได้ทั้งรุก-รับ ชายก็ได้-หญิงก็ดี ไม่ยี่หร่าอะไรใคร

Orlando is you, Orlando is me, Orlando is all of us.

(ประโยคนี้ในจดหมายของ Woolf ถึง Sackville-West น่าจะต้องการสื่อว่าตัวละคร Orlando คือส่วนผสมของพวกเราทั้งสอง ไม่ใช่พวกเราทั้งหมด)

นวนิยาย Orlando: A Biography ตีพิมพ์วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1928 แม้ไม่ได้ขายดีถึงระดับ Best-Selling แต่ก็ประสบความสำเร็จจนทำให้ฐานะทางการเงินของ Woolf มีความมั่นคง รวมถึงเสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ก็ค่อนข้าง ได้รับยกย่องให้เป็น ‘Feminist Classic’ เหมาะสำหรับศึกษาเกี่ยวกับเพศสภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ และลักษณะวรรณกรรมประเภทเสียดสีล้อเลียน (Satiric Form)


Charlotte Sally Potter (เกิดปี 1949) ผู้กำกับ/เขียนบท/นักออกแบบท่าเต้น สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ London, มารดาเป็นครูสอนดนตรี บิดาทำงานออกแบบภายในและชื่นชอบแต่งกวี, เมื่ออายุ 14 ได้รับของขวัญจากลุงคือกล้อง 8mm ทำให้ค้นพบความชื่นชอบสื่อภาพยนตร์, พออายุ 16 ตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน เพื่อเข้าร่วม London Film-Makers’ Co-op สรรค์สร้างหนังสั้นแนวทดลอง Jerk (1969), Play (1970), ขณะเดียวกันก็ร่ำเรียนการเต้นและออกแบบท่าเต้น (Choreography) ยัง London School of Contemporary Dance

เมื่อหนังสั้น Thriller (1979) ได้รับเสียงฮือฮาเมื่อนำออกฉายตามเทศกาลหนังสั้น จึงมีโอกาสสรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก The Gold Diggers (1983), โด่งดังระดับนานาชาติกับ Orlando (1992), The Tango Lesson (1996) ฯ

ผกก. Potter เคยอ่านนวนิยาย Orlando: A Biography ตั้งแต่ตอนอายุ 18 ปี ชื่นชอบหลงใหลเกี่ยวกับเพศสภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ มีความงดงาม เติมเต็มจินตนาการ เพ้อใฝ่ฝันว่าสักวันจะทำการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์

I first read Orlando when I was 18 and it blew my mind. I loved the way it played with gender and identity, and the way it was so visually and lyrically beautiful. I knew I had to make a film of it one day.

Sally Potter

หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ภาพยนตร์มาหลายปี ค.ศ. 1984 ครุ่นคิดว่าตนเองพร้อมจะดัดแปลงนวนิยายเล่มนี้ จึงเริ่มพัฒนาบทร่าง (Treatment) สำหรับยื่นของบประมาณจากสตูดิโอต่างๆ แต่ได้รับคำตอบกลับ “unmakable, impossible, far too expensive and anyway not interesting”.

เมื่อเกิดความตระหนักว่าคงไม่มีสตูดิโอไหนให้ความสนใจ เธอจึงใช้วิธียื่นบทภาพยนตร์ขอทุนจากสถาบันต่างๆทั่วยุโรป อาทิ British Film Institure, Netherlands Film Fund, Belgian Film Fund, จากนั้นถึงได้งบประมาณเพิ่มเติมจาก Channel 4 Films กว่าจะรวบรวมได้ $4 ล้านเหรียญ ใช้เวลายาวนานถึง 8 ปี

It took me eight years to get the film financed. I had to go to every single film fund in Europe. I had to make a lot of compromises, but I was determined to make the film my way.

มีหลายสิ่งอย่างที่ผกก. Potter ปรับเปลี่ยนจากต้นฉบับนวนิยาย ทั้งเรื่องราว โครงสร้าง เหตุการณ์ไม่สำคัญจะถูกตัดทิ้งออกไป คำอธิบายความรู้สึกนึกคิดตัวละคร (ในนวนิยายสามารถเขียนบรรยายออกมาได้ตรงๆ) เปลี่ยนมาใช้การดำเนินเรื่องด้วยภาพและเสียง ‘visual image’ และโฟกัสเนื้อหามายังเรื่องของเพศสภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender and Identity) เพื่อให้เกิดความร่วมสมัยกับผู้ชมรุ่นใหม่ๆ

I wanted to make a film that was both faithful to the spirit of Woolf’s novel and also its own unique work of art. … I chose to focus on the themes of gender and identity in order to make the film more relevant to contemporary audiences.


เรื่องราวเริ่มต้นช่วงปลายยุคสมัย Elizabethan Era (1558–1603) ผู้ดีหนุ่มชาวอังกฤษ Orlando (รับบทโดย Tilda Swinton) ได้รับคำสาปให้พรจาก Queen Elizabeth I มอบพระราชวังหลังใหญ่ มรดกก้อนโต แลกกับการไม่แก่ไม่เฒ่า

“Do not fade. Do not wither. Do not grow old.”

นั่นเองคือเหตุผลให้ Orlando มีชีวิตยืนยาวนาน พานผ่านเหตุการณ์ต่างๆ อาทิ ค.ศ. 1610 (Love) ตกหลุมรัก Princess Sasha, ค.ศ. 1650 (Poetry) ค้นพบความชื่นชอบบทกวี, ค.ศ. 1700 (Politics) กลายเป็นนักการทูตเดินทางสู่ Constantinople, หลังพานผ่านประสบการณ์เฉียดตาย จู่ๆสลับเพศชายเป็นหญิง, ค.ศ. 1750 (Society) เข้าแวดวงไฮโซแล้วถูกขอแต่งงาน, ค.ศ. 1850 (Sex) ตกหลุมรัก Shelmerdine, พานผ่านสงครามโลก, จนกระทั่งปี ค.ศ. 1992 (Birth) คลอดบุตรสาว และกำลังตีพิมพ์นวนิยายเล่มใหม่


Katherine Matilda Swinton (เกิดปี 1960) นักแสดงหญิงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ London บิดาเป็นทหารบกยศพลตรี ตอนเด็กเรียนร่วมห้องกับว่าที่เจ้าหญิงแห่งเวลส์ Diana Frances Spencer, โตขึ้นเข้าศึกษาต่อยัง New Hall (ปัจจุบันคือ Murray Edwards College) ณ University of Cambridge สาขาสังคมและรัฐศาสตร์, หลังเรียนจบสมัครเข้าร่วม Royal Shakespeare Company กลายเป็นนักแสดงละครเวที ตามด้วยมินิซีรีย์ ภาพยนตร์เรื่องแรก Caravaggio (1986), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Edward II (1991) คว้ารางวัล Volpi Cup for Best Actress จากเทศกาลหนังเมือง Venice, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Beach (2000), Vanilla Sky (2001), The Chronicles of Narnia: The Lion, the Witch and the Wardrobe (2005), Michael Clayton (2007)**คว้า Oscar: Best Supporting Actress, Burn After Reading (2008), Doctor Strange (2016) ฯ

รับบทชายหนุ่ม Orlando หน้าตาใสๆ ซื่อบริสุทธิ์ ไร้เดียงสาต่อโลก ตกหลุมรักแรกพบ Princess Sasha เพ้อคลั่งราวกับลมพายุ เมื่อพัดผ่านไปเปลี่ยนมาหลงใหลบทกวี เริ่มให้ความสนใจต่อสิ่งต่างๆรอบข้าง เดินทางไปเป็นนักการทูตยัง Constantinople พบเห็นความเห็นแก่ตัวของชาวอังกฤษ สงคราม ความตาย นั่นคือจุดสิ้นสุดความเป็นเพศชาย

หญิงสาว Orlando เริ่มต้นด้วยความเบื่อหน่าย เพราะต้องเข้างานสังคม ถูกขอแต่งงาน สูญเสียมรดกวงศ์ตระกูล พยายามวิ่งหลบหนีในเขาวงกต ก่อนพบเจอตกหลุมรัก Shelmerdine แม้มิอาจครองคู่ แต่ก็ทำให้ได้เรียนรู้ เติมเต็มความหมายของชีวิตจนถึงปัจจุบัน

Swinton คือตัวเลือกแรก ตัวเลือกเดียวของผกก. Potter ด้วยความประทับใจจากโปรดักชั่นละครเวที The Tempest เห็นว่าติดต่อเข้าหาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาบทหนังด้วยซ้ำ!

I saw Tilda in The Tempest and I was just blown away. She had this amazing androgynous quality, and I knew she was the one to play Orlando. She’s also a very intelligent actress, and she really understood the material.

Sally Potter

ในตอนแรก Swinton ตอบปฏิเสธเพราะรับรู้ว่าตนเองยังเด็ก ยังอ่อนด้อยประสบการณ์ ยังไร้ชื่อเสียง และยังไม่พร้อมรับบทบาทที่ต้องใช้พลังในการแสดงค่อนข้างมาก แต่ผกก. Potter ก็ยังคงติดต่อหาอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งทศวรรษถัดมา เมื่อทุกสิ่งอย่างพร้อมสรรพ ก็ไม่มีเหตุอันใดให้บอกปัดอีก

I was first approached by Sally Potter about playing Orlando in 1981, but I turned it down. I was too young and inexperienced, and I didn’t feel ready for such a demanding role. But Sally kept in touch, and in 1992, I finally agreed to do it.

Tilda Swinton

ต้องถือว่า Orlando คือบทบาทไฮไลท์ในอาชีพนักแสดงของ Swinton ไม่ใช่แค่รับบทเพศชาย-หญิง (เรียกว่า ‘queer’ ก็ได้กระมัง) แต่วิวัฒนาการตัวละครจากเด็กน้อย หน้าใส ไร้เดียงสา พานผ่านเหตุการณ์ต่างๆ เรียนรู้จักความรัก วิถีแห่งชีวิต เปิดมุมมองโลกกว้าง จนกระทั่งค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศ ความเป็นตัวของตนเอง สมดังคำที่นักวิจารณ์มักเรียกว่า ‘tour-de-force’ ไม่ใช่การแข่งขันจักรยานนะครับ แต่หมายถึงเชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ สามารถทำสิ่งยุ่งยากท้าทายได้อย่างง่ายดาย

จริงๆก่อนหน้านี้ Swinton มีหลากหลายผลงานร่วมกับผกก. Derek Jarman แต่แทบทั้งหมดล้วนเป็นบทพระรอง รวมถึง Edward II (1991) ที่คว้ารางวัล Volpi Cup for Actress อย่างเป็นเอกฉันท์, Orlando (1992) ถือเป็นครั้งแรกรับบทตัวละครหลัก พระเอก/นางเอก มันจึงมีความพิเศษกับเธอมากๆ งดงาม ท้าทาย และโอบรับความเป็น ‘modern woman’ ซึ่งจะกลายเป็นภาพจำติดตัว … ตราบจนวันตายเลยก็ว่าได้

Orlando is a very special film for me. It was my first big role, and it was a chance to work with a director I really admire, Sally Potter. I loved the challenge of playing a character who changes sex over the course of the story, and I think we made a film that is both beautiful and thought-provoking.

Orlando is a film that has stayed with me for a long time. It’s a film about change, about transformation, and about the power of the imagination. I think it’s a film that is still relevant today, and I’m proud to have been a part of it.


ถ่ายภาพโดย Aleksei Rodionov (เกิดปี 1947) ตากล้องชาวรัสเซีย เกิดที่ Moscow สำเร็จการศึกษาด้านการถ่ายภาพจาก Gerasimov Institute of Cinematography (VGIK) จากนั้นมีผลงานหนังสั้น ผู้ช่วยตากล้อง โด่งดังจากภาพยนตร์ Come and See (1985), Orlando (1992) ฯ

ผกก. Sally เลือกตัดทิ้งข้อความบรรยาย ความรู้สึกนึกคิด ภายในจิตใจตัวละคร โดยเปลี่ยนมาใช้ ‘visual image’ ให้ภาพถ่ายอธิบายทุกสิ่งอย่าง! โดยการมอบอิสระผู้ชมในการครุ่นคิดตีความ เน้นความสวยงาม ส่วนใหญ่ใช้แสงธรรมชาติ กล้องค่อยๆเคลื่อนไหลอย่างช้าๆ ไร้สัมผัสกาลเวลา (Timelessness) ให้เหมือนกำลังล่องลอยเหมือนฝัน ย้อนยุคผสมผสานแฟนตาซี

The film is a very visual one, and I wanted to create a look that would be both beautiful and evocative. I used a lot of natural light, and I tried to capture the beauty of the different locations where we filmed. I also wanted to create a sense of timelessness, so I used a lot of long takes and slow motion.

Aleksei Rodionov

สำหรับคนที่มี ‘knack’ เกี่ยวกับการถ่ายภาพ น่าจะสังเกตเห็นความแตกต่างในแต่ละศตวรรษ/ช่วงเวลาต่างๆ เพื่อนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงมุมมอง/ประสบการณ์ชีวิตที่เพิ่มขึ้นของ Orlando

  • Elizabethan Era (1558–1603) กล้องถ่ายทำแบบ ‘traditional style’ เน้นภาพ Long Shot แทบไม่มีขยับเคลื่อนไหว มุมกล้องตรงไปตรงมา คมชัดทุกรายละเอียด เพื่อบันทึกความยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัย ‘Golden Age’ แสงสีเหลืองอร่าม จัดเต็มเสื้อผ้าหน้าผม หรูหราอลังการ
  • Jacobean Era (1603–25) ตรงกับช่วงเวลาฤดูหนาวอันยาวนาน (Great Frost) พบเห็นหิมะ น้ำแข็ง ขาวโพลน หนาวเหน็บ
  • Caroline Era (1625–49) คือยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปะและวิทยาศาสตร์ งานภาพจะมีสีสัน ความสว่าง ด้วยแสงจากธรรมชาติ กล้องค่อยๆเคลื่อนเข้าหา แต่ยังรักษาระยะห่างบนโต๊ะอาหาร
  • Restoration Era (1660–1714) ยุคสมัยแห่งการฟื้นฟูหลังความขัดแย้ง/สงครามภายใน Orlando เดินทางไป Constantinople แสงอาทิตย์ช่างเจิดจร้า ท้องฟ้ายามค่ำคืนก็มืดมิดสนิท (กลางวัน-กลางคืน มีความแตกต่างตรงกันข้าม)
  • Georgian Era (1714–1837) หลังจาก Orlando สลับมาเป็นเพศหญิง ถูกหมายปองจากขุนนาง งานภาพมีความแห้งแล้ง ขาวซีดเซียว แม้การแต่งกายจะดูหรูหรา สวมวิกราคาแพง แต่เต็มไปด้วยความจอมปลอม หลอกลวง
  • Victorian Era (1837–1901) กล้องถ่ายภาพระยะประชิดใกล้ เต็มไปด้วยช็อต Close-Up สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง Orlando กับชายคนรัก Shelmerdine การจัดแสงสีสันก็เต็มไปด้วยความหลากหลาย ทั้งอบอุ่นและหนาวเหน็บ
  • Modern Era (ค.ศ. 1992) ท้องฟ้าสดใส ใช้โทนสีขาว เพื่อให้ดูทันสมัยใหม่ ถ่ายทำด้วยกล้อง Hand-Held ตัดต่ออย่างรวดเร็ว (Quick Cuts) สร้างความตื่นเต้น เต็มเปี่ยมด้วยพลัง ปัจจุบันมันช่างเป็นช่วงเวลาแห่งความเป็นไปได้ไม่รู้จบ

We wanted the cinematography to reflect the changes in the world that Orlando lives in. As the world changes, so too does Orlando’s perspective on life. The changes in cinematography style help to do this in a visual way.

Sally Potter

หนังถ่ายทำยังสถานที่จริงทั้งหมด มีทั้งภายในประเทศอังกฤษ และเดินทางไปยัง Uzbekistan ประกอบด้วย

  • Hatfield House ตั้งอยู่ยัง Hatfield, Hertfordshire สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1497 คือพระราชวังหลังโปรด/ใช้ชีวิตเติบโตตั้งแต่เด็กของ Queen Elizabeth I
    • ด้านข้างจะมีเขาวงกต (ที่ Orlando วิ่งหลงเข้าไปในนั้น)
  • Blenheim Palace ตั้งอยู่ยัง Woodstock, Oxfordshire สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1705-22 เป็นพระราชวังตากอากาศ (Country House) สำหรับพักผ่อนฤดูร้อน ด้านหน้าทางเข้าติดทะเลสาป The Great Lake
    • พระราชวังแห่งนี้คือสถานที่เกิดของ Sir Winston Churchill
  • สำหรับฉากที่ Constantinople ถ่ายทำยังเมือง Khiva ในแคว้น Khorazm Region ประเทศ Uzbekistan

หลายต่อหลายครั้ง ตัวละครชอบหันมาสบตาหน้ากล้อง (Breaking the Fourth Wall) ทำเหมือนพูดคุย บอกกล่าวอะไรบางอย่างกับผู้ชม เพื่อสร้างความสนิทสนม หยอกล้อเล่น ‘cinematic humour’ จนเกิดความรู้สึกมักคุ้นเคย ราวกับ(ผู้ชม)กลายเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องราว … น่าเสียดายที่โครงสร้างดำเนินเรื่อง ‘Time Skip’ กระโดดข้ามศตวรรษหลายต่อหลายครั้ง เป็นส่วนทำให้ผู้ชมสูญเสียการมีส่วนร่วม ไม่สามารถสนิทสนมชิดเชื้อตัวละครสักเท่าไหร่

I wanted Orlando to be a character who was always aware of the audience. I wanted her to be able to talk to us directly, to share her thoughts and feelings with us. I also wanted to challenge the audience’s expectations of what a film can be. I wanted to show that a film can be more than just a passive experience. It can be an active one, where the audience is invited to participate in the story.

Sally Potter

เรื่องราวในยุคสมัย Elizabethan Era (1558–1603) เน้นขายความเว่อวังอลังการ ตั้งแต่พิธีเห่เรือ (พร้อมขับขานบทเพลง Eliza Is the Fairest Queen) เสื้อผ้าหน้าผม แต่งองค์ทรงเครื่อง สิ่งข้าวของต่างๆล้วนมีความเหลืองทองอร่าม เพื่อแสดงถึงยุคสมัย “The Golden Age of England” กล้องถ่ายภาพแบบ ‘traditional style’ บันทึกภาพระยะไกล แทบไม่มีขยับเคลื่อนไหว มุมกล้องตรงไปตรงมา คมชัดทุกรายละเอียด

รักแรกพบของ Orlando กับ Princess Sasha ท่ามกลางฤดูหนาวเหน็บ หิมะขาวโพลน จนทำให้แม่น้ำ Thames กลายเป็นน้ำแข็ง แต่พายุรักของเธอก็เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เพราะเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูง น้ำแข็งละลาย (นำเสนอภาพพื้นน้ำแข็งแตกแยกอย่างตรงไปตรงมา) ทั้งสองก็จำต้องพลัดพรากจากกัน … ชั่วนิรันดร์

เกร็ด: เท่าที่ผมหาข้อมูลได้ ปรากฎการณ์ Great Frost ที่ทำให้แม่น้ำ Thames กลายเป็นน้ำแข็ง (มีคำเรียกว่า River Thames frost fairs) เคยเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1608 ไม่ใช่ปี ค.ศ. 1610)

ผมครุ่นคิดว่าผู้แต่ง Woolf น่าจะต้องการเชื่อมโยง Poetry เข้ากับยุคสมัยของ William Shakespeare (1564-1616) แต่ผกก. Potter กลับเลือกช่วงเวลา ค.ศ. 1950 ระหว่าง Caroline Era (1625–49) แม้จะคือยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปะและวิทยาศาสตร์ แต่ในแง่บทกวี/วรรณกรรม ยังไงก็ไม่ยิ่งใหญ่เทียบเท่ายุคทองของ Shakespeare

สังเกตพฤติกรรมของนักกวี Nick Greene (รับบทโดย Heathcote Williams) นั่งบนโต๊ะอาหารห่างไกลจาก Orlando น่าจะสะท้อนความแตกต่างระหว่างชนชั้นทางสังคม (Orlando คือขุนนาง/ผู้ดีอังกฤษ, นักกวีมักมาจากชนชั้นกลาง/ล่าง) อีกทั้งคำพูดเสียดสี แดกดัน อ่านบทประพันธ์ของอีกฝ่ายแล้วแต่งข้อความประชดประชัน (นี่สามารถล้อกับความตั้งใจของผู้แต่ง Woolf ถึงจุดประสงค์แท้จริงของนวนิยายเล่มนี้ ที่ต้องการ ‘satire’ แฟนสาวชู้รัก Sackville-West) สร้างความเดือดดาลให้ Orlando (กองไฟด้านหลังสามารถสื่อถึงความลุ่มร้อนทรวงใน) แต่ก็ไม่ได้แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆออกมา (ยุคสมัยนั้นนักเขียน/นักกวี ชื่นชอบการเสียดสีล้อเลียนพวกขุนนาง ชนชั้นสูง เป็นนิจอยู่แล้ว!)

ทำไมต้องเดินทางไปไกลถึง Constantinople? ถ้าด้วยเหตุผลของผู้แต่งนวนิยาย Woolf คือสถานที่ที่แฟนสาวชู้รัก Sackville-West เคยอาศัยใช้ชีวิตหลังแต่งงานกับสามีนักการทูต (ก็เลยให้ตัวละคร Orlando เป็นนักการทูตด้วยเลย) จนกระทั่งตั้งครรภ์บุตรคนแรกจึงเดินทางกลับอังกฤษ

ถ้าครุ่นคิดในเชิงสัญลักษณ์ Constantinople ถือเป็นดินแดนสุดปลายขอบยุโรป เชื่อมต่อกับทวีปเอเชีย จึงทำให้มีวัฒนธรรมที่เกิดจากผสมผสานระหว่างสองทวีป ซึ่งการที่ Orlando อาศัยใช้ชีวิตอยู่ยังสถานที่แห่งนี้ ทำให้ซึมซับรับสิ่งใหม่ๆ พานผ่านประสบการณ์เฉียดเป็น-เฉียดตาย ทำให้การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (Metamorphoses) สลับเพศสรีระจากชายเป็นหญิง ได้กระมัง

อีกหนึ่งเหตุผลของการที่ Orlando ถูกส่งมาเป็นนักการทูตยัง Constantinople ผ่านคำบอกเล่าของท่านข่าน (เรื่องราวนี้ไม่มีในนวนิยาย เป็นส่วนที่ผกก. Potter เพิ่มเติมเข้ามา)

It has been said to me that the English make a habit of collecting … countries.

ลัทธิอาณานิคม (Colonialism) ไม่แตกต่างจากสังคมชายเป็นใหญ่ ต้องการครอบครองดินแดนทุรกันดารห่างไกล ถูกตีตราว่าไร้อารยธรรม อ้างว่าเพื่อนำพาความศิวิไลซ์เข้าไปเผยแพร่ แต่แท้จริงแล้วคือกอบโกยทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ส่วนตน

อย่างภาพสองช็อตนี้ระหว่างการแต่งตั้ง Orlando ให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำ Constantinople มีการถ่ายภาพมุมก้ม-เงย ตำแหน่งสูง-ต่ำ ชัดเจนถึงจุดประสงค์ต้องการควบคุมครอบงำ (ยุคสมัยนั้นยัง)ไร้ซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม

การสลับเพศของ Orlando คือลักษณะของ ‘thought-provoking’ ท้าทายวิธีคิด ขนบกฎกรอบ โครงสร้างทางสังคมที่กำหนดโดยเพศสรีระ บุรุษร่างกายแข็งแกร่งคือผู้นำ สตรีอ่อนแอเป็นช้างเท้าหลัง แต่ในโลกยุคสมัยใหม่ (Modern Era) รูปลักษณ์ทางกายภาพเหล่านั้น หาใช่สิ่งสลักสำคัญอีกต่อไป

The gender swap in Orlando is a way of challenging traditional notions of gender. I believe that the film shows how gender is a social construct, and how it can be used to oppress and limit people.

Sally Potter

ผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายมากๆที่ผกก. Potter ตั้งทิ้งซีเควนซ์การเดินทางกลับอังกฤษของ Orlando เพียงนำเสนอภาพขบวนชาวยิปซี ช็อตนี้ช็อตเดียวเท่านั้น! เท่าที่อ่านเรื่องย่อนวนิยาย ช่วงเวลาที่เธอได้อาศัยเดินทางกับชาว Romani จะมีการซึมซับแนวคิด วิถีชีวิต ความหมายของอิสรภาพ (รวมถึงเครื่องแต่งกาย ใส่ได้ทั้งชาย-หญิง) ติดตัวกลับบ้านไปด้วย

(Sackville-West มีความชื่นชอบวิถีของชาวยิปซีอย่างมากๆ โอบรับแนวคิด วิถีชีวิต เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย แต่กลับปฏิเสธทอดทิ้งความสุขสบายสไตล์ผู้ดีอังกฤษ เพราะไม่อยากเตร็ดเตร่เร่ร่อน ดิ้นรนเอาตัวรอดไปวันๆ)

เรื่องราวในยุคสมัย Georgian Era (1714–1837) อาจจะไม่ดูอลังการเทียบเท่า Elizabethan Era (1558–1603) แต่เครื่องแต่งกาย กระโปรงสุ่ม วิกผม แต่งหน้าขาวโพลน สามารถสื่อถึงภาพความจอมปลอม กลับกลอก หลอกลวง สวยแต่รูปจูบไม่หอม สะท้อนความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะของสังคม (Society) รวมถึงวิกฤตของบุรุษเพศที่ใกล้จะสูญเสียอำนาจการควบคุม (จึงเร่งรีบเหลือเกินที่จะคุกเข่าสู่ขอแต่งงาน Orlando)

Orlando วิ่งหลบหนีการแต่งงานเข้าไปในเขาวงกต สถานที่แห่งความวกวน สับสน ไม่แน่นอน ซึ่งเธอต้องทดลองผิดลองถูก พยายามมองหาหนทางออก ค้นพบเป้าหมายปลายทาง ความต้องการ(อัตลักษณ์ทางเพศ)ของตนเอง

The maze is a metaphor for the journey of life. It’s a place of confusion and uncertainty, and Orlando must find her way through it in order to find herself. The maze is also a metaphor for the creative process. It’s a journey of trial and error, and we must find our way through the confusion in order to find our inspiration.

Sally Potter

Victorian Era (1837–1901) คือยุคสมัยแห่งความรัก! จุดเริ่มต้นจาก Queen Victoria (1819-1901) ทรงเป็นต้นแบบการแต่งงานกับคู่ชีวิต Prince Albert ที่พระองค์ทรงตกหลุมรัก ทั้งยังประสงค์ให้พระโอรสและธิดาเลือกคู่สมรสด้วยตนเอง ไม่ใช่ถูกจับคู่ คลุมถุงชน เพื่อผลประโยชน์ของใครบางคน และไม่สนความแตกต่างอะไรใดๆ

นั่นเองคือจุดกำเนิดเรื่องราวความรักระหว่าง Orlando กับ Shelmerdine แต่แม้จะเป็นความสัมพันธ์ชาย-หญิง เรายังสามารถเปรียบเทียบถึงผู้แต่ง Woolf กับแฟนสาวชู้รัก Sackville-West (เพราะเรื่องชายๆหญิงๆ มันจบสิ้นลงตั้งแต่ตัวละครสลับเปลี่ยนสรีระทางเพศ หมายความว่าพวกเขาทั้งสองสามารถเป็นเพศอะไรก็ได้ทั้งนั้น)

กระโดดข้ามมาโลกยุคสมัยใหม่ (Modern Era) ค.ศ. 1992 พบเห็นตึกสูงใหญ่ สถาปัตยกรรมแห่งอนาคต กล้องถ่ายมุมเงยเห็นท้องฟากฟ้า พาบุตรสาวมาขับรถเล่น (ในนวนิยายจะเป็นบุตรชาย) ท่องเที่ยวปราสาทหลังเก่า ถูกคลุมด้วยผ้าขาวโพลน คาดว่าน่าจะได้รับการอนุรักษ์ กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ พบเห็นรูปภาพวาดเมื่อครั้นยังหนุ่มแน่นของ Orlando ทุกสิ่งอย่างหลงเหลือเพียงประวัติศาสตร์

แซว: นักแสดงที่รับบทบรรณาธิการสำนักพิมพ์คือ Heathcote Williams บุคคลเดียวกับที่แสดงเป็นนักกวี Nick Greene ครั้งนั้นเคยพูดจาเสียดสีถากถาง แต่งบทกลอนประชดประชัน Orlando มาปัจจุบันสามารถยินยอมรับ กล่าวชื่นชมนวนิยาย(ตั้งชื่อว่า The Oak Tree)

บุตรสาวของ Orlando ระหว่างทำการถ่ายวีดิโอ Handycam พบเห็นกล้องส่ายไปส่ายมา นั่นคือลักษณะของ ‘unchained camera’ ไร้ซึ่งพันธนาการเหนี่ยวรั้ง แล้วจู่ๆบันทึกภาพเทวดากำลังโบยบินบนท้องฟากฟ้า นัยยะถึงอิสรภาพแห่งชีวิต ราวกับว่าสถานที่แห่งนี้คือสรวงสวรรค์ (โลกยุคสมัยใหม่ (Modern Era) ที่หญิงสาวได้รับอิสรภาพทางเพศ ไม่ถูกควบคุมครอบงำโดยบุรุษอีกต่อไป มันช่างเหมือนดินแดนแห่งอุดมคติ สู่ความเป็นไปได้ไม่รู้จบสิ้น!)

I wanted to end the film with Orlando riding off into the sunset, free to be who she wants to be and entering a new world of possibilities. I wanted to suggest that change is inevitable and that it can be a positive thing. It is up to each individual to embrace change and to create their own future.

Sally Potter

ช็อตสุดท้ายของหนัง จับจ้องใบหน้า Orlando ระยะประชิดใกล้ โดยสายตาจะค่อยๆเคลื่อนลงมา (หลังจากจับจ้องมองเทวดาบนท้องฟากฟ้า) สบตาหน้ากล้อง “Breaking the Fourth Wall” นัยยะขณะนี้ไม่ใช่การหยอกล้อเล่นกับผู้ชม แต่เพื่อจะสื่อว่าคุณก็สามารถเป็นแบบเขา/เธอ มีอิสรภาพทางเพศ ดำเนินชีวิตโดยไม่ถูกควบคุมครอบงำโดยสิ่งใด

ตัดต่อโดย Hervé Schneid (เกิดปี 1956) สัญชาติฝรั่งเศส ขาประจำผู้กำกับ Jean-Pierre Jeunet ตั้งแต่ Delicatessen (1991), The City of Lost Children (1995), Amélie (2001), ผลงานอื่นๆ อาทิ Europa (1991), Orlando (1992), Alien: Resurrection (1997) ฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Orlando ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1600 พานผ่านช่วงเวลาต่างๆมาจนถึงปัจจุบัน(นั้น) ค.ศ. 1992 ซึ่งจะมีการ ‘Time Skip’ ก้าวกระโดดไปข้างหน้าบ่อยครั้ง โดยมักปรากฎข้อความตามด้วยชื่อตอน เพื่อบอกว่าเรื่องราวขณะนี้อยู่ศตวรรษไหน กำลังจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรบังเกิดขึ้น

  • ค.ศ. 1600 (Death)
    • การมาถึงของ Queen Elizabeth I กล่าวคำสาปให้พรแก่ Orlando ให้อายุมั่นขวัญยืน ไม่แก่ไม่เฒ่า
  • ค.ศ. 1610 (Love) ช่วงเวลาฤดูหนาวอันยาวนาน (Great Forst)
    • Orlando ตกหลุมรักแรกพบ Princess Sasha พยายามเกี้ยวพาราสี โน้มน้าวให้มาอาศัยอยู่ร่วม แต่เมื่อน้ำแข็งละลาย ทั้งสองก็จำต้องพลัดพรากจากกัน
  • ค.ศ. 1650 (Poetry)
    • Orlando ค้นพบความชื่นชอบในบทกวี ติดต่อหานักกวี Nick Greene แต่กลับถูกล่อหลอก พร้อมถ้อยคำเสียดสีถากถาง
  • ค.ศ. 1700 (Politics)
    • Orlando กลายเป็นนักการทูต เดินทางไปประจำการอยู่ยัง Constantinople ขณะนั้นคือ Ottoman Empire ขณะนั้นเกิดเหตุการณ์สงคราม ได้รับประสบการณ์เฉียดตาย
    • แล้วจู่ๆ Orlando สลับเพศชายเป็นหญิง ก่อนตัดสินใจเดินกลับอังกฤษ
  • ค.ศ. 1750 (Society)
    • Orlando ถูกศาลปฏิเสธความเป็นเจ้าของปราสาท (เพราะไม่เชื่อว่ามนุษย์จะอายุยืนหลายร้อยปี รวมถึงกฎหมายไม่อนุญาตให้เพศหญิงสืบทอดมรดกตระกูล)
    • ถูกสู่ขอแต่งงานโดยชายไม่ได้รัก เลยวิ่งหลบหนีเข้าสู่เขาวงกต
  • ค.ศ. 1850 (Sex)
    • เมื่อออกจากเขาวงกต พบเจอชายหนุ่ม Shelmerdine เคลิบเคลิ้มในคารม ยินยอมร่วมเพศสัมพันธ์ แต่พวกเขาก็มิอาจอยู่เคียงข้างกัน
    • Orlando ก้าวออกเดินพานผ่านสงครามโลก
  • ค.ศ. 1992 (Birth)
    • มาจนถึงปัจจุบัน Orlando ยังสำนักพิมพ์ เพื่อตีพิมพ์นวนิยายเล่มใหม่
    • พาบุตรสาวมาเดินเล่นหน้าปราสาทหลังเก่า ขณะนั้นกลายเป็นสถานที่สาธารณะ

ช่วงระหว่างที่มีการ ‘Time Skip’ ก้าวกระโดดข้ามศตวรรษ มันจะมีเหตุการณ์อย่างนอนหลับ, ก้าวเดิน, ออกวิ่ง ฯ เพื่อสร้างสัมผัสของกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน ซึ่งหลังจาก ค.ศ. 1850 จะไม่มีข้อความปรากฎเลขปีอีกต่อไป แต่ผู้ชมสามารถคาดเดาได้ไม่จากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ก้าวผ่านสงครามโลกครั้ง และขับขี่รถมอเตอร์ไซด์มาถึงปัจจุบัน

เกร็ด: ต้นฉบับนวนิยาย Orlando: A Biography เรื่องราวเริ่มต้น ค.ศ. 1586 และสิ้นสุดลง ค.ศ. 1928 (ปีที่นวนิยายตีพิมพ์)

การดำเนินเรื่องแทบไม่คำอธิบายใดๆ เพียงใช้ ‘visual image’ ให้อิสระผู้ชมในการครุ่นคิดตีความ มองผิวเผินก็ดูน่าสนใจ แต่กลับมีความเชื่องช้าน่าหลับ หลายเหตุการณ์ไม่ได้น่าสนใจ หรือแฝงนัยยะอะไรลุ่มลึกล้ำ เพียงความซับซ้อนที่เมื่อพยายามครุ่นคิดหาคำตอบ รู้สึกเหมือนมันยังไม่เพียงพอ ยังไม่ได้รับการเติมเต็ม ยังมีอีกหลายๆสิ่งขาดหาย


ในส่วนของเพลงประกอบ มีทั้งที่เป็นบทเพลงคลาสสิกของ Handel: Where’er You Walk, และ Original Soundtrack สไตล์ Baroque, Romantic, Jazz, Electronic โดยผกก. Potter ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับนักแต่งเพลง David Motion จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อสร้างบรรยากาศ หรือสะท้อนเข้ากับยุคสมัยต่างๆ แต่ต้องการให้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว ขัดแย้งภาพพบเห็น แทนคำอธิบายสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจตัวละคร และมอบสัมผัสไร้กาลเวลา (Timelessness)

The music is an integral part of the storytelling. It’s not just there to fill in the gaps. It’s there to help us understand the characters and the world they inhabit.

I wanted the music to be a kind of counterpoint to the visuals. I wanted the music to be a kind of sonic echo chamber for the film’s themes. I wanted it to reflect the inner life of the characters and to create a sense of the film’s timelessness.

Sally Potter

บทเพลงแรกของหนังแม้ตั้งชื่อว่า Eliza (สื่อถึง Queen Elizabeth I) แต่ผมครุ่นคิดว่าสามารถเทียบแทน Main Theme ท่วงทำนองมีความเคลิบเคลิ้ม ล่องลอย เหมือนฝัน ขณะเดียวกันก็เหมือนหมอกควัน ขมุกขมัว สามารถสื่อถึงความคลุมเคลือในอัตลักษณ์ทางเพศของตัวละคร Orlando และสถานที่ที่เขา/เธอ ปรากฎตัวตอนต้น-ท้ายของหนัง ดูราวกับสรวงสวรรค์ สถานที่แห่งความเพ้อฝัน

Eliza Is the Fairest Queen แต่งโดย Edward Johnson (1572-1601) บทกวีสรรเสริญพระราชินี Queen Elizabeth I เห็นว่าตีพิมพ์ ค.ศ. 1603 ภายหลังจากการสวรรคต เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จในรัชสมัยของพระองค์, ฉบับที่ใช้ในหนังขับร้องโดย Jimmy Somerville แต่ผมหามาให้รับฟังไม่ได้ เลยนำเอาคลิปของ The Gentlemen of the Chapel Royal มาให้รับฟังแทน

Eliza is the fairest Queen
That ever trod upon the green
Eliza’s eyes are blessed stars
Inducing peace, subduing wars
O blessed be each day and hour
Where sweet Eliza builds her bower

Eliza’s hand is crystal bright
Her words are balm, her looks are light
Eliza’s breast is that fair hill
Where virtue dwells, and sacred skill
O blessed be each day and hour
Where sweet Eliza builds her bower

Pavanne คือการเต้นรำแบบขบวน จังหวะช้าๆ (Slow Tempo) ก้าวย่างมั่นคง (Stately Steps) คู่เต้นชาย-หญิงสลับกันไปมา คาดว่ามีจุดกำเนิดจากประเทศ Italy ก่อนแพร่หลายไปทั่วยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 ได้รับความนิยมอย่างมากในกิจกรรมเฉลิมฉลองของเชื้อพระวงศ์ ชนชั้นสูง

The King’s Tulips ได้ยินบทเพลงลักษณะนี้ทีไร ทำให้ผมระลึกถึง Michael Nyman ขึ้นมาทันที! มันช่างเป็นดนตรีสไตล์ Baroque ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในหนังดังขึ้นระหว่าง Orlando ตัดสินใจเป็นนักการทูต ตระเตรียมตัวออกเดินทางมุ่งสู่ Constantinople ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการผจญภัยก็ว่าได้กระมัง

A Change of Sex คือเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ บทเพลงใช้เสียงขับร้องของหญิงสาว เดี๋ยวดังเดี๋ยวหยุด สะท้อน-ซ้อน-กึกก้อง สลับไปสลับมา เหมือนการสลับเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางเพศของตัวละคร (ผมรู้สึกว่าในหนังจะมีการใส่ ‘Sound Effect’ เพื่อเพิ่มสัมผัสวาบหวิว สั่นสยิวกาย ให้มีความเหนือจริงยิ่งๆขึ้นอีก)

หลังจากหญิงสาว Orlando บอกปฏิเสธการแต่งงาน ถกกระโปรงสุ่ม วิ่งเข้าไปในเขาวงกต The Maze บทเพลงจากใช้ฮาร์ปซิคอร์ดประสานไวโอลิน ค่อยๆพัฒนากลายมาเป็นเปียโนประสานออร์เคสตร้า คือสัญลักษณ์ของวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหญิงสาวจากเคยสวมใส่ชุดสีสว่างกลายมาเป็นชุดดำ กาลเวลาก็เคลื่อนพานผ่านไปยังอีกศตวรรษ (จาก ค.ศ. 1750 กระโดดมายัง ค.ศ. 1850)

ฮาร์ปซิคอร์ด (Harpsichord) เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments) พัฒนาจากพิณและกีตาร์ มีเสียงแหลมที่ฟังแล้วหยาบกระด้าง ได้รับความนิยมในยุคสมัย Renaissance และ Baroque จนกระทั่งการมาถึงของเปียโน (Piano) ในช่วงศตวรรษที่ 18th ด้วยเสียงที่มีความนุ่มนวล สามารถควบคุมน้ำหนักดัง-ค่อย รวมถึงระดับความกึกก้อง-หยาบกระด้าง ซึ่งสร้างมิติให้กับบทเพลงได้มากกว่า ในไม่ช้าจึงถูกแทนที่ แพร่หลายในวงกว้าง

On the Road บทเพลงที่ถือเป็นตัวแทนโลกยุคสมัยใหม่ (Modern Era) ด้วยการใช้เครื่องดนตรี Electronic แทนการเดินทาง ผจญภัย ท่วงทำนองมีความน่าตื่นเต้น และดูเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ เพราะอนาคตคือสิ่งที่ไม่มีใครสามารถคาดเดา ว่ามันอะไรจะบังเกิดอะไรต่อไป

ทิ้งท้ายกับ Closing Song ชื่อว่า Coming แต่งโดย David Motion & Sally Potter, ขับร้องโดย Jimmy Somerville, คำร้องถือว่าสปอยเนื้อหาตอนจบของหนัง “Yes at last, at last, at last I’m free!” สื่อถึงอิสรภาพของ Orlando ในโลกยุคสมัยใหม่ (Modern Era) ไม่มีสิ่งใดพันธนาการเหนี่ยวรั้งเขา/เธออีกต่อไป

ธรรมชาติวิวัฒนาการให้มนุษย์แบ่งออกเป็นเพศสรีระชาย-หญิง (ไม่นับรวมความผิดปกติอื่นๆ) ที่มีความแตกต่าง ตรงกันข้าม เพื่อสามารถพึ่งพาอาศัย เติมเต็มกันและกัน ให้กำเนิดทายาทสืบพงศ์เผ่าพันธุ์ ตอบสนองสันชาตญาณเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิต เพื่อไม่ให้สปีชีส์ของตนเองต้องสิ้นสูญพันธุ์

แต่วิวัฒนาการมนุษย์ไม่จบสิ้นลงแค่ลักษณะทางกายภาพ/ชีวภาพ แต่คือมันสมองที่มีความเฉลียวฉลาด สามารถครุ่นคิด-จดจำ ทำให้เมื่อถึงจุดๆหนึ่งเกิดความตระหนักว่าอัตลักษณ์ทางเพศ ไม่ได้มีความจำเพาะเจาะจงแค่ชาย-หญิง แต่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของจิตใจ โดยไม่จำเป็นต้องตรงกับเพศกำเนิดของตัวเอง

I wanted to make a film that would make people think about gender, identity, and the nature of time.

Sally Potter

Orlando (1992) เป็นภาพยนตร์ที่ชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดถึงเพศสภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ในแต่ละยุคละสมัยให้ความสำคัญกับชาย-หญิง แตกต่างกันออกไป

  • Elizabethan Era (1558–1603), Jacobean Era (1603–25), Caroline Era (1625–49), Restoration Era (1660–1714), Georgian Era (1714–1837) ล้วนคือยุคสมัยที่ชายเป็นใหญ่ ได้รับอภิสิทธิ์ต่างๆมากมาย ส่วนสตรีไม่ต่างจากวัตถุทางเพศ ถูกควบคุมครอบงำโดยบุรุษ แต่งงานตามวิทยฐานะทางสังคม ไม่ต่างจากนกในกรง ไร้ซึ่งอิสรภาพชีวิต
  • Victorian Era (1837–1901) เป็นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะแนวคิดการสร้างครอบครัวกอปรด้วยสามี-ภรรยาเป็นคู่ชีวิต (Companionate Marriage) แทนที่การแต่งงานเพื่อความเหมาะสม หญิงสาวสามารถเลือกคู่ครองของตัวเอง ไม่ใช่นกในกรงอีกต่อไป
  • Modern Era (ค.ศ. 1992) กำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยสตรีนิยม (Feminine) ผู้หญิงได้รับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมบุรุษ สามารถครุ่นคิดทำอะไรก็ได้ตามใจ อยากโสด อยากแต่งงาน มีความรักกับเพศไหน ไม่มีใครบีบบังคับ ถูกควบคุมครอบงำอีกต่อไป

ความตั้งใจดั้งเดิมของผู้แต่งนวนิยาย Virginia Woolf เรื่องราวของ Orlando: A Biography คือกึ่งๆอัตชีวประวัติของชู้รัก Vita Sackville-West เล่าผ่านกาลเวลาพานผ่านสามศตวรรษ

  • ยุคสมัย Elizabethan Era (1558–1603) สะท้อนชาติกำเนิดของ Sackville-West ในตระกูลผู้ดีอังกฤษ
  • Jacobean Era (1603–25) ตกหลุมรักแรก Rosamund Grosvenor แต่ไม่เคยได้สมหวัง
  • Caroline Era (1625–49) ค้นพบความสนใจในบทกวี งานเขียน
  • Restoration Era (1660–1714) เมื่อครั้น Sackville-West เคยอาศัยอยู่ยัง Constantinople แล้วสลับเพศจากการถูกสาปโดยชาวยิปซี (Romani)
  • Georgian Era (1714–1837) น่าจะสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง Sackville-West กับสามี Harold Nicholson แม้ในชีวิตจริงพวกเขาจะแต่งงานครองคู่ แต่นั่นเป็นไปตามครรลองของสังคม
  • Victorian Era (1837–1901) น่าจะสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง Sackville-West และ Woolf ที่ต่างมอบความรักอย่างเท่าเทียม เป็นพละพลัง กำลังใจให้กัน (แม้เพศของตัวละครขณะนี้จะคือชาย-หญิง แต่เราไม่จำเป็นต้องไปยึดติดเพศสภาพของพวกเขานะครับ)
  • Sackville-West ตั้งครรภ์บุตรชาย(กับสามี Harold Nicholson) ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จึงเดินทางกลับเกาะอังกฤษ
  • นวนิยายจบลงปี ค.ศ. 1929 นำเสนอการแต่งงานระหว่าง Orlando กับ Shelmerdine ซึ่งก็คงคือความเพ้อฝันของ Woolf อยากครองคู่รักกับ Sackville-West โดยไม่สนว่าใครเพศอะไร

การสลับเพศในนวนิยายของ Woolf เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสัณฐาน (Metamorphoses) ของตัวละคร Orlando จากเคยเป็นนักกวี ชายคนรัก นักการทูต มาจนสตรีเพศ ซึ่งสามารถสื่อถึง Sackville-West คือบุคคลที่สามารถเป็นอะไรก็ได้ ทำอะไรก็ได้ เพศอะไรก็ได้ ไม่จำกัดว่าต้องชายหรือหญิง

Orlando is a biography in which every incident is significant. The change of sex is only one of the many metamorphoses which the hero undergoes. He is a poet, a courtier, a soldier, a diplomatist, a lover, a writer. He is also a woman, and it is in this change of sex that the book finds its climax.

Virginia Woolf

นัยยะการสลับเพศในนวนิยาย คือการค้นพบอัตลักษณ์(ทางเพศ) ตัวตน ความต้องการแท้จริงของ Orlando ซึ่งสะท้อนเข้ากับวิวัฒนาการทางสังคมที่ปรับเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ไม่ใช่เกิดจาก ‘male crisis’ แบบที่ภาพยนตร์พยายามนำเสนอ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการล่มสลายของวิถีชายเป็นใหญ่ … ผมรู้สึกว่าการนำเสนอของหนังออกไปทางยัดเยียด จู่ๆก็มาถึงฉากสลับเพศชาย-หญิงแบบงงๆ ไม่ค่อยสมเหตุสมผล ไม่มีคำอธิบายอะไรใดๆ (ก่อนหน้านี้สารพัดจะอธิบายต่างๆนานา) แถม Swinton ยังทำหน้าเหลอหลา ไม่ยี่หร่า ไม่มีอารมณ์ร่วม “Same person. No difference at all. Just a different sex”. อิหยังว่ะ???

I think the gender swap in Orlando is a way of reimagining masculinity. It’s a way of opening up new possibilities for men. It can be seen as a metaphor for the fluidity of identity, the social construction of gender, and the ‘male crisis’ of the 20th century.

Sally Potter

ความตั้งใจของผกก. Potter ถือว่าแตกต่างจากผู้แต่ง Woolf อยู่พอสมควร! นั่นเพราะช่วงปีที่สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ค.ศ. 1992 แนวคิด Feminist ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีสังคมยุคสมัยใหม่ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องปกปิด ซุกซ่อนเร้น แต่ประเทศอังกฤษช่วงทศวรรษนั้น นายกรัฐมนตรี Margaret Thatcher กลับมีการออกกฎหมาย Local Government Act 1988 หัวข้อ Section 28 กล่าวห้ามการพูดถึงประเด็นรักร่วมเพศในที่สาธารณะ

A local authority shall not intentionally promote homosexuality or publish material with the intention of promoting homosexuality.

Orlando (1992) คือหนึ่งในภาพยนตร์ที่พยายามโต้ตอบกฎหมายหัวข้อดังกล่าว โดยไม่พบเห็นความสัมพันธ์รักร่วมเพศ (Homosexual) ปรากฎอยู่สักฉากเดียว! แต่การที่ตัวละครสามารถสลับเพศชาย-หญิง (โดยผู้ชมตระหนักอยู่เสมอๆว่า Tilda Swinton คือเพศหญิง) กลับสามารถสร้างความตระหนักถึงเพศสภาพ อัตลักษณ์ทางเพศ โลกปัจจุบันวิวัฒนาการมาถึงยุคสมัยแห่งเสรีภาพ(ทางเพศ)

I wanted to make a film that would challenge Section 28 and show the world that there is nothing wrong with being gay. Orlando is a film that celebrates diversity and challenges traditional notions of gender and sexuality.

Sally Potter

เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice เสียงตอบรับจากผู้ชมถือว่าดีเยี่ยม แต่นักวิจารณ์กลับมีความก่ำๆกึ่งๆ ถึงอย่างนั้นยังสามารถคว้าสามรางวัล(ที่ไม่ค่อยสำคัญ)ติดไม้ติดมือกลับมา ประกอบด้วย

  • Golden Ciak: Best Film
  • OCIC Award
  • Elvira Notari Prize

ด้วยทุนสร้าง $4 ล้านเหรียญ แม้ทำเงินในอังกฤษเพียง $2 ล้านเหรียญ แต่ความนิยมระดับนานาชาติถือว่าดียอดเยี่ยม สหรัฐอเมริกาทำเงินได้ $5.3 ล้านเหรียญ, รวมทั่วโลกประมาณ $13 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม จนช่วงปลายปีสามารถเข้าชิง Oscar, BAFTA Awards และ European Film Award อย่างละสองสาขา

  • Academy Award
    • Best Art Direction – Set Decoration
    • Best Costume Design
  • BAFTA Award
    • Best Costume Design
    • Best Make Up Artist ** คว้ารางวัล
  • European Film Award
    • Young European Film of the Year ** คว้ารางวัล
    • European Actress of the Year (Tilda Swinton)

ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าหนังได้รับการบูรณะแล้วหรือยัง แต่พบเห็น Sony Pictures เพิ่งออก Blu-Ray คุณภาพ 4K Ultra HD อาจจะแค่สแกนฟีล์มใหม่เท่านั้นกระมัง, สามารถหารับชมออนไลน์ได้ทาง BFI Video, Amazon Prime

แม้ผมจะชื่นชอบการแสดงของ Swinton รวมถึงในส่วนโปรดักชั่นงานสร้าง เสื้อผ้าหน้าผม มีความงดงามวิจิตรศิลป์ แต่ทิศทางของผกก. Potter คลาดเคลื่อนจากนวนิยายพอสมควร พยายามยัดเยียดแนวคิด Feminist สร้างอคติบุรุษเพศ จนทำให้หนังดูขาดๆเกินๆ เล่นลีลาอะไรก็ไม่รู้เยอะเกิ้น

การที่หนังติดอันดับ 157 (ร่วม) ชาร์ท Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 ดูจากรายชื่อคนโหวต แทบทั้งหมดคือฟากฝั่งนักวิจารณ์/นักวิชาการหญิง (เกินครึ่งเป็นชาวอังกฤษ) คงเพราะพวกเธอตระหนักถึงบทบาทสตรีเพศที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย สอดคล้องเข้ากับเรื่องราวของ Orlando (1992) แต่ในแง่อิทธิพลต่อวงการภาพยนตร์ มีนักแสดง/ผู้กำกับเพียงคนเท่านั้นที่ลงคะแนนให้

แนะนำให้ไปหาอ่านนวนิยายต้นฉบับ Orlando: A Biography (1928) ของ Virginia Woolf ผมว่าน่าจะเข้าถึงเนื้อหา สาสน์สาระ จุดประสงค์แท้จริงของผู้เขียน ซึ่งมีอิทธิพลต่อ Feminist ทรงพลังและทรงคุณค่ากว่าเป็นไหนๆ

จัดเรต 13+ กับความป่วนๆของการสลับเพศชาย-หญิง

คำโปรย | การเดินทางข้ามศตวรรษของ Orlando พบเห็นความเจิดจรัสของ Tilda Swinton และออกแบบงานสร้างงดงามวิจิตรศิลป์
คุณภาพ | วิจิแต่ไร้จิตวิญญาณ
ส่วนตัว | ไม่ชอบสักเท่าไหร่

Hobson’s Choice (1954)


Hobson’s Choice (1954) British : David Lean ♥♥♥♡

บิดาร่างท้วม Charles Laughton นิสัยดื้อรั้น-ขี้เมา-เอาแต่ใจ มีบุตรสาวสามคนอยากแต่งงานออกจากบ้าน แต่กลับถูกทัดทานเพราะไม่ต้องการจ่ายสินไหมแต่งงาน เลยโดนพวกเธอเอาคืนอย่างเจ็บแสบกระสันต์ เสียดสีสภาพสังคมอังกฤษสมัยนั้นได้อย่างคันๆ, คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin

ผู้กำกับ David Lean เป็นคนเลื่องชื่อเรื่องความเจ้าชู้ประตูดิน (ใน Wikipedia เขียนว่าแต่งงานถึง 6 ครั้ง!) แต่เขากลับไม่ค่อยชอบสรรค์สร้างภาพยนตร์โรแมนติก กุ๊กกิ๊ก หวานแหวว มักต้องทำให้มีอุปสรรคขวากหนาม บางสิ่งอย่างกีดกั้นขวาง หรือความสัมพันธ์ขัดแย้งต่อวิถีทางสังคม เพื่อให้ท้ายที่สุดถ้าหนุ่ม-สาวได้ครองคู่รัก จะตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของกันและกัน … นี่ฟังดูขัดแย้งต่อความเป็นจริงมากๆเลยนะ

Hobson’s Choice (1954) เป็นผลงานที่ผมรู้สึกว่าแปลก ครั้งแรกครั้งเดียวที่ผกก. Lean กำกับหนังรอม-คอม (ก่อนหน้านี้เคยกำกับ Blithe Spirit (1945) แนวแฟนตาซี-คอมเมอดี้) พยายามผสมผสานความขบขันเข้ากับการนำเสนอภาษาภาพยนตร์ ผลลัพท์ออกมาถือว่าน่าสนใจ แต่มันมีความเป็นอังกฤษมากเกินไป … ใครเคยรับชม Ealing comedies ก็น่าจะเกิดการเปรียบเทียบอยู่ไม่น้อย

ไฮไลท์คือทีมนักแสดงตั้งแต่ Charles Laughton ชวนให้นึกถึง W.C. Fields แต่เหนือชั้นกว่าเยอะ, John Mills ทึ่มๆทื่อๆ ซื่อๆบื้อๆ แต่โคตรหล่อจากภายใน, และ Brenda de Banzie เรียกได้ว่าขุ่นแม่ Katharine Hepburn แห่งเกาะอังกฤษ ทั้งสามประชันฝีมือกันอย่างได้เข้มข้ม เฉือนคม ขำจนกลิ้งตกเก้าอี้


Sir David Lean (1908 – 1991) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Croydon, Surrey วัยเด็กเป็นคนช่างฝัน ออกจากโรงเรียนกลางคัน ช่วยเหลือบิดาทำงานบัญชี แต่ก็อดรนทนได้ไม่นานก็ออกไปดำเนินตามความฝันของตนเอง, เมื่อตอน 10 ขวบ คุณลุงมอบกล้อง Brownie Camera (เป็นชื่อเรียกกล้องสมัยก่อน ที่มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ราคาไม่แพงมาก) กลายเป็นงานอดิเรกคลั่งไคล้ เลยตัดสินใจเข้าสู่วงการภาพยนตร์, เริ่มต้นจากทำงานเด็กรับใช้ในสตูดิโอ Gaumont ยกของ เสิร์ฟชา ตอกสเลท ผู้ช่วยผู้กำกับ เลื่อนขั้นเป็นนักตัดต่อเมื่อปี ค.ศ. 1930 มีผลงานดังๆอย่าง Pygmalion (1938), 49th Parallel (1941), One of Our Aircraft Is Missing (1942), ก่อนได้รับโอกาสจาก Noël Coward ร่วมกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก In Which We Serve (1942)

ผกก. Lean สนิทสนมกับโปรดิวเซอร์/นักเขียนบท Norman Spencer มาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 30s (เมื่อครั้น Lean ยังเป็นนักตัดต่อ, Spencer เป็น Gofer ในสังกัด Denham Studios) เมื่อตอนสรรค์สร้าง In Which We Serve (1942) ยังได้รับเครดิตในฐานะผู้ช่วยผู้กำกับ (Assistant Director), หลังจากนั้นก็ร่วมงานขาประจำ ดัดแปลงวรรณกรรม Great Expectations (1946), Oliver Twist (1948), The Sound Barrier (1952) ฯลฯ ครั้งหนึ่ง Lean เล่าให้ฟังถึงความชื่นชอบละครเวทีของ Harold Brighouse (1882-1985)

David Lean: What do we want to make a little Lancashire comedy for?
Norman Spencer: I think it will be damn good.

พวกเขานำแนวคิดไปพูดคุยโปรดิวเซอร์ Alexander Korda แห่งสตูดิโอ London Films Productions เสนอแนะให้ดัดแปลงบทละครเรื่อง Hobson’s Choice เคยทำการแสดงรอบปฐมทัศน์ยัง Princess Theatre, New York วันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1915 จำนวน 135 รอบการแสดง และเคยได้รับการดัดแปลงเป็นหนังเงียบ Hobson’s Choice (1920) กำกับโดย Percy Nash

เกร็ด: Hobson’s choice ถ้าแปลตรงตัวจะหมายถึงหนทางเลือกของนาย Hobson, แต่ในความเป็นจริงนั้นนี่คือวลี/สำนวนของชาวอังกฤษ แปลว่าการไม่ตัวเลือกแม้แต่น้อย (no choice at all!), โดยจุดเริ่มต้นมาจากชายชื่อ Thomas Hobson (1545–1631) ผู้เป็นเจ้าของคอกม้าย่าน Cambridge สำหรับให้เช่าขับขี่/ขนส่งสินค้า เวลามีลูกค้ามาขอใช้บริการ เขาจะบอกให้เลือกม้าตัวที่อยู่ใกล้ประตูทางออกเท่านั้น ถ้าไม่ชอบใจก็ไม่ต้องเอา “I’ll give you a choice: take it or leave it!” … จุดประสงค์แท้จริงเพื่อสลับการใช้งาน ไม่ให้เลือกแต่ม้าตัวดีๆทำงานหนักเกินไป


พื้นหลัง ค.ศ. 1880 ณ เมือง Salford, Greater Manchester เรื่องราวของ Henry Horatio Hobson (รับบทโดย Charles Laughton) เจ้าของกิจการร้านขายรองเท้า มีบุตรสาวสามคนในวัยกำลังแต่งงาน แต่เขาไม่อยากจะจ่ายค่าสินไหม (Marriage Settlements) เลยปฏิเสธหาคู่ครองให้พวกเธอ

บุตรสาวคนโต Maggie Hobson (รับบทโดย Brenda de Banzie) ด้วยวัยย่างสามสิบใกล้จะขึ้นคาน จึงตัดสินใจหมั้นหมาย ยืนกรานจะแต่งงานกับลูกจ้าง/พนักงานทำรองเท้า Will Mossop (รับบทโดย John Mills) ที่มีทางท่าทึ่มทื่อ ซื่อบื่อ แต่ได้รับการยอมรับในฝีมือด้านการทำรองเท้า ทั้งสองจึงพากันออกมาเปิดกิจการของตนเอง

การจากไปของพี่สาวคนโต Maggie สร้างความวุ่นวายให้กับครอบครัว Hobson เพราะน้องๆทั้งสองต่างก็มีภาระหน้าที่ ไม่สามารถทำงานแทนที่พี่สาว จนเรื่องวุ่นๆบังเกิดขึ้นกับบิดา ดื่มสุรามึนเมาพลัดตกลงทางเท้า ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย บังเอิญโจกท์และทนายต่างคือแฟนหนุ่มของน้องๆทั้งสอง พี่สาว Maggie จึงครุ่นคิดแผนการตลบหลังบิดาได้อย่างแสบกระสันต์


Charles Laughton (1899 – 1962) นักแสดงร่างใหญ่ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Scarborough, North Riding of Yorkshire, โตขึ้นเข้าเรียน Royal Academy of Dramatic Art โดยมีอาจารย์ Claude Rains, เริ่มต้นแสดงละครเวที Barnes Theatre มุ่งสู่สหรัฐอเมริกาเล่น Broadways, สมทบหนังเงียบ ก้าวสู่หนังพูด The Old Dark House (1932), The Sign of the Cross (1932), The Private Life of Henry VIII (1933) ** คว้า Oscar: Best Actor, Mutiny on the Bounty (1935), The Hunchback of Notre Dame (1939), Hobson’s Choice (1954), Witness for the Prosecution (1957) ฯลฯ

รับบท Henry Horatio Hobson นิสัยดื้อรั้น-เห็นแก่ตัว-เอาแต่ใจ ชอบใช้อำนาจบาดใหญ่ พูดจาไม่ยี่หร่าอะไรใคร วันๆชอบแวะเวียนไป The Moonraker พบปะสังสรรค์เพื่อนฝูง ดื่มเหล้าจนมึนเมามาย ปล่อยกิจการร้านขายรองเท้าให้บุตรสาวทั้งสามคอยดูแล กระทั่งวันหนึ่ง Maggie ตัดสินใจหมั้นหมายกับลูกจ้าง Will Mossop สร้างความไม่พึงพอใจ ขับไล่ผลักไส ถึงขนาดสาปส่งให้กิจการล้มเหลว แต่การจากไปของบุตรสาวคนโต นำพาหายนะมาให้เขาโดยไม่รับรู้ตัว

ในตอนแรกผู้กำกับ Lean อยากได้นักแสดงขาประจำ Roger Livesey แต่เป็นเพื่อนนักเขียน Spencer เสนอแนะนำ Charles Laughton เพราะรูปลักษณ์อวบอ้วน บุคลิกชอบบงการ และที่สำคัญคือเป็นชาว Yorkshireman สามารถพูดสำเนียงท้องถิ่นอย่างไม่ผิดเพี้ยน

เกร็ด: Charles Laughton เมื่อครั้นเป็นวัยรุ่น เคยทำการแสดงบทบาท Hobson ยังโรงละครแถวบ้านเกิด Scarborough

Laughton เป็นนักแสดงที่เหมาะกับบทบาทยียวน กวนบาทา เฉียบคมในคำพูด แสดงออกทางสีหน้า ขณะเดียวกันรูปร่างอวบอ้วนทำให้ท่าทางขยับเคลื่อนไหวดูน่าขบขัน แวบแรกผมนึกถึงนักแสดงตลกชาวอเมริกัน W. C. Fields แต่ก็ตระหนักว่าระดับของทั้งสองอยู่คนละชนชั้น (Laughton มีความเป็นผู้ดีอังกฤษ, W. C. Fileds คือสถุลของชาวอเมริกัน)

แซว: ฉากเดินซวนเซไปเซมาจนตกท่อ ชวนให้นึกถึงโคตรหนังเงียบ/สไตล์คอมเมอดี้ของ Charlie Chaplin อยู่ไม่น้อยเลยนะ! (ถ้าผมจะไม่ผิด Deleted Scene ของ City Light (1930) มีฉากที่ Chaplin เดินเฉี่ยวไปเฉี่ยวมา เกือบตกท่ออยู่หลายครั้งครา)

แม้เรื่องราวมีพื้นหลัง ค.ศ. 1880 แต่ผมครุ่นคิดไปมา ตัวละครนี้มีรูปลักษณ์ละม้ายคล้ายนายกรัฐมนตรี Winston Churchill (เป็นนายกสมัยสองระหว่าง ค.ศ. 1951-55) นั่นอาจคือสิ่งที่ผู้กำกับ Lean ต้องการสะท้อนเสียดสี เปรียบเทียบถึงความคร่ำครึ หัวโบราณ เผด็จการ เห็นแก่ตัว-เอาแต่ใจ นั่นคือสไตล์การเป็นผู้นำของ Churchill ก็ว่าได้!

เกร็ด: Winston Churchill บางคนอาจยกย่องว่าวีรบุรุษที่สามารถนำพาประเทศอังกฤษพานผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ทัศนคติของชายคนนี้เอาจริงๆแทบไม่ต่างจาก Adolf Hitler เชื่อว่าคนผิวขาวยิ่งใหญ่กว่าชนชาติอื่น โดยเฉพาะกับอินเดีย “ผมเกลียดชาวอินเดีย พวกเขาเป็นพวกป่าเถื่อนที่นับถือศาสนาป่าเถื่อน ออกลูกออกหลานเหมือนกระต่าย” นอกจากนี้ยังสนับสนุนการใช้ความรุนแรง ฆาตกรสังหารหมู่ รวมถึงคือต้นเหตุทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในอินเดีย


Brenda Doreen Mignon de Banzie (1909-81) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Manchester, Lancashire เป็นบุตรของวาทยาการ/ผู้กำกับเพลง Edward Thomas de Banzie ทำให้มีความชื่นชอบด้านการขับร้องเพลง เมื่อตอนอายุ 16 มีชื่อเสียงจากเป็นนักร้องคอรัสการแสดง Du Barry Was a Lady (1942), โด่งดังจากละครเวที West End เรื่อง Venus Observed ร่วมกับ Laurence Olivier, สำหรับภาพยนตร์เริ่มจาก The Lond Dark Hall (1951), Hobson’s Choice (1954), The Man Who Knew Too Much (1956), The Entertainer (1960), The Pink Panther (1963) ฯลฯ

รับบท Maggie Hobson บุตรสาวคนโตในครอบครัว Hobson อายุย่าง 30 แต่ยังถูกบิดาเพิกเฉยใกล้จะขึ้นคาน เลยตัดสินใจมองหาคู่ครองโดยไม่สนฐานะชนชั้น ตัดสินใจเลือกลูกจ้าง Will Mossop เพราะฝีมือในการทำรองเท้าได้รับคำชื่นชม วาดฝันว่าจักร่วมเปิดกิจการร้านค้า จนสามารถยืนด้วยลำแข้งของตนเอง

แซว: แม้ตัวละครอายุ 30 ปี แต่ Brenda de Banzie ขณะนั้นอายุย่าง 44 ปี เอาจริงๆรับบทเป็นภรรยาของ Charles Laughton ก็ยังได้!

ในสังคมผู้ดีอังกฤษที่บุรุษเป็นช้างเท้าหน้า การถูกสตรีชี้นิ้วบงการคือสิ่งยากจะยินยอมรับ ตัวละครนี้ย่อมสร้างความกระอักกระอ่วนให้ผู้ชมสมัยนั้น ขณะเดียวกันก็ยังเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ ตั้งคำถามว่าทำไมหญิงสาวถึงจะมีสิทธิ์เสียง แสดงความครุ่นคิดเห็น กระทำเรื่องพรรค์นี้ไม่ได้กันเล่า?

การแสดงของ de Banzie ถือเป็นความตลกร้าย/ขำไม่ออกในยุคสมัยนั้น ทั้งความคิด-คำพูด-การกระทำ เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น หนักแน่น สีหน้าเอาจริงเอาจัง เพราะไม่ต้องการถูกควบคุมครอบงำโดยบิดา (ทนมากว่า 30 ปี) จึงวางแผนแต่งงานที่แม้ไม่ได้ด้วยรัก แต่จักทำให้เธอได้รับอิสรภาพ เป็นตัวของตนเอง และแก้เผ็ดอีกฝ่ายให้เข็ดหลากจำ … นี่ถือเป็นตัวละครหญิงเข้มแข็งแกร่งที่สุดในหนังของผกก. Lean เลยก็ว่าได้ ชวนให้นึกถึงการแสดงของ Katharine Hepburn เรื่อง Bringing Up Baby (1938)

ในมุมมองผู้ชมสมัยใหม่ การกระทำของตัวละครอาจดูไม่ค่อยน่ายกย่องนับถือสักเท่าไหร่ ยินยอมทำทุกสิ่งอย่างเพื่ออิสรภาพ แต่ใช้วิธีการควบคุมครอบงำสามี ชี้นิ้วออกคำสั่งแทบทุกสิ่งอย่าง ต่อให้อ้างว่าทำด้วยความปรารถนาดี แต่มันก็ไม่ใช่วิธีการถูกต้องเหมาะสม (ในมุมมองของคนสมัยนี้)


Sir John Mills ชื่อจริง Lewis Ernest Watts Mills (1908-2005) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ North Elmham, Norfolk ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งแต่หกขวบ หลังเรียนจบมัธยมเข้าศึกษายัง Zelia Raye’s Dancing School เริ่มจากคาบาเร่ต์ เข้าร่วมคณะการแสดงที่ออกทัวร์เอเชีย ได้รับการค้นพบโดย Noël Coward ระหว่างการแสดงที่สิงคโปร์ จนกลายเป็นหนึ่งในนักแสดงขาประจำ สำหรับภาพยนตร์เรื่องแรก The Midshipmaid (1932), พอมีชื่อเสียงกับ Born for Glory (1935), You’re in the Army Now (1937), โด่งดังกับ In Which We Serve (1942), This Happy Breed (1944), Great Expectations (1946), So Well Remembered (1947), Hobson’s Choice (1954), War and Peace (1956), Tunes of Glory (1960), Swiss Family Robinson (1960), The Family Way (1966), Ryan’s Daughter (1970) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor

รับบท Will Mossop พนักงานทำรองเท้าอยู่ชั้นใต้ดินร้าน Hobson วันหนึ่งได้รับคำชื่นชมจากลูกค้า ทำให้โชคชะตาผันแปรเปลี่ยน ถูกชักจูงจมูกโดย Maggie บีบบังคับให้แต่งงาน แล้วลาออกเพื่อร่วมเปิดกิจการร้านรองเท้า ทีแรกก็กลัวๆกล้าๆ อ้ำๆอึ้งๆ แต่จักค่อยๆบังเกิดความเชื่อมั่น กล้าทำในสิ่งที่ตนเองไม่เคยคิดฝัน

ดั้งเดิมนั้นผู้ได้รับบทบาทนี้คือ Robert Donat แต่ต้องถอนตัวไปเพราะอาการป่วยโรคหอบหืด, ผู้กำกับ Lean จึงจำต้องมองหานักแสดงคนใหม่ ก่อนจะติดต่อได้ขาประจำ John Mills

ใบหน้าตาที่ดูแสนธรรมดาของ Mills ทำให้เขามักเป็นตัวแทนชายใดๆ ‘everyman’ ชอบตีหน้าเซ่อ ทำตัวเอ๋อเหรอ สงบเสงี่ยมเจียมตน เพราะเป็นแค่คนทำรองเท้า ไม่เคยร่ำเรียนหนังสือ หรือเคยครุ่นคิดทะเยอทะยาน จึงมักถูกใครสักคนกดขี่ข่มเหง ชี้นิ้วบงการ ไม่รู้โชคดีหรือโชคร้ายกลายเป็นสามีของ Maggie Hobson แต่ก็ทำให้เขาลืมตาอ้าปาก เรียนรู้จักโลกกว้าง มีร้านขายรองเท้าของตนเอง ไต่เต้าขึ้นมาเสมอภาคเท่าเทียมกับอดีตนายจ้าง Henry Hobson

แม้บทบาทจะดูธรรมดาๆ แต่การแสดงของ Mills ถือว่าล้ำเลิศ บุคลิกภาพขั้วตรงข้ามกับ Laughton พูดน้อยแต่ต้องคอยแสดงออกทางสีหน้า ท่าทางป้ำๆเป๋อๆ ขาดความเชื่อมั่น พร่ำคำอุทาน ‘by gum!’ ถึงอย่างนั้นเมื่อได้รับการชี้แนะนำจากภรรยา ก็ค่อยๆเรียนรู้ ปรับตัวเปลี่ยนแปลง แสดงความเข้มแข็ง กลายเป็นลูกผู้ชายขึ้นมาทีละนิด


ถ่ายภาพโดย Jack Hildyard (1908-1990) ตากล้องสัญชาติอังกฤษ เข้าสู่วงการเมื่อปี ค.ศ. 1934 เริ่มจาก Focus Puller มาเป็นผู้ควบคุมกล้อง (Camera Operator) อาทิ Pygmalion (1938), ได้รับเครดิตถ่ายภาพครั้งแรก Henry V (1944), ผลงานเด่นๆ อาทิ Caesar and Cleopatra (1945), Hobson’s Choice (1954), The Bridge on the River Kwai (1957)**คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography, The Sundowners (1960), Battle of the Bulge (1965), Casino Royale (1967) ฯลฯ

แม้ส่วนใหญ่ของหนังจะเป็นการพูดคุยสนทนา ต่อล้อต่อเถียง แต่ก็เต็มไปด้วย ‘Mise-en-scène’ ที่สร้างความเพลิดเพลินให้คนช่างสังเกต พร้อมลูกเล่นเล็กๆน้อยๆพอหอมปากหอมคอ เพื่อพยายามผสมผสานความขบขันเข้ากับลีลาภาษาภาพยนตร์

ส่วนใหญ่ของหนังถ่ายทำยังสตูดิโอ Shepperton Studios ยาวนานถึง 10 สัปดาห์ แล้วออกไปยังสถานที่จริง ท้องถนนเมือง Salford, Greater Manchester ด้วยระยะเวลาเพียง 8 วัน ซึ่งถือว่าโชคดีมากๆเพราะย่านนั้นกำลังจะถูกทุบเพื่อเตรียมสร้างแฟลตในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า


ช็อตแรกและสุดท้ายของหนัง พบเห็นป้ายรองเท้าแขวนอยู่เหนือศีรษะหน้าร้าน แต่มีความแตกต่างตรงกันข้ามระหว่างกลางวัน-กลางคืน กล้องเคลื่อนถอยหลัง-เลื่อนลงแนวดิ่ง และสถานะเจ้าของ (จากเดิมคือร้าน Henry Hobson Boot Maker กลายมาเป็น Mossop & Hobson Boot Maker) แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงบังเกิดขึ้นกับสถานที่แห่งนี้

มันอาจดูสุดตรีนไปสักหน่อย! แต่เราสามารถเปรียบเทียบร้านขายรองเท้าแห่งนี้กับประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย

  • เจ้าของ/หัวหน้าครอบครัว Henry Hobson เทียบกับนายกรัฐมนตรีขณะนั้น Winston Churchill ทั้งรูปร่าง แนวคิด อุปนิสัย และมึนเมามายในอำนาจของตนเอง
  • ภายในร้านมีการแบ่งแยกชั้นบน-ล่าง สามารถเปรียบเทียบถึงสถานะทางสังคม Middle Class vs. Working Class

ซีนเล็กๆระหว่างที่บิดา Hobson กำลังจะเดินขึ้นบันได กลับต้องตั้งท่า เล่นลีลา พร้อมเสียงรัวกลอง ราวกับต้องการอวดอ้าง แสดงให้เห็นความสำคัญของตนเอง แต่ขณะเดียวกันมันช่างดูยุ่งยากลำบาก (Struggle) หรือคือการรักษาสถานะหัวหน้าครอบครัวในปัจจุบัน

ใครจะไปครุ่นคิดว่าการกลั่นแกล้งเล่นของบิดา ยกมือถือเชิงเทียนของ Maggie ทำท่าเหมือนอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ (Statue of Liberty) ซึ่งเรื่องราวต่อๆมา เธอก็จักพยายามทำทุกสิ่งอย่าง เพื่อให้ตนเองได้รับอิสรภาพ ปลดแอกจากบิดา

นี่อาจดูเป็นช็อตธรรมดาๆทั่วไป แต่รายละเอียด ‘Mise-en-scène’ คือขณะที่บิดา Hobson กำลังกล่าวถึงการเลือกคู่ครองให้บุตรสาวทั้งสองที่ยืนอยู่ฟากฝั่งหนึ่ง แต่กลับไม่ได้พูดถึงบุตรสาวคนโต Maggie ที่ยืนอยู่อีกฟากฝั่งหนึ่ง นี่เป็นการใช้ตำแหน่งแบ่งแยกสถานะของพวกเธอทั้งสาม สามสิบแล้วไม่ได้แต่งงานถือว่าขึ้นคาน (ยึดติดกับโลกทัศน์โบร่ำราณ)

การมาถึงของ Mrs Hepworth เธอคือคุณนายชนชั้นสูง (High Class) สังเกตว่าเธอสามารถอยู่ร่วมเฟรมครอบครัว Hobson ได้รับการปฏิบัติอย่างสุภาพอ่อนน้อม ตรงกันข้ามกับลูกจ้าง Will Mossop (ที่ถือเป็นตัวแทน Working Class) ไม่มีช็อตไหน(ในขณะนี้)ร่วมเฟรมเดียวกับคุณนาย Mrs Hepworth ทำได้เพียงโผล่ขึ้นมาชั้นล่าง จับจ้องมองรองเท้า และรับนามบัตรมาเท่านั้น

สถานะทางชนชั้น เป็นสิ่งที่อยู่เคียงคู่สังคมอังกฤษ(และมนุษยชาติ)มาช้านาน ต่อให้ยุคสมัยปัจจุบันที่ใครๆต่างพยายามเรียกร้องความเสมอภาคเท่าเทียม แต่มันก็ไม่เคยเป็นได้จริงในทางปฏิบัติ หนำซ้ำระยะห่าง/ความแตกต่างกลับยิ่งๆกว้างออกไป

แม่น้ำที่ทั้งสองจับจ้องมองอยู่ขณะนี้คือ River Irwell ในสวนสาธารณะ Peel Park ในอดีตเมื่อช่วงก่อนศตวรรษ 1800s ยังเคยมีสัตว์น้ำชุกชุม กระทั่งการมาถึงของปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ย่านนี้เต็มไปด้วยโรงงานปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ, ค.ศ. 1862 ถึงค่อยมีการจัดตั้ง River Conservancy Committee ออกกฎหมาย Rivers Pollution Prevention Act เมื่อปี ค.ศ. 1876 แต่มันก็สายเกินไปแล้ว

แซว: จนปัจจุบันน้ำในแม่น้ำ River Irwell ก็ยังคงสกปรก เต็มไปด้วยมลพิษ ไร้สัตว์น้ำดำรงชีวิต

ผมรู้สึกว่าซีเควนซ์ที่ Will Mossop พา Maggie แวะเวียนกลับไปหาแฟนสาว มันไม่ได้มีความจำเป็นสักเท่าไหร่ นอกเสียจากการแทรกมุก “Beware the Wrath to Come” พบเห็นระหว่างถูกขับไล่ออกมาภายนอก แล้วไม่ทันไรเขาก็ประสบเรื่องร้ายๆ (แค่โดนตบหน้า ก็ไม่ได้เลวร้ายสักเท่าไหร่)

ณ สถานที่ที่ดูเหมือนทางลาดขึ้นสู่สรวงสวรรค์ Maggie ท้าทายให้ Will จุมพิตกับตนเอง แต่เขากลับยื้อๆยักๆ กลัวๆกล้าๆ แล้วตัดสินใจเดินกลับออกมาอีกทาง ปฏิเสธโอกาสขึ้นสู่สรวงสวรรค์ ซะงั้น!

เมื่อครั้น Maggie พูดบอกกับบิดาว่ากำลังจะแต่งงานกับ Will Mossop รายละเอียด ‘Mise-en-scène’ ของซีนนี้น่าสนใจไม่น้อย เลยนำมาอธิบายให้ฟัง

  • บิดาแสดงอาการไม่พึงพอใจ พูดบอกไม่เห็นด้วย ไม่ยินยอมรับ ยืนอยู่เหนือศีรษะ Maggie พยายามจะควบคุมครอบงำ บงการโน่นนี่นั่น
  • เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง Maggie ลุกขึ้นจากเก้าอี้ ยืนระดับศีรษะเดียวกับบิดา พยายามต่อรอง ต้องการเรียกร้องข้อตกลงบางอย่าง
  • ตัดสลับฝั่งบิดา พยายามปฏิเสธรับฟังคำต่อรองของ Maggie
  • แต่หลังจากเธอจี้แทงใจดำบางอย่าง เขาทรุดนั่งลงบนเก้าอี้ รับฟังข้อเรียกร้องที่ไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่

การขึ้นจากหลุมใต้ดินของ Will Mossop ทำให้เขามีโอกาสอยู่ร่วมเฟรมเดียวกับ Mrs Hepworth ระหว่างพยายามติดต่อรองขอกู้ยืมทุนสำหรับเปิดกิจการร้านขายรองเท้า สังเกตตำแหน่งการนั่งของพวกเขา มีระยะใกล้-ไกล แบ่งแยกสถานะ(ทางสังคม)อย่างชัดเจน

  • Mrs Hepworth อยู่ประชิดใกล้กล้องมากที่สุด แสดงถึงความเป็นบุคคลมีอำนาจ ชนชั้นสูงในสังคม สามารถให้ยืมเงินสำหรับเปิดกิจการร้านขายรองเท้า
  • Will Mossop อยู่ห่างออกไปแต่นั่งหันหน้าเข้าหา สื่อถึงการเผชิญหน้า ต่อรอง บุคคลอยู่ในความสนใจ (ของ Mrs Hepworth)
  • ขณะที่ Maggie แม้อยู่ไกลสุดถัดจาก Will (สะท้อนสถานะของสตรีคือช้างเท้าหลัง) แต่เธอกลับพูดต่อรอง เป็นกระบอกเสียง ให้การสนับสนุนหลัง (แต่รู้สึกเหมือนชักใยบงการอยู่เบื้องหลังมากกว่า)
    • และถ้ามองมุมของภาพ ตำแหน่งของเธออยู่กึ่งกลางซ้าย-ขวา บุคคลเชื่อมสัมพันธ์ระหว่าง Mrs Hepworth และ Will Mossop

ร้านใหม่ของ Will Mossop ตั้งอยู่ชั้นใต้ดิน นี่คือสัญลักษณ์การเริ่มต้นจากจุดต่ำสุด จากนั้นค่อยๆไต่เต้าจนสามารถลืมตาอ้าปาก ยืนด้วยลำแข้ง ใช้หนี้คืนสิน จากดินสู่ดาว … เป็นสถานที่เหมาะแก่การก่อร่างสร้างตัว เริ่มจากศูนย์ยิ่งนัก!

บาร์ชื่อ The Moonrakers เลยไม่แปลกที่เมื่อดื่มจนมึนเมามาย จะพบเห็นพระจันทร์เต็มดวง ทั้งบนฟากฟ้า (แต่สังเกตดีๆจะมีสลิงห้อยลงมา แสดงว่าถ่ายทำในสตูดิโอ) และภาพสะท้อนแอ่งน้ำบนท้องถนน ซึ่งสามารถสื่อถึงความเย่อหยิ่ง ทะนงตน หัวสูงส่งของ Henry Hobson ครุ่นคิดว่าตนเองเหนือกว่าบุตรสาว Maggie และลูกเขย Will Mossop พูดจาดูถูก ย่ำเหยียดหยาม ไม่มีทางที่พวกเขาจะประสบความสำเร็จ เอาตัวรอดได้อย่างแน่นอน!

แต่ในความเป็นจริงแล้ว Henry Hobson เองต่างหากละที่มึนเมามายกับความสำเร็จเล็กๆน้อยๆ โดยไม่สนท้องถนนหนทางห้ามเดินผ่าน ซึ่งการพลัดตกท่อระบายน้ำ สามารถสื่อถึงความตกต่ำของชีวิต กำลังจะถูกคิดบัญชีจากลูกๆทั้งสาม (ตรงกันข้ามกับ Will Mossop ที่กำลังไต่เต้าสู่ความสำเร็จ)

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมช็อตนี้ถูกดูเหนือจริง ไม่เพียงถ่ายติดพระจันทร์ แต่ตกท่อยังไงท่านั้น แถมยัง Slow-Motion คำตอบคือหนังใช้เทคนิค Rear Projection ฉายภาพที่ถ่ายทำไว้ก่อนแล้วขึ้นฉากหลัก แล้วนักแสดงก็ทำท่าเหมือนกำลังตกท่ออยู่ด้านหน้า ใครกันจะให้นักแสดงหล่นมาจริงๆ … ซึ่งความรู้สึกเหนือจริงของช็อตนี้ ก็เพื่อให้ผู้ชมครุ่นคิดถึงนัยยะเชิงธรรมของการตกท่อ = ชีวิตที่กำลังตกต่ำของ Henry Hobson

ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าทศวรรษนั้น ผลงานของปรมาจารย์ Yasujirô Ozu เดินทางไปถึงประเทศอังกฤษแล้วหรือยัง ช็อตนี้ช่างดูละม้ายคล้ายกันมากๆ แต่นัยยะอาจแตกต่างกันพอสมควร คือการเผชิญหน้าระหว่าง Henry Hobson และคู่กรณีพร้อมทนาย (ที่ต่างเป็นแฟนหนุ่มของบุตรสาว) โดยมี Will Mossop นั่งเป็นตัวแทนอยู่กึ่งกลาง (และภรรยา Maggie บงการอยู่เบื้องหลัง)

บอกตามตรงว่าผมไม่ค่อยชอบฉากนี้สักเท่าไหร่ เพราะมันเป็นสิ่งที่ผู้ชมคาดเดาได้อยู่แล้วว่าจะมีอะไรบังเกิดขึ้น ซึ่งผู้กำกับ Lean จงใจใช้ความยื้อยัก ชักช้า เพื่อสร้างความหวาดหวั่น วิตกกังวลให้กับ Will Mossop กลัวๆกล้าๆ เพราะกำลังจะได้ใช้เวลาค่ำคืนแรกหลังแต่งงานกับภรรยา Maggie

ความยื้อยักชักช้า เมื่อไหร่จะเข้าห้องหอสักที จักทำให้ผู้ชมขบครุ่นคิดนัยยะในเชิงนามธรรม ค่ำคืนแรกของการแต่งงาน = จุดเริ่มต้นชีวิตใหม่ และเมื่อจากตื่นเช้าขึ้นมา ทุกสิ่งอย่างก็จักปรับเปลี่ยนแปลงไป

หนึ่งในภาพหลอนจากโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholic) ของ Henry Hobson คือภาพหนูตัวใหญ่ จะหมายถึงอะไรกัน? ในเมืองใหญ่ๆ หนูมักอาศัยอยู่ตามท่อระบายน้ำ บริเวณชั้นใต้ดิน หากินกับเศษขยะ อาหารเหลือทิ้ง ซึ่งสามารถสื่อถึงความตกต่ำของชีวิต/กิจการร้านค้า บางคนอาจมองว่าจิตใจที่สกปรก (เหมือนหนู) สนแต่กอบโกยกิน เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว

เนื่องจากผมขี้เกียจอธิบาย ‘Mise-en-scène’ ของทั้งซีเควนซ์ไคลน์แม็กซ์นี้ เลยตัดมาเฉพาะช่วงสำคัญๆระหว่างกำลังตั้งชื่อร้านใหม่

  • แรกเริ่ม Will ครุ่นคิดชื่อ “William Mossop, late Hobson” นั่นสร้างความไม่พึงพอใจต่อ Maggie ทำให้เธอย้ายข้างยืนจากฝั่งสามีไปเคียงข้างบิดา
  • Maggie พยายามต่อรอง “Hobson and Mossop” ระหว่างยืนเคียงข้างบิดา
  • แต่หลังจาก Will ยืนกรานว่าต้องเป็น “Mossop and Hobson” นั่นทำให้ Maggie เดินกลับหาเผชิญหน้าสามี ด้วยดวงตาหวานฉ่ำ พร้อมบทเพลงสุดแสนโรแมนติก แสดงถึงการยินยอมรับ ตกหลุมรัก ประทับใจ ในที่สุดเขาก็สามารถครุ่นคิดตัดสินใจอะไรๆด้วยตนเอง

และขอทิ้งท้ายกับปฏิกิริยาของ Henry Hobson เมื่อตกอยู่ในสภาพ Hobson’s Choice คือไม่สามารถต่อรองอะไรกับ Will Mossop ทำได้แค่เพียงงอนตุ๊บป่อง เหม่อมองออกไปนอกหน้าต่าง สงบสติอารมณ์สักพัก ก่อนยินยอมรับทุกการเปลี่ยนแปลงที่จะกำลังบังเกิดขึ้น … สำหรับคนที่มีความดื้อด้าน หัวรั้น นิสัยเอาแต่ใจ ลองให้เวลาเขาสักพัก อธิบายด้วยเหตุ แสดงให้เห็นผล เมื่อไร้หนทางเลือกลักษณะนี้ ก็จักสามารถยินยอมรับความเปลี่ยนแปลงได้เอง

ตัดต่อโดย Peter Taylor (1922-97) สัญชาติอังกฤษ ผลงานเด่นๆ อาทิ Hobson’s Choice (1954), Summertime (1955), The Bridge on the River Kwai (1957), This Sporting Life (1963), La Traviata (1983), Otello (1986) ฯลฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้ครอบครัว Hobson เป็นจุดศูนย์กลาง โดยมุมมองหลักๆจะเป็นบิดา Henry และบุตรสาวคนโต Maggie สามารถแบ่งออกเป็น …

  • กิจวัตรประจำวันของ Henry Hobson
    • กลับบ้านดึกดื่น เช้าตื่นขึ้นมาพร่ำบ่นกับลูกๆ ชี้นิ้วสั่งคนงาน จากนั้นเดินทางไป The Moonrakers ดื่มเหล้ากับผองเพื่อนจนมึนเมามาย
  • แผนการของ Maggie Hobson
    • เรียกตัว Will Mossop เล่าความต้องการ พาไปออกเดท หมั้นหมายแต่งงาน
    • หลังจากบิดารับรู้ แสดงความไม่พึงพอใจ ขับไล่ทั้งสองออกจากบ้าน
    • Maggie กู้ยืมทุนจาก Mrs Hepworth เตรียมเปิดกิจการร้านขายรองเท้าของตนเอง
  • คืนวันก่อนแต่งงาน
    • Maggie แวะเวียนกลับมาบ้าน เพื่อมอบชักชวนน้องๆมาร่วมงานแต่งงาน
    • บิดาออกไปดื่มเหล้ายัง The Moonrakers มึนเมามายจนพลัดตกท่อ
  • วันแต่งงานของ Maggie Hobson และ Will Hossop
    • ยามเช้า Maggie ทราบข่าวคราวของบิดา จึงครุ่นคิดวางแผนบางอย่าง
    • ยามบ่ายเข้าพิธิสมรสในโบสถ์, บิดาตื่นขึ้นมาถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
    • ยามค่ำเลี้ยงรับประทานอาหาร จากนั้นบิดาเดินทางมาหา ต่อรองแผนการสำเร็จ
  • การหมดทางเลือกของ Henry Hobson
    • เช้าวันหนึ่งบิดาตื่นขึ้นพบเห็นภาพหลอน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสุราเรื้อรัง
    • บิดาพยายามเรียกร้องให้บุตรสาวดูแลตนเอง แต่กลับมีเพียง Meggie และ Will Hossop ทำการต่อรองควบกิจการร้านขายรองเท้า

ผมรู้สึกว่าหนังดูเยิ่นเย้อ ยืดยาวนานไปนิด หลายๆฉากไม่ค่อยมีความจำเป็นสักเท่าไหร่ นั่นทำให้เสียงหัวเราะเหือดแห้งลงไป อย่างตอนกำลังจะเข้าห้องหอของ Will Hossop กว่าจะถอดชุด เปลี่ยนเสื้อผ้า ยื้อๆยักๆ รั้งๆรีรออยู่นั่น จริงอยู่ฉากนี้ต้องการสื่อถึงความหวาดกังวล วิตกจริต แต่มันคือสิ่งที่ผู้ชมรับรู้อยู่แล้ว มันจึงไม่ได้สร้างความรู้สึกขบขันสักเท่าไหร่

อีกฉากที่ควรเป็นไฮไลท์ของหนัง คือขณะบิดา Henry Hobson มึนเมาเหยียบเงาจันทร์ แรกๆก็ดูเพลิดเพลินดี แต่ความยื้อๆยักๆ โยกไปโยกมา กลับสร้างความเบื่อหน่ายในไม่ช้า เห็นหลุมบ่อข้างหน้าก็คาดเดาได้ว่าต้องมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น แต่ผิดกับ Slapstick Comedy ของ Charlie Chaplin ที่มีอะไรๆเกิดขึ้นมากมาย Hobson’s Choice (1954) แทบไม่มีอะไรเกิดขึ้นสักสิ่งอย่าง


เพลงประกอบโดย Sir Malcolm Henry Arnold (1921-2006) คีตกวีชาวอังกฤษ เกิดที่ Northampton, Northamptonshire ในตระกูลช่างทำรองเท้า แต่บิดาเป็นนักเปียโน ปู่ทวดคือนักแต่งเพลงชื่อดัง William Hawes, ตั้งแต่เด็กหลังเกิดความหลงใหลในทรัมเป็ตหลังจากพบเห็นการแสดงของ Louis Armstrong, ตอนอายุ 17 สอบได้ทุนศึกษาต่อ Royal College of Music (R.C.M.) ร่ำเรียนการแต่งเพลงกับ Gordon Jacob, จากนั้นเข้าร่วม London Philharmonic Orchestra (LPO) ในตำแหน่งนักทรัมเป็ต, พออายุ 30 ถึงเริ่มมาเอาจริงเอาจังด้านการแต่งเพลง มีผลงานซิมโฟนี่ ออร์เคสตร้า คอนแชร์โต, Choral Music, Chamber Music, เพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ The Sound Barrier (1952), Hobson’s Choice (1954), The Bridge on the River Kwai (1957)**คว้ารางวัล Oscar: Best Original Score

Arnold เลือกดัดแปลงบทเพลงจากอุปรากรของตนเอง The Dancing Master มาทำเป็น Main Theme ที่เมื่อใครได้ยิน (ตั้งแต่ Opening Credit) ย่อมเกิดความตระหนักว่าต้องเป็นหนังแนวคอมเมอดี้ มีความหยอกเย้า ยียวน กวนบาทา ซึ่งท่วงทำนองลักษณะนี้จักแทรกแซมอยู่ตลอดทั้งเรื่อง เพื่อสร้างรอยยิ้ม เรียกเสียงหัวเราะ ตลบอบอวลด้วยบรรยากาศผ่อนคลาย

แต่ไฮไลท์ไม่ได้เกิดจากบทเพลงที่มีท่วงทำนองสนุกสนาน ในฉากบิดา Henry Hobson กำลังมึนเมา พบเห็นดวงจันทร์ และภาพหลอนอื่นๆ ทีแรกผมนึกว่าเครื่องสังเคราะห์ Theremin กลับใช้ Musical saw หรือ Singing saw มันคือเลื่อยที่นำมาสีเหมือนไวโอลิน แล้วเกิดเสียงวาบหวิว สยิวกาย สั่นสะท้านทรวงใน (Theremin เสียงออกทุ้มๆ, Musical saw จะแหลมบาดหูกว่า)

Hobson’s Choice (1954) นำเสนอเรื่องราวที่ไม่มีทางเลือกของนาย Henry Hobson ทั้งๆเป็นหัวหน้าครอบครัว ก่อร่างสร้างกิจการร้านขายรองเท้าจนมั่นคง เลี้ยงดูแลบุตรสาวจนเติบใหญ่ แต่เพราะอุปนิสัยดื้อรั้น-เห็นแก่ตัว-เอาแต่ใจ เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน เขาจึงจำต้องยินยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่บังเกิดขึ้นกับครอบครัว

ไม่ใช่แค่ Henry Hobson ที่ไร้หนทางเลือก ลูกจ้างช่างทำรองเท้า Will Mossop ก็เฉกเช่นเดียวกัน! ถูกควบคุมครอบงำ ชี้นิ้วออกคำสั่ง ปรับเปลี่ยนจาก(หัวหน้า) Henry มาเป็น(ภรรยา) Maggie แม้ช่วงแรกๆรู้สึกไม่อยากเต็มใจ แต่ก็ค่อยๆยินยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่บังเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ผมครุ่นคิดว่ามีจุดเริ่มต้นจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของสหราชอาณาจักรเมื่อปี ค.ศ. 1952 นั่นไม่ใช่สิ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง มันเลยกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประเทศอังกฤษ สังคมที่บุรุษคือช้างเท้าหน้า แต่เมื่อประมุขของชาติคือราชินี นี่อาจเป็นยุคสมัยที่อิสตรีจักสามารถลุกขึ้นมามีสิทธิ์เสียง ความเสมอภาคเท่าเทียมแล้วกระมัง … ซึ่งมันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ

แต่หนังไม่ได้จะเปรียบเทียบ Queen Elizabeth II กับตัวละคร Maggie Hobson (Mossop) ใกล้เคียงสุดน่าจะคือ Mrs Hepworth ที่กล่าวคำชื่นชมฝีมือตัดเย็บรองเท้าของ Will Mossop และกลายเป็นอิทธิพลให้ Maggie ครุ่นคิดตัดสินใจ ลุกขึ้นมาทำบางอย่างด้วยตัวตนเอง

ขณะที่ Henry Hobson อย่างที่ผมเปรียบเปรยไปแล้วถึง Winston Churchill ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยสอง ค.ศ. 1951-55 (เป็นช่วงคาบเกี่ยว Queen Elizabeth II ขึ้นครองราชย์พอดิบดี) ปกครองประเทศอังกฤษหรือก็คือร้านขายรองเท้า Hobson (เป็นการเปรียบเทียบ เสียดสี ที่สุดตรีนแท้จริง!) ซึ่งดูคร่ำครึ ล้าหลัง ยังมีการแบ่งแยกชนชั้นบน-ล่าง สะท้อนสถานะทางสังคม Middle Class vs. Working Class

วิถีของโลกยุคสมัยใหม่ (หลังสงครามโลกครั้งที่สอง) การศึกษาสามารถสร้างโอกาสให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าเพศหญิง-ชาย ฐานะรวย-จน ชนชั้นสูง-ต่ำ ล้วนสามารถประกอบธุรกิจ เริ่มต้นกิจการ ยืนด้วยลำแข้งตนเอง โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมครอบงำของใครอีกต่อไป

การมาถึงของโลกยุคสมัยใหม่ เปรียบได้ดั่ง ‘Hobson’s Choice’ คือสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถหยุดยับยั้ง หรือเลือกไม่ให้มันเกิดการเปลี่ยนแปลง! มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องพัฒนาตัวเอง ถ้ามัวเพิกเฉยเฉื่อยชา หยุดนิ่งเฉยๆ สักวันก็อาจถูกแซงหน้า กลายเป็นหมาหัวเน่า ถูกทิ้งขว้างอยู่เบื้องหลัง … เหมือนร้านขายรองเท้า Hobson ที่ค่อยๆเสื่อมโทรมลงหลังการจากไปของ Maggie & Will Mossop กระทั่งวันหนึ่งถูกควบรวมกิจการกลายเป็น Mossop & Hobson

แม้ว่า Hobson’s Choice (1954) อาจดูไม่ค่อยมีความสัมพันธ์ผกก. Lean เพียงความชื่นชอบหลงใหล Lancashire comedy ต้องการเสียดสีวิถีชาวอังกฤษ vs. การมาถึงของโลกยุคสมัยใหม่ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นผลงานทิ้งทวน เรื่องสุดท้ายถ่ายทำในสตูดิโอ(ที่อังกฤษ) นำเสนอช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ตระเตรียมขึ้นขบวนรถไฟ มุ่งหน้าสู่เวนิสใน Summertime (1955) หลังจากนั้นก็จะออกท่องเที่ยวโลกกว้าง … นั่นคือหนทางเลือกสู่อิสรภาพ David Lean’s Choice


หนังไม่มีรายงานทุนสร้าง สามารถทำเงินในอังกฤษ £206,579 ปอนด์ ได้รับคำนิยม ‘money maker’ น่าจะแปลว่าได้กำไรพอสมควร และนอกจากคว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin ยังเข้าชิง BAFTA Award อีกหลายสาขา

  • Berlin International Film Festival
    • Golden Berlin Bear ** คว้ารางวัล
  • BAFTA Award
    • Best Film (from any source) พ่ายให้กับ The Wages of Fear (1953)
    • Best British Film ** คว้ารางวัล
    • Best British Actor (John Mills)
    • Best British Actress (Brenda de Banzie)
    • Best British Screenplay

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะโดย BFI National Archive โดยได้รับทุนจาก David Lean Foundation และ StudioCanal คุณภาพ High-Definition เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2014 (ในโอกาสครบรอบ 60 ปี) จัดทำเป็น DVD/Blu-Ray โดย Criterion Collection และ Vintage Classics

ในตอนแรกผมไม่รับรู้ว่า Hobson’s Choice (1954) คือหนังตลก แต่แค่พอได้ยินบทเพลง Opening Credit ก็สร้างความสนอกสนใจขึ้นโดยทันที ไม่เคยครุ่นคิดมาก่อนว่าผกก. Lean จะสามารถสร้างภาพยนตร์แนวนี้! แม้ผลลัพท์ยังห่างไกลความสมบูรณ์แบบ แต่ก็บังเกิดความโคตรๆประทับใจ หลายๆฉากสามารถทำให้หัวเราะท้องแข็ง ขำกลิ้งตกเก้าอี้

แนะนำคอหนังที่ชื่นชอบ ‘British Comedy’ ประเทศที่มีสไตล์เป็นเอกลักษณ์ โดดเด่นในความเฉียบคม คำพูดแดกดัน แต่ก็มีการใช้ถ้อยคำที่สระสรวยอย่างมีชั้นเชิง และมักเสียดสีความเป็นผู้ดีอังกฤษ เติมแต่งลายเซ็นต์ผกก. Lean ยิ่งสร้างความลึกล้ำ สะท้อนสภาพสังคมยุคสมัยนั้น/หลังสงครามโลกครั้งที่สอง … จะมองว่าเป็น Feminist Film ก็ได้เช่นกัน

จัดเรต pg กับถ้อยคำหยาบคาย ดื่มเหล้าจนมึนเมา

คำโปรย | Hobson’s Choice ตัวเลือกของผู้กำกับ David Lean ในการทำหนังรอม-คอม ถือว่าประสบความสำเร็จและกลายเป็นคลาสสิก
คุณภาพ | คลาสสิก
ส่วนตัว | ขำกลิ้ง

Fight Club (1999)


Fight Club (1999) hollywood : David Fincher ♥♥♥♥♥

ชมรมการต่อสู้กับตัวตนเอง เพื่อก้าวออกมาจากโลกที่เต็มไปด้วยวัตถุ สิ่งข้าวของ ระบอบทุนนิยม ล้างสบู่ในอ่างทองคำ แล้วจุดระเบิดทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง แต่ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นภายในความครุ่นคิด จิตใต้สำนึกของผู้กำกับ David Fincher เท่านั้น!

เพราะจนถึงปัจจุบัน ผู้กำกับ Fincher ยิ่งเต็มไปด้วยความหมกมุ่นครุ่นยึดติดจากอุปนิสัย ‘perfectionist’ ใส่ใจในรายละเอียดภาพยนตร์ทุกกระเบียดนิ้ว ผมว่าอาจเลวร้ายเสียยิ่งกว่าตัวละครของ Edward Norton มิอาจปล่อยละวางทางโลกได้เหมือน Brad Pitt/Tyler Durden แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองโลกทัศน์ ปฏิวัติวงการภาพยนตร์ (และ Home Video) ได้ระดับหนึ่ง

Fight Club (1999) เมื่อตอนออกฉายได้เสียงตอบรับอย่างเกรี้ยวกราด จัดเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ Most Controversial of All-Time ทั้งเรื่องการใช้ความรุนแรง, ถูกตีตรา Facism, ต่อต้านการบริโภค Anti-Consumerism, ต่อต้านระบอบทุนนิยม Anti-Capitalism, ถึงอย่างนั้นกลับเป็นที่ชื่นชอบของชาวคริสเตียนนิกาย Evangelicalism … โลกมันช่างแปลกประหลาดแท้

Fight Club is shaping up to be the most contentious mainstream Hollywood meditation on violence since Stanley Kubrick’s A Clockwork Orange.

นักวิจารณ์ Christopher Goodwin

ผู้ชมส่วนใหญ่มักมองหนังคือวิวัฒนาการของ Rebel Without a Cause (1955), The Graduate (1967) ฯลฯ ในแง่มุมความ ‘หัวขบถ’ ของวัยรุ่น Generation X ต่อต้านค่านิยมยุคสมัยแห่งการโฆษณา ชวนเชื่อ ระบอบทุนนิยม ด้วยความรุนแรงระดับเดียวกับ The Clockwork Orange (1971)

We’re designed to be hunters and we’re in a society of shopping. There’s nothing to kill anymore, there’s nothing to fight, nothing to overcome, nothing to explore. In that societal emasculation this everyman [the Narrator] is created.

David Fincher

ผมมอง Fight Club (1999) รับอิทธิพลเต็มๆจาก Persona (1966) สลับจากสองหญิงเป็นสองชาย ต่างคือบุคคลเดียวกันที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม [แอบแทรกภาพ Penis ในเสี้ยววินาทีเหมือนกันด้วยนะ] ในทางจิตวิเคราะห์ทำการเปรียบเทียบ Id vs. SuperEgo เมื่อบังเกิดความขัดแย้ง ครุ่นคิดเห็นแตกต่าง เลยทำการต่อสู้ชกต่อย ผู้ชนะจักกลายมาเป็นการแสดงออกของ Ego … ถ้าคุณสามารถนำเอาความรุนแรงมาวิเคราะห์ในเชิงสัญลักษณ์ ก็อาจค้นพบความอัศจรรย์อันเหนือล้ำของภาพยนตร์เรื่องนี้!

ในบรรดาผลงานโลกตะลึงของผู้กำกับ Fincher ผมครุ่นคิดว่า Fight Club (1999) น่าจะมีความสุดโต่ง รุนแรง สลับซับซ้อนที่สุด(จนถึงปัจจุบัน) ซึ่งนั่นทำให้หนังได้รับสถานะ Cult Following สร้างอิทธิพลจับต้องได้ โดยเฉพาะ Home Video ที่ต้องหาเก็บ กลายเป็นอีกผลงานเหนือกาลเวลาไปเรียบร้อยแล้ว


ต้นฉบับของ Fight Club มาจากนวนิยายแต่งโดย Chuck Palahniuk (เกิดปี 1962) นักข่าวชาวอเมริกัน ที่พอเบื่อหน่ายในอาชีพการงาน ออกมาเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือบุคคลไร้บ้าน พาเข้าร่วมกลุ่มที่ปรึกษา (Support Group) แต่หลังการเสียชีวิตของเพื่อนผู้ป่วยที่สนิทสนม เลยตัดสินใจยุติบทบาทดังกล่าวลง

ระหว่างทำงานอาสาสมัครนั้นเอง Palahniuk ได้มีโอกาสเข้าร่วม Workshops ของกลุ่มนักเขียนจัดโดย Tom Spanbauer เพื่อนใหม่ๆช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ทดลองเขียนนวนิยายเล่มแรก Invisible Monsters แต่ถูกปฏิเสธจากทุกสำนักพิมพ์

ครั้งหนึ่งที่ Palahniuk เดินทางไปแคมปิ้งกับเพื่อนฝูง แล้วเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทชกต่อยตีกับเต้นท์ข้างๆ (เพราะเปิดวิทยุส่งเสียงดังเกินไป) พอกลับมาทำงานในสภาพใบหน้าบวมเป่ง แต่ไม่มีใครสักคนสอบถามว่าเกิดห่าเหวอะไรขึ้น นั่นเองกลายเป็นแรงบันดาลใจพัฒนาเรื่องสั้น Pursuit of Happiness (บทที่หกของนวนิยาย) พอส่งสำนักพิมพ์ได้รับคำตอบกลับ แนะนำให้ขยับขยายกลายเป็นนวนิยาย Fight Club ตีพิมพ์ปี 1996

เกร็ด: Fight Club มีภาคสองและสามต่อด้วยนะครับ แต่เป็นลักษณะหนังสือการ์ตูน Fight Club 2: The Tranquility Gambit (2015-16) และ Fight Club 3 (2019)

ยังไม่ทันที่นวนิยายจะตีพิมพ์ แมวมอง (Book Scout) ของสตูดิโอ Fox Searchlight Pictures ก็รีบติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ มูลค่าสูงถึง $10,000 เหรียญ ในตอนแรกต้องการมอบหมาย Buck Henry ผู้เขียนบท The Graduate (1967) แต่ยังไม่ทันเริ่มงานถูกล็อบบี้ให้เปลี่ยนมาเป็น Jim Uhls นักเขียนหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ใดๆ

สำหรับผู้กำกับ แรกเริ่มมีการติดต่อ Peter Jackson แต่ขณะนั้นกำลังยุ่งวุ่นอยู่กับ The Frighteners (1996), ต่อด้วย Bryan Singer ที่ได้รับหนังสือแต่ไม่มีเวลาอ่าน, Danny Boyle แสดงความชื่นชอบแต่ก็ติดพันโปรเจคอื่น, สุดท้ายมาลงเอย David Fincher ขวยขวายอยากได้ลิขสิทธิ์มาช้านาน


David Andrew Leo Fincher (เกิดปี 1962) ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Denver, Colorado บิดาทำงานนักข่าวนิตยสาร Life, มารดาเป็นนางพยาบาลดูแลผู้ป่วยติดยา, เมื่อตอนอายุ 2 ขวบ ครอบครัวอพยพย้ายสู่ San Anselmo, California สนิทสนมกับเพื่อนข้างบ้าน George Lucas เลยเกิดความชื่นชอบหลงใหลภาพยนตร์ตั้งแต่เด็ก โตขึ้นได้เข้าทำงานในสตูดิโอของ John Korty เริ่มจากอยู่แผนก Visual Effect ทำอนิเมชั่น Twice Upon a Time (1983), ต่อมาเข้าร่วมบริษัท Industrial Light & Magic (ของ Lucas) ในฐานะผู้ช่วยตากล้อง ช่างภาพถ่ายทำ Matte Photography, พอออกจาก ILM ได้รับว่าจ้างทำโฆษณาให้ American Cancer Society จึงเริ่มเข้าตาโปรดิวเซอร์จาก Hollywood, ต่อด้วยสรรค์สร้างสารคดี The Beat of the Live Drem (1985), แล้วร่วมก่อตั้ง Propaganda Films สำหรับสรรค์สร้างหนังสั้น-โฆษณา-Music Video สะสมประสบการณ์ก่อนกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ALIEN³ (1992)

I read the book and thought, How do you make a movie out of this? It seemed kind of like The Graduate, a seminal coming of age for people who are coming of age in their thirties instead of in their late teens or early twenties.

I was in my late thirties, and I saw that book as a rallying cry. Chuck was talking about a very specific kind of anger that was engendered by a kind of malaise: ‘We’ve been inert so long, we need to sprint into our next evolution of ourselves.’ And it was easy to get swept away in just the sheer juiciness of it.

David Fincher

ผู้กำกับ Fincher พอรับรู้ว่าลิขสิทธิ์นวนิยาย Fight Club ตกอยู่ในมือสตูดิโอ Fox ก็เกิดความโล้เล้ลังเลใจ ยังขยาดจากประสบการณ์ ALIEN³ (1992) แต่หลังจากเข้าพบผู้บริหาร พูดคุยปรับความเข้าใจ คงประมาณห้ามมายุ่งย่ามในส่วนงานสร้าง ก็เลยยินยอมตอบตกลงร่วมงานกันโดยดี

การเข้ามาของ Fincher ได้ปรับเปลี่ยนแก้ไขบทหนังของ Uhls เพิ่มเติม-ตัดออกหลายๆสิ่งอย่าง โดยเฉพาะการใช้เสียงบรรยาย Narrator’s Voice แสดงความคิดเห็นว่าคือส่วนที่สามารถแทรกใส่อารมณ์ขัน และไม่ทำให้ตัวละครดู “sad and pathetic” รวมถึงการตัดทิ้งชื่อ Jack (ของ Edward Norton) กลายมาเป็นชายนิรนาม สำหรับเทียบแทนถึงบุคคลทั่วๆไป

ในช่วงการปรับปรุงบทหนัง Fincher ยังขอคำแนะนำจาก Cameron Crown, Andrew Kevin Walker (ไม่รับเครดิต) รวมถึงสองนักแสดงนำ Brad Pitt และ Edward Norton เข้ามาร่วมพูดคุย โต้ถกเถียง แสดงความคิดเห็น ปรับแก้ไขรายละเอียดต่างๆ รวมระยะเวลาเตรียมงานสร้างเกือบๆปีเต็ม เรียกว่าเป็น ‘input’ ที่ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม กระตือรือล้นต่อโปรเจคนี้


ผู้บรรยายนิรนาม แต่ผมจะขอเรียกตามบทหนังว่า Jack (รับบทโดย Edward Norton) ผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบรถเรียกคืน (recall specialist) ด้วยความเบื่อหน่ายต่ออาชีพการงาน เป็นเหตุให้นอนไม่ค่อยหลับ (insomnia) เลยมองหาสิ่งที่สามารถสร้างความกระตือลือล้นให้ชีวิต จับพลัดจับพลูเข้าร่วมกลุ่มที่ปรึกษา (Support Group) รับฟังปัญหาของผู้อื่น โดยไม่รู้ตัวทำให้เขาหลับสนิทอยู่หลายคืน จนกระทั่งการมาถึงของ Marla Singer (รับบทโดย Helena Bonham Carter) สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ หวนกลับมาแสดงอาการนอนไม่หลับอีกครั้ง

วันหนึ่งระหว่างโดยสารเครื่องบิน พบเจอนักธุรกิจขายสบู่ Tyler Durden (รับบทโดย Brad Pitt) พูดคุยสนิทสนม กลายเป็นมากกว่าแค่เพื่อนร่วมทางครั้งเดียว ซึ่งพอกลับมาถึงอพาร์ทเม้นท์ปรากฎว่าทุกสิ่งอย่างราบเรียบเป็นหน้ากลอง ด้วยเหตุนี้เลยขอคำปรึกษาจาก Tyler หลังจากดื่มเบียร์กรึ่มๆ พวกเขาก็เริ่มชกต่อยกันและกัน ใครมาพบเห็นเกิดความชื่นชอบประทับใจ ไม่นานกลายเป็นก่อตั้งชมรม Fight Club สามารถนอนหลับสนิททั้งคืน แม้อาศัยอยู่ในบ้านผุๆพังๆ

จนกระทั่งการมาถึงของ Marla Singer อีกครั้ง! คราวนี้เธอร่วมรักหลับนอนกับ Tyler จนสร้างความหงุดหงิดรำคาญ พยายามพูดขับไล่ แต่เธอกลับมีสีหน้าไม่เข้าใจ ไม่พึงพอใจอะไรสักอย่าง นอกจากนี้ Tyler ยังแอบพัฒนา Fight Club ให้กลายมาเป็น Project Mayham รับสมัครสมาชิกที่ทุกคนต่างไร้ชื่อเสียงเรียงนาม เพียงปฏิบัติภารกิจตามคำสั่ง จุดประสงค์เพื่อทำลายล้างระบอบทุนนิยมให้พังทลายราบเรียบเป็นหน้ากลอง


Edward Harrison Norton (เกิดปี 1969) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Boston, Massachusetts มีความชื่นชอบหลงใหลการแสดงตั้งแต่เด็ก เคยไปเข้าค่ายการแสดงแล้วชนะรางวัล Acting Cup โตขึ้นเข้าเรียน Yale University รุ่นเดียวกับ Ron Livingston และ Paul Giamatti จบ Bachelor of Arts สาขาประวัติศาสตร์ เคยทำงานในบริษัทของปู่อยู่ Osaka, Japan พอพูดภาษาญี่ปุ่นได้ หวนกลับมาเลือกเดินทางสายการแสดง Off-Broadway ภาพยนตร์เรื่องแรก Primal Fear (1996) เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actor, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ American History X (1998), Fight Club (1999), Red Dragon (2002), The Illusionist (2006), The Incredible Hulk (2008), Moonrise Kingdom (2012), THe Grand Budapest Hotel (2014), Birdman or (The Unexpected Virtue of Ignorance) (2014) ฯ

รับบทผู้บรรยายพึ่งพาไม่ได้ (Unreliable narrator) ทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบรถเรียกคืน (recall specialist) อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์หรู เต็มไปด้วยเฟอร์นิเจอร์มากมาย กำลังเกิดความเบื่อหน่ายในกิจวัตรประจำวัน จนกลายเป็นโรคนอนไม่หลับ (insomnia) จึงพยายามมองหาสิ่งสร้างความกระตือรือล้น ตื่นเต้นเร้าใจ ทีแรกเข้าร่วมกลุ่มทึ่ปรึกษา (support group) รับฟังปัญหา ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานของผู้อื่น แต่มันก็เทียบไม่ได้กับการพบเจอประสบการณ์ชีวิต หลังจากรับรู้จัก Tyler Durden ร่วมก่อตั้งชมรม Fight Club ความเจ็บปวด เลือดไหลนอง นั่นทำให้เขานอนหลับสบาย

เกร็ด: ในนวนิยายก็ไม่ได้ตั้งชื่อตัวละครนี้เช่นกัน แต่ใช้คำเรียก Joe ส่วนฉบับภาพยนตร์ไม่มีการเอ่ยกล่าวชื่อ ยกเว้นเพียงในบทเรียกว่า Jack

ในตอนแรกสตูดิโอต้องการติดต่อ Matt Damon, Sean Penn แต่ผู้กำกับ Fincher แสดงความสนใจ Edward Norton จากผลงาน The People vs. Larry Flynt (1996) ทีแรกตอบปัดปฏิเสธเพราะติดสัญญาอยู่กับ Paramount Pictures หลังจากพูดคุยต่อรอง มีส่วนร่วมในบทหนัง ทำให้เขากระตือรือล้นต่อบทบาทนี้อย่างมากๆ ปฏิเสธข้อเสนอภาพยนตร์เรื่องอื่น รับค่าจ้าง $2.5 ล้านเหรียญ

ลักษณะกายภาพของ Norton แตกต่างจาก Pitt โดยสิ้นเชิง! ไม่ได้หล่อเหลา แถมยังผอมแห้ง การแสดงก็ดูรุกรี้รุกรน เต็มไปด้วยความสับสน เหมือนคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ถ้าตามมาตรฐาน Hollywood ดูยังไงก็ไม่น่าได้เป็นนักแสดง แต่เขากลับสามารถใช้ข้อด้อยดังกล่าวสร้างความโดดเด่นให้ตนเอง พร้อมทุ่มเททั้งร่างกาย-จิตใจ สวมวิญญาณ ‘method acting’ กลายเป็นตัวละครได้อย่างสมบทบาท

We decided early on that I would start to starve myself as the film went on, while [Brad Pitt] would lift and go to tanning beds; he would become more and more idealized as I wasted away.

Edward Norton

หลายคนอาจรู้สึกว่าบทบาทของ Norton ดูจืดชืดเมื่อเปรียบเทียบกับ Pitt ที่โดดเด่นทั้งภาพลักษณ์และ Charisma แต่นั่นคือความจงใจเพื่อให้ตัวละครนี้แทนบุคคลทั่วๆไป ไม่ใช่ทุกคนจะหล่อเหลา หุ่นดี หน้าตาบ้านๆแบบนี้ก็สามารถมีความเบื่อหน่าย โหยหากระทำบางสิ่งอย่าง เพื่อสร้างความสุข ตอบสนองกิเลสตัณหา ความพึงพอใจส่วนตน ดิ้นหลุดพ้นสนามแข่ง ‘Rat Race’ ให้ได้รับเสรีภาพในการใช้ชีวิต

เห็นว่า Norton อดอาหารแบบจริงๆจังๆจนน้ำหนักลดไปหลายสิบปอนด์ รวมถึงไม่ได้หลับไม่ได้นอน ดวงตาดำคล้ำโดยไม่ต้องแต่งหน้า แต่การแสดงยังคงเต็มไปด้วยสติ สมาธิ รับรู้ตัวเองว่ากำลังทำอะไร นั่นถือว่าโคตรๆน่าประทับใจ หนึ่งในบทบาทยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้


William Bradley ‘Brad’ Pitt (เกิดปี 1963) นักแสดง/โปรดิวเซอร์ สัญชาติอเมริกา เกิดที่ Shawnee, Oklahoma แล้วมาเติบโตยัง Springfield, Missouri บิดาเป็นเจ้าของกิจการรถบรรทุก ฐานะมั่งมี วัยเด็กชื่นชอบเล่นกีฬา ดนตรี สอบเข้า University of Missouri ตั้งใจจะเป็นนักข่าว หรือทำงานเกี่ยวกับโฆษณา แต่ก่อนจะเรียนจบเพียงสองสัปดาห์ ตัดสินใจเดินทางมา Los Angeles ร่ำเรียนการแสดงจาก Roy London จากนั้นเป็นตัวประกอบ รับเชิญรายการซิทคอม บทนำครั้งแรก The Dark Side of the Sun (1988), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Thelma & Louise (1991), A River Runs Through It (1992), นักวิจารณ์ชื่นชมว่าคือ Robert Redford คนต่อไป, ผลงานเด่นๆ อาทิ Interview with the Vampire (1994), Se7en (1995), 12 Monkeys (1995), Fight Club (1999), Ocean’s Eleven (2001), Troy (2004), Mr. & Mrs. Smith (2005), The Curious Case of Benjamin Button (2008), Inglorious Basterds (2009), The Tree of Life (2011), Moneyball (2011), Once Upon a Time in Hollywood (2019) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor

รับบท Tyler Durden หนุ่มหล่อ เจ้าของธุรกิจขายสบู่ ดูเป็นคนไม่ยี่หร่าอะไรใคร อาศัยอยู่บ้านร้างชานเมือง แทบไม่มีข้าวของเครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ เมื่อพบเจอ Jack (ตัวละครของ Edward Norton) อาสาให้ความช่วยเหลือ ท้าทายให้ชกต่อยตี แลกหมัดทำร้ายร่างกาย ความเจ็บปวดแสดงถึงเสรีภาพชีวิต ตามด้วยเป็นผู้ก่อตั้งชมรม Fight Club รวบรวมสมัครพรรคพวกมอบหมายภารกิจ Project Mayham และแอบสานสัมพันธ์ ร่วมรักหลับนอน Marla Singer อย่างถึงพริกถึงขิง!

นักแสดงคนแรกที่ได้รับการติดต่อคือ Russell Crowe ก่อนมาลงเอย Brad Pitt ที่แม้เพิ่งล้มเหลวจาก Meet Joe Black (1998) แต่พลังดารานั้นสูงกว่า (ช่วงนั้น Crowe ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกา จนกว่าการมาถึงของ Gladiator (2000)) ยินยอมจ่ายค่าจ้างสูงถึง $17.5 ล้านเหรียญ (นี่คือเหตุผลหนึ่งที่งบประมาณหนังบานปลายเกินกว่าเท่าตัว)

หลายคนน่าจะสามารถขบครุ่นคิดได้อยู่แล้วว่า Tyler คือจินตนาการสร้างขึ้นของ Jack ให้เป็นบุคคลดีพร้อม สมบูรณ์แบบ แตกต่างตรงกันข้ามกับตนเอง รูปหล่อ ล่ำบึก เข้มแข็งแกร่ง วาทะศิลป์เป็นเลิศ ลีลาบนเตียงไม่เป็นสองรองใคร นิสัยหัวขบถ นักวางแผน จอมบงการ ต้องการทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง

ต้องยอมรับว่า Pitt เป็นผู้ชายสมบูรณ์แบบ เต็มไปด้วยเสน่ห์ พลังการแสดง (Charisma) แรงดึงดูดทางเพศ (ได้ทั้งชาย-หญิง) รวมถึงการต่อสู้ที่ดูเจ็บจริง สมจริง เหมือนคนพานผ่านอะไรๆมามาก เอ่อล้นด้วยประสบการณ์ สามารถครุ่นคิดวางแผน จอมบงการสิ่งต่างๆให้ดำเนินตามความต้องการของตนเอง … ถือเป็นหนึ่งในบทบาทได้รับการจดจำสูงสุดเลยก็ว่าได้

เกร็ด: นิตยสาร Empire เมื่อปี 2008 มีการจัดอันดับ The 100 Greatest Movie Characters Of All Time โหวตให้ตัวละคร Tyler Durden ติดอันดับ #1


Helena Bonham Carter (เกิดปี 1966) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Islington, London เมื่อตอนอายุห้าขวบ พบเห็นมารดาแสดงอาการสติแตก (nervous breakdown) ต้องรักษาตัวอยู่หลายปี ส่วนบิดาหลังผ่าตัดเนื้องอกกลายเป็นอัมพาตครึ่งซีก แต่โชคดีที่ครอบครัวมีฐานะ เลยไม่ต้องทนทุกข์ยากลำบากในการใช้ชีวิต, ด้วยความที่เป็นเด็กเฉลียวฉลาด สอบได้เกรด A ทุกวิชา สามารถสอบเข้าเรียนต่อ King’s College, Cambridge แต่ตอนสัมภาษณ์บอกว่าอนาคตอยากเป็นนักแสดง ทางมหาวิทยาลัยกลัวเธอจะดรอปเรียนเลยปฏิเสธรับเข้าศึกษา จากนั้นได้รับโอกาสแสดงโฆษณา, ตัวประกอบซีรีย์ A Pattern of Roses (1983), เล่นบทนำครั้งแรก Lady Jane (1986), แจ้งเกิดโด่งดัง A Room with a View (1985), Howards End (1992), The Wings of the Dove (1997), Fight Club (1999), ขาประจำ(อดีต)สามี Tim Burton ตั้งแต่ Big Fish (2003), Charlie and the Chocolate Factory (2005), Sweeney Todd: The Demon Barber of Fleet Street (2007), Alice in Wonderland (2011), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ แฟนไชร์ Harry Potter (2007-11) บทบาท Bellatrix Lestrange, The King’s Speech (2010), Les Misérables (2012) ฯลฯ

รับบท Marla Singer หญิงสาวผู้มีความเบื่อหน่ายในชีวิต ไม่แตกต่างจากผู้บรรยายพึ่งพาไม่ได้ นั่นทำให้เมื่อพวกเขาพบเจอกัน ก็เกิดความตระหนักรู้ ‘ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่’ จนกระทั่งครั้งหนึ่งแสร้งว่าครุ่นคิดฆ่าตัวตาย ได้รับการช่วยเหลือจาก Tyler Durden จึงมีโอกาสสานสัมพันธ์ ร่วมรักหลับนอนกันอย่างเร่าร้อนรุนแรง ก่อนบังเกิดความโคตรสับสน หมอนี่เป็นคนยังไงกันแน่

ผู้กำกับ Fincher มีความสนใจ Janeane Garofalo แต่ถูกบอกปัดเพราะเนื้อหาทางเพศ ตัวเลือกถัดมา Courtney Love, Winona Ryder , Reese Witherspoon ก่อนมาลงเอย Helena Bonham Carter หลังรับชมภาพยนตร์ The Wings of the Dove (1997)

แค่หน้าตาของ Bonham Carter ก็กินขาดถึงความอัปลักษณ์ ในรูปแบบที่ใครๆพบเห็นย่อมมักคุ้นเคยทันที (ตั้งแต่คบหา Tim Burton) ทรงผมยุ่งๆ หน้ามุ่ยๆ ขอบตาดำคล้ำ เหมือนคนไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง ไม่ยี่หร่าอะไรกับชีวิต … เห็นว่าเธออ้างอิงตัวละครนี้จาก Judy Garland ในช่วงบั้นปลายชีวิต แถมยังขอให้ผู้กำกับ Fincher เรียกเธอว่า Judy ตลอดการถ่ายทำ

แซว: Bonham Carter บอกให้นักแต่งหน้าประจำตัว Julie Pearce ทำทุกสิ่งอย่างด้วยมือซ้าย (ข้างที่ไม่ถัด) เพื่อแทนความไม่ยี่หร่าของตัวละคร จะเขียนคิ้วเขียนตา ตรงหรือไม่ตรง ฉันก็ไม่สนใจอยู่แล้ว

สิ่งน่าอัศจรรย์ใจสุดของตัวละครนี้ก็คือ ได้พบเห็นความเปลี่ยนแปลงจาก Tyler มาสู่ Jack จากแค่เพียงหลังเสร็จกามกิจ พอลงมาชั้นล่างก็ราวกับเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนละคน (เพราะทั้งสองคือบุคคลเดียวกัน) แต่การที่หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองผู้บรรยายพึ่งพาไม่ได้ เราจึงพบเห็นเธอมีอาการสับสน งุนงง หมอนี่เป็นอะไร ทำไมถึงแสดงพฤติกรรมผีเข้าผีออก เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย … เป็นเงื่อนงำให้ผู้ชมได้สังเกต ขบครุ่นคิด ค้นหาความจริง ใครตาดีได้ตาร้ายเสีย!


ถ่ายภาพโดย Jeff Cronenweth (เกิดปี 1962) ตากล้องชาวอเมริกัน บุตรชายของ Jordan Cronenweth (ตากล้อง Blade Runner (1982) ดำเนินตามรอยเท้าบิดาจากเป็นผู้ช่วย, ควบคุมกล้อง (Camera Operator) เคยร่วมงานผู้กำกับ David Fincher ตั้งแต่ ALIEN³ (1992) จนกระทั่งก้าวขึ้นมีรับเครดิตถ่ายภาพเต็มตัวเรื่องแรก Fight Club (1999), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Social Network (2010), The Girl with the Dragon Tattoo (2011), Gone Girl (2014), Being the Ricardos (2021) ฯ

งานภาพของหนังเต็มไปด้วยลูกเล่นลีลา หลากหลายเทคนิค ที่มีความโมเดิร์นล้ำยุคสมัยนั้น อีกทั้งยังผสมผสาน CGI (Computer Graphic Interface) ช่วยขยับขยายมุมมอง เหนือจินตนาการ พานผ่านมาสองทศวรรษ (ค.ศ. 2022) ยังรู้สึกถึงความสดใหม่

ผกก. Fincher พยายามสร้างโลกของหนัง (ซึ่งก็คือในจินตนาการของตัวละคร) ให้มีความผิดแผกแตกต่างจากมุมมองปกติ ทั้งการปรับ Contrast, Underexposed, Bleach bypass ฯลฯ เพื่อให้ผลลัพท์งานภาพมอบสัมผัส ‘grubbiness’ ตั้งชื่อเล่นว่า ‘dirty patina’ เต็มไปด้วยคราบสกปรก รกๆรุงรัง

นอกจากนี้ช็อตเกี่ยว Tyler ยังมีกฎข้อห้ามเช่นว่า จะไม่พบเห็นภาพ Two-Shot หรือถ่ายข้ามไหล่ (Over the Shoulder) ระหว่างสนทนากับตัวละครอื่น (จะมี Two-Shot แค่กับ Jack และ Tyler) และถ้าใครช่างสังเกต Tyler, Jack และ Marla ทั้งสามไม่เคยอยู่ร่วมช็อตเดียวกัน

หนังใช้เวลาถ่ายทำนานถึง 138 วัน กว่า 200 สถานที่ถ่ายทำ 72 ฉากสร้างขึ้น (โดย Alex McDowell) ปักหลักอยู่แถวๆ Los Angeles ผสมๆระหว่างสถานที่จริง และฉากในสตูดิโอ (ส่วนใหญ่ถ่ายทำตอนกลางคืน)

แซว: ความหนังถ่ายทำหลายร้อยกว่าสถานที่ สร้างความเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่ายให้ผกก. Fincher ต้องขนของขึ้นรถ-ลงรถ จนทำให้ผลงานเรื่องถัดไป Panic Room (2002) แทบจะหลงเหลือถ่ายทำเพียงสถานที่แห่งเดียวเท่านั้น

I felt like I was spending all my time watching trucks being loaded and unloaded so I could shoot three lines of dialogue. There was far too much transportation going on.

David Fincher

Title Sequence นำเสนอด้วย CGI ออกแบบโดย Kevin Mack (1959-) เจ้าของรางวัล Oscar: Best Visual Effects จากผลงาน What Dreams May Come (1998)

เริ่มต้นจากกึ่งกลางสมอง ส่งสัญญาณความกลัวผ่านเส้นประสาท ค่อยๆเคลื่อนถอยหลัง ซูมออกมาเรื่อยๆจนพบเห็นรูขุมขน และปลายกระบอกปืนยัดอยู่ในปากของ Jack เพื่อจะบอกว่านี่คือเรื่องราวของบุคคลผู้ ‘fuck up’ ดำเนินชีวิตมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร และเป็นการบอกใบ้ด้วยว่าทั้งหมดเกิดขึ้นภายในจินตนาการเพ้อฝันของตัวละคร

We wanted a title sequence that started in the fear center of the brain. [When you hear] the sound of a gun being cocked that’s in your mouth, the part of your brain that gets everything going, that realizes that you are fucked—we see all the thought processes, we see the synapses firing, we see the chemical electrical impulses that are the call to arms. And we wanted to sort of follow that out. Because the movie is about thought, it’s about how this guy thinks. And it’s from his point of view, solely.

So I liked the idea of starting a movie from thought, from the beginning of the first fear impulse that went, Oh shit, I’m fucked, how did I get here?

David Fincher

แซว: ต้องถือว่านี่คือ Title Sequence ที่ทรงอิทธิพลอย่างมากๆ เพราะถือว่าเป็นครั้งแรกๆใช้ CGI ทำออกมาแบบนี้ เลยมีภาพยนตร์นับไม่ถ้วนนำไปเป็นแรงบันดาลใจ โดยเฉพาะแฟนไชร์ X-Men

หลังจาก Title Sequence และอารัมบทงงๆ เสียงผู้บรรยายก็เริ่มเล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) โดยสิ่งแรกพบเห็นคือ Jack ในอ้อมอกของ Bob (รับบทโดย Meat Loaf) ชายผู้มีความผิดปกติอะไรสักอย่างเกี่ยวกับฮอร์โมน ทำให้มีหน้าอกขนาดใหญ่เหมือนเพศหญิง … สื่อถึงสิ่งที่ตัวละครรู้สึกขาดหาย ความรักความอบอุ่นจากครอบครัว อ้อมอกมารดา (รวมถึงอาการโหยหาความรักจากหญิงสาว)

Meat Loaf หรือ Michael Lee Aday (1947-2022) นักร้องเพลงร็อคสัญชาติอเมริกัน เจ้าของรางวัล Grammy Award หลายสาขา ทั้งยังมีผลงานการแสดงภาพยนตร์ The Rocky Horror Picture Show (1975), Fight Club (1999) ฯลฯ ตัวจริงของพี่แกก็ขนาดตัวใหญ่พอสมควร แต่ยังต้องใส่ ‘fat suit’ ยัดด้วยอาหารนก (birdseed) เพื่อให้ดูย้วนๆเหมือน ‘bitch tits’ น้ำหนักรวมแล้วกว่า 90 ปอนด์

เกร็ด: Rob Bottin ผู้ออกแบบ ‘fat suit’ เตรียมไว้สองชุดคือที่มีหัวนมกับไม่มีหัวนม เพราะไม่รู้ว่าสตูดิโอ Fox จะอนุญาติรึเปล่า ผลลัพท์ก็ลองสังเกตจากรูปดูเอาเองนะครับ

ถ้าไม่นับอารัมบท นี่คือการปรากฎตัวครั้งแรกของ Tyler Durden มาแบบแวบๆ เสี้ยววินาที ไม่ทันกระพริบตา ระหว่างที่ Jack กำลังถ่ายเอกสาร ในสภาพสลึมสลือ ครึ่งหลับครึ่งตื่น “Everything’s a copy of a copy” ไอ้หมอนี่ก็คือก็อปปี้ของเขาเองนะแหละ (Tyler คือบุคคลในจินตนาการ/จิตใต้สำนึกของ Jack นั่นเอง)

ล้อกับตอน Title Sequence ที่กล้องเคลื่อนจากกึ่งกลางสมอง ออกมาทางเส้นประสาท และรูขุมขน, ฉากนี้กล้องเคลื่อนจากถังขยะที่เต็มไปด้วยสิ่งข้าวของ ภาชนะบรรจุภัณฑ์ อาหาร เครื่องดื่ม แบรนด์แนม นี่เป็นการสะท้อนวิถีชีวิตในระบอบทุนนิยม ทุกสิ่งอย่างล้วนมีความ ‘สำเร็จรูป’ ใช้แล้วทิ้ง มนุษย์ก็เช่นกัน สภาพของ Jack ขณะนั้นรู้สึกไม่ต่างจากขยะสังคม!

แซว: มันอาจเป็นคำพูดเล่นๆ แต่ผมก็ขี้เกียจตรวจสอบว่าจริงหรือเปล่า ผู้กำกับ Fincher บอกว่าทุกฉากของหนัง จะต้องมีถ้วยกาแฟ Starbucks ซุกซ่อนเร้นอยู่ … มันเลยมีคำกล่าว The Planet Starbuks

หนึ่งในฉากที่ผมโปรดปรานอย่างมากๆ -เพราะชีวิตจริงตอนเคยซื้ออพาร์ทเม้นท์ก็แบบนี้เลยแหละ- เริ่มต้นจาก Jack นั่งขี้ในห้องน้ำ (เป็นการบอกว่าทั้งซีนนี้มันคือความ ‘shit’) จากนั้นเปิดดูแคตาล็อค IKEA จากนั้นตัดไปช็อตอพาร์ทเม้นท์ที่ว่างเปล่า จากนั้นกล้องค่อยๆแพนนิ่ง แล้วบรรดาเฟอร์นิเจอร์(พร้อมคำบรรยายและราคา)ก็ปรากฎขึ้นมา เพื่อสื่อว่าชายคนนี้อาศัยอยู่ในโลกแห่งการบริโภคนิยม

So we brought in a motion control camera and filmed Edward walking through the set, then filmed the camera pan across the set, then filmed every single piece of set dressing and just slipped them all back together, then used this type program so that it would all pan. It was just the idea of living in this fraudulent idea of happiness.

There’s this guy who’s literally living in this IKEA catalog.

David Fincher

แซว: Commentary ของ Edward Norton บอกว่าฉากนี้เขากำลังถ่ายท้องจริงๆ ไม่ได้สวมใส่กางเกงในระหว่างนั่งขี้ นั่นสร้างความตกตะลึงให้ผู้กำกับ David Fincher เพิ่งมารับรู้เอาตอนนั้นเอง

ในหนังมีการกล่าวถึงทั้งหมด 9 กลุ่มที่ปรึกษา (Support Group) ประกอบด้วย

  • Adult Children Of Alcoholics
  • Alcoholics Anonymous
  • Certain Resolve
  • Glorious Day
  • Incest Survivors Group
  • Learning To Soar
  • Overeaters Anonymous
  • Positive Positivity
  • Sex Addicts Anonymous
  • Taking Flight
  • Triumphant Tomorrows

การมาถึงของ Marla Singer รุกรานทุกๆกลุ่มที่ปรึกษา (Support Group) ด้วยการพ่นควันบุหรี่ออกอย่างช้าๆ (การกระทำเช่นนี้สื่อถึงความพึงพอใจส่วนตน) อีกทั้งยังรุกล้ำเข้ามาในถ้ำน้ำแข็งของ Jack (สถานที่ฝึกสมาธิให้สามารถสงบจิตสงบใจ เกิดความเยือกเย็นชาขึ้นภายใน จนสามารถใช้ชีวิตอย่างลื่นไถล ‘slide’ ไม่ยี่หร่าต่อสิ่งรอบข้างใดๆ)

ทั้งคำพูด สีหน้า ปฏิกิริยาของ Jack แม้เต็มไปด้วยอคติต่อต้าน Marla Singer แต่การมีตัวตนของเธอที่สร้างความว้าวุ่นวายใจนี้ เป็นสิ่งที่เขายังไม่เข้าใจตนเองว่าคือความรู้สึกอะไร เหตุใดถึงเกิดความหมกหมุ่น ลุ่มหลงใหล ถึงขนาดรุกรานเข้ามาถึงภายใน

ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย แม้จะสามารถยินยอมรับความตาย แต่สิ่งที่เธอต้องการสูงสุดนั้นคือใครสักคนยินยอมร่วมรักหลับนอน มีเพศสัมพันธ์กับตนเอง … คำพูดดังกล่าวสะท้อนสิ่งขาดหาย ความต้องการแท้จริงของ Jack ด้วยเช่นเดียวกัน! แต่ขณะนี้เขายังไม่สามารถรับรู้เข้าใจตนเอง นั่นเพราะ SuperEgo (ทางศีลธรรม)ยังคงค้ำคอเขาไว้

สำหรับคนช่างสังเกตก็อาจหาพบเจอได้ไม่ยาก ก่อนหน้าที่ Jack จะเริ่มต้นพูดคุยสนทนาครั้งแรกกับ Tyler บนเครื่องบิน ชายแปลกหน้าคนนี้ปรากฎตัวขึ้นมาแวบๆอยู่หลายครั้ง … ตาดีได้ ตาร้ายเสีย

เมื่อ Jack ตื่นขึ้นมาจากความฝันร้าย (เครื่องบินกำลังตก) แรกพบเจอ Tyler นั่งอ่านคู่มือการเอาตัวรอดอยู่ข้างๆ แสดงความคิดเห็น คำแนะนำดังกล่าวไม่ได้ช่วยห่าเหวอะไร (คู่มือเอาตัวรอด สามารถสะท้อนถึงทิศทางที่สังคมกำหนดให้เราเลือกดำเนินชีวิตไปตามครรลอง) มันคือวิธีการที่ทำให้คนรู้สึกปลอดภัย สูดออกซิเจนเพื่อสามารถยินยอมรับความตาย

An exit-door procedure at 30,000 feet. Mm-hm. The illusion of safety.

You know why they put oxzgen masks on planes? Oxzgen gets you high. In a catastrophic emergency, you take giant panic breaths. Suddenly you become euphoric, docile. You accept your fate. It’s all right here. Emergency water landing, 600mph. Blank faces. Calm as Hindu cows.

Tyler Durden

เกร็ด: ตามความเชื่อศาสนาฮินดู วัวคือสิ่งมีชีวิตศักดิ์สิทธิ์ สำหรับบูชายันต์แก่พระเป็นเจ้า และรับประทานเนื้อหนังเป็นอาหาร … กล่าวคือ เป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้ด้วยเหตุผลของการเข่นฆ่า

อาชีพของ Jack คือผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบรถเรียกคืน (recall specialist) เลยพบเห็นออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อเก็บรายละเอียด สภาพปรักหักพังของรถ เลยไม่แปลกที่จะมีความรอบรู้เกี่ยวกับระเบิด ไขมัน และสบู่ แต่สูตรสำหรับทำไดนาไมท์นั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบจึงทำการครุ่นคิดขึ้นอย่างมั่วๆ ไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง

สบู่ คือสิ่งสำหรับชะล้างเหงื่อไคล ทำความสะอาดเรือนร่างกาย (สามารถสื่อถึงการปรับเปลี่ยนแปลงตนเอง ถือกำเนิด เริ่มต้นใหม่) แต่มันกลับทำขึ้นจากไขมันที่อยู่ภายใต้เนื้อหนัง (=การเปลี่ยนแปลงจะบังเกิดขึ้นได้ ก็ต้องเริ่มจากตัวเราเอง) และแม้เป็นสิ่งสร้างประโยชน์ ก็สามารถก่อให้เกิดโทษมหันต์ นำไปทำไดนาไมท์สำหรับระเบิดล้างผลาญ (การเปลี่ยนแปลงย่อมมีทั้งทิศทางดีขึ้น-ย่ำแย่ลง ขึ้นอยู่กับตัวเราเองจะเลือกดำเนินไปทิศทางไหน)

มันไม่ใช่ว่า Tyler เป็นคนวางระเบิดอพาร์ทเม้นท์ของ Jack นะครับ แต่คือตัวเขาเองนะแหละที่จงใจทำให้มันเกิดขึ้น เพราะความเบื่อหน่ายในวิถีชีวิต จึงต้องการทำอะไรสักสิ่งอย่าง เป็นข้ออ้างให้ตนเองสามารถดิ้นหลุดพ้น ก้าวออกมาจากวังวน ‘rat race’ เลือกใช้ชีวิตตามหัวใจปรารถนา … เอาจริงๆก็อาจตั้งแต่ Tyler ขโมยรถหรู, Jack นั่งรถแท็กซี่ แท้จริงแล้วตัวละครกลับอพาร์ทเม้นท์ยังไง ก็แล้วแต่ผู้ชมจะขบครุ่นคิดจินตนาการ

Jack จินตนาการอาชีพของ Tyler ว่าเป็นนักฉายภาพยนตร์ มีหน้าที่ตัดต่อ/เชื่อมต่อม้วนฟีล์มระหว่างกำลังทำการฉายหนัง ซึ่งในเสี้ยววินาทีนั้นสามารถแทรกใส่อะไรบางสิ่งอย่าง -ไอ้จ้อนหนึ่งอัน- เหมือนการที่เขาปรากฎตัวแวบขึ้นมาหลายครั้งก่อนหน้า เพื่อสื่อถึงการมีตัวตนแค่บนแผ่นฟีล์ม หาใช่บุคคลจริงๆที่ใครอื่น(ตัวประกอบในหนัง)สามารถพบเห็น

เกร็ด: ผู้กำกับ David Fincher เคยทำงานพาร์ทไทม์เป็นนักฉายภาพยนตร์ (Projectionist) ในช่วงสมัยวัยรุ่น

มีเทคนิคหนึ่งที่หนังทำการอธิบาย สำหรับการฉายภาพยนตร์ฟีล์มสมัยก่อน เมื่อใกล้ฟีล์มใกล้จะหมดม้วน มักมีการทำสัญลักษณ์บางอย่างให้ปรากฎขึ้นริมจอ สังเกตเห็นโดยง่าย (ไม่จำเป็นต้องเป็นวงกลมหรือมีตำแหน่งตามรูปนะครับ ขึ้นอยู่กับเทคนิค/วิธีการของนักฉายภาพยนตร์นั้นๆ) นอกจากขณะที่ Tyler ทำการชี้จุดสังเกต ซึ่งพอเขากำลังลุกขึ้นยืน จู่ๆก็ปรากฎวงกลมนี้ขึ้นอีกครั้ง เพื่อบอกว่าฟีล์มกำลังหมดม้วนจริงๆ

ปล. ปัจจุบันเทคนิคดังกล่าวแทบจะสูญพันธุ์ไปแล้วนะครับ (เพราะการฉายแบบดิจิตอล รวมถึง Home Video มันไม่ต้องใช้การเปลี่ยนม้วนฟีล์มอีกต่อไป) ต้องพวกหนังกลางแปลง หรือโรงฉายเก่าๆที่ยังฉายฟีล์ม ก็ยังอาจพบเห็นร่องรอยขีดๆข่วนๆแบบนี้

อีกอาชีพหนึ่งของ Tyler คือเป็นบริกรในโรงแรมหรู แต่แท้จริงนั้นตามคำอธิบายของ Jack เรียกว่า ‘guerrilla terrorist of the food service industry’ สิ่งที่ทำก็อย่าง ปัสสาวะใส่ซุป (สงสัยจะกลัวผู้ชมไม่เห็นภาพ เลยหยิบแก้วน้ำขึ้นมาเทระหว่างยืนปัสสาวะ) อย่างอื่นก็ไปจินตนาการต่อเองแล้วกัน

ปล. คำบรรยายอาชีพของ Tyler มันก็คืองานพาร์ทไทม์ของ Jack เองนะแหละ! เพราะเขาเป็นโรคนอนไม่หลับ (insomnia) จึงออกหางานทำในยามค่ำคืนแก้ง่วง

Tyler ท้าทายให้ Jack ชกต่อยตนเอง แม้ตอนเตี้ยมจะตั้งใจจะแค่หลอกๆ แต่ผู้กำกับ Fincher กระซิบบอก Norton เอาจริงเลย ตบกดหู นี่คือปฏิกิริยาจริงๆของ Pitt เจ็บปวดไม่ใช่น้อย!

เพื่อเตรียมตัวเข้าฉากการต่อสู้ ทั้ง Pitt และ Norton ต้องไปเข้าคอร์สชกมวย, เทควันโด, ปล้ำจับล็อก (grappling) และยังร่ำเรียนทำสบู่ (ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้มั้ง) นอกจากนี้ Pitt ยังไปหาหมอฟัน เพื่อทำให้ฟันหน้าดูบิดๆเบี้ยวๆ (เพราะฟันของเขาสวยงามเกินไป) แล้วค่อยซ่อมแซมเอาภายหลังถ่ายเสร็จ

สำหรับใบหน้านักแสดงที่เต็มไปด้วยริ้วรอยบาดแผล ฟกช้ำดำขาว (makeup artist) Julie Pearce บอกว่าได้แรงบันดาลใจจากรับชมการต่อสู้บนสังเวียน UFC (Ultimate Fighting Championship) สังเกตนักสู้ที่มักมีสภาพยับเยิน นำมาเป็นต้นแบบในการแต่งหน้านักแสดง

บ้านของ Tyler ถูกสร้างเฉพาะภายนอกขึ้นมาใหม่ ยังบริเวณชานเมือง Wilmington, California ให้มีสภาพรกร้าง ถูกทิ้งขว้าง ห่างไกลชุมชน Paper Street (A Place To Be Nobody) [ไม่มีถนนสายนี้อยู่จริงนะครับ] ถือว่ามีสภาพแตกต่างตรงกันข้ามกับอพาร์ทเม้นท์หรูของ Jack บนตึก Pearson Towers (A Place To Be Somebody)

ส่วนภายในบ้าน (ถ่ายทำในสตูดิโอ) ก็มีสภาพตามมีตามเกิด เฟอร์นิเจอร์เก่าๆผุๆ น้ำปะปาไม่ไหล ไฟฟ้าติดๆดับๆ แทบจะไร้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกใดๆ นี่คือเสรีภาพตามใจอยากของ Tyler อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ไม่มีอะไรสักสิ่งอย่างก็อาศัยอยู่ได้ ไม่เห็นจะตกตาย

ทั้งต้นฉบับนวนิยายและภาพยนตร์ เริ่มต้นออกกฎของ Fight Club ทั้งหมด 8 ข้อ

  1. You don’t talk about fight club.
  2. You don’t talk about fight club.
  3. When someone says stop, or taps out, or goes limp, the fight is over.
  4. Only two guys to a fight.
  5. One fight at a time.
  6. They fight without shirts or shoes.
  7. The fights go on as long as they have to.
  8. If this is your first night at fight club, you have to fight.

แต่ต่อมาจะมีการออกกฎเพิ่มเติมอีกสองข้อ (เหมือนในหนังจะไม่มีการกล่าวถึง)

  1. Nobody is the center of the fight club except for the two men fighting.
  2. And the fight club will always be free.

สำหรับ Project Mayham ในหนังมีกล่าวถึงแค่กฎบางข้อ แต่ในนวนิยายจะมีทั้งหมด 5 ข้อ

  1. You don’t ask questions.
  2. You don’t ask questions.
  3. No excuses.
  4. No lies.
  5. You have to trust Tyler.

กฎข้อสองที่เป็นการเน้นย้ำเตือนกฎข้อแรก ก็เพื่อให้เพื่อนสมาชิกจดจำฝังใจ ไม่ให้พูดถึง ไม่ให้ตั้งคำถาม เพียงความเงียบงัน รับล่วงรู้อยู่ในใจ นี่คือลักษณะหนึ่งของเผด็จการ Fascism หุบปากแล้วทำตามคำสั่ง … นั่นรวมถึงยังเป็นการย้ำเตือนกับผู้ชม กรุณาอย่างสปอยภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างเด็ดขาด!

เกร็ด: ประโยค “The first rule of Fight Club is: you do not talk about Fight Club” ได้รับการโหวตจากนิตยสาร Premiere ติดอันดับ 27 ชาร์ท The 100 Greatest Movie Lines เมื่อปี 2007

Jack และ Tyler พูดคุยถึงบุคคลในประวัติศาสตร์ที่พวกเขาอยากต่อสู้ ชกต่อยตี แต่สังเกตว่าพวกเขาเหล่านี้ล้วนเป็นคนรักสงบ โหยหาสันติภาพ ไม่มีใครชื่นชอบความรุนแรงสักเท่าไหร่

  • Ernest Hemingway (1899-1961) ผู้แต่งวรรณกรรมต่อต้านสงคราม อาทิ The Sun Also Rises (1926), A Farewell to Arms (1929), For Whom the Bell Tolls (1940), The Old Man and the Sea (1952) ฯลฯ
  • William Shatner (1931-) นักแสดงโด่งดังจากบทบาท James T. Kirk แฟนไชร์ Star Trek
  • Abraham Lincoln (1809-65) ประธานาธิบดีคนที่ 16 แห่งสหรัฐอเมริกา นำพาประเทศชาติก้าวผ่านสงครามกลางเมือง ประกาศเลิกทาส และถูกลอบสังหาร ค.ศ. 1865
  • Mahatma Gandhi (1869-1948) ผู้นำและนักการเมืองชาวอินเดีย ยึดถือหลักอหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

ฉากฟันหลุด ชวนให้ผมนึกถึงสมัยเด็กๆเมื่อฟันน้ำนมหลุด คือสัญลักษณ์ของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ในบริบทนี้ก็น่าจะเหตุผลเดียวกัน แต่เอาจริงๆถ้าฟันแท้หลุด มันควรหมายความถึงช่วงวัยชราภาพเสียมากกว่า!

Sex Scene ระหว่าง Marla Singer กับ Tyler (หรือ Jack หว่า?) นอกจากใบหน้าเบลอๆ (เพราะใช้นักแสดงแทนทั้งหมด ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความเลือนลางระหว่าง Tyler กับ Jack ได้อีกต่างหาก) ยังใช้วิธีการถ่าย ‘bullet-time’ ทำเดียวกับ The Matrix (1999) กล้องจำนวนนับไม่ถ้วนวางเรียงรายโดยรอบฉาก กดชัตเตอร์พร้อมๆกันแล้วนำมาร้อยเรียงต่อกันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วใช้ CGI ปรับแต่งให้ดูสวยงาม (หน้าอกของ Bonham Carter ถูกปิดบังไว้ตอนถ่ายทำ) ทำให้เห็นภาพเคลื่อนไหลแต่นักแสดงหยุดอยู่นิ่ง (หรือขยับเคลื่อนอย่างช้าๆ)

แซว: ส่วนเสียงครวญครางระหว่างมีเพศสัมพันธ์ Brad Pitt เล่าติดตลกว่าต้องใช้เวลากว่า 3 วัน ถึงสามารถสร้างความเร้าใจสนองความต้องการผู้กำกับ Fincher

I spent so many days coming in and basically doing voice-off orgasm sounds on this film. The first time was a bit embarrassing, but I got used to it. And David [Fincher] would say, ‘And roll. And Edward: Act. And Helena: Orgasm.’ It can make you quite dizzy, because you can tend to hyperventilate. But I think I got that technique down. That was one major thing I learned on this film: faking orgasms repeatedly.

Helena Bonham Carter

มันจะมีครั้งหนึ่งที่ Jack แอบมองภายในห้องของ Tyler สภาพเปลือยเปล่า แต่สวมถุงมือยาง (ถุงยาง?) เอาจริงๆผมครุ่นคิดไม่ออกว่ามันสื่อนัยยะอะไร แต่ชาวอเมริกันเหมือนจะเข้าใจดี ถึงขนาดโปรดิวเซอร์เรียกร้องขอให้ตัดซีนนี้ออก (แต่ที่ไม่ตัดเพราะเสียงตอบรับดีมากๆ ผู้ชมหัวเราะลั่น ขบขันตกเก้าอี้)

ผมละโคตรอยากรู้ว่าซับไตเติ้ลคำพูดของ Marla Singer จะกล้าแปลภาษาไทย “ฉันไม่ได้มีเพศสัมพันธ์แบบนี้ตั้งแต่สมัยเรียนประถม” แน่นอนว่าโปรดิวเซอร์ย่อมอยากตัดออก แต่นี่เป็นประโยคที่มีการแก้ไขมาแล้วรอบหนึ่ง รุนแรงไม่แพ้กัน

I want to have your abortion.

Marla Singer

แซว: คำว่า ‘grade school’ ที่ประเทศอังกฤษหมายถึงระดับชั้นมัธยม ซึ่ง Helena Boham Carter ก็ครุ่นคิดเข้าใจเช่นนั้น แต่สำหรับชาวอเมริกันหมายถึงระดับชั้นประถม พอเธอรับรู้เข้าภายหลังก็ ‘Oh Shit!’

ไฮกุ, Haiku บทกวีญี่ปุ่น ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีลักษณะ 3 วรรค ความยาว 5-7-5 รวมเป็นตัวอักษรเพียง 17 ตัว เน้นความเรียบง่าย ดั้งเดิม ไม่ยึดติดกับรูปแบบแผน ไร้ข้อจำกัด ไหลเรื่อยตามธรรมชาติ สั้นกระชับ ตรงที่สุด และเป็นไปอย่างฉับพลัน สำหรับพรรณาสภาวะสัจจะนั้นๆ แสดงความงาม เศร้าโศก สงบสันติ ปีติยินดี เก่าแก่ เปลือยเปล่า

Worker bees can leave
Even drones can fly away
The queen is their slave

ปล. สำหรับรายชื่ออีเมล์ที่อยู่ด้านหลัง คือบรรดาผู้ช่วย Production Assistants ของหนัง

นี่เป็นช็อตที่ทำให้ผมขำก๊ากในความตลกร้ายของหนัง Marla สวมชุดแต่งงานราคา $1 ดอลลาร์ พยายามเกี้ยวพาราสี Jack กำลังขัดคราบเลือด (เปิดบริสุทธิ์?) ออกจากเสื้อผ้า (ท่าทางคล้ายการช่วยตนเอง Masterbation) พอเธอเดินเข้ามาใกล้ๆ มือข้างที่ถือบุหรี่คว้าจับเป้ากางเกง (ปลดูเหมือนไอ้จ้อนจิ๋วที่เมื่อทำการดูด จักสร้างความสุขกระสันต์ซ่าน)

แนวคิดของ Tyler ทั้งการก่อตั้งชมรม Fight Club, Project Mayham รวมถึงการทรมานร่างกาย (ด้วย Lye = สารละลายด่างในน้ำ) ท้าเสี่ยงความตาย (เอาปืนจ่อศีรษะ, ขับรถพุ่งตกถนน) ก็เพื่อให้ตนเองได้รับสิ่งที่เรียกว่า ‘ประสบการณ์ชีวิต’ เมื่อพบเจอเหตุการณ์อันเลวร้าย แล้วสามารถก้าวข้ามผ่านมันไป ย่อมทำให้เราบังเกิดความเข้มแข็ง ไร้ซึ่งความหวาดกลัวเกรงต่อสิ่งใดๆอีกต่อไป

เปรียบเทียบถึงสิ่งที่ผู้กำกับ Fincher เคยพานผ่านเมื่อครั้นหายนะจากการสรรค์สร้าง ALIEN³ (1992) ซึ่งปัจจุบันนั้นเขาก้าวข้ามช่วงเวลาอันเลวร้าย กลายเป็นบทเรียน ประสบการณ์ชีวิต อีกทั้งยังสามารถหวนกลับมาร่วมงานสตูดิโอ Fox ในการสร้างสรรค์ Fight Club (1999) ได้อีก! … ดังสำนวน “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร”

จริงๆแล้วมันจะมีกฎข้อ 6 ที่นักสู้ทั้งสองต้องถอดเสื้อและรองเท้า แต่มีข้อยกเว้นสำหรับ Bob เพราะคงไม่ใครใคร่อยากเห็นหน้าอกของเขาสักเท่าไหร่ และยังสามารถปกปิด ‘fat suit’ ที่สวมอยู่ภายในได้อีกด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่าง Jack และ Bob ต่างถือว่าทั้งรักทั้งเกลียด เป็นบุคคลแรกที่ทำให้พวกเขารับรู้สึกถึงมิตรภาพ พรรคพวกพ้อง เพราะพานผ่านทั้งอ้อมอก (คราบน้ำตา) และสังเวียน Fight Club (คราบเลือด) ด้วยเหตุนี้ความเป็น-ตายของตัวละคร จึงสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวทรวงใน ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของชีวิต และการมีตัวตนของมนุษย์

หลายๆช็อตเกี่ยวกับหัวหน้า มักถ่ายมุมเงยติดเพดาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการมีอำนาจ อิทธิพล สามารถชี้นิ้วออกคำสั่งลูกน้อง จนกระทั่งเมื่อถึงจุดๆหนึ่ง Jack ก็ลุกขึ้นจากโต๊ะทำงาน จับจ้องมองด้วยระดับสายตาเดียวกัน และอีกครั้งบุกเข้าไปในห้องของหัวหน้า ทุกสิ่งอย่างจึงได้พลิกกลับตารปัตร … กลายเป็น Jack ที่สามารถควบคุมบงการ มีอำนาจต่อรองจนได้ในสิ่งที่เขาต้องการแม้คุกเข่าลงกับพื้น (เล่นละครตบตาได้อย่างแนบเนียนสุดๆ)

เมื่อคนเราพานผ่านประสบการณ์เฉียดตาย ถึงสามารถตระหนักได้ถึงคุณค่าชีวิต! นี่คือบทเรียนของ Tyler Durden เสี้ยมสอนพนักงานร้านสะดวกซื้อคนนี้ ด้วยการเอาปืนจ่อศีรษะ สอบถามถึงความเพ้อฝัน อนาคตอยากเป็นอะไร ทำไมไม่เร่งรีบทำให้ประสบความสำเร็จ

ไม่เพียงเท่านี้ คำสอนดังกล่าวยังเป็นการอธิบายต่อ Jack และผู้ชมภาพยนตร์ ให้บังเกิดจิตสำนึก กระตือรือล้นในการค้นหาความฝัน และพุ่งทะยานเข้าหามัน! อย่าปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปอย่างเรื่อยเปื่อย เฉื่อยชา ไร้จุดหมาย รอความตายไปวันๆ

ผมเพิ่งมาสังเกตเห็นช็อตนี้ว่า สำนักงานใหญ่ของชมรม Fight Club ป้ายชื่อด้านบนบาร์แห่งนี้มีลักษณะเหมือน … Dick … ปรากฎในค่ำคืนที่ Jack ต่อสู้กับเด็กหนุ่มผมขาว Angel Face (รับบทโดย Jared Leto) ก่อนถูกต่อยหน้าบวมจนแทบจดจำใบหน้าไม่ได้

ฉากที่ Tyler ถอนมือจากพวงมาลัย ปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปตามครรลอง ไม่จำเป็นต้องไปควบคุม กำหนดทิศทาง จะพุ่งชนอะไรก็ช่าง (สะท้อนเข้ากับอุดมการณ์ชีวิตของ Tyler ที่แตกต่างตรงกันข้ามกับ Jack) ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Pierrot le Fou (1965) ของผู้กำกับ Jean-Luc Godard ที่ก็เป็นหนึ่งในหนังโปรดของผมเช่นกัน

ขณะเดียวกันฉากนี้ยังล้อกับ The Game (1997) ไม่ใช่แค่ฉากขับรถพุ่งลงอ่าว San Francisco ยังเป็นหนึ่งในภาพจิตวิทยาที่ตัวละครของ Michael Douglas ให้คำนิยามว่า Whoops!

แซว: ช็อตนี้ Tyler นั่งอยู่ตำแหน่งคนขับ แต่หลังจากรถคว่ำเขากลับถูกลากออกมาจากตำแหน่งข้างคนขับ … นี่เป็นความจงใจอย่างแน่นอนนะครับ

ถึงผมไม่ค่อยเข้าใจแผนการของพวก Space Monkey (คำล้อเลียนสิ่งมีชีวิตไร้สมอง ไร้ตัวตน สมาชิก Project Mayham) ว่ากำลังกระทำอะไร แต่สังเกตจากลูกบอลขนาดใหญ่กลิ้งไปรอบๆ นอกจากสามารถสื่อถึงโลกใบนี้ (แผนการของ Project Mayham ทำให้โลกใบนี้เกิดความปั่นป่วน สับสนวุ่นวาย) มันยังเป็นศัพท์แสลงของฝรั่ง balls = ลูกอัณฑะ ลองไปจินตนาการต่อเองนะครับว่าสามารถสื่อถึงอะไร

แซว: คำเรียก Space Money ล้อกับภาพยนตร์ 12 Monkeys (1995) กำกับโดย Terry Gilliam นำแสดงโดย Brad Pitt รับบทชายหนุ่มสติเฟื่อง บ้าๆบอๆ ก่อตั้งกลุ่ม 12 Monkeys สำหรับแพร่ไวรัส ปล่อยสรรพสัตว์ จนทำให้เกิดวันสิ้นโลก

ช่วงเวลาที่ Jack ตระหนักรับรู้ความจริงว่า Tyler ก็คือตัวตนเอง สถานที่คือภายในห้องพักโรงแรม ซึ่งขณะนี้ทั้งสองมีความแตกต่าง กลับตารปัตรตรงกันข้าม

  • Tyler นั่งอยู่ตรงเก้าอี้มีโคมไฟอยู่เหนือศีรษะ, Jack นั่งบนเตียงและโคมไฟอยู่ห่างๆด้านหลัง
  • Tyler แต่งตัวอย่างโก้หรู เสื้อผ้าแบรนด์เนม รองเท้าหนัง (ดูราวกับสัตว์ปีก โบยบินสู่เสรีภาพ), Jack แต่งตัวซอมซ่อ ร่อมร่อ
  • Tyler มีใบหน้าเปร่งปรั่ง เป็นประกาย, Jack ดูซีดเซียว ห่อเหี่ยว ใกล้หมดสิ้นเรี่ยวแรง

เหล่านี้ก็เพื่อสื่อถึงวิถีชีวิตในทิศทางตรงกันข้ามของทั้ง ขณะที่ Jack ดำเนินไปอย่างไร้ค่า, Tyler กลับมีมูลค่า(ทางสินค้า)เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

ฉากที่ Jack เข้ามอบตัวกับตำรวจ ทำให้ผมนึกถึงไคลน์แม็กซ์ภาพยนตร์ Se7en (1995) (ที่ฆาตกรต่อเนื่องจู่ๆเข้ามอบตัวกับตำรวจ) แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนอยู่ในการคาดการณ์ แผนการของ Project Mayham พวกสมาชิกแทรกซึมอยู่ทั่วทุกหนระแหง ซึ่งก็ได้จัดแจงถอดกางเกง (ไม่ได้จะข่มขืน แต่เป็นสัญลักษณ์ของการปลดเปลื้องอะไรความต้องการแท้จริง)

การถูกถอดกางเกง หลงเหลือเพียงบ็อกเซอร์ ก็เพื่อจะสื่อถึงความต้องการสูงสุดของ Jack นั่นคือได้ครอบครองรักกับหญิงสาว และแผนการทุกสิ่งอย่างก็เพื่อความโรแมนติกที่สุดในการขอแต่งงาน

ระหว่างกำลังหลบหนี Jack ออกวิ่งเป็นเส้นตรงบริเวณกึ่งกลางถนน นี่ก็ล้อกับภาพยนตร์ The Game (1997) แสดงถึงการไม่สามารถออกนอกลู่นอกทาง ปลดปล่อยชีวิตไปตามครรลองคลองธรรม ยังคงหมกมุ่นยึดติดอยู่กับหลายๆสิ่งอย่าง (คือถ้ากำลังขับรถ คงไม่ยินยอมปล่อยพวงมาลัยแบบฉากก่อนหน้าได้อีกต่อไป)

เพื่อหักดิบระหว่าง Jack กับ Tyler พวกเขาจึงเกิดความขัดแย้งกันอีกครั้ง(สุดท้าย) เริ่มต้นจากความครุ่นคิด (สายไหนปลดชนวนระเบิด?) พูดคำโน้มน้าว จากนั้นภาพตัดสลับไปมาระหว่างสองตัวละครกำลังต่อสู้ และ Jack ต่อยกับตนเอง (ในกล้องวงจรปิด) ก่อนสิ้นสุดลงด้วยช็อตนี้ ชัยชนะของ Tyler ยืนอยู่เบื้องบนบันได … นี่ก็ช็อตลักษณะคล้ายๆ The Game (1997) เพื่อแสดงถึงอำนาจ อิทธิพล สูงส่ง เหนือกว่า

ภาพยนตร์เรื่อง Inception (2010) มีคำเรียกว่า ‘Architecture of the Mind’ ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากซีเควนซ์นี้ของ Fight Club (1999) ตึกระฟ้าด้านหลังให้ความรู้สึกเหมือนสถาปัตยกรรม/ทิวทัศน์ภายในจิตใจตัวละคร ภาพสะท้อนโลกยุคสมัยนั้น-นี้ เต็มไปด้วยตึกระฟ้า ตัวแทนสังคมแห่งการบริโภค ผู้คนตกเป็นทาสระบอบทุนนิยม ไม่สามารถดิ้นหลุดพ้นออกจากวังวน ‘rat race’

การทำร้ายตนเอง ทำลาย Tyler Durden แง่มุมหนึ่งคือการตระหนักรู้ของ Jack ว่าไม่สามารถดิ้นหลุดพ้น ก้าวออกจากวังวนดังกล่าว แต่บทเรียนได้รับคือประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้เขาปรับเปลี่ยนมุมมอง โลกทัศน์ ทำลายสถาปัตยกรรมภายในจิตใจ ตึกระฟ้า การบริโภค ระบอบทุนนิยม ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสูงสุดอีกต่อไป!

สิ่งสำคัญที่สุด(ในขณะนี้)สำหรับ Jack คือได้ตกหลุมรัก Marla Singer และช็อตนี้คือพวกเขากำลังได้รับประสบการณ์(ขอแต่งงาน)อันน่าทึ่ง สามารถสื่อถึง (ต่อให้)ฟ้าถล่มดินทลายฉันก็จะรักเธอชั่วนิรันดร์ … โรแมนติกสุดๆ

เมื่อตอนต้นเรื่องที่มีการอธิบายอาชีพนักฉายภาพยนตร์ของ Tyler จะพบเห็นไอ้จ้อนที่เขาแอบตัดต่อแทรกเข้าไปในฟีล์มหนัง ซึ่งภาพดังกล่าวจักปรากฎขึ้นเกือบๆช็อตสุดท้าย เมื่อโลก(ในจินตนาการ)ของ Jack กำลังสั่นคลอน พังทลาย ล่มสลาย เพื่อสื่อถึงจุดสิ้นสุดของ(ม้วนฟีล์ม)ภาพยนตร์เช่นเดียวกัน

แซว: ภาพไอ้จ้อนอันนี้ล้อกับภาพยนตร์ Persona (1966) ของผู้กำกับ Ingmar Bergman ที่ปรากฎขึ้นตั้งแต่ตอนต้นเรื่อง เพื่อสื่อถึงจุดกำเนิด เริ่มต้น การปฏิสนธิทำให้เกิดแสงสว่างภาพยนตร์

ตัดต่อโดย James Haygood ร่วมงานผู้กำกับ David Fincher ตั้งทำโฆษณา Music Video มีผลงานภาพยนตร์ อาทิ The Game (1997), Fight Club (1999), Panic Room (2002), Where the Wild Things Are (2009), Tron: Legacy (2010) ฯลฯ

หนังนำเสนอผ่านมุมมองสายตาของผู้บรรยายนิรนาม/พึ่งพาไม่ได้ หรือก็คือ Jack (รับบทโดย Edward Norton) แต่เรื่องราวทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นในความครุ่นคิด จินตนาการเพ้อฝัน เริ่มจากจุดสิ้นสุดหวนกลับสู่เริ่มต้น เพื่อนำเสนอการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โลกทัศนคติ และค้นพบสิ่งที่ขวนขวายไขว่คว้า

  • ความน่าเบื่อหน่ายของผู้บรรยายนิรนาม
    • เล่าถึงอาชีพการงาน ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบรถเรียกคืน
    • กิจวัตรสำหรับสร้างความผ่อนคลาย เข้าร่วมกลุ่มที่ปรึกษา (Support Group)
    • การมาถึงของ Marla Singer ทำลายความสงบสุขของชีวิต
  • การมาถึงของ Tyler Durden
    • พบเจอ Tyler บนเครื่องบิน
    • เมื่อพบเห็นสภาพปรักหักพักของอพาร์ทเมนท์ โทรศัพท์หา Tyler คุยปลดทุกข์ จากนั้นระบายความคลุ้มคลั่ง
    • ก่อตั้งชมรมต่อสู้ Fight Club
    • การมาถึงอีกครั้งของ Marla Singer แต่คราวนี้สานสัมพันธ์กับ Tyler แบบไม่ยี่หร่าอะไรใคร
  • ช่วงเวลาแห่งการทดลอง เรียนรู้ เข้าใจประสบการณ์ชีวิต
    • Tyler ทำการทดลองหลายๆอย่าง เพื่อเสี้ยมสอนให้ Jack เรียนรู้จักประสบการณ์เฉียดตาย เกิดความเข้าใจในคุณค่าของชีวิต
  • Project Mayham
    • Tyler รับสมัครลูกน้องเพื่อพัฒนา Project Mayham
    • แผนก่อการร้ายของ Tyler ต้องการทำลายทุกสรรพสิ่งอย่าง
    • Jack จึงพยายามหาหนทางหยุดยับยั้ง มอบตัวแก่ตำรวจ จนแล้วจนรอดกว่าจะได้ค้นพบความจริง

ลีลาการตัดต่อ ‘สไตล์ Fincher’ มันช่างสุดเหวี่ยง เมามันส์ คลุ้มบ้าคลั่งจริงๆ เพราะต้องให้ทันกับเสียงบรรยาย จึงมีความรวบรัดตัดตอน รับชมครั้งแรกๆอาจรู้สึกรวดเร็วเกินไปจนแทบติดตามรายละเอียดไม่ทัน แต่ครั้งหลังๆจะพบจังหวะชีวิตอย่างเพียงพอดี ยียวนกวนประสาทได้ที่

สิ่งน่าทึ่งมากๆคือมุมมองการนำเสนอ ที่ยึดเอาแต่ผู้บรรยายนิรนาม ทำให้ผู้ชมมีสภาพเหมือนตัวละคร ไม่สามารถรับรู้เข้าใจแผนการของ Tyler ช่วงแรกๆก็อาจเต็มไปด้วยความสับสน มึนงุนงง แต่ก็ท้าทายให้ขบครุ่นคิด ติดตามค้นหาว่ามันเกิดเหตุการณ์ห่าเหวอะไร


สำหรับเพลงประกอบ ผู้กำกับ Fincher ต้องการท่วงทำนองสดใหม่ มีความร่วมสมัยปัจจุบันนั้น เลยมองหาศิลปิน/วงดนตรี ในตอนแรกติดต่อ Radiohead แต่ถูกบอกปฏิเสธเพราะพวกเขาเพิ่งออกอัลบัมใหม่ ก่อนมาลงเอย Dust Brothers ประกอบด้วย E.Z. Mike (ชื่อจริง Michael Simpson) และ King Gizmo (ชื่อจริง John King) โดดดังจากแนวเพลง Breakbeat, Post-Modern

ลักษณะของ Post-Modern Music หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าคือการใช้เสียงสังเคราะห์ที่มอบสัมผัสล้ำยุคสมัย แท้จริงแล้วคือแนวคิดที่ต้องการทำลายกฎกรอบของ Modern Music โดยเฉพาะโครงสร้างและรูปแบบวิธีการ ไม่จำกัดอยู่กับท่วงทำนองเดียว สไตล์เพลงเดียว หรือแม้แต่เครื่องดนตรี กลายมาเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถให้กำเนิด ‘เสียง’

Fincher wanted to break new ground with everything about the movie, and a nontraditional score helped achieve that.

E.Z. Mike

เอกลักษณ์ของ Dust Brothers คือการใช้กลองบรรเลงประกอบพื้นหลัง สำหรับสร้างจังหวะ เน้นๆย้ำๆ (เหมือนเสียงเต้นชีพจร/จังหวะของหัวใจ) แล้วปะติดปะต่อด้วยองค์ประกอบเสียงอื่นๆที่มีความหลากหลาย เหนือล้ำจินตนาการ เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับสถานการณ์ขณะนั้นๆ

ขอเริ่มจากบทเพลงที่ผมชื่นชอบสุดในหนังก่อนแล้วกัน Corporate World ขณะกล้องค่อยๆแพนนิ่งรอบอพาร์ทเม้นท์ ตามด้วยการปรากฎขึ้นของเฟอร์นิเจอร์ IKEA และป้ายราคา ให้ความรู้สึกเหมือน ‘เสียงสำเร็จรูป’ มันช่างมีความยียวนกวนบาทา ต่อให้ราคาแพงแค่ไหนก็ไม่ได้มีมูลค่าทางจิตใจสักเท่าไหร่

What Is Fight Club? เริ่มต้นด้วยเสียงฉับฉาบเพื่อสร้างความพิศวง ฉงนสงสัย ชมรมต่อสู้นี้คืออะไร? คำตอบของบทเพลงนี้คือเสียงกลองที่ดังขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ราวกับชีพจร จังหวะการเต้นของหัวใจ และคลอประกอบเบาๆด้วยเครื่องสังเคราะห์เสียง ราวกับวิญญาณล่องลอยไป … ในความเข้าใจของผมเอง บทเพลงนี้ต้องการสื่อว่า Fight Club ก็คือชีวิตและจิตวิญญาณ

Who Is Tyler Durden? เต็มไปด้วยความลึกลับ สลับซับซ้อน แวบแรกให้ความรู้สึกเหมือน Industrial Music (จากเสียงทุบโลหะ?) แต่มันจะเสียงเหมือนแมลงอะไรก็ไม่รู้ยั้วเยี้ย ตะเกียกตะกาย นั่นคือสัมผัสของสิ่งชั่วร้ายที่ซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใน บ่งบอกว่าชายคนนี้คือบุคคลอันตราย อย่าเข้าใกล้ถ้ายังไม่อยากตกตาย

บทเพลงที่ผมเชื่อว่าถ้าคุณลองตั้งใจฟัง น่าจะทำให้เกิดความเข้าใจถึง Post-Modern Music ได้อย่างเด่นชัดเจนก็คือ Chemical Burn เริ่มต้นด้วยเสียงหวอ สัญญาณเตือนภัย สะท้อนถึงเหตุการณ์อันเลวร้ายกำลังเกิดขึ้น (บนมือของ Jack) จากนั้นเสียงกลองอันหนักแน่น ตัดกับการลีดกีตาร์อย่างบิดๆเบี้ยวๆ กึกก้องกังวาลย์ คือระยะเวลาที่สารเคมีกำลังกัดกร่อนผิวหนัง และจิตวิญญาณลงอย่างช้าๆ

ช่วงท้ายของบทเพลงเสียงหวิวๆดังกล่าวจะค่อยๆเลือนลาง เจือจาง หวนกลับมาเป็นท่วงทำนอง Rock หรือคือทุกสิ่งอย่างหวนกลับสู่ความเป็นปกติ! แผลที่มือของ Jack ได้รับการล้างออก ปลอดภัย รอดตายอย่างหวุดหวิด

อีกบทเพลงที่มีความสุดโต่งอย่างมากๆก็คือ Space Monkeys เริ่มต้นด้วยเสียงอะไรก็ไม่รู้ (น่าจะเป็นการดัดแปลงเสียงสังเคราะห์) มอบสัมผัสอันยืดยาด เฉื่อยชา ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า จากนั้นลิงอวกาศก็เริ่มต้นปฏิบัติภารกิจที่ดูเหมือนไร้สาระ กุ๊กกิ๊กก๊อก แต่มันกลับแพร่ระบาดไปทุกแห่งหน จนสามารถควบคุมครอบงำทุกสรรพสิ่งอย่าง ‘ล้างสมอง’ ภายในมนุษย์ทั้งหมด จนหลงเหลือเพียงความว่างเปล่า

ทิ้งท้ายด้วยบทเพลง Finding the Bomb ที่จะค่อยๆทวีความรุนแรง เอาจริงเอาจัง คลุ้มบ้าคลั่งขึ้นเรื่อยๆ จากการให้จังหวะด้วยเสียงกลอง (รูปธรรม) ช่วงท้ายๆเปลี่ยนมาไล่ระดับเสียงสังเคราะห์ ‘Shepard Tone’ (นามธรรม) แม้งเมื่อไหร่จะถึงจุดสูงสุดเสียที แต่นั่นคือเสียงหลอน (Sound Illusion) ล่อหลอกผู้ชมให้หลงเข้าใจผิด ทุกสิ่งอย่างมันก็แค่จินตนาการเพ้อฝัน ปะทุระเบิดขึ้นในจิตวิญญาณ

Id หมายถึง จิตไร้สำนึก สัญชาตญาณ และความต้องการต่างๆ เป็นสิ่งที่อยู่ติดตัวเรามาตั้งแต่ถือกำเนิด ช่วงวัยเด็กจะยังไม่สามารถควบคุมตนเองได้ แต่เมื่อเติบโตขึ้นจะค่อยๆพัฒนา Ego และ Superego ขึ้นมาหยุดยับยั้งชั่งใจ

Superego หมายถึง อภิอัตตา จิตส่วนที่คิดถึงศีลธรรมจรรยา เป็นแนวทางสำหรับการแสดงออก และช่วยตัดสินว่าอะไรผิดและถูก นี่เป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ซึมซับมาจากทุกสิ่งอย่างรอบข้าง ครอบครัว เพื่อนฝูง สภาพแวดล้อม กฎระเบียบ บรรทัดฐานทางสังคม

Ego หมายถึง อัตตา หรือตัวตนแห่งความเป็นจริง พฤติกรรมที่พัฒนาขึ้นหลังการต่อสู้ระหว่าง Id และ Superego คือผลลัพท์ บรรทัดฐาน มาตรฐานของตัวเราเองในการครุ่นคิดแสดงออก ว่าจะสนองความต้องการส่วนตน (id) หรือทำตามความคาดหวังของสังคม (Superego) ฝั่งฝ่ายไหนมากกว่ากัน

Tyler Durden คือตัวแทนของ Id สนเพียงกระทำตามความครุ่นคิด ตอบสนองสันชาตญาณ ไม่สนห่าเหวอะไรใคร ต่อต้านสังคม ต่อต้านระบอบทุนนิยม ไม่ชอบอยู่ภายใต้กฎกรอบ การถูกบีบบังคับ นิยมความรุนแรง วางแผนทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง

ผู้บรรยายนิรนาม/Jack คือตัวแทนของ Superego ดำเนินชีวิตภายใต้กฎกรอบ ระเบียบแบบแผน ตามความคาดหวังของสังคม เรียนจบ ทำงาน ได้รับเงินทอง จับจ่ายใช้สอย ซื้อสิ่งข้าวของ อพาร์ทเม้นท์หรู เฟอร์นิเจอร์แบรนด์เนม นั่นคือสูตรสำเร็จตามแนวคิดทุนนิยม อ้างว่าจักทำให้ชีวิตสะดวกสบายกาย แต่ไฉนเขากลับไม่มีความสุขเลยสักนิด!

Fight Club ไม่ใช่เรื่องราวการต่อสู้ (ทางกายภาพ) เพราะทั้ง Tyler และ Jack ต่างเป็นบุคคลคนเดียวกัน แค่เพียงมีลักษณะสุดโต่งขั้วตรงข้าม Id vs. SuperEgo ส่วนใหญ่มักหาหนทางประณีประณอม แต่ถ้าไม่สำเร็จก็จักเกิดการต่อสู้ภายใน (ทางจินตภาพ) จนกว่าจะได้ผู้ชนะถึงแสดงพฤติกรรมฝั่งฝ่ายนั้นออกมา (Ego)

Self-improvement is masturbation. Now, self-destruction is the answer.

Tyler Durden

และมันก็ไม่ใช่เรื่องของใครแพ้-ใครชนะ แต่คือการต่อสู้กับตัวตนเอง และค้นพบเป้าหมายชีวิต ซึ่งในกรณีของ Jack แอบชื่นชอบ Marla Singer จากแรกเริ่มเคยเต็มไปด้วยอคติ แสดงพฤติกรรมรังเกียจต่อต้าน เมื่อตัวละครเรียนรู้วิธีปลดปล่อยความต้องการ ดำเนินตามสันชาตญาณบ้างบางที เลยสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองโลกทัศน์ ได้รับประสบการณ์ชีวิต พังทลายความครุ่นคิดแบบเก่า จนท้ายที่สุดเขาก็ได้ครอบครองรักหญิงสาว … จริงหรือเปล่า? หรือแค่เพ้อฝันไป?

ในเชิงมหภาคของหนัง Tyler ยังเป็นตัวแทนของเผด็จการ Facism, ต่อต้านการบริโภค Anti-Consumerism และต่อต้านทุนนิยม Anti-Capitalism, ครุ่นคิดวางแผนก่อการร้าย ต้องการทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่างให้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง แต่ถูกขัดขวางโดย Jack (จะมองว่าเป็นฝั่งเสรีประชาธิปไตยก็ได้) พยายามปกป้องรักษาสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต (นั่นคือ Marla Singer) ถึงขนาดตัดสินใจยิงตัวเอง หรือคือกำจัดอีกฝั่งฝ่ายให้พ้นภัยพาล

ขณะที่ The Game (1997) นำเสนอการพบเจอประสบการณ์หลอกๆ สามารถปรับเปลี่ยนแปลงมุมมอง ความครุ่นคิด โลกทัศนคติต่อวิถีชีวิตที่เป็นอยู่, Fight Club (1999) ราวกับภาคต่อนำเสนอวิธีสร้างประสบการณ์ที่จับต้องได้ ท้าเสี่ยงเป็นเฉียดตายนับครั้งไม่ถ้วน เพื่อให้ตัวละครและผู้ชมค้นพบหนทางเดิน เลือกดำเนินวิถีชีวิตตามอย่างเพ้อฝันไว้

I don’t know if it’s Buddhism, but there’s the idea that on the path to enlightenment you have to kill your parents, your god, and your teacher. So the story begins at the moment when the Edward Norton character is twenty-nine years old. He’s tried to do everything he was taught to do, tried to fit into the world by becoming the thing that he isn’t … And so the movie introduces him at the point when he’s killed off his parents and he realizes that they’re wrong. But he’s still caught up, trapped in this world he’s created for himself. And then he meets Tyler Durden, and they fly in the face of God—they do all these things that they’re not supposed to do, all the things that you do in your twenties when you’re no longer being watched over by your parents, and end up being, in hindsight, very dangerous. And then finally, he has to kill off his teacher, Tyler Durden.

David Fincher

หลังจากอ่านความคิดเห็นนี้ของผู้กำกับ Fincher ทำให้ผมตระหนักว่าเขาไม่ได้ต้องการเป็นอย่าง Jack หรือ Tyler, แสดงทัศนคติต่อต้านการบริโภค (Anti-Consumerism), ต่อต้านระบอบทุนนิยม (Anti-Capitalism) หรือฝักใฝ่ Fascism, แต่ทั้งหมดล้วนคือกระบวนการ “kill your parents, your god, and your teacher” เพื่อให้สามารถตรัสรู้ (ไม่ใช่เพื่อบรรลุหลุดพ้นนะครับ) ค้นพบเป้าหมายชีวิต และเข้าใจความต้องการแท้จริงของตนเอง

กระบวนการเข่นฆ่า ทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่างของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือสิ่งบังเกิดขึ้นภายใต้จิตสำนึกผู้กำกับ Fincher เปรียบเทียบถึงการยินยอมหวนกลับมาร่วมงานสตูดิโอ Fox มองข้ามอคติที่เคยขัดแย้ง ประสบการณ์ทำงานอันย่ำแย่ เพราะมนุษย์สามารถพูดคุยสื่อสาร ปรับความเข้าใจ เคยมีเวรมีกรรมก็สามารถยกโทษให้อภัย อดีตเลวร้ายเมื่อก้าวข้ามผ่าน จักทำให้ตัวเราเข้มแข็ง ไม่มีอะไรให้หวาดกลัวเกรงอีกต่อไป

Fight Club (1999) ถือเป็นการรวบรวมประสบการณ์ของผกก. Fincher ทุกสิ่งอย่างที่หล่อหลอม เสี้ยมสอน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายใน มองจากภายนอกเหมือนไม่อะไรปรับเปลี่ยนแปลงไป แต่มุมมอง โลกทัศนคติ ความครุ่นคิด บัดนี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ สามารถเข้าใจตนเอง ค้นพบเป้าหมายชีวิต ด้วยจิตวิญญาณอันเข้มแข็งแกร่ง


จากทุนสร้างตั้งต้น $23 ล้านเหรียญ ค่อยๆพุ่งทะยานสู่ $50 ล้านเหรียญ ก่อนลงเอ่ยที่ประมาณ $63-65 ล้านเหรียญ แม้สัปดาห์แรกสามารถขึ้นสูงถึงอันดับหนึ่ง แต่กลับทำเงินในสหรัฐอเมริกาตลอดโปรแกรมฉายได้เพียง $37 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $101.2 ล้านเหรียญ เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน่าผิดหวัง

ถึงอย่างนั้นผู้กำกับ Fincher เป็นบุคคลแรกๆในวงการภาพยนตร์ที่ลงมาดูแลในส่วนการทำ DVD/Blu-Ray ด้วยตนเอง ตั้งแต่ออกแบบแพ็กเก็จ, เมนู (ที่ถูกแฮ็คโดย Tyler Durden), Special Feature, เบื้องหลังงานสร้าง, Deleted Scene, Outtakes, Commentary ฯลฯ ผลลัพท์ทำยอดขายระดับถล่มทลาย ได้รับยกย่องในแง่คุณภาพ ต้องหาซื้อเก็บ! มีรายงานว่าสิบปีแรกมียอดจำหน่ายกว่า 6 ล้านก็อปปี้ คิดเป็นมูลค่า $55 ล้านเหรียญ สูงสุดในประวัติศาสตร์ Home Video เลยกระมัง!

แซว: ทีแรกผู้กำกับ Fincher ครุ่นคิดจะเอาใบหน้า Tyler Durden ปรากฎบนโลโก้ 20th Century Fox (คล้ายๆแบบ Tom & Jerry ที่ชอบโผล่แทนสิงโต M-G-M) แต่ถูกปฏิเสธจากสตูดิโอ

LINK: https://www.ebay.com/itm/313794481054

นอกจากนี้ฉบับ Blu-Ray ที่จัดจำหน่ายเมื่อปี 2009 ผู้กำกับ Fincher ก็ได้สร้างเมนูปลอม ล่อหลอกผู้ชมเมื่อเปิดขึ้นมาพบเห็นหน้าจอภาพยนตร์ Never Been Kissed (1999) นำแสดงโดย Drew Barrymore เป็นยังไงไปดูในคลิป

ในบรรดาสามผลงาน Top 3 ของผู้กำกับ Fincher ประกอบด้วย Se7en (1995), Fight Club (1999) และ The Social Network (2010) ส่วนตัวมีความโปรดปราน Fight Club (1999) มาตั้งแต่สมัยวัยสะรุ่น เคยพานผ่านประสบการณ์คล้ายๆตัวละครของ Edward Norton ซื้ออพาร์ทเม้นท์ เฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดัง ใช้ชีวิตเยี่ยงทาสระบอบทุนนิยม แต่หลังจากค้นพบตัวตนเองก็ตระหนักว่าวัตถุสิ่งข้าวของเหล่านั้น ตอบสนองเพียงความสุขทางกาย พอสามารถออกจากเมืองกรุงฯ ละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง ก็พบความสุขทางใจที่มีมูลค่าสูงกว่ามากๆ ไม่ต้องตึงเครียด ไม่ต้องแข่งขัน ใช้ชีวิตอย่าง ‘slow life’ เล่นเกม อ่านหนังสือ ดูอนิเมะ เขียนวิจารณ์ภาพยนตร์ แค่นี้ก็เพียงพอใจในสิ่งพึงมี

Fight Club (1999) ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ทำให้ผมเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตโดยทันที แต่ถือเป็นเสี้ยวส่วนหนึ่งที่ช่วยปลูกฝังแนวคิด สร้างแรงบันดาลใจ เพาะบ่มจนเมื่อปีกกล้าขาแข็ง ก็สามารถก้าวออกมาใช้ชีวิตอย่าง Brad Pitt/Tyler Durden ไม่หมกมุ่นยึดติดอยู่กับวัตถุสิ่งข้าวของ ระบอบทุนนิยม … ละเว้นเรื่องการใช้ความรุนแรง และเผด็จการ Fascism ไว้ในฐานที่เข้าใจ

ผมรู้สึกว่าผู้ชมที่ยังเป็นวัยรุ่น คนหนุ่มสาว รับชม Fight Club (1999) จะสามารถเข้าถึงสาสน์สาระเชิงนามธรรมของหนังได้ดีกว่าบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ที่มักพยายามมองหาสิ่งรูปธรรม วิธีการจับต้องได้ ทำอย่างไรถึงดิ้นหลุดพ้นวังวน ‘rat race’ (เพราะพวกเขาอยู่ภายใต้วิถีดังกล่าวมาสักพักใหญ่ๆแล้ว) ความรุนแรงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร หรือถ้าจะให้จู่ๆลาออกจากงานแล้วไปใช้ชีวิตตามท้องถนน มันก็อุดมคติเกินไป

เอาจริงๆผมเพิ่งมาตระหนักได้ระหว่างการรับชมรอบนี้ ว่าหนังไม่เหมาะสำหรับผู้ชมส่วนใหญ่ เพราะความรุนแรงสุดโต่ง ไม่ใช่สิ่งที่สังคมให้การยินยอมรับ น้อยคนจะสามารถขบครุ่นคิดวิเคราะห์ในเชิงสัญลักษณ์ หรือตีความทางจิตวิเคราะห์ แนะนำให้เตรียมตัวเตรียมใจ ทั้งหมดนี้ก็แค่การแสดง อย่าไปเอาจริงเอาจังกับมันมาก … หนังแอ็คชั่น/ซุปเปอร์ฮีโร่สมัยนี้ใส่ภาพรุนแรงกว่านี้เสียอีก

ปล. ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบความรุนแรง หรือกีฬาต่อสู้ที่สนเพียงเอาชนะ ใช้พละกำลังเข้าห่ำหั่น เลือดตกยางออก แต่ยกเว้นเพียงมวยปล้ำเพราะมันคือการแสดง (Sport Entertainment) กีฬาชนิดเดียวในโลกที่สร้าง’เรื่องราว’ให้ผู้ชมรู้สึกจับต้องทางอารมณ์ สรรหาเหตุผลการต่อสู้ ดูสนุกกว่า สมจริงกว่าหนัง Action สมัยนี้เป็นไหนๆ

จัดเรต 18+ กับความรุนแรง โลกทัศน์บิดๆเบี้ยว

คำโปรย | Fight Club ชมรมการต่อสู้เพื่อค้นหาตัวตนเองของผู้กำกับ David Fincher สร้างความเจ็บปวดจนฝังลึกทรวงใน
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว |

Irma Vep (1996)


Irma Vep (1996) French : Olivier Assayas ♥♥♥♥

จางม่านอวี้เล่นเป็นจางม่านอวี้ เดินทางสู่ฝรั่งเศสเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์สร้างใหม่ (Remake) จากเรื่อง Les Vampires (1915–1916) แต่ผลงานมาสเตอร์พีซอยู่แล้วจะรีเมคทำไม? แล้วไฉนต้องเป็นนักแสดงชาวจีน? พอผู้กำกับ (รับบทโดย Jean-Pierre Léaud) ตระหนักว่าเละแน่ๆ ก็เลยตัดต่อฟุตเทจให้กลายเป็นหนัง Avant-Garde แม้งเสียเลย!

ผมลองค้นหา “Worst Remakes Of All Time” เรื่องที่ค้นพบก็มี Psycho, Ben-Hur, The Mummy, The Wicker Man ฯลฯ นี่ยังไม่รวมหนัง Superhero ที่นิยมชมชอบสร้างใหม่ (Remake) อย่างเช่น Batman, Superman, Spiderman ลุงเบนตายแล้วตายอีก, พ่อ-แม่ของบรูซ เวย์น ถูกยิงซ้ำแล้วซ้ำอีก ฯลฯ … ค่านิยมของวงการภาพยนตร์ยุคสมัยนี้ อะไรที่ทำเงินก็ต้องเข็นออกมาทุกๆ 2-3 ปี ปัดฝุ่นเปลี่ยนแปลงนิดๆหน่อยๆ ประเดี๋ยวมันก็กอบโกยทำกำไร

โดยเฉพาะชุดยาง Latex ได้แรงบันดาลใจจาก Catwoman (สวมใส่โดย Michelle Pfeiffer) ภาพยนตร์เรื่อง Batman Returns (1992) แต่ทีมงานดันไปหาซื้อยังร้าน Sex Shop มันคืออุปกรณ์รัดรูป ขับเน้นความเซ็กซี่(และอวัยวะเพศ) เห็นแล้วบังเกิดอารมณ์ … ปัจจุบันมันได้กลายเป็นเครื่องแบบ/สัญลักษณ์ของ Superhero เห็นแล้วตอบสนองตัณหาราคะของผู้ชม

ผมเลือกรับชม Irma Vep (1996) เพราะกระแสดีเหนือคาดของซีรีย์ Irma Vep (2022) นำแสดงโดย Alicia Vikander ควบคุมงานสร้างโดยผู้กำกับคนเดียวกัน Olivier Assayas นั่นแปลว่าต้นฉบับเรื่องนี้ต้องมีดีอะไรบางอย่าง เลยเสี่ยงค้นหามาดู ปรากฎว่าโคตรชอบเลยว่ะ! นี่เป็นหนังที่ชวนให้ขบครุ่นคิด ‘intelligent film’ ตั้งคำถามถึงทิศทางของวงการภาพยนตร์ ด้วยลักษณะเสียดสีล้อเลียน (Comedy Satire) ในกองถ่ายที่เต็มไปด้วยมลพิษ (Toxic) แต่จางม่านอวี้กลับเซ็กซี่ เจิดจรัสสุดๆ เมื่อต้องเข้าฉากกับ Jean-Pierre Léaud เหมือนการเผชิญหน้าระหว่างมหาตำนานจากสองฟากฝั่งโลก และตอนจบกลายเป็นหนัง Avant-Garde ทำเอาผมน้ำลายฟูมปาก แม้งคิดได้ไง!

ขอเตือนไว้ก่อนนะครับว่า ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะวิธีการนำเสนอของผู้กำกับ Assayas ต้องใช้การขบครุ่นคิดวิเคราะห์ ‘intelligent film’ เว็บมะเขือเน่าให้ 93% แต่คะแนน IMDB ได้เพียง 7.0 (ถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับหนัง 90% เรื่องอื่นๆ) กลุ่มคนที่ดูหนังเพียงความบันเทิงจะมีคำเรียก ‘elite film’ เหมาะสำหรับพวกปัญญาชน/ชั้นสูง ส่วนในมุมของผู้สร้างภาพยนตร์เรียกว่า Nombrilistic (หรือ Personal Film) สำหรับตอบสนองตัณหาความใคร่ส่วนบุคคล

เกร็ด: Nombrilistic แปลตรงตัวว่า Navel-gazing (จับจ้องสะดือ) แต่ผู้กำกับ Assayas ให้ความหมายว่า self-referential, self-engrossed, inward-looking, and bounded by its own past tradition.


Olivier Assayas (เกิดปี 1955) นักเขียน/นักวิจารณ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris เป็นบุตรของผู้กำกับ Jacques Rémy อพยพจากตุรกี เชื้อสาย Jewish, ตั้งแต่เด็กชอบช่วยเหลืองานบิดาในกองถ่ายภาพยนตร์ พบเห็นช่วงเวลา Mai ’68 ทำให้ได้รับอิทธิพลทางการเมืองอย่างมากๆ, โตขึ้นเข้าศึกษายัง Beaux-Arts de Paris ตามด้วยสาขาวรรณกรรมสมัยใหม่ Université Sorbonne-Nouvelle จบมาทำงานออกแบบกราฟฟิก (Graphic Designer) ตามด้วยนักเขียน/นักวิจารณ์นิตยสาร Cahiers du cinéma ค้นพบความหลงใหลในวงการภาพยนตร์เอเชีย, กำกับหนังสั้น Paris Awakens (1991) คว้ารางวัล Prix Jean Vigo, สรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Cold Water (1994), Irma Vep (1996), Clean (2004), Summer Hours (2008), Personal Shopper (2016) ฯลฯ

ช่วงที่นำผลงาน Cold Water (1994) ฉายยังเทศกาลหนังเมือง Cannes (Un Certain Regard) ได้มีโอกาสพบเจอพูดคุยเพื่อนผู้กำกับ Claire Denis และ Atom Egoyan วางแผนร่วมกันจะสรรค์สร้างภาพยนตร์แนวทดลอง เกี่ยวกับชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในกรุง Paris แต่โปรเจคดังกล่าวก็ไม่สามารถเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา

ถึงอย่างนั้น Assayas ก็ครุ่นคิดต่อยอดจากโปรเจคดังกล่าว ทบทวนประสบการณ์ที่เคยออกเดินทางไปฮ่องกงและไต้หวัน (ช่วงที่เป็นนักวิจารณ์มีโอกาสเดินทางไปพบปะผู้กำกับ/นักแสดงชาวเอเชีย ตามเทศกาลหนังหลายครั้ง) ครุ่นคิดย้อนกลับตารปัตร ถ้าให้นักแสดงชาวจีนเดินทางมาถ่ายทำภาพยนตร์ยังฝรั่งเศส

และความสนใจเพิ่มเติมคือมุมมองต่อวงการภาพยนตร์ยุคสมัยใหม่ เชื่อว่านักแสดงจากเอเชียจักสามารถมาเล่นหนังยุโรป/Hollywood … vice versa … แต่ทิศทางของสตูดิโอกลับจะคับแคบลง สนเพียงผลงานที่สามารถสร้างกำไร ภาคต่อ (Sequel) สร้างใหม่ (Remake) เวียนวนซ้ำไปซ้ำมาอยู่อย่างนั้น

เกร็ด: มีสองแหล่งข่าวบอกว่า Olivier Assayas พัฒนาบทหนังเพียง 9 วัน อีกแห่งอ้างว่านานถึง 10 สัปดาห์! แต่ผมว่าตัวเลขหลังน่าจะเป็นโปรดักชั่นทั้งหมดเสียมากกว่า (รวมทั้ง pre-production-post) เพราะช่วงการถ่ายทำยังแค่เดือนเดียวเอง!


จริงๆผมเคยเขียนถึงหนังเงียบรายเดือน (Serial Film) เรื่อง Les vampires (1915-16) โคตรผลงาน ‘magnum opus’ ของผู้กำกับ Louis Feuillade แต่ไม่ได้วิเคราะห์ลงรายละเอียด เลยจะขออธิบายเพิ่มเติมสักหน่อยก่อนแล้วกัน

LINK: https://raremeat.blog/les-vampires-1915-16/

Les vampires ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับผีดิบ/ค้างคาว/แวมไพร์ แต่คือชื่อองค์กรอาชญากรชั่วร้ายโดยมี Irma Vep (รับบทโดย Musidora) คนรักของผู้นำกลุ่ม First Grand Vampire ก่อกระทำการปล้น/ฆ่า กำลังถูกไล่ล่าติดตามโดยยอดนักข่าว Philippe Guérande (เป็นประชดประชันการทำงานของตำรวจยุคสมัยนั้น) ความตั้งใจจริงๆเพียงแค่ต้องการนำมาเขียนข่าว แต่หลายครั้งเกือบๆเอาชีวิตไม่รอด ตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ก็มีเหตุให้สามารถดิ้นรนหลบหนีได้สำเร็จ

แม้โปรดักชั่นหรือวิธีการนำเสนอของหนังจะไม่ได้มีความน่าตื่นตาตื่นใจ (ตามยุคสมัย) ตอนผมรับชมก็สัปหงกอยู่หลายรอบ (ขนาดเร่งความเร็วยังรู้สึกว่าหนังยาวนานมากๆ) แต่เรื่องราวมีการหักมุมที่คาดไม่ถึงอยู่หลายครั้ง แถมค่อยๆทวีความสนุกสนาน ลุ้นระทึก สลับซับซ้อนขึ้นตามลำดับ และที่กลายเป็น ‘Iconic’ คือภาพลักษณ์การแสดงของ Musidora ในบทบาท Irma Vep (สามารถสลับตัวอักษร ‘anagram’ ให้กลายเป็นคำว่า Vampire)

Musidora ชื่อจริง Jeanne Roques (1889-1957) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris เป็นบุตรของนักแต่งเพลง Jacques Roques กับจิตรกร Adèle Clémence Porchez ริบอิทธิพลจากครอบครัว ชื่นชอบงานศิลปะ เขียนนวนิยาย กลายเป็นนักแสดงตั้งแต่อายุ 15 ปี กระทั่งการมาถึงของวงการภาพยนตร์ ผลงานเรื่องแรก Les miseres de l’aiguille (1914) แล้วโด่งดังกลายเป็นตำนานจากการร่วมงานผู้กำกับ Louis Feuillade เรื่อง Les Vampires (1915-16) และ Judex (1916)

เกร็ด: Musidora มาจากภาษากรีก แปลว่า gift of the muses

ตัวละคร Irma Vep นอกจากรูปลักษณ์การแต่งกายที่กลายเป็น ‘Iconic’ ยังคือภาพจำของสาวสวยสังหาร ‘Femme Fatale’ หรือเรียกว่า Vamp ก็มาจากการเป็นสมาชิกกลุ่มอาชญากร Les Vampires พร้อมก่ออาชญากร กระทำสิ่งชั่วร้าย คิดคดทรยศหักหลังผู้อื่น โดยไม่สนถูก-ผิด ชอบ ชั่ว-ดี สนเพียงตอบสนองความพึงพอใจส่วนบุคคล … นั่นไม่ใช่วิถีปฏิบัติของหญิงสาวยุคสมัยนั้น แต่โดยไม่รู้ตัวกลายเป็นอิทธิพลต่อแนวคิด ‘เสรีภาพ’ ซึ่งสอดคล้องคำขวัญประเทศฝรั่งเศส (Liberté, Égalité, Fraternité) แสดงพฤติกรรมแบบนี้มันผิดตรงไหน?

René Vidal (รับบทโดย Jean-Pierre Léaud) ได้รับมอบหมายจากสตูดิโอให้กำกับภาพยนตร์สร้างใหม่จากเรื่อง Les Vampires (1915-16) ถึงไม่อยากตอบตกลงเพราะรู้ว่าล้มเหลวแน่ๆ แต่ก็ตั้งข้อแม้นักแสดงรับบทนำ Irma Vep ต้องคือจางม่านอวี้ (รับบทโดย จางม่านอวี้) นักแสดงสาวชาวจีน แต่เพราะอะไรกัน??

จางม่านอวี้เดินทางมาถึงฝรั่งเศสล่าช้าไปหลายวัน เพราะติดคิวถ่ายหนังที่ฮ่องกง แต่ก็พบเห็นความวุ่นๆวายๆ เต็มไปด้วยมลพิษ (Toxic) อาทิ คนดูแลเครื่องแต่งกาย Zoé (รับบทโดย Nathalie Richard) มักมีเรื่องโต้เถียงผู้จัดการกองถ่ายเป็นประจำ, ผู้กำกับ Vidal ก็มีความเรื่องมากเอาแต่ใจ พอพบเห็นฟุตเทจที่น่าผิดหวังก็แสดงอาการเกรี้ยวกราด หนีหายตัวจากกองถ่าย ฯลฯ

เมื่อสตูดิโอมอบหมายโปรเจคนี้ให้ผู้กำกับคนใหม่ José Mirano (รับบทโดย Lou Castel) ตั้งใจจะเปลี่ยนนักแสดงนำมาเป็น Laure (รับบทโดย Nathalie Boutefeu) นั่นทำให้จางม่านอวี้เดินทางสู่สหรัฐอเมริกา (ทอดทิ้งกองถ่ายไปเช่นกัน) และเมื่อกำลังจะรับชมฟุตเทจที่ถ่ายทำ กลับพบว่าผู้กำกับ Vidal แอบตัดต่อใหม่ให้กลายเป็นหนัง Avant-Garde ไม่รู้อนาคตโปรดักชั่นเรื่องนี้จะดำเนินต่อไปเช่นไร


จางม่านอวี้, 張曼玉 (เกิดปี 1964) นักแสดงหญิงชาวจีน เกิดที่ฮ่องกง บิดา-มารดาเป็นคนเซี่ยงไฮ้ (คงอพยพมาตอนสงครามกลางเมืองจีน) ตอนเธออายุ 8 ขวบ ติดตามครอบครัวย้ายไป Bromley, London ประเทศอังกฤษ ก่อนหวนกลับมาฮ่องกงตอนอายุ 18 ตั้งใจแค่มาท่องเที่ยววันหยุด กลับเข้าตาแมวมอง ได้ทำงานโมเดลลิ่ง ตัดสินใจเข้าประกวด Miss Hong Kong คว้ารางวัลที่สองและขวัญใจช่างภาพ ติดตามด้วย Miss World สามารถผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศ, เซ็นสัญญาสถานี TVB เคยเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์, แจ้งเกิดภาพยนตร์ Police Story (1985), ร่วมงานขาประจำผู้กำกับหว่องกาไว As Tears Go By (1988), Days of Being Wild (1990), Ashes of Time (1994), In the Mood for Love (2000), 2046 (2004), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Full Moon in New York (1989), Center Stage (1991), New Dragon Gate Inn (1992), Irma Vep (1996), Comrades: Almost a Love Story (1996), Hero (2002), Clean (2004) ฯลฯ

แม้ผู้กำกับ Olivier Assayas จะครุ่นคิดพัฒนาบทโดยมีจางม่านอวี้มาเป็นนักแสดงนำ (จากความประทับใจ Ashes of Time (1994)) แต่ผมเจอบทสัมภาษณ์หนึ่งบอกว่าพวกเขาไม่เคยพบเจอพูดคุยกันมาก่อน เพิ่งรับรู้จักกันจริงๆก็ตอนเริ่มโปรดักชั่นถ่ายทำ (อีกบทสัมภาษณ์บอกว่าเคยดินเนอร์ร่วมกันครั้งหนึ่งผ่านการติดต่อของ Christopher Doyle) โดยไม่รู้ตัวสานสัมพันธ์กลายเป็นความรัก แต่งงานครองคู่อยู่ร่วมกันสามปีแล้วหย่าร้าง

จางม่านอวี้รับบทเป็นจางม่านอวี้ นักแสดงชาวจีนเดินทางสู่ฝรั่งเศสเพื่อร่วมงานถ่ายทำภาพยนตร์สร้างใหม่ Les Vampires แต่ผมมองว่าบทบาทนี้คือจางม่านอวี้ในมุมผู้กำกับ Assayas ซึ่งอาจได้แรงบันดาลใจจาก Center Stage (1991) ที่พบเห็นเบื้องหลัง บทสัมภาษณ์ ตัวตนแท้จริงที่ไม่ได้ปรุงปั้นแต่งประการใด มีความบริสุทธิ์ จริงใจ ร่าเริงสดใส มองโลกในแง่ดี และโดยไม่รู้ตัวสามารถสวมบทบาททั้งขณะเล่นเป็นตัวละคร และตัวละครของตัวละคร

แซว: หลายคนอาจงงๆกับที่ผมพยายามอธิบายว่า จางม่านอวี้เล่นเป็นจางม่านอวี้ ไม่ใช่จางม่านอวี้เล่นเป็นตัวตนเอง ถ้าเปรียบเทียบใกล้เคียงที่สุดก็ Nicolas Cage ในภาพยนตร์ The Unbearable Weight of Massive Talent (2022) แม้เขาเล่นเป็นตัวเอง แต่คือบทบาท ‘ความเป็น Nic Cage’ หาใช่ตัวตนแท้จริงของเขา

สำหรับบทบาท Irma Vep จากคำกล่าวอ้างของผู้กำกับ René Vidal (รับบทโดย Jean-Pierre Léaud) เหตุผลที่เลือกจางม่านอวี้เพราะความประทับใจจากภาพยนตร์ The Heroic Trio (1993) โดยเฉพาะทักษะต่อสู้ ลีลากังฟู ที่ดูเหมือนการเต้นลีลาศ เต็มไปด้วยความยั่วเย้ายวนใจ … แต่เธอก็บอกว่านั่นคือการแสดงของสตั๊นแมน

แม้จางม่านอวี้จะถูกรายล้อมด้วยนักแสดงฝรั่งเศส พูดคุยสื่อสารไม่ค่อยรู้เรื่อง โดนจิกกัดด้วยโลกทัศน์ที่แตกต่าง แต่เธอยังคงมีความโดดเด่นเหมือนดั่งดอกฟ้าในมือมาร หรือเพชรที่อยู่ในโคลนตมก็ยังคงเปร่งประกายเจิดจรัส ไม่มีใครสามารถทำให้อับแสงลงได้

ส่วนไฮไลท์ต้องยกให้ขณะเธอสวมวิญญาณกลายเป็น Irma Vep ก็ไม่รู้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น จู่ๆก้าวออกมาจากห้อง ทำการย่องเบา แอบเข้าห้องใครก็ไม่รู้ ลักขโมยเครื่องประดับแล้วกลับออกมา ตากฝนหัวเราะร่าอย่างบ้าคลั่ง … ล้อกับฉากที่เพิ่งถ่ายทำภาพยนตร์ Les Vampires ได้ละม้ายคล้ายยังกะแกะ!


Jean-Pierre Léaud (เกิดปี 1944) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris บุตรของนักแสดง Jacqueline Pierreux ที่ไม่มีเวลาให้ลูกเท่าไหร่ เลยส่งไปโรงเรียนประจำยัง Pontigny ขณะนั้นอายุ 14 ขวบ พอได้ยินข่าวมีการคัดเลือกนักแสดงเด็ก ขึ้นรถไฟหนีมาทดสอบหน้ากล้อง โดดเด่นเข้าตา François Truffaut จนได้รับเลือกให้แสดงนำ The 400 Blows (1959) แล้วตัดสินใจเอาดีด้านนี้ ผลงานเด่นๆติดตามมา อาทิ Masculin, féminin (1966), Last Tango in Paris (1972), Day of Night (1973), The Mother and the Whore (1973) ฯ

รับบท René Vidal ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส ในอดีตเคยได้รับยกย่องว่าเป็นคลื่นลูกใหม่ (New Wave) แต่ปัจจุบันสนเพียงสร้างหนังที่ตอบสนองความใคร่ส่วนบุคคล (Personal Film หรือที่ผกก. Assayas เรียกว่า Nombrilistic) คงกำลังอยู่ในช่วงอับจน เพราะไม่มีสตูดิโอไหนอยากให้ทุนสร้างภาพยนตร์ เลยตอบตกลงโปรเจคสร้างใหม่ Les Vampires ทั้งรู้ว่าคงออกมาเละเทะแน่ แต่ก็ยังแอบเผื่อใจไว้ … ผลลัพท์ทำให้เขาคลุ้มคลั่ง แทบควบคุมตนเองไม่อยู่ หลบหนีหายตัวออกจากกองถ่าย แล้วโต้ตอบสตูดิโอด้วยการแอบตัดต่อฟีล์มให้กลายเป็นหนัง Avant-Garde

เพราะว่า Léaud เคยแสดงภาพยนตร์ Day of Night (1973) ของผู้กำกับ François Truffaut ที่มีเรื่องราววุ่นๆวายๆในกองถ่ายหนัง ละม้ายคล้าย Irma Vep (1996) จึงได้รับการติดต่อจากผู้กำกับ Assayas และถือเป็นบุคคลเชื่อมโยงถึงยุคสมัย French New Wave ได้อีกต่างหาก

ผมแอบรู้สึกว่า Léaud นำเอาประสบการณ์จากเคยร่วมงานบรรดาผู้กำกับ ‘autuer’ แห่งยุคสมัย French New Wave ผสมผสานคลุกเคล้าได้อย่างกลมกล่อมมากๆ โดยเฉพาะ Truffaut, Godard ที่ร่วมงานนับครั้งไม่ถ้วน เต็มไปด้วยความเย่อหยิ่งทะนง ทำตัวหัวสูงส่ง พูดพร่ำถึงวิสัยทัศน์ที่คนส่วนใหญ่อาจฟังไม่ค่อยเข้าใจ (แต่จางม่านอวี้กลับรับรู้เรื่อง!) พอไม่ได้ดั่งใจก็แสดงอาการคลุ้มบ้าคลั่งออกมา


ถ่ายภาพโดย Éric Gautier (เกิดปี 1961) สัญชาติฝรั่งเศส วัยเด็กมีความสนใจด้านดนตรี เล่นเปียโนตั้งแต่อายุ 11 ปี ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นจึงเปลี่ยนมาเอาดีด้านภาพยนตร์ สำเร็จการศึกษาจาก École nationale supérieure Louis-Lumière (ENS Louis-Lumière) ทำงานเป็นผู้ช่วยตากล้อง Alain Resnais เรื่อง Life Is a Bed of Roses (1982), ผลงานเด่นๆ อาทิ Irma Vep (1996), Those Who Love Me Can Take the Train (1998), Clean (2004), The Motorcycle Diaries (2004), Into the Wild (2007), Summer Hours (2008), Ash Is Purest White (2018), The Truth (2019), Stars at Noon (2022) ฯ

เพื่อนำเสนอความวุ่นๆวายๆในกองถ่ายภาพยนตร์ วิธีการก็คือใช้กล้อง Super 16 ที่มีขนาดเล็ก ราคา(ฟีล์ม)ถูกๆ สามารถเดินติดตามนักแสดงไปทุกหนแห่ง นั่นทำให้ได้ผลลัพท์คุณภาพต่ำ ภาพออกมาสั่นๆ บรรยากาศสมจริง แต่บางครั้งก็ชวนให้ปวดเศียรเวียนเกล้า (เพราะกล้องมันสั่นเกิ้น), ยกเว้นเพียงฟุตเทจของหนังในหนัง ‘film within film’ ที่จะถ่ายทำด้วยฟีล์มขาว-ดำ 35mm เพื่อทำการเคารพคารวะต้นฉบับ Les Vampires (1915-16) … แนะนำให้หาฉบับบูรณะมารับชมนะครับ ได้รับการปรับปรุงคุณภาพจนเพียงพอรับได้

หลายครั้งมีลักษณะเป็น Long Take ทำเหมือนการบันทึกบทสัมภาษณ์/สารคดีเบื้องหลังการถ่ายทำ แต่ในความจริงนั้นทีมนักแสดงต้องมีการซักซ้อม ตระเตรียมการ รวมถึงกำหนดทิศทางมุมกล้องที่เคลื่อนดำเนินไปอย่างแม่นเปะ! เพื่อให้สามารถถ่ายทำน้อยครั้งที่สุด … แต่ผมได้ยินว่าหนังไม่มีการถ่ายเทคสอง เป็นไปได้หรือนี่? คือถ้าเป็นจริงมันแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ ‘professional’ ของกองถ่ายนี้มากๆ ตารปัตรตรงกันข้ามกับเรื่องราวในหนังโดยสิ้นเชิง!


ฉากแรกของหนังฟังจากคำสนทนาผ่านโทรศัพท์ ก็พอคาดเดาว่าโปรดิวเซอร์กำลังเรียกร้องส่วนแบ่ง เกี่ยวกับเงินๆทองๆ ต่อรองงบประมาณกับนายทุน แต่เห้ย! ต้องถือปืนข่มขู่กันเลยเหรอ แม้คาดเดาไม่ยากว่าต้องเป็นของปลอม อุปกรณ์ประกอบฉาก (prop) แต่การพูดว่า ‘no worry’ หรือ ‘no problem’ แล้วมือถือปืน มันสร้างความรู้สึกหายนะ หนังเรื่องนี้แม้งต้องชิบหายวายป่วนแน่ๆ

เสื้อผ้าถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของหนัง (ไม่ใช่แค่ชุดยางรัดรูป Latex เท่านั้น) ซึ่งถ้าใครช่างสังเกตก็น่าจะพบเห็นรายละเอียด การอ้างอิง (ไข่อีสเตอร์) หรือแฝงนัยยะบางสิ่งอย่าง … แต่ผมจะไม่ลงรายละเอียดส่วนนี้มากนะครับ

เมื่อตอนจางม่านอวี้เดินทางมาถึงฝรั่งเศส เธอสวมชุดที่มีลวดลายธงชาติ นานาประเทศ เพื่อสื่อถึงความเป็นสากลของ Irma Vep ไม่จำเป็นต้องยึดติดว่าต้องคือชาวฝรั่งเศส เชื้อชาติพันธุ์ไหนก็ได้ทั้งนั้น เพราะตัวละครนี้แท้จริงคือสัญลักษณ์ของ ‘เสรีภาพ’

เกร็ด: The Heroic Trio (1993) กำกับโดยตู้ฉีฟง เป็นการเผชิญหน้าระหว่างสามนักแสดงหญิงชื่อดัง(ที่จักกลายเป็นตำนาน)ของเอเชีย จางม่านอวี้, มิเชล โหยว และเหมยเยี่ยนฟาง

แค่ท่านั่งของ Jean-Pierre Léaud แม้งก็กินขาดแล้วนะ! ยกฝ่าเท้าขึ้นมาระดับเดียวกับใบหน้า สูงกว่าจางม่านอวี้ที่นั่งอยู่กับพื้นด้วยนะ แสดงถึงความไม่พึงพอใจต่อสิ่งที่ตนเองกระทำอยู่ตอนนั้น ทำไมสตูดิโอต้องให้เขาสร้างใหม่ (Remake) ภาพยนตร์ระดับมาสเตอร์พีซเรื่อง Les Vampires (1915-16) มันช่างไร้สาระ ไม่มีความจำเป็นเลยสักนิด!

แซว: ฉากนี้เหมือนจะล้อเหตุการณ์จริงที่ผู้กำกับ Assayas พบเจอจางม่านอวี้ครั้งแรกก็ในกองถ่ายเลยละ (แม้เขียนบทนี้โดยมีเธออยู่ในใจ แต่กลับไม่เคยพบเจอกันมาก่อน)

Les Vampires (1915-16) สามารถหารับชมได้ทาง Youtube คุณภาพ HD ได้รับการบูรณะแล้วด้วยนะ! ซึ่งตอนที่หนังนำบรรยายให้ผู้ชมขณะนี้คือ Episode 6: Hypnotic Eyes ระหว่างที่ Irma Vep ถูกลักพาตัวโดย Juan-José Moréno (อาชญากรคู่ปรับ Les Vampires) แล้วทำการสะกดจิต (ล้างสมอง) ให้เข่นฆาตกรรม First Grand Vampire ทรยศหักหลังชายคนรักของตนเอง

ชุดยาง Latex หาซื้อจากร้าน Sex Shop คือนัยยะที่หนังพยายามสื่อถึงจุดประสงค์แท้จริงของมัน! อุปกรณ์รัดชุด ขับเน้นเรือนร่าง ความเซ็กซี่(และอวัยวะเพศ) พบเห็นแล้วบังเกิดอารมณ์ ตอบสนองตัณหาราคะ ล้อเลียนบรรดาชุดของ Superhero ได้อย่างแสบกระสันต์

นักวิจารณ์สมัยนั้นมองชุดยาง Latex สื่อถึงความผิดแผกแตกต่าง ‘foreignness’ หรือคือจางม่านอวี้ที่เป็นชาวจีนรายล้อมรอบด้วยทีมงานฝรั่งเศส หลายครั้งได้รับการปฏิบัติราวกับไม่มีตัวตน สุญญากาศ มองด้วยสายตาอคติ ดูถูกเหยียดหยาม ยัยนี่เป็นใคร ทำไมถึงแสดงบทบาทที่ควรเป็นสัญลักษณ์ของชาวฝรั่งเศส

แซว: การที่ชุดยาง Latex มีร่องรอยฉีดขาดอยู่บ่อยครั้ง (ทำให้ Zoé มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งผู้จัดการกองถ่ายอยู่เป็นประจำ) ก็เพื่อสื่อถึงความรั่วๆในกองถ่าย เต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านับครั้งไม่ถ้วน

ระหว่างกำลังถ่ายทำ ผู้กำกับ Vidal ยกขวดโค้กขึ้นดื่มด่ำ นี่เป็นการอ้างอิงถึงภาพยนตร์ Masculin Féminin (1966) ของผู้กำกับ Jean-Luc Godard นำแสดงโดย Jean-Pierre Léaud ซึ่งมีกล่าวถึงวัยรุ่นยุคสมัยนั้น (Baby Boomer) มีคำเรียกว่า Children of Marx and Coca-Cola ฟังดูเหมือนการประชดประชัน เพราะ Marx คือแนวคิดการปกครอง, Coca-Cola คือสัญลักษณ์ระบอบทุนนิยม

Classe de lutte (1969) หนังสั้น กำกับโดย Chris Marker นำเสนอเรื่องราวของ Suzanne คนงานโรงงานนาฬิกา Yema Watch Factory ย่าน Besançon (ที่เต็มไปด้วยปัญหา) และเป็นสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงาน (ที่ผู้นำขาดความกระตือรือล้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น) … จะว่าไปหนังสั้นเรื่องนี้ ล้อกับสภาพการทำงานในกองถ่ายภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดี!

หลังเหตุการณ์วุ่นๆในค่ำคืนนี้ จางม่านอวี้แทนที่จะออกทางประตู เธอกลับปีนป่ายออกตรงหน้าต่าง เห็นสวมกางเกงรัดรูป มันช่างละม้ายคล้ายชุดยาง Latex บอกใบ้ถึงความผิดปกติที่กำลังจะเกิดขึ้นฉากต่อไป

เมื่อกลับมาที่โรงแรมกล้องเคลื่อนเลื่อนอย่างฉวัดเฉวียนรอบห้องพัก แสดงถึงอารมณ์กวัดแกว่ง กระวนกระวายของจางม่านอวี้ ไม่รู้ว่าเธอนอนละเมอ เสพยา หรือถูกวิญญาณของ Irma Vep เข้าสิงร่าง สวมใส่ชุดยาง Latex และขณะหนึ่งถือโปสเตอร์ Sonic Youth วงดนตรีที่กำลังบรรเลงบทเพลง Tunic (Song for Karen) ดังกระหึ่มขึ้นมา

เกร็ด: Tunic (Song for Karen) เป็นบทเพลงอุทิศให้กับ Karen Carpenter (1950-83) หนึ่งในสุดยอดนักร้องหญิงแห่งยุค 70s แต่เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลวเนื่องมาจากโรคคลั่งผอม/เบื่ออาหาร (Anorexia Nervosa)

เธอคือใครก็ไม่รู้ในสภาพเปลือยกาย กำลังคุยโทรศัพท์กับชายชู้รัก เฝ้ารอคอยเมื่อไหร่เขาจักเดินทางมาหา แต่กลับเป็นว่าจางม่านอวี้ (อวตารของ Irma Vep) แอบย่องเบาเข้ามาในห้องพัก หลบซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางความมืดมิด (โทนสีน้ำเงิน) เหลือบไปเห็นเครื่องประดับหรู มิอาจหักห้ามตนเอง ลักขโมยติดไม้ติดมือกลับไป

หญิงชาวอเมริกันผู้นี้ (รับบทโดย Arsinée Khanjian) ไม่เคยปรากฎตัวมาก่อนในหนัง และหลังจากนี้ก็สูญหายตัวไปไม่เคยพบเห็นอีกเลย (เรียกว่าเป็นคนนอก/แปลกหน้าอย่างแท้จริง!) แต่มีแนวโน้มว่าอาจขึ้นเครื่องบินกลับอเมริกาลำเดียวกับจางม่านอวี้ … ก็ไม่รู้เหมือนกันนะ

แล้วทำไมต้องร่างกายเปลือยเปล่า? ก็เพื่อเป็นภาพสะท้อนตัวละครจางม่านอวี้ ขณะนี้กำลังสวมจิตวิญญาณ Irma Vep หรือคือร่างกาย<>จิตใจ, แสงสว่าง<>มืดมิด, สูญเสียชายคนรัก<>เครื่องประดับล้ำค่า

ระหว่างกำลังหลบหนี จางม่านอวี้ในคราบ Irma Vep เดินขึ้นมาบนชั้นดาดฟ้า (ล้อกับฉากที่กำลังจะถ่ายทำวันถัดไป ให้สตั๊นแมนเดินวนรอบหลังคาตึก) นอกจากฝนตกหนัก ให้สังเกตใบหน้าที่เดี๋ยวมืดเดี๋ยวสว่าง ราวกับบังเกิดความครุ่นคิดขึ้นแย้งขึ้นภายใน

จางม่านอวี้ทิ้งเครื่องประดับไปทำไม?? นั่นเพราะหลังจากนี้เธอจักสูญเสียจิตวิญญาณของ Irma Vep ไม่ได้แสดงเป็นตัวละครนี้อีกต่อไป! เพราะวันถัดมาผู้กำกับ Vidal หายตัวไปจากกอง ทำให้ต้องยกเลิกแผนถ่ายทำทั้งหมด แล้วอีกวันถัดมาก็มีการเปลี่ยนตัวผู้กำกับ และเรียกร้องให้เปลี่ยนตัวนักแสดงนำอีกเช่นกัน

ฉากการให้สัมภาษณ์บนดาดฟ้าตึกแห่งหนึ่ง ขณะที่จางม่านอวี้พยายามมองโลกในแง่ดี ปั้นแต่งสร้างภาพ พูดจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เพื่อให้เกียรติกับเพื่อนร่วมงาน (ส่วนใหญ่จะนำเสนอผ่านฟุตเทจที่ถ่ายทำ เพื่อสื่อถึงการเล่นละคอนตบตา) ตรงกันข้ามกับพวกนักข่าวที่ไม่ต่างจากอีแร้งกา พยายามยัดเยียด แสดงความคิดเห็นโน่นนี่นั่น (ใครสัมภาษณ์ใครกันเนี่ย?) นี่น่าจะเป็นการเสียดสีล้อเลียนวงการสื่อในฝรั่งเศส เลื่องลือชาในการจิกกัด ใช้คำพูดรุนแรง เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว ไม่สนหัวใครทั้งนั้น!

แม้ท่อนบนสวมชุดยาง Latex แต่ครึ่งล่างใส่กางเกงยีนส์ นั่นทำให้ขณะนี้จางม่านอวี้ยังคงเป็นจางม่านอวี้ แม้ซักซ้อมการแสดงเพื่อเตรียมตัวถ่ายทำ แต่เธอไม่ได้สวมวิญญาณเป็น Irma Vep อีกต่อไป … นี่คือครั้งสุดท้ายที่เห็นเธอสวมใส่ชุดยาง Latex ด้วยนะครับ

การแสดงที่จางม่านอวี้กำลังซักซ้อม คือแสดงสีหน้าหวาดหวั่นสั่นกลัวต่อ Moréno หลังจากถูกสะกดจิต … นี่สามารถสะท้อนความรู้สึกของตัวละครหลังจากการสัมภาษณ์ หรือจะมองว่าหลังเหตุการณ์เมื่อคืนที่ราวกับถูกสะกดจิตก็ได้เช่นกัน

สำหรับคนที่จะมาทำงานแทนที่ผู้กำกับ Vidal ก็คือ José Mirano รับบทโดย Lou Castel นักแสดงสัญชาติ Swedish ที่มาโด่งดังในอิตาลี ได้รับเชิญจากผู้กำกับ Assayas เพราะเคยเล่นบทบาทคล้ายๆกันนี้จาก Beware of a Holy Whore (1971) กำกับโดย Rainer Werner Fassbinder (ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับความป่วนๆในกองถ่ายภาพยนตร์)

หลังจากผู้กำกับ Mirano เกลี้ยกล่อม Laure ให้รับบทนำ Irma Vep แทนจางม่านอวี้ เขาก็กลับห้องไปรับชม Les Vampires (1915-16) ถ้าผมจะไม่ผิดน่าจะอยู่ใน Episode 3: The Red Codebook มีฉากที่เห็นตัวอักษร Irma Vep ขยับเคลื่อนไหวกลายเป็น Vampire

Zoé ผู้ดูแลเสื้อผ้าให้นักแสดง มีรสนิยมรักร่วมเพศ แอบชื่นชอบจางม่านอวี้ตั้งแต่แรกพบเจอ เพื่อแสดงถึงความเป็น Queer ของตัวละคร Irma Vep (จะว่าไปจางม่านอวี้ ก็เป็นที่ชื่นชอบของทั้งบุรุษและสตรี) พยายามชักชวนเธอให้มาร่วมเล่นยา พามางานเลี้ยงปาร์ตี้ แม้ได้รับการตอบปัดปฏิเสธ แต่เธอก็ปลดปล่อยตัวกายใจ ให้ล่องลอยไปกับแสงสี ความคลุ้มบ้าคลั่งของโลกใบนี้ … จะมองว่าเป็นการนำเข้าสู่วิถี Avant-Garde ในชีวิตจริง (ล้อกับหนัง Avant-Garde ที่กำลังจะขึ้นฉากถัดไป)

เมื่อปี 1951, ผู้กำกับชาวโรมาเนีย Isidore Isou ได้นำโคตรผลงาน Traité de Bave et d’Éternité ชื่อภาษาอังกฤษ Venom and Eternity (1951) แนว Avant-Garde เดินทางสู่เทศกาลหนังเมือง Cannes โดยไม่ได้รับเชิญ พยายามล็อบบี้ผู้จัดงานจนสามารถเข้าฉาย Vox Theater แม้ได้รับเสียงโห่โล่ ดูไม่เข้าใจ ฟีล์มหนังเต็มไปด้วยเส้นสาย รอยขีดข่วน เหลี่ยมๆกลมๆ ภาพนามธรรม (Abstract) และเสียงอะไรก็ไม่รู้บาดแก้วหู แต่ผู้กำกับ Jean Cocteau กลับมอบรางวัล Prix de spectateurs d’avant-garde

LINK: https://www.youtube.com/watch?v=Vq1xjYASQBQ

ลิงค์ที่ผมนำมาแม้เพียงส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ Venom and Eternity (1951) ก็พอให้ดูออกว่าคือแรงดาลใจผู้กำกับ Assayas สรรค์สร้างหนัง Avant-Garde ช่วงท้ายของ Irma Vep (1996) ด้วยการใส่เส้นๆสายๆ ลวดลายนามธรรม พร้อมผสมเสียง Sound Effect ซึ่งถ้าใครช่างสังเกตจะพบว่ามักทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับดวงตาและปาก แลดูเหมือนการเซนเซอร์ พยายามปกปิดกั้น ไม่ยินยอมรับสิ่งบังเกิดขึ้น

แง่มุมหนึ่งเราอาจมองว่านี่คือความเห็นแก่ตัว/การโต้ตอบของผู้กำกับ Vidal ไม่ยินยอมรับใบสั่งของสตูดิโอ เลยทำลายฟีล์มต้นฉบับให้เสียหายย่อยยับเยิน, ขณะเดียวกันเราสามารถมองถึงการพยายามใส่จิตวิญญาณให้ภาพยนตร์ หรือคือการสร้างนัยยะความหมาย(เชิงนามธรรม)ให้ฟุตเทจเหล่านี้ ราวกับทำให้พวกมันมีชีวิตชีวาขึ้นมา

ตัดต่อโดย Luc Barnier (1954-2012) ขาประจำผู้กำกับ Olivier Assayas ตั้งแต่หนังสั้น Laissé inachevé à Tokyo (1982) จนกระทั่งผลงานสุดท้าย Something in the Air (2012)

การดำเนินเรื่องของหนังถือว่ามีจางม่านอวี้คือจุดศูนย์กลาง เริ่มตั้งเดินทางมาถึงสตูดิโอ (ล่าช้ากว่ากำหนดประมาณสัปดาห์) จากนั้นตรงไปลองชุด (ที่ Sex Shop) พบเจอผู้กำกับ René Vidal วันถัดมาก็เริ่มเข้าฉากถ่ายทำ ค่ำคืนนั้นเลี้ยงฉลอง(ความล้มเหลว) นำสู่ช่วงเวลาแห่งความบ้าคลั่ง อีกวันถัดมากองล่ม สตูดิโอสั่งเปลี่ยนผู้กำกับ ผู้กำกับสั่งเปลี่ยนนักแสดง แล้วจางม่านอวี้ก็เดินทางจากไป … เรื่องราวดำเนินผ่านไปประมาณ 3-4 วันเองกระมัง!

ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอแบ่งเรื่องราวออกเป็นวันๆ ตามระยะเวลาที่จางม่านอวี้อาศัย/ถ่ายทำภาพยนตร์ยังฝรั่งเศส

  • วันแรก, เดินทางมาถึง
    • จางม่านอวี้เดินทางมาถึงสตูดิโอภาพยนตร์
    • พบเจอผู้กำกับ René Vidal ให้คำอธิบายเหตุผลที่เลือกเธอมารับบท Irma Vep
    • จากนั้นเดินทางไปลองชุดยาง Latex ยัง Sex Shop แห่งหนึ่ง
  • วันที่สอง, เริ่มต้นถ่ายทำภาพยนตร์
    • ถ่ายทำซีนเดินซ้ำๆหลายสิบเทค จนทำให้แผนการงานล่าช้า
    • ยามค่ำรับชมฟุตเทจที่ถ่ายทำ ผู้กำกับ Vidal เกิดความผิดหวังอย่างรุนแรง
    • จางม่านอวี้ไม่มีใครพาไปส่งโรงแรม เลยไปร่วมงานเลี้ยงปาร์ตี้ของ Zoé
    • ยังไม่ทันเข้านอน จางม่านอวี้ถูกเรียกตัวไปพบผู้กำกับ Vidal ที่เพิ่งจะสงบสติอารมณ์จากความเกรี้ยวกราด
    • และเมื่อกลับมายังโรงแรม สวมวิญญาณกลายเป็น Irma Vep ย่องเบาเข้าไปลักขโมยเครื่องประดับ
  • วันที่สาม, จุดจบของกองถ่าย
    • จางม่านอวี้ตื่นสายเพราะหลับลึก (อ้างว่าทานยานอนหลับ แต่อาจจะเหน็ดเหนื่อยกับเรื่องเมื่อคืน)
    • กองสองกำลังถ่ายทำสตั๊นแมนปีนป่ายหลังคา แต่ผู้กำกับ Vidal สูญหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย
    • จางม่านอวี้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวชาวฝรั่งเศส
    • ระหว่างกำลังซักซ้อมเข้าฉากกับเพื่อนนักแสดง ผู้จัดการกองสั่งล้มเลิกแผนงาน (เพราะไม่สามารถติดตามหาตัวผู้กำกับ Vidal)
    • José Mirano ได้รับมอบหมายให้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้แทน และพยายามล็อบบี้เปลี่ยนตัวนักแสดง
    • ค่ำคืนนั้น Zoé ชักชวนจางม่านอวี้ไปเที่ยวผับแห่งหนึ่ง แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธ
  • วันที่สี่, เดินทางจากไป
    • วันถัดมาจางม่านอวี้ได้เดินทางสู่สหรัฐอเมริกา ทิ้งกองถ่ายไปเรียบร้อยแล้ว
    • ผู้กำกับคนใหม่เดินทางมายังสตูดิโอ รับชมฟุตเทจที่ถ่ายทำ กลับพบเห็นว่าผู้กำกับ Vidal แอบมาตัดต่อให้กลายเป็นหนัง Avant-Garde ไปเรียบร้อยแล้ว

หนังถือว่าไม่มีเพลงประกอบ (Soundtrack) แต่จะได้ยินในลักษณะ ‘diegetic music’ ผ่านแหล่งกำเนิดเสียง โทรทัศน์ เครื่องเล่นสเตอริโอ ในงานเลี้ยงปาร์ตี้ และผับบาร์ตอนท้ายเรื่อง

Tunic (Song for Karen) บทเพลงสไตล์ post-punk ของวงดนตรี Sonic Youth ประกอบอัลบัม Goo (1990), ดังขึ้นหลังจากจางม่านอวี้กลับถึงโรงแรม แล้วเกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ จู่ๆใส่ชุดยาง Latex สวมจิตวิญญาณกลายเป็น Irma Vep จากนั้นก้าวออกจากห้อง ย่องเบาเข้าไปโจรกรรมเครื่องประดับ

บางคนมองว่าพฤติกรรมดังกล่าวคือ ‘on the whim’, ถูกวิญญาณ Irma Vep เข้าสิง, บ้างว่างนอนละเมอ, บ้างว่าพลั้งเผลอเสพยา ฯลฯ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ชมจะขบครุ่นคิดจินตนาการ แต่ท่วงทำนองบทเพลงนี้มีหน้าที่เสริมสร้างความคลุ้มบ้าคลั่ง การแสดง-ความเพ้อฝัน-ซ้อนทับชีวิตจริง (ในภาพยนตร์)

Dreaming, dreaming of a girl like me
Hey what are you waiting for, feeding, feeding me
I feel like I’m disappearing, getting smaller every day
But I look in the mirror, I’m bigger in every way

She said,
You aren’t never going anywhere
You aren’t never going anywhere
I ain’t never going anywhere
I ain’t never going anywhere

ผมพยายามค้นหาบทเพลงหลังจากจางม่านอวี้บอกร่ำลา Zoé เมื่อมาถึงผับแห่งหนึ่ง น่าเสียดายไม่พบเจอ แต่เหมือนว่าจะเป็นการมิกซ์เสียง (Sound Mixed) ด้วยการผสมอะไรๆหลายๆอย่าง คลุกเคล้าเข้าด้วยกัน เพื่อมอบสัมผัสแห่งความคลุ้มบ้าคลั่ง แบบเดียวกับหนัง Avant-Garde (ที่ก็มีเสียง Sound Effect ทำให้เข้ากับ Special Effect บนแผ่นฟีล์ม) ซึ่งในเครดิตขึ้นว่าเป็นผลงานของ Philippe Richard ปกติจะดูแลงานฝ่าย Sound Engineer

สำหรับบทเพลงตอนจบชื่อว่า Bonnie and Clyde แต่งโดย Serge Gainsbourg ตั้งแต่ปี 1968 เหมือนเพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์ Bonnie and Clyde (1967) ฉบับที่นำเข้าฉายในฝรั่งเศส ขับร้องโดย Gainsbourg คู่กับ Brigitte Bardot

ส่วนฉบับที่ใช้ในหนังขับร้องโดย Luna ร่วมกับ Lætitia Sadier of Stereolab ประกอบอัลบัม Penthouse (1995) ซึ่งจะมีสองเวอร์ชั่นช้า-เร็ว Bonnie Parker version (ช้า) และ Clyde Barrow version (เร็ว)

ผมขี้เกียจหาคำร้อง/คำแปล แต่สำหรับคนเคยรับชมภาพยนตร์ Bonnie and Clyde (1967) ก็น่าจะคาดเดาไม่ยากหรอกว่าเนื้อหาจะเกี่ยวกับอะไร ซึ่งเรื่องราวการผจญภัยของ Bonnie and Clyde ก็สอดคล้องกับ 3-4 วันอันบ้าคลั่ง ที่จางม่านอวี้ได้เดินทางมาถ่ายทำภาพยนตร์ยังฝรั่งเศส

เมื่อครั้งผู้กำกับ Assayas ยังทำงานอยู่ Cahiers du cinéma ช่วงทศวรรษ 80s เห็นว่าเป็นบุคคลแรกๆที่ทำการบุกเบิก เขียนบทความเกี่ยวกับวงการภาพยนตร์จีน ค้นพบผู้กำกับดังๆอย่างหว่องกาไว, ฉีเคอะ, ตู้ฉีฟง และกวนจินผิง จนได้รับโอกาสออกเดินทางไปร่วมเทศกาลหนังฮ่องกง, ไต้หวัน จุดกระแสชาวตะวันตกให้เริ่มสนใจผลงานฟากฝั่งเอเชียตะวันออกเพิ่มมากขึ้น

นั่นเองคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขามองว่าในอีกอนาคตอันใกล้ (นับจากช่วงทศวรรษ 90s) โลกใบนี้จะคับแคบลง มีการผสมผสานแลกเปลี่ยนผู้กำกับ นักแสดง ทีมงานภาพยนตร์ ก่อเกิดโปรดักชั่นร่วมทุนระดับทวีป หรือชาวเอเชียได้รับโอกาสเล่นหนังยุโรป/Hollywood … vice versa …

จางม่านอวี้ เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงระดับโลกตั้งแต่(เป็นชาวจีนคนแรก)คว้ารางวัล Silver Berlin Bear: Best Actress ภาพยนตร์เรื่อง Center Stage (1991) นั่นทำให้ผู้ชมชาวตะวันตกเริ่มขวนขวายหาผลงานอื่นๆของเธอมารับชม แต่ยุคสมัยนั้นยังมีแค่ VHS, LaserDisc ถือเป็นของหายากมากๆ เลยไม่น่าแปลกใจที่โลกทัศน์คนส่วนใหญ่ หรือแม้แต่ทีมงานในกองถ่ายภาพยนตร์ ล้วนตั้งคำถามถึงความเหมาะสมในการรับบทบาท Irma Vep

Irma Vep ในวิสัยทัศน์ของผู้กำกับ René Vidal (และผกก. Assayas) ไม่ได้จำกัดแค่เพียงสัญลักษณ์ประเทศฝรั่งเศส แต่คือแนวคิด ‘เสรีภาพ’ ใครไหนก็สามารถรับบทบาท Musidora, จางม่านอวี้, Alicia Vikander ฯลฯ จะชาวยุโรป เอเชีย อเมริกัน, คนขาว-คนดำ, อนาคตอาจจะไม่มีแบ่งแยกชาย-หญิง ไร้พรมแดนใดๆกีดขวางกั้น

แต่สิ่งที่จะแลกมากซึ่ง ‘เสรีภาพ’ ดังกล่าวนั้น คือโลกทัศน์ที่คับแคบลงของบรรดาสตูดิโอผู้สร้าง คำพยากรณ์ที่ตรงเผงของผู้กำกับ Assayas คือโลกอนาคตภาพยนตร์จะเต็มไปด้วยภาคต่อ (Sequel) สร้างใหม่ (Remake) อะไรที่มันซ้ำๆซากๆ เวียนวนสูตรสำเร็จเดิมๆ แต่สามารถทำกำไรกลับคืนมามหาศาล

โดยเฉพาะชุดยาง Latex ทั้งๆเคยเป็นเพียงของเล่นในร้าน Sex Shop เพื่อสร้างความยั่วเย้ายวน รัญจวนใจ ขายเรือนร่างอันเซ็กซี่ของผู้สวมใส่ แต่ยุคสมัยนี้มันกลายเป็นเครื่องแบบสากล สัญลักษณ์ภาพยนตร์แนวเหนือมนุษย์ (Superhero) เติมเต็มตัณหาราคะฝูงชนที่ได้รับชมจักรวาลสวนสนุกเหล่านั้น

ส่วนบรรดาผู้กำกับที่ยังมองว่าภาพยนตร์คืองานศิลปะ มีความเป็นส่วนตัว คงก้าวเข้าสู่ยุคสมัย Avant-Garde ทำสิ่งที่มันสุดโต่ง บ้าบอคอแตก ผิดแผกแปลกประหลาด นามธรรมจับต้องไม่ได้ เรียกว่าต้องปฏิวัติวงการไปเลย! … หลายคนอาจครุ่นคิดว่าโลกปัจจุบันไม่ได้ก้าวไปทิศทางนั้น แต่ในฝรั่งเศสมีกลุ่มการเคลื่อนไหวชื่อว่า New French Extremity สรรค์สร้างภาพยนตร์ที่มันสุดโต่งจริงๆ ผู้กำกับ Assayas ก็เคยทำเรื่อง Demonlover (2002)

แซว: เผื่อใครจินตนาการไม่ออกว่า New French Extremity สุดโต่งขนาดไหน! ลองไปหาหนัง Palme d’Or เรื่อง Titane (2021) ก็น่าจะจัดเข้าพวกนี้ได้เหมือนกัน

สรุปแล้ว Irma Vep (1996) คือภาพยนตร์ที่ทำการล้อเลียนเสียดสีอนาคตวงการภาพยนตร์ พยากรณ์หลายๆสิ่งอย่าง แต่คาดไม่ถึงว่าแทบทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นจริง เป็นความตลกร้ายที่ขำไม่ออกสักเท่าไหร่ … แสดงถึงอัจฉริยภาพของผู้กำกับ Assayas หลายคนอาจไม่ชอบ เข้าไม่ถึง แต่ต้องบอกเลยว่ามีความลุ่มลึกซึ้ง ทำเอาผมอยากหาซีรีย์ Irma Vep (2022) มารับชมจริงๆนะ


หนังเข้าฉายสายการประกวดรอง Un Certain Regard เทศกาลหนังเมือง Cannes เสียงตอบรับถือว่าดีเยี่ยม แม้ไม่ได้รับรางวัลอะไร แต่ก็กลายเป็นผลงานสร้างชื่อให้ผู้กำกับ Olivier Assayas รู้จักในระดับนานาชาติ

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ (Digital Restoration) คุณภาพ 2K ระบบเสียง 5.1ch DTS-HD ตรวจสอบอนุมัติโดยผู้กำกับ Assayas ปัจจุบันสามารถหารับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel พร้อมบทสัมภาษณ์ เบื้องหลังถ่ายทำ (รวมถึงต้นฉบับซีรีย์หนังเงียบ Les Vampires ด้วยนะครับ)

Irma Vep (1996) คือตัวอย่างของนักวิจารณ์ที่ถ้าได้รับโอกาสสรรค์สร้างภาพยนตร์ ก็มักนำสิ่งค้างๆคาๆใจ(ระหว่างเขียนบทความวิจารณ์) ชักชวนให้ขบครุ่นคิด พยากรณ์ทิศทางอนาคต(ของวงการภาพยนตร์) แน่นอนว่าผู้ชมสมัยนั้นย่อมมองไม่เห็นภาพสักเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันนี้แม้งโคตรชัดเจนโดยเฉพาะ Superhero สวมชุดยาง Latex เกลื่อนเมือง! เรียกว่าหนังเรื่องนี้เหนือกาลเวลาไปเรียบร้อยแล้ว

สิ่งที่ผมชื่นชอบสุดๆสำหรับ Irma Vep (1996) ก็คือความเจิดจรัสของจางม่านอวี้ แม้ในกองถ่ายเต็มไปด้วยความวุ่นวาย มลพิษร้ายสักเพียงไหน ยังสามารถมองโลกในแง่ดี ไม่ปิดกั้นตนเอง ให้โอกาสกับทุกสิ่งอย่างในชีวิต และเมื่อสวมชุดยางก็กลายร่างเป็น Irma Vep ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ ฉกชิงหัวใจผู้ชมไปครอบครองโดยทันที

แนะนำคอหนังตลกเสียดสี (Comedy Satire) แนว Avant-Garde ในลักษณะหนังซ้อนหนัง (film within film), เด็กถาปัตย์ ทำงานเบื้องหลัง/กองถ่ายภาพยนตร์, ชื่นชอบการขบครุ่นคิดวิเคราะห์ (intelligent film), แฟนคลับจางม่านอวี้ และ Jean-Pierre Léaud ไม่ควรพลาดเลยนะ!

ใครชื่นชอบหนังแนว ‘film within film’ ในกองถ่ายป่วนๆ แนะนำเพิ่มเติมกับ Beware of a Holy Whore (1971), Day for Night (1973), Noises Off… (1992), Living in Oblivion (1995), Boogie Nights (1997), One Cut of the Dead (2017) ฯ

จัดเรต 13+ กับความวุ่นวายในกองถ่ายภาพยนตร์ เต็มไปด้วยมลพิษ (Toxic) ไม่ใช่ทุกคนจะอดรนทนไหว

คำโปรย | Irma Vep ฉบับของ Olivier Assayas ตั้งคำถามถึงอนาคตวงการภาพยนตร์(ฝรั่งเศส)ยุคสมัยนิยมสร้างใหม่ได้อย่างถึงพริกถึงขิง
คุณภาพ | ถึริถึขิ
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

Delicatessen (1991)


Delicatessen (1991) French : Jean-Pierre Jeunet & Marc Caro ♥♥♥♥

ในโลกยุค post-apocalyptic ข้าวยากหมากแพง อพาร์ทเม้นท์แห่งหนี่งประกาศรับสมัครคนงาน แต่จุดประสงค์แท้จริงเพื่อล่อลวงเหยื่อผู้โชคร้าย สบโอกาสเมื่อไหร่ก็จักเข่นฆาตกรรม ฉับ! ฉับ! นำเนื้อหนังมาทำเป็นอาหารรับประทาน

ถ้าคุณมองเพียงเปลือกภายนอกของหนัง ย่อมรู้สึกรังเกียจ ขยะแขยง ยินยอมรับไม่ได้กับการกินเนื้อมนุษย์ (cannibal) แต่เนื้อหาสาระแท้จริงของ Delicatessen (1991) ต้องการสะท้อนเสียดสีหายนะที่กำลังจะบังเกิดขึ้น (หรือจะมองว่าคือสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้เช่นกัน) เมื่อทรัพยากรมีปริมาณจำกัด มนุษย์ก็พร้อมละทอดทิ้งศีลธรรม/มโนธรรม ยินยอมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อธำรงชีพรอด

ในขณะเดียวกันถ้าเรามองหนังในเชิงสัญลักษณ์/นามธรรมทั้งหมด การกินเนื้อมนุษย์ สามารถสื่อถึงการกอบโกย/แสวงหาผลประโยชน์ คิดคด-ทรยศ-หักหลัง ถูกกดขี่ข่มเหง ควบคุมครอบงำ (social oppression) ทำให้อีกฝั่งฝ่ายสูญเสียทรัพย์สิน ร่างกาย-จิตวิญญาณ ไม่สามารถธำรงความเชื่อมั่นศรัทธาต่อบุคคล สังคม สิ่งต่างๆรอบข้างได้อีกต่อไป

แซว: ใครเป็น vegan น่าจะชื่นชอบหนังเรื่องนี้ กระมัง

ผมได้ยินชื่อเสียงเรียงนาม Delicatessen (1991) มาตั้งแต่เขียนถึง Amélie (2001) ของผู้กำกับ Jean-Pierre Jeunet คุณภาพโดยรวมถือว่ายอดเยี่ยม น่าประทับใจ โดยเฉพาะออเคสตร้า ‘Squeaky Bedsprings’ อึ้งทึ่งอย่างที่สุด แต่รสชาติโดยรวมมีความเป็น ‘à la carte’ อาจไม่อร่อยถูกปากทุกคน และไคลน์แม็กซ์ดูสับสน มึนงง รายละเอียดเยอะไปนิด ดูครั้งแรกๆเลยยากจะติดตามทัน

เกร็ด: Délicatesse รากศัพท์มาจากภาษาละติน delicatus แปลว่า giving pleasure, delightful, pleasing แต่ความหมายที่ใช้กันในปัจจุบัน สื่อถึงร้านของชำคุณภาพสูง ขายชีส เนยแข็ง เนื้อนำเข้า อาหารจากต่างประเทศ ฯ


Jean-Pierre Jeunet (เกิดปี 1953) ผู้กำกับ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Roanne, Loire เมื่ออายุ 17 สามารถเก็บเงินซื้อกล้อง Super8 เริ่มถ่ายทำหนังสั้น แล้วไปร่ำเรียนอนิเมชั่นยัง Cinémation Studios รู้จักสนิทสนมนักวาดการ์ตูน Marc Caro ร่วมงานสรรค์สร้างอนิเมชั่น(ขนาดสั้น) L’évasion (1978), Le manège (1980) ** คว้ารางวัล César Award: Best Animated Short Film, นอกจากนั้นยังมีโฆษณา, Music Video, และภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Delicatessen (1991)

Marc Caro (เกิดปี 1956) นักวาดการ์ตูน อนิเมชั่น สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Nantes ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ Jules Verne สร้างแรงบันดาลใจให้ชื่นชอบหลงใหล Sci-Fi, โตขึ้นเริ่มจากเขียนการ์ตูน ตีพิมพ์ลงนิตยสาร L’Écho des savanes และ Fluide Glacial, กระทั่งปี 1974 มีโอกาสพบเจอ Jean-Pierre Jeunet จึงก้าวเข้าสู่วงการอนิเมชั่นและภาพยนตร์

การร่วมงานของทั้งสองจะแบ่งแยกตามความถนัด Jeunet เป็นผู้กำกับ ให้คำแนะนำนักแสดง ปรับบทพูดสนทนา, ส่วน Caro เป็นนักออกแบบ Storyboard ให้คำแนะนำทีมงานจัดแสง มุมกล้อง งานสร้างพื้นหลัง, กระบวนการอื่นๆ เขียนบท ตัดต่อ pre/post production ถึงค่อยทำงานร่วมกัน

Jean-Pierre handles direction in the traditional sense of the word, that is, the direction of the actors, etc., while I do the artistic direction. Beyond that, in the day-to-day workings of the shoot of preproduction, it’s obviously much more of a mixture. We write together, film together, edit together. According to each of our specialties, sometimes we’ll be drawn to what we do best. There’s a real complicity between us.

Marc Caro

จริงๆแล้วภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกที่ทั้งสองอยากสรรค์สร้างก็คือ The City of Lost Children (1995) วางแผนเตรียมงานกันมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 80s แต่ติดปัญหาเงินทุนไม่เพียงพอ สตูดิโอขาดความเชื่อมั่นเพราะพวกเขายังไม่เคยมีผลงาน(ภาพยนตร์ขนาดยาว)เป็นชิ้นเป็นอัน ด้วยเหตุนี้เลยครุ่นคิดพัฒนา Delicatessen (1991) ใช้ทุนน้อยกว่า ก่อสร้างเพียงฉากเดียว (อพาร์ทเม้นท์ทั้งหลัง) คาดหวังความสำเร็จ จะสามารถสานต่อด้วยโปรเจคในฝัน

แรงบันดาลใจของ Delicatessen (1991) มาจากผู้กำกับ Jeunet เคยอาศัยอยู่อพาร์ทเมนท์ที่ด้านล่างเป็นร้านขายเนื้อสัตว์ ทุกเช้าตอน 7 โมงจะได้ยินเสียงลับมีด ฉับ! ฉับ! นอกจากนี้ช่วงปี 1988 ระหว่างเดินทางไปท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกา อาหารในโรงแรมมื้อหนึ่งรสชาติแย่มากๆ จนพึมรำพันว่า ‘รสชาติเหมือนเนื้อมนุษย์’


ยุคสมัยที่ข้าวยากหมากแพง คนกินเนื้ออาศัยอยู่บนภาคพื้น คนกินพืชอาศัยอยู่ใต้ดิน เรื่องราวดำเนินขึ้นในอพาร์ทเม้นท์หลังหนึ่ง Clapet (รับบทโดย Jean-Claude Dreyfus) เจ้าของห้องเช่าและร้านขายเนื้อ ประกาศรับสมัครคนงานโดยมีจุดประสงค์เคลือบแอบแฝง หลังจากใช้แรงงาน ขุนให้อ้วน ก็จักเข่นฆาตกรรม นำเนื้อหนังมาจัดจำหน่ายให้ผู้เข้าพักอื่นๆ

การมาถึงของ Louison (รับบทโดย Dominique Pinon) นักแสดงตลกร่างเล็ก อัธยาศัยดี มีความร่าเริงสดใส กลายเป็นที่รักของใครๆโดยเฉพาะ Julie (รับบทโดย Marie-Laure Dougnac) บุตรสาวของ Clapet ไม่ต้องการให้เขาถูกบิดาเข่นฆาตกรรม จึงแอบลงท่อใต้ดิน ติดต่อกับกลุ่ม Troglodistes ชี้ช่องทางร่ำรวยและขอความช่วยเหลือลักพาตัวชายคนรัก


Dominique Pinon (เกิดปี 1955) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Saumur โตขี้นร่ำเรียนสาขาวรรณกรรม University of Poitiers จากนั้นเดินทางสู่ Paris ร่ำเรียนการแสดง Cours Simon School of Dramatic Arts เริ่มมีผลงานละครเวที หนังสั้น พากย์เสียง กลายเป็นเพื่อนสนิทขาประจำของ Jean-Pierre Jeunet ร่วมงานกันตั้งแต่ Delicatessen (1991)

รับบท Louison นักแสดงตลกร่างเล็ก จากเคยทำงานในคณะละครสัตว์ (ร่วมชุดการแสดงกับชิมแปนซี) พอได้ออกรายการโทรทัศน์ก็เริ่มมีชื่อเสียงพอสมควร สามารถเรียกเสียงหัวเราะ ผ่อนคลายให้กับทุกคนรู้จักรอบข้าง มีความขยันขันแข็งในการทำงาน นั่นเองทำให้เขาได้รับการช่วยเหลือจาก Julie รอดพ้นหายนะแบบโชคช่วยครั้งแล้วครั้งเล่า

ผมชอบหนังยุโรปตรงที่นักแสดงไม่เน้นขายหน้าตา (เหมือน Hollywood) ขอเพียงมีความสามารถ เข้ากับบทบาท ก็เล่นเป็นพระเอกได้สบายๆ Pinon ถือเป็นอีกนักแสดงน่าสนใจ รูปร่างเล็ก หน้าแบนๆ ปากเบะๆ ภายนอกค่อนข้างอัปลักษณ์ แต่จิตใจน่ารัก น่าคบหา แถมเล่นเข้าขา Marie-Laure Dougnac โดยเฉพาะฉากรินน้ำชา ทำให้ผู้ชมอมยิ้มกริ่ม รู้สีกอิ่มเอิบจากภายใน

เคมีระหว่าง Pinon กับ Dougnac อาจไม่ได้โรแมนติกหวานแหวว แต่พวกเขาเข้าขาใน Comedy รับส่งมุกตลกได้อย่างพอดิบพอดี อีกฉากที่ผมชอบมากๆคือในห้องน้ำ ถอดเสื้อผ้า เห็นสีหน้าหญิงสาวก็นีกว่าฉันจะเสียความบริสุทธิ์แล้ว แต่ที่ไหนได้ … (เป็นยังไงไปอมยิ้มในหนังดีกว่านะครับ สปอยไปจะเสียอารมณ์เปล่าๆ)


Marie-Laure Dougnac (เกิดปี 1962) นักแสดง/นักพากย์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Lyon เริ่มจากเป็นนักแสดงละครเวทีที่ Café-théâtre de la Graine, มีชื่อเสียงจากการเป็นนักพากย์หนัง/อนิเมะ, นานๆครั้งถีงแสดงซีรีย์ หรือภาพยนตร์ ได้รับการจดจำสูงก็คือ Delicatessen (1991)

รับบท Julie Clapet บุตรสาวเจ้าของหอพัก แต่เธอไม่ชมชอบการกระทำของบิดาสักเท่าไหร่ ปฏิเสธรับประทานเนื้อหนัง และเมื่อได้พบเจอเหยื่อรายถัดไป Louison โดยไม่รู้ตัวตกหลุมรัก จีงพยายามทำทุกสิ่งอย่างให้เขาสามารถเอาตัวรอดชีวิต แม้จะต้องทรยศหักหลังพ่อแท้ๆของตนเอง

พอสวมแว่น Dougnac ดูเหมือนสาวโก๊ะๆ ชอบทำตัวป้ำๆเป๋อๆ ลุกลี้ลุกรน รู้ว่าตนเองไม่สวยแต่ก็อยากดูดี มีความพยายามปรับเปลี่ยนแปลงตนเองตลอดเวลา ซี่งพอแรกพบเจอตกหลุมรัก เลยพร้อมยินยอมทุ่มเทเสียสละ ไม่หวาดหวั่นกลัวเกรงกลัว แม้จะถูกรายล้อมรอบด้วยภยันตราย

นางเอกในหนังของผู้กำกับ Jeunet มักเด๋อๆด๋าๆ แต่เป็นสาวมั่น เชื่อในตัวของตนเองค่อนข้างสูง หาญกล้าทำในสิ่งเชื่อมั่นว่าถูก แม้ภาพลักษณ์ของ Dougnac อาจไม่บริสุทธิ์สดใสเทียบเท่า Audrey Tautou แต่เธอก็มีเสน่ห์น่าหลงใหล ทำให้ผู้ชมตกหลุมรักได้เฉกเช่นเดียวกัน … เป็นนักแสดงอีกคนที่ผมตกหลุมรักแรกพบ แต่ก็ผิดหวังโคตรๆเพราะเธอแทบไม่มีผลงานโดดเด่นอื่นๆ (เหมือนจะชอบเป็นนักพากย์มากกว่า)


Jean-Claude Dreyfus (เกิดปี 1946) นักแสดง/ตลก สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris ขี้นเวทีเป็นนักมายากลตั้งแต่อายุ 15 จากนั่นฝีกฝนการเล่นตลกกับ Tania Balachova โด่งดังจากแสดงคาบาเร่ (แต่งหญิง เล่นเป็นกะเทย) ติดตามด้วยภาพยนตร์ มักได้รับบทตัวร้าย นักฆ่า หรือพ่อค้าขายเนื้อ ผลงานเด่นๆ อาทิ Delicatessen (1991), The City of Lost Children (1995) ฯ

รับบท Clapet เจ้าของอพาร์ทเม้นท์ร่างใหญ่ เปิดร้านขายเนื้ออยู่ชั้นล่าง มีจิตใจเหี้ยมโหดต่ำทราม เพลิดเพลินไปกับการเข่นฆาตกรรมเพื่อนำเนื้อหนังมาแจกจ่ายบริโภค จนกระทั่งการมาถีงของ Louison ถูกบุตรสาวพยายามติดต่อรอง แต่ที่สุดเมื่อหายนะบังเกิด จีงต้องรีบเร่งกำจัดภัยพาล

แค่ภาพลักษณ์ของ Dreyfus ก็กินขาดในบทบาท รูปร่างใหญ่โต ดูโหดโฉดชั่วร้าย เวลายิ้มเยาะหรือส่งเสียงหัวเราะใช้ลิ้นดันเพดานปาก (ประกอบกับมุมกล้อง Close-Up) มันช่างดูอัปลักษณ์เหลือหลาย ไม่แปลกที่สมาชิกในหอพักล้วนยินยอมก้มหัว ศิโรราบต่อเผด็จการ

การกระทำของตัวละครผมถือว่าเป็นผลจากอุปสงค์-อุปทาน ลีกๆเขาคงไม่ได้อยากเข่นฆาตกรรมใครตาย แต่เมื่อทำแล้วก่อให้เกิดประโยชน์สาธาระ เนื้อหนังผู้เสียชีวิตถูกนำแจกจ่ายให้สมาชิกหอพัก เติมเต็มความกระหายของร่างกาย ใครกันจะกล้าหือรือ … ด้วยเหตุนี้เราจีงไม่ควรมองว่าเขามีความโฉดชั่วร้ายแง่มุมเดียว อิทธิพลจากสังคม การต้องต่อสู้ดิ้นรน ความทุกข์ยากลำบากในชีวิต ล้วนคือเหตุผลให้มนุษย์ทำทุกสิ่งอย่างโดยไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว ศีลธรรม-มโนธรรม


ถ่ายภาพโดย Darius Khondji (เกิดปี 1955) สัญชาติ Iranians-French, บิดาเป็นชาวอิหร่านแต่งงานกับมารดาชาวฝรั่งเศส เกิดที่ Tehran แล้วมาปักหลักอยู่ Paris ตั้งแต่เด็กมีความสนใจเล่นกล้อง Super-8 พอโตขี้นเดินทางสู่สหรัฐอเมริกา ร่ำเรียนสาขาภาพยนตร์ UCLA ตามด้วย New York University และ International Center of Photography, หลังสำเร็จการศีกษาเดินทางกลับฝรั่งเศส เริ่มจากเป็นผู้ช่วยตากล้อง, ถ่ายหนังทุนต่ำ, โด่งดังกับ Delicatessen (1991), The City of Lost Children (1995), Se7en (1995), Stealing Beauty (1996), Evita (1996), Midnight in Paris (2011), Amour (2012), Okja (2017), Uncut Gems (2019) ฯ

งานภาพของหนังมีการใส่ฟิลเลอร์ ปรับโทนสีเหลือง-ส้ม ให้มีความเป็น post-apocalyptic เข้ากับความโลกที่ล่มสลาย อพาร์ทเม้นท์ใกล้ผุพังทลาย มอบสัมผัสแห้งเหือด หมดสิ้นหวัง (โทนสีเดียวกับ Stalker (1979)) ฉากภายนอกมักเต็มไปด้วยฝุ่นควัน กลางวันก็ดูหม่นๆเหมือนพลบค่ำ (ยกเว้นช่วงท้ายที่พอเห็นแสงสว่างรำไร)

อีกสิ่งที่ต้องชมก็คือลีลาการเคลื่อนกล้อง มีความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน รวมทั้งมุมมองแปลกๆ Dutch Angle และ Close-Up ไม่ใช่แค่สะท้อนความบิดๆเบี้ยวๆภายในจิตใจมนุษย์ (และความผิดปกติของโลกในหนัง) ยังสามารถสร้างความตลกขบขัน เรียกเสียงหัวเราะได้ด้วยเช่นกัน

อพาร์ทเม้นท์ไร้นามแห่งนี้ ภายนอกมีสภาพเหมือนเศษซากปรักหักพัง ดูชำรุดทรุดโทรม ไม่ได้รับการทำนุบำรุงรักษา ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของหายนะ (post-apocalyptic) อาจจะสงครามโลกหรือภัยพิบัติบางอย่าง (หนังไม่ได้มีการบ่งชี้ชัดว่าคืออะไร)

เกร็ด: หนังมีการบอกใบ้เล็กๆว่าโลกกำลังก้าวย่างเข้าสู่ ‘age of Virgo’ ซึ่งตามปฏิทิน ‘Astrological age’ น่าจะอยู่ช่วงระหว่าง ค.ศ. 12,150 – 14,300

บันไดวนถือเป็นศูนย์กลางอพาร์ทเม้นท์ สัญลักษณ์ของวังวนชีวิต ที่ทุกคนต้องขึ้นๆลงๆ เส้นทางสาธารณะที่ผู้คนจะได้พบปะ ชะเง้อมอง ต่อสู้ดิ้นรน หาหนทาง(หลบหนี)เอาตัวรอด

ห้องพักของแต่ละคนก็มีการออกแบบ บรรยากาศ โทนสีสัน เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งแตกต่างกันไปตามอุปนิสัย รสนิยม ชนชั้นฐานะ ขอไม่อธิบายทั้งหมดแล้วกัน นำเสนอเฉพาะบุคคลน่าสนใจ

Frog Man เป็นห้องที่น่าจะถือว่าแปลกประหลาดสุดๆแล้ว ไม่รู้อาศัยอยู่ชั้นใต้ดินหรืออย่างไรถึงเจิ่งนองไปด้วยน้ำ เต็มไปด้วยคางคก หอยทาก สรรพสัตว์น้ำทั้งหลาย และการจัดโทนสีเขียว สัญลักษณ์ความชั่วร้าย อันตราย ถูกทอดทิ้งขว้าง มีเพียงเด็กๆที่ชอบกลั่นแกล้ง จับกบกิน (กระมัง)

แซว: รสนิยมฟังเพลงของ Frog Man ชอบเปิดเพลงมาร์ชปลุกใจ Julius Fucik: Entry of the Gladiators (1897) สร้างความฮึกเหิมให้กับชีวิต (กระมัง)

ห้องของ Julie จะมีโทนสีส้มอ่อนๆ (ที่ไม่หยาบกระด้างเหมือนฉากภายนอก) ผนัง/วอลเปเปอร์สีชมพู (แต่ดูไม่ค่อยออกเท่าไหร่) ให้ความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย ชุ่มชื่นหฤทัย แต่แผนการที่เธออุตส่าห์เตรียมไว้กลับตารปัตร เฉกเช่นเดียวกับทิศทางมุมกล้อง

  • ตอนซักซ้อมถ่ายจากมุมซ้ายของโต๊ะ ด้านหลังคือกำแพงมืดมิด
  • เหตุการณ์จริงถ่ายจากมุมขวาของโต๊ะ ตำแหน่งของ Louison มีพื้นหลังภาพวาดดอกไม้ และแสงสว่างสาดส่องจากด้านนอก (สื่อถึงการเป็นบุคคลที่ทำให้เธอมีความสุขฤทัย)

ถ้าไม่นับออเคสตร้า ‘Squeaky Bedsprings’ ผมมีความชื่นชอบฉากนี้ที่สุดเลย โดยเฉพาะการรินชาที่ Louison พยายามอย่างยิ่งจะขยับเคลื่อนไหวติดตาม หาหนทางมิให้หกเปื้อนผ้าคลุมโต๊ะ นั่นแสดงถึงการยินยอมรับ พร้อมปรับให้เข้ากับตัวตนของอีกฝั่งฝ่าย … ถึงเป็นฉากขำขัน แต่ก็ทำให้ตัวละครดูหล่อเหลาขึ้นมาโดยพลัน

ช็อตนี้ที่เป็นการบรรเลงดนตรี duet ร่วมกันครั้งแรก มีเฟอร์นิเจอร์ประกอบฉากหลายชิ้นที่น่าสนใจทีเดียว

  • ซ้ายสุดคือรูปปั้นนกสองตัว (lovebird) พวกมันออกมาจากกรงขังหรืออย่างไร (แต่อพาร์ทเม้นท์แห่งนี้ก็มีสภาพไม่ต่างจากกรงขังสักเท่าไหร่)
  • ดอกไม้ด้านหลัง Julie พร้อมกับทรงผมปัดขึ้น ชวนให้นึกถึงนกยูงรำแพนหาง แทนถึงความบริสุทธิ์ที่อยู่ภายในจิตใจ
  • ด้านหลังของ Louison พบเห็นภาพวาดดอกไม้ (อีกแล้ว) แทนถึงความงดงามที่อยู่ภายในจิตใจ

ห้องของสามี-ภรรยา Interligator ดูมีความหรูหรา เต็มไปด้วยสิ่งข้าวของมีราคา ใช้โทนสีเขียวแสดงถึงธนบัตร ความมั่งมีเงินทอง ไม่มีอะไรต้องเดือดเนื้อร้อนใจ แต่ภรรยา Aurora วันๆกลับครุ่นคิดหาวิธีฆ่าตัวตาย ที่สุดแปลกประหลาดพิศดาร ไม่รู้ต้องการเรียกร้องความสนใจ หรืออยากลาจากโลกนี้ไปจริงๆกันแน่

เอาจริงๆผมมองไม่เห็นเหตุผลที่ Aurora ต้องการคิดสั้นฆ่าตัวตาย ชีวิตก็สุขสบาย ไม่มีอะไรให้ต้องต่อสู้ดิ้นรน เดือดเนื้อร้อนใจ หรืออาจเพราะสามี (ก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามีปัญหาอะไร) ไม่ก็ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก สภาพแวดล้อม ความเสื่อมโทรมของอพาร์ทเม้นท์ โลกหลังหายนะ (post-apocalyptic) สะสมอาการเก็บกดดัน (social oppression) แปรสภาพสู่ความคลุ้มคลั่ง

ในบรรดาความพยายามสร้างงานศิลปะแห่งการฆ่าตัวตาย มันจะมีความเพี้ยน บ้าบอคอแตก หลุดโลกขึ้นเรื่อยๆ สังเกตว่าแทบทั้งนั้นจะใช้ประโยชน์จากสิ่งข้าวของเครื่องใช้ ที่สามารถเกิดอุบัติเหตุแล้วเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ อาทิ กดกระดิ่ง, โคมไฟ (ไฟช็อต), จักรเย็บผ้า (เครื่องมันหนัก ล้มทับก็ได้รับบาดเจ็บ), เปิดประตู (หนีบ), ปืนไรเฟิล, เตาแก๊ส, ยานอนหลับ, ตกเก้าอี้ ฯ

โดยส่วนตัวชื่นชอบสุดก็เกือบถูกไฟช็อตตายในห้องน้ำ เพราะจังหวะขณะกดกริ่ง ครั้งสอง ครั้งสาม สร้างความตื่นเต้นลุ้นระทึกได้ไม่น้อยเลยละ ก่อนตบมุกแบบคาดไม่ถึง (มันน่าจะเป็นการรอดชีวิตที่คาดไม่ถึงสุดแล้วนะ)

ฉากอุโมงค์ใต้ดิน จะมีเพียงแสงสว่าง-ความมืดมิด โทนเหลือง-ส้ม แทบไม่พบเห็นเฉดสีอื่น เป็นสถานที่อยู่อาศัยของบรรดาคนกินพืช/กลุ่มปฏิวัติ Troglodistes สวมชุดสำรวจติดไฟบนศีรษะ (แลดูคล้ายตัวตุ่น) ชอบพูดจาโผงผาง ตรงไปตรงมา สนแต่ทำในสิ่งตอบสนองความพึงพอใจส่วนตน และเวลาไปไหนก็มักแห่ตามกันไป (หมาหมู่) เอาเข้าจริงก็พึงพาอะไรไม่ค่อยได้เท่าไหร่ (ดีแต่เล่นท่า โยกเต้นตบแปะไปมา)

เกร็ด: Troglodistes หรือ troglodytes แปลว่า ฤษี, นักพรต, บุคคลอาศัยอยู่ในถ้ำ

ดาดฟ้า/หลังคาอพาร์ทเม้นท์ ถูกใช้เป็นสถานที่ต่อสู้ระหว่าง Clapet vs. Louison เพื่อแก่งแย่งชิงอำนาจสูงสุด ผู้ชนะจะได้ปรับจูนเสาสัญญาณโทรทัศน์ (ให้เปลี่ยนแปลงไปตามวิสัยทัศน์/ความต้องการของผู้นำ) แม้ขนาดรูปร่าง พละกำลังจะเป็นรอง แต่ Louison ได้รับความช่วยเหลือจาก Julie จึงสามารถต่อกร หลบหนีเอาตัวรอด และผลักดัน Clapet ให้ตกลงเบื้องล่าง (แต่บังเอิญมีเชือกเกี่ยวขาไว้ รอดตายหวุดหวิด เลยพักรบชั่วคราว)

และหลังการต่อสู้สิ้นสุด Louison กับ Julie ก็ขึ้นมาบรรเลงเพลง duet แม้ท่วงทำนองยังคงโหยหวน ล่องลอย แต่สายลมพัดปลิดปลิวฝุ่นควัน ให้พอมองเห็นท้องฟ้าครามอยู่ด้านหลัง แม้โลกที่พวกเขาอาศัยอยู่จะยังคงปกคลุมด้วยอิทธิพลจากหายนะ แต่อพาร์ทเม้นท์แห่งนี้ได้จุดประกายแสงสว่าง/ความหวังเล็กๆ ให้ชีวิตสามารถดำเนินไป

Louison พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อกีดกันไม่ให้ Clapet บุกเข้ามาในห้อง (แรงบันดาลใจจาก The Shinning (1980) เปลี่ยนจากขวานเป็นปังตอ) แต่มันคงถ่วงเวลาได้ไม่นาน และเมื่อไร้หนทางหลบหนี วิธีเดียวเท่านั้นจะเอาตัวรอดก็คือ … ทีแรกผมครุ่นคิดว่าทั้งคู่จะยอมตาย ร่วมรักกันครั้งสุดท้าย แต่ที่ไหนได้ เออเว้ยเห้ย มันทำแบบนี้ก็ได้ด้วย!

ห้องน้ำ มักใช้เป็นสถานที่ซุกซ่อนเร้นความสกปรกโสมม อึดอัดอั้นไว้ภายใน ซึ่งหนังทำการอุดรูรั่ว เปิดน้ำให้ท่วมสูง แล้วเฝ้ารอคอยเวลา ให้เขื่อนแตก แผ่นดินถล่ม = หายนะ/ภัยพิบัติจากภายใน มนุษย์ด้วยกันเอง หรือประชาชนในชาติเรา

ฉากนี้ก็น่าจะได้แรงบันดาลใจจาก The Shining (1980) เปลี่ยนจากเลือดไหลนอง (สื่อถึงจิตวิญญาณที่แตกสลาย) กลายมาเป็นน้ำท่วมอพาร์ทเม้นท์ (สัญลักษณ์ของความเก็บกด อึดอัดอั้นที่ซ่อนไว้ภายใน) เมื่อเปิดประตู เขื่อนแตก ระบายออก ก็ทำให้ทุกสิ่งอย่างล่มจม พัดพาสิ่งชั่วร้ายให้ไหลลงไปตามกระแสธารา

สังเกตว่าโทนสีเขียวๆของน้ำ ตัดกับทุกผู้คนรายล้อม แสดงถึงพลังอำนาจของธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มนุษย์มิอาจฝืนกระแส(น้ำ) ต่อต้านทานความยิ่งใหญ่

นี่เป็นฉากที่ทุกสิ่งอย่างกำลังกลับตารปัตร กลุ่มคนกินเนื้อที่อาศัยอยู่เหนือพื้นดินตอนนี้อยู่ชั้นล่าง (ใต้พื้นถล่ม) ส่วนกลุ่มคนกินพืชอาศัยอยู่ใต้ดิน ขณะนี้อยู่บนเพดาน เจาะพื้น/ผนังกำลังให้ความช่วยเหลือ Julie … ความกลับตารปัตรดังกล่าวสะท้อนสภาวะทางจิตใจแท้จริงของตัวละคร สูง-ต่ำไม่ใช่เรื่องเงินทอง อำนาจบารมี แต่คือความมีจิตสำนึก/มโนธรรม และคุณค่าความเป็นคน

ซึ่งสำหรับ Julie เธอได้รับการช่วยเหลือก่อนใคร นั่นสื่อถึงสภาพจิตใจที่ได้ยกระดับ ยินยอมรับ มีมนุษยธรรม ส่วน Louison แม้ยังกอดโถส้วมไว้เหนียวแน่น (คือยังมีความโสมมอยู่ในใจ) แต่ด้วยโชคชะตาฟ้าลิขิต และกรรมติดตามสนอง Clapet บูมเมอแรงออสเตรเลียหวนกลับมาปักศีรษะ (สิ้นสภาพความเป็นผู้นำ ใช้มันสมองในทางมิชอบธรรม)

แซว: จริงๆคำพูดประโยคสุดท้ายของ Clapet มีการบอกใบ้ถึงนัยยะบางอย่าง ซึ่งสามารถสื่อถึงภาพยนตร์ทั้งเรื่อง และความตั้งใจของผู้สร้าง

Have I got something here? Answer me, meathead! You, tell me … I’m not dreaming: I’ve got something, right?

Clapet

ตัดต่อโดย Hervé Schneid (เกิดปี 1956) สัญชาติฝรั่งเศส เริ่มมีชื่อเสียงจาก Europa (1991), จากนั้นกลายเป็นขาประจำ Jean-Pierre Jeunet ตั้งแต่ Delicatessen (1991)

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้อพาร์ทเม้นท์หลังนี้คือจุดศูนย์กลาง ร้อยเรียงเหตุการณ์ต่างๆที่บังเกิดขึ้นกับสมาชิก ตัดสลับไปมาอย่างแยบยล ชวนฉงน โดยตัวละครหลักก็คือ Louison, Julie และ Clapet

ผมขอแบ่งเรื่องราวออกเป็นสี่องก์

  • อารัมบท, ผู้โชคร้ายรายแรกของ Clapet
  • แนะนำตัวละคร สมาชิกในอพาร์ทเม้นท์หลังนี้
    • การมาถึงของ Louison พาไปที่ห้องพัก และเริ่มต้นทำงานจิปาถะ
    • ออเคสตร้า Squeaky Bedsprings
    • และสมาชิกคนอื่นๆในอพาร์ทเม้นท์
  • ความเปลี่ยนแปลงเล็กๆในอพาร์เม้นท์
    • Julie ชักชวน Louison มาดื่มชาที่ห้อง แล้วร่วมกันบรรเลงเพลง duet (เชลโล่+เลื่อย)
    • Louison ซ่อมเตียงสปริงให้ Plusse
    • Julet พยายามต่อรองร้องขอบิดา ไม่ต้องการให้ Louison ถูกเข่นฆาตกรรม
    • ผู้โชคร้ายรายที่สองของ Clapet
  • การมาถึงของคณะปฏิวัติ/กลุ่มคนกินพืช Troglodistes
    • Julie ลงท่อใต้ดิน ติดตามหา และขอความช่วยเหลือจาก Troglodistes
    • การลักพา(ผิด)ตัวของ Troglodistes
  • หายนะ และจุดสิ้นสุดระบอบเผด็จการ
    • เริ่มจาก Clapet เขย่าเสาอากาศเพื่อลากพา Louison ให้มาเผชิญหน้ากันบนดาดฟ้า
    • Louison และ Julie หลบซ่อนตัวในห้องน้ำ พร้อมแผนการที่จะทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่างให้ล่มจม
    • ความพยายามฉุดคร่า และกรรมสนองของ Clapet
  • ปัจฉิมบท, สองหนุ่มสาวร่วมกันบรรเลงเพลง duet บนดาดฟ้า

ลีลาการตัดต่อถือเป็นไฮไลท์ของหนัง มีความฉับ! ฉับ! เข้ากับจังหวะเสียงเพลง โดยเฉพาะออเคสตร้า Squeaky Bedsprings ซึ่งไม่เพียงตัดสลับตาม Sound Effect แต่ยังเป็นการร้อยเรียงวิถีชีวิต แนะนำให้รู้จักสมาชิกในอพาร์ทเม้นท์ ว่าใครมีบทบาท หน้าที่ กำลังทำอะไรอยู่ … ได้อย่างสร้างสรรค์และชาญฉลาดมากๆ


เพลงประกอบโดย Carlos d’Alessio (1935-92) สัญชาติ Argentine เกิดที่ Buenos Aires ระหว่างร่ำเรียนสถาปนิก เกิดความสนใจด้านภาพยนตร์ ออกเดินทางสู่ New York เปลี่ยนมาเล่นดนตรี แต่งเพลง พอย้ายมาฝรั่งเศส สนิทสนมกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Marguerite Duras ผลงานเด่นๆ อาทิ India Song (1975), The Children (1985), Delicatessen (1991) ฯ

แค่เสียงแอคคอร์เดียนจาก Main Theme ก็ทำให้ผู้ชมสัมผัสกลิ่นอายประเทศฝรั่งเศส (มันเป็นการสื่อโดยนัยว่า เรื่องราวของหนังต้องการเปรียบเปรยถีงฝรั่งเศสยุคสมัยนั้น) ซี่งถ้าใครเคยรับชม Amélie (2001) มันคงอดใจได้ยากหากจะไม่เปรียบเทียบถีง แต่แนวเพลงแบบนี้ผมชอบหมดนะ ฟังสบาย ผ่อนคลาย ภายนอกช่างโลกสวยดูดี (ปกปิดซ่อนเร้นบางสิ่งอย่างชั่วร้ายไว้ภายใน)

หลายคนอาจไม่เคยรับรู้มาก่อนว่า เลื่อย สามารถใช้เป็นเครื่องดนตรี สร้างเสียงที่เหมือนกับ theremin มีความหลอหลอน โหยหวน ราวกับวิญญาณกำลังล่องลอยออกจากร่าง ซี่งการบรรเลงดูโอ้กับเชลโล่ สองเสียงที่ตัดกันสามารถสื่อถีง ร่างกาย-จิตใจ ภายนอก-ใน ความจริง-เท็จ ทุกสิ่งอย่างในอพาร์ทเม้นท์แห่งนี้ล้วนมีขั้วตรงข้ามเสมอๆ

เอาจริงๆผมอยากจะถือว่าบทเพลงนี้คือ Main Theme สามารถสื่อแทนหนังได้โดดเด่นชัดกว่า เพราะภาพภายนอกที่ดูสวยสดงดงาม (เชลโล่) กลับซ่อนเร้นความโหดโฉดชั่วร้าย เต็มไปด้วยภยันตราย (เลื่อย) และการเล่นเพลงนี้อีกครั้งบนหลังคาตอนจบ มันไม่ใช่ ‘Happy Ending’ เพราะพวกเขายังคงอาศัยอยู่บนโลกที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน เหตุการณ์แบบในหนังยังคงเกิดขึ้นซ้ำรอยเดิม(ในโลกความจริง)ไม่รู้จบสิ้น

หนังยังมีการใช้บทเพลงมีชื่อในลักษณะ ‘diegetic music’ ที่ต้องชมเลยว่ามีความสร้างสรรค์โคตรๆคือ Dreams of Old Hawaii (1944) แต่งโดย Joe White, Lani McIntyre, Larry Stock, ขับร้อง/บรรเลงโดย Lani McIntyre และ Lani McIntyre’s Orchestra ในหนังคือดังขี้นจากโทรทัศน์ ช่วงขณะ Louison กำลังขย่มเตียงร่วมกับ Plusse เพื่อหาว่าสปริงตัวไหนขี้นสนิม ช่างมีจังหวะ (บทเพลงกับการโยก) ที่สอดคล้อง พร้อมเพรียง เรียกเสียงหัวเราะ อมยิ้มกริ่ม เป็นฉากที่น่าหลงใหลยิ่งนัก

ผมนำ Music Video (สมัยนั้นยังถือว่าเป็นหนังสั้น) ฉบับที่ฉายในโทรทัศน์มาให้รับชมกันเลย

สำหรับไฮไลท์ออเคสตร้า ‘Squeaky Bedsprings’ คือการร้อยเรียงชุดเสียง สปริง, เชลโล่, ตบผ้าห่ม, สูบลม, ส้อมเสียง ฯ ซึ่งจะเริ่มจากจังหวะช้าๆแล้วค่อยๆเร่งความเร็ว พร้อมตัดสลับไปมา โยกศีรษะตามเป็นจังหวะ … มันฉากโคตรสร้างสรรค์ที่สุดของหนังแล้วละ

นัยยะของ Sequence นี้คือการแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในอพาร์ทเม้นท์ แม้พวกเขาอยู่คนห้อง ทำกิจกรรมคนละอย่าง แต่ทุกสิ่งล้วนสอดคล้องประสาน กลมเกลียว เป็นอันหนึ่งอันเดียว … สามารถเปรียบได้กับประชาชนในประเทศชาติ ทุกคนล้วนมีส่วนร่วม ต้องรับผิดชอบสิ่งบังเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน

เราสามารถเทียบแทนอพาร์ทเม้นท์หลังนี้ ได้กับประเทศแห่งหนี่ง ประกอบด้วยผู้นำเผด็จการ ปกครองผู้อยู่อาศัยด้วยความหวาดระแวง สร้างกฎข้อบังคับให้สมาชิกหอพักต้องปฏิบัติทำตาม แม้ขัดแย้งต่อหลักศีลธรรม/มโนธรรม แต่การกระทำนั้นถือเป็นประโยชน์สาธารณะ เลยไม่มีใครครุ่นคิดต่อต้าน (อีกทั้งไม่มีใครอยากมือเปื้อนเลือด เลยยินยอมให้เจ้าของหอพักฉกฉวยคว้าโอกาส)

สมาชิกอพาร์ทเม้นท์แต่ละคน ล้วนมีบทบาท/ชนชั้นฐานะในสังคมที่แตกต่างกันไป อาทิ

  • Clapet เจ้าของอพาร์ทเม้นท์ ตัวแทนชนชั้นผู้นำ สามารถควบคุมครอบงำ ออกคำสั่งต่อสมาชิกหอพัก
  • Julie บุตรสาวของ Clapet ย่อมได้รับอภิสิทธิ์หลายๆอย่าง งานอดิเรกคือเล่นเชลโล่ สามารถเทียบแทนชนชั้นสูง
  • บุรุษไปรษณีย์ คือตัวแทนความสัมพันธ์/สื่อสารโลกภายนอก นำจดหมาย ข่าวสาร หนังสือพิมพ์มาส่งยังอพาร์ทเม้นท์หลังนี้
  • Mademoiselle Plusse ตัวแทนของโสเภณี ขายบริการให้ Clapet แลกกับความอิ่มหนำ สุขสบาย ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าห้อง
  • Marcel Tapioca ตัวแทนของพ่อค้า ขายของจิปาถะ แต่ไม่เพียงพอจ่ายค่าห้องพัก จีงถูกบีบบังคับให้ต้องเอาคุณยาย/แม่สะใภ้ (ที่วันๆไม่ได้ทำอะไรนอกจากเย็บปักถักร้อย) กลายมาเป็นเหยื่ออันโอชะรายถัดไป
    • แม่สะใภ้ของ Marcel Tapiocaตัวแทนผู้สูงวัยที่วันๆไม่ได้ทำอะไร กลายเป็นภาระครอบครัวให้ต้องเลี้ยงดูแล การจากไปของเธอจีงสร้างประโยชน์ทั้งขี้นทั้งล่อง (เนื้อหนังสามารถนำมาเป็นอาหาร, และการจากไปของเธอแบ่งเบาภาระครอบครัวได้มาก)
    • ภรรยาของ Tapioca ตัวแทนของแม่บ้าน เลี้ยงดูแลบุตรชายทั้งสอง ที่วันๆเอาแต่ซุกซน วิ่งเล่นสนุกสนาน ระรานคนอื่นไปทั่วอพาร์ทเม้นท์
  • Aurore Interligator แต่งหน้าแต่งตัวอย่างสวยงาม ดูดีมีฐานะ เป็นตัวแทนชนชั้นกลาง (Middle Class) ไม่ได้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเหมือนคนอื่นๆในอพาร์ทเม้นท์ แต่เธอกลับพยายามเข่นฆ่าตัวตายอยู่หลายครั้ง แม้ไม่เคยประสบความสำเร็จก็ตามที
  • Roger และ Robert พี่-น้อง พบเห็นตัวติดกันแทบตลอดเวลา คนหนี่งเจาะกระป๋อง อีกคนหนี่งติดสติ๊กเกอร์ข้างกล่อง ต่างก้มหน้าก้มตา ทำงานประสานกัน ถือเป็นตัวแทนชนชั้นแรงงาน/กรรมกร (Working Class)
  • Frog Man คือตัวแทนชนชั้นล่าง อาศัยอยู่ในห้องฉ่ำด้วยน้ำ พร้อมสรรพสัตว์มากมาย

สำหรับ Louison ถ้ามองตามบทบาทก็คือตัวตลกในสังคม รับทำงานจิปาถะ ซ่อมแซมได้แทบทุกสรรพสิ่งอย่าง (โดยเฉพาะสปริงใต้เตียง/ขจัดสิ่งชั่วร้ายที่ถูกซุกซ่อนไว้ในสังคม) ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างเสียงหัวเราะ ความสนุกสนานครื้นเครง เรียกว่านำพา ‘ชีวิต’ กลับคืนสู่อพาร์ทเม้นท์หลังนี้

การกระทำของ Julie มองมุมหนี่งคือการคิดคด-ทรยศ-หักหลัง บิดา/ประเทศชาติบ้านเกิด แต่เราสามารถมองกลับตารปัตรถีงความพยายามเปลี่ยนแปลง ‘ปฏิวัติ’ โค่นล้มผู้มีอำนาจ เผด็จการ เพื่อให้อพาร์ทเม้นท์หลังนี้มีทิศทางดำเนินไปที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นประชาธิปไตย ไม่ขัดต่อสามัญสำนีก ศีลธรรม/มโนธรรม และความเป็นมนุษย์!

แซว: มันเป็นการเปรียบเทียบที่สุดโต่งสักนิด แต่ก็น่าคิดไม่น้อย คนกินเนื้อ=อนุรักษ์นิยม (อาศัยอยู่บนดิน), คนกินพืช=เสรีนิยม (อาศัยอยู่ใต้ดิน), มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินได้ทั้งพื้นและสัตว์ แล้วความสมดุลของโลกมันอยู่ตรงไหนกัน?

ทุกการเปลี่ยนแปลง ปฏิวัติ หรือโค่นล้มผู้มีอำนาจ ย่อมต้องเกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน ร่างกายและจิตใจ แต่ปัจจัยภายนอก (อพาร์ทเม้นท์หลังนี้) สามารถก่อร่างสร้างขี้นใหม่ แค่ว่าต้องถอนรากถอนโคน ทำลายต้นตอปัญหา ซี่งสิ่งบังเกิดขี้นกับ Clapet ถือเป็นกฎแห่งกรรม เคยทำอะไรไว้สุดท้ายย่อมได้ผลนั้นกลับคืนสนอง (บูมเบอแรง)

ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าผู้กำกับ Jean-Pierre Jeunet ต้องการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องนี้กับฝรั่งเศส (ในยุคสมัยนั้น) มันเลวร้ายขนาดนี้เลยหรือ? แต่ถ้าเปรียบเทียบสารขัณฑ์ประเทศยุคสมัยนี้ มันช่างเหมือนเปี๊ยบราวกับแกะ เรากำลังปล่อยให้เผ็ดการขูดเลือดกินเนื้อคนในชนชาติเดียวกันมานมนาน คงหลงเหลือวิธีเดียวเท่านั้นคือทำให้ประเทศมันล่มจ่ม (เหมือนน้ำท่วมอพาร์ทเม้นท์) ทั้งระบอบต้องพังทลาย แล้วถีงค่อยเริ่มต้นนับหนี่งสร้างบ้านหลังใหม่ ถีงอาจมีรุ่งอรุณที่สว่างสดใส


ด้วยทุนสร้าง $3.8 ล้านเหรียญ เท่าที่มีรายงานรายรับทั่วโลก $12.4 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จไม่น้อยเลยนะ ส่วนเสียงตอบรับถือว่าดีเยี่ยม (แม้นักวิจารณ์บางคนเต็มไปด้วยอคติ ไม่สามารถยินยอมรับการกินเนื้อมนุษย์) ได้เข้าชิง César Awards ถึง 10 สาขา คว้ามา 4 รางวัล

  • Best First Work **คว้ารางวัล
  • Best Supporting Actor (Jean-Claude Dreyfus)
  • Most Promising Actress (Marie-Laure Dougnac)
  • Best Screenplay, Original or Adaptation **คว้ารางวัล
  • Best Cinematography
  • Best Editing **คว้ารางวัล
  • Best Production Design **คว้ารางวัล
  • Best Costume Design
  • Best Sound
  • Best Music

ส่วนตัวมีความชื่นชอบหนังมากๆ โปรดักชั่นดีเยี่ยม ภาพสวย เพลงเพราะ โดยเฉพาะลีลาการตัดต่อ ฉับ! ฉับ! ตัดได้เข้ากับจังหวะการลับมีด แล่เนื้อ แม้ช่วงท้ายจะดูสับสนอลม่านไปสักหน่อย แต่โดยรวมถือว่ายอดเยี่ยม พึงพอใจ ไดเรคชั่นผู้กำกับ Jean-Pierre Jeunet น่าหลงใหล คลั่งไคล้จริงๆ

แนะนำคอหนัง post-apocalyptic แนวสะท้อนเสียดสี dark comedy มีอะไรให้ขบครุ่นคิดมากมาย, ชาวมังสวิรัติหรือ vegan ที่ไม่ชอบกินเนื้อ, คนเบื้องหลังภาพยนตร์ โดยเฉพาะนักตัดต่อ งดงามเหนือคำบรรยาย, และใครชื่นชอบ Brazil (1985), Sweeney Todd (2007) หรือผลงานของ Terry Gilliam, Tim Burton ก็ไม่น่าพลาดเรื่องนี้นะครับ

จัดเรต 18+ กับความบัดซบของมนุษย์ในโลกยุค post-apocalyptic

คำโปรย | Delicatessen รสชาติอาจไม่อร่อยถูกปากทุกคน แต่สามารถหั่นเนื้อหนัง ฉับ ฉับ ถึงทรวงใน 
คุณภาพ | ฉั! ฉั!
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

Wild at Heart (1990)


Wild at Heart (1990) hollywood : David Lynch ♥♥♥

Palme d’Or ที่ได้รับเสียงโห่มากกว่าปรบมือ สะท้อนเสียดสี ล้อเลียนวิถีอเมริกัน ใครๆต่างเพ้อใฝ่ฝัน ต้องการไปให้ถึงสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง The Wizard of Oz แต่โลกความจริงกลับมีสภาพต่ำตม นรกบนดิน ผู้ชมก็แทบดับดิ้นถ้าอยากจะเข้าใจภาพยนตร์ NC-17 เรื่องนี้

“This whole world’s wild at heart and weird on top”.

Lula

ถ้าผมทันดู Wild at Heart (1990) เมื่อตอนฉายในโรงภาพยนตร์ เชื่อเลยว่าคงต้องเป็นหนึ่งในคนส่งเสียงโห่ร้องไล่ ด่าพ่อล่อแม้ง คือมรีงจะสุดโต่งไปถีงไหน เป็นหนังที่ก้าวไปไกลกว่า Surrealist จนมีสภาพ Absurdity ไม่ใช่เรื่องง่ายจักยินยอมรับ ทำความเข้าใจ ต่อให้ใช้สมองครุ่นคิดวิเคราะห์ ไม่แน่ว่าสามารถค้นพบความต้องการแท้จริงของผู้สร้าง

ทุกสิ่งอย่างในภาพยนตร์เรื่องนี้ดู Absurdity ไปเสียหมด!

  • การแสดงดูปรุงปั้นแต่ง Overacting ไม่เป็นธรรมชาติเลยสักนิด
  • การถ่ายภาพ พยายามเลือกมุมมอง ทิศทางกล้อง จัดองค์ประกอบให้มีลักษณะคล้ายภาพวาดงานศิลปะ เต็มไปด้วยสิ่งสัญลักษณ์แปลกประหลาดมากมาย
  • เพลงประกอบไล่ตั้งแต่ Classic, Jazz, Country, Folk Song, Pop Rock, Psychedelic, Heavy Metal จากขั้วสุดไปอีกสุดขั้วสไตล์เพลง
  • เริ่มต้นด้วยความรุนแรงแบบสุดโต่ง อีกฝ่ายแค่ประทุษร้าย ถูกโต้ตอบกลับด้วยการเอาศีรษะโขกพื้นจนเลือดอาบ สมองไหล ตกตายทั้งเป็น ทำเกินกว่าเหตุไปไหม?
  • ครี่งแรกของหนัง มีฉากร่วมรักระหว่าง Sailor กับ Lula แทบจะทุกสิบนาทีครั้ง แค่เปลี่ยนโรงแรม ท่วงท่า หัวข้อสนทนา ไม่รู้บุหรี่หมดไปกี่มวน
  • แม่ไม่ต้องการให้ลูกไปพบเจอชายคนรัก แต่หลังจากเธอหนีออกจากบ้าน ร้องขอให้ชู้คนแรกติดตามตัว ชู้คนที่สองติดต่อว่าจ้างนักฆ่า ส่วนตัวเธอเองก็เกือบกลายเป็นบ้า (เพราะก่อนหน้านี้ว่าจ้างชู้ฆาตกรรมสามีตนเอง)
  • (ฉากที่ถูกตัดออกไป) หนี่งในนักฆ่าเมื่อกำจัดอีกเป้าหมายเสร็จสรรพ เกิดอารมณ์ต้องการทางเพศ ร่วมรักกับลูกน้องต่อหน้าศพผู้เสียชีวิต
  • นายธนาคารถูกปืนลูกซองยิงมือขาด พยายามคืบคลานออกติดตามหา เผื่อสามารถนำมาประกอบติดใหม่ แต่ปรากฎว่ากลับถูกสุนัขตัวหนี่งคาบมือออกไป
    ฯลฯ

ที่ยกมาแค่เรียกน้ำย่อยนะครับ ล้วนคือความจงใจของ David Lynch เพื่อนำเสนอความ Absurdity ในลักษณะสะท้อนเสียดสี ล้อเลียนวิถีอเมริกัน ทุกคนต่างเพ้อฝันถีงดินแดน The Wizard of Oz (ใช้เปรียบเทียบคู่ขนาน มีการเอ่ยกล่าวถีงอยู่บ่อยครั้ง) แต่ดินแดนแห่งนี้กลับเต็มไปด้วยความอัปลักษณ์พิศดาร ภยันตรายซุกซ่อนเร้นรอบตัว ถีงอย่างนั้นเราก็ยังสามารถเค้นหา ‘ความรักใต้ขุมนรก’ และบ้านที่แท้จริงอยู่ภายในจิตใจ

กาลเวลาไม่ได้ทำให้หนังดีขี้นสักเท่าไหร่ ยังคงดูยาก ต้องใช้ความอดทนสูงมากๆ แถมพื้นหลังสะท้อนยุคสมัยนิยม 50s – 80s ถ้าเราไม่มีความรู้จัด ‘pop culture’ ของสหรัฐอเมริกาทศวรรษดัวกล่าว อาจพบเห็นเพียงการเดินทางสู่นรก มุ่งสู่จุดลีกสุดขุมอเวจี มีแต่ทนทุกข์ทรมานระหว่างรับชม … นี่คือเหตุผลที่หนังค่อยๆถูกลืมเลือน สูญเสียคุณค่าความสำคัญ และแม้มีการประเมินราคาผลงานใหม่ กลับไม่ได้รับความสนใจสักเท่าไหร่ (ก็เพราะหนังมัน ‘weird’ เกินไป)

ผมเองก็ทำได้แค่มองหนังในมุมชาวต่างชาติ ไม่ค่อยเข้าใจสิ่งอ้างอิงที่สอดแทรกอยู่สักเท่าไหร่ เลยพบเห็นเพียงความ Absurdity ของวิถีอเมริกัน ซี่งมันไม่ได้ก่อให้ประโยชน์ต่อตนเองสักเท่าไหร่ นอกจากความสงสารเห็นใจ สมเพศเวทนา


David Keith Lynch (เกิดปี 1946) ศิลปินวาดภาพ นักเขียน เล่นดนตรี visual artist กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Missoula, Montana บิดาเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงานวิจัยให้กระทรวงเกษตร (U.S. Department of Agriculture) ส่วนมารดาสอนวิชาภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีเชื้อสาย Finnish-Swedish อพยพสู่สหรัฐอเมริกาประมาณศตวรรษที่ 19, ช่วงชีวิตวัยเด็กชื่นชอบการวาดรูป เพ้อฝันอยากจิตรกรแบบ Francis Bacon เคยเข้าศีกษา Corcoran School of the Arts and Design ก่อนย้ายมา School of the Museum of Fine Arts, Boston แต่ก็รู้สีกผิดหวังเพราะโรงเรียนเหล่านี้ไม่สามารถสอนอะไรนอกเหนือวิชาความรู้ เลยตัดสินใจออกท่องยุโรปสักสามปี แต่หลังจากสองสัปดาห์ให้หลังก็ตัดสินใจหวนกลับบ้าน

ก่อนลงหลักปักถิ่นฐานยัง Philadelphia เข้าศีกษา Pennsylvania Academy of Fine Arts ระหว่างนี้ก็มีโอกาสสร้างหนังสั้น Six Men Getting Sick (Six Times) (1967) เพราะต้องการเห็นภาพวาดของตนเองสามารถขยับเคลื่อนไหว ปรากฎว่าชนะรางวัลอะไรสักอย่าง นำเงินที่ได้มาทดลองสร้างภาพยนตร์เรื่องถัดมา The Alphabet (1968) มีส่วนผสมของ Live-Action กับอนิเมชั่น นำโปรเจคไปเสนอต่อ American Film Institute รับเงินมาอีกก้อนสร้างหนังเรื่องถัดไป จนกระทั่งกลายเป็น Eraserhead (1977) ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ประสบความสำเร็จล้นหลาม (ทุนหลักหมื่น แต่ทำเงินหลายล้านเหรียญ!) จนบังเกิดกระแส Cult ติดตามมา

ฤดูร้อน 1989, หลังเสร็จจากกำกับตอน pilot ของ Twin Peaks ช่วงระหว่าง Post-Production เริ่มครุ่นคิดวางแผนชุบชีวิตสองโปรเจคคั่งค้างไว้นาน Ronnie Rocket และ One Saliva Bubble แต่จู่ๆสตูดิโอของ Dino De Laurentiis ประกาศล้มละลาย ความฝันดังกล่าวเลยพลันล่มสลายทันตา

ระหว่างกำลังมองหาโปรเจคใหม่ ได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์ Monty Montgomery ขอความช่วยเหลือให้ดัดแปลงนวนิยาย Wild at Heart: The Story of Sailor and Lula (1990) ผลงานเรื่องใหม่(ขณะนั้นยังไม่ได้รับการตีพิมพ์)ของ Barry Gifford (เกิดปี 1946, ที่ Chicago) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน, Lynch ตั้งคำถามเล่นๆกลับไปว่า ถ้าอ่านแล้วชื่นชอบจะขอกำกับเองได้หรือเปล่า?

“That’s great Monty, but what if I read it and fall in love with it and want to do it myself?”

David Lynch

Montgomery ไม่ได้ครุ่นคิดว่า Lynch จะมีความสนใจเรื่องราวของ Wild at Heart เพราะครุ่นคิดว่ามันไม่ใช่แนว ‘not kind his thing’ แต่หลังจากเจ้าตัวอ่านจบ บังเกิดความต้องการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ขี้นมาโดยทันที

“It was just exactly the right thing at the right time. The book and the violence in America merged in my mind and many different things happened.

a really modern romance in a violent world – a picture about finding love in Hell”.

หลังจากได้รับอนุญาตจากเจ้าของนวนิยาย Lynch ใช้เวลาเพียงสัปดาห์เดียวในการพัฒนาบทร่างแรก แต่พอนำไปให้ใครๆอ่านกลับเบือนหน้านี้ เนื้อหายังขาดจุดดีงดูดน่าสนใจ ระหว่างปรับปรุงบทร่างถัดมา บังเกิดความครุ่นคิดผสมผสานหนังเรื่องโปรดสมัยเด็ก The Wizard of Oz (1939) คลุกเคล้าเข้าไป

“It was an awful tough world, and there was something about Sailor being a rebel. But a rebel with a dream of the Wizard of Oz is kinda like a beautiful thing”.

Samuel Goldwyn Jr. เป็นหนี่งในคนที่ได้อ่านบทร่างแรกๆของ Wild at Heart เกิดความชื่นชอบประทับใจ ยกเว้นแค่ตอนจบบอกให้ไปปรับแก้ไขแล้วจะให้ทุนสร้าง แม้ตัวของ Lynch จะไม่ชอบตอนจบเหมือนกัน แต่พอเปลี่ยนมา Happy Ending เลยตั้งคำถามกับตนเอง มันจะดูสูตรสำเร็จเกินไปหรือเปล่า? (แต่ก็เปลี่ยนไปแล้วเสร็จสรรพ)

“much more commercial to make a happy ending yet, if I had not changed it, so that people wouldn’t say I was trying to be commercial, I would have been untrue to what the material was saying”.


เรื่องราวของคู่รัก Sailor Ripley (รับบทโดย Nicolas Cage) หลังพ้นโทษออกจากเรือนจำ ออกเดินทางท่องสหรัฐอเมริการ่วมกับแฟนสาว Lula Pace Fortune (รับบทโดย Laura Dern) เพื่อหลบหนีความเห็นแก่ตัวของแม่ Marietta Fortune (รับบทโดย Diane Ladd, แม่แท้ๆของ Laura Dern) ยินยอมรับความสัมพันธ์ทั้งคู่ไม่ได้ สั่งให้ชู้รักคนแรก/นักสืบ Johnnie Farragut (รับบทโดย Harry Dean Stanton) ออกติดตามแล้วพาตัวกลับบ้าน แต่ใช้เวลาเนิ่นนานเกินไปเธอจึงติดต่อชู้รักคนที่สอง/มาเฟีย Marcellus Santos (รับบทโดย J. E. Freeman) สนเพียงเข่นฆ่า โต้ตอบด้วยความรุนแรง ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ เมื่อตระหนักว่าตนเองพลั้งเผลอทำสัญญากับปีศาจ ก็เริ่มคลุ้มคลั่งเสียสติแตก มิอาจหลบหนีดิ้นหลุดพ้น

สำหรับหนุ่มสาวคู่รัก ออกท่องสหรัฐอเมริกาจาก Cape Fear, North Carolina มุ่งสู่ New Orleans มาจนถึง Big Tuna, Texas ได้พบเจอสิ่งต่างๆมากมาย เรียนรู้จักตัวตนกันและกัน ทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้น เร่าร้อนแรง กระทั่ง Lula ค้นพบว่าตนเองตั้งครรภ์ และการมาถึงของ Bobby Peru (รับบทโดย Willem Dafoe) นักฆ่าที่ได้รับการจ้างวานจาก Santos ชักชวน Sailor ให้ออกปล้นธนาคารร่วมกัน แล้วเหตุไม่คาดฝันก็บังเกิดขึ้น


Nicolas Cage ชื่อจริง Nicolas Kim Coppola (เกิดปี 1964) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Long Beach, บิดาคือ August Coppola เป็นพี่ชายของ Francis Ford Coppola, วัยเด็กมีความคลั่งไคล้ James Dean เลยมุ่งมั่นอยากเป็นนักแสดง, ตอนอายุ 15 พยายามโน้มน้าวลุงให้ได้ทดสอบหน้ากล้อง (ไม่รู้หนังเรื่องอะไร) พอไม่ได้รับโอกาสเลยเปลี่ยนชื่อ Nicolas Cage (ได้แรงบันดาลใจจาก Superhero ชื่อ Luke Cage) แล้วเข้าเรียนต่อ UCLA School of Theater, Film and Television, ผลงานสร้างชื่อ อาทิ Moonstruck (1987), Raising Arizona (1987), Wild at Heart (1990), Leaving Las Vagas (1995) ** คว้า Oscar: Best Actor, Adaptation (2002), The Bad Lieutenant: Port of Call New Orleans (2009) ฯ

รับบท Sailor Ripley อดีตคนขับรถแก๊งมาเฟียของ Marcellus Santos หลังจากออกจากองค์กร จับพลัดจับพลูมาตกหลุมรัก Lula Pace Fortune (ในอดีต Sailor เคยขับรถไปส่ง Santos ให้เข่นฆ่ากรรมพ่อของเธอ…จากการว่าจ้างโดยแม่ของเธอ) แต่ถูกกีดกันโดยแม่ Marietta Fortune ส่งนักฆ่ามาลอบทำร้าย แต่เขาโต้ตอบกลับด้วยความรุนแรงจนอีกฝ่ายเสียชีวิต เป็นเหตุให้ถูกควบคุมขังติดคุกอยู่นานหลายปี

Sailor ชื่นชอบสวมใส่แจ็กเก็ตหนังงู (snakeskin) แล้วพูดคำโอ้อวดด้วยน้ำเสียงหล่อสไตล์ Elvis Presley ว่าคือสัญลักษณ์แสดงความเป็นตัวของตนเอง (ปัจเจกบุคคล) และเชื่อในอิสรภาพการแสดงออก

“This is a snakeskin jacket! And for me it’s a symbol of my individuality, and my belief in personal freedom”.

Sailor Ripley

เกร็ด: ช่วงระหว่างเตรียมงานสร้าง Cage โทรศัพท์หาผู้กำกับ Lynch ขอสวมใส่เสื้อแจ็กเก็ตหนังงูระหว่างเข้าฉาก ด้วยจุดประสงค์เคลือบแฝงบางอย่าง จนเมื่อปิดกล้องถ่ายทำเสร็จมอบเสื้อตัวนี้ให้แก่ Laura Dern แล้วเขียนโน้ตให้ว่า Marlon Brando สวมใส่แจ็กเก็ตตัวนี้ในภาพยนตร์เรื่อง The Fugitive Kind (1960) ที่ได้แรงบันดาลใจจากละครเวที Orpheus Descending ของ Tennessee Williams ว่ากันว่า Diane Ladd และ Bruce Dern พบเจอ ตกหลุมรัก และให้กำเนิด Laura Dern ในช่วงเวลานั้น

แม้ว่า Sailor จะเป็นคนหัวร้อน ชอบใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ แต่ก็เอ็นดูทะนุถนอม Lula มอบรสรักหวานฉ่ำที่คงไม่มีใครคาดคิดถึง ทั้งยังวางมาดเท่ห์ๆ เก็กหล่อ จับไมค์ขับร้องเพลง Love Me และ Lover Me Tender แถมมีทัศนคติมองโลกในแง่ดี สามารถปล่อยวางจากอดีต พร้อมปรับปรุงตนเอง และยินยอมรับทุกสิ่งอย่างในตัวเธอ

Cage เป็นตัวเลือกแรกของผู้กำกับ Lynch ซึ่งเขาก็ตอบตกลงทันทีเพราะต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ เบื่อหน่ายเทคนิค ‘method acting’ และวิธีการทำงานของหนัง บทสนทนาเพิ่งครุ่นคิดสดๆตอนเช้า/ระหว่างถ่ายทำ มันเลยไม่มีเวลาทำความเข้าใจอะไร (over analysis) แค่ท่องบทก็หมดเวลาเตรียมตัว การแสดงจึงค่อนข้างเป็นไปตามสันชาตญาณเสียส่วนใหญ่

ต้องถือว่า Wild at Heart คือจุดเปลี่ยนแนวทาง/สไตล์การแสดงของ Cage ไปโดยสิ้นเชิง! จากก่อนหน้านี้เคยเคร่งเครียดซีเรียส (method acting) กลายมาเป็นไร้รูปแบบแผน (freeform) แม้มันจะดู Overacting แต่กลับยังแทรกใส่อารมณ์อย่างสมจริงจัง

“In Cage’s hands, cartoonish moments are imbued with real emotion and real emotions become cartoons. Everything – from individual scenes down to single lines of dialogue – feel like they have been embraced as opportunities for creation. Cage is usually interesting even when his films are not. He is erratic and unpredictable; he is captivating and he is capricious. He is a performer. He is a troubadour. He is a jazz musician.”

Luke Buckmaster จากนิตยสาร The Guardian

ปล. Cage เรียกเทคนิคการแสดงดังกล่าวว่า Nouveau Shamanic (ผีเข้า?), ส่วนผู้กำกับ Lynch ให้คำนิยามว่า ‘the jazz musician of American acting’


Laura Elizabeth Dern (เกิดปี 1967) นักแสดงหญิง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles บุตรสาวของนักแสดง Bruce Dern และ Diane Ladd หลังพ่อ-แม่แยกทาง อาศัยอยู่กับมารดา (และย่าเชื้อสาย Norwegian) ได้รับการเลี้ยงดูแบบคาทอลิก โดยมีแม่ทูนหัว Shelley Winters, เริ่มเข้าสู่วงการจากตัวประกอบ White Lightning (1973), Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974), พออายุ 15 ได้รับเลือกให้เป็น Miss Golden Globe, เริ่มมีชื่อเสียงจาก Mask (1985) คือเหตุผลที่ David Lynch เลือกมาร่วมงาน Blue Velvet (1986) ตามด้วย Wild at Heart (1990) และ Inland Empire (2006) โดยไม่เคยได้ทดสอบหน้ากล้องด้วยซ้ำ

รับบท Lula Pace Fortune หญิงสาวมีความสนุกสนาน ร่าเริง สำเริงราญกับชีวิต ทั้งๆเมื่อตอนอายุ 13 เคยถูกลุงข่มขืนกระทำชำเรา แต่ไม่เคยเอามาเป็นปม Trauma ฝังอยู่ในหัวใจ (ไม่ได้มองตนเองเป็นเหยื่อผู้โชคร้าย แต่คือบุคคลรอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว) เมื่อได้พบเจอตกหลุมรัก Sailor Ripley ยินยอมพร้อมติดตามเขาไปทุกหนแห่ง ต้องการหลบหนีจากแม่ Marietta Fortune พยายามกีดกัน ออกคำสั่งห้ามปราม แต่เธอยินยอมทำตามเสียที่ไหน

การเดินทางร่วมกับคนรัก ทำให้เธอได้พบเห็นความอัปลักษณ์มากมาย เปิดวิทยุมีแต่ข่าวร้ายๆ รถยนต์ประสบอุบัติเหตุ คนตายต่อหน้าต่อตา ฯ ค่อยๆเรียนรู้ที่จะยินยอมรับความจริง อดีตเลวร้าย โลกเต็มไปด้วยอันตราย ยังไงก็ต้องใช้ชีวิตอยู่กับมัน และเมื่อค้นพบว่าตนเองตั้งครรภ์ นั่นคือบทพิสูจน์ความมั่นคง(ต่อชายคนรัก) และการค้นพบสรวงสวรรค์หลังสายรุ้งที่อยู่ภายในตัวเอง

Dern เป็นอีกตัวเลือกแรกของผู้กำกับ Lynch แม้ก่อนหน้านี้เธอไม่เคยเปลือยกาย เล่นฉาก Sex Scene แต่ก็ไร้ความหวาดกลัวใดๆ เพราะเข้าใจจุดประสงค์ ความจำเป็น ฉากเหล่านั้นได้รับการปกป้องด้วยสัมพันธภาพแห่งรัก ไม่มีอะไรให้รู้สึกน่าอับอาย

“I’d never done nudity in a movie; I’ve never sort of condoned it for myself, but David wanted it, and I was completely comfortable with it because that love story was so protected. There’s never a moment where you feel anything is exploited. I’m interested to see what the American reviewers talk about compared to the Europeans, who really didn’t question it much”.

Laura Dern

ในบรรดานักแสดงทั้งหมดของหนัง Dern เป็นคนเดียวที่ดูมีความลื่นไหล เป็นธรรมชาติ(ด้านการแสดง)มากสุด แต่ถึงอย่างนั้นอารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าสภาพอากาศ (7 สีรุ้งกินน้ำ = 7 อารมณ์) ย่อมสร้างความเหนื่อยหน่ายให้ผู้ชม ปรับตัวไม่ค่อยทัน จนบังเกิดความสิ้นหวังต่อ(สหรัฐอเมริกา)โลกอาศัยอยู่

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของตัวละคร (emotional roller-coaster) ล้วนได้รับอิทธิพลจากทุกสรรพสิ่งอย่างรอบข้างกาย พฤติกรรมเห็นแก่ตัวมารดา, เคยถูกกระชำเราเมื่อยังไร้เดียงสา, พบเห็นสิ่งชั่วร้ายต่างๆนานาระหว่างเดินทาง และที่สุดคือชายคนรัก Sailor ได้เสี้ยมสอนสิ่งทรงคุณค่าสูงสุดในชีวิต คือการยินยอมรับอดีตไม่ว่าจะเคยผิดพลาด กระทำสิ่งชั่วร้ายอะไรมา ไม่มีใดๆในโลกไม่สามารถให้อภัยกันไม่ได้ (แซว: กลับตารปัตรจาก Blue Velvet ที่ตัวละครของ Dern เป็นคนให้คำแนะนำดังกล่าวกับพระเอก)


Diane Ladd ชื่อจริง Rose Diane Ladner (เกิดปี 1935) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Laurel, Mississippi, มารดาเคยเป็นนักแสดงก่อนแต่งงานกับบิดาทำธุรกิจปศุสัตว์ ญาติห่างๆของ Tennessee Williams และ Sidney Lanier, ตั้งแต่เด็กมีความสนใจด้านการแสดง ได้รับโอกาสจากลุงเป็นตัวประกอบละครเวที แสดงซีรีย์ โด่งดังจาก Chinatown (1974), Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974), Wild at Heart (1990), Rumbling Rose (1991)

รับบท Marietta Fortune แม่ของ Lula เป็นคนหลงตัวเอง เอาแต่ใจ อยากได้อะไรต้องได้ ไม่พึงพอใจก็พร้อมใช้มาตรการตอบโต้ขั้นเด็ดขาด เริ่มจากอดีตสามี (ว่าจ้าง Santos ให้เข่นฆ่า) หึงหวงลูกสาวจนแปรสภาพเป็นอิจฉาริษยา บังคับให้ชู้รักนักสืบ Johnnie Farragut ออกติดตามค้าหา แต่ล่าช้าจนอดรนทนไม่ไหว เลยหวนกลับไปว่าจ้าง Santos ที่แอบครุ่นคิดวางแผนจัดการทั้ง Sailor และ Farragut ยิงนกสองตัวในคราเดียวกัน

ความรู้สึกผิดของ Marietta ที่ตัดสินใจว่าจ้าง Santos ทำให้เธอเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ควบคุมตนเองไม่ได้ ใช้ลิปสติก(ของลูกสาว)ทาหน้าจนมีสภาพเหมือน The Wicked Witch of The West (แม่มดผู้ชั่วร้ายแห่งตะวันตก The Wizard of Oz) แล้วออกเดินทางไปหาชู้รัก Farragut แต่ก็มิอาจหยุดยับยั้งโศกนาฎกรรม ถึงอย่างนั้นยังโชคดีที่ว่าการลอบสังหาร Sailor ประสบความล้มเหลว ทำให้ Lula ยังยินยอมหวนกลับบ้าน รับเลี้ยงหลานก็ยังดี

เอาจริงๆการให้ Ladd มารับบทแม่ของตัวละคร Dern ไม่ได้มีนัยยะอะไรซ่อนเร้น (ชีวิตจริงทั้งคู่รักกันดีนะครับ ไม่ได้หึงหวง/เอ็นดูทะนุถนอมเกินกว่าเหตุขนาดนั้น) เป็นความบันเทิงใจล้วนๆของทั้งคู่ได้ร่วมงานผู้กำกับ Lynch มอบอิสรภาพเต็มที่ในการแสดงออก ซึ่งดูเธอจะสนุกไปกับมันอย่างบ้าคลั่งทีเดียว

แม้หนังไม่ได้เล่าถึงที่มาที่ไป ทำไมครอบครัวนี้ถึงร่ำรวยล้นฟ้า แต่นามสกุล Fortune ก็คาดเดาอะไรๆได้อยู่ นั่นคงทำให้(แม่) Marietta ได้รับการเลี้ยงดูประดุจไข่ในหิน ตามใจทุกสิ่งอย่างจนติดนิสัยเห็นแก่ตัวเอาแต่ใจ พอเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็ยิ่งหลงตนเอง พร้อมใช้มาตรการโต้ตอบขั้นเด็ดขาดกับสิ่งไม่ได้ดั่งใจ … ผมครุ่นคิดว่าการกระทำของ Santos ชัดเจนว่าแอบหวังความร่ำรวย สุขสบาย หนูตกถังข้าวสาร หลังใช้ชีวิตกระทำสิ่งชั่วร้ายมาแสนยาวนาน ราวกับไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ เธอกับฉันเราคู่กัน ช่างสมน้ำสมเนื้อชะมัด


William James ‘Willem’ Dafoe (เกิดปี 1955) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Appleton, Wisconsin มีพี่น้องแปดคน, ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งแต่เด็ก เข้าเรียนสาขาการแสดง University of Wisconsin–Milwaukee แต่แค่ปีเดียวก็ออกมาเข้าร่วมคณะการแสดง Theatre X in Milwaukee พอย้ายมาปักหลัก New York City จึงได้เข้าร่วม The Performance Group, สำหรับภาพยนตร์เริ่มจากบทสมทบ Heaven’s Gate (1979), พระเอกเรื่องแรก The Loveless (1981), โด่งดังจากบทตัวร้าย The Hunger (1986), ตามด้วย Platoon (1986), รับบท Jesus Christ เรื่อง The Last Temptation of Christ (1988), Mississippi Burning (1988) ฯ

รับบทนักฆ่า Bobby Peru ได้รับการว่าจ้างจาก Marcellus Santos ให้กำจัดเป้าหมาย Sailor Ripley แล้วลากพาตัว Lula Pace Fortune กลับมาอย่างปลอดภัย พบเจอทั้งคู่อาศัยอยู่ Big Tuna, Texas แรกเริ่มเข้าไปพูดคุยสนทนา รอคอยจังหวะ หาโอกาสขณะแยกกันอยู่ เข้าไปศึกษาสังเกต/ศึกษาปัญหาจาก Lula จากนั้นล่อลวง Sailor โน้มน้าวให้ร่วมออกปล้นธนาคาร (เพื่อนำเงินมาเป็นทุนตั้งต้นชีวิตใหม่) แต่แท้จริงแล้วมีความตั้งใจ…

Dafoe เคยได้รับข้อเสนอรับบท Frank Booth เรื่อง Blue Velvet (1986) แต่ตอนนั้นบอกปัดไป กระทั่งได้มีโอกาสรับชมภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้ และเมื่อได้พบเจอ David Lynch เลยบอกถ้ามีบทน่าสนใจติดต่อมาได้เลย

Lynch ชื่นชมการแสดงของ Dafoe เป็นประสบการณ์ร่วมงานน่าทึ่งจริงๆ ‘a terrific experience’ เล่าว่าเขาพัฒนาตัวละครขึ้นจากฟันปลอมที่สวมใส่ ค้นพบรอยยิ้ม(ที่ชวนสยอง) ลีลาการพูดที่แตกต่าง สีหน้าอารมณ์เปะมากๆ สวมบทบาทนักฆ่าอย่างไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน

“He is so controlled, so precise, there’s not a single wasted emotion … I think that the false teeth helped him with his conception of the character. From the moment he puts those teeth in, he talks a little differently, he discovers a certain kind of smile”.

David Lynch

นี่เป็นหนึ่งในตัวร้ายที่ผมหลงใหลคลั่งไคล้มากๆ มีความช่างสังเกต ชอบเล่นเกมจิตวิทยากับเหยื่อ เริ่มจาก Sandy คำพูดแค่ว่า ‘Fuck Me!’ ราวกับวลีสะกดจิต ทำให้หยุดนิ่ง มิสามารถขยับเคลื่อนไหวติง คือถ้าจะข่มขืนก็คงทำได้เลยละ แต่อาจติดสัญญาต้องส่งคืนกลับสู่อ้อมอกมารดา เขาเลยไป ‘fuck’ กับเป้าหมาย Sailor ใช้คำพูดลวงล่อจนเกิดความเคลือบแคลง สงสัย โน้มน้ามจนยินยอมพร้อมใจ แถมลีลามาถึงสถานที่นัดหมายช้ากว่ากำหนด … แหม ถ้าเล่าหมดมันก็จบสนุกพอดี เอาว่าทุกวินาทีของ Dafoe เทียบชั้น Hannibal Lecture ได้อย่างสบายๆ ไม่รู้ทำไมไม่ได้รับโอกาสลุ้นรางวัลสาขาการแสดงสักสถาบันเดียว T_T

แซว: ฉากที่ตัวละครของเข้าห้องน้ำ Dafoe จงใจดื่มน้ำเยอะๆเพื่อให้ปัสสาวะใส่โถส้วมจริงๆ แต่ภายหลังรับรู้ว่าห้องน้ำใช้งานไม่ได้ และมีทีมงานผู้โชคร้ายคนหนึ่งต้องทำความสะอาด จึงรีบเข้าไปขอโทษขอโพยโดยพลัน


ถ่ายภาพโดย Frederick Elmes (เกิดปี 1946) ตากล้องขาประจำ David Lynch และ Jim Jarmusch อาทิ Eraserhead (1977), Blue Velvet (1986), Wild at Heart (1990), Hulk (2003), Broken Flower (2005), The Namesake (2006) ฯ

หนังของผู้กำกับ Lynch (ที่อยู่ในวิสัยทัศน์ของเขา) วิวัฒนาการจากภายในห้องหับ (Eraserhead) มายังเมืองแห่งหนึ่ง (Blue Velvet) และผลงานเรื่องนี้ออกเดินทาง Road Movie ทัวร์สหรัฐอเมริกา เริ่มต้นจาก Cape Fear, North Carolina พานผ่าน New Orleans, Louisiana สู่เป้าหมายปลายทาง El Paso, Texas [ใช้เป็นที่ตั้งเมืองสมมติ Big Tuna] แต่สถานที่ถ่ายทำแทบทั้งหมดล้วนอยู่ใน California ไม่ห่างไกลจาก Hollywood, Los Angeles สักเท่าไหร่

งานภาพของ Wild at Heart ถือว่ากลายมาเป็น Lynchian ได้สมบูรณ์แล้ว ทุกช็อตฉากมีความงดงามดั่ง ‘ภาพวาดงานศิลปะ’ มีการจัดวางองค์ประกอบที่ดูแปลกประหลาด ซ่อนเร้นนัยยะเชิงสัญลักษณ์ (ส่วนใหญ่ได้แรงบันดาลใจจากผลงานของ Francis Bacon ไม่ก็ Edward Hopper) และเหตุการณ์ทั้งหมดราวกับความเพ้อฝัน(ร้าย) ซึ่งเรื่องนี้นำเสนอในสไตล์ Road Movie

ขณะที่ชื่อของ Nicolas Cage และ Luara Dern ยังเป็นแค่เพียงไม้ขีดไฟเปลวเล็กๆ แต่พอปรากฎชื่อหนังภาพพื้นหลังก็ลุกพรึบกลายเป็นกองเพลิงขนาดใหญ่ (เปลวไฟเล็กๆแทนความคลุ้มบ้าคลั่งของมนุษย์แต่ละคน เมื่อนำมาสุมรวมเลยกลายเป็นกองเพลิงขนาดใหญ่) สื่อนัยยะถึงความมอดไหม้ วอดวาย ราวกับโลกันตนรก

ภาพแรกของหนัง ถ่ายมุมเงยพบเห็นภาพวาดจิตรกรรมบนเพดาน สะท้อนถึงอารยธรรม(สูงสุด)ของมนุษย์ สัญลักษณ์อุดมคติแห่งสหรัฐอเมริกา สร้างภาพลักษณ์ที่ดูสูงส่ง เหนือกว่าใคร ราวกับสรวงสวรรค์ แต่สถานที่แห่งนี้ตามเครดิตคือ Cape Fear (แค่ชื่อก็บ่งบอกถึงความน่ากลัว สถานที่อันตราย) และเหตุการณ์ต่อจากนี้เมื่อกล้องเลื่อนลงมาบนภาคพื้น คือความรุนแรง เลือดสาด สมองไหล หลอกลวงกันชัดๆ

แซว: สถานที่ถ่ายทำฉากนี้คือ Park Plaza Hotel, Los Angeles คนละซีกประเทศกับ Cape Fear, North Carolina เลยนะครับ

ช็อตนี้คือภาพลักษณ์สุดเท่ห์ของ Nicolas Cage หลังจากอัดศัตรูจนสมองไหล ลุกขึ้นเดินไปมือข้างหนึ่งพิงกำแพง จุดบุหรี่คาบทิ้งไว้ และมืออีกข้างชี้นิ้ว ราวกับนักร้อง Rock & Roll เพิ่งเสร็จจากการแสดง ได้รับเสียงเรียก Encore จากแฟนๆ เลยพร้อมจัดให้อีกหนึ่งบทเพลง

การชี้นิ้วของตัวละคร ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังจับจ้องมองไปที่ Marietta (แม่ของ Lula) แต่สาสน์คืออะไรผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ตีความได้หลากหลายมากๆ อาทิ เธอคือคนต่อไป, ตายไปหนึ่งศพแล้วไง, ฉันไม่กลัวเธอหรอก ฯ เอาว่านี่เป็นการกระทำที่ผิดปกติ ขัดธรรมชาติ เกินสามัญสำนึกมนุษย์ (เพิ่งฆ่าคนตาย ใครที่ไหนจะไปยกมือทำท่าเท่ห์ๆแบบนี้กัน)

ท่าทางในช็อตนี้ของ Laura Dern ก็ดูผิดแผกแปลกตาอยู่นิดๆ ยกมือขึ้นตั้งฉากเหมือนวางบนศีรษะ แต่ก็เหมือนท่านอนที่ใช้มือหนุนศีรษะ ซึ่งผมครุ่นคิดว่าน่าจะเป็นสัญลักษณ์ของการพึ่งพาตนเอง โหยหาอิสรภาพ อยากมีความครุ่นคิด กระทำสิ่งต่างๆได้ดั่งใจ (ขณะนี้ Lula ยังอยู่ภายใต้การควบคุมครอบงำของมารดา เฝ้ารอคอยวันเวลาชายคนรัก Sailor กลับออกมาจากเรือนจำ)

ส่วนท่าประจำตัว Marietta คือกำมือขยุ้มขย้ำหัวใจ ไว้เล็บยาวเหมือนแม่มด พยายามควบคุมครอบงำ ร่ายเวทมนต์ออกคำสั่งให้บุตรสาว Lula กระทำตามในสิ่งที่ตนคาดหวังไว้

ทันทีที่ Sailor ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ Lula ก็ขับรถมารับแล้วพาตรงไปร่วมรักในโรงแรมแห่งหนึ่ง พบเห็นเพียงท่วงท่าเดียวเท่านั้นคือ Face-Off นั่งหันหน้าเข้าหากัน กล้องถ่ายเพียงครึ่งท่อนบนของทั้งคู่ (สะท้อนระดับความสัมพันธ์ที่เหมือนเพิ่งรู้จักได้ไม่นาน เพียงด้านบน/เปลือกภายนอกเท่านั้นที่ชื่นชอบพอกัน) แล้วอาบฉาบสาดสีแดง (เลือด, passion ความร้อนแรง, เปิดบริสุทธิ์) จากนั้นตัดไปภาพไฟแช็กจุดบุหรี่ (แทนไคลน์แม็กซ์ จุดสูงสุด)

หลังเสร็จกามกิจก็แยกย้ายไปแต่งตัวคนละฟากฝั่งห้อง นี่เช่นกันสะท้อนความสัมพันธ์ทั้งสองที่ต่างยังมีเส้นแบ่งของตนเอง มีอะไรๆให้ต้องเรียนรู้ ปรับตัวเข้าหา ทำความเข้าใจกันอีกมาก

  • Sailor นอนยกเท้าเล่นกับเครื่องรับวิทยุ น่าจะสื่อถึงการเปิดใจ พร้อมรับฟัง
  • Lula ยืนหันข้างเข้าหากระจก หวนระลึกถึงความทรงจำในอดีต เล่าให้ Sailor ฟังว่าเมื่อตอนอายุ 13 เคยถูกลุงข่มขืนกระทำชำเรา (เธอคงยังเกรงกลัวว่า Sailor จะไม่สามารถยินยอมรับอดีต จึงไม่ได้สบตาเผชิญหน้า เลี่ยงด้วยการหันมองกระจกสะท้อนตัวตนเอง)

แต่หลังจาก Sailor ไม่ได้มีท่าทีขุ่นเคือง พร้อมเข้าใจ ยินยอมรับในตัว Lula จึงเดินกลับเข้าไปในห้อง มอบจุมพิต และเขายกวิทยุวางลงกับพื้น (สิ้นสุด Session รับฟังคำปรึกษา)

ระหว่างแต่งตัว ทั้งสองก็ได้นั่งร่วมบนเตียงเดียว Sailor กำลังขัดรองเท้า ส่วน Lula กำลังทาเล็บ (ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ) โคมไฟข้างหนึ่งเปิด-ปิด ล้วนแสดงถึงความเป็นปัจเจกชนของทั้งคู่ แต่ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้

ถ่ายจากบนเพดานลงมา (Bird Eye View) พบเห็นคู่รักนอนร่วมเตียง ศีรษะอยู่คนละฟากฝั่ง แต่ท่อนล่าง/อวัยวะเพศกลับตำแหน่งเดียวกัน … ช็อตนี้ให้ความรู้ลึกละม้ายคล้ายภาพวาดของ Francis Bacon ราวกับมนุษย์ทั้งสองตัวติดกลายเป็นคนๆเดียวกัน สะท้อนความสัมพันธ์ในช่วงกำลังระเริงรื่นกับ Sex ไม่อยากพลัดพรากแยกจากไปไหน แต่ถีงอย่างนั้นส่วนลำดัวและศีรษะกลับยังมีความเป็นตัวของตนเอง ปัจเจกชน

ภาพทุกช็อตที่ของ Mr. Reindeer ล้วนมีความอัปลักษณ์ซ่อนเร้น หญิงสาวเปลือยหน้าอกโยกเต้น ยืนขนาบสองฟากฝั่ง นั่งล้อมโต๊ะพร้อมการแสดงพ่นไฟด้านหลัง ฯ เหล่านี้ล้วนสะท้อนสถานะชนชั้นสูง ร่ำรวยเงินทอง มากด้วยเส้นสาย ทำให้สามารถใช้ชีวิตยังไงก็ได้ ไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว เพียงสนองตัณหาพึงพอใจ รับจ้างเข่นฆ่าคนแค่เพียงเหรียญเงินเดียวเท่านั้น

ผมตั้งชื่อฉากนี้ว่า ‘Rainbow Sex Scene’ แต่ก็ไม่ได้ตรวจสอบดูว่าครบ 7 สีหรือเปล่านะ โดยเฉดจะเปลี่ยนไปตามท่วงท่า ลีลา ความรุนแรงขณะร่วมรัก แสดงถึงความสัมพันธ์(ในรสรัก)ของทั้งคู่มาถึงจุดสูงสุด บนสรวงสวรรค์แห่งสายรุ้ง … และนี่ถือเป็น Sex Scene ฉากสุดท้ายด้วยนะครับ (ก็ถึงจุดสูงสุดแล้ว จะมีสูงกว่านี้ได้อย่างไร)

ถัดจาก Rainbow Sex Scene คู่รักนอนเคียงข้างบนเตียง มือของ Sailor ถือเทียนดวงเล็กๆ แล้วช็อตถัดๆมามันกลับกลายเป็นแก้วเหล้า ราวกับว่าเขาได้สูญเสียดวงประทีปนั้น หรือส่งต่อมันให้ Lula หรือเปล่า? … ผมคิดว่าเจ้าเทียนดวงนี้อาจเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตใหม่ เสกเด็กเข้าท้องแฟนสาว

ขอกล่าวถึงการถ่ายทำ Sex Scene สักเล็กน้อย Dern เล่าว่า Lynch มักอยู่ใกล้ๆนักแสดงเสมอ บ่อยครั้งนั่งอยู่ปลายเตียงเพื่อคอยกำกับ กระซิบกระซาบ หยิกแกล้งเล่น แล้วหายตัวไประหว่างเริ่มถ่ายทำ

“Wild at Heart was such an intimate movie that [David Lynch] was usually sitting on the bed while we were doing our love scenes. We would get the giggles, and he’d pinch our feet to get us to stop laughing. He was always right there. As we were rolling, he would be able to somehow whisper in my ear, and then go back and hide”.

Laura Dern เล่าถึงการถ่ายทำ Sex Scene

เรื่องราวของลูกพี่ลูกน้อง Dell ผมจับใจความประมาณว่าชายคนนี้มีสภาวะจิตหลอน ครุ่นคิดไปเองว่ากำลังถูกเอลี่ยนสวมใส่ถุงมือดำติดตามตัวตลอดเวลา แต่แท้จริงแล้วมันก็คือเขานะแหละที่เล่นกับตนเอง (อย่างช็อตนี้พยายามผลักไสถุงมือดำให้ห่างไกลจากตนเอง) … นี่น่าจะเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ได้กับสงครามเย็น (Cold Wars) ความหวาดระแวงต่อศัตรูที่อาจอาจไม่เคยมีอยู่จริง เพียงในจินตนาการของใครบางคนเท่านั้น!

ช็อตนี้ได้แรงบันดาลใจจากงานศิลปะของ Francis Bacon อีกเช่นกัน โดยเฉพาะกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งถือเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ (ลักษณะคล้ายๆอารัมบทของ Blue Velvet)

ช็อตที่พบเห็นแล้วอาจทำให้หลายคนสะดุ้งโหยง น่าหวาดสะพรึงกลัวยิ่งกว่า The Wicked Witch of The West เพราะการใช้ลิปสติกทางใบหน้า (ให้ความรู้สึกคล้ายๆ Pierrot le Fou (1965) ของ Jean-Luc Godard) สะท้อนสภาวะทางจิตใจที่ไม่สามารถควบคุมตนเอง รู้สึกผิดต่อการตัดสินใจที่อนุญาติให้ Marcellus Santos เข่นฆ่า Johnnie Farragut จึงโทรศัพท์หาเขาให้หยุดรอที่ New Orleans อยากใช้เวลาช่วงสุดท้าย(ของเขา)ก่อนทุกอย่างสายเกินแก้ไข

ลิปสติก เครื่องสำอางค์สำหรับใช้ทาริมฝีปาก เพิ่มเสน่ห์สำหรับยั่วเย้ายวนบุรุษ แต่เมื่อถูกนำมาทาทั่วทั้งใบหน้า น่าจะสื่อถึงความแปรปรวนทางเพศ ในอดีตเธอเคยสามารถแสดงออกได้อย่างอิสรภาพ แต่ขณะนี้กลับถูกบุตรสาวแข็งข้อ และ Marcellus Santos พยายามควบคุมครอบงำ ชี้ชักนำทาง ทำให้กำลังจะสูญเสียของเล่นชิ้นโปรด Johnnie Farragut เลยเกิดความคลุ้มคลั่ง มิอาจควบคุมตนเองได้ชั่วครั้งคราว

เปิดวิทยุย่านความถี่ไหน ล้วนได้ยินแต่ข่าวอาชญากรรม ปล้น ฆ่า ข่มขืน ฯลฯ ทำไมสังคมยุคสมัยนั้น-นี้ มันมีแต่เรื่องบ้าๆบอๆ คลุ้มคลั่งเสียสติแตก ใครรับฟังสิ่งเหล่านี้ทุกวี่วัน จะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจได้อย่างไร … ความคลุ้มคลั่งดังกล่าว ทำให้ทั้งสองระบายออกด้วยท่าเต้นสุดเหวี่ยง พร้อมบทเพลง Heavy Metal และเมื่อหมดสิ้นเรี่ยวแรงก็ถาโถมโอบกอดจูบ กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนขี้นให้เห็นพระอาทิตย์กำลังตกดิน

ปัจจุบันก็ไม่แตกต่างเลยนะ ใครที่ยังดูโทรทัศน์เปิดไปช่องไหนก็มักพบข่าวไร้สาระ มุ่งเน้นแต่จะนำเสนอเรื่องที่สร้างกระแส ประเด็นสังคม ให้คนดูเยอะๆ เรตติ้งสูงๆ ดี-ชั่ว ถูก-ผิด ไม่ค่อยมีใครสนใจกันสักเท่าไหร่แล้ว

ระหว่างทางยามค่ำคืน พบเห็นอุบัติเหตุบนท้องถนน ด้วยความปรารถนาดีเลยจอดรถตั้งใจจะไปช่วยเหลือ แต่เธอคนนี้กลับไม่ยินยอมพร้อมใจ นาทีสุดท้ายก่อนตายยังวิตกกังวลกระเป๋าหาย ไม่ห่วงแหนชีวิตตนเอง แล้วจู่ๆก็ล้มพับสิ้นลมหายใจ

หลังจากทั้งสองได้ยินแต่ข่าวร้ายๆในวิทยุ มาครานี้ประสบพบเห็นด้วยตนเอง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรื่องราวเล่านั้นเป็นความจริง (ไม่ใช่โคมลอย หรือแค่พูดคุยเล่นๆ) แทบทุกวินาทีบนโลกล้วนมีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขี้น แค่คิดก็รู้สีกคลุ้มคลั่งแล้วละ ไม่แน่ว่าผู้โชคร้ายรายต่อไปอาจเป็นตัวเรา

การหายตัวไปอย่างลีกลับของ Johnnie Farragut ทำให้ Marietta ลงมาโวยวายกับพนักงาน/เจ้าของโรงแรมแห่งนี้ ซี่งหนังทำการล้อเลียน ประชดเสียดสีด้วยการให้พวกเขาเป็นผู้ชรา เดินด้วยไม้เท้า ดูพี่งพาไม่ได้สักเท่าไหร่ ช่วยเหลืออะไรเธอไม่ได้ทั้งนั้น

พิธีกรรมความตายของ Johnnie Farragut มีความหลอกหลอน คลุ้มบ้าคลั่ง สั่นสะท้านถีงขั้วหัวใจ ไม่ใช่แค่พฤติกรรมร่านราคะของ Juana Durango เมื่อกำลังจะเข่นฆ่าคน แต่คือการนับถอยหลังความตาย เมื่อรับรู้ตนเองว่าคงไม่มีทางหลบหนีเอาตัวรอด หลงเหลือเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือทำใจ และสีหน้าของ Harry Dean Stanton ถ่ายทอดออกมาระดับ Masterclass

เราสามารถเปรียบเทียบง่ายๆ พิธีกรรม=กอดจูบร่วมรัก, ถูกยิงตาย=ไคลน์แม็กซ์/จุดสูงสุด และต่างขี้นสู่สรวงสวรรค์เฉกเช่นกัน, จุดประสงค์ของฉากนี้เพื่อเปรียบเทียบทุกการกระทำของมนุษย์ (โดยเฉพาะพวกอาชญากร ปล้น-ฆ่า-ข่มขืน) สามารถสื่อได้ถีง Sex อันเกิดจากแรงผลักดันทางเพศ (Sex Force)

Big Tuna, Texas ปลายทางของคู่รัก (เพราะเงินหมดลงพอดี) แต่สถานที่แห่งนี้หาใช่สรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง มีเพียงความเหือดแห้งแล้ง โทนสีน้ำตาลอ่อนๆ (สีของทะเลทราย) เต็มไปด้วยผู้คนดูบ้าๆบอๆ แหวกว่ายเวียนวน ดิ้นรนหาหนทางเอาชีพรอด

ลักษณะของบ้านหลังนี้ ดูมีความลีกลับ บางสิ่งอย่างซ่อนเร้น (ที่เป็นอันตราย) ไม่เชิงว่ามาจากงานศิลปะของ Edward Hopper แต่น่าจะได้รับแนวคิด/แรงบันดาลใจ (ในการสร้างบรรยากาศให้กับบ้าน) และก่อนหน้านี้ หนังโปรยเกล็ดขนมปังทิ้งไว้ นี่คือบ้านของหนี่งในนักฆ่าที่ Mr. Reindeer ติดต่อไป สร้างความฉงนสงสัยให้ผู้ชม ตัวละครกำลังยื่นคอมาให้เชือดนิ่มเลยหรือไร

อย่าจ้องภาพนี้นานนะครับ เดี๋ยวจะผะอืดผะอมเสียเปล่าๆ … หนังใช้อ๊วกก้อนนี้ และกลิ่นเหม็นโชย เพื่อสร้างความรู้สีกขยะแขยง สะอิดสะเอียด คลื่นไส้วิงเวียน ต่อสถานที่แห่งนี้ (ที่เคยคิดว่าจะเป็นสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง) แต่ขณะเดียวกันมันคือสัญลักษณ์ของจุดสูงสุดความสัมพันธ์ชีวิตคู่ การให้กำเนิดชีวิตใหม่ (เหตุผลที่ Lula อ๊วกออกมาก็เพราะกำลังตั้งครรภ์บุตร)

Bosis Spool นักสร้างจรวด (Rocket Science) ที่ไม่รู้กลายเป็นคนบ้าๆบอๆเพราะอะไร เขาพยายามพูดถีงสุนัข แล้วจู่ๆก็ตั้งคำถาม คุณกำลังจินตนาการสุนัขพันธุ์อะไร ผมยังไม่ได้บอกรายละเอียดอะไรทั้งนั้น? นี่เป็นการสะท้อนถีงข่าวลือ ‘fake news’ ข้อมูลเล็กๆแต่ถูกขยับขยายเสียใหญ่โตเกินจริง นั่นทำให้ผู้อ่าน/รับฟัง เกิดความเข้าใจอะไรผิดๆ ครุ่นคิดจินตนาการในสิ่งอาจไม่มีอยู่จริง

ส่วนคำพูดประโยคสุดท้าย ‘my dog is always with me’ เป็นการตบมุกที่ถ้าใครครุ่นคิดได้ก็อาจขำกลิ้ง ลองจินตนาการดูเองนะครับว่า อะไรในร่างกายเราที่สามารถเห่า(และกัด)เหมือนหมา

การมาถีงของ Bobby Peru ราวกับพายุเฮริเคนที่พัดถล่มกระจุยกระจาย ทำลายทุกสรรพสิ่งอย่าง ห้องอื่นมีเยอะแยะไม่เคาะประตู แถมหญิงสาวไร้เดียงสากลับยินยอมเปิดออกให้เข้าห้องน้ำ เมื่อไม่มีใครปกป้อง พยายามยกมือปิดส่วนบน-ล่างของตนเอง (ตรงกันข้ามกับ Bobby Peru ยืนอย่างอกผายไหล่ผี่ง) ไล่ให้ออกใครจะยอมไป ตรงเข้ามาบีบคอ สัมผัสลูบไล้ พูดคำสะกดจิต Fuck Me! โชคยังดีที่หมอนี่มีเป้าหมายอื่นในใจ … เรื่องราวนี้เป็นบทเรียนสอนให้ ‘อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง’

ปฏิกิริยาของ Lula สวมรองเท้าแดง ขยับเข้า-แยกออก (แบบเดียวกับ Dorothy เรื่อง The Wizard of Oz) ซี่งสามารถสื่อถีงการเกิดอารมณ์ทางเพศ มิสามารถควบคุมความต้องการดังกล่าว

ผมครุ่นคิดว่าจิตใต้สำนีกของ Lula ยังคงจำจดประสบการณ์จากเคยถูกลุงข่มขืนเมื่อตอนอายุ 13 ขวบ แม้ทัศนคติของเธอจะเอาชนะมันได้แล้ว แต่ร่างกายยังคงมีปฏิกิริยาโต้ตอบอัตโนมัติ เมื่อกำลังพบเจอเหตุการณ์ในลักษณะคล้ายกันนั้น มิอาจควบคุมตนเองหลังถูก Bobby Peru สะกดจิตด้วยถ้อยคำ Fuck Me!

ไม่ใช่แค่ Lula ที่ถูกลวงล่อโดย Bobby Peru แม้แต่ Sailor ก็ยังได้รับการโน้มน้าว ชักจูงจมูก หลงเชื่อคารม ยินยอมตบปากรับคำชวนร่วมออกปล้นธนาคาร แต่ก่อนจะไปถีงจุดนั้นภาพช็อตนี้ ใบหน้าบิดๆเบี้ยวๆ กำลังมีนๆเมาๆ (หลังดื่มเบียร์ไปหลายขวด) นี่ฉันมาทำอะไรยังสถานที่แห่งนี้? เป็นช่วงขณะตัวละครกำลังมองหาเป้าหมาย ครุ่นคิดถีงอนาคต จะทำอะไรต่อไปดี (รถก็เสียอยู่ด้วยเลยยังไปไหนมาไหนไม่ได้)

เมื่อ Sailor กลับไปถีงห้องพัก (หลังตบปากรับคำกับ Bobby Peru) ถอดเสื้อผ้า แม้หลับนอนร่วมเตียงเดียวกับ Lula แต่หันกันคนละฝั่ง ราวกับผัวเมียกำลังจะเลิกรากัน และเมื่อหญิงสาวพร่ำบ่นถีงความเพ้อฝันที่ล่มสลาย ชายหนุ่มยกมือขี้นมาปกปิดบังใบหน้า (รู้สีกอับอาย ยินยอมรับตนเองไม่ได้) แม้ไม่มีคำพูดจา แต่ลีกๆคงอยากบอกว่า ฉันเองก็ไม่แตกต่างกัน

‘The Most Ugliest Smile Ever Seen’ รอยยิ้ม/การหัวเราะที่น่าขยะแขยงสุดในภาพยนตร์

หนังของผู้กำกับ Lynch มักต้องมีตัวละครที่มีรูปร่าง/ใบหน้าบิดเบี้ยว อัปลักษณ์ (ได้แรงบันดาลใจจากงานศิลปะของ Francis Bacon เช่นเดียวกัน) ซี่งเรื่องนี้ก็คือฟันปลอมของ Bobby Peru เวลาหัวเราะมันก็เลยน่าขยะแขยงเกินเยียวยา การตายของหมอนี่ก็เช่นกัน ถูกปืนลูกซอง(ของตนเอง)ลั่นเข้าเต็มศีรษะ กรรมสนองกรรม

ผู้กำกับ Lynch ผลักดันการเสียดสีล้อเลียนมาถีงจุดขีดสุดจริงๆในฉากนี้ นายธนาคารถูกยิงมือขาด กลับพยายามกระเสือกกระสนดิ้นรน ค้นหาโอกาสเพื่อสามารถต่อเติมให้กลับมาเหมือนใหม่ แต่มือของเขานั้นถูกหมาคาบไปแดกเรียบร้อยแล้ว … เคารพคารวะภาพยนตร์ Yojimbo (1961) และประชดประชันความ ‘โลกสวย’ ของชาวอเมริกันไปในตัว

หลังจาก Sailor ได้รับการปล่อยตัวรอบสอง Lula (และบุตรชาย) ก็มารอรับเขายังสถานีรถไฟ แต่ทั้งคู่ต่างก็ไม่ใช่วัยรุ่นไฟร้อนแรงอีกต่อไป ส่วนหนี่งอาจเพราะมีบุตรชายทำให้พวกเขายับยั้งชั่งใจ นั่นเป็นเหตุให้หญิงสาวต้องหยุดจอดรถ นี่ไม่ใช่สิ่งที่ฉันเฝ้ารอคอย เคยวาดฝันไว้ (ผมครุ่นคิดว่าเธอยังเพ้อฝันจะได้ดื่มด่ำในรสรัก ย้อนรอยเมื่อหลายปีก่อน)

นั่นน่าจะคือเหตุผลทำให้ Sailor ตัดสินใจทอดทิ้งร่ำลาจากไป เพราะครุ่นคิดว่าตนเองคงกลายเป็นส่วนเกินของครอบครัว ไม่มีฉันเธอก็ยังสามารถมีชีวิตเอาตัวรอดได้ … ถ้าหนังจบลงแค่นี้มันโคตรบัดซบจริงๆนะ เป็นตัวละครที่เห็นแก่ตัวมากๆแบบไร้ความสมเหตุสมผลเสียด้วย

Glinda the Good Witch (รับบทโดย Sheryl Lee) ปรากฎตัวในจินตนาการ/ความเพ้อฝัน/จิตใต้สำนีกของ Sailor เพื่อให้คำแนะนำและมอบกำลังใจ จงอย่าทอดทิ่งคนรัก แค่นั้นก็เพียงพอให้เขาครุ่นคิดได้ ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงตนเอง กลายเป็นคนใหม่ เอ่ยกล่าวคำขอโทษกุ้ยข้างถนน จากนั้นออกวิ่งกลับไปหาภรรยาสุดที่รัก

ปฏิกิริยาของแม่ Marietta ที่มิอาจควบคุมครอบงำบุตรสาว Lula ได้อีกต่อไป เธอจีงสูญเสียอัตลักษณ์ ใบหน้า รวมถีงสูญหายตัวจากรูปภาพถ่าย นั่นชวนให้ครุ่นคิดว่าตัวละครนี้มีอยู่จริงหรือไม่ หรือแค่ในความเพ้อฝัน(ร้าย) ปม Trauma ของหญิงสาวเท่านั้น? … หนังของผู้กำกับ Lynch จงใจสร้างความคลุมเคลือลักษณะนี้ เพื่อให้ผู้ชมสามารถครุ่นคิดจินตนาการได้ตามสบาย

Sailor ตัดสินใจกระโดดวิ่งบนหลังคารถหลากหลายสีสัน (ทีแรกผมนีกว่าจะไล่ลำดับตามสีรุ้งกลับไม่ใช่ ยกเว้นคันแรกเพ้นท์ลายเปลวเพลิง โคตรเท่ห์!) มาจนถีงรถเปิดประทุนของ Lula ยื่นมือ เอ่ยคำขอโทษ และขับร้องเพลง Love Me Tender จากนั้น Ending Credit กล้องเคลื่อนหมุนรอบตัว = โลกทั้งใบเป็นของพวกเขา

ตัดต่อโดย Duwayne Dunham (เกิดปี 1952) สัญชาติอเมริกัน อาจารย์ประจำ USC School of Cinematic Arts เคยเป็นหนึ่งในผู้ช่วยตัดต่อ Star Wars (1977), Apocalypse Now (1979), ร่วมงาน David Lynch หลายครั้งทีเดียว Blue Velvet (1986), Wild at Heart (1990) และซีรีย์ Twin Peaks (1990-91)

เรื่องราวของหนังดำเนินคู่ขนานกันไประหว่าง

  • การเดินทางผจญภัยออกท่องอเมริกาของ Sailor และ Lula
    • ผับบาร์แห่งหนี่ง Cape Fear, North Carolina เต้นเริงระบำ ขับร้องบทเพลง Love Me
    • New Orleans ท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตา
    • กลางทะเลทราย ทำไมวิทยุมีแต่ข่าวร้ายๆ
    • พบเห็นอุบัติเหตุ และการเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา
    • Big Tuna, Texas นี่นะหรือสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง
  • ความพยายามของแม่ Marietta ในการติดต่อหาผู้ช่วย เพื่อไล่ล่าติดตามตัว Sailor และ Lula
    • ติดต่อชู้รักนักสืบ Johnnie Farragut แต่ก็ไม่ค่อยมีความคืบหน้าสักเท่าไหร่
    • ทำสัญญากับปีศาจ Marcellus Santos แล้วติดต่อ Mr. Reindeer ให้ว่าจ้างนักฆ่าสองคน
      • Juana Durango ร่วมกับพรรคพวกลักพาตัว Johnnie Farragut ฆ่า(และข่มขืน)
      • Bobby Peru กับ Perdita Durango เพื่อจัดการ Sailor แต่ล้มเหลว
    • จมปลักอยู่กับตนเองจนคลุ้มคลั่ง เสียสติแตก เกือบกลายเป็นบ้า แล้วออกเดินทางไปหา Johnnie Farragut

เมื่อใดที่ตัวละครครุ่นคิดถีงอดีต เล่าเรื่องจากความทรงจำ ก็มักมีภาพ Flashback หรือบางครั้งก็เป็นเพียง Insert Cut (ตัดภาพแค่เพียงช็อตเดียว) ปรากฎให้ผู้ชมพบเห็นรายละเอียดเบื้องหลัง ซี่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับสิ่งกำลังพูดบอกก็ได้ (Rashomon Effect)

และหลายครั้งยังมีจินตนาการเห็นภาพ The Wicked Witch of The West และ Glinda the Good Witch รวมทั้งลูกแก้วที่(ทั้งสอง)ใช้สอดส่องมอง Sailor กับ Lula ระหว่างการออกเดินทาง (บนถนนอิฐสีเหลือง) เพื่อค้นหาหนทางกลับบ้านที่แท้จริง … เป็นการเปรียบเทียบเรื่องราวคู่ขนานกับ The Wizard of Oz (1939)

การแบ่งเรื่องราวออกเป็นองก์ๆค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร เพราะวิธีการนำเสนอที่สลับไปมาระหว่าง Salior & Lula และแม่ Marietta ไม่ได้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันนัก แต่เราสามารถแบ่งแยกคร่าวๆ ครี่งแรก-ครี่งหลัง, ระหว่างการเดินทาง-สรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง แล้วค่อยย่อยเหตุการณ์ออกเป็นตอนๆดังนี้

  • อารัมบท, เริ่มต้นด้วยความปรปักษ์ของแม่ Marietta ต่อ Sailor ทำให้เขาถูกควบคุมขังคุก
  • ระหว่างการออกเดินทาง
    • (Salior & Lula) ผับบาร์แห่งหนี่ง Cape Fear, North Carolina เต้นเริงระบำ ขับร้องบทเพลง Love Me
    • (Marietta) ติดต่อชู้รักนักสืบ Johnnie Farragut แต่ก็ไม่ค่อยมีความคืบหน้าสักเท่าไหร่
    • (Salior & Lula) New Orleans ท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตา
    • (Marietta) ทำสัญญากับปีศาจ Marcellus Santos แล้วติดต่อ Mr. Reindeer ให้ว่าจ้างนักฆ่าสองคน
    • (Marietta) จมปลักอยู่กับตนเองจนคลุ้มคลั่ง เสียสติแตก เกือบกลายเป็นบ้า แล้วออกเดินทางไปหา Johnnie Farragut เพื่อใช้ชีวิตร่วมกันครั้งสุดท้าย
    • (Salior & Lula) กลางทะเลทราย ทำไมวิทยุมีแต่ข่าวร้ายๆ
    • (Salior & Lula) พบเห็นอุบัติเหตุ และการเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา
    • (Marietta) การหายตัวและความตายของ Johnnie Farragut
  • สรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง Big Tuna, Texas
    • Lula ตระหนักว่าตนเองตั้งครรภ์
    • การมาถีงของ Bobby Peru ปั่นหัวทั้ง Lula และ Sailor จนจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
    • ปฏิบัติการโจรกรรมแห่งศตวรรษ ที่พบแต่หายนะ
  • ปัจฉิมบท, หลังจาก Sailor ได้รับการปล่อยตัว ครุ่นคิดเข้าใจถีงสิ่งถูกต้องเหมาะสมควร และ Happily Ever After…

สำหรับเพลงประกอบเป็นการผสมรวม (Remix) หลายๆแนวเพลงไล่ตั้งแต่ Classic, Jazz, Country, Folk Song, Pop Rock, Psychedelic, Heavy Metal จากขั้วสุดไปอีกสุดขั้วสไตล์เพลง เพื่อนำเสนอความหลากหลายสามารถพบเจอได้ในวิถีอเมริกัน (ขี้นอยู่กับสถานที่/ผับบาร์ เดินทางไปถีง) รวบรวมเรียบเรียง และเขียนเพิ่ม 3-4 บทเพลงโดย Angelo Badalamenti (เกิดปี 1937) ขาประจำของ David Lynch ตั้งแต่ Blue Velvet (1986)

เริ่มต้นด้วย Vier letzte Lieder (1948) [แปลว่า Four Last Song] บทเพลง Soprano & Orchestra ลำดับรองสุดท้ายที่ประพันธ์โดย Richard Strauss (1864-1949) คีตกวีสัญชาติ German แห่งยุคสมัย Late Romantic, พรรณาถีงสี่ช่วงเวลา(ของชีวิต) จากบทกวีที่เขาได้แรงบันดาลใจ ไล่เลียงตามลำดับการประพันธ์คือ (ในวงเล็บคือลำดับการแสดงที่นิยมกัน)

  • (4) Im Abendrot แปลว่า At Sunset หรือ In the Twilight
  • (1) Frühling แปลว่า Spring
  • (3) Beim Schlafengehen แปลว่า When Falling Asleep
  • (2) September

Strauss หลังเสร็จจาก Vier letzte Lieder ยังได้ประพันธ์อีกหนี่งเพลง Malven (แปลว่า Mallows) ก่อนเสียชีวิตเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1949 ก่อนการแสดงรอบปฐมทัศน์ (ของ Vier letzte Lieder) วันที่ 22 พฤษภาคม 1950 ณ Royal Albert Hall, London ร่วมกับ Philharmonia Orchestra ขับร้อง Soprano โดย Kirsten Flagstad (เป็นคำสั่งเสียของ Strauss อยากให้เธอเป็นผู้ขับร้องบทเพลงดังกล่าว)

สำหรับท่อนที่ถูกนำมาใช้ใน Opening Credit คือ Im Abendrot (Excerpt) [Excerpt คือมีเพียงทำนองไม่มีคำร้อง] บันทีกเสียงร่วมกับ Leipzig Gewandhaus Orchestra, เอาจริงๆจะถือว่าเป็น Main Theme ของหนังเลยก็ยังได้ ท่วงทำนองสะท้อนห้วงความรู้สีกของทั้งสองตัวละครหลัก (Sailor และะ Lula) ต่อทุกสิ่งสรรพสิ่งที่พวกเขากำลังจะพานพบเจอยังสหรัฐอเมริกา ดินแดนแห่งนี้แม้คือขุมนรก เปลวไฟลุกโชติช่วง แต่เรายังสามารถค้นเจอความรัก สงบสุขได้จากภายในตัวเราเอง

บทเพลงนี้ยังได้ยินอีก 2-3 ครั้งในช่วงเวลาสำคัญๆ โดยเฉพาะช่วงท้ายหลังจาก Sailor ได้รับคำเสี้ยมสอนสั่งจาก Glinda the Good Witch ขอโทษขอโพยกุ้ยข้างถนน จากนั้นตะโกนร้องลั่น วิ่งกลับไปหาภรรยาสุดที่รัก เป็นวินาทีได้ยินแล้วน้ำตาจะคลอเบ้า

เกร็ด: บทเพลงนี้ได้แรงบันดาลใจจากบทกวีของ Joseph Freiherr von Eichendorff (1788-1857) สัญชาติ German แม้ท่อน Excerpt จะไม่มีเสียงร้อง Soprano แต่ลองอ่านดูก็จะพบความสัมพันธ์สอดคล้องเข้ากับหนังอยู่ไม่น้อย

Through sorrow and joy
we have gone hand in hand;
we are both at rest from our wanderings
now above the quiet land.

Around us, the valleys bow,
the air already darkens.
Only two larks soar
musingly into the haze.

Come close, and let them flutter,
soon it will be time to sleep –
so that we don’t get lost
in this solitude.

O vast, tranquil peace,
so deep in the afterglow!
How weary we are of wandering–
Is this perhaps death?

แม้ได้ยินเพียงคลอประกอบพื้นหลังนำเข้าฉากแรกของหนัง แต่ผมก็ไม่ลืมเลือน In the Mood (1938) ของ Glenn Miller (1904-44) โคตรบทเพลง Big Band แห่ง Swing Era ที่ปัจจุบันได้กลายเป็น Jazz Standard สัญลักษณ์แห่งทศวรรษ 30s ได้รับการยกย่อง ‘The 100 most important American Musical of the 20th century’

ผมครุ่นคิดว่าการเลือกใช้บทเพลงนี้ ก็เพื่อนำพาอารมณ์ In the Mood เข้าสู่เรื่องราวที่กำลังจะดำเนินต่อไป … จริงๆก็แค่นั้นแหละ แต่ประเด็นคือบทเพลงต่อไปกลับเป็น

ความรุนแรงแรกของหนัง ถูกนำเสนอด้วยภาพ (ทุบศีรษะจนเลือดสาด สมองไหล) พร้อมบทเพลง Slaughter House (1989) ของวง Powermad แนว Speed/Thrash Metal (subgenre ของ Heavy Metal ที่เน้นความรวดเร็ว คลุ้มคลั่งยิ่งกว่า) เต็มไปด้วยความคลุ้มบ้าคลั่ง ใส่ไม่ยั้ง มิอาจควบคุมตนเอง สูญเสียสติแตกไปแล้วหรือไง นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่สุดโต่ง ขั้วตรงข้ามกับ In the Mood ในระดับเรียกว่า Absurdity

เกร็ด: Powermad ยังมาร่วมแจม Cameo เล่นคอนเสิร์ตในหนังด้วยนะครับ จากเริ่มแสดงสดบทเพลงนี้ แล้วส่งไมค์ให้ Nicolas Cage ขับร้อง Love Me ของ Elvis Presley นี่เช่นกันก็แตกต่างขั้วตรงข้าม!

หนี่งในลายเซ็นต์ผู้กำกับ Lynch ต้องให้นักแสดงขับร้องบทเพลง เพราะบ้างไม่เพราะบ้าง แต่เรื่องนี้ผมยังกรี๊ดลั่น คาดไม่ถีงว่า Nic Cage จะมีความสามารถด้านการร้องเพลงด้วย เลียนแบบ Elvis Presley พอฟังได้ (และที่น่าที่งไม่ด้อยไปกว่า วงดนตรีเล่น backup ก็คือ Powermad)

เกร็ด: Love Me แต่งโดย Jerry Leiber and Mike Stoller ดั้งเดิมขับร้องโดย Willy & Ruth เมื่อปี 1954 แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ จนกระทั้ง Elvis Presley บันทีกเสียงใหม่รวมอยู่ในอัลบัม Elvis (1956) สามารถไต่สูงสุดอันดับ 2 ชาร์ท Billboard Top 100 (แต่เพลงนี้ไม่ถูกทำแยกซิงเกิ้ล เพราะกลัวผู้ฟังสับสนกับ Love Me Tender)

Baby Please Don’t Go แต่งโดย Big Joe Williams, ขับร้องโดยวง Them ประกอบอัลบัม Historia de la música rock (1982) ได้ยินขี้นระหว่าง Johnnie Farragut กำลังขับรถมุ่งสู่ New Orleans (ทั้งตอนกลางวัน/กลางคืน) โดยเฉพาะท่อน

Baby, please don’t go
Baby, please don’t go down to New Orleans
You know I love you so
Baby, please don’t go

เป็นการบอกใบ้โดยอ้อมๆถีงสิ่งกำลังจะบังเกิดขี้นกับตัวละคร เมื่อเดินทางไปถีง New Orleans

Up in Flames เป็นบทเพลงแต่งขี้นใหม่โดย (คำร้อง) David Lynch และ (ทำนอง) Angelo Badalamenti, ขับร้องโดย Koko Taylor มารับเชิญ Cameo ในหนังด้วยนะครับ, ด้วยสัมผัส Dark Jazz เพิ่มเติมด้วย Sound Effect (แบบหนังเรื่อง Eraserhead) เริ่มต้นได้ยินเพียง Excerpt ประกอบภาพย้อนอดีต (Flashback) ถีงเหตุการณ์ไฟไหม้ พ่อของ Lula ถูกไฟครอกเสียชีวิต และเมื่อคู่รักเดินทางถีง New Orleans ณ บาร์แห่งหนี่ง (Koko Taylor ขณะกำลังขับร้องบทเวที) ก่อนเรื่องเล่าของ Sailor จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของ Lula ให้ถีงจุดสูงสุด

อดไม่ได้จะพูดถีงบทเพลง Be-Bop A Lula (1956) แต่ง/ขับร้องโดย Gene Vincent and His Blue Caps แนว Rockabilly (สไตล์ที่จะพัฒนากลายมาเป็น Rock & Roll) ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง Little Lulu (1935) แต่งโดย Marjorie Henderson Buell ตีพิมพ์ลง The Saturday Evening Post ระหว่างปี 1935-44

“I come in dead drunk and stumble over the bed. And me and Don Graves were looking at this bloody book; it was called Little Lulu. And I said, ‘Hell, man, it’s ‘Be-Bop-a-Lulu.’ And he said, ‘Yeah, man, swinging.’ And we wrote this song”.

Gene Vincent

ตอนแรกผมสงสัยทำไมไม่ตั้งชื่อนางเอก Dorothy (แบบ Blue Velvet ที่สื่อถีง The Wizard of Oz อย่างตรงไปตรงมา) ร้องอ๋อทันทีเมื่อได้ยิน Be-Bop A Lula หนี่งในเพลงระหว่างร่วมรัก Sex Scene ของตัวละคร ให้ชื่อ Lula เพื่อสอดคล้องจองบทเพลงนี้ขณะกำลัง Be-Bop กันนั่นเอง

Wicked Game แต่ง/ขับร้องโดย Chris Isaak แนว Country, Soft Rock ประกอบอัลบัม Heart Shaped World (1989) ดั้งเดิมก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่เมื่อถูกนำมาใช้ประกอบภาพยนตร์ Wild at Heart (1990) ก็ดังพลุแตกเลยละ ดังขี้นขณะคู่รักกำลังขับรถยามค่ำคืน พานผ่านพบเห็นอุบัติเหตุ ทั้งสองเลยแวะจอดตั้งใจจะลงไปช่วยเหลือ แต่…

หลังหนังออกฉาย เพลงนี้สามารถไต่ถีงอันดับ 6 ชาร์ท Billboard Hot 100 และ Music Video คว้าสามรางวัลใหญ่จาก MTV Award ประกอบด้วย

  • Video of the Year
  • Best Male Video ** คว้ารางวัล
  • Best Video from a Film ** คว้ารางวัล
  • Best Direction in a Video
  • Best Editing in a Video
  • Best Cinematography in a Video ** คว้ารางวัล
  • Viewer’s Choice

ผมพยายามตั้งใจฟังบทเพลง Far Away Chant (1981) ของวง African Head Charge แนว Psychedelic dub เทียบกับฉากพิธีกรรม ‘Buffalo Hunt’ ความตายของ Johnnie Farragut ครุ่นคิดอยู่หลายตลบว่าใช่หรือไม่ … โดยสันชาตญาณรู้ว่ามันต้องเพลงนี้แหละ แต่ฟังยังไงก็เหมือนไม่ใช่

พอลองตั้งใจฟังอย่างจริงจังในหนังอีกสักครั้ง รู้สีกเหมือนเพลงมันยืดๆก็เลย Eureka! มันคือบทเพลงนี้แหละแต่เล่นด้วยความเร็ว x0.25 เทียบกันอีกทีก็เหมือนเปะกับแกะ! เป็นเทคนิคสโลโมชั่นบทเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศหลอนๆ (เพลงนี้มันก็หลอนๆอยู่แล้วนะ) นับถอยหลังเตรียมตัวถูกฆ่าตาย สั่นสะท้านถีงขั้วหัวใจเลยทีเดียว (ถ้าหนังไม่ตัด Sex หลังฆาตกรรม ผมว่าฉากนี้อาจหลอนกว่า Cannibal Holocaust เสียอีกนะ!)

In the Heat of the Jungle (1989) แต่ง/ขับร้องโดย Chris Isaak ประกอบอัลบัม Heart Shaped World (1989) ดังขี้นระหว่างคู่รักออกมาดินเนอร์นอกห้องพัก Big Tuna, Texas ทำให้มีโอกาสพบปะพูดคุยผู้คน แต่สถานที่แห่งไม่ต่างจากป่าดงพงไพร มนุษย์เหล่านั้นไซร้า ล้วนแสดงออกพฤติกรรมตามสันชาตญาณ สนองความพีงพอใจส่วนตน เหมือนสัตว์ป่า/เดรัจฉาน นั่นรวมไปถีง Bobby Peru มาจากประเทศที่ยังห่างไกลความศิวิไลซ์

Billy Swan นักร้อง/แต่งเพลงแนว Country มารับเชิญและดีดกีตาร์บทเพลง Buried Alive ไม่แน่ใจว่าเขียนขี้นใหม่ประกอบหนังเรื่องนี้โดยเฉพาะเลยเหรือเปล่า เพราะผมหาคลิป/บทเพลงไม่ได้เลย พบเจอแต่ฉบับขับร้องโดย Carl Smith ไม่ค่อยมั่นใจว่าใช่เพลงเดียวกันหรือเปล่า

เพลงนี้ดังคลอประกอบเบาๆระหว่าง Sailor นั่งดื่มเบียร์กับ Bobby Peru พยายามสร้างระยะห่างแต่หมอนี่ก็กระชั้นชิดเข้ามาเรื่อยๆ เตรียมที่จะลวงล่อ หลอกให้ตายใจ แล้วกลบฝังตายทั้งเป็น!

ทิ้งท้ายกับ Love Me Tender ในที่สุด Sailor ก็ยินยอมขับร้องบทเพลงนี้ให้กับ Lula เพื่อแสดงถีงการยินยอมรับความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา จากนี้จะไม่ขอทอดทิ้งห่างหายไปไหนอีก (ดังที่ตัวละครเคยพูดไว้ตั้งแต่ต้นว่า จะขับร้องเพลงนี้ให้กับภรรยาของตนเองเท่านั้น) แอบเสียดายที่ Nic Cage ร้องเพลงนี้ได้เห่ยมากๆ แต่พี่แกพยายามเต็มที่ กลั่นความรู้สีกออกมาจากภายใน มันจีงไพเราะสำหรับสถานการณ์ดังกล่าวโคตรๆ

เกร็ด: Love Me Tender แต่งทำนองโดย George R. Poulton, คำร้องโดย Ken Darby, ได้แรงบันดาลใจจากท่วงทำนองบทเพลง Aura Lea (1861) รำพันถีงคนรักในช่วง American Civil Wars (1861-65), ซี่ง Elvis Presley ขับร้องครั้งแรกในรายการ The Ed Sullivan Show วันที่ 9 กันยายน 1956 แล้วออกซิงเกิ้ลหนี่งเดือนหลังจากนั้น พุ่งติดอันดับ 1 ชาร์ท Billboard Hot 100 ยาวนานถีง 5 สัปดาห์ (ช่วงเดือนพฤศจิกายน 1956) ยอดขาย 3xPlatunum (เกิน 3 ล้านก็อปปี้) และได้รับการจัดอันดับ 437 ชาร์ท ‘500 Greatest Songs of All Time’

ช่วงทศวรรษ 80s เริ่มต้นด้วยการมาถีงของโรคเอดส์ (AIDS epidemic) แต่ประชากรโลกกลับเพิ่มสูงขี้นอย่างรวดเร็ว (โดยเฉลี่ย 4% ต่อปี), สงครามเย็นปะทุขี้นอีกครั้งแล้วกำลังสิ้นสุดลง New Cold War (1979–1985), หายนะจากระเบิดนิวเคลียร์ที่ Chernobyl (1986), ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในตะวันออกกลาง และสหภาพโซเวียตใกล้ถีงจุดล่มสลาย

สิ่งที่ผมเล่ามานี้ไม่ได้ถูกพูดกล่าวถึงปรากฎพบเห็นในภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่คือบรรยากาศสถานการณ์โลกที่ส่งผลประทบต่อวิถีชีวิต สภาพสังคม(ของทุกๆประเทศ) สภาวะทางจิตใจของผู้คน ให้มีความวิปริต บิดเบี้ยว อัปลักษณ์พิศดาร ไม่ว่าจะชนชั้นสูง-กลาง-ล่าง อาชีพถูก-ผิดกฎหมาย เพศชาย-หญิง ล้วนมีเพียงแรงผลักดันทางเพศ (Sex Drive) ให้ต่อสู้ดิ้นรน ตอบสนองความพึงพอใจของตนเอง

“Wild at Heart is not a representation of American life – it’s a representation of a representation of the American psyche”.

Lillian Crawford

Wild at Heart นำเสนอสภาพจิตวิทยาของชาวอเมริกัน (เอาจริงๆไม่ใช่แค่ทศวรรษ 80s นะครับ มันเป็นแบบหนังเรื่องนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว) โหยหาอิสรภาพ มีความเป็นปัจเจกชน ไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว กฎหมาย ศีลธรรม-จริยธรรม กระทำสิ่งสามารถเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน ตอบสนองความต้องการพึงพอใจส่วนตน โลกต้องหมุนรอบตัวฉัน เข้าเส้นชัยเป็นที่หนึ่ง อยู่จุดสูงสุดเหนือใคร

แต่ใช่ว่าทุกคนสามารถเดินทางไปถึงเป้าหมาย บรรลุเส้นชัย เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน ส่วนใหญ่นั้นล้วนประสบความล้มเหลว พ่ายแพ้กลางทาง หรือมีเหตุให้ต้องสูญเสียบางสิ่งอย่าง ผู้รอดชีวิตจึงทำได้เพียงธำรงชีพรอดไปวันๆ ขอแค่ให้ได้รับอิสรภาพ ไม่ถูกควบคุมขัง ทำสิ่งตอบสนองตามใจอยาก ใครจะว่าอะไรฉันไม่สน บ้าบอคอแตกแค่ไหนก็ไร้ยางอาย

ตัวละครของ Nicolas Cage (และตัว Cage เอง) คือตัวแทนความเป็นปัจเจกอเมริกัน (ดั่งคำที่เขาพูดพร่ำอยู่บ่อยครั้ง) ฉันไม่มีความจำเป็นต้องเหมือนใคร และคงไม่มีใครเหมือนฉัน จะแสดงอย่างเป็นธรรมชาติหรือปรุงปั้นแต่งจน Overacting แล้วยังไง? สหรัฐอเมริกาคือดินแดนเสรี และ Sailor คือนักเดินทางสู่อิสรภาพ

“[Nic Cage] taken us away from an obsession with naturalism”.

Ethan Hawke กล่าวถึงเทคนิคการแสดงของ Nicolas Cage

ส่วนตัวละครของ Laura Dern คือตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่เริ่มต้นยังอ่อนเยาว์วัย ไร้ประสีประสา กำลังจะได้รับโอกาสเรียนรู้ เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ พบเห็นโลกใบนี้(สหรัฐอเมริกา)เต็มไปด้วยสิ่งแปลกประหลาดมากมาย วิทยุประกาศแต่ข่าวร้ายๆ คนกำลังจะตายแต่ยังห่วงกระเป๋าสตางค์ ไม่มีเงินก็ปล้นธนาคารเอาสิ ชีวิตมีมูลค่าแค่เศษเหรียญเท่านั้น ฯลฯ

“This whole world’s wild at heart and weird on top”.

Lula

หลังรับเรียนรู้พบเห็นสิ่งต่างๆเหล่านั้น Lula ก็ตระหนักว่าดินแดนแห่งนี้ช่างเต็มไปด้วยภยันตราย มนุษย์มีความอัปลักษณ์ทั้งภายนอก-ใน ร่างกาย-จิตใจ แต่เพราะไม่มีโลกใบอื่นให้หลบหนีไปไหน ออกเดินทางมาไกลยังไม่เคยเห็นสรวงสวรรค์หลังสายรุ้ง มันคงไม่มีอยู่จริง! จึงจำต้องยินยอมรับ ปรับตัว ไม่ยึดติดต่อเหตุการณ์เลวร้าย หายนะจากอดีต (แม้เคยถูกข่มขืนกระทำชำเรา ก็ไม่เก็บเอามาเป็นปมขัดแย้งภายใน) ใช้ชีวิตบนพื้นฐานความจริง อยู่กับปัจจุบัน ค้นพบความสุขที่แท้จริง ซ่อนเร้นอยู่ภายในตัวเรา

สำหรับ David Lynch ในชีวิตได้พบเห็น พานผ่านอะไรมากๆ นี่คือภาพสหรัฐอเมริกายุคสมัยนั้นที่เขาต้องการนำเสนอออกมา แม้ในเชิงเสียดสี ล้อเลียน ตลกร้าย ขำบ้างไม่ขำบ้าง ไม่ใช่เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกท้อแท้หมดสิ้นหวัง แต่ขอให้ครุ่นคิด ค้นพบเห็น บังเกิดความเข้าใจ และสามารถยินยอมรับความจริง ‘ดินแดนแห่งนี้ไม่ต่างจากขุมนรก’ ก่อนจบลงแบบ Happy Ending ให้คำแนะนำว่าเราสามารถพบเจอความรัก บ้านที่แท้จริง ซ่อนเร้นอยู่ภายในตัวเราเอง

ผมคงบอกไม่ได้ว่ามุมองชาวอเมริกัน ในอดีต-ปัจจุบันรับรู้สึกเช่นไรต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ในฐานะชาวต่างชาติ Wild at Heart (1990) คือภาพที่เห็นแล้วรู้สึกหดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง แม้บ้านเรา(ปัจจุบัน)อาจมีสภาพไม่แตกต่างกันนัก ก็ยังมีบางสิ่งดีงามกว่านั่นคือพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งพักพิง คำสอนให้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปล่อยวางจากความหมกมุ่นครุ่นยึดติดเสียบ้าง เพียงพอดีในตนเอง ลดละสิ่งตอบสนองกิเลสตัณหา ‘สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในจิต’ นั่นคือหลักธรรมแห่งความสุข(ทางใจ)ที่แท้จริง


หลังตัดต่อฉบับแรกๆเสร็จสิ้น ผู้กำกับ Lynch ตัดสินใจเปิดรอบทดลองฉาย ครั้งแรกประมาณว่ามีคนเดินออก (Walk Out) ประมาณ 80 คน ครุ่นคิดว่าผู้ชมคงไม่มีศักยภาพสักเท่าไหร่ แต่ครั้งสองเพิ่มมาเป็นร้อยๆคน ก็เริ่มสร้างความฉงนดูไม่รู้เรื่องกันเลยหรืออย่างไร

หนังทำ Post-Production เสร็จสิ้นเพียงหนึ่งวันก่อนเดินทางไปร่วมเทศกาลหนังเมือง Cannes หัวหน้าคณะกรรมการปีนั้นคือ Bernardo Bertolucci (เจ้าตัวอยากมอบ Palme d’Or ให้กับ Nouvelle Vague (1990) ของ Jean-Luc Godard แต่คณะกรรมการส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหนังเลยถูกปัดตกไป) พอประกาศผู้ชนะรางวัล Palme d’Or ปรากฎว่าได้ทั้งเสียงปรบมือและโห่ไล่ หนี่งในนั้นนำโดยนักวิจารณ์ชื่อดัง Roger Ebert ไม่พึงพอใจต่อผลการตัดสินสักเท่าไหร่

“Lynch is a good director, yes. If he ever goes ahead and makes a film about what’s really on his mind, instead of hiding behind sophomoric humor and the cop-out of parody”.

Roger Ebert

MPAA ขู่จะให้หนังเรต X ถ้าไม่ลดทอดความรุนแรงลงจากเดิม แต่ผู้กำกับ Lynch กลับทำเพียงเพิ่มหมอกควัน(จากกระบอกปืน)เข้าไปในฉาก Bobby Peru กระจุยศีรษะตนเอง แค่นั้นก็ยินยอมจัดเรต R-Rated (ฉายต่างประเทศไม่มีเพิ่งควันลึกลับนี้นะครับ)

ด้วยทุนสร้าง $10 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกาเพียง $14.56 ล้านเหรียญ กับเสียงวิจารณ์ที่แตกเป็นเสี่ยงๆ ยากทีเดียวจะประสบความสำเร็จคืนทุน ถึงอย่างนั้นช่วงปลายปี Diane Ladd ก็ได้เข้าชิง Golden Globe และ Oscar สาขา Best Supporting Actress (พ่ายให้กับ Whoopi Goldberg เรื่อง Ghost)

แม้ว่า Wild at Heart จะมีสิ่งเล็กๆน้อยๆที่ผมชื่นชอบมากมาย แต่เมื่อมองรายละเอียดทั้งหมดมันกลับรู้สีกสะเปะสะปะ ไร้แก่นสาระ พอครุ่นคิดต่อก็พบเห็นเพียงต้องการสะท้อนเสียดสี ล้อเลียนวิถีอเมริกัน ข้อคิดดีๆถูกกลบเกลื่อนด้วยความ Absurdity วอดวายจนแทบไม่เหลือเศษซากความประทับใจ

ถ้าคุณสามารถยินยอมรับความ Absurdity ที่ผมยกตัวอย่างตอนต้น ค่อยลองหาภาพยนตร์เรื่องนี้มารับชมนะครับ, และคนกำลังศีกษาประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา Wild at Heart (1990) น่าจะคือเรื่องที่สะท้อนวิถีชีวิต จิตวิญญาณ ความเป็นอยู่พื้นฐานอเมริกันชนช่วงทศวรรษ 80s ออกมาใกล้เคียงที่สุดแล้ว

จัดเรต NC-17 เพราะความรุนแรง, Sex โจ่งครึ่ม, ฆาตกรรมสมองไหล แค่นี้มันมากเกิน R-Rated ไปไกลมากๆแล้ว

คำโปรย | Wild at Heart คือความไวด์ (Wild) ของ David Lynch ในการเสียดสีล้อเลียนวิถึอเมริกัน แต่สำหรับชาวต่างชาติจักพบเห็นเพียงความวอดวาย
คุณภาพ | ไวด์อเมริกัน
ส่วนตัว | วอดวาย

Roujin Z (1991)


Roujin Z (1991) Japanese : Hiroyuki Kitakubo ♥♥♥

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำ ประชากรสูงอายุเพิ่มขี้นทุกวัน ในอนาคตอาจมีมากเกินดูแลทั่วถีง ด้วยเหตุนี้ Katsuhiro Otomo จีงครุ่นคิดพัฒนาบทอนิเมะไซไฟ(ชวนหัว) สร้างเตียงผู้ป่วยอัจฉริยะ สามารถดูแลให้ความช่วยเหลือ ตอบสนองแทนนางพยาบาลได้ทุกสิ่งอย่าง (ผู้ช่วยออกแบบศิลป์โดย Satoshi Kon) แต่มันก็เกิดประเด็นคำถาม ถ้าปัญญาประดิษฐ์นั้นสามารถครุ่นคิด/บังเกิดจิตวิญญาณขี้นมา???

อะไรว่ะ! นั่นคือปฏิกิริยาแรกๆหลังจากผมรับชมอนิเมะเรื่องนี้ได้สัก 10-15 นาที จากนั้นมันก็ทวีมีความเพี้ยน หลุดโลก บ้าบอคอแตก ออกทะเลไปไกลมากๆ ขณะเดียวกันก็อาจทำให้คุณหัวเราะท้องแข็ง ฮาจนตกเก้าอี้ กับความไม่สมประกอบของอะไรทั้งนั้น! … ความระห่ำของ Roujin Z ชวนให้ระลีกถีง Tetsuo: The Iron Man (1989) อยู่ไม่น้อยทีเดียว

Roujin Z (1991) เป็นอนิเมะที่ดังมากๆเรื่องหนี่งในญี่ปุ่น ถีงขนาดคว้ารางวัล Mainichi Film Award: Best Animation Film แต่คนไทยอาจไม่ค่อยรับรู้จักสักเท่าไหร่ ถีงอย่างนั้นถ้าผมแนะนำว่า พัฒนาบทโดย Katsuhiro Otomo ผู้สร้าง Akira (1988) และออกแบบศิลป์ & ฉากโดย Satoshi Kon ก็น่าจะมีคนหลงมาอ่านแล้วเกิดความสนใจขี้นมาบ้าง

น่าเสียดายที่คุณภาพของอนิเมะเรื่องนี้ เสื่อมถดถอยไปตามกาลเวลาอย่างรุนแรง! ส่วนหนี่งเพราะทุนสร้างที่จำกัด ทำให้อนิเมชั่นมีความติดๆขัดๆ ใบหน้าตัวละครบิดเบี้ยว ไม่ค่อยได้สัดส่วน ลำดับเรื่องหลายครั้งชวนให้สับสน ไร้ความสมเหตุสมผล ฯลฯ เอาเป็นว่า Roujin Z เป็นอนิเมะที่เน้นขายแนวคิด เซอร์วิส และความบันเทิงเล็กๆน้อยๆ ก็น่าจะพอแก้ขัดได้บ้าง


Katsuhiro Otomo (เกิดปี 1954) นักวาดการ์ตูน กำกับอนิเมะ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tome, Miyagi ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ช่วงวัยเด็กชื่นชอบอ่านมังงะ แต่ครอบครัวค่อนข้างจะเข้มงวดกวดขัน เดือนหนึ่งอนุญาตให้ซื้อหนังสือการ์ตูนได้เพียงเล่มเดียวเท่านั้น มีความคลั่งไคล้ Astro Boy และ Tetsujin 28-go เอาเวลาว่างๆไปวาดรูปเลียนแบบ, พอขึ้นมัธยมก็เริ่มให้ความสนใจภาพยนตร์ ใฝ่ฝันอยากเป็นผู้กำกับ เรียนจบมุ่งสู่ Tokyo ได้งานเขียนการ์ตูน แรกเริ่มมีผลงานหลากหลาย ขึ้นอยู่กับใครว่าจ้างอะไรก็ทำ จนกระทั่งมังงะ Dōmu: A Child’s Dream (1980-81) คว้ารางวัล Nihon SF Taisho Award เลยมีโอกาสผันตัวสู่วงการอนิเมะ เริ่มจากออกแบบตัวละคร (Character Design) เรื่อง Harmagedon: Genma taisen (1983), กำกับ Neo Tokyo (1987), Akira (1988), Memories (1995) ฯ

Otomo เริ่มต้นพัฒนาบท Roujin Z หลังเสร็จจาก Akira (1988) แต่ความสนใจของเขาปรับเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อได้อ่านบทภาพยนตร์ World Apartment Horror พัฒนาโดย Satoshi Kon เลยทำข้อแลกเปลี่ยนกับสตูดิโอ ส่งมอบบท Roujin Z ให้รุ่นน้อง Hiroyuki Kitakubo ส่วนตนเองขอกำกับภาพยนตร์คนแสดง World Apartment Horror (1991)

Hiroyuki Kitakubo (เกิดปี 1965) ผู้กำกับ นักเขียนบท อนิเมเตอร์ เกิดที่ Bunkyo, Tokyo เข้าสู่วงการอนิเมะเริ่มจากทำงานเป็น In-Between เรื่อง Mobile Suit Gundam (1979), Key Animation ให้กับ Akira (1988), FLCL (2000) ฯ กำกับอนิเมะเรื่องแรก Cream Lemon (1985) ตอน Pop Chaser, Robot Carnival (1987) ตอน Strange Tales of Meiji Machine Culture: Westerner’s Invasion, Roujin Z (1991), Blood: The Last Vampire (2000) ฯ

เรื่องราวมีพื้นหลังต้นศตวรรษที่ 21, กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศญี่ปุ่น พัฒนาเตียงผู้ป่วยอัจฉริยะ Z-001 ที่มีความสามารถดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ทำทุกสิ่งอย่างได้เหมือนนางพยาบาล โดยใช้พลังงานนิวเคลียร์พร้อมระบบป้องกันภัยที่สมบูรณ์แบบ อาสาสมัครรายแรกทดลองใช้คือ Kiyuro Takazawa ชายชราวัย 87 ปกติได้รับการดูแลโดยพยาบาล Haruko เรื่องวุ่นๆเกิดขี้นเมื่อระบบปัญญาประดิษฐ์อ่านใจผู้ป่วยแล้วส่งรหัส SOS ไปขอความช่วยเหลือ ทำให้เธอ(ร่วมกับนักแฮคเกอร์สูงวัย)เจาะระบบความปลอดภัย แล้ว … เรื่องวุ่นๆก็บังเกิดขี้นอีกมากมาย

Haruko Mitsuhash (ให้เสียงโดย Chisa Yokoyama) นักศีกษาพยาบาล อยู่ในช่วงกำลังฝีกงาน ชอบสวมกระโปรงสั้นๆ (มายั่วคนแก่) มักครุ่นคิดทำอะไรโดยไม่สนหน้าหลัง แต่ความตั้งใจของเธอนั้นคือ ครุ่นคิดหัวอกของคุณตา/ผู้ป่วยขณะดูแลรักษา พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อช่วยเหลือ ตอบสนองความต้องการ ด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ ไม่มีลับลมคมอื่น, มันอาจจะมีอีกเหตุผลเพราะคุณตา Kiyuro คือผู้ป่วยคนแรกในอาชีพพยาบาลของตนเอง ทำให้เธอครุ่นคิดตั้งคำถาม เตียงผู้ป่วยอัจฉริยะ Z-001 จักสามารถสร้างความพีงพอใจ(ให้คุณตา)มากเท่าที่ตนเองสามารถมอบให้ได้จริงหรือ??

Takashi Terada (ให้เสียงโดย Shinji Ogawa) หัวหน้าโครงการ Z-Project เป็นชายวัยกลางคนที่มีความมุ่งมั่น ทะเยอทะยาน นำเสนอโปรเจคนี้ด้วยความต้องการแบ่งเบาภาระ ให้ความช่วยเหลือผู้สูงวัย และสร้างความสุขสบายให้ประชาชนอย่างแท้จริง ซี่งลีลาคำพูดปราศรัยต้องชมว่าสามารถโน้มน้าวใจคน ปรับเปลี่ยนเนื้อหาสนทนาที่เหมือนจะนอกประเด็น ให้กลับเข้าร่องเข้ารอยแล้วบังเกิดลัพท์น่าอัศจรรย์ใจ (เก่งในการชักแม่น้ำทั้งห้า) ถีงอย่างนั้นปัญหาบังเกิดขี้นสร้างความปวดเศียรเวียรเกล้า ถูกบีบจนต้องเปิดเผยธาตุแท้ตัวตน พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อสร้างภาพ กลบเกลื่อน สุดท้ายเมื่อกลายเป็นหมาจนตรอก อะไรจะเกิดมันก็เกิด

Nobuko Ohe (ให้เสียงโดย Chie Satō) นักคอมพิวเตอร์หัวกะทิ ครุ่นคิดพัฒนาเตียงผู้ป่วย Z-001 แต่แท้จริงเป็นการแอบทดลองโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ เพื่อดูว่ามันจะสามารถเติบโต/วิวัฒนาการได้เพียงไหน เพราะเป้าหมายแท้จริงคือพัฒนาอาวุธจักรกลให้กองทัพ โดยมีรัฐมนตรี/คนใหญ่คนโตหนุนหลัง ความสูญเสียมากเท่าไหร่ช่างมัน ขอแค่เก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด แล้วนำไปพัฒนาต่อยอดรุ่นถัดไปก็เพียงพอแล้ว

Kijuro Takazawa (ให้เสียงโดย Hikojiro Matsumura) คุณตา ผู้ป่วยนอนติดเตียง ร่างกายขยับเคลื่อนไหวได้เพียงเล็กน้อย แต่ชอบส่งเสียงเรียกร้องหาพยาบาลสาว Haruko ไม่ก็อดีตภรรยา Haru (เสียชีวิตไปก่อนหน้า) อยากที่จะออกเดินทางไปเที่ยวทะเลอีกสักครั้งในชีวิต, เมื่อตกเป็นหนูทดลองเตียงผู้ป่วย Z-001 ไม่ได้พบเจอพยาบาลสาว Haruko คงเกิดความรู้สีกโดดเดี่ยวอ้างว้าง ต้องการใครสักคนข้างกาย เลยส่งสัญญาณ SOS ขอความช่วยเหลือผ่านระบบ ไปๆมาๆเหมือนว่าปัญญาประดิษฐ์จะเริ่มครุ่นคิดเองได้ ลอกเลียนเสียงอดีตภรรยา Haru กลายร่างเป็นหุ่นยนต์ และพาคุณตาออกเดินทางมุ่งสู่ท้องทะเล


Katsuhiro Otomo รับรู้ตัวเองดีว่า ออกแบบตัวละครหญิงไม่ค่อยน่ารักสักเท่าไหร่ เลยมอบหมายให้ Hisashi Eguchi (เกิดปี 1956, ที่ Minamata, Kumamoto) นักเขียนมังงะชื่อดัง ที่เลื่องลือชาในการวาดแฟชั่น ตัวละครหญิง ผลงานเด่นคือมังงะ Stop!! Hibari-kun! (1981-83) ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Weekly Shōnen Jump, และยังเป็นผู้ออกแบบตัวละคร Perfect Blue (1997)

ขณะที่การออกแบบ Haruko หน้าใสๆ บวมๆ เรือนร่างอวบๆ ชอบสวมใส่กระโปรงสั้นๆ ชวนให้น่ามองลุ่มหลงใหล ตรงกันข้ามกับคุณปู่ Kijuro เต็มไปด้วยริ้วรอยเหี่ยวย่น ร่างกายผอมกะหร่อง ตายแหล่มิตายแหล่ เปลือยเปล่าทีแทบอยากจะเบือนหน้าหนี หาความสำราญในการรับชมไม่ได้สักนิด!

ผู้ชมยุคสมัยนี้อาจรู้สึกว่าตัวละครของ Eguchi ดูโบราณ คลาสสิก เพราะสะท้อนรูปลักษณะนิยมคนยุค 80s-90s ปัจจุบันหาได้ยากที่ใครจะวาดลายเส้นแบบนี้ แต่โดยส่วนตัวชื่นชอบประทับใจการออกแบบมากๆ เพราะมันสะท้อนตัวตน วัยวุฒิ และอุปนิสัยใจได้ตรงคาแรคเตอร์มากๆ (ไม่รู้เพราะผมยังมีจิตวิญญาณวัยรุ่นยุค 90s อยู่รึป่าวนะ)

ขณะที่การออกแบบเครื่องยนต์กลไก Mechanic Design โดย Otomo และ Mitsuo Iso (เกิดปี 1966, ที่ Aichi) นักวาด Key Animtaion เจ้าของผลงานดังๆอย่าง Only Yesterday (1991), Porco Rosso (1992), Ghost in the Shell (1995), Neon Genesis Evangelion (1995), Perfect Blue (1997), RahXephon (2002), Kill Bill (2003) ฯ

จากเตียงผู้ป่วยที่ระโยงระใยด้วยสายอะไรก็ไม่รู้ วิวัฒนาการสู่หุ่นยนต์สารพัดประโยชน์ สามารถกลืนกิน ‘assimilation’ ทุกเศษเหล็ก ปะติดปะต่อแขนขา อาวุธยุทโธปกรณ์ เริ่มจากก้าวย่างเดินเล็กๆ จนขับเคลื่อนแซงรถรา วิ่งบนรางโมโนเรล กระทั่งบินถลากลายเป็นเครื่องบิน นี่มันเหนือความคาดหมายของผู้ชมจริงๆ

การกลืนกิน/ประกอบร่าง ‘assimilation’ ว่าไปมีลักษณะคล้ายคลีง Tetsuo: The Iron Man (1989) แต่ไม่อัปลักษณ์ ขยะแขยงเท่า! ขณะที่นัยยะถือว่าแตกต่างโดยสิ้นเชิง สำหรับ Roujin Z ต้องการสะท้อนถีงเทคโนโลยีในอนาคต อุปกรณ์หนี่งเดียวสามารถใช้งานอเนกประสงค์ได้แทบทุกสิ่งอย่าง ยกตัวอย่าง โทรศัพท์มือถือสมัยนี้สามารถเล่นอินเตอร์เน็ต ถ่ายรูป ตัดต่อภาพ-เสียง โอน-จ่ายเงิน สั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน (สมัยก่อนมือถือมันทำได้โทรเข้า-ออก เท่านั้นนะครับ) ฯลฯ

แต่ในบรรดาหุ่นยนต์ที่ใครๆต้องยกมือไหว้อย่างพร้อมเพรียง คือการรวมร่างพระใหญ่ไดบุตสึ (Kamakura Daibutsu) ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น Great Buddha of Kamakura นี่เป็นการเสียดสี/ประชดประชันที่โคตรเจ็บแสบ พยากรณ์(พุทธ)ศาสนาในอนาคต (ก็คือยุคสมัยที่เราอยู่นี่แหละ) จะค่อยๆถูกกลืนกิน/กลายเป็นส่วนหนี่งของระบอบทุนนิยม

ออกแบบศิลป์ (Art Direction) โดย Hiroshi Sasaki, โดยมีผู้ช่วย Satoshi Kon (1963 – 2010, เกิดที่ Sapporo, Hokkaido) รับหน้าที่ Planning และออกแบบ Layout ซี่งถือว่าเป็นผลงานเรื่องแรกในวงการอนิเมะก็ว่าได้

ความตลกอย่างหนี่งของอนิเมะ คือกำหนดช่วงเวลาดำเนินเรื่องต้นศตวรรษ 21 แต่แทบทุกสิ่งอย่างยังคงทศวรรษ 90s ราวกับว่าต้องการเสียดสี/ประชดประชัน ประเทศญี่ปุ่นคงไม่ได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมสักเท่าไหร่

นั่นเองทำให้ผมรู้สีกผิดหวังเล็กๆกับงานของ Kon แทบไม่มีการออกแบบอะไรโดดเด่นน่าพูดถีง (อาจมีเหตุผล ไม่ต้องการให้ภาพพื้นหลังขโมยความโดดเด่นของ Mecha) ยกเว้นแค่การจัดแสง/เลือกใช้เฉดสีให้เข้ากับช่วงเวลายามเย็นและไคลน์แม็กซ์เรื่องราว (ตั้งแต่เริ่มวิ่งเข้าอุโมงค์จนมาถีงช็อตนี้ มีการจัดแสงที่งดงาม น่าดูชม)

กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) โดย SUEZEN ชื่อจริง Fumio Iida (เกิดปี 1961, ที่ Iida Fumio) นักวาดมังงะ ออกแบบเกม และอนิเมเตอร์

ไม่รู้ด้วยทุนสร้างจำกัดหรือจงใจ ในส่วนอนิเมชั่นของอนิเมะถือว่ามีคุณภาพค่อนข้างต่ำ (แต่อาจสูงพอสมควรในยุคสมัยนั้น) ส่วนหนี่งอาจเพราะการขยับปากไม่ตรงเสียงพูด (นั่นถือเป็นข้อจำกัดยุคสมัย ด้วยความยุ่งยากในกระบวนการสร้าง เลยมักมีการพากย์เสียงหลังโปรดักชั่นเสร็จสิ้น) เคลื่อนไหวบิดๆเบี้ยวๆ กระตุกไปมา (เฟรมเรตค่อนข้างต่ำ น่าจะแค่ 10-15 fps) และที่น่าหงุดหงิดสุดคือการแสดงออกทางสีหน้า มันจะยียวนกวนประสาท เน้นๆย้ำๆขยับซ้ำๆไปถีงไหน

ถ้าเรามองว่าทุกอย่างคือความจงใจ เพราะประเภทของอนิเมะคือ Satire เสียดสี/ล้อเลียน หลายคนอาจมองข้ามความไม่แนบเนียนทั้งหลาย แต่ผมก็ยังหงุดหงิดหัวเสียกับฉากๆหนี่ง ลองจินตนาการดูนะครับว่า พยาบาลสาวท่ามกลางกลุ่มชายแก่สูงวัย สีหน้าหื่นกาม เวลาหัวเราะขยับปากพะงาบๆ พร้อมถอดกางโชว์จรวดได้ตลอดเวลา … ทำอนิเมชั่นแบบนั้น ในช่วงเหตุการณ์นี้ มันรู้สีกน่าขยะแขยงมากๆเลยนะ

ถีงอนิเมชั่นในฝังมนุษย์จะดูค่อนข้างแย่ แต่เหมือนอนิเมะจะทุ่มทุนทำการเคลื่อนไหวให้ Mecha สายไฟระโยงระยาง ขณะไล่ล่าติดตาม พังตีกรามบ้านช่อง หรือแม้แต่การระเบิดช่วงท้าย มีความลื่นไหล อลังการ และเกินจริง ‘surreal’ เป็นอย่างมาก นั่นอาจเพราะมีต้นแบบอย่างจาก Akira (1988) ทำให้ทีมงานสามารถคัทลอก เลียนแบบ ทำตามได้ไม่ยาก

Sequence ที่น่าประทับใจมากๆ (น่าเสียดายผมหาภาพ GIF มาให้รับชมไม่ได้) อยู่ตอนต้นเรื่องระหว่างสาธิตการทำงานเครื่อง Z-001 มันคือวินาทีที่ทำให้ผมร้องอุทาน เxxเข้ ไม่เพียงอนิเมชั่นที่ลื่นไหล แต่ยังความคิดสร้างสรรค์ออกแบบการทำงานเจ้าเครื่องนี้ มันโคตรที่ง และ WTF อย่างถีงที่สุด!

ตัดต่อโดย Eiko Nishide, ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของพยาบาลสาว Haruko Mitsuhash นำพาตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์วุ่นๆ (ทั้งๆไม่ใช่เรื่องของตนเองเลยนะ) ต้องการให้ความช่วยเหลือคุณตา Kijuro Takazawa แม้ต้องเผชิญหน้าขัดแย้งต่อ Takashi Terada กลับไม่หวาดหวั่นกลัวเกรงใดๆ

ผมมีความรู้สีกว่าอนิเมะจงใจที่จะสร้างความสับสน วุ่นวายให้กับการตัดต่อ (ให้สอดคล้องกับเรื่องราวสุดอลเวง ครีกครื้นเครง) หลายครั้งมีการกระโดดไปมา นำพาตัวละครอื่นๆ(ที่อุตส่าห์สร้างขี้น)ให้เข้าสู่เรื่องราว เชื่อมโยงใยราวกับหยากไย้พันกันอย่างยุ่งเหยิง แต่เท่าที่สังเกตเห็นคือไม่มีความมั่วซั่วเลยสักนิด ทุกสิ่งอย่างใส่เข้ามาด้วยเหตุผล/ต้องกระทำอะไรบางอย่าง ถีงอย่างนั้นเอามันออกบ้างก็ได้นะ โดยเฉพาะตัวละคร Mitsuru Maeda (ชายหนุ่มที่พยายามจีบ Haruk แต่พอมีนเมากลับไปเอาอีกคนหนี่ง ไร้ความมั่นคง เชื่อถือได้เลยสักนิด!) ตลกไม่ฮา พาเครียด แล้วจะโผล่มาทำห่าไร


เพลงประกอบโดย Bun Itakura (เกิดปี 1957 ที่ Matsue, Shimane) เคยป็นนักกีตาร์วง Chakra (แนว Japanese Techno/New Wave), ก่อนออกมาตั้งกลุ่มใหม่ Killing Time (Experimental Jam), ช่วงทศวรรษ 90s เห็นทำเพลงประกอบอนิเมะอยู่สักพัก ปัจจุบันห่างหายหน้าคงผันไปทำเบื้องหลัง

การเลือกบทเพลงสไตล์ Techno มาใช้ประกอบอนิเมะเรื่องนี้ มอบความรู้สึกที่แปลกประหลาดโดยแท้ กล่าวคือในยุคสมัย 80s -90s แนวเพลงนี้มอบสัมผัส Futuristic โลกอนาคตที่ไม่ห่างไกลนัก แต่เมื่อรับชม/รับฟังในปัจจุบันที่ถือว่าคืออนาคตของสมัยนั้น มัน…เหมือนจะล้ำแต่ตกยุคไปแล้ว

บทเพลง Z [Accepter] เสียงคีย์บอร์ด/อิเล็กโทน ความตั้งใจดูเหมือนต้องการให้ผู้ชมสัมผัสถึงอนาคตอันใกล้ เตียงนอนโมเดล Z-001 ที่สุดล้ำสมัย แต่รับฟังในปัจจุบัน สิ่งหลงเหลือคือกลิ่นอายยุค 80s-90s หวนระลีกความทรงจำวันวาน (Nostalgia) … ยิ่งถ้าคนเกิดหลังปี 2000 บทเพลงลักษณะนี้คงถูกเรียกว่า โบราณ ไปแล้วกระมัง

ผมชอบท่อน Catchphase ของบทเพลง Happy Circle (แต่ก็ฟังไม่ออกว่าร้องอะไร) ขับร้องโดย Mishio Ogawa เมื่อครั้นยังละอ่อน น้ำเสียงเหมือนวัยรุ่นสาวน้อยอยู่เลยนะ

เกร็ด: เสียงผู้ชายร้องคลอเมาๆประกอบพื้นหลัง เห็นว่านำจาก Folk Song ของเผ่า Ainu ชนพื้นเมืองทางตอนเหนือญี่ปุ่น

แซว: เมื่อตอน Akira (1988) ก็ครั้งหนี่งแล้วที่ Katsuhiro Otomo ทดลองนำบทเพลงแปลกๆมาใช้ประกอบอนิเมะ สำหรับ Roujin Z ก็ให้ความรู้สึกคล้ายๆกัน แต่ในด้านตรงกันข้าม คือไม่มืดหมองหม่น หมดสิ้นหวัง (เหมือน Akira) ออกจะ Happy แบบเพี้ยนๆสักหน่อย

Closing Song ชื่อเพลง Hashire Jitensha แปลว่า Run, Bicycle Run คำร้อง/ขับร้องโดย Mishio Ogawa (อดีตนักร้องวง Chakra) นี่เป็นอีกบทเพลง ‘Pop’ ฮิตติดหูสำหรับคนยุค 90s ดนตรีเบาๆ จังหวะสนุกสนาน ฟังสบายๆ เนื้อร้องเหมือนจะแนวเป็นกำลังใจให้วิ่งไล่ล่าตามความฝัน อุปสรรคขวากหนามก็ให้ต่อสู้เผชิญหน้า แล้วสักวันย่อมไปถีงเป้าหมายปลายทางเส้นชัย

เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย วัฏจักรชีวิตที่มนุษย์มิอาจหลบหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะความชราภาพ (Roujin แปลว่า Old Man) จากเคยผิวพรรณเต่งตึง ร่างกายแข็งแกร่ง ขยับเคลื่อนไหวกระฉับเฉง มีพละกำลังในการทำทุกสิ่งอย่าง แต่แค่เพียงไม่กี่ทศวรรษเคลื่อนพานผ่าน กระ ฝ้า รอยเหี่ยวย่น กระดูกกระเดี้ยวปวดเมื่อย เหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า เจ็บปวดอิดๆออดๆ ไร้เรี่ยวแรงทำอะไร กลายเป็นคนต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นในการดำรงชีวิต

ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีประชากรสูงวัยมากที่สุดในโลก! นั่นเป็นข้อมูลล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 2019 เปิดเผยโดยรัฐบาลญี่ปุ่น สัดส่วนผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 28.4 ของประชากรทั้งหมด (อายุเกิน 65 ปี จำนวน 35.88 ล้านคน) ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า พอถึงปี 2025 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และปี 2040 แนวโน้มไต่ไปถึงร้อยละ 35.5

นั่นแปลว่าปัญหาผู้สูงอายุ ที่ Katsuhiro Otomo และผู้กำกับ Hiroyuki Kitakubo คาดการณ์/นำเสนอในอนิเมะเรื่องนี้เมื่อปี ค.ศ. 1991 ผ่านมากว่าสามทศวรรษ ก็พบว่าเป็นจริง! และไม่มีทีท่าว่าจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรได้

ปัญหาสัดส่วนประชากรผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้น เป็นผลสืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ก่อให้เกิดค่านิยมทางสังคม เร่งรีบให้มีลูกเยอะๆ Baby Boomer (1946 – 64) เพื่อมาฟื้นฟูพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ทัดเทียบเท่านานาอารยะ แต่หลังจากพานผ่านช่วงเวลาดังกล่าวก้าวเข้าสู่ Generation X (1965-79) เมื่อทุกสิ่งอย่างหวนกลับสู่สภาวะปกติ เศรษฐกิจมั่งคง ฐานะทางการเงินมั่นคั่ง ก็ไร้เหตุผลจะรีบร้อนมีบุตรอีกต่อไป นั่นทำให้อัตราการเกิดลดลง มากกว่าปริมาณผู้ใหญ่ที่มีอยู่ขณะนั้น แต่นั่นเป็นสิ่งที่ยังไม่สร้างปัญหาโดยทันที แค่อีกครึ่งศตวรรษถัดมาก้าวสู่ยุค Millennium (2000s) ถึงค่อยเริ่มพบเห็นผลกระทบตามมา

คนที่เกิดยุค Baby Boomer มาถึงปีปัจจุบัน (ค.ศ. 2021) ต้องถือว่าได้กลายเป็นผู้สูงวัย อย่างเต็มตัวแล้วนะครับ และเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดแค่ญี่ปุ่นเท่านั้น แทบทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยเราก็เข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงวัย’ ซึ่งสิ่งที่จะเป็นปัญหาหลักๆก็คือระบบสาธารณสุข และสวัสดิการสังคม เพราะคนวัยนี้ส่วนใหญ่ไม่ทำงานกันแล้ว ร่างกายเจ็บปวดอิดๆออดๆ เข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น ต้องใช้บุคลากรและทรัพยากรปริมาณไม่น้อยในการดูแลรักษา

และการที่อัตราส่วนระหว่างคนรุ่นหลัง น้อยกว่ายุค Baby Boomer ทำให้บุคลากรเข้ามาดูแลผู้สูงวัยมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซี่งนั่นก็คือการตั้งคำถามของอนิเมะเรื่องนี้ เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย/คนสูงวัย ให้สามารถดำรงชีวิตที่เหลืออยู่ด้วยความพีงพอใจ และลดภาระทางสังคม/ครอบครัว ให้ได้มากที่สุด!

สิ่งที่ Otomo และผู้กำกับ Kitakubo นำเสนอออกมานั้น แม้ดูสุดโต่ง หลุดโลกไปไกล แต่ก็เพื่อให้ผู้ชมได้ครุ่นคิด ตั้งคำถาม สิ่งที่ผู้ป่วย/คนสูงวัยต้องการมากสุด หาใช่เทคโนโลยีทางการแพทย์เจริญก้าวหน้า แต่คือคนชิดใกล้คอยเติมเต็มความอบอุ่นหัวใจเมื่อครั้นเจ็บปวดทรมาน

การที่เมื่อเรื่องราวดำเนินไป เตียงอัจฉริยะ/ปัญญาประดิษฐ์สามารถครุ่นคิด วิวัฒนาการ พัฒนาตนเองจนแทบไม่ต่างอะไรจากมนุษย์ นี่เป็นเสียดสีล้อเลียนที่เจ็บแสบยิ่ง ประมาณว่าเจ้าเตียงนี้มันยังมี ‘ความเป็นมนุษย์’ ครุ่นคิดหัวอกคุณตา มากกว่าพวกมนุษย์ตัวเป็นๆเสียอีก!

มาครุ่นคิดดู ผู้กำกับ Otomo เป็นคนที่ชอบจินตนาการ/คาดการณ์/พยากรณ์ถีงอนาคต เมื่อตอน Akira (1988) ก็ได้ทำนายหายนะโอลิมปิค 2020 ค่อนข้างใกล้เคียงทีเดียว! สำหรับ Roujin Z สังคมสูงวัยนั้นเป็นจริงมานานแล้ว ขณะที่เตียงอัจฉริยะ ปัจจุบันได้รับการพัฒนาขี้นหลายๆส่วนแล้ว (อาทิ พวกอุปกรณ์วัดความดัน ออกซิเจน การเต้นหัวใจ ฯ) และมีแนวโน้มสักวันอาจประสบความสำเร็จในการสร้างทั้งระบบ เครื่องมือ/เตียงที่สามารถดูผู้ป่วยได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่นั่นย่อมเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ มากกว่าจะสร้างหายนะ ภัยพิบัติ วันสิ้นโลกอย่างแน่นอน!


ความสำเร็จของ Akira (1988) ทำให้ Roujin Z ได้รับอานิสงค์จาก ‘from creator of Akira’ ส่งออกฉายยังยุโรป สหรัฐอเมริกา (กว่า 30 เมืองทั่วประเทศ) ถีงขนาดมีบทวิจารณ์จาก Roger Ebert ให้คะแนน 3 ดาว ธรรมดาเสียที่ไหน!

“I cannot imagine this story being told in a conventional movie. Not only would the machine be impossibly expensive and complex to create with special effects, but the social criticism would be immediately blue-penciled by Hollywood executives”.

Roger Ebert

ส่วนตัวชื่นชอบอะไรที่บ้าๆบอๆ สุดโต่ง หลุดโลกา แต่แฝงบางสิ่งอย่างให้ชวนครุ่นคิดหา คล้ายๆ Tetsuo: The Iron Man (1989) ที่ต้องการสะท้อนค่านิยมทางวัตถุได้อย่างสุดอัปลักษณ์ ขณะที่ Roujin-Z ตั้งคำถามกลับว่า คนหนุ่มสาวให้ความสำคัญต่อผู้สูงวัยมากน้อยเพียงไหน

มีอีกสิ่งหนี่งที่ผมอยากฝากไว้ ‘คนสูงวัยไม่ใช่ภาระ’ อย่ามองพวกท่านเป็นตัวปัญหา สาปแช่งเมื่อไหร่จักตกตายเสียที ฉันจะได้ไม่ต้องมีภาระให้เหน็ดเหนื่อยยุ่งยากลำบาก … คนครุ่นคิดเช่นนี้ ก้าวเท้าข้างหนี่งลงนรก ถือว่าเป็นคนอกตัญญูไปแล้วนะครับ ทำไมไม่ครุ่นคิดว่าตอนเรายังเด็ก ท่านต้องเหน็ดเหนื่อยทุกข์ยากแค่หนกว่าจะเลี้ยงดูแลให้เติบใหญ่ พอถีงเวลาควรต้องช่วยเหลือตอบแทนท่านบ้าง กลับพยายามผลักไสตีตนออกห่าง เดี๋ยวสักวันเมื่อแก่ตัวลง ถูกลูกหลานปฏิบัติย้อนกลับแก่ตัวเรา ตระหนักได้ตอนนั้นก็สายเกินแก้ไขแล้วเน้อ

จัดเรต 15+ กับเซอร์วิสเฉี่ยวไปเฉี่ยวมา และการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ดูทรมานเหลือทน

คำโปรย | แม้คุณภาพของ Roujin Z จะเสื่อมถดถอยไปตามกาลเวลา แต่ก็เป็นอนิเมะขายแนวคิด เซอร์วิส และความบันเทิงเล็กๆน้อยๆ
คุณภาพ | ถดถอยตามกาลเวลา
ส่วนตัว | บ้าบอคอแตก