Symbiopsychotaxiplasm (1968)


Symbiopsychotaxiplasm: Take One (1968) hollywood : William Greaves ♥♥♥♥♡

กล้องตัวแรกบันทึกภาพการทดสอบหน้ากล้อง, กล้องตัวที่สองบันทึกภาพเบื้องหลังกล้องตัวแรก, กล้องตัวที่สามบันทึกภาพเบื้องหลังกล้องตัวที่หนึ่งและสอง, การทดลองภาพยนตร์ในมุมมองบุคคลที่หนึ่ง-สอง-สาม สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้บรรดาทีมงาน เบื้องหลังถึงขนาดแอบนัดพูดคุย โต้ถกเถียง ทั้งเผาทั้งข่มขืนผู้กำกับเป็นว่าเล่น

มุมมองของเรื่อง (Point-of-View) คือกลวิธีของผู้เล่าเรื่องที่สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า กล่าวคือเหตุการณ์บังเกิดขึ้นถูกนำเสนอผ่านสายตา/ทัศนคติ/ความคิดเห็นของบุคคลใด

  • บุคคลที่หนึ่ง (First Person) คือมุมมองตัวละครหลัก ประสบพบเจอเหตุการณ์ต่างๆด้วยตนเอง
  • บุคคลที่สอง (Second Person) คือมุมมองผู้พบเห็นเหตุการณ์บังเกิดขึ้นกับตัวละครหลัก ซึ่งสามารถเหมารวมถึงผู้อ่าน/ผู้ชมภาพยนตร์
  • บุคคลที่สาม (Third Person หรือ God View) คือมุมมองบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ไม่มีการระบุว่าใคร ส่วนใหญ่คือผู้สร้างผลงาน หรือเรียกว่ามุมมองของพระเจ้า

Symbiopsychotaxiplasm (1968) พยายามนำเสนอสามมุมมอง ด้วยการว่าจ้างสามทีมงาน กล้องสามตัว บางครั้งก็พบเห็นสามจอ ‘split screen’ ซึ่งการตีความมุมมองของเรื่อง (Point-of-View) ก็แค่แนวคิดหนึ่งเท่านั้นนะครับ ใครเคยรับชมหนังย่อมตระหนักถึงการโต้ถกเถียง เป็นสิ่งไม่มีคำตอบถูก-ผิด ขอแค่ให้ได้ครุ่นคิด นั่นคืออิสรภาพ ความเป็นไปได้ไม่รู้จบของสื่อภาพยนตร์

สิ่งที่ทำให้ผมหลงใหลคลั่งไคล้ Symbiopsychotaxiplasm: Take One (1968) คือการแอบพูดคุย โต้ถกเถียงของบรรดาทีมงาน ลับหลังผกก. Greaves โดยไม่รับรู้เรื่องอะไร ซึ่งความบ้าจี้ของผู้กำกับ แทรกใส่ฟุตเทจเหล่านั้นแปะติดปะต่อเข้ามา สร้างความมหัศจรรย์พันธุ์พิลึก Symbiopsychotaxiplasm: Takes Two (2005) ก็ไม่สามารถลอกเลียนแบบมนต์ขลัง

เกร็ด: ชื่อหนัง Symbiopsychotaxiplasm คือส่วนผสมของคำว่า Symbio-sis (การอยู่ร่วมกันแบบอิงอาศัย), Psycho-sis (ภาวะผิดปกติทางจิต), Taxi (รถแท็กซี่, บริการขนส่งลูกค้า), Plasm-a (พลาสมา, ส่วนที่เป็นของเหลวในเลือด หรือสถานะของสสาร แก๊สที่มีสภาพเป็นไอออน) รวมกันแล้วไม่ได้มีความหมายอะไรตามพจนานุกรม แต่คืออารมณ์ศิลปินของผกก. Greaves เพื่อพรรณาความวุ่นๆวายๆของภาพยนตร์เรื่องนี้

I wanted to create a word that would suggest the complex and contradictory nature of the human condition. Symbiopsychotaxiplasm is a word that is both real and unreal, both conscious and unconscious, both individual and social. It is a word that reflects the way we live our lives, caught between the forces of the inner and outer worlds.

William Greaves

William Garfield Greaves (1926-2014) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ เกิดที่ Harlem, New York City บิดาเป็นคนขับแท็กซี่ มีพี่น้อง 7 คน, โตขึ้นเข้าศึกษาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม City College of New York ก่อนตัดสินใจลาออกเพื่อเลือกเดินตามความฝัน นักเต้น นักแสดง American Negro Theater, กระทั่งมีโอกาสเข้าสถาบัน Actors Studio รุ่นเดียวกับ Marlon Brando, Julie Harris, Anthony Quinn, Shelley Winters มีผลงานละครเวที Broadway, ภาพยนตร์อาทิ Miracle in Harlem (1948), Souls of Sin (1949), แต่ไม่นานก็ค้นพบข้อจำกัด เพราะได้รับข้อเสนอแต่บทบาทซ้ำๆ ‘stereotypes’ คนดำทศวรรษนั้นยังถูกมองข้าม เหยียดหยาม ไร้ซึ่งโอกาสประสบความสำเร็จใดๆ

ด้วยเหตุนี้ Greaves จึงตัดสินใจอพยพสู่ Canada เข้าศึกษาภาพยนตร์ National Film Board of Canada จนมีโอกาสกำกับหนังสั้น Emergency Ward (1959), ช่วงทศวรรษ 60s พบเห็นกลุ่มเคลื่อนไหว Civil Right Movement เลยเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา ได้รับว่าจ้างจาก United Nations และ United States Information Agency (USIA) สรรค์สร้างสารคดี Wealth of a Nation (1964), The First World Festival of Negro Arts (1968), ต่อมาร่วมสร้างรายการข่าว Black Journal (1968-77) คว้ารางวัล Emmy Award: Excellence in Public Affairs Programming

สำหรับ Symbiopsychotaxiplasm (1968) คอนเซ็ปเริ่มต้นมาจากความสนอกสนใจของผกก. Greaves เกี่ยวกับหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนแบร์ก (Uncertainty principle หรือ Heisenberg’s uncertainty principle) ในวิชาควอนตัมฟิสิกส์ กล่าวว่าคู่คุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่แน่นอนใดๆ จะไม่สามารถทำนายสภาวะล่วงหน้าได้อย่างแน่นอน ยิ่งถ้าเรารับรู้คุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งอย่างละเอียด ก็ยิ่งทำนายคุณสมบัติอีกข้อหนึ่งได้ยากยิ่งขึ้น … อธิบายอย่างง่ายๆก็คือ ไม่มีทางที่เราจะรับล่วงรู้ทุกสรรพสิ่งอย่าง

I was interested in the idea of Heisenberg’s uncertainty principle, which states that you can never know both the position and momentum of a particle with perfect accuracy. I thought this was a metaphor for the way we can never know everything about anything. We can only know what we can observe, and our observations are always limited by our own perspective.

William Greaves

สิ่งที่ผกก. Greaves ต้องการนำเสนอก็คือ “มุมมองต่อเหตุการณ์หนึ่ง” แสดงให้เห็นว่าแต่ละบุคคล-ทิศทางมุมกล้อง จะมีความเข้าใจที่ผิดแตกต่าง ขึ้นกับประสบการณ์ชีวิต โลกทัศนคติ ข้อจำกัดต่างๆนานาของตัวเรา ไม่มีทางที่ทุกคนจะพบเห็นสิ่งหนึ่งใดเหมือนกัน นั่นสามารถสะท้อนหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนแบร์ก

In Symbiopsychotaxiplasm, I wanted to create a film that would explore the uncertainty of human experience. I wanted to show how our attempts to understand the world are always limited by our own biases and preconceptions.

ในหนังจะมีการกล่างถึงสรุปความ/เรื่องย่อ (Synopsis) คำอธิบายโปรเจค (Working Title) ‘Over the Cliff’ ที่ผกก. Greaves ส่งให้ทีมงานสำหรับเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มถ่ายทำ ผมลองค้นหาเล่นๆบังเอิญพบเจอความยาว 4 ย่อหน้า

This is a film about the making of a film. It is a film about the relationship between the director, the actors, and the crew. It is a film about the nature of reality and the power of the imagination.

The film will be shot in Central Park over a period of two weeks. The actors will be playing themselves, and they will be given a great deal of freedom to improvise. The crew will be filming the actors, and they will also be filming each other.

The film will be edited in a non-linear fashion, which means that the scenes will not be shown in chronological order. This will create a more experimental and challenging film experience for the viewer.

The film is a meditation on the nature of reality and the power of the imagination. It is a film about the relationship between the director, the actors, and the crew. It is a film about the process of filmmaking itself.

เกร็ด: สำหรับชื่อหนัง Symbiotaxiplasm จริงๆแล้วผกก. Greaves นำจากหนังสือ Inquiry Into Inquiries: Essays in Social Theory (1954) แต่งโดยนักปรัชญา Arthur F. Bentley กล่าวไว้ว่า

[Symbiopsychotaxiplasm] affirms more aggressively the role that human psychology and creativity play in shaping the total environment – while at the same time, these very environmental factors continually affect and determine human psychology and creativity. Thus everything that happens in the [Symbio] environment interrelates and affects the psychology of the people and, indeed, the creative process itself.

Arthur F. Bentley

ในส่วนของนักแสดง ก็มีทั้งที่เป็นนักแสดงอาชีพจริงๆอย่าง Don Fellows (รับบทตัวละครที่มาทดสอบหน้ากล้อง Freddy), Patricia Ree Gilbert (ทดสอบหน้ากล้อง Alice), ทีมงานเบื้องหลัง ช่างภาพ ช่างเสียง ผู้ช่วยกองถ่าย ฯลฯ ทุกคนต่างทำหน้าที่ตามภาระรับผิดชอบของตนเอง โดยไม่ได้สนว่ากล้องตัวไหนกำลังถ่ายทำ-ไม่ได้ถ่ายทำ เบื้องหน้า-เบื้องหลัง

สังเกตว่าเวลาที่ผกก. Greaves กำกับนักแสดงระหว่างเข้าฉาก/ทดสอบหน้ากล้อง เขาพยายามให้อิสระ ลองผิดลองถูก โดยไม่ชี้นำให้ทำโน่นนี่นั่น ท้าทายให้มองหามุมมองใหม่ ‘improvised’ ตามความครุ่นคิด ทัศนคติส่วนบุคคล การสนทนาชัดเจนที่สุดก็คือการสำรวจความเป็นไปได้ตัวละครของ Fellows

I have explored the kind of thing, and I don’t know whether this is a faggy fag or a butch fag. … So I don’t know whether to come in with the chain and the black boots, or, uh or to just play it, uh, straight. … Well, in a way, I, um in a way, I’d like to be a closet fag.

ตัวละครของ Don Fellows

แต่ในบรรดาทีมงาน/นักแสดง บุคคลน่าสนใจที่สุดของหนังนั้นคือ William Greaves เล่นเอง-กำกับเอง พยายามแสดงพฤติกรรมที่ดูไม่เป็นมืออาชีพ เดินไปเดินมา ขวางทางหน้ากล้อง ซักถามอะไรก็มักไม่ค่อยได้รับคำตอบ จนถูกตั้งข้อสงสัยจากบรรดาทีมงาน (เมื่อตอนแอบพูดคุยถกเถียง) ว่านั่นคือตัวตนแท้จริง หรือจงใจทำการแสดงรับบทเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เพื่อล่อหลอก/เล่นละคอนตบตาผู้ชม(และทีมงาน)

I wanted to create a film that would challenge the viewer’s expectations of what is real and what is not. I wanted to create a film that would make the viewer think about the nature of reality and the power of the imagination.

William Greaves

ในส่วนของการถ่ายทำ ผกก. Greaves ควักเนื้อเป็นทุน ว่าจ้างสามทีมโปรดักชั่น กล้องสามตัว 16mm, Super8 และ Bolex (แต่ในเครดิตมีตากล้องเพียงสองคน Stevan Larner และ Terence Macartney-Filgate) ปักหลักถ่ายทำยัง Central Park, New York City ในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์

สำหรับทีมงานก็ไม่ต่างจากนักแสดง ผกก. Greaves ให้อิสระพวกเขาในการ ‘improvised’ อยากจะใช้เลนส์อะไร ถ่ายทำแบบไหน ชี้ไมโครโฟนไปทางไหน (เทคโนโลยีบันทึกเสียงยุคสมัยนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่มากๆนะครับ) วางกล้องบนขาตั้ง นอนลงพื้น อุ้มขึ้นบ่า เดินไปเดินมา ฯ เพียงจำลองสร้างสถานการณ์การทดสอบหน้ากล้อง (Audition) บันทึกภาพนักแสดง ผู้กำกับ ทีมงาน เบื้องหน้า-เบื้องหลัง ตามหน้าที่ได้รับมอบหมาย

I wanted to use three cameras to create a more complex and textured film. I wanted to give the viewer the opportunity to see the action from different angles, and I wanted to experiment with the use of multiple cameras to create a more dynamic and visually interesting film.

William Greaves

ซึ่งเหตุการณ์ที่ทีมงานทั้งหมด (ยกเว้นผกก. Greaves) นัดพูดคุย ปิดห้องประชุม คือผลลัพท์จากการที่ผกก. Greaves ให้อิสรภาพพวกเขามากเกินไป จนภายในเกิดความอึดอัด สับสนงุนงง ไม่รู้จะทำอะไรยังไง ไม่เคยพบเจอสถานการณ์เช่นนี้มาก่อน (นั่นเพราะพวกเขาเคยชินกับรูปแบบ/วิธีการทำงานที่มีแต่คนคอยชี้นิ้วสั่ง เลยเกิดความเกรี้ยวกราด ไม่พึงพอใจที่ถูกฉุดลากออกมานอก ‘safe zone’) แต่ด้วยความที่ทุกคนเป็นมืออาชีพ เฉลียวฉลาดเพียงพอจะควบคุมตนเอง วิเคราะห์สถานการณ์ นำเอาความรู้สึกขัดแย้งมาแลกเปลี่ยนความเห็น จริงอยู่มันอาจดูรุนแรง ใช้ถ้อยคำอย่าง ‘ข่มขืน’ ในเชิงเปรียบเทียบ โดยไม่รู้ตัวนั่นทำให้ Symbiopsychotaxiplasm (1968) มีความโดดเด่น เป็นเอกเทศ ไม่ซ้ำแบบใคร

They were a very talented group of people, and I was very fortunate to have them working with me. … [They] were very interested in the process of filmmaking, and who were willing to experiment and take risks.

I wanted to show the real side of filmmaking, and that includes the arguments and the disagreements. I wanted to show the audience that filmmaking is a messy and chaotic process, and that there is no one right way to do it. I also wanted to use the arguments as a way to explore the themes of the film, which are about the nature of reality and the nature of perception. I wanted to show the audience that there is no one true reality, and that everyone’s perception of reality is different.


ในส่วนของการตัดต่อ/ลำดับเรื่องราว บอกตามตรงว่าผมไม่รู้จะแยกองค์ประกอบอย่างไรดี (นอกจากอารัมบท-ปัจฉิมบท) เพราะการดำเนินเรื่องมีลักษณะ ‘non-narrative’ เพียงทำการแปะติดปะต่อเหตุการณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน ไร้ซึ่งไคลน์แม็กซ์ เป้าหมายปลายทางของหนัง ด้วยเหตุนี้ผมเลยแบ่งเหตุการณ์ต่างๆออกเป็นหัวข้อๆก็แล้วกัน

  • อารัมบท, ร้อยเรียงการทดสอบหน้ากล้อง (Audition) ด้วยการเปลี่ยนนักแสดง เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนวิธีการนำเสนอ แต่เรื่องราวคือฝ่ายหญิงจับชู้ฝ่ายชาย ต้องการบอกเลิกรา ขณะที่อีกฝ่ายก็พยายามงอนง้อคืนดี
  • Opening Credit, ร้อยเรียงภาพหนุ่ม-สาวพรอดรักยัง Central Park, New York City
  • เรื่องราวของหนัง
    • เริ่มต้นผกก. Greaves ให้คำแนะนำกับทีมงาน พูดคุยกับหนุ่มๆสาวๆ รวมถึงตำรวจเข้ามาตรวจความสงบเรียบร้อย
    • การทดสอบหน้ากล้องครั้งแรกระหว่าง Don Fellows และ Patricia Ree Gilbert
    • เบื้องหลังทีมงาน อธิบายเหตุผลของการแอบรวมกลุ่ม ลับหลังผกก. Greaves เพื่อพูดคุยถกเถียงถึงเป้าหมายของหนัง ตั้งคำถามถึงพวกเรากำลังถ่ายทำอะไรกันแน่?
    • การทดสอบหน้ากล้องครั้งถัดๆมาของ Fellows และ Gilbert เข้าฉากบริเวณสะพานเหล็ก
    • ทีมงานนั่งล้อมวงตรงพื้นหญ้า ผกก. Greaves พยายามอธิบายเป้าหมายของหนัง
    • นักแสดงอีกคู่ที่พยายามทดสอบหน้ากล้องด้วยวิธีการขับร้องเพลง
    • การมาถึงและจากไปของ Viktor จิตรกรไร้บ้าน พร่ำการสนทนาที่เหมือนจะมีสาระ
  • ปัจฉิมบท & Ending Credit, นำเสนออีกการทดสอบหน้ากล้องของชายผิวขาวและภรรยาผิวสี เตรียมการนำเข้าสู่ Symbiopsychotaxiplasm: Take Two ที่เกือบจะไม่มีโอกาสได้สร้าง

โดยปกติทั่วไปถ้าต้องการปรับเปลี่ยนมุมมองนำเสนอก็มักใช้การตัดต่อสลับไปมา แต่เพราะ Symbiopsychotaxiplasm (1968) ถ่ายทำด้วยกล้องสามตัว บันทึกภาพด้วยมุมมองทิศทางแตกต่างออกไป ด้วยเหตุนี้ผกก. Greaves เลยใช้เทคนิค ‘Split Screen’ เพื่อให้สามารถพบเห็นทั้งสองหน้าจอและสามหน้าจอพร้อมกัน! มอบอิสระผู้ชมอยากจะดูฟากฝั่งไหนก็ตามสบาย

สำหรับเพลงประกอบขึ้นเครดิต Miles Davis และเพิ่มเติม (Additional Music) โดย John Pearson และ Joseph Zawinul แต่ในความเป็นจริงทั้งสามไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆกับหนัง เพียงผกก. Greaves หยิบยืมบทเพลงอย่าง So What, In a Silent Way ท่วงทำนอง Jazz (บางครั้งกลิ่นอาย Blues, Funk) ซึ่งมีลักษณะของการ ‘improvised’ มาใช้บรรเลงประกอบพื้นหลัง

บทเพลงของหนังมีลักษณะ Mood & Atmosphere ไม่เพียงเก็บบรรยากาศวิถีชีวิตชาว New York ช่วงทศวรรษ 60s แต่ยังสะท้อนการทดลองของหนัง สไตล์ดนตรีที่มักผันแปรเปลี่ยน อิสรภาพในการบรรเลง ความเป็นไปได้ไม่รู้จบของของเสียงเพลง

I wanted the music to be a part of the fabric of the film, and I wanted it to help to create the mood and atmosphere. I also wanted to use music that was reflective of the themes of the film, which are about the nature of reality and the nature of perception.

William Greaves

นอกจากบทเพลงคลอประกอบพื้นหลัง ยังมีการละเล่นกับ ‘Sound Effect’ แสร้งว่าไมค์ส่งเสียงแปลกๆ ‘High-Pitched voice’ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นเช่นนั้นระหว่างถ่ายทำเลยไหมหรือเพิ่มเอาภายหลัง (แต่ด้วยเทคโนโลยีเสียงสมัยนั้น ก็พอเข้าใจได้อยู่) จุดประสงค์เพื่อสร้างความอึดอัด คลุมเคลือ ให้ผู้ชมรู้สึกไม่สบายใจ แสบแก้วหู (ได้ยินครั้งแรกเมื่อตอน Opening Credit)

I wanted to create a sense of unease and discomfort in the viewer. I wanted them to feel like they were being watched and manipulated. The high-pitched voice was a way of doing that.

William Greaves

สิ่งที่ผกก. Greaves ใช้เป็นเรื่องราวสำหรับถ่ายทำการทดสอบหน้ากล้อง (Audition) คือให้นักแสดงชาย-หญิง สวมบทบาทสามี-ภรรยา คู่รักหนุ่ม-สาว ในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้ง เข้าใจผิดกันอย่างรุนแรง เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราด ใกล้ที่จะเลิกราหย่าร้าง

ความขัดแย้งระหว่างคู่รักชาย-หญิง สามารถสะท้อนความสัมพันธ์/ทัศนคติของผกก. Greaves ต่อวงการภาพยนตร์ Hollywood เพราะเคยไปมาหาสู่ มีผลงานการแสดง (นัยยะของการแต่งงาน ครองรัก) แต่หลังจากตระหนักถึงสันดานธาตุแท้ ความไร้โอกาสของคนผิวสี ถูกปิดกั้นความแตกต่าง นั่นทำให้เขาเกิดอารมณ์เกรี้ยวกราด ไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง เลยอพยพย้ายสู่ Canada เปลี่ยนมาทำงานเบื้องหลัง (เลิกราหย่าร้างกับ Hollywood)

I came to Canada because I wanted to make films. I was frustrated with the lack of opportunities for African American filmmakers in Hollywood. … I want to make films that show the richness and diversity of the African American experience.

ความขัดแย้งดังกล่าวยังส่งผลกระทบมาถึงผลงานเรื่องนี้ เป็นการทดลองที่ถือว่ามีลักษณะ ‘Anti-Hollywood’ ไม่ใช่ต่อต้านวงการภาพยนตร์นะครับ แต่คือกระทำสิ่งที่ผิดแผกแตกต่าง ขัดแย้งจากขนบวิถีทั่วไปของ Hollywood ตั้งแต่การให้อิสระนักแสดง/ทีมงาน บทหนังแทบไม่มีรายละเอียดใดๆ ผู้กำกับไม่เห็นทำอะไร ดำเนินเรื่องอย่างไร้เป้าหมาย (non-Narrative) ฯลฯ … ความขัดแย้งระหว่างคู่รักชาย-หญิง ยังสามารถสื่อถึงผกก. Greave และทีมงานสรรค์สร้าง Symbiopsychotaxiplasm (1968) เต็มไปด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด ไม่พึงพอใจ จนแอบไป’ข่มขืน’กันลับหลัง

อีกหนึ่งความเกรี้ยวกราดที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ชม(บางกลุ่ม)ยุคสมัยนั้น ก็คือความสัมพันธ์ระหว่างชาวผิวขาวและหญิงผิวสี ผกก. Greave จงใจใส่ไว้ช่วงท้ายเพื่ออารัมบทภาคต่อ สื่อถึงอนาคตที่การแบ่งแยกเชื้อชาติ-สีผิว กำลังใกล้หมดสูญสิ้นไป (กฎหมาย ‘Anti-Miscegenation’ ได้หมดสูญสิ้นอย่างถาวรในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967)

ผมมองเนื้อหาสาระของ Symbiopsychotaxiplasm (1968) คือการแสดงให้เห็นถึง ‘มุมมอง’ ของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความแตกต่าง ต่างคนก็ต่างความคิด ต่างวิถีชีวิต ต่างทัศนคติ ต่างเชื้อชาติ-ศาสนา-วัฒนธรรม บางครั้งอาจเกิดความขัดแย้ง อารมณ์เกรี้ยวกราด (ก็เหมือนคู่รักชาย-หญิง ต้องการเลิกราหย่าร้าง) แต่ถ้าเราอยากจะอาศัยอยู่ร่วมโลกใบเดียวกันได้อย่างสงบสันติสุข จำเป็นอย่างยิ่งต้องสามารถยินยอมรับความแตกต่าง พูดคุยถกเถียงด้วยเหตุด้วยผล และด้วยแนวคิดเสมอภาคเท่าเทียม

ชื่อหนัง Symbio-psycho-taxi-plasm เป็นส่วนผสมของคำสี่คำที่ไม่ได้มีความหมายสอดคล้องกันเลยสักนิด! แต่กลับสามารถผสมผสานกลายเป็นคำหนึ่งคำ (แต่ก็ไม่รู้มีความหมายอะไรอยู่ดีนะครับ) … นี่เป็นการสะท้อนอุดมการณ์ ความตั้งใจของผกก. Greave ต้องการผสมผสานทุกสิ่งอย่างที่แม้เต็มไปด้วยความแตกต่าง (ทั้งเทคนิค วิธีการ มุมมองนำเสนอ ความคิดเห็นทีมงาน การตีความของผู้ชม ฯลฯ) แต่ผลลัพท์ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับมีความงดงาม เลิศเลอ วิจิตรศิลป์ กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน


หลังตัดต่อเสร็จสิ้น ผกก. Greaves ครุ่นคิดว่านี่อาจคือผลงานมาสเตอร์พีซของตนเอง เลยมีความตั้งใจอยากนำออกฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes เดินทางสู่ฝรั่งเศสเพื่อนำไปทดลองฉายให้ผู้จัดโปรแกรม แต่โชคร้ายคนฉายสลับม้วนฟีล์ม เลยต้องเดินทางกลับบ้านด้วยความผิดหวัง

อีกทั้งความที่เป็นหนังทดลอง (Experimental) เลยไม่มีค่ายจัดจำหน่ายไหนให้ความสนใจ เคยตั้งใจไว้ 5 ภาคต่อก็ล่มสลาย ผกก. Greaves จึงทำได้เพียงนำออกฉายตามเทศกาลหนัง จนกระทั่ง ค.ศ. 1992 เมื่อมาถึง Sundance Film Festival เข้าตานักแสดง Steve Buscemi แนะนำต่อผกก. Steven Soderbergh ร่วมด้วยช่วยกันระดมทุนจนสามารถสรรค์สร้างภาคต่อ Symbiopsychotaxiplasm: Take Two (2005)

As you can imagine, I just thought it was one of the most amazing things I’d ever seen. I couldn’t believe it. I couldn’t believe how great it was and that it wasn’t famous, I mean really famous. Even then, almost ten years ago, I felt maybe it’s still, even now, too far ahead of its time.

It’s the ultimate “reality” piece.

The difference being, in this case, that nobody was in on the joke. And that’s what makes it so brilliant. When you do a reality show on TV today, you know you’re part of a show and that they’re going to start creating obstacles for you or trying to complicate the situation purposefully and consciously. Here, you’re just watching a situation where people are absolutely convinced that Bill is out of control, doesn’t know what he’s doing, and you’re a fly on the wall. And then the ultimate mutiny takes place. It’s really incredible.

I think when he was presented with that material, he must have felt like the cinema gods were smiling on him.

Steven Soderbergh กล่าวถึงความประทับใจต่อ Symbiopsychotaxiplasm (1968)

ด้วยความที่ผกก. Greaves เก็บรักษาฟีล์มเนกาทีฟไว้อย่างดี จึงยังไม่จำเป็นต้องผ่านการบูรณะใดๆ เพียงสแกนดิจิตอล 2K ซึ่งฉบับ DVD/Blu-Ray ของ Criterion ทำการรวบรวม TAKE ONE (1968) และ TAKE TWO (2005) ในคอลเลคชั่น Symbiopsychotaxiplasm: Two Takes by William Greaves

ส่วนตัวมีความหลงใหลคลั่งไคล้หนังเรื่องนี้มากๆ รู้สึกว่ามันบ้าระห่ำดีแท้ ซ้อนซับซ้อน ท้าทายศักยภาพในการรับชม ไฮไลท์คือการโต้ถกเถียงของคนเบื้องหลัง นั่นคือบรรยากาศที่ผมอยากพบเห็นในบ้านเราเหลือเกิน เอาจริงๆมันก็พอมีอยู่แหละ แต่มักไม่ค่อยรุนแรง แทงใจดำ ใช้คำ’ข่มขืน’กันสักเท่าไหร่

แซว: ไม่รู้ทำไมรับชม Symbiopsychotaxiplasm (1968) ทำให้ผมระลึกถึงโคตรหนังคัลท์ซอมบี้ One Cut of the Dead (2017) อาจเพราะให้ความรู้สึกเหมือนหนังซ้อนหนัง ‘film within film’ กองถ่ายเต็มไปด้วยความปั่นป่วนวุ่นวายคล้ายๆกันกระมัง

จัดเรต 13+ กับคำพูดสองแง่สองง่าม หัวข้อสนทนาทางเพศ การโต้ถกเถียงกันอย่างรุนแรง

คำโปรย | Symbiopsychotaxiplasm การทดลองที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้า ให้นักแสดง ทีมงาน และผู้ชมต้องมานั่งพูดคุยถกเถียง ภาพยนตร์ในมุมมองบุคคลที่หนึ่ง-สอง-สาม
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | อยากจะข่มขืน

ใส่ความเห็น