Babettes Gæstebud (1987)


Babette’s Feast (1987) Danish : Gabriel Axel ♥♥♥♥

งานเลี้ยงฉลองสุดหรูหราด้วยฝีมือเชฟจากภัตตาคารฝรั่งเศสชื่อดัง ปรุงให้กับชาวบ้านผู้เคร่งครัดศาสนา (Pietistic Lutheranism) แต่พวกเขากลับเชื่อว่าอาหารมื้อนี้จักทำให้ตกนรกหมกไหม้, คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film

ผมรับรู้จัก Babette’s Feast (1987) จากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Hayao Miyazaki ทีแรกก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรกับชื่อหนัง จนกระทั่งตอนเขียนถึง The Scent of Green Papaya (1993) กำกับโดย Trần Anh Hùng แล้วพบเจอบทความพาดพิงผลงานล่าสุด The Taste of Things (2023) ทำการการเปรียบเทียบ Babette’s Feast (1987) เลยเพิ่งค้นพบว่าภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับมื้ออาหารฝรั่งเศสสุดหรูหรา

นั่นเองทำให้ผมมีความโคตรๆคาดหวังต่อ Babette’s Feast (1987) เฝ้ารอคอยเมื่อไหร่จะพบเห็นมื้ออาหารดังกล่าว? ซึ่งสิ่งคาดไม่ถึงอย่างสุดๆคือนำเสนอศาสตร์เกี่ยวกับอาหาร ทั้งระหว่างทำ และขณะรับประทาน (ใครเคยรับประทานอาหารฝรั่งเศส น่าจะรับรู้ถึงความละเอียดอ่อน เต็มไปด้วยลำดับขั้นตอน จานนี้ทานก่อน-หลัง คู่กับไวน์ขาว-แดง แชมเปญ หรืออะไรใดๆ ฯลฯ) เชฟไม่แตกต่างจากศิลปิน มื้ออาหารเปรียบดั่งงานศิลปะชั้นสูง!

ความเป็นครัวชั้นสูง อาหารสไตล์ยุโรป อาจทำให้ชาวเอเชียอย่างเราๆ เข้าไม่ถึงสัมผัส รสชาติ ผิดแผกแตกต่างจากภาพยนตร์อย่าง Tampopo (1985), The Scent of Green Papaya (1993), Eat Drink Man Woman (1994) หรือ Jiro Dreams of Sushi (2011) ปรุงแต่งมื้ออาหารที่มักคุ้นเคยชิน แค่ได้ยินเสียงครก สับหมู หรือกระทะไฟแดง กลิ่นหอมฉุยก็แทบจะลอยมาเตะจมูก


Axel Gabriel Erik Mørch (1918-2014) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Danish เกิดที่ Aarhus, Denmark ครอบครัวเป็นเจ้าของโรงงาน ฐานะร่ำรวย ถูกส่งไปใช้ชีวิตยัง Paris, France จนกระทั่งอายุ 17 กิจการล้มละลายเลยต้องหวนกลับ Denmark ฝึกฝนเป็นคนทำงานไม้ (Carbinet Maker) ก่อนได้เข้าเรียนการแสดง Royal Danish Theatre จบออกมามุ่งหน้าสู่ฝรั่งเศส เป็นนักแสดงละครเวที Théâtre de l’Athénée, Théâtre de Paris, จากนั้นเริ่มผันตัวสู่เบื้องหลัง กำกับซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องแรก Nothing But Trouble (1955), ผลงานส่วนใหญ่มักเป็นแนวตลกโปกฮา ว้าวุ่นวายเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ อาทิ The Red Mantle (1967), Sex and the Law (1967), The Goldcabbage Family (1975) ฯ

มีโปรเจคหนึ่งที่อยู่ในความใฝ่ฝันของ Axel คือดัดแปลงเรื่องสั้น Babettes Gæstebud แปลว่า Babette’s Feast ชื่อไทย งานเลี้ยงของบาเบตต์ ประพันธ์โดย Isak Dinesen นามปากกาของ Baroness Karen Christenze von Blixen-Finecke (1885-1962) นักเขียนชาว Danish เจ้าของอีกผลงานดัง Out of Africa (1937)

นวนิยายน่าอ่านเล่มนี้ใช้ฉากเรียบง่ายแต่กลับให้ภาพหรูหรา นำเสนอมุมมองอันบริสุทธิ์แต่จริงแท้ของตัวละคร ผู้อ่านจะได้ดื่มด่ำไปกับมื้ออาหารสุดหรูที่ฉาบทาด้วยความเจียมเนื้อเจียมตัวปนอหังการของศิลปิน!!!

คำโปรยฉบับแปลไทย รสวรรณ พึ่งสุจริต (สำนักพิมพ์สมมติ)

แรกเริ่มนั้น Dinesen เขียนเรื่องสั้น Babette’s Feast เป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Ladies Home Journal เมื่อปี ค.ศ. 1953 จากนั้นทำการแปลภาษา Danish สำหรับการแสดงละครวิทยุ (Radio Drama) ก่อนรวบรวมอยู่ในคอลเลคชั่น Anecdotes of Destiny (1958)

All I can say is that in Babette’s Feast there’s a minister, but it’s not a film about religion. There’s a general, but it’s not a film about the army. There’s a cook, but it’s not a film about cooking. It’s a fairy tale, and if you try to over-explain it, you destroy it. If you wish, it’s a film about the vagaries of fate and a film about art because Babette is an artist. She creates the greatest masterpiece of her life and gives it to the two old maids.

Gabriel Axel

เรื่องราวของชุมชนชาวบ้านริมเล Jylland อยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของ Denmark ในช่วงศตวรรษที่ 19th ต่างใช้ชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่าย ปฏิเสธชื่อเสียง เงินทอง ยึดถือมั่นตามหลักคำสอนศาสนา Pietistic Lutheranism จนกระทั่งการมาถึงของ Babette Hersant (รับบทโดย Stéphane Audran) อดีตเชฟภัตตาคารฝรั่งเศสชื่อดัง Café Anglais อพยพหลบหนีสงคราม อาสาทำงานเป็นคนรับใช้ ปักหลักอาศัยมายาวนานกว่าสามสิบปี

กระทั่งวันหนึ่งบังเอิญถูกรางวัลล็อตเตอรี่ 10,000 ฟรังก์ ต้องการเลี้ยงอาหารฝรั่งเศสตอบแทนบุญคุณชาวบ้านทั้งหลาย จึงสั่งซื้อวัตถุดิบชั้นดี เครื่องปรุงที่มีความเลิศรส หรูหรา ราคาแพง แต่กลับสร้างความหวาดหวั่นวิตกให้กับชาวบ้านริมเล Jylland เพราะมองว่าการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รับประทานอาหารที่มีความสิ้นเปลือง อาจนำทางพวกเขาสู่ขุมนรกมอดไหม้


ในส่วนของนักแสดง ตอนแรกสตูดิโอ Nordisk Film อยากประหยัดงบประมาณด้วยการเลือกใช้เพียงนักแสดงสัญชาติ Danish แต่ผกก. Axel เรียกร้องความถูกต้องตามสัญชาติ ทีมนักแสดงก็เลยมีทั้งฝรั่งเศส, เดนมาร์ก, สวีเดน

  • บทบาท Filippa ประกอบด้วย Bodil Kjer (วัยชรา), Hanne Stensgaard (วัยสาว), Tina Kiberg (ขับร้องเสียงโซปราโน)
  • บทบาท Martine ประกอบด้วย Birgitte Federspiel (วัยชรา), Vibeke Hastrup (วัยสาว)
  • ในส่วนของผู้ดี/ราชวงศ์สวีเดน ก็เลือกนักแสดงสัญชาติ Swedish อาทิ Jarl Hulle และ Bibi Andersson ทั้งสองเป็นที่รู้จักจากการร่วมงานผกก. Ingmar Bergman
  • ชาวบ้าน/ผู้สูงวัยใน Jylland ต่างเป็นนักแสดงชาว Danish หลายคนเคยร่วมงานผกก. Carl Theodor Dreyer อาทิ Lisbeth Movin (Day of Wrath), Preben Lerdorff Rye (Ordet), Axel Strøbye (Gertrud), Bendt Rothe (Gertrud), Ebbe Rode (Gertrud) ฯ

และสำหรับ Babette ในตอนแรกผกก. Axel มีความสนใจอยากได้ Catherine Deneuve แม้เจ้าตัวมีความสนอกสนใจ แต่กลัวการถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมกับบท เลยบอกปัดปฏิเสธไป, ต่อมาคือ Stéphane Audran จากความประทับใจ Violette Nozière (1978), Cop au Vin (1985) ทีแรกลองติดต่อหาสามี/ผกก. Claude Chabrol ได้รับความเห็นชอบด้วย เลยส่งบทหนังให้อ่าน เพียงไม่ถึงสองชั่วโมงโทรศัพท์มาตอบตกลง

Stéphane Audran ชื่อจริง Colette Suzanne Jeannine Dacheville (1932-2018) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Versailles, Seine-et-Oise โตขึ้นฝึกฝนการแสดงยัง Ecole de théâtre Charles Dullin แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จกับละคอนเวทีนัก เลยผันตัวมาแสดงภาพยนตร์ ร่วมงานครั้งแรกกับว่าที่สามี Claude Chabrol ตั้งแต่ Les Cousins (1959) ผลงานเด่นๆ อาทิ Les Biches (1968), Le Boucher (1970), The Discreet Charm of the Bourgeoisie (1972), Violette Nozière (1978), Cop au Vin (1985), Babette’s Feast (1987) ฯ

รับบท Babette Hersant อดีตเชฟภัตตาคารหรูในฝรั่งเศส จำต้องอพยพหลบหนีสงครามออกนอกประเทศ ยินยอมทำงานเป็นสาวใช้สองพี่น้อง Filippa & Martine ยังหมู่บ้านชาวเล Jylland เป็นเวลากว่าสามสิบปี ลึกๆเหมือนยังคงโหยหา ครุ่นคิดถึงบ้านเกิด จนกระทั่งวันหนึ่งถูกรางวัลล็อตเตอรี่ 10,000 ฟรังก์ นั่นคือโอกาสสำหรับหวนกลับไป แต่เธอกลับเลือกใช้เงินนั้นจับจ่ายเป็นค่าวัตถุดิบ เครื่องปรุง สำหรับมื้ออาหารสุดพิเศษ เลี้ยงขอบคุณชาวบ้านแห่งนี้ให้ที่ชีวิตใหม่กับตนเอง

หลังจากได้รับบทหนัง เห็นว่า Audran เปิดเพียงหน้าท้ายๆ พบเห็นบทสรุปเรื่องราว รวมถึงถ้อยคำคมๆอย่าง “An artist is never poor.” นั่นคือเหตุผลการตอบตกลงที่เรียบง่าย รวดเร็ว … อาจเพราะสามี Chabrol เป็นคนแนะนำบทหนังด้วยกระมัง จึงมีความเชื่อมั่นระดับหนึ่งว่าบทบาทต้องเหมาะสมกับตนเอง

Babette เป็นตัวละครที่บทพูดไม่เยอะ (นั่นเพราะเธอเป็นชาวฝรั่งเศส ต้องฝึกพูดภาษา Danish) แต่ความโดดเด่นคือการแสดงออกภาษากาย โดยเฉพาะท่าทางขยับเคลื่อนไหวในห้องครัว เห็นว่าไปร่ำเรียนกับหัวหน้าเชฟ Jan Cocotte-Pedersen ภัตตาคาร La Cocotte ณ Copenhagen สอนทั้งสูตรอาหาร มารยาต่างๆ รวมถึงฝึกฝนลีลาทำครัวให้ออกมาดูสมจริงมากที่สุด

ซึ่งถ้าใครช่างสังเกตจะพบว่าปฏิกิริยาอารมณ์ตัวละครระหว่างทำอาหารมื้อนั้น จะมีความแตกต่างจากกิจวัตรประจำวันทั่วไป สีหน้ามุ่งมั่น ท่าทางจริงจัง ตั้งใจทำงานหนัก เสร็จแล้วสูบบุหรี่ผ่อนคลาย ราวกับได้ยกภาระอันหนักอึ้งออกจากทรวงอก หมดทุกข์หมดโศก ไม่เกิดความสูญเสียดายอะไรใดๆอีกต่อไป สามารถนอนตายตาหลับได้เลยกระมัง


ถ่ายภาพโดย Henning Kristiansen (1927-2006) ผู้กำกับ/ตากล้องสัญชาติ Danish ผลงานเด่นๆ อาทิ Hunger (1966), The Missing Clerk (1971), Babette’s Feast (1987) ฯ

งานภาพของหนัง พยายามทำออกมาให้ดูความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไม่เน้นลูกเล่นภาพยนตร์หวือหวา ในสไตล์ Minimalist เพื่อสอดคล้องวิถีชีวิตชาวเล Jylland ต่างยึดถือปฏิบัติตามคำสอนศาสนาอย่างเคร่งครัด เลยไม่ต้องการแสงสีสันสว่างสดใส บรรยากาศเย็นๆ โทนสีซีดๆ เฉพาะงานเลี้ยงเต้นรำและการแสดงอุปรากรที่หรูหราอลังการ

ต้นฉบับเรื่องสั้นระบุพื้นหลังเมืองท่า Berlevåg เหนือสุดของประเทศ Norway แต่พอผกก. Axel เดินทางไปสำรวจสถานที่ พบว่ามีความหรูหรา สวยงามเกินไป “beautiful tourist brochure” ไม่เหมาะกับวิถีสมถะเรียบง่าย เลยตัดสินใจมองหาสถานที่แห่งใหม่ ก่อนพบเจอหมู่บ้าน Vigsø, Thisted Kommune ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของ Nordjylland (North Jutland)

There is a lot that works in writing, but when translated to pictures, it doesn’t give at all the same impression or feeling. All the changes I undertook, I did to actually be faithful to Karen Blixen.

Gabriel Axel

พอได้สถานที่ถ่ายทำ มอบหมายให้ Sven Wichmann (Production Design) ออกแบบสร้างหมู่บ้านขึ้นใหม่ เน้นความเรียบง่าย ไม่ต้องการให้มีจุดโดดเด่นอะไร

โบสถ์แห่งนี้คือ Mårup Kirke (แปลว่า Mårup Church) ตั้งอยู่ยัง Vendsyssel ทางตอนเหนือของ Jylland ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1250 ด้วยสถาปัตยกรรม Romanesque มีความเรียบง่ายทั้งภายนอก-ใน แต่สิ่งสำคัญสุดคือความเชื่อศรัทธาทางจิตใจของชาวคริสเตียน

จะว่าไปมีช่วงกึ่งกลางเรื่อง Filippa & Martine หลังจากพบเห็นเครื่องปรุงอาหาร วัตถุดิบที่ยังมีชีวิตของ Babette บังเกิดความหวาดกลัว จินตนาการเตลิดเปิดเปิง ภาพซ้อนวันโลกาวินาศ คนขี่ม้าสี่คนแห่งวิวรณ์ (Four Horsemen of the Apocalypse) ราวกับว่านี่อาจเป็นกระยาหารมื้อสุดท้าย รับประทานแล้วคงได้ตกนรกทั้งเป็น

เมนูของ Babette ต้นฉบับเรื่องสั้นเห็นว่ามีเขียนชื่อเมนู แต่จะไม่ลงรายละเอียดว่าทำอะไรยังไง (ไม่มีสูตร) ผกก. Axel จึงมอบหมายให้หัวหน้าเชฟ (Head Chef) Jan Cocotte-Pedersen จากภัตตาคาร La Cocotte ณ Copenhagen เป็นผู้ออกแบบเมนู 5-course ประกอบด้วย

  • (ซุป) Soupe de tortue géante [Giant Turtle Soup]
    • ไวน์องุ่น Xérès amontillado [Amontillado Sherry]
  • (ออร์เดิฟ) Blinis Demidoff (au caviar et à la crème) [Blinis Demidoff (with caviar and cream)]
    • แชมเปญ Champagne Veuve Clicquot 1860
  • (จานหลัก) Cailles en sarcophage au foie gras et sauce aux truffes [Quail in sarcophagus with foie gras and truffle sauce]
    • ไวน์แดง Clos de Vougeot 1845
  • (สลัด) Salade d’endives aux noix [Endive salad with walnuts]
    Fromages français d’Auvergne [French cheeses from Auvergne]
    Savarin et salade de fruits glacés [Savarin and frozen fruit salad]
  • (ของหวาน) Baba au rhum [Rum Baba and fresh glazed fruit salad]
    • แชมเปญ Vieux marc Fine Champagne

หลังอิ่มหนำจากมื้ออาหาร ชาวบ้านทั้งหลายออกมาจับมือเต้นรำวนรอบบ่อน้ำ แสดงความสุขสำราญราวกับได้ขึ้นสรวงสวรรค์ มุมกล้องพยายามถ่ายให้ติดดวงดาวบนท้องฟากฟ้า (ราวกับว่านั่นคือสรวงสวรรค์) ให้อิสระผู้ชม/ชาวคริสเตียนครุ่นคิดตีความ อาหารมื้อนี้จะทำให้เราขึ้นสวรรค์หรือตกนรกมอดไหม้

คำร้อง Danishคำแปล Google Translate
Klokken slår, tiden går,
evigheden os forestår.
Lad os da bruge den kostbare tid,
tjene vor Herre med al vor flid,
så skal vi nok komme hjem!
The clock strikes, time passes,
eternity presides over us.
Let us then use the precious time,
serve our Lord with all our diligence,
then we must come home!

ตัดต่อโดย Finn Henriksen (1933-2008) ผู้กำกับ นักเขียน ตัดต่อภาพยนตร์ สัญชาติ Danish,

แม้ชื่อหนังจะคือ Babette’s Feast แต่เรื่องราวไม่ได้นำเสนอผ่านมุมมองของ Babette Hersant เป็นพี่น้อง Filippa และ Martine สองผู้สูงวัยอาศัยอยู่หมู่บ้านริมเล Jylland เริ่มต้นหวนระลึกความทรงจำเมื่อครั้นยังเป็นสาวสวย ต่างพบเจอบุรุษผู้หมายปอง และการมาถึงของ Babette เมื่อสามสิบห้าปีก่อน ได้นำพาความเปลี่ยนแปลงเล็กๆให้กับชาวบ้านละแวกนี้

การดำเนินเรื่องอาจชวนสับสนในครึ่งแรก เพราะเป็นการแนะนำตัวละคร อารัมบทก่อนการมาถึงของ Babette และเมื่อเรื่องราวหวนกลับสู่ปัจจุบัน ก็บังเกิดเหตุการณ์วุ่นๆ ถูกรางวัลล็อตเตอรี่ นำไปสู่งานเลี้ยงอาหารฝรั่งเศส ลาภปากที่ขัดย้อนแย้งต่อจิตสามัญสำนึกผู้คน

  • อารัมบท แนะนำผู้สูงวัย Filippa, Martine และสาวใช้ Babette
  • สัมพันธ์รักของ Filippa และ Martine
    • เริ่มจากเจ้าหน้าที่ทหาร Lorens Löwenhielm ได้รับมอบหมายให้มาประจำการยัง Jylland ตกหลุมรัก Martine แต่ก็มิอาจอดรนทน รับรู้ว่าตนเองไม่มีทางครองคู่ จึงเดินทางกลับสวีเดน ดำเนินตามความฝันตนเอง
    • นักร้องอุปรากรชื่อดัง Achille Papin มาทำการแสดงที่สวีเดน แล้วตัดสินใจหยุดพักผ่อนยัง Jylland ตกหลุมรักน้ำเสียงของ Filippa อาสาเป็นครูสอนร้องเพลง เชื่อมั่นว่าสักวันจะต้องแจ้งเกิดโด่งดัง แต่เธอกลับปฏิเสธความสำเร็จนั้น
  • การมาถึงของ Babette
    • หลายปีต่อมา Achille Papin เขียนจดหมายถึง Filippa ให้ช่วยรับอุปถัมภ์ Babette Hersant หลบลี้หนีภัยจากสงครามกลางเมืองฝรั่งเศส
    • Babette Hersant ใช้เวลาพอสมควรในการปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชาวเล Jylland
  • Babette ถูกรางวัลล็อตเตอรี่
    • ตัดกลับมาปัจจุบัน 35 ปีให้หลัง Babette กลายเป็นสมาชิกหมู่บ้านที่ได้รับความรัก ความเอ็นดู เป็นที่โปรดปรานของใครๆ
    • วันหนึ่งมีจดหมายส่งจาก Paris แจ้งว่า Babette ถูกรางวัลล็อตเตอรี่ 10,000 ฟรังก์
    • หลังจากครุ่นคิดอยู่สักพักใหญ่ Babette อาสาจัดงานเลี้ยงรับประทานอาหารในสไตล์ฝรั่งเศษ
  • งานเลี้ยงของ Babette
    • Babette เดินทางไปสั่งวัตถุดิบ เครื่องปรุง นำกลับมายังหมู่บ้านแห่งนี้
    • หลังจากพบเห็นวัตถุดิบของสัตว์มีชีวิต สร้างความหวาดหวั่นให้กับชาวบ้าน ว่าอาหารมื้อนี้จะนำทางพวกเขาสู่ขุมนรก
    • General Lorens Löwenhielm ตอบรับคำเชิญ เดินทางมาร่วมงานเลี้ยงมื้อนี้
    • ค่ำคืนงานเลี้ยงของ Babette
    • และหลังงานเลี้ยง เดินทางกลับบ้านด้วยรอยยิ้ม อิ่มหฤทัย

ในส่วนของเพลงประกอบ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะ ‘diegetic music’ พบเห็นการขับร้อง ทำการแสดงสด บทเพลงสรรเสริญพระเจ้า, บรรเลงออร์เคสตรา และอุปรากร Mozart: Don Giovanni

  • Mozart: Don Giovanni
    • Act 1, Scene 3: Fin ch’ han dal vino (แปลว่า As long as they have wine) ชื่อเล่น Champagne Aria
    • Act 1, Scene 9: Là ci darem la mano (แปลว่า There we will give each other our hands)
  • Brahms: Waltz in A-Flat Major, Op. 39 No. 15
  • Kuhlau: Sonatina in F Major, Op. 55, No. 4: II. Andantino Con Espressione

ส่วนบทเพลง Soundtrack โดย Per Nørgård (เกิดปี 1932) คีตกวี นักทฤษฎีดนตรี สัญชาติ Danish เกิดที่ Gentofte, โตขึ้นเข้าศึกษา Royal Danish Academy of Music แล้วไปเรียนต่อที่กรุง Paris หลงใหลในสไตล์เพลงร่วมสมัย (Contemporary Music) ทำงานเป็นครูสอนดนตรียัง Odense Conservatory ตามด้วย Royal Danish Conservatory of Music มีผลงาน Orchestral, Opera, Concertante, Chamber Music, เพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ The Red Mantle (1967), Babette’s Feast (1987) ฯ

งานเพลงของ Nørgård สำหรับคนที่ไม่ได้ตั้งใจรับฟัง อาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามีอยู่ ท่วงทำนองสั้นๆ เรียบง่าย กลมกลืนพื้นหลัง คลอประกอบหนังเบาๆ ส่วนใหญ่เป็นการบรรเลงเปียโน ไม่ก็ออร์แกน (โดย Finn Gravnbøl) สอดคล้องสไตล์ Minimalist และวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวเล Jylland


หนึ่งในบทเพลงที่ถือเป็นไฮไลท์อย่างคาดไม่ถึง Là ci darem la mano บทเพลงคู่ (Duet) ที่นักร้องอุปรากร Achille Papin (รับบทโดย Jean-Philippe Lafont นักร้องเสียง Baritone สัญชาติฝรั่งเศส) ทำการเสี้ยมสอน พร้อมเกี้ยวพาราสี Filippa (ขับร้องโดย Tina Kiberg นักร้องเสียง Soprano สัญชาติ Danish) เนื้อคำร้องมันช่างมีความสอดคล้องจองเรื่องราวขณะนั้นๆ … หลายคนอาจไม่คุ้นกับฉบับได้ยินในหนัง เพราะขับร้องด้วยภาษาฝรั่งเศส (ต้นฉบับคืออิตาเลี่ยน)

เกร็ด: Don Giovanni แรกพบเจอตกหลุมรัก Zerlina แม้ว่าเธอหมั้นหมายกับ Masetto วางแผนชักชวนทั้งสองมาร่วมงานเลี้ยงเฉลิมฉลองแต่งงานที่ปราสาท พอแฟนหนุ่มกลับบ้านไปก่อน เขาจึงเริ่มหยอกล้อ เกี้ยวพาราสีด้วยบทเพลง Là ci darem la mano

แถมให้อีกบทเพลงเพราะๆ Se, hvor sig dagen atter skynder แปลว่า See how the day hastens again ได้ยินหลังเสร็จจากรับประทานอาหาร Filippa ขับร้อง บรรเลงเปียโน รวบรวมอยู่ใน Danish Hymnbook No. 766 (บทเพลงสรรเสริญพระเจ้า)

ต้นฉบับ Danishคำแปล Google Translation
Se, hvor sig dagen atter skynder,
i vestervand sig solen tog,
vor hviletime snart begynder;
o Gud, som udi lyset bor
og sidder udi Himmelsal,
vær du vort lys i mørkeds dal.
Vort timeglas det alt nedrinder,
af natten drives dagen bort,
al verdens herlighed forsvinder
og varer kun så ganske kort;
Gud, lad dit lys ej blive slukt
Og nådens dør ej heller lukt.
See how the day hastens again,
in the west the sun set,
our hour of rest soon begins;
o God, who lives outside the light
and sits outside Himmelsal,
be our light in the valley of darkness.
Our hourglass it all pours down,
by night the day is driven away,
all the glory of the world vanishes
and lasts only so very briefly;
God, do not let your light be extinguished
And the door of grace does not smell either.

LINK: https://www.youtube.com/watch?v=uDKNlLzrDfw

Babette’s Feast (1987) นำเสนอเรื่องราวของชุมชนที่มีความเชื่อมั่นศรัทธาศาสนาอย่างแรงกล้า เลือกที่จะใช้ชีวิตสมถะ กินอยู่อย่างเรียบง่าย พอมีพอใช้ ไม่ต้องการชื่อเสียง เงินทอง ความสำเร็จอะไรๆใดๆ เพียงยึดถือปฏิบัติตามคำสอน เพื่อว่าเมื่อลาจากโลกใบนี้ ตายแล้วได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ กลับไปอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้า

การมาถึงของ Babette Hersant หญิงต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม เคยมีชีวิตเลิศหรูหรา เชฟระดับภัตตาคาร แต่เพราะภัยสงครามทำให้ต้องอพยพหลบหนี ลี้ภัยมาอาศัยอยู่กับชาวบ้านแห่งนี้ ค่อยๆเรียนรู้ที่จะปรับตัว ปล่อยวาง เข้าใจความเพียงพอดี กระทั่งกาลเวลาพานผ่านมากว่า 35 ปี วันหนึ่งบังเอิญถูกล็อตเตอรี่ นี่อาจคือการร่ำจากลาครั้งสุดท้าย

แม้ว่า Babette ยังมีความคร่ำครวญ โหยหา ครุ่นคิดถึงช่วงเวลาเคยอาศัยอยู่ฝรั่งเศส เป็นเชฟระดับภัตตาคาร แต่กาลเวลาได้พานผ่านมาเนิ่นนาน ได้เรียนรู้ที่จะปรับตัว ปล่อยวาง คลายความยึดติดกับโลกใบนั้น การถูกรางวัลล็อตเตอรี่ไม่ได้ทำให้เธอกระตือรือล้นที่จะหวนกลับไป แต่เกิดความต้องการจะทำบางสิ่งอย่างเพื่อตอบแทนชาวบ้านทั้งหลาย เรียกร้องขอครั้งแรกครั้งเดียวในชีวิต ปรุงอาหารฝรั่งเศสมื้อสุดท้าย

ผกก. Axel เป็นชาว Danish แต่กลับใช้ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ Paris, ฝรั่งเศส ฟังดูมันช่างตรงกันข้ามกับ Babette เชฟชาวฝรั่งเศส แต่ต้องอพยพลี้ภัยมาอยู่ประเทศ Denmark

เชฟ (Chef) คือคำเรียกผู้ประกอบอาหารระดับสูง มีความรู้ เชี่ยวชำนาญ มากด้วยประสบการณ์ รังสรรค์มื้ออาหารด้วยความประณีต วิจิตรศิลป์ ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ หน้าตาภายนอก แต่ยังสัมผัสอันซับซ้อนของรูป-รส-กลิ่น-เสียง แบบเดียวกับศิลปินรังสรรค์งานศิลปะ ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์

แม้ว่า Babette’s Feast (1987) จะไม่ใช่ผลงานเรื่องสุดท้ายของผกก. Axel แต่ก็มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในชีวิตต้องการดัดแปลงเรื่องสั้น สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้จงได้ พยายามเก็บเกี่ยวสะสมประสบการณ์ มองหาโอกาสในอาชีพการงาน ท้ายที่สุดก็สามารถทำได้สำเร็จ แบบเดียวกับ Babette ปรุงอาหารมื้อสุดท้าย ต่อจากนี้คงได้นอนตายตาหลับ ไม่มีอะไรหลงเหลือติดค้างคาใจ

เนื่องจากผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาคริสต์ จึงขอไม่วิเคราะห์ถึงกระยาหารมื้อนี้ จักทำให้ชาวคริสเตียนตกนรกมอดไหม้หรือไม่? แต่สำหรับชาวพุทธ ไม่มีกล่าวถึงความหรูหราฟุ่มเฟือยของมื้ออาหาร เพียงหักห้ามเนื้อสัตว์บางประเภท (พระสงฆ์ห้ามรับประทาน เนื้อมนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข ราชสีห์ ฯ) และสอนให้พิจารณาอาหารโดยความเป็นของน่าเกลียด

อาหาเรปฏิกูลสัญญา (กัมมัฏฐาน, คัมภีร์อังคุตตรนิกาย) คือการพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร กำหนดหมายว่า อาหารที่บริโภค ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ล้วนเป็นสิ่งปฏิกูล เหตุให้ได้รับทุกข์ ภัย อุปัทวันตรายต่างๆ รวมถึงภัยจากความยินดีในการรับประทาน หากพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดสุขุม จะพบเห็นโทษภัยที่น่ากลัว และถ้าขาดการพิจารณาจะมองไม่เห็นโทษเลย

อาหารมื้อที่มีความปรารถนาน้อยเปนเนื้อข้าว มีความสันโดษเปนกับข้าว เปนอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกนี้ บางคนกล่าวว่ามื้อที่หิว ข้อนั้นย่อมไม่แน่นอนนัก เพราะคนที่มีหิวบางคนก็ยังเลือกอาหาร และติเตียนเมื่อบริโภคแล้ว.

ข้าวสุกเปล่าที่เคี้ยวบดอยู่ในปากมีความสันโดษในห้วงแห่งดวงใจเปนกับ ย่อมหวานยิ่งกว่าข้าวสุกระคนด้วยนมข้นอย่างหวาน แต่เคี้ยวกลืนด้วยหัวใจแห่งชาวโลกธรรมดา! แม้ว่าตามธรรมชาติของแป้งข้าวในข้าวสุข เมื่อผสมกับน้ำลายแล้ว แปรธาตุเปนน้ำตาลรู้สึกหวานแก่ผู้เคี้ยวก็จริง แต่มันหวานไม่ถึง 1/100 ของข้างที่เคี้ยวและกลั้วด้วยน้ำลายอันผสมด้วยเชื้อแห่งสันโดษ.

เคยปรากฏแก่ข้าพเจ้าในบางครั้งว่า หวานจนขนลุกและเย็นซ่าไปทั่วตัว มีกลิ่นหอมและชุ่มชื่น จนรู้สึกว่า 3-4 คำก็พอแล้วสำหรับชีวิตในวันนี้ แต่ถ้าบางวันข้าพเจ้าเผลอลืมราดน้ำปรุงรสกล่าวคือความสันโดษนี่แล้ว ย่อมรู้สึกว่า ชาวบ้านช่างใจจืดแก่พวกเราเสียจริงหนอ! เขาไม่ให้อาหารที่เปนรสชาติแก่ลิ้นเสียเลย ทั้งที่วันนั้นมีการแกงไม่น้อยกว่า 2-3 อย่างก็มี

พระพุทธบิดาตรัสว่า จิตต์เปนธรรมชาติที่มีอารมณ์อันเดียว หมายความว่ามันเสวยอารมณ์ หรือรู้สึกอารมณ์ได้คราวละอัน ท่านจะป้อนอารมณ์อันไหนก็ให้แก่มันย่อมแล้วแต่ท่านจะเลือก เมื่อสันโดษเปนธรรมารมณ์ที่จิตเสวยอยู่แล้ว เมื่อนั้นมันย่อมเปนเด็กที่เลี้ยงง่ายไม่อ้อน และไม่รู้สึกถึงการที่มันเคยเลี้ยงยากครั้งก่อนๆ หรือครั้งอื่นๆ เลย

เพราะมันมีอารมณ์อันเดียว เปนแต่มันเปลี่ยนอารมณ์เร็วมากเท่านั้น เมื่อท่านไม่ยอมให้มันเปลี่ยน ผูกมัดไว้แน่นกับเสาเขื่อนคือสันโดษเหมือนลูกโคที่เขาจะนำไปฆ่าแล้ว ผักล้วนๆ หรือข้าวสุกล้วน ไม่มีอะไรเจือปน ก็ทำความพอใจอิ่มเอมให้แก่จิตต์เท่ากันกับอาหารที่ท่านหลงเพ้อว่าวิเศษทั้งหลาย ซึ่งเปนอาหารชนิดยาเสพติดมากกว่า ถ้าทำถูกวิธีจิตต์จะมีอารมณ์อันเดียว และไม่อ้อนเลย

วันหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นโคกินหญ้าด้วยความสังเกตยิ่งกว่าทุกวัน เข้าใจว่ามันรู้สึกอร่อยเท่าที่พวกมันเปนทาสลิ้นเห็นอาหารตามภัตตาคารสูงๆ หรือแม่ครัวฝีมือดีเหมือนกัน วันหนึ่งข้าพเจ้าเลี้ยงปลาในสระด้วยข้าวสุกอย่างเดียว ข้าวสุกซึ่งมนุสส์กินแต่อย่างเดียวไม่ได้ แต่พวกปลามันเห็นเปนดุจว่า เทวดาเอาของทิพย์มาหว่านให้ทีเดียว นี่คือธรรมชาติ! มนุสส์ได้ยอมเปนขี้ข้าของปิสาจมหาอุบาทว์คือตัณหาในรสที่ลิ้นไปเสียแล้ว จึงกินข้าวสุกอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งที่มนุสส์ก็คือสัตว์ธรรมชาติชนิดหนึ่งเหมือนกัน

วันหนึ่งข้าพเจ้าสละทองหยิบ และขนมหม้อแกง และของอื่นบางอย่าง แทนที่จะบริโภคเอง ให้พวกปลานั้นกิน แต่มันหากินไม่ ดูเถิดธรรมชาติ! มนุสส์สัตว์ธรรมชาติ ได้ละจากสิ่งที่บริสุทธิ์ ไปยึดสิ่งที่เศร้าหมอง เสพติดยาฝิ่นอย่างเงียบๆ ให้เป็นของจำเป็นสำหรับชีวิตด้วยการยึดถือ เห็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติเปนของเลวทราม สิ่งที่ปรุงใหม่ และหายากเปนของดี เพราะอุปทานที่ลิ้น!…ข้าวต้องผัดต้องปรุงเสียก่อน จึงจะกินข้าวนั้นได้โดยไม่ต้องกินกับข้าว ซึ่งความจริงมันก็เหมือนกับข้าวนั่นเอง

ธรรมชาติต้องการอาหารที่บำรุง หาต้องการอาหารที่แสลงไม่, อาหารที่ปรุงยิ่งวิเศษยิ่งขึ้นเพียงใด ก็ยิ่งเป็นอาหารเลวทรามลงเพียงนั้น เพราะแสลงและไม่เปนประโยชน์แก่ร่างกายยิ่งขึ้น ก็ยิ่งเป็นอาหารเลวทรามลงเพียงนั้น เพราะแสลงและไม่เปนประโยชน์แก่ร่างกายยิ่งขึ้น เปนแต่มีกลิ่น, สี, รส ฝั่งมนุสส์ให้โง่หลงผิดยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง…

อาหารมื้ออร่อยที่สุด โดยพุทธทาสภิกขุ

เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes เห็นว่าเสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ แต่สามารถคว้ารางวัล Prize of the Ecumenical Jury – Special Mention จากนั้นตระเวนออกฉายตามเทศกาลหนัง โดยไม่รู้ตัวบังเกิดกระแสนิยมจากผู้ชมอเมริกัน กลายเป็นตัวแทนเดนมาร์กเข้าชิง Golden Globe และคว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoraion’ คุณภาพ 2K ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 จัดจำหน่าย DVD/Blu-Ray โดยค่าย Criterion Collection และ Artificial Eye

โชคดีที่ผมพอมีความรู้นิดๆหน่อยๆเกี่ยวกับอาหารฝรั่งเศส (สมัยเรียนมหาวิทยาลัย มีวิชาที่สอนมารยาทบนโต๊ะอาหาร) เคยติดตามรายกายทำอาหารอย่างมาสเตอร์เชฟ ท็อปเชฟ ฯ เลยสามารถเข้าใจวัฒนธรรมการกินที่ซับซ้อน ละเอียดอ่อน มองเป็นศาสตร์ศิลปะ

ขณะเดียวกันความขัดแย้งระหว่างอาหารชั้นสูง vs. ศรัทธาศาสนา ทำให้งานเลี้ยงสุดเต็มไปด้วยความหรรษา ว้าๆวุ่นวาย พร้อมถ้อยคำเฉียบคมคาย “An artist is never poor.”

จัดเรต pg กับสรรพสัตว์ที่กำลังจะถูกเชือดทำอาหาร

คำโปรย | Babette’s Feast มื้ออาหารสุดหรูหราของ Gabriel Axel อิ่มหนำทั้งร่างกาย และจิตวิญญาณ
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | อิ่มหนำ

Tokyo Sonata (2008)


Tokyo Sonata (2008) hollywood : Kiyoshi Kurosawa ♥♥♥♥

Sonata (คำนาม) ดนตรีที่เรียบเรียงสำหรับเครื่องดนตรีหนึ่งหรือสองชิ้น, Tokyo Sonata นำเสนอเรื่องราวครอบครัวธรรมดาๆ บิดา-มารดา และบุตรชายทั้งสอง ต่างสนเพียงบรรเลงบทเพลงชีวิตของตนเอง โดยไม่ใคร่ให้ความใจสมาชิกคนอื่น สุดท้ายแล้วออร์เคสตราที่เรียกว่าครอบครัว เลยดำเนินมาใกล้ถึงจุดแตกแยก, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

หลายคนคงรู้จักผกก. Kiyoshi Kurosawa ได้รับฉายา “Master of Horror” เลื่องชื่อในผลงานที่มีความหลอกหลอน สั่นสยอง เขย่าประสาท Cure (1997), Pulse (2001), แล้วจู่ๆเปลี่ยนมาสรรค์สร้างภาพยนตร์ Family Drama??? แต่ผมเชื่อว่าใครที่ได้รับชม Tokyo Sonata (2008) ย่อมบังเกิดความรู้สึกหลอกหลอน ขนหัวลุกพอง หวาดกลัวเรื่องราวลักษณะนี้จะบังเกิดขึ้นกับครอบครัวตนเอง … แม้งน่ากลัวยิ่งกว่าหนัง Horror บางเรื่องเสียอีก!

Tokyo Sonata is the ultimate expression of this quality of Kurosawa’s cinema. As mentioned, it contains no supernatural elements, no ghosts, killers, or monstrous flora and fauna. Yet it is without doubt the most terrifying film Kiyoshi Kurosawa has ever made. It is terrifying because it is about us.

นักวิจารณ์ Tom Mes

แม้ว่า Tokyo Sonata (2008) จะได้รับการยกย่องสรรเสริญจากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ในวงกว้าง กวาดรางวัลมากมายจากเทศกาลหนังน้อยใหญ่ แต่กลับถูกมองข้ามในญี่ปุ่นแบบเดียวกับ Still Walking (2008) ของ Hirokazu Kore-eda ไม่ได้เข้าชิงสาขาใดๆของ Japan Academy Film Prize [แต่ Still Walking เข้าชิงสมทบหญิงเพียงสาขาเดียว] หลายคนกล่าวโทษ Departures (2008) เพราะหลังจากไปคว้า Oscar: Best Foreign Language Film ทุกสถาบัน/สมาคมภาพยนตร์ เลยจำต้องประเคนถวายรางวัลอย่างเป็นเอกฉันท์

แต่เหตุผลหลักๆที่ Tokyo Sonata (2008) ถูกมองข้ามในญี่ปุ่น น่าจะเพราะการสะท้อนปัญหาครอบครัว/สังคมยุคสมัยใหม่ ไม่ใครอยากยินยอมรับสภาพเป็นจริง นั่นคือเรื่องน่าเศร้าสลด หดหู่ แถมยังไม่มีหน่วยงานไหนให้ความสนใจ แสดงความกระตือรือล้นอยากหาหนทางแก้ปัญหาดังกล่าว

แซว: ไม่รู้ทำไมพอผมเห็นรายละเอียดหนัง Perfect Days (2023) แล้วเกิดความกระตือรือล้น ขวนขวายอยากรับชม Tokyo Sonata (2008) อาจเพราะนักแสดง Kōji Yakusho และเรื่องราวเกี่ยวกับพนักงานทำงานสะอาด … กระมัง


Kiyoshi Kurosawa, 黒沢 清 (เกิดปี 1955) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kobe, โตขึ้นเข้าศึกษายัง Rikkyo University เริ่มต้นจากหนังสั้น 8mm, กำกับโฆษณา, เข้าสู่วงการ Pink Film ทำหนังทุนต่ำลงวีดิโอ (direct-to-video) อาทิ Kandagawa Pervert Wars (1983), The Excitement of the Do-Re-Mi-Fa Girl (1985), The Guard from Underground (1992), จนกระทั่งช่วงต้นทศวรรษ 90s บทหนัง Charisma ได้รับทุนจาก Sundance Institute ทำให้มีโอกาสเดินทางไปร่ำเรียนภาพยนตร์ยังสหรัฐอเมริกา, โด่งดังระดับนานาชาติกับ Cure (1997), Pulse (2001) ฯ

เกร็ด: หลายคนชอบเข้าใจผิดๆ Kiyoshi Kurosawa ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใดๆกับ Akira Kurosawa

สำหรับ Tokyo Sonata (2008) มาจากบทภาพยนตร์พัฒนาขึ้นโดย Max Mannix ชาว Australian ปักหลักอาศัยอยู่ Tokyo มากว่า 20+ ปี เขียนเรื่องราวนี้ขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 80s โดยนำจากประสบการณ์ตรง บิดาพยายามปกปิดว่าตนเองตกงาน ทำให้ครอบครัวเกือบจะต้องแตกแยก

the original script was written by an Australian named Max Mannix who had lived some years in Japan and based the script off of his experiences. The contents of the story were very straightforward and easy to understand, so I thought what was written wasn’t specific to any time period in particular. The themes are timeless and common, so I thought I could similarly make a movie that wasn’t bound to any time period.

Kiyoshi Kurosawa

ความสนใจของผกก. Kurosawa ระหว่างอ่านบทหนังเรื่องนี้ ทำให้ระลึกถึงภาพยนตร์ A History of Violence (2005) [น่าจะเป็นหนึ่งในเรื่องโปรด] ซึ่งเกี่ยวกับบิดาพยายามปกปิดอาชีพเก่า (นักฆ่ามืออาชีพ) ทำให้ครอบครัวเกือบต้องแตกแยกเช่นเดียวกัน

I immediately thought of David Cronenberg’s A History of Violence – a film that I’ve always really appreciated. I borrowed many elements from A History of Violence while I was filming Tokyo Sonata. In my film, the theme of violence isn’t as transparent and important as it is in A History of Violence, but regarding this dismantlement of a family, the approaches are relatively similar.

แม้บทหนังจะพัฒนาขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 80s แต่เรื่องราวยังถือว่าคงความคลาสสิก ไม่ได้จำเพาะเจาะยุคสมัยไหน ผกก. Kurosawa จึงร่วมปรับปรุงบทกับ Sachiko Tanaka แก้ไขหลายๆสิ่งอย่างให้กลายเป็นปัจจุบัน


เรื่องราวของครอบครัวชนชั้นกลาง (Middle Class) อาศัยอยู่ในกรุง Tokyo ประกอบด้วยบิดา Ryūhei Sasaki (รับบทโดย Teruyuki Kagawa), มารดา Megumi (รับบทโดย Kyōko Koizumi) และบุตรชายสองคน Takashi กับ Kenji

วันหนึ่งบิดา Ryūhei ถูกไล่ออกจากงาน ตัดสินใจไม่เปิดเผยความจริงต่อครอบครัว เพราะไม่ต้องการสูญเสียอำนาจ/ศักดิ์ศรีความเป็นบิดา พยายามมองหางานใหม่ แต่จนแล้วจนรอด จนในที่สุดยินยอมเป็นพนักงานทำความสะอาดห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง

ขณะเดียวกันบุตรชายคนโต Takashi จู่ๆบอกกับครอบครัวว่าจะอาสาสมัครทหาร ต้องการไปร่วมสู้รบสงครามอิรัก ส่วนบุตรชายคนเล็ก Kenji แสดงเจตจำนงค์อยากร่ำเรียนเปียโน แต่ทั้งสองกลับไม่ได้รับอนุญาตจากบิดา ถึงอย่างนั้นพวกเขายังพยายามหาหนทาง กระทำสิ่งตอบสนองความต้องการของตนเองได้สำเร็จ

เรื่องวุ่นๆเกิดขึ้นเมื่อโจร (รับบทโดย Kōji Yakusho) บุกปล้นบ้าน ขณะนั้นมีเพียงมารดา Megumi ถูกบังคับให้ขโมยรถ พาหลบหนี ระหว่างแวะจอดยังห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง บังเอิญพบเจอหน้าสามี Ryūhei (ในชุดพนักงานทำความสะอาด) นั่นคือจุดแตกหักของทั้งสอง ไม่สามารถยินยอมรับสถานการณ์ของตนเองได้อีกต่อไป


Teruyuki Kagawa 香川 照之 (เกิดปี 1965) นักแสดง สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo บิดาคือ Ichikawa Ennosuke III นักแสดง Kubuki ตามธรรมเนียมแล้วบุตรชายมักดำเนินรอยตามบิดา แต่เพราะครอบครัวหย่าร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 มารดาพยายามกีดกันไม่ให้บุตรชายฝึกฝนการแสดง Kabuki แม้พยายามติดต่อหาบิดาหลายครั้งแต่กลับได้รับการปฏิเสธ, โตขึ้นเข้าศึกษาจิตวิทยาสังคม University of Tokyo ก่อนผันตัวมาเป็นนักแสดงภาพยนตร์ ผลงานเด่นๆ อาทิ Devils on the Doorstep (2000), Tokyo Sonata (2008), 20th Century Boys (2008-09), Mt. Tsurugidake (2009), Rurouni Kenshin (2012) ฯ

รับบทบิดา/สามี Ryūhei Sasaki เป็นพนักงานบริษัทมาหลายสิบปี มีความขยันขันแข็ง ทุ่มเททำงาน แต่วันหนึ่งกลับถูกไล่ออก ไม่รู้จะทำอะไรยังไง ปฏิเสธพูดบอกความจริงต่อที่บ้าน เพราะกลัวการสูญเสียอำนาจในครอบครัว พยายามมองหางานใหม่ จนแล้วจนรอด จนสถานะการเงินเริ่มย่ำแย่ จึงจำใจกลายเป็นพนักงานทำความสะอาด อับอายขายขี้หน้าเมื่อต้องเผชิญหน้าภรรยา

ก่อนหน้านี้ Kagawa เคยร่วมงานผกก. Kurosawa ภาพยนตร์ Serpent’s Path (1998) พยายามมองหาโอกาสร่วมงานกันหลายครั้ง จนกระทั่งสิบปีให้หลัง

ภาพลักษณ์ของ Kagawa เหมาะสำหรับเล่นบทดราม่า สีหน้าตึงเครียด จริงจัง เก็บกดดัน อึดอัดอั้น โดดเด่นในการเบ่งท่า วางอำนาจ ใส่อารมณ์เกรี้ยวกราด แต่แท้จริงแล้วก็แค่หมาเห่าใบตองแห้ง เก่งกับแค่สมาชิกครอบครัว พยายามปกปิดบังความอ่อนแอ ขลาดเขลา พอความจริงได้รับการเปิดเผยจึงกลายเป็นหมาหัวเน่า สีหน้าห่อเหี่ยว ท่าทางสิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยาก

แต่ในความเคร่งเครียด สีหน้าจริงจัง หลายต่อหลายครั้งกลับดูตลกขบขัน เพราะผู้ชมรับรู้อยู่แล้วว่าตัวละครแอบมีเบื้องหลัง เวลาเบ่งท่า วางอำนาจบาดใหญ่ มันจึงเป็นเพียงภาพหลอกตา หาความน่าเชื่อถือไม่ได้สักเท่าไหร่ ขณะเดียวกันหลายคนอาจรู้สึกสงสารเห็นใจ เพราะตัวละครนี้สะท้อนโครงสร้างทางสังคม บิดาคือช้างเท้าหน้า ต้องพยายามรักษาศักดิ์ศรี เกียรติซามูไร สถานะของตนเองในครอบครัว

ซองเงินที่พบเจอในห้องน้ำ คือบทพิสูจน์ตัวละครว่าจะเลือกรักษาศักดิ์ศรี หน้าตา สถานะบิดาในครอบครัว (ด้วยการนำเงินก้อนนั้นมาใช้) หรือทำการปรับปรุงแก้ไข ยินยอมรับสภาพเป็นจริง ปฏิเสธสูญเสียความเป็นมนุษย์ ไม่กลายเป็นเหมือนหัวขโมยที่บุกปล้นบ้าน (คือถ้านำเงินก้อนนั้นมาใช้ ก็คงมีสภาพไม่ต่างจากโจรคนนั้นสักเท่าไหร่)


Kyôko Koizumi, 小泉 今日子 (เกิดปี 1966) นักร้อง/นักแสดง สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Atsugi, Kanagawa, เมื่อปี ค.ศ. 1981 เข้าร่วมการประกวดรายการ Star Tanjo! ทำให้กลายเป็นศิลปิน ออกอัลบัม กลายเป็น Pop Idols รุ่นเดียวกับ Seiko Matsuda และ Akina Nakamori, พอเริ่มมีชื่อเสียงช่วงกลางทศวรรษ 90s จึงผันตัวมาเป็นนักแสดง บทบาทเด่นๆ อาทิ Kaitô Ruby (1988), Bayside Shakedown: The Movie (1998), Umbrella Flower (2000), Onmyoji (2001), Tokyo Sonata (2008) ฯ

รับบทมารดา/ภรรยา Megumi Sasaki เพราะเป็นเพียงช้างเท้าหลัง ทำงานเป็นแม่บ้าน จึงไร้ซึ่งสิทธิ์เสียง ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น อำนาจการตัดสินใจล้วนเป็นของสามี แต่เมื่อไม่นานมานี้เธอเริ่มสังเกตเห็นพฤติกรรมผิดปกติของอีกฝ่าย ท่าทางลับๆล่อๆ ขึ้นเสียง ใส่อารมณ์ ทั้งยังใช้ความรุนแรงกับบุตรชาย จึงเริ่มยินยอมรับไม่ได้ กระทั่งเกิดเหตุการณ์โจรกรรม แล้วพบเห็นสามีแต่งชุดพนักงานทำความสะอาด นั่นถือเป็นฟางเส้นสุดท้าย ต้องการดิ้นหลบหนี ไปให้ไกลจากบ้านหลังนี้

บทบาทของ Koizumi แทบไม่มีอะไรให้กล่าวถึงในช่วงครึ่งแรก แต่สถานะมารดาที่ถูกกดทับ ทำให้ผู้ชมสัมผัสถึงความอัดอั้นทรมาน ต้องการปกป้องลูกๆ ขณะเดียวกันก็มิอาจต่อต้านสามี นั่นคือความกล้ำกลืนฝืนทน โหยหาใครสักคนฉุดลากพาฉันออกไปจากสถานที่แห่งนี้

กระทั่งการมาถึงของหัวขโมย ใช้ข้ออ้างลักพาตัวปลดปล่อยเอง ทำอะไรตามใจฉัน ไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว ข้ดแย้งต่อสามัญสำนึกทางศีลธรรม แม้แค่เพียงช่วงเวลาข้ามคืนสั้นๆ หลับนอนกับชายแปลกหน้า โดยไม่รู้ตัวสามารถเยียวยารักษาแผลใจ ก่อนหวนกลับมาทำหน้าที่ภรรยา/มารดา เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ได้อีกครั้ง


Kōji Yakusho ชื่อจริง Kōji Hashimoto, 橋本 広司 (เกิดปี 1956) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Isahaya, Nagasaki หลังสำเร็จการศึกษา Nagasaki Prefectural High School of Technology เข้าทำงานยัง Chiyoda City แต่หลังจากมีโอกาสรับชมละครเวที The Lower Depths เกิดความชื่นชอบสนใจด้านการแสดง ยื่นใบสมัครทดสอบหน้ากล้อง เซ็นสัญญากับเอเจนซี่ Mumeijuku จากตัวประกอบ กระทั่งได้รับบทนำครั้งแรกซีรีย์ Tokugawa Ieyasu (1983), โด่งดังระดับนานาชาติกับ Shall We Dance? (1996), The Eel (1997), โกอินเตอร์เรื่อง Memoirs of a Geisha (2005), Babel (2006), 13 Assassins (2010), The Third Murder (2017), Perfect Day (2023) ฯ

รับบทโจรปล้นบ้าน พบเจอกับภรรยา Megumi แต่ปรากฎว่าครอบครัวนี้ไม่มีเงินสักแดง แล้วพลั้งเผลอเปิดเผยใบหน้า เลยตัดสินใจจับเธอมาเป็นตัวประกัน ให้พาขับรถหลบหนีมาถึงริมชายหาด แล้วจู่ๆแสดงทีท่าอ่อยเหยื่อ เล็งเห็นโอกาสเลยตัดสินใจจะ…

บทบาทของ Yakusho ถือว่ามารับเชิญเป็นสีสัน ใครหลายคนคงคาดไม่ถึง (ไม่มีโปรโมทอะไรเลยนะ เป็นการสร้างความประหลาดใจให้กับผู้ชม) จะว่าไปใบหน้ารกๆ หนวดเคราดกครึ้ม ถ้าไม่มักคุ้นว่าคือนักแสดง หลายคนอาจนึกว่าหัวขโมยจริงๆ แถมท่าทางรุกรี้ร้อนรน สับสนกระวนกระวาย ไม่ได้เตรียมความพร้อมอะไรสักสิ่งอย่าง เคอะๆเขินๆ เก้งๆกังๆ ให้อะไรก็เอา ผมเห็นแต่ความเมามันส์ ไร้ขีดจำกัด … แต่เอาจริงๆบทบาทดังๆของพี่แก ก็มักหลุดๆแบบนี้แหละ


ถ่ายภาพโดย Akiko Ashizawa, 芦澤明子 (เกิดปี 1951) สัญชาติญี่ปุ่น เข้าสู่วงการจากเป็นผู้ช่วยตากล้อง Hideo Itō, Takayo Oshikiri แล้วมีโอกาสถ่ายทำ Pink Film ขาประจำผกก. Kiyoshi Kurosawa ผลงานเด่นๆ อาทิ Tokyo Sonata (2008), Chronicle of My Mother (2011) ฯ

โดยปกติแล้วผลงานของผกก. Kurosawa มักเป็นหนังแนว Horror, Supernatural แต่หนึ่งในภาพยนตร์แนวโปรดคือ Family Drama ของผกก. Yasujirō Ozu พยายามอย่างยิ่งจะสรรค์สร้าง Tokyo Sonata (2008) ออกมาให้แตกต่าง แต่ผู้ชมน่าจะสัมผัสถึงอิทธิพลหลายๆสิ่งอย่าง

I actually love the films of Yasujirō Ozu and you could probably call me an Ozu maniac. I think I’ve been influenced a great deal by Ozu, so I conversely try not to think of his films when I’m making my own. I didn’t want anyone to think I’m imitating Ozu, so I tried my best to distance myself from his style while making Tokyo Sonata. Still, I probably couldn’t help parts of the film from being naturally influenced by Ozu anyway.

Kiyoshi Kurosawa

อิทธิพลสไตล์ Ozu ที่ผมสังเกตได้จากหนัง อาทิ มุมกล้องนิยมถ่ายจากระยะไกล (Long Shot) หลายครั้งแช่ภาพค้างไว้ให้นักแสดงเดินเข้าออก กระทำสิ่งโน่นนี่นั่น ซึ่งในแต่ละซีเควนซ์มักมีเรื่องราวเริ่มต้น-สิ้นสุดในตนเอง และมักค้างๆคาๆเหตุการณ์ต่างๆ บอกว่าจะทำอะไรก็มักกระโดดข้ามไปเลย ไม่ค่อยนำเสนอรายละเอียดนั้นสักเท่าไหร่ (ก็พูดบอกไปแล้วว่าจะทำอะไร จะให้ฉายดูทำไมอีกเล่า?)

หนังชื่อ Tokyo Sonata แน่นอนว่าต้องปักหลักถ่ายทำในกรุง Tokyo แตกต่างจากผลงานอื่นๆที่ผกก. Kurosawa พยายามมองหาสถานที่ที่ผู้คนบางตา ไม่ค่อยรู้จักมักคุ้นชิน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้มันมีความชัดเจนตั้งแต่ชื่อหนัง จึงจำต้องเลือกสถานที่ที่คนส่วนใหญ่รับรู้จักเป็นอย่างดี … แต่เอาจริงๆเมื่อเทียบกับ Manhattan (1979), Philadelphia (1993), Midnight in Paris (2011) ฯลฯ ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ค่อยทำให้ผมสัมผัสถึงกลิ่นอายความเป็น Tokyo สักเท่าไหร่


ภาพแรกของหนัง กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนจากภายในบ้านมาถึงยังประตูที่เปิดทิ้งไว้ ฝนตกสาดกระเซ็น มารดารีบตรงเข้ามาปิดประตู เช็ดน้ำเช็ดท่า แล้วจู่ๆเธอกลับเปิดออก เหม่อมองออกไปภายนอก … ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเข้มงวดกวดขัน ยึดถือกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดจริงจัง ไม่ชอบให้เกิดความผิดพลาดอย่างเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ แต่มันผิดอะไรจะกระทำสิ่งขัดแย้งต่อขนบกฎกรอบ โหยหาอิสรภาพภายนอก

ซีนนี้ยังเป็นการอารัมบทความรู้สึกของมารดา หลังแต่งงานกลายเป็นแม่บ้าน ใช้ชีวิตราวกับอยู่ในกรงขัง ไร้ซึ่งสิทธิ์เสียง ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นใดๆ การเปิดประตูแม้ขณะฝนตกหนัก คืออาการคร่ำครวญ โหยหาอิสรภาพ ต้องการออกไปจากสถานที่แห่งนี้ ได้กระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจของตนเองบ้าง

ผมรู้สึกฉงนกับบริษัทนี้เสียจริง ทำไมถึงมีต้นไม้มีรูอยู่ตรงทางเข้าสำนักงาน? ราวกับต้องการจะสื่อถึงการรั่วไหล ไร้หลักแหล่ง สูญเสียความมั่นคง เฉกเช่นเดียวกับบิดา Ryūhei ทำงานมาหลายสิบปี จู่ๆกลับถูกไล่ออกอย่างไม่เห็นหัว สังเกตช็อตที่หัวหน้าเรียกเข้าไปคุย มุมกล้องถ่ายจากด้านนอก บดบังด้วยผนังกำแพง สร้างความรู้สึกแออัด คับแคบ มู่ลี่บดบังวิสัยทัศน์ภายนอก

หลังถูกไล่ออกจากบริษัท Ryūhei มานั่งจุ้มปุ๊กอยู่ยังสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง โดยไม่รู้ตัวพบเห็นบรรดาพวกพ้อง White Collor (คำเรียก Salayman พนักงานกินเงินเดือนในญี่ปุ่น) ผู้คนมากมายล้วนอยู่ในสถานะตกงาน ไม่รู้จะทำอะไรยังไง แต่พื้นหลังกลับพบเห็นสิ่งก่อสร้าง อพาร์ทเม้นท์สูงใหญ่ เมืองขยับขยายใหญ่โต แต่ความแตกต่างระหว่างชนชั้นกลับยิ่งเหินห่างกันไกล

บ้านครอบครัว Sasaki ตั้งอยู่บริเวณทางสาม-สี่แพร่ง แถมยังมีทางรถไฟตัดผ่าน มันช่างเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมกับหนังมากๆ เพราะนำเสนอเรื่องราวที่ต่างคนต่างบรรเลงเส้นทางชีวิตของตนเอง พ่อไปทาง แม่ไปทาง ลูกไปทาง ใกล้ถึงจุดแตกแยก (Dysfunctional Family)

เมื่อตอนที่บิดา Ryūhei ถูกไล่ออกจากบริษัท เขาไม่สามารถทำอะไรได้สักสิ่งอย่าง! ผิดกับบุตรชาย Kenji เมื่อถูกครูเข้าใจผิด สั่งลงโทษไล่ออกไปยืนหลังห้อง เขาทำการโต้ตอบทันควัน เปิดเผยความลับอะไรบางอย่างที่สร้างความอับอายขาย จนโดนนักเรียนพูดล้อ ตั้งฉายา …

หลายคนอาจรู้สึกว่าการกระทำของ Kenji เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง (เขากล่าวขอโทษอาจารย์ภายหลัง) แต่บางครั้งมันมีความจำเป็นที่เราต้องลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง โต้ตอบตาต่อตา ฟันต่อฟัน อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล เพราะอาจมีใครอื่นตกเป็นเหยื่อความอยุติธรรม

Kenji รับรู้ตนเองว่าสิ่งที่ตนเองทำไม่ถูกต้อง จึงเข้าไปพูดขอโทษกับอาจารย์ สังเกตมุมกล้องถ่ายหน้าตรงตัวละคร แลดูคล้ายๆสไตล์ Ozu (ที่มักให้ตัวละครพูดคุยสบตาหน้ากล้อง แทนการถ่ายข้ามไหล่) แต่เอาจริงๆแล้วมีช็อตลักษณะนี้แค่สองสามครั้งเท่านั้น จุดประสงค์เพื่อแสดงถึงความซื่อตรงไปตรงมาของเด็กชายเสียมากกว่า

ในขณะที่เด็กชายยืนหันหน้าตรงเข้าหากล้อง (จะเรียกว่ามุมมอง Oblique ก็ได้กระมัง) ถ่ายติดภายนอกประตู, มุมมองฝั่งอาจารย์นั่งหันเอียงๆ (มุมมอง Dimetric) ด้านหลังนักเรียนกำลังซ้อมกีฬาในโรงยิม … นี่เป็นการแสดงให้เห็นความขัดแย้ง แตกต่าง แฝงความไม่ลงรอยระหว่างทั้งสอง ต่อให้ขอโทษขอโพย อะไรๆก็ไม่มีวันหวนกลับมาเหมือนเก่า

ระหว่างรับประทานอาหารเย็น ภาพแรกถ่ายหน้าตรง Oblique ผ่านเคาน์เตอร์/ชั้นวางจาน คือขณะที่การสนทนาดำเนินไปอย่างปกติสุข, แต่หลังจาก Kenji บอกว่าอยากเรียนเปียโน มีการสลับเปลี่ยนอีกฟากฝั่งลอดผ่านราวบันได มุมมอง Dimetric (สังเกตจากองศาของโต๊ะ) จากนั้นบิดาออกคำสั่งไม่อนุญาต ดนตรีคือเรื่องไร้สาระ ปฏิเสธรับฟังความคิดเห็นใดๆ

นี่แสดงให้เห็นว่าเมื่อไหร่ถ่ายภาพองศาเอียงๆ (Dimetric) หรือการสนทนาข้ามไหล่ สามารถสื่อถึงการใช้อำนาจบบาดใหญ่ พยายามบีบบังคับ ควบคุมครอบงำ หรือมีลับลมคมในอะไรบางอย่าง

ระหว่างที่บิดา Ryūhei ไปสัมภาษณ์งานบริษัทแห่งหนึ่ง ผมสังเกตว่ามี ‘Mise-en-scène’ ที่น่าสนใจไม่น้อย

  • เริ่มต้นผู้สัมภาษณ์ก็นั่งสนทนากับ Ryūhei อย่างเป็นปกติ
  • แต่หลังจากพูดคุยซักถาม ก็เริ่มตระหนักว่าชายคนนี้ไม่ได้มีความสามารถใดๆ ผู้สัมภาษณ์จึงลุกขึ้นเดินหายไปจากหน้ากล้อง
  • Ryūhei ลุกขึ้นเดินติดตามไปโน้มน้าว เรียกร้องขอโอกาสเข้าทำงาน
  • ก่อนที่ผู้สัมภาษณ์จะย้ายไปนั่งอีกฝั่งฝากฝั่ง แล้วสั่งให้ Ryūhei ขับร้องคาราโอเกะที่ตนเองอ้างว่ามีความถนัด

การกระทำของผู้สัมภาษณ์ ช่างละม้ายคล้ายตอนที่เด็กชาย Kenji สวนกลับครูประจำชั้น ทำให้อีกฝ่ายอับอายขายขี้หน้า แต่ทว่าในชีวิตจริงคนเรากลับยินยอมทำทุกสิ่ง เพื่อให้ได้งาน ได้เงิน ได้สามารถเอาตัวรอดบนโลกใบนี้

เรื่องราวครูสอนดนตรีที่เล่าว่าเพิ่งหย่าร้างสามี จะมองว่าคืออนาคตเป็นไปได้ของมารดา Megumi ถ้าเธอมิอาจอดรนทน ตัดสินใจออกจากบ้าน ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง … คำสอนบางศาสนา ข้ออ้างจริยธรรมของหลายๆสังคม มักชี้นำว่าการหย่าร้างเป็นสิ่งไม่ถูกต้องเหมาะสม แต่ค่านิยมโลกยุคสมัยใหม่บอกว่ามันไม่ใช่เรื่องผิดอะไรที่หญิงสาวจะโหยหาอิสรภาพ ต้องการดิ้นหลุดจากการถูกควบคุมครอบงำ เรียกร้องหาความเสมอภาคเท่าเทียม ไปไห้ไกลจากสังคมปิตาธิปไตย

ก่อนที่ Takashi จะพูดคุยกับมารดาถึงเรื่องการเกณฑ์ทหาร เขายืนเหม่อลอย จับจ้องมองขบวนรถไฟกำลังเคลื่อนพานผ่าน นี่ชัดเจนว่าคืออาการโหยหาอิสรภาพ ต้องการออกไปจากบ้านหลัง … โดยปกติ Takashi ก็ไม่ค่อยพบเห็นอยู่บ้าน มักเตร็ดเตร่ เร่ร่อนตามท้องถนน แสดงว่าเขารับรู้ปัญหาครอบครัว ไม่ชมชอบการปกครองของบิดา โหยหาความเป็นเอกเทศ ต้องพิสูจน์ตนเอง

ระหว่างการอธิบายรายละเอียดเรื่องเกณฑ์ทหารกับมารดา สังเกตว่ากล้องถ่ายติดตัวละครทั้งสอง (ไม่เชิงว่าถ่ายข้ามไหล่) พอถึงตอนโน้มน้าวขอลายเซ็นต์ เปลี่ยนมาถ่ายหน้าตรง (สไตล์ Ozu) แสดงถึงความต้องการอย่างตรงไปตรงมา แต่เหมือนมารดาจะไม่ยินยอมเซ็นต์ เพราะตนเองไม่มีสิทธิ์เสียงใดๆในครอบครัวนี้ นั่นสร้างความผิดหวังอย่างรุนแรงให้กับ Takashi

ผมรู้สึกว่าความตั้งใจของผู้กำกับ เมื่อตอนที่ Ryūhei รับรู้ข่าวการเสียชีวิตของ Kurosu จะเกิดกระแสลมพัดเข้ามา ซึ่งสามารถแทนความตกอกตกใจ คาดไม่ถึงอย่างรุนแรง แต่ปรากฎว่าสายลมมันไม่มาตามนัด เลยแค่พอเห็นรายละเอียดคร่าวๆว่าต้นไม้ขยับไหวรุนแรงกว่าปกตินิดๆหน่อยๆ

นี่เป็นช็อตที่นำเสนอความแบ่งแยกระหว่างชนชั้น สถานะทางสังคม และสามารถแทนคำอธิบายความตายของ Kurosu คือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง โลกยุคสมัยใหม่ที่แม้มีความเจริญก้าวหน้า ตึกระฟ้าสูงใหญ่ แต่กลับทอดทิ้งคนรุ่นเก่า/ชนชั้นแรงงานไว้เบื้องหลัง

เมื่อตอนบิดารับรู้ความต้องการของ Takashi มีรายละเอียด ‘Mise-en-scène’ ดังต่อไปนี้

  • เริ่มต้นจากบิดานั่งอ่านเอกสารตรงใต้บันได (บนโต๊ะอาหาร) กล้องถ่ายติดชั้นวางของทำให้มุมมองดูแออัด คับแคบ และทิศทางโต๊ะเอียงๆ (Dimetric)
  • แต่หลังจากรับรู้สิ่งบังเกิดขึ้น สลับเปลี่ยนมุมกล้องมาถ่ายหน้าตรง (Oblique) แต่บิดากลับนั่งหันหลัง แล้วเอี้ยวตัวมาพูดคุย นั่นแสดงถึงความไม่เห็นด้วย หันหลังให้กับข้อเรียกร้องของบุตรชาย
  • จากนั้นบิดาลุกขึ้นยืน ก้าวเข้ามา พยายามวางอำนาจบาดใหญ่ แสดงความไม่เห็นด้วย
  • Takashi ลุกหนีมานั่งโซฟาห้องนั่งเล่น ซึ่งมีระดับพื้นต่ำกว่า แต่บิดาก็ติดตามมา พูดจาข่มขู่ ถ้าไม่ยินยอมจะขับไล่ออกจากบ้าน
  • Takashi ไม่งอนง้อคำข่มขู่ของบิดา ตั้งใจจะขึ้นห้องกลับไปเก็บข้าวของ แต่มารดาพยายามโน้มน้าว ฉุดเหนี่ยวรั้ง จนเขายินยอมนั่งลงเก้าอี้
  • ในขณะที่มารดาถอยไปทรุดนั่งด้านหลัง (บุคคลไม่มีความสำคัญใดๆ ไร้อำนาจ ไร้สิทธิ์เสียงในการตัดสินใจ) Takashi และบิดาหันมาเผชิญหน้า (มุมกล้องเดิมกับภาพสอง แต่เปลี่ยนจากบิดาหันหลังมาเป็นหันข้าง) ระดับศีรษะเท่ากัน บุตรชายสอบถามว่าวันๆทำอะไร ราวกับรับรู้ว่าอีกฝ่ายกำลังตกงาน เกิดอาการอ้ำๆอึ้งๆ ไม่สามารถพูดตอบคำถาม
    • ตอนที่บิดาอ้ำๆอึ้งๆ มารดาค่อยๆหันหน้ากลับมา ราวกับตระหนักถึงความผิดปกติ/ลับลมคมในของสามี

การที่ส่วนใหญ่ในซีเควนซ์นี้ถ่ายภาพหน้าตรง (Oblique) เพราะพวกต่างคนต่างพูดบอก แสดงออกความต้องการของตนเองอย่างตรงไปตรงมา ไม่สามารถอ้อมค้อม วางอำนาจบาดใหญ่ … เพราะ Takeshi เติบโตเป็นวัยรุ่น สามารถเอาตัวรอดได้ด้วยตนเอง เลยไม่จำเป็นต้องงอนง้อครอบครัวอีกต่อไป

จากเคยเย่อหยิ่ง เรื่องมาก เรียกร้องโน่นนี่นั่น หลังจากถูกบุตรชาย Takeshi ลับเหลี่ยมคม บิดา Ryūhei ตกอยู่ในสภาพหมาจนตรอก ยินยอมตอบรับทุกอาชีพ ขอแค่ได้ทำงานมีเงิน (ถ่ายก้มลงจากเบื้องบน มุมมอง Dimetric แสดงถึงบิดาผู้ไร้สิทธิ์เสียง ยินยอมก้มหัวศิโรราบต่อทุกสิ่ง) ก่อนถูกส่งไปเป็นพนักงานทำความสะอาดห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ทุกคนต่างสวมสูทผูกไทด์ พอหลบเข้าในซอกก็เร่งรีบเปลี่ยนใส่ชุดทำงาน … นี่แสดงให้เห็นว่ามีคนมากมายที่ต้องตกอับ และพยายามปกปิดสถานะดังกล่าวต่อครอบครัว เป็นความตลกร้ายที่หัวร่อไม่ออกเลยสักนิด!

หลังจาก Takashi เดินทางไปอิรัก มารดาเข้ามาเก็บข้าวของในห้องนอน ก่อนพบเจอเส้นชอล์กขีดลากยาว และข้อความ “National Border” นี่แสดงถึงความแปลกแยก ต้องการสร้างเขตแดน พื้นที่ความเป็นส่วนตัว หรือคือไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งกับครอบครัว อยู่ภายใต้การปกครอง(เผด็จการ)ของบิดา

เพราะความขัดแย้งกับ Kenji ตั้งแต่ตอนต้นเรื่อง ครูประจำชั้นจึงไม่มีความสนใจใยดี เมื่อตอนนัดพูดคุยกับมารดา Megumi เรื่องค่าอาหารกลางวัน พบเห็นเดินไปเดินมา ย้ายจากตำแหน่งสู่อีกตำแหน่งหนึ่ง แล้วจู่ๆพูดขึ้นว่า “It’s something you should discuss within the family.” มันช่างเป็นประโยคแสดงความไม่ยี่หร่า ปัดความรับผิดชอบ ก่อนจบซีนนี้ด้วยการเดินไปยังอ่างล้างจาน ชำระล้างคราบสกปรก ปฏิเสธยุ่งเกี่ยวอะไรใดๆ

เมื่อบิดารับรู้ว่าบุตรชาย Kenji แอบไปร่ำเรียนเปียโน ออกคำสั่งห้ามปราม ขณะพยายามเสี้ยมสอนว่านี่เป็นพฤติกรรมของคนขี้ขลาด (ฟังดูย้อนแย้งเข้ากันตนเอง) จู่ๆหยิบหนังสือพิมพ์ขึ้นมากางออก นี่ไม่ใช่ว่าเขาต้องการเปิดอ่านหรืออย่างไร แต่เป็นภาษากายแสดงถึงการหลีกเลี่ยงเผชิญหน้า แสร้งว่าไม่ยินยอมรับฟังคำแก้ตัวของอีกฝ่าย

มารดาพยายามพูดประณีประณอม แต่บิดากลับใช้ความรุนแรงกลับบุตรชาย นั่นทำให้เธอพูดเล่าสิ่งที่พบเห็น ยืนอยู่ตำแหน่ง(ศีรษะ)สูงกว่า แล้วบอกว่า “Screw your authority.” ฟังแล้วเจ็บแสบยิ่งกว่าการถูกตบหน้า

สำหรับอุบัติเหตุตกบันได นี่คือสิ่งที่ผกก. Kurosawa เล่าว่านำแรงบันดาลใจจาก A History of Violence (2005) บันไดคือสัญลักษณ์แทนการใช้อำนาจในทางไม่ถูกต้อง บิดาอ้างว่าแค่ผลักเบาๆ แต่กลับทำให้บุตรชายไถลตกลงชั้นล่าง ได้รับบาดเจ็บแม้ไม่หนักมาก แต่สร้างความเจ็บปวดทุกข์ทรมานใจ รู้สึกผิดอย่างรุนแรงในสิ่งพลั้งพลาดกระทำไป

ซีนเล็กๆนี้คล้องจองกับการปัดความรับผิดชอบของครูประจำชั้น เด็กน้อยทำแก้วน้ำหล่น มารดาจึงพาลูกเดินหนีทันควัน “ความผิดคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดตัวเราเท่าเส้นผม” ปล่อยให้เป็นหน้าที่พนักงานทำความสะอาด เก็บกวาดเช็ดถูก … บางคนอาจมองว่ามันเป็นสิ่งถูกต้องแล้ว จะให้แม่เด็กเช็ดพื้นทำความสะอาดก็กระไรอยู่ จะมีพนักงานไว้ทำไม แต่มันก็สะท้อนให้เห็นถึงความเห็นแก่ตัว การขาดความรับผิดชอบต่อสาธารณะ

เมื่อครั้นบุตรคนโต Takeshi แวะเวียนกลับมาบ้าน พร่ำรำพันถึงการกระทำของตนเองในสงคราม ตระหนักถึงการเสียสละเพื่อชาติ เพื่อส่วนรวม เพื่อความสงบสุขของโลก แต่ผลลัพท์กลับค่อยๆทำให้ตนเองค่อยๆสูญเสียจิตวิญญาณ ความเป็นมนุษย์ มีสภาพก็อย่างที่พบเห็น

แซว: เอาจริงๆแล้วมันไม่มีนะครับที่ชาวญี่ปุ่นถูกเกณฑ์ไปสู้รบสงครามอิรัก เป็นเรื่องราวที่ผกก. Kurosawa ปรุงปั้นแต่ง/สร้างโลกคู่ขนาน เพื่อให้ผู้ชมตระหนักถึงความไม่จำเป็นในการเสียสละชีพเพื่อส่วนรวม (Anti-patriotism, Anti-War)

I don’t think there’s any need for a patriotism that means you must do something for Japan. But you should do something for yourself, and something you believe in. This can be something for film, or for your family, or for your lover, but it should be for something or someone you believe in. To do something solely for your country I think is absolutely unnecessary. But if you’re working for some purpose or some person, or for yourself, and if you believe in this, I think this would transcend the concept of a nation and have an influence on the world as a whole.

Kiyoshi Kurosawa

เรื่องวุ่นๆเกิดขึ้นเมื่อบิดา Ryūhei พบเจอซองใส่เงินในห้องน้ำ ใครบางคนหลงลืมทิ้งไว้ ไม่รู้จะทำอะไรยังไง แต่มันกลับทำให้เขาพบเจอสิ่งต่างๆ (Chain Reaction) หายนะบังเกิดขึ้นติดตามมามากมาย ซึ่งหนังนำเสนอคู่ขนานกับเหตุการณ์บ้านถูกโจรปล้น หัวขโมยลักพาตัวมารดา Megumi แล้วทั้งสองมาบังเอิญพบเจอหน้า … เราสามารถเปรียบเทียบคู่ขนานระหว่าง Ryūhei พบเจอซองใส่เงิน = โจรปล้นบ้าน ลักพาตัว Megumi

และตั้งแต่ที่บิดา-มารดา พบเจอกันในห้างสรรพสินค้า ทั้งสองต่างพยายามหลบหนีออกไปจากสถานที่แห่งนี้ ยังมีอีกเรื่องราวคู่ขนานบังเกิดขึ้นพร้อมกัน นั่นคือบุตรชาย Kenji ตัดสินใจหนีออกจากบ้าน ระหว่างเดินเตร็ดเตร่เร่ร่อน พบเจอเพื่อนสนิทที่ก็พยายามหลบซ่อนตัว หนีออกจากบ้านเช่นเดียวกัน … ส่วนพี่ชาย Takashi แม้ไม่มีการกล่าวถึง แต่ผู้ชมรับรู้ได้ว่าอีกฝ่ายหนีไปไกลถึงอิรักโน่นแล้ว

เห็นช็อตนี้ทีไรชวนให้ผมนึกถึง Pierrot le Fou (1965) หนุ่มสาวขับรถที่ลักขโมยมาถึงริมชายหาด จุดสิ้นสุดการเดินทาง เหม่อมองสุดปลายขอบฟ้า ต่อจากนี้ถึงเวลาทบทวนตนเองว่าอยากทำอะไร ไปต่อ หรือเดินทางกลับ

  • สำหรับหัวขโมย เพราะชีวิตไม่มีอะไรอยู่แล้ว จึงพร้อมยินยอมรับโชคชะตา คว้าโอกาสที่ได้รับมา ร่วมรักหลับนอนกับเธอ แค่นั้นก็เติมเต็มความต้องการจิตใจ ราวกับนางฟ้ามาจุติ
  • ส่วนมารดา แม้ยินยอมให้หัวขโมยร่วมเพศสัมพันธ์ แต่กลับไม่ทำให้เธอรู้สึกพึงพอใจ ดึกดื่นออกมาเดินริมชายหาด สองจิตสองใจว่าจะทำอะไร ฆ่าตัวตายดีไหม?

ร้อยเรียงสามเหตุการณ์ที่ทำให้ครอบครัว Sasaki มาถึงจุดเปลี่ยน

  • Kenji เพราะยังเป็นเยาวชน ไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากบ้านยามวิกาล เลยถูกตำรวจจับกุม (ย้อนรอยกับเพื่อนที่ถูกครอบครัวพากลับบ้าน) อาศัยอยู่ในห้องขังร่วมกับนักโทษอื่นๆ ในตอนแรกยืนหันหลังให้แสงไฟสีเขียว (สีแห่งความชั่วร้าย) จากนั้นเดินไปนั่งขดอยู่ข้างอ่างล้างจาน รอคอยฟ้าสางถึงได้รับการปล่อยตัวกลับบ้าน
  • มารดา Megumi หลังจากเดินเลียบชายหาด สองจิตสองใจว่ายังอยากมีชีวิตอยู่ไหม พอรุ่งเช้าพระอาทิตย์ค่อยๆสาดส่องแสงสว่าง (ฉากนี้ดูไม่ค่อยแนบเนียนสักเท่าไหร่ เพราะผู้ชมสังเกตได้ว่าเกิดจากแสงไฟสาดส่องใบหน้า) ทำให้ตระหนักถึงภาระรับผิดชอบครอบครัว จึงออกเดินทางกลับบ้าน
  • บิดา Ryūhei นอนเหมือนหมาข้างถนน ถูกกลบด้วยใบไม้ร่วงหล่น ตื่นเช้าขึ้นมารับสภาพตนเองไม่ได้ จึงนำซองเงินไปใส่ช่องของหาย แล้วถึงเดินกลับบ้าน

ทำไมบิดา Ryūhei ถึงตัดสินใจนำซองเงินใส่ในช่องของหาย? นี่ไม่ใช่ประเด็นศีลธรรม หรือบังเกิดสามัญสำนึกทางจิตใจ แต่ตระหนักถึงสารพัดความโชคร้ายตั้งได้รับมันมา พบเจอหน้าภรรยา ถูกรถชนแล้วทิ้ง หลับนอนข้างถนน เรียนรู้ว่าการมีเงินไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรสักอย่าง อาจเพราะกลัวเรื่องกฎหมายด้วยอย่างหนึ่ง การปฏิเสธเงินก้อนนี้จึงคือสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นชีวิตใหม่

I think it’s because he really wants to start over again and—in order to start over again—he needs to be at zero. He doesn’t need the negative baggage of unlawfully-acquired money. I think in the movies I have made until now, he probably would have kept the money and become a complete outlaw and moved towards a different kind of hope; but, in that case, he would have left the family behind as the unnecessary detritus of a former life. I didn’t want to move him in that direction.

Kiyoshi Kurosawa

หลังจากพานผ่านค่ำคืนแห่งหายนะ สุดท้ายแล้วพวกเขาตัดสินใจหวนกลับบ้าน ไร้คำพูดคำจา ก้มหน้าก้มตา ร่วมรับประทานอาหารเช้า ทำราวกับไม่มีอะไรบังเกิดขึ้น แต่ทุกคนต่างรับรู้อยู่แก่ใจ ถ้วยชามแตกละเอียดสามารถแปะติดปะต่อขึ้นใหม่ แม้รอยร้าว/แผลเป็นจะไม่เลือนหาย แต่มันกลับทำให้ความสัมพันธ์แนบแน่นแฟ้น ยินยอมรับการเปลี่ยนแปลง เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน

โต๊ะอาหาร ถือเป็นสถานที่คลาสสิกสำหรับครอบครัวแตกแยก (Dysfunctional Family) สำหรับพูดคุย ปรับความเข้าใจ แต่ถึงแม้พวกเขาไม่สนทนาอะไร ก็ยังสามารถรับรู้ความรู้สึกของกันและกัน … ผมเพิ่งรับชม Moonstruck (1987) ไปเมื่อไม่กี่วันก่อน เลยตระหนักว่าการล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกัน มีความสำคัญแทบจะทุกๆวัฒนธรรม/ชาติพันธุ์

ตัดต่อโดย Koichi Takahashi,

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้ครอบครัว Sasaki เป็นจุดศูนย์กลาง สลับสับเปลี่ยนการเล่าเรื่องผ่านมุมมองบิดา Ryūhei, มารดา Megumi และบุตรชายคนเล็ก Kenji ต่างคนต่างบรรเลงบทเพลงชีวิตของตนเอง!

  • วันธรรมดาๆหนึ่ง บิดาถูกไล่ออกจากงาน
    • ยามเช้าบิดา Ryūhei เดินทางไปทำงานตามปกติ แล้วจู่ๆถูกบอกเลิกจ้าง เก็บข้าวของกลับบ้าน
    • ยามกลางวันนั่งเหม่อลอย ไม่รู้จะทำอะไรดี ก่อนแอบได้ยินมีคนกล่าวถึงบริษัทจัดหางาน
    • เดินทางไปยังบริษัทจัดหางาน พบเห็นคนต่อคิวยาวเหยียดถึงชั้นล่าง
    • เลยตัดสินใจกลับบ้านเร็ว แต่พบเจอบุตรชาย และภรรยาจับได้ว่าแอบเข้าทางหน้าต่าง
  • ความพยายามมองหางานใหม่
    • บุตรชายคนเล็ก Kenji ถูกครูลงโทษความผิดที่ตนเองไม่ได้ก่อ เลยทำการโต้ตอบอย่างไม่ได้คิด
    • บิดาพบเจอกับพนักงานบริษัทจัดหางาน แต่ก็ไม่สามารถหางานที่ตนเองคาดหวัง
    • วันถัดมาพบเจอเพื่อนเก่า Kurosu ซึ่งก็ตกงานเหมือนกัน ต่างเดินทางไปยังบริษัทจัดหางานต่างๆ แต่ก็ยังไม่สามารถหางานที่ตนเองคาดหวัง
    • Kenji บอกกับครอบครัวว่าอยากเรียนเปียโน แต่ถูกบิดาสั่งห้าม เลยนำเงินอาหารกลางวันเป็นค่าเล่าเรียน
    • Kurosu ชักชวน Ryūhei ไปรับประทานอาหารที่บ้าน ร่วมกันเล่นละคอนตบตาครอบครัว
  • Takashi อยากเกณฑ์ทหาร
    • Ryūhei เดินทางไปสัมภาษณ์งานบริษัทหนึ่ง แต่กลับถูกกลั่นแกล้งจนอับอายขายขี้หน้า
    • Takashi พูดคุยกับมารดาว่าอยากเกณฑ์ทหาร เสียสละชีพเพื่อชาติ
    • Ryūhei เดินทางไปเยี่ยมเยียน Kurosu แต่กลับพบว่าอีกฝ่ายฆ่าตัวตายพร้อมภรรยา
    • กลับมาบ้านบิดาปฏิเสธไม่ให้ Takashi ไปเกณฑ์ทหาร แต่ก็ไม่สามารถทำอะไร
  • Kenji มีพรสวรรค์ทางดนตรี
    • ครูสอนดนตรีบอกกับ Kenji ว่าเป็นคนมีพรสวรรค์ ต้องการส่งเสริมให้เข้าเรียนต่อโรงเรียนดนตรี
    • Ryūhei ยินยอมทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาด
    • มารดารับรู้จากครูที่โรงเรียนว่า Kenji ค้างชำระค่าอาหารกลางวัน
    • จดหมายส่งมาถึงบ้านทำให้รับรู้ว่า Kenji แอบไปเรียนดนตรี สร้างความไม่พึงพอใจต่อบิดาถึงขนาดลงไม้ลงมือ
  • เรื่องวุ่นๆของหัวขโมย
    • วันหนึ่งระหว่าง Ryūhei กำลังทำความสะอาดห้องน้ำ พบเห็นซองใส่เงิน ไม่รู้จะทำอะไรยังไงดี แต่ระหว่างพบเจอกับภรรยา เกิดอาการอ้ำอึ้ง ปฏิเสธจะยินยอมรับความจริง
    • (ย้อนอดีตสามชั่วโมงก่อนหน้า) ที่บ้านครอบครัว Sasaki จู่ๆมีโจรบุกเข้ามาปล้นทรัพย์ แต่กลับไม่ได้อะไรสักสิ่งอย่าง เลยตัดสินใจลักพาตัว Megumi ขโมยรถเปิดประทุนหรู บังคับให้ขับพาหลบหนี แวะจอดห้างสรรพสินค้า พบเจอสามี Ryūhei
    • Kenji ตัดสินใจหนีออกจากบ้าน พบเจอเพื่อนร่วมห้องที่ก็หลบหนีออกจากบ้านเช่นกัน
    • Megumi ขับรถพาโจรมาถึงริมชายหาด พรอดรัก ค้างคืน
    • Ryūhei เดินเตร็ดเตร่เร่ร่อน ถูกรถชนได้รับบาดเจ็บ นอนหลับอยู่ข้างถนน
    • Kenji ถูกตำรวจจับกุม นอนในเรือนจำ
  • เช้าวันใหม่แห่งความหวัง
    • Megumi เดินกลับมาบ้าน พบเห็น Kenji ในสภาพหิวกระหาย
    • Ryūhei นำซองเงินหย่อยใส่ที่รับฟากของหายแล้วเดินทางกลับบ้าน
    • สามเดือนถัดมา Kenji สมัครโรงเรียนดนตรี ทำการแสดงบทเพลง Debussy: Clair de Lune

ไคลน์แม็กซ์ของหนังในช่วง “เรื่องวุ่นๆของหัวขโมย” มีการดำเนินเรื่องที่น่าสนใจมากๆ เริ่มต้นด้วยการสร้างสถานการณ์ให้กับ Ryūhei จู่ๆพบเจอภรรยา Megumi ทำไมเธอมาอยู่ยังสถานที่แห่งนี้? จากนั้นเปิดเผยรายละเอียดด้วยการเล่าย้อนอดีตสามชั่วโมงก่อนหน้า และพอทั้งสองเรื่องราวเวียนมาบรรจบ ค่อยไปต่อที่เรื่องราวของบุตรชาย Kenji ขณะกำลังหลบหนีออกจากบ้าน

ความวุ่นๆวายๆของครอบครัวแตกแยก (Dysfunctional family) พบเห็นบ่อยครั้งในภาพยนตร์ของ Wes Anderson (รวมถึง French Comedy ช่วงต้นทศวรรษ 30s) ซึ่งก็มักทำไคลน์แม็กซ์ในลักษณะคล้ายๆกันนี้ ร้อยเรียงเรื่องราวจากหลากหลายมุมมอง/ตัวละคร อาจดูเละตุ้มเป๊ะ แต่สุดท้ายย่อมสามารถหาบทสรุป หนทางออกได้อย่างน่าอึ่งทึ่ง มหัศจรรย์ใจ


ความตั้งใจแรกของผกก. Kurosawa ไม่คิดจะแทรกใส่บทเพลงใดๆนอกจากตอนจบ Debussy: Clair de Lune แต่หลังตัดต่อหนังใกล้เสร็จ รับรู้สึกว่ามีบางช่วงบางตอนควรหาอะไรมาแทรกใส่เพิ่มเติม ก่อนตัดสินใจเลือกเครื่องสังเคราะห์เสียง บรรเลงบทเพลงสไตล์ Minimalist มีท่วงทำนองที่เรียบง่าย และสอดคล้องเข้ากับลักษณะของ Sonata

Originally I had thought—because Tokyo Sonata was not a horror film or a genre film—that it would not have any music at all. I thought I would just have the full piano piece at the end. But well after I had finished editing the film, a long time after, I realized I wanted some music so I had music composed. I can’t recall exactly what I asked the composer to do, but I think what I asked him for was the music of a very close tomorrow. Not futuristic music but a kind of future that could happen tomorrow.

I wanted to keep the rest of the music to an absolute minimum. But, if there was going to be music, I wanted it to create a good impression and be very memorable. What I did was I consulted with a lot of music experts about what kind of music I could put in, and wound up deciding on music that was composed on an analog synthesizer from the late 1960s, early 70s, and used a sampling machine.

Kiyoshi Kurosawa

เพลงประกอบโดย Kazumasa Hashimoto, カズマサ・ハシモト (เกิดปี 1974) สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo ตั้งแต่เด็กชื่นชอบเล่นเปียโน โตขึ้นเข้าศึกษาต่อ Tokyo College of Music หลงใหลสไตล์ Minimalist ทำการผสมผสานเครื่องดนตรีไฟฟ้าเข้ากับอะคูสติก โด่งดังจากเพลงประกอบภาพยนตร์ Tokyo Sonata (2008) ฯ

ตอนที่ผมได้ยินบทเพลงในหนัง ด้วยความที่ระดับเสียงค่อนข้างเบา เลยครุ่นคิดว่าคงเป็นเสียงจากเครื่องเป่าลมอะไรสักอย่าง แต่พอรับรู้รายละเอียดว่ามาจากเครื่องสังเคราะห์เสียง (Synthesizer) ก็สร้างความแปลกประหลาดใจอยู่ไม่น้อย เป็นตัวเลือกที่ไม่เคยพบเห็นในภาพยนตร์แนว Family Drama

งานเพลงนอกจากสร้างบรรยากาศทะมึน อึมครึม สะท้อนสถานะครอบครัวที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ใกล้จะถึงจุดแตกแยก, เครื่องสังเคราะห์เสียงยังสร้างสัมผัสอนาคตอันใกล้ (Futuristic) ซึ่งสามารถตีความถึงสถานการณ์แบบ Tokyo Sonata เป็นสิ่งบังเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา

ผมขอไม่ลงรายละเอียด Debussy: Clair de Lune เพราะได้แยกเขียนบทความอธิบายที่มาที่ไปเอาไว้แล้ว แต่จะวิเคราะห์ถึงการเลือกใช้บทเพลงนี้ในช่วงท้ายของหนัง ท่ามกลางรัตติกาลมืดมิด แสงจากพระจันทร์เปรียบดั่งประกายแห่งความหวัง สาดส่องบุคคลผู้หลงทาง จมปลักอยู่กับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ให้สามารถข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย ลุกขึ้นก้าวดำเนินชีวิตต่อไป

โดยปกติหลังเสร็จสิ้นการแสดง ถ้าทำออกมาได้ยอดเยี่ยม ผู้ชมจะทำการปรบมือ ตะโกนโหวกแหวกแสดงความยินดี แต่ตอนจบของหนังทุกคนกลับยืนแน่นิ่ง ไม่ขยับเคลื่อนไหวติง นั่นไม่ใช่ไร้ปฏิกิริยาอารมณ์ คืออาการตกตะลึง อ้ำอึ้ง พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ยังคงเคลิบเคลิ้มล่องลอยอยู่ท่ามกลางแสงจันทรา … นี่ถือเป็นตอนจบที่งดงาม สมบูรณ์แบบ เพราะการไม่ปรบมือสามารถสื่อถึงชีวิตยังเต็มไปด้วยปัญหา อุปสรรคไม่ได้รับการแก้ไข บทเพลงนี้แค่เพียงประกายความหวังเล็กๆ ช่วยสร้างขวัญกำลังใจ เราจะผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายนี้ไปด้วยกัน

I really did want to infuse the ending with some kind of real hope. That was my intent. But, of course, not a false hope or a literally unbelievable happy ending. The film ends with them attempting to start over. The elder son is still gone and probably not coming back. They still have all their problems, but they’re trying to solve all those problems. It’s in their attempt to give it another go at solving the problems wherein the hope lies.

Kiyoshi Kurosawa

เกร็ด: Debussy: Clair de Lune ที่รับชมในหนังทำการแสดงโดย Sonosuke Takao (อายุรุ่นราวคราวเดียวกับนักแสดงรับบท Kai Inowaki)

ค่านิยมทางสังคมสมัยก่อน บิดาคือช้างเท้าหน้า (Patriarchy) มีอำนาจ สิทธิ์ขาด ในการครุ่นคิดตัดสินใจทิศทางของครอบครัว แต่เมื่อโลกก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ แนวคิดดังกล่าวถือว่าเฉิ่มเชยล้าหลัง ถูกมองว่าเป็นการกดขี่ข่มเหง ควบคุมครอบงำ ทำให้ภรรยา-ลูกหลานไร้ซึ่งสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม

เรื่องราวของ Tokyo Sonata แม้มีความจำเพาะเจาะจงพื้นหลังกรุง Tokyo นำเสนอวิถีชีวิต/สภาพสังคมญี่ปุ่น ในช่วงต้นสหัสวรรษใหม่ แต่เหตุการณ์บังเกิดขึ้นกับครอบครัวนี้ถือว่าเป็นประเด็นคลาสสิก ไม่จำเพาะเจาะจงสถานที่หรือกาลเวลา … อย่างที่อธิบายไปตั้งแต่ต้นว่าบทหนังพัฒนาโดย Max Mannix นักเขียนชาว Austrialian ในช่วงทศวรรษ 80s ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 2008 แต่กลับยังสามารถสะท้อนปัญหาสังคม ครอบครัว มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอาศัยอยู่แห่งหนไหน อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ล้วนมีโอกาสประสบพบเจอด้วยกันทั้งนั้น

วิธีแก้ปัญหาเป็นเรื่องพูดง่าย แต่ในทางปฏิบัติหลายคนมักบอกว่ายากยิ่งนัก! ต้องเริ่มจากการลดละทิฐิมานะ ความเย่อหยิ่ง ทะนงตน โยนศักดิ์ศรีทิ้งไป เรียนรู้จักเปิดใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น มอบความเสมอภาคเท่าเทียม และที่สำคัญคือเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองสมมติตนเองอยู่ในสถานการณ์นั้น ย่อมสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ไม่ยาก

สิ่งสำคัญสำหรับบิดา-มารดาควรต้องเรียนรู้ จดจำ ท่องไว้ให้ขึ้นใจ สักวันหนึ่งลูกๆต้องออกจากบ้านไป พวกเขาไม่ใช่ตุ๊กตาหรือหุ่นเชิดชัก อย่าบีบบังคับ ควบคุมครอบงำ ใช้อำนาจบาดใหญ่ ควรปล่อยให้ครุ่นคิด ตัดสินใจ เป็นตัวของตนเอง ครอบครัวควรเป็นพื้นที่สำหรับเตรียมความพร้อม มอบโอกาส สอนให้เรียนรู้จักโลกกว้าง แล้วพวกเขาจะค้นพบคุณค่าความหมายชีวิต และพร้อมเสียสละเพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า

ผกก. Kurosawa ไม่ได้มีปัญหาเรื่องครอบครัว หรือขัดแย้งอะไรกับภรรยา(และบุตร) แต่ผมมองความสัมพันธ์ของ Tokyo Sonata (2008) สอดคล้องกับ A History of Violence (2005) ต่างนำเสนอเรื่องราวของบิดา พยายามปกปิดอะไรบางอย่างกับครอบครัว

เมื่อแรกเริ่มเข้าสู่วงการ ผกก. Kurosawa เป็นที่รู้จักจากภาพยนตร์แนว Pink Film มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ เต็มไปด้วยภาพโป๊เปลือย ความรุนแรง ฯ นั่นอาจเป็นสิ่งเขาไม่ได้ภาคภูมิใจอะไรกับมันนัก อยากปกปิด ลบเลือน ไม่ต้องการให้ภรรยา-ลูกหลานรับรู้เชยชม (นั่นอาจเป็นเหตุผลที่เขาไม่ยอมมีบุตรกระมัง) … แต่อดีต/ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ไม่มีวันปรับเปลี่ยนแก้ไข ทำได้เพียงยินยอมรับสภาพเป็นจริง และเลือกทำวันนี้ให้ดีกว่าวันวาน


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes สายการประกวดรอง Un Certain Regard สามารถคว้ารางวัล Jury Prize จากนั้นเดินทางไปฉายตามเทศกาลต่างๆทั่วโลก กวาดรางวัลอีกมากมายนับไม่ถ้วน รวมถึง Asian Film Awards คว้ามาสองรางวัล Best Film และ Best Screenwriter แต่กลับไม่ได้เข้าชิงสักสาขาของ Japan Academy Film Prize ถือเป็นเรื่องน่าอัปยศยิ่งนัก!

ผมจดจำได้ลางๆว่าน่าจะเดินทางไปรับชม Tokyo Sonata (2008) ยังโรง House RCA (ปกติจะไม่ค่อยไปดูหนังแถวนั้น เพราะมันไกลเกิ้น) ยิ่งดูยิ่งเครียด เต็มไปด้วยความอัดอั้น ถ้าไม่เพราะ Debussy: Clair de Lune ระบายทุกสิ่งอย่างออกมา เกิดความตระหนักว่าโลกไม่ได้สิ้นหวังปานนั้น

นั่นคือเหตุผลที่ผมจัดให้ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แม้หนังจะไม่ได้นำเสนอหนทางแก้ปัญหา แต่สามารถเป็นบทเรียนการใช้ชีวิต การอยู่ร่วมกันในครอบครัว/สังคม เราควรรู้จักพูดคุย เปิดใจรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ลดละทิฐิ “Screw your authority.”

จัดเรต 15+ ครอบครัวแตกแยก คำพูดรุนแรง พฤติกรรมบ้าอำนาจของบิดา

คำโปรย | Tokyo Sonata บรรเลงท่วงทำนองแห่งหายนะของครอบครัวที่กำลังแตกแยก แฝงสาระข้อคิด บทเรียนชีวิต เตือนสติพ่อ-แม่-ลูก
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | บทเรียนชีวิต

Debussy: Clair de lune


Debussy: Clair de lune

แสงจันทรายามค่ำคืน ตกกระทบพื้นผิวน้ำ มันช่างสงบงามและเศร้าสร้อย จิตวิญญาณล่องลอย โหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย, Claude Debussy ใช้เวลาประพันธ์ Suite bergamasque ยาวนานกว่า 15+ ปี กลายเป็นบทเพลงอมตะ คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Impressionist

บทเพลง Suite bergamasque (1890-1905) มีลักษณะ Piano Suite (บรรเลงด้วยเปียโน) ประกอบด้วย 4 Movement

  1. Prélude
  2. Menuet
  3. Clair de lune
  4. Passepied

แต่คนส่วนใหญ่มักรู้จักเพียงท่อนที่สาม III. Clair de lune ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า Moonlight, แสงจันทร์ ถูกนำมาบรรเลงในหลากหลายโอกาส ไม่ใช่แค่ประกอบโฆษณา ภาพยนตร์ ยังมักได้ยินตามห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ ริมเล บรรยากาศชิลๆ สำหรับสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้มาใช้บริการ บางคนยังใช้กล่อมเด็ก เปิดฟังก่อนนอนจะได้หลับฝันดี

เกร็ด: ภาพวาดหน้าปกที่นำมาคือ Starry Night Over the Rhône (1888) ของ Vincent van Gogh


Claude-Achille Debussy (1862-1918) คีตกวี ‘Impressionist’ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Saint-Germain-en-Laye, Seine-et-Oise ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุง Paris, ช่วงระหว่าง Franco-Prussian War (1870) ครอบครัวอพยพสู่เมือง Cannes ทำให้เด็กชาย Debussy วัยเจ็ดขวบมีโอกาสร่ำเรียนเปียโน ไม่นานนักก็ค้นพบพรสวรรค์ เลยถูกส่งเข้าศึกษายัง Conservatoire de Paris ขึ้นแสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกเมื่อปี 1874 จากการเล่นบทเพลง Chopin: Piano Concerto No. 2 in F minor, Op. 21 คว้ารางวัล Deuxième Accessit (ที่สอง), ช่วงฤดูร้อน 1879 รับเล่นเปียโน (part-time) อยู่ที่ Château de Chenonceau ใช้เวลาว่างประพันธ์เพลงแรกในชีวิต ดัดแปลงจากบทกวีของ Alfred de Musset ประกอบด้วย Ballade à la lune และ Madrid, princesse des Espagnes

คีตกวีที่ถือเป็นแรงบันดาลใจคนสำคัญของ Debussy นั้นคือ Richard Wagner เมื่อมีโอกาสรับชมอุปรากร Tristan und Isolde เมื่อปี 1887 ถึงกับเอ่ยปากว่ายอดเยี่ยมที่สุด “the finest thing I know” แม้ผลงานของทั้งสองจะมีความแตกต่างคนละสไตล์ แต่สิ่งที่ส่งอิทธิพลคือแนวความคิดสร้างสรรค์

[Wagner] created a new, instinctive, dreamlike world of music, lyrical and pantheistic, contemplative and objective – a kind of art, in fact, which seemed to reach out into all aspects of experience.

Claude Debussy

หลังสำเร็จการศึกษา Debussy มีโอกาสเดินทางไปทำงาน Rome, Italy ไปๆกลับๆอยู่หลายปี จึงคาดกันว่าเริ่มต้นประพันธ์ Suite bergamasque ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1880s-1890s … คำว่า Bergamasque เป็นคำเรียกภาษาฝรั่งเศสของเมือง Bergamo, Lombardia อยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี ซึ่งมีความเก่าแก่ สถาปัตยกรรมเฉพาะตัว และได้รับยกย่องเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 2017

ไม่มีใครรับรู้ว่า Suite bergamasque แต่งเสร็จ ไม่เสร็จ หรืออะไรยังไง คาดกันว่า Debussy น่าจะยังไม่พึงพอใจในผลลัพท์ เพราะเป็นงานประพันธ์ที่ยังไม่เติบโตนัก จึงไม่เคยนำออกเผยแพร่สู่สาธารณะ จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1905 ได้รับการติดต่อจากสำนักพิมพ์ เล็งเห็นโอกาสที่จะใช้จุดขาย ‘ประพันธ์นาน 15+ ปี’ จึงนำเอาบทเพลงนี้มาปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะสองท่อนสุดท้ายมีการเปลี่ยนชื่อ เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่

  • ท่อนสามจากเดิม Promenade sentimentale (แปลว่า Sentimental walk) กลายมาเป็น Clair de lune
  • และท่อนสี่จากเดิม Pavane กลายมาเป็น Passepied (ทั้งสองคำต่างคือชื่อประเภทบทเพลงเต้นรำ)
    • Passepied ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า Pass-Foot เป็นท่าเต้นรำในพระราชวัง (Court Dance) เคยได้รับความนิยมช่วงศตวรรษที่ 16-18
    • Pavane ก็เป็นชื่อประเภททเพลงเต้นรำจังหวะช้าของยุโรป ได้รับความนิยมในย่าน Padua (ประเทศอิตาลี) ช่วงศตวรรษที่ 16

และสำหรับ Clair de lune ยังได้แรงบันดาลใจจากบทกวีชื่อเดียวกันของ Paul-Marie Verlaine (1844-96) สัญชาติฝรั่งเศส ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1869

ต้นฉบับฝรั่งเศสแปลอังกฤษ
Votre âme est un paysage choisi
Que vont charmant masques et bergamasques
Jouant du luth et dansant et quasi
Tristes sous leurs déguisements fantasques.

Tout en chantant sur le mode mineur
L’amour vainqueur et la vie opportune
Ils n’ont pas l’air de croire à leur bonheur
Et leur chanson se mêle au clair de lune,

Au calme clair de lune triste et beau,
Qui fait rêver les oiseaux dans les arbres
Et sangloter d’extase les jets d’eau,
Les grands jets d’eau sveltes parmi les marbres.
Your soul is a chosen landscape
On which masks and Bergamasques cast enchantment as they go,
Playing the lute, and dancing, and all but
Sad beneath their fantasy-disguises.

Singing all the while, in the minor mode,
Of all-conquering love and life so kind to them
They do not seem to believe in their good fortune,
And their song mingles with the moonlight,

With the calm moonlight, sad and lovely,
Which makes the birds dream in the trees,
And the plumes of the fountains weep in ecstasy,
The tall, slender plumes of the fountains among the marble sculptures.

ทั้งสี่ท่อนของ Suite bergamasque มีจังหวะ อารมณ์ วัตถุประสงค์การนำเสนอที่แตกต่างออกไป

  • Prélude จังหวะปานกลาง (Moderato) เริ่มต้นด้วยท่วงทำนองเร่งเร้า มีชีวิตชีวา ดูน่าตื่นตาตื่นใจ ก่อนค่อยๆลดระดับความเร็วลงจนช้าเนิบ แต่ยังคงความงดงาม น่าติดตาม ชักชวนให้ผู้ฟังอดใจรอสักนิด ‘ช้าๆได้พร้าเล่มงาม’ ก่อนเข้าสู่ไคลน์แม็กซ์ที่ใครต่อใครเฝ้ารอคอย
  • Menuet จังหวะช้าพอประมาณ (Andante) ท่วงทำนองมีความสนุกสนาน ร่าเริงขบขัน (Playful Comedic) ชักชวนผู้ฟังลุกขึ้นมาโยกเต้น เริงระบำ สร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ โยนความตึงเครียดทิ้งไป
  • Clair de lune จังหวะช้าพอประมาณ (Andante) จินตนาการถึงแสงจันทร์ตกกระทบผืนน้ำ มีความงดงามระยิบระยับ จิตวิญญาณล่องลอย สายลมพัดปลิดปลิว โหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย จะได้ไม่อ้างว้าง เปล่าเปลี่ยว นั่งอยู่ตัวคนเดียวอีกต่อไป
  • Passepied จังหวะค่อนข้างเร็ว (Allegretto) แต่มอบความรู้สึกเหมือนการกระโดดย่างเท้า รวดเร็วแต่น้ำหนักเบา ปลิดปลิวเหมือนปุยนุ่น ล่องลอยสู่ความเป็นนิจนิรันดร์

หลายปีที่ผ่านมา ผมเริ่มไม่ค่อยอินกับบทเพลงที่ชอบบดขยี้ บี้อารมณ์มากเกินไป โหยหาความเพียงพอดี ไม่เยิ่นเย้อยืดยาว ฉบับของ Walter Gieseking บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1956 ถือว่าไม่มากไม่น้อยเกินไป!

บังเอิญไปพบคลิปการตีความบทเพลงนี้ของ Lang Lang บรรเลงได้หยดย้อย หวานปานน้ำผึ้งเดือนห้า ส่วนตัวไม่ค่อยชอบสักเท่าไหร่ ใส่อารมณ์มากเกินไป แต่เหมาะกับคนที่อยากทำความเข้าใจบทเพลงนี้ผ่านมุมมองนักดนตรี ตีความอาจจะแตกต่างออกไป น่าจะมีประโยชน์มากๆเลยละ

มีภาพยนตร์นับไม่ถ้วน มากเกินไปด้วยซ้ำที่นำ Clair de lune มาเป็นเพลงประกอบพื้นหลัง อาทิ The Right Stuff (1983), And the Ship Sails On (1983), Ocean’s Eleven (2001), Man on Fire (2004), Atonement (2007), Tokyo Sonata (2008), The Twilight Saga: Eclipse (2010), Everything Everywhere All at Once (2022), The Creator (2023) ฯลฯ

ผมอยากกล่าวชมตัวอย่างภาพยนตร์ Godzilla, King of Monsters (2018) ถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่ใช้ประโยชน์จากบทเพลง Clair de lune ได้อย่างน่าประทับใจ ปลุกคืนชีพสัตว์ประหลาด Mothra ที่ควรหลับใหลใต้แสงจันทร์ ฟื้นตื่นขึ้นมาเป็นตัวร้ายหลักของหนัง (มั้งนะ ผมยังไม่มีโอกาสรับชม)

อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องกล่าวถึงคือภาพยนตร์อนิเมชั่น Fantasia (1940) ดั้งเดิมเคยใช้ Clair de lune เป็นบทเพลง Opening Song แต่ผลลัพท์ออกมาไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่เลยถูกปรับเปลี่ยนบทเพลงอื่นแทน ลองรับชมคลิป Delete Scene ดูเองก็แล้วกัน มีการทำอนิเมชั่นให้สอดคล้องภาพเคลื่อนไหว

ในบรรดาเพลงคลาสิกที่เกี่ยวกับแสงจันทร์ (Moonlight) ยามค่ำคืน (Nocturne) แน่นอนว่า Debussy: Clair de lune คืออันดับต้นๆที่สร้างความซาบซ่าน กินใจ ตอนผมได้ยินครั้งแรกๆก็ตกหลุมรัก ลุ่มหลงใหล แต่พอพบเห็นสื่อต่างๆมากมายนำมาใช้ประกอบพื้นหลัง ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนเกิดความเบื่อหน่าย เอือมระอา ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา สูญเสียมนต์เสน่ห์ไปเรียบร้อยแล้วละ … ถ้าเลือกใช้อย่างสมเหตุสมผลก็ยังพอรับได้อยู่ละ

ความไพเราะของบทเพลงนี้ เวลานานๆฟังที ในวโรกาสที่เหมาะสมก็ยังเพราะพริ้งอยู่ ความตั้งใจของ Debussy คือสร้างสัมผัส Impressionist ไม่ใช่บดขยี้ หรือบีบเค้นคั้นทางอารมณ์ แต่ก็แล้วแต่รสนิยมชื่นชอบส่วนบุคคล ถือเป็นบทเพลงคลาสสิกเข้าถึงผู้ฟังในวงกว้าง ไม่เช่นนั้นคงไม่ได้ยินเกลื่อนกลาดมากมายขนาดนี้

คำโปรย | Debussy: Clair de lune แสงจันทรายามค่ำคืน ช่างสงบงามและเศร้าสร้อย จิตวิญญาณล่องลอย โหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย
คุณภาพ | จั
ส่วนตัว | เคลิบเคลิ้มล่องลอย

Noruwei no Mori (2010)


Norwegian Wood (2010) Japanese : Trần Anh Hùng ♥♥♥♥♡

ถูกโจมตีจากแฟนคลับของ Haruki Murakami ว่าฉบับดัดแปลงภาพยนตร์เพียงบทสรุปเนื้อหา ตัดทอนรายละเอียด ลดบทบาทตัวละครสำคัญ แต่ความงดงามของ Norwegian Wood (2010) คือสัมผัสกวีภาพยนตร์ ทำให้ผู้ชมมอดไหม้ไปกับการสูญเสียรักครั้งแรก

ผมเข้าใจความผิดหวังของคนเคยอ่านนวนิยายแล้วมารับชมภาพยนตร์ ย่อมพบเห็นสิ่งขัดหูขัดตา เนื้อหารายละเอียดขาดๆเกินๆ ไร้มนต์เสน่ห์ในแบบฉบับ Murakami แต่ทว่าวรรณกรรมกับภาพยนตร์มันคนละศาสตร์กันนะครับ!

ผมไม่เคยอ่านต้นฉบับนวนิยาย และไม่คิดจะหยิบมาอ่านด้วย เพราะเชื่อว่าอาจทำลายภาพความประทับใจต่อภาพยนตร์ รายละเอียดบางอย่างปล่อยทิ้งไว้ให้คลุมเคลือ ค้างๆคาๆ ย่อมดีกว่ารับรู้เนื้อหา คำอธิบายความครุ่นคิดทั้งหมด … แน่นอนว่าฉบับนวนิยายย่อมมีอะไรๆมากกว่าภาพยนตร์ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผมอยากหลีกเลี่ยง เพราะลีลาการนำเสนอของผกก. Trần Anh Hùng สร้างพื้นที่สำหรับให้ผู้ชมปลดปล่อยจินตนาการได้อย่างเสรี เพียงพอดีอยู่แล้ว!

เมื่อตอนผมรับชม Norwegian Wood (2010) ในโรงภาพยนตร์ (จำไม่ได้ว่าดูที่ House หรือ Scala) เกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน กินไม่ได้นอนไม่หลับอยู่หลายวัน แต่ตอนนั้นยังไม่เข้าใจตนเองว่าชอบ-ไม่ชอบ เอาจริงๆดูไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำว่ามีเนื้อหาอะไร เพียงสัมผัสทางอารมณ์ มอดไหม้ทรวงใน … น่าเสียดายบทความที่ผมเคยเพ้อรำพันตอนสมัยเรียน (ก่อนทำ raremeat.blog) ล่องจุ๊นไปกับ Exteen.com

หวนกลับมารับชมคราวนี้ บังเกิดความหลงใหลคลั่งไคล้ ดูรู้เรื่องว่าเกี่ยวกับการสูญเสียรักครั้งแรก คล้ายๆกับ Burning (2018) ที่ก็ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Haruki Murakami แม้ลีลากำกับ/สไตล์ลายเซ็นต์ของ Lee Chang-dong ทำออกมาได้ทรงพลังตราตรึงกว่า แต่ทว่า Trần Anh Hùng ก็สร้างสัมผัสกวีภาพยนตร์ งดงามวิจิตรศิลป์ไม่แพ้กัน … สไตล์ภาพยนตร์ของทั้งสองแตกต่างกันประมาณ ร้อยแก้ว (prose) vs. ร้อยกรอง (verse) แล้วแต่ความชื่นชอบส่วนบุคคล

รับชม Norwegian Wood (2010) แนะนำเปิดใจกว้างสักนิด เพราะตัวละครสนทนาแต่เรื่องรักๆใคร่ๆ แนวคิดสมัยใหม่ “ความรัก ≠ เพศสัมพันธ์” รวมถึงลองสังเกตรายละเอียดสถานที่พื้นหลัง ครุ่นคิดหาความสัมพันธ์กับเรื่องราวบังเกิดขึ้น ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณพบเห็นความงดงาม สัมผัสกวีภาพยนตร์ คลอประกอบบทเพลงเพราะๆ … เหมาะสำหรับคนอกหัก สูญเสียคนรัก จากไปอย่างไม่มีวันกลับ

ระหว่างอ่านบทความนี้ แนะนำให้รับฟังบทเพลงที่เป็นแรงบันดาลใจ Norwegian Wood (This Bird Has Flown) แต่งโดย Lennon–McCartney (John Lennon & Paul McCartney), ต้นฉบับขับร้องโดยวง The Beatles, ประกอบอัลบัม Rubber Soul (1965), ทำออกมาในบรรยากาศเพื่อชีวิต Bob Dylan และมีการบรรเลง Sitra (กีตาร์ของชาวอินเดีย) โดย George Harrison (ลูกศิษย์ของ Ravi Shankar) กลายเป็นจุดเริ่มต้น Raga Rock, Psychedelic Rock และช่วยเผยแพร่ Indian Classical Music สู่โลกตะวันตก

เกร็ด: บทเพลง Norwegian Wood (This Bird Has Flown) ได้รับการโหวตติดอันดับ #83 นิตยสาร Rolling Stone: The 500 Greatest Songs of All Time (2004)

ก่อนอื่นขอกล่าวถึง Haruki Murakami, 村上 春樹 (เกิดปี 1949) นักเขียนเรื่องสั้น นวนิยายขายดี สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fushimi-ku, Kyoto บิดาเป็นนักบวชศาสนาพุทธ (ผมไม่เรียกพระสงฆ์ เพราะนักบวชพุทธในญี่ปุ่นแต่งงานมีภรรยาได้) พานผ่านสงคราม Second Sino-Japanese War (1937-45) ได้รับความบอบช้ำทางจิตใจอย่างหนัก จนส่งผลกระทบถึงบุตรชาย, วัยเด็กได้รับอิทธิพลมากมายจากตะวันตก ชื่นชอบการอ่าน หลงใหลดนตรีแจ๊ส โตขึ้นสอบเข้าเรียนการละคอน Waseda University จบออกมาทำงานร้านขายแผ่นเสียง เก็บหอมรอมริดจนสามารถเปิดร้านกาแฟและบาร์แจ๊ส (Coffee House & Jazz Bar) ตั้งชื่อว่า Peter Cat (ตามชื่อแมวตัวโปรด), ตอนอายุ 29 ปี ทดลองเขียนนวนิยายเล่มแรก Hear the Wind Sing (1979) ชนะการประกวดอะไรสักอย่าง กลายเป็นแรงผลักดันค่อยๆผันตัวสู่วงการนักเขียน

ผลงานในช่วงแรกๆของ Murakami ไม่ค่อยได้เสียงตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์(ญี่ปุ่น)สักเท่าไหร่ เพราะรับอิทธิพลจากวรรณกรรมตะวันตกค่อนข้างมาก มักเขียนเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ไร้ซึ่งความเป็นญี่ปุ่น จนได้รับฉายาแกะดำ (Black Sheep in the Japanese literary world) แต่กลับเป็นที่ถูกอกถูกใจวัยรุ่น คนหนุ่มสาว นักอ่านใหม่ๆ เพราะสามารถจับต้องจิตวิญญาณร่วมสมัย “capture the spirit of his generation” สะท้อนความรู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว โหยหาความรัก วิพากย์วิจารณ์ลัทธิทุนนิยม ทำให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ตกต่ำทรามลง

สำหรับนวนิยายลำดับที่ห้า Norwegian Wood (1987) หลายคนคงมีความเข้าใจผิดๆ ครุ่นคิดว่าได้แรงบันดาลใจจากบทเพลงฮิตของ The Beatles แม้ในเรื่องราวจะมีการอ้างอิงถึง แต่ความตั้งใจแรกของ Murakami เพียงแค่ต้องการทดลองเขียนผลงานที่มีความเป็น ‘realistic’ ตรงไปตรงมา และเข้าสู่กระแสหลัก (mainstream)

พล็อตของ Norwegian Wood ได้แรงบันดาลใจ/ดัดแปลงจากเรื่องสั้นที่เคยเขียนไว้ 螢 (1983) อ่านว่า Hotaru แปลว่า Firefly ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าเคยตีพิมพ์ลงนิตยสารฉบับไหน แต่ปัจจุบันรวบรวมอยู่ใน 24 เรื่องสั้น Blind Willow, Sleeping Woman (2006)

เรื่องสั้น Firefly ผู้แต่ง Murakami ให้อธิบายถึงการคร่ำครวญ หวนระลึกความทรงจำ ภาพภูมิทัศน์ญี่ปุ่นที่ปรับเปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน(นั้น) ดังคำอธิบายหิ่งห้อย …

The firefly made a faint glow in the bottom of the jar, its light too weak, its color too pale. I hadn’t seen a firefly in years, but the ones in my memory sent a far more intense light into the summer darkness, and that brilliant, burning image was the one that had stayed with me all that time.

Norwegian Wood (1987) ก็เฉกเช่นเดียวกัน เริ่มต้นจากตัวละคร Toru Watanabe ในวัย 37 ปี หวนระลึกนึกย้อนความทรงจำ เหตุการณ์ในช่วงทศวรรษ 1960s เมื่อครั้นยังเป็นนักศึกษาการละคอนอยู่ Tokyo ได้พบเจอรักครั้งแรกกับ Naoko บังเกิดมิตรภาพอันแปลกประหลาด ความสัมพันธ์อันฉาบฉวย “ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย”

เกร็ด: โดยปกติแล้วการทำงานของ Murakami มักเริ่มต้นด้วยการตั้งชื่อหนังสือ แต่ยกเว้นเพียงนวนิยายเล่มนี้ที่ได้ข้อสรุปหลังเขียนเสร็จ ซึ่งหนึ่งใน Working Title ก็คือ The Garden in the Rain แต่หลังจากรับฟังบทเพลง Norwegian Wood (This Bird Has Flown) เลยตัดสินใจเลือก Norwegian Wood ภาษาญี่ปุ่น ノルウェイの森 อ่านว่า Noruwei no Mori แต่ทว่า 森, Mori ความหมายออกไปทางผืนป่า, Forest เสียมากกว่า!

เมื่อวางจำหน่ายกลายเป็นนวนิยายขายดี (Best-Selling) เฉพาะในญี่ปุ่นทำยอดขายปีแรกกว่าล้านเล่ม! (บางแหล่งข่าวบอกถึงสองล้าน ปัจจุบันเห็นว่าเกินสิบล้านไปแล้ว) ได้รับการแปลหลากหลายภาษาเกือบทั่วโลก ก่อเกิดปรากฎการณ์ Murakami แฟนคลับในญี่ปุ่นต่างรุมห้อมล้อม มาดักรอคอยยังสนามบิน ทำราวกับเขาเป็นดารา ซุปเปอร์สตาร์! เจ้าตัวเลยต้องอพยพหลบหนีออกนอกประเทศ ท่องเที่ยวยุโรป สหรัฐอเมริกา โหยหาความสงบสุข เรียบง่าย ไม่ได้ต้องการมีชื่อเสียงสักเท่าไหร่

ปล. Murakami เขียนนวนิยาย Norwegian Wood (1987) ระหว่างพำนักอาศัยอยู่อิตาลี มันเลยไม่เชิงเพราะความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้จึงต้องอพยพหลบหนีจากญี่ปุ่น

I actually wrote most of Norwegian Wood in Italy. So it’s not like I went there to run away from all the publicity. However, when the book became a bestseller, I felt like I could do without all the hassle of going back to Japan so I ended up staying in Italy for a long time.

Haruki Murakami

Trần Anh Hùng (เกิดปี 1962) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Vietnamese-French เกิดที่ Da Nang, South Vietnam ในช่วงสงคราม Vietnam War (1955-75) อพยพสู่ลาว ก่อนลี้ภัยไปฝรั่งเศส โตขึ้นระหว่างร่ำเรียนปรัชญา กระทั่งมีโอกาสรับชม A Man Escaped (1956) กำกับโดย Robert Bresson หันเหความสนใจมายังภาพยนตร์ ร่ำเรียนการถ่ายภาพ École nationale supérieure Louis-Lumière ทำงานเป็นตากล้อง กำกับหนังสั้น The Married Woman of Nam Xuong (1989), La pierre de l’attente (1991), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก The Scent of Green Papaya (1993)

ความสนใจของ Trần Anh Hùng ไม่ใช้การเล่าเรื่องแบบปกติทั่วๆไป พยายามมองหาวิธีสื่อสาร ภาษาภาพยนตร์รูปแบบใหม่ๆ ให้คำนิยามงานศิลปะ “Art is the truth wearing a mask” ท้าทายให้ผู้ชมครุ่นคิดค้นหาคำตอบของสิ่งที่หลบซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังหน้ากาก

ผู้กำกับ Trần Anh Hùng มีโอกาสอ่านนวนิยาย Norwegian Wood (1987) ฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1994 แล้วเกิดความชื่นชอบหลงใหล ถึงขนาดตั้งใจจะไม่อ่านผลงานเรื่องอื่นของผู้แต่ง Murakami จนกว่าจะได้ดัดแปลงสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้!

I read Norwegian Wood in 1994 and since then, every time I visited Japan I wanted to talk to someone about adapting it. But there was no one to talk to. It turned out that Murakami didn’t allow any movie adaptations of his books. Then about 5-6 years ago, the distributor (Sony Pictures) of my film Vertical Ray of the Sun, got in touch with me. They remembered my desire to adapt the book and told me that Murakami just allowed one of his short stories to be adapted, that it might be a good time to try again.

Trần Anh Hùng

ด้วยความที่ Murakai หึงหวงผลงานของตนเองอย่างมาก ไม่เคยอนุญาตให้ทำการดัดแปลงเป็นสื่ออื่น จนกระทั่งเรื่องสั้น Tony Takitani ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เมื่อปี ค.ศ. 2004 กำกับโดย Jun Ichikawa นั่นทำให้โปรดิวเซอร์เล็งเห็นความเป็นไปได้ จึงลองติดต่อนัดพบเจอผกก. Trần Anh Hùng เมื่อปี ค.ศ. 2004

Murakami protected his work. He’s quiet, very serious and very careful. He gave us two conditions. One is that he would like to see the script. The other is that he would like to know what the budget would be for the movie.

ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าหนังใช้งบประมาณเท่าไหร่ แต่ผกก. Trần Anh Hùng พัฒนาบทหนังนานถึง 4 ปี (คงรวมการสำรวจสถานที่ถ่ายทำด้วยกระมัง) ปรับเปลี่ยนรายละเอียดพอสมควรกว่าที่ Murakami จะยินยอมอนุญาตให้ดัดแปลง พร้อมอำนวยอวยพร เชื่อมั่นว่าผลลัพท์ต้องออกมาดี

After this exchange of comments and notes, Murakami said, ‘Go with the film you have in your head. What you have to do is make the most beautiful film possible.’

เท่าที่ผมอ่านความคิดเห็นแฟนคลับต้นฉบับนวนิยาย บ่นอุบถึงสองความเปลี่ยนแปลงที่ยินยอมรับไม่ค่อยจะได้

  • ในนวนิยายจะเต็มไปด้วยคำอธิบายรายละเอียด ความครุ่นคิดของตัวละคร (Inner Voice) ซึ่งภาพยนตร์ไม่สามารถทำเช่นนั้น ปรับเปลี่ยนมาใช้การเล่าเรื่องด้วยภาพเคลื่อนไหว (ภาษาภาพยนตร์) บางครั้งไม่มีคำอธิบายอะไรใดๆ
  • การลดบทบาท Midori ฉบับนวนิยายมีความสำคัญเทียบเท่า Naoko หลายครั้งยังเล่าเรื่องผ่านมุมมองของพวกเธอ, แต่ภาพยนตร์ทำเหมือนแค่เพียงตัวประกอบ (Side Charactor) สัมผัสไม่ได้ถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง และดำเนินเรื่องผ่านมุมมอง Watanabe เพียงผู้เดียว!

พื้นหลังทศวรรษ 1960, เรื่องราวของ Toru Watanabe (รับบทโดย Kenichi Matsuyama) หลังสูญเสียเพื่อนสนิท Kizuki จากการฆ่าตัวตาย กลายเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย Tokyo ระหว่างเดินเล่นในสวนสาธารณะ บังเอิญพบเจอกับ Naoko (รับบทโดย Rinko Kikuchi) แฟนของเพื่อนเก่า และรักครั้งแรกของตนเอง โดยไม่รู้ตัวเริ่มคบหาดูใจ จนกระทั่งวันเกิด 20 ปีของฝ่ายหญิง พวกเขาจึงร่วมเพศสัมพันธ์ ก่อนตระหนักว่าเธอยังเป็นสาวพรหมจรรย์ พลั้งปากสอบถามทำไมเธอไม่เคยร่วมรักกับเขา ทำเอาทั้งสองตกอยู่ในสภาพหดหู่สิ้นหวัง (Deep Depression)

เหตุการณ์วันนั้นทำให้ Naoko สูญหายตัวไปอย่างลึกลับ ก่อนพบว่าพักรักษาตัวอยู่สถานบำบัดกลางป่าแห่งหนึ่ง จึงมีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเยียนหลายครั้ง ขณะเดียวกัน Toru ก็ได้พบเจอเพื่อนนักศึกษาสาว Midori (รับบทโดย Kiko Mizuhara) เธอพยายามเข้าหา เกี้ยวพาราสี บังเกิดความสัมพันธ์อันดี แต่เขายังคงมีเยื่อใยให้กับรักครั้งแรกมากกว่า

หลังจาก Naoko เปิดเผยเหตุผลที่ตนเองไม่สามารถร่วมรักกับ Kizuki โดยไม่รู้ตัวขณะนั้นกำลังเกิดความรู้สึกเดียวกันกับ Toru และพอไม่สามารถเติมเต็มความรักให้กัน เธอจึงตัดสินใจกระทำอัตนิวิบาตกรรม สร้างความเศร้าโศกสิ้นหวัง ออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆทั่วญี่ปุ่น กรีดกราย ระบายอารมณ์คลุ้มคลั่ง หลังสงบสติอารมณ์ หวนกลับมาเริ่มต้นสานสัมพันธ์รักครั้งใหม่กับ Midori


Kenichi Matsuyama, 松山 ケンイチ (เกิดปี 1985) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Mutsu, Aomori โตขึ้นทำงานโมเดลห้างสรรพสินค้า Parco, จากนั้นมีผลงานละคอนซีรีย์ Gokusen (2002), ภาพยนตร์เรื่องแรก Bright Future (2003), โด่งดังกับบทบาท L แฟนไชร์ Death Note, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Detroit Metal City (2008), Norwegian Wood (2010), Gantz (2011), Satoshi: A Move for Tomorrow (2016) ฯ

รับบท Toru Watanabe หนุ่มหน้าใส มีความนุ่มนวลอ่อนไหว ตกหลุมรักครั้งแรก Naoko แต่ยินยอมหลีกทางให้เพื่อนสนิท Kizuki เพราะเห็นว่าพวกเขารับรู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก กระทั่งวันเกิดอายุ 17 โดยไม่มีใครทราบสาเหตุ Kizuki กระทำอัตวินิบาตกรรม สร้างความเจ็บปวด ชอกช้ำ ตัดสินใจออกเดินทางสู่ Tokyo ใช้ชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยอย่างเตร็ดเตร่ ไร้จุดหมาย ร่วมกับเพื่อนร่วมห้อง Nagasawa สลับคู่นอน เปลี่ยนหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า จนกระทั่งวันหนึ่งบังเอิญพบเจอ Naoko จึงเริ่มรื้อฟื้น สานความสัมพันธ์ เติมเต็มความต้องการของกันและกัน

ระหว่างการร่วมรักทำให้ Toru ตระหนักว่า Naoko ยังเป็นสาวบริสุทธิ์ จู่ๆตั้งคำถามทำไมถึงไม่เคยมีอะไรกับแฟนเก่า Kizuki โดยไม่รู้ตัวนั่นทำให้เธอเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกตนเอง ถึงขนาดต้องเข้ารักษาตัวยังสถานบำบัดกลางป่า สร้างความรู้สึกผิด ตระหนักถึงภาระรับผิดชอบ แม้ยังคงหลับนอนหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า แต่พยายามปิดกลั้นความรู้สึกดีๆที่มีต่อ Midori ควบคุมตนเองไม่ให้ปล่อยใจไปกับความรัก

หลายคนคงติดภาพจำ Matsuyama จากนักสืบอัจฉริยะ L ผู้มีความเฉลียวฉลาดปราชญ์เปรื่อง แต่สำหรับ Toru Watanabe ถือเป็นการพลิกบทบาทครั้งสำคัญ แม้หน้าใสๆ ดูละอ่อนเยาว์วัย แต่ภายในเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย (จากความตายของเพื่อนสนิท) ค้นพบวิธีระบายความรู้สึกอัดอั้นด้วยการหลับนอนหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า แบ่งแยกแยะออกจากความรักที่มีให้กับ Naoko แต่มันกลับพัฒนาสู่ความรู้สึกผิด กลายเป็นภาระรับผิดชอบ และตอนสูญเสียเธอไป ปฏิกิริยาสีหน้า ท่าทางกรีดร้อง ร่ำไห้ แม้ไม่ได้ยินเสียง แต่เป็นภาพที่สร้างความเจ็บปวดทรมานจิตใจ

หลายคนอาจมองว่าตัวละครนี้คือผู้ล่า ‘sexual predator’ แต่เราต้องแยกแยะให้ออกระหว่าง เพลย์บอย คาสโนว่า One Night Stand (ONS) หรือสลับคู่นอนที่เป็นการสมยินยอมระหว่างคนสอง(สาม)คน แตกต่างจากการถูกบีบบังคับ ล่อลวง ล่วงละเมิด หรือใช้ความรุนแรงทางเพศ (ต้องในลักษณะถึงสามารถเรียกว่า ‘sexual predator’)

ซีเควนซ์ที่ผมรู้สึกประทับใจการแสดงของ Matsuyama คือฉากที่ต้องเผชิญหน้า ตอบคำถามเรื่องการสลับคู่นอนกับ Hatsumi (แฟนสาวของ Nagasawa) เธอพยายามบดขยี้ แสดงสีหน้าไม่พึงพอใจ ทำไมผู้ชายหน้าตาดีๆกลับทำตัวต่ำตม สกปรกโสมม … นั่นเพราะเธอไม่เข้าใจเหตุผล ตัดสินคนแค่เปลือกภายนอก เพียงการกระทำของอีกฝ่าย

คนที่อ่านนวนิยายมักแสดงความคิดเห็นว่า Toru เป็นตัวละครที่เศร้าสลด น่าสงสารเห็นใจ แต่ฉบับภาพยนตร์กลับให้อิสรภาพผู้ชมในการขบครุ่นคิด ตัดสินการกระทำ … โดยส่วนตัวมองว่าแบบหลังเป็นความท้าทาย และไม่จำเพาะเจาะจงว่าเราต้องรู้สึกเห็นใจตัวละครเพียงอย่างเดียว คุณรู้สึกอย่างไรกับเรื่องราวของชายคนนี้???


Rinko Kikuchi, 菊地 凛子 (เกิดปี 1981) นักแสดงหญิงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Hadano, Kanagawa เมื่อตอนอายุ 15 ปี ได้รับชักชวนเข้าสู่วงการโดยแมวมอง ทดสอบหน้ากล้องได้บทสมทบ Will to Live (1999) ของผู้กำกับ Kanade Shindo, พอมีชื่อเสียงกับ The Taste of Tea (2004), กระทั่งได้รับเลือกให้แสดง Babel (2006) กลายเป็นนักแสดงญี่ปุ่นคนแรกได้เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actress, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Norwegian Wood (2010), Pacific Rim (2013) ฯ

รับบท Naoko หญิงสาวผู้มีความเปราะบาง ตั้งแต่เด็กรับรู้จักกับ Kizuki ค่อยๆแปรสภาพสู่ความรัก แต่มันกลับทำให้เธอไร้อารมณ์ร่วม เจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ นั่นอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ชายคนรักตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม สร้างความห่อเหี่ยว เปล่าเปลี่ยว ตกอยู่ในความสิ้นหวัง จนกระทั่งมีโอกาสหวนกลับมาพบเจอ Toru พูดคุยสานสัมพันธ์ โดยไม่รู้ตัวบังเกิดอารมณ์ทางเพศ สูญเสียความบริสุทธิ์ในค่ำคืนวันเกิด 20 ปี

เหตุการณ์ดังกล่าวยิ่งสร้างความเจ็บปวดชอกช้ำ ทำไมฉันไม่สามารถมีอะไรกับชายคนรัก แต่กลับเต็มไปด้วยอารมณ์ร่านราคะกับเพื่อนอีกคน แสดงอาการคลุ้มคลั่ง พยายามคิดสั้นฆ่าตัวตาย ก่อนถูกส่งไปรักษาตัวยังสถานบำบัดกลางป่า ค่อยๆกลับมาสานสัมพันธ์กับ Toru โดยไม่รู้ตัวสถานการณ์แบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับ Kizuki หวนกลับมาอีกครั้ง (ตกหลุมรัก Toru ทำให้ไม่มีอารมณ์ทางเพศ ไม่สามารถร่วมรักกับเขา) นั่นทำให้เธอตกอยู่ในสภาพหดหู่ สิ้นหวัง ตรอมใจ ยินยอมรับความพ่ายแพ้ในที่สุด

เพราะภาพจำจาก Babel (2005) ทำให้ผกก. Trần Anh Hùng ไม่มีความสนใจในตัว Kikuchi แต่เธอพยายามพูดคุยติดต่อจนมีโอกาสเข้าทดสอบหน้ากล้อง ทำออกมายอดเยี่ยมเกินความคาดหมาย จนผู้กำกับก็ไม่สามารถปฏิเสธได้

When I was a teenager and read the book, I was really in Haruki’s world. I loved his feelings – the fragility, the danger and the beauty. I found it poetic. But as I’ve gotten older I feel like I’m completely different from Naoko’s character. I’m a lot tougher and not fragile anymore. We’re coming from opposite sides now and I could play Naoko because I don’t understand her feelings anymore. If I was closer to her, then it would be more difficult.

Rinko Kikuchi

เอาจริงๆผมว่าบทบาทจาก Babel (2005) ช่วยเสริมตัวตนของ Kikuchi หญิงสาวกล้าพูด กล้าแสดงออกเรื่องเพศ มองผิวเผินเหมือนยัยแรดร่าน แต่ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจปัญหา ความเปราะบางของเธอ “ความรัก ≠ เพศสัมพันธ์” เพราะไม่สามารถเติมเต็มรสรัก ทำให้รู้สึกผิดหวังในตนเอง เก็บมาหมกมุ่น ครุ่นคิดมาก อัดอั้นทุกข์ทรมาน ไร้หนทางระบายความรู้สึกภายใน มันจึงกลายเป็นระเบิดเวลาที่พร้อมทำลายทุกสิ่งอย่าง

สำหรับบุรุษ มันอาจไม่ใช่เรื่องยากที่จะเป็นเพลย์บอย เที่ยวซ่องโสเภณี ปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศ ระบายความอึดอัดอั้นภายในออกมา แต่สำหรับสตรีกลับถูกหักห้าม ไม่ให้การยินยอมรับ สังคมตีตรา เรียกว่าสำส่อนทางเพศ แนวคิดดังกล่าวคือเป็นการปิดกั้น ใช้ข้ออ้างศีลธรรมควบคุมครอบงำ ไร้ซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม(ทางเพศ) … นี่ก็อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Naoko มิอาจอดรนทนต่อความคาดหวังของสังคม

หลายคนอาจรู้สึกกระอักกระอ่วนเมื่อตอน Naoko เปิดเผยเหตุผลที่ไม่สามารถร่วมรักกับ Kizuki แต่นั่นเพราะคุณยังมีอคติ รับไม่ได้ต่อการแสดงออกเรื่องทางเพศของผู้หญิง สำหรับผมแล้วนั่นคือฉากทรงพลังพอๆกับการ “Coming Out” เปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศสู่สาธารณะ นี่ไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย เราควรแสดงความเชื่อมั่น ให้การยินยอมรับ และมอบกำลังใจให้อีกฝ่าย อย่าไปรับฟังเสียงเห่าหอนของหมูหมากาไก่


Kiko Mizuhara, 水原 希子 ชื่อจริง Audrie Kiko Daniel (เกิดปี 1990) นักร้อง นักแสดง นางแบบ แฟชั่นดีไซน์เนอร์ สัญชาติ American-Korea-Japanese เกิดที่ Dallas, Texas บิดาเป็นชาวอเมริกัน ส่วนมารดาถือสัญชาติ Zainichi Korean (ชาวเกาหลีอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น) เดินทางมาปักหลักอยู่ญี่ปุ่นตั้งแต่สองขวบ, เมื่ออายุ 12 ปี เข้าร่วมการประกวดนิตยสารแฟชั่น Seventeen ได้รับเลือกเป็น Miss Seventeen จากนั้นกลายเป็นนางแบบ แฟชั่นโชว์ เข้าสู่วงการภาพยนตร์ Norwegian Wood (2010), Attack on Titan (2015) ฯ

รับบท Midori Kobayashi เพื่อนนักศึกษาร่วมชั้น วันหนึ่งเข้ามานั่งพูดคุยกับ Toru หยอกล้อ ทีเล่นทีจริง นิสัยง่ายๆ ร่าเริงสดใส เบิกบานด้วยรอยยิ้ม เป็นใครคงตกหลุมรัก แต่เพราะเขาติดพันอยู่กับ Naoko จึงพยายามหักห้ามตนเอง ไม่ปล่อยใจไปกับความรู้สึกดีๆ จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม

They’d done around 100 auditions for the role of Midori and hadn’t found anyone suitable. I was invited to meet Trần Anh Hùng as my expressions supposedly matched the character. I told him I’d never acted before but he liked my vibe and after three auditions I got the part.

Kiko Mizuhara

ภาพลักษณ์ของ Mizuhara ต้องถือว่ารู้จักแต่งหน้าทำผม ออร่าเปร่งประกาย เฉิดฉายดั่งแสงตะวัน แต่การแสดงยังดูเกร็งๆ ขาดๆเกินๆ ก็แน่ละนี่คือภาพยนตร์เรื่องแรก ออดิชั่นผ่านเพราะความบุคลิกภาพคล้ายตัวละคร ไม่ใช่ทักษะด้านการแสดงที่เริ่มต้นจากศูนย์

During filming, the director was very strict and purposefully said mean things to me. There would be 50 takes, but then he’d end up using the first one. He did it so I’d learn and improve. I was extremely nervous, but in many ways, it was the best movie I could have asked for as my first.

Midori เปรียบดั่งกระจก/ภาพสะท้อน Naoko ทั้งความครุ่นคิด อุปนิสัยใจคอ ปฏิกิริยาแสดงออก ล้วนมีความแตกต่างตรงกันข้าม แต่เบื้องหลังของทั้งสองกลับละม้ายคล้ายคลึง พานผ่านประสบการณ์สูญเสียคนใกล้ตัว ภายในยังคงเจ็บปวดทุกข์ทรมาน … ผู้ชมสามารถสัมผัสถึงความเจ็บปวดภายในของ Naoko แต่ขณะที่ Midori พยายามแสดงความเข้มแข็ง ปฏิเสธเปิดเผยด้านอ่อนแอของตนเองให้ใครพบเห็น (ไม่ยินยอมให้ Toru ไปร่วมงานศพบิดา)

ปล. เหตุผลที่ผกก. Trần Anh Hùng ตัดสินใจเลือกนักแสดงหน้าใหม่ Kiko Mizuhara อาจเพราะต้องการให้เกิดความแตกต่างตรงกันข้ามกับ Rinko Kikuchi ผู้มากด้วยประสบการณ์

แฟนนิยายส่วนใหญ่ไม่ค่อยพึงพอใจที่บทบาทของ Midori ถูกลดทอนลงอย่างมากๆ จนเหมือนเป็นเพียงตัวเลือก/ตัวประกอบ (Side Character) ไม่ได้สานสัมพันธ์จนสนิทชิดเชื้อ หรือสร้างความรู้สึกขัดแย้งใดๆให้เกิดกับ Toru … แต่ผมกลับชอบทิศทางของหนังมากกว่า เพราะมันชัดเจนอยู่แล้วว่า Midori คือผู้มาทีหลัง ต่อให้สนิทสนม เข้ากันได้สักเพียงไหน ก็ยังมิอาจแบ่งปันหัวใจเพราะยังมีเยื่อใยติดอยู่กับรักครั้งแรก (ถ้าทำให้เรื่องราวของ Midori โดดเด่นมากเกินไป มันจะแปรสภาพจากรักสามเส้าสู่คบชู้นอกใจ)


ถ่ายภาพโดย Mark Lee Ping-bing, 李屏賓 (เกิดปี 1954) ตากล้องสัญชาติ Taiwanese เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 ก่อนกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Hou Hsiao-hsien ตั้งแต่ The Time to Live and the Time to Die (1985), ผลงานเด่นๆ อาทิ Dust in the Wind (1987), The Puppetmaster (1993), Summer Snow (1995), Flowers of Shanghai (1998), The Vertical Ray of the Sun (2000), In the Mood for Love (2000), Springtime in a Small Town (2002), After This Our Exile (2006), The Sun Also Rises (2007), Norwegian Wood (2010), The Assassin (2015) ฯ

ความโดดเด่นของ Mark Lee Ping-bing เชี่ยวชาญในการถ่ายภาพด้วยแสง-เงาจากธรรมชาติ เต็มไปด้วยชั้นเชิงของแสง มิติตื้นลึกหนาบาง (lustrous layers of light and darkness that provide incredible depth and space) โดยเฉพาะภาพทิวทัศน์ที่สามารถสร้างสัมผัสทางอารมณ์ รวมถึงการใช้โทนสีสัน และลีลาการเคลื่อนกล้องมีความชดช้อย สง่างาม

We worked together on Vertical Ray of the Sun and I really wanted him again for the project. When he moves his camera, the psychology of the characters are always on his mind. That aspect of him is quite precious to me. And he is like a big brother. When I’m ever in doubt and need a shoulder to cry upon, he’s there for me.

Trần Anh Hùng

ด้วยความที่ผกก. Trần Anh Hùng เป็นชาวเวียดนาม สื่อสารภาษาฝรั่งเศส การถ่ายทำในญี่ปุ่นจึงต้องใช้ล่ามแปลภาษา เห็นว่าทำงานหนักมากจนร่ำร้องไห้ออกมา เพราะหลายครั้งผู้กำกับจงใจให้แปลคำพูดหยาบคาย ในเชิงดูถูกเหยียดหยาม เพื่อกระตุ้นนักแสดงสำหรับพัฒนาตนเอง (เหมือนว่า Kiko Mizuhara จะโดนหนักสุด เพราะไม่เคยประสบการณ์ด้านการแสดงมาก่อน)

ต้นฉบับนวนิยายล้วนอ้างอิงสถานที่จริง ที่ซึ่งผู้แต่ง Murakami เคยใช้ชีวิต พักอาศัย ร่ำเรียนมหาวิทยาลัย (เป็นการเลือนลางระหว่างเรื่องแต่งกับสถานที่จริง) ผมค้นในอินเตอร์เน็ตพบเจอหลายเว็บไซด์ที่พาออกสำรวจสถานที่เหล่านั้นที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน (อารมณ์ประมาณตามรอยอนิเมะ แต่ในบริบทนี้ต้องเรียกว่าตามรอยนวนิยาย)

นี่อาจเป็นอีกเหตุผลกระมังที่แฟนๆนิยายค่อนข้างต่อต้านภาพยนตร์ เพราะผกก. Trần Anh Hùng ทำการปรับเปลี่ยนหลายๆสถานที่ถ่ายทำ พยายามมองสถานที่ที่มีบรรยากาศสอดคล้องเข้ากับ Mood & Tone ยกตัวอย่างสถานบำบัด (Sanatorium) ในนวนิยายระบุว่า Ami Hostel ตั้งอยู่ยัง Kyoto (สถานที่สมมติ), ภาพยนตร์ปรับเปลี่ยนมาเป็น Tonomine & Mineyama Highlands ตั้งอยู่ยัง Hyogo Prefecture ย่านที่มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ (Miscanthus sinensis หรือ Silver Grass) และทิวเขาสลับซับซ้อน


ภาพแรกของหนัง ผมพยายามค้นหาข้อมูลแต่ไม่พบเจอว่าโปสเตอร์ภาพยนตร์อะไร สังเกตจากสองหนุ่ม Toru vs. Kizuki กำลังใช้ไม้ไอติม ทำท่าเหมือนดวลดาบ (คงเป็นแนวซามูไร) ต่อสู้เพื่อแก่งแย่งชิง Naoko และผู้ชนะเหมือนจะคือ Kizuki ได้ดูดแท่งไอติมจากปากของแฟนสาว

ภาพถัดมาพบเห็น Kizuki ดำผุดดำว่าย ถ่ายใต้พื้นผิวน้ำ (อาจต้องการสื่อถึงบางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้/ในจิตใจ) ก่อนทะยานตัวขึ้นมายืนเคียงข้างแฟนสาว (Naoko แอบอิงพิงหลัง Kizuki ภาษากายสื่อถึงการมีชายคนรักเป็นที่พึ่งพักพิง) แต่สังเกตจากสีหน้าของเขา ดูอมเศร้า เหงาทุกข์

ฟลามิงโก (Flamingo) เป็นสัญลักษณ์แทนความรัก กล้องถ่ายติด Kizuki และ Naoko ยืนใกล้ชิดตัวติดกัน ฝ่ายหญิงดูมีรอยยิ้ม อิ่มอกอิ่มใจ ใบหน้าฝ่ายชายกลับดูเศร้าๆ เหงาๆ ก่อนที่ Toru จะเดินเข้ามา อยากเป็นมือที่สาม แต่มิอาจเข้าแทรกระหว่างกลาง

เกมสนุกเกอร์ก็เฉกเช่นเดียวกัน Toru ยินยอมรับความพ่ายแพ้ต่อ Kizuki แต่สังเกตว่าหนังไม่ถ่ายให้เห็นรายละเอียดบนโต๊ะสนุ๊ก แพ้ชนะอะไรกันยังไง เพียงจับจ้องตัวละคร และพูดบอกผลลัพท์บังเกิดขึ้น ทำราวกับมีบางสิ่งอย่างถูกปกปิด ซ่อนเร้น ยังไม่ใช่เวลาเปิดเผยมันออกมา

เห็นว่าต้นฉบับนวนิยายก็ไม่เคยมีการอธิบายเหตุผล ทำไม Kizuki ถึงกระทำอัตวินิบาต? ฆ่าตัวตายด้วยการรมท่อไอเสียรถยนต์? แต่นี่คือวิธีการสุดแสนทรมาน ต้องใช้ความอดกลั้น ฝืนทน ซึ่งเจ้าตัวยังเปลี่ยนที่นั่งจากย้ายไปเบาะหลัง ตำแหน่งไกลจากท่อไอเสีย (จะมองว่ายังไม่อยากตาย หรือต้องการตายช้าๆ ให้ทุกข์ทรมานมากที่สุด)

เหตุผลที่คนส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นกันก็คือ Kizuki ไม่สามารถเติมเต็มความรักให้กับ Naoko พูดง่ายๆก็คือถูกเธอปฏิเสธร่วมเพศสัมพันธ์ เพราะยังเป็นวัยรุ่น เลยไม่เข้าใจเหตุผล ขาดความอดทน เกิดอารมณ์ลุ่มร้อนรน ไร้หนทางระบายความรู้สึกคลุ้มคลั่งสุมอยู่ภายใน

แมงมุม ตามความเชื่อชาวญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณกาล คือสัตว์สัญลักษณ์แห่งความโชคดี ผู้ส่งสาสน์ของพระพุทธเจ้า ใยแมงมุมยังคือสิ่งเชื่อมโยงระหว่างโลกนี้กับโลกหน้า … นี่สามารถสื่อถึงความตายของ Kizuki น่าจะได้ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดีกว่า (แต่การฆ่าตัวตายนี่ลงนรกร้อยเปอร์เซ็นต์!)

อันนี้ผมไม่รู้ว่าต้นฉบับนวนิยายมีคำอธิบายการชุมนุม ประท้วง เคลื่อนไหวเรียกร้องอะไร? แต่ในบริบทของหนัง ความวุ่นๆวายๆที่บังเกิดขึ้นนี้ สามารถใช้เปรียบเทียบแทนความรู้สึกตัวละคร Toru ภายหลังสูญเสียเพื่อนสนิท แม้สามารถสอบเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย แต่จิตใจยังคงสับสน วุ่นวาย ไม่เข้าใจว่ามันเกิดห่าเหวอะไร ทำไม Kizuki ถึงกระทำอัตวินิบาต?

การชุมนุม เดินขบวน ประท้วงเรียกร้องสิทธิโน่นนี่นั่น คือกระแสนิยมที่ไม่ใช่แค่ประเทศญี่ปุ่น แต่ถือเป็นเทรนด์แฟชั่นพบเจอแทบจะทั่วทุกมุมโลกในช่วงทศวรรษ 60s-70s ซึ่งผู้แต่ง Murakami แน่นอนว่ายังคงจดจำบรรยากาศดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจอย่างมากๆ

ก่อนที่จะร่วมกับภรรยาเปิดร้าน Coffee House & Jazz Bar ผู้แต่ง Murakami เคยทำงานพาร์ทไทม์ร้านแผ่นเสียงในย่าน Shinjuku เลยไม่น่าแปลกใจที่จะมีการอ้างอิงถึง

ทุกครั้งที่ Toru หลับนอนกับหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า One Night Stand (ONS) สังเกตว่ากล้องมักเคลื่อนเลื่อนผ่านอะไรสักสิ่งอย่างที่มีความระยิบระยับ สะท้อนแสง ซึ่งจะคอยบดบังทัศนียภาพ ความทรงจำเลือนลาง พานผ่านมาแล้วก็พานผ่านไป สิ้นสุดค่ำคืนนี้ก็อาจไม่พบเจอกันอีก

ความบังเอิญที่ Toru พบเจอ Naoko ถ้าเป็นนวนิยายคงเต็มไปด้วยข้อความบรรยายความครุ่นคิด (Inner Voice) รับรู้สึกอะไรยังไง บังเกิดอารมณ์โน่นนี่นั่นขึ้นมากมายหลายย่อหน้ากระดาษ

แต่ภาพยนตร์หลังจากคำทักทาย พวกเขาก็ก้าวออกเดิน กล้องเคลื่อนเลื่อนติดตาม แพนนิ่งระหว่างข้ามสะพาน (สัญลักษณ์แทนความสัมพันธ์ที่กำลังผันแปรเปลี่ยน) บดบังด้วยกิ่งก้านใบไม้ พร้อมสรรพเสียงลำเนาไพร เท่านี้ก็เพียงพอให้ผู้ชมสามารถเติมเต็มจินตนาการ เข้าใจความรู้สึกของทั้งสองโดยไม่ต้องใช้คำพูดบรรยายใดๆ

สถานที่ที่ทั้งสองก้าวออกเดินคือสวนสาธารณะ Komagome Park, Tokyo มาหยุดยืนยังต้นไม้ใหญ่, สังเกตภาพช็อตนี้ กล้องแทนมุมมองบุคคลที่หนึ่งของ Toru ซึ่งบางครั้งสายตา Naoko หันมาสบตาหน้ากล้อง (Breaking the Fourth Wall) จากนั้นแหงนมองต้นไม้สูงใหญ่ ราวกับจะสื่อถึงว่าเขากำลังจักกลายเป็นเหมือนต้นไม้/สถานที่พึ่งพักพิงทางใจแห่งใหม่

ค่ำคืนวันเกิดครบรอบ 20 ปีของ Naoko สังเกตว่าตลอดทั้งซีเควนซ์อาบฉาบด้วยแสงสีน้ำเงิน กอปรกับสภาพอากาศภายนอก ฝนก็กำลังตกพรำ ยิ่งทำให้รู้สึกหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก และสังเกตว่าระหว่างร่วมเพศสัมพันธ์ แม้ทั้งสองนอนลงกับพื้น ‘Man on Top’ แต่กล้องกลับตั้งเอียงๆ ถ่ายภาพเฉียงๆ เพื่อให้ดูเหมือนเสมอภาคเท่าเทียม (แต่อาจจะสื่อถึงความสัมพันธ์ที่มันบิดๆเบี้ยวๆ เกิดความขัดแย้งภายใน) ใบหน้าซ้อนทับ กลายเป็นหนึ่งเดียว เติมเต็มความต้องการของกันและกัน (ไม่ใช่เพศสัมพันธ์ที่ตอบสนองกามารมณ์เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง)

แซว: ของขวัญของ Toru ดูจากรูปลักษณะน่าจะคือแผ่นเสียง ซึ่งคาดเดาไม่ยากว่าเพลงอะไร … มันจะเป็นบทเพลงอื่นได้อย่างไง?

หลังจากค่ำคืนนั้น Naoko ได้สูญหายตัวไปอย่างลึกลับ เมื่อตอนที่ Toru รับรู้จากโทรศัพท์ สังเกตแสงจากภายนอกมีความฟุ้งๆ สว่างจร้ากว่าปกติ ตามด้วยร้อยเรียงภาพการทำงานในโรงงาน ที่ทั้งหนวกหู(จากเสียงเครื่องจักร) และดูเหน็ดเหนื่อย ยากลำบาก เหล่านี้สะท้อนสภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจตัวละคร เต็มไปด้วยความเก็บกด อัดอั้น ทุกข์ทรมานจากการหายตัวไปของเธอ

หลายวันถัดมาเมื่อ Toru ได้รับจดหมายจาก Naoko ระหว่างการอ่านจะเดินวกไปวนมา พานผ่านห้องซ้อมดนตรี กล้องเคลื่อนติดตามจากห้องหนึ่งไปสู่อีกห้องหนึ่ง เรียกว่าไม่สนใจห่าเหวอะไรรอบข้าง เพราะเธอคือทุกสิ่งอย่าง โลกทั้งใบให้เธอคนเดียว (จริงๆมันต้อง โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (พ.ศ. ๒๕๓๘))

แต่ตอนจบของซีนอ่านจดหมายด้วย Toru กลับไปโผล่ยังน้ำตกแห่งหนึ่ง บรรยากาศโดยรอบมีความผ่อนคลาย สายน้ำสาดกระเซ็น เหมือนชีวิตได้รับการปลดปล่อยจากความเก็บกด อึดอั้น ทุกข์ทรมานจากการหายตัวไปของ Naoko

เมื่อตอนที่ Toru หวนกลับมาพบเจอ Naoko เห็นเธอยืนชื่นชมธรรมชาติอยู่ตัวคนเดียว หลังจากพูดคุยทักทาย พากันก้าวออกเดิน รับฟังสรรพเสียงลำเนาไพร ไปจนถึงปลายทางต้นไม้ใหญ่, ตรงกันข้ามกับ Midori เป็นผู้เข้าหา Toru นั่งอยู่ในโรงอาหาร รายล้อมรอบด้วยผู้คน หลังรับประทานอิ่มหนำ (น่าจะอีกวัน) ก้าวออกเดิน ก่อนหยุดลงบริเวณร่มเงาไม้ เตรียมหลับนอนกลางวัน

จริงๆมันยังมีรายละเอียดอื่นๆอีกที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม อาทิ สีเสื้อผ้า (Toru สวมชุดลายแดงตอนพบ Naoko, เปลี่ยนเป็นสีฟ้าขณะอยู่กับ Midori ฯ) ลีลาเคลื่อนเลื่อนกล้อง รวมถึงเป้าหมายปลายทาง จากภาพถ่ายมุมมองบุคคลที่หนึ่ง เปลี่ยนมาเป็นมุมมองบุคคลที่สาม (สามารถสะท้อนความรู้สึกที่ Toru มีต่อหญิงสาวทั้งสอง มุมมองบุคคลที่หนึ่งคือฉันตกหลุมรัก ส่วนมุมมองบุคคลที่สามราวกับบุคคลนอก)

ขณะที่ห้องพักของ Naoko ปกคลุมด้วยโทนสีน้ำเงินเข้ม นอกจากแสงเทียนเค้กวันเกิด แทบสัมผัสไม่ได้ถึงบรรยากาศอบอุ่น, ตรงกันข้ามกับบ้านของ Midori มีความโปร่งโล่ง กว้างขวาง โทนฟ้าอ่อนๆแทรกแซมด้วยแสงไฟส้ม (ภายนอกฝนพรำลงมาเช่นกัน) บรรยากาศดูผ่อนคลาย สบายตากว่า

ตอนร่วมรักกับ Naoko มีความรุนแรง กระแทกกระทั้น ก่อนที่ Toru จะพูดคำบางคำสร้างความเจ็บแปลบทรวงใน, สำหรับ Midori นี่น่าจะแค่จุมพิตแรก (มุมกล้องถ่ายหน้าตรง สะท้อนความสัมพันธ์ที่ไม่ได้บิดๆเบี้ยวๆเหมือน Toru กับ Naoko) ก่อนเธอพูดบอก “I’m dating someone else.” มันอาจไม่รุนแรงเท่าประโยคนั้น แต่ราวกับผลกรรมสนองตามสนอง ทำให้เขารู้สึกสับสน แอบเจ็บหัวใจ คบหาคนอื่นอยู่แล้วยังมาอ่อยเหยื่อ เกี้ยวพาราสีฉันทำไม?

เพราะไม่ใช่วันเกิด Toru เลยไม่ได้มอบของขวัญ แผ่นเพลง Norwegian Wood แต่ Naoko กลับหาโอกาสเดินทางแวะไปเยี่ยมเยียนยังร้านขายแผ่นเสียง สถานที่ทำงานพาร์ทไทม์ เดินเลือกหาแผ่นที่ตนเองชื่นชอบโปรดปราน … แล้วก็ค้างคาไว้แบบนั้นแหละ ไม่ได้มีบทสรุปว่าซื้อไม่ซื้อ เลือกแผ่นเพลงอะไร หรือใครเป็นผู้จ่ายเงิน

วันหนึ่งระหว่างกำลังซักผ้า Toru ได้รับจดหมายจาก Naoko พร้อมแล้วที่จะนัดหมาย พบเจอหน้ากันอีกครั้ง เขาจึงรีบออกเดิน วิ่งขึ้นบันได กล้องแพนติดตามตัวละครจากชั้นล่าง ค่อยๆเงยขึ้น และหมุนวนรอบ 360 องศา นี่ไม่ได้จะให้ผู้ชมเกิดอาการสับสนมึนงง แต่คือความเร่งรีบร้อนรน กระตือรือล้นอยากพบเธอให้เร็วที่สุด ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับช็อตถัดไป (คาดว่าน่าจะ) ถ่ายจากหลังรถระหว่างกำลังขับขึ้นอุทยาน พบเห็นผืนป่า ขุนเขา เคลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

หลายคนน่าจะมีความเข้าใจผิดๆ (ผมเองก็เช่นกัน) ว่าสถานที่ที่ Naoko พักรักษาตัว สถานบำบัดกลางขุนเขา ตั้งอยู่ในผืนป่าชื่อว่า Norwegian Wood เอาจริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ มันไม่เคยมีป่าชื่อนี้ทั้งในญี่ปุ่น นอร์เวย์ หรือแห่งหนไหนบนโลก เป็นเพียงคำสมมติขึ้นเท่านั้น … เดี๋ยวเหตุผลจริงๆที่ John Lenon ตั้งชื่อบทเพลงนี้จะมีอธิบายไว้ช่วงท้าย

แต่ผมว่ามันก็ไม่อะไรที่จะมองสถานที่แห่งนี้คือ Norwegian Wood ถ้าจะให้นิยามความหมาย คงคือสถานที่สำหรับพักผ่อน คลายความวิตกกังวล ไม่เชิงว่าเป็นป่า Zen แต่สามารถทำให้เกิดความสงบร่มเย็น รักษาอาการป่วยทางจิตใจ

หลายต่อหลายช็อตที่ถ่ายภาพ Naoko เคียงคู่ เคียงข้าง ทิศทางตรงกันข้าม เอาว่ามักอยู่ร่วมเฟรมเดียวกับ(อดีต)ครูสอนเปียโน Reiko นี่แสดงให้ถึงความสนิทสนม ชิดเชื้อ เหมือนว่าพวกเธอเคยพานผ่านอะไรๆมาคล้ายๆกัน จะมองว่า Sismance (คำตรงข้ามกับ Bromance) ก็ได้กระมัง

มันจะมีช็อตหนึ่ง (ภาพกลาง) ยามค่ำคืน กิจกรรมรอบกองไฟ Naoko นั่งหันหน้าทิศทางตรงกันข้ามกับ Reiko จากนั้นกล้องค่อยๆเคลื่อนไหลจนใบหน้าทั้งสองซ้อนทับ ราวกับเป็นหนึ่งเดียวกัน! นี่ชวนให้ผมนึกถึง Persona (1966) ของผกก. Ingmar Bergman ขึ้นมาโดยพลัน!

พอกล่าวถึงใบหน้าซ้อนทับ ก็พบว่าตั้งแต่ที่ Toru เดินทางมาเยี่ยมเยียน Naoko มีหลายช็อตที่ใบหน้าพวกเขามีความเหลื่อมล้ำ (ก่อนหน้านี้จะมีแค่ฉาก Sex Scene ที่ใบหน้าพวกเขาซ้อนทับกัน) ซึ่งในบริบทนี้คือการโหยหากันและกัน ต้องการเติมเต็มรสรัก แต่กลับมีมือที่สามขวางกัน

แซว: เมื่อตอนอารัมบทต้นเรื่อง Toru ถือเป็นมือที่สามของ Kizuki & Naoko, มาคราวนี้ Reiki ถือเป็นมือที่สามของ Toru & Naoko (จะมีหลายช็อตถ่ายภาพสามตัวละคร ต่างคนต่างหันหน้าสามทิศทาง)

มันอาจดูเหมือนการเลียหัวนม และ Naoko ยกมือ Toru มาวางบนหน้าอก แต่นั่น(น่าจะ)คือตำแหน่งของ ‘หัวใจ’ เป็นความต้องการสัมผัสความรู้สึกภายในของกันและกัน

ซึ่งหลังจากที่ Naoko ทำให้อยากแล้วจากไป Toru จึงจำต้องลุกขึ้นมาสงบสติอารมณ์ สังเกตว่ากล้องถ่ายผ่านโมบายคริสทัล (พอเดินไปอีกห้องก็ยังถ่ายติดรั้วไม้) นั่นคือสิ่งกั้นแบ่งความสัมพันธ์ หรือจะมองว่าสะท้อนความรู้สึกตัวละคร เหมือนติดกับดัก ไร้หนทางออก ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป

ยามเช้าตรู่ Naoko ปลุก Toru พากันก้าวเดินผ่านต้นไม้สูงใหญ่ (ถ่ายย้อนแสงอาทิตย์ ทำให้พบเห็นลำแสงฟุ้งกระจาย) พานผ่านอุปสรรคขวากหนาม สิ่งกีดกั้นขวางภายในหัวใจ ออกมาถึงท้องทุ่งหญ้าเขียวขจี สถานที่แห่งการปลดปล่อย ระบายความรู้สึก เปิดเผยเหตุผลถึงการยังเป็นสาวบริสุทธิ์ จนกระทั่งวันเกิดครบรอบ 20 ปี!

เมื่อมาถึงท้องทุ่งหญ้าเขียวขจี (แต่ไม่มีแสงแดด เพียงละอองหมอกขมุกขมัว) ทิศทางก้าวเดินของ Naoko และ Toru (ถ่ายทำแบบ Long Take) เดี๋ยวไปซ้ายที สลับมาขวาที ล้วนมีนัยยะเคลือบแอบแฝง

  • เดินจากขวาไปซ้าย (←) Naoko อธิบายเหตุผลที่ตนเองยังเป็นสาวบริสุทธิ์
  • เดินจากซ้ายไปขวา (→) หลังการจากไปของ Kizuki เมื่อได้หวนกลับมาพบเจอ Toru ทำให้เธอเกิดอารมณ์ทางเพศ แล้วสามารถร่วมเพศสัมพันธ์
    • นี่น่าจะเป็นทิศทางที่ Naoko สวนความรู้สึก ไม่อยากให้บังเกิดขึ้น
  • วกกลับมาขวาไปซ้าย (←) Naoko พร่ำรำพันถึงอดีตคนรัก ความพิเศษที่มีให้กับ Kizuki
  • เมื่อมิอาจอดกลั้นฝืนทน Naoko จึงพยายามวิ่งหลบหนีขึ้นด้านบน (↑) แต่ทว่า Toru ก็ติดตามไปหยุดยับยั้ง กอดรัดฟัดเหวี่ยงให้สงบสติอารมณ์
    • เพราะไม่สามารถตัดสินใจเลือกทิศทางไหนในชีวิต Naoko จึงก้าวออกนอกกรอบ คลุ้มคลั่งเสียสติ เลยต้องพักรักษาตัวอยู่สถานบำบัดแห่งนี้

หลังจาก Naoko สามารถสงบสติอารมณ์ พวกเขาก็เดินกลับบ้านพัก แต่แทนที่จะถ่ายย้อนแสงต้นไม้ใหญ่แบบตอนต้นซีเควนซ์ (นี่ก็เลยรุ่งสางมามาก) กลับเป็นภาพมุมสูงจากเบื้องบนก้มลงมา (สลับทิศทาง หันหลังให้พระอาทิตย์)

ผมมีคำเรียกช็อตลักษณะนี้ว่า “John Ford’s Shot” บันทึกภาพระหว่างที่เงาก้อนเมฆ เคลื่อนพานผ่านท้องทุ่งกว้างใหญ่ มักแฝงนัยยะถึงบางสิ่งอย่างกำลังผันแปรเปลี่ยนเปลี่ยน ซึ่งภาพนี้ปรากฎขึ้นกึ่งกลางหนังพอดิบดี สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง Toru & Naoko ได้ดำเนินมาถึงจุดเปลี่ยน ครึ่งแรก-หลัง

หลังจากภาพนี้ก็ยังพบเห็นสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง พัดพากระแสลมแรงระหว่างที่ Toru & Naoko กำลังพรอดรัก เกี้ยวพาราสี แล้วจู่ๆเธอช่วยให้เขาสำเร็จความใคร่ กอดจูบลูบไล้ แต่ไม่สามารถร่วมเพศสัมพันธ์ … นี่เป็นการย้อนรอยความสัมพันธ์ระหว่าง Kizuki & Naoko ขอให้อีกฝ่ายอดกลั้นฝืนทน เฝ้ารอคอยช่วงเวลาแห่งความสุข สักวันฉันจะสามารถเติมเต็มรสรักกับเธอ

ย้อนรอยกับตอนต้นเรื่องที่ Kizuki ดำผุดดำว่ายใต้ผืนน้ำ โผล่ขึ้นมาเบื้องหน้า Naoko แล้วเธอโอบกอดแนบอิงแผ่นหลัง, Toru ยืนหลังพิงกำแพง (ไม่ได้ดำผุดดำว่าย) แล้วจู่ๆโผล่ขึ้นมาพบเจอ Midoro ต่างฝ่ายต่างยืน-นั่งอยู่เคียงข้าง ไม่ได้มีการโอบกอด หรือซ้อนทับใบหน้า

บรรดาแฟนคลับนวนิยายต่างมีความฉุนเฉียวอย่างมากๆกับฉาก Toru ระหว่างเยี่ยมเยียนบิดาของ Midori (อ้างว่าไปทำงาน Uruguay แต่กลับแอบมารักษาโรคมะเร็งอยู่โรงพยาบาลใกล้ๆ) เพราะในหนังสือเต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย แต่ฉบับภาพยนตร์กลับแค่มานั่งจุ้มปุ๊กไม่กี่วินาที ยังไม่ทันจะรับรู้เรื่องอะไร

การสูญเสียบิดาของ Midori สามารถย้อนรอยเข้ากับ Naoko สูญเสียชายคนรัก Kizuki แต่จุดนี้ผมเห็นด้วยว่าหนังน่าจะนำเสนอเรื่องราวบางอย่างระหว่าง Toru กับบิดาของ Midori เพื่อสะท้อนความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิท Kizuki … อาจเพราะผกก. Trần Anh Hùng มองว่า Toru เคยพานผ่านประสบการณ์สูญเสียมาแล้ว(กับ Kizuki) จึงสามารถเข้าใจความรู้สึกของ Midori โดยไม่จำเป็นต้องนำเสนอเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม

ระหว่างคุยโทรศัพท์แจ้งข่าวการเสียชีวิตของบิดา สังเกตว่า

  • ฟากฝั่ง Toru พื้นด้านหลังแทบจะปกคลุมด้วยความมืดมิด นั่นเพราะเขาเข้าใจความรู้สึกของ Midori ตนเองเคยพานผ่านประสบการณ์สูญเสียเพื่อนสนิท Kizuki สภาพจิตใจจึงหม่นหมอง เศร้าโศกเสียใจ
  • สำหรับ Midori กล้องจะเคลื่อนเลื่อนจากฟากฝั่งมืดมิด สู่แสงสว่าง แม้การสูญเสียบิดาจะเป็นเรื่องเจ็บปวดทรมาน แต่ด้วยความเข้มแข็ง ไม่ต้องการให้เขาพบเห็นด้านอ่อนแอ ย่อมสามารถก้าวผ่านช่วงเวลาดังกล่าวไปได้ (ไม่ยากเย็นเหมือน Naoko)

ผมไม่รู้ว่านวนิยายเขียนอธิบายเหตุการณ์นี้เช่นไร แต่ภาพยนตร์พยายามทำให้คลุมเคลือว่าเป็นอุบัติเหตุ หรือความตั้งใจของ Toru แต่ที่แน่ๆแสดงถึงผลกระทบ/ความเจ็บปวดจากการสูญเสีย (บิดาของ Midori) มันอาจไม่เทียบเท่าตอน Kizuki แต่สามารถกระตุ้นความทรงจำดังกล่าวกลับขึ้นมาอีกครั้ง

ดินเนอร์ระหว่าง Toru, Nagasawa และ Hatumi (แฟนสาวของ Nagasawa) สังเกตว่ามีย้อมเฉดสีเหลือง แต่ดูไม่อบอุ่นเหมือนแสงสีส้ม เพราะสิ่งที่สองหนุ่มกำลังเผชิญหน้า คือความไม่พึงพอใจของหญิงสาว พยายามซักไซร้ไล่เรียง เค้นหาเหตุผลพฤติกรรมสำส่อน สลับคู่นอน … จะว่าไปทิวทัศน์ภายนอกหน้าต่าง สีสันของใบไม้ดูราวกับกำลังอยู่ในฤดูไบไม้ร่วง (Autumn) ซึ่งสอดคล้องเข้าเฉดสีเหลือง และความสัมพันธ์ที่กำลังร่วงโรยรา

ผมมีความงงๆกับโชคชะตาของ Hatsumi เพราะเสียงบรรยาย Toru ระหว่างอยู่บนแท็กซี่ระหว่างพากลับไปส่งห้องพัก เล่าว่าเธอเลิกรากับ Nagasawa แล้วแต่งงานใหม่ ฆ่าตัวตายสองปีให้หลัง จากนั้นฉากถัดมาเพื่อนร่วมห้อง (Nagasawa) กลับพูดบอกว่าเพิ่งคีนดีกับ Hatsumi มันยังไงกันเนี่ย???

ตามความเข้าใจของผมก็คือ Nagasawa ขณะนี้คืนดีกับ Hatsumi แต่ภายหลังไปต่างประเทศก็เลิกรากันอยู่ดี จากนั้นเธอแต่งงานใหม่ และก่อนฆ่าตัวตายสองปีให้หลัง … กล่าวคือเสียงบรรยายของ Toru นั้นถูกต้องแล้ว คำพูดของ Nagasawa เพียงล่อหลอก สร้างความหวังลมๆแร้งๆให้กับผู้ชมเท่านั้นเอง

หลังเลิกราแฟนเก่า Midori ต้องการเริ่มต้นสานสัมพันธ์กับ Toru พยายามพูดบอกใบ้ความต้องการ (ขึ้นอยู่กับผู้ชมจะครุ่นคิดจินตนาการ) แต่กลับถูกเขาทัดทาน บอกให้รู้จักควบคุมตนเอง นั่นคือสิ่งที่เธอคาดไม่ถึง เกิดความไม่พึงพอใจ (แต่สีหน้าดูไร้ความรู้สึกไปสักหน่อย) งอนตุ๊บป่อง ก่อนลุกเดินหายจากไป

ซีนนี้น่าสนใจตรงการจัดแสงที่มีความตัดกันระหว่างส้ม-น้ำเงิน สีอบอุ่น-เยือกเย็น ในช่วงแรกๆที่พูดคุย Midori ก็เต็มไปด้วยความระริกระรี้ ชัดเจนว่าอยากมีอะไรกับ Toru แต่พอกล้องเคลื่อนเข้ามาถึงระยะ Close-Up ใบหน้าทั้งคู่ กลับมีเพียงความผิดหวัง ใบหน้าพวกเขายังคงไม่เคยซ้อนทับกัน

หลังเหตุการณ์วันนั้น Midori ปฏิเสธการติดต่อจาก Toru แต่สังเกตว่าสถานที่โทรศัพท์ ไม่ได้ปกคลุมอยู่ในความมืดมิดเหมือนซีนก่อนๆหน้า ยังมีแสงสว่างจากภายนอกสาดส่องเข้ามา นั่นเพราะว่าการเลิกราครั้งนี้ไม่ได้ทำให้เขาตกอยู่ในสภาพหดหู่ สิ้นหวัง เพียงภาพเบลอๆ หลุดโฟกัส แล้วเดินทางไป ประเดี๋ยวก็คงหลงลืมความเศร้าโศกเสียใจ

การเงียบหาย/ขาดการติดต่อของ Midori ถือว่าย้อนรอยช่วงที่ Naoko หลังจากร่วมรักกับ Toru ก็สูญหายตัวไปหลายเดือน แต่ระดับความรุนแรงทางอารมณ์ถือว่าแตกต่างกันพอสมควร

เมื่อตอนที่ Naoko สอบถาม Toru ว่ากำลังคบหาใครบางคนอยู่หรือเปล่า? พวกเขานั่งอยู่บริเวณริมน้ำ พบเห็นธารธารากำลังเคลื่อนไหล คำตอบของเขาราวกับเป็นสิ่งที่ตนเองไม่สามารถควบคุม ฝืนธรรมชาติ ความรัก/ความสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ทุกแห่งหน ขึ้นอยู่กับโชคชะตาฟ้ากำหนด

บางคนอาจมองว่ากระแสธาราด้านหลัง สะท้อนความรู้สึกปั่นป่วนทรวงในของ Toru (เพราะขณะนี้ Midori ขาดการติดต่อมาสักระยะ) ไม่รู้จะทำอะไรกับสถานการณ์ขณะนี้

แม้ความเหินห่างของ Midori จะไม่ได้ทำให้ Toru ตกอยู่ในสภาพสิ้นหวังอาลัยเหมือนตอน Naoko แต่เหมือนเขาทำทัณฑ์ทรมานตนเอง ด้วยการอดอาหาร รับประทานแต่ไข่, ภาพท้องฟ้าอึมครึม สายลมปลิดปลิว, และโดยเฉพาะหนามแหลมต้นกระบองเพชร(มั้งนะ) นำมาทิ่มแทงบาดแผล เจ็บแปลบทรวงใน

ผิดกับตอนร่วมรักครั้งแรกที่กล้องถ่ายมุมเอียง ทำให้ใบหน้าทั้งสองอยู่แนบระนาบเดียวกัน แต่คราวนี้แม้ท่วงท่าเดิม (Man on Top) แต่มุมกล้องกลับถ่ายให้เห็น Toru อยู่เบื้องบน Naoko จู่ๆเกิดอาการเจ็บปวดช่องคลอด จนไม่สามารถร่วมเพศสัมพันธ์

หลังลุกขึ้นแต่งตัว กำลังจะแยกย้ายไปนอน Toru ตัดสินใจใช้กำลังขืนใจ Naoko (แต่ไม่สำเร็จ) สังเกตว่าทิศทางการนอนจะอยู่ฟากฝั่งตรงกันข้าม (←) ราวกับว่าความสัมพันธ์ทั้งสองขณะนี้ได้พลิกกลับตารหลังไม่สามารถเติมเต็มรสรักให้กัน

การจากลา(ครั้งสุดท้าย)ระหว่าง Toru และ Naoko เริ่มต้นสังเกตว่าพวกเขาพูดคุยสนทนากันคนละเฟรม หรือขณะจุมพิตร่ำลา ใบหน้าก็ไม่ได้มีการซ้อนทับ แยกฝั่งซ้ายขวา นี่แสดงถึงความสัมพันธ์ที่กำลังเหินห่าง แยกจาก หลังไม่สามารถเติมเต็มรสรัก/ร่วมเพศสัมพันธ์

หลังกลับจากทริป Toru ทำการเก็บข้าวของ เตรียมขนย้ายออกไปหาอพาร์ทเมนท์ใหม่ (เพื่อพักอาศัยอยู่ร่วมกับ Naoko) ซึ่งภาพความว่างเปล่าของห้องพัก โถงทางเดิน สามารถสะท้อนความเคว้งคว้าง เวิ้งว้างภายในจิตใจตัวละครได้ด้วยเช่นเดียวกัน

สภาพอากาศหนาวเหน็บ รวมถึงความรกชัญของผืนป่าด้านหลัง สามารถสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจของ Naoko ภายหลังจากไม่สามารถเติมเต็มความรัก/ร่วมเพศสัมพันธ์กับ Toru หลังเขาเดินทางกลับไป จึงตัดสินใจหลบหนีจากสถานบำบัด เพื่อที่จะกระทำการ …

จริงๆมันอาจมีเหตุผลอื่นๆที่ทำให้ Naoko ตัดสินใจคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่หนังไม่ได้ลงรายละเอียดสักเท่าไหร่ อาจเพราะต้องการให้มองย้อนกลับหา Kizuki ที่ก็ไม่คำอธิบายอะไรใดๆเช่นกัน ขึ้นอยู่กับผู้ชมจักสามารถครุ่นคิดจินตนาการ

เมื่อตอนแรกพบเจอระหว่าง Toru กับ Midori ทักทายกันในสถานที่ที่มีผู้คนขวักไขว่ จากนั้นก้าวออกเดินสู่สวนสาธารณะ ฤดูใบไม้ผลิ เขียวขจี รักผลิบาน, คราวนี้หลังไม่ได้พูดคุยกันมานาน ทั้งสองก้าวออกเดินท่ามกลางหิมะขาวโพลน ด้วยระยะห่าง ก่อนหันเผชิญหน้า พูดคุยขอเวลา กล้องค่อยๆเคลื่อนเข้าหา และจบลงด้วยครั้งแรกที่พวกเขาโอบกอด ใบหน้าซ้อนทับกัน

ความตายของ Naoko ทำให้ Toru ออกเดินทางไปยังบริเวณชายฝั่ง เต็มไปด้วยเกาะแก่ง โขดหิน นั่งลงคุกเข่า กรีดร้องลั่น (แทนด้วยเสียงคลื่นกระทบชายฝั่ง) ระบายความรู้สึกอัดอั้น เศร้าโศกเสียใจ และจะมีช็อตหนึ่งถ่ายติดแอ่งน้ำกลางโขดหิน (ภาพสุดท้าย) แม้มีความสงบนิ่ง แต่ดูราวกับหัวใจที่สูญหายไปจากร่างกาย

ปล. ชายฝั่งคือบริเวณคาบเกี่ยวระหว่างผืนแผ่นดิน vs. ท้องทะเล เลยมักถูกใช้เป็นสถานที่สื่อถึงชีวิต vs. ความตาย จิตวิญญาณล่องลอยสู่อิสรภาพ

การที่ Toru ยินยอมร่วมเพศสัมพันธ์กับ Reiko (อดีตผู้ดูแล Naoko) หลายคนคงขยะแขยง ยินยอมรับไม่ได้ สลับคู่นอน มันช่างเป็นความตกต่ำทางศีลธรรม แต่การกระทำของพวกเขา เอาจริงๆถือเป็น Sex ที่สำแดง ‘มนุษยธรรม’ ต่างฝ่ายต่างระบายความรู้สึกอัดอั้น ปลดปล่อยสิ่งคั่งค้างภายในออกมา เพื่อจักสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ ไม่หลงเหลืออะไรติดค้างคาใจ

ผมเคยเปรียบเทียบไปแล้วว่า Reiko คือมือที่สามระหว่าง Naoko & Toru ย้อนรอยเข้ากับ Toru เคยเป็นมือที่สามระหว่าง Naoko & Kizuki ซึ่งหลังจาก Kizuki ฆ่าตัวตายจากไป Toru ก็ได้ร่วมรักกับ Naoko … ฉันท์ใดฉันท์นั้น Naoko ฆ่าตัวตายจากไป Reiko เลยได้ร่วมรักกับ Toru

ความรู้สึกของ Toru ขณะนี้ ถือว่าย้อนรอยกับ Naoko ตอนสูญเสียความบริสุทธิ์ให้อีกฝ่าย เธอไม่ได้มีความรัก แต่กลับสามารถตอบสนองอารมณ์ทางเพศ … เรื่องพรรค์นี้สำหรับเพศชายมันอาจไม่ใช่เรื่องเลวร้าย คอขาดบาดตาย แต่สำหรับเพศหญิงกลับมีบริบทกฎกรอบทางสังคม คอยสร้างแรงกดดัน ให้รู้สึกว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้องเหมาะสม หรือคือความไม่เสมอภาคเท่าเทียมทางเพศ

ภาพแรกช่างเป็น Sex ที่ดูเร่าร้อน รุนแรง ถึงใจ ไม่สะดีดสะดิ้ง ดัดจริตเหมือน Naoko แสดงถึงการเติมเต็มตัณหาความใคร่ ใช้เพศสัมพันธ์ระบายอารมณ์อัดอั้นภายใน, ส่วนภาพหลังเสร็จกามกิจ ทั้งสองต่างหันหลังให้กัน หรือคือไม่มีทางที่พวกเขาจะตกหลุมรัก สานความสัมพันธ์ไปมากกว่า One Night Stand (ONS)

ซีนสุดท้ายของหนัง Toru โทรศัพท์หา Midori พร้อมแล้วที่จะเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่ สังเกตว่าทั้งสองต่างหลังผิงกำแพง แต่มีเฉดสีแตกต่างตรงกันข้าม

  • Midori อาบฉาบด้วยแสงสว่าง โทนสีส้ม เปรียบดั่งดวงตะวัน มอบความอบอุ่น
  • รอบข้างของ Toru ปกคลุมด้วยความมืดมิด ไม่รับรู้ตนเองด้วยซ้ำว่าอยู่แห่งหนไหน แต่เพราะมีเธอส่องสว่างทางใจ ยังไงฉันย่อมพบเจอหนทางออก โบยบินไปจากสถานที่แห่งนี้

ตัดต่อโดย Mario Battistel,

ในขณะที่ต้นฉบับนวนิยายเป็นการเล่าย้อนอดีต (Flashback) กลับสู่ช่วงวัยรุ่นทศวรรษ 60s พบเจอกับรักครั้งแรก หัวใจก็แตกสลาย, หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Toru Watanabe พร้อมเสียงบรรยายเหตุการณ์ (ไม่ใช่พูดความรู้สึกนึกคิดภายในจิตใจ/Inner Voice แบบต้นฉบับนิยาย) ซึ่งมักทำการก้าวกระโดด ‘Jump Cut’ จากฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่ง ยกเว้นเพียงช่วงเหตุการณ์สำคัญๆ ฝังลึกอยู่ในความทรงจำ ถึงให้เวลากับเรื่องราวขณะนั้นๆ

วิธีการดำเนินเรื่องของหนัง ช่างละม้ายคล้าย ‘สไตล์ Scorsese’ ซึ่งหลายคนมองว่ามีความรวบรัดตัดตอน ไม่ต่างจากการย่นย่อบทสรุป นำเสนอเพียงบางเหตุการณ์สำคัญๆ ซึ่งนั่นทำให้การแบ่งองก์ทำได้ค่อนข้างยาก ผมเลยใช้การแยกแยะออกเป็นตอนๆ สลับไปมาระหว่าง Naoko & Midori

  • อารัมบท, ความตายของ Kizuki
  • หวนกลับมาพบเจอ Naoko
    • Toru กลายเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย Tokyo
    • วันหนึ่งบังเอิญพบเจอ Naoko ในสวนสาธารณะ
    • นัดพบเจอ สานสัมพันธ์ ร่วมรักกันในค่ำคืนวันเกิดครบรอบ 20 ปี
  • รับรู้จัก Midori
    • หลังจากค่ำคืนนั้น Naoko สูญหายตัวไปอย่างลึกลับ
    • เพื่อนร่วมชั้น Midori เข้ามาพูดคุยทักทาย Toru พยายามสานสัมพันธ์
    • ชักชวนไปบ้าน เกี้ยวพาราสี จนกระทั่งได้จุมพิต
  • จดหมายของ Naoko
    • หลังจากได้รับจดหมายจาก Naoko ตัดสินใจออกเดินทางไปเยี่ยมเยียน
    • ใช้ชีวิตอยู่สถานบำบัดกลางผืนป่า
    • วันถัดมา Naoko เปิดเผยเหตุผลที่ตนเองยังบริสุทธิ์ ไม่เคยร่วมรักกับ Kizuki
  • ความเข้มแข็งของ Midori
    • บิดาของ Midori ล้มป่วยโรคมะเร็งก่อนเสียชีวิต แต่เธอไม่ต้องการให้ Toru มาร่วมงานศพ
    • Toru จึงร่วมดินเนอร์กับ Nagasawa และ Hatsumi
    • Midori บอกกับ Toru ว่าเพิ่งเลิกราแฟนหนุ่ม แต่เขายังไม่พร้อมจะมีเธอ หญิงสาวเลยงอนตุ๊บป่อง
  • ความอ่อนแอของ Naoko และ Toru
    • ค่ำคืนหิมะตก Toru ในสถานบำบัดกับ Naoko แต่เธอไม่สามารถร่วมรักกับเขา
    • เช้าวันถัดมาหลังจากส่ง Toru กลับ Tokyo แล้วจู่ๆ Naoko ก็สูญหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย
    • กลับมา Tokyo, Toru มองหาอพาร์ทเม้นท์สำหรับอยู่อาศัยกับ Naoko
    • Toru พยายามงอนง้อขอคืนดีกับ Midori แต่พอเธอพร้อมให้โอกาส เขากลับขอเวลาตัดสินใจ
  • ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย
    • หลังจากรับทราบข่าวการเสียชีวิตของ Naoko ทำให้ Toru ออกเดินทางทั่วญี่ปุ่น ระบายความอัดอั้นภายในออกมา
    • เมื่อหวนกลับมาพบเจอกับ Reiko ผู้(เคย)ดูแลของ Naoko ยังสถานบำบัด
    • และโทรศัพท์ติดต่อ Midori พร้อมแล้วจะเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่

แม้การดำเนินเรื่องจะมีลักษณะเป็นเส้นตรงไปข้างหน้า แต่หลายครั้งกลับมีการแทรกภาพความฝัน หวนระลึกความทรงจำ หรือตัดต่อสลับไปมาระหว่าง Naoko & Midori เหล่านี้มีลักษณะเหมือนแสงกระพริบ สร้างความรับรู้ให้กับผู้ชมว่าตัวละครกำลังครุ่นคิดอะไร

โครงสร้างการดำเนินเรื่องก็อาจเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฟนคลับนิยายไม่ค่อยชอบพอสักเท่าไหร่ เพราะการเล่าย้อนอดีต สร้างสัมผัสคร่ำครวญ โหยหา ช่วงเวลาอันทรงคุณค่า (Nostalgia) ผู้อ่านรับรู้ตอนจบก่อนที่ทุกสิ่งอย่างจะเริ่มต้นขึ้น! แต่ฉบับภาพยนตร์ไม่ได้มีลวดลีลา เพียงการดำเนินเรื่องเส้นตรงไปข้างหน้า (Chronological Order) วิธีการนี้มุ่งเน้นสร้างความประทับใจ ‘first impression’ ผู้ชมไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์บังเกิดขึ้น


เพลงประกอบโดย Jonathan Richard Guy Greenwood (เกิดปี 1971) นักกีตาร์ แต่งเพลง สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Oxford, ระหว่างอยู่โรงเรียนประจำ Abingdon School ร่วมกับพี่ชาย Colin, นักร้องนำ Thom Yorke, นักกีตาร์ Ed O’Brien และนักกลอง Philip Selway ก่อตั้งวงดนตรี On a Friday ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น Radiohead เซ็นสัญญากับค่าย EMI ออกอัลบัมแรก Pablo Honey (1993) แจ้งเกิดบทเพลง Creep, หลังประสบความสำเร็จโด่งดัง แยกตัวออกมาฉายเดี่ยวตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ทำเพลงประกอบสารคดี Bodysong (2003), โด่งดังกับ There Will Be Blood (2007), Norwegian Wood (2010), Inherent Vice (2014), Phantom Thread (2017), The Power of the Dog (2021) ฯ

It was after I heard what Jonny did on There Will be Blood that I had to bring him in. It sounded so different from anything else. Jonny is a serious man and his music reflects that. But he can pull beauty out of the darkness.

Trần Anh Hùng

เมื่อตอนติดต่อหา Greenwood ปฏิกิริยาแรกคือตอบปฏิเสธ ไม่ครุ่นคิดว่าสไตล์เพลงตนเองจะเหมาะเข้ากับพื้นหลังของหนัง แต่ผกก. Trần Anh Hùng พยายามพูดคุย โน้มน้าว นำฟุตเทจตัดต่อใกล้เสร็จมาเปิดให้รับชม ถึงทำให้อีกฝ่ายยินยอมตกลง

ความต้องการของผกก. Trần Anh Hùng ไม่ใช่งานเพลงที่ทำการปลุกเร้า บดขยี้อารมณ์ แต่พยายามทำออกมาให้สอดคล้องเข้ากับบรรยากาศ เหตุการณ์บังเกิดขึ้นขณะนั้น ช่วยยืนยันความรู้สึกที่ผู้ชมควรจักได้รับระหว่างการรับชม

I don’t like to use music to create emotions or to enhance it. I would like to use music to confirm emotions that are already there in the movie.

งานเพลงของ Greenwood ใช้สารพัดเครื่องสาย (String Intrument) สร้างบรรยากาศทะมึน อึมครึม มืดหมองหม่น ราวกับบางสิ่งชั่วร้าย ภัยอันตรายกำลังคืบคลานเข้าหา นำพาให้เกิดหายนะ ความตาย โศกนาฎกรรม บทเพลงชื่อว่า もう少し自分のこと、きちんとしたいの (อ่านว่า Mōsukoshi jibun no koto, kichinto shitai no แปลว่า I want to take care of myself a little better.) แค่ได้ยินท่อนก็รู้สึกปั่นป่วนทรวงใน

ปล. ผมแอบเสียดายเล็กๆว่าระดับเสียง (Volumn) ในหนังเปิดเบาไปสักนิด จนแทบไม่ได้ยินท่วงทำนอง เพียงอารมณ์มวนๆ ท้องไส้ปั่นป่วน สร้างความร้อนรน กระวนกระวาย อยู่ไม่สงบสุขสักเท่าไหร่

บทเพลง 時の洗礼を受けていないものを読むな (อ่านว่า Toki no senrei o ukete inai mono o yomu na, แปลว่า Don’t read anything that hasn’t been baptized by time) บรรเลงด้วยกีตาร์ไฟฟ้า แม้ท่วงทำนองมีความสดใส ร่าเริง เพลิดเพลิน ฟังสบาย แต่ก็ซุกซ่อนสัมผัสความเจ็บปวดปวดรวดร้าว … ดังขึ้นตอน Nagasawa นำพา Toru ให้รับรู้จักกับ One Night Stand (ONS)

私をとるときは私だけをとってね (อ่านว่า Watashi o toru toki wa watashi dake o totte ne, แปลว่า When you decide to choose me, please just choose me.) กรีดกรายด้วยการประสานเสียงไวโอลิน บีบเค้นคั้นหัวใจ การจากไปของเธอทำให้ฉันแทบมิอาจอดรนทน … เพลงนี้ดังขึ้นระหว่าง Toru ขอเวลากับ Midori ก่อนนำเข้าสู่การฆ่าตัวตายของ Naoko

บทเพลงที่อาจทำให้หลายคนชักดิ้นชักงอ ล้างผลาญทรวงใน  直子が死んだ (อ่านว่า Naoko ga shinda, แปลว่า Naoko died) ประสานเสียงออร์เคสตราที่ราวกับคลื่นลมมรสุม พายุลูกใหญ่ถาโถมเข้าใส่ มันช่างรุนแรง รุนแรง ปั่นป่วนเกินกว่าจะต้านทานไหว

ต้นฉบับนวนิยาย เริ่มต้นด้วย Toru Watanabe วัย 37 ปี ระหว่างเครื่องบินลงจอดสนามบิน Hamburg, West Germany ได้ยินเสียงออร์เคสตราบทเพลง Norwegian Wood นั่นคือจุดเริ่มต้นความรู้สึกคร่ำครวญ โหยหา (Nostalgia) หวนระลึกช่วงเวลารักครั้งแรกหัวใจก็แตกสลาย

ผมเป็นคนหนึ่งที่ตั้งหน้าตั้งตา อยากได้ยินบทเพลง Norwegian Wood (This Bird Has Flown) แต่กว่าจะดังขึ้นครั้งแรกก็ประมาณกึ่งกลางเรื่อง ค่ำคืนในสถานบำบัด ขับร้อง/บรรเลงโดย Reika Kirishima (รับบท Reiko Ishida ผู้ดูแล Naoko), ส่วนต้นฉบับของ The Beatles กลับดังขึ้นช่วงท้าย Closing Credit คงทำให้หลายคนรู้สึกผิดหวัง แตกต่างจากต้นฉบับนวนิยายที่ได้ยินครั้งตอนต้นเรื่อง

แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะกว่าจะได้ยินบทเพลงนี้ ผู้ชมบังเกิดความรู้สึกโหยหา เฝ้ารอคอย กว่าจะได้รับการเติมเต็ม ก็เมื่อเข้าใจความหมายของการสูญเสีย

I put the song at the end of the movie because it works like the beginning of the book.

Trần Anh Hùng

แซว: บทเพลงของ The Beatles เลื่องชื่อเรื่องความเรื่องมาก คิดค่าลิขสิทธิ์สูงอีกต่างหาก ทีแรกผกก. Trần Anh Hùng ตั้งใจจะให้ให้ Jonny Greenwood เพียงแค่ดัดแปลงฉบับออร์เคสตรา (จะได้ไม่ต้องขอลิขสิทธิ์) แต่พอนำหนังไปฉายให้โปรดิวเซอร์ เห็นพ้องว่าต้องใช้ต้นฉบับเท่านั้น!

เมื่อพูดถึงบทเพลง Norwegian Wood (This Bird Has Flown) จุดเริ่มต้นจาก John Lennon คาดว่าถูกเกี้ยวพาราสีโดยหญิงสาวคนหนึ่ง ชักชวนเล่นชู้ นอกใจภรรยา “I once had a girl, or should I say, she once had me.” แม้ไม่เคยเปิดเผยว่าเธอคนนั้นคือใคร แต่มีการคาดการณ์ว่าอาจเป็นแวดวงคนในอย่าง Maureen Cleave, Sonny Freeman ฯ

Norwegian Wood ตามคำอธิบายของ Paul McCartney คือลวดลายแผ่นผนัง (Wall Panelling) ทำจากไม้สนราคาถูกของประเทศ Norway ไม่ได้มีมูลค่า ความงดงาม ประดับตกแต่งในห้องของหญิงคนนั้น (ที่ชักชวน Lenon มาเพื่อสานสัมพันธ์)

And when I awoke I was alone
This bird had flown
So I lit a fire
Isn’t it good Norwegian wood?

ท่อนสุดท้ายของบทเพลง เมื่อตื่นขึ้นยามเช้า หญิงสาวออกจากบ้านไปทำงาน “The Bird had flow” การกระทำของเขา “lit a fire” ไม่ใช่แค่จุดเตาไฟให้อบอุ่น ยังสามารถตีความในลักษณะแก้แค้น เอาคืน เผาบ้านให้มอดไหม้ โดยใช้ไม้ Norwegian Wood เป็นเชื้อเพลิง โต้ตอบที่พยายามล่อลวง ชวนให้คบชู้นอกใจ

In our world the guy had to have some sort of revenge. It could have meant I lit a fire to keep myself warm, and wasn’t the decor of her house wonderful? But it didn’t, it meant I burned the fucking place down as an act of revenge, and then we left it there and went into the instrumental.

Paul McCartney

เกร็ด: John Lenon เขียนบทเพลงนี้ขณะพักอาศัยอยู่โรงแรม Badrutt’s Palace Hotel ตั้งอยู่ St. Moritz, Switzerland ผมลองค้นภายถ่ายภายใน พบเห็นตกแต่งด้วยงานไม้แกะสลักสวยๆ ก็เป็นไปได้ว่า Norwegian wood อาจค้นพบแรงบันดาลใจจากลวดลายแผ่นผนังสถานที่แห่งนี้

แม้เนื้อคำร้อง ความตั้งใจของ Lenon จะเกี่ยวกับคบชู้นอกใจ แก้แค้นเอาคืนหญิงสาวชั่วร้าย แต่คนส่วนใหญ่รับฟังเพลงนี้กลับรู้สึกคร่ำครวญ โหยหา “I once had a girl, or should I say, she once had me.” ฉันเคยตกหลุมรักหญิงคนหนึ่ง เราสองมีกันและกัน แต่รุ่งขึ้นเธอกลับโบยบินจากไป “The Bird had flow” ทำให้จิตวิญญาณมอดไหม้ “lit a fire” เผาทำลาย Norwegian Wood

เรื่องราวของนวนิยาย/ภาพยนตร์ Norwegian Wood นำเสนอรักครั้งแรก หัวใจก็แตกสลาย (บางแก้ว) เพราะไม่สามารถเติมเต็มรสรัก ร่วมเพศสัมพันธ์ ทำให้หนุ่ม-สาวสูญเสียความเชื่อมั่น เต็มไปด้วยความอัดอั้น (ไม่สามารถปลดปล่อยน้ำกาม) ตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง เลยตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม

It was just a story of first love, but the first love that you lose almost immediately once you have it.

Trần Anh Hùng

ในมุมของผู้ใหญ่ บุคคลผู้มีสติ ย่อมสังเกตเห็นว่าการกระทำของ Kizuki และ Naoko ช่างโง่เขลา เอาแต่อารมณ์ แต่อย่าลืมว่าพวกเขายังเป็นวัยรุ่น ฮอร์โมน(วัย)ว้าวุ่น ไร้ซึ่งประสบการณ์ชีวิต จึงไม่สามารถควบคุมตนเอง ครุ่นคิดหาทางออกที่เหมาะสม ส่วนหนึ่งอาจต้องกล่าวโทษบริบททางสังคม เราสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับพวกเขาแล้วหรือ?

ญี่ปุ่นเป็นประเทศพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง Hiroshima และ Nagasagi ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทำให้ประชาชนตกอยู่ในความหดหู่ ท้อแท้สิ้นหวัง (Great Depression) เด็กรุ่นใหม่ (Baby Boomer) ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษนี้ (1946-64) ล้วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง มักขาดความรัก ความอบอุ่น ทำให้โหยหาใครสักคนสำหรับพึ่งพักพิง และพอเติบใหญ่ในช่วงทศวรรษ 60s จึงพยายามมองหาสิ่งปลดปล่อย ล่องลอย หลบหนีจากความทุกข์ยากลำบากในชีวิต

Murakami เกิดปี ค.ศ. 1949 แม้ไม่ได้พบเห็นหายนะจากสงคราม แต่ได้รับอิทธิพลยุคสมัย Great Depression เลยเข้าใจอารมณ์ว้าวุ่น โหยหาอิสรภาพ พยายามมองหาใครสักคนเคียงข้างกาย สำหรับนวนิยาย Norwegian Wood มีหลายส่วนที่ถือเป็นอัตชีวประวัติ โดยเฉพาะตัวละคร Midori Kobayashi สามารถเทียบแทนภรรยาได้ตรงๆเลยกระมัง

ส่วน Naoko คงไม่ใช่หญิงสาวที่ Murakami เคยประสบพบเจอ หรือมีตัวตนอยู่จริงๆ ซึ่งนั่นทำให้เราสามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ ‘รักครั้งแรก’ ไม่จำเป็นต้องสื่อถึงบุคคล อาจหมายถึงช่วงเวลา สถานที่ หรือถ้ายึดตามความตั้งใจผู้เขียนจักคือบรรยากาศยุคสมัย 60s ที่สูญหายไปในปัจจุบันนั้น (นวนิยายตีพิมพ์ปี 1987) หลงเหลือเพียงความทรงจำอันเลือนลาง … กล่าวคือ Naoko เป็นตัวแทนความรักของ Murakami ต่อช่วงทศวรรษ 60s

It’s about the pain you feel when you are in the process of love. Love is growing and suddenly something stops it.

สำหรับผู้กำกับ Trần Anh Hùng ไม่ได้มีความสนใจในการหวนระลึกความหลัง (Nostalgia) โฟกัสที่เรื่องราวรักสามเส้า Toru ต้องเลือกระหว่าง Naoko หรือ Midori ตัวแทนผู้หญิงสองประเภทที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม รักครั้งแรกเต็มไปด้วยความอ่อนไหว เปราะบาง ยิ่งชิดใกล้ยิ่งเจ็บปวดรวดร้าวทรวงใน อีกคนมาทีหลังกลับมอบสัมผัสอ่อนโยน อยู่ด้วยแล้วบังเกิดพละพลังใจ

In every woman, there are two things – Naoko and Midori. Naoko has dark sides. She is poisonous, and she is dangerous. She brings you to dark sides of life, like death. Midori like a wife. She is tender. She is someone who is able to go through all the changes of love and life.

อธิบายแบบนี้อาจทำให้หลายคนครุ่นคิดเห็นว่านวนิยายของ Murakami มีความลุ่มลึก มิติซับซ้อน แถมยังเป็นส่วนตัวมากกว่าภาพยนตร์ของ Trần Anh Hùng ที่โฟกัสเพียงเรื่องราวความรัก แต่นี่ไม่ใช่ทุกสิ่งอย่างของหนังนะครับ การปรับเปลี่ยนเนื้อหา โครงสร้าง ทิศทางดำเนินเรื่อง ทำเพื่อให้สอดคล้องวิสัยทัศน์ผู้สร้าง

เป้าหมายของผู้กำกับ Trần Anh Hùng คือการพรรณาเรื่องราวความรัก โดยใช้ภาษากวีภาพยนตร์ สร้างสัมผัสระหว่างเหตุการณ์กับภาพพบเห็น (ไม่ใช่แค่ภาพพื้นหลัง แต่ยังทุกรายละเอียดประกอบเข้าในซีนนั้นๆ) เพื่อสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ vs. ธรรมชาติ … นี่เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ ล้ำลึก แฝงปรัชญา ทรงคุณค่ากว่าอารมณ์โหยหา คร่ำครวญ หวนระลึกถึงทศวรรษ 60s เป็นไหนๆ

อีกประเด็นที่ผมอยากกล่าวถึงก็คือ ‘เสรีภาพทางเพศ’ นี่อาจเป็นสิ่งที่หลายคนยังส่ายหัว ไม่สามารถยินยอมรับ ปรับตัวเข้ากับค่านิยมสมัยใหม่ เพราะสังคมบ้านเราปลูกฝังค่านิยมชายเป็นใหญ่ ปิตาธิปไตย (Patriarchy) เพศหญิงต้องเป็นกุลสตรี แม่ศรีเรือน เรียบร้อยดั่งผ้าพับไว้ เอาจริงๆมันไม่ผิดอะไร แต่ต้องระวังการถูกเอารัดเอาเปรียบ เพราะยุคสมัยมันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

“ความรัก ≠ เพศสัมพันธ์” คำกล่าวนี้อาจฟังดูเห็นแก่ตัว ขัดต่อหลักศีลธรรมจรรยา แต่สามารถสะท้อนวิถีโลกยุคสมัยใหม่ ตามแนวคิดเสรีภาพทางเพศ ทำไมเราต้องยึดถือมั่นตามขนบกฎกรอบ ค่านิยมทางสังคม ข้ออ้างศีลธรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมครอบงำ ความรักเป็นเรื่องของจิตใจ เพศสัมพันธ์คือความต้องการร่างกาย ถ้าสองสิ่งสามารถเติมเต็มกันและกันย่อมเป็นสิ่งดี แต่โลกปัจจุบันนี้ที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วเย้าทางเพศ เราควรเรียนรู้ที่จะปลดปล่อยตนเอง (ทางเพศ) และควบคุมตนเอง (ในเรื่องความรัก) เพื่อยังคงความเป็นมนุษย์ … แบบเดียวกับ Toru แม้หลับนอนหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า แต่ยังรักมั่นคง รักเดียวใจเดียว จนกว่าจะสูญเสียเธอไป


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice เสียงตอบรับค่อนข้างผสมทั้งดี-แย่ “a mere summary of Murakami’s book” vs. “In the realm of Greatness” ในญี่ปุ่นทำเงินได้ ¥1.4 พันล้านเยน (ประมาณ $16.4 ล้านเหรียญ) รวมรายรับทั่วโลก $17.6 ล้านเหรียญ ไม่รู้เพียงพอคืนทุนสร้างหรือเปล่า

I have seen three or four of [Tran’s] films, and I liked them very much. And I like the guy personally. We met four or five times in Tokyo and Paris [Tran’s home]. But also, he’s Vietnamese-French. And I think the Eastern Asian area is going to create a special culture. That’s important to me–that we make our own new Asian culture. Ten years ago, there was no market, no audience around here. But we now have one. We have many political problems, but in terms of culture, we can create a mutual culture, with mutual values.

Haruki Murakami กล่าวถึงภาพยนตร์ Norwegian Wood (2010)

เมื่อตอนผมเป็นวัยรุ่น ความหลงใหลภาพยนตร์เรื่องนี้มาจากประสบการณ์อกหักนับครั้งไม่ถ้วน โหยหาหญิงสาวที่กล้าพูด กล้าแสดงออกเรื่องเพศ ตกหลุมรักนางเอกทั้งสองอย่างรุนแรง และโดยเฉพาะแนวคิด “ความรัก ≠ เพศสัมพันธ์” สามารถปรับเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติ เปิดโลกทัศน์ใบใหม่ถึงเสรีภาพทางเพศ

พอวัยวุฒิเพิ่มสูงขึ้น รับชมครั้งนี้นอกจากเรื่องรักๆใคร่ๆ ยังได้ค้นพบพลังธรรมชาติ ภาพถ่ายทิวทัศน์ที่สะท้อนความรู้สึกภายใน สร้างสัมผัสกวีภาพยนตร์ที่งดงาม เศร้าสลด มอดไหม้ทรวงใน

เท่าที่ผมตามอ่านความคิดเห็นผู้ชม เสียงตอบรับแย่ๆล้วนมาจากคนเคยอ่านนวนิยายแล้วรับชมภาพยนตร์ แต่ในทิศทางกลับกันคนที่มีโอกาสดูหนังก่อน มักแสดงความชื่นชอบประทับใจ พอตามไปอ่านต้นฉบับหนังสือจะเกิดความหลงใหลคลั่งไคล้ ไม่ได้มีอคติต่อฉบับดัดแปลงนี้สักเท่าไหร่

จัดเรต 18+ กับเรื่องรักๆใคร่ๆ เพศสัมพันธ์ ฆ่าตัวตาย

คำโปรย | Norwegian Wood อาจไม่น่าประทับใจเท่าต้นฉบับนวนิยาย แต่ลีลาการนำเสนอของผู้กำกับ Trần Anh Hùng ทำให้ผู้ชมมอดไหม้ทรวงในด้วยสัมผัสกวีภาพยนตร์
คุณภาพ | วีร์
ส่วนตัว | มอดไหม้ทรวงใน

Xích Lô (1995)


Cyclo (1995) hollywood : Trần Anh Hùng ♥♥♥♥

ปั่นสามล้อถีบรอบกรุง Ho Chi Minh ในช่วงทศวรรษ 90s พบเห็นวิถีชีวิต ผู้คน สภาพสังคมเสื่อมโทรมทราม จักรยานถูกลักขโมย (พล็อตคล้ายๆ Bicycle Thieves (1948)) ทำให้ติดอยู่ในวังวนอาชญากรรม, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice

ทั้งๆไปคว้ารางวัล Golden Lion แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับถูกแบนห้ามฉายในเวียดนาม เพราะรัฐบาลคอมมิวนิสต์มองว่ามีเนื้อหาส่งผลกระทบเสียๆหายๆต่อภาพลักษณ์ของประเทศ (ทั้งๆกองเซนเซอร์เคยอนุมัติบทหนังที่ยื่นข้อเสนอมาก่อนหน้า)

When I made the movie Cyclo, I never thought about defaming my country. I am a Vietnamese artist residing abroad. And the Vietnamese homeland is very sacred to me. If anyone who doesn’t understand me makes hasty conclusions about me, that’s a horrible aversion I can’t imagine … My purpose in making this film is to bring a work of art into the world cinema. Art made by a Vietnamese person.

Trần Anh Hùng

แต่ความตั้งใจของผู้กำกับ Trần Anh Hùng ไม่ได้ต้องการดูถูกเหยียดหยามชาติพันธุ์ตนเอง เพียงสะท้อนสภาพเป็นจริงในยุคสมัยนั้น เพื่อให้สังคมตระหนักถึงความไม่ถูกต้องชอบธรรม บุคคลผู้มีอำนาจควรหันมาสนใจประชาชนรากหญ้า ไม่ใช่เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ปล่อยปละละเลยจนมีสภาพเช่นนี้แล

รับชม Cyclo (1995) ทำให้ผมนึกถึง Bicycle Thieves (1948), Borom Sarret (1963), Beijing Bicycle (2001) ฯ สารพัดภาพยนตร์แนว Neo-Realist ที่เกี่ยวกับจักรยาน/สามล้อถีบถูกลักขโมย ชีวิตตกอยู่ในความสิ้นหวัง ครุ่นคิดก่ออาชญากรรม ทำให้ผลกรรมติดตามทันควัน

แต่ถึงพล็อตเรื่องราวจะไม่มีอะไรแปลกใหม่ Cyclo (1995) เต็มไปด้วยความท้าทายในการรับชม มอบอิสระในการครุ่นคิดตีความ นัยยะเชิงสัญลักษณ์มากมายเต็มไปหมด อีกทั้งยังทำการบันทึกภาพเวียดนามช่วงทศวรรษ 90s เก็บไว้ใน ‘Time Capsule’ ต้องถือว่างดงาม ทรงคุณค่า และยังได้ว่าที่นักแสดงระดับโลกอย่าง Tony Leung Chiu-wai แค่ท่าคาบบุหรี่ก็หล่อเท่ห์ โดนใจวัยรุ่นแล้วละ!


Trần Anh Hùng (เกิดปี 1962) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Vietnamese-French เกิดที่ Da Nang, South Vietnam ในช่วงสงคราม Vietnam War (1955-75) อพยพสู่ลาว ก่อนลี้ภัยไปฝรั่งเศส โตขึ้นระหว่างร่ำเรียนปรัชญา กระทั่งมีโอกาสรับชม A Man Escaped (1956) กำกับโดย Robert Bresson หันเหความสนใจมายังภาพยนตร์ ร่ำเรียนการถ่ายภาพ École nationale supérieure Louis-Lumière ทำงานเป็นตากล้อง กำกับหนังสั้น The Married Woman of Nam Xuong (1989), La pierre de l’attente (1991), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก The Scent of Green Papaya (1993)

ความสนใจของ Trần Anh Hùng ไม่ใช้การเล่าเรื่องแบบปกติทั่วๆไป พยายามมองหาวิธีสื่อสาร ภาษาภาพยนตร์รูปแบบใหม่ๆ ให้คำนิยามงานศิลปะ “Art is the truth wearing a mask” ท้าทายให้ผู้ชมครุ่นคิดค้นหาคำตอบของสิ่งที่หลบซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังหน้ากาก

ช่วงระหว่างที่ผกก. Trần Anh Hùng เดินทางมาเวียดนามเพื่อมองหาสถานที่ถ่ายทำ The Scent of Green Papaya (1993) [แต่สุดท้ายก็ถ่ายทำหนังเรื่องนี้ในสตูดิโอที่ฝรั่งเศส] มีโอกาสพบเจอหญิงสูงวัยคนหนึ่ง เล่าให้ฟังเกี่ยวกับหายนะจากสงคราม Vietnam War แต่วิธีการที่เธอพูดกลับเต็มไปด้วยรอยยิ้ม แม้ขณะถูกทรมานก็ยังไม่มีน้ำเสียงเกรี้ยวกราด อารมณ์ของความเกลียดชัง

When I went to Vietnam to cast the film, I met old women who told me the horrors they had lived through during the war. The strangest thing was they were discussing it with a smile of extraordinary serenity and sweetness. One of them even listed the menu of tortures she had gone through during the wars–and she’s known both wars, the French war and the American war.

It’s that sweetness that gave me the idea to try and make the film with the same serenity. If you’re not turned on by the violence, you’ll notice it is depicted with an overlay of sweetness; only through that contrast does violence become unbearable.

Trần Anh Hùng

เหตุการณ์นั้นเองทำให้ผู้กำกับ Trần Anh Hùng บังเกิดแนวคิดที่จะนำเสนอภาพความรุนแรง เหี้ยมโหดร้าย สังคมเวียดนามที่มีสภาพเสื่อมโทรมทราม ทำออกมาให้มีความละมุน นุ่มนวล และแฝงข้อคิดทางศีลธรรม ‘moral violence’

People find the violence in this movie very disgusting. I think that’s a good thing. Violence must give rise to a feeling of disgust.


เรื่องราว Xích Lô หรือ Cyclo (รับบทโดย Lê Văn Lộc) ชายหนุ่มอายุสิบแปด สูญเสียบิดาถูกรถบรรทุกชน ทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรน ปากกัดตีนถีบ ทำงานรับจ้างสามล้อรอบเมืองโฮจิมินห์ อาศัยอยู่ในบ้านสลัมร่วมกับคุณปู่ทำงานสูบลมล้อจักรยาน พี่สาวแบกหามน้ำ และน้องสาวคนเล็กรับจ้างขัดรองเท้า

อยู่มาวันหนึ่งสามล้อถีบถูกลักขโมย ทำให้ Xích Lô จำใจต้องเข้าร่วมกลุ่มอาชญากรรมของ The Poet (รับบทโดย เหลียงเฉาเหว่ย) อีกทั้งพี่สาวยังกลายเป็นโสเภณี มันจะยังมีหนทางออกอื่นสำหรับครอบครัวนี้หรือไม่?


สำหรับนักแสดงนำ Lê Văn Lộc เป็นชาว Hà Tĩnh มาขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างอยู่เมือง Đà Nẵng วันหนึ่งขณะผ่านหน้าคาเฟ่แถวๆถนน Lê Duẩn Street ได้ยินเสียงเรียกให้หยุดจากด้านหลัง พบเจอผู้กำกับ Trần Anh Hùng แม้ไม่รับรู้ด้วยซ้ำว่าภาพยนตร์คืออะไร แต่ยินยอมตอบตกลงเพียงเพราะค่าตอบแทนงามๆ

รับบท Xích Lô หรือ Cyclo หนุ่มปั่นสามล้อถีบ มีความขยันขันแข็ง ตั้งใจทำงาน แต่เพียงเพราะพลั้งพลาดรับผู้โดยสารต่างถิ่น เลยโดนเขม่นจากนักเลงเจ้าที่ ต่อมาจึงถูกรุมทำร้าย จักรยานสูญหาย จำใจต้องเข้าร่วมกลุ่มอาชญากรรม ช่วงแรกๆเต็มไปด้วยอาการหวาดหวั่นกลัวเกรง หลังจากได้แก้แค้นศัตรูก็แสดงฝีปากกล้า พูดบอกว่ายินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่าง ถึงอย่างนั้นเมื่อพบเห็นการฆาตกรรม ได้รับมอบหมายเข่นฆ่าใครบางคน กลับมิอาจปลงใจทำได้ลง เสพยาเกินขนาดจนเห็นภาพหลอน โชคยังดีได้รับการปลดปล่อยจากแก๊งค์อาชญากร จึงสามารถกลับตัวกลับใจ หวนกลับไปทำอาชีพปั่นจักรยานรับจ้าง

I don’t know about them, but I am sure that I can do it no matter how difficult it is and I’ll do my best. I am used to the hard works.

Lê Văn Lộc

ผกก. Trần Anh Hùng ได้พัฒนาวิธีกำกับนักแสดงสมัครเล่น (มาตั้งแต่ The Scent of Green Papaya (1993)) คล้ายๆแบบ ‘สไตล์ Bresson’ ด้วยการลดบทพูดสนทนา มุ่งเน้นบันทึกภาพการกระทำ แล้วใช้ลูกเล่นภาษาภาพยนตร์เข้าช่วยดำเนินเรื่องราว

เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการแสดง Lê Văn Lộc จึงยินยอมพร้อมปฏิบัติตามคำสั่งผกก. Trần Anh Hùng แม้บางครั้งจะต้องเสี่ยงอันตราย กระโดดท่อระบายน้ำ(เน่า) โยนขวดใส่น้ำมันแก๊สโซลีน หรือแม้แต่ละเลงตัวด้วยสีทาบ้าน ฯ เพราะชีวิตจริงเคยผ่านความทุกข์ยากลำบากยิ่งกว่านี้หลายเท่าตัว จึงไม่มีปัญหากับการเสี่ยงเล็กเสี่ยงน้อย

I play like a stuntman, even though I know I’m holding a bottle full of gasoline and stuffing it with a burning rag, exploding in my hand like playing. No matter how similar it is to real life, you just do it.

ค่าจ้างที่ได้รับจากการแสดง เพียงพอสำหรับเดินทางกลับบ้าน (ที่ Hà Tĩnh) ซื้อรถมอเตอร์ไซด์คันใหม่ บทสัมภาษณ์เมื่อปี ค.ศ. 2014 เหมือนจะกลายเป็นคนขับแท็กซี่ แถมยังมี CD หนังเรื่องนี้ (พร้อมซับไตเติ้ล 4 ภาษา) สำหรับเปิดให้ผู้โดยสารรับชมระหว่างการเดินทาง ไม่แต่งงาน ไม่มีครอบครัว พร้อมรับจ้างไปทุกแห่งหน

My friends ask me the same question. But everyone has their own career, and it also depends on each person’s destiny. My destiny with acting only got to there. Perhaps it was a surprise for me to be ‘famous’, but if I don’t know to stop at the right time, I could have fallen hard.


เหลียงเฉาเหว่ย, Tony Leung Chiu-wai (เกิดปี 1962) นักแสดงชาวจีน เกิดที่ฮ่องกง วัยเด็กเป็นคนหัวรุนแรงเพราะพบเห็นบิดา-มารดาทะเลาะเบาะแว้งบ่อยครั้ง แต่หลังจากพ่อของเขาหายตัวไปทำให้นิสัยเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง กลายเป็นเด็กเงียบๆ เคร่งขรึม หันมาพึ่งพาการแสดงระบายออกทางอารมณ์ของตนเอง, ออกจากโรงเรียนตอนอายุ 15 ทำงานเป็นเด็กส่งของ ตามด้วยเซลล์แมน ฝึกงานที่ TVB กลายเป็น Host เล่นละครซีรีย์ จนมีโอกาสแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Mad, Mad 83 (1983), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Love Unto Waste (1986), โด่งดังระดับเอเชียเรื่อง A City of Sadness (1989), Hard Boiled (1992), Cyclo (1995), ยิ่งใหญ่ระดับโลกจากการร่วมงานผู้กำกับกับหว่องกาไว ตั้งแต่ Days of Being Wild (1991), Chungking Express (1994), Happy Together (1997), In the Mood for Love (2000), 2046 (2004), The Grandmaster (2013), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Hero (2003), Infernal Affairs (2002), Lust, Caution (2007), Red Cliff (2008-09), Shang-Chi and the Legend of the Ten Rings (2021) ฯ

รับบท(ฉายา) The Poet ชายหนุ่มผู้ขายวิญญาณให้ปีศาจ! เข้าสู่โลกอาชญากรรมเพียงเพราะลุ่มหลงเงินๆทองๆ โหยหาความสุขสบาย ตอบสนองความต้องการร่างกาย แต่แสดงออกราวกับคนไร้จิตวิญญาณ ใช้ชีวิตอย่างล่องลอยเรื่อยเปื่อย ทำเหมือนไม่ยี่หร่าอะไรใคร แท้จริงแล้วโหยหาการยินยอมรับจากครอบครัว พยายามแสดงให้ Xích Lô (และพี่สาว) พบเห็นด้านมืดสังคม

It was a pleasure working with Trần Anh Hùng on Cyclo (1995). He also gave me a lot of freedom. After he’d finished with The Scent of the Green Papaya (1993), he thought I would be appropriate to play the poet in this story about the mafia in Vietnam. Trần Anh Hùng came to Hong Kong a few times to talk with me. We met and I found his story fascinating, so I accepted the part. For my part I had to learn both Vietnamese and French: The French version was for the French censors because Cyclo was a French production. A Vietnamese lady who spoke both Vietnamese and French came to teach me every day in Hong Kong for three months. But when I got on the set, I still did not understand any Vietnamese or French besides my lines.

Tony Leung Chiu-wai

ดวงตาของเหลียงเฉาเหว่ย เต็มไปด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว เศร้าโศกเสียใจ (ไม่ต่างจากผลงานอื่นๆก่อนหน้า A City of Sadness, Chungking Express ฯ) รับรู้ตัวเองดีว่าสิ่งที่ทำไม่ถูกต้อง (ทุกครั้งที่ทำสิ่งไม่ถูกต้อง เลือดกำเดามักไหลออกมา) แต่เพราะมิอาจหักห้าม ควบคุมความต้องการของตนเอง เมื่อก้าวเข้าสู่โลกอาชญากรรมย่อมไม่สามารถเดินถอยหลัง … ท่าคาบบุหรี่ดูเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า เหมือนคนพานผ่านอะไรมามาก หมดสิ้นเรี่ยวแรง ไร้ชีวิตชีวา

การพบเจอ Xích Lô และพี่สาว ราวกับได้เห็นตนเองในอดีต พยายามปกปักษ์รักษา เอ็นดูราวกับไข่ในหิน แต่แล้วทั้งสองกลับกำลังลุ่มหลงระเริง มุ่งสู่ทิศทางอาชญากรรม(แบบเดียวกับตนเอง) บังเกิดอารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด ตัดสินใจผิดพลาด ความพยายามฆ่าตัวตายของพี่สาว Xích Lô นั่นคือจุดแตกหักของที่ทำให้ The Poet จิตวิญญาณแตกสลาย ต้องการทำลายทุกสิ่งอย่าง

The Poet is someone who, on a spiritual level, considers himself dead to himself and to society. He sold his innocence for easy money to enter the world of crime, and he’s nostalgic for it.

The gangster-poet is aware of the problem, his sister and Cyclo are not. When they first arrive, he sees them for what they are–innocents–and the only way he can handle their innocence is to precipitate them into a life of crime. That’s why he becomes his sister’s pimp; that’s why, when she cries after her first trick, for him it’s a sort of consolation: innocence protesting against the hardness of reality.

Trần Anh Hùng

การเลือกอาเหลียงที่เป็นชาวฮ่องกง มารับบทในภาพยนตร์สัญชาติเวียดนาม มันช่างผิดแผกแปลกประหลาด ผิดที่ผิดทาง แต่จะว่าไปก็แบบเดียวกับผกก. Trần Anh Hùng แม้เป็นชาวเวียดนาม แต่จากบ้านเกิดไปอยู่ฝรั่งเศสหลายสิบปี พวกเขาต่างมีความแปลกแยก มองโลกแตกต่างจากพวกพ้อง

แซว: ด้วยความที่เหลียงเฉาเหว่ยพูดเวียดนามได้แค่บางคำ ส่วนใหญ่จึงสงบเงียบงัน ประหยัดถ้อยคำ เน้นแสดงอารมณ์ออกทางสีหน้าท่าทาง หลายครั้งได้ยินเสียงรำพันบทกวี … เลยได้รับการตั้งชื่อตัวละคร The Poet

an unknown man
an unknown river
a flower without color
and also without a scent


ถ่ายภาพโดย Benoît Delhomme (เกิดปี 1961) ตากล้องสัญชาติฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาจาก École nationale supérieure Louis-Lumière จบออกมาเป็นผู้ช่วยตากล้อง Bruno Nuytten ถ่ายทำภาพยนตร์ Jean de Florette (1986), Manon des Sources (1986), ฉายเดี่ยวกับ The Scent of Green Papaya (1993), Cyclo (1995), Family Resemblances (1996), Artemisia (1997), The Proposition (2008), 1408 (2007), The Boy in the Striped Pajamas (2008), The Theory of Everything (2017), At Eternity’s Gate (2018) ฯ

งานภาพของหนังโอบรับอิทธิพล ‘สไตล์ Bresson’ มุ่งเน้นบันทึกภาพการกระทำ ท่าทางขยับเคลื่อนไหว ภาษากายของตัวละคร (เพราะส่วนใหญ่คือนักแสดงสมัครเล่น หลายคนไม่เคยมีประสบการณ์ภาพยนตร์) บ่อยครั้งพบเห็นกล้องเคลื่อนติดตามตัวละคร (Tracking Shot) เดินวกไปวนมา (Long Take) นอกจากนี้ยังมีมุมกล้องแปลกๆ แพรวพราวด้วยนัยยะเชิงสัญลักษณ์ และการจัดแสงสีก็โดดเด่นไม่แพ้กัน

ตรงกันข้ามกับ The Scent of Green Papaya (1993) ที่สร้างฉากถ่ายทำในสตูดิโอ, Cyclo (1995) โอบรับแนวคิด Neo-Realist ถ่ายทำยังสถานที่จริงทั้งหมดในกรุงโฮจิมินห์ หลายครั้งจึงมีลักษณะแอบถ่าย กล้องสั่นๆ บันทึกภาพผู้คนสัญจรไปมาแถวนั้น ผลลัพท์ออกมาดูสมจริง (realist) จับต้องได้ … และผมรู้สึกว่าคุณภาพ DVD สีตกๆ มันช่างเข้ากับบรรยากาศลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน


ไม่ใช่แค่ Neo-Realist แต่ผกก. Trần Anh Hùng ยังรับอิทธิพลล้นหลามจากผลงานของ Jean-Luc Godard อย่างวิธีการแนะนำตัวละคร Xích Lô หลังปั่นสามล้อถีบทั่วกรุงโฮจิมินห์ เข้าพบหน่วยงานราชการอะไรสักอย่าง ถูกซักถามประวัติ มีเพียงสามมุมกล้องตัดสลับไปมา … แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Vivre Sa Vie (1962)

เกร็ด: หนังไม่มีการกล่าวชื่อตัวละคร Xích Lô (แปลว่า Cyclo หมายถึงคนปั่นสามล้อถีบ), พี่สาว Xích Lô, The Poet ฯ จุดประสงค์เพื่อการเหมารวม ไม่จำเพราะเจาะจง ตัวแทนบุคคลทั่วไป ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากพวกเขาเหล่านี้

รับเงิน-แลกเงิน-คืนเงิน-จ่ายเงิน มุมกล้องจับจ้องการเคลื่อนไหล ดำเนินไปของธนบัตร นี่คือลักษณะบันทึกภาพการกระทำของตัวละคร ใครเคยรับชมภาพยนตร์ Pickpocket (1959) หรือผลงานเรื่องอื่นๆของ Robert Bresson น่าจะมักคุ้นเคยเป็นอย่างดี!

อีกหนึ่งการอ้างอิงที่ไม่พูดถึงไม่ได้ น้องสาวคนเล็กของ Xích Lô ทำงานรับจ้างขัดรองเท้า นี่ชัดเจนถึงภาพยนตร์ Shoeshine (1946) กำกับโดย Vittorio De Sica, ส่วนพี่สาวคนโตรับจ้างแบกน้ำ คุ้นๆว่า To Live (1994) ของ Zhang Yimou นางเอกก็รับจ้างทำงานคล้ายๆกัน, คุณปู่สูบลมล้อจักรยาน ชวนนึกถึงหนังจากอิหร่านเรื่องหนึ่ง??

  • สามล้อถีบ อาชีพที่ต้องออกเดินทาง สื่อถึงการดำเนินไปของชีวิต ใช้เรี่ยวแรง พละกำลัง ปากกัดตีนถีบ รับส่งผู้โดยสารจากสถานที่หนึ่งสู่เป้าหมายปลายทาง (ไม่ต่างจากอาชีพเรือข้ามฟาก)
  • ขัดรองเท้า ถือเป็นตัวแทนชนชั้นระดับล่างสุดในสังคม (เพราะรองเท้าคือเครื่องแต่งกายที่อยู่ต่ำสุด)
  • แบกหามน้ำ เครื่องบริโภคสำหรับประทังชีวิต ใช้ในกิจวัตรประจำวัน
  • สูบลมล้อจักรยาน ต่อลมหายใจ(ของคุณปู่)ไปวันๆ
    • ส่วนตาชั่งน้ำหนัก ราวกับเครื่องวัดมูลค่าชีวิตมนุษย์

หนึ่งในวัฒนธรรมชาวเวียดนามคือการนั่งยองๆกับพื้น ถือเป็นวิถีชนชั้นล่าง, บุคคลนั่งบนเก้าอี้ พับเพียบ หรือขัดตะหมาด มักเป็นหัวหน้า เจ้าคนนายคน หรือในบริบทนี้เจ๊เจ้าของสามล้อถีบ (สังเกตจากตำแหน่งความที่นั่งก็ชัดเจนอยู่)

นอกจากนี้ยังช็อตถ่ายจากภายนอก The Poet หันหลังยืนพิงเหล็กดัด (สามคน-สามท่า-สามทิศทาง) สามารถสื่อถึงบุคคลนอก ผู้ไม่อยู่ภายใต้กฎกรอบ หรืออาชญากรกระทำสิ่งผิดกฎหมาย

ที่อยู่อาศัยของครอบครัว Xích Lô อยู่ด้านหลังร้านตัดผม สถานที่เสริมความสวย-หล่อ นัยยะของการสร้างภาพภายนอกให้ดูดี แต่เบื้องหลังกลับเป็นสลัม ชุมชนแออัด ประเทศชาติยังไม่ได้รับการพัฒนา

แวบแรกผมนึกถึง Rear Window (1954) ของ Alfred Hitchcock แต่จุดประสงค์ของผกก. Trần Anh Hùng น่าจะต้องการสื่อถึงอิทธิพลระบอบทุนนิยม การมาถึงของแฟลต คอนโด ตึกระฟ้าสูงใหญ่ ใครมีเงินก็สามารถเข้าพักอาศัย ห้องติดๆกันแต่ส่วนใหญ่ล้วนไม่เคยรับรู้จัก … ชวนให้นึกถึงผลงานของ Jacques Tati อย่าง Mon Oncle (1958) และ Playtime (1967)

ยามค่ำคืน Xích Lô ยังคงต้องออกทำงานหาเงิน ได้ยินสองบทเพลงที่มีความแตกต่างขั้วตรงข้าม

  • บทเพลงเพื่อชีวิตโดยสองนักดนตรีพิการ ท่วงทำนองสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้คนที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน ทนทุกข์ทรมาน ไม่ให้ย่นย่อท้อแท้ต่ออุปสรรคขวากหนาม
  • ส่วนบทเพลงในผับ Just Like You ของ Rollins Band ออกไปทาง Heavy Rock (ไม่ใช่ Heavy Metal นะครับ) ทั้งแสงสี ท่าเต้น ล้วนเป็นการระบายอารมณ์อัดอั้น ความทุกข์ทรมานที่อยู่ภายในออกมา

วินาทีที่จักรยานของ Xích Lô ถูกลักขโมย มุมกล้องถ่ายลอดผ่านรั้วลวดหนาม ชวนให้นึกถึงช็อตก่อนหน้านี้ที่อาเหลียง/The Poet ยืนสูบบุหรี่อยู่นอกห้องเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ โดยลวดเหล็กคือสัญลักษณ์แทนเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างดินแดนแห่งอารยธรรม ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง vs. โลกอาชญากรรม บ้านป่าเมืองเถื่อน

ปล. บริเวณที่ถูกลักขโมยจักรยาน ยังพบเห็นคนงานกำลังขุดเจาะ ซ่อมถนน ได้ยินเสียงเครื่องจักรกล นั่นแสดงถึงความเปราะบางของสังคม เรื่องราวต่อจากนี้กำลังจะเปิดเผยสิ่งซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ (โลกใต้ดิน=ถิ่นอาชญากรรม)

Xích Lô ระหว่างวิ่งไล่ล่าพวกหัวขโมยมาถึงกลางสี่แยก แม้เต็มไปด้วยผู้คนสัญจรไปมาขวักไขว่ กลับถูกรุมโทรมจนลงไปนอนกลิ้งเกลือก ก็ยังคงไม่มีใครสักคนเข้ามาให้ความช่วยเหลือ นี่สะท้อนสภาพสังคมในเวียดนาม/โลกยุคสมัยใหม่ ที่มนุษย์ต่างเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว ไม่มีใครสนใจใยดี เช่นเดียวกับผู้นำประเทศที่ก็ไม่เคยเหลียวแลประชาชน

ก่อนจะตัดเปลี่ยนฉากถัดไป กล้องพยายามเคลื่อนเลื่อนมายังรองเท้าขาว (จิตวิญญาณอันบริสุทธิ์) ของ Xích Lô แสดงถึงสภาพจิตใจอันตกต่ำ เหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า สูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธา

แม้ขณะนี้ เจ๊เจ้าของสามล้อถีบกำลังขับกล่อมบทเพลงให้บุตรชายสติไม่สมประกอบ แต่สังเกตจากภาษาภาพยนตร์ เหมือนว่าผกก. Trần Anh Hùng ยังต้องการปลอมปะโลม Xích Lô (และผู้ชม) หลังจากเหตุการณ์ก่อนหน้าที่ถูกลักขโมยจักรยานด้วยเช่นกัน … นี่ยังแสดงให้เห็นว่าเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ มองเห็น Xích Lô เหมือนลูกแท้ๆอีกคนของตนเอง (นั่นคือเหตุผลที่ช่วงท้ายของหนัง เธอยินยอมปลดปล่อยเขาจากกลุ่มแก๊งค์อาชญากร)

นอกจากนี้เนื้อคำร้องบทเพลงยังมีท่อนหนึ่ง “I give you a pond full of fish” ใครที่รับชมหนังจนจบก็อาจตระหนักได้ว่าปลาตัวนี้ทำการอ้างอิงถึงอะไร?

ไฟช็อต ปวดท้อง เลือดกำเดาไหล ฯ หลากหลายอาการผิดปกติที่พบเห็นในหนัง สามารถสะท้อนถึงสภาพเวียดนามยุคสมัยนั้น ที่อะไรๆก็ไม่ค่อยปกติเฉกเช่นเดียวกัน

  • ไฟช็อตในห้องพักของ Xích Lô ชวนให้ผมนึกถึงสำนวน ‘อย่าเล่นกับไฟ’ ราวกับเป็นการเตือนสติตัวละครว่าสิ่งกำลังทำอยู่นั้นไม่ใช่ถูกต้อง อย่าหลงระเริง หลวมตัวเข้าไปในโลกอาชญากรรม
    • ผมเห็นไฟช็อตแล้วก็สะดุ้งโหยง เป็นห่วงแทนนักแสดง เพราะนี่ไม่ใช่การกระทำที่ปลอดภัยเลยสักนิด!
  • อาการปวดท้องไส้ของ Xích Lô เหมือนกินอาหารผิดสำแดง แต่สามารถสื่อถึงจิตใจปั่นป่วน ไม่รู้จะทำอะไรยังไง จึงจำยินยอมต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ
  • เลือดกำเดาไหลของ The Poet (มันเหมือนสั่งได้) น่าจะเกิดขึ้นจากความรู้สึกขัดแย้งภายใน กำลังกระทำในสิ่งที่ตนเองไม่อยากทำ รับรู้ว่านั่นไม่ใช่เรื่องถูกต้อง ร่างกายจึงไม่สามารถควบคุมอาการผิดปกติบังเกิดขึ้น

พี่สาวของ Xích Lô เมื่อตอนต้นเรื่องทำอาชีพแบกหามน้ำ พอกลายเป็นโสเภณีแม้ยังไม่ได้สูญเสียความบริสุทธิ์(ทางร่างกาย)ให้ลูกค้าคนนี้ แต่รสนิยม(ทางเพศ)ของเขาบีบบังคับให้เธอดื่มน้ำ แล้วชื่นชมปัสสาวะไหลเป็นทาง (ถ่ายผ่านผ้าม่านหรืออะไรสักอย่าง นัยยะเดียวกับลวดเหล็กที่เคยอธิบายไป) นั่นสร้างความรู้สึกอับอาย ทำลายสามัญสำนึกความเป็นมนุษย์ (หรือจะเรียกว่าสูญเสียความบริสุทธิ์ทางจิตใจก็ได้กระมัง)

หลังการทรมาน Xích Lô เนื่องจากพยายามหลบหนีออกจากห้องพัก ฉากถัดมาได้ยินเสียงอ่านบทกวีของ The Poet จากนั้นร้อยเรียงภาพที่มีความฟุ้งๆ จัดแสงจ้าๆ ดูราวกับความเพ้อฝัน นักแสดง/เด็กๆยืนหลับตา หันหน้าเข้ากล้อง พื้นหลังคือสลัม ชุมชนแออัด เพิ้งใกล้กองขยะ สภาพซอมซ่อ รอมร่อ … ผมมองว่าต้องการสื่อถึงความเพ้อฝัน ต้องการออกไปจากดินแดน(สลัม)แห่งนี้

Nameless river
I was born sobbing
Blue sky, vast earth
Black stream water
I grow with the months, the years
With no one to watch over me

Nameless is man
Nameless is the river
Colorless the flower
Perfume without a scent

O, river! O, passer-by!
In the closed cycle
Of the months, the years
I can’t forget my debt to my roots
And I wander
Through worlds
Towards my land…

The Poet พาพี่สาวของ Xích Lô มาเยี่ยมเยียนครอบครัว พวกเขาอาศัยอยู่ในสลัม หาเช้ากินค่ำ ทั้งยังถูกบิดาทุบตี ทำร้ายร่างกาย นั่นน่าจะคือเหตุผลให้เขาต้องการหลบหนีออกไปจากสถานที่แห่งนี้! ขวนขวายเงินทอง โดยไม่สนถูกผิดชอบชั่วดี โหยหาการยินยอมรับ ต้องการบุคคลสำหรับพึ่งพักพิง (The Poet ตอนสนทนาในมุ้งกับมารดา จะมีการโน้มตัวพิงหลัง นั่นคือภาษากายของโหยหาที่พึ่งพักพิง)

ในทิศทางตรงกันข้าม มารดาก็ต้องการบุตรชายสำหรับพึ่งพักพิง (The Poet ทิ้งตัวลงนอน แล้วมารดานอนแอบอิงอ้อมอก) เพราะบิดา/สามีพึ่งพาไม่ได้ ถูกกดขี่ข่มเหง บีบบังคับไม่ให้ออกไปทำงาน วันๆอาศัยอยู่แต่ในบ้านสลัม ขยะเต็มเตียงนอน ใช้ชีวิตราวกับอยู่ในกรงขัง (จะว่าไปลักษณะของมุ้ง ก็คือสื่อถึงกรงขังได้เช่นกัน) ไม่สามารถดิ้นหลุดพ้นจากสถานที่แห่งนี้

Xích Lô ทำการล้างแค้นพวกลักขโมยสามล้อถีบด้วยการจุดไฟ มอดไหม้ในกองเพลิง ส่วนตนเองวิ่งหลบหนีตำรวจ กระโดดลงคูคลอง กลับห้องพักในสภาพเปลอะเปลื้อนโคลนเลน พบเห็นหนอนไรยั้วเยี้ยว ราวกับขึ้นมาจากขุมนรกใต้ดิน … สภาพเกรอะกรังของ Xích Lô แสดงให้ถึงสภาพจิตใจตัวละคร อันเป็นผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางสังคม มีความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ สกปรกโสมม

การเอาใบหน้า(ที่เปลอะเปลื้อนโคลนเลน)จุ่มลงในตู้ปลา มันดูราวกับพิธีจุ่มศีล สัญลักษณ์ของการถือกำเนิด เกิดใหม่ สังเกตว่าตอนเอาใบหน้าจุ่มลง-ยกขึ้น ยังมีทิศทางแตกต่างตรงกั้นข้าม (จุมลงแนวนอน ยกขึ้นแนวตั้ง) เพื่อสื่อถึงมุมมองโลกทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนแปลงไป อดีตเคยใสซื่อไร้เดียงสา ต่อจากนี้พร้อมลุกขึ้นมาโต้ตอบ กระทำในสิ่งตอบสนองความต้องการของตนเอง

คู่ขนานกับการเกิดใหม่ของ Xích Lô พี่สาวทำการปลดเปลื้องเสื้อผ้า สวมใส่ถุงน่อง ยินยอมให้ลูกค้าออกคำสั่งทำสิ่งโน่นนี่นั่น ไม่แสดงปฏิกิริยาต่อต้านขัดขืนเหมือนครั้งแรก … เรียกได้ว่ายินยอมศิโรราบต่อด้านมืดสังคม

วินาทีที่ Xích Lô บอกกับพรรคพวกว่าอยากเข้าร่วมกลุ่มอาชญากร สร้างความไม่พึงพอใจให้กับ The Poet เข้ามาชกหน้า ก่อนพามาให้รับรู้จัก Mr. Lullaby (ได้รับฉายานี้เพราะชื่นชอบร้องเพลงขับกล่อมเป้าหมาย ก่อนเชือดคอให้ตกตาย) พบเห็นความตายบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา วินาทีที่ถูกเชือด สังเกตว่าเลือดสาดกระเซ็นไปบนผนังกำแพง นี่ชวนให้นึกถึง ‘Painting of the Dead’ จากภาพยนตร์ Tenebrae (1982)

หลังจากพบเห็นความตายต่อหน้าต่อตาย ค่ำคืนนี้ในห้องพักของ Xích Lô อาบฉาบด้วยแสงสีเขียว นอนจับจ้องมองกระจก ละเล่นกับมีด เลียนแบบท่ากรีดคอ ภาษากายนี้น่าจะสื่อถึงความลุ่มหลงใหล ใคร่สนใจ จากนั้นลุกขึ้นมาจับจิ้งจก เด็ดหาง รับประทาน? ผมมองว่าเป็นสัญลักษณ์ความระเริงในอำนาจ จิ้งจกเป็นสัตว์ที่สามารถงอกหางขึ้นใหม่ การกระทำของเขาจึงคือการกลั่นแกล้ง กดขี่ข่มเหง ใช้อำนาจในทางไม่ชอบ

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเครื่องบินมันมายังไง? แต่การแทรกใส่ซีนนี้เข้ามา เป็นความพยายามหวนระลึก ปลุกความทรงจำสงครามเวียดนาม แบบเดียวกับตอน Mr. Lullaby เปรียบเทียบเสียงปืนกลราวกับนักร้องเพลงชื่อดัง สร้างสัมผัสชั่วร้าย หายนะ ความตายอยู่ทุกแห่งหน … เป็นการสะท้อนอิทธิพลจากสงคราม(เวียดนาม) ที่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจผู้คนมาจนถึงปัจจุบัน(นั้น)

ไหนๆอุตส่าห์ตั้งชื่อ ‘Vietnam Trilogy’ มันจึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีการอ้างอิงถึง The Scent of Green Papaya (1993) ซึ่งเรื่องนั้นมะละกอคือสัญลักษณ์แทนหญิงสาว/มารดา สตรีเพศชาวเวียดนาม ในวัยกำลังสุกหง่อม/เจริญพันธุ์ สอดคล้องกับซีนนี้ที่หนึ่งในสาวๆบอกว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์

เมื่อตอน The Scent of Green Papaya (1993) สาวใช้ Mùi มีความหลงใหลในมะละกอ ต้องการผ่ากลาง จับจ้องมองเมล็ดพันธุ์, สำหรับ Cyclo (1995) ปรับเปลี่ยนมาเป็น The Poet ใคร่สงสัยสิ่งที่อยู่ภายใต้หัวปลี ใช้มีดโกนกรีดเบาๆ พบเห็นเส้นขาวๆภายใน จะมองเป็นสัญลักษณ์เพศชาย หรือจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ ที่กำลังถูกแปดเปื้อนด้วยเลือดกำเดา(ของ The Poet)

Xích Lô ได้รับมอบหมายให้ลักลอบขนยา ยัดใส่เนื้อหมูที่เพิ่งโดนเชือดสดๆ ซึ่งหนังยังทำการเปรียบเทียบคู่ขนานกับชายคนหนึ่ง/คนขับสามล้อถีบ ถูกรถชนระหว่างกลุ่มวัยรุ่นกำลังเข้าปะทะเจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้วกระเด็นกระดอนขึ้นมาบนสามล้อถีบ นอนตายอยู่บนเจ้าหมู … นี่เป็นการเปรียบเทียบหมูโดนเชือด = มนุษย์ถูกฆ่า สะท้อนถึงการใช้อำนาจบาดใหญ่ โดยไม่เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์

ไม่เพียงเท่านี้ ภาพคนขับสามล้อถูกรถชนตาย ยังปลุกความทรงจำของ Xích Lô นึกถึงการจากไปของบิดา (ที่ก็เสียชีวิตจากการถูกรถชน) นั่นสร้างความตื่นตกอกตกใจ (ยิ่งกว่าตอนพบเห็น Mr. Lullaby กรีดคอคนตาย) ระลึกถึงคำเคยสอน เกิดความตระหนักว่านี่ไม่ใช่โลกของตนเอง วิถีทางที่ถูกต้อง!

เมื่อเกิดความตระหนักได้เช่นนั้น Xích Lô จึงนำเงินเก็บทั้งหมดมาขอเช่าสามล้อถีบคันใหม่ ต้องการออกไปจากโลกอาชญากรรม แต่เธอกลับเพิกเฉยเย็นชา ก่อนเปลี่ยนไปให้ความสนใจบุตรชายไม่สมประกอบ ขณะนั้นอาบสีเหลืองทั่วตัว เดินเข้ามาโอบกอด Xích Lô … ผมไม่ค่อยแน่ใจนัยยะของเฉดสีเหลืองสักเท่าไหร่ เลยขอคาดเดาจากธงชาติเวียดนามที่มีพื้นแดงและดาวเหลือง

  • พื้นแดง คือสัญลักษณ์แทนเลือดเนื้อ การต่อเพื่อเอกราช
  • ดาวเหลือง แทนด้วยสีผิวชาติพันธุ์ “the color of our race’s skin”
  • ดาวห้าแฉก แทนด้วยชนชั้นนักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร

ผมยังอ่านเจอว่าหลังรวมประเทศเหนือ-ใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1976 ธงชาติเวียดนามยังอีกมีความหมายที่ปรับเปลี่ยนแปลงไป

  • สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ
  • ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

หลังจาก Xích Lô ได้รับมอบหมายภารกิจลอบสังหาร หนังนำเสนอคู่ขนานกับเหตุการณ์สูญเสียความบริสุทธิ์(ทางร่างกาย)ของพี่สาว หลังจาก The Poet ตัดสินใจขายเธอให้กับลูกค้ารายหนึ่ง!

ก่อนหน้าจะถึงฉากนั้น ระหว่างสระผม ซักผ้า (มีเงินแล้วพี่สาวจึงไม่ต้องแบกหามน้ำอีกต่อไป) The Poet เกิดความสนอกสนใจเครือมะพร้าว พยายามเข้าไปฉุดกระชากลากดึง แต่พี่สาวของ Xích Lô สั่งห้ามปรามไม่ให้ทำให้ทำลายเมล็ดพันธุ์ ถึงอย่างนั้นเขากลับปฏิเสธรับฟัง เฉกเช่นเดียวกับตอนขายเธอให้ลูกค้ารายหนึ่ง ไม่ยี่หร่าว่าอีกฝ่ายครุ่นคิดรู้สึกเช่นไร ก้าวเดินออกหลังผับ อาบฉาบด้วยแสงสีน้ำเงิน

The Poet ตระหนักถึงความผิดพลาดจากการขายความบริสุทธิ์พี่สาวของ Xích Lô แสดงสีหน้ารู้สึกผิด เลยตัดสินใจฆ่าปิดปากลูกค้ารายนั้น จนเสื้อขาวอาบฉาบด้วยเลือดแดงฉาน อีกฝ่ายพยายามดิ้นรน กระเสือกกระสน หาหนทางหลบหนีบนดาดฟ้าอาคาร (แลดูเหมือนการเริงระบำความตาย ‘Dance of the Death’) กล้องถ่ายมุมก้ม ราวกับผู้มีอำนาจ/เบื้องบนมองลงมา เคลื่อนเลื่อนไปจนพบเห็นท้องถนนด้านล่าง ก่อนเอาธนบัตรยัดปาก เงินไม่สามารถซื้อได้ทุกสิ่งอย่าง

ผมมองชายคนนี้คือตัวแทนบุคคลผู้มีความลุ่มหลงระเริงไปกับระบอบทุนนิยม ครุ่นคิดว่าอำนาจการเงิน สามารถจับจ่ายซื้อขายได้ทุกสิ่งอย่าง แต่นั่นถือเป็นการบ่อนทำลายจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ (=พรหมจรรย์หญิงสาว)

ทำไมหลังเหตุการณ์ฆาตกรรม ถึงตัดภาพมายังห้องเรียน เด็กๆกำลังขับร้องเพลง? ผมครุ่นคิดว่าเหตุผลการทำเช่นนี้น่าจะเพราะเนื้อเพลงมีนัยยะเคลือบแอบแฝงบางอย่าง แต่หนังดันไม่มีคำแปลซับไตเติ้ล ก็เลยมึนตึง ใครจะไปคาดคิดถึง? หรืออาจเพราะความละอ่อนเยาว์วัย ไร้เดียงสาของเด็กๆ ขัดแย้งกับภาพผู้ใหญ่ กร้านโลก กระทำสิ่งชั่วร้าย นี่คือช่วงเวลาผ่อนคลายเล็กๆ ลมสงบก่อนการมาถึงของพายุลูกใหญ่

ค่ำคืนนี้มีงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่! พบเห็นเครื่องเส้นไหว้ แต่งชุดอ่าวหญ่าย ผู้คนสัญจรไปมาขวักไขว่ ส่วนบุตรชายนั่งเล่นรถดับเพลิงอยู่นอกบ้าน อ้าปากหวอเหมือนปลากำลังหายใจเฮือกสุดท้าย ส่วนเด็กๆก็ทำท่าเลียนแบบ (นี่เป็นการเปรียบเทียบแบบเหมารวม เด็กชาย = ชาวเวียดนาม = ปลาทองถูกเลี้ยงไว้ในตู้ ต้องแหวกว่าย กระเสือกกระสน ต่อสู้ดิ้นรน ไร้หนทางแห่งอิสรภาพ)

เมื่อตอนที่เจ๊เจ้าของสามล้อถีบพูดว่า “Why do you love paint so much?” สังเกตใบหน้าบุตรชายอาบเปื้อนด้วยเลือดแดงฉาน ซึ่งจะมองว่านั่นคือสีๆหนึ่งก็ได้กระมัง ความหมายจากธงชาติเวียดนามก็คือการต่อสู้ ความตาย เสียสละเพื่อประเทศชาติบ้านเกิด

The Poet เพราะมิอาจอดรนทนกับตนเองได้อีกต่อไป จึงจุดไฟเผาห้องพัก ทำให้ทุกสรรพสิ่งอย่างมอดไหม้ (หรือจะมองว่าเป็นการแก้แค้นตนเอง คล้ายตอนกลางเรื่องที่ Xích Lô จุดไฟเผาโจรปล้นจักรยาน)

อีกสิ่งน่าสนใจคือภาพนาฬิกา ตอนต้นเรื่องมันคือสถานที่เก็บซ่อนเงินของ The Poet ขณะนี้เปลวเพลิงกำลังลุกลาม ธนบัตรภายในจึงปลิดปลิวออกมา เพื่อสื่อว่าเงินไม่สามารถซื้อเวลา ซื้อชีวิต ทำให้จิตวิญญาณมอดไหม้ เหลือเพียงเถ้าถ่าน

ตอนพบเห็น Xích Lô ละเลงสีลงบนใบหน้า ผมนึกถึงภาพยนตร์ Pierrot le Fou (1965) ขึ้นมาโดยพลัน! แสดงความคลุ้มคลั่ง เสียสติแตก ไม่สามารถควบคุมตนเอง เสียงเป่าขลุ่ยราวกับลมหายใจเฮือกสุดท้าย ซึ่งในบริบทของหนังคืออาการมึนเมาระหว่างเสพยา(เกินขนาด) ทำให้แทนที่จะสังหารเป้าหมาย เกือบกลายเป็นการฆ่าตัวตาย

(จะว่าไปเปลวไฟแดง เป็นสีตรงกันข้ามกับน้ำเงิน นั่นสามารถสื่อว่าความตายทางร่างกายของ The Poet = ความตายทางจิตวิญญาณของ Xích Lô)

ไม่ใช่แค่ละเลงสีสัน Xích Lô ยังทำการคาบปลาทอง (แต่ถูกย้อมสีเหลือง) ดิ้นกระแด่วๆ สื่อความหมายเดียวกับบุตรชายของเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ แทนความกระเสือกกระสน ต่อสู้ดิ้นรน เหมารวมถึงชาวเวียดนามยุคสมัยนั้น

พี่สาวของ Xích Lô นั่งอย่างหมดอาลัยในห้องพักของ The Poet ที่หลงเหลือเพียงเถ้าถ่าน ปกคลุมด้วยแสงสีน้ำเงิน มอบสัมผัสหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก สั่นสะท้านทรวงใน กล้องถ่ายจากเบื้องบนก้มลงมา ค่อยๆเคลื่อนไหล ก่อนไปสิ้นสุดยังต้นไม้สีเขียวในกระถาง (ดูสดชื่น มีชีวิตชีวา) ราวกับว่าท่ามกลางเศษซากปรักหักพัง ทุกสิ่งอย่างสามารถเริ่มต้น(ชีวิต)ใหม่

มันช่างเป็นความเหมาะเจาะพอดี ที่ค่ำคืนแห่งหายนะตรงกับวันสิ้นปี ประเพณีชาวเวียดนามก็นิยมไปไหว้พระ อธิษฐานขอพร จุดธูปไม่รู้กี่ดอก ขอให้เรื่องร้ายๆพานผ่านพ้นไป

พี่สาวของ Xích Lô เดินเตร็ดเตร่ไปจนรุ่งเช้า นั่งเหงาอยู่ริมคลอง แล้วจู่ๆมีเด็กคนหนึ่งเข้ามาจูงมือพาข้ามสะพาน นั่นคือสัญลักษณ์ของการก้าวผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย ให้สามารถเริ่มต้นชีวิต/ปีใหม่

วินาทีที่เจ๊เจ้าของสามล้อถีบถูกไฟช็อต ความเจ็บปวดทางร่างกาย ทำให้เธอไม่สามารถอดกลั้นความเศร้าโศกจากการสูญเสียบุตรชาย ตรงเข้าไปโอบกอด Xích Lô ระบายความรู้สึกภายในออกมา … ผมพยายามจับจ้องอยู่นานว่าสิ่งติดอยู่ในผม Xích Lô คืออะไร? ก่อนพบว่าเจ้าปลาทองนั่นไง

ความตายของเจ้าปลาทอง น่าจะสื่อถึงการหมดเวรหมดกรรม ความคาดหวังของผกก. Trần Anh Hùng ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จักสามารถทำลายวงจรอุบาศว์ในประเทศเวียดนามให้หมดสิ้นลง

ภาพสุดท้ายของหนังก่อน Closing Credit ถ่ายจากเบื้องบน พบเห็น Xích Lô ปั่นสามล้อถีบพาครอบครัวออกเดินทาง สัญลักษณ์ของการเริ่มต้นชีวิตใหม่ สอดคล้องเข้ากับเสียงบรรยายเล่าถึงเจ้าแมวเหมียวที่หวนกลับมาหา รูปร่างหน้าตาดูหล่อเหลายิ่งกว่าเดิมเสียอีก!

ขณะเดียวกันเจ้าเหมียวตัวนี้ยังทำให้ Xích Lô หวนระลึกถึงบิดา เพราะครั้งสุดท้ายพบเจอวันเดียวกับที่บิดาเสียชีวิต (กำลังนอนอาบแดดร่วมกัน) เลยครุ่นคิดว่ามันคงตายจากไปแล้ว ซึ่งการหวนกลับมาของเจ้าเหมียว คงทำให้เขารู้สึกเหมือนบิดาหวนกลับมาเช่นเดียวกัน!

Yesterday, the cat came back. We thought he was dead. He’s even more handsome than before so handsome, nobody recognized him. I remember my father right before he died. It was a Sunday the only day he took a nap at home. The cat was sleeping in the sun. A gash across his face. My father slept swinging his leg. I was a child. I remember watching my father’s knee, for a long time.

ตัดต่อโดย Nicole Dedieu, Claude Ronzeau

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Xích Lô ตั้งแต่เริ่มทำงานสามล้อถีบ ครั้งหนึ่งปั่นไปต่างที่ต่างถิ่น โดนนักเลงละแวกนั้นลักขโมยจักรยาน จำต้องผันตัวสู่โลกอาชญากร ได้รับการเสี้ยมสอนโดย The Poet ที่ก็ชักนำพาพี่สาว (ของ Xích Lô) เข้าสู่แวดวงโสเภณีเช่นเดียวกัน

  • อารัมบท, วิถีชีวิตของ Xích Lô
    • ปั่นสามล้อถีบ ทำงานหามรุ่งหามค่ำ
    • ตกเย็นขับรถไปรับปู่ทำงานสูบลมยาง, พบเห็นพี่สาวแบกหามส่งน้ำ และน้องสาวคนเล็กรับจ้างขัดรองเท้า
  • จักรยานถูกลักขโมย
    • วันหนึ่ง Xích Lô ไปส่งลูกค้าต่างถิ่น แล้วถูกเขม่นโดยนักเลงเจ้าที่
    • วันถัดมาจักรยานของ Xích Lô จึงถูกลักขโมยไปซึ่งๆหน้า
    • เจ๊เจ้าของสามล้อถีบจึงแนะนำ Xích Lô ให้กับ The Poet พาไปยังห้องพักสำหรับหลบซ่อนตัว
    • พี่สาวของ Xích Lô เดินทางมาหา The Poet จำยินยอมกลายเป็นโสเภณี
  • ช่วงการพิสูจน์ตนเอง โหยหาการยินยอมรับ
    • Xích Lô หลบหนีออกจากห้องพัก แต่ก็ถูกจับกลับมาคุมขัง
    • The Poet พาพี่สาวของ Xích Lô มาเยี่ยมเยียนครอบครัว แต่เขากลับถูกบิดาเฉดหัวขับไล่
    • Xích Lô จุดไฟในขวดใส่น้ำมันแก๊สโซลีน เขวี้ยงขว้างใส่บ้านพักของศัตรูคู่อาฆาต
    • หลังสามารถหลบหนีเอาตัวรวด Xích Lô ต้องการจะเข้าร่วมกลุ่มอาชญากรของ The Poet
    • The Poet จึงนำพา Xích Lô มาให้พบเห็นการฆาตกรรมของ Mr. Lullaby
  • การสูญเสียความบริสุทธิ์
    • พี่สาวของ Xích Lô เหมือนว่าจะตกหลุมรัก The Poet
    • Xích Lô ได้รับภารกิจขนส่งยาจากโรงเชือด ระหว่างทางถูกตำรวจดัดตรวจค้น บังเอิญว่ามีเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง เลยสามารถเอาตัวรอดหวุดหวิด แต่ก็พบเห็นภาพติดตาฝังใจ
    • Xích Lô ต้องการจะออกจากวังวนอาชญากรรม แต่กลับได้รับมอบหมายลอบสังหารใครบางคน
    • The Poet ตัดสินใจขายพี่สาวของ Xích Lô ให้กับลูกค้ารายหนึ่ง โดยไม่รับรู้ว่าอีกฝ่ายยังเป็นสาวบริสุทธิ์
  • อารมณ์เกรี้ยวกราด ทำลายล้าง
    • วันถัดมาพี่สาวของ Xích Lô กรีดข้อมือจะฆ่าตัวตาย รับไม่ได้การถูกข่มขืน
    • The Poet ลงมือฆ่าปิดปากลูกค้ารายนั้น แล้วกลับมาห้องพัก เผาทุกสิ่งอย่างให้มอดไหม้วอดวาย
    • Xích Lô เสพยาเกินขนาดจนมึนเมามาย ทำให้ไม่สามารถลงมือลอบสังหารใคร
    • บุตรชายของเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ ประสบอุบัติเหตุถูกรถดับเพลิง(ที่กำลังจะมาดับเพลิงห้องพัก The Poet)พุ่งชนเสียชีวิต
  • ปัจฉิมบท
    • ความสูญเสียดังกล่าวทำให้ Xích Lô ได้รับการปลดปล่อย หวนกลับไปประกอบอาชีพปั่นสามล้อถีบ

โดยปกติแล้วสไตล์ของผู้กำกับ Trần Anh Hùng มักไม่ค่อยมีคำอธิบายเรื่องราวใดๆ ว่ามันเกิดเหตุการณ์ห่าเหวอะไร ให้อิสระในการครุ่นคิดตีความ แต่สำหรับ Cyclo (1995) หลายครั้งได้ยินเสียงบรรยาย ไม่ก็อ่านออกเสียงบทกวีนิพนธ์ ถึงจากนั้นผู้ชมยังต้องไปขบคิดต่อเอาเอง ไม่ใช่การเล่าเรื่องว่ามีอะไรกำลังบังเกิดขึ้น

โครงสร้างของหนังมีการดำเนินเรื่องคู่ขนานกันบ่อยครั้ง ระหว่าง Xích Lô และพี่สาว ซึ่งเรื่องราวมักมีความสอดคล้อง หรือแฝงนัยยะบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อกันและกัน ยกตัวอย่าง

  • Xích Lô โดนบีบบังคับให้เข้าร่วมกลุ่มอาชญากร = พี่สาวถูกบีบบังคับให้กลายเป็นโสเภณี (แต่ยังไม่เสียความบริสุทธิ์)
  • Xích Lô ทำการล้างแค้นโจรปล้นสามล้อ = พี่สาวมีความคุ้นเคยชินกับอาชีพโสเภณี
  • Xích Lô ได้รับภารกิจลอบสังหาร = พี่สาวถูกหลอกขายตัว สูญเสียพรหมจรรย์

โดยปกติแล้วภาพยนตร์แนว Neo-Realism นิยมใช้เสียงธรรมชาติ บันทึกจากสถานที่จริง (เสียงพื้นหลังจึงมีความอื้ออึง ค่อนข้างหนวกหู) ในส่วนเพลงประกอบมักมีลักษณะ ‘diegetic music’ ดังขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียง พบเห็นขับร้อง-บรรเลง ในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีทั้งเพลงพื้นบ้าน (Ca Dao แปลว่า Folk Songs) ท่วงทำนองกล่อมเด็ก (Ru Con แปลว่า Lullaby) และดนตรีป็อปร่วมสมัยนั้น

  • Nắng Chiều (แปลว่า Sunny afternoon) โดยสองศิลปินพิการข้างถนน Nguyen Van Ngoc และ Tran Van Hai
  • Just Like You ของวงร็อค Rollins Band ดังขึ้นระหว่าง Xích Lô เข้าไปเที่ยวในผับ
  • Thằng Bờm (แปลว่า Little Bờm) ขับร้องโดยเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ (รับบทโดย Nguyen Nhu Quynh) ขับกล่อมบุตรชายสติไม่สมประกอบ
  • Em ơi, Hà Nội phố (แปลว่า Little Sister, Hanoi City) ขับร้องโดย Thanh Lam ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่ง
  • Hoa Tím Ngoài Sân (แปลว่า Purple Flowers in the Yard) ขับร้องโดย Lê Khanh ดังขึ้นระหว่างสาวๆกำลังเล่นสนุกสนาน
  • Creep ของวง Radiohead ดังขึ้นในไนท์คลับก่อนเสียความบริสุทธิ์
  • บทเพลงขับร้องและบรรเลง Mandolin (Closing Credit) โดยเด็กๆจาก Children Of The Kinderhouse Of Saïgon

ผมเลือกบทเพลง Em ơi, Hà Nội phố (แปลว่า Little Sister, Hanoi City) ซึ่งมีเนื้อร้องในเชิงเปรียบเทียบหญิงสาว=กรุง Hanio (แต่หนังถ่ายทำในนคร Ho Chi Minh) เธอทอดทิ้งฉันไว้ให้พานผ่านฤดูกาลหนาวเหน็บ เย็นยะเยือกทางร่างกาย สั่นสะท้านทรวงใน … เป็นการรำพันความสัมพันธ์ระหว่าง The Poet และสาวๆในสังกัด พวกเธอต่างตกหลุมรัก แต่เขากลับไม่เคยมีใจให้

คำร้องเวียดนามคำแปลอังกฤษ
Em ơi, Hà Nội phố
Ta còn em mùi hoàng lan
Ta còn em mùi hoa sữa
Con đường vắng rì rào cơn mưa nhỏ
Ai đó chờ ai tóc xõa vai mềm.

Ta còn em cây bàng mồ côi mùa đông
Ta còn em nóc phố mồ côi mùa đông
Mảnh trăng mồ côi mùa đông
Mùa đông năm ấy
Tiếng dương cầm trong căn nhà đổ
Tan lễ chiều sao còn vọng tiếng chuông ngân?

Ta còn em một màu xanh thời gian
Từng chiều phai tóc em bay
Chợt nhòa, chợt hiện
Người nghệ sĩ lang thang hoài trên phố
Bỗng thấy mình chẳng nhớ nổi một con đường?

Ta còn em hàng phố cũ rêu phong
Và từng mái ngói xô nghiêng
Nao nao kỷ niệm
Chiều Hồ Tây lao xao hoài con sóng
Chợt hoàng hôn về tự bao giờ?
Little sister, Hanoi, old streets
You’re all that’s left me, orchid scent
You’re all that’s left me, alstonia flower
Rain whispering down deserted streets
Waiting for a woman, wind swept hair, tender shoulders

You’re all that’s left me, winter tree
You’re all that’s left me, icy abandoned street
Slip of winter moon
That year’s winter
where the voice of a piano echoes
Late into the night a bell still chimes

You’re all that’s left me, color of time
The evening fades, your hair flutters
Suddenly blurred, suddenly appeared
The poet wanders in vain through the streets
Suddenly realizing he has lost his way

You’re all that’s left me, old streets covered in moss
Every creaky old rooftop
In my topsy-turvy memory
Floating over the waves of West Lake
Suddenly twilight has fallen When it fell, I don’t know
You’re all that’s left me, orphaned winter tree

นอกจากนี้ Cyclo (1995) ยังมีการเพิ่มเติม ‘non-diegetic’ ประพันธ์โดย Tôn-Thất Tiết ในลักษณะคล้ายๆสร้อยของบทกวี มักดังขึ้นในช่วงเวลาที่ต้องการสร้างสัมผัสทางอารมณ์ ให้มีความรุนแรงเข้มข้น ผู้ชมบังเกิดความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์ขณะนั้นๆ

Tôn-Thất Tiết (เกิดปี 1933) คีตกวีสัญชาติ Vietnamese-French เกิดที่ Huê เดินทางสู่ Paris ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 เพื่อมาร่ำเรียนการแต่งเพลงยัง Conservatoire de Paris เคยเข้าคลาสของ Jean Rivier และ André Jolivet รับอิทธิพลการผสมผสานเพลงบทเพลงพื้นบ้านเข้ากับดนตรีตะวันตก (Eastern & Western) จบออกมามีผลงานประพันธ์ซิมโฟนี ออร์เคสตรา บัลเล่ต์ เพลงประกอบภาพยนตร์, เมื่อปี ค.ศ. 1993 ก่อตั้งสมาคม France-Vietnam Music Association เพื่อโปรโมทบทเพลงพื้นบ้าน (Traditional Music) ในประเทศเวียดนาม

ในอัลบัมเพลงประกอบ งานเพลงของ Tôn-Thât Tiêt ใช้ชื่อเรียก Suite Symphonique มีทั้งหมด 5 Movement ประกอบด้วย Part I, II, III, Epilogue และ Appendix น่าเสียดายที่หาคลิปมาให้รับฟังทั้งหมดไม่ได้

Cyclo (1995) นำเสนอเรื่องราวชายปั่นสามล้อถีบ ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน หาหนทางเอาตัวรอดปลอดภัย โชคชะตานำพาให้เข้าสู่โลกอาชญากรรม พบเห็นความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ มุมมืดของประเทศเวียดนาม เกิดความตระหนักว่านั่นไม่ใช่สถานที่ของตน ยังดีที่ไม่ได้ก้าวถล้ำลึก จึงมีโอกาสกลับตัวกลับใจ ถอยหลังออกมาเริ่มต้นชีวิตใหม่

ผกก. Trần Anh Hùng เมื่อครั้นเดินทางหวนกลับเวียดนาม เพื่อสำรวจสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ The Scent of Green Papaya (1993) คาดไม่ถึงว่าประเทศบ้านเกิดผ่านมาหลายสิบปี (อพยพหนีออกนอกประเทศตั้งแต่ช่วงสงครามเวียดนาม) กลับยังมีสภาพเสื่อมโทรม ล้าหลัง พบเห็นความทุกข์ยากลำบากผู้คน ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน ปากกัดตีนถีบ เพียงหาหนทางเอาตัวรอดไปวันๆ ไม่มีความฝัน ไม่รู้อนาคต เมื่อไหร่อะไรๆจะดีขึ้นกว่าวันวาน

Neo-Realist เป็นแนวภาพยนตร์ที่มีความสองแง่สองง่าม ขึ้นอยู่กับการตีความของผู้ชม

  • ในแง่มุมของผู้สร้าง ส่วนใหญ่ต้องการบันทึกภาพ ประวัติศาสตร์ เก็บฝังไว้ใน ‘Time Capsule’ ให้คนรุ่นหลังได้พบเห็นวิถีชีวิต ผู้คน สภาพสังคมในยุคสมัยนั้นๆ
    • บางครั้งอาจยังต้องการให้ผู้ชม ตระหนักถึงสภาพเป็นจริงในสังคมขณะนั้นๆ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง อนาคตต้องดีกว่าวันวาน
  • การนำเสนอมุมมืด สิ่งชั่วร้าย สภาพสังคมเสื่อมโทรมทราม สำหรับประเทศฟากฝั่งสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ มักมองว่าเป็นการทำลายภาพลักษณ์ สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ

สำหรับผกก. Trần Anh Hùng อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นว่า ไม่ได้ตั้งใจจะทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศบ้านเกิด เพียงนำเสนอสภาพเป็นจริงของสังคม เพื่อสร้างความตระหนักรับรู้ให้กับชาวเวียดนาม โดยใช้สารพัดเหตุการณ์รุนแรงในเชิงสัญลักษณ์ สะท้อนจิตสำนึก/ความทรงจำจากสงคราม (Vietnam War) ที่ยังคงติดตามมาหลอกหลอนถึงปัจจุบัน(นั้น)

As you know, in Japan, modern dance has stopped being what it was after Hiroshima. For me, cinema can no longer be what it was after the Vietnam war.

The violence in the film is not just a description of a bleak aspect of what Vietnam is today; it really carries my consciousness and memory of that war.

Trần Anh Hùng

เวียดนามทำการเปิดประเทศมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 (มีคำเรียก Đổi Mới นโยบายเศรษฐกิจใหม่ของเวียดนาม มุ่งเน้นตลาดเสรี แต่ใช้ระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์) แต่เพราะสภาพสังคมที่ถูกแช่แข็ง หยุดนิ่งมาหลายปี (ตั้งแต่สงครามเวียดนาม) มันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับตัวให้เข้ากับโลกภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

“เงิน” คืออิทธิพลจากชาติตะวันตกที่เผยแพร่เข้ามาถึง กลายเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ผู้คนพยายามทำทุกสิ่งเพื่อให้ได้ครอบครอง ปลดแอกความทุกข์ยากลำบาก ก้าวออกไปจากสลัม สร้างความสุขสบาย เติมเต็มความต้องการร่างกาย เคลิบเคลิ้ม หลงระเริง มึนเมาไปกับแสงสีเสียง แต่โดยไม่รู้ตัวมันเป็นสิ่งกลับบ่อนทำลายจิตวิญญาณมอดไหม้ หลงเหลือเพียงความเวิ้งว่างเปล่าทรวงใน

Xích Lô สูญเสียบิดาจากอุบัติเหตุ ตรงกันข้ามกับ The Poet แม้ยังมีชีวิตอยู่แต่ปฏิเสธยินยอมรับบุตรชาย ทั้งสองต่างถือว่ามีปมเกี่ยวกับการสูญเสีย ‘father figure’ บุคคลสำหรับเป็นต้นแบบอย่างในการดำรงชีวิต … นี่คือบทสรุปที่ผกก. Trần Anh Hùng พยายามสื่อถึงสภาพเสื่อมโทรม ล้าหลังของเวียดนาม(ขณะนั้น) เพราะขาดผู้นำที่มีศักยภาพในการกำหนดทิศทาง บริหารประเทศชาติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

When I started writing the script, my intention was to talk about rapport between fathers and sons. The idea comes from a physical sensation that swells up in me from time to time, that I’m doing the same gestures as my father did–and I’ve been able to verify that through writings, music preferences, etc. If in today’s Vietnam, you take some one like Cyclo, who has no father, no education, no future, which moral yardstick can he use in order to grow?

The film presents variations on that theme. Cyclo’s father is dead, yet present in his memory; the poet’s father is physically present, but dead in his son’s mind. Which makes it logical for these two guys to come together and become almost like brothers.

เมื่อตอนสรรค์สร้าง The Scent of Green Papaya (1993) ผกก. Trần Anh Hùng พยายามสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง & มารดา แทนด้วยหญิงชาวเวียดนามที่อยู่ภายใต้ระบอบปิตาธิปไตย (Patriarchy)

Cyclo (1995) สลับมาที่ความสัมพันธ์กับบิดา ไม่ใช่ว่าอีกฝ่ายล้มหายตายจาก แต่เป็นการสะท้อนถึงอิทธิพลที่มีต่อบุตรชาย แม้ไม่ค่อยแสดงออกความรัก หรืออยู่เคียงชิดใกล้ สายสัมพันธ์ฉันท์พ่อ-ลูก ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสายเลือด สืบทอดจากบรรพบุรุษ

And when Cyclo resumes his rapport with his father, he is, in a way, spiritually liberated, as through his father, he reestablishes a rapport with his ancestors. The oldest cult in Vietnam is that of ancestors’, and its most important rule is, “Live as good a life as you can, so that you can transmit to those that follow you, just as those before you tried to do for you.”


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice ได้เสียงตอบรับอย่างดีล้นหลาม สามารถคว้ามาสองรางวัล Golden Lion และ FIPRESCI Prize … แต่เป็นปีที่ไม่ค่อยมีหนังน่าจดจำเข้าฉายสักเท่าไหร่ La Cérémonie, Maborosi, The Deathmaker, The Star Maker ฯ

การถูกแบนห้ามฉายในเวียดนาม ทำให้ชื่อเสียงของผกก. Trần Anh Hùng (ในสายตาชาวเวียดนาม) หมดความน่าเชื่อถือโดยพลัน แม้พยายามแก้มือใหม่ด้วย The Vertical Ray of the Sun (2000) ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ ‘Vietnam Trilogy’ แต่กลับไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ ดูสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเองไปไม่น้อยเลยละ

ปัจจุบันหนังหารับชมได้ค่อนข้างยากยิ่ง ผมพบเจอเพียง DVD จัดจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2004 คุณภาพตามมีตามเกิด (แต่เข้ากับบรรยากาศ Neo-Realist ได้ดีมากๆ) โอกาสบูรณะช่างน้อยนิด เพียงคาดหวังว่า Criterion จะให้ความสนใจเข้าสักวัน

แม้ส่วนตัวรู้สึกเบื่อๆกับพล็อตจักรยานถูกขโมย แต่หลงใหลรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในสไตล์ผกก. Trần Anh Hùng ให้อิสรภาพผู้ชมในการขบครุ่นคิด ทำความเข้าใจวิถีชีวิต พบเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวเวียดนามยุคสมัยนั้น ที่ต้องอดรนทน ต่อสู้ดิ้นรน ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเอาชีพรอดปลอดภัย อาเหลียงคือสีสัน และจบอย่างหนังอาร์ทได้น่าประทับใจ

จัดเรต 18+ กับเรื่องราวอาชญากร สภาพสังคมเสื่อมโทรมทราม

คำโปรย | Cyclo ปั่นสามล้อถีบรอบกรุง Ho Chi Minh พบเห็นสภาพเป็นจริงที่สังคมนิยมไม่ให้การยินยอมรับ
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Mùi đu đủ xanh (1993)


The Scent of Green Papaya (1993) French,  : Trần Anh Hùng ♥♥♥♥♡

กลิ่นมะละกอ (Papaya) บางคนว่าหอมหวน บางคนว่าเหม็นหืน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ตลบอบอวลด้วยความทรงจำผู้กำกับ Trần Anh Hùng จากบ้านเกิดมาตั้งแต่อายุสิบสอง มองย้อนกลับไปรู้สึกสงสารเห็นใจ ประเทศเวียดนามยังคงยึดถือมั่นในสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchy)

ทั้งๆไม่มีสักช็อตถ่ายทำในเวียดนาม (ฉากทั้งหมดสร้างขึ้นในสตูดิโอที่ฝรั่งเศส) แต่กลับได้รับยกย่องหนึ่งในภาพยนตร์(สัญชาติเวียดนาม)ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุด! ติดอันดับ #89 ชาร์ท Busan: Asian Cinema 100 Ranking (2015) … เป็นหนังเวียดนามเรื่องเดียวติดชาร์ทนี้!

ไม่ใช่ว่าผมหยิบผลงานผู้กำกับ Trần Anh Hùng เพราะกระแสกำลังนิยมของ The Taste of Things (2023) แต่คือความเข้าใจผิดๆ ครุ่นคิดว่านี่คือหนังโรแมนติก –” จริงๆตั้งใจจะเขียนถึง Norwegian Wood (2010) ในช่วงวันวาเลนไทน์ แต่มันเลยมาไกลแล้วก็เอาเรื่องอื่นด้วยแล้วกัน

ผมมีความคาดไม่ถึงหลายๆอย่างต่อ The Scent of Green Papaya (1993) โดยเฉพาะความละเมียด เต็มไปด้วยรายละเอียด สัมผัสกวีภาพยนตร์ (ในสไตล์ Robert Bresson ผสมเข้ากับ Pather Panchali (1955)) นำเสนอผ่านมุมมองสายตาเด็กหญิง ถูกครอบครัวส่งมาทำงานเป็นคนรับใช้ เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น สังเกตสิ่งต่างๆรอบข้าง ทั้งผู้คน สรรพสัตว์น้อย-ใหญ่ เรียนรู้ ฝึกฝน อดรนทน จนเติบโตเป็นสาว แล้วครองรักกับนายจ้าง … เป็นภาพยนตร์ที่ประหยัดถ้อยคำ ใช้เพียงนักแสดงสมัครเล่น ดำเนินเรื่องด้วยภาษาภาพยนตร์ ถ่ายภาพ-ตัดต่อ-เพลงประกอบ มีความละมุน นุ่มนวล งดงามวิจิตรศิลป์ คละคลุ้งด้วยกลิ่นมะละกอ พอครุ่นคิดออกหรือเปล่าว่าแฝงนัยยะอะไร?


Trần Anh Hùng (เกิดปี 1962) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Vietnamese-French เกิดที่ Da Nang, South Vietnam ในช่วงสงคราม Vietnam War (1955-75) อพยพสู่ลาว ก่อนลี้ภัยไปฝรั่งเศส โตขึ้นระหว่างร่ำเรียนปรัชญา กระทั่งมีโอกาสรับชม A Man Escaped (1956) กำกับโดย Robert Bresson หันเหความสนใจมายังภาพยนตร์ ร่ำเรียนการถ่ายภาพ École nationale supérieure Louis-Lumière ทำงานเป็นตากล้อง กำกับหนังสั้น The Married Woman of Nam Xuong (1989), La pierre de l’attente (1991), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก The Scent of Green Papaya (1993)

ความสนใจของ Trần Anh Hùng ไม่ใช้การเล่าเรื่องแบบปกติทั่วๆไป พยายามมองหาวิธีสื่อสาร ภาษาภาพยนตร์รูปแบบใหม่ๆ ให้คำนิยามงานศิลปะ “Art is the truth wearing a mask” ท้าทายให้ผู้ชมครุ่นคิดค้นหาคำตอบของสิ่งที่หลบซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังหน้ากาก

ตามธรรมเนียมนักศึกษาภาพยนตร์จบใหม่(จากฝรั่งเศส) ผลงานเรื่องแรกมักสรรค์สร้างแนว ‘Coming-of-Age’ ซึ่งสำหรับ Trần Anh Hùng ได้ทำการหวนระลึกความหลัง ช่วงเวลาวัยเด็กเคยอาศัยอยู่เวียดนามใต้ (ก่อนย้ายมาอยู่ฝรั่งเศส) แต่ไม่ใช่เอาตนเองอวตารเป็นเด็กหญิง Mùi ต้องการนำเสนอเรื่องราวของมารดา สตรีเพศในสังคมชายเป็นใหญ่ ซึ่งสามารถสะท้อนจิตวิญญาณชาวเวียดนามได้เช่นเดียวกัน!

What I talk about in the film is what I know: my life with my mother. The emotional charge transferred to the film is a function of my description of women who have led similar lives to my mother.

I took the story from a literary cliché—a cliché of Vietnamese literature. It’s a simple theme, really: The woman assumes all the familial responsibilities; the husband, on the other hand, is quite idle and lazy, and doesn’t do anything except receive the good things of life. Beyond that, my interest in the film was to create a certain freshness and poetry in daily life. By this means, I wanted to give a rhythm to the movie, a rhythm that I hope represents a certain manner of living in Vietnam, and through that rhythm to reveal the soul of the country.

Trần Anh Hùng

ชื่อหนังเขียนได้ดังนี้: (เวียดนาม) Mùi đu đủ xanh, (ฝรั่งเศส) L’Odeur de la papaye verte, (อังกฤษ) The Scent of Green Papaya

ชื่อหนังภาษาเวียดนาม Mùi đu đủ xanh สังเกตคำแรก Mùi ตรงกันชื่อตัวละครเด็กหญิง-สาว มีความหมายว่า Odor (กลิ่น) ขณะที่ đu đủ xanh คือ Green Papaya แสดงว่าเราสามารถแปล กลิ่นของมะละกอ และ/หรือ มะละกอของเด็กสาว Mùi


เด็กหญิง Mùi วัยสิบขวบ เป็นเด็กช่างสังเกต อยากรู้อยากเห็น เต็มไปด้วยความกระตือรือล้น และที่สำคัญคือตั้งใจทำงาน ขยันขันแข็ง เรียนรู้การเป็นคนรับใช้ในครอบครัวหนึ่ง ประกอบด้วยสมาชิก

  • บิดาเป็นคนเกียจคร้าน วันๆเอาแต่หลับนอน เล่นดนตรี ไม่สนใจกิจการงาน ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อยไร้แก่นสารไปวันๆ
  • มารดาทำงานร้านขายผ้า ขณะนั้นยังมีความเศร้าโศกหลังการจากไปของบุตรสาวคนเล็ก (เลยเอ็นดูเด็กหญิง Mùi ราวกับลูกของตนเอง)
  • คุณยายตั้งแต่สูญเสียสามีคนรัก ก็กักขังตัวอยู่ในห้องชั้นบนไม่เคยก้าวลงมา วันๆเอาแต่สวดมนต์ ไม่ยินยอมทำอะไรอย่างอื่น
  • บุตรชายคนโตไม่ค่อยอยู่บ้าน ชอบออกไปสุงสิงกับเพื่อนสนิท(ที่มีฐานะร่ำรวย)
  • บุตรคนที่สองเป็นหนอนหนังสือ ทำเหมือนขยันขันแข็ง แต่แท้ที่จริงขี้เกียจคร้าน ชื่นชอบการทรมานสัตว์ตัวเล็กๆ
  • ส่วนบุตรคนเล็กนิสัยขี้เล่นซุกซน ยังไม่ค่อยรับรู้ประสีประสา แต่ชอบกลั่นแกล้งเด็กหญิง Mùi อยู่เป็นประจำ

วันหนึ่งบิดาผู้มีความเบื่อหน่ายกับชีวิตวันๆ ลักขโมยเงินเก็บ (เป็นครั้งที่สี่) หลบหนีหายตัวออกจากบ้าน ทำให้ครอบครัวเกือบตกอยู่ในสภาพคับขัน ต้องขายผ้าเอาหน้ารอด หลายวันจากนั้นบิดาหวนกลับมาในสภาพซมซาน ล้มป่วยหนัก มารดาจำต้องขายสิ่งของสะสม นำเงินมาเป็นค่ารักษาพยาบาล แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถยื้อย่างชีวิต

สิบปีถัดมาเมื่อลูกๆเติบใหญ่ย้ายออกจากบ้าน ครอบครัวจึงไม่สามารถว่าจ้างคนรับใช้ Mùi ได้อีกต่อไป เลยส่งเธอไปทำงานกับ Khuyen เพื่อนของบุตรชายคนโต(ที่เคยมาเยี่ยมเยียน แวะรับประทานอาหาร) ปัจจุบันจบจากนอก กลายเป็นนักเปียโนคอนเสิร์ต หมั้นหมายอยู่กับแฟนสาวสวย แต่ไม่นานเขาก็หลงในเสน่ห์(ปลายจวัก)ของ Mùi เลิกราคู่หมั้น แต่งงานครองรัก และกำลังจะมีบุตรร่วมกัน


ในส่วนของนักแสดง เพราะไม่ได้ถ่ายทำในเวียดนาม ก็เลยต้องมองหาคนเวียดนามที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส ทั้งหมดล้วนเป็นมือสมัครเล่น ไม่เคยมีประสบการณ์ภาพยนตร์ ด้วยเหตุนี้ผกก. Trần Anh Hùng จึงต้องครุ่นคิดหาวิธีใหม่ๆ (แรงบันดาลใจจาก ‘สไตล์ Bresson’) เริ่มจากลดบทพูดสนทนา พัฒนาภาษาสื่อสารทางร่างกาย (ที่สอดคล้องวัฒนธรรมเวียดนาม) และใช้มุมกล้อง-ตัดต่อช่วยในการดำเนินเรื่องราว

เฉกเช่นเดียวกับบทสนทนา ภาษาเวียดนามมีหลากหลายสำเนียงเหนือ-กลาง-ใต้ (ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ฝรั่งเศสมานาน หลายคนก็เริ่มลืมเลือนภาษาบ้านเกิด) ด้วยเหตุนี้จึงพยายามลดทอนบทพูด และเวลาสื่อสารเลือกใช้สำเนียงเป็นกลางที่สุด (พากย์ทับเอาภายหลัง) … น่าเสียดายที่ถ้าคุณไม่ได้สื่อสารภาษาเวียดนาม ย่อมไม่สามารถแยกแยะออก

First of all, it’s very difficult to find Vietnamese actors. The Vietnamese are, by nature, a gentle people, and also to be an actor is not considered a very good thing. It’s not considered a serious thing, to be in the cinema. Once I found my actors, I had to work with them on a whole system of rediscovery of “typically Vietnamese” gestures. But I couldn’t stop just at that level. After I had worked on getting the children, especially, to have those gestures, I had to go one step further. I had to render those gestures stylized. What I really wanted to avoid was local color.

I did the same kind of work on their voices. I had to take into account the situation of the Vietnamese who live in France. Here I am giving them a film which has no local color. They don’t find their Vietnam, specifically, when they go to watch it. And yet, they all admitted that the film was profoundly Vietnamese.

Trần Anh Hùng

เกร็ด: นักแสดงที่รับบท Mùi ตอนโต(อายุ 20 ปี) คือ Trần Nữ Yên Khê ศรีภรรยาของผกก. Trần Anh Hùng ซึ่งเธอยังร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ อาทิ Cyclo (1995), The Vertical Ray of the Sun (2000) ฯ


ถ่ายภาพโดย Benoît Delhomme (เกิดปี 1961) ตากล้องสัญชาติฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาจาก École nationale supérieure Louis-Lumière จบออกมาเป็นผู้ช่วยตากล้อง Bruno Nuytten ถ่ายทำภาพยนตร์ Jean de Florette (1986), Manon des Sources (1986), ฉายเดี่ยวกับ The Scent of Green Papaya (1993), Cyclo (1995), Family Resemblances (1996), Artemisia (1997), The Proposition (2008), 1408 (2007), The Boy in the Striped Pajamas (2008), The Theory of Everything (2017), At Eternity’s Gate (2018) ฯ

งานภาพของหนังรับอิทธิพลจากผลงานของผู้กำกับ Robert Bresson อีกเช่นเดียวกัน! โดดเด่นในการเก็บรายละเอียด สิ่งเล็กสิ่งน้อย ผ่านมุมมองสายตาเด็กหญิง Mùi หลายครั้งจึงดูเหมือนแอบถ่าย/ถ้ำมอง ลอดผ่านสิ่งข้าวของ วับๆแวมๆ ซึ่งนั่นช่วยทำให้จินตนาการเตลิดเปิดเปิงไปไกล

ผกก. Trần Anh Hùng เดินทางกลับเวียดนามครั้งแรกในรอบ 16 ปี (ตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนาม) ตั้งใจสำรวจหาสถานที่ถ่ายทำในกรุงโฮจิมินห์ แต่กาลเวลาได้ทำให้ทุกสิ่งอย่างผันแปรเปลี่ยน (เรื่องราวมีพื้นหลังทศวรรษ 50s-60s แต่ปีที่ถ่ายทำคือ 90s) เลยตัดสินใจหวนกลับฝรั่งเศส สร้างฉากถ่ายทำในสตูดิโอ Studios de Bry ตั้งอยู่ Bry-sur-Marne, Val-de-Marne

This was an extremely mental film, and it gives a mental image of Vietnam. It’s not a documentary. So the only thing I had to do was resist, in a sense, the reality that I discovered because that reality in front of me risked destroying the script that I had written. I had to return, or pull back into a mental state, the indices of reality. It was only by doing this that I managed to produce something that was extremely Vietnamese.

Trần Anh Hùng

มะละกอ (đu đủ) พบได้ทั่วไปทางตอนใต้ของเวียดนาม เป็นผลไม้ที่นิยมใช้ในเทศกาลตรุษญวน Tết Nguyên Đán (แปลตรงตัว Festival of the First Day) เฉลิมฉลองการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ มีลักษณะเหมือนกับประเพณีตรุษจีน (เพราะเวียดนามตกเป็นเมืองขึ้นของจีนนานนับพันปี) จัดขึ้นวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ (ก็ตรงกับวันตรุษจีนนั่นแหละ!)

เอาจริงๆผมไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ว่าเด็กหญิง Mùi หลงใหลอะไรในมะละกอ กลิ่นหอมหวน น้ำยางหล่นไหล รสสัมผัส เมล็ดภายใน? อาจเพราะเธอมองผลไม้ชนิดนี้ไม่ต่างจากตนเอง (เด็กหญิง Mùi = มะละกอดิบ ตัวแทนหญิงชาวเวียดนาม) คนส่วนใหญ่สนใจเพียงรสชาติภายนอก ทอดทิ้งแกนใน เมล็ดเหล่านี้แม้กินไม่ได้ แต่มันคือต้นกำเนิดชีวิตใหม่

ชายสูงวัยคนนี้ เหมือนจะมีความจงรักภักดี ติดตามคุณยายไปทุกแห่งหน คอยสอบถามสารทุกข์สุขดิบจากเด็กหญิง Mùi แต่เอาจริงๆพฤติกรรมไม่แตกต่างจาก Stalker ต้องการครอบครอง อยากได้เธอมาเป็นเจ้าของ ไม่ยินยอมปลดปล่อยอีกฝ่ายให้หลุดรอดจากเงื้อมมือตนเอง

ในตอนแรกเด็กหญิง Mùi พลั้งพลาดทำแจกันหล่นแตก ด้วยความไม่รู้ประสีประสาจึงได้รับการยกโทษให้อภัย … พยากรณ์ความตายของบิดา

ครั้งสองมีการกล่าวอ้างว่าหญิงสาว Mùi ทำแจกัน(ของคู่หมั้นนายจ้าง)ตกแตก แม้ไม่มีถ่ายซีนนั้นให้เห็น แต่ครั้งหนึ่งระหว่างทาลิปสติก เกือบทำแจกัน(ใบที่สอง)ตกแตก นั่นแสดงถึงความไม่ยี่หร่าต่อเจ้าของแจกัน … บอกใบ้ว่าท้ายที่สุดเธอคนนั้นย่อมต้องจากไป

คู่หมั้นนายจ้างเต็มไปด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด เขวี้ยงขว้างสิ่งข้าวของ ก่อนทำลายแจกันของตนเอง (แล้วถอดแหวนวางลงบนเปียโน) นี่สื่อตรงๆถึงหัวใจแตกสลาย สูญเสียชายคนรัก

In teaching Mui to read and write, the husband gives weapons to the wife to liberate herself. But this is just a possibility. Because, in the ending scene, Mui – after monologuing directly to the camera lens let out a cry and closed his eyes… the fetus moved in Mui’s belly. With this fetus, does the above-mentioned cycle begin again and the traditional relationship model is recreated?

Trần Anh Hùng

การอ่าน-เขียนหนังสือ ทำให้ภรรยาสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในมุมของผู้กำกับ Trần Anh Hùng เปรียบดั่งเมธาอาวุธสำหรับปลดแอกตนเองให้ได้รับอิสรภาพ แต่นั่นแค่เพียงความเป็นไปได้หนึ่งเท่านั้น เพราะการเคลื่อนเลื่อนกล้องจากครรภ์ของ Mùi พบเห็นภาพเบลอๆของชีวิต และสิ้นสุดเลื่อนขึ้นเห็นรูปปั้นเทพเจ้าเบื้องบนศีรษะ ราวกับว่านั่นโชคชะตาฟ้าลิขิต เบื้องบนกำหนดไว้ มนุษย์ไม่มีวันดิ้นหลุดพ้น (ในบริบทนี้ไม่ใช่เทพเทวดาฟ้าดิน แต่คือผู้นำประเทศชาติ บุคคลมีอำนาจดูแลประชาชน)

ตัดต่อโดย Nicole Dedieu, Jean-Pierre Roques

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตาเด็กหญิง Mùi ตั้งแต่เดินทางมาถึงบ้านนายจ้าง เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น หลายครั้งจึงดูเหมือนแอบถ่าย/ถ้ำมอง ลอดผ่านสิ่งข้าวของ โดยปกติมักไม่ค่อยมีคำอธิบายเหตุการณ์ใดๆ ผู้ชมต้องคอยสังเกตความเป็นไปต่างๆด้วยตนเอง นานๆครั้งถึงได้ยินเสียงแม่บ้านที่คอยสอนงาน เล่าถึงเบื้องหลังครอบครัว สำหรับช่วยเติมเต็มความครุ่นคิดจินตนาการ

  • การมาถึงของเด็กหญิง Mùi
    • Opening Credit เด็กหญิงกำลังมองหาบ้านนายจ้าง ในที่สุดก็เดินทางมาถึง
    • เรียนรู้งานจากแม่บ้าน ทำอาหาร ปัดกวาดเช็ดถู
    • พบเห็นกิจวัตรประจำวันของสมาชิกในครอบครัว
  • การจากไปของบิดา
    • เช้าวันหนึ่งบิดาหายตัวออกไปจากบ้าน ลักขโมยเงินเก็บ เครื่องประดับหมดสิ้น
    • พบเห็นปฏิกิริยาของสมาชิกในครอบครัว และด้วยเงินทองหร่อยหรอ เลยต้องกินอยู่อย่างประหยัด
    • พอสถานะการเงินกลับมามั่นคง บิดาก็หวนกลับมาในสภาพล้มป่วยหนัก
    • มารดาจึงจำต้องขายของสะสมเก่า นำเอาเงินมาจ่ายค่าหมอ ทำการฝังเข็ม แต่ก็ไม่เป็นผลอะไร

องก์สามของหนังจะเป็นการ ‘Time Skip’ กระโดดไปข้างหน้า สิบปีต่อมา Mùi เติบโตเป็นสาวแรกรุ่น ถูกส่งไปทำงานบ้านหลังใหม่ แม้ยังคงมีความอยากรู้อยากเห็น เพิ่มเติมคือความทะเยอทะยาน เพ้อใฝ่ฝัน ใช้มารยาเสน่ห์(ปลายจวัก) จนในที่สุดก็ได้เลื่อนสถานะ แต่งงานครองคู่รักนายจ้าง

  • สิบปีให้หลัง
    • หลังจากลูกๆย้ายออกไปมีครอบครัว มารดาจึงตัดสินใจส่ง Mùi ไปทำงานบ้านหลังใหม่
    • ณ บ้านหลังใหม่ Mùi เป็นสาวรับใช้ที่มีความขยันขันแข็ง ขณะเดียวกันก็สังเกตกิจวัตรประจำวันของนายจ้างและคู่หมั้น
    • วันหนึ่งระหว่างทั้งสองออกไปนอกบ้าน Mùi แต่งชุดอ่าวหญ่าย ทาลิปสติก เพ้อใฝ่ฝันอยากมีชีวิตเช่นนั้น บังเอิญนายจ้างหวนกลับมาพบเห็น ต่างฝ่ายต่างเริ่มไม่สามารถควบคุมตนเอง
    • นายจ้างตัดสินใจเลิกราคู่หมั้น แล้วมาแต่งงานกับ Mùi สอนให้รู้จักอ่านเขียน และกำลังจะมีบุตรร่วมกัน

ไฮไลท์การตัดต่อ คือการแทรกภาพสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ใช้เปรียบเทียบคู่ขนานกับเรื่องราวของมนุษย์ นี่ชวนให้ผมนึกถึง Pather Panchali (1955) กำกับโดย Satyajit Ray ทำให้หนังมีสัมผัสธรรมชาติ ใส่ใจรายละเอียดรอบข้าง ลักษณะของกวีภาพยนตร์

นอกจากนี้การตัดต่อยังพยายามทำออกมาให้สอดคล้องจังหวะของบทเพลง ช่วงแรกๆมีความช้าเนิบ เพราะความไม่รู้เดียงสา ว่าฉันกำลังจะพบเจออะไร แต่เมื่อเด็กสาวเริ่มสามารถปรับตัวเข้ากับกิจการงานบ้าน หนังจะมีการดำเนินเรื่องที่รวดเร็วขึ้น(ทีละนิด) และองก์สามถือว่าโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน แคล่วคล่องว่องไว แสดงถึงประสบการณ์ เชี่ยวชำนาญ รับรู้ความต้องการของตนเอง

I wanted to give a rhythm to the movie, a rhythm that I hope represents a certain manner of living in Vietnam, and through that rhythm to reveal the soul of the country.

Trần Anh Hùng

เพลงประกอบโดย Tôn-Thất Tiết (เกิดปี 1933) คีตกวีสัญชาติ Vietnamese-French เกิดที่ Huê เดินทางสู่ Paris ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 เพื่อมาร่ำเรียนการแต่งเพลงยัง Conservatoire de Paris เคยเข้าคลาสของ Jean Rivier และ André Jolivet รับอิทธิพลการผสมผสานเพลงบทเพลงพื้นบ้านเข้ากับดนตรีตะวันตก (Eastern & Western) จบออกมามีผลงานประพันธ์ซิมโฟนี ออร์เคสตรา บัลเล่ต์ เพลงประกอบภาพยนตร์, เมื่อปี ค.ศ. 1993 ก่อตั้งสมาคม France-Vietnam Music Association เพื่อโปรโมทบทเพลงพื้นบ้าน (Traditional Music) ในประเทศเวียดนาม

งานเพลงของ Tôn-Thất Tiết สามารถแบ่งออกเป็นครึ่งแรก(องก์หนึ่งและสอง) คละคลุ้งด้วยกลิ่นอายเครื่องดนตรีพื้นบ้านเวียดนาม (Traditional Vietnamese) พบเห็นบิดาบรรเลง Đàn nguyệt (ด่านเวียต) เครื่องดนตรีประเภทสาย (เครื่องดีด) ลักษณะคล้ายกีต้าร์ แต่มีเพียง 2 เส้น, ส่วนขลุ่ยไม้ไผ่มีคำเรียก Sáo หรือ Sáo Trúc

ส่วนองก์สามหลังจาก Mùi ย้ายมาทำงานกับนายจ้างคนใหม่ ครานี้ได้ยินเสียงดนตรีตะวันตก บรรเลงเปียโน (และไวโอลินกรีดกราย) บทเพลงคลาสสิกดังๆอย่าง Debussy: Clair de Lune, Chopin: Prélude No. 23-24

แม้ไม่ได้มีท่วงทำนองติดหู แต่งานเพลงของ Tôn-Thất Tiết มีลักษณะเหมือนสร้อยบทกวี คอยเติมเต็มสัมผัสทางอารมณ์ ให้สอดคล้องเหตุการณ์ขณะนั้นๆ … บทเพลงเป็นสิ่งช่วยสร้างอรรถรสในการรับชม และเสริมความเข้าใจเรื่องราวบังเกิดขึ้น

I don’t use music as an illustration but as a tool to communicate with the viewer. The music comes when the viewer’s emotions are ripe. And importantly, the music must match the rhythm and atmosphere of the movie, they work together to create a very special space when enjoying.

Trần Anh Hùng

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือการใช้ ‘Sound Effect’ เต็มไปด้วยเสียงของธรรมชาติ สรรพสัตว์น้อย-ใหญ่ ทั้งที่มองเห็น-ไม่เห็น นั่นรวมถึงสัญญาณไซเรน (เคอร์ฟิว) และเครื่องบินผ่านศีรษะ นี่ไม่ใช่แค่การสร้างบรรยากาศเวียดนามยุคสมัยนั้น ยังพยายามเชื่องโยงความสัมพันธ์ระหว่างภายในครอบครัว (จุลภาค) และสังคมภายนอก/ประเทศชาติ (มหภาค)

  • สัญญาณไซเรนในช่วงเคอร์ฟิว สื่อถึงการใช้อำนาจของรัฐควบคุมประชาชน = ลูกหลานปฏิบัติตามคำสั่งบิดา
  • เสียงเครื่องบินผ่านศีรษะ ในตอนแรกผมครุ่นคิดถึงภยันตรายย่างกรายเข้ามา (ความสัมพันธ์นาย-บ่าว ขัดต่อหลักจริยธรรมทางสังคมสมัยนั้น) ขณะเดียวกันยังสามารถสื่อถึงการเอื้อมมือไขว่คว้า ต้องการครอบครองเทพบุตรสุดหล่อของสาวใช้ Mùi

ครึ่งแรก (องก์หนึ่งและสอง) นำเสนอเรื่องราววุ่นๆวายๆของบรรดาเพศชาย (ทั้งสามีและลูกๆ) พฤติกรรมของพวกเขาต่างไม่เคยสนใจใยดี หนำซ้ำยังพยายามกลั้นแกล้ง กดขี่ข่มเหง ควบคุมครอบงำ วางอำนาจบาดใหญ่ (ตามวิถีสังคมปิตาธิปไตย) สตรีเพศไม่ต่างจากคนรับใช้ ต้องคอยปัดกวาดเช็ดถู ดูแลงานบ้านการเรือน ปรนเปรอปรนิบัติ(สามี) คอยทำทุกสิ่งอย่างอยู่เบื้องหลัง(ช้างเท้าหลัง)เพื่อครอบครัว

การจากไปของบิดา เสาหลักของบ้าน แม้วันๆไม่เห็นทำอะไร เอาแต่นั่งๆ นอนๆ เล่นดนตรี มีความขี้เกียจคร้าน แต่กลับทำให้ครอบครัวตกอยู่ในสภาวะสั่นคลอน ขาดที่พึ่งพิง ไม่ใช่แค่มารดา ยังลูกๆทั้งสามเรียกร้องถามหา … นี่แสดงถึงรากฐานครอบครัว/สังคม จิตวิญญาณของประเทศเวียดนาม เติบโตขึ้นจากแนวคิดปิตาธิปไตย

องก์สามของหนัง มองผิวเผินเหมือนการได้รับอิสรภาพ ความรักทำให้หญิงสาวปลดแอกจากการเป็นคนรับใช้ แต่ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา คือบ่วงบาศ โซ่ตรวน อันจะทำให้สถานะของเธอปรับเปลี่ยนเป็นมารดา นั่นคือการเวียนวนหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น

When meeting love, the gestures of service and service change their meaning and content, becoming gestures of sacrifice and dedication. Love frees women from being servants, while at the same time imprisoning them in the relationship of serving men like never before. The complexity and ambivalence in the relationship between service and love are the issues that The Scent of Green Papaya wants to raise.

Trần Anh Hùng

คู่หมั้นสาวสวย vs. คนรับใช้ Mùi หลายคนอาจเปรียบเทียบถึงชนชั้นสูง-ต่ำ (จริงๆมันต้อง Middle Class vs. Working Class), สาวสมัยใหม่ ระริกระรี้แรดร่าน vs. หญิงสมัยเก่า เรียบร้อยดั่งผ้าพับไว้, ผกก. Trần Anh Hùng ให้เหตุผลของการเลือกของฝ่ายชาย (ไม่ได้สะท้อนรสนิยมของเขาเอง) คือหวาดกลัวการสูญเสียอำนาจ

two methods of seduction in a sexual relationship. On one side is Khuyen’s Europeanized fiancee and her Western seduction style, based on force correlation and provocation. On the other side is Mui and the Oriental seduction, based on the permeation and relationships between men and women that avoid each other to become necessary for each other. Ultimately, a woman’s choice of traditional silk may be due to the desire to return to the source or because of fear of radical changes.

สิ่งที่หนังพยายามนำเสนอ คือวังเวียนวน วงจรอุบาทว์ วัฏจักรชีวิตหญิงชาวเวียดนาม ภายใต้วิถีสังคมปิตาธิปไตย

  • เด็กหญิง Mùi คือช่วงเวลาฝึกฝน เรียนรู้ ทำความเข้าใจสิ่งต่างๆรอบข้าง
  • หญิงสาว Mùi ใช้มารยาเสน่ห์(ปลายจวัก)ในการเกี้ยวพาราสี ปลดแอกจากการเป็นคนรับใช้ แต่งงาน มีบุตร ครุ่นคิดว่าอนาคตคงสุขสบาย
  • มารดาพอหมดความสวยสาว ถูกสามีเฉดหัว ไม่สนใจใยดี (หนีออกจากบ้าน/คบชู้นอกใจ) แต่ยังต้องทำทุกสิ่งอย่างเพื่อครอบครัว บุตรชาย-สาว อดกลั้นต่อความเจ็บปวดรวดร้าวทุกข์ทรมาน
  • ยายวัยชรา หลังสูญเสียทุกสิ่งอย่าง ทำได้เพียงสวดมนต์อธิษฐาน เฝ้ารอคอยวันตาย ไม่สามารถกระทำสิ่งอื่นใด

มารดาของผู้กำกับ Trần Anh Hùng ไม่เคยเป็นสาวใช้ หรือมีสภาพหมดอาลัยเหมือนคุณยาย แต่วิถีชีวิตของเธอคือช้างเท้าหลัง ไร้อำนาจ สิทธิ์เสียง เพียงศิโรราบต่อบิดา นั่นเป็นสิ่งที่เขารับรู้สึกว่ามันไม่ค่อยถูกต้อง

The nature of the relationship with my mother is affectionate and sympathetic. The nature of the relationship with the father is authority: the father is the one in charge of the family, the one who whips, and not just figuratively.

ฝรั่งเศสคือดินแดนแห่งเสรีชน คนหัวก้าวหน้า อิสรภาพในการครุ่นคิดแสดงออก เสมอภาคเท่าเทียมระหว่างบุรุษ-สตรี เหล่านี้ล้วนสร้างอิทธิพลให้กับ Trần Anh Hùng พอมองย้อนกลับมาดูตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติที่จากมา บังเกิดความขัดแย้งภายใน ต้องการสำแดงบางอย่างให้ชาวเวียดนาม ได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก ออกจากกบในกะลาคลอบ

มะละกอดิบ สัญลักษณ์แทนโชคชะตาหญิงชาวเวียดนาม ในสังคมปิตาธิปไตย ยังไม่ทันหง่อมก็ถูกตัดมาทำเป็นอาหาร ขูดๆสับๆ ได้เท่าไหร่เท่านั้น เหลือก็โยนทิ้งขว้างอย่างไร้เยื่อใย … เอาจริงๆผมไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ แต่มันอาจคือวัฒนธรรมการบริโภคของชาวเวียดนาม ชอบมะละกอสดๆดิบๆ ไม่กินแบบสุกๆหรือเก็บไว้ในตู้เย็น กระมั้งนะ

The image of a green papaya speaks metaphorically of the main theme of the fate of Vietnamese women, a traditional relationship between women and men, the service relationship. A service accepted with an extraordinary spiritual power that one can encounter in Vietnamese mothers. An unacceptable regime, if considered materialistically.


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes ในโปรแกรมฉาย Un Certain Regard เสียงตอบรับถือว่าดียอดเยี่ยม (ยุคสมัยนั้น Un Certain Regard ยังไม่ใช่สายการประกวด เลยไม่มีการมอบรางวัลใดๆ) สามารถคว้ารางวัล Caméra d’Or สำหรับภาพยนตร์เรื่องแรก (Best First Feature Film)

จริงๆแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นในประเทศฝรั่งเศส ออกทุน-จัดจำหน่ายโดยสตูดิโอสัญชาติฝรั่งเศส แต่เพียงเพราะพูดภาษาเวียดนาม จึงได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศเวียดนามส่งเข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film ถือเป็นครั้งแรกครั้งเดียว(ของเวียดนาม)เข้าถึงรอบห้าเรื่องสุดท้าย แต่พ่ายให้กับ Belle Époque (1992) จากประเทศสเปน [เอาจริงๆไม่มีลุ้นเพราะปีนั้นสายแข็งโคตรๆ เพราะยังมี Farewell My Concubine (1993) และ The Wedding Banquet (1993))

ปัจจุบันหนังยังไม่ได้รับการบูรณะ แต่ฉบับ DVD/Blu-Ray ของค่าย Kino Lorber วางจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2011 คุณภาพถือว่าดียอดเยี่ยม

ส่วนตัวมีความหลงใหลคลั่งไคล้ The Scent of Green Papaya (1993) ประทับใจในลีลาการนำเสนอ มีความละเมียด เต็มไปด้วยรายละเอียด สัมผัสกวีภาพยนตร์ เกือบจะได้กลายเป็นหนังโปรดเรื่องใหม่ ถ้าไม่เพราะองก์สุดท้าย ‘Time Skip’ ดูเร่งรีบร้อน รวบรัดตัดตอน ไอ้เด็กเวรเยี่ยวใส่กระโถนมันหายหัวไปไหน? ค้างๆคาๆโน่นนี่นั่นมากเกินไป ดวงตาอันบริสุทธิ์ของเด็กหญิง แปรสภาพสู่ความยั่วเย้ายวน แย่งผัวชาวบ้าน ได้รับอิสรภาพชีวิต … เห้อ!

จัดเรต pg กับบรรยากาศชายเป็นใหญ่ คบชู้นอกใจ

คำโปรย | ความตลบอบอวลของ The Scent of Green Papaya มันอาจหอมหวนสำหรับชาวเวียดนาม แต่สำหรับ Trần Anh Hùng กลับเหม็นหืน กล้ำกลืน รู้สึกสงสารเห็นใจ
คุณภาพ |
ส่วนตัว | ตกหลุมรัก

Moonstruck (1987)


Moonstruck (1987) hollywood : Norman Jewison ♥♥♥♥

พระจันทร์เป็นใจ เต็มไปด้วยเรื่องราวรักๆใคร่ๆ ความวุ่นๆวายๆของคนขี้เหงา ทั้งหนุ่ม-สาว กลางคน สูงวัย อาจเพราะหวาดกลัวความตาย เลยต้องมองหาใครสักคนเคียงข้างกาย

ภาพยนตร์รวมดารา (Ensemble Cast) ที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ครึกครื้นเครง อลเวง หัวเราะจนท้องไส้ปั่นป่วน ด้วยบทสนทนาอันเฉียบคมคาย เพลงประกอบโดนใจ เหมาะสำหรับคนโสดในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ สำหรับคลายความเหงา เอาความเศร้าโยนทิ้งไปให้ไกล

ในตอนแรกผมมีความสองจิตสองใจว่าจะรับชม Monnstruck (1987) ดีไหม? แม้ไปคว้ารางวัล Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Berlin รวมถึงเข้าชิง Oscar หลากหลายสาขา (คว้ามาสามรางวัล) แต่เหตุผลที่ตัดสินใจเขียนบทความนี้เพราะนักวิจารณ์ Roger Ebert ยกให้เป็น “Great Movie”

When Ronny Cammareri sweeps Loretta Castorini off her feet in “Moonstruck,” he almost, in his exuberance, throws her over his shoulder. “Where are you taking me?” she cries. “To the bed!” he says. Not “to bed”, but “to the bed”. There is the slightest touch of formality in that phrasing, and it is enough to cause Loretta to let her head fall back in surrender.

Roger Ebert ให้คะแนน 4/4 พร้อมจัดเป็น Great Movie

ผมไม่ได้มีความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษขนาดนั้น เลยไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่ Ebert พยายามอธิบายนี้สักเท่าไหร่ แต่ก็ได้ค้นพบอีกสิ่งหนึ่งถือเป็นไฮไลท์ของหนัง คือลีลาการเล่าเรื่องคู่ขนานของผกก. Jewison ไม่ได้นับว่ามีทั้งหมดกี่คู่ เอาว่าทุกคนล้วนคบชู้นอกใจ รถไฟชนกัน ช่างเป็นเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ ชิบหายวายป่วน แล้วสามารถขมวดปมทิ้งท้ายด้วยการหักมุมที่คาดไม่ถึง … บทความนี้ไม่มีสปอยตอนจบนะครับ


Norman Frederick Jewison (1926-2024) ผู้กำกับ/นักแสดง สัญชาติ Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario ตั้งแต่เด็กฉายแววด้านการแสดง ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อาสาสมัครทหารเรือ Royal Canadian Navy หลังปลดประจำการออกเดินทางท่องเที่ยว American South หวนกลับมาเรียนต่อ Victoria College แล้วย้ายสู่ London เขียนบทรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก หวนกลับมาแคนาดาทำงานยัง CBC Television ได้เป็นผู้ช่วย กำกับเกมโชว์ วาไรตี้ เข้าตานักแสดง Tony Curtis ชักชวนมากำกับภาพยนตร์เรื่องแรก 40 Pounds of Trouble (1962), แจ้งเกิดกับ The Cincinnati Kid (1965), The Russians Are Coming, the Russians Are Coming (1966), เคยเข้าชิง Oscar: Best Director จำนวนสามครั้ง แต่ไม่เคยได้สักรางวัล In the Heat of the Night (1967), Fiddler on the Roof (1971) และ Moonstruck (1987)

เกร็ด: คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า Norman Jewison เป็นชาว Jews (เพราะนามสกุล) แต่แท้จริงแล้วนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestant) กลุ่มเคลื่อนไหว Methodists

Jewison ถือเป็นผู้กำกับ ‘High Profile’ ในช่วงทศวรรษ 60s-70s มีผลงานกระแสหลัก (Mainsteam) ประสบความสำเร็จมากมาย ครุ่นคิดว่านั่นจะทำให้ตนเองมีโอกาสสรรค์สร้างภาพยนตร์ในความสนใจ แต่ไม่เลย ค.ศ. 1985 ลงทุนลงแรงกับฉบับสร้างใหม่ The Man Who Could Work Miracles จากนวนิยายของ H. G. Wells แต่กลับไม่มีสตูดิโอไหนให้ความสนใจ

[Those rejections were] very destructive for me at times. When I become depressed and disillusioned and forsaken and nobody believes in you anymore … you take it personally.

Norman Jewison

ระหว่างนั้นเองที่ผกก. Jewison ได้อ่านบทหนังพัฒนาโดย John Patrick Shanley (เกิดปี 1950) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน พอมีชื่อเสียงในวงการละคอนเวที กำลังมองหาลู่ทางเข้าสู่วงการภาพยนตร์ ยื่นพล็อตเรื่องที่นำแรงบันดาลใจจากชีวิตจริง เสนอยังสตูดิโอต่างๆแต่ยังไม่มีใครสนใจ

มันฟังดูไม่น่าจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอะไร แต่เรื่องราวคนเหงา โหยหาความรัก ใครสักคนเคียงข้างกาย นั่นคือสิ่งสะท้อนความรู้สึกขณะนั้นของผกก. Jewison เมื่อตอนนำโปรเจค The Man Who Could Work Miracles ไปเสนอสตูดิโอแห่งหนไหน แต่กลับไม่มีใครให้ความสนใจ … นั่นคือเหตุผลที่ทำให้เขาตัดสินใจกำกับโปรเจคนี้!

Working Title ในบทร่างแรกคือ The Bride and the Wolf ฟังดูเหมือนหนัง Horror, เห็นว่า Cher เคยเสนอชื่อ Moonglow แต่ทว่าผกก. Jewison ไม่ค่อยชอบชื่นสักเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้นกลับยินยอมใช้ชื่อดังกล่าวชั่วคราวระหว่างถ่ายทำ เพื่อจะได้ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับนักแสดง ก่อนสุดท้ายเปลี่ยนมาใช้ Moonstruck, ชื่อไทย พระจันทร์เป็นใจ

เกร็ด: Moonstruck (1987) ถือเป็นบทหนังแจ้งเกิดนักเขียน John Patrick Shanley แต่ประสบความสำเร็จสูงสุดคือบทละคอนเวที Doubt: A Parable (2004) กวาดเรียบทั้ง Tony Award, Drama Desk Award, Pulitzer Prize และกลายเป็นภาพยนตร์ Doubt (2008) รับหน้าที่ทั้งกำกับ & เขียนบท ร่วมงานนักแสดงเกรดเอ Meryl Streep, Philip Seymour Hoffman, Amy Adams, Viola Davis (ทุกคนได้เข้าชิง Oscar สาขาการแสดง)


เรื่องราวของ Loretta Castorini (รับบทโดย Cher) สาวหม้ายนักบัญชี สัญชาติ Italian-American ตัดสินใจเริ่มต้นรักครั้งใหม่ในวัย 37 ด้วยการหมั้นหมาย Johnny Cammareri (รับบทโดย Danny Aiello) แต่แท้จริงแล้วไม่ได้ตกหลุมรักชายคนนี้สักเท่าไหร่

จนกระทั่งได้พบกับน้องชาย Ronny Cammareri (รับบทโดย Nicolas Cage) หนุ่มเจ้าอารมณ์ที่มีความตรงไปตรงมา ทำงานเบเกอรี่อบขนมปัง สูญเสียมือข้างหนึ่ง(พร้อมแฟนสาว)ไปเมื่อหลายปีก่อน ด้วยอุปนิสัยแตกต่างตรงข้ามกับพี่ชาย จู่ๆตกหลุมรัก Loretta พาเข้าห้องในค่ำคืนพระจันทร์เต็มดวงใหญ่ ทำให้เกิดเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ ชิบหายวายป่วน สุดท้ายแล้วเธอจะเลือกแต่งงานกับใคร??


Cher ชื่อจริง Cherilyn Sarkisian (เกิดปี 1946) นักร้อง นักแสดง เจ้าของฉายา “Goddess of Pop” เกิดที่ El Centro, California บิดามีเชื้อสาย Armenian หย่าร้างภรรยาตั้งแต่บุตรสาวยังเล็กนัก วัยเด็กชื่นชอบหลงใหล Andrey Hepburn จากภาพยนตร์ Breakfast at Tiffany (1961) ต้องการเป็นบุคคลมีชื่อเสียง พออายุ 16 ออกจากโรงเรียน ทำงานหาเงิน เข้าคอร์สการแสดง พบเจอ Sonno Bono กลายเป็นศิลปินดูโอ้ Sonny & Cher โด่งดังกับบทเพลง I Got You Babe ติดอันดับหนึ่ง Billboard Hot 100 ออกอัลบัมแรก Look at Us (1965), หลังหย่าร้างกับ Bono ถึงเริ่มหวนกลับมาดำเนินตามความฝัน เข้าเรียนคอร์สของ Lee Strasberg แต่ไม่ทันได้ผ่านการออดิชั่นละคอนเวที Broadway ผ่านตาผกก. Mike Nichols ชักชวนมาร่วมแสดงภาพยนตร์ Silkwood (1983) ได้เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actess, ผลงานเด่นๆ อาทิ Mask (1985), The Witches of Eastwick (1987), Moonstruck (1987) ฯ

รับบท Loretta Castorini แม่หม้ายวัย 37 ปี อาศัยอยู่กับครอบครัวในย่าน Brooklyn Heights เพราะเคยมีประสบการณ์แต่งงาน แล้วสามีคนแรกตายจากไป ความเศร้าโศกเสียใจทำให้เธอสร้างกำแพงขึ้นมาขวางกั้น ไม่ต้องการมอบความรักให้ใครอื่น ตอบตกลงหมั้นหมาย Johnny Cammareri ทั้งๆไม่เคยรับรู้สึกอะไร แต่การพบเจอกับน้องชาย Ronny ได้ปลุกตื่นอะไรบางอย่างขึ้นภายใน

มีนักแสดงหลายคนอยู่ในความสนใจของสตูดิโอ อาทิ Liza Minnelli, Rosanna Arquette, Demi Moore, Barbra Streisand, Sally Field ฯ แต่ผกก. Jewison ไม่เคยพิจารณาใครอื่นนอกจาก Cher เพราะความ “gritty” และ “streetwise quality” น่าจะแปลว่าดื้อรั้น ยุ่งยาก กล้าพูดกล้าแสดงออก มีความเข้มแข็ง และรักอิสระ

แน่นอนว่าภาพจำเช่นนั้นสะท้อนตัวตนของเธอ เป็นคนเรื่องมาก เอาแต่ใจ การร่วมงานผกก. Jewison ช่วงแรกก็พูดคุยกันดี แต่ต่อมาเต็มไปด้วยความหงุดหงิด รำคาญใจ เห็นว่าเขาเพลิดเพลินกับการทำงานมากเกินไป หัวเราะกับทุกมุกตลก ไม่สามารถควบคุมตนเองระหว่างถ่ายทำ เลยทำลายเทคดีๆที่เธอทุ่มให้การแสดงอยู่หลายครั้ง

การแสดงของ Cher ช่วงแรกๆดูเพิกเฉย ลอยชาย โบยบินจากฉากหนึ่งไปอีกฉากหนึ่ง ไม่พยายามทำให้ตนเองบังเกิดความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับใคร จนกระทั่งพบเจอ Ronny ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นภายใน อารมณ์ลุ่มร้อน กระวนกระวาย พยายามดิ้นหลบหนี แต่ก็ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกตนเองได้อีกต่อไป

ภาพยนตร์รอมคอมในยุคก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่มักเป็นชายจีบหญิง เธอเปรียบดั่งนางฟ้าในอุดมคติ เลิศเลอสมบูรณ์แบบ แต่นั่นไม่ใช่สำหรับ Loretta หญิงหม้ายผู้เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง นิสัยเรื่องมาก เอาแต่ใจ มองโลกในแง่ร้าย พยายามครอบงำฝ่ายชาย ที่สำคัญคือไม่สามารถควบคุมอารมณ์/ความต้องการของตนเอง … นี่ถือเป็นตัวละครผิดแผกแปลกประหลาด แต่กลับถูกอกถูกผู้ชมสมัยนั้น เปิดประตูสู่ ‘Modern’ Romantic Comedy

แซว: ระหว่างโปรดักชั่น Cher พร่ำบ่นกับ Olympia Dukakis เชื่อว่าหนังล้มเหลวแน่ๆ ครุ่นคิดว่านี่อาจเป็นการแสดงแย่ที่สุดในชีวิต แต่ผลลัพท์กลับไม่มีใครคาดคิดถึง ทั้งสองกวาดรางวัลการแสดงนำหญิง-สมทบหญิง แทบจะทุกสำนัก!


Nicolas Cage ชื่อจริง Nicolas Kim Coppola (เกิดปี 1964) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Long Beach, บิดาคือ August Coppola เป็นพี่ชายของ Francis Ford Coppola, วัยเด็กมีความคลั่งไคล้ James Dean เลยมุ่งมั่นอยากเป็นนักแสดง พยายามโน้มน้าวลุงให้ได้ทดสอบหน้ากล้อง (ไม่รู้หนังเรื่องอะไร) แต่พอไม่ได้รับโอกาสเลยทำการเปลี่ยนชื่อ Nicolas Cage (ได้แรงบันดาลใจจาก Superhero ชื่อ Luke Cage) แล้วเข้าเรียนต่อ UCLA School of Theater, Film and Television, ผลงานสร้างชื่อ อาทิ Moonstruck (1987), Raising Arizona (1987), Wild at Heart (1990), Leaving Las Vagas (1995) ** คว้า Oscar: Best Actor, Adaptation (2002), The Bad Lieutenant: Port of Call New Orleans (2009) ฯ

Ronny Cammareri น้องชายของ Johnny Cammareri ทำงานร้านเบเกอรี่ วันหนึ่งประสบอุบัติเหตุมือขาด เลยถูกแฟนสาวทอดทิ้ง ตกอยู่ในความสิ้นหวัง เก็บกดอาการคลุ้มคลั่ง พอรับรู้พี่ชายกำลังจะแต่งงาน ระเบิดความรู้สึกภายในใส่ Loretta ไปๆมาๆเห็นว่าเธอสวยดี เลยเกี้ยวพาราสี พูดโน้มน้ำ ชักแม่น้ำทั้งห้า พาขึ้นห้อง ร่วมรักหลับนอน กัดไม่ปล่อย โดยไม่สนอะไรใครทั้งนั้น

สตูดิโอให้ความสนใจนักแสดงเกรดเออย่าง Tom Cruise, Bill Murray, Nicolas Cage ก็มาทดสอบหน้ากล้องแต่ผลลัพท์ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ ในตอนแรกเลือก Peter Gallagher แต่เห็นว่า Cher ล็อบบี้อยากได้ Cage เพราะมองว่าอีกฝ่ายเหมาะกับการเล่นคนบนบ้าๆบอๆ

การแสดงของ Cage เลื่องชื่อในความเว่อวังอลังการ ทั้งคำพูด สีหน้า ท่าทาง เหมือนโอเว่อแอ็คติ้ง (Over-Acting) ดูเหนือจริง (Surrealist) เจ้าตัวเรียกว่าวิญญาณเข้าสิง (Nouveau Shamanic) นั่นเป็นสิ่งที่ผู้ชมสมัยนั้นยังไม่เข้าใจสไตล์การแสดงลักษณะนี้ เลยถูกมองข้าม SNUB ทุกสถาบัน แต่นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คำยกย่องไว้อย่างน่าสนใจ

In a career of playing goofballs, Cage has never surpassed his Ronny Cammareri. Who else could bring such desperation to his speech when he declares his love? “Love don’t make things nice. It ruins everything. It breaks your heart. It makes things a mess. We aren’t here to make things perfect. The snowflakes are perfect. The stars are perfect. Not us. Not us! We are here to ruin ourselves and to break our hearts and love the wrong people and die.” And then, she having gone through the motions of resistance: “Now I want you to come upstairs with me and get in my bed!”

Roger Ebert

ผมละยอมใจบทสนทนาเฉียบๆของหนังจริงๆ เมื่อออกมาจากปาก Cage ทำให้รู้สึกสมเหตุสมผล ทั้งๆมันคือตรรกะเพี้ยนๆ ชักแม่น้ำทั้งห้า สรรหาสรรพข้ออ้างเพียงเพื่อลากพาหญิงสาวขึ้นเตียง มันช่างโรแมนติก น้ำเน่า เข้าใจคนเหงา สาวๆจึงยินยอมศิโรราบ ทั้งรู้ว่าสุดท้ายแล้วมันอาจแค่เพียงชั่วข้าม(ไม่กี่)คืน


Olympia Dukakis, Ολυμπία Δουκάκη (1931-2021) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Lowell, Massachusetts ในครอบครัวผู้อพยพชาวกรีก โตขึ้นสำเร็จการศึกษากายภาพบำบัด Boston University ทำงานดูแลผู้ป่วยโปลิโอ ก่อนเปลี่ยนความสนใจเข้าคอร์สการแสดง เข้าร่วมคณะ Williamstown Summer Theater, ร่วมกับสามี Louis Zorich ก่อตั้ง Whole Theater Company สมสมประสบการณ์อยู่หลายปีจนผันตัวสู่วงการโทรทัศน์ ภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ Moonstruck (1987), Steel Magnolias (1989), Sinatra (1992) ฯ

รับบท Rose Castorini มารดาของ Loretta อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์ Brooklyn Heights กำลังอยู่ในความระแวงสงสัยสามี Cosmos กำลังแอบคบชู้นอกใจ? จึงพยายามค้นหาคำตอบว่าทำพวกผู้ชายถึงไม่รู้จักเพียงพอในตนเอง ระหว่างรับประทานอาหารค่ำพบเจอกับ Perry ครูสอนมหาวิทยาลัยที่พยายามเกี้ยวพาราสีนักศึกษาสาว แล้วถูกบอกเลิกกลางคันถึงสองครั้งครา แม้พวกเขาคุยกันถูกคอจนมาถึงหน้าอพาร์ทเมนท์ เธอกลับปฏิเสธไม่ให้เขาขึ้นห้อง ฉันแก่เกินแกงที่จะมาหมกมุ่นกับเรื่องพรรค์นี้!

สตูดิโอมีความสนใจ Anne Bancroft และ Maureen Stapleton แต่ทั้งสองค่าตัวสูงเกินไป จนกระทั่ง Dukakis เข้ามาทดสอบหน้ากล้อง ยังไม่ทันเสร็จสิ้น ผกก. Jewison ก็ตัดสินใจว่าจ้างเธอทันที!

ในบรรดาทีมนักแสดงชุดนี้ ผมมีความอึ่งทึ่ง ประทับใจการแสดงของ Dukakis มากที่สุดแล้ว! ตรงกับสำนวน ‘น้ำนิ่งไหลลึก’ ภายนอกดูสงบ ร่มเย็น ไม่ค่อยเห็นแสดงปฏิกิริยาอารมณ์ แต่เพราะสามีไม่ค่อยทำการบ้าน สังเกตเห็นท่าทางลับๆล่อๆ จึงพยายามค้นหาคำตอบ “ทำไมพวกผู้ชายถึงชอบคบชู้นอกใจ” นำมาเป็นบทเรียนชีวิต ปฏิเสธก้าวล้ำเส้นศีลธรรม

โลกยุคสมัยใหม่ที่ทุกสิ่งอย่างพลิกกลับตารปัตร ผู้ชมหลายคนอาจรู้สึกสมเพศเวทนาตัวละคร ทำไมถึงต้องยึดถือมั่น คุณธรรมค้ำคอ แต่นั่นมันเป็นสิทธิ จิตสามัญสำนึกส่วนบุคคล เราควรเรียนรู้จักควบคุมตนเอง สติหยุดยับยั้งชั่งใจ ไม่ใช่ปล่อยตัวไปกับอารมณ์ ใช้ชีวิตตอบสนองตัณหา กามารณ์ นั่นไม่ต่างอะไรจากพวกสัตว์เดรัจฉาน


ถ่ายภาพโดย David Watkin (1925-2008) ตากล้องสัญชาติอังกฤษ หนึ่งในผู้บุกเบิกการทดลองใช้แสงสะท้อนฉาก (Bounce Light), ฝึกฝนการถ่ายระหว่างทำงาน Sounthern Railway Film Unit ตำแหน่งผู้ช่วยตากล้อง จนมีโอกาสเริ่มต้นถ่ายทำ Title Sequence ภาพยนตร์ Goldfinger (1964), ผลงานเด่นๆอาทิ Help! (1965), The Knack …and How to Get It (1965), The Devils (1971), The Three Musketeers (1973), Chariots of Fire (1981), Yentl (1983),Out of Africa (1985), Moonstruck (1987) ฯ

งานภาพของ Watkin อาจดูไม่มีอะไรหวือหวา แต่เต็มไปด้วยรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่น่าสนใจ ยกตัวอย่าง

  • ช่วงแรกๆมักพบเห็นภาพสะท้อนในกระจก Loretta Castorini (รับบทโดย Cher) สามารถสื่อถึงความสับสน ลังเล ไม่แน่ใจในตนเอง หลายสิ่งแสดงออกหา(ตอบตกลงหมั้นหมาย Johnny Cammareri)หาใช่ความต้องการแท้จริงจากภายใน
  • ฉากภายในห้อง (โดยเฉพาะห้องนอน) มักมีผ้าม่านหรือบานเกล็ด ยามค่ำคืนเมื่อแสงจันทร์สาดส่องเข้ามา อาบฉาบใบหน้าตัวละคร มอบสัมผัสราวกับนกในกรงขัง ชีวิตไร้ซึ่งอิสรภาพ โหยหาจะทำบางสิ่งอย่าง (คบชู้นอกใจ)
  • หลายสิ่งอย่างในหนังล้วนมีลักษณะ ‘สูตรสอง’ และมักมีทิศทางกลับตารปัตรตรงกันข้าม
    • Loretta หมั้นหมายกับ Johnny ก่อนเธอคบชู้กับ Ronny 
    • บิดา Cosmo แต่งงานกับมารดา Rose ขณะนั้นกำลังแอบคบชู้กับ Mona
    • ในร้านอาหาร Perry ถูกนักศึกษาสาวบอกเลิกสองครั้ง
      • ครั้งแรกพบเห็นโดย Loretta มาทานข้าวกับคู้หมั้น Johnny
      • ครั้งหลังพบเห็นโดยมารดา Rose มาทานข้าวคนเดียวเลยชักชวนอีกฝ่ายมาร่วมสนทนา
    • Loretta โทรศัพท์หา Ronny สองครั้ง พบเจอกันสองครั้ง (ห้องใต้ดินร้านเบเกอรี่, รับชมอุปรากร La bohème) ร่วมรักกันสองค่ำคืน
    • มารดา Rose สอบถามเหตุผลที่ผู้ชายชอบคบชู้นอกใจสองครั้งกับ Perry และ Johnny

หนังใช้เวลาถ่ายทำ 11 สัปดาห์ โดยห้าสัปดาห์แรกเริ่มจากฉากภายนอกของ New York City, Little Italy และ Brooklyn, ก่อนหกสัปดาห์หลัง ย้ายไปถ่ายทำฉากภายในยัง Leslie Street Studios ณ Toronto, Ontario (ใกล้บ้านผกก. Jewison)


ชุมชน Italian เลื่องชื่อถึงความสัมพันธ์บนโต๊ะอาหาร (ใครเคยรับชม Goodfella (1990) ก็น่าจะมักคุ้นอะไรหลายๆอย่าง) สถานที่ที่ครอบครัวอยู่ร่วมกันพร้อมหน้า พูดคุยสนทนา ซุบซิบนินทา ปรับความเข้าใจ ผมขี้เกียจนับว่ามีกี่ฉากที่พบเห็นตัวละครนั่งกินข้าว ไม่ใช่แค่ในบ้าน ห้องครัว ยังรวมถึงร้านอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น-ค่ำ (ชาวตะวันตกรับประทานกันสี่มื้อ Breakfast-Launch-Dinner-Supper) เรียกได้ว่าช่วงเวลาแห่งชีวิต … แรกพบเจอ ตกหลุมรัก หมั้นหมาย หย่าร้าง รับรู้ความจริงเกี่ยวกับการคบชู้นอกใจ ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นบนโต๊ะอาหาร

แซว: ภาษาอังกฤษมีศัพท์แสลง ‘cooking’ ที่ไม่ได้แปลว่าทำอาหาร หมายถึงการทำบางสิ่งอย่างที่เต็มไปด้วยอรรถรส วุ่นๆวายๆ ตื่นเต้นเร้าใจ (to be full of activity and excitement)

สามี-ภรรยาสูงวัยคู่นี้ มารับเชิญ (Cameo) เป็นลูกค้าซื้อขนมปัง ใบ้ให้ว่าสังเกตจากคิ้ว ถ้าใครยังครุ่นคิดไม่ออกก็ทำแถบดำในวงเล็บดูนะครับ [บิดา-มารดาของผู้กำกับ Martin Scorsese]

แรงบันดาลใจของนักเขียน John Patrick Shanley มาจากการผสมผสานประสบการณ์ชีวิตตนเอง ขณะนั้นเพิ่งย้ายเข้ามาอยู่อาศัยอพาร์ทเม้นท์หลังใหม่ เจ้าของเก่าคือศิลปิน ทิ้งสิ่งน่าประทับใจเอาไว้มากมาย ด้วยความชื่นชอบของแปลก สิ่งไม่สมบูรณ์แบบ (imperfectness) สถานที่แห่งนี้เลยให้กำเนิดแนวคิดอะไรๆหลายอย่าง ยามค่ำคืนมองออกไปพบเห็นพระจันทร์ดวงใหญ่ รวมถึงซีนตบหน้าที่กลายเป็น ‘Iconic’ ด้วยประโยคคำพูด “Snap out of it”

I was up in a tenement, living on 177th and Fort Washington. I had an apartment with chunks of plaster falling out of the walls and a couple of windows that were cracked, and I became very friendly with the super, a guy named Ralph. Really, I just kind of adored him. He was very short, and he looked like he was from Castilian Spain. He looked like he was running in front of a bunch of bulls. He came up and he would say, “Let me fix that hole in your wall,” and I would say, “I love that hole. Do not touch that.” “Fix that window,” and I’d be like, “That crack in the window is a once in a lifetime. I don’t want it touched.” I was very in love with the way that things are and the imperfectness — the imperfectness which Nic Cage talks about in the snow scene, when he talks her into going upstairs. I wrote the stage directions. I just acted it, pictured it in my head. So I slapped him, and I looked at him and it didn’t work, so I slapped him again and said, “Snap out of it.”

John Patrick Shanley กล่าวถึงวลีเด็ดของหนัง

แม้ยุคสมัยนั้นจะเริ่มมีการใช้ CGI (Computer Graphic Interface) แต่พระจันทร์ดวงใหญ่สร้างขึ้นด้วยหลอดไฟดวงเล็กๆ (FEY bulb) จำนวน 196 หลอด ติดตั้งอยู่บนเครนรถขนาดใหญ่ (Cherry Picker) เพื่อให้สามารถขยับเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ถ่ายทำต่างๆ รวมถึงปรับเปลี่ยนตำแหน่งบนท้องฟากฟ้า ออกแบบสร้างโดยตากล้อง Peter Watkin ใช้ครั้งแรกภาพยนตร์ Hanover Street (1979) ตั้งชื่อเล่น Prop Moon นี้ว่า “Wendy”

แซว: ครั้งแรกที่ Peter Watkin ใช้ดวงจันทร์ปลอมนี้ยังสถานที่ถ่ายทำจริง ชาวบ้านแถวนั้นครุ่นคิดว่าคือ UFO (Unidentified Flying Object)

หลายคนน่าจะรับรู้ได้ว่า พระจันทร์ดวงนี้มีขนาดใหญ่โตกว่าปกติพอสมควร! นอกจากเพื่อสร้างความประทับ ติดตาฝังใจตามชื่อหนัง Moonstruck ยังราวกับอยู่ในโลกแฟนตาซี เรื่องราวรักๆใคร่ๆก็วุ่นวายเกินจริง การแสดงโอเว่อแอ็คติ้ง หลายสิ่งอย่างดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติสักเท่าไหร่

ความใหญ่โตของดวงจันทร์ สร้างความตระหนักให้กับผู้พบเห็น ตนเองก็แค่สิ่งมีชีวิตตัวกระจิดริด เมื่อเทียบจักรวาลกว้างใหญ่ ยังมีขนาดเล็กกว่าเม็ดทราย นั่นทำให้เกิดอาการหวาดกลัวความตาย มนุษย์เกิดมาทำไม? จึงพยายามต่อสู้ดิ้นหน หาหนทางใช้ชีวิตที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า เติมเต็มตัณหา อิสรภาพของหัวใจ

ค่ำคืนพระจันทร์เต็มดวง หิมะกำลังโปรยปราย จริงๆน่าจะออกแบบฉาก & มุมกล้องให้เหมือนเปะกันไปเลย ผมชมจะได้สังเกตเห็นชัดๆว่าการแสดงอุปรากร La Bohème = เหตุการณ์บังเกิดขึ้นจริงระหว่าง Loretta & Johnny (มีเสียงร้อง Tenor คลอประกอบพื้นหลังด้วยนะ)

เกร็ด: เรื่องย่ออุปรากร La Bohème กล่าวถึงความรักแรกพบระหว่างนักกวีหนุ่มยากไร้ Rodolfo และหญิงสาวทอผ้า Mimì ต่อมาทั้งสองพยายามตีจากกัน เพราะฝ่ายชายไม่พึงพอใจที่เธอหว่านเสน่ห์ไปทั่ว ทำให้หัวใจสลาย สุขภาพเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ก่อนที่ทั้งคู่จะตระหนักถึงความรักอันมากล้น หวนกลับมามีความสุขร่วมกันสั้นๆ ก่อนเธอจะเสียชีวิตจากไป

ตัดต่อโดย Lou Lombardo (1932-2002) สัญชาติอเมริกัน จากเคยเป็นต้องฝึกงานผกก. Robert Altman แต่แจ้งเกิดโด่งดังจากการตัดต่อภาพยนตร์ The Wild Bunch (1969), McCabe & Mrs. Miller (1971), The Long Goodbye (1973), Moonstruck (1987) ฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้ครอบครัว Castorini เป็นจุดศูนย์กลาง! ไม่ได้จำเพาะเจาะจงแค่ Loretta แต่ยังรวมถึงบิดา Cosmo (ระหว่างอยู่กับชู้รัก), มารดา Rose (ออกค้นหา) รวมถึงคุณปู่ (พาสุนัขไปเดินเล่น) จากนั้นทำให้รถไฟชนกัน บังเกิดความวุ่นๆวายๆ ชิบหายวายป่วน สุดท้ายจะสามารถหาข้ออ้าง หนทางออกได้หรือไม่

  • Opening Credit ร้อยเรียงภาพภูมิทัศน์ Brooklyn Heights ยามเช้าระหว่าง Loretta Castorini ออกเดินทางไปทำงาน
  • หมั้นหมาย Johnny Cammareri
    • ระหว่างรับประทานอาหารเย็น Johnny หมั้นหมายกับ Loretta
    • Loretta เดินทางไปส่ง Johnny ยังสนามบิน เดินทางสู่อิตาลีเพื่อดูใจมารดา
    • กลับมาบ้านบอกกล่าวเรื่องหมั้นหมายกับบิดา & มารดา
    • ยามเช้าคุณปู่พาสุนัขไปเดินเล่น
    • ระหว่างรับประทานอาหารเช้า คุยโทรศัพท์กับ Johnny
  • แรกพบเจอ Ronny Cammareri
    • Loretta พยายามโน้มน้าว Ronny ให้มาร่วมงานแต่งงาน
    • บิดา Cosmo เกี้ยวพาราสีชู้รัก Mona
    • Loretta รับประทานอาหารกลางวันกับ Ronny แล้วอยู่ดีๆก็พาเข้าห้องนอน
    • ยามค่ำคืนครอบครัวรับประทานอาหารกันพร้อมหน้า (ยกเว้น Loretta) มารดา Rose สังเกตความผิดปกติของสามี Cosmos
    • ดึกดื่นตื่นขึ้นเห็นพระจันทร์ดวงใหญ่
  • อุปรากร La bohème
    • Ronny พยายามขอโอกาสจาก Loretta ค่ำคืนนี้ชักชวนพาไปรับชมการแสดงอุปรากร La bohème
    • ร้อยเรียงกิจวัตรประวันของครอบครัว Castorini
    • ยามเย็น Loretta เดินทางมารับชมอุปรากรร่วมกับ Ronny พร้อมๆกับบิดา Cosmo มากับชู้รัก Mona
    • มารดา Rose อยู่คนเดียว เปล่าเปลี่ยว เลยออกมารับประทานอาหารตัวคนเดียว พบเจอกับ Perry
    • หลังการแสดงอุปรากร Loretta พบเจอกับบิดา Cosmo
    • ระหว่างคุณปู่พาสุนัขออกมาเดินเล่นยามค่ำคืน พบเจอกับ Rose (มากับ Perry)
    • Ronny พยายามพูดคุย โน้มน้าว จนในที่สุดก็สามารถนำพา Loretta ขึ้นห้อง ร่วมรักหลับนอน
    • Rose พบเจอกับ Johnny ที่เพิ่งกลับจากอิตาลี และบอกบางสิ่งอย่างกับสามี Cosmo ที่เพิ่งกลับบ้าน
  • บทสรุปบนโต๊ะอาหาร
    • ทุกตัวละครเดินทางกลับมาถึงบ้านยามเช้า ระหว่างรับประทานอาหาร ก็พูดคุย ถกเถียง ระบายสิ่งอัดอั้นภายใน เคลียร์ความในใจ ก่อนจบลงอย่าง Happy Ending

ผลงานของผกก. Jewison เลื่องชื่อในความชุลมุน ผสมผสานหลากหลายเหตุการณ์ ดำเนินเรื่องแบบคู่ขนาน สลับสับเปลี่ยนทิศทางไปมาได้อย่างน่าอัศจรรย์, Moonstruck (1987) น่าจะถือเป็นผลงานชิ้นเอกเลยก็ว่าได้ ร้อยเรียงสารพัดเรื่องราวรักๆใคร่ๆ คบชู้นอกใจ สมาชิกครอบครัว Castorini ช่างเต็มไปด้วยความวุ่นๆวายๆ ก่อนทิ้งท้าย ขมวดปม หักมุมตอนจบอย่างคาดไม่ถึง!


เพลงประกอบโดย Dick Hyman ชื่อจริง Richard Hyman (เกิดปี 1927) นักแต่งเพลง บรรเลงเปียโนแจ๊ส สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City ตั้งแต่เด็กได้รับการฝึกฝนดนตรีจากพี่ชายมารดา (นักเปียโนคอนเสิร์ต) Anton Rovinsky, โตขึ้นอาสาสมัครทหารบก ก่อนย้ายไปประจำทหารเรือเพื่อเข้าร่วมวงดนตรี สะสมประสบการณ์ หลังปลดประจำการเข้าศึกษาต่อ Columbia University ระหว่างนั้นชนะเลิศการแข่งขันเปียโน ได้เข้าคอร์สสอนโดย Teddy Wilson ตกหลุมรักดนตรีแจ๊สตั้งแต่บัดนั้น, ผลงานของ Hyman มีทั้งแต่งเพลง ออกอัลบัมเดี่ยว-คู่ เพลงประกอบละครเวที ซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อาทิ Ages of Man (1966), Moonstruck (1987) ฯ

งานเพลงของหนังคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นอาย Italian-American มีส่วนผสมของทั้งบทเพลงมีชื่อ (La Bohème, That’s Amore) และ Original Soundtrack อาจไม่ได้ท่วงทำนองติดหู แต่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ครื้นเครง อลเวง สร้างบรรยากาศผ่อนคลายให้กับผู้ชม

ดั้งเดิมนั้น Opening Credit ตั้งใจจะใช้บทเพลง La bohème (เพื่อให้สอดคล้องภาพโรงอุปรากรกำลังตระเตรียมการแสดง) แต่เสียงตอบรับในรอบทดลองฉายค่อนข้างย่ำแย่ บางคนเดินออกเพราะครุ่นคิดว่านี่คือหนัง Art Film เลยปรับเปลี่ยนเป็นเพลงรักหวานฉ่ำ That’s Amore (1953) แต่งโดย Harry Warren, คำร้องโดย Jack Brooks, ต้นฉบับขับร้องโดย Dean Martin ประกอบภาพยนตร์ The Caddy (1953) กลายเป็นเพลงโคตรฮิต ‘Signature Song’ เข้าชิง Oscar: Best Original Song แต่พ่ายให้กับ Secret Love ของ Doris Day

ความน่าอึ่งทึ่งของบทเพลงนี้คือเนื้อคำร้อง “When the moon hits your eye like a big pizza pie That’s amore!” มันช่างมีความสอดคล้องเข้ากับเรื่องราวและชื่อหนัง Moonstruck อย่างน่าอัศจรรย์ ราวกับแต่งขึ้นเพื่อภาพยนตร์เรื่องนี้โดยเฉพาะ!

เกร็ด: Amore อ่านว่า [aˈmoːre] มาจากภาษาอิตาเลี่ยน แปลว่า ความรัก

(In Napoli where love is king
When boy meets girl here’s what they say)

When the moon hits your eye like a big pizza pie That’s amore
When the world seems to shine like you’ve had too much wine That’s amore
Bells will ring ting-a-ling-a-ling, ting-a-ling-a-ling And you’ll sing “Vita bella”
Hearts will play tippy-tippy-tay, tippy-tippy-tay Like a gay tarantella

When the stars make you drool just like a pasta e fasul, that’s amore That’s amore
When you dance down the street with a cloud at your feet You’re in love
When you walk in a dream but you know you’re not dreaming signore
Scusami, but you see, back in old Napoli That’s amore

When the moon hits your eye like a big pizza pie, that’s amore That’s amore,
When the world seems to shine like you’ve had too much wine, That’s amore
Bells will ring ting-a-ling-a-ling, ting-a-ling-a-ling And you’ll sing “Vita bella” (Vita bel-, vita bella)
Hearts will play tippy-tippy-tay, tippy-tippy-tay Like a gay tarantellaLucky fella

When the stars make you drool just like a pasta e fasul, that’s amore That’s amore
When you dance down the street with a cloud at your feet You’re in love
When you walk in a dream but you know you’re not dreaming signore
Scusami, but you see, back in old Napoli That’s amore
Amore, that’s amore

บทเพลงที่ผมรู้สึกติดหู ได้ยินซ้ำๆบ่อยครั้งที่สุด Mr. Moon เครื่องดนตรีหลักคือแอคคอร์เดียน (Accordian) บรรเลงท่วงทำนองสนุกสนาน ครึกครื้นเครง อลเวง ขณะเดียวกันแฝงความยียวนกวนประสาท เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย ชิบหายวายป่วน ความใหญ่โตของดวงจันทร์ ทำให้มนุษย์มีความระริกระรี้ โหยหากระทำสิ่งบางอย่าง เติมเต็มตอบสนองความต้องการหัวใจ

La Bohème (1896) อุปรากรสี่องก์ (Tragic Opera) ประพันธ์โดย Giacomo Puccini (1858-1924) คีตกวีสัญชาติอิตาเลี่ยน, ดัดแปลงจากนวนิยาย Scènes de la vie de bohème (1851) แปลว่า Scenes of Bohemian Life ต้นฉบับแต่งโดย Henri Murger (1822-61) นักเขียนชาวฝรั่งเศส, เรื่องราวมีพื้นหลังกรุง Paris ช่วงปี ค.ศ. 1830 ได้ทำการปรุงแต่ง สร้างความโรแมนติกให้กับวิถีชีวิตสไตล์ Bohemian

ในอัลบัม Soundtrack มี 2-3 บทเพลงที่นำมาใช้ประกอบภาพยนตร์ ขับร้องโดย (หญิง) Renata Tebaldi และ (ชาย) Carlo Bergonzi บันทึกเสียง(น่าจะ)ปี ค.ศ. 1951

  • Act 1: Questo mar rosso (แปลว่า The Red Sea) นี่เป็นบทเพลงเตรียมไว้สำหรับ Opening Credit แต่พอเปลี่ยนมาเป็น That’s Amore เลยย้ายมาใส่ตอนจบของหนังแทน ในอัลบัมใช้ชื่อ Instrumental Excerpts From La Bohème
  • Act 1: O soave fanciulla (แปลว่า Oh lovely girl) ผมอ่านจากเรื่องย่อพบว่าขณะนี้นักกวีหนุ่ม Rodolfo พบเห็นใบหน้าหญิงสาว Mimi อาบฉาบแสงจันทร์ ทำให้ตกหลุมรักแรกพบโดยพลัน
    • Ronny พยายามโน้มน้าว เกลี้ยกล่อม Loretta จนสามารถพาขึ้นห้องหลังรับชมการแสดงอุปรากร (ขณะอยู่หน้าอพาร์ทเมนท์ ระหว่างหิมะกำลังโปรยปรายลงมา)
    • ดังจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงในห้องพักของ Ronny นั่งฟังหลังเช้าวันที่สามหลังจาก Loretta กำลังเดินทางกลับบ้าน
  • Act 3: Donde lieta uscì (แปลว่า From here she happily left) เรื่องราวขณะนี้ Mimi ต้องการบอกเลิก ร่ำลาจาก Rodolfo แต่ความสัมพันธ์รักอันแนบแน่น มันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด!
    • ดังจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงในห้องพักของ Ronny เมื่อตอนพาขึ้นห้องครั้งแรก
    • ระหว่างการแสดงบนเวทีโรงอุปรากร

Luna till now belonged to the poets, to the dreamers, to daring fantasists and adventurers in powdered wigs. To fantasists in frock coats, and those in bizarre helmets from the pages of our latest novels. And of course to lovers, to them Luna was always most dear!

Baron Munchausen จากภาพยนตร์ The Fabulous Baron Munchausen (1962)

ผมเพิ่งรับชม The Fabulous Baron Munchausen (1962) ไปเมื่อปีก่อน (รูปอวตารยังเป็นของ Baron Munchausen อยู่เลยนะ!) เพ้อรำพันถึงดวงจันทร์ สถานที่ของนักฝัน นักกวี ดินแดนแฟนตาซีของนักผจญภัย รวมถึงคู่รักหนุ่มสาว เรื่องราวโรแมนติก

เฉกเช่นเดียวกับ Moonstruck (1987) พระจันทร์ดวงใหญ่ราวกับกามเทพแห่งรัก (Cupid) ทำให้หนุ่ม-สาว กลางคน สูงวัย เกิดความระริกระรี้ ตระหนักถึงชีวิตแสนสั้น โหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย สำหรับคลายความเหงา เอาความเศร้าโยนทิ้งไปให้ไกล

โลกยุคสมัยก่อน ความรักเป็นสิ่งที่ต้องมีพิธีรีตรอง ปฏิบัติตามครรลอง เต็มไปด้วยขนบกฎกรอบ ข้ออ้างศีลธรรมทางสังคม แต่นับตั้งแต่การมาถึงของ Sexual Revolution (1960s-70s) คนรุ่นใหม่ได้รับการเสี้ยมสอนให้รู้จักอิสรภาพทางเพศ ความรักคือเรื่องของคนสอง ไม่จำเป็นต้องสนใจอะไร ใครจะว่าอะไรก็ช่างหัวมัน

อิสรภาพแห่งรักมันช่างฟังดูดี แต่หาใช่สิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้การยินยอมรับ ก็เหมือนการเมืองมีฟากฝั่งซ้าย-ขวา, อนุรักษ์นิยม-เสรีชน, คนรุ่นเก่ายึดติดอยู่กับขนบกฎกรอบ ข้ออ้างศีลธรรมทางสังคม vs. เด็กรุ่นใหม่หัวก้าวหน้า โหยหาเสรีภาพในการครุ่นคิดแสดงออก

Moonstruck (1987) ไม่ใช่แค่นำเสนอเรื่องราวความรักที่สะท้อนอิทธิพลโลกยุคสมัยใหม่ ปลดปล่อยอารมณ์พาไป (รุ่นลูก) แต่ยังตั้งคำถามถึงความถูกต้องเหมาะสม ด้วยเหตุด้วยผล อิสรภาพทางเพศไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนให้การยินยอมรับ อย่างน้อยที่สุดเราควรต้องรู้จักควบคุมตนเอง (รุ่นแม่)

แต่งงานคือการสูญเสียอิสรภาพ เปรียบดั่งห่วง โซ่ตรวน พันธนาการคนสองร่วมกัน บังเกิดสถานะที่เรียกว่า ‘ครอบครัว’ ให้กำเนิดลูกหลานสืบพงค์เผ่าพันธุ์ แต่ถ้าใครคนใดหรือทั้งสอง ยังไม่สามารถควบคุมตนเอง ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับ ‘อิสรภาพทางเพศ’ มักก่อให้เกิดความขัดแย้ง ใช้กำลังรุนแรง นำสู่ปัญหาสังคม เลิกราหย่าร้าง ทอดทิ้งลูกหลาน เด็กขาดความอบอุ่น ฯ

การพูดคุย ยินยอมรับฟัง รู้จักประณีประณอม มองหาทางสายกลาง นั่นคือหนทางแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว โลกยุคสมัยนี้มันมีสิ่งล่อตาล่อใจมากมาย แต่ถ้าเราสามารถเปิดอกพูดคุย ปรับความเข้าใจ หลงเหลือเยื่อใยอะไรบางอย่างให้กัน คนสองย่อมค้นพบหนทางแก้ปัญหา

สำหรับผกก. Jewison เหมือนจะไม่ใช่คนโรแมนติกนัก (ไม่เคยสร้างภาพยนตร์แนวโรแมนติกมาก่อน) แต่รักเดียวใจเดียว ไม่เคยคบชู้นอกใจภรรยา (จนกระทั่งเธอลาจากโลกนี้ไป ถึงค่อยแต่งงานใหม่เมื่อปี ค.ศ. 2010) ความสนใจใน Moonstruck (1987) จึงไม่ใช่เรื่องรักๆใคร่ๆ คบชู้นอกใจ หรือสะท้อนค่านิยมยุคสมัยที่กำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป

แต่คือความโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว ท้อแท้สิ้นหวัง ผลงานภาพยนตร์ที่ตนเองหมายหมั้นปั้นมือ อยากจะสรรค์สร้างกลับถูกมองข้าม ไม่มีสตูดิโอไหนให้ความสนใจ สิ่งคาดไม่ถึงคือเรื่องราวของ Moonstruck (1987) สามารถถ่ายทอดความรู้สึกเดียวกันนั้นออกมา มันช่างพิลึกพิลั่น น่ามหัศจรรย์ พระจันทร์เป็นใจ


ด้วยทุนสร้าง $15 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $80 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $122.1 ล้านเหรียน ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม! ตามด้วยเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Berlin สามารถคว้ารางวัล Best Director ขณะที่ Golden Berlin Bear ตกเป็นของ Red Sorghum (1987) ของผกก. Zhang Yimou

นอกจากนี้ยังได้เข้าชิง Oscar จำนวน 6 สาขา คว้ามา 3 รางวัล

  • Academy Award
    • Best Picture
    • Best Director
    • Best Actress (Cher) **คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actor (Vincent Gardenia)
    • Best Supporting Actress (Olympia Dukakis) **คว้ารางวัล
    • Best Original Screenplay **คว้ารางวัล
  • Golden Globe Awards
    • Best Motion Picture – Musical or Comedy
    • Best Actor in a Motion Picture – Musical or Comedy (Nicolas Cage)
    • Best Actress in a Motion Picture – Musical or Comedy (Cher) **คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actress (Olympia Dukakis) **คว้ารางวัล
    • Best Screenplay – Motion Picture

ผู้ชนะรางวัลภาพยนตร์แห่งปีนั้น The Last Emperor (1987) ถือว่าไร้ข้อกังขา (กวาดเรียบ 9 รางวัล) แต่ที่น่าผิดหวังก็คือ Nicolas Cage (ไม่ได้เข้าชิง), Norman Jewison ถูกมองข้ามสาขาผู้กำกับอีกครั้ง และเห็นว่าเมื่อตอน Cher ขึ้นรับรางวัล Best Actress กล่าวขอบคุณช่างทำผม คนสอนพูดสำเนียง Brooklyn แต่กลับไม่เอ่ยถึงผกก. Jewison เป็นความเห็นแก่ตัวที่น่าสมเพศยิ่งนัก!

กาลเวลาทำให้ Moonstruck (1987) กลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์อเมริกันคลาสสิก ได้รับการจัดอันดับจาก American Film Institute ติดอันดับหลายชาร์ททีเดียว

  • AFI’s 100 Years…100 Laughs อันดับ #41
  • AFI’s 100 Years…100 Passions อันดับ #17
  • AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes: “Snap out of it!” อันดับ #96
  • AFI’s 10 Top 10: Romantic Comedy Film อันดับ #8

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมคาดไม่ถึงอย่างมากๆก็คือ Criterion ได้ทำการบูรณะ 4K ผ่านการตรวจอนุมัติโดยผกก. Norman Jewison เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2020 … มันอาจเพราะ MGM ขายต่อให้ 20th Century Fox ปัจจุบันควบรวมกับ Walt Disney สถานะของหนังเลยวุ่นๆวายๆ กลายเป็นโอกาส Criterion ฉกฉวยคว้ามาครอบครอง

ส่วนตัวแม้ไม่ค่อยชื่นชอบเรื่องรักๆใคร่ๆ สลับคู่ขา เพิกเฉยต่อหลักศีลธรรม แต่เพราะนี่คือภาพยนตร์ตลก เอาความบันเทิงเป็นที่ตั้ง ก็เลยต้องยอมปล่อยตัวปล่อยใจ เพลิดเพลินผ่อนคลาย ประทับใจบทสนทนาคมกริบ ทีมนักแสดงแพรวพราวเทคนิค บทเพลงไพเราะเพราะพริ้ง และลีลาเล่าเรื่องคู่ขนานของผกก. Jewison ถือว่าไม่เป็นสองรองใคร!

สิ่งที่ทำให้ Moonstruck (1987) เป็นภาพยนตร์เหมาะสำหรับคนโสด เพราะนำเสนอความเป็นไปได้ สร้างประกายความหวัง ความรักคือสิ่งไม่มีใครคาดคิดถึง อย่าไปท้อแท้สิ้นหวัง แต่จงเพลิดเพลินไปกับการค้นหา ลองผิดลองถูก สักวันย่อมได้ประสบพบเจอบุคคลที่ใช่ เติมเต็มตัณหา และความต้องการหัวใจ

จัดเรต 13+ กับความสัปดลเรื่องรักๆใคร่ๆ

คำโปรย | Moonstruck พระจันทร์เป็นใจให้เรื่องราวรักๆใคร่ๆ ได้คลายความเหงา เติมเต็มช่องว่างหัวใจ
คุณภาพ | รัร่
ส่วนตัว | ชวนป่วน

In the Heat of the Night (1967)


In the Heat of the Night (1967) hollywood : Norman Jewison ♥♥♥♥

“They call me Mister Tibbs!” และการตบหน้าคนขาวของ Sidney Poitier ถือเป็นหมุดไมล์ของชาวผิวสี (African-American) ในยุคสมัยการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง Civil Rights Movement (1954-68), สามารถคว้า 5 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี

แม้ว่า Hays Code จะล่มสลายในปี ค.ศ. 1968 แต่บรรดาสตูดิโอ/ผู้สร้างภาพยนตร์ต่างเริ่มไม่เห็นหัว ปฏิเสธร่วมสังฆกรรมมาตั้งแต่ Who’s Afraid of Virginia Woolf? (1966), หมุดไมล์สำคัญคือปี ค.ศ. 1967 เต็มไปด้วยผลงานที่ท้าทายขนบขนบกฎกรอบทางสังคมสมัยนั้น Bonnie and Clyde, Guess Who’s Coming to Dinner, In the Heat of the Night ฯ

ถ้าผมเป็นคณะกรรมการ Academy Award ปีนั้นคงปวดขมับอย่างแน่นอน นอกจากสามเรื่องนี้ยังมี The Graduate และ Doctor Dolittle เลือกยากมากๆว่าภาพยนตร์เรื่องไหนสมควรคว้ารางวัล Best Picture สุดท้ายตกเป็นของ In the Heat of the Night ที่อาจไม่ค่อยถูกใจใครหลายคน แต่ต้องถือเป็นอีกหมุดไมล์สำคัญ … ครั้งแรกของภาพยนตร์ที่มีนักแสดงผิวสีรับบทนำและคว้ารางวัล Oscar: Best Picture

แม้ว่า Sidney Poitier เข้าชิง Oscar: Best Actor ครั้งแรกกับ The Defiant Ones (1958) และคว้ารางวัลจาก Lilies of the Field (1963) แต่ผลงานที่ทำให้กลายเป็นดาวดาราค้างฟ้ากลับคือ In the Heat of the Night (1967) หลายคนอาจสะดุ้งตอนตบหน้าคนขาว แต่ยังมีประโยค “They call me Mister Tibbs!” คำว่า Mister ใช้กับบุคคลที่ได้รับความเคารพนับถือ นี่ถือเป็นการตบหน้า(เชิงนามธรรม)คนขาวในรัฐทางตอนใต้ Deep South ได้อย่างเจ็บแสบกระสันต์!

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงก็คือบทเพลง In the Heat of the Night แต่งโดย Quincy Jones, คำร้องโดยสามี/ภรรยา Alan & Marilyn Bergman, ขับร้องโดย Ray Charles ท่วงทำนองมีจังหวะช้าเนิบ และมักเอื้อยคำร้อง In the Heatttt of the Night มอบสัมผัสลุ่มร้อน มอดไหม้ทรวงใน นี่ฉันจะมาอดรนทน(อากาศร้อน)อยู่ทำไม? แฝงนัยยะถึงการอยู่ผิดที่ผิดเวลา แต่ค่ำคืนนี้อีกไม่นานก็ผ่านไป

Norman Frederick Jewison (1926-2024) ผู้กำกับ/นักแสดง สัญชาติ Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario ตั้งแต่เด็กฉายแววด้านการแสดง ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อาสาสมัครทหารเรือ Royal Canadian Navy หลังปลดประจำการออกเดินทางท่องเที่ยว American South หวนกลับมาเรียนต่อ Victoria College แล้วย้ายสู่ London เขียนบทรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก หวนกลับมาแคนาดาทำงานยัง CBC Television ได้เป็นผู้ช่วย กำกับเกมโชว์ วาไรตี้ เข้าตานักแสดง Tony Curtis ชักชวนมากำกับภาพยนตร์เรื่องแรก 40 Pounds of Trouble (1962), แจ้งเกิดกับ The Cincinnati Kid (1965), The Russians Are Coming, the Russians Are Coming (1966), เคยเข้าชิง Oscar: Best Director จำนวนสามครั้ง แต่ไม่เคยได้สักรางวัล In the Heat of the Night (1967), Fiddler on the Roof (1971) และ Moonstruck (1987)

เกร็ด: คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า Norman Jewison เป็นชาว Jews (เพราะนามสกุล) แต่แท้จริงแล้วนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestant) กลุ่มเคลื่อนไหว Methodists

แม้ทศวรรษนั้นกลุ่มการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิพลเมือง Civil Rights Movement (1954-68) กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แต่ผกก. Jewison ไม่ได้มีความสนใจในประเด็นเหล่านั้น เพียงได้รับมอบหนังสือจากโปรดิวเซอร์ Walter Mirisch แนะนำให้รู้จักกับนักเขียน John Ball อ่านแล้วเกิดสนใจอยากสรรค์สร้างภาพยนตร์ เท่านั้นเอง!

I don’t think people in the arts are that political, but I do think they have strong ideas of how the world should be and how society should be.

Norman Jewison

นวนิยาย In the Heat of the Night (1965) แนว Mystery แต่งโดย John Dudley Ball Jr. (1911-88) สัญชาติ African-American เกิดที่ Schenectady, New York แล้วไปเติบโต Milwaukee, Wisconsin หลังเรียนจบ Carroll College ทำงานเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ เขียนบทความลงนิตยสาร และครั้งหนึ่งเคยรักษาการนายอำเภอ (Reserve Deputy) ณ Los Angeles County Sheriff’s Office

เกร็ด: นวนิยาย In the Heat of the Night นอกจากขายดีเทน้ำเทท่าจนมีภาคต่อติดตามมามากมาย ยังสามารถคว้ารางวัล Edgar Award: Best First Novel

ดัดแปลงบทภาพยนตร์โดย Stirling Silliphant (1918-96) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Detroit, Michigan แล้วมาเติบโตยัง Glendale, California หลังเรียนจบ University of Southern California ทำงานเป็นนักเขียนรายการทอล์คโชว์ บทละคร ซีรีย์โทรทัศน์ Naked City (1958-63), Route 66 (1960-64), ภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ In the Heat of the Night (1967), The Poseidon Adventure (1972), The Towering Inferno (1974) ฯ

บทหนังมีความซื่อตรงต่อต้นฉบับนวนิยายอย่างมากๆ แต่ให้อิสระนักแสดงในการดั้นสด (Improvised) และปรับเปลี่ยนสถานที่พื้นหลังมาเป็น Sparta, Mississippi (ถ่ายทำยัง Sparta, Illinois) เพราะไม่สามารถยกกองไปถ่ายทำยังรัฐทางตอนใต้ (Deep South) ทศวรรษนั้นยังมีความเสี่ยงอันตรายมากเกินไป!


Sir Sidney Poitier (1927-2022) นักแสดงเชื้อสาย Bahamian แต่บังเอิญคลอดที่ Miami, Florida เลยได้รับสัญชาติอเมริกันโดยอัตโนมัติ แล้วมาเติบโตยัง Bahamas จนกระทั่งย้ายมาอยู่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่อายุ 15 ปีถัดมาเข้าร่วม American Negro Theater แรกๆไม่ได้รับการยอมรับเพราะ Tone Deaf ร้องเพลงไม่ได้ แต่ก็ฝึกหัดการแสดงด้วยตนเองจนกระทั่งได้รับบทนำละครเวที Broadways เข้าตาโปรดิวเซอร์ Darryl F. Zanuck จับเซ็นสัญญาแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก No Way Out (1950), โด่งดังกับ The Defiant Ones (1958), กลายเป็นนักแสดงผิวสีคนแรกที่คว้ารางวัล Oscar: Best Actor จากเรื่อง Lilies of the Field (1963), ผลงานเด่นอื่นๆ A Patch of Blue (1965), In the Heat of the Night (1967), Guess Who’s Coming to Dinner (1967) ฯ

รับบท Virgil Tibbs เดินทางมาเยี่ยมมารดา ระหว่างรอรถไฟเดินทางกลับ ถูกเข้าใจผิดว่าคือฆาตกร โดนดูถูกเหยียดหยามจากตำรวจ/ผู้กำกับการ Bill Gillespie อดกลั้นฝืนทนจนความจริงเปิดเผยว่าคือนักสืบจาก PPD (Philadelphia Police Department) ก็นึกว่าคงหมดเวรหมดกรรม หัวหน้าปลายสายแนะนำให้ช่วยเหลือตำรวจท้องถิ่น อยากปฏิเสธใจแทบขาด ก็มิอาจละทอดทิ้งภาระหน้าที่ ศักดิ์ศรีความเป็นตำรวจค้ำคอ

Poitier มีความกระตือลือร้นอยากรับบทบาทนี้ตั้งแต่อ่านนวนิยายต้นฉบับ เป็นตัวเลือกแรก ตัวเลือกเดียว แต่ด้วยข้อแม้ไม่ขอเดินทางข้ามเขตแดน Mason-Dixon Line ไปถ่ายทำยังรัฐทางตอนใต้ (South Deep) เพราะประสบการณ์เคยไปโปรโมทภาพยนตร์ แล้วถูกเพ่งเล็งจาก KKK (Ku Klux Klan) เสี่ยงอันตรายเกินไป … แต่ไม่แตกต่างจาก Gillespie สามารถโน้มน้าว Tibbs ให้ตัดสินใจอยู่ทำความคดีความ, ผกก. Jewison เกลี้ยกล่อม Poitier ยินยอมเดินทางไปถึงยัง Tennessee

บทบาท Virgil Tibbs ได้สร้างภาพจำอันเป็นเอกลักษณ์ของ Poitier ดูสุขุม เยือกเย็น สุภาพอ่อนน้อม แต่งตัวภูมิฐาน เฉลียวฉลาดปราชญ์เปรื่อง จนได้รับนับหน้าถือตา ‘Mister Tibbs’ แต่ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยความอดกลั้น เก็บกดอารมณ์เกรี้ยวกราดไว้ภายใน เมื่อไหร่ถูกกระทำร้ายก็พร้อมโต้ตอบกลับ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ไม่ยินยอมศิโรราบก้มหัวให้กับผู้ใด (โดยเฉพาะคนขาว)

ตรงกันข้ามกับ Steiger ที่มีความลุ่มร้อน ฉุนเฉียว หยาบโลน บทบาทของ Poitier ถือเป็น ‘น้ำกับไฟ’ จึงมักถูกมองข้าม (หลุดโผไม่ได้เข้าชิง Oscar: Best Actor) เพราะคิดเห็นว่าไม่ได้ต้องแสดงอะไรออกมามากมาย แต่แท้จริงแล้วลุ่มลึกกว่ามากๆ ต้องเก็บกด อดกลั้น เต็มไปด้วยความขัดแย้งภายใน อีกทั้งการเป็นคนดำในรัฐทางใต้ไม่ใช่เรื่องปลอดภัย หวาดระแวง วิตกจริต หวาดกลัวความตาย แต่ยังสามารถสำแดงมนุษยธรรม พิสูจน์ตนเองต่อพวกคนขาว


Rodney Stephen Steiger (1925-2002) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Westhampton, New York ในครอบครัว Lutheran อาศัยอยู่กับมารดาเป็นนักร้อง นักแสดง ก่อนติดเหล้าจนสูญเสียทุกสิ่งอย่าง ปล่อยให้บุตรชายวัยห้าขวบถูกข่มขืน ทำร้ายร่างกาย พออายุสิบหกออกจากบ้านเข้าร่วมกองทัพเรือ (US Navy) ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปลดประจำการออกมารับจ้างทั่วไป ก่อนตัดสินใจเข้าโรงเรียนการแสดง New School for Social Research เป็นลูกศิษย์ของ Erwin Piscator ทำให้ค้นพบความสามารถด้านนี้ เริ่มจากมีผลงานละครเวที เข้าร่วม Actors Studio รุ่นเดียวกับ Marlon Brando, Kal Malden, Eli Wallach ฝึกฝนเทคนิค Method Acting แจ้งเกิดกับภาพยนตร์ On the Waterfront (1954), Oklahoma! (1955), Al Capone (1959), The Pawnbroker (1964), Doctor Zhivago (1965), In the Heat of the Night (1967) **คว้ารางวัล Oscar: Best Actor, Waterloo (1970), Duck, You Sucker! (1971), The Lion of the Desert (1980) ฯ

รับบทผู้กำกับการ Bill Gillespie แผนก Sparta Police Department เป็นคนใจร้อน อารมณ์ฉุนเฉียว ใครทำอะไรไม่พึงพอใจก็ด่ากราด ชอบดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น นั่นรวมถึงนักสืบ Virgil Tibbs แม้รับรู้ว่าอีกฝ่ายคือใคร ก็ไม่อยากยินยอมรับว่าตนเองต่ำต้อย โง่เขลา พยายามหาข้อสรุปคดีความด้วยตนเอง จนแล้วจนรอดเอาแต่จับกุมผิดคน

เห็นว่า Steiger มีความสนิทสนมกับ Poitier มองหาโอกาสร่วมงานภาพยนตร์กันสักครั้ง แต่สไตล์การแสดงของพวกเขาแตกต่างตรงกันข้าม โดยไม่รู้ตัวสอดคล้องเข้ากันได้ดีอย่างกลมกล่อม (Steiger มาจากสำนัก Method Acting, Poitier เน้นการแสดงออกมาโดยธรรมชาติ)

หนึ่งในบทบาทการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Steiger มีความดิบ เถื่อน กล้าพูด กล้าแสดงความรู้สึก ไม่สามารถหยุดยับยั้งชั่งใจ ครุ่นคิดว่าฉัน(อวด)เก่ง โลกต้องหมุนรอบตนเอง แต่กลับทำอะไรไม่เป็นสักสิ่งอย่าง สะท้อนความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะของตำรวจ(ทางตอนใต้) และตบหน้าพวกคลั่งขาว (White Supremacy) เหยียดผิว (Racism) ดูไม่ค่อยเหมือนมนุษย์มนาสักเท่าไหร่

เอาจริงๆถ้า Steiger คว้ารางวัล Oscar จากบทบาทอื่นอย่าง On the Waterfront (1954) หรือ The Pawnbroker (1964) เชื่อว่าน่าจะได้รับการจดจำมากกว่านี้ เพราะบทบาทของ In the Heat of the Night (1967) คือตำรวจจอมเหยียด มันจึงเป็นความกระอักกระอ่วน ขัดย้อนแย้งต่อสามัญสำนึก ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถแยกแยะระหว่างการแสดง-ชีวิตจริง


ถ่ายภาพโดย Haskell Wexler (1922-2015) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Chicago, Illinois ในครอบครัวเชื้อสาย Jews สำเร็จการศึกษาจาก University of California, Berkeley อาสาสมัครเป็นลูกเรือ Merchant Marine ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปลดประจำการทำงานบริษัทของบิดา Allied Radio ก่อนเปิดสตูดิโอถ่ายภาพของตนเอง รับงานฟรีแลนซ์ช่างภาพ ผลงานเด่นๆ อาทิ America America (1963), Who’s Afraid of Virginia Woolf? (1966), In the Heat of the Night (1967), The Thomas Crown Affair (1968), One Flew Over the Cuckoo’s Nest (1993) ฯ

งานภาพของหนังคละคลุ้งกลิ่นอาย Neo-Noir แต่ไม่ใช่แค่เงามืดหรือสีสันยามค่ำคืน, ตากล้อง Wexler ยังจัดแสงโดยพิจารณาถึงสีผิวของ Poitier พยายามทำให้ดูละมุน นุ่มนวล (สะท้อนตัวตนที่มีความสุภาพอ่อนน้อม) ตรงกันข้ามกับพวกตำรวจ แสงขาวหยาบกระด้าง (จิตใจต่ำทราม พฤติกรรมหยาบโลน) … เห็นว่าคือครั้งแรกๆของ Hollywood ที่การถ่ายภาพคำนึงถึงสีผิวนักแสดง

ด้วยความที่ฉากส่วนใหญ่ถ่ายทำตอนกลางคืนบนท้องถนน ยุคสมัยนั้นยังมีความยุ่งยาก ท้าทาย อุปกรณ์ถ่ายทำมีข้อจำกัดมากมาย ผกก. Jewison เลยตัดสินใจไม่ใช้การบันทึกเสียง Sound-On-Film แล้วค่อยให้นักแสดงพากย์ทับเอาภายหลัง (Post-Production) นี่จะช่วยลดงาน ลดงบประมาณ และการถ่ายทำสะดวกรวดเร็วขึ้นด้วย … ใช้เวลาโปรดักชั่น 10-12 สัปดาห์ ระหว่างกลางเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 1966

แม้ในนวนิยาย Wells, South Carolina จะคือเมืองสมมติ แต่ยุคสมัยนั้นไม่มีทางที่โปรดักชั่นภาพยนตร์เกี่ยวกับคนผิวสีจะสามารถเดินทางไปถ่ายทำยังรัฐทางตอนใต้ (Deep South) ทีมงานจึงต้องมองหาสถานที่ที่มีความใกล้เคียง ใช้เวลานานถึงสามเดือนกว่าจะพบเจอ Sparta, Illinois เลยเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสมมติ Sparta, Mississippi เพราะจะได้ไม่ต้องแก้ไขป้ายชื่อที่อยู่อาศัย … แต่โดยที่ไม่มีใครรู้ตัว Sparta, Mississippi กลับเป็นเมืองที่มีอยู่จริง! คนท้องถิ่นรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้เลยเกิดความสับสน เพราะไม่สักช็อตถ่ายทำละแวกนั้น

แม้ว่า Sidney Poitier ยืนกรานเสียงขันแข็งว่าจะไม่ข้ามเขตแดน Mason-Dixon Line (เส้นแบ่งเขตเหนือ-ใต้ เข้าสู่ Deep South) แต่ผกก. Jewison ก็พยายามโน้มน้าวจนยินยอมเดินทางสู่ Dyersburg และ Union City, Tennessee ซีเควนซ์ฟาร์มฝ้ายและเรือนกระจก (บ้านพักของ Eric Endicott) ถึงอย่างนั้นบรรยากาศก็เต็มไปด้วยความตึงเครียด นอกจากเวลาถ่ายทำ Poitier ไม่เคยออกจากห้องพักไปไหน … นี่ช่วยเสริมเติมซีเควนซ์นี้ให้ตัวละครมีความหวาดระแวง วิตกกังวล โชคดีไม่มีเหตุการณ์เลวร้ายใดๆเกิดขึ้น


สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้สังเกตคือการใช้สัมผัส จับต้องร่างกาย โดยปกติแล้วพวกคลั่งขาวทางตอนใต้ มักไม่ยินยอมแตะเนื้อต้องตัวคนผิวสี ด้วยเหตุนี้การตบหน้าจึงเป็นฉากรุนแรง บางรัฐถึงขั้นผิดกฎหมาย สามารถโต้ตอบ เข่นฆ่าให้ตกตายโดยทันที!

  • Mrs. Colbert ปฏิกิริยาแรกเริ่มคือต่อต้านขัดขืน แต่ไม่ใช่เพราะรังเกียจเดียดฉันท์ แค่ยังยินยอมรับการสูญเสียสามีไม่ได้ สัมผัสของ Tibbs แสดงความห่วงใย เป็นกำลังใจ ทำอย่างละมุน นุ่มนวล เคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้เธอไม่รู้สึกอึดอัด ตะขิดตะขวงใจ
  • การชันสูตรศพ Philip Colbert มือของ Tibbs สัมผัสจับต้องด้วยความคล่องแคล่ว เชี่ยวชำนาญ มากด้วยประสบการณ์ แสดงถึงความเป็น ‘มืออาชีพ’
  • ไฮไลท์ช่วงท้าย Gillespie เป็นผู้ยื่นมาขอจับมือด้วยตนเอง นั่นแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ให้ความเคารพ ยินยอมรับกันและกัน

สถานีรถไฟ สถานที่สำหรับการเดินทาง สลับสับเปลี่ยนราง/ขบวนรถไฟ

  • หลายคนอาจไม่ทันสังเกตตอน Opening Credit ขบวนรถไฟมาจอดเทียบยัง Sparta, Mississippi กล้องถ่ายมุมก้มติดพื้น (ไม่เห็นหน้า) ชายคนหนึ่งเดินลงมา หรือก็คือนักสืบ Tibbs เพื่อรอการสลับสับเปลี่ยนขบวนรถไฟ
  • ระหว่างกำลังนั่งรอคอยรถไฟ นายตำรวจ Sam Wood เกิดความเข้าใจผิด ครุ่นคิดว่าหมอนี่คือฆาตกร จึงควบคุมตัวไปไปยังโรงพัก ใช้ถ้อยคำที่เต็มไปด้วยการดูถูกเหยียดหยาม
  • ช่วงระหว่างกลางเรื่อง นักสืบ Tibbs มิอาจอดรทนต่อพฤติกรรมดูถูกเหยียดหยามของ Gillespie เลยต้องการเดินทางกลับบ้าน แต่อีกฝ่ายเพราะถูกบีบบังคับจึงเข้ามาพูดคุย โน้มน้าว งอนง้อคืนดี ท้าทายอีกฝ่ายด้วยข้ออ้างหน้าที่ และการพิสูจน์ตนเองของชาติพันธุ์
    • ซีเควนซ์นี้ถ้ามองในเชิงนามธรรม จะเหมือนการสลับสับเปลี่ยนรางรถไฟ = นักสืบ Tibbs ปรับเปลี่ยนความตั้งใจ
  • และการร่ำจากลา Gillespie เป็นคนยื่นขอจับมือ ให้การยินยอมรับ อำนวยอวยพรให้เขาไปดี
    • มิตรภาพ ความสัมพันธ์ Bromance ของทั้งสอง อาจทำให้หลายคนจิ้นไปไกล จับมือไม่ต่างอะไรจากการจุมพิต (เพราะยุคสมัยนั้นการสัมผัสจับต้องเนื้อตัวยังเป็นสิ่งต้องห้ามระหว่างชาติพันธุ์)

การเดินทางไปยังฟาร์มฝ้ายเพื่อพบเจอกับ Eric Endicott อย่างที่บอกไปว่าสถานที่แห่งนี้ถ่ายทำยัง Tennessee ซึ่งอยู่ข้ามเขตแดน Mason-Dixon Line ในตอนแรกผกก. Jewison ครุ่นคิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรมาก แต่เจ้าโรงแรมกลับแนะนำว่าถ้าหลีกเลี่ยงได้ให้หลีกเลี่ยง … นั่นทำให้ Poitier กักขังตนเองอยู่ในห้องพัก ออกมาเฉพาะตอนถ่ายทำ

สารพัดสิ่งอย่างในคฤหาสถ์หรูหราของ Eric Endicott ล้วนเต็มไปด้วยความขาวผ่อง ทั้งสีบ้าน เรือนกระจก รสนิยมดอกกล้วยไม้ รวมถึงหุ่นปั้นคนดำ(ทำหน้าตาตลกๆ)ยังสวมใส่ชุดสีขาว เหล่านี้บอกใบ้ถึงธาตุแท้ตัวตน คนคลั่งขาว (White Supremacy) ทุกสิ่งอย่างอ้างว่าทำเพื่อคนดำ เบื้องหลังกลับดูถูกเหยียดหยาม ไม่เคยให้การยินยอมรับนับถือ

ปล. ระหว่างทางที่ Gillespie ขับรถพานักสืบ Tibbs มาถึงยังคฤหาสถ์หลังนี้ คลอประกอบพื้นหลังด้วยบทเพลง In the Heat of the Night แต่ทั้งๆซีเควนซ์ไม่ใช่ตอนกลางคืน สภาพอากาศไม่ร้อนระอุ นั่นแสดงว่าต้องการสื่อถึงสถานที่แห่งนี้ บ้านหรูหราของ Eric Endicott มันมีบางสิ่งอย่างที่สร้างความลุ่มร้อนทรวงใน (แก่ชาวผิวสี)

ช็อตสุดท้ายของหนัง ลงทุนใช้ Helicopter เริ่มถ่ายจากนักสืบ Tibbs นั่งในตู้โดยสาร แล้วกล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลังเห็นขบวนรถไฟ ทิวทัศนียภาพกว้างใหญ่ นี่ลักษณะของการเปลี่ยนแปรสภาพ จากจุลภาคสู่มหภาค เหตุการณ์เกิดขึ้นในภาพยนตร์จักกลายเป็นสิ่ง “larger than life” ขยับขยาย สร้างอิทธิพลให้กับผู้คนต่างๆมากมาย

ตัดต่อโดย Hal Ashby (1929-88) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Ogden, Utah โตขึ้นเดินทางสู่ Los Angeles ทำงานเป็นผู้ช่วยตัดต่อ ก่อนแจ้งเกิดกับ The Loved One (1965), The Russians Are Coming, the Russians Are Coming (1966), In the Heat of the Night (1967), The Thomas Crown Affair (1968), จากนั้นผันตัวมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ The Landlord (1970), Harold and Maude (1971), Shampoo (1975), Being There (1979) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านคู่หูต่างสีผิว ผู้กำกับการ Bill Gillespie และนักสืบ Virgil Tibbs จาก PPD เพื่อสืบเสาะค้นหาใครคือฆาตกรสังหารโหดนักธุรกิจ Phillip Colbert แล้วทิ้งศพไว้กลางถนน

  • อารัมบท, นายตำรวจ Sam Wood ระหว่างขับรถสายตรวจยามค่ำคืน บังเอิญพบศพนักธุรกิจ Phillip Colbert ถูกทิ้งศพไว้กลางถนน
  • แนะนำนักสืบ Virgil Tibbs
    • ผู้กำกับการ Bill Gillespie มอบหมายให้นายตำรวจ Sam Wood ออกสำรวจยังสถานที่ต่างๆ พบเจอกับชายผิวสีนั่งอยู่ในสถานีรถไฟ จึงควบคุมตัวมายังสถานีตำรวจ
    • หลังจากซักไซร้ไล่เรียง ถึงค้นพบว่าชายผิวสีคนนั้นคือนักสืบ Virgil Tibbs จาก PPD
    • หัวหน้าของ Tibbs โน้มน้าวให้เขาช่วยเหลือทำคดี ทีแรกพยายามบอกปัดปฏิเสธ Gillespie ก็ไม่ยินยอมพร้อมใจ แต่สุดท้ายเดินทางไปชันสูตรศพผู้เสียชีวิต
  • ผู้ต้องสงสัย Harvey Oberst
    • Gillespie ทำการล้อมจับผู้ต้องหาหลบหนี Harvey Oberst พร้อมยัดข้อหาฆาตกร
    • Tibbs เดินทางกลับมายังโรงพักเพื่อส่งมอบผลการชันสูตร ตรวจสอบคร่าวๆพบว่า Harvey Oberst ไม่ใช่ฆาตกร แต่ทว่าผู้กำกับกลับพยายามยัดข้อกล่าวหา สร้างความไม่พึงพอใจต่อ Mrs. Colbert (ภรรยาของผู้เสียชีวิต)
    • Tibbs ปฏิเสธที่จะร่วมสังฆกรรมใดๆกับ Gillespie เตรียมตัวขึ้นรถไฟกลับ Philadelphia
    • แต่ทว่า Mrs. Colbert กล่าวตำหนินายกเทศมนตรี เลยโน้มน้าวให้ Gillespie พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ Tibbs ยินยอมกลับมาทำคดี
  • ผู้ต้องสงสัย Eric Endicott
    • ณ สถานีรถไฟ Gillespie พูดโน้มน้าว Tibbs จนยินยอมหวนกลับมาทำคดีความ
    • Tibbs ค้นพบเบาะแสสำคัญ ร่วมกับ Gillespie เดินทางไปยังฟาร์มฝ้าย พบเจอ Eric Endicott ยังเรือนกระจก
    • Tibbs ถูกบรรดานักเลงหัวรุนแรง ที่มีความจงเกลียดจงชังคนผิวสี ขับรถไล่ล่า ต้อนจบมุม โชคยังดีได้รับความช่วยเหลือจาก Gillespie
    • คราวนี้ Gillespie พยายามขับไล่ ผลักไส เรียกร้องขอให้ Tibbs เดินทางกลับ แต่เจ้าตัวตอบปัดปฏิเสธ ขอเวลาค้นหาข้อเท็จจริง
  • ผู้ต้องสงสัย Sam Wood
    • Tibbs ขอให้นายตำรวจ Sam Wood ขับรถตามเส้นทางสายตรวจ แวะเวียนร้านอาหารของ Ralph Henshaw แต่หลังจากนั้นกลับพาออกนอกเส้นทาง
    • เช้าวันถัดมา Gillespie เดินทางไปธนาคาร ก่อนค้นพบเงินก้อนโตในบัญชีนายตำรวจ Sam Wood เลยครุ่นคิดว่าหมอนี่ต้องคือฆาตกร
    • แต่ไม่ทันไร Lloyd Purdy พาน้องสาว Delores มายังโรงพัก เพื่อแจ้งจับกุมนายตำรวจ Sam Wood ว่าคือต้นเหตุให้เธอตั้งครรภ์
    • Tibbs เดินทางไปยังสถานที่ตั้งโรงงานยังไม่ได้สร้างของ Phillip Colbert ขอโอกาสสุดท้ายจาก Gillespie
  • ฆาตกรตัวจริง
    • ค่ำคืนนั้น Tibbs เดินทางไปหา Mama Caleba เพื่อสืบค้นว่าใครคือคนรักของ Delores 
    • บังเอิญว่า Delores เดินทางมาหา Mama Caleba เพื่อจะทำแท้ง ทำให้ค้นพบว่าใครคือคนรักของเธอ
    • เผชิญหน้าระหว่างพี่ชาย Lloyd ถูกยิงโดยคนรักของ Delores
    • กลับมาที่โรงพัก คนร้ายรับสารภาพผิด
    • ณ สถานีรถไฟ Gillespie เดินทางมาส่ง Tibbs

หนึ่งในลายเซ็นต์ของผกก. Jewison มักนำเสนอเรื่องราวในทิศทางวกไปวนมาอยู่บ่อยครั้ง อย่างในช่วงแรกๆ Gillespie ไม่ต้องการร่วมงานกับ Tibbs แต่ต่อมาถูกบีบบังคับให้ต้องกลืนน้ำลายตนเอง อ้อนวอนร้องขอ โน้มน้าวให้ช่วยอยู่ทำคดี และพอครึ่งหลังจากการตบหน้าครั้งนั้น Gillespie ก็พยายามขับไล่ ผลักไส แต่คราวนี้ Tibbs ไม่ยินยอมกลับ ฝืนทำคดีจนกว่าจะเสร็จสิ้น!


เพลงประกอบโดย Quincy Delight Jones Jr. (เกิดปี 1933) นักแต่งเพลง American Jazz เกิดที่ Chicago, Illinois เมื่อตอนอายุ 14 พบเห็น Ray Charles (ขณะนั้นอายุ 16 ปี) เล่นดนตรีในไนท์คลับ Black Elks Club เกิดความชื่นชอบหลงใหล ตัดสินใจเอาจริงจังด้านนี้ ได้รับทุนการศึกษาต่อ Berklee College of Music แต่ไม่นานก็ลาออกเพื่อเข้าร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับ Lionel Hampton, และยังเดินทางท่องยุโรปกับ Harold Arlen, จากนั้นมีโอกาสร่วมงานศิลปินชื่อดังมากมาย จนกระทั่งผู้กำกับ Sidney Lumet ชักชวนมาทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแรก The Pawnbroker (1964), ผลงานเด่นๆ อาทิ Walk, Don’t Run (1966), The Deadly Affair (1967), In Cold Blood (1967), In the Heat of the Night (1967), The Italian Job (1969), The Getaway (1972), The Color Purple (1985) ฯ

งานเพลงของ Jones แน่นอนว่าเลือกใช้สไตล์ดนตรี Blues Jazz บรรยากาศ Funky Mood ผมอ่านเจอว่ายังมีกลิ่นอาย Southern (ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นยังไง) สร้างบรรยากาศตึงๆระหว่างสองตัวละครหลัก และมอบสัมผัสอันตราย ดินแดนไม่ปลอดภัยสำหรับชาวผิวสี

บทเพลงไคลน์แม็กซ์ Mama Caleba’s Blues บรรเลงเปียโนโดย Ray Charles ถ่ายทอดสัมผัสทางอารมณ์ที่เก็บกด ซุกซ่อนเร้น เต็มไปด้วยความอัดอั้น เสียงฮาร์โมนิก้าสะท้อนความวังเวงชีวิต การเป็นคนดำในดินแดนตอนใต้สหรัฐอเมริกัน มันช่างทุกข์ทรมาน ลำบากแสนเข็น

ค่ำคืนดึกดื่น สภาพอากาศร้อนระอุ เกิดเหตุการณ์ฆาตกรรมขึ้นยังรัฐทางตอนใต้ (Deep South) ของสหรัฐอเมริกา ดินแดนของพวกคลั่งขาว (White Supremacy) ดูถูกเหยียดหยามคนผิวสี (Racism) แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับต้องขอความช่วยเหลือนักสืบคนดำ นั่นไม่ใช่สิ่งน่าอภิรมณ์ใจเลยสักนิด!

มองผิวเผิน In the Heat of the Night (1967) นำเสนอกระบวนการสืบสวนสอบสวน (Police Procedural) เพื่อค้นหาตัวฆาตกรสังหารโหด แต่เหตุการณ์คู่ขนานบังเกิดขึ้นคือการเผชิญหน้าระหว่างผู้กำกับการ Bill Gillespie vs. นักสืบ Virgil Tibbs, ต่างเป็นตัวแทนความขัดแย้งระหว่างคนขาว vs. ผิวสี, ฟากฝั่งหนึ่งเอาแต่ใช้อารมณ์ แสดงออกผ่านคำพูด ภาษากาย vs. อีกฝ่ายครุ่นคิดด้วยเหตุผล แล้วยังต้องพยายามเก็บซ่อนความรู้สึกไว้ภายใน

สหรัฐอเมริกาช่วงทศวรรษ 50s-60s เต็มไปด้วยการชุมนุมประท้วง เดินขบวนต่อต้าน เรียกร้องสิทธิโน่นนี่นั่นมากมาย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสองฝั่งฝ่าย สถานการณ์ร้อนระอุ บางครั้งลุกลามบานปลาย รุนแรงถึงขนาดฆ่าปิดปากเลยก็พบเห็นได้ทั่วไป (Political Assassination)

ความขัดแย้งระหว่างคนขาว vs. ผิวสี ช่วงทศวรรษนั้นน่าจะถือว่าเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันเลยก็ว่าได้ (ยิ่งกว่าตอนเลิกทาสเสียอีก!) เพราะพวกคลั่งขาวไม่สามารถยินยอมรับข้อเรียกร้อง สิทธิ เสมอภาคเท่าเทียม (ตอนเลิกทาสยังแค่ปลดแอกสถานะทางสังคม ยังไม่ได้ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่างคนขาว-ดำ) จึงเกิดการต่อสู้ โต้ตอบด้วยความรุนแรง เข่นฆ่าแกง ลอบสังหารทางการเมืองนับครั้งไม่ถ้วน!

In the Heat of the Night (1967) สะท้อนบรรยากาศความขัดแย้งระหว่างคนขาว vs. ชาวผิวสี โดยเฉพาะรัฐทางตอนใต้ที่ยังรุนแรง คุกรุ่น แม้กฎหมาย Jim Crow Laws เพิ่งถูกล้มล้างเมื่อปี ค.ศ. 1965 แต่ใช่ว่าคนเคยเต็มไปด้วยอคติ รังเกียจเหยียดหยาม ฟากฝั่งอนุรักษ์นิยม จะให้การยินยอมรับได้โดยทันที

ผมอธิบายไปตอนต้นว่าผกก. Jewison ไม่ได้มีความสนใจด้านการเมือง หรือเรื่องเรียกร้องสิทธิพลเมือง เพียงมือปืนรับจ้าง ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากโปรดิวเซอร์ แค่บังเอิญว่าผลงานเรื่องนี้ได้กลายเป็นหมุดหมายสำคัญให้กับกลุ่มเคลื่อนไหว Civil Rights Movement ตบหน้าพวกคลั่งขาวทางร่างกาย วาจา และจิตใจ

ความสนใจจริงๆของผกก. Jewison เปรียบตนเองดั่งนักสืบ Virgil Tibbs ต่างเป็นคนต่างที่ต่างถิ่น จับพลัดจับพลู ถูกโน้มน้าวให้มาช่วยทำงานยังต่างแดน (ผกก. Jewison เป็นชาว Canadian เดินทางมาสรรค์สร้างภาพยนตร์ยัง Hollywood) … สังเกตว่าผกก. Jewison ซึ่งเป็นคนขาว เปรียบตนเองกับนักสืบผิวสี นั่นแสดงว่าเขาไม่ได้สนใจความแตกต่างอะไรเลย จะมีก็แต่พวกอเมริกันที่หมกมุ่นอยู่กับเรื่อง(ชาติ)พันธุ์นี้

สำหรับผู้แต่งนวนิยาย John Ball หลายคนมองเรื่องราวนี้คือการระบายอารมณ์เกรี้ยวกราด โกรธเกลียดแค้น หรือกระทั่งคลั่งดำ (Black Supremacy) [กลุ่มเคลื่อนไหวที่ล้อกับพวกคลั่งขาว] ถึงพยายามออกแบบตัวละครคนผิวสี ให้มีความเฉลียวฉลาด เก่งกาจ เหนือกว่าพวกคนขาวในทุกๆด้าน! แต่การจับมือ(ที่ไม่ต่างจากจุมพิต)ตอนจบ มันคือการให้การเกียรติ ยินยอมรับกันและกัน แสดงถึงความคาดหวังต่อเหตุการณ์ขัดแย้งชาติพันธุ์ จะสามารถหยุดยับยั้ง คลายความรังเกียจชังลงได้เสียที … ออกไปทางประณีประณอมเสียมากกว่า ใช้สติปัญญาเผชิญหน้าอารมณ์


ด้วยทุนสร้าง $2 ล้านเหรียญ ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม สามารถทำเงินประมาณ $24.4 ล้านเหรียญ แต่บางเมืองต้องรีบนำออกจากโรงภาพยนตร์ เพราะมีการชุมนุมประท้วง (โดยคนขาว) จาก Newark, Milwaukee และ Detroit

หนังเข้าชิง Oscar จำนวน 7 สาขา สามารถคว้ามา 5 รางวัล แต่สิ่งน่าผิดหวังที่สุดก็คือ Sidney Poitier และ Quincy Jones (เพลงประกอบ) ไม่ได้รับโอกาสแม้จะเข้าชิง! ส่วนสาขาผู้กำกับ Jewison ก็ถูกแก่งแย่งไปโดย Mike Nichols เพราะปีก่อนพลาดรางวัลจาก Who’s Afraid of Virginia Woolf? (1966)

  • Academy Award
    • Best Picture **คว้ารางวัล
    • Best Director
    • Best Actor (Rod Steiger) **คว้ารางวัล
    • Best Adapted Screenplay **คว้ารางวัล
    • Best Film Editing **คว้ารางวัล
    • Best Sound **คว้ารางวัล
    • Best Sound Effects
  • Golden Globe Awards
    • Best Motion Picture – Drama **คว้ารางวัล
    • Best Director
    • Best Actor in a Motion Picture – Drama (Sidney Poitier)
    • Best Actor in a Motion Picture – Drama (Rod Steiger) **คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actress (Quentin Dean)
    • Best Supporting Actress (Lee Grant)
    • Best Screenplay **คว้ารางวัล

ความสำเร็จของหนังทำให้มีการเข็นสองภาคต่อ แต่แค่เพียง Sidney Poitier ยินยอมหวนกลับมา แนะนำว่าไม่ต้องเสียเวลารับชมก็ได้มั้งนะ They Call Me Mister Tibbs! (1970), The Organization (1971)

กาลเวลาทำให้หนังได้รับการโหวตจากสถาบัน American Film Institite ติดอันดับหลายชาร์ททีเดียว

  • AFI’s 100 Years…100 Movies (10th Anniversary Edition): #75
  • AFI’s 100 Years…100 Cheers: #21
  • AFI’s 100 Years…100 Heroes & Villains: #19 Virgil Tibbs (Hero)
  • AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes: #16 “They call me Mister Tibbs!”

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 4K Ultra HD สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray จาก Criterion Collection และ Kino Lorber (แนะนำของ Kino Lorber เพราะยัดสองภาคต่อเข้ามาในของแถม) ส่วนของค่าย MGM ตั้งแต่ขายต่อให้ 20th Century Fox แล้วควบรวมกิจการ Walt Disney ก็ไม่รู้โชคชะตาร้ายดี

จริงๆผมตั้งใจจะรวบรวมเขียนถึงผลงาน Sidney Poitier ตั้งแต่เมื่อปีก่อน ตอนที่เพิ่งเสียชีวิต น่าเสียหายหาเวลาลงไม่ได้ จนกระทั่งเดือนที่แล้วถึงคราของผกก. Norman Jewison มันเลยจำเป็นต้องเขียนถึงภาพยนตร์เรื่องเสียที!

ส่วนตัวมีความชื่นชอบประทับใจหนังอย่างมากๆ สัมผัสบรรยากาศตึงเครียด ต่อต้านคนผิวสีใน Deep South ที่น่าหวาดสะพรึงกลัวยิ่งนัก! ต้องชื่นชมความหาญกล้าบ้าบิ่นของผกก. Norman Jewison การแสดงระดับซุปเปอร์สตาร์ Sidney Poitier (ขอละ Rod Steiger ไว้ในฐานที่เข้าใจ) และบทเพลงอันไพเราะเพราะพริ้ง Quincy Jones สร้างความลุ่มร้อน มอดไหม้ หมุดไมล์แห่งวงการภาพยนตร์ Hollywood

จัดเรต 15+ กับถ้อยคำดูถูกเหยียดหยาม (Racism) คดีฆาตกรรม บรรยากาศต่อต้านคนผิวสีใน Deep-South

คำโปรย | In the Heat of the Night ค่ำคืนอันเดือดพล่าน ความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ ผลักดันให้ Sidney Poitier กลายเป็นนักแสดงอันดับหนึ่งของชาว African-American
คุณภาพ | มุล์
ส่วนตัว | เดือดพล่าน

Rupan Sansei: Kariosutoro no Shiro (1979)


The Castle of Cagliostro (1979) Japanese : Hayao Miyazaki ♥♥♥♥♡

ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki ดัดแปลงจากมังงะ Lupin the Third ปรับเปลี่ยนอาชญากรผู้เหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ให้กลายเป็นจอมโจรโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจหญิงสาว

ไม่ใช่แค่หนึ่งในภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยมตลอดกาล! ยังได้รับคำชื่นชมจากผู้กำกับชื่อดัง Steven Spielberg ว่าเป็นหนึ่งใน “Greatest Adventure Movies of All Time” กลายเป็นแรงบันดาลใจแฟนไชร์ Indiana Jones, The Adventures of Tintin และโดยเฉพาะฉากขับรถไล่ล่า ยังกล่าวด้วยว่าคือหนึ่งใน “Greatest Chase sequences ever filmed”

I started looking through the old photographs of my trips to Japan. I’m very emotional about this talk about what a huge influence the country of Japan its people and my friend Hayao Miyazaki had on me. He showed me about three sequences from the film and I was blown away. Because this was the first animated film that I thought was made to entertain all ages. Clearly this was a film that was made by a filmmaker and not just for children. It made me feel I was not alone in the world. It’s for adults. It’s smart, it’s clever. The economy of the action. It was such smart filmmaking. It filled my soul – that’s what I wanted to create.

Technically, artistically, story-wise, this movie was a tremendous inspiration for me and it had a tremendous impact on me.

John Lasseter

หลายคนที่มีปัญหาในการรับชมผลงานส่วนใหญ่ของผกก. Miyazaki แต่เมื่อมีโอกาสดู Lupin III: The Castle of Cagliostro (1979) ล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเข้าถึงง่าย สนุกสนานเพลิดเพลิน ตื่นเต้นเร้าใจอย่างที่สุด! ทั้งๆภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ รับหน้าที่เป็นเพียง ‘มือปืนรับจ้าง’ แต่ต้องถือว่าคือจุดเริ่มต้น เอ่อล้นความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทดลองผิดลองถูก ยังอยู่ในช่วงมองหาสไตล์ลายเซ็นต์

Lupin the Third ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใดๆกับ Arsène Lupin (ในช่วงแรกๆเคยอ้างว่าเป็นทายาทรุ่นที่สาม แต่เพราะถูกฟ้องร้องลิขสิทธิ์จากฝรั่งเศส ผู้แต่งมังงะ Monkey Punch เลยตัดญาติขาดมิตร) เอาจริงๆผู้ชมก็ไม่จำเป็นต้องรู้จัก หรือรับชมอนิเมะซีรีย์ก่อนหน้า/ภาคต่อติดตามมา อารมณ์ประมาณ James Bond ฉบับจอมโจร ขับรถเต่า มาดเก๋าเจ้ง สร้างเสียงหัวเราะขบขัน และฉากแอ๊คชั่นสุดเมามันส์

The Castle of Cagliostro (1979) น่าจะเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกๆของโลก ที่สร้างขึ้นด้วยความตั้งใจเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี ไม่แบ่งแยกว่าอนิเมชั่นเหมาะสำหรับเด็ก หรือเนื้อหาภาพยนตร์ของผู้ใหญ่ (แบบพวก Animerama) และที่สำคัญก็คือคุณภาพที่ยังคงทันสมัยใหม่ รับชมในปัจจุบันยังไม่รู้สึกเก่าแก่เลยสักนิด!

เกร็ด: The Castle of Cagliostro (1979) เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาว (Feature Lengeth) เรื่องที่สองถัดจาก The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) สามารถคว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award


ก่อนอื่นขอกล่าวถึงมังงะ Lupin III (ルパン三世 อ่านว่า Rupan Sansei) แนว Comedy Adventure สร้างโดย Monkey Punch นามปากกาของ Kazuhiko Katō, 加藤一彦 (1937-2019) ตีพิมพ์ครั้งแรกลงนิตยสาร Weekly Manga Action วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1967

ความตั้งใจแรกเริ่มของ Monkey Punch ต้องการให้ตัวละคร Lupin III มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หลานชายรุ่นสามของจอมโจร Arsène Lupin ที่สร้างโดย Maurice Leblanc แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำเช่นนั้นเพราะติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ต้นฉบับ เลยใช้วิธีการเปลี่ยนชื่อตัวละคร Wolf, Rupan, Hardyman (Germany), Edgar de la Cambriole (France) ฯ

มังงะเรื่องนี้ของ Monkey Punch เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่ ตัวละคร Lupin III ออกแบบมาให้มีความดิบเถื่อน อวดดี ขี้เมา เสือผู้หญิง สร้างภาพผู้ดีสไตล์ James Bond (มีคำเรียก ‘gentleman thief) เวลาก่ออาชญากรรม มักใช้ความรุนแรง ข่มขืนกระทำชำเรา ไร้สามัญสำนึกดีชั่ว … เป็นมังงะที่ไม่เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชน

ความสำเร็จของมังงะเข้าตานักอนิเมเตอร์ Gisaburō Sugii พยายามโน้มน้าว Yutaka Fujioka ผู้ก่อตั้ง/เจ้าของสตูดิโอ Tokyo Movie (ปัจจุบันคือ TMS Entertainment) ให้ดัดแปลงเป็นอนิเมะซีรีย์ ด้วยความที่สตูดิโอมีเงินทุนไม่มากนัก จึงเริ่มต้นด้วยการสร้างตอน Pilot Film (1969) เพื่อมองหาผู้จัดจำหน่าย แต่กลับไม่มีใครสนใจเนื่องจากความรุนแรง และมีเรื่องทางเพศมากเกินไป! จนกระทั่งปี ค.ศ. 1971 ถึงได้ Yomiuri Television ตอบตกลงอนุมัติงบประมาณซีรีย์ 26 ตอน

เกร็ด: Lupin the Third Part I (1971-72) ถือเป็นอนิเมะซีรีย์(ญี่ปุ่น)เรื่องแรกที่มีกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้ใหญ่, ส่วนภาพยนตร์อนิเมชั่น(สำหรับผู้ใหญ่)คือไตรภาค AnimeRama ประกอบด้วย A Thousand and One Nights (1969), Cleopatra (1970) และ Belladonna of Sadness (1973)

ตอนแรกที่ออกฉายวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1971 ผลปรากฎว่าเสียงตอบรับย่ำแย่ เรตติ้งต่ำมากๆ สถานีโทรทัศน์จึงโน้มน้าวให้ผู้กำกับ Masaaki Ōsumi ปรับแก้ไขเนื้อหาให้สามารถเข้าถึงผู้ชมวงกว้าง แต่เจ้าตัวกลับตอบปฏิเสธจึงถูกไล่ออกกลางคัน!

Hayao Miyazaki และ Isao Takahata ที่เพิ่งขนข้าวของย้ายออกจาก Toei Animation มายัง Tokyo Movie ได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูแลงานสร้างแทนตั้งแต่ตอนที่ 7 ทำการปรับเปลี่ยนโน่นนี่นั่น ลดความเหี้ยมโหดร้ายของตัวละคร Lupin III จนกลายเป็นบุคคล ‘happy-go-lucky’ ขณะที่เรื่องราวก็มีลักษณะ ‘Family-Friendly’ … ครึ่งแรก-ครึ่งหลังราวกับอนิเมะคนละเรื่อง!

The transition [between Ōsumi’s seinen-themed episodes and the family-friendly Miyazaki-Takahata installments] is not entirely smooth, but [the series is] a fascinating watch for the curious, and can give new viewers a glimpse into the variety the franchise offers as a whole.

Reed Nelson นักวิจารณ์จาก Anime News Network

ด้วยกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้นจากตอนท้ายๆ (ที่ดูแลงานสร้างโดย Miyazaki & Takahata) ทำให้อนิเมะได้ไปต่อซีซันสอง Lupin the 3rd Part II (1977-80) [Miyazaki มีส่วนร่วมแค่ตอน 145 และ 155], ตามด้วยภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรก The Mystery of Mamo (1978) กำกับโดย Sōji Yoshikawa

สำหรับโปรเจคภาพยนตร์ถัดมา ผู้กำกับอนิเมชั่น Yasuo Ōtsuka พยายามมองหาความท้าทายใหม่ให้กับแฟนไชร์ Lupin III เลยชักชวน Hayao Miyazaki ให้มีร่วมตีความจอมโจรคนนี้ในรูปแบบใหม่

So there was a basic premise that Lupin can be interpreted in many different ways, then we started discussing “how we should draw it this time” for this next film piece. In the actual timeline it was May of 1979 that I asked Miya-san to join. The rest of the plan was completely blank.

Yasuo Ōtsuka

Hayao Miyazaki (เกิดปี 1940) ผู้กำกับสร้างอนิเมชั่น เจ้าของฉายา “godfather of animation” สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Bunkyō, Tokyo มีพี่น้อง 4 คน บิดาเป็นเจ้าของบริษัทผลิตเครื่องบิน Miyazaki Airplane ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องอพยพหนีระเบิดจาก Tokyo ไปยัง Utsunomiya, Kanuma โชคดีเอาตัวรอดมาได้, ประมาณปี ค.ศ. 1947 มารดาล้มป่วยโรคกระดูกสันหลังอักเสบเนื่องจากวัณโรค ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลหลายปี

ตั้งแต่เด็กมีความเพ้อฝันต้องการเป็นนักวาดการ์ตูน รับอิทธิพลจาก Tetsuji Fukushima, Soji Yamakawa และ Osamu Tezuka แต่หลังจากรับชมอนิเมชั่น The White Snake Enchantress (1958) ตกหลุมรักนางเอกอย่างจัง เลยเบี่ยงเบนความสนใจไปทางนี้ หลังเรียนจบมหาวิทยาลัยสมัครงานเป็น In-Between Artist สตูดิโอ Toei Animation มีส่วนร่วมโปรเจค Doggie March (1963), Wolf Boy Ken (1963), ต่อมากลายเป็น Chief Animator, Concept Artist, Scene Designer ก่อนขนข้าวของย้ายไปสตูดิโอ Tokyo Movie (Shinsha) ร่วมงานกับ Isao Takahata สร้างซีรีย์ Lupin the Third (1971), ฉายเดี่ยวกับ Future Boy Conan (1978), และกำกับภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรก The Castle of Cagliostro (1979),

To be honest, when I was first asked to join, I thought “why now?” For me, and I think Otsuka-san feels much the same, but Lupin was a character living in 60s to 70s. So I thought the theme to use Lupin was bit old and dated.

… after the first TV series comes the second, and then the movie (The Mystery of Mamo). I felt that Lupin had seen all the glory and ended all its chapters. So I was quite astonished when they were starting up again.

Hayao Miyazaki

แม้ในตอนแรก Miyazaki ตั้งใจจะตอบปฏิเสธ แต่หลังจากพูดคุย ถกเถียงกับ (ผู้กำกับอนิเมชั่น) Yasuo Ōtsuka ค้นพบว่าตนเองยังสามารถขบครุ่นคิด ตีความตัวละคร Lupin III ให้ผิดแผกแตกต่างออกไปจากเดิม ให้คำนิยามสั้นๆว่า “growing up”

I questioned myself. What do I want to do with it now? For what kind of audience? … all I could think was the image of Lupin lived in his glory in 60s and early 70s, now living in the regret and shame for his young and wild life… He stopped caring about those fashion and status ten years ago. The same goes for his comrades.

ร่วมพัฒนาบทอนิเมะโดย Haruya Yamazaki แต่เห็นว่าแค่เพียงบทส่งอนุมัติโปรเจค เพราะระหว่างออกแบบร่าง Storyboard ผกก. Miyazaki ไม่ได้สนใจรายละเอียดใดๆในบทของ Yamazaki ปรับเปลี่ยน แก้ไข ปล่อยให้ทุกสิ่งอย่างดำเนินตามวิวัฒนาการของมันเอง … นี่คือสไตล์การทำงานของผกก. Miyazaki (นอกจากผลงานหลัง) มักยังไม่ครุ่นคิดตอบจบ พัฒนาเรื่องราว/Storyboard ไม่เคยเสร็จทันตอนเริ่มต้นโปรดักชั่น


พื้นหลัง ค.ศ. 1968, จอมโจร Lupin III พร้อมคู่หู Daisuke Jigen หลังปล้นเงินจากบ่อนคาสิโน ณ Monte Carlo ค้นพบว่าสิ่งที่ลักขโมยคือธนบัตรปลอม สร้างขึ้นโดย Count Cagliostro ประเทศเล็กๆอยู่ไม่ไกลจาก Monaco สถานที่ที่เขาเคยพยายามลักลอกเข้าไปเมื่อสิบปีก่อน แต่ประสบความล้มเหลว เฉียดตาย เอาตัวรอดชีวิตได้อย่างหวุดหวิด

ระหว่างการเดินทางไปยังปราสาท Castle of Cagliostro จู่ๆผู้หญิงในชุดเจ้าสาวขับรถตัดหน้า กำลังถูกไล่ล่าโดยรถคันหลัง จอมโจร Lupin จึงเหยียบมิดคันเร่ง พยายามให้การช่วยเหลืออีกฝ่าย แต่แม้สามารถเอาตัวรอดตายอย่างหวุดหวิด สุดท้ายเธอยังคงถูกจับกุมตัว ก่อนพบว่าหมั้นหมายอยู่กับ Count of Cagliostro

หลังจากรับทราบเรื่องราวของ Count of Cagliostro จอมโจร Lupin III จึงส่งจดหมายท้าทาย ประกาศว่าจะทำการลักขโมยคู่หมั้น Clarisse ที่ถูกควบคุมขังอยู่ยังชั้นบนสุดของปราสาท สถานที่ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยหนาแน่น ทันสมัยใหม่ที่สุดในโลก และยังต้องครุ่นคิดหาวิธีเปิดโปงการปลอมแปลงธนบัตร สุดท้ายแล้วจะทำได้สำเร็จหรือไม่??


Yasuo Yamada, 山田 康雄 (1932-95) นักแสดง ตลก พาย์เสียง (Seiyuu) สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo วัยเด็กมีความสนใจกีฬาเบสบอล แต่หลังจากรับชมการแสดงของ Danny Kaye ภาพยนตร์ The Secret Life of Walter Mitty (1977) จึงค้นพบความชื่นชอบหลงใหล ต้องการเป็นนักแสดงตลก สมัครงานคณะการแสดง Mingei Theatre Company แต่พอค้นพบว่าไม่สามารถทำตามความฝัน จึงออกมาจัดรายการวิทยุ จนมีโอกาสเดี่ยวบนเวที Theater Echo, จากนั้นกลายเป็นนักพากย์อนิเมะและภาพยนตร์ โด่งดังกับตัวละคร Lupin III, นอกจากนี้ยังมักให้เสียงนักแสดง Clint Eastwood, Jean-Paul Belmondo ฯ

พากย์เสียง Lupin III จอมโจรสุภาพบุรุษ (Gentleman Thief) ผู้มีความเฉลียวฉลาด หน้าตาอาจไม่หล่อ แต่คารมเป็นต่อ ชื่นชอบหยอกล้อ เกี้ยวพาราสีสาวๆไปทั่ว แต่ไม่เคยเห็นจริงจังกับใคร โหยหาความท้าทาย แต่ด้วยอุดมการณ์ไม่ปล้นคนจน เป้าหมายจึงมักเป็นพวกเศรษฐีปลอมๆ หลอกลวง คอรัปชั่น และด้วยวัยวุฒิเพิ่มสูงขึ้น เริ่มครุ่นคิดโหยหาอดีต รู้สึกเสียดายหลายๆสิ่งอย่างเคยทอดทิ้งขว้าง

การเข้ามาของ Miyazaki & Takahata ได้ทำการปรับเปลี่ยนจอมโจม Lupin จากเคยเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย อาชญากรโรคจิต สยองขวัญ ไม่มีอะไรน่าจดจำ กลายมามาดเท่ห์ ทรงเสน่ห์ ใบหน้าทรงรี มีความยียวน บุคลิกภาพป่วนๆ หน้าตาทะเล้น ชวนให้นึกถึงนักแสดง Jean-Paul Belmondo และเสียงพากย์ของ Yamada คงด้วยประสบการณ์นักแสดงตลก เลยสามารถละเล่นระดับเสียงสูง-ต่ำได้อย่างมหัศจรรย์ (เวลาทะเล้นก็เล่นเสียงสูง พอจริงจังก็กดเสียงต่ำ อะไรอย่างอื่นก็ระหว่างนั้น)

คนที่กลายเป็นแฟนคลับ Lupin III ส่วนใหญ่มักมีจุดเริ่มต้นจากภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ ซึ่งไม่ได้มีความใกล้เคียงกับต้นฉบับมังงะสักเท่าไหร่ ผู้แต่ง Monkey Punch แม้ชื่นชอบอนิเมะ แต่ไม่นานก็ตระหนักถึงผลกระทบเลวร้ายติดตามมา

95% of Lupin III fans outside Japan cite this work as what ‘triggered them to become a fan.’ I said, ‘This is not my Lupin.’ It’s a very good work by Miyazaki-kun, wrapped in kindness that I couldn’t have drawn. But the second half of the caper was cut off, and only the first word was taken up. My Lupin is poisonous… I wouldn’t have had him rescue the girl, I would have had him rape her!

Monkey Punch

Sumi Shimamoto ชื่อจริง Sumi Koshikawa, 越川 須美 (เกิดปี 1954) นักแสดง นักพากย์ (Seiyuu) สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kōchi สำเร็จการศึกษา Toho Gakuen College of Drama and Music จากนั้นเข้าร่วมคณะการแสดง Gekidan Seinenza, โด่งดังจากการให้เสียงพากย์ Clarisse อนิเมะ The Castle of Cagliostro (1979), Nausicaä อนิเมะ Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), Shokupanman แฟนไชร์ Soreike! Anpanman ฯ

พากย์เสียงเจ้าหญิง Clarisse สมาชิกราชวงศ์คนสุดท้ายของ Cagliostro ถูกบีบบังคับให้หมั้นหมายแต่งงานกับ Count Cagliostro ซึ่งเคยเป็นข้าราชบริพารก่อการกบฎ โค่นล้ม เข่นฆ่าล้างราชวงศ์ ด้วยจุดประสงค์เปิดขุมทรัพย์ ครอบครองสิ่งของล้ำค่าที่สุด แต่เธอพยายามดิ้นรน หลบหนี หลายครั้งเข้าจนหมดสิ้นเรี่ยวแรงกาย-ใจ จนได้รับความช่วยเหลือจาก Lupin III เข้ามาขโมยหัวใจ ให้บังเกิดความหวังขึ้นในชีวิตอีกครั้ง

ตอนแรกผมรู้สึกคุ้นๆเหมือนเคยได้ยินเสียงของ Shimamoto จากแห่งหนไหน พอรับรู้ว่าเคยพากย์ Nausicaä ก็เกิดความเชื่อมโยงขึ้นโดยทันที แม้ว่า Clarisse จะออกไปทาง ‘damsel in distress’ เคยมีสภาพท้อแท้สิ้นหวัง มิอาจต่อต้านอำนาจบารมีของ Count Cagliostro แต่เพราะได้รับประกายความหวังจาก Lupin III จึงแสดงจิตวิญญาณอันมุ่งมั่น แน่วแน่ กล้าครุ่นคิดตัดสินใจ และยินยอมเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น … อาจดูไม่เหมือนนางเอกในอุดมคติของผกก. Miyazaki แต่อยู่ในช่วงวัยกำลังเติบโต

เกร็ด: Clarisse ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า Bright, Famous ถือเป็นตัวละคร ‘moe’ แรกๆของวงการอนิเมะ และเคยได้รับการโหวตตัวละครหญิงอันดับหนึ่งอยู่หลายปี จนกระทั่งการมาถึงของ Nausicaä (ซึ่งก็พากย์เสียงโดย Seiyuu คนเดียวกัน)

Tarō Ishida ชื่อจริง Gentarō Ishida, 石田 弦太郎 (1944-2013) นักแสดง นักพากย์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kyoto เป็นบุตรของนักแสดง Shigeki Ishida โตขึ้นเข้าศึกษาภาษาสเปน Sophia University แต่ยังไม่ทันเรียนจบออกมาเป็นนักแสดง พากย์เสียง Gene Hackman, Anthony Hopkins, Count Cagliostro อนิเมะ The Castle of Cagliostro (1979), Colonel Shikishima อนิเมะ Akira (1988), Gasparde อนิเมะ One Piece: Dead End Adventure (2003) ฯ

พากย์เสียง Count Cagliostro อุปราชแห่ง Cagliostro ผู้มีความร่ำรวย(จากการผลิตธนบัตรปลอม) เต็มไปด้วยเส้นสาย หลังยึดอำนาจจากบิดาของ Clarisse บีบบังคับให้หมั้นหมาย แต่งงาน เพื่อตนเองจักกลายเป็นกษัตริย์ และค้นพบขุมสมบัติสุดท้ายที่ซุกซ่อนเอาไว้

Count Cagliostro น่าจะเป็นตัวร้ายตัวเดียวในอาชีพการงานของผกก. Miyazaki (โดยปกติผลงานปู่แกไม่มีตัวร้ายที่เหี้ยมโหดชัดเจนขนาดนี้ ส่วนใหญ่จะเทาๆ พบเห็นทั้งด้านดี-ร้ายในตนเอง) แต่การออกแบบตัวละคร ไม่ได้มีจุดโดดเด่น หรือทำออกมาแปลกพิศดารอะไร เพียงใบหน้าเหลี่ยมๆ (เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม) รูปร่างสูงใหญ่ อกผายไหล่ผึ่ง และรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยลับเลศนัย

น้ำเสียงของ Ishida ก็ไม่ได้มีความโฉดชั่วร้ายใดๆ เหมือนผู้ใหญ่วัยกลางคน มีความทุ้ม หนักแน่น ฟังดูสุขุม เยือกเย็น แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดเฉพาะตอนที่ลูกน้องทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ และเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นว่าสามารถต้อนจนมุม Lupin III แต่กลับกลายเป็นตนเองที่ … แตกโพล๊ะ

ถ่ายภาพโดย Hirokata Takahashi (The Rose of Versailles, Space Adventure Cobra, Castle in the Sky)

งานภาพ/ออกแบบศิลป์ของอนิเมะคละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ ทั้งทิศทาง การจัดแสง เลือกใช้สีสัน หลายครั้งพบเห็นตัวละครเดินกินลมชมวิว ดื่มด่ำทัศนียภาพงามๆ พานผ่านเศษซากปรักหักพัง หวนระลึกวันวาน สถานที่แห่งความทรงจำ นาฬิกานับถอยหลัง

ด้วยความยังหนุ่มแน่นของผกก. Miyazaki โปรดักชั่นเริ่มต้นพฤษภาคม ค.ศ. 1979 เสร็จสิ้นเดือนพฤศจิกายน (ประมาณห้าเดือนกว่าๆ) นั่นเป็นระยะเวลาน้อยที่สุดในการสรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมชั่น (ของ Miyazaki) เลยก็ว่าได้!

I first learned the limits of my physical strength with this work.

Hayao Miyazaki

แต่ความเร่งรีบร้อนดังกล่าว รวมถึง Storyboard ที่ยังวาดไม่ทันเสร็จ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อโปรดักชั่นของอนิเมะ ตรงกันข้ามสร้างเพราะไม่มีใครรับรู้ว่าตอนจบจะลงเอยเช่นไร จึงเต็มไปความคลุมเคลือ ไม่แน่นอน อะไรๆล้วนบังเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

ใครเคยรับชม The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) ของผกก. Paul Grimault น่าจะสังเกตเห็นอิทธิพลที่มีมากล้นต่อทั้งเรื่องราว และการออกแบบปราสาท Castle of Cagliostro จนบางคนอาจรู้สึกเหมือน ‘rip off’ คล้ายๆแบบ Lupin III ทำการโจรกรรมสิ่งของมีค่า (= Miyazaki ลักขโมยหลายๆสิ่งอย่างจากภาพยนตร์/อนิเมชั่นก่อนหน้า)

ผมเขียนถึงรายการภาพยนตร์เรื่องโปรดของผกก. Miyazaki มาเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้า พบเห็นกังหันลมก็ชวนนึกถึง The Old Mill (1938), เครื่องจักร ฟันเฟือง ภาพยนตร์ Modern Times (1936), ฉากโลดโผนบนหอนาฬิกา Safety Last! (1923) ฯ เหล่านี้ถ้าพูดตรงๆก็คือลักขโมยมา แต่ภาษาศิลปินจะเรียกว่าได้รับอิทธิพล แรงบันดาลใจ ไม่ได้เหมือนเป๊ะขนาดนั้น … จะว่าไปสิ่งต่างๆเหล่านี้ ทำให้อนิเมะคละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ แต่เฉพาะบุคคลเคยรับรู้จักมาก่อนเท่านั้น!

เมื่อตอน The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) และ The King and the Mockingbird (1980) ต่างเป็นอนิเมะที่ไม่เคยเปิดเผยว่าหลังจาก The King กดปุ่ม หล่นตุ๊บ ล่องจุ๊น บุคคลเหล่านั้นสูญหายตัวไปไหน? ผกก. Miyazaki ก็ได้ขบไขปริศนา มอบคำตอบที่อาจชวนคลื่นไส้วิงเวียน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมโฉดชั่วร้าย สถานที่ที่ความตายคือรากฐาน

โดยปกติแล้ว Lupin III มักขับรถหรูหราราคาแพงอย่าง Mercedes Benz (ด้วยเหตุผลว่าเป็นรถคันโปรดของ Adolf Hitler) แต่ความตั้งใจของผกก. Miyazaki ต้องการนำเสนอการเติบโตของตัวละคร สร้างเรื่องราวให้มีกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ จึงปรับเปลี่ยนมาเป็นรถเต่าคลาสสิก Fiat 500 กลายเป็น ‘Iconic’ ของภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้โดยพลัน!

I thought this Lupin was probably a kind of man who used to drove Mercedes Benz SSK but now he is out of that phase and bored with it. He realized, after all, it does not matter what car he drives, as long as it drives, and he is just driving around with the most basic car. He is over the fame and status which came with the money. He is no longer a man who would pull out the most rare and expensive cigarette lighter to light his cigarette anymore. He does not give a single damn about such thing. He is fine with the cheap disposable one as long as it does the job. That was my image of Lupin. I felt like I finally understood Lupin. And based on that image, I created this film.

Hayao Miyazaki

เกร็ด: Fiat 500 คือรถคันปัจจุบัน(ขณะนั้น)ของผู้กำกับอนิเมเตอร์ Yasuo Ōtsuka, ขณะที่ Citroen 2CV ในฉากไล่ล่า คือรถคันแรกของผกก. Miyazaki

เมื่อตอน

ไคลน์แม็กซ์ของอนิเมะบังเกิดขึ้นยังหอนาฬิกา Lupin III vs. Count Cagliostro ต่างยืนบนเข็มยาว-สั้น (ฟากฝั่งขั้วตรงข้าม) ฝ่ายหนึ่งพลัดตกหล่นเบื้องล่าง อีกฝ่ายปีนป่ายขึ้นสู่เบื้องบน และเมื่อเข็มเคลื่อนมาตำแหน่ง 00:00 ทำให้อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต เวียนมาบรรจบครบรอบ เปิดเผยขุมสมบัติของ Cagliostro ที่เก็บซุกซ่อนเอาไว้

ขุมสมบัติของ Cagliostro แท้จริงแล้วคือเมืองใต้บาดาล แรงบันดาลใจจากดินแดน Atlantis ที่จมลงใต้มหาสมุทร แต่สถาปัตยกรรมเหมือนจะหยิบยืมมาจากจักรวรรดิโรมัน (อิตาลี) ซึ่งถือว่ามีมูลค่าทางจิตใจมากมายมหาศาล ดั่งคำกล่าวของ Lupin III ที่ว่า “Treasure for all Mankind”

แต่สำหรับ Count Cagliostro ถ้ายังมีชีวิตอยู่คงตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง นี่นะหรือคือสิ่งที่อุตส่าห์เสียสละทุกสิ่งอย่างเพื่อแลกมา เพราะมันไม่มีมูลค่าทางวัตถุใดๆ ไม่สามารถนำไปขายทอดตลาด ไม่แตกต่างจากธนบัตรปลอมๆผลิตขึ้นมา

ถ้าเป็นเมื่อสิบปีก่อน ไม่แน่ว่า Lupin III อาจจะลักพาตัว Clarisse กลายเป็นคู่หู Bonnie and Clyde แต่ใจความอนิเมะเรื่องนี้เกี่ยวกับการหวนระลึก ความทรงจำวันวาน กาลเวลาได้เคลื่อนพานผ่าน ปัจจุบันรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย แก่เกินแกง สุดท้ายเลยขีดเส้นแบ่ง ยินยอมปลดปล่อยเธอสู่อิสรภาพ ร่ำลาจากตอนนี้เลยดีกว่า!

Even when it comes to love, he keeps the same stance. Maybe if it was ten years ago, he would have fallen for love, but now he knows he is not that young nor innocent, so he excuse himself as “old man” and draw the line.

Hayao Miyazaki

ตัดต่อโดย Mitsutoshi Tsurubuchi,

นำเสนอการผจญภัยของจอมโจร Lupin III (และผองพวก) หลังจากปล้นคาสิโน ณ Monte Carlo ออกเดินทางสู่ประเทศ Cagliostro วางแผนลักขโมยเจ้าหญิง Clarisse และสิ่งล้ำค่าที่สุดในปราสาทแห่งนี้

  • อารัมบท, จอมโจร Lupin III ปล้นคาสิโน Monte Carlo
  • Castle of Cagliostro
    • ระหว่างทางไปยัง Cagliostro พบเห็นผู้หญิงในชุดเจ้าสาวถูกรถคันหลังไล่ล่า Lupin III (และ Daisuke Jigen) จึงพยายามให้การช่วยเหลือ
    • เดินทางมาถึงปราสาท Cagliostro เหมือนว่า Lupin III จะมีความหลังบางอย่างกับสถานที่แห่งนี้
    • แนะนำตัวละคร Count Cagliostro เข้าไปในห้องของเจ้าหญิง Clarisse แล้วออกคำสั่งให้ลูกน้องจัดการ Lupin III
    • หลังรับประทานอาหารมื้อเย็น Lupin III (และ Daisuke) ก็ถูกโจมตีโดยลูกน้องของ Count Cagliostro
  • การโจรกรรมของ Lupin III
    • เช้าวันถัดมา Chief Inspector Koichi Zenigata และ Fujiko Mine ต่างเดินทางมาถึงปราสาทแห่งนี้
    • ยามค่ำคืน Lupin III หาหนทาง ลักลอบเข้าไปในปราสาทได้สำเร็จ
    • ปีนป่ายขึ้นไปยังห้องของเจ้าหญิง Clarisse ให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยเหลือเธอออกมา แต่กลับถูกล้อมจับกุมโดย Count Cagliostro
    • Lupin III และ Chief Inspector Koichi ร่วมมือกันหลบหนีจากห้องใต้ดิน เผาทำลายเครื่องผลิตธนบัตร
    • Lupin III พยายามจะช่วยเหลือเจ้าหญิง Clarisse แต่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส เธอจึงยินยอมเป็นตัวประกันให้ปล่อยตัวเขาหลบหนีได้สำเร็จ
  • ขุมสมบัติของ Castle of Cagliostro
    • ระหว่างพักรักษาตัว Lupin III เล่าถึงความหลังที่เคยพบกับเด็กหญิง Clarisse เมื่อสิบปีก่อน
    • งานแต่งงานระหว่าง Count Cagliostro และเจ้าหญิง Clarisse
    • พิธีแต่งงานถูกรุกรานโดย Lupin III และผองพวก
    • Lupin III, Clarisse และ Count Cagliostro กับภารกิจหาสมบัติของ Castle of Cagliostro
  • ปัจฉิมบท, การจากไปของ Lupin III ถูกไล่ล่าโดย Chief Inspector Koichi

อนิเมะมี ‘จังหวะ’ (Pacing) การดำเนินเรื่องที่น่าทึ่งมากๆ เริ่มต้นด้วยฉากไล่ล่า หลบหนี สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ ทำให้ผู้ชมเต็มไปด้วยความคาดหวัง จากนั้นลดความเร็วลงเพื่ออธิบายโน่นนี่นั่น กราฟอารมณ์ขึ้นๆลงๆ เหมือนเครื่องเล่น Roller Coaster ก่อนพุ่งทะยานสู่ไคลน์แม็กซ์สูงสุด แล้วจากไปอย่างโคตรเท่ห์ … นี่คือสูตรสำเร็จภาพยนตร์แอ็คชั่นที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน แต่อนิเมะสร้างมากว่า 40+ ปี ยังไม่มีความเก่าเลยสักนิด!


เพลงประกอบโดย Yuji Ohno, 大野 雄二 (เกิดปี 1941) นักแต่งเพลง แจ๊ส สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Atami, Shizuoka สามารถเล่นเปียโนตั้งแต่อยู่โรงเรียนอนุบาล โตขึ้นเข้าศึกษาวิชากฎหมาย Keio University แล้วยังได้เป็นสมาชิกวง Keio University Light Music Society, จบออกมาเริ่มจากเล่นดนตรี Backing แต่งเพลง ออกอัลบัม ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ โทรทัศน์ โด่งดังจากซีรีย์ Lupin III มีผลงานตั้งแต่ซีซันสอง Lupin III Part II (1977-1978) จนถึงปัจจุบัน

ใครเคยรับชมแฟนไชร์ Lupin III น่าจะมักคุ้นกับ Main Theme คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Jazz รสสัมผัส Bebop จังหวะรวดเร็ว สนุกสนาน เต็มไปด้วยลีลาโลดโผนของการเปลี่ยนแปลงคีย์และคอร์ด ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถคาดเดาอะไร คล้ายๆอุปนิสัย/พฤติกรรมจอมโจร Lupin III ผันแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา … แต่สำหรับอนิเมะเรื่องนี้ Main Theme ของ Lupin III จะแทรกแซมอยู่ตามท่วงทำนองต่างๆ ระหว่างการขับรถไล่ล่า เผชิญหน้าอันตราย หาใช่บทเพลงประกอบหลักไม่!

นั่นเพราะเนื้อหาสาระของอนิเมะ คือการลักขโมยหัวใจหญิงสาว (สมบัติล้ำค่าที่สุด) จึงคละคลุ้งด้วยกลิ่นอายโรแมนติก และอาการโหยหาความทรงจำเมื่อครั้นวันวาน (Nostalgia) ท่วงทำนองหลักจึงเป็น Variation จากบทเพลงคำร้อง 炎のたからもの อ่านว่า Honō no Takaramono แปลว่า Fire Treasure (บางครั้งอาจใช้ชื่อ Treasures of Time), คำร้องโดย Jun Hashimoto, ต้นฉบับขับร้องโดย Toshie Kihara ร่วมกับวงดนตรี You & The Explosion Band มีคำเรียกสไตล์ Jazz Funk

คำร้องญี่ปุ่นคำแปลอังกฤษ
Shiawase o tazunete watashi wa yukitai
Ibara no michi mo itetsuku yoru mo
Futari de watatte yukitai

Tabibito no samui kokoro o
Dare ga daite ageru no
Dare ga yume o kanaete kureru

Honoo to moesakaru watashi no kono ai
Anata ni dake wa wakatte hoshii
Kizuna de watashi o tsutsunde……

Kōya o sasurau anata o
Nemurasete agetai no
Nagareboshi wa anata no koto ne

Honō to moesakaru watashi no kono ai
Anata ni dake wa wakatte hoshii
Nazomeku kiri mo harete iku
I want to go in search of happiness
Through thorny paths and frozen nights
I want to go across the road together

Who will hold the traveler’s cold heart
Who will hold you in their arms?
Who will make my dreams come true

My love that burns with fire
I only want you to understand
Wrap me in your bonds ……

As you wander in the wilderness
I want to put you to sleep
You are the shooting star

My love that burns with fire
I only want you to understand
And the mists of mystery will clear

Variation ของ Fire Treasure จะมีการเลือกใช้เครื่องดนตรีหลักแตกต่างกันไป ขลุ่ย (โดดเดี่ยวอ้างว้าง) ไวโอลิน (บีบเค้นคั้นทรวงใน) และคลาริเน็ต (ครุ่นคิดถึง คำนึงหา) ส่วนตัวชื่นชอบประทับใจมากสุดก็คือ #3 ดังขึ้นช่วงท้ายขณะร่ำลาจาก Clarisse เหม่อมองการจากไปของ Lupin III ด้วยสายตาโหยหาอาลัย ฉันจะจดจำช่วงเวลาทรงคุณค่านี้ไว้ ติดตราฝังใจไม่รู้ลืมเลือน

มีอีกบทเพลงหนึ่งที่ผมอดกล่าวถึงไม่ได้ Bach: Pastorale in F major, BWV 590 ท่อนที่ III. Aria โดยปกติจะบรรเลงโดยออร์แกน (เป็นบทเพลงเดียวของ Bach ที่แต่งขึ้นเพื่อ Chruch Organ) แต่ด้วยความไพเราะเพราะพริ้ง ราวกับเสียงสวรรค์ จึงได้รับความนิยมนำมาบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอื่นมากมาย

แต่ที่แน่ๆนี่ไม่ใช่บทเพลงสำหรับงานแต่งงาน ฟังแล้วราวกับตกนรกทั้งเป็น แถมการบรรเลงใช้โน๊ตเสียงสูง มีความขัดย้อนแย้งกันเอง (โดยปกติออร์แกนจะมีเสียงทุ้มต่ำ) นั่นเพราะ Clarisse ไม่ได้อยากหมั้นหมายครองรักกับ Count Cagliostro เธอจึงรู้สึกหดหู่ ท้อแท้สิ้นหวัง ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป

Lupin III ฉบับของผกก. Miyazaki ต้องเรียกว่าจอมโจรโรแมนติก ใช้ชีวิตพานผ่านอะไรๆมามาก ลักขโมย ปล้น-ฆ่า เกี้ยวพาราสีหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า จนมากระทั่งถึงวัยกลางคน ไม่เชิงว่า ‘midlife crisis’ แต่เริ่มเกิดความตระหนัก เข้าใจอะไรๆหลายสิ่งอย่าง รถหรู เงินทอง มันก็แค่สิ่งของภายนอก เกิดความเบื่อหน่าย ซ้ำซากจำเจ โหยหาสิ่งท้าทาย เติมเต็มความต้องการหัวใจ

โดยปกติแล้วจอมโจร Lupin III ถือเป็นอาชญากรโฉดชั่วร้าย บุคคลอันตราย สมควรตีตนออกห่างไกล! แต่เราสามารถมองในเชิงสัญลักษณ์ของพฤติกรรมหัวขบถ นอกคอก ไม่ต้องการอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบ โหยหาอิสรภาพในการใช้ชีวิต, ขณะที่การลักขโมย โจรกรรม ในเชิงนามธรรมสามารถสื่อถึงความชื่นชอบหลงใหล สิ่งสร้างอิทธิพล ก่อบังเกิดแรงบันดาลใจ … ผกก. Miyazaki คลั่งไคล้ภาพยนตร์อนิเมชั่น The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) ลักขโมยหลายสิ่งอย่างมาใส่ในผลงานเรื่องนี้ของตนเอง!

(นัยยะเดียวกับ One Piece โจรสลัดคืออาชญากรโฉดชั่วร้าย แต่สามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ถึงพฤติกรรมหัวขบถ นอกคอก ไม่ต้องการอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบ โหยหาอิสรภาพในการใช้ชีวิต)

เราสามารถเปรียบเทียบตรงๆ Lupin III = ผกก. Miyazaki ต่างเป็นคนหัวขบถ รักอิสระ ชื่นชอบทำสิ่งแปลกใหม่ ท้าทายศักยภาพตนเอง เติมเต็มความต้องการหัวใจ แม้ในตอนแรกไม่ครุ่นคิดอยากหวนกลับมาทำแฟนไชร์นี้อีก (เพราะเคยกำกับอนิเมะซีรีย์ซีซันแรกไปแล้ว) แต่เล็งเห็นโอกาสทำสิ่งแปลกใหม่ ตัวตนเองที่ปรับเปลี่ยนแปลงไป

ในบริบทของอนิเมะมีการย้อนระลึกความหลังประมาณสิบปีก่อน ซึ่งตรงกับช่วงที่ผกก. Miyazaki เคยทำงานอยู่ Toei Animation = Castle of Cagliostro ซึ่งท่าน Count of Cagliostro สามารถเปรียบเทียบถึงผู้บริหาร(สตูดิโอ Toei)ที่มีความเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ เผด็จการ … แนะนำให้ไปอ่านบทความ The Great Adventure of Horus, Prince of the Sun (1968) จะเข้าใจเหตุผลที่ทั้ง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki ตัดสินใจร่ำจากลา Toei Animation ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971

สิ่งที่ผกก. Miyazaki ลักขโมยมาจาก Toei Animation คือประสบการณ์ทำงาน (และประสบการณ์ชีวิต) ได้เรียนรู้ทั้งงานอนิเมเตอร์ สรรค์สร้างอนิเมชั่น ระบบการทำงาน สำคัญที่สุดก็คือสันดานธาตุแท้มนุษย์ และความคอรัปชั่นของระบอบทุนนิยม

เมื่อตอนสรรค์สร้างอนิเมะเรื่องนี้ ผกก. Miyazaki มีอายุย่าง 38 ปี ถือว่าอยู่ในช่วงวัยกลางคน พานผ่านอะไรๆมาพอสมควร จึงเริ่มเข้าใจสัจธรรมชีวิต มองย้อนกลับไปก็มีทั้งสิ่งที่โหยหา ครุ่นคิดถึง (Nostalgia) บางอย่างก็เป็นเรียนชีวิต ให้เรียนรู้ ปรับปรุงตนเอง เติบโตเป็นผู้ใหญ่ … มันไม่เชิงว่า The Castle of Cagliostro (1979) คือภาพยนตร์แนว ‘Coming-of-Age’ แต่คือการเติบโตของ Hayao Miyazaki ในฐานะผู้กำกับอนิเมชั่น


ด้วยทุนสร้าง ¥500 ล้านเยน (ประมาณ $2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทุบทำลายสถิติทุนสร้างภาพยนตร์อนิเมชั่นสูงสุดตลอดกาลของ Space Battleship Yamato (1977) [ที่ ¥200 ล้านเยน] ก่อนจะถูกแซงโดย Laputa: Castle in the Sky (1986) [ที่ ¥800 ล้านเยน]

แม้เสียงตอบรับจะดียอดเยี่ยม แต่ในญี่ปุ่นสามารถทำเงินได้เพียง ¥610 ล้านเยน (ประมาณ $2.784 ล้านเหรียญสหรัฐ) ฉายต่างประเทศก็ไม่ได้รายรับเพิ่มขึ้นสักเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้นมีการนำออกฉายซ้ำอยู่เรื่อยๆจนได้รับกระแสคัลท์ (Cult Following) ยอดขาย VHS, DVD, Blu-Ray ก็น่าจะทำกำไรได้แล้วละ

เกร็ด: The Castle of Cagliostro (1979) ได้รับการโหวตติดอันดับ #20 ชาร์ท Laputa: Top 150 Japanese and World Animation (2003) ถือเป็นเรื่องที่ห้าของผกก. Miyazaki ถัดจาก #6 Future Boy Conan (1978), #7 My Neighbour Totoro (1988), #16 Nausicaä of the Valley of the Wind (1984) และ #19 Laputa: Castle in the Sky (1986)

แม้ลิขสิทธิ์อนิเมะจะไม่ใช่ของสตูดิโอ Ghibli แต่ทว่า TMS Entertainment เก็บทำนุรักษาฟีล์มต้นฉบับไว้เป็นอย่างดี ผ่านการบูรณะ 4K UHD เมื่อปี ค.ศ. 2019 จัดจำหน่าย Blu-Ray โดย Discotek Media ของแถมพอสมควรเลยละ

ในบรรดาผลงานของผกก. Miyazaki ผมมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินมากที่สุดกับ The Castle of Cagliostro (1979) ทั้งฉากแอ๊คชั่นมันส์ๆ อนิเมชั่นบ้าระห่ำ พบเห็นสารพัดการเชื่อมโยง The King and the Mockingbird (1980) ของผกก. Paul Grimault ยิ่งทำให้รู้สึกอึ่งทึ่ง คาดไม่ถึง ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจผู้ชม!

The Castle of Cagliostro (1979) ถือเป็นไฮไลท์ยืนหนึ่งของแฟนไชร์ Lupin III ด้วยความที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แตกต่างจากต้นฉบับมังงะ หรือซีรีย์ตอนอื่นๆ จึงไม่มีเรื่องไหนๆสามารถก้าวข้ามผ่าน ใกล้เคียงสุดอาจคือภาพยนตร์สามมิติ Lupin III: The First (2019) กำกับโดย Takashi Yamazaki ทำการเคารพคารวะ พล็อตเรื่องคล้ายๆกัน (แต่หลายคนบอกว่าขาดกลิ่นอายสไตล์อนิเมะสองมิติไปพอสมควร)

จัดเรต pg เกี่ยวกับการลักขโมย พฤติกรรมคอรัปชั่น กักขังหน่วงเหนี่ยว

คำโปรย | The Castle of Cagliostro ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki เต็มไปด้วยความโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจผู้ชม
คุณภาพ | ติ
ส่วนตัว | ปล้นหัวใจ

Taiyō no Ōji Horusu no Daibōken (1968)


The Great Adventure of Horus, Prince of the Sun (1968) Japanese : Isao Takahata ♥♥♥♡

ร่วมงานครั้งแรกระหว่าง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki (Concept Artist, Scene Design และ Key Animation) แม้โปรดักชั่นล่าช้ากว่าสามปี บางฉากเหมือนยังไม่เสร็จดี ตัดต่อเร่งรีบรวบรัดเกินไป เข้าฉายไม่กี่วันก็เงียบหาย แต่กลับได้รับกระแสคัลท์ติดตามมา สร้างอิทธิพลให้วงการอนิเมชั่น จนกลายเป็นหนึ่งในอนิเมะยอดเยี่ยมตลอดกาล!

คำอาลัย (Eulogy) ในพิธีศพของ Isao Takahata โดย Hayao Miyazaki มีการพูดถึงแรกพบเจอ และความทรงจำระหว่างโปรดักชั่น Horus, Prince of the Sun (1968) ครั้งแรกที่พวกเขาร่วมงานกัน ผมนำมามาแค่บางส่วน ใครอยากอ่านเต็มๆคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่าง

In 1963, we first met each other. Paku-san was 27 and I was 22, back then. I still remember the day when we exchanged words for the first time. I was waiting for the bus bound for Nerima at a bus stop in the twilight.​ A young man approached me walking down the street where some puddles remained right after it rained. “I heard you are meeting up with Segawa Takuo-san.” In front of me was the gentle and wise looking face of a young man. That was the moment when I first met Takahata-san, also known as Paku-san.​ I wonder, why do I still remember that this clearly, even though it was 55 years ago? I can even vividly remember the look on his face at that time.​

The production [of The Great Adventure of Horus, Prince of the Sun as Takahata worked as its screenwriter] did not proceed well. The staff were not familiar with [Takahata’s] new style. The progress was so slow that the project became a headache to the entire company. Paku-san was an incredible persistent guy. Even as the company’s top management tried to change his direction with, sometimes, threats and, sometimes, begging, he did not change. I worked by myself over weekends with no AC in the summer, drawing the sketches for the background pictures on big sheets of paper. The agreement with the labor’s union did not allow the work on weekends but I did not care. It was so simple. I just did not punch the time card for the weekend work.

After I watched the first version [of The Great Adventure of Horus] I could not move. It was not that I was moved, but I was totally taken by surprise. I was aware of the dispute over the scene of “Mayoi no Mori/The Enchanted forest” as to whether it should have been edited out or not. Paku-san negotiated with the company board patiently and he had no choice, but had to agree on the number of the animation frames and the number of work days to the deadline. Of course, he could not keep the agreement. More frame and more days cost. Every time he broke the agreement, he had to write an apologetic letter [to the company]. I wonder how many letters he had to write. I was also fully tied up with my own job and I could not help him in that tough fight.

I watched the scene with Hilda in the Enchanted forest at the first test screening. The overwhelming expression and the pictures! And so much love! I came to understand for the first time that this was what Paku-san wanted to create…

คำอาลัยของ Hayao Miyazaki กล่าวถึง Isao Takahata วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2018

LINK: https://www.cartoonbrew.com/rip/watch-hayao-miyazakis-eulogy-for-isao-takahata-158410.html


Horus, Prince of the Sun (1968) คือหนึ่งในภาพยนตร์อนิเมชั่นที่เต็มไปด้วยปัญหา ความล่าช้า ใช้งบบานปลายเกินกว่า ¥100 ล้านเยน (เป็นโปรดักชั่นอนิเมะใช้ทุนสร้างสูงสุดขณะนั้น ก่อนถูกโค่นล้มลงโดย Space Battleship Yamato (1977)) ส่วนหนึ่งเพราะความเรื่องมาก เอาแต่ใจ ‘Perfectionist’ ของผกก. Takahata จนสตูดิโอ Toei Animation ต้องเข้ามาจุ้นจ้านวุ่นวาย สั่งหยุดโปรดักชั่นหลายครั้งเพื่อปรับแก้ไข หลายสิ่งอย่างถูกรวบรัด ตัดถอน ให้อยู่ภายใต้ระยะเวลา 90 นาที! … กลายเป็นจุดแตกหักของ Takahata ปฏิเสธกำกับอนิเมะให้ Toei Animation อีกต่อไป!

วันก่อนผมเพิ่งรับชม Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) แล้วพอต่อด้วย Horus, Prince of the Sun (1968) ช่วงแรกๆเกิดอาการอ้ำๆอึ้งๆ เพราะสังเกตเห็นหลายๆสิ่งอย่างละม้ายคล้ายคลึงจนเกินไป??? แต่พอสักประมาณกลางเรื่อง การมาถึงของ Hilda (พากย์เสียงโดย Etsuko Ichihara) เด็กสาวน่าพิศวง ชวนลุ่มหลงใหล บังเกิดความคลั่งไคล้ อาจเป็นตัวละครอนิเมชั่นมีความสลับซับซ้อนที่สุด (ขณะนั้น) … ความรำคาญใจในช่วงแรกๆก็ค่อยๆเจือจางหาย

ผมแอบรู้สึกเสียดายที่ถ้ารับชม Horus, Prince of the Sun (1968) ห่างๆจาก Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) อาจเกิดความชื่นชอบประทับใจมากนี้ แต่เพราะบังเอิญนั่งดูทั้งสองเรื่องในค่ำคืนเดียวกันอีกต่างหาก มันเลยเกิดอาการอ้ำๆอึ้งๆ แถมพบเห็นบางฉากเหมือนยังไม่เสร็จดี ตัดต่อเร่งรีบรวบรัดเกินไป แม้วิสัยทัศน์ของผกก. Takahata จะหัวก้าวหน้า ล้ำอนาคต และมีความเป็นส่วนตัวสักแค่ไหน ก็มิอาจลบเลือนอคติ ‘bad impression’ ที่บังเกิดขึ้นได้

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือเนื้อหาของอนิเมะ นี่ไม่ใช่การ์ตูนสำหรับเด็ก! มีฉากความรุนแรง การทรยศหักหลัง พฤติกรรมเห็นแก่ตัวของเพื่อนมนุษย์, แรกเริ่มนั้นผกก. Takahata ต้องการดัดแปลงเรื่องราวชนพื้นเมือง Hokkaido ที่ถูกกดขี่ข่มเหง แต่สตูดิโอกลัวมีปัญหาเลยขอให้ปรับเปลี่ยนพื้นหลังเป็น Scandinavia ถึงอย่างนั้นใจความดั้งเดิมยังคงอยู่ และโดยไม่รู้ตัวสามารถสะท้อนถึงพฤติกรรมของ Toei Animation ไม่แตกต่างกัน!

เกร็ด: Horus: Prince of the Sun (1968) ติดอันดับ #11 ชาร์ท Laputa: Top 150 Japanese and World Animation (2003) ถือว่าสร้างอิทธิพลให้กับวงการอนิเมชั่นไม่น้อยทีเดียว!


Isao Takahata, 高畑 勲 (1935-2018) นักเขียน โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับอนิเมชั่น ร่วมก่อตั้งสตูดิโอ Ghibli สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ujiyamada (ปัจจุบันคือ Ise), Mie น้องคนเล็กในครอบครัวเจ็ดคน บิดาเป็นครูใหญ่โรงเรียนมัธยม เมื่อตอนเก้าขวบพบเห็นการโจมตีทางอากาศยัง Okayama City โชคดีเอาตัวรอดพานผ่านสงครามโลกได้อย่างหวุดหวิด

โตขึ้นเข้าศึกษาวรรณกรรมฝรั่งเศส University of Tokyo ระหว่างนั้นมีโอกาสรับชม The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) [ต้นฉบับของ The King and the Mockingbird (1980)] ของผู้กำกับ Paul Grimault ทำให้เกิดความสนใจในสื่ออนิเมชั่น สมัครเข้าทำงานยัง Toei Animation กลายเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963), กำกับบางตอนซีรีย์ Ken the Wolf Boy (1963-65) ฯ

หลังสะสมประสบการณ์กำกับอนิเมะซีรีย์มาหลายตอน เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1965 ผกก. Takahata ก็ได้รับมอบหมายโปรเจคภาพยนตร์อนิเมชั่น ดัดแปลงเทพนิยายพื้นบ้าน 龍の子太郎 (1960) อ่านว่า Tatsu no ko Tarō แปลว่า Taro the Dragon Boy รวบรวมโดย Miyoko Matsutani (1926-2015) แต่เริ่มต้นพัฒนาคอนเซ็ป/บทอนิเมะได้ไม่นาน กลับถูกสั่งยกเลิก เพราะแหล่งข่าวรายงานว่ามีซีรีย์หุ่นเชิด (Puppet Series) กำลังอยู่ในช่วงระหว่างโปรดักชั่น (ออกฉายปี ค.ศ. 1966) … พูดง่ายๆก็คือไม่ต้องการทำซ้ำ เพราะมีแนวโน้มจะออกฉายปีเดียวกัน

เกร็ด: ต้องรออีกกว่าทศวรรษที่ Toei Animation จะไฟเขียวภาพยนตร์อนิเมชั่น Taro the Dragon Boy (1979) กำกับโดย Kiriro Urayama เห็นว่านำเอาคอนเซ็ป/บทบางส่วนที่พัฒนาค้างไว้ของ Isao Takahata มาสานต่อให้เป็นรูปเป็นร่าง

พอโปรเจคเก่าถูกยกเลิกไป ผกก. Takahata จึงยื่นข้อเสนอใหม่ ดัดแปลงบทละครหุ่นเชิด チキサニの太陽 อ่านว่า Chikisani no Taiyō แปลว่า The Sun Above Chikisani พัฒนาโดยนักเขียน Kazuo Fukazawa, 深沢 一夫 ซึ่งทำการตีความเรื่องเล่าพื้นบ้าน (Oral Tradition) オキクルミと悪魔の子 อ่านว่า Okikurumi to akuma no ko ของชนพื้นเมือง Ainu (アィヌ) อาศัยอยู่บนเกาะ Hokkaido (และ Northeast Honshu) … น่าเสียดายที่ผมไม่สามารถหารายละเอียดใดๆเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านดังกล่าว

สตูดิโอ Toei Animation ไม่ต้องการจะยุ่งเกี่ยวอะไรกับ Ainu People เพราะก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ A Whistle in My Heart (1959) ทั้งไม่ประสบความสำเร็จ แถมยังสร้างปัญหาขัดแย้งกับชนพื้นเมือง จึงโน้มน้าวให้ปรับเปลี่ยนสถานที่พื้นหลังมาเป็นแถบ Scandinavia

บทอนิเมะได้รับการปรับปรุงแก้ไขอยู่หลายครั้ง ไม่ใช่แค่จากนักเขียน Fukazawa, ผกก. Takahata แต่ยังรวมถึง Hayao Miyazaki (ไม่ได้มีการระบุว่าให้คำแนะนำอะไร เพียงบอกว่า ‘invaluable input’) กว่าจะได้รับความพึงพอใจก็บทร่างที่ห้า ล่วงเลยไปถึงกลางเดือนมีนาคม ค.ศ. 1966 ล่าช้ากว่ากำหนดสองเดือนเต็ม!

เกร็ด: เครดิตของ Hayao Miyazaki ประกอบด้วย Concept Artist, Scene Design และ Key Animation


พื้นหลังทางตอนเหนือของ Ancient Norway ในยุคสมัย Iron Age Scandinavia, เรื่องราวของเด็กชาย Horus (พากย์เสียงโดย Hisako Ōkata) กำลังต่อสู้กับฝูงหมาป่า โดยไม่รู้ตัวปลุกตื่นยักษ์หิน (Golem) ชื่อว่า Moug the Rock Giant ท้าทายให้ดึงดาบ Sword of the Sun ที่แม้ขึ้นสนิมเกรอะกรัง แต่ถ้าวันหนึ่งสามารถหลอมใหม่ จะได้รับการเรียกขาน Prince of the Sun

พอเด็กชาย Horus เดินทางกลับบ้าน พบเห็นบิดาในสภาพนอนติดเตียง เปิดเผยถึงต้นตระกูลมาจากหมู่บ้านติดทะเลทางตอนเหนือ ถูกทำลายล้างโดยปีศาจ Grunwald (พากย์เสียงโดย Mikijiro Hira) มอบหมายภารกิจให้บุตรชายออกเดินทาง และทำการล้างแค้น ทวงคืนความยุติธรรมให้กับทุกคน

ระหว่างการออกเดินทาง Horus ร่วมกับลูกหมี Koro บังเอิญเผชิญหน้ากับ Grunwald ปฏิเสธยินยอมก้มหัว เป็นขี้ข้ารับใช้ จึงถูกปล่อยให้ตกหน้าผา โชคยังดีสามารถเอาตัวรอดชีวิต ได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านใกล้เคียงที่กำลังถูกรุกรานโดยปลาใหญ่ และฝูงหมาป่า

Horus พยายามให้ความช่วยเหลือด้วยการต่อสู้กับปลาใหญ่และฝูงหมาป่า จนได้รับยกย่องวีรบุรุษประจำหมู่บ้าน แต่กลับถูก Drago มองด้วยสายตาอิจฉาริษยา พยายามพูดใส่ร้ายป้ายสี แถมยังโน้มน้าว Hilda (พากย์เสียงโดย Etsuko Ichihara) เด็กหญิงที่ Horus พากลับมายังหมู่บ้าน แท้จริงแล้วคือน้องสาวของ Grunwald เพื่อทำการขับไล่ ผลักไส จนทำให้เขาพลัดเข้าไปยัง The Enchanted Forest … สุดท้ายแล้ว Horus จะสามารถหาหนทางออก กลายเป็น Prince of the Sun ได้หรือไม่? และแผนการชั่วร้ายของ Grunwald จักลงเอยเช่นไร?


Horus เด็กชายวัย 14 ปี ผู้มีนิสัยซื่อตรง มั่นคง จริงใจ ยึดถือในสิ่งครุ่นคิดว่าถูกต้อง ปฏิเสธทรยศหักหลังพวกพ้อง ให้ความสำคัญกับผองเพื่อน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่สนว่าตนเองจะต้องทนทุกข์ทรมานสักเพียงไหน อาจมีช่วงหนึ่งเกิดความโล้เลลังเลใจ แต่สุดท้ายก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม ไม่มีอะไรบั่นทอนอุดมการณ์เชื่อมั่น ท้ายที่สุดจึงได้รับยกย่องเยี่ยงวีรบุรุษ Prince of the Sun

เกร็ด: Horus ตามตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ (Egyptian Mythology) คือเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ (Sun God) ลักษณะจะมีร่างกายเป็นมนุษย์ ศีรษะเป็นเหยี่ยว ดวงตาข้างซ้ายคือพระอาทิตย์ ดวงตาข้างขวาคือดวงจันทร์ ชาวอียิปต์โบราณยังมีความเชื่อว่าฟาโรห์คือเทพเจ้า Horus ที่มาจุติบนโลกมนุษย์

ออกแบบตัวละคร (Character Design) [และกำกับอนิเมชั่น (Animation Director)] โดย Yasuo Ōtsuka (1931-2021) แม้ว่า Horus อาจดูธรรมดาๆ ไม่ได้โดดเด่นเป็นสง่า หรือมีรายละเอียดน่าจดจำ แต่จุดประสงค์หลักๆเพื่อลดงานนักอนิเมอเตอร์ และให้เป็นตัวแทนบุคคลธรรมดาทั่วไป … ตัวละครลักษณะนี้ ในอนาคตอันใกล้จักกลายเป็นต้นแบบสไตล์ Ghibli

ให้เสียงพากย์โดย Hisako Ōkata, 大方 斐紗子 (เกิดปี 1936) นักร้อง/นักแสดงจาก Fukushima, น้ำเสียงของเธอมีห้าวๆ ฟังดูหนักแน่น เข้มแข็ง เอ่อล้นด้วยพลัง สอดคล้องเข้ากับอุดมการณ์มุ่งมั่น ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ผดุงความยุติธรรม พร้อมต่อสู้กับความชั่วร้าย ไม่ย่นย่อท้อต่ออุปสรรคขวากหนาม

เกร็ด: ผมสอบถามจาก ChatGPT อนิเมะเรื่องแรก/เก่าแก่สุดที่นักพากย์หญิงให้เสียงตัวละครเด็กชาย ได้รับคำตอบคือ Astro Boy (1963)

แม้พระเอกจะไม่ค่อยมีอะไรน่าจดจำ แต่นางเอก Hilda เด็กสาวอายุ 15 ปี ถือเป็นไฮไลท์ที่ทำให้ผู้ชมเกิดความฉงนสงสัย แท้จริงแล้วคือใคร? ทำไมถึงเป็นบุคคลเดียวรอดชีวิตในอีกหมู่บ้าน? น้ำเสียงร้องเพลงของเธอ ไพเราะหรือสร้างความรำคาญ? สรุปแล้วมาดี-มาร้าย ต้องการจะทำอะไร? ใบหน้าสวยๆใช่ว่าจักต้องเป็นคนดีเสมอไป!

เกร็ด: Hilda มาจากภาษา Danish หมายถึง Secrecy, Hiding, ซึ่งถ้าอ้างอิงจากปรัมปรานอร์ส (Norse mythology) Hildr (ภาษา Old Norse แปลว่า Battle) คือหนึ่งใน Valkyries มีพลังในการชุบชีวิตคนตายในสนามรบ ทำให้การต่อสู้ไม่รู้จักจบจักสิ้น

ออกแบบตัวละครโดย Yasuji Mori (1925-92) อีกหนึ่งโคตรนักอนิเมเตอร์รุ่นบุกเบิก บุคคลแรกรับหน้าที่กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) ให้กับภาพยนตร์ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963), สำหรับ Hilda สาวสวยหน้าใส แต่ภายในเต็มไปด้วยความโล้เล้ลังเล ขัดแย้งภายใน ไม่สามารถเอาชนะมุมมืด ถูกควบคุมครอบงำโดยพี่ชายแท้ๆ รู้สึกผิดอย่างรุนแรงที่กระทำร้าย Horus … รูปลักษณะตัวละครนี้ ได้กลายเป็นต้นแบบนางเอก Ghibli อีกเช่นเดียวกัน!

เกร็ด: จริงๆแล้วภาพร่างตัวละคร Hilda มีหลากหลายฉบับวาดโดย Reiko Okuyama, Yōichi Kotabe และ Hayao Miyazaki แต่ท้ายที่สุดผกก. Takahata ตัดสินใจเลือกของ Yusuji Mori ที่ดูนุ่มนวล อ่อนโยน มีความโค้งมน เพื่อให้ผู้ชมเกิดความฉงนสงสัย คนสวยๆไม่น่าจะกระทำสิ่งชั่วร้ายได้ลง

พากย์เสียงโดย Etsuko Ichihara, 市原 悦子 (1936-2019) นักแสดงจาก Chiba มีผลงานภาพยนตร์กว่าร้อยเรื่อง โด่งดังจากบทบาทสมทบ Black Rain (1989) คว้ารางวัล Japan Academy Prize: Best Supporting Actress, สำหรับการให้เสียง Hilda มีความละมุน นุ่มนวล เฉกเช่นเดียวกับการออกแบบตัวละคร เพื่อให้ผู้ชมบังเกิดความขัดแย้งกับพฤติกรรมแสดงออก เวลาไม่เห็นด้วยกับสิ่งใดมักแสดงท่าทางปฏิเสธ ก้าวร้าว ใช้ถ้อยคำเสียดสี ถากถาง … ทำไมคนงามถึงพูดจาอย่างนั้น มันมีลับลมคมในอะไรกันแน่

อีกตัวละครที่ต้องกล่าวถึงก็คือ Grunwald ราชาน้ำแข็งผู้มีความเหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ครุ่นคิดแต่แผนการทำลายล้าง เริ่มต้นด้วยการส่งหนอนบ่อนไส้ กัดกินแต่ละหมู่บ้านให้เกิดความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะจากภายใน แล้วส่งฝูงหมาป่าพร้อมสรรพสัตว์ใหญ่เข้าไปเข่นฆ่า กวาดล้าง จนทุกสิ่งอย่างราบเรียบเป็นหน้ากลอง … ก็ไม่รู้ทำไปด้วยวัตถุประสงค์อันใด

ออกแบบตัวละครโดย Hayao Miyazaki ค่อนข้างชัดเจนมากๆว่าได้แรงบันดาลใจจากอนิเมชั่น The Snow Queen (1952) พยายามทำให้ใบหน้ามีเหลี่ยมมุม (ตรงกันข้ามกับ Horus และ Hilda ที่มีความโค้งมน) จะว่าไปพระราชวัง/ปราสาทคริสทัลของ Grunwald ก็มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงด้วยเช่นกัน

เกร็ด: Grunwald หรือ Grünwald เป็นคำจากภาษาเยอรมัน ‘Middle High German’ ดั้งเดิมคือ Grewen แปลว่า grow, develop, หรือถ้าสื่อถึงสถานที่จะหมายถึง meadow, grassland, และชื่อเทศบาลในเขตเมือง Munich, รัฐ Bavaria, ประเทศ Germany

ให้เสียงโดย Mikijirō Hira, 平 幹二朗 (1933-2016) นักแสดงภาพยนตร์/ละครเวที เจ้าของฉายา “Japan’s best Shakespearean actor” ด้วยน้ำเสียงคมเข้ม พยายามกดให้ทุ้มต่ำ แสดงถึงความเจ้าเล่ห์ เต็มไปด้วยเหลี่ยมคม แค่เสียงหัวเราะก็อาจทำให้หลายคนเกิดอาการหลอกหลอน เวลาเกรี้ยวกราดมักใส่อารมณ์ จนคนรอบข้าง(รวมถึงผู้ชม)เกิดความหวาดสะพรึงกลัว ไม่กล้าโต้ตอบ หือรือ ยินยอมก้มหัวศิโรราบแต่โดยดี

แถมให้กับยักษ์หิน Moug the Rock Giant และแมมมอธน้ำแข็ง ทั้งสองตัวละครออกแบบโดย Hayao Miyazaki หนึ่งคือธาตุดิน อีกหนึ่งคือธาตุน้ำ(แข็ง) สองสิ่งขั้วตรงข้ามที่เมื่อเผชิญหน้า ย่อมก่อให้เกิดการทำลายล้าง

  • อุปนิสัยของ Horos = Moug the Rock Giant ธาตุดิน/หิน มีความหนักแน่น มั่นคง ซื่อตรง ไม่มีสิ่งใดสามารถสั่นคลอนความเชื่อ อุดมการณ์
  • Grunwald (และ Hilda) = แมมมอธน้ำแข็ง แม้ร่างกายใหญ่โต พลังทำลายล้างมหาศาล แต่เต็มไปด้วยจุดอ่อน เปราะบาง หลอมละลายโดยเปลวเพลิง และพ่ายแพ้การสู้กับ Moug the Rock Giant

แม้บทอนิเมะจะพัฒนาเสร็จสิ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1966 แต่ความล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้เกิดช่วงเวลาเหลื่อมล้ำกับโปรเจคอื่น ผกก. Takahata ถูกย้ายไปช่วยงานกำกับซีรีย์อนิเมะ ก่อนจะหวนกลับมาทำ Storyboard จริงๆก็เดือนตุลาคม และโปรดักชั่นเริ่มต้นงานสร้างเมื่อมกราคม ค.ศ. 1967 เสร็จสิ้นประมาณมีนาคม ค.ศ. 1968 (รอบทดลองฉาย)

แบบเดียวกับ The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) อนิเมะเรื่องนี้ถ่ายทำโดย Toeiscope หรือก็คือระบบ CinemaScope อัตราส่วนภาพ Anamorphic Widescreen (2.39:1) แม้อาจเพิ่มภาระงานให้นักอนิเมเตอร์ แต่ประสบการณ์รับชมภาพยนตร์อนิเมชั่น ก็ยิ่งใหญ่อลังการเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ก่อนหน้านี้ (รวมถึง The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963)) มุมมองการถ่ายภาพของอนิเมะ/อนิเมชั่น มักมีลักษณะตรงไปตรงไป จัดวางให้ตัวละครอยู่กึ่งกลางเฟรม หรือพยายามทำให้เกิดความสมมาตร แต่วิสัยทัศน์ของผกก. Takahata ได้รับอิทธิพลจากวงการภาพยนตร์ และอนิเมชั่นมาสเตอร์พีซ The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) เต็มไปด้วยมุมกล้องแปลกๆพิศดาร ก้ม-เงย-เอียง ซูมมิ่ง (Zooming) แพนนิ่ง (Panning) ภาพนิ่ง (Freeze Frame) รวมถึงระยะภาพใกล้-กลาง-ไกล (Close-Up, Medium Shot, Long Shot และ Extreme-Long Shot ฯ) แพรวพราวด้วยสารพัดเทคนิคภาพยนตร์

ถ้าเป็นภาพยนตร์/อนิเมชั่นยุคก่อนหน้า เริ่มต้นอารัมบทมักมีการพูดเกริ่น คำบรรยายโน่นนี่นั่น กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เตรียมความพร้อมผู้ชมนำเข้าสู่เรื่องราว แต่สำหรับ Horus: Prince of the Sun (1968) มาถึงก็ฉากแอ๊คชั่น ต่อสู้ ฝูงหมาป่ากำลังไล่ล่า พยายามจะเข่นฆ่าเด็กชาย Horus มันช่างเป็นเหตุการณ์ขวัญผวา อันตราย เฉียดตาย สร้างความตกอกตกใจ ไม่ค่อยเหมาะสำหรับเด็กและผู้ใหญ่จิตใจอ่อนไหว … นี่คือวิสัยทัศน์ของผกก. Takahata ที่ถือว่าล้ำยุคสมัยนั้น กล้าทำสิ่งแปลกใหม่ สร้างความคาดหวังสูงลิบลิ่วให้กับผู้ชม

เพื่อสร้างสัมผัสความใหญ่โตมโหฬารของ Moug the Rock Giant ถ้าเป็นอนิเมะยุคก่อนอาจจะมีแค่ภาพ Extream-Long Shot แล้วก็ตัดสลับ Close-Up ใบหน้าตัวละครทั้งสอง

แต่วิสัยทัศน์ของผกก. Takahata ยังแทรกใส่มุมก้ม-เงย เด็กชายแหงนมองเห็นความสูงใหญ่ล้นเฟรมของยักษ์หิน และสายตาโกเลมก้มลงมาเห็นเด็กชายตัวเล็กกระจิดริด … จริงๆยังมีมุมกล้องอื่นๆอีก แต่อธิบายเพียงเท่านี้น่าจะเพียงพอให้เห็นภาพคร่าวๆของลูกเล่นการสร้างสัมผัสความใหญ่โตมโหฬาร นี่คือลักษณะของ “Modern Animation”

การเผชิญหน้าครั้งแรกระหว่าง Horus และ Grunwald นี่อาจเป็นซีเควนซ์ที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ลีลาการกำกับของ Takahata สร้างความแตกต่างอย่างน่าตกตะลึง เต็มไปด้วยสารพัดมุมกล้องจากแทบทุกมุมมองเป็นไปได้! ระยะภาพไกล-กลาง-ใกล้ โคลสอัพใบหน้า มุมมองสายตา ร้อยเรียงแปะติดปะต่อจนมีความต่อเนื่องลื่นไหล … ภาษาภาพยนตร์มีคำเรียกว่า ‘Mise-en-scène’ น่าจะครั้งแรกในวงการอนิเมชั่นเลยกระมังนะ!

มุมกล้องที่สร้างความประหลาดใจให้ผมมากสุดของซีเควนซ์ คือมุมมองของ Horus จับจ้องมอง Grunwald เอาจริงๆเส้นเชือกจะทำให้คมชัดก็ยังได้ แต่กลับเลือกทำให้เบลอๆเพื่อสร้างสัมผัสตื้น-ลึก คล้ายการปรับระยะโฟกัสใกล้-ใกล้ (ถ้าปรับโฟกัสสำหรับถ่ายภาพระยะไกล จะทำให้เห็นภาพใกล้ๆไม่คมชัด หรือคือเชือกเส้นนี้ที่ดูเบลอๆหลุดโฟกัส)

ตอนที่ Horus สูญเสียคนในครอบครัว จึงตัดสินใจออกเดินทาง ล่องเรือผจญภัยไปกับสัตว์เลี้ยงคู่หู ผมยังไม่ตะขิดตะขวงใจสักเท่าไหร่ แต่พอต่อสู้กับเจ้าปลายักษ์เท่านั้นแหละ เริ่มรู้สึกไม่ค่อยพึงพอใจ มันละม้ายคล้าย The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) มากเกินไปไหม?? จะมาอ้างว่าเรื่องเล่าปรับปราเริ่มต้นแบบนี้ก็ไม่ถูก เพราะ Takahata เคยทำงานผู้ช่วยผู้กำกับ #TLPatEHD ย่อมต้องรับรู้อย่างชัดเจนว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่

ผมนำปลาทั้งสองตัวมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพ แม้มันไม่ใช่สปีชีย์เดียวกัน แต่ความละม้ายคล้ายคลึง รวมถึงเหตุผลการต่อสู้ ย่อมทำให้ผู้ชมที่รับชมอนิเมะทั้งสองเรื่องตระหนักถึงการ ‘rip off’ สร้างข้อครหาให้ผู้สร้างไม่น้อยทีเดียว

แต่อย่างน้อยความตายของปลายักษ์ใน Horus: Prince of the Sun (1968) ไม่ได้เกิดจากการเอาชนะด้วยพละกำลัง เจ้าปลาถูกทิ่มแทงดวงตา แสดงอาการคลุ้มคลั่ง (Berserk) แล้วพุ่งชนโขนหินจนดินถล่มลงมา แฝงนัยยะถึงพ่ายแพ้ภัยตนเอง หรือก็คือกรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมหวนกลับคืนสนอง

อย่างที่บอกไปแล้วว่าปราสาทคริสทัลของ Grunwald นำแรงบันดาลใจจาก The Snow Queen (1952) แต่สิ่งที่ผกก. Takahata และ Hayao Miyazaki ในฐานะ Scene Design) พยายามนำเสนอออกมานี้ รับอิทธิพลเต็มๆจาก The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952)

แทนที่จะนำเสนอภาพหน้าตรง Grunwald นั่งสง่างามอยู่บนบัลลังก์ กลับเต็มไปด้วยมุมกล้องแปลกๆ ราวกับอาศัยอยู่ในถ้ำคริสทัล(น้ำแข็ง) เจ้าหมาป่าต้องแหงนหน้ามองพระราชาเบื้องบน ช่างเหินห่าง ไกลเกินเอื้อมไขว่คว้า รวมถึงบรรยากาศเวิ้งว่าง วังเวง ปกคลุมอยู่ในความมืดมิด … คล้ายๆปราสาท Xanadu ของ Citizen Kane (1942)

หลังงานเลี้ยงปาร์ตี้ทั้งสองครั้ง (หลังการเก็บเกี่ยว และงานแต่งงาน) หมู่บ้านแห่งนี้ต่างถูกบุกรุกรานโดยฝูงหมาป่า และฝูงหนู เข้ามาทำลายสิ่งข้าวของ ได้รับความเสียหายทั้งร่างกายและทรัพย์สิน ซึ่งล้วนนำเสนอในลักษณะภาพนิ่ง ‘Freeze Frame’ บางคนอาจมองว่านี่ความติสต์แตกของผกก. Takahata แต่แท้จริงแล้วคืองานไม่เสร็จ ไม่มีงบประมาณ ไม่ต้องการตัดทิ้งซีเควนซ์ ก็เลยค้างๆคาๆเอาไว้แบบนี้แหละ

บางคนอาจยังมองว่าทั้งสองซีนต่างมีภาพการต่อสู้ที่ดูเหี้ยมโหดร้าย ไม่เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชน ใช้วิธีการนี้สามารถลดทอนความรุนแรง … แต่เดี๋ยวก่อนนะ แล้วตอนอารัมบท ฉากแรกของอนิเมะที่ Horus ถูกไล่ล่าโดยฝูงหมาป่า มันไม่ดูรุนแรง เหี้ยมโหดร้าย ต่างอะไรกับสองซีเควนซ์นี้??

ผมรับชมซีเควนซ์นี้ด้วยอารมณ์หงุดหงิด หัวเสียยิ่งกว่าตอนสังเกตเห็นการ ‘rip off’ จาก The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) เพราะตระหนักถึงเหตุผลที่ผกก. Takahata ตัดสินใจทำเช่นนี้ เนื่องจากถูกเบื้องบนบีบบังคับ สั่งการลงมา ใครกันอยากจะให้ผลงานตนเองค้างๆคาๆ สร้างไม่เสร็จลักษณะนี้!

แรกพบเจอ Hilda ในสายตาของ Horus ทั้งน้ำเสียงและรูปร่างหน้าตา ราวกับนางฟ้ามาจุติ นั่งอยู่เบื้องบนเสาไม้ ถ่ายติดพื้นหลังท้องฟ้ากว้างใหญ่ จากนั้นเธอกระโดดลงมายังพื้นดิน แต่กล้องก็ยังถ่ายมุมเงยขึ้น จนกระทั่งเด็กชายเดินเข้าใกล้ เริ่มพูดคุยสนทนา ถึงเริ่มปรับเปลี่ยนมาถ่ายมุมก้มติดผืนผิวน้ำ

เพราะยังไม่เคยรับรู้จัก เมื่อแรกพบเจอ ‘first impression’ จึงมองว่าเธอประดุจนางฟ้าบนสรวงสวรรค์ แต่พอเริ่มพูดคุยสนทนา มุมกล้องก็บอกใบ้ตัวตนแท้จริง สภาพจิตใจที่ตกต่ำ ดำมืด คนรับใช้ของปีศาจร้าย Grunwald

Enchanted Forest, ป่าหลงเสน่ห์ สถานที่(ยอดฮิต)ในนิทานพื้นบ้านและแฟนตาซี มักเป็นดินแดนที่ตัวละครไม่รับรู้จัก มีทั้งอันตราย ความท้าทาย เต็มไปด้วยสิ่งเหนือจินตนาการ สำหรับหลบซ่อนตัว ออกผจญภัย เผชิญหน้าความหวาดกลัว ไม่ก็ค้นหาตัวตนเอง

ในบริบทของอนิเมะทำเป็นหลุมขนาดใหญ่ Hilda ผลัก Horus ตกลงไป (สามารถสื่อถึงจุดตกต่ำของ Horus) ซึ่งสิ่งที่เด็กชายต้องเผชิญล้วนคือภาพลวงตา สร้างความหลอกหลอนจิตวิญญาณ

  • รายล้อมรอบด้วยกิ่งก้านระโยงระยาง รากไม้หลากหลายสีสัน ผมมองว่าคืออุปสรรคขวากหนาม สิ่งพยายามเกาะติด เหนี่ยวรั้ง กลบฝังไม่ให้ Horus สามารถดิ้นหลบหนี หาหนทางออก
  • พลัดตกลงมาในหนองน้ำ พบเห็นเรือไวกิ้งของบิดา เต็มไปด้วยปริศนา คำถามไร้ซึ่งคำตอบ
  • ภาพของ Hilda ล่องล่อยเข้าหา พร้อมกับ Grunwald คอยควบคุมครอบงำอยู่เบื้องหลัง
  • จากนั้น Hilda แบ่งแยกร่างออกเป็นหลายคน โยกไปโยกมา เหมือนมีใครชักใยอยู่เบื้องบน (ซึ่งก็คือพี่ชาย Grunwald)

หลายคนคงเกาหัวแครกๆ Sword of the Sun ที่เต็มไปด้วยสนิมเกรอะกรัง แล้วจู่ๆหลังจาก Horus ก้าวออกมาจาก The Enchanted Forest ถึงมีสภาพใหม่เอี่ยมอ่อง ใครกันเป็นคนหล่อหลอม? เอาไปทำอะไรยังไงตอนไหน?

คำตอบอยู่ที่ภาพช็อตนี้ระหว่าง Horus พบเจอหนทางออกจาก The Enchanted Forest พบเห็นภาพซ้อนขณะหลอม/ตีดาบ ซึ่งนี่ไม่ใช่ความหมายเชิงรูปธรรม แต่เป็นการ ‘หลอมจิตวิญญาณ’ สอดคล้องเหตุผลที่เด็กชายเอาตัวรอดออกจาก Enchanted Forest เพราะสามารถค้นพบอุดมการณ์มุ่งมั่น ความต้องการแท้จริง (เข้าใจว่า Hilda ถูกชักใยโดย Grunwald) นั่นคือการปกป้องหมู่บ้าน กำจัดภัยพาล เผชิญหน้า Grunwald เติมเต็มคำสั่งเสียสุดท้ายของบิดา

ชัยชนะของ Moug the Rock Giant ต่อแมมมอธน้ำแข็ง คือผลักตกจากหน้าผา แต่ความสูงแค่นั้นดูมันไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไหร่ เอาว่าแฝงนัยยะถึงความทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง สักวันหนึ่งเมื่อถูกผลักลงมาจากเบื้องบน จนแหลกละเอียด ไม่เหลือเศษซากชิ้นดี

ขณะที่ชัยชนะต่อ Grunwald เกิดจากการรวมแรงรวมใจของชาวบ้าน สาดส่องแสงเข้ามาในถ้ำ ทำให้จากเคยปกคลุมด้วยความมืดมิด พลันเกิดความส่องสว่างไปทั่วทุกสารทิศ (ภาพมุมนี้ก้มลงมา ทำให้เห็นเบื้องล่างราวกับโลกกลมๆ) และเด็กชาย Horus โยนดาบ Sword of the Sun ทำให้สถานที่แห่งนี้จมลงสู่ก้นเบื้อง ธรณีสูบ … สรุปก็คือธรรมะชนะอธรรม แสงอาทิตย์ทำให้ความมืดมิดจางหายไป

หลังจากเอาชนะ Grunwald (ทางกายภาพ) สำหรับ Hilda ราวกับว่า Horus ได้ทำการปัดเป่าความมืดที่อยู่ภายในจิตใจ เมื่อเธอฟื้นตื่นขึ้นมา จะมีช็อตเดินผ่านธารน้ำ พบเห็นภาพสะท้อนตัวตนแท้จริง (สื่อว่า False ได้ถูกทำลายลงไป) จากนั้นหยุดยืนข้างต้นไม้ เหม่อมองหมู่บ้านสร้างใหม่ ทุกสิ่งอย่างได้รับการให้อภัย จากนั้นจับมือร่วมออกเดินทางสู่อนาคต ทุ่งหญ้า ฟ้าคราม เทือกเขาสูงใหญ่

ตัดต่อโดย Yutaka Chikura,

อนิเมะดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Horus หลังสูญเสียบิดา ออกเดินทางมาเผชิญหน้า Grunwald จากนั้นพยายามปกป้องหมู่บ้านที่ให้การช่วยเหลือตนเอง แม้จะถูกกีดกัน ผลักไส เกิดความเข้าใจผิดๆ แต่ก็ยังหวนกลับมาหลังค้นพบความมุ่งมั่นที่ไม่สั่นคลอน และสามารถหลอมดาบ Sword of the Sun ได้สำเร็จเสียที

  • อารัมบท
    • Horus ถูกไล่ล่าโดยฝูงหมาป่า
    • ได้รับความช่วยเหลือจาก Moug the Rock Giant เลยทำการดึงดาบออกจากบ่า
  • เริ่มต้นการผจญภัยของ Horus
    • Opening Credit, Horus เดินทางกลับบ้าน
    • บิดาในสภาพใกล้ตาย เล่าเหตุการณ์เกิดนขึ้นในอดีต และสั่งเสียครั้งสุดท้าย
    • Horus ออกเดินทางเพื่อทำภารกิจสั่งเสียของบิดา
    • ระหว่างปีนป่าย พลัดตกลงมา เผชิญหน้าศัตรูคู่อาฆาต Grunwald
  • วีรบุรุษ Horus
    • Horus ล่องลอยคอไปตามแม่น้ำมาถึงยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
    • หลังจากได้ยินข่าวปลายักษ์เข่นฆ่าคนในหมู่บ้าน Horus ต้องการตอบแทนบุญคุณ
    • ออกเดินทางไปต่อสู้ เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย จนสามารถเข่นฆ่าเจ้าปลายักษ์
    • แม้ไม่มีใครอยากเชื่อว่า Horus ทำสำเร็จ แต่ในที่สุดฝูงปลาก็หวนกลับคืนมาในลำธาร
    • ค่ำคืนนี้จึงมีงานเลี้ยงฉลอง แต่ไม่ทันไรก็ถูกรุกรานโดยฝูงหมาป่า
  • แรกพบเจอ Hilda
    • Horus ไล่ล่าติดตามฝูงหมาป่ามาจนถึงหมู่บ้านร้างแห่งหนึ่ง
    • แรกพบเจอ Hilda ลุ่มหลงใหลในน้ำเสียงร้องเพลง จึงชักชวนเข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน
    • น้ำเสียงร้องของ Hilda ทำให้ชาวบ้านชาวช่องไม่เป็นอันทำงาน
    • หนึ่งในสมาชิกหมู่บ้าน Drago เลยครุ่นคิดวางแผนใช้ประโยชน์จาก Hilda เพื่อใส่ร้ายป้ายสี Horus
    • ระหว่างงานแต่งงานของคู่รักหนุ่มสาว หมู่บ้านแห่งนี้ถูกฝูงหนูบุกเข้าโจมตี
  • Hilda คือใคร?
    • ยามเช้าระหว่าง Hilda กำลังสนุกสนานกับเด็กๆ ได้รับการส่งสาสน์จากลูกสมุนของ Grunwald
    • Horus ถูกใส่ร้ายป้ายสี โดยที่ Hilda เป็นประจักษ์พยาน เลยถูกขับไล่ ผลักไส
    • Horus เผชิญหน้ากับ Hilda ก่อนถูกเธอผลักตกลงมายัง Enchanted forest
  • การต่อสู้ของ Horus
    • Horus เผชิญหน้ากับฝันร้ายใน Enchanted forest
    • ขณะเดียวกัน Grunwald ส่งกองกำลังบุกเข้าจู่โจม ทำลายล้างหมู่บ้าน
    • Horus หลังสามารถออกจาก Enchanted forest ทำการหลอมดาบสำเร็จ
    • การเผชิญหน้าระหว่าง Moug the Rock Giant vs. แมมมอธน้ำแข็ง
    • การเผชิญหน้าระหว่าง Horus vs. Grunwald
    • จบลงด้วยการให้อภัยของ Horus และ Hilda

ลีลาการตัดต่อ สลับสับเปลี่ยนมุมกล้อง ร้อยเรียงเรื่องราว ต้องชมว่าทำออกมาได้อย่างแพรวพราว น่าตื่นตาตื่นใจ เต็มไปด้วยลูกเล่น แนวคิดแปลกใหม่ แต่น่าเสียดายที่บางซีเควนซ์ชัดเจนว่ายังสร้างไม่เสร็จ และผมยังรู้สึกว่าการดำเนินเรื่องเร่งรีบ รวดเร็วเกินไป มันควรความยาวอย่างน้อยสองชั่วโมง ไม่ใช่แค่ 82 นาที นี่ไม่ใช่ความผิดของผกก. Takahata แต่ต้องโทษสตูดิโอ Toei Animation มองไม่เห็นวิสัยทัศน์ของอัจฉริยะ

เมื่อถูกบีบบังคับให้ลดระยะเวลาจากสองชั่วโมงเหลือแค่ 82 นาที แทนที่ผกก. Takahata จะเลือกตัดบางซีเควนซ์ออกไป กลับใช้วิธีการคล้ายๆ Jean-Luc Godard ระหว่างสรรค์สร้าง Breathless (1960) แต่ไม่ใช่แบบ ‘jump cut’ กระโดดไปกระโดดมา พยายามแทะเล็มรายละเอียดในแต่ละช็อตให้มีความกระชับ รวบรัด รายละเอียดยังครบถ้วนสมบูรณ์ แค่เพียงเรื่องราวดำเนินไปอย่างรวดเร็ว (ราวกับรับชมด้วยสปีด x1.5)


เพลงประกอบโดย Michio Mamiya, 間宮芳生 (เกิดปี 1929) คีตกวีสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Asahikawa, Hokkaido ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในดนตรีพื้นบ้าน (Japanese Folk Music) ฝึกฝนการแต่งเพลง-เล่นเปียโนด้วยตนเอง (Self-Taught) จนกระทั่งได้เข้าศึกษา Tokyo College of Music (ปัจจุบันคือ Tokyo University of the Arts) สรรค์สร้างผลงานออร์เคสตรา, Sonata, Concerto, Opera, Choral Music, เพลงประกอบอนิเมชั่น Horus: Prince of the Sun (1968), Gauche the Cellist (1982), Grave of the Fireflies (1988) ฯ

แม้สถานที่พื้นหลังจะคือดินแดนแถบ Scandinavia แต่ผมกลับไม่ได้กลิ่นอายชนพื้นเมือง(ไวกิ้ง)สักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ใช้เครื่องดนตรีตะวันตก บรรเลงออร์เคสตรา ท่วงทำนองคลาสสิก และเนื้อคำร้องภาษาญี่ปุ่น ฟังดูมีความสากล ไม่จำเพาะเจาะจงชาติพันธุ์

มันอาจเพราะการดำเนินเรื่องที่มีความรวดเร็ว เร่งรีบร้อนเกินไป ทำให้ผมไม่สามารถดื่มด่ำไปกับบทเพลงสักเท่าไหร่ แนวทางของ Mamiya เน้นปลุกกระตุ้นอารมณ์ ให้ผู้ชมบังเกิดความรู้สึกต่อเหตุการณ์บังเกิดขึ้นโดยทันที (ลักษณะเหมือน Expressionism)

อย่างบทเพลงแรก ホルスと岩男モーグ อ่านว่า Horusu to Iwao mōgu แปลว่า Horus and Moug the Rock Giant เริ่มต้นด้วยท่วงทำนองที่สร้างความตื่นตระหนักตกใจ เด็กชาย Horus กำลังต่อสู้เป็น-ตายกับฝูงหมาป่า แต่พอถึงกลางบทเพลงทุกสิ่งอย่างกลับพลิกกลับตารปัตร การฟื้นตื่นขึ้นของหินยักษ์ ขับไล่ฝูงหมาป่า เผชิญหน้าเด็กชาย กลายเป็นความน่าพิศวง ฉงนสงสัย ปีนป่ายขึ้นไปเบื้องบน ดึงดาบออกจากก้อนหิน … การแปรสภาพของบทเพลงในลักษณะขั้วตรงข้ามเช่นนี้ สามารถสะท้อนทุกสิ่งอย่างในอนิเมะที่สำรวจสองฟากฝั่ง ดี-ชั่ว รวมถึงบริเวณเลือนลางระหว่างกลาง

Opening Song จะถือว่าเป็น Main Theme ก็ได้กระมัง! คำร้องโดย Kazuo Fukazawa, ขับร้องโดย Chofu Boys and Girls Chorus, ท่วงทำนองมีความสนุกสนาน ร้อยเรียงภาพการผจญภัย ออกเดินทางด้วยความมุ่งมั่น ต้องการเติมเต็มความใฝ่ฝัน ด้วยการไปให้ถึงเป้าหมายปลายทาง

Go, go, Horus
Towards luminous days
By your side, we run until opening the ground

Go, go, Horus
Hold up the sword of hope
By your side, we run until splitting the wind

Call the sun
Call the sun

Go, go, Horus
For we are by your side

Go, go, Horus
Firmly, raise your arms
By your side, let us break the waves

Call the sun

Go, go, Horus
We are by your side

หลายคนอาจมองว่าท่วงทำนองเพลงเก็บเกี่ยว (Song of the Harvest) และงานแต่งงาน (Song of the Wedding) น่าจะมีกลิ่นอายของ Scandinavia แต่ไม่เลยนะครับ! ผมรู้สึกว่าออกไปทางยุโรปตะวันออก ฟากฝั่งรัสเซียเสียมากกว่า แต่ทั้งหมดบรรเลงโดยเครื่องดนตรีคลาสสิก มันจึงคือการผสมผสานให้ได้กลิ่นอายพื้นบ้าน ร้องรำทำเพลงด้วยความสนุกสนานครื้นเครง

สามบทเพลงขับร้องโดย Hilda ล้วนมีความไพเราะเพราะพริ้ง Hilda’s Song, Hilda’s Lullaby และ Hilda’s Song of Sorrow ทั้งหมดแต่งคำร้องโดย Kazuo Fukazawa, ขับร้องโดย Mutsumi Masuda และบรรเลง Lute โดย Mitsuhiko Hamada

สำหรับ ヒルダの唄 อ่านว่า Hiruda no uta แปลว่า Hilda’s Song ขับร้องขณะแรกพบเจอ Horus เต็มไปด้วยความเหงาหงอย เศร้าซึม โดดเดี่ยวอ้างว้าง โหยหาใครสักคนเคียงข้าง ในอนิเมะมีการตัดแบ่งออกเป็นท่อนๆ (แบบเดียวกับ Jean-Luc Godard ภาพยนตร์ A Woman Is a Woman (1961)) เพื่อลดระยะเวลาการนำเสนอ ก็เลยอยากเอาบทเพลงเต็มๆแบบไม่มีตัดมาให้รับฟัง … แต่ก็น่าเสียดายที่ผมไม่สามารถค้นหาเนื้อร้องและคำแปล แค่ฟังเพลินๆก็แล้วกันนะครับ

อีกบทเพลงไพเราะไม่แพ้กัน ヒルダの子守唄 อ่านว่า Hiruda no komori-uta แปลว่า Hilda’s Lullaby, น้ำเสียงของ Mutsumi Masuda (น่าจะระดับเสียง Soprano) ช่างมีความตราตรึง ดึงดูดความสนใจ ใครต่อใครบังเกิดความลุ่มหลง ถึงขนาดหยุดการหยุดงาน รับฟังแล้วเคลิบเคลิบหลับใหล

เฉกเช่นเดียวกับ Hilda’s Song บทเพลงที่ได้ยินในอนิเมะมีการตัดต่อ ขาดๆหายๆ บางครั้งคั่นด้วยบทสนทนา ถ้าอยากฟังเต็มๆต้องซื้อเพลงประกอบอัลบัม หาเนื้อร้องคำแปลอีกเช่นกัน

ชื่อบทเพลงสุดท้าย 太陽の剣 อ่านว่า Taiyō no ken แปลว่า Sword of the Sun แต่ปัจฉิมบทกลับไม่มีอะไรเกี่ยวกับดาบเล่มนี้! นั่นแปลว่าภาพพบเห็นมันอาจแฝงนัยยะบางอย่างที่สะท้อนถึงเรื่องราวบังเกิดขึ้น

ปัจฉิมบทเริ่มต้นด้วย Hilda ฟื้นตื่นขึ้นบนท้องทุ่งกว้าง เต็มไปด้วยความโล้เล้ลังใจ ฉันเคยทำสิ่งเลวร้ายเอาไว้ ครุ่นคิดว่าใครต่อใครคงไม่ให้การยินยอมรับ แต่ระหว่างด้อมๆมองๆพบเห็นด้วย Horus เดินเข้าไปจูงมือ แสดงการให้อภัยทุกสิ่งอย่าง แล้วร่วมกันก้าวเดิน ออกวิ่งสู่เส้นชัย … นั่นแปลว่า Sword of the Sun อาจสื่อถึงจิตวิญญาณอันเจิดจรัสของ Horus ที่พร้อมชักนำพาให้ทุกคนก้าวสู่แสงสว่าง

การผจญภัยของ Horus ประกอบด้วยสองเป้าหมายที่มีการเกริ่นนำ อารัมบทไว้ตั้งแต่แรกเริ่มต้น

  • หลอมดาบ Sword of the Sun แล้วจักกลายเป็น Prince of the Sun
    • นี่ถือเป็นความเพ้อฝันของ Horus หลังจากดึงดาบออกจาก Moug the Rock Giant ได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะหวนกลับมาพบเจอเมื่อเด็กชายสามารถหลอมดาบได้สำเร็จ
  • ทำตามคำสั่งเสียบิดา ล้างแค้นให้เผ่าพันธุ์ ชาติกำเนิด เผชิญหน้าศัตรูคู่อาฆาต Grunwald ที่ทำลายผืนแผ่นดินบ้านเกิด
    • นี่คือหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อเผ่าพันธุ์ ชาติกำเนิด ผืนแผ่นดินบ้านเกิด

สองเป้าหมายของ Horus สะท้อนปรัชญาชีวิตผกก. Takahata ที่มองว่าคนเราล้วนมีสองภาระรับผิดชอบ หนึ่งคือตัวตนเอง ค้นหาความฝัน อุดมการณ์ เป้าหมายชีวิต และสองทำประโยชน์สาธารณะ เพื่อผู้อื่น สังคม ตอบแทนบุญคุณของประเทศชาติ

หายนะเคยบังเกิดขึ้นกับหมู่บ้าน/บรรพบุรุษของ Horus เมื่อ 14-15 ปีก่อน ถ้าเทียบระยะเวลากับตอนเริ่มต้นโปรดักชั่น มันบังเอิญจงใจให้ตรงเผงกับช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Hiroshima และ Nagasagi รวมถึงประสบการณ์ชีวิตผกก. Takahata ยังคงจดจำเหตุการณ์บังเกิดขึ้น เอาตัวรอดพานผ่านช่วงเวลานั้นมาได้อย่างหวุดหวิด

หลายคนพยายามเปรียบเทียบ Grunwald = ฝ่ายสัมพันธมิตร/สหรัฐอเมริกาที่ทิ้งระเบิดปรมาณูลง Hiroshima และ Nagasagi, แต่ทว่า Grunwald คือชื่อเมืองในประเทศ Germany มันควรจะสื่อถึง Adolf Hitler ไม่ใช่หรือ? ฤาถ้ามองตัวละครในฐานะปีศาจน้ำแข็ง พยายามปลุกปั่น ยัดหนอนบ่อนไส้ (ไม่ต่างจากสงครามเย็น) ก็อาจเป็นสหภาพโซเวียตได้ด้วยเช่นกัน! … สรุปแล้วผมแนะนำให้มองในลักษณะเหมารวม สิ่งชั่วร้าย บุคคลนำพาหายนะให้บังเกิดขึ้น

ความคลุมเคลือของตัวละคร Hilda สะท้อนบรรยากาศสงครามเย็นได้ตรงเผง! ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าเธอมาดีหรือร้าย มุมหนึ่งคือหญิงสาวหน้าตาสวยสดใส น้ำเสียงร้องเพลงไพเราะเพราะพริ้ง เป็นที่รักของใครๆ แต่เพราะเธอเป็นน้องสาวของ Grunwald เลยถูกพี่ชายควบคุมครอบงำ บีบบังคับให้ทำสิ่งชั่วร้ายสารพัด ทำให้เกิดความขัดแย้งภายใน ไม่รู้จะครุ่นคิดตัดสินใจอะไรยังไง

นั่นเลยเป็นหน้าที่ของ Prince of the Sun พระเอกในอุดมคติ วีรบุรุษผู้ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อพวกพ้อง เชื่อมั่นในจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ แม้อีกฝ่ายเคยกระทำสิ่งชั่วร้าย ก็พร้อมให้อภัยทุกสิ่งอย่าง … นี่คือต้นแบบตัวการ์ตูนอย่าง Son Goku & Vegeta, Naruto & Sasuke ฯ

Sword of the Sun ในบริบทของอนิเมะคือดาบเก่าๆ สนิมเกรอะกรัง ไม่สามารถหลอมใหม่ด้วยวิธีการทั่วไป ต้องรอคอยจนกว่า Horus จะสามารถหล่อหลอมจิตใจตนเอง ค้นพบอุดมการณ์ เป้าหมายชีวิตแท้จริง มันถึงกลายสภาพเป็นดาบเล่มใหม่ สามารถตีรันฟันแทง ทำลายสิ่งชั่วร้าย Grunwald ให้ตกตายไป … นั่นแปลว่านัยยะแท้จริงของ Sword of the Sun ไม่ใช่แค่วัตถุอันทรงพลัง (บทเพลง Sword of the Sun ก็แอบบอกใบ้ความหมายเอาไว้แล้ว) ยังคือจิตวิญญาณอันเจิดจรัสของ Horus สามารถปัดเป่าความมืดมิด ทำให้โลกใบนี้สว่างสดใส รวมถึงใครที่เคยมีจิตใจอันมืดมิด ได้รับการชำระล้างจนขาวสะอาดเอี่ยมอ่อง

ผมครุ่นคิดไปเรื่อยๆก็เกิดพบว่า Grunwald ยังสามารถเทียบแทนถึงพวกผู้บริหาร Toei Animation ที่พยายามบีบบังคับ ควบคุมครอบงำโปรเจคภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้ จนต้องตัดทอนรายละเอียดโน่นนี่ สูญเสียอิสรภาพในการสรรค์สร้างผลงาน … นี่ไม่น่าจะใช่ความตั้งใจของผกก. Takahata แต่เป็นผลพลอยจากความล่าช้า วิสัยทัศน์ล้ำอนาคตไปสักหน่อย

แต่ถึงอย่างนั้น Horus = ผกก. Takahata ก็ยังสามารถอดรนทน ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม จนสามารถรังสรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้จนสำเร็จลุล่วง อาจไม่ตรงตามวิสัยทัศน์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่พอให้พบเห็นร่องรอย ความน่าจะเป็นไปได้ น่าเสียด๊าย น่าเสียดาย ตอนจบชีวิตจริงไม่ได้ลงเอยอย่าง Happy Ending


จากทุนสร้างตั้งต้น ¥70 ล้านเยน โปรดักชั่นควรเสร็จสิ้นในระยะเวลา 8-10 เดือน แต่พฤติกรรมโหยหาความสมบูรณ์แบบของผกก. Takahata ทำให้หยุดๆสร้างๆ ใช้เวลาเกือบสามปีถึงสามารถนำออกฉาย ทำให้งบประมาณพุ่งสูงถึง ¥129-130 ล้านเยน (ประมาณ $300,000 เหรียญสหรัฐ) กลายเป็นสถิติสูงสุดของวงการอนิเมชั่นขณะนั้น

เกร็ด: สถิติดังกล่าวถูกโค่นล้มลงโดย Space Battleship Yamato: The Movie (1977) ใช้ทุนสร้างประมาณ ¥200 ล้านเยน

ความขัดแย้งดังกล่าวยังทำให้ Toei Animation ไม่มีความกระตือรือล้นโปรโมทอนิเมะเรื่องนี้สักเท่าไหร่ แถมยังให้ฉายในโรงภาพยนตร์แค่เพียง 10 วัน แน่นอนว่าขาดทุนย่อยยับ! ถึงอย่างนั้นกลับได้กระแสคัลท์ (Cult Following) ติดตามมาแทบจะทันที โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา นักอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ ต่างยกย่องว่า “First Modern Anime”

แม้กาลเวลาจะทำให้ Horus: Prince of the Sun (1968) ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ติดอันดับภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยมตลอดกาลจากหลากหลายสำนัก แต่ก็ไม่ได้สร้างความกระตือรือล้นให้ Toei Animation เมื่อปี ค.ศ. 2013 มีการจัดจำหน่าย Blu-Ray เพียงแค่สแกนใหม่ ขยับขยายขนาด (Upscaled) จนถึงปัจจุบันไร้ข่าวคราวการบูรณะ อาจจะดีที่สุดได้เพียงเท่านี้แหละ

มันเป็นความโชคร้ายหลายๆอย่างของอนิเมะเรื่องนี้ (แม้แต่ตัวผมเองที่ดันรับชมหลังจาก The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963)) ทำให้ไม่สามารถเพลิดเพลิน เต็มอิ่มกับวิสัยทัศน์ของผกก. Takahata แต่ก็ยังต้องถือว่าได้สร้างอิทธิพลอย่างล้นหลาม ทั้งการออกแบบตัวละคร ความซับซ้อนเรื่องราว เลือนลางระหว่างดี-ชั่ว มิตรภาพผองเพื่อน รวมถึงสารพัดลูกเล่นอนิเมชั่น … พวกอนิเมะแนวมิตรภาพ ต่อสู้กับด้านมืด ล้วนมีจุดเริ่มต้นจาก Horus: Prince of the Sun (1968) ด้วยกันทั้งนั้น

ผมมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า ถ้าผกก. Takahata ไม่ถูกกดดัน ควบคุมครอบงำ ได้รับอิสรภาพในการสรรค์สร้าง ผลลัพท์ออกมาน่าจะยอดเยี่ยมยิ่งๆกว่านี้ และอาจเทียบเคียงกับ Grave of the Fireflies (1988) และ/หรือ The Tale of the Princess Kaguya (2013)

จัดเรต 13+ มีฉากความรุนแรง การทรยศหักหลัง พฤติกรรมเห็นแก่ตัวของเพื่อนมนุษย์

คำโปรย | Horus, Prince of the Sun คงจะเป็นอีกผลงานชิ้นเอกของ Isao Takahata ถ้าไม่ถูกสตูดิโอ Toei Animation บีบบังคับโน่นนี่นั่น แม้ยังคงความคัลท์คลาสสิก แต่หลายสิ่งอย่างน่าจะทำได้ดีกว่านี้
คุณภาพ | คัลท์คลาสสิก
ส่วนตัว | ชื่นชอบ