Sous les toits de Paris (1930)


Under the Roofs of Paris (1930) French : René Clair ♥♥♥♡

แม้ว่า René Clair จะไม่ค่อยเห็นด้วยต่อการมาถึงของหนังพูด (Talkie) แต่ก็ได้ทดลองผิดลองถูกกับ Under the Roofs of Paris (1930) ใช้ประโยชน์จากเสียงและความเงียบได้อย่างโคตรๆสร้างสรรค์ น่าเสียดายคุณภาพถดถอยตามกาลเวลา

การมาถึงของ The Jazz Singer (1927) ทำให้บรรดาปรมาจารย์ผู้กำกับแห่งยุคหนังเงียบ รู้สึกหวาดหวั่นต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจบังเกิดขึ้น เฉกเช่นเดียวกับผกก. René Clair เคยแสดงความคิดเห็นไว้อย่างรุนแรงว่า…

It is not without a shudder that one learns that some American manufacturers, among the most dangerous, see in the talking picture the entertainment of the future, and that they are already working to bring about this dreadful prophecy.

Sound film is a redoubtable monster, an unnatural creation, thanks to which the screen would become poor theatre, the theatre of the poor. With the advent of sound, the cinema has lost its visual poetry, its ability to create a world of dreams and fantasy.

René Clair

แม้ผกก. Clair จะไม่ค่อยอยากยินยอมรับการมาถึงของหนังเสียง (Sound Film) แต่เขาก็พร้อมเผชิญหน้าความท้าทายใหม่ๆ ตอบตกลงสรรค์สร้าง Under the Roofs of Paris (1930) ที่ตอบสนองวิสัยทัศน์ส่วนตน กลายเป็นหนึ่งในหนังเสียง/หนังพูดเรื่องแรกๆของฝรั่งเศส (และเป็นเรื่องแรกที่)ประสบความสำเร็จทำเงินล้นหลามระดับนานาชาติ

เกร็ด: นักประวัติศาสตร์ยังคงมีการโต้ถกเถียงไม่ได้ข้อสรุป ภาพยนตร์เรื่องไหนคือหนังเสียง (Sound Film) หรือหนังพูด (Talkie) เรื่องแรกของฝรั่งเศส

  • Les trois masques (1929) หรือ The Three Marks ของผู้กำกับ André Hugon แต่หนังถ่ายทำที่ประเทศอังกฤษทั้งเรื่อง เลยไม่ค่อยอยากจะเรียกกันว่าหนังฝรั่งเศสสักเท่าไหร่
  • Le collier de la reine (1929) หรือ The Queen’s Necklace ถ่ายทำในฝรั่งเศสแบบหนังเงียบ แล้วบันทึกเสียง Soundtrack (พร้อมหนึ่งประโยคสนทนา) ภายหลังการถ่ายทำ … มีบทสนทนาแค่ประโยคเดียวจะเรียกว่าหนังพูด (Talkie) ได้หรือไม่?
  • Sous les toits de Paris (1930) หรือ Under the Roofs of Paris แม้โปรโมทว่าคือ “100% talking and singing in French” แต่ก็ไม่ใช่ทุกช็อตฉากที่ทำการบันทึกเสียงการสนทนา

แม้ว่า Under the Roofs of Paris (1930) ยังพอพบเห็นความสับสน โกลาหล ซึ่งเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ผกก. Clair แต่เพราะความเอื่อยเฉื่อยในการดำเนินเรื่อง เชื่องช้าจนน่าหลับ ไม่สามารถปลุกเร้าอารมณ์ มุกตลกทั้งหลายก็มีทั้งประสบความสำเร็จ-ล้มเหลว คอหนังแห่งศตวรรษที่ 21th น่าจะรู้สึกผิดหวังกันพอสมควร

ผมเองก็ค่อนข้างผิดหวังต่อหนัง แต่ยังพอมีหลากหลายเทคนิคภาพยนตร์ ทำการทดลองเสียง-ความเงียบ ได้อย่างน่าประทับใจ ยกตัวอย่างฉากแรกๆ กล้องเคลื่อนเลื่อนจากบนดาดฟ้าลงมาสู่ท้องถนนเบื้องล่าง พร้อมเสียงขับร้องเพลงค่อยๆดังขึ้นตามลำดับ … ผู้ชมสมัยนั้นน่าจะรู้สึกตื่นเต้น ขนลุกขนพอง น่าประทับใจไม่น้อยกว่าคำพูดประโยคแรก “Wait a minute, wait a minute. You ain’t heard nothin’ yet.” ของภาพยนตร์ The Jazz Singer (1927)


René Clair ชื่อจริง René-Lucien Chomette (1898-1981) นักข่าว-นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่กรุง Paris บิดาเป็นพ่อค้าสบู่ ฐานะกลางๆ โตขึ้นเข้าศึกษาปรัชญา Lycée Louis-le-Grand พออายุ 18 อาสาสมัครคนขับรถในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้รับบาดเจ็บกระดูกสันหลัง จึงเต็มไปด้วยความหลอกหลอน ต่อต้านสงคราม, ต่อมาทำงานนักข่าวหนังสือพิมพ์ฝั่งซ้าย L’Intransigeant

ครั้งหนึ่งมีโอกาสแต่งเพลงให้ศิลปิน Damin เธอชักชวนให้เขาไปสมัครเป็นนักแสดงภาพยนตร์สตูดิโอ Gaumont จับพลัดจับพลูได้รับบทนำ Le Lys de la vie (1920) กำกับโดย Loïe Fuller และ Gabrielle Sorère, หลังจากมีหลายผลงานการแสดง ก็ได้ทำงานผู้ช่วยผู้กำกับ Jacques de Baroncelli, กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก The Crazy Ray (1924) แต่ออกฉายทีหลังหนังสั้นดาด้า Entr’acte (1924)

เมื่อปี ค.ศ. 1929, สตูดิโอสัญชาติเยอรมัน Tobis Klangfilm (Tobis Sound-Film) ที่ทำการบุกเบิกหนังเสียงในยุโรป ตัดสินใจก่อตั้งสาขาแห่งใหม่ขึ้นที่ Épinay ทางตอนเหนือกรุง Paris (บริเวณแห่งนั้นเดิมเป็นที่ตั้งของ Eclair Film ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1902 ก่อนเปลี่ยนเจ้าของมาเป็น Tobis Film) นำเอาเทคโนโลยีบันทึกเสียงเข้ามาติดตั้ง จากนั้นจึงเริ่มมองหาผู้กำกับสำหรับสรรค์สร้างหนังพูดภาษาฝรั่งเศส

ในตอนแรกเห็นว่าทำการติดต่อ Jean Renoir, Julien Duvivier แต่ต่างยังไม่มีความสนใจหนัง Talkie ก่อนมาถึง René Clair ซึ่งตอนแรกก็ตอบปฏิเสธ ก่อนเปลี่ยนใจเพราะอยากทดลองแนวคิดใหม่ๆเกี่ยวกับการใช้เสียง สำหรับเปิดประสบการณ์รับชมภาพยนตร์

I was inspired by the work of other filmmakers who were experimenting with sound film, and I wanted to see how I could use sound to create my own unique style. I realized that sound could be used to create a more realistic and immersive cinematic experience, and I wanted to see how I could use it to tell a story in a new and innovative way.

René Clair

สำหรับเรื่องราวของ Under the Roofs of Paris (1930) ไม่ได้ดัดแปลงจากนวนิยายหรือบทละครใดๆ แต่นำแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวันของผู้คนชนชั้นล่าง/แรงงาน (Working Class) อาศัยอยู่ภายใต้ร่มเงากรุง Paris

I wanted to make a film about the little dramas of everyday life, the people who live in the shadows of the city, the people who are often overlooked. I wanted to capture the poetry of the city and the beauty of ordinary people. I wanted to make a film that was both realistic and poetic, a film that would capture the essence of Paris.


เรื่องราวของ Albert (รับบทโดย Albert Préjean) นักร้องข้างถนน (Street Singer) ฐานะยากจน อาศัยอยู่ห้องใต้หลังคาเล็กๆ วันหนึ่งระหว่างกำลังขับร้องบทเพลง พบเจอตกหลุมรักหญิงสาว Pola (รับบทโดย Pola Illéry) แต่เธอขณะนั้นมีความสัมพันธ์กับนักเลง Fred (รับบทโดย Gaston Modot) และยังเพื่อนสนิท Louis (รับบทโดย Edmond T. Gréville) คอยจับจ้องหมายปองอย่างไม่คลาดสายตา

เหตุการณ์วุ่นๆเมื่อ Fred เกิดความอิจฉาริษยา Albert จึงวางแผนให้เพื่อนหัวขโมยนำของกลางไปซุกซ่อนไว้ในห้องพัก ตำรวจตรวจค้นเลยถูกจับติดคุกติดตาราง ระหว่างนั้น Pola ที่ไม่หลงเหลือใครจึงสานสัมพันธ์กับ Louis หลังจากได้รับการปล่อยตัว ทราบความจริง สุดท้ายแล้วเขาจะตัดสินใจเช่นไร


นำแสดงโดย Albert Préjean (1894-1976) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris โตขึ้นอาสาสมัครทหารเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้รับเหรียญกล้าหาญ Croix de Guerre และ Legion d’honneur กลังจากนั้นเข้าสู่วงการภาพยนตร์ เริ่มจากร่วมงานผู้กำกับ Henri Diamant-Berger, René Clair, G. W. Pabst, ผลงานเด่นๆ อาทิ The Italian Straw Hat (1928), Under the Roofs of Paris (1930), L’Opéra de quat’sous (1931) ฯ

รับบท Albert นักร้องข้างถนน ฐานะยากจน เป็นคนใสซื่อบริสุทธิ์ ไม่เคยคิดกระทำสิ่งชั่วร้าย แม้อยากใช้กำลังขืนใจ Pola แต่เมื่อเธอไม่ยินยอม แสดงอาการต่อต้านขัดขืน เลยรู้สึกสงสารเห็นใจ ปล่อยให้อาศัยหลับนอนอยู่ในห้องพัก ได้รับคำหมั้นหมายแต่งงาน แต่หลังถูกจับเธอกลับทรยศหักหลัง นั่นสร้างความผิดหวัง ชอกช้ำ รับไม่ได้ผู้หญิงหลายใจ

ผมเคยกล่าวยกย่อง Préjean ว่าเป็น ‘Master of Physical Comedy’ แห่งยุคหนังเงียบ! แต่การแสดงหนังพูดมีความผิดแผกแตกต่างจากเดิมมากๆ เพราะไม่สามารถใช้ภาษากายที่เว่อวังอลังการ ต้องสื่อสารด้วยกิริยาท่าทาง และภาษาพูดที่มีความเป็นธรรมชาติ ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่นักแสดงหนังเงียบจะสามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลงโดยง่าย

แต่ก็ต้องชื่นชมว่า Préjean ค้นพบความเพียงพอดีในการแสดงหนังพูด สามารถถ่ายทอดบุคลิกภาพ ความเปราะบาง ใสซื่อบริสุทธิ์ของตัวละคร ออกมาได้อย่างแนบเนียนเป็นธรรมชาติ ทำให้ผู้ชมรู้สึกสงสารเอ็นดู ส่งกำลังใจ อยากให้เอาตัวรอดจากสถานการณ์เลวร้าย และตอนจบได้ครอบครองรักหญิงสาว Happy Ending อย่างที่เคยเป็นมาโดยตลอดในยุคหนังเงียบ … แต่กลับไม่ใช่เรื่องนี้ ซะงั้น!

A revelation! Albert Préjean brings a new dimension to the role of the street singer. He is not just a handsome young man with a good voice. He is also a sensitive and vulnerable soul, a dreamer who is struggling to find his place in the world.

นักวิจารณ์ Georges Sadoul

Préjean’s natural acting style is a perfect fit for the role. He brings a sense of vulnerability and longing to the character that is both touching and believable. He is not afraid to show his emotions, and he does so in a way that is both honest and moving.

นักวิจารณ์ Jacques Lourcelles

Préjean คือขาประจำในยุคหนังเงียบของผกก. Clair แต่การร่วมงานหนังพูดครั้งแรกครั้งเดียวนี้ เกิดความขัดแย้ง ผิดใจกันอย่างรุนแรง หลังจากที่ Clair แสดงความไม่พึงพอใจที่ Préjean ได้ขึ้นชื่อโดดเด่นเหนือใครในใบปิด เนื่องจากการใช้ระบบ ‘Star System’

I think that the star system is immoral and unjust for everyone, the artists and technicians, who work on a shared project. It gives too much power to the stars and not enough power to the others. It also leads to films being made for the stars, rather than for the audience.

René Clair แสดงความคิดเห็นถึงระบบ Star System

I was very surprised and disappointed by René Clair’s comments about the star system. I think it was an insult to all the actors who have worked hard to build their careers. It was also unprofessional and showed a lack of respect for the work of actors.

Albert Préjean รู้สึกไม่พึงพอใจที่ René Clair กล่าวแสดงความคิดเห็นถึงระบบ Star System จนเป็นชนวนเหตุให้พวกเขาไม่เคยร่วมงานกันอีก

Pola Illéry ชื่อจริง Paula Iliescu Gibson (1909-93) นักแสดงสัญชาติ Romanian เกิดที่ Corabia, Romania ในครอบครัวชาวยิว ชนชั้นกลาง ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลด้านการแสดง โตขึ้นเดินทางสู่ฝรั่งเศส เปลี่ยนชื่อตามนักร้อง/นักแสดง Pola Negri เริ่มมีผลงานหนังเงียบ ก่อนโด่งดังเป็นที่รู้จักจากหนังพูด Under the Roofs of Paris (1930)

รับบท Pola หญิงสาวชาว Romanian อาศัยอยู่ห้องใต้หลังคา ไม่รู้ว่าทำงานอะไร เปลือกภายนอกดูใสซื่อบริสุทธิ์ แท้จริงมีนิสัยเห็นแก่ตัว ดื้อรั้น เอาแต่ใจ โหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย วันหนึ่งเกิดความลุ่มหลงใหลเสียงขับร้องเพลงของ Albert แต่ขณะนั้นกำลังสานสัมพันธ์กับ Fred คือชนวนเหตุทำให้ทั้งสองเกิดความขัดแย้ง แถมหลังจากเขาถูกตำรวจจับกุม เข้าหาหลับนอนกับ Louis … ทำไมเธอช่างหลายใจยิ่งนัก

She had something that I couldn’t quite put my finger on, but it was something special.

René Clair กล่าวถึงเหตุผลในการเลือกนักแสดง Pola Illéry

การแสดงของ Illéry ถือเป็นอีกไฮไลท์ของหนัง ขัดแย้งภาพลักษณ์ที่ดูใสซื่อบริสุทธิ์ ชอบทำตัวไร้เดียงสา แท้จริงแล้วเป็นคนเรื่องมาก เอาแต่ใจ พร้อมทำทุกสิ่งอย่างด้วยเล่ห์เหลี่ยม มารยาหญิง โดยไม่สนความถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้สามารถเอาตัวรอดปลอดภัย ตอบสนองความพึงพอใจส่วนตน

หลายคนอาจมองว่าเธอคือผู้หญิงฉวยโอกาส บางคนเข้าใจพฤติกรรมเกิดจากอิทธิพลแวดล้อมรอบข้าง (รวมถึงยุคสมัย Great Depression) แต่ผมครุ่นคิดในเชิงสัญลักษณ์ Pola เป็นตัวตายตัวแทน จิตวิญญาณของกรุง Paris ดินแดนแห่งการเปลี่ยนแปลง พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเอาตัวรอดปลอดภัย

Pola Illéry, as the girl, has a fresh, appealing personality and a charming voice. She sings several of the songs with an engaging simplicity, and her performance is a distinct asset to the picture.

นักวิจารณ์ Mordaunt Hall จาก New York Times

Pola Illéry is a revelation as the girl, giving a performance of great charm and intelligence. She brings a new dimension to the role of the street singer, not just a beautiful woman with a good voice, but also a complex and vulnerable character, and Illéry captures her perfectly.

นักวิจารณ์ Peter Bradshaw จาก The Guardian เขียนเมื่อปี ค.ศ. 2009

ถ่ายภาพโดย Georges Périnal (1897-1965) ตากล้องสัญชาติฝรั่งเศส เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ยุคหนังเงียบ เริ่มมีชื่อเสียงจาก Le Sang d’un poète (1930), ก่อนร่วมงานผู้กำกับ René Clair เรื่อง Sous les toits de Paris (1930), À nous la liberté (1931), จากนั้นโกอินเตอร์สู่อังกฤษ The Private Life of Henry VIII (1933), Rembrandt (1936), The Four Feathers (1939), The Thief of Bagdad (1940) **คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography, The Life and Death of Colonel Blimp (1943), The Fallen Idol (1948), A King in New York (1957) ฯ

ความแตกต่างระหว่าง Silent Film vs. Sound Film ตามความเข้าใจของผกก. Clair คือสัมผัสเหมือนฝัน (dream like) vs. สมจริง (realistic) ในขณะที่หนังเงียบสามารถใส่ลูกเล่น เทคนิคภาพยนตร์ ให้ออกมาน่าตื่นตาตื่นใจ หนังเสียงมี ‘เสียง’ เป็นข้อจำกัด จึงไม่อาจนำเสนอภาพที่มันเว่อวังอลังการเกินกว่าจับต้องได้

With the advent of sound, the cinema has lost its visual poetry, its ability to create a world of dreams and fantasy.

René Clair

งานภาพของ Under the Roofs of Paris (1930) จึงไม่ได้มีลูกเล่น เทคนิคภาพยนตร์แพรวพราว แต่พยายามท้าทายข้อจำกัดการถ่ายภาพและบันทึกเสียง ส่วนใหญ่ทำได้เพียงตั้งกล้องนิ่งๆ น้อยครั้งถึงทำการขยับเคลื่อนไหว … หนังจงใจล่อหลอกผู้ชมตั้งแต่ฉากแรกๆ พบเห็นกล้องเคลื่อนจากบนหลังคาสู่ท้องถนนเบื้องล่าง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าตลอดทั้งเรื่องจะมีการขยับเลื่อนกล้องบ่อยครั้งนะครับ

I wanted to create a film that was both realistic and playful. I wanted the audience to feel like they were watching a real event unfold, but I also wanted them to be amused by the film’s humor. The cinematography was an important part of achieving this balance.

ทุกช็อตฉากของหนังถ่ายทำยัง Épinay Studio (ขณะนั้นกลายเป็นของ Tobis Klangfilm) เพราะข้อจำกัดการบันทึกเสียง ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปถ่ายทำยังสถานที่จริงใดๆ ออกแบบหลังคา/ตึกสูงใหญ่โดย Lazare Meerson แอบชวนให้นึกถึงสไตล์ German Expressionism แต่จะเน้นทำออกมาให้ดูเสมือนจริง อย่างตอนเริ่มต้นจะมีการร้อยเรียงชุดภาพทิวทัศน์บนหลังคา … แต่มองไปมองมา มันช่างดูเหมือน(ภาพ) Abstract เสียมากกว่า

แซว: มีหลายผลงานของผู้กำกับ Clair ที่มักถ่ายติดภาพหลังคา ชั้นดาดฟ้า สัญลักษณ์ของเบื้องบน ชนชั้นสูง หรือภูมิทัศน์ของกรุง Paris

เดี๋ยวผมจะเฉลยนัยยะของการเคลื่อนเลื่อนกล้องจากบนหลังคา ลดระดับลงมาสู่ท้องถนนเบื้องล่างเอาตอนช่วงท้ายนะครับ แต่ขณะนี้อยากให้สังเกตภาพขวามือ นั่นคือวิธีการที่ผกก. Clair ใช้ในการถ่ายทำฉากนี้ สร้างรางรถเลื่อนให้กล้อง(และอุปกรณ์บันทึกเสียง)ค่อยๆไหลลงมาอย่างช้าๆ … ผมถือว่านี่คือช็อต ‘Iconic’ ของหนังเลยนะ!

อีกซีนหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าทำออกมาได้อย่างน่าสนใจ คาดว่าคงทำเป็นลิฟท์ที่สามารถเคลื่อนขึ้น-ลง แนวดิ่ง จากบนหลังคา เลื่อนพานผ่านห้องพักชั้นต่างๆ จนลงมาถึงเบื้องล่าง (จำนวน 5 ชั้น) เพียงมองเห็นลางๆว่าพวกเขากำลังอะไร

แต่ไฮไลท์ไม่ใช่การเคลื่อนขึ้นลงแนวดิ่งนะครับ คือเสียงได้ยินจะมีความค่อย-ดัง แตกต่างกันไปในแต่ละชั้นที่เคลื่อนผ่าน บางห้องเปิดวิทยุเสียงดัง บางห้องเพียงฮัมเพลง และบางห้องกำลังเกิดความหงุดหงิด เพราะทั้งตึกกำลังขับร้องบทเพลงเดียวกัน Sous les toits de Paris

สำหรับฉากที่ถือเป็นไฮไลท์การใช้ ‘เสียง’ แทนที่ผู้ชมจะได้ยินการต่อสู้/เสียงเชียร์ระหว่าง Albert ชกต่อย Fred กลับเป็นเสียงกระฉึกกระฉัก หวูดรถไฟเคลื่อนพานผ่าน ดังกลบทุกสรรพสิ่งอย่าง (แถมไม่พบเห็นขบวนรถไฟด้วยนะ เพียงควันโชยผ่านหน้า) นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องใส่ ‘Sound Effect’ ให้ตรงกับภาพพบเห็น ขอแค่มันสามารถสื่อนัยยะ หรือสร้างสัมผัสที่มีความสอดคล้อง

แต่ผมมองฉากนี้ ครุ่นคิดว่าผกก. Clair ต้องการให้ผู้ชมเกิดความคลาดเคลื่อน ‘misdirection’ หรือ ‘misunderstandings’ เพื่อสะท้อนเข้ากับเนื้อหาสาระของหนัง ที่เต็มไปด้วยความเข้าใจอะไรๆผิดพลาดมากมาย

นี่มันคือเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหดเลยนะ! จากบทเพลง Rossini: William Tell Overture (Finale) ท่วงทำนองแห่งความดีใจ ที่สามารถหลบหนีรอดพ้นจากถูกตำรวจไล่ล่า แต่หลังจาก Albert รับทราบความจริงที่เกิดขึ้นระหว่าง Pola กับเพื่อนสนิท Louis จู่ๆแผ่นเสียงเกิดกระตุก เล่นท่อนเดิมซ้ำๆ ทั้งสองพุ่งเข้าตะลุมบอนต่อสู้ และพอถูกจับแยกก็ยืนเผชิญหน้าคนละฟากฝั่งประตู

  • ฟากฝั่ง Louis และ Pola พบเห็นข้อความบนกระจก Maison แปลว่า House แต่ผมแอบรู้สึกว่ามันช่างละม้ายคล้ายคำว่า Music เพื่อสื่อว่าพวกเขาคือตัวแทนหนังเสียง (Sound Film)
  • ขณะที่ฝั่ง Albert ยืนตัวคนเดียวพร้อมข้อความ Imaque แปลว่า Image คือตัวแทนหนังเงียบ (Silent Film) ที่มีแต่ภาพถ่าย

ตัดต่อโดย René Le Hénaff (1901-2005) สัญชาติฝรั่งเศส ขาประจำผู้กำกับ Marcel Carné, René Clair, Géza von Radványi ผลงานเด่นๆ อาทิ Under the Roofs of Paris (1930), À Nous la Liberté (1931), Port of Shadows (1938), Hôtel du Nord (1938), Le Jour Se Lève (1939) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Albert และ Pola เวียนวนอยู่ย่านชนชั้นแรงงาน (Working Class) ภายใต้ร่มเงาหลังคากรุง Paris (ไม่มีการระบุสถานที่แห่งหนไหน) ตั้งแต่แรกพบเจอ จนถึงวันสุดท้ายจากลา พานผ่านเหตุการณ์สับสนวุ่นวาย เจ็บปวดทั้งร่างกาย-จิตใจ

  • อารัมบท แนะนำตัวละคร
    • Albert ขับร้องเพลงอยู่ริมถนน แรกพบเจอตกหลุมรัก Pola ให้ความช่วยเหลือเธอไม่ให้ถูกหัวขโมยปล้นชิงทรัพย์
  • ค่ำคืนหรรษา
    • Albert กับเพื่อนสนิท Louis มาดื่มกินยังบาร์แห่งหนึ่ง
    • นักเลง Fred พยายามเกี้ยวพาราสี Pola ชักชวนมาดื่มกิน เต้นรำ
    • Pola ไม่พึงพอใจ Fred (ภรรยามาตาม) จึงเดินกลับบ้านกับ Albert แต่ระลึกว่าอีกฝ่ายมีกุญแจห้อง เลยขอค้างคืนกับเขา
    • เรื่องวุ่นๆบนห้องนอนของ Albert กับ Pola
  • ช่วงเวลาใส่ร้ายป้ายสี
    • วันถัดมา Albert ขับร้องเพลงอยู่ริมถนนโดยมี Pola เป็นผู้ช่วย แต่เขาถูกหมายปองโดย Fred และตำรวจ
    • อาศัยช่วงโกลาหล Albert และ Pola หลบหนี Fred และตำรวจได้สำเร็จ
    • หลังจาก Pola บอกจะแต่งงานกับ Albert เดินทางกลับห้อง แล้วถูกตำรวจเข้าตรวจค้น
    • พบเจอของกลางจึงถูกจับติดคุกติดตาราง
    • ส่วน Pola เมื่อไม่หลงเหลือใคร จึงสานสัมพันธ์รักครั้งใหม่กับ Louis
  • ความเป็นจริงที่โหดร้าย
    • หลังจาก Albert ได้รับการปล่อยตัว หวนกลับมาห้องไม่หลงเหลือใคร
    • ค่ำคืนนั้น Albert เผชิญหน้าต่อสู้ดวลมีดตัวต่อตัวกับ Fred จนกระทั่งตำรวจมาถึง
    • และท้ายสุด Albert รับทราบความจริงว่า Pola สานสัมพันธ์กับ Louis เขาจึงตัดสินใจ…

ใครที่เคยรับชมหนังเงียบของผกก. Clair ย่อมสัมผัสถึงความเร็ว ความเร่ง เพื่อสร้างบรรยากาศโกลาหล สอดคล้องเรื่องราวดูสับสนวุ่นวาย แต่สำหรับ Under the Roofs of Paris (1930) กลับดำเนินเรื่องอย่างเอื่อยเฉื่อย เชื่องช้า น่าหลับชิบหาย ราวกับโลกคนละใบ … อาจเป็นความตั้งใจเพื่อให้ผู้ชมตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างหนังเงียบ vs. หนังเสียง, สื่อแห่งความเพ้อฝัน vs. โลกความเป็นจริงที่น่าเบื่อหน่าย

ส่วนหนึ่งในความเชื่องช้าน่าหลับ มาจากลูกเล่นที่ผกก. Clair ต้องการผสมผสานหนังเงียบ โดยให้ตัวละครแสดงออกเพียงภาษากาย ไม่มีการบันทึกเสียง ไม่จำเป็นต้องรับรู้ว่าพูดคุยอะไร แต่ยังสามารถทำความเข้าใจรายละเอียด … ช่วงแรกๆผมรู้สึกว่าเป็นวิธีการที่น่าสนใจ แต่พอพบเห็นหลายๆครั้ง มันกลับดูน่าเบื่อหน่าย ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ไม่ค่อยขำขันเท่าที่ควรด้วย


ในส่วนของเสียงและบทเพลง ความตั้งใจของผกก. Clair ต้องการทำออกมาให้มีลักษณะ ‘visual symphony’ สอดคล้องเข้ากับภาพเหตุการณ์ เรื่องราวดำเนินไป ขยับขยายโสตประสาทสัมผัส โดยทุกสิ่งอย่างจักคลุกเคล้าผสมผสาน ให้กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน

I wanted to create a film that was purely visual, but I also wanted to use sound and music to enhance the film’s comedy and atmosphere. I used sound and music sparingly, but I wanted them to be used effectively. I wanted the sound and music to be like a visual symphony, with the images and the music working together to create a unified whole.

René Clair

สำหรับเครดิตเพลงประกอบต้องมอบให้ Armand Bernard (1895-1965) ในฐานะ Music Arragement เพราะคือผู้รวบรวบ เรียบเรียงท่วงทำนองอื่นๆ(ที่ไม่ได้มีเนื้อคำร้อง) ส่วนใหญ่นำจากบทเพลงคลาสสิกมีชื่อ หลายคนอาจมักคุ้นหู (ทำออกมาลักษณะคล้ายๆ ‘piano accompaniment’) โดยให้มีความสอดคล้อง รองรับมุกตลก และเนื้อเรื่องราวในแต่ละซีเควนซ์

ส่วนบทเพลงคำร้อง จริงๆมีหลายบทเพลงแต่ผมหาข้อมูลได้แค่ Sous les Toits de Paris (แปลว่า Under the Roofs of Paris) แต่งทำนองโดย Raoul Moretti (1893-1954), คำร้องโดย René Nazelles (1888-1975) และขับร้องโดย Albert Préjean ซึ่งทั้งหมดทำการ post-synchronized คือถ่ายทำแบบหนังเงียบ แล้วค่อยไปบันทึกเสียงเอาภายหลัง ทำให้สามารถควบคุมวิธีการนำเสนอได้ง่ายดายกว่า

I was initially hesitant about using post-synchronized sound in The Italian Straw Hat. I was worried that it would be too artificial and that it would take away from the film’s visual impact. However, I was eventually convinced by the film’s producer, Alexandre Kamenka. Kamenka argued that post-synchronized sound would allow us to have more control over the film’s sound, and that it would allow us to add sound effects and music that would not have been possible with live sound.

Under the Roofs of Paris (1930) นำเสนอเรื่องราวของกลุ่มชนชั้นล่าง/แรงงาน (Working Class) ร้อยเรียงภาพวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวัน ส่วนใหญ่หาเช้ากินค่ำ ต้องต่อสู้ดิ้นรนทนทุกข์ยากลำบาก แถมยังเต็มไปด้วยความเสี่ยงอันตราย นักเลง หัวขโมย อาชญากร กระทำสิ่งชั่วร้ายไม่เว้นวัน หรือแม้แต่หญิงสาวคนรัก เหินห่างไม่ถึงสามวันก็ไปมีคนใหม่ (สามวันจากนารีเป็นอื่น) … สถานที่แห่งนี้มันช่างไม่มีความน่าอยู่อาศัยเลยสักนิด!

ยุคสมัยหนังเงียบในฝรั่งเศส ภาพยนตร์ถือเป็นศาสตร์ศิลปะ/ความบันเทิงของชนชั้นสูง (High Class & Middle Upper Class) เพราะต้องใช้ความรู้ในการขบครุ่นคิดวิเคราะห์ ถึงสามารถทำความเข้าใจ พูดภาษาชาวบ้านก็คือต้องปีนป่ายบันได จึงเข้าถึงเนื้อหาสาระภายใน เฉกเช่นเดียวกับบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์ ล้วนคือพวกปัญญาชน มีความเฉลียวฉลาด ยึดถือมั่นอุดมการณ์ ชอบทำตัวหัวสูงส่งด้วยกันทั้งนั้น!

บทสัมภาษณ์ของผกก. Clair ที่ผมยกมาตั้งแต่ต้น สังเกตว่าเต็มไปด้วยอคติต่อหนังเสียง (Sound Film) เปรียบเทียบราวกับสัตว์ประหลาด สิ่งมีชีวิตโฉดชั่วร้าย ซึ่งจักทำให้สื่อภาพยนตร์ที่เคยเป็นความบันเทิงของชนชั้นสูง ตกต่ำด้อยค่า จนกลายมาเป็นความเพลิดเพลินของคนยากจน

Sound film is a redoubtable monster, an unnatural creation, thanks to which the screen would become poor theatre, the theatre of the poor.

René Clair

พอจะมองเห็นวัตถุประสงค์แท้จริงในการสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ของผกก. Clair หรือยังละครับ! มีความชัดเจนตั้งแต่ฉากแรกๆ เริ่มต้นทำการร้อยเรียงทิวทัศน์บนหลังคาด้วยความเงียบงัน (เชิดชูหนังเงียบมีความเลิศหรูสูงส่ง) จากนั้นกล้องเคลื่อนลงสู่ท้องถนนเบื้องล่าง ได้ยินเสียงขับร้องบทเพลงค่อยๆดังขึ้นตามลำดับ (หนังเสียงมีความต่ำตม ของคนชนชั้นล่าง)

โดยเฉพาะเนื้อหาสาระของ Under the Roofs of Paris (1930) ที่เต็มไปด้วยความสับสน โกลาหล อะไรก็ไม่รู้วุ่นๆวายๆ “the comedy of misunderstandings” เต็มไปด้วยปัญหาการสื่อสาร มีแต่เรื่องเข้าใจผิดๆ ทำให้ชีวิตไม่สมหวังสักสิ่งอย่าง นั่นก็ล้วนแฝงนัยยะว่าหนังเสียง (Sound Film) มันเป็นเพียงเรื่องตลกขบขัน มีแต่จักนำหายนะให้บังเกิดขึ้นกับวงการภาพยนตร์เสียมากกว่า

The Italian Straw Hat is a film about the comedy of misunderstandings. It’s about the way that people can get themselves into all sorts of trouble simply because they don’t communicate effectively.

ตอนจบของหนังที่โดยปกติมักลงเอยอย่าง Happy Ending แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ Albert กลับยินยอมเสียสละ/ละทอดทิ้ง Pola ปล่อยให้ครองรักกับเพื่อนสนิท Louis สามารถสื่อถึงผู้กำกับ Clair (แทนตัวละคร Albert) ไม่เอาอีกแล้วหนังเสียง (Pola หญิงสาวรุ่นใหม่ หรือก็คือหนังเสียง) ขอหวนกลับไปอยู่ตัวคนเดียว กล้องเคลื่อนถอยหลังกลับสู่บนหลังคา ทำหนังเงียบๆดีกว่า


หนังเข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังโรงภาพยนตร์ Moulin Rouge, Paris วันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 แม้เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์จะดียอดเยี่ยม แต่ผู้ชมชาวฝรั่งเศสกลับยังโล้เล้ลังเล ไม่ค่อยประทับใจเทคโนโลยีสมัยใหม่สักเท่าไหร่ กระแสจึงค่อยๆเงียบหายจากโรงไปอย่างเงียบๆ

แต่หลังจากผกก. Clair นำหนังไปฉายกรุง Berlin ช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1930 ที่นั่นได้เสียงตอบรับอย่างเกรี้ยวกราว ประสบความสำเร็จล้นหลามทั้งรายรับและคำวิจารณ์ ติดตามต่อยัง New York, London (เข้าฉายเดือนธันวาคม ค.ศ. 1930) แล้วเดินทางไปทั่วโลก Tokyo, Shanghai, Moscow, Buenos Aires ฯ

หลังความสำเร็จอย่างล้นหลามในระดับนานาชาติ หนังเลยได้รับโอกาสฉายซ้ำในฝรั่งเศส คราวนี้ถึงสามารถทำเงินถล่มทลาย ว่ากันว่าแค่ฉายโรงภาพยนตร์เดียวก็สามารถคืนทุนทำกำไร … ถือเป็นความสำเร็จแรกของหนังเสียง/หนังพูดสัญชาติฝรั่งเศส

I thought Under the Roofs of Paris was a terrible film. The use of sound was artificial and unnatural. It was like watching a play with sound effects added in. The film was a technical achievement, but it was not a work of art.

ผู้กำกับ/นักวิจารณ์ Henri-Georges Clouzot ในตอนแรกเคยแสดงความไม่ชื่นชอบหนัง

Here is the first human film of René Clair. I can’t say why human. You only have to go to see it in good faith to be touched by its popular tone, very simple, yet something which has never been presented to filmgoers.

ผู้กำกับ/นักวิจารณ์ Henri-Georges Clouzot ปรับเปลี่ยนความคิดเห็นต่อหนังภายหลัง

With Under the Roofs of Paris, Clair created a new kind of sound film. He was the first to realize that sound could be used not just to reproduce dialogue, but also to create a new kind of visual poetry. The film’s use of sound is both playful and poetic, and it helps to create a unique atmosphere of mystery and suspense.

ผู้กำกับ/นักวิจารณ์ Jacques Brunius

ปัจจุบันเหมือนว่าหนังยังไม่ได้รับการบูรณะ ฉบับของ Criterion พบเห็นแค่ DVD ยังไม่มี Blu-Ray เสียด้วยซ้ำ! แต่คุณภาพถือว่าพอใช้ได้ แทบไม่มีริ้วรอยขีดข่วนใดๆ คาดว่างฟีล์มต้นฉบับคงได้รับการเก็บรักษาเป็นอย่างดี … ก็แน่ละนะ ถือเป็นหมุดหมายภาพยนตร์ของประเทศฝรั่งเศสเลยก็ว่าได้

สิ่งน่าผิดหวังสุดของหนังคือความเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า ไม่สามารถปลุกตื่นความสนใจผู้ชม มองมุมหนึ่งคงคือข้อจำกัดทางเทคนิคภาพยนตร์ แต่หลังจากผมครุ่นคิดไปมาก็ตระหนักว่านั่นอาจเป็นความจงใจผกก. Clair เพื่อนำเสนออคติ(ของตนเอง)ต่อหนังพูด (Talkie) ที่จักทำให้มนต์เสน่ห์หนังเงียบสูญสิ้นไปตลอดกาล

แต่มันกลับเป็นความย้อนแย้งที่น่าอึ้งทึ่ง อย่างที่อธิบายไปแล้วว่าผกก. Clair สรรค์สร้าง Under the Roofs of Paris (1930) ด้วยการแสดงอคติต่อต้านการมาถึงของหนังพูด (Talkie) แต่ผลลัพท์กลับกลายเป็นหนึ่งในผลงานประสบความสำเร็จสูงสุด! แถมยังเปิดมุมมองโลกทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆของหนังเสียง (Sound Film) สามารถทำอะไรๆได้มากกว่าแค่บันทึกคำสนทนาและเพลงประกอบ

นอกจากนี้การนำเสนอเรื่องราวชนชั้นล่าง/ทำงาน (ด้วยความตั้งใจจะเปรียบเทียบหนังเสียงคือความต่ำตม) กลับยังสามารถจุดประกายภาพยนตร์แนว ‘Poetic Realism’ ยกตัวอย่าง La Belle Équipe (1936), Le Crime de Monsieur Lange (1936), Les Bas-fonds (1936), Pépé le Moko (1937), Le Jour se lève (1939) ฯ

สรุปแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีแต่คน ‘misunderstandings’ เข้าใจความตั้งใจของผกก. Clair คลาดเคลื่อนไปไกลโข อยากแสดงให้ถึงขีดจำกัดของหนังเสียง ทำลายมนต์เสน่ห์ของหนังเงียบ กลับกลายเป็นชี้นำทางสู่การเปลี่ยนผ่านยุคสมัย ‘เสียง’ สามารถทำอะไรๆได้มากกว่าแค่การบันทึกคำสนทนา

จัดเรต pg กับการนำเสนอความต่ำตมของชนชั้นล่าง/ทำงาน (Working Class)

คำโปรย | Under the Roofs of Paris ทดลองผิดลองถูกกับหนังพูด (Talkie) มีทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว แต่นั่นก็คือรสชาติแห่งชีวิต
คุณภาพ | คลาสสิก
ส่วนตัว | ตามกาลเวลา

ใส่ความเห็น