Rupan Sansei: Kariosutoro no Shiro (1979)


The Castle of Cagliostro (1979) Japanese : Hayao Miyazaki ♥♥♥♥♡

ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki ดัดแปลงจากมังงะ Lupin the Third ปรับเปลี่ยนอาชญากรผู้เหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ให้กลายเป็นจอมโจรโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจหญิงสาว

ไม่ใช่แค่หนึ่งในภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยมตลอดกาล! ยังได้รับคำชื่นชมจากผู้กำกับชื่อดัง Steven Spielberg ว่าเป็นหนึ่งใน “Greatest Adventure Movies of All Time” กลายเป็นแรงบันดาลใจแฟนไชร์ Indiana Jones, The Adventures of Tintin และโดยเฉพาะฉากขับรถไล่ล่า ยังกล่าวด้วยว่าคือหนึ่งใน “Greatest Chase sequences ever filmed”

I started looking through the old photographs of my trips to Japan. I’m very emotional about this talk about what a huge influence the country of Japan its people and my friend Hayao Miyazaki had on me. He showed me about three sequences from the film and I was blown away. Because this was the first animated film that I thought was made to entertain all ages. Clearly this was a film that was made by a filmmaker and not just for children. It made me feel I was not alone in the world. It’s for adults. It’s smart, it’s clever. The economy of the action. It was such smart filmmaking. It filled my soul – that’s what I wanted to create.

Technically, artistically, story-wise, this movie was a tremendous inspiration for me and it had a tremendous impact on me.

John Lasseter

หลายคนที่มีปัญหาในการรับชมผลงานส่วนใหญ่ของผกก. Miyazaki แต่เมื่อมีโอกาสดู Lupin III: The Castle of Cagliostro (1979) ล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเข้าถึงง่าย สนุกสนานเพลิดเพลิน ตื่นเต้นเร้าใจอย่างที่สุด! ทั้งๆภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ รับหน้าที่เป็นเพียง ‘มือปืนรับจ้าง’ แต่ต้องถือว่าคือจุดเริ่มต้น เอ่อล้นความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทดลองผิดลองถูก ยังอยู่ในช่วงมองหาสไตล์ลายเซ็นต์

Lupin the Third ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใดๆกับ Arsène Lupin (ในช่วงแรกๆเคยอ้างว่าเป็นทายาทรุ่นที่สาม แต่เพราะถูกฟ้องร้องลิขสิทธิ์จากฝรั่งเศส ผู้แต่งมังงะ Monkey Punch เลยตัดญาติขาดมิตร) เอาจริงๆผู้ชมก็ไม่จำเป็นต้องรู้จัก หรือรับชมอนิเมะซีรีย์ก่อนหน้า/ภาคต่อติดตามมา อารมณ์ประมาณ James Bond ฉบับจอมโจร ขับรถเต่า มาดเก๋าเจ้ง สร้างเสียงหัวเราะขบขัน และฉากแอ๊คชั่นสุดเมามันส์

The Castle of Cagliostro (1979) น่าจะเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกๆของโลก ที่สร้างขึ้นด้วยความตั้งใจเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี ไม่แบ่งแยกว่าอนิเมชั่นเหมาะสำหรับเด็ก หรือเนื้อหาภาพยนตร์ของผู้ใหญ่ (แบบพวก Animerama) และที่สำคัญก็คือคุณภาพที่ยังคงทันสมัยใหม่ รับชมในปัจจุบันยังไม่รู้สึกเก่าแก่เลยสักนิด!

เกร็ด: The Castle of Cagliostro (1979) เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาว (Feature Lengeth) เรื่องที่สองถัดจาก The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) สามารถคว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award


ก่อนอื่นขอกล่าวถึงมังงะ Lupin III (ルパン三世 อ่านว่า Rupan Sansei) แนว Comedy Adventure สร้างโดย Monkey Punch นามปากกาของ Kazuhiko Katō, 加藤一彦 (1937-2019) ตีพิมพ์ครั้งแรกลงนิตยสาร Weekly Manga Action วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1967

ความตั้งใจแรกเริ่มของ Monkey Punch ต้องการให้ตัวละคร Lupin III มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หลานชายรุ่นสามของจอมโจร Arsène Lupin ที่สร้างโดย Maurice Leblanc แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำเช่นนั้นเพราะติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ต้นฉบับ เลยใช้วิธีการเปลี่ยนชื่อตัวละคร Wolf, Rupan, Hardyman (Germany), Edgar de la Cambriole (France) ฯ

มังงะเรื่องนี้ของ Monkey Punch เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่ ตัวละคร Lupin III ออกแบบมาให้มีความดิบเถื่อน อวดดี ขี้เมา เสือผู้หญิง สร้างภาพผู้ดีสไตล์ James Bond (มีคำเรียก ‘gentleman thief) เวลาก่ออาชญากรรม มักใช้ความรุนแรง ข่มขืนกระทำชำเรา ไร้สามัญสำนึกดีชั่ว … เป็นมังงะที่ไม่เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชน

ความสำเร็จของมังงะเข้าตานักอนิเมเตอร์ Gisaburō Sugii พยายามโน้มน้าว Yutaka Fujioka ผู้ก่อตั้ง/เจ้าของสตูดิโอ Tokyo Movie (ปัจจุบันคือ TMS Entertainment) ให้ดัดแปลงเป็นอนิเมะซีรีย์ ด้วยความที่สตูดิโอมีเงินทุนไม่มากนัก จึงเริ่มต้นด้วยการสร้างตอน Pilot Film (1969) เพื่อมองหาผู้จัดจำหน่าย แต่กลับไม่มีใครสนใจเนื่องจากความรุนแรง และมีเรื่องทางเพศมากเกินไป! จนกระทั่งปี ค.ศ. 1971 ถึงได้ Yomiuri Television ตอบตกลงอนุมัติงบประมาณซีรีย์ 26 ตอน

เกร็ด: Lupin the Third Part I (1971-72) ถือเป็นอนิเมะซีรีย์(ญี่ปุ่น)เรื่องแรกที่มีกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้ใหญ่, ส่วนภาพยนตร์อนิเมชั่น(สำหรับผู้ใหญ่)คือไตรภาค AnimeRama ประกอบด้วย A Thousand and One Nights (1969), Cleopatra (1970) และ Belladonna of Sadness (1973)

ตอนแรกที่ออกฉายวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1971 ผลปรากฎว่าเสียงตอบรับย่ำแย่ เรตติ้งต่ำมากๆ สถานีโทรทัศน์จึงโน้มน้าวให้ผู้กำกับ Masaaki Ōsumi ปรับแก้ไขเนื้อหาให้สามารถเข้าถึงผู้ชมวงกว้าง แต่เจ้าตัวกลับตอบปฏิเสธจึงถูกไล่ออกกลางคัน!

Hayao Miyazaki และ Isao Takahata ที่เพิ่งขนข้าวของย้ายออกจาก Toei Animation มายัง Tokyo Movie ได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูแลงานสร้างแทนตั้งแต่ตอนที่ 7 ทำการปรับเปลี่ยนโน่นนี่นั่น ลดความเหี้ยมโหดร้ายของตัวละคร Lupin III จนกลายเป็นบุคคล ‘happy-go-lucky’ ขณะที่เรื่องราวก็มีลักษณะ ‘Family-Friendly’ … ครึ่งแรก-ครึ่งหลังราวกับอนิเมะคนละเรื่อง!

The transition [between Ōsumi’s seinen-themed episodes and the family-friendly Miyazaki-Takahata installments] is not entirely smooth, but [the series is] a fascinating watch for the curious, and can give new viewers a glimpse into the variety the franchise offers as a whole.

Reed Nelson นักวิจารณ์จาก Anime News Network

ด้วยกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้นจากตอนท้ายๆ (ที่ดูแลงานสร้างโดย Miyazaki & Takahata) ทำให้อนิเมะได้ไปต่อซีซันสอง Lupin the 3rd Part II (1977-80) [Miyazaki มีส่วนร่วมแค่ตอน 145 และ 155], ตามด้วยภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรก The Mystery of Mamo (1978) กำกับโดย Sōji Yoshikawa

สำหรับโปรเจคภาพยนตร์ถัดมา ผู้กำกับอนิเมชั่น Yasuo Ōtsuka พยายามมองหาความท้าทายใหม่ให้กับแฟนไชร์ Lupin III เลยชักชวน Hayao Miyazaki ให้มีร่วมตีความจอมโจรคนนี้ในรูปแบบใหม่

So there was a basic premise that Lupin can be interpreted in many different ways, then we started discussing “how we should draw it this time” for this next film piece. In the actual timeline it was May of 1979 that I asked Miya-san to join. The rest of the plan was completely blank.

Yasuo Ōtsuka

Hayao Miyazaki (เกิดปี 1940) ผู้กำกับสร้างอนิเมชั่น เจ้าของฉายา “godfather of animation” สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Bunkyō, Tokyo มีพี่น้อง 4 คน บิดาเป็นเจ้าของบริษัทผลิตเครื่องบิน Miyazaki Airplane ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องอพยพหนีระเบิดจาก Tokyo ไปยัง Utsunomiya, Kanuma โชคดีเอาตัวรอดมาได้, ประมาณปี ค.ศ. 1947 มารดาล้มป่วยโรคกระดูกสันหลังอักเสบเนื่องจากวัณโรค ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลหลายปี

ตั้งแต่เด็กมีความเพ้อฝันต้องการเป็นนักวาดการ์ตูน รับอิทธิพลจาก Tetsuji Fukushima, Soji Yamakawa และ Osamu Tezuka แต่หลังจากรับชมอนิเมชั่น The White Snake Enchantress (1958) ตกหลุมรักนางเอกอย่างจัง เลยเบี่ยงเบนความสนใจไปทางนี้ หลังเรียนจบมหาวิทยาลัยสมัครงานเป็น In-Between Artist สตูดิโอ Toei Animation มีส่วนร่วมโปรเจค Doggie March (1963), Wolf Boy Ken (1963), ต่อมากลายเป็น Chief Animator, Concept Artist, Scene Designer ก่อนขนข้าวของย้ายไปสตูดิโอ Tokyo Movie (Shinsha) ร่วมงานกับ Isao Takahata สร้างซีรีย์ Lupin the Third (1971), ฉายเดี่ยวกับ Future Boy Conan (1978), และกำกับภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรก The Castle of Cagliostro (1979),

To be honest, when I was first asked to join, I thought “why now?” For me, and I think Otsuka-san feels much the same, but Lupin was a character living in 60s to 70s. So I thought the theme to use Lupin was bit old and dated.

… after the first TV series comes the second, and then the movie (The Mystery of Mamo). I felt that Lupin had seen all the glory and ended all its chapters. So I was quite astonished when they were starting up again.

Hayao Miyazaki

แม้ในตอนแรก Miyazaki ตั้งใจจะตอบปฏิเสธ แต่หลังจากพูดคุย ถกเถียงกับ (ผู้กำกับอนิเมชั่น) Yasuo Ōtsuka ค้นพบว่าตนเองยังสามารถขบครุ่นคิด ตีความตัวละคร Lupin III ให้ผิดแผกแตกต่างออกไปจากเดิม ให้คำนิยามสั้นๆว่า “growing up”

I questioned myself. What do I want to do with it now? For what kind of audience? … all I could think was the image of Lupin lived in his glory in 60s and early 70s, now living in the regret and shame for his young and wild life… He stopped caring about those fashion and status ten years ago. The same goes for his comrades.

ร่วมพัฒนาบทอนิเมะโดย Haruya Yamazaki แต่เห็นว่าแค่เพียงบทส่งอนุมัติโปรเจค เพราะระหว่างออกแบบร่าง Storyboard ผกก. Miyazaki ไม่ได้สนใจรายละเอียดใดๆในบทของ Yamazaki ปรับเปลี่ยน แก้ไข ปล่อยให้ทุกสิ่งอย่างดำเนินตามวิวัฒนาการของมันเอง … นี่คือสไตล์การทำงานของผกก. Miyazaki (นอกจากผลงานหลัง) มักยังไม่ครุ่นคิดตอบจบ พัฒนาเรื่องราว/Storyboard ไม่เคยเสร็จทันตอนเริ่มต้นโปรดักชั่น


พื้นหลัง ค.ศ. 1968, จอมโจร Lupin III พร้อมคู่หู Daisuke Jigen หลังปล้นเงินจากบ่อนคาสิโน ณ Monte Carlo ค้นพบว่าสิ่งที่ลักขโมยคือธนบัตรปลอม สร้างขึ้นโดย Count Cagliostro ประเทศเล็กๆอยู่ไม่ไกลจาก Monaco สถานที่ที่เขาเคยพยายามลักลอกเข้าไปเมื่อสิบปีก่อน แต่ประสบความล้มเหลว เฉียดตาย เอาตัวรอดชีวิตได้อย่างหวุดหวิด

ระหว่างการเดินทางไปยังปราสาท Castle of Cagliostro จู่ๆผู้หญิงในชุดเจ้าสาวขับรถตัดหน้า กำลังถูกไล่ล่าโดยรถคันหลัง จอมโจร Lupin จึงเหยียบมิดคันเร่ง พยายามให้การช่วยเหลืออีกฝ่าย แต่แม้สามารถเอาตัวรอดตายอย่างหวุดหวิด สุดท้ายเธอยังคงถูกจับกุมตัว ก่อนพบว่าหมั้นหมายอยู่กับ Count of Cagliostro

หลังจากรับทราบเรื่องราวของ Count of Cagliostro จอมโจร Lupin III จึงส่งจดหมายท้าทาย ประกาศว่าจะทำการลักขโมยคู่หมั้น Clarisse ที่ถูกควบคุมขังอยู่ยังชั้นบนสุดของปราสาท สถานที่ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยหนาแน่น ทันสมัยใหม่ที่สุดในโลก และยังต้องครุ่นคิดหาวิธีเปิดโปงการปลอมแปลงธนบัตร สุดท้ายแล้วจะทำได้สำเร็จหรือไม่??


Yasuo Yamada, 山田 康雄 (1932-95) นักแสดง ตลก พาย์เสียง (Seiyuu) สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo วัยเด็กมีความสนใจกีฬาเบสบอล แต่หลังจากรับชมการแสดงของ Danny Kaye ภาพยนตร์ The Secret Life of Walter Mitty (1977) จึงค้นพบความชื่นชอบหลงใหล ต้องการเป็นนักแสดงตลก สมัครงานคณะการแสดง Mingei Theatre Company แต่พอค้นพบว่าไม่สามารถทำตามความฝัน จึงออกมาจัดรายการวิทยุ จนมีโอกาสเดี่ยวบนเวที Theater Echo, จากนั้นกลายเป็นนักพากย์อนิเมะและภาพยนตร์ โด่งดังกับตัวละคร Lupin III, นอกจากนี้ยังมักให้เสียงนักแสดง Clint Eastwood, Jean-Paul Belmondo ฯ

พากย์เสียง Lupin III จอมโจรสุภาพบุรุษ (Gentleman Thief) ผู้มีความเฉลียวฉลาด หน้าตาอาจไม่หล่อ แต่คารมเป็นต่อ ชื่นชอบหยอกล้อ เกี้ยวพาราสีสาวๆไปทั่ว แต่ไม่เคยเห็นจริงจังกับใคร โหยหาความท้าทาย แต่ด้วยอุดมการณ์ไม่ปล้นคนจน เป้าหมายจึงมักเป็นพวกเศรษฐีปลอมๆ หลอกลวง คอรัปชั่น และด้วยวัยวุฒิเพิ่มสูงขึ้น เริ่มครุ่นคิดโหยหาอดีต รู้สึกเสียดายหลายๆสิ่งอย่างเคยทอดทิ้งขว้าง

การเข้ามาของ Miyazaki & Takahata ได้ทำการปรับเปลี่ยนจอมโจม Lupin จากเคยเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย อาชญากรโรคจิต สยองขวัญ ไม่มีอะไรน่าจดจำ กลายมามาดเท่ห์ ทรงเสน่ห์ ใบหน้าทรงรี มีความยียวน บุคลิกภาพป่วนๆ หน้าตาทะเล้น ชวนให้นึกถึงนักแสดง Jean-Paul Belmondo และเสียงพากย์ของ Yamada คงด้วยประสบการณ์นักแสดงตลก เลยสามารถละเล่นระดับเสียงสูง-ต่ำได้อย่างมหัศจรรย์ (เวลาทะเล้นก็เล่นเสียงสูง พอจริงจังก็กดเสียงต่ำ อะไรอย่างอื่นก็ระหว่างนั้น)

คนที่กลายเป็นแฟนคลับ Lupin III ส่วนใหญ่มักมีจุดเริ่มต้นจากภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ ซึ่งไม่ได้มีความใกล้เคียงกับต้นฉบับมังงะสักเท่าไหร่ ผู้แต่ง Monkey Punch แม้ชื่นชอบอนิเมะ แต่ไม่นานก็ตระหนักถึงผลกระทบเลวร้ายติดตามมา

95% of Lupin III fans outside Japan cite this work as what ‘triggered them to become a fan.’ I said, ‘This is not my Lupin.’ It’s a very good work by Miyazaki-kun, wrapped in kindness that I couldn’t have drawn. But the second half of the caper was cut off, and only the first word was taken up. My Lupin is poisonous… I wouldn’t have had him rescue the girl, I would have had him rape her!

Monkey Punch

Sumi Shimamoto ชื่อจริง Sumi Koshikawa, 越川 須美 (เกิดปี 1954) นักแสดง นักพากย์ (Seiyuu) สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kōchi สำเร็จการศึกษา Toho Gakuen College of Drama and Music จากนั้นเข้าร่วมคณะการแสดง Gekidan Seinenza, โด่งดังจากการให้เสียงพากย์ Clarisse อนิเมะ The Castle of Cagliostro (1979), Nausicaä อนิเมะ Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), Shokupanman แฟนไชร์ Soreike! Anpanman ฯ

พากย์เสียงเจ้าหญิง Clarisse สมาชิกราชวงศ์คนสุดท้ายของ Cagliostro ถูกบีบบังคับให้หมั้นหมายแต่งงานกับ Count Cagliostro ซึ่งเคยเป็นข้าราชบริพารก่อการกบฎ โค่นล้ม เข่นฆ่าล้างราชวงศ์ ด้วยจุดประสงค์เปิดขุมทรัพย์ ครอบครองสิ่งของล้ำค่าที่สุด แต่เธอพยายามดิ้นรน หลบหนี หลายครั้งเข้าจนหมดสิ้นเรี่ยวแรงกาย-ใจ จนได้รับความช่วยเหลือจาก Lupin III เข้ามาขโมยหัวใจ ให้บังเกิดความหวังขึ้นในชีวิตอีกครั้ง

ตอนแรกผมรู้สึกคุ้นๆเหมือนเคยได้ยินเสียงของ Shimamoto จากแห่งหนไหน พอรับรู้ว่าเคยพากย์ Nausicaä ก็เกิดความเชื่อมโยงขึ้นโดยทันที แม้ว่า Clarisse จะออกไปทาง ‘damsel in distress’ เคยมีสภาพท้อแท้สิ้นหวัง มิอาจต่อต้านอำนาจบารมีของ Count Cagliostro แต่เพราะได้รับประกายความหวังจาก Lupin III จึงแสดงจิตวิญญาณอันมุ่งมั่น แน่วแน่ กล้าครุ่นคิดตัดสินใจ และยินยอมเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น … อาจดูไม่เหมือนนางเอกในอุดมคติของผกก. Miyazaki แต่อยู่ในช่วงวัยกำลังเติบโต

เกร็ด: Clarisse ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า Bright, Famous ถือเป็นตัวละคร ‘moe’ แรกๆของวงการอนิเมะ และเคยได้รับการโหวตตัวละครหญิงอันดับหนึ่งอยู่หลายปี จนกระทั่งการมาถึงของ Nausicaä (ซึ่งก็พากย์เสียงโดย Seiyuu คนเดียวกัน)

Tarō Ishida ชื่อจริง Gentarō Ishida, 石田 弦太郎 (1944-2013) นักแสดง นักพากย์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kyoto เป็นบุตรของนักแสดง Shigeki Ishida โตขึ้นเข้าศึกษาภาษาสเปน Sophia University แต่ยังไม่ทันเรียนจบออกมาเป็นนักแสดง พากย์เสียง Gene Hackman, Anthony Hopkins, Count Cagliostro อนิเมะ The Castle of Cagliostro (1979), Colonel Shikishima อนิเมะ Akira (1988), Gasparde อนิเมะ One Piece: Dead End Adventure (2003) ฯ

พากย์เสียง Count Cagliostro อุปราชแห่ง Cagliostro ผู้มีความร่ำรวย(จากการผลิตธนบัตรปลอม) เต็มไปด้วยเส้นสาย หลังยึดอำนาจจากบิดาของ Clarisse บีบบังคับให้หมั้นหมาย แต่งงาน เพื่อตนเองจักกลายเป็นกษัตริย์ และค้นพบขุมสมบัติสุดท้ายที่ซุกซ่อนเอาไว้

Count Cagliostro น่าจะเป็นตัวร้ายตัวเดียวในอาชีพการงานของผกก. Miyazaki (โดยปกติผลงานปู่แกไม่มีตัวร้ายที่เหี้ยมโหดชัดเจนขนาดนี้ ส่วนใหญ่จะเทาๆ พบเห็นทั้งด้านดี-ร้ายในตนเอง) แต่การออกแบบตัวละคร ไม่ได้มีจุดโดดเด่น หรือทำออกมาแปลกพิศดารอะไร เพียงใบหน้าเหลี่ยมๆ (เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม) รูปร่างสูงใหญ่ อกผายไหล่ผึ่ง และรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยลับเลศนัย

น้ำเสียงของ Ishida ก็ไม่ได้มีความโฉดชั่วร้ายใดๆ เหมือนผู้ใหญ่วัยกลางคน มีความทุ้ม หนักแน่น ฟังดูสุขุม เยือกเย็น แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดเฉพาะตอนที่ลูกน้องทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ และเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นว่าสามารถต้อนจนมุม Lupin III แต่กลับกลายเป็นตนเองที่ … แตกโพล๊ะ

ถ่ายภาพโดย Hirokata Takahashi (The Rose of Versailles, Space Adventure Cobra, Castle in the Sky)

งานภาพ/ออกแบบศิลป์ของอนิเมะคละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ ทั้งทิศทาง การจัดแสง เลือกใช้สีสัน หลายครั้งพบเห็นตัวละครเดินกินลมชมวิว ดื่มด่ำทัศนียภาพงามๆ พานผ่านเศษซากปรักหักพัง หวนระลึกวันวาน สถานที่แห่งความทรงจำ นาฬิกานับถอยหลัง

ด้วยความยังหนุ่มแน่นของผกก. Miyazaki โปรดักชั่นเริ่มต้นพฤษภาคม ค.ศ. 1979 เสร็จสิ้นเดือนพฤศจิกายน (ประมาณห้าเดือนกว่าๆ) นั่นเป็นระยะเวลาน้อยที่สุดในการสรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมชั่น (ของ Miyazaki) เลยก็ว่าได้!

I first learned the limits of my physical strength with this work.

Hayao Miyazaki

แต่ความเร่งรีบร้อนดังกล่าว รวมถึง Storyboard ที่ยังวาดไม่ทันเสร็จ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อโปรดักชั่นของอนิเมะ ตรงกันข้ามสร้างเพราะไม่มีใครรับรู้ว่าตอนจบจะลงเอยเช่นไร จึงเต็มไปความคลุมเคลือ ไม่แน่นอน อะไรๆล้วนบังเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

ใครเคยรับชม The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) ของผกก. Paul Grimault น่าจะสังเกตเห็นอิทธิพลที่มีมากล้นต่อทั้งเรื่องราว และการออกแบบปราสาท Castle of Cagliostro จนบางคนอาจรู้สึกเหมือน ‘rip off’ คล้ายๆแบบ Lupin III ทำการโจรกรรมสิ่งของมีค่า (= Miyazaki ลักขโมยหลายๆสิ่งอย่างจากภาพยนตร์/อนิเมชั่นก่อนหน้า)

ผมเขียนถึงรายการภาพยนตร์เรื่องโปรดของผกก. Miyazaki มาเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้า พบเห็นกังหันลมก็ชวนนึกถึง The Old Mill (1938), เครื่องจักร ฟันเฟือง ภาพยนตร์ Modern Times (1936), ฉากโลดโผนบนหอนาฬิกา Safety Last! (1923) ฯ เหล่านี้ถ้าพูดตรงๆก็คือลักขโมยมา แต่ภาษาศิลปินจะเรียกว่าได้รับอิทธิพล แรงบันดาลใจ ไม่ได้เหมือนเป๊ะขนาดนั้น … จะว่าไปสิ่งต่างๆเหล่านี้ ทำให้อนิเมะคละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ แต่เฉพาะบุคคลเคยรับรู้จักมาก่อนเท่านั้น!

เมื่อตอน The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) และ The King and the Mockingbird (1980) ต่างเป็นอนิเมะที่ไม่เคยเปิดเผยว่าหลังจาก The King กดปุ่ม หล่นตุ๊บ ล่องจุ๊น บุคคลเหล่านั้นสูญหายตัวไปไหน? ผกก. Miyazaki ก็ได้ขบไขปริศนา มอบคำตอบที่อาจชวนคลื่นไส้วิงเวียน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมโฉดชั่วร้าย สถานที่ที่ความตายคือรากฐาน

โดยปกติแล้ว Lupin III มักขับรถหรูหราราคาแพงอย่าง Mercedes Benz (ด้วยเหตุผลว่าเป็นรถคันโปรดของ Adolf Hitler) แต่ความตั้งใจของผกก. Miyazaki ต้องการนำเสนอการเติบโตของตัวละคร สร้างเรื่องราวให้มีกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ จึงปรับเปลี่ยนมาเป็นรถเต่าคลาสสิก Fiat 500 กลายเป็น ‘Iconic’ ของภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้โดยพลัน!

I thought this Lupin was probably a kind of man who used to drove Mercedes Benz SSK but now he is out of that phase and bored with it. He realized, after all, it does not matter what car he drives, as long as it drives, and he is just driving around with the most basic car. He is over the fame and status which came with the money. He is no longer a man who would pull out the most rare and expensive cigarette lighter to light his cigarette anymore. He does not give a single damn about such thing. He is fine with the cheap disposable one as long as it does the job. That was my image of Lupin. I felt like I finally understood Lupin. And based on that image, I created this film.

Hayao Miyazaki

เกร็ด: Fiat 500 คือรถคันปัจจุบัน(ขณะนั้น)ของผู้กำกับอนิเมเตอร์ Yasuo Ōtsuka, ขณะที่ Citroen 2CV ในฉากไล่ล่า คือรถคันแรกของผกก. Miyazaki

เมื่อตอน

ไคลน์แม็กซ์ของอนิเมะบังเกิดขึ้นยังหอนาฬิกา Lupin III vs. Count Cagliostro ต่างยืนบนเข็มยาว-สั้น (ฟากฝั่งขั้วตรงข้าม) ฝ่ายหนึ่งพลัดตกหล่นเบื้องล่าง อีกฝ่ายปีนป่ายขึ้นสู่เบื้องบน และเมื่อเข็มเคลื่อนมาตำแหน่ง 00:00 ทำให้อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต เวียนมาบรรจบครบรอบ เปิดเผยขุมสมบัติของ Cagliostro ที่เก็บซุกซ่อนเอาไว้

ขุมสมบัติของ Cagliostro แท้จริงแล้วคือเมืองใต้บาดาล แรงบันดาลใจจากดินแดน Atlantis ที่จมลงใต้มหาสมุทร แต่สถาปัตยกรรมเหมือนจะหยิบยืมมาจากจักรวรรดิโรมัน (อิตาลี) ซึ่งถือว่ามีมูลค่าทางจิตใจมากมายมหาศาล ดั่งคำกล่าวของ Lupin III ที่ว่า “Treasure for all Mankind”

แต่สำหรับ Count Cagliostro ถ้ายังมีชีวิตอยู่คงตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง นี่นะหรือคือสิ่งที่อุตส่าห์เสียสละทุกสิ่งอย่างเพื่อแลกมา เพราะมันไม่มีมูลค่าทางวัตถุใดๆ ไม่สามารถนำไปขายทอดตลาด ไม่แตกต่างจากธนบัตรปลอมๆผลิตขึ้นมา

ถ้าเป็นเมื่อสิบปีก่อน ไม่แน่ว่า Lupin III อาจจะลักพาตัว Clarisse กลายเป็นคู่หู Bonnie and Clyde แต่ใจความอนิเมะเรื่องนี้เกี่ยวกับการหวนระลึก ความทรงจำวันวาน กาลเวลาได้เคลื่อนพานผ่าน ปัจจุบันรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย แก่เกินแกง สุดท้ายเลยขีดเส้นแบ่ง ยินยอมปลดปล่อยเธอสู่อิสรภาพ ร่ำลาจากตอนนี้เลยดีกว่า!

Even when it comes to love, he keeps the same stance. Maybe if it was ten years ago, he would have fallen for love, but now he knows he is not that young nor innocent, so he excuse himself as “old man” and draw the line.

Hayao Miyazaki

ตัดต่อโดย Mitsutoshi Tsurubuchi,

นำเสนอการผจญภัยของจอมโจร Lupin III (และผองพวก) หลังจากปล้นคาสิโน ณ Monte Carlo ออกเดินทางสู่ประเทศ Cagliostro วางแผนลักขโมยเจ้าหญิง Clarisse และสิ่งล้ำค่าที่สุดในปราสาทแห่งนี้

  • อารัมบท, จอมโจร Lupin III ปล้นคาสิโน Monte Carlo
  • Castle of Cagliostro
    • ระหว่างทางไปยัง Cagliostro พบเห็นผู้หญิงในชุดเจ้าสาวถูกรถคันหลังไล่ล่า Lupin III (และ Daisuke Jigen) จึงพยายามให้การช่วยเหลือ
    • เดินทางมาถึงปราสาท Cagliostro เหมือนว่า Lupin III จะมีความหลังบางอย่างกับสถานที่แห่งนี้
    • แนะนำตัวละคร Count Cagliostro เข้าไปในห้องของเจ้าหญิง Clarisse แล้วออกคำสั่งให้ลูกน้องจัดการ Lupin III
    • หลังรับประทานอาหารมื้อเย็น Lupin III (และ Daisuke) ก็ถูกโจมตีโดยลูกน้องของ Count Cagliostro
  • การโจรกรรมของ Lupin III
    • เช้าวันถัดมา Chief Inspector Koichi Zenigata และ Fujiko Mine ต่างเดินทางมาถึงปราสาทแห่งนี้
    • ยามค่ำคืน Lupin III หาหนทาง ลักลอบเข้าไปในปราสาทได้สำเร็จ
    • ปีนป่ายขึ้นไปยังห้องของเจ้าหญิง Clarisse ให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยเหลือเธอออกมา แต่กลับถูกล้อมจับกุมโดย Count Cagliostro
    • Lupin III และ Chief Inspector Koichi ร่วมมือกันหลบหนีจากห้องใต้ดิน เผาทำลายเครื่องผลิตธนบัตร
    • Lupin III พยายามจะช่วยเหลือเจ้าหญิง Clarisse แต่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส เธอจึงยินยอมเป็นตัวประกันให้ปล่อยตัวเขาหลบหนีได้สำเร็จ
  • ขุมสมบัติของ Castle of Cagliostro
    • ระหว่างพักรักษาตัว Lupin III เล่าถึงความหลังที่เคยพบกับเด็กหญิง Clarisse เมื่อสิบปีก่อน
    • งานแต่งงานระหว่าง Count Cagliostro และเจ้าหญิง Clarisse
    • พิธีแต่งงานถูกรุกรานโดย Lupin III และผองพวก
    • Lupin III, Clarisse และ Count Cagliostro กับภารกิจหาสมบัติของ Castle of Cagliostro
  • ปัจฉิมบท, การจากไปของ Lupin III ถูกไล่ล่าโดย Chief Inspector Koichi

อนิเมะมี ‘จังหวะ’ (Pacing) การดำเนินเรื่องที่น่าทึ่งมากๆ เริ่มต้นด้วยฉากไล่ล่า หลบหนี สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ ทำให้ผู้ชมเต็มไปด้วยความคาดหวัง จากนั้นลดความเร็วลงเพื่ออธิบายโน่นนี่นั่น กราฟอารมณ์ขึ้นๆลงๆ เหมือนเครื่องเล่น Roller Coaster ก่อนพุ่งทะยานสู่ไคลน์แม็กซ์สูงสุด แล้วจากไปอย่างโคตรเท่ห์ … นี่คือสูตรสำเร็จภาพยนตร์แอ็คชั่นที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน แต่อนิเมะสร้างมากว่า 40+ ปี ยังไม่มีความเก่าเลยสักนิด!


เพลงประกอบโดย Yuji Ohno, 大野 雄二 (เกิดปี 1941) นักแต่งเพลง แจ๊ส สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Atami, Shizuoka สามารถเล่นเปียโนตั้งแต่อยู่โรงเรียนอนุบาล โตขึ้นเข้าศึกษาวิชากฎหมาย Keio University แล้วยังได้เป็นสมาชิกวง Keio University Light Music Society, จบออกมาเริ่มจากเล่นดนตรี Backing แต่งเพลง ออกอัลบัม ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ โทรทัศน์ โด่งดังจากซีรีย์ Lupin III มีผลงานตั้งแต่ซีซันสอง Lupin III Part II (1977-1978) จนถึงปัจจุบัน

ใครเคยรับชมแฟนไชร์ Lupin III น่าจะมักคุ้นกับ Main Theme คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Jazz รสสัมผัส Bebop จังหวะรวดเร็ว สนุกสนาน เต็มไปด้วยลีลาโลดโผนของการเปลี่ยนแปลงคีย์และคอร์ด ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถคาดเดาอะไร คล้ายๆอุปนิสัย/พฤติกรรมจอมโจร Lupin III ผันแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา … แต่สำหรับอนิเมะเรื่องนี้ Main Theme ของ Lupin III จะแทรกแซมอยู่ตามท่วงทำนองต่างๆ ระหว่างการขับรถไล่ล่า เผชิญหน้าอันตราย หาใช่บทเพลงประกอบหลักไม่!

นั่นเพราะเนื้อหาสาระของอนิเมะ คือการลักขโมยหัวใจหญิงสาว (สมบัติล้ำค่าที่สุด) จึงคละคลุ้งด้วยกลิ่นอายโรแมนติก และอาการโหยหาความทรงจำเมื่อครั้นวันวาน (Nostalgia) ท่วงทำนองหลักจึงเป็น Variation จากบทเพลงคำร้อง 炎のたからもの อ่านว่า Honō no Takaramono แปลว่า Fire Treasure (บางครั้งอาจใช้ชื่อ Treasures of Time), คำร้องโดย Jun Hashimoto, ต้นฉบับขับร้องโดย Toshie Kihara ร่วมกับวงดนตรี You & The Explosion Band มีคำเรียกสไตล์ Jazz Funk

คำร้องญี่ปุ่นคำแปลอังกฤษ
Shiawase o tazunete watashi wa yukitai
Ibara no michi mo itetsuku yoru mo
Futari de watatte yukitai

Tabibito no samui kokoro o
Dare ga daite ageru no
Dare ga yume o kanaete kureru

Honoo to moesakaru watashi no kono ai
Anata ni dake wa wakatte hoshii
Kizuna de watashi o tsutsunde……

Kōya o sasurau anata o
Nemurasete agetai no
Nagareboshi wa anata no koto ne

Honō to moesakaru watashi no kono ai
Anata ni dake wa wakatte hoshii
Nazomeku kiri mo harete iku
I want to go in search of happiness
Through thorny paths and frozen nights
I want to go across the road together

Who will hold the traveler’s cold heart
Who will hold you in their arms?
Who will make my dreams come true

My love that burns with fire
I only want you to understand
Wrap me in your bonds ……

As you wander in the wilderness
I want to put you to sleep
You are the shooting star

My love that burns with fire
I only want you to understand
And the mists of mystery will clear

Variation ของ Fire Treasure จะมีการเลือกใช้เครื่องดนตรีหลักแตกต่างกันไป ขลุ่ย (โดดเดี่ยวอ้างว้าง) ไวโอลิน (บีบเค้นคั้นทรวงใน) และคลาริเน็ต (ครุ่นคิดถึง คำนึงหา) ส่วนตัวชื่นชอบประทับใจมากสุดก็คือ #3 ดังขึ้นช่วงท้ายขณะร่ำลาจาก Clarisse เหม่อมองการจากไปของ Lupin III ด้วยสายตาโหยหาอาลัย ฉันจะจดจำช่วงเวลาทรงคุณค่านี้ไว้ ติดตราฝังใจไม่รู้ลืมเลือน

มีอีกบทเพลงหนึ่งที่ผมอดกล่าวถึงไม่ได้ Bach: Pastorale in F major, BWV 590 ท่อนที่ III. Aria โดยปกติจะบรรเลงโดยออร์แกน (เป็นบทเพลงเดียวของ Bach ที่แต่งขึ้นเพื่อ Chruch Organ) แต่ด้วยความไพเราะเพราะพริ้ง ราวกับเสียงสวรรค์ จึงได้รับความนิยมนำมาบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอื่นมากมาย

แต่ที่แน่ๆนี่ไม่ใช่บทเพลงสำหรับงานแต่งงาน ฟังแล้วราวกับตกนรกทั้งเป็น แถมการบรรเลงใช้โน๊ตเสียงสูง มีความขัดย้อนแย้งกันเอง (โดยปกติออร์แกนจะมีเสียงทุ้มต่ำ) นั่นเพราะ Clarisse ไม่ได้อยากหมั้นหมายครองรักกับ Count Cagliostro เธอจึงรู้สึกหดหู่ ท้อแท้สิ้นหวัง ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป

Lupin III ฉบับของผกก. Miyazaki ต้องเรียกว่าจอมโจรโรแมนติก ใช้ชีวิตพานผ่านอะไรๆมามาก ลักขโมย ปล้น-ฆ่า เกี้ยวพาราสีหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า จนมากระทั่งถึงวัยกลางคน ไม่เชิงว่า ‘midlife crisis’ แต่เริ่มเกิดความตระหนัก เข้าใจอะไรๆหลายสิ่งอย่าง รถหรู เงินทอง มันก็แค่สิ่งของภายนอก เกิดความเบื่อหน่าย ซ้ำซากจำเจ โหยหาสิ่งท้าทาย เติมเต็มความต้องการหัวใจ

โดยปกติแล้วจอมโจร Lupin III ถือเป็นอาชญากรโฉดชั่วร้าย บุคคลอันตราย สมควรตีตนออกห่างไกล! แต่เราสามารถมองในเชิงสัญลักษณ์ของพฤติกรรมหัวขบถ นอกคอก ไม่ต้องการอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบ โหยหาอิสรภาพในการใช้ชีวิต, ขณะที่การลักขโมย โจรกรรม ในเชิงนามธรรมสามารถสื่อถึงความชื่นชอบหลงใหล สิ่งสร้างอิทธิพล ก่อบังเกิดแรงบันดาลใจ … ผกก. Miyazaki คลั่งไคล้ภาพยนตร์อนิเมชั่น The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) ลักขโมยหลายสิ่งอย่างมาใส่ในผลงานเรื่องนี้ของตนเอง!

(นัยยะเดียวกับ One Piece โจรสลัดคืออาชญากรโฉดชั่วร้าย แต่สามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ถึงพฤติกรรมหัวขบถ นอกคอก ไม่ต้องการอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบ โหยหาอิสรภาพในการใช้ชีวิต)

เราสามารถเปรียบเทียบตรงๆ Lupin III = ผกก. Miyazaki ต่างเป็นคนหัวขบถ รักอิสระ ชื่นชอบทำสิ่งแปลกใหม่ ท้าทายศักยภาพตนเอง เติมเต็มความต้องการหัวใจ แม้ในตอนแรกไม่ครุ่นคิดอยากหวนกลับมาทำแฟนไชร์นี้อีก (เพราะเคยกำกับอนิเมะซีรีย์ซีซันแรกไปแล้ว) แต่เล็งเห็นโอกาสทำสิ่งแปลกใหม่ ตัวตนเองที่ปรับเปลี่ยนแปลงไป

ในบริบทของอนิเมะมีการย้อนระลึกความหลังประมาณสิบปีก่อน ซึ่งตรงกับช่วงที่ผกก. Miyazaki เคยทำงานอยู่ Toei Animation = Castle of Cagliostro ซึ่งท่าน Count of Cagliostro สามารถเปรียบเทียบถึงผู้บริหาร(สตูดิโอ Toei)ที่มีความเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ เผด็จการ … แนะนำให้ไปอ่านบทความ The Great Adventure of Horus, Prince of the Sun (1968) จะเข้าใจเหตุผลที่ทั้ง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki ตัดสินใจร่ำจากลา Toei Animation ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971

สิ่งที่ผกก. Miyazaki ลักขโมยมาจาก Toei Animation คือประสบการณ์ทำงาน (และประสบการณ์ชีวิต) ได้เรียนรู้ทั้งงานอนิเมเตอร์ สรรค์สร้างอนิเมชั่น ระบบการทำงาน สำคัญที่สุดก็คือสันดานธาตุแท้มนุษย์ และความคอรัปชั่นของระบอบทุนนิยม

เมื่อตอนสรรค์สร้างอนิเมะเรื่องนี้ ผกก. Miyazaki มีอายุย่าง 38 ปี ถือว่าอยู่ในช่วงวัยกลางคน พานผ่านอะไรๆมาพอสมควร จึงเริ่มเข้าใจสัจธรรมชีวิต มองย้อนกลับไปก็มีทั้งสิ่งที่โหยหา ครุ่นคิดถึง (Nostalgia) บางอย่างก็เป็นเรียนชีวิต ให้เรียนรู้ ปรับปรุงตนเอง เติบโตเป็นผู้ใหญ่ … มันไม่เชิงว่า The Castle of Cagliostro (1979) คือภาพยนตร์แนว ‘Coming-of-Age’ แต่คือการเติบโตของ Hayao Miyazaki ในฐานะผู้กำกับอนิเมชั่น


ด้วยทุนสร้าง ¥500 ล้านเยน (ประมาณ $2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทุบทำลายสถิติทุนสร้างภาพยนตร์อนิเมชั่นสูงสุดตลอดกาลของ Space Battleship Yamato (1977) [ที่ ¥200 ล้านเยน] ก่อนจะถูกแซงโดย Laputa: Castle in the Sky (1986) [ที่ ¥800 ล้านเยน]

แม้เสียงตอบรับจะดียอดเยี่ยม แต่ในญี่ปุ่นสามารถทำเงินได้เพียง ¥610 ล้านเยน (ประมาณ $2.784 ล้านเหรียญสหรัฐ) ฉายต่างประเทศก็ไม่ได้รายรับเพิ่มขึ้นสักเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้นมีการนำออกฉายซ้ำอยู่เรื่อยๆจนได้รับกระแสคัลท์ (Cult Following) ยอดขาย VHS, DVD, Blu-Ray ก็น่าจะทำกำไรได้แล้วละ

เกร็ด: The Castle of Cagliostro (1979) ได้รับการโหวตติดอันดับ #20 ชาร์ท Laputa: Top 150 Japanese and World Animation (2003) ถือเป็นเรื่องที่ห้าของผกก. Miyazaki ถัดจาก #6 Future Boy Conan (1978), #7 My Neighbour Totoro (1988), #16 Nausicaä of the Valley of the Wind (1984) และ #19 Laputa: Castle in the Sky (1986)

แม้ลิขสิทธิ์อนิเมะจะไม่ใช่ของสตูดิโอ Ghibli แต่ทว่า TMS Entertainment เก็บทำนุรักษาฟีล์มต้นฉบับไว้เป็นอย่างดี ผ่านการบูรณะ 4K UHD เมื่อปี ค.ศ. 2019 จัดจำหน่าย Blu-Ray โดย Discotek Media ของแถมพอสมควรเลยละ

ในบรรดาผลงานของผกก. Miyazaki ผมมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินมากที่สุดกับ The Castle of Cagliostro (1979) ทั้งฉากแอ๊คชั่นมันส์ๆ อนิเมชั่นบ้าระห่ำ พบเห็นสารพัดการเชื่อมโยง The King and the Mockingbird (1980) ของผกก. Paul Grimault ยิ่งทำให้รู้สึกอึ่งทึ่ง คาดไม่ถึง ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจผู้ชม!

The Castle of Cagliostro (1979) ถือเป็นไฮไลท์ยืนหนึ่งของแฟนไชร์ Lupin III ด้วยความที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แตกต่างจากต้นฉบับมังงะ หรือซีรีย์ตอนอื่นๆ จึงไม่มีเรื่องไหนๆสามารถก้าวข้ามผ่าน ใกล้เคียงสุดอาจคือภาพยนตร์สามมิติ Lupin III: The First (2019) กำกับโดย Takashi Yamazaki ทำการเคารพคารวะ พล็อตเรื่องคล้ายๆกัน (แต่หลายคนบอกว่าขาดกลิ่นอายสไตล์อนิเมะสองมิติไปพอสมควร)

จัดเรต pg เกี่ยวกับการลักขโมย พฤติกรรมคอรัปชั่น กักขังหน่วงเหนี่ยว

คำโปรย | The Castle of Cagliostro ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki เต็มไปด้วยความโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจผู้ชม
คุณภาพ | ติ
ส่วนตัว | ปล้นหัวใจ

Taiyō no Ōji Horusu no Daibōken (1968)


The Great Adventure of Horus, Prince of the Sun (1968) Japanese : Isao Takahata ♥♥♥♡

ร่วมงานครั้งแรกระหว่าง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki (Concept Artist, Scene Design และ Key Animation) แม้โปรดักชั่นล่าช้ากว่าสามปี บางฉากเหมือนยังไม่เสร็จดี ตัดต่อเร่งรีบรวบรัดเกินไป เข้าฉายไม่กี่วันก็เงียบหาย แต่กลับได้รับกระแสคัลท์ติดตามมา สร้างอิทธิพลให้วงการอนิเมชั่น จนกลายเป็นหนึ่งในอนิเมะยอดเยี่ยมตลอดกาล!

คำอาลัย (Eulogy) ในพิธีศพของ Isao Takahata โดย Hayao Miyazaki มีการพูดถึงแรกพบเจอ และความทรงจำระหว่างโปรดักชั่น Horus, Prince of the Sun (1968) ครั้งแรกที่พวกเขาร่วมงานกัน ผมนำมามาแค่บางส่วน ใครอยากอ่านเต็มๆคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่าง

In 1963, we first met each other. Paku-san was 27 and I was 22, back then. I still remember the day when we exchanged words for the first time. I was waiting for the bus bound for Nerima at a bus stop in the twilight.​ A young man approached me walking down the street where some puddles remained right after it rained. “I heard you are meeting up with Segawa Takuo-san.” In front of me was the gentle and wise looking face of a young man. That was the moment when I first met Takahata-san, also known as Paku-san.​ I wonder, why do I still remember that this clearly, even though it was 55 years ago? I can even vividly remember the look on his face at that time.​

The production [of The Great Adventure of Horus, Prince of the Sun as Takahata worked as its screenwriter] did not proceed well. The staff were not familiar with [Takahata’s] new style. The progress was so slow that the project became a headache to the entire company. Paku-san was an incredible persistent guy. Even as the company’s top management tried to change his direction with, sometimes, threats and, sometimes, begging, he did not change. I worked by myself over weekends with no AC in the summer, drawing the sketches for the background pictures on big sheets of paper. The agreement with the labor’s union did not allow the work on weekends but I did not care. It was so simple. I just did not punch the time card for the weekend work.

After I watched the first version [of The Great Adventure of Horus] I could not move. It was not that I was moved, but I was totally taken by surprise. I was aware of the dispute over the scene of “Mayoi no Mori/The Enchanted forest” as to whether it should have been edited out or not. Paku-san negotiated with the company board patiently and he had no choice, but had to agree on the number of the animation frames and the number of work days to the deadline. Of course, he could not keep the agreement. More frame and more days cost. Every time he broke the agreement, he had to write an apologetic letter [to the company]. I wonder how many letters he had to write. I was also fully tied up with my own job and I could not help him in that tough fight.

I watched the scene with Hilda in the Enchanted forest at the first test screening. The overwhelming expression and the pictures! And so much love! I came to understand for the first time that this was what Paku-san wanted to create…

คำอาลัยของ Hayao Miyazaki กล่าวถึง Isao Takahata วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2018

LINK: https://www.cartoonbrew.com/rip/watch-hayao-miyazakis-eulogy-for-isao-takahata-158410.html


Horus, Prince of the Sun (1968) คือหนึ่งในภาพยนตร์อนิเมชั่นที่เต็มไปด้วยปัญหา ความล่าช้า ใช้งบบานปลายเกินกว่า ¥100 ล้านเยน (เป็นโปรดักชั่นอนิเมะใช้ทุนสร้างสูงสุดขณะนั้น ก่อนถูกโค่นล้มลงโดย Space Battleship Yamato (1977)) ส่วนหนึ่งเพราะความเรื่องมาก เอาแต่ใจ ‘Perfectionist’ ของผกก. Takahata จนสตูดิโอ Toei Animation ต้องเข้ามาจุ้นจ้านวุ่นวาย สั่งหยุดโปรดักชั่นหลายครั้งเพื่อปรับแก้ไข หลายสิ่งอย่างถูกรวบรัด ตัดถอน ให้อยู่ภายใต้ระยะเวลา 90 นาที! … กลายเป็นจุดแตกหักของ Takahata ปฏิเสธกำกับอนิเมะให้ Toei Animation อีกต่อไป!

วันก่อนผมเพิ่งรับชม Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) แล้วพอต่อด้วย Horus, Prince of the Sun (1968) ช่วงแรกๆเกิดอาการอ้ำๆอึ้งๆ เพราะสังเกตเห็นหลายๆสิ่งอย่างละม้ายคล้ายคลึงจนเกินไป??? แต่พอสักประมาณกลางเรื่อง การมาถึงของ Hilda (พากย์เสียงโดย Etsuko Ichihara) เด็กสาวน่าพิศวง ชวนลุ่มหลงใหล บังเกิดความคลั่งไคล้ อาจเป็นตัวละครอนิเมชั่นมีความสลับซับซ้อนที่สุด (ขณะนั้น) … ความรำคาญใจในช่วงแรกๆก็ค่อยๆเจือจางหาย

ผมแอบรู้สึกเสียดายที่ถ้ารับชม Horus, Prince of the Sun (1968) ห่างๆจาก Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) อาจเกิดความชื่นชอบประทับใจมากนี้ แต่เพราะบังเอิญนั่งดูทั้งสองเรื่องในค่ำคืนเดียวกันอีกต่างหาก มันเลยเกิดอาการอ้ำๆอึ้งๆ แถมพบเห็นบางฉากเหมือนยังไม่เสร็จดี ตัดต่อเร่งรีบรวบรัดเกินไป แม้วิสัยทัศน์ของผกก. Takahata จะหัวก้าวหน้า ล้ำอนาคต และมีความเป็นส่วนตัวสักแค่ไหน ก็มิอาจลบเลือนอคติ ‘bad impression’ ที่บังเกิดขึ้นได้

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือเนื้อหาของอนิเมะ นี่ไม่ใช่การ์ตูนสำหรับเด็ก! มีฉากความรุนแรง การทรยศหักหลัง พฤติกรรมเห็นแก่ตัวของเพื่อนมนุษย์, แรกเริ่มนั้นผกก. Takahata ต้องการดัดแปลงเรื่องราวชนพื้นเมือง Hokkaido ที่ถูกกดขี่ข่มเหง แต่สตูดิโอกลัวมีปัญหาเลยขอให้ปรับเปลี่ยนพื้นหลังเป็น Scandinavia ถึงอย่างนั้นใจความดั้งเดิมยังคงอยู่ และโดยไม่รู้ตัวสามารถสะท้อนถึงพฤติกรรมของ Toei Animation ไม่แตกต่างกัน!

เกร็ด: Horus: Prince of the Sun (1968) ติดอันดับ #11 ชาร์ท Laputa: Top 150 Japanese and World Animation (2003) ถือว่าสร้างอิทธิพลให้กับวงการอนิเมชั่นไม่น้อยทีเดียว!


Isao Takahata, 高畑 勲 (1935-2018) นักเขียน โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับอนิเมชั่น ร่วมก่อตั้งสตูดิโอ Ghibli สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ujiyamada (ปัจจุบันคือ Ise), Mie น้องคนเล็กในครอบครัวเจ็ดคน บิดาเป็นครูใหญ่โรงเรียนมัธยม เมื่อตอนเก้าขวบพบเห็นการโจมตีทางอากาศยัง Okayama City โชคดีเอาตัวรอดพานผ่านสงครามโลกได้อย่างหวุดหวิด

โตขึ้นเข้าศึกษาวรรณกรรมฝรั่งเศส University of Tokyo ระหว่างนั้นมีโอกาสรับชม The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) [ต้นฉบับของ The King and the Mockingbird (1980)] ของผู้กำกับ Paul Grimault ทำให้เกิดความสนใจในสื่ออนิเมชั่น สมัครเข้าทำงานยัง Toei Animation กลายเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963), กำกับบางตอนซีรีย์ Ken the Wolf Boy (1963-65) ฯ

หลังสะสมประสบการณ์กำกับอนิเมะซีรีย์มาหลายตอน เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1965 ผกก. Takahata ก็ได้รับมอบหมายโปรเจคภาพยนตร์อนิเมชั่น ดัดแปลงเทพนิยายพื้นบ้าน 龍の子太郎 (1960) อ่านว่า Tatsu no ko Tarō แปลว่า Taro the Dragon Boy รวบรวมโดย Miyoko Matsutani (1926-2015) แต่เริ่มต้นพัฒนาคอนเซ็ป/บทอนิเมะได้ไม่นาน กลับถูกสั่งยกเลิก เพราะแหล่งข่าวรายงานว่ามีซีรีย์หุ่นเชิด (Puppet Series) กำลังอยู่ในช่วงระหว่างโปรดักชั่น (ออกฉายปี ค.ศ. 1966) … พูดง่ายๆก็คือไม่ต้องการทำซ้ำ เพราะมีแนวโน้มจะออกฉายปีเดียวกัน

เกร็ด: ต้องรออีกกว่าทศวรรษที่ Toei Animation จะไฟเขียวภาพยนตร์อนิเมชั่น Taro the Dragon Boy (1979) กำกับโดย Kiriro Urayama เห็นว่านำเอาคอนเซ็ป/บทบางส่วนที่พัฒนาค้างไว้ของ Isao Takahata มาสานต่อให้เป็นรูปเป็นร่าง

พอโปรเจคเก่าถูกยกเลิกไป ผกก. Takahata จึงยื่นข้อเสนอใหม่ ดัดแปลงบทละครหุ่นเชิด チキサニの太陽 อ่านว่า Chikisani no Taiyō แปลว่า The Sun Above Chikisani พัฒนาโดยนักเขียน Kazuo Fukazawa, 深沢 一夫 ซึ่งทำการตีความเรื่องเล่าพื้นบ้าน (Oral Tradition) オキクルミと悪魔の子 อ่านว่า Okikurumi to akuma no ko ของชนพื้นเมือง Ainu (アィヌ) อาศัยอยู่บนเกาะ Hokkaido (และ Northeast Honshu) … น่าเสียดายที่ผมไม่สามารถหารายละเอียดใดๆเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านดังกล่าว

สตูดิโอ Toei Animation ไม่ต้องการจะยุ่งเกี่ยวอะไรกับ Ainu People เพราะก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ A Whistle in My Heart (1959) ทั้งไม่ประสบความสำเร็จ แถมยังสร้างปัญหาขัดแย้งกับชนพื้นเมือง จึงโน้มน้าวให้ปรับเปลี่ยนสถานที่พื้นหลังมาเป็นแถบ Scandinavia

บทอนิเมะได้รับการปรับปรุงแก้ไขอยู่หลายครั้ง ไม่ใช่แค่จากนักเขียน Fukazawa, ผกก. Takahata แต่ยังรวมถึง Hayao Miyazaki (ไม่ได้มีการระบุว่าให้คำแนะนำอะไร เพียงบอกว่า ‘invaluable input’) กว่าจะได้รับความพึงพอใจก็บทร่างที่ห้า ล่วงเลยไปถึงกลางเดือนมีนาคม ค.ศ. 1966 ล่าช้ากว่ากำหนดสองเดือนเต็ม!

เกร็ด: เครดิตของ Hayao Miyazaki ประกอบด้วย Concept Artist, Scene Design และ Key Animation


พื้นหลังทางตอนเหนือของ Ancient Norway ในยุคสมัย Iron Age Scandinavia, เรื่องราวของเด็กชาย Horus (พากย์เสียงโดย Hisako Ōkata) กำลังต่อสู้กับฝูงหมาป่า โดยไม่รู้ตัวปลุกตื่นยักษ์หิน (Golem) ชื่อว่า Moug the Rock Giant ท้าทายให้ดึงดาบ Sword of the Sun ที่แม้ขึ้นสนิมเกรอะกรัง แต่ถ้าวันหนึ่งสามารถหลอมใหม่ จะได้รับการเรียกขาน Prince of the Sun

พอเด็กชาย Horus เดินทางกลับบ้าน พบเห็นบิดาในสภาพนอนติดเตียง เปิดเผยถึงต้นตระกูลมาจากหมู่บ้านติดทะเลทางตอนเหนือ ถูกทำลายล้างโดยปีศาจ Grunwald (พากย์เสียงโดย Mikijiro Hira) มอบหมายภารกิจให้บุตรชายออกเดินทาง และทำการล้างแค้น ทวงคืนความยุติธรรมให้กับทุกคน

ระหว่างการออกเดินทาง Horus ร่วมกับลูกหมี Koro บังเอิญเผชิญหน้ากับ Grunwald ปฏิเสธยินยอมก้มหัว เป็นขี้ข้ารับใช้ จึงถูกปล่อยให้ตกหน้าผา โชคยังดีสามารถเอาตัวรอดชีวิต ได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านใกล้เคียงที่กำลังถูกรุกรานโดยปลาใหญ่ และฝูงหมาป่า

Horus พยายามให้ความช่วยเหลือด้วยการต่อสู้กับปลาใหญ่และฝูงหมาป่า จนได้รับยกย่องวีรบุรุษประจำหมู่บ้าน แต่กลับถูก Drago มองด้วยสายตาอิจฉาริษยา พยายามพูดใส่ร้ายป้ายสี แถมยังโน้มน้าว Hilda (พากย์เสียงโดย Etsuko Ichihara) เด็กหญิงที่ Horus พากลับมายังหมู่บ้าน แท้จริงแล้วคือน้องสาวของ Grunwald เพื่อทำการขับไล่ ผลักไส จนทำให้เขาพลัดเข้าไปยัง The Enchanted Forest … สุดท้ายแล้ว Horus จะสามารถหาหนทางออก กลายเป็น Prince of the Sun ได้หรือไม่? และแผนการชั่วร้ายของ Grunwald จักลงเอยเช่นไร?


Horus เด็กชายวัย 14 ปี ผู้มีนิสัยซื่อตรง มั่นคง จริงใจ ยึดถือในสิ่งครุ่นคิดว่าถูกต้อง ปฏิเสธทรยศหักหลังพวกพ้อง ให้ความสำคัญกับผองเพื่อน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่สนว่าตนเองจะต้องทนทุกข์ทรมานสักเพียงไหน อาจมีช่วงหนึ่งเกิดความโล้เลลังเลใจ แต่สุดท้ายก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม ไม่มีอะไรบั่นทอนอุดมการณ์เชื่อมั่น ท้ายที่สุดจึงได้รับยกย่องเยี่ยงวีรบุรุษ Prince of the Sun

เกร็ด: Horus ตามตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ (Egyptian Mythology) คือเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ (Sun God) ลักษณะจะมีร่างกายเป็นมนุษย์ ศีรษะเป็นเหยี่ยว ดวงตาข้างซ้ายคือพระอาทิตย์ ดวงตาข้างขวาคือดวงจันทร์ ชาวอียิปต์โบราณยังมีความเชื่อว่าฟาโรห์คือเทพเจ้า Horus ที่มาจุติบนโลกมนุษย์

ออกแบบตัวละคร (Character Design) [และกำกับอนิเมชั่น (Animation Director)] โดย Yasuo Ōtsuka (1931-2021) แม้ว่า Horus อาจดูธรรมดาๆ ไม่ได้โดดเด่นเป็นสง่า หรือมีรายละเอียดน่าจดจำ แต่จุดประสงค์หลักๆเพื่อลดงานนักอนิเมอเตอร์ และให้เป็นตัวแทนบุคคลธรรมดาทั่วไป … ตัวละครลักษณะนี้ ในอนาคตอันใกล้จักกลายเป็นต้นแบบสไตล์ Ghibli

ให้เสียงพากย์โดย Hisako Ōkata, 大方 斐紗子 (เกิดปี 1936) นักร้อง/นักแสดงจาก Fukushima, น้ำเสียงของเธอมีห้าวๆ ฟังดูหนักแน่น เข้มแข็ง เอ่อล้นด้วยพลัง สอดคล้องเข้ากับอุดมการณ์มุ่งมั่น ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ผดุงความยุติธรรม พร้อมต่อสู้กับความชั่วร้าย ไม่ย่นย่อท้อต่ออุปสรรคขวากหนาม

เกร็ด: ผมสอบถามจาก ChatGPT อนิเมะเรื่องแรก/เก่าแก่สุดที่นักพากย์หญิงให้เสียงตัวละครเด็กชาย ได้รับคำตอบคือ Astro Boy (1963)

แม้พระเอกจะไม่ค่อยมีอะไรน่าจดจำ แต่นางเอก Hilda เด็กสาวอายุ 15 ปี ถือเป็นไฮไลท์ที่ทำให้ผู้ชมเกิดความฉงนสงสัย แท้จริงแล้วคือใคร? ทำไมถึงเป็นบุคคลเดียวรอดชีวิตในอีกหมู่บ้าน? น้ำเสียงร้องเพลงของเธอ ไพเราะหรือสร้างความรำคาญ? สรุปแล้วมาดี-มาร้าย ต้องการจะทำอะไร? ใบหน้าสวยๆใช่ว่าจักต้องเป็นคนดีเสมอไป!

เกร็ด: Hilda มาจากภาษา Danish หมายถึง Secrecy, Hiding, ซึ่งถ้าอ้างอิงจากปรัมปรานอร์ส (Norse mythology) Hildr (ภาษา Old Norse แปลว่า Battle) คือหนึ่งใน Valkyries มีพลังในการชุบชีวิตคนตายในสนามรบ ทำให้การต่อสู้ไม่รู้จักจบจักสิ้น

ออกแบบตัวละครโดย Yasuji Mori (1925-92) อีกหนึ่งโคตรนักอนิเมเตอร์รุ่นบุกเบิก บุคคลแรกรับหน้าที่กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) ให้กับภาพยนตร์ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963), สำหรับ Hilda สาวสวยหน้าใส แต่ภายในเต็มไปด้วยความโล้เล้ลังเล ขัดแย้งภายใน ไม่สามารถเอาชนะมุมมืด ถูกควบคุมครอบงำโดยพี่ชายแท้ๆ รู้สึกผิดอย่างรุนแรงที่กระทำร้าย Horus … รูปลักษณะตัวละครนี้ ได้กลายเป็นต้นแบบนางเอก Ghibli อีกเช่นเดียวกัน!

เกร็ด: จริงๆแล้วภาพร่างตัวละคร Hilda มีหลากหลายฉบับวาดโดย Reiko Okuyama, Yōichi Kotabe และ Hayao Miyazaki แต่ท้ายที่สุดผกก. Takahata ตัดสินใจเลือกของ Yusuji Mori ที่ดูนุ่มนวล อ่อนโยน มีความโค้งมน เพื่อให้ผู้ชมเกิดความฉงนสงสัย คนสวยๆไม่น่าจะกระทำสิ่งชั่วร้ายได้ลง

พากย์เสียงโดย Etsuko Ichihara, 市原 悦子 (1936-2019) นักแสดงจาก Chiba มีผลงานภาพยนตร์กว่าร้อยเรื่อง โด่งดังจากบทบาทสมทบ Black Rain (1989) คว้ารางวัล Japan Academy Prize: Best Supporting Actress, สำหรับการให้เสียง Hilda มีความละมุน นุ่มนวล เฉกเช่นเดียวกับการออกแบบตัวละคร เพื่อให้ผู้ชมบังเกิดความขัดแย้งกับพฤติกรรมแสดงออก เวลาไม่เห็นด้วยกับสิ่งใดมักแสดงท่าทางปฏิเสธ ก้าวร้าว ใช้ถ้อยคำเสียดสี ถากถาง … ทำไมคนงามถึงพูดจาอย่างนั้น มันมีลับลมคมในอะไรกันแน่

อีกตัวละครที่ต้องกล่าวถึงก็คือ Grunwald ราชาน้ำแข็งผู้มีความเหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ครุ่นคิดแต่แผนการทำลายล้าง เริ่มต้นด้วยการส่งหนอนบ่อนไส้ กัดกินแต่ละหมู่บ้านให้เกิดความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะจากภายใน แล้วส่งฝูงหมาป่าพร้อมสรรพสัตว์ใหญ่เข้าไปเข่นฆ่า กวาดล้าง จนทุกสิ่งอย่างราบเรียบเป็นหน้ากลอง … ก็ไม่รู้ทำไปด้วยวัตถุประสงค์อันใด

ออกแบบตัวละครโดย Hayao Miyazaki ค่อนข้างชัดเจนมากๆว่าได้แรงบันดาลใจจากอนิเมชั่น The Snow Queen (1952) พยายามทำให้ใบหน้ามีเหลี่ยมมุม (ตรงกันข้ามกับ Horus และ Hilda ที่มีความโค้งมน) จะว่าไปพระราชวัง/ปราสาทคริสทัลของ Grunwald ก็มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงด้วยเช่นกัน

เกร็ด: Grunwald หรือ Grünwald เป็นคำจากภาษาเยอรมัน ‘Middle High German’ ดั้งเดิมคือ Grewen แปลว่า grow, develop, หรือถ้าสื่อถึงสถานที่จะหมายถึง meadow, grassland, และชื่อเทศบาลในเขตเมือง Munich, รัฐ Bavaria, ประเทศ Germany

ให้เสียงโดย Mikijirō Hira, 平 幹二朗 (1933-2016) นักแสดงภาพยนตร์/ละครเวที เจ้าของฉายา “Japan’s best Shakespearean actor” ด้วยน้ำเสียงคมเข้ม พยายามกดให้ทุ้มต่ำ แสดงถึงความเจ้าเล่ห์ เต็มไปด้วยเหลี่ยมคม แค่เสียงหัวเราะก็อาจทำให้หลายคนเกิดอาการหลอกหลอน เวลาเกรี้ยวกราดมักใส่อารมณ์ จนคนรอบข้าง(รวมถึงผู้ชม)เกิดความหวาดสะพรึงกลัว ไม่กล้าโต้ตอบ หือรือ ยินยอมก้มหัวศิโรราบแต่โดยดี

แถมให้กับยักษ์หิน Moug the Rock Giant และแมมมอธน้ำแข็ง ทั้งสองตัวละครออกแบบโดย Hayao Miyazaki หนึ่งคือธาตุดิน อีกหนึ่งคือธาตุน้ำ(แข็ง) สองสิ่งขั้วตรงข้ามที่เมื่อเผชิญหน้า ย่อมก่อให้เกิดการทำลายล้าง

  • อุปนิสัยของ Horos = Moug the Rock Giant ธาตุดิน/หิน มีความหนักแน่น มั่นคง ซื่อตรง ไม่มีสิ่งใดสามารถสั่นคลอนความเชื่อ อุดมการณ์
  • Grunwald (และ Hilda) = แมมมอธน้ำแข็ง แม้ร่างกายใหญ่โต พลังทำลายล้างมหาศาล แต่เต็มไปด้วยจุดอ่อน เปราะบาง หลอมละลายโดยเปลวเพลิง และพ่ายแพ้การสู้กับ Moug the Rock Giant

แม้บทอนิเมะจะพัฒนาเสร็จสิ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1966 แต่ความล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้เกิดช่วงเวลาเหลื่อมล้ำกับโปรเจคอื่น ผกก. Takahata ถูกย้ายไปช่วยงานกำกับซีรีย์อนิเมะ ก่อนจะหวนกลับมาทำ Storyboard จริงๆก็เดือนตุลาคม และโปรดักชั่นเริ่มต้นงานสร้างเมื่อมกราคม ค.ศ. 1967 เสร็จสิ้นประมาณมีนาคม ค.ศ. 1968 (รอบทดลองฉาย)

แบบเดียวกับ The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) อนิเมะเรื่องนี้ถ่ายทำโดย Toeiscope หรือก็คือระบบ CinemaScope อัตราส่วนภาพ Anamorphic Widescreen (2.39:1) แม้อาจเพิ่มภาระงานให้นักอนิเมเตอร์ แต่ประสบการณ์รับชมภาพยนตร์อนิเมชั่น ก็ยิ่งใหญ่อลังการเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ก่อนหน้านี้ (รวมถึง The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963)) มุมมองการถ่ายภาพของอนิเมะ/อนิเมชั่น มักมีลักษณะตรงไปตรงไป จัดวางให้ตัวละครอยู่กึ่งกลางเฟรม หรือพยายามทำให้เกิดความสมมาตร แต่วิสัยทัศน์ของผกก. Takahata ได้รับอิทธิพลจากวงการภาพยนตร์ และอนิเมชั่นมาสเตอร์พีซ The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) เต็มไปด้วยมุมกล้องแปลกๆพิศดาร ก้ม-เงย-เอียง ซูมมิ่ง (Zooming) แพนนิ่ง (Panning) ภาพนิ่ง (Freeze Frame) รวมถึงระยะภาพใกล้-กลาง-ไกล (Close-Up, Medium Shot, Long Shot และ Extreme-Long Shot ฯ) แพรวพราวด้วยสารพัดเทคนิคภาพยนตร์

ถ้าเป็นภาพยนตร์/อนิเมชั่นยุคก่อนหน้า เริ่มต้นอารัมบทมักมีการพูดเกริ่น คำบรรยายโน่นนี่นั่น กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เตรียมความพร้อมผู้ชมนำเข้าสู่เรื่องราว แต่สำหรับ Horus: Prince of the Sun (1968) มาถึงก็ฉากแอ๊คชั่น ต่อสู้ ฝูงหมาป่ากำลังไล่ล่า พยายามจะเข่นฆ่าเด็กชาย Horus มันช่างเป็นเหตุการณ์ขวัญผวา อันตราย เฉียดตาย สร้างความตกอกตกใจ ไม่ค่อยเหมาะสำหรับเด็กและผู้ใหญ่จิตใจอ่อนไหว … นี่คือวิสัยทัศน์ของผกก. Takahata ที่ถือว่าล้ำยุคสมัยนั้น กล้าทำสิ่งแปลกใหม่ สร้างความคาดหวังสูงลิบลิ่วให้กับผู้ชม

เพื่อสร้างสัมผัสความใหญ่โตมโหฬารของ Moug the Rock Giant ถ้าเป็นอนิเมะยุคก่อนอาจจะมีแค่ภาพ Extream-Long Shot แล้วก็ตัดสลับ Close-Up ใบหน้าตัวละครทั้งสอง

แต่วิสัยทัศน์ของผกก. Takahata ยังแทรกใส่มุมก้ม-เงย เด็กชายแหงนมองเห็นความสูงใหญ่ล้นเฟรมของยักษ์หิน และสายตาโกเลมก้มลงมาเห็นเด็กชายตัวเล็กกระจิดริด … จริงๆยังมีมุมกล้องอื่นๆอีก แต่อธิบายเพียงเท่านี้น่าจะเพียงพอให้เห็นภาพคร่าวๆของลูกเล่นการสร้างสัมผัสความใหญ่โตมโหฬาร นี่คือลักษณะของ “Modern Animation”

การเผชิญหน้าครั้งแรกระหว่าง Horus และ Grunwald นี่อาจเป็นซีเควนซ์ที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ลีลาการกำกับของ Takahata สร้างความแตกต่างอย่างน่าตกตะลึง เต็มไปด้วยสารพัดมุมกล้องจากแทบทุกมุมมองเป็นไปได้! ระยะภาพไกล-กลาง-ใกล้ โคลสอัพใบหน้า มุมมองสายตา ร้อยเรียงแปะติดปะต่อจนมีความต่อเนื่องลื่นไหล … ภาษาภาพยนตร์มีคำเรียกว่า ‘Mise-en-scène’ น่าจะครั้งแรกในวงการอนิเมชั่นเลยกระมังนะ!

มุมกล้องที่สร้างความประหลาดใจให้ผมมากสุดของซีเควนซ์ คือมุมมองของ Horus จับจ้องมอง Grunwald เอาจริงๆเส้นเชือกจะทำให้คมชัดก็ยังได้ แต่กลับเลือกทำให้เบลอๆเพื่อสร้างสัมผัสตื้น-ลึก คล้ายการปรับระยะโฟกัสใกล้-ใกล้ (ถ้าปรับโฟกัสสำหรับถ่ายภาพระยะไกล จะทำให้เห็นภาพใกล้ๆไม่คมชัด หรือคือเชือกเส้นนี้ที่ดูเบลอๆหลุดโฟกัส)

ตอนที่ Horus สูญเสียคนในครอบครัว จึงตัดสินใจออกเดินทาง ล่องเรือผจญภัยไปกับสัตว์เลี้ยงคู่หู ผมยังไม่ตะขิดตะขวงใจสักเท่าไหร่ แต่พอต่อสู้กับเจ้าปลายักษ์เท่านั้นแหละ เริ่มรู้สึกไม่ค่อยพึงพอใจ มันละม้ายคล้าย The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) มากเกินไปไหม?? จะมาอ้างว่าเรื่องเล่าปรับปราเริ่มต้นแบบนี้ก็ไม่ถูก เพราะ Takahata เคยทำงานผู้ช่วยผู้กำกับ #TLPatEHD ย่อมต้องรับรู้อย่างชัดเจนว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่

ผมนำปลาทั้งสองตัวมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพ แม้มันไม่ใช่สปีชีย์เดียวกัน แต่ความละม้ายคล้ายคลึง รวมถึงเหตุผลการต่อสู้ ย่อมทำให้ผู้ชมที่รับชมอนิเมะทั้งสองเรื่องตระหนักถึงการ ‘rip off’ สร้างข้อครหาให้ผู้สร้างไม่น้อยทีเดียว

แต่อย่างน้อยความตายของปลายักษ์ใน Horus: Prince of the Sun (1968) ไม่ได้เกิดจากการเอาชนะด้วยพละกำลัง เจ้าปลาถูกทิ่มแทงดวงตา แสดงอาการคลุ้มคลั่ง (Berserk) แล้วพุ่งชนโขนหินจนดินถล่มลงมา แฝงนัยยะถึงพ่ายแพ้ภัยตนเอง หรือก็คือกรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมหวนกลับคืนสนอง

อย่างที่บอกไปแล้วว่าปราสาทคริสทัลของ Grunwald นำแรงบันดาลใจจาก The Snow Queen (1952) แต่สิ่งที่ผกก. Takahata และ Hayao Miyazaki ในฐานะ Scene Design) พยายามนำเสนอออกมานี้ รับอิทธิพลเต็มๆจาก The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952)

แทนที่จะนำเสนอภาพหน้าตรง Grunwald นั่งสง่างามอยู่บนบัลลังก์ กลับเต็มไปด้วยมุมกล้องแปลกๆ ราวกับอาศัยอยู่ในถ้ำคริสทัล(น้ำแข็ง) เจ้าหมาป่าต้องแหงนหน้ามองพระราชาเบื้องบน ช่างเหินห่าง ไกลเกินเอื้อมไขว่คว้า รวมถึงบรรยากาศเวิ้งว่าง วังเวง ปกคลุมอยู่ในความมืดมิด … คล้ายๆปราสาท Xanadu ของ Citizen Kane (1942)

หลังงานเลี้ยงปาร์ตี้ทั้งสองครั้ง (หลังการเก็บเกี่ยว และงานแต่งงาน) หมู่บ้านแห่งนี้ต่างถูกบุกรุกรานโดยฝูงหมาป่า และฝูงหนู เข้ามาทำลายสิ่งข้าวของ ได้รับความเสียหายทั้งร่างกายและทรัพย์สิน ซึ่งล้วนนำเสนอในลักษณะภาพนิ่ง ‘Freeze Frame’ บางคนอาจมองว่านี่ความติสต์แตกของผกก. Takahata แต่แท้จริงแล้วคืองานไม่เสร็จ ไม่มีงบประมาณ ไม่ต้องการตัดทิ้งซีเควนซ์ ก็เลยค้างๆคาๆเอาไว้แบบนี้แหละ

บางคนอาจยังมองว่าทั้งสองซีนต่างมีภาพการต่อสู้ที่ดูเหี้ยมโหดร้าย ไม่เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชน ใช้วิธีการนี้สามารถลดทอนความรุนแรง … แต่เดี๋ยวก่อนนะ แล้วตอนอารัมบท ฉากแรกของอนิเมะที่ Horus ถูกไล่ล่าโดยฝูงหมาป่า มันไม่ดูรุนแรง เหี้ยมโหดร้าย ต่างอะไรกับสองซีเควนซ์นี้??

ผมรับชมซีเควนซ์นี้ด้วยอารมณ์หงุดหงิด หัวเสียยิ่งกว่าตอนสังเกตเห็นการ ‘rip off’ จาก The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) เพราะตระหนักถึงเหตุผลที่ผกก. Takahata ตัดสินใจทำเช่นนี้ เนื่องจากถูกเบื้องบนบีบบังคับ สั่งการลงมา ใครกันอยากจะให้ผลงานตนเองค้างๆคาๆ สร้างไม่เสร็จลักษณะนี้!

แรกพบเจอ Hilda ในสายตาของ Horus ทั้งน้ำเสียงและรูปร่างหน้าตา ราวกับนางฟ้ามาจุติ นั่งอยู่เบื้องบนเสาไม้ ถ่ายติดพื้นหลังท้องฟ้ากว้างใหญ่ จากนั้นเธอกระโดดลงมายังพื้นดิน แต่กล้องก็ยังถ่ายมุมเงยขึ้น จนกระทั่งเด็กชายเดินเข้าใกล้ เริ่มพูดคุยสนทนา ถึงเริ่มปรับเปลี่ยนมาถ่ายมุมก้มติดผืนผิวน้ำ

เพราะยังไม่เคยรับรู้จัก เมื่อแรกพบเจอ ‘first impression’ จึงมองว่าเธอประดุจนางฟ้าบนสรวงสวรรค์ แต่พอเริ่มพูดคุยสนทนา มุมกล้องก็บอกใบ้ตัวตนแท้จริง สภาพจิตใจที่ตกต่ำ ดำมืด คนรับใช้ของปีศาจร้าย Grunwald

Enchanted Forest, ป่าหลงเสน่ห์ สถานที่(ยอดฮิต)ในนิทานพื้นบ้านและแฟนตาซี มักเป็นดินแดนที่ตัวละครไม่รับรู้จัก มีทั้งอันตราย ความท้าทาย เต็มไปด้วยสิ่งเหนือจินตนาการ สำหรับหลบซ่อนตัว ออกผจญภัย เผชิญหน้าความหวาดกลัว ไม่ก็ค้นหาตัวตนเอง

ในบริบทของอนิเมะทำเป็นหลุมขนาดใหญ่ Hilda ผลัก Horus ตกลงไป (สามารถสื่อถึงจุดตกต่ำของ Horus) ซึ่งสิ่งที่เด็กชายต้องเผชิญล้วนคือภาพลวงตา สร้างความหลอกหลอนจิตวิญญาณ

  • รายล้อมรอบด้วยกิ่งก้านระโยงระยาง รากไม้หลากหลายสีสัน ผมมองว่าคืออุปสรรคขวากหนาม สิ่งพยายามเกาะติด เหนี่ยวรั้ง กลบฝังไม่ให้ Horus สามารถดิ้นหลบหนี หาหนทางออก
  • พลัดตกลงมาในหนองน้ำ พบเห็นเรือไวกิ้งของบิดา เต็มไปด้วยปริศนา คำถามไร้ซึ่งคำตอบ
  • ภาพของ Hilda ล่องล่อยเข้าหา พร้อมกับ Grunwald คอยควบคุมครอบงำอยู่เบื้องหลัง
  • จากนั้น Hilda แบ่งแยกร่างออกเป็นหลายคน โยกไปโยกมา เหมือนมีใครชักใยอยู่เบื้องบน (ซึ่งก็คือพี่ชาย Grunwald)

หลายคนคงเกาหัวแครกๆ Sword of the Sun ที่เต็มไปด้วยสนิมเกรอะกรัง แล้วจู่ๆหลังจาก Horus ก้าวออกมาจาก The Enchanted Forest ถึงมีสภาพใหม่เอี่ยมอ่อง ใครกันเป็นคนหล่อหลอม? เอาไปทำอะไรยังไงตอนไหน?

คำตอบอยู่ที่ภาพช็อตนี้ระหว่าง Horus พบเจอหนทางออกจาก The Enchanted Forest พบเห็นภาพซ้อนขณะหลอม/ตีดาบ ซึ่งนี่ไม่ใช่ความหมายเชิงรูปธรรม แต่เป็นการ ‘หลอมจิตวิญญาณ’ สอดคล้องเหตุผลที่เด็กชายเอาตัวรอดออกจาก Enchanted Forest เพราะสามารถค้นพบอุดมการณ์มุ่งมั่น ความต้องการแท้จริง (เข้าใจว่า Hilda ถูกชักใยโดย Grunwald) นั่นคือการปกป้องหมู่บ้าน กำจัดภัยพาล เผชิญหน้า Grunwald เติมเต็มคำสั่งเสียสุดท้ายของบิดา

ชัยชนะของ Moug the Rock Giant ต่อแมมมอธน้ำแข็ง คือผลักตกจากหน้าผา แต่ความสูงแค่นั้นดูมันไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไหร่ เอาว่าแฝงนัยยะถึงความทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง สักวันหนึ่งเมื่อถูกผลักลงมาจากเบื้องบน จนแหลกละเอียด ไม่เหลือเศษซากชิ้นดี

ขณะที่ชัยชนะต่อ Grunwald เกิดจากการรวมแรงรวมใจของชาวบ้าน สาดส่องแสงเข้ามาในถ้ำ ทำให้จากเคยปกคลุมด้วยความมืดมิด พลันเกิดความส่องสว่างไปทั่วทุกสารทิศ (ภาพมุมนี้ก้มลงมา ทำให้เห็นเบื้องล่างราวกับโลกกลมๆ) และเด็กชาย Horus โยนดาบ Sword of the Sun ทำให้สถานที่แห่งนี้จมลงสู่ก้นเบื้อง ธรณีสูบ … สรุปก็คือธรรมะชนะอธรรม แสงอาทิตย์ทำให้ความมืดมิดจางหายไป

หลังจากเอาชนะ Grunwald (ทางกายภาพ) สำหรับ Hilda ราวกับว่า Horus ได้ทำการปัดเป่าความมืดที่อยู่ภายในจิตใจ เมื่อเธอฟื้นตื่นขึ้นมา จะมีช็อตเดินผ่านธารน้ำ พบเห็นภาพสะท้อนตัวตนแท้จริง (สื่อว่า False ได้ถูกทำลายลงไป) จากนั้นหยุดยืนข้างต้นไม้ เหม่อมองหมู่บ้านสร้างใหม่ ทุกสิ่งอย่างได้รับการให้อภัย จากนั้นจับมือร่วมออกเดินทางสู่อนาคต ทุ่งหญ้า ฟ้าคราม เทือกเขาสูงใหญ่

ตัดต่อโดย Yutaka Chikura,

อนิเมะดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Horus หลังสูญเสียบิดา ออกเดินทางมาเผชิญหน้า Grunwald จากนั้นพยายามปกป้องหมู่บ้านที่ให้การช่วยเหลือตนเอง แม้จะถูกกีดกัน ผลักไส เกิดความเข้าใจผิดๆ แต่ก็ยังหวนกลับมาหลังค้นพบความมุ่งมั่นที่ไม่สั่นคลอน และสามารถหลอมดาบ Sword of the Sun ได้สำเร็จเสียที

  • อารัมบท
    • Horus ถูกไล่ล่าโดยฝูงหมาป่า
    • ได้รับความช่วยเหลือจาก Moug the Rock Giant เลยทำการดึงดาบออกจากบ่า
  • เริ่มต้นการผจญภัยของ Horus
    • Opening Credit, Horus เดินทางกลับบ้าน
    • บิดาในสภาพใกล้ตาย เล่าเหตุการณ์เกิดนขึ้นในอดีต และสั่งเสียครั้งสุดท้าย
    • Horus ออกเดินทางเพื่อทำภารกิจสั่งเสียของบิดา
    • ระหว่างปีนป่าย พลัดตกลงมา เผชิญหน้าศัตรูคู่อาฆาต Grunwald
  • วีรบุรุษ Horus
    • Horus ล่องลอยคอไปตามแม่น้ำมาถึงยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
    • หลังจากได้ยินข่าวปลายักษ์เข่นฆ่าคนในหมู่บ้าน Horus ต้องการตอบแทนบุญคุณ
    • ออกเดินทางไปต่อสู้ เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย จนสามารถเข่นฆ่าเจ้าปลายักษ์
    • แม้ไม่มีใครอยากเชื่อว่า Horus ทำสำเร็จ แต่ในที่สุดฝูงปลาก็หวนกลับคืนมาในลำธาร
    • ค่ำคืนนี้จึงมีงานเลี้ยงฉลอง แต่ไม่ทันไรก็ถูกรุกรานโดยฝูงหมาป่า
  • แรกพบเจอ Hilda
    • Horus ไล่ล่าติดตามฝูงหมาป่ามาจนถึงหมู่บ้านร้างแห่งหนึ่ง
    • แรกพบเจอ Hilda ลุ่มหลงใหลในน้ำเสียงร้องเพลง จึงชักชวนเข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน
    • น้ำเสียงร้องของ Hilda ทำให้ชาวบ้านชาวช่องไม่เป็นอันทำงาน
    • หนึ่งในสมาชิกหมู่บ้าน Drago เลยครุ่นคิดวางแผนใช้ประโยชน์จาก Hilda เพื่อใส่ร้ายป้ายสี Horus
    • ระหว่างงานแต่งงานของคู่รักหนุ่มสาว หมู่บ้านแห่งนี้ถูกฝูงหนูบุกเข้าโจมตี
  • Hilda คือใคร?
    • ยามเช้าระหว่าง Hilda กำลังสนุกสนานกับเด็กๆ ได้รับการส่งสาสน์จากลูกสมุนของ Grunwald
    • Horus ถูกใส่ร้ายป้ายสี โดยที่ Hilda เป็นประจักษ์พยาน เลยถูกขับไล่ ผลักไส
    • Horus เผชิญหน้ากับ Hilda ก่อนถูกเธอผลักตกลงมายัง Enchanted forest
  • การต่อสู้ของ Horus
    • Horus เผชิญหน้ากับฝันร้ายใน Enchanted forest
    • ขณะเดียวกัน Grunwald ส่งกองกำลังบุกเข้าจู่โจม ทำลายล้างหมู่บ้าน
    • Horus หลังสามารถออกจาก Enchanted forest ทำการหลอมดาบสำเร็จ
    • การเผชิญหน้าระหว่าง Moug the Rock Giant vs. แมมมอธน้ำแข็ง
    • การเผชิญหน้าระหว่าง Horus vs. Grunwald
    • จบลงด้วยการให้อภัยของ Horus และ Hilda

ลีลาการตัดต่อ สลับสับเปลี่ยนมุมกล้อง ร้อยเรียงเรื่องราว ต้องชมว่าทำออกมาได้อย่างแพรวพราว น่าตื่นตาตื่นใจ เต็มไปด้วยลูกเล่น แนวคิดแปลกใหม่ แต่น่าเสียดายที่บางซีเควนซ์ชัดเจนว่ายังสร้างไม่เสร็จ และผมยังรู้สึกว่าการดำเนินเรื่องเร่งรีบ รวดเร็วเกินไป มันควรความยาวอย่างน้อยสองชั่วโมง ไม่ใช่แค่ 82 นาที นี่ไม่ใช่ความผิดของผกก. Takahata แต่ต้องโทษสตูดิโอ Toei Animation มองไม่เห็นวิสัยทัศน์ของอัจฉริยะ

เมื่อถูกบีบบังคับให้ลดระยะเวลาจากสองชั่วโมงเหลือแค่ 82 นาที แทนที่ผกก. Takahata จะเลือกตัดบางซีเควนซ์ออกไป กลับใช้วิธีการคล้ายๆ Jean-Luc Godard ระหว่างสรรค์สร้าง Breathless (1960) แต่ไม่ใช่แบบ ‘jump cut’ กระโดดไปกระโดดมา พยายามแทะเล็มรายละเอียดในแต่ละช็อตให้มีความกระชับ รวบรัด รายละเอียดยังครบถ้วนสมบูรณ์ แค่เพียงเรื่องราวดำเนินไปอย่างรวดเร็ว (ราวกับรับชมด้วยสปีด x1.5)


เพลงประกอบโดย Michio Mamiya, 間宮芳生 (เกิดปี 1929) คีตกวีสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Asahikawa, Hokkaido ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในดนตรีพื้นบ้าน (Japanese Folk Music) ฝึกฝนการแต่งเพลง-เล่นเปียโนด้วยตนเอง (Self-Taught) จนกระทั่งได้เข้าศึกษา Tokyo College of Music (ปัจจุบันคือ Tokyo University of the Arts) สรรค์สร้างผลงานออร์เคสตรา, Sonata, Concerto, Opera, Choral Music, เพลงประกอบอนิเมชั่น Horus: Prince of the Sun (1968), Gauche the Cellist (1982), Grave of the Fireflies (1988) ฯ

แม้สถานที่พื้นหลังจะคือดินแดนแถบ Scandinavia แต่ผมกลับไม่ได้กลิ่นอายชนพื้นเมือง(ไวกิ้ง)สักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ใช้เครื่องดนตรีตะวันตก บรรเลงออร์เคสตรา ท่วงทำนองคลาสสิก และเนื้อคำร้องภาษาญี่ปุ่น ฟังดูมีความสากล ไม่จำเพาะเจาะจงชาติพันธุ์

มันอาจเพราะการดำเนินเรื่องที่มีความรวดเร็ว เร่งรีบร้อนเกินไป ทำให้ผมไม่สามารถดื่มด่ำไปกับบทเพลงสักเท่าไหร่ แนวทางของ Mamiya เน้นปลุกกระตุ้นอารมณ์ ให้ผู้ชมบังเกิดความรู้สึกต่อเหตุการณ์บังเกิดขึ้นโดยทันที (ลักษณะเหมือน Expressionism)

อย่างบทเพลงแรก ホルスと岩男モーグ อ่านว่า Horusu to Iwao mōgu แปลว่า Horus and Moug the Rock Giant เริ่มต้นด้วยท่วงทำนองที่สร้างความตื่นตระหนักตกใจ เด็กชาย Horus กำลังต่อสู้เป็น-ตายกับฝูงหมาป่า แต่พอถึงกลางบทเพลงทุกสิ่งอย่างกลับพลิกกลับตารปัตร การฟื้นตื่นขึ้นของหินยักษ์ ขับไล่ฝูงหมาป่า เผชิญหน้าเด็กชาย กลายเป็นความน่าพิศวง ฉงนสงสัย ปีนป่ายขึ้นไปเบื้องบน ดึงดาบออกจากก้อนหิน … การแปรสภาพของบทเพลงในลักษณะขั้วตรงข้ามเช่นนี้ สามารถสะท้อนทุกสิ่งอย่างในอนิเมะที่สำรวจสองฟากฝั่ง ดี-ชั่ว รวมถึงบริเวณเลือนลางระหว่างกลาง

Opening Song จะถือว่าเป็น Main Theme ก็ได้กระมัง! คำร้องโดย Kazuo Fukazawa, ขับร้องโดย Chofu Boys and Girls Chorus, ท่วงทำนองมีความสนุกสนาน ร้อยเรียงภาพการผจญภัย ออกเดินทางด้วยความมุ่งมั่น ต้องการเติมเต็มความใฝ่ฝัน ด้วยการไปให้ถึงเป้าหมายปลายทาง

Go, go, Horus
Towards luminous days
By your side, we run until opening the ground

Go, go, Horus
Hold up the sword of hope
By your side, we run until splitting the wind

Call the sun
Call the sun

Go, go, Horus
For we are by your side

Go, go, Horus
Firmly, raise your arms
By your side, let us break the waves

Call the sun

Go, go, Horus
We are by your side

หลายคนอาจมองว่าท่วงทำนองเพลงเก็บเกี่ยว (Song of the Harvest) และงานแต่งงาน (Song of the Wedding) น่าจะมีกลิ่นอายของ Scandinavia แต่ไม่เลยนะครับ! ผมรู้สึกว่าออกไปทางยุโรปตะวันออก ฟากฝั่งรัสเซียเสียมากกว่า แต่ทั้งหมดบรรเลงโดยเครื่องดนตรีคลาสสิก มันจึงคือการผสมผสานให้ได้กลิ่นอายพื้นบ้าน ร้องรำทำเพลงด้วยความสนุกสนานครื้นเครง

สามบทเพลงขับร้องโดย Hilda ล้วนมีความไพเราะเพราะพริ้ง Hilda’s Song, Hilda’s Lullaby และ Hilda’s Song of Sorrow ทั้งหมดแต่งคำร้องโดย Kazuo Fukazawa, ขับร้องโดย Mutsumi Masuda และบรรเลง Lute โดย Mitsuhiko Hamada

สำหรับ ヒルダの唄 อ่านว่า Hiruda no uta แปลว่า Hilda’s Song ขับร้องขณะแรกพบเจอ Horus เต็มไปด้วยความเหงาหงอย เศร้าซึม โดดเดี่ยวอ้างว้าง โหยหาใครสักคนเคียงข้าง ในอนิเมะมีการตัดแบ่งออกเป็นท่อนๆ (แบบเดียวกับ Jean-Luc Godard ภาพยนตร์ A Woman Is a Woman (1961)) เพื่อลดระยะเวลาการนำเสนอ ก็เลยอยากเอาบทเพลงเต็มๆแบบไม่มีตัดมาให้รับฟัง … แต่ก็น่าเสียดายที่ผมไม่สามารถค้นหาเนื้อร้องและคำแปล แค่ฟังเพลินๆก็แล้วกันนะครับ

อีกบทเพลงไพเราะไม่แพ้กัน ヒルダの子守唄 อ่านว่า Hiruda no komori-uta แปลว่า Hilda’s Lullaby, น้ำเสียงของ Mutsumi Masuda (น่าจะระดับเสียง Soprano) ช่างมีความตราตรึง ดึงดูดความสนใจ ใครต่อใครบังเกิดความลุ่มหลง ถึงขนาดหยุดการหยุดงาน รับฟังแล้วเคลิบเคลิบหลับใหล

เฉกเช่นเดียวกับ Hilda’s Song บทเพลงที่ได้ยินในอนิเมะมีการตัดต่อ ขาดๆหายๆ บางครั้งคั่นด้วยบทสนทนา ถ้าอยากฟังเต็มๆต้องซื้อเพลงประกอบอัลบัม หาเนื้อร้องคำแปลอีกเช่นกัน

ชื่อบทเพลงสุดท้าย 太陽の剣 อ่านว่า Taiyō no ken แปลว่า Sword of the Sun แต่ปัจฉิมบทกลับไม่มีอะไรเกี่ยวกับดาบเล่มนี้! นั่นแปลว่าภาพพบเห็นมันอาจแฝงนัยยะบางอย่างที่สะท้อนถึงเรื่องราวบังเกิดขึ้น

ปัจฉิมบทเริ่มต้นด้วย Hilda ฟื้นตื่นขึ้นบนท้องทุ่งกว้าง เต็มไปด้วยความโล้เล้ลังใจ ฉันเคยทำสิ่งเลวร้ายเอาไว้ ครุ่นคิดว่าใครต่อใครคงไม่ให้การยินยอมรับ แต่ระหว่างด้อมๆมองๆพบเห็นด้วย Horus เดินเข้าไปจูงมือ แสดงการให้อภัยทุกสิ่งอย่าง แล้วร่วมกันก้าวเดิน ออกวิ่งสู่เส้นชัย … นั่นแปลว่า Sword of the Sun อาจสื่อถึงจิตวิญญาณอันเจิดจรัสของ Horus ที่พร้อมชักนำพาให้ทุกคนก้าวสู่แสงสว่าง

การผจญภัยของ Horus ประกอบด้วยสองเป้าหมายที่มีการเกริ่นนำ อารัมบทไว้ตั้งแต่แรกเริ่มต้น

  • หลอมดาบ Sword of the Sun แล้วจักกลายเป็น Prince of the Sun
    • นี่ถือเป็นความเพ้อฝันของ Horus หลังจากดึงดาบออกจาก Moug the Rock Giant ได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะหวนกลับมาพบเจอเมื่อเด็กชายสามารถหลอมดาบได้สำเร็จ
  • ทำตามคำสั่งเสียบิดา ล้างแค้นให้เผ่าพันธุ์ ชาติกำเนิด เผชิญหน้าศัตรูคู่อาฆาต Grunwald ที่ทำลายผืนแผ่นดินบ้านเกิด
    • นี่คือหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อเผ่าพันธุ์ ชาติกำเนิด ผืนแผ่นดินบ้านเกิด

สองเป้าหมายของ Horus สะท้อนปรัชญาชีวิตผกก. Takahata ที่มองว่าคนเราล้วนมีสองภาระรับผิดชอบ หนึ่งคือตัวตนเอง ค้นหาความฝัน อุดมการณ์ เป้าหมายชีวิต และสองทำประโยชน์สาธารณะ เพื่อผู้อื่น สังคม ตอบแทนบุญคุณของประเทศชาติ

หายนะเคยบังเกิดขึ้นกับหมู่บ้าน/บรรพบุรุษของ Horus เมื่อ 14-15 ปีก่อน ถ้าเทียบระยะเวลากับตอนเริ่มต้นโปรดักชั่น มันบังเอิญจงใจให้ตรงเผงกับช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Hiroshima และ Nagasagi รวมถึงประสบการณ์ชีวิตผกก. Takahata ยังคงจดจำเหตุการณ์บังเกิดขึ้น เอาตัวรอดพานผ่านช่วงเวลานั้นมาได้อย่างหวุดหวิด

หลายคนพยายามเปรียบเทียบ Grunwald = ฝ่ายสัมพันธมิตร/สหรัฐอเมริกาที่ทิ้งระเบิดปรมาณูลง Hiroshima และ Nagasagi, แต่ทว่า Grunwald คือชื่อเมืองในประเทศ Germany มันควรจะสื่อถึง Adolf Hitler ไม่ใช่หรือ? ฤาถ้ามองตัวละครในฐานะปีศาจน้ำแข็ง พยายามปลุกปั่น ยัดหนอนบ่อนไส้ (ไม่ต่างจากสงครามเย็น) ก็อาจเป็นสหภาพโซเวียตได้ด้วยเช่นกัน! … สรุปแล้วผมแนะนำให้มองในลักษณะเหมารวม สิ่งชั่วร้าย บุคคลนำพาหายนะให้บังเกิดขึ้น

ความคลุมเคลือของตัวละคร Hilda สะท้อนบรรยากาศสงครามเย็นได้ตรงเผง! ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าเธอมาดีหรือร้าย มุมหนึ่งคือหญิงสาวหน้าตาสวยสดใส น้ำเสียงร้องเพลงไพเราะเพราะพริ้ง เป็นที่รักของใครๆ แต่เพราะเธอเป็นน้องสาวของ Grunwald เลยถูกพี่ชายควบคุมครอบงำ บีบบังคับให้ทำสิ่งชั่วร้ายสารพัด ทำให้เกิดความขัดแย้งภายใน ไม่รู้จะครุ่นคิดตัดสินใจอะไรยังไง

นั่นเลยเป็นหน้าที่ของ Prince of the Sun พระเอกในอุดมคติ วีรบุรุษผู้ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อพวกพ้อง เชื่อมั่นในจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ แม้อีกฝ่ายเคยกระทำสิ่งชั่วร้าย ก็พร้อมให้อภัยทุกสิ่งอย่าง … นี่คือต้นแบบตัวการ์ตูนอย่าง Son Goku & Vegeta, Naruto & Sasuke ฯ

Sword of the Sun ในบริบทของอนิเมะคือดาบเก่าๆ สนิมเกรอะกรัง ไม่สามารถหลอมใหม่ด้วยวิธีการทั่วไป ต้องรอคอยจนกว่า Horus จะสามารถหล่อหลอมจิตใจตนเอง ค้นพบอุดมการณ์ เป้าหมายชีวิตแท้จริง มันถึงกลายสภาพเป็นดาบเล่มใหม่ สามารถตีรันฟันแทง ทำลายสิ่งชั่วร้าย Grunwald ให้ตกตายไป … นั่นแปลว่านัยยะแท้จริงของ Sword of the Sun ไม่ใช่แค่วัตถุอันทรงพลัง (บทเพลง Sword of the Sun ก็แอบบอกใบ้ความหมายเอาไว้แล้ว) ยังคือจิตวิญญาณอันเจิดจรัสของ Horus สามารถปัดเป่าความมืดมิด ทำให้โลกใบนี้สว่างสดใส รวมถึงใครที่เคยมีจิตใจอันมืดมิด ได้รับการชำระล้างจนขาวสะอาดเอี่ยมอ่อง

ผมครุ่นคิดไปเรื่อยๆก็เกิดพบว่า Grunwald ยังสามารถเทียบแทนถึงพวกผู้บริหาร Toei Animation ที่พยายามบีบบังคับ ควบคุมครอบงำโปรเจคภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้ จนต้องตัดทอนรายละเอียดโน่นนี่ สูญเสียอิสรภาพในการสรรค์สร้างผลงาน … นี่ไม่น่าจะใช่ความตั้งใจของผกก. Takahata แต่เป็นผลพลอยจากความล่าช้า วิสัยทัศน์ล้ำอนาคตไปสักหน่อย

แต่ถึงอย่างนั้น Horus = ผกก. Takahata ก็ยังสามารถอดรนทน ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม จนสามารถรังสรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้จนสำเร็จลุล่วง อาจไม่ตรงตามวิสัยทัศน์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่พอให้พบเห็นร่องรอย ความน่าจะเป็นไปได้ น่าเสียด๊าย น่าเสียดาย ตอนจบชีวิตจริงไม่ได้ลงเอยอย่าง Happy Ending


จากทุนสร้างตั้งต้น ¥70 ล้านเยน โปรดักชั่นควรเสร็จสิ้นในระยะเวลา 8-10 เดือน แต่พฤติกรรมโหยหาความสมบูรณ์แบบของผกก. Takahata ทำให้หยุดๆสร้างๆ ใช้เวลาเกือบสามปีถึงสามารถนำออกฉาย ทำให้งบประมาณพุ่งสูงถึง ¥129-130 ล้านเยน (ประมาณ $300,000 เหรียญสหรัฐ) กลายเป็นสถิติสูงสุดของวงการอนิเมชั่นขณะนั้น

เกร็ด: สถิติดังกล่าวถูกโค่นล้มลงโดย Space Battleship Yamato: The Movie (1977) ใช้ทุนสร้างประมาณ ¥200 ล้านเยน

ความขัดแย้งดังกล่าวยังทำให้ Toei Animation ไม่มีความกระตือรือล้นโปรโมทอนิเมะเรื่องนี้สักเท่าไหร่ แถมยังให้ฉายในโรงภาพยนตร์แค่เพียง 10 วัน แน่นอนว่าขาดทุนย่อยยับ! ถึงอย่างนั้นกลับได้กระแสคัลท์ (Cult Following) ติดตามมาแทบจะทันที โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา นักอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ ต่างยกย่องว่า “First Modern Anime”

แม้กาลเวลาจะทำให้ Horus: Prince of the Sun (1968) ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ติดอันดับภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยมตลอดกาลจากหลากหลายสำนัก แต่ก็ไม่ได้สร้างความกระตือรือล้นให้ Toei Animation เมื่อปี ค.ศ. 2013 มีการจัดจำหน่าย Blu-Ray เพียงแค่สแกนใหม่ ขยับขยายขนาด (Upscaled) จนถึงปัจจุบันไร้ข่าวคราวการบูรณะ อาจจะดีที่สุดได้เพียงเท่านี้แหละ

มันเป็นความโชคร้ายหลายๆอย่างของอนิเมะเรื่องนี้ (แม้แต่ตัวผมเองที่ดันรับชมหลังจาก The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963)) ทำให้ไม่สามารถเพลิดเพลิน เต็มอิ่มกับวิสัยทัศน์ของผกก. Takahata แต่ก็ยังต้องถือว่าได้สร้างอิทธิพลอย่างล้นหลาม ทั้งการออกแบบตัวละคร ความซับซ้อนเรื่องราว เลือนลางระหว่างดี-ชั่ว มิตรภาพผองเพื่อน รวมถึงสารพัดลูกเล่นอนิเมชั่น … พวกอนิเมะแนวมิตรภาพ ต่อสู้กับด้านมืด ล้วนมีจุดเริ่มต้นจาก Horus: Prince of the Sun (1968) ด้วยกันทั้งนั้น

ผมมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า ถ้าผกก. Takahata ไม่ถูกกดดัน ควบคุมครอบงำ ได้รับอิสรภาพในการสรรค์สร้าง ผลลัพท์ออกมาน่าจะยอดเยี่ยมยิ่งๆกว่านี้ และอาจเทียบเคียงกับ Grave of the Fireflies (1988) และ/หรือ The Tale of the Princess Kaguya (2013)

จัดเรต 13+ มีฉากความรุนแรง การทรยศหักหลัง พฤติกรรมเห็นแก่ตัวของเพื่อนมนุษย์

คำโปรย | Horus, Prince of the Sun คงจะเป็นอีกผลงานชิ้นเอกของ Isao Takahata ถ้าไม่ถูกสตูดิโอ Toei Animation บีบบังคับโน่นนี่นั่น แม้ยังคงความคัลท์คลาสสิก แต่หลายสิ่งอย่างน่าจะทำได้ดีกว่านี้
คุณภาพ | คัลท์คลาสสิก
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Wanpaku Ōji no Orochi Taiji (1963)


The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) Japanese : Yūgo Serikawa ♥♥♥♥

หลังทดลองผิดลองถูก สะสมประสบการณ์มาจนถึงภาพยนตร์อนิเมชั่นลำดับที่หกของ Toei Animation แต่ถือเป็นมาสเตอร์พีซเรื่องแรก สำแดงความเป็นญี่ปุ่น ดัดแปลงตำนานเทพปกรณัมเมื่อครั้น Izanami และ Izanagi ให้กำเนิดหมู่เกาะ Ōyashima (ประเทศญี่ปุ่น) และบุตรชาย Susanoo ต่อสู้อสูรกายแปดหัว Yamata no Orochi

ว่ากันอย่างไม่อ้อมค้อม The White Snake Enchantress (1958) คิอภาพยนตร์อนิเมชั่นที่น่าอับอายขายขี้หน้า เพียงความหาญกล้าแต่ไม่มีอะไรให้น่าจดจำ ไม่สมควรเป็นตัวแทนอะไรหลายๆอย่าง … อนิเมะขนาดยาวเรื่องแรกของค่าย Toei Animation, อนิเมะฟีล์มสีเรื่องแรกของญี่ปุ่น, อนิเมะส่งออกฉายต่างประเทศเรื่องแรกๆ ฯลฯ

The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) ต่างหากละ!เป็นผลงานสมควรค่าแก่การจดจำ ตั้งแต่ดัดแปลงเรื่องราวเทพปกรณัมสร้างเกาะญี่ปุ่น ตัวละคร สไตล์ลายเส้น ลูกเล่นอนิเมชั่น สร้างขึ้นด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจทำงาน (ชัยชนะหลังการประท้วงหยุดงานเมื่อปี 1961 ทำให้คุณภาพชีวิตของนักอนิเมเตอร์ดีขึ้นพอสมควร และยังเป็นช่วงฤดูกาล ‘Prague Spring’ ของสตูดิโอ Toei Animation) ร่วมแรงร่วมใจสรรค์สร้างอัตลักษณ์ ‘ความเป็นญี่ปุ่น’ เปิดประตูสู่จุดเริ่มต้นวงการอนิเมะ(ญี่ปุ่น)ที่แท้จริง

วันก่อนเขียนถึง Tale of a Street Corner (1962) อนิเมชั่นเรื่องแรกที่คว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award แล้วเหลือบไปเห็น The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) ภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาว (Feature Length) เรื่องแรกที่คว้ารางวัลนี้ในปีเดียวกัน! (เฉพาะปีแรกที่มอบรางวัลให้อนิเมชั่นสองเรื่อง) เลยเกิดความสนอกสนใจ เห็นว่าได้รับการบูรณะแล้วด้วยจึงลองขวนขวายหามารับชม

เกร็ด: กว่าจะมีภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาวถัดจาก The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) ที่สามารถคว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award ก็ต้องรอคอยนานนับทศวรรษ The Castle of Cagliostro (1979)

นอกจากนี้ในชาร์ท Laputa: Top 150 Japanese and World Animation (2003) อนิเมชั่นเรื่องนี้ยังติดอันดับ #10 การันตีถึงอิทธิพล ทรงคุณค่าต่อคนในวงการ อาจจะเรียกได้ว่าภาพยนตร์อนิเมชั่นมาสเตอร์พีซเรื่องแรกของประเทศญี่ปุ่น ก็ว่าได้กระมัง!


Yūgo Serikawa, 芹川 有吾 (1931-2000) ผู้กำกับอนิเมชั่น เกิดที่ Koishikawa, Tokyo บิดาเป็นเจ้าของโรงหนัง Tokyo Cinema Shoka จึงมีความชื่นชอบหลงใหลสื่อภาพยนตร์ตั้งแต่เด็ก เคยฝึกงาน เป็นผู้ช่วยผู้กำกับอยู่ยัง Shintoho กระทั่งมีโอกาสรับชม Bambi (1942) และ The White Snake Enchantress (1958) จึงสมัครงานสตูดิโอ Toei Animation กำกับอนิเมะเรื่องแรก The Little Warrior (1961), โด่งดังกับ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963), ผลงานอื่นๆ อาทิ Cyborg 009 (1966), Little Remi and Famous Dog Capi (1970), The Panda’s Great Adventure (1973) ฯ

わんぱく王子の大蛇退治 อ่านว่า Wanpaku Ōji no Orochi Taiji, แปลตรงตัว The Naughty Prince’s Orochi Slaying นำแรงบันดาลใจจากพงศาวดารญี่ปุ่น 日本書紀 (ค.ศ. 720) อ่านว่า Nihon Shoki หนังสือเก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคคลาสสิก โดยบทแรกจะมีการกล่าวถึงตำนานการสร้างของเกาะญี่ปุ่น อธิบายต้นกำเนิดของโลกและเทพเจ็ดรุ่นแรก

เมื่อคราที่เทพบิดร Inzanagi (イザナギ) และเทพมารดร Izanami (イザナミ) สร้างประเทศญี่ปุ่นด้วยการเอาง้าวจุ่มลงในทะเลโคลน กวนให้น้ำแยกออกจากกันจนกลายเป็น 7 เกาะใหญ่ (Ōyashima) ได้บังเกิดจอมอสูร Yamata no Orochi (山田 の オロチ) มีลักษณะเป็นงูยักษ์ ร่างกายใหญ่โตปานขุนเขา ศีรษะแปดหัว (Yamata แปลว่าแปดง่าม หรือมีหัวทั้งแปด) และสามารถพ่นไฟ ไม่ว่าปรากฎตัวยังหมู่บ้านแห่งหนไหนล้วนก่อให้เกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ จนกระทั่งถูกสังหารโดยจอมเทพ Susanoo (スサノオ) น้องชายเทพเจ้าดวงอาทิตย์ Amaterasu (アマテラス) และเทพเจ้าดวงจันทร์ Tsukuyomi (ツクヨミ) [หรือก็คือบุตรของ Izanagi และ Izanami]

เกร็ด: Working Title ของอนิเมะเรื่องนี้คือ 日本神話 虹のかけ橋 แปลว่า Japanese Mythology: Rainbow Bridge

บทอนิเมะดัดแปลงโดย Ichirō Ikeda และ Takashi Iijima แน่นอนว่าการจะนำเสนอตำนานเทพปกรณัมอย่างตรงไปตรงมาคงไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่ เพราะกลุ่มเป้าหมายคือเด็กและเยาวชน จึงจำต้องปรับเปลี่ยนเรื่องราวให้เข้าใจง่าย Susanoo กลายเป็นเด็กชาย ใช้ปมสูญเสียมารดาเป็นแรงผลักดันให้ออกผจญภัยค้นหาบทเรียนชีวิต (ที่สะท้อนถึงประเทศญี่ปุ่นในยุคหลังสงคราม), เพิ่มเติมเพื่อนร่วมเดินทาง กระต่ายน้อย Akahana, ยักษ์เผ่าไฟ Titanbō, และพยายามออกแบบตัวละครไม่ให้น่าเกลียดน่ากลัวเกินไป

เกร็ด: หนึ่งในผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ก็คือ Isao Takahata แต่ผมไม่แน่ใจว่า Hayao Miyazaki มีส่วนร่วมอะไรกับโปรเจคนี้ไหม ขณะนั้นน่าจะได้เข้าทำงาน Toei Animation แล้วละ!


เด็กชาย Susanoo (ให้เสียงโดย Morio Kazama) อาศัยอยู่บนเกาะ Onogoro ร่วมกับบิดา-มารดา Izanagi และ Izanami วันๆชอบเล่นต่อสู้กับสรรพสัตว์ มีพละกำลังแข็งแกร่งเหนือใคร อยู่มาวันหนึ่งมารดาจากไปโดยไม่บอกกล่าว เกิดความเศร้าโศกเสียใจ ร่ำร้องไห้จนน้ำเกือบท่วมโลก พอฟื้นคืนสติ จึงครุ่นคิดออกเดินทางติดตามหา สรวงสวรรค์/ยมโลก มารดาอยู่แห่งหนไหน

  • ล่องเรือข้ามมหาสมุทรร่วมกับกระต่ายน้อย Akahana ต่อสู้กับปลาปีศาจ Akuru (暴れる) ได้รับคำขอบคุณจากเทพเจ้าแห่งท้องทะเล Wadatsumi (わだつみ)
  • เยี่ยมเยียนพี่ชาย Tsukuyomi ยังดินแดนแห่งความมืด Yoru no wosu kuni (よる の をす 国)
  • ออกเดินทางต่อสู่ดินแดนแห่งไฟ Hinokoku (火の国 ) ต่อสู้กับเทพเจ้าไฟ Hinokami (火の神) แล้วร่วมออกเดินทางต่อกับยักษ์เผ่าไฟ Titanbō 
  • มาถึงยังที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara (高天原) พบเจอพี่สาว Amaterasu พยายามจะตั้งรกรากถิ่นฐาน แต่กลับถูกชาวเมืองขับไล่ ผลักไสส่ง
  • ท้ายที่สุดเดินทางมาถึง Izumo (出雲) พบเจอกับ Princess Kushinada (クシナダ) เทียมม้าสวรรค์ (Tianma, 天馬) Amenohayakoma ต่อสู้กับจอมอสูร Yamata no Orochi ใช้ดาบ Kusanagi (草薙) ฟันคอสุดท้ายเสียชีวิต

ซูซาโนโอะ (須佐之男命 อ่านว่า Susano-o no mikoto) เทพเจ้าแห่งพายุและท้องทะเลในศาสนาชินโต (神道, Shinto) ตามตำนานเล่าว่าถือกำเนิดจากจมูกของ Izanagi ได้รับการมอบหมายให้ปกครองท้องทะเล แต่ด้วยความที่เป็นเทพเจ้าที่หัวแข็ง ไม่ยินยอมอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ใดๆ ชื่นชอบออกเดินทางผจญภัย อีกทั้งยังใจร้อน หุนหันพลันแล่น จึงมักทำลายทุกสรรพสิ่งที่ไปย่างเหยียบ

ฉบับดัดแปลงภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ ปรับเปลี่ยนเทพเจ้า Susanoo ให้กลายเป็นเด็กชาย (ตามวิสัยการ์ตูน Shonen) นิสัยขี้เล่น ซุกซน ชอบใช้กำลัง ความรุนแรงแก้ปัญหา รักและเคารพมารดา หลังเธอจากไปโดยไม่ร่ำลา จึงร้องไห้เศร้าโศกเสียใจอย่างหนัก พอฟื้นคืนสติจึงครุ่นคิดออกเดินทางติดตามหา มารดาอยู่แห่งหนไหน? ผจญภัยไปยังสถานที่ต่างๆ เรียนรู้จักโลกกว้าง พิสูจน์ตนเอง และค้นพบเป้าหมายชีวิต

ว่ากันตามตรงปรัมปรา Susanoo ไม่ใช่เทพเจ้านิสัยดีสักเท่าไหร่ ดื้อรั้น เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ชอบใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา แต่พอภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ปรับเปลี่ยนให้เป็นเด็กชาย พยายามอธิบายสาเหตุผล สร้างความถูกต้องชอบธรรม ผลลัพท์ถือว่าน่าอึ่งทึ่ง กลายเป็นเรื่องราวแฝงสาระข้อคิดสำหรับเด็กๆ (และผู้ใหญ่) บทเรียนการใช้ชีวิต ออกเดินทางค้นหาตัวตนเอง และอัตลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น

พากย์เสียงโดย Morio Kazama, 風間杜夫 (เกิดปี 1949) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Setagaya, Tokyo บิดาทำงานแผนกการขายสตูดิโอ Shintoho ตั้งแต่เด็กจึงมีความชื่นชอบหลงใหลด้านการแสดง ตอนอายุ 8 ขวบเข้าร่วม Toei Children’s Theater Training Institute มีผลงานถ่ายโฆษณา การแสดง พากย์เสียงอนิเมชั่น แต่กว่าจะเริ่มมีชื่อเสียงจริงๆก็ตอนโต Shiki Natsuko (1980), Yūgure made (1980) ฯ

ถ้าเป็นอนิเมะสมัยใหม่ ตัวละครเด็กชายมักให้เสียงโดยนักพากย์หญิง เพื่อความนุ่มนวล ละอ่อนวัย (ยังไงก็แยกแยะไม่ค่อยออกอยู่แล้วว่าเสียงชายหรือหญิง) แต่อนิเมะยุคแรกๆมักจะเลือกนักพากย์ให้ตรงตามเพศสภาพ ซึ่งน้ำเสียงของ Kazama ในวัยสิบขวบกว่าๆ ฟังดูรีบร้อน แข็งกระด้าง เข้ากับอุปนิสัยดื้อรั้น เอาแต่ใจของเด็กชาย Susanoo ได้เป็นอย่างดี!

ภาพวาดส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับเทพเจ้าญี่ปุ่น ศาสนาชินโต มักมีลักษณะสร้างความหวาดกลัว ดูหลอกหลอน สยดสยอง ขนหัวลุกพอง เพื่อสร้างความตระหนักถึงนรก-สวรรค์ สอนให้คนทำความดีละเว้นความชั่ว บลา บลา บลา ซึ่งภาพเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งเหมาะสมจะมาทำเป็นอนิเมะสำหรับเด็กและเยาวชน ด้วยเหตุนี้งานศิลป์ ภาพพื้นหลัง และตัวละคร จึงพยายามออกแบบให้ดูเรียบง่าย เกลี้ยงเกลา ไม่เก็บรายละเอียดมากนัก มีลักษณะ Modernism บางตัวละครก็ออกไปทาง Abstracted Character (ไม่เน้นความสมจริง แต่มองผ่านๆรับรู้ได้ว่าคืออะไร) ซึ่งยังสามารถลดงานทำอนิเมชั่นได้พอสมควรเลยละ! … ออกแบบตัวละครโดย Yōichi Kotabe

ผมเห็นหน้าตาของเจ้าเสือ Tarô แวบแรกนึกถึงภาพวาด Le Rêve (แปลว่า The Dream) ของ Henri Rousseau แต่พอครุ่นคิดไปมา Tiger ของ Pablo Picasso ก็มีความละม้ายคล้ายคลึงอยู่เล็กๆ แต่สไตล์การออกแบบของอนิเมะเรื่องนี้เค้าเรียกกันว่า Modernism ไม่ได้พยายามจะวาดออกมาให้ดูเหมือนเปะๆ เพียงรูปร่าง เค้าโครง เอกลักษณ์บางอย่าง มองผ่านๆก็ยังสามารถทำความเข้าใจได้ว่ามันคือเสือ

เจ้าเสือว่าแปลกประหลาดแล้วนะ ยังมีม้ากระป๋องม้าสวรรค์ (Tianma, 天馬) ชื่อว่า Amenohayakoma หน้าตาเหมือนม้าโยก/เครื่องเล่นม้าหมุน มีเพียงรายละเอียดที่แลดูเหมือนม้า ทำออกมาในลักษณะ Minimal ที่สุดแล้ว

สองการต่อสู้ พิสูจน์ตนเองของ Susanoo ก่อนพบเจอพี่ชายและพี่สาว มีความแตกต่างตรงกันข้ามอย่างชัดเจน

  • ปลาปีศาจ Akuru อสูรกายอาศัยอยู่ใต้ท้องทะเล ดำผุดดำว่าย ชิงไหวชิงพริบ สามารถใช้เพียงพละกำลังร่างกายต่อสู้เอาชนะ
  • เทพเจ้าแห่งไฟ Hinokami อาศัยอยู่ในป่องภูเขาไฟ สามารถโบยบิน แยกร่าง พลังกายภาพไม่สามารถทำอะไร จำต้องหยิบยืมพลังน้ำแข็งของพี่ชาย ถึงสามารถหยุดยับยั้ง แช่แข็งอีกฝั่งฝ่าย
    • นอกจากบทเรียน พละกำลังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกสิ่งอย่าง! ยังสอนให้รู้จักครุ่นคิด นำเอาสิ่งตรงกันข้าม แพ้ทาง จุดอ่อนของอีกฝ่ายมาใช้จัดการปัญหา

สำหรับพี่ชาย Tsukuyomi และพี่สาว Amaterasu ของ Susanoo จะมีการออกแบบตัวละคร (รวมถึงสถานที่) ที่ก็มีความแตกต่างตรงกันข้าม

  • ดินแดนแห่งความมืด Yoru no wosu kuni อาศัยอยู่ใต้ท้องทะเลลึก ต้องดำผุดดำว่าย ได้รับการชี้นำทางจากเทพเจ้าแห่งท้องทะเล Wadatsumi, ที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara อยู่บนท้องฟากฟ้า ได้รับการชี้ทางจากเทพเจ้าแห่งไฟ Hinokami มอบนกยักษ์สำหรับโบยบินขึ้นไป
  • Tsukuyomi จะมีรูปร่าง ใบหน้าตา เต็มไปด้วยเหลี่ยมมุม เรียวแหลมคม, ตรงกันข้ามกับทรงกลม โค้งมนของ Amaterasu
  • เฉดสีสันของ Tsukuyomi ใช้โทนน้ำเงิน-ฟ้า รู้สึกหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก, Amaterasu เต็มไปด้วยแสงสี เหลือง-ส้ม สัมผัสอบอุ่น ลุ่มร้อน

ยุคสมัยก่อนหน้านี้ผู้กำกับภาพยนตร์อนิเมชั่น จะมีหน้าที่กำหนดทิศทาง พูดคุยประสานงานแผนกต่างๆ เขียนบท (Script Writing), ออกแบบตัวละคร (Charactor Design), งานศิลป์ (Art Direction), ภาพพื้นหลัง (Backgroud Art), ลงสีสัน (Color Design), กำกับอนิเมชั่น (Animation Director), และยังรวมถึงงาน Post-Production ตัดต่อ พากย์เสียง เพลงประกอบ ฯ

แต่ด้วยความที่ Yūgo Serikawa ไม่ใช่ผู้กำกับมาจากสายอนิเมเตอร์ จึงไม่มีความรู้ เชี่ยวชาญในการทำอนิเมชั่น ด้วยเหตุนี้จึงบังเกิดตำแหน่งงานใหม่ Animator Supervising โดย Sanae Yamamoto เป็นผู้คอยแบ่งงาน ตรวจสอบความถูกต้อง ควบคุมดูแลในส่วนงานสร้างอนิเมชั่นทั้งหมด (งานอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการทำอนิเมชั่น เขียนบท ตัดต่อ พากย์เสียง เพลงประกอบ ก็ตกเป็นหน้าที่ของผู้กำกับแทน) … นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นระบบ “Animator Director” อันเป็นรากฐานวงการอนิเมชั่นญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน

เห็นว่าระบบ Animator Director ครุ่นคิดจะเริ่มต้นมาตั้งแต่ Alakazam the Great (1960) ตั้งใจมอบหมายให้ Osamu Tezuka เป็นผู้กำกับดัดแปลงมังงะของตนเอง แต่ได้รับการบอกปัดเพราะไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน, การประท้วงหยุดงานเมื่อปี ค.ศ. 1961 (ที่มี Hayao Miyazaki คือหนึ่งในแกนนำ) สตูดิโอ Toei Animation ยินยอมเพิ่มค่าจ้างนักอนิเมอร์ระดับล่างกว่าเท่าตัว นั่นกลายเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ทุกคนตั้งใจทำงาน หัวหน้าพร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นลูกน้อง แทบจะเรียกได้ว่ายุคสมัย ‘Prague Spring’

เกร็ด: Prague Spring (1968) คือช่วงเวลาเจ็ดเดือนสั้นๆที่ชาว Czechoslovakia ได้รับอิสรภาพจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ไม่ถูกกีดกัน ควบคุมครอบงำ ทำให้บรรดาศิลปิน/ผู้กำกับภาพยนตร์ สรรค์สร้างผลงานศิลปะที่สำแดงอิสรภาพทางความคิดสร้างสรรค์! ฉันท์ใดฉันท์นั้น ต้นทศวรรษ 60s ของสตูดิโอ Toei Animation เป็นช่วงเวลาที่คนทำงานสายอนิเมชั่น ได้รับสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม ไม่มีหัวหน้า-ลูกน้อง หรือยึดหลักอาวุโส-เด็กใหม่ ทุกคนสามารถพูดคุย โต้ถกเถียง แสดงความคิดเห็น ระบบดังกล่าวจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำวิสัยทัศน์ของบุคคลภายนอกเข้าสู่วงการอนิเมะ … คนที่ไม่มีประสบการณ์ด้านอนิเมชั่น ก็สามารถทำงานเป็นผู้กำกับอนิเมะ


ถ่ายภาพโดย Mitsuaki Ishikawa (Panda and the Magic Serpent, Magic Boy, Alakazam the Great) และ Hideaki Sugawara

ด้วยกระแสนิยม CinemaScope กำลังได้รับความล้นหลามใน Hollywood ลุกลามมาถึง Lady and the Tramp (1955) ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกที่ถ่ายทำด้วย Anamorphic Widescreen (2.39:1) นั่นทำให้ Toei Animation ตัดสินใจดำเนินรอยตามกับ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) ใช้ระบบชื่อว่า ToeiScope (มันก็คือ CinemaScope อัตราส่วนภาพ Anamorphic แค่เพียงฟีล์มสร้างขึ้นในประเทศญี่ปุ่น)

การเลือกใช้ Anamorphic Widescreen แม้อาจเพิ่มภาระงานให้นักอนิเมเตอร์ แต่ประสบการณ์รับชมภาพยนตร์อนิเมชั่น ก็ยิ่งใหญ่อลังการเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอสูรกายแปดหัว Yamata no Orochi มันช่างเต็มตาเต็มใจ ยิ่งใหญ่อลังการ ผู้ชมสมัยนั้นคงจะอ้าปากค้าง เด็กๆคงขนหัวลุกพอง สร้างบรรยากาศ(พร้อมเพลงประกอบ)ได้หวาดสะพรึงกลัวยิ่งนัก!

มุมมองผู้ชมสมัยใหม่หลายคนคงทำหน้านิ่วคิ้วขมวด ดูจากภาพไม่เห็นมันจะน่าหวาดสะพรึงกลัวตรงไหน? หน้าตาทรงสี่เหลี่ยมของ Yamato no Orochi ดูตลกขบขันเสียมากกว่า! ผมอยากแนะนำให้ลองหาอนิเมะมารับชมดูก่อนนะครับ คือตลอดทั้งเรื่องมันจะมีภาพออกแบบตัวละครหน้าตาแปลกๆประหลาดให้เราปรับตัว ปรับทัศนคติ มักคุ้นชินกับสไตล์ลายเส้น พอมาถึงอสูรกายแปดหัวตัวนี้ก็จะไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจสักเท่าไหร่ นอกจากนี้ยังมีงานศิลป์ที่พยายามทำออกมาให้ทะมึน อึมครึม ท้องฟ้ามืดมิด ลำดับเรื่องราวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเพลงประกอบของ Akira Ifukube สร้างบรรยากาศขนลุกขนพองชิบหาย … อย่าตัดสินคนที่ใบหน้า ตัวละครแค่ภาพวาด ต้องลองรับชม แล้วจะพบเห็นความโคตรๆมหัศจรรย์ของไคลน์แม็กซ์นี้

เครดิตงานศิลป์ (Art Direction) โดย Reiji Koyama, วาดภาพพื้นหลัง (Background Art) ประกอบด้วย Eiko Sugimoto, Hideo Chiba, Isamu Kageyama, Norio Fukumoto, และออกแบบสีสัน (Color Design) โดย Saburo Yokoi

บนเกาะ Onogoro บ้านเกิดของ Susanoo ภาพพื้นหลังที่มีความสวยสดงดงาม มองผ่านๆเหมือนภาพวาด Post-Impressionist เน้นความเรียบง่าย ไม่ได้พยายามทำออกมาให้ดูสมจริง เพียงมองผ่านๆหางตา ก็สามารถบังเกิดความประทับใจ รับรู้ว่าคือภาพวาดดังกล่าวคิออะไร

เกร็ด: อนิเมะเรื่องนี้ใช้ทีมงาน 180 คน วาดภาพทั้งหมด 250,000+ เฟรม ปริมาณสีประมาณ 1 ตัน!

ใครเคยรับชมอนิเมชั่น The Snow Queen (1957) น่าจะมักคุ้นเคยกับการออกแบบพระราชวังคริสตัล ณ ดินแดนแห่งความมืด Yoru no wosu kuni มีความแวววาว ระยิบระยับ เต็มไปด้วยเหลี่ยมแหลมคม เฉกเช่นเดียวกับผู้คนในเมืองแห่งนี้ ทหารหาญไม่เป็นมิตรกับ Susanoo ตั้งแต่แรกพบเจอ ทำให้เกิดการปะทะ ต่อสู้ ก่อให้เกิดความเสียหายขยายวงกว้างไปทั่ว

ดินแดนแห่งไฟ Hinokoku แน่นอนว่าต้องใช้โทนสีเหลือง-ส้ม-แดง (สีของไฟ) มีความเหือดแห้งแล้ง ทะเลทราย ต้นไม้เหี้ยมเกรียม ที่พักอาศัยเหมือนจะรับอิทธิพลจาก Primitive Art และตัวละครยักษ์เผ่าไฟ Titanbō ขนาดใหญ่โต ผิวสีดำ ดูไม่ต่างจากชนพื้นเมืองแอฟริกัน

และหลังจาก Susanoo เอาชนะเทพเจ้าไฟ Hinokami เฉดสีสันของดินแดนแห่งนี้ก็กลับตารปัตรขั้วตรงข้าม น้ำเงิน-ฟ้า-คราม ดูสดสว่าง สบายตา แต่ต้นไม้ก็ยังคงเหี้ยมเกรียม ต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะสามารถบูรณะฟื้นฟู

บางคนอาจมีความสงสัยว่าทำไมที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara ถึงแลดูเหมือนภาพวาด Chinese Landscape Painting แต่จริงๆแล้วมันมีคำเรียก 山水画 อ่านว่า Shanshui (China) หรือ Sansuiga (Japan) ซึ่งเหมารวมผลงานภาพวาดทิวทัศน์ของ Chinese, Korean และ Japanese (Far East) ล้วนมีลวดลายเส้นที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน

  • ภาพแรกชื่อว่า Eight Views of Xiaoxiang (ประมาณศตวรรษที่ 12) ผลงานของ Li Shi จิตรกรภูมิทัศน์ชาวจีน
  • อีกภาพชื่อว่า Mountain Landscape (ประมาณกลางศตวรรษที่ 15) ผลงานของ Tenshō Shūbun พระสงฆ์นิกาย Zen/จิตรกรชาวญี่ปุ่น

ผมแอบคาดไม่ถึงกับการใช้ภาพ Abstract Art (แรงบันดาลใจจาก Fantasia (1940)) ระหว่างซีเควนซ์เต้นระบำ Dance of AMENOUZUME เพื่อนำเสนออิทธิพล ความสำคัญของแสงสว่าง บรรดาชาวเมืองที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara ต่างพยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้เทพเจ้า Amaterasu กลับออกมาสู่โลกมนุษย์อีกครั้ง

Izumo สถานที่ต่อสู้ระหว่าง Susanoo และ Yamata no Orochi ยามค่ำคืนช่างดูราวกับขุมนรก ต้นไม้มีเพียงกิ่งก้าน หนามแหลม ทะเลสาปกว้างใหญ่ รายล้อมรอบด้วยทิวเขาสูงชัญ (ในลักษณะของ Shanshui) ยิ่งดึกจะยิ่งมืดมิด ปรับเฉดสีจนทะมึนดำ การต่อสู้ระหว่างทั้งสอง ทำให้ทุกสิ่งอย่างพังทลาย ราบเรียบเป็นหน้ากลอง

ตัดต่อโดย Ikuzō Inaba (The Littlest Warrior, Arabian Nights: The Adventures of Sinbad)

หลังอารัมบทเกริ่นนำ Izanagi และ Izanami ให้กำเนิดหมู่เกาะญี่ปุ่น! อนิเมะดำเนินเรื่องผ่านมุมมองบุตรชาย Susanoo หลังการสูญเสียมารดา (Izanami) ตัดสินใจออกเดินทางร่วมกับกระต่ายน้อย Akahana ไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อติดตามค้นหา มารดาอยู่แห่งหนไหน?

การผจญภัยของ Susanoo ผมขอแบ่งออกเป็นตอนๆ (Episodic) ตามสถานที่ต่างๆเดินทางไปถึง

  • อารัมบท เกริ่นนำ Izanagi และ Izanami ให้กำเนิดหมู่เกาะญี่ปุ่น
  • แนะนำเด็กชาย Susanoo
    • เด็กชาย Susanoo นิสัยซุกซน ชื่นชอบการต่อสู้ เอาชนะสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    • การสูญเสียมารดาทำให้ Susanoo เศร้าโศกเสียใจ
    • ก่อนตัดสินใจเริ่มต้นออกเดินทาง ติดตามค้นหา มารดาอยู่แห่งหนไหน?
  • ล่องเรือข้ามมหาสมุทร
    • ต่อสู้กับปลาปีศาจ Akuru
    • ได้รับคำขอบคุณจากเทพเจ้าแห่งท้องทะเล Wadatsumi ชี้นำทางสู่ดินแดนแห่งความมืด
  • ดินแดนแห่งความมืด/ปราสาทน้ำแข็ง
    • เดินทางมาถึงดินแดนแห่งความมืด Yoru no wosu kuni แต่ถูกทหารหาญเข้าใจผิดจึงเกิดการปะทะต่อสู้
    • พบเจอกับพี่ชาย Tsukuyomi
  • ดินแดนแห่งไฟ Hinokoku
    • ออกเดินทางมาถึงดินแดนแห่งไฟ
    • ต่อสู้กับเทพเจ้าไฟ Hinokami
    • หลังได้รับชัยชนะ ร่วมออกเดินทางกับยักษ์เผ่าไฟ Titanbō 
  • ที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara
    • โบยบินมาถึงที่ราบบนท้องฟ้าสูง พบเจอพี่สาว Amaterasu
    • ระหว่างพยายามตั้งรกรากถิ่นฐาน Susanoo กลับก่อเรื่องวุ่นๆวายๆ
    • จนพี่สาว Amaterasu รู้สึกอับอายจึงหลบซ่อนตัวในถ้ำ ทำให้ชาวเมืองทำพิธีล่อหลอกให้เธอกลับออกมา
    • สุดท้ายพี่สาวก็ร้องขอให้ Susanoo ออกเดินทางไปจากดินแดนแห่งนี้
  • เดินทางมาถึง Izumo
    • พบเห็นแม่น้ำกลายเป็นลำธารเลือด รับรู้เหตุการณ์บังเกิดขึ้นจาก Princess Kushinada
    • Susanoo ทำการเทียมม้าสวรรค์ Amenohayakoma
    • จากนั้นตระเตรียมแผนการมอมเหล้า
    • ต่อสู้กับจอมอสูร Yamata no Orochi
    • หลังจากได้รับชัยชนะ Susanoo ก็ตัดสินใจลงหลักปักฐานอยู่ยังดินแดนแห่งนี้

ไฮไลท์ตัดต่อต้องยกให้การต่อสู้ระหว่าง Susanoo และ Yamata no Orochi ต้องเริ่มตั้งแต่เริ่มต้นเตรียมความพร้อม สร้างบรรยากาศขนลุกขนพอง จนกระทั่งการต่อสู้บนอากาศ บินโฉบไปโฉบมา มีการสลับสับเปลี่ยนมุมกล้อง ผมอ่านเจอว่ากว่า 300+ ช็อต 10,000+ ภาพเคลื่อนไหว ถือเป็นหนึ่งในซีเควนซ์มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับคำชื่นชมสรรเสริญ สร้างมาตรฐานฉากการต่อสู้ไว้สูงลิบลิ่วทีเดียว


เพลงประกอบโดย Akira Ifukube, 伊福部 昭 (1914-2006) คีตกวีสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kushiro, Hokkaido วัยเด็กมีความหลงใหลบทเพลงพื้นบ้าน Ainu Music บังเกิดความตั้งใจอยากเป็นนักแต่งเพลงหลังได้ยินบทเพลง Stravinsky: The Rite of Spring (1913) แต่โตขึ้นเข้าเรียนต่อวนศาสตร์ Hokkaido Imperial University ใช้เวลาว่างศึกษาดนตรีด้วยตนเอง (Self-Taught) จนสามารถแต่ง Piano Suite, โด่งดังจากบทเพลง Japanese Rhapsode (1935) คว้ารางวัล(อย่างเป็นเอกฉันท์)การแข่งขันระดับนานาชาติ ถึงขนาดผู้จัดงาน Alexander Tcherepnin เดินทางมาญี่ปุ่นเพื่อมอบรางวัล และยังให้คำแนะนำ Masterclass เป็นการส่วนตัว! หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กลายเป็นครูดนตรี Tokyo Music School (ปัจจุบันคือ Tokyo University of the Arts) แล้วมีโอกาสทำเพลงประกอบภาพยนตร์ Snow Trail (1947), The Quiet Duel (1949), Children of Hiroshima (1952), โด่งดังจากให้กำเนิดเสียง Gojira (1954), The Burmese Harp (1956), The Tale of Zatoichi (1962), The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) ฯลฯ

งานเพลงของ Ifukube คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Gojira แต่ปรับเปลี่ยนเรื่องราวมาเป็นเจ้าชายน้อย Susanoo ต่อสู้สารพัดสิ่งชั่วร้าย ก่อนครั้งสุดท้ายเผชิญหน้าอสูรกายแปดหัว Yamata no Orochi เต็มไปด้วยความยิ่งใหญ่อลังการ ไม่ด้อยไปกว่าภาพยนตร์คนแสดง

สไตล์เพลงของ Ifukube ชอบที่จะบรรเลงท่วงทำนองซ้ำๆ เน้นย้ำหลายครั้ง มีคำเรียก Ostinato (มาจากภาษาอิตาเลี่ยนแปลว่า Stubborn) เพื่อสร้างความตื่นเต้น รุกเร้าใจ สอดคล้องจังหวะการเต้นหัวใจ และยังภาพอนิเมชั่นการต่อสู้ มันไม่ใช่ว่าพระเอกตรงเข้าไปฟันฉับคอขาด แต่ต้องพุ่งเข้า-โฉบออก เดี๋ยวรุก-เดี๋ยวรับ โต้ตอบสลับกันไปมา … นี่คือศาสตร์การแต่งเพลงให้เข้ากับฉากต่อสู้ที่ทรงพลังอย่างมากๆ

ไม่ใช่แค่ Main Theme ที่เป็นไฮไลท์ของอนิเมะ แต่ยังความหลากหลายของท่วงทำนองเพลง ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศพื้นหลัง เหตุการณ์ต่างๆที่ Susanoo ต้องประสบพบเจอ และหลายครั้งยังมีการใช้เสียงเครื่องดนตรีพื้นบ้านญี่ปุ่น (ผสมผสานกับดนตรีตะวันตก) ทำออกมาในลักษณะคล้ายๆ ‘Silly Symphonies’ สร้างจังหวะให้สอดคล้องการกระทำ หลายครั้งใช้แทนเสียงประกอบ Sound Effect … นี่ถือเป็นวิวัฒนาการทางดนตรีประกอบอนิเมชั่นครั้งสำคัญของญี่ปุ่น สามารถสร้างอัตลักษณ์ให้ตนเอง แยกตัวออกมาจาก Walt Disney ได้สำเร็จเสียที!

Dance of AMENOUZUME ดังขึ้นระหว่างชาวที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara ทำการร้อง-เล่น-เต้น เพื่ออัญเชิญเทพเจ้า Amaterasu ให้กลับออกมาส่องแสงสว่างสู่โลกภายนอก, บทเพลงนี้ไม่ใช่ Traditional Japanese แต่ยังมีการผสมผลาสเครื่องดนตรีตะวันตก กลิ่นอาย Slavic มีการแสดงความคิดเห็นว่าควรเรียก Pan-Eurasia น่าจะใกล้เคียงที่สุด

ทิ้งท้ายด้วยบทเพลง Lullaby For A Motherless Child (母のない子の子守歌 อ่านว่า Haha no Nai Ko no Komoriuta) แต่งคำร้องโดย Takashi Morishima, ขับร้องโดย Setsuko Watanabe, ดังขึ้นระหว่างที่มารดา Izanami ขับกล่อมบุตรชาย Susanoo ระหว่างการอาบน้ำ ชำระร่างกาย แต่น่าเสียดายผมไม่สามารถหาคลิปแยกมาให้ ก็ลองไล่ฟังไปเรื่อยๆในคลิปรวมอัลบัมนี้เองนะครับ (นาทีที่ 3:49)

The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) เริ่มต้นด้วยเรื่องเล่าการถือกำเนิดเกาะ Ōyashima แม้เป็นเพียงปรัมปรา ตำนานประเทศญี่ปุ่น แต่สะท้อนความเชื่อศรัทธาของผู้คนสมัยก่อน ที่ถึงขนาดมีการจดบันทึกลายลักษณ์อักษร สืบสานต่อมาจนถึงปัจจุบัน

เทพเจ้า/เด็กชาย Susanoo เพราะไม่สามารถยินยอมรับการสูญเสียมารดา Izanami จึงตัดสินใจออกเดินทาง ติดตามค้นหา มารดาอยู่แห่งหนไหน ซึ่งระหว่างการผจญภัย ได้รับบทเรียนต่างๆมากมาย

  • นิสัยใจร้อนของ Susanoo ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดๆ ทำสิ่งพลาดพลั้ง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์เกรี้ยวกราด โกรธเกลียด สนเพียงใช้พละกำลังทำลายล้าง
  • ไม่ใช่ทุกครั้งที่การใช้พละกำลังจะสามารถต่อสู้เอาชนะ แก้ไขอุปสรรคปัญหา บางครั้งต้องครุ่นคิดวางแผน ใช้สติปัญญา รู้จักประณีประณอม อ่อนน้อมถ่อมตน เอาใจเขามาใส่ใจเรา

บทเรียนสำคัญที่สุดของ Susanoo ก็คือการยินยอมรับความตาย/หายนะบังเกิดขึ้น ค้นพบว่ามารดาจักยังคงอยู่ภายในจิตใจชั่วนิรันดร์ และหลังจากพบเห็นซากศพอสูรกาย Yamata no Orochi กลายเป็นผืนน้ำ ลำธาร ต้นไม้ใบหญ้าเขียวขจี สถานที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์น้อยใหญ่ นั่นแฝงนัยยะถึงการเวียนว่ายตายเกิด วงเวียนวัฏจักรแห่งชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถดิ้นหลุดพ้น

ดินแดน Izumo สามารถเปรียบเทียบถึงประเทศญี่ปุ่น ถูกรุกรานโดยอสูรกาย Yamata no Orochi (นัยยะคล้ายๆ Gojira ฉบับดั้งเดิม สามารถสื่อถึงระเบิดปรมาณูจากสงครามโลกครั้งที่สอง) ทุกสถานที่ที่มันเคลื่อนพานผ่าน ด่อให้เกิดหายนะ ความตาย สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เลือดไหลนองเต็มลำธาร

ซากศพของ Yamato no Orochi ทำให้สถานที่รกร้างกลับกลายเป็นผืนแผ่นดินเขียวขจี! นี่ก็คือญี่ปุ่นหลังสงครามโลก จากความสูญเสียหายย่อยยับเยิน เมื่อกาลเวลาเคลื่อนผ่านกว่าทศวรรษ ทุกสิ่งอย่างก็กำลังฟื้นคืน ต้นไม้เติบโต เขียวขจี ราวกับประเทศญี่ปุ่นได้ถือกำเนิดใหม่ขึ้นอีกครั้ง!

(จะว่าไปแทบทุกสถานที่ผจญภัยของ Susanoo ล้วนต้องมีก่อน-หลัง มืด-สว่าง พังทลาย-ซ่อมแซมใหม่ จุดสูงสุด-ต่ำสุด ก่อนค้นพบดินแดนแห่งความสุขทางใจ)

วงการอนิเมะก็เฉกเช่นเดียวกัน สงครามโลกทำให้ทุกสิ่งอย่างแช่แข็ง หยุดนิ่ง ไร้การเติบโตนานนับทศวรรษ Toei Animation พยายามปลูกต้นกล้า เริ่มต้นใหม่กับ The White Snake Enchantress (1958) แต่มันยังไม่ใช่ผลงานสำแดงอัตลักษณ์ ตัวตน จนกระทั่ง The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) นี่ต่างหากถือเป็นหมุดหมายแท้จริงของวงการอนิเมชั่นญี่ปุ่น … ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ

อนิเมะใช้ทุนสร้างสูงถึง 70 ล้านเยน! แม้ไม่มีรายงานรายรับ แต่เสียงตอบรับถือว่าดียอดเยี่ยม นอกจากคว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award ยังเดินทางไปฉายเทศกาล Venice International Film Festival: Children’s Film และคว้ารางวัล Bronze Osella ดูแล้วน่าจะขายต่างประเทศได้พอสมควรเลยละ

อิทธิพลของ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) พบเห็นได้จากซีรีย์ Samurai Jack (2001-04), วิดิโอเกม The Legend of Zelda: The Wind Waker (2002) และหลายๆผลงานของผกก. Tomm Moore (เจ้าของผลงาน The Secret of Kells (2009), Song of the Sea (2014) ฯ)

ปัจจุบันอนิเมะได้รับการบูรณะ 4K เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2020 สามารถหาซื้อ Blu-Ray ของ Toei Video เหมือนจะมีวางจำหน่ายเฉพาะในญี่ปุ่น แต่หารับชมออนไลน์ไม่ยาก คุณภาพคมชัดกริบ!

ผมรับชมฉบับ DVD คุณภาพเห่ยๆ เสียงแตกๆ ไปประมาณครึ่งค่อนเรื่องระหว่างรอโหลด Blu-Ray ซึ่งพอเห็นคุณภาพฉบับบูรณะ 4K แม้งแตกต่างราวฟ้ากับเหว เลยตัดสินใจเริ่มดูใหม่ตั้งแต่ต้นอีกรอบ บอกเลยว่าคนละอรรถรส ดื่มด่ำไปกับงานศิลป์ อนิเมชั่น ฉากแอ๊คชั่นตื่นตระการตา และเพลงประกอบของ Akira Ifukube ฟังลื่นหู สบายอารมณ์ ทรงพลังยิ่งกว่าเดิมเสียอีก!

เอาจริงๆถ้าไม่เพราะฉบับบูรณะ ผมคงก้ำๆกึ่งๆว่าจะชอบหรือไม่ชอบ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) แต่ตอนนี้ถือว่าเป็นไร้ข้อกังขา เรียกได้เต็มปากเต็มคำว่ามาสเตอร์พีซ สนุกกว่าอนิเมะแอ็คชั่นสมัยใหม่บางเรื่องเสียอีก!

จัดเรต pg กับการต่อสู้สรรพสิ่งชั่วร้าย อสูรกายแปดหัว

คำโปรย | The Little Prince and the Eight-Headed Dragon การผจญภัยของ Susanoo ในเทพปกรณัมญี่ปุ่น มีความสนุกสนาน ยิ่งใหญ่อลังการ งดงามวิจิตรศิลป์ หมุดหมายแท้จริงแห่งวงการอนิเมชั่นญี่ปุ่น
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ตื่นตาตื่นใจ

Aru Machi Kado no Monogatari (1962)


Tales of a Street Corner (1962) hollywood : Yusaku Sakamoto & Eiichi Yamamoto ♥♥♥♥♡

อนิเมชั่นเรื่องแรกๆของ Mushi Production (ก่อตั้งโดย Osamu Tezuka) ทำการทดลองสร้างตัวละครจากภาพโปสเตอร์ที่ติดอยู่ตามตรอกซอกซอย แม้ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหว แต่ใช้ลูกเล่นตัดต่อสร้างจังหวะให้สอดคล้องบทเพลง แถมยังมีเรื่องราวจับต้องได้, คว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award

Osamu Tezuka เป็นชื่อที่ใครต่อใครต่างให้การยกย่องสรรเสริญ เจ้าของฉายา God of Manga และ Godfather of Anime สรรค์สร้างผลงานอมตะอย่าง Astro Boy, Kimba the White Lion, Princess Knight, Phoenix, Dororo, Black Jack ฯ แต่แปลกที่ไม่ค่อยมีใครในวงการอนิเมชั่นพูดกล่าวถึงสักเท่าไหร่?

เท่าที่ผมสืบค้นหาข้อมูลก็พบว่า Tezuka เป็นที่รังเกียจจากบรรดาคนทำงานสายอนิเมะเสียมากกว่า โดยเฉพาะ Hayao Miyazaki ทั้งๆเคยเป็นไอดอล รับอิทธิพลสไตล์ลายเส้นมาไม่น้อย แต่พอเติบใหญ่ได้เรียนรู้จักมุมมอง วิสัยทัศน์ ถึงได้ค้นพบพฤติกรรมชั่วร้าย ความเห็นแก่ตัว สาเหตุที่นักอนิเมเตอร์ระดับล่าง (In-Between Animator) คุณภาพชีวิตย่ำแย่ ถูกกดค่าแรงต่ำๆ ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากชายคนนี้นี่แหละ!

When I was finally forced to admit that my drawings actually did look like Tezuka’s, I took out the sketches I had stored in the drawer of our dresser and burned them all. I burned them and resolved to start over from scratch, and in the belief that I needed to study the basics first, I went back to practicing drawing and draftsmanship. Yet it still wasn’t easy to rid myself of Tezuka’s influence.

I found myself disgusted by the cheap pessimism of works like [Mermaid] or [The Drop], which showed a drop of water falling on a thirsty man adrift at sea. I felt that this pessimism was qualitatively different from the pessimism Tezuka used to have in the old days, as in the early days of [Astro Boy], for example — but it also could have been that in the early days I felt great tragedy and trembled with excitement at Tezuka’s cheap pessimism precisely because I was so young.

Hayao Miyazaki

เอาจริงๆมันอาจไม่ใช่ความผิดของ Tezuka เพียงฝ่ายเดียว ยังต้องโทษความเห็นแก่ตัวของพวกนายทุน สตูดิโออนิเมชั่น ใช้เงินทุนน้อยๆ ได้กำไรงามๆ คุณภาพห่วยๆก็ช่างหัวมัน แต่นั่นคือผลงานของบุคคลได้รับฉายา God of Manga, Godfather of Anime จริงๆนะหรือ?? ลองรับชมคลิปนี้ดูนะครับ วิเคราะห์เหตุผลที่วิสัยทัศน์ของ Tezuka บ่อนทำลายอุตสาหกรรมอนิเมะญี่ปุ่นได้อย่างน่าสนใจทีเดียว

How Tezuka Osamu Ruined the Anime Industry: https://www.youtube.com/watch?v=e3Mf03ZIROg


เมื่อพูดถึงผลงานของ Tezuka ผมเคยรู้จักแต่อนิเมะกระแสหลัก (Mainstream) อาทิ Astro Boy, Kimba the White Lion, Black Jack ฯ แต่เพิ่งมารับรู้ไม่นานมานี้ ไฮไลท์ที่แท้จริงนั้นคืออนิเมชั่นแนวทดลอง (Experimental) กล้าทำสิ่งแปลกใหม่ ท้าทายขนบกฎกรอบ ไม่มีใครเหมือน และไม่มีวันเหมือนใคร

ในบรรดาอนิเมชั่นแนวทดลองของ Tezuka จริงๆก็มีหลายเรื่องน่าสนใจ Mermaid (1964), Pictures at an Exhibition (1966), Jumping (1984), Broken Down Film (1985), Legend of the Forest, Part I (1987) ฯ แต่ผมหลงใหลคลั่งไคล้ Tales of a Street Corner (1962) ไม่ใช่แค่ลักษณะ ‘anti-Disney’ แต่ยังเนื้อเรื่องราวที่มีความเป็นมนุษยนิยม (Humanism) และใจความต่อต้านสงคราม (Anti-War) … อาจเป็นผลงานใกล้ตัวใกล้หัวใจ Tezuka มากที่สุดแล้วกระมัง!


Osamu Tezuka, 手塚 治 (1928-89) นักวาดมังงะ ผู้กำกับอนิเมะ เกิดที่ Toyonaka, Osaka ในครอบครัวฐานะมั่งคั่ง ตั้งแต่เด็กมารดาชอบพาบุตรชายไปรับชมการแสดง Takarazuka Grand Theater, หลงใหลภาพยนตร์ Bambi (1942) [อ้างว่ารับชมไม่ต่ำกว่า 80 รอบ] คือแรงบันดาลใจวาดรูปตั้งแต่เด็ก นอกจากนี้ยังชื่นชอบแมงเต่าทอง (Ground Beetle) นำมาใช้เป็นนามปากกา Osamushi (治虫)

โตขึ้นเข้าศึกษาการแพทย์ Osaka University ขณะเดียวกันใช้เวลาว่างเขียนมังงะ ตีพิมพ์ผลงานเรื่องแรก Diary of Ma-chan (1946) ลงหนังสือพิมพ์ Shokokumin Shinbun, แจ้งเกิดกับ New Treasure Island (1947), Lost World (1948), Metropolis (1949), ประสบความสำเร็จล้นหลามกับ …

  • Kimba the White Lion (1950-54) แรงบันดาลใจภาพยนตร์อนิเมชั่น The Lion King (1994)
  • Astro Boy (1952-68) จุดเริ่มต้นอนิเมะแนว Robot, Mecha
  • Princess Knight (1953-56) จุดเริ่มต้นมังงะ/อนิเมะแนว Shōjo

เมื่อปี ค.ศ. 1959, Tezuka ได้รับการติดต่อจาก Toei Animation แสดงเจตจำนงค์ต้องการดัดแปลงมังงะ Boku no Son Gokū (1953-59) หรือที่หลายๆคนรู้จักในชื่อไซอิ๋ว (Journey to the West) เห็นว่าในตอนแรกจะให้เครดิตผู้กำกับ แต่เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้ เลยลดบทบาทเหลือเพียงวาดภาพ Storyboard ปรากฎว่าทำงานล่าช้ากว่ากำหนด แถมปริมาณ 500+ หน้ากระดาษ จะกลายเป็นอนิเมชั่น 90 นาทีได้อย่างไร? … สุดท้ายแล้วสตูดิโอ Toei เลยจัดแจงทำโน่นนี่นั่นด้วยตนเอง กลายมาเป็น Alakazam the Great (1960)

ความผิดหวังต่อระบบการทำงานของ Toei Animation ทำให้เมื่อปี ค.ศ. 1961, Tezuka ตัดสินใจก่อตั้งสตูดิโออนิเมชั่นของตนเอง Tezuka Osamu Production ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น Mushi Production (虫プロダクション) แถมยังซื้อตัว(ด้วยการจ่ายเงินเพิ่มสองเท่าพร้อมค่าอาหารกลางวัน)นักอนิเมเตอร์หลายคน(มาจาก Toei Animation) อาทิ Yusaku Sakamoto, Eiichi Yamamoto, Hayashi Shigeyuki (Rintaro), Gisaburō Sugii, Gisaburō Sugii ฯ

เกร็ด: ภาษาญี่ปุ่น Mushi, 虫 แปลว่า Bug นำจากความชื่นชอบแมลงเต่าทองตั้งแต่เด็กของ Osamu Tezuka


จุดประสงค์การก่อตั้งสตูดิโอของ Tezuka เป้าหมายหลักๆคือดัดแปลงมังงะตนเองให้กลายเป็นอนิเมะ โดยในช่วงแรกๆที่ยังไม่สามารถขอทุนสร้างจากแห่งหนไหน เลยทำการควักเนื้อ(กำไรจากมังงะ)เป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้น เริ่มโปรเจคในฝัน ด้วยการดัดแปลงมังงะ Astro Boy วางแผนจะทำฉายรายสัปดาห์ทางโทรทัศน์

ต้องเกริ่นสักนิดนึงก่อนว่าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (Post-War) วงการอนิเมชั่นในญี่ปุ่นอยู่ในจุดแช่แข็ง หยุดนิ่งนานนับทศวรรษ ถัดจาก Momotarō’s Sea Eagles (1942) และ/หรือ Momotaro: Sacred Sailors (1945) กว่าจะมีภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาว (Feature Length) ลำดับถัดมาก็คือ The White Snake Enchantress (1958) ของค่าย Toei Animation ซึ่งต้องใช้งบประมาณ เทคโนโลยี และนักอนิเมเตอร์จำนวนมหาศาล! มันจึงยังไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่มีความพร้อมขยับขยายมาสรรค์สร้างอนิเมะรายสัปดาห์

Tezuka เล็งเห็นโอกาสบุกเบิกช่องทางดังกล่าว จึงยื่นข้อเสนอต่อสถานีโทรทัศน์ ตัดราคาชาวบ้านชาวช่องให้เหลือเพียง ¥500,000 ล้านเยนต่อตอน (ประมาณ $3,000-$4,000 เหรียญสหรัฐ) ซึ่งถือว่าน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย (ราคาโปรดักชั่นต่อตอนควรอยู่ที่ประมาณ ¥2-3 ล้านเยน) แล้วครุ่นคิดพัฒนาสารพัดเทคนิค ‘limited animation’ ที่มีความฉาบฉวย สำหรับการทำงานอย่างรวดเร็ว อาทิ วาดภาพนิ่งแล้วใช้ลูกเล่นภาพยนตร์ Panning, Zooming, Cross-Cutting, ออกแบบท่าทางขยับเคลื่อนไหวตัวละครซ้ำไปซ้ำมา (Reverse & Repeat Animation), โดยปกติอัตราเร็วการฉายอยู่ที่ 20-29 fps ปรับลงมาเหลือเพียง 10 fps ฯลฯ เหล่านี้ช่วยลดเวลางาน ลดงบประมาณ คุณภาพอาจไม่ดีเลิศ กลับถูกอกถูกใจผู้ชมบางกลุ่ม ชื่นชมในความอาร์ทจัดๆ

เทคนิควิธีการดังกล่าวอาจฟังดูน่าสนใจดี แต่ในความเป็นจริง Tezuka ได้สร้างมาตรฐานระดับต่ำให้วงการอนิเมชั่นญี่ปุ่น บรรดานายทุนต่างคาดหวังให้สตูดิโออื่นๆดำเนินรอยตาม ด้วยการลดค่าใช้จ่าย ทำกำไรงามๆ นั่นส่งผลกระทบถึงพนักงานระดับล่าง (โดยเฉพาะ In-Between Animation) ถูกกดค่าแรง แถมยังต้องทำงานเกินเวลา นำไปสู่การชุมนุมประท้วงหยุดงาน ค.ศ. 1961 … หนึ่งในแกนนำครั้งนั้นก็คือ Hayao Miyazaki รับไม่ได้กับสภาพการทำงาน เดือนหนึ่งต้อง OT (Overtime) เกินกว่า 230 ชั่วโมง เพื่อค่าแรงแค่ 8,000 เยน!


กลับมาที่จุดเริ่มต้นโปรเจค Astro Boy มันไม่ใช่ว่าจู่ๆ Tezuka จะสามารถเดินเข้าไปติดต่อของบประมาณจากนายทุน สถานีโทรทัศน์แห่งหนไหน เขาจึงใช้เงินเก็บ(กำไรจากมังงะ)เริ่มต้นสร้างตอน Pilot และวางแผนจัดงานนิทรรศการ Mushi Production Work Exhibition สำหรับโชว์ผลงาน ขายวิสัยทัศน์ แต่ถ้ามีแค่อนิเมะเรื่องนี้เรื่องเดียวก็คงน้อยเกินไปสักหน่อย

ด้วยเหตุนี้พอโปรดักชั่น Astro Boy ใกล้เสร็จสิ้น จึงแบ่งทีมงานบางส่วนแยกตัวออกมาสรรค์สร้าง ある街角の物語 อ่านว่า Aru Machi Kado no Monogatari แปลตรงตัว Tales of a Street Corner นำแรงบันดาลใจจากภาพโปสเตอร์ติดอยู่บนผนังกำแพงตามตรอกซอกซอย มาสรรค์สร้างเรื่องราว ‘Slice-of-Life’ ร้อยเรียงวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวัน จนกระทั่งการมาถึงของสงครามโลก(ครั้งที่สอง) และหายนะหลังจากนั้น

ความที่ Tezuka เป็นคนงานยุ่งมากๆ ไหนจะมังงะ ไหนจะอนิเมะ โปรเจค Tales of a Street Corner จึงเพียงครุ่นคิดเรื่องราว (Original Idea) และวาดภาพร่างคร่าวๆ จากนั้นมอบหมาย Yusaku Sakamoto และ Eiichi Yamamoto รับหน้าที่ผู้กำกับ/ดูแลงานสร้างแทน

โปรดักชั่นใช้ระยะเวลาเพียงเดือนกว่าๆ ระหว่างกันยายน-ตุลาคม ค.ศ. 1962 ด้วยข้อจำกัดทั้งเงินทุนและระยะเวลา จึงต้องมองหาการทดลองเทคนิคใหม่ๆ ใช้ประโยชน์จากภาพโปสเตอร์ ลดงานอนิเมชั่นเคลื่อนไหว เพียงภาพวนซ้ำไปซ้ำมา (Reverse & Repeat Animation), ละเล่นกับเทคนิคภาพยนตร์ Panning, Zooming, Cross-Cutting และตัดต่อให้สอดคล้องเข้ากับเพลงประกอบ เพียงเท่านี้ผลลัพท์ถือว่าน่ามหัศจรรย์ยิ่ง!


ตัดต่อโดย Eiichi Yamamoto,

ตามชื่ออนิเมะ Tales of a Street Corner นำเสนอเรื่องราววุ่นๆที่บังเกิดขึ้นในตรอกซอกซอยแห่งหนึ่ง ดำเนินเรื่องในลักษณะ ‘ส่งไม้ผลัด’ เริ่มจากเด็กหญิงอาศัยอยู่ห้องใต้หลังคา พลัดทำตุ๊กตาหมีตกลงมาตรงระเบียง พบเห็นโดยลูกหนูอาศัยอยู่ในรู เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น แล้วจู่ๆพลัดตกลงท่อระบายน้ำ มึนๆเบลอๆ ภาพโปสเตอร์บนผนังกำแพงเหมือนว่าจะสามารถขยับเคลื่อนไหว โยกไปโยกมาตามเสียงเพลง

อนิเมะอาจไม่ได้มีโครงสร้าง เนื้อเรื่องราวที่เป็นแก่นสาระ เพียงร้อยเรียงภาพวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวัน พานผ่านช่วงเวลากลางวัน-กลางคืน ฤดูกาลผันแปรเปลี่ยน และคาบเกี่ยวระหว่างสงคราม (โลกครั้งที่สอง)

  • เด็กหญิงพยายามไขว่คว้าตุ๊กตาหมีที่ทำตกหล่น
  • ลูกหนูวิ่งเล่นซุกซน เต็มไปด้วยความฉงนสงสัย เป็นห่วงเป็นใยตุ๊กตาหมี
  • ต้นมะเดื่อพยายามมองหาสถานที่สำหรับเมล็ดพันธุ์ ให้กำเนิดชีวิตใหม่
  • โคมไฟถนนติดๆดับๆ แต่คอยให้การช่วยเหลือ ดูแลสมาชิกในตรอกซอกซอยแห่งนี้
  • แมงเม่าจอมกร่าง ชอบกลั่นแกล้งผู้อื่นไปทั่ว
  • โปสเตอร์นักเปียโน เกี้ยวพาราสีนักไวโอลิน ด้วยสายตาอิจฉาริษยาจากนางแบบสุดเซ็กซี่

การมาถึงของโปสเตอร์นายพล มาดเข้มครึมจริงจัง ตอนแรกที่มาแค่ใบเดียวยังไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรสักเท่าไหร่ แต่ครั้งถัดๆมาทำการฉีกกระชาก แปะเรียงเต็มผนังกำแพงรอบด้าน พร้อมๆเสียงสัญญาณเตือนเครื่องบินทิ้งระเบิด แสงไฟวูบวาบ เปลวเพลิงมอดไหม้ สุดท้ายลงเหลือเพียงเศษซากปรักหักพัง เหล่านี้สามารถสื่อถึงหายนะจากสงคราม แฝงใจความ Anti-War อย่างตรงไปตรงมา


เพลงประกอบโดย Takai Tatsuo, 高井 達雄 (เกิดปี 1933) นักแต่งเพลงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kobe City, Hyogo ตอนยังเด็กติดตามบิดาไปอาศัยอยู่ Dongdaemun, Seoul ก่อนเดินทางกลับหลังสงครามโลกครั้งที่สองมาปักหลัก Beppu City, Oita โตขึ้นศึกษาการแต่งเพลง Kunitachi College of Music ระหว่างนั้นมีโอกาสฝึกงานสถานีโทรทัศน์ NHK, ทำเพลงประกอบละครเวที Koma Theater, และได้รับชักชวนจาก Osamu Tezuka ทำเพลงประกอบอนิเมชั่น Tales of a Street Corner (1962) และ Astro Boy (1963)

งานเพลงของ Tatsuo มีความสนุกสนาน ครึกครื้นเครง อลเวง บรรเลงท่วงทำนองง่ายๆ ได้ยินซ้ำไปซ้ำมา ไม่นานนักก็เริ่มมักคุ้นชิน โยกศีรษะ ฮัมตามอย่างรวดเร็ว, หลายครั้งพยายามสรรค์สร้างท่วงทำนองให้สอดคล้องการกระทำ ท่าทางขยับเคลื่อนไหว และเติมเต็มด้วย Sound Effect ในลักษณะคล้ายๆ ‘Silly Symphonies’

ส่วนไฮไลท์ต้องยกให้การโต้ตอบกลับไปกลับมา ระหว่าง(โปสเตอร์)ไวโอลิน vs. เปียโน แน่นอนว่าย่อมต้องได้ยินการสนทนาภาษาดนตรี หยอกล้อ เกี้ยวพาราสี แรกๆอยู่ตัวคนเดียว เปล่าเปลี่ยวจิตวิญญาณ จนกระทั่งเมื่อเธอเข้ามา ชีวิตจึงเต็มไปด้วยสีสัน สงครามเกือบทำให้พวกเขาพลัดพราด แต่ท้ายที่สุดก็สามารถเคียงข้าง ตายจาก กลายเป็นนิรันดร์


การทดลองของ Tales of a Street Corner คือความพยายามค้นหาวิธีสรรค์สร้างอนิเมชั่น ทำอย่างไรให้ประหยัดเวลา งบประมาณ รวมถึงปริมาณนักอนิเมเตอร์ที่เข้ามามีส่วนร่วมในโปรเจค ซึ่งอนิเมะเรื่องนี้จัดเต็มด้วยสารพัดเทคนิค ใช้ภาพโปสเตอร์แทนตัวละคร (รวมถึงต้นมะเดื่อ, เสาโคมไฟ ฯ) เพราะไม่สามารถขยับเคลื่อนย้ายไปไหน จึงทำได้เพียงโยกซ้ายโยกขวา วาดภาพนิ่งแล้วใช้เทคนิคภาพยนตร์เข้าช่วยเหลือ

เทคนิคดังกล่าว ‘limited animation’ ถือเป็นการปฏิวัติวงการอนิเมชั่นสมัยนั้น (จะเรียกว่า ‘Traditional Animation’ New Wave ก็ได้กระมัง) เพราะก่อนหน้านี้นักอนิเมเตอร์พยายามรังสรรค์ผลงานโดยอ้างอิงจากโลกความจริง (Photorealistic) บางครั้งอาจดูเว่อวังอลังการไปบ้าง แต่ยังอยู่ขนบกฎกรอบของการวาดภาพด้วยมือ

ผลงานอนิเมชั่นของ Osamu Tezuka เปรียบเทียบคล้ายๆศิลปะ Pop Art ของ Andy Warhol, หรือผู้กำกับ French New Wave อย่าง Jean-Luc Godard พยายามทำสิ่งขัดแย้งต่อขนบกฎกรอบ ด้วยวิธีการอันฉาบฉวย เร่งรีบร้อน และราคาถูก เพื่อสร้างความแปลกใหม่ ตื่นตาตื่นใจ และสามารถเข้าถึงผู้คนในวงกว้าง … ซีรีย์ Astro Boy (1963) เป็นผลงานที่ชัดเจนสุดๆเลยนะ แพรวพราวด้วยลูกเล่น แต่เบื้องหลังเต็มไปด้วยความฉาบฉวย ราคาถูก มุ่งเน้นปริมาณ คุณภาพช่างหัวมัน แต่ก็ใครหลายคนหลงใหลคลั่งไคล้ความอาร์ทติสต์

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยกับวิธีการของ Tezuka อย่างผู้กำกับ Hayao Miyazaki มองการกระทำดังกล่าวเป็นการด้อยค่าวงการอนิเมชั่น และยังสร้างมาตรฐานต่ำๆให้กับอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อคนทำงานระดับล่าง (In-Between Animation) ต้องแบกรับภาระทำงานเกินเวลา ค่าจ้างน้อยนิด คุณภาพชีวิตย่ำแย่เกินทน

The world that Tezuka showed us wasn’t only bright, but often scary, absurd, painful or hopeful. Modernism meant prosperity and mass consumption and at a time it invented destruction. At the corner of Asia, only Tezuka found it. He realized the absurdity of modernism more deeply than Disney.

Hayao Miyazaki

ในบทสัมภาษณ์เดียวกันนั้น ผกก. Miyazaki ยังบอกว่ารู้สึกขยะแขยงกับ Tales of a Street Corner (1962) โดยเฉพาะฉากที่บรรดาโปสเตอร์ทั้งหลายถูกฉีกขาด แล้วแปะทับด้วยโปสเตอร์นายพลเรียงรายเต็มไปหมด ผมครุ่นคิดอยู่นานว่าทำไมเขาถึงมีปฏิกิริยาเช่นนั้น ก่อนตระหนักว่านี่ไม่ใช่แค่แฝงนัยยะเกี่ยวกับสงคราม แต่ยังสะท้อนถึงวิถีโลกยุคสมัยใหม่ (Modernism) การมาถึงของระบอบทุนนิยม ทุกสิ่งอย่างถูกคัทลอก ทำซ้ำ เลียนแบบ แลดูเหมือนกันไปหมด … ชวนให้นึกถึงหลายๆผลงานของ Andy Warhol ขึ้นมาโดยพลัน (ภาพตัวอย่างนำมาประกอบด้วย Marilyn Diptych (1962) และ Campbell’s Soup Cans (1962))

ผมไม่คิดว่า Tesuka จะมีความตั้งใจอย่างที่ Miyazaki เตลิดเปิดเปิงไปขนาดนั้น ใครเคยอ่านมังงะหรือรับชมการ์ตูนเรื่องอื่นๆ ยกตัวอย่าง Astro Boy ย่อมพบเห็นใจความต่อต้านสงคราม (Anti-War) อย่างชัดเจน! เพียงแค่ว่าภาพพบเห็นมันคือผลผลิตของแนวคิด อิทธิพลโลกยุคสมัย (Modernism) ยินยอมขายวิญญาณให้ปีศาจ เพื่อโอกาสในการสรรค์สร้างผลงาน เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสได้ในอนิเมะเรื่องนี้ คือความโหยหาอดีต (Nostalgia) บรรดาภาพโปสเตอร์ล้วนเต็มไปด้วยเรื่องราว ความทรงจำ ชวนเพ้อฝัน ก่อนถูกทำลาย สูญหายไป มอดไหม้กลายเป็นเถ้าถ่าน หลงเหลือเพียงความหวังของเมล็ดพันธุ์ งอกเงยขึ้นบนโลกยุคสมัยใหม่


Tales of a Street Corner (1962) คือหนึ่งในสามผลงาน (ร่วมกับเรื่องสั้นสามนาที Male (1962) และตอนแรกของ Astro Boy (1963)) เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ในงานนิทรรศการ Mushi Production Work Exhibition จัดขึ้นวันที่ 5-6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1962 ณ Yamaha Hall, Ginza

แม้จะแค่เพียงรอบฉายเดียว แต่ก็เข้าตาคณะกรรมการ Mainichi Film Awards ปีถ้ดมาได้ริเริ่มสร้างสาขา Ōfuji Noburō Award ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรตินักอนิเมเตอร์ Noburō Ōfuji บุคคลแรกๆที่สร้างชื่อเสียงให้วงการอนิเมชั่นญี่ปุ่นในระดับนานาชาติ โดยในปีแรกมอบรางวัลให้กับอนิเมชั่นสองเรื่อง Tales of a Street Corner (1962) และ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963)

เกร็ด: มีผลงานของ Osamu Tezuka ที่เคยคว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award จำนวนสี่เรื่อง (ก่อนถูก Hayao Miyazaki แซงหน้าที่ 7 เรื่อง)

แน่นอนว่าในการจัดอันดับ Laputa: Top 150 Japanese and World Animation (2003) มีผลงานของ Tezuka ติดชาร์ทอยู่หลายเรื่องทีเดียว ประกอบด้วย

  • อนิเมะซีรีย์ Astro Boy (1963-66) ติดอันดับ #33
  • อนิเมะสั้น Jumping (1984) ติดอันดับ #59
  • อนิเมะสั้น Broken Down Film (1985) ติดอันดับ #69
    • https://www.youtube.com/watch?v=6FMKlXmboEo
    • คุณภาพฟีล์มอาจจะดูย่ำแย่ แต่ให้ทนดูไปจนจบแล้วจะเข้าใจว่ามันคือความจงใจทำออกมาเช่นนี้
  • อนิเมะสั้น Tales of a Street Corner (1962) ติดอันดับ #77
  • ภาพยนตร์ A Thousand and One Nights (1969) ติดอันดับ #105

นอกจากช่องทางออนไลน์ (รับชมได้ทาง Youtube, Dailymotion, Bilibili ฯ) เผื่อใครอยากหาซื้อแผ่นเก็บ มีอยู่สองคอลเลคชั่นรวบรวมหลากหลายผลงานแนวทดลอง (Experimental Film) ของ Osamu Tezuka ที่น่าสนใจ

  • ดีวีดี The Astonishing Work of Tezuka Osamu ของค่าย Kino Lorber จัดจำหน่ายปี ค.ศ. 2009
  • บลูเรย์ Osamu Tezuka Works: The Experimental Films ของค่าย Happinet จัดจำหน่ายปี ค.ศ. 2015

ไม่รู้เพราะผมเพิ่งรับชม Tale of Tales (1979) ไปเมื่อไม่กี่วันก่อนหรือเปล่า เลยมีความชื่นชอบหลงใหลอนิเมชั่นลักษณะคล้ายๆคลึงกัน แนวทดลอง มนุษยนิยม และใจความต่อต้านสงคราม, รู้สึกอึ่งทึ่งในวิสัยทัศน์ กล้าได้กล้าเสี่ยง แม้อนาคตตัวตนของ Tezuka อาจสร้างปัญหามากมาย Tales of a Street Corner (1962) ยังคือผลงานที่ยังคงงดงาม ตราตรึง หนึ่งในมาสเตอร์พีซแห่งวงการอนิเมชั่น

จัดเรต pg กับพฤติกรรม ‘bully’ บรรยากาศเครียดๆ และหายนะจากสงคราม

คำโปรย | Tales of a Street Corner อนิเมชั่นแนวทดลองของ Osamu Tezuka ไม่เพียงงดงาม ตราตรึง แต่ยังลุ่มลึกล้ำ แฝงใจความต่อต้านสงคราม (Anti-War) ได้อย่างทรงพลัง
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ลุ่มหลงใหล

Hakujaden (1958)


The White Snake Enchantress (1958) Japanese : Taiji Yabushita ♥♥♡

ภาพยนตร์อนิเมชั่นฟีล์มสีเรื่องแรกของญี่ปุ่น และเรื่องแรกของ Toei Animation แต่กลับดัดแปลงตำนานนางพญางูขาว นิทานพื้นบ้านชาวจีน นั่นสะท้อนยุคสมัยหลังสงคราม (Post-War) ความพ่ายแพ้ทำให้ญี่ปุ่นสูญเสียจิตวิญญาณ ความเชื่อมั่น เป็นตัวตนเอง จำต้องพึ่งพามหาอำนาจในการเริ่มต้นทำสิ่งต่างๆ

เกร็ด: ภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาว (Feature Length) เรื่องแรกของญี่ปุ่นคือ Momotarō’s Sea Eagles (1943) [บางคนไม่นับเรื่องนี้เพราะความยาวแค่ 37 นาที] และ/หรือ Momotaro: Sacred Sailors (1945) สร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ชวนเชื่อ (Propaganda) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับเยินของญี่ปุ่น ทำให้วงการอนิเมชั่นต้องหยุดชะงักงัน ไม่มีเงินทุน ไม่มีพนักงาน ไม่มีใครกระตือรือล้นอยากครุ่นคิดทำอะไร (ยุคสมัย Great Depression) กองทัพสหรัฐจึงนำเข้า Mickey Mouse, Betty Boop และ Bambi หวังกระตุ้นให้นักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นสร้างสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

The White Snake Enchantress (1958) กลายเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่น (Feature Length) ลำดับถัดจาก Momotaro (ก็แล้วแต่ว่าจะนับเรื่องที่สองหรือสาม) ทิ้งช่วงห่างนานนับทศวรรษ ทั้งๆไม่มีความพร้อมอะไรสักสิ่งอย่าง แถมโปรดิวเซอร์ยังต้องบากหน้าไปขอหยิบยืม/ร่วมทุนสร้างจาก Shaw Brothers ของ Hong Kong นั่นคือเหตุผลการเลือกดัดแปลงตำนานนางพญางูขาว นิทานพื้นบ้านชาวจีน แทนที่จะเป็นปรัมปราอะไรสักอย่างของประเทศตนเอง

แม้ว่า The White Snake Enchantress (1958) จะไม่ได้อยู่ในรายการภาพยนตร์โปรดของ Hayao Miyazaki แต่คือเรื่องที่ทำให้เขาเกิดความกระตือรือล้น อยากเข้าสู่วงการอนิเมชั่น และสมัครทำงาน Toei Animation ผมเลยตัดสินใจเขียนถึงสักหน่อยแล้วกัน

น่าเสียดายที่ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ แทบไม่มีความเป็นตัวของตนเอง ไม่ใช่แค่เรื่องราวจากประเทศเพื่อนบ้าน สไตล์ลายเส้น อนิเมชั่น ร้องรำทำเพลง รับอิทธิพลจาก Disney อย่างเห็นได้ชัดเจน! ผลลัพท์เลยค่อนข้างน่าผิดหวัง แต่ฉบับบูรณะภาพสวยมากๆ บทเพลงไพเราะเพราะพริ้ง ทำให้ยังพออดรนทนดูจนจบ


Taiji Yabushita, 藪下 泰司 (1903-86) ผู้กำกับสารคดี/อนิเมชั่น สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Shijō, Kitagawachi ในเขต Osaka, สำเร็จการศึกษาด้านการถ่ายภาพ Tokyo University of the Arts เข้าทำงานสตูดิโอ Shochiku แผนก Social Education สรรค์สร้างหนังสั้น ถ่ายทำสารคดีด้านการศึกษากว่า 40 เรื่อง

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับชักชวนจาก Zenjirō Yamamoto ย้ายมาเข้าร่วมสตูดิโอ Japan Animated Films (日本動画映画 อ่านว่า Nihon Dōga Eiga) ที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1948 รับหน้าที่กำกับ เขียนบท ถ่ายทำอนิเมชั่นอยู่หลายเรื่อง จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1956 ควบรวมกิจการกับ Toei Company เปลี่ยนชื่อเป็น Toei Doga (東映動画) หรือ Toei Animation โด่งดังจากผลงานกำกับอนิเมชั่นขนาดสั้น Kitten’s Scribbling (1957)

Hiroshi Ōkawa ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสตูดิโอ Toei Animation เมื่อปี ค.ศ. 1956 มีความกระตือรือล้นอยากสรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาว แม้ยุคสมัยนั้นบุคลากร องค์ความรู้ รวมถึงเทคโนโลยีอนิเมชั่นในญี่ปุ่นจะหยุดนิ่งมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็พยายามมองหาโอกาสดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ไม่นานตำนานนางพญางูขาว ได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์คนแสดง The Legend of the White Serpent (1956) กำกับโดย Shiro Toyoda ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามทั้งในญี่ปุ่นและฮ่องกง จนสตูดิโอ Shaw Brothers (จาก Hong Kong) แสดงความสนใจอยากดัดแปลงสร้างอนิเมชั่น

เมื่อได้ยินข่าวคราว Ōkawa จึงเสนอตัวให้ Toei Animation รับหน้าสื่อดัดแปลงภาพยนตร์อนิเมชั่น (ร่วมทุนสร้างระหว่าง Toei กับ Shaw Brothers) มอบหมายให้ Shin Uehara พัฒนาเรื่องราว และควบคุมงานสร้าง/กำกับโดย Taiji Yabushita


กล่าวถึงเรื่องราวบัณฑิตหนุ่ม สวี่เซียน (許仙, Xu Xian) ตกหลุมรักสตรีนางหนึ่ง ไป๋ซู่เจิน (白素貞, Bai Suzhen) แท้จริงแล้วเป็นปีศาจงูขาวจำแลงกายมา, พระเถระฝาไห่ (法海, Fahai) มีความต้องการช่วยเหลือบัณฑิตหนุ่ม เพราะครุ่นคิดว่าอีกฝ่ายต้องการดูดกลืนวิญญาณ จึงได้เข้าต่อสู้ และจับนางไปจองจำไว้ใต้เจดีย์เหลยเฟิง (雷峰塔, Leifeng Pagoda)

เกร็ด: ตำนานนางพญางูขาว คือหนึ่งในสี่นิทานยิ่งใหญ่ของจีน ปรากฏโฉมครั้งแรกจากวรรณกรรม จองจำงูขาวชั่วนิรันดร์ในเจดีย์เหลยเฟิง รวมรวมอยู่ในบันทึกจิ่งซื่อทงเหยียน (警世通言, Jingshi Tongyan) แต่งโดยเฝิงเมิ่งหลง (馮夢龍, Feng Menglong) ค้นพบช่วงระหว่างยุคราชวงศ์หมิง (1368-1644) จึงถือว่าตำนานได้เริ่มต้นโดยมีหลักฐานปรากฏยุคนี้


อนิเมชั่นเรื่องนี้ใช้นักพากย์เสียงเพียงแค่สองคน ชาย-หญิง นี่ช่วยประหยัดงบประมาณได้เยอะทีเดียว!

  • Hisaya Morishige (1913-2009) นักแสดง/ผู้ประกาศ/ตลก ให้เสียงผู้บรรยาย, ตัวละครสวี่เซียน, พระเถระฝาไห่, รวมถึงสรรพสัตว์เพศชาย
    • ผกก. Hayao Miyazaki มีความชื่นชอบประทับใจน้ำเสียงของ Morishige ถึงขนาดชักชวนมาร่วมงาน Princess Mononoke (1997) พากย์ตัวละคร Okkoto-nushi (Boar God)
  • Mariko Miyagi (1927-2020) นักร้องชื่อดังในช่วงทศวรรษ 50s ให้เสียงตัวละคร ไป๋ซู่เจิน, เสี่ยวชิง, รวมถึงสรรพสัตว์เพศหญิง

ผมไม่แน่ในว่านักแสดงทั้งสองมีส่วนร่วมกับการแสดง (Live-Action) สำหรับใช้เป็นต้นแบบตัวละคร วาดภาพประกอบอนิเมชั่น (ด้วยเครื่อง Rotoscoping) นี่เป็นเทคนิคพบเห็นบ่อยครั้งในผลงานของสตูดิโอ Disney เพื่อสร้างความสมจริงให้กับการเคลื่อนไหวตัวละคร

สิ่งที่นักเขียน Shin Uehara เพิ่มแต่งเติมเข้ามาในอนิเมชั่น คือสรรพสิงสาราสัตว์ แพนด้ายักษ์ (Panda), แพนด้าแดง (Red Panda), หมู (Pig), เพียงพอน (Weasel), มังกร, ปลา Catfish ฯ นี่ชัดเจนว่าทำการเลียนแบบ Disney ที่มักรายล้อมรอบด้วยสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ช่วยสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ดึงดูดความสนใจของเด็กๆ … แต่สร้างความน่ารำคาญโคตรๆสำหรับผู้ใหญ่ ไม่ได้จำเป็นเลยสักนิด!

เกร็ด: ตัวละคร Mimi คือแพนด้าแดง (Red Panda) นี่ไม่ใช่วงศ์เดียวกับแพนด้ายักษ์นะครับ ตัวขนาดเล็ก น้ำหนักเพียง 3-4.5 กิโลกรัม รูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนผสมกับกระรอก หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้ายหมี หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก ขนตามลำตัวมีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลือง และน้ำตาลแดง … ด้วยความเข้าใจผิดดังกล่าว ฉบับเข้าฉายสหรัฐอเมริกามีการปรับเปลี่ยนสปีชีย์ของ Mimi จากแพนด้าแดงเป็นแมว อิหยังว่ะ?

แม้การควบรวมกิจการของ Toei และ Japan Animated Films จะทำให้ได้ทีมงานอนิเมเตอร์ที่พอมีประสบการณ์ทำงาน แต่การสรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมชั่นจำเป็นต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก จึงต้องติดต่อขอหยิบยืมตัวนักอนิเมเตอร์จากสตูดิโอต่างๆทั่วญี่ปุ่น รวมถึงเปิดรับสมัครพาร์ทไทม์ นักศึกษาจบใหม่ นำมาฝึกฝน เรียนรู้ ลองผิดลองถูก … มีรายงานว่าภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ใช้ทีมงานทั้งหมด 13,590 คน เป็นตัวเลขที่ดูเว่อวังอลังการไปหรือเปล่า?

ผมอ่านเจอจากอีกแหล่งข่าวที่ฟังดูน่าเชื่อถือกว่า ทีมอนิเมเตอร์นำโดย Akira Daikubara และ Yasuji Mori พร้อมลูกมือ 42 คน ใช้เวลา 7 เดือน ในการสรรค์สร้าง 16,474 ภาพวาด (Key Animation) หรือถ้านับรวมอนิเมชั่นเคลื่อนไหว 65,213 ภาพวาด (In-Between Animation)

ในส่วนของออกแบบงานศิลป์ (Art Direction) ประกอบด้วย Kazuhiko Okabe, Kiyoshi Hashimoto, ส่วนวาดภาพพื้นหลัง (Background Art) โดย Kazuo Kusano, Koichi Maeba

  • Opening Credit และหลายๆฉากภาพลวงตา มักทำพื้นหลังออกมาในลักษณะภาพวาดภูมิทัศน์จีน (Chinese Art) ไม่แน่ใจว่าวาดขึ้นใหม่ หรือเป็นผลงานศิลปินใด
  • อารัมบท เรื่องเล่าวัยเด็กของสวี่เซียน ทำออกมาในลักษณะ Cut-Out Animation แต่จะไม่มีการขยับเคลื่อนไหว เพียงกล้องเลื่อนซ้าย-ขวา ซูมเข้า-ออก เฟดภาพไป-มา (มีแต่ Key Animation)
  • เรื่องราวหลักทำออกมาในลักษณะภาพวาดอนิเมชั่นทั่วๆไป (Tradition Animation)

ในบรรดางานศิลป์ อนิเมชั่น ภาพพื้นหลัง มีเพียงซีเควนซ์เดียวเท่านั้นที่ผมรู้สึกว่ามีความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆ ก็คือคลื่นลมมรสุม ได้แรงบันดาลใจจาก The Great Wave off Kanagawa (1831) ผลงานชิ้นเอกของ Katsushika Hokusai ภาพแกะสลักไม้ Ukiyo-e ในยุคสมัย Edo Period (1603-1868)

ในส่วนของการตัดต่อ/ลำดับเรื่องราว เลือกใช้บริการ Shintarô Miyamoto ถือเป็นนักตัดต่อมากประสบการณ์ ขาประจำผู้กำกับ Tomu Uchida ผลงานเด่นๆส่วนใหญ่คือแนวซามูไร Bloody Spear at Mount Fuji (1955), Chikamatsu’s Love in Osaka (1959), Hero of the Red-Light District (1960), ไตรภาค Miyamoto Musashi (1961-63), นอกจากนี้ยังมี Revenge (1964), Battles Without Honor and Humanity (1973), Hiroshima Death Match (1973) ฯ

เรื่องราวของอนิเมชั่นดำเนินเรื่องผ่านเสียงบรรยาย (พากย์เสียงโดย Hisaya Morishige) ตั้งแต่แรกพบเจอระหว่างสวี่เซียนและงูขาว แต่โดนกีดกันเพราะความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ หลายปีต่อมาต่างฝ่ายเติบใหญ่ จากเด็กชายกลายเป็นบัณฑิต ส่วนนางพญางูขาวฝึกตบะจนสามารถแปลงกายเป็นมนุษย์ พยายามหาโอกาสพบเจอ ตกหลุมรัก แต่ก็ยังคงถูกกีดกันโดยพระเถระฝาไห่

  • อารัมบท, เด็กชายสวี่เซียนและงูขาว
  • เรื่องราวความรักระหว่างบัณฑิตสวี่เซียน และไป๋ซู่เจิน
    • นางพญางูขาวฝึกตบะจนสามารถแปลงกลายเป็นมนุษย์ พร้อมกับสาวรับใช้เสี่ยวชิง
    • เสี่ยวชิงจัดแจงล่อหลอกสวี่เซียน ให้เข้ามายังตำหนักลวงตา ปล่อยให้หนุ่มสาวพรอดรัก
    • พบเห็นโดยพระเถระฝาไห่ พยายามให้ความช่วยเหลือสวี่เซียน ทำลายภาพลวงตาของไป๋ซู่เจิน
    • สวี่เซียนถูกขับไล่ออกจากเมือง จำใจต้องทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง
  • ไม่ว่าเธอจะเป็นใคร
    • สวี่เซียนตกอยู่ความสิ้นหวังอาลัย ขัดแย้งกับงานเทศกาลใหญ่ในเมือง
    • การผจญภัยของ Panda และ Mimi ต่อสู้เอาชนะนักเลงใหญ่
    • สวี่เซียนเดินทางไปพบกับไป๋ซู่เจิน แต่ถูกขัดขวางโดยพระเถระฝาไห่ ทำให้เกิดการต่อสู้จนสูญเสียตบะ
    • เพราะความรักบังตา ทำให้สวี่เซียนพลัดตกลงมาจากเขา พระเถระฝาไห่จึงพาเขาไปประกอบพิธียังวัดบนเกาะ
  • ความมุ่งมั่น เสียสละของไป๋ซู่เจิน
    • ไป๋ซู่เจินเดินทางไปยังพระราชวังมังกร ขอความช่วยเหลือจาก Dragon King มอบสิ่งที่สามารถฟื้นคืนชีพสวี่เซียน
    • ไป๋ซู่เจินและผองเพื่อนพยายามข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อไปช่วยชุบชีวิตสวี่เซียน แต่ถูกขัดขวางโดยพระเถระฝ่าไห่
    • สุดท้ายแล้วสวี่เซียนจะได้คืนชีพหรือไม่ พระเถระฝ่าไห่จะทำอย่างไรกับไป๋ซู่เจิน

ปัญหาใหญ่ของ The White Snake Enchantress (1958) คือการโฟกัสเรื่องราวไม่ถูกจุด เนื้อหาหลักควรเป็นความรักระหว่างสวี่เซียนและนางพญางูขาว แต่กลับแทรกคั่นด้วยอะไรก็ไม่รู้ ไม่ได้มีความจำเป็นสักสิ่งอย่าง อาทิ การผจญภัยของ Panda กับ Mimi ต่อสู้กับบรรดาสิงสาราสัตว์, งานเทศกาลที่เอาแต่โชว์อนิเมชั่นละลานตา ฯ เพียงความบันเทิงสำหรับเด็กๆเท่านั้นเอง


เพลงประกอบมีเครดิตถึงสามคน Chuji Kinoshita, Hajime Kaburagi และ Masayoshi Ikeda ทำออกมาในสไตล์ ‘Silly Symphonies’ ของ Walt Disney พยายามรังสรรค์ท่วงทำนองให้สอดคล้องเข้ากับเหตุการณ์ การกระทำ บางซีเควนซ์แทบจะเฟรมต่อเฟรม ผสมผสานเข้ากับเสียง Sound Effect เพื่อเติมเต็มอรรถรสในการรับชม

ส่วนบทเพลงคำร้องของ Mariko Miyagi มีความไพเราะเสนาะหู สร้างสัมผัสวาบหวิว สั่นสะท้านทรวงใน เจ็บปวดหัวใจที่คนรักหนุ่มสาวต้องพลัดพราก มิอาจครองคู่อยู่ร่วม, หรือบทเพลงจังหวะสนุกสนานของ Hisaya Morishige (ระหว่าง Panda กับ Mimi) ก็สร้างความบันเทิงเริงใจ … เพลงประกอบถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผมอดรนทนดูอนิเมชั่นเรื่องนี้จนจบได้


โดยปกติแล้วเรื่องราวนางพญางูขาว มักแฝงข้อคิดเกี่ยวกับการเผชิญหน้าโลกความจริง ไม่ลุ่มหลงในภาพมายา ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับอารมณ์ รับรู้จักสถานะ(ทางสังคม)ของตนเอง ยึดถือปฏิบัติในสิ่งถูกต้องเหมาะสมตามหลักศีลธรรม … สะท้อนค่านิยมทางสังคมของชนชาวจีนตั้งแต่โบราณกาล

แต่ทว่าภาพยนตร์อนิเมชั่น The White Snake Enchantress (1958) นำเสนอเรื่องราวความรักระหว่างมนุษย์กับงูขาว แม้เป็นสิ่งที่สังคมไม่ให้การยินยอมรับ แต่มันผิดอะไรถ้าพวกเขามีจิตใจบริสุทธิ์ ซื่อสัตย์ มั่นคงต่อกัน สักวันย่อมต้องสามารถครองคู่อยู่ร่วม ไม่มีใคร สิ่งใด สามารถกีดกั้นขวางความสัมพันธ์ระหว่างเราสอง … แอบชวนนึกถึง Creature from the Black Lagoon (1954)

ญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (Post War) ความพ่ายแพ้ รวมถึงการสูญเสียครั้งใหญ่ ทำให้ขวัญกำลังใจ จิตวิญญาณชาวญี่ปุ่นอยู่ในจุดตกต่ำ(ที่สุด) ทุกสิ่งอย่างราวกับถูกแช่แข็ง หยุดนิ่ง ไม่สามารถครุ่นคิดทำอะไร จำต้องก้มหัวศิโรราบ ทำตามการชี้นำของประเทศมหาอำนาจ (=พระเถระฝาไห่ พยายามควบคุมชี้นำสวี่เซียน ต่อต้านขับไล่ไป๋ซู่เจิน)

แม้เรื่องราวของ The White Snake Enchantress (1958) จะเป็นนิทานพื้นบ้านจีน ทุนสร้างส่วนหนึ่งจากฮ่องกง ลอกเลียนเทคนิคอนิเมชั่นจาก Walt Disney แต่เพราะโปรดักชั่นสรรค์สร้างในญี่ปุ่น โดยชาวญี่ปุ่น นั่นสามารถมองถึงจิตวิญญาณนักสู้ แม้อยู่ในสถานะผู้แพ้ ไม่สามารถโต้ตอบทำอะไร (แบบเดียวกับสวี่เซียน) แต่ตราบยังมีความมุ่งมั่น ไม่ย่นย่อท้อแท้ ท้ายที่สุดย่อมฟันฝ่าคลื่นลม เดินทางถึงฟากฝั่งฝัน พิสูจน์ตนเองทั้งเรื่องความรัก และภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้สู่สายตานานาอารยะ


อนิเมชั่นเรื่องนี้ใช้ทุนสร้างประมาณ 40.5 ล้านเยน ยุคสมัยนั้นถือว่าเป็นปริมาณมหาศาลทีเดียว เดินทางไปฉายยังเทศกาล Venice Children’s Film Festival แต่เสียงตอบรับค่อนข้างน่าผิดหวัง

ตอนเข้าฉายสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1961 มีการปรับเปลี่ยนชื่อเป็น Panda and the Magic Serpent ถือเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นจากญี่ปุ่นเรื่องที่สองถ้ดจาก Magic Boy (1959) ที่ชิงตัดหน้าก่อนเพียงสองสัปดาห์! ได้รับคำโปรย “Disney of the East” แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีกเช่นกัน

แม้คุณภาพของ The White Snake Enchantress (1958) จะไม่ได้ดีเลิศเลอ แต่เพราะเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Toei Animation จึงได้รับการทะนุถนอม เก็บรักษา บูรณะ 4K ในโอกาสครบรอบ 60 ปี (และเฉลิมฉลอง 100 ปี วงการอนิเมชั่นของญี่ปุ่น) เข้าฉาย Cannes Classics เมื่อปี 2019

โชคดีที่ผมไม่ได้คาดหวังอะไรกับ The White Snake Enchantress (1958) ช่วงแรกๆแอบประหลาดใจกับสีสัน งานภาพ และเพลงประกอบ แต่เมื่อเรื่องราวดำเนินไปก็ค่อยๆเลอะเทอะ เละเทะ สะเปะสะปะ อย่างไม่เป็นสับปะรด หาความเป็นเอกลักษณ์ไม่ได้เลยสักนิด เกิดอาการห่อละเหี่ยว เศร้าเสียใจ … อย่างน้อยนี่คือจุดเริ่มต้น ยังอีกสักพักกว่าวงการอนิเมะญี่ปุ่นจะค้นพบสไตล์ของตัวตนเองก็คือ The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963)

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | The White Snake Enchantress ภาพยนตร์อนิเมชั่นฟีล์มสีเรื่องแรกของญี่ปุ่น แม้มีความงดงาม สีสันสดใส บทเพลงไพเราะ แต่ขาดจิตวิญญาณความเป็นญี่ปุ่น
คุณภาพ | ขาดจิตวิญญาณ
ส่วนตัว | พอดูได้

Peter Pan (1953)


Peter Pan (1953) hollywood : Hamilton Luske, Clyde Geronimi, Wilfred Jackson ♥♥♡

Peter Pan ฉบับการ์ตูนโลกสวยของ Walt Disney ชักชวนผู้ชมโบยบินไปยังดินแดนแห่งความฝัน โลกที่เราสามารถเป็นเด็กตลอดกาล! แต่มันคือการ์ตูนที่เราควรให้เด็กๆรับชมจริงๆนะหรือ?

ผมมีความแปลกประหลาดใจอย่างมากๆว่า Peter Pan (1953) คือหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Hayao Miyazaki ได้อย่างไร? ทั้งๆเจ้าตัวเคยบอกว่าไม่ค่อยชื่นชอบการ์ตูนจาก Disney สักเท่าไหร่ แต่ด้วยเหตุผล …

Peter Pan’s flying scenes are predicated on the experience of flying in an airplane with a moving perspective. As a result viewers soar through the air with the story’s characters and feel liberated by the exhilarating vista unfolding below them, with moonlight casting shadows on the city streets. With the characters we share in the freedom of flying.

Hayao Miyazaki

อืม…สิ่งน่าสนใจที่สุดของ Peter Pan (1953) ก็คงเป็นการโบยบินอย่างที่ Miyazaki ว่ากล่าวไว้ เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมีภาพยนตร์/อนิเมชั่นเรื่องไหน ทำซีเควนซ์มนุษย์บินออกมาได้น่าประทับใจ (น่าจะไม่เคยมีมาก่อนด้วยซ้ำนะ) ถ้าเป็นฉบับคนแสดง (Live Action) ก็อาจต้องรอคอย Superman (1978)

เหตุผลที่ผมไม่เคยชื่นชอบ Peter Pan เพราะไอ้เด็กเวรตะไลนิสัยแย่มากๆ ชอบสร้างความวุ่นวาย กลั่นแกล้งใครอื่นไปทั่ว (Bully) ครุ่นคิดว่าตนเองคือศูนย์กลางจักรวาล และที่สำคัญไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ใช้ข้ออ้างความเป็นเด็กกระทำสิ่งชั่วร้ายมากมาย … #ยกเลิกกฎหมายเยาวชน

ต้นฉบับวรรณกรรมของ J. M. Barrie มีคำอธิบายจุดเริ่มต้น สาเหตุผล ที่มาที่ไปของ Peter Pan ทำไมถึงกลายเป็นไอ้เด็กเวรตะไล ไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่การ์ตูนของ Walt Disney ตัดทิ้งรายละเอียดส่วนนั้นทั้งหมด (เพราะมองว่ามันมืดหม่นเกินกว่าจะนำเสนอในการ์ตูนสำหรับเด็ก) เลยไม่สามารถทำให้ผู้ชมมองเห็นตัวละครในแง่มุมอื่น เพียงสามัญสำนึกที่ว่า เด็กและเยาวชนตราบยังไม่บรรลุนิติภาวะ ย่อมทำอะไรไม่ผิด! … แนวคิดลักษณะนี้ใกล้จะตกยุค ล้าหลังแล้วนะครับ

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าผิดหวังสุดๆสำหรับการตูนเรื่องนี้ ยิ่งกว่าพฤติกรรมของไอ้เด็กเวรตะไลเสียอีก นั่นคือการนำเสนอ Stereotype ชนพื้นเมืองอินเดียนแดง (Native American) ที่สะท้อนค่านิยมของคน(อเมริกัน)ยุคสมัยนั้น และโดยเฉพาะบทเพลงที่ไม่รู้ใช้สมองหรืออะไรแต่งขึ้น What Made the Red Man Red? … ฉบับรับชมทางออนไลน์ในปัจจุบัน อาจไม่ได้พบเห็นซีเควนซ์นี้แล้ว เพราะสตูดิโอ Disney มิอาจต่อต้านท้านกระแสสังคม (Woke Up)


ก่อนอื่นของกล่าวถึง J. M. Barrie ชื่อจริง Sir James Matthew Barrie, 1st Baronet (1860-1937) นักเขียนนวนิยาย บทละคอน สัญชาติ Scottish เกิดที่ Kirriemuir, Angus ในครอบครัว Calvinist เป็นบุตรคนที่เก้า(จากสิบคน) ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในการเล่าเรื่อง ชื่นชอบรับฟังนิทานก่อนนอน เมื่อตอนอายุหกขวบพบเห็นพี่ชาย David เสียชีวิตจากอุบัติเหตุระหว่างเล่นสเก็ตน้ำแข็ง มารดามีความเศร้าโศกเสียใจอยากหนัง จึงพยายามเข้าไปปลอบในห้องพัก แล้วเธอเกิดความเข้าใจผิดครุ่นคิดว่าคือบุตรชายที่เสียชีวิต “No, it’s no’ him, it’s just me.” แต่เหตุการณ์นั้นทำให้มารดาตระหนักว่าความตายของ David จะทำให้เขายังคงความเป็นเด็ก อยู่เคียงข้างกันตลอดไป

ด้วยความใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขียน สามารถสอบเข้า University of Edinburgh ขณะเดียวกันก็ตีพิมพ์เรื่องสั้น บทละคอนลงนิตยสารนักศึกษา Edinburgh Evening Courant จบออกมาทำงานหนังสือพิมพ์ The Scotsman ตามด้วย Nottingham Journal, เวลาว่างก็เขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคอนเวที ผลงานโด่งดังที่สุดก็คือ Peter Pan; or, The Boy Who Wouldn’t Grow Up (1904) แรกสุดคือละคอนเวที West End ก่อนดัดแปลงเป็นนวนิยาย Peter and Wendy (1911) วาดภาพประกอบโดย F. D. Bedford

เกร็ด: ชื่อตัวละคร Pan มาจากปรัมปรากรีก เทพเจ้าครึ่งมนุษย์ครึ่งแกะ มีเขางอกบนศีรษะ และใบหน้าเต็มไปด้วยหนวดเครา ถือเป็นเทพแห่งธรรมชาติ พงไพร การเลี้ยงแกะ ดนตรีชนบท และสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์

เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก Walt Disney เคยมีโอกาสรับชมการแสดง Peter Pan, or the Boy Who Wouldn’t Grow Up ที่มาออกทัวร์มายัง Cater Opera House ณ Marceline, Missouri เมื่อปี ค.ศ. 1913 สร้างความประทับ จับจิตจับใจ ไม่เพียงเท่านั้นเขายังเคยได้รับเลือกให้รับบทบาท Peter Pan ในการแสดงของโรงเรียน ติดสลิงโบยบิน ใครกันจะลืมเลือนประสบการณ์นั้นได้ลง

We were living on a farm, and one morning as we walked to school, we found entrancing new posters. A road company was coming to the nearby town of Marceline and the play they were presenting was Peter Pan with Maude Adams. It took most of the contents of two toy saving banks to buy our tickets, but my brother Roy and I didn’t care … I took many memories away from the theater with me, but the most thrilling of all was the vision of Peter flying through the air. Shortly afterward, Peter Pan was chosen for our school play and I was allowed to play Peter. No actor ever identified himself with the part he was playing more than I – and I was more realistic than Maude Adams in at least one particular: I actually flew through the air! Roy was using a block and tackle to hoist me. It gave way, and I flew right into the faces of the surprised audience.

Walt Disney

คงไม่ผิดอะไรจะบอกว่า Peter Pan ถือเป็น ‘Passion Project’ ของนาย Walt Disney เมื่อเริ่มมีประสบการณ์สรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมชั่น ครุ่นคิดวางแผนทำเป็นผลงานถัดจาก Snow White and the Seven Dwarfs (1937) แต่ลิขสิทธิ์ติดขัดอยู่กับ Paramount Pictures ทำการต่อรองอยู่หลายปีจนสามารถซื้อต่อได้สำเร็จ ค.ศ. 1939 พัฒนาบทแล้วเสร็จ ค.ศ. 1941 การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง เลยจำต้องขึ้นหิ้งโปรเจคนี้เอาไว้

ถ้าไม่นับ Dumbo (1941) กับ Bambi (1942) ที่เริ่มโปรดักชั่นตั้งแต่ก่อนสงครามคืบคลานมาถึงสหรัฐอเมริกา (การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941), ผลงานขนาดยาวของ Disney ในช่วงนี้มักเป็นแนวชวนเชื่อ (Propaganda) ไม่ก็วรรกรรมรวม (Anthology Film) กว่าจะสามารถเริ่มสรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวได้อีกครั้งก็เมื่อ Cinderella (1950), Alice in Wonderland (1951) และ Peter Pan (1953) … เป็นสามโปรเจคได้รับการพิจารณาพร้อมกันเมื่อปี ค.ศ. 1947 แต่ค่อยๆทะยอยทำให้เสร็จทีละเรื่อง

ในส่วนของบทอนิเมชั่น มีการปรับเปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับพอสมควร นอกจากตัดทิ้งเบื้องหลังของ Peter Pan ยังสร้างพล็อตใหม่ตอนต้นเรื่องให้เขาสูญเสียเงา จึงต้องออกติดตามหา จนมาพบเจอ Wendy Darling เลยชักชวนไปท่องเที่ยว Never Land (ทีแรกว่าจะลักพาตัว แต่มองว่าพล็อตโหดร้ายเกินไป), แต่ที่น่าเศร้าสุดก็คือพล็อต Tinker Bell ดื่มยาพิษแทน Peter จนเสียชีวิต (ตัดทิ้งเพราะว่าหดหู่เกินไป) … ใครอยากรับรู้ว่ามีพล็อตแปลกๆอะไรเกิดขึ้นบ้าง รับชมจากคลิปนี้

Peter Pan – The Peter Pan that Almost Was: https://www.youtube.com/watch?v=nqW629DQT-4


เรื่องราวเริ่มต้น ณ กรุง London ช่วงทศวรรษ Edwardian (1901-10), ยามค่ำคืน บิดา-มารดาเข้ามากล่อมลูกๆทั้งสามเข้านอน Wendy, John และ Michael แต่พอดึกดื่นพวกเขาถูกปลุกตื่นโดย Peter Pan ชักชวนโบยบินสู่ดินแดนสุดมหัศจรรย์ Never Land

ณ Never Land มีเรือโจรสลัดจอดเทียบท่า Captain Hook ผู้มีความโกรธเกลียด Peter Pan ที่ได้ตัดแขนข้างหนึ่งของตน จึงครุ่นคิดวางแผนการล้างแค้น เริ่มจากลักพาตัวเด็กสาวอินเดียนแดง Tiger Lily, จากนั้นล่อหลอก Tinker Bell ให้คายความลับสถานที่หลบซ่อนตัว แล้วจับกุมเด็กๆกำพร้ามาให้เลือกระหว่างลงนามลูกเรือ หรือกลายเป็นเหยื่ออันโอชะของจระเข้


Peter Pan เป็นเด็กรักอิสระ (เลยมีพลังพิเศษทำให้สามารถโบยบินไปไหนมาไหนอย่างอิสรภาพ) ชื่นชอบการผจญภัย ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานหรรษา ไม่ยี่ห่าอะไรใคร แต่เมื่อไหร่โดยกลั่นแกล้ง ใช้ความรุนแรง ผองเพื่อนถูกกระทำร้าย ก็มักโต้ตอบตาต่อตา ฟันต่อฟัน เต็มไปด้วยอคติต่อพวกผู้ใหญ่ เลยไม่ครุ่นคิดอยากให้ร่างกายเจริญเติบโตไปมากกว่านี้

ตัวละคร Peter Pan ถือเป็น ‘Cultural Icon’ สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เยาว์วัย (Youthful Innocence) ขณะเดียวกันเพราะไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เลยมักถูกตีความถึงการหลบเลี่ยง ไม่ยินยอมรับความเป็นจริง (Escapism) อิสรภาพที่ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น

ทั้งบทละครและนวนิยาย ผู้แต่ง Barrie ไม่เคยอธิบายรูปร่างหน้าตาตัวละคร มอบให้อิสระให้ผู้สร้างครุ่นคิดจินตนาการได้ตามใจชอบ ด้วยเหตุนี้จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติด้วยการคัดเลือกนักแสดงหญิงตัวเล็กๆรับบท แต่งองค์ทรงเครื่องนำแรงบันดาลใจจากเทพเจ้า Pan ในปรัมปรากรีก, สำหรับฉบับของ Disney ดั้งเดิมเคยคิดจะติดปีก แต่เพราะมีพิกซี่ Tinker Bell อยู่แล้วจึงเอาปีกออก แล้วออกแบบให้มีลักษณะเหมือน Elf หูแหลมยาว ตาน้ำตาล ผมแดง สวมใส่ชุดสีเขียว และหมวกทรงกรวยติดขนนกสีแดง (สัญลักษณ์ของอินเดียนแดง)

ในส่วนของการพากย์เสียง Peter Pan แต่ไหนแต่ไรตั้งแต่โปรดักชั่นละครเวที มักนิยมใช้นักแสดงหญิง (ทั้งๆที่เป็นตัวละครเพศชาย) ซึ่งนาย Disney ก็ครุ่นคิดอยากทำตามธรรมเนียมปฏิบัติ ในตอนแรกพยายามติดต่อ Mary Martin ซึ่งกำลังจะรับบท Peter Pan ในโปรดักชั่นละคอนเพลง ค.ศ. 1954 แต่ไม่สามารถแบ่งปันเวลาให้ได้, นักแสดงคนถัดมาที่ให้ความสนใจคือ Jean Arthur, สุดท้ายตัดสินใจใช้บริการ Bobby Driscoll (1937-68) นักแสดงเด็กคนแรกในสังกัด Disney ก่อนหน้านี้มีผลงาน Song of the South (1946), So Dear to My Heart (1948), The Window (1949), Treasure Island (1950), และเคยได้รับรางวัล Academy Juvenile Award เมื่อปี ค.ศ. 1950

เกร็ด: ไม่ใช่แค่การพากย์เสียงตัวละคร นักแสดงยังต้องเข้าฉากทำการแสดง (Live-Action) สำหรับเป็นต้นแบบในการวาดภาพตัวละครบนเครื่อง Rotoscoping เพื่อให้การเคลื่อนไหวออกมามีความสมจริง ใกล้เคียงความเป็นมนุษย์มากที่สุด!

Wendy Darling ชื่อเต็มๆ Wendy Moira Angela Darling บุตรสาวคนโตของครอบครัว Darling ใกล้ถึงวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ถึงอย่างนั้นเธอกลับเต็มไปด้วยจินตนาการเพ้อฝัน ชื่นชอบเล่าเรื่องการผจญภัยของ Peter Pan ให้กับน้องชายทั้งสอง John และ Michael ยินยอมร่วมออกเดินทางสู่ Never Land แต่ไม่เคยครุ่นคิดปักหลักถาวรอยู่ดินแดนแห่งนี้ พยายามโน้มน้าวชักชวนเด็กๆให้ฟื้นตื่น เดินทางกลับโลก หวนกลับสู่อ้อมอกมารดา

เฉกเช่นเดียวกับ Peter Pan ตัวละครนี้ไม่ได้คำอธิบายรูปร่างหน้าตา แค่เพียงบอกว่ามีลักษณะเหมือน ‘mother figure’ จึงออกแบบให้ดูสุภาพเรียบร้อย แต่งตัว(ชุดนอน)ในสไตล์เรียบง่าย บุคลิกภาพเต็มไปด้วยรอยยิ้มสดใส จิตใจอ่อนไหว พูดไปเรื่อยเปื่อย แต่มีพลังในการโน้มน้าว สามารถควบคุมดูแลเด็กๆให้อยู่ใต้บังคับบัญชา

ในส่วนการพากย์เสียง Disney มีความต้องการ “gentle and gracefully feminine” ก่อนตัดสินใจเลือก Kathryn Beaumont (เกิดปี 1938) ก่อนหน้านี้เพิ่งเคยร่วมงานให้เสียงตัวละคร Alice จากภาพยนตร์อนิเมชั่น Alice in Wonderland (1951) ถือเป็นสองบทบาทโด่งดังที่สุดในอาชีพการงาน … หลังจากเติบโตเป็นผู้ใหญ่ Beaumont ทำงานครูสอนโรงเรียนอนุบาลจนเกษียณอายุ ในเบื้องหลัง DVD/Blu-Ray เห็นว่ามีสัมภาษณ์ของเธอด้วยนะครับ

Captain Hook โจรสลัดผู้มีความโฉดชั่วร้าย (แต่กลับขลาดกลัวจระเข้หัวหด) เพราะเคยถูก Peter Pan ตัดแขนข้างหนึ่ง(แล้วโยนให้จระเข้รับประทาน) จึงมีความโกรธเกลียด ศัตรูคู่แค้น (Archenemy) ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อโต้ตอบเอาคืน กำจัดอีกฝ่ายให้พ้นทาง

ปล. มีการวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบ Captain Hook ผู้มีความหมกมุ่นล้างแค้น Peter Pan (และจระเข้) ช่างมีความละม้ายคล้าย Captain Ahab ตัวละครจากวรรณกรรม Moby-Dick (1851)

Frank Thomas ให้คำอธิบายว่าออกแบบตัวละคร Hook โดยมีโมเดลจาก Spanish King (ไม่ได้เจาะจงว่าคือผู้ใด) และพัฒนาตัวละครให้มีความเป็น ‘comical villain’ ลดทอนความโฉดชั่วร้าย กลายเป็นพฤติกรรมขี้ขลาดเขลา (เบาปัญญาอ่อน) เพื่อไม่เด็กๆพบเห็นแล้วเกิดอาการหวาดกลัวเกินไป

ในตอนแรกนาย Disney ยื่นข้อเสนอให้กับ Cary Grant ซึ่งก็แสดงความสนอกสนใจอยู่ไม่น้อย แต่สุดท้ายกลับเปลี่ยนมาเลือก Hans Conried (1917-82) เพราะประสบการณ์เป็นนักแสดงตลก/คอมเมอเดี้ยน สามารถละเล่นกับน้ำเสียง เดี๋ยวโฉด เดี๋ยวขลาดเขลา … และตามธรรมเนียมของผู้แสดงบทบาทนี้ มักรับบทบิดา George Darling ผู้ร้ายในชีวิตจริง สะท้อนกับภาพความฝัน

อีกบทบาทที่ต้องกล่าวถึงก็คือ Tinker Bell พิซซี่น้อย ขนาดเท่าฝ่ามือ แต่ร่างกายมีทรวงทรงองค์เอวเหมือนผู้สาว (เป็นตัวแทนผู้ใหญ่ในร่างเด็กน้อย) ไม่ใช่แค่เพื่อน ยังตกหลุมรัก Peter Pan เลยบังเกิดความอิจฉาริษยา Wendy ต้องการขับไล่ ผลักไส กำจัดศัตรูคู่แข่งหัวใจ ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าอยากกระทำสิ่งชั่วร้าย ทรยศหักหลังพวกพ้อง พร้อมยินยอมเสียสละตนเองเพื่อชายคนรัก

เกร็ด: ในขณะที่ Mickey Mouse คือมาสค็อตของ Disney, ตัวละคร Tinker Bell ถือเป็น “a symbol of ‘the magic of Disney'” ปรากฎตัวครั้งแรกก็ Peter Pan (1953) เรื่องนี้นี่แหละ

พฤติกรรมซึนเดเระของตัวละคร ทำให้หลายคนคาดเดาว่า Tinker Bell อาจมีต้นแบบจาก Marilyn Monroe แต่นักอนิเมอเตอร์ Marc Davis ยืนกรานอ้างอิงจากนักแสดงสาว Margaret Kerry (เกิดปี 1929) เคยได้รับฉายา “World’s Most Beautiful Legs” แม้ไม่มีบทพูด แต่การแสดงในส่วน Live Action ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากๆ เพราะต้องใช้การสื่อสารภาษากาย ทั้งยังต้องขยับเคลื่อนไหว ทำโน่นนี่นั่นอยู่แทบตลอดเวลา (Kerry เคยเป็นนักเต้นมาก่อน เลยสามารถจัดระเบียบร่างกายได้เป็นอย่างดี)

เกร็ด: นอกจากตัวละคร Tinker Bell นักแสดง Kerry ยังเป็นหนึ่งในโมเดลนางเหงือก (Mermaid)

พื้นหลังของ Peter Pan อยู่ในยุคสมัย Edwardian (1901-10) ช่วงเวลาสั้นๆภายใต้รัชสมัย King Edward VII (1841-1910, ครองราชย์ 1901-10) กษัตริย์ผู้โปรดปรานการท่องเที่ยว นำเทรนด์ศิลปะ แฟชั่น เริ่มให้โอกาสชนชั้นแรงงานและสิทธิสตรีมีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้น

แน่นอนว่าตึกรามบ้านช่อง เฟอร์นิเจอร์ สิ่งข้าวของเล่น ย่อมอ้างอิงจากยุคสมัย Edwardian รวมถึง London Bridge และหอระฆัง Big Ben ถือเป็นการ์ตูนเรื่องที่สองของ Disney เลือกพื้นหลังกรุง London ต่อจาก Alice in Wonderland (1951)

Neverland ชื่อเรียกเกาะสมมติ ตั้งอยู่ยังดินแดนห่างไกล เห็นว่าคอนเซ็ปแรกเริ่มของผู้แต่ง Barrie ตั้งชื่อว่า Never Never Land คาดกันว่าได้แรงบันดาลใจจาก Never Never คำเรียกพื้นที่ห่างไกล Australian Outback จากบทกวีของ Barcroft Boake นักเขียนชาว Australian … ใครเคยรับชมภาพยนตร์ Australia (2008) น่าจะเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้ง

Out on the wastes of the Never Never –
That’s where the dead men lie!
There where the heat-waves dance forever –
That’s where the dead men lie!

Barcroft Boake: Where the Dead Men Lie (1891)

แต่สถานที่ที่ใช้เป็นพื้นหลัง Never Land ไม่ได้มีระบุไว้อย่างชัดเจน ในนวนิยายจะเขียนบอกแค่ให้บินไปเรื่อยๆ “second to the right, and straight on till morning.” ส่วนฉบับการ์ตูนของ Disney เพิ่มเติมคำว่าดวงดาว “second star to the right, and straight on till morning.” ราวกับอยู่ในอวกาศอันไกลโพ้น โลกหลังสายรุ้ง ซึ่งก็ล้วนสามารถสื่อถึงดินแดนแห่งจินตนาการ

สำหรับแผนที่ก็ไม่มีอยู่ในต้นฉบับนวนิยาย ครุ่นคิดออกแบบโดย Disney เฉกเช่นเดียวกัน โดยมีประมาณ 5 จุดสังเกต

  • Cannibal Cove อ่าวโจรสลัด ห้อมล้อมด้วยผืนป่า Tiki Forest เต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ ดินแดนแห่ง “evil traps” แหล่งที่อยู่อาศัยของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน
  • Mermaid Lagoon สถานที่อยู่อาศัยของนางเงือก
  • Indian Camp และ Never Land Plains สถานที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองอินเดียนแดง
  • Hangman Tree สถานที่หลบซ่อนตัว บ้านพักอาศัยของ Peter Pan และแก๊งเด็กหาย (Lost Boys)
  • Skull Rock โขดหินกระโหลกศีรษะ เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ซุกซ่อนสมบัติของพวกโจรสลัด (สถานที่ที่ Tiger Lilly ถูกลักพาตัว)
  • Crocodile Creek หนองน้ำที่อยู่อาศัยของจระเข้กินคน

ในส่วนของการทำอนิเมชั่น Peter Pan (1953) คือผลงานสุดท้ายที่ Disney’s Nine Old Men เก้าผู้เฒ่ารุ่นบุกเบิกสตูดิโอ Disney ทำงานร่วมกัน ก่อนทะยอยแยกย้าย ล้มหายตายจาก ประกอบด้วย

  • Les Clark (1907-79) เจ้าของฉายา “The Mickey Mouse Master” เริ่มร่วมงานกับ Disney และ Ub Iwerks มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1927 มีความถัดในการวาดตัวการ์ตูน Mickey Mouse ทำงานในส่วนอนิเมชั่นมาจนถึง Lady and the Tramp (1955) ค่อยผันตัวมาเป็นผู้กำกับ
  • Marc Davis (1913-2000) โด่งดังจากการออกแบบตัวละคร Snow White, Bambi, Tinker Bell, Maleficent, Cruella de Vil ฯ
  • Ollie Johnston (1912-2008) เริ่มต้นจากเป็นผู้ช่วยอนิเมเตอร์ Snow White, โด่งดังจากทำอนิเมชั่นตัวละคร Pinocchio, ฉากความตายของมารดา Bambi, สำหรับ Peter Pan (1953) ดูแลในส่วนอนิเมชั่น Mr. Smee และบางฉาก Captain Hook
  • Milt Kahl (1909-87) มีความเชี่ยวชาญทำอนิเมชั่นสรรพสัตว์น้อยใหญ่ใน Snow White, Bambi, White Rabbit (Alice in Wonderland), รวมถึงตัวละคร Peter Pan และสมาชิกครอบครัว Darling
  • Ward Kimball (1914-2002) เข้าร่วมกับ Disney เมื่อปี ค.ศ. 1934 โดดเด่นกับการออกแบบตัวละครชวนหัว นิสัยบ้าๆบอๆ อาทิ Jiminy Cricket, Lucifer, Mad Hatter, Cheshire Cat ฯ
  • Eric Larson (1905-1988) เข้าร่วมกับ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ทำอนิเมชั่นตัวละคร Peg, Vultures, โด่งดังจากดีไซน์การบินของ Peter Pan, ภายหลังกลายเป็นครูฝึกนักอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ๆ
  • John Lounsbery (1911-1976) เริ่มจากทำงานผู้ช่วนอนิเมชั่น Snow White แต่ไม่นานก็ได้รับคำชื่นชมในสไตล์อนิเมชั่นที่มีความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน ยืดๆหดๆ กลายเป็นผู้กำกับอนิเมชั่น รวมถึงตัวละครอย่าง The Tramp, Colonel Haiti, Shere Khan, Robin Hood ฯ
  • Woolie Reitherman (1909-85) เข้าร่วมกับ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ทำงานเป็นนักอนิเมเตอร์ Silly Symphony, อนิเมชั่นกระจกวิเศษใน Snow White, การต่อสู้ของไดโนเสาร์ใน Fantasia, Timothy Q. Mouse เรื่อง Dumbo, ฉากไคลน์แม็กซ์ Maleficent สู้กับมังกร ฯ ก่อนก้าวขึ้นมากำกับ The Sword in the Stone (1963), The Jungle Book (1967) ฯ
  • Frank Thomas (1912-2004) เข้าร่วมกับ Disney เมื่อปี ค.ศ. 1934 ทำอนิเมชั่นตัวละคร Queen of Hearts, Captain Hook ฯ

อนิเมชั่นของ Peter Pan (1953) มีสองสิ่งที่ผมถือเป็นไฮไลท์ อย่างแรกคือตัวละคร Tinker Bell (ทำอนิเมชั่นโดย Marc Davis) ไม่ใช่แค่แสงสีเหลืองทองเปร่งประกาย ยังแทบทุกการขยับเคลื่อนไหวต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ‘fairy dust’ ละอองฝุ่นฟุ้งกระจาย สามารถโรยใส่ตัว ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถล่องลอย โบยบิน ช่างมีความมหัศจรรย์ยิ่งนัก!

ปล. ทุกครั้งที่พบเห็น ‘fairy dust’ มักได้ยินเสียงระฆัง (Chimes) ดังระยิบระยับ สอดคล้องรับกันอย่างกลมกล่อม

และไฮไลท์ในส่วนของอนิเมชั่นที่แม้แต่ Hayao Miyazaki ยังเกิดความลุ่มหลงใหล คือซีเควนซ์โบยบินบนท้องฟากฟ้า (อนิเมชั่นโดย Eric Larson) มันไม่ใช่แค่กางแขน-ขา พุ่งทะยานไปเบื้องหน้า แต่ตัวละครยังขยับเคลื่อนไหว กลิ้งม้วนหมุนแทบจะ 720 องศา ราวกับอยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง สามารถทำอะไรได้ทุกสิ่งอย่าง … นัยยะของการล่องลอย โบยบิน สื่อถึงอิสรภาพ/จินตนาการ คือสิ่งไร้ซึ่งพันธนาการ(แรงโน้มถ่วง)เหนี่ยวรั้ง

แซว: ผมสังเกตจากมนุษย์อวกาศ เอาจริงๆไม่มีใครสามารถขยับเคลื่อนไหวได้แบบนี้เลยนะ เพราะบนนั้นมันไม่แรงต้านทานใดๆ การโบยบินลักษณะนี้จึงถือว่าขัดแย้งต่อหลักฟิสิกส์อย่างที่สุด!

ตัดต่อโดย Donald Halliday (1913-72) เข้าทำงานสตูดิโอ Disney ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง Cinderella (1950), Peter Pan (1953), Lady and the Tramp (1955), Sleeping Beauty (1959), One Hundred and One Dalmatians (1961) และ The Sword in the Stone (1963)

การ์ตูนชื่อ Peter Pan (1953) แน่นอนว่าต้องให้ตัวละคร Peter Pan คือจุดศูนย์กลางเรื่องราว แต่การนำเสนอมักเล่าเรื่องผ่านมุมมอง Wendy Darling (ร่วมออกผจญภัยกับ Peter Pan) และหลายๆครั้งตัดสลับมายังฟากฝั่งผู้ร้าย Captain Hook ครุ่นคิดแผนการสุดเหี้ยมโหด เพื่อฆ่าล้างแค้นคู่อริตลอดกาล

  • ค่ำคืนดึกดื่น
    • บิดา-มารดา กล่อมลูกๆทั้งสามเข้านอน Wendy, John และ Michael
    • ดึกดื่นเด็กๆต่างถูกปลุกตื่นโดยการมาถึงของ Peter Pan และ Tinker Bell
    • ร่วมกันออกเดินทาง โบยบินสู่ท้องฟากฟ้า เป้าหมายคือ Never Land
  • แผนการชั่วร้ายของ Captain Hook กับ Tiger Lily
    • แนะนำตัวละคร Captain Hook ผู้หวาดกลัวจระเข้ จองล้างของผลาญ Peter Pan
    • เด็กๆออกสำรวจผืนป่า แล้วจู่ๆถูกจับกุมตัวโดยชนเผ่าอินเดียนแดง
    • Peter Pan และ Wendy ล่องลอยมาถึง Skull Rock แอบพบเห็น Captain Hook ลักพาตัว Tiger Lily เลยเข้าไปให้การช่วยเหลือ
    • เมื่อพา Tiger Lily กลับมา Indian Camp ก็มีงานเลี้ยงเฉลิมฉลองใหญ่โต
  • แผนการชั่วร้ายของ Captain Hook กับ Tinker Bell
    • Captain Hook ทำการโน้มน้าว ล่อหลอก Tinker Bell จนเธอยินยอมคายความลับ สถานที่หลบซ่อนตัวของ Peter Pan
    • หลังงานเลี้ยงอินเดียนแดง Peter Pan และแก๊งเด็กหลง (Lost Boys) เดินทางกลับมาหลับนอนยัง Hangman Tree
    • Captain Hook ลักพาตัว Wendy และแก๊งเด็กหลง จากนั้นส่งระเบิดเวลาให้กับ Peter Pan รอดตายอย่างหวุดหวิดจากการช่วยเหลือของ Tinker Bell
  • การโต้ตอบของ Peter Pan
    • ระหว่างที่ Wendy และเด็กๆต้องเลือกระหว่างลงนามลูกเรือ หรือกลายเป็นเหยื่ออันโอชะของจระเข้
    • Peter Pan เข้ามาเผชิญหน้าต่อสู้ Captain Hook
    • หลังได้รับชัยชนะ เด็กๆเดินทางกลับมาบ้าน ดึกดื่นตื่นขึ้นในห้องนอน ความฝันค่ำคืนนี้จักกลายเป็นความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน

ในส่วนของเพลงประกอบ (Soundtrack ที่ไม่มีเนื้อร้อง) โดย Oliver Wallace (1887-1963) นักแต่งเพลงสัญชาติอังกฤษ ร่วมงานขาประจำสตูดิโอ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 เริ่มจากเป็นวาทยากร เขียนเพลงประกอบ Dumbo (1941), Cinderella (1950), Alice in Wonderland (1951), Peter Pan (1953), และ Lady and the Tramp (1955)

งานเพลงของ Wallace ทำออกมาในสไตล์ ‘Silly Symphony’ ท่วงทำนองสอดคล้องการกระทำ สำหรับสร้างสีสัน บรรยากาศสนุกสนาน หยอกล้อเล่นระหว่างภาพและเสียง บางครั้งก็ใช้แทน ‘Sound Effect’ เพื่อไม่ให้การ์ตูนเกิดความเงียบสงัดนานเกินไป

ในส่วนของบทเพลงคำร้อง ผมรู้สึกว่า Peter Pan (1953) มีทั้ง Hit and Miss บางบทเพลงไพเราะเพราะพริ้ง หลายบทเพลงไม่ค่อยน่าจดจำสักเท่าไหร่ และอีกหนึ่งบทเพลงที่โคตรๆน่าผิดหวัง

เริ่มจากบทเพลงฮิตแรก Main Title ชื่อว่า The Second Star to the Right ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง The Jud Conlon Chorus & The Mellomen เป็นบทเพลงเกริ่นนำเข้าสู่เรื่องราว ชี้นำทางดวงดาวสู่ Never Land ซึ่งสิ่งที่ผมประทับใจมากๆคือการขับร้องประสาน สร้างความขนลุกขนพอง และโดยเฉพาะเสียงสูงของ Kathryn Beaumont ชักชวนให้ล่องลอย โบยบิน มุ่งสู่ดินแดนแห่งจินตนาการ

The second star to the right
Shines in the night for you
To tell you that the dreams you plan
Really can come true

The second star to the right
Shines with a light so rare
And if it’s Never Land you need
Its light will lead you there

Twinkle, twinkle, little star
So we’ll know where you are
Gleaming in the skies above
Lead us to the land we dream of

And when our journey is through
Each time we say “Goodnight”
We’ll thank the little star that shines
The second from the right

ผมมีความสองจิตสองใจกับบทเพลง You Can Fly! ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง The Jud Conlon Chorus & The Mellomen ท่วงทำนองถือว่ามีความไพเราะ แต่คำร้องจะมีขณะเร่งความเร็ว มันทำลายอรรถรสระหว่างการโบยบินพอสมควร

ไม่รู้ทำไมผมนึกถึง A Whole New World จาก Aladdin (1992) ซึ่งวินาทีได้ยินบทเพลงนี้ Aladin และ Jasmine ขึ้นพรมเหาะ กำลังโบยบินสู่ท้องฟากฟ้า ฟังแล้วรู้สึกตื่นตาตะลึง ราวกับได้เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ แตกต่างจาก You Can Fly! ที่เพียงสนุกสนาน เติมเต็มจินตนาการ เร่งรีบร้อนจนไม่ค่อยน่าจดจำสักเท่าไหร่

Chorus:
Think of a wonderful thought,
Any merry little thought,
Think of Christmas, think of snow, think of sleigh bells,
Off you go, like reindeer in the sky!
You can fly, you can fly, you can fly!!!

Think of the happiest things,
It’s the same as having wings,
Take the path that moonbeams make,
If the moon is still awake,
You’ll see him wink his eye
You can fly, you can fly, you can fly!!!

Off you go with a Heigh and Ho
To the stars beyond the blue
There’s a Never Land waiting for you
Where all your happy dreams come true
Every dream that you dream will come true

When there’s a smile in your heart
There’s no better time to start
Think of all the joy you’ll find
When you leave the world behind
And bid your cares good-bye
You can fly, you can fly, you can fly, you can fly, you can fly!

A Pirate’s Life นี่มันคือต้นฉบับก่อนทำการดัดแปลงสู่ Pirate of the Caribbean ใช่ไหมเนี่ย? ทำนองโดย Oliver Wallace, คำร้องโดย Erdman Penner, ขับร้องประสานเสียงโดย The Mellomen

Pirate Crew: Ohhhh!
A pirate’s life is a wonderful life
A-rovin’ over the sea
Give me a career as a buccaneer
As the life of a pirate for me
Ohhhh!
The life of a pirate for me

Ohhhh!
A pirate’s life is a wonderful life
They never bury your bones
For when it’s all over, a jolly sea rover
Drops in on his friend Davy Jones
Ohhhh!
His very good friend Davy Jones

Mr. Smee: My good friend Davy Jones

บทเพลงน่าอับอายขายขี้หน้าที่สุดของการ์ตูนเรื่องนี้คือ What Made the Red Man Red ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง Candy Candido & The Mellomen ถูกตีตราว่านำเสนอภาพ Stereotype ของชาวอินเดียนแดงในลักษณะ “Racist and Offensive”

My jaw hit the ground when I heard this song and saw these ‘redskins’ hopping around and making fools of themselves. Granted it was only a cartoon, but it was one in which the animators took the liberty of demeaning an entire race in the name of entertainment.

David Martinez ผู้เขียนหนังสือ American Indians and Film (2013)

I remember seeing it and not having the skills to understand why it made me feel embarrassed. What does that do to a child’s formation of identity, even if it’s subliminal and subconscious? The message is, ‘You’re not human. You’re a trend. You’re something that can be commodified and bought and sold.’

Sasha Houston Brown สมาชิกชนเผ่าอินเดียนแดง Santee Sioux อาจารย์ประจำ Minneapolis Community and Technical College

ลองอ่านคำแก้ตัวในมุมมองของผู้สร้างดูนะครับ

I’m not sure we would have done the Indians if we were making this movie now. And if we had we wouldn’t do them the way we did back then… The Indians were Ward Kimball’s stuff. Beautifully done. The Indians could not have been done that way nowadays. I like them. Very funny. Very entertaining, especially the Big Chief.

Marc Davis

It is important to remember that Peter Pan was supposed to represent a young boy’s impression of pirates, mermaids and Indians and, as a result, these fanciful creations bore more of a relation to popular culture storybooks than reality.

นักเขียน Jim Korkis ผู้รวบรวมประวัติศาสตร์ของ Walt Disney

ความอัปยศของ What Made the Red Man Red? ได้รับการเปรียบเทียบกับอีกบทเพลง Savages จากการ์ตูน Pocahontas (1995) ที่ทำให้ผู้ชมตั้งคำถามถึงสามัญสำนึกของผู้สร้าง ต่อให้อ้างว่าเพื่อความบันเทิง แต่สำหรับคนบางกลุ่มนี่ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานเลยสักนิด! แม้ปัจจุบันจะมีการตัดทั้งซีเควนซ์นี้ในฉบับฉายโทรทัศน์และออนไลน์ แต่มันก็มิอาจลบเลือนความเสียหายที่บังเกิดขึ้น

อีกบทเพลงไพเราะจับใจ Your Mother and Mine ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องโดย Kathryn Beaumont คำรำพันครุ่นคิดถึงแม่ ฟังแล้วน้ำตาตกใน คร่ำครวญอยากหวนกลับไป ซุกตัวอยู่ในอ้อมกอดมารดา เพื่อว่าค่ำคืนนี้จะได้นอนหลับฝันดี … แต่ผมว่าฟังแล้วเพลงนี้แล้วไม่น่าจะนอนหลับสักเท่าไหร่

น้ำเสียงของ Beaumont สร้างความประทับใจให้ผมอย่างมากๆ ชวนนึกถึง Judy Garland สมัยยังเป็นวัยรุ่น เชื่อว่าถ้าเลือกอาชีพนักแสดงน่าจะไปรุ่งแน่ๆ น่าเสียดาย น่าเสียดาย

Well a mother, a real mother, is the most wonderful person in the world
She’s the angel voice that bids you goodnight
Kisses your cheek, whispers sleep tight
Your mother and mine
Your mother and mine

The helping hand that guides you along
Whether you’re right, whether you’re wrong

Your mother and mine
Your mother and mine

What makes mothers all that they are
Might as well ask what makes a star
Ask your heart to tell you her worth
Your heart will say, heaven on earth
Another word for divine
Your mother and mine

ทิ้งท้ายกับบทเพลง Never Smile at a Crocodile เห็นว่าผู้แต่ง Frank Churchill เขียนขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 ช่วงที่โปรเจคนี้เพิ่งเริ่มตั้งไข่ ทำออกมาในสไตล์ ‘Comic Song’ ยังไม่ได้ใส่เนื้อร้อง (Jack Lawrence แต่งเพิ่มเอาภายหลัง) น่าเสียดายพี่แกฆ่าตัวตายเมื่อปี ค.ศ. 1942 ถึงอย่างนั้น Disney ก็ยังอุทิศให้กับเพื่อนผู้จากไป เลือกใช้ทำนองกวนๆนี้ในทุกๆขณะการปรากฎตัวของเจ้าจระเข้

ปล. ฉบับขับร้องโดย Stuart Foster and Judy Valentine ถูกตัดออกไปในการ์ตูน Peter Pan (1953) [แต่มีในอัลบัม Soundtrack] แค่เพียงทำนองสั้นๆระหว่างแนะนำตัวละคร Captain Hook แล้วเกิดอาการ PTSD เมื่อพบเห็นเจ้าจระเข้กำลังคืบคลานเข้ามา

Never smile at a crocodile
No, you can’t get friendly with a crocodile
Don’t be taken in by his welcome grin
He’s imagining how well you’d fit within his skin
Never smile at a crocodile
Never tip your hat and stop to talk awhile
Never run, walk away, say good-night, not good-day
Clear the aisle but never smile at Mister Crocodile
You may very well be well bred
Lots of etiquette in your head
But there’s always some special case, time or place
To forget etiquette
For instance

Never smile at a crocodile
No, you can’t get friendly with a crocodile
Don’t be taken in by his welcome grin
He’s imagining how well you’d fit within his skin
Never smile at a crocodile
Never dip your hat and stop to talk awhile
Never run, walk away, say good-night, not good-day
Clear the aisle but never smile at Mister Crocodile

Peter Pan นำเสนอการเดินทางสู่ดาวดวงที่สองจากขวามือ บินตรงไปถึงรุ่งเช้า Never Land ดินแดนแห่งการผจญภัย สถานที่ที่เด็กๆไม่มีวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เต็มไปด้วยความสนุกสนาน หรรษา โบยบินสู่อิสรภาพ เพลิดเพลินไปกับโลกแห่งจินตนาการ … ฟังดูราวกับ Wonderland (Alice in Wonderland) หรือดินแดนหลังสายรุ้ง Land of Oz (The Wonderful Wizard of Oz) สถานที่แฟนตาซีสร้างขึ้นสำหรับเติมเต็มความเพ้อฝันของเด็กๆ

Never Land, Wonderland หรือ Land of Oz ต่างเปรียบเสมือนสถานที่สำหรับหลบซ่อนตัว หนีออกจากโลกความจริง (Escapism) เพลิดเพลินไปกับสิ่งตอบสนองความสนใจ เติมเต็มความเพ้อฝันจินตนาการผู้สร้าง บางอย่างเคยสูญหายไปเมื่อครั้นยังเป็นเด็ก

ในกรณีของ Never Land คือประสบการณ์สูญเสียพี่ชายผู้แต่ง J. M. Barrie คำพูดมารดาทำให้ตระหนักว่า (พี่ชาย)จะคงสถานะความเป็นเด็กอยู่ในจิตใจของทุกคน สรรค์สร้างวรรณกรรม Peter Pan เพื่อหวนกลับหาช่วงเวลาแห่งความสุข ฉันเองก็อยากอาศัยอยู่ในโลกใบนั้น

มันไม่ใช่ว่าผมมีอคติอะไรกับวรรณกรรมเรื่องนี้นะครับ แต่เป้าหมายการโจมตีก็คือฉบับดัดแปลง Peter Pan (1953) ของค่าย Walt Disney ที่ทำการปู้ยี้ปู้ยำ สร้างโลกสวยเกินจริง ตัดทิ้งรายละเอียดสำคัญๆ โดยใช้ข้ออ้างการ์ตูนคือสื่อสำหรับเด็ก ไม่เหมาะที่จะนำเสนอเหตุการณ์รุนแรงเกินไป นั่นมันใช่สิ่งที่ผู้ใหญ่ควรครุ่นคิดแทนเสียที่ไหน ผลลัพท์กลายเป็นโลกอันบิดเบี้ยว ปลูกฝังค่านิยมผิดๆเพี้ยนๆ ผู้ชมรุ่นหลังยิ่งดูยิ่งละเหี่ยใจ

เอาจริงๆแนวคิดจิตวิญญาณยังเป็นเด็กตลอดกาล ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร! ศิลปิน จิตรกร นักเขียน การ์ตูน ทำงานสายอนิเมชั่น ฯ ล้วนต้องใช้จินตนาการ(ความเป็นเด็ก)เพื่อรังสรรค์สร้างผลงาน หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป ความรู้สึกเหมือนได้ย้อนกลับไปเป็นเด็ก (Nostalgia) สามารถช่วยพักผ่อนคลายความตึงเครียด ปลีกวิเวก หลบซ่อนตัว หนีออกจากโลกความจริง (Escapism) ก็ไม่เรื่องผิดเช่นกัน! แค่ควรต้องรู้จักเพียงพอดี ยินยอมรับสภาพเป็นจริง อย่าหลอกตนเอง ก็น่าจะเพียงพอแล้วละ


ด้วยทุนสร้าง $4 ล้านเหรียญ เสียงตอบรับค่อนข้างดี ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $87.4 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จแค่กลางๆ เพราะมาตรฐานของ Disney ช่วงทศวรรษนั้น ส่วนใหญ่รายรับเกินกว่า $100 ล้านเหรียญ! แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าผลงานก่อนหน้า Alice in Wonderland (1951) ที่ล้มเหลวอย่างย่อยยับเยิน ทุนสร้าง $3 ล้านเหรียญ ทำเงินได้เพียง $2.4 ล้านเหรียญ

Though it doesn’t delve deeply into the darkness of J. M. Barrie’s tale, Peter Pan is a heartwarming, exuberant film with some great tunes.

คำนิยมจากเว็บไซด์ Rottentomatoes ให้คะแนน 77%

แม้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม แต่พอกลายเป็นสวนสนุก (Theme Parks) เครื่องเล่น ขบวนพาเรด การแสดงสด รวมถึงสเก็ตลีลา (Disney On Ice) เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยว (Attraction) ได้รับความนิยมสูงสุดแทบจะทุกๆ Disneyland

Peter Pan ฉบับของ Disney มีภาคต่อด้วยนะครับ Peter Pan: Return to Never Land (2002) รวมถึงภาพแยก (Spin-Off) Tinker Bell (2008), ล่าสุดก็ดัดแปลงคนแสดง (Live Action) Peter Pan & Wendy (2023) ทีแรกว่าจะเข้าฉายโรงภาพยนตร์แต่คุณภาพคง !@#$% เลยปรับเปลี่ยนมาทาง Disney+

นอกจากภาพวาดสวยๆ อนิเมชั่นงามตา อะไรอย่างอื่นล้วนสร้างความอ่อนเปลี้ยเพลียแรง แถมบทเพลงก็ไม่ค่อยไพเราะติดหูสักเท่าไหร่ สไตล์ของ Disney เลยทำให้ผมหน้านิ่วคิ้วขมวด มอดไหม้ทรวงในตลอด 77 นาที ช่างเยิ่นยาวนานยิ่งนัก อดรนทนดูจบได้ก็รู้สึกประทับใจตนเองอย่างคาดไม่ถึง!

คงมีหลายคนที่ชื่นชอบ Peter Pan (1953) แล้วหลงเข้ามาอ่านบทความนี้ ก็ไม่ต้องอคติอะไรกับผมมากนะครับ มันเป็นความรู้สึกส่วนตัว คิดเห็นส่วนบุคคล ไม่จำเป็นที่คนเราต้องเหมือนกันอยู่แล้ว

แถมท้ายกับบุคคลมีชื่อเสียงที่โปรดปรานวรรณกรรม/การ์ตูน Peter Pan อาทิ J. R. R. Tolkien (Middle-earth=Never Land?), J.K. Rowling, Stephen King, Michael Jackson (ถึงขนาดตั้งชื่อฟาร์ม Never Land), Michael Stipe, Gwen Stefani, Bono, Steven Spielberg (กำกับภาพยนตร์ Hook (1991)), Guillermo Del Toro (มีแผนจะสร้างอยู่), Hayao Miyazaki, Robin Williams (รับบท Peter Pan ในภาพยนตร์ Hook (1991)), Angelina Jolie, Hugh Jackman ฯลฯ

จัดเรตทั่วไป แต่มันคือการ์ตูนที่เราควรให้เด็กๆรับชมจริงๆนะหรือ?

คำโปรย | Peter Pan (1953) ฉบับการ์ตูนโลกสวยของ Walt Disney คงความคลาสสิก ล่องลอยอยู่ในความฝัน จมปลักอยู่ในนั้น
คุณภาพ | คลาสสิก
ส่วนตัว | นิทานหลอกเด็ก

Silly Symphony (1929-39)


Silly Symphony (1929-39) hollywood : Walt Disney ♥♥♥♥♡

75 การ์ตูนสั้นไร้สาระจากสตูดิโอ Walt Disney จุดประสงค์เพื่อฝึกฝนนักอนิเมเตอร์ ทำการทดลองเทคโนโลยี ลูกเล่นอนิเมชั่นใหม่ๆ ในลักษณะ Musical Comedy หลายๆเรื่องมีความงดงาม ทรงคุณค่า แฝงสาระข้อคิด และมีถึง 7 เรื่องสามารถคว้ารางวัล Oscar: Short Subject, Cartoons

มันเนิ่นยาวนานจนผมจดจำไม่ค่อยได้แล้วว่าเคยรับชม Looney Tunes, Bug Bunny, Tom and Jerry, Silly Symphony ฯ จากแห่งหนไหน (น่าจะช่องการ์ตูนของ UBC) มีภาพจำมาโดยตลอดว่าคือการ์ตูนสำหรับเด็ก เน้นความบันเทิงเพียงอย่างเดียว เลยไม่ได้มีความสนอกสนใจอยากเขียนบทความถึงสักเท่าไหร่

กระทั่งว่าได้เห็นรายการภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Hayao Miyazaki หนึ่งในนั้นคือ The Old Mill (1937) การ์ตูนสั้นความยาว 8:42 นาที ลำดับที่ #68 ของ Silly Symphony ซึ่งสามารถคว้ารางวัล Oscar: Short Subject, Cartoons มันต้องมีอะไรน่าตื่นตาตื่นใจอย่างแน่แท้!

The Old Mill (1937) เป็นการ์ตูนที่สร้างความประทับใจให้ผมอย่างมากๆ บังเกิดความกระตือลือล้น ต้องค้นหาเรื่องอื่นๆจากซีรีย์ Silly Symphony มารับเชยชม แม้ลึกๆจะแอบผิดหวังที่ไม่เรื่องไหนยอดเยี่ยมยิ่งกว่า แต่ก็ได้เรียนรู้ถึงอิทธิพล ความสำคัญ หลายๆเรื่องทำการทดลองเทคนิค ลูกเล่นอนิเมชั่นใหม่ๆ … อย่างการ์ตูน The Old Mill (1937) คือครั้งแรกของการใช้เครื่อง Multiplane Camera ทำให้สามารถสร้างเอ็ฟเฟ็กที่ซับซ้อนอย่าง ลมพายุ ฝนฟ้าคะนอง ภาพสะท้อนผิวน้ำ/ใต้น้ำ ฯ เป็นการทดลองผิดลองถูก เตรียมความพร้อมก่อนสรรค์สร้าง Pinocchio (1940)


Walter Elias Disney (1901-66) นักอนิเมเตอร์ โปรดิวเซอร์ หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการอนิเมชั่น เกิดที่ Chicago, Illinois แล้วมาเติบโตยังบ้านฟาร์ม Marceline, Missouri ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในการวาดภาพ โตขึ้นย้ายกลับเข้าเมือง Kansas City, Missouri เข้าเรียนศิลปะ Kansas City Art Institute ต่อด้วย Chicago Academy of Fine Arts, ปลอมอายุเพื่อเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้เป็นคนขับรถพยาบาลให้กับหน่วยกาชาด (Red Cross) ใช้เวลาว่างวาดการ์ตูนตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ทหาร Star and Stripe, หลังสิ้นสุดสงครามกลายเป็นเด็กฝึกงาน Pesmen-Rubin Commercial Art Studio ออกแบบโฆษณา โปสเตอร์โรงละคอน และกลายเป็นเพื่อนสนิทสนม Ub Iwerks ร่วมกันเปิดบริษัท Kansas City Slide Newspaper Company (ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น The Kansas City Film Ad Company) ทีแรกรับงานออกแบบโฆษณา แต่ไม่นานความสนใจของ Disney ผันเปลี่ยนมายังอนิเมชั่นเคลื่อนไหว ร่วมกันสรรค์สร้างการ์ตูนซีรีย์ Laugh-O-Grams (1921-23)

แต่หลังจากสดูดิโอล้มละลายนาย Disney ตัดสินใจออกเดินทางสู่ Los Angeles ก่อตั้งสตูดิโอใหม่ร่วมกับพี่ชาย Roy O. Disney ตั้งชื่อว่า Disney Brothers Cartoon Studio เมื่อปี ค.ศ. 1923 เริ่มต้นสรรค์สร้างซีรีย์ Alice Comedies (1923-27) ส่วนผสมระหว่างคนแสดงและอนิเมชั่น, จากนั้น Disney มอบหมายให้ Iwerks ออกแบบตัวละคร Oswald the Lucky Rabbit ตั้งใจให้เป็น ‘Personality Animation’ คล้ายๆแบบ Charlie Chaplin, Buster Keaton, Harold Lloyd ฯ แต่ทำได้เพียงสองปีกลับถูก Universal Pictures ยึดลิขสิทธิ์ตัวละครไปซะงั้น! แถมทีมงาน นักอนิเมเตอร์แทบทั้งหมดยังโดนซื้อตัวไปอีก (ยกเว้นเพียงเพื่อนสนิท Iwerks ปฏิเสธขายวิญญาณให้ปีศาจ)

บทเรียนจากเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ได้ทำให้นาย Disney เกิดความย่นย่อท้อแท้ มอบหมายให้ Iwerks ครุ่นคิดออกแบบตัวละครขึ้นใหม่อีกครั้ง กลายมาเป็น Steamboat Willie (1928) การ์ตูนใส่เสียงเรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ไม่ใช่แค่ในสหรัฐอเมริกา ยังส่งออกฉายระดับนานาชาติ

ความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Steamboat Willie (1928) ทำให้นาย Disney ชักชวน Carl Stalling (1891-1972) นักออร์แกน/แต่งเพลงสัญชาติอเมริกัน รับรู้จักกันตอนอาศัยอยู่ Kansas City มาร่วมทำเพลงประกอบการ์ตูน Mickey Mouse เรื่องอื่นๆ Plane Crazy (1928) และ The Gallopin’ Gaucho (1928) [สองเรื่องนี้สร้างขึ้นก่อน Steamboat Willie แต่ออกฉายทีหลังเพราะไม่มีผู้จัดจำหน่าย เลยนำมาใส่เสียงก่อนแล้วค่อยออกฉาย]

หลังจากร่วมงานกันสองสามครั้ง Stalling เป็นผู้แนะนำ Disney ให้สรรค์สร้างการ์ตูนซีรีย์ชุดใหม่ ด้วยการทำให้ภาพเคลื่อนไหว/อนิเมชั่น สอดคล้องเข้ากับบทเพลงประกอบ ในลักษณะ “Musical Novelty”

ในตอนแรกนาย Disney ก็ไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่ แต่ไปๆมาๆยินยอมทดลองสรรค์สร้าง #1 The Skeleton Dance (1929), ความยาว 5:31 นาที, โดยให้ Stalling ร่วมทำเพลงประกอบ, ออกแบบ/วาดภาพอนิเมชั่นโดย Ub Iwerks และตั้งชื่อการ์ตูนซีรีย์ Silly Symphony

Title tells the story, but not the number of laughs included in this sounded cartoon short. The number is high. Peak is reached when one skeleton plays the spine of another in xylophone fashion, using a pair of thigh bones as hammers. Perfectly timed xylo accompaniment completes the effect. The skeletons hoof and frolic. One throws his skull at a hooting owl and knocks the latter’s feathers off. Four bones brothers do a unison routine that’s a howl. To set the finish, a rooster crows at the dawn. The skeletons, through for the night, dive into a nearby grave, pulling the lid down after them. Along comes a pair of feet, somehow left behind. They kick on the slab and a bony arm reaches out to pull them in. All takes place in a graveyard. Don’t bring your children.

นักวิจารณ์จากนิตยสาร Vareity ฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1929

ในกาลต่อมา Silly Symphony ได้ถูกพัฒนากลายเป็นพื้นที่ (Platform) สำหรับฝึกฝนนักอนิเมอเตอร์ ทดลองเทคโนโลยี ลูกเล่นอนิเมชั่นใหม่ๆ ตระเตรียมความพร้อมสำหรับต่อยอดสู่ภาพยนตร์ขนาดยาวในอนาคตข้างหน้า

ยกตัวอย่างการ์ตูน #29 Flowers and Trees (1932), ชื่อภาษาไทย พฤกษามาลี, กำกับโดย Burt Gillett, ความยาว 7:49 นาที, ถือเป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกที่ใช้กระบวนการสี Three-Strip Technicolor สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Short Subjects, Cartoons อย่างเป็นเอกฉันท์ (Inaugural)

ในช่วงสองสามปีแรกๆ Silly Symphony ถือว่าประสบความสำเร็จแค่กลางๆ จนกระทั่งการมาถึงของมาสเตอร์พีซเรื่องแรก #36 Three Little Pigs (1933), กำกับโดย Burt Gillett, ความยาว 8:41 นาที, ดัดแปลงจากนิทานพื้นบ้านอังกฤษ (Fable) ลูกหมูสามตัวสร้างบ้านสามหลัง บ้านฟาง บ้านไม้ และบ้านอิฐ ถูกรุกรานโดยหมาป่า (Big Bad Wolf) เป่าปลิวบ้านฟาง บ้านไม้ จนสุดท้ายรอดตายหวุดหวิดเมื่อหลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านอิฐ

ด้วยทุนสร้าง $22,000 เหรียญ ทำเงินสูงถึง $250,000 เหรียญ และยังคว้ารางวัล Oscar: Best Short Subjects, Cartoons นั่นทำให้การ์ตูนซีรีย์ Silly Symphony สามารถเข้าสู่กระแสหลัก เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

และโดยเฉพาะบทเพลง Who’s Afraid of the Big Bad Wolf? แต่งโดย Frank Churchill, คำร้องโดย Ann Ronell, ไม่เพียงยอดขายดีเทน้ำเทท่า (Best-Selling Single) ยังได้รับการยกย่องเป็นเพลงชาติแห่งยุคสมัย Great Depression (การ์ตูนที่ช่วยผ่อนคลายความหดหู่ ตึงเครียด ในช่วงเวลาดังกล่าว) และระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบ Big Bad Wolf = Adolf Hitler

แต่ไหนแต่ไรมา อนิเมชั่นของค่าย Walt Disney แทบทั้งนั้นล้วนเป็นสรรพสัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ พืชพรรณธรรมชาติ เหมือนว่าตัวละครที่เป็น “มนุษย์” คือสิ่งที่นักอนิเมเตอร์ไม่อยากจับต้อง ไม่รู้จะสรรค์สร้าง ทำอย่างไรถึงให้ออกมาดูเป็นธรรมชาติ … คือพวกสรรพสัตว์/พืชพันธุ์ มันสามารถใส่จินตนาการ ทำให้ท่าทางขยับเคลื่อนไหวดูเหนือจริง เว่อวังอลังการ แต่ไม่ใช่สำหรับมนุษย์

จนกระทั่งสตูดิโอมีความมุ่งมั่นจะสรรค์สร้างอนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรก Snow White and the Seven Dwarfs (1937) จึงได้ตัดสินใจทำการทดลองกับ #48 The Goddess of Spring (1934) กำกับโดย Wilfred Jackson, ความยาว 9:48, ว่าผลลัพท์เมื่อทดลองวาดตัวละครมนุษย์ เสียงตอบรับจะออกมาดีแย่สักเพียงไหน?

เรื่องราวอาจไม่ได้สนุกสักเท่าไหร่ แถมลีลาท่าเต้นของเทพี Persephone โดยเฉพาะขณะโยกไม้โยกมือ (ทำออกมาในลักษณะ Rubber Arms) ดูฝืนธรรมชาติเกินไป นั่นทำให้ Disney ต้องนำเอาอุปกรณ์ Rotoscoping สร้างโดย Max Fleischer เมื่อปี ค.ศ. 1915 ที่เพิ่งสิ้นสุดสิทธิบัตร (Patent) คุ้มครองสิ่งประดิษฐ์/ผลิตภัณฑ์เมื่อปี ค.ศ. 1934 มาปรับใช้สรรค์สร้างอนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรก Snow White and the Seven Dwarfs (1937)

เกร็ด: Rotoscoping คือเทคนิคการสร้างภาพอนิเมชั่น โดยที่นักอนิเมเตอร์จะวาดภาพตามฟีล์มต้นฉบับ Live-Action ถ่ายทำนักแสดง เฟรมต่อเฟรม เพื่อสร้างสัมผัสสมจริง ดูเป็นธรรมชาติ (แต่ผลลัพท์ไม่ค่อยแนบเนียนสักเท่าไหร่หรอกนะ)

#50 The Golden Touch (1935), ความยาว 10:34 นาที, การ์ตูนเรื่องนี้เอาจริงๆไม่ได้มีความสลักสำคัญมากนัก แต่เหตุผลที่ผมเลือกมาเพราะเป็นผลงานการกำกับเรื่องสุดท้ายของนาย Walt Disney หวนกลับมาทำหน้าที่ผู้กำกับในรอบหลายปี อยากแสดงให้คนรุ่นใหม่เห็นว่าตนเองยังมีไฟ

แต่ผลลัพท์กลับกลายเป็นสัมผัสแห่งหายนะ ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง! ถึงขนาดห้ามไม่ให้ใครพูดกล่าวถึง และตัดสินใจล้มเลิกการกำกับอนิเมชั่น ผันตัวมาเป็นโปรดิวเซอร์ คอยชี้นิ้วสั่งงานอยู่เบื้องหลังเต็มตัว

สำหรับไฮไล์ของ Silly Symphony ก็คือ #68 The Old Mill (1937) ชื่อไทย โรงสีร้าง, กำกับโดย Wilfred Jackson, ความยาว 8:42 นาที, คว้ารางวัล Oscar: Best Short Subjects, Cartoons, นำเสนอเรื่องราวหนึ่งวันหนึ่งคืน ยังโรงสีร้างแห่งหนึ่ง (The Old Mill) ซึ่งกลายเป็นที่อยู่อาศัยของบรรดาสิงสาหาสรรพสัตว์หลากหลายสายพันธุ์ แต่แล้วค่ำคืนนี้กำลังจะถูกพายุฤดูร้อนโหมกระหน่ำเข้าใส่

เกร็ด: The Old Mill (1937) เป็นการ์ตูนเรื่องแรกของ Silly Symphony ย้ายค่ายจัดจำหน่ายจาก United Artists สู่ภายใต้ร่มเงา RKO Radio Pictures

ความสำคัญของ The Old Mill (1937) เป็นการ์ตูนเรื่องแรกของค่าย Walt Disney ที่ทดลองใช้อุปกรณ์ชื่อว่า Multiplane Camera สามารถทำอนิเมชั่นมีความซับซ้อนให้ออกมาดูสมจริง ง่ายดายยิ่งขึ้น! โดยเฉพาะลมพายุ ฝนตก ฟ้าร้อง-ฟ้าผ่า ภาพสะท้อนพื้นผิวน้ำ/ใต้น้ำ แสงสีสัน รวมถึงการเคลื่อนหมุนภาพสามมิติ ซึ่งเทคนิคนี้เหล่านี้ถูกนำไปต่อยอดกับภาพยนตร์อนิเมชั่น Pinocchio (1940), Fantasia (1940), Bambi (1942) ฯ

มองผิวเผินการ์ตูนเรื่องนี้เหมือนไม่มีอะไรน่าสนใจ ก็แค่การทดลองเทคโนโลยี ลูกเล่นอนิเมชั่นใหม่ๆ เนื้อเรื่องราวไม่ได้แฝงข้อคิดอะไร แต่ไฮไลท์คือการใช้โรงสีร้าง (The Old Mill) จำลองภาพสังคมระดับจุลภาค สรรพสัตว์น้อยใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติสุข การมาถึงของลมพายุมรสุม สร้างความสับสนวุ่นวาย ประสบการณ์เฉียดตาย (ถูกใจเจ้านกสองตัวที่ยังคงจู๋จี๋ ดู๋ดี๋ ไม่สนฟ้าถล่มดินทลาย) พอภัยพิบัติเคลื่อนพานผ่าน เช้าวันใหม่ อากาศสดใสเบิกบาน

ชีวิตไม่ว่าจะประสบหายนะ พานผ่านเหตุการณ์ทุกข์ยากลำบากเพียงไหน (เป็นการ์ตูนอีกเรื่องที่เหมาะกับช่วงเวลา Great Depression ยิ่งนัก!) แต่เชื่อเถอะว่าอีกไม่นาน ประเดี๋ยวก็ผ่าน เช้าวันใหม่ทุกสิ่งอย่างจะมีความสว่างสดใส สรรพชีวิตดำเนินต่อไป

ทิ้งท้ายกับการ์ตูนเรื่องสุดท้าย #75 The Ugly Duckling (1939) กำกับโดย Jack Cutting & Clyde Geronimi, ความยาว 8:59 นาที, คว้ารางวัล Oscar: Best Short Subjects, Cartoons ดัดแปลงจากเทพนิยาย (Fairy Tale) The Ugly Duckling (1843) ของ Hans Christian Andersen, เรื่องราวของลูกเป็ดขี้เหร่ เพราะมันมีรูปร่างสีสันแตกต่างจากตัวอื่น เลยถูกขับไล่ ผลักไส จำเป็นต้องออกหาที่อยู่ใหม่ แต่ไม่ว่าเดินทางไปแห่งหนไหน ล้วนไม่มีใครยินยอมรับเข้าฝูง จนกระทั่งได้พบเจอแม่เป็ดที่มีรูปร่างสีสันแบบเดียวกันตนเอง

เกร็ด: ก่อนหน้านี้เคยมีการสรรค์สร้าง #25 The Ugly Duckling (1931) ฉบับขาว-ดำ กำกับโดย Wilfred Jackson, ความยาว 7:11 นาที, นั่นทำให้การ์ตูนเรื่องนี้คือเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่มีการสร้างสองครั้งของ Silly Symphony

มองผิวเผินเรื่องราวของลูกเป็ดขี้เหร่ แฝงข้อคิดเกี่ยวกับการติดตามหาบุคคลที่สามารถให้การยินยอมรับ เข้าใจในความเป็นตัวของเราเอง แต่ประเด็นคือการ์ตูนเรื่องนี้มีสีผิวเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้หลายคนมองถึงการแบ่งแย่ง กีดกัน เราควรอาศัยอยู่กับพรรคพวก สีผิว เชื้อชาติพันธุ์เดียวกัน (แฝงใจความ Racism คนดำก็ควรอยู่กับคนดำ ไม่ควรยุ่งเกี่ยวข้องแว้งกับคนขาว)

Silly Symphony ถือเป็นหนึ่งในการ์ตูนซีรีย์ประสบความสำเร็จสูงสุดตลอดกาล! มีถึง 7 เรื่องสามารถคว้ารางวัล Oscar: Short Subject, Cartoons สถิติมากสุดเทียบเท่า MGM: Tom and Jerry (1940-67) [แต่ถ้านับรวมเรื่องที่เข้าชิง Tom and Jerry มีจำนวนมากกว่าถึง 13 เรื่อง!]

  • Flowers and Trees (1932)
  • Three Little Pigs (1933)
  • The Tortoise and the Hare (1935)
  • เข้าชิง Who Killed Cock Robin? (1935)
  • Three Orphan Kittens (1935)
  • The Country Cousin (1936)
  • The Old Mill (1937)
  • เข้าชิง Mother Goose Goes Hollywood (1938)
  • The Ugly Duckling (1939)

หลังปิดฉากซีรีย์ Silly Symphony เมื่อปี ค.ศ. 1939 สองทศวรรษถัดมา Disney ก็ตัดสินใจรื้อฟื้นการ์ตูนชุดนี้ขึ้นมาใหม่ในช่วงทศวรรษ 50s แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเทียบเท่าของเก่า (เพราะยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว) จนกระทั่งแผนกสร้างอนิเมชั่นขนาดสั้นปิดกิจการลงเมื่อปี ค.ศ. 1962

แต่ถึงแผนกการ์ตูนสั้นจะปิดไปแล้ว นานๆครั้งยังมีการหวนกลับมาสรรค์สร้าง Silly Symphony ในลักษณะรายการพิเศษ ส่งฉายตามเทศกาลอนิเมชั่น และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 ทำการแปะติดหน้าภาพยนตร์อนิเมชั่น (เลียนแบบ PIXAR ที่มักมีการ์ตูนสั้นแปะหน้า)

จริงๆมันไม่เชิงว่า Silly Symphony คือจุดเริ่มต้นการ์ตูนซีรีย์ ในยุคหนังเงียบก็มีหลากหลายอนิเมชั่นซีเรียล (Serial) ยกตัวอย่าง Felix the Cat (1919-30), Laugh-O-Gram (1921-23), Aesop’s Fables (1921-29) ฯ แต่เพราะไม่ได้ประสบความสำเร็จ สร้างหมุดหมายให้วงการ ส่วนใหญ่เลยถูกลืมเลือนตามกาลเวลา

ความสำเร็จของ Silly Symphony ยังนำสู่กระแสนิยมการ์ตูนซีรีย์ ลอกเลียนแบบโดยสตูดิโอคู่แข่ง Warner Bros: Looney Tunes (1930-69), Warner Bros: Merrie Melodies (1931-69), MGM: Happy Harmonies (1934-38), Universal: Swing Symphony (1941-45) … แค่ชื่อก็บ่งบอกอย่างชัดเจน!


สำหรับคนชื่นชอบของสะสม เมื่อปี ค.ศ. 2001 มีการจัดจำหน่าย DVD Boxset ชื่อว่า Walt Disney Treasures ซึ่งก็มีหลากหลายคอลเคลชั่นให้สะสม Mickey Mouse in Black and White, Mickey Mouse in Living Color, Silly Symphonies, The Complete Goofy, The Chronological Donald, Walt Disney on the Front Lines ฯลฯ

คลังการ์ตูนของ Disney ดูแล้วน่าจะเป็นพันๆเรื่อง ดีวีดีหลายร้อยแผ่น ถ้าซื้อไม่ไหวก็ลองหาชมจาก Youtube เอานะครับ … จะว่าไป Disney เหมือนไม่ค่อยจริงจังกับการไล่เก็บคลิปเถื่อน(ใน Youtube)สักเท่าไหร่ คงเพราะคุณภาพแย่ๆ ทำให้ผู้ชมขวนขวายสมัคร Disney+ ก็จบเรื่อง!

ในบรรดา Silly Symphony ผมเห็นพ้องกับ Hayao Miyazaki ไม่มีเรื่องไหนยอดเยี่ยมไปกว่า The Old Mill (1937) ทั้งเทคนิค ลูกเล่นอนิเมชั่น ไม่ใช่แค่ความตื่นตาตื่นใจ งดงามระดับวิจิตรศิลป์ แต่ยังเรื่องราวพานผ่านภัยพิบัติทางธรรมชาติ สามารถสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้ชม มีชีวิตพานผ่านช่วงเวลาทุกข์ยากลำบาก (ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบหายนะทางธรรมชาติบ่อยมากๆ) เช้าวันใหม่ทุกสิ่งอย่างจะมีความสว่างสดใส … มาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์!

ส่วนสองเรื่องถัดมาที่ก็คุณภาพระดับมาสเตอร์พีซ (แต่ระดับวงการอนิเมชั่น) และยังแฝงสาระข้อคิดอันเป็นประโยชน์ต่อเด็กๆ สมควรค่าแก่การ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ประกอบด้วย Three Little Pigs (1933) และ The Ugly Duckling (1939) … เรื่องหลังอาจมีประเด็น ‘Racism’ แต่ก็ท้าทายผู้ชมสมัยใหม่ มองหาความเข้าใจที่ถูกต้อง

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | Silly Symphony การทดลองไร้สาระของ Walt Disney แต่กลับเต็มไปด้วยหมุดไมล์แห่งวงการอนิเมชั่น
คุณภาพ | มุล์
ส่วนตัว | ตกหลุมรัก

Steamboat Willie (1928)


Steamboat Willie (1928) hollywood : Walt Disney, Ub Iwerks ♥♥♥♡

อาจไม่ใช่การ์ตูนใส่เสียง (Synchronized Sound) เรื่องแรกของโลก! แต่ทว่า Steamboat Willie (1928) คือเรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จโด่งดัง กลายเป็นรากฐานวงการอนิเมชั่น จุดกำเนิด Mickey Mouse และ Walt Disney

การมาถึงของ The Jazz Singer (1927) ภาพยนตร์ที่ถือกันว่าเป็นหนังพูด (Talkie) เรื่องแรกของโลก! สร้างความเชื่อมั่นให้นาย Walt Disney นั่นย่อมคืออนาคตวงการอนิเมชั่นเฉกเช่นเดียวกัน ทำการลองผิดลองถูก ถ้าไล่เรียงถือว่าเป็นการ์ตูนใส่เสียงเรื่องที่สามถัดจากซีรีย์ Song Car-Tunes (1924-27) และ Dinner Time (1928) [เรื่องหลังออกฉายก่อนหน้า Steamboat Willie แค่เพียงเดือนเดียว] แต่ทั้งสองเรื่องต่างไม่ประสบความสำเร็จ สร้างแรงกระเพื่อมใดๆให้เกิดขึ้น

สิ่งที่ทำให้ Steamboat Willie (1928) ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม! ก็คือวิสัยทัศน์ของนาย Walt Disney กล้าได้กล้าเสี่ยง กล้าทดลองแนวคิดใหม่ๆ พยายามทำออกมาให้ภาพและเสียง (Sound Effect) สอดคล้องตรงกัน (หรือที่เรียกว่า ‘Synchronized Sound’) ไม่เหมือนยุคสมัยนี้ที่มีโปรแกรมตัดต่อ สามารถแทรกใส่ ขยับเคลื่อนย้าย ทดลองผิดลองถูกได้มากมาย ยุคสมัยนั้นทำได้เพียงบันทึกเสียงม้วนเดียวจบ วิธีการก็คือสร้าง Bar Sheet ที่ลงรายละเอียดไม่ใช่แค่ทำนองเพลงประกอบ แต่ยังเสียงประกอบ จับเวลาให้ตรงกันด้วยเครื่องเคาะจังหวะ (Metronome) และเวลาเข้าห้องอัดเสียงจะมีสัญลักษณ์บางอย่างปรากฎขึ้นบนฟีล์ม สำหรับวาทยากรควบคุมช้า-เร็ว รับรู้ว่าขณะนี้ถึงท่อนไหน อะไรยังไงต่อไป

หลายคนที่ได้รับชม Steamboat Willie (1928) คงรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ในสไตล์ Slapstick Comedy พบเห็นประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้น Mickey Mouse และ Walt Disney, แตกต่างจากผู้ชมสมัยนั้นที่ไม่เคยพบเห็นอะไรแบบนี้มาก่อน จึงเต็มไปด้วยความน่าตื่นตาตะลึง หัวเราะลั่นโรงภาพยนตร์ … กาลเวลาผ่านมา 95 ปี เพิ่งกลายเป็นสมบัติสาธารณะวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2024

I only hope that we never lose sight of one thing—that it was all started by a mouse.

Walt Disney

Walter Elias Disney (1901-66) นักอนิเมเตอร์ โปรดิวเซอร์ หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการอนิเมชั่น เกิดที่ Chicago, Illinois แล้วมาเติบโตยังบ้านฟาร์ม Marceline, Missouri ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในการวาดภาพ โตขึ้นย้ายกลับเข้าเมือง Kansas City, Missouri เข้าเรียนศิลปะ Kansas City Art Institute ต่อด้วย Chicago Academy of Fine Arts, ปลอมอายุเพื่อเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้เป็นคนขับรถพยาบาลให้กับหน่วยกาชาด (Red Cross) ใช้เวลาว่างวาดการ์ตูนตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ทหาร Star and Stripe, หลังสิ้นสุดสงครามกลายเป็นเด็กฝึกงาน Pesmen-Rubin Commercial Art Studio ออกแบบโฆษณา โปสเตอร์โรงละคอน และกลายเป็นเพื่อนสนิทสนม Ub Iwerks

Ubbe Ert Iwerks (1901-71) นักอนิเมเตอร์ชื่อดัง เกิดที่ Kansas City, Missouri บิดาอพยพมาจาก East Frisia, Germany ทอดทิ้งครอบครัวไปตอนบุตรชายย่างเข้าสู่วัยรุ่น ทำให้ต้องลาออกจากโรงเรียน ช่วยมารดาทำงานหาเงิน ระหว่างฝึกงาน Pesmen-Rubin Commercial Art Studio สนิทสนมกับนาย Walt Disney ร่วมกันเปิดบริษัท Kansas City Slide Newspaper Company (ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น The Kansas City Film Ad Company) ทีแรกรับงานออกแบบโฆษณา แต่ไม่นานความสนใจของ Disney ผันเปลี่ยนมายังอนิเมชั่นเคลื่อนไหว ร่วมกันสรรค์สร้างการ์ตูนซีรีย์ Laugh-O-Grams (1921-23)

แต่หลังจากสดูดิโอล้มละลายนาย Disney ตัดสินใจออกเดินทางสู่ Los Angeles ก่อตั้งสตูดิโอใหม่ร่วมกับพี่ชาย Roy O. Disney ตั้งชื่อว่า Disney Brothers Cartoon Studio เมื่อปี ค.ศ. 1923 เริ่มต้นสรรค์สร้างซีรีย์ Alice Comedies (1923-27) ส่วนผสมระหว่างคนแสดงและอนิเมชั่น, จากนั้น Disney มอบหมายให้ Iwerks ออกแบบตัวละคร Oswald the Lucky Rabbit ตั้งใจให้เป็น ‘Personality Animation’ คล้ายๆแบบ Charlie Chaplin, Buster Keaton, Harold Lloyd ฯ แต่ทำได้เพียงสองปีกลับถูก Universal Pictures ยึดลิขสิทธิ์ตัวละครไปซะงั้น! แถมทีมงาน นักอนิเมเตอร์แทบทั้งหมดยังโดนซื้อตัวไปอีก (ยกเว้นเพียงเพื่อนสนิท Iwerks ปฏิเสธขายวิญญาณให้ปีศาจ)

บทเรียนจากเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ได้ทำให้นาย Disney เกิดความย่นย่อท้อแท้ มอบหมายให้ Iwerks ครุ่นคิดออกแบบตัวละครขึ้นใหม่อีกครั้ง พยายามวาดสรรพสัตว์ กบ สุนัข แมว วัวตัวเมีย (Clarabelle Cow) ม้าตัวผู้ (Horace Horsecollar) แต่ก็ยังไม่เป็นที่พึงพอใจ จึงขุดคุ้ยภาพวาด รูปถ่ายเก่าๆ หนึ่งในนั้นมีหนูที่ Disney เคยรับเลี้ยงไว้ระหว่างสรรค์สร้าง Laugh-O-Gram

บางแหล่งข่าวอ้างว่านาย Disney เป็นผู้วาดภาพร่างเจ้าหนูน้อย (Original Sketch) ระหว่างอยู่บนขบวนรถไฟ ขากลับจากไปพูดคุยธุรกิจที่ New York City แล้วนำมาส่งต่อให้ Iwerks ทำการปรับปรุงแก้ไข, สำหรับชื่อตัวละคร ในตอนแรกครุ่นคิดไว้คือ Mortimer Mouse แต่ศรีภรรยา Lillian Disney บอกว่ามันหรูหราเกินไป แนะนำให้เปลี่ยนเป็น Mickey Mouse ฟังดูง่ายๆสไตล์อเมริกัน

เกร็ด: ในขณะที่ Ub Iwerks เป็นคนออกแบบตัวละคร, Walt Disney คือบุคคลแรกที่ให้เสียงพากย์จนถึงปี ค.ศ. 1947 เรียกได้ว่า “Ub designed Mickey’s physical appearance, but Walt gave him his soul.”

Iwerks และ Disney ร่วมกันสรรค์สร้างการ์ตูน Mickey Mouse สองเรื่องแรก Plane Crazy (1928) และ The Gallopin’ Gaucho (1928) แต่อาจเพราะขณะนั้นถูกขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) โดย Universal Pictures จึงไม่สามารถหาผู้จัดจำหน่ายนำออกฉาย จนกระทั่งเมื่อมีโอกาสรับชม The Jazz Singer (1927) ภาพยนตร์ที่ถือกันว่าเป็นหนังพูด (Talkie) เรื่องแรกของโลก! นาย Disney บังเกิดความเชื่อมั่นว่าการ์ตูนเสียงย่อมต้องประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน

Plane Crazy (1928): https://www.youtube.com/watch?v=Ll54h-J6dQQ
Gallopin’ Gaucho (1928): https://www.youtube.com/watch?v=1bY6N9Knw3U

แม้ว่าจะมีแรงบันดาลใจจาก The Jazz Singer (1927) แต่ยังไม่มีใครรับรู้ว่าควรต้องเริ่มต้นทำอะไรยังไง จนกระทั่งหนึ่งในนักอนิเมเตอร์ Wilfred Jackson มารดาเป็นครูสอนดนตรี เสนอแนะให้ใช้เครื่องเคาะจังหวะ (Metronome) เริ่มจากเขียนชาร์ทว่าจะให้มีเสียงอะไรดังขึ้นตอนไหน ก่อนพัฒนามาเป็น Bar Sheet (หรือ Exposure Sheet) โดยแต่ละแถว (หกคอลัมน์) คือหนึ่งภาพวาด จุดดำๆในทุกๆแปดแถวแทนด้วย 1 Beat (ไม่ใช่ 1 วินาทีนะครับ แต่คือ 1 ติกของเครื่องเคาะจังหวะ ถ้าตั้งไว้ 60BPM ถึงจะเท่ากับหนึ่งวินาที)

ปล. มันมีการถกเถียงอย่างกว้างขวางว่า ต้นฉบับของ Steamboat Willie (1928) ใช้อัตราเร็ว/เฟรมเรตเท่าไหร่? กี่ภาพต่อวินาที? ที่มันไม่สามารถหาข้อสรุปได้เพราะขึ้นอยู่กับเครื่องฉายด้วยเช่นกัน ยุคสมัยนั้นมีตั้งแต่ 16-18-20-24 fps ไม่ได้มีมาตรฐานเดียวกับฟีล์มสมัยใหม่ (ใครเคยรับชมหนังเงียบมาเยอะจะรับรู้ว่าบางเรื่องมีความเอื่อยเฉื่อย ราวกับภาพสโลโมชั่น เร่งความเร็วสองสามเท่ายังดูรู้เรื่อง) คำตอบอยู่ที่ Bar Sheet ทำให้ค้นพบว่าอนิเมชั่นเรื่องนี้ไม่ได้นับภาพต่อวินาที แต่ใช้ BPM (ฺBeat Per Miniute) ของเครื่องเคาะจังหวะแทน (คาดกันว่าน่าจะประมาณ 90-110 BPM)

Bar Sheet ของ Steamboat Willie (1928)

งานสร้างอนิเมชั่นเริ่มต้น-เสร็จสิ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1928 ความยาว 7.47 นาที ใช้งบประมาณ $4,986.69 เหรียญ (รวมถึงค่าเช่าฉายโรงภาพยนตร์สัปดาห์ละ $500 เหรียญ) ซึ่งก่อนจะเริ่มบันทึกเสียง มีการทดลองฉายวันที่ 29 กรกฎาคม พร้อมๆสร้างเสียงแบบสดๆ โดยให้ Wilfred Jackson เป่าฮาร์โมนิก้า, Ub Iwerks ตีหม้อ เคาะกระทะ (เสียงเครื่องกระทบ), Johnny Cannon ทำเสียงอื่นๆอย่าง ผิวปาก ถุยน้ำลาย และนาย Walt Disney พากย์เสียงตัวละคร ส่งเสียงหัวเราะ คำรามลั่น ฯ

ผลลัพท์จากการทดลองฉายถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากๆ บรรดาพนักงาน(และภรรยา)ต่างมีปฏิกิริยาตอบสนอง ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าว ผิวปาก หัวเราะลั่นตลอดการฉาย นั่นสร้างความเชื่อมั่นให้กับนาย Disney ว่าต้องทำสำเร็จได้แน่

The effect on our little audience was nothing less than electric. They responded almost instinctively to this union of sound and motion. I thought they were kidding me. So they put me in the audience and ran the action again. It was terrible, but it was wonderful! And it was something new!

Walt Disney

I’ve never been so thrilled in my life. Nothing since has ever equaled it.

Ub Iwerks

จากนั้นนาย Disney ออกเดินทางสู่ New York City เพื่อมองหาบริษัทสำหรับบันทึกเสียง … ยุคสมัยนั้นพวกบริษัทเครื่องเสียงกระจุกตัวอยู่ New York ยังไม่มีใครมาเปิดกิจการฟากฝั่ง Hollywood, Los Angeles เพราะอยู่ในช่วงหนังเงียบ (Silent Film) กระแสหนังพูด (Talkie) เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น!

หลังจากใช้เวลาสักพักในการค้นหาบริษัทบันทึกเสียง ก็ได้พบเจอกับ Patrick Anthony Powers (1869-1948) โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ตั้งแต่ยุคแรกๆ ผู้ซึ่งเล็งเห็นอนาคตของหนังเสียง (Sound Film) เคยพยายามประมูล/ซื้อต่อบริษัทที่ล้มละลาย DeForest Phonofilm แต่เพราะเงินทุนไม่หนาพอ เลยก่อตั้งบริษัทใหม่ Powers Cinephone ด้วยนำเอาอุปกรณ์ของ DeForest Phonofilm มาลอกเลียน ปรับปรุงให้มีคุณภาพดีขึ้นกว่าเก่า

Powers is a very much respected personage in the film business; he is very shrewd and capable, he is careful and cautious.

Walt Disney

ในส่วนของการบันทึกเสียง (Soundtrack + Sound Effect) ทำกันที่ New York City เพราะนาย Disney ต้องการให้สร้างเสร็จออกฉายยัง Colony Theater ซึ่งตั้งอยู่ละแวก Broadway เชื่อว่าผู้ชมแถบนี้มีความมักคุ้นเคยกับละคอนเวที การแสดงที่ใช้เสียง น่าจะทำให้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

การบันทึกเสียงครั้งแรกวันที่ 15 กันยายน ว่าจ้างวาทยากร Carl Edouarde พร้องกับวงออร์เคสตรา Green Brothers Novelty Band (เครื่องดนตรี 17 ชิ้น) และนักทำเสียง Sound Effect ผู้มีประสบการณ์ แต่ผลลัพท์กลับล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะวาทยาการไม่สามารถควบคุมจังหวะช้าเร็วให้สอดคล้องเข้ากับอนิเมชั่น

สองสัปดาห์ถัดมา Disney กลับมาพร้อมฟีล์มม้วนใหม่ ที่มีการวาดลูกบอลสีแดงในทุกๆแปดเฟรม (มีคำเรียก Bouncing Ball) เพียงเท่านั้นก็ทำให้วาทยากรสามารถใช้เป็นจุดสังเกต อ้างอิง สำหรับเพิ่มลดความเร็ว ทดลองอยู่ไม่กี่ครั้งก็สามารถบันทึกเสียงได้สำเร็จลุล่วง!

เกร็ด: ว่ากันว่านาย Walt Disney ต้องขายรถยนต์ Moon Roadster เพื่อใช้เป็นทุนสำหรับการบันทึกเสียงครั้งที่สอง ถ้าไม่สำเร็จรอบนี้เห็นแซวกันว่าอาจต้องขายบ้านแล้วละ!


ในส่วนของเพลงประกอบไม่มี Original Score แต่ทำการเรียบเรียงโดย Wilfred Jackson และ Bert Lewis จากสองบทเพลงที่หลายคนน่าจะรับรู้จักกันเป็นอย่างดี

Steamboat Bill (1910) ต้นฉบับแต่งโดย Leighton Brothers คำร้องโดย Ren Shields สำหรับใช้ทำการแสดงละคอนเร่ (Vaudeville) ได้รับการบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกโดย Arthur Collins เมื่อปี ค.ศ. 1911 กลายเป็นแรงบันดาลใจเรื่องราวหนังเงียบ Steamboat Bill, Jr. (1928) และหนึ่งในเพลงประกอบการ์ตูน Steamboat Willie (1928)

แม้ว่าเรือ Whippoorwill ของกปิตัน Mr. Steamboat Bill จะเป็นชื่อสมมติ แต่อ้างอิงจากเหตุการณ์จริงเมื่อปี ค.ศ. 1870 เคยมีการแข่งขันล่องเรือกลไฟ (Steamboat Race) ในแม่น้ำ Mississippi River ระหว่างเรือ Robert E. Lee (เจ้าของฉายา Monarch of the Mississippi) และ Natchez … ใครเคยรับชม The Jazz Singer (1927) มีบทเพลงชื่อ Waiting For The Robert E. Lee ขับร้องโดย Al Jolson เนื้อคำร้องอ้างอิงถึงเหตุการณ์นี้เช่นกัน!

Down the Mississippi came the Whippoorwill
Commanded by that pilot, Mr. Steamboat Bill
The owners gave him orders on the strict QT
To try and beat the record of the Robert E. Lee
“Just heat up the fire, let the old smoke roll
Burn up all your cargo, if you run out of coal
If we don’t beat that record,” Billy told the mate
“Send the mail and care to Peter at the Golden Gate.”

[Chorus]
Oh, Steamboat Bill, steaming down the Mississippi
Steamboat Bill, a mighty man was he
Oh, Steamboat Bill, steaming down the Mississippi
Gonna beat the record of the Robert E. Lee!

Up, then, stepped the gambling man from Louisville
Who tried to give a bet against the Whippoorwill
Billy flashed a roll that surely was a bear
The boiler, it exploded, blew them up in the air
The gambler said to Billy as they left the wreck
“I don’t know where we’re going, but we’re neck-and-neck!”
Says Bill to the gambler, “Tell you what I’ll do:
I’ll bet another thousand, I’ll go higher than you!”

[Chorus]

The river’s all in mourning, now for Steamboat Bill
No more you’ll hear the pumping of the Whippoorwill
This crane on every steamboat the blows those streams
From Memphis right to next down to New Orleans
The wife of Mr. William was at home in bed
When she got the telegram that Steamboat’s dead
Said she to the children, “Blessed honey lambs
The next papa that you have will be a railroad man!”

[Chorus]

แซว: ระหว่างอ่านเนื้อเพลงผมก็ขำกลิ้งกับตอนจบ นึกขึ้นได้ว่านี่คือบทเพลงสำหรับทำการแสดงเร่ (Vaudeville) เลยมักมีการตบมุกให้สนุกสนานประมาณนี้

อีกบทเพลงดังจากเจ้าแกะที่รับประทานโน๊ตเพลงเข้าไป เลยถูกแปรสภาพเป็นเครื่อง Phonograph ชื่อว่า Turkey in the Straw บทเพลงแนว American Folk Song ฉบับแรกเริ่มที่มีการตีพิมพ์ ค.ศ. 1834 ไม่รู้ใครแต่ง แถมไม่มีการตั้งชื่อ เพียงระบุว่าใช้ประกอบการแสดง (Minstrel Show) Zip Coon หลังจากนั้นมีความพยายามปรับแก้ไขเนื้อคำร้อง จนกระทั่งได้ข้อสรุปใช้ชื่อ Turkey in the Straw เมื่อปี ค.ศ. 1861

เกร็ด: การแสดง Minstrel Show หรือ Minstrelsy พัฒนาขึ้นโดยชาวอเมริกันในช่วงต้นศตวรรษที่ 19th โดยให้นักแสดงคนขาว แต่งแต้มทาสีผิวให้กลายเป็นดำ (Blackface) เพื่อล้อเลียนชาว African-American

ด้วยความที่เป็นบทเพลงสำหรับการแสดง Minstrel Show บางฉบับมีการดัดแปลงเนื้อคำร้อง “Nigger Love a Watermelon, Ha! Ha! Ha!” คาดเดาไม่ยากว่ามีลักษณะ Racism จะว่าไปไก่งวงในกองฟาง มันอาจแฝงนัยยะอะไรสักอย่างเกี่ยวกับการหลบซ่อนตัวของคนดำ (ในช่วงระหว่างถูกไล่ล่าโดย KKK)

Turkey in the straw, turkey in the hay,
Turkey in the straw, turkey in the hay
Roll ’em up and twist ’em up a high tuckahaw
And twist ’em up a tune called Turkey in the Straw.

เกร็ด: จากคำกล่าวอ้างของผู้รอดชีวิต Turkey in the Straw คือหนึ่งในบทเพลงได้รับการบรรเลงระหว่างเรือ RMS Titanic จมลงเมื่อปี ค.ศ. 1912

ระหว่างผมไล่ดูฉบับดัดแปลง Turkey in the Straw ค้นพบว่าหนึ่งในนั้นคือบทเพลง Skip To My Lou จากภาพยนตร์ Meet Me in St. Louis (1944) แต่เป็นลักษณะอ้างอิงท่อนสั้นๆผ่านการเล่นฟิดเดิล (Fiddle) เสียงผิวปาก และบางท่อนคำร้อง

เช่นเดียวกับ Back to the Future Part III (1990) เรียบเรียงโดย Alan Silvestri และ ZZ Top ดังขึ้นช่วงระหว่างที่แก๊งค์ย้อนเวลากลับสู่อดีต ยุคสมัย Western เหมาะเจาะดีแท้!

เรื่องราวของ Steamboat Willie (1928) เริ่มต้นด้วย Mickey Mouse กำลังเพลิดเพลินกับควบคุมพวงมาลัยเรือ Steamboat Willie ดำเนินไปตามทิศทางความฝัน แต่แล้วจู่ๆถูกกปิตัน Pete ขึ้นมาขับไล่ให้ลงไปทำความสะอาดชั้นล่าง สร้างความหงุดหงิด แสดงปฏิกิริยาไม่พึงพอใจลับหลัง สาปแช่งให้อีกฝ่ายผลกรรมตามทัน … ซึ่งก็ตามทันเร็วมากหลังจากเคี้ยวยาสูบ ถ่มน้ำลาย ลมหวนพัดโดนใบหน้าตนเอง

จากนั้นเรือกลไฟแวะจอดเทียบท่า รับส่งสินค้า แต่ทว่า Minnie Mouse กลับมาถึงช้า ทำให้ต้องออกวิ่งไล่ล่า โชคดีได้รับความช่วยเหลือจาก Mickey เกี่ยว(กางเกงใน)ขึ้นเรือทันอย่างหวุดหวิด … เสี้ยมสอนให้รู้จักการตรงต่อเวลา รับรู้ภาระหน้าที่ของตนเอง

โน๊ตเพลงที่ Minnie นำขึ้นเรือมา โดยไม่รู้ตัวด้วยถูกเจ้าแกะโง่เคี้ยวเอื้องรับประทาน Mickey จึงแปรสภาพมันเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียง Turkey in the Straw จากนั้นทั้งสองก็เริ่มร้องรำทำเพลง ใช้สิ่งข้าวของต่างๆแทนเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ … นัยยะของการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส คล้ายๆการ์ตูนเรื่องนี้ที่พานผ่านอะไรมาเยอะมากๆ ทำในสิ่งคนส่วนใหญ่มองว่าไม่น่าเป็นไปได้ (Absurdity) ให้ภาพยนตร์สามารถส่งเสียงออกมา

มองผิวเผินเรื่องราวของ Steamboat Willie (1928) ดูไม่ได้มีเนื้อหาสาระอะไร เพียงความสนุกสนาน สร้างเสียงหัวเราะ เพลิดเพลินผ่อนคลาย แต่พฤติกรรมบ้าอำนาจของกปิตัน Pete ชัดเจนมากๆว่าต้องการสื่อถึงโปรดิวเซอร์สตูดิโอ Universal Pictures ที่ลักขโมยผลงาน ทำลายโอกาสของตนเอง แม้มิอาจต่อต้านขัดขืน ก็พร้อมจะทำสิ่งลับหลังเพื่อโต้ตอบเอาคืน (ตัวละคร Mickey Mouse แทบจะคือส่วนย่นย่อของ Oswald the Lucky Rabbit) และท้ายสุดถ้าสมมติว่าถูกจับ ติดคุกเรื่องลิขสิทธิ์ ก็พร้อมเขวี้ยงขว้างมันฝรั่งใส่นกแก้วจนพลัดตกน้ำ “Help! Help! Man overboard!” สักวันฉันต้องได้ล้างแค้นเอาคืนอย่างสาสม!


ถ้าไม่นับการทดลองฉาย Steamboat Willie (1928) เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ ณ โรงภาพยนตร์ Colony Theater, New York City (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Broadway Theatre) วันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928 เริ่มต้นแค่สองสัปดาห์ปะหน้าหนังเสียง Gang War (1928) [ฟีล์มสูญหายไปแล้ว] แต่ด้วยกระแสตอบรับดียอดเยี่ยม เลยได้ตระเวนออกฉายตามหัวเมืองใหญ่ๆ และส่งออกต่างประเทศ

Not the first animated cartoon to be synchronized with sound effects, but the first to attract favorable attention. This one represents a high order of cartoon ingenuity, cleverly combined with sound effects. The union brought forth laughs galore. Giggles came so fast at the Colony [Theater] they were stumbling over each other. It’s a peach of a synchronization job all the way, bright, snappy, and fit the situation perfectly.

นักวิจารณ์จากนิตยสาร Variety ฉบับวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928

This is what Steamboat Willie has: First, a clever and amusing treatment; secondly, music and sound effects added via the Cinephone method. The result is a real tidbit of diversion. The maximum has been gotten from the sound effects. Worthy of bookings in any house wired to reproduce sound-on-film. Incidentally, this is the first Cinephone-recorded subject to get a public exhibition and at the Colony [Theater], New York, is being shown over Western Electric equipment.

นักวิจารณ์จากนิตยสาร The Film Daily ฉบับวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928

ดั้งเดิมนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ Copyright Act of 1909 มีอายุแค่ 28 ปี แต่สามารถยื่นคำร้อง ขอต่อเพิ่มได้ 14-28 ปี รวมระยะเวลามากสุด 56 ปี! ซึ่งการ์ตูน Steamboat Willie ออกฉายปี ค.ศ. 1928 จึงควรต้องสิ้นสุดปี ค.ศ. 1956 แล้วทำเรื่องขอขยายระยะเวลาจนถึงปี ค.ศ. 1984

แต่ระหว่างนั้นมีกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ Copyright Act of 1976 สำหรับผลงานสร้างขึ้นก่อนปี ค.ศ. 1978 จะได้รับการยืดระยะเวลาเพิ่มเป็น 75 ปี ก็เท่ากับว่า Steamboat Willie ได้รับการขยับขยายให้สิ้นสุดปี ค.ศ. 2003 โดยปริยาย

เพราะรับรู้ว่าสิทธิ์การคุ้มครองใกล้หมดสิ้น สตูดิโอ Walt Disney ทำการล็อบบี้นักการเมืองอย่างหนัก จนสามารถออกกฎหมายเพิ่มเติม Copyright Term Extension Act of 1998 หรือที่ใครๆเรียกกันอย่างไม่อ้อมค้อม Mickey Mouse Protection Act โดยเพิ่มข้ออ้างผลงานเกิดจากบริษัทจำกัด (Corporatie Authorship) ให้สามารถถือครองลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นเป็น 95 ปี ก็เท่ากับว่า Steamboat Willie ต่อลมหายใจเฮือกสุดท้ายจนถึง ค.ศ. 2023 … สิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2024

จริงอยู่ว่าลิขสิทธิ์ Steamboat Willie (1928) ปัจจุบันได้กลายเป็นสมบัติสาธารณะ (Public Domain) แต่ด้วยลูกเล่ห์ของ Walt Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ได้ผนวกเอาคลิปจาก Steamboat Willie มาเป็นโลโก้สตูดิโอ Walt Disney Animation ซึ่งนั่นทำให้บางส่วน(ที่ปรากฎบนโลโก้)แปรสภาพกลายเป็นเครื่องหมายการค้า (Trademark) ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอีกฉบับ Trademark Law ไม่ให้ทำการลอกเลียนแบบ (กฎหมายนี้ไม่มีอายุความ เพราะถือเป็นสัญลักษณ์ของบริษัท ได้รับการคุ้มครองตลอดไป)

หลังจาก Steamboat Willie (1928) กลายเป็นสมบัติสาธารณะ ก็มีความพยายามจัดจำหน่าย NFT (Non-Fungible Token) ค้นหาคลิปใน Youtube พบเจอบูรณะ 4K, ใส่สีสัน (Colorization), ทำเป็นสามมิติ ฯ นั่นเป็นสิ่งที่สตูดิโอ Walt Disney ไม่เคยครุ่นคิดทำมาก่อน ไม่รู้เหมือนกันว่าจะสามารถเอาตัวรอดจากการถูกลบ/ฟ้องร้องได้นานแค่ไหน

ความเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการของสตูดิโอ Walt Disney เป็นสิ่งเข้าใจไม่ยากเลยนะ! นั่นเพราะ Steamboat Willie (1928) คือผลงานที่เป็นจุดกำเนิด เริ่มต้น ใครกันจะไม่หึงหวงแหน อีกทั้งบริษัทก็ยังประกอบธุรกิจ กิจการมั่งคั่ง ไม่ได้ล่มสลาย สูญหาย เลยมีเงินทุนต่อสู้ พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้พวกอีแร้งกา ฉกฉวย แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งของตน

แซว: จะว่าไปเหตุผลที่นาย Walt Disney ริเริ่มต้นสรรค์สร้าง Steamboat Willie (1928) ก็เนื่องจากปัญหาลิขสิทธิ์ตัวละครกับ Universal Pictures เกือบร้อยปีถัดมาการ์ตูนเรื่องนี้ก็ยังวุ่นๆวายๆ ไม่เลิกรากับปัญหาลิขสิทธิ์เสียที!

ส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบการ์ตูนเรื่องนี้ แม้หลายสิ่งอย่างจะดูเฉิ่มเชย ล้าหลัง (โดยเฉพาะพฤติกรรม Bully, Racism และ Animal Cruelty) แต่เพราะมันคือครั้งแรกๆของวงการอนิเมชั่น จึงเต็มไปด้วยการทดลองผิดลองถูก ได้ผลลัพท์อันน่าอึ่งทึ่ง สร้างความสนุกสนาน ครื้นเครง อลเวง เสียงผิวปากและท่าเต้น Mickey Mouse มันคือวินาที ‘Iconic’ ยิ่งใหญ่ไม่ด้อยไปกว่าคำพูดประโยคแรกของ Al Jolson กล่าวว่า “Wait a minute, wait a minute. You ain’t heard nothin’ yet”

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | Steamboat Willie จุดเริ่มต้นของ Mickey Mouse และ Walt Disney ที่กลายเป็น ‘Iconic’ แห่งวงการอนิเมชั่นและภาพยนตร์
คุณภาพ | ไอคอนนิก
ส่วนตัว | สนุกสนาน

Skazka skazok (1979)


Tale of Tales (1979) USSR : Yuri Norstein ♥♥♥♥♡

ขูดๆขีดๆเรื่องเล่าความทรงจำ นำเสนอผ่านมุมมองเจ้าหมาป่าน้อย (Grey Wolf) พบเห็นความวุ่นๆวายๆของมนุษย์ชาวรัสเซีย ในช่วงคาบเกี่ยวสงครามโลกครั้งที่สอง ตัดสลับระหว่างโลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Mirror (1975)

หลังความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Hedgehog in the Fog (1975) จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผกก. Yuri Norstein จะสรรค์สร้างผลงานถัดไปให้ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่กว่า, Tale of Tales (1979) เป็นอนิเมชั่นที่บอกเลยว่าคาดไม่ถึง มาเหนือจินตนาการ! แต่หลายคนคงส่ายหัว บ่นอุบ กุมขมับ แม้งสลับซับซ้อนชิบหาย ดูไม่รู้เรื่องเลยสักนิด!

ก็แน่ละ! อนิเมชั่นเรื่องนี้มีความละม้ายคล้ายโคตรภาพยนตร์ Mirror (1975) ของผกก. Andrei Tarkovsky ที่เลื่องชื่อในความสลับซับซ้อน ดำเนินเรื่องแบบไร้โครงสร้าง (Non-Narrative) กระโดดไปมาระหว่างอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน (Non-Chronological Order) ไม่งอนง้อผู้ชม ดูไม่รู้เรื่องก็ช่างหัวมึง! แต่ถ้าคุณสามารถปีนป่ายบันได อาจพบเห็นสรวงสวรรค์ ศิลปะขั้นสูง ความเป็นศิลปินของผู้สร้าง ไม่ใช่ทุกคนจักมีศักยภาพชื่นเชยชม

(ถ้าคุณสามารถรับชม ทำความเข้าใจ Mirror (1975) เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาใดๆกับ Tale of Tales (1979) เรื่องนี้ดูง่ายกว่ามากๆ)

เอาจริงๆผมรับรู้จัก Tale of Tales (1979) ก่อนหน้า Hedgehog in the Fog (1975) เสียอีกนะ! นั่นเพราะอนิเมชั่นเรื่องนี้ติดอันดับ #202 (ร่วม) ชาร์ท Sight & Sound: Critic’s Poll 2012 (เป็นเพียง 1 ใน 3 อนิเมชั่นที่ติดชาร์ทภาพยนตร์นี้ อีกสองเรื่องคือ My Neighbor Totoro (1988) และ Spirited Away (2001)) น่าเสียดายหลุดโผในการจัดอันดับล่าสุด

แต่ชาร์ทเทศกาลอนิเมชั่น Laputa Animation Festival: Top 150 Japanese and World Animation (2003) จากการลงคะแนนโดยนักอนิเมเตอร์ คนในวงการอนิเมะกว่า 140 คน ลงมติให้ Hedgehog in the Fog (1975) เป็นอันดับ #1 ขณะที่ Tale of Tales (1979) ติดตามมาอันดับ #2

ความแตกต่างของทั้งสองชาร์ทนี้แสดงให้เห็นว่า Hedgehog in the Fog (1975) น่าจะถูกอกถูกใจคนในวงการอนิเมชั่น, ขณะที่ Tale of Tales (1979) ด้วยความลุ่มลึกล้ำ สลับซับซ้อน ท้าทายศักยภาพ เลยได้รับยกย่องจากผู้ชมวงกว้าง งานศิลปะขั้นสูง มาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์!

เห็นแบบนี้ทำให้ผมโคตรๆคาดหวังกับ Tale of Tales (1979) แม้ระหว่างรับชมจะดูไม่ค่อยรู้เรื่องสักเท่าไหร่ แต่พบเห็นความซับซ้อนของอนิเมชั่น (ยิ่งกว่าละอองหมอกของ Hedgehog in the Fog เสียอีก!) และเพลงประกอบ Bach, Mozart โดยเฉพาะ Tango Polish ชื่อว่า To ostatnia niedziela (1935) (ยังคงติดหูมาจาก Burnt by the Sun (1994)) เลยเกิดความเคลิมเคลิ้ม หลงใหล สัมผัสถึงความตั้งใจของผกก. Norstein … เอาว่าผมชื่นชอบอนิเมชั่นเรื่องนี้มากกว่าภาพยนตร์ Mirror (1975) แต่เมื่อเทียบกับ Hedgehog in the Fog (1975) ยังต้องขอขบครุ่นคิดอีกสักพัก

เกร็ด: Tale of Tales (1979) ยังคือภาพยนตร์/อนิเมชั่นเรื่องโปรดของผู้กำกับ Hayao Miyazaki


Yuri Borisovich Norstein, Ю́рий Бори́сович Норште́йн (เกิดปี 1941) ผู้กำกับ/นักอนิเมเตอร์ สัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Andreyevka, Penza Oblast ในครอบครัวเชื้อสาย Jews ระหว่างที่มารดาพร้อมพี่ๆกำลังอพยพหลบหนีสงคราม (ส่วนบิดาออกรบแนวหน้า) ภายหลังปักหลักอยู่ Maryina Roshcha, Moscow ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในงานศิลปะ โตขึ้นเคยทำงานช่างไม้ ณ โรงงานเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่ง ก่อนตัดสินใจเข้าเรียนคอร์สอนิเมชั่นของสตูดิโอ Soyuzmultfilm แล้วได้รับว่าจ้างงาน เริ่มจากทำอนิเมเตอร์ Who Said “Meow”? (1962), ร่วมกำกับอนิเมชั่นเรื่องแรก 25th October, the First Day (1968), แจ้งเกิดกับ The Battle of Kerzhenets (1971), The Fox and the Hare (1973), The Heron and the Crane (1974), Hedgehog in the Fog (1975) ฯ

ความสนใจของผกก. Norstein มักดัดแปลงจากปรัมปรา นิทานพื้นบ้านรัสเซีย ซึ่งมีเนื้อหาสาระข้อคิดสำหรับเด็กๆ (และผู้ใหญ่) นิยมชมชอบใช้ตัวละครที่เป็นสัตว์ สุนัขจิ้งจอก, กระต่ายป่า, นกกระเรียน, เม่นน้อย ฯ ต้องเผชิญหน้าพานผ่านช่วงเวลายุ่งยากลำบาก เพื่อพิสูจน์ตนเอง ค้นพบเจอเป้าหมายชีวิต

The Battle of Kerzhenets (1971): https://www.youtube.com/watch?v=fWKOvaDkxPc
The Fox and the Hare (1973): https://www.youtube.com/watch?v=9FUzM7KbPZg
The Heron and the Crane (1974): https://www.youtube.com/watch?v=BuobSn9jA5M

ผกก. Norstein มีความสนิทสนมกับนักเขียน Lyudmila Petrushevskaya, Людмила Петрушевская (เกิดปี 1938) มานานหลายปี วันหนึ่งเดินทางไปพูดคุย สนทนาแลกเปลี่ยน เล่าถึงความทรงจำ ประสบการณ์ชีวิต ครุ่นคิดอยากทำอะไรสักอย่างที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกอัดอั้นทรวงใน แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง

Petrushevskaya ที่เพิ่งคลอดบุตรได้ไม่นาน เมื่อรับฟังเรื่องเล่าของผกก. Norstein สามารถเชื่อมโยงเข้ากับตนเอง จึงเริ่มต้นร่างรายการ เขียนถึงสิ่งที่พวกเขาเคยพานผ่าน สัมผัสทางอารมณ์ ประสบการณ์ชีวิตใกล้เคียงกัน โดยไม่ได้พยายามทำออกมาเป็นเรื่องเป็นราวใดๆ “The mental state of the co-authors was more important when writing the script than structured ideas”

เมื่อตอน Hedgehog in the Fog (1975) มีพัฒนาบทอนิเมชั่นที่มีเพียงข้อความรายละเอียด คำบรรยายถึงสิ่งต้องการแทรกใส่เข้ามาในเฟรมภาพ, สำหรับโปรเจคใหม่นี้ผิดแผกแปลกประหลาดยิ่งกว่าเเก่า คือมีเพียงการอ้างอิงบทกวี กล่าวถึงภาพวาด เพลงคลาสสิก สิ่งสามารถสร้างสัมผัสทางอารมณ์ “to create a creative mood” ไม่มีโครงสร้าง เนื้อเรื่องราวใดๆ ซึ่งตอนถ่ายทำจริงๆผกก. Norstein จะทำการตีความ ดั้นสด ‘improvised’ นำเอาทุกสิ่งอย่างมาผสมผสานคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน

It is enough for me to have those reference points, those painful pricks that the author [Lyudmila Petrushevskaya] gave me in her script and from which the action of the movie will grow later. During filming, it is enough for a certain gesture to appear in the literal sense of the word, which was neither anticipated in the script nor planned in a premeditated montage phrase, as it is necessary to rearrange the whole thing accordingly

Yuri Norstein

เมื่อตอนนำเสนอโปรเจคนี้ ให้คำอธิบายเรื่องราว “film about memory”, “poet who couldn’t write” โดยปกติแล้วไม่น่าจะผ่านการอนุมัติ แต่เพราะความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Hedgehog in the Fog (1975) กองเซนเซอร์ Goskino เลยไม่ได้ทักท้วง หักห้ามปราม ยินยอมให้อิสรภาพในการสรรค์สร้างผลงาน

ในตอนแรกนักเขียน Petrushevskaya ตั้งชื่อโปรเจคนี้ตามบทเพลงพื้นบ้านรัสเซีย (ที่ได้ยินบ่อยครั้งในอนิเมชั่น) Придёт серенький волчок อ่านว่า Pridyot serenkiy volchok แปลว่า The Little Grey Wolf Will Come แต่ถูกกองเซนเซอร์สั่งให้ไปเปลี่ยนใหม่เพราะว่า “some kind of ominous prediction” ผกก. Norshtein เลยเลือกใช้ Сказка сказок อ่านว่า Skazka skazok แปลว่า Tale of Tales นำจากบทกวีของ Nâzım Hikmet (1902-63) ที่ใช้ชื่อภาษา Turkish ว่า Masalların Masalı แปลตรงตัว A Tale of Fairy Tales


เรื่องราวนำเสนอผ่านมุมมองเจ้าหมาป่าน้อย (Grey Wolf) อาศัยอยู่ในป่า ไม่ห่างไกลจากบ้านชนบทหลังหนึ่ง วันๆมันชอบแวะเวียนมาจับจ้อง ถ้ำมอง พบเห็นเด็กทารกกำลังดูดนมมารดา จากนั้นพบเห็นแสงสว่างจร้า ปรากฎภาพจินตนาการเพ้อฝัน มารดากำลังซักผ้า, บุตรสาวเล่นกระโดดเชือกกับวัวยักษ์, นักกวีครุ่นคิดเขียนอะไรไม่ออก ถกเถียงกับเจ้าแมวเหมียว แล้วลุกขึ้นมาเล่นเครื่องดนตรีฮาร์ปพิณ (Lyre Harp), ชาวประมงตกปลาตัวใหญ่ กลับเข้ามาไกวเปลให้ทารกน้อยนอนหลับฝันดี ฯ

หวนกลับมายังโลกความจริง เจ้าหมาป่ายังได้พบเห็นการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้แต่ละครอบครัวต้องส่งผู้ชาย/สามีออกไปรบแนวหน้า (ทำให้บ้านหลังนี้รกร้าง ไม่มีใครพักอาศัย ทำให้เจ้าหมาป่าสามารถเข้ามาหลบซ่อนตัว หลับนอน) แต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถหวนกลับมา

ช่วงท้ายของอนิเมชั่น เจ้าหมาป่าทำการลักขโมยแผ่นกระดาษที่นักกวีเพิ่งแต่งเสร็จ ออกวิ่งไปตามท้องถนน แต่พอมาถึงกลางป่า กลับพบว่ากระดาษแผ่นนั้นกลับกลายเป็นเด็กทารกกำลังร่ำร้องไห้ ไม่รู้จะทำอะไรยังไง เลยจำต้องไกวเปล ร้องเพลงกล่อมเด็กเข้านอน


ในส่วนการออกแบบตัวละคร นี่ถือเป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกๆที่ผกก. Norstein ทำการวาดภาพตัวละครมนุษย์ (ก่อนหน้านี้เห็นแต่สรรพสัตว์) แต่ก็ไม่ได้ใส่รายละเอียดให้ดูสมจริงนัก ซึ่งแต่ละซีเควนซ์จะมีสไตล์ ลายเส้น เล่นกับแสง-เงา สีสัน เพื่อสร้างสัมผัสทางอารมณ์แตกต่างออกไป เท่าที่ผมพอสังเกตได้สามารถแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบด้วยกัน

  • ทารกกำลังดูดนมมารดา ทำออกมาในลักษณะภาพแรเงา (Shading) ดูลุ่มลึก มีมิติ สร้างสัมผัสสมจริงมากที่สุด
    • นั่นเพราะการให้กำเนิดชีวิต ทารกน้อยถือว่ามีความมหัศจรรย์ จึงพยายามทำออกมาให้งดงาม ตราตรึง น่าประทับใจมากที่สุด
    • ทารกน้อยคนนี้สามารถเทียบแทนได้ทั้งผกก. Norstein (ที่เพิ่งถือกำเนิดระหว่างสงคราม) และรวมถึงบุตรของนักเขียน Lyudmila Petrushevskaya ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นานก่อนเริ่มต้นพัฒนาอนิเมชั่นเรื่องนี้
  • ภาพร่างหยาบๆ (Rough Sketches) ดูขาดๆหายๆ เหมือนนำจากสมุดบันทึกเก่าเก็บ เพื่อสื่อถึงความทรงจำวันวาน มักนำเสนอช่วงเวลาแห่งความสุข สนุกสนาน ใช้ชีวิตอย่างเรื่อยเปื่อย ไม่ต้องยี่หร่าอะไรใคร (หรือจะมองว่าคือจินตนาการความฝันของเจ้าหมาป่าน้อยต่อครอบครัวนี้ก็ได้เช่นกัน)
  • สามี-ภรรยากำลังเริงระบำ มีการลงสีอ่อนๆ ตัวละครโยกไปโยกมา ดูไม่ต่างจากหุ่นเชิดชัก ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ ก่อนถูกทำให้พลัดพราก แยกจาก ฝ่ายชายต้องเข้าร่วมสู้รบสงคราม
  • สภาพครอบครัวภายหลังการสูญเสีย พลัดพรากจาก จะมีการลงสีเข้มๆ เต็มไปด้วยเงามืด ริ้วรอยขีดข่วน ทำออกมาเหมือนบาดแผลจากสงคราม นักกวีก็ยังคงไม่รู้จะครุ่นคิดเขียนอะไรยัง
    • ตัวละครนักกวีที่ดูเหมือนมีอาการ ‘writer’s block’ ครุ่นคิดเขียนอะไรออก สามารถเทียบแทนได้ทั้งผกก. Norstein และนักเขียน Lyudmila Petrushevskaya เพราะทั้งสองต่างมีส่วนร่วมกับบทอนิเมชั่นเรื่องนี้ ที่แทบไม่มีเนื้อหา เรื่องราวอะไรอยู่ภายใน
  • ภาพสุดท้ายเต็มไปด้วยสีสัน ดูราวกับอนาคตสดใส ไร้รอยขีดข่วน แต่พื้นหลังปกคลุมด้วยหิมะ สภาพอากาศหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก ฝ่ายชายกรอกสุราเข้าปาก จากนั้นลุกขึ้นออกเดินนำหน้า พร้อมสวมหมวกนโปเลียน
    • ผมมองว่าชายคนนี้น่าจะคือบิดา(ของทารกน้อย/ผกก. Norstein) หลังกลับจากสงครามดูสภาพเหมือนอาการ Shell Shock/PTSD ยังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับความเป็นปกติในชีวิตประจำวัน
    • การสวมหมวกทรงนโปเลียน น่าจะคือการสำแดงอำนาจ เผด็จการในครอบครัว (เหมือนดั่งนโปเปลียน) โดยไม่รู้ตัวสามารถสร้างอิทธิพลให้กับบุตรชาย (เดินติดตามและสวมหมวกนโปเลียนเฉกเช่นเดียวกัน)
    • ส่วนสไตล์ภาพวาด เห็นว่านำแรงบันดาลใจจากผลงานของ Yuri Vasnetsov (1900-73) นักวาดภาพหนังสือสำหรับเด็กที่ทรงอิทธิพลมากๆในรัสเซีย โดดเด่นเรื่องการลงสีสัน โลกสวยสดใส

เกร็ด: ผกก. Norstein มักเป็นคนออกแบบตัวละคร จากนั้นศรีภรรยา Francheska Yarbusova จะขัดเกลาให้มีความเหมาะสมในการทำอนิเมชั่น

สำหรับสรรพสัตว์ จะมีโดดเด่นอยู่เพียง 4-5 ตัว ซึ่งสไตล์การออกแบบรับอิทธิพลจาก Picasso, Rembrandt, Van Gogh, Paul Klee, รวมถึง Yuri Vasnetsov

  • หมาป่าน้อย (Grey Wolf) มันชอบเดินสองขาแบบมนุษย์ สายตาอันบริสุทธิ์ ละอ่อนวัย เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ขี้เล่นซุกซน ขณะเดียวกันก็ดูเหมือนอิจฉาริษยาทารกน้อย เหมือนมันต้องการเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวนี้ ยังคงจดจำช่วงเวลาดีๆ เลือนลางระหว่างโลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน
    • ลักษณะของหมาป่าน้อย แทบจะไม่แตกต่างจากเม่นน้อย Hedgehog in the Fog (1975)
  • วัวกระทิง ชวนให้นึกถึงผลงานของ Picasso โดยปกติแล้วมันควรดุร้าย สัตว์อันตราย แต่ในความทรงจำ/เพ้อฝันของหมาป่าน้อย ยืนสองเท้าได้เหมือนเจ้าหมาป่า ท่าทางเหงาๆ เศร้าๆ ไม่อยากพลัดพรากจากลา โหยหาเพื่อนเล่นกระโดดเชือก … เพราะการกระโดดเชือกต้องมีอย่างน้อยคนหนึ่งคอยหมุนเชือก แต่จนแล้วจนรอด ท้ายสุดเจ้าวัวกระทึงเลยหยิบเชือกมากระโดดเพียงลำพัง
  • แมวเหมียว ถ้าไม่หลับนอน ก็มักต่อล้อต่อเถียงกับนักกวี แต่พอพบเห็นปลาตัวใหญ่ บังเกิดความลุ่มหลงใหล น้ำลายสอ
  • เจ้าปลาใหญ่ มีทั้งตัวที่ถูกชาวประมงจับได้ กลายเป็นอาหารเย็น และอีกตัวใหญ่แหวกว่ายใต้ผืนน้ำ คอยสอดส่องดูแล ราวกับผู้พิทักษ์ (อาจจะแฝงนัยยะเดียวกับ Hedgehog in the Fog (1975))
  • นกกา จิกกินแอปเปิ้ลจากมือของเด็กชาย (ทารกน้อยที่เติบใหญ่) โดยปกติแล้วมันคือสัญลักษณ์สิ่งชั่วร้าย แก่งแย่ง ลักขโมย อนาคตไม่ได้มีสีสันสดใสเหมือนดั่งภาพวาด

ผมมาครุ่นคิดดู ทั้งเม่นน้อยและหมาป่าน้อย (ของ Hedgehog in the Fog (1975) และ Tales of Tales (1979)) ต่างเป็นตัวละครเรียกได้ว่าอัปลักษณ์ ไม่ได้มีความน่ารักน่าชัง น่าจดจำสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเราใช้ความรู้สึกสัมผัสจับต้อง จะมองเห็นเหตุผลของการออกแบบลักษณะนี้ เพื่อสะท้อนจิตวิญญาณ ความน่าสงสาร บริสุทธิ์ไร้เดียงสา สายตาที่เมื่อจับจ้อง พบเห็นทุกสิ่งอย่าง จักทำให้ตัวละคร(และผู้ชม)บังเกิดบางสิ่งอย่างขึ้นภายใน

อาจเพราะรับรู้ว่าโปรเจคนี้ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ตากล้องขาประจำ Alexander Zhukovskiy ผู้ร่วมบุกเบิกเทคนิค ‘fog effect’ จึงขอถอนตัวออกไป ถึงอย่างนั้นผกก. Norstein ก็มีความเชี่ยวชำนาญ รับรู้ว่าควรต้องทำอะไรยังไง เลยมองหาตากล้องหน้าใหม่ Igor Skidan-Bossin (เกิดปี 1947) ตอนเริ่มงานยังไม่เคยมีประสบการณ์ใดๆ แต่ด้วยระยะเวลาโปรดักชั่นยาวนานถึง 4 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1975-79 รับจ็อบอนิเมชั่นอื่นร่วมด้วย ถ่ายทำเสร็จไปแล้ว 3 เรื่องสั้น!

หลายคนอาจรู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจกับการถ่ายภาพที่เต็มไปด้วยริ้วรอย ขีดๆข่วนๆ อะไรก็ไม่รู้บดบังทิวทัศนียภาพสวยๆ ผิดแผกแตกต่างจาก Hedgehog in the Fog (1975) ละอองหมอกช่างดูพิศวง ชวนให้ลุ่มหลงใหล แต่จุดประสงค์ของผกก. Norstein เพื่อให้ผู้ชมบังเกิดสัมผัสทางอารมณ์กับภาพขณะนั้นๆที่จะผันแปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ นี่ถือเป็นวิวัฒนาการก้าวกระโดด ทำการทดลองกับหลายๆสิ่งอย่าง (ไม่ใช่แค่ริ้วรอยขีดข่วนเท่านั้นนะครับ ยังมีหิมะ ฝนตก ใบไม้ร่วงหล่น ฯ)

ซึ่งวิธีการของอนิเมชั่นเรื่องนี้ แบบเดียวกับลูกเล่นละอองหมอก เปลี่ยนจากกระดาษฝ้าเป็นแผ่นกระดาษใส ใส่รายละเอียดริ้วรอยขีดๆข่วนๆ แล้ววางซ้อนทับเบื้องหน้า-หลังโมเดลตัวละคร (ที่จะมีการแบ่งแยกชิ้นส่วนแขน-ขา ลำตัว ใบหน้า ฯ) แต่เห็นว่าระดับความลึก สูงสุดถึงสิบชั้น! มากกว่า Hedgehog in the Fog (1975) เกือบสองเท่าตัว (เรื่องนั้นสูงสุดน่าจะแค่ 4 เลเยอร์เท่านั้น!) … เอาแค่สามสี่ชั้นก็แทบจะแยกแยะระดับความลึกไม่ออกอยู่แล้ว แต่ผมพอคาดเดาสองช็อตที่ดูซับซ้อนมากๆ คือขณะฝนตกและหิมะตก น่าจะมีแนวโน้มการซ้อนทับถึงสิบชั้นจริงๆ ลองนับกันดูเองนะครับ

แอปเปิ้ล ผลไม้จากสวนอีเดน รับประทานแล้วทำให้เกิดความเฉลียวฉลาด สูญเสียความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา ในบริบทของอนิเมชั่นพบเห็นตั้งแต่ภาพช็อตแรก ทำราวกับว่าเจ้าหมาป่าน้อยได้รับประทานแล้วเกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากเป็นเหมือนมนุษย์ขึ้นมา เดินสองขา แสดงท่าทางเหมือนอิจฉาริษยาทารกน้อย

ส่วนเด็กชายทานแอปเปิ้ล พร้อมแบ่งปันให้อีกาจิกกิน อาจสื่อถึงความแก่แดด เฉลียวฉลาดเกินตัว สะท้อนอิทธิพลจากสงคราม ทำให้เด็กๆโตไว ใจแตก จมปลักอยู่ในความเพ้อฝัน(กลางวัน)

ผมอ่านเจอว่าคือประเพณีของชาวรัสเซีย นิยมวางแผ่นขนมปังและวอดก้าไว้นอกบ้าน สำหรับแสดงความอาลัยให้กับผู้จากไป พบเห็นระหว่างการเฉลิมฉลอง จุดพลุขึ้นฟ้า สื่อถึงชัยชนะสงครามโลกครั้งที่สอง

ตัดต่อโดย Nadezhda Treshcheva และ Natalya Abramova,

อนิเมชั่นดำเนินเรื่องผ่านมุมมองเจ้าหมาป่าน้อย (Grey Wolf) อาศัยอยู่ในป่าไม่ห่างไกลจากบ้านชนบทหลังหนึ่ง วันๆมันชอบแวะเวียนมาจับจ้อง ถ้ำมอง บางครั้งเดินเข้าไปในลำแสงสว่าง จินตนาการเพ้อฝัน หวนระลึกความทรงจำ เลือนลางระหว่างอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต (Non-Chronological Order) คาบเกี่ยวระหว่างก่อน-หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ด้วยความที่อนิเมชั่นไม่มีโครงสร้างดำเนินเรื่อง เพียงแปะติดปะต่อเหตุการณ์ ความทรงจำ กระโดดไปมาระหว่างอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต จึงไม่สามารถแยกแยะ จัดหมวดหมู่ ผมเลยแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆ (Chapter/Episode) น่าจะช่วยทำความเข้าใจได้ง่ายกว่า

  • เจ้าหมาป่าน้อย เดินทางจากป่า แอบจับจ้องมองเข้าไปในบ้าน พบเห็นทารกน้อยกำลังดูดนมจากอ้อมอกมารดา
  • (อดีต) พบเห็นลำแสงสาดส่องออกจากประตู จากนั้นปรากฎภาพการเดินทางไปปิคนิค มารดากำลังซักผ้า, บุตรสาวเล่นกระโดดเชือกกับวัวยักษ์, นักกวีครุ่นคิดเขียนอะไรไม่ออก ถกเถียงกับเจ้าแมวเหมียว แล้วลุกขึ้นมาเล่นเครื่องดนตรีฮาร์ปพิณ, ชาวประมงตกปลาตัวใหญ่ กลับเข้ามาไกวเปลให้ทารกน้อยนอนหลับฝันดี
  • หวนกลับมาปัจจุบัน เจ้าหมาป่าน้อยพบเห็นรถจอดเต็มหน้าบ้าน แล้วมีการนำไม้มาตอกปิดประตู-หน้าต่าง จากนั้นมีการจุดไฟเผาไหม้สิ่งข้าวของต่างๆ (ที่นำออกมากองนอกบ้าน) แล้วทุกสิ่งอย่างก็พลันสูญหาย รถราจากไป (เจ้าหมาป่า)นั่งโยกไปโยกมาอยู่ใต้จักรเย็บผ้า
  • กาลเวลาเคลื่อนผ่านมาถึงฤดูหนาว ช่วงเวลาการเกณฑ์ทหาร พลัดพรากจากลา
    • เจ้าหมาป่านั่งอยู่หน้าเตาผิง จับจ้องมองกองไฟ
    • จากนั้นปรากฎภาพงานเลี้ยงเต้นรำ ชาย-หญิง สามี-ภรรยาลุกขึ้นมาโยกเต้น แต่ไม่ทันไรฝ่ายชายก็หายวับ สวมชุดทหาร ออกเดินทางเข้าร่วมสงคราม ฝ่ายหญิงทำได้เพียงเฝ้ารอคอย ติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์
    • (อนาคต) ระหว่างหิมะตก มารดาพูดคุยกับชายแปลกหน้า ส่วนบุตรชายจินตนาการตนเองปีนป่ายต้นไม้ กลายเป็นเพื่อนแบ่งปันแอปเปิ้ลกับอีกา จากนั้นทั้งสามก้าวออกเดินทางไปสักแห่งหนไหน
    • หวนกลับมาปัจจุบัน เจ้าหมาป่ายังคงนั่งอยู่หน้าผิง จับจ้องมองกองไฟ
  • การมาถึงของฤดูใบไม้ร่วง ช่วงเวลาการหวนกลับมา-ไม่กลับมา
    • เจ้าหมาป่าลักขโมยมันฝรั่งไปปิ้งกินกลางป่า
    • เมื่อเสียงพลุดังขึ้น แสดงถึงจุดสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง แต่มีเพียงชายหนุ่ม/สามีบางคนสามารถหวนกลับมา ส่วนใหญ่ล้มหายตายจาก สร้างความเศร้าโศกเสียใจถ้วนหน้า
    • หวนกลับมาหาเจ้าหมาป่า หยิบมันร้อนๆขึ้นมารับประทาน จากนั้นนั่งเหม่อมองเข้าไปในกองไฟ
    • (อดีต) ชายแปลกหน้าผ่านทางมา ได้รับชักชวนให้มาร่วมรับประทานอาหาร แล้วร่ำลาจากไป
  • การลักขโมยของเจ้าหมาป่าน้อย
    • เจ้าหมาป่าน้อยเข้ามาในบ้าน จับจ้องมองทารกน้อยกำลังดูดนมมารดา
    • (อดีต) ภาพการจากลา มารดาพาบุตรสาวเข้าบ้าน ชาวประมงล่องเรือจากไป
    • เจ้าหมาป่าน้อยทำการลักขโมยกระดาษของนักกวี จากนั้นออกวิ่งหลบหนี ข้ามถนน เข้าสู่ผืนป่า โดยไม่รู้ตัวกระดาษแผ่นนั้นกลับกลายเป็นทารกน้อย ทีแรกครุ่นคิดจะทอดทิ้งไว้ ก่อนตัดสินใจไกวเปล ร้องเพลงกล่อมเด็กเข้านอน
  • ปัจฉิมบท
    • (อนาคต) เจ้าหมาป่าจับจ้องมองเด็กน้อยที่กำลังเหม่อมอง/จินตนาการตนเองปีนป่ายต้นไม้ กลายเป็นเพื่อนแบ่งปันแอปเปิ้ลกับอีกา
    • ภาพทหารก้าวออกเดินไปเข้าร่วมสงคราม
    • (อดีต) เด็กหญิงเล่นกระโดดเชือกกับวัวยักษ์ ถูกมารดาเรียกมาไกวเปลวน้อง เจ้าวัวยักษ์เลยกระโดดเชือกด้ยยตนเอง
    • กาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน (จากหิมะสู่ฝนตก) กล้องเคลื่อนจากบ้านชนบทสู่ชุมชนเมือง รถไฟกำลังเคลื่อนพานผ่าน

แม้การดำเนินเรื่องอาจดูสะเปะสะปะ กระโดดไปกระโดดมา แต่เต็มไปด้วยสัมผัสของ ‘กวีภาพยนตร์’ มีบางสิ่งอย่างเชื่อมโยง สานสัมพันธ์ ทำให้เหมือนมีความต่อเนื่องลื่นไหล ผมพยายามนำเสนอจุดเริ่มต้น-สิ้นสุดของแต่ละเรื่องราวเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ยกตัวอย่าง

  • เรื่องราวของอนิเมชั่นเริ่มต้นด้วยมารดาขับกล่อมทารกด้วยบทเพลง The Little Grey Wolf Will Come โดยไม่รู้ตัวตอนจบบังเกิดเหตุการณ์เดียวกับเนื้อคำร้อง เจ้าหมาป่าลักขโมยทารกน้อยไปกล่อมเข้านอน
  • ช่วงการเกณฑ์ทหาร/พลัดพรากจากลา ต่างเริ่มต้น-สิ้นสุดที่เจ้าหมาป่าน้อยจับจ้องมองกองไฟ
  • ช่วงเวลาการหวนกลับมา-ไม่กลับมา ต่างเริ่มต้น-สิ้นสุดที่เจ้าหมาป่านั่งเหม่อมองกองไฟ ปิ้งมันฝรั่ง

มันไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องไปพยายามทำความเข้าใจโครงสร้าง เนื้อเรื่องราวทั้งหมด เพียงมองภาพรวมคร่าวๆ แล้วใช้สัมผัสทางอารมณ์ รู้สึกอะไรยังไง แล้วค่อยไปครุ่นคิดหาข้อสรุป ก็จักค้นพบใจความของอนิเมชั่นเรื่องนี้


เพลงประกอบโดย Mikhail Alexandrovich Meyerovich, Михаи́л Алекса́ндрович Мееро́вич (1920-93) คีตกวีสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Kyiv ก่อนย้ายติดตามครอบครัวมายัง Moscow โตขึ้นเข้าศึกษายัง Moscow Conservatory ร่ำเรียนเปียโนและแต่งเพลง จบออกมาสอนดนตรีอยู่สามปี จากนั้นเริ่มแต่งเพลงซิมโฟนี ออร์เคสตรา โซนาตา อุปรากร บัลเล่ต์ เพลงประกอบภาพยนตร์ อนิเมชั่น ร่วมงานขาประจำผกก. Yuri Norstein ตั้งแต่ The Fox and the Hare (1973), The Heron and the Crane (1974), Hedgehog in the Fog (1975) และ Tale of Tales (1979)

ในขณะที่ Hedgehog in the Fog (1975) บทเพลงของ Meyerovich มีส่วนร่วมกับอนิเมชั่นในแทบจะทุกๆรายละเอียดเคลื่อนไหว สอดคล้องภาพเหตุการณ์แทบจะ ‘frame-by-frame’, Tale of Tales (1979) จะเพียงคลอประกอบพื้นหลัง เน้นสร้างสัมผัสทางอารมณ์ ถ่ายทอดความรู้สึกของซีเควนซ์นั้นๆออกมา

มันอาจเพราะบทเรียนความขัดแย้งระหว่างกับ Meyerovich ระหว่างสรรค์สร้าง Hedgehog in the Fog (1975) ทำให้ผกก. Norstein ลดความสำคัญของ ‘Original Score’ ไม่ต้องลงรายละเอียดให้มันยุ่งยากวุ่นวายขนาดนั้น และตนเองสามารถ ‘improvised’ ปรับเปลี่ยนแปลงโน่นนี่นั่นระหว่างถ่ายทำได้ตลอดเวลา … วิธีการทำงานของผกก. Norstein ดูไม่ค่อยเหมาะกับอนิเมชั่นสไตล์ ‘Silly Symphonies’ ที่ต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ ยึดตามรายละเอียดเขียนเอาไว้

ด้วยเหตุนี้จึงเปลี่ยนมาเลือกใช้บทเพลงคลาสสิก จากคีตกวี/นักแต่งเพลงชื่อดัง ประกอบด้วย

  • Bach: Prelude and Fugue in E-flat minor (BWV 853) เป็นส่วนหนึ่งของ The Well-Tempered Clavier (BWV 846–893)
    • ดังขึ้นในซีเควนซ์ความทรงจำ (หรือจะมองว่าคือจินตนาการเจ้าหมาป่าน้อย หลังจากแสงสว่างส่องผ่านประตูบ้าน) ช่วงเวลาแห่งความสุข สนุกสนาน พักผ่อนคลาย แต่แฝงกลิ่นอายเศร้าๆ เหงาๆ เพราะช่วงเวลานั้นได้พานผ่านไปแล้ว วันวานไม่มีทางย้อนกลับคืนมา
  • Mozart: Piano Concerto No. 4 in G major, II. Andante (K. 41)
    • ในอนิเมชั่นเปลี่ยนจากบรรเลงเปียโนเป็น Harpsichord ดังขึ้นระหว่างหิมะตก มารดาพูดคุยกับชายแปลกหน้า ส่วนบุตรชายจินตนาการตนเองปีนป่ายต้นไม้ กลายเป็นเพื่อนแบ่งปันแอปเปิ้ลกับอีกา
    • การเลือกใช้ Harpsichord ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีแห่งยุคสมัย Baroque มอบสัมผัสขัดแย้ง แตกต่าง เพื่อสะท้อนสภาพเป็นจริง หาได้งดงามสวยหรู มันอาจมีบางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้นอยู่ อนาคตช่างมีความหนาวเหน็บ สั่นสะท้านทรวงใน
  • Jerzy Petersburski: To ostatnia niedziela (1935)
    • ผมเคยเขียนถึงเพลงนี้ในบทความภาพยนตร์ Burnt by the Sun (1994) ท่วงทำนอง Polish Tango ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในรัสเซีย ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เนื้อคำร้องรำพันความเจ็บปวดจากการร่ำจากลา พระอาทิตย์ลาจากท้องฟ้า

อีกบทเพลงที่ต้องพูดกล่าวถึงก็คือ Russian Lullaby (Nursery Rhyme) สำหรับกล่อมเด็กเข้านอน Баю-баюшки-баю อ่านว่า Bayu-bayushki-bayu แปลตรงตัว Rock-a-bye-baby แต่มักรับรู้จักในชื่อ The Little Grey Wolf Will Come

หลังจากรับฟังเพลงนี้ผมก็แอบสงสัยว่าจะกล่อมเด็กหรือหลอกเด็ก เพราะเนื้อคำร้องค่อนข้างเหี้ยมโหดร้าย สามารถสร้างความหลอกหลอน หวาดสะพรึงกลัว จดจำฝังใจว่าไม่ควรหลับนอนริมเตียง … แต่คาดเดาจุดประสงค์ไม่ยาก เพราะการนอนริมเตียงอาจพลั้งพลาดตกเตียง เป็นการปลูกฝังให้เด็กๆไม่นอนดิ้นไปดิ้นมา

ต้นฉบับรัสเซียคำอ่านรัสเซียคำแปลอังกฤษ
Баю-баюшки-баю,
Не ложися на краю.
Придёт серенький волчок,
Он ухватит за бочок
И утащит во лесок
Под ракитовый кусток.
Bayu-bayushki-bayu,
Ne lozhisya na krayu.
Pridyot serenkiy volchok,
On ukhvatit za bochok
I utashchit vo lesok
Pod rakitovy kustok.
Baby, baby, rock-a-bye
On the edge you mustn’t lie
Or the little grey wolf will come
And will nip you on the tum,
Tug you off into the wood
Underneath the willow-root.

ปล. จริงๆเนื้อคำร้องยาวกว่านี้ (รับฟัง-เปิดซับอังกฤษจากในคลิป) แต่ผมนำมาเฉพาะท่อนที่ได้ยินในอนิเมชั่นเท่านั้นนะครับ

ผกก. Norstein ก็คือทารกน้อย เพิ่งเกิดปี ค.ศ. 1941 คาบเกี่ยวระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ตอนนั้นยังไม่รับรู้ประสีประสา จดจำเรื่องราวอะไรๆไม่ได้สักสิ่งอย่าง แต่ความเหี้ยมโหดร้ายของสงคราม มารดาพา(ตนเองและ)พี่สาวอพยพหลบหนีจากแนวหน้า ยังคงเป็นภาพติดตาฝังใจ อารมณ์บางอย่างคั่งค้างทรวงใน ไม่มีวันลบเลือนหายจากความทรงจำ

ด้วยความที่ผกก. Norstein ยังเป็นทารกน้อยในช่วงเวลานั้น จึงไม่สามารถจดจำเรื่องราวสักสิ่งอย่าง สรรค์สร้างอนิเมชั่นเรื่องนี้ก็ไม่ได้พยายามสร้างเนื้อหาจับต้องได้ เพียงสัมผัสทางอารมณ์ ความรู้สึกส่วนบุคคล กระโดดไปกระโดดมา ในลักษณะ ‘กวีภาพยนตร์’ อวตารตนเองเป็นเจ้าหมาป่าน้อย ย้อนมองเหตุการณ์บังเกิดขึ้นด้วยความฉงนสงสัย ใคร่อยากรู้เห็น

เจ้าหมาป่าน้อย ดูมีท่าทางอิจฉาริษยาทารกน้อย นี่อาจฟังดูขัดย้อนแย้ง แต่ทั้งสองคือภาพสะท้อนตัวตนเองของผกก. Norstein (ทารกน้อย = Norstein เมื่อครั้นยังเป็นทารก, เจ้าหมาป่า = มุมมองผู้กำกับ Norstein ในการสรรค์สร้างอนิเมชั่นเรื่องนี้) ซึ่งนัยยะของความอิจฉาริษยา สามารถตีความถึงอาการโหยหา คร่ำครวญถึงอดีต ใคร่อยากหวนย้อนกลับไปเป็นเด็กน้อยไร้เดียงสาอีกครั้ง

Tale of Tales (1979)’s about simple concepts that give you the strength to live.

Yuri Norstein

สำหรับผกก. Norstein การสรรค์สร้าง Tale of Tales (1979) ทำให้ตนเองสามารถระบายอารมณ์อึดอัดอั้น สิ่งที่ยังคั่งค้างคาอยู่ภายใน แต่สำหรับผู้ชมทั่วไป อนิเมชั่นเรื่องนี้คือคำรำพันถึงการพลัดพรากจากลา หายนะสงครามโลกครั้งที่สอง แม้พานผ่านมาหลายสิบปีความเจ็บปวดก็ยังไม่ลบเลือนหาย แฝงใจความต่อต้านสงคราม (Anti-War) และสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้รอดชีวิตต่อสู้ต่อไป

การแปรสภาพจากกระดาษของนักกวีมาเป็นทารกน้อย รวมถึงบทเพลงกล่อมเด็กสู่เหตุการณ์ช่วงท้าย (เจ้าหมาป่าไกวเปลทารก) สามารถสะท้อนถึงบทหนังสู่ภาพยนตร์ ความทรงจำออกมาเป็นภาพวาด เรื่องราว อนิเมชั่นเรื่องนี้ รวมถึงชื่อ Tale of Tales เรื่องราวในเรื่องราว นามธรรมกลายเป็นรูปธรรม อดีตสู่ปัจจุบัน โลกความจริงไม่แตกต่างจากจินตนาการเพ้อฝัน

หลังเสร็จจาก Tale of Tales (1979) ผกก. Norstein สรรค์สร้างโปรเจคเรื่องใหม่ The Overcoat แต่ด้วยความโหยหาความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) ทำงานเชื่องช้าจนได้รับฉายา ‘The Golden Snail’ เลยถูกไล่ออกจากสตูดิโอ Soyuzmultfilm เมื่อปี ค.ศ. 1985 เลยต้องเก็บหอมรอมริด หาทุนส่วนตัว รับจ็อบร่วมกำกับ Winter Days (2003) ถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2024 ก็ยังสร้างไม่เสร็จ แต่น่าจะใกล้แล้วละ! (ที่ล่าช้าจัดๆ เพราะทำเป็นอนิเมชั่นขนาดยาว ‘Feature Length’)


ด้วยความล่าช้าของโปรเจค (ผลงานก่อนหน้านี้ใช้เวลาสร้างปีเดียว แต่ Tale of Tales (1979) กลับล่วงเกินเลยนานถึงสี่ปี) รวมถึงเนื้อเรื่องราวผิดแผกแตกต่างจากบทที่ยื่นเสนอเข้ามา สร้างเคลือบแคลงสงสัยต่อกองเซนเซอร์ Goskino เรียกร้องขอให้มีการเพิ่มเติมคำบรรยาย เพราะกลัวว่าผู้ชมจะไม่สามารถทำความเข้าใจ แต่ผู้สร้างก็เพิกเฉย ไม่สนใจใยดี จนกระทั่งผกก. Norstein ได้รับรางวัล USSR State Prize จากอนิเมชั่น Hedgehog in the Fog (1975) เมื่อปี ค.ศ. 1979 เลยจำยินยอมปล่อยผลงานใหม่ออกฉาย โดยไม่มีการปรับแก้ไขอะไร

ขณะที่เสียงตอบรับจากผู้ชมค่อนข้างเงียบกริบ แต่เมื่อเดินทางไปฉายตามเทศกาลอนิเมชั่น สามารถกวาดรางวัลมากมายนับไม่ถ้วน … น่าเสียดายที่ผกก. Norstein ไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศไปรับรางวัลใดๆ

เมื่อปี ค.ศ. 2020, สตูดิโอ Soyuzmultfilm ได้ทำการรวบรวมอนิเมชั่นในสังกัดระหว่างทศวรรษ 1950s ถึง 80s มาทำการบูรณะ สแกนดิจิตอล (คุณภาพ HD) ปรับแต่งคุณภาพสี และเพลงประกอบ มีคำเรียก Golden Collection ทั้งหมดสามารถหารับชมออนไลน์ได้ทาง Youtube บางเรื่องคุณภาพ 4K ด้วยนะครับ

หลังจากพยายามขบครุ่นคิดมาหลายวัน ก็ยังไม่สามารถตัดสินใจเลือกระหว่าง Hedgehog in the Fog (1975) และ Tale of Tales (1979) ต่างมีดีมีเด่นในมุมของตนเอง

  • Hedgehog in the Fog ตั้งคำถามปรัชญา ชักชวนค้นหาความหมายชีวิต ด้วยวิธีการที่เรียบง่าย ดูแปลกใหม่ สร้างความแรกประทับใจ
  • Tale of Tales แม้มีบทเพลงไพเราะ ลูกเล่นอนิเมชั่นเหนือกว่า แต่งานภาพขูดๆขีดๆ หวนระลึกความทรงจำ อาจสลับซับซ้อนเกินไป ไม่ใช่ทุกคนสามารถปีนป่ายบันได

ความรู้สึกในปัจจุบันของผมค่อนไปทาง Hedgehog in the Fog (1975) ที่สร้างความแรกประทับใจได้ตราตรึงกว่า แต่เชื่อว่ากาลเวลาอาจทำให้ความลุ่มหลงใหล คลุ้มคลั่งไคล้ Tale of Tales (1979) ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นไป … ภาพยนตร์เกี่ยวกับความทรงจำ มันจะมีประสบการณ์เข้ามาข้องเกี่ยวด้วยนะครับ เพราะเมื่อวัยวุฒิเพิ่มมากขึ้น มุมมอง ทัศนคติ อะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับชีวิตจะปรับเปลี่ยนแปลงไป อีกสิบปี ยี่สิบปี หวนกลับมารับชมคราวหน้า ย่อมรับรู้สึกแตกต่างไปจากปัจจุบัน

จัดเรต 15+ กับบรรยากาศเครียดๆ ลายเส้นกรีดกราย การสูญเสียในสงครามโลกครั้งที่สอง

คำโปรย | ขูดๆขีดๆเรื่องเล่าความทรงจำ Tale of Tales ของผู้กำกับ Yuri Norstein เต็มไปด้วยความเจ็บปวด ท้อแท้สิ้นหวัง แต่สามารถสร้างพลังให้กับชีวิต
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | บังเกิดพลัง

Yózhik v tumáne (1975)


Hedgehog in the Fog (1975) USSR : Yuri Norstein ♥♥♥♥♡

เม่นแคระ (Hedgehog) พลัดหลงทางเข้าไปในละอองหมอก มันช่างเป็นสถานที่ที่มีความลึกลับ หวาดสะพรึง ต้องเผชิญหน้ากับ(ความกลัวของ)ตนเอง ถึงสามารถค้นหาหนทางออก พบเจอเป้าหมายชีวิต, มาสเตอร์พีซแห่งวงการอนิเมชั่น และเป็นที่โปรดปรานของ Hayao Miyazaki

Midway upon the journey of our life
I found myself within a forest dark,
For the straightforward pathway had been lost.

Dante Alighieri (1265-1321) บทกวีจากวรรณกรรม Inferno, Canto I ส่วนหนึ่งของ Divine Comedy (1308-21)

มันไม่ใช่ว่าอนิเมชั่น Hedgehog in the Fog (1975) ได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมทัวร์นรกของ Dante แต่ย่อหน้าแรกอันเลื่องชื่อ โดยไม่รู้ตัวสอดคล้องกับการผจญภัยของเจ้าเม่นแคระ ซึ่งบางคนอาจตีความละอองหมอกไม่ต่างจากขุมนรก พบเจอสรรพสัตว์ชั่วร้าย ก่อนข้ามแม่น้ำ Styx ราวกับการถือกำเนิดชีวิตใหม่

เอาจริงๆผมไม่ค่อยแน่ใจว่าอนิเมชั่นเรื่องนี้เหมาะสำหรับเด็กไหม? เพราะการออกแบบตัวละครทำออกมาได้อัปลักษณ์พิศดาร บรรยากาศภายในละอองหมอก ช่างดูลึกลับ ชวนขนหัวลุก และเพลงประกอบช่วยเสริมความหลอกหลอน แต่โดยไม่รู้ตัวถ้าคุณสามารถเผชิญหน้าความกลัว เอาชนะตัวตนเอง (แบบเดียวกับเจ้าเม่นแคระ) อาจปรับเปลี่ยนแนวคิด ค้นพบเจอเป้าหมาย/ความหมายชีวิต

เมื่อตอนเจ้าเม่นแคระก้าวย่างเข้าไปในละอองหมอก ไม่ใช่แค่บรรยากาศหลอกหลอน ดูไปสักพักผมเริ่มเกิดความเอะใจ เห้ย! มันทำออกมาได้ยังไง? นี่ไม่ใช่อนิเมชั่นสามมิติ พึ่งพา CG (Computer Graphic) แต่เป็นเพียง Cut-Out Animation นำเอาวัตถุสองมิติมาประกอบร่างให้สามารถขยับเคลื่อนไหว แล้วความขมุกมัว เดี๋ยวเบลอเดี๋ยวชัด เดินเข้าเดินออก เลือนหายไปกับละอองหมอง ใช้เทคนิค ลูกเล่น วิธีการอันใด? ยิ่งรับชมยิ่งรู้สึกชื่นชอบ หลงใหล คลั่งไคล้ แฝงแนวคิดปรัชญาลุ่มลึกล้ำ ต้องยกย่องระดับมาสเตอร์พีซ หนึ่งในอนิเมชั่นยอดเยี่ยมที่สุดแห่งวงการภาพยนตร์

เกร็ด: Hedgehog in the Fog (1975) ได้รับการโหวตอันดับ #1 ในชาร์ท Top 150 Japanese and World Animation จัดอันดับโดยนักอนิเมเตอร์ & นักวิจารณ์จำนวน 140 คน ที่เข้าร่วมเทศกาลอนิเมชั่น Laputa Animation Festival เมื่อปี ค.ศ. 2003 (เทศกาลนี้ยกเลิกจัดงานตั้งแต่ปี 2011)


Yuri Borisovich Norstein, Ю́рий Бори́сович Норште́йн (เกิดปี 1941) ผู้กำกับ/นักอนิเมเตอร์ สัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Andreyevka, Penza Oblast ในครอบครัวเชื้อสาย Jews ระหว่างที่มารดาพร้อมพี่ๆกำลังอพยพหลบหนีสงคราม (ส่วนบิดาออกรบแนวหน้า) ภายหลังปักหลักอยู่ Maryina Roshcha, Moscow ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในงานศิลปะ โตขึ้นเคยทำงานช่างไม้ ณ โรงงานเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่ง ก่อนตัดสินใจเข้าเรียนคอร์สอนิเมชั่นของสตูดิโอ Soyuzmultfilm แล้วได้รับว่าจ้างงาน เริ่มจากทำอนิเมเตอร์ Who Said “Meow”? (1962), ร่วมกำกับอนิเมชั่นเรื่องแรก 25th October, the First Day (1968) เฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี October Revolution (1908)

สำหรับผลงานแจ้งเกิด The Battle of Kerzhenets (1971) ร่วมงานผกก. Ivan Ivanov-Vano เล่าเรื่องปรับปราในยุคกลาง (Middle Ages) กล่าวถึงตำนานเมือง Kitezh ที่สามารถจมลงใต้น้ำเพื่อหลบซ่อนจากการโจมตีของชาว Mongols (เมือง Kitezh ได้รับฉายา Russian Atlantis) แต่ไฮไลท์ของอนิเมชั่นคือการต่อสู้รบระหว่างกองทัพทั้งสอง โดยงานศิลป์นำแรงบันดาลใจจากภาพวาดศิลปะช่วงศตวรรษ 14th-16th ทำออกมาในลักษณะ Cut-Out Animation (หลายๆช็อตชวนให้ผมนึกถึงผลงานของ Andrei Rublev)

The Battle of Kerzhenets (1971): https://www.youtube.com/watch?v=fWKOvaDkxPc

ยังมีอีกสองผลงานของผกก. Norstein ที่อยากแนะนำให้รับชม The Fox and the Hare (1973) และ The Heron and the Crane (1974) เพื่อจักได้พบเห็นพัฒนาการ การสะสมประสบการณ์ สไตล์ลายเซ็นต์ ก่อนสรรค์สร้างสองผลงานโลกตะลึง Hedgehog in the Fog (1975) และ Tale of Tales (1979)

อนิเมชั่นทั้งสองเรื่องต่างดัดแปลงมาจากนิทานพื้นบ้านรัสเซีย (Russian Folk Tale) รวบรวมอยู่ในหนังสือ Explanatory Dictionary of the Living Great Russian Language (1863-) ของ Vladimir Dal (1801-72) นำเสนอความขัดแย้งระหว่างสองตัวละครตามชื่อ สุนัขจิ้งจอก vs. กระต่ายป่า, นกกระยาง vs. นกกระเรียน ที่จะแฝงสาระข้อคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน

The Fox and the Hare (1973): https://www.youtube.com/watch?v=9FUzM7KbPZg
The Heron and the Crane (1974): https://www.youtube.com/watch?v=BuobSn9jA5M

เมื่อปี ค.ศ. 1974, ระหว่างกำลังสรรค์สร้าง The Heron and the Crane (1974) ผกก. Norstein ได้รับการติดต่อจาก Sergei Grigorievich Kozlov, Сергей Григорьевич Козлов (1939-2010) นักกวี/นักเขียนเทพนิยายชื่อดัง ด้วยความชื่นชอบประทับใจผลงาน The Fox and the Hare (1973) จึงพยายามชักชวนให้เลือกดัดแปลงวรรณกรรมของตนเองเป็นอนิเมชั่น

หลังเสร็จสร้าง The Heron and the Crane (1974) ผกก. Norstein จึงทะยอยอ่านหนังสือของ Kozlov ก่อนตัดสินใจเลือก Ёжик в тумане อ่านว่า Yózhik v tumáne แปลตรงตัว Hedgehog in the Fog เล่าเหตุผลระหว่างการอ่าน บังเกิดภาพจินตนาการ พบเห็นสไตล์อนิเมชั่นที่อยากสรรค์สร้าง (หนังสือของ Kozlov มีเพียงตัวหนังสือ ไร้ซึ่งภาพวาดประกอบ)

I just felt the fairy tale spatially… As if somewhere far away, behind the thin amalgam of the screen there is a sphere from where the sound comes here and turns into an image.

Yuri Norstein

บทอนิเมชั่นที่ผกก. Norstein พัฒนาขึ้นกับ Kozlov มีการปรับแก้ไขจนแตกต่างจากต้นฉบับโดยสิ้นเชิง! จากเคยเต็มไปด้วยข้อความบรรยายยาวๆ (Literary Script) หลงเหลือเพียงคำอธิบายสั้นๆในลักษณะ ‘Impressionist’ จำพวกรายละเอียด องค์ประกอบ ภาพร่างตัวละคร ยกตัวอย่างข้อความที่ใช้ “logs overgrown with velvety mold”, “the rustle of falling earth”, “dry autumn leaf”, “hot mouth of a dog” ฯ

บทอนิเมชั่นที่แทบไม่มีรายละเอียดใดๆ เมื่อยื่นเสนอผ่านกองเซนเซอร์ Goskino ได้รับความเห็น ‘boring story’ และถูกตั้งคำถามว่าต้องการทำอะไร? คำตอบของผกก. Norstein อ้างอิงบทกวีจากวรรณกรรม Dante: Divine Comedy

Midway upon the journey of our life
I found myself within a forest dark,
For the straightforward pathway had been lost.

Dante Alighieri (1265-1321) บทกวีจากวรรณกรรม Inferno, Canto I ส่วนหนึ่งของ Divine Comedy (1308-21)

เจ้าเม่นน้อย (Hedgehog) ทุกค่ำคืนจะออกเดินทางไปเยี่ยมเยียนลูกหมีขี้บ่น (Bear-Cub) นั่งบนขอนไม้ พูดคุย จิบชา นับดวงดาวบนท้องฟ้า

ค่ำคืนหนึ่งเจ้าเม่นน้อยได้นำเอาแยมราสเบอรี่ติดตัวไปด้วย โดยไม่รู้ตัวนกเค้าอินทรียูเรเซีย (Eagle-Owl) แอบย่องติดตามด้วยสายตาอันชั่วร้าย จนกระทั่งมาถึงบริเวณละอองหมอก มองอะไรแทบไม่เห็น พลัดหลงออกจากเส้นทาง แต่ลิบๆนั่นมีม้าสีขาว เงาช้างตัวใหญ่ ค้างคาวโบยบิน หอยทางคลานจากใบไม้ ฯ พยายามตะโกนโหวกเหวกถามทาง จนกระทั่งพลัดตกลงแม่น้ำ ได้รับความช่วยเหลือจากปลาใหญ่ และในที่สุดก็มาถึงบ้านลูกหมี นั่งจิบชา ทานแยมราสเบอรี่ อดไม่ได้ครุ่นคิดถึงการผจญภัยพานผ่านมา


ผกก. Norstein มีความหลงใหลในงานศิลปะอย่างมากๆ งานออกแบบของ Hedgehog in the Fog (1975) รับอิทธิพลจากผลงานจิตรกรเลื่องชื่อมากมาย อาทิ Van Gogh, Rembrandt, Picasso, Georges Braque, Paul Klee, Hieronymus Bosch, ฟากฝั่งเอเชียก็อย่าง Katsushika Hokusai, Hasegawa Tōhaku, Guo Xi, Ma Yuan, Zhu Da ฯ

เจ้าเม่นน้อย (Hedgehog) นักวิจารณ์ให้ข้อสังเกตว่าอาจมีต้นแบบจากนักเขียน Lyudmila Petrushevskaya แต่ผกก. Norstein ยืนกรานว่าเธอไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยเลย (เป็นการเชื่อมโยงมั่วซั่วสุดๆ) แล้วอธิบายถึงความพยายามร่างแบบกว่าร้อยภาพ ซึ่งต้องแยกชิ้นส่วน องค์ประกอบ สำหรับทำเป็น Cut-Out Animation แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้แบบอย่างที่ต้องการ จนกระทั่งศรีภรรยา Francesca Yarbusova เข้ามาปรับแต่งเล็กๆน้อย นำแรงบันดาลใจจากภาพวาด The Zvenigorod Saviour (1410) ของ Andrei Rublev (1360-1430) จิตรกรเอกชาวรัสเซียแห่งยุคกลาง (Medieval Art)

เกร็ด: นอกจาก The Zvenigorod Saviour (1410) อีกสองภาพขวามือคือผลงานของ Paul Klee (1879-1940) จิตกรสัญชาติ Swiss-German มีชื่อเสียงจากผลงาน Expressionism, Cubism และ Surrealism ภาพแรกคือ Little Jester in a Trance (1929) และภาพสอง The Clown (1929) ต่างก็ให้ความรู้สึกเหมือนเจ้าเม่นน้อย รวมถึงบรรดาตัวละครหน้าขนทั้งหลาย

แวบแรกผมครุ่นคิดว่านกฮูก แต่แท้จริงแล้วมันคือนกเค้าอินทรียูเรเซีย (Eurasian Eagle-Owl) หรือนกเค้าแมวอินทรีสายพันธุ์ยูเรเซีย อาศัยอยู่ในพื้นที่ของทวีป Eurasia (Europe + Asia) เป็นนักล่าขนาดใหญ่ที่สุดและแข็งแรงที่สุด ความยาวของลำตัวอยู่ที่ 61-91 เซนติเมตร หนักประมาณ 2.2-3.6 กิโลกรัม

ท่าทางของเจ้านกเค้าอินทรียูเรเซีย ดูมีความสนอกสนใจในเจ้าเม่นน้อย แอบย่องติดตามหลัง ท่าทางยื้อๆยักๆ ทำไม่รู้ไม่ชี้ บอกไม่ได้ว่ามาดีหรือร้าย เหมือนเฝ้ารอคอยเวลา หาจังหวะสบโอกาส แต่ระหว่างเดินผ่านแอ่งน้ำและบ่อน้ำ พบเห็นภาพสะท้อน(ในแอ่งน้ำ)และเสียงสะท้อน(ในบ่อน้ำ) โดยไม่รู้ตัวดึงดูดความสนใจไปจากเจ้าเม่นน้อย

The owl is the same as the hedgehog, only in reverse. It is just as simple-mined, only bad.

Yuri Norstein

เกร็ด: บ่อน้ำอีกแล้วหรือนี่?? เป็นการอ้างอิงถึงภาพยนตร์ Ivan’s Childhood (1962) ของผกก. Andrei Tarkovsky

ยังมีสัตว์หน้าขนอีกตัวหนึ่งที่หลายคนอาจไม่ได้สนใจสักเท่าไหร่ มันคือเจ้า Cocker Spaniel สุนัขพันธุ์ขนาดกลาง มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสเปน (Spain) จัดเป็นสุนัขนักล่า มีความคล่องแคล่วในการล่านก Woodcock นิสัยอ่อนโยน ขี้เล่น ชอบกระโดดโลดเต้น เต็มไปด้วยความกระตือรือล้น สามารถเข้ากับคนอื่นได้ดี แถมอายุยืนยาวนานอีกต่างหาก

ผมติดใจตรงคีย์เวิร์ด ‘สุนัขนักล่า’ คล้ายๆกับเจ้านกเค้าอินทรียูเรเซีย ท่าอ้าปากหาวช่างดูน่าหวาดสะพรึง แต่มันกลับแสดงความเป็นมิตรกับเจ้าเม่นน้อย ขี้เล่นซุกซน แถมยังช่วยติดตามหาถุงผ้าใส่แยมราสเบอรี่ แล้วนำมาส่งมอบคืนให้ อัธยาศัยดีงามอย่างคาดไม่ถึง! … ถือได้ว่าเป็นตัวละครสะท้อนเจ้านกเค้าอินทรียูเรเซีย นักล่าเหมือนกันแต่อุปนิสัยแตกต่างตรงกันข้าม

ยังมีสามสิ่งมีชีวิตลึกลับที่ไม่ใช่สัตว์หน้าขน ในมุมมองเจ้าเม่นน้อย พวกมันช่างมีความสง่างาม น่าเกรงขาม สร้างความลุ่มหลงใหล เหนือจินตนาการเกินกว่าเข้าใจ (แต่ผู้ชมสามารถรับรู้ได้ว่ามันคืออะไร)

  • ม้าขาว แม้ท่ามกลางละอองหมอก ยังพอมองเห็นรูปร่างหน้าตา สร้างความลุ่มหลงใหล กลายเป็นภาพจดจำฝังใจเจ้าเม่นน้อย ช่างมีความงดงาม ‘unearthly beauty’ ถึงขนาดเก็บนำไปครุ่นคิดจินตนาการ
    • นอกจากอ้างอิงถึงผลงานผกก. Tarkovsky, ในปรัมปรา West Slavic มีความเชื่อว่าม้าขาวทำหน้าที่นำทางจิตวิญญาณสู่โลกหลังความตาย
  • ช้างยักษ์ เป็นสัตว์ที่มีขนาดตัวใหญ่มหึมายิ่งกว่าม้าขาว จึงพบเห็นเพียงเค้าโครงอันเลือนลาง ในมุมของเจ้าเม่นตัวกระจิดริด ย่อมไม่สามารถครุ่นคิดจินตนาการ เหนือเกินกว่าตนเองจะรับรู้เข้าใจ
  • ปลาในแม่น้ำ นี่ก็เป็นสัตว์อีกชนิดที่เจ้าเม่นน้อยมองไม่เห็น (เพราะมันอยู่ในน้ำ) ไม่สามารถครุ่นคิดจินตนาการ (ผู้ชมก็มองแทบไม่เห็นรูปร่างหน้าตา) ได้ยินเพียงเสียงพูดคุยสื่อสาร โดยไม่รู้ตัวบังเกิดความสัมพันธ์ แถมอีกฝ่ายยังให้ความช่วยเหลือพาขึ้นฝั่ง
    • เอ็ฟเฟ็กของน้ำ เห็นว่าใช้น้ำจริงๆ เพราะมันยังไม่มีเทคนิคที่จะออกมาให้ดูสมจริงขนาดนั้น

สัตว์ทั้งสามชนิดคือตัวแทนสิ่งที่เจ้าเม่นน้อยไม่สามารถรับรู้เข้าใจ (ระดับมหภาค) เกินกว่าขอบเขตศักยภาพตนเองจะมองเห็น คล้ายๆจิตวิญญาณ เทพยดา พระเป็นเจ้า ฯ ต่างเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติ เกินกว่ามนุษย์จักครุ่นคิดจินตนาการ

ตรงกันข้ามกับสามสิ่งมีชีวิตขนาดมหึมา หอยทาก ค้างคาว หิ่งห้อย ต่างมีขนาดตัวเล็กกว่าเจ้าเม่นน้อย แต่เต็มไปด้วยความลึกลับ น่าหวาดสะพรึง พิศวงสงสัยไม่แตกต่างกัน

  • การปลิดปลิวของใบไม้ ทำให้เจ้าเม่นน้อยถึงขนาดปิดตา ตัวสั่น ไม่เข้าใจว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่พอพบเห็นหอยทากค่อยๆคลืบคลานจากไป เพราะขนาดตัวเล็กกว่า ไร้พิษภัย จึงคลายอาการหวาดกังวล … สัญลักษณ์ของความกลัวก็ได้กระมัง
  • ค้างคาวคือสัตว์ปีก ขนาดตัวเล็กกว่าเจ้าเม่นน้อย แต่จู่ๆก็บินโฉบเข้ามา แม้ไม่เป็นอันตรายสักเท่าไหร่ กลับสร้างความรู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ ทำไมต้องก่อกวนฉันด้วย
  • หิ่งห้อย (จะรวมถึงแมลงเม่าช่วงท้ายเรื่องด้วยก็ได้) คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋ว ไม่ได้มีอันตราย หรือเข้ามาก่อนกวนใจ แต่ด้วยลักษณะเหมือนดวงไฟ สร้างความพิศวง ลุ่มหลงใหล มองตามจนกระทั่งสูญหายไป

เฉกเช่นเดียวกับสามสัตว์ขนาดใหญ่มหึมา สามสัตว์ขนาดเล็กจิ๋ว ตัวแทนของสิ่งที่เจ้าเม่นน้อยไม่สามารถรับรู้เข้าใจ (ระดับจุลภาค) แต่สามารถมองเห็น จับต้องได้ ไร้พิษภัย แต่ก็เกินกว่าขอบเขตศักยภาพตนเองจะทำความเข้าใจ

แซว: หลังเสร็จจาก Tale of Tales (1979) ผกก. Norstein สรรค์สร้างโปรเจคเรื่องใหม่ The Overcoat แต่ด้วยความโหยหาความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) ทำงานเชื่องช้าจนถูกไล่ออกจากสตูดิโอ Soyuzmultfilm เลยต้องเก็บหอมรอมริด ใช้ทุนส่วนตัว ปัจจุบัน ค.ศ. 2023 ก็ยังสร้างไม่เสร็จ (แต่น่าจะใกล้แล้วละ) จนได้รับฉายา The Golden Snail

สุดท้ายกับตัวละครลูกหมีขี้บ่น (ตรงกันข้ามกับเจ้าเม่นน้อยที่แทบไม่ได้ปริปากอันใด) มาถึงก็เอาแต่พร่ำพูดเพ้อเจ้อ ฟังไม่ได้สดับ ผมเองขณะนั้นก็ไม่ได้ตั้งใจฟัง สภาพไม่ต่างจากเจ้าเม่นน้อย ดวงตาพองโต เหม่อล่องลอย จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เพราะยังคงครุ่นคิดทบทวนสิ่งต่างๆ พร่ำเพ้อจินตนาการถึงม้าขาว ช่างมีความงดงาม น่ามหัศจรรย์ใจยิ่งนัก

วันก่อนผมนั่งไล่ชม Golden Collection ของ Soyuzmultfilm แล้วยังติดตากับ Winnie-the-Pooh (1969) ฉบับรัสเซียที่ออกแบบเจ้าหมีอ้วน Winnie Pooh ได้น่ารักน่าชัง น่าจดจำกว่าฉบับของ Walt Disney ชวนให้นึกถึงลูกหมีตัวนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว

Winnie-the-Pooh (1969): https://www.youtube.com/watch?v=ApfKv8Kx4oI

ในส่วนของภาพพื้นหลัง ผกก. Norstein รับอิทธิพลมาจากภูมิทัศน์จีน (Chinese Art) ผลงานศิลปะของ Guo Xi (1020-90), Ma Yuan (1160/65-1225), Zhu Da (1626–1705) ซึ่งมีความโดดเด่นในลวดลายเส้น ต้นไม้ ลำธาร ขุนเขา ดูราวกับมีชีวิต และมักมีพื้นที่ว่างสำหรับเติมเต็มจินตนาการ

The Eastern principle of painting differs in that it reveals a lot of empty space-unpainted and unfilled fragments-while Western paintings are completely covered in paint and detail. Thus, the contemplator is invited to think of emptiness.

Yuri Norstein

ภาพวาดที่ผมนำมาประกอบด้วย

  • Guo Xi: Early Spring (1072)
  • Ma Yuan: Dancing and Singing (Peasants Returning from Work) (1160-1225)
  • Ma Yuan: Walking on a Mountain Path in Spring

ในส่วนของละอองหมอก นำแรงบันดาลใจจากภาพวาด 松林図 (1595), อ่านว่า Shōrin-zu byōbu, แปลว่า Pine trees [สังเกตตัวอักษรญี่ปุ่น 林 มีลักษณะเหมือนต้นไม้] ผลงานของ Hasegawa Tōhaku (1539-1610) จิตรกรชาวญี่ปุ่น สองภาพนี้ถือเป็นทรัพย์สมบัติแห่งชาติ (National Treasure)

แต่ต้นไม้สูงใหญ่ (World Tree) ที่พบเห็นในอนิเมชั่น เห็นว่าผกก. Norstein นำแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Solaris (1972) ของผกก. Andrei Tarkovsky จะว่าไปตัวละครของ Donatas Banionis ก็เคยออกเดินเล่นในสวน ท่ามกลางหมอกควัน พานผ่านต้นไม้ใหญ่ (สัญลักษณ์ของธรรมชาติ องค์ความรู้ ศูนย์กลางสรรพชีวิต) ทำกระเป๋าหล่นหาย พบเห็นม้าขาว และไปสิ้นสุด ณ หนองน้ำ … เหมือนเป๊ะเลยนะเนี่ย!

ถ่ายภาพโดย Aleksandr Borisovich Zhukovskiy, Александр Борисович Жуко́вский (1933-99) ตากล้องสัญชาติรัสเซีย โตขึ้นร่ำเรียนศิลปะยัง Moscow Theater and Art School ตามด้วยสาขาการถ่ายภาพ All-Union State Institute of Cinematography (VGIK) จบออกมาทำงาน Make-Up Artist ที่สตูดิโอ Mosfilm ก่อนย้ายมาเป็นผู้ช่วยตากล้อง Soyuzmultfilm Studio เคยทำงาน Tsentrnauchfilm Studio ถ่ายทำสารคดี หนังสั้น ก่อนหวนกลับมา Soyuzmultfilm ร่วมงานผกก. Yuri Norshtein ตั้งแต่ The Heron and the Crane (1974), Hedgehog in the Fog (1975) ฯ

แม้ว่า Zhukovskiy จะพอมีประสบการณ์ถ่ายทำอนิเมชั่นมาบ้าง แต่การร่วมงานผกก. Norshtein พวกเขาจำเป็นต้องครุ่นคิดหาวิธีการถ่ายทำรูปแบบใหม่! ทำการก่อสร้างคานไม้ ติดตั้งกล้องไว้เบื้องบน แสงไฟอยู่ด้านข้าง เพื่อให้นักอนิเมเตอร์สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เพียงแค่วางโมเดลกระดาษ Cut-Out Animation ลงบนโต๊ะเท่านั้น! ดูตามภาพร่างเอาเองแล้วกันนะครับ

He was more than a cinematographer, more than a cameraman. He humanized space. I can’t say “he filmed.” No. He influenced the camera with his whole being, with his whole composition on the light, on the film, on the drawing. He spiritualized ordinary glass, ordinary celluloid. For him, there was no difference between a huge pavilion and a cartoon machine.

Yuri Norshtein

สิ่งที่ถือว่าคือความยิ่งใหญ่ เปิดโลกทัศน์ใบให้ให้กับผู้ชม ก็คือลูกเล่นละอองหมอก ‘fog effect’ ซึ่งช่วยสร้างมิติ ความตื้น-ลึกให้กับอนิเมชั่นได้อย่างน่ามหัศจรรย์! ซึ่งวิธีการที่ตากล้อง Zhukovskiy และผกก. Norstein ครุ่นคิดขึ้นมานั้น ไม่ได้มีความสลับซับซ้อนอะไร เพียงใช้กระดาษฝ้าบางๆ วางซ้อนเบื้องหน้า-หลังชิ้นส่วนนั้นๆ (ที่จะให้เบลอหรือชัด)

ถ้าจะอธิบายโดยละเอียด ควรต้องทำความเข้าใจ Cut-Out Animation คือการวาดภาพลงบนกระดาษ(แข็ง) ตัดแปะชิ้นส่วนต่างๆ แขน-ขา ใบหน้า ริมฝีปาก สำหรับใช้ในการขยับเคลื่อนไหว (แบบเดียวกับหนังตะลุง หุ่นเชิดเงา ฯ) แต่แทนที่เราจะเชื่อมโยงอวัยวะต่างๆเข้าด้วยกัน ก็นำกระดาษฝ้ามาวางซ้อนทับ คั่นระหว่างลำตัว-แขนขา ทำให้บางส่วนเบลอ บางส่วนคมชัด เกิดความตื้นลึกหนาบาง

คลิป Masterclass สอนวิธีทำอนิเมชั่นของ Yuri Norstein: https://www.youtube.com/watch?v=yYmN-3jmzxI

I put the hedgehog character on a white background and covered it on top with a thin sheet of thin tracing paper – but very thin, so thin that when you put it close to the hedgehog – you can’t see that the hedgehog is behind this thin sphere. And then I started to lift this sheet, and the hedgehog suddenly blurred and disappeared in the fog, and the projection was going on the screen.

แกะจากคำอธิบายของ Yuri Norstein

ปล. ฟากฝั่ง Walt Disney มีการประดิษฐ์สร้างอุปกรณ์ด้วยแนวคิดคล้ายๆเดียวกันนี้ชื่อว่า Multiplane Camera แต่จะแบ่งแยกชั้นด้วยกระจกใส มีกลไกขยับขึ้นลง กล้องเลื่อนซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ไม่ต้องปีนป่ายขึ้นไปด้านบน, อุปกรณ์จากฟากฝั่งสหภาพโซเวียตนี้ แทบจะเรียกได้ว่า ‘Home Made’ ทำจากวัสดุบ้านๆ ไม่ได้มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน ผลลัพท์ขึ้นอยู่กับศิลปินสรรค์สร้างผลงาน

สิ่งที่น่าจะมีความยุ่งยาก ท้าทาย สลับซับซ้อนที่สุดของอนิเมชั่น ก็คือการถ่ายทำต้นไม้ใหญ่ (World Tree) ไม่ใช่แค่แบ่งแยกรายละเอียดออกเป็นชั้นๆ (มากสุดที่ 4 เลเยอร์) เพื่อให้เกิดมิติละอองหมอก แต่ยังลีลาถ่ายทำเคลื่อนเลื่อนจากเปลือกไม้ เงยหน้าขึ้นเห็นลำต้น กิ่งก้าน ต้นสูงใหญ่ (แถมกล้องยังมีการหมุนวนรอบเล็กๆอีกต่างหาก) สร้างความตื่นตา มหัศจรรย์ใจ

To shoot the tree, it was divided into several parts. From a certain position, the camera shot glass tiers on which the trunk and branches were drawn. In order to get the effect of a rotating tree, it was necessary to rotate the glass with the branches, while the flat trunk remained stationary. It was important not to touch the glasses, because the best filter is the natural layer of dust.

Yuri Norstein

ตัดต่อโดย Nadezhda Trescheva (เกิดปี 1936) ทำงานในสังกัดสตูดิโอ Soyuzmultfilm Studio ร่วมงานขาประจำผกก. Yuri Norstein ตั้งแต่ The Fox and the Hare (1973), The Heron and the Crane (1974), Hedgehog in the Fog (1975) และ Tale of Tales (1979)

แม้อนิเมชั่นจะมีความแค่สิบกว่านาที แต่ก็เต็มไปด้วยรายละเอียดการผจญภัย ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองเจ้าเม่นน้อย (Hedgehog) ยามค่ำคืนออกเดินทางไปเยี่ยมเยียนลูกหมี (Bear-Cub) แต่วันนี้ต้องพานผ่านละอองหมอก สถานที่แห่งความลึกลับ พิศวง จดจำไปจนวันตาย

  • อารัมบท, เจ้าเม่นน้อยก้าวออกเดินทาง แอบติดตามด้วยนกเค้าอินทรียูเรเซีย ก็ไม่รู้มาดีหรือมาร้าย
  • หลงทางในละอองหมอก
    • ก่อนก้าวเข้าสู่ละอองหมอก พบเห็นม้าขาวตัวใหญ่ บังเกิดความลุ่มหลงใหล
    • พอเข้าสู่ละอองหมอกไม่นาน เจ้าเม่นน้อยก็พลัดหลงทาง เกิดอาการหวาดสะพรึงกลัวใบไม้ร่วงหล่น ก่อนพบเห็นหอยทากคืบคลานจากไป
    • พบเห็นเงาเลือนลางของช้าง ม้าขาวยื่นหน้าเข้าหา ค้างคาวบินมาก่อกวน นกเค้าอินทรียูเรเซียก็เช่นเดียวกัน
    • คลำทางไปจนถึงต้นไม้ใหญ่ แล้วตระหนักว่าทำถุงผ้าใส่แยมราสเบอรี่หล่นหาย
    • พยายามคลำทางออกติดตามหา ได้หิ่งห้อยช่วยนำทาง แต่ไม่นานทุกสิ่งอย่างก็ปกคลุมด้วยความมืดมิด
    • สารพัดสิ่งลี้ลับในเงามืด ร้อยเรียงมาสร้างความหวาดกลัวให้เจ้าเม่นน้อย
    • ก่อนได้รับความช่วยเหลือจากสุนัข Cocker Spaniel ทั้งยังนำถุงผ้าใส่แยมราสเบอรี่มามอบคืนให้
    • พลัดตกลงแม่น้ำ ได้รับความช่วยเหลือจากปลาใหญ่ จนสามารถไปถึงฟากฝั่งฝัน
  • ปัจฉิมบท, เดินทางมาถึงบ้านลูกหมี นั่งลงบนขอนไม้ จิบชา ทานแยมราสเบอรี่ เหม่อมองท้องฟ้า จินตนาการถึงม้าขาวที่ได้พบเจอ

ช่วงท้ายของอนิเมชั่นจะมีช็อตน่าพิศวงอยู่ครั้งหนึ่ง ตำแหน่งของเจ้าเม่นน้อยและลูกหมี จู่ๆพวกเขาสลับที่นั่งกัน นั่นเป็นความจงใจของผกก. Norstein ให้เหตุผล “not to break the plasticity of the still frame” แต่บรรดาผู้ชม/นักวิจารณ์กลับมองเป็นความผิดพลาด เรียกการกระทำดังกล่าว ‘unprofessionalism’

เพลงประกอบโดย Mikhail Alexandrovich Meyerovich, Михаи́л Алекса́ндрович Мееро́вич (1920-93) คีตกวีสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Kyiv ก่อนย้ายติดตามครอบครัวมายัง Moscow โตขึ้นเข้าศึกษายัง Moscow Conservatory ร่ำเรียนเปียโนและแต่งเพลง จบออกมาสอนดนตรีอยู่สามปี จากนั้นเริ่มแต่งเพลงซิมโฟนี ออร์เคสตรา โซนาตา อุปรากร บัลเล่ต์ เพลงประกอบภาพยนตร์ อนิเมชั่น ร่วมงานขาประจำผกก. Yuri Norstein ตั้งแต่ The Fox and the Hare (1973), The Heron and the Crane (1974), Hedgehog in the Fog (1975) และ Tale of Tales (1979)

Meyerovich ใช้เวลาถึงสองเดือนในการทำเพลงประกอบความยาวแค่ 6 นาที! นั่นเพราะในช่วงแรกๆพวกเขามีความขัดแย้ง ไม่เข้าใจกันบ่อยครั้ง จนกระทั่งผกก. Norstein ตัดสินใจนำเอาภาพร่าง Storyboard มาใช้ประกอบคำอธิบายถึงลักษณะบทเพลงที่ต้องการ

You see, I brought you a sketch so that you understand the tonality of the music. Because it’s not just about the melody, but also about the tonality seeping through the image, dissolving into it.

Yuri Norstein

อีกสิ่งหนึ่งที่ผกก. Norstein พูดคุยกับ Meyerovich คือการนำแรงบันดาลใจจากภาพวาดศิลปะ เพื่อนำมาสร้างสัมผัสบรรยากาศให้กับอนิเมชั่น

I told Meerovich about such things, showed the texture, Paul Klee’s fine amalgam, drew the plastic: here the sound seems to be gathered in one point, piercing the screen, and here it moves across the entire space of the screen and, overlapping it, then slides away, revealing something else. Suddenly something appears out of the fog and touches the Hedgehog – the sound and graphic touch coincide.

งานเพลงของ Meyerovich เต็มไปด้วยรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ยิบย่อยเต็มไปหมด พยายามทำออกมาให้มีความสอดคล้องเหตุการณ์ต่างๆ แทบจะ ‘frame-by-frame’ จริงๆแล้วนี่ลักษณะของ ‘Silly Symphonies’ พยายามทำให้เสียงสอดคล้องกับภาพอนิเมชั่น ความแตกต่างของ Hedgehog in the Fog (1975) ไม่ได้มุ่งเน้นความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งเน้นสร้างบรรยากาศ ถ่ายทอดปฏิกิริยาอารมณ์ กระตุ้นความรู้สึกภายใน หวาดกลัว (Fear) หลอกหลอน (Horror) ใคร่ฉงนสงสัย (Curiosity)

เจ้าเม่นน้อย ก้าวย่างเข้าไปในละอองหมอก พลัดหลงออกจากเส้นทาง เผชิญหน้าสิ่งต่างๆที่ตนเองไม่สามารถทำความเข้าใจ บังเกิดความหวาดระแวง สั่นสะพรึงกลัว อีกทั้งยังทำถุงผ้าใส่แยมราสเบอรี่หล่นหลาย แต่โชคดีได้รับความช่วยเหลือจากสรรพสัตว์แปลกหน้า จนสามารถเอาตัวรอด พบเจอหนทางออก ในที่สุดก็มาถึงบ้านลูกหมีอย่างปลอดภัย

Every day, the Hedgehog goes to the Bear Cub, but once, he walks in through the fog and comes out of it a different person. This is a story about how, under the influence of some circumstances which we are totally unaware of, our habitual state can suddenly turn into a catastrophe

Yuri Norstein

ละอองหมอก (Fog) มีความฝ้าฟาง ขุ่นมัว มองเข้าไปไม่เห็นอะไร เพียงภาพเลือนลาง เจือจาง สัญลักษณ์ของความไม่รู้เดียงสา ไม่สามารถทำความเข้าใจ สถานที่เต็มไปด้วยความลึกลับ พิศวง เหนือธรรมชาติ ราวกับโลกอีกใบ (otherworld) เกินกว่าสิ่งที่(มนุษย์)จะครุ่นคิดจินตนาการ

ในบริบทของอนิเมชั่น ผู้ชมย่อมรับรู้จักทุกสรรพสัตว์ที่ปรากฎเข้ามา แต่ให้ลองสมมติตัวเองคือเจ้าเม่นน้อย ตัวกระเปี๊ยก ละอ่อนวัย ไร้เดียงสา ตั้งแต่แรกพบเจอนกเค้าอินทรียูเรเซีย ตามด้วยม้าขาว ช้างใหญ่ หอยทาก ค้างคาว สุนัข ปลาในแม่น้ำ ฯ สัตว์ต่างสายพันธุ์ ต่างสปีชีย์ ขนาดเล็ก-ใหญ่ อาศัยอยู่บนบก-ใต้น้ำ-โบยบินบนท้องฟ้า ต่างไม่สามารถเรียนรู้จัก ทำความเข้าใจกันและกัน

ซึ่งเมื่อเราย้อนกลับมามองในมุมของมนุษย์ ยังมีอีกหลายสิ่งมากมายบนโลกใบนี้ หรือระดับสากลจักรวาล ที่ยังไม่สามารถรับรู้ ทำความเข้าใจ เกินกว่าจะครุ่นคิดจินตนาการ แต่ผู้คนสมัยนี้กลับเพิกเฉย ปล่อยปละละเลย ทำตัวเองเหมือนผู้ยิ่งใหญ่ สูงส่งกว่าใคร ทั้งๆที่มนุษย์เป็นแค่เพียงแค่สิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ตายไปก็กลายเป็นเถ้าทุลี ค่อยๆเลือนหายตามกาลเวลา

สิ่งที่จะทำให้เจ้าเม่นน้อย (รวมถึงมนุษย์) สามารถเอาตัวรอดในละอองหมอก (จักรวาลกว้างใหญ่) คือแสงสว่างจากหิ่งห้อย (เปรียบดั่งแสงเทียนในโบสถ์) นำทางพบเจอกับสุนัข Cocker Spaniel (สัตว์ผู้พิทักษ์) แล้วได้รับความช่วยเหลือจากปลาในแม่น้ำ (พระผู้มาไถ่) ให้ราวกับกำเนิด เกิดใหม่ (Baptist) ไปถึงฟากฝั่งฝัน ดินแดนบนสรวงสวรรค์ เป้าหมายปลายทางตามความเชื่อชาวคริสเตียน

มุมมองเด็กๆเกี่ยวกับอนิเมชั่นเรื่องนี้ คงเป็นการเผชิญหน้าความหวาดกลัว พบเจอสิ่งอาจยังไม่เคยรู้จัก เรียนรู้ที่จะเอาชนะใจตนเอง (เอาชนะความหวาดกลัว) ก้าวดำเนินชีวิตด้วยความมุ่งมั่น จิตวิญญาณอันเข้มแข็ง แล้วเราจักได้รับความรัก ความเอ็นดู จนสามารถดำเนินสู่เป้าหมายปลายทาง อิ่มอร่อยกับความสำเร็จ

หลายคนอาจมีความฉงนสงสัย เรื่องราวของ Hedgehog in the Fog (1975) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง เป็นส่วนตัวผกก. Norstein เฉกเช่นไร? การผจญภัยของเจ้าเม่นน้อย เผชิญหน้ากับสิ่งไม่รู้ ทำให้เกิดความหวาดระแวง สั่นสะพรึงกลัว สามารถสะท้อนประสบการณ์วัยเด็ก ภาพติดตาจากสงครามโลกครั้งที่สอง มารดาต้องพาลูกๆอพยพหลบหนี หาหนทางเอาตัวรอด ไม่มีใครรับรู้พรุ่งนี้จะเป็นเช่นไร จะมีโอกาสพบเจอกับใคร ภายภาคหน้าช่างเต็มไปด้วยหมอกควัน มองไม่พบเห็นอะไรสักสิ่งอย่าง

I love films where there are no spectacular stories, where the idea itself is prosaic, but under the director’s thought it takes on a global character. Then we get what is called a work of art.

Yuri Norstein

ตั้งแต่ตอนยื่นเสนอโปรเจค กองเซนเซอร์ Goskino ไม่ได้มีความเชื่อมั่นว่าอนิเมชั่นเรื่องนี้จะประสบความสำเร็จ หลังสร้างเสร็จจึงนำออกฉายแค่เพียงโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กๆ Rossiya Cinema ณ กรุง Moscow โดยไม่รู้ตัวผู้ชมต่อคิวซื้อตั๋ว เต็มทุกรอบยาวนานนับปี แถมเดินทางไปกวาดรางวัลตามเทศกาลหนัง/อนิเมชั่นมากมาย จนสุดท้ายทางการสหภาพโซเวียตต้องมอบรางวัล State Prize of the USSR เมื่อปี ค.ศ. 1979

เกร็ด: ในพิธิเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคฤดูหนาว Sochi 2014 มีการกล่าวถึงบุคคล ภาพยนตร์ บทเพลง ฯ สิ่งที่ถือเป็นลายเซ็นต์/ความสำเร็จของรัสเซีย หนึ่งในนั้นก็คืออนิเมชั่น Hedgehog in the Fog (1975)

สแตมป์ Hedgehog in the Fog จัดทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988

เมื่อปี ค.ศ. 2020, สตูดิโอ Soyuzmultfilm ได้ทำการรวบรวมอนิเมชั่นในสังกัดระหว่างทศวรรษ 1950s ถึง 80s มาทำการบูรณะ สแกนดิจิตอล (คุณภาพ HD) ปรับแต่งคุณภาพสี และเพลงประกอบ มีคำเรียก Golden Collection ทั้งหมดสามารถหารับชมออนไลน์ได้ทาง Youtube บางเรื่องคุณภาพ 4K ด้วยนะครับ

ส่วนตัวมีความหลงใหล คลั่งไคล้ รู้สึกอึ่งทึ่งในความมหัศจรรย์ของ Hedgehog in the Fog (1975) คาดไม่ถึงว่ายังสามารถค้นพบภาพยนตร์/อนิเมชั่นที่สามารถเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ เหนือจินตนาการ เกินกว่าจะหาถ้อยคำมาบรรยาย แถมเรื่องราวยังสามารถครุ่นคิดต่อยอดไม่รู้จุดจบสิ้น

จัดเรต pg กับบรรยากาศทะมึน อึมครึม เด็กเล็กอาจเกิดความหวาดสะพรึงกลัว

คำโปรย | Hedgehog in the Fog อนิเมชั่นมาสเตอร์พีซที่มีความลึกลับ หวาดสะพรึง หลงทางในละอองหมอก แต่ต้องเผชิญหน้ากับ(ความกลัวของ)ตนเอง ถึงสามารถค้นหาหนทางออก พบเจอเป้าหมายชีวิต
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | มหัศจรรย์