Rupan Sansei: Kariosutoro no Shiro (1979)


The Castle of Cagliostro (1979) Japanese : Hayao Miyazaki ♥♥♥♥♡

ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki ดัดแปลงจากมังงะ Lupin the Third ปรับเปลี่ยนอาชญากรผู้เหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ให้กลายเป็นจอมโจรโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจหญิงสาว

ไม่ใช่แค่หนึ่งในภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยมตลอดกาล! ยังได้รับคำชื่นชมจากผู้กำกับชื่อดัง Steven Spielberg ว่าเป็นหนึ่งใน “Greatest Adventure Movies of All Time” กลายเป็นแรงบันดาลใจแฟนไชร์ Indiana Jones, The Adventures of Tintin และโดยเฉพาะฉากขับรถไล่ล่า ยังกล่าวด้วยว่าคือหนึ่งใน “Greatest Chase sequences ever filmed”

I started looking through the old photographs of my trips to Japan. I’m very emotional about this talk about what a huge influence the country of Japan its people and my friend Hayao Miyazaki had on me. He showed me about three sequences from the film and I was blown away. Because this was the first animated film that I thought was made to entertain all ages. Clearly this was a film that was made by a filmmaker and not just for children. It made me feel I was not alone in the world. It’s for adults. It’s smart, it’s clever. The economy of the action. It was such smart filmmaking. It filled my soul – that’s what I wanted to create.

Technically, artistically, story-wise, this movie was a tremendous inspiration for me and it had a tremendous impact on me.

John Lasseter

หลายคนที่มีปัญหาในการรับชมผลงานส่วนใหญ่ของผกก. Miyazaki แต่เมื่อมีโอกาสดู Lupin III: The Castle of Cagliostro (1979) ล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเข้าถึงง่าย สนุกสนานเพลิดเพลิน ตื่นเต้นเร้าใจอย่างที่สุด! ทั้งๆภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ รับหน้าที่เป็นเพียง ‘มือปืนรับจ้าง’ แต่ต้องถือว่าคือจุดเริ่มต้น เอ่อล้นความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทดลองผิดลองถูก ยังอยู่ในช่วงมองหาสไตล์ลายเซ็นต์

Lupin the Third ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใดๆกับ Arsène Lupin (ในช่วงแรกๆเคยอ้างว่าเป็นทายาทรุ่นที่สาม แต่เพราะถูกฟ้องร้องลิขสิทธิ์จากฝรั่งเศส ผู้แต่งมังงะ Monkey Punch เลยตัดญาติขาดมิตร) เอาจริงๆผู้ชมก็ไม่จำเป็นต้องรู้จัก หรือรับชมอนิเมะซีรีย์ก่อนหน้า/ภาคต่อติดตามมา อารมณ์ประมาณ James Bond ฉบับจอมโจร ขับรถเต่า มาดเก๋าเจ้ง สร้างเสียงหัวเราะขบขัน และฉากแอ๊คชั่นสุดเมามันส์

The Castle of Cagliostro (1979) น่าจะเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกๆของโลก ที่สร้างขึ้นด้วยความตั้งใจเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี ไม่แบ่งแยกว่าอนิเมชั่นเหมาะสำหรับเด็ก หรือเนื้อหาภาพยนตร์ของผู้ใหญ่ (แบบพวก Animerama) และที่สำคัญก็คือคุณภาพที่ยังคงทันสมัยใหม่ รับชมในปัจจุบันยังไม่รู้สึกเก่าแก่เลยสักนิด!

เกร็ด: The Castle of Cagliostro (1979) เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาว (Feature Lengeth) เรื่องที่สองถัดจาก The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) สามารถคว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award


ก่อนอื่นขอกล่าวถึงมังงะ Lupin III (ルパン三世 อ่านว่า Rupan Sansei) แนว Comedy Adventure สร้างโดย Monkey Punch นามปากกาของ Kazuhiko Katō, 加藤一彦 (1937-2019) ตีพิมพ์ครั้งแรกลงนิตยสาร Weekly Manga Action วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1967

ความตั้งใจแรกเริ่มของ Monkey Punch ต้องการให้ตัวละคร Lupin III มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หลานชายรุ่นสามของจอมโจร Arsène Lupin ที่สร้างโดย Maurice Leblanc แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำเช่นนั้นเพราะติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ต้นฉบับ เลยใช้วิธีการเปลี่ยนชื่อตัวละคร Wolf, Rupan, Hardyman (Germany), Edgar de la Cambriole (France) ฯ

มังงะเรื่องนี้ของ Monkey Punch เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่ ตัวละคร Lupin III ออกแบบมาให้มีความดิบเถื่อน อวดดี ขี้เมา เสือผู้หญิง สร้างภาพผู้ดีสไตล์ James Bond (มีคำเรียก ‘gentleman thief) เวลาก่ออาชญากรรม มักใช้ความรุนแรง ข่มขืนกระทำชำเรา ไร้สามัญสำนึกดีชั่ว … เป็นมังงะที่ไม่เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชน

ความสำเร็จของมังงะเข้าตานักอนิเมเตอร์ Gisaburō Sugii พยายามโน้มน้าว Yutaka Fujioka ผู้ก่อตั้ง/เจ้าของสตูดิโอ Tokyo Movie (ปัจจุบันคือ TMS Entertainment) ให้ดัดแปลงเป็นอนิเมะซีรีย์ ด้วยความที่สตูดิโอมีเงินทุนไม่มากนัก จึงเริ่มต้นด้วยการสร้างตอน Pilot Film (1969) เพื่อมองหาผู้จัดจำหน่าย แต่กลับไม่มีใครสนใจเนื่องจากความรุนแรง และมีเรื่องทางเพศมากเกินไป! จนกระทั่งปี ค.ศ. 1971 ถึงได้ Yomiuri Television ตอบตกลงอนุมัติงบประมาณซีรีย์ 26 ตอน

เกร็ด: Lupin the Third Part I (1971-72) ถือเป็นอนิเมะซีรีย์(ญี่ปุ่น)เรื่องแรกที่มีกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้ใหญ่, ส่วนภาพยนตร์อนิเมชั่น(สำหรับผู้ใหญ่)คือไตรภาค AnimeRama ประกอบด้วย A Thousand and One Nights (1969), Cleopatra (1970) และ Belladonna of Sadness (1973)

ตอนแรกที่ออกฉายวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1971 ผลปรากฎว่าเสียงตอบรับย่ำแย่ เรตติ้งต่ำมากๆ สถานีโทรทัศน์จึงโน้มน้าวให้ผู้กำกับ Masaaki Ōsumi ปรับแก้ไขเนื้อหาให้สามารถเข้าถึงผู้ชมวงกว้าง แต่เจ้าตัวกลับตอบปฏิเสธจึงถูกไล่ออกกลางคัน!

Hayao Miyazaki และ Isao Takahata ที่เพิ่งขนข้าวของย้ายออกจาก Toei Animation มายัง Tokyo Movie ได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูแลงานสร้างแทนตั้งแต่ตอนที่ 7 ทำการปรับเปลี่ยนโน่นนี่นั่น ลดความเหี้ยมโหดร้ายของตัวละคร Lupin III จนกลายเป็นบุคคล ‘happy-go-lucky’ ขณะที่เรื่องราวก็มีลักษณะ ‘Family-Friendly’ … ครึ่งแรก-ครึ่งหลังราวกับอนิเมะคนละเรื่อง!

The transition [between Ōsumi’s seinen-themed episodes and the family-friendly Miyazaki-Takahata installments] is not entirely smooth, but [the series is] a fascinating watch for the curious, and can give new viewers a glimpse into the variety the franchise offers as a whole.

Reed Nelson นักวิจารณ์จาก Anime News Network

ด้วยกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้นจากตอนท้ายๆ (ที่ดูแลงานสร้างโดย Miyazaki & Takahata) ทำให้อนิเมะได้ไปต่อซีซันสอง Lupin the 3rd Part II (1977-80) [Miyazaki มีส่วนร่วมแค่ตอน 145 และ 155], ตามด้วยภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรก The Mystery of Mamo (1978) กำกับโดย Sōji Yoshikawa

สำหรับโปรเจคภาพยนตร์ถัดมา ผู้กำกับอนิเมชั่น Yasuo Ōtsuka พยายามมองหาความท้าทายใหม่ให้กับแฟนไชร์ Lupin III เลยชักชวน Hayao Miyazaki ให้มีร่วมตีความจอมโจรคนนี้ในรูปแบบใหม่

So there was a basic premise that Lupin can be interpreted in many different ways, then we started discussing “how we should draw it this time” for this next film piece. In the actual timeline it was May of 1979 that I asked Miya-san to join. The rest of the plan was completely blank.

Yasuo Ōtsuka

Hayao Miyazaki (เกิดปี 1940) ผู้กำกับสร้างอนิเมชั่น เจ้าของฉายา “godfather of animation” สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Bunkyō, Tokyo มีพี่น้อง 4 คน บิดาเป็นเจ้าของบริษัทผลิตเครื่องบิน Miyazaki Airplane ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องอพยพหนีระเบิดจาก Tokyo ไปยัง Utsunomiya, Kanuma โชคดีเอาตัวรอดมาได้, ประมาณปี ค.ศ. 1947 มารดาล้มป่วยโรคกระดูกสันหลังอักเสบเนื่องจากวัณโรค ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลหลายปี

ตั้งแต่เด็กมีความเพ้อฝันต้องการเป็นนักวาดการ์ตูน รับอิทธิพลจาก Tetsuji Fukushima, Soji Yamakawa และ Osamu Tezuka แต่หลังจากรับชมอนิเมชั่น The White Snake Enchantress (1958) ตกหลุมรักนางเอกอย่างจัง เลยเบี่ยงเบนความสนใจไปทางนี้ หลังเรียนจบมหาวิทยาลัยสมัครงานเป็น In-Between Artist สตูดิโอ Toei Animation มีส่วนร่วมโปรเจค Doggie March (1963), Wolf Boy Ken (1963), ต่อมากลายเป็น Chief Animator, Concept Artist, Scene Designer ก่อนขนข้าวของย้ายไปสตูดิโอ Tokyo Movie (Shinsha) ร่วมงานกับ Isao Takahata สร้างซีรีย์ Lupin the Third (1971), ฉายเดี่ยวกับ Future Boy Conan (1978), และกำกับภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรก The Castle of Cagliostro (1979),

To be honest, when I was first asked to join, I thought “why now?” For me, and I think Otsuka-san feels much the same, but Lupin was a character living in 60s to 70s. So I thought the theme to use Lupin was bit old and dated.

… after the first TV series comes the second, and then the movie (The Mystery of Mamo). I felt that Lupin had seen all the glory and ended all its chapters. So I was quite astonished when they were starting up again.

Hayao Miyazaki

แม้ในตอนแรก Miyazaki ตั้งใจจะตอบปฏิเสธ แต่หลังจากพูดคุย ถกเถียงกับ (ผู้กำกับอนิเมชั่น) Yasuo Ōtsuka ค้นพบว่าตนเองยังสามารถขบครุ่นคิด ตีความตัวละคร Lupin III ให้ผิดแผกแตกต่างออกไปจากเดิม ให้คำนิยามสั้นๆว่า “growing up”

I questioned myself. What do I want to do with it now? For what kind of audience? … all I could think was the image of Lupin lived in his glory in 60s and early 70s, now living in the regret and shame for his young and wild life… He stopped caring about those fashion and status ten years ago. The same goes for his comrades.

ร่วมพัฒนาบทอนิเมะโดย Haruya Yamazaki แต่เห็นว่าแค่เพียงบทส่งอนุมัติโปรเจค เพราะระหว่างออกแบบร่าง Storyboard ผกก. Miyazaki ไม่ได้สนใจรายละเอียดใดๆในบทของ Yamazaki ปรับเปลี่ยน แก้ไข ปล่อยให้ทุกสิ่งอย่างดำเนินตามวิวัฒนาการของมันเอง … นี่คือสไตล์การทำงานของผกก. Miyazaki (นอกจากผลงานหลัง) มักยังไม่ครุ่นคิดตอบจบ พัฒนาเรื่องราว/Storyboard ไม่เคยเสร็จทันตอนเริ่มต้นโปรดักชั่น


พื้นหลัง ค.ศ. 1968, จอมโจร Lupin III พร้อมคู่หู Daisuke Jigen หลังปล้นเงินจากบ่อนคาสิโน ณ Monte Carlo ค้นพบว่าสิ่งที่ลักขโมยคือธนบัตรปลอม สร้างขึ้นโดย Count Cagliostro ประเทศเล็กๆอยู่ไม่ไกลจาก Monaco สถานที่ที่เขาเคยพยายามลักลอกเข้าไปเมื่อสิบปีก่อน แต่ประสบความล้มเหลว เฉียดตาย เอาตัวรอดชีวิตได้อย่างหวุดหวิด

ระหว่างการเดินทางไปยังปราสาท Castle of Cagliostro จู่ๆผู้หญิงในชุดเจ้าสาวขับรถตัดหน้า กำลังถูกไล่ล่าโดยรถคันหลัง จอมโจร Lupin จึงเหยียบมิดคันเร่ง พยายามให้การช่วยเหลืออีกฝ่าย แต่แม้สามารถเอาตัวรอดตายอย่างหวุดหวิด สุดท้ายเธอยังคงถูกจับกุมตัว ก่อนพบว่าหมั้นหมายอยู่กับ Count of Cagliostro

หลังจากรับทราบเรื่องราวของ Count of Cagliostro จอมโจร Lupin III จึงส่งจดหมายท้าทาย ประกาศว่าจะทำการลักขโมยคู่หมั้น Clarisse ที่ถูกควบคุมขังอยู่ยังชั้นบนสุดของปราสาท สถานที่ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยหนาแน่น ทันสมัยใหม่ที่สุดในโลก และยังต้องครุ่นคิดหาวิธีเปิดโปงการปลอมแปลงธนบัตร สุดท้ายแล้วจะทำได้สำเร็จหรือไม่??


Yasuo Yamada, 山田 康雄 (1932-95) นักแสดง ตลก พาย์เสียง (Seiyuu) สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo วัยเด็กมีความสนใจกีฬาเบสบอล แต่หลังจากรับชมการแสดงของ Danny Kaye ภาพยนตร์ The Secret Life of Walter Mitty (1977) จึงค้นพบความชื่นชอบหลงใหล ต้องการเป็นนักแสดงตลก สมัครงานคณะการแสดง Mingei Theatre Company แต่พอค้นพบว่าไม่สามารถทำตามความฝัน จึงออกมาจัดรายการวิทยุ จนมีโอกาสเดี่ยวบนเวที Theater Echo, จากนั้นกลายเป็นนักพากย์อนิเมะและภาพยนตร์ โด่งดังกับตัวละคร Lupin III, นอกจากนี้ยังมักให้เสียงนักแสดง Clint Eastwood, Jean-Paul Belmondo ฯ

พากย์เสียง Lupin III จอมโจรสุภาพบุรุษ (Gentleman Thief) ผู้มีความเฉลียวฉลาด หน้าตาอาจไม่หล่อ แต่คารมเป็นต่อ ชื่นชอบหยอกล้อ เกี้ยวพาราสีสาวๆไปทั่ว แต่ไม่เคยเห็นจริงจังกับใคร โหยหาความท้าทาย แต่ด้วยอุดมการณ์ไม่ปล้นคนจน เป้าหมายจึงมักเป็นพวกเศรษฐีปลอมๆ หลอกลวง คอรัปชั่น และด้วยวัยวุฒิเพิ่มสูงขึ้น เริ่มครุ่นคิดโหยหาอดีต รู้สึกเสียดายหลายๆสิ่งอย่างเคยทอดทิ้งขว้าง

การเข้ามาของ Miyazaki & Takahata ได้ทำการปรับเปลี่ยนจอมโจม Lupin จากเคยเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย อาชญากรโรคจิต สยองขวัญ ไม่มีอะไรน่าจดจำ กลายมามาดเท่ห์ ทรงเสน่ห์ ใบหน้าทรงรี มีความยียวน บุคลิกภาพป่วนๆ หน้าตาทะเล้น ชวนให้นึกถึงนักแสดง Jean-Paul Belmondo และเสียงพากย์ของ Yamada คงด้วยประสบการณ์นักแสดงตลก เลยสามารถละเล่นระดับเสียงสูง-ต่ำได้อย่างมหัศจรรย์ (เวลาทะเล้นก็เล่นเสียงสูง พอจริงจังก็กดเสียงต่ำ อะไรอย่างอื่นก็ระหว่างนั้น)

คนที่กลายเป็นแฟนคลับ Lupin III ส่วนใหญ่มักมีจุดเริ่มต้นจากภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ ซึ่งไม่ได้มีความใกล้เคียงกับต้นฉบับมังงะสักเท่าไหร่ ผู้แต่ง Monkey Punch แม้ชื่นชอบอนิเมะ แต่ไม่นานก็ตระหนักถึงผลกระทบเลวร้ายติดตามมา

95% of Lupin III fans outside Japan cite this work as what ‘triggered them to become a fan.’ I said, ‘This is not my Lupin.’ It’s a very good work by Miyazaki-kun, wrapped in kindness that I couldn’t have drawn. But the second half of the caper was cut off, and only the first word was taken up. My Lupin is poisonous… I wouldn’t have had him rescue the girl, I would have had him rape her!

Monkey Punch

Sumi Shimamoto ชื่อจริง Sumi Koshikawa, 越川 須美 (เกิดปี 1954) นักแสดง นักพากย์ (Seiyuu) สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kōchi สำเร็จการศึกษา Toho Gakuen College of Drama and Music จากนั้นเข้าร่วมคณะการแสดง Gekidan Seinenza, โด่งดังจากการให้เสียงพากย์ Clarisse อนิเมะ The Castle of Cagliostro (1979), Nausicaä อนิเมะ Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), Shokupanman แฟนไชร์ Soreike! Anpanman ฯ

พากย์เสียงเจ้าหญิง Clarisse สมาชิกราชวงศ์คนสุดท้ายของ Cagliostro ถูกบีบบังคับให้หมั้นหมายแต่งงานกับ Count Cagliostro ซึ่งเคยเป็นข้าราชบริพารก่อการกบฎ โค่นล้ม เข่นฆ่าล้างราชวงศ์ ด้วยจุดประสงค์เปิดขุมทรัพย์ ครอบครองสิ่งของล้ำค่าที่สุด แต่เธอพยายามดิ้นรน หลบหนี หลายครั้งเข้าจนหมดสิ้นเรี่ยวแรงกาย-ใจ จนได้รับความช่วยเหลือจาก Lupin III เข้ามาขโมยหัวใจ ให้บังเกิดความหวังขึ้นในชีวิตอีกครั้ง

ตอนแรกผมรู้สึกคุ้นๆเหมือนเคยได้ยินเสียงของ Shimamoto จากแห่งหนไหน พอรับรู้ว่าเคยพากย์ Nausicaä ก็เกิดความเชื่อมโยงขึ้นโดยทันที แม้ว่า Clarisse จะออกไปทาง ‘damsel in distress’ เคยมีสภาพท้อแท้สิ้นหวัง มิอาจต่อต้านอำนาจบารมีของ Count Cagliostro แต่เพราะได้รับประกายความหวังจาก Lupin III จึงแสดงจิตวิญญาณอันมุ่งมั่น แน่วแน่ กล้าครุ่นคิดตัดสินใจ และยินยอมเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น … อาจดูไม่เหมือนนางเอกในอุดมคติของผกก. Miyazaki แต่อยู่ในช่วงวัยกำลังเติบโต

เกร็ด: Clarisse ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า Bright, Famous ถือเป็นตัวละคร ‘moe’ แรกๆของวงการอนิเมะ และเคยได้รับการโหวตตัวละครหญิงอันดับหนึ่งอยู่หลายปี จนกระทั่งการมาถึงของ Nausicaä (ซึ่งก็พากย์เสียงโดย Seiyuu คนเดียวกัน)

Tarō Ishida ชื่อจริง Gentarō Ishida, 石田 弦太郎 (1944-2013) นักแสดง นักพากย์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kyoto เป็นบุตรของนักแสดง Shigeki Ishida โตขึ้นเข้าศึกษาภาษาสเปน Sophia University แต่ยังไม่ทันเรียนจบออกมาเป็นนักแสดง พากย์เสียง Gene Hackman, Anthony Hopkins, Count Cagliostro อนิเมะ The Castle of Cagliostro (1979), Colonel Shikishima อนิเมะ Akira (1988), Gasparde อนิเมะ One Piece: Dead End Adventure (2003) ฯ

พากย์เสียง Count Cagliostro อุปราชแห่ง Cagliostro ผู้มีความร่ำรวย(จากการผลิตธนบัตรปลอม) เต็มไปด้วยเส้นสาย หลังยึดอำนาจจากบิดาของ Clarisse บีบบังคับให้หมั้นหมาย แต่งงาน เพื่อตนเองจักกลายเป็นกษัตริย์ และค้นพบขุมสมบัติสุดท้ายที่ซุกซ่อนเอาไว้

Count Cagliostro น่าจะเป็นตัวร้ายตัวเดียวในอาชีพการงานของผกก. Miyazaki (โดยปกติผลงานปู่แกไม่มีตัวร้ายที่เหี้ยมโหดชัดเจนขนาดนี้ ส่วนใหญ่จะเทาๆ พบเห็นทั้งด้านดี-ร้ายในตนเอง) แต่การออกแบบตัวละคร ไม่ได้มีจุดโดดเด่น หรือทำออกมาแปลกพิศดารอะไร เพียงใบหน้าเหลี่ยมๆ (เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม) รูปร่างสูงใหญ่ อกผายไหล่ผึ่ง และรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยลับเลศนัย

น้ำเสียงของ Ishida ก็ไม่ได้มีความโฉดชั่วร้ายใดๆ เหมือนผู้ใหญ่วัยกลางคน มีความทุ้ม หนักแน่น ฟังดูสุขุม เยือกเย็น แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดเฉพาะตอนที่ลูกน้องทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ และเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นว่าสามารถต้อนจนมุม Lupin III แต่กลับกลายเป็นตนเองที่ … แตกโพล๊ะ

ถ่ายภาพโดย Hirokata Takahashi (The Rose of Versailles, Space Adventure Cobra, Castle in the Sky)

งานภาพ/ออกแบบศิลป์ของอนิเมะคละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ ทั้งทิศทาง การจัดแสง เลือกใช้สีสัน หลายครั้งพบเห็นตัวละครเดินกินลมชมวิว ดื่มด่ำทัศนียภาพงามๆ พานผ่านเศษซากปรักหักพัง หวนระลึกวันวาน สถานที่แห่งความทรงจำ นาฬิกานับถอยหลัง

ด้วยความยังหนุ่มแน่นของผกก. Miyazaki โปรดักชั่นเริ่มต้นพฤษภาคม ค.ศ. 1979 เสร็จสิ้นเดือนพฤศจิกายน (ประมาณห้าเดือนกว่าๆ) นั่นเป็นระยะเวลาน้อยที่สุดในการสรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมชั่น (ของ Miyazaki) เลยก็ว่าได้!

I first learned the limits of my physical strength with this work.

Hayao Miyazaki

แต่ความเร่งรีบร้อนดังกล่าว รวมถึง Storyboard ที่ยังวาดไม่ทันเสร็จ ไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อโปรดักชั่นของอนิเมะ ตรงกันข้ามสร้างเพราะไม่มีใครรับรู้ว่าตอนจบจะลงเอยเช่นไร จึงเต็มไปความคลุมเคลือ ไม่แน่นอน อะไรๆล้วนบังเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

ใครเคยรับชม The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) ของผกก. Paul Grimault น่าจะสังเกตเห็นอิทธิพลที่มีมากล้นต่อทั้งเรื่องราว และการออกแบบปราสาท Castle of Cagliostro จนบางคนอาจรู้สึกเหมือน ‘rip off’ คล้ายๆแบบ Lupin III ทำการโจรกรรมสิ่งของมีค่า (= Miyazaki ลักขโมยหลายๆสิ่งอย่างจากภาพยนตร์/อนิเมชั่นก่อนหน้า)

ผมเขียนถึงรายการภาพยนตร์เรื่องโปรดของผกก. Miyazaki มาเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้า พบเห็นกังหันลมก็ชวนนึกถึง The Old Mill (1938), เครื่องจักร ฟันเฟือง ภาพยนตร์ Modern Times (1936), ฉากโลดโผนบนหอนาฬิกา Safety Last! (1923) ฯ เหล่านี้ถ้าพูดตรงๆก็คือลักขโมยมา แต่ภาษาศิลปินจะเรียกว่าได้รับอิทธิพล แรงบันดาลใจ ไม่ได้เหมือนเป๊ะขนาดนั้น … จะว่าไปสิ่งต่างๆเหล่านี้ ทำให้อนิเมะคละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ แต่เฉพาะบุคคลเคยรับรู้จักมาก่อนเท่านั้น!

เมื่อตอน The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) และ The King and the Mockingbird (1980) ต่างเป็นอนิเมะที่ไม่เคยเปิดเผยว่าหลังจาก The King กดปุ่ม หล่นตุ๊บ ล่องจุ๊น บุคคลเหล่านั้นสูญหายตัวไปไหน? ผกก. Miyazaki ก็ได้ขบไขปริศนา มอบคำตอบที่อาจชวนคลื่นไส้วิงเวียน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมโฉดชั่วร้าย สถานที่ที่ความตายคือรากฐาน

โดยปกติแล้ว Lupin III มักขับรถหรูหราราคาแพงอย่าง Mercedes Benz (ด้วยเหตุผลว่าเป็นรถคันโปรดของ Adolf Hitler) แต่ความตั้งใจของผกก. Miyazaki ต้องการนำเสนอการเติบโตของตัวละคร สร้างเรื่องราวให้มีกลิ่นอาย ‘Nostalgia’ จึงปรับเปลี่ยนมาเป็นรถเต่าคลาสสิก Fiat 500 กลายเป็น ‘Iconic’ ของภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้โดยพลัน!

I thought this Lupin was probably a kind of man who used to drove Mercedes Benz SSK but now he is out of that phase and bored with it. He realized, after all, it does not matter what car he drives, as long as it drives, and he is just driving around with the most basic car. He is over the fame and status which came with the money. He is no longer a man who would pull out the most rare and expensive cigarette lighter to light his cigarette anymore. He does not give a single damn about such thing. He is fine with the cheap disposable one as long as it does the job. That was my image of Lupin. I felt like I finally understood Lupin. And based on that image, I created this film.

Hayao Miyazaki

เกร็ด: Fiat 500 คือรถคันปัจจุบัน(ขณะนั้น)ของผู้กำกับอนิเมเตอร์ Yasuo Ōtsuka, ขณะที่ Citroen 2CV ในฉากไล่ล่า คือรถคันแรกของผกก. Miyazaki

เมื่อตอน

ไคลน์แม็กซ์ของอนิเมะบังเกิดขึ้นยังหอนาฬิกา Lupin III vs. Count Cagliostro ต่างยืนบนเข็มยาว-สั้น (ฟากฝั่งขั้วตรงข้าม) ฝ่ายหนึ่งพลัดตกหล่นเบื้องล่าง อีกฝ่ายปีนป่ายขึ้นสู่เบื้องบน และเมื่อเข็มเคลื่อนมาตำแหน่ง 00:00 ทำให้อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต เวียนมาบรรจบครบรอบ เปิดเผยขุมสมบัติของ Cagliostro ที่เก็บซุกซ่อนเอาไว้

ขุมสมบัติของ Cagliostro แท้จริงแล้วคือเมืองใต้บาดาล แรงบันดาลใจจากดินแดน Atlantis ที่จมลงใต้มหาสมุทร แต่สถาปัตยกรรมเหมือนจะหยิบยืมมาจากจักรวรรดิโรมัน (อิตาลี) ซึ่งถือว่ามีมูลค่าทางจิตใจมากมายมหาศาล ดั่งคำกล่าวของ Lupin III ที่ว่า “Treasure for all Mankind”

แต่สำหรับ Count Cagliostro ถ้ายังมีชีวิตอยู่คงตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง นี่นะหรือคือสิ่งที่อุตส่าห์เสียสละทุกสิ่งอย่างเพื่อแลกมา เพราะมันไม่มีมูลค่าทางวัตถุใดๆ ไม่สามารถนำไปขายทอดตลาด ไม่แตกต่างจากธนบัตรปลอมๆผลิตขึ้นมา

ถ้าเป็นเมื่อสิบปีก่อน ไม่แน่ว่า Lupin III อาจจะลักพาตัว Clarisse กลายเป็นคู่หู Bonnie and Clyde แต่ใจความอนิเมะเรื่องนี้เกี่ยวกับการหวนระลึก ความทรงจำวันวาน กาลเวลาได้เคลื่อนพานผ่าน ปัจจุบันรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย แก่เกินแกง สุดท้ายเลยขีดเส้นแบ่ง ยินยอมปลดปล่อยเธอสู่อิสรภาพ ร่ำลาจากตอนนี้เลยดีกว่า!

Even when it comes to love, he keeps the same stance. Maybe if it was ten years ago, he would have fallen for love, but now he knows he is not that young nor innocent, so he excuse himself as “old man” and draw the line.

Hayao Miyazaki

ตัดต่อโดย Mitsutoshi Tsurubuchi,

นำเสนอการผจญภัยของจอมโจร Lupin III (และผองพวก) หลังจากปล้นคาสิโน ณ Monte Carlo ออกเดินทางสู่ประเทศ Cagliostro วางแผนลักขโมยเจ้าหญิง Clarisse และสิ่งล้ำค่าที่สุดในปราสาทแห่งนี้

  • อารัมบท, จอมโจร Lupin III ปล้นคาสิโน Monte Carlo
  • Castle of Cagliostro
    • ระหว่างทางไปยัง Cagliostro พบเห็นผู้หญิงในชุดเจ้าสาวถูกรถคันหลังไล่ล่า Lupin III (และ Daisuke Jigen) จึงพยายามให้การช่วยเหลือ
    • เดินทางมาถึงปราสาท Cagliostro เหมือนว่า Lupin III จะมีความหลังบางอย่างกับสถานที่แห่งนี้
    • แนะนำตัวละคร Count Cagliostro เข้าไปในห้องของเจ้าหญิง Clarisse แล้วออกคำสั่งให้ลูกน้องจัดการ Lupin III
    • หลังรับประทานอาหารมื้อเย็น Lupin III (และ Daisuke) ก็ถูกโจมตีโดยลูกน้องของ Count Cagliostro
  • การโจรกรรมของ Lupin III
    • เช้าวันถัดมา Chief Inspector Koichi Zenigata และ Fujiko Mine ต่างเดินทางมาถึงปราสาทแห่งนี้
    • ยามค่ำคืน Lupin III หาหนทาง ลักลอบเข้าไปในปราสาทได้สำเร็จ
    • ปีนป่ายขึ้นไปยังห้องของเจ้าหญิง Clarisse ให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยเหลือเธอออกมา แต่กลับถูกล้อมจับกุมโดย Count Cagliostro
    • Lupin III และ Chief Inspector Koichi ร่วมมือกันหลบหนีจากห้องใต้ดิน เผาทำลายเครื่องผลิตธนบัตร
    • Lupin III พยายามจะช่วยเหลือเจ้าหญิง Clarisse แต่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส เธอจึงยินยอมเป็นตัวประกันให้ปล่อยตัวเขาหลบหนีได้สำเร็จ
  • ขุมสมบัติของ Castle of Cagliostro
    • ระหว่างพักรักษาตัว Lupin III เล่าถึงความหลังที่เคยพบกับเด็กหญิง Clarisse เมื่อสิบปีก่อน
    • งานแต่งงานระหว่าง Count Cagliostro และเจ้าหญิง Clarisse
    • พิธีแต่งงานถูกรุกรานโดย Lupin III และผองพวก
    • Lupin III, Clarisse และ Count Cagliostro กับภารกิจหาสมบัติของ Castle of Cagliostro
  • ปัจฉิมบท, การจากไปของ Lupin III ถูกไล่ล่าโดย Chief Inspector Koichi

อนิเมะมี ‘จังหวะ’ (Pacing) การดำเนินเรื่องที่น่าทึ่งมากๆ เริ่มต้นด้วยฉากไล่ล่า หลบหนี สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ ทำให้ผู้ชมเต็มไปด้วยความคาดหวัง จากนั้นลดความเร็วลงเพื่ออธิบายโน่นนี่นั่น กราฟอารมณ์ขึ้นๆลงๆ เหมือนเครื่องเล่น Roller Coaster ก่อนพุ่งทะยานสู่ไคลน์แม็กซ์สูงสุด แล้วจากไปอย่างโคตรเท่ห์ … นี่คือสูตรสำเร็จภาพยนตร์แอ็คชั่นที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน แต่อนิเมะสร้างมากว่า 40+ ปี ยังไม่มีความเก่าเลยสักนิด!


เพลงประกอบโดย Yuji Ohno, 大野 雄二 (เกิดปี 1941) นักแต่งเพลง แจ๊ส สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Atami, Shizuoka สามารถเล่นเปียโนตั้งแต่อยู่โรงเรียนอนุบาล โตขึ้นเข้าศึกษาวิชากฎหมาย Keio University แล้วยังได้เป็นสมาชิกวง Keio University Light Music Society, จบออกมาเริ่มจากเล่นดนตรี Backing แต่งเพลง ออกอัลบัม ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ โทรทัศน์ โด่งดังจากซีรีย์ Lupin III มีผลงานตั้งแต่ซีซันสอง Lupin III Part II (1977-1978) จนถึงปัจจุบัน

ใครเคยรับชมแฟนไชร์ Lupin III น่าจะมักคุ้นกับ Main Theme คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Jazz รสสัมผัส Bebop จังหวะรวดเร็ว สนุกสนาน เต็มไปด้วยลีลาโลดโผนของการเปลี่ยนแปลงคีย์และคอร์ด ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถคาดเดาอะไร คล้ายๆอุปนิสัย/พฤติกรรมจอมโจร Lupin III ผันแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา … แต่สำหรับอนิเมะเรื่องนี้ Main Theme ของ Lupin III จะแทรกแซมอยู่ตามท่วงทำนองต่างๆ ระหว่างการขับรถไล่ล่า เผชิญหน้าอันตราย หาใช่บทเพลงประกอบหลักไม่!

นั่นเพราะเนื้อหาสาระของอนิเมะ คือการลักขโมยหัวใจหญิงสาว (สมบัติล้ำค่าที่สุด) จึงคละคลุ้งด้วยกลิ่นอายโรแมนติก และอาการโหยหาความทรงจำเมื่อครั้นวันวาน (Nostalgia) ท่วงทำนองหลักจึงเป็น Variation จากบทเพลงคำร้อง 炎のたからもの อ่านว่า Honō no Takaramono แปลว่า Fire Treasure (บางครั้งอาจใช้ชื่อ Treasures of Time), คำร้องโดย Jun Hashimoto, ต้นฉบับขับร้องโดย Toshie Kihara ร่วมกับวงดนตรี You & The Explosion Band มีคำเรียกสไตล์ Jazz Funk

คำร้องญี่ปุ่นคำแปลอังกฤษ
Shiawase o tazunete watashi wa yukitai
Ibara no michi mo itetsuku yoru mo
Futari de watatte yukitai

Tabibito no samui kokoro o
Dare ga daite ageru no
Dare ga yume o kanaete kureru

Honoo to moesakaru watashi no kono ai
Anata ni dake wa wakatte hoshii
Kizuna de watashi o tsutsunde……

Kōya o sasurau anata o
Nemurasete agetai no
Nagareboshi wa anata no koto ne

Honō to moesakaru watashi no kono ai
Anata ni dake wa wakatte hoshii
Nazomeku kiri mo harete iku
I want to go in search of happiness
Through thorny paths and frozen nights
I want to go across the road together

Who will hold the traveler’s cold heart
Who will hold you in their arms?
Who will make my dreams come true

My love that burns with fire
I only want you to understand
Wrap me in your bonds ……

As you wander in the wilderness
I want to put you to sleep
You are the shooting star

My love that burns with fire
I only want you to understand
And the mists of mystery will clear

Variation ของ Fire Treasure จะมีการเลือกใช้เครื่องดนตรีหลักแตกต่างกันไป ขลุ่ย (โดดเดี่ยวอ้างว้าง) ไวโอลิน (บีบเค้นคั้นทรวงใน) และคลาริเน็ต (ครุ่นคิดถึง คำนึงหา) ส่วนตัวชื่นชอบประทับใจมากสุดก็คือ #3 ดังขึ้นช่วงท้ายขณะร่ำลาจาก Clarisse เหม่อมองการจากไปของ Lupin III ด้วยสายตาโหยหาอาลัย ฉันจะจดจำช่วงเวลาทรงคุณค่านี้ไว้ ติดตราฝังใจไม่รู้ลืมเลือน

มีอีกบทเพลงหนึ่งที่ผมอดกล่าวถึงไม่ได้ Bach: Pastorale in F major, BWV 590 ท่อนที่ III. Aria โดยปกติจะบรรเลงโดยออร์แกน (เป็นบทเพลงเดียวของ Bach ที่แต่งขึ้นเพื่อ Chruch Organ) แต่ด้วยความไพเราะเพราะพริ้ง ราวกับเสียงสวรรค์ จึงได้รับความนิยมนำมาบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอื่นมากมาย

แต่ที่แน่ๆนี่ไม่ใช่บทเพลงสำหรับงานแต่งงาน ฟังแล้วราวกับตกนรกทั้งเป็น แถมการบรรเลงใช้โน๊ตเสียงสูง มีความขัดย้อนแย้งกันเอง (โดยปกติออร์แกนจะมีเสียงทุ้มต่ำ) นั่นเพราะ Clarisse ไม่ได้อยากหมั้นหมายครองรักกับ Count Cagliostro เธอจึงรู้สึกหดหู่ ท้อแท้สิ้นหวัง ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป

Lupin III ฉบับของผกก. Miyazaki ต้องเรียกว่าจอมโจรโรแมนติก ใช้ชีวิตพานผ่านอะไรๆมามาก ลักขโมย ปล้น-ฆ่า เกี้ยวพาราสีหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า จนมากระทั่งถึงวัยกลางคน ไม่เชิงว่า ‘midlife crisis’ แต่เริ่มเกิดความตระหนัก เข้าใจอะไรๆหลายสิ่งอย่าง รถหรู เงินทอง มันก็แค่สิ่งของภายนอก เกิดความเบื่อหน่าย ซ้ำซากจำเจ โหยหาสิ่งท้าทาย เติมเต็มความต้องการหัวใจ

โดยปกติแล้วจอมโจร Lupin III ถือเป็นอาชญากรโฉดชั่วร้าย บุคคลอันตราย สมควรตีตนออกห่างไกล! แต่เราสามารถมองในเชิงสัญลักษณ์ของพฤติกรรมหัวขบถ นอกคอก ไม่ต้องการอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบ โหยหาอิสรภาพในการใช้ชีวิต, ขณะที่การลักขโมย โจรกรรม ในเชิงนามธรรมสามารถสื่อถึงความชื่นชอบหลงใหล สิ่งสร้างอิทธิพล ก่อบังเกิดแรงบันดาลใจ … ผกก. Miyazaki คลั่งไคล้ภาพยนตร์อนิเมชั่น The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) ลักขโมยหลายสิ่งอย่างมาใส่ในผลงานเรื่องนี้ของตนเอง!

(นัยยะเดียวกับ One Piece โจรสลัดคืออาชญากรโฉดชั่วร้าย แต่สามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ถึงพฤติกรรมหัวขบถ นอกคอก ไม่ต้องการอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบ โหยหาอิสรภาพในการใช้ชีวิต)

เราสามารถเปรียบเทียบตรงๆ Lupin III = ผกก. Miyazaki ต่างเป็นคนหัวขบถ รักอิสระ ชื่นชอบทำสิ่งแปลกใหม่ ท้าทายศักยภาพตนเอง เติมเต็มความต้องการหัวใจ แม้ในตอนแรกไม่ครุ่นคิดอยากหวนกลับมาทำแฟนไชร์นี้อีก (เพราะเคยกำกับอนิเมะซีรีย์ซีซันแรกไปแล้ว) แต่เล็งเห็นโอกาสทำสิ่งแปลกใหม่ ตัวตนเองที่ปรับเปลี่ยนแปลงไป

ในบริบทของอนิเมะมีการย้อนระลึกความหลังประมาณสิบปีก่อน ซึ่งตรงกับช่วงที่ผกก. Miyazaki เคยทำงานอยู่ Toei Animation = Castle of Cagliostro ซึ่งท่าน Count of Cagliostro สามารถเปรียบเทียบถึงผู้บริหาร(สตูดิโอ Toei)ที่มีความเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ เผด็จการ … แนะนำให้ไปอ่านบทความ The Great Adventure of Horus, Prince of the Sun (1968) จะเข้าใจเหตุผลที่ทั้ง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki ตัดสินใจร่ำจากลา Toei Animation ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971

สิ่งที่ผกก. Miyazaki ลักขโมยมาจาก Toei Animation คือประสบการณ์ทำงาน (และประสบการณ์ชีวิต) ได้เรียนรู้ทั้งงานอนิเมเตอร์ สรรค์สร้างอนิเมชั่น ระบบการทำงาน สำคัญที่สุดก็คือสันดานธาตุแท้มนุษย์ และความคอรัปชั่นของระบอบทุนนิยม

เมื่อตอนสรรค์สร้างอนิเมะเรื่องนี้ ผกก. Miyazaki มีอายุย่าง 38 ปี ถือว่าอยู่ในช่วงวัยกลางคน พานผ่านอะไรๆมาพอสมควร จึงเริ่มเข้าใจสัจธรรมชีวิต มองย้อนกลับไปก็มีทั้งสิ่งที่โหยหา ครุ่นคิดถึง (Nostalgia) บางอย่างก็เป็นเรียนชีวิต ให้เรียนรู้ ปรับปรุงตนเอง เติบโตเป็นผู้ใหญ่ … มันไม่เชิงว่า The Castle of Cagliostro (1979) คือภาพยนตร์แนว ‘Coming-of-Age’ แต่คือการเติบโตของ Hayao Miyazaki ในฐานะผู้กำกับอนิเมชั่น


ด้วยทุนสร้าง ¥500 ล้านเยน (ประมาณ $2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทุบทำลายสถิติทุนสร้างภาพยนตร์อนิเมชั่นสูงสุดตลอดกาลของ Space Battleship Yamato (1977) [ที่ ¥200 ล้านเยน] ก่อนจะถูกแซงโดย Laputa: Castle in the Sky (1986) [ที่ ¥800 ล้านเยน]

แม้เสียงตอบรับจะดียอดเยี่ยม แต่ในญี่ปุ่นสามารถทำเงินได้เพียง ¥610 ล้านเยน (ประมาณ $2.784 ล้านเหรียญสหรัฐ) ฉายต่างประเทศก็ไม่ได้รายรับเพิ่มขึ้นสักเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้นมีการนำออกฉายซ้ำอยู่เรื่อยๆจนได้รับกระแสคัลท์ (Cult Following) ยอดขาย VHS, DVD, Blu-Ray ก็น่าจะทำกำไรได้แล้วละ

เกร็ด: The Castle of Cagliostro (1979) ได้รับการโหวตติดอันดับ #20 ชาร์ท Laputa: Top 150 Japanese and World Animation (2003) ถือเป็นเรื่องที่ห้าของผกก. Miyazaki ถัดจาก #6 Future Boy Conan (1978), #7 My Neighbour Totoro (1988), #16 Nausicaä of the Valley of the Wind (1984) และ #19 Laputa: Castle in the Sky (1986)

แม้ลิขสิทธิ์อนิเมะจะไม่ใช่ของสตูดิโอ Ghibli แต่ทว่า TMS Entertainment เก็บทำนุรักษาฟีล์มต้นฉบับไว้เป็นอย่างดี ผ่านการบูรณะ 4K UHD เมื่อปี ค.ศ. 2019 จัดจำหน่าย Blu-Ray โดย Discotek Media ของแถมพอสมควรเลยละ

ในบรรดาผลงานของผกก. Miyazaki ผมมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินมากที่สุดกับ The Castle of Cagliostro (1979) ทั้งฉากแอ๊คชั่นมันส์ๆ อนิเมชั่นบ้าระห่ำ พบเห็นสารพัดการเชื่อมโยง The King and the Mockingbird (1980) ของผกก. Paul Grimault ยิ่งทำให้รู้สึกอึ่งทึ่ง คาดไม่ถึง ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจผู้ชม!

The Castle of Cagliostro (1979) ถือเป็นไฮไลท์ยืนหนึ่งของแฟนไชร์ Lupin III ด้วยความที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แตกต่างจากต้นฉบับมังงะ หรือซีรีย์ตอนอื่นๆ จึงไม่มีเรื่องไหนๆสามารถก้าวข้ามผ่าน ใกล้เคียงสุดอาจคือภาพยนตร์สามมิติ Lupin III: The First (2019) กำกับโดย Takashi Yamazaki ทำการเคารพคารวะ พล็อตเรื่องคล้ายๆกัน (แต่หลายคนบอกว่าขาดกลิ่นอายสไตล์อนิเมะสองมิติไปพอสมควร)

จัดเรต pg เกี่ยวกับการลักขโมย พฤติกรรมคอรัปชั่น กักขังหน่วงเหนี่ยว

คำโปรย | The Castle of Cagliostro ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของ Hayao Miyazaki เต็มไปด้วยความโรแมนติก ปล้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือหัวใจผู้ชม
คุณภาพ | ติ
ส่วนตัว | ปล้นหัวใจ

Taiyō no Ōji Horusu no Daibōken (1968)


The Great Adventure of Horus, Prince of the Sun (1968) Japanese : Isao Takahata ♥♥♥♡

ร่วมงานครั้งแรกระหว่าง Isao Takahata และ Hayao Miyazaki (Concept Artist, Scene Design และ Key Animation) แม้โปรดักชั่นล่าช้ากว่าสามปี บางฉากเหมือนยังไม่เสร็จดี ตัดต่อเร่งรีบรวบรัดเกินไป เข้าฉายไม่กี่วันก็เงียบหาย แต่กลับได้รับกระแสคัลท์ติดตามมา สร้างอิทธิพลให้วงการอนิเมชั่น จนกลายเป็นหนึ่งในอนิเมะยอดเยี่ยมตลอดกาล!

คำอาลัย (Eulogy) ในพิธีศพของ Isao Takahata โดย Hayao Miyazaki มีการพูดถึงแรกพบเจอ และความทรงจำระหว่างโปรดักชั่น Horus, Prince of the Sun (1968) ครั้งแรกที่พวกเขาร่วมงานกัน ผมนำมามาแค่บางส่วน ใครอยากอ่านเต็มๆคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่าง

In 1963, we first met each other. Paku-san was 27 and I was 22, back then. I still remember the day when we exchanged words for the first time. I was waiting for the bus bound for Nerima at a bus stop in the twilight.​ A young man approached me walking down the street where some puddles remained right after it rained. “I heard you are meeting up with Segawa Takuo-san.” In front of me was the gentle and wise looking face of a young man. That was the moment when I first met Takahata-san, also known as Paku-san.​ I wonder, why do I still remember that this clearly, even though it was 55 years ago? I can even vividly remember the look on his face at that time.​

The production [of The Great Adventure of Horus, Prince of the Sun as Takahata worked as its screenwriter] did not proceed well. The staff were not familiar with [Takahata’s] new style. The progress was so slow that the project became a headache to the entire company. Paku-san was an incredible persistent guy. Even as the company’s top management tried to change his direction with, sometimes, threats and, sometimes, begging, he did not change. I worked by myself over weekends with no AC in the summer, drawing the sketches for the background pictures on big sheets of paper. The agreement with the labor’s union did not allow the work on weekends but I did not care. It was so simple. I just did not punch the time card for the weekend work.

After I watched the first version [of The Great Adventure of Horus] I could not move. It was not that I was moved, but I was totally taken by surprise. I was aware of the dispute over the scene of “Mayoi no Mori/The Enchanted forest” as to whether it should have been edited out or not. Paku-san negotiated with the company board patiently and he had no choice, but had to agree on the number of the animation frames and the number of work days to the deadline. Of course, he could not keep the agreement. More frame and more days cost. Every time he broke the agreement, he had to write an apologetic letter [to the company]. I wonder how many letters he had to write. I was also fully tied up with my own job and I could not help him in that tough fight.

I watched the scene with Hilda in the Enchanted forest at the first test screening. The overwhelming expression and the pictures! And so much love! I came to understand for the first time that this was what Paku-san wanted to create…

คำอาลัยของ Hayao Miyazaki กล่าวถึง Isao Takahata วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2018

LINK: https://www.cartoonbrew.com/rip/watch-hayao-miyazakis-eulogy-for-isao-takahata-158410.html


Horus, Prince of the Sun (1968) คือหนึ่งในภาพยนตร์อนิเมชั่นที่เต็มไปด้วยปัญหา ความล่าช้า ใช้งบบานปลายเกินกว่า ¥100 ล้านเยน (เป็นโปรดักชั่นอนิเมะใช้ทุนสร้างสูงสุดขณะนั้น ก่อนถูกโค่นล้มลงโดย Space Battleship Yamato (1977)) ส่วนหนึ่งเพราะความเรื่องมาก เอาแต่ใจ ‘Perfectionist’ ของผกก. Takahata จนสตูดิโอ Toei Animation ต้องเข้ามาจุ้นจ้านวุ่นวาย สั่งหยุดโปรดักชั่นหลายครั้งเพื่อปรับแก้ไข หลายสิ่งอย่างถูกรวบรัด ตัดถอน ให้อยู่ภายใต้ระยะเวลา 90 นาที! … กลายเป็นจุดแตกหักของ Takahata ปฏิเสธกำกับอนิเมะให้ Toei Animation อีกต่อไป!

วันก่อนผมเพิ่งรับชม Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) แล้วพอต่อด้วย Horus, Prince of the Sun (1968) ช่วงแรกๆเกิดอาการอ้ำๆอึ้งๆ เพราะสังเกตเห็นหลายๆสิ่งอย่างละม้ายคล้ายคลึงจนเกินไป??? แต่พอสักประมาณกลางเรื่อง การมาถึงของ Hilda (พากย์เสียงโดย Etsuko Ichihara) เด็กสาวน่าพิศวง ชวนลุ่มหลงใหล บังเกิดความคลั่งไคล้ อาจเป็นตัวละครอนิเมชั่นมีความสลับซับซ้อนที่สุด (ขณะนั้น) … ความรำคาญใจในช่วงแรกๆก็ค่อยๆเจือจางหาย

ผมแอบรู้สึกเสียดายที่ถ้ารับชม Horus, Prince of the Sun (1968) ห่างๆจาก Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) อาจเกิดความชื่นชอบประทับใจมากนี้ แต่เพราะบังเอิญนั่งดูทั้งสองเรื่องในค่ำคืนเดียวกันอีกต่างหาก มันเลยเกิดอาการอ้ำๆอึ้งๆ แถมพบเห็นบางฉากเหมือนยังไม่เสร็จดี ตัดต่อเร่งรีบรวบรัดเกินไป แม้วิสัยทัศน์ของผกก. Takahata จะหัวก้าวหน้า ล้ำอนาคต และมีความเป็นส่วนตัวสักแค่ไหน ก็มิอาจลบเลือนอคติ ‘bad impression’ ที่บังเกิดขึ้นได้

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือเนื้อหาของอนิเมะ นี่ไม่ใช่การ์ตูนสำหรับเด็ก! มีฉากความรุนแรง การทรยศหักหลัง พฤติกรรมเห็นแก่ตัวของเพื่อนมนุษย์, แรกเริ่มนั้นผกก. Takahata ต้องการดัดแปลงเรื่องราวชนพื้นเมือง Hokkaido ที่ถูกกดขี่ข่มเหง แต่สตูดิโอกลัวมีปัญหาเลยขอให้ปรับเปลี่ยนพื้นหลังเป็น Scandinavia ถึงอย่างนั้นใจความดั้งเดิมยังคงอยู่ และโดยไม่รู้ตัวสามารถสะท้อนถึงพฤติกรรมของ Toei Animation ไม่แตกต่างกัน!

เกร็ด: Horus: Prince of the Sun (1968) ติดอันดับ #11 ชาร์ท Laputa: Top 150 Japanese and World Animation (2003) ถือว่าสร้างอิทธิพลให้กับวงการอนิเมชั่นไม่น้อยทีเดียว!


Isao Takahata, 高畑 勲 (1935-2018) นักเขียน โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับอนิเมชั่น ร่วมก่อตั้งสตูดิโอ Ghibli สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ujiyamada (ปัจจุบันคือ Ise), Mie น้องคนเล็กในครอบครัวเจ็ดคน บิดาเป็นครูใหญ่โรงเรียนมัธยม เมื่อตอนเก้าขวบพบเห็นการโจมตีทางอากาศยัง Okayama City โชคดีเอาตัวรอดพานผ่านสงครามโลกได้อย่างหวุดหวิด

โตขึ้นเข้าศึกษาวรรณกรรมฝรั่งเศส University of Tokyo ระหว่างนั้นมีโอกาสรับชม The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) [ต้นฉบับของ The King and the Mockingbird (1980)] ของผู้กำกับ Paul Grimault ทำให้เกิดความสนใจในสื่ออนิเมชั่น สมัครเข้าทำงานยัง Toei Animation กลายเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963), กำกับบางตอนซีรีย์ Ken the Wolf Boy (1963-65) ฯ

หลังสะสมประสบการณ์กำกับอนิเมะซีรีย์มาหลายตอน เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1965 ผกก. Takahata ก็ได้รับมอบหมายโปรเจคภาพยนตร์อนิเมชั่น ดัดแปลงเทพนิยายพื้นบ้าน 龍の子太郎 (1960) อ่านว่า Tatsu no ko Tarō แปลว่า Taro the Dragon Boy รวบรวมโดย Miyoko Matsutani (1926-2015) แต่เริ่มต้นพัฒนาคอนเซ็ป/บทอนิเมะได้ไม่นาน กลับถูกสั่งยกเลิก เพราะแหล่งข่าวรายงานว่ามีซีรีย์หุ่นเชิด (Puppet Series) กำลังอยู่ในช่วงระหว่างโปรดักชั่น (ออกฉายปี ค.ศ. 1966) … พูดง่ายๆก็คือไม่ต้องการทำซ้ำ เพราะมีแนวโน้มจะออกฉายปีเดียวกัน

เกร็ด: ต้องรออีกกว่าทศวรรษที่ Toei Animation จะไฟเขียวภาพยนตร์อนิเมชั่น Taro the Dragon Boy (1979) กำกับโดย Kiriro Urayama เห็นว่านำเอาคอนเซ็ป/บทบางส่วนที่พัฒนาค้างไว้ของ Isao Takahata มาสานต่อให้เป็นรูปเป็นร่าง

พอโปรเจคเก่าถูกยกเลิกไป ผกก. Takahata จึงยื่นข้อเสนอใหม่ ดัดแปลงบทละครหุ่นเชิด チキサニの太陽 อ่านว่า Chikisani no Taiyō แปลว่า The Sun Above Chikisani พัฒนาโดยนักเขียน Kazuo Fukazawa, 深沢 一夫 ซึ่งทำการตีความเรื่องเล่าพื้นบ้าน (Oral Tradition) オキクルミと悪魔の子 อ่านว่า Okikurumi to akuma no ko ของชนพื้นเมือง Ainu (アィヌ) อาศัยอยู่บนเกาะ Hokkaido (และ Northeast Honshu) … น่าเสียดายที่ผมไม่สามารถหารายละเอียดใดๆเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านดังกล่าว

สตูดิโอ Toei Animation ไม่ต้องการจะยุ่งเกี่ยวอะไรกับ Ainu People เพราะก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ A Whistle in My Heart (1959) ทั้งไม่ประสบความสำเร็จ แถมยังสร้างปัญหาขัดแย้งกับชนพื้นเมือง จึงโน้มน้าวให้ปรับเปลี่ยนสถานที่พื้นหลังมาเป็นแถบ Scandinavia

บทอนิเมะได้รับการปรับปรุงแก้ไขอยู่หลายครั้ง ไม่ใช่แค่จากนักเขียน Fukazawa, ผกก. Takahata แต่ยังรวมถึง Hayao Miyazaki (ไม่ได้มีการระบุว่าให้คำแนะนำอะไร เพียงบอกว่า ‘invaluable input’) กว่าจะได้รับความพึงพอใจก็บทร่างที่ห้า ล่วงเลยไปถึงกลางเดือนมีนาคม ค.ศ. 1966 ล่าช้ากว่ากำหนดสองเดือนเต็ม!

เกร็ด: เครดิตของ Hayao Miyazaki ประกอบด้วย Concept Artist, Scene Design และ Key Animation


พื้นหลังทางตอนเหนือของ Ancient Norway ในยุคสมัย Iron Age Scandinavia, เรื่องราวของเด็กชาย Horus (พากย์เสียงโดย Hisako Ōkata) กำลังต่อสู้กับฝูงหมาป่า โดยไม่รู้ตัวปลุกตื่นยักษ์หิน (Golem) ชื่อว่า Moug the Rock Giant ท้าทายให้ดึงดาบ Sword of the Sun ที่แม้ขึ้นสนิมเกรอะกรัง แต่ถ้าวันหนึ่งสามารถหลอมใหม่ จะได้รับการเรียกขาน Prince of the Sun

พอเด็กชาย Horus เดินทางกลับบ้าน พบเห็นบิดาในสภาพนอนติดเตียง เปิดเผยถึงต้นตระกูลมาจากหมู่บ้านติดทะเลทางตอนเหนือ ถูกทำลายล้างโดยปีศาจ Grunwald (พากย์เสียงโดย Mikijiro Hira) มอบหมายภารกิจให้บุตรชายออกเดินทาง และทำการล้างแค้น ทวงคืนความยุติธรรมให้กับทุกคน

ระหว่างการออกเดินทาง Horus ร่วมกับลูกหมี Koro บังเอิญเผชิญหน้ากับ Grunwald ปฏิเสธยินยอมก้มหัว เป็นขี้ข้ารับใช้ จึงถูกปล่อยให้ตกหน้าผา โชคยังดีสามารถเอาตัวรอดชีวิต ได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านใกล้เคียงที่กำลังถูกรุกรานโดยปลาใหญ่ และฝูงหมาป่า

Horus พยายามให้ความช่วยเหลือด้วยการต่อสู้กับปลาใหญ่และฝูงหมาป่า จนได้รับยกย่องวีรบุรุษประจำหมู่บ้าน แต่กลับถูก Drago มองด้วยสายตาอิจฉาริษยา พยายามพูดใส่ร้ายป้ายสี แถมยังโน้มน้าว Hilda (พากย์เสียงโดย Etsuko Ichihara) เด็กหญิงที่ Horus พากลับมายังหมู่บ้าน แท้จริงแล้วคือน้องสาวของ Grunwald เพื่อทำการขับไล่ ผลักไส จนทำให้เขาพลัดเข้าไปยัง The Enchanted Forest … สุดท้ายแล้ว Horus จะสามารถหาหนทางออก กลายเป็น Prince of the Sun ได้หรือไม่? และแผนการชั่วร้ายของ Grunwald จักลงเอยเช่นไร?


Horus เด็กชายวัย 14 ปี ผู้มีนิสัยซื่อตรง มั่นคง จริงใจ ยึดถือในสิ่งครุ่นคิดว่าถูกต้อง ปฏิเสธทรยศหักหลังพวกพ้อง ให้ความสำคัญกับผองเพื่อน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่สนว่าตนเองจะต้องทนทุกข์ทรมานสักเพียงไหน อาจมีช่วงหนึ่งเกิดความโล้เลลังเลใจ แต่สุดท้ายก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม ไม่มีอะไรบั่นทอนอุดมการณ์เชื่อมั่น ท้ายที่สุดจึงได้รับยกย่องเยี่ยงวีรบุรุษ Prince of the Sun

เกร็ด: Horus ตามตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ (Egyptian Mythology) คือเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ (Sun God) ลักษณะจะมีร่างกายเป็นมนุษย์ ศีรษะเป็นเหยี่ยว ดวงตาข้างซ้ายคือพระอาทิตย์ ดวงตาข้างขวาคือดวงจันทร์ ชาวอียิปต์โบราณยังมีความเชื่อว่าฟาโรห์คือเทพเจ้า Horus ที่มาจุติบนโลกมนุษย์

ออกแบบตัวละคร (Character Design) [และกำกับอนิเมชั่น (Animation Director)] โดย Yasuo Ōtsuka (1931-2021) แม้ว่า Horus อาจดูธรรมดาๆ ไม่ได้โดดเด่นเป็นสง่า หรือมีรายละเอียดน่าจดจำ แต่จุดประสงค์หลักๆเพื่อลดงานนักอนิเมอเตอร์ และให้เป็นตัวแทนบุคคลธรรมดาทั่วไป … ตัวละครลักษณะนี้ ในอนาคตอันใกล้จักกลายเป็นต้นแบบสไตล์ Ghibli

ให้เสียงพากย์โดย Hisako Ōkata, 大方 斐紗子 (เกิดปี 1936) นักร้อง/นักแสดงจาก Fukushima, น้ำเสียงของเธอมีห้าวๆ ฟังดูหนักแน่น เข้มแข็ง เอ่อล้นด้วยพลัง สอดคล้องเข้ากับอุดมการณ์มุ่งมั่น ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ผดุงความยุติธรรม พร้อมต่อสู้กับความชั่วร้าย ไม่ย่นย่อท้อต่ออุปสรรคขวากหนาม

เกร็ด: ผมสอบถามจาก ChatGPT อนิเมะเรื่องแรก/เก่าแก่สุดที่นักพากย์หญิงให้เสียงตัวละครเด็กชาย ได้รับคำตอบคือ Astro Boy (1963)

แม้พระเอกจะไม่ค่อยมีอะไรน่าจดจำ แต่นางเอก Hilda เด็กสาวอายุ 15 ปี ถือเป็นไฮไลท์ที่ทำให้ผู้ชมเกิดความฉงนสงสัย แท้จริงแล้วคือใคร? ทำไมถึงเป็นบุคคลเดียวรอดชีวิตในอีกหมู่บ้าน? น้ำเสียงร้องเพลงของเธอ ไพเราะหรือสร้างความรำคาญ? สรุปแล้วมาดี-มาร้าย ต้องการจะทำอะไร? ใบหน้าสวยๆใช่ว่าจักต้องเป็นคนดีเสมอไป!

เกร็ด: Hilda มาจากภาษา Danish หมายถึง Secrecy, Hiding, ซึ่งถ้าอ้างอิงจากปรัมปรานอร์ส (Norse mythology) Hildr (ภาษา Old Norse แปลว่า Battle) คือหนึ่งใน Valkyries มีพลังในการชุบชีวิตคนตายในสนามรบ ทำให้การต่อสู้ไม่รู้จักจบจักสิ้น

ออกแบบตัวละครโดย Yasuji Mori (1925-92) อีกหนึ่งโคตรนักอนิเมเตอร์รุ่นบุกเบิก บุคคลแรกรับหน้าที่กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) ให้กับภาพยนตร์ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963), สำหรับ Hilda สาวสวยหน้าใส แต่ภายในเต็มไปด้วยความโล้เล้ลังเล ขัดแย้งภายใน ไม่สามารถเอาชนะมุมมืด ถูกควบคุมครอบงำโดยพี่ชายแท้ๆ รู้สึกผิดอย่างรุนแรงที่กระทำร้าย Horus … รูปลักษณะตัวละครนี้ ได้กลายเป็นต้นแบบนางเอก Ghibli อีกเช่นเดียวกัน!

เกร็ด: จริงๆแล้วภาพร่างตัวละคร Hilda มีหลากหลายฉบับวาดโดย Reiko Okuyama, Yōichi Kotabe และ Hayao Miyazaki แต่ท้ายที่สุดผกก. Takahata ตัดสินใจเลือกของ Yusuji Mori ที่ดูนุ่มนวล อ่อนโยน มีความโค้งมน เพื่อให้ผู้ชมเกิดความฉงนสงสัย คนสวยๆไม่น่าจะกระทำสิ่งชั่วร้ายได้ลง

พากย์เสียงโดย Etsuko Ichihara, 市原 悦子 (1936-2019) นักแสดงจาก Chiba มีผลงานภาพยนตร์กว่าร้อยเรื่อง โด่งดังจากบทบาทสมทบ Black Rain (1989) คว้ารางวัล Japan Academy Prize: Best Supporting Actress, สำหรับการให้เสียง Hilda มีความละมุน นุ่มนวล เฉกเช่นเดียวกับการออกแบบตัวละคร เพื่อให้ผู้ชมบังเกิดความขัดแย้งกับพฤติกรรมแสดงออก เวลาไม่เห็นด้วยกับสิ่งใดมักแสดงท่าทางปฏิเสธ ก้าวร้าว ใช้ถ้อยคำเสียดสี ถากถาง … ทำไมคนงามถึงพูดจาอย่างนั้น มันมีลับลมคมในอะไรกันแน่

อีกตัวละครที่ต้องกล่าวถึงก็คือ Grunwald ราชาน้ำแข็งผู้มีความเหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ครุ่นคิดแต่แผนการทำลายล้าง เริ่มต้นด้วยการส่งหนอนบ่อนไส้ กัดกินแต่ละหมู่บ้านให้เกิดความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะจากภายใน แล้วส่งฝูงหมาป่าพร้อมสรรพสัตว์ใหญ่เข้าไปเข่นฆ่า กวาดล้าง จนทุกสิ่งอย่างราบเรียบเป็นหน้ากลอง … ก็ไม่รู้ทำไปด้วยวัตถุประสงค์อันใด

ออกแบบตัวละครโดย Hayao Miyazaki ค่อนข้างชัดเจนมากๆว่าได้แรงบันดาลใจจากอนิเมชั่น The Snow Queen (1952) พยายามทำให้ใบหน้ามีเหลี่ยมมุม (ตรงกันข้ามกับ Horus และ Hilda ที่มีความโค้งมน) จะว่าไปพระราชวัง/ปราสาทคริสทัลของ Grunwald ก็มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงด้วยเช่นกัน

เกร็ด: Grunwald หรือ Grünwald เป็นคำจากภาษาเยอรมัน ‘Middle High German’ ดั้งเดิมคือ Grewen แปลว่า grow, develop, หรือถ้าสื่อถึงสถานที่จะหมายถึง meadow, grassland, และชื่อเทศบาลในเขตเมือง Munich, รัฐ Bavaria, ประเทศ Germany

ให้เสียงโดย Mikijirō Hira, 平 幹二朗 (1933-2016) นักแสดงภาพยนตร์/ละครเวที เจ้าของฉายา “Japan’s best Shakespearean actor” ด้วยน้ำเสียงคมเข้ม พยายามกดให้ทุ้มต่ำ แสดงถึงความเจ้าเล่ห์ เต็มไปด้วยเหลี่ยมคม แค่เสียงหัวเราะก็อาจทำให้หลายคนเกิดอาการหลอกหลอน เวลาเกรี้ยวกราดมักใส่อารมณ์ จนคนรอบข้าง(รวมถึงผู้ชม)เกิดความหวาดสะพรึงกลัว ไม่กล้าโต้ตอบ หือรือ ยินยอมก้มหัวศิโรราบแต่โดยดี

แถมให้กับยักษ์หิน Moug the Rock Giant และแมมมอธน้ำแข็ง ทั้งสองตัวละครออกแบบโดย Hayao Miyazaki หนึ่งคือธาตุดิน อีกหนึ่งคือธาตุน้ำ(แข็ง) สองสิ่งขั้วตรงข้ามที่เมื่อเผชิญหน้า ย่อมก่อให้เกิดการทำลายล้าง

  • อุปนิสัยของ Horos = Moug the Rock Giant ธาตุดิน/หิน มีความหนักแน่น มั่นคง ซื่อตรง ไม่มีสิ่งใดสามารถสั่นคลอนความเชื่อ อุดมการณ์
  • Grunwald (และ Hilda) = แมมมอธน้ำแข็ง แม้ร่างกายใหญ่โต พลังทำลายล้างมหาศาล แต่เต็มไปด้วยจุดอ่อน เปราะบาง หลอมละลายโดยเปลวเพลิง และพ่ายแพ้การสู้กับ Moug the Rock Giant

แม้บทอนิเมะจะพัฒนาเสร็จสิ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1966 แต่ความล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้เกิดช่วงเวลาเหลื่อมล้ำกับโปรเจคอื่น ผกก. Takahata ถูกย้ายไปช่วยงานกำกับซีรีย์อนิเมะ ก่อนจะหวนกลับมาทำ Storyboard จริงๆก็เดือนตุลาคม และโปรดักชั่นเริ่มต้นงานสร้างเมื่อมกราคม ค.ศ. 1967 เสร็จสิ้นประมาณมีนาคม ค.ศ. 1968 (รอบทดลองฉาย)

แบบเดียวกับ The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) อนิเมะเรื่องนี้ถ่ายทำโดย Toeiscope หรือก็คือระบบ CinemaScope อัตราส่วนภาพ Anamorphic Widescreen (2.39:1) แม้อาจเพิ่มภาระงานให้นักอนิเมเตอร์ แต่ประสบการณ์รับชมภาพยนตร์อนิเมชั่น ก็ยิ่งใหญ่อลังการเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ก่อนหน้านี้ (รวมถึง The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963)) มุมมองการถ่ายภาพของอนิเมะ/อนิเมชั่น มักมีลักษณะตรงไปตรงไป จัดวางให้ตัวละครอยู่กึ่งกลางเฟรม หรือพยายามทำให้เกิดความสมมาตร แต่วิสัยทัศน์ของผกก. Takahata ได้รับอิทธิพลจากวงการภาพยนตร์ และอนิเมชั่นมาสเตอร์พีซ The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952) เต็มไปด้วยมุมกล้องแปลกๆพิศดาร ก้ม-เงย-เอียง ซูมมิ่ง (Zooming) แพนนิ่ง (Panning) ภาพนิ่ง (Freeze Frame) รวมถึงระยะภาพใกล้-กลาง-ไกล (Close-Up, Medium Shot, Long Shot และ Extreme-Long Shot ฯ) แพรวพราวด้วยสารพัดเทคนิคภาพยนตร์

ถ้าเป็นภาพยนตร์/อนิเมชั่นยุคก่อนหน้า เริ่มต้นอารัมบทมักมีการพูดเกริ่น คำบรรยายโน่นนี่นั่น กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เตรียมความพร้อมผู้ชมนำเข้าสู่เรื่องราว แต่สำหรับ Horus: Prince of the Sun (1968) มาถึงก็ฉากแอ๊คชั่น ต่อสู้ ฝูงหมาป่ากำลังไล่ล่า พยายามจะเข่นฆ่าเด็กชาย Horus มันช่างเป็นเหตุการณ์ขวัญผวา อันตราย เฉียดตาย สร้างความตกอกตกใจ ไม่ค่อยเหมาะสำหรับเด็กและผู้ใหญ่จิตใจอ่อนไหว … นี่คือวิสัยทัศน์ของผกก. Takahata ที่ถือว่าล้ำยุคสมัยนั้น กล้าทำสิ่งแปลกใหม่ สร้างความคาดหวังสูงลิบลิ่วให้กับผู้ชม

เพื่อสร้างสัมผัสความใหญ่โตมโหฬารของ Moug the Rock Giant ถ้าเป็นอนิเมะยุคก่อนอาจจะมีแค่ภาพ Extream-Long Shot แล้วก็ตัดสลับ Close-Up ใบหน้าตัวละครทั้งสอง

แต่วิสัยทัศน์ของผกก. Takahata ยังแทรกใส่มุมก้ม-เงย เด็กชายแหงนมองเห็นความสูงใหญ่ล้นเฟรมของยักษ์หิน และสายตาโกเลมก้มลงมาเห็นเด็กชายตัวเล็กกระจิดริด … จริงๆยังมีมุมกล้องอื่นๆอีก แต่อธิบายเพียงเท่านี้น่าจะเพียงพอให้เห็นภาพคร่าวๆของลูกเล่นการสร้างสัมผัสความใหญ่โตมโหฬาร นี่คือลักษณะของ “Modern Animation”

การเผชิญหน้าครั้งแรกระหว่าง Horus และ Grunwald นี่อาจเป็นซีเควนซ์ที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ลีลาการกำกับของ Takahata สร้างความแตกต่างอย่างน่าตกตะลึง เต็มไปด้วยสารพัดมุมกล้องจากแทบทุกมุมมองเป็นไปได้! ระยะภาพไกล-กลาง-ใกล้ โคลสอัพใบหน้า มุมมองสายตา ร้อยเรียงแปะติดปะต่อจนมีความต่อเนื่องลื่นไหล … ภาษาภาพยนตร์มีคำเรียกว่า ‘Mise-en-scène’ น่าจะครั้งแรกในวงการอนิเมชั่นเลยกระมังนะ!

มุมกล้องที่สร้างความประหลาดใจให้ผมมากสุดของซีเควนซ์ คือมุมมองของ Horus จับจ้องมอง Grunwald เอาจริงๆเส้นเชือกจะทำให้คมชัดก็ยังได้ แต่กลับเลือกทำให้เบลอๆเพื่อสร้างสัมผัสตื้น-ลึก คล้ายการปรับระยะโฟกัสใกล้-ใกล้ (ถ้าปรับโฟกัสสำหรับถ่ายภาพระยะไกล จะทำให้เห็นภาพใกล้ๆไม่คมชัด หรือคือเชือกเส้นนี้ที่ดูเบลอๆหลุดโฟกัส)

ตอนที่ Horus สูญเสียคนในครอบครัว จึงตัดสินใจออกเดินทาง ล่องเรือผจญภัยไปกับสัตว์เลี้ยงคู่หู ผมยังไม่ตะขิดตะขวงใจสักเท่าไหร่ แต่พอต่อสู้กับเจ้าปลายักษ์เท่านั้นแหละ เริ่มรู้สึกไม่ค่อยพึงพอใจ มันละม้ายคล้าย The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) มากเกินไปไหม?? จะมาอ้างว่าเรื่องเล่าปรับปราเริ่มต้นแบบนี้ก็ไม่ถูก เพราะ Takahata เคยทำงานผู้ช่วยผู้กำกับ #TLPatEHD ย่อมต้องรับรู้อย่างชัดเจนว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่

ผมนำปลาทั้งสองตัวมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพ แม้มันไม่ใช่สปีชีย์เดียวกัน แต่ความละม้ายคล้ายคลึง รวมถึงเหตุผลการต่อสู้ ย่อมทำให้ผู้ชมที่รับชมอนิเมะทั้งสองเรื่องตระหนักถึงการ ‘rip off’ สร้างข้อครหาให้ผู้สร้างไม่น้อยทีเดียว

แต่อย่างน้อยความตายของปลายักษ์ใน Horus: Prince of the Sun (1968) ไม่ได้เกิดจากการเอาชนะด้วยพละกำลัง เจ้าปลาถูกทิ่มแทงดวงตา แสดงอาการคลุ้มคลั่ง (Berserk) แล้วพุ่งชนโขนหินจนดินถล่มลงมา แฝงนัยยะถึงพ่ายแพ้ภัยตนเอง หรือก็คือกรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมหวนกลับคืนสนอง

อย่างที่บอกไปแล้วว่าปราสาทคริสทัลของ Grunwald นำแรงบันดาลใจจาก The Snow Queen (1952) แต่สิ่งที่ผกก. Takahata และ Hayao Miyazaki ในฐานะ Scene Design) พยายามนำเสนอออกมานี้ รับอิทธิพลเต็มๆจาก The Shepherdess and the Chimney Sweep (1952)

แทนที่จะนำเสนอภาพหน้าตรง Grunwald นั่งสง่างามอยู่บนบัลลังก์ กลับเต็มไปด้วยมุมกล้องแปลกๆ ราวกับอาศัยอยู่ในถ้ำคริสทัล(น้ำแข็ง) เจ้าหมาป่าต้องแหงนหน้ามองพระราชาเบื้องบน ช่างเหินห่าง ไกลเกินเอื้อมไขว่คว้า รวมถึงบรรยากาศเวิ้งว่าง วังเวง ปกคลุมอยู่ในความมืดมิด … คล้ายๆปราสาท Xanadu ของ Citizen Kane (1942)

หลังงานเลี้ยงปาร์ตี้ทั้งสองครั้ง (หลังการเก็บเกี่ยว และงานแต่งงาน) หมู่บ้านแห่งนี้ต่างถูกบุกรุกรานโดยฝูงหมาป่า และฝูงหนู เข้ามาทำลายสิ่งข้าวของ ได้รับความเสียหายทั้งร่างกายและทรัพย์สิน ซึ่งล้วนนำเสนอในลักษณะภาพนิ่ง ‘Freeze Frame’ บางคนอาจมองว่านี่ความติสต์แตกของผกก. Takahata แต่แท้จริงแล้วคืองานไม่เสร็จ ไม่มีงบประมาณ ไม่ต้องการตัดทิ้งซีเควนซ์ ก็เลยค้างๆคาๆเอาไว้แบบนี้แหละ

บางคนอาจยังมองว่าทั้งสองซีนต่างมีภาพการต่อสู้ที่ดูเหี้ยมโหดร้าย ไม่เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชน ใช้วิธีการนี้สามารถลดทอนความรุนแรง … แต่เดี๋ยวก่อนนะ แล้วตอนอารัมบท ฉากแรกของอนิเมะที่ Horus ถูกไล่ล่าโดยฝูงหมาป่า มันไม่ดูรุนแรง เหี้ยมโหดร้าย ต่างอะไรกับสองซีเควนซ์นี้??

ผมรับชมซีเควนซ์นี้ด้วยอารมณ์หงุดหงิด หัวเสียยิ่งกว่าตอนสังเกตเห็นการ ‘rip off’ จาก The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963) เพราะตระหนักถึงเหตุผลที่ผกก. Takahata ตัดสินใจทำเช่นนี้ เนื่องจากถูกเบื้องบนบีบบังคับ สั่งการลงมา ใครกันอยากจะให้ผลงานตนเองค้างๆคาๆ สร้างไม่เสร็จลักษณะนี้!

แรกพบเจอ Hilda ในสายตาของ Horus ทั้งน้ำเสียงและรูปร่างหน้าตา ราวกับนางฟ้ามาจุติ นั่งอยู่เบื้องบนเสาไม้ ถ่ายติดพื้นหลังท้องฟ้ากว้างใหญ่ จากนั้นเธอกระโดดลงมายังพื้นดิน แต่กล้องก็ยังถ่ายมุมเงยขึ้น จนกระทั่งเด็กชายเดินเข้าใกล้ เริ่มพูดคุยสนทนา ถึงเริ่มปรับเปลี่ยนมาถ่ายมุมก้มติดผืนผิวน้ำ

เพราะยังไม่เคยรับรู้จัก เมื่อแรกพบเจอ ‘first impression’ จึงมองว่าเธอประดุจนางฟ้าบนสรวงสวรรค์ แต่พอเริ่มพูดคุยสนทนา มุมกล้องก็บอกใบ้ตัวตนแท้จริง สภาพจิตใจที่ตกต่ำ ดำมืด คนรับใช้ของปีศาจร้าย Grunwald

Enchanted Forest, ป่าหลงเสน่ห์ สถานที่(ยอดฮิต)ในนิทานพื้นบ้านและแฟนตาซี มักเป็นดินแดนที่ตัวละครไม่รับรู้จัก มีทั้งอันตราย ความท้าทาย เต็มไปด้วยสิ่งเหนือจินตนาการ สำหรับหลบซ่อนตัว ออกผจญภัย เผชิญหน้าความหวาดกลัว ไม่ก็ค้นหาตัวตนเอง

ในบริบทของอนิเมะทำเป็นหลุมขนาดใหญ่ Hilda ผลัก Horus ตกลงไป (สามารถสื่อถึงจุดตกต่ำของ Horus) ซึ่งสิ่งที่เด็กชายต้องเผชิญล้วนคือภาพลวงตา สร้างความหลอกหลอนจิตวิญญาณ

  • รายล้อมรอบด้วยกิ่งก้านระโยงระยาง รากไม้หลากหลายสีสัน ผมมองว่าคืออุปสรรคขวากหนาม สิ่งพยายามเกาะติด เหนี่ยวรั้ง กลบฝังไม่ให้ Horus สามารถดิ้นหลบหนี หาหนทางออก
  • พลัดตกลงมาในหนองน้ำ พบเห็นเรือไวกิ้งของบิดา เต็มไปด้วยปริศนา คำถามไร้ซึ่งคำตอบ
  • ภาพของ Hilda ล่องล่อยเข้าหา พร้อมกับ Grunwald คอยควบคุมครอบงำอยู่เบื้องหลัง
  • จากนั้น Hilda แบ่งแยกร่างออกเป็นหลายคน โยกไปโยกมา เหมือนมีใครชักใยอยู่เบื้องบน (ซึ่งก็คือพี่ชาย Grunwald)

หลายคนคงเกาหัวแครกๆ Sword of the Sun ที่เต็มไปด้วยสนิมเกรอะกรัง แล้วจู่ๆหลังจาก Horus ก้าวออกมาจาก The Enchanted Forest ถึงมีสภาพใหม่เอี่ยมอ่อง ใครกันเป็นคนหล่อหลอม? เอาไปทำอะไรยังไงตอนไหน?

คำตอบอยู่ที่ภาพช็อตนี้ระหว่าง Horus พบเจอหนทางออกจาก The Enchanted Forest พบเห็นภาพซ้อนขณะหลอม/ตีดาบ ซึ่งนี่ไม่ใช่ความหมายเชิงรูปธรรม แต่เป็นการ ‘หลอมจิตวิญญาณ’ สอดคล้องเหตุผลที่เด็กชายเอาตัวรอดออกจาก Enchanted Forest เพราะสามารถค้นพบอุดมการณ์มุ่งมั่น ความต้องการแท้จริง (เข้าใจว่า Hilda ถูกชักใยโดย Grunwald) นั่นคือการปกป้องหมู่บ้าน กำจัดภัยพาล เผชิญหน้า Grunwald เติมเต็มคำสั่งเสียสุดท้ายของบิดา

ชัยชนะของ Moug the Rock Giant ต่อแมมมอธน้ำแข็ง คือผลักตกจากหน้าผา แต่ความสูงแค่นั้นดูมันไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไหร่ เอาว่าแฝงนัยยะถึงความทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง สักวันหนึ่งเมื่อถูกผลักลงมาจากเบื้องบน จนแหลกละเอียด ไม่เหลือเศษซากชิ้นดี

ขณะที่ชัยชนะต่อ Grunwald เกิดจากการรวมแรงรวมใจของชาวบ้าน สาดส่องแสงเข้ามาในถ้ำ ทำให้จากเคยปกคลุมด้วยความมืดมิด พลันเกิดความส่องสว่างไปทั่วทุกสารทิศ (ภาพมุมนี้ก้มลงมา ทำให้เห็นเบื้องล่างราวกับโลกกลมๆ) และเด็กชาย Horus โยนดาบ Sword of the Sun ทำให้สถานที่แห่งนี้จมลงสู่ก้นเบื้อง ธรณีสูบ … สรุปก็คือธรรมะชนะอธรรม แสงอาทิตย์ทำให้ความมืดมิดจางหายไป

หลังจากเอาชนะ Grunwald (ทางกายภาพ) สำหรับ Hilda ราวกับว่า Horus ได้ทำการปัดเป่าความมืดที่อยู่ภายในจิตใจ เมื่อเธอฟื้นตื่นขึ้นมา จะมีช็อตเดินผ่านธารน้ำ พบเห็นภาพสะท้อนตัวตนแท้จริง (สื่อว่า False ได้ถูกทำลายลงไป) จากนั้นหยุดยืนข้างต้นไม้ เหม่อมองหมู่บ้านสร้างใหม่ ทุกสิ่งอย่างได้รับการให้อภัย จากนั้นจับมือร่วมออกเดินทางสู่อนาคต ทุ่งหญ้า ฟ้าคราม เทือกเขาสูงใหญ่

ตัดต่อโดย Yutaka Chikura,

อนิเมะดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Horus หลังสูญเสียบิดา ออกเดินทางมาเผชิญหน้า Grunwald จากนั้นพยายามปกป้องหมู่บ้านที่ให้การช่วยเหลือตนเอง แม้จะถูกกีดกัน ผลักไส เกิดความเข้าใจผิดๆ แต่ก็ยังหวนกลับมาหลังค้นพบความมุ่งมั่นที่ไม่สั่นคลอน และสามารถหลอมดาบ Sword of the Sun ได้สำเร็จเสียที

  • อารัมบท
    • Horus ถูกไล่ล่าโดยฝูงหมาป่า
    • ได้รับความช่วยเหลือจาก Moug the Rock Giant เลยทำการดึงดาบออกจากบ่า
  • เริ่มต้นการผจญภัยของ Horus
    • Opening Credit, Horus เดินทางกลับบ้าน
    • บิดาในสภาพใกล้ตาย เล่าเหตุการณ์เกิดนขึ้นในอดีต และสั่งเสียครั้งสุดท้าย
    • Horus ออกเดินทางเพื่อทำภารกิจสั่งเสียของบิดา
    • ระหว่างปีนป่าย พลัดตกลงมา เผชิญหน้าศัตรูคู่อาฆาต Grunwald
  • วีรบุรุษ Horus
    • Horus ล่องลอยคอไปตามแม่น้ำมาถึงยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
    • หลังจากได้ยินข่าวปลายักษ์เข่นฆ่าคนในหมู่บ้าน Horus ต้องการตอบแทนบุญคุณ
    • ออกเดินทางไปต่อสู้ เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย จนสามารถเข่นฆ่าเจ้าปลายักษ์
    • แม้ไม่มีใครอยากเชื่อว่า Horus ทำสำเร็จ แต่ในที่สุดฝูงปลาก็หวนกลับคืนมาในลำธาร
    • ค่ำคืนนี้จึงมีงานเลี้ยงฉลอง แต่ไม่ทันไรก็ถูกรุกรานโดยฝูงหมาป่า
  • แรกพบเจอ Hilda
    • Horus ไล่ล่าติดตามฝูงหมาป่ามาจนถึงหมู่บ้านร้างแห่งหนึ่ง
    • แรกพบเจอ Hilda ลุ่มหลงใหลในน้ำเสียงร้องเพลง จึงชักชวนเข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน
    • น้ำเสียงร้องของ Hilda ทำให้ชาวบ้านชาวช่องไม่เป็นอันทำงาน
    • หนึ่งในสมาชิกหมู่บ้าน Drago เลยครุ่นคิดวางแผนใช้ประโยชน์จาก Hilda เพื่อใส่ร้ายป้ายสี Horus
    • ระหว่างงานแต่งงานของคู่รักหนุ่มสาว หมู่บ้านแห่งนี้ถูกฝูงหนูบุกเข้าโจมตี
  • Hilda คือใคร?
    • ยามเช้าระหว่าง Hilda กำลังสนุกสนานกับเด็กๆ ได้รับการส่งสาสน์จากลูกสมุนของ Grunwald
    • Horus ถูกใส่ร้ายป้ายสี โดยที่ Hilda เป็นประจักษ์พยาน เลยถูกขับไล่ ผลักไส
    • Horus เผชิญหน้ากับ Hilda ก่อนถูกเธอผลักตกลงมายัง Enchanted forest
  • การต่อสู้ของ Horus
    • Horus เผชิญหน้ากับฝันร้ายใน Enchanted forest
    • ขณะเดียวกัน Grunwald ส่งกองกำลังบุกเข้าจู่โจม ทำลายล้างหมู่บ้าน
    • Horus หลังสามารถออกจาก Enchanted forest ทำการหลอมดาบสำเร็จ
    • การเผชิญหน้าระหว่าง Moug the Rock Giant vs. แมมมอธน้ำแข็ง
    • การเผชิญหน้าระหว่าง Horus vs. Grunwald
    • จบลงด้วยการให้อภัยของ Horus และ Hilda

ลีลาการตัดต่อ สลับสับเปลี่ยนมุมกล้อง ร้อยเรียงเรื่องราว ต้องชมว่าทำออกมาได้อย่างแพรวพราว น่าตื่นตาตื่นใจ เต็มไปด้วยลูกเล่น แนวคิดแปลกใหม่ แต่น่าเสียดายที่บางซีเควนซ์ชัดเจนว่ายังสร้างไม่เสร็จ และผมยังรู้สึกว่าการดำเนินเรื่องเร่งรีบ รวดเร็วเกินไป มันควรความยาวอย่างน้อยสองชั่วโมง ไม่ใช่แค่ 82 นาที นี่ไม่ใช่ความผิดของผกก. Takahata แต่ต้องโทษสตูดิโอ Toei Animation มองไม่เห็นวิสัยทัศน์ของอัจฉริยะ

เมื่อถูกบีบบังคับให้ลดระยะเวลาจากสองชั่วโมงเหลือแค่ 82 นาที แทนที่ผกก. Takahata จะเลือกตัดบางซีเควนซ์ออกไป กลับใช้วิธีการคล้ายๆ Jean-Luc Godard ระหว่างสรรค์สร้าง Breathless (1960) แต่ไม่ใช่แบบ ‘jump cut’ กระโดดไปกระโดดมา พยายามแทะเล็มรายละเอียดในแต่ละช็อตให้มีความกระชับ รวบรัด รายละเอียดยังครบถ้วนสมบูรณ์ แค่เพียงเรื่องราวดำเนินไปอย่างรวดเร็ว (ราวกับรับชมด้วยสปีด x1.5)


เพลงประกอบโดย Michio Mamiya, 間宮芳生 (เกิดปี 1929) คีตกวีสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Asahikawa, Hokkaido ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในดนตรีพื้นบ้าน (Japanese Folk Music) ฝึกฝนการแต่งเพลง-เล่นเปียโนด้วยตนเอง (Self-Taught) จนกระทั่งได้เข้าศึกษา Tokyo College of Music (ปัจจุบันคือ Tokyo University of the Arts) สรรค์สร้างผลงานออร์เคสตรา, Sonata, Concerto, Opera, Choral Music, เพลงประกอบอนิเมชั่น Horus: Prince of the Sun (1968), Gauche the Cellist (1982), Grave of the Fireflies (1988) ฯ

แม้สถานที่พื้นหลังจะคือดินแดนแถบ Scandinavia แต่ผมกลับไม่ได้กลิ่นอายชนพื้นเมือง(ไวกิ้ง)สักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ใช้เครื่องดนตรีตะวันตก บรรเลงออร์เคสตรา ท่วงทำนองคลาสสิก และเนื้อคำร้องภาษาญี่ปุ่น ฟังดูมีความสากล ไม่จำเพาะเจาะจงชาติพันธุ์

มันอาจเพราะการดำเนินเรื่องที่มีความรวดเร็ว เร่งรีบร้อนเกินไป ทำให้ผมไม่สามารถดื่มด่ำไปกับบทเพลงสักเท่าไหร่ แนวทางของ Mamiya เน้นปลุกกระตุ้นอารมณ์ ให้ผู้ชมบังเกิดความรู้สึกต่อเหตุการณ์บังเกิดขึ้นโดยทันที (ลักษณะเหมือน Expressionism)

อย่างบทเพลงแรก ホルスと岩男モーグ อ่านว่า Horusu to Iwao mōgu แปลว่า Horus and Moug the Rock Giant เริ่มต้นด้วยท่วงทำนองที่สร้างความตื่นตระหนักตกใจ เด็กชาย Horus กำลังต่อสู้เป็น-ตายกับฝูงหมาป่า แต่พอถึงกลางบทเพลงทุกสิ่งอย่างกลับพลิกกลับตารปัตร การฟื้นตื่นขึ้นของหินยักษ์ ขับไล่ฝูงหมาป่า เผชิญหน้าเด็กชาย กลายเป็นความน่าพิศวง ฉงนสงสัย ปีนป่ายขึ้นไปเบื้องบน ดึงดาบออกจากก้อนหิน … การแปรสภาพของบทเพลงในลักษณะขั้วตรงข้ามเช่นนี้ สามารถสะท้อนทุกสิ่งอย่างในอนิเมะที่สำรวจสองฟากฝั่ง ดี-ชั่ว รวมถึงบริเวณเลือนลางระหว่างกลาง

Opening Song จะถือว่าเป็น Main Theme ก็ได้กระมัง! คำร้องโดย Kazuo Fukazawa, ขับร้องโดย Chofu Boys and Girls Chorus, ท่วงทำนองมีความสนุกสนาน ร้อยเรียงภาพการผจญภัย ออกเดินทางด้วยความมุ่งมั่น ต้องการเติมเต็มความใฝ่ฝัน ด้วยการไปให้ถึงเป้าหมายปลายทาง

Go, go, Horus
Towards luminous days
By your side, we run until opening the ground

Go, go, Horus
Hold up the sword of hope
By your side, we run until splitting the wind

Call the sun
Call the sun

Go, go, Horus
For we are by your side

Go, go, Horus
Firmly, raise your arms
By your side, let us break the waves

Call the sun

Go, go, Horus
We are by your side

หลายคนอาจมองว่าท่วงทำนองเพลงเก็บเกี่ยว (Song of the Harvest) และงานแต่งงาน (Song of the Wedding) น่าจะมีกลิ่นอายของ Scandinavia แต่ไม่เลยนะครับ! ผมรู้สึกว่าออกไปทางยุโรปตะวันออก ฟากฝั่งรัสเซียเสียมากกว่า แต่ทั้งหมดบรรเลงโดยเครื่องดนตรีคลาสสิก มันจึงคือการผสมผสานให้ได้กลิ่นอายพื้นบ้าน ร้องรำทำเพลงด้วยความสนุกสนานครื้นเครง

สามบทเพลงขับร้องโดย Hilda ล้วนมีความไพเราะเพราะพริ้ง Hilda’s Song, Hilda’s Lullaby และ Hilda’s Song of Sorrow ทั้งหมดแต่งคำร้องโดย Kazuo Fukazawa, ขับร้องโดย Mutsumi Masuda และบรรเลง Lute โดย Mitsuhiko Hamada

สำหรับ ヒルダの唄 อ่านว่า Hiruda no uta แปลว่า Hilda’s Song ขับร้องขณะแรกพบเจอ Horus เต็มไปด้วยความเหงาหงอย เศร้าซึม โดดเดี่ยวอ้างว้าง โหยหาใครสักคนเคียงข้าง ในอนิเมะมีการตัดแบ่งออกเป็นท่อนๆ (แบบเดียวกับ Jean-Luc Godard ภาพยนตร์ A Woman Is a Woman (1961)) เพื่อลดระยะเวลาการนำเสนอ ก็เลยอยากเอาบทเพลงเต็มๆแบบไม่มีตัดมาให้รับฟัง … แต่ก็น่าเสียดายที่ผมไม่สามารถค้นหาเนื้อร้องและคำแปล แค่ฟังเพลินๆก็แล้วกันนะครับ

อีกบทเพลงไพเราะไม่แพ้กัน ヒルダの子守唄 อ่านว่า Hiruda no komori-uta แปลว่า Hilda’s Lullaby, น้ำเสียงของ Mutsumi Masuda (น่าจะระดับเสียง Soprano) ช่างมีความตราตรึง ดึงดูดความสนใจ ใครต่อใครบังเกิดความลุ่มหลง ถึงขนาดหยุดการหยุดงาน รับฟังแล้วเคลิบเคลิบหลับใหล

เฉกเช่นเดียวกับ Hilda’s Song บทเพลงที่ได้ยินในอนิเมะมีการตัดต่อ ขาดๆหายๆ บางครั้งคั่นด้วยบทสนทนา ถ้าอยากฟังเต็มๆต้องซื้อเพลงประกอบอัลบัม หาเนื้อร้องคำแปลอีกเช่นกัน

ชื่อบทเพลงสุดท้าย 太陽の剣 อ่านว่า Taiyō no ken แปลว่า Sword of the Sun แต่ปัจฉิมบทกลับไม่มีอะไรเกี่ยวกับดาบเล่มนี้! นั่นแปลว่าภาพพบเห็นมันอาจแฝงนัยยะบางอย่างที่สะท้อนถึงเรื่องราวบังเกิดขึ้น

ปัจฉิมบทเริ่มต้นด้วย Hilda ฟื้นตื่นขึ้นบนท้องทุ่งกว้าง เต็มไปด้วยความโล้เล้ลังใจ ฉันเคยทำสิ่งเลวร้ายเอาไว้ ครุ่นคิดว่าใครต่อใครคงไม่ให้การยินยอมรับ แต่ระหว่างด้อมๆมองๆพบเห็นด้วย Horus เดินเข้าไปจูงมือ แสดงการให้อภัยทุกสิ่งอย่าง แล้วร่วมกันก้าวเดิน ออกวิ่งสู่เส้นชัย … นั่นแปลว่า Sword of the Sun อาจสื่อถึงจิตวิญญาณอันเจิดจรัสของ Horus ที่พร้อมชักนำพาให้ทุกคนก้าวสู่แสงสว่าง

การผจญภัยของ Horus ประกอบด้วยสองเป้าหมายที่มีการเกริ่นนำ อารัมบทไว้ตั้งแต่แรกเริ่มต้น

  • หลอมดาบ Sword of the Sun แล้วจักกลายเป็น Prince of the Sun
    • นี่ถือเป็นความเพ้อฝันของ Horus หลังจากดึงดาบออกจาก Moug the Rock Giant ได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะหวนกลับมาพบเจอเมื่อเด็กชายสามารถหลอมดาบได้สำเร็จ
  • ทำตามคำสั่งเสียบิดา ล้างแค้นให้เผ่าพันธุ์ ชาติกำเนิด เผชิญหน้าศัตรูคู่อาฆาต Grunwald ที่ทำลายผืนแผ่นดินบ้านเกิด
    • นี่คือหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อเผ่าพันธุ์ ชาติกำเนิด ผืนแผ่นดินบ้านเกิด

สองเป้าหมายของ Horus สะท้อนปรัชญาชีวิตผกก. Takahata ที่มองว่าคนเราล้วนมีสองภาระรับผิดชอบ หนึ่งคือตัวตนเอง ค้นหาความฝัน อุดมการณ์ เป้าหมายชีวิต และสองทำประโยชน์สาธารณะ เพื่อผู้อื่น สังคม ตอบแทนบุญคุณของประเทศชาติ

หายนะเคยบังเกิดขึ้นกับหมู่บ้าน/บรรพบุรุษของ Horus เมื่อ 14-15 ปีก่อน ถ้าเทียบระยะเวลากับตอนเริ่มต้นโปรดักชั่น มันบังเอิญจงใจให้ตรงเผงกับช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Hiroshima และ Nagasagi รวมถึงประสบการณ์ชีวิตผกก. Takahata ยังคงจดจำเหตุการณ์บังเกิดขึ้น เอาตัวรอดพานผ่านช่วงเวลานั้นมาได้อย่างหวุดหวิด

หลายคนพยายามเปรียบเทียบ Grunwald = ฝ่ายสัมพันธมิตร/สหรัฐอเมริกาที่ทิ้งระเบิดปรมาณูลง Hiroshima และ Nagasagi, แต่ทว่า Grunwald คือชื่อเมืองในประเทศ Germany มันควรจะสื่อถึง Adolf Hitler ไม่ใช่หรือ? ฤาถ้ามองตัวละครในฐานะปีศาจน้ำแข็ง พยายามปลุกปั่น ยัดหนอนบ่อนไส้ (ไม่ต่างจากสงครามเย็น) ก็อาจเป็นสหภาพโซเวียตได้ด้วยเช่นกัน! … สรุปแล้วผมแนะนำให้มองในลักษณะเหมารวม สิ่งชั่วร้าย บุคคลนำพาหายนะให้บังเกิดขึ้น

ความคลุมเคลือของตัวละคร Hilda สะท้อนบรรยากาศสงครามเย็นได้ตรงเผง! ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าเธอมาดีหรือร้าย มุมหนึ่งคือหญิงสาวหน้าตาสวยสดใส น้ำเสียงร้องเพลงไพเราะเพราะพริ้ง เป็นที่รักของใครๆ แต่เพราะเธอเป็นน้องสาวของ Grunwald เลยถูกพี่ชายควบคุมครอบงำ บีบบังคับให้ทำสิ่งชั่วร้ายสารพัด ทำให้เกิดความขัดแย้งภายใน ไม่รู้จะครุ่นคิดตัดสินใจอะไรยังไง

นั่นเลยเป็นหน้าที่ของ Prince of the Sun พระเอกในอุดมคติ วีรบุรุษผู้ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อพวกพ้อง เชื่อมั่นในจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ แม้อีกฝ่ายเคยกระทำสิ่งชั่วร้าย ก็พร้อมให้อภัยทุกสิ่งอย่าง … นี่คือต้นแบบตัวการ์ตูนอย่าง Son Goku & Vegeta, Naruto & Sasuke ฯ

Sword of the Sun ในบริบทของอนิเมะคือดาบเก่าๆ สนิมเกรอะกรัง ไม่สามารถหลอมใหม่ด้วยวิธีการทั่วไป ต้องรอคอยจนกว่า Horus จะสามารถหล่อหลอมจิตใจตนเอง ค้นพบอุดมการณ์ เป้าหมายชีวิตแท้จริง มันถึงกลายสภาพเป็นดาบเล่มใหม่ สามารถตีรันฟันแทง ทำลายสิ่งชั่วร้าย Grunwald ให้ตกตายไป … นั่นแปลว่านัยยะแท้จริงของ Sword of the Sun ไม่ใช่แค่วัตถุอันทรงพลัง (บทเพลง Sword of the Sun ก็แอบบอกใบ้ความหมายเอาไว้แล้ว) ยังคือจิตวิญญาณอันเจิดจรัสของ Horus สามารถปัดเป่าความมืดมิด ทำให้โลกใบนี้สว่างสดใส รวมถึงใครที่เคยมีจิตใจอันมืดมิด ได้รับการชำระล้างจนขาวสะอาดเอี่ยมอ่อง

ผมครุ่นคิดไปเรื่อยๆก็เกิดพบว่า Grunwald ยังสามารถเทียบแทนถึงพวกผู้บริหาร Toei Animation ที่พยายามบีบบังคับ ควบคุมครอบงำโปรเจคภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้ จนต้องตัดทอนรายละเอียดโน่นนี่ สูญเสียอิสรภาพในการสรรค์สร้างผลงาน … นี่ไม่น่าจะใช่ความตั้งใจของผกก. Takahata แต่เป็นผลพลอยจากความล่าช้า วิสัยทัศน์ล้ำอนาคตไปสักหน่อย

แต่ถึงอย่างนั้น Horus = ผกก. Takahata ก็ยังสามารถอดรนทน ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม จนสามารถรังสรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมะเรื่องนี้จนสำเร็จลุล่วง อาจไม่ตรงตามวิสัยทัศน์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่พอให้พบเห็นร่องรอย ความน่าจะเป็นไปได้ น่าเสียด๊าย น่าเสียดาย ตอนจบชีวิตจริงไม่ได้ลงเอยอย่าง Happy Ending


จากทุนสร้างตั้งต้น ¥70 ล้านเยน โปรดักชั่นควรเสร็จสิ้นในระยะเวลา 8-10 เดือน แต่พฤติกรรมโหยหาความสมบูรณ์แบบของผกก. Takahata ทำให้หยุดๆสร้างๆ ใช้เวลาเกือบสามปีถึงสามารถนำออกฉาย ทำให้งบประมาณพุ่งสูงถึง ¥129-130 ล้านเยน (ประมาณ $300,000 เหรียญสหรัฐ) กลายเป็นสถิติสูงสุดของวงการอนิเมชั่นขณะนั้น

เกร็ด: สถิติดังกล่าวถูกโค่นล้มลงโดย Space Battleship Yamato: The Movie (1977) ใช้ทุนสร้างประมาณ ¥200 ล้านเยน

ความขัดแย้งดังกล่าวยังทำให้ Toei Animation ไม่มีความกระตือรือล้นโปรโมทอนิเมะเรื่องนี้สักเท่าไหร่ แถมยังให้ฉายในโรงภาพยนตร์แค่เพียง 10 วัน แน่นอนว่าขาดทุนย่อยยับ! ถึงอย่างนั้นกลับได้กระแสคัลท์ (Cult Following) ติดตามมาแทบจะทันที โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา นักอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ ต่างยกย่องว่า “First Modern Anime”

แม้กาลเวลาจะทำให้ Horus: Prince of the Sun (1968) ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ติดอันดับภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยมตลอดกาลจากหลากหลายสำนัก แต่ก็ไม่ได้สร้างความกระตือรือล้นให้ Toei Animation เมื่อปี ค.ศ. 2013 มีการจัดจำหน่าย Blu-Ray เพียงแค่สแกนใหม่ ขยับขยายขนาด (Upscaled) จนถึงปัจจุบันไร้ข่าวคราวการบูรณะ อาจจะดีที่สุดได้เพียงเท่านี้แหละ

มันเป็นความโชคร้ายหลายๆอย่างของอนิเมะเรื่องนี้ (แม้แต่ตัวผมเองที่ดันรับชมหลังจาก The Little Prince and the Eight Headed Dragon (1963)) ทำให้ไม่สามารถเพลิดเพลิน เต็มอิ่มกับวิสัยทัศน์ของผกก. Takahata แต่ก็ยังต้องถือว่าได้สร้างอิทธิพลอย่างล้นหลาม ทั้งการออกแบบตัวละคร ความซับซ้อนเรื่องราว เลือนลางระหว่างดี-ชั่ว มิตรภาพผองเพื่อน รวมถึงสารพัดลูกเล่นอนิเมชั่น … พวกอนิเมะแนวมิตรภาพ ต่อสู้กับด้านมืด ล้วนมีจุดเริ่มต้นจาก Horus: Prince of the Sun (1968) ด้วยกันทั้งนั้น

ผมมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า ถ้าผกก. Takahata ไม่ถูกกดดัน ควบคุมครอบงำ ได้รับอิสรภาพในการสรรค์สร้าง ผลลัพท์ออกมาน่าจะยอดเยี่ยมยิ่งๆกว่านี้ และอาจเทียบเคียงกับ Grave of the Fireflies (1988) และ/หรือ The Tale of the Princess Kaguya (2013)

จัดเรต 13+ มีฉากความรุนแรง การทรยศหักหลัง พฤติกรรมเห็นแก่ตัวของเพื่อนมนุษย์

คำโปรย | Horus, Prince of the Sun คงจะเป็นอีกผลงานชิ้นเอกของ Isao Takahata ถ้าไม่ถูกสตูดิโอ Toei Animation บีบบังคับโน่นนี่นั่น แม้ยังคงความคัลท์คลาสสิก แต่หลายสิ่งอย่างน่าจะทำได้ดีกว่านี้
คุณภาพ | คัลท์คลาสสิก
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Wanpaku Ōji no Orochi Taiji (1963)


The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) Japanese : Yūgo Serikawa ♥♥♥♥

หลังทดลองผิดลองถูก สะสมประสบการณ์มาจนถึงภาพยนตร์อนิเมชั่นลำดับที่หกของ Toei Animation แต่ถือเป็นมาสเตอร์พีซเรื่องแรก สำแดงความเป็นญี่ปุ่น ดัดแปลงตำนานเทพปกรณัมเมื่อครั้น Izanami และ Izanagi ให้กำเนิดหมู่เกาะ Ōyashima (ประเทศญี่ปุ่น) และบุตรชาย Susanoo ต่อสู้อสูรกายแปดหัว Yamata no Orochi

ว่ากันอย่างไม่อ้อมค้อม The White Snake Enchantress (1958) คิอภาพยนตร์อนิเมชั่นที่น่าอับอายขายขี้หน้า เพียงความหาญกล้าแต่ไม่มีอะไรให้น่าจดจำ ไม่สมควรเป็นตัวแทนอะไรหลายๆอย่าง … อนิเมะขนาดยาวเรื่องแรกของค่าย Toei Animation, อนิเมะฟีล์มสีเรื่องแรกของญี่ปุ่น, อนิเมะส่งออกฉายต่างประเทศเรื่องแรกๆ ฯลฯ

The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) ต่างหากละ!เป็นผลงานสมควรค่าแก่การจดจำ ตั้งแต่ดัดแปลงเรื่องราวเทพปกรณัมสร้างเกาะญี่ปุ่น ตัวละคร สไตล์ลายเส้น ลูกเล่นอนิเมชั่น สร้างขึ้นด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจทำงาน (ชัยชนะหลังการประท้วงหยุดงานเมื่อปี 1961 ทำให้คุณภาพชีวิตของนักอนิเมเตอร์ดีขึ้นพอสมควร และยังเป็นช่วงฤดูกาล ‘Prague Spring’ ของสตูดิโอ Toei Animation) ร่วมแรงร่วมใจสรรค์สร้างอัตลักษณ์ ‘ความเป็นญี่ปุ่น’ เปิดประตูสู่จุดเริ่มต้นวงการอนิเมะ(ญี่ปุ่น)ที่แท้จริง

วันก่อนเขียนถึง Tale of a Street Corner (1962) อนิเมชั่นเรื่องแรกที่คว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award แล้วเหลือบไปเห็น The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) ภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาว (Feature Length) เรื่องแรกที่คว้ารางวัลนี้ในปีเดียวกัน! (เฉพาะปีแรกที่มอบรางวัลให้อนิเมชั่นสองเรื่อง) เลยเกิดความสนอกสนใจ เห็นว่าได้รับการบูรณะแล้วด้วยจึงลองขวนขวายหามารับชม

เกร็ด: กว่าจะมีภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาวถัดจาก The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) ที่สามารถคว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award ก็ต้องรอคอยนานนับทศวรรษ The Castle of Cagliostro (1979)

นอกจากนี้ในชาร์ท Laputa: Top 150 Japanese and World Animation (2003) อนิเมชั่นเรื่องนี้ยังติดอันดับ #10 การันตีถึงอิทธิพล ทรงคุณค่าต่อคนในวงการ อาจจะเรียกได้ว่าภาพยนตร์อนิเมชั่นมาสเตอร์พีซเรื่องแรกของประเทศญี่ปุ่น ก็ว่าได้กระมัง!


Yūgo Serikawa, 芹川 有吾 (1931-2000) ผู้กำกับอนิเมชั่น เกิดที่ Koishikawa, Tokyo บิดาเป็นเจ้าของโรงหนัง Tokyo Cinema Shoka จึงมีความชื่นชอบหลงใหลสื่อภาพยนตร์ตั้งแต่เด็ก เคยฝึกงาน เป็นผู้ช่วยผู้กำกับอยู่ยัง Shintoho กระทั่งมีโอกาสรับชม Bambi (1942) และ The White Snake Enchantress (1958) จึงสมัครงานสตูดิโอ Toei Animation กำกับอนิเมะเรื่องแรก The Little Warrior (1961), โด่งดังกับ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963), ผลงานอื่นๆ อาทิ Cyborg 009 (1966), Little Remi and Famous Dog Capi (1970), The Panda’s Great Adventure (1973) ฯ

わんぱく王子の大蛇退治 อ่านว่า Wanpaku Ōji no Orochi Taiji, แปลตรงตัว The Naughty Prince’s Orochi Slaying นำแรงบันดาลใจจากพงศาวดารญี่ปุ่น 日本書紀 (ค.ศ. 720) อ่านว่า Nihon Shoki หนังสือเก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคคลาสสิก โดยบทแรกจะมีการกล่าวถึงตำนานการสร้างของเกาะญี่ปุ่น อธิบายต้นกำเนิดของโลกและเทพเจ็ดรุ่นแรก

เมื่อคราที่เทพบิดร Inzanagi (イザナギ) และเทพมารดร Izanami (イザナミ) สร้างประเทศญี่ปุ่นด้วยการเอาง้าวจุ่มลงในทะเลโคลน กวนให้น้ำแยกออกจากกันจนกลายเป็น 7 เกาะใหญ่ (Ōyashima) ได้บังเกิดจอมอสูร Yamata no Orochi (山田 の オロチ) มีลักษณะเป็นงูยักษ์ ร่างกายใหญ่โตปานขุนเขา ศีรษะแปดหัว (Yamata แปลว่าแปดง่าม หรือมีหัวทั้งแปด) และสามารถพ่นไฟ ไม่ว่าปรากฎตัวยังหมู่บ้านแห่งหนไหนล้วนก่อให้เกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ จนกระทั่งถูกสังหารโดยจอมเทพ Susanoo (スサノオ) น้องชายเทพเจ้าดวงอาทิตย์ Amaterasu (アマテラス) และเทพเจ้าดวงจันทร์ Tsukuyomi (ツクヨミ) [หรือก็คือบุตรของ Izanagi และ Izanami]

เกร็ด: Working Title ของอนิเมะเรื่องนี้คือ 日本神話 虹のかけ橋 แปลว่า Japanese Mythology: Rainbow Bridge

บทอนิเมะดัดแปลงโดย Ichirō Ikeda และ Takashi Iijima แน่นอนว่าการจะนำเสนอตำนานเทพปกรณัมอย่างตรงไปตรงมาคงไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่ เพราะกลุ่มเป้าหมายคือเด็กและเยาวชน จึงจำต้องปรับเปลี่ยนเรื่องราวให้เข้าใจง่าย Susanoo กลายเป็นเด็กชาย ใช้ปมสูญเสียมารดาเป็นแรงผลักดันให้ออกผจญภัยค้นหาบทเรียนชีวิต (ที่สะท้อนถึงประเทศญี่ปุ่นในยุคหลังสงคราม), เพิ่มเติมเพื่อนร่วมเดินทาง กระต่ายน้อย Akahana, ยักษ์เผ่าไฟ Titanbō, และพยายามออกแบบตัวละครไม่ให้น่าเกลียดน่ากลัวเกินไป

เกร็ด: หนึ่งในผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ก็คือ Isao Takahata แต่ผมไม่แน่ใจว่า Hayao Miyazaki มีส่วนร่วมอะไรกับโปรเจคนี้ไหม ขณะนั้นน่าจะได้เข้าทำงาน Toei Animation แล้วละ!


เด็กชาย Susanoo (ให้เสียงโดย Morio Kazama) อาศัยอยู่บนเกาะ Onogoro ร่วมกับบิดา-มารดา Izanagi และ Izanami วันๆชอบเล่นต่อสู้กับสรรพสัตว์ มีพละกำลังแข็งแกร่งเหนือใคร อยู่มาวันหนึ่งมารดาจากไปโดยไม่บอกกล่าว เกิดความเศร้าโศกเสียใจ ร่ำร้องไห้จนน้ำเกือบท่วมโลก พอฟื้นคืนสติ จึงครุ่นคิดออกเดินทางติดตามหา สรวงสวรรค์/ยมโลก มารดาอยู่แห่งหนไหน

  • ล่องเรือข้ามมหาสมุทรร่วมกับกระต่ายน้อย Akahana ต่อสู้กับปลาปีศาจ Akuru (暴れる) ได้รับคำขอบคุณจากเทพเจ้าแห่งท้องทะเล Wadatsumi (わだつみ)
  • เยี่ยมเยียนพี่ชาย Tsukuyomi ยังดินแดนแห่งความมืด Yoru no wosu kuni (よる の をす 国)
  • ออกเดินทางต่อสู่ดินแดนแห่งไฟ Hinokoku (火の国 ) ต่อสู้กับเทพเจ้าไฟ Hinokami (火の神) แล้วร่วมออกเดินทางต่อกับยักษ์เผ่าไฟ Titanbō 
  • มาถึงยังที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara (高天原) พบเจอพี่สาว Amaterasu พยายามจะตั้งรกรากถิ่นฐาน แต่กลับถูกชาวเมืองขับไล่ ผลักไสส่ง
  • ท้ายที่สุดเดินทางมาถึง Izumo (出雲) พบเจอกับ Princess Kushinada (クシナダ) เทียมม้าสวรรค์ (Tianma, 天馬) Amenohayakoma ต่อสู้กับจอมอสูร Yamata no Orochi ใช้ดาบ Kusanagi (草薙) ฟันคอสุดท้ายเสียชีวิต

ซูซาโนโอะ (須佐之男命 อ่านว่า Susano-o no mikoto) เทพเจ้าแห่งพายุและท้องทะเลในศาสนาชินโต (神道, Shinto) ตามตำนานเล่าว่าถือกำเนิดจากจมูกของ Izanagi ได้รับการมอบหมายให้ปกครองท้องทะเล แต่ด้วยความที่เป็นเทพเจ้าที่หัวแข็ง ไม่ยินยอมอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ใดๆ ชื่นชอบออกเดินทางผจญภัย อีกทั้งยังใจร้อน หุนหันพลันแล่น จึงมักทำลายทุกสรรพสิ่งที่ไปย่างเหยียบ

ฉบับดัดแปลงภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ ปรับเปลี่ยนเทพเจ้า Susanoo ให้กลายเป็นเด็กชาย (ตามวิสัยการ์ตูน Shonen) นิสัยขี้เล่น ซุกซน ชอบใช้กำลัง ความรุนแรงแก้ปัญหา รักและเคารพมารดา หลังเธอจากไปโดยไม่ร่ำลา จึงร้องไห้เศร้าโศกเสียใจอย่างหนัก พอฟื้นคืนสติจึงครุ่นคิดออกเดินทางติดตามหา มารดาอยู่แห่งหนไหน? ผจญภัยไปยังสถานที่ต่างๆ เรียนรู้จักโลกกว้าง พิสูจน์ตนเอง และค้นพบเป้าหมายชีวิต

ว่ากันตามตรงปรัมปรา Susanoo ไม่ใช่เทพเจ้านิสัยดีสักเท่าไหร่ ดื้อรั้น เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ชอบใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา แต่พอภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ปรับเปลี่ยนให้เป็นเด็กชาย พยายามอธิบายสาเหตุผล สร้างความถูกต้องชอบธรรม ผลลัพท์ถือว่าน่าอึ่งทึ่ง กลายเป็นเรื่องราวแฝงสาระข้อคิดสำหรับเด็กๆ (และผู้ใหญ่) บทเรียนการใช้ชีวิต ออกเดินทางค้นหาตัวตนเอง และอัตลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น

พากย์เสียงโดย Morio Kazama, 風間杜夫 (เกิดปี 1949) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Setagaya, Tokyo บิดาทำงานแผนกการขายสตูดิโอ Shintoho ตั้งแต่เด็กจึงมีความชื่นชอบหลงใหลด้านการแสดง ตอนอายุ 8 ขวบเข้าร่วม Toei Children’s Theater Training Institute มีผลงานถ่ายโฆษณา การแสดง พากย์เสียงอนิเมชั่น แต่กว่าจะเริ่มมีชื่อเสียงจริงๆก็ตอนโต Shiki Natsuko (1980), Yūgure made (1980) ฯ

ถ้าเป็นอนิเมะสมัยใหม่ ตัวละครเด็กชายมักให้เสียงโดยนักพากย์หญิง เพื่อความนุ่มนวล ละอ่อนวัย (ยังไงก็แยกแยะไม่ค่อยออกอยู่แล้วว่าเสียงชายหรือหญิง) แต่อนิเมะยุคแรกๆมักจะเลือกนักพากย์ให้ตรงตามเพศสภาพ ซึ่งน้ำเสียงของ Kazama ในวัยสิบขวบกว่าๆ ฟังดูรีบร้อน แข็งกระด้าง เข้ากับอุปนิสัยดื้อรั้น เอาแต่ใจของเด็กชาย Susanoo ได้เป็นอย่างดี!

ภาพวาดส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับเทพเจ้าญี่ปุ่น ศาสนาชินโต มักมีลักษณะสร้างความหวาดกลัว ดูหลอกหลอน สยดสยอง ขนหัวลุกพอง เพื่อสร้างความตระหนักถึงนรก-สวรรค์ สอนให้คนทำความดีละเว้นความชั่ว บลา บลา บลา ซึ่งภาพเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งเหมาะสมจะมาทำเป็นอนิเมะสำหรับเด็กและเยาวชน ด้วยเหตุนี้งานศิลป์ ภาพพื้นหลัง และตัวละคร จึงพยายามออกแบบให้ดูเรียบง่าย เกลี้ยงเกลา ไม่เก็บรายละเอียดมากนัก มีลักษณะ Modernism บางตัวละครก็ออกไปทาง Abstracted Character (ไม่เน้นความสมจริง แต่มองผ่านๆรับรู้ได้ว่าคืออะไร) ซึ่งยังสามารถลดงานทำอนิเมชั่นได้พอสมควรเลยละ! … ออกแบบตัวละครโดย Yōichi Kotabe

ผมเห็นหน้าตาของเจ้าเสือ Tarô แวบแรกนึกถึงภาพวาด Le Rêve (แปลว่า The Dream) ของ Henri Rousseau แต่พอครุ่นคิดไปมา Tiger ของ Pablo Picasso ก็มีความละม้ายคล้ายคลึงอยู่เล็กๆ แต่สไตล์การออกแบบของอนิเมะเรื่องนี้เค้าเรียกกันว่า Modernism ไม่ได้พยายามจะวาดออกมาให้ดูเหมือนเปะๆ เพียงรูปร่าง เค้าโครง เอกลักษณ์บางอย่าง มองผ่านๆก็ยังสามารถทำความเข้าใจได้ว่ามันคือเสือ

เจ้าเสือว่าแปลกประหลาดแล้วนะ ยังมีม้ากระป๋องม้าสวรรค์ (Tianma, 天馬) ชื่อว่า Amenohayakoma หน้าตาเหมือนม้าโยก/เครื่องเล่นม้าหมุน มีเพียงรายละเอียดที่แลดูเหมือนม้า ทำออกมาในลักษณะ Minimal ที่สุดแล้ว

สองการต่อสู้ พิสูจน์ตนเองของ Susanoo ก่อนพบเจอพี่ชายและพี่สาว มีความแตกต่างตรงกันข้ามอย่างชัดเจน

  • ปลาปีศาจ Akuru อสูรกายอาศัยอยู่ใต้ท้องทะเล ดำผุดดำว่าย ชิงไหวชิงพริบ สามารถใช้เพียงพละกำลังร่างกายต่อสู้เอาชนะ
  • เทพเจ้าแห่งไฟ Hinokami อาศัยอยู่ในป่องภูเขาไฟ สามารถโบยบิน แยกร่าง พลังกายภาพไม่สามารถทำอะไร จำต้องหยิบยืมพลังน้ำแข็งของพี่ชาย ถึงสามารถหยุดยับยั้ง แช่แข็งอีกฝั่งฝ่าย
    • นอกจากบทเรียน พละกำลังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกสิ่งอย่าง! ยังสอนให้รู้จักครุ่นคิด นำเอาสิ่งตรงกันข้าม แพ้ทาง จุดอ่อนของอีกฝ่ายมาใช้จัดการปัญหา

สำหรับพี่ชาย Tsukuyomi และพี่สาว Amaterasu ของ Susanoo จะมีการออกแบบตัวละคร (รวมถึงสถานที่) ที่ก็มีความแตกต่างตรงกันข้าม

  • ดินแดนแห่งความมืด Yoru no wosu kuni อาศัยอยู่ใต้ท้องทะเลลึก ต้องดำผุดดำว่าย ได้รับการชี้นำทางจากเทพเจ้าแห่งท้องทะเล Wadatsumi, ที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara อยู่บนท้องฟากฟ้า ได้รับการชี้ทางจากเทพเจ้าแห่งไฟ Hinokami มอบนกยักษ์สำหรับโบยบินขึ้นไป
  • Tsukuyomi จะมีรูปร่าง ใบหน้าตา เต็มไปด้วยเหลี่ยมมุม เรียวแหลมคม, ตรงกันข้ามกับทรงกลม โค้งมนของ Amaterasu
  • เฉดสีสันของ Tsukuyomi ใช้โทนน้ำเงิน-ฟ้า รู้สึกหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก, Amaterasu เต็มไปด้วยแสงสี เหลือง-ส้ม สัมผัสอบอุ่น ลุ่มร้อน

ยุคสมัยก่อนหน้านี้ผู้กำกับภาพยนตร์อนิเมชั่น จะมีหน้าที่กำหนดทิศทาง พูดคุยประสานงานแผนกต่างๆ เขียนบท (Script Writing), ออกแบบตัวละคร (Charactor Design), งานศิลป์ (Art Direction), ภาพพื้นหลัง (Backgroud Art), ลงสีสัน (Color Design), กำกับอนิเมชั่น (Animation Director), และยังรวมถึงงาน Post-Production ตัดต่อ พากย์เสียง เพลงประกอบ ฯ

แต่ด้วยความที่ Yūgo Serikawa ไม่ใช่ผู้กำกับมาจากสายอนิเมเตอร์ จึงไม่มีความรู้ เชี่ยวชาญในการทำอนิเมชั่น ด้วยเหตุนี้จึงบังเกิดตำแหน่งงานใหม่ Animator Supervising โดย Sanae Yamamoto เป็นผู้คอยแบ่งงาน ตรวจสอบความถูกต้อง ควบคุมดูแลในส่วนงานสร้างอนิเมชั่นทั้งหมด (งานอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการทำอนิเมชั่น เขียนบท ตัดต่อ พากย์เสียง เพลงประกอบ ก็ตกเป็นหน้าที่ของผู้กำกับแทน) … นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นระบบ “Animator Director” อันเป็นรากฐานวงการอนิเมชั่นญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน

เห็นว่าระบบ Animator Director ครุ่นคิดจะเริ่มต้นมาตั้งแต่ Alakazam the Great (1960) ตั้งใจมอบหมายให้ Osamu Tezuka เป็นผู้กำกับดัดแปลงมังงะของตนเอง แต่ได้รับการบอกปัดเพราะไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน, การประท้วงหยุดงานเมื่อปี ค.ศ. 1961 (ที่มี Hayao Miyazaki คือหนึ่งในแกนนำ) สตูดิโอ Toei Animation ยินยอมเพิ่มค่าจ้างนักอนิเมอร์ระดับล่างกว่าเท่าตัว นั่นกลายเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ทุกคนตั้งใจทำงาน หัวหน้าพร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นลูกน้อง แทบจะเรียกได้ว่ายุคสมัย ‘Prague Spring’

เกร็ด: Prague Spring (1968) คือช่วงเวลาเจ็ดเดือนสั้นๆที่ชาว Czechoslovakia ได้รับอิสรภาพจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ไม่ถูกกีดกัน ควบคุมครอบงำ ทำให้บรรดาศิลปิน/ผู้กำกับภาพยนตร์ สรรค์สร้างผลงานศิลปะที่สำแดงอิสรภาพทางความคิดสร้างสรรค์! ฉันท์ใดฉันท์นั้น ต้นทศวรรษ 60s ของสตูดิโอ Toei Animation เป็นช่วงเวลาที่คนทำงานสายอนิเมชั่น ได้รับสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม ไม่มีหัวหน้า-ลูกน้อง หรือยึดหลักอาวุโส-เด็กใหม่ ทุกคนสามารถพูดคุย โต้ถกเถียง แสดงความคิดเห็น ระบบดังกล่าวจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำวิสัยทัศน์ของบุคคลภายนอกเข้าสู่วงการอนิเมะ … คนที่ไม่มีประสบการณ์ด้านอนิเมชั่น ก็สามารถทำงานเป็นผู้กำกับอนิเมะ


ถ่ายภาพโดย Mitsuaki Ishikawa (Panda and the Magic Serpent, Magic Boy, Alakazam the Great) และ Hideaki Sugawara

ด้วยกระแสนิยม CinemaScope กำลังได้รับความล้นหลามใน Hollywood ลุกลามมาถึง Lady and the Tramp (1955) ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกที่ถ่ายทำด้วย Anamorphic Widescreen (2.39:1) นั่นทำให้ Toei Animation ตัดสินใจดำเนินรอยตามกับ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) ใช้ระบบชื่อว่า ToeiScope (มันก็คือ CinemaScope อัตราส่วนภาพ Anamorphic แค่เพียงฟีล์มสร้างขึ้นในประเทศญี่ปุ่น)

การเลือกใช้ Anamorphic Widescreen แม้อาจเพิ่มภาระงานให้นักอนิเมเตอร์ แต่ประสบการณ์รับชมภาพยนตร์อนิเมชั่น ก็ยิ่งใหญ่อลังการเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอสูรกายแปดหัว Yamata no Orochi มันช่างเต็มตาเต็มใจ ยิ่งใหญ่อลังการ ผู้ชมสมัยนั้นคงจะอ้าปากค้าง เด็กๆคงขนหัวลุกพอง สร้างบรรยากาศ(พร้อมเพลงประกอบ)ได้หวาดสะพรึงกลัวยิ่งนัก!

มุมมองผู้ชมสมัยใหม่หลายคนคงทำหน้านิ่วคิ้วขมวด ดูจากภาพไม่เห็นมันจะน่าหวาดสะพรึงกลัวตรงไหน? หน้าตาทรงสี่เหลี่ยมของ Yamato no Orochi ดูตลกขบขันเสียมากกว่า! ผมอยากแนะนำให้ลองหาอนิเมะมารับชมดูก่อนนะครับ คือตลอดทั้งเรื่องมันจะมีภาพออกแบบตัวละครหน้าตาแปลกๆประหลาดให้เราปรับตัว ปรับทัศนคติ มักคุ้นชินกับสไตล์ลายเส้น พอมาถึงอสูรกายแปดหัวตัวนี้ก็จะไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจสักเท่าไหร่ นอกจากนี้ยังมีงานศิลป์ที่พยายามทำออกมาให้ทะมึน อึมครึม ท้องฟ้ามืดมิด ลำดับเรื่องราวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเพลงประกอบของ Akira Ifukube สร้างบรรยากาศขนลุกขนพองชิบหาย … อย่าตัดสินคนที่ใบหน้า ตัวละครแค่ภาพวาด ต้องลองรับชม แล้วจะพบเห็นความโคตรๆมหัศจรรย์ของไคลน์แม็กซ์นี้

เครดิตงานศิลป์ (Art Direction) โดย Reiji Koyama, วาดภาพพื้นหลัง (Background Art) ประกอบด้วย Eiko Sugimoto, Hideo Chiba, Isamu Kageyama, Norio Fukumoto, และออกแบบสีสัน (Color Design) โดย Saburo Yokoi

บนเกาะ Onogoro บ้านเกิดของ Susanoo ภาพพื้นหลังที่มีความสวยสดงดงาม มองผ่านๆเหมือนภาพวาด Post-Impressionist เน้นความเรียบง่าย ไม่ได้พยายามทำออกมาให้ดูสมจริง เพียงมองผ่านๆหางตา ก็สามารถบังเกิดความประทับใจ รับรู้ว่าคือภาพวาดดังกล่าวคิออะไร

เกร็ด: อนิเมะเรื่องนี้ใช้ทีมงาน 180 คน วาดภาพทั้งหมด 250,000+ เฟรม ปริมาณสีประมาณ 1 ตัน!

ใครเคยรับชมอนิเมชั่น The Snow Queen (1957) น่าจะมักคุ้นเคยกับการออกแบบพระราชวังคริสตัล ณ ดินแดนแห่งความมืด Yoru no wosu kuni มีความแวววาว ระยิบระยับ เต็มไปด้วยเหลี่ยมแหลมคม เฉกเช่นเดียวกับผู้คนในเมืองแห่งนี้ ทหารหาญไม่เป็นมิตรกับ Susanoo ตั้งแต่แรกพบเจอ ทำให้เกิดการปะทะ ต่อสู้ ก่อให้เกิดความเสียหายขยายวงกว้างไปทั่ว

ดินแดนแห่งไฟ Hinokoku แน่นอนว่าต้องใช้โทนสีเหลือง-ส้ม-แดง (สีของไฟ) มีความเหือดแห้งแล้ง ทะเลทราย ต้นไม้เหี้ยมเกรียม ที่พักอาศัยเหมือนจะรับอิทธิพลจาก Primitive Art และตัวละครยักษ์เผ่าไฟ Titanbō ขนาดใหญ่โต ผิวสีดำ ดูไม่ต่างจากชนพื้นเมืองแอฟริกัน

และหลังจาก Susanoo เอาชนะเทพเจ้าไฟ Hinokami เฉดสีสันของดินแดนแห่งนี้ก็กลับตารปัตรขั้วตรงข้าม น้ำเงิน-ฟ้า-คราม ดูสดสว่าง สบายตา แต่ต้นไม้ก็ยังคงเหี้ยมเกรียม ต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะสามารถบูรณะฟื้นฟู

บางคนอาจมีความสงสัยว่าทำไมที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara ถึงแลดูเหมือนภาพวาด Chinese Landscape Painting แต่จริงๆแล้วมันมีคำเรียก 山水画 อ่านว่า Shanshui (China) หรือ Sansuiga (Japan) ซึ่งเหมารวมผลงานภาพวาดทิวทัศน์ของ Chinese, Korean และ Japanese (Far East) ล้วนมีลวดลายเส้นที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน

  • ภาพแรกชื่อว่า Eight Views of Xiaoxiang (ประมาณศตวรรษที่ 12) ผลงานของ Li Shi จิตรกรภูมิทัศน์ชาวจีน
  • อีกภาพชื่อว่า Mountain Landscape (ประมาณกลางศตวรรษที่ 15) ผลงานของ Tenshō Shūbun พระสงฆ์นิกาย Zen/จิตรกรชาวญี่ปุ่น

ผมแอบคาดไม่ถึงกับการใช้ภาพ Abstract Art (แรงบันดาลใจจาก Fantasia (1940)) ระหว่างซีเควนซ์เต้นระบำ Dance of AMENOUZUME เพื่อนำเสนออิทธิพล ความสำคัญของแสงสว่าง บรรดาชาวเมืองที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara ต่างพยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้เทพเจ้า Amaterasu กลับออกมาสู่โลกมนุษย์อีกครั้ง

Izumo สถานที่ต่อสู้ระหว่าง Susanoo และ Yamata no Orochi ยามค่ำคืนช่างดูราวกับขุมนรก ต้นไม้มีเพียงกิ่งก้าน หนามแหลม ทะเลสาปกว้างใหญ่ รายล้อมรอบด้วยทิวเขาสูงชัญ (ในลักษณะของ Shanshui) ยิ่งดึกจะยิ่งมืดมิด ปรับเฉดสีจนทะมึนดำ การต่อสู้ระหว่างทั้งสอง ทำให้ทุกสิ่งอย่างพังทลาย ราบเรียบเป็นหน้ากลอง

ตัดต่อโดย Ikuzō Inaba (The Littlest Warrior, Arabian Nights: The Adventures of Sinbad)

หลังอารัมบทเกริ่นนำ Izanagi และ Izanami ให้กำเนิดหมู่เกาะญี่ปุ่น! อนิเมะดำเนินเรื่องผ่านมุมมองบุตรชาย Susanoo หลังการสูญเสียมารดา (Izanami) ตัดสินใจออกเดินทางร่วมกับกระต่ายน้อย Akahana ไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อติดตามค้นหา มารดาอยู่แห่งหนไหน?

การผจญภัยของ Susanoo ผมขอแบ่งออกเป็นตอนๆ (Episodic) ตามสถานที่ต่างๆเดินทางไปถึง

  • อารัมบท เกริ่นนำ Izanagi และ Izanami ให้กำเนิดหมู่เกาะญี่ปุ่น
  • แนะนำเด็กชาย Susanoo
    • เด็กชาย Susanoo นิสัยซุกซน ชื่นชอบการต่อสู้ เอาชนะสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    • การสูญเสียมารดาทำให้ Susanoo เศร้าโศกเสียใจ
    • ก่อนตัดสินใจเริ่มต้นออกเดินทาง ติดตามค้นหา มารดาอยู่แห่งหนไหน?
  • ล่องเรือข้ามมหาสมุทร
    • ต่อสู้กับปลาปีศาจ Akuru
    • ได้รับคำขอบคุณจากเทพเจ้าแห่งท้องทะเล Wadatsumi ชี้นำทางสู่ดินแดนแห่งความมืด
  • ดินแดนแห่งความมืด/ปราสาทน้ำแข็ง
    • เดินทางมาถึงดินแดนแห่งความมืด Yoru no wosu kuni แต่ถูกทหารหาญเข้าใจผิดจึงเกิดการปะทะต่อสู้
    • พบเจอกับพี่ชาย Tsukuyomi
  • ดินแดนแห่งไฟ Hinokoku
    • ออกเดินทางมาถึงดินแดนแห่งไฟ
    • ต่อสู้กับเทพเจ้าไฟ Hinokami
    • หลังได้รับชัยชนะ ร่วมออกเดินทางกับยักษ์เผ่าไฟ Titanbō 
  • ที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara
    • โบยบินมาถึงที่ราบบนท้องฟ้าสูง พบเจอพี่สาว Amaterasu
    • ระหว่างพยายามตั้งรกรากถิ่นฐาน Susanoo กลับก่อเรื่องวุ่นๆวายๆ
    • จนพี่สาว Amaterasu รู้สึกอับอายจึงหลบซ่อนตัวในถ้ำ ทำให้ชาวเมืองทำพิธีล่อหลอกให้เธอกลับออกมา
    • สุดท้ายพี่สาวก็ร้องขอให้ Susanoo ออกเดินทางไปจากดินแดนแห่งนี้
  • เดินทางมาถึง Izumo
    • พบเห็นแม่น้ำกลายเป็นลำธารเลือด รับรู้เหตุการณ์บังเกิดขึ้นจาก Princess Kushinada
    • Susanoo ทำการเทียมม้าสวรรค์ Amenohayakoma
    • จากนั้นตระเตรียมแผนการมอมเหล้า
    • ต่อสู้กับจอมอสูร Yamata no Orochi
    • หลังจากได้รับชัยชนะ Susanoo ก็ตัดสินใจลงหลักปักฐานอยู่ยังดินแดนแห่งนี้

ไฮไลท์ตัดต่อต้องยกให้การต่อสู้ระหว่าง Susanoo และ Yamata no Orochi ต้องเริ่มตั้งแต่เริ่มต้นเตรียมความพร้อม สร้างบรรยากาศขนลุกขนพอง จนกระทั่งการต่อสู้บนอากาศ บินโฉบไปโฉบมา มีการสลับสับเปลี่ยนมุมกล้อง ผมอ่านเจอว่ากว่า 300+ ช็อต 10,000+ ภาพเคลื่อนไหว ถือเป็นหนึ่งในซีเควนซ์มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับคำชื่นชมสรรเสริญ สร้างมาตรฐานฉากการต่อสู้ไว้สูงลิบลิ่วทีเดียว


เพลงประกอบโดย Akira Ifukube, 伊福部 昭 (1914-2006) คีตกวีสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kushiro, Hokkaido วัยเด็กมีความหลงใหลบทเพลงพื้นบ้าน Ainu Music บังเกิดความตั้งใจอยากเป็นนักแต่งเพลงหลังได้ยินบทเพลง Stravinsky: The Rite of Spring (1913) แต่โตขึ้นเข้าเรียนต่อวนศาสตร์ Hokkaido Imperial University ใช้เวลาว่างศึกษาดนตรีด้วยตนเอง (Self-Taught) จนสามารถแต่ง Piano Suite, โด่งดังจากบทเพลง Japanese Rhapsode (1935) คว้ารางวัล(อย่างเป็นเอกฉันท์)การแข่งขันระดับนานาชาติ ถึงขนาดผู้จัดงาน Alexander Tcherepnin เดินทางมาญี่ปุ่นเพื่อมอบรางวัล และยังให้คำแนะนำ Masterclass เป็นการส่วนตัว! หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กลายเป็นครูดนตรี Tokyo Music School (ปัจจุบันคือ Tokyo University of the Arts) แล้วมีโอกาสทำเพลงประกอบภาพยนตร์ Snow Trail (1947), The Quiet Duel (1949), Children of Hiroshima (1952), โด่งดังจากให้กำเนิดเสียง Gojira (1954), The Burmese Harp (1956), The Tale of Zatoichi (1962), The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) ฯลฯ

งานเพลงของ Ifukube คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Gojira แต่ปรับเปลี่ยนเรื่องราวมาเป็นเจ้าชายน้อย Susanoo ต่อสู้สารพัดสิ่งชั่วร้าย ก่อนครั้งสุดท้ายเผชิญหน้าอสูรกายแปดหัว Yamata no Orochi เต็มไปด้วยความยิ่งใหญ่อลังการ ไม่ด้อยไปกว่าภาพยนตร์คนแสดง

สไตล์เพลงของ Ifukube ชอบที่จะบรรเลงท่วงทำนองซ้ำๆ เน้นย้ำหลายครั้ง มีคำเรียก Ostinato (มาจากภาษาอิตาเลี่ยนแปลว่า Stubborn) เพื่อสร้างความตื่นเต้น รุกเร้าใจ สอดคล้องจังหวะการเต้นหัวใจ และยังภาพอนิเมชั่นการต่อสู้ มันไม่ใช่ว่าพระเอกตรงเข้าไปฟันฉับคอขาด แต่ต้องพุ่งเข้า-โฉบออก เดี๋ยวรุก-เดี๋ยวรับ โต้ตอบสลับกันไปมา … นี่คือศาสตร์การแต่งเพลงให้เข้ากับฉากต่อสู้ที่ทรงพลังอย่างมากๆ

ไม่ใช่แค่ Main Theme ที่เป็นไฮไลท์ของอนิเมะ แต่ยังความหลากหลายของท่วงทำนองเพลง ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศพื้นหลัง เหตุการณ์ต่างๆที่ Susanoo ต้องประสบพบเจอ และหลายครั้งยังมีการใช้เสียงเครื่องดนตรีพื้นบ้านญี่ปุ่น (ผสมผสานกับดนตรีตะวันตก) ทำออกมาในลักษณะคล้ายๆ ‘Silly Symphonies’ สร้างจังหวะให้สอดคล้องการกระทำ หลายครั้งใช้แทนเสียงประกอบ Sound Effect … นี่ถือเป็นวิวัฒนาการทางดนตรีประกอบอนิเมชั่นครั้งสำคัญของญี่ปุ่น สามารถสร้างอัตลักษณ์ให้ตนเอง แยกตัวออกมาจาก Walt Disney ได้สำเร็จเสียที!

Dance of AMENOUZUME ดังขึ้นระหว่างชาวที่ราบบนท้องฟ้าสูง Takamagahara ทำการร้อง-เล่น-เต้น เพื่ออัญเชิญเทพเจ้า Amaterasu ให้กลับออกมาส่องแสงสว่างสู่โลกภายนอก, บทเพลงนี้ไม่ใช่ Traditional Japanese แต่ยังมีการผสมผลาสเครื่องดนตรีตะวันตก กลิ่นอาย Slavic มีการแสดงความคิดเห็นว่าควรเรียก Pan-Eurasia น่าจะใกล้เคียงที่สุด

ทิ้งท้ายด้วยบทเพลง Lullaby For A Motherless Child (母のない子の子守歌 อ่านว่า Haha no Nai Ko no Komoriuta) แต่งคำร้องโดย Takashi Morishima, ขับร้องโดย Setsuko Watanabe, ดังขึ้นระหว่างที่มารดา Izanami ขับกล่อมบุตรชาย Susanoo ระหว่างการอาบน้ำ ชำระร่างกาย แต่น่าเสียดายผมไม่สามารถหาคลิปแยกมาให้ ก็ลองไล่ฟังไปเรื่อยๆในคลิปรวมอัลบัมนี้เองนะครับ (นาทีที่ 3:49)

The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) เริ่มต้นด้วยเรื่องเล่าการถือกำเนิดเกาะ Ōyashima แม้เป็นเพียงปรัมปรา ตำนานประเทศญี่ปุ่น แต่สะท้อนความเชื่อศรัทธาของผู้คนสมัยก่อน ที่ถึงขนาดมีการจดบันทึกลายลักษณ์อักษร สืบสานต่อมาจนถึงปัจจุบัน

เทพเจ้า/เด็กชาย Susanoo เพราะไม่สามารถยินยอมรับการสูญเสียมารดา Izanami จึงตัดสินใจออกเดินทาง ติดตามค้นหา มารดาอยู่แห่งหนไหน ซึ่งระหว่างการผจญภัย ได้รับบทเรียนต่างๆมากมาย

  • นิสัยใจร้อนของ Susanoo ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดๆ ทำสิ่งพลาดพลั้ง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์เกรี้ยวกราด โกรธเกลียด สนเพียงใช้พละกำลังทำลายล้าง
  • ไม่ใช่ทุกครั้งที่การใช้พละกำลังจะสามารถต่อสู้เอาชนะ แก้ไขอุปสรรคปัญหา บางครั้งต้องครุ่นคิดวางแผน ใช้สติปัญญา รู้จักประณีประณอม อ่อนน้อมถ่อมตน เอาใจเขามาใส่ใจเรา

บทเรียนสำคัญที่สุดของ Susanoo ก็คือการยินยอมรับความตาย/หายนะบังเกิดขึ้น ค้นพบว่ามารดาจักยังคงอยู่ภายในจิตใจชั่วนิรันดร์ และหลังจากพบเห็นซากศพอสูรกาย Yamata no Orochi กลายเป็นผืนน้ำ ลำธาร ต้นไม้ใบหญ้าเขียวขจี สถานที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์น้อยใหญ่ นั่นแฝงนัยยะถึงการเวียนว่ายตายเกิด วงเวียนวัฏจักรแห่งชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถดิ้นหลุดพ้น

ดินแดน Izumo สามารถเปรียบเทียบถึงประเทศญี่ปุ่น ถูกรุกรานโดยอสูรกาย Yamata no Orochi (นัยยะคล้ายๆ Gojira ฉบับดั้งเดิม สามารถสื่อถึงระเบิดปรมาณูจากสงครามโลกครั้งที่สอง) ทุกสถานที่ที่มันเคลื่อนพานผ่าน ด่อให้เกิดหายนะ ความตาย สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เลือดไหลนองเต็มลำธาร

ซากศพของ Yamato no Orochi ทำให้สถานที่รกร้างกลับกลายเป็นผืนแผ่นดินเขียวขจี! นี่ก็คือญี่ปุ่นหลังสงครามโลก จากความสูญเสียหายย่อยยับเยิน เมื่อกาลเวลาเคลื่อนผ่านกว่าทศวรรษ ทุกสิ่งอย่างก็กำลังฟื้นคืน ต้นไม้เติบโต เขียวขจี ราวกับประเทศญี่ปุ่นได้ถือกำเนิดใหม่ขึ้นอีกครั้ง!

(จะว่าไปแทบทุกสถานที่ผจญภัยของ Susanoo ล้วนต้องมีก่อน-หลัง มืด-สว่าง พังทลาย-ซ่อมแซมใหม่ จุดสูงสุด-ต่ำสุด ก่อนค้นพบดินแดนแห่งความสุขทางใจ)

วงการอนิเมะก็เฉกเช่นเดียวกัน สงครามโลกทำให้ทุกสิ่งอย่างแช่แข็ง หยุดนิ่ง ไร้การเติบโตนานนับทศวรรษ Toei Animation พยายามปลูกต้นกล้า เริ่มต้นใหม่กับ The White Snake Enchantress (1958) แต่มันยังไม่ใช่ผลงานสำแดงอัตลักษณ์ ตัวตน จนกระทั่ง The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) นี่ต่างหากถือเป็นหมุดหมายแท้จริงของวงการอนิเมชั่นญี่ปุ่น … ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ

อนิเมะใช้ทุนสร้างสูงถึง 70 ล้านเยน! แม้ไม่มีรายงานรายรับ แต่เสียงตอบรับถือว่าดียอดเยี่ยม นอกจากคว้ารางวัล Ōfuji Noburō Award ยังเดินทางไปฉายเทศกาล Venice International Film Festival: Children’s Film และคว้ารางวัล Bronze Osella ดูแล้วน่าจะขายต่างประเทศได้พอสมควรเลยละ

อิทธิพลของ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) พบเห็นได้จากซีรีย์ Samurai Jack (2001-04), วิดิโอเกม The Legend of Zelda: The Wind Waker (2002) และหลายๆผลงานของผกก. Tomm Moore (เจ้าของผลงาน The Secret of Kells (2009), Song of the Sea (2014) ฯ)

ปัจจุบันอนิเมะได้รับการบูรณะ 4K เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2020 สามารถหาซื้อ Blu-Ray ของ Toei Video เหมือนจะมีวางจำหน่ายเฉพาะในญี่ปุ่น แต่หารับชมออนไลน์ไม่ยาก คุณภาพคมชัดกริบ!

ผมรับชมฉบับ DVD คุณภาพเห่ยๆ เสียงแตกๆ ไปประมาณครึ่งค่อนเรื่องระหว่างรอโหลด Blu-Ray ซึ่งพอเห็นคุณภาพฉบับบูรณะ 4K แม้งแตกต่างราวฟ้ากับเหว เลยตัดสินใจเริ่มดูใหม่ตั้งแต่ต้นอีกรอบ บอกเลยว่าคนละอรรถรส ดื่มด่ำไปกับงานศิลป์ อนิเมชั่น ฉากแอ๊คชั่นตื่นตระการตา และเพลงประกอบของ Akira Ifukube ฟังลื่นหู สบายอารมณ์ ทรงพลังยิ่งกว่าเดิมเสียอีก!

เอาจริงๆถ้าไม่เพราะฉบับบูรณะ ผมคงก้ำๆกึ่งๆว่าจะชอบหรือไม่ชอบ The Little Prince and the Eight-Headed Dragon (1963) แต่ตอนนี้ถือว่าเป็นไร้ข้อกังขา เรียกได้เต็มปากเต็มคำว่ามาสเตอร์พีซ สนุกกว่าอนิเมะแอ็คชั่นสมัยใหม่บางเรื่องเสียอีก!

จัดเรต pg กับการต่อสู้สรรพสิ่งชั่วร้าย อสูรกายแปดหัว

คำโปรย | The Little Prince and the Eight-Headed Dragon การผจญภัยของ Susanoo ในเทพปกรณัมญี่ปุ่น มีความสนุกสนาน ยิ่งใหญ่อลังการ งดงามวิจิตรศิลป์ หมุดหมายแท้จริงแห่งวงการอนิเมชั่นญี่ปุ่น
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ตื่นตาตื่นใจ

Peter Pan (1953)


Peter Pan (1953) hollywood : Hamilton Luske, Clyde Geronimi, Wilfred Jackson ♥♥♡

Peter Pan ฉบับการ์ตูนโลกสวยของ Walt Disney ชักชวนผู้ชมโบยบินไปยังดินแดนแห่งความฝัน โลกที่เราสามารถเป็นเด็กตลอดกาล! แต่มันคือการ์ตูนที่เราควรให้เด็กๆรับชมจริงๆนะหรือ?

ผมมีความแปลกประหลาดใจอย่างมากๆว่า Peter Pan (1953) คือหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Hayao Miyazaki ได้อย่างไร? ทั้งๆเจ้าตัวเคยบอกว่าไม่ค่อยชื่นชอบการ์ตูนจาก Disney สักเท่าไหร่ แต่ด้วยเหตุผล …

Peter Pan’s flying scenes are predicated on the experience of flying in an airplane with a moving perspective. As a result viewers soar through the air with the story’s characters and feel liberated by the exhilarating vista unfolding below them, with moonlight casting shadows on the city streets. With the characters we share in the freedom of flying.

Hayao Miyazaki

อืม…สิ่งน่าสนใจที่สุดของ Peter Pan (1953) ก็คงเป็นการโบยบินอย่างที่ Miyazaki ว่ากล่าวไว้ เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมีภาพยนตร์/อนิเมชั่นเรื่องไหน ทำซีเควนซ์มนุษย์บินออกมาได้น่าประทับใจ (น่าจะไม่เคยมีมาก่อนด้วยซ้ำนะ) ถ้าเป็นฉบับคนแสดง (Live Action) ก็อาจต้องรอคอย Superman (1978)

เหตุผลที่ผมไม่เคยชื่นชอบ Peter Pan เพราะไอ้เด็กเวรตะไลนิสัยแย่มากๆ ชอบสร้างความวุ่นวาย กลั่นแกล้งใครอื่นไปทั่ว (Bully) ครุ่นคิดว่าตนเองคือศูนย์กลางจักรวาล และที่สำคัญไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ใช้ข้ออ้างความเป็นเด็กกระทำสิ่งชั่วร้ายมากมาย … #ยกเลิกกฎหมายเยาวชน

ต้นฉบับวรรณกรรมของ J. M. Barrie มีคำอธิบายจุดเริ่มต้น สาเหตุผล ที่มาที่ไปของ Peter Pan ทำไมถึงกลายเป็นไอ้เด็กเวรตะไล ไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่การ์ตูนของ Walt Disney ตัดทิ้งรายละเอียดส่วนนั้นทั้งหมด (เพราะมองว่ามันมืดหม่นเกินกว่าจะนำเสนอในการ์ตูนสำหรับเด็ก) เลยไม่สามารถทำให้ผู้ชมมองเห็นตัวละครในแง่มุมอื่น เพียงสามัญสำนึกที่ว่า เด็กและเยาวชนตราบยังไม่บรรลุนิติภาวะ ย่อมทำอะไรไม่ผิด! … แนวคิดลักษณะนี้ใกล้จะตกยุค ล้าหลังแล้วนะครับ

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าผิดหวังสุดๆสำหรับการตูนเรื่องนี้ ยิ่งกว่าพฤติกรรมของไอ้เด็กเวรตะไลเสียอีก นั่นคือการนำเสนอ Stereotype ชนพื้นเมืองอินเดียนแดง (Native American) ที่สะท้อนค่านิยมของคน(อเมริกัน)ยุคสมัยนั้น และโดยเฉพาะบทเพลงที่ไม่รู้ใช้สมองหรืออะไรแต่งขึ้น What Made the Red Man Red? … ฉบับรับชมทางออนไลน์ในปัจจุบัน อาจไม่ได้พบเห็นซีเควนซ์นี้แล้ว เพราะสตูดิโอ Disney มิอาจต่อต้านท้านกระแสสังคม (Woke Up)


ก่อนอื่นของกล่าวถึง J. M. Barrie ชื่อจริง Sir James Matthew Barrie, 1st Baronet (1860-1937) นักเขียนนวนิยาย บทละคอน สัญชาติ Scottish เกิดที่ Kirriemuir, Angus ในครอบครัว Calvinist เป็นบุตรคนที่เก้า(จากสิบคน) ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในการเล่าเรื่อง ชื่นชอบรับฟังนิทานก่อนนอน เมื่อตอนอายุหกขวบพบเห็นพี่ชาย David เสียชีวิตจากอุบัติเหตุระหว่างเล่นสเก็ตน้ำแข็ง มารดามีความเศร้าโศกเสียใจอยากหนัง จึงพยายามเข้าไปปลอบในห้องพัก แล้วเธอเกิดความเข้าใจผิดครุ่นคิดว่าคือบุตรชายที่เสียชีวิต “No, it’s no’ him, it’s just me.” แต่เหตุการณ์นั้นทำให้มารดาตระหนักว่าความตายของ David จะทำให้เขายังคงความเป็นเด็ก อยู่เคียงข้างกันตลอดไป

ด้วยความใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขียน สามารถสอบเข้า University of Edinburgh ขณะเดียวกันก็ตีพิมพ์เรื่องสั้น บทละคอนลงนิตยสารนักศึกษา Edinburgh Evening Courant จบออกมาทำงานหนังสือพิมพ์ The Scotsman ตามด้วย Nottingham Journal, เวลาว่างก็เขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคอนเวที ผลงานโด่งดังที่สุดก็คือ Peter Pan; or, The Boy Who Wouldn’t Grow Up (1904) แรกสุดคือละคอนเวที West End ก่อนดัดแปลงเป็นนวนิยาย Peter and Wendy (1911) วาดภาพประกอบโดย F. D. Bedford

เกร็ด: ชื่อตัวละคร Pan มาจากปรัมปรากรีก เทพเจ้าครึ่งมนุษย์ครึ่งแกะ มีเขางอกบนศีรษะ และใบหน้าเต็มไปด้วยหนวดเครา ถือเป็นเทพแห่งธรรมชาติ พงไพร การเลี้ยงแกะ ดนตรีชนบท และสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์

เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก Walt Disney เคยมีโอกาสรับชมการแสดง Peter Pan, or the Boy Who Wouldn’t Grow Up ที่มาออกทัวร์มายัง Cater Opera House ณ Marceline, Missouri เมื่อปี ค.ศ. 1913 สร้างความประทับ จับจิตจับใจ ไม่เพียงเท่านั้นเขายังเคยได้รับเลือกให้รับบทบาท Peter Pan ในการแสดงของโรงเรียน ติดสลิงโบยบิน ใครกันจะลืมเลือนประสบการณ์นั้นได้ลง

We were living on a farm, and one morning as we walked to school, we found entrancing new posters. A road company was coming to the nearby town of Marceline and the play they were presenting was Peter Pan with Maude Adams. It took most of the contents of two toy saving banks to buy our tickets, but my brother Roy and I didn’t care … I took many memories away from the theater with me, but the most thrilling of all was the vision of Peter flying through the air. Shortly afterward, Peter Pan was chosen for our school play and I was allowed to play Peter. No actor ever identified himself with the part he was playing more than I – and I was more realistic than Maude Adams in at least one particular: I actually flew through the air! Roy was using a block and tackle to hoist me. It gave way, and I flew right into the faces of the surprised audience.

Walt Disney

คงไม่ผิดอะไรจะบอกว่า Peter Pan ถือเป็น ‘Passion Project’ ของนาย Walt Disney เมื่อเริ่มมีประสบการณ์สรรค์สร้างภาพยนตร์อนิเมชั่น ครุ่นคิดวางแผนทำเป็นผลงานถัดจาก Snow White and the Seven Dwarfs (1937) แต่ลิขสิทธิ์ติดขัดอยู่กับ Paramount Pictures ทำการต่อรองอยู่หลายปีจนสามารถซื้อต่อได้สำเร็จ ค.ศ. 1939 พัฒนาบทแล้วเสร็จ ค.ศ. 1941 การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง เลยจำต้องขึ้นหิ้งโปรเจคนี้เอาไว้

ถ้าไม่นับ Dumbo (1941) กับ Bambi (1942) ที่เริ่มโปรดักชั่นตั้งแต่ก่อนสงครามคืบคลานมาถึงสหรัฐอเมริกา (การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941), ผลงานขนาดยาวของ Disney ในช่วงนี้มักเป็นแนวชวนเชื่อ (Propaganda) ไม่ก็วรรกรรมรวม (Anthology Film) กว่าจะสามารถเริ่มสรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวได้อีกครั้งก็เมื่อ Cinderella (1950), Alice in Wonderland (1951) และ Peter Pan (1953) … เป็นสามโปรเจคได้รับการพิจารณาพร้อมกันเมื่อปี ค.ศ. 1947 แต่ค่อยๆทะยอยทำให้เสร็จทีละเรื่อง

ในส่วนของบทอนิเมชั่น มีการปรับเปลี่ยนแปลงจากต้นฉบับพอสมควร นอกจากตัดทิ้งเบื้องหลังของ Peter Pan ยังสร้างพล็อตใหม่ตอนต้นเรื่องให้เขาสูญเสียเงา จึงต้องออกติดตามหา จนมาพบเจอ Wendy Darling เลยชักชวนไปท่องเที่ยว Never Land (ทีแรกว่าจะลักพาตัว แต่มองว่าพล็อตโหดร้ายเกินไป), แต่ที่น่าเศร้าสุดก็คือพล็อต Tinker Bell ดื่มยาพิษแทน Peter จนเสียชีวิต (ตัดทิ้งเพราะว่าหดหู่เกินไป) … ใครอยากรับรู้ว่ามีพล็อตแปลกๆอะไรเกิดขึ้นบ้าง รับชมจากคลิปนี้

Peter Pan – The Peter Pan that Almost Was: https://www.youtube.com/watch?v=nqW629DQT-4


เรื่องราวเริ่มต้น ณ กรุง London ช่วงทศวรรษ Edwardian (1901-10), ยามค่ำคืน บิดา-มารดาเข้ามากล่อมลูกๆทั้งสามเข้านอน Wendy, John และ Michael แต่พอดึกดื่นพวกเขาถูกปลุกตื่นโดย Peter Pan ชักชวนโบยบินสู่ดินแดนสุดมหัศจรรย์ Never Land

ณ Never Land มีเรือโจรสลัดจอดเทียบท่า Captain Hook ผู้มีความโกรธเกลียด Peter Pan ที่ได้ตัดแขนข้างหนึ่งของตน จึงครุ่นคิดวางแผนการล้างแค้น เริ่มจากลักพาตัวเด็กสาวอินเดียนแดง Tiger Lily, จากนั้นล่อหลอก Tinker Bell ให้คายความลับสถานที่หลบซ่อนตัว แล้วจับกุมเด็กๆกำพร้ามาให้เลือกระหว่างลงนามลูกเรือ หรือกลายเป็นเหยื่ออันโอชะของจระเข้


Peter Pan เป็นเด็กรักอิสระ (เลยมีพลังพิเศษทำให้สามารถโบยบินไปไหนมาไหนอย่างอิสรภาพ) ชื่นชอบการผจญภัย ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานหรรษา ไม่ยี่ห่าอะไรใคร แต่เมื่อไหร่โดยกลั่นแกล้ง ใช้ความรุนแรง ผองเพื่อนถูกกระทำร้าย ก็มักโต้ตอบตาต่อตา ฟันต่อฟัน เต็มไปด้วยอคติต่อพวกผู้ใหญ่ เลยไม่ครุ่นคิดอยากให้ร่างกายเจริญเติบโตไปมากกว่านี้

ตัวละคร Peter Pan ถือเป็น ‘Cultural Icon’ สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เยาว์วัย (Youthful Innocence) ขณะเดียวกันเพราะไม่ยินยอมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เลยมักถูกตีความถึงการหลบเลี่ยง ไม่ยินยอมรับความเป็นจริง (Escapism) อิสรภาพที่ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น

ทั้งบทละครและนวนิยาย ผู้แต่ง Barrie ไม่เคยอธิบายรูปร่างหน้าตาตัวละคร มอบให้อิสระให้ผู้สร้างครุ่นคิดจินตนาการได้ตามใจชอบ ด้วยเหตุนี้จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติด้วยการคัดเลือกนักแสดงหญิงตัวเล็กๆรับบท แต่งองค์ทรงเครื่องนำแรงบันดาลใจจากเทพเจ้า Pan ในปรัมปรากรีก, สำหรับฉบับของ Disney ดั้งเดิมเคยคิดจะติดปีก แต่เพราะมีพิกซี่ Tinker Bell อยู่แล้วจึงเอาปีกออก แล้วออกแบบให้มีลักษณะเหมือน Elf หูแหลมยาว ตาน้ำตาล ผมแดง สวมใส่ชุดสีเขียว และหมวกทรงกรวยติดขนนกสีแดง (สัญลักษณ์ของอินเดียนแดง)

ในส่วนของการพากย์เสียง Peter Pan แต่ไหนแต่ไรตั้งแต่โปรดักชั่นละครเวที มักนิยมใช้นักแสดงหญิง (ทั้งๆที่เป็นตัวละครเพศชาย) ซึ่งนาย Disney ก็ครุ่นคิดอยากทำตามธรรมเนียมปฏิบัติ ในตอนแรกพยายามติดต่อ Mary Martin ซึ่งกำลังจะรับบท Peter Pan ในโปรดักชั่นละคอนเพลง ค.ศ. 1954 แต่ไม่สามารถแบ่งปันเวลาให้ได้, นักแสดงคนถัดมาที่ให้ความสนใจคือ Jean Arthur, สุดท้ายตัดสินใจใช้บริการ Bobby Driscoll (1937-68) นักแสดงเด็กคนแรกในสังกัด Disney ก่อนหน้านี้มีผลงาน Song of the South (1946), So Dear to My Heart (1948), The Window (1949), Treasure Island (1950), และเคยได้รับรางวัล Academy Juvenile Award เมื่อปี ค.ศ. 1950

เกร็ด: ไม่ใช่แค่การพากย์เสียงตัวละคร นักแสดงยังต้องเข้าฉากทำการแสดง (Live-Action) สำหรับเป็นต้นแบบในการวาดภาพตัวละครบนเครื่อง Rotoscoping เพื่อให้การเคลื่อนไหวออกมามีความสมจริง ใกล้เคียงความเป็นมนุษย์มากที่สุด!

Wendy Darling ชื่อเต็มๆ Wendy Moira Angela Darling บุตรสาวคนโตของครอบครัว Darling ใกล้ถึงวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ถึงอย่างนั้นเธอกลับเต็มไปด้วยจินตนาการเพ้อฝัน ชื่นชอบเล่าเรื่องการผจญภัยของ Peter Pan ให้กับน้องชายทั้งสอง John และ Michael ยินยอมร่วมออกเดินทางสู่ Never Land แต่ไม่เคยครุ่นคิดปักหลักถาวรอยู่ดินแดนแห่งนี้ พยายามโน้มน้าวชักชวนเด็กๆให้ฟื้นตื่น เดินทางกลับโลก หวนกลับสู่อ้อมอกมารดา

เฉกเช่นเดียวกับ Peter Pan ตัวละครนี้ไม่ได้คำอธิบายรูปร่างหน้าตา แค่เพียงบอกว่ามีลักษณะเหมือน ‘mother figure’ จึงออกแบบให้ดูสุภาพเรียบร้อย แต่งตัว(ชุดนอน)ในสไตล์เรียบง่าย บุคลิกภาพเต็มไปด้วยรอยยิ้มสดใส จิตใจอ่อนไหว พูดไปเรื่อยเปื่อย แต่มีพลังในการโน้มน้าว สามารถควบคุมดูแลเด็กๆให้อยู่ใต้บังคับบัญชา

ในส่วนการพากย์เสียง Disney มีความต้องการ “gentle and gracefully feminine” ก่อนตัดสินใจเลือก Kathryn Beaumont (เกิดปี 1938) ก่อนหน้านี้เพิ่งเคยร่วมงานให้เสียงตัวละคร Alice จากภาพยนตร์อนิเมชั่น Alice in Wonderland (1951) ถือเป็นสองบทบาทโด่งดังที่สุดในอาชีพการงาน … หลังจากเติบโตเป็นผู้ใหญ่ Beaumont ทำงานครูสอนโรงเรียนอนุบาลจนเกษียณอายุ ในเบื้องหลัง DVD/Blu-Ray เห็นว่ามีสัมภาษณ์ของเธอด้วยนะครับ

Captain Hook โจรสลัดผู้มีความโฉดชั่วร้าย (แต่กลับขลาดกลัวจระเข้หัวหด) เพราะเคยถูก Peter Pan ตัดแขนข้างหนึ่ง(แล้วโยนให้จระเข้รับประทาน) จึงมีความโกรธเกลียด ศัตรูคู่แค้น (Archenemy) ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อโต้ตอบเอาคืน กำจัดอีกฝ่ายให้พ้นทาง

ปล. มีการวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบ Captain Hook ผู้มีความหมกมุ่นล้างแค้น Peter Pan (และจระเข้) ช่างมีความละม้ายคล้าย Captain Ahab ตัวละครจากวรรณกรรม Moby-Dick (1851)

Frank Thomas ให้คำอธิบายว่าออกแบบตัวละคร Hook โดยมีโมเดลจาก Spanish King (ไม่ได้เจาะจงว่าคือผู้ใด) และพัฒนาตัวละครให้มีความเป็น ‘comical villain’ ลดทอนความโฉดชั่วร้าย กลายเป็นพฤติกรรมขี้ขลาดเขลา (เบาปัญญาอ่อน) เพื่อไม่เด็กๆพบเห็นแล้วเกิดอาการหวาดกลัวเกินไป

ในตอนแรกนาย Disney ยื่นข้อเสนอให้กับ Cary Grant ซึ่งก็แสดงความสนอกสนใจอยู่ไม่น้อย แต่สุดท้ายกลับเปลี่ยนมาเลือก Hans Conried (1917-82) เพราะประสบการณ์เป็นนักแสดงตลก/คอมเมอเดี้ยน สามารถละเล่นกับน้ำเสียง เดี๋ยวโฉด เดี๋ยวขลาดเขลา … และตามธรรมเนียมของผู้แสดงบทบาทนี้ มักรับบทบิดา George Darling ผู้ร้ายในชีวิตจริง สะท้อนกับภาพความฝัน

อีกบทบาทที่ต้องกล่าวถึงก็คือ Tinker Bell พิซซี่น้อย ขนาดเท่าฝ่ามือ แต่ร่างกายมีทรวงทรงองค์เอวเหมือนผู้สาว (เป็นตัวแทนผู้ใหญ่ในร่างเด็กน้อย) ไม่ใช่แค่เพื่อน ยังตกหลุมรัก Peter Pan เลยบังเกิดความอิจฉาริษยา Wendy ต้องการขับไล่ ผลักไส กำจัดศัตรูคู่แข่งหัวใจ ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าอยากกระทำสิ่งชั่วร้าย ทรยศหักหลังพวกพ้อง พร้อมยินยอมเสียสละตนเองเพื่อชายคนรัก

เกร็ด: ในขณะที่ Mickey Mouse คือมาสค็อตของ Disney, ตัวละคร Tinker Bell ถือเป็น “a symbol of ‘the magic of Disney'” ปรากฎตัวครั้งแรกก็ Peter Pan (1953) เรื่องนี้นี่แหละ

พฤติกรรมซึนเดเระของตัวละคร ทำให้หลายคนคาดเดาว่า Tinker Bell อาจมีต้นแบบจาก Marilyn Monroe แต่นักอนิเมอเตอร์ Marc Davis ยืนกรานอ้างอิงจากนักแสดงสาว Margaret Kerry (เกิดปี 1929) เคยได้รับฉายา “World’s Most Beautiful Legs” แม้ไม่มีบทพูด แต่การแสดงในส่วน Live Action ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากๆ เพราะต้องใช้การสื่อสารภาษากาย ทั้งยังต้องขยับเคลื่อนไหว ทำโน่นนี่นั่นอยู่แทบตลอดเวลา (Kerry เคยเป็นนักเต้นมาก่อน เลยสามารถจัดระเบียบร่างกายได้เป็นอย่างดี)

เกร็ด: นอกจากตัวละคร Tinker Bell นักแสดง Kerry ยังเป็นหนึ่งในโมเดลนางเหงือก (Mermaid)

พื้นหลังของ Peter Pan อยู่ในยุคสมัย Edwardian (1901-10) ช่วงเวลาสั้นๆภายใต้รัชสมัย King Edward VII (1841-1910, ครองราชย์ 1901-10) กษัตริย์ผู้โปรดปรานการท่องเที่ยว นำเทรนด์ศิลปะ แฟชั่น เริ่มให้โอกาสชนชั้นแรงงานและสิทธิสตรีมีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้น

แน่นอนว่าตึกรามบ้านช่อง เฟอร์นิเจอร์ สิ่งข้าวของเล่น ย่อมอ้างอิงจากยุคสมัย Edwardian รวมถึง London Bridge และหอระฆัง Big Ben ถือเป็นการ์ตูนเรื่องที่สองของ Disney เลือกพื้นหลังกรุง London ต่อจาก Alice in Wonderland (1951)

Neverland ชื่อเรียกเกาะสมมติ ตั้งอยู่ยังดินแดนห่างไกล เห็นว่าคอนเซ็ปแรกเริ่มของผู้แต่ง Barrie ตั้งชื่อว่า Never Never Land คาดกันว่าได้แรงบันดาลใจจาก Never Never คำเรียกพื้นที่ห่างไกล Australian Outback จากบทกวีของ Barcroft Boake นักเขียนชาว Australian … ใครเคยรับชมภาพยนตร์ Australia (2008) น่าจะเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้ง

Out on the wastes of the Never Never –
That’s where the dead men lie!
There where the heat-waves dance forever –
That’s where the dead men lie!

Barcroft Boake: Where the Dead Men Lie (1891)

แต่สถานที่ที่ใช้เป็นพื้นหลัง Never Land ไม่ได้มีระบุไว้อย่างชัดเจน ในนวนิยายจะเขียนบอกแค่ให้บินไปเรื่อยๆ “second to the right, and straight on till morning.” ส่วนฉบับการ์ตูนของ Disney เพิ่มเติมคำว่าดวงดาว “second star to the right, and straight on till morning.” ราวกับอยู่ในอวกาศอันไกลโพ้น โลกหลังสายรุ้ง ซึ่งก็ล้วนสามารถสื่อถึงดินแดนแห่งจินตนาการ

สำหรับแผนที่ก็ไม่มีอยู่ในต้นฉบับนวนิยาย ครุ่นคิดออกแบบโดย Disney เฉกเช่นเดียวกัน โดยมีประมาณ 5 จุดสังเกต

  • Cannibal Cove อ่าวโจรสลัด ห้อมล้อมด้วยผืนป่า Tiki Forest เต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ ดินแดนแห่ง “evil traps” แหล่งที่อยู่อาศัยของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน
  • Mermaid Lagoon สถานที่อยู่อาศัยของนางเงือก
  • Indian Camp และ Never Land Plains สถานที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองอินเดียนแดง
  • Hangman Tree สถานที่หลบซ่อนตัว บ้านพักอาศัยของ Peter Pan และแก๊งเด็กหาย (Lost Boys)
  • Skull Rock โขดหินกระโหลกศีรษะ เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ซุกซ่อนสมบัติของพวกโจรสลัด (สถานที่ที่ Tiger Lilly ถูกลักพาตัว)
  • Crocodile Creek หนองน้ำที่อยู่อาศัยของจระเข้กินคน

ในส่วนของการทำอนิเมชั่น Peter Pan (1953) คือผลงานสุดท้ายที่ Disney’s Nine Old Men เก้าผู้เฒ่ารุ่นบุกเบิกสตูดิโอ Disney ทำงานร่วมกัน ก่อนทะยอยแยกย้าย ล้มหายตายจาก ประกอบด้วย

  • Les Clark (1907-79) เจ้าของฉายา “The Mickey Mouse Master” เริ่มร่วมงานกับ Disney และ Ub Iwerks มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1927 มีความถัดในการวาดตัวการ์ตูน Mickey Mouse ทำงานในส่วนอนิเมชั่นมาจนถึง Lady and the Tramp (1955) ค่อยผันตัวมาเป็นผู้กำกับ
  • Marc Davis (1913-2000) โด่งดังจากการออกแบบตัวละคร Snow White, Bambi, Tinker Bell, Maleficent, Cruella de Vil ฯ
  • Ollie Johnston (1912-2008) เริ่มต้นจากเป็นผู้ช่วยอนิเมเตอร์ Snow White, โด่งดังจากทำอนิเมชั่นตัวละคร Pinocchio, ฉากความตายของมารดา Bambi, สำหรับ Peter Pan (1953) ดูแลในส่วนอนิเมชั่น Mr. Smee และบางฉาก Captain Hook
  • Milt Kahl (1909-87) มีความเชี่ยวชาญทำอนิเมชั่นสรรพสัตว์น้อยใหญ่ใน Snow White, Bambi, White Rabbit (Alice in Wonderland), รวมถึงตัวละคร Peter Pan และสมาชิกครอบครัว Darling
  • Ward Kimball (1914-2002) เข้าร่วมกับ Disney เมื่อปี ค.ศ. 1934 โดดเด่นกับการออกแบบตัวละครชวนหัว นิสัยบ้าๆบอๆ อาทิ Jiminy Cricket, Lucifer, Mad Hatter, Cheshire Cat ฯ
  • Eric Larson (1905-1988) เข้าร่วมกับ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ทำอนิเมชั่นตัวละคร Peg, Vultures, โด่งดังจากดีไซน์การบินของ Peter Pan, ภายหลังกลายเป็นครูฝึกนักอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ๆ
  • John Lounsbery (1911-1976) เริ่มจากทำงานผู้ช่วนอนิเมชั่น Snow White แต่ไม่นานก็ได้รับคำชื่นชมในสไตล์อนิเมชั่นที่มีความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน ยืดๆหดๆ กลายเป็นผู้กำกับอนิเมชั่น รวมถึงตัวละครอย่าง The Tramp, Colonel Haiti, Shere Khan, Robin Hood ฯ
  • Woolie Reitherman (1909-85) เข้าร่วมกับ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ทำงานเป็นนักอนิเมเตอร์ Silly Symphony, อนิเมชั่นกระจกวิเศษใน Snow White, การต่อสู้ของไดโนเสาร์ใน Fantasia, Timothy Q. Mouse เรื่อง Dumbo, ฉากไคลน์แม็กซ์ Maleficent สู้กับมังกร ฯ ก่อนก้าวขึ้นมากำกับ The Sword in the Stone (1963), The Jungle Book (1967) ฯ
  • Frank Thomas (1912-2004) เข้าร่วมกับ Disney เมื่อปี ค.ศ. 1934 ทำอนิเมชั่นตัวละคร Queen of Hearts, Captain Hook ฯ

อนิเมชั่นของ Peter Pan (1953) มีสองสิ่งที่ผมถือเป็นไฮไลท์ อย่างแรกคือตัวละคร Tinker Bell (ทำอนิเมชั่นโดย Marc Davis) ไม่ใช่แค่แสงสีเหลืองทองเปร่งประกาย ยังแทบทุกการขยับเคลื่อนไหวต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ‘fairy dust’ ละอองฝุ่นฟุ้งกระจาย สามารถโรยใส่ตัว ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถล่องลอย โบยบิน ช่างมีความมหัศจรรย์ยิ่งนัก!

ปล. ทุกครั้งที่พบเห็น ‘fairy dust’ มักได้ยินเสียงระฆัง (Chimes) ดังระยิบระยับ สอดคล้องรับกันอย่างกลมกล่อม

และไฮไลท์ในส่วนของอนิเมชั่นที่แม้แต่ Hayao Miyazaki ยังเกิดความลุ่มหลงใหล คือซีเควนซ์โบยบินบนท้องฟากฟ้า (อนิเมชั่นโดย Eric Larson) มันไม่ใช่แค่กางแขน-ขา พุ่งทะยานไปเบื้องหน้า แต่ตัวละครยังขยับเคลื่อนไหว กลิ้งม้วนหมุนแทบจะ 720 องศา ราวกับอยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง สามารถทำอะไรได้ทุกสิ่งอย่าง … นัยยะของการล่องลอย โบยบิน สื่อถึงอิสรภาพ/จินตนาการ คือสิ่งไร้ซึ่งพันธนาการ(แรงโน้มถ่วง)เหนี่ยวรั้ง

แซว: ผมสังเกตจากมนุษย์อวกาศ เอาจริงๆไม่มีใครสามารถขยับเคลื่อนไหวได้แบบนี้เลยนะ เพราะบนนั้นมันไม่แรงต้านทานใดๆ การโบยบินลักษณะนี้จึงถือว่าขัดแย้งต่อหลักฟิสิกส์อย่างที่สุด!

ตัดต่อโดย Donald Halliday (1913-72) เข้าทำงานสตูดิโอ Disney ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง Cinderella (1950), Peter Pan (1953), Lady and the Tramp (1955), Sleeping Beauty (1959), One Hundred and One Dalmatians (1961) และ The Sword in the Stone (1963)

การ์ตูนชื่อ Peter Pan (1953) แน่นอนว่าต้องให้ตัวละคร Peter Pan คือจุดศูนย์กลางเรื่องราว แต่การนำเสนอมักเล่าเรื่องผ่านมุมมอง Wendy Darling (ร่วมออกผจญภัยกับ Peter Pan) และหลายๆครั้งตัดสลับมายังฟากฝั่งผู้ร้าย Captain Hook ครุ่นคิดแผนการสุดเหี้ยมโหด เพื่อฆ่าล้างแค้นคู่อริตลอดกาล

  • ค่ำคืนดึกดื่น
    • บิดา-มารดา กล่อมลูกๆทั้งสามเข้านอน Wendy, John และ Michael
    • ดึกดื่นเด็กๆต่างถูกปลุกตื่นโดยการมาถึงของ Peter Pan และ Tinker Bell
    • ร่วมกันออกเดินทาง โบยบินสู่ท้องฟากฟ้า เป้าหมายคือ Never Land
  • แผนการชั่วร้ายของ Captain Hook กับ Tiger Lily
    • แนะนำตัวละคร Captain Hook ผู้หวาดกลัวจระเข้ จองล้างของผลาญ Peter Pan
    • เด็กๆออกสำรวจผืนป่า แล้วจู่ๆถูกจับกุมตัวโดยชนเผ่าอินเดียนแดง
    • Peter Pan และ Wendy ล่องลอยมาถึง Skull Rock แอบพบเห็น Captain Hook ลักพาตัว Tiger Lily เลยเข้าไปให้การช่วยเหลือ
    • เมื่อพา Tiger Lily กลับมา Indian Camp ก็มีงานเลี้ยงเฉลิมฉลองใหญ่โต
  • แผนการชั่วร้ายของ Captain Hook กับ Tinker Bell
    • Captain Hook ทำการโน้มน้าว ล่อหลอก Tinker Bell จนเธอยินยอมคายความลับ สถานที่หลบซ่อนตัวของ Peter Pan
    • หลังงานเลี้ยงอินเดียนแดง Peter Pan และแก๊งเด็กหลง (Lost Boys) เดินทางกลับมาหลับนอนยัง Hangman Tree
    • Captain Hook ลักพาตัว Wendy และแก๊งเด็กหลง จากนั้นส่งระเบิดเวลาให้กับ Peter Pan รอดตายอย่างหวุดหวิดจากการช่วยเหลือของ Tinker Bell
  • การโต้ตอบของ Peter Pan
    • ระหว่างที่ Wendy และเด็กๆต้องเลือกระหว่างลงนามลูกเรือ หรือกลายเป็นเหยื่ออันโอชะของจระเข้
    • Peter Pan เข้ามาเผชิญหน้าต่อสู้ Captain Hook
    • หลังได้รับชัยชนะ เด็กๆเดินทางกลับมาบ้าน ดึกดื่นตื่นขึ้นในห้องนอน ความฝันค่ำคืนนี้จักกลายเป็นความทรงจำไม่รู้ลืมเลือน

ในส่วนของเพลงประกอบ (Soundtrack ที่ไม่มีเนื้อร้อง) โดย Oliver Wallace (1887-1963) นักแต่งเพลงสัญชาติอังกฤษ ร่วมงานขาประจำสตูดิโอ Disney ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 เริ่มจากเป็นวาทยากร เขียนเพลงประกอบ Dumbo (1941), Cinderella (1950), Alice in Wonderland (1951), Peter Pan (1953), และ Lady and the Tramp (1955)

งานเพลงของ Wallace ทำออกมาในสไตล์ ‘Silly Symphony’ ท่วงทำนองสอดคล้องการกระทำ สำหรับสร้างสีสัน บรรยากาศสนุกสนาน หยอกล้อเล่นระหว่างภาพและเสียง บางครั้งก็ใช้แทน ‘Sound Effect’ เพื่อไม่ให้การ์ตูนเกิดความเงียบสงัดนานเกินไป

ในส่วนของบทเพลงคำร้อง ผมรู้สึกว่า Peter Pan (1953) มีทั้ง Hit and Miss บางบทเพลงไพเราะเพราะพริ้ง หลายบทเพลงไม่ค่อยน่าจดจำสักเท่าไหร่ และอีกหนึ่งบทเพลงที่โคตรๆน่าผิดหวัง

เริ่มจากบทเพลงฮิตแรก Main Title ชื่อว่า The Second Star to the Right ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง The Jud Conlon Chorus & The Mellomen เป็นบทเพลงเกริ่นนำเข้าสู่เรื่องราว ชี้นำทางดวงดาวสู่ Never Land ซึ่งสิ่งที่ผมประทับใจมากๆคือการขับร้องประสาน สร้างความขนลุกขนพอง และโดยเฉพาะเสียงสูงของ Kathryn Beaumont ชักชวนให้ล่องลอย โบยบิน มุ่งสู่ดินแดนแห่งจินตนาการ

The second star to the right
Shines in the night for you
To tell you that the dreams you plan
Really can come true

The second star to the right
Shines with a light so rare
And if it’s Never Land you need
Its light will lead you there

Twinkle, twinkle, little star
So we’ll know where you are
Gleaming in the skies above
Lead us to the land we dream of

And when our journey is through
Each time we say “Goodnight”
We’ll thank the little star that shines
The second from the right

ผมมีความสองจิตสองใจกับบทเพลง You Can Fly! ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง The Jud Conlon Chorus & The Mellomen ท่วงทำนองถือว่ามีความไพเราะ แต่คำร้องจะมีขณะเร่งความเร็ว มันทำลายอรรถรสระหว่างการโบยบินพอสมควร

ไม่รู้ทำไมผมนึกถึง A Whole New World จาก Aladdin (1992) ซึ่งวินาทีได้ยินบทเพลงนี้ Aladin และ Jasmine ขึ้นพรมเหาะ กำลังโบยบินสู่ท้องฟากฟ้า ฟังแล้วรู้สึกตื่นตาตะลึง ราวกับได้เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ แตกต่างจาก You Can Fly! ที่เพียงสนุกสนาน เติมเต็มจินตนาการ เร่งรีบร้อนจนไม่ค่อยน่าจดจำสักเท่าไหร่

Chorus:
Think of a wonderful thought,
Any merry little thought,
Think of Christmas, think of snow, think of sleigh bells,
Off you go, like reindeer in the sky!
You can fly, you can fly, you can fly!!!

Think of the happiest things,
It’s the same as having wings,
Take the path that moonbeams make,
If the moon is still awake,
You’ll see him wink his eye
You can fly, you can fly, you can fly!!!

Off you go with a Heigh and Ho
To the stars beyond the blue
There’s a Never Land waiting for you
Where all your happy dreams come true
Every dream that you dream will come true

When there’s a smile in your heart
There’s no better time to start
Think of all the joy you’ll find
When you leave the world behind
And bid your cares good-bye
You can fly, you can fly, you can fly, you can fly, you can fly!

A Pirate’s Life นี่มันคือต้นฉบับก่อนทำการดัดแปลงสู่ Pirate of the Caribbean ใช่ไหมเนี่ย? ทำนองโดย Oliver Wallace, คำร้องโดย Erdman Penner, ขับร้องประสานเสียงโดย The Mellomen

Pirate Crew: Ohhhh!
A pirate’s life is a wonderful life
A-rovin’ over the sea
Give me a career as a buccaneer
As the life of a pirate for me
Ohhhh!
The life of a pirate for me

Ohhhh!
A pirate’s life is a wonderful life
They never bury your bones
For when it’s all over, a jolly sea rover
Drops in on his friend Davy Jones
Ohhhh!
His very good friend Davy Jones

Mr. Smee: My good friend Davy Jones

บทเพลงน่าอับอายขายขี้หน้าที่สุดของการ์ตูนเรื่องนี้คือ What Made the Red Man Red ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องประสานเสียง Candy Candido & The Mellomen ถูกตีตราว่านำเสนอภาพ Stereotype ของชาวอินเดียนแดงในลักษณะ “Racist and Offensive”

My jaw hit the ground when I heard this song and saw these ‘redskins’ hopping around and making fools of themselves. Granted it was only a cartoon, but it was one in which the animators took the liberty of demeaning an entire race in the name of entertainment.

David Martinez ผู้เขียนหนังสือ American Indians and Film (2013)

I remember seeing it and not having the skills to understand why it made me feel embarrassed. What does that do to a child’s formation of identity, even if it’s subliminal and subconscious? The message is, ‘You’re not human. You’re a trend. You’re something that can be commodified and bought and sold.’

Sasha Houston Brown สมาชิกชนเผ่าอินเดียนแดง Santee Sioux อาจารย์ประจำ Minneapolis Community and Technical College

ลองอ่านคำแก้ตัวในมุมมองของผู้สร้างดูนะครับ

I’m not sure we would have done the Indians if we were making this movie now. And if we had we wouldn’t do them the way we did back then… The Indians were Ward Kimball’s stuff. Beautifully done. The Indians could not have been done that way nowadays. I like them. Very funny. Very entertaining, especially the Big Chief.

Marc Davis

It is important to remember that Peter Pan was supposed to represent a young boy’s impression of pirates, mermaids and Indians and, as a result, these fanciful creations bore more of a relation to popular culture storybooks than reality.

นักเขียน Jim Korkis ผู้รวบรวมประวัติศาสตร์ของ Walt Disney

ความอัปยศของ What Made the Red Man Red? ได้รับการเปรียบเทียบกับอีกบทเพลง Savages จากการ์ตูน Pocahontas (1995) ที่ทำให้ผู้ชมตั้งคำถามถึงสามัญสำนึกของผู้สร้าง ต่อให้อ้างว่าเพื่อความบันเทิง แต่สำหรับคนบางกลุ่มนี่ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานเลยสักนิด! แม้ปัจจุบันจะมีการตัดทั้งซีเควนซ์นี้ในฉบับฉายโทรทัศน์และออนไลน์ แต่มันก็มิอาจลบเลือนความเสียหายที่บังเกิดขึ้น

อีกบทเพลงไพเราะจับใจ Your Mother and Mine ทำนองโดย Sammy Fain, คำร้องโดย Sammy Cahn, ขับร้องโดย Kathryn Beaumont คำรำพันครุ่นคิดถึงแม่ ฟังแล้วน้ำตาตกใน คร่ำครวญอยากหวนกลับไป ซุกตัวอยู่ในอ้อมกอดมารดา เพื่อว่าค่ำคืนนี้จะได้นอนหลับฝันดี … แต่ผมว่าฟังแล้วเพลงนี้แล้วไม่น่าจะนอนหลับสักเท่าไหร่

น้ำเสียงของ Beaumont สร้างความประทับใจให้ผมอย่างมากๆ ชวนนึกถึง Judy Garland สมัยยังเป็นวัยรุ่น เชื่อว่าถ้าเลือกอาชีพนักแสดงน่าจะไปรุ่งแน่ๆ น่าเสียดาย น่าเสียดาย

Well a mother, a real mother, is the most wonderful person in the world
She’s the angel voice that bids you goodnight
Kisses your cheek, whispers sleep tight
Your mother and mine
Your mother and mine

The helping hand that guides you along
Whether you’re right, whether you’re wrong

Your mother and mine
Your mother and mine

What makes mothers all that they are
Might as well ask what makes a star
Ask your heart to tell you her worth
Your heart will say, heaven on earth
Another word for divine
Your mother and mine

ทิ้งท้ายกับบทเพลง Never Smile at a Crocodile เห็นว่าผู้แต่ง Frank Churchill เขียนขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 ช่วงที่โปรเจคนี้เพิ่งเริ่มตั้งไข่ ทำออกมาในสไตล์ ‘Comic Song’ ยังไม่ได้ใส่เนื้อร้อง (Jack Lawrence แต่งเพิ่มเอาภายหลัง) น่าเสียดายพี่แกฆ่าตัวตายเมื่อปี ค.ศ. 1942 ถึงอย่างนั้น Disney ก็ยังอุทิศให้กับเพื่อนผู้จากไป เลือกใช้ทำนองกวนๆนี้ในทุกๆขณะการปรากฎตัวของเจ้าจระเข้

ปล. ฉบับขับร้องโดย Stuart Foster and Judy Valentine ถูกตัดออกไปในการ์ตูน Peter Pan (1953) [แต่มีในอัลบัม Soundtrack] แค่เพียงทำนองสั้นๆระหว่างแนะนำตัวละคร Captain Hook แล้วเกิดอาการ PTSD เมื่อพบเห็นเจ้าจระเข้กำลังคืบคลานเข้ามา

Never smile at a crocodile
No, you can’t get friendly with a crocodile
Don’t be taken in by his welcome grin
He’s imagining how well you’d fit within his skin
Never smile at a crocodile
Never tip your hat and stop to talk awhile
Never run, walk away, say good-night, not good-day
Clear the aisle but never smile at Mister Crocodile
You may very well be well bred
Lots of etiquette in your head
But there’s always some special case, time or place
To forget etiquette
For instance

Never smile at a crocodile
No, you can’t get friendly with a crocodile
Don’t be taken in by his welcome grin
He’s imagining how well you’d fit within his skin
Never smile at a crocodile
Never dip your hat and stop to talk awhile
Never run, walk away, say good-night, not good-day
Clear the aisle but never smile at Mister Crocodile

Peter Pan นำเสนอการเดินทางสู่ดาวดวงที่สองจากขวามือ บินตรงไปถึงรุ่งเช้า Never Land ดินแดนแห่งการผจญภัย สถานที่ที่เด็กๆไม่มีวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เต็มไปด้วยความสนุกสนาน หรรษา โบยบินสู่อิสรภาพ เพลิดเพลินไปกับโลกแห่งจินตนาการ … ฟังดูราวกับ Wonderland (Alice in Wonderland) หรือดินแดนหลังสายรุ้ง Land of Oz (The Wonderful Wizard of Oz) สถานที่แฟนตาซีสร้างขึ้นสำหรับเติมเต็มความเพ้อฝันของเด็กๆ

Never Land, Wonderland หรือ Land of Oz ต่างเปรียบเสมือนสถานที่สำหรับหลบซ่อนตัว หนีออกจากโลกความจริง (Escapism) เพลิดเพลินไปกับสิ่งตอบสนองความสนใจ เติมเต็มความเพ้อฝันจินตนาการผู้สร้าง บางอย่างเคยสูญหายไปเมื่อครั้นยังเป็นเด็ก

ในกรณีของ Never Land คือประสบการณ์สูญเสียพี่ชายผู้แต่ง J. M. Barrie คำพูดมารดาทำให้ตระหนักว่า (พี่ชาย)จะคงสถานะความเป็นเด็กอยู่ในจิตใจของทุกคน สรรค์สร้างวรรณกรรม Peter Pan เพื่อหวนกลับหาช่วงเวลาแห่งความสุข ฉันเองก็อยากอาศัยอยู่ในโลกใบนั้น

มันไม่ใช่ว่าผมมีอคติอะไรกับวรรณกรรมเรื่องนี้นะครับ แต่เป้าหมายการโจมตีก็คือฉบับดัดแปลง Peter Pan (1953) ของค่าย Walt Disney ที่ทำการปู้ยี้ปู้ยำ สร้างโลกสวยเกินจริง ตัดทิ้งรายละเอียดสำคัญๆ โดยใช้ข้ออ้างการ์ตูนคือสื่อสำหรับเด็ก ไม่เหมาะที่จะนำเสนอเหตุการณ์รุนแรงเกินไป นั่นมันใช่สิ่งที่ผู้ใหญ่ควรครุ่นคิดแทนเสียที่ไหน ผลลัพท์กลายเป็นโลกอันบิดเบี้ยว ปลูกฝังค่านิยมผิดๆเพี้ยนๆ ผู้ชมรุ่นหลังยิ่งดูยิ่งละเหี่ยใจ

เอาจริงๆแนวคิดจิตวิญญาณยังเป็นเด็กตลอดกาล ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร! ศิลปิน จิตรกร นักเขียน การ์ตูน ทำงานสายอนิเมชั่น ฯ ล้วนต้องใช้จินตนาการ(ความเป็นเด็ก)เพื่อรังสรรค์สร้างผลงาน หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป ความรู้สึกเหมือนได้ย้อนกลับไปเป็นเด็ก (Nostalgia) สามารถช่วยพักผ่อนคลายความตึงเครียด ปลีกวิเวก หลบซ่อนตัว หนีออกจากโลกความจริง (Escapism) ก็ไม่เรื่องผิดเช่นกัน! แค่ควรต้องรู้จักเพียงพอดี ยินยอมรับสภาพเป็นจริง อย่าหลอกตนเอง ก็น่าจะเพียงพอแล้วละ


ด้วยทุนสร้าง $4 ล้านเหรียญ เสียงตอบรับค่อนข้างดี ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $87.4 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จแค่กลางๆ เพราะมาตรฐานของ Disney ช่วงทศวรรษนั้น ส่วนใหญ่รายรับเกินกว่า $100 ล้านเหรียญ! แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าผลงานก่อนหน้า Alice in Wonderland (1951) ที่ล้มเหลวอย่างย่อยยับเยิน ทุนสร้าง $3 ล้านเหรียญ ทำเงินได้เพียง $2.4 ล้านเหรียญ

Though it doesn’t delve deeply into the darkness of J. M. Barrie’s tale, Peter Pan is a heartwarming, exuberant film with some great tunes.

คำนิยมจากเว็บไซด์ Rottentomatoes ให้คะแนน 77%

แม้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม แต่พอกลายเป็นสวนสนุก (Theme Parks) เครื่องเล่น ขบวนพาเรด การแสดงสด รวมถึงสเก็ตลีลา (Disney On Ice) เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยว (Attraction) ได้รับความนิยมสูงสุดแทบจะทุกๆ Disneyland

Peter Pan ฉบับของ Disney มีภาคต่อด้วยนะครับ Peter Pan: Return to Never Land (2002) รวมถึงภาพแยก (Spin-Off) Tinker Bell (2008), ล่าสุดก็ดัดแปลงคนแสดง (Live Action) Peter Pan & Wendy (2023) ทีแรกว่าจะเข้าฉายโรงภาพยนตร์แต่คุณภาพคง !@#$% เลยปรับเปลี่ยนมาทาง Disney+

นอกจากภาพวาดสวยๆ อนิเมชั่นงามตา อะไรอย่างอื่นล้วนสร้างความอ่อนเปลี้ยเพลียแรง แถมบทเพลงก็ไม่ค่อยไพเราะติดหูสักเท่าไหร่ สไตล์ของ Disney เลยทำให้ผมหน้านิ่วคิ้วขมวด มอดไหม้ทรวงในตลอด 77 นาที ช่างเยิ่นยาวนานยิ่งนัก อดรนทนดูจบได้ก็รู้สึกประทับใจตนเองอย่างคาดไม่ถึง!

คงมีหลายคนที่ชื่นชอบ Peter Pan (1953) แล้วหลงเข้ามาอ่านบทความนี้ ก็ไม่ต้องอคติอะไรกับผมมากนะครับ มันเป็นความรู้สึกส่วนตัว คิดเห็นส่วนบุคคล ไม่จำเป็นที่คนเราต้องเหมือนกันอยู่แล้ว

แถมท้ายกับบุคคลมีชื่อเสียงที่โปรดปรานวรรณกรรม/การ์ตูน Peter Pan อาทิ J. R. R. Tolkien (Middle-earth=Never Land?), J.K. Rowling, Stephen King, Michael Jackson (ถึงขนาดตั้งชื่อฟาร์ม Never Land), Michael Stipe, Gwen Stefani, Bono, Steven Spielberg (กำกับภาพยนตร์ Hook (1991)), Guillermo Del Toro (มีแผนจะสร้างอยู่), Hayao Miyazaki, Robin Williams (รับบท Peter Pan ในภาพยนตร์ Hook (1991)), Angelina Jolie, Hugh Jackman ฯลฯ

จัดเรตทั่วไป แต่มันคือการ์ตูนที่เราควรให้เด็กๆรับชมจริงๆนะหรือ?

คำโปรย | Peter Pan (1953) ฉบับการ์ตูนโลกสวยของ Walt Disney คงความคลาสสิก ล่องลอยอยู่ในความฝัน จมปลักอยู่ในนั้น
คุณภาพ | คลาสสิก
ส่วนตัว | นิทานหลอกเด็ก

Yózhik v tumáne (1975)


Hedgehog in the Fog (1975) USSR : Yuri Norstein ♥♥♥♥♡

เม่นแคระ (Hedgehog) พลัดหลงทางเข้าไปในละอองหมอก มันช่างเป็นสถานที่ที่มีความลึกลับ หวาดสะพรึง ต้องเผชิญหน้ากับ(ความกลัวของ)ตนเอง ถึงสามารถค้นหาหนทางออก พบเจอเป้าหมายชีวิต, มาสเตอร์พีซแห่งวงการอนิเมชั่น และเป็นที่โปรดปรานของ Hayao Miyazaki

Midway upon the journey of our life
I found myself within a forest dark,
For the straightforward pathway had been lost.

Dante Alighieri (1265-1321) บทกวีจากวรรณกรรม Inferno, Canto I ส่วนหนึ่งของ Divine Comedy (1308-21)

มันไม่ใช่ว่าอนิเมชั่น Hedgehog in the Fog (1975) ได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมทัวร์นรกของ Dante แต่ย่อหน้าแรกอันเลื่องชื่อ โดยไม่รู้ตัวสอดคล้องกับการผจญภัยของเจ้าเม่นแคระ ซึ่งบางคนอาจตีความละอองหมอกไม่ต่างจากขุมนรก พบเจอสรรพสัตว์ชั่วร้าย ก่อนข้ามแม่น้ำ Styx ราวกับการถือกำเนิดชีวิตใหม่

เอาจริงๆผมไม่ค่อยแน่ใจว่าอนิเมชั่นเรื่องนี้เหมาะสำหรับเด็กไหม? เพราะการออกแบบตัวละครทำออกมาได้อัปลักษณ์พิศดาร บรรยากาศภายในละอองหมอก ช่างดูลึกลับ ชวนขนหัวลุก และเพลงประกอบช่วยเสริมความหลอกหลอน แต่โดยไม่รู้ตัวถ้าคุณสามารถเผชิญหน้าความกลัว เอาชนะตัวตนเอง (แบบเดียวกับเจ้าเม่นแคระ) อาจปรับเปลี่ยนแนวคิด ค้นพบเจอเป้าหมาย/ความหมายชีวิต

เมื่อตอนเจ้าเม่นแคระก้าวย่างเข้าไปในละอองหมอก ไม่ใช่แค่บรรยากาศหลอกหลอน ดูไปสักพักผมเริ่มเกิดความเอะใจ เห้ย! มันทำออกมาได้ยังไง? นี่ไม่ใช่อนิเมชั่นสามมิติ พึ่งพา CG (Computer Graphic) แต่เป็นเพียง Cut-Out Animation นำเอาวัตถุสองมิติมาประกอบร่างให้สามารถขยับเคลื่อนไหว แล้วความขมุกมัว เดี๋ยวเบลอเดี๋ยวชัด เดินเข้าเดินออก เลือนหายไปกับละอองหมอง ใช้เทคนิค ลูกเล่น วิธีการอันใด? ยิ่งรับชมยิ่งรู้สึกชื่นชอบ หลงใหล คลั่งไคล้ แฝงแนวคิดปรัชญาลุ่มลึกล้ำ ต้องยกย่องระดับมาสเตอร์พีซ หนึ่งในอนิเมชั่นยอดเยี่ยมที่สุดแห่งวงการภาพยนตร์

เกร็ด: Hedgehog in the Fog (1975) ได้รับการโหวตอันดับ #1 ในชาร์ท Top 150 Japanese and World Animation จัดอันดับโดยนักอนิเมเตอร์ & นักวิจารณ์จำนวน 140 คน ที่เข้าร่วมเทศกาลอนิเมชั่น Laputa Animation Festival เมื่อปี ค.ศ. 2003 (เทศกาลนี้ยกเลิกจัดงานตั้งแต่ปี 2011)


Yuri Borisovich Norstein, Ю́рий Бори́сович Норште́йн (เกิดปี 1941) ผู้กำกับ/นักอนิเมเตอร์ สัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Andreyevka, Penza Oblast ในครอบครัวเชื้อสาย Jews ระหว่างที่มารดาพร้อมพี่ๆกำลังอพยพหลบหนีสงคราม (ส่วนบิดาออกรบแนวหน้า) ภายหลังปักหลักอยู่ Maryina Roshcha, Moscow ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในงานศิลปะ โตขึ้นเคยทำงานช่างไม้ ณ โรงงานเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่ง ก่อนตัดสินใจเข้าเรียนคอร์สอนิเมชั่นของสตูดิโอ Soyuzmultfilm แล้วได้รับว่าจ้างงาน เริ่มจากทำอนิเมเตอร์ Who Said “Meow”? (1962), ร่วมกำกับอนิเมชั่นเรื่องแรก 25th October, the First Day (1968) เฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี October Revolution (1908)

สำหรับผลงานแจ้งเกิด The Battle of Kerzhenets (1971) ร่วมงานผกก. Ivan Ivanov-Vano เล่าเรื่องปรับปราในยุคกลาง (Middle Ages) กล่าวถึงตำนานเมือง Kitezh ที่สามารถจมลงใต้น้ำเพื่อหลบซ่อนจากการโจมตีของชาว Mongols (เมือง Kitezh ได้รับฉายา Russian Atlantis) แต่ไฮไลท์ของอนิเมชั่นคือการต่อสู้รบระหว่างกองทัพทั้งสอง โดยงานศิลป์นำแรงบันดาลใจจากภาพวาดศิลปะช่วงศตวรรษ 14th-16th ทำออกมาในลักษณะ Cut-Out Animation (หลายๆช็อตชวนให้ผมนึกถึงผลงานของ Andrei Rublev)

The Battle of Kerzhenets (1971): https://www.youtube.com/watch?v=fWKOvaDkxPc

ยังมีอีกสองผลงานของผกก. Norstein ที่อยากแนะนำให้รับชม The Fox and the Hare (1973) และ The Heron and the Crane (1974) เพื่อจักได้พบเห็นพัฒนาการ การสะสมประสบการณ์ สไตล์ลายเซ็นต์ ก่อนสรรค์สร้างสองผลงานโลกตะลึง Hedgehog in the Fog (1975) และ Tale of Tales (1979)

อนิเมชั่นทั้งสองเรื่องต่างดัดแปลงมาจากนิทานพื้นบ้านรัสเซีย (Russian Folk Tale) รวบรวมอยู่ในหนังสือ Explanatory Dictionary of the Living Great Russian Language (1863-) ของ Vladimir Dal (1801-72) นำเสนอความขัดแย้งระหว่างสองตัวละครตามชื่อ สุนัขจิ้งจอก vs. กระต่ายป่า, นกกระยาง vs. นกกระเรียน ที่จะแฝงสาระข้อคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน

The Fox and the Hare (1973): https://www.youtube.com/watch?v=9FUzM7KbPZg
The Heron and the Crane (1974): https://www.youtube.com/watch?v=BuobSn9jA5M

เมื่อปี ค.ศ. 1974, ระหว่างกำลังสรรค์สร้าง The Heron and the Crane (1974) ผกก. Norstein ได้รับการติดต่อจาก Sergei Grigorievich Kozlov, Сергей Григорьевич Козлов (1939-2010) นักกวี/นักเขียนเทพนิยายชื่อดัง ด้วยความชื่นชอบประทับใจผลงาน The Fox and the Hare (1973) จึงพยายามชักชวนให้เลือกดัดแปลงวรรณกรรมของตนเองเป็นอนิเมชั่น

หลังเสร็จสร้าง The Heron and the Crane (1974) ผกก. Norstein จึงทะยอยอ่านหนังสือของ Kozlov ก่อนตัดสินใจเลือก Ёжик в тумане อ่านว่า Yózhik v tumáne แปลตรงตัว Hedgehog in the Fog เล่าเหตุผลระหว่างการอ่าน บังเกิดภาพจินตนาการ พบเห็นสไตล์อนิเมชั่นที่อยากสรรค์สร้าง (หนังสือของ Kozlov มีเพียงตัวหนังสือ ไร้ซึ่งภาพวาดประกอบ)

I just felt the fairy tale spatially… As if somewhere far away, behind the thin amalgam of the screen there is a sphere from where the sound comes here and turns into an image.

Yuri Norstein

บทอนิเมชั่นที่ผกก. Norstein พัฒนาขึ้นกับ Kozlov มีการปรับแก้ไขจนแตกต่างจากต้นฉบับโดยสิ้นเชิง! จากเคยเต็มไปด้วยข้อความบรรยายยาวๆ (Literary Script) หลงเหลือเพียงคำอธิบายสั้นๆในลักษณะ ‘Impressionist’ จำพวกรายละเอียด องค์ประกอบ ภาพร่างตัวละคร ยกตัวอย่างข้อความที่ใช้ “logs overgrown with velvety mold”, “the rustle of falling earth”, “dry autumn leaf”, “hot mouth of a dog” ฯ

บทอนิเมชั่นที่แทบไม่มีรายละเอียดใดๆ เมื่อยื่นเสนอผ่านกองเซนเซอร์ Goskino ได้รับความเห็น ‘boring story’ และถูกตั้งคำถามว่าต้องการทำอะไร? คำตอบของผกก. Norstein อ้างอิงบทกวีจากวรรณกรรม Dante: Divine Comedy

Midway upon the journey of our life
I found myself within a forest dark,
For the straightforward pathway had been lost.

Dante Alighieri (1265-1321) บทกวีจากวรรณกรรม Inferno, Canto I ส่วนหนึ่งของ Divine Comedy (1308-21)

เจ้าเม่นน้อย (Hedgehog) ทุกค่ำคืนจะออกเดินทางไปเยี่ยมเยียนลูกหมีขี้บ่น (Bear-Cub) นั่งบนขอนไม้ พูดคุย จิบชา นับดวงดาวบนท้องฟ้า

ค่ำคืนหนึ่งเจ้าเม่นน้อยได้นำเอาแยมราสเบอรี่ติดตัวไปด้วย โดยไม่รู้ตัวนกเค้าอินทรียูเรเซีย (Eagle-Owl) แอบย่องติดตามด้วยสายตาอันชั่วร้าย จนกระทั่งมาถึงบริเวณละอองหมอก มองอะไรแทบไม่เห็น พลัดหลงออกจากเส้นทาง แต่ลิบๆนั่นมีม้าสีขาว เงาช้างตัวใหญ่ ค้างคาวโบยบิน หอยทางคลานจากใบไม้ ฯ พยายามตะโกนโหวกเหวกถามทาง จนกระทั่งพลัดตกลงแม่น้ำ ได้รับความช่วยเหลือจากปลาใหญ่ และในที่สุดก็มาถึงบ้านลูกหมี นั่งจิบชา ทานแยมราสเบอรี่ อดไม่ได้ครุ่นคิดถึงการผจญภัยพานผ่านมา


ผกก. Norstein มีความหลงใหลในงานศิลปะอย่างมากๆ งานออกแบบของ Hedgehog in the Fog (1975) รับอิทธิพลจากผลงานจิตรกรเลื่องชื่อมากมาย อาทิ Van Gogh, Rembrandt, Picasso, Georges Braque, Paul Klee, Hieronymus Bosch, ฟากฝั่งเอเชียก็อย่าง Katsushika Hokusai, Hasegawa Tōhaku, Guo Xi, Ma Yuan, Zhu Da ฯ

เจ้าเม่นน้อย (Hedgehog) นักวิจารณ์ให้ข้อสังเกตว่าอาจมีต้นแบบจากนักเขียน Lyudmila Petrushevskaya แต่ผกก. Norstein ยืนกรานว่าเธอไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยเลย (เป็นการเชื่อมโยงมั่วซั่วสุดๆ) แล้วอธิบายถึงความพยายามร่างแบบกว่าร้อยภาพ ซึ่งต้องแยกชิ้นส่วน องค์ประกอบ สำหรับทำเป็น Cut-Out Animation แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้แบบอย่างที่ต้องการ จนกระทั่งศรีภรรยา Francesca Yarbusova เข้ามาปรับแต่งเล็กๆน้อย นำแรงบันดาลใจจากภาพวาด The Zvenigorod Saviour (1410) ของ Andrei Rublev (1360-1430) จิตรกรเอกชาวรัสเซียแห่งยุคกลาง (Medieval Art)

เกร็ด: นอกจาก The Zvenigorod Saviour (1410) อีกสองภาพขวามือคือผลงานของ Paul Klee (1879-1940) จิตกรสัญชาติ Swiss-German มีชื่อเสียงจากผลงาน Expressionism, Cubism และ Surrealism ภาพแรกคือ Little Jester in a Trance (1929) และภาพสอง The Clown (1929) ต่างก็ให้ความรู้สึกเหมือนเจ้าเม่นน้อย รวมถึงบรรดาตัวละครหน้าขนทั้งหลาย

แวบแรกผมครุ่นคิดว่านกฮูก แต่แท้จริงแล้วมันคือนกเค้าอินทรียูเรเซีย (Eurasian Eagle-Owl) หรือนกเค้าแมวอินทรีสายพันธุ์ยูเรเซีย อาศัยอยู่ในพื้นที่ของทวีป Eurasia (Europe + Asia) เป็นนักล่าขนาดใหญ่ที่สุดและแข็งแรงที่สุด ความยาวของลำตัวอยู่ที่ 61-91 เซนติเมตร หนักประมาณ 2.2-3.6 กิโลกรัม

ท่าทางของเจ้านกเค้าอินทรียูเรเซีย ดูมีความสนอกสนใจในเจ้าเม่นน้อย แอบย่องติดตามหลัง ท่าทางยื้อๆยักๆ ทำไม่รู้ไม่ชี้ บอกไม่ได้ว่ามาดีหรือร้าย เหมือนเฝ้ารอคอยเวลา หาจังหวะสบโอกาส แต่ระหว่างเดินผ่านแอ่งน้ำและบ่อน้ำ พบเห็นภาพสะท้อน(ในแอ่งน้ำ)และเสียงสะท้อน(ในบ่อน้ำ) โดยไม่รู้ตัวดึงดูดความสนใจไปจากเจ้าเม่นน้อย

The owl is the same as the hedgehog, only in reverse. It is just as simple-mined, only bad.

Yuri Norstein

เกร็ด: บ่อน้ำอีกแล้วหรือนี่?? เป็นการอ้างอิงถึงภาพยนตร์ Ivan’s Childhood (1962) ของผกก. Andrei Tarkovsky

ยังมีสัตว์หน้าขนอีกตัวหนึ่งที่หลายคนอาจไม่ได้สนใจสักเท่าไหร่ มันคือเจ้า Cocker Spaniel สุนัขพันธุ์ขนาดกลาง มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสเปน (Spain) จัดเป็นสุนัขนักล่า มีความคล่องแคล่วในการล่านก Woodcock นิสัยอ่อนโยน ขี้เล่น ชอบกระโดดโลดเต้น เต็มไปด้วยความกระตือรือล้น สามารถเข้ากับคนอื่นได้ดี แถมอายุยืนยาวนานอีกต่างหาก

ผมติดใจตรงคีย์เวิร์ด ‘สุนัขนักล่า’ คล้ายๆกับเจ้านกเค้าอินทรียูเรเซีย ท่าอ้าปากหาวช่างดูน่าหวาดสะพรึง แต่มันกลับแสดงความเป็นมิตรกับเจ้าเม่นน้อย ขี้เล่นซุกซน แถมยังช่วยติดตามหาถุงผ้าใส่แยมราสเบอรี่ แล้วนำมาส่งมอบคืนให้ อัธยาศัยดีงามอย่างคาดไม่ถึง! … ถือได้ว่าเป็นตัวละครสะท้อนเจ้านกเค้าอินทรียูเรเซีย นักล่าเหมือนกันแต่อุปนิสัยแตกต่างตรงกันข้าม

ยังมีสามสิ่งมีชีวิตลึกลับที่ไม่ใช่สัตว์หน้าขน ในมุมมองเจ้าเม่นน้อย พวกมันช่างมีความสง่างาม น่าเกรงขาม สร้างความลุ่มหลงใหล เหนือจินตนาการเกินกว่าเข้าใจ (แต่ผู้ชมสามารถรับรู้ได้ว่ามันคืออะไร)

  • ม้าขาว แม้ท่ามกลางละอองหมอก ยังพอมองเห็นรูปร่างหน้าตา สร้างความลุ่มหลงใหล กลายเป็นภาพจดจำฝังใจเจ้าเม่นน้อย ช่างมีความงดงาม ‘unearthly beauty’ ถึงขนาดเก็บนำไปครุ่นคิดจินตนาการ
    • นอกจากอ้างอิงถึงผลงานผกก. Tarkovsky, ในปรัมปรา West Slavic มีความเชื่อว่าม้าขาวทำหน้าที่นำทางจิตวิญญาณสู่โลกหลังความตาย
  • ช้างยักษ์ เป็นสัตว์ที่มีขนาดตัวใหญ่มหึมายิ่งกว่าม้าขาว จึงพบเห็นเพียงเค้าโครงอันเลือนลาง ในมุมของเจ้าเม่นตัวกระจิดริด ย่อมไม่สามารถครุ่นคิดจินตนาการ เหนือเกินกว่าตนเองจะรับรู้เข้าใจ
  • ปลาในแม่น้ำ นี่ก็เป็นสัตว์อีกชนิดที่เจ้าเม่นน้อยมองไม่เห็น (เพราะมันอยู่ในน้ำ) ไม่สามารถครุ่นคิดจินตนาการ (ผู้ชมก็มองแทบไม่เห็นรูปร่างหน้าตา) ได้ยินเพียงเสียงพูดคุยสื่อสาร โดยไม่รู้ตัวบังเกิดความสัมพันธ์ แถมอีกฝ่ายยังให้ความช่วยเหลือพาขึ้นฝั่ง
    • เอ็ฟเฟ็กของน้ำ เห็นว่าใช้น้ำจริงๆ เพราะมันยังไม่มีเทคนิคที่จะออกมาให้ดูสมจริงขนาดนั้น

สัตว์ทั้งสามชนิดคือตัวแทนสิ่งที่เจ้าเม่นน้อยไม่สามารถรับรู้เข้าใจ (ระดับมหภาค) เกินกว่าขอบเขตศักยภาพตนเองจะมองเห็น คล้ายๆจิตวิญญาณ เทพยดา พระเป็นเจ้า ฯ ต่างเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติ เกินกว่ามนุษย์จักครุ่นคิดจินตนาการ

ตรงกันข้ามกับสามสิ่งมีชีวิตขนาดมหึมา หอยทาก ค้างคาว หิ่งห้อย ต่างมีขนาดตัวเล็กกว่าเจ้าเม่นน้อย แต่เต็มไปด้วยความลึกลับ น่าหวาดสะพรึง พิศวงสงสัยไม่แตกต่างกัน

  • การปลิดปลิวของใบไม้ ทำให้เจ้าเม่นน้อยถึงขนาดปิดตา ตัวสั่น ไม่เข้าใจว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่พอพบเห็นหอยทากค่อยๆคลืบคลานจากไป เพราะขนาดตัวเล็กกว่า ไร้พิษภัย จึงคลายอาการหวาดกังวล … สัญลักษณ์ของความกลัวก็ได้กระมัง
  • ค้างคาวคือสัตว์ปีก ขนาดตัวเล็กกว่าเจ้าเม่นน้อย แต่จู่ๆก็บินโฉบเข้ามา แม้ไม่เป็นอันตรายสักเท่าไหร่ กลับสร้างความรู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ ทำไมต้องก่อกวนฉันด้วย
  • หิ่งห้อย (จะรวมถึงแมลงเม่าช่วงท้ายเรื่องด้วยก็ได้) คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋ว ไม่ได้มีอันตราย หรือเข้ามาก่อนกวนใจ แต่ด้วยลักษณะเหมือนดวงไฟ สร้างความพิศวง ลุ่มหลงใหล มองตามจนกระทั่งสูญหายไป

เฉกเช่นเดียวกับสามสัตว์ขนาดใหญ่มหึมา สามสัตว์ขนาดเล็กจิ๋ว ตัวแทนของสิ่งที่เจ้าเม่นน้อยไม่สามารถรับรู้เข้าใจ (ระดับจุลภาค) แต่สามารถมองเห็น จับต้องได้ ไร้พิษภัย แต่ก็เกินกว่าขอบเขตศักยภาพตนเองจะทำความเข้าใจ

แซว: หลังเสร็จจาก Tale of Tales (1979) ผกก. Norstein สรรค์สร้างโปรเจคเรื่องใหม่ The Overcoat แต่ด้วยความโหยหาความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) ทำงานเชื่องช้าจนถูกไล่ออกจากสตูดิโอ Soyuzmultfilm เลยต้องเก็บหอมรอมริด ใช้ทุนส่วนตัว ปัจจุบัน ค.ศ. 2023 ก็ยังสร้างไม่เสร็จ (แต่น่าจะใกล้แล้วละ) จนได้รับฉายา The Golden Snail

สุดท้ายกับตัวละครลูกหมีขี้บ่น (ตรงกันข้ามกับเจ้าเม่นน้อยที่แทบไม่ได้ปริปากอันใด) มาถึงก็เอาแต่พร่ำพูดเพ้อเจ้อ ฟังไม่ได้สดับ ผมเองขณะนั้นก็ไม่ได้ตั้งใจฟัง สภาพไม่ต่างจากเจ้าเม่นน้อย ดวงตาพองโต เหม่อล่องลอย จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เพราะยังคงครุ่นคิดทบทวนสิ่งต่างๆ พร่ำเพ้อจินตนาการถึงม้าขาว ช่างมีความงดงาม น่ามหัศจรรย์ใจยิ่งนัก

วันก่อนผมนั่งไล่ชม Golden Collection ของ Soyuzmultfilm แล้วยังติดตากับ Winnie-the-Pooh (1969) ฉบับรัสเซียที่ออกแบบเจ้าหมีอ้วน Winnie Pooh ได้น่ารักน่าชัง น่าจดจำกว่าฉบับของ Walt Disney ชวนให้นึกถึงลูกหมีตัวนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว

Winnie-the-Pooh (1969): https://www.youtube.com/watch?v=ApfKv8Kx4oI

ในส่วนของภาพพื้นหลัง ผกก. Norstein รับอิทธิพลมาจากภูมิทัศน์จีน (Chinese Art) ผลงานศิลปะของ Guo Xi (1020-90), Ma Yuan (1160/65-1225), Zhu Da (1626–1705) ซึ่งมีความโดดเด่นในลวดลายเส้น ต้นไม้ ลำธาร ขุนเขา ดูราวกับมีชีวิต และมักมีพื้นที่ว่างสำหรับเติมเต็มจินตนาการ

The Eastern principle of painting differs in that it reveals a lot of empty space-unpainted and unfilled fragments-while Western paintings are completely covered in paint and detail. Thus, the contemplator is invited to think of emptiness.

Yuri Norstein

ภาพวาดที่ผมนำมาประกอบด้วย

  • Guo Xi: Early Spring (1072)
  • Ma Yuan: Dancing and Singing (Peasants Returning from Work) (1160-1225)
  • Ma Yuan: Walking on a Mountain Path in Spring

ในส่วนของละอองหมอก นำแรงบันดาลใจจากภาพวาด 松林図 (1595), อ่านว่า Shōrin-zu byōbu, แปลว่า Pine trees [สังเกตตัวอักษรญี่ปุ่น 林 มีลักษณะเหมือนต้นไม้] ผลงานของ Hasegawa Tōhaku (1539-1610) จิตรกรชาวญี่ปุ่น สองภาพนี้ถือเป็นทรัพย์สมบัติแห่งชาติ (National Treasure)

แต่ต้นไม้สูงใหญ่ (World Tree) ที่พบเห็นในอนิเมชั่น เห็นว่าผกก. Norstein นำแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Solaris (1972) ของผกก. Andrei Tarkovsky จะว่าไปตัวละครของ Donatas Banionis ก็เคยออกเดินเล่นในสวน ท่ามกลางหมอกควัน พานผ่านต้นไม้ใหญ่ (สัญลักษณ์ของธรรมชาติ องค์ความรู้ ศูนย์กลางสรรพชีวิต) ทำกระเป๋าหล่นหาย พบเห็นม้าขาว และไปสิ้นสุด ณ หนองน้ำ … เหมือนเป๊ะเลยนะเนี่ย!

ถ่ายภาพโดย Aleksandr Borisovich Zhukovskiy, Александр Борисович Жуко́вский (1933-99) ตากล้องสัญชาติรัสเซีย โตขึ้นร่ำเรียนศิลปะยัง Moscow Theater and Art School ตามด้วยสาขาการถ่ายภาพ All-Union State Institute of Cinematography (VGIK) จบออกมาทำงาน Make-Up Artist ที่สตูดิโอ Mosfilm ก่อนย้ายมาเป็นผู้ช่วยตากล้อง Soyuzmultfilm Studio เคยทำงาน Tsentrnauchfilm Studio ถ่ายทำสารคดี หนังสั้น ก่อนหวนกลับมา Soyuzmultfilm ร่วมงานผกก. Yuri Norshtein ตั้งแต่ The Heron and the Crane (1974), Hedgehog in the Fog (1975) ฯ

แม้ว่า Zhukovskiy จะพอมีประสบการณ์ถ่ายทำอนิเมชั่นมาบ้าง แต่การร่วมงานผกก. Norshtein พวกเขาจำเป็นต้องครุ่นคิดหาวิธีการถ่ายทำรูปแบบใหม่! ทำการก่อสร้างคานไม้ ติดตั้งกล้องไว้เบื้องบน แสงไฟอยู่ด้านข้าง เพื่อให้นักอนิเมเตอร์สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เพียงแค่วางโมเดลกระดาษ Cut-Out Animation ลงบนโต๊ะเท่านั้น! ดูตามภาพร่างเอาเองแล้วกันนะครับ

He was more than a cinematographer, more than a cameraman. He humanized space. I can’t say “he filmed.” No. He influenced the camera with his whole being, with his whole composition on the light, on the film, on the drawing. He spiritualized ordinary glass, ordinary celluloid. For him, there was no difference between a huge pavilion and a cartoon machine.

Yuri Norshtein

สิ่งที่ถือว่าคือความยิ่งใหญ่ เปิดโลกทัศน์ใบให้ให้กับผู้ชม ก็คือลูกเล่นละอองหมอก ‘fog effect’ ซึ่งช่วยสร้างมิติ ความตื้น-ลึกให้กับอนิเมชั่นได้อย่างน่ามหัศจรรย์! ซึ่งวิธีการที่ตากล้อง Zhukovskiy และผกก. Norstein ครุ่นคิดขึ้นมานั้น ไม่ได้มีความสลับซับซ้อนอะไร เพียงใช้กระดาษฝ้าบางๆ วางซ้อนเบื้องหน้า-หลังชิ้นส่วนนั้นๆ (ที่จะให้เบลอหรือชัด)

ถ้าจะอธิบายโดยละเอียด ควรต้องทำความเข้าใจ Cut-Out Animation คือการวาดภาพลงบนกระดาษ(แข็ง) ตัดแปะชิ้นส่วนต่างๆ แขน-ขา ใบหน้า ริมฝีปาก สำหรับใช้ในการขยับเคลื่อนไหว (แบบเดียวกับหนังตะลุง หุ่นเชิดเงา ฯ) แต่แทนที่เราจะเชื่อมโยงอวัยวะต่างๆเข้าด้วยกัน ก็นำกระดาษฝ้ามาวางซ้อนทับ คั่นระหว่างลำตัว-แขนขา ทำให้บางส่วนเบลอ บางส่วนคมชัด เกิดความตื้นลึกหนาบาง

คลิป Masterclass สอนวิธีทำอนิเมชั่นของ Yuri Norstein: https://www.youtube.com/watch?v=yYmN-3jmzxI

I put the hedgehog character on a white background and covered it on top with a thin sheet of thin tracing paper – but very thin, so thin that when you put it close to the hedgehog – you can’t see that the hedgehog is behind this thin sphere. And then I started to lift this sheet, and the hedgehog suddenly blurred and disappeared in the fog, and the projection was going on the screen.

แกะจากคำอธิบายของ Yuri Norstein

ปล. ฟากฝั่ง Walt Disney มีการประดิษฐ์สร้างอุปกรณ์ด้วยแนวคิดคล้ายๆเดียวกันนี้ชื่อว่า Multiplane Camera แต่จะแบ่งแยกชั้นด้วยกระจกใส มีกลไกขยับขึ้นลง กล้องเลื่อนซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ไม่ต้องปีนป่ายขึ้นไปด้านบน, อุปกรณ์จากฟากฝั่งสหภาพโซเวียตนี้ แทบจะเรียกได้ว่า ‘Home Made’ ทำจากวัสดุบ้านๆ ไม่ได้มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน ผลลัพท์ขึ้นอยู่กับศิลปินสรรค์สร้างผลงาน

สิ่งที่น่าจะมีความยุ่งยาก ท้าทาย สลับซับซ้อนที่สุดของอนิเมชั่น ก็คือการถ่ายทำต้นไม้ใหญ่ (World Tree) ไม่ใช่แค่แบ่งแยกรายละเอียดออกเป็นชั้นๆ (มากสุดที่ 4 เลเยอร์) เพื่อให้เกิดมิติละอองหมอก แต่ยังลีลาถ่ายทำเคลื่อนเลื่อนจากเปลือกไม้ เงยหน้าขึ้นเห็นลำต้น กิ่งก้าน ต้นสูงใหญ่ (แถมกล้องยังมีการหมุนวนรอบเล็กๆอีกต่างหาก) สร้างความตื่นตา มหัศจรรย์ใจ

To shoot the tree, it was divided into several parts. From a certain position, the camera shot glass tiers on which the trunk and branches were drawn. In order to get the effect of a rotating tree, it was necessary to rotate the glass with the branches, while the flat trunk remained stationary. It was important not to touch the glasses, because the best filter is the natural layer of dust.

Yuri Norstein

ตัดต่อโดย Nadezhda Trescheva (เกิดปี 1936) ทำงานในสังกัดสตูดิโอ Soyuzmultfilm Studio ร่วมงานขาประจำผกก. Yuri Norstein ตั้งแต่ The Fox and the Hare (1973), The Heron and the Crane (1974), Hedgehog in the Fog (1975) และ Tale of Tales (1979)

แม้อนิเมชั่นจะมีความแค่สิบกว่านาที แต่ก็เต็มไปด้วยรายละเอียดการผจญภัย ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองเจ้าเม่นน้อย (Hedgehog) ยามค่ำคืนออกเดินทางไปเยี่ยมเยียนลูกหมี (Bear-Cub) แต่วันนี้ต้องพานผ่านละอองหมอก สถานที่แห่งความลึกลับ พิศวง จดจำไปจนวันตาย

  • อารัมบท, เจ้าเม่นน้อยก้าวออกเดินทาง แอบติดตามด้วยนกเค้าอินทรียูเรเซีย ก็ไม่รู้มาดีหรือมาร้าย
  • หลงทางในละอองหมอก
    • ก่อนก้าวเข้าสู่ละอองหมอก พบเห็นม้าขาวตัวใหญ่ บังเกิดความลุ่มหลงใหล
    • พอเข้าสู่ละอองหมอกไม่นาน เจ้าเม่นน้อยก็พลัดหลงทาง เกิดอาการหวาดสะพรึงกลัวใบไม้ร่วงหล่น ก่อนพบเห็นหอยทากคืบคลานจากไป
    • พบเห็นเงาเลือนลางของช้าง ม้าขาวยื่นหน้าเข้าหา ค้างคาวบินมาก่อกวน นกเค้าอินทรียูเรเซียก็เช่นเดียวกัน
    • คลำทางไปจนถึงต้นไม้ใหญ่ แล้วตระหนักว่าทำถุงผ้าใส่แยมราสเบอรี่หล่นหาย
    • พยายามคลำทางออกติดตามหา ได้หิ่งห้อยช่วยนำทาง แต่ไม่นานทุกสิ่งอย่างก็ปกคลุมด้วยความมืดมิด
    • สารพัดสิ่งลี้ลับในเงามืด ร้อยเรียงมาสร้างความหวาดกลัวให้เจ้าเม่นน้อย
    • ก่อนได้รับความช่วยเหลือจากสุนัข Cocker Spaniel ทั้งยังนำถุงผ้าใส่แยมราสเบอรี่มามอบคืนให้
    • พลัดตกลงแม่น้ำ ได้รับความช่วยเหลือจากปลาใหญ่ จนสามารถไปถึงฟากฝั่งฝัน
  • ปัจฉิมบท, เดินทางมาถึงบ้านลูกหมี นั่งลงบนขอนไม้ จิบชา ทานแยมราสเบอรี่ เหม่อมองท้องฟ้า จินตนาการถึงม้าขาวที่ได้พบเจอ

ช่วงท้ายของอนิเมชั่นจะมีช็อตน่าพิศวงอยู่ครั้งหนึ่ง ตำแหน่งของเจ้าเม่นน้อยและลูกหมี จู่ๆพวกเขาสลับที่นั่งกัน นั่นเป็นความจงใจของผกก. Norstein ให้เหตุผล “not to break the plasticity of the still frame” แต่บรรดาผู้ชม/นักวิจารณ์กลับมองเป็นความผิดพลาด เรียกการกระทำดังกล่าว ‘unprofessionalism’

เพลงประกอบโดย Mikhail Alexandrovich Meyerovich, Михаи́л Алекса́ндрович Мееро́вич (1920-93) คีตกวีสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Kyiv ก่อนย้ายติดตามครอบครัวมายัง Moscow โตขึ้นเข้าศึกษายัง Moscow Conservatory ร่ำเรียนเปียโนและแต่งเพลง จบออกมาสอนดนตรีอยู่สามปี จากนั้นเริ่มแต่งเพลงซิมโฟนี ออร์เคสตรา โซนาตา อุปรากร บัลเล่ต์ เพลงประกอบภาพยนตร์ อนิเมชั่น ร่วมงานขาประจำผกก. Yuri Norstein ตั้งแต่ The Fox and the Hare (1973), The Heron and the Crane (1974), Hedgehog in the Fog (1975) และ Tale of Tales (1979)

Meyerovich ใช้เวลาถึงสองเดือนในการทำเพลงประกอบความยาวแค่ 6 นาที! นั่นเพราะในช่วงแรกๆพวกเขามีความขัดแย้ง ไม่เข้าใจกันบ่อยครั้ง จนกระทั่งผกก. Norstein ตัดสินใจนำเอาภาพร่าง Storyboard มาใช้ประกอบคำอธิบายถึงลักษณะบทเพลงที่ต้องการ

You see, I brought you a sketch so that you understand the tonality of the music. Because it’s not just about the melody, but also about the tonality seeping through the image, dissolving into it.

Yuri Norstein

อีกสิ่งหนึ่งที่ผกก. Norstein พูดคุยกับ Meyerovich คือการนำแรงบันดาลใจจากภาพวาดศิลปะ เพื่อนำมาสร้างสัมผัสบรรยากาศให้กับอนิเมชั่น

I told Meerovich about such things, showed the texture, Paul Klee’s fine amalgam, drew the plastic: here the sound seems to be gathered in one point, piercing the screen, and here it moves across the entire space of the screen and, overlapping it, then slides away, revealing something else. Suddenly something appears out of the fog and touches the Hedgehog – the sound and graphic touch coincide.

งานเพลงของ Meyerovich เต็มไปด้วยรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ยิบย่อยเต็มไปหมด พยายามทำออกมาให้มีความสอดคล้องเหตุการณ์ต่างๆ แทบจะ ‘frame-by-frame’ จริงๆแล้วนี่ลักษณะของ ‘Silly Symphonies’ พยายามทำให้เสียงสอดคล้องกับภาพอนิเมชั่น ความแตกต่างของ Hedgehog in the Fog (1975) ไม่ได้มุ่งเน้นความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งเน้นสร้างบรรยากาศ ถ่ายทอดปฏิกิริยาอารมณ์ กระตุ้นความรู้สึกภายใน หวาดกลัว (Fear) หลอกหลอน (Horror) ใคร่ฉงนสงสัย (Curiosity)

เจ้าเม่นน้อย ก้าวย่างเข้าไปในละอองหมอก พลัดหลงออกจากเส้นทาง เผชิญหน้าสิ่งต่างๆที่ตนเองไม่สามารถทำความเข้าใจ บังเกิดความหวาดระแวง สั่นสะพรึงกลัว อีกทั้งยังทำถุงผ้าใส่แยมราสเบอรี่หล่นหลาย แต่โชคดีได้รับความช่วยเหลือจากสรรพสัตว์แปลกหน้า จนสามารถเอาตัวรอด พบเจอหนทางออก ในที่สุดก็มาถึงบ้านลูกหมีอย่างปลอดภัย

Every day, the Hedgehog goes to the Bear Cub, but once, he walks in through the fog and comes out of it a different person. This is a story about how, under the influence of some circumstances which we are totally unaware of, our habitual state can suddenly turn into a catastrophe

Yuri Norstein

ละอองหมอก (Fog) มีความฝ้าฟาง ขุ่นมัว มองเข้าไปไม่เห็นอะไร เพียงภาพเลือนลาง เจือจาง สัญลักษณ์ของความไม่รู้เดียงสา ไม่สามารถทำความเข้าใจ สถานที่เต็มไปด้วยความลึกลับ พิศวง เหนือธรรมชาติ ราวกับโลกอีกใบ (otherworld) เกินกว่าสิ่งที่(มนุษย์)จะครุ่นคิดจินตนาการ

ในบริบทของอนิเมชั่น ผู้ชมย่อมรับรู้จักทุกสรรพสัตว์ที่ปรากฎเข้ามา แต่ให้ลองสมมติตัวเองคือเจ้าเม่นน้อย ตัวกระเปี๊ยก ละอ่อนวัย ไร้เดียงสา ตั้งแต่แรกพบเจอนกเค้าอินทรียูเรเซีย ตามด้วยม้าขาว ช้างใหญ่ หอยทาก ค้างคาว สุนัข ปลาในแม่น้ำ ฯ สัตว์ต่างสายพันธุ์ ต่างสปีชีย์ ขนาดเล็ก-ใหญ่ อาศัยอยู่บนบก-ใต้น้ำ-โบยบินบนท้องฟ้า ต่างไม่สามารถเรียนรู้จัก ทำความเข้าใจกันและกัน

ซึ่งเมื่อเราย้อนกลับมามองในมุมของมนุษย์ ยังมีอีกหลายสิ่งมากมายบนโลกใบนี้ หรือระดับสากลจักรวาล ที่ยังไม่สามารถรับรู้ ทำความเข้าใจ เกินกว่าจะครุ่นคิดจินตนาการ แต่ผู้คนสมัยนี้กลับเพิกเฉย ปล่อยปละละเลย ทำตัวเองเหมือนผู้ยิ่งใหญ่ สูงส่งกว่าใคร ทั้งๆที่มนุษย์เป็นแค่เพียงแค่สิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ตายไปก็กลายเป็นเถ้าทุลี ค่อยๆเลือนหายตามกาลเวลา

สิ่งที่จะทำให้เจ้าเม่นน้อย (รวมถึงมนุษย์) สามารถเอาตัวรอดในละอองหมอก (จักรวาลกว้างใหญ่) คือแสงสว่างจากหิ่งห้อย (เปรียบดั่งแสงเทียนในโบสถ์) นำทางพบเจอกับสุนัข Cocker Spaniel (สัตว์ผู้พิทักษ์) แล้วได้รับความช่วยเหลือจากปลาในแม่น้ำ (พระผู้มาไถ่) ให้ราวกับกำเนิด เกิดใหม่ (Baptist) ไปถึงฟากฝั่งฝัน ดินแดนบนสรวงสวรรค์ เป้าหมายปลายทางตามความเชื่อชาวคริสเตียน

มุมมองเด็กๆเกี่ยวกับอนิเมชั่นเรื่องนี้ คงเป็นการเผชิญหน้าความหวาดกลัว พบเจอสิ่งอาจยังไม่เคยรู้จัก เรียนรู้ที่จะเอาชนะใจตนเอง (เอาชนะความหวาดกลัว) ก้าวดำเนินชีวิตด้วยความมุ่งมั่น จิตวิญญาณอันเข้มแข็ง แล้วเราจักได้รับความรัก ความเอ็นดู จนสามารถดำเนินสู่เป้าหมายปลายทาง อิ่มอร่อยกับความสำเร็จ

หลายคนอาจมีความฉงนสงสัย เรื่องราวของ Hedgehog in the Fog (1975) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง เป็นส่วนตัวผกก. Norstein เฉกเช่นไร? การผจญภัยของเจ้าเม่นน้อย เผชิญหน้ากับสิ่งไม่รู้ ทำให้เกิดความหวาดระแวง สั่นสะพรึงกลัว สามารถสะท้อนประสบการณ์วัยเด็ก ภาพติดตาจากสงครามโลกครั้งที่สอง มารดาต้องพาลูกๆอพยพหลบหนี หาหนทางเอาตัวรอด ไม่มีใครรับรู้พรุ่งนี้จะเป็นเช่นไร จะมีโอกาสพบเจอกับใคร ภายภาคหน้าช่างเต็มไปด้วยหมอกควัน มองไม่พบเห็นอะไรสักสิ่งอย่าง

I love films where there are no spectacular stories, where the idea itself is prosaic, but under the director’s thought it takes on a global character. Then we get what is called a work of art.

Yuri Norstein

ตั้งแต่ตอนยื่นเสนอโปรเจค กองเซนเซอร์ Goskino ไม่ได้มีความเชื่อมั่นว่าอนิเมชั่นเรื่องนี้จะประสบความสำเร็จ หลังสร้างเสร็จจึงนำออกฉายแค่เพียงโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กๆ Rossiya Cinema ณ กรุง Moscow โดยไม่รู้ตัวผู้ชมต่อคิวซื้อตั๋ว เต็มทุกรอบยาวนานนับปี แถมเดินทางไปกวาดรางวัลตามเทศกาลหนัง/อนิเมชั่นมากมาย จนสุดท้ายทางการสหภาพโซเวียตต้องมอบรางวัล State Prize of the USSR เมื่อปี ค.ศ. 1979

เกร็ด: ในพิธิเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคฤดูหนาว Sochi 2014 มีการกล่าวถึงบุคคล ภาพยนตร์ บทเพลง ฯ สิ่งที่ถือเป็นลายเซ็นต์/ความสำเร็จของรัสเซีย หนึ่งในนั้นก็คืออนิเมชั่น Hedgehog in the Fog (1975)

สแตมป์ Hedgehog in the Fog จัดทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988

เมื่อปี ค.ศ. 2020, สตูดิโอ Soyuzmultfilm ได้ทำการรวบรวมอนิเมชั่นในสังกัดระหว่างทศวรรษ 1950s ถึง 80s มาทำการบูรณะ สแกนดิจิตอล (คุณภาพ HD) ปรับแต่งคุณภาพสี และเพลงประกอบ มีคำเรียก Golden Collection ทั้งหมดสามารถหารับชมออนไลน์ได้ทาง Youtube บางเรื่องคุณภาพ 4K ด้วยนะครับ

ส่วนตัวมีความหลงใหล คลั่งไคล้ รู้สึกอึ่งทึ่งในความมหัศจรรย์ของ Hedgehog in the Fog (1975) คาดไม่ถึงว่ายังสามารถค้นพบภาพยนตร์/อนิเมชั่นที่สามารถเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ เหนือจินตนาการ เกินกว่าจะหาถ้อยคำมาบรรยาย แถมเรื่องราวยังสามารถครุ่นคิดต่อยอดไม่รู้จุดจบสิ้น

จัดเรต pg กับบรรยากาศทะมึน อึมครึม เด็กเล็กอาจเกิดความหวาดสะพรึงกลัว

คำโปรย | Hedgehog in the Fog อนิเมชั่นมาสเตอร์พีซที่มีความลึกลับ หวาดสะพรึง หลงทางในละอองหมอก แต่ต้องเผชิญหน้ากับ(ความกลัวของ)ตนเอง ถึงสามารถค้นหาหนทางออก พบเจอเป้าหมายชีวิต
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | มหัศจรรย์

Snezhnaya Koroleva (1957)


The Snow Queen (1957) USSR : Lev Atamanov ♥♥♥♥

ครั้งแรกของการดัดแปลงเทพนิยาย The Snow Queen (1844) ประพันธ์โดย Hans Christian Andersen สู่ภาพยนตร์อนิเมชั่น (Traditional Animation) ผลงานที่จักกลายเป็นแรงบันดาลใจ Hayao Miyazaki บังเกิดความมุ่งมั่น อยากสรรค์สร้างอนิเมะอย่างจริงจัง!

The Snow Queen is my destiny and my favorite film.

I started working as a new animator for Toei Animation in 1963, but I frankly didn’t enjoy my job at all. I felt ill at ease every day – I couldn’t understand the works we were producing, or even the proposals we were working on … Had I not one day seen Snedronningen (The Snow Queen) during a film screening hosted by the company labor union, I honestly doubt that I would have continued working as an animator.

Hayao Miyazaki

เกร็ด: ในพิพิธภัณฑ์ Ghibli Museum Library ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 มีการจัดเก็บฟีล์ม The Snow Queen (1957) พร้อมเขียนข้อความอธิบายไว้ว่า “It is not an exaggeration to say that the starting point of Hayao Miyazaki is here.”

ผมตั้งใจรับชม The Snow Queen (1957) ด้วยความคาดหวังพอสมควร พบเห็นอนิเมชั่นมีความลื่นไหลแปลกตา (อารมณ์ประมาณ 60fps) สีสันต้องชมว่าสวยสดงดงาม ตัวละครราชินีหิมะออกแบบได้อย่างน่าประทับใจ เพลงประกอบไพเราะเพราะพริ้ง (ยอดเยี่ยมทั้งฉบับรัสเซีย และภาษาอังกฤษ) ปัญหาคือตอนจบดูเร่งรีบไปสักหน่อย รู้สึกเหมือน Anti-Climax แต่สำหรับเด็กๆแค่นั้นก็น่าจะเฮลั่นบ้าน

สิ่งที่ทำให้อนิเมชั่นเรื่องนี้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ คลาสสิกเหนือกาลเวลา คือหลากหลายเทคนิคที่มีความล้ำยุคสมัย(นั้น) พยายามทำออกมาให้ผิดแผกแตกต่างจากฟากฝั่ง Walt Disney ตั้งแต่การออกแบบพื้นหลัง ตัวละคร เลือกใช้โทนสีสันที่มีสัมผัสเฉพาะตัว และโดยเฉพาะท่าทางขยับเคลื่อนไหว มีความลื่นไหล “like waves” กลายเป็นเอกลักษณ์(ของอนิเมชั่น)จากสหภาพโซเวียต


Lev Atamanov ชื่อเกิด Levon Konstantinovich Atamanyan, Լև Կոնստանտինի Ատամանով (1905-81) ผู้กำกับอนิเมชั่น เกิดที่ Moscow ในครอบครัวเชื้อสาย Armenian, โตขึ้นเข้าศึกษาการแสดงและกำกับภาพยนตร์จาก Lev Kuleshov ณ สถาบัน Moscow Film School (ปัจจุบันคือ Gerasimov Institute of Cinematography, VGIK) ทำงานเป็นผู้ช่วยนักอนิเมเตอร์ Yuri Merkulov ก่อนสมัครงาน Mezhrabpomfilm Studio สรรค์สร้างโฆษณาอนิเมชั่น The Tale of the Little White Bull (1933), จากนั้นเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อเข้าร่วม Armenfilm Studio สรรค์สร้างอนิเมชั่นขนาดสั้น The Dog and The Cat (1938), The Priest and the Goat (1941) และ The Magic Carpet (1948)

เกร็ด: The Dog and The Cat (1938) ถือเป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกของประเทศ Armenia ดัดแปลงจากเทพนิยาย The Dog and the Cat (1886) ประพันธ์โดย Hovhannes Tumanyan (1869-1923) นักกวีแห่งชาติ Armenia (National Poet of Armenia)

หลังกลับจากอาสาสมัครเข้าร่วม Red Army ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง Atamanov เดินทางกลับสู่ Moscow เข้าร่วม Soyuzmultfilm Studio สรรค์สร้างผลงานเด่นๆอย่าง The Yellow Stork (1950), The Scarlet Flower (1952), The Golden Antelope (1954), (สร้างใหม่ภาพสี) The Dog and The Cat (1955) และกำกับอนิเมชั่นขนาดยาวสองเรื่อง The Snow Queen (1957), The Key (1961)

ก่อนที่จะเขียนถึง The Snow Queen (1957) แนะนำให้รับชมสองอนิเมชั่นขนาดสั้น The Scarlet Flower (1952) และ The Golden Antelope (1954) เพื่อพบเห็นวิวัฒนาการ สไตล์ลายเซ็นต์ของผกก. Atamanov ปรับตัวเองให้กับอนิเมชั่นฟากฝั่งสหภาพโซเวียต … เอาจริงๆผมชอบทั้งสองเรื่องสั้นนี้มากกว่า The Snow Queen (1957) เสียอีกนะ!

The Scarlet Flower (1952): https://www.youtube.com/watch?v=DyS51aCNbAI
The Golden Antelope (1954): https://www.youtube.com/watch?v=-qip4uUHFgs

อนิเมชั่นในสหภาพโซเวียตยุคสมัยก่อนหน้านี้ มักพยายามทำออกมาให้มีความสมจริง (Realist) ทั้งการออกแบบฉาก พื้นหลัง ตัวละคร ท่าทางขยับเคลื่อนไหว และยังต้องแฝงใจความชวนเชื่อ เพื่อสะท้อนแนวคิด ‘Socialist Realism’ ตามอุดมการณ์ของ Joseph Stalin แต่ภายหลังการเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1952 ผู้นำสหภาพโซเวียตคนใหม่ Nikita Khrushchev พยายามจะลบล้างอิทธิพล Stalin (มีคำเรียก de-Stalinization) จึงมีมาตรการผ่อนปรนอะไรหลายๆอย่าง ทำให้การสรรค์สร้างภาพยนตร์และอนิเมชั่นได้รับอิสรภาพมากขึ้น … ยุคสมัยนั้นมีชื่อเรียก Khrushchev Thaw (1953-64)

The Snow Queen (1957) ถือเป็นอนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรกๆ ที่โอบรับการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย Khrushchev Thaw เพราะไม่ได้ถูกจำกัดว่าต้องสะท้อนโลกความจริง แฝงใจความสังคมนิยมอีกต่อไป สตูดิโอ Soyuzmultfilm จึงลงความเห็นดัดแปลงเทพนิยายแฟนตาซี Snedronningen (1844) (ภาษา Danish แปลว่า The Snow Queen) ประพันธ์โดย Hans Christian Andersen (1805-75) นักเขียนวรรณกรรมเด็กชื่อดังสัญชาติ Danish (Denmark)

เกร็ด: ผมอ่านเจอว่า Hans Christian Andersen เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1840 เคยตกหลุมรักนักร้องอุปรากร Jenny Lind (1820-87) เจ้าของฉายา Swedish Nightingale แต่กลับถูกปฏิเสธสานสัมพันธ์ แสดงออกอย่างเยือกเย็นชา จึงพัฒนาตัวละคร The Snow Queen โดยมีเธอเป็นต้นแบบอย่าง

ในส่วนของการดัดแปลงบทอนิเมชั่น ประกอบด้วย

  • Georgy Grebner (1892-1954) ก่อนหน้านี้เคยพัฒนา Scenario ให้กับ The Magic Carpet (1948) และ The Scarlet Flower (1952)
  • Nikolai Erdman (1900-70) นักเขียนชื่อดังจากบทละคอน The Suicide (1928), สู่หนังเงียบ The House on Trubnaya (1928), และหนังพูด Jolly Fellows (1934), Volga-Volga (1938) ฯ
  • และเนื้อร้องบทเพลง แต่งโดยนักกวี Nikolay Zabolotsky (1903-58)

บทอนิเมชั่นมีเนื้อเรื่องค่อนข้างจะซื่อตรงกับต้นฉบับของ Hans Christian Andersen เพียงตัดออกในส่วนพาดพิงศาสนา, ปรับอายุตัวละครให้มีความเหมาะสม (หัวขโมยเด็กเพิ่มอายุให้เท่าๆกับ Gerda) และเพิ่มเติมตัวละครผู้บรรยาย Ole Lukøje สำหรับเชื่อมโยงแต่ละตอนๆเข้าด้วยกัน

เกร็ด: ต้นฉบับของ Snedronningen (1844) จะมีลักษณะแบ่งออกเป็นตอนๆ (frame story) ทั้งหมด 7 ตอน ประกอบด้วย

  • A mirror and its fragments (เรื่องนี้ถูกตัดออกไปในอนิเมชั่น หรือจะมองว่าเปลี่ยนมาเป็นผู้บรรยาย Ole Lukøje ก็ได้เช่นกัน)
  • Kai and Gerda (บางฉบับอาจใช้ชื่อ Kay หรือ Kaj)
  • The magician woman’s garden
  • The prince and the princess
  • The little robber girl
  • The Lapp woman and Finn woman
  • In the Snow Queen’s palace

เด็กชาย Kai และเด็กหญิง Gerda คือเพื่อนบ้านอาศัยอยู่ฟากฝั่งตรงข้าม เชื่อมระเบียงชั้นบนติดกัน มักไปมาหาสู่ ปลูกดอกกุหลาบกระถางเดียวกัน! วันหนึ่งในช่วงฤดูหนาว ทั้งสองรับฟังเรื่องเล่าจากคุณยายเกี่ยวกับราชินีหิมะ (Snow Queen) เด็กชาย Kai พูดแซวขึ้นเล่นๆ ว่าอยากจับเธอใส่เตาไฟให้หลอมละลาย โดยไม่รู้ตัวราชินีหิมะแอบจับจ้องมองผ่านกระจกบังเกิดความไม่พึงพอใจ ใช้เวทมนตร์เสกพายุหิมะลูกใหญ่ พัดพาเข้ามาในเมือง สาปให้เด็กชายมีหัวใจเยือกเย็น แสดงพฤติกรรมเย็นชาต่อเพื่อนรัก Gerda แล้วลักพาตัวสู่ปราสาทฤดูหนาว

ด้วยรักและห่วงใย Gerda จึงตัดสินใจออกเดินทางติดตามหา Kai ผจญภัยพานผ่านสถานที่ต่างๆ ถูกลวงล่อหลอ ดักปล้นกลางทาง บังเกิดความเข้าใจผิดๆ แต่ด้วยจิตอันบริสุทธิ์ มุ่งมั่นตั้งใจจริง เป็นพลังให้เธอสามารถก้าวเท้าเปล่า ออกเดินทางไปจนถึงปราสาทราชินีหิมะ และให้ความช่วยเหลือเพื่อนรักกลับคืนมาได้สำเร็จ


เด็กชาย Kai (พากย์เสียงโดย Anna Komolova) หรือชื่อภาษาอังกฤษ John (พากย์เสียงโดย Tommy Kirk) ด้วยวัยยังละอ่อน จึงขี้เล่นซุกซน ครั้งหนึ่งพูดจาพล่อยๆ ไม่รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เลยโดนราชินีหิมะสาปแช่ง ให้มีจิตใจเยือกเย็นชา จากนั้นมาพยายามกลั่นแกล้ง ใช้ถ้อยคำรุนแรง ตีตนออกห่าง Greda ก่อนถูกลักพาตัวไปยังปราสาทราชินีหิมะ ค่อยๆสูญเสียความทรงจำ และกลายเป็น ‘damsel in distress’ (มันไม่คำเรียกเวลาพระเอกตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย แล้วรอคอยให้นางเอกมาช่วยเหลือ)

เด็กหญิง Greda (พากย์เสียงโดย Yanina Zhejmo) หรือชื่อภาษาอังกฤษ Ivett (พากย์เสียงโดย Sandra Dee) ด้วยความสนิทสนมกับเด็กชาย Kai จึงสังเกตพฤติกรรมผิดแผกแตกต่าง หลังพบเห็นเขาถูกลักพาตัวโดยราชินีหิมะ ตัดสินใจออกเดินทาง ผจญภัยพานผ่านสถานที่ต่างๆ พบเจอผู้คนมากหน้าหลายตา ทั้งมาดีและร้าย สามารถก้าวต่อไปด้วยจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ จนไปถึงปราสาทราชินีหิมะ ช่วยเหลือเพื่อนชายให้หวนกลับคืนมาได้สำเร็จ

ราชินีหิมะ Snow Queen (พากย์เสียงโดย Maria Babanova, ฉบับภาษาอังกฤษโดย Louise Arthur) ผู้มาพร้อมกับฤดูกาลหนาวเหน็บ เป็นผู้มีจิตใจเหี้ยมโหด รักความสันโดษ อาศัยอยู่ตัวคนเดียวในปราสาทคริสทัลหลังใหญ่ ครั้งหนึ่งพบเห็นเด็กชาย Kai ในกระจก บังเกิดความอิจฉาริษยา ไม่พึงพอใจในคำพูดจาดูถูกเหยียดยาม จึงเสกพายุหิมะลูกใหญ่ พร้อมสาปแช่งให้เขามีหัวใจเย็นชา จากนั้นลักพาตัว ลบความทรงจำ ให้ค่อยๆกลายเป็นอย่างตนเอง ผู้ไร้จิตวิญญาณและความอบอุ่น


ในขณะที่เด็กชาย-หญิง Kai & Greda ยังคงใช้ต้นแบบตัวละครเดียวกับอนิเมชั่นรัสเซียเรื่องอื่นๆ หน้ากลมๆ ผมบลอนด์ ตาสีฟ้า แต่งกายประจำท้องถิ่น เต็มไปด้วยสีสันสดใส เรียกว่าพยายามทำออกมาให้ดูเป็นชาวรัสเซีย, แต่สำหรับราชินีหิมะ ออกแบบให้มีลักษณะแตกต่างตรงกันข้าม! นอกจากโทนสีขาว (ซึ่งเป็นสีของหิมะ, ฤดูหนาวเหน็บ) ยังคือรูปทรง/ใบหน้าเต็มไปด้วยเหลี่ยมมุม สมมาตร แลดูคล้ายๆรูปปั้น แกะสลักจากคริสทัล … กลายเป็นภาพจำที่ยังคงติดตา และสร้างแรงบันดาลใจให้กับอนิเมชั่นสมัยใหม่

The cold beauty who captivated Kai. This, to some extent, is a poetic symbol of the picture. She is a beautiful woman, but she is cold because she is the queen of the ice world. I made her face seem cut, as if it had been carved out by a sculptor. The problem was difficult to solve, since the animators had to “move” the face in the future and draw it from different angles. I really loved this image. In combination with the crystalline voice of Maria Babanova, it turned out to be very romantic.

Leonid Shvartsman ผู้ออกแบบตัวละคร Snow Queen

ตัวละครอื่นๆมักมีการขยับเคลื่อนไหวที่ดูลื่นไหล ‘like waves’ (ผมรู้สึกเหมือนรับชมการเคลื่อนไหวภาพ 60fps) นักวิจารณ์หลายคนมองว่ากิริยาท่าทาง มีลักษณะคล้ายๆการเต้นบัลเล่ต์ สำหรับสื่อสาร แสดงออกภาษากาย และทำให้อนิเมชั่นดูมีชีวิตชีวาเพิ่มมากขึ้น แต่อนิเมชั่นเรื่องนี้ไม่ได้เลียนแบบท่าทางมนุษย์โดยตรง ให้อิสระนักอนิเมเตอร์ในการวาดภาพ (แต่ก็มีการวางแผนท่าทางขยับเคลื่อนไหวไว้โดยละเอียด) กล่าวคือพยายามลดการใช้เครื่อง Rotoscoping ให้น้อยที่สุด!

เกร็ด: อนิเมชั่นยุคก่อนหน้านี้ที่พยายามทำออกมาให้มีความสมจริงนั้น (Realism) ด้วยวิธีการบันทึกภาพ ถ่ายทำนักพากย์/นักแสดง ขยับเคลื่อนไหว ใช้เป็นต้นแบบอย่าง นักอนิเมเตอร์ใช้การเทียบภาพแต่ละช็อตผ่านเครื่อง Rotoscoping เทคนิคพัฒนาโดยสตูดิโอ Walt Disney ตั้งชื่อว่า Éclair 

Animation is characterized by wide generalization, careful selection and, most importantly, grotesque exaggeration. Therein lies its power, its genuine realism. By breaking the laws of art, we inevitably slip into tired verisimilitude, which we often attempt to pass off as realism, even though it has nothing to do with either the truth of art or the truth of life.

Lev Atamanov กล่าวถึงการทำลายรูปแบบ วิถีทางอนิเมชั่นยุคสมัยก่อนหน้า

สำหรับราชินีหิมะจะผิดแผกแตกต่างจากตัวละครอื่นๆ มักไม่ค่อยพบเห็นขยับเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่แค่นั่ง-ยืน-เดิน แทบไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับใคร (ก็เลยไม่จำเป็นต้องใช้ภาษากายในการสื่อสาร) ส่วนใหญ่ขยับเพียงใบหน้า ดวงตา ริมฝีปาก ทำออกมาให้ดูน่าเกรงขาม

ยังมีอีกตัวละครที่ต้องพูดถึงคือ Ole Lukøje (พากย์เสียงโดย Vladimir Gribkov, ฉบับภาษาอังกฤษโดย Paul Frees) พัฒนาขึ้นโดย Hans Christian Andersen เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับ (Mysterious Mythic Creature) คล้ายๆกับ Sandman บ้างเรียกว่า Dream God สำหรับกล่อมเด็กๆเข้านอน มักพบเห็นถือร่มสองคัน

  • อันที่มีลวดลายสีสัน สำหรับเด็กดีจะได้นอนหลับฝันดี
  • ส่วนคันสีดำไร้ลวดลายสำหรับเด็กไม่ดี จะทำให้หลับลึก ตื่นเช้าโดยไม่ฝัน บางครั้งอาจนำสู่ความตาย

เกร็ด: เรื่องเล่าของ Ole Lukøje ปรากฎครั้งแรกในหนังสือ Fairy Tales Told for Children. New Collection. Third Booklet ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1841

Ole Lukøje ไม่ได้ปรากฎตัวในต้นฉบับ Snedronningen/The Snow Queen (1844) เป็นสิ่งที่ผู้สร้างเพิ่มเติมเข้ามาสำหรับเล่าเรื่อง เชื่อมโยงแต่ละเรื่องราว (Frame Story) ซึ่งการออกแบบตัวละคร แรกเริ่มนำแรงบันดาลใจจากคนแคระของ Snow White and the Seven Dwarfs (1937) [ไม่ได้เจาะจงว่าคนไหน] ไปๆมาๆ Leonid Shvartsman (คนเดียวกับที่ออกแบบราชินีหิมะ) เปลี่ยนมาใช้ผู้กำกับ Lev Atamanov เป็นต้นแบบอย่าง

ในส่วนการออกแบบฉาก สถานที่พื้นหลัง ทีแรกทีมงานต้องการเดินทางไปศึกษาดูงานยัง Copenhagen, Denmark บ้านเกิดของ Hans Christian Andersen แต่ยุคสมัยนั้นสงครามเย็นกำลังคุกรุ่น จึงไปได้แค่กลุ่มรัฐบอลติก (Estonia, Latvia, Lithuania) เดินทางสู่ Riga (Latvia), Tallinn (Estonia) และ Tartu (Estonia) ส่วนรายละเอียดอื่นๆค้นคว้าจากห้องสมุด Lenin Library (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Russian State Library)

สำหรับเครดิตการออกแบบฉาก Leonid Shvartsman จะดูแลในส่วนบ้าน คฤหาสถ์ ตัวเมือง (ต้นแบบจาก Tallinn), ขณะที่ Alexander Vasilyevich จะเป็นผู้วาดปราสาทคริสทัล (ของราชินีหิมะ) รวมถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอื่นๆ ดอกไม้ ผืนป่า ขุนเขา ทะเลสาป ทุ่งหิมะ ฯ

We worked on “The Snow Queen” for more than two years. We did a great job of collecting material in advance. It was impossible to even think about a trip to Denmark, so all our business trips were limited to the Baltic states – Riga and Tartu. They took photographs and drew there. A lot of material was found in the Lenin Library.

There are two artists listed in the credits: Shvartsman and Vinokurov. We had a division: I worked with the characters, and Alexander Vasilyevich worked with the scenery and backgrounds, he was a good painter.

In “The Snow Queen” I worked on the city, Vinokurov – on the castle and palace of the Snow Queen, on nature, on all the spans. As for the characters, I drew all the main ones, and the robbers were drawn by Sasha Vinokurov. We fairly freely distributed our roles and responsibilities, who was stronger in which area as an artist.

Leonid Shvartsman กล่าวถึงการแบ่งงาน

สำหรับคนช่างสังเกตจะพบว่าแทบทุกสถานที่ของหนัง จะมีทั้งกลางวัน (สีสันสดใส) กลางคืน (บรรยากาศอึมครึม มืดหมองหม่น) ไม่ก็เคยปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลน ก่อนผันแปรเปลี่ยนหลังการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ (หิมะละลาย)

คนที่ไม่เคยรับชมอนิเมชั่นจากสหภาพโซเวียต น่าจะรู้สึกแปลกตากับการเลือกใช้โทนสีสัน มีความสวยสด จัดจ้าน และหลากหลายกว่าฟากฝั่ง Hollywood นี่เป็นสิ่งสะท้อนวิถีชีวิต วัฒนธรรมชาวรัสเซีย กว่าครึ่งค่อนปีปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลน สภาพอากาศหนาวเหน็บ การมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ ราวกับโลกอีกใบ ทุกสิ่งอย่างพลันสว่างสดใส สีสันละลานตา

ความคิดสร้างสรรค์ในออกแบบฟองน้ำใต้ทะเลของ Pinocchio (1940) ว่าดูน่าตื่นตาตื่นใจ! ยังเทียบไม่ได้กับคลื่นทะเล ลมหนาว และพายุหิมะ มันไม่ใช่แค่ปรากฎการณ์ธรรมชาติ แต่คือพลังเวทมนตร์ของราชินีหิมะ ที่สร้างความหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก เด็กๆเกิดความหวาดสะพรึงกลัว ผู้ใหญ่ยังสัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ทรงพลัง

จริงๆยังมีอีกลูกเล่นที่น่าประทับใจ แค่เพียงไม่ได้ยิ่งใหญ่อลังการ น่าจดจำเทียบเท่าคลื่น-ลม-พายุหิมะ นั่นคือความระยิบระยับของคริสตัลในปราสาทราชินีหิมะ มีความวูบวาบ จู่ๆก็พลันสว่างขึ้นมา แถมบางครั้งทำเหมือนแสงสว่างเคลื่อนผ่านจากซ้ายไปขวา ผมยังขบครุ่นคิดไม่ออกว่าใช้เทคนิควิธีการอันใด (ลองสังเกตจากภาพเคลื่อนไหวสุดท้ายดูนะครับ)

ตัดต่อโดย Lidiya Kyaksht, อนิเมชั่นใช้การเล่าเรื่องผ่านตัวละคร Ole Lukøje ผลุบโผล่ออกมาจากหนังสือของ Hans Christian Andersen ทำหน้าที่เชื่อมโยงแต่ละเรื่องราวการผจญภัย (Frame Story) ของเด็กหญิง Greda/Ivett เพื่อออกติดตามหา ให้ความช่วยเหลือเพื่อนรัก Kai/John จากเงื้อมมือของราชินีหิมะ (Snow Queen)

  • เกริ่นนำด้วยเรื่องเล่าของ Ole Lukøje
  • Kai and Gerda
    • สองเพื่อนรักปลูกดอกกุหลาบร่วมกระถาง
    • รับฟังเรื่องเล่าราชินีหิมะของคุณยาย แล้วจู่ๆ Kai ก็มีพฤติกรรมปรับเปลี่ยนแปลงไป
    • เช้าวันถัดมา Kai กลั่นแกล้ง Gerda แล้วถูกลักพาตัวโดยราชินีหิมะ
  • The magician woman’s garden
    • Gerda ตัดสินใจออกติดตามหาเพื่อนรัก ถอดรองเท้า ขึ้นเรือ
    • มาถึงยังบ้านของหญิงสูงวัยคนหนึ่ง ชักชวนเข้ามาในบ้าน กล่อมหลับนอน แอบเสกคาถาให้สูญเสียความทรงจำ
    • ค่ำคืนตื่นขึ้นมา Gerda สะลึมสะลือ จดจำอะไรไม่ได้ จนกระทั่งพบเห็นดอกกุหลาบคู่ จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากบ้านฤดูร้อนหลังนี้
  • The prince and the princess
    • ระหว่างนั่งเพ้อรำพันอยู่ริมชายฝั่ง พบเจออีกาตนหนึ่ง อ้างว่ารับรู้จักบุคคลที่เด็กหญิงกำลังติดตามหา
    • นำทางมาถึงคฤหาสถ์/พระราชวังแห่งหนึ่ง เฝ้ารอคอยดึกดื่น หลังงานเลี้ยงเลิกรา
    • แอบย่องเข้าไปในบ้านพบเจอกับเจ้าชาย-เจ้าหญิง
    • หลังเล่าเรื่องราวให้ทั้งสอง พวกเขาก็ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ มอบอาหารเครื่องดื่ม รวมถึงรถม้าออกเดินทาง
  • The little robber girl
    • พอมาถึงกลางป่าถูกดักปล้นโดยโจรห้าร้อย
    • Greda กลายเป็นตัวประกัน/ของเล่นใหม่ของหัวขโมยน้อย พามายังแหล่งกบดานลับๆ
    • หลังรับฟังเรื่องเล่าของ Greda ทำให้หัวขโมยน้อยเกิดความซาบซึ้ง น้ำตาไหลพราก ตัดสินใจปล่อยเธอและสรรพสัตว์ที่ถูกคุมขัง
  • The Lapp woman and Finn woman
    • Greda ควบเจ้ากวางเรนเดียร์มาถึง Lapland หยุดผ่อนในกระท่อมของ Lapp Woman
    • ออกเดินทางต่อถึง Finland หยุดพักในกระท่อมของ Finn Woman
    • แต่ปราสาทของราชินีหิมะยังคงต้องไปไกลกว่านั้น ด้วยลมพายุรุนแรง เจ้ากวางไปต่อไม่ไหว Greda จึงก้าวเดินต่อไป จนกระทั้งล้มลงหน้าปราสาท
  • In the Snow Queen’s palace
    • Greda เข้ามาในปราสาทราชินีหิมะ ให้ความช่วยเหลือ Kai จนหวนระลึกความทรงจำ
    • เผชิญหน้ากับราชินีหิมะ
    • ฤดูหนาวเคลื่อนพานผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิย่างกรายเข้ามา
    • Greda ออกเดินทางกลับกับ Kai แล้วใช้ชีวิตร่วมกันอย่าง Happily Ever After

เพลงประกอบโดย Artemi (Harutyun) Ayvazyan, Արտեմի Այվազյան (1902-75) คีตกวีสัญชาติ Armenian เกิดที่ Baku ในครอบครัวนักดนตรี โตขึ้นเข้าศึกษา Tbilisi State Conservatory ต่อด้วย Moscow Conservatory จบออกมาก่อตั้งวงดนตรีแจ๊ส Armenian State Jazz Orchestra ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในช่วงทศวรรษ 40s, นอกจากนี้ยังเคยประทันอุปรากร เพลงประกอบภาพยนตร์ The Priest and the Goat (1939), The Snow Queen (1957) ฯ

ทีแรกผมแอบคาดหวังจะได้ยินบทเพลงพื้นบ้านรัสเซีย แต่ไม่เลย Ayvazyan เลือกใช้ดนตรีคลาสิก บรรเลงด้วยออร์เคสตรา ทำออกมาให้มีความเป็นสากล ไม่จำเพาะเจาะจงว่าพื้นหลังต้องเป็นเดนมาร์ก รัสเซีย หรือประเทศใดๆ นี่อาจด้วยความคาดหวังนำออกฉายต่างประเทศด้วยกระมัง

งานเพลงของ Ayvazyan คละคลุ้งด้วยกลิ่นอายโรแมนติก (Romanticism) ฟังแล้วรู้สึกเคลิบเคลิ้มหลงใหล สร้างสัมผัสทางใจ พร้อมใส่ลูกล่อลูกชน หยอกล้อกับเรื่องราว ตัวละคร ผสมผสานเข้ากับ ‘Sound Effect’ ได้อย่างลงตัว กลมกล่อม จนแทบจะกลายเป็นอันหนึ่งเดียวกัน! … ผมเรียกว่าสไตล์ ‘Silly Symphony’ บุกเบิกโดย Walt Disney

ผมแอบเสียดายที่ฉบับภาษาอังกฤษ มีการปรับเปลี่ยน Main Theme ที่ดังขึ้นระหว่าง Opening Credit เพราะต้องตัดทิ้งชื่อภาษารัสเซีย ก็เลยแต่งเพลงขึ้นใหม่ชื่อว่า The Snow Queen ถึงความสนุกสนานเพลิดเพลิน เหมาะกับช่วงเทศกาลคริสต์มาส-ปีใหม่ แต่ไม่สามารถเทียบความไพเราะกับต้นฉบับ ที่มีความเคลิบเคลิ้มหลงใหล สั่นสะท้านทรวงใน จิตวิญญาณพริ้วไหวไปกับสายลมหนาว

เด็กชาย Kai ด้วยความละอ่อนเยาว์วัย จึงพูดพร่ำออกไปโดยไม่ทันครุ่นคิด สร้างความขุ่นเคือง ไม่พึงพอใจให้กับราชินีหิมะ จึงถูกเธอสาปแช่ง เกล็ดน้ำแข็งติดอยู่ในดวงตา สร้างความหนาวเหน็บ หัวใจเย็นชา … นี่เป็นบทเรียนสอนว่า “คำพูดคือนายคน” เวลาแสดงความคิดเห็น เขียนคอมเมนต์ เราควรครุ่นคิดด้วยสติ ไม่ใช่ระบายอารมณ์ สนองกามารมณ์ และรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง

เด็กหญิง Gerda ผู้มีความจงรักภักดีต่อเพื่อนชาย Kai เมื่อพบเห็นพฤติกรรมแสดงออกปรับเปลี่ยนแปลงไป และถูกลักพาตัวโดยราชินีหิมะ จึงตัดสินใจออกเดินทาง พบเจอผู้คนมากมาย ผจญภัยพานผ่านสถานที่ต่างๆ ได้รับบทเรียนชีวิต ดังต่อไปนี้…

  • The magician woman’s garden หญิงสูงวัยอาศัยอยู่ในบ้านเวทมนตร์ ไม่ว่าวันเวลาภายนอกจะผันแปรเปลี่ยน แต่ภายในบ้านกลับมีเพียงฤดูใบผลิตลอดกาล (จริงๆน่าจะเรียกว่าราชินีใบไม้ผลิ/Spring Queen) ด้วยความโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว อาศัยอยู่ตัวคนเดียว จึงพยายามทำให้ Gerda หลงลืมทุกสิ่งอย่าง แล้วอาศัยอยู่ร่วมกันตลอดไป
    • บทเรียนก็คือ อย่าหลงเชื่อคนง่าย อาจถูกลวงหลอก ลักพาตัว ทำให้สูญเสียอะไรบางอย่าง
    • เรื่องราวของหญิงสูงวัยในบ้านเวทมนตร์ คือภาพสะท้อนราชินีหิมะที่ต่างก็มีความโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว อาศัยอยู่ตัวคนเดียว ต้องการใครสักคนเคียงข้าง ถึงขนาดลักพาตัว พยายามลบความทรงจำ ถือว่าโฉดชั่วร้ายไม่ต่างกัน!
  • The prince and the princess อีกานำพา Greda มายังคฤหาสถ์/ปราสาท ย่องเข้าไปยามวิกาล แต่พบว่าเจ้าชาย-เจ้าหญิง หาใช่บุคคลเดียวกับที่เธอติดตามหา ถึงอย่างนั้นกลับได้รับความช่วยเหลือจากคนแปลกหน้า
    • บทเรียนนอกจากอย่าหลงเชื่อคนง่าย ยังคือการรู้จักตรวจสอบ อ้างอิงด้วยหลักฐาน เพราะบางครั้งอาจเกิดความผิดพลาด คลาดเคลื่อน เข้าใจไม่ตรงกัน
    • ส่วนเรื่องราวของเจ้าชาย-หญิง แสดงถึงความมีเมตตากรุณา จิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่แบ่งแยกสถานะทางชนชั้น ยินยอมให้ความช่วยเหลือเด็กหญิงผู้มีจิตใจอันบริสุทธิ์ … เรียกได้ว่าอุดมคติแห่งชีวิต
  • The little robber girl ระหว่างทางในป่า รถม้าถูกดัดปล้นโดยกลุ่มโจร Greda โดนลักพาตัวโดยหัวขโมยน้อย ต้องการกักขังหน่วงเหนี่ยวแบบเดียวกับสรรพสัตว์ แต่หลังจากรับฟังเรื่องเล่า เกิดอาการใจอ่อน ยินยอมปลอดปล่อยทุกสิ่งอย่าง
    • รู้หน้าไม่รู้ใจ อย่าด่วนตัดสินใครจากรูปร่างหน้าตา ขโมยกะโจรก็อาจเป็นคนดี มีจิตใจบริสุทธิ์ มันอาจด้วยเหตุผลบางอย่างเลยจำต้องกระทำสิ่งเลวร้าย
    • หรือจะมองว่าคือเรื่องราวการกลับตัวกลับใจ, หัวขโมยน้อยหลังได้เรียนรู้จักความมุ่งมั่น จิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ของ Greda ทำให้เธอบังเกิดจิตสามัญสำนึก ต้องการปรับเปลี่ยนแปลงตนเอง เลยทำการปลดปล่อยสรรพสัตว์ และยินยอมให้ความช่วยเหลือเด็กสาว
  • The Lapp woman and Finn woman ทั้งสองคือบุคคลให้ความช่วยเหลือ ชี้นำทาง Greda มุ่งสู่เป้าหมายปลายทาง ปราสาทราชินีหิมะ
    • แสดงถึงมิตรไมตรีต่อคนแปลกหน้า ยินยอมให้ความช่วยเหลือทั้งๆไม่เคยรับรู้จัก
    • และด้วยความมุ่งมั่น ไม่ย่นย่อท้อแท้ ในที่สุด Greda ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม ก้าวออกเดินถึงเป้าหมายปลายทาง

เมื่อมาถึงปราสาทราชินีหิมะ เพียงแค่ Greda เข้ามาพูดคุย โน้มน้าว อยู่เคียงชิดใกล้ Kai จู่ๆเกล็ดน้ำแข็งในดวงตาก็ร่วงหล่นลงมา สามารถคลายคำสาป(ของราชินีหิมะ)ได้โดยพลัน อิหยังว่ะ? คำอธิบายก็คือ Kai ที่แม้สูญเสียความทรงจำ แต่เมื่ออยู่เคียงชิดใกล้ Greda ทำให้หัวใจรู้สึกอบอุ่น ลุ่มร้อน ทำลายความหนาวเหน็บ เย็นชา เกล็ดน้ำแข็งในดวงตาจึงร่วงหล่นลงมา … หรือก็คือความรักชนะทุกสรรพสิ่ง!

ตลอดการผจญภัยของ Greda แสดงออกด้วยความมุ่งมั่น บริสุทธิ์ จริงใจ เต็มไปด้วยอารมณ์หลากหลาย เลยได้รับความช่วยเหลือจากผู้คนมากมาย ทำให้บุคคลชั่วร้ายกลับกลายเป็นดี ตรงกันข้ามกับราชินีหิมะ ผู้มีจิตใจหนาวเหน็บ เยือกเย็นชา ไม่ยี่หร่ากับผู้ใด จึงไม่มีใครอยู่เคียงข้าง มักนั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยขยับเคลื่อนไหวติง แทบจะไร้ความรู้สึกอะไรใดๆ

ชัยชนะเหนือราชินีหิมะ ในต้นฉบับรัสเซียไม่มีคำอธิบายอะไรใดๆ ทำเหมือนว่า Greda สำแดงพลังเวทมนตร์ สามารถพูดขับไล่ให้(ราชินีหิมะ)เลือนหายจากไป … ผมมองว่าน่าจะสื่อถึงพลังแห่งรัก จิตวิญญาณอันบริสุทธิ์สามารถต่อสู้เอาชนะสิ่งชั่วร้าย (ความรักชนะทุกสิ่ง)

(บางคนอาจตีความว่าพลังแห่งรัก ทำให้จิตใจราชินีหิมะผันแปรเปลี่ยน “even an icy heart can be melted” จึงยินยอมปลดปล่อย Kai แล้วร่ำลาจากไป ก็ได้กระมังนะ)

ผมลองเปิดฉบับภาษาอังกฤษดูช่วงท้าย คาดไม่ถึงว่าจะได้ยินคำอธิบายของ Ole Lukøje พูดบอกว่าฤดูใบไม้ผลิย่างกรายมาถึง พัดพาฤดูหนาว/ราชินีหิมะให้ต้องร่ำลาจากไป และยังทำเหมือนค้างคาภาคต่อไว้ ให้(ราชินีหิมะ)พูดประมาณว่าสักวันจะหวนกลับคืนมา และทำให้ Kai กลายเป็นของฉันตลอดกาล … ชัยชนะดังกล่าวไม่ได้ให้ความรู้สึกเหมือน Greda มีพลังเวทมนตร์อะไร เพียงฤดูกาลผันแปรเปลี่ยน ธรรมะชนะอธรรม กงเกวียนกรรมเกวียน

ระหว่างรับชมผมก็พยายามขบครุ่นคิดว่า ราชินีหิมะคือตัวร้ายหรือไม่? ถึงแม้เธอลักพาตัว Kai สาปแช่งให้เด็กชายมีหัวใจเยือกเย็น ค่อยๆหลงลืมทุกสรรพสิ่งอย่าง แต่เหตุผลการกระทำ ต้องการเสี้ยมสอน มอบบทเรียน(ให้กับผู้ชม) ถึงการใช้ชีวิตอย่างสันโดดเดี่ยว ตัวคนเดียว ไร้อารมณ์ เพิกเฉยต่อความรู้สึกของผู้อื่น นั่นเป็นสิ่งขัดแย้งต่อความเป็นสัตว์สังคมของมนุษย์ … ข้อคิดของหนังคือการเผยแพร่ความรัก ความอบอุ่น เมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้ความช่วยเหลือกับบุคคลตกทุกข์ได้ยาก

แต่เอาจริงๆการใช้ชีวิตอย่างสันโดดเดี่ยว ตัวคนเดียว มันก็ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ! แม้มนุษย์เป็นสัตว์สังคม แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะอยากอยู่ร่วมกับผู้อื่น เราควรต้องเรียนรู้จัก เข้าใจบุคคลประเภทนี้บ้าง พวกเขาอาจเยือกเย็นชา ไม่ยี่หร่าอะไรใคร แต่ตราบที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ย่อมไม่ใช่ปัญหาสังคม

การแสดงออกทางอารมณ์ อิสรภาพคือสิ่งดีแต่ไม่ใช่ทุกสิ่งอย่าง! เราควรต้องรู้จักควบคุมตนเอง หยุดยับยั้งชั่งใจ ใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เอาความรู้สึกส่วนตัวเป็นที่ตั้งตลอดเวลา (ในบางเรื่องใช้อารมณ์บ้างก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ใช่ทุกเรื่อง ทุกวินาที)

หลายๆบทความวิจารณ์ กล่าวถึง The Snow Queen (1957) คือภาพสะท้อนความโหยหาของชาวรัสเซีย ประเทศที่หลากหลายภูมิภาคกว่าครึ่งค่อนปีปกคลุมด้วยหิมะ สภาพอากาศหนาวเหน็บ อุณหภูมิติดลบ พวกเขาต่างเฝ้ารอคอยการมาถึงของแสงอาทิตย์ ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) ช่วงเวลาแห่งสีสันสดใส ใช้ชีวิตด้วยความสนุกสนาน เบิกบานหฤทัย ออกจากบ้านโดยไม่ต้องสวมใส่เสื้อกันหนาว

In the clear air of our neighbor to the North, the climate is harsh. But it is exactly the theme of this story that is able to melt snow with a single-minded love … and this because she [Russia] yearns for Spring.

นักวิจารณ์ญี่ปุ่น Takuya Mori ตีพิมพ์บทความลงนิตยสาร Eiga Hyouron (Film Criticism)

และที่สุดที่ผมเห็นกล่าวถึงกัน มันอาจฟังดูขัดย้อนแย้งกับที่ทางการสหภาพโซเวียต กองเซนเซอร์พยายามกีดกันภาพยนตร์/อนิเมชั่นกล่าวอ้างอิงถึงศาสนา, The Snow Queen (1957) แม้ตัดทิ้งประเด็นความเชื่อศรัทธา กลับสามารถตีความถึงลัทธิวิญญาณนิยม (Animism) สรรพวัตถุและสรรพสัตว์ (เหมารวมถึง ต้นไม้ ก้อนหิน ลำธาร สภาพอากาศ สิ่งประดิษฐ์สรรค์สร้างโดยมนุษย์ และแม้แต่ถ้อยคำพูด) ล้วนมีชีวิต จิตวิญญาณ และเจตจำนง (Agency) เป็นของตัวเอง … ไม่ใช่แค่ราชินีหิมะที่เป็นตัวแทนฤดูหนาว ยังรวมถึงสรรพสัตว์ สิ่งข้าวของต่างๆที่เด็กหญิง Greda สามารถพูดคุยสื่อสาร ให้ความช่วยเหลือ และพลังจากจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ ทำให้เธอพานผ่านทุกอุปสรรคขวากหนาม ไปจนถึงเป้าหมายปลายทาง


อนิเมชั่นเข้าฉายในสหภาพโซเวียต วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1957 เสียงตอบรับถือว่าดีล้นหลาม จากนั้นเดินทางไปกวาดรางวัลจากหลากหลายเทศกาลหนัง แล้วถูกซื้อลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาโดย M.J.P. Enterprises เพื่อขายต่อให้ Universal Pictures มูลค่า $30,000 เหรียญ

เพราะทศวรรษนั้นยังอยู่ในช่วงสงครามเย็น สตูดิโอ Universal จึงไม่สามารถนำออกฉายภาษารัสเซีย จึงต้องพากย์เสียงอังกฤษ และแต่งเพลงคำร้องขึ้นใหม่ (โดย Frank Skinner) ซึ่งมีหลายสิ่งอย่างผิดแผกแตกต่างจากต้นฉบับพอสมควร เสร็จสิ้นออกฉายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1959 ประมาณการทำเงิน $1.3 ล้านเหรียญ

ส่วนในญี่ปุ่นเข้าฉายในชื่อ 雪の女王, Yuki no Joō (แปลตรงตัวว่า The Snow Queen) เมื่อปี ค.ศ. 1960 พร้อมๆกับฉายทางโทรทัศน์ในช่วงวันหยุดปีใหม่ เสียงตอบรับถือว่าดีล้นหลาม ขนาดว่านิตยสาร Eiga Hyouron (Film Criticism) อุทิศบทความจำนวน 14 หน้ากระดาษ!

Hayao Miyazaki ขณะนั้นยังทำงานเป็นนักอนิเมเตอร์ในสังกัด Toei Animation เริ่มรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่ายกับอาชีพของตนเอง จนกระทั่งมีโอกาสรับชมอนิเมชั่นเรื่องนี้ ราวกับได้ค้นพบโชคชะตา ฟ้าลิขิต เป้าหมายชีวิต

When I saw the Soviet film The Snow Queen, I felt really happy that I had become an animator. I thought that there could be no more wonderful occupation than creating such a marvelous world—no, of having the possibility of perhaps creating an even more marvelous world.

[The Snow Queen (1957)] is proof of how much love can be invested in the act of making drawings move, and how much the movement of drawings can be subliminated into the process of acting. It proves that when it comes to depicting simple yet strong, powerful, piercing emotions in an earnest and pure fashion, animation can fully hold its own with the best of what other media genres can offer, moving us powerfully.

Hayao Miyazaki

อิทธิพลที่พบเห็นได้ชัดเจน ตัวละครหลักในผลงานของ Miyazaki มักคือเด็กหญิง มีความมุ่งมั่น จิตใจอันบริสุทธิ์ ทุ่มเทพยายาม เอ่อล้นด้วยความรัก และมักออกเดินทางผจญภัย พานผ่านสิ่งต่างๆมากมาย (หลายครั้งก็ให้ความช่วยเหลือเพื่อนชาย)

นักวิจารณ์ต่างประเทศให้ข้อสังเกตระหว่าง The Snow Queen (1957) และ Princess Mononoke (1997) เป็นผลงานที่ผกก. Miyazaki ทำการอ้างอิงหลายสิ่งอย่างจากอนิเมชั่นเรื่องนี้

  • San มีพความละม้ายคล้ายหัวขโมยน้อย (The little robber girl) ทั้งอุปนิสัย บุคลิกภาพ แก่นแก้วไร้เดียงสา อาศัยอยู่กับสิงสาราสัตว์ (เดินเท้าเปล่าเหมือนกัน) และสามารถสื่อสารกับสรรพชีวิต (Spirit Princess)
  • Ashitaka=Kai ถูกคำสาปบางอย่างให้ต้องออกเดินทางจากหมู่บ้าน ควบขี่กวาง Yakul (คล้ายๆกวาง Reindeer ที่ Gerda เคยขึ้นขี่)
  • บางคนอาจมองว่า Snow Queen=Forest Spirit แต่ขณะเดียวกันบุคลิกภาพเย็นชาของ Lady Eboshi ก็ไม่แตกต่างกันนัก (ดวงตาของทั้งมีความคล้ายคลึงกันอยู่ไม่น้อย)

เมื่อปี ค.ศ. 2020, สตูดิโอ Soyuzmultfilm ได้ทำการรวบรวมอนิเมชั่นในสังกัดระหว่างทศวรรษ 1950s ถึง 80s มาทำการบูรณะ สแกนดิจิตอล (คุณภาพ HD) ลบร่องรอยขีดข่วน ปรับแต่งคุณภาพสี เสียง และเพลงประกอบ มีคำเรียก Golden Collection ทั้งหมดสามารถหารับชมออนไลน์ได้ทาง Youtube, สำหรับ The Snow Queen (1957) แนะนำให้หาฉบับพากย์รัสเซียจะดีกว่าภาษาอังกฤษ

ไม่รู้เพราะผมเป็นผู้ใหญ่หรือเปล่า เลยไม่ค่อยอินกับเรื่องราวของอนิเมชั่นสักเท่าไหร่ หลายสิ่งอย่างไม่ค่อยสมเหตุสมผล ขาดคำอธิบาย โลกสวยเกินจริง แถมจบแบบงงๆ แต่ความทรงคุณค่าเกิดจากจากลวดลีลาอนิเมชั่น สร้างความตื่นตระการตา น่าประทับใจ เต็มไปด้วยเทคนิคล้ำยุคสมัย(นั้น) งดงามวิจิตรศิลป์ คงความคลาสสิก และเพลิดเพลิดไปกับการขบครุ่นคิด หาความสัมพันธ์กับผลงานของ Hayao Miyazaki

หลังจากความสำเร็จอันล้นหลามของ The Snow Queen (1957) จุดประกายความนิยมเทพนิยายเรื่องนี้ ทำให้มีการดัดแปลงสร้างใหม่นับครั้งไม่ถ้วน ผมเลือกมาเฉพาะที่น่าสนใจ

  • The Snow Queen (1986) ภาพยนตร์แฟนตาซีจากประเทศ Finnish เคยส่งเข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film แต่ไม่ผ่านเข้ารอบใดๆ
  • The Snow Queen (1995) อนิเมชั่นจากอังกฤษ พากย์เสียงโดย Helen Mirren
  • The Snow Queen (2012) อนิเมชั่นสามมิติของรัสเซีย ซึ่งจะมีภาคสอง-สาม-สี่ ติดตามมา
  • โด่งดังสุดคงหนีไม้พ้น ฉบับตีความใหม่ของ Disney แฟนไชร์ Frozen (2013), Frozen II (2019) และภาคสามเร็วๆนี้ ปรับเปลี่ยนใจความจากพิสูจน์รักแท้ มาเป็นการปลดปล่อย เปิดประตูสู่อิสรภาพ(ทางเพศ)

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | The Snow Queen พัดพาความหนาวเหน็บ สั่นสะท้านทรวงใน ก่อนค่อยๆหลอมละลาย กลายเป็นความอบอุ่นหฤทัย
คุณภาพ | วิจิศิป์
ส่วนตัว | อบอุ่นหฤทัย

Urga – territoriya lyobvi (1991)


Close to Eden (1991) USSR, French : Nikita Mikhalkov ♥♥♥♡

ถ่ายทำยังท้องทุ่งกว้าง พื้นที่ราบในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (Inner Mongolia) ช่างมีความงดงาม ราวกับสรวงสวรรค์ (Close to Eden) ดินแดนแห่งอิสรภาพที่กำลังเลือนลาง ถูกคุกคามโดยสังคมเมืองใหญ่, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice

ชื่อหนังภาษาอังกฤษ Close to Eden เป็นการแปลที่ไม่ค่อยตรงสักเท่าไหร่ У́рга — территория любви อ่านว่า Urga — territoriya lyobvi แปลว่า Urga — Territory of Love, ซึ่งความหมายของ Urga นอกจากเป็นชื่อเดิมของ Ulaanbaatar เมืองหลวงประเทศ Mongolia, ยังคือท่อนไม้ยาวๆที่มีบ่วงบาศตรงปลาย สำหรับคล้องม้า จับสัตว์ รวมถึงผูกมัดสตรี/ภรรยา ปักเอาไว้กลางทุ่งเพื่อประกาศอาณาเขต ไม่ให้ใครอื่นมาเข้าใกล้ เพราะฉันกำลังพรอดรัก ร่วมเพศสัมพันธ์ … ถึงสรวงสวรรค์เหมือนกันกระมัง!

ตอนผมเห็นรายละเอียดคร่าวๆของ Close to Eden (1991) ถ่ายทำยังพื้นที่ราบ Inner Mongolia (ไม่ใช่ประเทศมองโกเลียนะครับ คือเขตปกครองตนเองของสาธารณรัฐประชาชนจีน) ก็แอบคาดหวังว่าคงละม้ายคล้าย The Horse Thief (1986) ครึ่งแรกต้องชมเลยว่าทิวทัศนธรรมชาติมีความงดงาม สร้างความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ล่องลอยสู่สรวงสวรรค์ ไฮไลท์คือความสัมพันธ์ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา แม้จีน-รัสเซียสื่อสารไม่เข้าใจ แต่สามารถสัมผัสได้ด้วยจิตวิญญาณ

น่าเสียดายที่ครึ่งหลัง ผกก. Mikhalkov ดันทำเรื่องง่ายให้กลายเป็นเรื่องยาก ใส่ความติสต์แตกของตนเอง เพื่อรำพันสถานการณ์ไม่สงบในสหภาพโซเวียต (ที่ใกล้ถึงวันล่มสลาย ค.ศ. 1991), วิพากย์วิจารณ์นโยบายลูกคนเดียวของสาธารณรัฐประชาชนจีน, รวมถึงพยายามเลือนลางระหว่างสรวงสวรรค์กับโลกความจริง (พบเห็นภาพในจอโทรทัศน์ ซ้อนทับโลกความจริง), นอกจากรางวัลสิงโตทองคำ ยังได้เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film ไปถึงห้าเรื่องสุดท้าย!


Nikita Sergeyevich Mikhalkov, Никита Сергеевич Михалков (เกิดปี 1945) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Moscow ในตระกูลผู้ดีเก่า Mikhalkov family, ปู่ทวดเคยปกครองแคว้น Yaroslavl, บิดา Sergey Mikhalkov เป็นนักเขียนวรรณกรรมเด็ก และประพันธ์เนื้อเพลงชาติรัสเซียที่ใช้ในปัจจุบัน, ส่วนพี่ชาย Andrei Konchalovsky คือนักเขียน/ผู้กำกับชื่อดัง (เพื่อนร่วมรุ่น Andrei Tarkovsky ช่วยกันพัฒนาบท Ivan’s Childhood (1962) และ Andrei Rublev (1966))

ตั้งแต่เด็ก Mikhalkov เข้าโรงเรียนการแสดง Moscow Art Theatre ต่อด้วย Shchukin School ของโรงละคอน Vakhtangov Theatre ระหว่างนั้นมีโอกาสแสดงภาพยนตร์ Walking the Streets of Moscow (1964), โตขึ้นเข้าศึกษาต่อ All-Union State Institute of Cinematography (VGIK) ร่ำเรียนการกำกับจาก Mikhail Romm, สรรค์สร้างหนังสั้นนักศึกษา ภาพยนตร์เรื่องแรก At Home Among Strangers (1974), เริ่มมีชื่อเสียงตั้งแต่ A Slave of Love (1976), An Unfinished Piece for Mechanical Piano (1977), โด่งดังระดับนานาชาติกับ Dark Eyes (1987), Close to Eden (1991), Burnt by the Sun (1994), The Barber of Siberia (1998), 12 (2007) ฯ

ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 80s สถานการณ์การเมืองในสหภาพโซเวียตกำลังมีความโกลาหล ใกล้ถึงจุดล่มสลาย ผกก. Mikhalkov จึงเริ่มมองช่องทางออกของตนเองตั้งแต่ Dark Eyes (1987) ร่วมทุนสร้าง Italian & Soviet เพื่อหลบหลีกหนีความวุ่นๆวายๆที่กำลังจะบังเกิดขึ้น

It not only avoids the complicated and chaotic situation in the country, but also uses the movie to accomplish another heavy contemplation about the nation and history.

Nikita Mikhalkov

เมื่อปี ค.ศ. 1987 ตัดสินใจก่อตั้งสตูดิโอโปรดักชั่นของตนเอง Студия ТриТэ, Studio Trite (แปลว่า Three T ในภาษารัสเซีย Товарищество, Творчество, Труд ประกอบด้วย Companionship, Creation, Labour) สำหรับระดุมทุนนานาชาติ สรรค์สร้างโปรเจคใหม่ๆ โดยไม่ต้องยุ่งวุ่นวาย เฝ้ารอคอยทางการรัสเซียคอยสนับสนุนงบประมาณให้

ความสำเร็จของ Dark Eyes (1987) ทำให้ผกก. Mikhalkov สามารถนำเสนอโปรเจคถ่ายทำยังพื้นที่ราบ Hulunbuir Prairie, Inner Mongolia (ติดชายแดนรัสเซีย-มองโกเลีย) รวบรวมทุนสร้างจากสตูดิโอ Camera One, Hachette Première, UGC Images, Arion Productions รวมถึงกระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส (Ministère de la Culture et de la Communication) และสถาบัน Centre national du cinéma et de l’image animée (CNC)

สำหรับบทภาพยนตร์ผกก. Mikhalkov ร่วมพัฒนากับ Rustam Ibragimbekov (1939-2022) นักเขียนชาว Azerbaijani เห็นว่าได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งจากวรรณกรรมซีรีย์สำหรับเด็ก The Black Stallion (1941) ของ Walter Farley (1915-89) นักเขียนชาวอเมริกัน (เรื่องเล่าเกี่ยวกับม้าที่เหมาะสำหรับเด็ก)

เกร็ด: หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ผกก. Mikhalkov ยังได้ร่วมงานกับนักเขียน Rustam Ibragimbekov อีกสองครั้ง Burnt by the Sun (1994) และ The Barber of Siberia (1998)


Gombo คนเลี้ยงแกะอาศัยอยู่ยังพื้นที่ราบ/ทุ่งหญ้า Inner Mongolia มีความระริกระรี้ อยากร่วมเพศสัมพันธ์กับภรรยา Pagma แต่เธอกลับต่อต้านขัดขืน เรียกร้องขอให้สามีไปซื้อถุงยางอนามัย ไม่รู้หรือไรประเทศจีนมีการประกาศนโยบายลูกคนเดียว (ขณะนั้นพวกเขามีบุตรกันแล้วสามคน!)

ระหว่างนั้นคนขับรถบรรทุกชาวรัสเซีย Sergei กำลึงง่วงหงาวหาวนอน โดยไม่รู้ตัวเกือบขับรถตกแม่น้ำ ตะโกนโหวกเหวกขอความช่วยเหลือ พอดิบดี Gombo อาศัยอยู่ละแวกนั้น เลยชักชวนมาพักค้างแรมยังกระโจมชั่วคราว (มีคำเรียก Yurt หรือ Ger) รับประอาหารเย็น ดื่มด่ำเมามาย วันถัดมาจึงอาสาขับรถพาเข้าเมือง แต่ก็ยังสองจิตสองใจ จะซื้อถุงยางอนามัยดีหรือไม่?


ในส่วนของนักแสดง หลายคนอาจครุ่นคิดว่า Gombo และ Pagma คือสามี-ภรรยาชาวจีน/มองโกเลียใน ที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบ Inner Mongolia น่าจะไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการแสดง แต่แท้จริงแล้วทั้งคู่ต่างเป็นนักแสดงอาชีพ เลยไม่มีความกระอักกระอ่วน เก้ๆกังๆต่อหน้ากล้อง เข้าถึงบทบาทตัวละครได้อย่างเป็นธรรมชาติ (พวกเขาไม่ได้เป็นสามี-ภรรยากันนะครับ)

  • Gombo รับบทโดย Bayaertu ผมหาข้อมูลได้แค่เป็นนักแสดงละคอนเวที
  • Pagma รับบทโดย Badema เป็นนักร้อง/นักแสดง มาจากครอบครัวศิลปิน/นักร้อง Traditional Mongolian Folk Song, สำเร็จการศึกษาจาก Central Conservatory of Music (ที่ Beijing) ก่อนหน้านี้เคยแสดงนำภาพยนตร์ Joan of Arc of Mongolia (1988), และหลังจากนี้ Norjmaa (2013) คว้ารางวัล Golden Rooster Award: Best Actress

สำหรับนักแสดงรัสเซีย Vladimir Vasilyevich Gostyukhin, Влади́мир Васи́льевич Гостю́хин (เกิดปี 1946) เกิดที่ Sverdlovsk, Sverdlovsk Oblast โตขึ้นเรียนจบเทคนิค ทำงานวิศวกรช่างไฟ ก่อนค้นพบความสนใจด้านภาพยนตร์ มุ่งสู่ Moscow เข้าศึกษา Russian State Institute of Performing Arts (GITIS) หลังกลับจากเกณฑ์ทหาร กลายเป็นนักแสดงละคอนเวที มีผลงานภาพยนตร์ อาทิ The Ascent (1977), Close to Eden (1991) ฯ

รับบท Sergei คนขับรถบรรทุก สำหรับบุกเบิกเส้นทางถนนยัง Inner Mongolia เกิดอาการหลับใน จนเกือบพลัดตกแม่น้ำ ได้รับความช่วยเหลือจาก Gombo แม้พูดคุยสื่อสารไม่ค่อยจะรู้เรื่อง แต่บังเกิดมิตรภาพผองเพื่อน อาสาขับรถพาเข้าเมือง ค่ำคืนนั้นดื่มด่ำเมามาย ระบายความอึดอัดอั้นถึงชีวิตครอบครัว โหยหาอิสรภาพแบบชาวเพื่อนรักชาวมองโกเลียใน

การแสดงของ Gostyukhin อาจดูลุกรี้ร้อนรน สติสตางค์ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เอาแต่พูดพร่ำเพ้อไม่เคยหยุดหย่อน (แม้สื่อสารไม่รู้เรื่องก็ตามเถอะ) อาจสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ แต่หนังพยายามแสดงให้เห็นความแตกต่างกับ Gombo & Pagma ที่ดูสงบเสงี่ยม พูดน้อย เน้นแสดงออกภาษากาย เพียงมองตาก็สามารถรับรู้ความต้องการอีกฝ่าย … สะท้อนถึงชีวิตที่สงบสุข vs. วุ่นๆวายๆ

แน่นอนว่าตัวละคร Sergei ย่อมสะท้อนถึงผกก. Mikhalkov ชาวรัสเซียเดินทางมายังต่างที่ต่างถิ่น ทีแรกก็เต็มไปด้วยอคติ รับไม่ได้กับวิถีชีวิต ไม่สามารถพูดคุยสื่อสาร แต่โดยไม่รู้ตัวพวกเขากลับสามารถเข้าใจกันและกัน เหมือนได้รับการปลดปล่อย ผ่อนคลายจากความวุ่นๆวายๆ … ฉากขึ้นร้องเพลงบนเวที (แล้วถูกจับกุม) นั่นสะท้อนความรักชาตินิยมของผกก. Mikhalkov ได้อย่างชัดเจน!


ถ่ายภาพโดย Vilen Aleksandrovich Kalyuta, Вілен Олександрович Калюта (1930-99) ตากล้องชาว Ukrainian เกิดที่ Huliaipole, Zaporizhzhia Oblast (ปัจจุบันคือประเทศ Ukraine) ฝึกฝนการถ่ายภาพจาก Dovzhenko Film Studios มีผลงานขาประจำ Studio Trite (Russia) และ Camera One (France) อาทิ Close to Eden (1991), Burnt by the Sun (1994) ฯ

สถานที่สวยๆทำให้การถ่ายภาพมีชัยไปกว่าครึ่ง! พื้นที่ราบ Hulunbuir Prairie, Inner Mongolia เป็นดินแดนที่มีความกว้างใหญ่ไพศาล ท้องทุ่งหญ้าสุดลูกหูลูกตา ทิวเขาลิบๆ เมฆหมอกเต็มท้องฟ้า ทำให้ผู้ชมรู้สึกผ่อนคลาย เบาสบาย ราวกับจิตวิญญาณได้รับการปลดปล่อยสู่อิสรภาพ, ผิดแผกแตกต่างจากครึ่งหลังเมื่อเข้าไปถ่ายทำในเมืองใหญ่ เต็มไปด้วยแสงสีสัน ความว้าวุ่นวาย ผู้คนมากมาย เหม่อมองไปทางไหนพบเห็นตึกรามบ้านช่อง กฎกรอบห้อมล้อมรอบ ไม่ต่างจากการถูกควบคุมขัง

จากนั้นพอเข้าสู่องก์สามของหนัง ความติสต์แตกของผกก. Mikhalkov คือพยายามซ้อนทับระหว่างอดีต-ปัจจุบัน ความจริง-เพ้อฝัน (หลังฝันถึงเจงกีสข่าน) พบเห็นภาพในจอโทรทัศน์ ซ้อนทับโลกความจริง! นั่นอาจสร้างความสับสน มึนงงให้กับผู้ชมทั่วไป แต่ถ้าสามารถขบครุ่นคิดตามได้ ก็อาจเข้าใจคำพยากรณ์อนาคต จุดจบของสรวงสวรรค์อยู่อีกไม่ไกล


โปสเตอร์ภาพยนตร์ Cobra (1986) นำแสดงโดย Sylvester Stallone, ผมเคยรับชมเมื่อนานมากๆแล้ว เน้นเอามันส์อย่างเดียว จดจำเนื้อเรื่องไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ แต่ก็พยายามหาอ่านเรื่องย่อเพื่อมองหาสัมพันธ์ แล้วพบว่ากลุ่มก่อการร้ายที่มือปราบกระดูกเหล็กต้องเผชิญหน้ามีชื่อว่า “New World” น่าจะพอเชื่อมโยงกับหนังเรื่องนี้ได้อยู่กระมัง

แทนที่เด็กหญิงจะฝึกฝนเครื่องดนตรีพื้นบ้านมองโกเลียใน เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น กลับไปฝึกฝนแอคคอร์เดียนที่เป็นเครื่องดนตรีประจำชาติฝรั่งเศส! นี่แฝงนัยยะถึงการค่อยๆถูกแทรกซึม กลืนกิน วัฒนธรรมท้องถิ่นกำลังใกล้สูญหาย คนรุ่นใหม่ไม่เห็นคุณค่าความสำคัญของประวัติศาสตร์

ถ้าไม่เพราะผมเพิ่งรับชม Burnt by the Sun (1994) ก็คงไม่สามารถจดจำผกก. Mikhalkov แอบมาปรากฎตัว (Cameo) ปั่นจักรยานตัดหน้ากล้อง (สวมเสื้อสีเขียว)

ระหว่างที่อยู่ในเมือง Gombo เตร็ดเตร่เร่ร่อนอยู๋ในเมืองใหญ่ เดินไปเดินมาถึงสวนสนุก จ่ายเงินขึ้นนั่งเครื่องบินเด็กเล่น นี่ไม่ได้สื่อถึงชีวิตอันโลดโผน หรือเคว้งคว้างล่องลอยอย่างไร้แก่นสาร แต่นัยยะคล้ายๆการไต่รถถังของ The 400 Blows (1959) สะท้อนชีวิตชาวเมืองที่เวียนวนไปวนมา เหมือนได้รับอิสรภาพโบยบิน แต่กลับถูกยึดเหนื่ยวรั้งด้วยบางสิ่งอย่าง

ข้อดีของโทรทัศน์/สื่อสารมวลชน ทำให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร แม้จากสถานที่ทุรกันดารห่างไกล แต่ขณะเดียวกันมันก็ค่อยๆบ่อนทำลายอัตลักษณ์ สูญเสียวัฒนธรรม ผู้ชมได้รับอิทธิพลจากสิ่งต่างๆพบเห็น ค่อยถูกชวนเชื่อ ล้างสมอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แล้วสักวันในอนาคต สิ่งเคยพบเห็นในชีวิตจริง ก็จักหลงเหลือเพียงภาพ(ยนตร์) ประวัติศาสตร์ ฉายผ่านจอตู้สี่เหลี่ยม … รวมถึงเรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

ภาพสุดท้ายของหนังเป็นสิ่งที่น่าหวาดสะพรึงกลัวยิ่งนัก! จากทุ่งหญ้าเคยเขียวขจี มีท่อนไม้ Urga ปักอยู่กลางท้องทุ่ง เปลี่ยนแปลงสภาพกลายเป็นปล่องควันโรงงานอุตสาหกรรม ผืนดินแปรสภาพลูกรัง นั่นคือภาพสะท้อนอนาคต (หรือปัจจุบันนั้น-นี้) อิทธิพลโลกภายนอกทำให้ชนพื้นเมือง Inner Mongolia สูญเสียวิถีชีวิต ถูกกลืนกินวัฒนธรรม ไม่หลงเหลือภาพสรวงสวรรค์อีกต่อไป

ตัดต่อโดย Joëlle Hache, เรื่องราวของหนังเวียนวนอยู่กับสามตัวละคร Gombo, Pagma และชายชาวรัสเซีย Sergei ครึ่งแรกดำเนินเรื่องอยู่ยังพื้นที่ราบ Hulunbuir Prairie, Inner Mongolia ส่วนครึ่งหลัง Sergei ขับรถพา Gombo เดินทางเข้าไปในเมืองใหญ่ จากนั้นจะร้อยเรียงภาพของทั้งสาม ทำสิ่งแตกต่างกันไป

  • พื้นที่ราบ Hulunbuir Prairie, Inner Mongolia
    • Gombo พยายามใช้ Urga คล้องภรรยาเพื่อร่วมเพศสัมพันธ์ แต่เธอกลับต่อต้านขัดขืน เพราะไม่ต้องการทำผิดกฎหมายจากนโยบายลูกคนเดียว
    • การมาถึงของคนขับรถบรรทุก Sergei ในสภาพง่วงหงาวหาวนอน ครึ่งหลับครึ่งตื่น เกือบจะไม่ฟื้น อีกนิดเกือบพุ่งลงแม่น้ำ
    • Gombo ได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของ Sergei แต่ตอนนี้เย็นแล้วจึงชักชวนมายังกระโจมบ้านพัก
    • ฆ่าแกะทำอาหารเย็น ดื่มสุราเมามาย ค่ำคืนนี้นอนหลับฝันดี
    • เช้าวันถัดมา Pagma พยายามโน้มน้าวให้ Gombo ซื้อโทรทัศน์และถุงยางอนามัย
  • เดินทางสู่เมืองใหญ่
    • Sergei อาสาพา Gombo เดินทางเข้าเมืองใหญ่
      • Gombo แวะเวียนเข้าร้านขายยา แต่ก็สองจิตสองใจ ไม่อยากซื้อถุงยางอนามัย จากนั้นล่องลอยเรื่อยเปื่อยในเมืองใหญ่ ซื้อของฝาก ขึ้นเครื่องบินสวนสนุก
      • ขณะที่ Sergei หวนกลับหาภรรยา ร่วมเพศสัมพันธ์
      • ตัดกลับมา Pagma และลูกๆ เฝ้ารอคอยการกลับมาของสามีอย่างใจจดใจจ่อ
    • ค่ำคืนนั้น Sergei ชักชวน Gombo มาดื่มด่ำในผับบาร์ พอมึนเมามายขึ้นร้องเพลงบนเวที ถูกตำรวจจับกุม
    • Gombo ขอความช่วยเหลือจากพี่ชายของภรรยา จนสามารถลากพา Sergei กลับออกมา
  • ระหว่างทางกลับบ้าน
    • เช้าวันถัดมา Gombo จึงซื้อสิ่งข้าวของฝาก แล้วออกเดินทางกลับบ้าน
    • ระหว่างทางกลับบ้าน Gombo แวะเวียนยังวัดแห่งหนึ่ง เหมือนต้องการอธิษฐานขอพรอะไรสักอย่าง
    • ช่วงพักทานอาหาร เหมือนจะนอนหลับฝันกลางวัน พบเห็นภรรยาควบขี่ม้ามากับเจงกิสข่าน
    • พอกลับมาถึงบ้าน ติดตั้งเสาสัญญาณ พบเห็นภาพในโทรทัศน์ซ้อนทับเหตุการณ์จริง
    • Sergei หวนกลับมาเยี่ยมเยียน เสียงบรรยายของบุตรชายกล่าวถึงอนาคต

ช่วงแรกของหนังดำเนินไปอย่างเรื่อยเปื่อย เอื่อยเฉื่อย ไม่เร่งรีบร้อน เพื่อให้ผู้ชมสามารถซึมซับความงดงามทิวทัศน์ท้องทุ่ง/พื้นที่ราบกว้างใหญ่ แต่พอเข้าสู่องก์สองและสาม การตัดต่อจะเริ่มมีความเร่งรีบ สลับมุมมองชวนให้สับสน ชีวิตเต็มไปด้วยความวุ่นๆวายๆ ซึ่งสะท้อนวิถีสังคมเมือง และทิศทางอนาคตที่ชนบทกำลังจะถูกกลืนกิน หมดสูญสิ้น


เพลงประกอบโดย Eduard Nikolayevich Artemyev, Эдуа́рд Никола́евич Арте́мьев (1937-2022) นักแต่งเพลง สัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Novosibirsk, สำเร็จการศึกษาจาก Moscow Conservatory เป็นลูกศิษย์ของ Yuri Shaporin, มีความสนใจในดนตรีไฟฟ้า (Electronic) และเครื่องสังเคราะห์ (Synthesizer) ออกอัลบัม ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ ขาประจำผู้กำกับ Andrei Tarkovsky, Andrei Konchalovsky และ Nikita Mikhalkov. อาทิ Solaris (1972), A Slave of Love (1976), An Unfinished Piece for Mechanical Piano (1977), Stalker (1979), Siberiade (1979), Close to Eden (1991), Burnt by the Sun (1994), The Barber of Siberia (1998), 12 (2007), The Postman’s White Nights (2014) ฯ

ผมแอบคาดหวังไว้พอสมควรว่าจะได้ยินบทเพลงพื้นบ้านมองโกเลียใน (Traditional Mongolian Folk Song) แต่ส่วนใหญ่กลับกลายเป็นเสียงขลุ่ย (Flute) มีความล่องลอยโหยหวน พัดพาจิตวิญญาณให้ล่องลอยไป พร้อมภาพทิวทัศน์กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ผสมผสานคลุกเคล้าเครื่องดนตรีไฟฟ้า/สังเคราะห์เสียง (สไตล์ถัดของ Artemyev) เพื่อสื่อถึงการแทรกซึม แทรกแซม อนาคตทุกสิ่งอย่างจะเลือนลางเข้าหากัน

ด้วยความที่นักแสดงนำหญิง Badema ในชีวิตจริงยังเป็นนักร้องเพลงพื้นบ้าน จึงมีหลายบทเพลงที่เธอทั้งแต่งและขับร้อง ถึงฟังความหมายไม่ออก แต่ผู้ฟังย่อมสามารถสัมผัสถึงจิตวิญญาณ บางสิ่งอย่างจากท่วงทำเพลง

Amtataig idsen chi, Garandaa shingeehgue
(Even if its delicious, it doesn’t soak into your hand/mouth)
Altin edend chi, Altan biend naaldahgue
(Even if its gold, it doesn’t stick on your body)
Amtataig idsen chi, Garandaa shingeehgue
(Even if its delicious, it doesn’t soak into your hand/mouth)
Hairtai chi mini alas yavad ireh shinjgue
(And my lovely dear whose gone far away, seems won’t come back)
Huils haa baivak suuder tendee shuu
(Where huils?.. there is shadow)
Hairtai nuhur mini haa baival setgel tendee shuu
(Where my lovely husband there is my heart/soul)

บทเพลงไพเราะสุดของหนังคือ Urga Love เริ่มต้นด้วยเสียงเป่าขลุ่ย มีความพริ้วไหว ราวกับจิตวิญญาณล่องลอยไป ก่อนค่อยๆแปรสภาพกลายเป็นเครื่องสังเคราะห์เสียง/ดนตรีไฟฟ้า บรรเลงท่วงทำนองเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการ ปัจจุบัน-อนาคต โลกกำลังปรับเปลี่ยนแปลง แต่เรื่องราวความรักไม่ว่ายุคสมัยนั้นก็ยังคงเดิมตลอดกาลนาน

บทเพลงของ Artemyev มักได้ยินในรูปแบบ Soundtrack (Non-Diegetic) คลอประกอบพื้นหลัง พร้อมๆภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ ท้องทุ่งกว้างใหญ่, แต่ก็ยังมีบทเพลงอื่นๆดังจากแหล่งกำเนิดเสียง (Diegetic Music) วิทยุ/โทรทัศน์, แสดงดนตรีสด/ขับร้องเพลงในผับบาร์, เดี่ยวเปียโน (Chopin: Nocturne Op.9 No.2), เดี่ยวแอคคอร์เดียน ฯ

สำหรับบทเพลงที่บุตรสาวโชว์เดี่ยวแอคคอร์เดียนหลังรับประทานอาหารเย็นชื่อว่า España cañí (แปลว่า Gypsy Spain) หรือ Spanish Gypsy Dance แต่งโดย Pascual Marquina Narro (1873–1948)

และบทเพลงที่อยู่บนแผ่นหลังของ Sergei ก็คือ On the Hills of Manchuria (1906) ชื่อเต็มๆ The Mokshansky Regiment on the Hills of Manchuria ท่วงทำนอง Waltz ประพันธ์โดย Ilya Alekseevich Shatrov (1879/85-1952) นักแต่งเพลงประจำกองทัพรัสเซีย ครุ่นคิดเขียนขึ้นจากประสบการณ์ Battle of Mukden (1905) ระหว่าง Russo-Japanese War (1904-05) อุทิศให้เพื่อนสนิทคนหนึ่งที่เสียชีวิตจากไป

On the Hills of Manchuria เรียกได้ว่า ‘เพลงชาติ’ ประจำกองทัพรัสเซีย สำหรับปลุกใจทหารหาญ ให้พร้อมเสียสละชีพเพื่อชาติ ซึ่งการเลือกใช้บทเพลงนี้แสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์รักชาตินิยม (Nationalism) ของผกก. Mikhalkov ไม่มีวันสั่นคลอน แม้สถานการณ์การเมืองในประเทศจะย่ำแย่ลงสักเพียงใด

คำร้องรัสเซียคำอ่านรัสเซียคำแปลอังกฤษ
Тихо вокруг, сопки покрыты мглой,
Вот из-за туч блеснула луна,
Могилы хранят покой.
Белеют кресты – это герои спят.
Прошлого тени кружат давно,
О жертвах боёв твердят.

Плачет, плачет мать родная,
Плачет молодая жена,
Плачут все, как один человек,
Злой рок и судьбу кляня!

Тихо вокруг, ветер туман унёс,
На сопках маньчжурских воины спят
И русских не слышат слёз.
Пусть гаолян вам навевает сны,
Спите герои русской земли,
Отчизны родной сыны.

Плачет, плачет мать родная,
Плачет молодая жена,
Плачут все, как один человек,
Злой рок и судьбу кляня!

Вы пали за Русь, погибли вы за Отчизну,
Поверьте, мы за вас отомстим
И справим кровавую тризну!
Tiho vokrug, sopki pokryty mgloj,
Vot iz-za tuč blesnula luna,
Mogily hranjat pokoj.
Belejut kresty – èto geroi spjat.
Prošlogo teni kružat davno,
O žertvah boëv tverdjat.

Plačet, plačet matʹ rodnaja,
Plačet molodaja žena,
Plačut vse, kak odin čelovek,
Zloj rok i sudʹbu kljanja!

Tiho vokrug, veter tuman unës,
Na sopkah manʹčžurskih voiny spjat
I russkih ne slyšat slëz.
Pustʹ gaoljan vam navevaet sny,
Spite geroi russkoj zemli,
Otčizny rodnoj syny.

Plačet, plačet matʹ rodnaja,
Plačet molodaja žena,
Plačut vse, kak odin čelovek,
Zloj rok i sudʹbu kljanja!

Vy pali za Rusʹ, pogibli vy za Otčiznu,
Poverʹte, my za vas otomstim
I spravim krovavuju triznu!
Around us, it is calm; Hills are covered by mist,
Suddenly, the moon shines through the clouds,
Graves hold their calm.
The white glow of the crosses – heroes are asleep.
The shadows of the past circle around,
Recalling the victims of battles.

Dear mother is shedding tears,
The young wife is weeping,
All like one are crying,
Cursing fate, cursing destiny!

Around us, it’s calm; The wind blew the fog away,
Warriors are asleep on the hills of Manchuria
And they cannot hear the Russian tears.
Let sorghum’s rustling lull you to sleep,
Sleep in peace, heroes of the Russian land,
Dear sons of the Fatherland.

Dear mother is shedding tears,
The young wife is weeping,
All like one are crying,
Cursing fate, cursing destiny!

You fell for Russia, perished for Fatherland,
Believe us, we shall avenge you
And celebrate a bloody wake!

ชายชาวรัสเซีย มีความอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ครึ่งหลับครึ่งตื่น เกือบจะไม่ฟื้นเพราะขับรถพุ่งลงแม่น้ำ โชคดีได้รับความช่วยเหลือจากคนพื้นเมือง Inner Mongolia แม้พูดคุยสื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่แค่มองตา ภาษากาย ก็สามารถทำความเข้าใจ รับรู้ความต้องการ บังเกิดมิตรภาพคาดไม่ถึง

แต่สรวงสวรรค์แห่งนี้กำลังได้รับผลกระทบ อิทธิพลจากโลกภายนอกค่อยๆแทรกซึมเข้ามา อาหารการกิน, สิ่งอำนวยความสะดวก, ของเด็กเล่น, เครื่องดนตรี (แอคคอร์เดียน), เครื่องใช้ไฟฟ้า, โทรทัศน์, วิทยุ, โปสเตอร์ภาพยนตร์, ท้องถนนหนทาง, รวมถึงนโยบายลูกคนเดียวของสาธารณรัฐประชาชนจีน บีบบังคับให้ประชาชนใช้ถุงยางอนามัยในการคุมกำเนิด แต่นั่นเป็นการบ่อนทำลายวิถีชีวิต กลืนกินวัฒนธรรม กิจกรรมทางเพศมันหักห้ามกันได้เสียที่ไหน!

อิทธิพลภายนอกที่กำลังคืบคลานเข้ามา ทำให้ผกก. Mikhalkov แสดงทัศนะถึงอนาคตอันใกล้ สรวงสวรรค์แห่งนี้จักค่อยๆเลือนลาง วัฒนธรรมเจือจางหาย วิถีชีวิตปรับเปลี่ยนแปลงไป จนในที่สุดอาจหลงเหลือเพียงภาพ(ยนตร์)ในจอโทรทัศน์ เก็บบันทึกประวัติศาสตร์ เจงกีสข่านไว้ให้คนรุ่นหลังได้เชยชม

ตัวละคร Sergei อย่างที่อธิบายไปแล้วว่าคือตัวแทนผกก. Mikhalkov พลัดหลงมายังดินแดนห่างไกล พบเห็นวิถีชีวิต วัฒนธรรมแปลกใหม่ ตกหลุมรักธรรมชาติงดงาม บังเกิดความสงบสุขขึ้นภายใน, ตอนรำพันถึงภรรยาขณะมึนเมามาย สามารถสะท้อนสถานการณ์ความไม่สงบในสหภาพโซเวียต นั่นคือเหตุผลของการออกเดินทาง สรรค์สร้างภาพยนตร์ยังต่างประเทศ นั่นไม่ได้แปลว่าตนเองทรยศต่อชาติบ้านเกิด ตรงกันข้ามกลับยิ่งโหยหา ครุ่นคิดถึง (เมาแล้ว)จึงขึ้นไปร่ำร้องเพลง ประกาศให้โลกรับรู้ถึงความรักต่อมาตุภูมิ …. รักชาตินิยม (Nationalism)


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice เสียงตอบรับถือว่าดีเยี่ยม (ประธานกรรมการปีนั้น Gian Luigi Rondi คือนักเขียน/วิจารณ์ภาพยนตร์ ซึ่งยังได้เชิญเพื่อนนักวิจารณ์มาร่วมสังฆกรรมอีกสองคน) สามารถคว้ามาสามรางวัลรวมถึง Golden Lion โดยเอาชนะภาพยนตร์อย่าง Edward II, The Fisher King, Mississippi Masala, My Own Private Idaho, Raise the Red Lantern ฯ

  • Golden Lion
  • OCIC Award
  • Pasinetti Award – Best Film

ช่วงปลายปียังได้เข้าชิงสาขาภาพยนตร์ต่างประเทศจากหลากหลายสถาบัน แต่ส่วนใหญ่พ่ายให้กับ Indochine (1992) กำกับโดย Régis Wargnier ตัวแทนจากฝรั่งเศส

  • Academy Award: Best Foreign Language Film
  • César Awards: Best Foreign Film (Meilleur film étranger)
  • European Film Award: European Film of the Year ** คว้ารางวัล
  • Golden Globe Award: Best Foreign Language Film

หนังอาจหารับชมยากสักหน่อย มีจัดจำหน่ายเพียง DVD คุณภาพก็ตามมีตามเกิด หรือหาทางออนไลน์ใน Youtube ค้นชื่อภาษาอังกฤษไม่เจอก็ใช้ภาษารัสเซีย ไม่ต้องซับไตเติ้ลก็ยังพอดูรู้เรื่อง

ส่วนตัวชื่นชอบครึ่งแรกของหนังมากๆ เพลิดเพลินกับความงดงามของทิวทัศน์ท้องทุ่ง/พื้นที่ราบ และความสัมพันธ์ต่างเชื้อชาติ-ต่างภาษา น่าเสียดายความติสต์แตกของผกก. Mikhalkov ครึ่งหลังทำให้ผมหงุดหงิด หัวเสีย ทำไมต้องทำเรื่องง่ายๆให้กลายเป็นเรื่องยุ่งยาก ขึ้นสวรรค์อยู่ดีๆตกนรกโดยพลัน

จัดเรต pg ภาพการฆ่าสัตว์ ดื่มสุราเมามาย ระริกระรี้อยากมีเพศสัมพันธ์

คำโปรย | ความงดงามของพื้นที่ราบ Inner Mongola ราวกับสรวงสวรรค์ Close to Eden ถ้าไม่เพราะความติสต์แตกของผู้กำกับ Nikita Mikhalkov อาจสมบูรณ์แบบยิ่งกว่านี้!
คุณภาพ | ค์ติสต์แตก
ส่วนตัว | ล่องลอย

Dersu Uzala (1975)


Dersu Uzala (1975) USSR : Akira Kurosawa ♥♥♥♥

ผู้สูงวัยอย่าง Dersu Uzala (และผู้กำกับ Akira Kurosawa) แม้มีความเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า ไม่สามารถปรับตัวเข้าโลกสมัยใหม่ แต่บุคคลสูงวัยล้วนมีประสบการณ์ พานผ่านอะไรๆมามาก เคยอาบน้ำร้อนมาก่อน เราจึงควรรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช่เฉดหัวทิ้งไว้เบื้องหลัง, คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film และ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

เพราะปัญหาจาก Tora! Tora! Tora! (1970) ต่อด้วยความล้มเหลวย่อยยับ Dodes’ka-den (1970) ทำให้สตูดิโอ(ในญี่ปุ่น)ขาดความเชื่อมั่น ปฏิเสธมอบทุนสร้างโปรเจคถัดไป แถมสุขภาพร่างกายย่ำแย่ สภาพจิตใจตกต่ำ ผกก. Kurosawa เลยครุ่นคิดสั้น พยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง ถ้าไม่เพราะมีโอกาสสรรค์สร้าง Dersu Uzala (1975) ระบายความรู้สึกอัดอั้น สมญานามจักรพรรดิแห่งวงการภาพยนตร์คงสิ้นสุดลงตั้งแต่กาลครั้งนั้น!

When the river he was born in and raised in (เปรียบเทียบถึงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ญี่ปุ่น) becomes polluted, he can’t climb back upstream to lay his eggs – he has trouble making his films… One such salmon, seeing no other way, made a long journey to climb a Soviet river and give birth to some caviar. This is how my 1975 film Dersu Uzala came about. Nor do I think this is such a bad thing. But the most natural thing for a Japanese salmon to do is to lay its eggs in a Japanese river.

Akira Kurosawa

Dersu Uzala (1975) แม้ต้องบุกป่าฝ่าดง ถ่ายทำยังสถานที่ทุรกันดาร ห่างไกลความเจริญ แต่ผกก. Kurosawa ยังสามารถโชว์ความเก๋า นำเอาประสบการณ์สรรค์สร้างภาพยนตร์กว่าสามทศวรรษ มาปรับประยุกต์ใช้ ทำออกมาให้ดูเรียบง่าย แต่ซุกซ่อนเร้นความหมาย นัยยะอันทรงคุณค่ามากหลาย

ในบรรดาผลงานของผกก. Kurosawa หลายคนอาจมองข้าม Dersu Uzala (1975) แม้สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film แต่เพราะไม่ใช่หนังญี่ปุ่น, ไม่มี Toshiro Mifune, รวมถึงไม่ได้มีลูกเล่นแพรวพราวเหมือนเรื่องอื่นๆ จึงมักตกหล่นหาย ไม่ค่อยมีใครพูดกล่าวถึง แต่ผมครุ่นคิดว่านี่อาจเป็นภาพยนตร์มีความเป็นมนุษย์ (Humanism) มากที่สุดเรื่องหนึ่ง! สมควรค่าแก่การ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

เกร็ด: Dersu Uzala (1975) ได้รับเลือกจากสำนักวาติกัน (Vatican Film List) ติดหนึ่งใน 45 ภาพยนตร์ หมวดหมู่ความทรงคุณค่า (Values)


Akira Kurosawa (1910-98) ปรมาจารย์ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ōmori, Tokyo บิดาเคยเป็นซามูไร ฐานะค่อนข้างร่ำรวย แต่สอนให้ลูกๆเปิดรับแนวคิด/วัฒนธรรมจากชาติตะวันตก ทำให้เด็กชาย Kurosawa มีโอกาสรับชมภาพยนตร์เรื่องแรกตั้งแต่ตอนอายุ 6 ขวบ ถึงอย่างนั้นความสนใจแรกกลับอยากเป็นศิลปิน จิตรกร ซึ่งก็ได้มุ่งไปทางนั้น หัดเรียนเขียนแบบ คัดตัวหนังสือ และเคนโด้ ควบคู่กันไป, โตขึ้นพยายามหาเลี้ยงชีพด้วยการวาดรูปแต่ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1935 มีสตูดิโอภาพยนตร์เกิดขึ้นใหม่ Photo Chemical Laboratories หรือ P.C.L. (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Toho หนึ่งในสตูดิโอใหญ่สุดของญี่ปุ่นในปัจจุบัน) เปิดรับสมัครตำแหน่งผู้ช่วยผู้กำกับ แม้ว่า Kurosawa ที่ไม่เคยสนใจทำงานดังกล่าว ลองยื่นใบสมัครพร้อมส่ง Essay แสดงความคิดเห็นถึงข้อบกพร่องพื้นฐานของวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่น จงใจเขียนในลักษณะประชดประชัน ปรากฎว่าผกก. Kajirō Yamamoto อ่านแล้วเกิดความสนใจ เรียกมาสัมภาษณ์งาน และว่าจ้างให้กลายเป็นผู้ช่วยส่วนตัว

Kurosawa มีคนที่เรียนรู้งานไว ส่อแววอัจฉริยะ ทำได้ทุกอย่างตั้งแต่ออกแบบ สร้างฉาก จัดแสง พากย์เสียง ตัดต่อ ก้าวหน้าจากผู้ช่วยลำดับสา่ม (Third Assistant) กลายเป็นหัวหน้า (Chief Assistant) ในระยะเวลาไม่ถึงปี แถมยังได้ผกก. Yamamoto คอยส่งเสริม ปลุกปั้น เป็นอาจารย์ (mentor) ให้คำชี้แนะนำ ทั้งยังผลักดันให้ช่วยกำกับ Horse (1941), และได้รับเครดิตกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Sanshiro Sugata (1942)

กว่าสองทศวรรษที่ปักหลักใช้ชีวิต สรรค์สร้างผลงานโลกตะลึงมากมายในสังกัด Toho พอหมดสัญญาเมื่อปี ค.ศ. 1966 ผกก. Kurosawa ก็เกิดความตระหนักว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในและนอกญี่ปุ่น กำลังปรับเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ความสำเร็จระดับนานาชาติทำให้มีข้อเสนอต่างชาติยื่นเข้ามามากมาย จะลองสักหน่อยเป็นไรไป โปรเจคแรกวางแผนไว้คือ Runaway Train (แค่ชื่อก็บอกถึงความสนใจผกก. Kurosawa ได้อย่างชัดเจน ต้องการหนีออกจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ญี่ปุ่น) แนว Action Thriller แต่ไม่ทันไรก็พบปัญหาการสื่อสาร พัฒนาบทภาษาอังกฤษค่อนข้างล้าช้า จนถูกสตูดิโอสั่งล้มเลิกงานสร้าง … กว่าจะได้สร้างก็อีกหลายทศวรรษถัดมา Runaway Train (1985) กำกับโดย Andrei Konchalovsky

จากนั้นสตูดิโอ 20th Century Fox พัฒนาโปรเจค Tora! Tora! Tora! (1970) ตั้งใจจะแบ่งครึ่งหนึ่งนำเสนอผ่านมุมมองอเมริกัน พยายามติดต่อ David Lean ก่อนเปลี่ยนมาเป็น Richard Fleischer, และอีกครึ่งฟากฝั่งญี่ปุ่นมอบหมาย Kurosawa ใช้เวลาพัฒนาบทอยู่เกือบปี แต่พอถ่ายทำได้เพียงสามสัปดาห์กลับประสบปัญหามากมาย ไม่สามารถพูดคุยสื่อสารทีมงาน ไม่เข้าใจวิธีการทำงานสไตล์ Hollywood เกิดอาการเคร่งเครียด นอนน้อย วิตกกังวล แพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการป่วยทางจิต จึงสั่งให้พักรักษาตัวสองเดือน เลยจำต้องถอนตัวออกไป (ได้ผู้กำกับแทนที่คือ Kinji Fukasaku และ Toshio Masuda)

เสียงตอบรับที่ไม่ดีสักเท่าไหร่ของ Tora! Tora! Tora! (1970) สร้างความหวาดกังวลให้ผกก. Kurosawa กลัวจะสูญเสียชื่อเสียงเคยสะสมมา เร่งรีบสรรค์สร้างผลงานถัดมา Dodes’ka-den (1970) เป็นภาพยนตร์ฟีล์มสีเรื่องแรก (ของ Kurosawa) แม้ด้วยงบประมาณเพียง ¥100 ล้านเยน กลับถูกวิพากย์วิจารณ์อย่างหนักในญี่ปุ่น แถมไม่สามารถทำกำไรคืนทุน (แต่ตัวหนังได้เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film) นั่นทำให้เขาล้มป่วยโรคซึมเศร้า (Depression) เคยครุ่นคิดสั้น กรีดข้อมืด กรีดคอ ตั้งใจจะฆ่าตัวตายอยู่หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ!


ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าโปรเจค Dersu Uzala (1975) เริ่มต้นอย่างไร? เพราะเท่าที่ค้นหาจากหลายแหล่งข่าว มีความคลาเคลื่อนอยู่พอสมควร

  • แหล่งข่าวแห่งหนึ่งบอกว่าโปรดิวเซอร์ Yoichi Matsue และผู้ช่วย Teruyo Nogami ทำการติดต่อเข้าหาสตูดิโอ Mosfilm เพื่อให้ผกก. Kurosawa มีโอกาสสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่รัสเซีย
  • อีกแหล่งข่าวบอกว่าผู้กำกับ Sergei Gerasimov เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อชักชวนผกก. Kurosawa ให้มาสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่รัสเซีย
  • อีกแหล่งข่าวบอกว่าผกก. Kurosawa เดินทางไปร่วมงาน Moscow Film Festival แล้วได้ร่วมวงสนทนากับ Lev Krzyanov และ Sergei Gerasimov เลยชักชวนให้มากำกับภาพยนตร์รัสเซีย

ผกก. Kurosawa มีความลุ่มหลงใหล สนใจในวรรณกรรมรัสเซียมาตั้งแต่เด็ก เคยดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ The Idiot (1951) จากบทประพันธ์ Fyodor Dostoevsky และ The Lower Depths (1957) ของนักเขียน Maxim Gorky ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นหลังจากรัสเซียมาเป็นญี่ปุ่น

เมื่อผกก. Kurosawa ตอบตกลงว่าจะเดินทางไปสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่รัสเซีย แสดงเจตจำนงค์อยากดัดแปลงนวนิยาย Taras Bulba (1835) ของ Nikolai Gogol (1809-52) แต่ขณะนั้นกำลังมีโปรดักชั่นของ Sergei Bondarchuk เลยล้มเลิกความตั้งใจ … แต่สุดท้าย Bondarchuk ก็ไม่ได้สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้!

ต่อมาจึงพยายามดัดแปลงนวนิยาย The House of the Dead (1860-62) ของ Fyodor Dostoevsky แต่ไม่นานก็ยินยอมรับความพ่ายแพ้ เพราะเนื้อหาสลับซับซ้อนเกินกว่าจะทำออกมาเป็นสื่อภาพยนตร์! เลยเปลี่ยนความสนใจมายังหนังสือ Dersu Uzala (1923)

Dersu Uzala, Дерсу Узала (1923) หรือ With Dersu the Hunter and Dersu the Trapper คือหนังสือจดบันทึก (Memoir) ของนักสำรวจชาวรัสเซีย Vladimir Arsenyev (1872-1930) ระหว่างการบุกเบิก Russian Far East แล้วได้พบเจอนายพราน Dersu Uzala (1849-1908) ชาติพันธุ์ Nanai (ชาว Goldi) อาสาเป็นไกด์นำทางระหว่างปี ค.ศ. 1902-07

เกร็ด: ก่อนหน้านี้ Dersu Uzala เคยได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เมื่อปี ค.ศ. 1961 กำกับโดย Agasi Babayan

เมื่อช่วงทศวรรษ 50s ผกก. Kurosawa เคยครุ่นคิดดัดแปลงสร้างภาพยนตร์หลังจาก The Idiot (1951) ร่วมพัฒนาบทกับ Eijiro Hisaita ตั้งชื่อว่า Ezo Kenki โดยใช้พื้นหลัง Hokkaido แต่พอออกสำรวจสถานที่กลับรู้สึกไม่พึงพอใจสักเท่าไหร่ ตระหนักว่าคงต้องเข้าไปถ่ายทำยังผืนป่า Taiga ซึ่งยุคสมัยนั้นทางการสหภาพโซเวียตคงไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้าไปแน่ๆ เลยเก็บเข้ากรุขึ้นหิ้งเอาไว้ คาดไม่ถึงว่าสักวันหนึ่งโอกาสนั้นจะมาถึง!

ในส่วนของบทหนัง เพราะต้องมีการแปลภาษารัสเซีย รวมถึงได้รับการอนุมัติจาก Mosfilm (และกองเซนเซอร์ Goskino) เลยต้องร่วมงานกับนักเขียน Yuri Nagibin แต่เห็นว่าพวกเขามีความคิดเห็นแตกต่างกันแค่ฉากเดียวเท่านั้น นอกนั้นก็เห็นพ้องคล้อยตามวิสัยทัศน์ของผกก. Kurosawa

เกร็ด: ในตอนแรกสตูดิโอ Mosfilm อยากได้แพ็กเก็ตคู่ ผกก. Kurosawa และนักแสดงนำ Toshiro Mifune แต่โปรดิวเซอร์เข้าไปคุยพูดคุย บอกว่าเป็นไปได้ยากที่จะต่อรองคิวงานกับ Mifune เพราะอาจต้องเสียเวลาถ่ายทำเป็นปีๆ เลยจำต้องล้มเลิกความตั้งใจดังกล่าว แล้วเปลี่ยนมาใช้บริการนักแสดงชาวรัสเซียจริงๆ


ช่วงต้นทศวรรษ 1900s, Captain Arsenyev (รับบทโดย Yury Solomin) ได้รับมอบหมายออกสำรวจทำแผนที่ ณ ภูมิภาค Shkotova ระหว่างกำลังพลัดหลงทางในป่า ได้พบเจอนายพราน Dersu Uzala (รับบทโดย Maxim Munzuk) ประทับใจในความรอบรู้ เชี่ยวชำนาญ เลยชักชวนให้มาเป็นไกด์นำทาง ทำให้การสำรวจราบรื่น และสามารถเอาตัวรอดพานผ่านประสบการณ์เฉียดตาย

หลายปีถัดมา Captain Arsenyev ได้รับมอบหมายออกสำรวจครั้งใหม่ พยายามติดตามหาแล้วก็ได้พบเจอ Dersu Uzala อีกครั้ง! แต่การเดินคราวนี้ทำให้ค้นพบว่าอดีตนายพรานผู้ยิ่งใหญ่ กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา มองไม่ค่อยเห็น ยิงปืนไม่โดนเป้า Captain Arsenyev เลยชักชวน Dersu มาอาศัยในเมืองร่วมกัน แต่ก็ไม่สามารถปรับตัวเองให้คุ้นเคยชิน สุดท้ายเลยต้องหวนกลับเข้าป่า เผชิญหน้าเหตุการณ์โศกนาฎกรรม


Maxim Monguzhukovich Munzuk, Максим Монгужук-оглу Мунзук (1910-99) นักแสดงสัญชาติ Tuvan เกิดที่ Kyzyl, Tyva (ขณะนั้นคือ Siberian, Russian Empire) จากเคยเป็นนักดนตรีในกองทัพ Tyva’s Artillery Regiment, ช่วงทศวรรษ 30s ออกมาก่อตั้งโรงละคอนท้องถิ่น Republic of Tuva เป็นทั้งนักร้อง เล่นดนตรี แต่งเพลง นักแสดง ผู้กำกับ รวมถึงครูสอนหนังสือ พบเจอโดยผกก. Akira Kurosawa แจ้งเกิดโด่งดังกับภาพยนตร์ Dersu Uzala (1975)

รับบทนายพราน Dersu Uzala ชาติพันธุ์ Nanai เติบโต ใช้ชีวิต อาศัยอยู่ในป่าเขาตั้งแต่เด็ก จึงมีความรอบรู้ เชี่ยวชำนาญ เลยสามารถเอาตัวรอดในทุกๆสถานการณ์ เพราะป่าแห่งนี้เปรียบเสมือนบ้าน จึงมีความรักธรรมชาติ รังเกียจพวกเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ เข่นฆ่าทำลายล้างโดยไม่มีความจำเป็น

เกร็ด: ชาติพันธุ์ Nanai, нанайцы (แปลว่า Native) บางครั้งก็เรียกว่า Goldi, Hezhen, Qilang คือกลุ่มคนเชื้อสาย Tungusic จาก East Asia อาศัยอยู่ตามป่าเขาย่าน Heilongjiang (Amur), Songhuajiang (Sunggari) และ Wusuli River

วันหนึ่งระหว่างกำลังออกล่าสัตว์ บังเอิญได้พบเจอ Captain Arsenyev พูดคุยถูกคอ เลยกลายมาเป็นไกด์นำทางสำหรับภารกิจสำรวจทำแผนที่ พานผ่านประสบการณ์ร้อน-หนาว เฉียดเป็นเฉียดตาย กลายมาเป็นมิตรแท้ แต่หลายปีถัดมาเมื่อพวกเขาได้พบเจอ Dersu เริ่มมีสายตาฝ้าฟาง มองเห็นอะไรไม่ค่อยชัด Captain Arsenyev เลยชักชวนมาอาศัยร่วมกันในเมืองใหญ่ น่าเสียดายมิอาจปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ จึงขอหวนกลับเข้าป่าใช้ชีวิตบั้นปลาย

อาจจะไม่ใช่ชนพื้นเมือง/นายพรานโดยกำเนิด แต่ทว่า Munzuk เป็นคนชอบเข้าป่า ล่าสัตว์ เลยรอบรู้ ดูมีประสบการณ์ ความน่าเชื่อถืออย่างมากๆ ภาพลักษณ์เชื้อสายเอเชีย ตัวเตี้ยกว่านักแสดงรัสเซีย แถมที่สำคัญยังเป็นนักแสดงอาชีพ คนท้องถิ่นที่ผกก. Kurosawa บังเอิญพบเจอแล้วเกิดความประทับใจ …ต้องถือว่าปู่แกเกิดมาเพื่อบทบาทนี้โดยแท้!

ตัวละครนี้ก็คืออวตารของผกก. Kurosawa อายุอานามยังเท่ากันเป๊ะ! มีความรอบรู้ เชี่ยวชำนาญในสิ่งที่ทำ เวลาอยู่ในป่าท่าทางเชื่อมั่น แสดงถึงประสบการณ์ พานผ่านอะไรๆมามาก เลยไม่มีอะไรให้ต้องหวาดกลัวเกรง แต่หลังจากสายตาฝ้าฟาง กระทำสิ่งผิดพลาด ยิงปืนไม่เข้าเป้า เกิดความลุกรี้ร้อนรน กระวนกระวาย หงุดหงิดหัวเสียบ่อยครั้ง พอย้ายมาอยู่ในเมืองก็มิอาจปรับตัวใช้ชีวิต ตกอยู่ในสภาพท้อแท้สิ้นหวัง เหลือเพียงคำขอบคุณอันซาบซึ้ง ก่อนลาจากไปชั่วนิรันดร์

หลังความสำเร็จล้นหลาม(ในรัสเซีย) ทำให้ Munzuk มีโอกาสแสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง จนกลายเป็นศิลปินแห่งชาติ ตั้งชื่อรางวัลนักแสดงนำชายของชาว Tuva รวมถึงองค์กรสนับสนุนศิลปิน Dersu Uzala Foundation


Yury Mefodievich Solomin, Ю́рий Мефо́диевич Соло́мин (เกิดปี 1935) นักแสดงสัญชาติ Russian เกิดที่ Chita, Zabaykalsky Krai (ขณะนั้นคือ East Siberian Krai, Soviet Union) บิดาเป็นนักเชลโล่ & ไวโอลิน มารดาขับร้องเสียง Mezzo-Soprano ต่างเป็นครูสอนดนตรียัง House of Pioneers, แต่บุตรชายเมื่อเติบโตขึ้นเดินทางสู่ Moscow ฝึกฝนการแสดงจาก Shchepkin Theatrical School มีผลงานละคอนเวที โด่งดังจากโปรดักชั่น The Government Inspector (1966), ภาพยนตร์ Dersu Uzala (1975), ซีรีย์ TASS Is Authorized to Declare… (1984), และเคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมระหว่างปี ค.ศ. 1990-92

รับบท Captain Vladimir Arsenyev ได้รับมอบหมายออกสำรวจทำแผนที่ยังเขต Shkotovo, Primorsky Krai (Russian Far East) ระหว่างกำลังพลัดหลงในป่า บังเอิญพบเจอนายพราน Dersu Uzala ประทับใจในความรอบรู้ เชี่ยวชำนาญ เลยชักชวนให้มาเป็นไกด์นำทาง พานผ่านประสบการณ์ร้อน-หนาว เฉียดเป็นเฉียดตาย เลยมีความสนิทสนมชิดเชื้อ ห่วงใยกันและกัน พอพบเห็นอีกฝ่ายมีปัญหาสายตา เลยชักชวนมาอาศัยอยู่ในเมือง แต่สุดท้ายก็มิอาจยับยั้งโชคชะตา หลงเหลือไว้เพียงความทรงจำและคราบน้ำตา

บทบาท Captain Arsenyev อาจไม่ได้น่าประทับใจเทียบเท่า Dersu Uzala แต่คือบุคคลผู้จดบันทึก เล่าเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้น จึงมีความซาบซึ้ง เห็นอกเห็นใจ ต้องการตอบแทนบุญคุณ ให้ความช่วยเหลืออีกฝ่ายอย่างสุดความสามารถ ถึงอย่างนั้นความปรารถนาดี บางครั้งกลับก่อให้เกิดโศกนาฎกรรม ทำอะไรไม่ได้นอกจากเก็บงำความเจ็บปวดรวดร้าว นำเรื่องราวออกเผยแพร่ให้ผู้คนอื่นๆรับรู้จัก ชื่นเชยชม ไม่ให้หลงลืมเลือน


ถ่ายภาพโดย Asakazu Nakai (ญี่ปุ่น) ขาประจำผกก. Kurosawa, Yuri Gantman (รัสเซีย) และ Fyodor Dobronravov (รัสเซีย)

ด้วยความที่โปรดิวเซอร์ Yoichi Matsue หวาดกังวลว่าผกก. Kurosawa อาจมีอาการเครียดเกินไป ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับวิธีการทำงานของรัสเซีย (แบบเดียวกับที่เคยล้มเหลวในการสร้าง Tora! Tora! Tora!) จึงต่อรองสตูดิโอ Mosfilm เพื่อขอใช้ทีมงาน ผู้ช่วย รวมถึงตากล้องจากญี่ปุ่น (ที่เคยร่วมงานผกก. Kurosawa) นั่นทำให้การทำงานค่อนข้างราบรื่น แม้ต้องบุกป่าฝ่าดง เข้าไปถ่ายทำยังดินแดนทุรกันดารก็ตามที

แต่ไม่ใช่ว่าการทำงานจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะสหภาพโซเวียตยุคสมัยนั้นมีข้อจำกัดมากมาย อุปกรณ์ถ่ายทำค่อนข้างล้าหลังกว่าญี่ปุ่น และที่สำคัญคือปริมาณฟีล์มมีจำนวนจำกัด (ใช้ฟีล์ม 70mm มีคำเรียก Sovscope 70) ซึ่งโดยปกติแล้วผกก. Kurosawa ใช้ฟีล์มเปลืองมากๆ เพราะชอบถ่ายทำพร้อมกันหลายๆมุมกล้อง ภาพยนตร์เรื่องนี้เลยจำต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานพอสมควร

ด้วยความที่กล้องฟีล์ม 70mm หรือ Sovscope 70 มีขนาดใหญ่เทอะทะ มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะแบกขึ้นบ่า ขยับเคลื่อนไหวไปมา แถมเข้าไปในป่ารกรุงรัก ใครช่างสังเกตจะพบว่ากล้องมักตั้งอยู่กับที่ เลือกมุมสวยๆ ให้นักแสดงเดินเข้า-ออก ภายในขอบเขตกำหนดไว้ (มากสุดก็คือ Panning, Zooming) สร้างสัมผัสราวกับภาพวาดศิลปะ … นึกถึงลูกหาบที่ต้องขนอุปกรณ์หนักๆเหล่านี้ บุกป่าฝ่าดง เลยไม่แปลกที่ต้องใช้เวลาโปรดักชั่นนานเกือบปี!

การถ่ายทำเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 กว่าจะเสร็จสิ้น 28 เมษายน ค.ศ. 1975 (รวมแล้ว 11 เดือน) โดยกองถ่ายปักหลักอยู่ยัง Arsenyev, Primorsky Krai (Far Eastern) สำหรับคนที่ไม่รู้จัก อยู่ฟากฝั่งตะวันออกสุด ติดทะเลญี่ปุ่น พรมแดนจีน-เกาหลีเหนือ (พินสีแดงบนแผนที่)

เกร็ด: ชื่อเมือง Arsenyev เป็นการตั้งให้เกียรติกับ Captain Vladimir Arsenyev ผู้บุกเบิกผืนป่าบริเวณนี้นี่เอง

ยามค่ำคืนใกล้หลับนอน Captain Arsenyev แหงนมองต้นไม้อาบฉาบด้วยแสงสีแดง นี่มันดูผิดธรรมชาติอย่างมากๆ แถมบทเพลงก็มอบสัมผัสลึกลับ พิศวง ต้องมนต์ เหมือนเขากำลังจะหลุดเข้าไปในโลกมหัศจรรย์บางอย่าง … แท้จริงแล้วคือกำลังจะได้พบเจอชายสูงวัย Dersu ผู้มาจากความมืด แต่มีความน่าอัศจรรย์ให้หลงใหล

Dersu ก้าวออกมาจากความมืดมิด แล้วตรงมานั่งยังฝั่งตรงข้ามกองไฟ แต่เพราะเปลวเพลิงพริ้วไหวอยู่ตลอดเวลา ผู้ชมก็เลยมักไม่ทันสังเกตการซ้อนทับนี้สักเท่าไหร่ … การนำเสนอเช่นนี้เพื่อสร้างความลึกลับ พิศวงให้กับตัวละคร ผู้ชมบังเกิดความฉงนสงสัย ชายคนนี้ใช่มนุษย์หรือใครอื่น? แถมสามารถสนทนากับเปลวเพลิง ช่างดูน่าตลกขบขันยิ่งนัก

ใครต่อใครต่างยืนมอง Dersu หยิบขอนไม้มาซ่อมแซมกระท่อมร้างกลางป่า เผื่อว่าใครบังเอิญผ่านมาหลบฝน จะได้ไม่ต้องทนหลังคารั่วไหล ซึ่งโดยไม่รู้ตัวหน่วยสำรวจนี้ก็เคยเข้าหลบฝน (ในกระท่อมอีกหลัง) ไม่ต้องเปียกปอนชุ่มฉ่ำ เพราะมีใครอื่น(แบบเดียวกับ Dersu) ซ่อมแซมหลังคาไว้ให้

นี่ไม่ใช่ธรรมเนียมของคนป่าคนดอย แต่ผมมองว่ามันคือ ‘จิตสามัญสำนึก’ รู้จักครุ่นคิดถึงหัวอกผู้อื่น ไม่ได้สนแต่จะแสวงหา กอบโกยผลประโยชน์ พักหลบฝนแล้วจากไป ยังช่วยดูแลรักษา ซ่อมแซม ทะนุถนอมสิ่งสาธารณะ … นั่นคือสิ่งคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ไม่หลงเหลือจิตสามัญสำนึกอีกต่อไป! อะไรที่เป็นสาธารณะก็ใช้แบบทิ้งๆขว้างๆ ไม่ช่วยกันดูแลรักษา พอชำรุดทรุดโทรมก็โทษกล่าวว่า มันคือหน้าที่หน่วยงานเกี่ยวข้อง จริงๆนะหรือ?

ใครเคยรับชมหลายๆภาพยนตร์ของผกก. Kurosawa น่าจะรับรู้ถึงความน่าอึ่งทึ่งในการดลบันดาลฟ้าฝน ลมพายุ ซึ่งหนึ่งในช็อตน่าอัศจรรย์ของหนังคือสายรุ้งหลังฝนตก ขณะหน่วยสำรวจกำลังก้าวออกจากกระท่อม มีความงดงาม อ้าปากค้าง แต่แม้งเอ้ย! ฟีล์มสต็อกรัสเซียแม้งห่วยชิบหาย

อีกช็อตที่มีความน่าอึ่งทึ่ง ‘breathtaking’ ไม่แพ้กัน! ที่ทำได้อาจเพราะฟีล์ม 70mm จึงสามารถบันทึกภาพพระอาทิตย์และดวงจันทร์ (น่าจะขณะกำลังตกดิน และข้างแรม) สองสิ่งขั้วตรงข้ามแต่สามารถเติมเต็มกันและกัน (ก็เหมือน Derzu และ Captain Arsenyev) แต่แม้งเอ้ยฟีล์มสต็อกรัสเซีย! เสื่อมสภาพอย่างเห็นได้ชัด

สมาชิกในหน่วยสำรวจ (ยกเว้นเพียง Captain Arsenyev) ต่างหัวเราะ ขบขัน พูดจาดูถูก หมิ่นแคลน Dersu พวกเขาคือตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่มองไม่เห็นความสำคัญของผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย เอาแต่มุมมองคิดเห็นส่วนตนเป็นที่ตั้ง ไม่ยินยอมรับ เปิดใจฟัง ธรรมชาติล้วนมีชีวิต น้ำ-ลม-ไฟ แม้งเพ้อเจ้อไร้สาระทั้งเพ!

แต่ความมหัศจรรย์ของช็อตนี้คือสายน้ำที่เป็นพื้น กำลังเคลื่อนไหล ดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง นั่นสร้างสัมผัสราวกับว่าธรรมชาตินั้นมีชีวิต จิตวิญญาณ มนุษย์ต่างหากละที่ตัวกระจิดริด แต่เย่อหยิ่งลำพอง ไม่เคยสนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

ในขณะที่ใครต่อใครต่างเล็งไปที่ขวด เป้าหมายขนาดใหญ่ แต่กลับไม่มีใครยิงถูกสักคน! Dersu กลับขอจะยิงเชือก เพื่อเก็บขวดนั้นเอาไว้ใช้ส่วนตัว แล้วก็โดนเป้าตั้งแต่ครั้งแรก!

ซีนนี้ไม่ใช่แค่แสดงความสามารถแม่นปืนของ Dersu เท่านั้นนะครับ ยังสื่อถึงค่านิยมคนรุ่นใหม่ที่สนแต่เป้าหมาย ผลลัพท์ ความสำเร็จ นั่นคือยิงขวดให้แตก (เหมือนพยายามโจมตีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ญี่ปุ่น ที่สนเพียงผลลัพท์ กำไร ชัยชนะ) ขณะที่คนรุ่นเก่า(อย่างผกก. Kurosawa) ไม่ใช่ไม่สนผลลัพท์ แต่ให้ความสำคัญกับการทำงาน สิ่งต่างๆรอบข้าง บุคคลผู้อยู่เบื้องหลัง หรือคือเส้นเชือกสำหรับห้อยโหนขวด … นั่นคือสิ่งที่คนรุ่นใหม่เห็นแล้วเกิดอาการตกตะลึง เป็นสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถลอกเลียนแบบ ทำตามได้

ชายชาวจีน หลังแฟนสาวถูกพี่ชายลักพาตัวไปเป็นคู่ครอง จึงตัดสินใจหลบหนีมาอาศัยอยู่ในป่าเขา วันๆนั่งเหม่อล่องลอย ครุ่นคิดเพ้อฝันกลางวัน ไม่สามารถเผชิญหน้าโลกความจริงมานานกว่า 40 ปี! จนกระทั่งการมาถึงของ Captain Arsenyev เพียงแค่มอบเสบียง มอบอาหาร เช้าวันถัดมาก็ตัดสินใจออกเดินทาง ราวกับว่าได้ค้นพบเป้าหมายชีวิตอีกครั้ง?

ซีนนี้มันอาจดูไม่มีเหตุผลอะไร แต่ถ้าเราเปรียบเทียบชายชาวจีน = ผกก. Kurosawa นั่นอาจคือสภาพของเขาที่สูญเสียทุกสิ่งอย่าง ไม่ได้รับโอกาสในการสรรค์สร้างภาพยนตร์(ในญี่ปุ่น) จนกระทั่งพบเจอชาวรัสเซียคนหนึ่ง มอบโอกาส ความหวังใหม่ (ชักชวนให้มาสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่รัสเซีย) เขาจึงสามารถลุกขึ้นยืน ตัดสินใจก้าวออกเดินทาง ไม่จมปลักกับความท้อแท้สิ้นหวังอีกต่อไป! … เป็นซีนที่ผกก. Kurosawa เหมือนต้องการแสดงความขอบคุณในน้ำใจของมิตรสหายต่างแดน ต่อโอกาสในการสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้

ซีเควนซ์ธารน้ำแข็งบนทะเลสาป Lake Khanka ถือเป็นการ ‘Show Off’ ของผกก. Kurosawa ด้วยการเสกกระแสลมพัดพา คือสภาพอาการก็หนาวเหน็บ อุณหภูมิติดลบ แต่ยังต้องตั้งพัดลมขนาดยักษ์อีกไม่รู้กี่ตัว ถึงสามารถทำให้นักแสดงแทบปลิดปลิว กระเด็นกระดอน รับชมแล้วรู้สึกหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก สั่นสะท้านทรวงใน … ถ่ายทำเสร็จก็ต้องรีบเร่งเก็บข้าวของก่อนพระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า เพราะสภาพอากาศยามค่ำคืน อาจรุนแรงยิ่งกว่าที่พบเห็นในหนังเสียอีก

ทีแรกผมนึกว่า Dersu จะทำแบบอิกลู (Igloo) ที่ชาวเอสกิโม (Eskimo) นำหิมะ/น้ำแข็งมาทำเป็นกระท่อมขนาดเล็ก แต่ที่ไหนได้กลับใช้การตัดต้นหญ้ากอเล็กๆนำมาสุมรวม ผูกมัด ให้กลายเป็นเต้นท์ นี่ฟังดูไม่ได้น่าเป็นไปได้สักเท่าไหร่ ขณะเดียวกันยังแฝงนัยยะถึงสิ่งเล็กๆที่อาจดูไม่เป็นประโยชน์ แต่เมื่อนำมารวบรวมปริมาณมากๆ ก็สามารถสร้างสิ่งล้ำค่า ทำให้พวกเขาสามารถเอาตัวรอดชีวิต พานผ่านประสบการณ์เฉียดตายได้อย่างมหัศจรรย์!

นัยยะดังกล่าวถือว่าคลอบจักรวาลมากๆนะครับ ตรงกับสำนวน ‘รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย’ แสดงถึงความจำเป็นในการที่มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ซึ่งซีเควนซ์นี้ถ้าไม่มี Dersu แน่นอนว่า Captain Arsenyev ย่อมไม่สามารถเอาตัวรอดปลอดภัย … วงการภาพยนตร์ญี่ปุ่นถ้าไม่มีคนรุ่นเก่าอย่างผกก. Kurosawa เคยบุกเบิก ถากถางทางเส้นไว้ สตูดิโอ ผู้กำกับรุ่นใหม่ ย่อมไม่สามารถเอาตัวรอดปลอดภัย เราควรจะพึ่งพาอาศัยกันไม่ใช่หรือไร?

หลังจากบุกป่าฝ่าดง ผ่านพานประสบการณ์เฉียดตาย ก็ใกล้ถึงเวลาต้องร่ำลาจาก ในกระท่อมของชาว Ussuri มีลูกเล่น ‘mise-en-scène’ อยู่เล็กๆ

  • เริ่มต้นสังเกตว่า Dersu นั่งอยู่บนพื้น แสดงถึงชนชั้นฐานะต่ำเตี้ยกว่า Captain Arsenyev และลูกน้องทั้งสอง ที่ก็นั่งห่างกันเพราะยศทางทหาร
  • จากนั้น Dersu ลุกขึ้นไปนั่งสนทนาเคียงข้าง Captain Arsenyev เพราะพวกเขาต่างมองกันและกันด้วยความเท่าเทียม เป็นเพื่อนสนิทสนม ไม่แบ่งแยกชนชั้นฐานะ
  • แม้ว่า Dersu จะปฏิเสธเดินทางเข้าเมือง รวมถึงเงินทอง ข้าวของอื่นๆ แต่มีสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากๆก็คือกระสุนปืนสำหรับล่าสัตว์! ขณะนี้สังเกตว่าเขาลุกขึ้นยืน หันหลังให้กับคนอื่น นั่นแสดงถึงความเหนียงอาย เกรงใจ ไม่กล้าร้องขอสักเท่าไหร่ แต่พอรับรู้ความต้องการ มันเป็นแค่ขี้ประติ๋วสำหรับพวกเขาเท่านั้นเอง

สถานที่แห่งการจากลาคือบริเวณรางรถไฟ สัญลักษณ์ของการพบเจอ-พลัดพรากจาก (ใครเคยรับชม Brief Encounter (1944) น่าจะเข้าใจความหมายนี้ดี) คาดหวังว่าเราจะมีโอกาสได้พบเจอกันอีก … ดูจากท้องฟ้าน่าจะยามเย็น พระอาทิตย์ใกล้ตกดินด้วยนะ

ครึ่งหลังของหนังเริ่มต้นที่การมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ (Spring) ร้อยเรียงภาพธารน้ำแข็งกำลังละลาย (ชวนให้นึกถึง Mother (1926) ของผกก. Vsevolod Pudovkin อยู่เล็กๆ) คณะสำรวจย่ำเหยียบโคลนเลน ออกเดินทางเข้าสู่ผืนป่า ย้อนรอยกับตอนต้นเรื่องอีกครั้ง

การแตกสลายของธารน้ำแข็ง นอกจากจะสื่อถึงฤดูกาลผันแปรเปลี่ยน ยังเหมารวมถึงการมาถึงของปีใหม่ ยุคสมัยใหม่ อดีตพังทลาย ทุกสิ่งอย่างกำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป

Captain Arsenyev มีความคาดหวังอย่างแรงกล้า เชื่อมั่นว่าจะได้พบเจอ Dersu อีกสักครั้ง! แต่มันก็เหมือนสำนวน ‘งมเข็มในมหาสมุทร’ เพราะผืนป่ากว้างใหญ่ มองจากเบื้องบนยอดเขายังแทบไม่พบเห็นอะไร ต้องให้กล้องซูมเข้าไปยังช่องว่างกลางป่า

แต่โชคชะตาก็นำพาให้พวกเขาหวนกลับมาเจอกัน ซึ่งหนังก็จงใจเลือกมุมกล้องถ่ายให้เห็นช่องว่างเล็กๆ นึกว่าอุโมงค์โพรงกระต่าย นำพาเข้าสู่โลกสุดมหัศจรรย์ (จาก Alice in Wonderland)

ค่ำคืนนั้น Dersu นั่งสนทนา หวนระลึกความหลังกับ Captain Arsenyev ถ่ายภาพช็อตนี้พยายามแบ่งแยกพวกเขาออกจากสมาชิกหน่วยสำรวจ ราวกับอยู่โลกคนละใบ มีเพียงเราสองสามารถเข้าใจกันและกัน

เมื่อตอนครึ่งแรก การผจญภัยของ Captain Arsenyev และ Dersu มักเป็นการเผชิญหน้ากับธรรมชาติ ต่อสู้กับตัวตนเอง แต่ครึ่งหลังพวกเขาเริ่มพบเห็นพฤติกรรมเห็นแก่ตัวของมนุษย์ด้วยกัน เริ่มจาก Honghuzi (แปลว่า Red Beards กลุ่มโจร/หัวขโมย อาศัยอยู่ตามตะเข็บชายแดนจีน-รัสเซีย ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 จนถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง) สร้างกับดักล่าสัตว์ ปล้น-ฆ่า ทรมานผู้ชาย ฉุดคร่าหญิงสาว ฯ ล้วนเป็นการกระทำอันป่าเถื่อน สังคมไม่ยินยอมรับ จึงกำลังถูกไล่ล่าโดยกลุ่มคน Tchjan Bao

พฤติกรรมของพวก Honghuzi สามารถสะท้อนถึงแนวทางของโลกยุคสมัยใหม่ สนเพียงกอบโกยผลประโยชน์เฉพาะหน้า เอาแต่ความพึงพอใจส่วนตนเป็นที่ตั้ง โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ สิ่งต่างๆรอบข้าง วางรูปแบบ วิธีการ บีบบังคับให้คนรุ่นใหม่ดำเนินรอยตาม สูญเสียซึ่งอิสรภาพ เพียงกฎกรอบห้อมล้อม ตกลงสู่กัปดักไร้หนทางออก

นี่ถือเป็นอีกช็อตน่าอึ่งทึ่งที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกต สมาชิกหน่วยสำรวจจะค่อยๆผลุบโผล่มาจากหลากหลายทิศทาง ฟากฝั่งตรงกันข้าม แต่เพราะความกลมกลืนพื้นหลัง และฟีล์มสต็อกรัสเซียที่ห่วยแตก มันเลยดูไม่ค่อยน่าจดจำสักเท่าไหร่

นี่เป็นอีกซีเควนซ์อันตรายไม่น้อยกว่าธารน้ำแข็งบนทะเลสาป แต่อาจเพราะมันไม่มีความตื่นตระการตา ทำให้หลายคนมองว่านี่ก็แค่การผจญภัยหนึ่ง เคลือบแฝงนัยยะแม้มนุษย์ไม่สามารถต่อต้านกระแสธารา เอาชนะธรรมชาติ แต่ความสมัครสมานสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ จักทำให้เราสามารถช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที!

ระหว่างที่ Dersu ล่องลอยคออยู่กลางแม่น้ำ ชวนให้ผมนึกถึงผกก. Kurosawa ที่คงเคยรู้สึกเหมือนถูกใครต่อใครทอดทิ้งขว้าง แต่โชคยังดีที่เขามีเพื่อนอีกหลายคนคอยให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุน จนสามารถเอาตัวรอด พานผ่านช่วงเวลาแห่งความสิ้นหวัง

Siberian Tiger หรือ Amur Tiger ห่วงโซ่อาหารบนสุดของ Russian Far East, Northeast China รวมถึงผืนป่า North Korea ปัจจุบันถือเป็นสัตว์สงวน เพราะในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาถูกล่าเอาขน กระดูก เขี้ยว-เล็บ มาเป็นสิ่งของประดับตกแต่ง อวดร่ำอวดรวย จนเกือบใกล้สูญพันธุ์

สำหรับชนชาว Nanai (หรือก็คือ Dersu) มีคำเรียกว่า Amba คือสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้พิทักษ์ผืนป่า โดยปกติแล้วมันจะไม่ค่อยเข้ามายุ่งย่ามกับมนุษย์ นอกจากถูกไล่ล่า หิวกระหาย ไม่หลงเหลืออะไรจะรับประทานแล้วจริงๆ ซึ่งความตั้งใจของ Dersu เพียงจะยิงปืนขู่ขับไล่ แต่กลับพลั้งพลาดทำให้ได้รับบาดเจ็บ จึงเกิดความหวาดวิตกจริต กลัวว่ามันจะเคียดแค้นฝังหุ่น ติดตามมาระรังควาญ เอาคืนด้วยการเข่นฆ่าตนเอง

เกร็ด: ดั้งเดิมนั้นทีมงานนำเอาเสือจากสวนสัตว์มาใช้ประกอบฉาก ด้วยความที่มันค่อนข้างเชื่อง ท่าทางการเดินเลยดูไม่ค่อยน่าเกรงขามสักเท่าไหร่ ผกก. Kurosawa เลยเรียกร้องขอให้จับเสือป่าตัวเป็นๆมาเข้าฉาก ผลลัพท์ถือว่าน่าพึงพอใจ(มั้งนะ) แต่มันคือประสบการณ์อันน่าหวาดเสียว (ตอนถ่ายภาพระยะใกล้ ยังต้องใช้เสือจากสวนสัตว์อยู่ดีเพราะมันอันตรายเกินไป)

ความฉุนเฉวียวเกรี้ยวกราดของ Dersu ไม่ใช่แค่จากความผิดพลั้งพลาดยิงโดนเสือ Amba แต่ยังคือสายตาฝ้าฟาง มองเห็นเพียงเลือนลาง ไม่สามารถยิงปืนโดนเป้าหมายเบื้องหน้า นั่นคือหายนะของนักล่าในผืนป่า มองไม่เห็นศัตรูย่อมนำสู่หายนะ ความตายใกล้เข้ามาเยี่ยมเยือน

อาการผิดปกติของ Dersu สามารถสะท้อนถึงผกก. Kurosawa ก่อนหน้านี้เคยทำหลายสิ่งอย่างผิดพลาดพลั้ง ทำให้สูญเสียความเชื่อมั่น หวาดกังวล วิตกจริต อีกทั้งร่างกายล้มป่วยอิดๆออดๆ ไม่ได้เข้มแข็งแรง วิสัยทัศน์ก้าวไกลเหมือนสมัยหนุ่มๆ เช่นนั้นแล้วเขาจึงบังเกิดคำถามขึ้นกับตนเอง ฉันยังมีศักยภาพเพียงพอ ความสามารถในการสรรค์สร้างภาพยนตร์อยู่อีกหรือไม่?

สำหรับ Dersu ค่ำคืนนี้คือฝันร้ายอันหนาวเหน็บ (นี่น่าจะเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูหนาวพอดิบดี) จินตนาการเห็นภาพเสือ Amba ติดตามมาหลอกหลอน (ใช้การซ้อนภาพเสือกับอะไรก็ไม่รู้โยงใยสีแดง) พร้อมเสียงเพลงประกอบราวกับสายลมกรีดกราย จึงตัดสินใจไหว้วานร้องขอ Captain Arsenyev ให้ช่วยพาตนเองออกจากผืนป่าแห่งนี้

ผมอ่านเจอว่าผกก. Kurosawa มักมีอาการนอนไม่ค่อยหลับ (คล้ายๆแบบภาพยนตร์ The Bad Sleep Well (1960)) เต็มไปด้วยความหวาดกังวล กระวนกระวาย ชอบครุ่นคิดโน่นนี่นั่นเรื่อยเปื่อย กลัวว่าจะไม่มีโอกาสสรรค์สร้างภาพยนตร์อีกต่อไป … นี่คือสิ่งที่เขาต้องการระบายออกมากระมัง

ชีวิตในเมืองใหญ่ของ Dersu ราวกับอยู่ในกรงขัง ทำได้เพียงจับจ้องมองไฟในเตาผิง ไม่สามารถออกไปไหน ทำอะไรก็ผิดกฎหมาย มิอาจปรับตัวเองเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ จนกระทั่งค่ำคืนหนึ่งเขาจึงตัดสินใจลุกขึ้นยืน (มีการสลับทิศทางมุมกล้อง 180 องศา) พูดบอกกับ Captain Arsenyev ขอหวนกลับสู่ผืนป่าดีกว่า

ทั้งซีเควนซ์ในบ้านของ Captain Arsenyev น่าจะถ่ายทำในสตูดิโอ Mosfilm (ที่กรุง Moscow) มีการออกแบบภายในด้วยโทนขาวตัดกับสีเข้มๆ เพื่อสร้างสัมผัสอันจืดชืด แห้งแล้ง ไร้จิตวิญญาณ ขาดสีสันเหมือนป่าเขาลำเนาไพร

นัยยะของซีเควนซ์นี้ก็คือผกก. Kurosawa ในสภาพเคว้งคว้าง ว่างเปล่า อยู่ไปวันๆอย่างไร้เป้าหมาย ไม่สามารถปรับตัวเข้าวิถีชีวิตดังกล่าว เขาจึงพยายามขวนขวายไขว่คว้า หาโอกาสกลับเข้าป่า/สรรค์สร้างภาพยนตร์ เพราะนั่นคือสิ่งเดียวที่ตนเองสามารถกระทำได้

ความตายของ Dersu ได้รับการถกเถียงว่าเพราะความปรารถนาดีเกินไปของ Captain Arsenyev หรือเปล่า? ถ้าเขาไม่มอบอาวุธปืนรุ่นใหม่ คงไม่ได้ถูกโจรปล้น-ฆ่า ตายจากไปอย่างน่าอเนจอนาถใจ แต่นั่นเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถครุ่นคิดจินตนาการ มันจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ใด เพียงโชคชะตา ฟ้ากำหนด อย่างน้อยที่สุด Dersu ก็ได้หวนกลับไปใช้ชีวิตตามใจปรารถนา … สิ่งสุดท้ายที่ Captain Arsenyev สามารถกระทำได้คือปักไม้เท้าแทนป้ายสุสาน และจดจำช่วงเวลาเคยใช้ชีวิตร่วมกันมา ก่อนที่ทุกสิ่งอย่างจะเลือนลาง สูญหายไปชั่วนิรันดร์

ผมมองว่านี่คือเจตนารมณ์ คำประกาศกร้าวของผกก. Kurosawa ยินยอมพร้อมตายเพื่อศิลปะภาพยนตร์! ตราบยังมีเรี่ยวแรง จักพยายามขวนขวายไขว่คว้า ทำทุกสิ่งอย่างให้ได้โอกาสสรรค์สร้างสิ่งที่ตนเองรักยิ่ง ไม่มีวันทอดทิ้ง จนกว่าจะหมดสิ้นลมหายใจ หรือถูกใครต่อใครทอดทิ้ง หลงลืม เลือนหายไปตามกาลเวลา

ตัดต่อโดย Valentina Stepanova, หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Captain Arsenyev ผ่านการเล่าเรื่อง เสียงบรรยาย ที่เคยจดบันทึกเอาไว้ (Memoir) หวนระลึกถึงเพื่อนนายพราน Dersu Uzala ระหว่างการออกสำรวจทำแผนที่ Russian Far East เมื่อปี ค.ศ. 1902-07

  • อารัมบท, Captain Arsenyev รำพันถึงเพื่อนสนิทผู้ล่วงลับ Dersu Uzala
  • ภารกิจสำรวจ ค.ศ. 1902
    • คณะสำรวจของ Captain Arsenyev กำลังหลงป่า ยามค่ำคืนได้พบกับ Dersu Uzala
    • Dersu กลายเป็นไกด์นำทางคณะสำรวจ แวะพักยังกระท่อมร้าง
    • ระหว่างทางพบเจอกับชายชาวจีน ผู้ทอดทิ้งบ้านเกิดมากว่า 40 ปี
    • ประสบการณ์เฉียดตายธารน้ำแข็งบนทะเลสาป Lake Khanka
    • เดินทางมาถึงทางข้ามรถไฟ ใกล้ถึงเมืองใหญ่ เลยถึงคราวที่ต้องร่ำลาจาก
  • ห้าปีถัดมา
    • Captain Arsenyev ได้รับมอบหมายทำการสำรวจรอบใหม่ และได้พบเจอกับ Dersu หวนระลึกความหลัง
    • พบเห็นพฤติกรรมป่าเถื่อนของพวก Honghuzi ที่กำลังถูกไล่ล่าโดย Tchjan Bao
    • เหตุการณ์วุ่นๆเฉียดตายระหว่างล่องแพข้ามแม่น้ำ
    • Dersu พลั่งพลาดยิงเสือ Amba
    • อารมณ์ฉุนเฉียวของ Dersu เกิดขึ้นจากสายตาฝ้าฟาง ยิงปืนไม่เข้าเป้า Captain Arsenyev จึงชักชวนมาอาศัยอยู่ร่วมกันในเมืองใหญ่
  • Dersu Uzala ในเมืองใหญ่
    • Dersu ในบ้านของ Captain Arsenyev แต่ราวกับถูกขังอยู่ในกรง ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่
    • ท้ายสุด Dersu เลยร้องขอ Captain Arsenyev หวนกลับเข้าป่า
  • ปัจฉิมบท, ความตายที่น่าเศร้าของ Dersu Uzala

การที่หนังเริ่มต้นด้วยคำบอกกล่าวความตายของ Dersu Uzala คือเทคนิคคลาสสิกเดียวกับ Citizen Kane (1941) เพื่อให้ผู้ชมเกิดความฉงนสงสัย ชายคนที่ถูกกล่าวถึงคือใคร มีความสำคัญเช่นไร และทำไมถึงเสียชีวิต

หลายคนอาจรู้สึกว่าการดำเนินเรื่องมีความเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า ปล่อยเวลาให้กับหลายสิ่งอย่าง เยิ่นเยิ้อ ยืดยาวเกินไป สามารถตัดแต่งโน่นนี่นั่นให้มีความกระชับขึ้นได้ แต่จุดประสงค์ของผกก. Kurosawa ต้องการสร้างสัมผัสถึงความสูงวัย คนแก่ไม่สามารถทำอะไรรวดเร็วทันใจ เข้าใจความเหน็ดเหนื่อย (หนังที่ดำเนินเรื่องอย่างเชื่องช้าๆ มักทำให้ผู้ชมรู้สึกอ่อนล้า) ชีวิตเหมือนจะเนิ่นนานแต่มันก็แสนสั้น 144 นาที ประเดี๋ยวก็พานผ่านไป


เพลงประกอบโดย Isaac Iosifovich Schwartz, Исаак Иосифович Шварц (1923-2009) นักแต่งเพลงสัญชาติ Ukrainian เกิดที่ Romny, Ukrainian SSR บิดาเป็นอาจารย์สอนโบราณคดี (Archaeology) ก่อนถูกจับกุม ประหารชีวิตในช่วงการกวาดล้างใหญ่ (Great Purge of 1937) ครอบครัวเลยถูกขับไล่ไปอยู่ Kyrgyzstan, ด้วยความชื่นชอบด้านดนตรี ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้เป็นวาทยากร Red Army Choir มีโอกาสรับรู้จัก Dmitri Shostakovich จ่ายค่าเทอมให้เข้าศึกษา Rimsky-Korsakov Conservatory จบออกมาทำเพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ The Brothers Karamazov (1969), Dersu Uzala (1975) ฯ

ผมแอบคาดหวังบทเพลงพื้นบ้านรัสเซีย แต่กลับได้ยินดนตรีคลาสสิกเสียส่วนใหญ่ อาจเพราะผกก. Kurosawa คือชาวญี่ปุ่น เลยต้องการท่วงทำนองที่มีความเป็นสากล ไม่ได้จะสรรค์สร้างภาพยนตร์แนวชาติพันธุ์! … แต่บทเพลงคำร้องก็ใช้ภาษารัสเซียนะครับ

ในส่วนของเพลงประกอบอาจไม่ได้มีความน่าจดจำเทียบเท่าผลงานอื่นๆ (หนังซามูไรของผกก. Kurosawa ล้วนมีท่วงทำนองติดหูทั้งนั้น) แต่มีลักษณะเหมือนสร้อยบทกวี ดังขึ้นมาประปราย มุ่งเน้นสร้างสัมผัสเชื่อมโยงจิตใจ กลิ่นอายผจญภัยเล็กๆ แต่แฝงความซาบซึ้ง ครุ่นคิดถึง เป็นห่วงเป็นใย โหยหาอาลัย เศร้าโศกเสียใจจากการจากไปของ Dersu Uzala พยายามเก็บรักษาช่วงเวลา ความทรงจำดีๆที่ได้เคยอยู่ร่วมกัน … เป็นบทเพลงในมุมมอง/ความรู้สึกของ Captain Arsenyev ก็ว่าได้!

Ending Song ตั้งชื่อว่า The Eagle’s Song, Орёл мой сизокрылый ได้ยินในหนังแม้ฟังไม่เข้าใจเนื้อคำร้อง แต่ท่วงทำนองอันโหยหวน ฟังแล้วรู้สึกคร่ำครวญ สั่นสะท้านทรวงใน การจากไปของ Dersu Uzala ได้สร้างบทเรียนความเป็นมนุษย์สุดยิ่งใหญ่ หวังว่าผู้ชมและคนรุ่นหลังจักสามารถทำความเข้าใจ

ภาษารัสเซียคำร้องรัสเซียคำแปลอังกฤษ
Ты орел мой сизокрылый
где летаешь, мой орел?
Я летаю в небе синем
за высокою горой.
Ti ariol moi sisokriliy
gde lietaesh, moi ariol?
Ya lietayu vniebe sinem
sa visokayu garoi
You, my gray-winged eagle
where are you going my eagle?
I, flying in the blue sky.
Over the highest mountain.

นายพราน Derzu Uzala ตั้งแต่เด็กเติบใหญ่ถึงวัยชรา ใช้ชีวิตอาศัยอยู่ในผืนป่า มีความรอบรู้ เชี่ยวชำนาญ พานผ่านประสบการณ์ร้อน-หนาว เฉียดเป็นเฉียดตายนับครั้งไม่ถ้วน จึงมีความรัก เข้าใจธรรมชาติ พยายามปกปักษ์รักษา เพื่อไม่ให้บุคคลอื่นเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ กอบโกย เข่นฆ่าทำลายล้างโดยไร้ความจำเป็น

เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน อายุอานามเพิ่มสูงขึ้น Derzu Uzala ประสบปัญหาสายตาฝ้าฟาง มองภาพระยะไกลไม่ค่อยชัด เลยกระทำสิ่งผิดพลาด ยิงปืนไม่เข้าเป้า เกิดความลุกรี้ร้อนรน กระวนกระวาย หงุดหงิดหัวเสียบ่อยครั้ง พอย้ายมาอยู่ในเมืองก็มิอาจปรับตัวอาศัย ตกอยู่ในสภาพท้อแท้สิ้นหวัง ทำได้เพียงหวนกลับไปตายรัง

ใจความส่วนหนึ่งของหนังกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย ประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้เมืองขยับขยาย ผืนป่ากำลังถูกทำลาย ถึงเวลาที่เราต้องตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม (Environmentalism) ธำรงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ก่อนที่มันจะไม่หลงเหลืออะไรให้กับลูกหลาน คนรุ่นถัดๆไป

ความสนใจของผกก. Kurosawa ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงยุคสมัย แต่ยังการปรับตัวของคนสูงวัย หรือก็คือตัวเขาเอง! อาจเพราะความมักคุ้นชิน ฉันเคยทำสิ่งโน่นนี้นั้นมาหลายสิบยี่สิบ สามสี่สิบปี จะให้ปรับเปลี่ยนแก้ไข ตามทันโลกสมัยใหม่ ไม่ใช่วัยรุ่นจะสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วทันใจ

ผู้กำกับ Akira Kurosawa ตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม เข้าสู่วงการภาพยนตร์ ค่อยๆเรียนรู้ สะสมประสบการณ์ จนมีความเชี่ยวชำนาญ สรรค์สร้างผลงานให้โลกตกตะลึงมากมาย แต่พอถึงวันหมดสัญญากับสตูดิโอ Toei ต้องการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ กลับพบเจอสารพัดปัญหา ทำอะไรๆล้วนผิดพลาดพลั้ง ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีสมัยใหม่ เลยเกิดความร้อนรน กระวนกระวาย อีกทั้งร่างกายเจ็บป่วยอิดๆออดๆ ยินยอมรับสภาพความจริงไม่ค่อยจะได้

หลายคนอาจเข้าใจผิดๆว่าผกก. Kurosawa คือหนึ่งใน Japanese New Wave แต่เขาเป็นคนรุ่นก่อนหน้า เริ่มสรรค์สร้างภาพยนตร์มาตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พบเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังสงคราม (Post-Wars) และการมาถึงของคลื่นลูกใหม่ (New Wave) กับแนวทางภาพยนตร์แตกต่างออกไป

ไม่ใช่ว่าผกก. Kurosawa ปิดกั้นคลื่นลูกใหม่นะครับ แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เขายินยอมรับไม่ค่อยได้ ก็คือการถูกเฉดหัว ตีตราว่าเป็นคนรุ่นเก่า ความคิดล้าหลัง ไม่เข้าใจโลกยุคสมัยใหม่ พอผลงานไม่สามารถทำกำไร ก็ปฏิเสธอนุมัติทุนสร้างโปรเจคถัดไป (เอาเงินไปว่าจ้างผู้กำกับรุ่นใหม่ ราคาถูก ทำงานไว ควบคุมครอบงำง่าย) ทำไมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ญี่ปุ่นถึง ‘เนรคุณ’ ต่อตนเองขนาดนี้! ทั้งๆมันเป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นได้รับการปลูกฝัง จิตวิญญาณซามูไร ให้ความเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ แต่ทำไมถึงทรยศหักหลังพวกเดียวกันเองแท้ๆ

Derzu Uzala (1975) ภาพยนตร์สร้างขึ้นเพื่อระบายความรู้สึกอึดอัดอั้น (อารมณ์ศิลปิน) เพราะอายุอานาม ความสูงวัยที่เพิ่มขึ้น ทำให้กระทำสิ่งผิดพลาด สูญเสียโอกาสมากมาย แถมยังไม่ค่อยสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยใหม่ โชคยังดีได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนชาวรัสเซีย กลายมาเป็นผลงานเรื่องนี้ที่ถ้าคือโอกาสครั้งสุดท้ายในชีวิต คงได้นอนตายตาหลับ … แต่ผมรู้สึกว่าไม่น่าจะหลับลงนะ เพราะมันยังมีอีกหลายความอึดอัดอั้นที่ไม่ได้ระเบิดระบายออกมา

ผมอยากให้คำแนะนำสักนิดนึง ใครมีผู้สูงวัยใกล้ตัว บิดา-มารดา ปู่-ย่า-ตา-ยาย ย่อมต้องเคยได้ยินพวกเขาพูดพร่ำบ่น สมัยตอนยังหนุ่ม-สาวสามารถทำโน่นนี่นั่น ปัจจุบันก็ร่วงโรยราไปตามสังขารา ความทุกข์ของมนุษย์คือ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ว่ายเวียนวนอยู่ในวัฎฎะสังสาร

มนุษย์เราส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีใครให้คำแนะนำ เตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัย มันไม่เหมือนวัยรุ่นที่ยังเรียนหนังสือ ครูอาจารย์สร้างวิชาขึ้นมาให้ความรู้สำหรับการเป็นผู้ใหญ่ แต่พอเข้าสู่วัยทำงาน อายุก้าวเข้าสู่ผู้สูงวัย (50-60 ปี) แล้วจู่ๆถูกไล่ออก หรือเกษียณอายุราชการ ชีวิตหลังจากนั้นย่อมตกอยู่ในสภาพเคว้งคว้าง ล่องลอย ไร้หลักแหล่ง ไม่รู้จะทำอะไรยังไงขึ้นมาโดยทันที

มันไม่จำเป็นว่าต้องเข้าใกล้ช่วงสูงวัย ถึงค่อยครุ่นคิดว่าฉันอยากทำอะไร ตอนยังวัยรุ่น คนหนุ่ม-สาว หรือผู้ใหญ่ตอนต้น ก็สามารถวางแผนชีวิต จินตนาการตนเองตอนแก่ชรา หลังเกษียณ ค้นหาเป้าหมายปลายทางเสียตั้งแต่ตอนนี้ จักได้ไม่มีปัญหาวัยทอง อารมณ์ลุ่มร้อน ยินยอมรับสภาพจริง และเตรียมพร้อมรับมือกับความตาย


หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Moscow Film Festival สามารถคว้ามาสองรางวัล Golden Prize และ FIPRESCI Prize สร้างความสนอกสนใจแก่ชาวรัสเซีย มียอดจำหน่ายตั๋วสูงถึง 20.4 ล้านใบ! ยังไม่รวมอีกเกือบล้านใบที่ฝรั่งเศส! กลายเป็นหนึ่งในผลงานประสบความสำเร็จสูงสุดของผกก. Kurosawa

ด้วยความที่ทศวรรษนั้นสงครามเย็นยังคงคุกรุ่น จึงไม่มีใครคาดหวัง Dersu Uzala (1975) จะสามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film ผลลัพท์สร้างความประหลาดใจให้ทุกคน เสียงปรบมือในคลิปก็แค่ประๆปรายๆ แถมไม่มีใครลุกขึ้นยืนให้เกียรติผู้สร้าง สองโปรดิวเซอร์ Georgi Danelya และ Yôichi Matsue ขึ้นรับรางวัลแทบผกก. Kurosawa ที่ไม่ได้ไปร่วมงาน

เกร็ด: มีภาพยนตร์จากสหภาพโซเวียต & รัสเซียเพียง 3+1 เรื่องที่สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film ประกอบด้วย War and Peace (1966-67), Dersu Uzala (1975), Moscow Does Not Believe in Tears (1980) และ Burnt by the Sun (1994)

จนถึงปัจจุบันหนังยังไม่ได้รับการบูรณะ ฉบับแสกนใหม่ล่าสุดของค่าย Imprint เมื่อปี ค.ศ. 2022-23 จากฟีล์มเนกาทีฟ 70mm แม้ไม่มีริ้วรอยขีดข่วนมากวนใจ แต่ถ้าสังเกตดีๆพบเห็นเฉดสีเสื่อมสภาพเยอะมาก (อาจต้องโทษฟีล์มสต็อกของรัสเซีย คุณภาพเทียบไม่ได้กับของญี่ปุ่น Fujifilm หรือ Kodak) ทำให้อรรถรสในการรับชมสูญเสียไปพอสมควร … แม้หนังสามารถหารับชมใน Criterion Channal แต่เหมือนจะติดลิขสิทธิ์บางอย่างเลยยังไม่มี Blu-Ray จัดจำหน่าย

เมื่อตอนสมัยวัยรุ่น Dersu Uzala (1975) เป็นผลงานของผกก. Kurosawa ที่ผมรู้สึกเฉยๆ เฉื่อยชา ไม่ค่อยยี่หร่าสักเท่าไหร่ -ก็เลยมองข้าม ไม่เขียนถึงมาจนปัจจุบัน- แต่พอวัยวุฒิเพิ่มขึ้น โดยไม่รู้ตัวสามารถเข้าใจความรู้สึกผู้สูงวัย (ผมยังไม่แก่ขนาดนั้น แต่หนังทำให้เริ่มมองเห็นอนาคตของตนเอง) ตระหนักถึงความงดงาม ทรงคุณค่า แฝงสาระข้อคิด เหมาะสำหรับผู้ชมวัยรุ่น คนหนุ่ม-สาวอย่างมากๆ

ถึงอย่างนั้นวัยรุ่น คนหนุ่ม-สาวอาจยังไม่สามารถเข้าถึงภาพยนตร์เรื่องนี้โดยทันที แต่ถ้าได้มีโอกาสรับชมจะบังเกิดภาพจำบางอย่าง และเมื่ออายุย่างเข้าเลขสาม-สี่ ลองหวนกลับมาดูอีกสักครั้ง อาจทำให้คุณเข้าใจเหตุผล สัมผัสคุณค่าอันเอ่อล้น “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” เพราะนี่คือภาพยนตร์นำเสนอความเป็นมนุษย์ ทรงพลังที่สุดเรื่องหนึ่ง!

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | ตาแก่ Dersu Uzala และผู้กำกับ Akira Kurosawa ได้เสี้ยมสอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ให้กับคนรุ่นหลัง
คุณภาพ | คุค่
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

Baron Prášil (1962)


The Fabulous Baron Munchausen (1962) hollywood : Karel Zeman ♥♥♥♥

การผจญภัยของ Baron Munchausen ช่างมีความมหัศจรรย์ พิลึกพิลั่นยิ่งนัก เริ่มต้นขึ้นเรือเหาะกลับจากดวงจันทร์, ลักพาตัวเจ้าหญิงแห่งจักรวรรดิ Ottoman, หลบหนีลงเรือถูกกลืนกินอยู่ในท้องปลายักษ์, ควบขี่ม้าเดินทางใต้ท้องทะเลลึก ฯ ทำออกมาในสไตล์ภาพแกะสลักไม้ (Wood Engraving) ได้รับอิทธิพลจาก Gustave Doré

เมื่อตอน Invention for Destruction (1958) มีการออกแบบ ‘visual style’ ในลักษณะภาพแกะสลักเส้น (Line Engraving) ก็สร้างความตื่นตระการ ละลานตามากๆแล้ว, The Fabulous Baron Munchausen (1962) บอกเลยว่าเหนือล้ำขึ้นอีกระดับด้วยภาพแกะสลักไม้ (Wood Engraving) แถมไม่ได้มีแค่สีขาว-ดำ ลวดลายเส้นตรงยาวๆอีกต่อไป อย่างฉากพระราชวัง Ottoman Empire เชื่อว่าหลายคน(รวมถึงตัวผมเอง)แรกพบเห็นย่อมต้องตกตะลึง อึ่งทึ่งในรายละเอียด ใช้เวลาเตรียมงานสร้างกี่ปีกันเนี่ย??

เมื่อตอนเขียนถึง Invention for Destruction (1958) ผมชี้ให้เห็นปัญหาใหญ่ๆ ถึงการดำเนินเรื่องอย่างเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า รับชมไม่นานจะเริ่มเกิดความเฉื่อยชินชา, สำหรับ The Fabulous Baron Munchausen (1962) จริงๆก็ยังเชื่องช้าอยู่ (เพื่อให้เวลาผู้ชมซึมซับความงดงามในแต่ละช็อตฉาก) แต่การผจญภัยของ Baron Munchausen ล้วนคาดเดาอะไรไม่ได้ เต็มไปด้วยเหตุการณ์เว่อวังอลังการ สอดแทรกอารมณ์ขบขัน รวมถึงเฉดสีสันปรับเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (จริงๆถ่ายภาพขาว-ดำ แล้วใช้การลงสีสัน ‘Film Tinting’) ทำให้หนังดูสนุกสนาน เพลิดเพลิน แทบไม่รู้สึกน่าเบื่อหน่าย … คงต้องเรียกว่าผลงานมาสเตอร์พีซของผกก. Karel Zeman

เกร็ด: Terry Gilliam มีโอกาสรับชม Baron Prášil (1962) ระหว่างเตรียมงานภาพยนตร์ The Adventures of Baron Munchausen (1988) เกิดความตระหนักถึงแนวคิดที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน พยายามผสมผสานคนแสดง (Live-Action) เข้ากับอนิเมชั่น (Animation) ใครสนใจลองหามารับชมดูนะครับ

I remember when I was doing Baron Munchausen seeing a picture in a [British Film Institute] catalogue from Karel Zeman’s Baron Munchausen and saying, “Wow, what is this?” and eventually seeing the film, and saying, “Wow, that’s great,” because he did what I’m still trying to do, which is to try and combine live action with animation. His Doré-esque backgrounds were wonderful. The film captured the real spirit of the character.

Terry Gilliam

ก่อนอื่นขอกล่าวถึง Baron Munchausen ตัวละครสมมติสร้างโดย Rudolf Erich Raspe (1736-94) นักเขียนชาว German ปรากฎตัวในหนังสือ Baron Munchausen’s Narrative of his Marvellous Travels and Campaigns in Russia (1785)

Baron Munchausen ได้แรงบันดาลใจจากบุคคลมีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ Hieronymus Karl Friedrich, Freiherr von Münchhausen (1720-90) เกิดที่ Bodenwerder, Hanover ในตระกูล Rinteln-Bodenwerder ช่วงวัยรุ่นเคยเข้าร่วมสู้รบสงคราม Russo-Turkish War (1735-39) เลยกลายเป็นบุคคลพอมีชื่อเสียงในแวดวงชนชั้นสูง German

ขณะที่ตัวละครสมมติ Baron Munchausen เป็นบุคคลคุยโวโอ้อวดเก่ง จนได้รับฉายา Lügenbaron (แปลว่า Baron of Lies) ชอบกล่าวอ้างว่าเคยผจญภัยรอบโลก, ขึ้นเรือเหาะสู่ดวงจันทร์, นั่งบนกระสุนปืนใหญ่, ต่อสู้กับจระเข้ขนาด 40 ฟุต, ถูกกลืนกินโดยปลาขนาดยักษ์ยังทะเล Mediterranean ฯลฯ

แม้ว่าบุคลิกภาพของ Baron Munchausen จะดูสุขุมเยือกเย็น เหมือนเป็นคนมากด้วยประสบการณ์ ครุ่นคิดแก้ปัญหาด้วยเหตุผล ไม่ใช่ด้วยอารมณ์ แต่วิธีการของเขาช่างแปลกประหลาด พิศดาร เว่อวังอลังการ! วัตถุประสงค์ของผู้เขียน ต้องการเสียดสีล้อเลียน (Social Satire) สร้างความบันเทิง เพลิดเพลินผ่อนคลาย ไม่ได้แฝงนัยยะความหมายอะไรลึกซึ้ง

ถึงแม้ว่าหนังสือของ Raspe เกี่ยวกับ Baron Munchausen จะมีเพียงเล่มเดียว! แต่ด้วยยอดขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ได้รับการแปลหลากหลายภาษา ทำให้ถูกลอกเลียนแบบ/ดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆติดตามมามากมาย อาทิ หนังสือการ์ตูน (Comic Novel), ละคอนเวที, ซีรีย์วิทยุ, โทรทัศน์, อนิเมชั่น, และสื่อภาพยนตร์ที่น่าสนใจ อาทิ

  • หนังเงียบเรื่องแรก Les Hallucinations du baron de Münchausen (1911) แปลว่า Baron Munchausen’s Dream กำกับโดย Georges Méliès
  • ภาพยนตร์ผจญภัย Baron Prášil (1940) กำกับโดย Martin Frič
  • ภาพยนตร์ชวนเชื่อนาซี Münchhausen (1943) กำกับโดย Josef von Báky
  • ภาพยนตร์เพลงตลกเยอรมัน Münchhausen in Afrika (1957) นำแสดงโดย Peter Alexander
  • ภาพยนตร์ผสมอนิเมชั่น The Fabulous Baron Munchausen (1962) กำกับโดย Karel Zeman
  • ภาพยนตร์อนิเมชั่นฝรั่งเศส The Adventures of Baron Munchausen (1979) กำกับโดย Jean Image
  • ภาพยนตร์โทรทัศน์รัสเซีย The Very Same Munchhausen (1979) กำกับโดย Mark Zakharov, นำแสดงโดย Oleg Yankovsky
  • ภาพยนตร์แฟนตาซี The Adventures of Baron Munchausen (1988) กำกับโดย Terry Gilliam

Karel Zeman (1910-89) ผู้กำกับภาพยนตร์/อนิเมชั่น สัญชาติ Czech เกิดที่ Ostroměř, Austria-Hungary (ปัจจุบันคือ Czech Republic) ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในหุ่นเชิดชัก (Puppet Theatre) แต่ครอบครัวบีบบังคับให้ร่ำเรียนบริหารธุรกิจ อดรนทนได้ไม่นานก็เดินทางสู่ฝรั่งเศส เข้าโรงเรียนสอนโฆษณา จบออกมาทำงานออกแบบกราฟฟิก ระหว่างนั้นมีโอกาสร่วมทำ(โฆษณา)อนิเมชั่น สะสมประสบการณ์ก่อนเดินทางกลับประเทศ ท่องเที่ยวลัดเลาะไปยัง Egypt, Yugoslavia, Greece, ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พยายามเสี่ยงดวงอยู่ Casablanca แต่สุดท้ายจำต้องเดินทางกลับประเทศหลังจาก Czechoslovakia ถูกยึดครองโดย Nazi Germany

ช่วงระหว่างสงครามได้เป็นหัวหน้าแผนกโฆษณาบริษัทแห่งหนึ่งในเมือง Brno ต่อมาได้รับชักชวนจากผกก. Elmar Klos เข้าร่วมสตูดิโออนิเมชั่น Bata Film Studios ณ Zlín เริ่มจากทำงานเป็นผู้ช่วยนักอนิเมเตอร์ชื่อดัง Hermína Týrlová, จากนั้นร่วมงาน Bořivoj Zeman กำกับหนังสั้นเรื่องแรก Vánoční sen (1945) [แปลว่า A Christmas Dream] ส่วนผสมระหว่างคนแสดง (Live Action) และ Puppet Animation

ด้วยความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Invention for Destruction (1958) ทำให้ผกก. Zeman ต้องการสานต่อโปรเจคที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน (ผสมผสานระหว่าง Live-Action และ Animation) ร่วมงานนักเขียน Josef Kainar และ Jiří Brdečka ช่วยกันเลือกเรื่องราวการผจญภัยของ Baron Munchausen ที่มีความน่าสนใจ … เพราะไม่สามารถดัดแปลงเนื้อหาจากต้นฉบับนวนิยายได้ทั้งหมดอยู่แล้ว

สิ่งเพิ่มเติมเข้ามาคือเรื่องราวนักบินอวกาศ Tony และเจ้าหญิงที่ถูกลักพาตัว Princess Bianca (ทั้งสองตัวละครไม่มีกล่าวถึงในต้นฉบับนวนิยาย) โดย Baron Munchausen พยายามทำตัวเป็นมือที่สาม แต่ก็มิอาจแทรกแซงความรักคนหนุ่มสาว … ส่วนเพิ่มเติมเข้ามานี้ ช่วยสร้างอรรถรส แต่งแต้มสีสัน อารมณ์ขัน และทำให้การผจญภัยมีความโรแมนติก น่าติดตามยิ่งๆขึ้นอีก


เรื่องราวเริ่มต้นจากชายหนุ่ม/นักบินอวกาศ Tony (รับบทโดย Rudolf Jelínek) ขึ้นยานสำรวจเดินทางมาถึงดวงจันทร์ แต่พอก้าวลงมานั้นกลับพบเห็นร่องรอยเท้ามนุษย์มากมาย แล้วจู่ๆได้รับการทักทายจากกลุ่มชายแปลกหน้านำโดย Baron Munchausen (รับบทโดย Miloš Kopecký) หลังดื่มฉลอง สังสรรค์เฮฮา รับปากอาสาพาสมาชิกใหม่ทัวร์โลกมนุษย์ ลงเรือเหาะเทียมม้าติดปีก โบยบินมายังจักรวรรดิ Ottoman ช่วงศตวรรษที่ 18

Baron Munchausen นำพา Tony มาพบเข้าเฝ้าสุลต่านแห่งจักรวรรดิ Ottoman แต่เพราะไม่รับรู้พิธีรีตรอง เลยถูกหมายหัว บุคคลอันตราย สร้างความสนอกสนใจให้กับ Princess Bianca ขอให้เขาลักพาตนเองหลบหนีออกจากสถานที่แห่งนี้ แล้วทั้งสามก็ได้ออกผจญภัย พานผ่านเหตุการณ์สุดมหัศจรรย์มากมาย … ท้ายสุดหนุ่มสาวก็ได้ครองรัก และทั้งสามก็ออกเดินทางกลับสู่ดวงจันทร์อีกครั้ง


Miloš Kopecký (1922-96) นักแสดงสัญชาติ Czech เกิดที่ Prague ตั้งแต่เด็กชื่นชอบดนตรีและการแสดง แต่ไม่สามารถสอบเข้าเรียนต่อแห่งไหน ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองถูกส่งไปค่ายแรงงาน (มารดาเสียชีวิตที่ Auschwitz) หลังจากนั้นเข้าร่วมกลุ่ม Větrník (นักแสดง Avant-Garde) มีผลงานละครเวที ไต่เต้าจากตัวประกอบ จนได้รับบทนำ แล้วผันตัวสู่วงการภาพยนตร์ ผลงานเด่นๆ อาทิ The Fabulous Baron Munchausen (1962), Lemonade Joe (1964), The Mysterious Castle in the Carpathians (1981) ฯ

รับบท Baron Munchausen ชายวัยกลางคน แต่งตัวภูมิฐาน วาดมาดผู้ดีมีสกุล สุขุมเยือกเย็น แต่ชอบคุยโวโอ้อวดเก่ง ว่าตนเองได้พานผ่านการต่อสู้ สมรภูมิรบ ผจญภัยเจ็ดย่านน้ำ กระทำสิ่งเว่อวังอลังการ และยังสามารถเอาตัวรอดมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อได้พบเจอชายหนุ่ม Tony ระหว่างอยู่บนดวงจันทร์ ครุ่นคิดว่าอีกฝ่ายคือมนุษย์ต่างดาว เลยขันอาสาพาท่องเที่ยวรอบโลก สถานที่แรกคือเข้าเฝ้าสุลต่านแห่งจักรวรรดิ Ottoman ให้ความช่วยเหลือเจ้าหญิง Princess Bianca แล้วเกิดความอิจฉาริษยาคนหนุ่มสาว พยายามเกี้ยวพาราสี คุยโวโอ้อวดเก่ง แสดงความสามารถเหนือมนุษย์ แต่ก็ไม่สามารถทำให้เธอหันมาเหลียวแลมอง

การคัดเลือกนักแสดงของผกก. Zeman ถือว่าประสบความสำเร็จกว่า Invention for Destruction (1958) โดยเฉพาะ Kopecký ไม่เพียงภาพลักษณ์ รูปร่างหน้าตา แต่งตัวได้อย่างภูมิฐาน แต่ยังบุคลิกภาพ วางมาดผู้ดีมีสกุล ท่าทางสุขมเยือกเย็น คุยโวโอ้อวดเก่ง ชอบยืนเต๊ะท่าเท่ห์ มั่นหน้า เต็มไปด้วยความลุ่มหลง ทะนงตน ถือว่าโคตรๆเหมาะสมกับบทบาท Baron Munchausen

ผมชอบความมั่นหน้าของ Baron Munchausen เชื่อว่าฉันเก่ง ฉันทำได้ทุกสิ่งอย่าง เรื่องราวการผจญภัยสุดเว่อวังอลังการของฉัน ย่อมสามารถซื้อใจเจ้าหญิงสาวให้ตกหลุมรัก แต่อาจเพราะวัยวุฒิ วางตัวสูงส่งเกินไป ผู้สาวไม่ชอบผู้ชายโอ้อวดเก่ง ต่อให้พยายามสักเพียงไหนเลยเป็นได้แค่หมาหัวเน่า เก่าเกินเข้าใจคนรุ่นใหม่ เลยทำเป็นเสียสละให้อย่างเท่ห์ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องยินยอมรับความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ … ช่างเป็นบุคคลลุ่มหลงตนเองเสียจริงๆ (Narcissist)


Jana Brejchová (เกิดปี 1940) นักแสดงสัญชาติ Czech เจ้าของฉายา “Czech Brigitte Bardot” เกิดที่ Prague ครอบครัวมีฐานะยากจน สมัยเรียนอนุบาลได้รับเลือกแสดงภาพยนตร์ Olověný chléb (1954) ทำให้มีความสนใจสนใจด้านการแสดง แต่ก่อนจะมีโอกาสเข้าสู่วงการ เคยทำงานเป็นช่างพิมพ์ดีดอยู่หลายปี จนกระทั่งได้รับเลือกแสดงภาพยนตร์ Wolf Trap (1957), ผลงานเด่นๆ อาทิ Desire (1958), Suburban Romance (1958), Higher Principle (1960), The Fabulous Baron Munchausen (1961), The House in Karp Lane (1965), Beauty in Trouble (2006) ฯ

รับบท Princess Bianca เจ้าหญิงจากแดนไกล ถูกโจรสลัดลักพาตัวมาขายให้สุลต่านแห่งจักรวรรดิ Ottoman โดนกักขังหน่วงเหนี่ยว ไม่ต่างจากนกในกรง โหยหาอิสรภาพชีวิต จนได้พบเจอกับชายหนุ่ม Tony ที่ไม่หวาดกลัวเกรงอำนาจของสุลต่าน จึงเขียนจดหมายขอให้พาหลบหนี ออกผจญภัยสู่โลกกว้าง

แซว: ทีแรกผมนึกว่า Jana Brejchová คือบุคคลเดียวกับที่แสดงภาพยนตร์ Invention for Destruction (1958) แต่ปรากฎว่าคนละคน เธอคนนั้นชื่อ Jana Zatloukalová

Brejchová มีความละอ่อนวัย รอยยิ้มทำให้โลกแจ่มใส ช่วงแรกๆคือสาวน้อยเดือดร้อน (Damsel in Distress) แต่หลังได้รับความช่วยเหลือก็แสดงอาการคลั่งรัก ภักดีต่อ Tony ไม่หลงเหลือพื้นที่หัวใจให้กับ Baron Munchausen เกี้ยวพาอย่างไรเธอยังก็ไม่แลเหลียว นั่นทำให้ผู้ชมชื่นชม ประทับใจ รู้สึกสั่นไหว หญิงสาวในอุดมคติ … บทบาทอาจไม่ได้เน้นการแสดงสักเท่าไหร่ แต่ศรัทธาในรักทำให้ผู้ชมอิ่มอุ่นหฤทัย ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม


Rudolf Jelínek (เกิดปี 1935) นักแสดงสัญชาติ Czech เกิดที่ Kutná Hora (ปัจจุบันคือ Czech Republic) สำเร็จการศึกษาด้านการแสดงจาก Theatre Faculty of the Academy of Performing Arts in Prague (DAMU) จากนั้นเริ่มมีผลงานละครเวที เคียงคู่ภาพยนตร์ อาทิ The Fabulous Baron Munchausen (1961), The Assassination (1965) ฯ

รับบทนักบินอวกาศ Tony คาดว่าน่าจะมาจากโลกอนาคต (หรือก็คือปัจจุบันนี้แหละ) มีความเฉลียวฉลาดในวิทยาศาสตร์ มากล้นอุดมการณ์ หาญกล้าบ้าบิ่น ตกหลุมรักแรกพบ Princess Bianca แม้หลังจากนั้นบทบาทจะค่อยๆเลือนลาง เหินห่าง แต่ก็ไม่เคยจางหายไปจากจิตใจของหญิงสาว (และผู้ชม)

เมื่อตอน Invention for Destruction (1958) ผกก. Zeman คัดเลือกนักแสดงบทบาท Simon Hart ได้ขัดใจผมมากๆ ควรจะเป็นอย่าง Jelínek ใบหน้าหนุ่มแน่น ละอ่อนวัย ท่าทางเก้งๆกังๆ ยังขาดความเชื่อมั่น ไม่ค่อยรับรู้วิถีทางโลก มีอะไรๆให้ต้องเรียนรู้อีกมาก ขณะเดียวกันมีความแน่วแน่ ยึดถือมั่นอุดมการณ์ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ กล้าพูด กล้าแสดงออก พร้อมเผชิญหน้าผดุงความยุติธรรม

ตัวละครนี้เริ่มต้นได้อย่างน่าสนใจ แต่หลังจากพลัดหลงกับ Princess Bianca (และ Baron Munchausen) บทบาทก็ค่อยๆเลือนลาง เหินห่าง แต่ยังคงค้างคาอยู่ในจิตใจหญิงสาว (และผู้ชม) เมื่อหวนกลับมาพบเจอก็เอาแต่พร่ำพรอดรัก ทำเอา Baron Munchausen (และผู้ชม) ไม่ต่างจากหมาหัวเน่า ไม่อยากเข้าไปเป็นมือที่สาม/ขัดขวางความสุขของคนหนุ่มสาว


ถ่ายภาพโดย Jirí Tarantík (1926-98) ตากล้องสัญชาติ Czech เกิดที่ Chrastany (ปัจจุบันคือ Czech Republic) โตขึ้นร่ำเรียนการถ่ายรูปยัง Státní grafické škole v Praze (State School of Graphics in Prague) จากนั้นเข้าทำงาน Barrandov Studios เป็นผู้ช่วยตากล้อง ช่วงอาสาสมัครทหารร่วมสังกัด Československému armádnímu filmu (Czechoslovak Army Film) หลังปลดประจำการมีโอกาสร่วมงานผกก. Karel Zeman อาทิ Invention for Destruction (1958), The Fabulous Baron Munchausen (1962) ฯ

ทุกช็อตฉากของ The Fabulous Baron Munchausen (1962) เต็มไปด้วยรายละเอียด ผสมผสานระหว่างนักแสดง (Live-Action) เข้ากับอนิเมชั่นเคลื่อนไหว (Traditional, Cut-Out, Stop-Motion) และเทคนิคภาพยนตร์ (Miniature, Double Exposure, Matte Painting) เพื่อทำให้ ‘visual style’ มีลักษณะเหมือนภาพแกะสลักไม้ (Wood Engraving) ได้รับอิทธิพลจาก Gustave Doré

เกร็ด: Paul Gustave Louis Christophe Doré (1832-1883) นักแกะสลัก จิตรกรชาวฝรั่งเศส แห่งยุคสมัย Romanticism โด่งดังจากผลงานภาพพิมพ์และแกะสลักไม้ (Wood Engraving) มักได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเลื่องชื่อ พระคัมภีร์ไบเบิล (Vulgate Bible) และมหากาพย์ Dante: Divine Comedy

Gustave Doré ยังเคยวาดภาพการผจญภัยสุดพิลึกพิลั่นของ Baron Munchausen ซึ่งหนังนำเอาหลายๆผลงานมาแทรกใส่ใน Opening Credit และใช้อ้างอิงต้นแบบสถานที่ รวมถึงสัตว์ประหลาดด้วยนะครับ

ไม่ใช่แค่ลวดลายละเอียดที่มีความงดงามวิจิตรศิลป์ หนังถ่ายทำด้วยฟีล์มขาว-ดำ จากนั้นนำไปแต่งแต้มลงสีสัน (Film Tinting) เพื่อสร้างความหลากหลาย ขยับขยายโสตประสาทรับชม ซึ่งจะปรับเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา (กลางวันโทนเหลือง-ส้ม, กลางคืนสีน้ำเงิน-ดำ) สถานที่พื้นหลัง รวมถึงอารมณ์ศิลปินผู้สร้าง

สังเกตว่าบางช็อตฉากไม่ได้แค่ลงสีเดียว แต่ยังมีการไล่ระดับ ปรับความเข้ม-สว่าง (ตามทิศทางลำแสง) รวมถึงแต่งแต้มตรงโน้นนิดตรงนี้หน่อย ดอกไม้ ดวงตา เสื้อผ้า พระอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯลฯ เชื่อว่าหลายคนคงถูกล่อหลอกสนิทใจว่าหนังถ่ายทำด้วยฟีล์มสีอย่างแน่แท้

เอาจริงๆไม่จำเป็นต้องซูมเข้าไป ผู้ชมส่วนใหญ่ก็น่าจะคาดเดาได้อยู่แล้วว่าจรวดรูปร่างหน้าตาเช่นนี้ เป็นการเคารพคารวะนวนิยายไซไฟ De la Terre à la Lune, trajet direct en 97 heures 20 minutes (1865) [แปลว่า From the Earth to the Moon: A Direct Route in 97 Hours, 20 Minutes] ผลงานลำดับที่ #4 ในซีรีย์ Voyages Extraordinaires แต่งโดย Jules Verne (1828-1905) นักเขียนสัญชาติฝรั่งเศส

และขณะเดียวกันยังเป็นการอ้างอิงถึงโคตรภาพยนตร์ A Trip to the Moon (1902) กำกับโดย Georges Méliès เฉกเช่นเดียวกัน

สำหรับกลุ่มชายแปลกหน้าบนดวงจันทร์ พวกเขาไม่ใช่บุคคลสุ่มสี่สุ่มห้า แต่คือต่างนักผจญภัยในโลกวรรณกรรม สามคนแรกมาจากนวนิยาย From the Earth to the Moon (1865) ประกอบด้วย

  • Mr. Barbicane ชื่อเต็มๆคือ Impey Barbicane ประธานชมรม The Baltimore Gun Club ผู้มีความเชื่อว่าสามารถประดิษฐ์สร้างอาวุธปืนที่มีอานุภาพแรงสูง สามารถส่งคนไปถึงบนดวงจันทร์
  • Captain Nicholl of Philadelphia แม้เป็นศัตรูคู่ปรับของ Mr. Barbicane แต่เป็นผู้ออกแบบเกราะ โครงสร้างภายนอกของกระสุนปืนดังกล่าว
  • Michel Ardan นักผจญภัยชาวฝรั่งเศส ต้องการร่วมออกเดินทางสู่ดวงจันทร์ร่วมกับ Mr. Barbicane และ Captain Nicholl

และบุคคลที่สี่ Savinien de Cyrano de Bergerac (1619-55) นักกวี นักเขียนนวนิยาย/บทละคร สัญชาติฝรั่งเศส เลื่องชื่อในผลงานประเภทเสียดสีล้อเลียน (มีคำเรียก French Satirists) หนึ่งในนั้นคือ Histoire Comique par Monsieur de Cyrano Bergerac, Contenant les Estats & Empires de la Lune (1657) [แปลว่า Comical History of the States and Empires of the Moon] เล่าเรื่องราววุ่นๆเกี่ยวกับการเดินทางสู่ดวงจันทร์ของตัวละครชื่อ Cyrano … เชื่อกันว่าน่าจะคือหนังสือเล่มแรกเขียนบรรยายถึงวิธีการเดินทาง (Spaceflight) สู่ดวงจันทร์

เกร็ด: เรื่องราวชีวิตของ Cyrano de Bergerac ได้รับการดัดแปลงเป็นบทละครเวที Cyrano de Bergerac (1897) ประพันธ์โดยนักเขียนชาวฝรั่งเศส Edmond Rostand (1868-1918) ซึ่งยังทำการผสมผสานคลุกเคล้าหลากหลายผลงานเขียน นำเสนอเรื่องราวการผจญภัยคล้ายๆแบบ Baron Munchausen เต็มไปด้วยความเว่อวังอลังการ หนึ่งในนั้นก็คือเดินทางสู่ดวงจันทร์เฉกเช่นเดียวกัน

บางคนอาจยังสับสน มึนๆงงๆกับซีเควนซ์บนดวงจันทร์ แต่พอ Baron Munchausen นำพา Tony มาท่องเที่ยวยังจักรวรรดิ Ottoman มีหลายสิ่งอย่างที่สร้างความตลกขบขันอย่างชัดเจน อาทิ

  • นางรำทำท่าขยับโยกเต้น ตามพวงองุ่นของสุลต่าน … แฝงนัยยะถึงเผด็จการเบ็ดเสร็จ ใช้อำนาจในการบีบบังคับให้ขยับเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
  • ขณะเข้าเฝ้าสุลต่าน ด้วยความที่ Tony ไม่เคยรับรู้พิธีรีตรองจึงตั้งใจจะก้าวขึ้นบนบัลลังก์เพื่อขอจับมือ แต่แท่นที่เหยียบย่างดันมีสรรพาวุธลับพุ่งออกมา แต่แทนที่เขาจะถอยหลังกลับมีท่าทางสนุกสนาน ลองเหยียบครั้งสองสามจนสร้างความไม่พึงพอใจให้กับสุลต่าน … นี่ไม่ใช่แค่ Cultural Shock ของทั้ง Tony และสุลต่าน แต่ยังสื่อถึงการท้าทายอำนาจ ไม่หวาดกลัวเกรงอันตราย

เพื่อช่วยเหลือ/ลักพาตัวประกัน Princess Bianca ยามค่ำคืน Baron Munchausen และ Tony จึงแอบบุกเข้าไปในพระราชวัง ระหว่างเผชิญหน้าต่อสู้ทหารรักษาพระองค์ มีการจงใจทำให้ไฟดับ ปกคลุมอยู่ในความมืดมิด เพียงเห็นภาพกระพริบ แสงเงาสลัวๆ Baron Munchausen ต่อสู้กับทหารกระดาษ (ทำจาก Cut-Out) พยายามตัดต่อให้สอดคล้องท่วงทำนองเพลงที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานครื้นเครง

ผมครุ่นคิดอยู่นานว่าควันสีแดงมันคืออะไรกัน?? พลันฉุกครุ่นคิดได้ว่านั่นอาจคือควันไฟจากการเผาพระราชวัง คงเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ระหว่างควบม้าหลบหนีเอาตัวรอด

ผมไม่ได้สนใจนับหรอกว่าเจ้าปลายักษ์มันออกผจญภัยไปทั่วเจ็ดน่านน้ำหรือไม่ แต่พบเห็นทั้งกลางวัน-กลางคืน ขั้วโลกเหนือ-ใต้ สภาพอากาศร้อน-หนาว ฝนตก-แดดออก-ท้องฟ้ามืดครึ้ม เรียกได้ว่าทุกช่วงเวลา ทุกสถานที่แห่งความเป็นไปได้ ซึ่งจะมีการแต่งแต้มแสงสีสันให้แตกต่างกันออกไป

เกร็ด: ใครได้รับชมคลิปเบื้องหลังที่ผมใส่ไว้ใน Invention for Destruction (1958) น่าจะผ่านตาเจ้าปลายักษ์ตัวนี้ เป็นโมเดลจำลองที่ต้องใช้สตั๊นแมนถึงสามคนยก และสองคนควบคุมระหว่างแหวกว่ายอยู่ในสระน้ำ … ขนาดของเจ้าปลายักษ์ตามคำโอ้อวดของ Baron Muchausen คือใหญ่พอๆกับทะเลสาป Geneva (ถ้าวัดเฉพาะพื้นผิวน้ำ กว้างสุดxยาวสุด = 73×14 ตารางกิโลเมตร)

ช่วงระหว่างที่ Baron Munchausen และ Princess Bianca ติดอยู่ในท้องเจ้าปลายักษ์ Tony ครุ่นคิดหาวิธีการช่วยเหลือด้วยการพยายามก่อสร้างเรือจักรกลที่มีความล้ำยุคสมัยนั้น (จะมองว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ Steampunk ก็ได้กระมัง) สังเกตบริเวณด้านหลังของเรือมีภาพวาด Adam กับ Eve กำลังถูกล่อลวงโดยอสรพิษ(ซาตาน)ให้รับประทานผลแอปเปิ้ลจากสวนอีเดน (เป็นภาพวาดที่ลงรายละเอียดสีสันได้อย่างสวยงาม)

ในบริบทนี้แอปเปิ้ลจากสวนอีเดน คือสัญลักษณ์แทนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีของ Tony เพราะเขาเป็นนักบินอวกาศ น่าจะมาจากโลกอนาคต จึงพยายามใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา แต่ครั้งนี้เหมือนจะไม่สำเร็จเพราะ Baron Munchausen และ Princess Bianca สามารถเอาตัวรอดกลับออกมาจากท้องเจ้าปลายักษ์เรียบร้อยแล้ว!

ระหว่างหนุ่ม-สาวกำลังพรอดรัก Baron Munchausen ไม่อยากทนเห็นภาพบาดตาบาดใจ เลยปล่อยให้ตนเองถูกนกยักษ์ลักพาตัว หลังจากดิ้นหนีเอาตัวรอด จึงออกผจญภัยใต้ท้องทะเลลึก … ผมมองว่านี่คือช่วงเวลาครุ่นคิดทบทวนตนเอง การผจญภัยใต้พื้นผิวน้ำสามารถสะท้อนจิตใต้สำนึกตัวละคร ซึ่งจะมีการรำพันถึงนางเงือก ภายนอกแม้ดูยั่วเย้ายวน เต็มไปด้วยความลุ่มหลงใหล แต่ภายในอาจซุกซ่อนเขี้ยวเล็บ ฉลามปลอมตัวมา

แซว: แน่นอนว่าหนังไม่ได้ลงทุนถ่ายทำใต้น้ำจริงๆ แค่เพียงเอาตู้ปลามาวางไว้หน้ากล้อง แล้วให้นักแสดงทำท่าแหวกว่าย นั่งอยู่บนเบาะด้านหลัง เพียงเท่านี้ก็สามารถหลอกตาผู้ชมได้สนิทใจ

เมื่อตอนที่ Princess Bianca อยู่สองต่อสองบนเรือชูชีพลำน้อยกับ Baron Munchausen ต่างอาบฉาบด้วยแสงจันทรา ท้องฟ้าเต็มไปด้วยดาวดารา หญิงสาวสอบถามถึงคู่รักบนดวงจันทร์ เขาตอบว่าสถานที่บนนั้นมีความน่าพิศวงสงสัย

ตรงกันข้ามกับตอนอยู่สองต่อสองกับ Tony บนเรือลำใหญ่ ไร้แสงจันทรา ร่างกายปกคลุมด้วยเงามืดมิด และยังพูดบอกด้วยความเชื่อมั่นว่า สักวันมนุษย์จักครอบครองดวงดาวบนท้องฟากฟ้า สามารถขบไขปริศนาจักรวาล หลงเหลือเพียงเรื่องความรัก ดวงตาของเธอที่ยังคงเต็มไปด้วยความลึกลับ

สิ่งที่มีความโรแมนติกในมุมมองของ Baron Munchausen คือความห้าวหาญ การต่อสู้ และสงคราม บนหน้าอกประดับเกียรติยศเต็มบ่า ซึ่งหนังทำการเสียดสีล้อเลียนด้วยการใช้ ‘Sound Effect’ เสียงรัวกลอง(นึกว่าเสียงปีน)ดังขึ้นพร้อมปรากฎเครื่องราชอิสริยยศ และชุดนายพลมีอีกาดำเกาะอยู่บนศีรษะ … เพลงประกอบระหว่างการสู้รบสงคราม จะได้ยินเสียงอีกาดังขึ้นบ่อยครั้ง สัญลักษณ์แทนความตาย สิ่งชั่วร้าย เศษซากปรักหักพัง (อีกาชอบกินซากสัตว์)

การผจญภัยนั่งบนกระสุนปืนใหญ่ของ Baron Munchausen จงใจให้เขาพานผ่านสมรภูมิสงคราม สนามสู้รบ ยุคสมัยก่อนคือวิธีพิสูจน์ความหาญกล้า ลูกผู้ชาย ถ้าสามารถเอาตัวรอดกลับมาได้ ย่อมกลายเป็นบุคคลมีชื่อเสียง เกียรติยศ ผู้คนนับหน้าถือตา … ขัดย้อนแย้งกับมุมมองคนรุ่นใหม่ Tony ทำไมฉันต้องเอาชีวิตไปเสี่ยงเป็น-ตาย (Anti-War) เสียเวลาทำสิ่งตอบสนองความต้องการหัวใจ

ระหว่างที่ Baron Munchausen กำลังหมกม่วนอยู่กับความโรแมนติกของสงคราม, Tony ก็เอาแต่พร่ำพรอดคำหวาน เกี้ยวพาราสี Princess Bianca นำเอาหนังสือเคยวาดเล่น เทพนิยายแต่งไว้ตั้งแต่เด็ก (นี่ฟังเหมือนคำพูดของผกก. Zeman เสียมากกว่านะ) ภาพประกอบคำบรรยายสะท้อนเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้น และกำลังจะบังเกิดขึ้น

  • เจ้าหญิงติดอยู่ในหอคอยสูง เฝ้ารอเจ้าชายมาให้ช่วยเหลือ = Princess Bianca เคยถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวโดยสุลต่านแห่ง Ottoman Empire
  • เจ้าชายวางแผนปล้นดินปืน นำไปโยนใส่บ่อน้ำ นี่คือเหตุการณ์ที่กำลังจะบังเกิดขึ้นต่อไป
  • และเมื่อจุดไฟโยนลงในบ่อน้ำ แรงระเบิดจะทำให้พวกเขาออกเดินทางสู่ดวงจันทร์

แต่เหตุการณ์จริงบังเกิดขึ้นนั้น บุคคลที่ถูกคุมขังกลับเป็น Tony (ล้อกับตอนต้นเรื่องที่ Princess Bianca เคยเป็น ‘damsel in distress’) เพราะการลักขโมยดินปืน(โยนลงบ่อน้ำ) เกือบทำให้พ่ายแพ้สงคราม เลยถูกตีตราคนทรยศขายชาติ … ในบริบทดังกล่าวยังสามารถมองการกระทำของ Tony ในเชิงต่อต้านสงคราม (Anti-War) ได้ด้วยเช่นกัน!

กลายเป็น Princess Bianca ให้ความช่วยเหลือ พาหลบหนี และบุคคลจุดชนวนระเบิดก็คือ Baron Munchausen ด้วยความไม่รู้อิโน่อิเหน่ จำใจต้องร่วมเดินทางกลับดวงจันทร์ไปพร้อมกัน

ตัดต่อโดย Věra Kutilová, แม้หนังจะเริ่มต้นการเดินทางด้วยยานอวกาศของ Tony ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ แต่เรื่องราวทั้งหมดกลับนำเสนอผ่านมุมมองตัวละคร Baron Munchausen อาสาพาชายหนุ่มลงเรือเหาะ ออกผจญภัยยังดาวเคราะห์โลก ย้อนเวลากลับสู่ช่วงศตวรรษที่ 18

  • Tony เดินทางด้วยยานอวกาศลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ พบเจอกับ Baron Munchausen ดื่มฉลอง สังสรรค์เฮฮา รับปากอาสาพาสมาชิกใหม่ทัวร์โลกมนุษย์
    1. ลงเรือเหาะเทียมม้าติดปีก โบยบินมาถึงยังจักรวรรดิ Ottoman เข้าเฝ้าสุลต่าน ยามค่ำคืนทำการลักพาตัว Princess Bianca ควบม้าหลบหนีสามวันสามคืน
    2. Baron Munchausen พา Tony และ Princess Bianca กระโดดลงทะเล ขึ้นเรือโดยสาร ตั้งใจจะออกเดินทางสู่ยุโรป แต่ยังถูกกองทัพเรือของสุลต่านไล่ล่า ห้อมล้อมพร้อมโจมตีจากทั่วสารทิศ
    3. หลังเอาตัวรอดจากสมรภูมิรบ เรือชูชีพของ Baron Munchausen และ Princess Bianca ได้พลัดจากจาก Tony แล้วพวกเขาถูกกลืนกินลงในท้องปลายักษ์ เดินทางไปเจ็ดย่านน้ำ ก่อนถูกสังหารโดยพวกนักล่า
    4. เจ้าปลายักษ์เกยตื้นริมชายฝั่ง ทำให้ Princess Bianca หวนกลับมาพบเจอ Tony พรอดคำหวาน เกี้ยวพาราสี โดยไม่มีใครสนใจ Baron Munchausen ถูกนกยักษ์ลักพาตัว พอสามารถดิ้นหลบหนี ก็ออกผจญภัยใต้ท้องทะเลลึก
    5. หลังจาก Baron Munchausen กลับมาพบเจอหนุ่ม-สาว ทั้งสามออกเดินทางสู่ปราสาท/ป้อมปราการแห่งหนึ่ง กำลังเตรียมทำสงครามรบพุ่ง แต่เกือบพ่ายแพ้เพราะไม่สามารถจุดชนวนระเบิด โยนความผิด/ใส่ร้ายป้ายสี Tony ถูกจับกุมข้อหาก่อการกบฎ Princess Bianca จึงหาหนทางช่วยเหลือ แอบพากันหลบหนี แล้วโดยไม่รู้ตัวบังเกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่
  • เป็นเหตุให้ทั้งสามโบยโบกบิน ล่องลอยกลับสู่ดวงจันทร์ หนุ่มสาวมอบคำสัญญารักมั่น ส่วน Baron Munchausen พร่ำรำพันถึงความโรแมนติกของศิลปินนักกวี

การเพิ่มเติมเรื่องราวในส่วนของ Tony และ Princess Bianca ทำให้การผจญภัยของ Baron Munchausen มีเป้าหมายและชีวิตชีวามากขึ้น แต่ผมยังรู้สึกว่าหนังใช้ประโยชน์จากทั้งสองตัวละครไม่คุ้มค่าสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่หวนกลับมาพบเจอกัน เอาแต่พร่ำพรอดรักจนสร้างความอิจฉาริษยาต่อ Baron Munchausen (และผู้ชม)


เพลงประกอบโดย Zdeněk Liška (1922-83) สัญชาติ Czech เกิดที่ Smečno, Bohemia ทั้งปูและบิดาต่างเป็นนักดนตรีสมัครเล่น ทำให้วัยเด็กมีโอกาสฝึกฝนไวโอลิน แอคคอร์เดียน แต่งเพลงแรกสมัยเรียนมัธยม จากนั้นเข้าศึกษาต่อ Prague Conservatory ทำงานเป็นวาทยากร ครูสอนดนตรี ก่อนเข้าร่วม Zlín Film Studios กลายเป็นขาประจำผู้กำกับอนิเมชั่น Jan Švankmajer, ผลงานเด่นๆ อาทิ The Fabulous Baron Munchausen (1962), The Shop on Main Street (1965), Marketa Lazarová (1967), The Valley of the Bees (1968), The Cremator (1969), Fruit of Paradise (1970), Shadows of a Hot Summer (1977) ฯ

งานเพลงของ Liška อาจไม่ได้ท่วงทำนองติดหูโดยทันทีเหมือน Invention for Destruction (1958) แต่ก็เต็มไปด้วยการทดลองแปลกใหม่ (Experimental) เพื่อสร้างบรรยากาศผจญภัย เน้นความสนุกสนาน สอดแทรกอารมณ์ขัน ผันแปรเปลี่ยนไปตามสถานที่พื้นหลัง และพยายามทำให้คล้องจองภาพเหตุการณ์ปรากฎขึ้น ยกตัวอย่าง …

  • มีการไล่ระดับเสียงเครื่องสายให้สูงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆปรากฎภาพก้อนเมฆ ท้องฟ้า พออยู่เหนือชั้นบรรยากาศ จรวดเดินทางมาถึงดวงจันทร์ จะได้ยินเครื่องสังเคราะห์ และคลื่นความถี่ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน (หนังไซไฟสมัยนั้น ถือเป็นเสียงเอเลี่ยน สัญญาณจากนอกโลก)
  • เดินทางมาถึงจักรวรรดิ Ottoman ย่อมได้ยินดนตรีพื้นบ้านตะวันออกกลาง
  • ฉากการต่อสู้ในพระราชวัง(สุลต่าน)ถือเป็นไฮไลท์ของหนังเลยก็ว่าได้! มีความพยายามทำให้ภาพปรากฎขึ้น และเสียงดนตรี/ไซโลโฟนที่ได้ยิน มีความสอดคล้องจองกัน แม้กระทั่งเสียงฟันดาบโช้งเช้ง ยังกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของเพลงประกอบ และที่สำคัญคือท่วงทำนองสนุกสนาน ครึกครื้นเครง อลเวง ชวนให้อมยิ้มเล็กๆ
  • ควบม้าหลบหนีจากพระราชวังสุลต่าน เครื่องเป่าลมทองเหลือสร้างท่วงทำนองประจัญบาน ชวนให้นึกถึงหนังแนว Western Cowboy ระหว่างฉากไล่ล่าสุดมัน
  • ฉากสู้รบยุทธนาวี เต็มไปด้วยเสียง ‘Sound Effect’ จากเครื่องสังเคราะห์ที่มีความเหนือจริง (นึกว่าเอเลี่ยนยิงปืนเลเซอร์ใส่กัน) เพราะระเบิดแต่ลูกที่ยิงออกมา ผลลัพท์สร้างความสับสนอลเวง มันเกิดห่าเหวเหตุการณ์อะไรขึ้น
  • แม้จะติดอยู่ในท้องเจ้าปลายักษ์ Baron Munchausen กลับยังมีอารมณ์อยากเต้นรำกับ Princess Bianca ต่อให้เรือโคลงเคลง โยกเยกไปมา ยังได้ยินท่วงทำนองเพลงคลาสสิกสำหรับเริงระบำ
  • ระหว่างก้าวเดินออกจากท้องปลายักษ์ ได้ยินเสียง Harpsichord บรรเลงบทเพลงแห่งชัยชนะ ก้าวออกมาสู่อิสรภาพ
  • การผจญภัยใต้ท้องทะเลลึกของ Baron Munchausen ได้ยินเสียงทรัมเป็ตบรรเลงท่วงทำนอง Slow-Jazz มีความล่องลอย โดดเดี่ยวอ้างว้าง ชีวิตดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมาย
  • บทเพลงมาร์ชระหว่างเตรียมการสู้รบ แต่พอถึงช่วงเข้าสู่สงครามจะเริ่มได้ยิน ‘Sound Effect’ อย่างเสียงหมา-กา-ไก่ บางครั้งดังขึ้นแทนกระสุนปืนใหญ่ (ถ้าใครตั้งใจรับฟังอาจได้หัวเราะจนท้องแข็ง)

รายละเอียดเพลงประกอบคร่าวๆที่ผมยกมานี้ ช่วยเสริมสร้างอรรถรสในการรับชมอย่างมากๆ ฟังสนุก เพลิดเพลิน เกิดความบันเทิง และอาจได้หัวเราะท้องแข็ง ถือเป็นอีกผลงานโคตรๆน่าประทับใจของ Liška สอดคล้องเข้ากับการผจญภัยสุดมหัศจรรย์ของ Baron Munchausen ได้อย่างแปลกพิศดาร

การผจญภัยของ Baron Munchausen ช่างมีความแปลกประหลาด พิลึกพิศดาร เว่อวังอลังการ ขัดต่อหลักการทางวิทยาศาสตร์ ตามกฎจักรวาลไม่น่าบังเกิดขึ้นได้ แต่ภาพยนตร์/นวนิยายเรื่องนี้คือจินตนาการของผู้สร้าง นำพาผู้ชมออกเดินทางสู่ความเป็นไปได้ไม่รู้จบสิ้น Infinite Possibility!

สักวันหนึ่งมนุษยชาติอาจสามารถสร้างยานอวกาศ เดินทางไปย่ำเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จ (หนังสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1962 ก่อนหน้า Neil Armstrong ก้าวย่างเหยียบดวงจันทร์ ค.ศ. 1969) แต่ปัจจุบัน(นั้น)สถานที่แห่งนี้ยังเป็นดินแดนโรแมนติกของนักคิด นักเขียน นักผจญภัย ศิลปินสรรค์สร้างผลงานศิลปะ หนุ่ม-สาวพรอดรักภายใต้แสงจันทรา

Luna till now belonged to the poets, to the dreamers, to daring fantasists and adventurers in powdered wigs. To fantasists in frock coats, and those in bizarre helmets from the pages of our latest novels. And of course to lovers, to them Luna was always most dear!

Baron Munchausen

ในขณะที่ Invention for Destruction (1958) นำเสนอเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก นักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์สุดยอดอาวุธ(เปรียบเทียบได้ตรงๆกับพลังงานนิวเคลียร์)ที่ถือเป็นดาบสองคม มีทั้งคุณประโยชน์และมหันตโทษ ขึ้นอยู่กับผู้ครอบครองและวิธีการนำไปใช้ เพื่อสร้างหรือทำลายล้าง

The Fabulous Baron Munchausen (1962) นำเสนอเรื่องราวแฟนตาซี การผจญภัยของนักคิด นักเขียน นักกวี ศิลปินสรรค์สร้างผลงานศิลปะ ฯ ผลงานของพวกเขาล้วนเป็นสิ่งไม่มีพิษภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใด อะไรๆล้วนสามารถบังเกิดขึ้นได้ จินตนาการไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีถูก ไม่มีผิด ขอแค่ให้ได้ครุ่นคิดเพ้อฝัน

แต่ละเหตุการณ์ผจญภัยของ Baron Munchausen มองผิวเผินเหมือนไม่น่าจะมีนัยยะอะไรซุกซ่อนเร้น แต่ล้วนเต็มไปด้วยสาระข้อคิด บางครั้งทำการเสียดสีประชดประชัน ‘Social Satire’ นำเสนอความผิดปกติของสังคมในประเด็นต่างๆกัน

  • การจะเข้าเฝ้าสุลต่านแห่งจักรวรรดิ Ottoman เต็มไปด้วยพิธีรีตอง มีความเรื่องมาก เจ้ากี้เจ้าการ ทำอะไรไม่พอใจก็ใช้ความรุนแรง กักขังหน่วงเหนี่ยว … เคลือบแฝงนัยยะต่อต้านการใช้อำนาจ/เผด็จการ Anti-Totalitarian
  • การสู้รบยุทธนาวี (รวมถึงสงครามช่วงไคลน์แม็กซ์ก็ได้เช่นกัน) ใช้เรือรบมากมายล้อมจัดการเรือลำเดียว แต่ผลลัพท์กลับทำให้ทั้งกองทัพพังทลาย เสียหายย่อยยับเยิบ … สามารถมองเป็น Anti-War สงครามนำมาซึ่งหายนะ ไม่เว้นแม้แต่พวกเดียวกันเอง
  • ถูกกลืนกินในท้องปลายักษ์ แต่กลับไม่มีใครตกอยู่ในสภาพสิ้นหวัง เรียนรู้ที่จะอดรนทน ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม/ผู้คนรอบข้าง เฝ้ารอคอยโอกาส สักวันต้องสามารถแก้ปัญหา ค้นพบทางออก หวนกลับสู่โลกภายนอกอีกครั้ง
  • การผจญภัยใต้ท้องทะเลลึกของ Baron Munchausen จะมีพูดกล่าวถึงสิ่งยั่วเย้ายวนอย่างนางเงือก แม้มีความงดงามแต่อาจซุกซ่อนเขี้ยวเล็บ ปลาฉลามปลอมตัวมา
  • Tony ไม่ได้มีความสนใจในการสู้รบสงคราม เพียงขโมยดินปืนเพื่อเตรียมออกเดินทางกลับสู่ดวงจันทร์ แต่ถูกตีตราเป็นคนทรยศขายชาติ … ในบริบทนี้ยังสามารถมองถึงประเด็นต่อต้านสงคราม (Anti-War) เพราะการกระทำของเขาทำให้ไม่เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน

ภาพยนตร์แฟนตาซีของผกก. Zeman เหมือนไม่น่าจะมีการเมืองเคลือบแอบแฝง แต่เหตุการณ์ผจญภัยที่คัดเลือกใส่เข้ามานั้น ชัดเจนมากๆว่าเป็นการแสดงทัศนะต่อต้านเผด็จการ (Anti-Totalitarian) ต่อต้านสงคราม (Anti-War) [พูดง่ายๆก็คือต่อต้านคอมมิวนิสต์ ไม่เอาสหภาพโซเวียต] โดยเฉพาะเรื่องราวของ Tony ที่แต่งเติมเพิ่มเข้ามา (ไม่มีอยู่ในต้นฉบับนวนิยาย) สามารถเทียบแทนความครุ่นคิด/จินตนาการเพ้อฝัน ชีวิตจริงอาจไม่สามารถทำอะไรเช่นนั้น นอกเสียจากสรรค์สร้างภาพยนตร์เท่านี้แล

ภาพสุดท้ายของหนัง ต้องถือเป็นช็อตลายเซ็นต์ของผกก. Zeman เลยกระมัง! เมื่อตอน Invention for Destruction (1958) พบเห็นหมวกกำลังจมลงสู่ก้นเบื้องมหาสมุทร สื่อถึงหายนะที่บังเกิดขึ้นได้จากเทคโนโลยี (ดาบสองคม) ถ้าถูกนำไปใช้ในทางไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดหายนะ จุดจบมวลมนุษยชาติ, แต่ครานี้พบเห็นโยนเขวี้ยงขว้าง หมวกล่องลอยสู่จักรวาลเวิ้งว้าง หมายถึงความเพ้อฝันจินตนาการไม่มีที่สิ้นสุด!

ก่อนจะเข้าฉายในประเทศบ้านเกิด เดินทางไปตามเทศกาลหนัง Locarno Film Festival (Switzerland), Venice Film Festival (ไม่มีการระบุว่าในหรือนอกสายการประกวด), San Francisco International Film Festival ฯ ไม่มีรายงานทุนสร้าง แต่สามารถทำเงินใน Czechoslovakia สูงถึง 4.7 ล้าน CZK (=$14.2 ล้านเหรียญ)

ปัจจุบัน The Fabulous Baron Munchausen (1962) ได้รับการบูรณะ คุณภาพ 4K โดย Nadace české bijáky ร่วมกับ Karel Zeman Museum และ Czech Television พร้อมๆกับ Journey to the Beginning of Time (1955) และ Invention for Destruction (1958) เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2015 รวบรวมอยู่ในบ็อกเซ็ต Three Fantastic Journeys by Karel Zeman ของค่าย Criterion Collection

เกร็ด: นิตยสาร Home Cinema Choice ของประเทศอังกฤษ ทำการโหวตเลือก The Fabulous Baron Munchausen (1962) มอบรางวัล Best Digitally Restored Film เมื่อปี ค.ศ. 2017 เอาชนะภาพยนตร์อย่าง The Wages of Fear (1953), The Thing (1982) และ Mulholland Drive (2001)

แม้เรื่องราวอาจไม่ได้มีความน่าสนใจอะไร แต่การผจญภัยของ Baron Munchause เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ พิลึกพิลั่น สอดแทรกอารมณ์ขัน ตื่นตระการทั้งภาพและเสียง สร้างความตกตะลึง อึ่งทึ่ง หลายๆคนอาจถึงกับอ้าปากค้าง! เป็นความประทับใจยิ่งกว่า Invention for Destruction (1958) แต่ก็แล้วความชอบนะครับ ส่วนตัวคิดเห็นว่า The Fabulous Baron Munchausen (1962) สมควรค่าแก่การยกย่องมาสเตอร์พีซ

น่าเสียดายที่ผมมีเวลาจำกัด คงไม่มีโอกาสเขียนถึงผลงานอื่นๆของผกก. Zeman แต่ถ้าใครสนอกสนใจ แนะนำผลงานอาทิ The Voyage of Sinbad (1971) [มีทั้งหมด 7 เรื่องสั้น], A Thousand and One Nights (1974), The Sorcerer’s Apprentice (1978) ฯ

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | The Fabulous Baron Munchausen การผจญภัยสุดมหัศจรรย์ พิลึกพิลั่น เหนือล้ำจินตนาการ ตื่นตระการทั้งภาพ เสียง และอารมณ์ศิลปิน
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ตื่นตระการ

Vynález zkázy (1958)


Invention for Destruction (1958) Czech : Karel Zeman ♥♥♥♡

คลุกเคล้าการผจญภัยสุดมหัศจรรย์ในโลกของ Jules Verne ด้วยการออกแบบ ‘Visual Style’ ให้มีลักษณะคล้ายภาพแกะสลักเส้น (Line Engravings) สร้างความตื่นตาตะลึง แม้เรื่องราวอาจไม่ค่อยอึ่งทึ่ง แต่จักสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมเลือน

สำหรับวงการ Czech Animation บุคคลสำคัญถัดจาก Jiří Trnka ก็คือ Karel Zeman เจ้าของฉายา “Czech Méliès” ซึ่งพอผมพบเห็นตัวอย่างหนัง Invention for Destruction (1958) เกิดความ “ว๊าว” จนอดไม่ได้ที่ต้องลัดคิว เร่งรีบหามารับชมเคียงคู่กับ The Fabulous Baron Munchausen (1962) ต่างเป็นภาพยนตร์ที่มี ‘Visual Style’ โดดเด่นไม่ซ้ำแบบใคร

เกร็ด: เผื่อคนไม่รับรู้จัก Georges Méliès (1861-1938) นักมายากล ผู้บุกเบิกวงการภาพยนตร์ โด่งดังจากผลงาน A Trip to the Moon (1902), บ่อยครั้งนำแรงบันดาลใจจากนวนิยายไซไฟ(ออกไปทางแฟนตาซี)ของนักเขียนชื่อดัง Jules Verne (1825-1905) อาทิ The Impossible Voyage (1904), 20,000 Leagues Under the Sea (1907), Under the Seas (1907), The Conquest of the Pole (1912) ฯ

ผกก. Zeman เลื่องชื่อกับการสรรค์สร้างภาพยนตร์แฟนตาซี มีส่วนผสมระหว่างคนแสดง (Live-Action) กับอนิเมชั่น (Animation) ไม่จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็น Stop-Motion Animation บางครั้งเลือกใช้ภาพวาดสองมิติ (Traditional Animation), ตัดกระดาษแข็ง (Cut-Out Animation), หรือเทคนิคภาพยนตร์อย่าง Matte Painting ฯ ไม่ยึดติดกับวิธีการ ขอแค่ให้ได้ผลลัพท์ตามความต้องการ

จุดอ่อนของ Invention for Destruction (1958) คือการดำเนินเรื่องที่มีความเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า (น่าจะเพราะผกก. Zeman ต้องการให้ผู้ชมซึมซับภาพ ‘visual style’ ได้อย่างเต็มอิ่มหนำ) คัดเลือกนักแสดงได้อย่างน่าผิดหวัง และเรื่องราวคาดเดาง่ายเกินไปหน่อย (ก็มันเป็นแฟนตาซีสำหรับเด็ก อ่ะนะ!) รับชมครึ่งชั่วโมงแรกๆแม้ดูตื่นตาตะลึง แต่พอถึงตอนจบอาจไม่ค่อยรู้สึกเต็มอิ่มหนำสักเท่าไหร่

ผมเกือบลืมบอกไปว่า หนังได้เข้าฉายในงานนิทรรศการโลก 1958 Brussels World’s Fair (งานเดียวกับที่จัดโหวตภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลครั้งแรกของโลก!) สามารถคว้ารางวัล Grand Prix ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่เข้าฉายในเทศกาลปีนั้น ทำให้ถูกส่งออกฉายหลากหลายประเทศทั่วโลก จนได้รับประมาณการว่าน่าจะคือภาพยนตร์ประสบความสำเร็จสูงสุดตลอดกาลในประวัติศาสตร์ Czech Cinema

Karel Zeman (1910-89) ผู้กำกับภาพยนตร์/อนิเมชั่น สัญชาติ Czech เกิดที่ Ostroměř, Austria-Hungary (ปัจจุบันคือ Czech Republic) ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลในหุ่นเชิดชัก (Puppet Theatre) แต่ครอบครัวบีบบังคับให้ร่ำเรียนบริหารธุรกิจ อดรนทนได้ไม่นานก็เดินทางสู่ฝรั่งเศส เข้าโรงเรียนสอนโฆษณา จบออกมาทำงานออกแบบกราฟฟิก ระหว่างนั้นมีโอกาสร่วมทำ(โฆษณา)อนิเมชั่น สะสมประสบการณ์ก่อนเดินทางกลับประเทศ ท่องเที่ยวลัดเลาะไปยัง Egypt, Yugoslavia, Greece, พยายามเสี่ยงดวงอยู่ Casablanca ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แต่สุดท้ายจำต้องเดินทางกลับประเทศหลังจาก Czechoslovakia ถูกยึดครองโดย Nazi Germany

ช่วงระหว่างสงครามได้เป็นหัวหน้าแผนกโฆษณาบริษัทแห่งหนึ่งในเมือง Brno ต่อมาได้รับชักชวนจากผกก. Elmar Klos เข้าร่วมสตูดิโออนิเมชั่น Bata Film Studios ณ Zlín เริ่มจากทำงานเป็นผู้ช่วยนักอนิเมเตอร์ชื่อดัง Hermína Týrlová, จากนั้นร่วมงาน Bořivoj Zeman กำกับหนังสั้นเรื่องแรก Vánoční sen (1945) [แปลว่า A Christmas Dream] ส่วนผสมระหว่างคนแสดง (Live Action) และ Puppet Animation

Zeman มีชื่อเสียงจากซีรีย์ Stop-Motion แนวเสียดสีล้อเลียน Pan Prokouk (1946-59) แปลว่า Mr. Prokouk ออกแบบหุ่นทำขึ้นจากไม้ จมูกยื่นๆ ไว้หนวดครึ้มๆ สวมหมวก Pork Pie Hat มักตกอยู่ในสถานการณ์น่าเห็นอกเห็นใจ ถือเป็นตัวตายตัวแทนชนชาว Czech บุคคลธรรมดาทั่วไป … นิตยสาร Le Monde ของฝรั่งเศสทำการเปรียบเทียบญาติห่างๆ (animated cousin) ของ Monsieur Hulot

ความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Mr. Prokouk ทำให้ผกก. Zeman พยายามมองหาความท้าทายใหม่ๆ ได้รับคำท้าทายให้ทดลองสรรค์สร้าง Stop-Motion Animation โดยใช้ตุ๊กตาแก้ว (Glass Figurines) ผลลัพท์กลายเป็น Inspirace (1949) [แปลว่า Inspiration] มีความงดงาม ตระการตา แนะนำให้ลองรับชมดูนะครับ

สำหรับภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรก Poklad ptačího ostrova (1952) [แปลว่า The Treasure of Bird Island] นำแรงบันดาลใจจากเทพนิยายและภาพวาด Persian พยายายามผสมผสานระหว่างอนิเมชั่นสามมิติ สองมิติ รวมถึงเทคนิคภาพยนตร์ Matte Painting คลุกเคล้าเข้ากันอย่างกลมกล่อม

สำหรับผลงานแจ้งเกิดระดับนานาชาติของผกก. Zeman ทำการดัดแปลงนวนิยายผจญภัย #3 Voyage au centre de la Terre (1864) [แปลว่า Journey to the Center of the Earth] ของ Jules Verne ออกมาเป็นภาพยนตร์ Cesta do pravěku (1955) [ชื่อเมื่อตอนเข้าฉายสหรัฐอเมริกาก็คือ Journey to the Beginning of Time] ผสมผสานระหว่างคนแสดง (Live Action) กับ Stop-Motion Animation ในลักษณะเหมือนสารคดี (documentary-like) เต็มไปด้วยไดโนเสาร์ตื่นตาตื่นใจ แม้แต่ผกก. Steven Spielberg ยังเคยเอ่ยปากชื่นชม … สร้างอิทธิพลให้กับภาพยนตร์ Jurassic Park (1993) ด้วยกระมัง

ด้วยความที่ผกก. Zeman มีความชื่นชอบหลงใหลผลงานของ Jules Verne โดยเฉพาะคอลเลคชั่น Voyages extraordinaires (1863-1905) จำนวน #44+8 เรื่อง, หลังเสร็จจาก Journey to the Beginning of Time (1955) ก็พร้อมต่อด้วย Vynález zkázy (1958) [แปลว่า Invention for Destruction] ดัดแปลงจาก #42 Face au drapeau (1896) [แปลว่า Facing the Flag หรือ For the Flag] นวนิยายแนวรักชาติ (Patriotic Novel) เรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง ทำการประดิษฐ์คิดค้นสุดยอดอาวุธ (Super-Weapon) ที่มีแสนยานุภาพมหาศาล สามารถลบล้างจักรวรรดิฝรั่งเศสไปจากผืนแผ่นดินโลก … นี่เป็นเรื่องราวทำการพยากรณ์การมาถึงของระเบิดนิวเคลียร์

ผกก. Zeman ร่วมงานกับนักเขียนอีกสามคน František Hrubín, Jiří Brdečka และ Milan Vacha ช่วยกันระดมสมอง ครุ่นคิดหาวิธีการดำเนินเรื่องรูปแบบใหม่ให้แตกต่างจากต้นฉบับนวนิยาย ได้ข้อสรุปเปลี่ยนมานำเสนอผ่านมุมมองตัวละคร Simon Hart วิศวกรหนุ่ม ผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง Professor Thomas Roch ต่างถูกลักพาตัวโดย Count Artigas (ชื่อตามนิยายคือ Ker Karraje) ซึ่งระหว่างที่ Simon พยายามหาหนทางหลบหนี แอบส่งข่าวสารให้กับโลกภายนอก ยังสามารถสอดแทรกเรื่องราวผจญภัยอื่นๆ อาทิ #1 Twenty Thousand Leagues Under the Seas (1869-70), #12 The Mysterious Island (1875) และ Robur the Conqueror (1886) [อยู่คนละจักรวาลกับ Voyages extraordinaires]


เรื่องราวนำเสนอการผจญภัยของ Simon Hart (รับบทโดย Lubor Tokoš) เริ่มต้นเดินทางลงเรือข้ามมหาสมุทร Atlantic ต่อด้วยโดยสารขบวนรถไฟ และนั่งรถมาจนถึงสถานพยาบาลแห่งหนึ่ง เพื่อพบเจอนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง Professor Roch (รับบทโดย Arnošt Navrátil) รับฟังคำพร่ำบ่นเรื่องเงินทุนไม่เพียงพองานวิจัย แต่ไม่ทันไรทั้งสองถูกลักพาตัวขึ้นเรือดำน้ำของ Count Artigas (รับบทโดย Miloslav Holub) ออกเดินทางสู่เกาะ/ป้อมปราการ Back-Cup Island

เหตุผลที่ Count Artigas ลักพาตัว Professor Roch เพราะต้องการโน้มน้าวให้ช่วยประดิษฐ์คิดค้นสุดยอดอาวุธ (Super-Weapon) ที่มีแสนยานุภาพมหาศาล เพื่อหวังจะยึดครอบครองโลกใบนี้ให้อยู่ในกำมือ ความทราบถึง Simon Hart ปฏิเสธให้ความร่วมมือ พยายามหาหนทางหลบหนี ส่งข่าวสารสู่โลกภายนอก เปิดโปงแผนการชั่วร้าย … สุดท้ายจะทำได้สำเร็จหรือไม่??


Lubor Tokoš (1923-2003) นักแสดงสัญชาติ Czech เกิดที่ Šternberk (ปัจจุบันคือประเทศ Czech Republic), ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเดินทางสู่ Bruno ได้ทำงานยังโรงละคอน ไต่เต้าจากตัวประกอบ จนได้รับบทนำ แสดงภาพยนตร์ประปราย อาทิ The Fabulous World of Jules Verne (1958), Witchhammer (1970), Forbidden Dreams (1986), Princess Jasnenka and the Flying Shoemaker (1987) ฯ

รับบท Simon Hart วิศวกรหนุ่มหล่อ โหยหาการผจญภัย ออกเดินทางข้ามน้ำข้ามมหาสมุทร เพื่อมาพบเจอกับ Professor Roch แต่โชคชะตาจับพลัดจับพลูให้ถูกลักพาตัวมายังเกาะ Back-Cup Island พยายามหาหนทางหลบหนี ส่งข่าวสารสู่โลกภายนอก เปิดโปงแผนการชั่วร้ายของ Count Artigas

ว่ากันตามตรงผมรู้สึกว่า Tokoš อายุมากเกินไป (ไว้หนวดด้วยนะ) ตัวละครนี้น่าจะวัยรุ่น/ผู้ใหญ่ตอนต้น หน้าตาใสๆซื่อๆ เต็มไปด้วยความกระตือลือร้น อยากรู้อยากเห็น และควรมีอารมณ์ลุ่มร้อนรน กระวนกระวาย ไม่ใช่สุขุมเยือกเย็น ราวกับทุกสิ่งอย่างอยู่ในการควบคุม

และทั้งๆเป็นตัวละครหลัก แต่ก็กลับแทบไม่ได้มีส่วนร่วมสักกับหนังเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตา พบเห็นการผจญภัย สิ่งมหัศจรรย์มากมาย อาจโดดเด่นขึ้นมาช่วงท้ายตั้งแต่พยายามหลบหนี หลีนางเอก แต่ก็ไม่ได้ขายความสามารถด้านการแสดงสักเท่าไหร่


Arnost Navrátil (1926-1984) นักแสดงสัญชาติ Czech เกิดที่ Senice na Hané (ปัจจุบันคือ Czech Republic) แจ้งเกิดกับภาพยนตร์ The Fabulous World of Jules Verne (1958),

รับบท Professor Roch นักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง! ต้องการประดิษฐ์คิดค้นสุดยอดอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างมหาศาล แต่ถึงเป็นอัจฉริยะกลับไม่เคยครุ่นคิดถึงประโยชน์หรือโทษอย่างจริงจัง เลยถูกลวงล่อหลอกโดย Professor Roch สนเพียงสรรค์สร้างนวัตกรรมออกมาให้สำเร็จ พอถึงวันนั้นเกือบที่จะสายเกินแก้ไข

นี่เป็นอีกตัวละครที่ค่อนข้างน่าผิดหวัง นอกจากรูปร่างหน้าตา ทรงผมยุ่งๆ ภาพลักษณ์เหมือนนักวิทยาศาสตร์ ดูเฉลียวฉลาด แต่ทว่า Navrátil ไม่ได้มีความสติเฟื่อง แสดงอาการคลุ้มบ้าคลั่งอะไรออกมา วันๆหมกมุ่นทำงานงกๆ สนอกสนใจเพียงการทดลองผิดลองถูก และตอนจบแสดงสีหน้าผิดหวัง ชอกช้ำระกำ เลยตัดสินใจกระทำบางอย่างเพื่อไถ่โทษทัณฑ์


Miloslav Holub (1915-99) นักแสดงสัญชาติ Czech เกิดที่ Běchovice, Austria-Hungary (ปัจจุบันคือ Czech Republic) บิดาเป็นครูใหญ่ในหมู่บ้านเล็กๆ และยังช่วยกำกับการแสดงละครเวทีให้กับอาสาสมัคร นั่นทำให้เด็กชายมีความหลงใหลด้านการแสดงตั้งแต่เด็ก โตขึ้นสามารถสอบเข้า Prague Conservatory จบออกมากลายเป็นนักแสดงละครเวที มีผลงานภาพยนตร์ อาทิ The Trap (1950), The Fabulous World of Jules Verne (1958) ฯ

รับบท Count Artigas ไม่รู้ร่ำรวยจากไหน หรือสืบเชื้อสายตระกูลใด แต่มีเป้าหมายอุดมการณ์ อยากสรรค์สร้างสุดยอดอาวุธสำหรับยึดครองโลก มอบหมายให้ Captain Spade ลักพาตัว Professor Roch ทำให้แผนการใกล้ประสบความสำเร็จ ถ้าไม่เพราะถูกขัดขวางโดยผู้ช่วย Simon Hart ทุกสิ่งอย่างคงอยู่ภายในกำมือ

ผมชอบความอาวุโส ภูมิฐานของ Holub ทั้งกิริยาท่าทาง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย แลดูเหมือนผู้ดีมีสกุล ขณะออกคำสั่ง ฟังแล้วมีน้ำหนัก น้ำเสียงมุ่งมั่น เอาจริงจัง ไม่ใช่แค่อุดมคติเพ้อฝันลมๆแล้งๆ แต่เสียอย่างเดียวคือมาดไม่ค่อยเหมือนผู้ร้าย ดูไม่อันตราย สัมผัสความโฉดชั่วร้ายไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ … กล่าวคือขาด Charisma ที่ทำให้ตัวละครกลายเป็นบุคคลโฉดชั่วร้าย


ถ่ายภาพโดย Jiří Tarantík, Bohuslav Pikhart, Antonín Horák

ในหนังสือของ Jules Verne เต็มไปด้วยรูปภาพที่มีลักษณะเหมือนภาพแกะสลักเส้น (Line Engravings) ซึ่งช่วยเสริมสร้างจินตนาการกับผู้อ่านเตลิดเปิดเปิงไปไกล นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ผกก. Zeman เลือกสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย ‘visual style’ เต็มไปด้วยลวดลายเส้นตรง ไม่ใช่แค่ภาพถ่ายพื้นหลัง แต่ยังเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ สิ่งข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ฯ รับอิทธิพลจากผลงานของศิลปิน Édouard Riou, Léon Benett ฯ

The magic of Verne’s novels lies in what we would call the world of the romantically fantastic adventure spirit; a world directly associated with the totally specific which the original illustrators knew how to evoke in the mind of the reader … I came to the conclusion that my Verne film must come not only from the spirit of the literary work, but also from the characteristic style of the original illustrations and must maintain at least the impression of engravings.

Karel Zeman

As a child, I remember I had all the books with those beautiful engravings. I really can’t visualize the story any other way. And my father felt, because he adored Verne, he believed it can only be a good telling if he used the same techniques.

Ludmila Zeman บุตรสาวของผกก. Karel Zeman

ด้วยความที่แต่ละช็อตของหนังเต็มไปด้วยรายละเอียด ผสมผสานระหว่างนักแสดง (Live Action) อนิเมชั่นเคลื่อนไหว (Traditional, Cut-Out, Stop-Motion) รวมถึงเทคนิคภาพยนตร์ (Miniature, Double Exposure, Matte Painting) เพื่อทำให้ ‘visual style’ มีลักษณะเหมือนภาพแกะสลักเส้น ผกก. Zeman เลยไม่มีความเร่งรีบร้อนในการตัดต่อ/ดำเนินเรื่องราว แช่ภาพค้างไว้หลายวินาที (กล้องมักไม่ค่อยขยับเคลื่อนไหวด้วยนะ) เพื่อให้ผู้ชมสามารถชื่นชมความงดงาม เพลิดเพลิน เคลิบเคลิ้ม … แต่พอเริ่มชินชา ก็ไม่ค่อยรู้สึกว่ามันมีอะไรน่าตื่นเต้นสักเท่าไหร่

ถ้าเป็นช็อตถ่ายภาพระยะไกล (Extreme-Long Shot) มองเห็นใบหน้าไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ ถ้าพบเห็นการขยับเคลื่อนไหวมักไม่ใช่ซ้อนภาพนักแสดง (Live-Action) แต่อาจจะเป็น Cut-Out Animation โมเดลทำจากกระดาษแข็ง ต้องสังเกตสักหน่อยถึงพบเห็นท่าทางทึ่มๆทื่อๆ ดูไม่ค่อยเหมือนสิ่งมีชีวิตสักเท่าไหร่ (ไม่ใช่แค่มนุษย์นะครับ แต่ยังฝูงนก และสรรพสัตว์อื่นๆ)

แซว: ภาพปืนใหญ่บนเรือรบ ชวนให้นึกถึงโคตรหนังเงียบ Battleship Potemkin (1925) แสดงถึงแสนยานุภาพ อวดอ้างขนาดเจ้าโลก (ปีนใหญ่สำหรับปลดปล่อยสุดยอดอาวุธ ก็มีหน้าตาละม้ายๆคล้ายคลึงกัน)

หนังสือหลายๆเล่มของ Jules Verne รวมถึง Facing the Flag (1896) ใช้บริการภาพวาดของ Léon Benett (1839-1916) จิตรกรชาวฝรั่งเศส (เฉพาะซีรีย์ Voyages Extraordinaires มีผลงานถึง 25 เล่ม!) ซึ่งก็มีหลายๆรายละเอียดที่หนังให้การเคารพคารวะต้นฉบับ ยกตัวอย่าง Back-Cup Island เกาะลึกลับ/ฐานที่มั่นของ Count Artigas มีรูปทรงคล้ายถ้วยกาแฟ อดีตเคยเป็นภูเขาไฟแต่ได้มอดดับลงแล้ว ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า (แต่หนังจะไม่มีการพูดถึงตำแหน่งที่ตั้งดังกล่าว)

หลายคนอาจตื่นตาตื่นใจกับสิ่งประดิษฐ์ Steampunk (ตอนหนังเพิ่งเข้าฉาย น่าจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ผู้ชมสมัยนั้นได้เลยนะ!) แต่ช็อตที่สร้างความอึ้งทึ่ง ฉงนสงสัยให้ผมมากที่สุดคือซีเควนซ์ใต้น้ำ เพราะรับรู้ว่ายุคสมัยนั้นไม่มีทางจะลงไปถ่ายทำใต้ทะเลอยู่แล้ว ผู้สร้างใช้วิธีการไหนกัน??? เฉลยซ่อนอยู่ในคลิปด้านล่าง ทำผมอยากเอาตีนก่ายหน้าผาก (facepalm) หลงโง่อยู่นาน

เกร็ด: Invention for Destruction (1958) อาจถือเป็นภาพยนตร์แนว Steampunk เรื่องแรกๆของโลกที่มาก่อนกาล! นั่นเพราะคำศัพท์ Steampunk เพิ่งได้รับการบัญญัติโดย K.W. Jeter จากจดหมายเขียนส่งให้นิตยสาร Locus: The Magazine of The Science Fiction & Fantasy Field ฉบับเดือนเมษายน ค.ศ. 1987

Dear Locus,

Enclosed is a copy of my 1979 novel Morlock Night; I’d appreciate your being so good as to route it to Faren Miller, as it’s a prime piece of evidence in the great debate as to who in “the Powers/Blaylock/Jeter fantasy triumvirate” was writing in the “gonzo-historical manner” first. Though of course, I did find her review in the March Locus to be quite flattering.

Personally, I think Victorian fantasies are going to be the next big thing, as long as we can come up with a fitting collective term for Powers, Blaylock and myself. Something based on the appropriate technology of the era; like “steam-punks,” perhaps….

K.W. Jeter

เกร็ด2: Steampunk คือประเภทย่อย (Subgenre) ของ Science Fiction มักมีเรื่องราวในช่วงศตวรรษที่ 19 (Victorian) ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรไอน้ำ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง สภาพสังคมเสื่อมโทรมทราม นักเขียนสมัยนั้นอย่าง H.G. Wells, Jules Verne ฯ จึงจินตนาการโลกอนาคตด้วยการต่อยอดจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ แต่ปัจจุบันอย่างที่เรารู้ๆกันอยู่ว่าโลกไม่ได้ดำเนินไปในทิศทางนั้น (เปลี่ยนจากระบบไอน้ำและถ่านหิน ถูกแทนที่ด้วยไฟฟ้า น้ำมัน) คำนิยามใหม่ของ Steampunk จึงกลายเป็นอนาคตในอดีต (RetroFuturistic) ประวัติศาสตร์คู่ขนาน (Alternative History)

สุดยอดอาวุธอาจมีแสนยานุภาพมหาศาล แต่สิ่งมีชีวิตน่าสะพรึงกลัวที่สุดในท้องทะเลคือปลาหมึกยักษ์จากใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์ (Twenty Thousand Leagues Under the Seas) ตอนรับชมผมไม่ทันสังเกตหรอกนะ แต่พอแคปรูปภาพนี้ถึงพบเห็นเส้นลวดบริเวณหนวดอย่างชัดเจน นี่ไม่ใช่การเชิดชักหุ่น (เพราะเจ้าปลาหมึกเคลื่อนไหวอย่างตะกุกตะกัก ดูไม่เป็นธรรมชาติเอาเสียเลย) แต่เป็นการยึดรูปทรงสำหรับทำ Stop-Motion Animation (น่าจะมนุษย์ในชุดดำน้ำด้วยนะ)

แซว: ในหนังสือของ Jules Verne เขียนบรรยายไว้ว่าปลาหมึกยักษ์มีขนาดลำตัว 200 ฟุต (60.96 เมตร) และสามารถยืดยาวถึง 300 ฟุต (91.44 เมตร) เจ้าตัวที่พบเห็นในหนังน่าจะรุ่นลูก-หลาน-เหลน ตัวกระเปี๊ยกเดียวเอง!

ผมไม่ค่อยอยากสปอยลูกเล่น มายากล เทคนิคภาพยนตร์ที่ผกก. Zeman ใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้นัก แต่ถ้าใครสามารถหาซื้อแผ่นของ Criterion Collection (หรือรับชมออนไลน์ทาง Criterion Channel) มันจะมีเบื้องหลังสารคดี Karel Zeman’s Special Effects Techniques ให้รับชมงานสร้างที่น่ามหัศจรรย์ใจอย่างมากๆ

ปล. ผมบังเอิญพบเจอคลิปนี้ใน Youtube มีโอกาสรีบดูเสียก่อนโดนลบนะครับ

ตัดต่อโดย Zdeněk Stehlík,

ดำเนินเรื่องโดยใช้การผจญภัย มุมมองสายตาของ Simon Hart วิศวกรหนุ่ม ผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง Professor Roch เริ่มจากเดินทางข้ามน้ำข้ามมหาสมุทร (มาเยี่ยมเยือน Prof. Roch ในสถานพยาบาล) แล้วถูกลักพาตัวโดย Captain Spade กักขังอยู่ในเรือดำน้ำ มาถึงยังเกาะ Back-Cup Island พยายามหาหนทางหลบหนี ส่งข่าวสารสู่โลกภายนอก เปิดโปงแผนการชั่วร้ายของ Count Artigas

  • อารัมบท, การเดินทางของ Simon Hart ลงเรือข้ามมหาสมุทร Atlantic ต่อด้วยโดยสารขบวนรถไฟ และนั่งรถมาจนถึงสถานพยาบาลแห่งหนึ่งเพื่อพบเจอกับ Prof. Roch
  • ค่ำคืนนั้นถูกลักพาตัวโดย Captain Spade ถูกกักขังอยู่ในเรือดำน้ำ แต่ Prof. Roch กลับได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจาก Count Artigas
  • เดินทางมาถึงเกาะ Back-Cup Island ปรากฎว่า Simon ได้รับการปฏิบัติแตกต่างตรงกันข้ามกับ Prof. Roch
  • ระหว่างที่ Prof. Roch ครุ่นคิดวิจัยสุดยอดอาวุธ, Simon พยายามหาหนทางหลบหนี ส่งข่าวสารสู่โลกภายนอก หวังจะเปิดโปงแผนการชั่วร้ายของ Count Artigas
  • Simon แสร้งทำเป็นศิโรราบต่อ Count Artigas แล้วใช้โอกาสนี้หาหนทางหลบหนี
  • Prof. Roch สามารถประดิษฐ์สุดยอดอาวุธได้สำเร็จ พร้อมๆกับกองทัพกำลังห้อมล้อมรอบเกาะ Back-Cup Island นั่นทำให้ Count Artigas พร้อมเผชิญหน้าต่อสู้ ประกาศให้โลกได้รับรู้

การดำเนินเรื่องของ Invention for Destruction (1958) ไม่ได้มีความสลับซับซ้อน แต่สำหรับคนที่เคยอ่าน Voyages Extraordinaires ย่อมรับรู้ถึงการผสมผสานหลากหลายเรื่องราว (จากหนังสือหลายๆเล่ม) โดยมี Facing the Flag (1896) ถือเป็นแกนกลาง โครงสร้างหลักของหนัง แปะติดปะต่อเหตุการณ์อื่นๆคลุกเคล้าเข้ากันอย่างกลมกล่อม … แค่ว่าการดำเนินเรื่องมีความเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้าเกินไปหน่อย


เพลงประกอบโดย Zdeněk Liška (1922-83) สัญชาติ Czech เกิดที่ Smečno, Bohemia ทั้งปูและบิดาต่างเป็นนักดนตรีสมัครเล่น ทำให้วัยเด็กมีโอกาสฝึกฝนไวโอลิน แอคคอร์เดียน แต่งเพลงแรกสมัยเรียนมัธยม จากนั้นเข้าศึกษาต่อ Prague Conservatory ทำงานเป็นวาทยากร ครูสอนดนตรี ก่อนเข้าร่วม Zlín Film Studios กลายเป็นขาประจำผู้กำกับอนิเมชั่น Jan Švankmajer, ผลงานเด่นๆ อาทิ The Fabulous Baron Munchausen (1962), The Shop on Main Street (1965), Marketa Lazarová (1967), The Valley of the Bees (1968), The Cremator (1969), Fruit of Paradise (1970), Shadows of a Hot Summer (1977) ฯ

งานเพลงของ Liška เน้นสร้างบรรยากาศตื่นเต้น เน้นผจญภัย พานผ่านเหตุการณ์ดีๆร้ายๆ สนุกสนาน-เฉียดเป็นเฉียดตาย เลือกใช้เครื่องดนตรี Harpsichord ประกอบเข้ากับ Chamber Ensemble (ร่วมกับเครื่องสายและเครื่องเป่าลมไม้) บรรเลงท่วงทำนองติดหู แถมยังพยายามสร้างจังหวะให้สอดคล้องภาพพบเห็น และสรรพเสียงควรได้ยินขณะนั้นๆ … ถือเป็นอีกผลงานเพลงขึ้นหิ้งของ Liška ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว

เอาจริงๆแล้วเครื่องดนตรี Harpsichord ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับยุคสมัย Victorian (นี่เป็นเครื่องดนตรีจากยุคบาโรก ค.ศ. 1600-1750) แต่เสียงแหลมๆ เสียดแทงแก้วหู ไม่รู้ทำไมมันช่างสอดคล้องเข้ากับ ‘visual style’ ของภาพแกะสลักเส้น และยังกลมกล่อมกับเรื่องราวผจญภัยที่มีความสนุกสนาน ครึกครื้นเครง อลเวง ยียวนกวนบาทาอยู่เล็กๆ

ยังมีอีกบทเพลงไฮไลท์ที่ทรงพลังอย่างมากๆ น่าเสียดายหาคลิปให้รับฟังเต็มๆไม่ได้ (หรือใครจะลองสังเกตจากตัวอย่างหนัง บทเพลงนี้ดังขึ้นขณะนำเข้าสู่ไคลน์แม็กซ์) ทำการไล่ระดับเครื่องสาย ค่อยๆไต่ขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุด ก่อนปะทุระเบิดออกอย่างคลุ้มคลั่ง อารมณ์ผู้ฟังก็เฉกเช่นเดียวกัน … ดังขึ้นช่วงท้ายระหว่างที่ Professor Roch ตัดสินใจจะทำบางสิ่งอย่างกับสุดยอดอาวุธ เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในเงื้อมมือบุคคลชั่วร้าย นั่นถือเป็นช่วงเวลาที่รู้สึกขัดย้อนแย้งในตนเองอย่างรุนแรง (เพราะเขาเป็นทั้งผู้ประดิษฐ์คิดค้น และกำลังจะลงมือทำลายล้าง)


Invention for Destruction (1958) นำเสนอการผจญภัยที่อ้างอิงโลกสุดมหัศจรรย์ของ Jules Verne พบเห็นสิ่งประดิษฐ์ล้ำอนาคต (Steampunk) ที่ได้รับอิทธิพลจากยุคสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม รวมถึงพยากรณ์หายนะจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่อาจบังเกิดขึ้นเพราะพฤติกรรมละโมบโลภมาก ไร้จิตสามัญสำนึก ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสาธารณชน

He always warned that even if the future is technologically perfect with all these mod cons, it needs love, it needs poetry, it needs magic. He believed only these can make people feel happy and loved.

Ludmila Zeman กล่าวถึงความตั้งใจของบิดา Karel Zeman

แง่มุมนักวิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์คิดค้นสุดยอดอาวุธ (เปรียบเทียบตรงๆถึงระเบิดนิวเคลียร์) นำไปสู่การค้นพบแหล่งพลังงานมหาศาล สิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับต่อยอดเทคโนโลยี สร้างคุณประโยชน์แก่สังคม และการดำรงชีวิต, แต่ขณะเดียวกันถ้าสุดยอดอาวุธ/พลังงานมหาศาลนั้น ตกอยู่ในเงื้อมมือบุคคลโฉดชั่วร้าย วางแผนนำไปใช้ข่มขู่ แบล็กเมล์ สร้างความเสียหาย ก่อการร้าย เพื่อให้ได้มาซื่งผลประโยชน์ เงินๆทองๆ อำนาจบารมี เกียรติยศศักดิ์ศรี นั่นย่อมนำพาโลกใบนี้มุ่งสู่หายนะ ภัยพิบัติ เลวร้ายอาจถึงจุดจบมนุษยชาติ

เทคโนโลยีคือเหรียญสองด้าน มีทั้งคุณประโยชน์และโทษทัณฑ์ ขึ้นอยู่กับจิตสามัญสำนึกผู้ใช้งาน จะมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากน้อยเพียงไหน เลือกปล่อยตัวปล่อยใจ หรือบังเกิดสติหยุดยับยั้งชั่งใจ … ลองนึกถึงประโยชน์และโทษของพลังงานนิวเคลียร์ดูนะครับ

  • ประโยชน์: สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า, รังสีไอโซโทปใช้ในการแพทย์ ตรวจวินิจฉัย บำบัดรักษาโรค เอ็กซ์เรย์กระดูก, ตรวจสอบโครงสร้างภายในวัสดุ, ฉายรังสีอาหาร ผลผลิตทางการเกษตร อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ปลอดเชื้อโรค ฯลฯ
  • โทษ: มีความเสี่ยงสูง ปนเปื้อนธรรมชาติ ทำลายสภาพแวดล้อม (ย่อยสลายยาก นำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้) สร้างความเสียหายต่อเซลล์สิ่งมีชีวิต ได้รับมากเกินไปก็อาจถึงขั้นเสียชีวิต

พลังงานนิวเคลียร์แม้มีความเสี่ยงสูง แต่ก็สร้างคุณประโยชน์ต่อมนุษยชาติมากมายมหาศาล “High Risk High Return” คนส่วนใหญ่มักใช้ความรู้สึกในการตัดสิน เห็นชอบ-ไม่เห็นด้วย คุ้มค่า-ไม่สมราคาเสี่ยง แสดงอาการหวาดกลัวโน่นนี่นั่น (มันเพราะหายนะสงครามโลกครั้งที่สองล้วนๆ ยังคงแผ่รังสีความหวาดกลัวตกค้างมาจนถึงปัจจุบัน) แต่จริงๆเราควรใช้เหตุผล มองความจำเป็น และสิ่งที่จะได้รับผลตอบแทนมากกว่า

ผกก. Zeman ไม่ได้มีความสนใจการเมืองวุ่นๆวายๆของ Czechoslovakia หรือบรรยากาศสงครามเย็นในช่วงทศวรรษ 60s แต่เรื่องราวกล่าวถึงสุดยอดอาวุธ ผู้ชมย่อมเชื่อมโยงกับระเบิดนิวเคลียร์ที่มีอานุภาพทำลายล้างมหาศาล และยิ่งในมุมมองประเทศฟากฝั่ง Eastern Bloc จักพบเห็นลักษณะ ‘ชวนเชื่อ’ ต่อต้านสหรัฐอเมริกา (ที่เป็นเจ้าของระเบิดปรมาณู)

ตอนจบของหนังเมื่อ Prof. Roch ตระหนักว่าสุดยอดอาวุธอาจนำพาซึ่งหายนะ ตัดสินใจปล่อยทิ้งลูกระเบิด กลายเป็นผู้สร้าง-ทำลายล้าง ยินยอมพลีชีพเพื่อปกป้องมนุษย์ชาติ … นี่ไม่ใช่กงเกวียนกรรมเกวียน แต่คือวิถีของสรรพสิ่ง ราคาของความละโมบโลภมาก ย่อมหวนกลับมาทำลายล้างตนเอง


หลังรอบปฐมทัศน์ใน Czechoslovakia มีโอกาสเข้าฉายยัง Expo 58 ณ Brussels หลังจากคว้ารางวัล Grand Prix เดินทางไป 72 ประเทศทั่วโลก! น่าเสียดายยุคสมัยนั้นยังไม่มีเก็บบันทึกตัวเลขรายรับ แต่เมื่อปี ค.ศ. 2010 กระทรวงการต่างประเทศของ Czech Republic ประมาณการว่า Invention for Destruction (1958) อาจคือภาพยนตร์ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์ Czech Cinema

ฉบับเข้าฉายสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1961 จัดจำหน่ายโดยสตูดิโอ Warner Bros. มีการพากย์อังกฤษ เปลี่ยนชื่อเป็น The Fabulous World of Jules Verne ฉายควบ (Double Bill) ร่วมกับ Bimbo the Great (1958) แถมยังทำการปรับเปลี่ยนชื่อทีมงาน/นักแสดงเสียใหม่ [น่าจะเพราะอิทธิพลจากสงครามเย็น ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเข้าจากประเทศฟากฝั่ง Eastern Bloc] ผลลัพท์แม้ได้เสียงตอบรับดียอดเยี่ยม แต่กลับไม่ค่อยประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่

[The Fabulous World of Jules Verne]’s wonderful giddy science fantasy [which] sustains the Victorian tone, with its delight in the magic of science, that makes Verne seem so playfully archaic. … there are more stripes, more patterns on the clothing, the decor, and on the image itself than a sane person can easily imagine.

Pauline Kael

ปัจจุบัน Invention for Destruction (1958) ได้รับการบูรณะ คุณภาพ 4K โดย Nadace české bijáky (Czech Film Foundation) ร่วมกับ Karel Zeman Museum และ Czech Television พร้อมๆกับ Journey to the Beginning of Time (1955) และ The Fabulous Baron Munchausen (1962) เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2015 รวบรวมอยู่ในบ็อกเซ็ต Three Fantastic Journeys by Karel Zeman ของค่าย Criterion Collection

ตอนแรกผมเห็นบ็อกเซ็ต Three Fantastic Journeys by Karel Zeman ก็ตั้งใจว่าจะเขียนถึงทั้งสามเรื่อง แต่ด้วยความขี้เกียจ และรู้สึกว่าเวลากระชั้นชิดไปหน่อย เลยตัดสินใจเลือกมาแค่ Invention for Destruction (1958) และ The Fabulous Baron Munchausen (1962) สำหรับปิดท้าย Czech Animation

ถึงเรื่องราวจะคาดเดาง่าย ดำเนินไปอย่างเอื่อยเฉื่อย แต่ผมก็มีความเพลิดเพลินกับ ‘visual style’ งานภาพสวยๆ ตื่นตระการตา ชื่นชมในวิสัยทัศน์ผกก. Karel Zeman สร้างความมหัศจรรย์ให้กับโลกของ Jules Verne และเพลงประกอบ Zdeněk Liška เป็นอีกครั้งสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมเลือน!

ใครชื่นชอบนวนิยายไซไฟ ผจญภัย ในโลกสุดมหัศจรรย์ของ Jules Verne แนะนำให้ลองหาผลงานของผกก. Zeman มาลองรับชมดูนะครับ แล้วคุณอาจได้เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ ไม่เคยพบเห็นเรื่องไหนตระการตาขนาดนี้แน่ๆ

จัดเรต PG โจรสลัด ปล้น-ฆ่า ลักพาตัว

คำโปรย | Invention for Destruction คลุกเคล้าการผจญภัยสุดมหัศจรรย์ในโลกของ Jules Verne ได้อย่างตื่นตาตะลึง แม้เรื่องราวอาจไม่ค่อยอึ่งทึ่ง แต่จักสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมเลือน
คุณภาพ | ตื่นตาตะลึง
ส่วนตัว | ประทับใจ