Touki Bouki (1973)


Touki Bouki (1973) Senegalese : Djibril Diop Mambéty ♥♥♥♥

การเดินทางเพื่อค้นหาตัวตนเองของผู้กำกับ Djibril Diop Mambéty ในสไตล์ Bonnie and Clyde ปล้น-ฆ่า(วัว) ก่ออาชญากรรม เป้าหมายปลายทางคือฝรั่งเศส ดินแดนแห่งความเพ้อฝัน ‘The Wizard of Oz’ แต่แท้จริงแล้วปารี่ ปารีส ไม่ต่างอะไรจากปาหี่

Touki Bouki (1973) ไม่ใช่แค่หมุดหมายสำคัญต่อวงการภาพยนตร์แอฟริกัน แต่ยังคือมาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์โลก! ทุกสิ่งอย่างล้วนเกิดจากการลองผิดลองถูกของผกก. Mambéty ไม่เคยร่ำเรียน(ภาพยนตร์)จากแห่งหนไหน ทำการผสมผสานวิถีชีวิต แนวคิด ศิลปะ(แอฟริกัน) พัฒนาสไตล์ลายเซ็นต์ในรูปแบบของตนเอง แปลกใหม่ ไม่ซ้ำแบบใคร อาจต้องดูหลายครั้งหน่อยถึงสามารถทำความเข้าใจ

Djibril Diop Mambéty’s ‘Touki Bouki’ is a landmark of world cinema, a bold and inventive work that challenges narrative conventions and offers a powerful exploration of cultural identity.

Richard Brody นักวิจารณ์จากนิตยสาร The New Yorker

Touki Bouki is an explosion of filmic energy. It announces the arrival of a new cinema language with its breathless fusion of African, European, and American sensibilities.

ผู้กำกับ Bong Joon-ho

ในขณะที่ผู้กำกับแอฟริกันร่วมรุ่นอย่าง Ousmane Sembène (ฺBlack Girl), Med Hondo (Soleil Ô) มักสรรค์สร้างผลงานต่อต้านลัทธิอาณานิคม (Anti-Colonialism), ผกก. Mambéty ได้ทำสิ่งแตกต่างออกไป นั่นคือการเดินทางเพื่อออกค้นหาอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ ความหมายชีวิต ตอนจบแทนที่ตัวละครจะขึ้นเรือมุ่งสู่ฝรั่งเศส กลับเลือกปักหลักใช้ชีวิตใน Senegal ทำไมฉันต้องดำเนินรอยตามอุดมคติเพ้อฝันที่ถูกปลูกฝัง/ล้างสมองโดยพวกจักรวรรดินิยม

Touki Bouki is an African film made by an African for Africans. It is a call to Africans to take their destiny into their own hands, to stop being the victims of colonization and become masters of their own lives.

Djibril Diop Mambéty

ผมรู้สึกว่าการรับชม Touki Bouki (1973) ต่อเนื่องจาก Black Girl (1966) และ Soleil Ô (1970) มีความจำเป็นอย่างมากๆสำหรับคนที่ไม่รับรู้ประวัติศาสตร์แอฟริกัน เพราะทำให้ตระหนักถึงสันดานธาตุแท้ฝรั่งเศส เพราะเคยเป็นเจ้าของอาณานิคม Senegal (และอีกหลายๆประเทศในแอฟริกา) จึงพยายามปลูกฝังแนวคิด เสี้ยมสอนอุดมคติ ชวนเชื่อว่าฝรั่งเศสคือสรวงสวรรค์ ดินแดนแห่งความเพ้อฝัน (ไม่ต่างสหรัฐอเมริกาพยายามสร้างค่านิยมชวนเชื่อ ‘American Dream’) แต่ในความเป็นจริงนั้น …

Over the Rainbow ของ Judy Garland ชิดซ้ายไปเลยเมื่อเทียบกับบทเพลง Paris, Paris, Paris ของ Joséphine Baker ถึงรับฟังภาษาฝรั่งเศสไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อไหร่ได้ยินท่อนฮุค ปารี่ ปารี ปารีส มันสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ สัมผัสได้ถึงความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ ชวนเชื่อจอมปลอม เต็มไปด้วยคำกลับกลอก ลวงหลอก นั่นคือสภาพเป็นจริง ขุมนรกบนดิน ทำลายภาพจำสวยหรูที่ Amélie (2001) เคยปลูกฝังไว้ในจิตวิญญาณ

Djibril Diop Mambéty (1945-1998) นักกวี นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Senegalese เกิดที่ Colobane ชานเมืองหลวง Dakar, Senegal ในครอบครัวมุสลิม ชนเผ่า Lebou แม้ฐานะยากจนแต่มักหาโอกาสรับชมภาพยนตร์ฉายกลางแจ้ง บางครั้งไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปข้างใน แค่เพียงฟังเสียงอยู่ข้างนอกก็ยังดี (นั่นคือหนึ่งในอิทธิพลที่ทำให้เสียงในผลงานของ Mambéty มีความสำคัญอย่างมากๆ) โตขึ้นเข้าร่วมคณะการแสดง Théâtre National Daniel-Sorano แต่ไม่ทันไรกลับถูกไล่ออกเพราะทำผิดวินัยร้ายแรง

แม้ไม่เคยร่ำเรียนอะไรเกี่ยวกับภาพยนตร์ ด้วยความหลงใหลใน Italian Neorealist และ French New Wave เมื่อตอนอายุ 21 ปี ขอหยิบยืมกล้อง 16mm จาก French Cultural Centre ร่วมกับผองเพื่อนถ่ายทำหนังสั้น Badou Boy (1966) [แล้วรีเมค Badou Boy (1970)] บันทึกการเดินทางของชายหนุ่ม Badou Boy ตามท้องถนนหนทางเมือง Dakar [น่าจะได้แรงบันดาลใจจาก Borom Sarret (1963) ของ Ousmane Sembène] เข้าฉายเทศกาลหนัง Mondial des Arts Nègres (จัดที่ Dakar) ได้รับคำชื่นชมอย่างล้นหลาม

โปรเจคถัดไปคือหนังสั้น Contras’ City (1968) แปลว่า City of Contrasts ด้วยลักษณะ “City Symphony” ร้อยเรียงภาพทิวทัศน์ ท้องถนน ตลาด มัสยิดเมือง Dakar เกือบทศวรรษภายหลังการได้รับอิสรภาพเมื่อปี ค.ศ. 1960 เก็บบันทึกไว้เป็น ‘Time Capsule’

เมื่อเริ่มมีประสบการณ์ทำงาน ก็ถึงเวลาที่ผกก. Mambéty ครุ่นคิดสรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Touki Bouki (1973) นำเอาส่วนผสมจากทั้ง Badou Boy และ Contras’ City มาพัฒนาต่อยอด ขยับขยายเรื่องราว นำเสนอการเดินทางของหนุ่ม-สาว ร่วมก่ออาชญากรรม ปล้น-ฆ่า(วัว) เป้าหมายปลายทางเพื่อหาเงินขึ้นเรือสู่ฝรั่งเศส ดินแดนแห่งความเพ้อฝัน อุดมคติที่ถูกปลูกฝัง

With ‘Touki Bouki,’ I wanted to capture the essence of the youth in Dakar at that time, their desires, their dreams, and their frustrations. It was important for me to portray the struggles and contradictions of post-colonial Africa.

Djibril Diop Mambéty

หนังใช้งบประมาณเพียง $30,000 เหรียญ สนับสนุนจากกระทรวงสารสนเทศ (Senegalese Ministry of Information) และสถานีวิทยุและโทรทัศน์ (Senegalese Radio and Television) ปฏิเสธความร่วมมือใดๆจาก Bureau du Cinéma และ Centre national du cinema (CNC) องค์กรภาพยนตร์ที่ฝรั่งเศสจัดตั้งทิ้งไว้(ตั้งแต่ก่อนปลดแอก)สำหรับให้ความช่วยเหลือวงการภาพยนตร์ (แต่แท้จริงแล้วคอยตรวจสอบ คัดกรอง เซนเซอร์ ปฏิเสธผลงานที่เป็นภัยคุกคาม)


เรื่องราวของ Mory ไอ้หนุ่มเลี้ยงวัว ขับมอเตอร์ไซค์ฮ่าง แขวนกระโหลกศีรษะกระทิงไว้หน้ารถ (คาราบาวชัดๆเลยนะ) นัดพบเจอ Anta นักศึกษาสาว พรอดรักหลับนอน วาดฝันต้องการออกไปจากถิ่นทุรกันดาร ทวีปแอฟริกาแห่งนี้ มุ่งหน้าสู่ฝรั่งเศส ดินแดนแห่งความเพ้อฝัน

แต่การจะขึ้นเรือไปยังดินแดนหลังสายรุ้ง จำต้องใช้เงินมหาศาล พวกเขาจึงพยายามหาวิธีการ เล่นพนัน ลักขโมย ในที่สุดสามารถล่อหลอกเศรษฐีเกย์ Charlie เปลี่ยนมาแต่งหรู ขับรถเปิดประทุน หลังซื้อตั๋วขึ้นเรือ ใกล้ถึงเวลาออกเดินทาง Mory กลับเกิดอาการโล้เลลังเล ก่อนตัดสินใจทอดทิ้ง Anta เลือกปักหลักอาศัยอยู่เซเนกัล ไม่รู้เหมือนกันอะไรจะเกิดขึ้นต่อจากนั้น


สำหรับสองนักแสดงนำหลัก Magaye Niang (รับบท Mory) และ Mareme Niang (รับบท Anta) ไม่ได้เป็นญาติพี่น้องกันนะครับ ฝ่ายชายคือไอ้หนุ่มเลี้ยงวัว ฝ่ายหญิงเป็นนักศึกษาสาว ตามบทบาทของพวกเขา ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการแสดง (Non-Professional) ซึ่งเอาจริงๆก็แทบไม่ได้ต้องใช้ความสามารถใดๆ เพียงขยับเคลื่อนไหว กระทำสิ่งต่างๆตามคำแนะนำผู้กำกับเท่านั้นเอง … ผกก. Mambéty เพียงต้องการความเป็นธรรมชาติ และจับต้องได้ของนักแสดง เพื่อให้ทั้งสองเป็นตัวแทนคนหนุ่ม-สาว ชาวแอฟริกัน ที่ยังถูกครอบงำโดยอิทธิพลจากลัทธิอาณานิคม แต่ก็พยายามหาหนทางดิ้นหลุดพ้น ค้นหาอัตลักษณ์ของตัวตนเอง

แม้คู่พระนางอาจไม่มีอะไรให้น่าจดจำ แต่ผกก. Mambéty ก็แทรกสองตัวละครสมทบ Aunt Oumy และเศรษฐีเกย์ Charlie สามารถแย่งซีน สร้างสีสันให้หนังได้ไม่น้อย

  • Aunt Oumy (รับบทโดย Aminata Fall) ป้าของ Anta เป็นคนปากเปียกปากแฉะ ไม่ชอบขี้หน้าพบเห็น Mory ทำตัวไม่เอาอ่าวก็ตำหนิต่อว่าต่อขาน แต่หลังจากแต่งตัวโก้ ขับรถหรู พร้อมแจกเงิน เลยเปลี่ยนมาสรรเสริญเยินยอ ขับร้องเพลงเชิดหน้าชูตา มันช่างกลับกลอกปอกลอกเกินเยียวยา
    • Aminata Fall (1930-2002) คือนักร้อง/นักแสดงชาว Senegalese รับรู้จัก Mambéty ตั้งแต่ตอนเข้าร่วมคณะการแสดง Théâtre National Daniel-Sorano ประทับใจในความสามารถโดยเฉพาะการขับร้องเพลง เมื่อมีโอกาสเลยชักชวนมาร่วมงานภาพยนตร์ บทบาทที่ต้องถือว่าเต็มไปด้วยสีสัน ‘กิ้งก่าเปลี่ยนสี’ สะท้อนเสียดสีพฤติกรรมชาวแอฟริกันได้อย่างแสบสันต์
  • Charlie (รับบทโดย Ousseynou Diop) เศรษฐีเกย์ เจ้าของคฤหาสถ์หรู เหมือนจะเคยรับรู้จัก Mory พอสบโอกาสเมื่ออีกฝ่ายมาขอความช่วยเหลือด้านการเงิน จึงฉุดกระชากลากพาเข้าห้อง ระหว่างกำลังอาบน้ำเตรียมพร้อม กลับออกมาตัวเปล่าล่อนจ้อน ทำได้เพียงโทรศัพท์ของความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งล้วนเป็นอดีตคู่ขาของเธอแทบทั้งนั้น
    • ตัวละครนี้แม้เป็นชาว Senegalese/แอฟริกัน แต่กลับมีพฤติกรรมไม่แตกต่างจากฝรั่งเศส/ลัทธิอาณานิคม คือสนเพียงจะครอบครอง เป็นเจ้าของ เอาได้กระทั่งพวกพ้อง (ร่วมรักกับ)เพศเดียวกัน
    • บางคนอาจตีความตัวละครนี้ สื่อแทนความคอรัปชั่นภายในของแอฟริกัน ที่ยังได้รับอิทธิพล ถูกควบคุมครอบงำโดยอดีตจักรวรรดิอาณานิคม/ฝรั่งเศส ชักใยบงการอยู่เบื้องหลัง

เกร็ด: ใครอยากรับชมความเป็นไปของนักแสดง 40 ปีให้หลัง ลองหารับชมสารคดี Mille Soleils (2013) แปลว่า A Thousand Suns กำกับโดย Mati Diop หลานสาวผกก. Djibril Diop Mambéty จะพบเห็น Magaye Niang ยังคงเป็นคนเลี้ยงวัวอยู่ Dakar, ส่วน Mareme Niang ไม่ได้ปรากฏตัวแต่เห็นว่าอพยพย้ายสู่ยุโรปแบบเดียวกับตัวละคร


ถ่ายภาพโดย Pap Samba Sow, Georges Bracher

งานภาพของหนังเต็มไปด้วยเทคนิค ลวดลีลา ภาษาภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เริ่มตั้งแต่เฉดสีสันเหลือง-ส้ม ดูคล้ายสีลูกรัง-ดินแดง แทนผืนแผ่นดินแอฟริกัน, ลีลาขยับเคลื่อนเลื่อนกล้อง แพนนิ่ง ซูมมิ่ง มุมก้ม-เงย ดูผิดแผกแตกต่าง แสดงความเป็นวัยสะรุ่น คนหนุ่มสาว เอ่อล้นพลังงาน เต็มเปี่ยมชีวิตชีวา

สิ่งน่าสนใจที่สุดก็คือการร้อยเรียงวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวัน ผู้คนในเมือง Dakar, Senegal รวมถึงภาพเชิงสัญลักษณ์ เกือบๆจะเรียกว่าเหนือจริง (Surrealist) มีทั้งปรากฎพบเห็นซ้ำๆ อาทิ เชือดวัว หัวกระโหลก ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์, หรือใช้แทนเหตุการณ์บังเกิดขึ้นอย่าง คลื่นลมซัดกระแทกเข้าหาฝั่ง (ระหว่างหนุ่ม-สาว กำลังร่วมเพศสัมพันธ์)

นักวิจารณ์แทบทั้งนั้นให้คำชื่นชมงานภาพของหนัง เป็นสิ่งที่ผู้ชม(ชาวตะวันตก)สมัยก่อนแทบไม่เคยพบเห็น [ฟังดูคล้ายๆ The River (1951) ของผกก. Jean Renoir] สามารถแปรสภาพ Dakar ให้กลายเป็นดินแดนลึกลับ แต่มีความโรแมนติก ชวนให้ลุ่มหลงใหล แบบเดียวกับ Casablanca และ Algiers

The dazzling visuals feature a smorgasbord of disorienting, poetic, and symbolic images that look like nothing you’ve ever seen before.

นักวิจารณ์ Jonathan Rosenbaum

แค่ฉากแรกหลายคนก็อาจทนดูไม่ไหวแล้ว! เราสามารถเปรียบเทียบเจ้าวัวเขาแหลมยาวใหญ่ (สายพันธุ์ Ankole-Watusi หรือ Watisu Cow) คือตัวแทนชาวแอฟริกัน ถูกลากเข้าโรงเชือด สามารถสื่อถึงพฤติกรรมจักรวรรดิอาณานิคม /ฝรั่งเศส เลี้ยงเพาะพันธุ์(ชาวแอฟริกัน)ไว้สำหรับทำประโยชน์ใช้สอย

เกร็ด: การมีเขาแหลมยาวใหญ่ (ภายในมีลักษณะกลวงเป็นโพรง แต่มีโครงสร้างแบบรังผึ้ง ไว้สำหรับต่อสู้และระบายความร้อน) ถือเป็นลักษณะเด่นของวัวสายพันธุ์ Watisu พบเฉพาะในทวีปแอฟริกา มีความทนทรหด สามารถอดน้ำ กินหญ้าคุณภาพต่ำ ชาวอียิปต์โบราณนิยมเลี้ยงไว้เพื่อการบริโภคเนิ้อและนมมาแต่ตั้งแต่โบราณกาล

การนำเสนอฉากเชือดวัว เป็นลักษณะของการยั่วยุ (provocation) ในเชิงสัญลักษณ์ ปลุกเร้าความรู้สึกชาวแอฟริกัน (ที่สามารถครุ่นคิดทำความเข้าใจ) ให้เกิดความเกรี้ยวกราด หวาดระแวง สั่นสะพรึงกลัว ตระหนักว่าตนเองมีสภาพไม่ต่างจากเจ้าวัว ปฏิเสธก้มหัวศิโรราบให้พวก(อดีต)จักรวรรดิอาณานิคมอีกต่อไป

และสังเกตว่าขณะลากจูงวัว จะได้ยินเสียงขลุ่ย Fula flute แทนวิถีธรรมชาติของชาวแอฟริกัน แต่พอตัดเข้ามาในโรงฆ่าสัตว์ กลับเป็นเสียงจักรกล ผู้คน วัวกรีดร้อง อะไรก็ไม่รู้แสบแก้วหูไปหมด มันช่างมีความแตกต่างตรงกันข้าม ราวกับโลกคนละใบ … เหมือนเป็นการบอกใบ้ด้วยว่าโรงเชือดแห่งนี้คือสภาพเป็นจริงของฝรั่งเศส สถานที่ใครๆขวนขวายไขว่คว้า อุดมคติที่ใครๆต่างเพ้อใฝ่ฝัน

ช็อตสวยๆนำเสนอความเหลื่อมล้ำในประเทศเซเนกัล กำลังพบเห็นได้อย่างชัดเจนหลังการประกาศอิสรภาพ (post-independence) ระหว่างสลัมเบื้องล่าง vs. ตึกระฟ้าสูงใหญ่กำลังก่อสร้าง

นอกจากภาพในช็อตเดียว ช่วงกลางเรื่องหลังจาก Mory & Anta ลักขโมยหีบสมบัติ แท็กซี่ขับผ่านคฤหาสถ์หรู สถานที่อยู่ของคนมีเงิน แต่บ้านพักแท้จริงของพวกเขาเมื่อขับเลยมา พบเห็นทุ่งหญ้ารกร้าง อาคารสร้างไม่เสร็จ ถูกทอดทิ้งขว้าง นี่ก็แสดงให้ถึงความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น ช่องว่างกำลังขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ

บางคนอาจมองว่าพฤติกรรมของ Anta คือความเห็นแก่ตัว แต่การซื้อของแล้วไม่จ่ายเงิน นั่นก็ไม่ใช่สิ่งถูกต้องเช่นเดียวกัน … ซีนเล็กๆนี้สะท้อนอิทธิพลของลัทธิอาณานิคมได้ชัดเจนทีเดียว กล่าวคือ

  • ชาวแอฟริกันดั้งเดิมนั้นมีมิตรไมตรี หยิบยืม ติดหนี้เล็กๆน้อยๆ ก็ไม่ติดใจอะไรว่าความ
  • Anta คือหญิงสาวที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิอาณานิคม เงินทองคือเรื่องสลักสำคัญ (รวมถึงฝรั่งเศสคือดินแดนแห่งความเพ้อฝัน) เล็กๆน้อยๆเลยยินยอมความกันไม่ได้

ลามปามไปถึงฉากถัดมา ผมไม่แน่ใจว่าป้า Oumy ตบตีแย่งน้ำกับเพื่อนคนนี้เลยหรือเปล่า รายละเอียดเล็กๆน้อยๆนี้สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางจิตสามัญสำนึกของชาวเซเนกัล ตั้งแต่หลังประกาศอิสรภาพ (post-independence)

ระหว่างรับชม ผมครุ่นคิดว่าการถูกเชือกคล้องคอของ Mory สามารถเปรียบเทียบเหมือนวัวที่กำลังจะถูกเชือด (แบบเดียวกับฉากโรงเชือดก่อนหน้านี้) รวมถึงการโดนจับมัด พาขึ้นรถ แห่รอบเมือง มีการตัดสลับกับป้า Oumy กำลังเชือดวัวทำอาหารกลางวัน เป็นการนำเสนอคู่ขนานล่อหลอกผู้ชมได้อย่างแนบเนียนฉะมัด!

แต่หลังจากดูหนังจบ ฉากนี้ยังสามารถมองเป็นคำพยากรณ์ ลางสังหรณ์ บอกใบ้อนาคตของ Mory ถ้าตัดสินใจขึ้นเรือออกเดินทางสู่ฝรั่งเศส อาจประสบโชคชะตากรรมลักษณะนี้ … ตลอดทั้งเรื่องจะมีหลายๆเหตุการณ์ดูคล้ายนิมิต ลางบางเหตุเกิดขึ้นกับ Mory ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจไม่ขึ้นเรือออกเดินทางสู่ฝรั่งเศส

กระโหลกเขาวัวติดตั้งไว้บริเวณหน้ารถมอเตอร์ไซด์ฮ่าง (เพื่อสื่อถึงการเดินทางของ Mory = ชาวแอฟริกัน = วัวสายพันธุ์ Watisu) เบาะด้านหลังมีพนักทำจากเสาอากาศ ลักษณะคล้าย Dogon cross (หรือ Nommo cross) ของชนเผ่าชาว Malian ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) ด้วยเหตุนี้การที่ Anta เอื้อมมือจับ ย่อมสื่อถึงกำลังร่วมเพศสัมพันธ์

ไฮไลท์ของซีเควนซ์นี้คือภาพคลื่นซัดชายฝั่ง มันจะมีขณะหนึ่งที่โขดหินดูเหมือนปากอ่าว/ช่องคลอด น้ำทะเล(อสุจิ)กำลังเคลื่อนไหล กระแทกกระทั้นเข้าไป … พอจินตนาการออกไหมว่าสามารถสื่อถึงการร่วมเพศสัมพันธ์!

Mory เตรียมจะโยนบ่วงคล้อง หนังตัดภาพฝูงวัว นั่นทำให้ผู้ชมครุ่นคิดว่าเขาคงกำลังจะลักขโมยวัวไปขาย แต่ที่ไหนได้กลับคล้องคอรถมอเตอร์ไซด์ฮ่าง (ที่มีกระโหลกเขาวัวแขวนอยู่เบื้องหน้า) … หลายต่อหลายครั้งที่หนังพยายามล่อหลอกผู้ชมด้วยลีลาภาษาภาพยนตร์ แต่ความจริงกลับเป็นคนละสิ่งอย่าง ผมครุ่นคิดว่าสามารถเหมารวมถึงการชวนเชื่อปลูกฝังจากจักรวรรดิอาณานิคม ฝรั่งเศสคือดินแดนแห่งความเพ้อฝัน (ความจริงนั้นมันอาจคือขุมนรก โรงเชือด คำโป้ปดหลอกลวงเท่านั้นเอง)

พนันขันต่อ คือวิธีรวยทางลัด ง่ายที่สุดในการหาเงิน แต่เหมือนว่าโชคชะตาของ Mory จะพยายามบอกใบ้ จงใจให้เขาไม่สามารถเอาชนะ จึงต้องออกวิ่งหลบหนี(เจ้าหนี้)หัวซุกหัวซุน เอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิด … ฉากนี้สามารถตีความได้ทั้งรูปธรรม-นามธรรม นำเสนอหนึ่งในอุปนิสัยเสียของชาวแอฟริกัน(ทั้งๆไม่มีเงินแต่กลับ)ชื่นชอบพนันขันต่อ ขณะเดียวกันยังแฝงนัยยะถึงการเดินทางสู่ฝรั่งเศส เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง แต่ในความเป็นจริงเพียงการเสี่ยงโชค ไปตายเอาดาบหน้า ไม่ต่างจากการวัดดวง/พนันขันต่อนี้สักเท่าไหร่

แซว: การเปิดไพ่ Queen แล้วหมายถึงผู้แพ้ มันแอบสื่อนัยยะถึง …

เจ้าหน้าที่รับสินบท นี่เป็นสิ่งพบเห็นอยู่สองสามครั้งในหนัง แสดงว่ามันเป็นสิ่งฝังรากลึกในจิตวิญญาณชาว Senegalese/แอฟริกันไปแล้วละ ซึ่งก็ได้รับอิทธิพลจากลัทธิอาณานิคม ความมีอภิสิทธิ์ชนของพวกฝรั่งเศส เป็นต้นแบบอย่างความคอรัปชั่นได้อย่างชัดเจน

Where’s Wally? หากันพบเจอไหมเอ่ยคู่พระนาง Mory & Anta นั่งอยู่แห่งหนไหนกัน?

นี่ก็เป็นอีกครั้งที่ Mory & Anta ลักขโมยหีบสมบัติจากสนามมวยปล้ำ Iba Mar Diop Stadium แต่เมื่อเปิดออกมากลับพบเห็นโครงกระดูก กระโหลกศีรษะ พร้อมได้ยินเสียงอีแร้งกา เหล่านี้ล้วนสัญลักษณ์ความตาย ลางบอกเหตุร้าย ให้ทั้งสอดหยุดความพยายามหาเงินออกเดินทางสู่ฝรั่งเศส … เพราะอาจถูกเชือด และหลงเหลือสภาพเหมือนบุคคลนี้

หนังแอบแทรกคำอธิบายไว้เล็กๆผ่านเสียงอ่านข่าวจากวิทยุ ว่าชนเผ่า Lebou จัดกิจกรรมมวยปล้ำครั้งนี้เพื่อเป็นการระดมทุนสร้างอนุสรณ์สถานให้กับ Charles de Gaulle (1890-1970) อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศส เพิ่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1970 … นี่อาจเป็นกระโหลกศีรษะของ de Gaulle กระมัง??

เกร็ด: เมื่อตอนดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี Charles de Gaulle คือบุคคลลงนามมอบอิสรภาพให้เซเนกัล และหลายๆประเทศในทวีปแอฟริกา

วินาทีที่ Mory เหม่อมองเห็นประภาคาร (ใครเคยรับชม The Lighthouse (2019) น่าจะตระหนักถึงนัยยะเชิงสัญลักษณ์ ตั้งตระหง่านโด่เด่เหมือนลึงค์/อวัยวะเพศชาย) จากนั้นฝูงนกโบยบินขึ้นท้องฟ้า (สัญลักษณ์ของการปลดปล่อยอิสรภาพ/น้ำกาม) เสียง Sound Effect ดังระยิบระยับ (ราวกับเสียงสวรรค์ ถึงจุดสูงสุด ไคลน์แม็กซ์)

เหล่านั้นเองทำให้เขาหวนนึกถึงเศรษฐี(เกย์)คนหนึ่ง มีคฤหาสถ์หรูอยู่ไม่ไกล ครุ่นคิดวางแผนการชั่วร้าย แต่ก่อนจะออกเดินทางไป ขอแวะถ่ายท้องสักแปป แล้วภาพตัดมาโขดหินท่ามกลางคลื่นซัดพา (ลักษณะของโขดหิน ช่างดูละม้ายคล้ายก้อนอุจจาระ) จากนั้นกล้องค่อยๆซูมถอยหลังออกมา … ทั้งหมดนี้ล้วนบอกใบ้อะไรสักอย่างเกี่ยวกับประตูหลัง

ท่วงท่าการโยนช่างมีความละม้ายคล้ายกันยิ่งนัก แต่เปลี่ยนจากบ่วงคล้องคอวัว มาทอดแหดักปลา นี่คือลักษณะการแปรสภาพของสิ่งสัญลักษณ์ แต่เคลือบแฝงนัยยะเดียวกัน

  • โยนบ่วงคล้องคอวัว เปรียบดั่งฝรั่งเศสล่าอาณานิคมเซเนกัล/ชาวแอฟริกัน
  • ส่วนการทอดแห สามารถสื่อถึงเศรษฐีเกย์ Charlie พยายามล่อหลอก ดักจับ Mory ร่วมรักประตูหลัง

พฤติกรรมของเศรษฐีเกย์ Charlie อย่างที่ผมเปรียบเทียบไปแล้วว่าไม่แตกต่างจากพวกลัทธิอาณานิคม เป้าหมายคือครอบครอง เป็นเจ้าของ เอาได้กระทั่งพวกพ้อง ฉันท์ใดฉันท์นั้น โยนบ่วง=ทอดแห สังเกตว่าช็อตถัดๆมา Mory ราวกับติดอยู่ในบ่วงแห่

น่าเสียดายที่ผมไม่สามารถหารายละเอียดภาพวาดในห้องของ Charlie แต่มีลักษณะของ African Art และสังเกตว่าทั้งหมดล้วนเป็นภาพนู้ด สื่อถึงรสนิยมทางเพศตัวละครได้อย่างชัดเจน

เสื้อผ้าคือสิ่งแสดงวิทยฐานะบุคคล นั่นน่าจะเป็นเหตุผลให้ Mory ตัดสินใจลักขโมยเครื่องแต่งกายของ Charlie ซึ่งมีความหรูหรา เทรนด์แฟชั่น น่าจะราคาแพง ระหว่างเดินทางกลับเข้าเมือง ก็ปลดเปลื้องเปลือยกายล่อนจ้อน ป่าวประกาศให้โลกรับรู้ถึงอิสรภาพชีวิต

พอดิบพอดีกับการตัดสลับเคียงคู่ขนาน Anta ขับรถมอเตอร์ไซด์ฮ้างไปจอดทิ้งไว้ข้างทาง (มีคนป่ามารับช่วงต่อ) ไม่เอาอีกแล้ววิถีแอฟริกัน เตรียมพร้อมออกเดินทางมุ่งสู่ดินแดนแห่งความเพ้อฝัน

ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่ามีใครเดินทางมาเยี่ยมเยียนเซเนกัลช่วงปีนั้น เพราะนี่ดูเหมือนขบวนต้อนรับมากกว่าพิธีไว้อาลัย Memorial ให้ประธานาธิบดี Charles de Gaulle และลีลาการตัดต่อที่นำเสนอคู่ขนานกับ Mory & Anta แต่งตัวหรู โบกไม้โบกมือ ทำตัวราวกับพระราชา

นี่ไม่ใช่แค่การเสียดสีนิสัยแย่ๆ สันดานเสียๆ ของชาวแอฟริกันเท่านั้นนะครับ แต่ใครกันละที่เข้ามาปลูกฝังความคิด สร้างค่านิยมอุดมคติ ล้างสมองชวนเชื่อ เงินทองสามารถซื้อความสุขสบาย ร่ำรวยคือทุกสิ่งอย่าง ไม่ต่างจากฝรั่งเศสคือดินแดนแห่งความเพ้อฝัน … มันขำออกเสียที่ไหนกัน

ลวดลายทางขาว-ดำ ของรูปภาพสรรพสัตว์บนฝาผนัง น่าจะสื่อถึงความกลับกลอกสองหน้าของชนชั้นผู้นำแอฟริกัน ซึ่งการที่เศรษฐีเกย์ Charlie โทรศัพท์ติดต่อหาตำรวจ แทนที่จะแจ้งความกับเจ้าหน้าที่รับสาย กลับพยายามขอคุยกับหัวหน้า/คนเคยค้าม้าเคยขี่ สารพัดรายชื่อเอ่ยมาน่าจะเคยร่วมเพศสัมพันธ์กัน … แฝงนัยยะอ้อมๆถึงบรรดารัฐบาลบริหารประเทศ ทั้งๆได้รับการปลดแอก กลับยังคอยเลียแข้งเลียขาฝรั่งเศส

แซว: หัวหน้าแผนก Djibril Diop เสียงปลายสายที่ได้ยินก็คือ ผกก. Mambéty

ผมอ่านพบเจอว่าระหว่างโปรดักชั่น ผกก. Mambéty ถูกตำรวจจับกุมที่กรุง Rome ข้อหาเข้าร่วมเดินขบวนต่อต้านการเหยียดผิว (Anti-Racism) ได้รับการประกันตัวโดยทนายจาก Italian Communist Party ซึ่งมีเพื่อนร่วมวงการอย่าง Bernardo Bertolucci และ Sophia Loren ให้การค้ำประกัน … นี่กระมังคือเหตุผลการกล่าวอ้างถึง Italian Communist Party

จริงๆฉากนี้ชาวฝรั่งเศสทั้งสองถกเถียงกันเรื่องทั่วๆไป ค่าจ้าง ค่าแรง ความล้าหลัง ศิลปะแอฟริกัน ฯ มันมีความจำเป็นอะไรในการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเซเนกัล … เป็นวิธีพูดขับไล่พวกฝรั่งเศส โดยคนฝรั่งเศสด้วยกันเอง ได้อย่างแนบเนียนโคตรๆ

วินาทีที่กำลังจะก้าวขึ้นเรือ Mory เกิดอาการหยุดชะงักหลังได้ยินเสียงหวูดเรือ สัญญาณเตือนให้เร่งรีบขึ้นเรือ แต่พอหนังตัดภาพให้เห็นเจ้าวัวกำลังถูกลากเข้าโรงเชือด ผมเกิดความตระหนักว่า เสียงหวูดเรือมันช่างละม้ายเสียงร้องของเจ้าวัว นี่กระมังคือสาเหตุผล/ลางสังหรณ์/สัญญาณเตือนครั้งสุดท้าย ให้เขาเกิดความตระหนักว่า ‘อย่าลงเรือ’ เพราะโชคชะตาหลังจากนี้อาจลงเอยแบบเจ้าวัว ฝรั่งเศส=โรงเชือดสัตว์

Mory ตัดสินใจละทอดทิ้ง Anta แล้วออกวิ่งติดตามหามอเตอร์ไซด์ฮ้างคันโปรด ก่อนพบเจอประสบอุบัติเหตุอยู่กลางถนน กระโหลกเขาวัวแตกละเอียด ทำให้เขาตกอยู่ในสภาพท้อแท้สิ้นหวัง นั่งลงกึ่งกลางบันได ไม่รู้จะครุ่นคิดทำอะไรต่อไป … ผมตีความซีเควนซ์นี้ถึงการหวนกลับหารากเหง้า ตัวตนเอง หรืออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม แต่สิ่งที่เขาพบเจอกลับคือ Senegalese/แอฟริกันที่เกือบจะล่มสลาย (คนป่าประสบอุบัติเหตุปางตาย) เนื่องจากถูกกลืนกินโดยจักรวรรดิอาณานิคม จนแทบไม่หลงเหลือความเป็นตัวของตนเองสักเท่าไหร่

ช่วงท้ายของหนังโดยเฉพาะช็อตนี้ มันมีความโคตรๆคลุมเคลือ เพราะผู้ชมสามารถวิเคราะห์ว่า

  • หนังต้องการร้อยเรียงชุดภาพที่เป็นการหวนกลับหาจุดเริ่มต้น จึงพบเห็น Mory & Anta พรอดรักริมหน้าผา และเด็กๆต้อนฝูงวัวผ่านหน้ากล้อง (แบบเดียวกับที่เคยนำเสนอมาก่อนหน้า) … นี่จะทำให้เราสามารถตีความว่า Anta อาจจะออกเดินทางสู่ฝรั่งเศสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  • ขณะเดียวกันยังสามารถมองว่า Anta ตัดสินใจขนของลงจากเรือ หวนกลับหา Mory แล้วมาพรอดรักริมหน้าผา ปลดเปลื้องเสื้อผ้าหรูหรา ระหว่างจับจ้องมองเรือโดยสารแล่นออกจากท่า

ผู้ชม/นักวิจารณ์ส่วนใหญ่มักชื่นชอบการตีความแบบแรก เพราะมันแสดงให้เห็นถึงหนทางแยกของ Mory ปักหลังอยู่เซเนกัล ขณะที่ Anta เลือกออกเดินทางสู่ฝรั่งเศส, แต่ผมค่อนข้างเชื่อว่าความตั้งใจผกก. Mambéty น่าจะเป็นอย่างหลัง หนุ่ม-สาวต่างตัดสินใจละทอดทิ้งความเพ้อฝัน เนื่องจากฝ่ายชายเกิดความตระหนักถึงความจริงบางสิ่งอย่าง ส่วนฝ่ายหญิงก็เลือกติดตามชายคนรัก ไม่รู้จะเดินทางไปตายเอาดาบหน้าทำไม สอดคล้องวัตถุประสงค์ของหนังที่ต้องการหวนหารากเหง้า

แต่ยังไม่จบเท่านั้น ผกก. Mambéty ยังทอดทิ้งอีกปมปริศนากับภาพช็อตนี้ เรือลำเล็กกำลังแล่นออกจากฝั่ง หรือว่า Mory & Anta เกิดการเปลี่ยนใจ แล้วร่วมกันออกเดินทางสู่ฝรั่งเศสอีกครั้ง … นี่อาจฟังดูไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไหร่ แต่อย่างที่ผมอธิบายไปแล้วว่าผกก. Mambéty ต้องการสร้างความโคตรๆคลุมเคลือ ให้อิสระผู้ชมในการขบครุ่นคิด ค้นหาบทสรุปหนังด้วยตัวคุณเอง

ตัดต่อโดย Siro Asteni, Emma Mennenti

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของสองหนุ่มสาว Mory และ Anta ร่วมกันออกเดินทางผจญภัย ทำตัวเหมือนไฮยีน่า (Hyena) ก่ออาชญากรรม ปล้น-ฆ่า(วัว) เพื่อสรรหาเงินมาซื้อตั๋วลงเรือ มุ่งสู่เป้าหมายปลายทางฝรั่งเศส ดินแดนแห่งความเพ้อฝัน

  • Mory และ Anta
    • Mory นำพาฝูงวัวมาขายให้โรงเชือด
    • จากนั้น Mory สร้างความวุ่นวายให้ Aunt Oumy ตบตีลูกค้าขาประจำระหว่างเดินทางไปตักน้ำ
    • ถูกผองเพื่อนกระทำร้ายร่างกาย จับมัดมือ พาขึ้นรถ
    • Anta เดินทางมาหา Mory ถูกป้า Oumy ล่อหลอกว่าหลานชายฆ่าตัวตาย
    • จากนั้น Mory และ Anta ร่วมรักกันบริเวณหน้าผา เพ้อใฝ่ฝันถึงอนาคต
  • การเดินทางโดยมอเตอร์ไซด์ฮ้างของ Mory และ Anta
    • ในตอนแรก Mory เหมือนจะครุ่นคิดลักขโมยฝูงวัว แต่ตัดสินใจทำไม่สำเร็จ
    • พบเห็นคนรับพนัน ลงเงินหลักพัน แพ้แล้ววิ่งหลบหนี
    • วางแผนปล้นสนามมวยปล้ำ แม้ทำสำเร็จแต่ของในกล่องกลับมีเพียงโครงกระดูก
    • Mory เดินทางไปหาเศรษฐีเกย์ Charlie ถูกพาตัวขึ้นห้อง เลยโจรกรรมเสื้อผ้า เงินทอง และรถหรูกลับบ้าน
  • มุ่งสู่เป้าหมายปลายทางของ Mory และ Anta
    • ทั้งสองเปลี่ยนเสื้อผ้า แต่งตัวโก้หรู แวะกลับหาป้า Oumy
    • จากนั้นซื้อตั๋วเรือโดยสาร เตรียมตัวออกเดินทางขึ้นเรือ
    • แต่แล้ว Mory ตัดสินใจวิ่งกลับมา หวนกลับหามอเตอร์ไซด์ฮ้าง ราวกับตระหนักถึงบางสิ่งอย่าง

ลีลาการตัดต่อรับอิทธิพลเต็มๆจาก ‘Soviet Montage’ พบเห็นเทคนิคอย่าง Quick Cuts, Dynamic Cut, Jump Cut, นำเสนอคู่ขนาน (Juxtaposition) ตัดสลับไปมาระหว่างสองเหตุการณ์, บางครั้งก็พยายามล่อหลอกผู้ชมให้เกิดความเข้าใจผิด ด้วยภาพเชิงสัญลักษณ์บางอย่าง

ซีเควนซ์ที่ผมรู้สึกว่าโคตรๆน่าอึ่งทึ่ง คือฉากที่ Mory ถูกผองเพื่อนรุมกระทำร้ายร่างกาย จัดมัดพาขึ้นรถ ตัดสลับคู่ขนานป้า Oumy กำลังเชือดวัว (เหมือนจะสื่อว่า Mory กำลังถูกเข่นฆาตกรรม) จากนั้นพูดบอก Anta กล่าวอ้างว่าหลานชายกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย หญิงสาวจึงรีบวิ่งตรงไปบริเวณริมหน้าผา ทำท่าเหมือนกำลังจะกระโดดลงมา แล้วตัดภาพคลื่นกระทบชายฝั่ง (ชวนให้ครุ่นคิดว่าเธอคงฆ่าตัวตายตาม) สุดท้ายค่อยเฉลยว่าไม่มีเหตุการณ์เลวร้ายอะไร เป็นภาษาภาพยนตร์ที่ล่อหลอกผู้ชมได้อย่างสนิทใจ! … ล้อกับการชวนเชื่อฝรั่งเศสคือดินแดนแห่งความเพ้อฝัน แท้จริงแล้วหาก็แค่ปาหี่เท่านั้นเอง


ในส่วนของเสียงและเพลงประกอบ ต้องชมเลยว่ามีความละเมียด ละเอียดอ่อน เต็มไปด้วยรายละเอียดที่แทบสามารถหลับตาฟังก็ยังดูหนังรู้เรื่อง! (อย่างที่บอกไปว่าตั้งแต่สมัยเด็ก ผกก. Mambéty บางครั้งไม่มีโอกาสเข้าดูหนังกลางแจ้ง เพียงสดับรับฟังเสียง นั่นคือแรงบันดาลใจให้เขามีความละเอียดอ่อนต่อการใช้เสียงและเพลงประกอบอย่างมากๆ)

I am deeply inspired by the power of music in storytelling. Music has a way of transcending language and connecting people on a universal level. In my films, I carefully select music that not only complements the narrative but also reflects the cultural and emotional landscapes of the characters.

Djibril Diop Mambéty

หนังไม่มีเครดิตเพลงประกอบ เพราะทุกบทเพลงถ้าไม่มาจากศิลปินมีชื่อ (Josephine Baker, Mado Robin, Aminata Fall) ก็ท่วงทำนอง/ดนตรีพื้นบ้านแอฟริกัน (หลักๆคือเครื่องดนตรี Peul flute/Fula flute และกลอง Sabra Drum) ผสมผสานคลุกเคล้าให้เข้ากับ ‘Sound Effect’ เสียงรถรา แร้งกา คลื่นลม ผู้คน โรงฆ่าสัตว์ ฯ เพื่อให้เกิดมิติเกี่ยวกับเสียง สามารถเพิ่มประสบการณ์ กระตุ้นเร้าอารมณ์ ราวกับผู้ชมเข้าไปอยู่ในโลกภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้น

Whether it’s traditional African rhythms, contemporary sounds, or a fusion of both, I believe that music can bring an added dimension to the cinematic experience, evoking emotions and immersing the audience in the world I am creating.

Music has a unique power to evoke emotions, memories, and cultural connections. In my films, I strive to find the right balance between traditional Senegalese music and contemporary sounds, to reflect the complexities of our society and the tensions between the past and the present.


เริ่มต้นขอกล่าวถึงอีกสักครั้ง Paris, Paris, Paris (1949) แต่งทำนองโดย Agustín Lara, คำร้องโดย Georges Tabet, ขับร้อง/กลายเป็น ‘Signature’s Song’ ของ Joséphine Baker ชื่อจริง Freda Josephine Baker (1906-75) เกิดที่สหรัฐอเมริกา บิดา-มารดาต่างเคยเป็นทาสคนดำ/อินเดียนแดง สมัยเด็กเลยโดนดูถูกเหยียดผิวบ่อยครั้ง โตขึ้นเลยตัดสินใจอพยพสู่ Paris กลายเป็นนักร้อง-นักแสดงชาวอเมริกันประสบความสำเร็จสูงสุดในฝรั่งเศส

อ่านจากประวัติก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ Baker จะมีมุมมองต่อฝรั่งเศส ประเทศทำให้เธอประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงโด่งดัง ราวกับดินแดนแห่งความเพ้อฝัน สรวงสวรรค์ พาราไดซ์ เหมือนดั่งบทเพลง Paris, Paris, Paris

ต้นฉบับฝรั่งเศสแปลอังกฤษ
Ne me demandez pas si j’aime la grâce
Ne me demandez pas si j’aime Paris
Autant demander à un oiseau dans l’espace
S’il aime le ciel ou s’il aime son nid

Autant demander au marin qui voyage
S’il peut vivre sans la mer et le beau temps
Autant demander à une fleur sauvage
Si l’on peut vraiment se passer de printemps

Paris, Paris, Paris
C’est sur la Terre un coin de paradis
Paris, Paris, Paris,
De mes amours c’est lui le favori
Mais oui, mais oui, pardi
Ce que j’en dis on vous l’a déjà dit
Et c’est Paris, qui fait la parisienne
Qu’importe, qu’elle vienne du nord ou bien du midi
Et c’est aussi le charme et l’élégance
Et l’âme de la France
Tout cela, mais c’est Paris

Madame c’est votre Louvre si joli
(Paris, Paris, Paris)
C’est votre beau bijou d’un goût exquis
Mais oui, mais oui, pardi
C’est aussi votre généreux mari
Mais oui, Paris, c’est votre boucle blonde
Qu’on sait le mieux du monde coiffer avec fantaisie
Mais oui, Paris, c’est votre beau sourire
C’est tout ce qu’on désire
Tout cela, mais c’est Paris

Et c’est aussi le charme et l’élégance
Et l’âme de la France
Tout cela, mais c’est Paris
Don’t ask me if I love grace
Don’t ask me if I love Paris
It’s like asking a bird in space
If it loves the sky or its nest

It’s like asking a traveling sailor
If he can live without the sea and good weather
It’s like asking a wild flower
If one can truly do without spring

Paris, Paris, Paris
On Earth, it’s a corner of paradise
Paris, Paris, Paris
Of my loves, it’s the favorite one
Yes, indeed, of course
What I’m saying has already been said to you
And it’s Paris that makes the Parisian
No matter if she comes from the north or the south
And it’s also the charm and elegance
And the soul of France
All of that, but it’s Paris

Madam, it’s your beautiful Louvre
(Paris, Paris, Paris)
It’s your exquisite jewel
Yes, indeed, of course
It’s also your generous husband
Yes, indeed, Paris, it’s your golden curl
That is known as the best in the world, styled with fantasy
Yes, Paris, it’s your beautiful smile
It’s all that one desires
All of that, but it’s Paris

And it’s also the charm and elegance
And the soul of France
All of that, but it’s Paris

การรับชม Touki Bouki (1973) อาจทำให้มุมมองของคุณต่อ Paris, Paris, Paris ปรับเปลี่ยนแปลงไป เพราะถูกใช้เป็นบทเพลงชวนเชื่อฝรั่งเศสที่ดังขึ้นบ่อยครั้ง จนสร้างความตะหงิดๆ หงุดหงิด รำคาญใจ เหมือนมันมีลับเลศลมคมในอะไรบางอย่าง ซึ่งผมค่อยข้างเชื่อว่าผู้ชมจะเกิดความตระหนัก Paris แท้จริงแล้วเป็นเพียงคำลวงล่อหลอก หาใช่ดินแดนอุดมคติอย่างที่ใครต่อใครวาดฝันไว้

ยิ่งถ้าคุณเคยรับชม Black Girl (1966) จะพบเห็นสภาพความเป็นจริงของฝรั่งเศส ที่หญิงชาว Senegalese เดินทางไปปักหลักอาศัย กลายเป็นสาวรับใช้ มันหาใช่ดินแดนหลังสายรุ้งแบบ ‘The Wizard of Oz’ เลยสักกะนิด!

ระหว่างที่ Mory เดินทางมายังคฤหาสถ์หรูของเศรษฐีเกย์ Charlie ได้ยินบทเพลงคลอประกอบพื้นหลัง Plaisir d’amour (Pleasure of Love) เป็นบทเพลงรักคลาสสิก แต่งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1784 โดย Jean-Paul-Égide Martini (1741–1816) นำคำร้องจากบทกวี Célestine ของ Jean-Pierre Claris de Florian (1755–1794)

ฉบับที่ใช้ในหนังขับร้องโดย Mado Robin ชื่อจริง Madeleine Marie Robin (1918-60) นักร้องเสียงโซปราโน สัญชาติฝรั่งเศส บันทึกเสียงบทเพลงนี้เมื่อปี ค.ศ. 1952

ผมครุ่นคิดว่าการเลือกบทเพลง Plaisir d’amour ไม่ใช่แค่บอกใบ้รสนิยมทางเพศของ Charlie แต่ยังอธิบายเหตุผลที่ Mory ไม่ได้ขึ้นเรือเดินทางสู่ Paris พร้อมกับ Anta เพราะหมดรัก หมดศรัทธา ทำลายคำสัญญาเคยให้ไว้ สายน้ำยังคงเคลื่อนไหล แต่จิตใจกลับผันแปรเปลี่ยนไป

ต้นฉบับฝรั่งเศสแปลอังกฤษ
Plaisir d’amour ne dure qu’un moment,
chagrin d’amour dure toute la vie.

J’ai tout quitté pour l’ingrate Sylvie,
Elle me quitte et prend un autre amant.
Plaisir d’amour ne dure qu’un moment,
chagrin d’amour dure toute la vie.

“Tant que cette eau coulera doucement
vers ce ruisseau qui borde la prairie,
je t’aimerai”, me répétait Sylvie,
l’eau coule encor, elle a changé pourtant.

Plaisir d’amour ne dure qu’un moment,
chagrin d’amour dure toute la vie.
The pleasure of love lasts only a moment,
The grief of love lasts a lifetime.

I gave up everything for ungrateful Sylvia,
She is leaving me for another lover.
The pleasure of love lasts only a moment,
The grief of love lasts a lifetime.

“As long as this water will run gently
Towards this brook which borders the meadow,
I will love you”, Sylvia told me repeatedly.
The water still runs, but she has changed.

The pleasure of love lasts only a moment,
The grief of love lasts a lifetime.

ตอนจบของหนังมีการเลือกบทเพลงที่เกินความคาดหมายมากๆๆ น่าเสียดายผมหาชื่อบทเพลงและศิลปินไม่ได้ แต่ครุ่นคิดว่าน่าจะสไตล์ดนตรี Funk เพื่อสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ ความคิดฟุ้งๆของตัวละคร ร้อยเรียงชุดภาพที่มอบสัมผัสเวิ้งว่างเปล่า ก้าวเดินอย่างเคว้งคว้าง สื่อถึงชีวิตได้สูญเสียเป้าหมายปลายทาง ทุกสิ่งอย่างวาดฝันไว้พังทลายลง (ทอดทิ้ง)คนรักเคยครองคู่กัน ต่อจากนี้เลยยังไม่รู้โชคชะตาจะดำเนินไปเช่นไร

สองหนุ่มสาว Mory และ Anta ต่างมีความเพ้อใฝ่ฝัน ครุ่นคิดอยากไปจากถิ่นทุรกันดาร ทวีปแอฟริกาแห่งนี้ ด้วยการมุ่งหน้าสู่ฝรั่งเศส ดินแดนแห่งความเพ้อฝัน (ที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เมื่อครั้น Senegal ยังเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส) จึงร่วมกันผจญภัย ออกเดินทาง ขับมอเตอร์ไซด์ฮ่าง ใช้สารพัดวิธีลักขโมยเงิน ซื้อตั๋วโดยสาร แต่ระหว่างกำลังขึ้นเรือเตรียมออกเดินทาง … กลับแยกย้ายไปตามทิศทางใครทางมัน

หลายคนอาจรับรู้สึกว่ามันช่างไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย อุตส่าห์เปลืองเนื้อเปลืองตัว ก่ออาชญากรรม ปล้น-ฆ่า(วัว) เกือบสูญเสียความบริสุทธิ์ประตูหลัง แล้วเหตุไฉน Mory ถึงไม่ขึ้นเรือออกเดินทาง กลับมาจมปลักสถานที่แห่งนี้ทำไมกัน? นี่เป็นสิ่งที่ผู้กำกับต้องการให้อิสระผู้ชมในการขบครุ่นคิดตีความ มันเหมือนตัวละคร (อวตารของผกก. Mambéty) ตระหนักข้อเท็จจริงบางสิ่งอย่าง ฝรั่งเศสอาจไม่ใช่ดินแดนแห่งความเพ้อฝัน สรวงสวรรค์อย่างที่ใครต่อใครเคยวาดฝัน

เป้าหมายของผกก. Mambéty ต้องการให้ชาว Senegalese/แอฟริกัน (โดยเฉพาะบรรดาพวกผู้สร้างภาพยนตร์) ละเลิกทำตัวเหมือนผู้เคราะห์ร้าย ตกเป็นเหยื่อ เอาแต่(สร้างภาพยนตร์)ต่อต้านลัทธิอาณานิคม ทำไมเราไม่หันมาย้อนมองกลับมาดูตนเอง ค้นหาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ‘ความเป็นแอฟริกัน’ นั่นต่างหากจักทำให้เรามีตัวตน ความเป็นตัวของตนเอง

I try to demystify and decolonize the image of Africa. We have been the victims of colonization for too long. It’s time for us to become the masters of our own lives, to write our own stories, and to redefine our identities on our own terms.

Djibril Diop Mambéty

ผมมองเหตุผลที่ Mory (และผกก. Mambéty) ตัดสินใจหวนกลับขึ้นฝั่งในมุมสุดโต่งสักนิด คืออาการหวาดระแวง สั่นสะพรึงกลัว ไม่กล้าออกจาก ‘Safe Zone’ นั่นเพราะยุคสมัยนั้นมีภาพยนตร์ต่อต้านลัทธิอาณานิคม (Anti-Colonialism) ผุดขึ้นมากมายยังกะดอกเห็น ทำให้ชาว Senegalese/แอฟริกัน ตระหนักรับรู้ธาตุแท้ตัวตนฝรั่งเศส/จักรวรรดิอาณานิคม สรวงสวรรค์ที่เคยกล่าวอ้างไม่เคยมีอยู่จริง แล้วทำไมเรายังขวนขวายไขว่คว้า ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อออกเดินทางสู่ดินแดนแห่งนั้นอยู่อีก! … การถือกำเนิดขึ้นของ Touki Bouki (1973) และผกก. Mambéty ถือว่าสะท้อนอิทธิพลภาพยนตร์แอฟริกันยุคหลังประกาศอิสรภาพ (post-independence) ได้อย่างชัดเจน

สำหรับ Anta การออกเดินทางสู่ฝรั่งเศสของเธอนั้น หลายคนอาจมองว่าเป็นการนำเสนอมุมมองตรงกันข้ามกับ Mory ลุ่มหลงงมงาย ยึดถือมั่นในมายาคติ แต่ขณะเดียวกันยังสามารถตีความถึงการปลดแอก ได้รับอิสรภาพ เพราะสถานะสตรีเพศในทวีปแอฟริกา ไม่แตกต่างจากแนวคิดอาณานิคม (มีคำเรียกปิตาธิปไตย, Patriarchy สังคมชายเป็นใหญ่) ยังคงถูกกดขี่ข่มเหง ควบคุมครอบงำ ไร้ซึ่งสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมบุรุษ … การเดินทางของเธอจึงแม้อาจเป็นการมุ่งสู่ขุมนรก แต่คือการดิ้นหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัฒนธรรม/ชาติพันธุ์

แนวคิดของผกก. Mambéty ในแง่ศิลปะวัฒนธรรม มันคือการอนุรักษ์ รักษาอัตลักษณ์ ความเป็นชนเผ่า-ชุมชน-ประเทศ-ทวีป แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค สามารถสร้างความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น สืบสานต่อยอดให้มั่นคงยั่งยืน และได้รับการยอมรับจากนานาอารยะ

แต่ในแง่มุมอื่นๆผมว่าไม่ใช่สิ่งถูกต้องเสมอไป จนถึงปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกายังคงล้าหลัง ทุรกันดาร ห่างไกลความเจริญ ประชาชนอดอยากปากแห้ง ขาดแคลนอาหาร-น้ำดื่ม-ยารักษาโรค เครื่องอุปโภค-บริโภค ไร้งานไร้เงิน ไร้การเหลียวแลจากนานาอารยะ เฉกเช่นนั้นแล้วการแสวงหาโอกาสต่างแดน ขึ้นเรือออกเดินทางสู่ฝรั่งเศส มันอาจเป็นสรวงสวรรค์ที่จับต้องได้มากกว่า!

ชื่อหนัง Touki Bouki เป็นภาษา Wolof แปลว่า The Journey of the Hyena สำหรับคนที่รับรู้จักเจ้าไฮยีน่า มันคือศัตรูตัวฉกาจของฝูงวัว เอาจริงๆควรสื่อถึงฝรั่งเศส/จักรวรรดิอาณานิคม แต่ผกก. Mambéty กลับเปรียบเทียบการผจญภัยของคู่รักหนุ่ม-สาว Mory & Anta พฤติกรรมพวกเขาไม่แตกต่างจากเจ้าหมาล่าเศษเนื้อ มันช่างขัดย้อนแย้งสัญญะที่ปรากฎอยู่ในหนังอย่างสิ้นเชิง! … แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผกก. Mambéty ทำการล่อหลอกผู้ชมนะครับ ตลอดทั้งเรื่องก็มีการใช้ภาษาภาพยนตร์อย่างหนึ่ง แต่นัยยะความหมายอีกอย่างหนึ่ง นับครั้งไม่ถ้วน!

The hyena is an African animal. It never kills. The hyena is falsehood, a caricature of man. The hyena comes out only at night; he is afraid of daylight, like the hero of Touki Bouki-he does not want to see daylight, he does not want to see himself by daylight, so he always travels at night. He is a liar, the hyena. The hyena is a permanent presence in humans, and that is why man will never be perfect. The hyena has no sense of shame, but it represents nudity, which is the shame of human beings.


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ Directors’ Fortnight เทศกาลหนังเมือง Cannes แม้เสียงตอบรับจะผสมๆ คงเพราะผู้ชมส่วนใหญ่คงดูไม่รู้เรื่อง แต่หลังจากติดตามต่อด้วยเทศกาล Moscow International Film Festival คว้ารางวัลนักวิจารณ์ FIPRESCI Prize นี่ก็แสดงว่าชาวรัสเซีย สามารถเข้าถึงความลุ่มลึกล้ำ ตระหนักถึงอัจฉริยภาพผกก. Mambéty

(สำหรับหนังที่มีลีลาตัดต่อมึนๆเช่นนี้ ไม่น่าแปลกใจจะสามารถเข้าถึงผู้ชมชาวรัสเซีย ประเทศต้นกำเนิดทฤษฎี ‘Montage’)

  • Sight & Sound: Critic’s Poll 2012 อันดับ 90 (ร่วม)
  • Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 อันดับ 66
  • Sight & Sound: Director’s Poll 2012 อันดับ 72 (ร่วม)
  • Empire: The 100 Best Films Of World Cinema 2010 ติดอันดับ 52

ปัจจุบัน Contras’city (1968), Badou Boy (1970) และ Touki Bouki (1973) ต่างได้รับการบูรณะด้วยทุนสนับสนุนจาก World Cinema Foundation ของผู้กำกับ Martin Socrsese ทั้งหมดคุณภาพ 2K สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray หรือรับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel

หลายคนอาจรู้สึกว่าหนังเข้าถึงยาก มีความสลับซับซ้อน แต่ให้มองเป็นความท้าทาย ค่อยๆขบครุ่นคิด ทบทวนสิ่งต่างๆ เมื่อพบเจอคำตอบ ตระหนักเหตุผลที่ตัวละครปฏิเสธขึ้นเรือออกเดินทางสู่ฝรั่งเศส นั่นเป็นสิ่งน่ายกย่องสรรเสริญ กล้าท้าทายขนบวิถีที่ถูกปลูกฝัง เสี้ยมสั่งสอน ล้างสมองโดยจักรวรรดิอาณานิคม … เป็นภาพยนตร์ยิ่งใหญ่ทรงคุณค่า อันดับหนึ่งของชาวแอฟริกันอย่างไร้ข้อกังขา!

จัดเรต 18+ กับภาพเชือดวัว การลักขโมย

คำโปรย | Touki Bouki การเดินทางค้นหาตัวตนเองของผู้กำกับ Djibril Diop Mambéty ปฏิเสธคล้อยตามอุดมคติชวนเชื่อจักรวรรดิอาณานิคม
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ปารี่ ปารีส ปาหี่

White Material (2009)


White Material (2009) French : Claire Denis ♥♥♥♡

ณ ประเทศสมมติในทวีปแอฟริกา กำลังเกิดสงครามกลางเมือง (Civil Wars) กองทัพฝรั่งเศสตัดสินใจล่าถอย แต่เจ้าของไร่กาแฟรับบทโดย Isabelle Huppert กลับปฏิเสธจะทอดทิ้งสิ่งที่เป็นของตนเอง หมกมุ่นยึดติดกับ “White Material”

ผลงานลำดับที่ 9 ของผกก. Claire Denis แต่เพิ่งเป็นครั้งที่สาม (ทั้งสามเรื่องห่างกันเกือบๆ 10 ปี) เดินทางกลับบ้านเกิด ถ่ายทำในทวีปแอฟริกา นักวิจารณ์หลายคนมองว่าราวกับภาคต่อ Chocolat (1988) เพราะนักแสดง Isaach de Bankolé จากคนรับใช้ (Protée) กลายมาเป็นนักปฏิวัติ (The Boxer) ถึงอย่างนั้นเนื้อหาของทั้งสองเรื่อง ไม่ได้มีความต่อเนื่องสัมพันธ์อะไร

No, White Material is not related to Chocolat. There is no connection at all. They are entirely different visions of Africa and the cinema. Chocolat is about friendship and family, and maybe sex and longing, and White Material is about remaining strong in the face of danger.

Claire Denis

ความน่าสนใจของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ Isabelle Huppert รูปร่างผอมเพียวช่างมีความพริ้วไหว (ชวนให้นึกถึง Katharine Hepburn จากภาพยนตร์ Summertime (1955)) ทั้งสีหน้า ท่วงท่า ลีลาของเธอเอ่อล้นด้วยความเชื่อมั่น เต็มเปี่ยมด้วยพลัง ใครบอกอะไรไม่สน ฉันสามารถทำทุกสิ่งอย่าง ไม่หวาดกลัวเกรงอันตราย สุดท้ายเมื่อตระหนักถึงความเป็นจริง เลยสูญเสียสิ้น ไม่หลงเหลืออะไรสักสิ่งอย่าง

Isabelle Huppert is an immoveable object surrounded by unstoppable forces.

คำนิยมจาก RottenTomatoes

…small and slender, [she] embodies the strength of a fighter. In so many films, she is an indomitable force, yet you can’t see how she does it. She rarely acts broadly. The ferocity lives within. Sometimes she is mysteriously impassive; we see what she’s determined to do, but she sends no signals with voice or eyes to explain it.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 3.5/4

จริงๆยังมีอีกหลายผลงานของผกก. Denis ที่ผมอยากเขียนถึง แต่ตัดสินใจเลือก White Material (2009) เพราะเรื่องราวมีพื้นหลังถ่ายทำยังทวีปแอฟริกา และถือว่าปิดไตรภาค ‘African Film’ จะได้เขียนถึงหนังจากแอฟริกันเรื่องอื่นสักที!


Claire Denis (เกิดปี 1946) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris แต่เติบโตยังประเทศอาณานิคม French Africa ติดตามบิดาทำงานข้าราชการพลเรือน (Civil Servant) เคยอาศัยอยู่ Burkina Faso, Cameroon, French Somaliland และ Senegal, วันว่างๆชอบอ่านหนังสือ พออายุ 12 ล้มป่วยโปลิโอ จึงต้องเดินทางกลับฝรั่งเศส ปักหลักอยู่ชานเมือง Sceaux, โตขึ้นเข้าศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ก่อนค้นพบว่าไม่ได้มีความชื่นชอบสักเท่าไหร่ เลยย้ายคณะภาษาต่างประเทศ แล้วเข้าศึกษาภาพยนตร์ L’Institut des hautes études cinématographiques (IDHEC)

I’m not French but a daughter of Africa. I grew up in Africa where there were no cinemas so I discovered cinema late, at 14 or 15 years old, all at once and indiscriminately. Cinephilia, in the classic sense of the Cinemathèque and Cahiers du cinéma, was something I came to much later, perhaps when I was 25 years old.

Claire Denis

หลังเรียนจบทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ อาทิ Jacques Rivette เรื่อง Out 1 (1971), Costa-Gavras เรื่อง Hanna K. (1983), Wim Wenders เรื่อง Paris, Texas (1984), Wings of Desire (1987) ฯ กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Chocolat (1988), Nénette and Boni (1996), Beau Travail (1999), The Intruder (2004), 35 Shots of Rum (2008) ฯ

หลังเสร็จงานสร้างภาพยนตร์ Vendredi soir (2002) หรือ Friday Night, ผกก. Danis มีโอกาสพบเจอ Isabelle Huppert พูดคุยสอบถาม ชักชวนมาร่วมงานกัน ในตอนแรกแนะนำให้ดัดแปลง The Grass Is Singing (1950) นวนิยายเรื่องแรกของนักเขียนชาวอังกฤษ Doris Lessing (1919-2013) ซึ่งมีพื้นหลัง Southern Rhodesia (ปัจจุบันคือประเทศ Zimbabwe) ทางตอนใต้ทวีปแอฟริกา ช่วงทศวรรษ 40s

ผกก. Denis มีความชื่นชอบหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว เพราะคือหนึ่งในแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Chocolat (1988) แต่เหตุผลที่บอกปฏิเสธเพราะเธอไม่เคยอาศัยใช้ชีวิต รับรู้อะไรเกี่ยวกับ South Africa (สมัยวัยเด็ก ผกก. Denis ใช้ชีวิตอยู่แถบ East & West Africa ไม่เคยลงใต้ไปถึง South Africa ซึ่งเป็นอาณานิคมอังกฤษ) ถึงอย่างนั้นก็เสนอแนะว่าจะครุ่นคิดพัฒนาเรื่องราวขึ้นใหม่จากวิสัยทัศน์ของตนเอง

after I made Friday Night, Isabelle [Huppert] asked me if I would like to work with her, to which I said “yes!” She wondered if I wanted to adapt a Doris Lessing novel called The Grass Is Singing, which is the story of her parents in the ‘30s in South Africa. It’s about a couple of originated English people trying to farm—although they are not farmers, know nothing about farming—and the fight to farm land they don’t know. It ends with…cows. It’s more or less what Doris Lessing described of her own family. Later, she wrote a novel about her brother who stayed in South Africa, actually in old Rhodesia—Zimbabwe now—who’s a farmer and it’s a disaster.

So I was thinking, and I told Isabelle that although I like the book very much—actually it’s a very important book for me because it was one of the sources of inspiration for Chocolat (1988)—I told her that to go back to that period in Africa, especially in South Africa—I’m not a South African, and for me, I don’t know how to say it, for me to imagine us to go somewhere in South Africa together and do a period movie in a country that has changed so much, after Mandela has been elected and apartheid is finished, I thought I’m going to make a wrong move. So I said if you want, I have a story, I’ll think about a story of today. I was reading many books about the Liberia and Sierra Leone. I told Isabelle I was trying to do my own…to say “vision” is a bit too much, but to describe something I feel, it could be a very good story for her, and I would be interested.

เรื่องราวของ White Material (ไม่มีชื่อฝรั่งเศส อ่านทับศัพท์ไปเลย) ได้แรงบันดาลใจจากสารพัดสงครามกลางเมือง (Civil Wars) ที่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกันช่วงหลายๆทศวรรษนั้น อาทิ Ethiopian Civil War (1974-91), Rwandan Civil War (1990-94), Djiboutian Civil War (1991-94), Algerian Civil War (1991-2002), Somali Civil War (1991-), Burundi Civil War (1993-2005), Republic of the Congo Civil War (1997-99), First Ivorian Civil War (2002-07) ฯลฯ นี่แค่ตัวอย่างผิวเผินเท่านั้นเองนะครับ ผมเห็นปริมาณรายการความขัดแย้ง/สงครามกลางเมืองจากวิกิพีเดียแล้วรู้สึกสั่นสยองขึ้นมาทันที [List of conflicts in Africa]

สงครามกลางเมืองเหล่านี้ ถ้าขบครุ่นคิดดีๆจะพบว่าล้วนเป็นผลกระทบภายหลังการปลดแอก ได้รับอิสรภาพจากการเป็นประเทศอาณานิคม สิ่งที่พวกจักรวรรดินิยมทอดทิ้งไว้ให้นั้น สร้างความลุ่มหลง งมงาย ประชาชนยึดติดในอำนาจ วัตถุนิยม สิ่งข้าวของเครื่องใช้ “White Material” โหยหาเงินทอง ความสะดวกสบาย ใช้ความรุนแรง โต้ตอบเอาคืน “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”

ผกก. Denis ร่วมงานกับนักเขียนนวนิยาย Marie NDiaye (เกิดปี 1967) สัญชาติ French-Senegalese เคยได้รับรางวัล Prix Femina จากนวนิยาย Rosie Carpe (2001) และ Prix Goncourt (เทียบเท่า Nobel Prize สาขาวรรณกรรมของฝรั่งเศส) ผลงาน Trois femmes puissantes (2009) … หลังจาก White Material (2009) ยังโด่งดังกับการร่วมพัฒนาบท Saint Omer (2022)

ด้วยความที่ NDiaye ไม่เคยมีประสบการณ์เขียนบทภาพยนตร์มาก่อน จึงต้องปรับตัวไม่น้อยระหว่างร่วมงานผกก. Denis ทั้งสองออกเดินทางสู่แอฟริกาเพื่อค้นคว้าข้อมูล และร่วมกันพัฒนาบท White Material จนแล้วเสร็จสรรพ

There were circumstances at the beginning of our relationship that we had to sort out. Marie is a writer and she is used to spending a lot of time on her own, but I always work with people and when I do that I have to spend time with them. I know that Marie found this difficult at first. She was used to working and thinking without a partner. But we travelled together to Africa and that’s when the work came together. I had an African childhood, which Marie did not have, and we discussed that, and what it meant to be white in Africa, and it was from that contradiction that we began to put together White Material.


ณ ประเทศสมมติในทวีปแอฟริกา กำลังเกิดสงครามกลางเมือง (Civil Wars) กองทัพฝรั่งเศสตัดสินใจล่าถอย แต่เจ้าของไร่กาแฟ Maria Vial (รับบทโดย Isabelle Huppert) กลับปฏิเสธทอดทิ้งเมล็ดกาแฟที่กำลังออกผลผลิต แม้คนงานหลบลี้หนีหาย ก็ยังพยายามใช้เงินซื้อหา ว่าจ้างคนท้องถิ่นมาช่วยเก็บเกี่ยวผลผลิต

แต่แล้วสงครามกลางเมืองก็ค่อยๆคืบคลานเข้าหา กลุ่มผู้ก่อการร้ายเด็ก (Child Soldiers) บุกรุกเข้ามาในไร่กาแฟ เป็นเหตุให้บุตรชาย Manuel ถูกจี้ปล้น โดนบังคับให้ถอดเสื้อผ้า นั่นทำให้จากเคยเป็นคนเฉื่อยชา ตัดสินใจโกนศีรษะ เข้าร่วมกลุ่มผู้ก่อการร้าย

ด้วยความที่รัฐบาลครุ่นคิดว่าพวกคนขาวให้ที่หลบซ่อนผู้ก่อการร้าย ทหารกลุ่มหนึ่งจึงบุกเข้ามาในไร่กาแฟของ Maria (โชคดีว่าขณะนั้นเธอไม่อยู่บ้าน) ทำการเชือดคอทหารเด็ก กราดยิง เผาทั้งเป็น เมื่อเธอหวนกลับมาเห็น ก็ตกอยู่ในสภาพหมดสิ้นหวังอาลัย ไม่หลงเหลืออะไรสักสิ่งอย่าง


Isabelle Anne Madeleine Huppert (เกิดปี 1953) นักแสดง สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris บิดาเป็นชาว Jews ส่วนมารดาทำงานครูสอนภาษาอังกฤษ ผลักดันให้ลูกๆเป็นนักแสดงตั้งแต่ยังเด็ก ต่อมาได้เข้าเรียน Conservatoire à rayonnement régional de Versailles ติดตามด้วย Conservatoire national supérieur d’art dramatique (CNSAD) เริ่มต้นมีผลงานภาพยนตร์โทรทัศน์ Le Prussien (1971), ตามด้วยภาพยนตร์ Faustine et le Bel Été (1972), Les Valseuses (1974), La Dentelliere (1977) คว้ารางวัล BAFTA Award: Most Promising Newcomer, ผลงานเด่นๆ อาทิ Aloïse (1975), Violette Nozière (1978), Une affaire de femmes (1988), La Cérémonie (1995), The Piano Teacher (2001), Gabrielle (2005), Amour (2012), Elle (2016) ฯ

รับบท Maria Vial สืบทอดกิจการไร่กาแฟจากบิดา Henri ของอดีตสามี Andre (คาดว่าหย่าร้างเพราะจับได้ว่าเขาแอบมีความสัมพันธ์กับคนรับใช้ผิวสี) จึงมีความหมกมุ่น ยึดติดกับสถานที่แห่งนี้ แม้ได้รับคำตักเตือนจากกองทัพฝรั่งเศสที่กำลังถอยร่นระหว่างสงครามกลางเมือง กลับแสดงความดื้อรั้น ปฏิเสธรับฟัง เชื่อมั่นว่าตนเองจักสามารถเอาตัวรอด เงินทองซื้อได้ทุกสิ่งอย่าง

ภาพจำของ Huppert แม้ร่างกายผอมบาง แต่มีจิตวิญญาณอันเข้มแข็งแกร่ง เอ่อล้นด้วยพลัง ความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่หวาดกลัวเกรงภยันตรายใดๆ ล้มแล้วลุก ปฏิเสธยินยอมรับความพ่ายแพ้ พร้อมเผชิญหน้าต่อสู้กับทุกสิ่งอย่าง!

การเดินทางสู่แอฟริกาของ Huppert ทำให้เธอต้องใช้ศักยภาพทางร่างกายค่อนข้างมาก ฝึกฝนขับรถ ขับมอเตอร์ไซด์ ห้อยโหยท้ายรถโดยสาร รวมถึงเรียนรู้วิธีการเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟที่เต็มไปด้วยขั้นตอนหลากหลาย แต่ทุกท่วงท่า อากัปกิริยาของเธอ เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น จริงจัง ฉันสามารถทำได้ทุกสิ่งอย่าง นั่นแสดงถึงความลุ่มหลง งมงาย ยึดติดกับ White Material แม้ใช้ชีวิตอาศัยอยู่ทวีปแอฟริกา แต่ไม่มีทางจะได้รับการยอมรับ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชาวแอฟริกัน!

สำหรับความสิ้นหวังของตัวละคร สังเกตว่าไม่ได้มีการร่ำร้องไห้ หรือเรียกหาความสนใจ แต่ยังแสดงความดื้อรั้น ดึงดัน ไม่สนคำทัดทานผู้ใด พยายามทุกสิ่งอย่างเพื่อหวนกลับไป แล้วกระทำสิ่งไม่มีใครคาดคิดถึง … บางคนอาจรู้สึกสงสารเห็นใจ แต่ผมสมเพศเวทนากับความลุ่มหลง งมงาย หมกมุ่นยึดติดใน White Material


สำหรับสมาชิกครอบครัวแตกแยก (Dysfunctional Family) ของ Maria Vial ประกอบด้วย

  • อดีตสามี André (รับบทโดย Christopher Lambert) คาดว่าสาเหตุที่หย่าร้างเพราะแอบคบชู้นอกใจ สานสัมพันธ์กับหญิงผิวสีชาวแอฟริกัน จนมีบุตรชายลูกครึ่ง Jose 
    • André พยายามเกลี้ยกล่อมบิดาให้ยกไร่กาแฟให้กับตนเอง เพื่อจะนำไปขายต่อให้กับชาวแอฟริกัน แล้วหาทางหลบหนีออกจากประเทศแห่งนี้ พยายามเกลี้ยกล่อมบิดา จนแล้วจนรอด ท้ายสุดถูกฆาตกรรมโดยกองทัพรัฐบาล
  • บิดาของ André (รับบทโดย Michel Subor) เกิด-เติบโตยังทวีปแอฟริกา เป็นเจ้าของไร่กาแฟสืบทอดจากบิดา ตั้งใจจะมอบทุกสิ่งอย่างให้กับลูกสะใภ้ Maria ส่วนตนเองใช้ชีวิตวัยเกษียณ เดินไปเดินมา เฝ้ารอคอยความตาย แต่สุดท้ายกลับถูกฆาตกรรม/ทรยศหักหลังโดย Maria
  • Manuel (รับบทโดย Nicolas Duvauchelle) บุตรชายของ Maria และ André อายุประมาณ 17-18 มีความเกียจคร้าน ขี้เกียจสันหลังยาว แต่หลังจากถูกกลั่นแกล้ง ทำให้อับอายโดยพวกทหารเด็ก กลับมาบ้านตัดสินใจโกนศีรษะ อาสาสมัครเข้าร่วมกลุ่มผู้ก่อการร้าย ก่อนถูกเผาตายทั้งเป็นโดยกองทัพรัฐบาล
    • เมื่อตอนที่ Manuel โกนศีรษะ ชวนให้ผมนึกถึง Travis Bickle จากภาพยนตร์ Taxi Driver (1976) ทำผมทรงโมฮอกแสดงอาการน็อตหลุด ใกล้จะคลุ้มบ้าคลั่ง ไม่สามารถควบคุมตนเอง เรียกร้องความสนใจ ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อพิสูจน์การมีตัวตน ฉันก็เป็นลูกผู้ชาย (นั่นอาจคือเหตุผลที่หนังจงใจถ่ายให้เห็นไอ้จ้อน ระหว่างถูกทำให้เปลือยกายล่อนจ้อน)
  • Jose อายุ 12 ปี แม้เป็นบุตรชายของ André กับชู้รัก คนรับใช้ชาวแอฟริกัน แต่ยังได้รับความรักจาก Maria คอยไปรับไปส่ง ดูแลเหมือนลูกแท้ๆ ตอนจบไม่รับรู้โชคชะตา (แต่ก็คาดเดาไม่ยากเท่าไหร่)

ถ่ายภาพโดย Yves Cape (เกิดปี 1960) ตากล้องสัญชาติ Belgian โตขึ้นเข้าศึกษาด้านการถ่ายภาพยัง Institut national supérieur des arts du spectacle et des techniques de diffusion (INSAS) จากนั้นเริ่มทำงานเป็นผู้ช่วย แจ้งเกิดกับภาพยนตร์ Ma vie en rose (1997), Humanity (1999), Buffalo Boy (2004), White Material (2009), Holy Motors (2012) ฯ

ปล. เหตุผลที่ผกก. Denis ไม่ได้ร่วมงานตากล้องขาประจำ Agnès Godard เพราะอีกฝ่ายกำลังตั้งครรภ์ และมารดายังล้มป่วยหนัก เห็นว่าเสียชีวิตใกล้ๆกับตอนโปรดักชั่น เลยตัดสินใจมองหาตากล้องคนอื่นขัดตาทัพไปก่อน

แตกต่างจากผลงานเรื่องอื่นๆของผกก. Denis ที่มักพยายามรังสรรค์งานภาพให้ออกมาเสมือนภาพนิ่ง บรรยากาศโหยหา คร่ำครวญ หวนรำลึกนึกถึงอดีต, อาจเพราะ White Material (2009) มีพื้นหลังในช่วงระหว่างสงครามกลางเมือง จึงเลือกใช้กล้อง Hand-Held แบกขึ้นบ่า เดินไปเดินมา ซึ่งสามารถสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ของตัวละคร อาการสั่นไหว หวาดกังวล โดยไม่รับรู้ตัวว่าหายนะกำลังคืบคลานเข้าหา

ในหลายๆบทสัมภาษณ์ของผกก. Denis มักกล่าวพาดพิงถึง First Ivorian Civil War (2002-07) สงครามกลางเมืองในประเทศ Ivory Coast (หรือ Côte d’Ivoire) แม้เมื่อตอนเริ่มต้นโปรดักชั่น สงครามได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่สถานการณ์การเมืองยังถือว่าไม่น่าปลอดภัย [Second Ivorian Civil War เกิดขึ้นติดตามมาระหว่าง ค.ศ. 2010-11] ด้วยเหตุนี้เลยต้องมองหาสถานที่อื่น ถ่ายทำยังประเทศ Cameroon ติดชายแดน Nigeria

It’s not my intention to be vague. The film is inspired by real events in the Ivory Coast. Of course, it was impossible to shoot the film there because a near-civil war is still going on there. I thought it was better to shoot in a country at peace. Also, I wanted the child soldiers to be played by normal children who go to school. I think it’s necessary for a film containing certain violence. I didn’t want to write, “This story takes place in 2003 in the Ivory Coast” over the credits. Anyone who knows Cameroon could recognize that’s where I shot it. The border of Nigeria and Cameroon is very visible. Many times at screenings in France, people recognized the locations. If I had claimed it was set in the Ivory Coast, it would have been a lie. Otherwise, I would take the risk to shoot there.

Claire Denis

เกร็ด: ผกก. Denis เลื่องชื่อในการทำงาน “shooting fast, editing slowly” เห็นว่าใช้เวลาถ่ายทำ White Material (2009) แค่เพียงสิบวันเท่านั้น!


จริงๆมันมีสถานที่มากมายที่จะให้ตัวละคร Maria หวนระลึกเหตุการณ์บังเกิดขึ้น แต่การให้เธอปีนป่ายหลังรถโดยสาร นั่งอยู่ท่ามกลางชาวผิวสี เพื่อสื่อถึงการเดินทาง/สถานการณ์ที่ตนเองไม่สามารถควบคุม กำหนดทิศทางชีวิต แม้แต่จะขอให้หยุดจอด หรือเรียกร้องขอโน่นนี่นั่น (คือสิ่งที่คนขาว หมกมุ่นยึดติดกับ “White Material”) เพียงสงบสติอารมณ์ แล้วปล่อยให้ทุกสิ่งอย่างดำเนินไปตามครรลองของมัน

ผมไม่ได้มีความสนใจในเครื่องแต่งกายตัวละครมากนัก บังเอิญพบเห็นบทสัมภาษณ์ของผกก. Denis เปรียบเทียบชุดเดรสสีชมพู (พร้อมกับทาลิปสติก) ดูราวกับเกราะคุ้มกันภัย นั่นทำให้ตัวละครมีความเป็นเพศหญิง … บางคนอาจมองพฤติกรรมห้าวเป้งของตัวละคร ดูเหมือนทอมบอย เพศที่สาม แต่การเลือกใส่ชุดกระโปรง ถือว่าตัดประเด็นนั้นทิ้งไปได้เลย (สวมใส่กางเกง รองเท้าบูท เฉพาะระหว่างทำงานในไร)

It’s very feminine. We used color to speak about the character without psychology. There is a yellow dress at the beginning, and the second dress is pink. We tried a turquoise dress, but it didn’t seem to belong to the story. The others fit it. The camera lingers on the pink dress because she puts it on to seem strong. It’s like armor.

Claire Denis

ตัวละคร The Boxer (รับบทโดย Isaach de Bankolé) เหมือนว่าจะเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มต่อต้าน/ผู้ก่อการร้าย (สังเกตจากสวมหมกสีแดง) ที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาล ถูกยิงบาดเจ็บ จึงมาหลบซ่อนตัวในไร่กาแฟของ Maria โดยอ้างว่าเป็นญาติกับคนงาน เลยได้รับความช่วยเหลือ แต่สุดท้ายเหมือนว่าทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียชีวิตก่อนการมาถึงของกองทัพรัฐบาล

เพราะเคยมีบทบาทเด่นในภาพยนตร์ Chocolat (1988) ผมก็นึกว่าบทบาทของ Bankolé จะมีความสลักสำคัญต่อเรื่องราว แต่ตลอดทั้งเรื่องได้รับบาดเจ็บ นั่งๆนอนๆอยู่บนเตียง ถึงอย่างนั้นภาพวาดฝาผนัง แสดงให้ถึงการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ … นำพาหายนะมาให้กับครอบครัวของ Maria

ไร่กาแฟ (Coffee Plantation) เป็นผลิตภัณฑ์พบได้ทั่วไปในทวีปแอฟริกา ทีแรกผมก็ไม่ได้เอะใจอะไรจนกระทั่งพบเห็นช็อตนี้ จากเมล็ดที่เคยเป็นสีดำ ถูกนำไปผ่านกรรมวิธีอะไรสักอย่าง ขัดสีฉวีวรรณจนกลายเป็นเมล็ดขาว นี่แฝงนัยยะถึงการฟอกขาว (Whitewashing) วิธีการของลิทธิจักรวรรดินิยม เมื่อเข้ายึดครอบครอง พยายามปรับเปลี่ยนทุกสิ่งอย่างของประเทศอาณานิคมให้กลายเป็นแบบของตนเอง

หลายคนอาจมองว่า Maria คงคลุ้มบ้าคลั่ง สูญเสียสติแตกไปแล้วกระมัง ถึงกระทำการ !@#$% แต่มุมมองคิดเห็นของ Huppert ถือว่าน่าสนใจทีเดียว มองในเชิงสัญลักษณ์ถึงการทำลาย ‘ความเป็นคนขาว’ ของตนเอง!

For me, is very metaphorical. It’s not like she’s committing an act of revenge like in a thriller, but she’s symbolically murdering the white part of herself by killing the ultimate white man — who just happens to be her step-father. She’s almost taking a Swiss-like side in the matter —  having gone through her own son’s death, and her ex-husband’s death, she comes to realize that no matter how trustful she is of other people, she still have to face this internal antagonist in her herself.

Isabelle Huppert

ตัดต่อโดย Yann Dedet (เกิดปี 1946) สัญชาติฝรั่งเศส เริ่มจากเป็นผู้ช่วยตัดต่อ The Bride Wore Black (1968), แล้วกลายเป็นขาประจำ François Truffaut, Maurice Pialat และ Nicole Garcia, ผลงานเด่นๆ อาทิ Day for Night (1973), Under the Sun of Satan (1987), Van Gogh (1991), Nénette and Boni (1996), White Material (2009), I Am Not a Witch (2017) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Maria Vial หญิงผิวขาว ชาวฝรั่งเศส เจ้าของไร่กาแฟแห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกัน (ไม่มีการระบุประเทศ) ระหว่างสงครามกลางเมือง กองทัพฝรั่งเศสตัดสินใจล่าถอย แต่เธอกลับดื้อรั้น ดึงดัน ปฏิเสธรับฟัง จนสถานการณ์ลุกลามบานปลาย พยายามหาหนทางกลับบ้าน ระหว่างนั่งอยู่ในรถโดยสาร หวนระลึกนึกย้อน ทบทวนเหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้น

  • อารัมบท, (อนาคต) ร้อยเรียงภาพหายนะของไร่กาแฟ ทุกสิ่งอย่างกำลังมอดไหม้ ฝุ่นควันฟุ้งกระจาย
  • ความดื้อรั้นของ Maria
    • (ปัจจุบัน) Maria หลบซ่อนจากกลุ่มผู้ก่อการร้าย ก่อนโบกรถหาทางกลับบ้าน ห้อยโหยตรงบันไดด้านหลัง
    • ครุ่นคิดถึงตอนที่เฮลิคอปเตอร์พยายามตะโกนบอก Maria ให้ออกไปจากประเทศแห่งนี้ แต่เธอกลับทำหูทวนลม
    • The Boxer หลบหนีจากกองทัพรัฐบาล หลบซ่อนตัวในไร่กาแฟของ Maria
    • Maria ระหว่างทางกลับบ้าน พบเห็นคนงานต่างอพยพหลบหนี ไม่ต้องการเสี่ยงชีวิตเพื่อ White Material
    • เมื่อกลับมาถึงบ้านก็เตรียมตัวออกหาคนงานใหม่ ไม่ต้องการให้ไร่กาแฟเสียหาย
    • พอขับรถมาถึงกลางทางถูกรีดไถเงิน แวะเข้าเมืองซื้อของ แล้วเดินทางไปว่าจ้างคนงาน
    • ขากลับแวะเวียนไปรับหลานชายลูกครึ่ง Jose (บุตรของอดีตสามี มีความสัมพันธ์กับคนใช้ผิวสี)
  • สถานการณ์ตึงเครียด
    • ยามเช้า Maria ปลุกตื่นบุตรชาย Manuel ระหว่างกำลังเล่นน้ำ เกือบถูกลอบฆ่าโดยทหารเด็ก
    • ทหารเด็กแอบเข้ามาในไร่กาแฟ ทำการประจาน Manuel จนเกิดอาการคลุ้มคลั่ง โกนศีรษะ ต้องการเข้าร่วมกลุ่มผู้ก่อการร้าย
    • Maria เก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟ
    • ค่ำคืนนี้แบ่งปันเสบียงกรังกับคนงาน
  • เหตุการณ์เลวร้าย หายนะบังเกิดขึ้น
    • รายงานข่าวแจ้งว่ากองทัพรัฐบาลมีความเคลือบแคลงสงสัย ว่าพวกคนขาวเจ้าของไร่กาแฟ ให้สถานที่หลบภัยต่อกลุ่มผู้ก่อการร้าย
    • คนงานเรียกร้องขอค่าจ้าง ต้องการไปจากสถานที่แห่งนี้ แต่เงินในตู้เซฟกลับถูกลักขโมย สูญหายหมดสิ้น
    • ระหว่างขับรถเข้าเมือง ถูกพวกผู้ก่อการร้ายดักปล้น เข่นฆ่าผู้คน
    • กองทัพรัฐบาลบุกเข้าในไร่กาแฟ เชือดคอทหารเด็ก เผาทำลายทุกสิ่งอย่าง
    • (ปัจจุบัน) Maria พยายามหาหนทางกลับบ้าน ก่อนพบเห็นภาพบาดตาบาดใจ และตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง

ผกก. Denis ดูมีความชื่นชอบการเล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) หวนระลึกความทรงจำ ทำแบบนี้เพื่อให้ตัวละครเกิดความตระหนัก รับรู้ตัว และสาสำนึกผิด ถ้าฉันไม่หมกมุ่นยึดติดกับ “White Material” ก็คงไม่ตกอยู่ในสถานการณ์ช่วยตนเองไม่ได้แบบนี้ แต่ปัญหาเล็กๆคือมันไม่จำเป็นต้องกระโดดไปกระโดดมาบ่อยครั้งก็ได้

เมื่อตอน Beau Travail (1999) แม้ใช้วิธีเล่าเรื่องกระโดดไปกระโดดมา อดีต-ปัจจุบัน คล้ายๆเดียวกัน แต่ตัวละคร Galoup ในปัจจุบันยังเดินทางไปไหนมาไหนทั่วกรุง Marseille ไม่ซ้ำซากจำเจอยู่แต่ในห้อง, ผิดกับ White Material (2009) พบเห็นเพียง Maria Vial นั่งหง่าวอยู่ในรถโดยสาร ไม่สามารถทำอะไร ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ตกอยู่ในความสิ้นหวังอาลัย … เหตุผลการทำแบบนี้ก็อย่างที่อธิบายไป แต่การเน้นๆย้ำๆหลายครั้ง มันสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ


เพลงประกอบโดย Stuart Ashton Staples (เกิดปี 1965) นักร้อง นักกีตาร์ สัญชาติอังกฤษ, ร่วมก่อตั้งวง Tindersticks แนว Alternative Rock มีโอกาสร่วมงานผกก. Claire Denis ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ Nénette et Boni (1996), Trouble Every Day (2001), The Intruder (2004), White Material (2009), High Life (2018) ฯ

งานเพลงของหนังมีลักษณะของ Ambient Music (หรืออาจจะเรียกว่า Rock Ambient เพราะใช้เบส กีตาร์ เครื่องดนตรีไฟฟ้า ในการสร้างเสียง) แนวเพลงที่เน้นเรื่องของเสียงมากกว่าตัวโน้ต พยายามสร้างบรรยากาศให้สอดคล้องเข้ากับสภาพแวดล้อม คลอประกอบพื้นหลังเบาๆจนบางครั้งเหมือนไม่ได้ยินเสียงอะไร แต่ผู้ฟังกลับรู้สึกปั่นป่วนมวนท้องไส้ มึนๆตึงๆ สัมผัสอันตราย หายนะกำลังคืบคลานเข้ามา

ปล. ในอัลบัม Soundtrack เรียกสไตล์เพลงลักษณะนี้ว่า Art Rock ก็แล้วแต่จะเรียกแล้วกันนะครับ

การเลือกใช้วงดนตรีร็อค แทนที่จะเป็นออร์เคสตรา ทำให้หนังมีกลิ่นอายร่วมสมัย (Contemporary) ใกล้ตัว จับต้องได้ อย่างบทเพลง Attack on the Pharmacy มีลีลาลีดกีตาร์อย่างโหยหวน ท้องไส้ปั่นป่วน (จากพบเห็นภาพความตาย) จังหวะกลองทำให้เจ็บปวดรวดร้าว หัวใจแทบแตกสลาย

[White Material]’s could mean two things, an object or person. In pidgin English, when ivory smugglers were very efficient they were called white material. Ivory and ebony instead of white and black. And in some slang they call white people “whitie” or “the white stuff,” you know? So I mixed it.

White Material แปลตรงตัว วัสดุสีขาว แต่ในบริบทของหนังสื่อถึง สิ่งข้าวของ(ของ)พวกคนผิวขาว อะไรก็ตามที่นำเข้าจากต่างประเทศ “สร้างโดยคนขาว เป็นของคนขาว ใช้โดยคนขาว” เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย ทำสิ่งต่างๆโดยง่าย ล้ำยุคทันสมัย ไม่ใช่ของชนชาวแอฟริกัน

การมาถึงของคนขาวในทวีปแอฟริกัน ตั้งแต่ยุคจักรวรรดินิยมล้วนเพื่อยึดครอบครอง เสาะแสวงหาทรัพยากรมนุษย์และธรรมชาติ โดยใช้ข้ออ้างนำความเจริญทางอารยธรรมเข้ามาเผยแพร่ แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนคือ “White Material” สำหรับกอบโกยผลประโยชน์ ตอบสนองความพึงพอใจส่วนตนเอง

เรื่องราวของ White Material (2009) เกี่ยวกับหญิงผิวขาว ชาวฝรั่งเศส ผู้มีความหมกมุ่นยึดติดใน “White Material” ไม่ยินยอมพลัดพราก แยกจาก ปฏิเสธรับฟังคำทัดทาน เชื่อมั่นว่าตนเองจะสามารถเอาตัวรอดปลอดภัยในสงครามกลางเมือง ฉันคือส่วนหนึ่งของแอฟริกัน แต่ความเป็นจริงนั้นกลับเพียงภาพลวงหลอกตา

I wanted to show in this film how being white in Africa gives you a special status, almost a kind of magical aura. It protects you from misery and starvation. But although it can protect you, it is dangerous too. This is what Maria has to learn. The danger for Maria is that she thinks she belongs in Africa because she is close to the land and the people. She cannot return to France because she thinks that it will weaken her. But she learns that she doesn’t belong in Africa as much as she thinks. For many white people in Africa this is the reality.

Claire Denis

ในบทสัมภาษณ์ของ Hoppert มองเห็น Maria ในมุมที่แตกต่างออกไป จริงอยู่ว่าตัวละครหมกมุ่นยึดติดใน “White Material” แต่ขณะเดียวกันเธอไม่เคยครุ่นคิดถึงความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์ ฉันอาศัยอยู่สถานที่แห่งนี้มานานหลายปี มีลูก รับเลี้ยงหลานลูกครึ่ง(แอฟริกัน) ไม่เคยแสดงอคติ รังเกียจเหยียดยาม แอฟริกาคือบ้านของฉัน แต่สุดท้ายกลับถูกทรยศหักหลัง ตกอยู่ในสภาวะไม่สามารถยินยอมรับความจริง (State of Denial)

Therefore, I think that my character Maria carries this hope or illusion that all these differences between people should be abolished and not exist. She believes this so strongly that she has blinders on to what’s happening around her, and is in a state of denial.

Isabelle Huppert

ความคิดเห็นที่แตกต่างของ Huppert ทำให้ผมมองว่าผกก. Denis ก็ไม่แตกต่างจากตัวละคร Maria แม้เคยอาศัยใช้ชีวิตมาตั้งแต่เด็ก ถึงขนาดเรียกตนเองว่า “Daughter of African” แต่นั่นคือความลุ่มหลง ทะนงตน ยึดติดมโนคติ ภาพลวงตา คงเพิ่งตระหนักได้ว่าไม่มีวันที่ฉันจะเป็นชาวแอฟริกัน … เส้นแบ่งระหว่างสีผิว ชาติพันธุ์ เป็นสิ่งไม่มีอยู่จริง แต่ขณะเดียวกันกลับมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า!

จะว่าไป White Material ไม่ได้สื่อถึงแค่วัสดุ สิ่งข้าวของ ในเชิงรูปธรรมเท่านั้นนะครับ แต่ยังรวมถึงแนวคิด วิถีชีวิต เป้าหมาย อุดมการณ์ของคนขาว ล้วนมีความแตกต่างจากชาวผิวสี (เหมารวมเอเชีย แอฟริกัน อเมริกาใต้ ฯ) ผลกระทบจากการตกเป็นอาณานิคม จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เลือนหาย ภายหลังการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ หลายๆประเทศในแอฟริกันก็ยังคงหาความสงบสุขไม่ได้จนถึงปัจจุบัน


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice เสียงตอบรับกลางๆ เลยไม่ได้รางวัลใดๆติดไม้ติดมือกลับมา ทำให้ทุนสร้าง $6.3 ล้านเหรียญ (ในวิกิฝรั่งเศสบอกว่า €6.3 ล้านยูโร) ทำเงินได้เพียง $1.9 ล้านเหรียญ ยอดจำหน่ายตั๋วในฝรั่งเศสเพียง 147,295 ใบ ถือว่าขาดทุนย่อยยับเยิน!

หนังได้รับการจัดจำหน่าย DVD/Blu-Ray โดย Criterion Collection ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2011 ซึ่งมีการสแกนดิจิตอล (digital transfer) ผ่านการตรวจอนุมัติโดยผกก. Denis และตากล้อง Yves Cape

ถึงส่วนตัวจะหลงใหลสไตล์ลายเซ็นต์ผกก. Denis และการแสดงอันโดดเด่นของ Isabelle Huppert แต่เนื้อเรื่องราวของ White Material (2009) สร้างความหงุดหงิด รำคาญใจ รู้สึกสมเพศเวทนาพวกคนขาว/จักรวรรดินิยม เลยไม่สามารถชื่นชอบประทับใจหนังได้เท่าที่ควร … เป็นแนวไม่ค่อยถูกจริตสักเท่าไหร่

และผมยังรู้สึกว่าหนังขาดมนต์เสน่ห์หลายๆอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับ Chocolat (1988) และ Beau Travail (1999) ที่อย่างน้อยภาพสวย เพลงไพเราะ, White Material (2009) นอกจากการแสดงของ Huppert ก็แทบไม่มีอะไรอย่างอื่นให้น่าจดจำ

จัดเรต 18+ กับบรรยากาศสงครามกลางเมือง ความรุนแรง อคติต่อชาติพันธุ์ และทหารเด็กก่อการร้าย

คำโปรย | ความลุ่มหลง ทะนงตน หมกมุ่นยึดติดใน White Material ของ Isabelle Huppert (รวมถึงพวกจักรวรรดินิยม) ทำให้สูญเสียสิ้นทุกสิ่งอย่าง
คุณภาพ | สูญเสียสิ้น
ส่วนตัว | สมเพศเวทนา

Erosu + Gyakusatsu (1969)


Eros + Massacre (1969) hollywood : Yoshishige Yoshida ♥♥♥♥

ภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ (ความยาว 216 นาที) ที่ทำการถกเถียงปรัชญาการเมือง + เรื่องส่วนบุคคล, พวกนักปฏิวัติพยายามเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม แต่พอเป็นเรื่องส่วนตัว เสรีในรัก (Free Love & Free Sex) รวมถึงการปลดแอกทางเพศ (Sexual Liberation) กลับถูกปฏิเสธต่อต้านด้วยความรุนแรง อาฆาตแค้น ลอบสังหาร

นำเสนอเรื่องราวของ Sakae Ōsugi (1885-1923) นักอนาธิปไตย (Anarchist) สัญชาติญี่ปุ่น หนึ่งในแกนนำการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม รวมถึงยังยึดถือหลักการดังกล่าวในชีวิตส่วนตัว ครองรักกับผู้หญิงสามคน! แต่งงานภรรยาคนแรก เกือบถูกคนรักที่สองฆาตกรรม ก่อนโดนตำรวจวิสามัญร่วมกับแฟนคนที่สาม (และหลานชายวัย 6 ขวบ) ในช่วงแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ 1923 Great Kantō earthquake มีคำเรียกเหตุการณ์ดังกล่าว 甘粕事件 อ่านว่า Amakasu Jiken แปลว่า Amakasu Incident … อธิบายย่อๆก็คือ ตำรวจฉกฉวยโอกาสระหว่างแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ วิสามัญฆาตกรรมพวกหัวรุนแรงทางการเมืองที่เป็นภัยคุกคาม

เกร็ด: อนาธิปไตย (Anarchy) คือสังคมที่ไม่มีรัฐบาล อาจหมายถึงสังคมหรือคนกลุ่มหนึ่งที่ปฏิเสธการจัดลำดับชั้น (Hierarchy) ต้องการลดทอนหรือยกเลิกรัฐบาลและสถาบันในรูปแบบดั้งเดิม สนับสนุนให้สังคมปกครองตนเอง (Self-Governance) ผ่านสถาบันแบบสมัครใจ หรือสังคมไร้รัฐ

แม้เรื่องราวชีวิตของ Sakae Ōsugi จะโด่งดังในทศวรรษ 20s แต่ทว่าความสนใจผกก. Yoshida คือความสัมพันธ์กับสถานการณ์โลกปัจจุบันนั้น (ทศวรรษ 60s) ช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยการเรียกร้องทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม รวมถึงการปลดแอกทางเพศ (Sexual Liberation) จึงใช้วิธีนำเสนอสไตล์ Fellini กระโดดไปมาระหว่างอดีต+ปัจจุบัน (Past+Present), เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง+ปรุงแต่งสร้างเรื่องราว (Reality+Fictional), จุดประสงค์เพื่อให้ผู้ชมเกิดความตระหนักว่าการเมือง=เรื่องส่วนบุคคล (Political = Personal)

Eros + Massacre (1969) เป็นภาพยนตร์แนวทดลอง (Experimental) ที่แพรวพราวไปด้วย ‘Mise-en-scène’ จัดเต็มลูกเล่น เทคนิคภาพยนตร์ เห็นว่าเป็นผลงานเรื่องแรกของผกก. Yoshida นำออกฉายต่างประเทศ เลยทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับการยกย่องสรรเสริญระดับมาสเตอร์พีซ!

แต่การจะรับชมผลงานเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด (จัดความยากระดับสูงสุด) นอกจากลีลาการนำเสนอสไตล์ Fellini ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีกำแพงสามชั่วโมงครึ่งที่อาจทำให้หลายคนเบือนหน้าหนี รวมถึงประเด็นรักๆใคร่ๆ เมียหลายคน สนทนาเรื่องเพศ และชื่อหนัง Eros คงกีดกันพวกมือสากปากถือศีลได้พอสมควร … แนะนำให้ลองหาผลงานอื่นๆของผกก. Yoshida มาเปิดโลกทัศน์เสียก่อนนะครับ จะได้รับรู้ตนเองว่าควรเตรียมพร้อมเช่นไร หรือมีความสามารถในการรับชมเพียงพอหรือไม่

สิ่งน่าสนใจมากๆของหนังอยู่ช่วงครึ่งหลัง (ประมาณชั่วโมงสุดท้าย) ขอเรียกว่า ‘Alternate Climax’ นั่นเพราะผกก. Yoshida ทำการดัดแปลงเรื่องราวของ Sakae Ōsugi อย่างหลวมๆ จึงทดลองนำเสนอจุดจบ ความตายที่มีโอกาสเป็นไปได้ 1) เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง 2) ตายแบบนามธรรม และ 3) ถูกฆาตกรรมในความฝัน … ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเดี๋ยวมาวิเคราะห์กัน!


Yoshishige Yoshida, 吉田 喜重 (1933-2022) หรือบางครั้งใช้ชื่อ Kijū Yoshida ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fukui หลังจากบ้านถูกทำลายจากการโจมตีทางอากาศช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งทั้งสอง ครอบครัวอพยพมาปักหลักอาศัยในกรุง Tokyo, ด้วยความหลงใหลในภาพยนตร์ฝรั่งเศส จึงเข้าศึกษาวรรณกรรมฝรั่งเศส University of Tokyo จบออกมาสมัครทำงานสตูดิโอ Shōchiku เริ่มจากเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Keisuke Kinoshita, จนกระทั่งมีโอกาสกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Good-for-Nothing (1960) กลายเป็นหนึ่งในผู้กำกับรุ่น Shōchiku Nouvelle Vague รุ่นเดียวกับ Nagisa Oshima และ Masahiro Shinoda ก่อนจะถูกเหมารวมเรียก Japanese New Wave

Yoshida เหมือนจะไม่ค่อยชอบฉายา New Wave เพราะมองว่าผลงานของตนเองในยุคแรก ถูกจำกัด ครอบงำโดยสตูดิโอ แต่หลังเสร็จสิ้น Escape from Japan (1964) จึงลาออกจาก Shōchiku แล้วก่อตั้งสตูดิโอโปรดักชั่นของตนเอง Gendai Eigasha ร่วมงานขาประจำกับศรีภรรยา Mariko Okada ผลงานเด่นๆ อาทิ A Story Written with Water (1965), Woman of the Lake (1966), The Affair (1967), Eros + Massacre (1969), A Promise (1986) ฯ

เพราะเคยพานผ่านหายนะจากสงครามโลกครั้งที่สอง ความสนใจของผกก. Yoshida จึกมักเกี่ยวกับปัญหาสังคม จิตวิทยา การมีตัวตน ตั้งคำถามถึงความถูกต้องเหมาะสม (ปรัชญา) และความหลงใหลในภาพยนตร์ฝรั่งเศส จึงรับอิทธิพลเกี่ยวกับการทดลอง (Experimental) มองหาวิธีการดำเนินเรื่องที่ผิดแผกแตกต่าง (Avant-Garde) ไม่ยึดติดกับรูปแบบ โครงสร้าง (non-Narrative) และเนื้อหามักท้าทายแนวคิด ขนบกฎกรอบทางสังคม เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆให้กับผู้ชม(สมัยนั้น)

สำหรับ エロス+虐殺 อ่านว่า Erosu purasu gyakusatsu แปลว่า Eros + Massacre (หรือจะเขียนว่า Eros plus Massacre) ผกก. Yoshida ร่วมงานนักเขียนขาประจำ Masahiro Yamada ดัดแปลงหยาบๆจากชีวประวัติ Sakae Ōsugi นักอนาธิปไตย (Anarchist) ที่มีชื่อเสียงระดับตำนานในญี่ปุ่น ไม่เพียงเรื่องความรักกับหญิงสาวสองสามคน ยังถูกวิสามัญฆาตกรรมโดยไม่ชอบธรรม

Reflecting on the present is also reflecting on the future: it is at the same time wanting to change the present and seizing a hold of that which will become the future. This is the subject of the film, and not Ōsugi as a historical character per se. The fundamental theme is: how to change the world, and what is it that needs to be changed? Reflecting on the present situation through the medium of an era already past, I came to believe that Ōsugi’s problems continue to be ours.

Yoshishige Yoshida

ความสนใจของผกก. Yoshida ไม่ใช่นำเสนอเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ แต่ต้องการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างอดีต-ปัจจุบัน ภาพสะท้อนยุคสมัยที่ทุกสิ่งอย่างกำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป แนวคิดเคยรุนแรง สุดโต่ง ค่อยๆได้รับการยินยอมรับ สังคมให้การส่งเสริมสนับสนุน Ōsugi ถือว่าเป็นคนหัวก้าวหน้าที่สามารถจินตนาถึงอนาคต

In making this film, I wanted to transform the legend of Ōsugi by means of the imaginary. Sure enough, Ōsugi was oppressed by the power of the state in his political activities. But most of all, he spoke of free love, which has the power to destroy the monogamous structure, then the family, and finally the state. And it was this very escalation that the state could not allow. It was because of this crime of the imaginary (or “imaginary crime”) that the state massacred Ōsugi. Ōsugi was someone who envisioned a future.


พื้นหลังช่วงทศวรรษ 1910s เรื่องราวของ Sakae Ōsugi (รับบทโดย Toshiyuki Hosokawa) นักอนาธิปไตย (Anarchist) ผู้มีความเชื่อในรักเสรี (free love & free sex) มีความสัมพันธ์กับผู้หญิงสามคน ประกอบด้วย

  • แต่งงานกับภรรยาคนแรก Hori Yasuko
  • คู่ขาคนที่สอง Itsuko Masaoka (รับบทโดย Yūko Kusunoki) มาจากครอบครัวมีฐานะ ใช้เวลาว่างทำงานบรรณาธิการนิตยสารสตรี (Feminist) 青鞜 อ่านว่า Seitō แปลว่า Bluestocking, จนกระทั่งวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916 น่าจะด้วยความอิจฉาริษยา พยายามจะฆาตกรรมชายคนรัก Ōsugi ณ โรงน้ำชาแห่งหนึ่งใน Hayama, Kanagawa ผลลัพท์ทำให้เธอถูกตัดสินโทษจำคุกนาน 4 ปี ก่อนลดโทษเหลือแค่ 2 ปี
  • สำหรับแฟนคนที่สาม Noe Itō (รับบทโดย Mariko Okada) ก่อนหน้านี้แต่งงานอยู่กินกับ Tsuji Jun มีบุตรร่วมกันสองคน Makoto และ Ryūji แต่หลังจากฝ่ายชายสอนให้รู้จักสิทธิสตรี ระหว่างทำงานบรรณาธิการนิตยสาร Seitō จึงค่อยๆเหินห่าง เลิกราหย่าร้าง ก่อนย้ายมาอยู่อาศัยกับ Ōsugi มีบุตรร่วมกันอีก 4 คน

นอกจากนี้หนังยังเล่าเรื่องคู่ขนานกับสองนักศึกษา Eiko Sokutai และ Kiwamu Wada ในช่วงทศวรรษ 60s ระหว่างศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการเมือง ทำให้ได้เรียนรู้จักเรื่องราวของ Ōsugi เริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์ถาม Mako (บุตรสาวของ Noe และ Tsuji) แล้วจำลองภาพเหตุการณ์เคยบังเกิดขึ้น (มีทั้งถ่ายทำภาพยนตร์ และในลักษณะ Performance Art) เพื่อทำความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิสตรี (feminisit) และรักเสรี (free love & free sex)


Toshiyuki Hosokawa, 俊之 細川 (1940-2011) นักแสดง ดีเจ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fukuoka แล้วมาเติบโตยัง Yamaguchi สอบเข้าคณะรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ Gakushuin University แต่เรียนไม่ทันจบหันเหความสนใจสู่การแสดง เริ่มต้นจากเป็นนักแสดงละคอนเวทีคณะ Bungakuza, แจ้งเกิดกับภาพยนตร์ Eros + Massacre (1969), ผลงานเด่นๆ อาทิ Zatoichi Meets Yojimbo (1970), Miyamoto Musashi (1973), The Makioka Sisters (1983) ฯ

รับบท Sakae Ōsugi นักปฏิวัติผู้มากรัก พยายามยึดถือปฏิบัติอุดมการณ์อนาธิปไตย (Anarchist) ทั้งการเมืองและเรื่องส่วนตัว แม้ปากบอกจะมอบความรักให้พวกเธอทั้งสามอย่างเท่าเทียม แต่ความเป็นจริงแค่เพียงเบื่อหน่ายภรรยาคนแรก สนเงินๆทองๆคู่ขาคนที่สอง และเอ็นดูรักใคร่แฟนคนสามมากกว่าใคร

ผมยังคงติดตาภาพลักษณ์ชายแปลกหน้าจาก Flame and Women (1967) มาเรื่องนี้ก็ยังไม่โกนหนวดโกนเครา แต่ต้องถือเป็นเสน่ห์ของ Hosokawa ช่วยเสริมความเฉลียวฉลาด เหมือนนักปราชญ์ เวลาพูดแสดงความคิดอ่าน ฟังดูหรูหรา หัวก้าวหน้า สร้างความลุ่มหลงใหล คลุ้มคลั่งไคล้ โดยเฉพาะกับหญิงสาวละอ่อนวัย ยังไร้เดียงสาต่อโลกความจริงที่โหดร้าย

จริงอยู่ว่าแนวคิด ทฤษฎีของ Ōsugi ฟังดูเลิศหรู ล้ำยุคสมัย แต่บางเรื่องมันอุดมคติเกินไป ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้จริง พยายามเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ แต่กลับใช้กฎสามข้อมาเป็นข้ออ้าง สร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง นั่นคือพฤติกรรมเห็นแก่ตัว สนเพียงผลประโยชน์ส่วนตน ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม … คือถ้ามนุษย์ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับแนวคิดเสรีภาพ โดยไม่มีอะไรมาควบคุม หยุดยับยั้ง เช่นนั้นแล้วมันจะต่างอะไรกับเดรัจฉาน?


Mariko Okada, 茉莉子 岡田 (เกิดปี 1933) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Shibuya-ku, Tokyo เป็นบุตรของนักแสดงหนังเงียบ Tokihiko Okada แต่บิดาเสียชีวิตตั้งแต่เธออายุหนึ่งขวบ เลยต้องอพยพสู่ Kyoto วัยเด็กมีนิสัยขี้อาย ไม่ค่อยชอบสุงสิงกับใคร ช่วงเรียนมัธยมปลายได้เข้าร่วมชมรมการแสดง เกิดความหลงใหลในสื่อภาพยนตร์จากการรับชมหนังเงียบ The Water Magician (1933) [นั่นทำให้เธอเพิ่งรับรู้ว่าบิดาคือนักแสดงหนังเงียบ] หลังเรียนจบเดินทางสู่ Tokyo ได้รับการฝากฝังจากลุงฝึกฝนการแสดง Toho Gakuen College of Drama and Music ยังไม่ถึงเดือนเข้าตาผกก. Mikio Naruse ได้รับบทนางรอง Dancing Girl (1951), ติดตามด้วย Husband and Wife (1953), Floating Clouds (1955), หลังหมดสัญญา Toho ย้ายมาอยู่สตูดิโอ Shochiku ร่วมงานผกก. Yasujirō Ozu เรื่อง Late Autumn (1960), An Autumn Afternoon (1962), จนกระทั่งผลงานเรื่องที่หนึ่งร้อย Akitsu Springs (1962) แต่เป็นครั้งแรกร่วมงานกับสามี Yoshishige Yoshida

รับบท Noe Itō แต่งงานอยู่กินกับ Tsuji Jun ตั้งแต่อายุ 15 เพื่อว่าจะได้มีโอกาสร่ำเรียนต่อ สำเร็จการศึกษา ซึ่งเขายังมอบเสรีภาพในการครุ่นคิด ตัดสินใจ ทำอะไรๆด้วยตนเอง ระหว่างเป็นบรรณาธิการนิตยสารสตรี Seitō พบเจอตกหลุมรัก Ōsugi ซึมซับรับแนวคิดเสรีรัก (free love & free sex) เลยตัดสินใจเลิกราหย่าร้าง ทอดทิ้งบุตรชาย-สาว แล้วย้ายไปพักอาศัยอยู่กันคนรักใหม่

แม้ผมจะรู้สึกว่า Okada แก่เกินกว่าตัวละครไปพอสมควร (ตัวละครอายุไม่ถึง 20 แต่ Okada ใกล้ย่าง 35 ปี) ภาพลักษณ์ไม่มีความละอ่อนวัย ไร้เดียงสา แต่ฝีไม้ลายมือ ประสบการณ์ด้านการแสดงถือว่าจัดจ้าน โดยเฉพาะเมื่อเกิดความอิจฉาริษยา (ตอนจับได้ว่า Tsuji แอบมีความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทวัยเด็ก) ทั้งใบหน้า ปฏิกิริยาท่าทาง น้ำเสียงการพูด แสดงความรู้สึกเอ่อล้นออกมานอกจอ ผู้ชมสัมผัสได้ถึงอารมณ์ปั่นป่วน ดั่งพายุคลุ้มคลั่ง ไม่สามารถยินยอมรับการกระทำ

เช่นเดียวกับครึ่งหลัง การมาถึงโดยไม่บอกกล่าวของ Itsuko สร้างความไม่พึงพอใจ แสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ทำตัวเหมือนเด็กน้อยเอาแต่ใจ แม้จะไม่รุนแรงคลุ้มคลั่งเท่าคราก่อน แต่กลับทำให้ได้รับบทเรียนที่จะนำไปสู่เหตุการณ์ฆาตกรรมในชีวิตจริง!

เกร็ด: นอกจากรับบท Noe เหตุการณ์ในปัจจุบันช่วงทศวรรษ 60s ยังรับบทบุตรสาว Mako Itō ขณะถูกซักสัมภาษณ์โดย Eiko ตอนต้นเรื่อง (ส่วนครึ่งหลังที่ตัวละคร Noe ปรากฎตัวในปัจจุบันทศวรรษ 60s แล้วแต่ว่าจะมองเป็นความฝัน โลกคู่ขนาน จิตวิญญาณล่องลอย หรือจำลองเหตุการณ์ถ่ายทำภาพยนตร์ ก็ตามสบายเลยนะครับ)


Yūko Kusunoki, 子楠侑 (เกิดปี 1933) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo เริ่มต้นจากเป็นนักแสดงละครเวที มีผลงานภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ Intentions of Murder (1964), Whirlpool of Women (1964), House of Terrors (1965), Thirst for Love (1967), Goke, Body Snatcher from Hell (1968), Eros + Massacre (1969), Dodes’ka-den (1970) ฯ

รับบท Itsuko Masaoka มาจากครอบครัวชนชั้นกลาง การศึกษาสูง ฐานะการเงินมั่นคง เลยใช้เวลาว่างทำงานบรรณาธิการนิตยสาร Seitō เขียนบทความเรียกร้องสิทธิสตรี พยายามครุ่นคิดหาวิธีเกี้ยวพาราสี Ōsugi ด้วยการใช้เงินล่อซื้อ จนกระทั่งเกิดความอิจฉาริษยา Noe เพราะชายคนรักให้ความสำคัญอีกฝ่ายหนึ่งมากกว่า เลยพยายามจะฆาตกรรมอีกฝ่าย แต่สุดท้ายก็ทำได้เพียงในความเพ้อฝัน

ในบรรดาสามคนรักของ Ōsugi หน้าตาของ Kusunoki ดูเหมือนนางร้าย ส่งสายตาริษยา เต็มไปด้วยมารยาหญิง ชอบใช้คำพูดล่อลวง ชักแม่น้ำทั้งห้า เพื่อหาวิธีโน้มน้าวชายคนรัก ให้เขาพักอาศัยอยู่ร่วมกับตนเองในค่ำคืนนี้ ก่อนที่ความอิจฉาริษยา จะถูกทำให้ด้อยค่า กลายเป็นหญิงไร้ราคา ไม่สามารถอ้อนวอนร้องขอคืนดี จึงระบายความรู้สึกอัดอั้นภายในออกมา

เกร็ด: ตัวละครนี้มีต้นแบบจาก Ichiko Kamichika แต่เพราะเธอยื่นฟ้องร้องผกก. Yoshida ว่านำชีวิตส่วนตัวมาทำให้เสียชื่อเสียง (คงรับไม่ได้กับความริษยาของตัวละคร) เลยจำต้องปรับเปลี่ยนรายละเอียดพอสมควรเพื่อให้หนังสามารถออกฉาย

ชีวิตจริงของ Ichiko Kamichika, 市子 神近 (1888-1981) เกิดที่ Nagasaki ครอบครัวมีฐานะยากจน โตขึ้นฝึกหัดครู ณ Tsuda University เลยมีโอกาสทำงานบรรณาธิการนิตยสาร Seitō พบเจอกับ Ōsugi ประมาณปี ค.ศ. 1914 เริ่มมีความสัมพันธ์กันปีถัดมา คาดว่าด้วยความอิจฉาริษยา Noe จึงพยายามลอบฆาตกรรมด้วยการใช้มีดทิ่มแทง วันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916 ถูกตัดสินโทษจำคุกสี่ปี ลดหย่อนเหลือสอง พอออกจากเรือนจำทำงานเป็นบรรณาธิการนิตยสารสตรี Nyonin Geijutsu ต่อด้วย Tane maku Hito พบเจอ แต่งงานใหม่กับ Atsushi Suzuki (มีบุตรสามคน), ภายหลังสงคราม ลงสมัครพรรคการเมือง Leftist Socialist Party of Japan ชนะการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1953 มีส่วนร่วมออกกฎหมาย Prostitution Prevention Law (1957) น่าเสียดายไม่เคยได้รับเลือกสมัยสอง ก่อนเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1981


ถ่ายภาพโดย Motokichi Hasegawa, 長谷川元吉 (เกิดปี 1940) จากเคยเป็นช่างภาพนิ่งในสตูดิโอโปรดักชั่นของผกก. Yoshishige Yoshida ตั้งแต่ A Story Written with Water (1965), เก็บสะสมประสบการณ์จนได้รับเครดิตถ่ายภาพ Eros + Massacre (1969), Heroic Purgatory (1970), Coup d’État (1973) ฯ

งานภาพของหนังจัดจ้านด้วยลูกเล่น ลีลา ภาษาภาพยนตร์ แพรวพราว ‘Mise-en-scène’ ทั้งทิศทาง มุมกล้อง การเคลื่อนไหว (แพนนิ่ง, ซูมมิ่ง, แทร็คกิ้ง ฯ) ตำแหน่งนักแสดง บ่อยครั้งมักเดินไปเดินมา หันซ้ายหันขวา จัดแสงสว่าง-มืด ระยะใกล้-กลาง-ไกล ใช้ประโยชน์จาก Anamorphic Widescreen (2.35:1) และความคมเข้มของภาพขาว-ดำ (Monochrome) ได้อย่างงดงาม วิจิตรศิลป์

สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกอึ่งทึ่ง คือความพยายามสรรหามุมกล้องที่เต็มไปด้วย(เล่ห์)เหลี่ยม มุม ใช้ประโยชน์จากสถานที่ หลายครั้งถ่ายลอดผ่านช่องแคบๆ มีอะไรบางอย่างมาบดบังการมองเห็น โดดเด่นที่สุดคือการเปลี่ยนตำแหน่ง นักแสดงเดินไปเดินมา ทำให้รายละเอียดภาพเกิดการเปลี่ยนแปลง แทบไม่เคยหยุดอยู่นิ่ง นี่เป็นการกำกับที่โคตรๆบ้าระห่ำ ทุกช็อตฉากล้วนแฝงนัยยะซ่อนเร้น

ด้วยความที่เรื่องราวจะมีการกระโดดไปมาระหว่างทศวรรษ 1910s และ 1960s สำหรับคนที่ยังไม่สามารถจดจำใบหน้านักแสดง (บางฉากยังมีการผสมผสานระหว่างอดีต-ปัจจุบัน คลุกเคล้าเข้าด้วยกัน) วิธีการสังเกตง่ายๆ ประกอบด้วย

  • เสื้อผ้าสวมใส่ และการแสดง
    • ตัวละครจากทศวรรษ 1910s แทบทั้งหมดล้วนใส่ยูกาตะ (Yukata), กิโมโน (Kimono) ชุดประจำชาติญี่ปุ่น ส่วนการแสดงก็จะดูเป็นธรรมชาติโดยปกติทั่วไป
    • ผิดกับหลังสงครามโลก ช่วงทศวรรษ 60s ตัวละครสวมเสื้อผ้าสมัยใหม่ ใส่กางเกง กระโปรง การแสดงก็ดูเก้งๆกังๆ นักแสดงราวกับหุ่นเชิดชัก น้ำเสียงผ่านการปรุงแต่ง ใส่อารมณ์รุนแรง กระแทกกระทั้น รู้สึกฝืนธรรมชาติยิ่งนัก
  • ฉากพื้นหลัง
    • ทศวรรษ 1910s ตัวละครอาศัยอยู่ในบ้านไม้สไตล์ญี่ปุ่นสมัยก่อน เวลาออกไปภายนอกก็มักพานผ่านธรรมชาติ สวนสาธารณะ ดอกซากุระกำลังเบิกบาน
    • 1960s เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้าง ตึกระฟ้าสูงใหญ่ ตัวละครอาศัยอยู่ในหอพัก โรงแรม แทบไม่หลงเหลือความเป็นญี่ปุ่น
  • สไตล์การถ่ายภาพ
    • ด้วยความที่ทศวรรษ 1910s ถือเป็นอดีต ประวัติศาสตร์พานผ่านมาแล้ว งานภาพจึงมักมีบรรยากาศหวนระลึก (Nostalgia) แม้ยังคงแพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์ตามสไตล์ Yoshida แต่ยังสร้างสัมผัสความเป็นธรรมชาติ
    • ขณะที่ 1960s มักพบเห็นมุมกล้อง การจัดองค์ประกอบที่ดูผิดแผกแปลกตา ทำการทดลองรูปแบบใหม่ๆ ‘Avant Garde’ เพื่อสร้างสัมผัสนามธรรม

หนังเริ่มต้นด้วย Eiko พยายามสัมภาษณ์ Miko (บุตรสาวของ Noe ขณะนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่) สังเกตว่ามีการตัดสลับสับเปลี่ยนมุมกล้องไปมา จุดประสงค์เพื่อให้พบเห็นตัวละคร+เรื่องราวจากแง่มุมต่างๆ นั่นคือความพยายามของผกก. Yoshida ไม่ต้องการให้ผู้ชมตัดสินตัวละครแค่เพียงด้านเดียว นำเสนอความน่าจะเป็นไปได้ เชื่อมโยงระหว่างอดีต+ปัจจุบัน เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง+ปรุงแต่งเรื่องราวสร้างสรรค์ขึ้น

ระหว่างการสัมภาษณ์ Eiko ขึ้นเครื่องบินออกเดินทางมุ่งสู่ … (มีการพูดบอกช่วงต้นครึ่งหลังว่าเดินทางไปยัง Hakata และ Imajuku) สังเกตว่ามีการปรับแสงขาวให้ดูสว่างจร้า(กว่าปกติ) ราวกับความทรงจำอันเลือนลาง ก้าวเดินผ่านป่าโปร่ง หาดทราย และเขื่อนกั้นน้ำไหล บางสิ่งอย่างที่เคยถูกปิดกั้นในอดีต กำลังจะได้รับการเปิดเผยออกมา

การเดินทางของ Eiko ยังย้อนรอยกับ Noe ที่อีกประเดี๋ยว(ระหว่างสนทนาท่ามกลางทุ่งดอกซากุระกับ Ōsugi)จะโดยสารรถไฟชินคันเซ็ง ออกเดินทางจากบ้านเกิดมุ่งสู่ Tokyo

หลังเสร็จการสัมภาษณ์ (แต่ผู้ชมจะไม่ได้ยินคำตอบใดๆจากปากของ Mako) สังเกตว่ามีการแบ่งแยก ‘split screen’ พบเห็นผู้สัมภาษณ์ Eiko (พื้นขาว) และผู้ให้สัมภาษณ์ Mako (พื้นดำ) อยู่ร่วมเฟรมเดียวกัน … พื้นหลังคนละสี ไม่จำเป็นว่าต้องตีความถึงสภาพจิตใจสว่าง+มืด แต่สามารถครอบจักรวาลถึงสองสิ่งขั้วตรงข้าม ปัจจุบัน+อดีต เรื่องแต่ง+เหตุการณ์จริง Eros+Massacre ฯลฯ

และที่น่าสนใจคือสองภาพหลัง Mako หลังเสร็จจากสัมภาษณ์ได้พูดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับมารดาของมารดา สังเกตว่าจากฉากพื้นดำ ถ่ายจากระยะไกล (Long Shot) → เปลี่ยนมาเป็นพื้นหลังขาว ระยะประชิดใกล้ (Close-Up) สามารถสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพ อดีตสู่ปัจจุบัน และเธอยังชี้นิ้วสบตาหน้ากล้อง (Breaking the Fourth Wall) พูดบอกว่า YOU! นี่ไม่ใช่แค่จะเปรียบเทียบถึง Eiko=Mako (หรือจะ Eiko=Noe) แต่ผู้ชมก็ถือเป็นส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน ในอนาคตคุณอาจโอบรับอุดมการณ์เช่นเดียวกับตัวละคร

Kiwamu เคาะประตูห้องพักในโรงแรม เพื่อติดตามหาว่า Eiko อยู่แห่งหนไหน เข้ามาพบเจอเธอกำลังร่วมรักชายวัยกลางคน ผู้กำกับภาพยนตร์ ทำการยั่วราคะด้วยการเอาปากไซร้ไปไซร้มาทั่วเรือนร่างกาย ผมรู้สึกว่ามันเป็นรสนิยมทางเพศที่ค่อนข้างแปลก เพราะโดยปกติฝ่ายหญิง/โสเภณี มักปรนปรนิบัติฝ่ายชาย ในบริบทนี้เลยสามารถสะท้อนความเปลี่ยนแปลงยุคสมัย สตรีสามารถเป็นผู้นำเรื่องเพศ

ขณะเดียวกันการที่ Kiwamu สามารถจับจ้องมองพวกเขาโดยไม่ตะขิดตะขวงใจ (แต่ผู้ชมสามารถสัมผัสถึงความลุ่มร้อน และมีการกล่าวถึงไฟที่กำลังแผดเผาด้วยนะ) นี่สามารถสะท้อนแนวคิดรักเสรี อิสรภาพทางเพศ ค่านิยมทางสังคมรูปแบบใหม่ที่กำลังแพร่หลายในช่วงทศวรรษ 60s … และจะว่าไปเหตุการณ์นี้สอดคล้องเข้ากับตอนที่ Noe พบเห็นสามี Tsuji กำลังกอดจูบลูบไล้เพื่อนสาว Chiyoko แล้วเกิดอาการไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง

ชายวัยกลางคนสอบถาม Kiwamu อนาคตจะทำอะไร? ทีแรกตอบว่าอยากแต่งงานกับผู้หญิงสักคน ก่อนเปลี่ยนคำพูดใหม่ถึงเรียนจบแล้วทำงานอะไร? จากนั้นมีขึ้นเสียงใส่อารมณ์เล็กน้อย ก่อนได้รับคำตอบว่า ไม่รู้ ไม่อะไรที่อยากจะทำ!

ผมรู้สึกว่าโลกยุคสมัยนี้ก็ไม่แตกต่างกันนัก ผู้ใหญ่มักตั้งคำถามกับเด็กๆ โตขึ้นอยากทำอะไร? แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ทุกคนจะมีความฝัน เป้าหมายชีวิต รับรู้ตนเองว่าอยากทำอะไร ประเด็นคือมันจำเป็นต้องมีด้วยฤา? นี่สะท้อนมุมมองครุ่นคิดที่แตกต่างระหว่างคนสองรุ่น (ภาพช็อตนี้มีกระจกสองบานเล็ก-บานใหญ่) ทำไมต้องคาดหวัง? กำหนดเป้าหมายปลายทาง? ปล่อยชีวิตดำเนินไปอย่างอิสระเสรี โชคชะตาฟ้ากำหนดไม่ได้หรืออย่างไร???

นี่ไม่น่าจะคือเหตุการณ์เคยบังเกิดขึ้นจริง ผมเลยมองในเชิงสัญลักษณ์ (นามธรรม) หรือการจำลองเหตุการณ์ถ่ายทำภาพยนตร์ โดยแฝงนัยยะถึงการต่อสู้ แก่งแย่งชิง และสังเกตว่าเครื่องแต่งกายของสองฟากฝั่ง (ชุดกีฬา vs. ยูกาตะ) สามารถเป็นตัวแทนยุคสมัย 1960s vs. 1910s

แซว: กล้องจงใจปกปิดใบหน้าผู้เข้าร่วมแข่งขัน นี่ถือเป็นการเหมารวมฝูงชนโดยไม่เจาะจงตัวบุคคล และจะว่าไปเลือกตำแหน่งสุดขอบ สามารถสื่อถึงความสุดโต่ง (Radical) ของทั้งสองกลุ่มเช่นกัน!

ระหว่างกำลังอาบน้ำ ชำระล้างร่างกาย Eiko บังเกิดอารมณ์ทางเพศ จึงเริ่มใช้มือตนเองลูบไล้เรือนร่างกาย พอกล้องค่อยๆเคลื่อนจากบนลงล่าง (มีแสงขาวปกปิดอวัยวะเพศ) ปรากฎมือที่สอง-สาม-สี่ นี่สื่อถึงจินตนาการ แสงสว่างจร้าๆ เพ้อฝันถึงรักเสรี (free love & free sex) … นี่ก็ถือเป็นอีกภาพเชิงสัญลักษณ์ เพื่อให้ผู้ชมทำความเข้าใจมุมมอง ความครุ่นคิดตัวละครที่ผิดแผกแตกต่างจากค่านิยมทั่วไปของสังคม

ผมขี้เกียจลงรายละเอียดการสนทนาระหว่าง Noe กับ Ōsugi แต่เลือกสถานที่ที่ดอกซากุระกำลังเบ่งบาน สะท้อนความสัมพันธ์ของทั้งคู่อย่างตรงไปตรงมา! และส่วนใหญ่พบเห็นภาพ ‘Two Shot’ ใบหน้าสองนักแสดงอยู่ร่วมเฟรมเดียวกัน พวกเขาก้าวออกเดิน สลับตำแหน่งนำหน้า เคียงข้าง ติดตามหลัง ปรับโฟกัสระยะใกล้-ไกล บางครั้งใช้เลนส์ระยะไกล (Telephoto Lens) เพื่อให้รักษาระยะห่างเวลาตัวละครระหว่างเดินเข้าหาหน้ากล้อง … ลองไปสังเกตรายละเอียดกันดูเองนะครับ

ระหว่างที่ Noe กับ Ōsugi กำลังสนทนาท่ามกลางทุ่งดอกซากุระบาน มีการแทรกภาพหญิงสาวกำลังรีบวิ่งไปขึ้นรถไฟชินคันเซ็ง หลายคนอาจบังเกิดข้อสงสัย ดูจากสถานที่ที่มีความทันสมัยใหม่ (Modern) และรถไฟชินคันเซ็งเปิดให้บริการครั้งแรกปี ค.ศ. 1964 มันจึงไม่น่าจะใช่เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1910s

จุดประสงค์การเดินทางนี้เพื่ออะไร? คำอธิบายของ Noe ต่อ Ōsugi จะเกิดขึ้นหลังจบการแทรกซีนนี้ แล้วหวนกลับไปพูดคุยกันท่ามกลางทุ่งดอกซากุระบาน อธิบายว่าเธอตัดสินใจทอดทิ้งสามีคนแรก ยังไม่ทันแต่งงาน ขึ้นรถไฟมุ่งสู่ Tokyo เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ … กล่าวคือนี่เป็นการซ้อนทับอดีต-ปัจจุบัน Noe หลบหนีแต่งงานเมื่อช่วงทศวรรษ 1910s ด้วยการขึ้นรถไฟสู่อนาคต 1960s (จะว่าไปความสัมพันธ์ของ Noe กับ Tsuji และ Ōsugi พวกเขามีแนวคิดเรื่องรักเสรีมาจากอนาคตก็ได้กระมัง)

เรื่องราวในช่วงทศวรรษ 1960s นอกจากสองนักศึกษา Eiko & Kiwamu ทำการค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับ Sakae Ōsugi ยังมีการนำเสนอคู่ขนาน บ่อยครั้งพบเห็นถ่ายทำโฆษณา+ภาพยนตร์ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบตรงๆถึงผกก. Yoshida สรรค์สร้างภาพยนตร์ Eros + Massacre (1969) ลักษณะคล้ายๆ ‘film within film’

ผมแนะนำว่าเราไม่ต้องไปสนใจรายละเอียด ‘film within film’ มากก็ได้นะครับ แค่เข้าใจวัตถุประสงค์ที่ต้องการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์จริงๆ + ภาพยนตร์ปลอมๆที่อยู่ในหนัง แค่นั้นก็เพียงพอแล้วละ!

หนึ่งในลายเซ็นต์ผกก. Yoshida ใช้ประโยชน์จากสถานที่ ด้วยการหาอะไรบางอย่างมาห้อมล้อมกรอบตัวละคร อย่างขณะนี้การสนทนาระหว่างสามี Tsuji กับ Noe

  • ภาพแรก Tsuji ห้อมล้อมอยู่ในกรอบหน้าต่าง สื่อถึงตัวเขาที่การแต่งงาน ทำให้ชีวิตอยู่ภายใต้ข้อจำกัดโน่นนี่นั่น ผิดกับฝ่ายหญิง Noe เมื่อได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ทำให้เปิดมุมมองโลกกว้าง (มีคำเรียกประตู 障子, Shoji)
  • หลังจากตระหนักรับรู้ว่าตนเองอยู่ในภายใต้กรอบจำกัด Tsuji จึงพยายามหาวิธีก้าวออกสู่ภายนอก (ย้ายมาฟากฝั่ง Noe) ซึ่งก็คือใช้เวลาว่างบรรเลงเครื่องดนตรี Shakuhachi นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เขาได้ปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพ
  • แต่วิธีการดังกล่าวมันใช้ได้แค่เพียงชั่วครั้งชั่วคราว มุมกล้องตัดเปลี่ยนมายังหน้าต่างอีกบาง ดูราวกับซี่กรงขัง พบเห็น Tsuji เดินมายังชิงช้าโยก (ที่บุตรชายกำลังเล่นอยู่) พูดอธิบายถึงสิ่งซ้ำๆ วนไปวนมา ปล่อยปละละวาง ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง

ปล. มุมมองชีวิต อิสรภาพของ Tsuji คือการปล่อยปละละวาง ไม่ยึดติดกับสิ่งทางโลก เลือกใช้ชีวิตอย่างล่องลอย เรื่อยเปื่อย อยู่ไปวันๆอย่างไร้เป้าหมาย … นี่อาจฟังดูสอดคล้องคำสอนศาสนาพุทธ แต่มันไม่ได้มีความใกล้เคียงเลยนะครับ การปล่อยละวาง ไม่ยึดติดทางโลก ไม่ได้หมายถึงการใช้ชีวิตอย่างล่องลอย เรื่อยเปื่อย ตรงกันข้ามคือมีเป้าหมายอย่างชัดเจนคือการบรรลุหลุดพ้น ฝึกสมาธิ ฝึกจิตใจ ไม่ต้องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสังสารอีกต่อไป

ยิ่งพูดคุย Tsuji ก็ยิ่งก้าวเดินออกห่างจาก Noe ไปไกลเรื่อยๆ นั่นเพราะสิ่งที่เขาค้นพบคือการเข้าถึงธรรมชาติ เรียนรู้จักสร้างความสงบสุข พึงพอใจให้กับตนเอง

ผิดกับ Noe ที่ยังคงอยู่ตำแหน่งเดิม แต่มุมกล้องปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ (จากมุมมองของ Tsuji ที่ก้าวเดินออกห่าง) ทำให้พบเห็นกิ่งก้านไม้บดบังตัวละคร นั่นสื่อถึงสิ่งกีดขวาง ความเหินห่างที่ทำให้เธอไม่สามารถติดตามสามี ใกล้ถึงเวลาที่พวกเขาจะต้องพลัดพรากจากกัน

การขายตัวของ Eiko เริ่มต้นด้วยการพาลูกค้าเดินขึ้นบันได ไต่สู่สรวงสวรรค์ (มีการจัดแสงให้ดูฟุ้งๆ ขาวสว่างจร้า) จากนั้นพวกเขาหยอกล้อเล่น ค่อยๆถอดเสื้อผ้า หนึ่งในช็อตน่าสนใจก็คือฝ่ายหญิงดึงไทด์ของฝ่ายชาย นี่เป็นอีกครั้งแสดงให้เห็นถึงสตรีสามารถเป็นผู้นำเรื่องเพศ

ระหว่างที่ Eiko ถูกตำรวจควบคุมตัว เป็นผู้ต้องสงสัยค้าประเวณี เธอไม่เชิงตอบปฏิเสธ แค่บอกว่าบุคคลนั้นอาจไม่ใช่ตนเอง มีรายละเอียดเล็กๆตอนที่เธอนั่งอยู่ แล้วลุกขึ้นมาใบหน้าอาบฉาบด้วยแสงสว่างจร้า เหมือนเพื่อต้องการยืนยันคำพูด ความสุจริตใจของตนเอง เป็นโสเภณีขายตัวมันผิดอะไร?

หนึ่งในประโยคที่ผมรู้สึกว่าเฉียบคมที่สุดของหนัง “That’s just mental masturbation!” คำกล่าวของ Ōsugi สามารถสะท้อนถึงพวกนักเลงคีย์บอร์ดในปัจจุบัน เก่งแต่พูด อยากได้โน่นนี่นั่น แต่ทั้งหมดไม่ต่างจากการสำเร็จความใคร่ทางความคิด เวลาเอาจริงไม่ต่างจากพวกปากว่าตาขยิบ ทำอะไรไม่เคยเป็นชิ้นเป็นอัน

ฉากก่อนหน้าที่ Eiko แม้เป็นผู้ต้องสงสัย ถูกตำรวจซักไซร้ไล่เรียง แต่ได้รับการปล่อยตัวเพราะโสเภณีไม่ได้เป็นภัยคุกคามความมั่นคงต่อประเทศ, ผิดกับ Ōsugi ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำต่อต้านรัฐบาล แม้ยังไม่ได้ทำอะไร เป็นเพียงผู้ต้องสงสัย แค่ ‘mental masturbation’ กลับถูกจับกุม คุมขัง ติดคุกบ่อยครั้ง

ในบรรดาคนรักทั้งสามของ Ōsugi บุคคลน่าสงสารที่สุดคือภรรยา(คนแรก) Hori Yasuko สังเกตจากสีหน้า ปฏิกิริยาท่าทางของเธอขณะเดินทางมาเยี่ยมเยียนสามีในเรือนจำ ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้เขาหันมาเหลียวแล แต่เจ้าตัวกลับใช้ข้ออ้าง “I don’t draw a distinction between love and the movement” หรือก็คือการเมือง = เรื่องส่วนตัว … สังเกตว่าช็อตที่ Ōsugi พูดประโยคนี้ เพื่อนร่วมห้องขังของเขาต่างหันหลังให้ นั่นคือการไม่ยินยอมรับแนวคิดดังกล่าว

Noe เมื่อแรกพบเจอ Haruko Hiraga นามปากกา Aicho กล้องถ่ายภาพสะท้อนพื้นผิวน้ำ แสงสว่างดูจร้าๆ (ระหว่างการสนทนาจะมีการเปรียบเปรยผู้หญิงเหมือนดั่งภาพสะท้อนแสงสว่าง) นี่คือช่วงเวลาแห่งความประทับใจของ Noe ได้พบเจอไอดอลของตนเอง และกำลังจะมีโอกาสเข้าร่วมเป็นสมาชิก เรียกร้องสิทธิสตรี (Feminist) สร้างความเสมอภาคเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม

In the beginning, woman was the sun, today the woman is the moon, dependent on supplanting the other and reflecting other people’s light. We must recover our hidden light.

เกร็ด: ตัวละคร Haruko Hiraga ได้แรงบันดาลใจจาก Hiratsuka Raichō ชื่อเกิด Hiratsuka Haru, 平塚 明 (1886-1971) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง และครุ่นคิดชื่อนิตยสาร Seitō

เมื่อตอนที่ Noe ได้รับมอบหมายให้เป็นบรรณาธิการคนใหม่ เธอร้องขอ Aicho ต้องการจะเปิดหน้าต่าง เพื่อชื่นชมความงดงามของทิวทัศน์ภายนอก ทั้งไม่ได้มีอะไรที่ดูงดงามตา แต่คือสัญลักษณ์ของการได้รับอิสรภาพ ทำในสิ่งที่ตนเองเพ้อใฝ่ฝันมาแสนนาน

ถึงอย่างนั้น Noe ก็ชื่นชมทัศนียภาพภายนอกได้ไม่นาน ก็พบเจอศัตรูหัวใจ Itsuko Masaoka อีกฝ่ายเพิ่งตัดสินใจลาออกจากบรรณาธิการนิตยสาร Seitō (Noe เลยได้รับตำแหน่งดังกล่าวแทน) สาเหตุเพราะหมดความเชื่อมั่นศรัทธา ครุ่นคิดเห็นว่าวิธีการของกลุ่มไม่ช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรใดๆ … เป็นบุคคลขวางหูขวางตา ทำลายช่วงเวลาแห่งความทรงจำ

รถสองคันสวนทางบนทางข้ามรถไฟ (รถไฟคือสิ่งเชื่อมโยง/การเดินทางของเวลา พบเห็นทั้ง 1910s และ 1960s) ฝ่ายหนึ่งพยายามขอความช่วยเหลือ โรงพยาบาลอยู่แห่งหนไหน? อีกฝ่ายบอกไม่รู้ ไม่สนใจ ทำไมไม่ปล่อยให้เธอตกตายไป?

หลายคนอาจรู้สึกว่าคำกล่าวของ Kiwamu ช่างมีความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ไร้มารยาท แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นของฉากนี้ต้องการย้อนรอยกับซีนก่อนหน้า Noe ร่วมออกเดินทางกับ Aicho และสวนทางกับศัตรูหัวใจ Itsuko แค่เห็นหน้าก็ไม่ถูกโชคชะตา

หลังจาก Ōsugi หลบหนีผู้ติดตามมายังบ้านของ Itsuko พูดบอกกฎสามข้อ เพื่อเป็นข้อตกลงความสัมพันธ์สามสี่เส้า แต่สังเกตว่าปฏิกิริยาท่าทางฝ่ายหญิง พยายามถอดเสื้อคลุมวางลงบนเตียง ใช้สารพัดวิธีเพื่อโน้มน้าว เกลี้ยกล่อมเกลา หวังว่าค่ำคืนนี้เขาจะยินยอมร่วมรักหลับนอน ได้ครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว

แทนที่จะถ่ายทำการร่วมรัก Sex Scene ระหว่าง Ōsugi & Itsuko หนังใช้วิธีตัดกลับมาทศวรรษ 1960s นำเสนอภาพสองนักศึกษา Kiwamu & Eiko กำลังวิ่งเล่น กรีดร้องลั่น ทำท่าทางประหลาดๆ จากบริเวณใต้สะพาน ตะเกียกตะกาย ปีนป่ายเนินดิน พานผ่านบริเวณก่อสร้าง และจำลองเหตุการณ์ตรึงไม้กางเขน (จุดไคลน์แม็กซ์ของ Sex = ขึ้นสู่สรวงสวรรค์)

การนำเสนอ Sex Scene ในลักษณะนี้ถือว่าแปลกประหลาด โคตรๆพิศดาร สมดั่งคำเรียกสไตล์ Avant-Garde ท้าทายให้ผู้ชมขบครุ่นคิดจินตนาการ และถ้าเราทำการเปรียบเปรียบ “การเมือง = เรื่องส่วนบุคคล” เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์สามารถสื่อได้ถึง Political Violence (การใช้ความรุนแรงทางการเมือง) การถูกตรึงไม้กางเขนคือการเสียสละ(ชีพ)เพื่ออนาคตลูกหลาน

The imaginary perception caused the action at that very moment. I can visualise the crime in front of my eyes. That’s the one true crime.

คำกล่าวนี้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจอธิบายถึง ‘imaginary crime’ อาชญากรรมทางความคิด ผมขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบการเมืองบ้านเราที่พรรคการเมืองหนึ่งยังไม่ได้ทำอะไรสักสิ่งอย่าง แค่เพียงแนวคิดเห็นแตกต่าง แต่กลับถูกพวกผู้อำนาจสุมหัว รวมตัว ร่วมกันหาวิธีกีดกัน ขับไล่ ผลักไส พยายามทำทุกสิ่งอย่างให้ศัตรูต้องถูกยุบพรรค

ความตายของ Ōsugi ก็เฉกเช่นเดียวกัน ทั้งๆที่วันๆเอาแต่ ‘mental masturbation’ กลับถูกพวกตำรวจหัวรุนแรง ฉกฉวยโอกาสวิสามัญฆาตกรรม แล้วอ้างว่ากระทำไปเพราะมิอาจต่อต้านขัดขืน “irresistible urge to protect his country” ต้องการปกป้องภัยคุกคามต่อประเทศชาติ

สำหรับ Itsuko นี่ก็ถือเป็น ‘imaginary crime’ พยายามใช้คำพูดข่มขู่ เรียกร้องข้อตกลงของตนเองต่อ Ōsugi ว่าจะฆ่าให้ตายถ้าพวกเขาต้องเลิกราหย่าร้าง แต่ความครุ่นคิดก็คือความครุ่นคิด ไม่ใช่สิ่งผิดอะไร ขณะเดียวกันกระตุ้นอารมณ์ทางเพศฝ่ายชาย ให้ได้ร่วมรักหลับนอนกันอีกรอบ … สมดังชื่อหนัง Eros + Massacre

เรื่องราวของ Makoto (เพื่อนสาวของ Eiko ที่เขียนจดหมายบอกจะฆ่าตัวตาย) พยายามเกี้ยวพาราสีผู้กำกับภาพยนตร์ สรรหาข้ออ้างให้เขาร่วมหลับนอนกับตน … วิธีการช่างไม่แตกต่างจาก Itsuko ล่อลวง Ōsugi แต่เหตุผลที่เธอทำไม่สำเร็จเพราะฝ่ายชายมีเพรียบพร้อมทุกสิ่งอย่าง ไม่ได้ต้องการเงินทอง หรือมีแรงจูงใจอะไรให้ต้องตอบสนองความต้องการของเธอ

สำหรับโชคชะตากรรมของ Makoto มีการเปิดเผยไปแล้วก่อนหน้านี้ เมื่อตอนรถสองคันสวนทางกันบนทางข้ามรถไฟ สาเหตุที่เอาไว้ตรงนั้นเพราะรถคันที่สวนมา พูดสอบถามถึงโรงพยาบาลอยู่ไหน? เลยแทรกให้เห็นภาพความตาย แต่ขณะนั้นผู้ชมยังไม่รับรู้ว่าใคร ค่อยมาเฉลยเอาตอนนี้ พร้อมอธิบายเหตุผลของการกระทำไปในตัว

รักแท้แพ้ชิดใกล้! ด้วยความที่ Noe แทบไม่เคยอยู่บ้าน ปรนปรนิบัติสามี Tsuji ผิดกับ Chiyoko แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนบ่อยครั้ง ทั้งยังโอบอุ้ม ละเล่นกับลูกๆ จนในที่สุดเขาก็ไม่สามารถหักห้ามใจ ภาพของเธอ (ที่สะท้อนในกระจก) ได้ติดตราฝังอยู่ภายใน

ทั้งๆที่ตนเองก็ไม่ได้มีความซื่อสัตย์ต่อสามี แต่พอ Noe พบเห็นเขากำลังกอดจูบลูบไล้ Chiyogo แสดงสีหน้าโกรธ รังเกียจ ไม่พึงพอใจ กลายเป็นจุดแตกหัก ข้ออ้างในการเลิกราหย่าร้าง

นี่เป็นซีนที่ผมรู้สึกว่าทรงพลังที่สุดของหนัง Noe ในสภาพโกรธ รังเกียจ ไม่พึงพอใจสามีอย่างรุนแรง แสดงออกทางสีหน้าอย่างชัดเจน แต่แทนที่เธอจะระบายความคลุ้มคลั่งภายในออกมา กลับใช้การโยกไกวชิงช้า ส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าด (เหล็กขึ้นสนิม) สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของเธอกับสามี มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ใกล้ถึงจุดพังทลาย

ค่ำคืนแห่งความแบ่งแยก แทบจะทุกจะช็อตฉากพยายามจัดวางตัวละครให้อยู่ภายในกรอบห้อมล้อมห้อม ต่างคนก็ต่างมีมุมมอง คิดเห็นส่วนบุคคล แถมยังปิดกั้นผู้อื่น ไม่มีใครยอมใคร จึงไม่มีประโยชน์อันใดที่จะโต้ถกเถียง หนทางออกเดียวเท่านั้นคือแยกทาง หย่าร้าง

Itsuko เดินทางไปยังสำนึกพิมพ์ Mainichi แต่สังเกตจากความหรูหรา อาคารสูง ดูมีความโมเดิร์น ไม่ค่อยเหมือนสิ่งก่อสร้างจากทศวรรษ 1910s แต่เราสามารถตีความแบบเดียวกับตอน Noe ขึ้นรถไฟชินคันเซ็ง สถานที่แห่งนี้คือสำนักพิมพ์ที่ราวกับมาจากอนาคต จึงมีความหรูหรา หัวก้าวหน้า ทันสมัยใหม่

ระหว่างที่ Itsuko เดินทางมาสำนึกพิมพ์ พบเจอกับเพื่อนร่วมคณะปฏิวัติของ Ōsugi พยายามพูดคุยโน้มน้าว ร้องขอให้ช่วยสังเกตพฤติกรรมผิดปกติของอีกฝ่าย แต่โดยไม่รู้ตัวเธอเองนี่แหละคือตัวการที่ทำให้เขากลายเป็นสายลับ

Noe ต้องการตัดขาดความสัมพันธ์กับผู้ชายทุกคน เลยเดินทางไปที่บ้านของ Hori Yasuko (ภรรยาคนแรก) แต่ปรากฎว่า Ōsugi ไม่ได้อยู่ที่นี่ ตลอดทั้งซีนนี้มักถ่ายติดกำแพง รั้วบ้าน กั้นแบ่งทั้งสองออกจากกัน และยังพบเห็นเพียงใบหน้า (ส่วนคอขึ้นไป) เหมือนว่าพวกเธอต่างพยายามเชิดหน้าใส่กัน

ผกก. Yoshida ดูเหมือนจะชื่นชอบการใช้ร่ม พบเห็นบ่อยครั้งในผลงานหลายๆเรื่อง และยังต้องเลื่อนหมุนมาบดบังใบหน้าตัวละคร แทนความอับอาย ไม่ต้องการยินยอมรับความจริง นั่นคือเหตุผลที่ Noe หันหลังให้กับ Hori ปฏิเสธฟังอีกคำพูดอีกฝ่าย … ทั้งๆเป็นเรื่องจริงทั้งนั้น!

แต่หลังจากสารพัดคำตำหนิต่อว่าของ Hori สุดท้ายแล้วเหมือนเธอจะยินยอมรับ ทำใจกับเหตุการณ์บังเกิดขึ้น แม้ฝนยังตกอยู่กลับลดร่มลง แล้ว Noe เดินตรงเข้าไปกางร่ม ยืนอยู่เคียงข้างกัน กล้องถ่ายผ่านรั้วเหล็ก เพื่อสื่อถึงการร่วมหัวจมท้าย ลงเรือลำเดียวกัน

ในขณะที่ Hori พบเห็นเพียงฉากภายนอก ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าบ้าน พูดคุยท่ามกลางสภาพอากาศฝนตกพรำ, เมื่อมาถึงยังบ้านของ Itsuko พบเห็นเพียงฉากภายในห้องพัก หลายครั้งมักถ่ายติดคาน เพดาน ซึ่งสามารถสื่อถึง(เล่ห์)เหลี่ยม มุม มารยาหญิง(ของ Itsuko) ไม่เชื่อคำพูดของ Noe ไร้น้ำหนัก เลื่อนลอย ขาดความน่าเชื่อถือ

Itsuko ระหว่างยืนอยู่ตรงบันได ตั้งคำถามความรักคืออะไร?

  • คำตอบของเธอ “รักคือการครอบครอง เป็นเจ้าของกันและกัน” สังเกตว่ามีการจัดแสงฟุ้งๆ สว่างจร้า ภาพอันเลือนลาง อาจสื่อถึงแนวคิดที่มีความเฉิ่มเฉย ล้าหลัง กำลังค่อยๆเลือนหายตามกาลเวลา
  • ตรงกันข้ามกับ Noe ต่อต้านว่า “รักไม่ใช่การครอบครอง” ไม่มีใครเป็นของกันและกัน ภาพของเธอก็ดูขาวสว่าง แต่ไม่เลือนลางเท่ากับ Itsuko

นี่คือฉากความตายของ Ōsugi ถูกรุมล้อม วิสามัญฆาตกรรมโดยตำรวจที่ฉกฉวยโอกาสระหว่างเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ค.ศ. 1923 แต่ตำแหน่งที่หนังแทรกใส่ซีนนี้ ระหว่างที่ Noe กำลังจะตัดขาดความสัมพันธ์กับบรรดาชายคนรัก และความฟุ้งๆ ขาวโพลนของภาพ อาจทำให้หลายคน (รวมถึงผมเอง) รู้สึกเหมือนฝัน นิมิตความตาย คือเหตุผลให้เธอหวนกลับไปครองรักกับเขา … จะตีความแบบไหนก็ได้เหมือนกัน

ผมก็ไม่รู้ Kiwamu งอนตุ๊บป่องอะไรกับ Eiko ถึงเข้าไปหลบซ่อนในห้องน้ำ (อาจเพราะเธอปฏิเสธร่วมรักกับเขา) แต่พฤติกรรมดังกล่าวละม้ายคล้าย Noe ที่ต้องการตัดขาดความสัมพันธ์กับบรรดาชายคนรัก

สำหรับการจุดไฟเผาฟีล์ม ตามด้วยรับชมภาพถ่ายหายนะจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ (ฟีล์มถูกเผาทำลาย=หายนะเหตุการณ์แผ่นดินไหว) นี่ถือเป็นบทสรุปย่นย่อ อารัมบทจุดจบเรื่องราวทศวรรษ 1910s = จุดจบครึ่งแรกของหนัง (แต่ยังไม่ใช่จุดจบของหนังนะครับ)

แม้หนังจะเสนอฉาก Ōsugi ถูกรุมล้อม วิสามัญฆาตกรรมไปก่อนหน้านี้แล้ว (ในเชิงรูปธรรม) แต่เมื่อตัดกลับมาทศวรรษ 1960s ยังมีการจำลองภาพเหตุการณ์ พร้อมเสียงบรรยายเล่าเรื่อง ทำออกมาเชิงสัญลักษณ์ (นามธรรม) ในสไตล์ ‘Avant-Garde’ หรือว่าจะมองว่าคือฟุตเทจถ่ายทำภาพยนตร์ก็ได้กระมัง

สาเหตุที่ต้องนำเสนอสองครั้ง จริงๆก็อธิบายไปหลายครั้งแล้วเพื่อสร้างความคู่ขนาน สองสิ่งขั้วตรงข้าม และเป็นการเน้นย้ำให้ผู้ชมตระหนักรับรู้เหตุการณ์บังเกิดขึ้นจริง

และนี่เป็นความพยายามซ้อนทับ Eiko เข้ากับภาพฟุตเทจหายนะจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ อดีตอันเลือนลาง ความทรงจำหลงเหลือเพียงภาพถ่าย แต่ยังสามารถส่งผลกระทบ สร้างอิทธิพลให้กับหนุ่ม-สาว คนรุ่นใหม่ๆ

ครึ่งหลังของหนังเริ่มต้นที่ Noe เดินทางมาถึงทศวรรษ 1960s นี่ย่อมคือเหตุการณ์สมมติ หรือจะมองว่าเป็นการจำลองถ่ายทำภาพยนตร์ก็ได้กระมัง นั่นเพราะตัวจริงของ Noe ถูกวิสามัญฆาตกรรม เสียชีวิตไปพร้อมๆกับชายคนรัก Ōsugi ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1923 ซึ่งเหตุผลการปรากฎตัวของเธอก็เพื่อทำการซ้อนทับระหว่างเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง+ปรุงแต่งสร้างเรื่องราว (Reality+Fictional) ชักชวนให้ผู้ชมขบครุ่นคิดว่าถ้าตัวละครยังมีชีวิตมาถึงปัจจุบัน(นั้น) พบเห็นความเปลี่ยนแปลงบังเกิดขึ้น จะรับรู้สึกอะไร ยังไง เช่นไร

การที่ Eiko พยายามจะสัมภาษณ์ Noe ย้อนรอยกับตอนต้นเรื่องที่เธอทำการซักไซร้ไล่เรียง Miko (บุตรสาวของ Noe) ปรับเปลี่ยนสถานที่จากภายในห้องมืด ออกมาเป็นทิวทัศน์ภายนอก ท้องฟ้าขาวสว่าง

และระหว่างก้าวเดินสัมภาษณ์ ยังย้อนรอยกับ Ōsugi และ Noe เดินทอดน่องท่ามกลางทุ่งดอกซากุระบาน ปรับเปลี่ยนมาเป็นทุ่งดอกหญ้า ที่มีความรกชัญ

การถกเถียงระหว่าง Ōsugi กับเพื่อนร่วมคณะปฏิวัติ

  • ในตอนแรก Ōsugi นั่งนิ่งเฉยอยู่ตรงเก้าอี้ ไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆระหว่างที่เพื่อนร่วมคณะปฏิวัติ พยายามพูดโน้มน้าวให้เขาเกิดความตระหนัก ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นไม่ถูกต้อง ขัดต่อหลักศีลธรรม เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับชู้รัก Itsuko และ Noe ปล่อยปละละเลยภรรยาแท้ๆ Hori นี่นะหรือความรักเท่าเทียม??
  • “มิตรสหาย” คือคำพูดที่ทำให้ Ōsugi ลุกขึ้นจากเก้าอี้ เดินวกไปวนมา พยายามอธิบายเหตุผล ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง = เรื่องส่วนตัว เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกแยะออกจากกัน

Ōsugi, Noe และ Aicho พากันมาเดินเล่นริมชายเล ระหว่างพูดคุยสนทนา Aicho ตัดสินใจส่งมอบนิตยสาร Seitō ให้กับ Noe เป็นผู้สืบสานต่อจากตนเอง … อาจเพราะ Aicho มาจากครอบครัวมีฐานะ นิตยสารนี้เพียงแค่งานอดิเรก พอถึงวันหนึ่งเกิดความเบื่อหน่าย ทีแรกตั้งใจจะยุบทิ้ง แต่เลือกส่งมอบให้คนรุ่นใหม่ เพื่อว่าจะได้ทำอะไรๆแตกต่างจากเดิม

การเข้ามารับตำแหน่งบรรณาธิการใหญ่ (Editor-in-Chef) ของ Noe เปรียบเสมือนเงาที่บดบังรัศมี แสงอาทิตย์ แต่ถึงอย่างนั้น Aicho ขอให้เธอก้าวถอยห่าง ปฏิเสธอยู่ภายใต้ร่มเงาของใคร

มีอยู่สองสามครั้งในช่วงครึ่งหลังที่พบเห็น Tsuji และบุตรชาย ก้าวเดินเรื่อยเปื่อยริมถนน ริมชายหาด พร้อมเป่าเครื่องดนตรี Shakuhachi ช่างดูเคว้งคว้าง ล่องลอย ความทรงจำเลือนลาง ราวกับวิญญาณที่ติดตามมาหลอกหลอน Noe หลังจากตัดสินใจทอดทิ้งพวกเขาเพื่อมาอาศัยอยู่กับ Ōsugi

แซว: ช่วงครึ่งแรก Tsuji พบเห็นอาศัยอยู่แต่ในบ้าน แต่ครึ่งหลังกลับก้าวออกเดินไปยังสถานที่ต่างๆ แถมยังล่องผ่านกาลเวลาเสียด้วยนะ

ทั้งๆทริปนี้ควรมีแค่เราสอง แต่การมาถึงของ Itsuko สร้างความไม่พึงพอใจต่อ Noe ถึงขนาดก้มหน้าก้มตา ปฏิเสธรับประทานอาหารเย็น แล้วงอนตุ๊บป่องหนีกลับอพาร์ทเม้นท์ แต่ดันหลงลืมกุญแจ (ทิ้งไว้ตรงที่นั่งริมชายหาด คาดว่า Itsuko ผ่านมาพอดีเลยเก็บมาให้) โทรศัพท์มาขอความช่วยเหลือ Ōsugi ถึงอย่างนั้นกลับถูกขัดจังหวะจากเสียงขบวนรถไฟเคลื่อนผ่าน และ Itsuko จงใจตัดขาดสัญญาณโทรศัพท์

ปฏิกิริยาของ Noe คลื่นเหียนวิงเวียน วิ่งออกไปอาเจียน เหมือนว่าจะตั้งครรภ์ (อารมณ์ฉุนเฉียวก็เช่นเดียวกัน) แต่หนังกลับไม่ได้จุดประเด็นนี้ขึ้นมามากกว่านี้ เพียงให้เธอยืนเหม่ออยู่ริมชานชาลา จับจ้องมองรถไฟเคลื่อนผ่านตัดหน้า ก็ไม่รู้ครุ่นคิดอะไร อาจย้อนรอยความสัมพันธ์กับ Tsuji ใกล้ถึงเวลาเลิกราหย่าร้าง

ย้อนรอยตอนที่ Eiko กำลังอาบน้ำแล้วบังเกิดอารมณ์ทางเพศ มีมือมากมายพยายามสัมผัสลูบไล้เรือนร่างกาย, คราวนี้เปลี่ยนมาเป็น Itsuko เดินตรงมายังหน้ากระจก แอบอิง สัมผัสใบมีด และมีเหมือนเลือดไหลย้อยลงมา นี่น่าจะคือความฝัน (ของ Itusko) จินตนาการถึง(ความพยายาม)ฆาตกรรม หนทางออกเดียวเท่านั้นสำหรับรักสามสี่เส้า

Itsuko ยังคงใช้วิธีการเดียวกับครึ่งแรก พยายามใช้เงินล่อหลอก ซื้อใจ แต่คราวนี้กลับพูดไม่เข้าหู Ōsugi นั่นเพราะเธอเกิดความหลงระเริง พยายามใส่ร้ายป้ายสี Noe และเหมือนจะทำผิดกฎข้อสาม เข้ามายุ่งย่ามก้าวก่ายในเรื่องเสรีภาพทางเพศ เขาจึงโต้ตอบด้วยการเอาเงินฟาดหน้า ตัดขาดความสัมพันธ์ ต่อจากนี้เราสองไม่ใช่คนรักกันอีกต่อไป

หลังจากที่ Ōsugi ขับไล่ Itsuko มีการตัดไปภาพของ Noe กำลังเดินกินลมชมวิวบริเวณกำแพงคลื่น หนึ่งในช็อคน่าสนใจคือเรือใบกำลังแล่นผ่านช่องแคบ อาจจะสื่อถึงเส้นกั้นแบ่งความสัมพันธ์อะไรบางอย่าง

ผกก. Yoshida อธิบายเหตุผลการนำเสนอความพยายามฆาตกรรม Sakae Ōsugi ทั้งสามครั้ง ดังต่อไปนี้

  • Itsuko ใช้มีดกรีดคอ พยายามจะฆาตกรรม Ōsugi นี่เป็นการอ้างอิงเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง นำเสนออย่างตรงไปตรงมา แต่ก็แทรกใส่ภาษาภาพยนตร์อย่างการวิ่งไล่ เริงระบำความตาย พังประตูบานเลื่อน (襖, Fusuma) แต่ก็ไม่มีใครเสียชีวิต
  • ความพยายามครั้งสอง Itsuko อ้างว่าได้ทำการทิ่มแทง Ōsugi แต่ทั้งหมดเป็นเพียงการแสดง แสร้งว่าล้มลง ชักดิ้นชักงอ จุดประสงค์เพื่อทำการเปรียบเปรยกับเรื่องการเมือง ดังคำกล่าวของ Ōsugi
    • “Revolution means self-denial in order to eliminate the self. Death approaches with a hidden blade, murmuring love and fear, just like you do. It’s frightening for ordinary people, but nothing comes close to this ecstasy.”
  • ส่วนการลงมือของ Noe ทำการเข่นฆ่า Ōsugi ให้ตกตายคามือ สิ้นใจเมื่อทิ้งตัวออกนอกบ้าน เหตุการณ์นี้ถือเป็นจินตนาการเพ้อฝัน ความน่าจะเป็นไปได้ เพื่อนำสู่อิสรภาพแท้จริงของชีวิต

Murder attempt in the second part of the film – the knife penetrating Ōsugi’s neck, filmed in a realistic manner: this is the plain and simple representation of the narrative.

In filming this attempt a second time, my intention was to destroy this narrative, to deform the actual event, in order to enter into Ōsugi: I thought that maybe Ōsugi preferred to be killed –in contrast to what the first version of the attempt showed. It comes right after he starts to consider the destruction of the revolution he desired; it was after this destruction that he began to speak of free love, in other words, of an imaginary crime. In this version of the attempt, then, it should not come about because of jealousy, not due to a psychological element, but from a political cause. Thus I had Ōsugi say: “Revolution is only the renunciation of the self,” or “in love and terror, there is ecstasy.” In having Ōsugi say this, I wanted the spectator to feel the absence of revolution in the present situation.

For the third version of the attempt, I tried to show the contrary view, namely Noe, the attacker. In opposition to Kurosawa, it is always the renunciation of the self that is important for me: it is only this way that communication with Noe and Itsuko is possible, and only by means of it that one is able to think the future… I introduced the imaginary. The principle is the same as for the third attempt: a perpetual effort to go beyond the other, in order to arrive at a true freedom; as in the third attempt, here is expressed that eternal movement, the intent to exceed each other.

Yoshishige Yoshida

การนำเสนอความตายหลากหลายรูปแบบของ Ōsugi (ต้องนับรวมอีกสองครั้งก่อนหน้า ถูกตำรวจล้อมฆ่า และภาพจำลองเหตุการณ์) ผมมองว่าผกก. Yoshida ต้องการให้ผู้ชมขบครุ่นคิด ตั้งคำถามถึงการเสียชีวิต ทำไมถึงถูกวิสามัญฆาตกรรมโดยตำรวจหัวรุนแรง และถึงแม้ตัวตาย กลับกลายเป็นอมตะนิรันดร์

คั่นระหว่างการนำเสนอความตายของ Ōsugi สองนักศึกษา Eiko & Kiwamu พยายามทำการลอกเลียนแบบ เริ่มจากท่วงท่าแขวนคอ นอนกลิ้งเกลือก เปลือยกาย จุดไฟเผาเสื้อผ้า ฯ ด้วยความเชื่อว่า “Death was the greatest pleasure” และใช้กล้องถ่ายทำภาพยนตร์เพื่อให้ผู้ชมเกิดความตระหนักว่าทั้งหมดนี้คือการแสดง

Spring. March. Survivors of the hanging dance among the flowers.

ผู้กำกับภาพยนตร์ตัดสินใจใช้ฟีล์มหนังแขวนคอตาย หลายคนอาจมองว่ามันไม่สมเหตุสมผล เหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย เพราะครึ่งหลังไม่มีการนำเสนออะไร จู่ๆทำไมถึงคิดสั้นฆ่าตัวตาย? จริงๆครึ่งแรกมีการบอกใบ้อยู่นิดหน่อย ตอนที่ผู้กำกับภาพยนตร์ทอดทิ้งแฟนสาว Makoto เธอเลยกระทำอัตวินิบาต ทำให้พอคาดเดาได้ว่าเมื่อเขารับรู้เหตุการณ์บังเกิดขึ้น ก็เลยตกอยู่ในสภาพเช่นนี้แล

แต่ถ้าเรามองในเชิงสัญลักษณ์ การฆ่าตัวตายของผู้กำกับภาพยนตร์ ถือว่าย้อนรอยเข้ากับจุดจบของ Ōsugi แต่ไม่ได้หมายถึงผกก. Yoshida จะกระทำอัตวินิบาตนะครับ เพียงต้องการสื่อถึงความตายคืออิสรภาพแท้จริง (True Freedom) จิตวิญญาณล่องลอยออกจากกายเนื้อ มุ่งสู่ความเป็นนิจนิรันดร์

นี่เป็นอีกฉากที่ผสมผสานอดีต+ปัจจุบัน หรือจะมองว่า Eiko ย้อนเวลากลับสู่อดีต เพื่อย้อนรอยกับการเดินทางสู่อนาคตของ Noe พบเห็นความตายของ Ōsugi, Noe และหลานชาย ตั้งคำถามไม่ใช่กับตัวละครแต่คือผู้ชม คุณสามารถทำความเข้าใจได้หรือเปล่า ความตายของทั้งสามเกิดจากอะไร? ถูกวิสามัญโดยตำรวจ? สังหารทางการเมือง? หรือมีนัยยะอะไรมากกว่านั้น?

หนังจบลงด้วยภาพถ่ายรวมนักแสดง และ Eiko & Kiwamu ก้าวออกจากสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์ เพื่อเป็นการเลือนลางระหว่างการปรุงแต่ง สรรค์สร้างขึ้น (Fictional) เพียงอ้างอิงหลวมๆจากเหตุการณ์จริง (Reality) เพื่อให้ผู้ชมสามารถครุ่นคิด ต่อยอด เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างอดีต+ปัจจุบัน ส่งผลกระทบ+ขัดย้อนแย้ง โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด

คำกล่าวประโยคสุดท้าย “I wonder if he can hear his own cries” คือคำประชดประชันของผกก. Yoshida ถึงกองเซนเซอร์ หน่วยงานรัฐ บุคคลที่เคยมีอคติต่อต้าน Sakae Ōsugi คงจะหัวอกแตกตายเมื่อได้พบเห็นความเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา ค่านิยมโลกยุคสมัยใหม่ที่เป็นไปตามวิสัยทัศน์นักปฏิวัติเหล่านี้

ตัดต่อโดย Hiroyuki Yasuoka,

เอาจริงๆถ้าเราสามารถแยกแยะระหว่างสองช่วงเวลา 1910s vs. 1960s จะพบว่าเรื่องราว(แต่ละ Timeline)ดำเนินไปเกือบจะเป็นเส้นตรง และเหตุการณ์เกิดขึ้นทั้งสองช่วงเวลา มักมีความสัมพันธ์บางอย่างเชื่อมโยงใยถึงกัน

ครึ่งแรกของหนังมีความท้าทายในการรับชมอย่างมากๆ เพราะนอกจากจะกระโดดสลับไปมาระหว่าง 1910s vs. 1960s เรื่องราวในทศวรรษ 1910s ยังมีการสลับสับเปลี่ยนมุมมองตัวละครอยู่หลายครั้ง แต่จุดศูนย์กลางจะคือ Sakae Ōsugi และ Noe Itō ต้องมีใครคนหนึ่งปรากฎอยู่ในซีนนั้นๆ

  • อารัมบท 1960s
    • (1960s) Eiko สัมภาษณ์ถาม Miko เกี่ยวกับเรื่องราวของมารดาผู้ล่วงลับ Noe
      • (1960s) ตัดสลับกับ Miko ขึ้นเครื่องบินออกเดินทางสู่ …
    • Opening Credit
    • (1960s) เพื่อนนักศึกษาหนุ่ม Kiwamu ติดตามหา Eiko ที่กำลังให้บริการลูกค้าในโรงแรมแห่งหนึ่ง
    • (ภาพเชิงสัญลักษณ์) นักกีฬาสองทีม แก่งแย่งอัฐิของ Ōsugi
    • (1960s) Miko อาบน้ำด้วยอารมณ์ทางเพศพลุกพร่าน
  • ความสัมพันธ์ระหว่าง Noe กับ Sakae Ōsugi และสามี Tsuji
    • (1910s) Noe พบเจอกับ Ōsugi เดินพูดคุยผ่านสวนดอกซากุระ
      • (1910s) แทรกภาพการเดินทางของ Noe ขึ้นรถไฟชินคันเซ็น
    • (1960s) Kiwamu และ Eiko สนทนาระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์
    • (1910s) Noe สนทนากับสามี Tsuji พูดคุยถึงสิทธิสตรี เสรีภาพในความสัมพันธ์
    • (1960s) Eiko กับลูกค้าคนใหม่ ขายตัวในห้องพัก
    • (1960s) Eiko ถูกตำรวจจับ ซักไซร้ไล่เรียง ก่อนได้รับการปล่อยตัว
  • Ōsugi กับหญิงคนรักทั้งสาม
    • (1910s) Ōsugi ในเรือนจำกับผองเพื่อนร่วมคณะปฏิวัติ ถกเถียงว่าเราควรทำอะไรสักอย่างหรือไม่ ก่อนจบลงที่ภรรยาคนแรก Hori Yasuko แวะมาเยี่ยมเยียน
    • (1910s) Tsuji พูดคุยกับ Chiyoko เพื่อนสนิทวัยเด็กของภรรยา Noe
    • (1910s) Noe พบเจอบรรณาธิการนิตยสารสตรี Seitō ได้รับมอบหมายให้เป็นบรรณาธิการ
    • (1960s) Kiwamu ขับรถพา Eiko ตระเวนไปยังสถานที่ต่างๆ
    • (1910s) Ōsugi พบเจอกับ Itsuko อธิบายกฎสามข้อของรักเสรี
    • (1960s) Kiwamu และ Eiko โลดแล่น เริงระบำใต้สะพาน ก่อนจบลงด้วยการเลียนแบบตรึงไม้กางเขน
    • (1960s) Eiko สนทนากับผู้กำกับภาพยนตร์
    • (1910s) Itsuko พยายามซื้อใจ Ōsugi ด้วยเงินทอง และขู่ฆ่าถ้าความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาจบลง
    • (1960s) ภรรยาพยายามซื้อใจสามี (คนที่เคยมาใช้บริการ Eiko) แต่จนแล้วจนรอด เขากลับไม่ยินยอมพร้อมใจ
  • จุดแตกหักของ Noe กับสามี Tsuji
    • (1910s) Tsuji ไม่สามารถหักห้ามใจกับ Chiyoko
    • (1910s) Noe บังเอิญพบเห็นเข้า แสดงความไม่พึงพอใจต่อ Tsuji
    • (1910s) Noe ต้องการบอกเลิกรา Ōsugi เดินทางมาที่บ้าน(ของฝ่ายชาย)พบเจอภรรยา Hori ต่อด้วยบ้านของ Itsuko เคลียร์ปัญหาทางใจ
      • (1910s) Itsuko แวะเวียนมายังสำนักพิมพ์ บังเอิญพบเจอเพื่อนนักปฏิวัติของ Ōsugi พยายามพูดคุยโน้มน้าวให้เธอสังเกตพฤติกรรมอีกฝ่าย ว่าเป็นคนทรยศหรือไม่
    • (1910s หรือความฝัน) Noe พบเห็น Ōsugi ถูกรุมกระทำร้ายจนเสียชีวิต
    • (1910s) Noe บอกร่ำลาสามี Tsuji
    • (1960s) Eiko ปลอบประโลม Kiwamu จากนั้นรับชมภาพนิ่งหายนะจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
    • (ภาพเชิงสัญลักษณ์) บทสรุปเหตุการณ์บังเกิดขึ้นกับ Ōsugi, Noe และหลานชายวัยหกขวบ

ถ้าคุณสามารถผ่านครึ่งแรกของหนัง (ประมาณ 2 ชั่วโมงนิดๆ) ที่เต็มไปความวุ่นๆวายๆ กระโดดไปกระโดดมา ครึ่งหลังของหนังแทบจะสบายๆ อาจมีความซับซ้อนนิดหน่อยตรง ‘Alternate Climax’ แต่นอกนั้นทำความเข้าใจไม่ยากเท่าไหร่ … นี่ถือเป็นสไตล์ผกก. Yoshida ชอบทำครึ่งแรกให้ดูยุ่งยาก สลับซับซ้อน เพื่อจะได้ตรงเข้าสู่ไคลน์แม็กซ์โดยไม่ต้องอธิบายอะไรเพิ่มเติม

  • (ภาพเชิงสัญลักษณ์) Eiko สัมภาษณ์ถาม Noe ถึงความเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน จากนั้นก้าวออกเดิน ก่อนหยุดเหม่อมองอะไรบางอย่าง
  • (1910s) เพื่อนร่วมคณะปฏิวัติของ Ōsugi พยายามโน้มน้าวให้เขาล้มเลิกใช้ชีวิตในวิถีเสรีรัก
  • (1910s) Ōsugi, Noe และ Aicho เดินเล่นริมชายเล จากนั้น Aicho ตัดสินใจมอบนิตยสาร Seitō ให้กับ Noe
  • (1910s) Ōsugi และ Noe กลับมาบ้านพัก แล้วจู่ๆ Itsuko เดินทางมาเยี่ยมเยียน สร้างความไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง
  • (1910s) Noe ตัดสินใจเดินทางกลับบ้าน แต่ลืมกุญแจ เลยโทรศัพท์มาบอกกับ Ōsugi ทีแรกตั้งใจเอาไปให้ แต่ถูกซื้อใจโดย Itsuko
  • (ภาพเชิงสัญลักษณ์) Itsuko ฝันถึงมีดดาบ เลือดไหลอาบ
  • (1910s) Itsuko พยายามจะซื้อใจ Ōsugi แต่คราวนี้เขาปฏิเสธ ขับไล่ ตัดสินใจแล้วว่าจะเลิกรา
  • (1910s) จุดจบที่เป็นไปได้ของ Ōsugi
    • [เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง] Itsuko ใช้มีดกรีดคอ Ōsugi ได้รับบาดเจ็บสาหัส แต่เขายังสามารถเริงระบำ เอาตัวรอดชีวิต
      • (1960s) Kiwamu ถือกล้องถ่ายทำ Eiko ที่พยายามแสร้งทำเป็นแขวนคอตาย แต่สุดท้ายกลับเป็น Kiwamu ที่แสร้งทำเป็นแขวนคอตาย
    • [นามธรรม] Itsuko อธิบายความตายของ Ōsugi ให้กับ Noe เข่นฆาตกรรมทางจิตวิญญาณ
      • (1960s) Eiko ทำการเผาฟีล์มภาพยนตร์ แล้วร่วมรัก Kiwamu ท่ามกลางกองเพลิง
    • [ความฝัน] Noe กระทำการฆาตกรรม Ōsugi ให้ตกตายไปจริงๆ
  • (1960s) Kiwamu และ Eiko ก้าวออกเดินไปยังสนามกีฬา
  • (ภาพเชิงสัญลักษณ์) Eiko พบเห็นความตายของ Ōsugi, Noe และหลานชาย
  • (1960s) ในสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์ ผู้กำกับใช้ม้วนฟีล์มแขวนคอตาย
  • (1960s) ภาพถ่ายรวมนักแสดง Kiwamu และ Eiko ก้าวออกจากสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์

ในขณะที่ครึ่งแรกของหนัง เรื่องราว(ในช่วงทศวรรษ 1910s)ดำเนินไปน่าจะระยะเป็นปีๆ พานผ่านหลากหลายมุมมองตัวละคร แต่ครึ่งหลังกลับหลงเหลือเพียง 1 วัน 1 คืน นำเข้าสู่เหตุการณ์วันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916


เพลงประกอบโดย Toshi Ichiyanagi, 慧 一柳 (1933-2022) คีตกวี นักเปียโน สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kobe บิดาเป็นนัก Cellist มารดาสอนเปียโนให้ตั้งแต่ยังเล็ก สมัยเรียนมัธยมแต่งเพลงเข้าประกวด Mainichi Music Competition คว้ารางวัลชนะเลิศสามปีซ้อน จนได้เดินทางไปศึกษาต่อสหรัฐอเมริกา Juilliard School และ The New School for Social Research ระหว่างนั้นคบค้าสมาคมกับกลุ่ม Neo-Dada Organizers หลงใหลในบทเพลงแนว Avant-Garde, มีผลงานซิมโฟนี ออร์เคสตรา อุปรากร Chamber Music และเพลงประกอบภาพยนตร์ร่วมงานขาประจำผกก. Yoshishige Yoshida อาทิ Farewell to the Summer Light (1968), Eros + Massacre (1969), Heroic Purgatory (1969) ฯ

ผกก. Yoshida ดูมีความหลงใหลในสไตล์เพลง Avant-Garde กล้าทดลอง มองหาทำนองดนตรีแปลกๆ ไม่เน้นความไพเราะ แต่สร้างสัมผัสขัดแย้ง กระตุ้นความรู้สึกบางอย่าง ซึ่งโดยไม่รู้ตัวสอดคล้องเข้ากับลูกเล่น ลีลาภาพยนตร์ที่ไม่ซ้ำแบบใคร

งานเพลงของ Eros + Massacre (1969) ถือว่ายกระดับสไตล์เพลง Avant-Garde ขึ้นไปอีกขั้น! ด้วยการนำเอาเสียงประหลาดๆ (เคาะกระแป๋ง หรืออะไรสักอย่าง) มาผสมผสานเข้ากับท่วงทำนองไวโอลินประสานเสียง จุดประสงค์เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับแนวคิดของหนัง คลุกเคล้าสองช่วงเวลา 1910s (ประสานไวโอลิน) + 1960s (เสียงสมัยใหม่ Avant-Garde) ราวกับว่ามันคือสิ่งหนึ่งเดียวกัน! … ลองรับฟัง Main Theme (1)

เครื่องดนตรีพื้นบ้านญี่ปุ่น Shakuhachi ช่างมีเสียงที่หนัก ลุ่มลึก สามารถใช้พรรณาความรู้สึกตัวละคร Tsuji Jun (สามีคนแรกของ Noe Itō) เวลาเป่าแต่ละครั้งฟังดูเศร้าหมอง ปากบอกเชื่อในรักเสรี แต่กลับโหยหาใครสักคนมาเติมเต็มความว่างเปล่าของจิตใจ และช่วงท้ายของหนังได้แปรสภาพสู่เสียงเพรียกแห่งความตาย กลายเป็นความหลอกหลอน หวาบหวิว สั่นสะท้านทรวงใน

อีกบทเพลงที่ดังขึ้นระหว่าง Interval ชื่อว่า Jazz Rock บรรเลงโดยวง Apryl Fool แนวดนตรี Psychedelic Rock ฟังดูหลอกหลอน คล้ายๆเสียงออร์แกนบรรเลงในโบสถ์ เพลงประกอบงานศพ สร้างสัมผัสหายนะ ความตาย สิ่งชั่วร้ายกำลังคืบคลานเข้ามา … ครึ่งหลังของหนังก็นำเข้าสู่เหตุการณ์ ‘Massacre’

หนังความยาวสามชั่วโมงครึ่ง แต่มีเพลงประกอบแค่ 4-5 เพลง รวมๆแล้วสิบนาทีกว่าๆ (จริงๆเฉพาะบทเพลง Interval ก็นานกว่า 5 นาทีไปแล้ว!) นั่นแสดงว่าส่วนใหญ่ของหนังเลือกใช้ความเงียบงัน สำหรับสร้างบรรยากาศตึงเครียด กดดัน และเสียงประกอบ (Sound Effect) ล้วนแฝงนัยยะความหมายบางอย่าง

  • เสียงฝักบัว น้ำไหล (ระหว่างอาบน้ำ) ทำให้อารมณ์ทางเพศของ Eiko พลุกพล่าน
  • เช่นเดียวกับเสียงรถไฟเคลื่อนผ่านหน้าบ้านของ Tsuji Jun ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ทางเพศกับ Chiyoko
  • แล้วพอ Noe มาพบเห็นเข้ากับตา เข้าไปโยกชิงช้า ส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าด (เหล็กขึ้นสนิม) ไม่ค่อยได้ใช้งาน สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของเธอกับสามี มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ใกล้ถึงจุดพังทลาย
  • ฝนตกปรอยๆระหว่าง Noe เดินทางไปบอกเลิกรา ยุติความสัมพันธ์กับ Ōsugi สามารถสื่อถึงสภาพจิตใจของเธอที่มีความเศร้าโศก ร่ำไห้อยู่ภายใน
  • ฟังเหมือนเสียงรถราวิ่งผ่าน (แต่มันมีความหวิวๆ วิ้วๆ เหมือนบางสิ่งอย่างปลิดปลิว) ในความฝันของ Noe พบเห็น Ōsugi ถูก(ตำรวจ)รุมกระทำร้ายจนเสียชีวิต
  • เสียงรถไฟขัดจังหวะการคุยโทรศัพท์ของ Noe และ Ōsugi นี่สามารถสะท้อนถึง Itsuko ที่ก็แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนโดยไม่รู้เวล่ำเวลา
    • ขณะเดียวกันยังเป็นเสียงแทนความรู้สึกพลัดพรากจากลา ราวกับว่า Noe กำลังจะสูญเสีย Ōsugi จากไปชั่วนิรันดร์

Sakae Ōsugi นักอนาธิปไตย หนึ่งในแกนนำเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาคเท่าเทียม และยังยึดถือหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ในชีวิตส่วนตัว ปฏิเสธแนวคิดผัวเดียวเมียเดียว (Monogamy) ครองรักกับผู้หญิงสามคน (Polygamy) ด้วยการออกกฎสามข้อ แยกกันอยู่, เงินใครเงินมัน และไม่ก้าวก่ายเรื่องเพศระหว่างกัน

ทฤษฎีของ Ōsugi ถือเป็นอุดมคติ (Idealistic) ทั้งทางการเมืองและเรื่องส่วนตัว (Political=Personal) แต่ในทางปฏิบัติ โลกความจริงนั้น (Realistic) คนส่วนใหญ่กลับไม่สามารถให้การยินยอมรับ เพราะต่างคนต่างมีมุมมอง คิดเห็น ความเชื่อที่แตกต่าง ไม่มีทางที่เราจะรักใครชอบใครได้อย่างเท่าเทียม หรือเป็นอิสระต่อกันโดยไม่เกี่ยวข้องแว้ง

ความสนใจผกก. Yoshida ต่อเรื่องราวชีวประวัติ Ōsugi ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1910s-20s เพราะต้องการสะท้อนความสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 1960s ซึ่งแนวคิด/อุดมการณ์หลายอย่างของ Ōsugi ราวกับได้ถูกสืบสาน รักษา ต่อยอด แปรสภาพจากเคยสุดโต่ง (Radical) มาเป็นสิ่งที่ผู้คนสมัยใหม่ให้การยินยอมรับ ทั้งเรื่องสิทธิสตรี รักเสรี ความเสมอภาคเท่าเทียมทางเพศ ฯ

ชื่อหนัง Eros + Massacre สามารถตีความได้หลากหลาย สองสิ่งที่ดูไม่มีความละม้ายคล้าย แตกต่างตรงกันข้าม แต่กลับสามารถเติมเต็ม กลายเป็นอันหนึ่งเดียวกัน

  • Eros ในปกรณัมกรีก เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความปรารถนา และความดึงดูดทางเพศ
  • Massacre คือการสังหารหมู่ เข่นฆ่า วิสามัญฆาตกรรม รวมเรียกว่าความตาย

ในมุมของ Eros สะท้อนความสัมพันธ์ชายหนึ่งหญิงสาม พวกเขาเชื่อในสิทธิ เสรีภาพ และความรักเสรี (free love & free sex) ไม่จำกัดตนเองอยู่ภายใต้กฎกรอบ สังคม ศีลธรรม แม้ทางทฤษฎีจะมีความน่าสนใจดี แต่การปฏิบัติเป็นไปได้ยากยิ่งนัก ไม่มีทางที่เขาและเธอจักอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง สันติสุข ย่อมบังเกิดความข้ดแย้ง ครุ่นคิดแตกต่าง Sakae Ōsugi รักใคร่เอ็นดู Noe Itō มากกว่าใครอื่น สร้างความอิจฉาริษยา ไม่พึงพอใจต่อ Itsuko Masaoka นำไปสู่การลอบสังหาร ก่อนถูกวิสามัญฆาตกรรม Massacre โดยพวกเห็นต่างทางการเมือง

การเลือกชื่อหนังนี้ ยังทำให้เราสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (+) ของสองสิ่งขั้วตรงข้ามที่สามารถเติมเต็มกันและกัน ซึ่งนั่นถือเป็นทิศทางที่ผกก. Yoshida พยายามนำเสนออกมา อดีต+ปัจจุบัน (1910s+1960s), เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง+ปรุงแต่งสร้างเรื่องราว (Reality+Fictional), คำพูดทฤษฎี+ในทางปฏิบัติ (Theory+Practice), และโดยเฉพาะการเมือง+เรื่องส่วนบุคคล (Political+Personal)

น่าเสียดายที่ผมไม่มีรายละเอียดชีวิตส่วนตัวของผกก. Yoshida และภรรยา Mariko Okada เลยบอกไม่ได้ว่าทั้งสองโอบรับแนวคิดของ Ōsugi มากน้อยเพียงไหน เท่าที่หาข้อมูลได้มีแค่เรื่องการทำงาน ในบทสัมภาษณ์กล่าวถึงพวกเขาแยกแยะเรื่องส่วนตัวออกกัน

Q: How was it for you working with your wife?

First thing I can say is that, during the shoot, my wife was Okada-san, the same way as it had been before we got married. Moreover, I never told her anything about my work while on set or even prior to the actual shooting, when I was writing the script. When I thought of her as an actress, it was strictly professional.

Q: You mean that from the moment you are on set, in a way, she was no longer your wife but the actress Mariko Okada?

That is right. We were not even eating together there, as I had my own working schedule and things I needed to take care of with the other members of the crew, and she was with the other actresses and actors.

Yoshishige Yoshida

หนังฉายรอบปฐมทัศน์ที่ฝรั่งเศส (ไม่ได้เข้าร่วมเทศกาลใดๆ) เสียงตอบรับเป็นยังไงไม่รู้ แต่สร้างความไม่พึงพอใจให้กับ Ichiko Kamichika ทำการยื่นฟ้องผกก. Yoshida ว่านำเสนอเรื่องราวที่มีความรุนแรง ล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว (พูดง่ายๆก็คือไม่ชอบคาแรคเตอร์ของตนเอง) ผลลัพท์ทำให้ต้องตัดทิ้งรายละเอียดหลายๆอย่าง ปรับเปลี่ยนชื่อตัวละครเป็น Ituko Masaoka (ด้วยการพากย์เสียงทับใหม่) เหลือความยาว 165 นาที (2 ชั่วโมง 45 นาที) แต่เธอยังคงปฏิเสธประณีประณอม ถึงอย่างนั้นศาลตัดสินเข้าข้างจำเลย อนุญาตให้หนังออกฉายได้ตามปกติ … มีคำเรียกคดีความนี้ว่า “Eros Plus Massacre Case”

จนกระทั่งปี ค.ศ. 2002 (25 ปีภายหลังการเสียชีวิตของ Kamichika) ผกก. Yoshida จึงนำเอา ‘Original Cut’ มาออกฉายสู่สาธารณะ แต่เพราะฟีล์มเก็บไว้นานมาก บางส่วนเสียหายหนัก ประมาณกันว่ามีฉากสูญหายไปประมาณ 9 นาที เหลือความยาว 216 นาที (3 ชั่วโมง 36 นาที)

ฉบับ Blu-Ray ของค่าย Arrow Films จัดจำหน่ายเมื่อปี 2017 มีข้อความขึ้นแค่ว่า Digital Transfers นั่นหมายถึงหนังยังไม่ได้รับการบูรณะ เพียงสแกนภาพจากฟีล์มเป็นดิจิตอล คุณภาพ HD (High-Definition) ผ่านการตรวจสอบโดยผกก. Yoshishige Yoshida รวบรวมอยู่ใน Boxset ไตรภาค “Kijû Yoshida: Love + Anarchism” ประกอบด้วย Eros + Massacre (1969), Heroic Purgatory (1970) และ Coup d’État (1973)

ผมรู้สึกโชคดีที่หลายวันก่อนเพิ่งรับชม Flame and Women (1967) ทำให้เข้าใจแนวคิด ลูกเล่นภาพยนตร์ สไตล์ลายเซ็นต์ผกก. Yoshida ทำให้สามารถอดรนทนผ่านสามชั่วโมงครึ่งของ Eros + Massacre (1969) ได้อย่างไม่ยากเย็น!

ครึ่งแรกอาจดูสับสน มึนงง เรื่องราวกระโดดไปมา ยังจับใจความอะไรไม่ค่อยได้ พยายามอดรนทนจนถึงครึ่งหลัง ผมถือเป็นไฮไลท์ ‘Alternate Climax’ อาจละม้ายคล้าย Last Year at Marienbad (1961) แต่แนวคิด วิธีการไม่ซ้ำแบบใคร ท้าทายผู้ชมจะสามารถขบครุ่นคิด ทำความเข้าใจเหตุผล ค้นพบความงดงามระดับมาสเตอร์พีซ

จัดเรต 18+ กับภาพเปลือย ร่วมเพศสัมพันธ์ พูดคุยถกเถียงเรื่องเสรีภาพทางเพศ (และการเมือง)

คำโปรย | Eros+Massacre ถกปรัชญาการเมือง+เรื่องส่วนตัว วิสัยทัศน์ผู้กำกับ Yoshishige Yoshida ช่างลึกล้ำ+เหนือกาลเวลา
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ลึกล้ำ+เหนือกาลเวลา

Honō to Onna (1967)


Flame and Women (1967) Japanese : Yoshishige Yoshida ♥♥♥♡

ผลงานจากหนึ่งในผู้กำกับรุ่น Shōchiku Nouvelle Vague (หรือ Japanese New Wave) ที่แพรวพราวไปด้วย ‘Mise-en-scène’ แต่ประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับเด็กหลอดแก้วคือลูกของใคร? มันช่างเฉิ่มเฉย ตกยุคสมัย

มันอาจเพราะยุคสมัยนั้น เทคโนโลยีการผสมเทียม (Artificial Insemination) เด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertillization, IVF) เพิ่งได้รับการประดิษฐ์คิดค้นมาไม่นาน ทำให้เกิดการถกเถียงถึงความถูกต้องเหมาะสม หลายคนยังไม่สามารถยินยอมรับ ถ้าทารกในครรภ์ไม่ได้มาจากอสุจิของตน เช่นนั้นแล้วใครคือพ่อเด็ก? ชายที่เป็นเจ้าของน้ำเชื้อ? หรือบุคคลที่ให้การเลี้ยงดูแลจนเติบใหญ่?

กาลเวลาทำให้ประเด็นดังกล่าวฟังดูเพ้อเจ้อไร้สาระ ถกเถียงทำไมให้เสียเวล่ำเวลา การผสมเทียมไม่ใช่สิ่งชั่วร้าย ผู้คนส่วนใหญ่ให้การยินยอมรับ (อาจยังมีคนกลุ่มน้อยที่อคติอยู่บ้าง) ต่อให้บุตรหน้าตาไม่เหมือนบิดา-มารดา แต่ถ้าเขาคือบุคคลเลี้ยงเรามาจนเติบใหญ่ ให้ที่พักพิงทางจิตใจ ล้วนถือว่ามีความสำคัญทั้งนั้น พ่อแท้ๆ พ่อเทียมๆ หรือพ่อสองคน ก็พ่อเหมือนกัน! … ประเด็นเรื่องพ่อแท้ๆ พ่อเทียมๆ Like Father, Like Son (2013) ของผกก. Hirokazu Kore-eda ทำออกมาได้ดีกว่ามากๆ

แม้เรื่องราวอาจฟังดูไม่ค่อยน่าสนอกสนใจ แต่ลีลาการกำกับของ Yoshishige Yoshida แม้งบ้าระห่ำชิบหาย! ทุกช็อตฉากเต็มไปด้วยรายละเอียด (Mise-en-scène), นักแสดงปะทะฝีมือกันสุดเหวี่ยง, ตัดต่อสไตล์ Fellini กระโดดไปมาระหว่างอดีต-ปัจจุบัน โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน (non-Chronological Order), และเพลงประกอบ Avant-Garde ฟังดู ‘artificial’ เหนือจริงจนจับต้องไม่ค่อยได้

จัดความยากในการรับชมที่ระดับสูงสุด Flame and Women (1967) ไม่ใช่ภาพยนตร์เหมาะสำหรับผู้ชมทั่วๆไป ผมเองก็ไม่เข้าใจภาษาหนังทั้งหมด แต่ลึกๆกลับทำให้เกิดความกระตือรือล้น อยากลองหาผลงานอื่นของผกก. Yoshida เลยตั้งใจว่าจะเขียนอีกเรื่องที่ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญ!

เกร็ด: Flame and Women (1967) คือหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของผกก. Hayao Miyazaki … ได้อย่างไรกัน??


Yoshishige Yoshida, 吉田 喜重 (1933-2022) หรือบางครั้งใช้ชื่อ Kijū Yoshida ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fukui หลังจากบ้านถูกทำลายจากการโจมตีทางอากาศช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งทั้งสอง ครอบครัวอพยพมาปักหลักอาศัยในกรุง Tokyo, ด้วยความหลงใหลในภาพยนตร์ฝรั่งเศส จึงเข้าศึกษาวรรณกรรมฝรั่งเศส University of Tokyo จบออกมาสมัครทำงานสตูดิโอ Shōchiku เริ่มจากเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Keisuke Kinoshita, จนกระทั่งมีโอกาสกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Good-for-Nothing (1960) กลายเป็นหนึ่งในผู้กำกับรุ่น Shōchiku Nouvelle Vague รุ่นเดียวกับ Nagisa Oshima และ Masahiro Shinoda ก่อนจะถูกเหมารวมเรียก Japanese New Wave

Yoshida เหมือนจะไม่ค่อยชอบฉายา New Wave เพราะมองว่าผลงานของตนเองในยุคแรก ถูกจำกัด ครอบงำโดยสตูดิโอ แต่หลังเสร็จสิ้น Escape from Japan (1964) จึงลาออกจาก Shōchiku แล้วก่อตั้งสตูดิโอโปรดักชั่นของตนเอง Gendai Eigasha ร่วมงานขาประจำกับศรีภรรยา Mariko Okada ผลงานเด่นๆ อาทิ A Story Written with Water (1965), Woman of the Lake (1966), The Affair (1967), Eros + Massacre (1969), A Promise (1986) ฯ

เพราะเคยพานผ่านหายนะจากสงครามโลกครั้งที่สอง ความสนใจของผกก. Yoshida จึกมักเกี่ยวกับปัญหาสังคม จิตวิทยา การมีตัวตน ตั้งคำถามถึงความถูกต้องเหมาะสม (ปรัชญา) และความหลงใหลในภาพยนตร์ฝรั่งเศส จึงรับอิทธิพลเกี่ยวกับการทดลอง (Experimental) มองหาวิธีการดำเนินเรื่องที่ผิดแผกแตกต่าง (Avant-Garde) ไม่ยึดติดกับรูปแบบ โครงสร้าง (non-Narrative) และเนื้อหามักท้าทายแนวคิด ขนบกฎกรอบทางสังคม เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆให้กับผู้ชม(สมัยนั้น)

สำหรับ 炎と女 อ่านว่า Honō to Onna แปลตรงตัว Flame and Women แต่บางครั้งอาจใช้ชื่อ Flame and Women and Flame of Feeling หรือ Impasse (แปลว่า การจนมุม, การจนตรอก, การเข้าตาจน, การหมดหนทาง) ร่วมพัฒนาบทกับ Tsutomu Tamura และ Masahiro Yamada ตั้งคำถามเกี่ยวกับการผสมเทียม เทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายในยุคสมัยนั้น บุตรที่เกิดออกจากจากหลอดทดลอง จะรับรู้ตัวเองหรือไม่ว่าใครคือบิดา-มารดาแท้จริง?


เรื่องราวของวิศวกรหนุ่ม Shingo Ibuki (รับบทโดย Isao Kimura) และภรรยา Ritsuko (รับบทโดย Mariko Okada) มีบุตรชาย Takachi อายุ 1 ปี 7 เดือน มองภายนอกดูเป็นครอบครัวที่มีความอบอุ่น สมาชิกอยู่ร่วมกันพร้อมหน้า แต่แท้จริงแล้วเด็กคนนี้เกิดจากการผสมเทียม โดยเจ้าของน้ำเชื้ออสุจิคือเพื่อนสนิท Ken Sakaguchi (รับบทโดย Takeshi Kusaka) ที่แม้แต่งงานกับ Shina (รับบทโดย Ogawa Mayumi) แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่กลับไม่ได้ตั้งอยู่บนความโรแมนติก

วันหนึ่งบุตรชาย Takachi สูญหายตัวอย่างไปอย่างลึกลับ Shingo จึงกล่าวโทษภรรยา Ritsuko ที่ไม่เคยสนใจใยดี ก่อนพบว่า Shina เป็นคน(ลัก)พาตัวไปทำอะไรบางอย่าง นั่นเพราะเธอตระหนักว่าเด็กคนนี้คือลูกของ Ken (สังเกตจากใบหน้ามีความละม้ายคล้ายคลึง) เลยครุ่นคิดว่าสามีคบชู้กับ Ritsuko … เหตุการณ์วุ่นๆนี้จะลงเอยเช่นไร?


Isao Kimura, 功 木村 (1923-81) บางครั้งใช้ชื่อ Kō Kimura นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Hiroshima, ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เดินทางมาร่ำเรียน Bunka Gakuin ณ กรุง Tokyo จึงรอดชีวิตจากเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณู แต่ก็สูญเสียครอบครัวทั้งหมด, หลังสงครามเข้าร่วมคณะการแสดง Haiyuza Theatre Company ก่อนย้ายมา Youth Actor Club (Gekidan Seihai) สนิทสนมกับ Eiji Okada และ Nobuo Kaneko, ผลงานภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ Seven Samurai (1954), Jun’ai monogatari (1957), Summer Clouds (1958), High and Low (1963), The Affair (1967), Affair In The Snow (1968) ฯ

รับบทวิศวกร Shingo Ibuki ภายนอกดูเป็นคนอบอุ่น แข็งแกร่ง แต่ตั้งแต่แพทย์ตรวจวินิจฉัยว่าไม่สามารถมีบุตร กลายเป็นปมด้อยที่ทำให้หมดสิ้นอารมณ์ทางเพศ ค่อยๆเกิดความตระหนักเคยว่าถูกแฟนเก่าทรยศหักหลัง (แฟนเก่าเคยตั้งครรภ์แล้วแท้ง แต่แท้จริงแล้วนั่นไม่ใช่บุตรของตน) เลยเรียกร้องขอภรรยาให้ทำการผสมเทียม โดยไม่สนคำทัดทานใดๆ

ภายหลังบุตรชายเติบโตได้ปีกว่าๆ ค่ำคืนหนึ่งฝันว่าภรรยาคบชู้นอกใจ พยายามซักไซร้ไล่เรียง แล้วเมื่อเขาสูญหาย/ถูกลักพาตัว เต็มไปด้วยความร้อนรน กระวนกระวาย สำแดงอารมณ์เกรี้ยวกราด ก่อนท้ายที่สุดเลิกสนใจปัญหา ไม่ว่าใครจะว่ายังไง ภรรยาคบชู้นอกใจ แต่ Takachi ก็ยังคงเป็นบุตรของฉัน!

ใบหน้าของ Kimura ดูเคร่งขรึม บึ้งตึงแทบตลอดเวลา (ใครเคยรับชม Seven Samurai น่าจะจดจำได้ว่าคือซามูไรที่ไม่เคยยิ้ม แต่ฝีมือดาบเป็นเลิศ) นั่นเพราะตัวละครเต็มไปด้วยความเก็บกด อัดอั้น พยายามปกปิดด้านอ่อนแอ ปมด้อยเรื่องความไร้ประสิทธิภาพทางเพศ ไม่ต้องการยินยอมรับ จึงพยายามสร้างภาพให้ใครอื่นเห็นว่าตนเองมีครอบครัวอบอุ่น พ่อ-แม่-ลูกอยู่ร่วมกันพร้อมหน้า

เกร็ด: อาชีพวิศวกร(สร้างเรือ?)ของ Shingo สามารถสื่อถึงการออกแบบชีวิตให้ตัวตนเอง แม้ไม่สามารถมีบุตร ก็สามารถสร้างบุตร

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ยึดถือมั่นในเกียรติ ศักดิ์ศรี(ซามูไร) ผู้ชายต้องมีความเข้มแข็งแกร่ง ช้างเท้าหน้าครอบครัว แต่ถ้าค้นพบว่าตนเองไร้น้ำยา ไม่สามารถมีบุตร นั่นคือเรื่องน่าอับอายขายขี้หน้า ตัวละครจึงพยายามปกปิด สร้างภาพ ลวงหลอกตนเอง ซึ่งนั่นจักนำสู่ความแตกแยก ร้าวฉาน อีกไม่นานก็คงเลิกราหย่าร้าง ใครจะไปอดรนทนอยู่ในกรงนกได้นาน


Mariko Okada, 茉莉子 岡田 (เกิดปี 1933) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Shibuya-ku, Tokyo เป็นบุตรของนักแสดงหนังเงียบ Tokihiko Okada แต่บิดาเสียชีวิตตั้งแต่เธออายุหนึ่งขวบ เลยต้องอพยพสู่ Kyoto วัยเด็กมีนิสัยขี้อาย ไม่ค่อยชอบสุงสิงกับใคร ช่วงเรียนมัธยมปลายได้เข้าร่วมชมรมการแสดง เกิดความหลงใหลในสื่อภาพยนตร์จากการรับชมหนังเงียบ The Water Magician (1933) [นั่นทำให้เธอเพิ่งรับรู้ว่าบิดาคือนักแสดงหนังเงียบ] หลังเรียนจบเดินทางสู่ Tokyo ได้รับการฝากฝังจากลุงฝึกฝนการแสดง Toho Gakuen College of Drama and Music ยังไม่ถึงเดือนเข้าตาผกก. Mikio Naruse ได้รับบทนางรอง Dancing Girl (1951), ติดตามด้วย Husband and Wife (1953), Floating Clouds (1955), หลังหมดสัญญา Toho ย้ายมาอยู่สตูดิโอ Shochiku ร่วมงานผกก. Yasujirō Ozu เรื่อง Late Autumn (1960), An Autumn Afternoon (1962), จนกระทั่งผลงานเรื่องที่หนึ่งร้อย Akitsu Springs (1962) แต่เป็นครั้งแรกร่วมงานกับสามี Yoshishige Yoshida

รับบทภรรยา Ritsuko Ibuki ในตอนแรกก็มีความจงรักภักดีต่อ Shingo แต่หลังจากถูกบีบบังคับให้ทำการผสมเทียม จึงรู้สึกไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง ปฏิเสธมอบความรักต่อบุตรชาย ปล่อยปละละเลยจนสูญหาย/ลักพาตัว แล้วยังไม่รู้สึกหนาวร้อนอะไร

ต่อมาค่อยๆตระหนักว่า Ken คือพ่อแท้ๆของเด็ก จึงเริ่มตีตนออกห่างสามี พยายามเกี้ยวพาราสี คบชู้นอกใจ (เป็นการแก้แค้นสามีไปในตัว) และภายหลังค้นพบคำตอบของตนเองว่า Takachi ยังไงก็คือเลือดเนื้อเชื้อไข บังเกิดเยื่อใยความสัมพันธ์แม่-ลูกขึ้นเป็นครั้งแรก

ในบรรดา 4-5 ตัวละครหลักของหนัง ผมรู้สึกว่าบทบาทของ Okada มีวิวัฒนาการ และความสลับซับซ้อนมากที่สุด! เริ่มต้นด้วยรอยยิ้มที่ดูบริสุทธิ์ ก่อนค่อยๆแสดงสีหน้าตึงเครียด บิดเบี้ยว บูดบื้ง รังเกียจขยะแขยงสามีและบุตรชาย พยายามโหยหาอิสรภาพ ต้องการดิ้นหลบหนีไปจากกรงขัง และเมื่อถาโถมตนเองเข้าใส่ชู้รัก ก็ไม่หวาดหวั่นกลัวเกรงอะไรอีกต่อไป ต่อจากนี้สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจ

ผมเคยรับชมผลงานยุคแรกๆของ Okada ภาพลักษณ์ของเธอดูเหมือนกุลสตรี เรียบร้อยดั่งผ้าพับไว้ แต่หลังจากร่วมงานสามี Yoshida มักได้เล่นบทบาทที่มีความท้าทาย ซับซ้อน ย้อนแย้งจารีตสังคม เริ่มต้นจากต้องเก็บกด อดรนทน สะสมความอัดอั้น จากนั้นระบายอารมณ์คลุ้มคลั่ง ก่อนได้รับการปลดปล่อยสู่อิสรภาพ … กลายเป็นตัวแทนผู้ใหญ่วัยกลางคนที่ปลดปล่อยตนเองจากสังคมชายเป็นใหญ่


Takeshi Kusaka, 日下 武史 (1931-2017) นักแสดง นักพากย์เสียง สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Toshima, Tokyo โตขึ้นเข้าศึกษาสาขาวรรณกรรมฝรั่งเศส Keio University แต่ด้วยปัญหาเรื่องการเงินจึงต้องลาออกกลางคัน ก่อตั้งคณะการแสดง Shiki Theatre Company มีผลงานแสดงทั้งละคอนเวที ภาพยนตร์ อาทิ Antarctica (1983), Deaths in Tokimeki (1983), Madadayo (1993) ฯ

รับบท Ken Sakaguchi เพื่อนสนิทของ Shingo รับรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ ปัจจุบันทำงานสูตินารี แต่งงานกับ Shina ทั้งๆไม่ได้มีความรู้สึกใดๆต่อกัน จึงดูเหน็ดเหนื่อย เฉื่อยชา ขาดความกระตือรือล้น ก่อนหน้านี้ไม่เคยรับรู้มาก่อนว่า Takachi คือเลือดเนื้อเชื้อไขตน จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ แล้วถูก Ritsuko เกี้ยวพาราสี ร่วมรักหลับนอน ท้ายที่สุดจึงตัดสินใจ …

แซว: อาชีพสูตินารีของ Ken แม้สามารถทำความเข้าใจกายภาพมนุษย์ แต่ไม่ได้หมายถึงความรู้สึก หรือสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ (ไม่เคยสนใจใยดีผู้อื่นด้วยซ้ำไป) มองทุกสิ่งอย่างไม่ต่างจากวัตถุ สิ่งข้าวของ สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยน รวมถึงภรรยา และคลินิก/โรงพยาบาลที่ได้รับมา

หน้าตาของ Kusaka ก็ดูเคร่งเครียด เคร่งขรึม ไม่แตกต่างจาก Isao Kimura แต่แม้ตัวละครไม่มีปัญหาทางร่างกาย จิตใจกลับขาดความกระตือรือล้น หาได้สนอกสนใจในตัวภรรยา แต่งงานเพียงเพราะจะได้เป็นเจ้าของคลินิก/โรงพยาบาล มองมนุษย์ไม่ต่างจากวัตถุ สิ่งข้าวของ ค่อยๆสูญเสียศรัทธาในชีวิต ไม่เคยครุ่นคิดอยากมีบุตร แต่พอรับรู้ว่า Takachi คือเลือดเนื้อเชื้อไข (เคยบริจาคอสุจิเมื่อครั้งเรียนมหาวิทยาลัย) ทุกสิ่งอย่างเลยกำลังจะปรับเปลี่ยนแปลงไป

ตัวละครนี้ไม่เชิงว่ามีอาการ ‘Shell Shock’ แต่สะท้อนประสบการณ์จากสงครามเมื่อครั้นยังเป็นเด็ก พบเห็นผู้คนมากมายที่ต้องตกตาย ทำให้สูญสิ้นความกระตือลือร้น ทำงานสูตินารี ให้คำแนะนำผู้อื่นอย่างดี แต่ตนเองกลับไม่สามารถก้าวผ่านความเจ็บปวด เอาชนะใจตนเอง จมปลักอยู่กับความอัดอั้น ทุกข์ทรมาน


Mayumi Ogawa, 小川眞由美 (เกิดปี 1939) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo บิดาเป็นนักแสดงประจำโรงละคอน Shin-Tokyo Theater Company, วัยเด็กชื่นชอบการเต้น ฝึกฝนบัลเล่ต์ตั้งแต่อายุห้าขวบ โตขึ้นเปลี่ยนมาหลงใหลการแสดง Kabuki เข้าศึกษาต่อวรรณกรรมญี่ปุ่น Wayo Women’s University แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Mother (1963) แจ้งเกิดโด่งดังโดยทันที, ผลงานเด่นๆ อาทิ Zatoichi’s Vengeance (1966), Clouds at Sunset (1967), The Demon (1978), The Fossil (1975), Vengeance Is Mine (1979), The Go Masters (1983), Farewell to the Ark (1984), Family Without a Dinner Table (1985) ฯ

รับบท Shina Sakaguchi หญิงสาวผู้มีความระริกระรี้ ส่งเสียงเอื้อยแจ้ว ชื่นชอบชมนกชมไม้ ถ่ายภาพสิ่งข้าวของต่างๆ ทำให้สังเกตเห็น Takachi รูปร่างหน้าตาถอดแบบพิมพ์มาจากสามี Ken เลยเกิดความครุ่นคิดว่าอีกฝ่ายคบชู้นอกใจ วันหนึ่งบังเอิญพบเจอเด็กชายนั่งเล่นกลางถนน จึงอุ้มพาไปเที่ยวเล่น เพ้อใฝ่ฝันอยากมีบุตรของตนเอง พยายามล่อหลอก เกี้ยวพาราสี Shingo (เพื่อแก้แค้นสามี) แต่พอพบว่าอีกฝ่ายไร้น้ำยา ก็ทำได้แค่หัวเราะออกมาอย่างคลุ้มคลั่ง

การแสดงของ Ogawa ถือเป็นสีสันของหนัง มีความเบิกบาน ร่าเริงแจ่มใส รอยยิ้มทำให้สดชื่นหฤทัย เต็มไปด้วยความกระตือลือร้น ทำโน่นนี่นั่นแทบไม่เห็นหยุดอยู่หย่อน แม้ทั้งหมดอาจเป็นเพียงการสร้างภาพ (ไม่แตกต่างจาก Shingo ที่พยายามรักษาสถานภาพบุรุษคือหัวหน้าครอบครัว) พยายามปกปิดความอิจฉาริษยา Ritsuko แต่ก็ช่วยผ่อนคลายบรรยากาศตึงเครียดได้มาก

ผมมอง Shina คือตัวแทนหญิงสาวผู้รักอิสระ ไม่ได้ต้องการแต่งงาน แต่บริบททางสังคมญี่ปุ่น สตรีต้องอยู่เคียงข้างบุรุษ เธอจึงเปรียบชีวิตดั่งนกในกรง พยายามดิ้นรน หาหนทางหลุดพ้น โหยหาอิสรภาพ ขณะเดียวกันเต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา ลักพาตัว Takachi เพราะสันชาตญาณเพศแม่ (อยากมีบุตร) สุดท้ายเมื่อไม่มีอะไรได้ดั่งใจ เลยระบายออกด้วยเสียงหัวเราะ ก่อนร่ำลาจากไป


ถ่ายภาพโดย Yûji Okumura ร่วมงานผกก. Yoshishige Yoshida ตั้งแต่ Flame and Women (1967), Affair in the Snow (1968), Farewell to the Summer Light (1968) ฯ

งานภาพของหนังจัดจ้านด้วยลูกเล่น ลีลา ภาษาภาพยนตร์ แพรวพราว ‘Mise-en-scène’ ทั้งทิศทาง มุมกล้อง การเคลื่อนไหว (แพนนิ่ง, ซูมมิ่ง, แทร็คกิ้ง ฯ) ตำแหน่งนักแสดง บ่อยครั้งมักเดินไปเดินมา หันซ้ายหันขวา จัดแสงสว่าง-มืด ระยะใกล้-กลาง-ไกล ใช้ประโยชน์จาก Anamorphic Widescreen (2.35:1) และความคมเข้มของภาพขาว-ดำ (Monochrome) ได้อย่างงดงาม วิจิตรศิลป์

สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกอึ่งทึ่ง คือความพยายามสรรหามุมกล้องที่เต็มไปด้วย(เล่ห์)เหลี่ยม มุม ใช้ประโยชน์สถานที่ ดูมีความสมัยใหม่ (Modern) หลายครั้งถ่ายลอดผ่านช่องแคบๆ มีอะไรบางอย่างมาบดบังการมองเห็น โดดเด่นที่สุดคือการเปลี่ยนตำแหน่ง นักแสดงเดินไปเดินมา ทำให้รายละเอียดภาพเกิดการเปลี่ยนแปลง แทบไม่เคยหยุดอยู่นิ่ง นี่เป็นการกำกับที่โคตรๆบ้าระห่ำ ทุกช็อตฉากล้วนแฝงนัยยะซ่อนเร้น … ทำเอาผมขี้เกียจวิเคราะห์โดยละเอียด เลยพยายามเลือกเอาเฉพาะที่น่าสนใจจริงๆเท่านั้น


ภาพแรกของหนังนำเสนอผ่านสายตาทารกน้อย กำลังลืมตา พบเห็นบิดา-มารดาเป็นครั้งแรก แต่ภาพพบเห็นจะเริ่มต้นจากขุ่นมัว เบลอหลุดโฟกัส ก่อนค่อยๆปรับภาพให้คมชัด แต่แทนที่จะพบเห็นพ่อ-แม่หน้าตรง พวกเขากลับยืนกลับหัว นี่แฝงนัยยะถึงความจริงอาจกลับตารปัตร บิดาไม่ใช่บิดาแท้ๆ(ทางสายเลือด) และมารดาก็ไม่เคยอยากให้กำเนิดเด็กขึ้นมา

Shingo ฝันเห็นภรรยา Ritsuko กำลังโอบกอดจูบกับชายแปลกหน้า กล้องเริ่มจากภาพระยะไกล จากนั้นเคลื่อนหมุนรอบตัวชู้ทั้งสอง ราวกับพวกเขาคือศูนย์กลางจักรวาล จากนั้นตัดมาภาพ Takachi หลับอยู่ในห้อง นอนกลับหัว (สื่อถึงการครุ่นคิดเพ้อฝันไปเอง ภรรยาขณะนี้ยังไม่ได้คบชู้กับใคร) และแสงภายนอกสาดส่องบานเกล็ดอาบฉาบลงบนใบหน้า (บอกใบ้ว่ามีบางสิ่งอย่างเคลือบแคลง ปกปิด ซุกซ่อนอยู่ภายใน)

ประโยคคำพูดนี้ของ Shina มีความน่าสนใจอย่างมากๆ บอกว่าเด็กชาย Takachi ใบหน้าถอดแบบพิมพ์เดียวกับบิดา นั่นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชมรอบแรก แต่ใครดูจบแล้วย่อมรับรู้ว่า Shingo ไม่สามารถมีบุตร เด็กคนนี้จึงไม่ใช่ลูกแท้ๆ จะถอดแบบพิมพ์เดียวกันได้อย่างไร บังเอิญขนาดนั้นเชียวหรือ??

คำกล่าวของ Shina ไม่ได้ตรงบอกว่าเด็กชายถอดแบบมาจาก Shingo เพียงใช้คำว่า ‘บิดา’ นั่นหมายถึงเธอตระหนักรับรู้ว่าใครคือพ่อตัวจริงของเด็ก ไม่มีทางเป็นอื่นใด คือสามีของตนเอง Ken ใบหน้าถอดแบบพิมพ์เดียวกันเป๊ะ!

ทั้งสองครั้งที่อาจารย์แพทย์ตอบคำถาม Shingo & Ritsuko สังเกตว่าจะนำพาพวกเขาเดินผ่านชั้นวางหนังสือ (น่าจะในห้องสมุด) นั่นแสดงถึงคำตอบอ้างอิงวิทยาศาสตร์ (ตรวจพบว่า Shingo ไม่สามารถเป็นพ่อคน) และยึดหลักจรรยาบรรณแพทย์ (เลยไม่เปิดเผยต่อ Ritsuko ว่าใครคือพ่อแท้ๆเด็ก)

ระหว่างที่ Ritsuko ก้าวเดินไปส่ง Ken อีกฝ่ายเล่าเรื่องประสบการณ์วัยเด็ก หายนะจากสงครามที่ยังคงติดตา ฝังอยู่ภายในความทรงจำ สังเกตว่าหลายๆครั้งฝ่ายหญิงมักขยับร่มมาบดบังใบหน้า เหมือนไม่อยากรับรู้ ไม่อยากรับฟัง ต้องการปกปิดความรู้สึกบางอย่างบังเกิดขึ้นภายใน ช่วงท้ายก็ขับไล่ ผลักไส ไม่ต้องการพบเจออีกฝ่ายอีกต่อไป … แต่เขาก็แวะเวียนกลับมาอยู่ดี คำขอของเธอไม่มีอำนาจสั่งการใดๆทั้งนั้น

หลังจาก Shingo รับรู้ผลการวินิจฉัยจากอาจารย์แพทย์ ค่ำคืนนั่นมานั่งดื่มในบาร์แห่งหนึ่ง ตลอดทั้งซีเควนซ์ปกคลุมด้วยความมืด Low Key โต๊ะข้างๆพบเห็นนักศึกษาแพทย์กำลังดื่มด่ำเมามาย หนึ่งในนั้นก็คือ Ken สังเกตว่าภาพแรกโคมไฟบดบังใบหน้า ทำราวกับไม่มีตัวตน นั่งห่อตัวอยู่กึ่งกลาง ไร้สาวๆเคียงข้าง และภาพหลังกล้องวางบนพื้นโต๊ะ สื่อถึงชีวิตที่ตกต่ำ ไร้ราคา

ระหว่างการสนทนาในวงเหล้า มีกล่าวถึงการบริจาคอสุจิ สามารถนำไปขายได้ราคา แต่นี่ไม่ได้หมายถึงชายคนที่พูดคือบิดาของ Takachi นะครับ (เพราะตัวละครนั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องราว) สังเกตจากภาษากายของ Ken ก็พอบอกได้ว่านั่นคือแรงบันดาลใจให้ขายน้ำอสุจิ นำเงินมาประทังชีวิต

คำพูดประโยคนี้ของ Shina ก็เพื่อจะเปรียบเทียบนก=มนุษย์ การแต่งงานไม่แตกต่างจากจับนกสองตัวมาอยู่ในกรงเดียวกัน สร้างพันธนาการเหนี่ยวรั้ง กักขัง ไม่สามารถดิ้นหลบหนีไปไหน

ตลอดซีเควนซ์นี้ยังถ่ายทำจากอีกฟากฝั่งของกรงนก ทำให้พบเห็นตาข่าย/ตะแกงเหล็กบดบังใบหน้าตัวละครทั้งสอง พวกเขาเดินเลียบๆเคียงๆ โต้ตอบสนทนา จากนั้นโอบกอด ร่วมรัก ไม่สามารถดิ้นหลบหนีกันและกัน (อพาร์ทเม้นท์แห่งนี้ = กรงขัง)

เมื่อตอนที่ Shingo บีบบังคับภรรยา Ritsuko ให้ทำการผสมเทียม เริ่มต้นถ่ายด้านหลังกระจก บดบังฝ่ายหญิงมิดชิด (หมายถึงเธอไม่มีสิทธิ์เสียง ไม่สามารถเรียกร้องอะไร) และหลายๆช็อตต่อจากนี้มักพบเห็นภาพสะท้อน(กระจก) ไม่ก็บางสิ่งอย่างกีดกั้นขวางระหว่างทั้งสอง เพราะขณะนี้พวกเขายังไม่สามารถเผชิญหน้า สบตากันตรงๆ เลยพยายามใช้บางสิ่งเบี่ยงเบน หลีกเลี่ยงการอธิบาย … จะว่าไป Shingo ก็ไม่เคยพูดบอกเหตุผลตรงๆที่ต้องการมีบุตร นี่คือความท้าทายให้ผู้ชมต้องลองครุ่นคิดหาคำตอบด้วยตนเอง

คำอธิบายแบบเบียวๆของ Shingo ถึงเหตุผลที่ต้องการมีบุตร แม้เขาอ้างว่าได้พบเห็น แต่ผมดูยังไงก็เป็นความเพ้อฝัน เพราะการจัดวางองค์ประกอบภาพ หลายช็อตถ่ายจากระยะไกล เด็กชายประสบอุบัติเหตุน่าจะถูกรถชน นอนราบลงกับพื้น (นี่แอบพยากรณ์อนาคตอยู่เล็กๆ) มารดาพยายามวิ่งเข้ามา แต่รถพยาบาลกลับเคลื่อนออกไปไกล

การจะทำความเข้าใจซีเควนซ์นี้ ผมว่าน่าจะต้องมองในเชิงจิตวิเคราะห์ความฝัน เด็กชายที่นอนอยู่น่าจะคือภาพตั้งฉากกับตัวของ Shingo ที่ถ้าไม่สามารถมีทายาท บุตรหลาน ก็เท่ากับเป็นการสูญเสีย ตายเปล่า อนาคตย่อมไม่หลงเหลือใครเคียงข้างกาย จึงเกิดอาการตื่นตระหนัก ตกใจกลัว เรียกร้องขอภรรยาให้ทำการผสมเทียม เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด สิ้นหวัง

ยามค่ำคืนเมื่อ Shingo & Ritsuko สามารถมองหน้าสบตาโดยไม่มีอะไรมากีดขวางกั้น แต่สังเกตว่าหนังพยายามจัดองค์ประกอบพื้นหลัง แสงสว่าง-เงามืด ที่มีลักษณะแบ่งแยกทั้งสองฟากฝั่งออกจากกัน เพื่อสื่อถึงทัศนคติที่แตกต่างตรงกันข้าม ไม่สามารถคิดเห็นลงรอยร่วมกันได้อีก

ช่วงระหว่างที่ Ritsuko เล่าถึงเหตุการณ์ถูกชายแปลกหน้าข่มขืน สังเกตว่ามีการละเล่นกับความมืดที่น่าตื่นตื่นใจ หญิงสาวมักเดินไปเดินมาท่ามกลางความมืดมิด บางครั้งแสงสว่างลอดผ่านมาอาบฉาบใบหน้า ไม่ก็ถ่ายย้อนแสง สาดสป็อตไลท์จากด้านหลัง ฯ พยายามนำเสนอทุกความเป็นไปได้ของแสง-เงา เพื่อสะท้อนความทรงจำอันเลวร้าย มืดมิดที่สุดออกมา

ในตอนแรก Ritsuko ก็พยายามดิ้นรนขัดขืนแค่พอเป็นพิธี ไม่นานจึงยินยอมศิโรราบ สังเกตว่าขณะกอดจูบร่วมรักบนเตียงนอน ไม่ได้มีอะไรสักสิ่งอย่างบดบังทั้งสอง นั่นแสดงว่าเหตุการณ์บังเกิดขึ้นนี้ แม้ผิดต่อหลักศีลธรรม แต่กลับฝังอยู่ในความทรงจำ บังเกิดความพึงพอใจไม่รู้ลืมเลือน … หรือจะมองว่าเป็นเรื่องราวที่ Ritsuko ปรุงแต่ง เพ้อฝัน สำหรับล่อหลอกสามีให้ล้มเลิกความตั้งใจ

แม้จะใช้นักแสดงคนเดียวกัน แต่ทว่า Ritsuko กลับบอกว่าไม่ใช่คนเดียวกัน! (ฝ่ายชายก็ยังพูดย้ำอีกว่าไม่ใช่ตนเอง) นั่นอาจหมายความถึงเรื่องราวที่เธอพูดเล่าก่อนหน้านี้ แท้จริงแล้วอาจเพียงการพร่ำเพ้อเจ้อ จินตนาการขึ้นมา (ตามความครุ่นคิดของ Shingo ที่ไม่เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง)

เช่นนั้นแล้วชายแปลกหน้าคนนี้คือใคร?? บอกตามตรงผมก็ครุ่นคิดไม่ออกเหมือนกัน ปรากฎตัวฉากนี้ บุกเข้ามาในบ้าน สอบถามสารทุกข์สุขดิบ แล้วร่ำลาจากไป แค่นั้นนะฤา??

ทำไม Ritsuko ถึงยินยอมเข้ารับการผสมเทียม? ผมมองว่าเธออาจเกิดความหวาดกลัว อดีตติดตามมาหลอกหลอน (หรือจะมองว่าเลือนลางระหว่างโลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน) เลยไม่ต้องการให้สามีรับรู้ว่าตนเองแอบคบชู้นอกใจ จึงยินยอมผสมเทียมเสียก็จบเรื่อง ไม่หลงเหลือปัญหาติดค้างคาใจ … แต่เอาจริงผมรู้สึกว่าเหตุผลดังกล่าวฟังไม่ค่อยขึ้นสักเท่าไหร่ มันควรจะมีอะไรที่ซับซ้อนกว่านี้ จิตใจผู้หญิงหยั่งยากยิ่งนัก!

สรุปแล้วการมีตัวตนของชายแปลกหน้า ที่ก็ไม่รู้มีตัวตนจริงๆหรือแค่จินตนาการเพ้อฝันของ Ritsuko แต่เขาคือแรงผลักดันให้เธอตัดสินใจเข้ารับการผสมเทียม เข้าใจประมาณนี้ก็แล้วกัน!

หลังจากที่ Takachi สูญหายตัวไป สังเกตว่ามุมกล้องจะเริ่มถ่ายติดเหลี่ยมมุม เสา-คาน พบเห็นพื้น-เพดาน (มุมก้ม-เงย) สร้างสัมผัสทิ่มแทง หนามแหลม ความขัดแย้งระหว่าง Shingo & Ritsuko ต่างฝ่ายต่างแสดงเล่ห์เหลี่ยม เพื่อปกปิดบังความจริงบางอย่าง

ในฉากย้อนอดีตที่ Shingo & Ritsuko และ Ken & Shina เดินทางไปปิคนิค รับประทานอาหารกลางวัน Shina เหมือนพูดทีเล่นทีจริงเกี่ยวกับการอยากมีบุตร แถมยังเรียกร้องขอ Ritsuko ถ้ามีลูกคนที่สองขอรับเลี้ยงได้ไหม นั่นอธิบายเหตุผลที่ทำไมเธอถึงอุ้มพาตัว Takachi อยากมีเวลาอยู่ร่วมกันสองต่อสอง ได้เติมเต็มความต้องการอยากมีบุตรของตนเอง

แม้ว่า Shina จะเป็นผู้หญิงรักอิสระ ไม่ได้มีความรู้สึกอันใดกับ Ken แต่สันชาตญาณเพศแม่ ทำให้เธอกระตือรือล้น ใคร่อยากมีบุตรของตนเอง แต่สามีไม่ค่อยยินยอมทำหน้าที่ เลยบังเกิดความอิจฉาริษยา Shingo & Ritsuko

ย้อนอดีตระหว่างที่ Ritsuko กำลังตั้งครรภ์ เธอตัดสินใจปลีกวิเวก ต้องการอยู่คนเดียว อาศัยอยู่บ้านพักตากอากาศ แต่แล้ววันหนึ่งสามี Shingo เดินทางเยี่ยมเยียน แสดงออกความต้องการทางเพศ แต่ฝ่ายหญิงพยายามขับไล่ ผลักไส แต่ก็ไม่สามารถหลบหนี ราวกับติดอยู่ในกรงขัง และสังเกตว่าฉากบนเตียงพบเห็นหลอดไฟบดบัง นี่ไม่ใช่แค่ปกปิดเรือนร่างเปลือยเปล่า แต่ยังสื่อถึงช่วงเวลาที่ไม่อยากจดจำ (แตกต่างจากตอนร่วมรักกับชายแปลกหน้า ที่ไม่มีอะไรมาบดบัง)

ความหวาดกลัวของ Ritsuko สะท้อนความเชื่อผิดๆของคนสมัยก่อน ครุ่นคิดว่าการร่วมเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ มีโอกาสจะทำให้แท้งบุตร นั่นมันไม่เกี่ยวอะไรกันเลยนะ หญิงมีครรภ์สามารถมีกิจกรรมทางเพศได้ตามปกติ แค่ว่าอย่าโลดโผนรุนแรงเกินไปเท่านั้นเอง

น่าเสียดายที่ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าภาพวาดที่ดูเหมือน Primitive Art คือผลงานจากศิลปินใด แต่การปรากฎพบเห็นเคียงข้าง Shingo (ขณะย้อนอดีตพบเจอแฟนเก่า แล้วสอบถามถึงใครคือพ่อแท้จริงของเด็กที่แท้ง) สามารถใช้เปรียบเทียบตัวละครอย่างตรงไปตรงมา

แต่บอกตามตรง ผมดูไม่ค่อยออกว่ามันคือภาพอะไร? นักรบ? ซามูไร? เหมือนแต่งตัวเต็มยศ และถือดาบ จริงๆถ้ารับรู้ว่าคือบุคคลในภาพคือใคร ก็น่าจะเชื่อมโยงเข้ากับ Shingo ได้กระมัง

เมื่อตัดกลับมาปัจจุบัน สังเกตว่าเหลี่ยมมุมระหว่าง Shingo & Ritsuko จะมีความลึกเพิ่มขึ้น กินพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพ แถมยังบดบังทั้งสองจนเหลือแค่ใบหน้า สื่อถึงความขัดแย้งทวีความรุนแรง ต่างฝ่ายต่างปิดกั้น ไม่ยินยอมรับฟังความคิดเห็น โลกทัศน์คับแคบลงเรื่อยๆ

จะมีขณะหนึ่งที่ทั้งสองเผชิญหน้าตรงข้างบันได กล้องถ่ายผ่านช่องแคบเล็กๆ พบเห็นเพียงใบหน้า รายละเอียดอื่นๆถูกบดบังมิดชิด สร้างสัมผัสคับแคบ อึดอัด จนฝ่ายหญิงไม่สามารถอดกลั้น จู่ๆจึงเดินออกมาภายนอก สังเกตจากภาพสอง Shingo ยังอยู่ในบริเวณช่องแคบๆนั้น ขณะที่ Ritsuko ก้าวออกมายังบริเวณพื้นที่กว้าง ไม่ยินยอมถูกบีบบังคับ ควบคุมครอบงำอีกต่อไป

ทำไม Shina ถึงพา Takachi มาเดินเล่นยังสะพานขาด? โดยปกติแล้วสะพานคือสัญลักษณ์การเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองบุคคล สองฟากฝั่ง แต่ในบริบทนี้สามารถสื่อถึงความขัดแย้ง แตกแยกภายในครอบครัว (ทั้งคู่ของ Shingo & Ritsuko และ Ken & Shina) สามี-ภรรยาไม่สามารถทำอะไรๆร่วมกัน สุดท้ายแล้วบุตรที่ถือกำเนิด ก็จักเดินวนเวียนอยู่กลางสะพานขาด

เมื่อตอน Shina นำพา Takachi กลับมาถึงบ้าน ทุกคนต่างยืนสงบนิ่ง จับจ้องมอง ปล่อยให้เธอเดินวกไปวนมา กล้องเคลื่อนเลื่อนติดตาม คาดว่าทุกคนคงตกอยู่ในสภาวะอ้ำอึ่ง ตกตะลึง พูดไม่ออกบอกไม่ถูก จึงไม่รู้จะแสดงปฏิกิริยาใดๆออกมา จนกระทั่ง Shina พูดสอบถามมีอะไรติดหน้าฉันหรือเปล่า? พร้อมส่งมอบเด็กชายคืนสู่อ้อมอกครอบครัว

นี่ถือเป็นช็อตน่าสนใจที่สุดของหนัง ตัวละครหลักทั้งสี่อยู่ร่วมกันในเฟรม พวกเขาต่างยืน-นั่ง ตำแหน่งสูง-ต่ำ หันหน้าคนละทิศทาง เพื่อสื่อถึงต่างคนต่างมุมมอง ต่างความคิดเห็น ต่างความเข้าใจต่อความหมายของครอบครัว สัมพันธ์สามี-ภรรยา บิดา-มารดา และบุตร ที่แตกต่างกันออกไป … ผมขี้เกียจลงรายละเอียดว่าใครมีความคิดเห็นเช่นไร ลองไปรับชมในหนังเอาเองนะครับ ทุกคนในช็อตนี้จะมีบทพูดของตนเองที่อธิบายทุกสิ่งอย่าง

Shina พูดระบายความรู้สึกอัดอั้น อธิบายเหตุผลการแต่งงานกับชายไม่ได้รัก เลยถูก Ken ขึ้นเสียง ตบหน้า ปฏิเสธยินยอมรับฟังความจริง และช็อตนี้ยังมีเงาพาดทับเรือนร่างหญิงสาว สื่อถึงการควบคุม ครอบงำ สำแดงอิทธิพลของตนเอง ยึดถือมั่นระบบชายเป็นใหญ่ ปิตาธิปไตย

นี่เป็นอีกช็อตที่แสดงให้เห็นถึงความแตกแยก จุดแตกหักระหว่าง Shingo & Ritsuko ทั้งสองหันหน้าคนละทิศทาง ยืนอยู่คนละเหลี่ยมมุม ไม่มีทางที่พวกเขาจะหันมาเผชิญหน้า ปรับความเข้าใจ หวนกลับมาคืนดีกันได้อีก ต่างคนต่างกำลังจะแยกย้ายไปตามทางของตนเอง

ล้อกับช็อตแรกของหนัง Shingo & Ritsuko ยื่นหน้าเข้ามาจับจ้องมอง พูดเสี้ยมสอนอะไรบางอย่างทารกแรกเกิด, พานผ่านมา 1 ปี 7 เดือน เมื่อครอบครัวแตกแยก หลงเหลือเพียงมารดา Ritsuko ยื่นหน้าเข้ามาจับจ้อง เดินวนรอบ เสี้ยมสอนบุตรชาย พูดบอกให้ลบเลือนภาพความทรงจำเกี่ยวกับบิดา แล้วหลงเหลือเพียงตนเอง มารดาจักอยู่เคียงข้าง ไม่มีวันเหินห่างไปไหน

Ritsuko ขึ้นรถไฟออกเดินทางไปยังบ้านพักตากอากาศ และยังได้ชักชวน Ken ซึ่งกำลังติดตามค้นหาจากตู้รถไฟหนึ่งสู่อีกขบวนหนึ่ง ก่อนมาพบเจอ Takachi กำลังเล่นอยู่กลางทางเดิน แต่แล้วกล้องกลับถ่ายเคลื่อนเลื่อนเข้าหา ซ้ำไปซ้ำมาถึงสามครั้ง! ราวกับ Déjà-Vu เหมือนเป็นการเน้นย้ำ สร้างสัมผัสเหนือธรรมชาติ เด็กชายคนนี้น่าจะต้องมีอะไรบางอย่างกันตนเอง

Shingo แวะเวียนมายังอพาร์ทเม้นท์ของ Ken กลับพบเจอแต่ Shina ท่าทางระริกระรี้ ถาโถมเข้ามาโอบกอด เกี้ยวพาราสี แต่ปรากฎว่าอีกฝ่ายนกเขาไม่ขัน (แต่นกในกรงส่งเสียงร้องลั่น) พอตระหนักว่าเขาไร้น้ำ เธอจึงลุกขึ้นมาหัวเราะลั่น … แบบเดียวกับอดีตแฟนสาวของ Shingo ที่พอรับรู้ก็หัวร่อออกมาเช่นกัน

อย่างที่ผมอธิบายไปแล้วว่า Shina มีความเข้าใจผิดล้วนๆที่ครุ่นคิดว่า(อดีต)สามี Ken คบชู้นอกใจกับ Ritsuko แม้ได้รับฟังข้อเท็จจริง กลับยังไม่สามารถยกโทษให้อภัย Shingo หลังจากเสียงหัวเราะเยาะเย้ย (ท่ามกลางแสงสว่าง) ก็โถมตัวเข้าไปร่ำไห้ยังกรงนก ระบายความอัดอั้น สิ้นหวัง (ปกคลุมด้วยความมืดมิด)

ฉากร่วมเพศสัมพันธ์ก่อนหน้า Ritsuko ล้วนนอนแผ่พังพาบอยู่บนเตียง กล้องถ่ายลงมาจากเพดาน (แทนความสูงส่ง อิทธิพลบุรุษเหนือกว่าสตรี) ถูกข่มขืน ใช้ความรุนแรงบีบบังคับ ไม่เคยสมยินยอมพร้อมใจ

แต่คราวนี้กับ Ken เชื่อว่าเขาคือบิดาแท้ๆของบุตรชาย พบเห็นเขานั่งคุกเข่า โอบกอดอยู่ภายในอ้อมอก (แสดงถึงอิทธิพลของหญิงสาวที่สามารถโน้มน้าว ครอบงำ ทำให้ฝ่ายชายยินยอมศิโรราบ) และกล้องเคลื่อนเลื่อนหมุนรอบตัว 360 องศา (ทั้งสองราวกับศูนย์กลางจักรวาล)

Shingo เดินทางมายังบ้านพักตากอากาศเพื่อเยี่ยมเยียนอดีตภรรยาและบุตร แม้รับรู้ว่าต่อจากนี้คงไม่มีโอกาสอยู่เคียงข้าง (ภาพช็อตนี้ใช้ต้นไม้แบ่งแยกระหว่างบิดาเทียม vs. บิดาตัวจริง) แต่ก็ยังคงพูดหลอกตนเอง เชื่อมั่นว่า Takachi ยังคงเป็นบุตรของฉัน … จริงๆนะหรือ?

ก่อนที่ Ritsuko จะขึ้นรถจากไป เหมือนเธอหันมามองอดีตสามี Shingo ด้วยใบหน้ากระยิ่มยิ้ม เริดเชิดหยิ่ง ราวกับการประกาศอิสรภาพ ได้รับชัยชนะ ต่อจากนี้จะไม่ถูกบีบบังคับ ควบคุมครอบงำ สามารถกำหนดทิศทางชีวิตตนเอง กระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจ

ตัดต่อโดย Kazuo Ôta ผลงานเด่นๆ อาทิ Three Outlaw Samurai (1964), The Affair (1967), Flame and Women (1967), Affair in the Snow (1968), The Castle of Sand (1974), The Demon (1978) ฯ

ลีลาการดำเนินเรื่องของหนังมีความละม้ายคล้าย 8½ (1963) ของผกก. Federico Fellini กระโดดไปมาระหว่างอดีต-ปัจจุบัน โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน ต้องใช้การสังเกต มองหาจุดเชื่อมโยง (ทุกครั้งที่มีการแทรกเรื่องราวจากช่วงเวลาอื่นเข้ามา มันต้องมีเหตุผลรองรับ หรืออะไรสักสิ่งอย่างเชื่อมโยงถึงกัน) ถือว่าท้าทายไม่น้อยสำหรับคนที่ยังขาดประสบการณ์รับชมภาพยนตร์

วิธีการสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ที่จะช่วยให้เราสามารถแยกแยะอดีต-ปัจจุบัน โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน คือต้องมองหาเนื้อเรื่องราว โครงสร้างหลัก แกนกลางของหนังให้พบเจอเสียก่อน (หรือคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั้งหมด) รายละเอียดอื่นๆที่ไม่ใช่ปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นส่วนขยาย อธิบายเนื้อหา ดูหนังจบแล้วค่อยไปแยกแยะว่าคือเหตุการณ์จริง หรือเพียงจินตนาการเพ้อฝัน

  • อารัมบท, ครอบครัวสุขสันต์ แต่เบื้องหลังมีลับลมคมในบางอย่าง
    • (ย้อนอดีต) ทารกน้อยลืมตาขึ้นมาพบเห็นบิดา-มารดา Shingo & Ritsuko
    • (ความฝัน) Shingo ฝันเห็นภรรยากอดจูบกับชายแปลกหน้า
    • Ken & Shina แวะเวียนมาเยี่ยมเยียน
    • ระหว่างที่ Ritsuko ออกเดินไปส่ง Ken
      • (ย้อนอดีต) Ritsuko พยายามสอบถามหมอ ว่าใครคือบิดาแท้จริงของ Takachi
    • (ย้อนอดีต) Shingo รับฟังคำวินิจฉัยของหมอ ค้นพบว่าตนเองไม่สามารถมีบุตร ระหว่างนั่งในบาร์ พบเห็น Ken สมัยยังเป็นนักศึกษาแพทย์ (นี่เป็นการบอกใบ้ว่า Ken คือผู้บริจาคน้ำเชื้ออสุจิ)
      • (ย้อนอดีต) แฟนเก่าของ Shingo เพิ่งจะแท้งลูก
    • ณ อพาร์ทเม้นท์ของ Ken & Shina ร่วมรักท่ามกลางกรงนก
  • การผสมเทียม
    • เช้าวันถัดๆมา Shingo ประชุมงานวิศวกร
    • Ken เดินทางมาที่บ้านตามนัดของ Shingo แต่เพียงพบเจอ พูดคุยกับ Ritsuko
      • (ย้อนอดีต) Shingo โน้มน้าวให้ Ritsuko ทำการผสมเทียม แต่เธอบอกปฏิเสธ
        • (ย้อนอดีต) Shingo เล่าว่าพบเห็นเด็กชายถูกรถชน
        • (ย้อนอดีตเลือนลางความฝัน) Ritsuko เล่าให้สามีฟังว่าเคยถูกข่มขืนโดยชายแปลกหน้า ระหว่างอาศัยอยู่บ้านพักตากอากาศ
      • (ย้อนอดีต) ชายแปลกหน้าคนนั้นเดินทางมาเยี่ยมเยียน Ritsuko ขณะสามีไม่อยู่บ้าน
      • (ย้อนอดีต) Ritsuko ยินยอมทำการผสมเทียม
    • หลังรับฟังเรื่องเล่าทั้งหมด Ken จึงบอกร่ำลา ถึงเวลาเดินทางกลับ
  • การหายตัวไปของ Takachi
    • Ritsuko พบเห็น Takachi ออกไปวิ่งเล่นกลางท้องถนน ทีแรกก็แสดงความร้อนรน แต่กลับเพิกเฉย ไม่สนใจใยดี
    • Shingo แสดงความไม่พึงพอใจที่ Ritsuko ปล่อยบุตรชายให้สูญหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย พยายามซักไซร้ไล่เรียง
      • (จินตนาการ) Shingo จินตนาการภาพของ Ken กับ Ritsuko
      • (ย้อนอดีต) Ritsuko จินตนาการถึง Shina เรียกร้องให้เธอมีบุตรอีกคนแล้วมอบให้กับตนเอง
      • (ย้อนอดีต) Shingo เดินทางมาเยี่ยมเยียน Ritsuko ระหว่างตั้งครรภ์ แล้วทำการข่มขืนใจ
      • (ย้อนอดีต) Shingo นึกถึงอดีตแฟนสาวที่แท้งบุตร หลายปีให้หลังพบเจอกันจึงสอบถามว่าใครคือพ่อของลูก
      • (ความฝัน) Shingo เคยฝันเห็นภรรยา Ritsuko ทอดทิ้งบุตรชายลงมาจากดาดฟ้า
    • เปิดเผยว่า Shina เป็นคนอุ้มพา Takachi ไปเดินเล่นบนสะพาน
  • ครอบครัวคืออะไร?
    • พอกลับมาถึงบ้าน Shina ต้องเผชิญหน้ากับทุกคนที่เฝ้ารอคอย
    • Shina ตั้งตนเองเป็นจำเลย สอบถามความผิดของตนเอง
    • หมอให้คำอธิบายความหมายครอบครัว บิดา-มารดาในเชิงวิทยาศาสตร์
    • แต่ละคนก็แสดงความคิดเห็นของตนเองที่แตกต่างกันไป
    • Shina ระบายอารมณ์อัดอั้นต่อพฤติกรรมปิดกั้น/เห็นแก่ตัวของ Ken
    • Ritsuko พยายามพูดบอกบุตรชาย ไม่ต้องไปสนว่าใครคือบิดา แต่ฉันนี่แหละมารดาแท้ๆ เลือดเนื้อเชื้อไขของตนเอง
  • บทสรุปใครคือบิดาของ Takachi
    • Ritsuko ขึ้นรถไฟออกเดินทางไปยังบ้านพักตากอากาศ แล้วชักชวน Ken ไปร่วมอยู่อาศัย
    • Shingo แวะเวียนไปที่อพาร์ทเม้นท์ของ Shina ถูกเธอเกี้ยวพาราสี แต่กลับไม่สามารถร่วมเพศสัมพันธ์
    • Ritsuko ร่วมรักกับ Ken และเชื่อว่าเขาคือบิดาแท้ๆของ Takachi
    • Shingo เดินทางมาถึงยังบ้านพักตากอากาศ พูดบอกความต้องการกับ(อดีต)ภรรยา และยังคงเชื่อมั่นว่า Takachi คือบุตรของตนเอง
    • Ritsuko จากไปกับ Ken และ Takachi

สังเกตว่าจะมีเฉพาะครึ่งแรกที่เรื่องราวกระโดดไป-มา แต่ถ้าสามารถผ่านความวุ่นๆวายๆช่วงนั้นไปได้ ครึ่งหลังคือจุดเปลี่ยน เหลือเพียงดำเนินเรื่องเป็นเส้นตรง (ตัวละครค้นพบความหมายครอบครัว/เป้าหมายของตนเอง) แค่สลับสับเปลี่ยนมุมมองนิดๆหน่อยๆ ไม่น่าจะยุ่งยากเกินทำความเข้าใจ


เพลงประกอบโดย Teizô Matsumura, 禎三 松村 (1929-2007) คีตกวีสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kyoto ในครอบครัวพ่อค้าขายกิโมโน บิดาชื่นชอบเล่นดนตรี Shakuhachi ส่วนมารดาบรรเลง Koto ทำให้บุตรชายค้นพบความชื่นชอบด้านดนตรีมาตั้งแต่เด็ก แต่งเพลงได้ตั้งแต่เรียนอนุบาล หลังสงครามเดินทางสู่ Tokyo ได้เข้าศึกษา Tokyo University of the Arts เป็นลูกศิษย์ของ Tomojiro Ikenouchi, ช่วงต้นทศวรรษ 50s ล้มป่วยปอดบวม ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานห้าปี ใช้เวลาช่วงดังกล่าวเขียนเพลง แต่งบทกวี Haiku พอรักษาหายก็นำบทเพลง Introduction and Concert Allegro คว้ารางวัลอันดับหนึ่ง NHK Mainichi Music Competition เข้าตาคณะกรรมการ Akira Ifukube จึงมีโอกาสร่ำเรียนตัวต่อตัว, จากนั้นมีผลงานประพันธ์เพลงออร์เคสตรา อุปรากร เพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ Apart from Life (1970), The Long Darkness (1972), Death of a Tea Master (1989), My Son (1991) ฯ

งานเพลงถือเป็นอีกไฮไลท์ของหนัง แต่เชื่อว่าหลายอาจส่ายหัว กุมขมับ สัมผัสไม่ได้ถึงความไพเราะเพราะพริ้ง เนื่องจากสไตล์เพลงเป็นแนวทดลอง (Experimental) ในลักษณะ ‘Avant-Garde’ เครื่องดนตรีเดี๋ยวดัง-เดี๋ยวหยุด บรรเลงตัวโน๊ตกระโดดไปมา บางครั้งก็ฟังไม่ได้สดับ สับสนวุ่นวาย และเสียงร้องโหยหวน สร้างความกรีดกราย สั่นสะท้านทรวงใน

จุดประสงค์การเลือกใช้สไตล์เพลงประเภทนี้ เพื่อให้สอดคล้องเนื้อหาการผสมเทียม เป็นสิ่งที่ดูเหนือจริง ‘artificial’ จับต้องไม่ได้ ไม่สามารถเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และวิธีการใช้ก็ไม่ใช่สร้างบรรยากาศ คลอประกอบพื้นหลัง (ความเงียบงันช่วยสร้างบรรยากาศตึงเครียดได้ทรงพลังกว่า) มักดังขึ้นในลักษณะ ‘สร้อยบทกวี’ เฉพาะช่วงเวลาสำคัญๆ บังเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน บรรยายความรู้สึกตัวละครขณะนั้นๆ

เสียงประกอบ (Sound Effect) ถือเป็นอีกไฮไลท์ที่หลายครั้งมีความโดดเด่นขึ้นมา แฝงความหมาย และช่วยสร้างความเข้าใจบางอย่างให้กับเรื่องราว อาทิ

  • เสียงนกร้อง จิ้งหรีดเรไร มีทั้งได้ยินจากธรรมชาติ ผืนป่า และเปิดจากเครื่องเล่นเทปในอพาร์ทเม้นท์ของ Shina (เสียงเทียม ‘artificial’)
  • เสียงรถยนต์เคลื่อนผ่านระหว่างที่มารดา Ritsuko ปล่อยบุตรชายวิ่งเล่นกลางท้องถนน ปฏิกิริยาของเธอแม้ดูกลัวๆกล้า แต่ทำเหมือนอยากให้ถูกชน หรือมีอะไรบางอย่างบังเกิดขึ้น
  • ระหว่างที่ Ken เดินติดตามหา Ritsuko (และบุตรชาย) บนขบวนรถไฟ จะได้ยินเสียงกระฉึกกระฉักตลอดทาง แต่พอพวกเขาเริ่มสนทนา เสียงดังกล่าวจะค่อยๆเงียบหาย และเมื่อพูดคุยกันจบสิ้น พอดิบพอดีพุ่งเข้าอุโมงค์ เสียงรถไฟจะกลับมาดังขึ้นอีกครั้ง
    • นี่อาจเป็นข้อจำกัดในการบันทึกเสียงสมัยนั้น แต่ขณะเดียวกันเสียงรถไฟยังสื่อถึงความสนใจต่อโลกภายนอก (ช่วงระหว่างที่คนสองพูดคุยกันไม่ได้ยินเสียงรถไฟ เพราะไม่ได้มีความสนใจอะไรใครอื่น)

Flame and Women (1967) นำเสนอข้อถกเถียงของการผสมเทียม เด็กหลอดแก้ว เทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งเริ่มแพร่หลายในทศวรรษนั้น ตั้งคำถามถึงความถูกต้องเหมาะสม ทางศีลธรรม ทางสังคม ทารกที่ถือกำเนิดเป็นบุตรของใคร? บิดาแท้ บิดาเทียม ความหมายของครอบครัวคืออะไร?

ประเด็นคำถามดังกล่าวอาจฟังดูเหมือนประเด็นโลกแตก ขึ้นอยู่กับมุมมองครุ่นคิดเห็นส่วนบุคคล แต่สิ่งแน่นอนไม่มีวันเปลี่ยนแปลงก็คือ …

  • บุตรที่เกิดจากรังไข่ + อสุจิของใคร บุคคลนั้นย่อมคือบิดา-มารดาที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด ส่งต่อผ่านแม่พิมพ์ชีวิต (DNA)
  • ขณะที่บุตรเกิดจากอสุจิของใครไม่รู้ รังไข่ของใครไม่รู้ รวมถึงฝากครรภ์แม่อุ้มบุญ กรรมสิทธิ์ในตัวเด็กย่อมคือบุคคลที่แสดงเจตจำนงค์ ต้องการรับเลี้ยงดูแล หรือที่เรียกบิดา-มารดาบุญธรรม! แม้ไม่ใช่เลือดเนื้อเชื้อไข แต่ถือว่ามีความสัมพันธ์ทางจิตใจ

ความวุ่นๆวายๆที่พบเห็นในหนัง อาจเกิดจากตัวละครยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ข้อกฎหมายไม่ชัดเจน และอคติจากทัศนคติทางสังคมที่ถูกปลูกฝัง เสี้ยมสอนสั่ง ญี่ปุ่นยังยึดถือมั่นแนวคิดชายเป็นใหญ่ ปิตาธิปไตย บุรุษคือช้างเท้าหน้า ต้องมีความเข้มแข็ง ไม่ยินยอมรับผู้อ่อนแอ

สังคมยุคก่อน ชายผู้ไร้น้ำยา ไม่สามารถทำให้ภรรยาตั้งครรภ์ มักถูกตีตราว่าบุรุษชั้นสอง ไม่ใช่ลูกผู้ชาย ได้รับสายตาดูถูกเหยียดหยาม เพราะการมีบุตรถือเป็นหน้าที่ ศักดิ์ศรี ความรับผิดชอบในการสืบต่อพงศ์เผ่าพันธุ์ (แนวคิดของ Alpha Male) แต่ในปัจจุบันค่านิยมทางสังคมได้ปรับเปลี่ยนไปมาก เพศสภาพไม่มีแค่ชาย-หญิง หรือความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา แรงกดดันเรื่องการมีบุตรจึงลดน้อยถอยลง หลายๆคนเลือกครองตัวเป็นโสด คู่รักไม่ต้องการแบกภาระรับผิดชอบลูกหลาน ฯ

ประเด็นการผสมเทียม เด็กหลอดแก้ว กลายเป็นทางเลือกที่ผู้คนให้การยินยอมรับ ไม่ใช่แค่ชายหรือหญิงที่มีปัญหาอสุจิหรือรังไข่ แต่ยังแม่อุ้มบุญ รวมถึงการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม มนุษย์ไม่จำต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือด ก็สามารถเป็นครอบครัวเดียวกัน พ่อ-แม่-ลูก, พ่อ-พ่อ-ลูก, แม่-แม่-ลูก, พ่อเลี้ยงเดี่ยว, แม่เลี้ยงเดี่ยว, เราสองสามคน ฯ ข้อถกเถียงของหนังจึงเฉิ่มเชย ล้าหลัง เหลือแค่คนรุ่นเก่า (พวกเบบี้บูม) ยังคงต่อต้านขัดขืน ไม่อยากยินยอมรับความเปลี่ยนแปลงบังเกิดขึ้น

สำหรับผกก. Yoshida และภรรยา Mariko Okada ผมไม่สามารถหารายละเอียดใดๆเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว มีความใกล้เคียงกับเรื่องราวของหนังมากน้อยเพียงใด พบเจอเพียงบทสัมภาษณ์หนึ่งกล่าวถึงเวลาทำงาน ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตนเอง ไม่ยุ่งเกี่ยวข้องแว้ง มอบอิสรภาพให้กันและกัน

Q: How was it for you working with your wife?

First thing I can say is that, during the shoot, my wife was Okada-san, the same way as it had been before we got married. Moreover, I never told her anything about my work while on set or even prior to the actual shooting, when I was writing the script. When I thought of her as an actress, it was strictly professional.

Q: You mean that from the moment you are on set, in a way, she was no longer your wife but the actress Mariko Okada?

That is right. We were not even eating together there, as I had my own working schedule and things I needed to take care of with the other members of the crew, and she was with the other actresses and actors.

Yoshishige Yoshida

ชื่อหนัง Honō to Onna หรือ Flame and Women ผมคาดว่าน่าจะสื่อถึงเพลิงราคะ ไฟริษยาของผู้หญิง สัญชาติญาณเพศแม่ที่ต้องการบุตรจากเลือดเนื้อเชื้อไข สามีที่สามารถเติมเต็มตัณหาความใคร่ ไม่ใช่การผสมเทียม เด็กหลอดแก้ว น้ำเชื้ออสุจิใครก็ไม่รู้ฉีดพ่นเข้ามาในร่างกาย มีลูกกับชายไร้น้ำยา มันช่างน่าอับอายขายขี้หน้า

จะว่าไปเรื่องราวของสองชายผู้ไร้ศักยภาพทางเพศ ยังคือภาพสะท้อนญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความพ่ายแพ้เป็นเรื่องน่าอับอายขายขี้หน้า หลายคนสูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธา ล้มป่วยอาการซึมเศร้า (Depression) ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสู่โลกสมัยใหม่

ตรงกันข้ามกับบรรดาหญิงสาว เมื่อบุรุษกลายเป็นผู้ไร้ประสิทธิภาพ(ทางเพศ) พวกเธอจึงก้าวขึ้นมามีบทบาท กล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจ ไม่ยินยอมถูกกักขัง ควบคุมครอบงำ โหยหาอิสรภาพ ต้องการสิทธิ์เสียงครุ่นคิดตัดสินใจ และโบยบินสู่ท้องฟ้าไกล

แซว: ฤาว่าชื่อหนัง Flame and Women จะหมายถึงภาพช็อตนี้?? Ritsuko ขณะอยู่ไฟ? ถูกสามีข่มขืนขณะกำลังตั้งครรภ์?

ผมไม่แน่ใจว่าหนังผ่านการบูรณะแล้วหรือยัง แต่คุณภาพฉบับที่ได้รับชมมีความคมชัด ไร้ริ้วรอยขีดข่วน (ถ้ายังไม่บูรณะ ก็คงสแกนฟีล์มใหม่) เป็นไฟล์ WEBRip ที่ไม่รู้ดูดมาจากไหน ลองพยายามหาออนไลน์ก็ไม่พบเจอสักแห่งหน

Flame and Women (1967) เป็นภาพยนตร์ที่มีความงดงาม ‘innovative’ เต็มไปด้วยไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์สุดบรรเจิด แพรวพราวด้วยลูกเล่น ภาษาภาพยนตร์ แต่ว่ากันตามตรงแทบไม่มีความบันเทิงสักเท่าไหร่ ยิ่งดูยิ่งปวดหัว กุมขมับ สลับซับซ้อน วุ่นๆวายๆเกินไป และที่สำคัญคือประเด็นถกเถียง เนื้อหาตกยุคสมัย มันจึงไม่สามารถสร้างแรงดึงดูดความสนใจต่อผู้ชมสมัยใหม่

เอาว่าถ้าใครชอบความท้าทาย หนังขายแนวคิด โดยเฉพาะภาพถ่ายสวยๆ ลีลาตัดต่อจัดจ้าน ลองหาผลงานผกก. Yoshida แล้วจะบังเกิดความตระหนักว่า Shōchiku Nouvelle Vague (หรือ Japanese New Wave) แม้งโคตรดิบ บ้าระห่ำ กล้าลองผิดลองถูก ‘Avant-Garde’ ไม่ด้อยไปกว่า French New Wave

จัดเรต 18+ การสนทนาเรื่องเพศ คบชู้นอกใจ

คำโปรย | Flame and Women แม้แพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์ แต่ประเด็นถกเถียง เนื้อหาตกยุคสมัยตามกาลเวลา
คุณภาพ | ตกยุคสมัย
ส่วนตัว | ดูวุ่นๆวายๆ

Noruwei no Mori (2010)


Norwegian Wood (2010) Japanese : Trần Anh Hùng ♥♥♥♥♡

ถูกโจมตีจากแฟนคลับของ Haruki Murakami ว่าฉบับดัดแปลงภาพยนตร์เพียงบทสรุปเนื้อหา ตัดทอนรายละเอียด ลดบทบาทตัวละครสำคัญ แต่ความงดงามของ Norwegian Wood (2010) คือสัมผัสกวีภาพยนตร์ ทำให้ผู้ชมมอดไหม้ไปกับการสูญเสียรักครั้งแรก

ผมเข้าใจความผิดหวังของคนเคยอ่านนวนิยายแล้วมารับชมภาพยนตร์ ย่อมพบเห็นสิ่งขัดหูขัดตา เนื้อหารายละเอียดขาดๆเกินๆ ไร้มนต์เสน่ห์ในแบบฉบับ Murakami แต่ทว่าวรรณกรรมกับภาพยนตร์มันคนละศาสตร์กันนะครับ!

ผมไม่เคยอ่านต้นฉบับนวนิยาย และไม่คิดจะหยิบมาอ่านด้วย เพราะเชื่อว่าอาจทำลายภาพความประทับใจต่อภาพยนตร์ รายละเอียดบางอย่างปล่อยทิ้งไว้ให้คลุมเคลือ ค้างๆคาๆ ย่อมดีกว่ารับรู้เนื้อหา คำอธิบายความครุ่นคิดทั้งหมด … แน่นอนว่าฉบับนวนิยายย่อมมีอะไรๆมากกว่าภาพยนตร์ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผมอยากหลีกเลี่ยง เพราะลีลาการนำเสนอของผกก. Trần Anh Hùng สร้างพื้นที่สำหรับให้ผู้ชมปลดปล่อยจินตนาการได้อย่างเสรี เพียงพอดีอยู่แล้ว!

เมื่อตอนผมรับชม Norwegian Wood (2010) ในโรงภาพยนตร์ (จำไม่ได้ว่าดูที่ House หรือ Scala) เกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน กินไม่ได้นอนไม่หลับอยู่หลายวัน แต่ตอนนั้นยังไม่เข้าใจตนเองว่าชอบ-ไม่ชอบ เอาจริงๆดูไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำว่ามีเนื้อหาอะไร เพียงสัมผัสทางอารมณ์ มอดไหม้ทรวงใน … น่าเสียดายบทความที่ผมเคยเพ้อรำพันตอนสมัยเรียน (ก่อนทำ raremeat.blog) ล่องจุ๊นไปกับ Exteen.com

หวนกลับมารับชมคราวนี้ บังเกิดความหลงใหลคลั่งไคล้ ดูรู้เรื่องว่าเกี่ยวกับการสูญเสียรักครั้งแรก คล้ายๆกับ Burning (2018) ที่ก็ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Haruki Murakami แม้ลีลากำกับ/สไตล์ลายเซ็นต์ของ Lee Chang-dong ทำออกมาได้ทรงพลังตราตรึงกว่า แต่ทว่า Trần Anh Hùng ก็สร้างสัมผัสกวีภาพยนตร์ งดงามวิจิตรศิลป์ไม่แพ้กัน … สไตล์ภาพยนตร์ของทั้งสองแตกต่างกันประมาณ ร้อยแก้ว (prose) vs. ร้อยกรอง (verse) แล้วแต่ความชื่นชอบส่วนบุคคล

รับชม Norwegian Wood (2010) แนะนำเปิดใจกว้างสักนิด เพราะตัวละครสนทนาแต่เรื่องรักๆใคร่ๆ แนวคิดสมัยใหม่ “ความรัก ≠ เพศสัมพันธ์” รวมถึงลองสังเกตรายละเอียดสถานที่พื้นหลัง ครุ่นคิดหาความสัมพันธ์กับเรื่องราวบังเกิดขึ้น ซึ่งนั่นอาจทำให้คุณพบเห็นความงดงาม สัมผัสกวีภาพยนตร์ คลอประกอบบทเพลงเพราะๆ … เหมาะสำหรับคนอกหัก สูญเสียคนรัก จากไปอย่างไม่มีวันกลับ

ระหว่างอ่านบทความนี้ แนะนำให้รับฟังบทเพลงที่เป็นแรงบันดาลใจ Norwegian Wood (This Bird Has Flown) แต่งโดย Lennon–McCartney (John Lennon & Paul McCartney), ต้นฉบับขับร้องโดยวง The Beatles, ประกอบอัลบัม Rubber Soul (1965), ทำออกมาในบรรยากาศเพื่อชีวิต Bob Dylan และมีการบรรเลง Sitra (กีตาร์ของชาวอินเดีย) โดย George Harrison (ลูกศิษย์ของ Ravi Shankar) กลายเป็นจุดเริ่มต้น Raga Rock, Psychedelic Rock และช่วยเผยแพร่ Indian Classical Music สู่โลกตะวันตก

เกร็ด: บทเพลง Norwegian Wood (This Bird Has Flown) ได้รับการโหวตติดอันดับ #83 นิตยสาร Rolling Stone: The 500 Greatest Songs of All Time (2004)

ก่อนอื่นขอกล่าวถึง Haruki Murakami, 村上 春樹 (เกิดปี 1949) นักเขียนเรื่องสั้น นวนิยายขายดี สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fushimi-ku, Kyoto บิดาเป็นนักบวชศาสนาพุทธ (ผมไม่เรียกพระสงฆ์ เพราะนักบวชพุทธในญี่ปุ่นแต่งงานมีภรรยาได้) พานผ่านสงคราม Second Sino-Japanese War (1937-45) ได้รับความบอบช้ำทางจิตใจอย่างหนัก จนส่งผลกระทบถึงบุตรชาย, วัยเด็กได้รับอิทธิพลมากมายจากตะวันตก ชื่นชอบการอ่าน หลงใหลดนตรีแจ๊ส โตขึ้นสอบเข้าเรียนการละคอน Waseda University จบออกมาทำงานร้านขายแผ่นเสียง เก็บหอมรอมริดจนสามารถเปิดร้านกาแฟและบาร์แจ๊ส (Coffee House & Jazz Bar) ตั้งชื่อว่า Peter Cat (ตามชื่อแมวตัวโปรด), ตอนอายุ 29 ปี ทดลองเขียนนวนิยายเล่มแรก Hear the Wind Sing (1979) ชนะการประกวดอะไรสักอย่าง กลายเป็นแรงผลักดันค่อยๆผันตัวสู่วงการนักเขียน

ผลงานในช่วงแรกๆของ Murakami ไม่ค่อยได้เสียงตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์(ญี่ปุ่น)สักเท่าไหร่ เพราะรับอิทธิพลจากวรรณกรรมตะวันตกค่อนข้างมาก มักเขียนเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ไร้ซึ่งความเป็นญี่ปุ่น จนได้รับฉายาแกะดำ (Black Sheep in the Japanese literary world) แต่กลับเป็นที่ถูกอกถูกใจวัยรุ่น คนหนุ่มสาว นักอ่านใหม่ๆ เพราะสามารถจับต้องจิตวิญญาณร่วมสมัย “capture the spirit of his generation” สะท้อนความรู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว โหยหาความรัก วิพากย์วิจารณ์ลัทธิทุนนิยม ทำให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ตกต่ำทรามลง

สำหรับนวนิยายลำดับที่ห้า Norwegian Wood (1987) หลายคนคงมีความเข้าใจผิดๆ ครุ่นคิดว่าได้แรงบันดาลใจจากบทเพลงฮิตของ The Beatles แม้ในเรื่องราวจะมีการอ้างอิงถึง แต่ความตั้งใจแรกของ Murakami เพียงแค่ต้องการทดลองเขียนผลงานที่มีความเป็น ‘realistic’ ตรงไปตรงมา และเข้าสู่กระแสหลัก (mainstream)

พล็อตของ Norwegian Wood ได้แรงบันดาลใจ/ดัดแปลงจากเรื่องสั้นที่เคยเขียนไว้ 螢 (1983) อ่านว่า Hotaru แปลว่า Firefly ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าเคยตีพิมพ์ลงนิตยสารฉบับไหน แต่ปัจจุบันรวบรวมอยู่ใน 24 เรื่องสั้น Blind Willow, Sleeping Woman (2006)

เรื่องสั้น Firefly ผู้แต่ง Murakami ให้อธิบายถึงการคร่ำครวญ หวนระลึกความทรงจำ ภาพภูมิทัศน์ญี่ปุ่นที่ปรับเปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน(นั้น) ดังคำอธิบายหิ่งห้อย …

The firefly made a faint glow in the bottom of the jar, its light too weak, its color too pale. I hadn’t seen a firefly in years, but the ones in my memory sent a far more intense light into the summer darkness, and that brilliant, burning image was the one that had stayed with me all that time.

Norwegian Wood (1987) ก็เฉกเช่นเดียวกัน เริ่มต้นจากตัวละคร Toru Watanabe ในวัย 37 ปี หวนระลึกนึกย้อนความทรงจำ เหตุการณ์ในช่วงทศวรรษ 1960s เมื่อครั้นยังเป็นนักศึกษาการละคอนอยู่ Tokyo ได้พบเจอรักครั้งแรกกับ Naoko บังเกิดมิตรภาพอันแปลกประหลาด ความสัมพันธ์อันฉาบฉวย “ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย”

เกร็ด: โดยปกติแล้วการทำงานของ Murakami มักเริ่มต้นด้วยการตั้งชื่อหนังสือ แต่ยกเว้นเพียงนวนิยายเล่มนี้ที่ได้ข้อสรุปหลังเขียนเสร็จ ซึ่งหนึ่งใน Working Title ก็คือ The Garden in the Rain แต่หลังจากรับฟังบทเพลง Norwegian Wood (This Bird Has Flown) เลยตัดสินใจเลือก Norwegian Wood ภาษาญี่ปุ่น ノルウェイの森 อ่านว่า Noruwei no Mori แต่ทว่า 森, Mori ความหมายออกไปทางผืนป่า, Forest เสียมากกว่า!

เมื่อวางจำหน่ายกลายเป็นนวนิยายขายดี (Best-Selling) เฉพาะในญี่ปุ่นทำยอดขายปีแรกกว่าล้านเล่ม! (บางแหล่งข่าวบอกถึงสองล้าน ปัจจุบันเห็นว่าเกินสิบล้านไปแล้ว) ได้รับการแปลหลากหลายภาษาเกือบทั่วโลก ก่อเกิดปรากฎการณ์ Murakami แฟนคลับในญี่ปุ่นต่างรุมห้อมล้อม มาดักรอคอยยังสนามบิน ทำราวกับเขาเป็นดารา ซุปเปอร์สตาร์! เจ้าตัวเลยต้องอพยพหลบหนีออกนอกประเทศ ท่องเที่ยวยุโรป สหรัฐอเมริกา โหยหาความสงบสุข เรียบง่าย ไม่ได้ต้องการมีชื่อเสียงสักเท่าไหร่

ปล. Murakami เขียนนวนิยาย Norwegian Wood (1987) ระหว่างพำนักอาศัยอยู่อิตาลี มันเลยไม่เชิงเพราะความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้จึงต้องอพยพหลบหนีจากญี่ปุ่น

I actually wrote most of Norwegian Wood in Italy. So it’s not like I went there to run away from all the publicity. However, when the book became a bestseller, I felt like I could do without all the hassle of going back to Japan so I ended up staying in Italy for a long time.

Haruki Murakami

Trần Anh Hùng (เกิดปี 1962) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Vietnamese-French เกิดที่ Da Nang, South Vietnam ในช่วงสงคราม Vietnam War (1955-75) อพยพสู่ลาว ก่อนลี้ภัยไปฝรั่งเศส โตขึ้นระหว่างร่ำเรียนปรัชญา กระทั่งมีโอกาสรับชม A Man Escaped (1956) กำกับโดย Robert Bresson หันเหความสนใจมายังภาพยนตร์ ร่ำเรียนการถ่ายภาพ École nationale supérieure Louis-Lumière ทำงานเป็นตากล้อง กำกับหนังสั้น The Married Woman of Nam Xuong (1989), La pierre de l’attente (1991), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก The Scent of Green Papaya (1993)

ความสนใจของ Trần Anh Hùng ไม่ใช้การเล่าเรื่องแบบปกติทั่วๆไป พยายามมองหาวิธีสื่อสาร ภาษาภาพยนตร์รูปแบบใหม่ๆ ให้คำนิยามงานศิลปะ “Art is the truth wearing a mask” ท้าทายให้ผู้ชมครุ่นคิดค้นหาคำตอบของสิ่งที่หลบซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังหน้ากาก

ผู้กำกับ Trần Anh Hùng มีโอกาสอ่านนวนิยาย Norwegian Wood (1987) ฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1994 แล้วเกิดความชื่นชอบหลงใหล ถึงขนาดตั้งใจจะไม่อ่านผลงานเรื่องอื่นของผู้แต่ง Murakami จนกว่าจะได้ดัดแปลงสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้!

I read Norwegian Wood in 1994 and since then, every time I visited Japan I wanted to talk to someone about adapting it. But there was no one to talk to. It turned out that Murakami didn’t allow any movie adaptations of his books. Then about 5-6 years ago, the distributor (Sony Pictures) of my film Vertical Ray of the Sun, got in touch with me. They remembered my desire to adapt the book and told me that Murakami just allowed one of his short stories to be adapted, that it might be a good time to try again.

Trần Anh Hùng

ด้วยความที่ Murakai หึงหวงผลงานของตนเองอย่างมาก ไม่เคยอนุญาตให้ทำการดัดแปลงเป็นสื่ออื่น จนกระทั่งเรื่องสั้น Tony Takitani ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์เมื่อปี ค.ศ. 2004 กำกับโดย Jun Ichikawa นั่นทำให้โปรดิวเซอร์เล็งเห็นความเป็นไปได้ จึงลองติดต่อนัดพบเจอผกก. Trần Anh Hùng เมื่อปี ค.ศ. 2004

Murakami protected his work. He’s quiet, very serious and very careful. He gave us two conditions. One is that he would like to see the script. The other is that he would like to know what the budget would be for the movie.

ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าหนังใช้งบประมาณเท่าไหร่ แต่ผกก. Trần Anh Hùng พัฒนาบทหนังนานถึง 4 ปี (คงรวมการสำรวจสถานที่ถ่ายทำด้วยกระมัง) ปรับเปลี่ยนรายละเอียดพอสมควรกว่าที่ Murakami จะยินยอมอนุญาตให้ดัดแปลง พร้อมอำนวยอวยพร เชื่อมั่นว่าผลลัพท์ต้องออกมาดี

After this exchange of comments and notes, Murakami said, ‘Go with the film you have in your head. What you have to do is make the most beautiful film possible.’

เท่าที่ผมอ่านความคิดเห็นแฟนคลับต้นฉบับนวนิยาย บ่นอุบถึงสองความเปลี่ยนแปลงที่ยินยอมรับไม่ค่อยจะได้

  • ในนวนิยายจะเต็มไปด้วยคำอธิบายรายละเอียด ความครุ่นคิดของตัวละคร (Inner Voice) ซึ่งภาพยนตร์ไม่สามารถทำเช่นนั้น ปรับเปลี่ยนมาใช้การเล่าเรื่องด้วยภาพเคลื่อนไหว (ภาษาภาพยนตร์) บางครั้งไม่มีคำอธิบายอะไรใดๆ
  • การลดบทบาท Midori ฉบับนวนิยายมีความสำคัญเทียบเท่า Naoko หลายครั้งยังเล่าเรื่องผ่านมุมมองของพวกเธอ, แต่ภาพยนตร์ทำเหมือนแค่เพียงตัวประกอบ (Side Charactor) สัมผัสไม่ได้ถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง และดำเนินเรื่องผ่านมุมมอง Watanabe เพียงผู้เดียว!

พื้นหลังทศวรรษ 1960, เรื่องราวของ Toru Watanabe (รับบทโดย Kenichi Matsuyama) หลังสูญเสียเพื่อนสนิท Kizuki จากการฆ่าตัวตาย กลายเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย Tokyo ระหว่างเดินเล่นในสวนสาธารณะ บังเอิญพบเจอกับ Naoko (รับบทโดย Rinko Kikuchi) แฟนของเพื่อนเก่า และรักครั้งแรกของตนเอง โดยไม่รู้ตัวเริ่มคบหาดูใจ จนกระทั่งวันเกิด 20 ปีของฝ่ายหญิง พวกเขาจึงร่วมเพศสัมพันธ์ ก่อนตระหนักว่าเธอยังเป็นสาวพรหมจรรย์ พลั้งปากสอบถามทำไมเธอไม่เคยร่วมรักกับเขา ทำเอาทั้งสองตกอยู่ในสภาพหดหู่สิ้นหวัง (Deep Depression)

เหตุการณ์วันนั้นทำให้ Naoko สูญหายตัวไปอย่างลึกลับ ก่อนพบว่าพักรักษาตัวอยู่สถานบำบัดกลางป่าแห่งหนึ่ง จึงมีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเยียนหลายครั้ง ขณะเดียวกัน Toru ก็ได้พบเจอเพื่อนนักศึกษาสาว Midori (รับบทโดย Kiko Mizuhara) เธอพยายามเข้าหา เกี้ยวพาราสี บังเกิดความสัมพันธ์อันดี แต่เขายังคงมีเยื่อใยให้กับรักครั้งแรกมากกว่า

หลังจาก Naoko เปิดเผยเหตุผลที่ตนเองไม่สามารถร่วมรักกับ Kizuki โดยไม่รู้ตัวขณะนั้นกำลังเกิดความรู้สึกเดียวกันกับ Toru และพอไม่สามารถเติมเต็มความรักให้กัน เธอจึงตัดสินใจกระทำอัตนิวิบาตกรรม สร้างความเศร้าโศกสิ้นหวัง ออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆทั่วญี่ปุ่น กรีดกราย ระบายอารมณ์คลุ้มคลั่ง หลังสงบสติอารมณ์ หวนกลับมาเริ่มต้นสานสัมพันธ์รักครั้งใหม่กับ Midori


Kenichi Matsuyama, 松山 ケンイチ (เกิดปี 1985) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Mutsu, Aomori โตขึ้นทำงานโมเดลห้างสรรพสินค้า Parco, จากนั้นมีผลงานละคอนซีรีย์ Gokusen (2002), ภาพยนตร์เรื่องแรก Bright Future (2003), โด่งดังกับบทบาท L แฟนไชร์ Death Note, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Detroit Metal City (2008), Norwegian Wood (2010), Gantz (2011), Satoshi: A Move for Tomorrow (2016) ฯ

รับบท Toru Watanabe หนุ่มหน้าใส มีความนุ่มนวลอ่อนไหว ตกหลุมรักครั้งแรก Naoko แต่ยินยอมหลีกทางให้เพื่อนสนิท Kizuki เพราะเห็นว่าพวกเขารับรู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก กระทั่งวันเกิดอายุ 17 โดยไม่มีใครทราบสาเหตุ Kizuki กระทำอัตวินิบาตกรรม สร้างความเจ็บปวด ชอกช้ำ ตัดสินใจออกเดินทางสู่ Tokyo ใช้ชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยอย่างเตร็ดเตร่ ไร้จุดหมาย ร่วมกับเพื่อนร่วมห้อง Nagasawa สลับคู่นอน เปลี่ยนหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า จนกระทั่งวันหนึ่งบังเอิญพบเจอ Naoko จึงเริ่มรื้อฟื้น สานความสัมพันธ์ เติมเต็มความต้องการของกันและกัน

ระหว่างการร่วมรักทำให้ Toru ตระหนักว่า Naoko ยังเป็นสาวบริสุทธิ์ จู่ๆตั้งคำถามทำไมถึงไม่เคยมีอะไรกับแฟนเก่า Kizuki โดยไม่รู้ตัวนั่นทำให้เธอเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกตนเอง ถึงขนาดต้องเข้ารักษาตัวยังสถานบำบัดกลางป่า สร้างความรู้สึกผิด ตระหนักถึงภาระรับผิดชอบ แม้ยังคงหลับนอนหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า แต่พยายามปิดกลั้นความรู้สึกดีๆที่มีต่อ Midori ควบคุมตนเองไม่ให้ปล่อยใจไปกับความรัก

หลายคนคงติดภาพจำ Matsuyama จากนักสืบอัจฉริยะ L ผู้มีความเฉลียวฉลาดปราชญ์เปรื่อง แต่สำหรับ Toru Watanabe ถือเป็นการพลิกบทบาทครั้งสำคัญ แม้หน้าใสๆ ดูละอ่อนเยาว์วัย แต่ภายในเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย (จากความตายของเพื่อนสนิท) ค้นพบวิธีระบายความรู้สึกอัดอั้นด้วยการหลับนอนหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า แบ่งแยกแยะออกจากความรักที่มีให้กับ Naoko แต่มันกลับพัฒนาสู่ความรู้สึกผิด กลายเป็นภาระรับผิดชอบ และตอนสูญเสียเธอไป ปฏิกิริยาสีหน้า ท่าทางกรีดร้อง ร่ำไห้ แม้ไม่ได้ยินเสียง แต่เป็นภาพที่สร้างความเจ็บปวดทรมานจิตใจ

หลายคนอาจมองว่าตัวละครนี้คือผู้ล่า ‘sexual predator’ แต่เราต้องแยกแยะให้ออกระหว่าง เพลย์บอย คาสโนว่า One Night Stand (ONS) หรือสลับคู่นอนที่เป็นการสมยินยอมระหว่างคนสอง(สาม)คน แตกต่างจากการถูกบีบบังคับ ล่อลวง ล่วงละเมิด หรือใช้ความรุนแรงทางเพศ (ต้องในลักษณะถึงสามารถเรียกว่า ‘sexual predator’)

ซีเควนซ์ที่ผมรู้สึกประทับใจการแสดงของ Matsuyama คือฉากที่ต้องเผชิญหน้า ตอบคำถามเรื่องการสลับคู่นอนกับ Hatsumi (แฟนสาวของ Nagasawa) เธอพยายามบดขยี้ แสดงสีหน้าไม่พึงพอใจ ทำไมผู้ชายหน้าตาดีๆกลับทำตัวต่ำตม สกปรกโสมม … นั่นเพราะเธอไม่เข้าใจเหตุผล ตัดสินคนแค่เปลือกภายนอก เพียงการกระทำของอีกฝ่าย

คนที่อ่านนวนิยายมักแสดงความคิดเห็นว่า Toru เป็นตัวละครที่เศร้าสลด น่าสงสารเห็นใจ แต่ฉบับภาพยนตร์กลับให้อิสรภาพผู้ชมในการขบครุ่นคิด ตัดสินการกระทำ … โดยส่วนตัวมองว่าแบบหลังเป็นความท้าทาย และไม่จำเพาะเจาะจงว่าเราต้องรู้สึกเห็นใจตัวละครเพียงอย่างเดียว คุณรู้สึกอย่างไรกับเรื่องราวของชายคนนี้???


Rinko Kikuchi, 菊地 凛子 (เกิดปี 1981) นักแสดงหญิงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Hadano, Kanagawa เมื่อตอนอายุ 15 ปี ได้รับชักชวนเข้าสู่วงการโดยแมวมอง ทดสอบหน้ากล้องได้บทสมทบ Will to Live (1999) ของผู้กำกับ Kanade Shindo, พอมีชื่อเสียงกับ The Taste of Tea (2004), กระทั่งได้รับเลือกให้แสดง Babel (2006) กลายเป็นนักแสดงญี่ปุ่นคนแรกได้เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actress, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Norwegian Wood (2010), Pacific Rim (2013) ฯ

รับบท Naoko หญิงสาวผู้มีความเปราะบาง ตั้งแต่เด็กรับรู้จักกับ Kizuki ค่อยๆแปรสภาพสู่ความรัก แต่มันกลับทำให้เธอไร้อารมณ์ร่วม เจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ นั่นอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ชายคนรักตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม สร้างความห่อเหี่ยว เปล่าเปลี่ยว ตกอยู่ในความสิ้นหวัง จนกระทั่งมีโอกาสหวนกลับมาพบเจอ Toru พูดคุยสานสัมพันธ์ โดยไม่รู้ตัวบังเกิดอารมณ์ทางเพศ สูญเสียความบริสุทธิ์ในค่ำคืนวันเกิด 20 ปี

เหตุการณ์ดังกล่าวยิ่งสร้างความเจ็บปวดชอกช้ำ ทำไมฉันไม่สามารถมีอะไรกับชายคนรัก แต่กลับเต็มไปด้วยอารมณ์ร่านราคะกับเพื่อนอีกคน แสดงอาการคลุ้มคลั่ง พยายามคิดสั้นฆ่าตัวตาย ก่อนถูกส่งไปรักษาตัวยังสถานบำบัดกลางป่า ค่อยๆกลับมาสานสัมพันธ์กับ Toru โดยไม่รู้ตัวสถานการณ์แบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับ Kizuki หวนกลับมาอีกครั้ง (ตกหลุมรัก Toru ทำให้ไม่มีอารมณ์ทางเพศ ไม่สามารถร่วมรักกับเขา) นั่นทำให้เธอตกอยู่ในสภาพหดหู่ สิ้นหวัง ตรอมใจ ยินยอมรับความพ่ายแพ้ในที่สุด

เพราะภาพจำจาก Babel (2005) ทำให้ผกก. Trần Anh Hùng ไม่มีความสนใจในตัว Kikuchi แต่เธอพยายามพูดคุยติดต่อจนมีโอกาสเข้าทดสอบหน้ากล้อง ทำออกมายอดเยี่ยมเกินความคาดหมาย จนผู้กำกับก็ไม่สามารถปฏิเสธได้

When I was a teenager and read the book, I was really in Haruki’s world. I loved his feelings – the fragility, the danger and the beauty. I found it poetic. But as I’ve gotten older I feel like I’m completely different from Naoko’s character. I’m a lot tougher and not fragile anymore. We’re coming from opposite sides now and I could play Naoko because I don’t understand her feelings anymore. If I was closer to her, then it would be more difficult.

Rinko Kikuchi

เอาจริงๆผมว่าบทบาทจาก Babel (2005) ช่วยเสริมตัวตนของ Kikuchi หญิงสาวกล้าพูด กล้าแสดงออกเรื่องเพศ มองผิวเผินเหมือนยัยแรดร่าน แต่ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจปัญหา ความเปราะบางของเธอ “ความรัก ≠ เพศสัมพันธ์” เพราะไม่สามารถเติมเต็มรสรัก ทำให้รู้สึกผิดหวังในตนเอง เก็บมาหมกมุ่น ครุ่นคิดมาก อัดอั้นทุกข์ทรมาน ไร้หนทางระบายความรู้สึกภายใน มันจึงกลายเป็นระเบิดเวลาที่พร้อมทำลายทุกสิ่งอย่าง

สำหรับบุรุษ มันอาจไม่ใช่เรื่องยากที่จะเป็นเพลย์บอย เที่ยวซ่องโสเภณี ปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศ ระบายความอึดอัดอั้นภายในออกมา แต่สำหรับสตรีกลับถูกหักห้าม ไม่ให้การยินยอมรับ สังคมตีตรา เรียกว่าสำส่อนทางเพศ แนวคิดดังกล่าวคือเป็นการปิดกั้น ใช้ข้ออ้างศีลธรรมควบคุมครอบงำ ไร้ซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม(ทางเพศ) … นี่ก็อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Naoko มิอาจอดรนทนต่อความคาดหวังของสังคม

หลายคนอาจรู้สึกกระอักกระอ่วนเมื่อตอน Naoko เปิดเผยเหตุผลที่ไม่สามารถร่วมรักกับ Kizuki แต่นั่นเพราะคุณยังมีอคติ รับไม่ได้ต่อการแสดงออกเรื่องทางเพศของผู้หญิง สำหรับผมแล้วนั่นคือฉากทรงพลังพอๆกับการ “Coming Out” เปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศสู่สาธารณะ นี่ไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย เราควรแสดงความเชื่อมั่น ให้การยินยอมรับ และมอบกำลังใจให้อีกฝ่าย อย่าไปรับฟังเสียงเห่าหอนของหมูหมากาไก่


Kiko Mizuhara, 水原 希子 ชื่อจริง Audrie Kiko Daniel (เกิดปี 1990) นักร้อง นักแสดง นางแบบ แฟชั่นดีไซน์เนอร์ สัญชาติ American-Korea-Japanese เกิดที่ Dallas, Texas บิดาเป็นชาวอเมริกัน ส่วนมารดาถือสัญชาติ Zainichi Korean (ชาวเกาหลีอาศัยอยู่ในญี่ปุ่น) เดินทางมาปักหลักอยู่ญี่ปุ่นตั้งแต่สองขวบ, เมื่ออายุ 12 ปี เข้าร่วมการประกวดนิตยสารแฟชั่น Seventeen ได้รับเลือกเป็น Miss Seventeen จากนั้นกลายเป็นนางแบบ แฟชั่นโชว์ เข้าสู่วงการภาพยนตร์ Norwegian Wood (2010), Attack on Titan (2015) ฯ

รับบท Midori Kobayashi เพื่อนนักศึกษาร่วมชั้น วันหนึ่งเข้ามานั่งพูดคุยกับ Toru หยอกล้อ ทีเล่นทีจริง นิสัยง่ายๆ ร่าเริงสดใส เบิกบานด้วยรอยยิ้ม เป็นใครคงตกหลุมรัก แต่เพราะเขาติดพันอยู่กับ Naoko จึงพยายามหักห้ามตนเอง ไม่ปล่อยใจไปกับความรู้สึกดีๆ จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม

They’d done around 100 auditions for the role of Midori and hadn’t found anyone suitable. I was invited to meet Trần Anh Hùng as my expressions supposedly matched the character. I told him I’d never acted before but he liked my vibe and after three auditions I got the part.

Kiko Mizuhara

ภาพลักษณ์ของ Mizuhara ต้องถือว่ารู้จักแต่งหน้าทำผม ออร่าเปร่งประกาย เฉิดฉายดั่งแสงตะวัน แต่การแสดงยังดูเกร็งๆ ขาดๆเกินๆ ก็แน่ละนี่คือภาพยนตร์เรื่องแรก ออดิชั่นผ่านเพราะความบุคลิกภาพคล้ายตัวละคร ไม่ใช่ทักษะด้านการแสดงที่เริ่มต้นจากศูนย์

During filming, the director was very strict and purposefully said mean things to me. There would be 50 takes, but then he’d end up using the first one. He did it so I’d learn and improve. I was extremely nervous, but in many ways, it was the best movie I could have asked for as my first.

Midori เปรียบดั่งกระจก/ภาพสะท้อน Naoko ทั้งความครุ่นคิด อุปนิสัยใจคอ ปฏิกิริยาแสดงออก ล้วนมีความแตกต่างตรงกันข้าม แต่เบื้องหลังของทั้งสองกลับละม้ายคล้ายคลึง พานผ่านประสบการณ์สูญเสียคนใกล้ตัว ภายในยังคงเจ็บปวดทุกข์ทรมาน … ผู้ชมสามารถสัมผัสถึงความเจ็บปวดภายในของ Naoko แต่ขณะที่ Midori พยายามแสดงความเข้มแข็ง ปฏิเสธเปิดเผยด้านอ่อนแอของตนเองให้ใครพบเห็น (ไม่ยินยอมให้ Toru ไปร่วมงานศพบิดา)

ปล. เหตุผลที่ผกก. Trần Anh Hùng ตัดสินใจเลือกนักแสดงหน้าใหม่ Kiko Mizuhara อาจเพราะต้องการให้เกิดความแตกต่างตรงกันข้ามกับ Rinko Kikuchi ผู้มากด้วยประสบการณ์

แฟนนิยายส่วนใหญ่ไม่ค่อยพึงพอใจที่บทบาทของ Midori ถูกลดทอนลงอย่างมากๆ จนเหมือนเป็นเพียงตัวเลือก/ตัวประกอบ (Side Character) ไม่ได้สานสัมพันธ์จนสนิทชิดเชื้อ หรือสร้างความรู้สึกขัดแย้งใดๆให้เกิดกับ Toru … แต่ผมกลับชอบทิศทางของหนังมากกว่า เพราะมันชัดเจนอยู่แล้วว่า Midori คือผู้มาทีหลัง ต่อให้สนิทสนม เข้ากันได้สักเพียงไหน ก็ยังมิอาจแบ่งปันหัวใจเพราะยังมีเยื่อใยติดอยู่กับรักครั้งแรก (ถ้าทำให้เรื่องราวของ Midori โดดเด่นมากเกินไป มันจะแปรสภาพจากรักสามเส้าสู่คบชู้นอกใจ)


ถ่ายภาพโดย Mark Lee Ping-bing, 李屏賓 (เกิดปี 1954) ตากล้องสัญชาติ Taiwanese เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 ก่อนกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Hou Hsiao-hsien ตั้งแต่ The Time to Live and the Time to Die (1985), ผลงานเด่นๆ อาทิ Dust in the Wind (1987), The Puppetmaster (1993), Summer Snow (1995), Flowers of Shanghai (1998), The Vertical Ray of the Sun (2000), In the Mood for Love (2000), Springtime in a Small Town (2002), After This Our Exile (2006), The Sun Also Rises (2007), Norwegian Wood (2010), The Assassin (2015) ฯ

ความโดดเด่นของ Mark Lee Ping-bing เชี่ยวชาญในการถ่ายภาพด้วยแสง-เงาจากธรรมชาติ เต็มไปด้วยชั้นเชิงของแสง มิติตื้นลึกหนาบาง (lustrous layers of light and darkness that provide incredible depth and space) โดยเฉพาะภาพทิวทัศน์ที่สามารถสร้างสัมผัสทางอารมณ์ รวมถึงการใช้โทนสีสัน และลีลาการเคลื่อนกล้องมีความชดช้อย สง่างาม

We worked together on Vertical Ray of the Sun and I really wanted him again for the project. When he moves his camera, the psychology of the characters are always on his mind. That aspect of him is quite precious to me. And he is like a big brother. When I’m ever in doubt and need a shoulder to cry upon, he’s there for me.

Trần Anh Hùng

ด้วยความที่ผกก. Trần Anh Hùng เป็นชาวเวียดนาม สื่อสารภาษาฝรั่งเศส การถ่ายทำในญี่ปุ่นจึงต้องใช้ล่ามแปลภาษา เห็นว่าทำงานหนักมากจนร่ำร้องไห้ออกมา เพราะหลายครั้งผู้กำกับจงใจให้แปลคำพูดหยาบคาย ในเชิงดูถูกเหยียดหยาม เพื่อกระตุ้นนักแสดงสำหรับพัฒนาตนเอง (เหมือนว่า Kiko Mizuhara จะโดนหนักสุด เพราะไม่เคยประสบการณ์ด้านการแสดงมาก่อน)

ต้นฉบับนวนิยายล้วนอ้างอิงสถานที่จริง ที่ซึ่งผู้แต่ง Murakami เคยใช้ชีวิต พักอาศัย ร่ำเรียนมหาวิทยาลัย (เป็นการเลือนลางระหว่างเรื่องแต่งกับสถานที่จริง) ผมค้นในอินเตอร์เน็ตพบเจอหลายเว็บไซด์ที่พาออกสำรวจสถานที่เหล่านั้นที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน (อารมณ์ประมาณตามรอยอนิเมะ แต่ในบริบทนี้ต้องเรียกว่าตามรอยนวนิยาย)

นี่อาจเป็นอีกเหตุผลกระมังที่แฟนๆนิยายค่อนข้างต่อต้านภาพยนตร์ เพราะผกก. Trần Anh Hùng ทำการปรับเปลี่ยนหลายๆสถานที่ถ่ายทำ พยายามมองสถานที่ที่มีบรรยากาศสอดคล้องเข้ากับ Mood & Tone ยกตัวอย่างสถานบำบัด (Sanatorium) ในนวนิยายระบุว่า Ami Hostel ตั้งอยู่ยัง Kyoto (สถานที่สมมติ), ภาพยนตร์ปรับเปลี่ยนมาเป็น Tonomine & Mineyama Highlands ตั้งอยู่ยัง Hyogo Prefecture ย่านที่มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ (Miscanthus sinensis หรือ Silver Grass) และทิวเขาสลับซับซ้อน


ภาพแรกของหนัง ผมพยายามค้นหาข้อมูลแต่ไม่พบเจอว่าโปสเตอร์ภาพยนตร์อะไร สังเกตจากสองหนุ่ม Toru vs. Kizuki กำลังใช้ไม้ไอติม ทำท่าเหมือนดวลดาบ (คงเป็นแนวซามูไร) ต่อสู้เพื่อแก่งแย่งชิง Naoko และผู้ชนะเหมือนจะคือ Kizuki ได้ดูดแท่งไอติมจากปากของแฟนสาว

ภาพถัดมาพบเห็น Kizuki ดำผุดดำว่าย ถ่ายใต้พื้นผิวน้ำ (อาจต้องการสื่อถึงบางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้/ในจิตใจ) ก่อนทะยานตัวขึ้นมายืนเคียงข้างแฟนสาว (Naoko แอบอิงพิงหลัง Kizuki ภาษากายสื่อถึงการมีชายคนรักเป็นที่พึ่งพักพิง) แต่สังเกตจากสีหน้าของเขา ดูอมเศร้า เหงาทุกข์

ฟลามิงโก (Flamingo) เป็นสัญลักษณ์แทนความรัก กล้องถ่ายติด Kizuki และ Naoko ยืนใกล้ชิดตัวติดกัน ฝ่ายหญิงดูมีรอยยิ้ม อิ่มอกอิ่มใจ ใบหน้าฝ่ายชายกลับดูเศร้าๆ เหงาๆ ก่อนที่ Toru จะเดินเข้ามา อยากเป็นมือที่สาม แต่มิอาจเข้าแทรกระหว่างกลาง

เกมสนุกเกอร์ก็เฉกเช่นเดียวกัน Toru ยินยอมรับความพ่ายแพ้ต่อ Kizuki แต่สังเกตว่าหนังไม่ถ่ายให้เห็นรายละเอียดบนโต๊ะสนุ๊ก แพ้ชนะอะไรกันยังไง เพียงจับจ้องตัวละคร และพูดบอกผลลัพท์บังเกิดขึ้น ทำราวกับมีบางสิ่งอย่างถูกปกปิด ซ่อนเร้น ยังไม่ใช่เวลาเปิดเผยมันออกมา

เห็นว่าต้นฉบับนวนิยายก็ไม่เคยมีการอธิบายเหตุผล ทำไม Kizuki ถึงกระทำอัตวินิบาต? ฆ่าตัวตายด้วยการรมท่อไอเสียรถยนต์? แต่นี่คือวิธีการสุดแสนทรมาน ต้องใช้ความอดกลั้น ฝืนทน ซึ่งเจ้าตัวยังเปลี่ยนที่นั่งจากย้ายไปเบาะหลัง ตำแหน่งไกลจากท่อไอเสีย (จะมองว่ายังไม่อยากตาย หรือต้องการตายช้าๆ ให้ทุกข์ทรมานมากที่สุด)

เหตุผลที่คนส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นกันก็คือ Kizuki ไม่สามารถเติมเต็มความรักให้กับ Naoko พูดง่ายๆก็คือถูกเธอปฏิเสธร่วมเพศสัมพันธ์ เพราะยังเป็นวัยรุ่น เลยไม่เข้าใจเหตุผล ขาดความอดทน เกิดอารมณ์ลุ่มร้อนรน ไร้หนทางระบายความรู้สึกคลุ้มคลั่งสุมอยู่ภายใน

แมงมุม ตามความเชื่อชาวญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณกาล คือสัตว์สัญลักษณ์แห่งความโชคดี ผู้ส่งสาสน์ของพระพุทธเจ้า ใยแมงมุมยังคือสิ่งเชื่อมโยงระหว่างโลกนี้กับโลกหน้า … นี่สามารถสื่อถึงความตายของ Kizuki น่าจะได้ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดีกว่า (แต่การฆ่าตัวตายนี่ลงนรกร้อยเปอร์เซ็นต์!)

อันนี้ผมไม่รู้ว่าต้นฉบับนวนิยายมีคำอธิบายการชุมนุม ประท้วง เคลื่อนไหวเรียกร้องอะไร? แต่ในบริบทของหนัง ความวุ่นๆวายๆที่บังเกิดขึ้นนี้ สามารถใช้เปรียบเทียบแทนความรู้สึกตัวละคร Toru ภายหลังสูญเสียเพื่อนสนิท แม้สามารถสอบเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย แต่จิตใจยังคงสับสน วุ่นวาย ไม่เข้าใจว่ามันเกิดห่าเหวอะไร ทำไม Kizuki ถึงกระทำอัตวินิบาต?

การชุมนุม เดินขบวน ประท้วงเรียกร้องสิทธิโน่นนี่นั่น คือกระแสนิยมที่ไม่ใช่แค่ประเทศญี่ปุ่น แต่ถือเป็นเทรนด์แฟชั่นพบเจอแทบจะทั่วทุกมุมโลกในช่วงทศวรรษ 60s-70s ซึ่งผู้แต่ง Murakami แน่นอนว่ายังคงจดจำบรรยากาศดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจอย่างมากๆ

ก่อนที่จะร่วมกับภรรยาเปิดร้าน Coffee House & Jazz Bar ผู้แต่ง Murakami เคยทำงานพาร์ทไทม์ร้านแผ่นเสียงในย่าน Shinjuku เลยไม่น่าแปลกใจที่จะมีการอ้างอิงถึง

ทุกครั้งที่ Toru หลับนอนกับหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า One Night Stand (ONS) สังเกตว่ากล้องมักเคลื่อนเลื่อนผ่านอะไรสักสิ่งอย่างที่มีความระยิบระยับ สะท้อนแสง ซึ่งจะคอยบดบังทัศนียภาพ ความทรงจำเลือนลาง พานผ่านมาแล้วก็พานผ่านไป สิ้นสุดค่ำคืนนี้ก็อาจไม่พบเจอกันอีก

ความบังเอิญที่ Toru พบเจอ Naoko ถ้าเป็นนวนิยายคงเต็มไปด้วยข้อความบรรยายความครุ่นคิด (Inner Voice) รับรู้สึกอะไรยังไง บังเกิดอารมณ์โน่นนี่นั่นขึ้นมากมายหลายย่อหน้ากระดาษ

แต่ภาพยนตร์หลังจากคำทักทาย พวกเขาก็ก้าวออกเดิน กล้องเคลื่อนเลื่อนติดตาม แพนนิ่งระหว่างข้ามสะพาน (สัญลักษณ์แทนความสัมพันธ์ที่กำลังผันแปรเปลี่ยน) บดบังด้วยกิ่งก้านใบไม้ พร้อมสรรพเสียงลำเนาไพร เท่านี้ก็เพียงพอให้ผู้ชมสามารถเติมเต็มจินตนาการ เข้าใจความรู้สึกของทั้งสองโดยไม่ต้องใช้คำพูดบรรยายใดๆ

สถานที่ที่ทั้งสองก้าวออกเดินคือสวนสาธารณะ Komagome Park, Tokyo มาหยุดยืนยังต้นไม้ใหญ่, สังเกตภาพช็อตนี้ กล้องแทนมุมมองบุคคลที่หนึ่งของ Toru ซึ่งบางครั้งสายตา Naoko หันมาสบตาหน้ากล้อง (Breaking the Fourth Wall) จากนั้นแหงนมองต้นไม้สูงใหญ่ ราวกับจะสื่อถึงว่าเขากำลังจักกลายเป็นเหมือนต้นไม้/สถานที่พึ่งพักพิงทางใจแห่งใหม่

ค่ำคืนวันเกิดครบรอบ 20 ปีของ Naoko สังเกตว่าตลอดทั้งซีเควนซ์อาบฉาบด้วยแสงสีน้ำเงิน กอปรกับสภาพอากาศภายนอก ฝนก็กำลังตกพรำ ยิ่งทำให้รู้สึกหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก และสังเกตว่าระหว่างร่วมเพศสัมพันธ์ แม้ทั้งสองนอนลงกับพื้น ‘Man on Top’ แต่กล้องกลับตั้งเอียงๆ ถ่ายภาพเฉียงๆ เพื่อให้ดูเหมือนเสมอภาคเท่าเทียม (แต่อาจจะสื่อถึงความสัมพันธ์ที่มันบิดๆเบี้ยวๆ เกิดความขัดแย้งภายใน) ใบหน้าซ้อนทับ กลายเป็นหนึ่งเดียว เติมเต็มความต้องการของกันและกัน (ไม่ใช่เพศสัมพันธ์ที่ตอบสนองกามารมณ์เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง)

แซว: ของขวัญของ Toru ดูจากรูปลักษณะน่าจะคือแผ่นเสียง ซึ่งคาดเดาไม่ยากว่าเพลงอะไร … มันจะเป็นบทเพลงอื่นได้อย่างไง?

หลังจากค่ำคืนนั้น Naoko ได้สูญหายตัวไปอย่างลึกลับ เมื่อตอนที่ Toru รับรู้จากโทรศัพท์ สังเกตแสงจากภายนอกมีความฟุ้งๆ สว่างจร้ากว่าปกติ ตามด้วยร้อยเรียงภาพการทำงานในโรงงาน ที่ทั้งหนวกหู(จากเสียงเครื่องจักร) และดูเหน็ดเหนื่อย ยากลำบาก เหล่านี้สะท้อนสภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจตัวละคร เต็มไปด้วยความเก็บกด อัดอั้น ทุกข์ทรมานจากการหายตัวไปของเธอ

หลายวันถัดมาเมื่อ Toru ได้รับจดหมายจาก Naoko ระหว่างการอ่านจะเดินวกไปวนมา พานผ่านห้องซ้อมดนตรี กล้องเคลื่อนติดตามจากห้องหนึ่งไปสู่อีกห้องหนึ่ง เรียกว่าไม่สนใจห่าเหวอะไรรอบข้าง เพราะเธอคือทุกสิ่งอย่าง โลกทั้งใบให้เธอคนเดียว (จริงๆมันต้อง โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (พ.ศ. ๒๕๓๘))

แต่ตอนจบของซีนอ่านจดหมายด้วย Toru กลับไปโผล่ยังน้ำตกแห่งหนึ่ง บรรยากาศโดยรอบมีความผ่อนคลาย สายน้ำสาดกระเซ็น เหมือนชีวิตได้รับการปลดปล่อยจากความเก็บกด อึดอั้น ทุกข์ทรมานจากการหายตัวไปของ Naoko

เมื่อตอนที่ Toru หวนกลับมาพบเจอ Naoko เห็นเธอยืนชื่นชมธรรมชาติอยู่ตัวคนเดียว หลังจากพูดคุยทักทาย พากันก้าวออกเดิน รับฟังสรรพเสียงลำเนาไพร ไปจนถึงปลายทางต้นไม้ใหญ่, ตรงกันข้ามกับ Midori เป็นผู้เข้าหา Toru นั่งอยู่ในโรงอาหาร รายล้อมรอบด้วยผู้คน หลังรับประทานอิ่มหนำ (น่าจะอีกวัน) ก้าวออกเดิน ก่อนหยุดลงบริเวณร่มเงาไม้ เตรียมหลับนอนกลางวัน

จริงๆมันยังมีรายละเอียดอื่นๆอีกที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม อาทิ สีเสื้อผ้า (Toru สวมชุดลายแดงตอนพบ Naoko, เปลี่ยนเป็นสีฟ้าขณะอยู่กับ Midori ฯ) ลีลาเคลื่อนเลื่อนกล้อง รวมถึงเป้าหมายปลายทาง จากภาพถ่ายมุมมองบุคคลที่หนึ่ง เปลี่ยนมาเป็นมุมมองบุคคลที่สาม (สามารถสะท้อนความรู้สึกที่ Toru มีต่อหญิงสาวทั้งสอง มุมมองบุคคลที่หนึ่งคือฉันตกหลุมรัก ส่วนมุมมองบุคคลที่สามราวกับบุคคลนอก)

ขณะที่ห้องพักของ Naoko ปกคลุมด้วยโทนสีน้ำเงินเข้ม นอกจากแสงเทียนเค้กวันเกิด แทบสัมผัสไม่ได้ถึงบรรยากาศอบอุ่น, ตรงกันข้ามกับบ้านของ Midori มีความโปร่งโล่ง กว้างขวาง โทนฟ้าอ่อนๆแทรกแซมด้วยแสงไฟส้ม (ภายนอกฝนพรำลงมาเช่นกัน) บรรยากาศดูผ่อนคลาย สบายตากว่า

ตอนร่วมรักกับ Naoko มีความรุนแรง กระแทกกระทั้น ก่อนที่ Toru จะพูดคำบางคำสร้างความเจ็บแปลบทรวงใน, สำหรับ Midori นี่น่าจะแค่จุมพิตแรก (มุมกล้องถ่ายหน้าตรง สะท้อนความสัมพันธ์ที่ไม่ได้บิดๆเบี้ยวๆเหมือน Toru กับ Naoko) ก่อนเธอพูดบอก “I’m dating someone else.” มันอาจไม่รุนแรงเท่าประโยคนั้น แต่ราวกับผลกรรมสนองตามสนอง ทำให้เขารู้สึกสับสน แอบเจ็บหัวใจ คบหาคนอื่นอยู่แล้วยังมาอ่อยเหยื่อ เกี้ยวพาราสีฉันทำไม?

เพราะไม่ใช่วันเกิด Toru เลยไม่ได้มอบของขวัญ แผ่นเพลง Norwegian Wood แต่ Naoko กลับหาโอกาสเดินทางแวะไปเยี่ยมเยียนยังร้านขายแผ่นเสียง สถานที่ทำงานพาร์ทไทม์ เดินเลือกหาแผ่นที่ตนเองชื่นชอบโปรดปราน … แล้วก็ค้างคาไว้แบบนั้นแหละ ไม่ได้มีบทสรุปว่าซื้อไม่ซื้อ เลือกแผ่นเพลงอะไร หรือใครเป็นผู้จ่ายเงิน

วันหนึ่งระหว่างกำลังซักผ้า Toru ได้รับจดหมายจาก Naoko พร้อมแล้วที่จะนัดหมาย พบเจอหน้ากันอีกครั้ง เขาจึงรีบออกเดิน วิ่งขึ้นบันได กล้องแพนติดตามตัวละครจากชั้นล่าง ค่อยๆเงยขึ้น และหมุนวนรอบ 360 องศา นี่ไม่ได้จะให้ผู้ชมเกิดอาการสับสนมึนงง แต่คือความเร่งรีบร้อนรน กระตือรือล้นอยากพบเธอให้เร็วที่สุด ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับช็อตถัดไป (คาดว่าน่าจะ) ถ่ายจากหลังรถระหว่างกำลังขับขึ้นอุทยาน พบเห็นผืนป่า ขุนเขา เคลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

หลายคนน่าจะมีความเข้าใจผิดๆ (ผมเองก็เช่นกัน) ว่าสถานที่ที่ Naoko พักรักษาตัว สถานบำบัดกลางขุนเขา ตั้งอยู่ในผืนป่าชื่อว่า Norwegian Wood เอาจริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ มันไม่เคยมีป่าชื่อนี้ทั้งในญี่ปุ่น นอร์เวย์ หรือแห่งหนไหนบนโลก เป็นเพียงคำสมมติขึ้นเท่านั้น … เดี๋ยวเหตุผลจริงๆที่ John Lenon ตั้งชื่อบทเพลงนี้จะมีอธิบายไว้ช่วงท้าย

แต่ผมว่ามันก็ไม่อะไรที่จะมองสถานที่แห่งนี้คือ Norwegian Wood ถ้าจะให้นิยามความหมาย คงคือสถานที่สำหรับพักผ่อน คลายความวิตกกังวล ไม่เชิงว่าเป็นป่า Zen แต่สามารถทำให้เกิดความสงบร่มเย็น รักษาอาการป่วยทางจิตใจ

หลายต่อหลายช็อตที่ถ่ายภาพ Naoko เคียงคู่ เคียงข้าง ทิศทางตรงกันข้าม เอาว่ามักอยู่ร่วมเฟรมเดียวกับ(อดีต)ครูสอนเปียโน Reiko นี่แสดงให้ถึงความสนิทสนม ชิดเชื้อ เหมือนว่าพวกเธอเคยพานผ่านอะไรๆมาคล้ายๆกัน จะมองว่า Sismance (คำตรงข้ามกับ Bromance) ก็ได้กระมัง

มันจะมีช็อตหนึ่ง (ภาพกลาง) ยามค่ำคืน กิจกรรมรอบกองไฟ Naoko นั่งหันหน้าทิศทางตรงกันข้ามกับ Reiko จากนั้นกล้องค่อยๆเคลื่อนไหลจนใบหน้าทั้งสองซ้อนทับ ราวกับเป็นหนึ่งเดียวกัน! นี่ชวนให้ผมนึกถึง Persona (1966) ของผกก. Ingmar Bergman ขึ้นมาโดยพลัน!

พอกล่าวถึงใบหน้าซ้อนทับ ก็พบว่าตั้งแต่ที่ Toru เดินทางมาเยี่ยมเยียน Naoko มีหลายช็อตที่ใบหน้าพวกเขามีความเหลื่อมล้ำ (ก่อนหน้านี้จะมีแค่ฉาก Sex Scene ที่ใบหน้าพวกเขาซ้อนทับกัน) ซึ่งในบริบทนี้คือการโหยหากันและกัน ต้องการเติมเต็มรสรัก แต่กลับมีมือที่สามขวางกัน

แซว: เมื่อตอนอารัมบทต้นเรื่อง Toru ถือเป็นมือที่สามของ Kizuki & Naoko, มาคราวนี้ Reiki ถือเป็นมือที่สามของ Toru & Naoko (จะมีหลายช็อตถ่ายภาพสามตัวละคร ต่างคนต่างหันหน้าสามทิศทาง)

มันอาจดูเหมือนการเลียหัวนม และ Naoko ยกมือ Toru มาวางบนหน้าอก แต่นั่น(น่าจะ)คือตำแหน่งของ ‘หัวใจ’ เป็นความต้องการสัมผัสความรู้สึกภายในของกันและกัน

ซึ่งหลังจากที่ Naoko ทำให้อยากแล้วจากไป Toru จึงจำต้องลุกขึ้นมาสงบสติอารมณ์ สังเกตว่ากล้องถ่ายผ่านโมบายคริสทัล (พอเดินไปอีกห้องก็ยังถ่ายติดรั้วไม้) นั่นคือสิ่งกั้นแบ่งความสัมพันธ์ หรือจะมองว่าสะท้อนความรู้สึกตัวละคร เหมือนติดกับดัก ไร้หนทางออก ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป

ยามเช้าตรู่ Naoko ปลุก Toru พากันก้าวเดินผ่านต้นไม้สูงใหญ่ (ถ่ายย้อนแสงอาทิตย์ ทำให้พบเห็นลำแสงฟุ้งกระจาย) พานผ่านอุปสรรคขวากหนาม สิ่งกีดกั้นขวางภายในหัวใจ ออกมาถึงท้องทุ่งหญ้าเขียวขจี สถานที่แห่งการปลดปล่อย ระบายความรู้สึก เปิดเผยเหตุผลถึงการยังเป็นสาวบริสุทธิ์ จนกระทั่งวันเกิดครบรอบ 20 ปี!

เมื่อมาถึงท้องทุ่งหญ้าเขียวขจี (แต่ไม่มีแสงแดด เพียงละอองหมอกขมุกขมัว) ทิศทางก้าวเดินของ Naoko และ Toru (ถ่ายทำแบบ Long Take) เดี๋ยวไปซ้ายที สลับมาขวาที ล้วนมีนัยยะเคลือบแอบแฝง

  • เดินจากขวาไปซ้าย (←) Naoko อธิบายเหตุผลที่ตนเองยังเป็นสาวบริสุทธิ์
  • เดินจากซ้ายไปขวา (→) หลังการจากไปของ Kizuki เมื่อได้หวนกลับมาพบเจอ Toru ทำให้เธอเกิดอารมณ์ทางเพศ แล้วสามารถร่วมเพศสัมพันธ์
    • นี่น่าจะเป็นทิศทางที่ Naoko สวนความรู้สึก ไม่อยากให้บังเกิดขึ้น
  • วกกลับมาขวาไปซ้าย (←) Naoko พร่ำรำพันถึงอดีตคนรัก ความพิเศษที่มีให้กับ Kizuki
  • เมื่อมิอาจอดกลั้นฝืนทน Naoko จึงพยายามวิ่งหลบหนีขึ้นด้านบน (↑) แต่ทว่า Toru ก็ติดตามไปหยุดยับยั้ง กอดรัดฟัดเหวี่ยงให้สงบสติอารมณ์
    • เพราะไม่สามารถตัดสินใจเลือกทิศทางไหนในชีวิต Naoko จึงก้าวออกนอกกรอบ คลุ้มคลั่งเสียสติ เลยต้องพักรักษาตัวอยู่สถานบำบัดแห่งนี้

หลังจาก Naoko สามารถสงบสติอารมณ์ พวกเขาก็เดินกลับบ้านพัก แต่แทนที่จะถ่ายย้อนแสงต้นไม้ใหญ่แบบตอนต้นซีเควนซ์ (นี่ก็เลยรุ่งสางมามาก) กลับเป็นภาพมุมสูงจากเบื้องบนก้มลงมา (สลับทิศทาง หันหลังให้พระอาทิตย์)

ผมมีคำเรียกช็อตลักษณะนี้ว่า “John Ford’s Shot” บันทึกภาพระหว่างที่เงาก้อนเมฆ เคลื่อนพานผ่านท้องทุ่งกว้างใหญ่ มักแฝงนัยยะถึงบางสิ่งอย่างกำลังผันแปรเปลี่ยนเปลี่ยน ซึ่งภาพนี้ปรากฎขึ้นกึ่งกลางหนังพอดิบดี สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง Toru & Naoko ได้ดำเนินมาถึงจุดเปลี่ยน ครึ่งแรก-หลัง

หลังจากภาพนี้ก็ยังพบเห็นสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง พัดพากระแสลมแรงระหว่างที่ Toru & Naoko กำลังพรอดรัก เกี้ยวพาราสี แล้วจู่ๆเธอช่วยให้เขาสำเร็จความใคร่ กอดจูบลูบไล้ แต่ไม่สามารถร่วมเพศสัมพันธ์ … นี่เป็นการย้อนรอยความสัมพันธ์ระหว่าง Kizuki & Naoko ขอให้อีกฝ่ายอดกลั้นฝืนทน เฝ้ารอคอยช่วงเวลาแห่งความสุข สักวันฉันจะสามารถเติมเต็มรสรักกับเธอ

ย้อนรอยกับตอนต้นเรื่องที่ Kizuki ดำผุดดำว่ายใต้ผืนน้ำ โผล่ขึ้นมาเบื้องหน้า Naoko แล้วเธอโอบกอดแนบอิงแผ่นหลัง, Toru ยืนหลังพิงกำแพง (ไม่ได้ดำผุดดำว่าย) แล้วจู่ๆโผล่ขึ้นมาพบเจอ Midoro ต่างฝ่ายต่างยืน-นั่งอยู่เคียงข้าง ไม่ได้มีการโอบกอด หรือซ้อนทับใบหน้า

บรรดาแฟนคลับนวนิยายต่างมีความฉุนเฉียวอย่างมากๆกับฉาก Toru ระหว่างเยี่ยมเยียนบิดาของ Midori (อ้างว่าไปทำงาน Uruguay แต่กลับแอบมารักษาโรคมะเร็งอยู่โรงพยาบาลใกล้ๆ) เพราะในหนังสือเต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย แต่ฉบับภาพยนตร์กลับแค่มานั่งจุ้มปุ๊กไม่กี่วินาที ยังไม่ทันจะรับรู้เรื่องอะไร

การสูญเสียบิดาของ Midori สามารถย้อนรอยเข้ากับ Naoko สูญเสียชายคนรัก Kizuki แต่จุดนี้ผมเห็นด้วยว่าหนังน่าจะนำเสนอเรื่องราวบางอย่างระหว่าง Toru กับบิดาของ Midori เพื่อสะท้อนความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิท Kizuki … อาจเพราะผกก. Trần Anh Hùng มองว่า Toru เคยพานผ่านประสบการณ์สูญเสียมาแล้ว(กับ Kizuki) จึงสามารถเข้าใจความรู้สึกของ Midori โดยไม่จำเป็นต้องนำเสนอเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม

ระหว่างคุยโทรศัพท์แจ้งข่าวการเสียชีวิตของบิดา สังเกตว่า

  • ฟากฝั่ง Toru พื้นด้านหลังแทบจะปกคลุมด้วยความมืดมิด นั่นเพราะเขาเข้าใจความรู้สึกของ Midori ตนเองเคยพานผ่านประสบการณ์สูญเสียเพื่อนสนิท Kizuki สภาพจิตใจจึงหม่นหมอง เศร้าโศกเสียใจ
  • สำหรับ Midori กล้องจะเคลื่อนเลื่อนจากฟากฝั่งมืดมิด สู่แสงสว่าง แม้การสูญเสียบิดาจะเป็นเรื่องเจ็บปวดทรมาน แต่ด้วยความเข้มแข็ง ไม่ต้องการให้เขาพบเห็นด้านอ่อนแอ ย่อมสามารถก้าวผ่านช่วงเวลาดังกล่าวไปได้ (ไม่ยากเย็นเหมือน Naoko)

ผมไม่รู้ว่านวนิยายเขียนอธิบายเหตุการณ์นี้เช่นไร แต่ภาพยนตร์พยายามทำให้คลุมเคลือว่าเป็นอุบัติเหตุ หรือความตั้งใจของ Toru แต่ที่แน่ๆแสดงถึงผลกระทบ/ความเจ็บปวดจากการสูญเสีย (บิดาของ Midori) มันอาจไม่เทียบเท่าตอน Kizuki แต่สามารถกระตุ้นความทรงจำดังกล่าวกลับขึ้นมาอีกครั้ง

ดินเนอร์ระหว่าง Toru, Nagasawa และ Hatumi (แฟนสาวของ Nagasawa) สังเกตว่ามีย้อมเฉดสีเหลือง แต่ดูไม่อบอุ่นเหมือนแสงสีส้ม เพราะสิ่งที่สองหนุ่มกำลังเผชิญหน้า คือความไม่พึงพอใจของหญิงสาว พยายามซักไซร้ไล่เรียง เค้นหาเหตุผลพฤติกรรมสำส่อน สลับคู่นอน … จะว่าไปทิวทัศน์ภายนอกหน้าต่าง สีสันของใบไม้ดูราวกับกำลังอยู่ในฤดูไบไม้ร่วง (Autumn) ซึ่งสอดคล้องเข้าเฉดสีเหลือง และความสัมพันธ์ที่กำลังร่วงโรยรา

ผมมีความงงๆกับโชคชะตาของ Hatsumi เพราะเสียงบรรยาย Toru ระหว่างอยู่บนแท็กซี่ระหว่างพากลับไปส่งห้องพัก เล่าว่าเธอเลิกรากับ Nagasawa แล้วแต่งงานใหม่ ฆ่าตัวตายสองปีให้หลัง จากนั้นฉากถัดมาเพื่อนร่วมห้อง (Nagasawa) กลับพูดบอกว่าเพิ่งคีนดีกับ Hatsumi มันยังไงกันเนี่ย???

ตามความเข้าใจของผมก็คือ Nagasawa ขณะนี้คืนดีกับ Hatsumi แต่ภายหลังไปต่างประเทศก็เลิกรากันอยู่ดี จากนั้นเธอแต่งงานใหม่ และก่อนฆ่าตัวตายสองปีให้หลัง … กล่าวคือเสียงบรรยายของ Toru นั้นถูกต้องแล้ว คำพูดของ Nagasawa เพียงล่อหลอก สร้างความหวังลมๆแร้งๆให้กับผู้ชมเท่านั้นเอง

หลังเลิกราแฟนเก่า Midori ต้องการเริ่มต้นสานสัมพันธ์กับ Toru พยายามพูดบอกใบ้ความต้องการ (ขึ้นอยู่กับผู้ชมจะครุ่นคิดจินตนาการ) แต่กลับถูกเขาทัดทาน บอกให้รู้จักควบคุมตนเอง นั่นคือสิ่งที่เธอคาดไม่ถึง เกิดความไม่พึงพอใจ (แต่สีหน้าดูไร้ความรู้สึกไปสักหน่อย) งอนตุ๊บป่อง ก่อนลุกเดินหายจากไป

ซีนนี้น่าสนใจตรงการจัดแสงที่มีความตัดกันระหว่างส้ม-น้ำเงิน สีอบอุ่น-เยือกเย็น ในช่วงแรกๆที่พูดคุย Midori ก็เต็มไปด้วยความระริกระรี้ ชัดเจนว่าอยากมีอะไรกับ Toru แต่พอกล้องเคลื่อนเข้ามาถึงระยะ Close-Up ใบหน้าทั้งคู่ กลับมีเพียงความผิดหวัง ใบหน้าพวกเขายังคงไม่เคยซ้อนทับกัน

หลังเหตุการณ์วันนั้น Midori ปฏิเสธการติดต่อจาก Toru แต่สังเกตว่าสถานที่โทรศัพท์ ไม่ได้ปกคลุมอยู่ในความมืดมิดเหมือนซีนก่อนๆหน้า ยังมีแสงสว่างจากภายนอกสาดส่องเข้ามา นั่นเพราะว่าการเลิกราครั้งนี้ไม่ได้ทำให้เขาตกอยู่ในสภาพหดหู่ สิ้นหวัง เพียงภาพเบลอๆ หลุดโฟกัส แล้วเดินทางไป ประเดี๋ยวก็คงหลงลืมความเศร้าโศกเสียใจ

การเงียบหาย/ขาดการติดต่อของ Midori ถือว่าย้อนรอยช่วงที่ Naoko หลังจากร่วมรักกับ Toru ก็สูญหายตัวไปหลายเดือน แต่ระดับความรุนแรงทางอารมณ์ถือว่าแตกต่างกันพอสมควร

เมื่อตอนที่ Naoko สอบถาม Toru ว่ากำลังคบหาใครบางคนอยู่หรือเปล่า? พวกเขานั่งอยู่บริเวณริมน้ำ พบเห็นธารธารากำลังเคลื่อนไหล คำตอบของเขาราวกับเป็นสิ่งที่ตนเองไม่สามารถควบคุม ฝืนธรรมชาติ ความรัก/ความสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ทุกแห่งหน ขึ้นอยู่กับโชคชะตาฟ้ากำหนด

บางคนอาจมองว่ากระแสธาราด้านหลัง สะท้อนความรู้สึกปั่นป่วนทรวงในของ Toru (เพราะขณะนี้ Midori ขาดการติดต่อมาสักระยะ) ไม่รู้จะทำอะไรกับสถานการณ์ขณะนี้

แม้ความเหินห่างของ Midori จะไม่ได้ทำให้ Toru ตกอยู่ในสภาพสิ้นหวังอาลัยเหมือนตอน Naoko แต่เหมือนเขาทำทัณฑ์ทรมานตนเอง ด้วยการอดอาหาร รับประทานแต่ไข่, ภาพท้องฟ้าอึมครึม สายลมปลิดปลิว, และโดยเฉพาะหนามแหลมต้นกระบองเพชร(มั้งนะ) นำมาทิ่มแทงบาดแผล เจ็บแปลบทรวงใน

ผิดกับตอนร่วมรักครั้งแรกที่กล้องถ่ายมุมเอียง ทำให้ใบหน้าทั้งสองอยู่แนบระนาบเดียวกัน แต่คราวนี้แม้ท่วงท่าเดิม (Man on Top) แต่มุมกล้องกลับถ่ายให้เห็น Toru อยู่เบื้องบน Naoko จู่ๆเกิดอาการเจ็บปวดช่องคลอด จนไม่สามารถร่วมเพศสัมพันธ์

หลังลุกขึ้นแต่งตัว กำลังจะแยกย้ายไปนอน Toru ตัดสินใจใช้กำลังขืนใจ Naoko (แต่ไม่สำเร็จ) สังเกตว่าทิศทางการนอนจะอยู่ฟากฝั่งตรงกันข้าม (←) ราวกับว่าความสัมพันธ์ทั้งสองขณะนี้ได้พลิกกลับตารหลังไม่สามารถเติมเต็มรสรักให้กัน

การจากลา(ครั้งสุดท้าย)ระหว่าง Toru และ Naoko เริ่มต้นสังเกตว่าพวกเขาพูดคุยสนทนากันคนละเฟรม หรือขณะจุมพิตร่ำลา ใบหน้าก็ไม่ได้มีการซ้อนทับ แยกฝั่งซ้ายขวา นี่แสดงถึงความสัมพันธ์ที่กำลังเหินห่าง แยกจาก หลังไม่สามารถเติมเต็มรสรัก/ร่วมเพศสัมพันธ์

หลังกลับจากทริป Toru ทำการเก็บข้าวของ เตรียมขนย้ายออกไปหาอพาร์ทเมนท์ใหม่ (เพื่อพักอาศัยอยู่ร่วมกับ Naoko) ซึ่งภาพความว่างเปล่าของห้องพัก โถงทางเดิน สามารถสะท้อนความเคว้งคว้าง เวิ้งว้างภายในจิตใจตัวละครได้ด้วยเช่นเดียวกัน

สภาพอากาศหนาวเหน็บ รวมถึงความรกชัญของผืนป่าด้านหลัง สามารถสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจของ Naoko ภายหลังจากไม่สามารถเติมเต็มความรัก/ร่วมเพศสัมพันธ์กับ Toru หลังเขาเดินทางกลับไป จึงตัดสินใจหลบหนีจากสถานบำบัด เพื่อที่จะกระทำการ …

จริงๆมันอาจมีเหตุผลอื่นๆที่ทำให้ Naoko ตัดสินใจคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่หนังไม่ได้ลงรายละเอียดสักเท่าไหร่ อาจเพราะต้องการให้มองย้อนกลับหา Kizuki ที่ก็ไม่คำอธิบายอะไรใดๆเช่นกัน ขึ้นอยู่กับผู้ชมจักสามารถครุ่นคิดจินตนาการ

เมื่อตอนแรกพบเจอระหว่าง Toru กับ Midori ทักทายกันในสถานที่ที่มีผู้คนขวักไขว่ จากนั้นก้าวออกเดินสู่สวนสาธารณะ ฤดูใบไม้ผลิ เขียวขจี รักผลิบาน, คราวนี้หลังไม่ได้พูดคุยกันมานาน ทั้งสองก้าวออกเดินท่ามกลางหิมะขาวโพลน ด้วยระยะห่าง ก่อนหันเผชิญหน้า พูดคุยขอเวลา กล้องค่อยๆเคลื่อนเข้าหา และจบลงด้วยครั้งแรกที่พวกเขาโอบกอด ใบหน้าซ้อนทับกัน

ความตายของ Naoko ทำให้ Toru ออกเดินทางไปยังบริเวณชายฝั่ง เต็มไปด้วยเกาะแก่ง โขดหิน นั่งลงคุกเข่า กรีดร้องลั่น (แทนด้วยเสียงคลื่นกระทบชายฝั่ง) ระบายความรู้สึกอัดอั้น เศร้าโศกเสียใจ และจะมีช็อตหนึ่งถ่ายติดแอ่งน้ำกลางโขดหิน (ภาพสุดท้าย) แม้มีความสงบนิ่ง แต่ดูราวกับหัวใจที่สูญหายไปจากร่างกาย

ปล. ชายฝั่งคือบริเวณคาบเกี่ยวระหว่างผืนแผ่นดิน vs. ท้องทะเล เลยมักถูกใช้เป็นสถานที่สื่อถึงชีวิต vs. ความตาย จิตวิญญาณล่องลอยสู่อิสรภาพ

การที่ Toru ยินยอมร่วมเพศสัมพันธ์กับ Reiko (อดีตผู้ดูแล Naoko) หลายคนคงขยะแขยง ยินยอมรับไม่ได้ สลับคู่นอน มันช่างเป็นความตกต่ำทางศีลธรรม แต่การกระทำของพวกเขา เอาจริงๆถือเป็น Sex ที่สำแดง ‘มนุษยธรรม’ ต่างฝ่ายต่างระบายความรู้สึกอัดอั้น ปลดปล่อยสิ่งคั่งค้างภายในออกมา เพื่อจักสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ ไม่หลงเหลืออะไรติดค้างคาใจ

ผมเคยเปรียบเทียบไปแล้วว่า Reiko คือมือที่สามระหว่าง Naoko & Toru ย้อนรอยเข้ากับ Toru เคยเป็นมือที่สามระหว่าง Naoko & Kizuki ซึ่งหลังจาก Kizuki ฆ่าตัวตายจากไป Toru ก็ได้ร่วมรักกับ Naoko … ฉันท์ใดฉันท์นั้น Naoko ฆ่าตัวตายจากไป Reiko เลยได้ร่วมรักกับ Toru

ความรู้สึกของ Toru ขณะนี้ ถือว่าย้อนรอยกับ Naoko ตอนสูญเสียความบริสุทธิ์ให้อีกฝ่าย เธอไม่ได้มีความรัก แต่กลับสามารถตอบสนองอารมณ์ทางเพศ … เรื่องพรรค์นี้สำหรับเพศชายมันอาจไม่ใช่เรื่องเลวร้าย คอขาดบาดตาย แต่สำหรับเพศหญิงกลับมีบริบทกฎกรอบทางสังคม คอยสร้างแรงกดดัน ให้รู้สึกว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้องเหมาะสม หรือคือความไม่เสมอภาคเท่าเทียมทางเพศ

ภาพแรกช่างเป็น Sex ที่ดูเร่าร้อน รุนแรง ถึงใจ ไม่สะดีดสะดิ้ง ดัดจริตเหมือน Naoko แสดงถึงการเติมเต็มตัณหาความใคร่ ใช้เพศสัมพันธ์ระบายอารมณ์อัดอั้นภายใน, ส่วนภาพหลังเสร็จกามกิจ ทั้งสองต่างหันหลังให้กัน หรือคือไม่มีทางที่พวกเขาจะตกหลุมรัก สานความสัมพันธ์ไปมากกว่า One Night Stand (ONS)

ซีนสุดท้ายของหนัง Toru โทรศัพท์หา Midori พร้อมแล้วที่จะเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่ สังเกตว่าทั้งสองต่างหลังผิงกำแพง แต่มีเฉดสีแตกต่างตรงกันข้าม

  • Midori อาบฉาบด้วยแสงสว่าง โทนสีส้ม เปรียบดั่งดวงตะวัน มอบความอบอุ่น
  • รอบข้างของ Toru ปกคลุมด้วยความมืดมิด ไม่รับรู้ตนเองด้วยซ้ำว่าอยู่แห่งหนไหน แต่เพราะมีเธอส่องสว่างทางใจ ยังไงฉันย่อมพบเจอหนทางออก โบยบินไปจากสถานที่แห่งนี้

ตัดต่อโดย Mario Battistel,

ในขณะที่ต้นฉบับนวนิยายเป็นการเล่าย้อนอดีต (Flashback) กลับสู่ช่วงวัยรุ่นทศวรรษ 60s พบเจอกับรักครั้งแรก หัวใจก็แตกสลาย, หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Toru Watanabe พร้อมเสียงบรรยายเหตุการณ์ (ไม่ใช่พูดความรู้สึกนึกคิดภายในจิตใจ/Inner Voice แบบต้นฉบับนิยาย) ซึ่งมักทำการก้าวกระโดด ‘Jump Cut’ จากฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่ง ยกเว้นเพียงช่วงเหตุการณ์สำคัญๆ ฝังลึกอยู่ในความทรงจำ ถึงให้เวลากับเรื่องราวขณะนั้นๆ

วิธีการดำเนินเรื่องของหนัง ช่างละม้ายคล้าย ‘สไตล์ Scorsese’ ซึ่งหลายคนมองว่ามีความรวบรัดตัดตอน ไม่ต่างจากการย่นย่อบทสรุป นำเสนอเพียงบางเหตุการณ์สำคัญๆ ซึ่งนั่นทำให้การแบ่งองก์ทำได้ค่อนข้างยาก ผมเลยใช้การแยกแยะออกเป็นตอนๆ สลับไปมาระหว่าง Naoko & Midori

  • อารัมบท, ความตายของ Kizuki
  • หวนกลับมาพบเจอ Naoko
    • Toru กลายเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย Tokyo
    • วันหนึ่งบังเอิญพบเจอ Naoko ในสวนสาธารณะ
    • นัดพบเจอ สานสัมพันธ์ ร่วมรักกันในค่ำคืนวันเกิดครบรอบ 20 ปี
  • รับรู้จัก Midori
    • หลังจากค่ำคืนนั้น Naoko สูญหายตัวไปอย่างลึกลับ
    • เพื่อนร่วมชั้น Midori เข้ามาพูดคุยทักทาย Toru พยายามสานสัมพันธ์
    • ชักชวนไปบ้าน เกี้ยวพาราสี จนกระทั่งได้จุมพิต
  • จดหมายของ Naoko
    • หลังจากได้รับจดหมายจาก Naoko ตัดสินใจออกเดินทางไปเยี่ยมเยียน
    • ใช้ชีวิตอยู่สถานบำบัดกลางผืนป่า
    • วันถัดมา Naoko เปิดเผยเหตุผลที่ตนเองยังบริสุทธิ์ ไม่เคยร่วมรักกับ Kizuki
  • ความเข้มแข็งของ Midori
    • บิดาของ Midori ล้มป่วยโรคมะเร็งก่อนเสียชีวิต แต่เธอไม่ต้องการให้ Toru มาร่วมงานศพ
    • Toru จึงร่วมดินเนอร์กับ Nagasawa และ Hatsumi
    • Midori บอกกับ Toru ว่าเพิ่งเลิกราแฟนหนุ่ม แต่เขายังไม่พร้อมจะมีเธอ หญิงสาวเลยงอนตุ๊บป่อง
  • ความอ่อนแอของ Naoko และ Toru
    • ค่ำคืนหิมะตก Toru ในสถานบำบัดกับ Naoko แต่เธอไม่สามารถร่วมรักกับเขา
    • เช้าวันถัดมาหลังจากส่ง Toru กลับ Tokyo แล้วจู่ๆ Naoko ก็สูญหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย
    • กลับมา Tokyo, Toru มองหาอพาร์ทเม้นท์สำหรับอยู่อาศัยกับ Naoko
    • Toru พยายามงอนง้อขอคืนดีกับ Midori แต่พอเธอพร้อมให้โอกาส เขากลับขอเวลาตัดสินใจ
  • ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย
    • หลังจากรับทราบข่าวการเสียชีวิตของ Naoko ทำให้ Toru ออกเดินทางทั่วญี่ปุ่น ระบายความอัดอั้นภายในออกมา
    • เมื่อหวนกลับมาพบเจอกับ Reiko ผู้(เคย)ดูแลของ Naoko ยังสถานบำบัด
    • และโทรศัพท์ติดต่อ Midori พร้อมแล้วจะเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่

แม้การดำเนินเรื่องจะมีลักษณะเป็นเส้นตรงไปข้างหน้า แต่หลายครั้งกลับมีการแทรกภาพความฝัน หวนระลึกความทรงจำ หรือตัดต่อสลับไปมาระหว่าง Naoko & Midori เหล่านี้มีลักษณะเหมือนแสงกระพริบ สร้างความรับรู้ให้กับผู้ชมว่าตัวละครกำลังครุ่นคิดอะไร

โครงสร้างการดำเนินเรื่องก็อาจเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฟนคลับนิยายไม่ค่อยชอบพอสักเท่าไหร่ เพราะการเล่าย้อนอดีต สร้างสัมผัสคร่ำครวญ โหยหา ช่วงเวลาอันทรงคุณค่า (Nostalgia) ผู้อ่านรับรู้ตอนจบก่อนที่ทุกสิ่งอย่างจะเริ่มต้นขึ้น! แต่ฉบับภาพยนตร์ไม่ได้มีลวดลีลา เพียงการดำเนินเรื่องเส้นตรงไปข้างหน้า (Chronological Order) วิธีการนี้มุ่งเน้นสร้างความประทับใจ ‘first impression’ ผู้ชมไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์บังเกิดขึ้น


เพลงประกอบโดย Jonathan Richard Guy Greenwood (เกิดปี 1971) นักกีตาร์ แต่งเพลง สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Oxford, ระหว่างอยู่โรงเรียนประจำ Abingdon School ร่วมกับพี่ชาย Colin, นักร้องนำ Thom Yorke, นักกีตาร์ Ed O’Brien และนักกลอง Philip Selway ก่อตั้งวงดนตรี On a Friday ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น Radiohead เซ็นสัญญากับค่าย EMI ออกอัลบัมแรก Pablo Honey (1993) แจ้งเกิดบทเพลง Creep, หลังประสบความสำเร็จโด่งดัง แยกตัวออกมาฉายเดี่ยวตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 ทำเพลงประกอบสารคดี Bodysong (2003), โด่งดังกับ There Will Be Blood (2007), Norwegian Wood (2010), Inherent Vice (2014), Phantom Thread (2017), The Power of the Dog (2021) ฯ

It was after I heard what Jonny did on There Will be Blood that I had to bring him in. It sounded so different from anything else. Jonny is a serious man and his music reflects that. But he can pull beauty out of the darkness.

Trần Anh Hùng

เมื่อตอนติดต่อหา Greenwood ปฏิกิริยาแรกคือตอบปฏิเสธ ไม่ครุ่นคิดว่าสไตล์เพลงตนเองจะเหมาะเข้ากับพื้นหลังของหนัง แต่ผกก. Trần Anh Hùng พยายามพูดคุย โน้มน้าว นำฟุตเทจตัดต่อใกล้เสร็จมาเปิดให้รับชม ถึงทำให้อีกฝ่ายยินยอมตกลง

ความต้องการของผกก. Trần Anh Hùng ไม่ใช่งานเพลงที่ทำการปลุกเร้า บดขยี้อารมณ์ แต่พยายามทำออกมาให้สอดคล้องเข้ากับบรรยากาศ เหตุการณ์บังเกิดขึ้นขณะนั้น ช่วยยืนยันความรู้สึกที่ผู้ชมควรจักได้รับระหว่างการรับชม

I don’t like to use music to create emotions or to enhance it. I would like to use music to confirm emotions that are already there in the movie.

งานเพลงของ Greenwood ใช้สารพัดเครื่องสาย (String Intrument) สร้างบรรยากาศทะมึน อึมครึม มืดหมองหม่น ราวกับบางสิ่งชั่วร้าย ภัยอันตรายกำลังคืบคลานเข้าหา นำพาให้เกิดหายนะ ความตาย โศกนาฎกรรม บทเพลงชื่อว่า もう少し自分のこと、きちんとしたいの (อ่านว่า Mōsukoshi jibun no koto, kichinto shitai no แปลว่า I want to take care of myself a little better.) แค่ได้ยินท่อนก็รู้สึกปั่นป่วนทรวงใน

ปล. ผมแอบเสียดายเล็กๆว่าระดับเสียง (Volumn) ในหนังเปิดเบาไปสักนิด จนแทบไม่ได้ยินท่วงทำนอง เพียงอารมณ์มวนๆ ท้องไส้ปั่นป่วน สร้างความร้อนรน กระวนกระวาย อยู่ไม่สงบสุขสักเท่าไหร่

บทเพลง 時の洗礼を受けていないものを読むな (อ่านว่า Toki no senrei o ukete inai mono o yomu na, แปลว่า Don’t read anything that hasn’t been baptized by time) บรรเลงด้วยกีตาร์ไฟฟ้า แม้ท่วงทำนองมีความสดใส ร่าเริง เพลิดเพลิน ฟังสบาย แต่ก็ซุกซ่อนสัมผัสความเจ็บปวดปวดรวดร้าว … ดังขึ้นตอน Nagasawa นำพา Toru ให้รับรู้จักกับ One Night Stand (ONS)

私をとるときは私だけをとってね (อ่านว่า Watashi o toru toki wa watashi dake o totte ne, แปลว่า When you decide to choose me, please just choose me.) กรีดกรายด้วยการประสานเสียงไวโอลิน บีบเค้นคั้นหัวใจ การจากไปของเธอทำให้ฉันแทบมิอาจอดรนทน … เพลงนี้ดังขึ้นระหว่าง Toru ขอเวลากับ Midori ก่อนนำเข้าสู่การฆ่าตัวตายของ Naoko

บทเพลงที่อาจทำให้หลายคนชักดิ้นชักงอ ล้างผลาญทรวงใน  直子が死んだ (อ่านว่า Naoko ga shinda, แปลว่า Naoko died) ประสานเสียงออร์เคสตราที่ราวกับคลื่นลมมรสุม พายุลูกใหญ่ถาโถมเข้าใส่ มันช่างรุนแรง รุนแรง ปั่นป่วนเกินกว่าจะต้านทานไหว

ต้นฉบับนวนิยาย เริ่มต้นด้วย Toru Watanabe วัย 37 ปี ระหว่างเครื่องบินลงจอดสนามบิน Hamburg, West Germany ได้ยินเสียงออร์เคสตราบทเพลง Norwegian Wood นั่นคือจุดเริ่มต้นความรู้สึกคร่ำครวญ โหยหา (Nostalgia) หวนระลึกช่วงเวลารักครั้งแรกหัวใจก็แตกสลาย

ผมเป็นคนหนึ่งที่ตั้งหน้าตั้งตา อยากได้ยินบทเพลง Norwegian Wood (This Bird Has Flown) แต่กว่าจะดังขึ้นครั้งแรกก็ประมาณกึ่งกลางเรื่อง ค่ำคืนในสถานบำบัด ขับร้อง/บรรเลงโดย Reika Kirishima (รับบท Reiko Ishida ผู้ดูแล Naoko), ส่วนต้นฉบับของ The Beatles กลับดังขึ้นช่วงท้าย Closing Credit คงทำให้หลายคนรู้สึกผิดหวัง แตกต่างจากต้นฉบับนวนิยายที่ได้ยินครั้งตอนต้นเรื่อง

แต่ส่วนตัวมองว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะกว่าจะได้ยินบทเพลงนี้ ผู้ชมบังเกิดความรู้สึกโหยหา เฝ้ารอคอย กว่าจะได้รับการเติมเต็ม ก็เมื่อเข้าใจความหมายของการสูญเสีย

I put the song at the end of the movie because it works like the beginning of the book.

Trần Anh Hùng

แซว: บทเพลงของ The Beatles เลื่องชื่อเรื่องความเรื่องมาก คิดค่าลิขสิทธิ์สูงอีกต่างหาก ทีแรกผกก. Trần Anh Hùng ตั้งใจจะให้ให้ Jonny Greenwood เพียงแค่ดัดแปลงฉบับออร์เคสตรา (จะได้ไม่ต้องขอลิขสิทธิ์) แต่พอนำหนังไปฉายให้โปรดิวเซอร์ เห็นพ้องว่าต้องใช้ต้นฉบับเท่านั้น!

เมื่อพูดถึงบทเพลง Norwegian Wood (This Bird Has Flown) จุดเริ่มต้นจาก John Lennon คาดว่าถูกเกี้ยวพาราสีโดยหญิงสาวคนหนึ่ง ชักชวนเล่นชู้ นอกใจภรรยา “I once had a girl, or should I say, she once had me.” แม้ไม่เคยเปิดเผยว่าเธอคนนั้นคือใคร แต่มีการคาดการณ์ว่าอาจเป็นแวดวงคนในอย่าง Maureen Cleave, Sonny Freeman ฯ

Norwegian Wood ตามคำอธิบายของ Paul McCartney คือลวดลายแผ่นผนัง (Wall Panelling) ทำจากไม้สนราคาถูกของประเทศ Norway ไม่ได้มีมูลค่า ความงดงาม ประดับตกแต่งในห้องของหญิงคนนั้น (ที่ชักชวน Lenon มาเพื่อสานสัมพันธ์)

And when I awoke I was alone
This bird had flown
So I lit a fire
Isn’t it good Norwegian wood?

ท่อนสุดท้ายของบทเพลง เมื่อตื่นขึ้นยามเช้า หญิงสาวออกจากบ้านไปทำงาน “The Bird had flow” การกระทำของเขา “lit a fire” ไม่ใช่แค่จุดเตาไฟให้อบอุ่น ยังสามารถตีความในลักษณะแก้แค้น เอาคืน เผาบ้านให้มอดไหม้ โดยใช้ไม้ Norwegian Wood เป็นเชื้อเพลิง โต้ตอบที่พยายามล่อลวง ชวนให้คบชู้นอกใจ

In our world the guy had to have some sort of revenge. It could have meant I lit a fire to keep myself warm, and wasn’t the decor of her house wonderful? But it didn’t, it meant I burned the fucking place down as an act of revenge, and then we left it there and went into the instrumental.

Paul McCartney

เกร็ด: John Lenon เขียนบทเพลงนี้ขณะพักอาศัยอยู่โรงแรม Badrutt’s Palace Hotel ตั้งอยู่ St. Moritz, Switzerland ผมลองค้นภายถ่ายภายใน พบเห็นตกแต่งด้วยงานไม้แกะสลักสวยๆ ก็เป็นไปได้ว่า Norwegian wood อาจค้นพบแรงบันดาลใจจากลวดลายแผ่นผนังสถานที่แห่งนี้

แม้เนื้อคำร้อง ความตั้งใจของ Lenon จะเกี่ยวกับคบชู้นอกใจ แก้แค้นเอาคืนหญิงสาวชั่วร้าย แต่คนส่วนใหญ่รับฟังเพลงนี้กลับรู้สึกคร่ำครวญ โหยหา “I once had a girl, or should I say, she once had me.” ฉันเคยตกหลุมรักหญิงคนหนึ่ง เราสองมีกันและกัน แต่รุ่งขึ้นเธอกลับโบยบินจากไป “The Bird had flow” ทำให้จิตวิญญาณมอดไหม้ “lit a fire” เผาทำลาย Norwegian Wood

เรื่องราวของนวนิยาย/ภาพยนตร์ Norwegian Wood นำเสนอรักครั้งแรก หัวใจก็แตกสลาย (บางแก้ว) เพราะไม่สามารถเติมเต็มรสรัก ร่วมเพศสัมพันธ์ ทำให้หนุ่ม-สาวสูญเสียความเชื่อมั่น เต็มไปด้วยความอัดอั้น (ไม่สามารถปลดปล่อยน้ำกาม) ตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง เลยตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม

It was just a story of first love, but the first love that you lose almost immediately once you have it.

Trần Anh Hùng

ในมุมของผู้ใหญ่ บุคคลผู้มีสติ ย่อมสังเกตเห็นว่าการกระทำของ Kizuki และ Naoko ช่างโง่เขลา เอาแต่อารมณ์ แต่อย่าลืมว่าพวกเขายังเป็นวัยรุ่น ฮอร์โมน(วัย)ว้าวุ่น ไร้ซึ่งประสบการณ์ชีวิต จึงไม่สามารถควบคุมตนเอง ครุ่นคิดหาทางออกที่เหมาะสม ส่วนหนึ่งอาจต้องกล่าวโทษบริบททางสังคม เราสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับพวกเขาแล้วหรือ?

ญี่ปุ่นเป็นประเทศพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง Hiroshima และ Nagasagi ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทำให้ประชาชนตกอยู่ในความหดหู่ ท้อแท้สิ้นหวัง (Great Depression) เด็กรุ่นใหม่ (Baby Boomer) ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษนี้ (1946-64) ล้วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง มักขาดความรัก ความอบอุ่น ทำให้โหยหาใครสักคนสำหรับพึ่งพักพิง และพอเติบใหญ่ในช่วงทศวรรษ 60s จึงพยายามมองหาสิ่งปลดปล่อย ล่องลอย หลบหนีจากความทุกข์ยากลำบากในชีวิต

Murakami เกิดปี ค.ศ. 1949 แม้ไม่ได้พบเห็นหายนะจากสงคราม แต่ได้รับอิทธิพลยุคสมัย Great Depression เลยเข้าใจอารมณ์ว้าวุ่น โหยหาอิสรภาพ พยายามมองหาใครสักคนเคียงข้างกาย สำหรับนวนิยาย Norwegian Wood มีหลายส่วนที่ถือเป็นอัตชีวประวัติ โดยเฉพาะตัวละคร Midori Kobayashi สามารถเทียบแทนภรรยาได้ตรงๆเลยกระมัง

ส่วน Naoko คงไม่ใช่หญิงสาวที่ Murakami เคยประสบพบเจอ หรือมีตัวตนอยู่จริงๆ ซึ่งนั่นทำให้เราสามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ ‘รักครั้งแรก’ ไม่จำเป็นต้องสื่อถึงบุคคล อาจหมายถึงช่วงเวลา สถานที่ หรือถ้ายึดตามความตั้งใจผู้เขียนจักคือบรรยากาศยุคสมัย 60s ที่สูญหายไปในปัจจุบันนั้น (นวนิยายตีพิมพ์ปี 1987) หลงเหลือเพียงความทรงจำอันเลือนลาง … กล่าวคือ Naoko เป็นตัวแทนความรักของ Murakami ต่อช่วงทศวรรษ 60s

It’s about the pain you feel when you are in the process of love. Love is growing and suddenly something stops it.

สำหรับผู้กำกับ Trần Anh Hùng ไม่ได้มีความสนใจในการหวนระลึกความหลัง (Nostalgia) โฟกัสที่เรื่องราวรักสามเส้า Toru ต้องเลือกระหว่าง Naoko หรือ Midori ตัวแทนผู้หญิงสองประเภทที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม รักครั้งแรกเต็มไปด้วยความอ่อนไหว เปราะบาง ยิ่งชิดใกล้ยิ่งเจ็บปวดรวดร้าวทรวงใน อีกคนมาทีหลังกลับมอบสัมผัสอ่อนโยน อยู่ด้วยแล้วบังเกิดพละพลังใจ

In every woman, there are two things – Naoko and Midori. Naoko has dark sides. She is poisonous, and she is dangerous. She brings you to dark sides of life, like death. Midori like a wife. She is tender. She is someone who is able to go through all the changes of love and life.

อธิบายแบบนี้อาจทำให้หลายคนครุ่นคิดเห็นว่านวนิยายของ Murakami มีความลุ่มลึก มิติซับซ้อน แถมยังเป็นส่วนตัวมากกว่าภาพยนตร์ของ Trần Anh Hùng ที่โฟกัสเพียงเรื่องราวความรัก แต่นี่ไม่ใช่ทุกสิ่งอย่างของหนังนะครับ การปรับเปลี่ยนเนื้อหา โครงสร้าง ทิศทางดำเนินเรื่อง ทำเพื่อให้สอดคล้องวิสัยทัศน์ผู้สร้าง

เป้าหมายของผู้กำกับ Trần Anh Hùng คือการพรรณาเรื่องราวความรัก โดยใช้ภาษากวีภาพยนตร์ สร้างสัมผัสระหว่างเหตุการณ์กับภาพพบเห็น (ไม่ใช่แค่ภาพพื้นหลัง แต่ยังทุกรายละเอียดประกอบเข้าในซีนนั้นๆ) เพื่อสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ vs. ธรรมชาติ … นี่เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ ล้ำลึก แฝงปรัชญา ทรงคุณค่ากว่าอารมณ์โหยหา คร่ำครวญ หวนระลึกถึงทศวรรษ 60s เป็นไหนๆ

อีกประเด็นที่ผมอยากกล่าวถึงก็คือ ‘เสรีภาพทางเพศ’ นี่อาจเป็นสิ่งที่หลายคนยังส่ายหัว ไม่สามารถยินยอมรับ ปรับตัวเข้ากับค่านิยมสมัยใหม่ เพราะสังคมบ้านเราปลูกฝังค่านิยมชายเป็นใหญ่ ปิตาธิปไตย (Patriarchy) เพศหญิงต้องเป็นกุลสตรี แม่ศรีเรือน เรียบร้อยดั่งผ้าพับไว้ เอาจริงๆมันไม่ผิดอะไร แต่ต้องระวังการถูกเอารัดเอาเปรียบ เพราะยุคสมัยมันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

“ความรัก ≠ เพศสัมพันธ์” คำกล่าวนี้อาจฟังดูเห็นแก่ตัว ขัดต่อหลักศีลธรรมจรรยา แต่สามารถสะท้อนวิถีโลกยุคสมัยใหม่ ตามแนวคิดเสรีภาพทางเพศ ทำไมเราต้องยึดถือมั่นตามขนบกฎกรอบ ค่านิยมทางสังคม ข้ออ้างศีลธรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมครอบงำ ความรักเป็นเรื่องของจิตใจ เพศสัมพันธ์คือความต้องการร่างกาย ถ้าสองสิ่งสามารถเติมเต็มกันและกันย่อมเป็นสิ่งดี แต่โลกปัจจุบันนี้ที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วเย้าทางเพศ เราควรเรียนรู้ที่จะปลดปล่อยตนเอง (ทางเพศ) และควบคุมตนเอง (ในเรื่องความรัก) เพื่อยังคงความเป็นมนุษย์ … แบบเดียวกับ Toru แม้หลับนอนหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า แต่ยังรักมั่นคง รักเดียวใจเดียว จนกว่าจะสูญเสียเธอไป


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice เสียงตอบรับค่อนข้างผสมทั้งดี-แย่ “a mere summary of Murakami’s book” vs. “In the realm of Greatness” ในญี่ปุ่นทำเงินได้ ¥1.4 พันล้านเยน (ประมาณ $16.4 ล้านเหรียญ) รวมรายรับทั่วโลก $17.6 ล้านเหรียญ ไม่รู้เพียงพอคืนทุนสร้างหรือเปล่า

I have seen three or four of [Tran’s] films, and I liked them very much. And I like the guy personally. We met four or five times in Tokyo and Paris [Tran’s home]. But also, he’s Vietnamese-French. And I think the Eastern Asian area is going to create a special culture. That’s important to me–that we make our own new Asian culture. Ten years ago, there was no market, no audience around here. But we now have one. We have many political problems, but in terms of culture, we can create a mutual culture, with mutual values.

Haruki Murakami กล่าวถึงภาพยนตร์ Norwegian Wood (2010)

เมื่อตอนผมเป็นวัยรุ่น ความหลงใหลภาพยนตร์เรื่องนี้มาจากประสบการณ์อกหักนับครั้งไม่ถ้วน โหยหาหญิงสาวที่กล้าพูด กล้าแสดงออกเรื่องเพศ ตกหลุมรักนางเอกทั้งสองอย่างรุนแรง และโดยเฉพาะแนวคิด “ความรัก ≠ เพศสัมพันธ์” สามารถปรับเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติ เปิดโลกทัศน์ใบใหม่ถึงเสรีภาพทางเพศ

พอวัยวุฒิเพิ่มสูงขึ้น รับชมครั้งนี้นอกจากเรื่องรักๆใคร่ๆ ยังได้ค้นพบพลังธรรมชาติ ภาพถ่ายทิวทัศน์ที่สะท้อนความรู้สึกภายใน สร้างสัมผัสกวีภาพยนตร์ที่งดงาม เศร้าสลด มอดไหม้ทรวงใน

เท่าที่ผมตามอ่านความคิดเห็นผู้ชม เสียงตอบรับแย่ๆล้วนมาจากคนเคยอ่านนวนิยายแล้วรับชมภาพยนตร์ แต่ในทิศทางกลับกันคนที่มีโอกาสดูหนังก่อน มักแสดงความชื่นชอบประทับใจ พอตามไปอ่านต้นฉบับหนังสือจะเกิดความหลงใหลคลั่งไคล้ ไม่ได้มีอคติต่อฉบับดัดแปลงนี้สักเท่าไหร่

จัดเรต 18+ กับเรื่องรักๆใคร่ๆ เพศสัมพันธ์ ฆ่าตัวตาย

คำโปรย | Norwegian Wood อาจไม่น่าประทับใจเท่าต้นฉบับนวนิยาย แต่ลีลาการนำเสนอของผู้กำกับ Trần Anh Hùng ทำให้ผู้ชมมอดไหม้ทรวงในด้วยสัมผัสกวีภาพยนตร์
คุณภาพ | วีร์
ส่วนตัว | มอดไหม้ทรวงใน

Xích Lô (1995)


Cyclo (1995) hollywood : Trần Anh Hùng ♥♥♥♥

ปั่นสามล้อถีบรอบกรุง Ho Chi Minh ในช่วงทศวรรษ 90s พบเห็นวิถีชีวิต ผู้คน สภาพสังคมเสื่อมโทรมทราม จักรยานถูกลักขโมย (พล็อตคล้ายๆ Bicycle Thieves (1948)) ทำให้ติดอยู่ในวังวนอาชญากรรม, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice

ทั้งๆไปคว้ารางวัล Golden Lion แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับถูกแบนห้ามฉายในเวียดนาม เพราะรัฐบาลคอมมิวนิสต์มองว่ามีเนื้อหาส่งผลกระทบเสียๆหายๆต่อภาพลักษณ์ของประเทศ (ทั้งๆกองเซนเซอร์เคยอนุมัติบทหนังที่ยื่นข้อเสนอมาก่อนหน้า)

When I made the movie Cyclo, I never thought about defaming my country. I am a Vietnamese artist residing abroad. And the Vietnamese homeland is very sacred to me. If anyone who doesn’t understand me makes hasty conclusions about me, that’s a horrible aversion I can’t imagine … My purpose in making this film is to bring a work of art into the world cinema. Art made by a Vietnamese person.

Trần Anh Hùng

แต่ความตั้งใจของผู้กำกับ Trần Anh Hùng ไม่ได้ต้องการดูถูกเหยียดหยามชาติพันธุ์ตนเอง เพียงสะท้อนสภาพเป็นจริงในยุคสมัยนั้น เพื่อให้สังคมตระหนักถึงความไม่ถูกต้องชอบธรรม บุคคลผู้มีอำนาจควรหันมาสนใจประชาชนรากหญ้า ไม่ใช่เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ปล่อยปละละเลยจนมีสภาพเช่นนี้แล

รับชม Cyclo (1995) ทำให้ผมนึกถึง Bicycle Thieves (1948), Borom Sarret (1963), Beijing Bicycle (2001) ฯ สารพัดภาพยนตร์แนว Neo-Realist ที่เกี่ยวกับจักรยาน/สามล้อถีบถูกลักขโมย ชีวิตตกอยู่ในความสิ้นหวัง ครุ่นคิดก่ออาชญากรรม ทำให้ผลกรรมติดตามทันควัน

แต่ถึงพล็อตเรื่องราวจะไม่มีอะไรแปลกใหม่ Cyclo (1995) เต็มไปด้วยความท้าทายในการรับชม มอบอิสระในการครุ่นคิดตีความ นัยยะเชิงสัญลักษณ์มากมายเต็มไปหมด อีกทั้งยังทำการบันทึกภาพเวียดนามช่วงทศวรรษ 90s เก็บไว้ใน ‘Time Capsule’ ต้องถือว่างดงาม ทรงคุณค่า และยังได้ว่าที่นักแสดงระดับโลกอย่าง Tony Leung Chiu-wai แค่ท่าคาบบุหรี่ก็หล่อเท่ห์ โดนใจวัยรุ่นแล้วละ!


Trần Anh Hùng (เกิดปี 1962) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Vietnamese-French เกิดที่ Da Nang, South Vietnam ในช่วงสงคราม Vietnam War (1955-75) อพยพสู่ลาว ก่อนลี้ภัยไปฝรั่งเศส โตขึ้นระหว่างร่ำเรียนปรัชญา กระทั่งมีโอกาสรับชม A Man Escaped (1956) กำกับโดย Robert Bresson หันเหความสนใจมายังภาพยนตร์ ร่ำเรียนการถ่ายภาพ École nationale supérieure Louis-Lumière ทำงานเป็นตากล้อง กำกับหนังสั้น The Married Woman of Nam Xuong (1989), La pierre de l’attente (1991), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก The Scent of Green Papaya (1993)

ความสนใจของ Trần Anh Hùng ไม่ใช้การเล่าเรื่องแบบปกติทั่วๆไป พยายามมองหาวิธีสื่อสาร ภาษาภาพยนตร์รูปแบบใหม่ๆ ให้คำนิยามงานศิลปะ “Art is the truth wearing a mask” ท้าทายให้ผู้ชมครุ่นคิดค้นหาคำตอบของสิ่งที่หลบซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังหน้ากาก

ช่วงระหว่างที่ผกก. Trần Anh Hùng เดินทางมาเวียดนามเพื่อมองหาสถานที่ถ่ายทำ The Scent of Green Papaya (1993) [แต่สุดท้ายก็ถ่ายทำหนังเรื่องนี้ในสตูดิโอที่ฝรั่งเศส] มีโอกาสพบเจอหญิงสูงวัยคนหนึ่ง เล่าให้ฟังเกี่ยวกับหายนะจากสงคราม Vietnam War แต่วิธีการที่เธอพูดกลับเต็มไปด้วยรอยยิ้ม แม้ขณะถูกทรมานก็ยังไม่มีน้ำเสียงเกรี้ยวกราด อารมณ์ของความเกลียดชัง

When I went to Vietnam to cast the film, I met old women who told me the horrors they had lived through during the war. The strangest thing was they were discussing it with a smile of extraordinary serenity and sweetness. One of them even listed the menu of tortures she had gone through during the wars–and she’s known both wars, the French war and the American war.

It’s that sweetness that gave me the idea to try and make the film with the same serenity. If you’re not turned on by the violence, you’ll notice it is depicted with an overlay of sweetness; only through that contrast does violence become unbearable.

Trần Anh Hùng

เหตุการณ์นั้นเองทำให้ผู้กำกับ Trần Anh Hùng บังเกิดแนวคิดที่จะนำเสนอภาพความรุนแรง เหี้ยมโหดร้าย สังคมเวียดนามที่มีสภาพเสื่อมโทรมทราม ทำออกมาให้มีความละมุน นุ่มนวล และแฝงข้อคิดทางศีลธรรม ‘moral violence’

People find the violence in this movie very disgusting. I think that’s a good thing. Violence must give rise to a feeling of disgust.


เรื่องราว Xích Lô หรือ Cyclo (รับบทโดย Lê Văn Lộc) ชายหนุ่มอายุสิบแปด สูญเสียบิดาถูกรถบรรทุกชน ทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรน ปากกัดตีนถีบ ทำงานรับจ้างสามล้อรอบเมืองโฮจิมินห์ อาศัยอยู่ในบ้านสลัมร่วมกับคุณปู่ทำงานสูบลมล้อจักรยาน พี่สาวแบกหามน้ำ และน้องสาวคนเล็กรับจ้างขัดรองเท้า

อยู่มาวันหนึ่งสามล้อถีบถูกลักขโมย ทำให้ Xích Lô จำใจต้องเข้าร่วมกลุ่มอาชญากรรมของ The Poet (รับบทโดย เหลียงเฉาเหว่ย) อีกทั้งพี่สาวยังกลายเป็นโสเภณี มันจะยังมีหนทางออกอื่นสำหรับครอบครัวนี้หรือไม่?


สำหรับนักแสดงนำ Lê Văn Lộc เป็นชาว Hà Tĩnh มาขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างอยู่เมือง Đà Nẵng วันหนึ่งขณะผ่านหน้าคาเฟ่แถวๆถนน Lê Duẩn Street ได้ยินเสียงเรียกให้หยุดจากด้านหลัง พบเจอผู้กำกับ Trần Anh Hùng แม้ไม่รับรู้ด้วยซ้ำว่าภาพยนตร์คืออะไร แต่ยินยอมตอบตกลงเพียงเพราะค่าตอบแทนงามๆ

รับบท Xích Lô หรือ Cyclo หนุ่มปั่นสามล้อถีบ มีความขยันขันแข็ง ตั้งใจทำงาน แต่เพียงเพราะพลั้งพลาดรับผู้โดยสารต่างถิ่น เลยโดนเขม่นจากนักเลงเจ้าที่ ต่อมาจึงถูกรุมทำร้าย จักรยานสูญหาย จำใจต้องเข้าร่วมกลุ่มอาชญากรรม ช่วงแรกๆเต็มไปด้วยอาการหวาดหวั่นกลัวเกรง หลังจากได้แก้แค้นศัตรูก็แสดงฝีปากกล้า พูดบอกว่ายินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่าง ถึงอย่างนั้นเมื่อพบเห็นการฆาตกรรม ได้รับมอบหมายเข่นฆ่าใครบางคน กลับมิอาจปลงใจทำได้ลง เสพยาเกินขนาดจนเห็นภาพหลอน โชคยังดีได้รับการปลดปล่อยจากแก๊งค์อาชญากร จึงสามารถกลับตัวกลับใจ หวนกลับไปทำอาชีพปั่นจักรยานรับจ้าง

I don’t know about them, but I am sure that I can do it no matter how difficult it is and I’ll do my best. I am used to the hard works.

Lê Văn Lộc

ผกก. Trần Anh Hùng ได้พัฒนาวิธีกำกับนักแสดงสมัครเล่น (มาตั้งแต่ The Scent of Green Papaya (1993)) คล้ายๆแบบ ‘สไตล์ Bresson’ ด้วยการลดบทพูดสนทนา มุ่งเน้นบันทึกภาพการกระทำ แล้วใช้ลูกเล่นภาษาภาพยนตร์เข้าช่วยดำเนินเรื่องราว

เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการแสดง Lê Văn Lộc จึงยินยอมพร้อมปฏิบัติตามคำสั่งผกก. Trần Anh Hùng แม้บางครั้งจะต้องเสี่ยงอันตราย กระโดดท่อระบายน้ำ(เน่า) โยนขวดใส่น้ำมันแก๊สโซลีน หรือแม้แต่ละเลงตัวด้วยสีทาบ้าน ฯ เพราะชีวิตจริงเคยผ่านความทุกข์ยากลำบากยิ่งกว่านี้หลายเท่าตัว จึงไม่มีปัญหากับการเสี่ยงเล็กเสี่ยงน้อย

I play like a stuntman, even though I know I’m holding a bottle full of gasoline and stuffing it with a burning rag, exploding in my hand like playing. No matter how similar it is to real life, you just do it.

ค่าจ้างที่ได้รับจากการแสดง เพียงพอสำหรับเดินทางกลับบ้าน (ที่ Hà Tĩnh) ซื้อรถมอเตอร์ไซด์คันใหม่ บทสัมภาษณ์เมื่อปี ค.ศ. 2014 เหมือนจะกลายเป็นคนขับแท็กซี่ แถมยังมี CD หนังเรื่องนี้ (พร้อมซับไตเติ้ล 4 ภาษา) สำหรับเปิดให้ผู้โดยสารรับชมระหว่างการเดินทาง ไม่แต่งงาน ไม่มีครอบครัว พร้อมรับจ้างไปทุกแห่งหน

My friends ask me the same question. But everyone has their own career, and it also depends on each person’s destiny. My destiny with acting only got to there. Perhaps it was a surprise for me to be ‘famous’, but if I don’t know to stop at the right time, I could have fallen hard.


เหลียงเฉาเหว่ย, Tony Leung Chiu-wai (เกิดปี 1962) นักแสดงชาวจีน เกิดที่ฮ่องกง วัยเด็กเป็นคนหัวรุนแรงเพราะพบเห็นบิดา-มารดาทะเลาะเบาะแว้งบ่อยครั้ง แต่หลังจากพ่อของเขาหายตัวไปทำให้นิสัยเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง กลายเป็นเด็กเงียบๆ เคร่งขรึม หันมาพึ่งพาการแสดงระบายออกทางอารมณ์ของตนเอง, ออกจากโรงเรียนตอนอายุ 15 ทำงานเป็นเด็กส่งของ ตามด้วยเซลล์แมน ฝึกงานที่ TVB กลายเป็น Host เล่นละครซีรีย์ จนมีโอกาสแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Mad, Mad 83 (1983), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Love Unto Waste (1986), โด่งดังระดับเอเชียเรื่อง A City of Sadness (1989), Hard Boiled (1992), Cyclo (1995), ยิ่งใหญ่ระดับโลกจากการร่วมงานผู้กำกับกับหว่องกาไว ตั้งแต่ Days of Being Wild (1991), Chungking Express (1994), Happy Together (1997), In the Mood for Love (2000), 2046 (2004), The Grandmaster (2013), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Hero (2003), Infernal Affairs (2002), Lust, Caution (2007), Red Cliff (2008-09), Shang-Chi and the Legend of the Ten Rings (2021) ฯ

รับบท(ฉายา) The Poet ชายหนุ่มผู้ขายวิญญาณให้ปีศาจ! เข้าสู่โลกอาชญากรรมเพียงเพราะลุ่มหลงเงินๆทองๆ โหยหาความสุขสบาย ตอบสนองความต้องการร่างกาย แต่แสดงออกราวกับคนไร้จิตวิญญาณ ใช้ชีวิตอย่างล่องลอยเรื่อยเปื่อย ทำเหมือนไม่ยี่หร่าอะไรใคร แท้จริงแล้วโหยหาการยินยอมรับจากครอบครัว พยายามแสดงให้ Xích Lô (และพี่สาว) พบเห็นด้านมืดสังคม

It was a pleasure working with Trần Anh Hùng on Cyclo (1995). He also gave me a lot of freedom. After he’d finished with The Scent of the Green Papaya (1993), he thought I would be appropriate to play the poet in this story about the mafia in Vietnam. Trần Anh Hùng came to Hong Kong a few times to talk with me. We met and I found his story fascinating, so I accepted the part. For my part I had to learn both Vietnamese and French: The French version was for the French censors because Cyclo was a French production. A Vietnamese lady who spoke both Vietnamese and French came to teach me every day in Hong Kong for three months. But when I got on the set, I still did not understand any Vietnamese or French besides my lines.

Tony Leung Chiu-wai

ดวงตาของเหลียงเฉาเหว่ย เต็มไปด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว เศร้าโศกเสียใจ (ไม่ต่างจากผลงานอื่นๆก่อนหน้า A City of Sadness, Chungking Express ฯ) รับรู้ตัวเองดีว่าสิ่งที่ทำไม่ถูกต้อง (ทุกครั้งที่ทำสิ่งไม่ถูกต้อง เลือดกำเดามักไหลออกมา) แต่เพราะมิอาจหักห้าม ควบคุมความต้องการของตนเอง เมื่อก้าวเข้าสู่โลกอาชญากรรมย่อมไม่สามารถเดินถอยหลัง … ท่าคาบบุหรี่ดูเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า เหมือนคนพานผ่านอะไรมามาก หมดสิ้นเรี่ยวแรง ไร้ชีวิตชีวา

การพบเจอ Xích Lô และพี่สาว ราวกับได้เห็นตนเองในอดีต พยายามปกปักษ์รักษา เอ็นดูราวกับไข่ในหิน แต่แล้วทั้งสองกลับกำลังลุ่มหลงระเริง มุ่งสู่ทิศทางอาชญากรรม(แบบเดียวกับตนเอง) บังเกิดอารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด ตัดสินใจผิดพลาด ความพยายามฆ่าตัวตายของพี่สาว Xích Lô นั่นคือจุดแตกหักของที่ทำให้ The Poet จิตวิญญาณแตกสลาย ต้องการทำลายทุกสิ่งอย่าง

The Poet is someone who, on a spiritual level, considers himself dead to himself and to society. He sold his innocence for easy money to enter the world of crime, and he’s nostalgic for it.

The gangster-poet is aware of the problem, his sister and Cyclo are not. When they first arrive, he sees them for what they are–innocents–and the only way he can handle their innocence is to precipitate them into a life of crime. That’s why he becomes his sister’s pimp; that’s why, when she cries after her first trick, for him it’s a sort of consolation: innocence protesting against the hardness of reality.

Trần Anh Hùng

การเลือกอาเหลียงที่เป็นชาวฮ่องกง มารับบทในภาพยนตร์สัญชาติเวียดนาม มันช่างผิดแผกแปลกประหลาด ผิดที่ผิดทาง แต่จะว่าไปก็แบบเดียวกับผกก. Trần Anh Hùng แม้เป็นชาวเวียดนาม แต่จากบ้านเกิดไปอยู่ฝรั่งเศสหลายสิบปี พวกเขาต่างมีความแปลกแยก มองโลกแตกต่างจากพวกพ้อง

แซว: ด้วยความที่เหลียงเฉาเหว่ยพูดเวียดนามได้แค่บางคำ ส่วนใหญ่จึงสงบเงียบงัน ประหยัดถ้อยคำ เน้นแสดงอารมณ์ออกทางสีหน้าท่าทาง หลายครั้งได้ยินเสียงรำพันบทกวี … เลยได้รับการตั้งชื่อตัวละคร The Poet

an unknown man
an unknown river
a flower without color
and also without a scent


ถ่ายภาพโดย Benoît Delhomme (เกิดปี 1961) ตากล้องสัญชาติฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาจาก École nationale supérieure Louis-Lumière จบออกมาเป็นผู้ช่วยตากล้อง Bruno Nuytten ถ่ายทำภาพยนตร์ Jean de Florette (1986), Manon des Sources (1986), ฉายเดี่ยวกับ The Scent of Green Papaya (1993), Cyclo (1995), Family Resemblances (1996), Artemisia (1997), The Proposition (2008), 1408 (2007), The Boy in the Striped Pajamas (2008), The Theory of Everything (2017), At Eternity’s Gate (2018) ฯ

งานภาพของหนังโอบรับอิทธิพล ‘สไตล์ Bresson’ มุ่งเน้นบันทึกภาพการกระทำ ท่าทางขยับเคลื่อนไหว ภาษากายของตัวละคร (เพราะส่วนใหญ่คือนักแสดงสมัครเล่น หลายคนไม่เคยมีประสบการณ์ภาพยนตร์) บ่อยครั้งพบเห็นกล้องเคลื่อนติดตามตัวละคร (Tracking Shot) เดินวกไปวนมา (Long Take) นอกจากนี้ยังมีมุมกล้องแปลกๆ แพรวพราวด้วยนัยยะเชิงสัญลักษณ์ และการจัดแสงสีก็โดดเด่นไม่แพ้กัน

ตรงกันข้ามกับ The Scent of Green Papaya (1993) ที่สร้างฉากถ่ายทำในสตูดิโอ, Cyclo (1995) โอบรับแนวคิด Neo-Realist ถ่ายทำยังสถานที่จริงทั้งหมดในกรุงโฮจิมินห์ หลายครั้งจึงมีลักษณะแอบถ่าย กล้องสั่นๆ บันทึกภาพผู้คนสัญจรไปมาแถวนั้น ผลลัพท์ออกมาดูสมจริง (realist) จับต้องได้ … และผมรู้สึกว่าคุณภาพ DVD สีตกๆ มันช่างเข้ากับบรรยากาศลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน


ไม่ใช่แค่ Neo-Realist แต่ผกก. Trần Anh Hùng ยังรับอิทธิพลล้นหลามจากผลงานของ Jean-Luc Godard อย่างวิธีการแนะนำตัวละคร Xích Lô หลังปั่นสามล้อถีบทั่วกรุงโฮจิมินห์ เข้าพบหน่วยงานราชการอะไรสักอย่าง ถูกซักถามประวัติ มีเพียงสามมุมกล้องตัดสลับไปมา … แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Vivre Sa Vie (1962)

เกร็ด: หนังไม่มีการกล่าวชื่อตัวละคร Xích Lô (แปลว่า Cyclo หมายถึงคนปั่นสามล้อถีบ), พี่สาว Xích Lô, The Poet ฯ จุดประสงค์เพื่อการเหมารวม ไม่จำเพราะเจาะจง ตัวแทนบุคคลทั่วไป ชาวเวียดนามส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากพวกเขาเหล่านี้

รับเงิน-แลกเงิน-คืนเงิน-จ่ายเงิน มุมกล้องจับจ้องการเคลื่อนไหล ดำเนินไปของธนบัตร นี่คือลักษณะบันทึกภาพการกระทำของตัวละคร ใครเคยรับชมภาพยนตร์ Pickpocket (1959) หรือผลงานเรื่องอื่นๆของ Robert Bresson น่าจะมักคุ้นเคยเป็นอย่างดี!

อีกหนึ่งการอ้างอิงที่ไม่พูดถึงไม่ได้ น้องสาวคนเล็กของ Xích Lô ทำงานรับจ้างขัดรองเท้า นี่ชัดเจนถึงภาพยนตร์ Shoeshine (1946) กำกับโดย Vittorio De Sica, ส่วนพี่สาวคนโตรับจ้างแบกน้ำ คุ้นๆว่า To Live (1994) ของ Zhang Yimou นางเอกก็รับจ้างทำงานคล้ายๆกัน, คุณปู่สูบลมล้อจักรยาน ชวนนึกถึงหนังจากอิหร่านเรื่องหนึ่ง??

  • สามล้อถีบ อาชีพที่ต้องออกเดินทาง สื่อถึงการดำเนินไปของชีวิต ใช้เรี่ยวแรง พละกำลัง ปากกัดตีนถีบ รับส่งผู้โดยสารจากสถานที่หนึ่งสู่เป้าหมายปลายทาง (ไม่ต่างจากอาชีพเรือข้ามฟาก)
  • ขัดรองเท้า ถือเป็นตัวแทนชนชั้นระดับล่างสุดในสังคม (เพราะรองเท้าคือเครื่องแต่งกายที่อยู่ต่ำสุด)
  • แบกหามน้ำ เครื่องบริโภคสำหรับประทังชีวิต ใช้ในกิจวัตรประจำวัน
  • สูบลมล้อจักรยาน ต่อลมหายใจ(ของคุณปู่)ไปวันๆ
    • ส่วนตาชั่งน้ำหนัก ราวกับเครื่องวัดมูลค่าชีวิตมนุษย์

หนึ่งในวัฒนธรรมชาวเวียดนามคือการนั่งยองๆกับพื้น ถือเป็นวิถีชนชั้นล่าง, บุคคลนั่งบนเก้าอี้ พับเพียบ หรือขัดตะหมาด มักเป็นหัวหน้า เจ้าคนนายคน หรือในบริบทนี้เจ๊เจ้าของสามล้อถีบ (สังเกตจากตำแหน่งความที่นั่งก็ชัดเจนอยู่)

นอกจากนี้ยังช็อตถ่ายจากภายนอก The Poet หันหลังยืนพิงเหล็กดัด (สามคน-สามท่า-สามทิศทาง) สามารถสื่อถึงบุคคลนอก ผู้ไม่อยู่ภายใต้กฎกรอบ หรืออาชญากรกระทำสิ่งผิดกฎหมาย

ที่อยู่อาศัยของครอบครัว Xích Lô อยู่ด้านหลังร้านตัดผม สถานที่เสริมความสวย-หล่อ นัยยะของการสร้างภาพภายนอกให้ดูดี แต่เบื้องหลังกลับเป็นสลัม ชุมชนแออัด ประเทศชาติยังไม่ได้รับการพัฒนา

แวบแรกผมนึกถึง Rear Window (1954) ของ Alfred Hitchcock แต่จุดประสงค์ของผกก. Trần Anh Hùng น่าจะต้องการสื่อถึงอิทธิพลระบอบทุนนิยม การมาถึงของแฟลต คอนโด ตึกระฟ้าสูงใหญ่ ใครมีเงินก็สามารถเข้าพักอาศัย ห้องติดๆกันแต่ส่วนใหญ่ล้วนไม่เคยรับรู้จัก … ชวนให้นึกถึงผลงานของ Jacques Tati อย่าง Mon Oncle (1958) และ Playtime (1967)

ยามค่ำคืน Xích Lô ยังคงต้องออกทำงานหาเงิน ได้ยินสองบทเพลงที่มีความแตกต่างขั้วตรงข้าม

  • บทเพลงเพื่อชีวิตโดยสองนักดนตรีพิการ ท่วงทำนองสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้คนที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน ทนทุกข์ทรมาน ไม่ให้ย่นย่อท้อแท้ต่ออุปสรรคขวากหนาม
  • ส่วนบทเพลงในผับ Just Like You ของ Rollins Band ออกไปทาง Heavy Rock (ไม่ใช่ Heavy Metal นะครับ) ทั้งแสงสี ท่าเต้น ล้วนเป็นการระบายอารมณ์อัดอั้น ความทุกข์ทรมานที่อยู่ภายในออกมา

วินาทีที่จักรยานของ Xích Lô ถูกลักขโมย มุมกล้องถ่ายลอดผ่านรั้วลวดหนาม ชวนให้นึกถึงช็อตก่อนหน้านี้ที่อาเหลียง/The Poet ยืนสูบบุหรี่อยู่นอกห้องเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ โดยลวดเหล็กคือสัญลักษณ์แทนเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างดินแดนแห่งอารยธรรม ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง vs. โลกอาชญากรรม บ้านป่าเมืองเถื่อน

ปล. บริเวณที่ถูกลักขโมยจักรยาน ยังพบเห็นคนงานกำลังขุดเจาะ ซ่อมถนน ได้ยินเสียงเครื่องจักรกล นั่นแสดงถึงความเปราะบางของสังคม เรื่องราวต่อจากนี้กำลังจะเปิดเผยสิ่งซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ (โลกใต้ดิน=ถิ่นอาชญากรรม)

Xích Lô ระหว่างวิ่งไล่ล่าพวกหัวขโมยมาถึงกลางสี่แยก แม้เต็มไปด้วยผู้คนสัญจรไปมาขวักไขว่ กลับถูกรุมโทรมจนลงไปนอนกลิ้งเกลือก ก็ยังคงไม่มีใครสักคนเข้ามาให้ความช่วยเหลือ นี่สะท้อนสภาพสังคมในเวียดนาม/โลกยุคสมัยใหม่ ที่มนุษย์ต่างเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว ไม่มีใครสนใจใยดี เช่นเดียวกับผู้นำประเทศที่ก็ไม่เคยเหลียวแลประชาชน

ก่อนจะตัดเปลี่ยนฉากถัดไป กล้องพยายามเคลื่อนเลื่อนมายังรองเท้าขาว (จิตวิญญาณอันบริสุทธิ์) ของ Xích Lô แสดงถึงสภาพจิตใจอันตกต่ำ เหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า สูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธา

แม้ขณะนี้ เจ๊เจ้าของสามล้อถีบกำลังขับกล่อมบทเพลงให้บุตรชายสติไม่สมประกอบ แต่สังเกตจากภาษาภาพยนตร์ เหมือนว่าผกก. Trần Anh Hùng ยังต้องการปลอมปะโลม Xích Lô (และผู้ชม) หลังจากเหตุการณ์ก่อนหน้าที่ถูกลักขโมยจักรยานด้วยเช่นกัน … นี่ยังแสดงให้เห็นว่าเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ มองเห็น Xích Lô เหมือนลูกแท้ๆอีกคนของตนเอง (นั่นคือเหตุผลที่ช่วงท้ายของหนัง เธอยินยอมปลดปล่อยเขาจากกลุ่มแก๊งค์อาชญากร)

นอกจากนี้เนื้อคำร้องบทเพลงยังมีท่อนหนึ่ง “I give you a pond full of fish” ใครที่รับชมหนังจนจบก็อาจตระหนักได้ว่าปลาตัวนี้ทำการอ้างอิงถึงอะไร?

ไฟช็อต ปวดท้อง เลือดกำเดาไหล ฯ หลากหลายอาการผิดปกติที่พบเห็นในหนัง สามารถสะท้อนถึงสภาพเวียดนามยุคสมัยนั้น ที่อะไรๆก็ไม่ค่อยปกติเฉกเช่นเดียวกัน

  • ไฟช็อตในห้องพักของ Xích Lô ชวนให้ผมนึกถึงสำนวน ‘อย่าเล่นกับไฟ’ ราวกับเป็นการเตือนสติตัวละครว่าสิ่งกำลังทำอยู่นั้นไม่ใช่ถูกต้อง อย่าหลงระเริง หลวมตัวเข้าไปในโลกอาชญากรรม
    • ผมเห็นไฟช็อตแล้วก็สะดุ้งโหยง เป็นห่วงแทนนักแสดง เพราะนี่ไม่ใช่การกระทำที่ปลอดภัยเลยสักนิด!
  • อาการปวดท้องไส้ของ Xích Lô เหมือนกินอาหารผิดสำแดง แต่สามารถสื่อถึงจิตใจปั่นป่วน ไม่รู้จะทำอะไรยังไง จึงจำยินยอมต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ
  • เลือดกำเดาไหลของ The Poet (มันเหมือนสั่งได้) น่าจะเกิดขึ้นจากความรู้สึกขัดแย้งภายใน กำลังกระทำในสิ่งที่ตนเองไม่อยากทำ รับรู้ว่านั่นไม่ใช่เรื่องถูกต้อง ร่างกายจึงไม่สามารถควบคุมอาการผิดปกติบังเกิดขึ้น

พี่สาวของ Xích Lô เมื่อตอนต้นเรื่องทำอาชีพแบกหามน้ำ พอกลายเป็นโสเภณีแม้ยังไม่ได้สูญเสียความบริสุทธิ์(ทางร่างกาย)ให้ลูกค้าคนนี้ แต่รสนิยม(ทางเพศ)ของเขาบีบบังคับให้เธอดื่มน้ำ แล้วชื่นชมปัสสาวะไหลเป็นทาง (ถ่ายผ่านผ้าม่านหรืออะไรสักอย่าง นัยยะเดียวกับลวดเหล็กที่เคยอธิบายไป) นั่นสร้างความรู้สึกอับอาย ทำลายสามัญสำนึกความเป็นมนุษย์ (หรือจะเรียกว่าสูญเสียความบริสุทธิ์ทางจิตใจก็ได้กระมัง)

หลังการทรมาน Xích Lô เนื่องจากพยายามหลบหนีออกจากห้องพัก ฉากถัดมาได้ยินเสียงอ่านบทกวีของ The Poet จากนั้นร้อยเรียงภาพที่มีความฟุ้งๆ จัดแสงจ้าๆ ดูราวกับความเพ้อฝัน นักแสดง/เด็กๆยืนหลับตา หันหน้าเข้ากล้อง พื้นหลังคือสลัม ชุมชนแออัด เพิ้งใกล้กองขยะ สภาพซอมซ่อ รอมร่อ … ผมมองว่าต้องการสื่อถึงความเพ้อฝัน ต้องการออกไปจากดินแดน(สลัม)แห่งนี้

Nameless river
I was born sobbing
Blue sky, vast earth
Black stream water
I grow with the months, the years
With no one to watch over me

Nameless is man
Nameless is the river
Colorless the flower
Perfume without a scent

O, river! O, passer-by!
In the closed cycle
Of the months, the years
I can’t forget my debt to my roots
And I wander
Through worlds
Towards my land…

The Poet พาพี่สาวของ Xích Lô มาเยี่ยมเยียนครอบครัว พวกเขาอาศัยอยู่ในสลัม หาเช้ากินค่ำ ทั้งยังถูกบิดาทุบตี ทำร้ายร่างกาย นั่นน่าจะคือเหตุผลให้เขาต้องการหลบหนีออกไปจากสถานที่แห่งนี้! ขวนขวายเงินทอง โดยไม่สนถูกผิดชอบชั่วดี โหยหาการยินยอมรับ ต้องการบุคคลสำหรับพึ่งพักพิง (The Poet ตอนสนทนาในมุ้งกับมารดา จะมีการโน้มตัวพิงหลัง นั่นคือภาษากายของโหยหาที่พึ่งพักพิง)

ในทิศทางตรงกันข้าม มารดาก็ต้องการบุตรชายสำหรับพึ่งพักพิง (The Poet ทิ้งตัวลงนอน แล้วมารดานอนแอบอิงอ้อมอก) เพราะบิดา/สามีพึ่งพาไม่ได้ ถูกกดขี่ข่มเหง บีบบังคับไม่ให้ออกไปทำงาน วันๆอาศัยอยู่แต่ในบ้านสลัม ขยะเต็มเตียงนอน ใช้ชีวิตราวกับอยู่ในกรงขัง (จะว่าไปลักษณะของมุ้ง ก็คือสื่อถึงกรงขังได้เช่นกัน) ไม่สามารถดิ้นหลุดพ้นจากสถานที่แห่งนี้

Xích Lô ทำการล้างแค้นพวกลักขโมยสามล้อถีบด้วยการจุดไฟ มอดไหม้ในกองเพลิง ส่วนตนเองวิ่งหลบหนีตำรวจ กระโดดลงคูคลอง กลับห้องพักในสภาพเปลอะเปลื้อนโคลนเลน พบเห็นหนอนไรยั้วเยี้ยว ราวกับขึ้นมาจากขุมนรกใต้ดิน … สภาพเกรอะกรังของ Xích Lô แสดงให้ถึงสภาพจิตใจตัวละคร อันเป็นผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางสังคม มีความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ สกปรกโสมม

การเอาใบหน้า(ที่เปลอะเปลื้อนโคลนเลน)จุ่มลงในตู้ปลา มันดูราวกับพิธีจุ่มศีล สัญลักษณ์ของการถือกำเนิด เกิดใหม่ สังเกตว่าตอนเอาใบหน้าจุ่มลง-ยกขึ้น ยังมีทิศทางแตกต่างตรงกั้นข้าม (จุมลงแนวนอน ยกขึ้นแนวตั้ง) เพื่อสื่อถึงมุมมองโลกทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนแปลงไป อดีตเคยใสซื่อไร้เดียงสา ต่อจากนี้พร้อมลุกขึ้นมาโต้ตอบ กระทำในสิ่งตอบสนองความต้องการของตนเอง

คู่ขนานกับการเกิดใหม่ของ Xích Lô พี่สาวทำการปลดเปลื้องเสื้อผ้า สวมใส่ถุงน่อง ยินยอมให้ลูกค้าออกคำสั่งทำสิ่งโน่นนี่นั่น ไม่แสดงปฏิกิริยาต่อต้านขัดขืนเหมือนครั้งแรก … เรียกได้ว่ายินยอมศิโรราบต่อด้านมืดสังคม

วินาทีที่ Xích Lô บอกกับพรรคพวกว่าอยากเข้าร่วมกลุ่มอาชญากร สร้างความไม่พึงพอใจให้กับ The Poet เข้ามาชกหน้า ก่อนพามาให้รับรู้จัก Mr. Lullaby (ได้รับฉายานี้เพราะชื่นชอบร้องเพลงขับกล่อมเป้าหมาย ก่อนเชือดคอให้ตกตาย) พบเห็นความตายบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา วินาทีที่ถูกเชือด สังเกตว่าเลือดสาดกระเซ็นไปบนผนังกำแพง นี่ชวนให้นึกถึง ‘Painting of the Dead’ จากภาพยนตร์ Tenebrae (1982)

หลังจากพบเห็นความตายต่อหน้าต่อตาย ค่ำคืนนี้ในห้องพักของ Xích Lô อาบฉาบด้วยแสงสีเขียว นอนจับจ้องมองกระจก ละเล่นกับมีด เลียนแบบท่ากรีดคอ ภาษากายนี้น่าจะสื่อถึงความลุ่มหลงใหล ใคร่สนใจ จากนั้นลุกขึ้นมาจับจิ้งจก เด็ดหาง รับประทาน? ผมมองว่าเป็นสัญลักษณ์ความระเริงในอำนาจ จิ้งจกเป็นสัตว์ที่สามารถงอกหางขึ้นใหม่ การกระทำของเขาจึงคือการกลั่นแกล้ง กดขี่ข่มเหง ใช้อำนาจในทางไม่ชอบ

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเครื่องบินมันมายังไง? แต่การแทรกใส่ซีนนี้เข้ามา เป็นความพยายามหวนระลึก ปลุกความทรงจำสงครามเวียดนาม แบบเดียวกับตอน Mr. Lullaby เปรียบเทียบเสียงปืนกลราวกับนักร้องเพลงชื่อดัง สร้างสัมผัสชั่วร้าย หายนะ ความตายอยู่ทุกแห่งหน … เป็นการสะท้อนอิทธิพลจากสงคราม(เวียดนาม) ที่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจผู้คนมาจนถึงปัจจุบัน(นั้น)

ไหนๆอุตส่าห์ตั้งชื่อ ‘Vietnam Trilogy’ มันจึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีการอ้างอิงถึง The Scent of Green Papaya (1993) ซึ่งเรื่องนั้นมะละกอคือสัญลักษณ์แทนหญิงสาว/มารดา สตรีเพศชาวเวียดนาม ในวัยกำลังสุกหง่อม/เจริญพันธุ์ สอดคล้องกับซีนนี้ที่หนึ่งในสาวๆบอกว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์

เมื่อตอน The Scent of Green Papaya (1993) สาวใช้ Mùi มีความหลงใหลในมะละกอ ต้องการผ่ากลาง จับจ้องมองเมล็ดพันธุ์, สำหรับ Cyclo (1995) ปรับเปลี่ยนมาเป็น The Poet ใคร่สงสัยสิ่งที่อยู่ภายใต้หัวปลี ใช้มีดโกนกรีดเบาๆ พบเห็นเส้นขาวๆภายใน จะมองเป็นสัญลักษณ์เพศชาย หรือจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ ที่กำลังถูกแปดเปื้อนด้วยเลือดกำเดา(ของ The Poet)

Xích Lô ได้รับมอบหมายให้ลักลอบขนยา ยัดใส่เนื้อหมูที่เพิ่งโดนเชือดสดๆ ซึ่งหนังยังทำการเปรียบเทียบคู่ขนานกับชายคนหนึ่ง/คนขับสามล้อถีบ ถูกรถชนระหว่างกลุ่มวัยรุ่นกำลังเข้าปะทะเจ้าหน้าที่ตำรวจ แล้วกระเด็นกระดอนขึ้นมาบนสามล้อถีบ นอนตายอยู่บนเจ้าหมู … นี่เป็นการเปรียบเทียบหมูโดนเชือด = มนุษย์ถูกฆ่า สะท้อนถึงการใช้อำนาจบาดใหญ่ โดยไม่เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์

ไม่เพียงเท่านี้ ภาพคนขับสามล้อถูกรถชนตาย ยังปลุกความทรงจำของ Xích Lô นึกถึงการจากไปของบิดา (ที่ก็เสียชีวิตจากการถูกรถชน) นั่นสร้างความตื่นตกอกตกใจ (ยิ่งกว่าตอนพบเห็น Mr. Lullaby กรีดคอคนตาย) ระลึกถึงคำเคยสอน เกิดความตระหนักว่านี่ไม่ใช่โลกของตนเอง วิถีทางที่ถูกต้อง!

เมื่อเกิดความตระหนักได้เช่นนั้น Xích Lô จึงนำเงินเก็บทั้งหมดมาขอเช่าสามล้อถีบคันใหม่ ต้องการออกไปจากโลกอาชญากรรม แต่เธอกลับเพิกเฉยเย็นชา ก่อนเปลี่ยนไปให้ความสนใจบุตรชายไม่สมประกอบ ขณะนั้นอาบสีเหลืองทั่วตัว เดินเข้ามาโอบกอด Xích Lô … ผมไม่ค่อยแน่ใจนัยยะของเฉดสีเหลืองสักเท่าไหร่ เลยขอคาดเดาจากธงชาติเวียดนามที่มีพื้นแดงและดาวเหลือง

  • พื้นแดง คือสัญลักษณ์แทนเลือดเนื้อ การต่อเพื่อเอกราช
  • ดาวเหลือง แทนด้วยสีผิวชาติพันธุ์ “the color of our race’s skin”
  • ดาวห้าแฉก แทนด้วยชนชั้นนักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร

ผมยังอ่านเจอว่าหลังรวมประเทศเหนือ-ใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1976 ธงชาติเวียดนามยังอีกมีความหมายที่ปรับเปลี่ยนแปลงไป

  • สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ
  • ดาวสีทอง หมายถึง การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

หลังจาก Xích Lô ได้รับมอบหมายภารกิจลอบสังหาร หนังนำเสนอคู่ขนานกับเหตุการณ์สูญเสียความบริสุทธิ์(ทางร่างกาย)ของพี่สาว หลังจาก The Poet ตัดสินใจขายเธอให้กับลูกค้ารายหนึ่ง!

ก่อนหน้าจะถึงฉากนั้น ระหว่างสระผม ซักผ้า (มีเงินแล้วพี่สาวจึงไม่ต้องแบกหามน้ำอีกต่อไป) The Poet เกิดความสนอกสนใจเครือมะพร้าว พยายามเข้าไปฉุดกระชากลากดึง แต่พี่สาวของ Xích Lô สั่งห้ามปรามไม่ให้ทำให้ทำลายเมล็ดพันธุ์ ถึงอย่างนั้นเขากลับปฏิเสธรับฟัง เฉกเช่นเดียวกับตอนขายเธอให้ลูกค้ารายหนึ่ง ไม่ยี่หร่าว่าอีกฝ่ายครุ่นคิดรู้สึกเช่นไร ก้าวเดินออกหลังผับ อาบฉาบด้วยแสงสีน้ำเงิน

The Poet ตระหนักถึงความผิดพลาดจากการขายความบริสุทธิ์พี่สาวของ Xích Lô แสดงสีหน้ารู้สึกผิด เลยตัดสินใจฆ่าปิดปากลูกค้ารายนั้น จนเสื้อขาวอาบฉาบด้วยเลือดแดงฉาน อีกฝ่ายพยายามดิ้นรน กระเสือกกระสน หาหนทางหลบหนีบนดาดฟ้าอาคาร (แลดูเหมือนการเริงระบำความตาย ‘Dance of the Death’) กล้องถ่ายมุมก้ม ราวกับผู้มีอำนาจ/เบื้องบนมองลงมา เคลื่อนเลื่อนไปจนพบเห็นท้องถนนด้านล่าง ก่อนเอาธนบัตรยัดปาก เงินไม่สามารถซื้อได้ทุกสิ่งอย่าง

ผมมองชายคนนี้คือตัวแทนบุคคลผู้มีความลุ่มหลงระเริงไปกับระบอบทุนนิยม ครุ่นคิดว่าอำนาจการเงิน สามารถจับจ่ายซื้อขายได้ทุกสิ่งอย่าง แต่นั่นถือเป็นการบ่อนทำลายจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ (=พรหมจรรย์หญิงสาว)

ทำไมหลังเหตุการณ์ฆาตกรรม ถึงตัดภาพมายังห้องเรียน เด็กๆกำลังขับร้องเพลง? ผมครุ่นคิดว่าเหตุผลการทำเช่นนี้น่าจะเพราะเนื้อเพลงมีนัยยะเคลือบแอบแฝงบางอย่าง แต่หนังดันไม่มีคำแปลซับไตเติ้ล ก็เลยมึนตึง ใครจะไปคาดคิดถึง? หรืออาจเพราะความละอ่อนเยาว์วัย ไร้เดียงสาของเด็กๆ ขัดแย้งกับภาพผู้ใหญ่ กร้านโลก กระทำสิ่งชั่วร้าย นี่คือช่วงเวลาผ่อนคลายเล็กๆ ลมสงบก่อนการมาถึงของพายุลูกใหญ่

ค่ำคืนนี้มีงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่! พบเห็นเครื่องเส้นไหว้ แต่งชุดอ่าวหญ่าย ผู้คนสัญจรไปมาขวักไขว่ ส่วนบุตรชายนั่งเล่นรถดับเพลิงอยู่นอกบ้าน อ้าปากหวอเหมือนปลากำลังหายใจเฮือกสุดท้าย ส่วนเด็กๆก็ทำท่าเลียนแบบ (นี่เป็นการเปรียบเทียบแบบเหมารวม เด็กชาย = ชาวเวียดนาม = ปลาทองถูกเลี้ยงไว้ในตู้ ต้องแหวกว่าย กระเสือกกระสน ต่อสู้ดิ้นรน ไร้หนทางแห่งอิสรภาพ)

เมื่อตอนที่เจ๊เจ้าของสามล้อถีบพูดว่า “Why do you love paint so much?” สังเกตใบหน้าบุตรชายอาบเปื้อนด้วยเลือดแดงฉาน ซึ่งจะมองว่านั่นคือสีๆหนึ่งก็ได้กระมัง ความหมายจากธงชาติเวียดนามก็คือการต่อสู้ ความตาย เสียสละเพื่อประเทศชาติบ้านเกิด

The Poet เพราะมิอาจอดรนทนกับตนเองได้อีกต่อไป จึงจุดไฟเผาห้องพัก ทำให้ทุกสรรพสิ่งอย่างมอดไหม้ (หรือจะมองว่าเป็นการแก้แค้นตนเอง คล้ายตอนกลางเรื่องที่ Xích Lô จุดไฟเผาโจรปล้นจักรยาน)

อีกสิ่งน่าสนใจคือภาพนาฬิกา ตอนต้นเรื่องมันคือสถานที่เก็บซ่อนเงินของ The Poet ขณะนี้เปลวเพลิงกำลังลุกลาม ธนบัตรภายในจึงปลิดปลิวออกมา เพื่อสื่อว่าเงินไม่สามารถซื้อเวลา ซื้อชีวิต ทำให้จิตวิญญาณมอดไหม้ เหลือเพียงเถ้าถ่าน

ตอนพบเห็น Xích Lô ละเลงสีลงบนใบหน้า ผมนึกถึงภาพยนตร์ Pierrot le Fou (1965) ขึ้นมาโดยพลัน! แสดงความคลุ้มคลั่ง เสียสติแตก ไม่สามารถควบคุมตนเอง เสียงเป่าขลุ่ยราวกับลมหายใจเฮือกสุดท้าย ซึ่งในบริบทของหนังคืออาการมึนเมาระหว่างเสพยา(เกินขนาด) ทำให้แทนที่จะสังหารเป้าหมาย เกือบกลายเป็นการฆ่าตัวตาย

(จะว่าไปเปลวไฟแดง เป็นสีตรงกันข้ามกับน้ำเงิน นั่นสามารถสื่อว่าความตายทางร่างกายของ The Poet = ความตายทางจิตวิญญาณของ Xích Lô)

ไม่ใช่แค่ละเลงสีสัน Xích Lô ยังทำการคาบปลาทอง (แต่ถูกย้อมสีเหลือง) ดิ้นกระแด่วๆ สื่อความหมายเดียวกับบุตรชายของเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ แทนความกระเสือกกระสน ต่อสู้ดิ้นรน เหมารวมถึงชาวเวียดนามยุคสมัยนั้น

พี่สาวของ Xích Lô นั่งอย่างหมดอาลัยในห้องพักของ The Poet ที่หลงเหลือเพียงเถ้าถ่าน ปกคลุมด้วยแสงสีน้ำเงิน มอบสัมผัสหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก สั่นสะท้านทรวงใน กล้องถ่ายจากเบื้องบนก้มลงมา ค่อยๆเคลื่อนไหล ก่อนไปสิ้นสุดยังต้นไม้สีเขียวในกระถาง (ดูสดชื่น มีชีวิตชีวา) ราวกับว่าท่ามกลางเศษซากปรักหักพัง ทุกสิ่งอย่างสามารถเริ่มต้น(ชีวิต)ใหม่

มันช่างเป็นความเหมาะเจาะพอดี ที่ค่ำคืนแห่งหายนะตรงกับวันสิ้นปี ประเพณีชาวเวียดนามก็นิยมไปไหว้พระ อธิษฐานขอพร จุดธูปไม่รู้กี่ดอก ขอให้เรื่องร้ายๆพานผ่านพ้นไป

พี่สาวของ Xích Lô เดินเตร็ดเตร่ไปจนรุ่งเช้า นั่งเหงาอยู่ริมคลอง แล้วจู่ๆมีเด็กคนหนึ่งเข้ามาจูงมือพาข้ามสะพาน นั่นคือสัญลักษณ์ของการก้าวผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย ให้สามารถเริ่มต้นชีวิต/ปีใหม่

วินาทีที่เจ๊เจ้าของสามล้อถีบถูกไฟช็อต ความเจ็บปวดทางร่างกาย ทำให้เธอไม่สามารถอดกลั้นความเศร้าโศกจากการสูญเสียบุตรชาย ตรงเข้าไปโอบกอด Xích Lô ระบายความรู้สึกภายในออกมา … ผมพยายามจับจ้องอยู่นานว่าสิ่งติดอยู่ในผม Xích Lô คืออะไร? ก่อนพบว่าเจ้าปลาทองนั่นไง

ความตายของเจ้าปลาทอง น่าจะสื่อถึงการหมดเวรหมดกรรม ความคาดหวังของผกก. Trần Anh Hùng ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จักสามารถทำลายวงจรอุบาศว์ในประเทศเวียดนามให้หมดสิ้นลง

ภาพสุดท้ายของหนังก่อน Closing Credit ถ่ายจากเบื้องบน พบเห็น Xích Lô ปั่นสามล้อถีบพาครอบครัวออกเดินทาง สัญลักษณ์ของการเริ่มต้นชีวิตใหม่ สอดคล้องเข้ากับเสียงบรรยายเล่าถึงเจ้าแมวเหมียวที่หวนกลับมาหา รูปร่างหน้าตาดูหล่อเหลายิ่งกว่าเดิมเสียอีก!

ขณะเดียวกันเจ้าเหมียวตัวนี้ยังทำให้ Xích Lô หวนระลึกถึงบิดา เพราะครั้งสุดท้ายพบเจอวันเดียวกับที่บิดาเสียชีวิต (กำลังนอนอาบแดดร่วมกัน) เลยครุ่นคิดว่ามันคงตายจากไปแล้ว ซึ่งการหวนกลับมาของเจ้าเหมียว คงทำให้เขารู้สึกเหมือนบิดาหวนกลับมาเช่นเดียวกัน!

Yesterday, the cat came back. We thought he was dead. He’s even more handsome than before so handsome, nobody recognized him. I remember my father right before he died. It was a Sunday the only day he took a nap at home. The cat was sleeping in the sun. A gash across his face. My father slept swinging his leg. I was a child. I remember watching my father’s knee, for a long time.

ตัดต่อโดย Nicole Dedieu, Claude Ronzeau

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Xích Lô ตั้งแต่เริ่มทำงานสามล้อถีบ ครั้งหนึ่งปั่นไปต่างที่ต่างถิ่น โดนนักเลงละแวกนั้นลักขโมยจักรยาน จำต้องผันตัวสู่โลกอาชญากร ได้รับการเสี้ยมสอนโดย The Poet ที่ก็ชักนำพาพี่สาว (ของ Xích Lô) เข้าสู่แวดวงโสเภณีเช่นเดียวกัน

  • อารัมบท, วิถีชีวิตของ Xích Lô
    • ปั่นสามล้อถีบ ทำงานหามรุ่งหามค่ำ
    • ตกเย็นขับรถไปรับปู่ทำงานสูบลมยาง, พบเห็นพี่สาวแบกหามส่งน้ำ และน้องสาวคนเล็กรับจ้างขัดรองเท้า
  • จักรยานถูกลักขโมย
    • วันหนึ่ง Xích Lô ไปส่งลูกค้าต่างถิ่น แล้วถูกเขม่นโดยนักเลงเจ้าที่
    • วันถัดมาจักรยานของ Xích Lô จึงถูกลักขโมยไปซึ่งๆหน้า
    • เจ๊เจ้าของสามล้อถีบจึงแนะนำ Xích Lô ให้กับ The Poet พาไปยังห้องพักสำหรับหลบซ่อนตัว
    • พี่สาวของ Xích Lô เดินทางมาหา The Poet จำยินยอมกลายเป็นโสเภณี
  • ช่วงการพิสูจน์ตนเอง โหยหาการยินยอมรับ
    • Xích Lô หลบหนีออกจากห้องพัก แต่ก็ถูกจับกลับมาคุมขัง
    • The Poet พาพี่สาวของ Xích Lô มาเยี่ยมเยียนครอบครัว แต่เขากลับถูกบิดาเฉดหัวขับไล่
    • Xích Lô จุดไฟในขวดใส่น้ำมันแก๊สโซลีน เขวี้ยงขว้างใส่บ้านพักของศัตรูคู่อาฆาต
    • หลังสามารถหลบหนีเอาตัวรวด Xích Lô ต้องการจะเข้าร่วมกลุ่มอาชญากรของ The Poet
    • The Poet จึงนำพา Xích Lô มาให้พบเห็นการฆาตกรรมของ Mr. Lullaby
  • การสูญเสียความบริสุทธิ์
    • พี่สาวของ Xích Lô เหมือนว่าจะตกหลุมรัก The Poet
    • Xích Lô ได้รับภารกิจขนส่งยาจากโรงเชือด ระหว่างทางถูกตำรวจดัดตรวจค้น บังเอิญว่ามีเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง เลยสามารถเอาตัวรอดหวุดหวิด แต่ก็พบเห็นภาพติดตาฝังใจ
    • Xích Lô ต้องการจะออกจากวังวนอาชญากรรม แต่กลับได้รับมอบหมายลอบสังหารใครบางคน
    • The Poet ตัดสินใจขายพี่สาวของ Xích Lô ให้กับลูกค้ารายหนึ่ง โดยไม่รับรู้ว่าอีกฝ่ายยังเป็นสาวบริสุทธิ์
  • อารมณ์เกรี้ยวกราด ทำลายล้าง
    • วันถัดมาพี่สาวของ Xích Lô กรีดข้อมือจะฆ่าตัวตาย รับไม่ได้การถูกข่มขืน
    • The Poet ลงมือฆ่าปิดปากลูกค้ารายนั้น แล้วกลับมาห้องพัก เผาทุกสิ่งอย่างให้มอดไหม้วอดวาย
    • Xích Lô เสพยาเกินขนาดจนมึนเมามาย ทำให้ไม่สามารถลงมือลอบสังหารใคร
    • บุตรชายของเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ ประสบอุบัติเหตุถูกรถดับเพลิง(ที่กำลังจะมาดับเพลิงห้องพัก The Poet)พุ่งชนเสียชีวิต
  • ปัจฉิมบท
    • ความสูญเสียดังกล่าวทำให้ Xích Lô ได้รับการปลดปล่อย หวนกลับไปประกอบอาชีพปั่นสามล้อถีบ

โดยปกติแล้วสไตล์ของผู้กำกับ Trần Anh Hùng มักไม่ค่อยมีคำอธิบายเรื่องราวใดๆ ว่ามันเกิดเหตุการณ์ห่าเหวอะไร ให้อิสระในการครุ่นคิดตีความ แต่สำหรับ Cyclo (1995) หลายครั้งได้ยินเสียงบรรยาย ไม่ก็อ่านออกเสียงบทกวีนิพนธ์ ถึงจากนั้นผู้ชมยังต้องไปขบคิดต่อเอาเอง ไม่ใช่การเล่าเรื่องว่ามีอะไรกำลังบังเกิดขึ้น

โครงสร้างของหนังมีการดำเนินเรื่องคู่ขนานกันบ่อยครั้ง ระหว่าง Xích Lô และพี่สาว ซึ่งเรื่องราวมักมีความสอดคล้อง หรือแฝงนัยยะบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อกันและกัน ยกตัวอย่าง

  • Xích Lô โดนบีบบังคับให้เข้าร่วมกลุ่มอาชญากร = พี่สาวถูกบีบบังคับให้กลายเป็นโสเภณี (แต่ยังไม่เสียความบริสุทธิ์)
  • Xích Lô ทำการล้างแค้นโจรปล้นสามล้อ = พี่สาวมีความคุ้นเคยชินกับอาชีพโสเภณี
  • Xích Lô ได้รับภารกิจลอบสังหาร = พี่สาวถูกหลอกขายตัว สูญเสียพรหมจรรย์

โดยปกติแล้วภาพยนตร์แนว Neo-Realism นิยมใช้เสียงธรรมชาติ บันทึกจากสถานที่จริง (เสียงพื้นหลังจึงมีความอื้ออึง ค่อนข้างหนวกหู) ในส่วนเพลงประกอบมักมีลักษณะ ‘diegetic music’ ดังขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียง พบเห็นขับร้อง-บรรเลง ในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีทั้งเพลงพื้นบ้าน (Ca Dao แปลว่า Folk Songs) ท่วงทำนองกล่อมเด็ก (Ru Con แปลว่า Lullaby) และดนตรีป็อปร่วมสมัยนั้น

  • Nắng Chiều (แปลว่า Sunny afternoon) โดยสองศิลปินพิการข้างถนน Nguyen Van Ngoc และ Tran Van Hai
  • Just Like You ของวงร็อค Rollins Band ดังขึ้นระหว่าง Xích Lô เข้าไปเที่ยวในผับ
  • Thằng Bờm (แปลว่า Little Bờm) ขับร้องโดยเจ๊เจ้าของสามล้อถีบ (รับบทโดย Nguyen Nhu Quynh) ขับกล่อมบุตรชายสติไม่สมประกอบ
  • Em ơi, Hà Nội phố (แปลว่า Little Sister, Hanoi City) ขับร้องโดย Thanh Lam ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่ง
  • Hoa Tím Ngoài Sân (แปลว่า Purple Flowers in the Yard) ขับร้องโดย Lê Khanh ดังขึ้นระหว่างสาวๆกำลังเล่นสนุกสนาน
  • Creep ของวง Radiohead ดังขึ้นในไนท์คลับก่อนเสียความบริสุทธิ์
  • บทเพลงขับร้องและบรรเลง Mandolin (Closing Credit) โดยเด็กๆจาก Children Of The Kinderhouse Of Saïgon

ผมเลือกบทเพลง Em ơi, Hà Nội phố (แปลว่า Little Sister, Hanoi City) ซึ่งมีเนื้อร้องในเชิงเปรียบเทียบหญิงสาว=กรุง Hanio (แต่หนังถ่ายทำในนคร Ho Chi Minh) เธอทอดทิ้งฉันไว้ให้พานผ่านฤดูกาลหนาวเหน็บ เย็นยะเยือกทางร่างกาย สั่นสะท้านทรวงใน … เป็นการรำพันความสัมพันธ์ระหว่าง The Poet และสาวๆในสังกัด พวกเธอต่างตกหลุมรัก แต่เขากลับไม่เคยมีใจให้

คำร้องเวียดนามคำแปลอังกฤษ
Em ơi, Hà Nội phố
Ta còn em mùi hoàng lan
Ta còn em mùi hoa sữa
Con đường vắng rì rào cơn mưa nhỏ
Ai đó chờ ai tóc xõa vai mềm.

Ta còn em cây bàng mồ côi mùa đông
Ta còn em nóc phố mồ côi mùa đông
Mảnh trăng mồ côi mùa đông
Mùa đông năm ấy
Tiếng dương cầm trong căn nhà đổ
Tan lễ chiều sao còn vọng tiếng chuông ngân?

Ta còn em một màu xanh thời gian
Từng chiều phai tóc em bay
Chợt nhòa, chợt hiện
Người nghệ sĩ lang thang hoài trên phố
Bỗng thấy mình chẳng nhớ nổi một con đường?

Ta còn em hàng phố cũ rêu phong
Và từng mái ngói xô nghiêng
Nao nao kỷ niệm
Chiều Hồ Tây lao xao hoài con sóng
Chợt hoàng hôn về tự bao giờ?
Little sister, Hanoi, old streets
You’re all that’s left me, orchid scent
You’re all that’s left me, alstonia flower
Rain whispering down deserted streets
Waiting for a woman, wind swept hair, tender shoulders

You’re all that’s left me, winter tree
You’re all that’s left me, icy abandoned street
Slip of winter moon
That year’s winter
where the voice of a piano echoes
Late into the night a bell still chimes

You’re all that’s left me, color of time
The evening fades, your hair flutters
Suddenly blurred, suddenly appeared
The poet wanders in vain through the streets
Suddenly realizing he has lost his way

You’re all that’s left me, old streets covered in moss
Every creaky old rooftop
In my topsy-turvy memory
Floating over the waves of West Lake
Suddenly twilight has fallen When it fell, I don’t know
You’re all that’s left me, orphaned winter tree

นอกจากนี้ Cyclo (1995) ยังมีการเพิ่มเติม ‘non-diegetic’ ประพันธ์โดย Tôn-Thất Tiết ในลักษณะคล้ายๆสร้อยของบทกวี มักดังขึ้นในช่วงเวลาที่ต้องการสร้างสัมผัสทางอารมณ์ ให้มีความรุนแรงเข้มข้น ผู้ชมบังเกิดความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์ขณะนั้นๆ

Tôn-Thất Tiết (เกิดปี 1933) คีตกวีสัญชาติ Vietnamese-French เกิดที่ Huê เดินทางสู่ Paris ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 เพื่อมาร่ำเรียนการแต่งเพลงยัง Conservatoire de Paris เคยเข้าคลาสของ Jean Rivier และ André Jolivet รับอิทธิพลการผสมผสานเพลงบทเพลงพื้นบ้านเข้ากับดนตรีตะวันตก (Eastern & Western) จบออกมามีผลงานประพันธ์ซิมโฟนี ออร์เคสตรา บัลเล่ต์ เพลงประกอบภาพยนตร์, เมื่อปี ค.ศ. 1993 ก่อตั้งสมาคม France-Vietnam Music Association เพื่อโปรโมทบทเพลงพื้นบ้าน (Traditional Music) ในประเทศเวียดนาม

ในอัลบัมเพลงประกอบ งานเพลงของ Tôn-Thât Tiêt ใช้ชื่อเรียก Suite Symphonique มีทั้งหมด 5 Movement ประกอบด้วย Part I, II, III, Epilogue และ Appendix น่าเสียดายที่หาคลิปมาให้รับฟังทั้งหมดไม่ได้

Cyclo (1995) นำเสนอเรื่องราวชายปั่นสามล้อถีบ ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน หาหนทางเอาตัวรอดปลอดภัย โชคชะตานำพาให้เข้าสู่โลกอาชญากรรม พบเห็นความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ มุมมืดของประเทศเวียดนาม เกิดความตระหนักว่านั่นไม่ใช่สถานที่ของตน ยังดีที่ไม่ได้ก้าวถล้ำลึก จึงมีโอกาสกลับตัวกลับใจ ถอยหลังออกมาเริ่มต้นชีวิตใหม่

ผกก. Trần Anh Hùng เมื่อครั้นเดินทางหวนกลับเวียดนาม เพื่อสำรวจสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ The Scent of Green Papaya (1993) คาดไม่ถึงว่าประเทศบ้านเกิดผ่านมาหลายสิบปี (อพยพหนีออกนอกประเทศตั้งแต่ช่วงสงครามเวียดนาม) กลับยังมีสภาพเสื่อมโทรม ล้าหลัง พบเห็นความทุกข์ยากลำบากผู้คน ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน ปากกัดตีนถีบ เพียงหาหนทางเอาตัวรอดไปวันๆ ไม่มีความฝัน ไม่รู้อนาคต เมื่อไหร่อะไรๆจะดีขึ้นกว่าวันวาน

Neo-Realist เป็นแนวภาพยนตร์ที่มีความสองแง่สองง่าม ขึ้นอยู่กับการตีความของผู้ชม

  • ในแง่มุมของผู้สร้าง ส่วนใหญ่ต้องการบันทึกภาพ ประวัติศาสตร์ เก็บฝังไว้ใน ‘Time Capsule’ ให้คนรุ่นหลังได้พบเห็นวิถีชีวิต ผู้คน สภาพสังคมในยุคสมัยนั้นๆ
    • บางครั้งอาจยังต้องการให้ผู้ชม ตระหนักถึงสภาพเป็นจริงในสังคมขณะนั้นๆ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง อนาคตต้องดีกว่าวันวาน
  • การนำเสนอมุมมืด สิ่งชั่วร้าย สภาพสังคมเสื่อมโทรมทราม สำหรับประเทศฟากฝั่งสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ มักมองว่าเป็นการทำลายภาพลักษณ์ สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ

สำหรับผกก. Trần Anh Hùng อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นว่า ไม่ได้ตั้งใจจะทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศบ้านเกิด เพียงนำเสนอสภาพเป็นจริงของสังคม เพื่อสร้างความตระหนักรับรู้ให้กับชาวเวียดนาม โดยใช้สารพัดเหตุการณ์รุนแรงในเชิงสัญลักษณ์ สะท้อนจิตสำนึก/ความทรงจำจากสงคราม (Vietnam War) ที่ยังคงติดตามมาหลอกหลอนถึงปัจจุบัน(นั้น)

As you know, in Japan, modern dance has stopped being what it was after Hiroshima. For me, cinema can no longer be what it was after the Vietnam war.

The violence in the film is not just a description of a bleak aspect of what Vietnam is today; it really carries my consciousness and memory of that war.

Trần Anh Hùng

เวียดนามทำการเปิดประเทศมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 (มีคำเรียก Đổi Mới นโยบายเศรษฐกิจใหม่ของเวียดนาม มุ่งเน้นตลาดเสรี แต่ใช้ระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์) แต่เพราะสภาพสังคมที่ถูกแช่แข็ง หยุดนิ่งมาหลายปี (ตั้งแต่สงครามเวียดนาม) มันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับตัวให้เข้ากับโลกภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

“เงิน” คืออิทธิพลจากชาติตะวันตกที่เผยแพร่เข้ามาถึง กลายเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ผู้คนพยายามทำทุกสิ่งเพื่อให้ได้ครอบครอง ปลดแอกความทุกข์ยากลำบาก ก้าวออกไปจากสลัม สร้างความสุขสบาย เติมเต็มความต้องการร่างกาย เคลิบเคลิ้ม หลงระเริง มึนเมาไปกับแสงสีเสียง แต่โดยไม่รู้ตัวมันเป็นสิ่งกลับบ่อนทำลายจิตวิญญาณมอดไหม้ หลงเหลือเพียงความเวิ้งว่างเปล่าทรวงใน

Xích Lô สูญเสียบิดาจากอุบัติเหตุ ตรงกันข้ามกับ The Poet แม้ยังมีชีวิตอยู่แต่ปฏิเสธยินยอมรับบุตรชาย ทั้งสองต่างถือว่ามีปมเกี่ยวกับการสูญเสีย ‘father figure’ บุคคลสำหรับเป็นต้นแบบอย่างในการดำรงชีวิต … นี่คือบทสรุปที่ผกก. Trần Anh Hùng พยายามสื่อถึงสภาพเสื่อมโทรม ล้าหลังของเวียดนาม(ขณะนั้น) เพราะขาดผู้นำที่มีศักยภาพในการกำหนดทิศทาง บริหารประเทศชาติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

When I started writing the script, my intention was to talk about rapport between fathers and sons. The idea comes from a physical sensation that swells up in me from time to time, that I’m doing the same gestures as my father did–and I’ve been able to verify that through writings, music preferences, etc. If in today’s Vietnam, you take some one like Cyclo, who has no father, no education, no future, which moral yardstick can he use in order to grow?

The film presents variations on that theme. Cyclo’s father is dead, yet present in his memory; the poet’s father is physically present, but dead in his son’s mind. Which makes it logical for these two guys to come together and become almost like brothers.

เมื่อตอนสรรค์สร้าง The Scent of Green Papaya (1993) ผกก. Trần Anh Hùng พยายามสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง & มารดา แทนด้วยหญิงชาวเวียดนามที่อยู่ภายใต้ระบอบปิตาธิปไตย (Patriarchy)

Cyclo (1995) สลับมาที่ความสัมพันธ์กับบิดา ไม่ใช่ว่าอีกฝ่ายล้มหายตายจาก แต่เป็นการสะท้อนถึงอิทธิพลที่มีต่อบุตรชาย แม้ไม่ค่อยแสดงออกความรัก หรืออยู่เคียงชิดใกล้ สายสัมพันธ์ฉันท์พ่อ-ลูก ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสายเลือด สืบทอดจากบรรพบุรุษ

And when Cyclo resumes his rapport with his father, he is, in a way, spiritually liberated, as through his father, he reestablishes a rapport with his ancestors. The oldest cult in Vietnam is that of ancestors’, and its most important rule is, “Live as good a life as you can, so that you can transmit to those that follow you, just as those before you tried to do for you.”


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice ได้เสียงตอบรับอย่างดีล้นหลาม สามารถคว้ามาสองรางวัล Golden Lion และ FIPRESCI Prize … แต่เป็นปีที่ไม่ค่อยมีหนังน่าจดจำเข้าฉายสักเท่าไหร่ La Cérémonie, Maborosi, The Deathmaker, The Star Maker ฯ

การถูกแบนห้ามฉายในเวียดนาม ทำให้ชื่อเสียงของผกก. Trần Anh Hùng (ในสายตาชาวเวียดนาม) หมดความน่าเชื่อถือโดยพลัน แม้พยายามแก้มือใหม่ด้วย The Vertical Ray of the Sun (2000) ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ ‘Vietnam Trilogy’ แต่กลับไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ ดูสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเองไปไม่น้อยเลยละ

ปัจจุบันหนังหารับชมได้ค่อนข้างยากยิ่ง ผมพบเจอเพียง DVD จัดจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2004 คุณภาพตามมีตามเกิด (แต่เข้ากับบรรยากาศ Neo-Realist ได้ดีมากๆ) โอกาสบูรณะช่างน้อยนิด เพียงคาดหวังว่า Criterion จะให้ความสนใจเข้าสักวัน

แม้ส่วนตัวรู้สึกเบื่อๆกับพล็อตจักรยานถูกขโมย แต่หลงใหลรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในสไตล์ผกก. Trần Anh Hùng ให้อิสรภาพผู้ชมในการขบครุ่นคิด ทำความเข้าใจวิถีชีวิต พบเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวเวียดนามยุคสมัยนั้น ที่ต้องอดรนทน ต่อสู้ดิ้นรน ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเอาชีพรอดปลอดภัย อาเหลียงคือสีสัน และจบอย่างหนังอาร์ทได้น่าประทับใจ

จัดเรต 18+ กับเรื่องราวอาชญากร สภาพสังคมเสื่อมโทรมทราม

คำโปรย | Cyclo ปั่นสามล้อถีบรอบกรุง Ho Chi Minh พบเห็นสภาพเป็นจริงที่สังคมนิยมไม่ให้การยินยอมรับ
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Vozvrashcheniye (2003)


The Return (2003) USSR : Andrey Zvyagintsev ♥♥♥♡

วันหนึ่งบิดาผู้ทอดทิ้งครอบครัวไปกว่า 12 ปี ได้หวนกลับมาที่บ้าน เพราะอะไร? ทำไม? สร้างความฉงนสงสัยให้บุตรชายทั้งสอง ชักชวนร่วมออกเดินทาง รื้อฟื้นความสัมพันธ์ แต่มันสามารถทำได้จริงๆนะหรือ? คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice

เมื่อตอนผู้กำกับ Andrey Zvyagintsev อายุได้ห้าขวบ บิดาทอดทิ้งครอบครัวไปมีเมียใหม่! … อธิบายเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอให้ใครหลายคนทำความเข้าใจเบื้องหลัง ที่มาที่ไปของหนัง ในลักษณะกึ่งๆอัตชีวประวัติ และแม้เพิ่งเป็นผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก ก็สามารถแจ้งเกิดโด่งดังระดับนานาชาติ ดำเนินรอยตาม Andrei Tarkovsky

เกร็ด: Ivan’s Childhood (1962) ภาพยนตร์เรื่องแรกของผู้กำกับ Andrei Tarkovsky ก็สามารถคว้ารางวัล Golden Lion เฉกเช่นเดียวกัน!

ผมมีความสนอกสนในผลงานของผกก. Zvyagintsev มาสักพักใหญ่ๆ ใจจริงก็อยากเขียนถึงเรื่องอื่นๆด้วย Elena (2011), Leviathan (2014), Loveless (2017) ฯ แต่ขอติดเอาไว้ก่อนเพราะตอนนี้กำลังเขียนถึงช่วงเทศกาลวันเด็ก บังเอิญพบเห็น The Return (2003) มีเรื่องราว ‘Coming-of-Age’ เลยคิดว่าคงน่าสนใจ

แต่เอาจริงๆผมไม่ค่อยเห็นความ ‘Coming-of-Age’ ของหนังสักเท่าไหร่ มองผิวเผินคือ ‘Family Drama’ ที่สามารถขบครุ่นคิดต่อยอดไปถึงปรัชญา การเมือง ศาสนา, บิดาคือตัวแทนของพระเจ้า บุตรคนหนึ่งมีความเชื่อศรัทธา บุตรอีกคนกลับพยายามต่อต้านขัดขืน (ชวนให้นึกถึง Cain & Abel)

สำหรับคนที่ติดกับดัก Hollywood รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้อาจรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย ไม่คุ้มค่ากับการเสียเวลาเกือบสองชั่วโมง เพื่อไคลน์แม็กซ์เพียงสิบกว่านาที! แต่การดำเนินเรื่องอย่างเอื่อยเฉื่อยของหนังนั้น จุดประสงค์เพื่อสร้างความอึดอัด รำคาญใจ (สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตร) สิ่งที่ต้องเอ่ยปากชมคือการถ่ายภาพ บรรยากาศเย็นๆ จัดองค์ประกอบสวยมากๆ เด็กทั้งสองเล่นดีกันสุดๆ และใครชื่นชอบ MacGuffin น่าจะเตลิดเปิดเปิงไปไกล


Andrey Petrovich Zvyagintsev, Андре́й Петро́вич Звя́гинцев (เกิดปี 1964) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Novosibirsk, Siberia มารดาสอนวรรณกรรมและภาษารัสเซีย, บิดาเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หย่าร้างตอนบุตรชายอายุเพียงห้าขวบ, ด้วยความสนใจด้านการแสดงตั้งแต่เด็ก เข้าศึกษา Novosibirsk State Theater Institute (Drama School) ทำงานละคอนเวที Globus Novosibirsk Academical Youth Theatre ก่อนถูกเกณฑ์ทหาร เข้าร่วมคณะการแสดงของกองทัพ พอปลดประจำการออกเดินทางสู่ Moscow เข้าศึกษาต่อ Russian Institute of Theatre Arts (GITIS) แต่ก็เริ่มหันเหความสนใจมายังสื่อภาพยตร์

I am an actor by training, but I didn’t go to the theater – at that time it disappointed me, because it began to ingratiate itself to the audience, the theater began to produce a “product” instead of doing art.

Andrey Zvyagintsev

ด้วยความที่ไม่เคยรับรู้อะไรเกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์ จึงเริ่มรับชมผลงานของ Jean-Luc Godard, Michelangelo Antonioni, Akira Kurosawa, Ingmar Bergman ฯ เขียนเรื่องสั้น พัฒนาบทหนัง ถ่ายทำโฆษณา กำกับซีรีย์ The Black Room (2000) สร้างความประทับใจให้โปรดิวเซอร์ Dmitry Lesnevsky ให้คำแนะนำ “Why don’t you and I make a full-length film?”

นั่นเองคือจุดเริ่มต้นให้ผกก. Zvyagintsev มองหาบทหนังที่ถูกสตูดิโอ/โปรดิวเซอร์ขึ้นหิ้งเอาไว้ ยังไม่เคยได้รับการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ ใช้เวลาเป็นเดือนๆกว่าจะพบเจอ Возвращение อ่านว่า Vozvrashcheniye แปลว่า The Return พัฒนาโดยสองนักเขียน Vladimir Moiseyenko (1963-2011) และ Aleksandr Novototskiy-Vlasov (1959-2014)

เหตุผลที่เลือกบทหนังเรื่องนี้คาดเดาไม่ได้ยาก เพราะละม้ายคล้ายประสบการณ์วัยเด็กของผกก. Zvyagintsev ยังคงจดจำความรู้สึกหลังบิดาทอดทิ้งครอบครัวไปแต่งงานใหม่ (แต่ในชีวิตจริงเขาเป็นลูกคนเดียว ไม่มีพี่หรือน้องชาย รวมถึงบิดาไม่เคยหวนกลับมาหาเลยสักครั้ง!)

หลังได้ข้อสรุปเลือกบทดังกล่าว ก็มีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องวิสัยทัศน์ผกก. Zvyagintsev เห็นว่าบทร่างแรก นำเสนอเรื่องราวในลักษณะหวนระลึกความทรงจำ สองพี่น้อง Archil และ David (ก่อนเปลี่ยนมา Andrei และ Ivan) ต่างมีอายุย่าง 40 ปี นั่งพูดคุย ดื่มสังสรรค์ริมระเบียงบ้าน ณ New York City จากนั้นก็เริ่มครุ่นคิดถึงอดีตเมื่อพวกเขายังเป็นเด็กน้อยไร้เดียงสา


เรื่องราวของ Ivan (รับบทโดย Ivan Dobronravov) และพี่ชาย Andrei (รับบทโดย Vladimir Garin) พวกเขามักถูกกลั่นแกล้ง มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง ชกต่อยกันอยู่บ่อยครั้ง วันหนึ่งเมื่อกลับมาถึงบ้าน รับรู้ว่าจากมารดาว่าบิดาผู้สูญหายตัวไปนานกว่า 12 ปี ได้หวนกลับมา!

ในขณะที่ Andrei รู้สึกดีใจอย่างเอ่อล้นเมื่อมีโอกาสได้พบเจอบิดา ยินยอมพร้อมปฏิบัติตามคำสั่ง, ตรงกันข้ามกับ Ivan เต็มไปด้วยข้อคำถาม ความฉงนสงสัย ไม่อยากเชื่อว่าอีกฝ่ายคือพ่อแท้ๆ พยายามต่อต้าน แสดงอารยะขัดขืน ไม่พอใจเมื่อถูกบีบบังคับให้ทำโน่นนี่นั่น

วันถัดมา บิดาจึงชักชวนบุตรชายทั้งสองร่วมออกเดินทาง ตั้งใจจะขับรถเที่ยวเล่น รื้อฟื้นความสัมพันธ์ สำหรับ Andrei บังเกิดความสนิทสนม เชื่อมั่นศรัทธา ตรงกันข้ามกับ Ivan เต็มไปด้วยอคติ บาดหมาง จนแทบมองหน้าไม่ติด และเมื่อพวกเขาเดินทางมาถึงเกาะกลางทะเล เหตุการณ์คาดไม่ถึงก็บังเกิดขึ้น


Konstantin Nikolaevich Lavronenko, Константи́н Никола́евич Лавро́ненко (เกิดปี 1961) นักแสดงสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Rostov-on-Don, วัยเด็กมีความหลงใหลนักแสดงตลก Arkady Raikin โตขึ้นเข้าเรียนการแสดงยัง Rostov College of Arts หลังเกณฑ์ทหารเดินทางสู่ Moscow Art Theatre School แล้วทำงานละคอนเวที Satyricon Theater มีโอกาสออกทัวร์ Germany, Belgium จากนั้นผันตัวสู่วงการภาพยนตร์ Still Loving, Still Hoping (1984), โด่งดังกับ The Return (2003), The Banishment (2007)**คว้ารางวัล Best Actor จากเทศกาลหนังเมือง Cannes

รับบทชายแปลกหน้า จู่ๆอ้างว่าเป็นบิดา หวนกลับบ้าน 12 ปีให้หลัง สีหน้าเคร่งขรึม ตึงเครียด จริงจัง ชอบออกคำสั่ง บีบบังคับให้ทำโน่นนี่นั่น ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็พร้อมลงโทษทั้งสถานเบาและหนัก แต่ถึงไม่ค่อยแสดงออก บอกเหตุผลใดๆ ลึกๆคงมีความเป็นห่วงเป็นใยบุตรชายทั้งสอง จนกระทั่ง …

รูปร่างหน้าตาของ Lavronenko มีความคมเข้ม ดุดัน เหมือนเคยพานผ่านอะไรๆมามาก การแสดงก็เต็มไปด้วยลับเลศลมคมใน ไม่มีใครรับรู้ว่าซุกซ่อนอะไรไว้ เพราะไม่เคยพูดอธิบาย เอาแต่นิ่งเงียบ เคร่งขรึม ปริปากเฉพาะตอนเสี้ยมสอน ออกคำสั่ง หน้าดำคร่ำเครียด ปฏิเสธแสดงออกทางอารมณ์ จนสร้างความผิดหวังให้บุตรชายคนเล็ก Ivan แต่ตรงกันข้ามกับ Andrei รู้สึกดีใจที่ได้มีบิดาอยู่เคียงชิดใกล้

การที่หนังไม่บอกอะไรสักอย่างเกี่ยวกับตัวละคร นี่ไม่ใช่ให้อิสระผู้ชมครุ่นคิดหาคำตอบว่าเขาคือใคร มาจากไหน หายไปทำไมหลายสิบปี! แต่เราสามารถมองในเชิงสัญลักษณ์/นามธรรม บิดาในที่นี้สามารถสื่อถึงหัวหน้าชุมชุน ผู้นำประเทศ รวมถึงพระ(บิดา)เป็นเจ้า ต่างมีอำนาจในการนำทางลูกๆ บุตรหลาน สมาชิกในสังกัด ประชาชน และมนุษยชาติ

ความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึงของหนัง ทำให้โอกาสในวงการของ Lavronenko ไหลมาเทมา มีผลงานทั้งจอแก้ว (โทรทัศน์) จอเงิน (ภาพยนตร์) และเมื่อร่วมงานครั้งถัดไปกับผกก. Zvyagintsev เรื่อง The Banishment (2007) คว้ารางวัล Best Actor จากเทศกาลหนังเมือง Cannes การันตีฝีไม้ลายมือด้านการแสดง และได้รับยกย่องศิลปินแห่งชาติเมื่อปี ค.ศ. 2009


ช่วงระหว่างเตรียมงานสร้าง ผกก. Zvyagintsev พูดบอกกับโปรดิวเซอร์ Dmitry Lesnevsky โปรเจคนี้จะเดินหน้าได้ก็ต่อเมื่อสรรหาสองนักแสดงเด็กที่ต้องมีความสามารถระดับอัจฉริยะ ‘actors of genuis’ คัดเลือกจากผู้สมัครกว่า 600 คน จนสามารถค้นพบเจอ…

  • Ivan Fyodorovich Dobronravov, Иван Фёдорович Добронравов (เกิดปี 1989) เกิดที่ Voronezh เป็นบุตรชายของนักแสดงชื่อดัง/ศิลปินแห่งชาติ Fyodor Dobronravov, ขณะนั้นกำลังศึกษาอยู่ Boris Shchukin Theatre Institute
    • รับบทน้องชาย Ivan เป็นคนอ่อนแอ ขลาดเขลา หวาดกลัวความสูงเลยไม่กล้ากระโดดน้ำ พอพบเจอบิดาก็เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อว่าอีกฝ่ายคือบุคคลเดียวกับรูปภาพถ่าย ครุ่นคิดตั้งคำถาม ทำไมถึงจากไป? ทำไมถึงหวนกลับมา? เมื่อไม่ได้รับคำตอบใดๆจึงแสดงอารยะขัดขืน ปฏิเสธต่อต้าน จนกระทั่งถึงจุดแตกหัก
  • Vladimir Vladimirovich Garin, Владимир Владимирович Гарин (1987-2003) เกิดที่ Leningrad ครอบครัวหย่าร้างตั้งแต่เกิด ไม่เคยพบเจอบิดา อาศัยอยู่กับพี่สาวและมารดา ทำงานเป็นอาจารย์สอนภาควิชาปรัชญา, ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลด้านดนตรี น้ำเสียงดีจึงเคยให้เสียงพากย์อนิเมชั่น ก่อนได้รับเลือกแสดงภาพยนตร์ The Return (2003)
    • รับบทพี่ชาย Andrei แม้ไม่ค่อยเฉลียวฉลาดนัก แต่รู้จักสร้างภาพภายนอกให้เข้มแข็งแกร่ง เพื่อสามารถเข้าร่วมกับพวกพ้อง เลยมักไม่ค่อยปกป้องน้องชาย จึงมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่บ่อยครั้ง เมื่อพบเจอบิดาก็บังเกิดความเชื่อมั่น เทิดทูน ยินยอมพร้อมปฏิบัติตามคำสั่ง … แต่เพราะยังเป็นเด็กเลยกระทำผิดพลาดพลั้งอยู่บ่อยครั้ง

เด็กๆทั้งสองถือเป็นไฮไลท์ของหนัง พวกเขาฉายแววอัจฉริยะ สามารถตีบทแตกละเอียด! เข้าใจความรู้สึกตัวละคร ถ่ายทอดอารมณ์ผ่านสีหน้า ปฏิกิริยาท่าทาง ถ้อยคำพูดออกมาอย่างตรงไปตรงมา ในกรณีของ Garin อาจนำเอาประสบการณ์ส่วนตัวผสมผสานเข้าไปด้วย (เพราะชีวิตจริงไม่เคยพบเจอบิดา แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เขาราวกับได้เติมเต็มความฝัน) ขณะที่ Dobronravov อาจต้องถือว่าลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น สามารถถ่ายทอดปมขาดบิดา (ทำให้อ่อนแอ ขลาดเขลา ไร้บุคคลเป็นต้นแบบอย่าง) และสร้างความขัดย้อนแย้งขึ้นในตนเอง (คือตอนต้นเรื่องโหยหาบิดา แต่พอพบหน้ากลับไม่สามารถยินยอมรับอีกฝ่าย)

ขณะที่ Dobronravov พอเติบใหญ่ขึ้นก็ได้สานต่ออาชีพการแสดง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเทียบเท่าภาพยนตร์เรื่องแรก, ส่วนผู้โชคร้าย Garin ประสบอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิต สองเดือนก่อนหนังออกฉาย


ถ่ายภาพโดย Mikhail Vladimirovich Krichman, Михаил Владимирович Кричман (เกิดปี 1967) ตากล้องสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Moscow, สำเร็จการศึกษาด้านสื่อสิ่งพิมพ์จาก Moscow State University of Printing Arts ทำงานในโรงพิมพ์อยู่หลายปี ก่อนค้นพบความสนใจด้านภาพยนตร์ เริ่มจากสังเกตการณ์ในห้องตัดต่อ มีโอกาสรับฟังเลคเชอร์จากอาจารย์สถาบัน Gerasimov Institute of Cinematography (ไม่ได้เข้าศึกษาจริงจัง) จับพลัดจับพลูได้เป็นตากล้องถ่ายทำสารคดีฉายโทรทัศน์ จนกระทั่งมีโอกาสรับรู้จักผกก. Andrey Zvyagintsev กลายเป็นเพื่อนสนิท ร่วมงานขาประจำตั้งแต่ The Return (2003)

งานภาพของหนังไม่ใช่แค่ทิวทัศน์ทะเลสาปสวยๆ แต่ยังแพรวพราวด้วยลูกเล่นภาพยนตร์ โดดเด่นกับการจัดวางองค์ประกอบ สัดส่วนของภาพ หลากหลายลีลาขยับเคลื่อนเลื่อนกล้อง (บางครั้งก็ใช้ Hand Held รางเลื่อน เครน เดี๋ยวช้า-เดี๋ยวเร็ว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แตกต่างออกไป) และเลือกใช้โทนสีน้ำเงิน สร้างบรรยากาศหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก (ทั้งๆไม่ใช่ฤดูหนาวหรือมีหิมะตก)

สรุปง่ายๆก็คือการถ่ายภาพ มุ่งเน้นสร้างบรรยากาศ สัมผัสหนาวเหน็บ ซึ่งสะท้อนความรู้สึกของตัวละคร (และผู้กำกับ Zvyagintsev) วัยเด็กไม่เคยมีบิดาอยู่เคียงข้าง โดดเดี่ยว เคว้งคว้าง การกลับมาของเขาเลยสร้างความหวาดระแวง ฉงนสงสัย เต็มไปด้วยลับลมคมใน ซึ่งถ้าผู้ชมไม่ยินยอมแพ้เสียก่อน ก็จักพบเห็นจุดแตกหัก หายนะความสัมพันธ์ นั่นถึงคือจุดเยือกแข็งที่แท้จริง 273 Kelvin

หนังใช้เวลาถ่ายทำเพียงแค่เดือนกว่าๆ ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน ถึง 2 สิงหาคม ค.ศ. 2002 ปักหลักถ่ายทำอยู่ละแวก Saint Petersburg ในย่านติดกับ

  • Lake Ladoga ทะเลสาปน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดยุโรป (แต่เป็นอันดับสองของรัสเซียรองจาก Lake Baikal)
  • และ Gulf of Finland ติดกับ Baltic Sea คาบเกี่ยวระหว่างสามประเทศ Finland, Estonia และ Russia

All the territories between Lake Ladoga and the Gulf of Finland are our territories. For a month, we visited all the shores, all the thinly curious, interesting places, selecting points for filming – Zelenogorsk, Vyborg, Priozersk, Sosnovo.

Andrey Zvyagintsev

ภาพแรกเริ่มต้นด้วยการถ่ายภาพใต้น้ำ พบเห็นเศษซากเรืออับปาง ใครรับชมหนังจบแล้วอาจคาดเดาอะไรบางอย่าง เอาจริงๆมันก็ไม่จำเป็นนะครับ อาจคือเรือลำอื่นที่จมมาก่อนหน้าแล้วก็ได้ แต่เชื่อว่าหลายคนคงรู้สึกค้างๆค้าๆใจ

ถ้าเรามองว่ามันเป็นเรือลำเดียวกัน! สามารถตีความถึงการเวียนวน สิ้นสุดหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น! คล้ายๆการปรากฎขึ้นของชื่อวันอาทิตย์-จันทร์-อังคาร ก่อนสิ้นสุดลงวันเสาร์ เช่นนั้นแล้วเมื่อขึ้นสัปดาห์ใหม่ มันก็สามารถย้อนกลับมาจุดนี้ได้อีกครั้ง!

ลิบๆนั่นคือหอคอย สร้างขึ้นสุดปลายเชื่อนกันคลื่นที่ยื่นเข้าไปในทะเล มีขนาดเพียงสัดส่วนเล็กๆของภาพ สามารถมอบสัมผัสโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว แถมบริเวณนี้ยังไร้ผู้คนสัญจรไปมา เพียงเด็กๆ 4-5 คน วิ่งเล่น ปีนป่าย ขึ้นไปท้าความกล้า กระโดดลงมาจากเบื้องบน

กล้องถ่ายมุมก้ม (Bird’s Eye View หรือ God’s Eye View) ให้ความรู้สึกเหมือนมีใครบางคน บางสิ่งอย่างจากเบื้องบนจับจ้องมองลงมา คอยกดดัน ควบคุมครอบงำ บีบบังคับให้ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือก็คือเด็กๆกระโดดลงน้ำ

เหตุผลที่ Ivan ไม่สามารถทำเช่นนั้น จริงๆมันมีหลากหลายสาเหตุ แต่ในบริบทของหนังถูกบีบบังคับให้ต้องตีความถึงการไม่มีบิดาเป็นต้นแบบอย่าง เลยขาดความหาญกล้า ไร้ความเชื่อมั่นในตนเอง! ขณะเดียวกันภาพช็อตนี้ยังให้ความรู้สึกเหมือนเขาพยายามแสดงอารยะขัดขืน ต่อต้านการถูกควบคุมครอบงำ ไม่ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งเบื้องบน … ถ้าตีความแบบหลังจะสอดคล้องเข้ากับพฤติกรรมทั้งหมดของตัวละครมากกว่า

อีกช็อตงามๆ เห็นแล้วอดไม่ได้ กล้องแพนนิ่งจากทิวทัศน์ท้องทะเลกว้างใหญ่ มาถึงยังเด็กชายนั่งกอดเข่า ผิดหวังกับตัวเองบนยอดหอคอย เพราะไม่สามารถพิสูจน์ความกล้า มอบสัมผัสโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว มนุษย์ตัวเล็กๆเมื่อเทียบกับธรรมชาติกว้างใหญ่ … เฉกเช่นเดียวกับเรื่องน่าอับอายเล็กๆ กลับทำให้มันบานปลายใหญ่โต

ผมไม่ค่อยเห็นพบเห็นฟุตบอลเล่นกันในอาคารเพดานต่ำๆขนาดนี้สักเท่าไหร่ พื้นที่ภายนอกก็มีเยอะแยะ แต่แน่นอนว่ามันต้องแฝงนัยยะบางอย่าง! สถานที่แห่งนี้ให้ความรู้สึกเหมือนกรอบห้อมล้อม ผนัง-กำแพง พื้น-เพดาน กล่าวคือถ้า Ivan ต้องการเพื่อนเล่น ก็จำต้องปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม แต่เพราะไม่สามารถพิสูจน์ความกล้า จึงถูกขับไล่ ผลักไส แม้แต่พี่ชายก็ไม่ให้การยินยอมรับ

แม้เป็นเรื่องราวของเด็กๆ แต่ก็สะท้อนสังคม การเมือง รวมถึงศาสนาด้วยนะ! ใครทำอะไรไม่เข้าพวก แสดงความเห็นขัดแย้ง ครุ่นคิดแตกต่าง ก็มักถูกขับไล่ ผลักไส ตีตราแม่มด คนนอกรีต ยัดข้อหา กำจัดให้พ้นภัยทาง

เมื่อเด็กชายทั้งสองกลับบ้านมา ได้ยินข่าวจากมารดาว่าบิดาผู้สูญหายตัวไปกว่า 12 ปี จู่ๆแวะเวียนกลับมาที่บ้าน กำลังนอนหลับอยู่บนเตียง พวกเขาเปิดประตูเข้ามาพบเห็น … ได้แรงบันดาลใจจากภาพวาด Lamentation of Christ (คาดว่าระหว่าง 1475-1501) ผลงานของ Andrea Mantegna (1431-1506) จิตรกรสัญชาติ Italian Renaissance พบเห็น Saint John, พระแม่มารี และ Mary Magdalene กำลังร่ำไห้อยู่ข้างเตียง Jesus Chrit (ภายหลังการตรึงกางเขน)

บิดาในภาพนี้แม้ยังไม่เสียชีวิต แต่ความละม้ายคล้ายคลึงกับภาพวาดนี้ ทำให้เราสามารถตีความการหวนกลับมา (The Return) ในเชิงศาสนาถึงการฟื้นคืนชีพ (Resurrection) นี่ก็แปลว่าบิดา = Jesus Christ (บุตรของพระเจ้า)

ความ ‘Ironic’ ของซีนนี้ก็คือ รูปภาพบิดาที่ Ivan เก็บซ่อนเอาไว้ (บนห้องใต้หลังคา) อยู่ในหนังสือที่รวบรวมภาพวาดเกี่ยวกับพระเจ้าสร้างโลก คงเรียบเรียงมาจากคัมภีร์ไบเบิ้ล พันธสัญญาเก่า (กระมังนะ)

หลายคนน่าจะสัมผัสได้ว่าการจัดองค์ประกอบภาพ The First Supper (ล้อกับพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย, The Last Supper) มีความสมมาตร กึ่งกลาง จนดูราวกับกรอบห้อมล้อม พิธีรีตรอง และโดยปกติในโอกาสสำคัญๆเช่นนี้ ชาวรัสเซียควรจะดื่มวอดก้า(เหล้าขาว)ไม่ใช่หรือ? หนังให้พวกเขาดื่มไวน์แดง รวมถึงบิดาฉีกเนื้อวางบนขนมปัง นี่ก็เคลือบแฝงนัยยะเชิงศาสนาอย่างชัดเจน (ขนมปังแทนพระกาย ไวน์แทนพระโลหิต)

นี่เป็นหนึ่งในช็อตที่สามารถถ่ายทอดสัมผัสทางอารมณ์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาพูดคุยสื่อสาร ถ้าคุณสามารถอ่าน Mood & Tone บรรยากาศของภาพนี้ รวมถึงอากัปกิริยาแสดงออก ย่อมเข้าใจความรู้สึกแท้จริงของมารดา ในค่ำคืนนี้ที่สามีหวนกลับคืนมาในรอบ 12 ปี! … ลองไปทำความเข้าใจกันดูเองนะครับ

“Who’s he ringing?” นี่ก็เป็นอีกคำถาม MacGuffin ที่ไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ แต่บางคนคลั่งศาสนาสักหน่อยอาจบอกว่าพูดคุยกับพระเจ้า –” ผมเลือกนำสองช็อตถ่ายจากมุมมองเด็กๆ (ระหว่างทาง) และบิดา (ตอนอยู่ในร้านอาหาร) ความน่าสนใจอยู่ที่ภาพหลัง เขามองผ่านลูกๆผ่านม่านบานเกล็ด ซึ่งสร้างสัมผัสเหินห่าง แปลกแยก ไม่ได้อยู่ในความสนใจ

สารพัดมุมกล้องแปลกๆ ละเล่นกับเหลี่ยม องศา ทิศทาง การจัดวางองค์ประภาพ เพื่อสร้างสัมผัสแปลกแยก แตกต่าง สถานที่เหล่านี้พบเจอได้ทั่วๆไป แต่ราวกับอยู่บนโลกอีกใบ (เสาไฟฟ้าตามท้องถนนดูราวกับไม้กางเขน) … นี่ต้องเอ่ยปากชื่นชมทั้งผกก. Zvyagintsev และตากล้อง Krichman ที่ได้เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆให้กับผู้ชม

  • ภาพแรกบิดาขับรถมาจอดยังร้านอาหารแห่งหนึ่ง แต่วันนี้ดันปิดให้บริการ ถ่ายจากชั้นบนอาคาร บดบังด้วยตาข่ายเหล็ก ราวกับพวกเขาถูกกักขัง หน่วงเหนี่ยว ไม่สามารถดิ้นหลุดพ้น … ผมตีความถึงการเดินทางครั้งนี้ เป็นการร่วมหัวจมท้ายของบิดาและบุตรชายทั้งสอง ไปไหนต้องไปด้วยกันจนตลอดรอดฝั่ง
  • ภาพสองคือระหว่าง Andrei กำลังมองหาร้านอาหาร ตำแหน่งที่เขาหยุดถามทางอยู่ห่างจากขอบซ้ายประมาณสามในสี่ ซึ่งพอพูดคุยเสร็จสิ้น (แบบไม่ได้ยินเสียง) เด็กชายออกวิ่ง ส่วนผู้สูงวัยนั้นย่างเดินช้าๆ โดยไม่รู้ตัวพวกเขาก้าวออกจากเฟรมพร้อมกัน!
  • ภาพสามสามารถแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวนสามส่วน ประกอบด้วยกาบเรือ เงาจากกาบเรือบนพื้นผิวน้ำ และพื้นผิวน้ำที่เด็กชายทั้งสองกำลังพายเรือหาปลา ผมยังครุ่นคิดไม่ออกว่ามันคืออะไร อาจจะเกี่ยวกับมุมมองของสามตัวละคร บิดา, Andrei และ Ivan (มั้งนะ)

เมื่อตอนที่ Andrei เหมือนจะหลงทาง หายตัวไปสามชั่วโมง จนบิดาและ Ivan ต้องลงจากรถมาติดตามหา พอเขาพูดบอกขอโทษ (พระ)บิดาก็พร้อมให้อภัย ขณะเดียวกันภาพด้านหลังระหว่างพวกเขามีป้ายจราจร ห้ามตรงไป ให้เลี้ยวซ้าย และโปรดระวัง นั่นเปรียบเสมือนคำสั่งสอน ชี้แนะนำ การตักเตือนของ(พระ)บิดาต่อลูกๆ(ของพระองค์)

ผมว่าหลายคนน่าจะเอะใจ ใครจะหายตัวไปตั้งสามชั่วโมง! แต่นัยยะน่าจะคือการหลงทาง เลยต้องได้รับการแนะนำ คำสั่งสอนจาก(พระ)บิดา เพื่อสามารถดำเนินชีวิตในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม

ทั้งๆที่ตอนต้นเรื่องสองพี่น้องชกต่อยกันเลือดกบปาก แต่คราวนี้พวกเขากลับไม่มีใครโต้ตอบเอาคืนนักเลงข้างถนน นี่ชวนให้ผมนึกถึงคำสอนศาสนาคริสต์ “เรากล่าวแก่ท่านทั้งหลายว่า อย่าโต้ตอบคนชั่ว ผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน จงหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย” (Matthew 5:39) ซึ่งหลังจากไม่มีใครทำอะไร บิดายังมอบเงินให้กับนักเลงคนนี้ จะได้ไม่มายุ่งวุ่นวายอีก

ฉันนั่งตกปลาอยู่ริมตลิ่ง! ภาพแรกถ่ายยามเย็น เห็นสองพี่น้องนั่งเคียงข้าง แม้ท่ามกลางความมืดมิด (ถ่ายแบบย้อนแสง) แต่กลับรู้สึกอบอุ่นจิตใจ, ภาพหลังยามรุ่งเช้าเหลือเพียง Ivan นั่งโดดเดี่ยว ตัวคนเดียว เปล่าเปลี่ยวจิตวิญญาณ ท่ามกลางธรรมชาติกว้างใหญ่ ไม่สนใจช่วยเหลือบิดาและพี่ชายที่กำลังเก็บเต้นท์พักอาศัย

มองมุมหนึ่งอาจเป็นความผิดของบุตรชาย ที่มีความดื้อรั้น ดึงดัน เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ สนเพียงตัวตนเอง แต่ในทิศทางกลับกัน วิธีการบิดาก็ไม่ใช่สิ่งถูกต้องสักเท่าไหร่ ลงโทษด้วยการปล่อยทิ้งไว้บนสะพาน อยากตกปลานักก็ตามสบาย พยายามเสี้ยมสอนให้รู้สาสำนึก ใครคือผู้อำนาจ สิทธิ์ขาดในการตัดสินใจ

วิธีการของบิดา สำหรับชาวรัสเซียคือสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง สืบทอดต่อกันมา ตามวิถีระบอบสังคมนิยม! ภาพสะท้อนจากครอบครัว สู่สังคม สู่ประเทศชาติ (และศาสนา) ประชาชนต้องปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล ผู้นำประเทศ ไม่ควรต่อต้าน แสดงอารยะขัดขืน เพราะถือเป็นการบ่อนทำลายความสงบสุขของชาติบ้านเมือง

แม้ก่อนหน้านี้ Ivan จะไม่พึงพอใจที่ถูกบิดาทอดทิ้งไว้กลางทาง แต่พอฝนตก (ภัยธรรมชาติ) กลับขึ้นรถ แล้วติดหล่ม ทำให้ทุกคน(รวมถึง Ivan ที่หน้านิ่วคิ้วขมวด)จำต้องลงมาร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันผลักดันให้การเดินทางครั้งนี้สามารถดำเนินต่อไป จนกว่าจะถึงเป้าหมายปลายทางวาดฝันไว้

อีกความน่าสนใจก็คือเด็กชายทั้งสองไม่มีเรี่ยวแรงเพียงพอ ทำให้บิดาต้องบอกให้ Andrei มาเป็นคนขับรถ เยียบคันเร่ง ควบคุมพวงมาลัย ส่วนตนเองร่วมผลักดันอยู่ข้างหลัง นั่นสามารถตีความถึงอนาคตคนรุ่นใหม่ จักคือผู้กำหนดทิศทางชีวิตด้วยตนเอง ผู้หลักผู้ใหญ่ทำได้แค่คอยแนะนำ ส่งเสริม ผลักดันอยู่เบื้องหลังเท่านั้น

ผมเห็นช็อตนี้แล้วนึกถึงพล็อตภาพยนตร์ Pierrot le Fou (1965) การเดินทางของสองคู่หู่ ปล้น-ฆ่า ก่ออาชญากรรม มาจนถึงทะเล Mediterranean (French Riviera) แล้วข้ามไปอยู่เกาะ(อะไรสักอย่าง) สรวงสวรรค์ของ Pierrot แต่คือขุมนรกของ Marianne 

มันอาจฟังดูย้อนแย้งกับตอนรถติดหล่มแล้วบิดาลงมาช่วยผลักดัน ขณะนี้เครื่องยนต์เรือเสีย แถมพายุฝนฟ้าคะนองกำลังใกล้เข้ามา แต่เขากลับเพียงออกคำสั่งอยู่ กำกับทิศทางเรือ ไม่ยินยอมช่วยพายเลยสักนิด!

ในบริบทนี้แตกต่างจากตอนรถติดหล่มที่เด็กๆทั้งสองยังไม่มีประสบการณ์ ไม่มีเรี่ยวแรง พละกำลังเพียงพอจะช่วยผลักดันให้รถหลุดจากหล่ม แต่สำหรับการพายเรือพวกเขาสามารถกระทำได้ด้วยน้ำพักน้ำแรง บิดาจึงแค่คอยกำกับหางเสือให้ไปสู่จุดหมายปลายทางเท่านั้น

ในที่สุดก็เดินทางมาถึงเป้าหมายปลายทาง เกาะสวาทหาดสวรรค์ เฉกเช่นเดียวกับความรู้สึกของเด็กทั้งสองก็ใกล้ถึงขีดสุดเช่นกัน

  • Andrei มีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อบิดา ได้รับความรัก เอ็นดู ยินยอมพร้อมทำตามทุกสิ่งอย่าง
  • Ivan เต็มไปด้วยอคติ ขัดแย้ง ไม่ยินยอมพร้อมใจ แสดงอารยะขัดขืน ปฏิเสธทำตามคำสั่ง เตรียมพร้อมถึงขั้นปิตุฆาต

ผมเพิ่งสังเกตเห็นผ้าปูนอนของทั้งสองก็มีสีสัน ลวดลาย แตกต่างตรงกันข้าม

  • Andrei ผืนสีน้ำเงิน (สีของน้ำ) ลวดลายดอกไม้ช่อใหญ่ๆ
  • Ivan ผืนสีแดง (สีของไฟ) ลวดลายดอกทานตะวันเล็กๆ

นอกจากความบังเอิญอย่างน่ามหัศจรรย์ของก้อนเมฆเคลื่อนพานผ่าน (ที่จะทำให้ช็อตนี้จากดูมืดๆ ส่องสว่างขึ้นโดยพลัน) ระหว่างที่สามพ่อ-ลูก ออกสำรวจเกาะสวรรค์แห่งนี้ ยังมีความละม้ายคล้ายภาพยนตร์ Stalker (1979) ชายสามคนก้าวย่างเข้าไปยัง …

ในขณะที่บิดาและพี่ชาย Andrei ต่างเดินเอ้อระเหยลอยชาย มองแต่เบื้องหน้า ท้องฟากฟ้า ผ่านไปโดยไม่หยุดยับยั้ง น้องชาย Ivan ก้มหน้าก้มตาติดตามหลัง จึงสังเกตเห็นนกตัวหนึ่งนอนตายอยู่บนพื้น นี่ราวกับเป็นการบอกใบ้ ‘Death Flag’ ตกลงมาตาย! หรือจะตีความถึงบางอย่างภายในจิตใจ(ความเชื่อมั่นต่อบิดา)ของเด็กชายได้พังทลาย สูญสลาย อยู่ในจุดตกต่ำสุด หลังจากนี้จึงไม่เคยกระทำตามคำสั่งบิดาอีกต่อไป (ไม่ปีนขึ้นหอคอย โยนจานทิ้งลงทะเล ตกปลาโดยสนเวล่ำเวลา ฯ)

บ้านร้างกลางเกาะ หรือว่าบิดาเคยอาศัยอยู่สถานที่แห่งนี้? จึงรับรู้ที่ซ่อนสมบัติ ขุดพบเจอกล่องเก่าๆใบหนึ่ง แต่หนังจงใจไม่เปิดออกให้พบเห็นว่าเห็นข้างในคืออะไร ค้างๆคาๆไว้เป็น MacGuffin แล้วแต่ผู้ชมจะขบครุ่นคิดจินตนาการ

อีกความน่าสนใจของของซีนนี้ คือขณะกล้องถ่ายติดหน้าต่าง พบเห็นเด็กชายสองคนกำลังเดินเข้ามาลิบๆ แต่ดูไปดูมาแลดูเหมือนภาพวาดงานศิลปะ นั่นอาจสะท้อนมุมมองบิดาต่อลูกๆทั้งสอง พวกเขาเป็นเพียงภาพประกอบพื้นหลัง เป้าหมายแท้จริงคือกล่องเก่าๆใบนี้ต่างหาก

มุมกล้องช็อตนี้ชวนให้ผมนึกถึง Ivan’s Childhood (1962) ในความฝันเด็กชาย Ivan ก้มลงมองบ่อน้ำกับมารดา พบเห็นภาพสะท้อนดวงดาวในนั้น เอื้อมมือไขว่คว้า ก่อนค้นพบว่ามันคืออารัมบทความตายของมารดา

ภาพนี้ของ The Return (2003) คือขณะที่สองพี่น้อง Ivan และ Andrei กำลังออกหาปลา มาถึงยังบริเวณซากเรืออับปาง แล้วพบเจอบ่อแห่งนี้ที่มีปลาชุกชุม ตกเบ็ดได้สำเร็จ ตัวขนาดใหญ่ทีเดียว แต่เมื่อนำไปให้กับบิดา พวกเขากลับถูกตำหนิต่อว่า และนำไปสู่เหตุการณ์โศกนาฎกรรม … ผมสังเกตมาหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์จากรัสเซีย พบเห็นช็อตบ่อน้ำเมื่อไหร่ มักอารัมบทความตายทุกที!

แซว: มาครุ่นคิดดูชื่อตัวละคร Ivan และ Andrei มันเกี่ยวอะไรกับ Ivan’s Childhood (1962) และผู้กำกับ Andrei Tarkovsky หรือเปล่านะ??

หอคอยตั้งตระหง่าน แวบแรกผมครุ่นคิดถึงหอคอยบาเบล (Tower of Babel) สร้างขึ้นสูงเฉียดฟ้า เพื่อมนุษย์จักสามารถเข้าใกล้สรวงสวรรค์/พระเป็นเจ้า แต่ดูไปดูมามีลักษณะคล้ายไม้กางเขน (คล้ายยังไง?) บิดาพยายามปีนป่ายขึ้นไปหา Ivan ต้องการพูดคุย ให้ความช่วยเหลือ แต่ประสบอุบัติเหตุ พลัดตกลงมาเสียชีวิต ความผิดพลาดดังกล่าว กลายเป็นบทเรียนจดจำฝังใจ ทำให้เด็กชายรู้สึกสาสำนึกผิด ตระหนักถึงความโง่ขลาดเขลาของตนเอง! … ก็เหมือนกับ Jesus Christ ตอนยังมีพระชนม์ชีพ ผู้คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเชื่อว่าคือบุตรของพระเจ้า แต่หลังจากทรงเสียสละเพื่อมวลมนุษย์ ยินยอมทุกข์ทรมาน ถูกตรึงกางเขน ภายหลังสิ้นพระชนม์(แล้วฟื้นคืนชีพ)เลยกลายเป็นตำนานลือเล่าขาน คลายความข้อกังวลสงสัย

(นอกจากนี้หอคอยตั้งโด่เด่ ยังสามารถเป็นสัญลักษณ์ของลึงค์ อวัยวะเพศชาย ซึ่งยังรวมถึงความทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง อำนาจบารมี เย่อยิ่งทะนงตน ลุ่มหลงในตัวเอง)

แซว: ผมเชื่อว่าหลายคนอาจเกิดอาการเหวอเล็กๆ เพราะหนังถ่ายการพลัดตกจากที่สูงของบิดา ด้วยการให้กล้องเคลื่อนติดตามได้แนบเนียนมากๆ แต่แท้จริงแล้วนักแสดงไม่ได้หล่นลงไปเบื้องล่าง แค่หลบซ่อนตัวอยู่ก่อนถึงชั้นบนสุด ส่วนภาคพื้นมองไกลๆไม่ค่อยเห็น ก็ใช้ตัวแทนอีกคนนอนแผ่พังพาบ ตระเตรียมการไว้ก่อนเริ่มถ่ายทำ

สองเด็กชายพยายามลากศพบิดา พาขึ้นเรือ หวนกลับไปอีกฟากฝั่ง คาดว่าคงต้องการพากลับบ้าน สังเกตว่าหลายๆช็อตถ่ายติดทิวทัศน์ธรรมชาติกว้างใหญ่ (ขนาดต้นหญ้าริมชายหาด ยังดูสูงใหญ่กว่าเด็กๆเสียอีก!) มอบสัมผัสกระจิดริด กระจ่อยร่อย มนุษย์แค่เพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆในโลกอันกว้างใหญ่ เวิ้งว้างห่างไกล ซึ่งก็สะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก สภาพจิตใจพวกเขาได้ด้วยเช่นกัน

โดยทั่วไป พิธีศพของชาวคริสเตียนมักทำการกลบฝัง (Burial) เพราะเชื่อว่าคนตายจะฟื้นคืนชีพในวันพิพากษา (Judgement Day) แต่ในบริบทนี้การจมลงก้นเบื้องท้องทะเลของบิดา ดูเหมือนพิธีจุ่มศีล/ศีลล้างบาป (Baptism) สัญลักษณ์ของการถือกำเนิด เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร ไม่ใช่ด้วยร่างกาย แต่คือจิตวิญญาณเดินทางสู่สรวงสวรรค์

ลีลาเคลื่อนเลื่อนกล้องช็อตสุดท้ายของหนังนี้ ชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ Mirror (1975) มันอาจไม่ได้เหมือนกันเป๊ะๆ แต่แนวคิด จิตวิญญาณยังคงพบเห็นได้อยู่ … เริ่มจากกล้องเคลื่อนเลื่อนลงจากยอดไม้ (คงต้องใช้เครนเท่านั้นแหละ) พร้อมๆกับเด็กกำลังขับรถถอยหลังออกมา พบเห็นท้องทะเลกว้างใหญ่ จากนั้นค่อยๆถอยหลังเข้าสู่พงไพร ทิ้งไว้เพียงร่องรอยล้อรถ และความทรงจำที่ไม่รู้ลืมเลือน

ทิศทางการเคลื่อนเลื่อนกล้อง เบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง จากนั้นถอยหลังแนวราบ ดูราวกับมุมมองสิ่งเหนือธรรมชาติ พระเจ้าจับจ้องมองลงมา หรืออาจจะวิญญาณบิดาผู้ล่วงลับ ล่องลอยลงมาจากสรวงสวรรค์ จับจ้องมองร่างกายตนเอง (ที่จมลงก้นเบื้องท้องทะเล) จากนั้นออกเดินทางไปพร้อมๆกับลูกๆ อยู่เคียงข้างพวกเขาตราบจนวันตาย

ผมค่อนข้างรู้สึกว่าปัจฉิมบทที่ทำการร้อยเรียงภาพถ่ายทริปนี้ ดูไม่ค่อยจำเป็นสักเท่าไหร่ คือถ้าปรากฎเป็นพื้นหลัง Closing Credit ยังว่าไปอย่าง! แต่นี่ทำเหมือนบทสรุป อัลบัมความทรงจำ เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน ยังคงครุ่นคิดถึง โหยหาอาลัย ไม่มีวันลบเลือนสัปดาห์นี้ได้ลง

ตัดต่อโดย Vladimir Mogilevskiy, หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของสองเด็กชาย Ivan และ Andrei (แทบจะเคยเหินห่างกัน) เริ่มจากอารัมบทความขัดแย้งระหว่างพี่น้อง เพื่อให้การหวนกลับมาของบิดา สามารถพบเห็นปฏิกิริยาแสดงออกที่แตกต่างกัน จากนั้นร่วมออกทริปรื้อฟื้นความสัมพันธ์ ขับรถ ล่องเรือ มาถึงยังเกาะกลางทะเลสาปแห่งหนึ่ง

เนื่องจากหนังยังมีการแบ่งเรื่องราวออกเป็นวันๆ เริ่มจากอาทิตย์สิ้นสุดวันเสาร์ ผมก็จะขอแบ่งเรื่องราวออกตามนั้น

  • วันอาทิตย์
    • พี่น้อง Ivan และ Andrei พิสูจน์ตนเองกับผองเพื่อน กระโดด-ไม่กระโดดลงน้ำ
  • วันจันทร์,
    • พี่น้อง Ivan และ Andrei มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง เลยวิ่งไล่กันมาถึงบ้าน ได้ยินจากมารดาว่าบิดาหวนกลับมา กำลังหลับนอนอยู่ในห้อง
    • รับประทานอาหารมื้อเย็น บิดาชักชวนบุตรชายทั้งสองออกทริปขับรถ ตกปลา รื้อฟื้นความทรงจำ
  • วันอังคาร
    • ขับรถออกเดินทาง แวะพักรับประทานอาหารกลางวันแต่ร้านปิด
    • บิดาเลยให้ Andrei ออกค้นหาร้านอาหารแห่งใหม่ แต่กลับหายตัวไปสามชั่วโมง
    • Ivan เลยงอนตุ๊บป่อง ไม่ยินยอมรับประทานอาหาร
    • ระหว่างรอคอยอยู่นอกข้าน Ivan และ Andrei ถูกนักเลงรีดไถเงิน บิดาเลยลากพาหมอนั่นกลับมา
    • บิดาเหมือนจะเริ่มหมดความอดทน เลยบอกให้ทั้งสองขึ้นรถโดยสารกลับบ้าน ก่อนเปลี่ยนใจภายหลัง
    • ยามเย็นกางเต้นท์ ตกปลา หลับนอนริมชายหาด
    • ค่ำคืนพี่น้องพูดคุยกัน
  • วันพุธ
    • เช้ามา Ivan ตื่นขึ้นมาตกปลาระหว่างบิดากับพี่ชายเก็บสัมภาระ
    • ระหว่างทาง Ivan งอนตุ๊บป่อง เรียกร้องอยากตกปลา เลยถูกทอดทิ้งไว้กลางสะพาน
    • พอฝนตกหนักบิดาเลยหวนกลับมารับ ระหว่างรถติดหล่มจึงต้องช่วยกันผลักดันขึ้นจากโคลนเลน
    • ค่ำคืนนี้หลับนอนกันในรถ เพราะฝนยังตกหนัก
  • วันพฤหัส
    • เดินทางมาจนถึงริมชายเล ตระเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นเรือข้ามฟาก
    • ในตอนแรกก็ใช้เครื่องยนต์นำทาง ก่อนเสียกลางคัน เปลี่ยนมาเป็นพายเรือ เร่งรีบฝ่าพายุฝน
    • ค่ำคืนมาถึงเกาะสวรรค์ พี่น้องนอนพูดคุยกันในเต้นท์
  • วันศุกร์
    • เช้าวันใหม่ ออกสำรวจเกาะ บิดาพา Andrei ขึ้นไปสำรวจหอคอย
    • ยามบ่าย Ivan ต้องการนำเรือออกตกปลา ลัดเลาะไปตามซากเรืออัปปาง
    • บิดาแสดงความไม่พึงพอใจที่ลูกๆทั้งสองกลับมาช้า Ivan เกิดความเกรี้ยวกราด ปีนป่ายขึ้นไปบนหอคอย
    • บิดาพยายามปีนป่ายขึ้นไปหา Ivan แต่พลัดตกลงมาเสียชีวิต
    • ค่ำคืนแห่งความสิ้นหวัง
  • วันเสาร์
    • ลากพาบิดาขึ้นเรือ ออกเดินทางกลับเข้าฝั่ง
    • แต่พอมาถึงท่าเทียบ เรือกลับรั่วไหล จมลง ไม่สามารถยื้อย่างได้ทัน
    • สุดท้ายเด็กๆทั้งสองเลยตัดสินใจขับรถกลับบ้าน

การดำเนินเรื่องอย่างเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า เน้นแสดงออกภาษากายมากกว่าพูดคุยสนทนา จุดประสงค์เพื่อสร้างความอึดอัด รำคาญใจ (ขณะเดียวกันก็สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างพี่-น้อง บิดา-บุตรชาย) เต็มไปด้วยความฉงนสงสัย หวาดระแวง วิตกจริต มีเวลาให้ครุ่นคิดมาก ผู้ชมส่วนใหญ่เลยมักเห็นพ้องกับน้องคนเล็ก Ivan ชายคนนี้ใช่บิดาจริงๆนะหรือ?


เพลงประกอบโดย Andrey Dergatchev, Андрей Дергачёв (เกิดปี 1969) นักแต่งเพลงสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Astrakhan, ร่วมงานขาประจำผกก. Andrey Zvyagintsev ตั้งแต่ The Return (2003)

นอกจากช่วงต้นเรื่องที่พอจะได้ยินเสียงเครื่องดนตรี Armenian Duduk โดดเด่นชัดขึ้นมา หลังจากนั้นก็แทบไม่ได้ยินอะไร แต่ไม่ใช่ว่ามีเพียงความเงียบงัน บทเพลงของ Dergatchev ยังคลอประกอบพื้นหลังเบาๆ เพื่อสร้างบรรยากาศหนาวเหน็บ สัมผัสเย็นยะเยือก บางครั้งรู้สึกเหมือนกำลังล่องลอยอยู่ในความเพ้อฝัน บางครั้งก็ปั่นป่วนมวนท้องไส้ หงุดหงิดรำคาญใจ บังเกิดความเคลือบแคลง ฉงนสงสัย (ว่าไม่ได้หูแว่วไปใช่ไหม)

เกร็ด: Duduk หรือ Armenian Duduk เครื่องดนตรีพื้นบ้าน/โบราณจาก Armenia มีลักษณะเป่าลมไม้แบบกกคู่ ทำจากไม้ Apricot ได้รับความนิยมในภูมิภาค Caucasus และ Middle East

สไตล์เพลงของ Dergatchev ไม่ได้มีความจำเพาะเจาะจงว่าจะ Traditional หรือ Classical หรือ Modern Music (ฺElectronic, Beat Music) โดยคำแนะนำผกก. Zvyagintsev ต้องการแค่ว่า “that there should be no notes in the music” ผลลัพท์จึงได้ยินแต่ ‘rhythmic tunes’ สำหรับเสริมสร้างบรรยากาศ ขยับขยายโสตประสาท เพลิดเพลินกับภาพถ่าย ทัศนียภาพอันงดงาม

ผมพยายามหาคลิปบทเพลงชื่อว่า Piano (มีใน Spotify และ Apple Music) ดังขึ้นหลังจากบิดาพลัดตกลงมาจากเบื้องบน แต่เพลงนี้ไม่ได้มีการบรรเลงท่วงทำนองอะไร เพียงกดโน้ตคู่หนึ่งแล้วหยุดนิ่งไปสักพัก จากนั้นถึงกดโน้ตอีกสองสามคู่แล้วเงียบหายอีกพักใหญ่ ช่องว่างระหว่างการเล่นตัวโน้ตช่วยสร้างสัมผัสเคว้งคว้าง เวิ้งว่างเปล่าให้กับเด็กชายทั้งสอง ไม่รู้จะทำอะไรยังไง ต้องใช้เวลาสักพักใหญ่ๆถึงสามารถรวบรวมสติให้หวนกลับคืนมา แล้วเริ่มต้นจัดการแก้ปัญหาเบื้องหน้า

จริงๆถ้าคุณสามารถเปิดลำโพงให้ดังๆ ช่องว่างระหว่างโน๊ตเปียโน มันเหมือนจะมีเสียงสายลมพัดผ่านเบาๆ พร้อมกับภาพใบไม้ต้นหญ้ากำลังปลิดปลิว(ไปตามสายลม) ซึ่งช่วยทำให้จิตใจสั่นพริ้วไหว วาบหวิวทรวงใน … เป็นการสร้างสัมผัสระหว่างภาพและเสียง เรียกได้ว่ากวีภาพยนตร์


โดยปกติแล้วการหวนกลับมาของสมาชิกในครอบครัว ย่อมสร้างความตื่นเต้น ดีอกดีใจ เบิกบานหฤทัย พูดคุยสอบถามสารทุกข์สุขดิบ เอ่อล้นด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ค่ำคืนนี้กับภรรยาคงได้ร่วมรักกันหวานฉ่ำ แต่ไม่ใช่สำหรับครอบครัวนี้ที่ทุกคนต่างหน้าดำคร่ำเครียด บรรยากาศเงียบงัน ไม่มีใครกล้าเอ่ยปากถามโน่นนี่นั่น สิบสองปีมันช่างเยิ่นยาวนาน หวนกลับมาตอนนี้ทำไมกัน?

แม้หนังจะไม่มีคำอธิบายเหตุผล บิดาหวนกลับมาทำไม? หรือจากไปเพราะอะไร? แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสงสัยที่จะต้องไปขบครุ่นคิด ค้นหาคำตอบให้ปวดกะโหลกศีรษะ เพราะเรื่องราวนำเสนอผ่านมุมมองเด็กชายทั้งสอง ยังละอ่อนเยาว์วัย ไร้เดียงสาต่อโลก พูดบอกไปก็อาจไม่รับรู้เข้าใจ

บทหนังดั้งเดิมที่ใช้วิธีเล่าย้อนอดีต 40 ปีให้หลัง นั่นแปลว่าตัวละครได้เคยพานผ่านช่วงเวลานั้นมาแล้ว การหวนระลึกความจำจึงราวกับคำรับสารภาพ รู้สึกสาสำนึกผิด ตระหนักถึงความละอ่อนวัย โง่ขลาดเขลา ใคร่อยากย้อนเวลาหวนกลับไปแก้ไขอดีต บลา บลา บลา

การตัดทิ้งวิธีเล่าย้อนอดีตแล้วดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสองเด็กชาย นั่นทำให้ผู้ชมไม่สามารถคาดเดาอนาคตใดๆ ถูกจำกัดอยู่ในกรอบที่ผู้สร้างพยายามนำเสนอ รับสัมผัสอารมณ์ ความรู้สึกครุ่นคิด และตอนจบที่ไม่รู้จะทำอะไรยังไงกับเหตุการณ์บังเกิดขึ้นนี้ดี ?

ผกก. Zvyagintsev ถือว่ามีความเป็นศิลปินระดับหนึ่ง นำเสนอเรื่องราวกึ่งๆอัตชีวประวัติ แต่การสรรค์สร้าง The Return (2003) ไม่ใช่ต้องการระบายอารมณ์อัดอั้นจากเมื่อครั้นถูกทอดทิ้ง แต่เหมือนต้องการค้นหาความสงบสุขภายใน นี่ไม่ใช่ให้อภัยอีกฝ่ายนะครับ แค่เรียนรู้จักยินยอมรับสภาพเป็นจริง … เพราะบิดาไม่เคยแวะเวียนหวนกลับมาเยี่ยมเยียนเลยสักครั้ง!

ผมอ่านเจอว่าผกก. Zvyagintsev ทำการเปรียบเทียบตัวละครดั่งธาตุทั้งสี่ มารดา=ผืนแผ่นดิน/พระแม่ธรณี, บิดา=สายลมพัดไปพัดมา, บุตรคนโต Andrei=ผืนน้ำมีความเคลื่อนไหล ปรับเปลี่ยนได้ทุกสถานการณ์, น้องคนเล็ก Ivan=เต็มไปด้วยความลุ่มร้อน กระวนกระวาย เปลวเพลิงที่ลุกมอดไหม้ … นั่นหมายความว่าภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถครุ่นคิดต่อยอดไปได้อีกไกล

ในแง่มุมการเมือง สิ่งที่หนังสะท้อนออกมาไม่ใช่สภาพการเมืองรัสเซียสมัยนั้น แต่คือสภาวะของผู้นำเผด็จการ บิดาสามารถเปรียบเทียบกับ Vladimir Lenin, Joseph Stalin, หรือแม้แต่ Adolf Hitler, Benito Mussolini, Francisco Franco ฯ ชมชอบการใช้อำนาจ บีบบังคับบุตรหลาน ประชาชน คนใต้สังกัด ให้ก้มหัวศิโรราบ ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่ง ถ้าผลลัพท์ไม่พึงพอใจก็พร้อมตำหนิต่อว่า โต้ตอบด้วยความรุนแรง จนทำให้ภายในเกิดการแบ่งแยกออกเป็นพวกเห็นด้วยและกลุ่มคนต่อต้าน (Andrei vs. Ivan) สุดท้ายแล้วความยิ่งใหญ่ ทะเยอทะยาน ย่อมจบสิ้นลงด้วยความผิดพลาดของตัวตนเอง

ในแง่มุมศาสนาคริตส์ บิดาคือตัวแทนของพระเป็นเจ้า ก่อนหน้านี้แม้ไม่เคยอยู่เคียงชิดใกล้ แต่ทุกคนรับรู้ว่ามีอยู่จริง! ซึ่งการหวนกลับม = ฟื้นคืนชีพ (Resurrection) ย่อมสร้างความเคลือบแคลงสงสัย บุตรคนหนึ่งบังเกิดความเชื่อศรัทธา บุตรอีกคนกลับพยายามต่อต้านขัดขืน … จนเมื่อ Jesus Christ ลาจากโลกนี้ไป มนุษย์ผู้โง่เขลาค่อยตระหนักถึงความเบาปัญญาอ่อนของตนเอง

ทิ้งท้ายด้วยคำถาม MacGuffin อะไรอยู่ในกล่อง? คำตอบของผกก. Zvyagintsev ก็คือ

For some reason everyone is interested in this, but I’m not interested in it at all.

Someone told me that the box that my father dug up on the island, and which sank with him in the locker of the boat, needs to be destroyed so that the audience can see what kind of diamonds are there. You see how different we are, we are spectators. To whom is an empty tomb, and to whom is “pork cartilage”.

Andrey Zvyagintsev

ความเห็นส่วนตัวก็คือ บิดา=กล่องใบนั้น ไม่ว่าข้างในมันจะมีสิ่งของล้ำค่าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองของตัวเราเองจะตระหนักรับรู้ เห็นคุณค่าความสำคัญมากน้อยเพียงไหน


หนังไม่มีรายงานทุนสร้างที่เป็นตัวเลขชัดเจน แต่ในบทสัมภาษณ์ของโปรดิวเซอร์และผกก. Zvyagintsev บอกว่าต่ำกว่า $500,000 เหรียญ และสามารถคืนทุน(จากการขายลิขสิทธิ์ฉายต่างประเทศ)ตั้งแต่ก่อนเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Venice เสียอีก! รวมรายรับทั่วโลกประมาณ $4.4 ล้านเหรียญ ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

นอกจากคว้ารางวัลใหญ่จากเทศกาลหนังเมือง Venice (ได้รับการยืนปรบมือนาน 15 นาที!) ยังได้เป็นตัวแทนรัสเซียส่งลุ้นรางวัล Oscar: Best Foreign Language Film น่าเสียดายไม่ผ่านเข้ารอบใดๆ

  • Venice Film Festival
    • Golden Lion
    • SIGNIS Award เคียงคู่กับ Um Filme Falado (2003)
    • Sergio Trasatti Award
    • ‘CinemAvvenire’ Award: Best First Film
    • Luigi De Laurentiis Award: Best Debut Film
  • European Film Awards
    • European Discovery of the Year (Fassbinder Award)
  • Golden Globe Awards
    • เข้าชิง Best Foreign Language Film พ่ายให้กับ Osama (2003) จากประเทศ Afghanistan

ปัจจุบันสามารถหาซื้อ Blu-Ray ของค่าย Kino Lorber และ Artificial Eye เพิ่งวางจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2018 น่าจะได้รับการสแกนใหม่ คุณภาพใสกิ๊ก แต่ทั้งสองฉบับไม่ค่อยมีของแถมที่น่าสนใจ

ถึงผมจะไม่มีปัญหากับการดูหนังเอื่อยเฉื่อย บรรยากาศเย็นๆ เพราะรับรู้ว่ามันอาจมีไคลน์แม็กซ์ที่คาดไม่ถึง แต่ภาพรวมยังแอบรู้สึกเบื่อหน่าย ทำไมพ่อ-ลูกไม่พูดคุยกันแบบเปิดอก อธิบายเหตุผลอย่างตรงไปตรงมา ยื้อๆยักๆ มีแต่คนเห็นแก่ตัว การเดินทางครั้งนี้มันจึงไม่รู้สึกน่าอภิรมณ์เลยสักนิด! ต้องรอคอยให้ถึง Loveless (2017) ก่อนใช่ไหม ผกก. Zvyagintsev ถึงสามารถเข้าใจปัญหาของตนเอง!

ถ้าไม่ได้ภาพถ่ายสวยๆ การแสดงโคตรๆน่าประทับใจของเด็กๆ ผมคงมิอาจอดรนทนดูจนจบได้แน่ แต่ก็ยังแอบคาดหวังกับผลงานถัดๆไปอย่าง Elena (2011), Leviathan (2014) และ Loveless (2017) ประสบการณ์ชีวิต น่าจะเสี้ยมสอนอะไรๆผกก. Zvyagintsev ได้มากทีเดียว

จัดเรต 18+ กับบรรยากาศเครียดๆ นำสู่โศกนาฎกรรม

คำโปรย | The Return การกลับมาของบิดา ทำให้ผู้กำกับ Andrey Zvyagintsev เต็มไปด้วยข้อคำถาม ตกอยู่ในความสิ้นหวัง
คุณภาพ | ยืย็
ส่วนตัว | กลับมาทำไม??

Voskhozhdeniye (1977)


The Ascent (1977) USSR : Larisa Shepitko ♥♥♥♥

ภาพยนตร์สู่ความเป็นนิรันดร์ของผู้กำกับ Larisa Shepitko ตั้งคำถามถึงการมีชีวิตบนโลกแห่งความสิ้นหวัง เราควรยึดถือมั่น ตายเพื่ออุดมการณ์ หรือเป็นอย่าง Judas ทรยศหักหลัง Jesus Christ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย, คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin

พลพรรคโซเวียตสองนาย (Soviet Partisans) ได้รับมอบหมายติดตามหาเสบียงกรัง บุกฝ่าทุ่งหิมะขาวโพลน สภาพแวดล้อมสุดหฤโหด ก่อนถูกจับกุมโดยทหารเยอรมัน (Nazi Germany) ส่งเข้าค่ายกักกัน

  • คนหนึ่งยินยอมเสียสละชีพแทนพวกพ้อง และผองผู้บริสุทธิ์ (ผู้หญิงและเด็ก) อาสารับโทษประหารชีวิตเพียงลำพัง
  • อีกคนหนึ่งก้มหัวศิโรราบต่อทหารนาซี พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ตนเองสามารถมีชีวิตรอดปลอดภัย

ในมุมมองของคนส่วนใหญ่ พลพรรคคนแรกคือวีรบุรุษ เสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น สมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญ, ส่วนพลพรรคคนสองจักถูกตีตราว่าเป็นพวกขายชาติ ขี้ขลาดตาขาว ไม่ต่างจาก Judas ทรยศหักหลัง Jesus Christ … แต่ถามจริงเถอะ ถ้าคุณตกอยู่ในสถานการณ์สิ้นหวังขนาดนั้น มันผิดอะไรกับการอยากมีชีวิตรอดปลอดภัย?

The Ascent (1977) ผลงานมาสเตอร์พีซของผกก. Shepitko ให้คำอธิบายถึงความปรารถนาอันแรงกล้า ‘physical need’ สำหรับระบายอารมณ์อัดอั้น สารพัดความเจ็บปวด (ทั้งร่างกาย-จิตวิญญาณ) เพื่อถ่ายทอดมุมมองชีวิต และชักชวนให้ผู้ชมค้นหาเหตุผลการถือกำเนิดบนโลกใบนี้

All motion pictures are personal but the desire to film The Ascent was almost a physical need. If I had not shot this picture it would have been a catastrophe for me. I could not find any other material with which I could transmit my views on life, on the meaning of life.

Larisa Shepitko

ความเลื่องลือชาของหนัง ประกอบด้วยการบุกฝ่าทุ่งหิมะขาวโพลน สภาพแวดล้อมสุดหฤโหด (ถ่ายทำยังสถานที่จริง หิมะจริง คงมีแต่ชาวรัสเซียเท่านั้นแหละที่อดรนทนกันได้ขนาดนี้) เต็มไปด้วย ‘Long Take’ ที่น่าตื่นตา โดยเฉพาะสัญลักษณ์เชิงศาสนาของ Judas และ Jesus Christ ที่ไม่ใช่ความสนใจของผกก. Shepitko แต่มันสามารถตีความไปทิศทางนั้นได้อย่างชัดเจน

The story of how one betrays another is as old as the world and is associated with a biblical parable. In all times there were Fishermen and Sotnikovs, there was Judas and Christ. I am not religious, but since this legend has entered people, it means that it is alive, it means that each of us has it in us.


Larisa Yefimovna Shepitko, Лариса Юхимівна Шепітько (1938-79) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Ukrainian เกิดที่ Artemovsk, Ukrainian SSR (ปัจจุบันคือ Bakhmut, Ukraine) มีพี่น้องสามคน มารดาเป็นครูสอนหนังสือ ส่วนบิดาทำงานในกองทัพ หย่าร้างเพื่อเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ทอดทิ้งครอบครัวให้ต้องอดๆอยากๆ พานผ่านช่วงเวลาทุกข์ยากลำบาก

My father fought all through the war. To me, the war was one of the most powerful early impressions. I remember the feeling of life upset, the family separated. I remember hunger and how our mother and us, the three children, were evacuated. The impression of a global calamity certainly left an indelible mark in my child’s mind.

Larisa Shepitko

หลังเรียนจบมัธยมที่ Lviv ออกเดินทางสู่ Moscow ต้องการเข้าศึกษาการกำกับภาพยนตร์ All-Union State Institute of Cinematography (VGIK) แต่ถูกคณาจารย์ทัดทานว่าอาชีพผู้กำกับ “too masculine a profession for a woman” พยายามโน้มน้าวให้เลือกเรียนสาขาการแสดง บังเอิญความมุ่งมั่น สายตาจริงจัง เข้าตาผกก. Alexander Dovzhenko (เป็นชาว Ukrainian เหมือนกัน) จึงได้กลายมาเป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้าย ซึมซับรับอิทธิพล รวมถึงอุดมการณ์ “Make every film as if it’s your last.”

สำหรับผลงานจบการศึกษา Heat (1963) สามารถคว้ารางวัล Symposium Grand Prix จากเทศกาลหนัง Karlovy Vary International Film Festival (จัดที่ Czech Republic) นั่นแสดงถึงอัจฉริยภาพ วิสัยทัศน์โดดเด่นไม่ด้อยกว่าผู้กำกับชาย

I never tried to take male directors as a model, because I know only too well that any attempt by my female friends, my colleagues—both junior and senior—to imitate male filmmakers makes no sense because it’s all derivative.

เกร็ด: ระหว่างการถ่ายทำ Heat (1963) เพราะต้องเดินทางไปถ่ายทำยัง Central Asia สภาพอากาศร้อนระอุกว่า 50 องศาเซลเซียส โดยไม่รู้ตัวผกก. Shepitko ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A) ทำให้ร่างกายเจ็บปวดอิดๆออดๆ ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมรุ่น/ว่าที่สามี Elem Klimov (ว่าที่ผู้กำกับ Come and See (1985)) ให้ดูแลงานสร้างแทนหลายครั้ง


ช่วงระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์ลำดับที่สาม You and Me (1971), ผกก. Shepitko ประสบสารพัดปัญหาในการทำงาน ทั้งด้านเทคนิคถ่ายทำ ร่างกายเจ็บป่วยอิดๆออดๆ เกิดอาการเครียดหนักมาก จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอยู่หลายครั้ง และตอนสร้างเสร็จยังถูกกองเซนเซอร์ Goskino พยายามหั่นฉากโน่นนี่นั่นออกไปมากมาย … ผลลัพท์ทำให้เธอรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าทั้งร่างกาย-จิตใจ

หลังเสร็จงานสร้าง You and Me (1971) จึงเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ “a monstrous mental and physical exhaustion.” ถูกสั่งให้พักรักษาตัวยังสถานพยาบาล Sochi Sanatorium เป็นเวลานานถึงสี่เดือน! พอรักษาหายดันประสบอุบัติเหตุหกล้ม/พลัดตกจากที่สูง ทำให้กระดูกสันหลังมีปัญหา นอนรักษาตัวอีกแปดเดือน! พอดิบดีตรวจพบการตั้งครรภ์ นั่นเลยกลายเป็นช่วงเวลาแห่งความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน สัมผัสถึงความตายทุกวี่วัน

โชคยังดีที่ระหว่างพักรักษาตัว ผกก. Shepitko มีโอกาสอ่านนวนิยาย Со́тников (1970) อ่านว่า Sotnikov (คือชื่อตัวละครเลยไม่มีคำแปลอังกฤษ) แต่งโดย Vasil Býkaŭ (1924-2003) อดีตนายทหาร/นักเขียนชาว Belarusian เห็นว่านำจากประสบการณ์ส่วนตัว เคยต่อสู้รบทหารเยอรมันในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

I sensually embraced the concept of life in its entirety, because I was well aware that I could part with my life every next day. I was preparing for it. I was preparing myself and as if I was preparing a child, because it could happen that the child would be born and I would die. I discovered that this journey into myself is infinitely interesting, that the most interesting interlocutor for me is myself. It’s like the poem: “There was a voice to me: enter yourself. And I entered, they were waiting for me there…” I read Vasil Býkaŭ ‘s story then, in that new state of mine, and thought that it was this state of mine that I would be able to express if I were to stage “Sotnikov”. This, I told myself, is a thing about me. About my ideas that there is life, that there is death, that there is immortality.

หลังจากคลอดบุตรชาย อาการป่วยเริ่มบรรเทา ผกก. Shepitko ก็เริ่มติดต่อหานักเขียน สามารถโน้มน้าว Yuri Klepikov (1935-2021) ให้ช่วยดัดแปลงบทภาพยนตร์ ด้วยความเร่งรีบ กระตือรือล้น จนอีกฝ่ายแทบอดรนทนไม่ได้ “could not withstand the energy of the typhoon whose name was Larisa” ยินยอมพัฒนาบทหนังความยาว 70 หน้ากระดาษ ให้ความเคารพต่อเรื่องราวต้นฉบับเป็นอย่างมากๆ

บทหนังที่ได้รับ ผกก. Shepitko นำมาลงรายละเอียด คำอธิบายการถ่ายทำทุกช็อตฉาก (Shooting Script) ทุกสิ่งอย่างล้วนตระเตรียมวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างพร้อมสรรพ จนไม่หลงเหลือพื้นว่างสำหรับการปรับปรุงแก้ไข, โดยในส่วนชื่อหนัง ผู้กำกับ/สามี Elem Klimov เป็นคนแนะนำ Восхождение อ่านว่า Voskhozhdeniye แปลตรงตัว The Ascension และใช้ชื่อภาษาอังกฤษ The Ascent

และแม้บทหนังพัฒนาเสร็จสิ้น ก็ใช่ว่าจะได้รับการอนุมัติจากกองเซนเซอร์ Goskino (State Committee for Cinematography) ตอนแรกแค่เพียงพูดเกริ่นนำ (ยังไม่ได้ยื่นเสนอบท) ก็ได้รับการส่ายหัวปฏิเสธโดยพลัน นั่นทำให้ผกก. Shepitko ติดต่อเข้าหาเพื่อนร่วมรุ่น Gemma Firsova (สมัยเรียน VGIK) ทำงานอยู่แผนก State Political Directorate นำโปรเจคนี้ไปพูดคุยกับ Philippe Ermash รัฐมนตรีกระทรวงภาพยนตร์ (Minister of Cinematography) แนะนำให้ปรับเปลี่ยนแปลงโน่นนี่นั่น ตัดทิ้งประเด็นเกี่ยวกับศาสนา จนได้รับการอนุมัติในที่สุด … แต่ตอนถ่ายทำจริง ผกก. Shepitko ก็ไม่ได้มีความสนใจประเด็นดังกล่าวอยู่แล้ว

ปล. ระยะเวลาตั้งแต่ที่ผกก. Shepitko เริ่มอ่านนวนิยาย Sotnikov จนกระทั่งได้รับการอนุมัติ รวมๆยาวนานกว่า 4 ปี!


พื้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อครั้นกองทัพ Nazi Germany เข้ายึดครอง Byelorussian Soviet Socialist Republic (Belarusian SSR), เรื่องราวของสองพลพรรค (Soviet Partisans) ประกอบด้วย Sotnikov (รับบทโดย Boris Plotnikov) และ Rybak (รับบทโดย Vladimir Gostyukhin) ได้รับมอบหมายติดตามหาเสบียงกรัง บุกฝ่าทุ่งหิมะขาวโพลน ในสภาพแวดล้อมสุดหฤโหด

ระหว่างเผชิญหน้ากับทหารเยอรมัน Sotnikov ถูกยิงเข้าที่ต้นขา Rybak ตัดสินใจอุ้มพามายังบ้านของ Demchikha (รับบทโดย Lyudmila Polyakova) แต่ไม่นานก็ถูกล้อมจับกุม แถมทำให้เจ้าของบ้านกลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด ทั้งสามโดนลากพาตัวมายังค่ายกักกัน ถูกซักไซร้ไล่เรียง ทัณฑ์ทรมานโดยอดีตครูสอนร้องเพลง Portnov (รับบทโดย Anatoli Solonitsyn) ปัจจุบันเปลี่ยนข้างมาเป็นตำรวจสนับสนุน Belarusian Auxiliary Police ให้กับ Nazi Germany

ในตอนแรก Sotnikov พยายามปฏิเสธให้การเสียงขันแข็ง ตรงกันข้ามกับ Rybak ที่ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเอาชีวิตรอด, ค่ำคืนนั้นจึงถูกควบคุมขังในห้องใต้ดิน ร่วมกับหัวหน้าหมู่บ้าน และเด็กสาวชาวยิว Basya Meyer (ลูกศิษย์ของ Portnov)

ด้วยความที่ทั้งห้าจักถูกประหารชีวิตแขวนคอในเช้าวันรุ่งขึ้น Sotnikov แสดงเจตจำนงค์ต้องการยินยอมรับผิดแต่เพียงผู้เดียว แต่คำเรียกร้องของเขากลับไม่เป็นผลอะไร ผิดกับ Rybak ยินยอมเข้าร่วมเป็นตำรวจสนับสนุน Belarusian Auxiliary Police จึงได้รับการไว้ชีวิต … แต่หลังจากพบเห็นความตายของทั้งสี่ รวมถึงคำพูดชาวบ้านตีตราคนทรยศ Judas เขาก็เริ่มเกิดความตระหนักว่าได้ตัดสินใจผิดพลาดครั้งใหญ่


Boris Grigoryevich Plotnikov, Борис Григорьевич Плотников (1949-2020) นักแสดงสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Nevyansk, Sverdlovsk Oblast บิดาเป็นช่างเครื่อง มารดาทำงานวิศวกร แต่บุตรชายเลือกเรียนการแสดง Sverdlovsk Theater School มีผลงานละคอนเวที จนกระทั่งแจ้งเกิดกับภาพยนตร์ The Ascent (1977), ผลงานเด่นๆ อาทิ Heart of a Dog (1988), ซีรีย์โทรทัศน์ Mikhaylo Lomonosov (1986), Empire Under Attack (2000) ฯ

รับบทพลพรรค Sotnikov ได้รับมอบหมายให้ติดตามหาเสบียงกรัง แต่เพราะสวมเสื้อผ้าน้อยชิ้น เลยมีอาการไข้หวัด หนาวสั่น ไอจาม แถมถูกยิงเข้าที่เท้า สภาพร่อแร่ปางตาย แต่ได้รับความช่วยเหลือจาก Rybak ถึงอย่างนั้นเขาก็มิอาจควบคุมโชคชะตาชีวิต เสียงจามครั้งนั้นเป็นต้นเหตุให้ถูกจับกุม โดนทัณฑ์ทรมาน ปฏิเสธทรยศหักหลังพวกพ้อง ค่ำคืนนั้นตระหนักถึงความผิดพลาด ต้องการจะเสียสละชีพเพื่อผู้อื่น แต่กลับไม่สำเร็จสมหวังประการใด

มีนักแสดงหลายคนพยายามติดต่อ ล็อบบี้ ต้องการรับบทบาทนี้ แต่ผกก. Shepitko ไม่อยากได้บุคคลมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักวงกว้าง ต้องการมองหานักแสดงหน้าใหม่ ยังไม่ค่อยมีผลงานภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ และเห็นว่ากระซิบกระซาบบอกกับทีมคัดเลือกนักแสดง ให้นึกถึงภาพใบหน้า Jesus Christ อยู่ในใจ

Plotnikov ขณะนั้นเป็นนักแสดงอยู่ Sverdlovsk Theater ต้องบินสู่ Moscow มาทดสอบหน้ากล้องถึง 7 ครั้ง! ถึงได้รับคำตอบตกลงจากกองเซนเซอร์ … ที่คงรับรู้อยู่แก่ใจ เพราะใบหน้าละม้ายคล้ายคลึง Jesus Christ ถึงขนาดนั้น

บ่อยครั้งที่มุมกล้องจับจ้องใบหน้าของนักแสดง จุดเด่นของ Plotnikov คือสามารถถ่ายทอดความรู้สึกจากภายใน ช่วงแรกๆดูเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า เหม่อมองท้องฟ้า ตระหนักถึงความตายใกล้เข้ามา แต่ลึกๆยังมีสายตามุ่งมั่น อุดมการณ์แรงกล้า ต้องการมีชีวิตพานผ่านค่ำคืนนี้ เพื่อวันรุ่งขึ้นจักได้เสียสละตนเอง แม้ผลลัพท์จะล้มเหลว แต่วินาทีสุดท้ายก่อนถูกแขวนคอตาย กลับปรากฎรอยยิ้มเล็กๆแห่งความภาคภูมิใจ ไม่มีอะไรให้ต้องหวาดกลัวเกรงอีกต่อไป

อีกสิ่งที่ต้องชื่นชมมากๆ คือความทุ่มเททำงานในสภาพแวดล้อมสุดหฤโหด บุกฝ่าทุ่งหิมะขาวโพลน แต่ผลลัพท์ถือว่าคุ้มค่า น่าประทับใจ สามารถทำให้ผู้ชมสัมผัสถึงความมุ่งมั่น จริงจัง พร้อมเสียสละตนเองเพื่องานศิลปะ ต่อให้ร่างกายเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า แต่จิตวิญญาณถือว่าเข้มแข็งแกร่ง ไม่มีสิ่งใดสามารถผันแปรเปลี่ยนอุดมการณ์ตั้งใจ

ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถแจ้งเกิด Plotnikov เป็นที่รู้จักไปทั่วรัสเซีย แต่ผลงานติดตามมาส่วนใหญ่มักเป็นบทสมทบ ไม่ก็ซีรีย์โทรทัศน์ ถือว่าประสบความสำเร็จแค่เพียงกลางๆ แต่ก็ได้รับยกย่องศิลปินแห่งชาติเมื่อปี ค.ศ. 1998


Vladimir Vasilyevich Gostyukhin, Влади́мир Васи́льевич Гостю́хин (เกิดปี 1946) เกิดที่ Sverdlovsk, Sverdlovsk Oblast โตขึ้นเรียนจบเทคนิค ทำงานวิศวกรช่างไฟ ก่อนค้นพบความสนใจด้านภาพยนตร์ ออกเดินทางสู่ Moscow เข้าศึกษา Russian State Institute of Performing Arts (GITIS) หลังกลับจากเกณฑ์ทหาร กลายเป็นนักแสดงละคอนเวที มีผลงานภาพยนตร์ อาทิ The Ascent (1977), Close to Eden (1991) ฯ

รับบทพลพรรค Rybak เป็นคนเสนอแนะออกติดตามหาเสบียงกรัง คอยให้การช่วยเหลือ ดูแลพวกพ้อง รวมถึงตอน Sotnikov ถูกยิงเข้าที่ขา ก็พยายามมองหาสถานที่หลบซ่อน ปฐมพยาบาล แต่หลังจากถูกทหารเยอรมันจับกุมตัว แสดงท่าทางลุกรี้ร้อนรน หวาดกลัวความตาย ยินยอมสารภาพทุกสิ่งอย่าง ขอแค่เพียงให้ตนเองมีชีวิตรอดปลอดภัย ก่อนตกอยู่ในสภาพสิ้นหวังอาลัย เพราะการตัดสินใจครั้งนั้นทำให้เกิดความรู้สึกผิดอย่างรุนแรง จนแทบคลุ้มคลั่ง เสียสติแตก

มีนักแสดงมาทดสอบหน้ากล้องกว่า 20+ คน ก่อนส้มหล่มใส่ Vladimir Gostyukhin ผู้มีความดิบๆ หยาบคาย(ที่สุดในบรรดานักแสดงที่มาทดสอบหน้ากล้อง) ตอนแรกก็มีความโล้เล้ลังเลใจ ไม่อยากเชื่อว่าผู้กำกับหญิงจะสามารถรับมือภาพยนตร์ที่มีความท้าทายขนาดนี้ แต่หลังจากพูดคุยกันเพียง 20 นาที ก็บังเกิดความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า พร้อมทุ่มเท เสี่ยงตาย ไม่สร้างปัญหาใดๆในกองถ่าย

ตัวละครของ Gostyukhin มีความแตกต่างตรงกันข้าม Plotnikov ท่าทางกระตือรือล้น พูดพร่ำไม่ยอมหยุด ช่วงแรกๆแสดงความหาญกล้า พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อพรรคพวกพ้อง แต่หลังจากถูกทหารเยอรมันจับกุมตัว เกิดอาการขลาดเขลา กลัวตาย ไม่สามารถควบคุมตนเอง ลุกรี้ร้อนรน พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเอาชีวิตรอดปลอดภัย

ส่วนไฮไลท์ก็คือหลังการประหารชีวิต เพราะเป็นบุคคลเดียวที่ไม่ถูกแขวนคอ จึงถูกสังคมตีตรา ชาวบ้านตำหนิต่อว่า มองด้วยสายตาดูถูกเหยียดหยาม ไอ้คนทรยศขายชาติ นั่นทำให้เขามิอาจอดรนทน ตกอยู่ในความสิ้นหวัง พยายามใช้เข็มขัดแขวนคอตาย สูญเสียจิตวิญญาณ อุดมการณ์ หมดสิ้นสภาพความเป็นมนุษย์

ผมเพิ่งรับชม Close to Eden (1991) เมื่อไม่กี่วันก่อน พบเห็นการแสดงของ Gostyukhin ที่มีความละม้ายคล้ายกันมากๆ ชอบพร่ำบ่น ท่าทางรุกรี้รุกรน เหมือนคนไม่สามารถควบคุมตนเอง ดูแล้วคงเป็น ‘ภาพจำ’ จากบทบาทแจ้งเกิด (typecast) ไปจนวันตายเลยกระมัง


Anatoly (Otto) Alekseyevich Solonitsyn, Анатолий (Отто) Алексеевич Солоницын (1934-82) นักแสดงสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Bogorodsk, Nizhny Novgorod บิดาเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ Gorkovskaya Pravda ตอนแรกเกิดตั้งชื่อบุตรชาย Otto แต่การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สองเปลี่ยนเป็น Anatoly (ชื่อเยอรมัน), หลังสงครามครอบครัวปักหลักอยู่ Saratov ได้ร่ำเรียนการก่อสร้าง เข้าทำงานโรงงานผลิตเครื่องมือช่าง, พอบิดาถูกส่งไปประจำ Kyrgyzatan จึงพากันอพยพย้ายสู่ Frunze ทำให้มีโอกาสเข้าร่วมคณะการแสดงสมัครเล่น ค้นพบความสนใจด้านนี้เลยออกเดินทางสู่ Moscow เข้าศึกษาและเป็นนักแสดงประจำ Sverdlovsk Drama Theater, ภาพยนตร์เรื่องแรก The Kurt Clausewitz Case (1963), แจ้งเกิดโด่งดังจากบทนำ Andrei Rublev (1966), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ At Home Among Strangers (1974), The Ascent (1976), Stalker (1979), Twenty Six Days from the Life of Dostoyevsky (1981)**คว้ารางวัล Silver Bear for Best Actor, The Train Has Stopped (1982) ฯ

รับบท Portnov อดีตผู้อำนวยการ Club-House ครูสอนร้องเพลงประจำหมู่บ้าน (Choirmaster) ภายหลังจากถูกยึดครองโดยเยอรมัน ตัดสินใจเปลี่ยนข้างมาเป็นตำรวจสนับสนุน (Belarusian Auxiliary Police) มีหน้าที่ซักไซร้ไล่เรียง Sotnikov และ Rybak ใครปฏิเสธให้ความร่วมมือก็จะถูกทัณฑ์ทรมาน ส่วนคนที่ยินยอมความจะยื่นข้อเสนอ ชักชวนใหม่มาร่วมงาน

ผกก. Shepitko บอกกับทีมคัดเลือกนักแสดง ให้มองหาบุคคลที่มีหน้าตาใกล้เคียงกับ Boris Plotnikov (ที่รับบท Sotnikov) ด้วยเหตุผลว่าตัวละครของพวกเขามีความละม้ายคล้ายคลึง เชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ แค่ว่าอยู่กันคนละฟากฝั่งขั้วตรงข้าม

They are similar, but Portnov is an antipode to Sotnikov based on internal beliefs. This should be a very good actor. Their duel, yes, yes, the fight with Sotnikov – the eternal conflict, the everlasting battle between spirit and lack of spirituality … Dying, suffering Sotnikov wins because he is strong in spirit. He dies and rises above his tormentor.

Larisa Shepitko

ทีมคัดเลือกนักแสดงได้พบเจอ Anatoly Solonitsyn ขณะนั้นถือว่ามีชื่อเสียงพอสมควร พยายามติดต่อเข้าหา แต่ถูกบอกปัดปฏิเสธเพราะครุ่นคิดว่าเป็นแค่บทรอง ไม่ได้น่าสนใจอะไร จนกระทั่งมีโอกาสพบเจอ พูดคุยกับผกก. Shepitko ทำให้เข้าถึงความสำคัญของตัวละคร และบังเกิดความเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของเธออย่างแรงกล้า

หลายคนอาจตีตราตัวละคร Portnov ไม่แตกต่างจาก Rybak คือบุคคลทรยศขายชาติ แตกต่างคือฝ่ายหนึ่ง (Rybak) เกิดความตระหนักถึงความผิดพลาด ตกอยู่ในสภาพสิ้นหวังอาลัย ผิดกับอีกคน (Portnov) ลุ่มหลงระเริง ปล่อยตัวปล่อยใจ เพลิดเพลินไปกับตำแหน่งหน้าที่ อวดอ้างอำนาจบารมี … เรียกว่าขายวิญญาณให้ปีศาจ

แต่การแสดงของ Solonitsyn ไม่ใช่แค่ผู้ร้ายเท่านั้น เพราะตัวละครคือชาวรัสเซียเหมือนกับ Sotnikov และ Rybak มันจึงมีความห่วงใย เกรงใจ พยายามพูดโน้มน้าว หาโอกาสช่วยเหลือ นั่นแสดงว่าเขายังพอมีความเป็นมนุษย์หลงเหลืออยู่บ้าง เพียงแต่ไม่สามารถต่อต้านขัดขืน ก้มหัวศิโรราบให้กับฟากฝั่งเข้มแข็งกว่า … กล่าวคือเป็นคนไร้อุดมการณ์ ขาดสามัญสำนึก เพียงสันชาติญาณเอาตัวรอด ไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน


ถ่ายภาพโดย Vladimir Chukhnov และ Pavel Lebeshev (A Slave of Love, The Barber of Siberia)

จากประสบการณ์ทำงานของผกก. Shepitko ในสภาพแวดล้อมสุดหฤโหด (ไปมาแล้วทั้งร้อนสุดขั้ว หนาวสุดขีด) หลายครั้งที่ล้มป่วย ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหว ต้องกำกับจากบนเตียงนอน ทำให้เธอพัฒนาบทหนังที่มีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ เผื่อถ้าเกิดเหตุการณ์คาดไม่ถึง สามีหรือใครอื่นจักสามารถสานต่องานแทน

แต่ถ้าเมื่อไหร่เธอลุกขึ้นจากเตียง มักเต็มไปด้วยความกระตือรือล้น ทุ่มเททำงานไม่เคยหยุดพัก (ตามอุดมการณ์ “Make every film as if it’s your last.”) อย่างซีเควนซ์ที่สองนักแสดงต้องบุกฝ่าทุ่งหิมะขาวโพลน เธอก็เดินประกบติดตามตากล้อง (Hand Held) ร่วมทุกข์หนาวร้อนไปด้วยกัน … บรรดานักแสดงของเธอจึงมีความเชื่อมั่น ยินยอมพร้อมตาย ร่วมหัวจมท้าย ไม่หวาดกลัวเกรงอะไรทั้งนั้น

We worked for Larisa, specifically, personally for her. She had faith and that was the reason. Faith in goodness and the need for our work, and it is this faith that was absolutely a material substance, which can be very real to rely on.

นักแสดง Yuri Vizbor เคยร่วมงานภาพยนตร์ You and Me (1971)

สำหรับผู้ชมทั่วไป อาจพบเห็นแค่ความงดงามของท้องทุ่งหิมะขาวโพลน แต่คนทำงานภาพยนตร์จะรู้สึกตกตะลึง อึ่งทึ่ง อ้าปากค้าง ถ่ายทำกันไปได้อย่างไรในสภาพอากาศติดลบขนาดนั้น แค่คิดก็หนาวเหน็บ เย็นยะเยือก สั่นสะท้านทรวงใน ยุคสมัยนั้นไม่เหมือนปัจจุบันนี้ ต้องใช้ความหาญกล้า บ้าบิ่น มุ่งมั่นแน่วแน่ ไม่ย่นย่อท้อแท้ จิตวิญญาณอันเข้มแข็งแกร่งสักเพียงไหนกัน!

แม้ว่าพื้นหลังของหนังจะคือ Belarusian SSR ค.ศ. 1942 แต่สถานที่ถ่ายทำจริงอยู่นอกเมือง Murom, Vladimir Oblast ห่างไปประมาณ 300 กิโลเมตรจาก Moscow Oblast (East Moscow) เริ่มถ่ายทำวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1974 (ตรงกับวันเกิดของผกก. Shepitko) อุณหภูมิติดลบ 40 องศาเซลเซียส

We worked a long time and in very tough conditions, in severe frost. We deliberately tried to approximate these conditions to the ones, which our characters had to endure. The actors and other members of the crew often had to be exposed to extreme hardship. I think we all drew strength from the feeling that we were dealing with a theme that is held sacred to our people.

Larisa Shepitko

สิ่งหนึ่งที่พบเห็นบ่อยตั้งแต่ตอนต้นเรื่อง คือการถ่ายภาพใบหน้าระยะประชิดใกล้ (Close-Up) รับอิทธิพลจาก The Passion of Joan of Arc (1928) และหลายๆผลงานของผกก. Ingmar Bergman โดยเฉพาะ Persona (1966) เพื่อให้นักแสดงถ่ายทอดปฏิกิริยาอารมณ์ ความรู้สึกดีใจ-เศร้าโศก เจ็บปวด-สิ้นหวัง ฯ รวมถึงยังสามารถเปิดเผยธาตุแท้ตัวตน “ดวงตา/ใบหน้าคือหน้าต่างของหัวใจ” บางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้นภายใน

ปล. เกล็ดน้ำแข็งที่ติดตามหนวด คิ้ว ขนตา ไม่ได้มาจากการแต่งหน้า แต่เป็นสิ่งพบเห็นได้ทั่วไปเมื่ออยู่ท่ามกลางสภาพอากาศหนาวเหน็บ อุณหภูมิติดลบ แค่สัก 10-20 นาทีก็เริ่มจับตัวเป็นเกล็ดแล้วนะครับ

เมื่อตอน Wings (1966) ผมยังไม่ค่อยพบเห็นผกก. Shepitko เลือกถ่ายภาพระยะใกล้ (Close-Up) มากมายเพียงนี้! (จริงๆถ้าเธอมีชีวิตยาวนานกว่านี้ ก็อาจพัฒนาสู่สไตล์ลายเซ็นต์) เรียกได้ว่าแทบจะทุกๆเหตุการณ์สำคัญๆ เวลาพูดคุยสนทนา โต้ตอบ แสดงออก ชักชวนให้ผู้ชมค้นหาความจริงที่ซุกซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใจ

อย่างซีนนี้เมื่อตอนสองพลพรรค เดินทางมาถึงบ้านของหัวหน้าหมู่บ้าน หลังรับรู้ว่ายังมีเสบียงกรังหลงเหลือ เลยตระหนักว่าอีกฝ่ายคือคนทรยศ เลือกข้างเยอรมัน … ใช่หรือไม่ให้ลองสังเกตปฏิกิริยาสีหน้าหัวหน้าหมู่บ้านเอาเองนะครับ

หลังจากถูกยิงเข้าที่ต้นขา Sotnikov บังเกิดความมุ่งมั่นตั้งใจจะเสียสละตนเอง พยายามถ่วงเวลา ยิงตอบโต้ทหารเยอรมัน เพื่อว่า Rybak จักได้นำเสบียงกรังกลับไปที่หน่วย ช่วยชีวิตผู้คนได้มากมาย และเมื่อกระสุนใกล้หมด ก็เตรียมพร้อมจะฆ่าตัวตาย (ไม่ต้องการโดนจับกุม แล้วถูกทัณฑ์ทรมาน) ระหว่างนอนหงาย เหม่อมองดวงจันทร์ โดยไม่รู้ตัวบังเกิดความสุขสงบขึ้นภายใน … แต่ไม่ทันไร Rybak ดันหวนกลับมา ฉุดกระชากลากพา มองหาสถานที่หลบซ่อนตัว

Sotnikov เตรียมตัวเตรียมใจ พร้อมจะตายตั้งแต่ตอนนั้น การได้รับความช่วยเหลือจาก Rybak ลากพามาหลบซ่อนตัวยังบริเวณที่เต็มไปด้วยกิ่งไม้ ปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลน จนแทบมองอะไรไม่เห็น นั่นสร้างความไม่พึงพอใจเล็กๆ (มีการหยิบไม้ขึ้นมาเหวี่ยงไปเหวี่ยงมา) แต่ก็มิอาจต่อต้านขัดขืนความปรารถนาดีของอีกฝ่าย เพราะลึกๆก็ยังอยากมีชีวิตอยู่ ถึงอย่างนั้นเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้เขารู้สึกคุ้นชิน ใกล้ชิดกับความตาย

I was just afraid back there in that field of dying, in the night all alone, like a dog. But I’m not afraid now. I just need to get used to the idea. Is this the end for me?

Sotnikov

สองพลพรรคเข้ามาหลบซ่อนตัวในบ้านของ Demchikha แม้ปฏิกิริยาของเธอจะไม่ค่อยเห็นด้วย ต้องการขับไล่ ผลักไส แต่หลังจากพบเห็น Sotnikov ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ ก็แสดงเจตจำนงค์ต้องการให้ความช่วยเหลือ ถึงอย่างนั้น Rybak เหมือนจะเข้าใจผิดบางอย่าง ครุ่นคิดว่าเธออาจเป็นสายให้ทหารเยอรมัน (แท้จริงแล้ว เธอน่าจะรับรู้ว่าทหารเยอรมันกำลังเดินทางมาที่บ้าน เลยต้องการขับไล่ ผลักไส แต่พูดอธิบายตรงๆไม่ได้)

มุมกล้องซีนนี้ถ่ายจากมุมมองของ Sotnikov สังเกตว่า Rybak เดินเข้าไปคุกคาม ยืนบดบังใบหน้า Demchikha ซึ่งเธอพยายามถอยหลัง แต่เขาก็ยังติดตามไม่หยุดยั้ง จนกระทั่ง Sotnikov ต้องร้องขอบอกให้หยุด ก่อนพบเห็นทหารเยอรมันกำลังตรงเข้ามาที่บ้าน

ระหว่างหลบซ่อนตัวยังโรงนา โชคชะตาทำให้ Sotnikov จามออกมาเสียงดังลั่น ทหารเยอรมันจึงบุกขึ้นมาตรวจค้น เตรียมยิง พบเห็นปากกระสุนปืนระยะประชิดใกล้

  • ในขณะที่ Sotnikov ซุกหน้าลงในกองฟาง สังเกตว่ามีการปรับโฟกัสจากคมชัดสู่เบลอ นั่นแสดงถึงการยินยอมรับภาพความตาย
  • ตรงกันข้ามกับ Rybak ภาพจับจ้องใบหน้า อาการสั่นๆ สูญเสียขวัญ ก่อนตะโกนลั่น “Don’t Shoot”

ในขณะที่ช่วงเวลาเฉียดตายของ Sotnikov มักแหงนมองท้องฟ้า จับจ้องมองดวงจันทร์ ทำให้เกิดความสุขสงบขึ้นภายใน, Rybak ระหว่างขึ้นลากเลื่อน พบเห็นภาพนิมิต/จินตนาการตนเองกำลังหลบหนีทหารเยอรมัน แต่จนแล้วจนรอด ไม่สามารถไปไหนไกล ถูกกราดยิงเสียชีวิต ทำให้ตกอยู่ในสภาพสิ้นหวังอาลัย

บนลากเลื่อน (Sleigh) ระหว่างที่ทหารเยอรมันนำพาพลพรรคทั้งสอง (รวมถึงหญิงชาวบ้าน Demchikha) ไปยังค่ายกักกันนาซี สังเกตว่า Rybak นั่งอยู่ด้านซ้าย(ของภาพ) ขณะที่ Sotnikov นอนราบฝั่งขวา (เคียงข้างกับ Demchikha) นี่เช่นกันแสดงให้ถึงความแตกต่างตรงกันข้าม

สำหรับมุมกล้องของ Sotnikov ชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์จากเช็คเกีย Marketa Lazarová (1967) ระหว่างที่หญิงสาว Marketa ถูกลักพาตัว นอนอยู่บนเทียมเกวียน ถ่ายเฉพาะบริเวณศีรษะ เหม่อมมองท้องฟ้าเบื้องบน ใบหน้าอาบด้วยแสงสว่าง-เงามืด สลับไปสลับมา (อาจสื่อถึงโชคชะตาชีวิตที่ยังไม่รับรู้ว่าจะดีหรือร้ายประการใด)

เผื่อคนที่ไม่ได้เอะใจ! แกะตัวที่ Rybak นำมาจากหัวหน้าหมู่บ้าน แต่ต้องทอดทิ้งไว้กลางทางเพื่อช่วยชีวิต Sotnikov ได้กลายมาเป็นอาหารของพวกเยอรมัน ยังไงก็ต้องตัวเดียวกัน ไม่ทางเป็นไปได้อื่น … ซึ่งเราสามารถตีความเจ้าแกะน้อย = พลพรรคโซเวียตทั้งสอง ต่างถูกจับกุม มาเชือด (เข่นฆ่า) ด้วยลักษณะห้อยลงมา (โทษประหารแขวนคอ) ตกตายไม่แตกต่างกัน

ภาพแรกมีการเลือกมุมกล้องที่ Portnov (ยืน) ซ้อนทับกับ Sotnikov (นั่ง) เพื่อสื่อถึงความละม้ายคล้ายคลึง (ใบหน้าทั้งสองก็มีความใกล้เคียงกันอยู่เล็กๆ) แต่ต่างอยู่คนละฟากฝั่งขั้วตรงข้าม และตลอดการซักไซร้ไล่เรียง จะพบเห็นแต่ภาพระยะใกล้ (Close-Up) ที่ทำให้ผู้ชมพบเห็นปฏิกิริยาอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ทุกสิ่งอย่างล้วนถูกถ่ายทอดออกทางใบหน้าของพวกเขา

วิธีการทัณฑ์ทรมานของพวกนาซี คือใช้เหล็กร้อนรูปดาว (สัญลักษณ์ของ Red Army) ทาบลงไปบนลำตัว ถือเป็นการตีตราสัญลักษณ์นักโทษ กล้องจับจ้องไปที่ใบหน้าของ Sotnikov เต็มไปด้วยความเจ็บปวด ส่งเสียงกรีดร้อง (แต่ไม่ได้ยินเสียงใดๆ) … สามารถเปรียบเทียบถึงการทัณฑ์ทรมานของ Jesus Christ

ซึ่งหลังจากสลบคาเก้าอี้นั่ง สังเกตว่ากล้องถ่ายมุมก้ม พบเห็นใบหน้าแหงนเงยขึ้น(ท้องฟ้า) และมีแสงสว่างจากด้านบนอาบฉาบลงมา ราวกับว่า Sotnikov ได้รับสัมผัสจากพระเป็นเจ้า (เหล็กร้อนรูปดาว เลยกลายเป็นตราประทับจากสรวงสวรรค์)

เมื่อตอนซักไซร้ไล่เลียง Sotnikov สังเกตว่า Portnov เพียงนั่งนิ่งๆ ยื่นหน้า-พิงพนัก อยู่ด้านหลังโต๊ะ ฟากฝั่งตรงกันข้าม ไม่ได้ความอะไรสักสิ่งอย่าง, แต่พอถึงคิวของ Rybak ใช้วิธีลุกขึ้นมา เดินวนรอบ ใช้จิตวิทยาหว่านล้อม (มีการขึ้นเสียง กระชากปกเสื้อ ใส่อารมณ์เต็มเหวี่ยง) เลยได้รับคำตอบแทบจะโดยทันที

หลังเสร็จจากการซักไซร้ไล่เรียง สองพลพรรคถูกส่งมายังห้องคุมขังใต้ดิน พวกเขามีการพูดคุย โต้ถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งมักมีทัศนคติแตกต่างตรงกันข้าม เฉกเช่นเดียวกับการจัดวางใบหน้าตัวละคร คนหนึ่งนั่ง อีกคนนอน ทิศทางตั้งฉาก ปรับโฟกัสเบลอ-ชัด … นี่เป็นช็อตที่ชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ Persona (1966) ขึ้นมาโดยทันที!

ขณะกำลังสะลึมสะลือ ครึ่งหลับครึ่งตื่น ใบหน้าของ Sotnikov จากเคยปกคลุมด้วยความมืดมิด ก็ไม่รู้แสงสว่างจากไหนสาดส่องเข้ามา (น่าจะแสงจันทร์จากภายนอกห้องขัง กระมังนะ) ดวงตาเบิกพองโต ราวกับได้พบเห็นนิมิต/สรวงสวรรค์ เกิดความตระหนักถึงบางสิ่งอย่าง จากนั้นพูดบอกกับ Rybak พยายามทำให้ตนเองมีชีวิตถึงเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วจะขันอาสาเป็นผู้เสียสละให้ทุกคนรอดชีวิต

เช้าวันถัดมา ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นกับสีผมของ Sotnikov จู่ๆกลายเป็นขาวโพลนทั้งศีรษะ (จะมองว่าคือสัมผัสของพระเจ้า หรือเครียดจนผมหงอกก็ได้กระมัง) พยายามเปิดเผยความจริงทั้งหมดแก่ Portnov ด้วยท่าทางสงบนิ่ง เยือกเย็น ไม่หวาดกลัวเกรงความตาย แต่มันกลับไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด … กลับกลายเป็นความพยายามที่สูญเสียเปล่า

ขณะที่ Rybak ด้วยท่าทางลุกรี้ร้อนรน ตะโกนบอก Portnov ตอบตกลงว่ากลายเป็นตำรวจสนับสนุน วินาทีที่ได้รับการตอบตกลง คนด้านหลังทำการสวมหมวก ไขกุญแจ ได้รับอิสรภาพโดยพลัน

จริงๆยังมี Demchikha ที่ก็พยายามดิ้นรนเอาตัวรอด ด้วยการจะเปิดเผยบุคคลให้ที่หลบซ่อนเด็กสาวชาวยิว แต่สุดท้ายกลับไม่สามารถให้การอันเป็นประโยชน์ เลยยังคงต้องโทษประหารชีวิต

แม้ภาพนี้คือการก้าวเดินของนักโทษ ขึ้นเนิน สู่ลานประหาร แต่เป็นช็อตที่สามารถสื่อถึงชื่อหนัง The Ascent เพราะแทนที่พวกเขาจะก้าวลงสู่ขุมนรกมอดไหม้ กลับใช้เป็นสัญลักษณ์เดินทางขึ้นสู่สรวงสวรรค์ … หรือจะตีความว่าคือเส้นทาง Jesus Christ แบกลากกางเขนไปยังลานประหารได้เช่นเดียวกัน

มุมกล้องช็อตนี้สังเกตว่ามีกรอบห้อมล้อม ดูราวกับสวนสนุก เวทีการละคอน (เหมือนการจัดฉาก) ซึ่งจะมีคอมเมอดี้เล็กๆ(ที่ขำไม่ออกสักเท่าไหร่)แทรกเข้ามาในรายละเอียด อาทิ

  • ระหว่างนำเชือกคล้องคอเด็กสาว เพราะเธอตัวยังเล็ก จึงต้องใช้ขอนไม้มาวางซ้อนอีกชั้น
  • เก้าอี้ยาวสำหรับสามคน คือชาวบ้านที่ไม่รู้อิโน่อิเหน่ ไม่ได้มีความผิดอะไร แต่กลับถูกเหมารวมโทษประหารชีวิต, ส่วนสองพลพรรค จัดเตรียมแยกไว้ให้ยืนบนขอนไม้
  • แต่ Rybak ได้รับการละเว้นโทษ เลยเปลี่ยนมานั่งกอดขอนไม้อยู่แทบเท้า Sotnikov เรียกร้องขอเป็นผู้ปลดปล่อยอีกฝ่ายด้วยตนเอง

ระหว่างการร้อยเรียงภาพใบหน้าของผู้กำลังถูกประหารชีวิต จะมีแทรกภาพเด็กชายคนหนึ่งท่ามกลางฝูงชน จับจ้องมอง ร่ำร้องไห้ นั่นสร้างความเจ็บปวดใจให้กับผู้ชม เพราะสงครามไม่ใช่แค่เรื่องของผู้ใหญ่ คนทุกเพศวัยล้วนได้รับผลกระทบ และเหตุการณ์นี้จักกลายเป็นภาพที่เขาจดจำ ตราฝัง ส่งอิทธิพลต่อทั้งชีวิต ไม่รู้ลืมเลือน

ผมมองเด็กชายคนนี้คือตัวแทนผกก. Shepitko เมื่อครั้นยังเป็นเด็ก ละอ่อนวัย ไร้เดียงสา แม้ไม่น่าจะเคยพบเห็นการประหารชีวิตเช่นนี้ แต่สงครามโลกครั้งสองได้ส่งผลกระทบ สร้างอิทธิพลให้กับตัวเธออย่างมากๆทีเดียว

Larisa was born just before the Second World War. With her family, she had gone through all the hardships of the time. Air raids, hunger, work unfit for a child. Those impressions can never be forgotten; they’re burning you, and remain with you forever. I think it was then that an invisible bud sprouted, the bud of the future work that came many years later, the ultimate achievement of the director Larisa Shepitko, her film The Ascent.

สามี Elem Klimov กล่าวถึงภรรยา Larisa Shepitko

วินาทีถูกประหารของ Sotnikov นอกจากรอยยิ้มกริ่มเล็กๆ แสดงถึงไม่หวาดกลัวเกรงความตาย ยังมีการโยกเส้นเชือก ทำให้สองเสี้ยววินาทีถัดมาถ่ายติดเฉพาะเสื้อผ้า (พื้นดำ) และท้องฟ้า (พื้นขาว) นี่สามารถตีความได้ครอบจักรวาลถึงสองสิ่งขั้วตรงข้าม อาทิ เกิด-ตาย, ลมหายใจเข้า-ออก, เริ่มต้น-สิ้นสุด, ลาจากโลกมนุษย์แล้วถือจุติใหม่บนสรวงสวรรค์, วินาทีแห่งความเป็นนิรันดร์ ฯ

ต้นฉบับนวนิยาย หลังกลับมาถึงค่ายกักกันนาซี Rybak ที่ไม่สามารถอดรนทน ตกอยู่ในสภาพสิ้นหวังอาลัย เลยตัดสินใจจะผูกคอตายในห้องน้ำ แต่ปรากฎว่าเข็มขัดถูกยึดไปตั้งแต่เมื่อวันก่อน, ผิดกับภาพยนตร์ที่เข็มขัดยังคงอยู่ แต่พยายามจนแล้วจนรอดกลับทำไม่สำเร็จ … ความแตกต่างเพียงน้อย กลับแฝงนัยยะที่แตกต่างกันพอสมควร

  • การที่เข็มขัดถูกยึด ทำให้ Rybak ไม่มีแม้แต่โอกาสจะแก้ตัว จมปลักอยู่กับความสิ้นหวังอาลัย
  • ส่วนการมีเข็มขัด แต่กลับไม่สามารถทำอะไร ราวกับว่าความตายก็ไม่ยินยอมรับบุคคลพรรค์นี้ “even death refuses a traitor”. นี่ทำให้ Rybak ตกอยู่ในความสิ้นหวัง ดำมืด ยิ่งๆขึ้นกว่าเดิมอีก

แซว: ประตูห้องใต้ดินที่เปิดออก มองเข้าไปพบเห็นเพียงความมืดมิด ดูราวกับกับขุมนรก/ที่อยู่อาศัยของ Rybak จึงพยายามดิ้นหลบหนีด้วยการผูกคอตายในห้องน้ำ

ประตูค่ายกักกันแม้เปิดออก แต่ Rybak ก็ไม่สามารถวิ่งหลบหนีไปไหน นั่นทำให้เขาตกอยู่ในสภาพสิ้นหวัง กรีดร้องลั่น (แต่ไม่มีเสียงดังออกมา) จากนั้นร้อยเรียงภาพทิวทัศน์ภายนอก Belarusian SSR จมปลักอยู่ในกองหิมะ ย้อนรอยชุดภาพตอนต้นเรื่อง ก่อนปิดท้ายด้วยภาพโบสถ์ลิบๆ สรวงสวรรค์รำไร ก่อนถูกหิมะพัดพา สูญหายไปกับสายลม (ไม่มีสรวงสวรรค์กับคนทรยศ)

ปล. ถ้าเราใช้นัยยะท้องฟ้าสีขาวตอนที่ Sotnikov ถูกประหารชีวิต ภาพสุดท้ายที่ถูกหิมะพัดพาขาวโพลน สามารถสื่อถึงภาพยนตร์เรื่องนี้สู่ความเป็นนิจนิรันดร์

ตัดต่อโดย Valeriya Belova ผลงานเด่นๆ อาทิ Belorussky Station (1971), You and Me (1971), The Ascent (1977), Office Romance (1977), Farewell (1983), A Cruel Romance (1984), Come and See (1985) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของสองพลพรรค Sotnikov และ Rybak ตั้งแต่ได้รับมอบหมายภารกิจติดตามหาเสบียงกรัง ออกเดินทางบุกฝ่าทุ่งหิมะขาวโพลน เผชิญหน้าทหารเยอรมัน แล้วถูกจับกุม เค้นสอบ กักขัง และตัดสินโทษประหารชีวิต(แขวนคอ)ในอีกวันถัดมา

  • ภารกิจติดตามหาเสบียงกรัง
    • หน่วยพลพรรคถูกไล่ล่าโดยทหารเยอรมัน ระหว่างหยุดพักในป่า ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ Sotnikov และ Rybak ออกติดตามหาเสบียงกรัง
    • การบุกฝ่าทุ่งหิมะขาวโพลนของ Sotnikov และ Rybak พบเห็นบ้านเป้าหมาย (ของ Rybak) หลงเหลือเพียงเศษซากปรักหักพัง
    • เดินทางต่อจนถึงบ้านของหัวหน้าหมู่บ้าน ที่ยังอยู่รอดปลอดภัยเพราะยินยอมศิโรราบต่อทหารเยอรมัน ทีแรก Rybak ครุ่นคิดจะฆ่าปิดปาก (ข้อหาทรยศขายชาติ) แต่สุดท้ายแค่แบกแกะหลบหนี เร่งรีบเดินทางกลับ
    • แต่ระหว่างทางถูกทหารเยอรมันไล่ล่า Sotnikov ถูกยิงเข้าที่ขา Rybak ตัดสินใจหวนกลับมาให้ความช่วยเหลือ
    • Rybak แบกพา Sotnikov มาถึงบ้านของ Demchikha หลบซ่อนตัวในโรงนา แต่ก็ถูกทหารเยอรมันตรวจพบเจอ ไร้หนทางหลบหนีจึงยินยอมศิโรราบโดยดี
  • ในค่ายกักกันนาซี
    • ทหารเยอรมันนำพา Sotnikov และ Rybak มาถึงค่ายกักกัน
    • Sotnikov ถูกสอบโดย Portnov ปฏิเสธให้ความร่วมมือเลยถูกทัณฑ์ทรมาน
    • ตรงกันข้ามกับ Rybak ยินยอมให้สารภาพทุกสิ่งอย่าง จนได้รับข้อเสนอจาก Portnov ชักชวนเข้าร่วมตำรวจสนับสนุน
    • ค่ำคืนนั้น Sotnikov, Rybak ถูกคุมขังในห้องใต้ดินร่วมกับ Demchikha, หัวหน้าหมู่บ้าน และเด็กสาวชาวยิว พยายามร่วมกันครุ่นคิดหาหนทางเอาตัวรอด
  • เช้าวันตัดสินโทษประหารชีวิตแขวนคอ
    • เมื่อเช้าวันใหม่มาถึง Sotnikov ต้องการที่จะรับโทษทัณฑ์แทนทุกคน แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธจาก Portnov
    • ขณะที่ Rybak ยินยอมตอบตกลงเข้าร่วมตำรวจสนับสนุน เลยได้รับการละเว้นโทษประหาร
    • ก้าวออกเดินขึ้นเนิน มุ่งสู่ลานประหารชีวิต
    • หลังการประหารเสร็จสิ้น Rybak หลงเหลือตัวคนเดียวกลับค่ายกักกันนาซี แล้วเกิดความตระหนักถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดของตนเอง

มีอยู่สองสามครั้งที่ Rybak พบเห็นภาพนิมิต จินตนาการตนเองระหว่างกำลังหลบหนี แต่ไม่มีครั้งไหนที่สามารถเอาตัวรอด ล้วนถูกฆ่า กราดยิง สิ้นลมหายใจ นั่นเลยทำให้เขาไม่กล้ากระทำสิ่งใดๆ จมปลักอยู่ในความสิ้นหวังอาลัย

เกร็ด: แม้ว่าต้นฉบับตั้งชื่อนวนิยาย Sotnikov แต่การดำเนินเรื่องกลับเล่าผ่านมุมมองของ Rybak เพื่อว่าผู้อ่านได้พบเห็นการกระทำ ความเป็นวีรบุรุษ เสียสละชีพเพื่อผู้อื่น (เพราะไม่ใช่ทุกคนจะเป็นดั่ง Sotnikov แต่สามารถอ่าน/รับชม แล้วบังเกิดความฮึกเหิม ภาคภูมิใจ)


เพลงประกอบโดย Alfred Garrievich Schnittke, Шнитке, Альфред Гарриевич (1934-98) คีตกวีสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Engels, Volga German ASSR บิดาเป็นชาวเยอรมันเชื้อสาย Jewish ทำงานนักข่าว/แปลภาษารัสเซีย หลังสงครามโลกย้ายไปอยู่ Vienna ทำให้บุตรชายค้นพบความหลงใหลในดนตรี โตขึ้นสำเร็จการศึกษาจาก Moscow Conservatory และเป็นครูสอนอยู่หลายปี ระหว่างนั้นก็ประพันธ์บทเพลง Orchestral, Symphony, Concertos, Choral music, Chamber music, Solo instrumental, Opera, Ballet, และเพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ Vstuplenie (1963), The Commissar (1967), Uncle Vanya (1970), Belorussky Station (1971), You and Me (1971), The Ascent (1977), The Story of the Voyages (1983), The Garage (1980), Farewell (1983) ฯ

ช่วงครึ่งแรกของหนังแทบจะไม่ได้ยินบทเพลงอะไร นอกจากเสียงสายลม ฝีเท้า สารพัด ‘Sound Effect’ ซึ่งความเงียบงันก็สามารถสร้างบรรยากาศตึงเครียด กดดัน กอปรกับภาพท้องทุ่งหิมะขาวโพลน นักแสดงเดินบุกฝ่าเข้าไป ก็เพียงพอให้เกิดสัมผัสหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก สั่นสะท้านทรวงใน

ประมาณกลางเรื่องตั้งแต่สองพลพรรคถูกทหารเยอรมันจับกุมตัว บทเพลงบรรเลง The Ascent Suite: II. On the Sleigh เหมือนสร้างความผ่อนคลาย แต่การเลือกใช้เสียงออร์แกน (และหมาเห่า) เป็นการบอกใบ้อนาคต จุดจบ หายนะกำลังคืบคลานเข้ามา … ระหว่างการเดินทางเข้าสู่ค่ายกักกัน เสียงออร์แกนน่าจะทำให้หลายคนรู้ขนลุกขนพอง สั่นสยอง คาดเดาอนาคตของทั้งสองได้โดยพลัน

เกร็ด: กองเซนเซอร์ Goskino พยายามสั่งห้ามนักแต่งเพลง Alfred Schnittke ให้ตัดทิ้งเสียงกระดิ่ง หรืออะไรก็ตามที่อ้างอิงศาสนา มอบสัมผัสเหนือธรรมชาติ … แต่ผกก. Shepitko ใคร่สนใจทำตามคำสั่งเสียที่ไหนกัน!

ไฮไลท์เพลงประกอบจะอยู่ช่วงองก์สุดท้าย ตั้งแต่นักโทษก้าวเดิน ขึ้นเนิน สู่ลานประหาร พอก้าวย่างใกล้ถึงจุดสูงสุด จากเสียงออร์แกนที่บรรเลงอย่างสับสนอลม่าน พลันเปลี่ยนมาเป็นท่วงทำนองมาแห่งความสนุกสนาน ครื้นเครง (บทเพลงได้ยินในสวนสนุน) ได้ยินปุ๊ปน่าจะทำให้ผู้ชมบังเกิดความชะงักงัน! สามารถสื่อถึงความตายศัตรู = สวนสนุกของพวก Nazi

สำหรับบทเพลง The Ascent Suite: I. Sotnikov’s Death ดังขึ้นระหว่างที่ Sotnikov กำลังจะถูกประหารชีวิตแขวนคอ เริ่มจากความสงบ เงียบงัน (ประมาณครึ่งเพลง) จากนั้นเครื่องดนตรีบรรเลงท่วงทำนองอย่างสับสน วุ่นวาย กรีดกราย กลัวความตาย แต่แล้วมันจะมีเสียง(สวรรค์)ฟังดูลึกลับ ศักดิ์สิทธิ์ เข้ามาจัดระเบียบ ให้เกิดความสอดคล้อง ดำเนินไปตามครรลอง จนสามารถสร้างความผ่อนคลาย ไม่รู้สึกหวาดกลัวเกรง พร้อมแล้วจะเผชิญหน้าทุกสิ่งอย่าง … นี่เป็นบทเพลงที่สอดคล้องความหมายชื่อหนัง The Ascent นำพา Sotnikov ขึ้นสู่สรวงสวรรค์

สำหรับบทเพลงสุดท้าย The Ascent Suite : III. Remorse มีลักษณะตรงกันข้ามกับ I. Sotnikov’s Death ท่วงทำนองรำพันถึง Rybak ราวกับกำลังถูกฉุดคร่า นำพาลงสู่ขุมนรก ต่อให้พยายามตะเกียกตะกาย ก็ไม่สามารถดิ้นหลุดพ้น จิตวิญญาณมอดไหม้ และใกล้แตกสลายไป

The Ascent (1977) นำเสนอความโหดโฉดชั่วร้าย ไร้มนุษยธรรมของกองทัพทหารเยอรมัน (Nazi Germany) แพร่ความหวาดสะพรึงไปทั่วทุกแห่งหน คนอ่อนแอ ขลาดเขลา จำยินยอมก้มหัวศิโรราบ ปรับเปลี่ยนย้ายข้าง ทรยศหักหลังพวกพ้องเพื่อเอาชีวิตรอด! เพียงผู้มีจิตวิญญาณเข้มแข็งแกร่ง หนักแน่นอุดมการณ์ ถึงสามารถเผชิญหน้าความตาย อย่างไร้ความหวาดกลัวเกรง

  • Sotnikov คือตัวแทนบุคคลผู้มีจิตวิญญาณอันเข้มแข็ง ยินยอมพร้อมเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่หวาดกลัวเกรงความตาย
    • สามารถมองเป็นตัวแทนของ SuperEgo จิตส่วนที่คิดถึงเหตุผล ศีลธรรม สามัญสำนึกประจำใจ
  • Rybak ตรงกันข้ามกับ Sotnikov เก่งแต่พูด เอาเข้าจริงกลับแสดงความอ่อนแอ ขลาดเขลา หวาดกลัวความตาย ยินยอมพร้อมทรยศหักหลังพวกพ้อง เพื่อตนเองจักได้มีชีวิตรอด แต่อย่างน้อยหลังพบเห็นใครอื่นตายจากไป บังเกิดความรู้สึกผิดอย่างแรงกล้า
    • ตัวแทนของ Ego กึ่งกลางระหว่าง Id และ SuperEgo บ่อยครั้งเกิดความขัดแย้ง เห็นต่าง เลือกข้างไม่ได้ระหว่างทำสิ่งตอบสนองสันชาตญาณ หรือยึดถือมั่นสามัญสำนึกทางศีลธรรม
  • Portnov เป็นคนที่ใช้ชีวิตตามสันชาตญาณ ยินยอมศิโรราบต่อฝั่งฝ่ายเข้มแข็งแกร่งกว่า ไม่สนอุดมการณ์ พวกพ้อง ขอแค่ตนเองยังมีชีวิตรอดปลอดภัย
    • ชัดเจนว่าเป็นตัวแทนของ Id สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองสัญชาตญาณเอาตัวรอด

การแสดงออกของ Sotnikov คือสิ่งที่สังคมให้ความเคารพ ยกย่องเยี่ยงวีรบุรุษ สามารถเป็นต้นแบบอย่าง ‘ชวนเชื่อ’ ปลูกสร้างแนวคิด อุดมการณ์ รักชาตินิยม (Nationalism) พร้อมเสียสละตนเองเพื่อประโยชน์ส่วนรวม นั่นจะทำให้ไม่หวาดกลัวเกรงความตาย และมีโอกาส ‘The Ascent’ ขึ้นสู่สรวงสวรรค์

แต่ในความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่ทุกคนมีจิตวิญญาณอันเข้มแข็งแบบเดียวกับ Sotnikov เกินกว่าครึ่งไม่แตกต่างจาก Rybak และ Portnov เพราะสันชาตญาณของทุกสรรพชีวิตล้วนหวาดกลัวความตาย ทำไมฉันต้องทนทุกข์ทรมาน เสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น และไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าตายแล้วจะขึ้นสู่สรวงสวรรค์

This film is a study of man in an extreme, inhuman situation. He is in a position when he can only draw strength from within himself to stand up to the cruel circumstances. He is guided by such lofty motives as love for humanity and for his country. He remains human in inhuman circumstances.

Larisa Shepitko

ผกก. Shepitko เคยสัมผัสใกล้ชิดความตาย จากอาการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง พร้อมตั้งครรภ์บุตรชาย ครุ่นคิดไม่เว้นวันว่าพรุ่งนี้จะยังมีลมหายใจเหลืออยู่หรือไม่ นั่นทำให้เธอตระหนักถึงความสำคัญของชีวิต ‘มรณานุสติ’ พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อตอบสนองเป้าหมาย อุดมการณ์ สรรค์สร้างภาพยนตร์ราวกับคือผลงานเรื่องสุดท้าย “Make every film as if it’s your last.”

เกร็ด: ผมเคยอ่านเจอว่าผกก. Shepitko เคยเขียนบอกกับสามี Elem Klimov ตั้งใจสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เพื่อบุตรชาย Anton Klimov เมื่อเติบโตขึ้นจักสามารถสัมผัสรับรู้ความทุกข์ยากลำบากของมารดา และสามารถค้นพบเป้าหมาย/อุดมการณ์ชีวิตตนเอง

ไม่ใช่ว่าผกก. Shepitko ไม่หวาดกลัวความตาย แต่เธอสามารถยินยอมรับ ปรับความเข้าใจ ไม่มีใครสามารถดิ้นหลบหนี (จากความตาย) เลยพยายามครุ่นคิดค้นหาสิ่งที่จักทำให้ตนเองกลายเป็นอมตะ (Immortality) จิตวิญญาณได้รับการปลดปล่อย (Spiritual Transcendence)

ความเป็นอมตะในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกายเนื้อคงอยู่ชั่วนิรันดร์ แต่มุมมองศิลปินสรรค์สร้างงานศิลปะ จะคือผลงาน(ภาพยนตร์)มีความยิ่งใหญ่ ทรงคุณค่า ได้รับการยกย่องเหนือกาลเวลา โดยเนื้อหามักเกี่ยวกับการค้นหาความหมายชีวิต ตั้งคำถามอภิปรัชญา คนเราเกิดมาเพื่ออะไร? เพียงกระทำสิ่งตอบสนองสัญชาติญาณ? หรือยกระดับความเป็นมนุษย์ของตนเอง?

They’re things that are sacred to all of us. They’re well-defined notions of good and evil, of our morals. They’re such everlasting qualities as love for your homeland. What is this? What are we born into this world for? What will we contribute to this world? How can we make life better

หลังเสร็จสิ้นงานสร้าง The Ascent (1977) ผกก. Shepitko ก็เตรียมงานสร้างโปรเจคถัดไปโดยทันที ทำการดัดแปลงนวนิยาย Прощание с Матёрой (1976) แปลว่า Farewell to Matyora แต่งโดย Valentin Rasputin (1937-2015) น่าจะพัฒนาบทแล้วเสร็จ จึงเริ่มออกสำรวจสถานที่ถ่ายทำ (Scout Location) ร่วมกับตากล้อง Vladimir Chukhnov, ออกแบบโปรดักชั่น Yura Fomenko และทีมงานอีกสามคน บนทางหลวงระหว่าง Ostachkovo และ Kalinin ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตยกคัน (คาดว่าคนขับหลับใน ไม่รับรู้ตัวด้วยซ้ำว่าเสียชีวิต) ขณะอายุเพียง 41 ปี

Yesterday was the funeral of Larisa Sheptiko and five members of her group. A car accident. All killed instantly. So suddenly, that not one of them had adrenaline in the blood. It seems that the driver fell asleep at the wheel. It was early morning. Between Ostachkovo and Kalinin.

Andrei Tarkovsky เขียนในสมุดบันทึกส่วนตัว

เมื่อหนังสร้างเสร็จเกือบจะถูกแบนโดยกองเซนเซอร์ Goskino เพราะถูกมองว่าพยายามนำเสนอ “religious parable with a mystical tinge” ไม่ใช่เรื่องราววีรบุรุษสงคราม โชคดีที่สามี Elem Klimov รอบฉายพิเศษทำการชักชวน Pyotr Masherov เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของ Byelorussian SSR ผู้ซึ่งเคยพานผ่านประสบการณ์แบบเดียวกับในหนัง มารดาถูกทหารเยอรมันประหารชีวิตแขวนคอ พอพบเห็นแววตาเด็กชายคนนั้นก็แทบมิอาจกลั้นหลั่งน้ำตา หลังฉายเสร็จลุกขึ้นกล่าวสุนทรพจน์บนเวทีนานกว่า 40 นาที! วันถัดมาหนังได้รับการอนุมัติออกฉายโดยไม่มีปัญหาใดๆ

เกร็ด: คำกล่าวของ Pyotr Masherov แม้ไม่ได้มีการบันทึกเสียงไว้ แต่ทว่า Elem Klimov ซึ่งได้เข้าร่วมรับชมหนัง บอกกล่าวกับภรรยาว่าเป็นสุนทรพจน์น่าประทับใจที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมา ประมาณว่า…

Where did this girl come from, who of course experienced nothing of the sort, but knows all about it, how could she express it like this?

Pyotr Masherov

หลังเข้าฉายรอบปฐมทัศน์ในสหภาพโซเวียต ได้มีโอกาสเดินทางสู่เทศกาลหนังเมือง Berlin สามารถกวาดมาถึงสี่คว้ารางวัล ทำให้ Larysa Shepitko กลายเป็นผู้กำกับหญิงคนที่สอง สามารถคว้ารางวัล Golden Berlin Bear ต่อจาก Márta Mészáros ภาพยนตร์ Adoption (1975)

  • Golden Berlin Bear
  • FIPRESCI Price
  • OCIC Award
  • Interfilm Award – Special Mention (Competition)

ความสำเร็จดังกล่าวทำให้หนังได้รับเลือกเป็นตัวแทนสหภาพโซเวียต ส่งลุ้นรางวัล Oscar: Best Foreign Language Film แต่กลับไม่สามารถผ่านเข้ารอบใดๆ ซึ่งถือว่าน่าผิดหวังอย่างมากๆ

Is there an antidote to the perennial seductiveness of war? And is this a question a woman is more likely to pose than a man? (Probably yes.) … No photograph, or portfolio of photographs, can unfold, go further, and further still, as does The Ascent (1977), by the Ukrainian director Larisa Shepitko, the most affecting film about the horror of war I know.

Susan Sontag จากหนังสือ Looking at War: Photography’s view of devastation and death

การจากไปก่อนวัยอันควรของผกก. Shepitko ทำให้หนังค่อยๆเลือนลาง จางหาย ไม่ค่อยได้รับการพูดกล่าวถึงสักเท่าไหร่ในวงกว้าง จนกระทั่งมีการจัดจำหน่าย DVD เมื่อปี ค.ศ. 2008 ในคอลเลคชั่น Eclipse Series 11: Larisa Shepitko ของค่าย Criterion Collection ประกอบด้วย Wings (1966) และ The Ascent (1977) ถึงเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 2021 [เฉพาะเรื่อง The Ascent (1977)] ได้รับการบูรณะ 4K สามารถหาซื้อ Blu-Ray ของค่าย Criterion เช่นเดียวกัน!

ไม่ใช่แค่ภาพถ่ายสวยๆ แต่ยังโปรดักชั่นของ The Ascent (1977) สร้างความตกตะลึง อึ่งทึ่ง สัมผัสถึงสภาพอากาศหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก สั่นสะท้านทรวงใน ชื่นชมในความทุ่มเท มุมานะ เสียสละ ยินยอมตายเพื่อศิลปะภาพยนตร์ เพื่อผลลัพท์อันน่าอึ่งทึ่ง และโชคชะตานำพาให้ผกก. Shepitko ก้าวสู่ความเป็นนิรันดร์

หลังเสร็จสิ้น The Ascent (1977) ผมอยากแนะนำให้รับชมสารคดีสั้น Larisa (1980) ต่อด้วยภาพยนตร์ Farewell (1983) และจบด้วย Come and See (1985) ทั้งสามเรื่องสร้างโดยสามี Elem Klimov โดยเฉพาะเรื่องสุดท้ายที่ทำการระบายอารมณ์อัดอั้น ความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน จากการสูญเสียภรรยาสุดที่รักก่อนวัยอันควร

จัดเรต 18+ กับสภาพอากาศหนาวเหน็บ หายนะจากสงคราม ความโฉดชั่วร้ายของนาซี

คำโปรย | The Ascent ตั้งคำถามการมีชีวิต และก้าวสู่ความเป็นนิรันดร์ของผู้กำกับ Larisa Shepitko
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | รวดร้าวทรวงใน

In Cold Blood (1967)


In Cold Blood (1967) hollywood : Richard Brooks ♥♥♥♥

ชายสองคนร่วมกันก่อคดีฆาตกรรมอย่างเลือดเย็น เข่นฆ่าล้างครอบครัวที่พวกเขาไม่เคยรับรู้จัก เพียงเพื่อปล้นเงิน 43 เหรียญ และวิทยุหนึ่งเครื่อง ทำไมกัน?

คดีฆาตกรรมบังเกิดขึ้นมันอาจฟังดูไม่มีเหตุผล (Senseless Murder) แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ใช่แค่นำเสนอเหตุการณ์โศกนาฎกรรม หรือตำรวจไล่ล่าจับกุมตัวฆาตกรมาลงโทษทัณฑ์ ยังพยายามอธิบายเบื้องหลัง ที่มาที่ไป แรงจูงใจฆาตกร อันเกิดจากอิทธิพลแวดล้อม สภาพสังคม โดยเฉพาะครอบครัวที่พวกเขาเติบโตขึ้นมา … เรียกได้ว่าเป็นการนำเสนอมุมมืดของสหรัฐอเมริกา

ระหว่างรับชมผมไม่ได้รู้สึกว่าคดีฆาตกรรมมีอะไรน่าสนใจสักเท่าไหร่ แต่หลังจากหาอ่านบทความวิจารณ์หลายๆสำนัก ก็เริ่มตระหนักว่า In Cold Blood (1967) ถือเป็นหมุดไมล์ภาพยนตร์แนว ‘realism’ ของ Hollywood แทบจะทุกช็อตฉากถ่ายทำยังสถานที่จริง (รวมถึงบ้านครอบครัว Clutter ที่ถูกฆ่าล้างตระกูล) จงใจคัดเลือกนักแสดงหน้าเหมือนฆาตกร (ดั้งเดิมสตูดิโออยากได้ Paul Newman ประกอบ Steve McQueen แต่ผกก. Brooks ยืนกรานว่าจะเลือกนักแสดงที่ไม่ค่อยมีคนรับรู้จัก) ใช้เพียงแสงธรรมชาติ หรือจากแหล่งกำเนิดแสงเท่าที่มี (ซีเควนซ์ในบ้านครอบครัว Clutter ใช้เพียงไฟฉายที่ฆาตกรถือเท่านั้น)

ส่วนไฮไลท์ต้องยกให้ต้นฉบับนวนิยายของ Truman Capote เห็นว่ามีการดำเนินเรื่องตัดสลับไปมาระหว่างมุมมองฆาตกร vs. ครอบครัว Clutter/การสืบสวนของตำรวจ, ซึ่งผกก. Brooks ก็ยินยอมตัดต่อตามโครงสร้างดังกล่าว แถมยังพยายามทำออกมาให้มีความต่อเนื่อง ลื่นไหล สร้างสัมผัสบทกวีได้อย่างงดงาม

เกร็ด: In Cold Blood (1967) ได้รับการจัดอันดับ #8 ชาร์ท AFI’s 10 Top 10 – Courtroom Drama ทั้งๆมีฉากพิจารณาคดีความแค่ไม่ถึงสิบนาทีเท่านั้น!


ก่อนอื่นขอกล่าวถึง Truman Garcia Capote ชื่อเกิด Truman Streckfus Persons (1924-84) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New Orleans, Louisiana ครอบครัวหย่าร้างตั้งแต่อายุสองขวบ เลยถูกส่งไปอาศัยอยู่กับญาติฝั่งมารดาที่ Monroeville, Alabama สนิทสนมกับเพื่อนข้างบ้าน Harper Lee (ผู้เขียนนวนิยาย To Kill a Mockingbird (1960)), ตั้งแต่เด็กชื่นชอบการอ่าน-เขียน เคยส่งเรื่องสั้นเข้าประกวดได้รับรางวัล O. Henry Award, ตีพิมพ์เรื่องสั้นลงนิตยสารชื่อดังมากมาย นวนิยายเล่มแรก Other Voices, Other Rooms (1948), ผลงานเด่นๆ อาทิ Breakfast at Tiffany’s (1958), In Cold Blood (1966) ฯ

สำหรับ In Cold Blood ชื่อเต็มๆคือ In Cold Blood: A True Account of a Multiple Murder and Its Consequences ผู้แต่ง Capote ให้คำนิยามว่าเป็น ‘non-fiction novel’ เพราะได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์จริง! ฆาตกรเข่นฆ่าสมาชิกครอบครัว Clutter ณ Holcomb, Kansas เมื่อปี ค.ศ. 1959

หลังได้ยินข่าวคดีฆาตกรรมดังกล่าว Capote ชักชวนเพื่อนสนิท Harper Lee ร่วมออกเดินทางสู่ Kansas ติดต่อขอสัมภาษณ์ชาวบ้าน ตำรวจ นักสืบ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย และยังพบเห็นการจับกุมสองฆาตกร Richard Hickock & Perry Smith (น่าจะรวมถึงตอนประหารชีวิตห้าปีถัดมาด้วยกระมัง!) ทำการค้นคว้าได้รายละเอียดหลายพันกว่าหน้ากระดาษ! ใช้เวลานานถึงหกปีกว่าจะรวบรวม เรียบเรียง แล้วเสร็จสิ้นวางจำหน่าย ค.ศ. 1966 กลายเป็นหนังสือขายดี (Best-Selling) ทุบสถิติยอดขายแนวอาชญากรรม (Crime) ว่ากันว่าเป็นรองเพียงแค่ Helter Skelter (1974) [คดีฆาตกรรมของ Charles Manson]

สำหรับหนังสือเล่มนี้ Capote อ้างว่าได้ครุ่นคิดสร้างรูปแบบการเขียนขึ้นมาใหม่! ให้คำอธิบายคือส่วนผสมของการทำข่าว (Journalism) คลุกเคล้าเข้ากับเรื่องราวปรุงแต่งสร้างขึ้น (Fiction) เพื่อนำพาผู้อ่านขุดลึกเข้าไปใน(จิตวิทยา)ตัวละคร ซึ่งสื่อภาพยนตร์มีคำเรียกเทคนิคนี้ว่า ‘intercutting’ เล่าเรื่องสลับไปมาระหว่างมุมมองฆาตกร vs. ครอบครัว Clutter/การสืบสวนของตำรวจ

ก่อนนวนิยายจะได้รับการตีพิมพ์ Capote ส่งต้นฉบับสำหรับดัดแปลงภาพยนตร์ให้บรรดาผู้กำกับ/โปรดิวเซอร์หลายคน ในตอนแรก Otto Preminger (Anatomy of Murder (1959)) แสดงความสนอกสนใจ แต่สุดท้ายยินยอมขายให้ Robert Brooks (ค่าลิขสิทธิ์ประมาณ $400,000 เหรียญ) เพราะเป็นบุคคลเดียวยินยอมพร้อมนำแนวคิด โครงสร้างนวนิยาย มาทดลองปรับใช้กับสื่อภาพยนตร์

[Robert Brooks] was the only director who agreed with—and was willing to risk—my own concept of how the book should be transferred to film.

Truman Capote

Richard Brooks ชื่อเกิด Reuben Sax (1912-92) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Philadelphia, Pennsylvania ในครอบครัวผู้อพยพชาว Russian เชื้อสาย Jewish, โตขึ้นเข้าศึกษาคณะวารสารศาสตร์ (Journalism) Temple University ร่ำเรียนได้สองปีตัดสินใจลาออกมา ทำงานเขียนข่าวกีฬา Philadelphia Record ตามด้วยเป็นพนักงาน Atlantic City Press-Union, พอย้ายสู่ New York ได้เข้าร่วม World-Telegram และจัดรายการวิทยุ WNEW

Brooks เริ่มต้นเขียนบทละคอนเมื่อปี ค.ศ. 1938 แล้วได้มีโอกาสกำกับ ณ Mill Pond Theater, Long Island แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่จึงมุ่งสู่ Hollywood ได้รับว่าจ้างจากสถานีโทรทัศน์ NBC กระทั่งได้แต่งงานใหม่กับนักแสดง Jeanne Kelly จึงมีโอกาสเขียนบทหนัง ก่อนอาสาสมัครทหารเข้าร่วม Marine Corps film ทำให้ได้ร่ำเรียนพื้นฐานการสร้างภาพยนตร์, ตีพิมพ์นวนิยายเล่มแรก The Brick Foxhole (1945) ได้รับการดัดแปลงภาพยนตร์ Crossfire (1947) เลยมีโอกาสเขียนบท Brute Force (1947), Key Largo (1948), เซ็นสัญญาสตูดิโอ M-G-M กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Crisis (1950), ผลงานเด่นๆ อาทิ Blackboard Jungle (1955), Cat on a Hot Tin Roof (1958), Elmer Gantry (1960), In Cold Blood (1967), Looking for Mr. Goodbar (1977) ฯ

บทหนัง In Cold Blood ดัดแปลงโดยผกก. Brooks ด้วยความพยายามคงโครงสร้างตามต้นฉบับหนังสือของ Capote แต่ก็มีเพิ่มเติม-ตัดทิ้งรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ อาทิ

  • ตัดทิ้งบุตรสาวผู้รอดชีวิตสองคนของครอบครัว Clutter เพราะพวกเธอไม่ได้อยู่บ้านระหว่างเกิดเหตุฆาตกรรม และในชีวิตจริงแสดงเจตจำนงค์ไม่ต้องการมีส่วนร่วมใดๆกับหนัง (ใจจริงคงไม่อยากให้สร้างด้วยกระมัง แต่คงได้เงินค่าปิดปากเยอะอยู่)
  • เพิ่มเติมตัวละครนักข่าวติดตามคดี (ไม่มีในฉบับนวนิยาย) เพื่อเป็นตัวตายตัวแทน Capote และผกก. Brooks
    • จริงๆแล้ว Capote เคยครุ่นคิดจะสร้างตัวละครนี้เพื่อเทียบแทนถึงตัวตนเอง แต่ตัดสินใจนำออกเพราะ “It’s didn’t make sense!”
  • ก่อนประหารชีวิต Smith ขอผู้คุมเข้าห้องน้ำอีกครั้งสุดท้าย เพื่อไม่ให้ตนเองต้องเสียเกียรติ (indignity) ขายขี้หน้าถ้ามิอาจควบคุมตนเอง
    • เห็นว่าผกก. Brooks ไม่เห็นด้วยกับโทษประหารชีวิต จริงๆอยากจะตัดทิ้งทั้งซีเควนซ์ แต่เพราะมันเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงพยายามทำออกมาให้ดูมีมนุษยธรรมมากที่สุด

I think the crime without motive is really what this is about. The crime itself was senseless, the boys’ lives before that were senseless, and the end is senseless because it solves nothing.

Richard Brooks

เรื่องราวของสองอดีตนักโทษ Perry Smith (รับบทโดย Robert Blake) และ Dick Hickock (รับบทโดย Scott Wilson) นัดพบเจอกันยังสถานีขนส่ง Kansas ร่วมกันปล้นบ้านครอบครัว Clutter เชื่อว่ามีตู้เซฟเก็บเงินสดซุกซ่อนอยู่ ขับรถเดินทางกว่า 800 ไมล์ มาถึงยัง Holcomb, Finney County ค่ำคืนบุกเข้าไปเข่นฆ่าล้างสามี-ภรรยา บุตรชาย-สาว แต่กลับได้เงินมาแค่ 43 เหรียญ และวิทยุหนึ่งเครื่อง

แม้การฆาตกรรมทำอย่างรอบคอบ แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะสาวถึงอดีตนักโทษทั้งสอง แต่ตำรวจ Kansas Bureau of Investigation (KBI) ก็ได้พบเจอหลักฐานมัดตัว ไล่ล่าจับกุม จนสามารถเค้นคำสารภาพจากทั้งสอง ผ่านการไต่สวนคดีความจากสามศาล แต่สุดท้ายก็ไม่รอดพ้นโทษประหารชีวิตแขวนคอ


Robert Blake ชื่อเกิด Michael James Gubitosi (1933-2023) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Nutley, New Jersey ในตอนแรกบิดาทำงานโรงงานผลิตกระป๋อง ก่อนเปลี่ยนมาเป็นนักแสดงร่วมกับลูกๆทั้งสาม ‘The Three Little Hillbillies’ พอเริ่มมีชื่อเสียงก็ออกเดินทางสู่ Hollywood ผลักดันให้พวกเขากลายเป็นตัวประกอบภาพยนตร์ โด่งดังจากภาพยนตร์ซีรีย์ขนาดสั้น Our Gang (1922-44) ส่วนตนเองเอาเงินลูกๆมาดื่มสุรามึนเมา ใช้ความรุนแรง ทุบตีทำร้ายร่างกาย (รวมถึง Sexually Abused) พออายุ 14 เลยตัดสินใจหนีออกจากบ้าน (บิดาฆ่าตัวตายเมื่อปี ค.ศ. 1956) แต่ก็ยังรับงานตัวประกอบภาพยนตร์อย่าง The Treasure of the Sierra Madre (1948) [เล่นเป็นเด็กชายชาวเม็กซิกันขายล็อตเตอรี่ถูกรางวัลให้กับ Humphrey Bogart), โตขึ้นหลังกลับจากเกณฑ์ทหาร หางานไม่ค่อยได้เลยมีอาการซึมเศร้า เสพโคเคน เฮโรอีน กลายเป็นพ่อค้ายา เก็บหอมรอมริดจนสามารถเข้าเรียนคอร์สการแสดง จนได้เป็นตัวประกอบซีรีย์มากมาย รับบทนำครั้งแรก The Purple Gang (1960), โด่งดังพลุแตกกับ In Cold Blood (1967),

รับบท Perry Smith อดีตนักโทษข้อหาลักขโมย ได้รับภาคทัณฑ์เพราะทำตัวดีในเรือนจำ มาถึงยังสถานีขนส่งตามนัดหมายของ Dick Hickock ที่ได้ชักชวนร่วมแผนการปล้นบ้านเศรษฐี โดยให้เขาผู้เคยมีประสบการณ์ฆ่าคน จัดการปิดปากสมาชิกครอบครัว Clutter ไม่ให้หลงเหลือประจักษ์พยาน!

Smith เป็นชายหนุ่มที่ดูสงบ เยือกเย็น แต่บ่อยครั้งมักเหม่อล่องลอย เพ้อฝันกลางวัน หวนระลึกถึงมารดาที่เป็นนักแสดงคล้องม้า (Rodeo) เจ็บแค้นบิดาขี้เมา เคยทุบตี กระทำร้ายมารดา กลายเป็นภาพติดตาฝังใจ เกิดอคติต่อพวกชอบใช้ความรุนแรงกับผู้หญิง(และเด็ก) บางครั้งพบเห็นภาพหลอกหลอนของบิดา ทำให้ไม่สามารถควบคุมตนเอง แยกแยะไม่ออกระหว่างชีวิตจริง-จินตนาการเพ้อฝัน

ผมรู้สึกว่า Blake นำเอาประสบการณ์ของตนเองถ่ายทอดลงในบทบาทนี้อย่างมากๆ ช่างมีความละม้ายคล้ายคลึง เหมือนเกินคาดคิดถึง! ด้วยเหตุนี้เลยสามารถแสดงออกได้อย่างเป็นธรรมชาติ อัดอั้นด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด แม้ตัวละครอธิบายเหตุผลการกระทำไม่ได้ แต่ผู้ชมย่อมค้นพบข้อสรุป ความน่าจะเป็นไปได้ว่าทำไมหมอนี่ถึงกลายเป็นอาชญากร/ฆาตกรเหี้ยมโหดร้าย

ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ Blake ได้รับการติดต่องานมากขึ้น แต่หลังจากแสดงภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย Lost Highway (1997) ชีวิตก็ตกต่ำดำดิ่งสู่ก้นเบื้อง เพราะทำการฆาตกรรมแฟนสาว Bonny Lee Bakley (ผู้เลื่องชื่อในความเป็น ‘gold digger’ แต่งงานมาแล้วถึง 9 ครั้ง!) แต่คณะลูกขุนกลับตัดสินไม่ผิด เชื่อว่าทำไปเพื่ออิสรภาพจากการแต่งงานลวงหลอก! ถึงอย่างนั้นบุตรของ Bakley ฟ้องกลับให้เขารับผิดชอบค่าเสียหาย $30 ล้าน ไม่มีเงินจ่ายเลยยื่นขอล้มละลาย … พอเถอะขี้เกียจอ่านต่อแล้ว

เกร็ด: นวนิยาย Once Upon a Time in Hollywood: A Novel (2021) ของ Quentin Tarantio มีการขึ้นข้อความอุทิศให้ Robert Blake และตัวละคร Cliff Booth (รับบทโดย Brad Pitt) เคยถูกกล่าวหาว่าฆาตกรรมภรรยา ก็ได้แรงบันดาลใจจากบั้นปลายชีวิตของ Blake ผู้นี้นี่แหละ!


Scott Wilson ชื่อเกิด William Delano Wilson (1942-2018) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Atlanta, Georgia วัยเด็กเคยได้รับทุนกีฬาบาสเกตบอล เข้าศึกษาต่อคณะสถาปัตยกรรม Georgia’s Southern Tech University แต่แทนที่จะไปร่ำเรียนหนังสือ กลับโบกรถออกเดินทางสู่ Hollywood เพื่อเติมเต็มความเพ้อฝันนักแสดง ทำงาน เก็บเงินร่ำเรียน สะสมประสบการณ์จากโปรดักชั่นละครเวทีอยู่ห้าปี! กระทั่งได้รับเลือกบทบาทสมทบ In the Heat of the Night (1967) เข้าตาผกก. Richard Brooks แจ้งเกิดทันทีกับ In Cold Blood (1967), น่าเสียดายที่ผลงานส่วนใหญ่เป็นแค่ตัวประกอบ อาทิ The Ninth Configuration (1980), A Year of the Quiet Sun (1984), The Exorcist III (1990), ซีรีย์ The Walking Dead (2011–2014; 2018) ฯ

รับบท Dick Hickock รับรู้เกี่ยวกับตู้เซฟครอบครัว Clutter จากเพื่อนร่วมห้องขัง มีความมุ่งมั่นต้องการปล้นเงินมาใช้ชีวิตสุขสบาย ดูแลบิดาล้มป่วยมะเร็ง เขียนจดหมายถึง Perry Smith ชักชวนมาร่วมงาน ขับรถออกเดินทาง 800 ไมล์ แทบจะคลุ้มบ้าคลั่งเมื่อรับรู้ว่าโดนหลอก บ้านหลังนี้ไม่ได้ตู้เซฟซุกซ่อนอยู่

ท่าทางของ Hickock แตกต่างตรงกันข้ามกับ Smith ดูลุกรี้ร้อนรน กระวนกระวาย พูดน้ำไหลไฟดับ สำหรับปกปิดด้านอ่อนแอ ขี้ขลาดเขลา รวมถึงปมด้อยเรื่องเพศหลังถูกภรรยาทอดทิ้ง (เลยสอบถามโสเภณีที่เม็กซิโก ลีลาของฉันดีพอไหม) ต้องการพิสูจน์ตนเอง พยายามสร้างภาพให้ดูดี โหยหาความรัก และการยินยอมรับจากผู้อื่น

การแสดงของ Wilson มีท่าทางประหม่า พะว้าพะวัง พูดน้ำเสียงสั่นๆ พยายามปกปิด สร้างภาพ ทำตัวเองให้ดูเข้มแข็งแกร่ง … ผมเชื่อว่าทั้งหมดคือการแสดง แต่หลายคนกลับมองว่าเขายังอ่อนด้อยประสบการณ์ เพราะเพิ่งเป็นผลงานเรื่องที่สอง ถึงอย่างนั้นยังต้องชมในความเป็นธรรมชาติ เหมาะสมเข้ากับบทบาทอย่างมากๆ

แม้ว่า Wilson จะมีผลงานติดตามมามากมาย แต่กลับแทบไม่เคยได้รับบทนำ ส่วนใหญ่แค่ตัวประกอบธรรมดาๆทั่วไป ไม่รู้เพราะบทบาทนี้ทำการแสดงได้อย่างสมจริง หรือผู้ชมยังคงจดจำภาพ(บทบาท)ฆาตกร … แต่สามารถอยู่ยืนในวงการภาพยนตร์ ย่อมถือว่าประสบความสำเร็จแล้วละ!

แซว: Truman Capote ครั้งหนึ่งเดินทางมาเยี่ยมเยียนกองถ่ายภาพยนตร์ พบเห็นสองนักแสดง Robert Blake & Scott Wilson เกิดอาการตกตะลึง คาดไม่ถึงว่าผกก. Brooks จะคัดเลือกนักแสดงที่มีใบหน้าละม้ายคล้าย Perry Smith & Dick Hickock เหมือนยังกะแกะ! … ภาพตรงกลางคือสองนักแสดง ส่วนผู้ร้ายซ้ายขวาคือภาพ Mug Shot สองฆาตกรตัวจริงๆ (ตอนหนังเข้าฉายถูกประหารแขวนคอเรียบร้อยแล้ว!)

ถ่ายภาพโดย Conrad Lafcadio Hall (1926-2003) ตากล้องสัญชาติ French Polynesian เกิดที่ Papeete, Tahiti (ขณะนั้นอยู่ภายใต้อาณานิคม French Polynesia) บิดาคือ James Norman Hall ผู้แต่งนวนิยาย Mutiny on the Bounty (1932), โตขึ้นเข้าศึกษาคณะวรสารศาสตร์ University of Southern California แต่เกรดไม่ค่อยดีเคยย้ายไปเรียนภาพยนตร์ USC’s School of Cinema-Television (ปัจจุบันคือ USC School of Cinematic Arts) ได้เป็นลูกศิษย์ของ Slavko Vorkapić, หลังเรียนจบร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นก่อตั้งสตูดิโอ Canyon Films สรรค์สร้างโฆษณา สารคดี หนังสั้น ทำให้ Hall กลายเป็นผู้ช่วยตากล้อง ถ่ายทำซีรีย์ ภาพยนตร์เรื่องแรก Wild Seed (1964), ผลงานเด่นๆ อาทิ Morituri (1965), The Professionals (1966), In Cold Blood (1967), Cool Hand Luke (1967), คว้าสามรางวัล Oscar: Best Cinematography ประกอบด้วย Butch Cassidy and the Sundance Kid (1969), American Beauty (1999) และ Road to Perdition (2002)

ผกก. Brooks ทำการต่อรองสตูดิโอใช้ฟีล์มขาว-ดำ (ล้างฟีล์มในห้องแลป Technicolor) ด้วยอัตราส่วน Anamorphic Widescreen (2.40:1) นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยพบเห็นในภาพยนตร์ Hollywood แถมเวลาถ่ายทำเต็มไปด้วยภาพระยะใกล้ (Medium & Close-Up Shot) … โดยปกติแล้ว Anamorphic Widescreen มักนิยมใช้กับภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ ทิวทัศน์กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา แต่เมื่อต้องมาถ่ายภาพระยะใกล้ ใบหน้าตัวละคร เวลารับในโรงภาพยนตร์มันจะสร้างความอึดอัด กระอักกระอ่วน แถมใบหน้าฆาตกรไม่ได้มีความน่าอภิรมณ์เชยชมสักเท่าไหร่!

นอกจากนี้ยังพยายามใช้แสงจากธรรมชาติ หรือเท่าที่มีอยู่ในฉากนั้นๆ (หลอดไฟ, แสงจากไฟฉาย ฯ) นั่นทำให้ซีเควนซ์ตอนกลางคืน ปกคลุมด้วยความมืดมิดเสียส่วนใหญ่ มอบไม่ค่อยเห็นรายละเอียดอะไร ได้บรรยากาศหนังนัวร์ (จัดเป็น Neo-Noir) สะท้อนจิตใจอันดำมืดของฆาตกร

แต่สิ่งสร้างความหลอกหลอน หนาบเหน็บ สั่นสะท้านทรวงในที่สุด คือสถานที่ถ่ายทำแทบทั้งหมดของหนัง ล้วนเดินทางไปยังสถานที่เกิดเหตุจริง! โดยเฉพาะบ้านของครอบครัว Clutter ที่ River Valley Farm ณ Holcomb, Kansas ได้รับอนุญาตจากเจ้าของใหม่ ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายในบ้าน ค่าตอบแทนคงไม่น้อยเลยละ! … การเลือกใช้สถานที่จริง ยังทำให้หนังเลือนลางระหว่างโลกความจริง (Reality) vs. เรื่องราวสร้างขึ้น (Fictional)


ทุกครั้งที่ Perry Smin เหม่อล่องลอย เพ้อฝันกลางวัน ครุ่นคิดถึงอดีต ความทรงจำวันวานที่แสนหวาน กล้องจะค่อยๆซูมเข้าไปยังใบหน้า หรือวัตถุบางอย่าง (ที่ชวนให้นึกถึงความหลัง) จากนั้นทำการ Cross-Cutting ให้พบเห็นภาพซ้อนปัจจุบัน-อดีต (หรือความเพ้อฝัน)

ตรงกันข้ามกับเมื่อสิ้นสุดช่วงเวลาฝันกลางวัน จะเริ่มจากการ Cross-Cutting หวนกลับหาภาพปัจจุบัน แต่จากนั้นบางครั้งเป็นการซูมออก, Whip Pan ฯ เทคนิคที่ทำให้ผู้ชม/ตัวละครรู้สึกเหมือนตื่นจากความเพ้อฝัน

การอ้างอิงถึงภาพยนตร์ The Treasure of the Sierra Madre (1948) มันยังมีความ ‘Ironic’ สำหรับ Robert Blake เพราะเคยแสดงเป็นเด็กขายล็อตเตอรี่ให้ Humphrey Bogart มาตอนนี้ก็ตามสภาพพบเห็น ตัวละครpy’โหยหาความทรงจำวัยเด็ก เลือนลางระหว่างความจริง vs. จินตนาการเพ้อฝัน

ระหว่างที่ Perry & Dick หลบหนีมาอยู่ยัง Mexico ใช้ชีวิตราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ แต่ไม่ทันไรเงินหมด จำต้องหวนกลับสู่โลกความเป็นจริง! ค่ำคืนนั้น Dick พาโสเภณีชื่อ Nina มาร่วมหลับนอน แต่ Perry กลับอยู่ในสภาพเหงื่อซก ซีดเผือก ครึ่งใบหน้าอาบฉาบด้วยความมืดมิด หวนระลึกถึงเหตุการณ์ที่มารดาคบชู้นอกใจ แล้วถูกบิดาจับได้ ใช้ความรุนแรง พบเห็นต่อหน้า ติดตาฝังใจ

นี่เป็นซีเควนซ์ที่มีความน่าอึ่งทึ่งอยู่ไม่น้อย เพราะใช้การตัดต่อสลับไปมาระหว่างอดีต vs. ปัจจุบัน, ภาพความทรงจำ vs.เหตุการณ์เกิดขึ้นขณะนั้น, มารดาของ Perry vs. โสเภณี Nina, เพื่อให้ผู้ชมตระหนักถึงการกระทำของบิดา กลายเป็นภาพติดตาฝังใจ สร้างอิทธิพล ส่งผลกระทบให้กับบุตรชายมาจนถึงปัจจุบัน

มันไม่ใช่ว่าปลาหมอตายเพราะปาก (Dick ดันพูด ‘Death Flag’ ให้กับตนเองว่า “I feel real lucky tonight”. ก็เลยถูกตำรวจเรียกตรวจโดยพลัน!) แต่เป็นความหลงระเริง เพิกเฉย ครุ่นคิดว่าเดินทางมาไกลขนาดนี้คงไม่ถูกเรียกตรวจ แต่ปรากฎว่ามันคือความซวยแบบ Anti-Climax ผมยังเกาหัวเล็กๆ พลาดกันโง่ๆง่ายๆอย่างนี้เลยเหรอ?

ซีเควนซ์ในห้องสอบเค้นความจริง จะพบเห็นความแตกต่างตรงกันข้ามของคู่หู Perry & Dick ได้อย่างชัดเจน

  • Perry ให้การอย่างสงบเงียบ พูดน้อย เจียมตัว แค่นั่งบิดตัวไปมา กล้องสลับสับเปลี่ยนทิศทาง
  • ตรงกันข้ามกับ Dick ลุกขึ้นเดินไปเดินมารอบห้อง พูดพร่ำอะไรไม่รู้ไม่ยอมหยุดหย่อน แสดงอาการร้อนรน กระวนกระวาย จนในที่สุดเมื่อถูกตำรวจเปิดเผยหลักฐาน ก็ยินยอมรับสารภาพผิด โยนขี้ใส่ Perry โดยพลัน!

นี่เป็นการเปลี่ยนภาพ (Film Transition) ที่น่าประทับใจมากๆครั้งหนึ่ง, Perry ตัดสินใจสารภาพเหตุการณ์ทั้งหมดระหว่างอยู่ในรถตำรวจกำลังเดินทางไปเรือนจำ ‘Cross-Cutting’ มายังตำแหน่งที่หนังค้างๆคาๆไว้ตอนต้นเรื่อง Perry และ Dick ขับรถมาถึงบ้านครอบครัว Clutter … สังเกตว่าใช้มุมกล้องเดิม แถม Perry ยังนั่งตำแหน่งเดิม ทำให้การ ‘Intercutting’ ออกมาแนบเนียน ลื่นไหลมากๆ

วินาทีที่ Perry ตัดสินใจลงมือฆาตกรรมครอบครัว Clutter หนังจงใจตัดสลับไปมา ซูมเข้าออกระหว่างใบหน้าสองบิดา (บิดาครอบครัว Clutter และบิดาของ Perry) ทำให้เขาเกิดความสับสน มึนงง ไม่สามารถแยกแยะระหว่างสองบุคคล เหตุการณ์เบื้องหน้า vs. ความทรงจำอันเลวร้าย … วิธีการเล่าเรื่องเช่นนี้ชัดเจนมากๆว่า ผู้สร้างต้องการแสดงให้เห็นถึง ‘irresistible impulse’ แรงกดดันมิอาจต่อต้านขัดขืน การกระทำที่ตัวละครไม่สามารถควบคุมตนเอง

แม้ในวินาทีสุดท้ายของชีวิต Dick ยังคงพยายามสร้างภาพ ทำตัวเองให้ดูเข้มแข็งแกร่ง ทั้งๆที่ผู้ชมสามารถสังเกตได้ว่าน้ำเสียงสั่นเคลือ ร่างกายสั่นเทา ทุกอากัปกิริยาเต็มไปด้วยอาการขลาดหวาดกลัว คำกล่าวสุดท้าย(พูดเหมือนแสร้งว่า)รู้สึกยินดีที่ตนเองกำลังจะจากโลกนี้ สู่ดินแดนหลังความตายที่น่าจะดีกว่าปัจจุบัน

การขอผู้คุมเข้าห้องน้ำครั้งสุดท้าย เพราะไม่อยากเยี่ยวราดระหว่างถูกประหาร เอาจริงๆผู้คุมจะไม่อนุญาตก็ได้ ใกล้ตายอยู่แล้วยังเรียกร้องโน่นนี่นั่น แต่ซีนเล็กๆที่ผกก. Brooks เพิ่มเข้ามานี้ ผมมองว่าต้องการแสดงความมีมนุษยธรรม เพราะไม่สามารถตัดทิ้งฉากประหาร แต่เราก็ควรให้เกียรติชีวิต เพื่อนร่วมโลก สุดท้ายแล้วไม่มีใครอยากตาย แม้แต่ฆาตกรเลือดเย็นก็ตามที!

สองช็อตที่ผมเลือกมานี้ระหว่างการสารภาพบาปครั้งสุดท้ายของ Perry ภายนอกฝนตกหนัก แสงสาดส่องเข้ามาอาบฉาบใบหน้าราวกับคราบน้ำตาของจิตใจ หวนระลึกถึงตอนที่เคยถูกบิดาขับไล่ออกจากบ้าน วินาทีที่บาทหลวงสอบถาม “I’m glad you don’t hate your father anymore.” ความมืดปกคลุมครึ่งหนึ่งบนใบหน้า “But I do.” ความโกรธเกลียดเคียดแค้นครั้งนั้นยังคงจดจำฝังใจ ศัตรูที่ไม่มีวันให้อภัย

ก่อนขึ้นแท่นประหาร ท่าทางของ Perry ดูสงบเสงี่ยม เตรียมตนเองได้ดีกว่า Dick คำกล่าวสุดท้ายต้องการร้องขอให้อภัย แต่ไม่รู้ว่าจากผู้จากใด และระหว่างขึ้นไปบนแท่นประหาร มองซ้ายมองขวา พบเห็นเพชรฆาตคนหนึ่งหน้าตาเหมือนบิดา “In the presence of mine enemies.” ใช่หรือไม่? หรือแค่ภาพหลอนลวงตา?

ตัดต่อโดย Peter Zinner (1919-2007) สัญชาติ Austria เกิดที่ Vienna ในครอบครัวเชื้อสาย Jews วัยเด็กมีความสนใจด้านดนตรี เข้าศึกษายัง Max Reinhardt Seminar แต่การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง จำต้องอพยพสู่ Philippines ก่อนลงหลักปักฐานยัง Los Angeles เริ่มทำงานขับแท็กซี่ รับเล่นเปียโนระหว่างฉายหนังเงียบ ต่อมาได้เป็นเด็กฝึกงาน 20th Century Fox แล้วย้ายมาเป็นผู้ช่วยตัดต่อ Sound-Effect สตูดิโอ Universal ได้รับเครดิต Music Editor ภาพยนตร์ For the First Time (1959), The Naked Kiss (1964), ก่อนตัดสินใจเลือกแค่งานตัดต่อ อาทิ The Professionals (1967), In Cold Blood (1967), The Godfather (1972), The Godfather Part II (1974), A Star Is Born (1976), The Deer Hunter (1978), An Officer and a Gentleman (1982) ฯ

การดำเนินเรื่องของหนังอ้างอิงจากต้นฉบับนวนิยาย มีลักษณะคู่ขนานระหว่างสองฆาตกร (Perry Smith & Dick Hickock) ในช่วงแรกสลับไปมากับสมาชิกครอบครัว Clutter แต่หลังเหตุการณ์ฆาตกรรม ก็เปลี่ยนมาเป็นตำรวจ KBI (Kansas Bureau of Investigation) ทำการสืบสวนสอบสวน ไล่ล่าติดตามจนสามารถจับกุมตัว สอบเค้นความจริง รับสารภาพผิด ขึ้นศาลพิจารณาคดี และตัดสินโทษประหารแขวนคอ

นอกจากนี้ในส่วนของ Perry Smith หลายต่อหลายครั้ง เหม่อล่องลอย เพ้อฝันกลางวัน (กลางคืนก็มีนะ) และตอนสารภาพเหตุการณ์ฆาตกรรม จะมีการแทรกภาพย้อนอดีต (Flashback) ความทรงจำสมัยยังเป็นเด็ก เพื่อให้ผู้ชมสามารถขบครุ่นคิด บังเกิดความเข้าใจสาเหตุผลการกระทำในปัจจุบัน

แซว: ตอนต้นเรื่องที่จู่ๆตัดทิ้ง กระโดดข้ามซีเควนซ์ฆาตกรรม แวบแรกผมนึกถึง Hays Code แม้ง !@#$% แต่พอระลึกว่าหนังสร้างปี ค.ศ. 1967 ก็เริ่มเอะใจเล็กๆ จนกระทั่งช่วงท้ายใช้การเล่าย้อนขณะยินยอมรับสารภาพผิด นั่นเป็นลีลาล่อหลอกผู้ชมที่น่าประทับใจทีเดียว!

  • ก่อนเหตุการณ์ฆาตกรรม
    • Perry Smith พบเจอกับ Dick Hickock ออกเดินทางไปปล้นบ้านครอบครัว Clutter
    • ตัดสลับคู่ขนานกับวิถีชีวิตของครอบครัว Clutter ในวันเกิดเหตุ
  • ช่วงเวลาหลบหนีเอาตัวรอด
    • ตำรวจพยายามค้นหาเบาะแสคดีฆาตกรรม จนได้ตัวผู้ต้องสงสัย
    • Perry & Dick เดินทางข้ามพรมแดนสู่ Mexico พอเงินหมดสองฆาตกรก็จำใจเดินทางกลับเข้าประเทศ ก่อนถูกจับเพราะรถปล้นมา
  • สองฆาตกรถูกจับกุม
    • สองฆาตกรถูกแยกห้องสอบเค้นความจริง ก่อนที่ Dick จะหลุดปากยินยอมรับสารภาพผิด
    • Perry เล่าย้อนอดีตเหตุการณ์บังเกิดขึ้นค่ำคืนนั้น
    • การพิจารณาคดีความบนชั้นศาล
    • ประหารชีวิตแขวนคอฆาตกรทั้งสอง

ด้วยความที่หนังเต็มไปด้วยการเล่าเรื่องคู่ขนาน จึงมักสรรหาจุดเชื่อมโยง(ด้วยภาพและเสียง)ระหว่างการ ‘film transition’ ที่ทำให้เรื่องราวทั้งสองฟากฝั่งมีความต่อเนื่อง ลื่นไหล เรียกได้ว่าสัมผัสของบทกวี อาทิ

  • กล้องถ่ายรถโดยสาร (Perry เดินทางไปยังสถานีขนส่ง) กำลังเคลื่อนผ่านหน้ากล้อง = ขบวนรถไฟเคลื่อนผ่านสถานี Holcomp บ้านของครอบครัว Clutter อยู่ไม่ห่างไกล
  • บุตรสาวคนเล็กกำลังรับโทรศัพท์ = Perry กำลังโทรศัพท์หาเจ้าหน้าที่ทัณฑ์บน
  • บิดากำลังโกนหนวดในห้องน้ำ = Perry ชำระล้างเท้าในห้องน้ำสถานีขนส่ง
  • แม่บ้านบอกกับตำรวจว่าวิทยุสูญหายไปจากห้อง = Perry เปิดรับฟังข่าวจากวิทยุที่ลักขโมยมานั้น
  • Perry โยนอะไรสักอย่างทิ้งลงสะพาน = ตำรวจกำลังงมหาอาวุธปืนจากแม่น้ำ
  • Perry ในรถตำรวจกำลังเล่าเหตุการณ์ค่ำคืนฆาตกรรม = มุมกล้องเดียวกันแต่เปลี่ยนเป็นรถของ Perry & Dick ขับมาถึงบ้านของครอบครัว Clutter

ยกตัวอย่างแค่พอหอมปากหอมพอนะครับ ความต่อเนื่องเหล่านี้สร้างผลลัพท์ที่แตกต่างจากนวนิยาย เพราะผู้ชมจะรู้สึกเหมือนมีบางสิ่งอย่างเชื่อมโยงระหว่างสองฟากฝั่ง

In the book, the effect of cutting back and forth between the killers and the Clutters is to make us see the two as inhabiting entirely separate universes. In the film, on the other hand, though the extremes of these lives are not entirely continuous, we feel that the characters all belong to the same world.

นักวิจารณ์ Chris Fujiwara ในบทความที่ Criterion

ผู้แต่งนวนิยาย Capote พยายามล็อบบี้อยากได้นักแต่งเพลง Leonard Bernstein (On The Waterfront, West Side Story) ไม่เข้าใจว่าทำไมผกก. Brooks ถึงต้องการ Quincy Jones มาทำเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ไม่มีนักแสดงผิวสีสักคน?

Truman Capote: “Richard, I don’t understand why you’ve got a Negro doing the music for a film with no people of color in it.”

Richard Brooks: “Fuck you, he’s doing the music”

เกร็ด: แม้ภายหลัง Capote จะกล่าวขอโทษกับ Jones แต่มันก็สายเกินที่จะให้อภัย ชัดเจนว่าอีกฝ่ายเป็นคนประเภทไหน

After I get an Oscar nomination and he sees the film, he calls up: ‘Oh, Quincy, I’m so sorry’ and on and dun dun dun dun… That pisses me off, too.

Quincy Jones กล่าวถึง Truman Capote

เพลงประกอบโดย Quincy Delight Jones Jr. (เกิดปี 1933) นักแต่งเพลง American Jazz เกิดที่ Chicago, Illinois เมื่อตอนอายุ 14 พบเห็น Ray Charles (ขณะนั้นอายุ 16 ปี) เล่นดนตรีในไนท์คลับ Black Elks Club เกิดความชื่นชอบหลงใหล ตัดสินใจเอาจริงจังด้านนี้ ได้รับทุนการศึกษาต่อ Berklee College of Music แต่ไม่นานก็ลาออกเพื่อเข้าร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับ Lionel Hampton, และยังเดินทางท่องยุโรปกับ Harold Arlen, จากนั้นมีโอกาสร่วมงานศิลปินชื่อดังมากมาย จนกระทั่งผู้กำกับ Sidney Lumet ชักชวนมาทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแรก The Pawnbroker (1964), ผลงานเด่นๆ อาทิ Walk, Don’t Run (1966), The Deadly Affair (1967), In Cold Blood (1967), In the Heat of the Night (1967), The Italian Job (1969), The Getaway (1972), The Color Purple (1985) ฯ

มันไม่ได้เกี่ยวกันว่านักแต่งเพลงผิวสี จะไม่สามารถทำเพลงประกอบภาพยนตร์ที่มีแค่คนขาว แต่คือเรื่องราวของคนนอกคอก สังคมไม่ให้การยินยอมรับฆาตกร … นั่นไม่ต่างอะไรจากคนดำในสหรัฐอเมริกา ทศวรรษนั้นยังโดนดูถูกเหยียดหยาม เต็มไปด้วยความเก็บกด อัดอั้นอารมณ์เกรี้ยวกราด

Main Theme เริ่มต้นด้วยความอลังการของ Big Band/Jazz Orchestra สร้างบรรยากาศหลอนๆ สัมผัสอันตราย ความตายคืบคลานเข้ามา เสียงติก-ติก-ติก ต็อก-ต็อก-ต็อก เหมือนนาฬิกากำลังนับถอยหลัง ออกเดินทาง มาถึงยังเป้าหมาย เสียงแซ็กโซโฟนปลุกเร้าความรู้สึกภายใน จากนั้นบุกเข้าไป ลงไม้ลงมือ ปฏิบัติตามแผน แล้วทุกสิ่งอย่างก็จบสิ้นลง

Clutter Family Theme มีท่วงทำนองเคลิบเคลิ้ม ล่องลอย ฟังแล้วรู้สึกเบาสบาย ผ่อนคลาย ราวกับอยู่ในดินแดนแห่งความเพ้อฝัน สรวงสวรรค์ อุดมคติอเมริกัน มันช่างขัดย้อนแย้งกับบทเพลงอื่นๆของหนังโดยสิ้นเชิง!

ทั้งๆที่ Perry Smith คือหนึ่งในฆาตกรเลือดเย็น แต่บทเพลง Perry’s Theme กลับมีท่วงทำนองเศร้าๆ เหงาๆ เริ่มจากเสียง Spanish Guitar รำพันความเจ็บปวดจากการสูญเสียมารดา โหยหาความรัก ต้องการใครสักคนเคียงข้างกาย กล่อมเข้านอนหลับฝันดี … บทเพลงนี้แสดงให้เห็นว่าฆาตกรไม่ได้มีแต่ความโฉดชั่วร้าย เลวทรามต่ำช้าเสมอไป ทุกสิ่งอย่างล้วนมีเหตุผล อิทธิพล แรงจูงใจ

เสียงออร์แกนในบทเพลง Murder Scene สร้างความหลอกหลอน ขนลุกขนพอง หนาวเหน็บ เย็นยะเยือก สั่นสะท้านทรวงใน แถมเวลาบรรเลงแต่ละครั้งมักกดเสียงลากยาวววว ราวกับลมหายใจใกล้ขาดห้วง เฮือกสุดท้าย ก่อนสิ้นใจตาย ช่างมีความสอดคล้องเข้ากับวินาทีที่ Perry จู่ๆเหมือนควบคุมตนเองไม่ได้ กระทำการฆาตกรรมยกครอบครัว (ทั้งๆก่อนหน้านี้เพิ่งช่วยเหลือเด็กหญิงรอดพ้นจากการถูกคู่หูข่มขืน)

เช่นเดียวกับบทเพลง The Corner ก็ยังได้ยินเสียงออร์แกนเช่นเดียวกัน แต่ความตายครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ ฆาตกรไม่สามารถควบคุมตนเอง มันคือความถูก-ผิด ตัดสินกันด้วยเหตุ-ผล กฎหมายบ้านเมือง โทษประหารชีวิตแขวนคอ เพื่อไม่ให้คนชั่วร้ายลอยนวลในสังคม … ตบท้ายด้วยเสียงรัวกลอง ก้าวเดินสู่ความตาย

In Cold Blood (1967) นำเสนอเรื่องราวฆาตกรเลือดเย็น (Senseless Murder) ทำการเข่นฆ่าล้างครอบครัวที่พวกเขาไม่เคยพบเจอ รับรู้จัก หรือมีความบาดหมายใดๆ เพียงเพราะต้องการปล้นเงินจากตู้เซฟ (ที่ไม่มีอยู่จริง) และจัดการปิดปากประจักษ์พยานให้รอดพ้นความผิด

จริงอยู่ว่าเหตุการณ์ฆาตกรรมนี้เกิดขึ้นแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย ไม่มีใครสามารถคาดคิดถึง แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนมีเหตุผล แรงจูงใจ ที่มาที่ไป ไม่ใช่แค่สองฆาตกรต้องการปล้นเงิน ทั้งนวนิยายและภาพยนตร์ต่างพยายามแสดงให้ถึงอิทธิพลแวดล้อม สภาพสังคม โดยเฉพาะครอบครัวที่พวกเขาเติบโตขึ้นมา

  • Perry Smith น่าจะมีปม Opedix Complex รักแม่ รังเกียจพ่อที่ชอบใช้ความรุนแรง (กับมารดาและตนเอง) ทำให้เวลานึกถึงอีกฝ่ายเมื่อไหร่ จะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ต้องกระทำบางสิ่งอย่างเพื่อเอาคืน โต้ตอบกลับ
  • Dick Hickock เพราะครอบครัวติดหนี้สิน หนำน้ำถูกภรรยาหย่าร้าง จึงเกิดปมด้อยทางเพศ ต้องการพิสูจน์ตนเอง ปล้นเงินเพื่อนำมาดูแลครอบครัว

การกระทำของ Perry & Dick ไม่มีข้อแก้ตัว ไร้หนทางแก้ต่าง แต่ผกก. Brooks เคยให้สัมภาษณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับการตัดสินโทษประหาร อยากจะหลีกเลี่ยงไม่นำเสนอฉากแขวนคอเสียด้วยซ้ำ เพราะถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจเบื้องหลัง ที่มาที่ไป แรงจูงใจของทั้งสอง จะพบว่าพวกเขาก็คือจำเลยสังคม เหยื่อของอุดมคติอเมริกันชน อยากได้อยากมี โหยหาความร่ำรวย ชีวิตสุขสบาย ไม่สามารถควบคุมความต้องการของตนเอง ‘irresistible impulse’ 

ผมไม่ค่อยแน่ใจตัวตนของผู้แต่ง Capote ทั้งๆสามารถเขียนหนังสือที่ตีแผ่เบื้องหลัง อิทธิพล เข้าใจธาตุแท้ฆาตกร แต่เพราะเคยแสดงความคิดเห็นรังเกียจเหยียดยาม (Racist) ไม่เห็นด้วยต่อการให้ Quincy Jones ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ … คงไม่ผิดอะไรจะเรียกหมอนี่ว่า ‘White Trash’

เหตุผลที่ Capote สามารถเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของฆาตกร เพราะบิดาคนที่สอง (หลังมารดาแต่งงานใหม่) José García Capote เคยถูกจับข้อหาฉ้อฉล ติดคุกติดตาราง จน(เขาและมารดา)ต้องหลับนอนในสวนสาธารณะ พบเห็นความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะของวิถีอเมริกันชน ตลอดทั้งชีวิตเลยจมอยู่กับความเกรี้ยวกราด โหยหาบิดา รังเกียจมารดา ดื่มเหล้า เสพยา รักร่วมเพศ เสียชีวิตจากภาวะตับวายเฉียบพลัน (Liver Disease) เนื่องจากย่อยสลายสารเสพติดไม่ทัน (Drug Intoxication) … ฆาตกรทั้งสองต่างคือตัวตายตัวแทน Truman Capote เลยก็ว่าได้!


ด้วยความที่ยุคสมัยนั้นยังไม่มีการจัดเรตติ้ง (Hays Code กำลังล่มสลาย) แต่ก็มีขึ้นข้อความ “For Mature Audiences” ห้ามไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 17 นอกเสียจากอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง, ด้วยทุนสร้าง $3.5 ล้านเหรียญ สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกาได้กว่า $13 ล้านเหรียญ ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม!

ช่วงปลายปีได้เข้าชิง Ocar และ Golden Globe หลายสาขา แต่ผมไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมถึงถูก SNUB สาขาตัดต่อที่ถือเป็นไฮไลท์ของหนัง!

  • Academy Award
    • Best Director
    • Best Adapted Screenplay
    • Best Cinematography
    • Best Original Score
  • Golden Globe Award
    • Best Motion Picture – Drama

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 4K โดย Criterion Collection แต่ฉบับ DVD/Blu-Ray จัดจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2015 ยังมีคุณภาพแค่ 2K อยู่นะครับ (แต่เชื่อว่าคงเตรียมออก 4K UHD ในอีกไม่ช้านาน)

ระหว่างรับชมผมไม่ได้ประทับใจอะไรมากนัก รู้สึกก็แค่หนังฆาตกรรมทั่วๆไป ถ่ายภาพนัวร์ๆ ตัดต่อเนียนๆ เพลงประกอบแจ๊สๆ แต่พอติดตามอ่านบทความวิจารณ์ต่างประเทศ เลยตระหนักถึงแนวคิด อิทธิพล เข้าใจเหตุผลที่มาที่ไป เลยบังเกิดความชื่นชอบหลงใหลขึ้นมาพอสมควร

แนะนำอย่างยิ่งสำหรับตำรวจ ทนายความ จิตแพทย์ นักอาชญากรวิทยา ทำงานเกี่ยวกับคดีฆาตกรรม และระบบยุติธรรม ภาพยนตร์เรื่องนี้น่าจะเปิดโลกทัศน์ ความเข้าใจอาชญากร มันไม่มีอะไรบนโลกที่ไร้เหตุผล ไม่มีที่มาที่ไป แค่เราจะสามารถขบครุ่นคิด ค้นพบข้อสรุปนั้นได้หรือเปล่า

จัดเรต 18+ กับความเลือดเย็น ฆาตกรรมไร้เหตุผล

คำโปรย | In Cold Blood อาจดูเหมือนคดีฆาตกรรมเลือดเย็น ไร้เหตุผล แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนมีที่มาที่ไปที่น่าหวาดสะพรึงยิ่งนัก!
คุณภาพ | ลืย็
ส่วนตัว | น่าสะพรึง

Le Procès (1962)


The Trial (1962) French : Orson Welles ♥♥♥♥

ไม่ใช่ดัดแปลงแต่ได้แรงบันดาลใจจากนวนิยายเขียนไม่เสร็จของ Franz Kafka นำเสนอการพิจารณา(คดีความ)ตัวตนเองของผู้กำกับ Orson Welles ฉันกระทำความผิดอะไร ถึงถูกขับไล่ ผลักไส จำใจต้องออกจาก Hollywood

เช้ายังไม่ทันลุกขึ้นจากเตียง Josef K. ถูกตำรวจนอกเครื่องแบบบุกเข้ามาในห้องพัก บอกว่าคุณโดนจับกุมโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา สร้างความสับสน มึนงง แล้วฉันกระทำความผิดอะไร? ก้าวออกเดินจากสถานที่แห่งหนึ่ง ไปสู่สถานที่เหนือจริงอีกแห่งหนึ่ง พยายามค้นหาข้อแก้ตัว หนทางแก้ต่าง ตกอยู่ในสถานการณ์สุดบ้าคลั่ง หวาดระแวง สิ้นหวัง นี่มันคือฝันร้าย!

Orson Welles คือผู้กำกับอัจฉริยะ สรรค์สร้างผลงานเรื่องแรกก็ทำให้โลกตกตะลึง Citizen Kane (1941) แต่แทนที่เส้นทางจะโรยด้วยกลีบกุหลาบ ผลงานถัดๆมากลับถูกโปรดิวเซอร์เข้ามาแทรกแซง แย่งไปตัดต่อ ไม่ก็เกิดปัญหาวุ่นๆวายๆระหว่างโปรดักชั่น สูญเสียอิสรภาพในความคิดสร้างสรรค์ The Magnificent Ambersons (1942), The Lady from Shanghai (1947), Mr. Arkadin (1955), Touch of Evil (1958) ฯ จนถูกสตูดิโอ Hollywood ขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) ไม่ให้งาน ไม่มีเงิน เลยจำใจต้องออกเดินทางสู่ยุโรป … สรุปแล้วฉันกระทำความผิดอะไร?

ผมเห็นชื่อหนัง The Trial (1962) ก็ครุ่นคิดว่ามันคงเป็นการพิจารณาคดีอะไรสักอย่าง แถมชื่อผกก. Welles ต้องจัดจ้าน มุมกล้องแปลกประหลาด เริ่มต้นด้วยอนิเมชั่นตั้งคำถามเกี่ยวกับกฎหมาย ก็สร้างความแรกประทับใจได้อย่างล้นหลาม! แต่หลังจากนั้นก็เริ่มเกาหัว นวดขมับ นี่กรูกำลังรับชมห่าเหวอะไรอยู่เนี่ย กลายเป็นโคตรหนังอาร์ทจัดๆ Surrealist, Avant-Garde ทุกถ้อยคำล้วนแฝงนัยยะความหมายสุดลึกล้ำ … แม้งไม่ได้มีความเป็น Courtroom Drama เลยสักนิด!

ทีแรกก็สองจิตสองใจว่าจะเขียนบทความนี้เลยไหม หรือดองไว้ตอนหวนกลับมาปรับปรุง Citizen Kane (1941) แต่ไหนๆก็หลวมตัวแล้ว เลยเอาว่ะ เท่าที่ดูรู้เรื่อง! … ผมไม่ได้เตรียมตัวระหว่างรับชม จึงสามารถทำความเข้าใจได้บางส่วนเท่านั้นนะครับ แต่ก็น่าจะเพียงพอแนะนำคนที่ดูไม่รู้เรื่องให้พอมองเห็นทิศทางของหนัง จัดระดับความยากสูงสุด (Veteran)


ก่อนอื่นคงต้องกล่าวถึง Franz Kafka (1883-1924) นักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น เกิดที่ Prague, Austria-Hungary (ปัจจุบันคือ Czech Republic) ในครอบครัวชนชั้นกลาง พูดภาษาเยอรมัน เชื้อสาย Jewish, โตขึ้นสามารถสอบเข้า Deutsche Karl-Ferdinands-Universität ในตอนแรกเลือกสาขาเคมี แต่ผ่านไปสองสัปดาห์เปลี่ยนสาขากฎหมาย ระหว่างนั้นยังได้เรียนเยอรมันศึกษา ประวัติศาสตร์ศิลปะ และเข้าร่วมชมรมวรรณกรรม ทำให้มีโอกาสอ่านผลงานของนักเขียนชื่อดังมากมาย Fyodor Dostoyevsky, Gustav Flaubert, Nikolai Gogol, Franz Grillparzer, Heinrich von Kleist และ Goethe เลยเกิดความสนใจด้านนี้อย่างจริงจัง! มักใช้เวลาว่างหลังเลิกงานในการเขียนเรื่องสั้น ผลงานเรื่องแรก Betrachtung [แปลว่า Contemplation] ตีพิมพ์ลงนิตยสารรายปักษ์ Hyperion ระหว่างปี ค.ศ. 1904-12

ลีลาการเขียนมีคำเรียก Kafkaesque มักนำพาตัวละครพานผ่านสถานการณ์พิลึกพิลั่น คาบเกี่ยวระหว่างความจริง (Realism) จินตนาการเพ้อฝัน (Fantasy หรือ Surrealism) มักสะท้อนความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะของระบบราชการ (Bureaucracy) ใช้อำนาจในทางมิชอบ (Unreachable Authority) เลยทำให้รู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง (Alienation) ตกอยู่ในความหมดสิ้นหวัง (Existential Despair), ผลงานเด่นๆ อาทิ Die Verwandlung (1915) [แปลว่า The Metamorphosis], Der Process (1925) [แปลว่า The Trial], Das Schloss (1926) [แปลว่า The Castle] ฯ

สำหรับ Der Process (หรือจะเขียนว่า Der Proceß, Der Prozeß, Der Prozess) แปลว่า The Trial นวนิยายเขียนขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1914-15 แต่ค้างๆคาๆตอนจบ เหมือนไม่รู้จะให้ตัวละครลงเอยอย่างไรดี เลยไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ระหว่างยังมีชีวิตอยู่ (ตีพิมพ์ Posthumously เมื่อปี ค.ศ. 1925) เห็นว่าได้แรงบันดาลใจจากสองผลงานของ Fyodor Dostoevsky เรื่อง Crime and Punishment (1866) และ The Brothers Karamazov (1880)

เกร็ด: นวนิยาย The Trial (1925) ได้รับการโหวตติดอันดับ #3 ชาร์ทหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส Le Monde: 100 Books of the Century (1999) และอันดับ #2 Best German Novels of the Twentieth Century (1999)


George Orson Welles (1915-85) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Kenosha, Wisconsin บิดาเป็นนักประดิษฐ์ Gadget แต่ติดเหล้าเลิกทำงาน ส่วนแม่เป็นนักเปียโน เคยชื่นชอบหลงใหลในดนตรี แต่หลังจากเธอเสียชีวิตเลยเลิกเอาดีด้านนี้, ครั้งหนึ่งเคยไปพักร้อนยังคฤหาสถ์หรูที่ Wyoming, New York เป็นเพื่อนเล่นของ Aga Khan และ Prince Aly Khan พบเห็นชีวิตชนชั้นสูงที่น่าอิจฉาริษยายิ่ง! โตขึ้นได้ทุนเข้าศึกษาต่อ Harvard University แต่เอาเงินที่ได้(และกองมรดก) ออกท่องเที่ยวยุโรป ระหว่างอยู่ Dublin สมัครเป็นนักแสดง Gate Theatre อ้างว่าตนเองเคยขึ้นเวที Broadway แม้ไม่มีใครเชื่อแต่ก็ต้องยินยอมรับความสามารถ จนได้รับโอกาสกลายเป็นนักแสดงละครเวทีจริงๆ, เมื่อหวนกลับอเมริกาได้งานเขียนบท ตามด้วยละครวิทยุ เข้าร่วม Federal Theatre Project (1935-39) แล้วออกมาก่อตั้ง Mercury Theatre จัดรายการ The Mercury Theatre on the Air โด่งดังจนเข้าตา Hollywood เซ็นสัญญา RKO Radio Pictures และกำกับหนังยาวเรื่องแรก Citizen Kane (1941)

เมื่อปี ค.ศ. 1960, Welles ได้รับการติดต่อเข้าหาโดยโปรดิวเซอร์ Alexander Salkind ในตอนแรกชักชวนให้ดัดแปลงนวนิยายประวัติศาสตร์ Taras Bulba (1835) แต่ยังไม่ทันได้เริ่มโปรเจคค้นพบว่าถูกชิงตัดหน้า กำลังมีการสรรค์สร้างภาพยนตร์ Taras Bulba (1962) นำแสดงโดย Yul Brynner และ Tony Curtis

ด้วยเหตุนี้ Salkind เลยนำเอารายการหนังสือกว่า 82 เล่มที่เป็นสาธารณสมบัติ (Public Domain) มาให้ผกก. Welles ก่อนตัดสินใจเลือก The Trial (1925) ของ Franz Kafka … แต่ภายหลังค้นพบว่านวนิยายเล่มนี้ยังไม่ได้เป็นสาธารณสมบัติ โปรดิวเซอร์เลยติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงภาพยนตร์จากทายาท ก็แค่นั้น!

เกร็ด: เหตุผลหนึ่งที่ Welles ตัดสินใจเลือกนวนิยาย The Trial (1925) เพราะเคยครุ่นคิดอยากดัดแปลงฉบับละครเวที แต่เมื่อไม่เคยมีโอกาสนั้น ฉบับภาพยนตร์ก็น่าสนใจดี!

Welles ใช้เวลาถึงหกเดือนในการพัฒนาบทภาพยนตร์ เริ่มต้นด้วยการลำดับบทในนวนิยายเสียใหม่ (ต้นฉบับของ Kafka ไม่ได้ใส่เลขบท แต่การตีพิมพ์นวนิยายจำเป็นต้องมีลำดับ เรียบเรียงโดยเพื่อนสนิท/ผู้จัดการมรดก Max Brod) ถ้ายึดตามเลขบทที่ติดพิมพ์ ทำการปรับเปลี่ยนเป็น 1-4-2-5-6-3-8-7-9-10

นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเล็กๆน้อยๆมากมาย เพื่อให้เข้ากับสไตล์ Wellesian อาทิ เริ่มต้นเรื่องเล่าด้วย Pinscreen animation, การตีความตัวละคร Josef K. รวมถึงความสัมพันธ์กับสาวๆ, และตอนจบที่ต้นฉบับนวนิยายจะถูกแทงเสียชีวิต มาเป็นโดนระเบิดที่แลดูเหมือนเมฆรูปเห็ด (Mushroom Cloud)

ผู้สัมภาษณ์: So it’s not a film of the book, it’s a film based on the book?

Orson Welles: Not even based on. It’s a film inspired by the book, in which my collaborator and partner is Kafka. That may sound like a pompous thing to say, but I’m afraid that it does remain a Welles film and although I have tried to be faithful to what I take to be the spirit of Kafka, the novel was written in the early twenties, and this is now 1962, and we’ve made the film in 1962, and I’ve tried to make it my film because I think that it will have more validity if it’s mine.


ระหว่างที่ Josef K. (รับบทโดย Anthony Perkins) กำลังหลับนอนอยู่ในห้อง จู่ๆตำรวจนอกเครื่องแบบบุกเข้ามาตรวจค้น แจ้งว่าอีกฝ่ายถูกจับกุม โดยไม่แจ้งข้อกล่าวหากระทำความผิดอะไร จากนั้นก็จากไปโดยไม่พาไปโรงพัก ปล่อยให้เขาตกอยู่ในความสับสน มึนงง ไม่รู้จะทำอะไรยังไง

เรื่องราวต่อจากนี้ Josef K. จะเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ พบเจอบุคคลมากมาย พยายามหาข้อแก้ตัว หนทางแก้ต่าง แต่ก็ไม่มีอะไรคืบหน้า พบเห็นเพียงพฤติกรรมคอรัปชั่น โดยเฉพาะทนายความ Albert Hastler (รับบทโดย Orson Welles) ยังเคยข่มขู่ อวดอ้างอำนาจ ท้ายที่สุดแล้วชายหนุ่มก็ถูกควบคุมตัวโดยเพชฌฆาตสองคน พาออกนอกเมืองเพื่อทำการ…


Anthony Perkins (1932-92) นักร้อง/นักแสดง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City, บิดาคือนักแสดงหนังเงียบ Osgood Perkins (Scarface (1932)) พลันด่วนเสียชีวิตขณะบุตรชายอายุได้เพียง 3 ขวบ อาศัยอยู่กับมารดาสานสัมพันธ์เลสเบี้ยนกับเพื่อนสาว นั่นทำให้เด็กชาย Perkins เหมือนจะไม่ค่อยชื่นชอบผู้หญิงนัก! ตัดสินใจดำเนินตามรอยเท้าบิดา ช่วงวันหยุดฤดูร้อนระหว่าง ค.ศ. 1947-50 เข้าร่วมคณะการแสดงละคอนเวที (มีคำเรียกว่า Summer Stock Company), ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย Columbia University ได้รับเลือกแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก The Actress (1953), แจ้งเกิดกับ Friendly Persuasion (1956) ได้เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actor,โด่งดังพลุแตกกับ Psycho (1960) แต่กลับทำให้กลายเป็น ‘typecast’ ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Tin Star (1957), Goodbye Again (1961), The Trial (1962), Catch-22 (1970), Murder on the Orient Express (1974) ฯ

รับบท Josef K. ระหว่างหลับนอนฝันร้าย จู่ๆตำรวจบุกเข้ามาในห้องพัก ทั้งๆไม่รับรู้ว่าตนเองเคยกระทำความผิดอะไร กลับแสดงอาการลุกรี้ลุกรน กระวนกระวาย เหมือนมีลับลมคมใน พูดอธิบายรวดเร็วติดจรวด เต็มไปด้วยสารพัดข้ออ้าง พยายามหาหนทางแก้ต่าง แต่ฟังไม่ค่อยรู้เรื่องสักสิ่งอย่าง! จากนั้นออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ พยายามพิสูจน์ตนเอง ขอความช่วยเหลือจากทนายความ กลับไร้ความคืบหน้าประการใด หนำซ้ำยังถูกชี้นิ้วออกคำสั่ง พอปฏิเสธทำตามเลยถูกลากไปฆ่าปิดปาก

ผกก. Welles ตีความหนังในลักษณะ Black Comedy จึงให้คำแนะนำ Perkins ทำการแสดงอย่างกระตือรือร้น ลุกลี้ร้อนรน เหมือนคนไม่สามารถควบคุมตนเอง (Hyperactive) ทั้งยังมีอาการหวาดระแวง (Paranoid) วิตกจริต พยายามสรรหาถ้อยคำแถลง มาอธิบายทุกๆการกระทำ

I made him more active in the proper sense of the word. I do not think there is any place for passive characters in a drama.

Orson Welles กล่าวถึงตัวละคร Josef K.

Perkins มีความกระตือลือร้นอยากร่วมงานผกก. Welles แม้เสียงตอบรับของหนังเมื่อตอนออกฉายจะย่ำแย่ ถูกมองว่าคือข้อผิดพลาดใหญ่สุดของหนัง แต่ภายหลังเขาเคยให้สัมภาษณ์บอกว่า “greatest professional pride” เป็นประสบการณ์ทำงานยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิต!

ด้วยความที่ผกก. Welles รับรู้ว่า Perkins มีรสนิยมรักร่วมเพศ (Homosexual) จึงจงใจให้สาวๆ (Jeanne Moreau, Romy Schneider และ Elsa Martinelli) ประกบติดชิดใกล้ แล้วทำการหยอกเย้า ยั่วอารมณ์ นั่นทำให้ปฏิกิริยาแสดงออกของ Perkins (ที่เป็นเกย์) ดูกระอักกระอ่วน กล้ำกลืนฝืนทน พูดไม่ออกบอกไม่ถูก … นักวิจารณ์ Roger Ebert ตีความผลลัพท์ดังกล่าวได้อย่างน่าสนใจ ทำให้หนังแฝงนัยยะการกดขี่ทางเพศได้ด้วยเช่นกัน!

It was intentional on Orson’s part: He had these three gorgeous women (Jeanne Moreau, Romy Schneider, Elsa Martinelli) trying to seduce this guy, who was completely repressed and incapable of responding. That provides an additional key to the film, which could be interpreted as a nightmare in which women make demands Joseph K is uninterested in meeting, while bureaucrats in black coats follow him everywhere with obscure threats of legal disaster.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 4/4

เกร็ด: ผกก. Welles อ้างว่าได้ทำการพากย์เสียงตัวเองทับบทพูดของ Perkins อยู่หลายครั้ง เคยท้าทายให้อีกฝ่ายค้นหาว่ามีแก้ไขตรงไหน แต่ดูจนจบเขาก็ตอบไม่ได้ แยกแยะไม่ออก … แล้วใครไหนจะแยกแยะออกกันเล่า?


Orson Welles รับบททนายความ Albert Hastler (ในหนังมักเรียก The Advocate แปลว่าทนาย, ผู้แทนในทางกฎหมาย) พบเห็นวันๆนอนป่วยอยู่บนเตียง คลอเคลียกับแฟนสาว เต็มไปด้วยถ้อยคำกล่าวอ้าง พบเจอบุคคลสำคัญโน่นนี่นั่น แท้จริงเป็นเช่นนั้นไหมไม่รู้ แต่หมักดองคดีความของ Bloch ไว้นานหลายปี แถมยังมีพฤติกรรมบ้าอำนาจ บีบบังคับให้อีกฝ่ายก้มหัวศิโรราบ จนทำให้ Josef K. หมดสูญสิ้นศรัทธา ปฏิเสธให้เขาว่าความในคดีของตนเอง

ในตอนแรก ผกก. Welles ทำการติดต่อ Jackie Gleason เพื่อให้มารับบท Albert Hastler (ส่วนตนเองแสดงเป็นบาทหลวง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความเชื่อ ศรัทธาศาสนา) แต่พออีกฝ่ายตอบปัดปฏิเสธ เขาเลยจำต้องเปลี่ยนมาเล่นบทบาทนี้ด้วยตนเอง น่าจะเป็นตัวละครคอรัปชั่นที่สุดในหนังแล้วกระมัง!

การแสดงของ Welles อาจไม่ได้มีอะไรให้กล่าวถึงนัก แต่การเลือกรับบทบาทนี้อาจทำให้หลายๆคนพยายามครุ่นคิดตีความ ว่าเคลือบแฝงนัยยะบางอย่างไว้ไหม? ผมว่าไม่จำเป็นนะ นักวิจารณ์ Roger Ebert แสดงความคิดเห็นไว้ว่า ตัวละครนี้อาจเปรียบได้กับโปรดิวเซอร์ Alexander Salkind

Welles plays the Advocate, there is a tendency to think the character is inspired by him, but I can think of another suspect: Alexander Salkind, producer of “The Trial” and much later of the “Superman” movies, who like the Advocate, liked people to beg for money and power that, in fact, he did not always have.

นักวิจารณ์ Roger Ebert

เกร็ด: ด้วยความที่หนังยุโรปทศวรรษนั้นยังไม่นิยมใช้การบันทึกเสียง ‘sound-on-film’ ผกก. Welles จึงทำการพากย์เสียงแทนนักแสดง ไม่ใช่แค่ตัวละครของ Perkins แต่เห็นว่านับจำนวนได้ 11 คน!


ถ่ายภาพโดย Edmond Richard (1927-2018) ตากล้องสัญชาติฝรั่งเศส ผลงานเด่นๆ อาทิ The Trial (1962), Chimes at Midnight (1965), The Discreet Charm of the Bourgeoisie (1972), The Phantom of Liberty (1974), That Obscure Object of Desire (1977), Les Misérables (1982) ฯ

งานภาพสไตล์ Wellesian แพรวพราวด้วยลูกเล่น สารพัดเทคนิคภาพยนตร์ ตั้งแต่การจัดวางองค์ประกอบ มุมก้ม-เงย ระยะใกล้-ไกล มีความคมชัดลึก (Deep Focus) กล้องเคลื่อนเลื่อนอย่างโฉบเฉี่ยว หลายครั้งถ่ายทำแบบ ‘long take’ และมักมีการออกแบบสร้างฉากที่มอบสัมผัสเหนือจริง (Surrealist) เต็มไปด้วยนัยยะสัญลักษณ์ซุกซ่อนเร้นมากมาย

แม้พื้นหลังของ The Trial (1962) จะไม่มีการระบุสถานที่ แต่มันไม่ใช่แห่งหนไหนก็ได้ทั้งนั้น! ใจจริงของผกก. Welles อยากเดินทางไปถ่ายทำยังกรุง Prague, Czechoslovakia สถานที่บ้านเกิดของผู้แต่ง Kafka แต่ถูกปฏิเสธโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์! เลยจำต้องเบนเป้าหมายไปยังประเทศอื่นในละแวก Central Eurpean ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของ Austro-Hungarian ก่อนตัดสินใจเลือก Zabreb, Yugoslavia (ปัจจุบันคือประเทศ Croatia)

It seems to me that the story we’re dealing with is said to take place “anywhere”. But of course there is no “anywhere.” When people say that this story can happen anywhere, you must know what part of the globe it really began in. Now Kafka is central European and so to find a middle Europe, some place that had inherited something of the Austro-Hungarian empire to which Kafka reacted, I went to Zagreb. I couldn’t go to Czechoslovakia because his books aren’t even printed there. His writing is still banished there.

The last shot was in Zagreb, which has old streets that look very much like Prague. But you see, capturing that flavor of a modern European city, yet with it’s roots in the Austro-Hungarian empire wasn’t the only reason why we shot in Yugoslavia. The other reason was that we had a big industrial fair to shoot in. We used enormous buildings, much bigger than any film studio. There was one scene in the film where we needed to fit fifteen hundred desks into a single building space and there was no film studio in France or Britain that could hold fifteen hundred desks. The big industrial fair grounds that we found in Zagreb made that possible. So we had both that rather sleazy modern, which is a part of the style of the film, and these curious decayed roots that ran right down into the dark heart of the 19th century.

อีกเหตุผลที่ผกก. Welles ตัดสินใจเลือก Zabreb, Yugoslavia เพราะอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่นี่กำลังเติบโต มีโกดังขนาดใหญ่พอจะยัดเยียดโต๊ะทำงานกว่า 1,500 ตัว! (อีกแหล่งข่าวบอกแค่ 850 ตัว ก็ไม่รู้ตัวเลขไหนถูกต้องนะครับ) สำหรับถ่ายทำซีเควนซ์ในสำนักงาน (ได้รับอิทธิพลจากโคตรหนังเงียบ The Crowd (1928))

แผนการดั้งเดิมก็คือจะค่อยๆให้รายละเอียดพื้นหลัง สิ่งข้าวของ วัตถุจับต้องได้ จักค่อยๆสาปสูญ เลือนหาย จนกระทั่งหลงเหลือเพียงสถานที่ว่างเปล่าๆ แต่เพราะปัญหาของโปรดิวเซอร์ (ค้างชำระหนี้สิน) ทำให้ยังไม่มีการเริ่มต้นงานสร้างใดๆในสตูดิโอที่ Yugoslavia จะเดินทางไปก็เสียเวล่ำเวลาเปล่า

We were due to leave Paris for Yugoslavia in two weeks when we were told that we wouldn’t be able to put up a single set there because the producer had already made another film in Yugoslavia and hadn’t paid his depts. That’s why we had to use that abandoned station. I had planned to make a completely different film. Everything was improvised at that last moment, because the whole physical concept of my film was quite different. It was based on the absence of sets. And the gigantic nature of the sets, which people have objected to, is partley due to the fact that the only setting I had was that old abandoned station. An empty railway station is vast.

In the production as I originally envisaged it, the sets were to gradually disappear. The number of realistic elements was to gradually diminish, and to be seen to diminish by the spectators, until only open space remained, as if everything had been dissolved away.

Orson Welles กล่าวถึงวิสัยทัศน์ดั้งเดิมของ The Trial (1962)

ค่ำคืนดึกดื่นผกก. Welles นั่งเหม่อมองจันทรา จู่พบเห็นดวงจันทร์ดวงที่สอง ราวกับนิมิตหมายใหม่ แท้จริงแล้วมันคือนาฬิกาของสถานีรถไฟร้าง Gare d’Orsay กลางกรุง Paris เช้าตรู่ตอนตีห้ารีบโบกแท็กซี่ พอมาถึงราวกับได้ค้นพบ ‘world of Kafka’ ตัดสินใจว่าจะปักหลักใช้สถานที่แห่งนี้เป็นเวลา 7 สัปดาห์ (แล้วค่อยไปถ่ายทำต่อยัง Yugoslavia)

I was living at the Hotel Meurice on the Tuilleries, pacing up and down in my bedroom, looking out of the window. Now I’m not such a fool as to not take the moon very seriously, and I saw the moon from my window, very large, what we call in America a harvest moon. Then, miraculously there were two of them. Two moons, like a sign from heaven! On each of the moons there were numbers and I realized that they were the clock faces of the Gare d’Orsay. I remembered that the Gare d’Orsay was empty, so at 5 in the morning I went downstairs, got in a cab, crossed the city and entered this empty railway station where I discovered the world of Kafka. The offices of the advocate, the law court offices, the corridors– a kind of Jules Verne modernism that seems to me quite in the taste of Kafka. There it all was, and by 8 in the morning I was able to announce that we could shoot for seven weeks there.

ในบทสัมภาษณ์ของผกก. Welles ยังวิเคราะห์เสร็จสรรพถึงสถานีรถไฟร้างแห่งนี้ คือสถานที่แห่งความเศร้าโศก เฝ้ารอคอย และการจากลา รวมถึงสิ่งน่าหลอกหลอนที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การออกเดินทางครั้งสุดท้ายของชนชาวยิว!

If you look at many of the scenes in the movie that were shot there, you will notice that not only is it a very beautiful location, but it is full of sorrow, the kind of sorrow that only accumulates in a railway station where people wait. I know this sounds terribly mystical, but really a railway station is a haunted place. And the story is all about people waiting, waiting, waiting for their papers to be filled. It is full of the hopelessness of the struggle against bureaucracy. Waiting for a paper to be filled is like waiting for a train, and it’s also a place of refugees. People were sent to Nazi prisons from there, Algerians were gathered there, so it’s a place of great sorrow. Of course, my film has a lot of sorrow too, so the location infused a lot of realism into the film.

เกร็ด: ระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ Zabreb ผกก. Welles ก็ได้พบเจอ Olga Palinkaš นักแสดงสาวชาว Croatian ขณะนั้นอายุเพียง 21 ปี ซึ่งเขาตั้งชื่อใหม่ให้ว่า Oja Kodar ก่อนพัฒนาความสัมพันธ์เป็นคนรัก ‘artistic collaborator’ อยู่เคียงข้างกันจนวันตาย


เรื่องเล่า Vor dem Gesetz แปลว่า Before the Law แท้จริงแล้วนำจากเรื่องสั้นที่ Franz Kafka เคยเขียนไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1915 ตีพิมพ์ลงนิตยสารรายสัปดาห์ Selbstwehr ซึ่งถูกนำมาอ้างอิงถึงในนวนิยาย The Trial ระหว่างที่ Josef K. สนทนากับบาทหลวง ณ อาสนวิหาร … ฉบับภาพยนตร์มีการปรับเปลี่ยนพอสมควร คือโยกย้ายมาพูดเล่าตั้งแต่อารัมบท (ด้วยเสียงบรรยายของผกก. Orson Welles) แล้วตัดบทบาทหลวงไม่ได้พูดคุยกันเรื่องนี้ เปลี่ยนมาเป็นระหว่าง Josef K. สนทนากับทนายความ Albert Hastler (ซึ่งก็รับบทโดย Orson Welles)

Before the Law เล่าเรื่องชายคนหนึ่งผู้มีเชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถเข้าถึงกฎหมาย แต่พอเดินทางมาถึงทางเข้า กลับพบเจอใครคนหนึ่งยืนเฝ้าหน้าประตู ปฏิเสธไม่ให้บุกรุกเข้าไปภายใน เขาจึงตัดสินใจเฝ้ารอคอยวันแล้ววันเล่า จากหนุ่มสู่ชรา เกิดความตระหนักว่าไม่เคยมีใครอื่นเดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ และวินาทีสิ้นลมหายใจ ประตูบานนี้ก็ถูกปิดตายลงโดยพลัน!

เรื่องเล่าดังกล่าวถูกนำเสนอในเชิงสัญลักษณ์ ผมตีความถึงแนวคิดของ ‘กฎหมาย’ แม้ต้องการให้มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึงได้นั้น แท้จริงแล้วเป็นคำโป้ปดหลอกลวง เพียงการสร้างกำแพงขึ้นมาห้อมล้อม ปิดกั้น เฉพาะบุคคลที่ได้รับเลือกเท่านั้นถึงสามารถเข้าสู่ภายใน ขณะที่สามัญชน คนธรรมดา ก็มักถูกกีดกั้นขวางตั้งแต่ประตูหน้า ไม่มีวันเข้าถึงภายใน!

เราสามารถเปรียบเทียบเรื่องเล่านี้กับตัวละครของภาพยนตร์อย่างตรงไปตรงมา!

  • ชายผู้มาเฝ้ารอคอยหน้าประตูก็คือ Josef K. ถูกปิดกั้น ไม่รับรู้ว่าตนเองกระทำความผิดอะไร เดินทางไปแห่งหนไหนล้วนไม่ได้รับคำตอบใดๆ
  • ขณะที่ยามเฝ้าประตู ถ้าอ้างอิงตามต้นฉบับนวนิยายผมยังขบครุ่นคิดไม่ออกว่าต้องการสื่อถึงบุคคลใด! แต่ฉบับภาพยนตร์เมื่อปรับเปลี่ยนผู้เล่ามาบาทหลวงเป็นทนายความ Albert Hastler นั่นเป็นการบอกใบ้ ชี้นำที่ชัดเจนมากๆ ชายคนนี้แหละคือยามเฝ้าประตู กีดกั้นไม่ให้ Josef K. ได้รับความยุติธรรมสักที! … แต่มันอาจจะไม่ใช่ก็ได้นะครับ นี่เป็นการเปิดกว้างให้ผู้ชมลองขบครุ่นคิดหาคำตอบด้วยตนเอง

ตลอดทั้งซีเควนซ์นี้ใช้เทคนิคชื่อว่า Pinscreen animation ด้วยการใช้หมุดนับพันๆชิ้นที่สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ สร้างรูปผ่านอุปกรณ์ Pinscreen device พัฒนาโดย Alexandre Alexeïeff และภรรยา Claire Parker ระหว่างปี ค.ศ. 1932-35 เผื่อใครสนใจให้ลองรับชมในคลิปดูนะครับ

LINK: https://www.youtube.com/watch?v=vQ3DSFv4vAg
หนังสั้น The Nose (1963): https://www.youtube.com/watch?v=dZYV49ekeOY

ผมคงไม่ลงรายละเอียด ‘mise-en-scène’ เพราะมันเยอะจนครุ่นคิดตามแทบไม่ทัน สำหรับคนมักคุ้นสไตล์ Wellesian ก็น่าจะพบเห็นสไตล์ลายเซ็นต์ตั้งแต่ซีเควนซ์แรกของหนัง ถ่ายทำแบบ ‘long take’ พบเห็นมุมเงยบ่อยครั้ง (เหมือนถูกกดขี่ การใช้อำนาจในทางมิชอบของพวกตำรวจ) อย่างภาพสุดท้ายสังเกตว่า Josef K. สวมใส่เสื้อขาว ขณะที่ใครอื่น/ตำรวจนอกเครื่องแบบห้อมล้อมรอบด้วยสูทสีเข้มๆ ยัดเยียดเข้ามาในเฟรมเดียวกัน ไม่มีทางหลบหนีไปไหนพ้น

แซว: ด้วยความร้อนรน กระวนกระวายของ Josef K. ทำให้พูดคำผิดๆถูกๆ “That’s My Pornograph!” (สื่อลามกอนาจาร) จริงๆต้องใช้คำว่า Phonograph (เครื่องเล่นแผ่นเสียง), และยังมีการประดิษฐ์คำ Ovular แลดูคล้ายๆ Ovule หรือ Ovum เซลล์ไข่, เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย

ตัวละคร Marika Bürstner ในต้นฉบับนวนิยายทำงานเป็นนักพิมพ์ดีด (Typist หรือ Stenographer) แต่ภาพยนตร์เปลี่ยนเป็นนักร้อง/นักแสดงคาบาเรต์ รับบทโดย Jeanne Moreau เพราะเพิ่งกลับจากทำงานทั้งคืน จึงมีสภาพเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า ง่วงหงาวหาวนอน ยินยอมพูดคุยกับ Josef K. เพราะอีกฝ่ายอวยพรวันเกิด แต่ไปๆมาๆพวกเขาก็เกิดความขัดแย้ง ไม่ลงรอย ถูกขับไล่ ผลักไสออกจากห้อง … ผมมองนัยยะถึงผกก. Welles ถูกขับไล่ ผลักไส เลยจำใจต้องออกจาก Hollywood มาทำงานยังทวีปยุโรป!

สำนักงานของ Josef K. มีความโอ่โถง รโหฐาน เรียงรายด้วยโต๊ะ เก้าอี้ เครื่องพิมพ์ดีด พนักงานนับพัน! นี่ไม่ใช่แค่เคารพคารวะโคตรหนังเงียบ The Crowd (1928) แต่ยังสะท้อนระบบการทำงาน วิถีระบอบทุนนิยม มนุษย์เป็นเพียงหน่วยเล็กๆในองค์กรใหญ่ๆ (ฟันเฟืองเล็กๆในเครื่องจักรขนาดใหญ่) แทบไร้ตัวตน ไม่ได้มีความสลักสำคัญประการใด

ระหว่างทางกลับห้องพัก เพื่อจะเลี้ยงฉลองวันเกิดของ Marika Bürstner แต่ปรากฎกว่า Josef K. พบเห็นกระเป๋าเดินทางของเธอกำลังถูกลากโดยใครก็ไม่รู้จัก อาสาให้ความช่วยเหลือได้รับคำตอบปฏิเสธ พยายามซักไซร้ไล่เรียงก่อนพบว่าเธอถูก Mrs. Grubach ขับไล่ออกจากอพาร์ทเม้นท์ สาเหตุก็เพราะเหตุการณ์วุ่นๆวายๆเมื่อเช้านี้ ทำลายความสงบสุขของผู้พักอาศัย

ซีเควนซ์นี้ถ่ายทำแบบ Long Take ระหว่างหญิงขาพิการกำลังฉุดกระชากลากกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ เส้นทางก็ทุลักทุเล Josef K. พยายามจะช่วยเหลือแต่กลับสร้างความวุ่นๆวายๆให้อีกฝ่าย … ผมยังครุ่นคิดไม่ออกว่าซีเควนซ์นี้ต้องการสื่อถึงอะไร อาจหมายถึงการถูกทอดทิ้ง สิ่งที่ผกก. Welles เคยกระทำไว้ทิ้งไว้กับสตูดิโอ เลยไม่หลงเหลือใครเคียงข้างอีกต่อไป

ระหว่างการรับชมอุปรากร Josef K. ถูกตำรวจลับลากพาออกมาให้การบนชั้นศาล ระหว่างทางพบเห็นผู้คนยืนแน่นิ่ง เปลือยหาย ห้อยด้วยป้าย หลายคนน่าจะขนหัวลุก ตระหนักได้ว่าพวกเขาเหล่านี้คือชนชาวยิว ต้องการสื่อถึงเหตุการณ์ Holocaust อย่างแน่นอน! พวกเขาไม่เคยกระทำความผิดอะไร (แบบเดียวกับ Josef K.) แต่กลับถูกจับกุม ส่งตัวไปค่ายกักกัน ตัดสินโทษประหารชีวิตเพียงเพราะเป็นชนชาวยิว

เมื่อมาถึงห้องพิจารณาคดี พบว่าเต็มไปด้วยผู้คนนับร้อยพัน นั่งอยู่เต็มชั้นบนล่าง Josef K. ต้องปืนป่ายไปยังกึ่งกลางห้อง กล่าวอ้างความบริสุทธิ์ พร้อมจะพิสูจน์ตนเองว่าไม่เคยกระทำสิ่งชั่วร้ายประการใด

ผมไม่ค่อยแน่ใจนักว่ามันเกิดเหตุการณ์อะไร? จู่ๆผู้จัดการ/หัวหน้าของ Josef K ก็ถูกจับ เค้นความลับอยู่ในห้องมืด กล่าวโทษว่าอีกฝ่ายว่าได้ปากโป้ง เปิดโปงความคอรัปชั่น ทั้งๆเจ้าตัวเหมือนไม่รับล่วงรู้อะไร กลับกลายเป็นคนทรยศ ซะงั้น!

ลักษณะของการชี้ตัว ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น ชวนให้ผมนึกถึง Hollywood Blacklist ในยุคสมัย McCarthyism แม้ผกก. Welles จะไม่เคยข้องแว้งกับคอมมิวนิสต์ แต่ตัวเขาก็เหมือนถูกขึ้นบัญชีดำจาก Hollywood ไม่แตกต่างกัน!

รายละเอียดในส่วนนี้เหมือนจะไม่มีในนวนิยาย ผกก. Welles เพิ่มเติมเข้ามาเพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในช่วงทศวรรษ 60s คอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลข้อมูลต่างๆ แล้วหาข้อสรุป ผลการตัดสิน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดอาชญากรรม “Crime is a fact!” ถ้าเราใส่ข้อมูลทั้งหมดลงไป ระบบปัญญาประดิษฐ์ย่อมสามารถครุ่นคิดค้นหาคำตอบออกมา … ผมรู้สึกเหมือนคำพยากรณ์ของผกก. Welles ถ้าโลกดำเนินไปในทิศทางนั้น เทคโนโลยีก้าวเข้ามาแทนที่การตัดสินใจของมนุษย์ บรรดาคนงานชั้นล่างนับพันคงต้องตกงานอย่างแน่แท้!

แรกพบเจอระหว่าง Josef K. กับทนายความ Albert Hastler พบเห็นนอนพ่นซิการ์ควันโขมง ก่อนที่(แฟนสาว) Leni จะเอาผ้ามาคลุมศีรษะ ทำให้ผู้ชมยังไม่พบเห็นใบหน้าตัวละครแบบชัดๆ นี่แสดงถึงความขมุกขมัว เหมือนไม่ต้องการเปิดเผยตัวตน อีกทั้งพอลุกขึ้นจากเตียง ยืนตระหง่าน กล้องถ่ายภาพมุมก้ม วางตัวหัวสูงส่ง สายตาดูถูกเหยียดหยาม … ค่อนข้างชัดเจนว่าตัวละครนี้เต็มไปด้วยลับเลศนัยบางอย่าง!

สองสาว Leni และ Hilda ต่างมีคู่ครอง แต่กลับพยายามเกี้ยวพาราสี โอบกอด จุมพิตกับ Josef K. โดยไม่สนความถูกต้องเหมาะสม นี่แสดงถึงพฤติกรรมคอรัปชั่นของพวกเธอได้เช่นกัน

  • Leni คนรักของทนายความ Albert Hastler มือของเธอมีพังผืดเหมือนสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พฤติกรรมของเธอก็พยายามตะเกียกตะกาย กอดรัดฟัดเหวี่ยง Josef K. ท่ามกลางกองเอกสารถูกทอดทิ้งขว้าง ไม่ได้รับการจัดเก็บ (สามารถสื่อถึงความไม่ได้ยี่หร่าต่อคดีความของ Hastler)
  • Hilda ภรรยาของ Courtroom Guard พาเขามาด้านหลังเวทีสำหรับพิจารณาคดีความ ระหว่างกำลังโอบกอด จุมพิต ถูกใครก็ไม่รู้ (เห็นบอกว่าคือนักเรียนกฎหมาย) ปีนป่ายเข้ามาแบกหาม ลักพาตัวหายเข้าห้อง

ทนายความคนแรกของ Josef K. หรือก็คือสามีของ Hilda เป็นบุคคลที่ดูไม่ยี่หร่ากับคดีความ (มุมกล้องมักเงยขึ้นสูงติดเพดาน) แค่อยากทำให้มันจบๆรวดเร็วไว นำพาเขามายังสถานที่รับเรื่องร้องเรียน พบเห็นผู้คนมากมายเบื้องล่าง เฝ้ารอคอยเรียกคิวพิจารณาคดีความ … นี่แสดงให้ถึงการทำงานของหน่วยงานราชการที่มีความเอื่อยเฉื่อย เชื่องช้า มากขั้นตอน ไม่ยี่หร่าต่อบุคคลธรรมดาสักเท่าไหร่

เรื่องราวของญาติห่างๆ เด็กสาว Irmie น่าจะอายุ 15 แต่พบเห็นโดดโรงเรียนมาเยี่ยมเยียน Josef K. ถึงสองครั้งครา ระหว่างสนทนาก็เต็มไปด้วยถ้อยคำล่อๆแหลมๆ พูดเหมือนอยากแต่งงานกับเขา … เอิ่ม

เฉกเช่นเดียวกับสองสาวที่เพิ่งอธิบายไปก่อนหน้า Leni และ Hilda ต่างพยายามเกี้ยวพาราสี Josef K. โดยไม่สนว่าตนเองล้วนมีคู่ครอง (ในกรณีของ Irmie ทั้งอายุน้อย แถมเป็นญาติห่างๆ) สร้างความอึดอัด กระอักกระอ่วน นั่นไม่ใช่สิ่งถูกต้องเหมาะสมเลยสักนิด … ความผิดที่เขาไม่ได้ก่อ แต่ถูกพวกเธอพยายามยัดเยียดให้

เรื่องราวของ Bloch (ผู้หลบซ่อนตัวอยู่ห้องใต้บันไดในสำนักงานทนายความ) เริ่มต้นคล้ายๆกับ Josef K. โดนใส่ร้าย กลายเป็นแพะรับบาป ไม่รับรู้ตนเองกระทำความผิดอะไร กลับถูกแจ้งข้อกล่าวหา แต่ความแตกต่างคือเขาไม่สามารถลุกขึ้นยืน กล้าเผชิญหน้าทนายความ Albert Hastler

  • มุมกล้องก้มต่ำจากบนเตียง พบเห็น Bloch ยินยอมก้มหัวศิโรราบ พร้อมทำทุกสิ่งอย่างตามคำสั่งทนายความ Albert Hastler (ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงอีกฝ่ายอย่างเลือดเย็น!)
  • ตรงกันข้ามกับ Josef K. มุมกล้องเงยขึ้น ยืนอย่างทะนง หลังพบเห็นความเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า คดีความไม่คืบหน้า ปฏิเสธรับฟังข้ออ้างใดๆ แสดงเจตจำนงล้มเลิกไม่ให้อีกฝ่ายว่าความให้อีกต่อไป

These girls belong to the court. Well, Joey, practically everything belongs to the court.

Titorelli

มันช่างเป็นการเล่นคำที่ชวนปวดเศียรเวียนเกล้ายิ่งนัก! คำว่า Court ไม่ได้หมายถึงศาลเพียงอย่างเดียว ยังแปลว่าสนาม ลาน พระราชวัง หรือคำกิริยา (verb) เกี้ยวพา แทะโลม ประจบสอพลอ แกว่งเท้าหาเสี้ยน … นั่นสามารถเหมารวมพฤติกรรมหญิงสาว/เด็กหญิง แทบทุกคนในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่พยายามทำการ ‘court’ กับ Josef K.

สถานที่ที่ Josef K. เดินทางมาพบเจอกับจิตรกรวาดภาพผู้พิพากษา (Court Painter) อยู่ชั้นบนสุด ห้อมล้อมรอบด้วยแผ่นไม้ที่เต็มไปด้วยช่องว่างให้บุคคลภายนอกสามารถมองลอดผ่าน ผมคาดเดาว่าสถานที่แห่งนี้เปรียบดั่งศาลสูง (High Court) ซึ่งคดีความที่ทำการอุทธรณ์ มักอยู่ในความสนใจสาธารณะชน หรือก็คือเด็กสาวพยายามจับจ้อง มองลอด ส่งเสียงซุบซิบ ตัดต่อสลับไปมาด้วยความสนอกสนใจ

ผมไม่ค่อยแน่ใจนัยยะของจิตรกรวาดภาพผู้พิพากษา (Court Painter) สามารถสื่อถึงตัวแทนผู้พิพากษาได้เลยหรือเปล่า? แต่นัยยะของภาพวาดผู้พิพากษา เปรียบดั่งสำนวน ‘เขียนเสือให้วัวกลัว’ บุคคลที่สาธารณะชนเทิดทูนไว้เหนือเกล้า มีความศักดิ์สิทธิ์ สูงส่ง มากด้วยอำนาจบารมี สามารถตัดสินถูก-ผิด ดี-ชั่ว ไม่เคยปรากฎตัว แต่พบเจออยู่แทบทุกแห่งหน

ในต้นฉบับนวนิยาย การสนทนากับบาทหลวงน่าจะมีความสลักสำคัญอย่างมากๆ เพราะศาสนา(คริสต์)มักทำการตัดสินบาปของมนุษย์ บุคคลดี มีศรัทธาต่อพระเจ้าย่อมได้ขึ้นสวรรค์ ส่วนคนชั่วกระทำความผิดย่อมตกนรกหมกไหม้ เช่นนั้นแล้ว Josef K. จะขึ้นสวรรค์หรือลงนรก … ภาพช็อตนี้ขณะแรกพบบาทหลวง ถ่ายมุมเงย ราวกับอีกฝ่ายคือพระเจ้า/บุคคลผู้ตัดสินความถูก-ผิด

แต่ฉบับภาพยนตร์กลับลดทอนรายละเอียดซีเควนซ์นี้จนแทบไม่หลงเหลืออะไร นั่นเพราะผกก. Welles ไม่ได้มีความสนใจในประเด็นศาสนา แถมเร่งรีบปรับเปลี่ยนตัวละครมาเป็นทนายความ Albert Hastler

การสนทนาระหว่าง Josef K. กับทนายความ Albert Hastler พร้อมๆฉายภาพ Pinscreen Animation นี่เป็นอีกการตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่าง

  • ชายผู้มาเฝ้ารอคอยหน้าประตู = Josef K.
  • ยามเฝ้าประตู = ทนายความ Albert Hastler

ประตูทางเข้ากฎหมายเปิดออกสำหรับทุกคน แต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเข้าออก ทั้งหมดเป็นเพียงคำหลอกลวงเพื่อสร้างความหวังให้กับมนุษย์ เมื่อข้อเท็จจริงประจักษ์ต่อ Josef K. แสงสว่าง-เงามืดปกคลุมใบหน้า (ภาพ Low Key) แสดงความถึงหมดสิ้นหวังอาลัย ทุกคนล้วนพ่ายแพ้ คนบาป ตกนรกมอดไหม้

ต้นฉบับนวนิยาย Josef K. จะถูกทิ่มแทงด้วยมีดจนเสียชีวิต แต่ภาพยนตร์ทำเหมือนเพชรฆาตสองคนพยายามบ่ายเบี่ยง ก่ายเกี่ยงกันไปมา ไม่มีใครอยากมือเปลื้อนเลือด (เข่นฆ่าคนบริสุทธิ์) แต่สุดท้ายพวกเขาโยนระเบิด พบเห็นควันโพยพุ่งเหมือนเมฆรูปเห็ด (Mushroom Cloud) สังเกตจากพื้นหลังระหว่าง Closing Credit จะเห็นชัดเจนกว่า

ช่วงระหว่าง Closing Credit จะได้ยินเสียงผกก. Welles พูดแนะนำนักแสดง ก่อนทิ้งท้าย “I played the Advocate and wrote and directed this film. My name is Orson Welles.” เหมือนต้องการบอกกล่าวการเป็นเจ้าของ ความเป็นส่วนตัว(ของผกก. Welles)ในภาพยนตร์เรื่องนี้ … แอบชวนให้นึกถึง Contempt (1963) อยู่เล็กๆ

The ending is problematical. Mushroom clouds are not Kafkaesque because they represent a final conclusion, and in Kafka’s world nothing ever concludes. But then comes another ending: The voice of Orson Welles, speaking the end credits, placing his own claim on every frame of the film, and we wonder, is this his way of telling us “The Trial” is more than ordinarily personal? He was a man who made the greatest film ever made and was never forgiven for it.

นักวิจารณ์ Roger Ebert กล่าวถึงตอนจบเจ้าปัญหา

ตัดต่อโดย Fritz H. Mueller,

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Josef K. ตั้งแต่เช้าตรู่ถูกปลุกตื่นโดยตำรวจนอกเครื่องแบบ แจ้งการจับกุมแต่ไม่บอกข้อกล่าวหา จากนั้นเขาก็ก้าวออกเดินทางจากสถานที่แห่งหนึ่ง ไปสู่สถานที่เหนือจริงอีกแห่งหนึ่ง พยายามค้นหาข้อแก้ตัว หนทางแก้ต่าง ตกอยู่ในสถานการณ์สุดบ้าคลั่ง หวาดระแวง สิ้นหวัง นี่มันคือฝันร้าย!

  • อารัมบท, เรื่องเล่า Before the Law นำเสนอในลักษณะ Pinscreen animation
  • Josef K. ในอพาร์ทเม้นท์
    • เช้าตรู่ถูกปลุกตื่นโดยตำรวจนอกเครื่องแบบ แจ้งการจับกุมแต่ไม่บอกข้อกล่าวหา
    • พูดคุยเจ้าของห้อง และเกี้ยวพาหญิงสาว Marika Bürstner (รับบทโดย Jeanne Moreau)
  • ระหว่างวันทำงานของ Josef K.
    • Josef K. เดินทางไปยังสำนักงาน พูดคุยกับผู้จัดการ
    • ยามเย็นตั้งใจซื้อเค้กไปฉลองวันเกิดของ Marika Bürstner แต่พบว่าเธอขนย้ายข้าวของออกจากห้องไปแล้ว พยายามจะช่วยแม่บ้านขนกระเป๋าสัมภาระกลับไม่เป็นประโยชน์อันใด
    • ค่ำคืนระหว่างรับชมการแสดงอุปรากร ได้รับจดหมายเรียกตัวไปยังชั้นศาล พานผ่านชนชาวยิวมากหน้าหลายตา กล่าวสุนทรพจน์พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองก่อนกลับออกมา
    • พบเห็นผู้จัดการบริษัท ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ตรวจค้นในห้องมืด กว่าจะสามารถหลบหนีออกมาได้
    • ลุง Max เดินทางมาเยี่ยมเยียนที่สำนักงาน ชักชวนไปพบเจอกับทนายความ Albert Hastler
  • ก้าวออกเดินทางค้นหาหนทางแก้ต่าง เตรียมตัวสู้คดีความ
    • ระหว่างที่ลุง Max พูดคุยกับทนายความ, Josef K. ถูกเกี้ยวพาราสีโดย Leni (รับบทโดย Romy Schneider)
    • Josef K. เดินทางมายังชั้นศาลที่ว่างเปล่า แล้วถูกเกี้ยวพาราสีโดย Hilda (รับบทโดย Elsa Martinelli)
    • Josef K. พบเจอกับทนายที่เป็น Courtroom Guard (สามีของ Hilda) แต่ก็ไม่เคยบอกกล่าวฟ้องร้องข้อหาอะไร และยังมีบุคคลอีกมากมายเฝ้ารอคอยการแจ้งความ (แต่กลับถูกเพิกเฉยจากหน่วยงานรัฐ)
    • Josef K. หาหนทางออกจากศาล มาพบเจอน้องสาววัยสิบห้า Irmie
  • การเผชิญหน้ากับการตัดสิน
    • จากนั้นหวนกลับมายังสำนักงานทนายความ Albert Hastler แต่ได้พบเจอ พูดคุยกับ Bloch
    • พบเห็นพฤติกรรมกดขี่ข่มเหงของทนายความ Albert Hastler กับ Bloch เลยปฏิเสธไม่ให้เขาว่าความให้คดีของตนเองอีกต่อไป
    • Josef K. เดินทางไปพบเจอศิลปิน Titorelli แต่ถูกห้อมล้อมรอบด้วยกลุ่มเด็กๆจับจ้องมองลอดผ่านช่องว่าง
    • Josef K. พยายามวิ่งหลบหนีไปจนพบเจอบาทหลวงให้คำแนะนำ
    • เผชิญหน้ากับทนายความ Albert Hastler กล่าวสุนทรพจน์ครั้งสุดท้าย
    • และถูกเพชรฆาตสองคนควบคุมตัว พาออกไปนอกเมือง สำหรับฆ่าปิดปาก

โดยปกติแล้วสไตล์ Wellesian มักชอบใช้การเล่าย้อนอดีต (Flashback) กระโดดไปกระโดดมา (Non-Chronological Order) แต่ถึงเส้นเรื่องของ The Trial (1962) จะเป็นเส้นตรง แต่แทบทุกช็อตมักกระโดดจากสถานที่หนึ่ง ไปสู่สถานที่เหนือจริงอีกแห่งหนึ่ง ราวกับตัวละครกำลังล่องลอยอยู่ในความฝัน(ร้าย) ไม่มีหนทางดิ้นหลบหนีไปจากสถานที่แห่งนี้

The Trial (1962) เป็นภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องของผกก. Welles ที่ไม่ถูกแทรกแซงใดๆในกระบวนการตัดต่อ ถึงอย่างนั้นกลับมีซีเควนซ์หนึ่งโดนตัดออกไป Josef K. พบเจอกับผู้พัฒนาคอมพิวเตอร์ (Computer Scientist) รับบทโดย Katina Paxinou ใช้คอมพิวเตอร์/ปัญญาประดิษฐ์พยากรณ์อนาคตที่อาจจะบังเกิดขึ้นกับเขา … น่าเสียดายที่ซีเควนซ์นี้มีเพียงภาพฟุตเทจ เพราะหนังได้ไม่ได้บันทึกเสียง ‘sound-of-film’ แต่ในคลิปมีทำซับไตเติ้ลไว้ให้

I only saw the film as a whole once. We were still in the process of doing the mixing, and then the premiere fell on us… [The scene] should have been the best in the film and it wasn’t. Something went wrong, I don’t know why, but it didn’t succeed.

Orson Welles อธิบายเหตุผลที่ตัดซีเควนซ์นี้ออกไป

ในส่วนของเพลงประกอบ ผกก. Welles มอบหมายให้ Jean Ledrut (1902-82) ทำการเรียบเรียงบทเพลงของคีตกวีสัญชาติอิตาเลี่ยน Tomaso Albinoni (1671-1751) แห่งยุคสมัย Baroque ผู้ชื่นชอบแต่งบทเพลงท่วงทำนองเศร้าๆ มีความโหยหวน เจ็บปวด บรรยากาศสิ้นหวัง

Adagio D’Albinoni หรือ Adagio in G minor บทเพลงสำหรับเครื่องสายและออร์แกน ได้รับการค้นพบโดยนักดนตรีวิทยา Remo Giazotto เมื่อตอนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ณ Saxon State Library (Dresden, Germany) แต่เนื่องจากไม่เคยมีการเปิดเผยหลักฐาน และภายหลัง Giazotto กล่าวอ้างลิขสิทธิ์ของตนเองเมื่อปี ค.ศ. 1958 โดยให้การว่าค้นพบเพียงตัวโน๊ต Bassline ส่วนรายละเอียดอื่นๆทำการแต่งเติมขึ้นใหม่

เกร็ด: นอกจากจะใช้เป็น Opening Credit ของ The Trial (1962) บทเพลงนี้ Adagio in G minor ยังคือ Main Theme ภาพยนตร์ Last Year at Marienbad (1961)

ไม่ใช่แค่เรียบเรียงท่วงทำนองคลาสสิกเท่านั้น! Ledrut ยังต้องดัดแปลงบทเพลงของ Albinoni ออกมาในสไตล์ดนตรี Jazz ผสมผสานเข้ากับความวุ่นๆวายๆ เป็นไปได้ไม่รู้จบของเรื่องราว ยกตัวอย่าง Jazz Hallucination ดังขึ้นระหว่าง Josef K เดินทางไปหาศิลปิน Titorelli แต่เชื่อว่าหลายคนอาจไม่ทันได้ยิน เพราะถูกเสียงของเจี้ยวจ้าวของเด็กๆกลบบดบังมิดชิด!

สไตล์เพลงของผกก. Welles ไม่ได้โดดเด่นชัดเจนเหมือนองค์ประกอบอื่นๆ (ผมเลยไม่ได้เรียก Wellesian) แต่มักเลือกท่วงทำนอง สไตล์ดนตรีที่เหมาะสมกับเรื่องราวนั้นๆ มุ่งเน้นสร้างบรรยากาศ คลอประกอบพื้นหลัง บางครั้งก็ใช้เพียง ‘Sound Effect’ ไม่ก็ความเงียบงัน ทดลองสร้างอารมณ์ร่วม … อย่างภาพยนตร์เรื่องนี้ถือว่ามีความเป็น Avant-Garde อยู่เล็กๆ

Starting from a relatively simple idea, Kafka plunges us into an incoherent, absurd and surreal world. Here is the idea. The bureaucrats, the administration, the power, crush the individual. A lone man becomes a panting victim of society when by chance – or by misfortune – it attracts him towards one of the gears of its system.

– Extract from an article by Mr Louis Chauvet (in Le Figaro)

The Trial (1962) นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับชายคนหนึ่ง ไม่ล่วงรับรู้ว่าตนเองกระทำความผิดอะไร เหมือนโดนใส่ร้าย กลายเป็นแพะรับบาป ตำรวจออกหมายจับ จำต้องเดินทางไปให้การบนชั้นศาล พยายามหาข้อแก้ตัว หนทางแก้ต่าง กลับพบเห็นแต่ความคอรัปชั่นของทนายความ ระบบราชการ หน่วยงานรัฐ ท้ายสุดยังไม่ทันได้พิจารณาคดีความ ก็ถูกเพชรฆาตสองคนลากพาตัวเขาไปฆ่าปิดปาก!

หลายคนคงรู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ Josef K. กระทำความผิดข้อหาอะไร? แต่นั่นหาใช่ประเด็นหลักของเรื่องราว ไม่จำเป็นที่เราต้องเสียเวลาขบครุ่นคิด เพราะเนื้อหาสาระต้องการสื่อถึงความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ เต็มไปด้วยความคอรัปชั่นของระบบราชการ มันอาจเป็นความผิดพลาด จงใจ-ไม่จงใจ หรือใครบางคนจากเบื้องบนสั่งการลงมา แล้วไม่มีการตรวจสอบถูก-ผิด เร่งรีบตัดสิน ลงโทษประหารชีวิต โดยไม่สนหัวใครทั้งนั้น!

ผู้แต่ง Franz Kafka ร่ำเรียนจบกฎหมาย คงได้พบเห็นอะไรๆมามากจากการทำงานในหน่วยงานราชการ เต็มไปด้วยความเก็บกด อึดอัดอั้น ท้อแท้สิ้นหวัง ใช้การเขียนนวนิยายเพื่อระบายอารมณ์เหล่านั้น โดยไม่รู้ตัวพยากรณ์การมาถึงของค่ายบังคับแรงงานสหภาพโซเวียต (Gulag) และพันธุฆาตระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (Holocaust)

Kafka published his novel in Prague in 1925; it reflected his own paranoia, but it was prophetic, foreseeing Stalin’s gulag and Hitler’s Holocaust, in which innocent people wake up one morning to discover they are guilty of being themselves.

นักวิจารณ์ Roger Ebert

ตอนจบดั้งเดิมของ Kafka เพชรฆาตใช้มีดทิ่มแทง Josef K. จนเสียชีวิต! แต่ฉบับภาพยนตร์ปรับเปลี่ยนมาเป็นโยนระเบิดที่มีควันโพยพุ่ง แลดูเหมือนเมฆรูปเห็ด (Mushroom Cloud) สัญลักษณ์ของระเบิดนิวเคลียร์ การเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสงครามโลกครั้งที่สอง

To me that ending is a ballet written by a Jewish intellectual before the advent of Hitler. Kafka wouldn’t have put that in after the death of six million Jews. It all seems very much pre-Auschwitz to me. I don’t mean that my ending was a particularly good one, but it was the only possible solution. I had to step up the pace, if only for a few moments.

Orsen Welles กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงตอนจบ

สำหรับผกก. Welles ไม่แตกต่างจาก Josef K. เปลี่ยนจากความคอรัปชั่นของระบบราชการ ต้องการกล่าวถึงวงการภาพยนตร์ Hollywood ที่มีความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ ผู้กำกับทำได้เพียงก้มหัวศิโรราบต่อสตูดิโอ ถูกควบคุมครอบงำโดยโปรดิวเซอร์ สัญญาทาส ไร้ซึ่งสิทธิ์เสียง อิสรภาพในการสรรค์สร้างผลงาน รวมถึงแนวทางภาพยนตร์ ‘สไตล์ Hollywood’ จำเจ ซ้ำซาก ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้กับความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ

แต่ว่ากันตามตรงไม่ใช่ว่าผกก. Welles ไม่ได้มีความผิดอะไร ถ้าเรามองในมุมสตูดิโอ/โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ หมอนี่แม้งโคตรเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ไม่รู้จักการประณีประณอม สร้างปัญหาไม่หยุดหย่อน แถมยังดื้อรั้น ดึงดัน เอาอารมณ์ศิลปินเป็นที่ตั้ง จนใครต่อใครเอือมระอา เบือนหน้าหนี … ถูกขึ้นบัญชีดำจริงไหมไม่รู้ แต่พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมไม่มีใคร(ใน Hollywood)ไว้เนื้อเชื่อใจอีกต่อไป

ข้อสรุปของผมเอง! มันไม่ใช่ว่า Hollywood สิ้นหวังเกินเยียวยาอย่างที่ผกก. Welles ต้องการนำเสนอออกมา แต่มันคือมุมมองของชายหัวขบถ ที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับแนวคิด วิถีชีวิต วัฒนธรรมการทำงาน สหรัฐอเมริกาหาใช่ดินแดนแห่งเสรีภาพอย่างที่ใครต่อใครเข้าใจกัน … ซึ่งเมื่อเขาถูกขับไล่ อพยพย้ายมาอยู่ยุโรป ราวกับ ‘cultural shock’ สตูดิโอ/โปรดิวเซอร์ที่นี่รับรู้จักอุปนิสัยศิลปิน เข้าใจคุณค่างานศิลปะ เลยไม่เคยเข้ามายุ่งย่ามก้าวก่าย ให้อิสรภาพในการสรรค์สร้างผลงานอย่างเต็มที่

I feel an immense gratitude for the opportunity to make it, and I can tell you that during the making of it, not with the cutting, because that’s a terrible chore, but with the actual shooting of it, that was the happiest period of my entire life. So say what you like, but THE TRIAL is the best film I have ever made.

Orsen Welles

คำกล่าวของ Welles ที่บอกว่า The Trial (1962) คือผลงานยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่เคยสรรค์สร้าง! หลายคนอาจไม่ค่อยเห็นด้วยเมื่อเปรียบเทียบกับ Citizen Kane (1941) หรืออย่าง The Magnificent Ambersons (1942) แต่ในความหมายของเขา ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่ครั้งที่สามารถทำตามวิสัยทัศน์ ไม่มีใครไหนมายุ่งย่ามก้าวก่าย มันเลยรู้สึกเติมเต็ม อิ่มหนำ ระบายอารมณ์อัดอั้น (ของศิลปิน) เกิดความพึงพอใจสูงสุด

แซว: คำกล่าวดังกล่าวของผกก. Welles พูดขึ้นก่อนสรรค์สร้าง Chimes at Midnight (1965) ซึ่งก็เป็นอีกผลงานที่ไม่มีใครไหนเข้ามายุ่งย่ามก้าวก่าย บทสัมภาษณ์ถัดๆมาก็เลยเปลี่ยนมายกย่องโปรดปรานเรื่องใหม่นี้แทน


ดั้งเดิมนั้น The Trial (1962) ตั้งใจจะเข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice ช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 1962 น่าเสียดายตัดต่อไม่ทันเสร็จเลยจำต้องล้มเลิกแผนการ กว่าจะได้ออกฉายก็ช่วงปลายปี เสียงตอบรับออกไปทางก้ำๆกึ่งๆ ยกเว้นเพียงประเทศฝรั่งเศสยอดจำหน่ายตั๋วสูงเฉียดล้าน 998,779 ใบ เทียบกับทุนสร้าง $1.3 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร!

(ในสหรัฐอเมริกาทำเงินได้แค่ $1.4 ล้านเหรียญ นี่ก็ชัดเจนว่าประตูทุกบานของ Hollywood ได้ปิดลงแล้วสำหรับผกก. Welles)

กาลเวลายังคงทำให้หนังถูกมองข้าม หลงลืมเลือน ‘forgotten masterpice’ เหมือนจะเคยสาปสูญหายไปชั่วเวลาหนึ่ง จนเมื่อได้รับการค้นพบ ฟื้นฟูบูรณะ ผู้ชมสมัยใหม่เริ่มสามารถขบครุ่นคิด เข้าใจความลุ่มลึกล้ำ กลายเป็นกระแสคัลท์เล็กๆ แต่ยังคงไม่ใช่สำหรับทุกคนจะสามารถชื่นเชยชม

เกร็ด: ผกก. Welles เคยวางแผนสรรค์สร้างสารคดีเบื้องหลัง Filming ‘The Trial’ เมื่อปี ค.ศ. 1981 ทำการว่าจ้างตากล้อง Gary Graver บันทึกภาพคำถาม-ตอบ หลังฉาย The Trial (1962) ให้กับผู้ชมที่ University of Southern California ระยะเวลา 90 นาที! แต่เพราะไม่เคยมีเวลาตัดต่อฟุตเทจดังกล่าว เลยค้างๆคาๆไว้จนเสียชีวิต ส่งมอบฟีล์มให้กับ Munich Film Museum ทำการบูรณะและตัดต่อสารคดีความยาว 82 นาที เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2005 สามารถหารับชมทาง Youtube

ผมไม่มีรายละเอียดว่าหนังเคยสูญหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ รับรู้แค่ว่าได้รับการค้นพบฟีล์มเนกาทีฟต้นฉบับ 35mm เมื่อปี ค.ศ. 2000 จัดจำหน่าย DVD ในสหรัฐอเมริกาครั้งแรกโดย Milestone Films, จากนั้นเมื่อปี ค.ศ. 2015 ได้รับการบูรณะ 2K โดย Rialto Pictures, และล่าสุด ค.ศ. 2023 การบูรณะ 4K UHD โดย Criterion Collection

ถึงจะดูไม่รู้เรื่องเกินกว่าครึ่ง แต่ผมก็มีความเพลิดเพลินกับ ‘สไตล์ Welles’ ผสมผสานกับ Franz Kafka เต็มไปด้วยภาพถ่ายสวยๆ มุมกล้องแปลกตา Surrealist, Avant-Garde งดงามวิจิตรศิลป์! และเนื้อหาสาระแท้จริง ‘cinematic statement’ ระบายอารมณ์อึดอัดอั้น ท้อแท้สิ้นหวัง รับชมแล้วรู้สึกสงสารเห็นใจ Hollywood/สหรัฐอเมริกา หาใช่ดินแดนแห่งเสรีภาพอย่างที่ใครๆครุ่นคิดกัน!

ถ้าให้ผมจัดอันดับภาพยนตร์เกี่ยวกับการพิจารณาคดีความ The Trial (1962) น่าจะอยู่อันดับสามรองจาก Rashômon (1950) และ Close-Up (1990) ถึงไม่มีฉากขึ้นโรงขึ้นศาล พิพากษาตัดสิน แต่ความพยายามค้นหาว่าตนเองทำผิดอะไร ก็เพียงพอให้ตั้งคำถามถึงระบบยุติธรรม มันมีอยู่จริงบนโลกนี้เสียที่ไหนกัน!

จัดเรต 18+ กับสารพันเหตุการณ์มึนตึง การถูกกดขี่ข่มเหง ล่องลอยอลเวง ความยุติธรรมไม่มีอยู่จริง

คำโปรย | The Trial การพิจารณา(คดีความ)ตัวตนเองของผู้กำกับ Orson Welles ฉันทำความผิดอะไร ถึงถูกขับไล่ ผลักไส จำใจต้องออกจาก Hollywood
คุณภาพ | วิจิศิป์
ส่วนตัว | ฝันร้าย