Babettes Gæstebud (1987)


Babette’s Feast (1987) Danish : Gabriel Axel ♥♥♥♥

งานเลี้ยงฉลองสุดหรูหราด้วยฝีมือเชฟจากภัตตาคารฝรั่งเศสชื่อดัง ปรุงให้กับชาวบ้านผู้เคร่งครัดศาสนา (Pietistic Lutheranism) แต่พวกเขากลับเชื่อว่าอาหารมื้อนี้จักทำให้ตกนรกหมกไหม้, คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film

ผมรับรู้จัก Babette’s Feast (1987) จากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Hayao Miyazaki ทีแรกก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรกับชื่อหนัง จนกระทั่งตอนเขียนถึง The Scent of Green Papaya (1993) กำกับโดย Trần Anh Hùng แล้วพบเจอบทความพาดพิงผลงานล่าสุด The Taste of Things (2023) ทำการการเปรียบเทียบ Babette’s Feast (1987) เลยเพิ่งค้นพบว่าภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับมื้ออาหารฝรั่งเศสสุดหรูหรา

นั่นเองทำให้ผมมีความโคตรๆคาดหวังต่อ Babette’s Feast (1987) เฝ้ารอคอยเมื่อไหร่จะพบเห็นมื้ออาหารดังกล่าว? ซึ่งสิ่งคาดไม่ถึงอย่างสุดๆคือนำเสนอศาสตร์เกี่ยวกับอาหาร ทั้งระหว่างทำ และขณะรับประทาน (ใครเคยรับประทานอาหารฝรั่งเศส น่าจะรับรู้ถึงความละเอียดอ่อน เต็มไปด้วยลำดับขั้นตอน จานนี้ทานก่อน-หลัง คู่กับไวน์ขาว-แดง แชมเปญ หรืออะไรใดๆ ฯลฯ) เชฟไม่แตกต่างจากศิลปิน มื้ออาหารเปรียบดั่งงานศิลปะชั้นสูง!

ความเป็นครัวชั้นสูง อาหารสไตล์ยุโรป อาจทำให้ชาวเอเชียอย่างเราๆ เข้าไม่ถึงสัมผัส รสชาติ ผิดแผกแตกต่างจากภาพยนตร์อย่าง Tampopo (1985), The Scent of Green Papaya (1993), Eat Drink Man Woman (1994) หรือ Jiro Dreams of Sushi (2011) ปรุงแต่งมื้ออาหารที่มักคุ้นเคยชิน แค่ได้ยินเสียงครก สับหมู หรือกระทะไฟแดง กลิ่นหอมฉุยก็แทบจะลอยมาเตะจมูก


Axel Gabriel Erik Mørch (1918-2014) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Danish เกิดที่ Aarhus, Denmark ครอบครัวเป็นเจ้าของโรงงาน ฐานะร่ำรวย ถูกส่งไปใช้ชีวิตยัง Paris, France จนกระทั่งอายุ 17 กิจการล้มละลายเลยต้องหวนกลับ Denmark ฝึกฝนเป็นคนทำงานไม้ (Carbinet Maker) ก่อนได้เข้าเรียนการแสดง Royal Danish Theatre จบออกมามุ่งหน้าสู่ฝรั่งเศส เป็นนักแสดงละครเวที Théâtre de l’Athénée, Théâtre de Paris, จากนั้นเริ่มผันตัวสู่เบื้องหลัง กำกับซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องแรก Nothing But Trouble (1955), ผลงานส่วนใหญ่มักเป็นแนวตลกโปกฮา ว้าวุ่นวายเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ อาทิ The Red Mantle (1967), Sex and the Law (1967), The Goldcabbage Family (1975) ฯ

มีโปรเจคหนึ่งที่อยู่ในความใฝ่ฝันของ Axel คือดัดแปลงเรื่องสั้น Babettes Gæstebud แปลว่า Babette’s Feast ชื่อไทย งานเลี้ยงของบาเบตต์ ประพันธ์โดย Isak Dinesen นามปากกาของ Baroness Karen Christenze von Blixen-Finecke (1885-1962) นักเขียนชาว Danish เจ้าของอีกผลงานดัง Out of Africa (1937)

นวนิยายน่าอ่านเล่มนี้ใช้ฉากเรียบง่ายแต่กลับให้ภาพหรูหรา นำเสนอมุมมองอันบริสุทธิ์แต่จริงแท้ของตัวละคร ผู้อ่านจะได้ดื่มด่ำไปกับมื้ออาหารสุดหรูที่ฉาบทาด้วยความเจียมเนื้อเจียมตัวปนอหังการของศิลปิน!!!

คำโปรยฉบับแปลไทย รสวรรณ พึ่งสุจริต (สำนักพิมพ์สมมติ)

แรกเริ่มนั้น Dinesen เขียนเรื่องสั้น Babette’s Feast เป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Ladies Home Journal เมื่อปี ค.ศ. 1953 จากนั้นทำการแปลภาษา Danish สำหรับการแสดงละครวิทยุ (Radio Drama) ก่อนรวบรวมอยู่ในคอลเลคชั่น Anecdotes of Destiny (1958)

All I can say is that in Babette’s Feast there’s a minister, but it’s not a film about religion. There’s a general, but it’s not a film about the army. There’s a cook, but it’s not a film about cooking. It’s a fairy tale, and if you try to over-explain it, you destroy it. If you wish, it’s a film about the vagaries of fate and a film about art because Babette is an artist. She creates the greatest masterpiece of her life and gives it to the two old maids.

Gabriel Axel

เรื่องราวของชุมชนชาวบ้านริมเล Jylland อยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของ Denmark ในช่วงศตวรรษที่ 19th ต่างใช้ชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่าย ปฏิเสธชื่อเสียง เงินทอง ยึดถือมั่นตามหลักคำสอนศาสนา Pietistic Lutheranism จนกระทั่งการมาถึงของ Babette Hersant (รับบทโดย Stéphane Audran) อดีตเชฟภัตตาคารฝรั่งเศสชื่อดัง Café Anglais อพยพหลบหนีสงคราม อาสาทำงานเป็นคนรับใช้ ปักหลักอาศัยมายาวนานกว่าสามสิบปี

กระทั่งวันหนึ่งบังเอิญถูกรางวัลล็อตเตอรี่ 10,000 ฟรังก์ ต้องการเลี้ยงอาหารฝรั่งเศสตอบแทนบุญคุณชาวบ้านทั้งหลาย จึงสั่งซื้อวัตถุดิบชั้นดี เครื่องปรุงที่มีความเลิศรส หรูหรา ราคาแพง แต่กลับสร้างความหวาดหวั่นวิตกให้กับชาวบ้านริมเล Jylland เพราะมองว่าการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รับประทานอาหารที่มีความสิ้นเปลือง อาจนำทางพวกเขาสู่ขุมนรกมอดไหม้


ในส่วนของนักแสดง ตอนแรกสตูดิโอ Nordisk Film อยากประหยัดงบประมาณด้วยการเลือกใช้เพียงนักแสดงสัญชาติ Danish แต่ผกก. Axel เรียกร้องความถูกต้องตามสัญชาติ ทีมนักแสดงก็เลยมีทั้งฝรั่งเศส, เดนมาร์ก, สวีเดน

  • บทบาท Filippa ประกอบด้วย Bodil Kjer (วัยชรา), Hanne Stensgaard (วัยสาว), Tina Kiberg (ขับร้องเสียงโซปราโน)
  • บทบาท Martine ประกอบด้วย Birgitte Federspiel (วัยชรา), Vibeke Hastrup (วัยสาว)
  • ในส่วนของผู้ดี/ราชวงศ์สวีเดน ก็เลือกนักแสดงสัญชาติ Swedish อาทิ Jarl Hulle และ Bibi Andersson ทั้งสองเป็นที่รู้จักจากการร่วมงานผกก. Ingmar Bergman
  • ชาวบ้าน/ผู้สูงวัยใน Jylland ต่างเป็นนักแสดงชาว Danish หลายคนเคยร่วมงานผกก. Carl Theodor Dreyer อาทิ Lisbeth Movin (Day of Wrath), Preben Lerdorff Rye (Ordet), Axel Strøbye (Gertrud), Bendt Rothe (Gertrud), Ebbe Rode (Gertrud) ฯ

และสำหรับ Babette ในตอนแรกผกก. Axel มีความสนใจอยากได้ Catherine Deneuve แม้เจ้าตัวมีความสนอกสนใจ แต่กลัวการถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมกับบท เลยบอกปัดปฏิเสธไป, ต่อมาคือ Stéphane Audran จากความประทับใจ Violette Nozière (1978), Cop au Vin (1985) ทีแรกลองติดต่อหาสามี/ผกก. Claude Chabrol ได้รับความเห็นชอบด้วย เลยส่งบทหนังให้อ่าน เพียงไม่ถึงสองชั่วโมงโทรศัพท์มาตอบตกลง

Stéphane Audran ชื่อจริง Colette Suzanne Jeannine Dacheville (1932-2018) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Versailles, Seine-et-Oise โตขึ้นฝึกฝนการแสดงยัง Ecole de théâtre Charles Dullin แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จกับละคอนเวทีนัก เลยผันตัวมาแสดงภาพยนตร์ ร่วมงานครั้งแรกกับว่าที่สามี Claude Chabrol ตั้งแต่ Les Cousins (1959) ผลงานเด่นๆ อาทิ Les Biches (1968), Le Boucher (1970), The Discreet Charm of the Bourgeoisie (1972), Violette Nozière (1978), Cop au Vin (1985), Babette’s Feast (1987) ฯ

รับบท Babette Hersant อดีตเชฟภัตตาคารหรูในฝรั่งเศส จำต้องอพยพหลบหนีสงครามออกนอกประเทศ ยินยอมทำงานเป็นสาวใช้สองพี่น้อง Filippa & Martine ยังหมู่บ้านชาวเล Jylland เป็นเวลากว่าสามสิบปี ลึกๆเหมือนยังคงโหยหา ครุ่นคิดถึงบ้านเกิด จนกระทั่งวันหนึ่งถูกรางวัลล็อตเตอรี่ 10,000 ฟรังก์ นั่นคือโอกาสสำหรับหวนกลับไป แต่เธอกลับเลือกใช้เงินนั้นจับจ่ายเป็นค่าวัตถุดิบ เครื่องปรุง สำหรับมื้ออาหารสุดพิเศษ เลี้ยงขอบคุณชาวบ้านแห่งนี้ให้ที่ชีวิตใหม่กับตนเอง

หลังจากได้รับบทหนัง เห็นว่า Audran เปิดเพียงหน้าท้ายๆ พบเห็นบทสรุปเรื่องราว รวมถึงถ้อยคำคมๆอย่าง “An artist is never poor.” นั่นคือเหตุผลการตอบตกลงที่เรียบง่าย รวดเร็ว … อาจเพราะสามี Chabrol เป็นคนแนะนำบทหนังด้วยกระมัง จึงมีความเชื่อมั่นระดับหนึ่งว่าบทบาทต้องเหมาะสมกับตนเอง

Babette เป็นตัวละครที่บทพูดไม่เยอะ (นั่นเพราะเธอเป็นชาวฝรั่งเศส ต้องฝึกพูดภาษา Danish) แต่ความโดดเด่นคือการแสดงออกภาษากาย โดยเฉพาะท่าทางขยับเคลื่อนไหวในห้องครัว เห็นว่าไปร่ำเรียนกับหัวหน้าเชฟ Jan Cocotte-Pedersen ภัตตาคาร La Cocotte ณ Copenhagen สอนทั้งสูตรอาหาร มารยาต่างๆ รวมถึงฝึกฝนลีลาทำครัวให้ออกมาดูสมจริงมากที่สุด

ซึ่งถ้าใครช่างสังเกตจะพบว่าปฏิกิริยาอารมณ์ตัวละครระหว่างทำอาหารมื้อนั้น จะมีความแตกต่างจากกิจวัตรประจำวันทั่วไป สีหน้ามุ่งมั่น ท่าทางจริงจัง ตั้งใจทำงานหนัก เสร็จแล้วสูบบุหรี่ผ่อนคลาย ราวกับได้ยกภาระอันหนักอึ้งออกจากทรวงอก หมดทุกข์หมดโศก ไม่เกิดความสูญเสียดายอะไรใดๆอีกต่อไป สามารถนอนตายตาหลับได้เลยกระมัง


ถ่ายภาพโดย Henning Kristiansen (1927-2006) ผู้กำกับ/ตากล้องสัญชาติ Danish ผลงานเด่นๆ อาทิ Hunger (1966), The Missing Clerk (1971), Babette’s Feast (1987) ฯ

งานภาพของหนัง พยายามทำออกมาให้ดูความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไม่เน้นลูกเล่นภาพยนตร์หวือหวา ในสไตล์ Minimalist เพื่อสอดคล้องวิถีชีวิตชาวเล Jylland ต่างยึดถือปฏิบัติตามคำสอนศาสนาอย่างเคร่งครัด เลยไม่ต้องการแสงสีสันสว่างสดใส บรรยากาศเย็นๆ โทนสีซีดๆ เฉพาะงานเลี้ยงเต้นรำและการแสดงอุปรากรที่หรูหราอลังการ

ต้นฉบับเรื่องสั้นระบุพื้นหลังเมืองท่า Berlevåg เหนือสุดของประเทศ Norway แต่พอผกก. Axel เดินทางไปสำรวจสถานที่ พบว่ามีความหรูหรา สวยงามเกินไป “beautiful tourist brochure” ไม่เหมาะกับวิถีสมถะเรียบง่าย เลยตัดสินใจมองหาสถานที่แห่งใหม่ ก่อนพบเจอหมู่บ้าน Vigsø, Thisted Kommune ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของ Nordjylland (North Jutland)

There is a lot that works in writing, but when translated to pictures, it doesn’t give at all the same impression or feeling. All the changes I undertook, I did to actually be faithful to Karen Blixen.

Gabriel Axel

พอได้สถานที่ถ่ายทำ มอบหมายให้ Sven Wichmann (Production Design) ออกแบบสร้างหมู่บ้านขึ้นใหม่ เน้นความเรียบง่าย ไม่ต้องการให้มีจุดโดดเด่นอะไร

โบสถ์แห่งนี้คือ Mårup Kirke (แปลว่า Mårup Church) ตั้งอยู่ยัง Vendsyssel ทางตอนเหนือของ Jylland ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1250 ด้วยสถาปัตยกรรม Romanesque มีความเรียบง่ายทั้งภายนอก-ใน แต่สิ่งสำคัญสุดคือความเชื่อศรัทธาทางจิตใจของชาวคริสเตียน

จะว่าไปมีช่วงกึ่งกลางเรื่อง Filippa & Martine หลังจากพบเห็นเครื่องปรุงอาหาร วัตถุดิบที่ยังมีชีวิตของ Babette บังเกิดความหวาดกลัว จินตนาการเตลิดเปิดเปิง ภาพซ้อนวันโลกาวินาศ คนขี่ม้าสี่คนแห่งวิวรณ์ (Four Horsemen of the Apocalypse) ราวกับว่านี่อาจเป็นกระยาหารมื้อสุดท้าย รับประทานแล้วคงได้ตกนรกทั้งเป็น

เมนูของ Babette ต้นฉบับเรื่องสั้นเห็นว่ามีเขียนชื่อเมนู แต่จะไม่ลงรายละเอียดว่าทำอะไรยังไง (ไม่มีสูตร) ผกก. Axel จึงมอบหมายให้หัวหน้าเชฟ (Head Chef) Jan Cocotte-Pedersen จากภัตตาคาร La Cocotte ณ Copenhagen เป็นผู้ออกแบบเมนู 5-course ประกอบด้วย

  • (ซุป) Soupe de tortue géante [Giant Turtle Soup]
    • ไวน์องุ่น Xérès amontillado [Amontillado Sherry]
  • (ออร์เดิฟ) Blinis Demidoff (au caviar et à la crème) [Blinis Demidoff (with caviar and cream)]
    • แชมเปญ Champagne Veuve Clicquot 1860
  • (จานหลัก) Cailles en sarcophage au foie gras et sauce aux truffes [Quail in sarcophagus with foie gras and truffle sauce]
    • ไวน์แดง Clos de Vougeot 1845
  • (สลัด) Salade d’endives aux noix [Endive salad with walnuts]
    Fromages français d’Auvergne [French cheeses from Auvergne]
    Savarin et salade de fruits glacés [Savarin and frozen fruit salad]
  • (ของหวาน) Baba au rhum [Rum Baba and fresh glazed fruit salad]
    • แชมเปญ Vieux marc Fine Champagne

หลังอิ่มหนำจากมื้ออาหาร ชาวบ้านทั้งหลายออกมาจับมือเต้นรำวนรอบบ่อน้ำ แสดงความสุขสำราญราวกับได้ขึ้นสรวงสวรรค์ มุมกล้องพยายามถ่ายให้ติดดวงดาวบนท้องฟากฟ้า (ราวกับว่านั่นคือสรวงสวรรค์) ให้อิสระผู้ชม/ชาวคริสเตียนครุ่นคิดตีความ อาหารมื้อนี้จะทำให้เราขึ้นสวรรค์หรือตกนรกมอดไหม้

คำร้อง Danishคำแปล Google Translate
Klokken slår, tiden går,
evigheden os forestår.
Lad os da bruge den kostbare tid,
tjene vor Herre med al vor flid,
så skal vi nok komme hjem!
The clock strikes, time passes,
eternity presides over us.
Let us then use the precious time,
serve our Lord with all our diligence,
then we must come home!

ตัดต่อโดย Finn Henriksen (1933-2008) ผู้กำกับ นักเขียน ตัดต่อภาพยนตร์ สัญชาติ Danish,

แม้ชื่อหนังจะคือ Babette’s Feast แต่เรื่องราวไม่ได้นำเสนอผ่านมุมมองของ Babette Hersant เป็นพี่น้อง Filippa และ Martine สองผู้สูงวัยอาศัยอยู่หมู่บ้านริมเล Jylland เริ่มต้นหวนระลึกความทรงจำเมื่อครั้นยังเป็นสาวสวย ต่างพบเจอบุรุษผู้หมายปอง และการมาถึงของ Babette เมื่อสามสิบห้าปีก่อน ได้นำพาความเปลี่ยนแปลงเล็กๆให้กับชาวบ้านละแวกนี้

การดำเนินเรื่องอาจชวนสับสนในครึ่งแรก เพราะเป็นการแนะนำตัวละคร อารัมบทก่อนการมาถึงของ Babette และเมื่อเรื่องราวหวนกลับสู่ปัจจุบัน ก็บังเกิดเหตุการณ์วุ่นๆ ถูกรางวัลล็อตเตอรี่ นำไปสู่งานเลี้ยงอาหารฝรั่งเศส ลาภปากที่ขัดย้อนแย้งต่อจิตสามัญสำนึกผู้คน

  • อารัมบท แนะนำผู้สูงวัย Filippa, Martine และสาวใช้ Babette
  • สัมพันธ์รักของ Filippa และ Martine
    • เริ่มจากเจ้าหน้าที่ทหาร Lorens Löwenhielm ได้รับมอบหมายให้มาประจำการยัง Jylland ตกหลุมรัก Martine แต่ก็มิอาจอดรนทน รับรู้ว่าตนเองไม่มีทางครองคู่ จึงเดินทางกลับสวีเดน ดำเนินตามความฝันตนเอง
    • นักร้องอุปรากรชื่อดัง Achille Papin มาทำการแสดงที่สวีเดน แล้วตัดสินใจหยุดพักผ่อนยัง Jylland ตกหลุมรักน้ำเสียงของ Filippa อาสาเป็นครูสอนร้องเพลง เชื่อมั่นว่าสักวันจะต้องแจ้งเกิดโด่งดัง แต่เธอกลับปฏิเสธความสำเร็จนั้น
  • การมาถึงของ Babette
    • หลายปีต่อมา Achille Papin เขียนจดหมายถึง Filippa ให้ช่วยรับอุปถัมภ์ Babette Hersant หลบลี้หนีภัยจากสงครามกลางเมืองฝรั่งเศส
    • Babette Hersant ใช้เวลาพอสมควรในการปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชาวเล Jylland
  • Babette ถูกรางวัลล็อตเตอรี่
    • ตัดกลับมาปัจจุบัน 35 ปีให้หลัง Babette กลายเป็นสมาชิกหมู่บ้านที่ได้รับความรัก ความเอ็นดู เป็นที่โปรดปรานของใครๆ
    • วันหนึ่งมีจดหมายส่งจาก Paris แจ้งว่า Babette ถูกรางวัลล็อตเตอรี่ 10,000 ฟรังก์
    • หลังจากครุ่นคิดอยู่สักพักใหญ่ Babette อาสาจัดงานเลี้ยงรับประทานอาหารในสไตล์ฝรั่งเศษ
  • งานเลี้ยงของ Babette
    • Babette เดินทางไปสั่งวัตถุดิบ เครื่องปรุง นำกลับมายังหมู่บ้านแห่งนี้
    • หลังจากพบเห็นวัตถุดิบของสัตว์มีชีวิต สร้างความหวาดหวั่นให้กับชาวบ้าน ว่าอาหารมื้อนี้จะนำทางพวกเขาสู่ขุมนรก
    • General Lorens Löwenhielm ตอบรับคำเชิญ เดินทางมาร่วมงานเลี้ยงมื้อนี้
    • ค่ำคืนงานเลี้ยงของ Babette
    • และหลังงานเลี้ยง เดินทางกลับบ้านด้วยรอยยิ้ม อิ่มหฤทัย

ในส่วนของเพลงประกอบ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะ ‘diegetic music’ พบเห็นการขับร้อง ทำการแสดงสด บทเพลงสรรเสริญพระเจ้า, บรรเลงออร์เคสตรา และอุปรากร Mozart: Don Giovanni

  • Mozart: Don Giovanni
    • Act 1, Scene 3: Fin ch’ han dal vino (แปลว่า As long as they have wine) ชื่อเล่น Champagne Aria
    • Act 1, Scene 9: Là ci darem la mano (แปลว่า There we will give each other our hands)
  • Brahms: Waltz in A-Flat Major, Op. 39 No. 15
  • Kuhlau: Sonatina in F Major, Op. 55, No. 4: II. Andantino Con Espressione

ส่วนบทเพลง Soundtrack โดย Per Nørgård (เกิดปี 1932) คีตกวี นักทฤษฎีดนตรี สัญชาติ Danish เกิดที่ Gentofte, โตขึ้นเข้าศึกษา Royal Danish Academy of Music แล้วไปเรียนต่อที่กรุง Paris หลงใหลในสไตล์เพลงร่วมสมัย (Contemporary Music) ทำงานเป็นครูสอนดนตรียัง Odense Conservatory ตามด้วย Royal Danish Conservatory of Music มีผลงาน Orchestral, Opera, Concertante, Chamber Music, เพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ The Red Mantle (1967), Babette’s Feast (1987) ฯ

งานเพลงของ Nørgård สำหรับคนที่ไม่ได้ตั้งใจรับฟัง อาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามีอยู่ ท่วงทำนองสั้นๆ เรียบง่าย กลมกลืนพื้นหลัง คลอประกอบหนังเบาๆ ส่วนใหญ่เป็นการบรรเลงเปียโน ไม่ก็ออร์แกน (โดย Finn Gravnbøl) สอดคล้องสไตล์ Minimalist และวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวเล Jylland


หนึ่งในบทเพลงที่ถือเป็นไฮไลท์อย่างคาดไม่ถึง Là ci darem la mano บทเพลงคู่ (Duet) ที่นักร้องอุปรากร Achille Papin (รับบทโดย Jean-Philippe Lafont นักร้องเสียง Baritone สัญชาติฝรั่งเศส) ทำการเสี้ยมสอน พร้อมเกี้ยวพาราสี Filippa (ขับร้องโดย Tina Kiberg นักร้องเสียง Soprano สัญชาติ Danish) เนื้อคำร้องมันช่างมีความสอดคล้องจองเรื่องราวขณะนั้นๆ … หลายคนอาจไม่คุ้นกับฉบับได้ยินในหนัง เพราะขับร้องด้วยภาษาฝรั่งเศส (ต้นฉบับคืออิตาเลี่ยน)

เกร็ด: Don Giovanni แรกพบเจอตกหลุมรัก Zerlina แม้ว่าเธอหมั้นหมายกับ Masetto วางแผนชักชวนทั้งสองมาร่วมงานเลี้ยงเฉลิมฉลองแต่งงานที่ปราสาท พอแฟนหนุ่มกลับบ้านไปก่อน เขาจึงเริ่มหยอกล้อ เกี้ยวพาราสีด้วยบทเพลง Là ci darem la mano

แถมให้อีกบทเพลงเพราะๆ Se, hvor sig dagen atter skynder แปลว่า See how the day hastens again ได้ยินหลังเสร็จจากรับประทานอาหาร Filippa ขับร้อง บรรเลงเปียโน รวบรวมอยู่ใน Danish Hymnbook No. 766 (บทเพลงสรรเสริญพระเจ้า)

ต้นฉบับ Danishคำแปล Google Translation
Se, hvor sig dagen atter skynder,
i vestervand sig solen tog,
vor hviletime snart begynder;
o Gud, som udi lyset bor
og sidder udi Himmelsal,
vær du vort lys i mørkeds dal.
Vort timeglas det alt nedrinder,
af natten drives dagen bort,
al verdens herlighed forsvinder
og varer kun så ganske kort;
Gud, lad dit lys ej blive slukt
Og nådens dør ej heller lukt.
See how the day hastens again,
in the west the sun set,
our hour of rest soon begins;
o God, who lives outside the light
and sits outside Himmelsal,
be our light in the valley of darkness.
Our hourglass it all pours down,
by night the day is driven away,
all the glory of the world vanishes
and lasts only so very briefly;
God, do not let your light be extinguished
And the door of grace does not smell either.

LINK: https://www.youtube.com/watch?v=uDKNlLzrDfw

Babette’s Feast (1987) นำเสนอเรื่องราวของชุมชนที่มีความเชื่อมั่นศรัทธาศาสนาอย่างแรงกล้า เลือกที่จะใช้ชีวิตสมถะ กินอยู่อย่างเรียบง่าย พอมีพอใช้ ไม่ต้องการชื่อเสียง เงินทอง ความสำเร็จอะไรๆใดๆ เพียงยึดถือปฏิบัติตามคำสอน เพื่อว่าเมื่อลาจากโลกใบนี้ ตายแล้วได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ กลับไปอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้า

การมาถึงของ Babette Hersant หญิงต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม เคยมีชีวิตเลิศหรูหรา เชฟระดับภัตตาคาร แต่เพราะภัยสงครามทำให้ต้องอพยพหลบหนี ลี้ภัยมาอาศัยอยู่กับชาวบ้านแห่งนี้ ค่อยๆเรียนรู้ที่จะปรับตัว ปล่อยวาง เข้าใจความเพียงพอดี กระทั่งกาลเวลาพานผ่านมากว่า 35 ปี วันหนึ่งบังเอิญถูกล็อตเตอรี่ นี่อาจคือการร่ำจากลาครั้งสุดท้าย

แม้ว่า Babette ยังมีความคร่ำครวญ โหยหา ครุ่นคิดถึงช่วงเวลาเคยอาศัยอยู่ฝรั่งเศส เป็นเชฟระดับภัตตาคาร แต่กาลเวลาได้พานผ่านมาเนิ่นนาน ได้เรียนรู้ที่จะปรับตัว ปล่อยวาง คลายความยึดติดกับโลกใบนั้น การถูกรางวัลล็อตเตอรี่ไม่ได้ทำให้เธอกระตือรือล้นที่จะหวนกลับไป แต่เกิดความต้องการจะทำบางสิ่งอย่างเพื่อตอบแทนชาวบ้านทั้งหลาย เรียกร้องขอครั้งแรกครั้งเดียวในชีวิต ปรุงอาหารฝรั่งเศสมื้อสุดท้าย

ผกก. Axel เป็นชาว Danish แต่กลับใช้ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ Paris, ฝรั่งเศส ฟังดูมันช่างตรงกันข้ามกับ Babette เชฟชาวฝรั่งเศส แต่ต้องอพยพลี้ภัยมาอยู่ประเทศ Denmark

เชฟ (Chef) คือคำเรียกผู้ประกอบอาหารระดับสูง มีความรู้ เชี่ยวชำนาญ มากด้วยประสบการณ์ รังสรรค์มื้ออาหารด้วยความประณีต วิจิตรศิลป์ ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ หน้าตาภายนอก แต่ยังสัมผัสอันซับซ้อนของรูป-รส-กลิ่น-เสียง แบบเดียวกับศิลปินรังสรรค์งานศิลปะ ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์

แม้ว่า Babette’s Feast (1987) จะไม่ใช่ผลงานเรื่องสุดท้ายของผกก. Axel แต่ก็มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในชีวิตต้องการดัดแปลงเรื่องสั้น สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้จงได้ พยายามเก็บเกี่ยวสะสมประสบการณ์ มองหาโอกาสในอาชีพการงาน ท้ายที่สุดก็สามารถทำได้สำเร็จ แบบเดียวกับ Babette ปรุงอาหารมื้อสุดท้าย ต่อจากนี้คงได้นอนตายตาหลับ ไม่มีอะไรหลงเหลือติดค้างคาใจ

เนื่องจากผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาคริสต์ จึงขอไม่วิเคราะห์ถึงกระยาหารมื้อนี้ จักทำให้ชาวคริสเตียนตกนรกมอดไหม้หรือไม่? แต่สำหรับชาวพุทธ ไม่มีกล่าวถึงความหรูหราฟุ่มเฟือยของมื้ออาหาร เพียงหักห้ามเนื้อสัตว์บางประเภท (พระสงฆ์ห้ามรับประทาน เนื้อมนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข ราชสีห์ ฯ) และสอนให้พิจารณาอาหารโดยความเป็นของน่าเกลียด

อาหาเรปฏิกูลสัญญา (กัมมัฏฐาน, คัมภีร์อังคุตตรนิกาย) คือการพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร กำหนดหมายว่า อาหารที่บริโภค ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ล้วนเป็นสิ่งปฏิกูล เหตุให้ได้รับทุกข์ ภัย อุปัทวันตรายต่างๆ รวมถึงภัยจากความยินดีในการรับประทาน หากพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดสุขุม จะพบเห็นโทษภัยที่น่ากลัว และถ้าขาดการพิจารณาจะมองไม่เห็นโทษเลย

อาหารมื้อที่มีความปรารถนาน้อยเปนเนื้อข้าว มีความสันโดษเปนกับข้าว เปนอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกนี้ บางคนกล่าวว่ามื้อที่หิว ข้อนั้นย่อมไม่แน่นอนนัก เพราะคนที่มีหิวบางคนก็ยังเลือกอาหาร และติเตียนเมื่อบริโภคแล้ว.

ข้าวสุกเปล่าที่เคี้ยวบดอยู่ในปากมีความสันโดษในห้วงแห่งดวงใจเปนกับ ย่อมหวานยิ่งกว่าข้าวสุกระคนด้วยนมข้นอย่างหวาน แต่เคี้ยวกลืนด้วยหัวใจแห่งชาวโลกธรรมดา! แม้ว่าตามธรรมชาติของแป้งข้าวในข้าวสุข เมื่อผสมกับน้ำลายแล้ว แปรธาตุเปนน้ำตาลรู้สึกหวานแก่ผู้เคี้ยวก็จริง แต่มันหวานไม่ถึง 1/100 ของข้างที่เคี้ยวและกลั้วด้วยน้ำลายอันผสมด้วยเชื้อแห่งสันโดษ.

เคยปรากฏแก่ข้าพเจ้าในบางครั้งว่า หวานจนขนลุกและเย็นซ่าไปทั่วตัว มีกลิ่นหอมและชุ่มชื่น จนรู้สึกว่า 3-4 คำก็พอแล้วสำหรับชีวิตในวันนี้ แต่ถ้าบางวันข้าพเจ้าเผลอลืมราดน้ำปรุงรสกล่าวคือความสันโดษนี่แล้ว ย่อมรู้สึกว่า ชาวบ้านช่างใจจืดแก่พวกเราเสียจริงหนอ! เขาไม่ให้อาหารที่เปนรสชาติแก่ลิ้นเสียเลย ทั้งที่วันนั้นมีการแกงไม่น้อยกว่า 2-3 อย่างก็มี

พระพุทธบิดาตรัสว่า จิตต์เปนธรรมชาติที่มีอารมณ์อันเดียว หมายความว่ามันเสวยอารมณ์ หรือรู้สึกอารมณ์ได้คราวละอัน ท่านจะป้อนอารมณ์อันไหนก็ให้แก่มันย่อมแล้วแต่ท่านจะเลือก เมื่อสันโดษเปนธรรมารมณ์ที่จิตเสวยอยู่แล้ว เมื่อนั้นมันย่อมเปนเด็กที่เลี้ยงง่ายไม่อ้อน และไม่รู้สึกถึงการที่มันเคยเลี้ยงยากครั้งก่อนๆ หรือครั้งอื่นๆ เลย

เพราะมันมีอารมณ์อันเดียว เปนแต่มันเปลี่ยนอารมณ์เร็วมากเท่านั้น เมื่อท่านไม่ยอมให้มันเปลี่ยน ผูกมัดไว้แน่นกับเสาเขื่อนคือสันโดษเหมือนลูกโคที่เขาจะนำไปฆ่าแล้ว ผักล้วนๆ หรือข้าวสุกล้วน ไม่มีอะไรเจือปน ก็ทำความพอใจอิ่มเอมให้แก่จิตต์เท่ากันกับอาหารที่ท่านหลงเพ้อว่าวิเศษทั้งหลาย ซึ่งเปนอาหารชนิดยาเสพติดมากกว่า ถ้าทำถูกวิธีจิตต์จะมีอารมณ์อันเดียว และไม่อ้อนเลย

วันหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นโคกินหญ้าด้วยความสังเกตยิ่งกว่าทุกวัน เข้าใจว่ามันรู้สึกอร่อยเท่าที่พวกมันเปนทาสลิ้นเห็นอาหารตามภัตตาคารสูงๆ หรือแม่ครัวฝีมือดีเหมือนกัน วันหนึ่งข้าพเจ้าเลี้ยงปลาในสระด้วยข้าวสุกอย่างเดียว ข้าวสุกซึ่งมนุสส์กินแต่อย่างเดียวไม่ได้ แต่พวกปลามันเห็นเปนดุจว่า เทวดาเอาของทิพย์มาหว่านให้ทีเดียว นี่คือธรรมชาติ! มนุสส์ได้ยอมเปนขี้ข้าของปิสาจมหาอุบาทว์คือตัณหาในรสที่ลิ้นไปเสียแล้ว จึงกินข้าวสุกอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งที่มนุสส์ก็คือสัตว์ธรรมชาติชนิดหนึ่งเหมือนกัน

วันหนึ่งข้าพเจ้าสละทองหยิบ และขนมหม้อแกง และของอื่นบางอย่าง แทนที่จะบริโภคเอง ให้พวกปลานั้นกิน แต่มันหากินไม่ ดูเถิดธรรมชาติ! มนุสส์สัตว์ธรรมชาติ ได้ละจากสิ่งที่บริสุทธิ์ ไปยึดสิ่งที่เศร้าหมอง เสพติดยาฝิ่นอย่างเงียบๆ ให้เป็นของจำเป็นสำหรับชีวิตด้วยการยึดถือ เห็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติเปนของเลวทราม สิ่งที่ปรุงใหม่ และหายากเปนของดี เพราะอุปทานที่ลิ้น!…ข้าวต้องผัดต้องปรุงเสียก่อน จึงจะกินข้าวนั้นได้โดยไม่ต้องกินกับข้าว ซึ่งความจริงมันก็เหมือนกับข้าวนั่นเอง

ธรรมชาติต้องการอาหารที่บำรุง หาต้องการอาหารที่แสลงไม่, อาหารที่ปรุงยิ่งวิเศษยิ่งขึ้นเพียงใด ก็ยิ่งเป็นอาหารเลวทรามลงเพียงนั้น เพราะแสลงและไม่เปนประโยชน์แก่ร่างกายยิ่งขึ้น ก็ยิ่งเป็นอาหารเลวทรามลงเพียงนั้น เพราะแสลงและไม่เปนประโยชน์แก่ร่างกายยิ่งขึ้น เปนแต่มีกลิ่น, สี, รส ฝั่งมนุสส์ให้โง่หลงผิดยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง…

อาหารมื้ออร่อยที่สุด โดยพุทธทาสภิกขุ

เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes เห็นว่าเสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ แต่สามารถคว้ารางวัล Prize of the Ecumenical Jury – Special Mention จากนั้นตระเวนออกฉายตามเทศกาลหนัง โดยไม่รู้ตัวบังเกิดกระแสนิยมจากผู้ชมอเมริกัน กลายเป็นตัวแทนเดนมาร์กเข้าชิง Golden Globe และคว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoraion’ คุณภาพ 2K ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 จัดจำหน่าย DVD/Blu-Ray โดยค่าย Criterion Collection และ Artificial Eye

โชคดีที่ผมพอมีความรู้นิดๆหน่อยๆเกี่ยวกับอาหารฝรั่งเศส (สมัยเรียนมหาวิทยาลัย มีวิชาที่สอนมารยาทบนโต๊ะอาหาร) เคยติดตามรายกายทำอาหารอย่างมาสเตอร์เชฟ ท็อปเชฟ ฯ เลยสามารถเข้าใจวัฒนธรรมการกินที่ซับซ้อน ละเอียดอ่อน มองเป็นศาสตร์ศิลปะ

ขณะเดียวกันความขัดแย้งระหว่างอาหารชั้นสูง vs. ศรัทธาศาสนา ทำให้งานเลี้ยงสุดเต็มไปด้วยความหรรษา ว้าๆวุ่นวาย พร้อมถ้อยคำเฉียบคมคาย “An artist is never poor.”

จัดเรต pg กับสรรพสัตว์ที่กำลังจะถูกเชือดทำอาหาร

คำโปรย | Babette’s Feast มื้ออาหารสุดหรูหราของ Gabriel Axel อิ่มหนำทั้งร่างกาย และจิตวิญญาณ
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | อิ่มหนำ

Inherit the Wind (1960)


Inherit the Wind (1960) hollywood : Stanley Kramer ♥♥♥♥

ได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์จริง! ครูวิทยาศาสตร์ถูกจับกุมข้อหาสอนทฤษฎีวิวัฒนาการ (Theory of Evolution) ของ Charles Darwin เพราะเป็นสิ่งขัดแย้งต่อกฎหมาย Butler Act ทำการปฏิเสธหนังสือปฐมกาล (Book of Genesis) รังสรรค์นิยม (Creationism) พระเจ้าสร้างจักรวาลและชีวิต ไม่ใช่วิวัฒนาการจากลิงสู่มนุษย์, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

He that troubleth his own house shall inherit the wind: and the fool shall be servant to the wise of heart.

Proverbs 11:29 จากฉบับของ King James Bible

คำแปลจากคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทย “คนที่ทำให้ครอบครัวของตนลำบากจะรับลมเป็นมรดก และคนโง่จะเป็นคนรับใช้ของคนมีปัญญา” ก็น่าสงสัยว่าใช้ Google Translation หรืออย่างไร? ผมพยายามหาอ่านการตีความ Inherit the Wind ก่อนได้ข้อสรุปประมาณว่า “บุคคลที่สร้างปัญหาให้กับบ้านของตนเอง สุดท้ายแล้วจะไม่หลงเหลืออะไรสักสิ่งอย่าง” คำว่าบ้านสามารถเหมารวมถึงครอบครัว เพื่อนฝูง ชุมชน องค์กร รวมถึงประเทศชาติ สถานที่ที่เราเป็นสมาชิก, ส่วนสายลมคือสัญลักษณ์ของการสูญเสีย ปลิดปลิว อากาศธาตุ

ในลิสของ AFI’s 10 Top 10 – Courtroom Drama ทีแรกผมจับจ้อง Judgment at Nuremberg (1961) โดยไม่รู้ตัวเองว่าเขียนถึงไปแล้ว บังเอิญพบว่าผกก. Stanley Kramer ยังมีอีกผลงานก่อนหน้า Inherit the Wind (1960) ที่อาจจะยอดเยี่ยมกว่า นั่นเพราะนักวิจารณ์ Roger Ebert ยกให้เป็น Great Movie

It is “Inherit the Wind” among all of Kramer’s films that seems most relevant and still generates controversy.

Roger Ebert ให้คะแนน 4/4 พร้อมยกเป็น Great Movie

หลายคนอาจยกย่องการโต้ถกเถียงคัมภีร์ไบเบิล vs. ทฤษฎีวิวัฒนาการ ระหว่างสองโคตรนักแสดง Fredric March vs. Spencer Tracy มีการหักเหลี่ยม เฉือนคม ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน พอถึงตอนระเบิดอารมณ์ก็ทำได้อย่างทรงพลัง สร้างความตลกขบขัน (ออกไปในทางตลกร้าย) และทำให้ผู้ชมรู้จัก ‘ครุ่นคิด’ ไม่ใช่หลับหูหลับตา เอาแต่ลุ่มหลงงมงาย

แต่อีกไฮไลท์ของหนังที่ทำให้ผมยกย่องระดับมาสเตอร์พีซ คือลีลาการกำกับของผกก. Kramer เต็มไปด้วยรายละเอียด ‘mise-en-scène’ โดยเฉพาะการเลือกทิศทาง จัดวางมุมกล้อง ตำแหน่งตัวละคร รวมถึงอากัปกิริยาต่างๆ ล้วนแฝงนัยยะซ่อนเร้น สอดคล้องเข้ากับหัวข้อการสนทนานั้นๆได้อย่างลุ่มลึกล้ำ


ต้นฉบับของ Inherit the Wind คือบทละครเวที Broadway สร้างโดย Jerome Lawrence และ Robert E. Lee ทำการแสดงรอบปฐมทัศน์ ณ National Theater วันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1955 จำนวน 806 รอบการแสดง สามารถเข้าชิง Tony Award สี่สาขา คว้ามาสามรางวัล

  • Best Director (Herman Shumlin)
  • Best Performance by a Leading Actor in a Play (Paul Muni)**คว้ารางวัล
  • Best Performance by a Featured Actor in a Play (Ed Begley)**คว้ารางวัล
  • Best Scenic Design**คว้ารางวัล

เรื่องราวนำแรงบันดาลใจจากคดีความ Scopes ‘Monkey’ Trials ชื่อเต็มๆ The State of Tennessee v. John Thomas Scopes เหตุการณ์เคยเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1925 ครูวิทยาศาสตร์ John T. Scopes ถูกจับกุม ตั้งข้อหาหลังทำการสอนทฤษฎีวิวัฒนาการของ Charles Darwin เพราะกระทำสิ่งขัดต่อกฎหมายของรัฐ Tennessee ว่าด้วย Butler Act (1925)

CHAPTER NO. 27
House Bill No. 185
(By Mr. Butler)

AN ACT prohibiting the teaching of the Evolution Theory in all the Universities, Normals and all other public schools of Tennessee, which are supported in whole or in part by the public school funds of the State, and to provide penalties for the violations thereof.

Section 1. Be it enacted by the General Assembly of the State of Tennessee, That it shall be unlawful for any teacher in any of the Universities, Normals and all other public schools of the State which are supported in whole or in part by the public school funds of the State, to teach any theory that denies the story of the Divine Creation of man as taught in the Bible, and to teach instead that man has descended from a lower order of animals.

Section 2. Be it further enacted, That any teacher found guilty of the violation of this Act, Shall be guilty of a misdemeanor and upon conviction, shall be fined not less than One Hundred $ (100.00) Dollars nor more than Five Hundred ($ 500.00) Dollars for each offense.

Section 3. Be it further enacted, That this Act take effect from and after its passage, the public welfare requiring it.

Passed March 13, 1925

W. F. Barry,
L. D. Hill,
Speaker of the Senate

Approved March 21, 1925.
Austin Peay,
Governor.

หลังจาก Scopes ถูกจับกุมตัว บรรดาผู้สื่อข่าว นักหนังสือพิมพ์ ต่างประโคมข่าวใหญ่ระดับชาติ! จนสามารถดึงดูดสองบุคคลผู้มีชื่อเสียง เดินทางมาเป็นผู้ช่วยอัยการ-ทนายความ ประกอบด้วย

  • William Jennings Bryan อดีตผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีสามสมัย อาสามาเป็นผู้ช่วยอัยการ
  • ทนายความชื่อดัง Clarence Darrow อยู่ฟากฝั่งจำเลย ได้รับการสนับสนุนจากนักข่าว Henry L. Mencken เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ Baltimore Sun และ American Mercury (และยังเป็นผู้ริเริ่มต้นเรียกคดีความนี้ว่า Monkey Trial)

การพิจารณาดำเนินขึ้นระหว่างวันที่ 10-21 กรกฎาคม ค.ศ. 1925 ตรงกับช่วงฤดูร้อนระอุ ถึงขนาดว่าต้องย้ายสถานที่ออกมาภายนอกศาล แต่เห็นว่าการโต้ถกเถียงเป็นไปอย่างเอื่อยเฉื่อย น่าเบื่อหน่าย แถมฟากฝั่งจำเลยไม่ได้รับอนุญาตนักวิทยาศาสตร์ใดๆขึ้นให้การ เลยตัดสินใจเชิญผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์ไบเบิล Jennings Bryan ขึ้นมาตอบคำถามด้วยตนเอง แม้ผลการตัดสิน Scopes จะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แต่ปฏิเสธจ่ายค่าปรับ $100 เหรียญ แล้วไปว่าต่อกันยังศาลฎีกา (Supreme Court of Tennessee)

เกร็ด: กฎหมาย Butler Act (1925) กว่าจะถูกยกเลิก (Repealed) ก็เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1967

สำหรับฉบับละครเวที Broadway ผู้สร้างทำการอ้างอิงถึงคดีความนี้โดยหยาบๆ คงเหตุการณ์สำคัญๆ หัวข้อถกเถียงบางประเด็น แต่รายละเอียดอื่นๆล้วนปรุงแต่งสร้างขึ้นใหม่ ด้วยจุดประสงค์ให้เกิดการโต้ถกเถียงถึง McCarthy Trials ที่พยายามปิดปากการแสดงความคิดเห็น กล่าวหาบุคคลในวงการบันเทิงที่ฝักใฝ่พรรคคอมมิวนิสต์ แถมยังขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) บีบบังคับไม่ให้ทำงาน นี่มันพฤติกรรมเผด็จการ หลงระเริงในอำนาจ

We used the teaching of evolution as a parable, a metaphor for any kind of mind control. It’s not about science versus religion. It’s about the right to think.

Jerome Lawrence

Stanley Earl Kramer (1913-2002) ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City ในครอบครัวเชื้อสาย Jewish อาศัยอยู่กับมารดาทำงานอยู่สำนักงานสาขา Paramount Pictures (ที่ New York) โตขึ้นสามารถสอบเข้าคณะบริหารธุรกิจ New York University สำเร็จการศึกษาตั้งแต่อายุ 19 ปี! จากนั้นทำงานเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ ระหว่างนั้นก็ได้ฝึกงานสตูดิโอ 20th Century Fox ก่อนตัดสินใจย้ายสู่ Hollywood เปลี่ยนงานไปเรื่อยๆจากคนตัดฟีล์ม MGM, เขียนบท/นักค้นคว้าข้อมูล Columbia Picture, Republic Picture, ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกจับใบแดงส่งไป Signal Corps มีโอกาสฝึกงานกับ Frank Capra, Anatole Litvak, ภายหลังสงครามสมัครงานที่ไหนก็ไม่รับ เลยก่อตั้งสตูดิโอ Screen Plays Inc. กลายเป็นโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ Champion (1949), The Men (1950), Cyrano de Bergerac (1950), High Noon (1952), Death of a Salesman (1951), The Caine Mutiny (1954), จากนั้นเริ่มกำกับผลงาน The Defiant Ones (1958), On the Beach (1959), Inherit the Wind (1960), Judgment at Nuremberg (1961), It’s a Mad, Mad, Mad, Mad World (1963), Guess Who’s Coming to Dinner (1967) ฯ

ความสำเร็จของละคอนเวที Inherit the Wind เข้าตาผกก. Kramer จึงติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงภาพยนตร์ แล้วมอบหมายให้สองนักเขียน Nedrick Young (1914-68) และ Harold Jacob Smith (1912-70) เคยร่วมงาน The Defiant Ones (1958)**คว้ารางวัล Oscar: Best Original Screenplay

เกร็ด: Nedrick Young คือหนึ่งในบุคคลที่ถูก Hollywood Blacklist เพราะปฏิเสธขึ้นให้การกับ House Committee on Un-American Activities (HCUA) จึงต้องใช้นามปากกาปรากฎบนเครดิต Nathan E. Douglas

ในขณะที่ฉบับละครเวทีมีเพียงฉากเดียวภายในชั้นศาล ภาพยนตร์สามารถเพิ่มเติมรายละเอียดภายนอก การเดินขบวน กิจกรรมงานวัด ความสัมพันธ์ระหว่างสองทนายความ พระเอกกับแฟนสาว (รวมถึงหญิงสาวกับบิดา) และการท้าทายศาลโดยอ้างว่าไม่มีความยุติธรรม (เลยถูกสั่งปรับ $2,000 เหรียญ)


พื้นหลังช่วงทศวรรษ 20s ยังเมืองสมมติ Hillsboro, ครูวิทยาศาสตร์ Bertram Cates (รับบทโดย Dick York) ระหว่างกำลังสอนทฤษฎีวิวัฒนาการของ Charles Darwin ถูกจับกุมเนื่องจากกระทำสิ่งขัดต่อกฎหมาย Butler Act กลายเป็นข่าวใหญ่โด่งดังไปทั่วประเทศ ถึงขนาดทำให้อดีตผู้สมัครประธานาธิบดี Matthew Harrison Brady (รับบทโดย Fredric March) ประกาศอาสาเป็นผู้ช่วยอัยการ ได้รับการต้อนรับจากชาวเมืองอย่างล้นหลาม

ขณะที่ฟากฝั่งจำเลยได้รับการสนับสนุนจากนักหนังสือพิมพ์ E. K. Hornbeck (รับบทโดย Gene Kelly) แห่ง Baltimore Herald สามารถติดต่อทนายความ Henry Drummond (รับบทโดย Spencer Tracy) อดีตเพื่อนร่วมงาน Brady แต่เหินห่างกันมาหลายปี และคราวนี้กลายเป็นศัตรูผู้มีความคิดเห็นแตกต่างตรงกันข้าม


Spencer Bonaventure Tracy (1900-67) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Milwaukee, Wisconsin วัยเด็กเป็นคนสมาธิสั้น บิดาเลยส่งไปโรงเรียนสอนศาสนา ก่อนค้นพบความสนใจในภาพยนตร์, พออายุ 18 สมัครทหารเรือ ปลดประจำการโดยไม่เคยออกทะเลจริงสักครั้ง! จากนั้นตามคำร้องขอบิดา เข้าศึกษาเภสัชศาสตร์ Ripon College แต่เอาเวลาว่างทุ่มเทให้กับการแสดง สามารถออดิชั่นเข้าร่วม American Academy of Dramatic Arts (AADA) ย้ายไปปักหลักอยู่ New York City กลายเป็นนักแสดงขาประจำของ George M. Cohen, กระทั่งการมาถึงของหนังพูดได้เซ็นสัญญาสตูดิโอ Fox เข้าตาผู้กำกับ John Ford รับบทนำภาพยนตร์ Up the River (1930) [บทบาทแรกของ Humphrey Bogart ด้วยเช่นกัน], เริ่มเข้าตานักวิจารณ์จาก The Power and the Glory (1933), พอย้ายค่ายมา MGM ประสบความสำเร็จกับ Fury (1936), San Francisco (1936), บุคคลแรกคว้ารางวัล Oscar: Best Actor สองปีติดจาก Captains Courageous (1937) และ Boys Town (1939), ผลงานเด่นๆ อาทิ Dr. Jekyll and Mr. Hyde (1941), Woman of the Year (1942), A Guy Named Joe (1943), Adam’s Rib (1949), Father of the Bride (1950), Bad Day at Black Rock (1955), The Old Man and the Sea (1958), ช่วงบั้นปลายชีวิตกลายเป็นขาประจำ Stanley Kramer ตั้งแต่ Inherit the Wind (1960), Judgment at Nuremberg (1961), It’s a Mad, Mad, Mad, Mad World (1963), Guess Who’s Coming to Dinner (1967) ฯ

รับบท Henry Drummond (ต้นแบบคือ Clarence Darrow) ทนายความผู้เลื่องชื่อว่าไม่ได้มีความเชื่อเรื่องพระเจ้า แต่แท้จริงแล้วเป็นบุคคลเอ่อล้นด้วยศรัทธา เพียงแค่ไม่ปิดกั้นความครุ่นคิดตนเอง เปิดรับแนวคิดวิวัฒนาการ ปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคสมัยใหม่ และยังสามารถวิเคราะห์ตีความสัมพันธ์ระหว่างคัมภีร์ไบเบิลกับทฤษฏีของ Charles Darwin เชื่อด้วยเหตุผล ไม่เอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง

แซว: ในตอนแรก Tracy บอกปัดบทบาทนี้ ผกก. Kramer เลยไปพูดคุยกับนักแสดงคนอื่น แล้วหวนกลับมาบอกว่าสามารถติดต่อ March, Kelly ฯ เลยทำให้ Tracy ยินยอมจรดปากกาเซ็นสัญญา(เป็นคนแรก) ทั้งที่จริงๆแล้วนักแสดงคนอื่นยังแค่ตอบตกลงปากเปล่าเท่านั้นเอง … นี่ถือเป็นกลยุทธ์ของผู้มีประสบการณ์ทั้งโปรดิวเซอร์และกำกับภาพยนตร์

Tracy เป็นนักแสดงที่มีความเป็นธรรมชาติสูงมากๆ (Naturalism) สามารถทำทุกสิ่งอย่างให้ดูเรียบง่าย ลื่นไหล โดยเฉพาะน้ำเสียง ลีลาการพูด ขณะกล่าวสุนทรพจน์สามารถสร้างแรงดึงดูด บังเกิดอารมณ์ร่วม ฟังแล้วรู้สึกเห็นพ้องคล้อยตาม แตกต่างตรงกันข้ามอย่างชัดเจนกับ March ราวกับไม้เบื่อไม้เมา เติมเต็มกันและกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ผกก. Kramer น่าจะเป็นบุคคลที่เข้าใจและรับรู้วิธีการใช้งาน Tracy ได้อย่างเต็มศักยภาพที่สุดแล้ว! สังเกตจากหลายๆผลงานของพวกเขา ต้องมีการโต้ตอบบทพูด หักเหลี่ยมเฉือนคม และซีเควนซ์ ‘Long Take’ รับฟังคำกล่าวสุนทรพจน์ที่ดูเรียบง่าย แต่สามารถจุดประกายความคิด และบังเกิดความฮึกเหิมขึ้นภายใน (น่าจะได้แรงบันดาลใจจากตอนจบของ The Great Dictator (1940))


Fredric March ชื่อเกิด Ernest Frederick McIntyre Bickel (1897-1975) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Racine, Wisconsin สำเร็จการศึกษาจาก University of Wisconsin–Madison อาสาสมัครทหารปืนใหญ่ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งหนึ่ง จากนั้นทำงานเป็นนายธนาคาร แต่หลังจากเข้ารับผ่าตัดไส้ติ่ง ครุ่นคิดค้นมองหาเป้าหมายชีวิตใหม่ ลาออกงานเก่าเลือกเส้นทางสายการแสดง มีผลงาน Broadway ก่อนได้เซ็นสัญญากับ Paramount Pictures แจ้งเกิดกับ The Royal Family of Broadway (1930), Dr. Jekyll and Mr. Hyde (1932)**คว้ารางวัล Oscar: Best Actor, A Star Is Born (1937), The Best Years of Our Lives (1946)**คว้ารางวัล Oscar: Best Actor, Death of a Salesman (1951), Inherit the Wind (1961) ฯ

รับบท Matthew Harrison Brady (ต้นแบบคือ William Jennings Bryan) อดีตผู้สมัครประธานาธิบดีสามสมัย และถือเป็นผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์ไบเบิล อาสาเข้าร่วมการพิจารณาคดีความครั้งนี้ในฐานะผู้ช่วยอัยการ (แต่มีบทบาทมากกว่าอัยการจริงๆเสียอีก) เผชิญหน้าอดีตเพื่อนร่วมงาน Henry Drummond ปฏิเสธการโอนอ่อนผ่อนปรน ยึดถือความครุ่นคิด/เชื่อมั่นศรัทธาของตนเองเป็นที่ตั้ง โดยไม่รู้ตัวทุกคำพูดกล่าวล้วนย้อนกลับมาทำลายตัวเอง

แวบแรกที่ผมพบเห็นตัวละคร บอกเลยว่าจดจำไม่ได้ว่าคือ March เพราะตัวจริงพี่แกแค่หัวเถิก ไม่ได้ล้านทรงลานบินแบบในหนัง ส่วนการแสดงชัดเจนว่าจงใจทำให้ดูหยาบโลน แข็งกระด้าง ท่าทางเคลื่อนไหวฝืนธรรมชาติ ขยับปากเหมือนมีอาการผิดปกติ(ทางระบบประสาท)บางอย่าง หน้าดำคร่ำเครียด หน้านิ่วคิ้วขมวดตลอดเวลา น้ำเสียงพูดจาเต็มไปด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด ก็ไม่รู้แค้นเคืองโกรธใครมา จนหลายครั้งไม่สามารถควบคุมตนเอง

จุดประสงค์การแสดงที่ดูฝืนๆ ผิดธรรมชาติ เทคนิคแพรวพราวของ March เพื่อให้ผู้ชมสังเกตความแตกต่างกับตัวละครของ Tracy อดีตเพื่อนรัก กลายเป็นศัตรู คู่ปรับขั้วตรงข้าม หักเหลี่ยมเฉือนคม “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ไม่มีใครยินยอมกันและกัน จนกระทั่งโดนต้อนจนมุม สันดานธาตุแท้จึงถูกเปิดเผยออกมา ไม่ยินยอมรับความจริง ลวงหลอกกระทั่งตัวตนเอง จนแทบไม่หลงเหลือใครข้างกาย ท้ายที่สุดน่าจะหมดสิ้นเรี่ยวแรง ตรอมใจตาย

เกร็ด: ในหนังทำเหมือนว่าตัวละครสิ้นใจตายทันที แต่ชีวิตจริงของ William Jennings Bryan เสียชีวิตขณะนอนหลับ หัวใจล้มเหลว (Heart Attack) ห้าวันหลังการพิจารณาคดีความเสร็จสิ้น


Gene Kelly ชื่อจริง Eugene Curran Kelly (1912-96) นักเต้น/นักแสดง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Pittsburgh, Pennsylvania ครอบครัวมีเชื้อสาย Irish ผสม German, มารดาส่งเขาและพี่ชายไปเรียนการเต้นตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แต่ตอนนั้นไม่ได้มีความชื่นชอบสักเท่าไหร่ กระทั่งเหตุการณ์ Wall Street Crash เมื่อปี 1929 ทำให้ต้องออกจากโรงเรียน ช่วยที่บ้านทำงานหาเงิน ร่วมกับพี่ชายกลายเป็นนักเต้นล่ารางวัล, ต่อมาสามารถสอบเข้าคณะเศรษฐศาสตร์ University of Pittsburgh แล้วได้เข้าร่วมชมรมการแสดง Cap and Gown Club, พอเรียนจบทำงานเป็นครูสอน ออกแบบท่าเต้น แล้วมุ่งสู่ New York City กลายเป็นนักแสดง Broadway พอเริ่มโด่งดังก็ถูกเรียกตัวจาก Hollywood เซ็นสัญญา David O. Selznick ภาพยนตร์เรื่องแรก For Me and My Gal (1942), ประสบความสำเร็จล้นหลามกับ Cover Girl (1944), Anchors Aweigh (1945), On the Town (1949), An American in Paris (1951), Singin’ in the Rain (1952) ฯ

รับบท E. K. Hornbeck นักหนังสือพิมพ์ Baltimore Herald (ต้นแบบคือ Henry L. Mencken) ผู้มีความกระตือรือล้น สนอกสนใจคดีความ Monkey Trial ชอบพูดถ้อยคำสำบัดสำนวน ในเชิงเสียดสีถากถาง ไม่ค่อยถูกกับ Matthew Harrison Brady แต่ให้การสนับสนุน Bertram Cates และทนายความ Henry Drummond อย่างสุดความสามารถ

ในตอนแรก Kelly ไม่มีความสนใจบทบาทนี้สักเท่าไหร่ แต่พอผกก. Kramer อ้างว่าได้ติดต่อนักแสดง Tracy และ March ก็เปลี่ยนใจตอบตกลงโดยทันที! (แต่จริงๆคือยังไม่ได้พูดคุยกับใครทั้งนั้น Kelly คือคนแรกที่ตอบตกลงปากเปล่า)

แม้ว่าบทบาทของ Kelly จะเป็นเพียงตัวประกอบ โผล่มาแย่งซีนสองสามครั้ง แต่ก็ช่วยสร้างสีสันเล็กๆให้กับหนัง ด้วยใบหน้ากวนๆ รอยยิ้มชวนหมั่นไส้ ที่น่าประทับใจคือประโยคคำพูดเหน็บแนม สร้างความเจ็บแสบ เฉลียวฉลาดเกินหน้าเกินตา คอยตบมุก และสรุปสถานการณ์ … ผมชอบช่วงท้ายที่ตัวละครนี้สามารถเปิดเผยตัวตนแท้จริงของ Henry Drummond (ว่าเป็นคนเคร่งศาสนา) และรับรู้ด้วยว่าถ้าตนเองตกตายไป อย่างน้อยจะมีอีกฝ่ายมาร่วมงานศพอย่างแน่นอน!

เกร็ด: Kelly เคยให้สัมภาษณ์ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ได้เรียนรู้เทคนิคการแสดงมากมายจาก March แต่ไม่ใช่กับ Tracy เพราะ “like magic … all you could do was watch and be amazed.”


ถ่ายภาพโดย Ernest Laszlo ชื่อเกิด László Ernő (1898-1984) ตากล้องสัญชาติ Hungarian-American เกิดที่ Budapest, โตขึ้นอพยพสู่สหรัฐอเมริกา ทำงานเป็นผู้ควบคุมกล้อง (Camera Operator) หนังเงียบดังๆอย่าง Wings (1927), Hell’s Angels (1930), ได้รับเครดิตถ่ายภาพตั้งแต่ The Pace That Kills (1928), ผลงานเด่นๆ อาทิ Stalag 17 (1953), Vera Cruz (1954), Kiss Me Deadly (1955), Inherit the Wind (1960), Judgment at Nuremberg (1961), It’s a Mad, Mad, Mad, Mad World (1963), Ship of Fools (1965)**คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography, Fantastic Voyage (1966), Airport (1970), Logan’s Run (1976) ฯ

งานภาพของหนังอาจไม่มีเทคนิคภาพยนตร์หวือหวา แต่ตื่นตระการตาด้วยลูกเล่น ‘mise-en-scène’ โดยเฉพาะการจัดวางองค์ประกอบภาพ ทิศทางมุมกล้อง ตำแหน่งนักแสดงใกล้-ไกล เดี๋ยวนั่ง-ยืน หันหน้า-หลัง เดินไปเดินมา ยัดเยียดใบหน้ายื่นเข้ามาในเฟรม ฯ ใครสามารถขบครุ่นคิดนัยยะ ย่อมค้นพบความโคตรๆมหัศจรรย์ของหนัง

สิ่งหนึ่งที่ต้องชมคือสภาพอากาศร้อนระอุ เหงื่อไคลไหลเม็ดโป้งๆ ใครต่อใครต่างใช้พัดไม้ “Compliments Mason’s Funeral Parlor” แถมแสงไฟกระพริบ (เพราะหลอดไฟอยู่เหนือพัดลม) นั่นทำให้ผู้ชมร่วมรู้สึกลุ่มร้อนทรวงใน ทำให้บรรยากาศระหว่างพิจารณาคดีมีความเดือดพร่านยิ่งกว่าโลกันตร์ ไม่ต่างจากวันสิ้นโลก

แม้พื้นหลังเหตุการณ์จะคือ Tennessee (ในหนังจะไม่มีการระบุชื่อรัฐ) แต่สถานที่ถ่ายทำคือ Courthouse Square พื้นที่ด้านหลัง (Backlot) ของสตูดิโอ Universal Studios


เนื่องจากผมขี้เกียจลงรายละเอียด ‘mise-en-scène’ เลยจะแค่ยกตัวอย่างบางซีเควนซ์ที่ดูน่าสนใจขึ้นมาอธิบาย นี่เป็นฉากที่บิดา/บาทหลวง Jeremiah Brown สนทนากับบุตรสาว Rachel Brown (แฟนสาวของ Bertram Cates) ในขณะที่บิดายืนกรานว่าความคิดเห็นของตนเองถูกต้อง เธอพยายามพูดโน้มน้าวร้องขอให้เขาเลิกเห็นผิดเป็นชอบ

  • เมื่อตอน Rachel กลับเข้ามาในบ้าน สังเกตว่ากล้องถ่ายบิดาระยะประชิดใกล้ (Close-Up Shot) ทำให้พบเห็นใบหน้าของเขามีขนาดใหญ่กว่าบุตรสาวที่อยู่ด้านหลัง (Medium Shot) นั่นแสดงถึงการมีอำนาจ ผู้ปกครองบ้านหลังนี้
  • ระหว่างกำลังเดินกลับห้อง บิดาทักบอกว่าเตรียมอาหารอยู่บนโต๊ะ ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล เป็นห่วงเป็นใย สังเกตระดับศีรษะอยู่ต่ำกว่าบุตรสาว
  • แต่พอกล่าวถึงพระเจ้าจะทำการลุกขึ้นยืน ด้วยความที่ตัวสูงกว่า ตำแหน่งศีรษะจึงอยู่เหนือกว่าบุตรสาว จากนั้นพยายามโน้มน้าว พูดคุย โต้ถกเถียง เผชิญหน้ากันและกัน
  • Rachel พยายามยืนกรานความบริสุทธิ์ของแฟนหนุ่ม บิดาก็ก้าวเดินเข้าหากล้อง หันหลังให้บุตรสาว แสดงถึงการปฏิเสธ ไม่ยินยอมรับฟัง
  • มุมกล้องสลับมาอีกด้านหนึ่งเพื่อให้พบเห็นรูปภาพมารดาผู้ล่วงลับ วางอยู่กึ่งกลางระหว่างบิดา-บุตรสาว ใช้เธอเป็นข้ออ้างว่าถ้าไม่ทำตามคำสั่งฉัน คงทำให้เธอ(มารดา)บนสรวงสวรรค์ต้องผิดหวัง
  • แทนที่บิดาจะให้ความสนใจบุตรสาวเบื้องหน้า กลับปฏิเสธรับฟัง นั่งลงคุกเข่า แล้วสวดอธิษฐานถึงพระเจ้า (มุมกล้องเงยขึ้นเห็นเพดาน)
  • และช็อตสุดท้ายของซีเควนซ์นี้ กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนมาตรงกำมือ ระหว่างการ Cross-Cutting สู่ฉากถัดไป จงใจค้างภาพเปลวไฟบนกำมือ สามารถสื่อถึงศรัทธาที่กำลังมอดไหม้ จิตใจเต็มไปด้วยความว้าวุ่นวาย

ทุกสรรพสิ่งอย่างในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยเฉพาะบทพูดสนทนา มักมีการโต้ถกเถียง สลับสับเปลี่ยนความคิดเห็นไปมาอยู่บ่อยครั้ง ยกตัวอย่างซีเควนซ์นี้ที่กล่าวถึงวิวัฒนาการถดถอยหลัง (Devolution) มนุษย์ไม่ได้วิวัฒนาการมาจากลิง แต่เป็นลิงที่วิวัฒนาการถดถอยหลังจากการเป็นมนุษย์ … ย้อนแย้งกับทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution)

Ladies and gentlemen, devolution is not a theory but a proven fact. My friends, man did not evolve from the ape, but the ape devolved from man.

แซว: ในเชิงกายภาพ/สรีระวิทยาเป็นไปได้ไหมไม่รู้ แต่ในแง่มุมพฤติกรรมแสดงออกของมนุษย์ ย่อมมีโอกาสเป็นไปได้อย่างแน่นอน!

แม้ว่าทั้งสองคือเพื่อนเก่า เคยรู้จัก สนิทสนม ร่วมงานกันเมื่อหลาย(สิบ)ปีก่อน แต่ปัจจุบันทุกสิ่งสรรพสิ่งอย่างระหว่างพวกเขาล้วนแตกต่างตรงกันข้าม! รวมถึงความพยายามโยกเก้าอี้โยกไปมา ทำอย่างไรก็ไม่มีทางสอดประสาน พร้อมเพรียงกัน … การไม่สามารถโยกเก้าอี้โยกพร้อมกัน แฝงนัยยะถึงมุมมอง ทัศนคติ ความครุ่นคิดเห็นที่ขัดแย้ง แตกต่าง

ผมละขำกลิ้งตอนที่ Hornbeck พูดบอกให้ Drummond ตื่นจากความฝัน “Aw, Henry, why don’t you wake up Darwin was wrong. man’s still an ape, and his creed’s still a totem pole” ปรากฎว่าด้านหลัง Drummond เพิ่งกำลังทิ้งตัวลงนอนพักผ่อน … เห็นความสอดคล้องระหว่างคำพูดและการกระทำไหมเอ่ย นี่คือความคมคายในการเปรียบเทียบ พบเห็นได้บ่อยครั้งทีเดียว

ซึ่งสิ่งที่ทำให้ Drummond ฟื้นตื่นขึ้นจากความฝัน คือหลังจาก Hornbeck โยนคัมภีร์ไบเบิลให้บนเตียง ทำให้ค้นพบวิธีต่อกร แทนที่จะซักไซร้นักวิทยาศาสตร์ฟากฝั่งตนเอง ก็ใช้ผู้เชี่ยวชาญอีกฝ่าย (หรือก็คือ Harrison Brady) ลากออกมาต้อนจนมุม ให้เปิดเผยจุดอ่อนของตนเอง

โดยปกติแล้วก่อนการลงมติตัดสินคดีความ จะมีกล่าวสุนทรพจน์ของทนาย/อัยการ เพื่อโน้มน้าวการตัดสินใจของคณะลูกขุน แต่เหมือนหนังจงใจข้ามช่วงเวลานั้น อีกทั้งผู้พิพากษายังตัดจบหลังประกาศข้อตัดสิน นั่นทำให้ Harrison Brady ตัดสินใจยืนขึ้นพูดตามสคริปที่เตรียมมา ทั้งๆคนส่วนใหญ่ไม่มีใครรับฟัง (นอกจากตัวละครหลักๆของหนัง รวมถึงภรรยา) และพอพูดถึง “till death…” ก็ล้มพับ(น่าจะ)ตายค่าที สังเกตจากช็อต ‘God Eye’s view’ ก้มลงมาจากเบื้องบน (ให้ความรู้สึกเหมือนวิญญาณออกจากร่าง)

ตัดต่อโดย Frederic Knudtson (1906-64) สัญชาติอเมริกัน เริ่มต้นเข้าวงการจากเป็นผู้ช่วยตัดต่อ What Price Hollywood? (1932), ช่วงทศวรรษ 30s-40s กลายเป็นนักตัดต่อหนังเกรดบี จนกระทั่งสร้างชื่อให้กับตนเองจาก The Window (1949), แล้วกลายเป็นขาประจำผกก. Stanley Kramer ตั้งแต่ The Defiant Ones (1958), On the Beach (1959), Inherit the Wind (1960), Judgment at Nuremberg (1961), It’s a Mad, Mad, Mad, Mad World (1963) ฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้เมืองสมมติ Hillsboro คือจุดศูนย์กลาง นำเสนอการไต่สวน พิจารณาคดีความผิดของครูวิทยาศาสตร์ Bertram Cates ทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างทนายความ Henry Drummond vs. อัยการและผู้ช่วย Matthew Harrison Brady

  • อารัมบท,
    • ครูวิทยาศาสตร์ Bertram Cates ถูกจับกุมข้อหาสอนทฤษฎีวิวัฒนาการของ Charles Darwin
    • ชาวเมือง Hillsboro จัดขบวนแห่ต้อนรับการมาถึงของ Matthew Harrison Brady
    • ตรงกันข้ามกับทนาย Henry Drummond มีเพียงนักเขียนของ Cates มารอรับหน้าโรงแรม
  • ช่วงการพิจารณาคดี
    • เริ่มต้นด้วยการเลือกลูกขุนคนสุดท้าย
    • ค่ำคืนหมาหอน การกล่าวสุนทรพจน์ของบาทหลวง Jeremiah Brown
    • ซักพยานฝั่งอัยการ นักเรียน, แฟนสาว Rachel Brown
    • แต่พอถึงคิวของจำเลยต้องการเรียกนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีวิวัฒนาการ กลับถูกสั่งห้ามจากผู้พิพากษา สร้างความไม่พึงพอใจต่อ Drummond
    • ค่ำคืนที่เกือบจะสิ้นหวังของ Drummond ภายนอกมีขบวนพาเรดขับไล่
    • วันถัดมา Drummond เรียกผู้เชี่ยวชาญในคัมภีร์ไบเบิล Harrison Brady ขึ้นมาซักไซร้ ไล่ต้อนจนมุม
  • ผลการตัดสินคดีความ
    • ค่ำคืนแห่งความสิ้นหวังของ Harrison Brady
    • ประกาศผลการตัดสินของคณะลูกขุน และศาลสั่งปรับเงินเพียง $100 ดอลลาร์
    • แม้ศาลจะสั่งปิดการพิจารณาคดีเรียบร้อยแล้ว แต่ Harrison Brady กลับยังต้องการกล่าวสุนทรพจน์ ท่ามกลางความวุ่นๆวายๆ
    • ทิ้งท้ายกับการสนทนาระหว่าง Hornbeck และ Drummond

เพลงประกอบโดย Ernst Sigmund Goldner (1921-99) นักแต่งเพลงสัญชาติ Austrian-American เกิดที่ Vienna บิดาเป็นนักไวโอลิน สอนบุตรให้อ่านโน๊ตเพลงก่อนเขียนตัวอักษรเป็น ร่ำเรียนเปียโน-ไวโอลินตั้งแต่อายุหกขวบ แต่งเพลงได้ตอนแปดขวด เขียนอุปรากรอายุสิบสาม ประกาศกับครอบครัวว่าโตขึ้นจะเดินทางสู่ Hollywood เพราะชื่นชอบผลงานเพลงของ Max Steiner พอดิบพอดีการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวตัดสินใจอพยพสู่สหรัฐอเมริกา แล้วได้ร่ำเรียนดนตรีกับ National Orchestra Association ทำงานแรกกำกับวง NBC Orchestra, จากนั้นมุ่งสู่ Hollywood แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแรก Girl of the Limberlost (1945), ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ Stanley Kramer ตั้งแต่กำกับวงออร์เคสตรา Not as a Stranger (1955), เขียนเพลงประกอบ The Defiant Ones (1958), Inherit the Wind (1960), Exodus (1960)**คว้ารางวัล Oscar: Best Best Scoring of a Dramatic or Comedy Picture, Judgment at Nuremberg (1961), A Child Is Waiting (1963), It’s a Mad, Mad, Mad, Mad World (1963), Ship of Fools (1965) ฯ

นอกจากสองบทเพลงคำร้อง Old-Time Religion และ We’ll Hang Bert Cates to a Sour Apple Tree (ขับร้องในท่วงทำนอง Battle Hymn of the Republic) งานเพลงของ Gold จะคอยแทรกแซมอยู่ตามฉากเล็กๆ เสริมเติมสร้างบรรยากาศ ในลักษณะสร้อยบทกวี จะไม่มีบทเพลงใดๆในช่วงระหว่างการพิจารณาคดีความบนชั้นศาล แค่การโต้ถกเถียงระหว่างทนายกับอัยการ ก็มีความตึงเครียด วุ่นๆวายๆ หนวกหูเกินคำบรรยาย!

(Give Me That) Old-Time Religion บทเพลงแนว Traditional Gospel ไล่ย้อนไปตั้งแต่ ค.ศ. 1873 พบเจออยู่ในรายการ Jubille Song ปัจจุบันกลายเป็นเพลงสวดพื้นฐานของ Protestant หลายๆสถานที่, เนื้อคำร้องสามารถปรับเปลี่ยนถ้อยคำไปเรื่อยๆ แต่ท่อนฮุคจะมีแค่ย่อหน้าเดียว

Give me that old-time religion
Give me that old-time religion
Give me that old-time religion
It’s good enough for me

อย่างบทเพลง We’ll Hang Bert Cates to a Sour Apple Tree ก็จะมีเนื้อคำร้องดังต่อไปนี้

We’ll hang Bertram Cates to a sour apple tree,
we’ll hang Bertram Cates to a sour apple tree,
we’ll hang Bertram Cates to a sour apple tree.
Our God is marching on!

Glory Glory Hallelujah!
Glory Glory Hallelujah!
Glory Gory Hallelujah!
His truth is marching on.

We’ll hang Henry Drummond to a sour apple tree,
we’ll hang Henry Drummond to a sour apple tree,
we’ll hang Henry Drummond to a sour apple tree,
our God is marching on.

ปล. หลายคนคงรู้สึกมักคุ้นเคยทั้งสองบทเพลงนี้มีท่วงทำนอง/เนื้อคำร้อง ละม้ายคล้าย Battle Hymn of the Republic (1861) แต่บทเพลงนี้ก็ดัดแปลงมาจาก Older Folk Hymn ชื่อว่า Say, Brothers will you Meet Us ไล่ย้อนไปตั้งแต่ศตวรรษ 1700s … เอาว่ามันเป็นเพลงโบราณ ทำนองเก่าแก่ ก็แค่นั้นละครับ

Inherit the Wind (1960) นำเสนอการโต้ถกเถียงระหว่างเนื้อหาในคัมภีร์ไบเบิล (Book of Genesis) vs. ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Theory of Evolution), พระเจ้าสร้างจักรวาลและชีวิต อ้างอิงจากรังสรรค์นิยม (Creationism) vs. มนุษย์ถือกำเนิดจากสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เริ่มจากเซลล์เดียวแบ่งแยกหลายเซลล์ แหวกว่ายในน้ำตะเกียกตะกายขึ้นบก สัตว์เลือดเย็นกลายเป็นเลี้ยงลูกด้วยนม และท้ายสุดอันดับไพรเมต (Primate) วานรพัฒนามาสู่มนุษย์!

ถ้าคุณไม่ใช่คริสเตียน อ่านคัมภีร์ไบเบิล หรือมีความเชื่อศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า การรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้มันชัดเจนมากๆถึงความลุ่มหลง งมงาย โลกและจักรวาลถือกำเนิดใน 6-7 วัน? มีการคำนวณไว้เสร็จสรรพวันที่ 23 ตุลาคม 4004 B.C. (ก่อนคริสตกาล) เวลา 9.00 A.M. Eastern Standard Time (EST) จริงเท็จไหมไม่รู้ แต่นั่นไม่ใช่เรื่องน่าขบขันเลยสักนิด!

ความเชื่อ vs. วิทยาศาสตร์ โดยปกติแล้วมันคือสิ่งแตกต่างขั้วตรงข้าม เพราะวิทยาศาสตร์ต้องการพิสูจน์ข้อเท็จ-จริง ซึ่งมักขัดย้อนแย้งกับสิ่งที่มนุษย์ยึดถือสืบต่อกันมา การสูญเสียความเชื่อศรัทธาย่อมหมายถึงรากฐานชีวิตได้พังทลายลงมา … สมมติว่าถ้ามีใครสามารถพิสูจน์พระเจ้า/สวรรค์ไม่มีจริง มนุษย์หนึ่งในสามของโลกคงตกอยู่ในความหมดสิ้นหวัง รู้สึกเหมือนถูกทรยศหักหลัง ทุกสิ่งอย่างเชื่อมั่นคงพังทลาย

ในเมื่อความเชื่ออาจเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเสมอไป ผันแปรเปลี่ยนตามกาลเวลา วิทยาศาสตร์พัฒนาก้าวหน้า ข้อเท็จจริงได้รับการพิสูจน์ เช่นนั้นแล้วทำไมเราไม่มองหาศาสนาที่สอนให้เรารู้จักขบครุ่นคิด ท้าพิสูจน์สิ่งต่างๆ ค้นหาสัจธรรมชีวิตด้วยตนเราเอง? พระพุทธเจ้าเคยตรัสสอนไว้ว่า

  1. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า ได้ยินได้ฟังมา
  2. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ
  3. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า กำลังล่ำลือกันอยู่อย่างกระฉ่อน
  4. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า มีบันทึกไว้ในตำรา
  5. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า คาดเดาตามสามัญสำนึก
  6. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า คาดคะเนตามเหตุที่แวดล้อม
  7. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า การตรึกตรองตามหลักเหตุผล
  8. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า เข้ากันได้กับความเห็นที่เรามีอยู่ก่อนแล้ว
  9. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า ผู้พูดนั้นดูภายนอกมีความน่าเชื่อถือ
  10. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะเหตุว่า ผู้พูดนี้คือครูอาจารย์ที่เรานับถือ

ประเด็นจริงๆของหนัง ไม่ได้ต้องการให้ผู้ชมเห็นพ้องมองต่าง เชื่อหรือเสื่อมศรัทธาศาสนา แต่คือการได้ ‘ครุ่นคิด’ พูดคุย โต้ถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ มีสติปัญญาล้ำเลิศ สามารถวิเคราะห์-สังเคราะห์ แยกแยะถูก-ผิด ถ้าเรามัวเอาแต่ก้มหัวศิโรราบ ยินยอมทำตามคำสั่งผู้อื่น ยึดถือปฏิบัติตามหนังสือเล่มหนึ่ง สุดท้ายแล้วเซลล์สมองก็จะค่อยๆเสื่อมสภาพ (เพราะไม่ได้ใช้งาน) วิวัฒนาการถดถอยหลัง (Devolution หรือ De-Evolution) สักวันมนุษย์อาจหวนกลับไปเป็นลิง!

The spirit of the trial lives on, because the real issues of that trial were man’s right to think and man’s right to teach…the real theme of Inherit the Wind.

Stanley Kramer

แม้การถกเถียงจะเป็นประเด็นความเชื่อ vs. วิทยาศาสตร์ แต่เราสามารถตีความเหมารวมได้ครอบจักรวาล โดยความตั้งใจของผู้สร้างทั้งฉบับละครเวทีและภาพยนตร์ ต้องการพาดพิงถึง McCarthy Trials ในช่วงต้นทศวรรษ 50s ที่พยายามปิดปากการแสดงความคิดเห็น กล่าวหาบุคคลในวงการบันเทิงที่ฝักใฝ่พรรคคอมมิวนิสต์ แถมยังขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) บีบบังคับไม่ให้ทำงาน นี่มันพฤติกรรมเผด็จการ หลงระเริงในอำนาจ

ชื่อหนัง Inherit the Wind มองในมุมศาสนา คงครุ่นคิดเห็นว่าการเรียนการสอนทฤษฎีวิวัฒนาการ เปรียบเสมือนการชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน บ่อนทำลายความเชื่อศรัทธา จุดเริ่มต้นสายลมแห่งการทำลายล้าง พัดพาทุกสรรพสิ่งอย่างราบเรียบเป็นหน้ากลอง

แต่ในมุมวิทยาศาสตร์ บุคคลที่จะกลายเป็นสายลมแห่งการทำลายล้างก็คือ Matthew Harrison Brady ผู้มีความเชื่อมั่นศรัทธาศาสนาอย่างแรงกล้าจนเกินไป ไม่รู้จักประณีประณอม โอนอ่อนผ่อนปรน สุดท้ายแล้วทุกคำพูด-การแสดงออก ล้วนหวนกลับมาย้อนแย้ง ทำลายตนเอง ประชาชนหมดสูญสิ้นศรัทธา

คนที่สามารถยินยอมรับ ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่าง Henry Drummond ตอนจบถือทั้งคัมภีร์ไบเบิล (ปกสีดำ) และหนังสือวิวัฒนาการของ Charles Darwin (ปกสีขาว) ไม่เพียงสามารถเอาตัวรอดในโลกยุคสมัยใหม่ แต่ยังอาจทำให้ค้นพบบางสิ่งอย่างยิ่งใหญ่เหนือไปกว่านั้น … อะไรก็ไม่รู้เหมือนกันนะ

เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Berlin เสียงตอบรับดียอดเยี่ยม แม้พ่าย Golden Bear ให้กับ El Lazarillo de Tormes (1959) แต่ยังสามารถคว้ามาสองรางวัล

  • Best Actor (Fredric March)
  • Best Feature Film Suitable for Young People

ด้วยทุนสร้าง $2 ล้านเหรียญ น่าเสียดายทำเงินได้แค่ $1.7 ล้านเหรียญ ถือว่าขาดทุนย่อยยับ แต่ยังดีที่ช่วงปลายปีได้เข้าชิง Oscar และ Golden Globe หลายสาขา

  • Academy Award
    • Best Actor (Spencer Tracy)
    • Best Adapted Screenplay
    • Best Cinematography, Black-and-White
    • Best Film Editing
  • Golden Globe Award
    • Best Motion Picture – Drama
    • Best Actor – Drama (Spencer Tracy)

แซว: การถูก SNUB ของผกก. Kramer ยังไม่เทียบเท่า Fredric March ทั้งๆคว้ารางวัลจากเทศกาลหนัง Berlin กลับถูกมองข้ามซะงั้น! ผมคาดเดาว่าผู้ชมชาวอเมริกันอาจสูญเสียความน่าเชื่อถือ แบบเดียวกับที่ชาวเมือง(ในหนัง)หมดสูญศรัทธากับตัวละคร … ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงนี่บัดซบมากเลยนะ!

ปัจจุบันหนังยังไม่ได้รับการบูรณะ แต่มีการสแกนฟีล์มใหม่เมื่อปี ค.ศ. 2018 สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray ของค่าย Kino Lorber และ Eureka Entertainment คุณภาพถือว่าใช้ พบเห็นริ้วรอยขีดข่วนบ้างประปราย น่าเสียดายไม่มีขอแถมอะไร

ส่วนตัวมีความเพลิดเพลินกับ ‘mise-en-scène’ และการหักเหลี่ยมเฉือนคมระหว่างสองโคตรนักแสดง Fredric March vs. Spencer Tracy พร้อมเผชิญหน้า ตาต่อตา ฟันต่อฟัน แต่ผมรู้สึกว่า March ค่อนข้างจะโดดเด่นกว่ามาก มีความสุดเหวี่ยง คลุ้มบ้าคลั่ง คงเพราะบริบทสังคมยุคสมัยนั้น ทนายความคนดี Tracy เลยได้คะแนนโหวตจากผู้ชมมากกว่า

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ถึงคุณไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ แต่ภาพยนตร์เรื่องจักเสี้ยมสอนให้รู้จักการ ‘ครุ่นคิด’ อย่าเอาแต่หลงเชื่อ โง่งมงาย จนกลายเป็นควาย (ผมละไม่อยากใช้การเปรียบเทียบนี้สักเท่าไหร่) พยายามค้นหาคำตอบ ขบไขปริศนาชีวิต ค้นพบสัจธรรมความจริงด้วยตัวเราเอง

จัดเรต 15+ กับการถกเถียงคัมภีร์ไบเบิล vs. ทฤษฎีวิวัฒนาการ

คำโปรย | Inherit the Wind ถ้าการครุ่นคิดเป็นสิ่งผิด มนุษยชาติจะไม่หลงเหลืออะไรนอกจากสายลมพัดพานผ่าน
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ถกเถียง

The Last Temptation of Christ (1988)


The Last Temptation of Christ (1988) hollywood : Martin Scorsese ♥♥♥♡

ภาพยนตร์อ้างอิงศาสนา (Religious) ที่ไม่ใช่แค่ชีวประวัติ Jesus Christ แต่ยังรวมถึงผู้กำกับ Martin Scorsese เคยพานผ่านช่วงเวลาสับสน กระวนกระวาย อึดอัดอั้นภายใน ไม่แน่ใจเป้าหมายของตนเอง และเมื่อได้สรรค์สร้าง ‘passion project’ ก็ถือว่าภารกิจสำเร็จลุล่วงเสียที!

This film is not based upon the Gospels but upon this fictional exploration of the eternal spiritual conflict.

หนึ่งในข้อความเกริ่นนำของหนัง พยายามอธิบายว่าเรื่องราวของ The Last Temptation of Christ (1988) ไม่ได้อ้างอิงโดยตรงจากคัมภีร์ไบเบิล เพียงนำเหตุการณ์สำคัญๆที่ใครๆต่างรับรู้จัก อาทิ พิธีจุ่มศีล (Baptist) เผยแพร่ศาสนา พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย (Last Supper) รวมถึงการตรึงกางเขน (Crucifixion) ทำออกมาในเชิงตั้งคำถาม ขัดย้อนแย้งความเชื่อดั้งเดิม โดยประเด็นหลักๆคือ ‘สร้างความเป็นมนุษย์’ ให้กับ Jesus Christ แสดงความสับสน กระวนกระวาย อึดอัดอั้นภายใน (ถูกล่อลวง ‘Temptation’ โดยซาตาน) ไม่แน่ใจในตนเองว่าคือบุตรของพระเจ้าหรือไม่?

I am left after the film with the conviction that it is as much about Scorsese as about Christ… What makes “The Last Temptation of Christ” one of his great films is not that it is true about Jesus but that it is true about Scorsese. Like countless others, he has found aspects of the Christ story that speak to him.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 4/4 พร้อมจัดเป็น Great Movie

ในมุมมองหนึ่งมันคือการบิดเบือนจากคัมภีร์ไบเบิล ดูหมิ่นศาสนา (blasphemous) สร้างความไม่พึงพอใจต่อหลากหลายองค์กร นำไปสู่การประท้วง ก่อการร้าย แบนห้ามฉาย รวมถึงจดหมายขู่ฆ่าผกก. Scorsese … ถือเป็นหนึ่งใน The Most Controversial Movies of All Time (นิตยสาร TIMEOUT ยกให้อันดับหนึ่งเลยนะ)

แต่ถ้าคุณสามารถมอบผ่านประเด็นเหล่านั้น ครุ่นคิดทำความเข้าใจวัตถุประสงค์แท้จริงของผู้สร้าง หรืออาจไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ จะพบว่า “neither blasphemous nor offensive” นี่คือภาพยนตร์แห่งศรัทธาของผกก. Scorsese เพื่อที่จะค้นพบตัวตนเอง ตระหนักถึงเป้าหมายชีวิต บังเกิดความมุ่งมั่นทำในสิ่งได้รับมอบหมาย(จากพระเจ้า)

ปล. การล่อหลอกครั้งสุดท้ายของซาตาน ‘The Last Temptation of Christ’ ด้วยการนำเสนอภาพอนาคตลวงตา ถ้าสมมติว่า Jesus Christ ไม่ยินยอมสละชีพบนไม้กางเขน ชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ It’s a Wonderful Life (1946) ในลักษณะตรงกันข้าม (เรื่องนี้เทวดาช่วยให้ James Stewart ล้มเลิกตั้งใจฆ่าตัวตาย ด้วยการนำเสนอภาพอนาคตที่โหดร้าย)


Martin Charles Scorsese (เกิดปี 1942) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Queen, New York City ก่อนย้ายมาเติบโตยัง Little Italy, Manhattan ครอบครัวเชื้อสาย Italian อพยพมาจาก Palermo, Sicily นับถือศาสนา Roman Catholic อย่างเคร่งครัด! วัยเด็กป่วยโรคหอบหืดทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬา ออกไปทำกิจกรรมภายนอก พ่อ-แม่และพี่ๆจึงมักพาไปดูหนัง เช่าฟีล์มกลับมารับชมที่บ้าน ค่อยๆเกิดความหลงใหลในสื่อภาพยนตร์ โตขึ้นศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ Washington Square College (ปัจจุบันชื่อ College of Arts and Science) แล้วต่อปริญญาโทวิจิตรศิลป์ School of the Arts (ปัจจุบันชื่อ Tisch School of the Arts)

ระหว่างร่ำเรียน Tisch School of the Arts ก็เริ่มกำกับหนังสั้น What’s a Nice Girl like You Doing in a Place like This? (1963), It’s Not Just You, Murray! (1964), The Big Shave (1967), พอสำเร็จการศึกษาก็สรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Who’s That Knocking at My Door (1967), แจ้งเกิดโด่งดังกับ Mean Streets (1973), Taxi Driver (1967), Raging Bull (1980) ฯ

ตั้งแต่ครั้นยังเป็นเด็ก ร่ำเรียนสามเณราลัย ผู้ช่วยพระทำพิธีในโบสถ์ (Altar Boy) Scorsese วาดฝันอยากมีโอกาสสรรค์สร้างภาพยนตร์ชีวประวัติ Jesus Christ ในรูปแบบของตนเอง!

เมื่อเติบโตขึ้นระหว่างสรรค์สร้างผลงานเรื่องที่สอง Boxcar Bertha (1972), นักแสดงนำหญิง Barbara Hershey ได้มอบหนังสือ The Last Temptation of Christ (1955) เขียนโดย Nikos Kazantzakis พร้อมล็อบบี้ด้วยว่าถ้า Scorsese มีโอกาสดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ ขอเป็นตัวเลือกรับบท Mary Magdalene (แล้วเธอก็ได้จริงๆนะ)

Nikos Kazantzakis, Νίκος Καζαντζάκης (1883-1957) นักเขียน/นักแปล นักปรัชญาชาวกรีก ผู้บุกเบิกวรรณกรรมกรีกยุคสมัยใหม่ (Greek Modern Literature) เคยได้เข้าชิง Nobel Prize สาขาวรรณกรรมถึง 9 ครั้ง! ผลงานเด่นๆ อาทิ Zorba the Greek (1946), Christ Recrucified (1948), Captain Michalis (1950) และ The Last Temptation of Christ (1955)

The Last Temptation of Christ หรือ The Last Temptation นวนิยายประวัติศาสตร์ อิงศาสนา เริ่มต้นตีพิมพ์เป็นภาษากรีก ค.ศ. 1955 แล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1960, นำเสนอเรื่องราวของ Jesus Christ ที่ต้องเผชิญหน้าสารพัดสิ่งยั่วเย้า ‘Temptation’ ทั้งความสับสน หวาดกังวล ซึมเศร้า หดหู่ โล้เล้ลังเลใจ ตัณหาความใคร่ รวมถึงกลัวความตาย

This book is not a biography; it is the confession of every man who struggles. In publishing it I have fulfilled my duty, the duty of a person who has struggled much, was much embittered in his life, and had many hopes. I am certain that every free man who reads this book, so filled as it is with love, will more than ever before, better than ever before, love Christ.

อารัมบทของ Nikos Kazantzakis

เมื่อหนังสือวางแผงจัดจำหน่าย Catholic Church และ Greek Orthodox Church ทำการประณาม (Comdemned) ตีตราว่าบิดเบือน ดูหมิ่นศาสนา ลดฐานะ Jesus Christ ไม่ต่างจากสามัญชนคนธรรมดา

[The Last Temptation of Christ] contains evil slanders against the Godlike person of Jesus Christ. … derived from the inspiration of the theories of Freud and historical materialism, [this book] perverts and hurts the Gospel discernment and the God-man figure of our Lord Jesus Christ in a way coarse, vulgar, and blasphemous.

Greek Orthodox Church

ในตอนแรกผกก. Sidney Lumet ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงหนังสือเล่มดังกล่าว ให้คำนิยามเรื่องราว “[the story] of how a man pushes himself to extremes he never knew he was capable of” ทั้งยังชื่นชมการตีความ Judas เปรียบดั่ง “as a strong man, sort of hero” มอบหมายหน้าที่ดัดแปลงบท Lazarre Seymour Simckes ตั้งใจจะเปิดกล้องถ่ายทำช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1971 แต่กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ผกก. Scorsese ตั้งแต่ได้รับหนังสือเล่มนี้มา ค.ศ. 1972 ค่อยๆเปิดอ่านอย่างช้าๆ เพราะมีความชื่นชอบหลงใหลสไตล์การเขียนของ Kazantzakis ใช้เวลานานกว่า 6 ปี จบสิ้นหน้าสุดท้ายช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1978 แล้วตระหนักว่านี่คือโปรเจคในฝัน ‘passion project’ ต้องการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์โดยพลัน!

The beauty of Kazantzakis’ concept is that Jesus has to put up with everything we go through, all the doubts and fears and anger. He made me feel like he’s sinning—but he’s not sinning, he’s just human. As well as divine. And he has to deal with all this double, triple guilt on the cross.

Martin Scorsese

สืบเนื่องจากความล้มเหลวของ New York, New York (1977) สร้างหายนะทั้งร่างกาย-จิตใจให้ผกก. Scorsese โชคดีได้รับความช่วยเหลือจาก De Niro ปลุกขึ้นมาสรรค์สร้าง Raging Bull (1980) คาดหวังให้เป็นภาพยนตร์ทิ้งท้าย(ก่อนตาย) แต่ผลลัพท์กลับยังไม่สามารถเติมเต็มบางสิ่งขาดหาย ความสงบสุขขึ้นภายใน (inner peace) เลยเกิดความตั้งใจใหม่ว่าจะระบายทุกสิ่งอย่างกับโปรเจคในฝัน The Last Temptation of Christ

หลังเสร็จจาก The King of Comedy (1982) ผกก. Scorsese ก็มีแผนจะสรรค์สร้าง The Last Temptation of Christ เป็นผลงานลำดับถัดไป ได้รับทุนสนับสนุนจาก Paramount Pictures อนุญาตให้เดินทางไปถ่ายทำยังประเทศ Israel นำแสดงโดย Aidan Quinn รับบท Jesus Christ, นักร้อง Sting เล่นบท Pontius Pilate, Ray Davies เล่นเป็น Judas Iscariot, Vanity แสดงเป็น Mary Magdalene, แต่เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนเริ่มถ่ายทำ Gulf+Western (บริษัทแม่ของ Paramount Pictures) มีความหวาดกังวลต่องบประมาณที่บานปลาย (เริ่มจาก $12 ล้านเหรียญ พุ่งทะยานสู่ $14-16 ล้านเหรียญ) รวมถึงได้รับจดหมายจากกลุ่มศาสนา เรียกร้องให้ล้มเลิกโปรเจคดังกล่าว ผลลัพท์จึงถูกสั่งยุติงานสร้างโดยพลัน!

After The Last Temptation was cancelled in ’83, I had to get myself back in shape. Work out. And this was working out. First After Hours, on a small scale. The idea was that I should be able, if Last Temptation ever came along again, to make it like After Hours, because that’s all the money I’m gonna get for it. Then the question was: Are you going to survive as a Hollywood filmmaker? Because even though I live in New York, I’m a “Hollywood director.” Then again, even when I try to make a Hollywood film, there’s something in me that says, “Go the other way.” With The Color of Money, working with two big stars, we tried to make a Hollywood movie. Or rather, I tried to make one of my pictures, but with a Hollywood star: Paul Newman. That was mainly making a film about an American icon. That’s what I zeroed in on… But it was always Work in Progress, to try to get to make Last Temptation.

Martin Scorsese

หลังจากภาพยนตร์ After Hours (1985) ไปคว้ารางวัล Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Cannes และ The Color of Money (1986) ทำกำไรได้มหาศาล (Paul Newman คว้ารางวัล Oscar: Best Actor) นั่นทำให้ Universal Studio มีความสนอกสนใจในตัวผกก. Scorsese ยื่นหมูยื่นแมว พร้อมมอบเงินทุน $7 ล้านเหรียญสำหรับโปรเจค The Last Temptation of Christ แลกเปลี่ยนกับอนาคตสรรค์สร้างภาพยนตร์กระแสหลัก (mainstream) เรื่อง Cape Fear (1991)

I never thought I could make a movie like this for a place like Universal. They represented a certain kind of filmmaking. But from the moment I met Tom Pollock and Sid Sheinberg, I felt a new attitude, a new openness. I’ve never felt such support from any studio. They never said change one thing. They made suggestions; everybody made suggestions. And they knew it was a hard sell. But from the very first screening of the three-hour cut, they were moved, they were teary-eyed, they just loved it. I just hope they get through everything. But the toughness you used to hear about Universal against filmmakers, that’s how tough they’re being in defense of this movie. The more they get slapped, the more they hit back.

แซว: “Certain kind of filmmaking” ที่ผกก. Scorsese กล่าวถึงนี้ หมายถึงความจุ้นจ้าน เรื่องมากของผู้บริหารสตูดิโอ Universal มีคำเรียก/ชื่อเล่นในวงการ “black suits and black hearts” สนเพียงการค้า ทำกำไร ต่อรองด้วยยาก … แต่ถ้าคุณเป็นบุคคลมีชื่อเสียงอย่าง Christopher Nolan นำโปรเจค Oppenheimer (2023) ลงทุนระดับร้อยล้านไปนำเสนอ การันตีกำไรแน่ๆ ก็จะไม่เข้าไปยุ่งวุ่นวายอะไร


สำหรับบทภาพยนตร์ดัดแปลงโดย Paul Schrader (เกิดปี 1946) นักเขียน/นักวิจารณ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Grand Rapids, Michigan ในครอบครัวเคร่งครัด Calvinism (สาขาหนึ่งของ Protestant) ไม่เคยมีโอกาสรับชมภาพยนตร์จนกระทั่งอายุ 17 ซึ่งก็ไม่ค่อยมีความแรกประทับใจสักเท่าไหร่, โตขึ้นสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะปรัชญา สาขาเทววิทยาจาก Calvin College ตั้งใจจะเป็นบาทหลวง ก่อนเปลี่ยนมาศึกษาภาพยนตร์ UCLA School of Theater, Film and Television สนิทสนมกับ Pauline Kael ถูกชักชวนมาทำงานวิจารณ์ภาพยนตร์นิตยสาร Los Angeles Free Press ตามด้วย Cinema, เขียนหนังสือ Transcendental Style in Film: Ozu, Bresson, Dreye (1972), พัฒนาบทหนัง The Yakuza (1974) ขายให้ผู้กำกับ Sydney Pollack สนราคา $325,000 เหรียญ, ผลงานเด่นๆ อาทิ Taxi Driver (1976), Raging Bull (1980), กำกับภาพยนตร์ Blue Collar (1978), Hardcore (1979), American Gigolo (1980), Mishima: A Life in Four Chapters (1985) ฯ

สำหรับ The Last Temptation of Christ (1988) ก็ถือเป็น ‘passion project’ ของ Schrader เพราะเขาก็มีพื้นหลังเคร่งศาสนาไม่ต่างจากผกก. Scorsese พัฒนาบทเสร็จตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 ด้วยความล่าช้าไม่ได้สร้างสักที เลยพยายามต่อรองว่าถ้าไม่สามารถกำกับ จะลงมือสานต่อโปรเจคนี้ด้วยตนเอง

There was a period about three years ago when it looked like he was faltering. And I made some moves to get it. I notified Marty. I said, ‘I hear that your enthusiasm is waning, and there are some people in Egypt and France that might have some money. If you ever slacken I will walk over your back to get this movie done.’ And he wrote me back this long furious letter and said, ‘You will have to pull the script from my dying hands.’

Paul Schrader กล่าวถึงความล่าช้าของ The Last Temptation of Christ (1988)

ในส่วนของบทสนทนา ผกก. Scorsese ไม่ต้องการให้ตัวละครพูดเหมือนอ่านจากคัมภีร์ไบเบิล เลยทำการปรับปรุง ‘dialogue’ ใหม่เกือบหมด (รวมถึงสำเนียงเสียงพูด ซาตานกับชาวโรมันจะมีสำเนียง British) ร่วมงานกับนักเขียน/นักวิจารณ์ Jay Cocks แต่ยังคงโครงสร้างการดำเนินเรื่องทั้งหมดของ Schrader

I did want to break away from the sound of the old biblical epics, to make the dialogue plainer, more contemporary. That’s mainly what Jay Cocks and I did the last six drafts of the script. We rewrote 80 percent of the dialogue, arguing over every word. Jesus says to Judas, “You have the harder job.” “Job?” Is that the right word, the simplest, the most effective? Make it more immediate, so people have a sense of who these guys were, not out of a book or a painting, but as if they lived and spoke right now. The accents do that too.

Martin Scorsese

เกร็ด: ทีแรกผกก. Scorsese อยากขึ้นเครดิตให้กับทั้งนักเขียนสองคน แต่พอนำไปพูดคุยกับ Writers Guild of America (WGA) ยินยอมให้ขึ้นเครดิตเพียง Paul Schrader (อาจเพราะ Cocks ไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆกับเนื้อเรื่องราว) … เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้สร้างความบาดหมายระหว่างผกก. Scorsese กับ Jay Cocks ทั้งสองยังคงร่วมงาน The Age of Innocence (1993), Gangs of New York (2002) และ Silence (2006)


เรื่องราวเริ่มต้นที่ Jesus of Nazareth (รับบทโดย Willem Dafoe) ช่างทำไม้กางเขนอยู่ Judea รู้สึกขัดย้อนแย้งในตนเอง กับแผนการที่พระเจ้าคาดหวังไว้, วันหนึ่ง Judas Iscariot ถูกส่งมาฆ่าปิดปาก Jesus แต่ครุ่นคิดว่าอีกฝ่ายอาจเป็นพระผู้มาไถ่ (Messiah) จึงเรียกร้องขอให้อีกฝ่ายพิสูจน์ตนเอง

จากนั้น Jesus ก็เริ่มออกเดินทาง ให้ความช่วยเหลือโสเภณี Mary Magdalene (รับบทโดย Barbara Hershey), รับการจุ่มศีลจาก John the Baptist (รับบทโดย Andre Gregory), นั่งกลางทะเลทราย ถูกซาตานพยายามล่อลวงให้สูญเสียความเชื่อมั่น, จากนั้นออกเผยแพร่คำสอนศาสนา, แสดงปาฏิหารย์ชุบชีวิต Lazarus จากความตาย, เดินทางสู่ Jerusalem ขับไล่พวกพ่อค้าออกจากโบสถ์ศักดิ์สิทธิ์ และประกาศจะโค่นล้มจักรวรรดิโรมัน

แต่ทันใดนั้นมือทั้งสองข้างของ Jesus พลันเลือดไหลออกมา นั่นคือลางบอกเหตุ/สัญลักษณ์การเสียชีวิตบนไม้กางเขน นั่นทำให้เกิดอาการหวาดหวั่น เกรงกลัวความตาย หลังพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย โดนทหารโรมันจับกุมตัว ตัดสินโทษประหารชีวิต ระหว่างถูกตรึงบนกางเขน เด็กหญิงคนหนึ่งอ้างตัวว่าเป็นเทวดาผู้พิทักษ์ นำพาจิตวิญญาณมุ่งสู่ชีวิตแห่งความสุข แต่งงานกับ Mary Magdalene ตามด้วย Mary และ Martha ใช้ชีวิตจนแก่ชรา จนกระทั่งได้รับการปลุกตื่นโดย Judas Iscariot ตระหนักว่าทุกสิ่งอย่างแค่เพียงความเพ้อฝัน การล่อลวงครั้งสุดท้ายของซาตาน


William James ‘Willem’ Dafoe (เกิดปี 1955) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Appleton, Wisconsin มีพี่น้องแปดคน, ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งแต่เด็ก เข้าเรียนสาขาการแสดง University of Wisconsin–Milwaukee แต่แค่ปีเดียวก็ออกมาเข้าร่วมคณะการแสดง Theatre X in Milwaukee พอย้ายมาปักหลัก New York City จึงได้เข้าร่วม The Performance Group, สำหรับภาพยนตร์เริ่มจากบทสมทบ Heaven’s Gate (1979), พระเอกเรื่องแรก The Loveless (1981), โด่งดังจากบทตัวร้าย The Hunger (1986), ตามด้วย Platoon (1986), รับบท Jesus Christ เรื่อง The Last Temptation of Christ (1988), Mississippi Burning (1988) ฯ

โดยปกติแล้ว Jesus Christ ต้องมีความสง่างาม น้ำเสียง-สายตา มีความหนักแน่น แน่วแน่ จริงจัง ท่าทางไม่วอกแวก ลุกรี้ร้อนรน เอ่อล้นด้วยความเชื่อมั่น รับรู้เป้าหมายแท้จริงของตนเอง … แต่ทั้งหมดนี้ไม่ปรากฎอยู่ในตัว Dafoe เต็มไปด้วยความสับสน หวาดกังวล ขาดความเชื่อมั่นใจ ดูเหมือนบุคคลกระทำสิ่งชั่วร้าย ขนาดว่าผกก. Sergio Leone แสดงความคิดเห็น “That is the face of a murderer, not of Our Lord!”

นักแสดงคนแรกที่ผกก. Scorsese อยากให้รับบท Jesus Christ ก็คือ Robert De Niro แต่เจ้าตัวไม่มีความสนใจในภาพยนตร์อิงศาสนา ยกเว้นบอกว่าถ้าหาใครไม่ได้จริงๆก็จะยินยอมตอบตกลง, ต่อมาได้รับการตอบรับจาก Aidan Quinn แต่ก็ขอถอนตัวเมื่อ Paramount ถอนทุนสร้าง, Eric Roberts, Christopher Walken, Ed Harris, สำหรับ Willem Dafoe ขณะนั้นเพิ่งกลับถ่ายทำภาพยนตร์ Off Limits (1988) ในประเทศไทย ได้รับโทรศัพท์ นัดหมายพูดคุย แค่นั้นเอง ไม่ได้มีการออดิชั่นอะไร

So they sent me the script, I read it, I loved it, and I met with him [Scorsese], had a short meeting, we talked and that was basically it. There was no big decision, it couldn’t have been more direct. Of course, I would have done anything in that movie, it’s Scorsese.

Willem Dafoe

การแสดงของ Dafoe มีจุดประสงค์เดียวเท่านั้นคือพยายามทำให้ Jesus Christ ไม่ได้สูงส่ง สมบูรณ์แบบ แต่พบเห็นความเป็นมนุษย์ สามารถแสดงออกทางอารมณ์ ถ้อยคำพูดสนทนาเหมือนบุคคลทั่วไป ทั้งยังอากัปกิริยา สีหน้า ท่วงท่า ขยับเคลื่อนไหวดูวอกแวก ลุกรี้ร้อนรน เหมือนคนเต็มไปด้วยความวิตกกังวล หวาดระแวง ขัดย้อนแย้ง ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และที่หาญกล้าอย่างมากๆก็คือ Sex Scene และเปลือยกายตรึงไม้กางเขน … ถือเป็นบทบาทที่ต้องใช้ร่างกายอย่างมากๆทีเดียว

I have so many memories from filming because it’s vivid in my imagination, still—I can remember very specific scenes and sensations because it was one of the most demanding roles, physically, for me. It was full-on. [The hardest part] was being on the cross. Regardless of your religious upbringing, you have a strong association of what that is, and then when you take it onto your body it’s very powerful.

ความพยายามของ Dafoe ในการทำให้ Jesus Christ มีความเป็นมนุษย์นั้น ทำให้ตัวละครที่ควรมีความโดดเด่น สง่างาม ดูกลมกลืนไปกับตัวประกอบพื้นหลัง แถมการยืนอยู่เบื้องหน้า คำพูดเผยแพร่พระวาจา แต่ตนเองกลับเต็มไปด้วยความสับสน หวาดกังวล มันช่างดูขัดย้อนแย้งในตัวเองเหลือทน

ผมมองว่า Dafoe แสดงความเป็นมนุษย์ของ Jesus Christ ออกมาได้น่าสนใจดี ชักชวนให้ผู้ชมขบครุ่นคิด แต่มันกลับขัดแย้งกับทุกสิ่งที่ควรเป็น (ลองมองในมุมถ้าบุคคลไร้ศักยภาพ/ความสามารถ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง แต่ถูกผลักดันให้กลายเป็นผู้นำ จะทำให้โครงการ/องค์กร ประสบความสำเร็จได้อย่างไร?)

แซว: Willem Dafoe ขณะนั้นเป็นคนสูบบุหรี่จัด แต่ผกก. Scorsese ยังไม่หายจากโรคปอดบวม/ปอดอักเสบ (Pneumonia) จึงสั่งห้ามสูบบุหรี่ในกองถ่าย Dafoe เลยทำได้เพียงคาบมวนบุหรี่ รอคอยเวลาว่างระหว่างพักการถ่ายทำ ถึงค่อยเดินหาสถานที่สูบไกลๆ


Harvey Keitel (เกิดปี 1939) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Brooklyn, New York City ในครอบครัวเชื้อสาย Jews อพยพจาก Romania และ Poland, พออายุ 16 อาสาสมัครเป็นทหารเรือ ประจำการอยู่ Lebanon หลังปลดประจำการทำงานนักชวเลขในชั้นศาล (Court Stenographer) นานกว่าสิบปี ก่อนตัดสินใจผันตัวสู่วงการบันเทิง เข้าศึกษาการแสดงจาก HB Studio ลูกศิษย์ของ Stella Adler และ Lee Strasberg, ต่อมาได้รับบทบาทเล็กๆในการแสดง Off-Broadway จากนั้นเข้าทดสอบหน้ากล้องภาพยนตร์เรื่องแรกของ Martin Scorsese ได้รับบทนำ Who’s That Knocking at My Door (1967), แจ้งเกิดกับ Mean Streets (1973), Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974), Taxi Driver (1976), The Last Temptation of Christ (1988), Thelma & Louise (1991), Bugsy (1991) ** เข้าชิง Oscar: Best Actor, Reservoir Dogs (1992), Bad Lieutenant (1992), Pulp Fiction (1994)

โดยปกติแล้ว Judas Iscariot หนึ่งในสิบสองอัครทูต (Apostles) เป็นที่รู้จักกันว่าคือผู้ทรยศ ทำการชี้ตัว Jesus Christ ให้ถูกทหารโรมันจับกุม นำสู่การตรึงไม้กางเขน แต่การตีความใหม่ของ The Last Temptation of Christ นำเสนอ Judas คือบุคคลใกล้ชิด สนิทสนม (กว่าอัครทูตอื่นที่แทบจะไร้ตัวตน) คอยให้คำแนะนำ ส่งเสริมสนับสนุน รวมถึงปลุกตื่นจากฝันหวาน เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น ซื่อสัตย์ จงรักภักดี มือขวาของ Jesus ไม่เคยคิดคดทรยศหักหลังประการใด!

หลังจากที่ Ray Davies ถอนตัวออกไป, Jeff Bridges เขียนจดหมายโน้มน้าวผกก. Scorsese แสดงความต้องการบทบาทนี้อย่างแรงกล้า แต่สุดท้ายกลับเลือกเพื่อนสนิท/ขาประจำ Harvey Keitel ที่ถูกใครต่อใครตีตราว่าไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่

เหตุผลหลักๆน่าจะเพราะ Keitel เป็นคนที่มีสำเนียง Brooklyn หนักมากๆ (ใครรับชมหลายๆผลงานของ Keitel ก็น่าจะมักคุ้นสำเนียงแปลกๆของพี่แก) พยายามจะใช้สำเนียงอเมริกันกลาง ก็ฟังดูแปลกๆ ทะแม่งๆ อีกทั้งมาดนักเลง อึดถึก ของ Keitel ไม่มีความเข้ากับ Judas ที่เปลี่ยนจากคนทรยศ เป็นซื่อสัตย์ จงรักภักดี (Judas ในฉบับเจ้าพ่อมาเฟีย) ผู้ชมเลยไม่ค่อยอยากยินยอมรับทั้งนักแสดงและการตีความตัวละครที่ผิดแผกแปลกไป

ผลลัพท์ทำให้ Keitel เข้าชิง Razzi Award: Worst Supporting Actor นี่ต้องโทษความดื้อรั้นของผกก. Scorsese เลือกเอา Jeff Bridges ตั้งแต่แรกก็หมดปัญหา … แต่ก็แสดงให้ถึงความรักพวกต่อพวกพ้องของ Marty ได้เป็นอย่างดี


Barbara Lynn Herzstein (เกิดปี 1948) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Hollywood, California ในครอบครัวเชื้อสาย Jews อพยพจาก Hungary และ Russia ตั้งแต่เด็กมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดง พออายุ 17 ได้รับบทสมทบซีรีย์โทรทัศน์ Gidget (1965-66), เมื่อตอนร่วมงานผกก. Martin Scorsese ในภาพยนตร์ Boxcar Bertha (1972) แสดงความคิดเห็นว่า “was the most fun I ever had on a movie”, ผลงานเด่นๆ อาทิ The Stunt Man (1980), Hannah and Her Sisters (1986), Shy People (1987), A World Apart (1988), Beaches (1988), The Last Temptation of Christ (1988), มินิซีรีย์ A Killing in a Small Town (1990), The Portrait of a Lady (1996), Black Swan (2010) ฯ

รับบท Mary Magdalene หนึ่งในผู้ติดตาม สาวกสตรีคนสำคัญที่ Jesus Christ ทรงขับไล่เจ็ดผีออกจากตัวนาง และเป็นบุคคลแรกพบเห็นการฟื้นคืนพระชนม์ชีพ (Resurrection) ในคัมภีร์ไบเบิลไม่เคยกล่าวว่าเธอเป็นโสเภณี จนกระทั่งฉบับ Luke the Evangelist ให้คำอธิบาย ‘sinful woman’ เลยถูกตีความ ภาพจำเสียๆหายๆ เฉกเช่นเดียวกับ The Last Temptation of Christ กลายเป็นคนรักของ Jesus Christ ในความฝันเหมือนจะมีบุตรร่วมกันด้วยนะ

แม้ว่า Hershey จะเคยพยายามล็อบบี้ผกก. Scorsese แต่เธอก็ได้รับบทบาทนี้ผ่านการออดิชั่น เอาชนะคู่แข่งมากมาย อาทิ Vanity, Kim Basinger, Sally Field, Madonna ฯ

จริงๆแล้ว Hershey เป็นนักแสดงมากความสามารถคนหนึ่ง แต่บทบาท Mary Magdalene ดูไม่ต่างจาก ‘sex object’ หรือ ‘object of desire’ [บางคนตีความตัวละครนี้เป็น ‘femme fatale’ มองมุมนั้นก็ได้กระมัง] ผมรู้สึกคล้ายๆแบบ Jodie Foster จากภาพยนตร์ Taxi Driver (1976) ซึ่งก็ไม่ได้มีการแสดงอะไรโดดเด่น แต่การร่วมเพศสัมพันธ์กับ Jesus Christ มันคงต้องใช้ความหาญกล้า บ้าบิ่น ผู้คนสมัยนั้นยังไม่ให้การยินยอมรับ

แต่ถ้ามองความยากลำบากในการถ่ายทำ เพราะทุนสร้างลดลงกว่าครึ่งทำให้ Hershey ไม่มีแม้แต่ช่างแต่งหน้าส่วนตัว (ต้องลงเพนท์ลายสัก ‘Mehndi Tattoo’ ด้วยตนเองในทุกๆเทค) ท่ามกลางทะเลทรายอากาศร้อนระอุ ไร้ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ พวกผู้ชายยังไม่เท่าไหร่ แต่สำหรับหญิงสาวกว่าจะเอาตัวรอดกลับมาได้ มันคงไม่ง่ายอย่างแน่นอน


ถ่ายภาพโดย Michael Ballhaus (1935-2017) ตากล้องสัญชาติ German เกิดที่ Berlin เป็นบุตรของนักแสดง Lena Hutter กับ Oskar Ballhaus, ช่วงวัยเด็กมีโอกาสเป็นตัวประกอบภาพยนตร์เรื่อง Lola Montès (1955) เกิดความชื่นชอบหลงใหลด้านการถ่ายภาพ เริ่มมีชื่อเสียงจากการร่วมงาน Rainer Werner Fassbinder ตั้งแต่ The Bitter Tears of Petra von Kant (1972), Chinese Roulette (1976), The Marriage of Maria Braun (1978), จากนั่้นโกอินเตอร์กลายเป็นขาประจำ Martin Scorsese อาทิ The Color of Money (1986), The Last Temptation of Christ (1988), Goodfellas (1990), The Age of Innocence (1993), Gangs of New York (2002), The Departed (2006) ฯ

ส่วนใหญ่แล้วภาพยนตร์ของผกก. Scorsese มักคือ ‘city movie’ ถ่ายทำใน New York City ตามท้องถนน ผับบาร์ ห้องครัว ห้องนอน แท็กซี่ สระว่ายน้ำ ฯ ต้องมีผนังกำแพงห้อมล้อมรอบข้าง (ราวกับกรงขัง แต่สร้างความรู้สึกปลอดภัย), ถือเป็นครั้งแรกๆกับ The Last Temptation of Christ (1988) ออกเดินทางไปยังถิ่นทุรกันดาร ทะเลทรายเวิ้งว้างห่างไกล มองออกไปสุดลูกหูลูกตา แต่เต็มไปด้วยภยันตรายรายล้อมรอบข้าง

the landscape of Morocco, just the red of the soil, seemed to be about the blood of Christ.

Thelma Schoonmaker กล่าวถึงนัยยะการถ่ายทำยังท้องทะเลทราย

แรกเริ่มนั้นหนังวางแผนจะเดินทางไปถ่ายทำยังสถานที่จริง Jerusalem, Israel แต่เมื่อเปลี่ยนสตูดิโอ งบประมาณลดลงกว่าครึ่ง จึงจำต้องมองหาสถานที่อื่นเพื่อลดทอนค่าใช้จ่าย ตัดสินใจปักหลักอยู่ Morroco Desert และยังต้องควบคุมระยะเวลาภายใน 60 วัน ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม – 20 ธันวาคม ค.ศ. 1987

ทะเลทรายใน Morroco มีความทุรกันดารห่างไกล ไร้สิ่งอำนวยสะดวกใดๆ การเดินทาง/ขนส่งจึงยุ่งยากลำบาก แถมระยะเวลาจำกัด การถ่ายทำเลยต้องเร่งรีบ รวบรัด “We worked in a state of emergency.” แต่ละซีนถ่ายทำได้เพียง 2-3 เทค (เพราะฟีล์มก็มีจำนวนจำกัด) เลยไม่สามารถใส่ลูกเล่น เทคนิคแพรวพราว บ่อยครั้งนักแสดงต้องดั้นสด ‘improvised’ ปรับเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์

It was tough, and we all worked really hard, but we did it for Marty because he wanted to make the movie so badly. There was a great atmosphere on the set. Every morning we started rolling with the first light, and we were still shooting when the sun went down.

Michael Ballhaus

ต้องถือว่าผกก. Scorsese โชคดีที่ได้ตากล้อง Ballhaus เคยมีประสบการณ์ทำงานกับ Rainer Werner Fassbinder เลื่องชื่อเรื่องการถ่ายทำด้วยความรวดเร็วติดจรวด (หนึ่งปีถ่ายหนังได้ 3-4 เรื่อง เร็วกว่าพจน์ อานนท์เสียอีกนะ!) สามารถให้คำแนะนำช็อตไหนสำคัญ-ไม่สำคัญ (เลือกจาก Storyboard ที่เตรียมไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มโปรดักชั่น) กำหนดระยะเวลาแต่ละช็อตภายในกี่นาที ถ้าตอนเกินกว่ากำหนดก็ต้องตัดทิ้ง/เปลี่ยนฉากโดยทันที นั่นทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และได้ผลลัพท์อย่างคาดไม่ถึง

I originally had around 75 setups planned for the crucifixion scene, but we only had two days to shoot it. When I sat down with Michael to discuss it, he said, ‘You’ve got to start thinking about what your most essential shots are. We can do it if we start exactly as the sun is coming up and if we assign a precise amount of time to each shot. If we find that a shot requires five minutes and we’re still shooting after seven or eight, we’ll have to abandon the shot and move on.’ We blocked out about 45 minutes for the longest shot, and the others ranged from five minutes to 20. Michael based this approach on what he’d done with Fassbinder, and he helped me cut 75 setups down to 50.

Martin Scorsese

ภาพแรกของหนัง กล้องเคลื่อนเลื่อนผ่านต้นไม้ด้วยความเร็ว พร้อมกับได้ยินเสียงนกเหยี่ยว (เสียงลีดกีตาร์ก็ฟังดูโฉบเฉี่ยว) ก่อนตัดมาช็อต God’s Eye View จับจ้องมองลงมาเห็น Jesus Christ นอนราบท่าทารกแรกเกิดบนพื้นดิน พร่ำรำพันความเจ็บปวด หงุดหงิดรำคาญใจจากสรรพเสียงทั้งหลาย ต้องการปัดภาระรับผิดชอบ ขอไม่เป็นพระผู้ไถ่ได้ไหม?

การที่กล้องเคลื่อนเลื่อนพร้อมเสียงเหยี่ยว ในตอนแรกผมครุ่นคิดว่าคือมุมมองนก (Bird’s Eye View) จนกระทั่งช่วงกลางๆเรื่องระหว่างบทสนทนาของ Jesus Christ กับ Jeroboam บริเวณริมหน้าผา มีคำอธิบาย “First came the wings, then the angel.” นั่นแปลว่ามุมกล้องดังกล่าวก็คือพระเจ้า (God’s View) กำลังติดตามหาพระบุตรของพระองค์เอง มาหลบซ่อน หนีภาระหน้าที่ อยู่แห่งหนนี้นี่เอง

ชาวคริสต์มีการถกเถียงกันว่า Jesus Christ เป็นช่างไม้ (Carpenter) หรือช่างหิน (Stonemason) แต่ในคัมภีร์ไบเบิลเขียนเป็นภาษากรีกว่า Τεκτονική (Tecktonic) ซึ่งหมายถึงงานทำด้วยมือ (Manual Laborer) ไม่ได้ระบุเจาะจงว่าจะเป็นช่างไม้ ช่างหิน หรืออาจจะเกษตรกร คนเลี้ยงแกะก็ยังได้

ซึ่งนัยยะของการเป็นช่างไม้หรือช่างหิน สามารถสื่อถึงอาชีพที่สามารถก่อสร้าง ซ่อมแซม ออกแบบปรับปรุงอาคารบ้านเรือน สอดคล้องกับวิถีการเป็นบุตรของพระเจ้า ช่วยปรับแก้ไขทัศนคติที่ถูกต้อง นำพามนุษยชาติสู่อาณาจักรของพระองค์, ในส่วนของหนัง จงใจเลือกให้ Jesus เป็นช่างทำไม้กางเขนให้ทหารโรมันประหัดประหารชาวยิว ซึ่งล้อกับตอนจบที่จักกลายเป็นผู้ถูกตรึงกางเขนเสียเอง

หลายต่อหลายครั้งกล้องทำตัวราวกับพระเจ้า (God’s View) ล่องลอยอยู่เคียงข้าง เดินติดตาม แม้มองไม่เห็นแต่ Jesus สามารถสัมผัสถึงการมีอยู่

ในบทสัมภาษณ์ของ Dafoe กล่าวถึงความประทับใจการทำงานร่วมกับตากล้อง Ballhaus อย่างซีนนี้ราวกับพวกเขาราวกับคู่เต้นรำ เริ่มต้นกล้องถ่ายจากด้านหน้า เดินสามก้าวได้ยินเสียงฝีเท้าเลยหันไปมองด้านหลัง กล้องเลื่อนไปไม่เห็นอะไรเลยหมุนกลับมาถ่ายตัวละครจากด้านหลัง เดินต่ออีกสามก้าวหันควับกลับมาพร้อมกล้อง Whip Pan (อย่างรวดเร็ว) ไปด้านหลัง ฯ ลองไปสังเกตในหนังเองก็แล้วกันนะครับ

I felt like one of my acting partners was Michael Ballhaus. The scene where I’m walking along a lake and I’m attacked? I have a vision and it ends up that I’m hearing voices steps behind me? That’s not done with any wizardry. It’s been worked out that I take three steps forward and the camera passes me and goes to another angle, and once it arrives at a spot I turn back and then walk back two steps, the camera swings right … I danced with the camera a lot in that movie.

Willem Dafoe

ตั้งแต่ที่ Jesus พบเห็นภาพวาดงูดำกอดรัดฟัดกับงูขาว มันได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งยั่วเย้า ‘Temptation’ หลายต่อหลายครั้งปรากฎงูเห่าสีดำตัวจริงๆ (แต่คงหางูเผือกไม่กระมัง) และมักได้ยินเสียง Mary Magdalene พูดล่อหลอก หยอกเย้า โน้มน้าวให้เสียคน (ถือเป็นหนึ่งในอวตารของซาตาน)

บุรุษมากมายเฝ้ารอคอยใช้บริการโสเภณี Mary Magdalene ผมรู้สึกว่าการเคลื่อนเลื่องกล้องของซีนนี้ แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็น ทำไมโชคชะตา/พระเจ้าถึงนำทาง Jesus มายังสถานที่แห่งนี้

Jesus and the other men are not voyeurs. They’re waiting, they’re not really watching. Some of them are playing games; two black guys are talking; Jesus is waiting. Magdala was a major crossroads for caravans, merchants would meet there. And when you were in Magdala, the thing do to was to go see Mary. But the point of the scene was to show the proximity of sexuality to Jesus, the occasion of sin. Jesus must have seen a naked woman—must have. So why couldn’t we show that? And I wanted to show the barbarism of the time, the degradation to Mary. It’s better that the door is open. Better there is no door. The scene isn’t done for titillation; it’s to show the pain on her face, the compassion Jesus has for her as he fights his sexual desire for her. He’s always wanted her.

Martin Scorsese

ในตอนแรกผมตั้งใจจะเขียนสองช็อตนี้แยกกัน แต่ก็มาตระหนักได้ว่ามันคือจุดสูงสุดและต่ำสุด

  • Jesus สนทนาทางธรรมกับ Jeroboam ยังบริเวณหน้าผาสูงชัญ เกี่ยวกับสรรพเสียงของพระเจ้า พยายามให้คำแนะนำ ชี้นำทางธรรม
  • โสเภณี Mary Magdalene กำลังถูกห้อมล้อม สาปแช่ง โยนก้อนหิน โดยเธอขดตัวอยู่ตำแหน่งต่ำกว่าผู้ใด (จะสื่อถึงสถานะทางสังคมของโสเภณีก็ได้เช่นกัน) ซึ่งหลังจาก Jesus ท้าทายฝูงชนเหล่านั้น เรียกร้องหาคนบริสุทธิ์ ไม่เคยกระทำความผิดใดๆ ให้เป็นบุคคลแรกเขวี้ยงขว้างก้อนหินใส่ นั่นกลายเป็นจุดเริ่มต้น ครั้งแรกของหนังที่เริ่มทำการเผยแพร่คำสอนศาสนา

ตามคัมภีร์ไบเบิล หลังจาก Jesus Christ ทำพิธีจุ่มศีลกับ John the Baptist เดินทางเข้าไปใน Judaean Desert ทรงอดพระกระยาหารเป็นเวลา 40 วัน 40 คืน เพื่อพิสูจน์ศรัทธาต่อพระเจ้า ระหว่างนี้ก็มีปีศาจร้าย/ซาตานปรากฎตัวออกมา ปลอมแปลง จำแลงกาย ทำการท้าทาย ยั่วเย้ายวน สารพัดจะล่อหลอกให้ก้าวออกจากวงกลม มีคำเรียกเหตุการณ์นั้นว่า การทดลองพระเยซู (Temptation of Christ)

ฉากที่สร้างความช็อค! ตกตะลึง คาดไม่ถึงให้กับผู้ชมสมัยนั้น (เป็นแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Mother! (2017)) มันไม่มีในไบเบิลเล่มไหนเขียนว่า Jesus Christ เคยแสดงปาฏิหารย์ด้วยการควักหัวใจออกมา (เป็นฉากครุ่นคิดโดยนักเขียน Paul Schrader ไม่ได้มีอยู่ในหนังสือของ Nikos Kazantzakis) แต่หนังต้องการสื่อนัยยะถึงความพร้อมที่จะเสียสละตนเอง ทุ่มเทกายใจเพื่อต่อสู้กับซาตาน/ปีศาจร้าย

Actually, that scene, which was not in the Kazantzakis book, was written by Paul Schrader, a Dutch Calvinist, and it was kind of nudged to me as Catholic. He also wanted to show that the supernatural and the natural exist on the same plane. But we were doing that all along… When we got to do the Sacred Heart scene, here’s what I thought was more important. You have these guys bickering all the time, just like in the Gospels. It’s all there: “I’m the one, I’m the one, I’m gonna sit next to him when the Kingdom of Heaven comes. I’ll be at his right hand.” “No, I’m gonna be at his right hand!” Hysterical stuff! So they’re all bickering, and Judas is being a pain, as usual. And then Jesus shows up, and it’s party solidarity. It’s the Democratic convention, everybody getting together. Unity. And his presence is shining so strong at that moment that they have to be unified behind him. Then again, you could say that the apostles are seeing him just back from the desert, with the light from the campfire, and the music around, and the glow behind his head, just a little touch of DeMille. It could be mass hallucination, mass hypnosis. We don’t know. It’s a symbol to bring them all together—especially Judas, who kisses his feet and says, “Adonai!” All of a sudden Jesus is God? Wait a second! Yes—Judas needs this. So do the others, to be convinced that this is the man.

Martin Scorsese

พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย (ผกก. Scorsese จงใจทำออกมาไม่ให้เหมือนภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่พยายามจัดองค์ประกอบซีนนี้ให้เหมือนภาพวาด The Last Supper ของ Leonardo Da Vinci) ในขณะที่ขนมปังถูกส่งต่อด้วยการแพนนิ่ง ไวน์จากเลือดเปลี่ยนมาใช้การตัดต่อ ‘jump cut’ ไปที่ใบหน้าอัครทูตคนอื่นๆ (เหตุผลที่การดื่มไวน์ใช้เทคนิคนี้ เพื่อว่าเมื่อมาถึงบุคคลสุดท้าย Peter สามารถเปลี่ยนมาใช้เลือดจริง)

That’s the miracle of transubstantiation. And in a movie you have to see it. Blood is very important in the Church. Blood is the life force, the essence, the sacrifice. And in a movie you have to see it. In practically every culture, human sacrifice is very important, very widespread.

Martin Scorsese

David Bowie ใช้เวลาถ่ายทำเพียงสองวัน รับบทบาท Pontius Pilate ผู้ปกครองแคว้น Judaea แห่งจักรวรรดิ Roman Empire ในรัชสมัย Emperor Tiberius, และคือบุคคลผู้สั่งประหารชีวิต Jesus Christ ด้วยการตรึงกางขน

แม้ว่า Judas Iscariot ยังคงเป็นบุคคลนำพาทหารโรมันมาจับกุม Jesus Christ แต่เพราะเขาคือบุคคลเดียวที่รับล่วงรู้นิมิต สัญลักษณ์ความตาย เลยยินยอมเป็นผู้เสียสละ ถูกตีตราคนทรยศหักหลัง เพื่อให้ภารกิจเผยแพร่ศาสนาสำเร็จลุล่วงโดยดี

ซึ่งก่อนที่ Jesus จะยินยอมให้ถูกจับกุมตัว ได้แสดงปาฏิหารย์ที่ไม่มีปรากฎในคัมภีร์ไบเบิล ทำการแปะติดหูชายคนหนึ่งที่ถูกอัครทูตตัดขาด (เหมือนจะใช้เทคนิค Reverst Shot) น่าจะสื่อถึงการหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น เหตุการณ์หลังจากนี้ ความตาย=ถือกำเนิดใหม่(บนสรวงสวรรค์)

ระหว่าง Jesus Christ ถูกตรึงไม้กางเขน จู่ๆกล้องมีการหมุน 90 องศา (จากแนวตั้งกลายเป็นนอนราบ) ท้องฟ้าที่เคยมืดครึ้มพลันส่องสว่างจร้า เด็กสาวแปลกหน้าเข้ามาพูดทักทาย สรรพเสียงรอบข้างเงียบหาย เหตุการณ์บังเกิดขึ้นต่อจากนี้กำลังเข้าสู่นิมิต/จินตนาการเพ้อฝัน ภาพลวงหลอก ยั่วเย้ายวน ‘Last Temptation’ ทุกสรรพสิ่งอย่างจะพลักกลับตารปัตร ตรงกันข้ามกับเหตุการณ์บังเกิดขึ้นจริง

เกร็ด: Willem Dafoe เปลือยกายล่อนจ้อนจริงๆ แต่พยายามบิดๆเอี้ยวตัวไม่ให้อุจาดตาเกินไป ซึ่งตามประวัติศาสตร์เห็นว่าไม่มีอะไรปกปิดบังจริงๆ (มันเป็นทั้งการประหาร ประจาน ทำให้อับอายพร้อมกันในตัว)

เรื่องราวในนิมิต จินตนาการเพ้อฝัน อนาคตแห่งความเป็นไปได้ถ้า Jesus Christ ปฏิเสธเป็นพระผู้ไถ่ สังเกตว่าตลอดทั้งซีเควนซ์ถ้าไม่บรรยากาศอึมครึม มืดครึ้ม แสงแดดก็สว่างจร้ากว่าปกติ (ถ่ายย้อนแสงอาทิตย์) มอบสัมผัสที่ผิดแผกแตกต่างจากโลกความจริง

ช่วงแรกๆ Jesus อาศัยอยู่ในกระท่อมกลางป่ากับ Mary Magdalene หลังจากรักษาบาดแผล ร่วมรักกันอย่างโจ๋งครึ่ม ก่อนที่เธอจากไปเพราะได้รับแสงสว่างเจิดจรัสจร้า (น่าจะพระเจ้าไม่พึงพอใจที่พระบุตรแต่งงานกับโสเภณี)

ต่อมา Jesus ทำการควบสองกับคู่แม่ลูก Martha และ Mary of Bethany ไม่สนคำสอนเรื่องผัวเดียวเมียเดียว ซาตานมอบให้ใครก็ได้เอาหมด ขอแค่เพียงมีความสุข ตอบสนองความพึงพอใจ ตกนรกก็ไม่เห็นเป็นไร

I don’t know that it’s adultery. It might have been polygamy. There is some evidence of a Hebrew law at the time regarding polygamy for the sake of propagation of the race. But remember again, this is the Devil doing fancy footwork. You can have whatever you want. And look, I’m sorry about what happened to Mary Magdalene. Really sorry, won’t happen again. In fact, this time, take two! You need more than one—take two!

Martin Scorsese

Harry Dean Stanton รับบท Saul/Paul of Tarsus (หรือก็คือนักบุญ Paul) เดินทางมาเผยแพร่ศาสนา โดยอ้างว่าภายหลัง Jesus Christ สิ้นพระชมน์จากการตรึงกางเขน สามารถฟื้นคืนชีพ เดินทางกลับสู่สรวงสวรรค์ แต่นั่น(ในบริบทของหนังที่อยู่ในความฝัน/ภาพลวงตาของซาตาน)เป็นเพียงคำโป้ปด หลอกลวง สร้างขึ้นมาเพียงเพื่อให้มนุษย์มีกำลังใจต่อสู้ชีวิต … เพราะ Jesus Christ ตัวจริงกำลังใช้ชีวิตอย่างสุขสำราญอยู่แถวๆนี้

นี่ถือเป็นประเด็นคำถามน่าจะยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวคริสต์ Jesus Christ ฟื้นคืนชีพจริงหรือไม่? พานผ่านมาสองพันกว่าปี ย่อมไม่มีใครสามารถพิสูจน์อะไรได้ ศาสนาที่อ้างเรื่องความเชื่อก็งมงายกันไป

กาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน Jesus Christ ในวัยชรา นอนซมซานอยู่บนเตียง มีโอกาสพบเจออัครทูต หนึ่งในนั้นคือ Judas Iscariot ขึ้นเสียงโต้ตอบกลับ “คนทรยศ” … โดยปกติแล้ว Judas ต่างหากที่ถูกตีตราว่าเป็นคนทรยศ แต่ในบริบทของหนังได้ทำในสิ่งกลับตารปัตรตรงกันข้าม

ผมไม่ได้ตั้งใจฟังนักว่าภายนอกกำลังเกิดสงครามอะไร แต่สังเกตจากแสงสีแดงด้านหลังประตู สามารถสื่อถึงหายนะ ความตาย สิ่งชั่วร้าย ซาตานยึดครองโลก หรือจะวันโลกาวินาศก็ได้กระมัง

คัมภีร์ไบเบิ้ลแต่ละ Gospel มีการบันทึกคำพูดสุดท้ายบนไม้กางเขนของ Jesus Christ แตกต่างกันออกไป

  • ฉบับของ Matthew และ Mark แปลได้ว่า “My God, my God, why have you forsaken me?” (Matthew 27:46, Mark 15:34)
  • ฉบับของ Luke คือ “Father, into your hands I commit my spirit” (Luke 23:46)
  • ฉบับของ John กล่าวว่า “It is finished” (John 19:30)

ตอนจบของหนังนำคำพูดสุดท้ายจาก Gospel of John ซึ่งภาษากรีกต้นฉบับ τετέλεσται (Tetelestai) สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษได้หลากหลายความหมาย เห็นว่าผกก. Scorsese ถ่ายทำไว้สามแบบ แล้วค่อยมาตัดสินใจเลือกเอาภายหลัง ถ้อยคำสามารถเติมเต็มความรู้สึกสำเร็จลุล่วงได้เหมาะสม ลงตัวที่สุด

Very hard to translate and get the power and the meaning. “It is finished.” “It is completed.” “It’s over.” Can’t use that—too Roy Orbison. What was the translation we were taught in Catholic school? “It is consummated.” The Kazantzakis book used “It is accomplished.” Because Jesus had accomplished a task, accomplished a goal. I shot three different versions. What I wanted was a sense of Jesus at the end of the temptation begging his Father, “Please, if it isn’t too late, if the train hasn’t left, please, can I get back on, I wanna get on!” And now he’s made it back on the cross and he’s sort of jumping up and down saying, “We did it! We did it! I thought for one second I wasn’t gonna make it—but I did it I did it I did it!”

Martin Scorsese

หลังจาก Jesus Christ ตรัสคำพูดสุดท้าย “It is accomplished!” ก่อนปรากฎ Closing Credit ราวกับว่าวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ (Holy Spirit) ได้แปรสภาพเป็นเฉดสีสันที่มีความละลานตา (นี่เป็นความจงใจอย่างแน่นอนนะครับ) ดูราวกับภาพถ่าย Abstract หรืออาจจะตีความถึงสรวงสวรรค์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

  • Opening Credit ใช้พื้นหลังสีแดงเลือด ผมมองว่าสื่อถึง ‘temptation’ นำเข้าสู่เรื่องราวที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วเย้า สร้างความเจ็บปวด ทนทุกข์ทรมานทั้งร่างกาย-จิตใจ
  • Closing Credit ใช้พื้นหลังสีส้ม ดูบรรเทา ผ่อนคลาย ไม่แน่ใจว่าคือสีของสรวงสวรรค์ เหลืองทองอร่ามตระการตา

ตัดต่อโดย Thelma Schoonmaker (เกิดปี 1940) ขาประจำผกก. Martin Scorsese คว้าสามรางวัล Oscar: Best Film Edited จากภาพยนตร์ Raging Bull (1980), The Aviator (2004) และ The Departed (2006)

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมอง Jesus Christ ร้อยเรียงเหตุการณ์ที่คนส่วนใหญ่น่าจะรับรู้จักจากคัมภีร์ไบเบิล แต่เพิ่มเติมสิ่งยั่วเย้า ‘Temptation’ จากซาตาน ให้บังเกิดความสับสน หวาดกังวล ซึมเศร้า หดหู่ โล้เล้ลังเลใจ ตัณหาความใคร่ รวมถึงกลัวความตาย จุดประสงค์เพื่อท้าพิสูจน์ตัวตนเอง ค้นพบเป้าหมายชีวิต เกิดความตระหนักรู้ว่าฉันคือบุตรของพระเจ้า พระผู้มาไถ่ (Messiah) ยินยอมเสียสละชีพบนไม้กางเขน แบกรับความทุกข์ทรมานแทนมวลมนุษยชาติ

  • ช่วงความขัดย้อนแย้ง ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
    • เริ่มต้น Jesus เป็นช่างทำไม้กางเขน เกิดความรู้สึกขัดย้อนแย้งในตนเอง กับแผนการที่พระเจ้าคาดหวังไว้
    • พบเห็นโสเภณี Mary Magdalene เกิดความลุ่มร้อน ตัณหาราคะ แต่พยายามควบคุมอารมณ์ตนเองไว้
    • พบเห็นการเสียชีวิต รวมถึงงูดำย่างกรายเข้าหา รู้สึกหวาดกลัวความตาย
    • พบเจอกับ John the Baptist ได้รับการจุ่มศีล
    • ท้าพิสูจน์ความมั่นคงทางจิตใจ ด้วยการนั่งอยู่กลางทะเลทราย พบเจอสารพัดการยั่วยวนของซาตาน
  • ภารกิจของ Jesus Christ
    • หลังพานผ่านบทพิสูจน์ความเชื่อมั่น ได้รับความเอ็นดูจาก Mary และ Martha
    • แสดงปาฏิหารย์ ควักหัวใจ ทำให้คนตาบอดมองเห็น คนพิการสามารถก้าวเดิน และชุบชีวิตคนตาย
    • เดินทางสู่ Jerusalem ขับไล่พ่อค้าหน้าเลือดออกจากวิหาร รวมกลุ่มสาวก แต่ก็ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป
    • พระกระยาหารมื้อสุดท้าย
    • Jesus ถูกทหารโรมันจับกุมตัว ตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการตรึงกางเขน
  • นิมิต/ภาพลวงตาของซาตาน เพื่อโน้มน้าวให้ Jesus ปฏิเสธพระเป็นเจ้า
    • แต่งงานครองรักกับ Mary Magdalene
    • ตามด้วย Mary และ Martha
    • พอแก่ชราใกล้ตาย ได้รับการเยี่ยมเยียนจากอัครทูตรวมถึง Judas ปลุกตื่นจากฝันหวาน
  • หวนกลับสู่ระหว่างการตรึงกางเขน Jesus เอาชนะการยั่วเย้าทั้งหมดของซาตาน

การดำเนินเรื่องของหนังเป็นเส้นตรงมาโดยตลอด จนกระทั่ง Jesus Christ ถูกตรึงไม้กางเขน พบเห็นนิมิต/จินตนาการเพ้อฝัน (สร้างโดยซาตาน) นั่นทำให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ It’s a Wonderful Life (1946) ที่นำเสนอ ‘Alterate Future’ อนาคตแห่งความเป็นไปได้ ถ้าสมมติว่า Jesus เลือกปฏิเสธพระเจ้า ใช้ชีวิตสนองกิเลสตัณหา ปล่อยตัวปล่อยใจให้กับสิ่งยั่วเย้า มนุษยชาติย่อมตกอยู่ในหายนะ ราวกับวันสิ้นโลกาวินาศ

ด้วยความที่กองถ่ายตั้งอยู่กลางทะเลทราย เมื่อเสร็จสิ้นการถ่ายทำในแต่ละวันก็ต้องส่งฟีล์มขึ้นเครื่องกลับสหรัฐอเมริกา นำเข้าห้องแลปล้างฟีล์ม กว่าจะมาถึงมือของ Schoonmaker ตรวจสอบว่าใช้งานได้หรือไม่ แถมยังต้องรอคอยโทรศัพท์ทางไกล (Time Zone ไม่ตรงกันอีก) ย่อมสร้างความร้อนรน กระวนกระวายให้ผกก. Scorsese โชคดีว่าไม่มีฟุตเทจไหนเสียหาย ผลลัพท์ออกมาน่าประทับใจ

The footage wasn’t even developed yet because there were no labs over there at that point… It was quite moving for me because the landscape of Morocco, just the red of the soil, seemed to be about the blood of Christ that is so important in the movie. I started crying in dailies. That hardly ever happens… And I wasn’t the only person crying in dailies; his development person was also crying. Finally I said, ‘No, no it’s very beautiful.’

Thelma Schoonmaker

เพลงประกอบโดย Peter Brian Gabriel (เกิดปี 1950) นักร้อง/แต่งเพลง สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Chobham, Surrey ตั้งแต่เด็กมีความสามารถด้านการร้องเพลง แต่เลือกเรียนเปียโนจากมารดา ต่อมายังค้นพบความชื่นชอบเล่นกลอง แต่งเพลงแรกตอนอายุ 12 รวมกลุ่มกับเพื่อนก่อตั้งวง Garden Wall เล่นตามงานโรงเรียน ขึ้นแสดงยัง Charterhouse ที่นั่นทำให้ได้รับรู้จักผู้คนมากมาย ร่วมกันก่อตั้งวงใหม่ Genesis ขับร้อง แต่งเพลง ออกอัลบัมแรก From Genesis to Revelation (1968) แนว Psychedelic Pop ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่, แต่หลังจากลองผิดลองถูก อัลบัมที่สาม Selling England by the Pound (1973) แนว Progressive Rock ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม, ต่อมาแยกตัวทำอัลบัมเดี่ยว เพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ Birdy (1984), The Last Temptation of Christ (1988), Rabbit-Proof Fence (2002) ฯ

แม้ว่า Gabriel จะโด่งดังจาก Progressive Rock แต่เพลงประกอบ The Last Temptation of Christ (1988) [รวมอยู่ในอัลบัม Passion (1989)] ได้ทำการผสมผสานเครื่องดนตรีคลาสสิกยุโรป, พื้นบ้านแอฟริกัน, ตะวันออกกลาง (อาทิ Surdo, Tabla, Doudouk, Arghul, Duduk, Ney, Tanbur, Kamancheh ฯลฯ) ทำออกมาในสไตล์ Worldbeat หรือ New Age มีความร่วมสมัยและขัดย้อนแย้งภายใน เต็มไปด้วยความลึกลับ ราวกับต้องมนต์ มอบสัมผัสเหนือกาลเวลา ราวกับเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้

Martin wanted to present the struggle between the humanity and divinity of Christ in a powerful and original way. The Last Temptation of Christ was to create something that had references to that time and that part of the world, but that had its own character and was to be timeless in a way.

Peter Gabriel 

หลายคนอาจรู้สึกว่าบทเพลงประกอบไม่ได้มีความเข้ากับหนัง เพราะฟังดูโมเดิร์น ล้ำยุคสมัย ไม่ได้มีความเป็น ‘Historical Period’ แต่มันมีความจำเป็นที่ผู้สร้างต้องทำตามกฎกรอบเช่นนั้นจริงๆนะหรือ The Last Temptation of Christ (1988) คือภาพยนตร์ที่มีความเป็นส่วนตัวของผกก. Scorsese เช่นนั้นแล้วการเลือกใช้บทเพลงร่วมสมัย มันไปหนักหัวใคร???

แซว: เหมือนว่า Hans Zimmer จะได้รับอิทธิพลเพลงประกอบนี้ นำไปปรับใช้กับ Dune (2021) อยู่ไม่น้อยเลยนะ!

Lazarus Raised บทเพลงแห่งการฟื้นคืนชีพของ Lazarus มีการใช้ Duduk เครื่องดนตรีพื้นบ้าน Kurdish ลักษณะคล้ายขลุ่ย โหยหวน คร่ำครวญ เห็นว่าใช้ท่วงทำนองเพลงพื้นบ้าน Kurdistan เรื่องเล่าเศร้าๆของหญิงสาวตกหลุมรักวีรบุรุษนักสู้ ผู้เสียสละชีพเพื่อชาติบ้านเกิด

หนึ่งในไฮไลท์ของหนังคือ Passion ดังขึ้นระหว่าง Jesus Christ กำลังแบกลากไม้กางเขน เตรียมรับโทษประหารชีวิต เสียงกรีดร้องโหยหวนของบทเพลง แทนความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน หวาดกลัวเกรงความตาย หายนะกำลังคืบคลานเข้ามาอย่างช้าๆ ทำไมฉันต้องทำสิ่งนี้ เสียสละชีพเพื่อผู้อื่น เต็มไปด้วยความรู้สึกขัดย้อนแย้งภายใน … เป็นบทเพลงกลิ่นอาย New Age มีความสั่นสะท้าน สะท้อนความสิ้นหวังทรวงใน

It Is Accomplished ใช้เสียงกลอง คีย์บอร์ด กีตาร์ไฟฟ้า เครื่องดนตรีสังเคราะห์เสียง ฯ มอบสัมผัสดนตรีแห่งอนาคต การเสียสละของ Jesus Christ ในฐานะพระผู้มาไถ่ (Messiah) ได้สร้างโอกาสและความหวังให้กับมนุษยชาติ มาจนถึงกาลปัจจุบัน … และอนาคตสืบต่อไป

เกร็ด: ในส่วนของเพลงประกอบ แม้ถูก SNUB จาก Oscar ยังได้เข้าชิง Golden Globe: Best Original Score และคว้ารางวัล Grammy Award: Best New Age Album ยอดขายอัลบัม Passion (1989) ระดับ Gold (เกินกว่า 500,000 ก็อปปี้ในสหรัฐอเมริกา)

“Jesus is both fully God and fully man.” คนที่เป็นชาวคริสเตียน ศึกษาคัมภีร์ไบเบิล ย่อมต้องตระหนักถึงข้อสรุปดังกล่าว ร่างกายถือกำเนิดจากเลือดเนื้อของพระนางมารีย์ ด้วยจิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ (Holy Spirit) ของพระบิดา เฉกเช่นนั้นแล้ว The Last Temptation of Christ ที่พยายามนำเสนอความเป็นมนุษย์ของ Jesus Christ มันผิดอะไร? หมิ่นศาสนาตรงไหน?

For if the dead rise not, then is not Christ raised: And if Christ be not raised, your faith is vain; ye are yet in your sins. Then they also which are fallen asleep in Christ are perished.

1 Corinthians 15:16-18

เฉกเช่นเดียวกับในคัมภีร์ไบเบิล พันธสัญญาใหม่ (New Testament) หมวดจดหมายของนักบุญเปาโล (Pauline epistles) จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 (First Epistle to the Corinthians หรือชื่อย่อ 1 Corinthians) มีข้อความในเชิงตั้งคำถาม ถ้า Jesus Christ ไม่ฟื้นคืนพระชนม์ชีพ (Resurrection) ศาสนาคริสต์คงสิ้นสุดลงโดยพลัน … นี่เช่นกันย่อมไม่ใช่การดูหมิ่นศาสนา แต่ชักชวนให้ชาวคริสเตียนรู้จักครุ่นคิด ทำความเข้าใจมุมมองเป็นไปได้อื่นๆ

ฉันท์ใดฉันท์นั้น ทั้งการพยายามสร้างความเป็นมนุษย์ รวมถึงสารพัดคำถาม/ตีความเรื่องราวชีวิต Jesus Christ ในอีกมุมมองใหม่ของนักเขียน Nikos Kazantzakis และผกก. Martin Scorsese มันจึงหาใช่สิ่งที่ชาวคริสเตียนด้วยกันจะดูหมิ่น หยามเหยียด ตำหนิต่อว่า เอาความรู้สึกส่วนตนเป็นที่ตั้ง ถามตัวเองว่าเคยศึกษาเรียนรู้พระคัมภีร์อย่างจริงจังหรือเปล่า ถึงกล้าแสดงความคิดเห็นออกมาเช่นนั้น?

My whole life has been movies and religion. That’s it. Nothing else.

Martin Scorsese

สำหรับผกก. Scorsese การสรรค์สร้างภาพยนตร์ชีวประวัติ Jesus Christ ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดในชีวิต! เพื่อพิสูจน์ศรัทธาแรงกล้า ซึ่งระหว่างทางกว่าจะได้รับโอกาสนี้ เคยพานผ่านสารพัดสิ่งยั่วเย้า ‘Temptation’ ช่วงเวลาสับสน หวาดกังวล อึดอัดอั้นภายใน สูญเสียความเชื่อมั่นใจตนเอง ทุกข์ทรมานสาหัสทั้งร่างกาย-จิตวิญญาณ … เหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้นในชีวิตของผกก. Scorsese สามารถเปรียบเทียบได้กับการเผชิญหน้าสิ่งยั่วเย้าของ Jesus Christ

I was driven to make ‘Last Temptation’ because I wanted to look at questions of faith and penance and redemption within the context of the world right now, with all the formalities stripped away. I’m constantly exploring this question in my pictures and in my life.

I was trying to start a dialogue. I didn’t want to just make a picture for people who were secure in their faith. Christ’s teachings are about all of us—the secure and the insecure, the powerful and the powerless, the down and out, the addicts, the people in real pain, the people caught in states of delusion, the ones who feel absolutely hopeless and see no possibility of grace or redemption. Because the afflictions of “the least among us,” as Jesus said, the inner circumstances that lead to their fall, are in everyone. I wanted to make a picture about a historical figure named Jesus, a spiritual guide, but also… a human being, surrounded by other recognizable human beings, as opposed to wax figures.

“It is accomplished!” ไม่ใช่ประโยคคำพูดจริงๆของ Jesus Christ หรือนำจากหนังสือของ Nikos Kazantzakis แต่คือผกก. Scorsese เมื่อเสร็จสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ราวกับภารกิจของตนเองได้ดำเนินเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด สำเร็จลุล่วงเสียที! ถ้าต้องตายหลังจากนี้ ไม่มีอะไรให้สูญเสียใจอีกต่อไป


ในตอนแรกหนังได้รับอนุมัติงบประมาณ $12-16 ล้านเหรียญจาก Paramount Pictures แต่พอสตูดิโอถูกกดดันจากหลายกลุ่มศาสนาจนต้องถอนตัวออกจากโปรเจค Universal Studios เข้ามาโอบอุ้มด้วยงบประมาณลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ $7 ล้านเหรียญ สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกา $8.3 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $33.8 ล้านเหรียญ ประสบความสำเร็จอย่างไม่มีใครคาดคิดถึง

ความสำเร็จของหนังยังรวมถึงการได้เข้าชิงทั้ง Oscar, Golden Globe และรวมถึง Razzi Award

  • Academy Award
    • Best Director พ่ายให้กับ Barry Levinson จากภาพยนตร์ Rain Man (1988)
  • Golden Globe Award
    • Best Supporting Actress (Barbara Hershey)
    • Best Original Score
  • Golden Raspberry Awards
    • Worst Supporting Actor (Harvey Keitel)

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ High-Definition ผ่านการตรวจอนุมัติโดยตากล้อง Michael Ballhaus, นักตัดต่อ Thelma Schoonmaker และปรับปรุงเสียงโดย Skip Lievsay (น่าแปลกใจที่ไม่มีชื่อของผกก. Scorsese) เสร็จสิ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 น่าเสียดายยังไม่มีข่าวคราวฉบับ 4K แต่เชื่อว่าไม่น่าจะนานเกินรอคอย

มันอาจเพราะผมไม่ใช่ชาวคริสต์ จึงไม่มีความกระตือรือร้นในการรับชมสักเท่าไหร่ พบเห็นความบิดๆเบี้ยวๆ จูนิเบียวของผกก. Scorsese เลือนลางระหว่างภาพหลอน-ศรัทธา ถ้าไม่เพราะตอนจบชวนนึกถึงภาพยนตร์ It’s a Wonderful Life (1946) นั่นทำให้ผู้ชมสามารถเปิดโลกกว้าง และสามารถครุ่นคิดต่อยอดไปไกล (ถ้าไม่เกิดอคติขึ้นเสียก่อน)

ภาพยนตร์ Samsara (2001) ก็เฉกเช่นเดียวกัน! พยายามนำเสนอทิศทางกลับตารปัตรของพุทธศาสนา ตั้งคำถามการเสียสละของพระนางยโสธรา (พระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า) ถือเป็นการชักชวนชาวพุทธให้รู้จักขบครุ่นคิด เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ ไม่ใช่เอาแต่ลุ่มหลงงมงาย ค้นหาสัจธรรมชีวิตด้วยตัวเราเอง

ในบรรดาภาพยนตร์ชีวประวัติ Jesus Christ ผมยังคงครุ่นคิดเห็นว่า The Gospel According to St. Matthew (1964) ของผกก. Pier Paolo Pasolini ยืนหนึ่งในความเป็นกลาง ไม่ว่าคุณจะนับถือศาสนาไหนก็สามารถชื่นเชยชมได้ เข้าถึงความเป็น’มหาบุรุษ’อย่างแท้จริง (ที่ไม่ใช่ยัดเยียดคำสอน ความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้า)

จัดเรต 18+ กับความรุนแรง เหมือนดูหมิ่นศาสนา (blasphemous)

คำโปรย | The Last Temptation of Christ ระบายความสับสน กระวนกระวาย อึดอัดอั้นภายในจิตใจผู้กำกับ Martin Scorsese บรรลุเป้าหมาย สำเร็จลุล่วงเสียที
คุณภาพ | ย้
ส่วนตัว | บิดๆเบี้ยวๆ

Ma nuit chez Maud (1969)


My Night at Maud’s (1969) French : Éric Rohmer ♥♥♥♥

ค่ำคืนวันคริสต์มาสกับ Maud (รับบทโดยสุดสวย Françoise Fabian) ที่แม้มีเพียงการพูดคุยสนทนา (All-Talk) กลับทำให้ Jean-Louis Trintignant ผู้เคร่งศาสนา ยึดถือมั่นในอุดมการณ์ กล้าลุกขึ้นมากระทำสิ่งบางสิ่งอย่างตอบสนองความต้องการของหัวใจ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ผกก. Éric Rohmer เคยกล่าวเอาไว้ว่า ‘Six Moral Tale’ ไม่จำเป็นว่าต้องมีข้อคิด คติสอนใจ คุณธรรมอะไรสอดแทรกอยู่ ขอแค่ให้ผู้ชมได้ขบครุ่นถึงบางสิ่งอย่าง บังเกิดการโต้ถกเถียงทางเลือกของตัวละคร สำหรับเขาแล้วนั่นแหละคือ ‘Moral’ ของศิลปะภาพยนตร์

ผมเลือกจะข้าม ‘Moral Tales’ เรื่องที่สอง Suzanne’s Career (1963) เพราะเกิดความหงุดหงิดกับอะไรบางอย่าง จากนั้นเกิดความโล้เล้ลังเลใจว่าจะรับชม La Collectionneuse (1967) หรือ My Night at Maud’s (1969) แต่ก็เลือกตามลำดับความตั้งใจของผกก. Rohmer ที่ต้องการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นก่อน (ลำดับที่สาม) แต่โปรเจคเกิดความล่าช้าเลยจำต้องเลื่อนโปรดักชั่นออกไปเป็นปีๆ … เป็นเหตุให้ La Collectionneuse (1967) ซึ่งถือเป็น ‘Moral Tales’ ลำดับที่สี่ สร้างเสร็จ ฉายก่อนหน้า

รับชม My Night at Maud’s (1969) ที่มีเพียงการพูดคุยสนทนา (All-Talk) อาจสร้างความน่าเบื่อหน่ายให้ใครต่อใคร แต่ผมแนะนำให้สังเกตภาษากาย (body language) โดยเฉพาะค่ำคืนกับ Maud เดี๋ยวลุก-เดี๋ยวเดิน ยักย้ายตำแหน่งที่นั่ง เก้าอี้ เตียงนอน แม้แต่มุมกล้อง รายละเอียดพื้นหลังยังแฝงนัยยะซ่อนเร้นบางอย่าง ถ้าฟังบทสนทนารู้เรื่อง สามารถครุ่นคิดตามเหล่านี้ จะพบว่าไม่มีวินาทีน่าเบื่อหน่ายเลยสักนิด!

การสนทนายาวๆในหนังของผกก. Rohmer ผมรู้สึกว่ามีความลื่นไหล สงบงาม แลดูเป็นธรรมชาติ ท้าทายศักยภาพในการครุ่นคิดวิเคราะห์ เหมือนฟังปราชญ์โต้ถกเถียงปรัชญา … น่าสนใจกว่าฉากสนทนายาวๆในหนังของ Jean-Luc Godard ส่วนใหญ่คุยแต่เรื่องไร้สาระ พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเกี้ยวพาราสี พระเอกแม้งสนแต่จะปรี้ กระโดดไปกระโดดมาอยู่นั่น!

หนังของ Rohmer ยังมีลักษณะขั้วตรงกันข้ามกับผลงานของ John Cassavetes ที่เอาแต่ใส่อารมณ์ ความเกรี้ยวกราด ชักแม่น้ำทั้งห้าจนเขื่อนแตก ตะโกนเสียงแหบแห้ง สรรพสรรหาข้ออ้างโน่นนี่นั่นเพื่อขายศักยภาพของนักแสดง … นี่ก็แล้วแต่รสนิยมความชื่นชอบส่วนบุคคลนะครับ


Éric Rohmer ชื่อเกิด Jean Marie Maurice Schérer หรือ Maurice Henri Joseph Schérer (1920-2010) นักเขียน นักวิจารณ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Nancy (บ้างก็ว่า Tulle), Meurthe-et-Moselle ในครอบครัวคาทอลิก (แต่เจ้าตัวบอกว่าเป็นอเทวนิยม) โตขึ้นร่ำเรียนประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ปรัชญา และศาสนศาสตร์

ปล. Éric Rohmer เป็นคนไม่ชอบเปิดเผยเรื่องส่วนตัว อย่างชื่อจริงและสถานที่เกิด จงใจบอกกับนักข่าวถูกๆผิดๆ ขณะที่ชื่อในวงการเป็นส่วนผสมระหว่างผกก. Erich von Stroheim และนักเขียน Sax Rohmer (ผู้แต่ง Fu Manchu)

หลังเรียนจบ Rohmer ทำงานครูสอนหนังสือที่ Clermont-Ferrand พอสิ้นสุดสงครามโลกตัดสินใจย้ายสู่กรุง Paris กลายเป็นนักข่าวฟรีแลนซ์ ตีพิมพ์นวนิยาย Les Vacances (1946) ระหว่างนั้นเองเรียนรู้จักภาพยนตร์จาก Cinémathèque Française สนิทสนม Jean-Luc Godard, François Truffaut, Claude Chabrol, Jacques Rivette, จากนั้นเข้าร่วมนิตยสาร Cahiers du Cinéma, โด่งดังจากบทความ Le Celluloïd et le marbre (1955) แปลว่า Celluloid and Marble ทำการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างภาพยนตร์กับศิลปะแขนงอื่น, นอกจากนี้ยังร่วมกับ Chabrol เขียนหนังสือ Hitchcock (1957) เกี่ยวกับศาสตร์ภาพยนตร์เล่มแรกๆที่ทำให้ผู้อ่านตระหนักว่า สื่อชนิดนี้ไม่ได้แค่ความบันเทิงเท่านั้น

Rohmer เริ่มสรรค์สร้างหนังสั้น Journal d’un scélérat (1950), จากนั้นเขียนบท/ร่วมกำกับหนังสั้นกับ Jean-Luc Godard อยู่หลายเรื่อง, จนกระทั่งภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Le Signe du lion (1959) แม้ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในผลงานยุคแรกๆของ French New Wave

สำหรับ Contes Moraux หรือ (Six) Moral Tales ได้แรงบันดาลใจจากโคตรหนังเงียบ Sunrise: A Song of Two Humans (1927) ของปรมาจารย์ผู้กำกับ F. W. Murnau ที่มีเรื่องราวชายหนุ่มแต่งงานครองรักภรรยา แต่แล้วถูกเกี้ยวพาราสีจากหญิงสาวอีกคนจนหลงผิด พอถูกจับได้ก็พยายามงอนง้อขอคืนดี ก่อนจบลงอย่างสุขี Happy Ending

[these stories’ characters] like to bring their motives, the reasons for their actions, into the open, they try to analyze, they are not people who act without thinking about what they are doing. What matters is what they think about their behavior, rather than their behavior itself.

Éric Rohmer

เกร็ด: คำว่า moraliste ในภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีความหมายแบบเดียวกับ moralist (ที่แปลว่าคุณธรรม ศีลธรรม) แต่คือลักษณะความเชื่อมั่นทางความคิดของบุคคล อาจจะอ้างอิงหรือไม่อ้างอิงศีลธรรมจรรยาของสังคมก็ได้ทั้งนั้น หรือเรียกว่าอุดมคติส่วนตน/ความเชื่อส่วนบุคคล

a moraliste is someone who is interested in the description of what goes on inside man. He’s concerned with states of mind and feelings. I was determined to be inflexible and intractable, because if you persist in an idea it seems to me that in the end you do secure a following.


ช่วงระหว่างปี 1964-66, ผกก. Rohmer เป็นมือปืนรับจ้างถ่ายทำสารคดีขนาดสั้น En profil dans le texte (แปลว่า In profile in the text) จำนวน 14 เรื่องให้กับ Office de Radiodiffusion Télévision Française (ORTF) และ Télévision Scolaire หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์การศึกษา (Educational Films) ชื่อว่า l’Entretien sur Pascal (แปลว่า The interview on Pascal) เกี่ยวกับ Blaise Pascal (1623-62) นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักประดิษฐ์ นักปรัชญาผู้เคร่งครัดศาสนาคริสต์

  • ผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังคือการตั้งกฎของ Pascal (หลักการส่งผ่านความดันของของไหล P=ρgh), ประดิษฐ์บารอมิเตอร์, เครื่องอัดไฮดรอลิก (ได้รับการยกย่องโดยการนำชื่อมาตั้งเป็นหน่วย Pascal, Pa)
  • ผลงานทางคณิตศาสตร์ อาทิ ครุ่นคิดสามเหลี่ยม Pascal, บุกเบิกการสร้างเครื่องคิดเลข (ได้รับการยกย่องด้วยการตั้งชื่อหนึ่งในภาษาคอมพิวเตอร์ Pascal), ร่วมพัฒนาทฤษฎีความน่าจะเป็น ฯลฯ
  • ส่วนเรื่องปรัชญา/ศาสนา โด่งดังกับข้อคิดเห็นชื่อว่า การเดิมพันของปัสกาล (Pascal’s wager) การกระทำของมนุษย์เป็นเหมือนกับการเดิมพันชีวิตหลังความตายไว้กับข้อเท็จจริงที่ว่า พระเจ้ามีจริงหรือไม่?
    • บุคคลผู้มีความครุ่นคิดเป็นเหตุเป็นผล ควรจะใช้ชีวิตเสมือนว่าพระเจ้ามีอยู่จริง และควรเชื่อในเรื่ององพระเจ้า เพราะหากพระเจ้าไม่มีอยู่จริงบุคคลนั้นจะสูญเสียผลประโยชน์เพียงระดับหนึ่ง
    • ในขณะที่หากพระเจ้ามีอยู่จริง บุคคลนั้นจะได้รับผลประโยชน์อันมหาศาลเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด (ชีวิตนิรันดร์ในสวรรค์) และหลีกเลี่ยงการเสียผลประโยชน์อันมหาศาลเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด (ชีวิตนิรันดร์ในนรก) ไปพร้อมๆกัน

‘การเดิมพันของ Pascal’ คือสิ่งที่สร้างความพิศวงให้ผกก. Rohmer เพราะตนเองก็เติบโตในครอบครัวคาทอลิก แต่ก็ไม่ได้มีความเชื่อศรัทธาศาสนาขนาดนั้น เลยนำแนวคิดดังกล่าวมาขยับขยาย พัฒนาจนกลายเป็นบทภาพยนตร์ โดยใช้พื้นหลังคาบเกี่ยวช่วงเทศกาลคริสต์มาส (วันประสูติของพระเยซู)

เกร็ด: ไม่เพียงแค่ My Night at Maud’s (1969) แต่ผกก. Rohmer ยังนำ ‘การเดิมพันของ Pascal’ มาเสริมเติมต่อภาพยนตร์ A Tale of Winter (1992)

ผกก. Rohmer นำบทหนังพัฒนาแล้วเสร็จ ไปขอความคิดเห็นจากพรรคพวกพ้อง Cahiers du Cinéma ปรากฎว่า François Truffaut อ่านแล้วบังเกิดความชื่นชอบมากๆ กลายเป็นตัวตั้งตัวตี อาสาระดมทุนสร้าง รวบรวมงบประมาณได้จำนวนหนึ่ง (คล้ายๆตอนที่ Truffaut เคยช่วยเหลือ Godard จนได้โอกาสสรรค์สร้าง Breathless (1960))

ความตั้งใจของผกก. Rohmer ต้องการให้ My Night at Maud’s (1969) คือเรื่องราวลำดับที่สามของ ‘Six Moral Tales’ ต่อจาก The Bakery Girl of Monceau (1963) และ Suzanne’s Career (1963) แต่ติดขัดนักแสดงนำ Jean-Louis Trintignant คิวงานช่วงปลายปีนี้ไม่ว่าง ก็เลยจำต้องเลื่อนแผนการเป็นปีถัดไป (ตั้งใจจะถ่ายช่วงคริสต์มาส และมีหิมะตกให้จงได้!)

เพราะคิวงานที่ว่างลงนั้นเอง ผกก. Rohmer เลยครุ่นคิดพัฒนาโปรเจคถัดไป La Collectionneuse (1967) กำหนดให้คือเรื่องราวลำดับที่สี่ของ ‘Six Moral Tales’ แต่สร้างเสร็จสิ้น ออกฉายก่อนซะงั้น!


ชายนิรนาม (จริงๆตัวละครไม่มีชื่อ แต่ใครๆต่างเรียกกันว่า Jean-Louis เพราะรับบทโดย Jean-Louis Trintignant) วิศวกรหนุ่มผู้มีศรัทธาศาสนาอย่างแรงกล้า พบเจอหญิงสาวคนหนึ่งระหว่างพิธีมิสซา เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจ ต้องการให้เธอกลายมาคู่ครองแต่งงาน เฝ้ารอคอยโอกาสที่ยังมาไม่ถึงสักที

วันหนึ่ง Jean-Louis บังเอิญพบเจอกับเพื่อนเก่า Vidal (รับบทโดย Antoine Vitez) พูดคุยถกเถียงถึงทฤษฎีของ Pascal แล้วชักชวนไปพบเจอหญิงสาวที่กำลังคบหา มีเพศสัมพันธ์บ้างบางครั้งครา หญิงหม้ายลูกติด Maud (รับบทโดย Françoise Fabian)

ค่ำคืนวันคริสต์มาส 25 ธันวาคม เมื่อมาถึงห้องพักของ Maud ปรากฏว่า Vidal พยายามเกี้ยวพาราสี หยอกเย้าด้วยภาษากาย แต่เธอกลับรักษาระหว่าง แล้วแสดงความสนใจ Jean-Louis หลังจากขับไล่อีกฝ่ายกลับบ้านไป หลงเหลือเพียงสองต่อสอง อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป???

วันถัดมา Jean-Louis บังเอิญสวนทางกับหญิงสาวที่ตกหลุมรัก Françoise (รับบทโดย Marie-Christine Barrault) รีบตรงเข้าไปทักทาย แสดงความต้องการรู้จัก โชคชะตานำพาให้รถติดหิมะระหว่างขับพาเธอไปส่งที่หอพัก พวกเขาเลยมีโอกาสอยู่ร่วมห้องสองต่อสอง อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป???

สุดท้ายแล้ว Jean-Louis จะเลือกใครระหว่างหญิงสาวที่ตกหลุมรัก Françoise หรือเธอคนที่พยายามเกี้ยวพาราสี Maud เคยอาศัยหลับนอนในห้องเดียวกันด้วยกัน


Jean-Louis Xavier Trintignant (1930-2022) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Piolenc, Vaucluse บิดาเป็นเจ้าของกิจการอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง คาดหวังบุตรชายโตขึ้นกลายเป็นนักกฎหมาย แต่ภายหลังค้นพบความสนใจด้านการแสดง อพยพย้ายสู่ Paris เริ่มต้นมีผลงานละครเวที โด่งดังทันทีจากภาพยนตร์ And God Created Woman (1956), ผลงานเด่นๆ อาทิ Il Sorpasso (1962), A Man and a Woman (1966), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Great Silence (1966), The Man Who Lies (1968), Z (1969), My Night at Maud’s (1969), The Conformist (1970), Confidentially Yours (1983), Three Colors: Red (1994), Amour (2012) ฯลฯ

วิศวกรหนุ่มนิรนามที่ใครต่อใครเรียกว่า Jean-Louis เรียนจบนอก ชอบความสันโดษ ทำงานต่างประเทศอยู่หลายปี เมื่อเดินทางกลับฝรั่งเศสปักหลักอยู่ Clermont-Ferrand เมืองที่ไม่มีใครรับรู้จัก แล้วพยายามมองหาใครสักคนเคียงข้างกาย จนกระทั่งได้พบเจอ Françoise ระหว่างเข้าพิธีมิสซา เกิดความตั้งใจอย่างแรงกล้า ต้องการได้เธอมาครองคู่เป็นภรรยา ครุ่นคิดวางแผน คำนวณหาโอกาส จนแล้วจนรอดยังไม่พบความเป็นไปได้นั้นสักที

กระทั่งวันหนึ่งโชคชะตานำพาให้มาพบเจอเพื่อนเก่าสมัยเรียน Vidal พูดคุยถกเถียงแนวคิดของ Pascal จากนั้นถูกลากพาตัวมาพบเจอหญิงสาว Maud โดยไม่รู้ตัวเธอพยายามเกี้ยวพาราสี ใช้ภาษากายประชิดเข้าหา แต่ Jean-Louis ก็สร้างกำแพงอย่างหนาขึ้นมาขวางกั้น

ค่ำคืนดังกล่าวจึงจุดประกายความเปลี่ยนแปลงให้กับ Jean-Louis วันถัดมาเมื่อมีโอกาสสวนทางกับ Françoise จึงรีบตรงรี่เข้าไปทักทาย แสดงความต้องการรู้จัก สานสัมพันธ์ บอกเธอว่าตกหลุมรัก ยินยอมทำตามเสียงเพรียกเรียกร้องหัวใจ โดยไม่สนสมการคณิตศาสตร์อีกต่อไป!

ต้องถือว่านี่เป็นบทบาทแนวถนัดของ Trintignant เห็นกี่เรื่องต่อกี่เรื่องก็มักรับบทตัวละครเครียดๆ สีหน้าบึ้งตึง พยายามสร้างกำแพงขึ้นมากีดขวางกั้น ซุกซ่อนเร้นธาตุแท้จริงไว้ภายใน แต่เมื่อไหร่เปิดเผยตัวตนออกมา รอยยิ้ม ใบหน้าเริงร่า ราวกับบุคคลละคน งดงามตราตรึง หนึ่งในบทบาทการแสดงยอดเยี่ยมที่สุด!

ความท้าทายของบทบาทนี้คือการแสดงออกภาษากาย นั่ง-ยืน-เดิน โอบกอด สัมผัสลูบไล้ ต้องชมไดเรคชั่นของผกก. Rohmer ทำออกมาได้อย่างน่าสนใจมากๆ ผมชอบสุดๆก็ฉากรับประทานอาหาร เขี่ยๆอยู่นั่นแหละไม่ได้แดกสักที (มันมีเหตุผลซ่อนเร้นอยู่นะครับ ไว้เดี๋ยวจะอธิบายอีกที)

มันจะมีเช้าตรู่วันคริสต์มาส เมื่อหนุ่มสาวเพิ่งตื่นนอน สะลึมสะลือ โดยไม่รู้ตัวโอบกอดจูบ ผมมองว่านั่นคือวินาทีที่ Jean-Louis ครุ่นคิดทำลายกำแพงกีดขวางกั้น พร้อมจะสานสัมพันธ์ ร่วมรักหลับนอนกับ Maud แต่เธอกลับตัดสินใจวิ่งหนีเข้าอีกห้อง ตระหนักว่านี่คือการก้าวล้ำ ข้ามพรมแดนระหว่างเพื่อน-คนรัก ไม่ต้องการทำลายมิตรแท้หาได้ยากยิ่ง (เพราะหนุ่มๆส่วนใหญ่แม้งสนแต่จะปรี้)


Françoise Fabian ชื่อจริง Michèle Cortes De Leon y Fabianera (เกิดปี 1933) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Algiers, French Algeria วัยเด็กมีความชื่นชอบเปียโนและฮาร์โมนิก้า พออพยพย้ายกลับฝรั่งเศสช่วงต้นทศวรรษ 50s เข้าศึกษาการแสดงยัง Conservatoire national supérieur d’art dramatique (CNSAD) มีโอกาสพบเจอ Jean-Paul Belmondo และ Jean-Pierre Marielle จากนั้นกลายเป็นนักแสดงละครเวที ผลงานภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ The Thief of Paris (1967), My Night at Maud’s (1969), Belle de Jour (1967), Out 1 (1971), Happy New Year (1973) ฯลฯ

รับบท Maud สาวหม้ายลูกติด ใช้ชีวิตอย่างเสรี ไม่ยี่หร่าอะไรใคร สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจ คบหา ร่วมรักหลับนอน Vidal เพียงตอบสนองความใคร่ กระทั่งได้รับการแนะนำให้รับรู้จัก Jean-Louis บังเกิดความเสน่ห์หา จึงพยายามเกี้ยวพาราสี หาหนทางทำลายกำแพงที่เขาสร้างขึ้นมากีดขวางกั้น เมื่อทำสำเร็จก็เก็บความทรงจำค่ำคืนนั้นไว้ภายในจิตใจ

แม้เวียนวนอยู่ในวงการภาพยนตร์มาตั้งแต่ทศวรรษ 50s แต่ผลงานสร้างชื่อให้ Fabian กลับเพิ่งคือ My Night at Maud’s (1969) ด้วยใบหน้าทรงกลมเหมือนไข่ ช่างมีความยั่วเย้ายวนรันจวนใจ ชวนให้หนุ่มๆเคลิบเคลิ้มหลงใหล อีกทั้งการแสดงออกภาษากาย พยายามหยอกเย้า เล่นแง่เล่นงอน อ่อยเหยื่อชัดเจนขนาดนั้น คนทั่วไปคงมิอาจควบคุมตนเอง หน้ามืดตามัว ขอให้ได้ร่วมรักหลับนอนกับเธอสักครั้ง

ต้องชมในการใช้ภาษากายของ Fabian ทั้งสายตาหยอกเย้า คำพูดยียวน ล้วนสร้างเสน่ห์ให้ตัวละครอย่างน่าหลงใหล แม้เธออาจดูไม่ได้ปราชญ์เปรื่องเมื่อเทียบกับ Jean-Louis หรือ Vidal แต่สามารถใช้สันชาตญาณ(หญิง) เข้าใจความต้องการบุรุษเพศ เลือกทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจของตนเองได้เป็นอย่างดี

Maud เป็นตัวละครที่ถือว่าขั้วตรงกันข้ามกับ Jean-Louis เพศหญิง-ชาย โหยหาเสรีภาพ-เคร่งครัดในตนเอง กระทำสิ่งตอบสนองใจอยาก-ครุ่นคิดวางแผนดั่งสมการคณิตศาสตร์ ฯลฯ นั่นกระมังทำให้พวกเขาสามารถเติมเต็ม ตกหลุมรัก กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กัน ถึงอย่างนั้นก็มิอาจครองคู่แต่งงานฉันท์สามี-ภรรยา เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีความยึดถือมั่นใน ‘Moral’ ที่แตกต่างกัน


Marie-Christine Barrault (เกิดปี 1944) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่กรุง Paris บิดาทำงานวงการละครเวที แต่พลันด่วนเสียชีวิตตั้งแต่เมื่อเธอยังเป็นเด็ก ได้รับการเลี้ยงดูจากย่า ร่ำเรียนการแสดงจากลุงและป้า Jean-Louis Barrault และ Madeleine Renaud พอโตขึ้นเข้าศึกษาต่อยัง Conservatoire national supérieur d’art dramatique (CNSAD) จบออกมามีผลงานละครเวที, ละครโทรทัศน์, ภาพยนตร์เรื่องแรก My Night at Maud’s (1969), โด่งดังระดับนานาชาติจาก Cousin Cousine (1975) ได้เข้าชิง Oscar: Best Actress

รับบท Françoise นักศึกษาปริญญาโท ชีววิทยา ภายนอกดูละอ่อนเยาว์วัย บริสุทธิ์ไร้เดียงสา โดยไม่รู้ตัวตกเป็นที่หมายปองของชายวัยกลางคน Jean-Louis ซึ่งเมื่อได้รับการทักทาย ดูแล้วคงเกิดความชื่นชอบประทับใจ เลยยินยอมตอบตกลงสานสัมพันธ์ แต่เบื้องหลังของเธอนั้น เคยตกหลุมรักชายอีกคนที่มีภรรยาอยู่แล้ว (ผมคาดว่าไม่ Vidal ก็สามีของ Maud) เลยรู้สึกผิดเพราะนั่นคือสิ่งขัดต่อหลักศาสนา

แซว: ขณะที่ Jean-Louis คือวิศวกร สื่อถึงอาชีพที่ต้องใช้การครุ่นคิดคำนวณ ทำสิ่งต่างๆตัวหลักการเหตุผล สมการคณิตศาสตร์, Françoise เป็นนักศึกษาชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต หรือก็คือตัวแทนของผู้หญิงทั่วๆไป

บทบาทนี้ดูจืดชืดไปเลยเมื่อเทียบกับ Maud อีกทั้งยังเป็น ‘object of desire’ ที่ถูกเขียนบทมาให้ต้องลงเอยกับพระเอก ใส่ปมอดีตที่ไม่ค่อยจำเป็น แถมการแสดงของ Barrault ยังดูประหม่า พะว้าพะวัง (อาจเพราะเป็นผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกกระมัง) แต่ภาพรวมถือว่าเหมาะสมกับตัวละครเป็นอย่างดี

ผมสังเกตว่าตัวละครนี้ไม่ได้มีภาษากายที่โดดเด่นสักเท่าไหร่ (มีเพียงสีหน้าที่ดูวิตกกังวล กลัวๆเกรงๆ พยายามรักษาระยะห่างเอาไว้) อาจเพราะต้องการสื่อถึงความยังบริสุทธิ์ไร้เดียงสา เลยไม่รู้จักลูกเล่น กลเกม ลีลาของพวกมากประสบกามทั้งหลาย แต่สุดท้ายก็พ่ายให้กับคารมของ Jean-Louis คาดเดาไม่ยากว่าเธอคงเป็นภรรยาประเภทช้างเท้าหลัง ศิโรราบต่อสามี ตามอย่างวิถีคาทอลิก


ถ่ายภาพโดย Néstor Almendros Cuyás (1930-92) ตากล้องสัญชาติ Spanish เกิดที่ Barcelona แล้วหลบลี้หนีภัย (จากจอมพล Francisco Franco) มาอาศัยอยู่ประเทศ Cuba จากนั้นไปร่ำเรียนการถ่ายภาพยังกรุงโรม Centro Sperimentale di Cinematografia, หวนกลับมาถ่ายทำสารคดี Cuba Revolution (1959) พอถูกแบนห้ามฉายก็มุ่งสู่ Paris กลายเป็นขาประจำผู้กำกับรุ่น French New Wave ร่วมงานขาประจำ Éric Rohmer และ François Truffaut ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Days of Heaven (1978) ** คว้า Oscar: Best Cinematography, Kramer vs. Kramer (1979), The Blue Lagoon (1980), Sophie’s Choice (1982) ฯ

ตั้งแต่ที่ Almendros อพยพย้ายสู่ฝรั่งเศส ก็มีโอกาสถ่ายทำสารคดีฉายโทรทัศน์ของผกก. Rohmer เกิดความประทับใจในวิสัยทัศน์ โดยเฉพาะการถ่ายแสงธรรมชาติออกมาได้อย่างสวยสดงดงาม ไม่ย่อหย่อนไปว่า Raoul Coutard เลยชักชวนมาเป็นตากล้องภาพยนตร์ตั้งแต่ La Collectionneuse (1967), My Night at Maud’s (1969), Claire’s Knee (1970), Love in the Afternoon (1972) ฯลฯ

Some people think Rohmer is in league with the devil. Months before, he had scheduled the exact date for shooting the scene when it snows; that day, right on time, it snowed, and the snow lasted all day long, not just a few minutes. It is not just a question of luck; the key lies in Rohmer’s detailed preparation.

Néstor Almendros กล่าวถึงการร่วมงานผกก. Éric Rohmer

งานภาพในหนังของผกก. Rohmer เต็มไปด้วยรายละเอียด ‘mise-en-scène’ การจัดวางองค์ประกอบ ทิศทางมุมกล้อง ระยะภาพ ตำแหน่งทิศทางตัวละคร ล้วนมีนัยยะซุกซ่อนเร้น ด้วยลักษณะของ ‘formalism’ ดำเนินไปตามลำดับ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ใบหน้าผู้พูด ปฏิกิริยาผู้ฟัง แล้วตัดไปภาพมุมกว้างเห็นทั้งสองฟากฝั่ง

ช่วงองก์แรกๆของหนัง (วันที่ 20-24 ธันวาคม) จะนำพาผู้ชมออกท่องเที่ยวโดยรอบเมือง Clermont-Ferrand, Puy-de-Dôme เพื่อเป็นการสร้างความมักคุ้นเคยกับสถานที่และช่วงเวลา (เทศกาลคริสต์มาส) เพราะเมื่อเข้าสู่ค่ำคืนก่อนคริสต์มาสอีฟกับ Maud (My Night at Maud’s) ราวกับโลกภายนอกหยุดนิ่ง เรื่องราวจมปลักอยู่ภายในห้องพักกว่า 40+ นาที และหลังจากช่วงเวลาแห่งความทรงจำพานผ่านไป ไม่เพียงแค่ตัวละครที่มีมุมมองโลกทัศน์ปรับเปลี่ยนแปลง สภาพอากาศภายนอกยังปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลน แลดูราวกับโลกอีกใบ ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

แซว: แม้หนังถ่ายทำยังสถานที่จริง Clermont-Ferrand แทบทั้งหมด แต่ห้องพักของ Maud กลับถ่ายทำในสตูดิโอที่ Rue Mouffetard, กรุง Paris


วิหารแห่งนี้คือ Basilica of Notre-Dame du Port ประจำเมือง Clermont-Ferrand, Puy-de-Dôme ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรม Romanesque สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 11th-12th แล้วมีการต่อเติมโน่นนี่นั่น บูรณะนับครั้งไม่ถ้วน จนได้รับเลือกเป็นมรดกโลก UNESCO World Heritage เมื่อปี 1998

เกร็ด: วิหารแรกสุดสร้างขึ้นตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 6th โดย Saint Avitus ผู้เป็น Bishop of Clermont แต่ต่อมาถูกเผาทำลายโดยพวก Normans ในช่วงศตวรรษที่ 10th

ใครที่เคยรับชมผลงานของบรรดาผู้กำกับรุ่น French New Wave ในช่วงต้นทศวรรษ 60s น่าจะมักคุ้นสไตล์ลายเซ็นต์ แบกกล้อง ออกไปถ่ายทำบนท้องถนน บันทึกภาพผู้คน ตึกรามบ้านช่อง ซึ่งเหตุผลที่ผกก. Rohmer ต้องการถ่ายทำหนังในช่วงคริสต์มาสจริงๆ ก็เพื่อรายละเอียดเล็กๆอย่างการประดับตกแต่งสถานที่ให้เข้ากับเทศกาล ระหว่างฉากขับรถขณะนี้ พบเห็นบรรยากาศสองข้างทาง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายดาวประดับฉากสักดวงเดียว!

วินาทีที่ Jean-Louis บีบแตรใส่ Françoise เมื่อพบเจอค่ำคืนวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม ผมสังเกตเห็นแวบๆวงกลมห้าห่วง เกิดความเอะใจนั่นมันสัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิกไม่ใช่เหรอ? ลองค้นหาข้อมูลก็พบว่าฝรั่งเศสกำลังจะเป็นเจ้าภาพ Winter Olympics ณ Grenoble ระหว่างวันที่ 6-18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1968 น่าจะใกล้ๆกับช่วงเวลาถ่ายทำ

กาลเวลาได้ทำผลงานของบรรดาผู้กำกับรุ่น French New Wave ทรงคุณค่ามากๆ เพราะคือการเก็บบันทึกภาพแห่งประวัติศาสตร์ ‘Time Capsule’ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นเชยชม

ผมลองค้นหาข้อมูลเล่นๆว่าชื่อร้านอาหาร Le Suffren มีความหมายว่าอะไร? (v.) be enough, be sufficient, รู้สึกเพียงพอดีในตนเอง มันช่างเป็นชื่อร้านที่พอเหมาะพอเจาะกับตัวละคร Jean-Louis เสียจริง!

ปล. ร้านอาหารแห่งนี้ Le Suffren Bar ปัจจุบันปิดกิจการไปแล้วนะครับ

ผมขออธิบายลักษณะของ ‘formalism’ สักหน่อยก็แล้ว โดยใช้การสนทนาระหว่าง Jean-Louis กับ Vidal ในร้านอาหาร Le Suffren สังเกตทั้งสามช็อตนี้มีการไล่ระยะจาก Long Shot -> Medium Shot -> Close-Up จริงๆจะตัดสลับไประหว่างผู้พูด-ผู้ฟัง (นำมาแค่มุมของ Trintignant ก็น่าจะพอเห็นภาพ) สามารถสื่อถึงระดับความเข้มข้นของการพูดคุย โต้ถกเถียง ที่จะมีความซีเรียส เอาจริงเอาจังขึ้นเรื่อยๆ … นี่คือลักษณะการนำเสนอที่มีรูปแบบแผน (formalist) ตามลำดับ เป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งแฝงนัยยะซ่อนเร้น (ว่าทำแบบนี้ไปเพื่ออะไร?)

ค่ำคืนกับ Maud ผมขอแบ่งออกเป็น 5 เฟส (Phase)

  • เริ่มต้นพูดคุยทักทาย แนะนำให้รู้จักอีกฝั่งฝ่าย
  • รับประทานอาหารค่ำ (ผมมองว่าเป็น Supper ไม่ใช่ Dinner)
  • การสนทนาหลังมื้ออาหาร Vidal พยายามเกี้ยวพาราสี Maud แต่เธอกลับให้ความสนใจ Jean-Louis
  • หลังจาก Vidal ตัดสินใจกลับบ้าน หลงเหลือสองต่อสองระหว่าง Jean-Louis กับ Maud
  • และตื่นเช้าขึ้นมา ก็ถึงเวลาแห่งการร่ำจากลา

ช่วงของการพูดคุยทักทาย เริ่มต้นพบเห็นสองหนุ่มนั่งเก้าอี้โซฟา (ที่นั่งของแขกเหรื่อ ผู้มาเยือน และดูมีความเป็นทางการ) ซึ่งต่างหันเข้าหาหญิงสาวนั่งบนเตียงนอนกลางห้อง (เรื่องบนเตียงคือศูนย์กลางของชีวิต) ท่าทางผ่อนคลาย เป็นกันเอง และถ้าสังเกตจากปลายเท้าไขว่ห้าง บุคคลที่อยู่ในความสนใจก็คือ Jean-Louis

ในช่วงแรกๆของการพูดคุย เพราะว่า Jean-Louis คือบุคคลแปลกหน้า ทั้ง Vidal และ Maud จึงยังแสดงออกด้วยมารยาท อย่างเป็นทางการ รักษาระยะห่าง กล้องเลยจับภาพพวกเขานั่งอยู่คนละเฟรม และใช้การแพนกล้องเคลื่อนไปยังบุคคลที่กำลังอยู่ในความสนใจ

  • ด้านหลังของ Vidal พบเห็นโทรทัศน์ โต๊ะกินข้าว ชั้นวางหนังสือ กล่าวคือเป็นบุคคลที่ Maud รับรู้จักเบื้องหลังตัวตนของอีกฝ่ายเป็นอย่างดี
  • รูปภาพกายวิภาคบนหัวเตียงของ Maud ก็บอกใบ้ความใคร่สนใจในเรือนร่างกายบุรุษ
  • ขณะที่ทางฝั่ง Jean-Louis ในครั้งแรกนี้จะถ่ายเพียงข้างๆ แสดงถึงการยังไม่รับรู้จักอดีต เบื้องหลัง กำลังค่อยๆเล่าความเป็นมา

ให้ลองสังเกตตำแหน่งของโคมไฟด้วยนะครับ ในช่วงแรกๆของการพูดคุยจะมีสองโคมที่อยู่ระหว่าง Jean-Louis กับ Maud และ Vidal ซึ่งสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความสนใจของหญิงสาว ซึ่งขณะนี้สื่อถึงความสนใจต่อชายทั้งสองอย่างเท่าเทียมกัน

ในช่วงแรกๆของการพูดคุย จะมีครั้งหนึ่งที่ Vidal จู่โจมเข้าหา Maud บนเตียง ต้องการหยอกล้อ แสดงความเป็นเจ้าของต่อหน้า Jean-Louis แต่กลับถูกเธอใช้คำพูดโต้ตอบ นั่นคือกิริยาอันเหมาะสมของคนเป็นศาสตราจารย์นะหรือ? นั่นทำให้เขาถอยกลับมานั่งเก้าอี้แทบจะโดยทันที!

อีกครั้งหลังจาก Maud ลุกขึ้นไปรินเหล้าให้ Vidal แล้วกลับมานั่งตรงขอบโซฟา รับฟังเขาเกี้ยวพาราสี แล้วโต้ด้วยคำพูดที่ไม่ยี่หร่าสักเท่าไหร่ แสดงสีหน้าเบื่อหน่ายรำคาญใจ … และมันจะมีภาพวาด Abstract แขวนผนังเหนือโทรทัศน์ ผมรู้สึกเหมือนอะไรสักอย่างที่แตกสลาย (ความสัมพันธ์ระหว่าง Vidal กับ Maud?)

ฉากที่ผมขำหนักสุดในหนังก็คือ Jean-Louis ไม่สามารถรับประทานเค้กได้สักที เพราะถูกขัดจังหวะให้ต้องอธิบายโน่นนี่นั่น สำหรับบุคคลผู้เคร่งครัดในกฎระเบียบ มารยาบนโต๊ะอาหารก็คือ ไม่กินไปพูดไป หรือพูดขณะกำลังเคี้ยวอาหาร … การแสดงออกดังกล่าวสร้างความขบขันให้ Vidal และ Maud อดไม่ได้ที่จะล้อเลียน ทำท่าประหลาดๆ (สังเกตว่ามุมกล้องก็แบ่งแยกทั้งสองฝั่งฝ่ายออกจากกันอย่างชัดเจน)

ปล. บริเวณเหนือศีรษะของ Maud มีภาพถ่ายบุตรสาววางอยู่บนชั้นหนังสือ นั่นแสดงว่าเธอคือบุคคลผู้มีความสำคัญสูงสุดในชีวิต

ปล2. สังเกตว่าโคมไฟจะพบเห็นอยู่แค่ฝั่งของ Jean-Louis ซึ่งสามารถสื่อถึงการเป็นบุคคลในความสนใจ (ของทั้ง Maud และ Vidal)

จู่ๆบุตรสาวของ Maud ก็เดินออกจากห้องนอนมาร่ำร้องขอมารดา อยากพบเห็นแสงไฟจากต้นคริสต์มาส แค่นั้นนะ? ผมมองว่านี่เป็นการตบมุกของหนัง เพราะตลอดทั้งซีนนี้ Jean-Louis ถูกกลั่นแกล้ง ขัดจังหวะการรับประทานอาหารอยู่บ่อยครั้ง บุตรสาวของ Maud จึงปรากฎออกมาเพื่อขัดจังหวะความต่อเนื่องของซีนนี้

ซึ่งสิ่งน่าสนใจมากๆก็คือช็อตนี้ที่ไม่ได้มีความน่าสนใจประการใด ไม่มีตัดไป Close-Up ให้เห็นหลอดไฟใกล้ๆ เพียงระยะกลางๆแค่พอให้เห็นว่าเด็กสาวพบเห็นแสงไฟ เพื่อผู้ชมบังเกิดความหงุดหงิด ฉงนสงสัย แบบเดียวกับ Jean-Louis รับรู้สึกตลอดการถูกขัดจังหวะ ไม่ได้แดกเค้กสักที!

แซว: ผมแอบอธิบายนัยยะของโคมไฟไปแล้วว่า คือสัญลักษณ์แทนความสนใจของ Maud (หรือขณะนี้ก็คือบุตรสาวของ Maud) ซึ่งบุคคลที่อยู่ร่วมช็อตนี้ก็คือ Vidal จับจ้องมองไฟติด-ดับ สามารถสะท้อนสถานะความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา ราวกับเพลิงราคะได้มอดดับลง

เธอเห็นสายตาของ Maud บ้างไหม? หลังมื้ออาหารค่ำ หัวข้อสนทนาก็เริ่มมีความน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันหญิงสาวก็บังเกิดความลุ่มหลงใหล ใคร่สนใจ Jean-Louis พยายามส่งสายตา ภาษากาย แสดงท่าทางอ่อยเหยื่อ รวมถึงเปลี่ยนชุดนอนหลงเหลือแต่เสื้อยืด แบบไม่ยี่หร่า Vidal จนต้องลุกขึ้นไปดื่มสุราด้วยตนเอง

เมื่อพบเห็น Maud เปลี่ยนชุดนอน(ไม่ได้นอน) Vidal ก็รีบตรงรี่เข้าไปนั่งเคียงข้างบนเตียง แต่เมื่อพยายามเข้าใกล้ สัมผัสลูบไล้ กลับถูกผลักไส และเมื่อถึงจุดๆหนึ่งลุกขึ้นเดินไปเปิดหน้าต่าง พบเห็นหิมะกำลังตกพรำ สามารถสะท้อนสภาพจิตใจของเขาขณะนั้น คงรู้สึกหนาวเหน็บ เย็นยะเยือกทรวงใน (ที่ถูกหญิงสาว/คนเคยร่วมรักหลับนอน ผลักไส พูดจาขับไล่ แบบไม่สนใจใยดีอะไร)

ถ้าผมเป็นฝ่ายหญิงตกอยู่ในสถานการณ์ดังภาพนี้ คงรู้สึกหวาดสะพรึงกลัวอย่างมากๆ เพราะถูกชายสองคนยืนห้อมล้อมรอบเตียงนอน แต่บริบทนี้ของหนังกลับพลิกตารปัตร เพราะกลายเป็นว่าหญิงสาวกำลังเลือกคู่ครอง สำหรับร่วมหลับนอนค่ำคืนนี้ โดยให้บุคคลทางฟากฝั่งโคมไฟ Jean-Louis ยังอยู่เคียงข้างกาย (แล้วขับไล่ Vidal รีบไสตูดกลับบ้านไป)

แซว: คราวนี้เห็นภาพกายวิภาคสองรูป ด้านหน้ากับหน้าหลัง สามารถเปรียบเทียบ Jean-Louis และ Vidal ได้เลยกระมัง! (หรือจะมองว่าภายนอก-ภายใน ร่างกาย-จิตใจ อะไรที่มันสองขั้วตรงข้ามก็ได้ทั้งนั้น)

เมื่อหลงเหลือเพียงสองต่อสอง ระหว่างที่ Jean-Louis พยายามพูดอธิบายอุดมการณ์(ความเชื่อ)ของตนเองที่เชื่อมโยงศรัทธาศาสนา จะมีการลุก-ยืน-เดิน เปลี่ยนตำแหน่งทิศทาง ‘Mise-en-scène’ ที่น่าสนใจอย่างมากๆ

ก่อนอื่นต้องอธิบายถึงโคมไฟ ซึ่งในบริบทนี้เหมือนจะมีนัยยะแตกต่างจากหลายๆฉากก่อนหน้า ผมมองว่าดวงที่ห้อยลงมาจากเพดานคือตัวแทนของพระเจ้า/ศรัทธาศาสนา ขณะที่โคมตั้งโต๊ะคืออุดมการณ์/ความเชื่อส่วนบุคคล หรือก็คือ ‘moral’ ของ Jean-Louis

  • เริ่มต้น Jean-Louis ยังนั่งอยู่ตรงโซฟา โคมตั้งโต๊ะอยู่ด้านหลัง เริ่มเกริ่นนำย้อนอดีตความทรงจำ ฉันเคยตกหลุมรักหญิงสาวมากมาย
  • จากนั้นลุกขึ้นเดินไปข้างหลัง เคียงข้างภาพวาดวงกลม (สัญลักษณ์ของการเวียนวน หวนกลับสู่จุดเริ่มต้น) ฉันรักเธอ-เธอรักฉัน อธิบายเหตุผลของการเลิกรา แต่การคบหาหญิงสาวแต่ละคนก็ทำให้เขารับเรียนรู้อะไรมากมาย
  • เมื่อกล่าวถึงบทสรุป ความเข้าใจของตนเองจากประสบการณ์คบหาหญิงสาวมากมาย เดินเข้ามาบดบังโคมไฟ ราวกับได้ตรัสรู้ความจริงบางอย่าง ดูเหมือนนักบุญ/Saint (แต่ Maud แซวว่าคือปีศาจ/Devil)
    • But let’s face it: The physical and the moral are inseparable.
    • จริงๆจะมองการยืนบดบังโคมตั้งโต๊ะ คือการผสมผสานระหว่างร่างกาย (physical) และอุดมการณ์/ความเชื่อส่วนบุคคล (moral) เข้าด้วยกันจนแยกแยะไม่ออก (inseparable)
  • แล้วเดินไปตรงบริเวณโต๊ะอาหาร/ชั้นวางหนังสือ พบเห็นโคมไฟสองดวงบน-ล่าง ซ้าย-ขวา ระหว่างกำลังอธิบายเปรียบเทียบระหว่างศรัทธาศาสนา (ถึงการเป็นนักบุญ) กับอุดมการณ์ความเชื่อของตนเอง
  • ก่อนมาหยุดตรงตำแหน่งโคมไฟห้อยจากเพดาน และพื้นหลังต้นคริสต์มาส เพื่อแสดงถึง ‘จุดยืน’ ของตัวละคร
    • I’m a man of the times, and religion acknowledges the times.

แม้ว่า Jean-Louis จะรุกเข้ามานั่งบนเตียงนอนของ Maud แต่แค่เพียงไม่นานเขาก็ถอยร่นออกไป ไร้การสัมผัสจับเนื้อต้องตัว เพื่อแสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์ความเชื่อ ‘moral’ ของตนเอง ว่าจะไม่ก้าวล้ำหรือทำอย่างที่ Vidal เคยแสดงออกมาก่อนหน้านี้

การแสดงออกของ Jean-Louis ได้ทำลายกำแพงน้ำแข็ง (Breaking the Ice) ของ Maud จนยินยอมเปิดเผยพูดเล่าเบื้องหลัง เรื่องราวของเธอเอง ทั้งความสัมพันธ์กับ Vidal, เหตุผลการหย่าร้างสามี และเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่เป็นตราบาปฝังใจ ผมนำทั้งสามช็อตมาไล่เรียงให้สังเกตระยะห่างระหว่างตัวละครกับกล้อง ซึ่งสะท้อนความสนิทสนมชิดใกล้ของพวกเขาตามลำดับ

  • ภาพแรกเมื่ออธิบายความสัมพันธ์กับ Vidal สังเกตว่าจะมีภาพ Jean-Louis ติดอยู่ด้วย (เพราะคือคนรู้จัก)
  • ภาพสองขณะกำลังพูดบอกเหตุผลการหย่าร้างสามี ยังดูมีท่าทางผ่อนคลาย หลังพิงหัวเตียงนอน
  • และเมื่อดันตัวขึ้นนั่ง สีหน้าจริงจัง พูดเล่าเหตุการณ์ที่เป็นปมจากอดีต นี่ไม่ใช่เรื่องพูดบอกให้คนทั่วไปรับฟัง เพราะเขาคือคนพิเศษที่สามารถรับฟัง รู้สึกปลอดภัย ระบายความอึดอัดอั้นตันใจ ไร้ความหวาดกลัวเกรงสิ่งใด

ใครก็ตามที่เรายินยอมเปิดเผยความลับ ต้องถือว่าเป็นบุคคลสุดพิเศษ พูดคุยแล้วรู้สึกปลอดภัย (ความลับไม่รั่วไหล) นี่ไม่จำเป็นว่าต้องคือเพื่อนสนิท สามี/ภรรยา อาจเป็นบุคคลแปลกหน้า พบเจอกันเพียงแค่ครั้งเดียวก็ได้เช่นกัน ซึ่งการพูดความลับดังกล่าวออกไป มันคือการระบายความอึดอัดอั้น เก็บกดดัน เพราะสิ่งนั้นไม่ได้มีแค่ตัวเราที่รับล่วงรู้อีกต่อไป … ส่วนใหญ่ก็มักเรื่องแย่ๆ สิ่งผิดพลาด ตราบาปฝังใจ เมื่อมีใครสักคนคอยรับฟัง แสดงความคิดเห็น มันจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายโดยไม่รู้ตัว (นี่ก็คล้ายๆการสารภาพบาปของชาวคริสต์ และวิธีการรักษาจิตบำบัดของจิตแพทย์)

แม้ว่า Maud ในสภาพเปลือยเปล่า แต่ Jean-Louis กลับม้วนผ้าห่มอีกผืนพันรอบตัว (ปกป้องตนเองอย่างมิดชิด) ต่อให้เธอพยายามสะกิด ปิดไฟ แต่จนรุ่งเช้าก็ไม่บังเกิดเหตุการณ์อะไร … ยุคสมัยนี้ถ้าทำได้แบบนี้มักถูกมองว่าเป็นเกย์ ไม่ก็กามตายด้าน หาได้ยากกับบุคคลยึดถือมั่นใน ‘moral’ อย่างหนักแน่นมั่นคง ไม่ลุ่มหลงไปกับกิเลสราคะที่อยู่ตรงหน้า

แซว: เอาจริงๆฉากนี้มันยังสามารถลากยาวต่อไปถึงผีผ้าห่ม พูดคุยกันตอนปิดไฟ เรื่องเพศสัมพันธ์ก็ยังได้ แต่ผกก. Rohmer ไม่เคยเกินเลยเถิดไปถึงจุดนั้น นี่ก็น่าจะถือเป็น ‘moral’ ประจำตัวเขา กระมัง!

รุ่งเช้าขณะอยู่ในอาการสะลึมสะลือ ครึ่งหลับครึ่งตื่น จู่ๆ Maud ก็หันมาโอบกอด จุมพิต (อาจครุ่นคิดว่าเขาคือสามี) ต่างฝ่ายต่างไม่รับรู้ตนเองจนกระทั่ง Jean-Louis ฟื้นคืนสติ ดันตัวลุกขึ้น เกิดความสองจิตใจสองใจ กำแพงที่อุตส่าห์ก่อไว้รอบตัวพังทลายลงโดยพลัน

แต่วินาทีนั้น Maud ตัดสินใจลุกขึ้นจากเตียง วิ่งเข้าห้องนอนของบุตรสาว ปฏิเสธที่จะก้าวล้ำ ข้ามพรมแดนระหว่างเพื่อน-คนรัก ไม่ต้องการทำลายมิตรแท้หาได้ยากยิ่ง และเมื่อ Jean-Louis ได้ยินเช่นนั้นถึงเริ่มสงบสติอารมณ์ หยุดยับยั้งชั่วใจ สวมใส่เสื้อผ้า ถึงจุดจบช่วงเวลาค่ำคืนแห่งความทรงจำนี้สักที!

เมื่อตอนต้นเรื่องจะมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ Jean-Louis และ Vidal นั่งอยู่ในร้านอาหารที่มีกระจกบานใหญ่ นั่งหันหลังให้ สะท้อนถึงความไม่สนใจสิ่งต่างๆรอบข้าง รวมถึงตัวตนของพวกเขาเอง

แต่ขณะนี้หลังจาก Jean-Louis พานผ่านค่ำคืนกับ Maud ก็เข้ามายังร้านที่มีกระจกบานใหญ่ (น่าจะคนละร้านกัน) ครานี้เปลี่ยนมานั่งหันด้านข้าง (สะท้อนอีกตัวตนขั้วตรงข้ามที่นั่งอยู่ข้างๆกระจก ซึ่งถือกำเนิดขึ้นหลังพานผ่านค่ำคืนกับ Maud) สังเกตว่าเขาพยายามยกมือขึ้นมาปกปิดใบหน้าซีกหนึ่ง (ทำเหมือนไม่อยากพบเห็นตัวตนฟากฝั่งนั้น) แต่หลังจากพบเห็น Françoise ขับรถผ่านหน้าร้านไป ตัวตนที่อยู่ในกระจกคือแรงผลักดันให้เขาบังเกิดความหาญกล้า กระทำบางสิ่งอย่างขัดแย้งต่อสามัญสำนึก ‘moral’ ของตนเอง

หิมะที่ตกลงมาหนักเพียงช่วงข้ามคืน ทำให้ทัศนียภาพของ Clermont-Ferrand ปกคลุมด้วยความขาวโพลน ราวกับโลกคนใบ! ซึ่งสามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจของ Jean-Louis แม้ยังคงเคร่งศาสนา เอาจริงเอาจังกับการใช้ชีวิต แต่เกิดความกล้าท้าเสี่ยง ยินยอมรับโอกาสแห่งความเป็นไปได้ เมื่อบังเอิญพบเห็น Françoise ก็ตรงรี่เข้าไปทักทาย แสดงความต้องการรับรู้จักโดยทันที … หรือเรียกว่ากระทำตามเสียงเพรียกเรียกร้องหัวใจ

บริเวณที่ทั้งสองพบเจอกัน ผมแกะจากข้อความด้านหลังพบว่าคืออนุสาวรีย์ทองแดง A Vercingétorix (ค.ศ. 1903) ออกแบบโดย Frédéric Auguste Bartholdi (1834-1904) นักแกะสลักชื่อดังชาวฝรั่งเศส เจ้าของผลงานก้องโลกอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ

เกร็ด: Vercingétorix (82 BC – 46 BC) คือผู้นำชนเผ่า Arverni ที่สามารถรวบรวมชาว Gaul (ฝรั่งเศส) จนสามารถต่อสู้รบเอาชนะ Julius Caesar เมื่อครั้งการยุทธการเมือง Gergovie ก่อนคริสต์ศักราช 52 (B.C.)

การเลือกอนุสาวรีย์แห่งนี้ประดับพื้นหลัง ก็เพื่อสื่อถึงชัยชนะเหนือตัวตนเองของ Jean-Louis กล้าลุกขึ้นมาทำบางสิ่งอย่างตอบสนองความต้องการของหัวใจ จนมีโอกาสพูดคุยทักทาย รับรู้จักหญิงสาวที่ตนเองหมายปองสักที!

หลังจาก Jean-Louis กล้าที่จะเข้าไปพูดคุยทักทาย ทำความรู้จักกับ Françoise นั่นคือจุดเปลี่ยนของชีวิต ราวกับจิตวิญญาณได้รับการปลดปล่อย กระทำสิ่งเติมเต็มความต้องการของหัวใจ ขณะนี้เลยเต็มไปด้วยความสดชื่น ชีวิตชีวา อารมณ์ดีสุดๆ เลยยินยอมตอบตกลงนัดหมายปีนป่ายขึ้นเขาบนอุทยาน Parc de Montjuzet พอมาถึงก็โอบกอดจูบ สัมผัสลูบไล้ Maud เพื่อแสดงความขอบคุณเหตุการณ์เมื่อข้ามคืน โดยไม่ได้มีความหื่นกระหายอยู่เลยสักนิด!

ผมนำมาสองภาพเพื่อเอาไว้จะเปรียบเทียบตำแหน่งและท่าทางกับเมื่อตอน Jean-Louis โอบกอดจูบ Françoise บนอุทยานเดียวกันนี้ แต่มีทิศทางกลับตารปัตรตรงกันข้าม!

หวนกลับมาที่ห้องของ Maud อีกครั้ง (ในยามเย็นหลังวันคริสต์มาส) แม้ครานี้พวกเขาทำการโอบกอดจูบ สัมผัสลูบไล้ อย่างสนิทสนมชิดใกล้ แต่นั่นหาใช่การเกี้ยวพาราสีแบบคู่รัก ทั้งหมดคือการแสดงออกมิตรภาพฉันท์เพื่อนพ้อง (สังเกตว่า Maud ไม่ได้พยายามอ่อยเหยื่อนอนอยู่บนเตียง แต่นั่งเท้าคางพูดคุยสนทนาบนเก้าอี้โซฟาอย่างเป็นทางการ)

หลายคนอาจรู้สึกว่าการสัมผัสกอดจูบลูบไล้ มันคือลักษณะของ ‘sexual harassment’ ไม่ใช่หรือ? คำตอบคือไม่จำเป็นเสมอไป การล่วงละเมิดทางเพศจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีฝั่งฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมพร้อมใจ แต่ขณะนี้ทั้ง Jean-Louis และ Maud แม้ไม่ใช่คู่รัก/สามี-ภรรยา ต่างก็ยินยอมพร้อมใจทั้งสองฝ่าย นั่นเพราะพวกเขาต่างมีความเชื่อมั่นต่อกันสูงมากๆ รับรู้ว่าต่อให้ล่วงเกินทางกายขนาดไหน ก็ไม่มีทางกระทำสิ่งขัดย้อนแย้งต่อ ‘moral’ ของตัวตนเอง

ช็อตสุดท้ายในห้องแห่งนี้ของ Jean-Louis กับ Maud พื้นด้านหลังพบเห็นต้นคริสต์มาสที่มีแสงไฟกระพริบ ติดๆดับๆ นี่สามารถสื่อถึงการพบเจอ-ร่ำลาจาก นี่อาจเป็นครั้งสุดท้ายพบเจอกัน จักเก็บช่วงเวลาค่ำคืนแห่งความทรงจำไว้ชั่วนิรันดร์

ฉากในห้องพักของ Françoise ราวกับ Déjà vu ที่ Jean-Louis เคยพานผ่านค่ำคืนคริสต์มาสกับ Maud แต่เหตุการณ์ต่างๆล้วนมีลักษณะแตกต่างตรงกันข้าม ไม่ได้มีเกมการละเล่น หยอกเย้า เกี้ยวพาราสี เพียงพูดคุยสนทนาทั่วไประหว่างรอน้ำเดือดต้มชา สลับสับเปลี่ยนตำแหน่งที่นั่ง และท้ายสุดก็แยกย้ายไปหลับนอนคนละห้อง

ความสัมพันธ์ลักษณะนี้อาจดูคร่ำครึ โบร่ำราณ (เหมือนภาพวัตถุโบราณทางฝั่ง Jean-Louis และไม้กางเขนเหนือหัวเตียงนอนของ Françoise) แต่แม้จะดูเย็นชา น่าเบื่อหน่าย ผู้คนสมัยนั้น(และผกก. Rohmer)เชื่อว่าจักมีความมั่นคง ยั่งยืน ยาวนาน เพราะต่างก็มี ‘moral’ ค้ำจุนพวกเขาไว้ด้วยกัน … จริงๆมันก็ไม่จำเป็นเสมอไปหรอกนะครับ

Portrait of Paul Picasso as a Child (1923) ภาพวาดบุตรชายของ Pablo Picasso ด้วยลักษณะของ Neoclassicism ซึ่งแลดูคล้ายๆ Françoise เหมือนมีบางสิ่งอย่างลับลมคมใน ที่ถูกปกปิดซุกซ่อนอยู่ภายใต้ใบหน้า (หรือก็คือเพิ่งพานผ่านความสัมพันธ์กับชายแต่งงานแล้ว)

หนังจงใจไม่อธิบายรายละเอียดว่า Françoise เคยพานผ่านความสัมพันธ์อะไรกับใครมา แต่สังเกตจากปฏิกิริยาเมื่อพบเจอ Vidal ท่าทีที่ไม่ค่อยสบอารมณ์ นี่ก็อาจบอกใบ้อะไรๆหลายสิ่งอย่าง … แต่เมื่อเธอยืนกรานว่าไม่ใช่ก็อาจจะไม่ใช่นะครับ ความคลุมเคลือดังกล่าวน่าจะสร้างความหงุดหงิดให้แก่ผู้ชมบางคน ถึงอย่างนั้นมันก็หาใช่สิ่งที่ต้องรับรู้ นี่คือบทเรียนสอนให้รู้จักการ ‘ปล่อยวาง’ ในบางเรื่อง

กลับตารปัตรทิศทางจากตอนที่ Jean-Louis โอบกอดจูบ สัมผัสลูบไล้ Maud บนเนินเขาก่อนหน้านี้

  • มุมกล้องจากเคยหันหน้าเข้าหาภูเขา (สื่อถึงความสัมพันธ์ที่มาถึงหนทางตันกับ Maud), มาขณะนี้หันอีกฝั่งพบเห็นทิวทัศน์เมือง Clermont-Ferrand (โลกทั้งใบเป็นของสองเรา Jean-Louis กับ Françoise)
  • สำหรับ Maud จะเริ่มจากการโอบกอดด้วยการหันหน้าเข้าหากัน (ทั้งสองให้ความเคารพ เสมอภาคเท่าเทียม) จากนั้น Jean-Louis ถึงโอบเข้าด้านหลัง (สัญลักษณ์ของการขอบคุณ เป็นที่พึ่งพักพิง)
    • แต่สำหรับ Françoise เริ่มต้นจากการโอบรัดคอจากด้านหลัง (สัญลักษณ์ของการบีบบังคับ ต้องการให้ได้เธอมาครอบครอง) ซึ่งพอฝ่ายหญิงเล่าความจริงบางอย่าง Jean-Louis ถึงเปลี่ยนมาโอบกอดจากด้านข้าง (สัญลักษณ์แทนความเข้าใจ แต่ก็ยังคงมีลักษณะเธอต้องเป็นของฉัน)
  • โอบกอดจูบกับ Maud ด้วยด้วยความเป็นมิตรภาพ ไร้ซึ่งอารมณ์หื่นกระหาย, ผิดกับ Françoise ที่เต็มไปด้วยความคาดหวัง ต้องการครอบครองรัก แต่งงาน และโอกาสในการมีเพศสัมพันธ์

ความแตกต่างระหว่าง Maud กับ Françoise สะท้อนรสนิยมภรรยาของ Jean-Louis (และผกก. Rohmer) อย่างชัดเจนมากๆ ไม่ได้ต้องการคนที่มองตารู้ใจ ‘ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่’ หรือสามารถพึ่งพักพิง แต่คือหญิงสาวยินยอมศิโรราบ เสียสละเป็นช้างเท้าหลัง ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่ได้ถึงขั้นเผด็จการ อย่างน้อยคือยังครุ่นคิดถึงหัวอก เอาใจเธอมาใส่ใจเราบ้าง บางครั้งครา

เกร็ด: มองจากพื้นหลังโบสถ์คริสต์หลังไกลคืออาสนวิหาร Cathédrale de Clermont-Ferrand หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยศขึ้นสวรรค์ (Cathédrale Notre-Dame-de-l’Assomption de Clermont-Ferrand) ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรม Gothic สร้างด้วยหินภูเขาไฟสีดำทั้งหลัง และหอคอยสูง 96.2 เมตร สูงโดดเด่นเหนือสิ่งก่อสร้างอื่นใดในเมือง Clermont-Ferrand

ดูจากภาษากายของ Françoise ก็น่าจะรับรู้ว่าหญิงสาว (Maud) ที่บังเอิญสวนทางกันนั้นคืออดีตคนรักของ Jean-Louis กล้องค่อยๆซูมเข้า ใบหน้าเศร้าๆ มือซ้ายเททรายลงมือขวา แต่หลังจากสามีเกิดความตระหนักอะไรบางอย่าง ตัดสินใจปรับเปลี่ยนถ้อยคำพูด ทำให้ภรรยาเกิดรอยยิ้มกริ่ม กล้องค่อยๆซูมออก และสลับสับเปลี่ยนมาเป็นมือขวาเททรายลงมือซ้าย

หลังจากหมดสิ้นปัญหาค้างคาใจ Françoise ลุกขึ้นถอดเสื้อนอกเหลือเพียงชุดว่ายน้ำ นี่ทำให้ผมหวนระลึกถึงตอน Maud ถอดเสื้อเปลือยกายมุดเข้าไปในนอนใต้ผ้าห่ม สามารถแฝงนัยยะถึงการปลดเปลื้องอะไรบางอย่าง

  • ในกรณีของ Maud แม้นั่นจะเป็นการนอนแบบปกติของเธอ ขณะเดียวกันยังสามารถมองว่าคือพฤติกรรมยั่วเย้า เกี้ยวพาราสี ชักชวน Jean-Louis ให้ร่วมรักหลับนอน
  • แต่สำหรับ Françoise มันคือการปลดเปลื้องความวิตกกังวลของสามี คำพูด(ที่มีการฉุกครุ่นคิด)ทำให้เกิดความเชื่อมั่นใจ ไม่มีอะไรให้ต้องหวาดหวั่น หรือกรรมสนองอดีตที่เธอเคยคบหาชายแต่งงานมีภรรยาแล้ว

เกร็ด: สถานที่แห่งนี้อยู่บนเกาะ Belle-Île-en-Mer ห่างจากชายฝั่ง 14 กิโลเมตร ในอ่าว Biscay ทางตะวันตกของฝรั่งเศส และเห็นว่าเป็นฉากแรกของหนังที่ถ่ายทำล่วงหน้าเกือบปี (ก่อนที่ Trintignant จะติดคิวงานช่วงวันสิ้นปี)

ตัดต่อโดย Cécile Decugis,

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองชายนิรนาม Jean-Louis พร้อมเสียงบรรยายบางครั้งครา ช่วงระหว่างเทศกาลวันคริสต์มาสถึงปีใหม่ เมื่อได้พบเจอตกหลุมรัก Françoise พานผ่านช่วงเวลาพิสูจน์ตนเองกับ Maud จนเกิดความกล้าเปลี่ยนแปลงตนเอง สามารถกระทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจได้สำเร็จ … แล้วกระโดดข้ามไป 5 ปีให้หลัง

  • วันอาทิตย์ 20 ธันวาคม
    • แนะนำตัวละคร Jean-Louis เดินทางมาร่วมพิธีมิสซา ตกหลุมรักแรกพบ Françoise
  • วันจันทร์ 21 ธันวาคม
    • เช้าเดินทางไปทำงานบริษัทมิชลิน
    • ระหว่างทางกลับบ้านสวนทางกับ Françoise เกิดความมุ่งมั่นต้องการครองคู่แต่งงาน อาศัยอยู่ร่วมจนวันตาย
    • แวะซื้อหนังสือเกี่ยวกับ Blaise Pascal
  • วันพุธ 23 ธันวาคม
    • ค่ำคืนพบเจอพบเก่า Vidal พูดคุยถกเถียงถึงทฤษฎีของ Pascal
    • รับชมการแสดงคอนเสิร์ต Mozart
  • วันพฤหัส 24 ธันวาคม (คริสต์มาสอีฟ)
    • Jean-Louis ลากพา Vidal มาร่วมพิธีมิสซาตอนเที่ยงคืน
  • วันศุกร์ 25 ธันวาคม (วันคริสต์มาส)
    • Vidal ลากพา Jean-Louis ไปที่ห้องพักของ Maud พูดคุยสนทนา รับประทานอาหารค่ำ
    • หลังจาก Vidal ดื่มเหล้าจนเมามาย ตัดสินใจกลับบ้านไปก่อน ทำให้ Jean-Louis อาศัยอยู่สองต่อสองกับ Maud
  • วันเสาร์ 26 ธันวาคม
    • หลังออกจากห้องพักของ Vidal ระหว่างกำลังจะรับประทานอาหารเช้า พบเห็น Françoise จึงตรงรี่เข้าไปทักทาย แสดงความต้องการรู้จัก
    • บ่ายๆไปปีนเขากับ Maud แล้วบอกร่ำลา
    • ยามค่ำพบเจอ Françoise อาสาขับพาไปส่งหอพัก แต่รถดันเสียกลางทาง
    • ค่ำคืนนั้น Jean-Louis อาศัยอยู่สองต่อสองกับ Françoise
  • วันอาทิตย์ 27 ธันวาคม
    • ช่วงสายๆ Jean-Louis และ Françoise เดินทางเข้าร่วมพิธีมิสซา
  • น่าจะช่วงปีใหม่
    • ช่วงค่ำๆระหว่างช็อปปิ้ง Jean-Louis สวนทางกับ Vidal พบเห็นปฏิกิริยาแปลกๆกับ Françoise
  • หลายวันถัดจากนั้น
    • Jean-Louis พา Françoise ไปปีนป่ายขึ้นเขา เธอจึงบอกเล่าอดีตของตนเอง
  • 5 ปีหลังจากนั้น
    • Jean-Louis พร้อมภรรยาและบุตร บังเอิญพบเจอ Maud ระหว่างวันพักร้อนริมชายหาดแห่งหนึ่ง

แซว: ในหนังจะมีพูดว่าวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม เท่าที่ผมตรวจสอบจากปฏิทินช่วงทศวรรษ 60s พบว่าคือปี ค.ศ. 1964 และ 1970

การตัดต่ออาจไม่ได้มีเทคนิคหวือหวา ดำเนินเรื่องไปอย่างเชื่องช้า แต่มักสลับสับเปลี่ยนมุมกล้องอยู่เรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ผู้ชมเกิดความน่าเบื่อหน่ายระหว่างการสนทนายาวๆ เก็บรายละเอียดผู้พูด ปฏิกิริยาผู้ฟัง แล้วตัดไปภาพมุมกว้างเห็นทั้งสองฟากฝั่ง เหล่านี้คือลักษณะของ ‘formalism’


หนังถือว่าไม่มีบทเพลงประกอบ ทั้งหมดได้ยินคือ ‘diegetic music’ ดังขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียง ร้านอาหาร และการแสดงดูโอ้เปียโน-ไวโอลิน บทเพลง Mozart: Sonata for Piano and Violin in B flat, K.378 มีทั้งหมด 3 ท่อน แต่ได้ยินเพียง I. Allegro Moderato

ผู้ทำการแสดงคือ Leonid Borisovich Kogan (1924-82) นักไวโอลินชาวรัสเซีย ได้รับการยกย่อง ‘greatest violinists of the 20th century’ เท่าที่ผมลองหาฟังหลายๆบทเพลง ฝีไม้ลายมือสามารถเทียบชั้น Jascha Heifetz หรือ David Oistrakh แต่เพราะปักหลักใช้ชีวิตในรัสเซีย (ยุคของสหภาพโซเวียต/สงครามเย็น) เลยไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติสักเท่าไหร่

แนวเพลงถนัดของ Kogan ไม่ใช่ Mozart อย่างแน่นอนนะครับ (สังเกตว่าเล่นไปอ่านโน๊ตไป แสดงว่าก่อนหน้านี้อาจไม่เคยรับรู้จักเพลงนี้ด้วยซ้ำ) ด้วยเหตุนี้ผมเลยนำเอา K.378 ฉบับของ Jascha Hifetz เจ้าของฉายา “God’s Fiddler” บันทึกเสียงเมื่อปี ค.ศ. 1936 มาให้ลองสังเกตเปรียบเทียบกันว่าห่างชั้นระดับไหน

แล้วทำไมหนังถึงเลือก Mozart? ผมครุ่นคิดว่าความตั้งใจของผกก. Rohmer ต้องการบทเพลงที่มีลักษณะดูโอ้ ไวโอลิน & เปียโน เพื่อสื่อถึงการหยอกล้อระหว่างชาย-หญิง และในบรรดาคีตกวีชื่อดังทั้งหมด Mozart โด่งดังจากสไตล์เพลงที่มีท่วงทำนองสนุกสนาน เย้าแหย่ ขี้เล่น … ล้อเหตุการณ์ค่ำคืนอาศัยอยู่กับ Maud (My Night at Maud’s) ได้อย่างลงตัว

ค่ำคืนก่อนวันคริสต์มาสอีฟกับ Maud คือช่วงเวลาแห่งการเผชิญหน้าระหว่างสองบุคคลที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม โดยปกติแล้วต้องเป็นอย่างขั้วแม่เหล็ก +,- เหนือใต้ ที่มักผลักไสออกห่าง ไม่มีทางปะติดชิดใกล้ แต่ถึงอย่างนั้นพวกเขาทั้งสองกลับสามารถสร้างอิทธิพลบางอย่างต่อกันและกัน

Jean-Louis คือบุคคลผู้มีความเคร่งครัด เอาจริงเอาจังต่อการใช้ชีวิต แต่การได้พานผ่านค่ำคืนกับ Maud ทำให้สามารถผ่อนคลายความหมกมุ่นยึดติด เรียนรู้ว่าบางครั้งสมควรกระทำตามสันชาตญาณ สิ่งตอบสนองความพึงพอใจส่วนตน เข้าหาหญิงสาวอีกคนที่ตกหลุมรัก Françoise จนมีโอกาสสานสัมพันธ์ ครองคู่แต่งงาน และมีบุตรชายร่วมกัน

Maud คือหญิงสาวรักในเสรีภาพแห่งชีวิต แม้มีบุตรสาวกับอดีตสามี แต่ก็ยังร่วมรักหลับนอนผู้ชายไม่ซ้ำหน้า จนกระทั่งมาพบเจอ Jean-Louis พยายามใช้เล่ห์ เสน่ห์ มารยาหญิง เกี้ยวพาราสีอีกฝั่งฝ่าย แต่ไม่ว่าทำอะไรล้วนไม่สำฤทธิ์ผล นั่นสร้างความฉงนสงสัย ชื่นชอบประทับใจ ต้องการรักษาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรแท้ ตกหลุมรักอีกฝั่งฝ่ายโดยไม่จำเป็นต้องครองคู่อยู่ร่วมกัน

สำหรับบุรุษส่วนใหญ่ การได้ใช้เวลาค่ำคืนสองต่อสองกับหญิงสาว มักจบลงด้วยเรื่องบนเตียงเสมอไม่ว่าอีกฝั่งฝ่ายจะสมยอมหรือไม่ แต่ถ้าคุณสามารถพิสูจน์ตัวเองพานผ่านค่ำคืนดังกล่าว อดเปรี้ยวไว้กินหวาน มันแสดงถึงอุดมการณ์ ความเชื่อมั่นบางอย่างอันแรงกล้า ในบริบทของภาพยนตร์เรื่องนี้มีคำเรียกว่า ‘Moral’

แต่อย่างเคยอธิบายไปตั้งแต่ต้นแล้วว่า ภาษาฝรั่งเศส moraliste ไม่ได้มีความหมายแบบเดียวกับ moralist เหตุผลที่ Jean-Louis ไม่ได้ล่วงเกินทางกายต่อ Maud หาใช่เพราะศีลธรรมจรรยาหรือศรัทธาศาสนา (ในอดีตก็เคยเล่าว่าเป็นคนเจ้าชู้ประตูดิน พานผ่านประสบการณ์รักมาอย่างโชกโชน) แต่เพราะเขามีความเชื่อมั่นอันแน่วแน่ สัตย์สัญญาเคยให้ไว้กับตนเอง ที่ได้ทำการเลือก Françoise คือหญิงสาวจะครองคู่ แต่งงาน อาศัยอยู่เคียงข้างกันตราบจนวันตาย เลยปฏิเสธสานสัมพันธ์กับใครอื่นใด

เช่นนั้นแล้วถ้า Jean-Louis ไม่ได้ให้สัตย์สัญญากับตนเองว่าจะครองคู่แต่งงานกับ Françoise ค่ำคืนนั้นก็อาจลงเอยด้วยการร่วมรักหลับนอนกับ Maud หรือเปล่า? ผมว่าก็มีความเป็นไปได้สูงนะครับ เพราะนี่คือสิ่งที่ผกก. Rohmer ต้องการชักชวนให้ผู้ชมขบครุ่นคิดตาม แบบเดียวกันเปี๊ยบกับ The Bakery Girl of Monceau (1963) ภาพยนตร์เรื่องแรกของ ‘Six Moral Tales’ ตั้งคำถามถึงหนทางเลือก

เมื่อตัวละครต้องเผชิญหน้าเหตุการณ์ท้าทายศีลธรรม/อุดมการณ์ของตนเอง เป็นเหตุให้เขาต้องเลือกตัดสินใจระหว่างมั่นคงในสิ่งเชื่อมั่น (Françoise) หรือคล้อยตามไปกับสิ่งต่างๆบังเกิดขึ้นในค่ำคืนนี้ (Maud) 

แต่ My Night at Maud’s (1969) ก็มีความแตกต่างจาก The Bakery Girl of Monceau (1963) ตรงที่ Jean-Louis ไม่ได้ก้าวล้ำอะไรใดๆต่อ Maud แถมยังสร้างกำแพงหนาเตอะขึ้นมาปกป้องตนเอง นั่นทำให้ฝ่ายหญิงรับล่วงรู้ตั้งแต่แรกๆแล้วว่าเขาอาจมีบุคคลชื่นชอบอยู่ จึงไม่บังเกิดความคาดหวังแล้วผิดหวัง กลายเป็นเรื่องราวมิตรแท้ รักบริสุทธิ์ จากกันด้วยความทรงจำที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรใดๆ

ตอนจบของหนังผมถือว่าคือโคตรไฮไลท์ที่ทรงคุณค่ามากๆ ห้าปีให้หลังเมื่อ Jean-Louis หวนกลับมาพบเจอ Maud ระหว่างกำลังเพลิดเพลินไปกับการหวนระลึกความทรงจำ พบเห็นปฏิกิริยาบางอย่างของภรรยา จึงหยุดยับยั้งคำพูด แล้วปรับเปลี่ยนประโยคใหม่ รายละเอียดเล็กๆแสดงถึงการมีสติและสามัญสำนึก สามารถทำให้ชีวิตคู่ยั่งยืนยาวนาน ครอบครองคู่รักตราบจนวันตายอย่างแน่นอน!

ปล. ผกก. Éric Rohmer แต่งงานกับภรรยา Thérèse Schérer เมื่อปี 1957 มีบุตรชายร่วมกันสองคน และครองคู่รักตราบจนวันตายเช่นเดียวกัน


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes เสียงตอบรับดียอดเยี่ยมมากๆ น่าเสียดายที่ประธานกรรมการปีนั้น Luchino Visconti ไม่ได้มอบรางวัลอะไรติดไม้ติดมือกลับมา ถึงอย่างนั้นยังได้รับเลือกเป็นตัวแทนฝรั่งเศสเข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film (เมื่อปี 1970) และปีถัดมาเมื่อเข้าฉายในสหรัฐอเมริกา ยังได้เข้าชิงอีกสาขา Best Original Screenplay (เมื่อปี 1971)

(สำหรับคนที่สงสัยว่าทำไมหนังได้เข้าชิง Oscar สองปีซ้อน นั่นเพราะสมัยก่อนสาขา Best Foreign Language Film จะนับช่วงเวลาที่เข้าฉายในประเทศนั้นๆปีนั้นๆ แต่สาขาอื่นๆจะนับจากเมื่อเข้าฉายใน ‘สหรัฐอเมริกา’ มันเลยเกิดกรณีที่ถ้าเข้าฉายในอเมริกาล่าช้าเป็นปีๆ จะมีโอกาสได้เข้าชิงถึงสองครั้ง)

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ ร่วมกับ ‘Six Moral Tales’ เรื่องอื่นๆ คุณภาพ 2K สามารถหาซื้อแบบ Boxset หรือรับชมได้ทาง Criterion Channel

แม้ยังมีหลายๆหัวข้อสนทนาที่ผมฟังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความชื่นชอบหลงใหลต่อหนังลดน้อยลงเลย โดยเฉพาะความหนักแน่น อุดมการณ์อันมั่นคงของตัวละคร Jean-Louis Trintignant เมื่อสามารถโอนอ่อนผ่อนลง ละลายกำแพงน้ำแข็ง จักพบเห็นความอ่อนโยน บริสุทธิ์จริงใจ ใช้ชีวิตด้วยสติ นี่แหละคืออุดมคติ

‘Six Moral Tales’ เป็นซีรีย์ที่แนะนำกับวัยรุ่น คนหนุ่มสาว รับชมให้เกิดความตระหนักถึงหนทางเลือก การตัดสินใจ ไม่ได้ชี้แนะว่าอะไรถูก-ผิด ขึ้นอยู่กับตัวเราจะขบครุ่นคิด ยึดถือปฏิบัติตาม บทเรียนสอนการดำรงชีวิต

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” การอยู่สองต่อสองในห้องนอน (ยุคสมัยนี้ไม่จำเป็นต้องชาย-หญิงแล้วนะครับ ชาย-ชาย หญิง-หญิง ก็เหมือนกันนะแหละ) มักเต็มไปด้วยความเสี่ยงทางเพศ แต่ถ้าเรามีอุดมการณ์อันแรงกล้าต่อบางสิ่งอย่าง อดเปรี้ยวไว้กินหวาน มันจะเปิดโอกาสและโลกกว้างให้เราได้มากทีเดียว

จัดเรตทั่วไป แต่เด็กเล็กคงดูไม่รู้เรื่องสักเท่าไหร่

คำโปรย | My Night at Maud’s ค่ำคืนแห่งการท้าทายศีลธรรมอันทรงคุณค่าที่สุดใน ‘Six Moral Tales’
คุณภาพ | คุค่
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

Matka Joanna od Aniołów (1961)


Mother Joan of the Angels (1961) Polish : Jerzy Kawalerowicz ♥♥♥♥

ไม่ว่าแม่อธิการ Joan of the Angels จะถูกซาตานเข้าสิงหรือไม่? ภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามท้าทายความเชื่อศรัทธาชาวคริสต์ เมื่อต้องเผชิญหน้าสิ่งชั่วร้ายบุกรุกรานเข้ามาในจิตใจ เราควรโอบกอดยินยอมรับ หรือขับไล่ผลักไสออกห่างไกล

ภาคต่อที่สร้างก่อนหน้า The Devils (1971) ของผู้กำกับ Ken Russell นำเสนอเหตุการณ์ 4 ปีให้หลังจากบาทหลวง Urbain Grandier ถูกตัดสินโทษด้วยการแผดเผามอดไหม้ ตกตายทั้งเป็นในกองไฟ สาเหตุเพราะแม่อธิการ Sister Jeanne des Anges (หรือก็คือ Mother Joan of the Angels) ทั้งๆไม่เคยพบเจอหน้า กลับถูกใส่ร้ายป้ายสี แสร้งว่าโดนมนต์ดำ ปีศาจเข้าสิง ให้แสดงพฤติกรรมเต็มไปด้วยความคลุ้มบ้าคลั่ง

เรื่องราวของ Mother Joan of the Angels (1961) ยังคงเป็นช่วงเวลาที่แม่อธิการ Mother Joan ประเดี๋ยวดี-เดี๋ยวร้าย เอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ แต่ผมรู้สึกว่าหนังพยายามทำเหมือนเธอถูกปีศาจเข้าสิงจริงๆ เพื่อให้อิสระผู้ชมในการขบครุ่นคิดตีความ บาทหลวงคนใหม่จะเผชิญหน้ากับซาตานที่เข้ามารุกรานตนเองเช่นไร?

รับชมหนังทั้งสองเรื่องติดต่อกันทำเอาผมเกือบจะคลุ้มคลั่ง! ปรับอารมณ์แทบไม่ทัน เพราะดันดู The Devils ก่อน Mother Joan of the Angels (เห็นว่ามีลักษณะเป็นภาคต่อก็เลยทำเช่นนั้น) แม้เหตุการณ์ดำเนินต่อกัน แต่มันก็ไม่มีความจำเป็นเช่นนั้นเลยสักนิด เพราะทั้งสองเรื่องมีไดเรคชั่นของผู้กำกับที่แตกต่างขั้วตรงกันข้าม

  • The Devils (1971) คือโคตรผลงานเหนือจริง เว่อวังอลังการงานสร้าง เต็มไปด้วยความคลุ้มบ้าคลั่ง นัยยะเชิงสัญลักษณ์จักทำให้ผู้ชมแทบสูญเสียสติแตก
    • ผู้กำกับ Ken Russell เป็นบุคคลผู้มีความเชื่อศรัทธาอย่างแรงกล้า ไม่ได้แฝงนัยยะต่อต้านศาสนาเลยสักนิด! (แต่คนมักเข้าใจผิดๆจากการมองเนื้อหน้าหนัง)
  • Mother Joan of the Angels (1961) มีความเรียบง่าย สงบงาม ใช้ทุนต่ำ นำเสนอในลักษณะ Minimalist สร้างความสยิวกาย สั่นสะท้านทรวงใน
    • ผู้กำกับ Jerzy Kawalerowicz เต็มไปด้วยอคติต่อคริสตจักรในประเทศ Poland จึงตั้งคำถามถึงการบิดเบือนหลักคำสอนศาสนา โดยเฉพาะเรื่องของความรัก ระหว่างบาทหลวงกับแม่ชีทำไมถึงถูกตีตราว่าสิ่งต้องห้าม?

ผมอยากแนะนำให้หารับชม Mother Joan of the Angels (1961) แล้วค่อยติดตามด้วย The Devils (1971) น่าจะทำให้คุณสามารถปรับอารมณ์ จากสงบงามสู่คลุ้มบ้าคลั่ง! และอาจทำให้ตระหนักถึงศักยภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องอย่างเท่าเทียมกัน


Jerzy Franciszek Kawalerowicz (1922-2007) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Polish เกิดที่ Gwoździec, Poland (ปัจจุบันคือ Hvizdets, Ukraine) ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง บ้านเกิดถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต จึงอพยพมาอยู่ยัง Kraków จากนั้นได้เข้าเรียนวิชาภาพยนตร์ Jana Matejki w Krakowie กลายเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Zakazane piosenki (1947), ฉายเดี่ยวเรื่องแรก The Village Mill (1952), ผลงานเด่นๆ อาทิ Shadow (1956), Night Train (1959), Mother Joan of the Angels (1961), Pharoah (1966), Death of a President (1977) ฯ

ผลงานยุคแรกๆของผู้กำกับ Kawalerowicz จะมุ่งเน้นความเรียบง่าย สไตล์ ‘minimalist’ ใช้เวลาและพื้นที่ว่างสร้างความรู้สึกเวิ้งว่างเปล่า ตัวละครมักเก็บกดดันความรู้สึก ไม่สามารถระบายความอึดอัดคับข้องทรวงใน (สะท้อนกับสถานการณ์การเมืองของประเทศ Poland ยุคสมัยนั้น) ส่วนภาพยนตร์ยุคหลังๆจะมีการแสดงออกทัศนคติทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้นตามลำดับ

สำหรับ Matka Joanna od Aniołów ดัดแปลงจากเรื่องสั้นชื่อเดียวกันของ Jarosław Iwaszkiewicz (1894-1980) นักเขียนชาว Polish ผู้เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Nobel Prize สาขาวรรณกรรม ถึงสี่ครั้ง! โดยมีเรื่องราวอ้างอิงถึงเหตุการณ์ ‘Loudun possessions’ ในช่วงศตวรรษที่ 17th แต่เปลี่ยนพื้นหลังจากเมือง Loudun ของฝรั่งเศส มาเป็นเมือง Ludyń (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ Ukrane)

เกร็ด: Jarosław Iwaszkiewicz เขียนเรื่องสั้น Matka Joanna od Aniołów แล้วเสร็จตั้งแต่ปี 1942 แต่ไม่สามารถตีพิมพ์เพราะอยู่ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งหลังจากนั้นก็ถูกนำมารวมกับเรื่องสั้นอื่นๆกลายเป็นหนังสือ Nowa miłość i inne opowiadania (แปลว่า New Love and Other Stories) วางขายปี 1946

สังเกตจากช่วงเวลาที่ Iwaszkiewicz เขียนเรื่องสั้น Matka Joanna od Aniołów ทำให้ผมตระหนักว่าผลงานเรื่องนี้อาจต้องการสะท้อนความรู้สึกเก็บกดดัน อึดอัดอั้น ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเราสามารถเปรียบเทียบแม่อธิการ Mother Joan ก็คือพวกผู้นำประเทศบ้าสงครามเหล่านั้น ไม่รู้ถูกปีศาจร้ายเข้าสิงหรือไร

ผู้กำกับ Kawalerowicz ดัดแปลงบทร่วมกับ Tadeusz Konwicki (1926-2015) นักเขียนนวนิยาย ที่ต่อมาผันตัวมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ดังๆอย่าง The Last Day of Summer (1958), All Souls’ Day (1961), Salto (1965) ฯลฯ ทั้งสองมีโอกาสร่วมงานทั้งหมดสามครั้ง Mother Joan of the Angels (1961), Pharaoh (1966) และ Austeria (1982)

บทภาพยนตร์ค่อนข้างจะซื่อตรงจากเรื่องสั้น แต่เพราะเนื้อหา(ของเรื่องสั้น)มีน้อยนิด จึงต้องเพิ่มเติมรายละเอียดเข้ามาพอสมควร อาทิ

  • เรื่องราวของ Sister Malgorzata แอบตกหลุมรัก Chrząszczewski ถึงขนาดตัดสินใจทอดทิ้งอารามชี
    • เพื่อสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างบาทหลวง Józef Suryn กับแม่อธิการ Mother Joan
  • การเผชิญหน้าระหว่างบาทหลวง Józef Suryn กับ Rabbi (ผู้นำศาสนาของชาวยิว)
    • เหมือนกระจก อีกตัวตนขั้วตรงข้าม (รับบทโดยนักแสดงคนเดียวกัน)

เห็นว่าบทหนังพัฒนาแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 1955-56 ผู้กำกับ Kawalerowicz ตั้งใจให้เป็นโปรเจคต่อจาก Shadow (1956) แต่กลับถูกห้ามปรามโดยพรรคคอมมิวนิสต์ Poland เพราะกลัวสร้างขัดแย้งให้กับคริสตจักร เลยจำต้องขึ้นหิ้งเอาไว้ก่อนจนกระทั่งปี 1960 ถึงได้รับการตอบอนุมัติ ด้วยคำแนะนำ(เชิงบังคับ)ให้ปรับเปลี่ยนแม่อธิการ Mother Joan จากเคยพิการหลังค่อม กลายมาเป็นบุคคลปกติ … แม้ไม่ได้อยากเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ผู้กำกับ Kawalerowicz ก็จำต้องยินยอมปรับแก้ไขบทหนังในส่วนนั้น เพื่อให้ได้รับโอกาสในการสรรค์สร้างภาพยนตร์


เรื่องราวของบาทหลวง Józef Suryn (รับบทโดย Mieczyslaw Voit) ได้รับมอบหมายให้เดินทางมาสืบสวนเหตุการณ์ ‘ปีศาจเข้าสิง’ อารามชีของ Mother Joan (Lucyna Winnicka) ที่ถึงขนาดทำให้บาทหลวงคนเก่า Father Garniec (หรือก็คือบาทหลวง Urbain Grandier จาก The Devils (1971)) ต้องถูกแผดเผาไหม้ตกตายทั้งเป็น (ข้อหาพยายามใช้กำลังลวนลาม/ข่มขืนแม่อธิการในอารามชี)

หลังจากบาทหลวง Józef Suryn ได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด จึงติดต่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการไล่ผี มาช่วยขับไล่ปีศาจร้ายทั้ง 8 ตน แต่จนแล้วจนรอดก็ทำไม่สำเร็จ เพราะ Mother Joan ยังคงเล่นหูเล่นตา แสดงความยั่วเย้ายวน เกี้ยวพาราสี โน้มน้าวให้เขากระทำตามสิ่งที่ตนร้องขอ

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บาทหลวง Józef Suryn เกิดความสับสน จิตใจเรรวนปรวนแปร เกิดความลุ่มร้อนทรวงใน ครุ่นคิดไปว่าตนเองกำลังถูกปีศาจร้ายเข้าสิง แต่แท้จริงคือเขาตกหลุมรัก Mother Joan เลยต้องตัดสินใจเลือกระหว่างยินยอมรับความรู้สึกดังกล่าว หรือหาหนทางขับไล่ ผลักไสส่ง ตีตนออกให้ห่างไกล


Kazimierz Fabisiak (1903-71) นักแสดงภาพยนตร์/ละครเวที เกิดที่ Warsaw ร่ำเรียนการแสดงยัง Państwową Szkołę Dramatyczną จากนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังจากการเป็นนักแสดง/ผู้กำกับละครเวที ก่อนเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โด่งดังกับ Mother Joan of the Angels (1960) แล้วการเป็น ‘typecast’ บทบาทหลวง ไล่ผี ไม่ก็ปีศาจจากขุมนรก

รับบท Józef Suryn บาทหลวงวัยกลางคนที่ไม่เคยพานผ่านประสบการณ์ทางโลก ได้รับมอบหมายให้เดินทางมาสืบสวนเหตุการณ์ ‘ปีศาจเข้าสิง’ อารามชีของ Mother Joan แต่เพียงแรกพบเจอก็ทำหัวใจสั่นสะท้าน บังเกิดความสับสนทำไมถึงเกิดอาการลุ่มร้อนทรวงใน ไม่เข้าใจว่าบังเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับตนเอง ครุ่นคิดว่ากำลังถูกท้าทายโดยซาตาน และท้ายสุดก็ได้กระทำการบางสิ่งอย่าง โดยครุ่นคิดว่าจะทำให้แม่อธิการสามารถหลุดรอดพ้นจากปีศาจร้าย

นอกจากนี้ยังรับบท Rabbi ผู้นำศาสนาชาวยิว แม้ปรากฎตัวไม่กี่นาที แต่ถือเป็นภาพสะท้อน บุคคลขั้วตรงข้ามบาทหลวง Józef Suryn เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวิถีแห่งชีวิต เรียนรู้จักการเผชิญหน้าอีกฟากฝั่งของตัวตนเอง

การแสดงของ Fabisiak ถือว่าเรียบง่ายแต่โคตรๆตราตรึง ภายนอกวางมาดขรึมๆ สงบเสงียมเจียมตน สร้างภาพบาทหลวงผู้อุทิศตนให้ศาสนาได้อย่างมีความน่าเชื่อถือ (กว่า Oliver Reed เป็นไหนๆ) ในช่วงแรกๆสัมผัสได้ถึงความวิตกกังวล นี่ฉันกำลังจะต้องเผชิญหน้ากับอะไร? เมื่อพบเจอ Mother Joan จิตใจก็เต็มไปด้วยอาการขลาดหวาดกลัว สับสนว้าวุ่นวาย จักต้องทำอย่างไรถึงสามารถเอาชนะปีศาจร้าย

ผมชอบการแสดงที่เล่นน้อยแต่ได้มาก พูดคำสั้นๆ น้ำเสียงสั่นๆ ทำสีหน้าสยองขวัญ แค่นั่นแหละก็ทำให้จินตนาการเตลิดเปิดเปิงไปไกล สัมผัสได้ถึงความรู้สึกตัวละคร และผู้ชมเกิดอาการสั่นสะท้านทรวงใน

แซว: อาจเพราะ Fabisiak แสดงบทบาทนี้ได้อย่างถึงใจ สั่นสะท้านทรวงใน เลยกลายเป็นภาพจำ ‘typecast’ ที่หลังจากนี้เลยได้เล่นแต่บทซ้ำๆ เลยหวนกลับไปเอาดีกับละครเวทีดีกว่า


Lucyna Winnicka (1928-2013) นักแสดงสัญชาติ Polish เกิดที่ Warsaw เรียนจบกฎหมายจาก Uniwersytetu Warszawskiego จากนั้นเปลี่ยนไปร่ำเรียนการแสดงยัง Akademia Teatralna im. Aleksandra Zelwerowicza แล้วรับเลือกเป็นนักแสดง/แต่งงานผู้กำกับ Jerzy Kawalerowicz ร่วมงานขาประจำกันตั้งแต่ Under the Phrygian Star (1954), Shadow (1956), Night Train (1959), Mother Joan of the Angels (1961), Pharaoh (1966) ฯลฯ

รับบทแม่อธิการ Mother Joan of the Angels/Sister Jeanne des Anges อ้างว่าตนเองถูกปีศาจร้าย 8 ตนเข้าสิง ทำให้เดี๋ยวดี-เดี๋ยวร้าย เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ แม้ทำพิธีขับไล่วิญญาณเหล่านั้นก็ไม่ยินยอมหนีออกไปไหน จนต้องถูกกักขังในอารามชี แล้วยังพยายามเกี้ยวพาราสีบาทหลวง Józef Suryn ท้ายสุดก็ไม่รู้ว่าตกลงแล้วทั้งหมดคือเรื่องจริงหรือเล่นละคอนตบตา และปีศาจร้ายทั้งแปดถูกขับสำเร็จหรือไม่

ดวงตากลมโตของ Winnicka ช่างเต็มไปด้วยความพิศวง น่าหลงใหล เมื่อเธอจับจ้องมองหน้ากล้องแบบไม่กระพริบตา (Breaking the Fourth Wall) น่าจะทำให้หลายๆคนเกิดความสั่นสะท้านทรวงใน หัวใจเต้นแรง รู้สึกขนลุกขนพอง เหมือนปีศาจร้ายในหนังสยองขวัญ … แค่ภาษากายของเธอแม้งก็โคตรหลอกหลอนชิบหาย (สำหรับคนที่สามารถสัมผัสได้)

นอกจากดวงตา ยังมีท่วงท่าเมื่อขณะ(อ้างว่า)ถูกปีศาจร้ายเข้าสิง มีความบิดพริ้ว อ่อนช้อย จนดูน่าหวาดสะพรึงอยู่ไม่น้อย ไม่รู้เหมือนกันว่าตอนนั่งท่าสะพานโค้ง เล่นเองหรือใช้นักแสดงแทน ผมเห็นแล้วยังรู้สึกหวาดเสียวแทน ซึ่งวิญญาณร้ายทั้ง 8 ก็ล้วนแสดงอากัปกิริยาที่แตกต่างกันไป ก็ต้องชมในความคิดสร้างสรรค์ตัวละครด้วยเช่นเดียวกัน


Anna Ciepielewska (1936-2006) นักแสดงสัญชาติ Polish เกิดที่ Ostróg ร่ำเรียนการแสดงยัง Akademia Teatralna im. Aleksandra Zelwerowicza จากนั้นมีผลงานละครเวที ตามด้วยภาพยนตร์เรื่องแรก The Hours of Hope (1955), โด่งดังกับ Mother Joan of the Angels (1960), ผลงานอื่นๆ อาทิ Passenger (1963), Three Steps on Earth (1965) ฯลฯ

รับบทแม่ชี Sister Malgorzata รับหน้าที่เปิด-ปิดประตูอารามชี และติดต่อทำธุระกับผู้คนในหมู่บ้าน กระทั่งวันหนึ่งพบเจอตกหลุมรักพ่อค้าหนุ่ม Chrząszczewski เดินทางมาค้าขายยังต่างถิ่น ถึงขนาดตัดสินใจละทิ้งอารามชี เปลี่ยนชื่อเป็น Margareth คาดหวังจะพากันหลบหนี เดินทางไปอาศัยอยู่ร่วมกัน แต่…

ขณะที่บาทหลวง & แม่อธิการ ต่างมีความเคร่งขรึม และคลุ้มคลั่ง อย่างน้อยหนังก็ยังมีตัวละครนี้ที่สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ขับร้องเพลง เต้นเริงระบำ ไม่สนภาพลักษณ์แม่ชี ต้องการมีชีวิตอิสรภาพ ใครสักคนนำพาฉันออกไปจากสถานที่น่าเบื่อหน่ายแห่งนี้

Ciepielewska น่าจะเป็นนักแสดงหน้าใหม่ในวงการ จึงยังมีความสนใสร่าเริง บริสุทธิ์ไร้เดียงสา (ทั้งร่างกายและจิตใจ) ทำให้ผู้ชมตกหลุมรัก อำนวยอวยพรให้มีโอกาสครองคู่ชายในฝัน และเมื่อเธอถูกทอดทิ้งขว้างอย่างไร้เยื่อใย ย่อมสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวทรวงใน ทำไมถึงทำกับฉันได้!

แม้เป็นตัวละครที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องอะไรกับบาทหลวง & แม่อธิการ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเธอสามารถสะท้อนความสัมพันธ์ อธิบายสาเหตุผลว่ามันบังเกิดอะไรขึ้นระหว่างพวกเขาทั้งสอง หรือคือการที่ตัวละครได้ตกหลุมรัก (แรกพบ) และสูญเสียมันไป (อธิบายตรงๆก็คือบาทหลวง Józef Suryn ตกหลุมรักแม่อธิการ Mother Joan และยินยอมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้สูญเสียความรู้สึกนั้นไป)


ถ่ายภาพโดย Jerzy Wójcik (1930-2019) สัญชาติ Polish สำเร็จการศึกษาด้านการถ่ายภาพจาก National Film School in Łódź เริ่มทำงานเป็นตากล้องกองสองภาพยนตร์ Kanał (1957), โด่งดังจากผลงาน Ashes and Diamonds (1958), Mother Joan of the Angels (1961), Pharaoh (1966), Westerplatte (1967), The Deluge (1974) ฯลฯ

ทั้งงานสร้างและการถ่ายภาพของหนัง จะเน้นความเรียบง่าย ‘minimalist’ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีการขยับเคลื่อนไหว นานๆครั้งถึงแพนนิ่ง แทร็กกิ้ง แต่ก็อย่างเชื่องช้าน่าหลับ (ผมฟุบไปสองรอบ) เว้นที่พื้นที่ว่าง ระยะห่าง บ่อยครั้งมักเป็นการสนทนาระหว่างสองบุคคล ยืน-นั่ง-เดิน เวียนวนไปวนมา แถมบางครั้งให้นักแสดงหันมาพูดคุยสบตาหน้ากล้อง ไม่เชิงว่าเป็น Breaking the Fourth Wall (แต่จะมองเช่นนั้นก็ได้) เพื่อสร้างสัมผัสของสิ่งลึกลับเหนือธรรมชาติ (เหมือนปีศาจกำลังจับจ้องมองหาผู้ชม) เกิดความสยิวกาย สั่นสะท้านทรวงใน

ส่วนตัวมองไฮไลท์ของงานภาพคือ ความตัดกันระหว่างสีขาว-ดำ ไม่ใช่แค่ชุดของบาทหลวงและแม่ชีอธิการ แต่การจัดแสง-เงามืดที่อาบฉาบทั้งสองตัวละคร มีความเข้มข้น จนบางครั้งกลมกลืนพื้นหลังจนแยกไม่ออก ต้องซูฮกเลยว่าใช้ประโยชน์จากฟีล์มขาว-ดำได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก!

สถานที่ถ่ายทำของหนังคือเมือง Józefów ในจังหวัด Masovian ห่างจากกรุง Warsaw ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร, โดยทำการก่อสร้างโรงแรมและอารามชีขึ้นใหม่หมด ออกแบบโดย Roman Mann แต่ระหว่างเตรียมงานสร้างประสบอุบัติเหตุ(ทางรถ)จนเสียชีวิต Tadeusz Wybult เลยเข้ามาสานงานต่อจนแล้วเสร็จ


Opening Credit ไร้ซึ่งบทเพลงประกอบใดๆ เพียงเสียงสวดมนต์ อธิษฐานถึงพระเป็นเจ้าของบาทหลวง Józef Suryn ด้วยการทิ้งตัวลงนอนราบบนพื้น กางแขนสองข้างเหมือนท่าไม้กางเขน แสดงถึงการยินยอมศิโรราบต่อทุกสิ่งอย่าง น้อมรับองค์พระผู้เป็นเจ้าว่าทรงเป็นเจ้าชีวิต มอบตนเองให้เป็นทาสของพระองค์ (ผมไม่แน่ใจว่ามีชื่อเรียกท่านี้การภาวนานี้ไหมนะครับ)

ปล. ท่วงท่านี้ทำให้ผมนึกถึงการกราบอัษฎางคประดิษฐ์ของชาวทิเบต หรือผู้นับถือพุทธศาสนาลัทธิตันตรยานหรือวัชรยาน ถือเพื่อเป็นการเคารพกราบไว้ขั้นสูงสูงที่มนุษย์สามารถกระทำได้

สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้สังเกตก็คือสีพื้นกับชุดของบาทหลวง มันช่างมีความกลมกลืนจนแทบกลายเป็นอันหนึ่งเดียว บางคนอาจแยกแยะไม่ออกด้วยซ้ำ นี่คือการใช้ประโยชน์จากฟีล์มขาว-ดำ สามารถพบเห็นอยู่บ่อยครั้งทีเดียวๆ

นอกจากความกลมกลืนของสี หนังยังมีจุดเด่นในการใช้พื้นที่ว่าง สร้างระยะห่าง ด้วยองค์ประกอบที่มีความเรียบง่าย น้อยนิดเดียว ‘minimalist’ อย่างเมื่อตอนบาทหลวง Józef Suryn เปิดประตูเข้ามาในห้องโถงโรงแรม สถานที่แห่งนี้ช่างเวิ้งว่างเปล่า บรรยากาศทะมึน อึมครึม นอกจากเสียงบรรเลงแมนโดลิน ก็แทบไร้ชีวิตชีวาอันใด

ภาพช็อตนี้แค่ตำแหน่ง/ทิศทางการนั่งระหว่างสองตัวละคร ตั้งฉาก 90 องศา ก็แสดงให้ถึงความแตกต่างตรงกันข้าม

  • บาทหลวง Józef Suryn นั่งอยู่ด้านข้าง (แสดงถึงผู้ทำตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ) ท่าทางสงบเสงี่ยมเจียมตน รับประทานอาหารแต่น้อยนิด เพียงพอดี (จะว่าไปก็สอดคล้องสไตล์ ‘minimalist’ ของหนังด้วยนะ)
  • ผิดกับชายที่นั่งอยู่หัวโต๊ะ (ทำตัวเหมือนเจ้านาย(ตนเอง) ชอบวางอำนาจบาดใหญ่) ซดน้ำซุบอย่างมูมมาม ตะกละตะกลาม ไม่สนมารยาท ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับกิเลสตัณหาราคะ

แซว: ภาพช็อตนี้ทำให้ผมนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง The Turin Horse (2011) ของผู้กำกับ Béla Tarr ระหว่างตัวละครพ่อ-ลูกกำลังนั่งรับประทานอาหาร ด้วยท่าทางเหน็ดเหนื่อ เบื่อหน่าย หมดสิ้นหวังอาลัย

ระหว่างกำลังก้าวเดินจากโรงแรมสู่อารามชี แม้ระยะทางไม่ไกลแต่ใช้เวลาเยิ่นยาวนานพอสมควร (ให้ความรู้สึกเหมือนการเดินทางจากโลกมนุษย์ → สู่สรวงสวรรค์ (หรือขุมนรก)) บาทหลวง Józef Suryn ได้พานผ่านแท่นไม้ที่มีสภาพขี้เถ้าถ่าน (บริเวณกึ่งกลางระหว่างโลกมนุษย์ <> สรวงสวรรค์) คือบริเวณที่บาทหลวงคนเก่า Father Garniec ได้ถูกแผดเผาไหม้ เพราะไม่สามารถควบคุมตนเองหลังจากพบเห็นพฤติกรรมยั่วเย้ายวนของบรรดาแม่ชี (กล่าวคือบวชเป็นบาทหลวง แต่ไม่สามารถตัดขาดทางโลก เลยถูกแผดเผาไหม้ยังบริเวณกึ่งกลางระหว่างโลกมนุษย์กับสรวงสวรรค์)

และเมื่อใกล้จะถึงอารามชี ระหว่างคุกเข่าอธิษฐานขอพรพระเป็นเจ้า จะมีเด็กหญิงตัวกระเปี๊ยกวิ่งวนรอบตัวเขา เพื่อสื่อถึงสภาพจิตใจที่ยังมีความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา (แม้อายุมากจนศีรษะล้านแล้วก็เถอะ) เจ้าตัวเองก็เคยบอกว่ามีความอ่อนเยาว์ต่อวิถีทางโลก ต่อจากนี้กำลังต้องเผชิญหน้าสิ่งชั่วร้าย เลยเต็มไปด้วยอาการขลาดหวาดกลัว ไม่รู้จะสามารถเอาตัวรอดกลับมาได้รึเปล่า

ครั้งแรกพบเจอระหว่างบาทหลวง Józef Suryn และแม่อธิการ Mother Joan ผมขอแบ่งออกเป็นสองช่วงขณะ

  • แม่อธิการ Mother Joan ขณะยังมีความเป็นมนุษย์
    • การสนทนาจะเป็นไปอย่างเรียบง่าย ด้วยถ้อยคำสุภาพ ห่วงใย เกรงใจกัน
    • ท่าทางมีความสงบงาม อ่อนหวาน เรียบร้อยดั่งผ้าพับไว้
    • กล้องแทบไม่การขยับเคลื่อนไหว ใช้การตัดต่อสลับสับเปลี่ยนระยะภาพ ซึ่งจะมีความใกล้ชิดขึ้นทีละระดับจนอทั้งสองยู่ร่วมเฟรมเดียวกัน
  • หลังจากแม่อธิการ Mother Joan (แสร้งว่า)ถูกปีศาจร้ายเข้าสิง
    • จู่ๆพ่นถ่อยคำหยาบคาย ดัดเสียงให้มีความวิปริต ผิดปกติจากที่มนุษย์สนทนากัน
    • แสดงสีหน้าอันเกรี้ยวกราด ท่าทางกวัดแกว่ง กรีดกราย ตะเกียกตะกายฝาผนัง คืบคลานเข้ามาหาหลวงพ่อ Józef Suryn
    • กล้องมีการเคลื่อนเลื่อนไหล โฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน เพื่อสร้างความคลุ้มบ้าคลั่ง
      • เมื่อถ่ายใบหน้าแม่อธิการ สังเกตว่ามุมกล้องก้มลง (จริงๆคือเธอย่อตัวลง) เพื่อให้เห็นถึงความตกต่ำทางจิตใจ ปีศาจร้ายมาจากขุมนรก จนถูกถีบส่ง ผลักไส ตีตนออกให้ห่างไกล

รอยฝ่ามือมาจากไหน? จู่ๆก็ปรากฎขึ้น ซึ่งถ้าใครช่างสังเกตจะพบว่ามันมีขนาดใหญ่กว่ามือของ Mother Joan เสียอีกนะ! เหมือนต้องการล่อหลอกผู้ชมถึงการมีตัวตนของสิ่งเหนือธรรมชาติ อาจจะเป็นปีศาจร้ายที่เข้าสิงแม่อธิการ … แต่ก็แล้วแต่ผู้ชมจะครุ่นคิดตีความ

ฉากการไล่ผีหมู่? เริ่มต้นด้วยการเดินเรียงแถวของแม่ชี (โดยจะมี Sister Malgorzata เดินหมุนๆ ทำตัวผิดแผกแตกต่างจากคนอื่น) เข้ามายังสถานที่ทำพิธีมิสซา ตามด้วยบรรดาบาทหลวง (และ Józef Suryn) จากนั้นแม่อธิการ Mother Joan จะแสดงอาการผีเข้าด้วยการทำท่าสะพานโค้ง (สื่อถึงโลกทัศน์ที่พลิกกลับตารปัตร) แล้วถูกจับมัด เอาไม้กางเขนมารุมล้อม … แต่ไม่เห็นจะทำอะไรได้สักอย่าง

ก่อนจบลงด้วยภาพที่ถือเป็น ‘iconic’ ของหนัง บรรดาแม่ชีทั้งหมดต่างทิ้งตัวลงนอนบนพื้น กางแขนเหมือนไม้กางเขน ท่าทางเดียวกับบาทหลวง Józef Suryn เมื่อตอน Opening Credit แสดงถึงการยินยอมศิโรราบทุกสิ่งอย่างต่อ … พระเจ้าหรือซาตานกันแน่??

ทั้งบาทหลวง Józef Suryn และแม่ชี Mother Joan ต่างใช้แส้ฟาดหลัง กระทำทัณฑ์ทรมานตนเอง เพื่อไม่ให้จิตใจบังเกิดความเรรวนปรวนแปรต่อเหตุการณ์ทั้งหลายบังเกิดขึ้น แต่โดยไม่รู้ตัวพวกเขาบังเอิ้ญอยู่ในสถานที่เดียวกัน ถ้าเป็นหนังโรแมนติกคงต้องถือว่าเป็นโชคชะตาฟ้าลิขิต การเผชิญหน้าครั้งนี้จึงสร้างความกระอักกระอ่วน สันสนว้าวุ่นวาย และทำให้ทั้งสองต่างรู้สึกลุ่มร้อนทรวงในยิ่งๆขึ้นอีก

ระหว่างยังคงรักษาภาพลักษณ์ ทั้งสองก้าวเดินมาจนถึงโถงทางเดิน Mother Joan จึงมิอาจอดรนทน ถึงขนาดยินยอมพูดบอกความใน นั่นทำให้บาทหลวง Józef Suryn ติดสินใจวิ่งหลบหนี ทอดทิ้งให้เธอนอนกองอยู่บนพื้น ต้องการเอาตัวรอดโดยไม่สนอะไรอื่น … นั่นทำให้โถงทางเดินที่จะปรากฎขึ้นครั้งถัดๆมา จักปกคลุมอยู่ในความมืดมิด เพื่อสะท้อนสภาพจิตใจของเขาที่ถูกสิ่งชั่วร้ายคืบคลานเข้ามา

ด้วยความสับสน ไม่เข้าใจตนเอง ทำไมภายในถึงรู้สึกลุ่มร้อนดั่งเปลวไฟ เลยมายืนร่ำไห้บนเสาไม้ที่เคยถูกใช้แผดเผาบาทหลวงคนก่อน (กายภาพ→จิตภาพ) โดยไม่รู้ตัวคราบขี้เถ้าสีดำติดมายังฝ่ามือ นั่นแสดงถึงความแปดเปื้อนของบาทหลวง Józef Suryn สูญเสียจิตใจอันบริสุทธิ์ ราวกับกำลังถูกปีศาจร้ายเข้ามาควบคุมครอบงำ (แท้จริงการความรู้สึกตกหลุมรักแม่อธิการ)

เรื่องราวของ Sister Malgorzata เพราะความละอ่อนเยาว์วัย เหมือนจะเพิ่งเป็นแม่ชีได้ไม่กี่ปี จึงยังไม่มีบางสิ่งค้ำคออย่างแม่อธิการ Mother Joan (คงเพราะอยู่มาหลายปีจนสามารถไต่เต้า กลายเป็นผู้ปกครองอารามชี) เลยพร้อมที่จะแสดงออกความต้องการอย่างไม่กลัวเกรงอะไร โอบกอดพรอดรักพ่อค้าหนุ่ม Chrzaszczewski ไฟราคะคุกรุ่นในความมืดมิด และเสียงแมนโดลินของเจ้าของโรงแรมเสริมเติมบรรยากาศโรแมนติก

นี่คือสิ่งควรบังเกิดขึ้นระหว่าง Jozef Suryn และ Mother Joan ถ้าทั้งสองไร้ซึ่งคำนำหน้าบาทหลวงและแม่อธิการ ย่อมไม่ต้องอดรนทน เก็บกดดันความรู้สึกภายใน เมื่อพบเจอตกหลุมรัก ก็ถาโถมเข้าใส่ เติมเต็มความต้องการของหัวใจ มันผิดอะไรที่คนสองจะแสดงออก ‘ความรัก’

จู่ๆก็ถูกพาเข้ามาในบ้านพักหลังหนึ่ง ไร้ซึ่งหน้าต่าง ปกคลุมอยู่ในความมืดมิด แต่บุคคลที่บาทหลวง Józef Suryn พบเจอนั้นคือ Rabbi ผู้นำศาสนายิว ไว้หนวดเครายาวครึ้ม แต่ทั้งสองคือนักแสดงคนเดียวกัน (สังเกตว่าตัวละครไม่เคยอยู่ร่วมเฟรมสักครั้ง!) … สถานที่แห่งนี้สามารถมองในเชิงสัญลักษณ์ ภายในจิตใจของบาทหลวง Józef Suryn

หลังจากรับฟังการพูดคุยสนทนา น่าจะทำให้ใครๆตระหนักได้ว่า Rabbi คนนี้มีความแตกต่างตรงกันข้ามกับบาทหลวง Józef Suryn นั่นแสดงถึงการเป็นกระจกสะท้อนตัวตน คนหนึ่งยืนแน่นิ่ง อีกคนนั่งโยกเก้าอี้ พยายามโต้ถกเถียง แสดงคิดเห็นผ่านมุมมองส่วนตน จนต่างคนต่างไม่สามารถยินยอมรับฟัง แต่ถึงอย่างนั้นทั้งสองกลับสามารถเติมเต็มกันและกัน กลายเป็นอันหนึ่งเดียว ไม่มีทางพลัดพรากแยกจาก … เพราะพวกเขาต่างก็คือบาทหลวง Józef Suryn

ถ้าไม่มีกรงขังห้อมล้อม เชื่อเลยว่าบาทหลวง Józef Suryn ต้องถาโถมเข้าไปฉุดกระชาก ข่มขืนกระทำชำเราแม่อธิการ Mother Joan แต่เพราะมันมีสิ่งกีดกั้นขวาง แถมหน้าต่างมีหูประตูมีช่อง (มีใครบางคนแอบจับจ้องมองมา) เขาเลยทำได้เพียงสัมผัสมือ ร่ำร้องขอคำอวยพร ก่อนได้รับการจุมพิต (มั้งนะ) จนแสดงอาการคลุ้มคลั่งออกมา

กรงอันนี้ที่มีจุดประสงค์กักขังแม่อธิการ Mother Joan ไม่ให้ก้าวออกมากระทำร้ายใคร กลับกลายเป็นว่าถูกใช้ปกป้องตนเองจากบาทหลวง Józef Suryn เมื่อมิอาจอยู่เคียงชิดใกล้ จึงไม่สามารถควบคุมตนเอง และกลายเป็นคนสูญเสียสติแตกในที่สุด

เพียงการแพนนิ่งจากขวาไปซ้าย ซ้ายไปขวา ภาพช็อตนี้ก็ราวกับสองตัวเลือกของบาทหลวง Józef Suryn ว่าจะเอายังไงกับชีวิตต่อไป

  • หนทางแรก ขับไล่ผลักไสสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากจิตใจของตนเอง … ภาพแรกจะมีเด็กชายวิ่งออกทางช่องว่างด้านหลัง
  • หนทางสอง ยินยอมโอบรับซาตานเข้ามาในหัวใจ … หลวงพ่อด้านหลังตักน้ำขึ้นมาดื่มกินเข้ามาในร่างกาย

มันผิดอะไรที่มนุษย์จะมีความครึ้นครื้นเครง บรรเลงเพลง โยกเต้นรำ? เมื่อเทียบกับยุคสมัยนี้ผับบาร์ คาราโอเกะ ที่มีความสวิงกิ้งสุดเหวี่ยง ฉากนี้แทบจะไม่มีอะไรให้กล่าวถึง (โคตรจะ ‘minimalist’) แต่ทั้งพุทธและคริสต์ ต่างกล่าวถึงการปล่อยจิตใจให้ลุ่มหลงระเริงไปกับความบันเทิงเริงรมณ์ สิ่งต่างๆรอบข้างกาย นั่นคือพฤติกรรมนำสู่ความประมาท ขาดสำรวม สูญเสียสติที่ใช้ควบคุมตนเอง ใครถือศีล ๑๐ ก็น่าจะรับรู้จักข้อ ๗

นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
(เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์)

พุทธศาสนาไม่ได้ห้ามการร้องรำทำเพลงนะครับ เพราะทศศีล คือการรักษาระเบียบทางกาย-วาจา ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดให้ยิ่งๆขึ้นไป สำหรับการเจริญสติ ฝึกฝนสมาธิ … จะว่าไปภาพยนตร์ก็ถือเป็นการละเล่นชนิดหนึ่งเช่นเดียวกัน

แซว: ฉากนี้แม้ทำเหมือนชาวบ้านเป็นฝ่ายผิด ที่ทำการร้อง-เล่น-เต้น ไม่สนหลักคำสอนศาสนา แต่กลับเป็นบาทหลวง Józef Suryn ที่สภาพภายในใกล้จะคลุ้มบ้าคลั่ง ควบคุมสติตนเองแทบไม่อยู่ จนครุ่นคิดกระทำสิ่งอันชั่วร้าย

สองชายเลี้ยงม้า คนหนึ่งเอ่อล้นด้วยความเชื่อศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า อีกคนหนึ่งไม่ค่อยเชื่อสักเท่าไหร่แต่มักถูกโน้มน้าวให้รู้จักการให้อภัย แม้ถูกบิดาใช้ความรุนแรง กระทำร้ายร่างกาย ยังสวดอธิษฐานก่อนนอน ขอพระเป็นเจ้ายกโทษให้อภัยเขา … นี่ก็แอบบอกใบ้ ‘Death Flag’ โดยไม่ทันรับรู้ตัว

ชายหนุ่มทั้งสองเป็นตัวแทนของประชาชน คนบริสุทธิ์ตาดำๆ ที่ไม่เคยกระทำสิ่งชั่วร้ายอันใด แถมเอ่อล้นด้วยความเชื่อศรัทธา แต่กลับตกเป็นเหยื่อผู้โชคร้ายของบุคคลอ้างศีลธรรมศาสนา โศกนาฎกรรมตกตายไปอย่างไร้สาระ … ราวกับลูกแกะน้อยถูกเชือดกลายเป็นสิ่งของบูชายันต์แก่พระเป็นเจ้า

ภาพแรกมีการทำให้กล้องสั่นๆ แล้วเงามืดค่อยๆเคลื่อนเข้าปกคลุมใบหน้าบาทหลวง Józef Suryn เพื่อสื่อถึงสภาพจิตใจที่กำลังถูกกลืนกินโดยสิ่งชั่วร้าย พยายามต่อสู้ขัดขืน ขับไล่ผลักไส แต่สุดท้ายตัดสินใจยินยอมรับความพ่ายแพ้ เดินเข้าไปในโรงนา หยิบคว้าขวาน แล้วกระทำการ … ที่สร้างความแตกตื่นให้ม้าทั้งสองตัว

ขวานผ่าฝืน คือสัญลักษณ์ของการทำให้สิ่งหนึ่งแบ่งแยกออกจากกัน ในบริบทนี้นอกจากใช้เป็นอุปกรณ์เข่นฆาตกรรม ยังสื่อถึงการตัดขาด/ทำลายจิตใจอันบริสุทธิ์ของตนเอง เพื่อก้าวสู่ด้านมืดมิด โอบรับสิ่งชั่วร้าย ศิโรราบต่อซาตาน

ผมชอบช็อตแตกตื่นของเจ้าม้ามากๆ คาดว่าทีมงานคงแอบตั้งกล้องไว้สำหรับถ่ายทำตอนกลางคืน แล้วจู่ๆก็เปิดไฟ ฉายสป็อตไลท์ นั่นย่อมสร้างความตระหนักตกใจ ดวงตาเต็มไปด้วยอาการหวาดสะพรึงกลัว นี่มันเกิดห่าเหวอะไรขึ้น

นี่เป็นอีกช็อตที่ใช้ประโยชน์จากฟีล์มขาวดำได้ทรงพลังมากๆ เพราะบาทหลวง Józef Suryn สวมชุดสีดำ มันเลยมีความกลมกลืนกับเงามืดที่อยู่ด้านหลัง จนให้ความรู้สึกเหมือนเป็นสิ่งๆเดียวกัน สื่อถึงการเข้าสู่ด้านมืด ยินยอมศิโรราบกับซาตาน โอบรับปีศาจร้ายเข้ามาในตนเอง และหันหลังให้มวลมนุษยชาติ

อีกสิ่งน่าสนใจของช็อตนี้ก็คือลวดลายผนังกำแพง (น่าจะในโรงนากระมัง) คงเป็นความจงใจไม่ทำให้ดำขลับ (จนกลมกลืนไปกับเสื้อผ้าและเงามืด) เพื่อให้เห็นลักษณะของการถูกสีเข้มๆทาทับ หรือคือจิตใจที่เคยบริสุทธิ์ของบาทหลวง Józef Suryn ขณะนี้ได้ถูกแปดเปื้อนจากสิ่งชั่วร้าย

ภาพสุดท้ายของหนังถ่ายมุมเงยขึ้นบนท้องฟ้า พบเห็นดวงอาทิตย์สาดแสงสลัวๆ (ข้อจำกัดของฟีล์มขาว-ดำ ทำให้ดวงอาทิตย์กลมกลืนไปกับท้องฟ้า) สลับกับความมืดมิดที่อยู่ภายใต้การโยกสั่นระฆัง ก่อนเฟดเข้า Closing Credit พื้นหลังปกคลุมด้วยสีดำสนิท

ช่วงต้นเรื่องมีการกล่าวถึงเสียงระฆัง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของหมู่บ้านแห่งนี้ เพื่อให้นักเดินทางที่พลัดหลงในป่าใหญ่ (แถวนี้มันมีป่าด้วยเหรอ?) สามารถติดตามเสียงที่ได้ยินกลับออกมา

นักเดินทาง: The bells. Why are they ringing?
ชาวบ้าน: It’s a local custom. For lost travelers. Bishop’s orders. For those lost in the forest. The forest is dangerous.

ตอนจบขอหนังนี้คงต้องการสื่อถึงทั้งบาทหลวง Józef Suryn และแม่อธิการ Mother Joan ที่ต่างกำลัง(ลุ่ม)หลงทางในความเชื่อศรัทธาของตนเอง จนไม่สามารถหาหนทางกลับสู่โลกความจริง! ส่วนการสลับจากขาวเป็นดำ จากดำเป็นขาว หรือแสงสว่าง <> มืดมิด สะท้อนวิถีของมนุษย์ยุคสมัยนั้น (รวมถึงบาทหลวงและแม่อธิการ) เห็นผิดเป็นชอบ กลับกลอกปอกลอก โดยเฉพาะการบิดเบือนหลักคำสอนศาสนา ใช้ข้ออ้างศีลธรรมเพื่อตอบสนองความพึงพอใจส่วนตน จักนำพาให้โลกก้าวสู่ความมืดมิด

ตัดต่อโดย Wiesława Otocka,

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตาบาทหลวง Józef Suryn ตั้งแต่เดินทางมาถึงเมือง Ludyń หลังจากเข้าพักในโรงแรม เดินทางไปเยียมเยียนแม่อธิการ Mother Joan หลังจากพูดคุยสนทนา ตัดสินใจเชิญบาทหลวงที่มีความสามารถในการขับไล่ปีศาจร้าย ถึงอย่างนั้นพวกมันกลับไม่ยินยอมสูญหายตัวไปไหน ทำให้เขาตัดสินใจยินยอมเสียสละตนเอง

  • การมาถึงของบาทหลวง Józef Suryn
    • เรื่องวุ่นๆในโรงแรม รับฟังข่าวลือเล่าขานเกี่ยวกับเหตุการณ์บังเกิดขึ้นก่อนหน้า
    • ระหว่างเดินทางไปอารามชี พานผ่านเสาไม้ที่ทำการแผดเผาไหม้บาทหลวงคนก่อนหน้า
    • บาทหลวง Józef Suryn พูดคุยสนทนากับแม่อธิการ Mother Joan พบเห็นปีศาจร้ายที่เข้าสิงร่างกายเธอ
  • พิธีกรรมไล่ผี/ปีศาจร้าย
    • ระหว่างแม่ชี Sister Malgorzata แวะเวียนมาทำธุระยังโรงแรม พบเจอตกหลุมรักแรกพบ Chrząszczewski แอบแสดงความปรารถนาของหัวใจ
    • พิธีกรรมไล่ผี/ปีศาจร้าย
    • หลังพิธีกรรมดังกล่าว บาทหลวง Józef Suryn ก็พบว่าวิญญาณร้ายในร่างของ Mother Joan ยังคงอาศัยอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง
  • การเผชิญหน้าปีศาจร้าย/ตัวตนเองของบาทหลวง Józef Suryn
    • บาทหลวง Józef Suryn เต็มไปด้วยความสับสนในตนเอง ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงบังเกิดความลุ่มร้อนทรวงใน
    • ถูกเชิญเข้าพบเจอ Rabbi ผู้นำศาสนาชาวยิว แม้ปฏิเสธรับฟังคำเตือน แต่ก็ทำให้เรียนรู้จักการเผชิญหน้าตัวตนเอง
    • บาทหลวง Józef Suryn เผชิญหน้ากับแม่อธิการ Mother Joan รับปากที่จะให้ความช่วยเหลือ ขับไล่วิญญาณร้ายออกจากร่างเธอ
  • การเสียสละของบาทหลวง Józef Suryn
    • Chrząszczewski หวนกลับมาหา Margareth ช่วงชิงความบริสุทธิ์แล้วจากไป
    • ค่ำคืนนั้นบาทหลวง Józef Suryn ตัดสินใจกระทำการเข่นฆาตกรรม โอบรับซาตานเข้ามาในจิตใจ
    • เพื่อปลดปล่อยแม่อธิการ Mother Joan ให้ได้รับอิสรภาพจากปีศาจร้าย

การตัดต่อของหนังแม้ไม่ได้มีความหวือหวา น่าตื่นตาตื่นใจอะไร แต่เต็มไปด้วยช่องว่างสำหรับให้ผู้ชมเติมเต็มความครุ่นคิดจินตนาการ อย่างไคลน์แม็กซ์ถ่ายให้เห็นเพียงบาทหลวง Józef Suryn หยิบขวาน เดินเข้าโรงนา ตามด้วยเจ้าม้ามีสีหน้าตื่นตกอกตกใจ แล้วตัดสู่เช้าวันใหม่ถึงค่อยมีการพูดเล่าว่าบังเกิดเหตุการณ์อะไร


หนังถือว่าไม่มีบทเพลงประกอบ (Soundtrack) ส่วนใหญ่เป็นความเงียบงันซึ่งสามารถสร้างบรรยากาศตึงเครียด เก็บกดดัน ถึงอย่างนั้นก็พอยังมี ‘diegetic music’ พบเห็นบรรเลง Mandolin (รวมถึงเครื่องดนตรีอื่นๆ) และขับร้อง/ประสานเสียงแม่ชี (พิธีมิสซา/ไล่ผี ก็เช่นเดียวกัน) ทั้งหมดล้วนประพันธ์โดยคีตกวี Adam Walaciński

Adam Walaciński (1928-2015) คีตกวีสัญชาติ Polish ร่ำเรียนดนตรีจาก Akademia Muzyczna im. Krzysztofa Pendereckiego w Krakowie เริ่มจากสนใจด้านไวโอลิน ก่อนเปลี่ยนสาขาประพันธ์เพลง หลังเรียนจบเป็นนักดนตรี(ไวโอลิน)ประจำ Krakowskiej Orkiestrze Polskiego Radia ระหว่างนั้นก็เริ่มประพันธ์เพลงคลาสสิก บัลเล่ต์ อุปรากร รวมถึงภาพยนตร์ อาทิ Mother Joan of the Angels (1961), Pharaoh (1965) ฯลฯ

บทเพลงที่ขับร้องโดย Sister Malgorzata (รับบทโดย Anna Ciepielewska) ถือเป็นสีสันของหนัง สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ด้วยท่วงทำนองสนุกสนาน ครึกครื้นเครง เนื้อคำร้องเป็นการหยอกล้อเล่น ถึงชายที่เธอเพิ่งพบเจอ แล้ว(แอบ)ตกหลุมรักแรกพบ ชวนให้ผู้ชมอมยิ้มขึ้นมาทันที!

My dear mother, I’d rather be a nun
than to have a brute for a husband.
He would beat me with his stick.
He would beat me black and blue
so I’d rather be a nun.

I’d rather sing in a nunnery choir
than take a beating he thinks I require.
I’d rather sing matins for hours and hours
and be saved from his stick.

ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับการไล่ผี เผาแม่มด มักสะท้อนแนวคิดต่อต้านระบอบอำนาจนิยม (Totalitarian) ในสังคมชายเป็นใหญ่ ไม่ก็การบิดเบือนหลักคำสอนศาสนา เพื่อให้สอดคล้องความต้องการ สนองผลประโยชน์ให้ตนเองและพรรคพวกพ้อง

Mother Joan of the Angels (1961) กล่าวถึงเรื่องต้องห้ามของความรัก ทั้งๆศาสนาคริสต์สอนให้คนมีความรักต่อกัน แต่กลับกีดกั้นความสัมพันธ์ระหว่างบาทหลวงและแม่ชี ถึงขนาดตีตราว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย เรียกความรู้สึกนั้นว่าบาป ถูกปีศาจเข้าสิง ต้องแผดเผาให้มอดไหม้วอดวาย ตกตายทั้งเป็น

Matka Joanna od aniołów is a film against dogma. That is the universal message of the film. It is a love story about a man and a woman who wear church clothes, and whose religion does not allow them to love each other. They often talk about and teach about love—how to love God, how to love each other—and yet they cannot have the love of a man and a woman because of their religion.

Jerzy Kawalerowicz

ความตั้งใจของผู้กำกับ Kawalerowicz ค่อนข้างชัดเจนถึงใจความต่อต้านศาสนา (Anti-Clerical) ต้องการชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัด ตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ ทำไมสังคมถึงตีตราความรักระหว่างบาทหลวง-แม่ชี ว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย หักห้าม กีดกัน และถึงขั้นทำให้ตกตายเชียวหรือ?

The devils that possess these characters are the external manifestations of their repressed love. The devils are like sins, opposite to their human nature. It is like the devils give the man and woman an excuse for their human love. Because of that excuse, they are able to love.

คนส่วนใหญ่มักมองปัญหาการใช้อำนาจ วิธีการตัดสินพิพากษา ถูกทัณฑ์ทรมาน แผดเผาให้ตกตาย ใช้ความรุนแรง/อคติต่อต้านมากเกินไปหรือเปล่า?

ความไม่เข้าใจตนเองของทั้งบาทหลวงและแม่ชีต่างหาก คือสิ่งที่น่าฉงนสงสัยว่าศาสนาสอนอะไรพวกเขา ถึงเต็มไปด้วยความเครียด เก็บกดดัน “Sexual Repression” เมื่อไม่ใครสามารถให้คำตอบเลยต้องทรมานตัวเองให้ได้รับความเจ็บปวด แล้วมันจะแก้ปัญหาทางใจได้อย่างไร? … พระพุทธเจ้าเคยบำเพ็ญทุกรกิริยานานถึง 6 ปี ก่อนทรงตระหนักรู้ด้วยตนเองว่านั่นไม่ใช่หนทางแห่งการบรรลุหลุดพ้น

เรื่องราวที่เกิดขึ้นก็เหมือนพระภิกษุตกหลุมรักหญิงสาวชาวบ้าน มันคือเรื่องทางโลกที่สามารถเกิดขึ้นได้สำหรับปุถุชน แต่การกระทำที่ขัดแย้งต่อศีล คำสัตย์สาบานเคยให้ไว้ต่างหาก รู้ว่าผิดแต่ยังฝืนทำ นั่นคือปาราชิก สิ่งชั่วร้าย มาบวชทำพรือ? คนแสดงหาผลประโยชน์กับศาสนา พอถึงวันตายเดี๋ยวก็รู้เองว่าจะได้รับผลกรรมเช่นไร

อคติต่อศาสนาของผู้กำกับ Kawalerowicz น่าจะมาจากการไม่เคยทำอะไรของคริสตจักรที่เป็นประโยชน์ต่อชาว Polish หนำซ้ำยังให้การสนับสนุนใครก็ตามที่ขึ้นมาปกครองบริหารประเทศ โดยไม่สนความถูกต้องเหมาะสม พฤติกรรมอันโฉดชั่วร้ายของพรรคคอมมิวนิสต์/สหภาพโซเวียต เอาแต่ผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ไหนละหลักศีลธรรมที่เคยกล่าวอ้างให้ยึดถือเชื่อมั่น

(ผกก. Kawalerowicz เป็นสมาชิกสหพรรคแรงงาน Polish United Workers’ Party เลยไม่แปลกที่จะทำหนังต่อต้านรัฐบาล ศาสนา ฝั่งฝ่ายขั้วตรงกันข้ามกับประชาชน)

อาการผีเข้าของแม่อธิการ Mother Joan แม้หนังจะให้อิสระผู้ชมในการครุ่นคิดตีความ แต่ผู้ชมส่วนใหญ่น่าจะพอมองออกว่าเป็นการเล่นละครตบตา แสร้งว่าบ้า เช่นเดียวกับบาทหลวง Józef Suryn ครุ่นคิดว่าอาการลุ่มร้อนทรวงในคืออิทธิพลจากปีศาจร้าย … แท้จริงแล้วคือการไม่เข้าใจความรู้สึกของตนเอง ทั้งสองฝ่ายแอบตกหลุมรักกันและกัน แต่เพราะมิอาจเปิดเผยสิ่งนั้นออกมา จึงใช้ศาสนาเป็นข้ออ้างบิดเบือนทุกสิ่งอย่าง

การโอบรับซาตานของบาทหลวง Józef Suryn ด้วยการเข่นฆาตกรรมผู้บริสุทธิ์ ครุ่นคิดเข้าใจว่านั่นคือวิธีการจะช่วยเหลือแม่อธิการ Mother Joan มันจึงคือความบิดเบือน ไร้สาระทั้งเพ ศาสนาแม้งไม่ช่วยอะไร หนำซ้ำยังสนับสนุนให้เข่นฆ่ากันตายเพราะความรัก

โลกยุคสมัยก่อนจะมีการแบ่งขาว-ดำ ออกจากกันอย่างชัดเจน มันจึงมีความเห็นต่างอย่างสุดโต่ง ไม่ใช่มิตรต้องคือศัตรู ถ้าทำไม่ถูกก็ถือว่าผิด แต่มนุษย์ทุกคนล้วนมีทั้งดี-ชั่วในตนเอง การจะรับฟังความคิดเห็น ทำความเข้าใจอีกฝั่งฝ่ายขั้วตรงข้าม จึงยังเป็นแนวคิดค่อนข้างใหม่ในยุคสมัยนั้น

การโอบรับซาตาน/สิ่งชั่วร้ายเข้ามาในตนเอง สามารถตีความถึงการเปิดมุมมองโลกทัศน์ ทำความเข้าใจอีกฝั่งฝ่ายขั้วตรงข้าม เรียนรู้จักมุมมอง(เหรียญ)ทั้งสองด้าน ถูก-ผิด ดี-ชั่ว และสามารถเลือกกำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง จะซ้ายหรือขวา ค่อนไปทางไหน หรือกึ่งกลาง หรือไม่เอาสักสิ่งอย่าง

และการที่เราจะสามารถเดินทางสายกลางในพุทธศาสนา มันมีความจำเป็นต้องเรียนรู้จักถูก-ผิด ดี-ชั่ว เข้าใจมุมมองโลกทั้งสองด้าน (แต่ไม่ใช่ว่าต้องไปเข่นฆ่าใครก่อนถึงจะรู้สึกสาสำนึกแก่ใจนะครับ) แล้วเลือกแสดงออกตามวิถี “กฎแห่งกรรม” กระทำสิ่งใดไว้ย่อมได้รับผลนั้นคืนสนอง


ไม่น่าแปลกที่เมื่อตอนออกฉาย หนังจะถูกโจมตีจากคริสตจักรด้วยเหตุผล Anti-Clerical ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถหยุดยับยั้งการเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ถือว่าดียอดเยี่ยม จนสามารถคว้ารางวัล Prix du Jury (Jury Prize) โดยปีนั้น Palme d’Or ตกเป็นของ Viridiana (1961) และ The Long Absence (1961)

ปัจจุบัน Mother Joan of the Angels (1961) ได้รับการบูรณะโดย KinoRP ได้รับทุนสนับสนุนจาก Ministra Kultury i Dziedzictwa Narodowego (Ministry of Culture and National Heritage) ของประเทศ Poland แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี 2010 เลยยังได้คุณภาพเพียง 2K

เกร็ด: Mother Joan of the Angels (1961) คือหนึ่งใน 21 ลิสหนังของ Martin Scorsese Presents: Masterpieces of Polish Cinema

ใครที่ติดตามอ่าน raremeat.blog คงคาดเดาได้ว่าผมต้องชื่นชอบ Mother Joan of the Angels (1961) >>> The Devils (1971) เพราะการนำเสนอที่เรียบง่าย ไม่มีอะไรมากมาย แต่สามารถสร้างความตราตรึง สั่นสะท้านทรวงใน และแฝงสาระข้อคิดเกี่ยวกับการเผชิญหน้าขั้วตรงข้ามของตนเอง เอาจริงๆอยากจะจัด “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แต่เพราะหนังต่อต้านคริสตจักรโจ่งแจ้งเกินไป เลยขอละเอาไว้ก็แล้วกัน

แนะนำคอหนัง Horror ที่เน้นความสยิวกาย สไตล์ Minimalist สั่นสะท้านทรวงใน (ไม่ใช่ผีตุ้งแช่ให้ตกใจ), หนังอิงศาสนาที่ไม่เน้นว่าต้องเป็นชาวคริสต์, และใครเคยรับชม The Devils (1971) ห้ามพลาดภาคต่อขั้วตรงข้าม ในช่วงวันปล่อยผี Halloween อย่างเด็ดขาด!

จัดเรต 13+ กับฉากไล่ผีที่น่าหวาดสะพรึง และความรักต้องห้ามระหว่างบาทหลวงและแม่อธิการ

คำโปรย | Mother Joan of the Angels นางฟ้าในหมู่มาร ที่ท้าทายความเชื่อศรัทธาชาวคริสต์ได้อย่างเรียบง่าย ตราตรึง
คุณภาพ | รีง่
ส่วนตัว | สงบงาม

The Devils (1971)


The Devils (1971) British : Ken Russell ♥♥♥♥

ภาพยนตร์เรต X ถูกแบนในหลายๆประเทศ เพราะความสุดโต่งเหนือจริงของการล่าแม่มด พฤติกรรมเก็บกดทางเพศของแม่ชี หรือแม้แต่กษัตริย์ King Louis XIII ยังถูกตีความว่าเป็น Queer แต่ถ้าเราสามารถมองผ่านสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายเหล่านั้น ก็อาจพบเห็นสรวงสวรรค์(หรือตกนรกทั้งเป็น)

หนึ่งในโคตรภาพยนตร์ “Most Controversial Films of All Time” ถูกมองว่ามีความป่วยจิต รสนิยมย่ำแย่ (distasteful) น่ารังเกียจขยะแขยง ต่อต้านคริสตศาสนา (anti-Catholic) นำพามนุษย์สู่จุดตกต่ำสุดทางศีลธรรม

It is not anti-clerical —there’s hardly enough clericalism to be anti anymore— it is anti-humanity. A rage against cruelty has become a celebration of it. And in the end, when Russell’s cameras have watched Grandier burn at the stake, and have watched and watched, you weep not for the evils and the ignorance of the past, but for the cleverness and sickness of the day.

Charles Champlin นักวิจารณ์จาก Los Angeles Times

แต่ขณะเดียวกันนักวิจารณ์ที่สามารถมองหนังดั่งงานศิลปะเหนือจริง (Surrealist) ต่างยกย่องสรรเสริญให้เป็นโคตรผลงานระดับ Masterpiece ด้วยลักษณะจี้แทงใจดำ ‘provocative’ ท้าทายการใช้อำนาจ ความบิดเบี้ยวของศรัทธาศาสนา ข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครอยากยินยอมรับ คริสตจักรก็เฉกเช่นเดียวกัน!

The Devils is a harsh film—but it’s a harsh subject. I wish the people who were horrified and appalled by it would have read the book, because the bare facts are far more horrible than anything in the film.

Ken Russell

The Devils (1971) เป็นภาพยนตร์ที่มีความสุดโต่งมากๆเรื่องหนึ่ง แต่ผมมองไม่เห็นถึงประเด็น Anti-Christ, Anti-Clerical เลยสักนิด! ตรงกันข้ามผู้กำกับ Russell เป็นบุคคลมีความเชื่อมั่นศรัทธาศาสนาอย่างแรงกล้ามากๆ —แบบเดียวกับ Luis Buñuel— จึงพยายามชี้ให้เห็นความบิดเบี้ยวของสังคม สิ่งชั่วร้ายที่ซุกซ่อนเร้น เพื่อจักได้เป็นข้อคิดสติเตือนใจแก่มวลมนุษยชาติ


Henry Kenneth Alfred Russell (1927-2011) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Southampton, Hampshire บิดาเป็นคนชอบใช้ความรุนแรงกับมารดาจนเธอมีปัญหาทางจิต (Mentally Illness) ทำให้เขาต้องหลบหลีกหนีด้วยการรับชมภาพยนตร์ หลงใหลคลั่งไคล้ Die Nibelungen (1924), L’Atalante (1934), The Secret of the Loch (1934), นอกจากนี้ยังชื่นชอบการเต้นบัลเล่ต์ แต่พอโตขึ้นเข้าเรียนสาขาถ่ายภาพ Walthamstow Technical College (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ University of East London) จากนั้นทำงานเป็นตากล้องฟรีแลนซ์ ระหว่างนั้นกำกับหนังสั้น Amelia and the Angel (1959) จนมีโอกาสเข้าทำงานยังสถานีโทรทัศน์ BBC ถ่ายทำสารคดีหลายสิบเรื่อง กำกับภาพยนตร์ขนาดยาวครั้งแรก French Dressing (1964), เคยวางแผนจะดัดแปลงนวนิยาย A Clockwork Orange แต่ไม่ได้รับอนุญาตผ่านกองเซนเซอร์อังกฤษ, เริ่มมีชื่อเสียงจาก Women in Love (1969), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Devils (1971), The Boy Friend (1971), Tommy (1975), Altered States (1980) ฯลฯ

การได้พบเห็นบิดาใช้ความรุนแรง มารดามีปัญหาทางจิต เลยไม่แปลกที่ผลงานของ Russell จะเต็มไปด้วยสิ่งคลุ้มบ้าคลั่ง และความชื่นชอบด้านบัลเล่ต์ พัฒนาสไตล์ลายเซ็นต์ที่มีลักษณะคล้ายๆผู้กำกับ Federico Fellini เมื่อตอนทั้งสองมีโอกาสพบเจอหน้า คำทักทายระหว่างกันก็คือ “the Italian Ken Russell” และ “the English Federico Fellini”

ความสำเร็จของ Women in Love (1969) ที่ได้เข้าชิง Oscar ถึง 4 สาขา (Best Director, Best Actress, Best Adapt Screenplay, Best Cinematography) และส่งให้ Glenda Jackson คว้ารางวัล Best Actress ทำให้ชื่อผู้กำกับ Russell เป็นที่ต้องการของสตูดิโอใน Hollywood โดยทันที!

โปรดิวเซอร์ Robert Sole ในสังกัด United Artists ยื่นข้อเสนอแก่ผู้กำกับ Russell ให้ทำการดัดแปลงหนังสือประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง The Devils of Loudun (1952) เรียบเรียงโดย Aldous Hexley พื้นหลังศตวรรษที่ 17 ณ Loudon อาณาจักรฝรั่งเศส, บาทหลวง Urbain Grandier ถูกกล่าวหาโดยแม่อธิการ Sister Jeanne des Anges นิกาย Order of Saint Ursula อ้างว่าเขาใช้เวทย์มนต์ดำ ทำให้ตนเองแสดงอาการคลุ้มบ้าคลั่ง แต่แท้จริงแล้วน่าจะด้วยเหตุผลการถูกปฏิเสธเป็นที่ปรึกษา (spiritual advisor) ให้กับคอนแวนซ์(อารามแม่ชี) เมื่อได้รับการพิจารณาไต่สวน ถูกตัดสินเผาไหม้ให้ตกตายทั้งเป็น วันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1634 … เหตุการณ์ดังกล่าวมีคำเรียกว่า “Loudun possessions”

หนังสือดังกล่าวได้ถูกดัดแปลงเป็นบทละครเวที The Devils โดย John Whiting ทำการแสดงรอบปฐมทัศน์ที่ Aldwych Theatre ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 1961 และมีโอกาสเดินทางสู่ Broadway เมื่อปี 1965 จำนวน 63 รอบการแสดง

When I first read the story, I was knocked out by it — it was just so shocking — and I wanted others to be knocked out by it, too. I felt I had to make it.

Ken Russell

สำหรับบทภาพยนตร์ Russell ทำการดัดแปลงโดยอ้างอิงจากต้นฉบับหนังสือ The Devils of Loudun (1952) ให้เหตุผลว่าบทละคร The Devils มีความอ่อนไหว ‘too sentimental’ มากเกินไป ขณะเดียวกันก็ทำการเพิ่มเติม-ตัดทอนหลายๆรายละเอียด เพื่อให้เรื่องราวมีความกระชัดรัดกุม

  • เพิ่มเติมในส่วนโรคระบาด รวมถึงการแต่งงานกับ Madeleine De Brou (บุคคลไม่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์)
    • ผู้กำกับ Russell หลังจากศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงนั้น ค้นพบความเจ้าชู้ประตูดินของบาทหลวง Urbain Grandier เลยต้องการให้ตัวละครนี้เรียนรู้จักความรักที่แท้จริง
  • ตัดทิ้งเรื่องราวของ Sister Jeanne des Anges ภายหลังการเสียชีวิตของ Urbain Grandier
    • เพื่อลดทอนเวลา และให้ความสำคัญกับเรื่องราวบาทหลวงเป็นหลัก

แม้ในตอนแรกสตูดิโอ United Artists จะตอบรับโปรเจคนี้อย่างดี แต่หลังจากผู้บริหารได้อ่านบทหนังก็ถึงขั้นเบือนหน้าหนี ไม่ยินยอมอนุมัติงบประมาณตามที่ตกลงกันไว้ แถมการเตรียมงานสร้างก็เริ่มต้นไปหลายส่วน โชคยังดีที่ Warner Bros. เข้ามาอุ้มชูภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้ได้ทัน เลยทำให้แผนงานสามารถดำเนินการต่อ


ภายหลังจากผู้ว่าการเมือง Loudun เสียชีวิตจากโรคระบาดห่าใหญ่ ทำให้บาทหลวง Urbain Grandier (รับบทโดย Oliver Reed) กลายเป็นบุคคลมีอำนาจสูงสุด แต่ความเจ้าชู้ประตูดิน ทำหญิงสาวตั้งครรภ์แล้วปฏิเสธความรับผิดชอบ นั่นสร้างความไม่พึงพอใจให้ผู้คนมากมาย

Sister Jeanne des Anges (รับบทโดย Vanessa Redgrave) แม่ชีหลังค่อมในสังกัด Ursuline แม้เบื้องหน้าพยายามสร้างภาพให้ดูดี แต่แท้จริงแล้วกลับมีอาการเพ้อคลั่งไคล้ ตกหลุมรักบาทหลวง Urbain Grandier แอบเฝ้ามอง จินตนาการช่วยตนเอง ต้องการอยู่เคียงชิดใกล้ แต่เมื่อถูกปฏิเสธไม่ยินยอมเป็นที่ปรึกษา (spiritual advisor) เลยแสร้งว่าคลุ้มบ้าคลั่ง กล่าวหาว่าเขาทำสัญญากับซาตาน


Robert Oliver Reed (1938-99) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Wimbledon, London มีศักดิ์เป็นหลานของผู้กำกับ Carol Reed, ใช้ชีวิตวัยรุ่นอย่างไร้หลักแหล่ง รับจ้างทำงานทั่วไป เคยเป็นนักมวย คนขับแท็กซี่ บริกรโรงพยาบาล จนกระทั่งอาสาสมัครทหาร Royal Army Medical Corps ทำให้ค้นพบความสนใจด้านการแสดง เริ่มจากเป็นตัวประกอบภาพยนตร์ ซีรีย์โทรทัศน์ เป็นที่รู้จักจาก Sword of Sherwood Forest (1960), รับบทนำครั้งแรก The Curse of the Werewolf (1961), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Trap (1966), Oliver! (1968), Women in Love (1969), The Devils (1971), The Three Musketeers (1973), Tommy (1975), The Brood (1979), Lion of the Desert (1981), Castaway (1986), The Adventures of Baron Munchausen (1988), Funny Bones (1995), Gladiator (2000) ฯลฯ

รับบทบาทหลวง Urbain Grandier เป็นบุคคลที่รักมักที่ชังของใครๆ ชอบพูดคำคารมคมคาย สามารถลวงล่อหลอกสาวๆให้มีเพศสัมพันธ์ แต่เมื่อเธอตั้งครรภ์กลับทอดทิ้งขว้างอย่างไร้เยื่อใย จนกระทั่งตกหลุมรักหญิงสาวคนหนึ่ง ต้องการปรับเปลี่ยนแปลงตนเอง แต่การแต่งงานที่ไม่ถูกต้องตามพิธีการ พอความล่วงรับรู้ถึงหูแม่อธิการ Sister Jeanne des Anges เลยทำการใส่ร้ายป้ายสี กล่าวหาว่าเขาทำสัญญากับปีศาจ เลยถูกควบคุมตัว โดนทัณฑ์ทรมาน และตัดสินโทษด้วยการเผาไหม้ให้ตกตายทั้งเป็น

ในตอนแรก Richard Johnson ผู้รับบท Grandier ฉบับละครเวทีแสดงความสนใจรับบทนำ แต่ภายหลังกลับถอนตัวออกไป ส้มหล่นใส่ Oliver Reed ซึ่งเคยร่วมงานผู้กำกับ Russell เรื่อง Women in Love (1969) พอได้รับการติดต่อก็ตอบตกลงทันที และยกให้ผลงานเรื่องนี้คือภาพยนตร์เรื่องโปรด(ที่ตนเองได้ทำการแสดง)

ผมไม่รู้สึกเลยว่า Reed มีความหล่อเหลาตรงไหน แต่ต้องยอมในความเจ้าเสน่ห์ โดยเฉพาะหนวดโค้งมน และคารมอันคมคาย สรรพสรรหาข้ออ้างที่แสดงถึงความรอบรู้ ทรงภูมิ ดูสูงส่ง นั่นคงทำให้สาวๆลุ่มหลงใหล ตกหลุมรักใคร่ ยินยอมศิโรราบ พลีกายถวาย ขอแค่ได้ร่วมรักหลับนอนจะยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่าง

แต่ที่ผมชื่นชอบสุดๆคือเมื่อตอนถูกจับโกนศีรษะ อุว่ะ! ยังเห็นรอยเลือดไหลซิบๆ ยินยอมสูญเสียความหล่อเหลา นั่นแสดงถึงความมุ่งมั่น เอาจริงจังเอา พร้อมทุ่มเทให้กับการแสดง จนสามารถสร้างความโดดเด่นให้ตัวละคร ถึงจะไม่ใช่คนดีแต่ไม่มีอะไรสั่นคลอนศรัทธาต่อพระเจ้า ถึงอย่างนั้น Charisma ของ Reed กลับยังไม่น่าจดจำสักเท่าไหร่ … มันอาจต้องระดับ Laurence Olivier หรือ Richard Burton ถึงสามารถเล่นบทบาทนี้ได้อย่างน่าประทับใจ


Dame Vanessa Redgrave (เกิดปี 1937) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ ‘Triple Crown of Acting’ เกิดที่ Blackheath, London เป็นบุตรของ Sir Michael Redgrave และ Rachel Kempson ทำให้มีโอกาสคลุกคลีกับวงการละครเวทีตั้งแต่เด็ก โตขึ้นเข้าเรียนการแสดงยัง Central School of Speech and Drama จากนั้นเข้าร่วมโรงละคร Shakespeare Memorial Theatre ติดตามด้วย Royal Shakespeare Company, ภาพยนตร์เรื่องแรก Behind the Mask (1958) ติดตามด้วย Morgan – A Suitable Case for Treatment (1966), A Man For All Seasons (1966), Blowup (1966), Camelot (1967), Isadora (1968), Mary, Queen of Scots (1971), Murder on the Orient Express (1974), Julia (1977) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actress, Little Odessa (1994), Mission: Impossible (1996), Atonement (2007) ฯ

รับบท Sister Jeanne des Anges แม่อธิการประจำคอนแวนซ์ Ursuline แอบตกหลุมรักบาทหลวง Urbain Grandier จนเกิดความหมกมุ่น นำไปครุ่นคิดเพ้อฝัน ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองจึงแสร้งทำเป็นคลุ้มบ้าคลั่ง แล้วชี้ตัวบอกว่าเขาได้ทำสัญญาปีศาจ ลวงล่อหลอกตนเองให้ลุ่มหลงจนมัวเมา … อัปลักษณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

ในตอนแรกผู้กำกับ Russell อยากได้ Glenda Jackson ที่เคยร่วมงาน Women in Love (1969) แต่หลังจากอ่านบทก็ตอบปัดปฏิเสธโดยพลัน เพราะไม่อยากรับเล่นตัวละครหื่นกระหายระดับเดียวกันนั้นอีก

I don’t want to play any more neurotic sex starved parts.

Glenda Jackson

Redgrave ขณะนั้นถือว่ามีชื่อเสียงพอสมควรจากสารพัดเจ้าหญิง A Man For All Seasons (1966) เล่นเป็น Anne Boleyn, Camelot (1967) รับบท Guinevere, ล่าสุดก็ราชินี Mary, Queen of Scots (1971) เธอจึงกำลังมองหาการพลิกบทบาทครั้งสำคัญ

โอ้พระเจ้าช่วยทอดกล้วย ผมมีความตกตะลึงจนกรามค้าง กับความบ้าระห่ำทางการแสดงของ Redgrave ช่วงแรกๆสีหน้าเคร่งเครียด พยายามปิดกั้น เก็บกดดัน “Sexual Repression” เพียงจินตนาการเพ้อฝันอันสุดเหวี่ยง แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่งมิอาจอดรนฝืนทนได้อีก ทุกสิ่งอย่างปะทุระเบิดออกมา ทั้งสีหน้าสายตา โดยเฉพาะข้อจำกัดทางร่างกาย (หลังค่อม) แสดงอาการกรีดกราย เหนือล้ำเกินคำบรรยาย … บางคนอาจบอกว่า “Over-Acting” แต่นั่นแหละครับคือโคตรการแสดงในหนังเหนือจริง (Surrealist)

ถ้าหนังไม่ถูกแบน หั่นฉากโน่นนี่นั่น และผู้คนสมัยนั้นเปิดใจรับชม สามารถเข้าถึงศาสตร์ศิลปะขั้นสูง ย่อมต้องส่งให้ Redgrave อย่างน้อยได้เข้าชิงทุกรางวัลสาขานักแสดงนำหญิง เป็นบทบาทที่ใช้ร่างกาย การเคลื่อนไหว ได้อย่างสุดเหวี่ยง คลุ้มบ้าคลั่ง ชวนให้นึกถึง Suspiria (2018) ขึ้นมาเลยละ!


ถ่ายภาพโดย David Watkin (1925-2008) ตากล้องสัญชาติอังกฤษ หนึ่งในผู้บุกเบิกการทดลองใช้แสงสะท้อนฉาก (Bounce Light), ฝึกฝนการถ่ายระหว่างทำงาน Sounthern Railway Film Unit ตำแหน่งผู้ช่วยตากล้อง จนมีโอกาสเริ่มต้นถ่ายทำ Title Sequence ภาพยนตร์ Goldfinger (1964), ผลงานเด่นๆอาทิ The Knack …and How to Get It (1965), Help! (1965), The Devils (1971), The Three Musketeers (1973), Chariots of Fire (1981), Out of Africa (1985)**คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography

งานภาพเต็มไปด้วยลูกเล่นที่หลากหลาย เพื่อสร้างสัมผัสเหนือจริง (Surrealist) หลายๆสิ่งเลยดูไม่เป็นธรรมชาติ ทั้งๆที่พื้นหลังศตวรรษ 1630s แต่การออกแบบสถานที่ Loudon กลับมีความล้ำยุคสมัย เสื้อผ้าหน้าผม รวมถึงการสาดแสงสีรุ้ง ทุกสิ่งอย่างดู “Over-the-Top” เว่อวังอลังการ … แต่เราต้องเข้าใจว่าทั้งหมดนี้คือความตั้งใจของผู้สร้างนะครับ

ไดเรคชั่นของผู้กำกับ Russell ที่ใครต่อใครกล่าวว่ามีลักษณะละม้ายคล้าย Felliniesque นั่นเพราะแทบทุกช็อตฉากจะต้องมีบางสิ่งขยับเคลื่อนไหว ถ้าไม่ใช่นักแสดง/ตัวประกอบเดินไปเดินมา ก็มักเป็นกล้องที่ขยับเลื่อนดำเนินไป แลดูเหมือนการโยกเต้นเริงระบำ

ถ้ามองอย่างผิวเผินภาพยนตร์ของ Russell-Fellini ก็คงพอมองเห็นความละม้ายคล้ายกัน แต่ไดเรคชั่นของทั้งสองนั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิง!

  • หนังของ Fellini จะนิยมการพากย์เสียงทับภายหลังถ่ายทำ เพื่อว่าในกองถ่ายจะได้เปิดเพลง ให้นักแสดงขยับเคลื่อนไหวตามจังหวะอย่างพร้อมเพรียง และตามคำสั่งของผู้กำกับ
  • ขณะที่ Russell เหมือนจะมีการซักซ้อมเตรียมการ กำหนดทิศทางขยับเคลื่อนไหวไว้อย่างชัดเจน แต่ในลักษณะเหมือนการโยกเต้นเริงระบำ

ผมสังเกตว่าการขยับเคลื่อนไหวของนักแสดง-ตัวประกอบ มักเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย แต่ขณะเดียวกันก็มีทิศทางดำเนินไปอย่างชัดเจน บางครั้งทำการโยกเต้น หรือแสดงอาการคลุ้มบ้าคลั่ง (ที่เหมือนการเริงระบำ) ให้ความรู้สึกไม่ต่างจากรับชมภาพยนตร์ Musical … ผลงานเกินกว่าครึ่งของผู้กำกับ Russell ก็มักเกี่ยวกับ ‘The Music Lovers’ สะท้อนความเพ้อฝันวัยเด็กที่เคยอยากเป็นนักเต้นบัลเล่ต์


Production Design ของหนังมีความตื่นตระการตาเป็นอย่างมากๆ นักออกแบบ Derek Jarman ใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างนานกว่าสามเดือน (ยังสตูดิโอ Pinewood Studios) สังเกตว่าอาคารบ้านช่องจะมีรูปทรงเรขาคณิต รับอิทธิพลจากโคตรหนังเงียบ Metropolis (1927) ของผู้กำกับ Fritz Lang ซึ่งมีความเป็น Modernistic หรือ Futuristic มากกว่าจะเน้นความสมจริงจากพื้นหลังศตวรรษ 1630s

และแทนที่จะใช้อิฐดินเผา(สีส้มๆ)กลับเป็นปูนปาสเตอร์ก่อรูปทรงสี่เหลี่ยม (ให้เหมือนก้อนอิฐ) ทำให้ได้พื้นผนังสีขาว แล้วทาขอบสีดำให้มีแลดูเหมือนกำแพงอิฐ (แต่ผมรู้สึกเหมือนต้องการสื่อถึงความชั่วร้าย (สีดำ) แทรกซึมอยู่ทุกแห่งหน) เพื่อเวลาระเบิดกำแพง(และทำลายฉาก)จะไม่ต้องใช้ไดนาไมท์จำนวนมาก (เพราะปูนปาสเตอร์ไม่ได้มีความแข็งแกร่งทนทานเหมือนอิฐดินเผา)

เกร็ด: ส่วนช็อตถ่ายจากภายนอกเมือง Loudon ใช้สถานที่ Bamburgh Castle, Northumberland

King Louis XIII (1601-43) ขึ้นเป็นกษัตริย์ตั้งแต่ก่อนอายุครบ 9 พระชันษา (เพราะพระบิดา Henry IV ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1609) โดยพระมารดา Marie de’ Medici สำเร็จราชการแทนจนถึงปี ค.ศ. 1617 แต่ด้วยความขี้เกียจคร้าน สันหลังยาว เลยแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการคนใหม่ Charles de Luynes ระหว่างปี 1617–21, ต่อด้วย Cardinal Richelieu ตั้งแต่ปี 1624–42

Cardinal Richelieu พยายามประจบสอพลอ King Louis XIII ด้วยสองวัตถุประสงค์หลักๆ ประกอบด้วย

  • ต้องการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางฝรั่งเศส (Centralization of Power)
  • และต่อต้านราชวงศ์ Habsurg ขณะนั้นปกครอง Austria และ Spain เป็นเหตุให้ราชอาณาจักรฝรั่งเศสเข้าร่วมสงคราม Thirty Years’ War (1618–48)

แม้ตามประวัติศาสตร์ King Louis XIII จะทรงอภิเสกสมรสกับ Anne of Austria พระธิดาของ King Philip III of Spain เมื่อปี ค.ศ. 1615 และประสูติพระโอรสถึงสองพระองค์ แต่ก็มีอีกแหล่งข่าวบอกว่าทรงมีรสนิยมรักร่วมเพศ (Homosexual) ซึ่งหนังก็นำมาขยับขยายกลายเป็นอารัมบท การแสดงละครเพลงที่อาจสร้างความระทมขมขื่นให้พวก Homophobia (อาการเกลียดหรือกลัวผู้มีความหลากหลายทางเพศ)

คริสตจักรยุคสมัยนั้น ผมคุ้นๆว่าเต็มไปด้วยอคติต่อบุคคลที่รสนิยมรักร่วมเพศ แต่เมื่อ King Louis XIII ทรงแสดงออกอย่างชัดเจนขนาดนี้ หนังก็จงใจทำให้ Cardinal Richelieu ต้องอดรนทนรับชมการแสดงดังกล่าว เพื่อโอกาสในการประจบสอพลอ แม้พยายามเบี่ยงเบนหน้าหนี หาวแล้วหาวอีก แต่ก็ต้องปรบมือชื่นชม … เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ มนุษย์ก็ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่าง

แซว: การแสดงชุดนี้ทำให้ผมนึกถึงภาพวาด The Birth of Venus (1484–86) ผลงานของจิตรกรชาวอิตาเลี่ยน Sandro Botticelli นำเสนอภาพวาดของเทพี Venus มาถึงชายฝั่งหลังจากเพิ่งถือกำเนิดขึ้นบนโลก ก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่โดยทันที … ปัจจุบันภาพวาดจัดแสดงอยู่ที่ Uffizi Gallery, Florence

THE DEVILS แอบบอกใบ้ด้วยการใส่ตัว ‘s’ ว่ามีมากกว่าหนึ่งคน เมื่อตอนปรากฎชื่อหนัง สังเกตว่าก็จงใจถ่ายพื้นหลังให้เห็นสองตัวละคร King Louis XIII และ Cardinal Richelieu (ก็สื่อตรงๆว่าสองบุคคลนี้ต่างคือ The Devils) ซึ่งต่างเป็นบุคคลผู้มีอำนาจสูงส่ง ล้นฟ้า สามารถควบคุมครอบงำ กำหนดชีวิตประชาชน ออกคำสั่งใต้ฝ่าละอองทุลีพระบาท

ขณะที่แม่ชีคนอื่นๆแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา ถึงความสนใจในบาทหลวง Urbain Grandier รวมหัว ต่อตัว ปืนป่ายผนังกำแพงเพื่อโอกาสชื่นเชยชม ยังหน้าต่างช่องว่างเบื้องบน

ตรงกันข้ามกับแม่อธิการ Sister Jeanne des Anges แอบเข้าไปในห้องคุมขังชั้นล่าง มองผ่านซี่กรงขัง แล้วแสดงออกพฤติกรรมระริกระรี้ไม่ต่างจากบรรดาแม่ชีในสังกัด … แล้วยังมีหน้าไปสั่งลงโทษพวกเธอที่แสดงพฤติกรรมดังกล่าวอีกนะ นี่สะท้อนความจอมปลอม ปอกลอก ‘ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง’ แถมเร่าร้อนรุนแรงกว่าหลายเท่าตัว!

การแสดงออกของแม่อธิการ แฝงนัยยะอย่างชัดเจนถึงความพยายามปกปิด ซุกซ่อนเร้นอารมณ์ ไม่สามารถเปิดเผย ‘sexual repression’ ออกมาให้ใครพบเห็น ทำได้เพียงเพ้อคลั่งจินตนาการ (ราวกับบาทหลวง Urbain Grandier สามารถเดินบนพื้นผิวน้ำ) และในความเพ้อฝันนั้น ตนเองไม่ใช่คนหลังค่อม เป็นหญิงสาว ผมยาวสรวย (ตรงกันข้ามภาพลักษณ์แม่ชีที่จะต้องโกนศีรษะ)

แต่ในจินตนาการครั้งแรกนี้ Sister Jeanne des Anges ยังมีความตระหนักถึงสภาพ(หลังค่อม)ของตนเอง เลยสามารถหยุดยับยั้งชั่งใจ หวนกลับฟื้นคืนสติ ปลุกตื่นขึ้นจากความเพ้อฝัน(ร้าย)

ช่วงประมาณปี 1629-30 มีข่าวลืออย่างหนาหูว่า Philippe Trincant (รับบทโดย Georgina Hale) บุตรสาวของ Louis Trincant อัยการของ King Louis XIII ได้ตั้งครรภ์/คลอดบุตรชาย โดยเชื่อกันว่าบิดาคือบาทหลวง Urbain Grandier เพราะเป็นจอมล่อลวง เสือผู้หญิง มีความสัมพันธ์กับสาวๆแทบไม่ซ้ำหน้า

ถ้าเป็นภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ มักนำเสนอพระเอกไร้ตำหนิ สมบูรณ์แบบ แต่ผู้กำกับ Russell พยายามแสดงให้เห็นว่าบาทหลวง Urbain Grandier ก็หาใช่คนดีเลิศประเสริญศรี นำเอาข้ออ้างคำสอนศาสนามาบิดเบือนเพื่อตอบสนองตัณหาตนเอง (เพื่อจะสื่อว่าชายคนนี้ก็มนุษย์คนหนึ่ง มีรัก-โลภ-โกรธ-หลง) แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็มิได้ทำความผิดถึงขั้นต้องถูกแผดเผาไหม้ ตกตายทั้งเป็นเช่นนั้น!

สิ่งน่าฉงนมากๆกับภาพแรกนี้คือใบหน้าของหญิงสาว ไม่รู้เหตุผลทางวัฒนธรรมยุคสมัยนั้นหรืออย่างไรที่ต้องโบ๊ะหน้าขาว แต่มันสร้างความหลอกหลอนชิบหาย! ราวกับปีศาจ ยัยตัวร้าย ไม่สมควรเข้าใกล้ … แต่ถึงขนาดร่วมรักหลับนอน และทำเธอตั้งครรภ์ ก็สมควรแล้วละที่จะลงนรกหมกไหม้

สังเกตว่าเมื่อบาทหลวง Urbain Grandier รับรู้ว่าหญิงสาวตั้งครรภ์ ก็พลันลุกขึ้น สวมเสื้อผ้า ปัดแต่งหวีผม ไม่ยินยอมหันมองหน้า สบตา ทอดทิ้งไว้เบื้องหลังโดยทันที! เรียกว่าบอกปัด ปฏิเสธความรับผิดชอบใดๆ ปล่อยให้เป็นบัญชาสวรรค์เบื้องบน เป็นบุรุษที่บัดซบจริงๆ

ตามบันทึกประวัติศาสตร์ (รวมถึงนวนิยาย The Devils of Loudun (1952)) ไม่มีการกล่าวถึงโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คน รวมถึงนักวิทยาศาสตร์/เล่นแร่แปรธาตุ (Alchemist) แต่ผมครุ่นคิดว่าผู้กำกับ Russell ต้องการสื่อนัยยะเชิงนามธรรม ถึงความหวาดกลัวในเรื่องของแม่มด ปีศาจ ที่สามารถแพร่กระจาย(เหมือนโรคระบาด)ไปทั่วทุกสารทิศ ยุคสมัยนั้นยังไม่แพทย์ หรือองค์ความรู้ใดๆ สามารถรักษาอาการเจ็บป่วย รวมถึงความเชื่อผิดๆของมนุษย์

จระเข้ บอกตามตรงผมก็ไม่รู้สื่อถึงอะไร ฟังจากคำอธิบายของนักเล่นแร่แปรธาตุ บอกว่าช่วยในการไหลเวียนโลหิต เพราะมันเป็นสัตว์เลือดเย็น จักช่วยดูดซับไอความร้อนออกจากร่างกาย ประมาณนั้นกระมัง? ซึ่งภายหลังเจ้าจระเข้ตัวนี้ได้กลายเป็นโล่ เกราะกำบังชั้นดี ถึงขนาดทำลายอาวุธดาบของบุคคลผู้อาฆาตมาดร้ายบาทหลวง Urbain Grandier เพราะกระทำบุตรสาวตั้งครรภ์ (แทนความหนังเหนียว+เลือดเย็นของตัวละครได้เป็นอย่างดี)

สองช็อตนี้นำเสนอความแตกต่างในการปฏิบัติต่อหญิงสาวของบาทหลวง Urbain Grandier

  • ฝั่งซ้ายกับ Philippe Trincant ที่ไม่ได้ตกหลุมรัก จึงมีเพียงความทนทุกข์ทรมาน และหนทางออกสำหรับเลิกราหย่าร้าง
  • ฝั่งขวากับ Madeleine de Brou คือบุคคลที่เขาเพ้อใฝ่ฝัน สักวันจะต้องแต่งงานต่อหน้าพระเป็นเจ้า (อยู่ฝั่งแท่นบูชา)

จริงๆยังมีอีกช็อตของสำหรับหญิงสาวอีกคน ที่เพิ่งมาสารภาพบาปเมื่อวาน แล้วยังกลับมาวันนี้อีก (ชัดเจนว่าต้องการเกี้ยวพาราสีบาทหลวง Urbain Grandier) เลยถูกบอกปัดปฏิเสธ … เธอยืนอยู่ตำแหน่งเดียวกับ Philippe Trincant แต่กล้องถ่ายติดภาพฝูงชน สามารถสื่อถึงเธอคือบุคคลทั่วไป ไม่ได้อยู่ในความสนใจของเขา

ผมแอบแปลกใจมาตรฐานของกองเซนเซอร์จริงๆนะ สั่งตัดฉากข่มขืนรูปปั้นพระเยซูคริสต์ แต่กลับปล่อยผ่านจินตนาการร่วมรักระหว่างแม่อธิการ Sister Jeanne des Anges กับบาทหลวง Urbain Grandier ในคราบอวตารพระเยซูคริสต์ ได้ยังไงกัน???

นี่คือพัฒนาการ(จินตนาการ)ของแม่อธิการที่ตกต่ำลง จากเคยยังมีสติหยุดยับยั้งชั่วใจ (ฉากก่อนหน้านี้เลยยังถ่ายทำด้วยฟีล์มสี) มาครั้งนี้เหมือนเริ่มไม่สามารถควบคุมตนเอง (เลยกลายเป็นภาพขาว-ดำ) ต้องได้รับความเจ็บปวดจากการเอาไม้กางเขนทิ่มแทงมืดตนเอง (เหมือนตอกตะปูบนมือของพระเยซูบนไม้กางเขน) ถึงกลับฟื้นคืนสติขึ้นมา

แซว: เรื่องการแลบลิ้นเลียๆ ต้องถือว่าทำการเคารพคารวะ L’Age d’Or (1930) ของผู้กำกับ Luis Buñuel ไปในตัว

กว่าจะมาเฉลยว่าเมื่อตอนต้นเรื่อง บรรดาทาสทั้งหลายกำลังแบกลากอะไรเข้ามายังเมือง Loudun ค่อยค้นพบว่าคือกงล้อมนุษย์ (เอิ่ม คือผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคืออะไร เท่าที่หาข้อมูลได้ใกล้เคียงสุดคือ Medieval Crane) สำหรับฉุดกระชาก ทลายกำแพงเมืองตามคำสั่ง Baron de Laubardemont ได้รับมอบหมายจาก Cardinal Richelieu

ส่วนกรงล้อที่เห็นตั้งอยู่ตามเส้นทางนอกเมืองนั้น คือเครื่องทรมานเรียกว่า The Wheel (หรือ Catherine Wheel) จับมนุษย์ผูกมัดไว้แล้วนำไปตากแดดจนเสียชีวิต กลายเป็นอาหารของอีแร้งกา ไม่ก็เน่าเปื่อยผุผอง ส่งกลิ่นตลบอบอวลไปทั่ว

นี่เป็นฉากที่นำเสนออิทธิพลของ Cardinal Richelieu ที่มีต่อ King Louis XIII โดยการให้คำตอบ Yes! Yes! Yes! อนุญาตทำตามคำขอแทบทุกสิ่งอย่าง ยกเว้นคำสัญญาที่เคยให้ไว้กับผู้ปกครองคนก่อนของ Loudun เป็นครั้งเดียวที่ตอบ No! ขั้นเด็ดขาด

ทุกครั้งที่ King Louis XIII พูดตอบ Yes! แต่ความสนใจกลับมีเพียงเจ้านกสีดำ (น่าจะนัยยะเดียวกับ ‘แกะดำ’) เสียงปืนดัง ลั่นเท่ากับหนึ่งชีวิตที่จบสิ้นลง (= การได้กำจัด ‘แกะดำ’ สิ่งขวางหูขวางตาในวิสัยทัศน์ของ Cardinal Richelieu)

การแต่งงานที่ถูกต้องตามหลักศาสนาคริสต์นั้น จำเป็นต้องมีบาทหลวงและประจักษ์พยาน กล่าวคำสัตย์สาบาน แลกแหวน จุมพิต แต่ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าบาทหลวงและเจ้าบ่าวคือคนๆเดียวกันเลยได้ไหม (ส่วนประจักษ์พยานพวกเขาก็เป็นตุเป็นตะว่าให้พระเยซูคือผู้รับรู้เห็น … แต่จริงๆก็มีคนแอบดู น่าจะใช้ได้อยู่กระมัง)

เอาว่ามันคงไม่ใช่การแต่งงานที่ถูกต้องตามหลักศาสนาสักเท่าไหร่ แต่ผมก็ไม่เข้าใจว่ามันมีความจำเป็นที่ต้องทำตามพิธีรีตรองขนาดนั้นเชียวหรือ? ถ้าคนสองรักกัน มันก็ไม่มีอะไรสามารถกีดขวางกั้นได้หรอกนะ

ทีแรกผมคาดเดาว่า Cardinal Richelieu อาจพิการเดินไม่ได้ แต่เห็นยืนบนรถลากฉากนี้ เลยตระหนักถึงความขี้เกียจสันหลังยาว จะก้าวเดินยังต้องให้แม่ชีลากจูง (นี่ก็ตั้งแต่เมื่อครั้นรับชมการแสดงของ King Louis XIII)

แต่ฉากนี้ไม่ใช่แค่ Cardinal Richelieu ที่น่าตกตะลึง สังเกตว่ามีการนำเอาเอกสาร หรือก็ไม่รู้หลักคำสอนศาสนา ยัดใส่กรงขัง ปิดล็อก ลงกลอน เหมือนจะสื่อว่าสิ่งเหล่านั้นต้องถูกปกป้อง เก็บรักษา หรือจะมองว่าเป็นการปิดกั้น ไม่ให้ใครอื่นสามารถเข้าถึงโดยง่าย … ส่วนตัวมองว่าเป็นการปิดตาย/ขังลืม/เก็บฝังองค์ความรู้ด้านศาสนา เพื่อเปลี่ยนมาใช้ข้ออ้างศีลธรรมที่ตอบสนองความสนใจของตนเอง

นี่เป็นฉากที่สร้างบรรยากาศขุมนรกได้อย่างน่าสะพรึง ด้วยการสาดแสงลอดผ่านตะแกรงเล็กๆ ในห้องที่ปกคลุมด้วยความมืดมิด บรรดาบุคคลผู้เต็มไปด้วยอคติต่อบาทหลวง Urbain Grandier ได้มารวมตัว สุมหัว จับจ้องมองพฤติกรรมอันต่ำตม และพร้อมจะย่ำเหยียบ เริ่มต้นหาหนทางขับไล่มารผจญ

ผมไม่คิดยุคสมัยนั้นจะมีแว่นตาแฟชั่นแบบที่บาทหลวง Pierre Barre (รับบทโดย Michael Gothard) สวมใส่อยู่นี้หรอกนะ (ตัวจริงของ Gothard ก็สวมใส่แว่นนี้แบบนี้อยู่แล้ว) ทั้งยังถ้อยคำสนทนา รวมถึงลีลา/วิธีการไล่ผีก็มีความ Rock & Roll เหนือจริงเกินคำบรรยาย!

ความโคตรๆเซอร์เรียล (Surreal) ของฉากนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปไม่ได้ – impossible (แม่อธิการไม่ได้ถูกผีเข้าสิง) ที่จักแปรสภาพให้กลายเป็นไปได้ – possible (แม้ไม่ได้ถูกผีเข้าสิง แต่ก็มีสภาพไม่ต่างจากถูกผีเข้าสิง) นี่คือความบิดเบี้ยวของการล่าแม่มด เพราะไม่มีใครพิสูจน์อะไรได้ จึงเพียงใส่ร้ายป้ายสี โบ้ยป้ายความผิด เมื่อถูกทัณฑ์ทรมานจักทำให้ใครต่อใครยินยอมรับสารภาพ(ที่ไม่ได้ก่อ)

บาทหลวง Urbain Grandier อาจไม่ใช่บุคคลที่ดีนัก นิสัยกลับกลอกปลอกลอก ลวงล่อหลอกหญิงสาว ปฏิเสธความรับผิดชอบ บิดเบือนคำสอนศาสนา ฯลฯ แต่เมื่อตกหลุมรัก Madeleine de Brou ก็พร้อมปรับเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งอย่าง ร้องขอให้พระเจ้าอประจักษ์พยาน ต่อจากนี้จะพยายามกลับตัวเป็นคนใหม่

ภาพช็อตนี้ค่อนข้างคลุมเคลือว่าคือจินตนาการของบาทหลวง Urbain Grandier หรือระหว่างฮันนีมูนกับ Madeleine de Brou กล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลัง/ซูมออกจากทั้งสอง จนพบเห็นเทือกทิวเขาตั้งตระหง่านด้านหลัง มนุษย์ช่างกระจิดริดเมื่อเทียบกับโลกและจักรวาลที่พระเจ้าสร้างขึ้นมา (หรือจะตีความว่าการได้รับรู้จักความรัก ทำให้บาทหลวง Urbain Grandier ตระหนักถึงความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า)

มันมีอะไรอยู่ในตลับ? King Louis XIII สวมหน้ากากปลอมตัวมาล่อหลอกบาทหลวง Pierre Barre และแม่ชีอธิการ Sister Jeanne des Anges อ้างว่าภายในนั้นมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โลหิตพระเยซูคริสต์ นั่นทำให้ทั้งคู่ดิ้นพร่านชักกระแด่วๆ ทำเป็นสัมผัสได้ถึงพลังเหนือธรรมชาติ แต่พอเปิดออกมากลับพบเพียง …

นี่เองทำให้ King Louis XIII ตระหนักว่าทุกสิ่งอย่างบังเกิดขึ้นล้วนคือการเล่นละคอนตบตา แสร้งว่าคลุ้มคลั่ง กลายเป็นบ้า เพื่อใส่ร้ายป้ายสีบาทหลวง Urbain Grandier และเมื่อเขาสูญสิ้นชีวิต กำแพงเมือง Loudun ก็จักถูกทำลายย่อยยับเยิบ

ผมไม่ค่อยอยากแคปรูปแม่ชีเปลือยกาย ข่มขืนไม้กางเขน/พระเยซูคริสต์ เลยนำมาแค่ภาพช่วยตนเองกับเชิงเทียน ซึ่งเราสามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ เพศสัมพันธ์คือการร่วมตัวระหว่างคนสองให้กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน สอดคล้องคำสอนศาสนาที่ว่า ‘พระเจ้าสถิตอยู่กับเรา’

คือเราต้องเข้าใจก่อนว่าไม่ใช่หนังเรื่องนี้ที่ ‘blasphemous’ แต่คือพฤติกรรมของแม่ชี ที่บิดเบือดหลักคำสอนศาสนา ‘พระเจ้าสถิตอยู่กับเรา’ ด้วยการร่วมรัก ข่มขืน มีเพศสัมพันธ์กับวัตถุ (Fetishism) ที่เป็นสัญลักษณ์ของพระคริสต์ และการสำเร็จความใคร่ ก็ทำให้พวกเธอเหล่านั้นได้ขึ้นสู่สรวงสวรรค์

หนั่งในสองครั้งที่บาทหลวง Urbain Grandier ได้เผชิญซึ่งๆหน้ากับแม่อธิการ Sister Jeanne des Anges สอบถามว่าตนเองทำผิดอะไร เธอตอบว่าพฤติกรรมนอกรีต (Heresy) ทั้งๆพิธีไล่ผีในโบสถ์แห่งนี้ต่างหากสมควรเรียกว่านอกรีต! เขาเลยโดยควบคุมตัวเพื่อนำไปพิจารณาคดี

แซว: สองตัวละครหลักของหนัง ตลอดทั้งเรื่องมีโอกาสเผชิญหน้ากันแค่ช่วงเวลาสั้นๆ แอบชวนให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง Heat (1995) [จริงๆก็มี Public Enemies (2009) ของผกก. Michael Mann อีกเรื่อง] ที่สองพระเอกพบเจอ พูดคุยกันแค่ไม่กี่เสี้ยวนาที

ณ ห้องพักของบาทหลวง Urbain Grandier จริงๆสองภาพนี้คนละช่วงเวลา ก่อน-หลังขึ้นการพิจารณาคดีความ แต่ต่างแฝงนัยยะเดียวกันถึงความสูญเสียอัตลักษณ์ตัวตน

  • รูปปั้น ภาพวาด งานศิลปะ ที่อยู่ในห้องพักของบาทหลวง Urbain Grandier ได้ถูกทหารของ Baron de Laubardemont ทุบเสียหาย พังทลาย หมดสิ้นสภาพ แฝงนัยยะถึงการสูญเสียเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เพราะเมื่อเมือง Loudun ถูกรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางฝรั่งเศส (Centralization of Power) ก็จักสูญเสียความเป็นตัวตนเองไปหมดสิ้น!
    • การทุบทำลายนี้สิ่งของเหล่านี้ (จุลภาค) ยังล้อกับการระเบิดกำแพงเมือง (มหภาค) ภายหลังจากบาทหลวง Urbain Grandier ถูกแผดเผาหมดไหม้ในกองเพลิง
  • บาทหลวง Urbain Grandier ถูกจับโกนศีรษะ หนวดเครา แต่เนื่องจากไม่หลงเหลือกระจก จึงได้เพียงนำถาดใส่น้ำล้างเท้า (แสดงถึงความตกต่ำ) ส่องมองดูเงาอันเลือนลาง ก่อนสูญเสียอัตลักษณ์ตัวตน เหลือเพียงร่างกายอันเปลือยเปล่า

นี่เป็นอีกครั้งสุดท้ายที่บาทหลวงนักโทษ Urbain Grandier เผชิญซึ่งๆหน้ากับ Sister Jeanne des Anges ระหว่างกำลังลากพา/ประจานไปทั่วเมือง แล้วถูกเทกลิ้งลงไป’นอน’กองบนพื้น สนทนากับแม่อธิการ’ยืน’อยู่ด้านหลังกรงขัง ฉันไม่สามารถร้องขอให้เธอยกโทษเพราะไม่ได้ทำผิดอะไร คงมีแต่พระเป็นเจ้าที่จะสามารถให้อภัย … เลยถูกตอบกลับปีศาจ! (นี่น่าจะกำลังกล่าวถึงตนเองอยู่กระมัง)

จะว่าไปการถูกใส่ร้ายป้ายสี ทัณฑ์ทรมานของบาทหลวง Urbain Grandier แทบจะไม่ต่างจากพระเยซูคริสต์ เพียงแต่สุดท้ายถูกแผดเผามอดไหม้ หลงเหลือเพียงโครงกระดูกดำ

ระหว่างที่บาทหลวง Urbain Grandier กำลังถูกแผดเผาอยู๋ในกองเพลิง บรรดาแม่ชีก็แสดงความเพลิดเพลิง เริงระบำ โยนเต้นบริเวณสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ นั่นน่าจะคือ Leviathan ปีศาจจากทะเลลึก สัญลักษณ์ของความชั่วร้าย (ตามความเชื่อของชาวคริสต์) ไม่มีทางที่มนุษย์จะสามารถเอาชนะได้ … หรือก็คือบาทหลวงผู้พ่ายแพ้ต่อภัยพาล

Your freedom is destroyed also!

หลายคนอาจรู้สึกขัดแย้งต่อคำพูดของบาทหลวง Urbain Grandier เพราะวินาทีที่เขาถูกเผามอดไหม้ กำแพงเมือง Loudun ก็ถูกระเบิดทำลายล้าง ทำให้ดินแดนแห่งนี้ราวกับได้รับเสรีภาพ! แต่ความหมายแท้จริงคือการสูญเสียสิ่งยึดถือมั่นทางศีลธรรม เพราะเมื่อมนุษย์สามารถกระทำสิ่งใดๆโดยไม่ใคร่คำนึงถึงอะไร ก็จักหมดสิ้นโอกาสหลังความตาย ปิดประตูสวรรค์ ตกนรกมอดไหม้

ภายหลังจากบาทหลวง Urbain Grandier ถูกแผดเผาไหม้กลายเป็นเถ้าถ่าน Baron de Laubardemont นำอัฐิสีดำ (น่าจะต้องการสื่อถึงความชั่วร้ายที่ฝังรากลึก คล้ายๆสำนวนไทย ‘เข้ากระดูกดำ’) มาเป็นของที่ระลึกให้แม่อธิการ Sister Jeanne des Anges ใช้ในการช่วยเหลือตนเอง (โอบรับความชั่วร้ายดังกล่าวเข้ามาในตนเอง) … พบเห็นเฉพาะ Delete Scene

แซว: ปกติแล้วการเผาไม่ได้ทำให้อัฐิเปลี่ยนเป็นสีดำนะครับ (มันควรจะมีเหมือนโครงกระดูกทั่วๆไป) แต่ในกรณีนี้น่าจะเกิดจากเขม่าควัน กองฟางที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ถึงอย่างนั้นแค่นำไปล้างก็ทำให้สะอาดเอี่ยมอ่อง

แซว2: ผมแอบสงสัยเล็กๆว่านี่อาจไม่ใช่อัฐิของ Urbain Grandier อาจเป็นโครงกระดูกสุนัข/อะไรสักอย่างที่ Baron de Laubardemont เก็บเอามาจากกองเพลิง เพื่อล้อกับตลับเปล่า(แสร้งว่าคือโลหิตของพระเยซูคริสต์)ของ King Louis XII

ภาพสุดท้ายของหนังคือกำแพงเมืองที่พังทลาย (มหภาค, วัตถุ/กายภาพ), Madeleine de Brou ก้าวเดินอย่างหมดสิ้นหวังอาลัย (จุลภาค, มนุษย์/จิตใจ), ในสภาพฟีล์มขาว-ดำ ถูกทำให้หมองหม่นๆ ไร้สีสัน ขาดชีวิตชีวา! (ภาพยนตร์, สร้างความรวดร้าวระทมให้กับผู้ชม)

ผมตีความกำแพงเมือง Loudun คือกำแพง’ศีลธรรม’ที่คอยปกปักษ์รักษา ทำให้ชาวคริสต์มีความเป็นมนุษย์! แต่เมื่อถูกปีศาจ/ซาตาน บุกเข้ามาพังทำลายล้าง กลับกลอกหลักคำสอนศาสนา แม้ช็อตนี้ให้สัมผัสของเสรีภาพ แต่ก็ชวนให้ตั้งคำถามถึงถนนหนทาง ดำเนินไปไหน? เมื่อใครอื่นมารุกรานจะปกป้องตนเองเช่นไร? แล้วมนุษย์จะยังคงหลงเหลือ’ความเป็นมนุษย์’อยู่หรือไม่?

ตัดต่อโดย Michael Bradsell (1933-) สัญชาติอังกฤษ ขาประจำของผู้กำกับ Ken Russell ผลงานเด่นๆ อาทิ Women in Love (1969), The Devils (1971), The Boy Friend (1971), Jabberwocky (1977), Scum (1979), Local Hero (1983), Henry V (1989) ฯ

หนังดำเนินเรื่องเคียงคู่ขนาน/สลับไปมาระหว่างบาทหลวง Urbain Grandier และแม่อธิการ Sister Jeanne des Anges ทั้งสองไม่เคยพบเจอพูดคุยซึ่งๆหน้า แต่กลับถูกกล่าวหาว่ามีการล่วงละเมิดบังเกิดขึ้น

  • แนะนำตัวละคร
    • Cardinal Richelieu รับชมการแสดงของ King Louis XIII
    • บาทหลวง Urbain Grandier จัดพิธีศพให้ผู้ว่าการคนก่อน
    • แม่อธิการ Sister Jeanne des Anges แอบหลบซ่อน จินตนาการความรักต่อบาทหลวง Urbain Grandier
    • เปิดเผยตัวตนแท้จริงของบาทหลวง Urbain Grandier เป็นชายมากรัก ทอดทิ้งหญิงสาวอีกคน เพราะตกหลุมรักหญิงสาวอีกคน
  • การมาถึงของภัยรุกราน
    • Baron de Laubardemont ต้องการจะทำลายกำแพงเมือง Loudun แต่ถูกห้ามปรามโดยบาทหลวง Urbain Grandier
    • บาทหลวง Urbain Grandier แอบแต่งงานกับ Madeleine de Brou
    • Sister Jeanne des Anges เฝ้ารอคอยการมาถึงของบาทหลวง Urbain Grandier แต่กลับกลายเป็น Father-Canon Jean Mignon เธอเลยเริ่มต้นแสดงอาการคลุ้มคลั่ง
  • ฉันทำผิดอะไร
    • พิธีไล่ผีออกจาก Sister Jeanne des Anges แล้วเผชิญหน้าบาทหลวง Urbain Grandier
    • บาทหลวง Urbain Grandier ถูกจับกุม ไต่สวน ทัณฑ์ทรมาน
    • แล้วถูกตัดสินโทษเผาไหม้ให้ตกตายทั้งเป็น
  • เหตุการณ์หลังจากนั้น
    • Sister Jeanne des Anges ยังคงแสร้งว่าคลุ้มบ้าคลั่ง
    • Baron de Laubardemont ทำลายกำแพงเมือง Loudun ได้สำเร็จ

ต้นฉบับความยาวเต็มๆของหนังคือ 117 นาที ไม่สามารถผ่านกองเซนเซอร์ จึงต้องทำการตัดทอนจนเหลือ ‘theatrical cut’ ความยาว 111 นาที แต่ก็ยังให้เรตติ้ง X โดยมีสองฉากสำคัญที่ถูกตัดออกไป (สองฉากนี้มีใน Delete Scence)

  • The Rape of Christ ช่วงระหว่างซีเควนซ์ไล่ผี บรรดาแม่ชีเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ฉุดกระฉากรูปปั้นพระเยซูคริสต์ลงมาข่มขืน
  • Grandier’s Bone ช่วงท้ายของหนังเมื่อ Baron de Laubardemont โยนโครงกระดูกของบาทหลวง Urbain Grandier ให้กับ Sister Jeanne des Anges สิ่งที่เธอทำก็คือนำมันมาช่วยตนเอง

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ฉบับเข้าฉายสหรัฐอเมริกายังถูกสตูดิโอ Warner Bros. หั่นโน่นนี่นั่นออกไปอีกจนหลงเหลือเพียง 103 นาที … ใครจะหารับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ต้องดูความยาวหนังให้ดีๆนะครับ


เพลงประกอบโดย Sir Peter Maxwell Davies (1934-2016) คีตกวีสัญชาติอังกฤษ สำเร็จการศึกษาจาก University of Manchester และ Royal Manchester College of Music เป็นลูกศิษย์ของ Hedwig Stein, มีผลงานซิมโฟนี ออร์เคสตรา โอเปร่า บัลเล่ต์ ฯลฯ ส่วนเพลงประกอบภาพยนตร์มีเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น The Devils (1971) และ The Boy Friend (1971)

ผู้กำกับ Russell มีความประทับใจ ‘monodrama’ (การแสดงอุปรากรแต่ใช้นักแสดง/นักร้องเพียงคนเดียว) ของ Peter Maxwell Davies เรื่อง Eight Songs for a Mad King (1969) เลยติดต่อขอให้มาทำเพลงประกอบภาพยนตร์ ซึ่งเหตุผลที่ Davies ยินยอมตอบตกลง เพราะกำลังมีความสนใจอยากทำเพลงแนว Period อยู่พอดิบดี

แต่เอาเข้าจริงๆงานเพลงของหนังแทบไม่มีกลิ่นอาย Period สักเท่าไหร่ ยกเว้นเพียงการแสดงของ King Louis XIII ยังพอจะมีกลิ่นอาย Renaissance Music อยู่บ้าง … แต่ไม่ใช่ว่าพื้นหลังของหนังควรอยู่ในยุคสมัย Baroque หรอกรึ?

บทเพลงอื่นๆของหนังแม้มีการใช้เครื่องดนตรีโบราณๆ (เพื่อสร้างบรรยากาศย้อนยุค) แต่ท่วงทำนองกลับมีความล้ำยุคสมัย ออกไปทาง Avant-Garde ทดลองผิดลองถูก โดยเฉพาะครึ่งหลังของบทเพลง Sister Jeanne’s Vision ใช้เสียงเครื่องเป่ากระโดดโลดเต้นไปมา เหมือนจะมั่วซั่วแต่มีรูปแบบแผน เพื่อสร้างความสับสน กระวนกระวาย กรีดกราย แทบอยากจะคลุ้มบ้าคลั่ง

Exorcism เป็นบทเพลงแปลกประหลาดยิ่งกว่าเดิมเสียอีก! เริ่มต้นด้วยท่วงทำนองสนุกสนาน ราวกับกำลังสังสรรค์อยู่ในงานเลี้ยงปาร์ตี้ ไม่ได้มีความสับสนวุ่นวาย กรีดกราย คลุ้มบ้าคลั่งเหมือนตอน Sister Jeanne’s Vision นั่นอาจเพราะสิ่งที่เคยซุกซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใจ Sister Jeanne des Anges เมื่อได้รับการปลดปล่อย เหมือนเสียงขับร้องคอรัสช่วงกลางบทเพลง อาจไม่ได้ดังกึกก้องสั่นสะท้อนถึงจิตวิญญาณ แต่ก็สามารถสื่อแทนสัญลักษณ์ของ ‘เสรีภาพ’

ผมเชื่อว่าผู้ชมยุคสมัยนี้น่าจะสามารถบอกได้ว่า เรื่องราวที่หนังนำเสนอไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแม่มด ซาตาน หรือพลังลึกลับเหนือธรรมชาติประการใด ทั้งหมดล้วนคือกิเลสตัณหาของมนุษย์ ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ (ทั้งเมือง Loudun และบาทหลวง Urbain Grandier) โดยสรรหาข้ออ้างทางศีลธรรมศาสนา เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ก็ครุ่นคิดทำบางสิ่งอย่างในทิศทางตรงกันข้าม … ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็เอาด้วยกล (ไม่ได้ด้วยมนต์ ก็เอาด้วยคาถา)

The Devils (1971) นำเสนอเรื่องราวการสูญเสียความเป็นมนุษย์ของแม่อธิการ Sister Jeanne des Anges เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองทางเพศ ‘sexual repression’ จึงแสดงออกอย่างคลุ้มบ้าคลั่ง ไม่สนถูก-ผิด ชั่ว-ดี ใส่ร้ายป้ายสีกระทั่งบุคคลที่ตนเองชื่นชอบหลงใหล ต้องการให้เขาตกนรกหมกไหม้

เช่นเดียวกับ Cardinal Richelieu พยายามเกี้ยวกล่อมเกลา King Louis XIII เพื่อยึดครอบครอง/ทำลายกำแพงเมือง Loudun ถึงแม้ถูกบอกปัดปฏิเสธ ก็ยังส่ง Baron de Laubardemont สรรหาสรรพวิธีกำจัดภัยให้พ้นทาง ด้วยการใช้คำกล่าวอ้างของแม่อธิการ Sister Jeanne des Anges จับกุมตัวบาทหลวง Urbain Grandier ทำทัณฑ์ทรมาน โกนศีรษะล้าน และวินาทีกำลังเผามอดไหม้ เมือง Loudun ก็ถึงคราล่มสลาย!

I was a devout Catholic and very secure in my faith. I knew I wasn’t making a pornographic film… although I am not a political creature, I always viewed The Devils as my one political film. To me it was about brainwashing, about the state taking over.

Ken Russell

สิ่งที่ผู้กำกับ Russell ให้ความสนใจนั้น ไม่ใช่การต่อต้านพระเจ้า ต่อต้านคาทอลิก ต่อต้านบลา-บลา-บลา แต่ต้องการนำเสนอความอัปลักษณ์(ทั้งร่างกายและจิตใจ)ของมนุษย์ ที่นำเอาหลักคำสอนศาสนามาบิดเบือด ใช้ข้ออ้างศีลธรรมกำจัดบุคคลครุ่นคิดเห็นต่าง

ซึ่งบุคคลที่สามารถกระทำการเช่นนั้น (ทั้งแม่อธิการ Sister Jeanne des Anges และ Cardinal Richelieu) ต่างเป็นชนชั้นสูง ระดับผู้นำองค์กร/ประเทศชาติ สะท้อนถึงการใช้อำนาจในทางมิชอบ บิดเบือนความถูกต้อง หรือเรียกว่าคอรัปชั่น! เพื่อให้ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ กระทำสิ่งตอบสนองความต้องการ โดยไม่สนห่าเหวนรกแตก อะไรจะเกิดขึ้นติดตามมา

ชาวคริสเตียนที่มีอคติต่อหนัง ส่วนใหญ่ไม่สามารถยินยอมรับพฤติกรรมหมกมุ่นทางเพศของแม่อธิการ/บาทหลวง หรือฉากข่มขืนรูปปั้นพระเยซูคริสต์ มองว่าคือภาพบาดตาบาดใจ! แต่การใช้เพียงสายตาจับจ้องมอง แสดงถึงการไม่สามารถเข้าใจแก่นสาระแท้จริงของศาสนา ทำไมผู้สร้างถึงนำเสนอภาพเหล่านั้นออกมา … ก็คล้ายๆสลิ่มประเทศสารขัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นชาวพุทธ แต่กลับเต็มไปด้วยบ่อน คาสิโน ซ่องโสเภณี กัญชาถูกฎหมาย นั่นสะท้อนถึงการใช้อำนาจในทางมิชอบของรัฐบาล ชนชั้นสูง กลุ่มผู้นำประเทศ ข้ออ้างศีลธรรมเพียงเพื่อกำจัดบุคคลครุ่นคิดเห็นแตกต่างเท่านั้น!

รับชม The Devils (1971) ทำให้ผมรับรู้สึกว่าผกก. Russell เป็นคนเอ่อล้นด้วยศรัทธาศาสนาอย่างแรงกล้า เทียบแทนตนเองกับบาทหลวง Urbain Grandier แม้เจ้าชู้ประตูดิน แต่ยังพร่ำคำสอนที่เป็นประโยชน์(มั้งนะ)ออกมาตลอดเวลา และเมื่อเรียนรู้จักความรัก ก็สามารถเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของพระเป็นเจ้า

บุคคลที่ความเชื่อมั่นศรัทธาศาสนาอย่างแท้จริง ย่อมสามารถมองเห็นลูกเล่ห์ มายากลของสิ่งชั่วร้าย/ภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำไมฉันต้องสารภาพผิดที่ไม่ได้ก่อ ยินยอมศิโรราบต่อคำพูดบอกของซาตาน แม้ต้องถูกเผาไหม้จนกลายเป็นขี้เถ้าถ่าน พระเจ้าเท่านั้นสามารถเป็นประจักษ์พยานความรัก ความบริสุทธิ์จริงใจ ไม่ต้องไปสนเสียงเห่าหอนของปีศาจตนใดๆ

เกร็ด: สำหรับคนอยากรับชมภาคต่อ แต่ก็ไม่เชิงว่าเป็นภาคต่อ เพราะถูกการสร้างขึ้นก่อนหน้าหลายปี Mother Joan of the Angels (1961) กำกับโดย Jerzy Kawalerowicz (เป็นหนึ่งในลิสหนัง Martin Scorsese Presents 21 Polish Film Masterpieces) นำเสนอเหตุการณ์หลังจากบาทหลวง Urbain Grandier ถูกแผดเผาไหม้เสียชีวิต เรื่องราวของแม่อธิการ Sister Jeanne des Anges ที่ก็ยังคงเป็นแม่ชี แสร้งว่าถูกซาตานเข้าสิง จนกระทั่งเลิกบ้าสี่ปีให้หลัง


หนังไม่มีรายงานทุนสร้าง แต่การถูกกองเซนเซอร์หั่นแล้วหั่นอีก แถมบางประเทศยังถูกแบนห้ามฉาย กลับยังสามารถทำเงิน $11 ล้านเหรียญ ยุคสมัยนั้นถือว่าพอใช้ได้

เมื่อตอนเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Venice แม้เสียงตอบรับจะย่ำแย่ติดดิน แต่ยังสามารถคว้ารางวัล Pasinetti Award: Best Foreign Film (เทศกาลหนัง Venice ช่วงระหว่างปี 1969-79 จะเพียงจัดฉายภาพยนตร์ ไม่มีการมอบรางวัล Golden Lion แต่สาขานักวิจารณ์และอื่นๆยังคงปกติ)

กาลเวลาทำให้หนังได้รับการยอมรับในวงกว้างมากขึ้น เมื่อปี 2012 ค่ายหนัง British Film Institute (BFI) ได้ออกสองแผ่น DVD ฟื้นฟูต้นฉบับดั้งเดิม ‘theatrical cut’ ความยาว 111 นาที ยังไม่เห็นออกแผ่น Blu-Ray แต่สามารถหารับชมจาก Archive.com (รวมถึง Delete Scene ด้วยนะครับ)

ปล. เห็นว่าหนังเคยเข้าฉาย Criterion Channel ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ปัจจุบันถูกนำออกไปแล้ว (น่าจะเป็นเรื่องลิขสิทธิ์จัดจำหน่าย)

อาจเพราะผมไม่ใช่ชาวคริสต์ จึงสามารถรับชม The Devils (1971) โดยไร้ซึ่งอคติใดๆ ค้นพบความเหนือจริง สามารถครบครุ่นคิดนัยยะความหมาย และที่ต้องปรบมือให้คือความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้กำกับ Ken Russell เป็นบุคคลมีความเชื่อศรัทธาศาสนาอย่างแรงกล้า (ไม่ต่างจากบาทหลวง Urbain Grandier) คงมีแต่พวกปีศาจร้ายที่ตีตราภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า ‘blasphemous’

ปล. เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ชื่อของ Ken Russell ถูกตีตราว่าเป็นผู้กำกับทำหนังต่อต้านศาสนา (Anti-Religious) นำมาล้อเล่นกันอย่างเอาจริงเอาจัง

คนที่จะสามารถรับชม The Devils (1971) ควรต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่าทั้งหมดที่พบเห็นคือลัทธิเหนือจริง (Surrealist) อย่าแค่ใช้สายตามองแล้วเกิดอารมณ์ความรู้สึก ต้องใช้มันสมองขบครุ่นคิดวิเคราะห์ ค้นหาว่าแต่ละช็อตฉากผู้สร้างต้องการสื่อนัยยะอะไร ถ้าคุณสามารถรับชมผลงานของ Luis Buñuel, Alejandro Jodorowsky, Andrzej Żuławski, David Lynch ฯลฯ ค่อยลองหาภาพยนตร์เรื่องนี้มาเชยชมดูนะครับ

จัดเรต NC-17 ต่อความระห่ำ คลั่งศาสนา โป๊เปลือย บ้าอำนาจ

คำโปรย | The Devils ร่างปีศาจของผู้กำกับ Ken Russell นำพาผู้ชมลงสู่ขุมนรก เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงสรวงสวรรค์
คุณภาพ | ขุ
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Francesco, giullare di Dio (1950)


The Flowers of St. Francis (1950) Italian : Roberto Rossellini ♥♥♥♡

คำสอนแปลกๆของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (Saint Francis of Assisi) ได้ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้หอมหวน ตลบอบอวล ด้วยกลิ่นดอกไม้งาม ทั้งผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini และ François Truffaut ต่างยกให้ ‘the most beautiful film in the world’

Pier Paolo Pasolini: among the most beautiful in Italian cinema.
François Truffaut: the most beautiful film in the world.

ไม่ใช่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีความงดงามด้วยภาพถ่ายทิวทัศน์ธรรมชาติ หรือดอกไม้เบ่งบานสะพรั่ง แต่คือจิตใจอันบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของศิษยานุศิษย์รุ่นแรก ภายใต้นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (ค.ศ. 1181-1226) ผู้ให้กำเนิดคณะฟรังซิสกัน (Franciscan Order) ออกเผยแพร่หลักคำสอนคริสต์ศาสนาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 มาจนถึงปัจจุบัน

ผู้กำกับ Roberto Rossellini ไม่ได้มีความเชื่อศรัทธาต่อคริสตศาสนา (ขณะนั้นก็กำลังมีเรื่องอื้อฉาวกับนักแสดง Ingrid Bergman ทั้งสองต่างแต่งงานมีคู่ครองอยู่แล้ว กลับลักลอบคบชู้กันในกองถ่าย Stromboli (1950) จนฝ่ายหญิงตั้งครรภ์!) แต่ชื่นชอบการสอนศีลธรรมของคริสตจักร (Ethical Teaching) ที่สามารถใช้เป็นข้อคิด คติสอนใจ ปรับเปลี่ยนมุมมอง/ทัศนคติ ให้เห็นคุณค่าความสำคัญของการมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ

พัฒนาบทร่วมกับ Federico Fellini แล้วสรรค์สร้างด้วยแนวคิดของ Italian Neorealist ถ่ายทำจากสถานที่จริง ใช้เพียงนักแสดงสมัครเล่น (มีนักแสดงอาชีพเพียงคนเดียวเท่านั้น!) ผลลัพท์ทำให้หนังมีความบริสุทธิ์ ดูเป็นธรรมชาติ ราวกับสามารถพบเห็น ‘จิตวิญญาณ’ ของบรรดาคณะบาทหลวง และภาพยนตร์เรื่องนี้ … เป็นแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้าต่อ Jean-Luc Godard สรรค์สร้างผลงานชิ้นเอก Vivre Sa Vie (1962)

แต่ผมมีความรู้สึกสองแง่สองง่ามในการรับชมพอสมควร เพราะคำสอนแปลกๆของ Saint Francis แม้ทำให้เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ แต่ศรัทธาต่อพระเจ้านั้นดูงมงายในสายตาคนนับถือศาสนาอื่น ถูกทุบตีกระทำร้ายแล้วเรียกว่านั่นคือความสุขสูงสุด มาโซคิสม์หรือเปล่า?


Roberto Gastone Zeffiro Rossellini (1906-77) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอิตาเลี่ยน เกิดที่กรุง Rome, ครอบครัวอพยพมาจาก Pisa, Tuscany บิดาเป็นเจ้าของบริษัทก่อสร้าง ต่อมาสร้างโรงภาพยนตร์แห่งแรก(ในกรุงโรม)ชื่อว่า Barberini ทำให้ตั้งแต่เด็กชายเกิดความหลงใหลสื่อประเภทนี้ พอโตขึ้นก็สานต่อกิจการ จากนั้นเริ่มสรรค์สร้างสารคดี Prélude à l’après-midi d’un faune (1937), มีโอกาสช่วยงานผู้กำกับ Goffredo Alessandrini ถ่ายทำ Luciano Serra, pilota (1938), สำหรับภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นแนวชวนเชื่อ The White Ship (1941) ติดตามด้วย A Pilot Returns (1942) และ The Man with a Cross (1943) รวมเรียกว่า Fascist Trilogy

หลังจากกองทัพแดงของสหภาพโซเวียตทำลาย Italian Fascist อย่างราบคาบ ทำให้ Rossellini เป็นอิสระต่อพันธนาการ เตรียมงานสร้างภาพยนตร์ Anti-Fascist เรื่องแรก Rome, Open City (1945) แต่ไปไกลกว่านั้นตรงที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นยุคสมัย Italian Neorealism บันทึกสภาพปรักหักพัก ผลกระทบจากสงคราม ใช้นักแสดงสมัครเล่น เรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู้ดิ้นรน นำเสนอความทุกข์ยากลำบากของสามัญชนทั่วๆไป

ผลงานเด่นๆ อาทิ Rome, Open City (1945), Paisan (1946), Germany, Year Zero (1948), Stromboli (1950), Europe ’51 (1952), Journey to Italy (1954) ฯลฯ


Saint Francis ชื่อจริง Giovanni di Pietro di Bernardone (1811-1226) เกิดที่เมือง Assisi, Holy Roman Empire เป็นบุตรชายของพ่อค้ารํ่ารวย ขณะยังหนุ่มชื่นชอบเที่ยวเล่นสนุกสนาน ไม่จริงจังอะไรกับชีวิต จนกระทั่งล้มป่วยหนักแล้วได้ยินเสียงตรัสพระเยซู เรียกท่านให้สละความสุขทางโลกแล้วหันมาติดตามพระองค์ จึงบริจาคสมบัติมรดกทั้งหมด ออกเที่ยวขอทาน ทำงานรับใช้คนโรคเรื้อน จนมีผู้เลื่อมใสศรัทธา สอนให้ศิษยานุศิษย์เป็นคนสุภาพถ่อมตน ร่าเริง จริงใจ เป็นอันหนึ่งเดียวกับพระเจ้า สรรพสัตว์ ธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก

ภราดา Francis ได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9 (Pope Gregory IX) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1228 ในฐานะองค์อุปถัมภ์สรรพสัตว์ สิ่งแวดล้อม พาณิชย์ และประเทศอิตาลี, โดยนิกายโรมันคาทอลิกและแองกลิคันจะมีพิธีอวยพรแก่สัตว์ทั้งหลาย วันฉลองนักบุญฟรังซิส 4 ตุลาคมของทุกปี

สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่เชิงว่าเป็นอัตชีวประวัติ Saint Francis มุ่งเน้นนำเสนอคำสอนที่มีสาระประโยชน์ เน้นความบันเทิงแฝงข้อคิด นำแรงบันดาลใจจากหนังสือสองเล่ม เขียนขึ้นช่วงศตวรรษที่ 14

  • Fioretti Di San Francesco แปลว่า Little Flowers of St. Francis รวบรวม 53 เรื่องสั้นเกี่ยวกับชีวิตของ Saint Francis คาดกันว่าจดบันทึกโดย Ugolino Brunforte (1262-1348)
  • La Vita di Frate Ginepro แปลว่า The Life of Brother Ginepro/Juniper ไม่ได้มีเรื่องราวเกี่ยวกับ Saint Francis ตรงๆ แต่คือศิษยานุศิษย์คนโปรด Brother Ginepro ได้รับฉายา God’s Jester (หรือ Jester of the Lord)

ผู้กำกับ Rossellini ร่วมงานกับนักเขียน(ขณะนั้น) Federico Fellini คัดเลือกมาเพียง 9 เรื่องราวโดยมุ่งเน้นศิษยานุศิษย์คนโปรด Ginepro พัฒนาบทร่าง (Treatment) จำนวน 28 หน้ากระดาษ 71 บทพูด สำหรับภาพยนตร์ความยาวไม่น่าจะเกิน 90 นาที


เริ่มต้นที่คณะ Franciscan นำโดย Saint Francis พร้อมศิษยานุศิษย์ เดินตากฝน ย่ำโคนเลน มาจนถึงกระท่อมหลังหนึ่ง (ที่พวกเขาสร้างขึ้นสำหรับพำนักอาศัย) แต่กลับถูกยึดครองโดยชาวบ้านพร้อมเจ้าลา แถมกล่าวหาว่านักบวชเหล่านี้คือขโมยกะโจร ถึงอย่างนั้น Saint Francis กลับรู้สึกยินดีเปรมปรีดา เชื่อว่านั่นคือประสงค์ของพระเป็นเจ้า ให้พวกเขาได้เข้าใกล้ชิดพระองค์

พระเจ้าข้า ลูกขอบพระคุณพระองค์ ที่ทรงโปรดให้ลูกมีส่วนในพระมหาทรมานของพระองค์

บทภาวนาของ Saint Francis of Assisi

เรื่องราวหลังจากนี้จะแบ่งออกเป็น 9 ตอน โดยมีข้อความอธิบายเหตุการณ์ที่กำลังบังเกิดขึ้น

  1. How Brother Ginepro returned naked to St. Mary of the Angels, where the Brothers had finished building their hut.
    • ภารดา Ginepro บริจาคเสื้อผ้าให้ขอทานคนหนึ่ง เลยได้รับคำสั่งจาก Saint Francis ไม่อนุญาตให้บริจาคเสื้อผ้าแก่ผู้ใด
  2. How Giovanni, known as “the Simpleton”, asked to follow Francis and began imitating him in word and gesture.
    • ชายสูงวัย Giovanni ต้องการอุทิศตนเองให้ Saint Francis แม้มีท่าทางเลอะๆเลือนๆ แต่ก็ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นศิษยานุศิษย์
  3. Of the wonderful meeting between St. Clare and St. Francis at St. Mary of the Angels.
    • บรรดาศิษยานุศิษย์ นัดหมายแม่ชี Saintess Clare ให้มาพบเจอกับ Saint Francis
  4. How Brother Ginepro cut off a pig’s foot to give to a sick brother.
    • ภารดา Ginepro หั่นขาหมูเพื่อมาทำเป็นอาหารแก่พี่น้องที่ล้มป่วย พอเจ้าของหมูมาเห็นเขาก็เลยตำหนิด่าทอ Saint Francis เลยสั่งให้ Ginepro ขอโทษด้วยจริงใจ แม้ดูเหมือนไม่เต็มใจแต่เจ้าของก็ยินยอมมอบหมูทั้งตัวให้
  5. How Francis, praying one night in the woods, met the leper.
    • ยามค่ำคืน Saint Francis สวดอธิษฐานพระเป็นเจ้า และได้พบกับผู้ป่วยโรคเรื้อนที่พยายามตีตนออกห่าง แต่เขาแสดงความรู้สึกสงสารเห็นใจ และพยายามเข้าหาชิดใกล้
  6. How Brother Ginepro cooked enough food for two weeks, and Francis moved by his zeal gave him permission to preach.
    • Saint Francis ได้รับบริจาคทานจากชาวบ้านจำนวนมาก ภารดา Ginepro จึงตัดสินใจทำอาหารทั้งหมดในคราเดียวซึ่งสามารถเลี้ยงคนได้สองสัปดาห์ นั่นทำให้ Saint Francis อนุญาติให้ Ginepeo ออกไปเผยแพร่ศาสนา แต่ด้วยข้อตกลงบางอย่า
  7. How Brother Ginepro was judged on the gallows, and how his humility vanquished the ferocity of the tyrant Nicalaio.
    • ภารดา Ginepro ระหว่างกำลังเดินทางไปเผยแพร่ศาสนา พบเจอกับจอมเผด็จการ Nicalaio สั่งให้ลูกน้องทำการทรมานสารพัดวิธี เพราะครุ่นคิดว่าคือศัตรูที่จะมาลอบทำร้าย แต่จนแล้วจนรอดกลับพบเห็นเพียงใบหน้าอันเบิกบาน จนเขายินยอมพ่ายแพ้ต่อความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาดังกล่าว
  8. How Brother Francis and Brother Leon experienced those things that are perfect happiness.
    • Saint Francis ให้คำแนะนำภารดา Leon ถึงสิ่งที่สามารถสร้างความสุขสูงสุด นั่นคือการถูกเพื่อนมนุษย์พูดขับไล่ กระทำร้ายร่างกาย เพราะนั่นคือวิธีการจะทำให้ใกล้ชิดความเจ็บปวดของพระเยซูคริสต์มากที่สุด
  9. How St. Francis left St. Mary of the Angels with his friars and traveled the world preaching peace.
    • ถึงเวลาแยกทาง Saint Francis มอบคำสอบสุดท้ายกับศิษยานุศิษย์ ก่อนแยกย้ายไปเผยแพร่ศาสนายังทิศทางที่พระเป็นเจ้ากำหนดไว้

นักแสดงแทบทั้งหมดไม่เคยพานผ่านประสบการณ์ด้านการแสดง บาทหลวงคณะ Franciscan ล้วนมาจากวิหาร Nocere Inferiore และ Maiori อยู่ที่ Campania, Salerno (บางคนก็เคยร่วมแสดง Paisà (1946)) ซึ่งทุกคนล้วนเต็มใจร่วมงานโดยไม่รับค่าจ้างใดๆ ผู้กำกับ Rossellini ต้องการทำอะไรตอบแทนให้สักอย่าง เมื่อพูดคุยสอบถามได้รับคำตอบที่สร้างความประหลาดใจให้ทุกคน นั่นคือขอการจุดพลุ ดอกไม้ไฟ เพื่อสร้างรอยยิ้มให้ชาวบ้านละแวกนี้ (ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน) จักกลายเป็นเรื่องเล่า ‘talk-of-the-town’ ไปอีกหลายสิบปี

สำหรับนักแสดงอาชีพหนึ่งเดียวของหนัง Aldo Fabrizi (1905-90) สัญชาติอิตาเลี่ยน ก่อนหน้านี้เคยร่วมงานผู้กำกับ Rossellini เรื่อง Rome, Open City (1946) รับบทบาทหลวงผู้เสียสละตนเองเพื่อชาวบ้าน แต่มาครานี้เล่นเป็นจอมเผด็การ Nicolaio สวมใส่ชุดเกราะอย่างเว่ออลัง พยายามปั้นแต่งสีหน้าดุดันให้ภารดา Ginepro บังเกิดความหวาดสะพรึงกลัว ดูเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย แต่จนแล้วจนรอดกลับกลายเป็นตัวเขาที่พ่ายแพ้ต่อจิตใจอันบริสุทธิ์ไร้เดียงสา … การแสดงของ Fabrizi แม้ดูเว่อวัง ‘Over-Acting’ แต่ก็ถือว่าเหมาะสมกับบทบาทนี้ที่เป็นขั้วตรงข้ามของ Ginepro จนได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมอย่างล้นหลาม


ถ่ายภาพโดย Otello Martelli (1902-2000) ตากล้องระดับตำนาน สัญชาติอิตาเลี่ยน เกิดที่กรุง Rome เริ่มมีผลงานภาพยนตร์ตั้งแต่ยุคหนังเงียบ จนกระทั่งเริ่มมามีชื่อเสียงจากการร่วมงาน Roberto Rossellini ตั้งแต่ Paisà (1946), Stromboli (1950), The Flowers of St. Francis (1950) และยังเป็นขาประจำยุคแรกๆของ Federico Fellini อาทิ I Vitelloni (1953), La Strada (1954), La Dolce Vita (1960) ฯลฯ

ความสำเร็จของ Neorealist Trilogy (Rome, Open City (1945), Paisan (1946), Germany, Year Zero (1948)) ทำให้ผู้กำกับ Rossellini พยายามจะวิวัฒนาการแนวคิดของ ‘Neorealist’ ไม่ใช่แค่การบันทึกภาพวิถีชีวิต หรือสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันเท่านั้น … The Flowers of St. Francis (1950) คือการทดลองใช้แนวคิดของ ‘Neorealist’ กับภาพยนตร์แนวย้อนยุค (Period) พื้นหลังศตวรรษที่ 13 แต่เอาจริงๆก็แค่ถ่ายทำยังชนบทห่างไกลเท่านั้นเอง

การถ่ายภาพสไตล์ ‘Neorealist’ จะไม่เน้นลวดลีลา หรือใช้เทคนิคภาพยนตร์อันลึกล้ำ มีความเรียบง่าย ใช้แสงธรรมชาติ (ฉากกลางคืนก็ถ่ายกลางวันแล้วใช้ฟิลเลอร์ ‘Day for Night’) เนื่องจากมีตัวประกอบค่อนข้างมากจึงคงมีการซักซ้อม กำหนดระยะมุมกล้อง แต่ก็ให้ความรู้สึกเหมือนบันทึกสารคดีอยู่บ้าง

Rossellini said that his film was a humble and austere work, realistically describing the spirit of the story. … In the cinema, biblical and evangelical subjects took the form of big American films. Think of a film like The Bible by John Huston, The Robe, King of Kings, The Greatest Story Ever Told. The rhetoric of these films interferes with the spiritual message.


ตัดต่อโดย Jolanda Benvenuti ขาประจำผู้กำกับ Roberto Rossellini ตั้งแต่ Stromboli (1950), The Flowers of St. Francis (1950), Europe ’51 (1952), Journey to Italy (1954) ฯลฯ

แม้หนังจะมี Saint Francis คือศูนย์กลาง แต่เรื่องราวมักเกี่ยวข้องกับศิษยานุศิษย์ โดยเฉพาะภารดา Ginepro มักกระทำสิ่งต่างๆด้วยความบริสุทธิ์ หน้าตาใสซื่อ ไม่รู้ประสีประสา ก่อสร้างปัญหาจนต้องได้รับคำสั่งสอนจาก Saint Francis นับครั้งไม่ถ้วน

เรื่องราวเริ่มต้นตั้งแต่คณะ Franciscan ออกเดินทางมาตั้งรกรากยังท้องถิ่นธุรกันดารห่างไกล จุดประสงค์เพื่อเป็นฐานที่มั่นสำหรับการศึกษาเรียนรู้ของศิษยานุศิษย์ใหม่ๆ ทำความเข้าใจแนวคิด หลักคำสอน Saint Francis และท้ายที่สุดสามารถแยกย้ายออกไปเผยแพร่ศาสนาตามทิศทางประสงค์ของพระเป็นเจ้า

การที่หนังแบ่งออกเป็น 9 ตอน โดยแต่ละเรื่องราวต่างมีจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด ลักษณะคล้ายๆ ‘Anthology’ เนื้อหาไม่ได้เชื่อมโยงถึงกัน มันจึงไร้ความจำเป็นจับมามัดรวมกลุ่มก้อน แบ่งแยกออกเป็นองก์ๆ -ผมเลยขอไม่เขียนถึงนะครับ- แต่ถ้าใครรับชมฉบับฉายสหรัฐอเมริกา (ที่ไม่ใช่แผ่นของ Criterion หรือ Master of Cinema) อาจจะไม่พบเจออารัมบทและข้อความคั่นแต่ละตอน เพราะมีการตัดออกไปโดยผู้จัดจำหน่าย (คงครุ่นคิดว่ามันไม่จำเป็นกระมัง)

เกร็ด: โครงสร้างการดำเนินเรื่องด้วยการแบ่งออกเป็นตอนๆ พร้อมข้อความอธิบายเหตุการณ์บังเกิดขึ้น คืออิทธิพลต่อผู้กำกับ Jean-Luc Godard ในการสรรค์สร้างภาพยนตร์ Vivre Sa Vie (1962) (และอีกหลายๆเรื่อง) ด้วยแนวคิดคล้ายๆกัน


เพลงประกอบโดย Renzo Rossellini (1908-82) [น้องชายของ Roberto Rossellini] ร่วมงานกับ Enrico Buondonno (1912-2002) คีตกวี/บาทหลวง(คณะ Franciscan) เป็นทั้งที่ปรึกษาและร่วมเขียนเพลงให้สอดคล้องวิถีของ Saint Francis

แม้โดยปกติแล้วหนังแนว Neorealist มักไม่นิยมใส่บทเพลงประกอบ (นอกจาก ‘diegetic music’) เพื่อสร้างบรรยากาศอันตึงเครียด สะท้อนสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่ถ่ายทำ แต่ผู้กำกับ Rossellini ได้ก้าวข้ามผ่านจุดนั้นมาแล้ว อีกทั้ง The Flowers of St. Francis (1950) นำเสนอเรื่องราวที่มีความสนุกสนาน ไร้เดียงสา คำสอนศาสนาที่สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองโลกทัศน์ผู้ชม จึงเต็มไปด้วยท่วงทำนองอันบริสุทธิ์ ผ่อนคลาย และการขับร้องประสานเสียงที่อาจทำให้สัมผัสถึงสรวงสวรรค์

แต่เอาจริงๆผมรู้สึกว่า ‘sound effect’ ค่อนข้างจะโดดเด่นกว่าบทเพลงประกอบเสียอีกนะ อย่างเสียงกระดิ่งวัวของผู้ป่วยโรคเรื้อน มันช่างสั่นสะท้านทรวงใน และฉากที่ภารดา Ginepro ถูกทรมานโยนไปโยนมา เสียงเชียร์ที่มีความอื้ออึง (จนหนวกหู) ราวกับเสียงเพรียกปีศาจจากขุมนรก พยายามจะฉุดคร่า กระทำร้ายเทวบุตร แต่ก็สุดท้ายกลับพ่ายแพ้ภัยพาล (ซึ่งหลังจากจอมเผด็จการ Nicolaio ยินยอมรับความพ่ายแพ้ บทเพลงแห่งสรวงสวรรค์ก็โหมโรงขึ้นมา)


สิ่งสวยงามที่สุด! ในมุมมองของผู้กำกับ Rossellini ไม่ใช่ทิวทัศน์ธรรมชาติสวยๆ ขุนเขาลำเนาไพร แต่คือวิถีของ Franciscan ใช้หลักความสนุกสนานร่าเริง ‘perfect delight’ โต้ตอบทุกสิ่งอย่างด้วยรอยยิ้ม จิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่องใส ไร้ความหมกมุ่นยึดติดวัตถุข้าวของใดๆ มีเพียงอิสรภาพล่องลอยไป ราวกับกลิ่นหอมของดอกไม้งาม

As the title indicates, my film wants to focus on the merrier aspect of the Franciscan experience, on the playfulness, the ‘perfect delight,’ the freedom that the spirit finds in poverty and in an absolute detachment from material things.

I believe that certain aspects of primitive Franciscanism could best satisfy the deepest aspirations and needs of a humanity who, enslaved by its greed and having totally forgotten the Poverello’s lesson, has also lost its joy of life.

Roberto Rossellini

ขณะที่ Saint Francis คือบุคคลผู้พานผ่านอะไรมามาก เคยใช้ชีวิตเตร็ดเตร่ สำมะเลเทเมา ไม่ยี่หร่าอะไรใคร ก่อนได้ค้นพบความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงสามารถเทศนาสอนสั่ง ให้คำแนะนำต่อลูกศิษย์ลูกหา มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาก็เพื่อเรียนรู้เข้าใจความทุกข์ทรมานของพระเยซูคริสต์

Brother Ginepro เป็นคนละอ่อนเยาว์วัย ยังไม่รู้เดียงสาใดๆต่อโลกกว้าง เลยมักกระทำสิ่งผิดพลาดพลั้งบ่อยครั้ง เพื่อให้ได้รับบทเรียน คำสอนสั่งจาก Saint Francis แต่ก็ไม่เคยหักห้ามปราม มอบอิสรภาพในการครุ่นคิดตัดสินใจ เพราะเชื่อว่าทุกสิ่งอย่างพระเป็นเจ้ากำหนดไว้แล้ว คือสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ ยินยอมรับ และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่องใส เผชิญหน้าเหตุการณ์ร้ายๆด้วยรอยยิ้ม เบิกบานหฤทัย มองโลกในแง่ดีเข้าไว้

The innocent one will always defeat the evil one. I am absolutely convinced of this. And in our own era we have a vivid example in Gandhism.

ถ้าเป็นยุคสมัยอดีตที่มนุษย์ยังมีความเชื่อศรัทธาศาสนา (ไม่ว่าจะพุทธ, คริสต์, อิสลาม หรือศาสนาอื่นใด) ผมเห็นด้วยว่าแนวความคิด ‘ธรรมะย่อมชนะอธรรม’ คือสัจธรรมจริงแท้อย่างแน่นอน แต่โลกยุคสมัยนี้มันไม่มีบุคคลจิตใจบริสุทธิ์หลงเหลืออยู่แล้วนะครับ คนชั่วแม้งก็ครองเมืองทุกหนแห่ง หลักการอหิงสา ของมหาตมะ คานธี จึงล้มเหลวโดยสิ้นเชิง! (ดูอย่างนักโทษการเมืองบ้านเรา อดข้าวอดน้ำ มีประโยชน์อะไร? ใครไหนจะมาสงสารเห็นใจ?)

The Flowers of St. Francis (1950) ในปัจจุบันได้กลายสภาพเป็นภาพยนตร์แห่งอุดมคติ นิทานก่อนนอนสำหรับเด็ก นั่นเพราะค่านิยมโลกยุคสมัยใหม่ได้ปรับเปลี่ยนแปลงไป เรื่องราวต่างๆไม่สามารถจับต้องได้ เพ้อเจ้อไร้สาระ ศรัทธาศาสนาก็เสื่อมถดถอย น้อยคนถึงสัมผัสถึงความหอมหวน ตลบอบอวล รับชมแล้วรู้สึกเบิกบานหฤทัย

ผมไม่แปลกใจเลยว่าหนังเรื่องนี้สร้างอิทธิพลให้ผู้กำกับ Jean-Luc Godard ที่แม้ไม่ได้มีความเชื่อศรัทธาศาสนา/พระเจ้า แต่วิธีการสอนของ Saint Francis คือพลิกกลับตารปัตรความคิด มองโลกในทิศทางตรงข้าม! แม้คณะบาทหลวงถูกตำหนิต่อว่า กระทำร้ายร่างกาย แต่พวกเขากลับครุ่นคิดว่านั่นคือสุขที่สุด เพราะได้สัมผัสถึงความทุกข์ทรมานของพระเยซูคริสต์ (เมื่อตอนถูกตรึงไม้กางเขน)

ชื่อหนังภาษาอิตาเลี่ยน Francesco, giullare di Dio แปลตรงตัวว่า Francis, God’s Jester ไม่ได้หมายความว่า Saint Francis คือตัวตลกหรืออย่างไร แต่เป็นการสื่อถึง Francis และ Brother Ginepro ผู้ได้รับฉายา God’s Jester นำความร่าเริงสนุกสนาน แฝงข้อคิด คติสอนใจให้คริสตชน บังเกิดศรัทธาแรงกล้าในคริสตศาสนา


เข้าฉายในสายการประกวด (in-competition) เทศกาลหนังเมือง Venice แม้ผู้ชมจะชื่นชอบ ได้ยินเสียงหัวเราะ ปรบมือตลอดการฉาย แต่เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ค่อนข้างย่ำแย่ ด่าทอรุนแรงสุดน่าจะคือ ‘monument of stupidity’ เลยไม่สามารถคว้ารางวัลใดๆ และทำเงินในอิตาลีได้เพียง $13,000 เหรียญ

กาลเวลาทำให้หนังได้รับคำชื่นชมในวงกว้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งสำนักวาติกัน เมื่อปี 1995 จัดให้ติดหนึ่งใน 45 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ด้านศรัทธาศาสนา (Religious) การันตีความเป็นอมตะโดยพลัน! แต่ก็ไม่ได้แปลว่าผู้ชมสมัยใหม่จะให้ความสนใจสักเท่าไหร่นะครับ

หนังได้รับการบูรณะครั้งแรกเมื่อปี 2005 คุณภาพ High-Definition กลายเป็น DVD โดย Criterion Collection และ Masters of Cinema, ล่าสุดเมื่อปี 2021 ได้รับการบูรณะคุณภาพ 4K เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes Classics คงต้องรอแผ่นอีกสักพักใหญ่ๆ

แม้ส่วนตัวจะไม่ค่อยเข้าใจแนวคิดของศาสนาคริสต์ ยินยอมรับความเจ็บปวดเพื่อให้สัมผัสถึงความทุกข์ทรมานของพระเยซูคริสต์ แต่ถ้ามองข้ามหลักคำสอนศาสนา ภาพรวมผมค่อนข้างชื่นชอบหนัง ในความซื่อตรงของ Saint Francis และจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของ Brother Ginepro รู้สึกเบ่งบานสะพรั่งหัวใจ โดยเฉพาะการเอาชนะสิ่งชั่วร้ายเพียงแค่รอยยิ้ม ช่างเป็นอุดมคติที่ยิ่งใหญ่ นิทานก่อนนอนให้หลับฝันดี

แนะนำชาวคริสเตียน นี่(น่าจะ)เป็นหนังสอนศาสนาเรื่องเยี่ยม, นักประวัติศาสตร์ สนใจศึกษาเรื่องราวของ Saint Francis of Assisi ผู้ให้กำเนิดคณะ Franciscan, นักเรียน/นักศึกษาภาพยนตร์ กำลังค้นคว้าวิวัฒนาการของ Neorealist กับผลงานที่ Robert Rossellini มีความโปรดปรานมากที่สุด

จัดเรต pg กับพฤติกรรมเห็นแก่ตัวของมนุษย์โลก

คำโปรย | ผู้กำกับ Roberto Rossellinin ได้ทำให้ The Flowers of St. Francis ส่งกลิ่นหอมหวน ตลบอบอวล ดอกไม้เบ่งบานสะพรั่ง
คุณภาพ | ตลบอบอวล
ส่วนตัว | เบ่งบานสะพรั่ง

The Horse Thief (1986)


The Horse Thief (1986) Chinese : Tian Zhuangzhuang ♥♥♥♥

โชคชะตาของโจรขโมยม้า ในยุคสมัยที่ชาวทิเบต ค.ศ. 1923 ยังเต็มเปี่ยมด้วยแรงเชื่อมั่นศรัทธาพุทธศาสนา จึงถูกขับไล่ออกจากชนเผ่า เลยต้องหาหนทางเอาตัวรอดท่ามกลางธรรมชาติกว้างใหญ่ รอคอยชดใช้ผลกรรมเคยกระทำไว้

The Horse Thief (1986) เป็นภาพยนตร์ที่แทบไม่มีเนื้อเรื่องราวใดๆ เพียงนำเสนอวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อศรัทธาชาวธิเบต ในลักษณะ ethnic film หรือ race film (ภาพยนตร์แนวชาติพันธุ์) แต่ความงดงามของธรรมชาติกว้างใหญ่ ขุนเขาลำเนาไพร รวมถึงวัดเก่าแก่ในทิเบต จักสร้างความตื่นตาตะลึง อึ้งทึ่ง และยิ่งได้รับการบูรณะคุณภาพ 4K การันตีโดยผู้กำกับ Martin Scorsese ยกย่องว่าคือภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่สุดเคยรับชมช่วงทศวรรษ 90s (Best Films of the 1990s)

แซว: ภาพยนตร์เรื่องนี้น่าจะคือเหตุผลหนึ่งที่ Martin Scorsese ตัดสินใจสรรค์สร้าง Kundun (1997)

ผมมีความสนใจในสองผลงานชิ้นเอกของผู้กำกับเทียนจวงจวง The Horse Thief (1986) และ The Blue Kite (1993) มาสักพักใหญ่ๆ เรื่องแรกเห็นข่าวการบูรณะคุณภาพ 4K พร้อมๆกับ Yellow Earth (1984) แสดงว่ามันต้องยอดเยี่ยมมากแน่ๆ ส่วนเรื่องหลังคือหนึ่งใน Great Movie ของนักวิจารณ์ Roger Ebert จะพลาดได้อย่างไร!

แม้ส่วนตัวแอบผิดหวังเล็กๆต่อ The Horse Thief (1986) ที่เนื้อเรื่องราวเบาบางไปสักหน่อย แถมนำเสนอศรัทธาชาวธิเบต (พุทธศาสนา) ในลักษณะคร่ำครึ งมงาย หลงเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ แต่ต้องยอมรับว่างานภาพของหนังมีความงดงาม ตื่นตระการตา สร้างความประทับใจอ้าปากค้างตั้งแต่แรกพบเห็น ถ้ามีโอกาสแนะนำเลยว่าต้องหารับชมในโรงภาพยนตร์!


เทียนจวงจวง, 田壮壮 (เกิดปี 1952) ผู้กำกับ/โปรดิวเซอร์ชาวจีน เกิดที่กรุงปักกิ่ง เป็นบุตรของนักแสดงชื่อดังเทียนฟาง, 田丰 ที่ต่อมากลายเป็นหัวหน้าสตูดิโอ Beijing Film Studio, ส่วนมารดาคือนักแสดงหญิงชื่อดังอวี้หลัน, 于蓝 ทั้งสองงานยุ่งมากจึงต้องฝากบุตรชายไว้กับคุณย่า จนกระทั่งการมาถึงของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม (1966-76) พบเห็นพ่อ-แม่ถูกพวกยุวชนแดงทุบตีต่อหน้าต่อตา ตั้งแต่นั้นมาก็หมกตัวอยู่กับกองหนังสือ ไม่สนใจโลกภายนอก หลังเรียนจบมัธยมก็ได้เข้าร่วม ‘ปัญญาชนอาสาพัฒนาชนบท’ ที่อำเภอเจิ้นไล่ มณฑลจี๋หลิน

เกร็ด: เทียนจวงจวงเป็นเพื่อนสนิทวัยเด็กกับเฉินข่ายเกอ วิ่งเล่นในกองถ่ายด้วยกัน แต่การมาถึงของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เฉินข่ายเกอเลือกสมัครเข้าร่วมยุวชนแดง กล่าวประณามบิดา-มารดา ส่วนเทียนจวงจวงติดตามครอบครัวไปยังมณฑลจี๋หลิน

แม้เกิดในครอบครัวภาพยนตร์ แต่เทียนจวงจวงก็ไม่เคยคิดติดตามรอยเท้า จนกระทั่งระหว่างอาสาสมัครกองทัพปลดปล่อยประชาชน (People’s Liberation Army) ณ มณฑลเหอเป่ย อยู่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองงานศิลปะและการแสดง มีโอกาสพบเจอช่างภาพสงคราม ให้คำแนะนำการถ่ายรูปจนเกิดความชื่นชอบหลงใหล หลังปลดประจำการได้งานผู้ช่วยตากล้อง Beijing Agricultural Film Studio จนกระทั่ง Beijing Film Academy เปิดรับนักศึกษาใหม่ ยื่นใบสมัครต้องการเป็นช่างภาพแต่กลับถูกบังคับให้ร่ำเรียนสาขากำกับ ถ่ายทำหนังสั้นนักศึกษา Our Corner (1980) ถือว่าจุดเริ่มต้นภาพยนตร์เรื่องแรกของผู้กำกับรุ่นห้า (Fifth Generation)

เกร็ด: เทียนจวงจวง ได้รับเลือกเป็นประธานรุ่น Beijing Film Academy ’78 คงไม่ผิดอะไรจะกล่าวว่าคือผู้นำกลุ่มผู้กำกับรุ่นห้าด้วยเช่นกัน!

หลังสำเร็จการศึกษา ได้รับมอบหมายให้ทำงานอยู่ยัง Beijing Film Studio เริ่มจากร่วมกำกับ Red Elephant (1982), ภาพยนตร์เรื่องแรก September (1984), สารคดีแนวทดลอง On the Hunting Ground (1985), ภาพยนตร์ The Horse Thief (1986) สองเรื่องหลังแม้ไม่ประสบความสำเร็จในจีนแผ่นดินใหญ่ แต่เมื่อนำออกฉายต่างประเทศกลับได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม, Li Lianying: The Imperial Eunuch (1991) คว้ารางวัล Honourable Mention จากเทศกาลหนังเมือง Berlin, The Blue Kite (1993) ถูกทางการจีนสั่งแบนแต่ยังแอบลักลอบนำไปฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes ทำให้เทียนจวงจวงโดนห้ามยุ่งเกี่ยวภาพยนตร์อยู่หลายปี ก่อนหวนกลับมา Springtime in a Small Town (2002), The Go Master (2006) และผลงานทิ้งท้าย The Warrior and the Wolf (2009)

สไตล์หนังของเทียนจวงจวง มุ่งแสวงหาความเรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่เน้นปรุงปั้นแต่งเรื่องราว/ตัวละครมากเกินพอดี ใช้ภาษาภาพยนตร์ในการสร้างมิติตื้นลึกหนาบาง และโดดเด่นกับมุมกล้องถ่ายภาพ (ก็แน่ละมาจากสายช่างภาพ แบบเดียวกับจางอี้โหมว)

I want to make film for the audience in the 21th century.

เทียนจวงจวง

สำหรับ The Horse Thief ต้นฉบับมาจากนวนิยาย 盗马贼的故事 (1984) แปลว่า The Story of the Horse Thief แต่งโดย Zhang Rui, 张锐 ตีพิมพ์ลงนิตยสารเฟย​เทียน,飞天 สามารถคว้ารางวัล Youth Literature Award ครั้งที่ 4 ประจำปี 1984

ผู้กำกับ/โปรดิวเซอร์ อู๋เทียนหมิง, 吴天明 ขณะนั้นเป็นหัวหน้าสตูดิโอ Xi’an Film Studio สามารถติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์นวนิยายจาก Zhang Rui แล้วมอบหมายให้ผู้กำกับเทียนจวงจวง เพราะความประทับใจจากผลงานก่อนหน้า On the Hunting Ground (1985) มอบความเชื่อมั่น อิสรภาพเต็มที่ในการดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์

แต่แทนที่บทหนังจะได้รับการพัฒนาขึ้นก่อน ทีมงานกลับเร่งรีบออกเดินทางไปสำรวจสถานที่ถ่ายทำ คัดเลือกนักแสดงทิเบตไว้แล้วเสร็จสรรพ ทำให้ผู้กำกับเทียนจวงจวง เลยต้องมาครุ่นคิดเขียนบทช่วงระหว่างโปรดักชั่น ส่วนใหญ่จึงเป็นการดั้นกันสดๆ บันทึกภาพทิวทัศน์สวยๆ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อศรัทธา นำเสนอออกมาในลักษณะกึ่งๆสารคดีเสียมากกว่า

แถมยุคสมัยนั้นมีกฎระเบียบสำหรับภาพยนตร์ว่าต้องพูดภาษาจีนกลาง Mandarin เท่านั้น! สำเนียงท้องถิ่นยังไม่ได้รับอนุญาต แต่ผู้กำกับเทียนจวงจวงมองว่ามันไม่เหมาะสมกับหนังแนวชาติพันธุ์นี้เลย นักแสดงก็คัดเลือกชาวทิเบตที่พูดได้แต่ Tibetan เลยตัดสินใจถ่ายทำแบบไม่สนใจอะไร แล้วค่อยๆลดทอนบทสนทนา เน้นนำเสนอเรื่องราวผ่านภาษาภาพ ‘visual image’ ถึงอย่างนั้นเมื่อหนังพร้อมฉายก็ยังถูกสั่งห้าม เลยต้องพากย์ทับจีนกลางอยู่ดี!

เกร็ด: ผู้กำกับเทียนจวงจวง ยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญภาษาทั้ง Tibetan และ Mandarin เพื่อมาทำ Subtitle แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ใช้เพราะถูกบังคับให้ต้องพากย์จีนกลางทับอยู่ดี


พื้นหลัง ค.ศ. 1923 ณ ทุ่งหญ้าเซียะเหอ, 桑科大草原 จังหวัดกานหนาน แขวงปกครองตนเองชนชาติทิเบต ทางตอนใต้มณฑลกานซู่

เรื่องราวของนอร์บู, ནོར་བུ (ภาษาทิเบต แปลว่าอัญมณี) คนเลี้ยงสัตว์ตามทุ่งหญ้า สมาชิกชนเผ่ากงกา, 贡嘎山 อาศัยอยู่ร่วมกับภรรยาตารา/ทารา, སྒྲོལ་མ (พระโพธิสัตว์ในพุทธนิกายมหายาน ปรากฎกายในรูปของเพศหญิง) และบุตรชายจาซือ, བཀྲ་ཤིས (แปลว่ามงคล รุ่งเรือง, ชาวทิเบตจะนิยมพูดว่า จาซือเตเล่, Tashi Delek แปลว่า ขอให้โชคดี) ด้วยความยากจนข้นแค้นจึงตัดสินใจเป็นโจรขโมยม้า เมื่อหัวหน้าชนเผ่าได้รับแจ้งจากทางการ จึงตัดสินใจขับไล่นอร์บูออกจากชนเผ่า

นอร์บูและตารา ต่างมีศรัทธาต่อพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า เมื่อจาซือล้มป่วยหนักจึงเข้าไปอธิษฐานขอพรยังวัดลาบรัง (Labrang Monastery) แต่ราวกับผลกรรมเคยกระทำไว้ติดตามทัน เป็นเหตุให้ต้องสูญเสียบุตรชาย ด้วยความเศร้าโศกเสียใจ ทั้งสองจึงออกจาริกขอขมาด้วยการกราบไหว้อัษฎางคประดิษฐ์ และเมื่อมาจนถึงวัดลาบรัง ตาราก็ตระหนักว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์

แต่ชีวิตที่ต้องอาศัยอยู่กลางท้องทุ่งหญ้า เต็มไปด้วยภยันตรายรอบทิศทาง ทั้งจากสภาพอากาศแปรปรวน โรคระบาดห่าใหญ่ ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน แถมในอดีตเลยเป็นโจรขโมยม้า มาตอนนี้ม้าของพวกเขาเลยถูกลักขโมย นอร์บูจึงพยายามโน้มน้าวภรรยาให้พาทารกน้อยหวนกลับชนเผ่ากงกา ส่วนตนเองขอเผชิญหน้ารับผลกรรมเคยก่อกระทำไว้


ถ่ายภาพมีสองเครดิต ทั้งสองต่างเป็นเพื่อนร่วมรุ่น Beijing Film Academy ประกอบด้วย

  • โฮ่วหยง, Hou Yong (เกิดปี 1960) ตากล้อง/ผู้กำกับชาวจีน หลังสำเร็จการศึกษาจาก Beijing Film Academy เริ่มต้นร่วมงานผู้กำกับเทียนจวงจวง The Horse Thief (1986), The Blue Kite (1993), และผู้กำกับจางอี้โหมวเรื่อง Not One Less (1999), The Road Home (1999), Hero (2002) ฯลฯ
  • เจาเฟย, Zhao Fei (เกิดปี 1961) ตากล้องชาวจีน เกิดที่ซีอาน มณฑลส่านซี, หลังสำเร็จการศึกษาจาก Beijing Film Academy เริ่มต้นร่วมงานผู้กำกับเทียนจวงจวง The Horse Thief (1986), The Last Eunuch (1991), ผลงานเด่นๆ อาทิ Raise the Red Lantern (1992), The Emperor and the Assassin (1998), The Sun Also Rises (2007), Let the Bullets Fly (2010) ฯ

ความงดงามของหนังไม่ได้มาจากแค่ทิวทัศน์ ท้องทุ่งหญ้า สภาพอากาศผันแปรเปลี่ยนตามฤดูกาลเท่านั้น แต่คือการขับเน้นเฉดสีที่เป็นธรรมชาติ ตัดกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อศรัทธาของชาวทิเบต ซึ่งจะมีความสวยสด สีสันฉูดฉาด สร้างบรรยากาศลึกลับ สัมผัสสิ่งเหนือธรรมชาติ สะกดจิตผู้ชมให้ราวกับต้องมนต์ขลัง ในลักษณะการผสมผสานระหว่าง realism และ surrealism

สิ่งที่ผมรู้สึกว่าน่าประทับใจสุดของหนัง คือการนำเสนอภาพความขัดแย้งทางอารมณ์ของตัวละคร (psychological) ซ้อนทับความเชื่อศรัทธาของชาวทิเบต (religious) นอร์บูรับรู้ว่าลักขโมยคือสิ่งไม่ถูกต้อง แต่เพราะความยากจนข้นแค้น อาชีพที่ทำอยู่ก็ไม่เพียงพอเลี้ยงปากท้อง ประเพณีขอโน่นขอนี่ก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไร อยากให้ครอบครัวมีชีวิตสุขสบาย แล้วฉันจะต้องทำอย่างไร?

หลายคนอาจมองว่าภาพทิวทัศน์ธรรมชาติสวยๆคือไฮไลท์ของการถ่ายภาพ แต่ผมกลับโคตรประทับใจ ขนลุกขนพองกับฉากเต้นรำจาม (Cham dance, འཆམ་) ป็นฉากที่มีสัมผัสลึกลับ เหนือธรรมชาติ สร้างความหลอกหลอนให้ทั้งนอร์บูและผู้ชม เพื่อย้ำเตือนว่าอย่าทำผิดศีลให้มากกว่านี้


อารัมบทของหนัง เริ่มต้นด้วยการนำเสนอวิถีแห่งธรรมชาติ ก้อนเมฆเคลื่อนพานผ่าน แสงสว่าง-มืดมิด จากนั้นพบเห็นอีแร้งกากำลังเฝ้ารอคอย โบยบินลงมารุมล้อมจิกกัดมื้ออาหาร แต่พอหนังแทรกภาพพระลามะกำลังสวดมนต์ พร้อมกงล้ออธิษฐาน (Prayer Wheel) เหมือนว่าสิ่งที่พวกมันรับประทานน่าจะคือเนื้อมนุษย์ เพราะช่วงกลางเรื่องเมื่อผู้นำชนเผ่าเสียชีวิต ก็จะนำเสนอภาพเดียวกันนี้อีกครั้ง

ขณะเดียวกันเรายังสามารถมองถึงเหตุการณ์ตอนจบของหนัง สิ่งบังเกิดขึ้นกับนอร์บูได้ด้วยเช่นกัน เวียนวนกลับสู่จุดเริ่มต้น แสดงถึงวัฎจักรแห่งชีวิต

คนที่รับชมซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษอาจฉงนสงสัยว่า Triratna คืออะไร? ถ้าแปลตรงตัวก็คือไตรรัตน์ หรือพระรัตนตรัย น่าจะคือคำอธิษฐานถึงพระพุทธเจ้าของชาวทิเบต เปรียบเทียบคงคล้ายๆ ‘God bless’ ขอให้พระเจ้าคุ้มครอง นี่เป็นการแสดงออกที่สะท้อนถึง ‘ความเชื่อศรัทธา’ คนไทยก็ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ เวลามีปัญหาก็พนมมือขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ไม่เคยศึกษาหลักคำสอนให้เข้าถึงธรรมะแล้วนำไปปฏิบัติใช้จริงในชีวิตประจำวัน ศาสนาเลยเสื่อมลงทุกวี่วัน

เกร็ด: ชาวธิเบตเชื่อว่าทุกครั้งที่กงล้อนี้หมุน เท่ากับเป็นการสวดมนต์ครบหนึ่งจบ ดังนั้นผู้ที่ทำการสวดมนต์และหมุนกงล้ออธิษฐานไปพร้อมๆกัน จะเป็นตัวช่วยเพิ่มพูนบุญกุศล ชำระบาปกรรม ด้วยกรรมดี

ทังกา (Thangka) จิตกรรมพุทธศาสนาบนผืนผ้าขนาดใหญ่ หนึ่งในวัฒนธรรมเก่าแก่ของชาวทิเบตที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปี คาดว่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 โดยรับอิทธิพลจากเนปาลและจีน (สมัยราชวงศ์ถัง) จุดประสงค์เพื่อให้ผู้พบเห็นบังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา สัมผัสถึงความยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนา ซึ่งยังเป็นการฝึกฝนจิตสมาธิของผู้วาด ผลงานเปรียบดั่งสะพานเชื่อมจิตใจให้ผู้มองเห็นไปสู่พระพุทธเจ้า มิใช่เพียงการมองผ่านดวงตา แต่ยังดวงจิตอันกระจ่างแจ้งถึงพระธรรม

แม้ชาวทิเบตนับถือพุทธศาสนา แต่พวกเขาก็ยังคงนับถือพระเจ้าอื่นๆ Mountain God (เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา) คงเชื่อว่าคือเทพยดาปกปักษ์ดูแลผืนแผ่นดินแดนแห่งนี้ จึงมีประเพณี (ไม่รู้ชื่ออะไร) ทำคันศร บูชายันต์แกะ เพื่อให้ชีวิตประสบความสงบสุข อยู่รอดปลอดภัย

แต่การทิ้งท้ายซีเควนซ์นี้ด้วยการโยนกระดาษปลิดปลิว ทำลายทัศนียภาพอันสวยงาม ไม่รู้ทำไมผมถึงรู้สึกเหมือนใบปลิวชวนเชื่อพรรคคอมมิวนิสต์ ที่เต็มไปด้วยถ้อยคำจอมปลอม ลวงล่อหลอกให้หลงเชื่อใน

  • Mountain God = ประธานเหมาเจ๋อตุง
  • ทำอาวุธคันศร = หลอมเหล็กในช่วง Great Leap Forward (1958-62)
  • บูชายันต์แกะ/สังเวยผู้เห็นต่าง = Anti-Right Campaign (1957-59)

สถานที่แห่งนี้คือ วัดลาบรัง หรือ วัดลาภูลั้นซื่อ (Labrang Monastery) วัดทิเบตเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี (สร้างขึ้น ค.ศ. 1709) ตั้งอยู่ในอำเภอเซี่ยเหอ แคว้นปกครองตนเองกานหนาน กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต มณฑลกานซู่ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน, จัดเป็น 1 ใน 6 วัดสำคัญของพุทธศาสนา นิกายเกลุก/เกรุปปะ/หมวกเหลือง (Gelugpa Sect) ฝ่ายวัชรยาน ทั้งยังเปิดโรงเรียนสอนทิเบตศาสตร์ถึง 6 แขนง มีพระลามะอาศัยอยู่ 2,000 รูป และไฮไลท์สำคัญคือกงล้ออธิษฐานเรียงตามทางเดินยาวกว่า 2,000 กงล้อ (ถ้าจะหมุนให้ครบต้องใช้เวลาเกินกว่าชั่วโมง)

เกร็ด: วัดลาบรัง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่คุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญระดับชาติเมื่อปี ค.ศ. 1982 และปัจจุบันเพิ่งเสร็จสิ้นการบูรณะซ่อมแซมขนาดใหญ่ (ครั้งแรกในรอบ 300+ ปี) ด้วยเงินลงทุนกว่า 400 ล้านหยวน

ตรรกะเพี้ยนๆของหัวขโมย แบ่งสิ่งของออกเป็นกองเล็ก-ใหญ่ ตั้งใจส่วนหนึ่งแบ่งไปทำบุญ ส่วนนอร์บูเลือกบริจาคทั้งหมดให้วัด (เพื่อสุขภาพที่ดีของบุตรชายจาซือ) แต่เมื่อพบเห็นสร้อยคอ (ในกองที่จะเอาไว้ทำบุญ) ควักเงินจ่ายเพื่อนำมาเป็นของขวัญให้บุตรชาย

ผมเริ่มเกาหัวตั้งแต่แบ่งของที่ลักขโมยมาทำบุญ คือเมิงทำชั่วแล้วยังหวังได้บุญคืน WTF! ไม่ต่างจากคนสมัยนี้ที่โกงกินคอรัปชั่น แล้วยังมีหน้าเข้าวัดทำบุญ สร้างภาพอ้างว่าฉันเป็นคนดีมีศีลธรรม

ส่วนสร้อยคอที่นอร์บูควักเงินจ่ายจากกองทำบุญ (เอาไปเลยก็ได้มั้ง ยังไงทั้งหมดนี่ก็ลักขโมยมา) แต่เหมือนว่านี่คือสิ่งที่ทำให้เขาถูกขับไล่ออกจากชนเผ่า และผลกรรมทำให้บุตรชายราวกับถูกสาป ต้องล้มป่วยหนัก จนกระทั่งเสียชีวิต (มีความตั้งใจดีแต่กระทำสิ่งชั่วร้าย เลยได้รับความชอกช้ำทั้งร่างกาย-จิตใจ)

ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าชาวทิเบตมีประเพณีเกี่ยวกับการชะล้างร่างกายอะไรรึเปล่า (นึกถึงชาวฮินดูในอินเดียที่เชื่อว่าการอาบน้ำในแม่น้ำคงคา จะช่วยชำระล้างบาป หลุดพ้นจากวงจรชีวิตและความตาย) แต่ฉากนี้ให้ความรู้สึกเหมือนมีมากกว่าแค่การทำความสะอาด โดยเฉพาะช็อตของตาราแลดูเหมือน ‘พระแม่ธรณีบีบมวยผม’ สัญลักษณ์ของความมั่นคงและป้องกันสิ่งเลวร้าย

พุทธประวัติเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงผจญกับเหล่าพวกพญามารทั้งหลาย ซึ่งได้ออกอุบายต่างๆนานา เพื่อให้ทรงเกิดกิเลสตัณหา แต่พระพุทธองค์ทรงไม่ยินดียินร้าย และในครั้งนั้นเองพระแม่ธรณีทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเหล่าพญามารโดยทรงบีบมวยผม ให้น้ำไหลออกมาท่วมพวกพญามารทั้งหลายให้พ่ายแพ้ไป

แต่เหมือนว่าพญามารจักคือนอร์บู เพราะหลังจากนี้สิ่งชั่วร้ายเคยกระทำจักได้รับการเปิดเผยสู่สาธารณะ และถูกหัวหน้าไล่ออกจากชนเผ่า ไม่สามารถหวนกลับคืนมาได้อีก!

นี่เป็นช็อตที่ผมรู้สึกขัดแย้งกันยิ่งนัก พบเห็นลำแสงขาวสาดส่องมายังเด็กชายจาซือ (ราวกับแสงจากสรวงสวรรค์ สัมผัสของพระพุทธเจ้า) แต่ใบหน้าของตารากลับอาบฉาบแสงสีแดง สะท้อนความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน (ที่พบเห็นบุตรชายล้มป่วยหนัก) สรุปว่ามันดีหรือร้ายกันแน่?

ช็อตนี้ยังทำให้ผมรู้สึกว่าหนังต้องการเปรียบเทียบเด็กชายจาซือ กับแกะที่ถูกใช้บูชายันต์ต่อ Mountain God การสังเวยชีวิตก็เพื่อให้กำเนิดอีกชีวิตใหม่ (เกิด-ตาย คือวงเวียนวัฎจักรชีวิต)

นอร์บูต้องการน้ำศักดิ์สิทธิ์จากวัดลาบรัง เพื่อใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของบุตรชาย แต่วิธีการของเขาคือเฝ้ารอคอยน้ำหยดจากกำแพงสูง ให้ความรู้สึกเหมือนการเป็นเพียงเศษฝุ่นใต้ฝ่าละอองทุลีพระบาท แบ่งปันน้ำพระทัยตามพระอัชฌาสัย (พอจินตภาพสิ่งที่ผมพยายามเปรียบเทียบนี้ไหมเอ่ย?) และยังสามารถสื่อถึงโชคชะตาของผู้ถูกไล่ขับ/ตีตราความผิดในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม (1966-76)

เมื่อถึงจุดๆหนึ่งนอร์บูก็เลยช่างแม้ง เพียงตั้งเหยือกใส่น้ำทิ้งไว้แล้วไปทำอะไรอย่างอื่น นี่ฟังดูเฉลียวฉลาด แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งหมายถึงเขาได้สูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธาต่อสิ่งที่กำลังกระทำอยู่ น้ำในเหยือกนี้(วางลงบนพื้น)จึงไม่ศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป

แวบแรกที่ผมเห็นการจุดเทียนเรียงรายแบบนี้ ชวนระลึกถึงภาพยนตร์ Hero (2002) เปลวไฟแห่งอารมณ์ สามารถตรวจจับอารมณ์ความตั้งใจของผู้คน แต่แท้จริงแล้วน่าจะเป็นการจุดเทียนสืบชะตา สะเดาะห์เคราะห์ ต่ออายุ ทำให้เรื่องร้ายๆกลับกลายเป็นดี ปัดเป่าเสนียดจัญไร ทุกข์โศกโรคภัยทั้งหลายทั้งปวงก็จักหายไป

ขณะเดียวกันนอร์มูก็กระทำการกราบไหว้อัษฎางคประดิษฐ์ รูปแบบการเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์(ด้วยความเคารพสูงสุด)ของพุทธศาสนานิกายวัชรยานตันตระ มีต้นกำเนิดตั้งแต่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 12

  • เริ่มต้นด้วยการยืนตัวตรง ประนมมือที่ระดับหน้าอก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ภายในอุ้งมือเป็นรูปดอกบัว แล้วจึงเคลื่อนมือไปยังตำแหน่งกลางกระหม่อม หน้าผาก ลำคอ และหน้าอก อันเป็นตำแหน่งที่ตั้งของจุดจักระ (Chakra)
  • จากนั้นเหยียดแขนออกไปข้างหน้า ย่อเข่าลงพร้อมโน้มเอียงตัวไปข้างหน้าจนลำตัวเหยียดตรง นอนราบลงกับพื้น แต่ก็ต้องระวังไม่ให้หัวเข่าแตะพื้นก่อนที่ลำตัวจะเหยียดออกไป
  • จากนั้นเคลื่อนลำแขนทั้งสองข้างไปด้านข้างของลำตัวตามแนวโค้งของวงกลมพร้อมกับค่อยๆ ชันตัวขึ้นบนเข่า ยืดตัวขึ้นกลับมาสู่ท่ายืนตรงอย่างตอนเริ่มต้น

เกร็ด: สำหรับบุคคลที่จาริกแสวงบุญหรือเดินจงกรม จะก้าวเดิน 3 ก้าว แล้วกราบอัษฎางคประดิษฐ์กับพื้นหนึ่งครั้ง (โดยใช้การไถตัวไปข้างหน้า) สลับไปมาจนกว่าจะถึงเป้าหมายปลายทาง

ราวกับว่ากาลเวลาได้เคลื่อนพานผ่านไป นอร์บูสูญเสียบุตรชายตั้งแต่ช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงก้าวย่างสู่ช่วงหิมะตก แสดงถึงความเศร้าโศกเสียใจ รับรู้สึกผิดที่ตนเองเคยกระทำสิ่งชั่วร้าย จึงเหมือนตั้งมั่นปณิธาน ต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์จริงใจ เริ่มออกจาริกแสวงบุญขอขมาร่วมกับภรรยา เดินสามก้าวแล้วก้มกราบไหว้อัษฎางคประดิษฐ์

ตลอดซีเควนซ์จาริกขอขมาครั้งนี้ หนังทำการซ้อนภาพระหว่างนอร์บูกำลังก้มกราบ และภาพวาด/ประติมากรรม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และเสียงเพลงที่มอบสัมผัสเหนือธรรมชาติ เหล่านี้ราวกับว่ามีอะไรบางอย่าง(พระพุทธเจ้า)รับรู้การแสดงออกของพวกเขา เลยอำนวยอวยพรให้ตาราตระหนักว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์

เมื่อสองสามีภรรยาจาริกขอขมาถึงวัดลาบรัง พวกเขาก็ตรงเข้าไปหมดกงล้ออธิษฐาน ทำให้ทุกสิ่งอย่างเปลี่ยนจากร้ายกลายเป็นดี (ในเชิงสัญลักษณ์) จากนั้นรับชมระบำจาม (Cham Dance) ถ่ายทำตอนกลางคืน พื้นหลังมืดมิด คละฟุ้งด้วยหมอกควันขาว ราวกับว่านี่คือภาพนิมิต/จินตนาการของนอร์มูและภรรยา (มุมกล้องเอียงๆด้วยนะ) เพื่อคอยย้ำเตือนสติถึงสิ่งชั่วร้ายที่เคยกระทำ ครานี้ยังสามารถปัดเป่าปีศาจร้าย แต่ถ้ากระทำผิดซ้ำก็ตามมีตามเกิดแล้วละ

พานผ่านฤดูกาลหนาวเหน็บ ก็หวนกลับสู่ทุ่งหญ้าเขียวขจี (หน้าร้อน) วัฏจักรธรรมชาติไม่ต่างจากวัฏจักรชีวิต สองปีหลังจากสูญเสียบุตรชายคนแรก ตาราก็ให้กำเนิดบุตรคนใหม่ นำพาความสดชื่น เริงรื่น ชีวิตชีวากลับสู่ครอบครัวอีกครั้ง

การมาถึงของโรคระบาดห่าใหญ่ ทำให้สรรพสัตว์ล้มตาย ผู้นำชนเผ่าก็ไม่รอดชีวิต จึงต้องมีการขุดดินกลบฝังเจ้าแกะน้อยที่ดูเหมือนไม่ได้เจ็บป่วยอะไรเลย … เห็นฉากนี้ทำให้ผมนึกถึงการปฏิวัติวัฒนธรรม (1966-76) อีกเช่นกัน! พฤติกรรมของพวกยุวแดงไม่แตกต่างจากโรคระบาดห่าใหญ่ พบเห็นใครทำอะไรไม่พึงพอใจก็พร้อมจับกุม กลบฝัง (ในเชิงสัญลักษณ์) ป่าวประจานต่อหน้าสาธารณะ ทั้งๆที่คนเหล่านั้นอาจไม่ได้กระทำผิดอะไร

ความเยิ่นยาวของฉากนี้ทำให้ผู้ชมเริ่มเกิดข้อสงสัย สังเกตพฤติกรรมของชาวบ้าน พวกเขาดูเร่งรีบ เอาจริงจัง เหมือนเต็มไปด้วยความ(ขลาด)หวาดกลัว เจ้าแกะตัวไหนพยายามตะเกียกตะกายก็เอาเสียมทุบศีรษะ ราวกับว่าตอนถ่ายทำมันเกิดเหตุการณ์โรคระบาดห่าใหญ่ขึ้นมาจริงๆ แถมกลบดินเกือบมิดหัว! … บรรยากาศของฉากนี้สะท้อนถึงพฤติกรรมของยุวแดงได้ด้วยเช่นกัน ผู้กำกับเทียนจวงจวงเหมือนต้องการสื่อว่าพวกเขาเหล่านั้นคงเต็มไปด้วยความ(ขลาด)หวาดกลัว ไม่ได้ระเริงรื่นกับสิ่งที่แสดงออกสักเท่าไหร่ เพียงพบเห็นใครทำอะไรก็ต้องเฮโลตามเขาไป ถ้าขัดขืนต่อต้านก็อาจกลายเป็นผู้โดนกระทำ ถูกดินกลบฝังมิดศีรษะเช่นเดียวกัน

ล้อกับตอนต้นเรื่องที่นำเสนอประเพณีเกี่ยวกับ Mountain God มาคราวนี้ในทิศทางตรงกันข้าม พิธีกรรมการขับไล่วิญญาณชั่วร้ายลงสู่แม่น้ำ ด้วยการนำรูปปั้นหน้าตาเหมือนเปรต/ปีศาจ โอบอุ้มโดยนอร์มู (สามารถเปรียบเทียบตรงๆว่าเขาได้กลายเป็น River Ghost) ลงไปล่องลอยคออยู่กลางแม่น้ำ แล้วถูกชาวบ้านเขวี้ยงขว้างก้อนหินขับไล่ และมีลูกหลงโดนศีรษะของเขาจนเลือดอาบไหล … แต่แทนที่จะรู้สึกผิด กลับหยิบเงินบริจาคที่วางอยู่บนก้อนหินเก็บใส่กระเป๋า

เกร็ด: เมืองไทยเราก็มีประเพณีคล้ายๆกันนี้นะครับ อย่างสิบสองเป็ง, ปุพพเปตพลี ฯ มักจัดขึ้นช่วงสารทเดือนสิบ (วันนรกดับ) จุดประสงค์เพื่ออุทิศบุญกุศลแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ให้ได้ไปสู่ภพภูมิที่ดีขึ้น

สำหรับชาวทิเบต ม้า (Horse) ถือเป็นเลือดเนื้อเชื้อไข ของรักของหวง เลี้ยงดูแลราวกับบุตรหลาน หรือจะมองว่าคือจิตวิญญาณของผู้เลี้ยง การถูกขายหรือลักขโมยก็เท่ากับเป็นการสูญสิ่งบางสิ่งอย่างในตนเอง

นอร์มูขณะนี้ก็ราวกับสูญเสียความมนุษย์ ไม่ต่างจากเปรด/วิญญาณล่องลอย (River Ghost) ใช้ชีวิตอย่างเรื่อยเปื่อยไร้แก่นสาน ออกเดินค้นหาอาหารที่ไม่รู้อยู่แห่งหนใด พบเจอโดยโชคชะตา และพร้อมทำทุกสิ่งอย่างโดยไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว เพื่อประทังชีวิตตนเองและครอบครัว ไม่ต้องอดอยาก อยู่อย่างทนทุกข์ทรมาน

แค่ตัวเองยังเอาตัวไม่รอด จะให้ธำรงอยู่ในศีลในธรรมได้อย่างไร? เจ้าแกะตัวนี้แม้ผูกผ้าพันคอแสดงความเป็นเจ้าของ แต่นอร์มูมิอาจอดรนทนต่อความหิวโหยจึงล้อมจับและเข่นฆ่า (น่าจะตายจริงๆนะครับ) นี่แสดงถึงความท้อแท้หมดสิ้นหวัง มาถึงจุดที่เขายินยอมตกนรกหมกไหม้ ย่อมดีกว่าหิวโหยจนขาดใจตาย

สังเกตว่านอร์มูเข่นฆ่าเจ้าแกะตัวนี้บนพื้นที่ขาวโพลนด้วยหิมะ เพื่อแสดงถึงการกระทำอันบริสุทธิ์ โดยสันชาติญาณ ไม่มีความชั่วร้ายใดๆเจือปน แต่ถึงอย่างนั้นมันกลับขัดย้อนแย้งกับหลักศีลธรรม ความถูกต้องเหมาะสม สังคมไม่ยินยอมรับ และสักวันหนึ่งต้องใช้ผลกรรมในสิ่งที่ก่อ นี่มันยุติธรรมตรงไหน? … คนที่ต้องคำถามลักษณะนี้แสดงว่าไม่เข้าใจวัฏจักรชีวิตเลยนะครับ มองเพียงสิ่งบังเกิดขึ้นตรงหน้า ขณะนี้ ชาตินี้ ทำไมฉันถึงลำบาก? ต้องทนทุกข์ทรมาน? ไม่มีอะไรจะกิน? ล้วนเป็นผลกรรมสะสมมาจากชาติปางก่อนทั้งนั้น

การที่จู่ๆแท่นบูชาไฟลุกไหม้โชติช่วง นั่นคือลางร้ายบอกเหตุ เหมือนว่า Mountain God ไม่พึงพอใจอะไรบางอย่าง? นั่นทำให้ผมมองย้อนกลับไปหาฉากก่อนหน้าที่มีการเข่นฆ่าเจ้าแกะน้อย หรือมันเป็นตัวที่ใช้สังเวย/บูชาเทพเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงนอร์มู(และครอบครัว)จึงถูกฟ้าดินลงทัณฑ์ ขับไล่ให้ออกไปจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้

นี่เป็นอีกฉากที่สร้างความรำคาญใจให้ผมอย่างมาก เพราะเป็นการนำเสนอความงมงายต่อเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ ทำไมตอนหิวโหยไม่เคยช่วยเหลืออะไร แต่พอกระทำสิ่งชั่วร้าย/ไม่พึงพอใจกลับขับไล่ไสส่ง … พฤติกรรมของ Mountain God เอาแต่ใจไม่ต่างจากประธานเหมาเลยนะ!

กลับตารปัตรจากตอนต้นเรื่อง นอร์มูและเพื่อนลักขโมยม้าตอนกลางคืนกลางท้องทุ่งหญ้า <> สลับมาตอนกลางวันแสกๆโจรสองคนปีนป่ายขึ้นเนินเขามาลักขโมยม้าของนอร์มู … นี่เรียกว่ากรรมสนองโดยแท้

ผมละแอบเกาหัวเล็กๆ ไม่ใช่ว่าก่อนหน้านี้ไฟไหม้แท่นบูชา Mountain God แล้วทำไมพวกเขาถึงอพยพย้ายมาตั้งเต้นท์บนเนินเขา? หรือเพราะอยู่ในช่วงระหว่างการเดินทางผ่าน กำลังมองหาสถานที่ตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานใหม่? แต่ภูเขาหิมะที่อยู่ด้านหลังอันตรายมากเลยนะ ไม่ใช่ช่วงเวลาเหมาะสมต่อการย้ายบ้านเลยสักนิด!

ไม่ต้องอธิบายฉากนี้ก็น่าจะรับรู้ได้ว่าเกิดเหตุการณ์อะไร สังเกตว่าพื้นหิมะขาวช่วยขับเน้นสีแดงเลือดให้มีความเด่นชัด สามารถสื่อถึงความตายของผู้บริสุทธิ์ ประชาชนชาวจีนไม่รู้เท่าไหร่ที่เสียชีวิตในช่วงรัชสมัยประธานเหมาเจ๋อตุง จากการออกนโยบายไร้สาระอะไรก็ไม่รู้ Anti-Right Campaign (1957-59), Great Leap Forward (1958-62), Cultural Revolution (1966-76) ฯลฯ มีบทความหนึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ New York Times ตั้งชื่อได้น่าสนใจมากๆว่า Who Killed More: Hitler, Stalin, or Mao?

เกร็ด: ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมีผู้เสียชีวิตประมาณ 12 ล้านคน เหมือนจะเยอะแต่เมื่อเทียบกับ Great Leap Forward (1958-62) มีชาวจีนที่เสียชีวิตจากความหิวโหย (Famine) ประมาณ 15-55 ล้านคน!

ตัดต่อโดย Li Jingzhong, 李京中 และ Li Kezhi, 李克之 (Red Sorghum (1988))

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองนอร์บู ตั้งแต่ครั้งแรกที่ลักขโมยม้า คือเหตุผลทำให้ถูกขับไล่ออกจากชนเผ่า สูญเสียบุตรชาย ร่วมกับภรรยาออกจาริกขอขมาสู่วัดลาบรัง และการตัดสินใจเผชิญหน้ายินยอมรับผลกรรม

  • อารัมบท, นอร์บูและเพื่อนลักขโมยม้า
  • ชนเผ่ากงกา
    • นำเสนอวิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อศรัทธาของชาวทิเบต
    • นอร์บูปล้นพ่อค้าขายของ ทำให้ถูกขับไล่ออกจากชนเผ่า
  • การสูญเสียจาซือ
    • จาซือล้มป่วยหนัก นอร์บูพยายามอธิษฐานขอพรวัดลาบรัง
    • การเสียชีวิตของจาซือ ทำให้นอร์บูและภรรยาจาริกขอขมาสู่วัดลาบรัง
    • รับชมการแสดงเต้นรำจาม เริ่มทำให้ตระหนักถึงผลของการกระทำ
  • เผชิญหน้ายินยอมรับผลกรรม
    • เกิดเหตุการณ์โรคระบาดสัตว์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย
    • นอร์บูพยายามโน้มน้าวภรรยาให้พาทารกน้อยกลับสู่ชนเผ่า
    • นอร์บูถูกโจรลักขโมยม้า เลยออกติดตามไล่ล่า และได้รับผลกรรมคืนตอบสนอง

เรื่องราวของหนังไม่ได้มีความซับซ้อนอะไร แถมยังไม่ค่อยมีบทพูดสนทนา ส่วนใหญ่ใช้การเล่าเรื่องด้วยภาพ ‘visual image’ ร้อยเรียงปะติดปะต่อเพื่อสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตวิทยาตัวละคร ทำให้เกิดสัมผัสของบทกวีภาพยนตร์


เพลงประกอบโดยฉวีเสี่ยวซุง, 瞿小松 (เกิดปี 1952) คีตกวีชาวจีน หลังสำเร็จการศึกษาจาก Central Conservatory of Music ได้รับทุนแลกเปลี่ยน Columbia University เลยปักหลักอาศัยอยู่สหรัฐอเมริกา มีผลงานออร์เคสตรา, โอเปร่า, Chamber Music, เพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ Sacrificed Youth (1986), The Horse Thief (1986), Samsara (1988), King of the Children (1988), Life on a String (1991), Pushing Hands (1991) ฯลฯ

งานเพลงของฉวีเสี่ยวซุง ไม่เชิงว่ามีกลิ่นอายทิเบต (แต่ก็ได้ยินเสียงเครื่องดนตรีพื้นบ้านอยู่บ้าง) มุ่งเน้นสร้างบรรยากาศลึกลับ มอบสัมผัสเหนือธรรมชาติ ระยิบระยับด้วยกระดิ่ง ระฆัง บางครั้งก็เสียงสวดมนต์ ประสานขับร้องคอรัส และเครื่องดนตรีสังเคราะห์เสียง (Synthesizer) ให้ผู้ชมรับรู้สึกเหมือนมีบางสิ่งอย่างที่เราไม่สามารถเผชิญหน้าต่อกร นั่นคือวิถีแห่งชีวิต สัจธรรมความจริง จำต้องยินยอมรับผลของกรรมในสิ่งเคยกระทำ

น่าเสียดายที่หนังไม่มีอัลบัมเพลงประกอบ แต่อยากจะแนะนำการเต้นรำจาม (Cham Dance) ชาวตะวันตกให้คำเรียก ‘devil dance’ โดยนักแสดงสวมหน้ากากสีดำ ตัวแทนของพระวัชรกาลี, Vajrakilaya (อวตารหนึ่งของพระโพธิสัตว์วัชรปาณี) ทำพิธีปัดเป่าขับไล่วิญญาณชั่วร้าย หน้ากากโครงกระดูก ศีรษะกวาง ให้ผู้เข้าร่วมประสบแต่ความโชคดีมีชัย

The Horse Thief (1986) นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ดิ้นรน ยินยอมกระทำสิ่งขัดแย้งต่อวิถีชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อศรัทธาของชนเผ่า/ชาวทิเบต เพื่อหาหนทางเอาชีพรอด (Survival) นำความเป็นอยู่สุขสบายมามอบกับครอบครัว

The Horse Thief is a story about belief, death, and how to survive. No matter which generation you’re from, you’ll always have to think about that. Because at the time, I just experienced the biggest political movement at the time, The Cultural Revolution, of course I was thinking about these themes. Using a Tibetan story is easier to tell than using a Han Chinese story, which would be more complex.

ผู้กำกับเทียนจวงจวง

บอกตามตรงผมครุ่นคิดไม่ถึงว่า ผู้กำกับเทียนจวงจวงจะทำการเปรียบเทียบเรื่องราวของหนัง กับประสบการณ์ที่เคยได้รับเมื่อครั้นการปฏิวัติวัฒนธรรม (1966-76) หลังจากครอบครัวถูกยุวชนแดงกล่าวประณาม ส่งไปใช้แรงงานหนักยังมณฑลจี๋หลิน ก็เหมือนกับนอร์บูโดนขับไล่ออกจากชนเผ่า จึงต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางทุ่งหญ้าเซียะเหอ

แซว: ทีแรกผมครุ่นคิดว่าผู้กำกับเทียนจวงจวงต้องการโจมตี การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า (1958-62) เพราะนำเสนอความอดอยากปากแห้งของตัวละคร คือต้นสาเหตุให้มนุษย์ก่อกระทำความผิด

เรื่องราวในหนังบุตรชายจาซือล้มป่วยเสียชีวิต สามารถสื่อถึงเด็กชายเทียนจวงจวงที่สูญเสียจิตวิญญาณ ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อครอบครัว แต่ไม่นานก็ราวกับได้ถือกำเนิดใหม่ ค้นพบความสนใจของตนเอง และก่อนมีโอกาสเดินทางกลับปักกิ่ง (ได้งานผู้ช่วยตากล้อง Beijing Agricultural Film Studio) บิดาของเขาก็ล้มป่วยเสียชีวิต คงเปรียบเทียบถึงผลกรรมของโจรขโมยม้ากระมัง

แม้ผู้กำกับเทียนจวงจวง เหมือนเต็มไปด้วยอคติต่อบิดา (เปรียบเทียบกับโจรขโมยม้า) แต่เขาก็พยายามนำเสนอให้เห็นถึงจิตสำนึก ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ฉันก็ไม่ได้อยากกระทำสิ่งนี้ (องก์สองของหนังเต็มไปด้วยการแสดงความสำนึกผิด) แต่เพื่อการเอาชีพรอด ครอบครัวเป็นอยู่สุขสบาย แล้วมันผิดอะไรตรงไหนกัน?

ถ้าเรามองพุทธศาสนาเป็นเพียงความเชื่อศรัทธา ย่อมบังเกิดความฉงนสงสัย โล้เล้ลังเลใจ โหยหาสิ่งสร้างความสุขภายนอกกาย อยากร่ำรวย อยากโด่งดัง อยากเป็นเจ้าของโน่นนี่นั่น ก่อเกิดกิเลสตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ นำมาซึ่งความทุกข์ทรมาน เวียนว่ายตายเกิดในวัฎฎะสังสาร

พุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาแห่งความเชื่อหรือศรัทธา แต่ท้าทายให้ชาวพุทธต้องพิสูจน์ ศึกษาร่ำเรียน เข้าถึงธรรมะด้วยตัวเราเอง นำเสนอหลากหลายสรรพวิธีในการใช้ชีวิต ชี้ให้เห็นถึงสัจธรรมชีวิต กฎแห่งกรรมคือความจริง จิตวิญญาณว่ายเวียนวนอยู่ในวัฎฎะสังสาร

สำหรับศีลห้าคือการห้ามปราม ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ทำแล้วต้องชดใช้ผลกรรมตามที่เคยก่อ ‘ลักขโมยม้าของผู้อื่น สักวันหนึ่งย่อมต้องถูกโจรลักขโมยม้าของเรา’ สังเกตว่าทั้งห้าข้อล้วนเกี่ยวกับการกระทำต่อผู้อื่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ข่มขืน โกหกหลอกลวง และชั่วร้ายสุดคือสุราเมระยะ เสพของมึนเมา นอกจากเป็นการทำร้ายตนเอง ยังคือต้นเหตุก่อให้เกิดความประมาท สามารถกระทำผิดศีลสี่ข้อก่อนหน้าได้ทั้งหมด

น่าเสียดายที่ผมรู้สึกว่าประเด็นศาสนาของหนังถูกนำเสนอในลักษณะความเชื่อศรัทธา ดูงมงาย และมอบสัมผัสเหนือธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนกรอบความคิด ‘ปัญญาชน’ ชาวจีนยุคสมัยนั้นที่ต้องการทุบทำลายอดีต รวมถึงทุกๆศาสนา แล้วเปลี่ยนมาเชื่อในตัวบุคคล ประธานเหมาเจ๋อตุง ซึ่งแม้ผู้กำกับเทียนจวงจวงจะเต็มไปด้วยอคติต่อการปฏิวัติทางวัฒนธรรม แต่เขาย่อมได้รับการเสี้ยมสอนปลูกฝัง ในฐานะ ‘ปัญญาชน’ ด้วยทัศนคติชาวจีนรุ่นใหม่

เอาจริงๆถ้าผู้กำกับไม่พูดออก ผมเองยังไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างหนังกับการปฏิวัติวัฒนธรรม มันเป็นการเปรียบเทียบที่โคตรห่างไกล แน่นอนว่ากองเซนเซอร์จีนย่อมไม่อาจจินตนาการถึง จึงยินยอมปล่อยผ่าน แถมให้การสนับสนุน อนุรักษาแถมยังให้ทุนบูรณะ … ผู้ชมไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงประเด็นการเมืองก็ได้นะครับ เพียงเพลิดเพลินไปกับงานภาพสวยๆ การต่อสู้ดิ้นรน/ธรรมชาติชีวิตท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเหี้ยมโหดร้าย

ผมค่อนข้างสนใจกลุ่มเป้าหมายของผู้กำกับเทียนจวงจวง เคยให้สัมภาษณ์บอกว่าสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องเพื่อผู้ชมศตวรรษที่ 21 หรือก็คือพวกเรายุคสมัยนี้! ได้มีโอกาสพบเห็นสิ่งที่ต้องถือว่าแทบจะหมดสูญสิ้น ไม่หลงเหลือวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อศรัทธาดังกล่าวบนโลกนี้อีกแล้วกระมัง … ถือเป็นการบันทึกอดีต หรือที่เรียกว่าไทม์แคปซูล

I try to make films for this century. No director doesn’t want their films to be seen by the people of their age. But sometimes you’ll create films that have completely different tastes from your general audience. That is fate. That’s fate’s problem, and there’s nothing you can do about it.

ผู้กำกับเทียนจวงจวง ให้สัมภาษณ์เมื่อตอนนำหนังฉบับบูรณะเข้าฉาย Cannes Classic เมื่อปี 2019

หลังจากหนังสร้างเสร็จสิ้น กลับไม่ได้รับอนุญาตจากทางการจีนให้นำออกฉาย เพราะนักแสดงพูดภาษา Tibetan เลยต้องนำมาพากย์เสียงทับ Mandarin โชคดีว่ามีสตูดิโอจัดจำหน่ายสัญชาติฝรั่งเศส Les Films de l’Atalante ได้ติดต่อขอซื้อฟีล์มต้นฉบับ จึงยังสามารถหารับชมภาษา Tibetan ที่ฝรั่งเศสและหลายๆประเทศในยุโรป/สหรัฐอเมริกา

ขณะที่ฉบับบูรณะคุณภาพ 4K Digital Restoration ได้รับทุนสนับสนุนจาก China Film Archive ซึ่งทางการจีนอนุญาตให้ฟื้นฟูเสียงต้นฉบับ (ภาษา Tibetan) ภายใต้การดูแลของผู้กำกับเทียนจวงจวง และตากล้องโฮ่วหยง แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี 2018 จัดฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Beijing International Film Festival ติดตามด้วยเทศกาลหนังเมือง Cannes Classic

เพียงไม่กี่ช็อตของหนังก็สร้างความ ‘overwhelming’ ให้ผมอย่างล้นหลาม แม้เรื่องราวจะไม่มีอะไรน่าจดจำ แต่เราก็สามารถเพลิดเพลินไปกับงานภาพสุดตระการตา ความน่าอัศจรรย์ของธรรมชาติ-ชีวิต สะกดจิตผู้ชมราวกับต้องมนต์ขลัง สู่วังวนแห่งศรัทธาความเชื่อพุทธศาสนา กระทำสิ่งใดๆไว้ย่อมได้รับผลกรรมนั้นคือตอบสนอง

แนะนำคอหนัง Art House ใช้ภาพในการเล่าเรื่องราว ‘visual image’ งดงามดั่งบทกวีภาพยนตร์, ช่างภาพ ตากล้อง ชื่นชมทิวทัศน์ธรรมชาติสวยๆ ขุนเขากว้างใหญ่, สนใจวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อศรัทธาชาวธิเบตสมัยก่อน, และโดยเฉพาะชาวพุทธ นิกายวัชรยาน สัมผัสมนต์ขลังของกฎแห่งกรรม

จัดเรต 13+ กับภาพความตาย และการโจรกรรม

คำโปรย | The Horse Thief ของผู้กำกับเทียนจวงจวง นำเสนอความน่าอัศจรรย์ของธรรมชาติ ชีวิต สะกดจิตผู้ชมราวกับต้องมนต์ขลัง สู่วังวนแห่งศรัทธาความเชื่อพุทธศาสนา
คุณภาพ | ต้ต์
ส่วนตัว | เพลิดเพลินตา

Sous le soleil de Satan (1987)


Under the Sun of Satan (1987) French : Maurice Pialat ♥♥

เมื่อประธานกรรมการเทศกาลหนังเมือง Cannes ปีนั้น Yves Montand ประกาศรางวัล Palme d’Or อย่างเป็นเอกฉันท์! ทำให้เกิดทั้งเสียงปรบมือและโห่ขับไล่ ผู้กำกับ Maurice Pialat ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์บอกว่า ‘ถ้าคุณไม่ชอบผลงานผม ผมก็ไม่ชอบขี้หน้าพวกคุณเหมือนกัน’

I shall not fail to uphold my reputation. I am particularly pleased by all the protests and whistles directed at me this evening, and if you do not like me, I can say that I do not like you either.

Maurice Pialat กล่าวตอนขึ้นรับรางวัล Palme d’Or

ถือเป็นปีที่มีความดราม่าอันดับต้นๆของเทศกาลหนังเมือง Cannes เพราะชัยชนะของ Under the Sun of Satan (1987) เกิดจากเสียงโหวตอันเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการ แต่ผู้ชม/นักวิจารณ์ส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะตัวเต็งอย่าง Repentance (1984) และ Wings of Desire (1987) โดดเด่นกว่าอย่างเห็นได้ชัด และต่างเหนือกาลเวลาด้วยกันทั้งสองเรื่องเลยนะ!

ถ้าผมเข้าร่วมเทศกาลหนังเมือง Cannes ปีนั้น เชื่อว่าก็คงเป็นหนึ่งในคนที่ส่งเสียงโห่ไล่ แต่เหตุผลน่าจะแตกต่างจากผู้ชมชาวยุโรป (ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวคริสเตียน) คล้ายๆโคตรผลงาน Ordet (1955) ของผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer เป็นภาพยนตร์แห่งศรัทธาของคริสตชน แต่ถ้าคุณนับถือศาสนาอื่น ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า ก็จักเต็มไปด้วยอคติ ครุ่นคิดเห็นต่าง สนทนาอะไรก็ไม่รู้ เสียเวลารับชมชะมัด!

ขอเหมารวมอีกสองผลงาน Diary of a Country Priest (1951) และ Mouchette (1967) ของผู้กำกับ Robert Bresson ที่ก็ดัดแปลงจากนวนิยายของ Georges Bernanos (1888-1948) นักเขียนชาวฝรั่งเศส เคยเป็นทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เลยได้พบเห็นหายนะจากสงคราม ส่งอิทธิพลต่อผลงานประพันธ์ มักสร้างโลกเต็มไปด้วยความเหี้ยมโหดร้าย แต่ท่ามกลางความท้อแท้สิ้นหวังนั้น อาจยังมีประกายแห่งแสงสว่างนำทางสู่สรวงสวรรค์ … เป็นอีกสองผลงานระดับวิจิตรศิลป์ แต่อิงศรัทธาศาสนามากเกินพอดี

เนื้อหาสาระของ Under the Sun of Satan (1987) คือการตั้งคำถามเกี่ยวกับศรัทธา(คริสต์)ศาสนา ท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยความเหี้ยมโหดร้าย ภายใต้รัศมีของซาตาน -ผู้บริสุทธิ์ถูกใส่ร้าย คนชั่วลอยนวล- เรายังสามารถพบเห็นแสงสว่างแห่งความหวัง พระเป็นเจ้านำทางสู่สรวงสวรรค์ได้หรือไม่?

เอาจริงๆเหตุผลที่ผมไม่ค่อยชอบหนังเพราะปัญหาอื่นๆมากกว่า การดำเนินเรื่องที่เชื่องช้าน่าหลับ (ระยะเวลา 93 นาที แต่รู้สึกเหมือนสามชั่วโมง), ไดเรคชั่นผู้กำกับ Pialat โดยปกติมักทำการดั้นสด ‘improvised’ มอบอิสระในการพูดคุยสนทนา แต่เรื่องราวดัดแปลงจากนวนิยายไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ นักแสดงต้องท่องจำบท ศัพท์เฉพาะทาง(ศาสนา)เยอะมากๆ ทำให้การแสดงดูแข็งๆ ภาพรวมไม่กลมกลอมสักเท่าไหร่ (เป็นครั้งแรกครั้งเดียวที่ผู้กำกับ Pialat ดัดแปลงนวนิยาย กลายมาเป็นภาพยนตร์!)


Maurice Pialat (1925-2003) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Cunlhat, Puy-de-Dôme ในครอบครัวชนชั้นแรงงาน (Working Class) บิดาเป็นช่างไม้ ขายไวน์ ขุดถ่านหิน แต่หลังจากมารดาเสียชีวิต เลยถูกส่งไปอาศัยอยู่กับย่าที่ Villeneuve-Saint-Georges, วัยเด็กมีความเพ้อฝันอยากเป็นจิตรกร เข้าศึกษายัง École Nationale Supérieure des Arts Décoratifs แต่ช่วงขณะนั้นคาบเกี่ยวสงครามโลกครั้งที่สอง เลยไม่สามารถหาหนทางประสบความสำเร็จ จึงล้มเลิกความตั้งใจ มองหางานรับจ้างทั่วๆไปที่จับต้องได้ อาทิ เซลล์แมนขายเครื่องพิมพ์ดีด, นักแสดงละครเวที, เก็บหอมรอมริดจนสามารถซื้อกล้องถ่ายทำหนังสั้น กระทั่งเข้าตาโปรดิวเซอร์ Pierre Braunberger ได้รับงบประมาณสรรค์สร้าง L’amour existe (1960) ส่งเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Venice คว้ารางวัล Prix Lumière (ของหนังสั้น)

หนังสั้น L’amour existe (1960) สร้างความประทับใจผู้กำกับ François Truffaut อาสาจัดหาทุนภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Naked Childhood (1968) จากนั้นโอกาสก็ไหลมาเทมา ติดตามด้วย We Won’t Grow Old Together (1972), The Mouth Agape (1974), Graduate First (1978), Loulou (1980), Under the Sun of Satan (1987) ** คว้ารางวัล Palme d’Or, Van Gogh (1991) ฯลฯ

ระหว่างการสรรค์สร้าง The Mouth Agape (1974) ภาพยนตร์อัตชีวประวัติผู้กำกับ Pialat นำเสนอวาระสุดท้ายของมารดา ล้มป่วยนอนซมซาน ทนทุกข์ทรมานอยู่บนเตียงจนเสียชีวิต ช่วงเวลาดังกล่าวย่อมสร้างความเจ็บปวดรวดร้าว คือจุดเริ่มต้นทำให้เขาตระหนักถึงความเหี้ยมโหดร้ายของโลกใบนี้! ซึ่งคงค้นพบความสนใจนวนิยาย Sous le soleil de Satan (1926) ผลงานชิ้นเอกของ Georges Bernanos ครุ่นคิดอยากดัดแปลงมานาน แต่ยังหาโอกาส งบประมาณ นักแสดงที่เหมาะสมไม่ได้

หลังเสร็จจาก À Nos Amours (1983) ในที่สุดผู้กำกับ Pialat ก็ตระหนักว่าถึงเวลา ค้นพบทุกสิ่งอย่างพยายามติดตามหา, Gérard Depardieu เพื่อนสนิท/นักแสดงขาประจำ สามารถเล่นเป็นอวตารของตนเอง, ส่วนเด็กสาวหน้าใส Sandrine Bonnaire เหมาะสมอย่างยิ่งกับตัวละคร Mouchette

It has stuck with me for ten years, Father Donissan, one has the impression that it was written for Depardieu . He could be surprising in there. As for Sandrine Bonnaire, although she doesn’t have that ‘skinny cat’ side, she would surely make an interesting Mouchette.

Maurice Pialat

ร่วมพัฒนาบทภาพยนตร์โดย Sylvie Danton (เกิดปี 1960) สัญชาติฝรั่งเศส วัยเด็กเพ้อฝันอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่ไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลยหันมาเอาดีด้านภาพยนตร์ เริ่มจากทำงานในกองถ่าย Le Destin de Juliette (1982), ได้รับมอบหมายให้ดูแลงานสร้างฉาก À nos amours (1982) ถูกเกี้ยวพาราสีโดยผู้กำกับ Maurice Pialat ตอบตกลงอาศัยครองคู่ มีบุตรชายร่วมกันหนึ่งคน และช่วยเหลืองานสามีอยู่บ่อยครั้ง

เกร็ด: ก่อนหน้านี้นวนิยาย Sous le soleil de Satan เคยได้รับการดัดแปลงเป็น Téléfilm เมื่อปี 1971, กำกับโดย Pierre Cardinal, นำแสดงโดย Maurice Garrel และ Catherine Salviat


บาทหลวงคาทอลิก Donissan (รับบทโดย Gérard Depardieu) ถูกส่งตัวมาฝึกงานยังชนบทห่างไกล ภายใต้การควบคุมดูแลของ Menou-Segrais (รับบทโดย Maurice Pialat) แต่หลังจากพานพบเห็นสิ่งต่างๆ รับฟังคำสารภาพบาปนับครั้งไม่ถ้วน เริ่มเกิดความโล้เล้ลังเลในอาชีพนักบวช ละเหี่ยใจกับความชั่วร้ายของโลกปัจจุบันนี้ ที่มนุษย์กระทำสิ่งต่างๆโดยไร้ซึ่งจิตสำนึก ถูก-ผิด ชอบ ชั่ว-ดี

อีกเรื่องราวที่นำเสนอเคียงคู่กันไปคือเด็กสาววัยสิบหก Mouchette (รับบทโดย Sandrine Bonnaire) บุตรของพ่อค้าเบียร์ ค่ำคืนดึกดื่นเคาะประตูหาชายคนรัก Cadignan พยายามโน้มน้าวให้เขาหนีตามไปอยู่ด้วยกัน แต่เขาตอบปฏิเสธเพราะกำลังประสบปัญหาการเงิน เช้าวันถัดมาเธอจึงแสร้งทำเป็นเล่นปืนลูกซอง แล้วจ่อยิงเข่นฆาตกรรมระยะประชิดใกล้, วันถัดมาเดินทางไปหาอีกชายคนรัก Gallet หมอหนุ่มมีภรรยาอยู่แล้ว เธอพยายามโน้มน้าวชักจูงด้วยคำกลับกลอกปอกลอก แต่ขณะกำลังสารภาพว่าตนเองเข่นฆ่า Cadignan เขากลับโต้ตอบนั่นเป็นไปไม่ได้ (เพราะตนเองเป็นผู้ชันสูตรศพ และตัดสินว่าคือการฆ่าตัวตาย)

ครั้งหนึ่ง Donissan ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปยังอีกหมู่บ้านห่างไกล ต้องเดินทางระยะทางหลายกิโลเมตร แปลกที่ค่ำคืนดึกดื่นไม่ยอมถึงปลายทางสักที นั่นเพราะซาตานพยายามลวงล่อหลอกให้เขาหลงติดกับ พอไม่สำเร็จก็สาปแช่งด่าทอ หมายหัวให้ต้องประสบเรื่องร้ายๆ เช้าวันถัดมาระหว่างเดินทางต่อพบเจอกับ Mouchette สัมผัสถึงความผิดปกติ เลยพยายามโน้มน้าวให้กลับตัวกลับใจ ยินยอมสารภาพความผิด

แต่สิ่งที่ Mouchette กระทำเมื่อหวนกลับบ้านคือกรีดคอฆ่าตัวตาย ความทราบถึง Donissan ต้องการช่วยเหลือวิญญาณของเธอให้รอดพ้นจากเงื้อมมือซาตาน จึงอุ้มพามาวางยังแท่นบูชาในโบสถ์ แต่นั่นสร้างความไม่พอใจให้ใครต่อใคร (เพราะถือว่าคือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์) เลยถูกสั่งย้ายไปยังอีกสถานที่ห่างไกล


Gérard Xavier Marcel Depardieu (เกิดปี 1948) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Châteauroux, Indre บิดาเป็นช่างตีเหล็ก ฐานะยากจน มีพี่น้องห้าคน ตัดสินใจออกจากโรงเรียนตอนอายุ 13 ปี ทำงานเป็นช่างพิมพ์ ฝีกหัดต่อยมวย ค้าขายของโจร เคยถูกส่งตัวเข้าสถานพินิจหลายครั้ง พออายุ 20 เห็นเพื่อนสนิทเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ เลยตัดสินใจละทอดทิ้งการเป็นอันธพาลข้างถนน เดินทางมุ่งสู่กรุง Paris เริ่มทำงานตัวตลกยัง Café de la Gare, จากนั้นแสดงละคร โทรทัศน์ สมทบภาพยนตร์ เริ่มมีชื่อเสียงจาก Les Valseuses (1974), ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ Maurice Pialat ประกอบด้วย Loulou (1980), Police (1985), Sous le soleil de Satan (1987), Le Garçu (1995), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ 1900 (1976), The Last Metro (1980), Cyrano de Bergerac (1990), Green Card (1991), 1492: Conquest of Paradise (1992), Hamlet (1996), Life of Pi (2012) ฯลฯ

รับบทบาทหลวง Donissan อยู่ในช่วงจิตใจสับสน ไม่แน่ใจตนเองว่าเหมาะสมต่อการเป็นนักบวชหรือเปล่า กำลังจะถูกท้าทายจากพระเป็นเจ้าให้เผชิญหน้าซาตาน หลังสามารถเอาตัวรอดโดยยังคงความเชื่อมั่นศรัทธา พยายามช่วยเหลือ Mouchette ให้รอดพ้นเงื้อมมือซาตาน และช่วยท้ายฟื้นคืพเด็กชายจากความตาย … ถึงอย่างนั้นตัวเขาที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งภายใน ท้ายที่สุดก็มิอาจธำรงชีพอยู่ ตกตายในห้องรับฟังการสารภาพบาป

เกร็ด: ผู้แต่งนวนิยาย Georges Bernanos สรรค์สร้างตัวละคร Donissan โดยได้แรงบันดาลใจจากนักบุญ John Vianney (1786-1859) หรือที่รู้จักในชื่อ Curé d’Ars ผู้อุทิศตัวให้ภารกิจบาทหลวงที่เมือง Ars, France แต่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการให้คำปรึกษาผู้มาสารภาพบาป บางคนถึงขนาดสามารถปรับเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเอง เฉพาะปี 1855 มีประชาชนเดินทางมาขอสารภาพบาปกว่า 20,000+ คน! (เฉลี่ยวันละ 55+ คน)

ไม่ผิดอะไรจะบอกว่า Depardieu คือตัวตายตัวแทน/อวตารของผู้กำกับ Pialat ตั้งแต่รับรู้จักก็กลายเป็นเพื่อนสนิทสนม ซึ่งเราสามารถมองตัวละครนี้ Donissan = Depardieu = ผู้กำกับ Pialat เต็มไปด้วยความสับสนในศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า

สีหน้าสายตาของ Depardieu เต็มไปด้วยความท้อแท้สิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยาก พยายามอดอาหาร ทรมานตนเอง เดินไม่กี่ก้าวก็เหมือนจะล้มครืน ช่างดูอ่อนแอเปราะบาง ผิดกับหุ่นที่เริ่มอวบๆ (เหมือนอัดแน่นด้วยความหมกมุ่นยึดติด) เหล่านี้เพื่อสะท้อนความสับสน ว้าวุ่นวายใจ ไม่รู้จะครุ่นคิดดำเนินชีวิตต่อไปเช่นไร แม้การเผชิญหน้าซาตานจะทำให้เขามีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อพระเป็นเจ้ามากขึ้น แต่ปฏิกิริยาโต้ตอบกลับของคริสตจักรและประชาชน กลับยิ่งทำให้อับจนหนทาง

“ถ้าชีวิตฉันยังมีคุณค่าหลงเหลือ ก็ขอพระเป็นเจ้าช่วยให้รอดชีวิต” แต่ท้ายที่สุดแล้วตัวละครนี้กลับนอนตายอยู่ในห้องสารภาพบาป มองมุมหนึ่งเหมือนขยะที่ใช้แล้วทิ้ง ถูกซาตานฉุดคร่าลงขุมนรก ขณะเดียวกันสามารถมองว่าพระเจ้านำพาเขาสู่สรวงสวรรค์ ให้ไม่ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งชั่วร้ายในโลกใบนี้นี้อีกต่อไป


Sandrine Bonnaire (เกิดปี 1967) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Gannat, Allier ในครอบครัวชนชั้นทำงาน (Working Class) มีพี่น้อง 11 คน, เมื่ออายุ 16 ปี เข้าตาผู้กำกับ Maurice Pialat ได้รับเลือกแสดงนำ À nos amours (1983) แจ้งเกิดคว้ารางวัล César Award: Most Promising Actress, สองปีถัดมาโด่งดังระดับนานาชาติกับ Sans toit ni loi (1985), ตามด้วย Under the Sun of Satan (1987), Monsieur Hire (1989), La Cérémonie (1995), East/West (1999), The Final Lesson (2015) ฯ

รับบท Mouchette เด็กสาววัยสิบหก ชอบพูดโกหกพกลม นิสัยกลับกลอกปอกลอก สานสัมพันธ์บุรุษไม่เว้นหน้า แอบอ้างว่าตนเองตั้งครรภ์ แต่สนเพียงเติมเต็มตัณหาราคะ ความต้องการส่วนบุคคลเท่านั้น ซึ่งเมื่อใครทำอะไรไม่พึงพอใจ ก็พร้อมโต้ตอบเอาคืนอย่างสาสมควร

ปล. ผมเองเมื่อได้ยินชื่อตัวละคร Mouchette ก็ชวนให้นึกถึงภาพยนตร์ Mouchette (1967) ของผู้กำกับ Robert Bresson ที่ก็ดัดแปลงจากนวนิยายของ Georges Bernanos แต่พวกเธอไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไร อุปนิสัยก็แตกต่างตรงกันข้าม ยกเว้นตอนจบต่างลงเอยด้วยการกระทำอัตวินิบาต

หลังร่วมงาน À nos amours (1983) ผู้กำกับ Pialat มีความประทับใจในความบริสุทธิ์-แรดร่านของ Bonnaire ใกล้เคียงที่สุดสำหรับตัวละคร Mouchette … สมัยก่อนถือเป็นอีกบทบาทต้องห้าม เพราะกระทำสิ่งขัดต่อหลักศีลธรรม(ศาสนา)ทั้งๆอายุยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่หลังจากการปฏิวัติทางสังคม Mai ’68 แนวคิดของคนรุ่นใหม่ก็เปิดกว้าง เสรีทางเพศมากขึ้น

Sous le soleil de Satan was the most unique as we weren’t allowed to improvise, at least with regard to the text.

Sandrine Bonnaire

แม้ส่วนตัวจะยังประทับใจ Bonnaire จากเรื่อง À nos amours (1983) แต่ก็ต้องยอมรับว่าบทบาท Mouchette ทำให้เธอกลายเป็นนักแสดงระดับยอดฝีมือ ด้วยลีลาคำพูด-อารมณ์ที่ผันแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา กลับกลอกปลอกลอกแทบจะทุกประโยคสนทนา ชวนให้ผมนึกถึง Jeanne Moreau ตอนยังสาวๆสวยๆเล่นหนัง Jules et Jim (1962) ก็กวัดแกว่งเดี๋ยว Jules เดี๋ยว Jim ไม่ต่างกันสักเท่าไหร่

ฉากที่ทำให้ผมช็อคสุดๆไม่ใช่ตอนกรีดคอฆ่าตัวตาย แต่ขณะกรีดร้องลั่นหลังจากชู้รักคนที่สอง Gallet หมอหนุ่มไม่ยินยอมเชื่อว่าเธอเข่นฆาตกรรม Cadignan (เพราะตนเองเป็นชันศพ และให้ข้อสรุปว่าคือการฆ่าตัวตาย) เป็นเพียงการละเมอ เพ้อฝัน สับสนในตนเอง พยายามสร้างความสับสนให้ผู้ชมด้วยว่าหนังมีการทำอะไรกับฉากนั้นหรือเปล่า? … แต่เชื่อเถอะว่าฉากนี้ต้องการสะท้อนความกลับตารปัตรของโลก เหมือนคำทำนายของพระพุทธเจ้าเมื่อถึงกึ่งพุทธกาล อีแร้งกาที่ควรต่ำต้อยด้อยค่า ได้(กลับ)กลายเป็นผู้สูงส่งให้ราชสีมาต้องก้มศีรษะ


ถ่ายภาพโดย Willy Kurant (1934-2021) เกิดที่ Liège, Belgium บิดา-มารดาเป็นผู้อพยพชาว Polish เชื้อสาย Jewish, วัยเด็กชื่นชอบอ่านนิตยสาร Cinematographer เริ่มจากทำงานเป็นช่างภาพนิ่ง จากนั้นได้ถ่ายทำสารคดี มีโอกาสฝึกงานที่ Pinewood Studios แล้วมาแจ้งเกิดภาพยนตร์ Masculin Feminin (1966), The Creatures (1966), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Immortal Story (1968), Under the Sun of Satan (1987) ฯ

แซว: เดิมนั้น Kurant เป็นตากล้อง À Nos Amours (1983) แต่ถูกไล่ออกหลังถ่ายทำได้สองสัปดาห์ ไม่รู้ทำไมผู้กำกับ Pialat ถึงหวนกลับมาร่วมงานกันอีกครั้ง??

อาจเพราะความถนัดของ Kurant คือการถ่ายภาพขาว-ดำ (เรียกสองผลงานแจ้งเกิด Masculin Feminin และ The Creatures ว่าคือ ‘signature’ ของตนเอง) จึงไม่ค่อยเหมาะ À Nos Amours (1983) ที่เต็มไปด้วยความสว่างสดใส ผิดกับ Under the Sun of Satan (1987) ที่มักปกคลุมด้วยความมืดมิด ภายใต้รัศมีของซาตาน

เกร็ด: โดยปกติแล้วซาตานคือสัญลักษณ์ของความมืดมิด การใช้ชื่อ Under the Sun of Satan เพื่อสื่อถึงวิถีกลับตารปัตรตรงกันข้ามจากที่ควรเป็น แต่หนังก็ถ่ายทำฉากสำคัญๆตอนกลางคืนเป็นส่วนใหญ่

สถานที่ถ่ายทำหลักๆของหนังคือ Montreuil-sur-mer และ Fressin ต่างอยู่ในจังหวัด Pas-de-Calais ทางตอนเหนือสุดของฝรั่งเศส ติดกับช่องแคบโดเวอร์ (Strait of Dover) ในช่องแคบอังกฤษ (English Channel)


ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ในช่วงยุคกลาง (Middle Ages) เมื่อบุคคลหนึ่งตัดสินใจเข้าสู่สมณเพศและถือพรหมจรรย์ จะถูกโกนผมตรงกลางกระหม่อมออกหย่อมหนึ่ง เรียกว่าการปลงผม จุดประสงค์เพื่อสำหรับสวมใส่หมวก Zucchetto ซึ่งเป็นแบบแนบพอดีศีรษะ ใช้สำหรับแบ่งแยกสมณศักดิ์ผู้สวมใส่ ซึ่งจักสามารถปกคลุมบริเวณที่ถูกโกนออกไปพอดิบดี … เห็นกว่าการปลงผมดังกล่าวถูกยกเลิกไปภายหลังการประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง (ค.ศ. 1962-65)

ขณะที่พุทธศาสนาใช้การโกนศีรษะสำหรับบวช (พระ เณร ชี) คือสัญลักษณ์ของการปล่อยละวางความยึดติดในสังขาร ส่วนคริสเตียนโกนเพียงหย่อมเดียวเพื่อสำแดงสมณศักดิ์ แบ่งแยกระดับชนชั้นบาทหลวงผู้สวมใส่หมวก Zucchetto

การสนทนาระหว่าง Donissan และ Menou-Segrais จะมีรูปแบบแผน ‘formalism’ ในการนำเสนออย่างชัดเจน สามารถแบ่งออกเป็นสองช่วงขณะ เมื่อต่างคนต่างมีความคิดเห็น(ส่วนบุคคล)ที่ไม่ตรงกัน พวกเขามักอยู่ภายในเฟรมของตนเอง

  • Menou-Segrais ยืนอยู่บริเวณหน้าต่าง ข้างๆมีโคมไฟ กระจก นาฬิกา และรูปปั้นพระแม่มารีย์ ล้วนสื่อถึงความเชื่อศรัทธาที่มั่นคงต่อพระเป็นเจ้า
  • Donissan ยืนอยู่ตรงประตู มีเพียงรูปปั้นหญิงสาวชาวบ้าน แทนถึงสามัญชน คนธรรมดาๆทั่วไป ที่ยังต้องการคำชี้แนะนำในเรื่องความเชื่อศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า

เมื่อไหร่ที่ตัวละครอยู่ร่วมเฟรมเดียวกัน โดยปกติมักแสดงถึงความสนิทชิดเชื้อ ย่นย่อระยะห่างความสัมพันธ์ ซึ่งถ้ามองสถานะระหว่างพวกเขา อาจารย์/ผู้ดูแล-ลูกศิษย์ สามารถสื่อถึงการเสี้ยมสอน ให้คำแนะนำ

  • คนหนึ่งยืน-อีกคนนั่ง มีระดับสูง-ต่ำ คือการเสี้ยมสั่งสอน ในสถานะอาจารย์/ผู้ดูแล ให้คำแนะนำกับลูกศิษย์
  • เมื่อนั่งลงระดับศีรษะเดียวกัน แสดงถึงความเสมอเท่าเทียม คือคำแนะนำในสถานะเพื่อนมนุษย์ คนรู้จักกัน

ถึงได้รับคำแนะนำจาก Menou-Segrais ก็ไม่ได้ทำให้ Donissan คลายความสับสนในตนเอง เพียงเก็บคัมภีร์ไบเบิลที่เคยโยนทิ้งลงพื้น (สัญลักษณ์ของการทอดทิ้งพระเป็นเจ้า) แล้วลงทัณฑ์ตนเองให้ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน

เกร็ด: จุดประสงค์หลักๆของทุกรกิริยา ถูกมองเป็นวิธีการทางวินัยและการสักการะบูชา รูปแบบของการปลงอาบัติ เพื่อให้ผู้กระทำความผิดมีส่วนร่วมในความทุกข์ทรมานของพระเยซู โดยที่นิยมกันจะมีสวมเสื้อคลุมผม/ขนสัตว์ (Hairshirt) อดอาหาร และลงแส้แมวเก้าหาง

การลงแส้ของ Donissan สังเกตกล้องถ่ายมุมเงย ทุกครั้งที่เฆี่ยนตียังต้องแหงนศีรษะขึ้นฟ้า แสดงอาการเจ็บปวดและเป็นสุข (ที่ได้รับรู้ความทุกข์ทรมานของพระเยซู) และขณะกำลังแต่งตัวหลังเสร็จจากทุกรกิริยา เดินผ่านกระจกเงา พบเห็นการจัดแสง-เงาที่น่าทึ่งไม่น้อย

  • มองที่ตัวละคร จะเห็นใบหน้าปกคลุมด้วยความมืดมิด
  • แต่ถ้ามองในกระจก กลับเห็นแสงสว่างสาดส่องบนใบหน้า

นัยยะของช็อตนี้สามารถสื่อถึง(โลก)ภายนอกอันมืดมิด แต่จิตใจ(ภาพสะท้อนในกระจก)กลับสดใสสว่าง หลังการบำเพ็ญทุกรกิริยา … ถึงอย่างนั้นอาการสับสนของ Donissan ต่อวิถีโลกใบนี้ก็ยังไม่ได้จางหายไปนะครับ

เรื่องราวทางฝั่ง Mouchette ก็จักมีรูปแบบแผนในการนำเสนอที่ตารปัตรตรงกันข้ามกับ Donissan ในช่วงแรกๆระหว่างเธอกับหนุ่มๆทั้งสอง สังเกตว่าแทบจะตัวติดกัน มักอยู่ร่วมเฟรมโดยตลอด แต่เป็นฝั่งหญิงสาวพยายามเกี้ยวพาราสี ชักชวนให้ร่วมรักหลับนอน เติมเต็มตอบสนองตัณหา ความต้องการของหัวใจ

สำหรับหนุ่มๆทั้งสองก็มีความแตกต่างตรงกันข้าม

  • Cadignan คือทายาทของขุนนาง (marquis) ตระกูลพ่อค้า แต่กำลังประสบปัญหาขาดทุน ในอพาร์ทเม้นท์จึงเต็มไปด้วยสิ่งข้าวของที่เตรียมจะขายทิ้ง ยศฐาบรรดาศักดิ์เคยมีมากำลังสูญสิ้น
    • ความตายของ Cadignan ยังแฝงนัยยะถึงการล่มสลายของระบอบขุนนาง ราชาธิปไตย
  • Gallet คือหมอผู้มีความรู้ เชี่ยวชำนาญ ฐานะมั่นคง มั่งคั่ง แม้แต่งงานมีภรรยา แต่ก็ยังลุ่มหลงในมารยาของ Mouchette สนเพียงข้อเท็จจริง สิ่งพิสูจน์ด้วยตาเห็น ไม่เชื่อเรื่องสวรรค์-นรก การมีตัวตนของพระเป็นเจ้า
    • ตัวละครนี้สะท้อนถึงวิถีของโลกที่มนุษย์จะเชื่อในวิทยาศาสตร์ สิ่งสามารถพิสูจน์จับต้องได้ ซึ่งจะทำให้ความเชื่อศรัทธาศาสนาค่อยๆลดค่าความสำคัญลงไป

เช้าวันถัดมาหลังเสร็จกามกิจ Mouchette วางผลแอปเปิ้ลที่กัดแทะ (จากสวนอีเดน) แล้วหยิบปืนลูกซองขึ้นมาพิจารณา กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนไปหา Cadignan กำลังแต่งตัวอยู่อีกห้องหับ พูดบอกให้เธอวางอาวุธลง แต่ขณะเดินตรงเข้าหาได้ยินเสียงดัง ปัง!

การที่ผู้ชมไม่ได้พบเห็นเหตุการณ์เพราะถูกประตูบดบัง เลยมักคาดเดาว่าอาจเป็นฝืมือของ Mouchette เข่นฆาตกรรมชายคนรัก แต่หนังก็สร้างความเป็นไปได้ว่าอาจพลั้งพลาด ปืนลั่น! เพราะท่าจับที่เปลี่ยนแปลงไป และหญิงสาวร่ำร้องไห้ออกมาอย่างเสียสติ … มอบอิสระให้ผู้ชมครุ่นคิดทำความเข้าใจใน’มุมมอง’ของตนเอง

ช่วงท้ายระหว่าง Mouchette กับ Gallet จากเคยตัวติดกันตั้งแต่แรกพบเจอ ก็ถึงเวลา ‘น้ำแตกแยกทาง’ ต่างย้ายไปนั่งอยู่ในเฟรมของตนเองแล้วตัดสลับไปมา (กลับตารปัตรจาก Donissan กับ Menou-Segrais ที่เริ่มด้วยทั้งสองต่างแยกกันอยู่ แล้วค่อยมาอยู่ร่วมเฟรมกันช่างท้าย)

Gallet รับฟังเรื่องเล่าของ Mouchette มีลักษณะคล้ายแพทย์-ผู้ป่วย ซึ่งเขาก็ทำการวินิจฉัยเรื่องราวดังกล่าว แสดงความคิดเห็น และมอบข้อสรุปที่ทำให้หญิงสาวกรีดร้องลั่น! ตกลงแล้วมันจริงหรือไม่จริง ก็ขึ้นอยู่กับ’มุมมอง’ของผู้ชมอีกเช่นกัน!

Donissan ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปทำกิจของบาทหลวงยังชนบทห่างไกล แต่ต้องเดินทางพานผ่านท้องทุ่งเขียวขจี ไร้ซึ่งบ้านเรือน ผู้คน ถนนหนทางยังไม่มี เพียงความเวิ้งว่างเปล่า ราวกับสถานที่แห่งนี้ถูกพระเจ้าทอดทิ้ง กำลังก้าวสู่ขุมนรก อาณาจักรอันไพศาลของซาตาน

พอค่ำคืนย่างกรายมาถึง เฉดภาพก็เปลี่ยนเป็นโทนสีน้ำเงิน (ดูแล้วน่าจะถ่ายตอนกลางวัน แล้วใช้ฟิลเลอร์ ไม่ก็ ‘Day for Night’) แล้วใครก็ไม่รู้เดินติดตาม ปรากฎด้านหลัง Donissan เข้ามาพูดคุย แนะนำ ให้ความช่วยเหลือนำทาง หยุดพักผ่อน ก่อนเปิดเผยความจริงว่าฉันคือใคร?

เมื่อร่างกายของ Donissan มีความอ่อนแอที่สุด ทิ้งตัวลงนอนกับพื้น รอบข้างล้วนปกคลุมด้วยความมืดมิด ซาตานพูดคำหยอกเย้ายวน แถมยังจุมพิต (sexual harassment) พยายามโน้มน้าวให้เขาละทอดทิ้งความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้า แต่จนแล้วจนรอดก็ทำไม่สำเร็จ เลยถูกหมายหัวให้ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ร้ายๆ(ที่จักบังเกิดขึ้นต่อไป)

ภายหลังปฏิเสธซาตาน Donissan ฟื้นตื่นขึ้นยามเช้า แต่สังเกตว่าภาพยังคงมีโทนสีน้ำเงิน (เหมือนมันคือสัญลักษณ์ของเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ) และชายแปลกหน้าคนนี้เข้ามาให้ความช่วยเหลือ อาสานำทางไปจนเกือบถึงจุดหมาย โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ชวนให้ผมครุ่นคิดว่าเขาอาจคืออวตารของพระเป็นเจ้า!

ผมมองว่าตลอดทั้งซีเควนซ์นี้ เราสามารถตีความในเชิงนามธรรมถึงบททดสอบความเชื่อมั่นศรัทธา นั่นเพราะพระเป็นเจ้าอยู่ทุกแห่งหน เมื่อ Donissan ทำลายความหวังของซาตาน พระองค์จึงลงมานำทางให้หวนกลับสู่วิถีของโลกมนุษย์

Donissan พบเจอกับ Mouchette ท่ามกลางเศษซากปรักพัก (สามารถสื่อถึงอาณาจักรของพระเป็นเจ้าที่ล่มสลาย) สังเกตว่าทั้งสองมีความแตกต่างขั้วตรงข้าม เหมือนการเผชิญหน้าระหว่างตัวแทนของพระเจ้า vs. ซาตาน

  • หญิงสาวสวมชุดสีสว่าง กำลังพ่นคำโป้ปด ล่อลวง โดยไม่สนว่าอีกฝ่ายคือบาทหลวง (ที่เคยให้ศีลมหาสนิทเมื่อตอนต้นเรื่อง) ตัวเธอสูญเสียแฟนหนุ่มทั้งสอง ภายในหลงเหลือเพียงความว่างเปล่า
  • บาทหลวงสวมชุดสีเข้ม บอกว่ายังพบเห็นความบริสุทธิ์ที่อยู่ภายในหญิงสาว ต้องการให้ความช่วยเหลือเธอกลับสู่วิถีความรอด แต่จิตใจของเขากลับเต็มไปด้วยสับสน เรรวนปรวนแปร ใกล้สูญเสียความเชื่อมั่นศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า

ต่างฝ่ายต่างพยายามพูดโน้มน้าวกันและกัน ก้าวเดินจากสถานที่ปรักหักพังออกมายังท้องทุ่งกว้าง คาดหวังว่าอีกฝั่งฝ่ายจะสามารถปรับเปลี่ยนแปลง เปิดเผยธาตุแท้จริงของตนเองออกมา

ทำไม Mouchette ถึงกระทำอัตวินิบาต? เพราะได้รับคำชี้นำจาก Donissan รู้สึกสาสำนึกผิด รับไม่ได้กับพฤติกรรมของตนเอง? หรือเพราะถูกซาตานเข้าสิง ต้องการทำลายชื่อเสียงของ Donissan เลยกระทำสิ่งที่พระเป็นเจ้าไม่สามารถยินยอมให้อภัย?

ในศาสนาคริสต์ เท่าที่ผมหาข้อมูลค้นพบว่า การกระทำอัตวินิบาตไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าคนๆนั้นจะได้ขึ้นสวรรค์หรือลงนรก ถ้าเชื่อในพระคริสต์อย่างแท้จริงก็จักอยู่รอดปลอดภัยชั่วนิรันดร์ แต่หากมีความโล้เล้ลังเลใจ ยังไม่ได้รับความรอด การฆ่าตัวตายคือการเร่งให้ไปสู่บึงไฟนรกเร็วขึ้น

reference: https://www.gotquestions.org/Thai/Thai-suicide-Bible.html

ฉากการฟื้นคืนชีพของเด็กชาย แวบแรกผมครุ่นคิดถึงโคตรภาพยนตร์ Ordet (1955) ของผู้กำกับ Carl Theodor Dreyer แต่พออ่านความคิดเห็นของนักวิจารณ์หลายๆสำนัก ถึงค้นพบการโต้ถกเถียงเหตุการณ์นี้เป็นอิทธิฤทธิ์ของใคร พระเจ้าหรือซาตาน? นี่เป็นการสร้างความคลุมเครือที่ทรงพลังมากๆ ท้าทายความเชื่อศรัทธาของผู้ชมชาวคริสเตียนอย่างชัดเจน

  • ถ้าคุณเชื่อว่าคืออิทธิฤทธิ์ของพระเป็นเจ้า นี่จักคือแสงสว่างแห่งศรัทธาของ Donissan
  • แต่ถ้ามองว่าคืออิทธิฤทธิ์ของซาตาน ก็เพื่อทำให้ Donissan ตกอยู่ในความหมดสิ้นหวัง สูญสิ้นศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า

ปฏิกิริยาของ Donissan หลังเด็กชายฟื้นคืนชีพ คือเต็มไปด้วยความสับสน ขัดแย้งภายในตนเอง (เพราะไม่รู้ว่าพระเจ้าหรือซาตานที่ฟื้นคืนชีพเด็กชายคนนี้) เดินถอยหลังพิงผนังกำแพง ร่างกายปกคลุมด้วยความมืดมิด เพียงใบหน้าที่ยังอาบฉาบแสงสว่าง สามารถตีความได้ทั้งแสงสว่างจากพระเป็นเจ้า หรือศรัทธาอันน้อยนิดที่ยังหลงเหลืออยู่

การเสียชีวิตในห้องสารภาพบาปของบาทหลวง Donissan แม้รอบข้างปกคลุมด้วยความมืดมิด แต่กลับมีแสงสว่างสาดส่องลงบนใบหน้า คนส่วนใหญ่มักตีความว่าเขาถูก(พระเจ้า)ทอดทิ้งให้ตกตาย แต่ขณะเดียวกันเรายังสามารถมองว่าพระเป็นเจ้าทรงนำพาวิญญาณ(ของ Donissan)ออกไปจากขุมนรกแห่งนี้ได้เช่นกัน … แต่ก็สร้างความหลอกหลอน ขนลุกขนพอง ราวกับรัศมีของซาตานสาดส่องลงมามากกว่า

ตัดต่อโดย Yann Dedet (เกิดปี 1946) สัญชาติฝรั่งเศส เริ่มจากเป็นผู้ช่วยตัดต่อ The Bride Wore Black (1968), แล้วกลายเป็นขาประจำ François Truffaut ตั้งแต่ Two English Girls (1971), ส่วนผู้กำกับ Maurice Pialat เริ่มที่ผลงาน Loulou (1980) จนถึง Van Gogh (1991)

เกร็ด: Dedet ยังมาร่วมรับเชิญ (Cameo) แสดงเป็น Gallet หมอหนุ่ม/คนรักที่สองของ Mouchette

หนังดำเนินเรื่องคู่ขนานระหว่างบาทหลวง Donissan ตั้งแต่เริ่มเกิดอาการสับสนในความเชื่อศรัทธา จากนั้นตัดสลับไปหา Mouchette เด็กสาวแสดงพฤติกรรมโฉดชั่วร้ายต่างๆนานา จนเมื่อทั้งสองได้พบเจอหน้าก็ราวกับ พระเจ้า vs. ซาตาน ฝ่ายหนึ่งต้องการให้ความช่วยเหลือพากลับขึ้นมา แต่อีกฝั่งต้องการฉุดคร่าให้ตกลงสู่ขุมนรก

  • ความสับสนในศรัทธาของ Donissan
    • Donissan สารภาพต่อบาทหลวงผู้แล Menou-Segrais ถึงความสันสนในศรัทธาของตนเอง
  • พฤติกรรมโฉดชั่วร้ายของ Mouchette
    • Mouchette กับชายคนแรก Cadignan
    • Mouchette กับชู้รักคนที่สอง Gallet
  • การเผชิญหน้าระหว่าง Donissan vs. Mouchett (และซาตาน)
    • Donissan ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปชนบทห่างไกล แต่ค่ำคืนดึกดื่นก็ไม่ถึงเป้าหมายสักที นั่นเพราะถูกลวงล่อหลอกโดยซาตาน
    • เช้าวันถัดมา Donissan พบพานเจอ Mouchett ตระหนักถึงสิ่งชั่วร้ายที่เธอกระทำ เลยพยายามโน้มน้าวให้กลับใจ
    • แต่ Mouchett กลับตัดสินใจปาดคอฆ่าตัวตาย ทำลายความเชื่อมั่นศรัทธาของ Donissan
  • ฉันเกิดมาเพื่ออะไร?
    • Donissan ถูกส่งไปยังอีกชนบทห่างไกล กลายเป็นบาทหลวงที่ใครๆให้ความเคารพนับถือ สามารถฟื้นคืนชีพเด็กชายจากความตาย
    • Donissan ในสภาพหมดสิ้นหวัง อธิษฐานขอพรพระเป็นเจ้า แต่กลับพบเจอเสียชีวิตในห้องสารภาพบาป

ด้วยความยาว 93 นาที แต่ผมกลับรู้สึกเหมือนกำลังรับชมหนังสามชั่วโมง (The Mother and the Whore (1973) ดูสั้นลงทันตาเห็น!) ตัวละครพูดคุยสนทนาอะไรกันก็ไม่รู้ (ที่ผมฟังไม่ค่อยเข้าใจ เพราะมีศัพท์ศาสนาค่อนข้างเยอะ) กว่าจะมีเหตุการณ์อะไรสักอย่างเกิดขึ้น สัปหงกแล้วสัปหงกอีก … ไดเรคชั่นของผู้กำกับ Pialat เหมือนพยายามทำให้ผู้ชมต้องอดรนทนดำเนินทางผ่านขุมนรก ถึงมีแนวโน้มพบเจอแสงสว่าง/สรวงสวรรค์ที่ปลายอุโมงค์เสมอๆ


เพลงประกอบหนึ่งเดียวที่ดังขึ้นซ้ำๆอยู่ 3-4 ครั้ง คือ Symphony No. 1 (1951) ประพันธ์โดย Henri Dutilleux (1916-2013) คีตกวีสัญชาติฝรั่งเศส มีทั้งหมด 4 Movement แต่จะได้ยินในหนังเฉพาะ 3. Intermezzo ซึ่งมีความลุ่มลึกล้ำที่สุด(ในทั้งสี่ท่อน)

ผมนำทั้ง Symphony เพราะอยากให้เห็นถึงความลุ่มลึกล้ำของบทเพลงนี้ เต็มไปด้วยบรรยากาศทะมึน อึมครึม แม้สองท่อนแรก Passacaille (0:00) และ Scherzo molto vivace (07:07) จะพอมีเครื่องดนตรีที่มอบท่วงทำนองสนุกสนาน ครึกครื้นเครงอยู่บ้าง แต่เหมือนบางสิ่งอย่างถูกปกปิด ซุกซ่อนเร้นไว้ ก่อนได้รับการเปิดเผยออกมาเมื่อถึงท่อน Intermezzo (13:11) ค่อยๆไล่ระดับความเป็นจริงอันเหี้ยมโหดร้ายของโลกใบนี้ และท่อนสุดท้าย Finale con variazioni (19:07) คือการเผชิญหน้าต่อสู้ เต็มไปด้วยคลุ้มบ้าคลั่ง แต่สุดท้ายกลับลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ ไม่สามารถต่อกรสิ่งชั่วร้ายใดๆทั้งปวง

นั่นน่าจะคือเหตุผลที่ผู้กำกับ Pilat จงใจเลือกบทเพลงนี้ ไม่ใช่แค่ท่วงทำนองของ Intermezzo ที่สร้างบรรยากาศหมองหม่น (สามารถเทียบแทนสภาวะอารมณ์ตัวละคร Donissan) แต่นัยยะทั้ง Symphony สะท้อนวิถีของโลกที่ตกอยู่ภายใต้รัศมีซาตาน เต็มไปด้วยความจอมปลอม หลอกลวง ไม่มีทางที่มนุษย์จักต่อสู้เอาชนะสิ่งชั่วร้ายนี้ไปได้

เรื่องราวของ Under the Sun of Satan นำเสนอ ‘มุมมอง’ วิถีแห่งโลก (ต้องนับตั้งแต่ Georges Bernanos เขียนนวนิยายเล่มนี้เมื่อปี ค.ศ. 1926) พบเห็นสิ่งต่างๆกำลังพลิกกลับตารปัตร จิตสามัญสำนึกมนุษย์ได้ปรับเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริสุทธิ์ถูกใส่ร้ายป้ายสี ขณะที่คนทำชั่วได้ดิบได้ดี โลกใบนี้ถูกซาตานเข้ายึดครอบครองแทนพระเป็นเจ้าแล้วหรือไร?

คนที่จะมองโลกแง่ร้ายขนาดนั้น ล้วนต้องพานผ่านเหตุการณ์สั่นสะเทือนหัวใจ ในกรณีผู้แต่งนวนิยาย Bernanos คือเคยเป็นทหารเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้รับบาดเจ็บทั้งร่างกาย และอาการ ‘Shell Shock’ ทางจิตใจ จึงมักสรรค์สร้างผลงานที่มีคำเรียกว่า Defeatism, ส่วนผู้กำกับ Pialat ตั้งแต่เด็กเมื่อครั้นสูญเสียมารดา แล้วถูกบิดาทอดทิ้งไม่เหลือเยื่อใย พอเติบใหญ่ก็พานผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง คือสิ่งหล่อหลอมให้เขาพยายามสรรค์สร้างภาพยนตร์แนวสมจริง (Realist) ว่าไปก็ตั้งแต่ทำหนังสั้น/สารคดี L’amour existe (1960) บันทึกวิถีชีวิต สภาพสังคม ชุมชนเมือง ‘City Symphony’ พบเห็นการเปลี่ยนแปลงของฝรั่งเศส (หลังสงครามโลกครั้งที่สอง) ดูไม่น่าอภิรมณ์สักเท่าไหร่

น่าเสียดายที่ผมยังไม่สามารถหารับชม The Mouth Agape (1974) ภาพยนตร์อัตชีวประวัติของผู้กำกับ Pialat นำเสนอวาระสุดท้ายของมารดา ล้มป่วยนอนซมซาน ทนทุกข์ทรมานอยู่บนเตียงจนเสียชีวิต ขณะที่ครอบครัวญาติมิตร กลับแสดงพฤติกรรม … นั่นน่าจะคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขามองเห็นสันดานธาตุแท้ผู้คน เข้าใจวิถีทางสังคม และกฎการเอาตัวรอดบนโลกใบนี้ ที่มีความเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย

At Cannes, I said I was an atheist, which makes no sense. The word ‘atheist’ means nothing to me. You can’t be against something you don’t believe in. No, although I’d been into religion up to 14, and had dabbled in and out of it afterwards. For young people, the patronages had two attractions: first, that’s where you went to have fun; second, you could put on amateur theatre. So I stayed close to all that till I was 19. So I mean… If you believe what psychoanalysis has to say, that these are the years that leave the biggest impression on you… Later on, there was rebellion. There’s no-one better than those in the know, for figuring out where you went wrong. I basked in the aforementioned spirituality, but it didn’t mean anything.

Maurice Pialat

ผู้กำกับ Pialat เคย(แสร้งว่า)มีความเชื่อในศาสนาตอนอายุ 14 แต่จุดประสงค์แท้จริงเพื่อเข้าร่วมชมรมการแสดง สนุกสนานกับเพื่อนๆเท่านั้น ซึ่งพอถึงอายุ 19 ก็ไม่มีความจำเป็นต้องฝืนทำอีกต่อไป ถึงอย่างนั้นช่วงเวลาดังกล่าวก็มีโอกาสเรียนรู้จักอะไรๆเกี่ยวกับพระเจ้า-ซาตาน … แต่ก็ไม่เกิดศรัทธาขึ้นประการใด

ในมุมกลับตารปัตร ผู้กำกับ Pialat มองว่าโลกยุคสมัยนั้น การมีอยู่ของซาตานยังฟังดูน่าเชื่อถือมากกว่า(พระเป็นเจ้า) ดำเนินเดินเคียงข้างมนุษย์ คอยหยอกล้อเล่น แถมยัง sexual harassment เสียด้วยนะ! แต่นั่นไม่ได้แปลว่าเราถูกควบคุมครอบงำ (จากทั้งพระเจ้าหรือซาตาน) ทุกสิ่งอย่างล้วนยังขึ้นอยู่กับตัวเราเองครุ่นคิด-กระทำ

แต่เพราะมนุษย์มักตัดสินใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เอาตัวรอดปลอดภัย ตอบสนองความพึงพอใจ สร้างความสุขให้กับตนเอง ซึ่งมักได้รับอิทธิพลจากเพื่อนฝูง ครอบครัว สังคมรอบข้าง วิถีทางโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยไม่ใคร่สนใจสิ่งถูก-ผิด ดี-ชั่ว ศีลธรรม มโนธรรม ศาสนาราวกับเชือกที่ผูกมัดรัดตัว ทำไมต้องอดทน ทำไมต้องฝืนกลั้น อนาคต/หลังความตายเป็นยังไงช่างหัวมัน ปัจจุบันขอแค่ฉันได้กระทำตามใจสมหวัง ก็เหลือเฟือเพียงพอแล้วละ

ไม่มีทางที่มนุษย์จะต่อต้านทานวิถีทางโลกที่ปรับเปลี่ยนแปลงไป! นั่นคือมุมมองของผู้กำกับ Pialat ที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของศาสนา(คริสต์) เอาแต่เสี้ยมสอนให้มีความเชื่อมั่นต่อพระเป็นเจ้า แต่ถ้าเราสูญเสียศรัทธานั้นไป เผชิญหน้ากับซาตาน อาศัยอยู่บนโลกที่ราวกับขุมนรก ปัจจุบันยังแทบเอาตัวไม่รอด ทำอย่างไรถึงมีโอกาสกลับสู่สรวงสวรรค์?

อีกสิ่งหนึ่งที่หนังชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถามคือการสารภาพบาป กลายเป็นค่านิยมของชาวคริสเตียน เชื่อว่าจักทำให้สิ่งเลวร้ายเคยกระทำมาจบสูญสิ้นไป จริงๆนะเหรอ? ว่าไปก็คล้ายๆทัศนคติชาวพุทธ เข้าวัดบริจาคทาน สร้างภาพตนเองเป็นคนดีมีคุณธรรม แต่พอกลับบ้านทำผิดศีลไม่เว้นวัน ไม่เคยศึกษาพระธรรม ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่องใส สรุปแล้วบุญที่ทำมาได้อะไร?

แม้ว่าโลกที่ปกครองด้วยระบอบซาตานจะเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย แต่ชีวิตก็ยังต้องดำเนินไป บางคนเรียนรู้ที่จะปรับตัว ยินยอมรับสภาพความเป็นจริง แต่เราควรค้นหาสามัญสำนึกของตนเอง ต่อให้ไม่หลงเหลือศรัทธาศาสนาใดๆ จิตใจที่บริสุทธิ์และเมตตาธรรม จักสร้างสรวงสวรรค์ขึ้นภายในจิตใจ


เมื่อเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes ถูกมองข้ามจากองค์กรศาสนา SIGNIS (World Catholic Association for Communication) มอบรางวัล Prize of the Ecumenical Jury ให้ภาพยนตร์เรื่อง Repentance (1984) แต่คณะกรรมการปีนั้นนำโดยนักร้อง/นักแสดง Yves Montand ประกาศรางวัล Palme d’Or อย่างเป็นเอกฉันท์ให้แก่ Under the Sun of Satan (1987)

Palme d’Or had been given unanimously, because we considered that the work had succeeded Pialat was a work which put the cinema on another level, on another floor. One can inevitably — myself, I am like that — be sensitive to films that are perhaps a little more affordable, easier, but fortunately there are Pialats, Godards, Resnais, to bring cinema to another height.

Yves Montand กล่าวถึงการมอบรางวัล Palme d’Or ให้กับ Under the Sun of Satan (1987)

เกร็ด: ชัยชนะรางวัล Palme d’Or ของ Under the Sun of Satan (1987) ถือเป็นภาพยนตร์สัญชาติฝรั่งเศสเรื่องแรกในรอบ 21 ปี โดยครั้งล่าสุดคือ A Man and a Woman (1966) ของผู้กำกับ Claude Lelouch ฟังดูก็ไม่น่าเชื่อที่ประเทศเจ้าภาพจะห่างหายการเป็นผู้ชนะรางวัลใหญ่เทศกาลหนังเมือง Cannes เยิ่นยาวนานขนาดนั้น!

François Mitterrand ประธานาธิบดีฝรั่งเศสขณะนั้น ยังอดไม่ได้ต้องเขียนชื่นชมชัยชนะของภาพยนตร์เรื่องนี้

This Palme d’or of the fortieth Cannes Film Festival has symbolic force. It rewards the work of a filmmaker who was able to draw inspiration from one of our great writers. He designates cinema as a land of writing and beauty. He shows the vitality that French cinema can and must experience.

François Mitterrand

แม้เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์/ผู้ชมทั่วไปจะไม่ได้ดีสักเท่าไหร่ แต่ก็มียอดจำหน่ายตั๋วในฝรั่งเศสสูงถึง 815,748 ใบ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม และยังเข้าชิง César Awards ถึง 7 สาขา (แต่ไม่ได้สักรางวัล) พ่ายให้ Au Revoir les Enfants (1987) ของผู้กำกับ Louis Malle

  • Best Film
  • Best Director
  • Best Actor (Gérard Depardieu)
  • Best Actress (Sandrine Bonnaire)
  • Best Cinematography
  • Best Editing
  • Best Poster

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะคุณภาพ 2K มีความสวยสด คมชัดกริบ แล้วเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2015 สามารถหาซื้อแผ่น Blu-Ray ได้ทั้งของ Gaumont (ฝรั่งเศส/ยุโรป) และ Cohen Media Group (สหรัฐอเมริกา)

โดยส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อศรัทธา พระเจ้า-ซาตาน ซึ่งผู้กำกับ Pialat ก็ไม่ได้พยายามเลือกเข้าข้างฝั่งฝ่ายใด แต่ปัญหาใหญ่ๆคือการดำเนินเรื่องที่เชื่องชักช้า น่าเบื่อหน่าย ราวกับตกลงสู่ขุมนรก จนตอนจบผมก็มองไม่เห็นแสงสว่าง/สรวงสวรรค์รำไร พอกลับขึ้นมาไม่ได้ก็ตายหยังเขียด

แทนที่จะรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมแนะนำให้มองหา Ordet (1955), The Seventh Seal (1957), Nazarín (1959), Léon Morin, Priest (1961), Bergman’s Trilogy (Through a Glass Darkly (1961), Winter Light (1963), The Silence (1963)) หรือแม้แต่ Silence (2016) ล้วนเกี่ยวกับการพิสูจน์ศรัทธาศาสนา มีความงดงามทรงคุณค่า คุ้มกับการเสียเวลามากกว่านะครับ

จัดเรต 18+ กับอาการสับสนในศรัทธาศาสนา พฤติกรรมสำส่อน ฆาตกรรม โกหกหลอกลวง และกระทำอัตวินิบาต

คำโปรย | Under the Sun of Satan ต้องลงสู่ขุมนรกเพื่อทำความเข้าใจโลกของผู้กำกับ Maurice Pialat
คุณภาพ | โลกของซาตาน
ส่วนตัว | ลงนรก

Simón del desierto (1965)


Simon of the Desert (1965) Mexican : Luis Buñuel ♥♥♥♡

ตั้งใจให้เป็นภาพยนตร์ขนาดยาวสร้างโดยสามผู้กำกับดัง แต่สำเร็จเสร็จสรรพเพียงส่วนของ Luis Buñuel เลยแปรสภาพสู่หนังสั้นความยาว 45 นาที เรื่องราวของของนักพรต Simón ยืนอยู่บนแท่นสูงกลางทะเลทรายนาน 6 ปี 6 สัปดาห์ และ 6 วัน, คว้ารางวัล Grand Jury Prize (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Venice

มองผิวเผิน Simon of the Desert (1965) น่าจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติอิงศาสนา ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากนักบุญ/นักพรต Simeon Stylites หรือ Symeon the Stylite (390-459) สัญชาติ Syrian ว่ากันว่ายืนอยู่บนแท่นหิน (ตอนแรกสูงเพียง 3 เมตร ก่อนย้ายไป 15 เมตร) ใกล้ๆกับ Aleppo (ปัจจุบันคือประเทศ Syria) เพื่อพิสูจน์ความจริงใจ อุทิศทั้งชีวิตต่อพระเจ้า และมักเทศนาสั่งสอนศิษยานุศิษย์ที่มาเดินทางมาแสวงบุญ ยาวนานถึง 37 ปี!

ซากปรักหักพังของ Church of Saint Simeon โดยก้อนหินตรงกึ่งกลางคือแท่นแรกที่ Simeon Stylites เคยปักหลักยืนอาศัย

แต่ภาพยนตร์เรื่อง Simon of the Desert (1965) ของ Luis Buñuel กลับนำเสนอในลักษณะ Dark Comedy เต็มไปด้วยการล้อเลียนเสียดสี ชี้นำทางให้เห็นว่า การปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งไร้สาระ! ขำกลิ้งสุดก็คือเอาซาตานในคราบหญิงสาวมายั่วราคะ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนในที่สุดนักพรต Simón ก็พ่ายแพ้ภัยพาล (ในหนังอ้างว่า Simón เป็นบุตรหลานของ Simeon Stylites) แล้วตัดกลับมาปัจจุบันพบเห็นความสุดเหวี่ยงของมนุษย์ราวกับวันสิ้นโลก

แม้ผมรู้สึกว่าหนังค่อนข้างน่าสนใจในแนวคิด ไดเรคชั่น และภาพสวยๆของ Gabriel Figueroa แต่เมื่อดูจบแล้วกลับรู้สึกเวิ้งว่างเปล่ายังไงชอบกล เรื่องราวดำเนินไปอย่างล่องลอย ไร้จุดหมาย เหมือนมีเพียง Dark Comedy แค่ต้องการล้อเลียนเสียดสีความเชื่อศรัทธา ฉุดคร่านักบุญ/นักพรตให้ตกลงมาเบื้องล่าง และสะท้อนยุคสมัยปัจจุบันนี้-นั้น เท่านั้นเองฤา?

มันอาจเพราะว่า Simon of the Desert (1965) มีความตั้งใจดั้งเดิมให้เป็นหนังยาว (Feature Length) แต่ด้วยข้อจำกัดอย่างที่เกริ่นนำ เนื้อหาสาระแท้จริงเลยปลิดปลิวไปกับสายลม

เกร็ด: Simon of the Desert (1965) คือภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ Luis Buñuel ที่สร้างขึ้นในช่วง Mexican Period (1956-64)


Luis Buñuel Portolés (1900 – 1983) สัญชาติ Spanish เกิดที่ Calanda, Aragon เป็นบุตรคนโตมีน้อง 6 คน, เมื่อตอนอายุได้ 4 ขวบครี่ง ครอบครัวอพยพย้ายสู่ Zaragoza ถิ่นที่อยู่อาศัยของคนมีฐานะ ชนชั้นกลาง ถูกส่งไปศีกษาร่ำเรียนเป็นบาทหลวงยัง Colegio del Salvador แต่หลังจากได้พานพบเห็นอะไรบางอย่าง จึงหมดสิ้นเสื่อมศรัทธาในศาสนา, อายุ 16 เข้าเรียนต่อยัง University of Madrid แรกเริ่มคณะเกษตร เปลี่ยนมาวิศวะ สุดท้ายคือปรัชญา, ความสนใจในภาพยนตร์เมื่อโอกาสรับชม Der müde Tod (1921) ของผู้กำกับ Fritz Lang, เมื่อปี 1925 มุ่งสู่กรุง Paris ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Jean Epstein, สรรค์สร้างผลงานเรื่องแรก Un Chien Andalou (1929), L’Age d’Or (1930)

การมาถึงของจอมพล Francisco สงครามกลางเมือง Spanish Civil War (1936-39) และภาพยนตร์/สารคดี Las Hurdes (1933) ถูกแบนห้ามฉายในสเปน ทำให้ Buñuel ตัดสินใจเดินทางมุ่งสู่ Hollywood ครุ่นคิดพัฒนาหลากหลายโปรเจคแต่ก็ไม่เป็นรูปเป็นร่าง เป็นชิ้นเป็นอัน จนกระทั่งได้รับชักชวนจากโปรดิวเซอร์ Oscar Dancigers อพยพย้ายมาประเทศ Mexico ตั้งแต่ปี 1946 เริ่มต้นสรรค์สร้าง Gran Casino (1947) ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่ยังได้รับโอกาสอีกครั้ง El Gran Calavera (1949) คราวนี้สามารถทำเงินถล่มทลาย จากนั้นก็สรรค์สร้างภาพยนตร์ในช่วง Mexican Period (1946-64) มีผลงานทั้งหมด 20 เรื่อง

ช่วงปี 1960, หลังจาก Buñuel มีโอกาสรับรู้จักโปรดิวเซอร์ Gustavo Alatriste จึงร่วมกันสรรค์สร้างภาพยนตร์ Viridiana (1961) ติดตามมาด้วย The Exterminating Angel (1962) ซึ่งก็ได้เสนอแนะโปรเจคถัดไป ร่วมงานสร้าง 3 ผู้กำกับดัง ประกอบด้วย Federico Fellini (เรียกร้องขอให้ศรีภรรยา Giulietta Masina แสดงนำ) และ Jules Dassin (เรียกร้องขอให้ศรีภรรยา Melina Mercouri แสดงนำ) ต่างคนต่างต้องการให้เมียตนเองรับบทนำ แต่ Alatriste ยืนกรานต้องให้ศรีภรรยา Silvia Pinal แสดงนำเท่านั้น!

เกร็ด: หลังจากติดต่อใครอื่นไม่ได้ Gustavo Alatriste เลยต้องการกำกับเองอีกสักตอน แต่ Silvia Pinal ไม่เอาด้วยกับสามี นั่นคือจุดเริ่มต้นความบาดหมาย และหย่าร้างไม่กี่ปีถัดมา

Buñuel ได้แรงบันดาลใจ Simon of the Desert (1965) หลังจากมีโอกาสอ่านหนังสือ Golden Legend (ภาษาละติน Legenda aurea หรือ Legenda sanctorum) รวมรวบชีวประวัตินักบุญ/นักพรต (เรียกว่า Encyclopaedia ก็ไม่ผิดอะไร) เรียบเรียงโดย Jacobus de Varagine (1230-98) นักบวชชาวอิตาเลี่ยน และเป็นอัครมุขนายก (Archbishop) ประจำเมือง Genoa ซึ่งฉบับดั้งเดิมเขียนเสร็จช่วงปี 1259-66 แต่ก็ได้มีการเพิ่มเติมบุคคลสำคัญๆในประวัติศาสตร์มาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน

ในบรรดานักบุญ/นักพรตจากหนังสือ Golden Legend ผู้กำกับ Buñuel ค้นพบเรื่องราวที่น่าสนใจของ Simeon Stylites เลยร่วมงานพัฒนาบทกับ Julio Alejandro (1906-95) นักเขียนสัญชาติ Spanish ร่วมงานขาประจำมาตั้งแต่ Nazarín (1959), Viridiana (1961) และอีกผลงานถัดจากนี้ Tristana (1970)


Claudio Brook ชื่อจริง Claude Sydney Brook Marnat (1927-95) นักแสดงสัญชาติ Mexican เกิดที่ Mexico City บิดาเป็นนักการทูตชาวอังกฤษ แต่งงานมารดาเชื้อสาย French-Mexican เลยสามารถพูดคล่องแคล่วทั้งสามภาษา โตขึ้นเริ่มจากเป็นนักพากย์หนัง ตามด้วยละครเวที และภาพยนตร์ ผลงานเด่นๆ อาทิ The Exterminating Angel (1962), Simon of the Desert (1965), รับบท Jesus Christ เรื่อง La vida de nuestro Señor Jesucristo (1986) ฯ

รับบทนักพรต Simón ตั้งใจอุทิศตนเพื่อพิสูจน์ความเชื่อศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า ประกาศกร้าวจะอาศัยอยู่บนแท่นเหนือพื้นดินตลอดชีวิต ซึ่งหลังจากอาศัยอยู่บนเสาสูงแปดเมตรกลางทะเลทรายมานาน 6 ปี 6 สัปดาห์ และ 6 วัน ได้รับคำเชื้อเชิญจากบรรดาบาทหลวงและประชาชน ให้ย้ายมาประดิษฐานยังเสาต้นใหม่สูง 15 เมตร แสดงปาฏิหารย์มอบแขนใหม่แก่คนพิการ พบเห็นซาตานพยายามยั่วเย้ายวนให้เขาก้าวลงจากแท่น จนในที่สุดก็ถูก(ซาตาน)ลักพาตัวอย่างไม่เต็มใจ กระโดดข้ามเวลามายังไนท์คลับแห่งหนึ่ง (ช่วงทศวรรษ 1960s) เรียกร้องขอให้ส่งตัวกลับบ้าน แต่ถูกบอกปัดปฏิเสธเพราะตนเองก็มิอาจกระทำได้

หนังไม่ได้อธิบายเหตุผล ที่มาที่ไป เพราะเหตุใด Simon ถึงตัดสินใจอาศัยอยู่บนแท่นสูง นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่ที่เขาเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับการอุปถัมภ์ให้เปลี่ยนเสา เข้าใกล้สรวงสวรรค์/พระเป็นเจ้ามากขึ้น ขณะเดียวกันซาตานก็มีบังเกิดความลุ่มร้อนรน ปรากฎตัวออกมาให้พบเห็นบ่อยครั้งเช่นเดียวกัน

พอไว้หนวดเครา น้อยคนคงจะจำใบหน้าอันเกลี้ยงเกลาของ Claudio Brook ซึ่งแลดูคล้ายฤษี นักพรต ไม่ยึดติดรูปลักษณ์ภายนอก ทั้งยังอากัปกิริยาเล่นน้อยได้มาก ค่อยๆขยับเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าแต่มั่นคง สีหน้านิ่งสงบสติอารมณ์ ยกเว้นเพียงขณะเผชิญหน้าซาตาน มักแสดงอาการเกรี้ยวกราด ขึ้นเสียง ไม่พึงพอใจ พยายามขับไล่ผลักไสส่ง จนกระทั่งเมื่อถูกลักพาตัว สูบไปป์ ใส่เสื้อไหมพรม หวีผม โกนหนวดเครา นี่มันคนๆเดียวกันจริงๆนะหรือ

บทบาทนี้ของ Brook กลายเป็นภาพจำของผู้ชม ผลงานเด่นๆของเขาก็มักบทบาทนักพรต นักบุญ บุคคลผู้มีศีลธรรม นั่นรวมไปถึง Jesus Christ ฉบับ Mexican ถึงผมไม่เคยรับชมก็ครุ่นคิดว่าคงไม่น่าผิดหวัง


Silvia Pinal Hidalgo (เกิดปี 1931) นักแสดงสัญชาติ Mexican เกิดที่ Guaymas, Sonora, วัยเด็กมีความสนใจภาพยนตร์ ภาพยนตร์ ชื่นชอบการเขียน บทกวี พอโตขึ้นได้เข้าประกวดเวทีนางงาม ได้รับรางวัล Student Princess of Mexico, ตัดสินใจร่ำเรียนการขับร้องโอเปร่า แต่พอออดิชั่นไม่ผ่านได้รับคำแนะนำให้เปลี่ยนมาด้านการแสดง Instituto Nacional de Bellas Artes ไม่นานนักก็มีผลงานละครเวทีที่ Ideal Theater, ภาพยนตร์เรื่องแรก Bamba (1949), The Doorman (1949), El rey del barrio (1949), ได้รับคำชมล้นหลามกับ Un rincón cerca del cielo (1952), โด่งดังระดับนานาชาติจากการได้ร่วมงาน Luis Buñuel ถึงสามครั้ง Viridiana (1961), El ángel exterminador (1962) และ Simón del desierto (1964)

รับบทซาตาน พยายามก่อกวน ยั่วเย้ายวน สร้างความหงุดหงิดไม่พึงพอใจต่อ Simón มาในหลายรูปลักษณ์ อาทิ หญิงสาวสวยเดินถือไหดินเผา, เด็กหญิงเล่นสนุกไร้เดียงสา, ปลอมตัวเป็นพระเยซู, เข้าสิงบาทหลวง พยายามพูดใส่ร้ายป้ายสี, ครั้งสุดท้ายขึ้นจากโลงศพ แล้วลักพาตัวเดินทางสู่อนาคต ลุกขึ้นเต้นเริงระบำแล้วสูญหายตัวท่ามกลางฝูงชน

Pinal หลังร่วมงานผู้กำกับ Buñuel มาแล้วสองครั้ง มีความเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ พร้อมทำทุกสิ่งอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ ให้เปลือยอก แต่งกายล้อเลียนพระเยซู ฯ น่าเสียดายที่พวกเขาไม่โอกาสได้ร่วมงานกันอีก … จริงๆ Pinal หมายมั่นปั้นมือจะเล่น Diary of a Chambermaid, Belle de Jour และอีกหลายโปรเจค แต่ก็มีเหตุให้ถูกขัดขวาง (โดยโปรดิวเซอร์ที่อยากได้นักแสดงมีชื่อเสียงมากกว่า) ซึ่งหลังจากเลิกราโปรดิวเซอร์ Gustavo Alatriste ก็ไม่มีใครสนับสนุนผลักดันให้ได้รับโอกาสแบบนี้อีก


ถ่ายภาพโดย Gabriel Figueroa (1907-97) ตากล้องระดับตำนาน สัญชาติ Mexican เกิดที่ Mexico City, โตขึ้นร่ำเรียนการวาดรูป Academy of San Carlos และไวโอลิน National Conservatory แต่เมื่อครอบครัวประสบปัญหาการเงิน ทำให้ต้องลาออกมาทำงานยังสตูดิโอ Colonia Guerrero แรกเริ่มออกแบบสร้างฉาก จากนั้นกลายเป็นผู้ช่วยช่างภาพนิ่ง Juan de la Peña, José Guadalupe Velasco, ก่อนออกมาเปิดสตูดิโอ(ถ่ายภาพนิ่ง) แล้วได้รับคำชักชวนให้เข้าสู่วงการภาพยนตร์ มีโอกาสเดินทางไป Hollywood ศึกษาการทำงานของ Gregg Toland จากเรื่อง Splendor (1935) เลยมุ่งมั่นเอาดีด้านนี้ แจ้งเกิดโด่งดังทันทีกับ Allá en el Rancho Grande (1936), ผลงานเด่นๆ อาทิ María Candelaria (1944), The Fugitive (1947), The Pearl (1947), The Unloved Woman (1949), Los Olvidados (1950), Nazarín (1959), The Exterminating Angel (1962), The Night of the Iguana (1964) ** ได้เข้าชิง Oscar: Best Cinematography

หนังปักหลักถ่ายทำยัง Los Médanos หรือ Samalayuca Dune Fields ตั้งอยู่บริเวณ Samalayuca, Chihuahua ทางตอนเหนือของประเทศ Mexico ติดกับชายแดนรัฐ New Mexico ประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยปกติแล้วหนังของ Buñuel จะไม่เน้นการถ่ายภาพให้มีความสวยงามตระการตา เพราะมันจะไปแก่งแย่งความสนใจจากเนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ แต่คงยกเว้นกับ Simon of the Desert (1965) เพราะท้องฟากฟ้า ทะเลทราย ล้วนมีอิทธิพลต่อตัวละครเป็นอย่างยิ่ง

คนทำงานเบื้องหลังน่าจะตระหนักได้ไม่ยากว่า การถ่ายทำบนความสูง 15 เมตร มีความยุ่งยากเกินไป (โดยเฉพาะการ Close-Up) ซี่งภาพยนตร์สามารถหลอกลวงผู้ชมโดยการถ่ายมุมเงย สร้างเสาเตี้ยๆอีกต้น เผื่อนักแสดงกลัวความสูงจะได้ไม่มีปัญหาอะไร (แต่เสาขนาดเท่าของจริงก็มีอยู่นะครับ มองไกลๆก็ดูไม่ออกหรอกว่านักแสดงหรือตัวแทน/สตั๊นแมน)

เสาหินและการเปลี่ยนเสา ผมมองในเชิงสัญลักษณ์ของดุ้นอันใหญ่ ความพยายามทำตัวสูงส่ง ยกยอปอปั้นตนเองให้เหนือกว่าผู้อื่น มองลงมาเห็นมนุษย์ผู้ต่ำต้อย นอกจากนี้ยิ่งสูงยิ่งใกล้ชิดท้องฟ้า สรวงสวรรค์ พระเป็นเจ้า (จะมองว่าทำตัวเหมือนพระเจ้า ก็ได้เหมือนกัน)

นักพรต Simón แม้จะสอบถามคนพิการว่าทำไมถีงแขนขาด (ถูกตัดเพราะลักขโมย) เพียงแค่อ้างว่ารู้สำนีกผิด ก็สำแดงปาฏิหารย์ให้แขนทั้งสองข้างงอกขี้นใหม่ แต่ไม่ทันไรหลังจากนั้น กลับตบหัวบุตรสาวอย่างไม่รู้สำนีกคุณค่าของสิ่งได้รับ … เฉกเช่นนั้นแล้ว ปาฏิหารย์ดังกล่าวสำแดงไป มีประโยชน์อันใดเล่า?

ภาพแรกของซาตานสุดสวย สวมชุดแม่ชี แบกไหดินเผาเดินผ่านหน้ากล้อง สัญลักษณ์ของความเปราะบาง แค่โยนทิ้งตกลงพื้นก็แตกสลาย เฉกเช่นเดียวกับความเชื่อศรัทธาของมนุษย์ ที่ซานตาตนนี้ครุ่นคิดวางแผนฉุดคร่า Simón ให้ล่วงหล่นลงจากสรวงสวรรค์

ผมเชื่อว่าใครๆย่อมมองเห็นซาตานคนนี้มีตาสองข้างเป็นปกติ แต่การที่ Simón ยืนกรานว่าถ้ามองลีกเข้าไปในจิตใจจะพบเห็นเพียงดวงตาข้างเดียว ซี่งสะท้อนถีงความมืดบอด โฉดชั่วร้ายของหญิงสาว (สังเกตนิ้วยาว เล็บเรียวแหลมผิดธรรมชาติ) ซี่งเธอพยายามล่อตาล่อใจให้ทุกผู้คนตกหลุมรักหลงใหล

หลังจากพบเห็นบาทหลวงหนุ่ม ทำตัวร่าเริงสนุกสนาน Simón (จะมองว่าเก็บภาพมาฝันก็ได้เหมือนกัน) พบเห็นซาตานปลอมตัวเป็นเด็กหญิงสาว ขับร้องเพลง กระโดดโลดเต้น เริงระบำไปมา จากนั้นโชว์เรียวขา เปิดหน้าอก สำหรับยั่วเย้ายวนกามารณ์ แต่นักพรตก็หลับตาสวดอธิษฐาน เสียงฟ้าผ่ามาพร้อมภาพความจริง หญิงชราเนื้อหนังแห้งเหี่ยว ไม่หลงเหลือความน่าดูชมอันใด

เป็นเรื่องปกติของบุคคลทำความดี ย่อมมีศัตรูผู้มีความอิจฉาริษยา ครุ่นคิดวางแผนประทุษร้าย พูดโป้ปดให้สูญเสียชื่อเสียง เกิดข้อครหานินทา ซี่งเรายังสามารถมองสิ่งบังเกิดขี้นกับบาทหลวงคนนี้ คือถูกซาตานเข้าสิง แล้วใช้มารยาลวงล่อหลอกผู้คน แต่หลังจากนักพรตสวดอธิษฐาน ก็ทำให้ชายคนนี้น้ำลายฟูมปาก มิอาจเอ่ยปากพูดอะไรออกมาได้อีก

ซาตานในคราบพระเยซูคริสต์ อุ้มลูกแกะ ทำการเทศนาสั่งสอน โน้มน้าวชักจูงให้ลงมาจากแท่นสูง ตอนแรก Simón เกือบจะหลงเชื่อทำตาม แต่ไม่นานก็ตระหนักได้ว่านี่คือภาพลวงตา ปีศาจชั่วร้ายปลอมตัวมาทดสอบจิตใจ ว่ามีความเข้าใจต่อคำสอนของพระเป็นเจ้ามากน้อยเพียงใด ซี่งหลังจากความจริงได้รับการเปิดเผย ซาตานตนนี้ก็แสดงธาตุแท้ พูดถ้อยคำสาปแช่งหยาบคาย แล้วเตะลูกแกะโดยไม่สนอะไร (นั่นทำให้ Simón ยืนกระต่ายขาเดียว เพื่อชดใช้ความผิดที่(ซาตาน=สิ่งชั่วร้ายภายในจิตใจ)เคยกระทำ)

Come down off that column. Taste earthly pleasures till you’ve had your fill. Till the very word pleasure fills you with nausea.

The Devil

ซาตานลุกขี้นจากโลงศพ (น่าจะล้อกับการฟื้นคืนชีพของพระเยซูคริสต์) แต่คราวนี้ไม่ได้พูดคำโน้มน้าว Simón อีกต่อไป (จะสื่อถีงความตายของ Simón ก็ได้เหมือนกัน) แค่จู่ๆลักพาตัว ออกเดินทางสู่อนาคต ศตวรรษ 1960s เพื่อแสดงให้เห็นถีงโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป มุ่งสู่หายนะ วันโลกาวินาศ

Simon of the desert, you may not believe it, but you and I are very much alike. Like you, I believe in God the Father Almighty, because I’ve been in his presence.

The Devil

แซว: ผู้กำกับ Luis Buñuel เขียนบทรำพันย่อหน้าสุดท้ายในหนังสือชีวประวัติ Mon Dernier Soupir (1982) ให้ความรู้สีกคล้ายๆฉากนี้เลยนะ ถ้าเลือกได้อยากฟื้นคืนชีพทุกๆสิบปี ลุกขี้นมาซื้อหนังสือพิมพ์ อ่านข่าวสารความเป็นไปของโลก ก่อนกลับลงโลงหลับสบายอย่างปลอดภัย ไร้สิ่งกังวลอีกต่อไป

ปฏิกิริยาของ Simón ดูหมดสิ้นหวังกับภาพที่พบเห็น มนุษย์ต่างกระโดดโลดเต้น ‘Radioactive Flesh’ ใช้ชีวิตอย่างสุดเหวี่ยง บ้าคลั่ง เมามันส์ โลกอนาคต/ปัจจุบันช่างมีเสื่อมทราม หมดสิ้นหวัง ผู้คนไร้สามัญสำนีก ถูก-ผิด ชอบ ชั่ว-ดี นี่มันขุมนรก ราวกับวันสิ้นโลกก็ไม่ปาน

ภาพลักษณ์ของ Simón แปรสภาพจากนักพรตกลายมาเป็น(เหมือน)ศาสตราจารย์ ผู้มีความรู้มาก ดูเฉลียวฉลาด ทรงภูมิปัญญา หรือในเชิงสัญลักษณ์สามารถเทียบแทนด้วย Luis Buñuel ก็ไม่ผิดอะไร

ส่วนซาตานก็มีความเต็มที่สุดเหวี่ยงกับชีวิต บัดนี้ไม่ต้องต่อสู้ขัดแย้งกับใคร สามารถเสพกระสันต์ เริงระบำ สูญหายตัวท่ามกลางฝูงชน … หรือจะเรียกว่าทุกๆคนในยุคสมัยนี้ ต่างมี ‘ซาตาน’ ซ่อนเร้นอยู่ภายใน

ตัดต่อโดย Carlos Savage (1919-2000) สัญชาติ Mexican ขาประจำของ Luis Buñuel ตั้งแต่ Los Olvidados (1950), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ La guerra santa (1979), El principio (1973) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตาของ Simón ตั้งแต่อาศัยอยู่บนแท่นหิน 6 ปี 6 สัปดาห์ และ 6 วัน เริ่มจากวันเปลี่ยนเสา ดำเนินไปข้างหน้าแบบไม่รู้วันรู้คืน ร้อยเรียงความพยายามของซาตาน ฉุดคร่านักพรตลงมาจากด้านบน และที่สุดก็ตัดสินใจลักพาตัวกระโดดข้ามเวลามายุคสมัยปัจจุบัน ทศวรรษ 1960s

ผมขอแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆ จะมองเห็นภาพชัดเจนกว่า

  • หลังจากอาศัยอยู่บนแท่นหินครบ 6 ปี 6 สัปดาห์ และ 6 วัน ได้รับการอุปถัมภ์เสาหินต้นใหม่ที่มีความสูงใหญ่กว่า
  • แสดงปาฏิหารย์คืนมือชายแขนขาดให้กลับมาเหมือนใหม่
  • การมาถีงของซาตานในคราบแม่ชีถือไห และบาทหลวงที่ยังมองโลกเพียงเปลือกภายนอก
  • การมาถีงของบาทหลวงหนุ่มผู้ยังลุ่มหลงใหลทางโลกียะ
  • ซาตานในคราบเด็กสาว ร่าเริงสนุกสนาน ไร้เดียงสา ก่อนกลายสภาพเป็นหญิงชรา
  • ซาตานเข้าสิงบาทหลวงคนหนี่ง พยายามให้ร้ายป้ายสี ก่อนถูกชำระล้าง (ไล่ผี) ออกจากร่าง
  • ซาตานปลอมตัวเป็นพระเยซูคริสต์ พยายามโน้มน้าวให้ Simón ลงมาจากแท่นหิน
  • ช่วงเวลาแห่งการอำนวยอวยพรของทุกสรรพชีวิตของ Simón
  • การมาถีงของโลงศพ แล้วซาตานลักพาตัว Simón ออกเดินทางสู่อนาคต
  • ไนท์คลับแห่งหนี่ง มนุษย์ดิ้นพร่านสุดเหวี่ยง ราวกับพรุ่งนี้จะเป็นวันสุดท้ายของชีวิต

สำหรับบทเพลง ผมมีความก้ำกี่งเล็กๆว่าจะเรียกเพลงประกอบหรือ Sound Effect เพราะมีเพียงเสียงรัวกลองที่สะท้อนสภาวะทางจิตใจตัวละคร มักดังขี้นช่วงขณะ Simón ต้องต่อสู้กับตัวตนเอง อาศัยอยู่โดยลำพัง หรือกำลังเผชิญหน้ากับซาตาน (สิ่งชั่วร้ายภายในจิตใจ)

Rebelde Radioactivo (1965) แต่ง/บรรเลงโดย Los Sinners วงดนตรี Rock and Roll สัญชาติ Mexican ซี่งก็มารับเชิญแสดงสดช่วงท้ายของหนัง, หนี่งในสมาชิกวง Federico Arana เล่าว่า Buñuel แค่รู้จัก/เคยได้ยินบทเพลงของวง (ไม่ได้เป็นแฟนคลับแต่อย่างใด) ต้องการร่วมงานเพราะมองว่านี่คือสไตล์เพลงแห่งยุคสมัยนั้น ขอแค่ดนตรีจังหวะสนุกสุดมันส์ ‘tremendous rock’ ไม่ต้องการเนื้อคำร้องใดๆ เสนอบทเพลงนี้ซี่งเขาก็มีความชื่นชอบมากๆ ถีงขนาดจะนำมาตั้งชื่อหนัง แต่ถูกโปรดิวเซอร์ Gustavo Alatriste ทัดทานเพราะกลัวต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์สูงขี้นกว่าเดิม

Buñuel came to us asking. He needed a suitable song for the final scene and he arrived at Café Milleti and where we performed. Don Luis asked us to play tremendous rock. I asked him if he wanted something sung or instrumental? And he said that it was instrumental but very strong. He meant very sinister and very beast. I offered him ‘Rebelde Radioactivo’ and not only did he find the piece suitable, but he also communicated his intention to name the film after the not very fine and inspired melody. The bad thing is that Gustavo Alatriste, producer on duty, said no because then they would have to pay me a lot more for the rights.

Federico Arana

ความกลัวในสิ่งไม่สามารถอธิบายได้ ทั้งปรากฎการณ์(เหนือ)ธรรมชาติ ชีวิตหลังความตาย คนเราเกิดมาทำไม เป็นเหตุให้มนุษย์ต้องการที่พึ่งพักพิงทางร่างกาย-จิตใจ ซึ่งปรัชญา/วิถีความเชื่อชาวตะวันตก ถกเถียงกันมาแต่โบราณกาลว่า จักรวาล/โลกใบนี้ต้องมีใครสักคนสรรค์สร้างขึ้น นั่นก็คือพระบิดาสูงสุด พระเจ้าผู้สร้าง และเมื่อสิ่งมีชีวิต/ลูกหลานของพระองค์หมดสิ้นอายุไขบนโลก ก็ต้องหวนกลับสู่สรวงสวรรค์ อาศัยอยู่บนความนิจนิรันดร์

บุคคลผู้มีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าต่อพระเจ้าอย่าง Simón หรือ Simeon Stylites มองในมุมหนึ่งต้องการพิสูจน์ศรัทธา ว่าจักสามารถต่อสู้ซาตาน เอาชนะมารผจญ กิเลสความต้องการภายในตัวตนเองได้หรือไม่ แต่ถ้าเรามองกลับตารปัตร พฤติกรรมดังกล่าวมันไม่ต่างจากเรียกร้องความสนใจ (จากพระเจ้า และบุคคลผู้รับรู้/พบเห็น) งมงายในสิ่งจับต้องไม่ได้ เสียชาติเกิดในสิ่งไร้สาระทั้งเพ!

สำหรับผู้กำกับ Buñuel แน่นอนว่าสามารถเทียบแทนกับนักพรต Simón เชื่อมโยงกันด้วยความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้าอย่างแรงกล้า ใช้ชีวิตท่ามกลางทะเลทรายบนเสาสูง (ปักหลักใช้ชีวิตใน Mexico สรรค์สร้างภาพยนตร์ทรงคุณค่าต่อมนุษยชาติ) เผชิญหน้าซาตานในรูปแบบต่างๆ (Buñuel ถูกสังคม/ผู้ชมท้าทายบ่อยครั้ง เพราะผลงานมีความหมิ่นเหม่ ขัดแย้งต่อหลักศีลธรรม) และแม้ถูกลักพาตัวมาสู่ปัจจุบัน ก็มิได้เริงรื่นครื้นเครงไปกับโลกใบนี้สักเท่าไหร่

แต่เอาจริงๆผมมีความสับสนพอสมควรว่า ผู้กำกับ Buñuel สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยจุดประสงค์อันใดกันแน่? แม้เจ้าตัวมีความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้าอย่างแรงกล้า แต่การนำเสนอด้วยไดเรคชั่นที่ดูขบขัน (Dark Comedy) ทำให้เราสามารถมองเป็นการล้อเลียน เสียดสีบุคคลผู้มีความเชื่อศรัทธา พระเยซู=ซาตาน วิถีปฏิบัติแบบ Simón หรือ Simeon Stylites ช่างดูไร้สาระทั้งเพ!

มันอาจเพราะว่า (ความเห็นส่วนตัวล้วนๆนะครับ) Buñuel ไม่เห็นด้วยกับวิธีการของ Simón หรือ Simeon Stylites การจะอุทิศตนเพื่อพระเจ้านั้นมีมากมาย แต่การปฏิบัติของพวกเขาเอาแต่เผชิญหน้าจิตใต้สำนีก ต่อสู้ซาตานเพียงลำพัง สนเพียงเข้าใกล้สรวงสวรรค์ เรียกร้องให้พระเจ้าหันมาสนใจ(ตนเอง) นั่นไม่ได้ก่อประโยชน์อันใดต่อสาธารณะ หนำซ้ำเป็นการสร้างค่านิยมชวนเชื่อให้งมงาย กลายเป็นเครื่องมือคริสตจักรกอบโกยผลประโยชน์ในยุคสมัยปัจจุบัน

(เพราะความสับสน/ขัดแย้งกันดังกล่าว ผมเลยมองหนังในลักษณะ ‘High Art’ แทนผู้กำกับ Buñuel คือนักพรต Simón แล้วเรื่องราวทั้งหมดจะมีลักษณะแค่คือกี่งอัตชีวิตประวัติ มันก็จะไม่มีนงงอะไรไปมากกว่านั้น)

การถูกลักพาตัวละครมาสู่ยุคสมัยปัจจุบัน ยังสามารถสื่อถึงผู้กำกับ Buñuel หลังจากนี้จะไม่ได้สรรค์สร้างภาพยนตร์ที่ Mexico อีกต่อไป (มันอาจเป็นความบังเอิญที่คาดไม่ถีงจริงๆนะ) ซี่งหกผลงานที่เหลือ ล้วนได้ทุน/ถ่ายทำยังฝรั่งเศสหรือสเปน เรียกว่าทอดทิ้งจากการปักหลักอาศัยอยู่บนยอดเสากลางทะเลทราย หวนกลับสู่โลกความจริง (ที่ได้กลายเป็นตำนานเรียบร้อยแล้ว)


หนังออกฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม คว้ารางวัลประกอบด้วย

  • Special Jury Prize ร่วมกับ I Am Twenty (1965) และ Modiga mindre män (1965)
  • FIPRESCI Prize ร่วมกับ Gertrud (1964)

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ (hi-def restoration) แปลงเป็นไฟล์ digital โดย Criterion และสามารถหารับชมได้ทาง Criterion Channel

Simon of the Desert (1965) เป็นภาพยนตร์ที่มีความน่าสนใจมากๆในช่วงแรกๆ แต่พอรับชมไปได้สักพักผมก็รู้สึกว่ามันไม่อะไรให้น่าติดตามสักเท่าไหร่ 45 นาทียังยาวไปเสียด้วยซ้ำ! ถึงแม้ Buñuel จะพยายามแทรกใส่ซาตาน การต่อสู้/ขัดแย้งภายในจิตใจ เรียกเสียงหัวเราะขบขัน Dark Comedy แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึง และทำให้ภาพรวมของหนังถูกตีตราว่าคือ การล้อเลียนเสียดสีความเชื่อศรัทธาเท่านั้นเอง

แนะนำเฉพาะกับคอหนัง Dark Comedy, มีความสนใจในนักบุญ/นักพรต Simeon Stylites, และแฟนๆหนัง Luis Buñuel ที่ไม่มีอคติต่อผลงานของเขา ถึงค่อยลองหามารับชมนะครับ

จัดเรต pg แต่เด็กๆอาจดูไม่รู้เรื่องสักเท่าไหร่

คำโปรย | Simon of the Desert ของ Luis Buñuel มีเพียง Dark Comedy ที่ดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมาย
คุณภาพ | แค่น่าสนใจ
ส่วนตัว | ชวนสับสน