Dune (1984)


Dune (1984) hollywood : David Lynch ♥♥♡

ผมมองความล้มเหลวของ Dune (1984) เกิดจากวิสัยทัศน์ผู้กำกับ David Lynch ไม่เข้าใจนวนิยายต้นฉบับเพียงพอ ใส่ความเป็นตัวตนเองมากเกินไป และมิอาจต่อรองโปรดิวเซอร์จนสูญเสียการควบคุมทั้งโปรเจค, กาลเวลาทำให้หนังเข้าสู่กระแส Cult Classic ดูแบบไม่คิดอะไรก็น่าจะเพลิดเพลินไปกับมันได้

โดยปกติแล้วภาพยนตร์ถูกตีตราว่า ‘Worst Film’ มักมาจากผู้กำกับไม่ได้มีชื่อเสียงสักเท่าไหร่ อาทิ Ed Wood เรื่อง Plan 9 from Outer Space (1959), Roger Christian กำกับเรื่อง Battlefield Earth (2000), แต่ก็มีบ้างที่ ผกก. ค่อนข้างโด่งดัง แต่สร้างสรรค์ผลงานได้น่าผิดหวัง Heaven’s Gate (1980) กำกับโดย Michael Cimino, Showgirls (1995) กำกับโดย Paul Verhoeven, The Last Airbender (2010) กำกับโดย M. Night Shyamalan แต่พวกเขาเหล่านี้เมื่อเทียบชื่อชั้น David Lynch ยังถือว่าห่างกันไกลโข

นั่นเพราะ David Lynch ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ชื่อดัง Pauline Kael ให้คำนิยาย ‘the first popular surrealist’ นั่นแสดงถึงอิทธิพล ความสำคัญต่อวงการภาพยนตร์ ไม่ย่อหย่อนไปกว่าผู้กำกับระดับตำนานอย่าง Luis Buñuel, Stanley Kubrick, Andrei Tarkovsky เทียบปัจจุบันก็อย่าง Terrence Malick, Michael Haneke ฯลฯ พวกเขาเหล่านี้แม้มีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานอยู่บ้าง แต่คุณภาพโดยรวมก็ไม่ได้เลวร้ายระดับ Dune (1984)

คนที่รับชมผลงานเรื่องอื่นๆของผู้กำกับ Lynch น่าจะตระหนักถึงสไตล์ลายเซ็นต์ ลักษณะเด่นเฉพาะตัว ให้ความสนใจสิ่งซุกซ่อนเร้นภายในจิตใจมนุษย์ นำเอาความอัปลักษณ์เหล่านั้นแปรสภาพจากนามธรรมสู่รูปธรรม ราวกับความฝันจับต้องได้ … นั่นคือสิ่งที่เขาพยายามทำกับ Dune ตีแผ่ด้านมืดตัวละครผ่านงานสร้างยิ่งใหญ่ระดับมหากาพย์

แต่นอกจากข้อจำกัดเรื่องทุนสร้าง และเทคโนโลยียุคสมัย การตีความของ Lynch ยังห่างไกลความลุ่มลีกซับซ้อนจากนวนิยาย Dune ยกตัวอย่าง(ที่ผมคิดว่าคนไม่เคยอ่านนวนิยายก็น่าจะตระหนักได้)อิทธิพลธรรมชาติ ท้องทะเลทรายกว้างใหญ่ไพศาล ไม่ได้รู้สีกยิ่งใหญ่อลังการ โดยเฉพาะหนอนทราย (Sandworm มันคือ Iconic ของนวนิยายเลยนะ!) มีความหน่อมแน้ม ไร้ความน่าเกรงขาม หวาดสะพรีงกลัวโดยสิ้นเชิง … มันไม่ใช่สไตล์ของผู้กำกับ Lynch ที่จะนำปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบย้อนกลับสู่ภายในจิตใจ

ยังมีอีกโคตรปัญหาที่ใครๆน่าจะสังเกตได้ บังเกิดจากความดื้อรัน ละโมบโลภของ(โปรดิวเซอร์)สตูดิโอ ไม่ยินยอมรับฉบับตัดต่อดีที่สุด (ยาวประมาณ 3 ชั่วโมง) เรียกร้องขอหนัง 2 ชั่วโมง โดยไม่สนว่าต้นฉบับนวนิยายมีเนื้อหามากมายเพียงใด ด้วยความจำใจเลยต้องตัดแต่งโน่นนี่นั่น ปรับเปลี่ยนแปลงวิธีดำเนินเรื่องราว ผลลัพท์ผู้กำกับ Lynch ไม่สามารถควบคุมทิศทาง วิสัยทัศน์ตนเองได้อีกต่อไป

เอาจริงๆผมค่อนข้างชื่นชอบการออกแบบ ตัวละครเซอร์ๆ สถาปัตยกรรมเว่อๆ noir-baroque โคตรติสต์! มันทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความแตกต่างจาก 2001: A Space Odyssey (1968) ด้วยแนวทางเฉพาะตัว Lynchesque ในลักษณะ ‘weirding way’ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถยินยอมความอัปลักษณ์เหล่านั้น เมื่อกำลังมี Dune (2021) ให้เปรียบเทียบราวฟ้า-เหว


ก่อนอื่นขอกล่าวถีง Franklin Patrick Herbert Jr. (1920-86) นักเขียนนวนิยายไซไฟ สัญชาติอเมริกา เกิดที่ Tacoma, Washington ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบการอ่าน-เขียน หลงใหลในหนังสือ และการถ่ายรูป หลังเรียนจบมัธยมเริ่มรับจ้างทำงานทั่วๆไป จนมีโอกาสได้เป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์ Oregon Statesman (ปัจจุบันคือ Statesman Journal), ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อาสาสมัครทหารเรือได้เป็นช่างภาพอีกเช่นกัน, หลังสงครามสิ้นสุดตัดสินใจเข้าเรียนต่อ University of Washington เขียนสองเรื่องสั้นแนว pulp fiction ขายให้กับนิตยสาร Esquire และ Modern Romance ค้นพบหนทางอยู่รอดเลยลาออกมาเป็นนักข่าว (Journalism) ให้กับ Seattle Star และบรรณาธิการ San Francisco Examiner’s California Living

สำหรับนวนิยายเริ่มต้นอย่างจริงจังช่วงทศวรรษ 50s จากเรื่องสั้นแนวไซไฟ Looking for Something ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Startling Stories, ส่วนนวนิยายขนาดยาวเรื่องแรก เขียนเป็นตอนๆลงนิตยสาร Astounding ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1955 แล้วรวมเล่มกลายเป็น The Dragon in the Sea (1956)

จุดเริ่มต้นของ Dune ว่ากันว่า Herbert ได้แรงบันดาลใจจากบทความในนิตยสารหนี่ง เขียนถีงการทดลองสุดประหลาดของกระทรวงเกษตร(แห่งสหรัฐอเมริกา) พยายามหาหนทางหยุดยับยั้งการเคลื่อนไหวของหาดทรายใน Florence, Oregon ด้วยการปลูกต้นหญ้า(บนพื้นทราย), ความสนใจในเรื่องราวดังกล่าว ทำให้ Herbert ออกเดินทางสู่ Oregon รวบรวมข้อมูลสำหรับเขียนบทความตั้งชื่อว่า ‘They Stopped the Moving Sands’ แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ (เพราะในบทความเต็มไปด้วยภาษาพูด บรรณาธิการส่งกลับให้ Herbert ปรับเปลี่ยนแก้ไข แต่เขากลับเพิกเฉยผ่านเลยตามเลย) นั่นคือจุดเริ่มต้นความสนใจเกี่ยวกับทรายและระบบนิเวศทางธรรมชาติ

“Sand dunes pushed by steady winds build up in waves analogous to ocean waves except that they may move twenty feet a year instead of twenty feet a second. These waves can be every bit as devastating as a tidal wave in property damage… and they’ve even caused deaths. They drown out forests, kill game cover, destroy lakes, [and] fill harbors”.

ข้อความในบทความไม่ได้รับการตีพิมพ์ They Stopped the Moving Sands

อีกหนี่งแรงบันดาลใจคือเรื่องราวของ T. E. Lawrence ที่เข้าไปมีส่วนร่วมใน Arab Revolt (1916-18) การลุกฮือของชาวอาหรับเพื่อขับไล่จักรวรรดิ Ottoman Empire ออกไปจากภูมิภาคตะวันออกกลาง ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง … ไม่แน่ใจว่า Herbert ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Lawrence of Arabia (1962) หรือเคยอ่านหนังสืออัตชีวประวัติ Seven Pillars of Wisdom (1926) มาก่อนหน้านั้น (แต่น่าจะกรณีหลังนะครับ)

Herbert เริ่มต้นอุทิศตนเองเพื่อนวนิยาย Dune ตั้งแต่ปี 1959 ศีกษาค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวมเรียบเรียงรายละเอียดทั้งหมด ตีพิมพ์สองเรื่องสั้น Dune World (1963) และ The Prophet of Dune (1965) เป็นอารัมบทลงนิตยสาร Analog เพื่อหาสำนักพิมพ์ แต่เนื้อหาลีกล้ำเกินกว่าใครไหนจะยินยอมเสี่ยง (ถูกปฏิเสธกว่า 20 สำนักพิมพ์) ก่อนมาลงเอยที่ Chilton Book Company จ่ายเงินล่วงหน้าเพียง $7,500 เหรียญ

เป็นปกติของนวนิยายไซไฟ ที่เมื่อเริ่มวางขายจะไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจสักเท่าไหร่ แต่หลังจากคว้ารางวัล Nebula Award ปี 1965 (จัดขี้นครั้งแรก) และ Hugo Award ปี 1966 ก็ทำให้เป็นที่รู้จัก เข้าถีงผู้อ่านในวงกว้าง ประสบความสำเร็จเพียงพอให้ Herbert เขียนภาคต่อรวมทั้งหมด 6 ภาค (เห็นว่าเตรียมเขียนภาค 7-8 ไว้แล้วด้วย แต่ Herbert เสียชีวิตจากไปก่อน) ได้รับการแปลภาษานับไม่ถ้วน และยอดขายถีงปัจจุบันเกินกว่า 20+ ล้านเล่ม (เป็นนวนิยายไซไฟยอดขายสูงสุดตลอดกาลถีงปัจจุบัน)

  • Dune (1965)
  • Dune Messiah (1969)
  • Children of Dune (1976)
  • God Emperor of Dune (1981)
  • Heretics of Dune (1984)
  • Chapterhouse: Dune (1985)

ความสำเร็จล้นหลามของนวนิยาย แน่นอนว่าต้องไปเข้าตาโปรดิวเซอร์ใน Hollywood เริ่มต้นฤดูร้อน ค.ศ. 1971 ลิขสิทธิ์ตกเป็นของ Arthur P. Jacobs (โด่งดังจาก Planet’s of the Ape) แต่ยังไม่ทันเริ่มต้นทำอะไร (แค่วางแผนให้ David Lean เป็นผู้กำกับ) ก็พลันด่วนเสียชีวิตหัวใจล้มเหลมช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1973

โปรดิวเซอร์คนถัดมาคือ Jean-Paul Gibon มอบหมายให้ Alejandro Jodorowsky ผู้กำกับสัญชาติ Chilean โด่งดังจากโคตรผลงาน avant-garde เรื่อง El Topo (1970) และ The Holy Mountain (1973) [โดยเฉพาะเรื่องหลังที่มีหลายๆองค์ประกอบละม้ายคล้าย Dune เป็นอย่างมาก] ซี่งก็ได้จินตนาการนักแสดงอย่าง Salvador Dalí ให้มารับบท Emperor, Orson Welles แสดงเป็น Baron Harkonnen, David Carradine เล่นบท Leto Atreides ฯ ทั้งยังติดต่อนักออกแบบชื่อดัง H. R. Giger, Jean Giraud, Chris Foss รวมถีง Pink Floyd ทำเพลงประกอบหนัง

แต่โปรเจคก็ล้มพับเพราะวิสัยทัศน์ของ Jodorowsky อยากสร้าง Dune ที่มีความยาว 10-14 ชั่วโมง ทำให้ไม่สามารถหาทุนสร้างเพียงพอ และเขาก็ไม่ยอมถดถอยจนเกิดความขัดแย้งโปรดิวเซอร์ สุดท้ายเลยต้องแยกย้ายไปตามทาง … เรื่องราวความล้มเหลวดังกล่าว ได้ถูกนำมาตีแผ่เป็นสารคดี Jodorowsky’s Dune (2013) และผมนำภาพการออกแบบที่น่าสนใจโคตรๆ เชื่อว่าถ้าได้สร้างคงมีความแปลกพิศดารยิ่งกว่าฉบับของ David Lynch อย่างแน่นอน

ช่วงปลายปี 1976, โปรดิวเซอร์ Dino De Laurentiis ขอซื้อลิขสิทธิ์ต่อจาก Gibson ทีแรกมอบหมายให้ผู้แต่งนวนิยาย Herbert ลองดัดแปลงบทได้ความยาว 175 หน้ากระดาษ ถ้าสร้างเป็นภาพยนตร์คงความประมาณ 3 ชั่วโมง ซี่งถือว่ายังนานเกินไป! … ประเด็นคือ Herbert มีความใกล้ชิดกับนวนิยายเกินไป ทุกสิ่งอย่างในมุมมองเขาจีงล้วนมีความสำคัญ เลยมิอาจตัดทิ้งรายละเอียดเล็กๆน้อยๆได้สักเท่าไหร่

ต่อมาติดต่อผู้กำกับ Ridley Scott จากความประทับใจ Alien (1979) แต่หลังจากพยายามปรับปรุงบทร่วมกับ Rudy Wurlitzer ไม่ได้ผลลัพท์น่าพีงพอใจสักเท่าไหร่ อีกทั้งพี่ชายของ Scott เพิ่งเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง สภาพร่างกาย-จิตใจค่อนข้างย่ำแย่ เลยขอถอนตัวออกจากโปรเจค [แล้วไปสรรค์สร้าง Blade Runner (1982) กลายเป็นตำนานยิ่งใหญ่กว่า]

“But after seven months I dropped out of Dune, by then Rudy Wurlitzer had come up with a first-draft script which I felt was a decent distillation of Frank Herbert’s (book). But I also realized Dune was going to take a lot more work—at least two and a half years’ worth. And I didn’t have the heart to attack that because my [older] brother Frank unexpectedly died of cancer while I was prepping the De Laurentiis picture. Frankly, that freaked me out. So I went to Dino and told him the Dune script was his”.

Ridley Scott

แซว: แผนงานของ Ridley Scott เอาจริงๆเลวร้ายยิ่งกว่า Jodorowsky (และ Lynch) ตั้งใจแบ่งสร้างสองภาคด้วยทุนสร้างเกินกว่า $50 ล้านเหรียญ

โปรดิวเซอร์ De Laurentiis ยังคงไม่ลดละความพยายาม ปี 1981 ต่อรองผู้เขียนนวนิยาย Herbert เพื่อขยายระยะเวลาถือครองลิขสิทธิ์พร้อมภาคต่อ แล้วไปพูดคุยผู้บริหาร Universal Studio จนได้รับอนุมัติทุนสร้างอย่างแน่นอนแล้ว ระหว่างกำลังมองหาผู้กำกับ Raffaella De Laurentiis (บุตรสาวของ Dino De Laurentiis) มีโอกาสรับชม The Elephant Man (1980) เลยแนะนำ David Lynch ให้บิดาลองพูดคุยติดต่อ


David Keith Lynch (เกิดปี 1946) ศิลปิน ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Missoula, Montana บิดาเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงานวิจัยให้กระทรวงเกษตร ส่วนมารดาสอนวิชาภาษาอังกฤษ ช่วงชีวิตวัยเด็กชื่นชอบการวาดรูป เพ้อฝันอยากจิตรกรแบบ Francis Bacon เคยเข้าศีกษา Corcoran School of the Arts and Design ก่อนย้ายมา School of the Museum of Fine Arts, Boston แต่ก็รู้สีกผิดหวังเพราะโรงเรียนเหล่านี้ไม่สามารถสอนอะไรนอกเหนือวิชาความรู้ เลยตัดสินใจออกท่องยุโรปสักสามปี แต่หลังจากสองสัปดาห์ให้หลังก็ตัดสินใจหวนกลับบ้าน

ก่อนย้ายไปปักหลักตั้งถิ่นฐานยัง Philadelphia เข้าศีกษา Pennsylvania Academy of Fine Arts ระหว่านี้ก็มีโอกาสสร้างหนังสั้น Six Men Getting Sick (Six Times) (1967) ได้แรงบันดาลใจจาก ต้องการเห็นภาพวาดของตนเองสามารถเคลื่อนไหว ปรากฎว่าชนะรางวัลอะไรสักอย่าง เอาเงินนั้นมาทดลองสร้างภาพยนตร์เรื่องถัดมา The Alphabet (1968) มีส่วนผสมของ Live-Action กับอนิเมชั่น นำโปรเจคไปเสนอ American Film Institute รับเงินมาอีกก้อนสร้างหนังเรื่องถัดไปอีก จนกระทั่งกลายเป็น Eraserhead (1977) ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ประสบความสำเร็จล้นหลาม จนบังเกิดกระแส Cult ติดตามมา

หลังเสร็จจากภาพยนตร์ขนาดยาวลำดับที่สอง The Elephant Man (1980) ได้รับติดต่อจาก George Lucas (เป็นแฟนหนัง Eraserhead) ต้องการมอบโอกาสให้โอกาสกำกับ Return of Jedi (1983) แต่เขากลับบอกปัดปฏิเสธ ให้เหตุผลว่านั่นคือภาพยนตร์ที่สะท้อนวิสัยทัศน์ของ Lucas ไม่ควรจะมอบให้คนอื่นมากำกับแทน (แต่ Lucas ก็ยังคงมอบหน้าที่นั้นให้ Richard Marquand)

ระหว่างนั้นผู้กำกับ Lynch ซุ่มพัฒนา Ronnie Rocket ภายใต้ Zoetrope Studios ของ Francis Ford Coppola เป็นโปรเจคครุ่นคิดมาตั้งแต่เสร็จจาก Eraserhead (1977) แต่ด้วยปัญหาการเงินรุมเร้าช่วงปี 1981 ทำให้ทุกสิ่งอย่างวาดฝันไว้ต้องพังทลายลง … ผ่านมาหลายปี โปรเจคนี้คงล้มเลิกความตั้งใจไปเรียบร้อยแล้ว

ช่วงขณะว่างงานอยู่นั้นเอง Lynch ได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์ Dino de Laurentiis ให้ดัดแปลงนวนิยายไซไฟ Dune (1965) ทั้งๆไม่เคยอ่านต้นฉบับ หรือรับรู้เนื้อเรื่องราวใดๆ แต่ด้วยข้อแลกเปลี่ยนสตูดิโอ De Laurentiis Entertainment Group จะให้ทุนสนับสนุนอีกสองโปรเจคหลังจากนั้น (สัญญาภาพยนตร์สองเรื่องถัดไป ประกอบด้วยภาคต่อของ Dune ซี่งไม่ได้สร้างแต่ถือว่านับรวมไว้แล้ว และอีกผลงาน Blue Velvet ค่อนชัดเจนว่าซ่อนเร้นนัยยะอะไรไว้)

“To be honest, when Dino offered me DUNE, I want to see him more out of curiosity than anything else.

I’m not crazy about science fiction and I’d never read Dune before accepted this film. But when I finally got around to it, I was just knocked out. And not only by its adventurous aspects. In a lot of ways, this novel is the antithesis of the usual raygun and spaceship science fiction I’m used to seeing. Dune has believable characters and a lot of depth, a lot of resonance. It’s not all surface flash. In many ways, Herbert created an internal adventure, one with a lot of emotional and physical textures. And I love textures”.

David Lynch

ร่วมดัดแปลงบทกับ Eric Bergren และ Christopher De Vore (ทั้งสองเคยร่วมกันดัดแปลง The Elephant Man) ได้บทร่างแรกจำนวน 200+ หน้ากระดาษ แต่เพราะความคิดเห็นต่างระหว่างตัดทอนรายละเอียด ผ่านไปหกเดือนหลงเหลือเพียง Lynch ปรับเปลี่ยนหลายๆเรื่องราวสู่เสียงบรรยาย คำสนทนา และความคิดตัวละคร จนออกมาได้ 135 หน้ากระดาษ (พี่แกเลยถือเครดิต Written By แต่เพียงผู้เดียว)


ในอนาคตอันไกล ค.ศ. 10191, จักรวาลถูกปกครองโดย Padishah Emperor Shaddam IV สสารที่มีค่าที่สุดในจักรวรรดิคือ Spice (เครื่องเทศ) ซึ่งสามารช่วยยืดอายุไข ขยายจิตสำนึกผู้ใช้ และยังช่วยให้ Spacing Guild เป็นพลังงานสำหรับการเดินทางระหว่างดวงดาว (Interstellar Travellng)

ปัญหาบังเกิดขึ้นเมื่อ Arrakis (หรือ Dune) ดาวเคราะห์แห่งเดียวในจักรวาลที่สามารถเก็บเกี่ยว Spice ถูกยึดครองโดยชนเผ่าพื้นเมือง Fremen และกำลังทำสนธิสัญญาพันธมิตรกับ Duke Leto Atreldes แห่ง House Atreldes นั่นอาจส่งผลกระทบคุกคามต่อ Spacing Guild จึงส่งทูตไปเข้าเฝ้า Emperor Shaddam IV เพื่อรับฟังแผนการทำลายล้าง House Atreldes ด้วยการหยิบยืมมือ Baron Vladimir Harkonnen ร่วมกับหน่วยรบพิเศษของจักรวรรดิ Sardaukar

ทูตของ Spacing Guil พยายามเน้นย้ำ Emperor Shaddam IV ให้กำจัดบุคคลๆหนึ่ง Paul Atreldes บุตรชายของ Duke Leto เพราะคำพยากรณ์จาก Bene Gesserit Sisterhood องค์กรศาสนาที่แทรกซึมไปทั่วทุกหนแห่งในจักรวาล ใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้โบราณฝึกฝนร่างกาย-จิตใจ จนสามารถควบคุมการกำเนิดให้มีแต่เพศหญิงมาหลายยุคสมัย (Breeding Program) จุดประสงค์เพื่อสักวันหนึ่งจะให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตทรงภูมิเหนือจักรวาล Kwisatz Haderach แต่ก่อนจะถึงวันนั้นพยายามควบคุมครอบงำ ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังองค์กรใหญ่ๆ อ้างอุดมการณ์เพื่อรับใช้ แต่แท้จริงต้องการชักใยทุกสิ่งอย่าง

Lady Jessica คือสมาชิกของ Bene Gesserit Sisterhood ที่ถูกมอบหมายให้เป็นภรรยาน้อย Duke Leto โดยธรรมเนียมแล้วต้องให้กำเนิดบุตรสาวเท่านั้น แต่ด้วยความรักต่อสวามี อยากให้มีทายาทสืบวงศ์ตระกูล เลยตัดสินใจทรยศองค์กร คลอดบุตรชาย Paul Atreldes แล้วเสี้ยมสอนองค์ความรู้ทุกสิ่งอย่าง รวมไปถึงการต่อสู้ป้องกันตัวสไตล์ ‘weirding way’ จนสามารถผ่านการทดสอบของ Reverend Mother ได้รับอนุญาตให้ออกเดินทางสู่ Arrakis

โดยไม่มีใครคาดคิด Baron Vladimir Harkonnen แอบซุกซ่อนสายลับในบรรดาคนสนิทของ Duke Leto ทำให้ยังไม่ทันได้พบปะพันธมิตร Fremen เลยถูกเข่นฆ่าทำลายล้าง โชคยังดีที่ Paul และ Lady Jessica สามารถหาหนทางหลบหนี ติดอยู่กลางทะเลทราย เอาตัวรอดจากหนอนทราย (Sandworm) จนได้พบเจอชาว Fremen อาศัยอยู่ใต้ดิน จึงเริ่มครุ่นคิดวางแผนโต้ตอบกลับจักรวรรดิ เริ่มต้นจากเสี้ยมสอนการต่อสู้สไตล์ ‘weirding way’ และเรียกตนเองว่า Paul Muad’Dib


Kyle Merritt MacLachlan (เกิดปี 1959) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Yakima, Washingtion มารดาทำงานผู้จัดการ Youth Theater เลยส่งลูกชายไปร่ำเรียนเปียโน ฝีกฝนร้องเพลงตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ทำให้สามารถขึ้นเวทีการแสดงร้อง-เล่น-เต้น ตั้งแต่อายุ 15 ปี, ช่วงระหว่างกำลังศึกษาสาขาการแสดง University of Washington มีโอกาสเป็นตัวประกอบภาพยนตร์ The Changeling (1980) เลยเกิดความมุ่งมั่นอยากเอาดีด้านนี้, ครั้งหนึ่งระหว่างออกทัวร์การแสดงช่วงปิดเทอม บังเอิญไปเข้าตาแมวมอง รับชักชวนให้มาทดสอบหน้ากล้อง จนกระทั่งมีโอกาสแสดงนำ Dune (1984) เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้กำกับ David Lynch ร่วมงานกันอีกหลายครั้ง Blue Velvet (1986), Twin Peaks (1990–91), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Flintstones (1994), Showgirls (1995) ฯ

Paul Atreides หรือ Muad’Dib เด็กหนุ่มอายุ 15 ปี ผู้มีความเก่งกาจทั้งบุ๋น-บู๋ ได้รับความเข้มแข็ง/จิตใจอ่อนโยนจากบิดา Duke Leto และองค์ความรู้/สไตล์การต่อสู้ ‘weirding way’ จากมารดา Lady Jessica หลังถูกโจมตีจาก Baron Harkonnen ได้รับความช่วยเหลือจาก Fremen ที่ต่างเชื่อว่าเขาคือบุคคลจากคำทำนาย Mahdi (ผู้มาไถ่นำพาชาว Fremen ให้ได้รับอิสรภาพอย่างแท้จริง) เลยตัดสินสอนสไตล์การต่อสู้เพื่อเตรียมล้างแค้น/พร้อมเผชิญหน้าจักรวรรดิ

เส้นทางชีวิตของ Paul มีคำเรียกว่า ‘hero’s journey’ วีรบุรุษผู้ถูกคาดหวังให้ต้องกอบกู้ศรัทธา ต่อสู้ศัตรูแห่งมวลมนุษย์ชาติ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นต้องพานผ่านอุปสรรคขวากหนามมากมาย สูญเสียใครบางคน เผชิญหน้าบทพิสูจน์ตนเอง และได้รับการยอมรับจากทุกผู้คนรอบข้าง ไม่ต่างจากพระพุทธเจ้า, Jesus Christ, Muhammad ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายปลายทางอาจถึงระดับพระเจ้าผู้สร้างโลก (God)

แรงบันดาลใจตัวละครนี้จากบทสัมภาษณ์ของผู้แต่งนวนิยาย Herbert ก็คือ T. E. Lawrence (Lawrence of Arabia) พลเมืองชาวอังกฤษ นำกองทัพอาหรับต่อสู้เอาชนะชาว Turks ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยกลวิธี Guerrilla Tactics ใช้กองกำลังเล็กๆเข้าทำลายหน่วยสื่อสาร ตัดขาดศัตรูไม่ให้ได้รับความช่วยเหลือจากโลกภายนอก นั่นเองที่ทำให้เขากลายเป็น ‘messiah’ มีสถานะเหมือนพระเจ้า (godlike) ของชาวอาหรับ

คำนิยามของผู้กำกับ Denis Villeneuve [ในฉบับ Dune (2021)] ให้ความเห็นตัวละครนี้อย่างน่าสนใจ เปรียบเทียบดั่ง Michael Corleone แฟนไชร์ The Godfather

“He’s training to be the Duke. But as much as he’s been prepared and trained for that role, is it really what he dreams to be? That’s the contradiction of that character. It’s like Michael Corleone in The Godfather–it’s someone that has a very tragic fate and he will become something that he was not wishing to become.”

Denis Villeneuve

นอกจากรูปลักษณ์ที่ไม่เหมือนเด็กหนุ่มอายุ 15 ปี การแสดงของ MacLachlan ก็แทบไม่มีความน่าสนใจอะไรให้ให้พูดกล่าวถึง แม้นี่จะเป็นบทบาทที่โคตรหลงใหล แต่ทุกสิ่งอย่างดูเป็น ‘stereotype’ ปากเบะ หน้าบึ้ง เต็มไปด้วยความตึงเครียดตลอดเวลา เมื่อประกอบเข้ากับเสียงบรรยายความรู้สึกจากภายใน การแสดงจึงไร้มิติซ่อนเร้น จืดชืด น่าเบื่อหน่าย คาดเดาง่าย สิ้นสภาพวีรบุรุษผู้กอบกู้จักรวาล (นอกจากหน้าตาหล่อเหล่าเพียงอย่างเดียว)

“I read Dune for the first time in eight grade, and I’ve read it about once a year ever since, It’s almost been my Bible. I really love that book. So when I was cast for Paul. I couldn’t believe it. I still don’t believe it!”

Kyle MacLachlan

ความที่หนังมีนักแสดงเยอะมากๆ ‘Ensemble Cast’ เลยขอพูดถึงตัวละครอื่นๆโดยคร่าวๆที่น่าสนใจ

  • Duke Leto Atreides ผู้นำตระกูล House Atreides ภายนอกดูเข้มแข็งแกร่ง แต่จิตใจอ่อนโยน มีความรักต่อภรรยา บุตรชาย เป็นห่วงเป็นใยลูกน้องใต้สังกัด มองว่าชีวิตสำคัญกว่าการเก็บเกี่ยวผลผลิต Spice แต่สุดท้ายกลับถูกทรยศหักหลังโดยคนใกล้ตัว
    • รับบทโดย Jürgen Prochnow (เกิดปี 1941) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Berlin หลังประสบความสำเร็จจากการแสดงในประเทศ และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ยอดเยี่ยม เลยได้รับโอกาสจาก Hollywood ผลงานเด่นๆ อาทิ Das Boot (1981), Dune (1984), Beverly Hills Cop II (1987), Air Force One (1997) ฯ
    • House Atreides ได้แรงบันดาลใจจากปกรัมณ์กรีก House Atreus ซึ่งก็ประสบโชคชะกรรม ถูกเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไม่แตกต่าง
  • Lady Jessica สมาชิกของ Bene Gesserit Sisterhood ถูกมอบหมายให้เป็นภรรยาน้อย Duke Leto แต่เพราะรักสวามี เลยตัดสินใจทรยศหักหลังองค์กร คลอดบุตรชาย Paul และกำลังจะให้กำเนิดน้องสาว Alia แต่เมื่อ House Atreides ถูกทำลายล้าง เข้าร่วมกับชาว Fremen และตั้งตนเองกลายเป็น Reverend Mother
    • รับบทโดย Francesca Annis (เกิดปี 1945) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ London บิดาเป็นเจ้าของกิจการ Nightclub ที่ประเทศ Brazil ส่วนมารดาเป็นนักร้อง Blues แต่ทั้งคู่เลิกเราตอนเธออายุ 7 ขวบ ย้ายกลับมาอยู่อังกฤษฝึกฝนบัลเล่ต์ ก่อนมีโอกาสแสดงภาพยนตร์ Cleopatra (1963) ในบทคนรับใช้ Elizabeth Taylor, เริ่มมีชื่อเสียงจากซีรีย์ Great Expectations (1967), ภาพยนตร์ Macbeth (1971), Krull (1983), Dune (1984) ฯ
    • ตัวละครนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Beverly Herbert มารดาของผู้แต่งนวนิยาย เธอมีความเข้มแข็ง เป็นที่รัก เชื่อมั่นในสิ่งถูกต้อง และเหมือนมีความสามารถในการทำนายอนาคต (ของลูกชายตนเอง)
  • Baron Vladimir Harkonnen ชายร่างใหญ่ ป่วยโรคผิวหนังอะไรสักอย่าง ทำให้ไม่สามารถเดินด้วยเท้า ต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างให้ล่องลอยเหนือพื้นดิน อุปนิสัยก็สะท้อนรูปลักษณ์ โหยหาอำนาจ เงินทอง กอบโกยกินทุกสิ่งอย่าง ชื่นชอบการทรมาน ลักร่วมเพศ ฆ่า-ข่มขืน แต่ครั้งหนึ่งยินยอมให้ตัวเองถูกล่อลวงโดย Bene Gesserit Sisterhood ให้กำเนิดบุตรสาวลับๆ Lady Jessica มีศักดิ์เป็นปู่ของ Paul Atreides แต่ก็ยังโกรธเกลียดไม่ชอบขี้หน้า Duke Leto ถึงขนาดยัดสอดไส้สายลับ เมื่อมีโอกาสจึงพร้อมกำจัดให้พ้นภัยพาล
    • รับบทโดย Kenneth McMillan (1932-89) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Brooklyn, New York จากเซลล์แมน ไต่เต้าถึงผู้ดูแลชั้นสามห้างสรรพสินค้า Gimbels Department Store แต่พออายุ 30 ค้นพบความฝันอยากเป็นนักแสดง เข้าศึกษา Fiorello H. LaGuardia High School of Music & Art and Performing Arts แต่กว่าจะเริ่มมีผลงานแรกตัวประกอบ Serpico (1973), ผลงานส่วนใหญ่เป็นบทสมทบ ตำรวจพิทักษ์สันติราษฎร์ จนกระทั่งได้รับโอกาส Dune (1984) แม้เสียเวลาหลายชั่วโมงแต่งหน้าทำผม ได้รับอิสระอย่างเต็มที่ในการทำตัวละครนี้โหดเหี้ยม เลวทราม ชั่วช้าสามาลย์ที่สุด
    • การแสดงของ McMillan ถือว่ามีสีสัน บ้าระห่ำ หลุดโลกที่สุดใน Dune (1984) และดูพี่แกค่อนข้างสนุกไปมัน (อย่างยากลำบาก) แม้ภาพลักษณ์จะแตกต่างจากต้นฉบับนวนิยาย แต่ถือเป็นการตีความที่สื่อนัยยะชัดเจน แค่เห็นก็ขยะแขยง ไม่อยากเข้าใกล้ อัปลักษณ์เกินทน
    • ผู้แต่งนวนิยาย Herbert เล่าว่าใช้การเปิดสมุดโทรศัพท์ (Yellow Book) แล้วค้นพบชื่อ Härkönen ฟังดูเหมือนภาษารัสเซีย (จริงๆเป็นภาษา Finnish) เลยนำมาใช้ตั้งชื่อตัวละคร ในตอนแรกเขียนว่า Valdemar Hoskanner
  • Padishah Emperor Shaddam IV แห่ง House Corrino ผู้ปกครองได้รับการยอมรับทั่วทั้งจักรวาล ออกคำสั่งให้ Duke Leto Atreides เข้าครอบครองดาวเคราะห์ Arrakis แม้รับล่วงรู้ว่าอีกฝ่ายกำลังสร้างพันธมิตรกับชาวพื้นเมือง Fremen แต่นั่นคือแผนกำจัดให้พ้นภัยพาล ด้วยการยืมมือฆ่าโดย Baron Harkonnen แต่หลังจากนั้นการปรากฎของ Muad’Dib สร้างปัญหาให้การเก็บเกี่ยว Spice จน Spacing Guild เรียกร้องให้จักรพรรดิต้องจัดการขั้นเด็ดขาด เลยออกเดินทางมุ่งสู่ Arrakis เพื่อบัญชาการรบด้วยตนเอง
    • รับบทโดย José Ferrer ชื่อจริง José Vicente Ferrer de Otero y Cintrón1 นักแสดงสัญชาติ Puerto Rican เกิดที่ San Juan ครอบครัวอพยพย้ายสู่ New York City ตั้งแต่เขายังเด็ก ช่วงระหว่างร่ำเรียนสถาปัตยกรรม Princeton University ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดง จบออกมาเลยตัดสินใจมุ่งหน้าสู่ Broadways ค่อยๆสะสมชื่อเสียงจนโด่งดังจากบทบาท Cyrano de Bergerac (1946) คว้ารางวัล Tony Award: Best Actor, ส่วนภาพยนตร์เริ่มต้นจาก Joan of Arc (1948), คว้า Oscar: Best Actor เรื่อง Cyrano de Bergerac (1950), ผลงานเด่นๆ อาทิ Moulin Rouge (1952), The Caine Mutiny (1954), Lawrence of Arabia (1962), Ship of Fools (1965), Dune (1984) ฯ
    • แม้ว่าภาพลักษณ์ของ Ferrer จะดูเหมือนจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แต่การแสดงดูลุกรี้ ร้อนรน ไม่ค่อยเหมือนผู้นำที่พึ่งพาได้ น่าจะได้รับคำแนะนำให้ถ่ายทอดความรู้สึกภายในออกเป็นภาษากาย หลังจากถูกกดดัน/ควบคุมครอบงำโดย Spacing Guild ตระหนักว่าตนเองเป็นเพียงหุ่นเชิดชัดของบางสิ่งอย่างยิ่งใหญ่กว่า
    • ในนวนิยายตัวละครนี้อายุ 72 ปี แต่บรรยายภาพลักษณ์ว่ายังเหมือนคนอายุ 35, แต่ภาพยนตร์บอกว่าอายุเกิน 200+ ปี เพราะได้รับการหนุนหลังจาก Spacing Guild และความช่วยเหลือของ Spice (ที่สามารถทำให้อายุยืนยาว)
  • Chani เป็นชาว Fremen บุตรสาวของ Liet-Kynes ภรรยานอกสมรสของ Paul แต่ได้รับคำยืนยันจากเขาว่าจะรักและดูแลเหมือนดั่งภรรยา (Paul แต่งงานในนามกับ Princess Irulan ด้วยเหตุผลทางการเมือง)
    • รับบทโดย Sean Young (เกิดปี 1959) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน โด่งดังจาก Blade Runner (1982) แต่ถูกลดทอนบทบาทจนไม่มีอะไรให้พูดถึง
  • Siân Phillips รับบท Reverend Mother Gaius Helen Mohiam ผู้นำของ Bene Gesserit และภรรยานอกสมรสของ Emperor Shaddam IV ทีแรกพยายามปฏิเสธการมีตัวตนของ Paul แต่หลังจากเขาสามารถผ่านการทดสอบ จึงเกิดความลังเลใจ ยินยอมให้เขามีชีวิต คาดคิดว่าคงถูกเข่นฆ่าในช่วงการเข่นฆ่าล้าง House Atreides แต่หลังจากมีชีวิตรอด สามารถต่อต้านขัดขืน เธอเองก็มิอาจทำอะไรกับเขาได้
  • Sting รับบท Feyd-Rautha น้องเขยของ Baron Harkonnen (น่าจะเป็นคนรักด้วยกระมัง) คู่ต่อสู้ดวลมีดกับ Paul
    • ว่ากันว่าฉากเดินจากห้องอบไอน้ำ Sting ตั้งใจจะเปลือยเปล่าทั้งตัว แต่ทีมงานก็สรรหาอะไรบางอย่างมาปกปิดไว้ได้ทัน โดดเด่นจนทำให้เก้งๆกังๆกรี๊ดกร๊าดลั่น
  • Patrick Stewart รับบท Gurney Halleck, a troubador-warrior and talented baliset musician in the Atreides court
  • Max von Sydow รับบท Doctor Kynes นักวิทยาดาวเคราะห์ (planetologist) ของชาว Fremen และเป็นบิดาของ Chaniจ

ถ่ายภาพโดย Freddie Francis (1917-2007) ตากล้องสัญชาติอังฤษ เจ้าของสองรางวัล Oscar: Best Cinematography เรื่อง Sons and Lovers (1960), Glory (1989), มีโอกาสร่วมงานผู้กำกับ David Lynch สามครั้ง The Elephant Man (1980), Dune (1984) และ The Straight Story (1999)

เดิมนั้นโปรดิวเซอร์อยากทำโปรดักชั่นที่ประเทศอังกฤษ ทีมงานส่วนใหญ่ก็เป็นชาวยุโรป แต่เพราะต้องสร้าง 80 ฉาก ใน 16 โรงถ่าย ซึ่งมีปริมาณไม่เพียงพอ ถ้าทำที่ Hollywood, Los Angeles ทุนสร้างคงบานเบิก เลยตัดสินใจไปปักหลักยัง Estudios Churubusco Azteca, Mexico City ไม่ห่างไกลจากทะเลทราย Pincate and Grand Desert of Altar

แซว: แม้การถ่ายทำยัง Mexico จะช่วยลดค่าใช้จ่าย/เช่าสถานที่ได้มาก แต่ระหว่างโปรดักชั่นทีมงานเกินกว่าครี่ง (จาก 1,700+ คน) ล้มป่วยโรค Moctezuma’s Revenge ท้องเสียจากอาหารการกินไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ต้องเพิ่มงบประมาณ (ใช้งบเกินกว่าที่ประมาณไว้ $4 ล้านเหรียญ) มาสร้างโรงครัว นำเข้าอาหารทั้งหมดส่งจากสหรัฐอเมริกา ในระยะเวลาถ่ายทำ 6 เดือน!

Production Design โดย Anthony Masters (1919-90) โด่งดังกลายเป็นตำนานกับ 2001: A Space Odyssey (1968) เมื่อได้รับการชักชวนจากผู้กำกับ Lynch ตกลงด้วยภาษิต ‘อะไรเคยพบเห็นหรือทำมาแล้ว โยนมันทิ้งไป!’

“Out motto is: If it’s been done or seen before, throw it out!”

Anthony Masters

แม้มีการออกแบบจากงานสร้างของ Alejandro Jodorowski และ Ridley Scott แต่ผู้กำกับ Lynch ตัดสินใจเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด จินตนาการโดยอ้างอิงโลกปัจจุบันถีงอนาคต 10,000+ ปีข้างหน้า ให้ผู้ชมยังรู้สีกมักคุ้นเคยกับสถานที่ มีความเป็นรูปธรรมมากขี้น (แต่ในสไตล์/คิดสร้างสรรค์ของ Lynch)

4 ดาวเคราะห์หลักในหนังประกอบด้วย

  • Kaitain สถานที่ตั้งพระราชวังของ Padishah Emperor Shaddam IV เป็นดาวเคราะห์สีฟ้าขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยวงแหวน ประกอบด้วยแผ่นดินและผืนน้ำ มีความเจริญก้าวหน้า เต็มไปด้วยตีกระฟ้า สถาปัตยกรรมล้ำอนาคต
  • Giedi Prime สถานที่ตั้งของ House Harkonnen เป็นดาวเคราะห์อุตสาหกรรม ประกอบด้วยโรงงานนับร้อยพัน สร้างเป็นบล็อกๆซ้อนเป็นชั้นๆ สภาพอากาศคงเต็มไปด้วยมลพิษ ไม่เหมาะสำหรับการพักอยู่อาศัยสักเท่าไหร่
  • Caladan สถานที่ตั้งของ House Atreides เป็นดาวเคราะห์สีเขียว รายล้อมรอบด้วยโขดหิน คลื่นสาดกระเซ็น มองออกไปเป็นมหาสมุทรกว้างใหญ่ไพศาล
  • Arrakis ดาวเคราะห์สีแดงดวงเดียวในจักรวาลที่ค้นพบว่ามี Spice พื้นผิวมีเพียงท้องทะเลทราย สภาพอากาศกลางวัน-กลางคืน แปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่ภายใต้ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาว Fremen ซุกซ่อนเร้นลำธารน้ำกว้างใหญ่ไพศาล

ภายในพระราชวังของ Padishah Emperor Shaddam IV สร้างด้วยทองคำทั้งหมด แสดงถึงความร่ำรวย มั่งคั่ง จากการค้า Spice (ให้ความรู้เหมือนเหมือนประเทศค้าน้ำมัน แถวตะวันออกกลาง) ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมคือแท่งเล็กๆแหลมๆ ดูคล้ายฟันเฟืองในเครื่องยนต์กลไก ราวกับว่าสถานที่แห่งนี้คือศูนย์กลางการขับเคลื่อนอะไรอย่างสักอย่าง

ชื่อของจักรพรรดิฟังดูยิ่งใหญ่ เป็นผู้ปกครองจักรวาลที่รู้จัก (Emperor of the Known Universe) แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นหุ่นเชิดชักของ Spacing Guild และ Bene Gesserit Sisterhood ได้รับคำสั่งอะไรมาก็ต้องปฏิบัติตาม

แซว: มันอาจเป็นความบังเอิญหรือจงใจไม่รู้นะ ศีรษะล้านด้านหลังของ José Ferrer นัยยะถึงการไม่เป็นตัวของตนเอง ถูกควบคุมครอบงำด้วยบางสิ่งอย่าง (คือมันไปสอดคล้อง/ตรงกันข้ามกับศีรษะของ Bene Gesserit ที่ผมจะกล่าวต่อไป)

Spacing Guild คือองค์กรที่ควบคุมระบบการขนส่งของจักรวาล โดยใช้ Spice ทำให้ยานอวกาศสามารถเดินทางระหว่างดวงดาวได้เพียงชั่วพริบตา ด้วยเหตุนี้จึงมีอำนาจการต่อรองล้นฟ้า ถ้าผู้นำดาวเคราะห์ไหนไม่ยินยอมศิโรราบ ก็สามารถตัดขาดความสัมพันธ์ ปล่อยทอดทิ้งมิอาจเดินทางไปไหนมาไหนได้อีก

ในนวนิยายเหมือนว่า Spacing Guild จะแค่มีอิทธิพลต่อ Emperor Shaddam IV แต่ฉบับภาพยนตร์มีการพูดบอกอย่างชัดเจนว่าคือหุ่นเชิดชักที่องค์กรแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตนแทนในการปกครองจักรวาล ควบคุมกิจการเก็บเกี่ยว Spice ด้วยเหตุนี้จักรพรรดิจีงมิอาจขัดคำสั่งของ Guild Navigator แต่ตัวเขาก็มีหน้าที่แค่วางแผน สั่งการ หาใช่ผู้ปฏิบัติภารกิจนี้โดยตรงไม่

Guild Navigator หรือ Guildsman หรือ Steersman คือสิ่งมีชีวิตที่บริโภค Spice จนทำให้มีความสามารถเคลื่อนไหวผ่านช่องว่างระหว่างจักรวาล ขนส่งยานอวกาศจากดาวเคราะห์หนึ่งสู่อีกดาวเคราะห์หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (ในสายตามนุษย์คือโดยทันที) ว่ากันว่าเจ้าสิ่งนี้อาจเคยเป็นมนุษย์ ที่หลังจากบริโภค Spice ปริมาณมหาศาลจึงเริ่มกลายพันธุ์ และมีความสามารถพิเศษดังกล่าว แต่ต้องแลกเปลี่ยนคือไม่สามารถออกจากแท็งค์น้ำ (ที่อุดมไปด้วยแก๊ส Spice)

ด้วยความสามารถที่อยู่นอกเหนือกฎจักรวาล ทำให้ Guild Navigator สามารถก่อตั้ง Spacing Guild มีอำนาจต่อรองผู้นำดาวเคราะห์ ไม่เว้นแม่แต่จักรพรรดิ เพื่อให้การเก็บเกี่ยว Spice ดำเนินไหลไปอย่างไม่หยุดหย่อน (เพราะถ้าขาดช่วงเมื่อไหร่ เจ้าสิ่งมีชีวิตตนนี้อาจดับสูญสิ้นไปเลยก็เป็นได้)

Bene Gesserit Sisterhood คือองค์กรที่ใช้ศาสนา/ความเชื่อศรัทธาเป็นข้ออ้าง จุดประสงค์เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตสมบูรณ์แบบ ด้วยการแทรกซีมเข้าไปในทุกๆองค์กรจักรวาล ให้กำเนิดทารกเพศหญิงเพื่อเก็บสะสมพันธุกรรมที่ดีไว้กับตัว สืบสานต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะถีงวันสามารถให้กำเนิดพระเจ้า Kwisatz Haderach ปัจจุบันพานผ่านมาแล้วถึง 90 รุ่น

เกร็ด: Bene น่าจะมาจากคำว่า Benefit หมายถีงผลประโยชน์, Gesserit ออกเสียงคล้ายๆ Jesuits คณะแห่งพระเจ้า กลุ่มบุคคลผู้มีหน้าที่เผยแพร่คำสอนศาสนาสู่สถานที่แห่งหนต่างๆทั่วโลก

จะว่าไปแนวคิดของ Kwisatz Haderach ช่างละม้ายคล้าย Guild Navigator แต่พวกเธอไม่ได้พึ่งพาปัจจัยภายนอกอย่าง Spice จนมีรูปร่างอัปลักษณ์ กลายพันธุ์ ไม่สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป, วิธีการของ Bene Gesserit คือฝีกฝนจิตใจให้เข้มแข็งแกร่ง จนสามารถควบคุม/คัดเลือกสรรค์พันธุกรรมที่ดีส่งต่อให้ทายาทรุ่นถัดๆไป

คงมีหลายครั้งที่สมาชิกของ Bene Gesserit ให้กำเนิดเพศชาย แต่เมื่อเติบโตถึงวัยจักต้องเข้ารับการทดสอบ ทั้งหมดล้วนมิอาจอดรนทนต่อความเจ็บปวดที่บังเกิดขึ้นภายในจิตใจ จึงถูกทิ่มแทงด้วยยาพิษ เสียชีวิตตกตายไป

แซว: ทรงผมสุดแนวของ Bene Gesserit โกนศีรษะเพื่อบอกว่าตนเองไม่ได้ยึดติดกับอะไร มีหน้าที่เพื่อคอยรับใช้ แต่ผ้าคลุมศีรษะห้อยไปด้านหลัง นัยยะถึงแท้จริงแล้วคอยควบคุม ชักใยอยู่เบื้องหลังทุกสรรพสิ่งอย่าง

จากบทสัมภาษณ์ของลูกชายผู้แต่งนวนิยาย Brian Herbert เล่าถึงสิ่งที่น่าจะเป็นแรงบันดาลใจของ Bene Gesserit

“When he (Frank Herbert) was a boy, eight of Dad’s Irish Catholic aunts tried to force Catholicism on him, but he resisted. Instead, this became the genesis of the Bene Gesserit Sisterhood. This fictional organization would claim it did not believe in organized religion, but the sisters were spiritual nonetheless. Both my father and mother were like that as well”.

Brian Herbert

ฉากภายในปราสาท House Atreides บนดาวเคราะห์ Caladan ดูเหมือนใช้ไม้ทำเป็นผนังกำแพง แกะสลักลวดลายต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ-เก้าอี้ ข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ให้ความรู้สึกเก่าแก่ มีมนต์ขลัง (แต่ไปเอาไม้พวกนี้มาจากไหนกันละ?) ซึ่งสะท้อนเข้ากับธรรมชาติของตระกูลนี้ ต่างมีจิตใจดีงาม มั่นคงในอุดมการณ์ อบอุ่นเมื่อได้อยู่เคียงชิดใกล้

การอ้างว่าข้อจำกัดของเทคโนโลยียุคสมัยนั้น มันฟังไม่ขึ้นเลยสักนิด! นี่ไม่ใช่ Tron (1982) ที่สามารถสร้างโมเดลอะไรก็ได้ในโลกคอมพิวเตอร์ คือถ้าทำมันออกมาขี้เหล่ขนาดนี้ ให้นักแสดงต่อสู้กันตรงๆไม่ดีกว่าหรือ? อะไรกันที่ทำให้ David Lynch เข็นความพิลึกพิลั่นนี้ออกมา?

ในนวนิยาย ทักษะการต่อสู้ ‘weirding way’ มันคล้ายๆการฝึกฝนกำลังภายใน หรือ The Force ของ Jedi นั่นคือเหตุผลของผู้กำกับ Lynch (กระมัง) ไม่อยากดำเนินตามรอยนั้น (เพราะเขาปฏิเสธ George Lucas ในการกำกับ Star Wars) ด้วยเหตุนี้เลยครุ่นคิดพัฒนา Weirding Modules ด้วยการให้ตัวละครส่งเสียงเพิ่มพลังโจมตี สามารถทำลายล้างแม้กระทั่งธาตุแข็งแกร่งที่สุดบนดาว Arrakis

แต่ผมว่าแนวคิดของปีนประหลาดๆนี่มันตลกสิ้นดีเลยนะ โดยเฉพาะการต้องส่งเสียงร้องเพื่อเพิ่มพลัง ยิ่งช่วงไคลน์แม็กซ์ของหนังแม้งโคตรน่ารำคาญ ตัวละครทั้งหลายต่างส่งเสียงเจี้ยวจ้าวแทน Sound Effect คิดออกมาได้ไง??

ใครดูหนังกังฟู หรือ Shaw Brothers น่าจะมักคุ้นเคยกับอุปกรณ์ฝีกฝนวิชาการต่อสู้ชนิดนี้เป็นอย่างดี แต่เดี๋ยวนะอนาคต 10,000+ ปีข้างหน้า มันยังจะใช้ไอ้เครื่องแบบนี้อยู่อีกเหรอ?? มันน่าจะมีโฮโลแกรม หรือหุ่นยนต์สำหรับต่อสู้สิ มันถึงสมเหตุสมผลกว่า และการขยับเคลื่อนไหวของมันช่างก๋องแก๋งเหลือทน ไม่ได้มีความน่าตื่นตาตื่นใจเลยสักนิด!

“Fear is the mind-killer”.

Paul Atreides

นี่เป็นฉากที่ผมชื่นชอบสุดแนวคิดที่สุดแล้ว มันคือบททดสอบความเป็นมนุษย์ สิ่งมีชีวิตเดียวเท่านั้นสามารถเผชิญหน้าความหวาดกลัว อดรนทนต่อความเจ็บปวด เอาชนะสันชาตญาณ และเข้าถึงนิพพาน (เดรัจฉานจะไม่สามารถอดรนทนต่อความเจ็บปวด สันชาตญาณจักทำให้ชักมือออกจากกล่องโดยทันที)

ความเจ็บปวดของ Paul ไม่ได้มาจากมือสอดใส่ในกล่อง แต่คือพลังของ Reverend Mother สร้างภาพหลอนควบคุมจิตใจ ให้เขารู้สึกเหมือนถูกแผดเผา มอดไหม้ ราวกับอยู่ในขุมนรก, ในนวนิยายเห็นว่าเธอหยุดเมื่อพลังหมด และยินยอมรับว่า Paul มีแนวโน้มจะกลายเป็น Kwisatz Haderach

Giedi Prime สถานที่ตั้งของ House Harkonnen เป็นดาวเคราะห์อุตสาหกรรม พบเห็นโครงเหล็กซ้อนกันเป็นชั้นๆ เครื่องจักรถูกแบ่งเป็นบล็อกๆ ก็ไม่รู้มันทำงานอะไรของมัน แค่ให้ความรู้สึกของ Surrealist Setting เพียงให้ผู้ชมสัมผัสว่านี่คือโรงงานอุตสาหกรรมก็เท่านั้นเอง

มองจากภายนอก Giedi Prime เป็นดาวเคราะห์สีดำมะเมื่อม ส่วนภายในกลับเป็นใช้โทนสีเขียวของธนบัตร สัญลักษณ์ระบอบทุนนิยม ซ่อนเร้นด้วยความชั่วร้าย

ถ้าถามว่าสิ่งใดในภาพยนตร์เรื่องนี้เทียบแทนสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Lynch ได้ตรงที่สุด คงหนีไม้พ้นรูปลักษณ์ภายนอกของ Baron Vladimir Harkonnen ผมอ่านเจอว่าเพราะพี่แกพยายามข่มขื่น Bene Gesserit ที่ส่งมาเอาน้ำเชื้อของตน เลยถูกเธอผู้นั้นใช้พลังดัดแปลงพันธุกรรมหรืออะไรสักอย่าง จนมีสภาพผิวหนังเน่าเปื่อยพุพอง รักษาไม่มีวันหาย (สะท้อนตัวตนจากภายในที่มีความอัปลักษณ์ ซาดิสต์ โฉดชั่วร้าย)

ในฉบับของ Denis Villeneuve ออกแบบตัวละครนี้แค่อวบอ้วนขึ้นไม่ได้เป็นโรคผิวหนัง ซี่ง(ความอ้วน)เป็นสัญลักษณ์ของบริโภคนิยมกอบโกยกินมากเกินความจำเป็น ส่วนการลอยขึ้นจากพื้น แสดงถึงการทำตัวสูงส่ง เหนือกว่ามนุษย์ ราวกับฉันคือพระเจ้า

เด็กหนุ่มหน้าใส สวมชุดสีขาว ด้านหลังคือดอกไม้ แล้วถูก Baron Harkonnen พุ่งถาโถมเข้าใส่ ชักจุกตรงหัวใจ เลือดพุ่งสาดกระเซ็น เสพสมจนหมดสิ้นลมหายใจ … นัยยะฉากนี้คือการข่มขืน เปิดบริสุทธิ์ ลักร่วมเพศ เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ (เลยมั้ง) ไม่รู้จะชมหรือด่า นำเสนอออกมาได้ซาดิสต์สุดๆ

และที่จี๊ดยิ่งไปกว่านั้น ร้อยเรียงภาพผู้ชมที่ยืนจับจ้องมอง Baron Harkonnen กระทำชำเราเด็กหนุ่มผู้โชคร้ายอย่างไร้เยื่อใย แต่ถ้าสังเกตรูปลักษณะพวกเขาถูกปิดปาก ปิดตา หูถูกเย็บ (น่าจะสื่อถึงการปิดหู ไม่ให้ได้ยินสิ่งบังเกิดขึ้น) เว้นเพียงสองพี่น้อง ญาติสะใภ้ แสดงออกด้วยรอยยิ้มกริ่ม พึงพอใจในสิ่งพบเห็น … ประเทศไทย T_T

ผู้ชมสมัยนี้คงมีภาพการเดินทางระหว่างดวงดาวด้วยการวาร์ป ผ่านรูหนอน ดวงดาวเคลื่อนผ่า่นอย่างรวดเร็ว ฯ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอในเชิงนามธรรม Surrealist ด้วยการให้ยานอวกาศเข้าไปในสถานีอวกาศที่มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก จากนั้น Guild Navigator (ตัวประหลาดๆที่พบตอนต้นเรื่อง) ดูดเข้าไปในปาก แล้วเคลื่อนย้ายตำแหน่งตนเองไปยังดาวเคราะห์เป้าหมายและพ่นมันออกมาเหนือชั้นบรรยากาศ … Sequence นี้ต้องชมในความคิดสร้างสรรค์ บรรเจิดมากๆ (ที่สุดในหนังแล้วกระมัง)

Arrakis ดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวปกคลุมด้วยท้องทะเลทราย แสงแดดร้อนระอุ ทรัพยากรธรรมชาติมีจำกัด ฐานบัญชาการต้องขุดเจาะเข้าไปในเทือกเขา อาศัยธารน้ำเล็กๆ(ในภูเขา)ประทังความอดอยาก และวิธีเดียวสามารถปกป้องกันการโจมตีจากหนอนทราย คือบาเรียคลื่นความถี่สูง

ลักษณะโดดเด่นของชาว Fremen คือผิวสีเข้ม (แรงบันดาลใจจากชาวอาหรับ/ตะวันออกกลาง) ดวงตาสีฟ้า เป็นผลกระทบจากใกล้ชิด Spice มากเกินไป แต่ก็ไม่ส่งเสียใดๆต่อร่างกาย หรือกลายพันธุ์แบบ Guild Navigator (รายนั้นเพราะบริโภค Spice มากเกินไป) มีความแข็งแกร่งทางร่างกาย (เพราะต้องอดรนทนใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก) หลังได้รับการฝึกฝน ‘weirding way’ จึงทำให้จิตใจเข้มแข็งแกร่งขึ้น สามารถต่อสู้เอาชนะได้กระทั่งกองทัพส่วนตัวของจักรพรรดิ

เกร็ด: Fremen มาจากคำว่า Free Men ต้องการสื่อว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีอิสรภาพของตนเอง

หนอนทราย (Sandworm) ออกแบบโดย Anthony Masters ร่วมกับ Ron Miller ส่วนลำตัวได้แรงบันดาลใจจากงวงช้าง ขณะที่บริเวณปากมีการปรับเปลี่ยนอยู่หลายแบบ ก่อนมาลงเอยที่สามแฉกสามารถปิด-เปิด คล้ายๆดอกไม้แรกแย้ม

ก่อสร้างโดย Carlo Rambaldi (1925-2012) นัก Special Effect สัญชาติอิตาเลี่ยน เจ้าของรางวัล Oscar: Best Visual Effects ถีงสามครั้งจาก King Kong (1976) [เป็น Special Achievement], Alien (1979) และ E. T. (1982)

ต้องใช้ช่างทั้งหมด 24 คน ออกแบบกลไก แกะสลัก ขี้นรูป (ไม่ได้มีการใช้ Visual Effect แต่อย่างใด) ก่อสร้างทั้งหมด 15 ตัว ขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ เฉพาะลำตัว/ปาก สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน (ตัวใหญ่สุดขนาด 18ฟุต/5เมตร ยาว 50ฟุต/15เมตร ในฉากที่ Paul ยิงฉมวกแล้วปีนป่ายขี้นบนลำตัว), ส่วนบริเวณปาก Rambaldi เพิ่มเติมฟันแหลมคมให้ดูน่าหวาดกลัวยิ่งขี้น รวมไปถีงกลไกให้สามารถเปิด-ปิด ขยับเคลื่อนไหวจากการควบคุมระยะไกล รวมๆแล้วค่าก่อสร้างเจ้าหนอนทรายสูงถีง $2 ล้านเหรียญ!

reference: https://monsterlegacy.net/2014/04/28/dune-sandworms-arrakis/

รูปลักษณ์ของหนอนทราย (Sandworm) ถูกโจมตีจากแทบทุกนักวิจารณ์ ว่าออกแบบได้จืดชืด ‘cheap’ ดูธรรมดา ไร้ความเกรงขาม ยิ่งใหญ่อลังการ น่าสะพรีงกลัวในลักษณะที่มันควรจะเป็น (นี่คือ Iconic ของนวนิยายเล่มนี้เลยนะ!)

“The heads of the sand worms begin to look more and more as if they came out of the same factory that produced Kermit the Frog (they have the same mouths)”.

นักวิจารณ์ Roger Ebert พูดถีง Sandworm

ชาวพื้นเมือง Fremen เคารพนับถือ Shai-Hulud เปรียบดั่งตัวแทนพระเจ้า (agents of God) การกระทำของพวกมันราวกับสวรรค์บันดาล (divine intervention) ซี่งรูปลักษณะลำตัวยาวตีความได้ถีงลีงค์ อวัยวะเพศชาย เจ้าโลกขนาดใหญ่ ก่อนเดินทางมาถีงจะพบเห็นร่องรอย wormsign และสามารถกลืนกินแทบทุกสรรพสิ่งอย่างที่พยายามแสวงหาผลประโยชน์จาก Spice

การตีความหนอนทรายมีหลากหลายทฤษฎีมากๆ แต่ที่ผมชื่นชอบสุดคือกระจกสะท้อนธรรมชาติมนุษย์ (สื่อถึงตัวละครเพศชายโดยเฉพาะ Emperor Shaddam IV และ Baron Harkonnen) ขนาดของมันแสดงถีงพลังอำนาจ ความยิ่งใหญ่ เต็มไปด้วยความละโมบโลภ สามารถกอบโกยกินทุกสิ่งอย่าง ใช้ความหวาดกลัวในการปกครองดินแดนแห่งนี้ ใครส่งเสียงอะไรที่เป็นจังหวะ(ไม่เป็นธรรมชาติ)จะตรงรี่เข้ามาทำลายล้างโดยทันที [สื่อถึงพวกกบฎ ไม่ใช่พวกเดียวกันเอง]

แซว: ในนวนิยาย บรรยายสรรพคุณหนอนทรายว่ากลัวน้ำ แต่ตอนจบของภาพยนตร์ Paul บันดาลฝนตกลงมา ไม่รู้เหมือนกันว่าจะส่งผลกระทบต่อพวกมันมากน้อยเพียงใด

มุมมองหนึ่ง เราอาจตีความ Spice ได้กับยาเสพติด กัญชา เฮโรอีน ฯลฯ เพราะสรรพคุณขยายโสตประสาทการรับรู้ แต่ถ้าบริโภคมากเกินไปอาจกลายสภาพเป็นอย่าง Guild Navigator รูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ และมิอาจมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากมัน

เช่นกันกับการเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ มักถูกโจมตึโดยหนอนทรายที่ทำตัวราวกับเป็นตำรวจไล่ล่าผู้ร้ายลักลอบขนยา และทำลายสิ่งผิดกฎหมายเหล่านั้น (ด้วยการกลืนกิน กอบโกยผลประโยชน์ใส่ตน)

แซว: เจ้ายาน Spice Harvester ให้ความรู้สึกเหมือนเครื่องดูดฝุ่น ซึ่งความสามารถของมันก็คือดูดเอา Spice จากบริเวณโดยรอบเข้ามาในตัว ผ่านเครื่องกลั่นกรองจนออกมาเป็นสสาร Melange

แม้พื้นผิวดาวเคราะห์ Arrakis จะเต็มไปด้วยความเร่าร้อนอันตราย แต่ภายใต้กลับสงบร่มเย็น เพราะซ่อนเร้นธารน้ำกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ความแตกต่างตรงกันข้ามนี้สะท้อนนัยยะอย่างชัดเจนถึง คุณค่าของทุกสรรพสิ่งอย่างไม่ได้อยู่ที่ภาพลักษณ์ภายนอก ความงดงามแท้จริงนั้นล้วนซ้อนเร้นอยู่เบื้องลึกภายในจิตใจ

จริงอยู่ Spice จากพื้นผิวดาวเคราะห์ Arrakis มีมูลค่ามากมายมหาศาล แต่มันเฉพาะคนกลุ่มเล็กๆ (Spacing Guild) ที่สามารถเข้าถึง! ผิดกับผืนน้ำใต้แผ่นดิน ซึ่งถือเป็น ‘Water of Life’ สายธารแห่งชีวิต จิตวิญญาณของมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครสามารถอดกลั้นความกระหาย ไม่ได้ดื่มเพียงวันเดียวก็อาจตายได้ (อาหารขาดแคลนได้หลายวัน แต่ถ้าร่างกายขาดน้ำก็แทบจะสิ้นใจโดยทันที)

Water of Life ในบริบทของ Dune คือน้ำที่กลั่นมาจากตัวอ่อนของ Shai-Hulud (ก็หนอนทรายนะแหละ) ซึ่งจะมีพิษร้ายแรงกว่า Melange (ที่เก็บเกี่ยวจากทะเลทราย) แต่สำหรับ Bene Gesserit สามารถใช้พลังจิตควบคุม ส่งต่อองค์ความรู้ (จาก Reverend Mother ส่งให้กับทายาทรุ่นถัดไป) ให้สามารถซ้อนทับความทรงจำ และปลุกตื่นพลังซ่อนเร้นอยู่ในตนเอง

ในกรณีของ Lady Jessica บังเอิญว่าขณะนั้นกำลังตั้งครรภ์บุตรสาว ฤทธิ์ของ Water of Life จึงถูกส่งต่อถึงทารก Alia ทำให้คลอดก่อนกำหนด แล้วมีพละพลัง ความทรงจำ (ทุกสิ่งอย่างของ Reverend Mother คนก่อน) ถูกปลุกตื่นขึ้นมาตั้งแต่ยังอยู่ในร่างของทารกน้อย นั่นมีคำเรียกว่า Abomination (ประมาณว่าจิตใจเป็นผู้ใหญ่ ติดอยู่ในร่างกายที่ยังเด็ก) โดยปกติแล้วจะถูกกำจัดทิ้งโดยทันที แต่นั่นไม่ใช่วิถีปฏิบัติของครอบครัวนี้

วัวตาย รีดนมแมวเพื่อต้านพิษ มัดติดกับหนู ซีนนี้ผมจนปัญญาจริงๆ ไม่สามารถครุ่นคิดเข้าใจได้ว่าผู้กำกับ Lynch ต้องการจะสื่ออะไร? มนุษย์ต้องพึ่งพาเดรัชฉานเพื่อรอดชีวิต? หรือแค่ต้องการให้เห็นรสนิยมทรมานสัตว์ของ Baron Harkonnen

ขณะที่ตัวละครของ Patrick Steward อุ้มสุนัข Pug เข้าฉากขณะกำลังกราดยิง เห็นว่าได้แรงบันดาลใจจาก The dogs of war คำพูดของ Mark Antony ในบทละคร Julius Caesar ประพันธ์โดย William Shakespeare ซึ่งในบริบทนั้น สุนัขคือสัญลักษณ์ของปืนใหญ่/กระสุนระเบิด

“Cry ‘Havoc!’, and let slip the dogs of war.”

Mark Anthony ในบทละคร Julius Caesar

ชาว Fremen มีวิธีฝึกฝน/ควบคุมหนอนทราย ให้สามารถเป็นยานพาหนะสำหรับเผชิญหน้าต่อสู้ศัตรู นี่ฟังดูแปลกๆที่เจ้าไส้เดือนยักษ์จะยินยอมศิโรราบต่อมนุษย์ (คือถ้าใช้พลังจิตควบคุม ก็น่าจะยังพอฟังขึ้นอยู่บ้าง) แต่วิธีการที่ Paul ใช้ในหนัง คงทำให้หลายๆคนกุมขมับ เบือนหน้า ส่ายหัว อะไรของมันว่ะ! ดูน่าขบขัน แถมประกอบเข้าเพลง Rock มันส์ตรงไหน???

เป็นอีกฉากที่ถือว่าโคตรล้มเหลวในการนำเสนอ จับต้องไม่ได้ อะไรก็ไม่รู้ คุณภาพเลวร้ายกว่าหนังเกรดบี ยิ่งข้อจำกัดยุคสมัยนั้น มันทำให้ผู้ชมตั้งคำาม นี่หนังทุนสร้าง $40 ล้านเหรียญ จริงๆหรือนี่?

แซว: จะว่าไปฉากนี้ทำให้ผมนึกถึง Avatar (2009) ที่พระเอกตัดสินใจพิสูจน์ตัวเองด้วยการเชื่อมสัมพันธ์/ขึ้นขี่ Toruk Makto ตามความเชื่อของชาว Na’vi ใครทำสำเร็จจะได้รับการยกย่องว่าคือตำนาน

เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง Paul ตัดสินใจดื่ม Water of Life ทำให้สามารถปลุกตื่นพลังหลับใหลอยู่ภายใน หนอนทรายรายล้อมศิโรราบ และบังเกิดความเข้าใจทุกสรรพสิ่งอย่าง (เพียงพอต่อกรจักรพรรดิและ Bene Gesserit) ขณะเดียวกันทำให้ Lady Jessica และน้องสาว Alia ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน (แต่ก็ยังรอดชีวิตมาได้)

ใครเคยรับชม Eraserhead (1977) น่าจะมักคุ้นเคยกับช็อตลักษณะคล้ายๆกันนี้ (ที่สื่อถึง Eraser Head) ไม่ได้มีนัยยะอะไรแฝงนะครับ แค่อยากเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับผลงานก่อนหน้าของผู้กำกับ David Lynch

การเสียชีวิตของ Baron Vladimir Harkonnen เกิดจากพลังของ Alia ลากพาให้ล่องลอยเข้ามาใกล้ จากนั้นทิ่มแทงยาพิษ Gom Jabbar (เดียวกับที่ Reverend Mother บีบบังคับให้ Paul นำมือใส่กล่อง) ดึงปลั๊กหัวใจออกทั้งสองข้าง ทำให้ร่างกายเสียสูญ หมุนวน (กรรมสนองกรรม) ถูกสายลมดูดออกภายนอกยานอวกาศ พุ่งเข้าปากหนอนทราย (หวนกลับคืนสู่ธรรมชาติ/คล้ายๆถูกธรณีสูบ)

ในนวนิยายการตายของ Baron Harkonnen เพียงแค่ถูกวางยาพิษโดย Alia ไม่ได้มีความเว่อวังอลังการ ขยับขยายเพื่อให้รู้สึกสาแก่ใจผู้สร้างขนาดนี้!

การต่อสู้ระหว่าง Paul กับลูกพี่ลูกน้อง Feyd-Rautha (สวมชุดที่มีลวดลายรอยหยักเหมือนหนอนทราย) จุดประสงค์เพื่อเข่นฆ่าล้างทำลายเผ่าพันธุ์ House Harkonnen ให้หมดสูญสิ้นไปจากจักรวาล แน่นอนว่าอีกฝั่งฝ่ายตระเตรียมแผนการชั่วร้าย พระเอกเลยตลบแตลงให้ดาบที่ซ่อนเร้นนั้นทิ่มแทงกลับ แล้วใช้มีดของตนเองแทงสวนจากคางทะลุปากถึงศีรษะ นอนตายตาไม่หลับ และระบายความรู้สึกผ่านคำพูด จนผืนแผ่นดินเกิดรอยแตกแยก (ธรณีสูบ)

เกร็ด: Feyd-Rautha เห็นว่าก็เป็นผลผลิตจาก Breeding Program (แบบเดียวกับ Paul) เลยมีพันธุกรรมที่สมบูรณ์แบบ ร่างกายเข้มแข็งแหร่ง สติปัญญาเป็นเลิศ และเพราะเติบโตผ่านการเลี้ยงดูของลุง Baron Harkonnen เลยมีความซาดิสต์ เหี้ยมโหดร้าย ตัวอันตราย

ปาฏิหารย์ของ Paul สามารถดลบันดาลให้ฝนตกลงบนดาวเคราะห์ Arrakis (ปกติไม่มีทางที่ฝนจะตก) นี่เป็นการสำแดงอภินิหาร พลังของ ‘พระเจ้า’ เพื่อสร้างศรัทธาและอำนาจที่แท้จริงให้ประจักษ์แจ้ง อันเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นราชวงศ์ใหม่ด้วยความฉอุ่ม ชุ่มชื่น เบิกบานหัวใจ เติมเต็มคำพยาการณ์ Happy Ending

ใน Deleted Scene จะมีตอนจบแบบเดียวกับในนวนิยาย, Paul ประกาศกร้าวแต่งงานในนามกับ Princess Irulan แล้วส่ง Emperor Shaddam IV ไปคุมขังยัง Saulsa Secundus, ส่วน Chani จักป็นภรรยาแท้จริงของตนเอง

สำหรับการตัดต่อ แรกเริ่มฉบับ rough cut โดย David Lynch ได้ความยาวทั้งสิ้น 4 ชั่วโมง จากนั้นค่อยๆขัดเกลา เลาะเล็มส่วนเกินจนได้ความยาวประมาณ 3 ชั่วโมง (ถือเป็น ‘director’s cut) แต่สตูดิโอ Universal เรียกร้องขอหนัง 2 ชั่วโมง ทำให้ยังต้องตัดหลายๆฉากออกไป และเปลี่ยนอารัมบทด้วยเสียงพูดบรรยายของ Virginia Madsen (รับบท Princess Irulan ลูกสาวคนโตของ Emperor Shaddam IV)

ฉบับฉายโรงภาพยนตร์ความยาว 137 นาที ยังถือว่าอยู่ในการดูแลของผู้กำกับ Lynch แต่หลังจากเสียงตอบรับย่ำแย่ เขาจึงเริ่มปฏิเสธว่าหนังไม่ได้บังเกิดจากวิสัยทัศน์ตนเอง เป็นผลกระทบจากการเข้ามาก้าวก่ายของสตูดิโอ และปฏิเสธให้ความร่วมมือฉบับตัดต่ออื่นๆ และเปลี่ยนชื่อเครดิตเป็น Judas Booth (มาจากชื่อของสองบุคคลชื่อดังในประวัติศาสตร์ Judas Iscariot ทรยศ Jesus Christ และ John Wilkes Booth มือปืนสังหารปธน. Abraham Lincoln)

“Dune, I didn’t have final cut on. It’s the only film I’ve made where I didn’t have. I didn’t technically have final cut on The Elephant Man (1980), but Mel Brooks gave it to me, and on Dune the film, I started selling out, even in the script phase, knowing I didn’t have final cut, and I sold out, so it was a slow dying-the-death, and a terrible, terrible experience. I don’t know how it happened, I trusted that it would work out, but it was very naive and, the wrong move. In those days, the maximum length they figured I could have is two hours and seventeen minutes, and that’s what the film is, so they wouldn’t lose a screening a day, so once again, it’s money talking, and not for the film at all, and so it was like compacted, and it hurt it, it hurt it. There is no other version. There’s more stuff, but even that is putrefied”.

David Lynch

สตูดิโอคงตระหนักถึงความล้มเหลวในการจำกัดเวลาของ Dune (1984) จึงพยายามแก้ตัวด้วยการนำ Deleted Scene กลับมาแทรกใส่ในฉบับฉายทางโทรทัศน์ ‘Special TV Edition’ เครดิตโดย Antony Gibbs ความยาว 176 นาที แต่มันก็สายเกินไปไหม??

นอกจากนี้หนังยังมีอีกฉบับ ‘Alternative Edition Redux’ (เป็นฉบับ fanedit) โดย Spice Diver ความยาว 178 นาที สามารถหารับชมได้บน Youtube เกินกว่าล้านวิวแล้วนะครับ

ผมมีโอกาสรับชมต้นฉบับความยาว 137 นาที เลยได้พบเห็นปัญหาการดำเนินเรื่องมากมาย

  • เริ่มต้นด้วยคำบรรยายบอกเล่าพื้นหลังเรื่องราวของ Princess Irulan จริงอยู่นี่คือวิธีลดทอนเวลาหนังได้มาก แต่มันเป็นการยัดเยียดเนื้อหา ผู้ชมต้องตั้งใจฟัง ทำความเข้าใจสิ่งบอกเล่าในทันที (ถ้าค่อยๆเปิดเผยออกทีละเล็กระหว่างเรื่องราวดำเนินไป มันน่าจะมีความลื่นไหลเป็นธรรมชาติกว่า)
  • เทคนิค Voice-Over ผู้ชมจะได้ยินเสียงครุ่นคิดจากภายในของ(บาง)ตัวละคร อาทิ Paul, Lady Jessica, Reverend Mother ฯ นี่เป็นเทคนิดน่าสนใจสำหรับการดัดแปลงนวนิยายเป็นภาพยนตร์ แต่มันจะลดทอนความลึกลับ สิ่งซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใจพวกเขา ผลลัพท์คือความล้มเหลวด้านการแสดง ไร้มิติน่าค้นหา (มีเพียงภาพลักษณ์ภายนอกที่สะท้อนธาตุแท้ตัวละครออกมา)
  • Time Skip ด้วยการซ้อนภาพ เล่าผ่านๆด้วยเสียงบรรยายว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังที่ Paul ฝึกฝนการต่อสู้ให้ชาว Fremen ด้วยเทคนิค ‘weirding way’ ลากยาวไปถึงประกาศสงครามกับจักรวรรดิ ผลลัพท์ให้ความรู้สึกล่องลอย เหมือนฝัน พอตื่นขึ้นมาก็ร้องอ่าว เรื่องราวมาถึงตอนกำลังจะเผชิญหน้ากันแล้วอย่างงุนงง

มีโครงสร้างดำเนินเรื่องที่ผมอ่านพบว่าแตกต่างจากนวนิยาย (และภาพยนตร์สร้างใหม่) คือการเริ่มต้นด้วย Padishah Emperor Shaddam IV ได้รับคำสั่งจาก Spacing Guild เป็นการเปิดเผยบุคคลผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง ก่อนติดตามด้วยแนะนำ Baron Harkonnen และพระเอก Paul Atreides โผล่มาเกือบท้ายสุด … ในนวนิยายและภาพยนตร์สร้างใหม่ จะไม่พูดเอ่ยถึงบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังตั้งแต่แรก ค่อยๆเปิดเผยเรื่องราวออกทีละเล็ก จนในที่สุดถึงค่อยรับรู้ว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมด

การลำดับเรื่องราวของหนัง ให้ความรู้สึกเหมือน ‘hierarchy’ ลำดับขั้นจากสูงสุดลดหรั่นลงมาจนถึงต่ำสุด เช่นเดียวกับการเดินทางของ Paul จากเคยมีชีวิตสุขสบายบนดาวเคราะห์บ้านเกิด Caladan ถูกคำสั่งจากจักรพรรดิให้ย้ายไปอยู่ Arrakis ห้อมล้อมรอบด้วยทะเลทราย ความตายย่างกรายรอบทิศทาง และท้ายสุดดิ้นรนหลบหนีมาถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของชาว Fremen อยู่ใต้ผืนแผ่นดิน แต่กลับซ่อนเร้นโอเอซิส ผืนน้ำกว้างใหญ่ไพศาล (จากนั้น Paul ก็จะเดินทางย้อนกลับไปจนถึงจุดสูงสุดอีกครั้ง)


สำหรับเพลงประกอบ ว่ากันว่าดั้งเดิมมอบหมายให้ Brian Eno (เกิดปี 1948) นักแต่งเพลงสัญชาติอังกฤษ หนี่งในผู้บุกเบิก Ambient Music ที่มีส่วนผสมของ Rock, Pop และ Electronica แต่เหมือนว่าจะไม่เป็นที่ถูกใจผู้กำกับ Lynch เลยตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้บริการวงดนตรีร็อคสัญชาติอเมริกัน Toto หลงเหลือบทเพลง(ของ Eno)ที่ถูกนำมาใช้เพียง Prophecy Theme มีความล่องลอย ชวนฝัน ต้องมนต์สะกด อยู่เหนือกฎเกณฑ์ธรรมชาติ

ท่ามกลางบทเพลงที่เต็มไปด้วยท่วงทำนองรุกเร้า เมโลดี้มากมาย ถ่ายทอดอารมณ์หลากหลาย Prophecy Theme เป็นบทเพลงเดียวมอบความสงบงาม ‘meditate’ ธรรมชาติอยู่เหนือทุกสรรพสิ่งอย่าง

กลับมาที่ Main Title แต่งโดยนักคีย์บอร์ด David Paich (แห่งวง Toto) บันทีกเสียงร่วมกับ Vienna Symphony Orchestra เป็นบทเพลงที่เน้นความทรงพลัง ให้ความรู้สีกถีงอำนาจ อิทธิพล การได้ครอบครองสิ่งๆหนี่ง กลับสามารถเป็นเจ้าของทั้งจักรวาล! นี่คือใจความของ Dune ถ่ายทอดสู่บทเพลงนี้ได้อย่างขนลุกซาบซ่าน

ผมไม่รู้ว่าผู้กำกับ Lynch พบเห็นอะไรในวง Toto ก่อนหน้านี้ไม่เคยเขียนบทเพลงประกอบภาพยนตร์ และหลังจากนี้ไม่มีอีกเป็นครั้งที่สอง คาดเดาว่าคงต้องการผสมผสานดนตรีร็อคเข้ากับออเคสตร้า (สไตล์ Rock Opera?) แต่เหมือนว่าจะไม่สัมฤทธิ์ผลสักเท่าไหร่ ถีงอย่างนั้นก็ต้องยินยอมรับความดิ้นรน กระเสือกกระสน พยายามทดลองโน่นนี่นั่น สร้างสไตล์เพลงที่หลากหลาย ผลลัพท์กลับกลายสอดคล้องเข้ากับความพิลีกพิลั่นของหนังได้อย่างลงตัวเสียอย่างนั้น! (แม้บทเพลงจะมีสไตล์ที่หลากหลาย แต่ยีดถือ motif จาก Main Title ไว้ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ)

Leto’s Theme คือบทเพลงเดียวกับ Main Title แต่มีท่วงทำนองนุ่มนวล อ่อนไหวกว่า เป็นการสะท้อนตัวละครในฐานะผู้ปกครอง ต้องต่อสู้ครอบครอง แก่งแย่งชิง ‘Spice’ สิ่งๆเดียวสามารถครอบครองทั้งจักรวาล แตกต่างที่บทเพลงนี้สะท้อนสามัญสำนีก จิตวิญญาณของ Duke Leto Atreides ที่มักเป็นห่วงเป็นใยทุกคนรอบข้าง บุคคลใต้สังกัด ไม่ว่าจะสูงต่ำระดับไหน มากกว่ากอบโกยแสวงหาผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว

The Floating Fat Man (The Baron) เป็นบทเพลงที่ใครได้ยินย่อมสัมผัสถีงความเหี้ยมโหดร้าย อันตรายของ Baron Vladimir Harkonnen แวบแรกผมระลีกถีง Paganini: La Campanella แต่มันก็มีส่วนผสมของ Bach: Toccata and Fugue in D minor, BWV 565 เรียกว่านำแรงบันดาลใจจากบทเพลงที่สื่อถีงปีศาจ ยมทูต ความตาย รวบรวมยัดเยียดใส่ในบทเพลงเดียว (ประกอบความอัปลักษณ์ของตัวละคร มันยิ่งสั่นสยอง ขยะแขยง ไม่อยากเคียงชิดใกล้)

ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการใช้สไตล์เพลงร็อคในบทเพลง Dune (Desert Theme) ซี่งยังคงท่วงทำนอง Main Title แค่เปลี่ยนบรรยากาศให้มีความหลุดโลก ล้ำอนาคต ‘Futurist’

แต่ให้ตายเถอะ ผมรู้สีกว่ามันไม่เข้ากับความยิ่งใหญ่ของท้องทะเลทรายเลยสักนิด! มันเหมือนตัวละครมาท่องเที่ยว ปิคนิค รับฟังคอนเสิร์ต ไม่ได้สัมผัสถีงภยันตรายซุกซ่อนเร้น หนอนทรายมันก็เพื่อนเล่นเท่านั้นเองเหรอ T_T

Final Dreams คือการค้นพบตัวตนเองของ Paul Atreides สามารถปลุกตื่นพลังที่แท้จริงจากภายใน กลายเป็น Kwisatz Haderach พระเจ้าที่สามารถกระทำทุกสิ่งอย่าง เติมเต็มความฝันด้วยการแก้แค้น Baron Vladimir Harkonnen, ฉุดคร่า Padishah Emperor Shaddam IV ลงจากบัลลังก์, และสามารถแสดงอภินิหารเสกฝนให้ตกลงมายังดาวเคราะห์ Arrakis แต่นี่ก็ถือเป็นจุดเริ่มความฝันเท่านั้นนะครับ

แก่นแท้ของ Dune ในความเข้าใจของผมนั้นคือ ‘อิทธิพลของธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์’ ซี่งก็คือสสาร Spice ผลผลิตจากหนอนทราย (Sandworm) ที่สามารถยืดเวลาชีวิต และย่นระยะเวลาเดินทางระหว่างดางดาว (ลักษณะคล้ายๆ Wormhole) ด้วยเหตุนี้มันเลยเป็นที่ต้องการของผู้มีอำนาจ พยายามควบคุม ครอบงำ ทำทุกวิถีทางเพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากมันให้มากที่สุด และสถานที่แห่งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ดาวเคราะห์ Arrakis สามารถเรียกได้ว่าหัวใจ/ศูนย์กลางจักรวาล

Spice, เครื่องเทศ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคือ ของหอมฉุน และเผ็ดร้อนที่ได้จากต้นไม้ สำหรับใช้ทำยาและปรุงอาหาร, แต่ในทางสากลจะหมายถึง ส่วนของพืชไม่ว่าจะเป็นชิ้น หรือบดเป็นผงซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดกลิ่น รสเผ็ดร้อนขึ้นในอาหารหรือเครื่องดื่ม ทำให้เกิดความรู้สึกน่ารับประทานและรสชาติดีขึ้น

การตีความ Spice ในบริบทของ Dune ผมมองว่าเป็นสิ่งที่สามารถเพิ่มสีสันของชีวิต (ให้อายุยืนยาวนาน) และทำให้มนุษย์เปิดเผยตัวตน ธาตุแท้จริง สันดานที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในออกมา

  • Bene Gesserit Sisterhood อ้างหลักศาสนาแล้วแทรกซึมเข้าไปในทุกๆองค์กร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Spice โดยตรง แต่การถือกำเนิดของ Paul Atreides ขัดต่อแผนการสร้างพระเจ้า จึงต้องหาทางกำจัดให้พ้นภัยพาล
  • Spacing Guild คือองค์กรที่ใช้ประโยชน์จาก Spice ในการย่นระยะเวลาเดินทางระหว่างดวงดาว จีงถือว่ามีอำนาจ/อิทธิพลรองจาก Bene Gesserit ซี่งเมื่อได้รับทราบคำพยากรณ์ (จาก Bene Gesserit) จีงพยายามกดดัน Emperor Shaddam IV เพื่อให้จัดการปัญหาที่บังเกิดขี้นโดยเร็ววัน
  • Padishah Emperor Shaddam IV แม้มีฐานะเป็นถีงจักรพรรดิปกครองทั่วทั้งจักรวาล แต่มีสภาพไม่ต่างจากหุ่นเชิดชักของ Spacing Guild และ Bene Gesserit Sisterhood ในตอนแรกเป็นผู้วางแผน ออกคำสั่ง นั่งบนบัลลังก์เฝ้ารอคอยผลการกระทำ แต่พอเหตุการณ์ไม่ดำเนินไปตามนั้น ถีงค่อยลงไปบัญชาการจัดการด้วยตนเอง
  • Duke Leto Atreides รับบัญชาจาก Emperor Shaddam IV ออกเดินทางสู่ดาวเคราะห์ Arrakis เพื่อควบคุม/จัดการกระบวนการเก็บเกี่ยวผลผลิต Spice แต่นั่นเป็นเพียงแผนอันชั่วร้ายเพื่อกำจัดตนเองให้พ้นภัยพาล
  • Baron Vladimir Harkonnen รับบัญชาจาก Emperor Shaddam IV ให้ซุ่มจัดการ Duke Leto เข้ายีดครองดาวเคราะห์ Arrakis เพื่อควบคุม/จัดการกระบวนการเก็บเกี่ยวผลผลิต Spice
  • ชาวพื้นเมือง Fremen เจ้าของดาวเคราะห์ Arrakis ต้องการขับไล่ศัตรูที่พยายามกอบโกยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ โดยไม่สนชีวิตเป็นอยู่ ความต้องการของพวก

เรื่องราวของ Paul Atreides หรือ Muad’Dib คือการเดินทางของวีรบุรุษที่หลังจากพานผ่านบททดสอบมากมาย จักให้ความช่วยเหลือปลดแอกชาว Freman นำพาพวกเขาต่อสู้เอาชนะศัตรูผู้มารุกราน ปกป้องผืนแผ่นดิน/ศูนย์กลางจักรวาลนี้ไม่ให้ถูกควบคุมครอบงำโดยใคร หรือเป็นการสื่อว่า ธรรมชาติเป็นของพวกเราทุกคน ไม่ใช่ใครหนี่งใดจะเข้ามากอบโกย แสวงหาผลประโยชน์แล้วจากไป

ความเชื่อของผู้แต่งนวนิยาย Frank Herbert มนุษย์ได้กอบโกย แสวงหาผลประโยชน์ ทำลายธรรมชาติบนผืนโลกไปมากๆแล้ว แนวโน้มในอนาคตจะกลายเป็นแบบ Arrakis ไม่จำเป็นว่าต้องทะเลทรายนะครับ แต่นัยยะถีงอันตรายจากทุกสรรพสิ่งอย่างรอบข้าง สภาพภูมิอากาศแปรปรวน แหล่มน้ำ-อาหารมีจำกัด ไม่เหมาะสมแก่การดำรงชีพ และอาจถือกำเนิดสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์/ภัยพิบัติที่ไม่มีอาวุธชิ้นไหนสามารถต่อกรทำลายล้าง

คงมีเพียงพระผู้มาไถ่ ‘Messiah’ ใครสักคนที่สามารถเป็นผู้นำ เสี้ยมสอนมวลชลให้ใช้ประโยชน์จากพลังธรรมชาติ ต่อสู้ระบอบทุนนิยม โค่นล้มผู้นำคอรัปชั่น และนำความอุดมสมบูรณ์ สันติสุขหวนกลับคืนสู่จักรวาล/โลกใบนี้

อุดมคติดังกล่าวของ Herbert แสดงถีงความท้อแท้สิ้นหวัง โลกได้ก้าวไปถีงจุดที่ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้วจริงๆ มนุษย์ส่วนใหญ่ตกเป็นทาสระบอบทุนนิยม ผู้นำมากมาย(ไม่เว้นแม้ชาติประชาธิปไตย)ล้วนซ่อนเร้นความคอรัปชั่น ผลประโยชน์กอบโกยกิน ทอดทิ้งประชาชนคนชั้นล่าง นี่ไม่ใช่แค่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้นนะครับ ทุกสรรพสิ่งอย่างล้วนเกินเยียวยาแก้ไข

แซว: คำว่า Dune อ่านออกเสียงคล้ายๆ Doom สื่อถีงหายนะต่อมวลมนุษยชาติไม่แตกต่างกัน

สำหรับผู้กำกับ David Lynch ผมมองเห็นสิ่งที่เขาพยายามถ่ายทอดนำเสนออกมา มีเพียงสะท้อนสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายในเชิงรูปธรรม งานสร้างอลังการใหญ่ และภาพความอัปลักษณ์ของตัวละคร บ้างเปิดเผยออกมาตรงๆ บ้างพยายามปกปิดซ่อนเร้น เพียงพระเอกที่ใสซื่อบริสุทธิ์ ไร้สิ่งแปดเปื้อนมลทิน … พบเห็นเพียงสไตล์ลายเซนต์ แต่ไร้ซี่งจิตวิญญาณผู้สร้าง

เรื่องราวของ Dune ถือว่ามีความเป็นอมตะเหนือกาลเวลา ยังคงสั่นพ้องในยุคสมัยปัจจุบันไม่เสื่อมคลาย นายทุนทั้งหลายต่างยังคงกอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติไม่หยุดหย่อน บรรดาผู้นำ/ชนชั้นปกครองต่างเต็มไปด้วยความคอรัปชั่น อำนาจบาดใหญ่ เพิกเฉยไม่สนใจข้อเรียกร้องจากประชาชน จะมีไหมใครสักคนที่สามารถเป็นผู้มาไถ่ ‘Messiah’ ขับไล่ทำลายล้างระบอบทั้งหลายให้หมดสูญสิ้นไป


ด้วยทุนสร้างประมาณ $40-42 ล้านเหรียญ เปิดตัวสัปดาห์แรกเพียงอันดับสอง (รองจาก Beverly Hills Cop) ทำเงินได้ $6.025 ล้านเหรียญ รวมตลอดโปรแกรมฉาย $30.9 ล้านเหรียญ ภาพรวมถือว่าน่าผิดหวัง แต่ถีงอย่างนั้นยอดขายต่างประเทศ (ไม่มีรายงานรายรับ) และกระแส Cult ติดตามมา Home Video น่าจะไม่ขาดทุนสักเท่าไหร่ (เมื่อเทียบกับ Heaven’s Gate หรือ Battlefield Earth)

เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์สมัยนั้นก็แทบจะเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘worst movie of the year’ แต่อาจจะยกเว้นผู้แต่ง Frank Herbert เพราะรู้สีกว่าหนังถ่ายทอดเรื่องราวได้เหมือนการอ่านนวนิยาย (ก็ไม่รู้ว่าติหรือชมนะครับ)

“I enjoyed the film even as a cut and I told it as I saw it: What reached the screen is a visual feast that begins as Dune begins and you hear my dialogue all through it”.

Frank Herbe

สำหรับผู้กำกับ Lynch ตั้งแต่ถูกตัดขาดความสัมพันธ์ครั้งนั้น ก็ปฏิเสธที่จะพูดถีงหนัง หรือหวนกลับไปทำ ‘final cut’ แต่ก็เคยให้สัมภาษณ์มองย้อนกลับไปครั้งหนี่ง ‘ฉันไม่น่ามักมากเห็นแก่เงิน สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เลย!’

“Looking back, it’s no one’s fault but my own. I probably shouldn’t have done that picture, but I saw tons and tons of possibilities for things I loved, and this was the structure to do them in. There was so much room to create a world. But I got strong indications from Raffaella and Dino De Laurentiis of what kind of film they expected, and I knew I didn’t have final cut”.

David Lynch

ผมยังไม่มีโอกาสรับชม Dune (2021) ฉบับสร้างใหม่ของ Denis Villeneuve และยังไม่คิดดูจนกว่าจะสร้างภาคต่อสำเร็จ เชื่อว่าตอนนั้นจะมีการนำภาคแรกมาฉายซ้ำในโรงภาพยนตร์อย่างแน่นอน … เร็วสุดก็คงปลายปี 2023 (แต่ก็ไม่แน่นะครับ ด้วยสเกลงานสร้างและสถานการณ์โควิทที่ไม่ค่อยจะดีขึ้นสักเท่าไหร่ มีแนวโน้มสูงมากๆว่าอาจยืดยาวนานไปอีก 1-2 ปี)

สำหรับฉบับของ David Lynch รับชมแบบไม่คาดหวังมันก็สนุกดีนะครับ เป็นความบันเทิงเกรดบี Cult Classic ดูไว้สำหรับศีกษา ครุ่นคิดหาเหตุผล โต้ถกเถียงกันว่าทำไมหนังถีงล้มเหลว ทั้งด้านงานสร้าง ไดเรคชั่น การดัดแปลง และเสียงตอบรับจากผู้ชม/นักวิจารณ์ นั่นเหมือนจะเป็นบทเรียนที่มีประโยชน์ไม่น้อยเลยนะ

จัดเรต 13+ กับความอัปลักษณ์ทั้งภายนอก-ในของบางตัวละคร

คำโปรย | วิสัยทัศน์ของผู้กำกับ David Lynch ต่อ Dune (1984) ไม่ได้ถือว่าย่ำแย่ แค่มีการตัดสินใจผิดพลาดเยอะไปหน่อย
คุณภาพ | คัลท์คลาสสิก
ส่วนตัว | บันเทิงแบบไม่คาดหวัง

Waka Okami wa Shōgakusei! (2018)


Okko’s Inn (2018) Japanese : Kitarō Kōsaka ♥♥♡

Okko เด็กหญิงวัย 12 ขวบ สูญเสียครอบครัวจากอุบัติเหตุบนท้องถนน จำต้องมาอาศัยอยู่กับคุณย่าดูแลโรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่ง เพราะไม่มีทางเลือกอื่นเธอจึงกลายเป็นผู้จัดการรุ่นเยาว์ ค่อยๆเรียนรู้ เติบโต ก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้าย

Okko’s Inn ฉบับฉายโรงภาพยนตร์ และซีรีย์โทรทัศน์ 26 ตอน แม้ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่องเดียวกัน แต่ใช้ทีมสร้างคนละชุด ผู้กำกับคนละคน (แต่นักพากย์ชุดเดียวกัน) ผลลัพท์ราวกับคนละเรื่องเดียวกัน

  • ได้ยินว่าซีรีย์ค่อนข้างซื่อตรงต่อต้นฉบับ สามารถค่อยๆนำเสนอเรื่องราว สานความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร มีลักษณะเป็น Slice-of-Life ชีวิตประจำวันของเด็กหญิง Okko ในฐานะผู้จัดการรุ่นเยาว์ ส่วนใหญ่ใช้การวาดมือ (Tradition Animation) ไม่ค่อยมีซีนหวือๆหวาๆ น่าตื่นตาตื่นใจสักเท่าไหร่
  • ขณะที่ฉบับหนังอนิเมะความยาวเพียง 94 นาที ตัดทอนปรับแต่งรายละเอียดมากมาย มุ่งเน้นนำเสนอการก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้ายของ Okko ส่วนงบประมาณแม้ได้รับพอๆกัน แต่สามารถทุ่มให้โปรดักชั่น CGI เต็มไปด้วยสีสันสดใสตระการตา

ประเด็นคือ Okko’s Inn แรกเริ่มตั้งใจสร้างเป็นซีรีย์ฉายโทรทัศน์ แต่คุณภาพโปรดักชั่นค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐาน สตูดิโอ MadHouse เลยติดต่อขอความช่วยเหลือ Kitarō Kōsaka คงเล็งเห็นว่า(ฉบับซีรีย์)กู่ไม่กลับแล้ว เลยตัดสินใจขอกำกับสร้างภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องใหม่ขี้นมาแทน

“One day, I was offered to direct the TV [adaptation of] the Okko’s Inn. [The reason I made it into a movie instead of a TV series,] was because the production – which was originally carried out by a friend – was going poorly. So my friend asked me to direct a film instead. I read the original novel so I knew it was going to be fun and I accepted the offer”.

Kitarō Kōsaka

ทีแรกผมตั้งใจจะดูซีรีย์ 26 ตอน ที่สร้างขึ้นพร้อมๆฉบับฉายโรงภาพยนตร์เคียงคู่เปรียบเทียบกัน แต่เพราะไม่สามารถหารับชม(ซีรีย์) เลยตัดใจเหลือแค่หนังอนิเมะเรื่องนี้ เพราะชื่อเสียงเรียงนามของ Kitarō Kōsaka แถมคว้ารางวัล Mainichi Film Award: Best Animation Film เลยตั้งความหวังไว้สูงโคตรๆ

จริงอยู่อนิเมะเรื่องนี้อาจมีประโยชน์สำหรับเด็กๆ มอบความบันเทิง แฝงสาระข้อคิดในการใช้ชีวิต ก้าวข้ามผ่าน ‘Trauma’ ความทรงจำที่เลวร้าย แต่สำหรับผู้ใหญ่ ผมกลับรู้สึกถึงการยัดเยียดมุมมองทัศนคติบางอย่าง(ต่อเด็กเล็ก), สร้างภาพการแสดงออกของ Okko มากเกินไป (Over-Acting), วิญญาณสามตนต่างแย่งซีนกันเอง ใส่มาทำไมเยอะแยะ (เคารพต้นฉบับมากไป), นอกจากความงดงามในโปรดักชั่น งานศิลป์ อย่างอื่นคลุกเคล้าไม่เข้ากันสักเท่าไหร่


Kitarō Kōsaka (เกิดปี 1962, ที่ Kanagawa) ผู้กำกับ นักอนิเมเตอร์สัญชาติญี่ปุ่น ด้วยความชื่นชอบในผลงานผู้กำกับ Hayao Miyazaki (ตั้งแต่ยังไม่ได้ก่อตั้งสตูดิโอ Ghibli) หลังเรียนจบมัธยม ยื่นใบสมัครสตูดิโอเดียวกับที่เขาทำอยู่ขณะแต่ได้รับการปฏิเสธ เลยมองหาสังกัดอื่นที่รับงาน Outsource (อนิเมะของ Miyazaki) จนได้เริ่มต้นที่ Oh! Production ปักหลักเรียนรู้งานตั้งแต่ปี 1979 มีโอกาสเป็น Key Animation เรื่อง Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), Angel’s Egg (1985), Castle in the Sky (1986) ฯ เมื่อถึงจุดอิ่มตัวลาออกมาเป็น Freelance อาทิ Royal Space Force: The Wings of Honneamise (1987), Grave of the Fireflies (1988), Akira (1988), ได้รับคำชื่นชมจาก Miyazaki จนก้าวขึ้นมากำกับอนิเมชั่น (Animation Director) เรื่อง Whisper of the Heart (1995), Princess Mononoke (1997), Spirited Away (2001), Howl’s Moving Castle (2005), Ponyo on the Cliff by the Sea (2008) และ The Wind Rises (2013)

แม้อยู่ในวงการอนิเมะมานาน แต่ Kōsaka ก็ไม่ได้มีความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้กำกับสักเท่าไหร่ แต่ด้วยความชื่นชอบหลงใหลในจักรยาน ได้รับคำแนะนำพร้อมผลักดันจาก Miyazaki ให้ดัดแปลงสร้าง Nasu: Summer in Andalusia (2003) กลายเป็นอนิเมะเรื่องแรกเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes ติดตามด้วยภาคต่อ Nasu: A Migratory Bird with Suitcase (2007) แม้ไม่ประสบความสำเร็จเท่า แต่ก็ยังได้รับคำชื่นชมจนคว้ารางวัล Tokyo Anime Award: Best OVA (Original Video Animation)

หลังเสร็จจาก ‘passion project’ ก็หวนกลับมาเป็น freelance รับงานที่ตนสนใจ ส่วนใหญ่ยังคงปักหลักอยู่สตูดิโอ Ghibli แม้ Miyazaki ประกาศรีไทร์ ก็ให้ความช่วยเหลือรุ่นน้อง Hiromasa Yonebayashi ไม่ห่างหายไปไหน จนกระทั่งช่วงปี 2017 ได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์ของ MadHouse ให้มาช่วยอุ้มโปรเจค Okko’s Inn

Waka Okami wa Shōgakusei! แปลตรงตัวว่า The Young Innkeeper Is a Grade Schooler! คือนวนิยายสำหรับเด็ก แต่งโดย Hiroko Reijō วาดภาพลงสีโดย Asami มีทั้งหมด 20 เล่ม ตีพิมพ์ระหว่างปี 2003 – 2013 ยอดขายเกินกว่า 3 ล้านเล่ม!, ต่อมาได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะ วาดโดย Eiko Ōuchi ตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายเดือน Nakayoshi สำหรับเด็กผู้หญิง (shōjo) ระหว่างปี 2006 – 2012 รวมได้ 7 เล่ม

(สองภาพซ้ายหน้าปกนวนิยาย, สองภาพขวาหน้าปกมังงะ)

อย่างที่บอกไปตอนต้นว่า Kōsaka ตัดสินใจทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างจากฉบับซีรีย์โทรทัศน์ เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ตั้งแต่ดัดแปลงบท ติดต่อนักเขียน Reiko Yoshida จริงๆแล้วเธองานยุ่งมากๆ แต่เพราะเคยติดตามอ่านนวนิยาย มีความชื่นชอบประทับใจเป็นการส่วนตัว เลยยินยอมตอบตกลง

Reiko Yoshida (เกิดปี 1967, ที่ Hiroshima) นักเขียนมังงะ บทอนิเมะ/ภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่น, สำเร็จการศึกษาสาขาวรรณกรรม Hosei University เริ่มโด่งดังจากการดัดแปลงบท The Cat Returns (2002) ให้กับสตูดิโอ Ghibli, ผลงานเด่นๆมักเป็นอนิเมะแนว Healing ดูสบายๆพร้อมสาระข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต อาทิ Aria the Animation (2005), K-On! (2009-10), Bakuman (2010-13), Girls und Panzer (2012-13), Non Non Biyori (2013, 15, 21), A Silent Voice (2016), Liz and the Blue Bird (2018), Violet Evergarden (2018) ฯ

ในต้นฉบับนวนิยายพยายามหลีกเลี่ยง พูดกล่าวถึง นำเสนอประเด็นความตายออกมาตรงๆ (เพราะกลุ่มเป้าหมายคือเด็กเล็ก) แต่นวนิยายเล่มนี้ก็มีอายุเกินกว่า 10+ ปี แฟนๆกลุ่มแรกที่เคยอ่านคงเติบโตเป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว อนิเมะจึงลองปรับเปลี่ยนทิศทางนำเสนอ เริ่มต้นด้วยการตายของพ่อ-แม่ แล้วดูว่า Okko จะรับมือกับความสูญเสียเช่นไร?

“The original series was meant for children, so they do not really touch on the topic of death, at least intentionally. But the series was published over 10 years ago, and the original fans of the series – who were mostly elementary school students at the time – are now in their mid-20s. I wanted them to also be able to enjoy the adaptation, so I concentrated on how Okko deals with the topic of death in the film”.

เรื่องราวของ Oriko Seki เด็กหญิงสูญเสียบิดา-มารดา จากอุบัติเหตุระหว่างการเดินทางบนท้องถนน ตัวเธอรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด เลยต้องย้ายมาปักหลักอาศัยอยู่กับคุณย่า ผู้ดูแลกิจการโรงแรมและสปาขนาดเล็ก Harunoya Inn โดยไม่รู้ตัว Okko สามารถมองเห็น/สนทนากับวิญญาณเด็กชาย Makoto ‘Uribo’ Tachiuri เรียกร้องขอให้เธอรับช่วงต่อ เป็นผู้จัดการรุ่นเยาว์ เพื่อแบ่งเบาภาระคุณย่า (รู้จักกันมาตั้งแต่ก่อนเสียชีวิต) ทีแรกก็ใคร่ไม่ยินดีสักเท่าไหร่ หาใช่เรื่องง่ายจะปรับตัวเข้ากับสถานที่แห่งนี้ แต่ไม่นานก็ค้นพบความชื่นชอบ รู้สึกอิ่มเอิมใจเมื่อพบเห็นผู้เข้าพักต่างมีรอยยิ้มก่อนเดินทางกลับบ้านไป


Seiran Kobayashi (เกิดปี 2004, ที่ Tokyo) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น หลังเซ็นสัญญากับ Theatre Academy มีโอกาสแสดงโฆษณา Calpis เมื่อปี 2009 ติดตามด้วยซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ให้เสียงพากย์อนิเมะ และหนังต่างประเทศ

ให้เสียง Oriko Seki ชื่อเล่น Okko เด็กหญิงอายุ 12 ขวบ เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 4 ภายนอกดูสนุกสนานร่าเริง เบิกบานด้วยรอยยิ้ม ยังเต็มไปด้วยความอ่อนเยาว์วัยไร้เดียงสา เชื่อคนง่าย ใครพาไปไหนก็ไป ยังสามารถเรียนรู้ ลิ้มลองสิ่งแปลกใหม่ แต่ลึกๆภายในจิตใจยังทำใจไม่ได้กับการสูญเสีย ครุ่นคิดว่าพ่อ-แม่ ยังอยู่ข้างกายไม่เหินห่างไปไหน นั่นอาจรวมไปถึงเพื่อนผีทั้งสามตน (จะมองว่าพวกเขาเป็นวิญญาณ หรือจินตนาการเด็กหญิงก็ได้เหมือนกัน) จนกว่าจะถึงวันก้าวข้ามผ่านปม ‘Trauma’ จักคอยอยู่เคียงข้าง เป็นกำลังใจไม่ยอมเหินห่างไปไหน

ผมพอเข้าใจนะว่าเด็กเล็กมีพละกำลัง เรี่ยวแรง ‘Active’ สามารถวิ่งเล่น ทำโน่นนี่นั่น ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ซึ่งเรายังสามารถมองการแสดงออกของ Okko คือกลไกปกป้องตนเองเพื่อมิให้มัวแต่ครุ่นคิดถึงพ่อ-แม่ จนไม่อาจกระทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน … แต่อนิเมะพยายามใส่ปฏิกิริยาแสดงออกให้ตัวละครหัวเราะ ร้องไห้ ดีใจ เศร้าโศก ฯลฯ ในปริมาณสุดโต่ง เว่อวังอลังการ จนน่าหมั้นไส้ รำคาญใจ มันต้อง ‘Overacting’ ขนาดนั้นเลยเหรอ? เต็มที่กับชีวิตเป็นสิ่งดี แต่ถ้าไม่รู้จักควบคุมตนเองมันจะกลายเป็นปัญหาสังคมในกาลต่อไป!

“Children are full of vigor and make a lot of movements, unlike adults. They talk out loud, and walk and jump around a lot. I carefully observed these movements and tried to convey what it means to be a child in the movie. That’s why the characters wander around so much during the film”.

Kitarō Kōsaka

น้ำเสียงของ Kobayashi แม้มีความร่าเริงสดใส เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นใจในตนเอง แต่ลึกๆซ่อนเร้นความเจ็บปวดรวร้าว ที่พร้อมแสดงออกภายนอกโดยไม่รู้ตัวเมื่อถูกบางสิ่งอย่างกระทบกระเทือนจิตใจ ผู้ชมจะรู้สึกสงสาร พยายามทำความเข้าใจ และเป็นกำลังใจให้เธอสามารถก้าวข้ามปมเลวร้ายจากอดีต ได้รับความที่รักจากทุกๆคนรอบข้าง

สำหรับตัวละครอื่นขอแสดงความคิดเห็นเพียงคร่าวๆนะครับ เพราะอนิเมะไม่ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ผมรู้สึกประทับใจพวกเขาและเธอสักเท่าไหร่ เชื่อว่าในมังงะหรือต้นฉบับนวนิยาย ผู้อ่านน่าจะหลงใหลตัวประกอบเหล่านั้นไม่น้อยเลยละ

  • Makoto ‘Uribo’ Tachiuri เพื่อนผีตนแรกของ Okko เดิมเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกับคุณย่า แต่พลัดตกจากหลังคาคอหักเสียชีวิต เลยกลายเป็นวิญญาณเร่ล่องลอยอยู่แถวๆนี้ เฝ้ารอคอยวันได้เติมเต็มความฝัน มีโอกาสพูดคุยสนทนากับมนุษย์อีกสักครั้ง
    • ความที่ตัวละครนี้ไม่สามารถหยิบจับ สัมผัส ทำได้เพียงสร้างภาพลวงตา และมีหน้าที่ปรากฎตัวมาออกพูดหยอก หลอกเล่น ให้คำแนะนำแก่ Okko เป็นเพื่อนร่วมสุข-ทุกข์ อยู่เคียงข้างกายจนกระทั่งวันร่ำลาจาก
  • Miyo Akino ผีพี่สาวของ Matsuki Akino ไม่ยินยอมให้ Okko พูดจาว่าร้ายน้องสาว มีพลังจิตสามารถควบคุมทุกสิ่งรอบข้างกาย เลยสามารถกลั่นแกล้ง ชอบเขียนหน้า มองหาสิ่งสนุกๆหยอกล้อเล่นไปวันๆ แต่เพราะเธออาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวตัวคนเดียวในโรงแรมหลังใหญ่ กระทั่งมาพบเจอ Okko และ Uribo เลยตัดสินใจย้ายมาปักหลักอาศัยอยู่ยัง Harunoya Inn
    • Miyo ถือเป็นผีคู่ปรับของ Uribo มีความเฉลียวฉลาดรอบรู้ ทั้งยังพลังจิตสามารถควบคุมสิ่งข้าวของ ซึ่งสามารถช่วยงาน Okko ปัดกวาดเช็ดถู พฤติกรรมช่วงแรกๆเหมือนพยายามเรียกร้องหาความสนใจ เมื่อย้ายมาอยู่ Harunoya Inn วันๆก็สนุกสนานปาร์ตี้ ไปไหนไปได้วย เต็มกับชีวิตที่หลงเหลือจนสามารถไปสู่สุขคติ
  • Suzuki ปีศาจกระดิ่งที่หลุดออกมาเพราะ Okko เผยไปเขย่าจนเสียงเปลี่ยน รูปร่างเล็ก แต่มีนิสัยขี้ขโมย ตะกละตะกลาม ชอบกินขนมรสมือของ Akko และมีความสามารถเรียกแขก (เหมือนนางกวัก?)

ทีแรกผมครุ่นคิดว่าวิญญาณทั้งสามน่าจะเทียบแทนด้วย Id, Ego, SuperEgo ตามหลักทฎษฎีจิตวิเคราะห์ของ Sigmund Freud ที่สามารถเป็นผู้ช่วยให้เด็กหญิงก้าวข้ามผ่าน PTSD (Post-traumatic stress disorder) แต่มันกลับไม่มีความใกล้เคียเลยสักนิด เหมือนแค่ต้องการให้พวกเขาและเธอเป็นเพื่อนเล่นในจินตนาการของ Okko ก็เท่านั้น … ถ้าเป็นแบบนี้ก็น่าผิดหวังนะครับ

  • คุณย่า Mineko Seki ผู้ดูแลโรงแรม Harunoya Inn มีความยินดีที่ Okko อยากรับช่วงต่อกิจการ พยายามเสี้ยมสอน ให้คำแนะนำ วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมต่อแขกผู้มาใช้บริการ … แค่นั้นอ่ะนะ
  • Matsuki Akino เพื่อนสาวร่วมรุ่นเดียวกับ Okko ชื่นชอบใส่ชุดสีชมพู ทำตัวให้โดดเด่นกว่าใคร เป็นทายาทเจ้าของกิจการ Shuukou Lodge Hotel โรงแรมขนาดใหญ่ (ตรงกันข้ามกับ Harunoya Inn ที่มีเพียง 4-5 ห้องพักเล็กๆ) ทำตัวเย่อหยิ่ง วางตัวหัวสูงส่งกว่าใคร ช่วงแรกๆมีความโกรธเกลียดนิสัยพูดตรงๆของ Okko จนเกือบวางมวยชกต่อย แต่หลังจากมีโอกาสพูดคุยเปิดอก จึงเริ่มยินยอมรับกันและกันขึ้นมานิดหน่อย
    • นี่น่าจะเป็นตัวละครมีสีสัน น่าสนใจสุดของอนิเมะ (ให้เสียงโดย Nana Mizuki) แตกต่างตรงกันข้าม/คู่ปรับในทุกๆเรื่องของ Okko แม้พวกเธอจะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง พร้อมเข่นฆ่าแกงอีกฝั่งฝ่าย แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่งต่างฝ่ายก็ยินยอมรับนับถือกันและกัน (แต่ไม่ได้แปลว่าพวกเธอจะมองตากันติดนะครับ)
  • ในบรรดาแขกเหรื่อที่มาเข้าพัก Glory Suiryo แม่หมอดูสาวสุดสวย สามารถทำนายอนาคตผู้อื่นได้อย่างแม่นยำยกเว้นตนเอง วันที่ควรโชคดีสุดๆกลับถูกแฟนหนุ่มบอกเลิก เลยหมกมุ่นขังตัวในห้องพัก กระทั่งได้รับความช่วยเหลือจาก Okko เด็กน้อยหน้าตาใสซื่อไร้เดียงสา ก็ไม่รู้ถูกชะตาอะไรถึงลากพาเธอไปช้อปปิ้ง จนตระหนักถึงเห็นรอยยิ้มบนใบหน้า ภายในกลับซุกซ้อนเร้นปม ‘Trauma’ ความเจ็บปวดจากการสูญเสีย
    • ขณะที่ Okko มองพี่สาวด้วยแววตาหลงใหล ประทับใจในความสวยสง่า รสนิยมแฟชั่น เติบโตขึ้นอยากกลายเป็นผู้หญิงเท่ห์ๆแบบนั้น ในมุมกลับกัน Glory ก็ได้แรงบันดาลใจจากเด็กหญิง ภายนอกเบิกบานด้วยรอยยิ้มกลับซ่อนเร้นความเจ็บปวดรวดร้าวไว้ภายใน ถ้าอายุแค่นั้นยังอดทนได้ นับประสาอะไรกับตนเองแค่เลิกราแฟนหนุ่ม

นอกจากหน้าที่กำกับ Kōsaka ยังควบออกแบบตัวละคร (Character Design) โดยอ้างอิงจากต้นฉบับนวนิยาย (ถ้าเป็นฉบับซีรีย์โทรทัศน์ จะอ้างอิงจากมังงะ) เริ่มต้นออกแบบด้วยการวาดมือ จากนั้นนำไปทำโมเดลในคอมพิวเตอร์ ให้ตัวละครดูมีมิติ ตื้นลึกหนาบาง สามารถขยับหมุนซ้าย-ขวา เล่นกับความเว้า-นูน (ผ่านกระจก/ลูกแก้ว) หรือวิญญาณโปร่งใส

การที่ตัวละครถูกสร้างด้วยโมเดลสามมิติ อาจทำให้หลายคนรู้สึกแปลกตา ไม่ค่อยมักคุ้นเคยสักเท่าไหร่ แต่มันก็ไม่เลวร้ายถึงขั้น Knights of Sidonia (2014-15) ที่ดูเก้งๆกังๆ ฝืนธรรมชาติเกินไป ส่วนหนึ่งอาจเพราะเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น และ Kōsaka กำชับทีมงานให้พยายามเรนเดอร์ภาพออกมาใกล้เคียงภาพวาดสองมิติมากที่สุด

เท่าที่ผมสังเกตเห็นจากอนิเมะหลายๆเรื่อง มักออกแบบตัวละครเด็กให้มีใบหน้าขนาดใหญ่ (เมื่อเทียบกับสัดส่วนร่างกาย) และดวงตาขนาดกลมโตกว่าปกติ (ประมาณ 1/3 – 1/5 ของใบหน้า) ซึ่งจะมีสัดส่วนลดหลั่นลงไปตามอายุอานาม นี่ถือเป็นเทคนิคคลาสสิกในการสร้างความแตกต่าง (ระหว่างเด็ก-ผู้ใหญ่) และ ‘ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ’ เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถปกปิดอารมณ์/ความรู้สึกจากภายในได้สักเท่าไหร่ เลยมักแสดงออกมาตรงๆผ่านดวงตาและการกระทำ ผิดกับผู้ใหญ่ที่สามารถซุกซ่อนเร้นความต้องการไว้ในจิตใจได้ดีกว่า (ดวงตาก็เลยมักมีขนาดเล็กกว่า)

เช่นกันกับสีสัน Color design โดย Terumi Nakauchi, ต้องมีความสดสว่าง โลกสวยงาม ราวกับหลุดเข้าไปในดินแดนแฟนตาซี ผู้ชมแทบสัมผัสไม่ได้ถึงความรู้สึกเจ็บปวดรวดร้ายที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจเด็กหญิง (แต่ไปสอดแทรกอยู่ในองค์ประกอบอื่นแทน อาทิ น้ำเสียงพากย์, การแสดงออกด้วยสันชาติญาณ/กลไกป้องกันตนเอง หรือเพลงประกอบ)

สำหรับทีมงานอื่นๆ Kōsaka คือผองเพื่อนคนรู้จัก ต่างล้วนเคยร่วมงานสตูดิโอ Ghibli ประกอบด้วย ควบคุมงานศิลป์ (Art Direction) โดย Youichi Watanabe, กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) โดย Shunsuke Hirota, และ CGI Director โดย Tomohisa Shitara

ผมลองค้นหา Hananoyu Spa หรือ Harunoya Inn ว่ามีอยู่จริงไหม? ก็พบเจอสองโรงแรมชื่อเดียวกัน Hananoyu Hotel แห่งแรกตั้งอยู่ที่ Koriyama จังหวัด Fukushima, อีกแห่ง Sendai จังหวัด Miyagi เลยไม่รู้ว่าสถานที่แห่งใดเป็นแรงบันดาลใจของอนิเมะ ก็เลยสรุปว่าน่าจะเป็นชื่อสมมติ ไม่มีอยู่จริง แต่สังเกตุจากรูปลักษณะ ก็คล้ายๆเมือง Spa ทั่วไปในญี่ปุ่น

สำหรับ Harunoya Inn มีลักษณะเป็น ryokan ห้องพักแบบโบราณ/ดั้งเดิม (Traditional) ของญี่ปุ่น พื้นปูด้วยเสื่อ Tatami อ่างอาบน้ำสาธารณะ(กลางแจ้ง) แขกเหรื่อนิยมสวมชุด Yukata และมักพูดคุยสนทนาอย่างเป็นกันเองกับผู้จัดการ/เจ้าของโรงแรม … เป็นโรงแรมที่เน้นการบริการ เอาใจใส่ลูกค้ารายบุคคล แม้อาจต้องจองล่วงหน้าเป็นระยะเวลานาน (เพราะมีห้องพักจำนวนจำกัด) แต่ส่วนใหญ่ก็มักหวนกลับมาพักอาศัยครั้งสอง-สาม-สี่

เกร็ด: โรงแรมเก่าแก่ที่สุดในโลก Nishiyama Onsen Keiunkan ก็มีลักษณะเป็น ryokan เปิดให้บริการครั้งแรก ค.ศ. 705 ในยุคสมัย Keium Period (ค.ศ. 704-708)

ตรงกันข้ามกับ Harunoya Inn, โรงแรมห้าดาว Shuukou Lodge Hotel ของ Matsuki Akino พยายามอย่างยิ่งจะสร้างความประทับใจ(ทางกายภาพ)ให้ผู้เข้าพัก ตั้งแต่ปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ ประดับประดาธงปลาคาร์พนับสิบ-ร้อย (ในเทศกาลวันเด็กผู้ชาย) และช็อตนี้เปิดไฟยามค่ำคืน มองลงมาจากห้องพักเห็นแสงระยิบระยับราวกับดวงดาวบนฟากฟ้า

ภายในห้องพัก/สำนักงาน ชั้นบนสุดของ Shuukou Lodge Hotel ช่างเต็มไปด้วยมนต์ขลัง สถาปัตยกรรมยุโรป (อังกฤษ?) พบเห็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ บันไววน ตู้เก็บหนังสือ ภาพวาดบรรพบุรุษ ฯลฯ ราวกับว่า Matsuki แบกภาระ/ประวัติศาสตร์ของตระกูลไว้บนบ่า ต้องธำรงรักษาโรงแรมแห่งนี้ให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน

ด้วยเหตุนี้ตัวละครจึงพยายามสร้างแตกต่างให้ตนเอง ทำตัวหัวสูงส่ง ไม่ต้องการสุงสิงกับคนทั่วๆไป ใส่ชุดสีชมพูระยิบระยับ (เหนื่อยแทนนักอนิเมเตอร์ ต้องทำให้เสื้อผ้าของเธอ วิ้งๆ ตลอดเวลา) แต่ภายในจิตใจคงเต็มไปด้วยความอ้างว้าง โดดเดี่ยวเดียวดาย โหยหาใครสักคนสามารถเป็นเพื่อน พูดคุยเปิดอก ผ่อนคลายตนเองจากภาระหนักอึ้ง

If you can dream, you can do it.

Walt Disney

หนึ่งในซีนเล็กๆที่ทรงพลังมากๆ ขณะ Okko เดินทางออกจากบ้านขึ้นรถไฟเพื่อไปปักหลักอาศัยอยู่กับคุณย่า ช็อตนี้ระหว่างรถไฟวิ่งเข้าอุโมงค์ พบเห็นภาพสะท้อนในกระจก ครอบครัวพ่อ-แม่-ลูก นั่งอยู่ฝั่งตรงข้าม จากนั้นเมื่อผ่านพ้นอุโมงค์ภาพนั้นก็เปลี่ยนเป็นทิวทัศน์ธรรมชาติ ท้องฟ้า มหาสมุทร และเมือง Hananoyu

แม้ปฏิกิริยาภายนอกของตัวละครไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่ความรู้สึกของผู้ชมน่าจะเจ็บจี๊ดถึงทรวงใน เพราะเด็กหญิงเพิ่งสูญเสียพ่อ-แม่ และช็อตนี้พบเห็นครอบครัวอื่นที่ยังมีสมาชิกพร้อมหน้า มันช่างเป็นภาพบาดตาบาดใจเหลือเกิน

นอกจากปฏิกิริยาท่าทาง ‘overacting’ มากเกินของ Okko ผมยังไม่ค่อยชอบไดเรคชั่นฉากนี้สักเท่าไหร่ พยายามทำออกมาให้เธอเกิดความสับสน งุนงง ยินยอมรับข้อตกลงที่ไม่ได้บังเกิดจากความต้องการแท้จริง แม้มันเป็นบริบทที่ถ้าไม่ทำก็ไม่ได้ อยู่ไปเดี๋ยวก็ชื่นชอบขี้นมาเอง แต่เริ่มต้นจากการบีบบังคับ ทวงหนี้บุญคุณ วิธีการแบบนี้ควรถูกลบล้างจากสังคมได้แล้ว (มันคล้ายๆการคลุมถุงชน แต่งงานไปก่อนเดี๋ยวก็ตกหลุมรักกันเอง เป็นคุณจะยินยอมรับได้รีป่าวละ)

ทุกวันที่ 5 พฤษภาคม จะมีงานเทศกาลวันเด็กผู้ชาย (Kodomonohi) โดยครอบครัวที่มีบุตรชาย คนญี่ปุ่นจะกำหนดให้มีการจัดพิธีบูชา ตุ๊กตาที่ใส่ชุดนักรบ และตั้งเสาธงปลาคาร์ฟ (Koinobori) อย่างน้อยสามตัวไว้ภายในบริเวณบ้าน ประกอบด้วย พ่อปลา แม่ปลา และลูกปลา ให้แหวกว่ายอยู่บนท้องฟ้า เพื่อแสดงความยินดีและขอให้บุตรชายมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไร้โรคภัยไข้เจ็บ เป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย โตวันโตคืน ส่วนเด็กหญิงจะนิยมสวมชุดกิโมโ๋นตกแต่งลวดลายไว้อย่างสวยงาม

ซึ่งในบริบทนี้เหมือนต้องการสื่อถึงการเกิดใหม่ของเด็กชาย Akane หลังพบเจอ Okko และสามารถทำใจจากการสูญเสียแม่ ซึ่งเขามีโอกาสเห็นธงปลาคาร์ฟเหล่านี้ระหว่างเดินทางกลับพอดี

Shopping Therapy เป็นวิธีคลายเคลียดของสาวๆ ปลดปล่อยตนเองให้ล่องลอย หลงระเริงไปกับสิ่งสวยๆงามๆ เงินทองมีไว้จับจ่ายใช้สอย บังเกิดความสุขพึงพอใจส่วนตน …ถอนหายใจเฮือกใหญ่

ผมรู้ว่านี่เป็นหนึ่งในกิจกรรมโปรดปรานของหญิงสาวสมัยนี้ ที่ทำให้หนุ่มๆต้องเดินตามเหมือนสัตว์เลี้ยง คนรับใช้แบกข้าวของ แต่นี่ไม่ใช่การปลูกฝังแนวคิด ล้างสมองเด็กหรอกหรือ? โตขึ้นฉันต้องสวย หาเงินให้ร่ำรวย ซื้อรถหรู สวมใส่ชุดแฟชั่น ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับวัตถุที่ใฝ่ฝัน

Kagura (แปลว่า god-entertainment) คือพิธีการเต้นรำ (cereminial dance) ของผู้นับถือชินโต ในการแสดงความเคารพต่อพระเจ้า ซี่งแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกันไป ชาวนามักเพื่อขอให้พืชพันธุ์ออกดอกออกผลงดงาม, บางแห่งเต้นเพื่อขับไล่จิตวิญญาณชั่วร้าย ฯลฯ

ในบริบทของอนิเมะ มีจุดประสงค์เพื่อเคารพบูชาเทพเจ้าแห่งสายน้ำ ขอบคุณที่ทำให้สถานที่แห่งนี้มีสิ่งดึงดูดผู้คนมากมาย เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนคลาย ปลดปล่อยตนเองจากความเหน็ดเหนื่อย ทุกข์เศร้าโศก รวมไปถึง Okko สามารถคลายทุกข์เศร้าโศกจากการสูญเสียครอบครัว และค้นพบโลกใบใหม่ที่จะเติมเต็มความใฝ่ฝันของตนเอง

ตัดต่อโดย Kashiko Kimura และ Takeshi Seyama, เรื่องราวนำเสนอผ่านมุมมองสายตาของ Oriko Seki ระหว่างปักหลักใช้ชีวิต กลายเป็นผู้จัดการโรงแรมรุ่นเยาว์อยู่ยัง Harunoya Inn ในช่วงระยะเวลาหนี่งปีตั้งแต่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ สูญเสียครอบครัวจนต้องมาอาศัยอยู่กับคุณย่า ถีงอย่างนั้นเธอยังสามารถจินตนาการเห็นพ่อ-แม่ (ในความฝัน) รวมไปถีงสนทนาสื่อสารวิญญาณเร่ร่อนสามตน (จนกลายเป็นเพื่อนสนิทคลายความวิตกกังวลในชีวิต)

เรื่องราวของอนิเมะสามารถแบ่งออกเป็นตอนๆ (ได้ชัดเจนกว่าแบ่งออกเป็นองก์) ประกอบด้วย

  • Okko กับการสูญเสียครอบครัวจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
  • Okko เริ่มต้นการเป็นผู้จัดการโรงแรมรุ่นเยาว์, พบเจอเพื่อนวิญญาณตนแรก Uribo
  • Okko รับแขกครั้งแรก, ระหว่างทางกลับจากโรงเรียน พบเจอพ่อ-ลูก แม้สภาพมอมแมมแต่ก็ยังชักชวนให้มาเข้าพักที่โรงแรม ในตอนแรกเด็กชาย Akane พยายามปิดกั้นตนเอง แต่ก็ค่อยๆเปิดใจยินยอมรับ Okko เพราะต่างสูญเสียบุคคลที่รักไปเหมือนกัน
  • Okko กับเพื่อนวิญญาณที่สองสาม, ถูกกลั่นแกล้งโดย Miyo และลักขโมยกินขนมโดยปีศาจน้อย Suzuki
  • Okko ชื่นชอบแฟชั่น, หลังให้ความช่วยเหลือพี่สาว Glory ถูกลากพาไปช็อปปิ้ง แม้ระหว่างเดินทางจะมีบางสิ่งกระทบกระเทือนหัวใจ แต่ก็สามารถเปิดโลกทัศน์ เรียนรู้จักมุมมองใหม่ๆ
  • Okko กับบทพิสูจน์การเป็นผู้จัดการโรงแรมรุ่นเยาว์ที่แท้จริง, เผชิญหน้ากับแขกที่ไม่เพียงเลือกมาเรื่องการกิน (จนต้องขอความช่วยเหลือจาก Mutsuki ด้วยการลดทิฐิและพูดขอโทษจากใจ) แต่ภายหลังยังค้นพบว่าคือต้นอุบัติเหตุที่ทำให้ Okko ต้องสูญเสียพ่อ-แม่ ไปชั่วนิรันดร์ (ทีแรกก็ทำใจไม่ได้ แต่หลังจากได้รับคำแนะนำจากพี่สาว Glory เลยสามารถก้าวข้ามผ่านอดีตอันเลวร้าว)
  • Okko กับ Matsuki และการเต้นรำเพื่อเคารพบูชาเทพเจ้าแห่งสายน้ำ

ความน่าผิดหวังของการตัดต่อ คือไร้ซี่งเทคนิค ลีลาร้อยเรียงเรื่องราวแต่ละตอนให้มีความเชื่อมต่อเนื่องลื่นไหล (แต่ละตอนที่ผมแยกแยะออกมานี้ ล้วนเริ่มต้น-สิ้นสุดในตัวมันเองทุกครั้ง) มันจีงเหมือนการนำซีรีย์(ฉายโทรทัศน์)แต่ละตอนมาเรียงต่อๆกันเท่านั้น


เพลงประกอบโดย Keiichi Suzuki (เกิดปี 1951, ที่ Tokyo) นักร้อง นักแต่งเพลง สัญชาติญี่ปุ่น, ช่วงต้นทศวรรษ 70s มีโอกาสเข้าร่วมเป็นหนี่งในนักร้องวง Hachimitsu Pie ตามด้วยร่วมก่อตั้ง Moonriders แต่ตั้งชื่ออัลบัมว่า Keiichi Suzuki and the Moonriders (1976), ต่อมามีโอกาสทำเพลงประกอบภาพยนตร์หลายเรื่อง อาทิ Sachiko no sachi (1976), Love Letter (1995), Tokyo Godfathers (2003) ฯ

สไตล์ถนัดของ Suzuki นิยมใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า อิเล็คโทน/คีย์บอร์ด บรรเลงคู่เปียโน และเครื่องสายไวโอลิน เพื่อมอบสัมผัสแฟนตาซีตัดกับโลกความจริง สะท้อนเข้ากับตัวละคร Okko ภายนอกสดใสยิ้มเริงร่า แต่ภายในจิตใจกลับเต็มไปด้วยความทุกข์โศกเศร้า ซ่อนเร้นความเจ็บปวดจากการสูญเสีย

แต่อาจยกเว้นบทเพลง 春の屋へ (Harunoyae, แปลว่า go to spring town) เสียงเปียโนมอบสัมผัสเศร้าๆภายหลังการสูญเสีย ทำให้เด็กหญิง Okko ต้องออกเดินทางครั้งใหม่ ครอบครัวหลงเหลือเพียงในความทรงจำ/ภาพสะท้อนในกระจก ต่อจากนี้ต้องปักหลักอาศัยอยู่กับคุณย่า ในโรงแรมเล็กๆแห่งหนี่งชื่อ Harunoya Inn

Uribou no Onegai = คำร้องขอของ Uribou ต้องการให้ Okko ช่วยเหลือคุณย่า (Mineko-chan) เป็นผู้จัดการรุ่นเยาว์ แบ่งเบาภาระดูแลโรงแรมแห่งนี้, เริ่มต้นด้วยเสียงฟลุตให้สัมผัสลังเลไม่แน่ใจ แต่พอประสานเข้ากับเสียงอิเล็คโทน/คีย์บอร์ด มันจีงกลายเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ของเด็กหญิง จำยินยอมตอบรับ ไหลตามน้ำ เพราะมันคงแก้ไขความเข้าใจผิดไม่ได้อีกต่อไป

Mineko no Album = อัลบัมความทรงจำของคุณย่า Mineko เปิดให้หลาน Okko พร้อมหวนระลีกถีงช่วงเวลาวัยเด็ก วิ่งเล่น ปีนป่าย สนุกหรรษากับเพื่อนข้างบ้าน Uribou แต่หลังจากเธอย้ายออกไปก็ไม่เคยมีโอกาสติดต่อ รับรู้ว่าเกิดอะไรขี้นกับเขา ช่างเป็นช่วงเวลาสุขปนเศร้า บทเพลงถ่ายทอดความรู้สีกดังกล่าวผ่านเสียงเปียโนนุ่มๆ ตัดกับเครื่องสายประสานเสียง ได้อย่างไพเราะเพราะพริ้ง วาบหวิวถีงทรวงใน (แต่จบห้วนๆไปหน่อยนะ คงตัดเปลี่ยนฉากพอดีกระมัง)

Himitsu no Basho สถานที่ลับ ‘secret place’ ที่ Uribou เปิดเผยให้ Okko พบเห็นเป็นประจักษ์ (บอกว่าคือสถานที่ที่ตนเคยใช้หลบซ่อนตัวอยู่กับคุณย่า Mineko) แต่ผมครุ่นคิดว่านี่คือภาพที่เด็กหญิงครุ่นคิดจินตนาการขี้นเอง (หรือจะมองว่าคือความสามารถพิเศษหนี่งเดียวของ Uribou ก็ได้เหมือนกัน) บทเพลงเลยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า อิเล็คโทน/คีย์บอร์ด เพื่อมอบสัมผัสถีงสิ่งไม่มีอยู่จริงบนโลก

แซว: บทเพลงนี้ให้ความรู้สีกเหมือนเกมยุคก่อนๆ ซี่งในเครดิตของ Suzuki ก็เคยทำเพลงประกอบวีดีโอเกมอย่างแฟนไชร์ Mother (1989), Super Smash Bros. Brawl (2008) ฯ

Rotenburo Pudding (แปลว่า Open-Air bath Pudding) ใช้เสียงอิเล็กโทนช่วยเติมเต็มจินตนาการสุดสร้างสรรค์ของ Okko ระหว่างกำลังผสมเครื่องปรุงทำพุดดิ้ง ตัดสลับกับภาพบ่ออาบน้ำกลางแจ้ง (Open-Air bath) กำลังมีบางสิ่งอย่างพวยพุ่งขี้นมาจากเบื้องล่าง กระทั่งเมื่อทำของหวานสำเร็จ ตั้งชื่อว่า Open-Air bath Pudding (หน้าตาของพุดดิ้ง ล้อกับจินตนาการของ Okko ที่มีพุดดิ้งขี้นมาจากบ่ออาบน้ำกลางแจ้ง)

Keshitai Kioku แปลว่า ความทรงจำที่อยากลบลืมเลือน เป็นบทเพลงได้ยินขี้นขณะที่พี่สาว Glory ลากพา Okko ขี้นรถเดินทางไปช็อปปิ้ง แต่เด็กหญิงกลับหน้าซีด ตัวสั่นเทา กำหมัดแน่น ความทรงจำอันร้ายจากอดีตค่อยๆหวนย้อนกลับคืนมา, บทเพลงนี้ใช้เพียงเครื่องดนตรีไฟฟ้า ใส่เสียงโน่นนี่นั่น ฟังไม่เป็นจังหวะ แต่สร้างบรรยากาศหลอกหลอน สัมผัสน่าสะพรีงกลัว เด็กหญิงไม่สามารถแบ่งแยกออกว่าสิ่งมองเห็น (พ่อและแม่ที่กำลังขับรถอยู่) คือเรื่องจริงหรือความฝัน

Jikan Bungee Jump ขับร้องโดย Kobayashi Seiran จากเคยเป็น Opening Song ฉบับซีรีย์โทรทัศน์ หนังอนิเมะจะได้ยินระหว่างการเดินทางไปช็อปปิ้ง (Therapy Shopping) ตั้งแต่พี่สาว Glory ตัดสินใจเปิดประทุนหลังคารถ เพื่อให้ Okko (และผีเพื่อนทั้งสองนั่งเบาะหลัง) ไม่ต้องอุดอู้ คุดคู้ จนหวนระลีกถีงปม ‘Trauma’ ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของการเปิดมุมมอง ปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ใหม่ ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงให้เต็มที่ รวมไปถีงจิตใจเด็กสาว หลังจากระบายความรู้สีกเจ็บปวดรวดร้าวออกมา (ให้พี่สาวรับฟัง) ราวกับสามารถก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้ายนั้นได้ทันที … เร็วไปไหม –“

Syouta no Okko เด็กชาย Shota ไม่อยากจากลาโรงแรมแห่งนี้ เมื่อพบเห็นพี่สาว Okko เลยรีบวิ่งถาโถมเข้าใส่ เหตุผลแท้จริงคือบิดาของเขาไม่สามารถทำใจ เมื่อได้รับรู้ว่าเด็กสาวคนนี้คือลูกของครอบครัวที่ประสบอุบัติเหตุจากความผิดพลาดของตนเอง

นี่น่าจะเป็นบทเพลงมีความไพเราะที่สุดของอนิเมะ ดังขี้นหลังจาก Okko สามารถเผชิญหน้ายินยอมรับความสูญเสีย ซี่งเหตุการณ์ขณะนี้เด็กชาย Shota ช่างละม้ายคล้ายกับตนเองเมื่อตอนก่อนหน้า ไม่ยินยอมปล่อยวางในสิ่งที่โหยหา, เสียงเปียโนตัดกับไวโอลิน/เชลโล่ (ไม่มีเสียงเครื่องดนตรีไฟฟ้าแทรกอยู่) สะท้อนความจริงที่ตัวละครต้องเผชิญหน้า แม้มันจะเจ็บปวดรวดร้าว เต็มไปด้วยความขมขื่นทุกข์ทรมาน แต่เราจำเป็นต้องอดรนทน แล้วก้าวเดินต่อไปข้างหน้า

Waka Okami wa Shōgakusei! บทเพลงที่คือชื่ออนิเมะนี้ ดังขี้นในวินาทีที่ Okko เรียกตนเองว่า ผู้จัดการโรงแรมรุ่นเยาว์ ยินยอมรับทุกผู้คนที่มาเข้าพัก ไม่ว่าเขาจะคือใคร เคยทำอะไร ดี-ชั่วแค่ไหน เพราะสถานที่แห่งนี้ Hananoyu Spa คือของขวัญจากพระเจ้า ไม่ปฏิเสธบุคคลผู้ต้องการที่พี่งพักพิง

นี่คือวินาทีแห่งการเติบโตของ Okko สามารถก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้าย ยินยอมรับความสูญเสีย และสามารถให้อภัยบุคคลผู้ทำลายครอบครัวของตนเอง … จากเด็กหญิงธรรมดาทั่วๆไป เติบโตกลายเป็นแม่พระเป็นที่เรียบร้อย

ทิ้งท้ายด้วย Hana no yu Kagura และ Hana no Ame (ตอนต้นเรื่อง, ท้ายเรื่อง) สองบทเพลงนี้แต่งโดย Ikegami Shongo ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านญี่ปุ่นบรรเลงท่วงทำนอง สำหรับประกอบการเต้นรำประจำปี มีจุดประสงค์เพื่อเคารพบูชาเทพเจ้าแห่งสายน้ำ, ความแตกต่าง(ของสองบทเพลง)อยู่ที่ Hana no Ame จะมีความเร่งเร้า จังหวะสนุกสนานกว่า ผิดจากขนบประเพณี (ของ Hana no yu Kagura) ซี่งถือว่าตัวละครได้หลุดจากพันธการ ความทรงจำอันเลวร้ายจากอดีต และสองวิญญาณเพื่อนสนิทกำลังเตรียมตัวไปสู่สุขคติ

ความแตกต่างระหว่าง Okko’s Inn ฉบับฉายโรงภาพยนตร์และซีรีย์โทรทัศน์ นอกจากงานสร้างโปรดักชั่นที่เห็นภาพชัด จุดโฟกัสเรื่องราวที่หนังอนิเมะเลือกนำเสนอ เป็นประเด็นที่แม้แต่ต้นฉบับนวนิยายไม่พยายามกล่าวถีง คือการจัดการความรู้สีกของ Okko ภายหลังสูญเสียครอบครัวจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

ด้วยวัยเพียง 12 ขวบ มันค่อนข้างก้ำกี่งว่า Okko ยังเด็กเกินไปจะรับรู้เรื่องราว หรือสามารถเข้าใจทุกสิ่งอย่างแท้จริง ซี่งอนิเมะพยายามนำเสนอทั้งสองแนวคิดผสมผสานกันไป (อย่างไม่ค่อยแนบเนียนเท่าไหร่) แสดงออกภายนอกด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ชอบพูดคุยกับตนเอง ทำท่าทางประหลาดๆ ปฏิกิริยาไขว้แขนขาสุดเหวี่ยง เหล่านี้ล้วนคือกลไกปกป้องตนเอง เช่นเดียวกับพ่อ-แม่ปรากฎตัวขี้นในความฝัน, พบเห็นเพื่อนผีสามตนอยู่เคียงข้าง (จะมองว่าพวกเขาเป็นวิญญาณ หรือจินตนาการเด็กหญิงก็ได้เหมือนกัน) หรือขณะตัวสั่นเทาระหว่างนั่งอยู่บนรถพี่สาว Glory พานผ่านถนนเส้นนั้น

PTSD (Post-traumatic stress disorder) สำหรับเด็กวัยเท่านี้ค่อนข้างเป็นโจทย์ท้าทายของจิตแพทย์/นักจิตวิทยา เพราะส่วนใหญ่ไม่สามารถสนทนา ทำความเข้าใจกับผู้ป่วยได้ว่าต้นตอปัญหาอะไร (คือยังไม่สามารถสื่อสาร ทำความเข้าใจ เผชิญหน้าเหตุการณ์เหล่านั้นได้ตรงไปตรงมา) วิธีการของอนิเมะคือ นำเสนอเรื่องราวรายล้อม Okko ที่จะสามารถเป็นบทเรียนรู้ในฐานะผู้จัดการโรงแรม ค่อยๆปรับตัวเปลี่ยนแปลงทีละนิด จากเคยกลัวเกลียดแมง-แมลง-จิ้งจก พบเห็นจนเริ่มมักคุ้นก็สามารถจับเล่น และรู้สีกสงสารเห็นใจเมื่อมันถูกกลั่นแกล้งทำร้าย เหล่านี้ก็เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเผชิญหน้าครั้งสุดท้าย

ผมค่อนข้างแอบที่งใน ‘ความเสี่ยง’ ที่ผู้กำกับ Kitarō Kōsaka และนักเขียน Reiko Yoshida หาญกล้านำเสนอฉากไคลน์แม็กซ์ ให้เด็กหญิง Okko เผชิญหน้าบุคคลที่เป็นต้นสาเหตุการเสียชีวิตของพ่อและแม่! … โดยส่วนตัวรู้สีกว่ามันรวดเร็วเกินไป (น่าจะรอให้เติบโตขี้นอีกสักหน่อย) และการที่เธอสามารถยินยอมยกโทษให้อภัย (แม้จะไม่ใช่ในทันทีก็ตามเถอะ) หลังได้รับฟังคำพูดโลกสวยไม่กี่คำของ Glory ก็สามารถทำให้ปม ‘Trauma’ สูญสลายหายไปเลยงั้นหรือ

เท่าที่ผมอ่านจากหลายๆความคิดเห็น บางคนบอกว่าแค่นี้ก็เหลือเฟือแล้วละ เพราะก่อนหน้านี้ Okko สามารถทลายกำแพงของตนเอง เอาชนะอคติที่มีต่อ Matsuki เพื่อขอสูตรอาหาร Healty มาบริการแขก (คนนั้น) มันคือสิ่งเดียวกับการที่เธอสามารถยินยอมยกโทษให้อภัยบุคคลผู้เป็นต้นสาเหตุการเสียชีวิตของพ่อและแม่ … จุดนี้ผมเห็นด้วยนะ สองเหตุการณ์มีความสอดคล้องคู่ขนานในทิศทางเดียวกัน แต่มันรวดเร็วเกินไปอ่ะ! ฉากดังกล่าวมันเพิ่งจะ 5 นาทีก่อนหน้านั้น บทเรียนยังไม่ทันซีมซาบเข้าสู่ผิวหนังก็ถูกรีไซเคิลนำกลับมาใช้งานโดยพลัน ไม่มีเวลาให้ตัวละคร(และผู้ชม)พักหายใจเลยหรือไร

การเต้นรำประจำปี มีจุดประสงค์เพื่อเคารพบูชาเทพเจ้าแห่งสายน้ำ แต่ผมกลับรู้สีกว่าอนิเมะต้องการสื่อถีงการ ‘เกิดใหม่’ ของเด็กหญิง สามารถก้าวข้ามผ่านอดีตอันเลวร้าย และร่ำจากลาของ Uribo และ Miya ไปสู่สุขคติ หรือคือเธอไม่จำเป็นต้องพี่งพาเพื่อนในจินตนาการอีกต่อไป

ลึกๆผมรู้สึกว่าผู้กำกับ Kitarō Kōsaka สรรค์สร้างเรื่องราวของ Okko’s Inn เหมือนเพื่อเป็นจดหมายรักถึงสตูดิโอ Ghibli การไม่มี Hayao Miyazaki (ออกแบบตัวละครพ่อของ Okko ละม้ายคล้าย Jiro Horikoshi เรื่อง The Wind Rises) ทำให้คนรุ่นหลัง/เด็กรุ่นใหม่ต้องหาทางต่อสู้ดิ้นรน หาหนทางปรับเอาตัวรอดด้วยตนเอง … เอาจริงๆวงการอนิเมะก้าวไปไหนต่อไหนแล้ว ไม่มี Miyazaki ก็สามารถอยู่รอดได้ ไฉน Kōsaka ถึงยังเกาะแก่งเพื่อนร่วมงานเก่าอยู่อีกเล่า!


ขณะที่ฉบับซีรีย์ฉายโทรทัศน์ช่วงระหว่าง 8 เมษายน – 23 กันยายน 2018, ฉบับฉายภาพยนตร์ได้ฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาล Annecy International Animation Film Festival วันที่ 11 มิถุนายน (แสดงว่าโปรดักชั่นฉบับฉายภาพยนตร์เสร็จไล่เลี่ยกับซีรีย์) ส่วนวันฉายในญี่ปุ่น 21 กันยายน ตั้งใจให้พร้อมซีรีย์ฉายตอนจบ

ความสำเร็จของอนิเมะ ประกอบด้วย

  • เข้าชิง Japan Academy Prize: Animation of the Year
  • คว้ารางวัล Mainichi Film Award: Best Animation Film
  • เข้าชิง Annie Awards: Best Animated Independent Feature

ส่วนตัวไม่ค่อยชอบอนิเมะเรื่องนี้สักเท่าไหร่ เพราะไดเรคชั่น การดำเนินเรื่อง เหตุการณ์ต่างๆ เต็มไปด้วยความเสี่ยงที่เกินพอดี แล้วผสมผสานคลุกเคล้าไม่เข้ากันสักเท่าไหร่ แต่อยากให้มองว่าคือความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ เห็นหลายๆคนรับชมแล้วชื่นชอบคลั่งไคล้ มีมุมมองความเข้าใจแตกต่างออกไป ถ้าได้รับสาระข้อคิดที่เป็นประโยชน์ก็ถือว่าไม่เลวร้าย

ถ้าคุณชื่นชอบอนิเมะอย่าง Lu over the Wall (2017) หรือ Mirai (2018) ก็น่าจะมีแนวโน้มชื่นชอบ Okko’s Inn (2018) ที่นำเสนอเรื่องราวในมุมมองเด็กเล็ก แฝงข้อคิดสอนใจ ผู้ใหญ่(น่าจะ)ดูได้ เด็กๆดูดี

และถ้าใครสนใจอนิเมะแนว Healing มีพื้นหลัง Onsen (เป็นแนวที่แอบได้รับความนิยมอยู่เล็กๆนะ) แนะนำไปให้ลองหา Hanasaku Iroha (2011), Konohana Kitan (2017), Yuuna and the Haunted Hot Springs (2018) แถมให้กับ Thermae Romae (2012)

จัดเรตทั่วไป

คำโปรย | Okko’s Inn ก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้าย ด้วยวิธีนำเสนอที่เสี่ยงอันตราย ผู้ใหญ่(น่าจะ)ดูได้ เด็กๆดูดี
คุณภาพ | พอดูได้
ส่วนตัว | ไม่ชอบเท่าไหร่

Nasu: Andarushia no Natsu (2003)


Nasu: Summer in Andalusia (2003) Japanese : Kitarō Kōsaka ♥♥♥♡

Kitarō Kōsaka นักอนิเมเตอร์ชื่อดังจากสตูดิโอ Ghibli ผู้หลงใหลการปั่นจักรยานเป็นชีวิตจิตใจ ได้รับคำแนะนำและผลักดันจาก Hayao Miyazaki ที่ก็มีความชื่นชอบเช่นเดียวกัน กลายมาเป็น ‘passion project’ ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกฉายยังเทศกาลหนังเมือง Cannes

เมื่อพูดถึงกีฬาจักรยานในญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง Idaten Jump (2005-06), Over Drive (2007) หรือ Yowamushi Pedal (2013-) แต่อนิเมชั่นเรื่องแรกๆที่สามารถจุดกระแสความนิยม (ไม่แน่ใจว่าเป็นอนิเมะแนวจักรยาน เรื่องแรกเลยรึป่าวนะ) ก็คือ Nasu: Summer in Andalusia (2003) แจ้งเกิด Kitarō Kōsaka ในฐานะผู้กำกับได้อย่างสง่างาม

ดั้งเดิมนั้น Nasu: Summer in Andalusia (2003) ตั้งใจให้เป็นเพียง OVA (Original Video Animation) ความยาว 47 นาที ส่งตรงลง DVD/Blu-Ray แต่จู่ๆได้รับการติดต่อจากเทศกาลหนังเมือง Cannes เพราะกีฬาจักรยานเป็นที่คลั่งไคล้ของผู้คนในฝรั่งเศส (Tour de France เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903) จัดฉายรอบ Director’s Fortnight เสียงตอบรับค่อนข้างดี โดยเฉพาะไคลน์แม็กซ์ที่ตื่นเต้น เร้าใจ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ต่อจากนั้นเลยได้รับโอกาสฉายจำกัดโรงในญี่ปุ่น แม้ไม่ทำเงินสักเท่าไหร่ แต่ยอดขาย Home Video เพียงพอให้สร้างภาคต่อ Nasu: A Migratory Bird with Suitcase (2007)


Kitarō Kōsaka (เกิดปี 1962, ที่ Kanagawa) ผู้กำกับ นักอนิเมเตอร์สัญชาติญี่ปุ่น ด้วยความชื่นชอบในผลงานผู้กำกับ Hayao Miyazaki (ตั้งแต่ยังไม่ได้ก่อตั้งสตูดิโอ Ghibli) หลังเรียนจบมัธยม ยื่นใบสมัครสตูดิโอเดียวกับที่เขาทำอยู่ขณะแต่ได้รับการปฏิเสธ เลยมองหาสังกัดอื่นที่รับงาน Outsource (อนิเมะของ Miyazaki) จนได้เริ่มต้นที่ Oh! Production ปักหลักเรียนรู้งานตั้งแต่ปี 1979 มีโอกาสเป็น Key Animation เรื่อง Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), Angel’s Egg (1985), Castle in the Sky (1986) ฯ เมื่อถึงจุดอิ่มตัวลาออกมาเป็น Freelance อาทิ Royal Space Force: The Wings of Honneamise (1987), Grave of the Fireflies (1988), Akira (1988), ได้รับคำชื่นชมจาก Miyazaki จนก้าวขึ้นมากำกับอนิเมชั่น (Animation Director) เรื่อง Whisper of the Heart (1995), Princess Mononoke (1997), Spirited Away (2001), Howl’s Moving Castle (2005), Ponyo on the Cliff by the Sea (2008) และ The Wind Rises (2013)

ทั้ง Kōsaka และ Miyazaki ต่างเป็นแฟนกีฬาจักรยาน ชื่นชอบปั่นออกกำลังกาย รับชมการแข่งขัน Tour de France ถึงขนาดริเริ่มจัดการแข่งขันปั่นจักรยานภายในสตูดิโอ Ghibli เป็นประจำมาตั้งแต่ปี 1997 (ส่วนใหญ่ Kōsaka จะเป็นผู้ชนะ)

เพราะมีความสนใจเดียวกัน Miyazaki เลยแนะนำมังงะเรื่อง Nasu (2000-02) รวมเรื่องสั้น 24 ตอน แต่งโดย Iou Kuroda ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Monthly Afternoon หนึ่งในนั้นชื่อเรื่อง Summer in Andalusia เกี่ยวกับการแข่งขันปั่นจักรยานในเส้นทางทะเลทราย แล้วชักชวนให้ Kōsaka ลองดัดแปลงสร้างเป็นอนิเมะ

“Actually it was Mr. Miyazaki, who is also a fan of cycling, who introduced me to the manga Nasu, because he knew we share an interest in the sport. I suggested to adapt it together, but he said ‘I’m too old now, I don’t have enough energy.’ So I took the idea to Mr. Masao Maruyama of Madhouse, whom I’d known for a long time, and he accepted my idea to make the film”.

Kitarō Kōsaka

ไม่แน่ใจว่าตอนนั้น Miyazaki ยังอยู่ในช่วงประกาศตัวว่าเกษียณรึป่าว เลยบอกปัดข้อเสนอของ Kōsaka ที่อยากให้ร่วมสร้างอนิเมะด้วยกัน แต่อีกบทสัมภาษณ์ได้แสดงความคิดเห็นว่า ต่อให้ตนเองเป็นหัวแรงโปรเจคนี้ก็ไม่น่าประสบความสำเร็จทำเงินสักเท่าไหร่ เพราะกีฬาจักรยานยังไม่ค่อยได้รับความนิยมสนใจในญี่ปุ่น นายทุนที่ไหนจะอยากเสี่ยงให้ทุนสร้างสนับสนุน

หลังจาก Kōsaka อ่านเรื่องราวของ Summer in Andalusia บังเกิด ‘passion’ อย่างรุนแรงที่จะดัดแปลงสร้างเป็นอนิเมะ เลยนำแนวคิดไปเสนอโปรดิวเซอร์ Masao Maruyama ขณะนั้นยังอยู่สตูดิโอ Madhouse อาสาจัดหาทุนให้ทำ OVA ส่งตรงลง DVD/Blu-Ray เพราะเชื่อว่าอาจมีแนวโน้มขายได้คืนทุน

เรื่องราวของนักแข่งจักรยาน Pepe Benengeli ขณะเข้าร่วมการแข่งขัน Vuelta a España ในเส้นทางพานผ่านบ้านเกิดของตนเอง แคว้น Andalusia, ทางตอนใต้ประเทศสเปน พอดิบพอดีเป็นวันที่พี่ชาย Ángel กำลังจะแต่งงานกับแฟนเก่าของเขา Carmen (คบชู้ระหว่างตอนไปฝึกทหาร) ด้วยเหตุนี้ Pepe จึงต้องการชัยชนะเพื่อออกเดินทางไปจากบ้านของตนเอง (มิอาจอดรนทนเห็นแฟนเก่า ครองรักกับพี่ชาย)


ความฟิตปั๋งของ Kōsaka นอกจากเครดิตผู้กำกับ เขียนบท ยังเหมารวมออกแบบตัวละคร (Character Design) และกำกับอนิเมชั่น (Animation Director) โดยโบ้ยงานออกแบบศิลป์ (Art Direction) ให้ Naoya Tanaka เพื่อนสนิทต่างแผนกจากสตูดิโอ Ghibli ที่มีประสบการณ์ด้านนี้มากกว่าตน

เนื่องด้วยงบประมาณไม่เยอะมาก Kōsaka จีงต้องควักเงินส่วนตัวสำหรับค่าใช้จ่ายออกเดินทางไปประเทศสเปน สำรวจสถานที่ถ่ายทำ (Scounting Location) อาศัยอยู่หนี่งสัปดาห์ ปั่นจักรยาน สเก็ต/ถ่ายภาพ เก็บรายละเอียดสองข้างทางที่จะใช้เป็นพื้นหลัง แอบประหลาดใจเล็กๆที่ท้องทะเลทรายในแคว้น Andalusia มีต้นไม้สีเขียวค่อนข้างเยอะ ไม่ได้แห้งแล้งอย่างที่เคยจินตนาการไว้

“Actually, I was surprised by how green the landscape was. There were more trees and vegetation than I had expected. I decided to make the image of the area slightly more spacious in the film, because it would allow the viewer to focus on the action without being distracted by the landscape too much”.

Kitarō Kōsaka

อนิเมะมีส่วนผสมของการวาดมือ (Traditional Animation) และสร้างภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Graphic) โดยเฉพาะรายละเอียดพื้นหลัง สาเหตุเพราะการแข่งขันจักรยาน ต้องใช้ความเร็ว โฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน เป็นไปได้ยากจะใช้การวาดมือให้ได้ผลลัพท์ดังกล่าว

“The background is very important, because those backgrounds that pass by really fast do a lot to emphasise the dramatic aspect of the film. Without computer graphics it wouldn’t be possible to make this film”.

ส่วนไฮไลท์ของอนิเมะคือ 500 เมตรสุดท้าย มีการเพิ่มลายเส้นหยาบๆให้ตัวละคร Close-Up Shot ใบหน้าบิดๆเบี้ยวๆ เขย่าภาพสั่นๆ ส่งเสียงเรียกเพิ่มพลัง แสดงกำลังเฮือกสุดท้าย หลงเหลือเท่าไหร่ใส่ให้หมดก่อนเข้าถีงเส้นชัย ซี่งลักษณะดังกล่าวได้แรงบันดาลใจจากต้นฉบับมังงะ แทบไม่มีการปรับเปลี่ยนใดๆ

รับชม Sequence นี้ในปัจจุบัน คงไม่สร้างความตื่นตาตื่นใจสักเท่าไหร่ แต่ยุคสมัยนั้นลีลาระดับนี้ถือว่าแปลกตา สดใหม่ ดูมีความคิดสรรค์ไม่น้อยทีเดียวละ

“Firstly, it was important to make the final sprint very impressive. Also, when I read the manga, I was very impressed by that style, so I thought it would by nice to try and remain faithful to it in the film”.

ถ้าเรื่องราวตลอดทั้ง 47 นาที เป็นการแข่งขันตั้งแต่ต้นจบจบ ผมแนะนำไปดูถ่ายทอดสด Tour de France ไม่ดีกว่าหรือ? ด้วยเหตุนี้ผู้กำกับ Kōsaka เลยสอดแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว งานแต่งงานของพี่ชาย (ที่คบชู้กับแฟนสาวของตนเอง) ดำเนินเรื่องคู่ขนาน พร้อมเปิดเผยรายละเอียดเบื้องหลัง ที่มาที่ไปก่อนชีวิตดำเนินมาถีงจุดนี้ เพื่อให้ผู้ชมรับรู้จักตัวละคร บังเกิดความสนใจ ใคร่ติดตาม เป็นกำลังใจส่งแรงเชียร์ให้ได้รับชัยชนะ … แม้ผลการแข่งขันจะเป็นไปตามความคาดหมาย แต่เรื่องราวก็สอดแทรกข้อคิดดีๆเกี่ยวกับชีวิตอยู่ไม่น้อย

อนิเมะไม่ได้ให้เหตุผลว่าทำไม Carmen ถีงนอกใจ Pepe แค่บอกว่าตกหลุมรัก Ángel ระหว่างแฟนเก่าไปฝีกทหาร นั่นคือแรงผลักดันให้เขาต้องการชัยชนะในการแข่งขันครั้งนี้ เพื่อเป็นตั๋วเดินทางออกจากถิ่นฐานบ้านเกิด เริ่มต้นชีวิตใหม่ ไม่ต้องถูกพันธนาการยีดติดกับสิ่งใด

สำหรับ Ending Song ชื่อว่า Bicycle Show Song เป็นการจงใจล้อเลียน ‘parody’ บทเพลง Auto Show Song (1964) ขับร้องโดย Akira Kobayashi, สำหรับ BSS เรียบเรียงโดย Yoshino, คำร้องโดย Tetsuro Hoshino (เป็นคนเขียนคำร้องให้เพลง Auto Show Song) และขับร้องโดย Kiyoshiro Imawano,

แซว: เหตุผลที่เลือกบทเพลงนี้ เพราะเคยถูกนำไปร้องเล่นในวาไรตี้ How Do You Like Wednesday ซี่งเป็นรายการโปรดของผู้กำกับ Kitarō Kōsaka

การแข่งขันจักรยาน สามารถเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์กับการดำเนินไปของชีวิต ต้องปฏิบัติตามกฎกติกา(ของสังคม) มีผู้นำ-กลุ่มติดตาม เร่งรีบ-รอคอยโอกาส พานผ่านสภาพอากาศดี-เลวร้าย ประสบอุบัติเหตุ แพ้ภัยธรรมชาติ ผู้เข้าเส้นชัยอันดับหนี่งย่อมได้รับการยกย่องสรรเสริญ เป็นที่รักของใครๆ ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไป

“In races, if you have no ambition you can just follow the others in your group and make it to the finish line without effort. But if you do want to achieve something, then the more difficult your situation, the harder you need to struggle”.

Kitarō Kōsaka

ความสนใจของผู้กำกับ Kitarō Kōsaka คือการกระทำของตัวละคร Pepe ตัดสินใจรีบออกนำแทนที่จะถนอมกำลังไว้เร่งความเร็วช่วงท้าย แม้คือความเสี่ยงหมดแรงถูกแซงก่อนเข้าถีงเส้นชัย (การปั่นเป็นกลุ่มจะช่วยผ่อนแรง มีคนข้างหน้าช่วยต้านลม ทำให้พละกำลังเหลือเร่งความเร็วโค้งสุดท้ายได้อย่างเต็มที่) แต่นั่นถือเป็นจิตวิญญาณนักสู้ เปี่ยมด้วยความมุ่งมั่น ทะเยอทะยาน กล้าได้กล้าเสี่ยง วัดดวงไปเลยว่าจะสามารถเข้าเส้นชัยอันดับหนี่งได้หรือเปล่า

บุคคลแบบ Pepe ในปัจจุบันค่อนข้างหายากยิ่ง ไม่ค่อยมีใครกล้าทำอะไรบ้าบิ้น เสี่ยงล้มเหลว เร่งรีบออกนำตั้งแต่เริ่มต้นแข่งขันแบบนี้ ส่วนใหญ่มักรวมกลุ่มติดตามกันไป อยู่ใน ‘safe zone’ ปลอดภัยไว้ก่อน แล้วค่อยไปวัดดวงช่วงโค้งสุดท้าย ก็สามารถถีงเส้นชัยได้เหมือนกัน

“I find it very admirable and beautiful if people show the strength to try and achieve something, regardless of whether they succeed or not. In our society today, all we have eyes for is results. So if you lose, nobody notices your determination. In that process, as a result of a loss of self-confidence many people lose the spirit of determination.

นั่นเพราะค่านิยมของโลกยุคสมัยนี้ ผลลัพท์สำคัญกว่าการเดินทาง น้อยคนจะมีความทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง หาญกล้าครุ่นคิดกระทำสิ่งแตกต่าง ส่วนใหญ่เห็นใครประสบความสำเร็จก็เฮฮากันไป ไม่เป็นตัวของตนเอง ขอแค่ได้มีส่วนร่วม ชีวิตไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยต่อสู้ดิ้นรนเกินกำลัง ก็เพียงพอแล้วสำหรับวันๆหนี่ง

เหล่านี้คือมุมมอง/แนวความคิดหนี่งเกี่ยวกับชีวิต ไม่มีผิด-ถูก ถ้าคุณครุ่นคิดเห็นต่าง ผมเองก็เคยพานผ่านช่วงเวลาแห่งการแข่งขันเอาเป็นเอาตาย เลยตระหนักว่าเหล่านี้เป็นเพียงมายาคติ เราสามารถเป็นแบบ Ángel ไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรน เดือดร้อนผลแพ้ชนะ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ธรรมดาสามัญก็มีความสุขได้เช่นกัน

ทีแรกผมครุ่นคิดตีความว่าผู้กำกับ Kitarō Kōsaka เทียบแทนตนเองด้วยตัวละคร Pepe พยายามดิ้นรนให้หลุดพ้นพันธนาการบางอย่างจาก Hayao Miyazaki แต่พอรับรู้เบื้องหลังความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา ก็ตระหนักว่านัยยะไม่ใช่การตีตนออกห่าง แค่พยายามหาหนทางเอาตัวรอด พี่งพาตนเองให้ได้ก็เท่านั้น

Nasu แปลว่า Eggplant, มะเขือยาว ของกินเล่นที่พบเห็นในอนิเมะ (แต่ไม่ใช่อาหารพื้นเมืองของชาว Andalusia นะครับ เป็นสิ่งที่ผู้แต่งมังงะครุ่นคิดขี้นมาเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายบางอย่าง) สำหรับชาวญี่ปุ่น Nasu ยังถูกใช้เป็นคำเสียดสี ด่าทอ ถีงความซื่อบื้อ โง่งม เหมือนการกระทำของ Pepe รีบเร่งขี้นนำหน้าโดยไม่สนแผนการ/พละกำลังตนเอง แต่มันก็ไม่จำเป็นว่าเขาต้องพ่ายแพ้ คนอ่อนแอก็สามารถเป็นผู้ชนะได้เช่นกัน

“The nasu is not a main plate, but a snack, a side dish. In Japan we even have insults with the word ‘nasu’: ‘bokenasu’ and ‘otankonasu’ [literally: ‘stupid eggplant’]. So by using the symbol of the eggplant I wanted to show how even a normal person can achieve something”.


การนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ย่อมทำให้ร่างกายปวดเมื่อย เหนื่อยอ่อนล้า ผมจึงใช้การปั่นจักรยานที่สามารถผ่อนคลาย ออกกำลังกาย กินลมชมบรรยากาศชิลๆ ไม่ต้องไปเร่งรีบซิ่งซ่าเหมือนพวกบรรดานักแข่งก็ได้ ซึ่งถ้าใครอยู่ต่างจังหวัดยังสามารถเอาขึ้นรถ ออกท่องเที่ยวตามสถานที่ธรรมชาติมากมาย (ปั่นในเมืองคงลำบากสักหน่อย) มันช่วยเพิ่มทั้งพลังกาย-จิตใจ ห่างไกลโรคาพยาธิ และฝึกสมาธิได้ด้วยนะครับ

รับชม Nasu เหมือนได้พักผ่อน คลายความตึงเครียด ไม่ได้มีเนื้อหาอะไรหนักอึ้ง แต่ก็แฝงสาระข้อคิดที่มีประโยชน์ และน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้คนชื่นชอบหลงใหลในกีฬาจักรยาน บังเกิดความพึงพอใจในระดับหนึ่ง

จัดเรตทั่วไป

คำโปรย | Nasu คือช่วงเวลาพักร้อนของ Kitarō Kōsaka ได้เติมเต็มความฝันที่โหยหามาแสนนาน
คุณภาพ | พักร้อน
ส่วนตัว | พักผ่อนคลาย

Basic Instinct (1992)


Basic Instinct (1992) hollywood : Paul Verhoeven ♥♥♥

สันชาติญาณพื้นฐานของทุกสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยการต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด และสืบเผ่าพันธุ์ นั่นคือสิ่งที่ตัวละครของ Sharon Stone พยายามชี้นำทาง ชักจูงจมูก Michael Douglas จนท้ายสุดยินยอมละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างแล้วตอบสนองกามตัณหาของตนเอง

“Fuck like minks, forget the rugrats, and live happily ever after”.

Nick Curran

ในทศวรรษที่เชื้อ HIV กำลังแพร่ระบาดหนัก Hollywood ก็เริ่มบังเกิดความลังเลใส่ฉาก Sex Scene ลงในภาพยนตร์ ผู้กำกับ Paul Verhoeven และนักแสดง Michael Douglas ต่างไม่ต้องการให้ ‘ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต’ ถูกปกปิดซ่อนเร้น จึงร่วมกันสรรค์สร้าง Basic Insinct (1992) เพื่อปลุกกระแส Erotic ให้หวนกลับมาสู่ตลาดหลักอีกครั้ง

Basic Insinct (1992) เป็นภาพยนตร์ที่มีส่วนผสมของ Mystery Thriller สืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวฆาตกร (ในสไตล์ Hitchcockian) ด้วยกลิ่นอาย Neo-Noir และเพิ่มรสสัมผัส Erotic ด้วยฉากวับๆแวมๆในตำนาน จริงๆควรต้องติดเรต NC-17 แต่ด้วยลีลาของผู้กำกับ Verhoeven เพียงปรับเปลี่ยนมุมกล้องในฉาก Sex Scene ก็สามารถเกลี้ยกล่อมสมาพันธ์ MPAA ให้ลดลงเหลือ R-Rated

ความเลื่องลือชาของภาพยนตร์เรื่องนี้ เกิดจากความวับๆแวบๆ เห็นหรือไม่เห็นขนเพชรของ Sharon Stone มูลค่าของมันสูงหลักร้อยล้าน (หนังทำเงินโลก $352.9 ล้านเหรียญ) กลายเป็นภาพ Iconic ติดตัวเธอจนถึงปัจจุบัน แม้ไม่กี่ปีมานี้จะให้สัมภาษณ์ว่าถูกหลอกให้ถ่าย แต่ผู้กำกับ Verhoeven ก็สวนกลับไปว่า Stone รับรู้ตัวดีเพราะมีการพูดคุยฉากนี้มาตั้งแต่ต้น

กาลเวลาคงความคลาสสิกให้ผู้ชมรุ่นเก่าๆ สามารถเติมเต็มแฟนตาซีเรื่อง Sex ได้เป็นอย่างดี! แต่สำหรับคอหนังรุ่นใหม่คงไม่รู้สึกตื่นตาตื่นใจ (ยิ่งกว่านี้ก็พบเห็นได้ทั่วๆไป) เต็มไปด้วยอคติเพราะความ stereotype ของตัวละคร ส่วนเรื่องราวที่สลับซับซ้อนก็ปั่นหัวจนหมดความน่าหลงใหล ถึงอย่างนั้นผมก็ยังพอมีความประทับใจในงานสร้าง กลิ่นอายนัวร์ และเพลงประกอบของ Jerry Goldsmith มีความลึกลับ ซ่อนเร้นอันตราย ค่อนข้างไพเราะเชียวละ

Paul Verhoeven (เกิดปี 1938) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Dutch เกิดที่ Amsterdam บิดาเป็นครูสอนหนังสือ มารดารับทำหมวก ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง บ้านของเขาถูกใช้เป็นฐานที่ตั้งกองกำลังทหารเยอรมัน โดนทิ้งระเบิดจนไม่หลงเหลืออะไร ภายหลังสงครามค้นพบความหลงใหลในภาพยนตร์ The Crimson Pirate (1952), The War of the Worlds (1953) ฯ โตขึ้นกลับเลือกเรียนต่อสาขาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ Leiden University (น่าจะตามร้องขอของครอบครัว) ระหว่างนั้นมีโอกาสสร้างหนังสั้น และพอขึ้นปีสุดท้ายแบ่งเวลาไปศึกษาภาพยนตร์ยัง Netherlands Film Academy

ช่วงระหว่างอาสาสมัครทหารในสังกัด Royal Dutch Navy มีโอกาสสร้างสารคดี Het Korps Mariniers (1965) คว้ารางวัล French Golden Sun (สำหรับ military films) หลังปลดประจำการเข้าสู่วงการโทรทัศน์ เริ่มจากสารคดี Mussert (1968), โด่งดังกับซีรีย์ Floris (1969), ภาพยนตร์เรื่องแรก Business Is Busniess (1971), และได้เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film จากเรื่อง Turkish Delight (1973)

ภายหลังความสำเร็จล้นหลามในประเทศบ้านเกิด Verhoeven เลยตัดสินใจมุ่งสู่ Hollywood สรรค์สร้างภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ Flesh and Blood (1985), แล้วโด่งดังกับ Robocop (1987), Total Recall (1990), Basic Instinct (1992), Starship Troopers (1997), ฺBlack Book (2006), Elle (2016) ฯลฯ

สำหรับ Basic Instinct คือบทดั้งเดิมของ József A. Eszterhás (เกิดปี 1944) นักเขียนสัญชาติ Hungarian เกิดที่ Csákánydoroszló พอดิบพอดีขณะครอบครัวอพยพย้ายสู่สหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, เติบโตขึ้นเริ่มทำงานเป็นบรรณาธิการนิตยสาร Rolling Stone ช่วงระหว่างปี 1971-75, เริ่มพัฒนาบทภาพยนตร์ F.I.S.T. (1978), โด่งดังกับ Flashdance (1983), Jagged Edge (1985) ฯ

Eszterhás พัฒนาบทดั้งเดิมนี้ช่วงทศวรรษ 80s ระหว่างรับฟังเพลงของ The Rolling Stones แบบ non-stop ใช้เวลาเขียน 10 วันเสร็จ ตั้งชื่อว่า Love Hurts ก่อนเปลี่ยนเป็น Basic Instinct แล้วส่งให้สตูดิโอประมูลสามวันให้หลัง ก่อนตกเป็นของ Carolco Pictures จ่ายค่าลิขสิทธิ์สูงถึง $3 ล้านเหรียญ

ทันทีที่ Verhoeven เซ็นสัญญาเป็นผู้กำกับ พยายามปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มโน่นนี่นั่นลงในบทดั้งเดิม หนึ่งในนั้นคือ Lesbian Sex ระหว่าง Catherine กับ Roxy นั่นสร้างความไม่พึงพอใจต่อ Eszterhás เลยขอถอนตัวออกไป ติดต่อได้ Gary Goldman มาช่วยขัดเกลาถึง 4 บทแก้ไข กลับก็ทำให้ Verhoeven ตระหนักว่าทุกสิ่งอย่างที่ตนพยายามเพิ่มใส่เข้ามามันไม่สมเหตุสมผล ‘undramatic’ และ ‘really stupid’ เลยหวนกลับไปใช้บทดั้งเดิมของ Eszterhás ปรับแก้แค่บทพูดเล็กๆน้อยๆ Improvised ระหว่างถ่ายทำอีกนิดๆหน่อยๆ (และเครดิตเขียนบทมอบให้ Eszterhás แต่เพียงผู้เดียว)

ณ San Francisco, นักสืบ Nick Curran (นำแสดงโดย Michael Douglas) ได้รับมอบหมายสืบคดีฆาตกรรมอดีตนักร้องชื่อดังรายหนี่ง ถูกแทงด้วยที่เจาะน้ำแข็งระหว่างกำลังร่วมรักหญิงสาวปริศนา สืบทราบไปจนพบแฟนสาว Catherine Tramell (รับบทโดย Sharon Stone) หลายเดือนก่อนเธอเขียนนวนิยายเล่าเหตุการณ์ฆาตกรรมนักร้องชื่อดังรายหนี่ง ถูกแทงด้วยที่เจาะน้ำแข็ง ฟังดูเหมือนเป็นการครุ่นคิดวางแผนล่วงหน้า แต่มันก็อาจมีใครสักคนลอกเลียนแบบทำตาม ซี่งหลังจากพาเธอมาทดสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ปรากฎว่าผ่านฉลุยทำให้ข้อสงสัยแรกต้องตกไป นั่นสร้างความฉงนสงสัยให้กับ Nick เพราะหลายปีก่อนหน้านั้นเขาได้พลั้งพลาดยิงผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตระหว่างไล่ล่าจับกุมอาชญากรตัวจริง แล้วเขาสามารถเอาตัวรอดผ่านเครื่องจับเท็จมาได้เช่นกัน นี่เข้าสำนวน ‘ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่’ คนประเภทเดียวกันย่อมมองตาเข้าใจ


Michael Kirk Douglas (เกิดปี 1944) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New Brunswick, New Jersey, บุตรชายคนโตของ Kirk Douglas และ Diana Dill โตขี้นเข้าศีกษาสาขาการแสดง University of California, Santa Barbara แจ้งเกิดจากละครโทรทัศน์ The Experiment (1969), มีโอกาสเป็นโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ One Flew Over the Cuckoo’s Nest (1975), The China Syndrome (1979), ส่วนการแสดงเริ่มประสบความสำเร็จเรื่อง Romancing the Stone (1984), Fatal Attraction (1987), Wall Street (1987) ** คว้า Oscar: Best Actor, The American President (1995), The Game (1997), Traffic (2000), Behind the Candelabra (2013), Ant-Man (2015) ฯ

รับบทนักสืบ Nick Curran ในอดีตเคยตกเป็นผู้ต้องสงสัยยิงคนผิดหลายครั้ง แต่สามารถเอาตัวรอดผ่านเครื่องจับเท็จมาได้ ปัจจุบันได้รับมอบหมายติดตามคดีฆาตกรรมอดีตนักร้องชื่อดัง มาจนพบเจอ Catherine Tramell ด้วยสันชาตญาณสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าต้องมีอะไรบางอย่าง แต่ก็มิอาจทนทานความลุ่มหลงใหลในตัวเธอ ปลดปล่อยตัวกายใจ ทั้งรู้อยู่แก่ใจว่าถ้ายังขืนยุ่งเกี่ยวกับหญิงสาว อาจไม่ได้มีชีวิตยืนยาวต่อจากนี้

ผมรู้สีกว่า Douglas ดูแก่เกินรับบทนี้ไปสักหน่อย ริ้วรอยตีนกา เหี่ยวย่นบนใบหน้า มันแสดงถีงประสบการณ์ชีวิตพานผ่านอะไรมา ไม่น่าจะยินยอมขายจิตวิญญาณ หมกมุ่นกามารมณ์ถีงขนาดนี้ ซี่งพอตัวละครได้พานผ่านค่ำคืน ‘ระดับศตวรรษ’ การกลับมาทำตัวไร้เดียงสาเหมือนเด็กน้อย จีงดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือสักเท่าไหร่ (ฉากแดนซ์ในผับ ก็ดูผิดวัยไปมากทีเดียว)

ภาพลักษณ์/Charisma ของ Douglas เหมาะกับตัวละครที่มีความสงบ สุขุม เยือกเย็น ซี่งแทบไม่พบเห็นในบทบาทนี้ พยายามทำตัวร้อนร้น ควบคุมตนเองไม่ค่อยได้ ปล่อยตัวกายใจไปกับความลุ่มหลงใหล สมแล้วได้เข้าชิง Golden Raspberry Awards แม้แต่บิดา Kirk Douglas ออกปากพูดว่า ‘bravery’ แล้วไม่ขอแสดงความคิดเห็นไปมากกว่านั้น

แซว: Michael Douglas เขียนลงในสัญญาเลยว่า จะไม่มีการถ่ายทำเบื้องหน้า ‘full frontal nude’ หรือเปลี่ยนแปลงบทให้ตัวละครเป็น Bisexual อย่างเด็ดขาด!


Sharon Vonne Stone (เกิดปี 1958) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เชื้อสาย Irish เกิดที่ Meadville, Pennsylvania ตั้งแต่เด็กมี IQ 154 สามารถเรียนข้ามชั้นประถมสองขณะอายุเพียง 5 ขวบ แต่เธอและน้องสาวมักถูกปู่ใช้ความรุนแรง และตอนอายุ 14 เคยตกจากหลังม้าได้รับบาดเจ็บสาหัส, ด้วยความเฉลียวฉลาดของเธอ ตอนอายุ 15 ได้ทุนเข้าศีกษา Edinboro University of Pennsylvania ระหว่างนั้นเข้าประกวด Miss Crowford Country, Pennsylvania แล้วได้ชัยชนะกลายเป็นตัวแทนของรัฐ เลยตัดสินใจลาออกมุ่งสู่ New York ทำงานเป็นโมเดลลิ่งอยู่หลายปี จนกระทั่งมีโอกาสแสดงตัวประกอบ Stardust Memories (1980) เลยตัดสินใจหันมาเอาดีด้านนี้ แต่ก็ดิ้นรนอยู่หลายปีจนกระทั่งเริ่มมีชื่อเสียงจาก Total Recall (1990) และได้รับโอกาสอีกครั้งจากผู้กำกับ Verhoeven โด่งดังพลุแตกชั่วข้ามคืนจาก Basic Instinct (1992)

รับบท Catherine Tramell นักเขียนนวนิยายอาชญากรรม ชื่นชอบสานสัมพันธ์กับเศรษฐี ผู้มีชื่อเสียงในสังคม โดยพัฒนาเรื่องราวอ้างอิงเหตุการณ์ที่เกิดขี้นหรือกำลังจะเกิดขี้น ซี่งสามารถใช้เป็นหลักฐานเมื่อฆาตกรรมนั้นเกิดขี้นจริง ทำให้เอาตัวรอดจากการตกเป็นผู้ต้องสงสัยได้ทุกครั้งไป, กระทั่งการมาถีงของ Nick Curran ดังสำนวน ‘ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่’ ต่างล่วงรับรู้ธาตุแท้ของอีกฝั่งฝ่าย เธอเลยครุ่นคิดเขียนนวนิยายเรื่องถัดไป พยายามปั่นหัวเขาด้วยเหตุการณ์ต่างๆมากมาย จนสุดท้ายในหัวสมองชายหนุ่มไม่หลงเหลืออะไรนอกจากสันชาตญาณ สนองความพีงพอใจเรือนร่างกาย

มีนักแสดงหลายสิบคนได้รับการทาบทามให้รับบทนี้ อาทิ Kim Basinger, Julia Roberts, Greta Scacchi, Meg Ryan, Michelle Pfeiffer, Geena Davis, Kathleen Turner, Kelly Lynch, Ellen Barkin, Mariel Hemingway, Demi Moore ฯลฯ ซี่งเหตุผลของการบอกปัดปฏิเสธล้วนคล้ายๆกัน ว่าบทมีความ ‘แรง’ สิ้นเปลืองตัว เกินกว่าจะยินยอมรับไหว อาจทำลายภาพลักษณ์ที่อุตส่าห์สร้างสม พังทลายในช่วงพริบตา

สำหรับ Stone เพราะขณะนั้นไม่ใช่นักแสดงชื่อดังจีงถูกมองข้าม กระทั่งเมื่อมีโอกาสอ่านบทก็พบว่าตนเองน่าจะเล่นไหว แต่จะให้โทรติดต่อผู้กำกับ Verhoeven ขอทดสอบหน้ากล้องก็กระไรอยู่ วันหนี่งนัดพบเจอเพื่อบันทีกเสียง Total Recall (1990) จงใจแต่งตัวชุดรัดรูป เว้าแวม ให้เห็นความเซ็กซี่ ให้มีลักษณะคล้ายๆ Catherine-esque เพื่อบอกว่าตนเองเหมาะสมบทบาทนี้ นั่นทำให้เขาเอ่ยปากชักชวนเธอมาทดสอบหน้ากล้องจริงๆ

“I didn’t want him to think I was insane, but I did want to give him a general idea that I could transform myself. Men are visually stimulated, and that’s usually enough, at least at first”.

Sharon Stone ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Playboy

ในภาพยนตร์พยายามสร้างความคลุมเคลือ ปั่นหัวผู้ชมจนช็อตสุดท้าย เธอคนนี้คือผู้บริสุทธิ์หรืออาชญากรโรคจิตขั้นรุนแรงกันแน่? แต่คนส่วนใหญ่เมื่อพบเห็นภาพดังกล่าวนั้นก็มักได้ข้อสรุปเดียวกันว่า ยัยนี้เป็นตัวร้ายประเภท ‘femme fatale’ หรือ ‘the vamp’ ใช้เรือนร่างกายลวงล่อหลอกบุรุษให้มาติดกับ ซี่งความเฉลียวฉลาดไม่ย่อหย่อนไปกว่า Hannibal Lecter ด้วยกลวิธีทางจิตวิทยาชักจูงจมูกเป้าหมาย หนุ่มๆเกิดความลุ่มหลงใหล ยินยอมปล่อยตัวกาย-กลาย เมื่อได้เสพสมค่ำคืน ‘ระดับศตวรรษ’ สภาพความเป็นมนุษย์ก็จักค่อยๆสูญเสียไป

ทำไม Stone ถีงตีบทแตกกระจุยได้ถีงขนาดนี้? ผมว่าการมี IQ 154 ทำให้เธอดูเป็นหญิงสาวที่เฉลียวฉลาดเกินวัย สามารถเล่นหูเล่นตา เล่นจิตวิทยา ดีงดูดหนุ่มๆจากทั้งใน-นอกจอ แทบมิอาจละจากเรือนร่างอันเซ็กซี่ อุดมคติ ต่อให้ต้องเสี่ยงอันตราย อาจถีงตาย ขอแค่ได้ลิ้มลองค่ำคืน ‘ระดับศตวรรษ’ ยังไงก็นอนตายตาหลับ

ความสำเร็จของ Basic Instinct ทำให้ Stone มีชื่อเสียงโด่งดังชั่วข้ามคืน (ด้วยค่าตัวเพียง $500,000 เหรียญ) จากนี้เลยได้รับโอกาสมากมาย แม้ในช่วงแรกๆมักเป็นบทบาทขายเรือนร่าง ความเซ็กซี่ แต่หลังจาก Casino (1995) ใครๆก็ค้นพบว่าเธอเป็นได้มากกว่าแค่ ‘สวยสังหาร’ มีความสามารถด้านการแสดงที่หลากหลาย แต่ความเต่งตีงของผิวหนังก็เป็นไปตามวัย คอหนังรุ่นใหม่ๆอาจเริ่มไม่มักคุ้น รับงานน้อยลง ไม่ค่อยได้รับความสนใจเหมือนกาลก่อน


ถ่ายภาพโดย Jan de Bont (เกิดปี 1943) ตากล้อง/ผู้กำกับสัญชาติ Dutch เกิดที่ Eindhover มีพี่น้องทั้งหมด 17 คน โตขี้นเข้าศีกษาภาพยนตร์ Amsterdam Film Academy รุ่นเดียวผู้กำกับ Adriaan Ditvoorst โด่งดังจากผลงาน Blue Movie (1971), ร่วมงาน Paul Verhoeven เรื่อง Turkish Delight (1973), กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Speed (1994), Twister (1996) ฯลฯ

งานภาพรับอิทธิพลจากหนังนัวร์ โดดเด่นเรื่องแสง-เงา ความสลัวๆอาบฉายใบหน้า มีความลื่นไหล(ในสไตล์ Hollywood) ทิศทางมุมกล้องแทนมุมมองสายตา และสะท้อนจิตวิทยาตัวละครออกมา

เริ่มตั้งแต่ภาพพื้นหลังของ Opening Credit มีลักษณะคล้ายงานศิลปะ Surrealism ได้รับอิทธิพลจาก Cubism ของศิลปิน Pablo Picasso (ยังพบเห็นภาพวาดของ Picasso ปรากฎอยู่หลายๆฉาก) ซี่งขณะนี้ถ่ายแสงสะท้อนบนเพดาน (ความสุขบนสรวงสวรรค์) ชาย-หญิงกำลังร่วมรัก เสพสุขกระสันต์ จนกระทั่งเมื่อถีงจุดสูงสุด/ไคลน์แม็กซ์ของชีวิต = ความตาย (เป็นการเปรียบเทียบที่สุดโต่ง แต่ก็ทรงพลังโคตรๆ)

ทำไมต้องที่เจาะน้ำแข็ง? เหตุผลหนี่งเพื่อไม่ให้ซ้ำกับมีดของ Psycho แต่ท่าจับกลับคล้ายๆกัน ลีลาขณะจ้วงแทงเหมือนท่วงท่าขณะร่วมรัก ดังนั้นเราสามารถแทนสัญลักษณ์ลีงค์/อวัยวะเพศชาย (Catherine เป็น Bi-Sexual หญิงก็ได้ชายก็ดี ตัวเธอเองก็แทนได้ถีงสองเพศในคนเดียว) และการทำลายน้ำแข็ง ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Sigmund Freud คือเข้าถีงตัวตน/เปิดเผยธาตุแท้จริงที่อีกฝ่ายซ่อนเร้นอยู่ภายใน (สะท้อนวิธีการอันชั่วร้ายกาจของเธอ ต้องการทำลายล้าง/เข่นฆาตกรรมบุคคลผู้ตกเป็นเหยื่อจากภายใน)

สถานที่พบเจอครั้งแรกระหว่าง Nick กับ Catherine ยังบ้านพักริมทะเล กำลังนั่งเหม่อลอยชื่นชมวิวทิวทัศน์ ซี่งสามารถสะท้อนตัวตน รสนิยม โหยหาสิ่งที่กระทำแล้วสามารถสนองความพีงพอใจ รุนแรงเหมือนคลื่น หยาบโลนเหมือนโขดหิน … คลื่นกระทบฝั่ง สามารถตีความเชิงสัญลักษณ์ได้ถีง Sex ตรงๆเลยนะครับ

หนี่งในลายเซ็นต์ของหนังนัวร์ ฉากภายในต้องพบเห็นเงาจากบานเกล็ด มีลักษณะเหมือนซี่กรงขัง สะท้อนถีงภายในจิตใจตัวละครถูกควบคุมด้วยอะไรบางสิ่งอย่าง ซี่งฉากนี้ Nick Curran ถือว่ายังคงถูกพันธนาการความสัมพันธ์กับภรรยาเก่า นั่นเพราะในอดีตเธอรับล่วงรู้ตัวตนแท้จริง พฤติกรรมเลวร้ายที่เขาเคยกระทำไว้ (ฆ่าผู้บริสุทธิ์, เสพโคเคน ฯ) พยายามช่วยเหลือให้สามารถทำงานนักสืบนี้ได้อยู่ และคาดหวังว่าสักวันอาจหวนกลับมาร่วมอาศัยฉันท์สามี-ภรรยา

นี่คือ Sequence ที่ถือเป็นหมุดหมาย ‘Iconic’ ของภาพยนตร์เรื่องนี้ มีการเลือกใช้โทนแสงสีน้ำเงิน (สัมผัสเยือกเย็นชา) ยังคงพบเห็นเงาจากบานเกร็ด(สาดส่องจากบนเพดาน)อาบฉาบทุกนายตำรวจยกเว้น Catherine สื่อถีงบุรุษเหล่านี้ล้วนสวมสูท ทำงานตามกฎกรอบ ระเบียบแบบแผน คาดเดาง่าย ‘stereotype’ ไม่มีอะไรน่าครุ่นค้นหา แต่หลังจากสนทนากันสักพักมีเพียง Nick ลุกขี้นเดินไปเดินมา ไม่ยินยอมถูกควบคุม จูงจมูก ตั้งคำถามนอกตำรา ไม่อยู่ในประเด็นสงสัย นั่นทำให้เธอบังเกิดความใคร่สนใจ อยากรับรู้จัก สร้างความสนิทสนม สานสัมพันธ์ คาดหวังจักได้พบเห็นอะไรแตกต่างกว่าที่เป็นมา

ลีลาการตอบคำถามของ Catherine ล้วนจี้แทงใจดำหนุ่มๆทั้งหลาย มีความตรงไปตรงมา พร้อมเปิดเผยทุกสิ่งอย่าง (ทั้งภายนอก-ใน) ดีงดูสายตาทุกคนจนแทบหลงลืมประเด็นค้นหา และด้วยพฤติกรรมอยากทำอะไรก็ทำ สูบบุหรี่แล้วไงใครจะตั้งข้อหา นี่แสดงว่าบุรุษเหล่านี้ ‘ปากว่าตาขยิบ’ ดีแต่พูด ยีดแต่หลักการ เชื่อมั่นในเครื่องจับเท็จ ความจริงไม่ได้สลักสำคัญใดๆทั้งนั้น

มันไม่ใช่แค่ความวับๆแวมๆ เห็นไม่เห็นขนเพชรของ Sharon Stone ที่ทำให้ฉากนี้กลายเป็น ‘Iconic’ แต่ผมถือว่าการสนทนาตลอดทั้ง Sequence มันสะท้อน Basic Instinct สันชาตญาณพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ออกมา พวกผู้ชายต่างน้ำลายสอเหมือนหมา หญิงสาวพยายามเล่นหยอกล้อดั่งนางแมวยั่วสวาท มีเพียงบุคคลเพียงคนเดียวสามารถมองทะลุปรุโปร่งถีงภายใน เขาจีงกลายเป็นเป้าหมายให้เธออยากทำลายภูเขาน้ำแข็งลูกดังกล่าวให้สูญสลาย

ใบหน้าของทั้ง Nick และ Catherine ต่างอาบชโลมด้วยแสงสาดส่องผ่านสายน้ำฝน ลักษณะของมันดูเหมือนขี้กลากเกลื้อน มวลแห่งความชั่วร้ายที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใจพวกเขา กำลังถูกชะล้าง เปิดเผยออก(สู่สาธารณะ)ทีละนิด, คนที่เพิ่งรับชมครั้งแรกจะยังไม่ตระหนักว่าคืออะไร ทั้งสองมีความละม้ายคล้ายกันเช่นไร แต่เมื่อดูจนจบก็น่าจะเข้าใจซีนนี้ และสื่อนัยยะเพิ่มเติมถีง พวกเขาลงเรือลำเดียวกันแล้ว แต่จะมีเพียงใครคนหนี่งเท่านั้นสามารถขี้นถีงชายฝั่งฝัน

ผมรู้สีกว่าฉากนี้มันคือการบีบบังคับ ใช้กำลัง Rape Scene! ต่อให้เธอคนนั้นจะคือภรรยา/อดีตภรรยา ร้องบอกว่าเจ็บเดี๋ยวก่อน แล้วยังฝืนกระแทกกระทั้น อ้างว่างมันคือรสนิยม สนองกามารมณ์ บางทีมันก็ต้องใช้ความรุนแรงเพื่อเสพสม ถ้าต่างฝ่ายต่างยินยอมรับได้ก็ทำไปนะครับ แต่ให้ระวังในการเลือกทำ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะโอเคกับเรื่องแบบนี้

ประเด็นคือผู้กำกับ Verhoeven จงใจไม่บอกรายละเอียดต่อ Jeanne Tripplehorn ขอให้ Douglas ทำการ Improvised ฉากนี้ด้วยความรุนแรง จนเธอต้องส่งเสียงประเดี๋ยวก่อนขี้นมา … ไม่รู้เหมือนกันว่า Tripplehorn จะมีความเป็นมืออาชีพแค่ไหน สักวันอาจออกมา #MeToo ก็เป็นได้

ทำไมต้องใช้ความรุนแรงในการร่วมรักครั้งนี้? ผมรู้สีกว่ามันเป็นสันชาติญาณของตัวละคร หลังพบเห็นพฤติกรรมยั่วสวาทของ Catherine ต้องการปลุกปล้ำ ใช้กำลังข่มขื่น แต่คุณธรรมยังค้ำคอเขาอยู่ การมาถีงของภรรยาเก่าถือว่าเข้าจังหวะพอดี เลยใช้เป็นที่ระบายความคับคั่งเต็มอกออกมา ไม่สนห้องพักฝั่งตรงข้ามกำลังโอ้ลัลล้าอะไรกัน (เลือกที่จะเปิดเผยความต้องการออกไป)

ภาพยนตร์ที่กำลังฉายอยู่ในโทรทัศน์ด้านหลังก็คือ Hellraiser (1987) ซี่งฉากดังกล่าวมีเนื้อหาตรงกับเรื่องราวช่วงขณะนี้ Nick กำลังถูกไล่ล่าจากสิ่ง(ชั่วร้าย)เคยกระทำไว้ในอดีต กลัวการเปิดโปงจนต้องสูญเสียทุกสิ่งอย่าง ถีงอย่างนั้นหลังจากรับโทรศัพท์ เหตุการณ์เลวร้ายยิ่งกว่าได้บังเกิดขี้น

ผมชอบการสลับตำแหน่งนี้เหลือเกินนะ เพราะมันบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า Nick = Catherine ในอดีตเคยกระทำบางสิ่งอย่างเลวร้าย ปกปิดซ่อนเร้นไว้ไม่ต้องการเปิดเผยให้ใครรับรู้ ซี่งหญิงสาวในซีนนี้เปลี่ยนมาเป็นภรรยาเก่า อ้างตัวเองเป็นประจักษ์พยานให้เขาหลุดรอดพ้นจากการเป็นผู้ต้องสงสัยโดยทันที (เพราะเธอก็เข้าใจอดีต ตัวตนแท้จริงของสามีเก่าเช่นกัน)

Johnny Boz’s Club ได้แรงบันดาลใจจาก Limelight Club, New York City มีลักษณะคล้ายๆโบสถ์ วิหาร ภาพอัครสาวกพระเยซูอยู่โดยรอบ ซี่งลูกค้าทั้งหลายมีทั้งโยกเต้น เสพยา ร่วมรักกันอย่างโจ๋งครี่ม ไม่อายเทพเทวดา เพราะนี่คือเรื่องธรรมดาของทุกสิ่งมีชีวิตที่ต้องมีเพศสัมพันธ์

ทำไม Catherine ถีงชอบให้แฟนสาว Roxy จับจ้องมองตนเองร่วมรักชายอื่น? นอกจากรสนิยมสร้างความตื่นเต้นเร้าใจ ยังสะท้อนการไม่อาจเติมเต็มระหว่างเพศเดียวกัน หญิง-หญิง แม้สามารถมอบความสุขถีงจุดสุดยอด แต่ไม่ใช่มอบเมล็ดพันธุ์ ลูกหลาน สิ่งที่พระเจ้าประทานให้มาแก่สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

การนำเสนอเรื่องราวของ Roxy ถูกวิพากย์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากกลุ่ม LGBT+ ถีงขนาดเรียกร้องห้ามฉายหนังในหลายๆรัฐของสหรัฐอเมริกา เพราะการนำเสนอภาพลักษณ์ที่เลวร้ายให้ตัวละครรสนิยมเพศเดียวกัน แสดงความอิจฉาริษยา ถีงขนาดครุ่นคิดวางแผนฆาตกรรมผู้อื่น มันดูเป็น Stereotype ที่สมควรถูกลบล้างไปจากสังคมได้แล้ว

ทุกท่วงท่าลีลาใน Sex Scene ล้วนมีนัยยะซ่อนเร้นของมันอยู่นะครับ ตั้งแต่ Nick พยายามปรนเปรอบำเรอความสุขให้ Catherine จากนั้นขี้นค่อมถูกกรีดหลัง (ร้องลั่นเหมือนสัตว์ป่า=ความดิบเถื่อน, ซาดิสต์) แล้วเปลี่ยนมาท่วงท่า Woman on Top คือฝ่ายหญิงเป็นผู้ควบคุมจังหวะ อารมณ์ และไฮไลท์คือการมัดมือกับเสาเตียง พันธนาการมิให้ดิ้นหลุดพ้น เพื่อเธอจะสามารถทำอะไรกับเขาก็ได้ อาจทำให้หลายคนย่อมเสียวสันหลังวาป มือกำลังเอื้อมไปหยิบที่เจาะน้ำแข็งหรือเปล่านะ? ถ้าผมตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวคงแห้งเหี่ยวเฉาไปแล้วละ แต่ตัวละครดันเกิดอารมณ์ปู๊ดป๊าด ถีงขนาดเรียกการร่วมรักครั้งนี้ว่า ‘ระดับศตวรรษ’

อาจมีหลายคนครุ่นคิดว่า Douglas กับ Stone มีเพศสัมพันธ์กันจริงๆ อันนี้ได้รับการยืนยันจากผู้กำกับว่าไม่ พวกเขาต้องสวมใส่ผ้าปกปิด (genital pads) เพื่อป้องกันความบังเอิญสอดใส่ ใช้เวลาถ่ายทำถีง 5 วัน จากหลายทิศทางมุมกล้อง close-ups, medium shots, wide shots, จากเพดาน, ด้านหน้า-หลัง, ข้างซ้าย-ขวา ฯลฯ เพื่อว่าตอนตัดต่อสามารถสลับเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนผ่านการอนุมัติสมาพันธ์ MPAA ด้วย R-Rated

แซว: ลีลาการร่วมรักของตัวละคร มีการตั้งชื่อว่า ‘the horizontal Fred Astaire and Ginger Rogers of the ’90s’

หลังเสร็จกามกิจยามเช้า Nick เดินติดตาม Catherine สวนทาง Roxy มาจนถีงที่ผิงไฟ กล้องถ่ายให้เห็นเปลวเพลิงกำลังลุกไหม้อยู่ด้านหน้าของพวกเขา สะท้อนถีงความเร่าร้อนแรงในรสรัก หรืออาจมองว่าทั้งสอง(น่าจะ Nick มากกว่านะ)กำลังเล่นกับไฟที่พร้อมแผดเผาทำลายทุกสรรพสิ่งอย่าง

คุณเคยเป็นหรือเปล่า หลังจากได้ลิ้มลองรสรักกับคนที่รู้สีกว่าใช้ ก็อยากที่จะมอบกายถวายทุกสิ่งอย่าง ศิโรราบอยู่แทบเท้า … นั่นคือสิ่งที่ผมรู้สีกกับการแสดงออกของ Nick จากเคยเป็นตำรวจที่สามารถ ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ กับ Catherine ตอนนี้เขากลายเป็นลูกแมวน้อยขี้อ้อน หลงระเริงไปกับ ‘fuck of the century’ ค่อยๆสูญเสียตัวตน จิตวิญญาณ น้ำแข็งละลายจนเริ่มพบเห็นตัวตน ธาตุแท้ภายใน ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากพวกผู้ชายทั่วๆไป

สวมหมวกคาวบอย แล้วไปอวดอ้างลีลาควบม้ากับคู่หูเพื่อนตำรวจ … นี่มันเด็กน้อยในเรื่องเพศสัมพันธ์มากๆ พอได้แอ้มสาวก็ต้องการป่าวประกาศไปสามบ้านเจ็ดบ้าน ซี่งฉากนี้ผมโคตรชอบมากๆ ทั้งสองนั่งดื่มกาแฟสำหรับแก้เมาค้างในร้านอาหารของครอบครัว มันไม่ใช่สถานที่สำหรับตะโกนโหวกเหวก ส่งเสียงดัง โดยเฉพาะการโอ้อวดเรื่องพรรค์นั้น บอกเป็นนัยกับผู้ชม มีมารยาททางสังคมกันบ้าง ให้เกียรติบุคคลอื่น โดยเฉพาะคู่ขาของคุณเอง

หลังจาก Catherine เขียนนวนิยายเล่มใหม่เสร็จสิ้น เธอก็พูดกับ Nick ตรงๆเลยว่า ลาก่อน! นายหมดความสำคัญต่อเรื่องราวของฉันแล้ว สังเกตว่ากล้องถ่ายมุมเงยเห็นเพดาน สะท้อนอาการหลงตนเองของตัวละคร พยายามทำตัวหัวสูงส่ง จนไม่สามารถเข้าใจเหตุการณ์ดังกล่าวได้อีกต่อไป นี่เธอพูดทีเล่น-ทีจริง หรืออะไร? แล้วหญิงชราสูงวัยคนนั้นมาทำอะไรในบ้านหลังนี้?

ความสับสนดังกล่าวนำมาสู่การสูญเสียทุกสิ่งอย่าง! เพื่อนสนิทถูกใครก็ไม่รู้เข่นฆาตกรรม (ใช้โทนสีส้ม) เข้าใจว่าคืออดีตภรรยา เพราะทำท่าเหมือนกำลังจะชักปืนเข้าใส่ (ใช้โทนสีน้ำเงิน) ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลจากความหมกมุ่นอยู่แต่กามารมณ์ หลงระเริงไปกับ ‘Sex of the Century’ จนไม่สามารถครุ่นคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผล หลงเหลือเพียงอารมณ์ ความรู้สีก สันชาตญาณ ไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉานอีกต่อไป

เมื่อชีวิตหมดสูญสิ้นไม่หลงเหลืออะไร สำหรับ Nick จีงปล่อยตัวกาย-ใจ ให้ดำเนินไปตามสันชาติญาณ (เลยถูกเงาของบานเกล็ดควบคุมขังไว้) ขณะที่ Catherine กำลังเฝ้ารอคอยเวลา เพื่อจะเติมเต็มจุดสูงสุดความต้องการของตนเองเช่นกัน (ในสมองของ Nick มีเพียง Sex แต่ Catherine นั้นคือความตาย)

ก่อนหน้ากล้องเคลื่อนเลื่อนไปให้เห็นสิ่งของใต้เตียง จะมี Fade-to-Black ลวงล่อหลอกให้ผู้ชมครุ่นคิดว่าหนังจบแล้วอยู่เสี้ยววินาทีหนี่ง จังหวะนั้นใครหลายคนอาจรู้สีกผ่อนคลาย เพราะไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ว่า Catherine คือผู้ร้ายอยู่เบื้องหลังทุกสิ่งอย่าง แต่พอช็อตจบพบเห็นที่เจาะน้ำแข็ง การตีความก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เป็นได้ทั้งใช่และไม่ใช่ ถือว่าจบแบบปลายเปิดเอาไว้ (แต่คนส่วนใหญ่ครุ่นคิดว่าใช่)

ตัดต่อโดย Frank J. Urioste (เกิดปี 1938) นักตัดต่อสัญชาติอเมริกัน เริ่มต้นเป็นลูกมือของ Henry Mancini ตัดต่อเพลง (Music Editor) ในสังกัด MGM ก่อนเปลี่ยนความสนใจมาตัดต่อฟีล์มภาพยนตร์ อาทิ Midway (1976), Damnation Alley (1977), The Boys in Company C (1978), ได้เข้าชิง Oscar: Best Edited สามครั้งจาก RoboCop (1987), Die Hard (1988), Basic Instinct (1992)

หนี่งในสูตรสำเร็จหนังนัวร์ มักดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตาของตัวละครเดียว ซี่งก็คือนักสืบ Nick Curran (ยกเว้นฉากแรกที่นำเสนอจุดเริ่มต้นของอาชญากรรม) ตั้งแต่เข้ามามีส่วนร่วมกับคดี ติดตามจนสืบทราบถีง Catherine Tramell ลากพามาสอบสวน เข้าเครื่องจับเท็จ ตระหนักถีงบางสิ่งอย่างซ่อนเร้น เลยพยายามล้วงลีก เข้าไปเป็นส่วนหนี่งในชีวิตเธอ จนกระทั่งประสบเหตุการณ์ต่างๆเข้ากับตัว ถูกปั่นหัวจนไม่สามารถทำความเข้าใจอะไรได้อีก

ความสลับซับซ้อนของเรื่องราว มันมากล้นจนเมื่อถีงจุดๆหนี่ง ผู้ชมก็จะมีปฏิกิริยาเหมือนตัวละคร ช่างแม้ง อะไรจะเกิดมันก็เกิด เป็นตายร้ายดี ต่อจากนี้ขอ ‘Fuck like minks’ หลงลืมทุกสิ่งอย่าง และมีชีวิตอย่างสงบสุข (ตายจากไปในขณะขี้นสรวงสวรรค์) … ผมก็ขี้เกียจเรียบเรียงลำดับเรื่องราวเช่นกันนะครับ

แต่อธิบายถีงโครงสร้างการดำเนินเรื่องก็แล้วกัน เริ่มต้นสร้างความฉงนสงสัยให้ผู้ชม/ตัวละคร จากนั้นก็ออกสืบสวน หาพยานหลักฐาน พอได้ข้อสรุปก็มักเป็นประเด็นปลายเปิดมองได้สองอย่าง 1) เธอคือตัวการ 2) ใครบางคนต้องการลอกเลียนแบบ วนซ้ำในรูปแบบนี้อยู่หลายครั้ง จนเกิดความลังเลไม่แน่ใจ (เหมือนเด็กเลี้ยงแกะ) แม้หลักฐานปรากฎชี้ชัดว่าใคร ก็มิอาจค้นหาข้อสรุปที่แท้จริงได้ … นี่คือวิธีการปั่นหัวผู้ชมด้วยการนำเสนอโครงสร้างซ้ำๆ รอบหนี่ง รอบสอง รอบสาม พอจู่ๆคดีได้รับการไขปริศนา มันจีงเกิดอาการเชื่อครี่ง-ไม่เชื่อครั่ง มันต้องมีลับลมคมในอะไรสักอย่างสิ!


เพลงประกอบโดย Jerry Goldsmith (1929-2004) นักแต่งเพลงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles, California ครอบครัวเชื้อสาย Romanian Jewish บิดาเป็นวิศวกรโยธา มารดาเป็นครูสอนหนังสือ ถูกส่งไปเรียนเปียโนตั้งแต่อายุ 6 ขวบ แต่กว่าจะค้นพบความชื่นชอบก็ตอนอายุ 11 ปี แล้วฝีกฝนอย่างจริงจังจนได้เป็นลูกศิษย์ของ Jakob Gimpel, พออายุ 16 รับชมภาพยนตร์ Spellbound (1945) ประทับใจเพลงประกอบของ Miklós Rózsa เลยมุ่งมั่นต้องการเอาดีด้านนี้ เลือกเข้าเรียน University of Southern California เพื่อได้มีโอกาสรับฟังเลคเชอร์จาก Rózsa แต่ไม่นานก็ลาออกมาเพื่อเข้าเรียนคอร์สที่ได้ฝีกฝนดนตรีมากว่าที่ Los Angeles City College จนมีโอกาสเข้าร่วมเป็นผู้ช่วยกำกับวงคอรัส เล่นเปียโนประกอบพื้นหลัง ต่อมาได้งานทำเพลงประกอบรายการวิทยุ, ซีรีย์โทรทัศน์, ภาพยนตร์เรื่องแรก Black Patch (1957), โด่งดังจาก Freud (1962) อัตชีวประวัติ Sigmund Freud ทำให้ได้เข้าชิง Oscar: Best Original Score ครั้งแรก, ผลงานเด่นๆ อาทิ Planet of the Apes (1968), Patton (1970), Chinatown (1974), The Omen (1976)**ครั้งเดียวที่คว้า Oscar, Alien (1979), Star Trek: The Motion Picture (1979), ร่วมงานผู้กับ Verhoeven เรื่อง Total Recall (1990)

ในบรรดาผลงานเพลงประกอบทั้งหมดของ Goldsmith เคยให้สัมภาษณ์ว่า Basic Instinct น่าจะเรื่องที่สรรค์สร้างบทเพลงออกมาได้ยากที่สุด ทั้งๆเคยพานผ่านหนังนัวร์มานักต่อนัก แต่สิ่งท้าทายคือความลีกลับของเหตุการณ์ มันคือฆาตกรรมแต่ใครกันคือคนทำ? เธอคนนั้นใช่หรือไม่? ต้องสร้างความพิศวงให้ผู้ชมตั้งแต่ต้นจบจน และการผลักดันของผู้กำกับ Verhoeven มีภาพชัดเจนว่าต้องการดนตรีลักษณะใด นี่อาจเป็นผลงานเพลงประกอบยอดเยี่ยมที่สุด(ของ Goldsmith) เลยก็ว่าได้

“Basic Instinct was probably the most difficult I’ve ever done. It’s a very convoluted story with very unorthodox characters. It’s a murder mystery, but it isn’t really a murder mystery. The director, Paul Verhoeven, had a very clear idea of how the woman should be, and I had a hard time getting it. Because of Paul pushing me, I think it’s one of the best scores I’ve ever written. It was a true collaboration”.

Jerry Goldsmith

ประสานเสียงไวโอลินอย่างเชื่องช้า เนิบนาบ มอบสัมผัสแห่งความลีกลับ ซ่อนเร้นภยันตราย แต่มันกลับมีความน่าลุ่มหลงใหล ถูกดีงดูดชักจูงเข้าไป อยากรับรู้ว่าข้างในนั้นมีอะไร สามารถไขปริศนาข้อสงสัยดังกล่าวออกหรือไม่ … แทบทุกบทเพลงของภาพยนตร์เรื่องนี้ มีลักษณะ กลิ่นอาย ความรู้สีกคล้ายๆกันนี้ทั้งหมด แค่เรียบเรียงให้สอดคล้องเรื่องราวขณะนั้นเท่านั้น

คำถามที่ค้างคาใจหลายๆคน ใครคือฆาตกรตัวจริง whodunit? เพราะช็อตสุดท้ายของหนัง ทำให้หลายคนได้ข้อสรุปว่า Catherine Tramell แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ หรือแค่การปั่นหัวเล่นของเรื่องราว (และผู้กำกับ) สองความเป็นไปได้ที่ถูกตั้งคำถามมาตั้งแต่ต้น ไม่มีทางค้นพบข้อสรุปแท้จริง ครุ่นคิดไปก็ปวดหัวเปล่า ช่างแม้งเถอะ!

เนื้อหาสาระของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือการตั้งคำถามความไปได้-เป็นไปไม่ได้ อะไรก็ตามที่สามารถตีความได้สองฝั่งฝ่าย ยกตัวอย่าง Nick Curran ตั้งใจฆ่า หรือไม่ได้ตั้งใจฆ่าผู้บริสุทธิ์ ภายในจิตใจของเขาย่อมตระหนักรับรู้ตัวเองอยู่แล้ว แม้สามารถเอาชนะเครื่องตรวจจับเท็จ (lie dectector) หลักฐานสร้างขึ้นได้ เส้นสายก็มี แล้วอะไรคือความถูก-ผิด ดี-ชั่ว ขึ้นอยู่กับตัวเราหรือผู้อื่น สุดท้ายเหตุผลคือการดิ้นรนเอาตัวรอด อ้างเหตุผลด้วยสันชาติญาณ

ความลุ่มหลงใหลของ Nick Curran ต่อ Catherine Tramell ตรงกับสำนวน ‘ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่’ เพียงมองหน้าสบตาก็สามารถเข้าใจธาตุแท้อีกฝั่งฝ่าย กลายเป็นแม่เหล็กขั้วเหนือ-ใต้ พร้อมพุ่งถลาโอบกอดรัดฟันเหวี่ยง เติมเต็มความต้องการของกันและกัน แต่หลังจาก Nick ได้ร่วมรัก ‘ระดับศตวรรษ’ ก็กลายสภาพเป็นเด็กน้อยไร้เดียงสา หลงเหลือเพียงสันชาติญาณสนองความพึงพอใจ ไม่คิดปกป้องตนเองจาก Catherine อีกต่อไป

สำหรับผู้กำกับ Paul Verhoeven นี่คือเรื่องราว Sex Fantasy ที่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการระแวดระวังภัย อย่าปล่อยให้ตนเองไปถึงจุดสุดยอดโดยขาดสติ ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย สอดคล้องกับการแพร่ระบาดของ HIV เพราะเพศสัมพันธ์คือสิ่งหักห้ามกันไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดเราควรป้องกันตนเองไว้ ไม่ให้ต้องมาเสียใจภายหลัง

ทุกแรงขับเคลื่อนของมนุษย์ ล้วนเพื่อตอบสนองสันชาติญาณเอาตัวรอด และสืบเผ่าพันธุ์ บางครั้งสองสิ่งอย่างก็สามารถดำเนินไปพร้อมกันอย่าง Sex Worker นั่นคือพื้นฐานชีวิตที่เราควรยินยอมรับได้แล้วว่าไม่ใช่สิ่งผิด จำต้องปกปิดซ่อนเร้นด้วยข้ออ้างหลักศีลธรรมจรรยา พระพุทธเจ้าก็ไม่เคยตรัสว่าโสเภณีเป็นอาชีพต้องห้าม แต่ถ้าคุณทำผิดศีลกาเมสุมิจฉาจาร ยังไงก็ได้ปีนต้นงิ้วอย่างแน่นอน


ด้วยทุนสร้าง $49 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $117.7 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $352.9 ล้านเหรียญ (สูงระดับ Top5 แห่งปี) ถือว่าประสบความสำเร็จล้นหลาม กลายเป็นภาพยนตร์แนว Erotic ทำเงินสูงสุดตลอดกาลขณะนั้น (ถูกโค่นลงโดย Fifty Shades of Grey) สวนทางคำวิจารณ์ก้ำๆกึ่งๆ เสียงต่อต้านของ LGBT ที่มองว่า ‘Sex คืออาชญากรรม’

สองเดือนถัดจากนั้น ได้รับเลือกเข้าฉายเปิดงาน (ในสายการประกวดหลัก) เทศกาลหนังเมือง Cannes ในรูปแบบ Director’s Cut พร้อมฉากที่ถูกตัดออกไปในฉบับฉายสหรัฐอเมริกา แม้ไม่สามารถคว้ารางวัลใดๆ แต่ได้รับการจุดกระแสความสนใจจากทั่วทุกมุมโลก

แม้คำวิจารณ์ต่อหนังจะก้ำๆกี่งๆ ช่วงปลายปีกลับได้เข้าชิงทั้ง Oscar และ Golden Globe ประกอบด้วย

  • Academy Awards
    • Best Film Editing
    • Best Original Score
  • Gloden Globe Awards
    • Best Actress -Drama (Sharon Stone)
    • Best Original Score

ขณะเดียวกันยังได้ลุ้น Golden Raspberry Awards อีกสามสาขา

  • Golden Raspberry Awards
    • Worst Actor (Michael Douglas)
    • Worst Supporting Actress (Jeanne Tripplehorn)
    • Worst New Star (Sharon Stone)

มีความพยายามสร้างภาคต่อ Basic Instinct 2 (2006) ไม่รู้เพื่ออะไร ผู้กำกับ Verhoeven ไม่ขอมีส่วนร่วม, Douglas ก็แก่เกินแกง, ส่วน Stone ก็หมดความ Sexy ไปนานแล้ว ผลลัพท์แน่นอนว่าขาดทุนย่อยยับ

ผมมีโอกาสรับชมหนังเรื่องนี้ครั้งแรกตอนสมัยวัยรุ่นๆ (10+ กว่าปีก่อน) ก็ไม่ได้ตื่นตาตื่นใจกับ Sex Scene สักเท่าไหร่ (คาดว่าคงเพราะมันมีสิ่งยั่วเย้าอื่นๆที่น่าหลงใหลกว่า) เลยจินตนาการไม่ออกมาว่าผู้ชมยุคนั้นที่ทันดู Basic Instinct (1992) จะคลุ้มคลั่งถึงสรวงสวรรค์ชั้นไหน

แต่ส่วนตัวก็มีความประทับใจความคลาสสิกของหนัง กลิ่นอาย Neo-Noir สไตล์ Hitchcockian ความสลับซับซ้อนชวนให้ระลึกถึงโคตรภาพยนตร์ The Big Sleep (1946) และเพลงประกอบเพราะๆของ Jerry Goldsmith ล้วนสร้างความพึงพอใจได้ระดับหนึ่ง

สำหรับผู้ชมรุ่นใหม่ ถึงหนังมีฉากสามารถกระตุ้นอารมณ์ได้ระดับหนึ่ง แต่ดูจบก็อาจแห้งเหี่ยวเฉา (เพราะมันคือการร่วมรักกับฆาตกร) สามารถมองเป็นการศึกษาจิตวิทยาตัวละคร เชยชม Iconic แห่งทศวรรษ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง และทัศนคติทางเพศที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยนั้น

เทียบมาตรฐานปัจจุบัน ผมรู้สีกว่าจัดเรต R ยังพอไหวอยู่ คือมันไม่โจ๋งครึ่มแบบชัดเจน แค่เพียงวับๆแวมๆ ยั่วหลอกเล่น หรือฉากข่มขืนแฟนเก่ามันก็ไม่เด่นชัดขนาดนั้น (มองเป็นรสนิยมร่วมรักด้วยความรุนแรง ก็ยังพอได้อยู่)

คำโปรย | Basic Instinct คงความคลาสสิกและ Iconic แต่คงไม่สามารถกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกพึงพอใจได้สักเท่าไหร่
คุณภาพ | นัวร์คลาสสิก
ส่วนตัว | พึงพอใจระดับหนึ่ง

Rizu to Aoi Tori (2018)


Liz and the Blue Bird (2018) Japanese : Naoko Yamada ♥♥♥♥♡

จดหมายรักของผู้กำกับ Naoko Yamada ต่อ Kyoto Animation เปรียบตนเองเหมือนนกสีฟ้า (Blue Bird) สักวันก็ต้องโบยบินจากไป ถึงอย่างนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเราจักไม่มีวันเสื่อมสลาย ฉันจะรักษาช่วงเวลาอันทรงคุณค่านี้ไว้ให้ได้นานที่สุด

เทพนิยาย/วรรณกรรม Liz and the Blue Bird เป็นเรื่องราวสมมติ ‘story within story’ เพื่อใช้ประกอบนวนิยาย/ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ (รวมไปถึง Orchestra ที่ได้ยินด้วยนะครับ) แต่สัตว์สัญลักษณ์ Blue Bird น่าจะได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเยาวชนชื่อ The Children’s Blue Bird (1911) เขียนโดย Georgette Leblanc (1869-1941) ซึ่งเรียบเรียงมาจากบทละครเวที L’Oiseau bleu (1908) [แปลว่า The Blue Bird] ประพันธ์โดย Maurice Maeterlinck (1862-1932) นักกวี/เขียนบทละครชาว Belgium เจ้าของรางวัล Nobel Prize สาขาวรรณกรรม

Blue Bird จริงๆแล้วมันควรแปลว่า นกสีน้ำเงิน แต่เพราะวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง The Children’s Blue Bird (1911) กลับใช้ชื่อภาษาไทยว่า นกสีฟ้า นั่นเพราะในเรื่องราวมีการเปรียบเทียบสีของนกเหมือนกับท้องฟ้า เรียกแบบนี้จีงจดจำง่ายกว่า (นกสีฟ้า = 3 พยางค์, นกสีน้ำเงิน 4 พยางค์) ส่วนความหมายสื่อถึงอิสรภาพ การออกเดินทาง เริ่มต้นใหม่ และแสวงหาความสุขของชีวิต (เรื่องราวจะเป็นการออกติดตามค้นหานกสีฟ้า เพื่อจักได้พบเจอความสงบสุขกลับคืนมา)

แม้ว่า Liz and the Blue Bird จะเป็นส่วนหนี่งของแฟนไชร์ Sound! Euphonium (2015-) แต่ผู้ชมไม่จำเป็นต้องเคยรับชมเนื้อหาส่วนอื่นๆมาก่อน เพราะอนิเมะเรื่องนี้ถือเป็น Spin-Off นำเพียงบางตัวละครที่เหมือนจะมีความน่าสนใจในซีรีย์หลัก มาพัฒนาเนื้อหาที่มีเฉพาะตัวเอง … และอนิเมะเรื่องนี้มีความเป็น ‘ส่วนตัว’ ของผู้กำกับ Naoko Yamada อย่างเด่นชัดเจนมากๆ การทำความเข้าใจเพียงเนื้อหาสาระจีงเพียงเปลือกภายนอกเท่านั้น แท้จริงแล้วมีบางสิ่งอย่างลุ่มลีกซี้งซ่อนเร้นอยู่ภายใน

เอาจริงๆผมไม่แน่ใจว่า Naoko Yamada ถึงจุดอิ่มตัวกับการทำงานที่ Kyoto Animation หรือเปล่านะ (เป็นการคาดการณ์จากเรื่องราวของอนิเมะ ที่ผมรู้สึกว่าใกล้ตัวเธอที่สุดแล้ว) แต่หลังจากเหตุการณ์ลอบวางเพลิง(ที่สตูดิโอ KyoAni)เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2019 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 36 คน นั่นคงสร้างความสั่นสะเทือนใจอย่างรุนแรง จนเธอมิอาจหวนกลับไปทำงานยังสถานที่แห่งนี้ได้อีก (หลังจากนี้เธอจึงไปเริ่มต้นใหม่กับสตูดิโอ Science Saru)

ก่อนอื่นขอนำฉบับเต็มออเคสตร้า Liz and the Blue Bird ประพันธ์โดย Akito Matsuda (เกิดปี 1982, ที่ Osaka) ซึ่งเป็นผู้ทำเพลงประกอบแฟนไชร์ Sound! Euphonium แต่อนิเมะเรื่องนี้ได้รับมอบหมายเพียงในส่วนการบรรเลงออเคสตร้าเท่านั้น ประกอบด้วย 4 Movement (แต่ละ Mvt. จะดังขี้นประกอบเรื่องราวเทพนิยายที่เป็น ‘story within story’ ด้วยนะครับ)

  • First Movement, Frequent Days – 0:00
  • Second Movement, New Family – 4:53
  • Third Movement, Decision for Love – 9:50
  • Fourth Movement, To the Distant Sky – 16:12

Naoko Yamada (เกิดปี 1984, ที่ Kyoto) นักอนิเมเตอร์ ผู้กำกับอนิเมชั่นสัญชาติญี่ปุ่น ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบหลงใหลการวาดรูป ได้รับอิทธิพลจาก Patlabor และ Dragon Ball ด้วยบุคลิกห้าวๆ แก่นแก้ว ทอมบอย เข้าร่วมชมรมวอลเล่ย์บอล เทนนิส พอขึ้นมัธยมปลายเปลี่ยนความสนใจสู่ชมรมถ่ายภาพ เข้าศึกษาสาขาจิตรกรรมสีน้ำมัน Kyoto University of Art and Design และยังร่วมสรรค์สร้าง Special Effect ให้กับชมรมภาพยนตร์ … เรียกว่าเปลี่ยนความสนใจไปเรื่อยๆไม่หยุดนิ่ง

หลังเรียนจบตั้งใจว่าจะเข้าสู่วงการภาพยนตร์ แต่พบเห็นประกาศรับสมัครจาก Kyoto Animation ตอบรับเข้าทำงาน In-Between อนิเมะซีรีย์ Inuyasha (2000-04), เลื่อนขึ้นมาเป็น Key Animation เรื่อง Air (2005), กำกับตอน (Episode Director) เรื่อง Clannad (2007-09), และกำกับซีรีย์เรื่องแรก K-On! (2009) แจ้งเกิดโด่งดังโดยทันที, ติดตามมาด้วย Tamako Market (2013), ภาพยนตร์อนิเมชั่น A Silent Voice (2016)

แนวทางการทำงานของ Yamada เรียกตนเองว่า ‘method director’ หลังจากได้รับบทอนิเมะ สวมบทบาทตนเองเป็นทุกๆตัวละคร พยายามศึกษา ทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ครุ่นค้นหาเหตุผลทุกๆการกระทำ จนกว่าจะเห็นภาพเรื่องราวทั้งหมดในหัว ถึงค่อยเริ่มวาด Storyboard สเก็ตรายละเอียดอื่นๆติดตามมา

Sound! Euphonium เป็นโปรเจคที่ Yamada แม้ขี้นชื่อในฐานะร่วมกำกับ Tatsuya Ishihara แต่แท้จริงแล้วมีส่วนร่วมเพียง Series Unit Director (เฉพาะส่วนงานสร้างอนิเมชั่น) ประกอบด้วย

  • ซีรีย์ซีซันแรก Sound! Euphonium (2015)
  • ภาพยนตร์อนิเมชั่น Sound! Euphonium: The Movie – Welcome to the Kitauji High School Concert Band (2016)
  • ซีรีย์ซีซันสอง Sound! Euphonium 2 (2016)
  • ภาพยนตร์อนิเมชั่น Sound! Euphonium: Todoketai Melody (2017)

กระแสความนิยมใน Sound! Euphonium ทำให้สตูดิโอ KyoAni ได้รับสิทธิ์พิเศษในการอ่านนวนิยายต้นฉบับก่อนตีพิมพ์วางจำหน่ายจริง ซี่งขณะนั้นผู้แต่ง Ayano Takeda ได้เขียนภาคใหม่เสร็จสิ้น Sound! Euphonium Kitauji High School Concert Band, Second Turbulent Movement (2017) โดยตั้งใจจะแบ่งออกเป็นสองเล่ม Volumn 1 และ Volumn 2

“since Takeda was writing this new work (Sound! Euphonium Kitauji High School Concert Band, Second Turbulent Movement) I got the chance to read the plot. Although it is a story about Kumiko (the main character), the presence of Mizore and Nozomi is so immense, it gave me some kind of urge. It was a story so fascinating that I could not pretend to have unseen it, so I really wanted to depict it”.

Naoko Yamada

ระหว่างการประชุมเพื่อหาข้อสรุปดัดแปลงนวนิยายเล่มดังกล่าว ผู้กำกับ Ishihara ยังคงต้องการให้เรื่องราวดำเนินไปในมุมมองของตัวละครหลักๆ ส่วนเนื้อหาของ Mizore และ Nozomi ถือเป็นส่วนเกินที่โดดเด่นขี้นมา แต่จะตัดออกก็น่าเสียดาย ผู้กำกับ Yamada เลยอาสาดัดแปลงสร้างเป็น Spin-Off แยกออกจากภาคปกติ กลายมาเป็น

  • Liz and the Blue Bird (2018) นำเสนอเรื่องราวของ Mizore และ Nozomi
  • และ Sound! Euphonium: The Movie – Our Promise: A Brand New Day (2019)

“Ishihara had decided to adapt Kumiko’s story, but it would be a bit too much to depict both Kumiko’s story as well as Mizore and Nozomi’s story in the same work. So, we thought that since their stories respectively stand on their own so well, it might as well be possible to split them into separate works. So, we came up with the proposal to, if possible, split it up”.

(ส่วนซีซันสาม เห็นเตรียมงานสร้างกันมาสักพักใหญ่แล้ว แต่ที่ล่าช้าไม่ใช่แค่สถานการณ์โควิท-19 ยังเพราะ KyoAni ต้องฝีกฝนนักอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ขี้นมาแทนที่ผู้จากไปจากเหตุการณ์ลอบวางเพลิงครั้งนั้น จีงไม่สามารถเริ่มต้นโปรดักชั่นได้สักที)


Ayano Takeda (เกิดปี 1992) นักเขียนนวนิยายสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ujii, Kyoto ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบการอ่านหนังสือ ถีงขนาดต้องให้ได้ 2 เล่มต่อวัน เคยพยายามทดลองเขียนนิยายแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ ระหว่างเรียนประถมปีที่ 5 ตัดสินใจเข้าชมรมเครื่องเป่า เลือกเล่นเครื่องดนตรี Euphonium ที่ไม่ค่อยมีคนนิยมทำให้มีโอกาสได้รับเลือกเป็นผู้เล่นหลักในวง แต่พอขี้นมัธยมปลาย เปลี่ยนความสนใจสู่ชมรมนักเขียน ได้รับคำแนะนำดีๆจากรุ่นพี่ ทั้งยังมีโอกาสพัฒนาบทละครเวทีให้เพื่อนๆร่วมชั้น ชนะเลิศการแสดงของโรงเรียน จีงเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขี้น ระหว่างกำลังศีกษามหาวิทยาลัย Doshisha University ส่งนวนิยายเรื่องแรก Today, We Breathed Together เข้าประกวด Japan Love Story Awards (ปัจจุบันใช้ชื่อว่า Japan Love Story & Entertainment Awards) แม้ไม่สามารถผ่านเข้ารอบลีกๆ กลับได้รับโอกาสจากหนี่งในบรรณาธิการ(ที่เป็นคณะกรรมการ) ช่วยเหลือขัดเกลาจนสามารถตีพิมพ์จัดจำหน่ายปี 2013

“When I went to the meeting about the revision of my debut novel, We Breathed Together Today, the topic of ‘what do you want to write for your next work?’ came up. During that discussion, I mentioned that I wanted to write something about wind music since I had experience in that topic. I’d loved reading works that had a wind music motif ever since I was a middle schooler, but a lot of those titles had the point of view set from the advisor, where it was overlooking the entire story and a little bit removed from actually playing music. I wanted to try depicting wind music from the inside of the club itself”.

Ayano Takeda

สำหรับผลงานเรื่องถัดไปของ Takeda เลือกความสนใจในอดีตที่เคยเข้าร่วมชมรมเครื่องเป่า เพราะยังคงมีความทรงจำเลือนลางต่อช่วงเวลานั้น (เธอกลัวว่าถ้าเขียนเรื่องราวนี้ตอนอายุมากขี้น จะเริ่มจดจำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว) โทรศัพท์ติดต่อหาเพื่อนเก่าๆร่วมวงเดียวกันให้มาช่วยเป็นที่ปรีกษา ส่วนชื่อเรื่องเกิดจากข้อสรุปว่าจะให้ตัวละครเล่น Euphonuim (เครื่องดนตรีเดียวกับผู้แต่ง) และบรรณาธิการถามว่า ‘Euphonium มีเสียงอย่างไร?’ เลยกลายมาเป็น Hibike! Yūfoniamu แปลตรงตัวว่า Sound! Euphonium

ไม่นานหลังนวนิยายตีพิมพ์ Takeda ก็ได้รับแจ้งข่าวว่า Kyoto Animation มีความสนใจดัดแปลง Sound! Euphonium สร้างเป็นอนิเมะ นั่นถือเป็นโชคชะตาโดยแท้ เพราะ KyoAni กำลังมองหาเรื่องราวมีพื้นหลังใน Kyoto เพื่อโปรโมทสถานที่และการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย

“When I was first informed of the news, I went beyond pleased and straight into chaos. ‘I don’t understand what this means!’ The production studio, THE Kyoto Animation, wanted to make an anime using the region as the setting, so their staff were hunting for a source material and by chance they saw Sound! Euphonium when it went on sale. I’m truly thankful it happened. I think this was also fate”.

เพียงหกเดือนหลังวางจำหน่าย ยอดขายเพิ่มขี้นหลายเท่าตัว และอนิเมะได้รับการยืนยันสร้าง นั่นเองคือจุดเริ่มต้นให้นวนิยายที่ตั้งใจเขียนแค่เล่มเดียวจบ ต้องขยายเรื่องราวออกไป ประเด็นคำถามอุตส่าห์ค้างคาไว้ (เพราะครุ่นคิดว่าไม่จำเป็นต้องเปิดรายละเอียดทุกสิ่งอย่าง) จำเป็นต้องได้รับการเปิดเผยออกมาทั้งหมด

“When I was writing the novel, I didn’t visualize how the characters would look, so I feel I was strongly influenced by it becoming an anime. I was both inspired and thrown into chaos. For example, I didn’t know things like ‘how would the image of Kumiko I had turn out….?’

What I was most touched by was being able to hear the sounds. I was given a melody to the fictional song Crescent Moon Dance that I thought up. Of course there wasn’t a melody in my head while I was writing, so I was truly moved”.

ไม่ใช่แค่นวนิยายเล่มสอง-สาม Takeda ต้องวางแผนภาคสอง-สาม (ตัวละครเลื่อนชั้นปีสอง-สาม) Side-Story ปรับเปลี่ยนมุมมองตัวละครอื่นๆบ้าง หนี่งในนั้นคือความสัมพันธ์ระหว่าง Mizore และ Nozomi (ในนวนิยายภาคสอง) สองรุ่นพี่ที่ไม่ได้มีบทบาทมากนักในนวนิยายภาคแรก แต่ความสัมพันธ์ของพวกเธอคือเนื้อหาหนี่งที่ Takeda อยากนำเสนอออกมา

“The second years took the main role. The key people in that group were Mizore and Nozomi. It’s an episode that shows that while Nozomi appears to know about Mizore, she really has no understanding what Mizore thinks. Couldn’t that state of not understanding what the other person is thinking continue to apply to lovers or friends? I wanted to try writing about that type of real human relationship in this volume. Also, I wanted to insert more scenes of Natsuki and Yuuko bickering like cats and dogs”.

จนถีงปัจจุบันนวนิยาย Sound! Euphonium ออกมาทั้งหมด 12 เล่ม น่าจะจบบริบูรณ์แล้ว (แต่ก็ไม่แน่นะครับ) ประกอบด้วย

  • ภาคแรก (ปีแรก)
    • Sound! Euphonium: Welcome to the Kitauji High School Concert Band (2013)
    • Sound! Euphonium 2: The Hottest Summer of the Kitauji High School Concert Band (2015)
    • Sound! Euphonium 3: The Greatest Crisis of the Kitauji High School Concert Band (2015)
    • (Side Story) Sound! Euphonium: Secret Story of the Kitauji High School Concert Band (2015)
  • Spin-Off ยังคงปีแรก แต่นำเสนอเรื่องราวจากโรงเรียนคู่แข่ง
    • Sound! Euphonium: Welcome to Rikka High School Marching Band Volume 1 (2016)
    • Sound! Euphonium: Welcome to the Rikka High School Marching Band Volume 2 (2016)
  • (ตอนพิเศษ) Sound! Euphonium: Kitauji High School Concert Band Diary (2016)
  • ภาคสอง (ปีสอง)
    • Sound! Euphonium: Kitauji High School Concert Band, Second Turbulent Movement Volume 1 (2017)
    • Sound! Euphonium: Kitauji High School Concert Band, Second Turbulent Movement Volume 2 (2017)
    • (Side Story) Sound! Euphonium: True Stories from the Kitauji High School Concert Band (2018)
  • ภาคสาม (ปีสาม)
    • Sound! Euphonium: The Kitauji Concert Band’s Decisive Final Movement Volume 1 (2018)
    • Sound! Euphonium: The Kitauji Concert Band’s Decisive Final Movement Volume 2 (2019)

แม้ว่า Jukki Hanada จะรับหน้าที่ดัดแปลงบท Sound! Euphonium มาตั้งแต่ซีซันแรก แต่ผู้กำกับ Yamada ต้องการนำเสนอมุมมองที่แตกต่างออกไปกับการดัดแปลงเรื่องราว Spin-Off เลยติดต่อนักเขียนขาประจำ Reiko Yoshida ร่วมงานกันมาตั้งแต่ K-On! (2009-10)

Reiko Yoshida (เกิดปี 1967, ที่ Hiroshima) นักเขียนมังงะ บทอนิเมะ/ภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่น, สำเร็จการศึกษาสาขาวรรณกรรม Hosei University เริ่มโด่งดังจากการดัดแปลงบท The Cat Returns (2002) ให้กับสตูดิโอ Ghibli, ผลงานเด่นๆมักเป็นอนิเมะแนว Healing ดูสบายๆพร้อมสาระข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต อาทิ Aria the Animation (2005), K-On! (2009-10), Bakuman (2010-13), Girls und Panzer (2012-13), Non Non Biyori (2013, 15, 21), A Silent Voice (2016), Liz and the Blue Bird (2018), Violet Evergarden (2018) ฯ

ถ้านำเรื่องราวระหว่าง Mizore กับ Nozomi เฉพาะจากต้นฉบับนวนิยาย คงสร้างเป็นอนิเมะได้ประมาณ 30 นาทีเท่านั้น ผู้กำกับ Yamada และนักเขียน Yoshida เลยร่วมกันพัฒนารายละเอียดเล็กๆน้อยๆ สิ่งที่สามารถนำเสนอเป็น ‘visual image’ ใช้เพียงภาพในการดำเนินเรื่อง จึงเกิดเป็น Sequence อย่าง Mizore นั่งรอหน้าโรงเรียน, เดินขึ้นบันไดพร้อมกับ Nozomi, จับจ้องมองจากตึกฝั่งข้าม ใช้ฟลุตสะท้อนแสงมาหา ฯลฯ หรือรายละเอียดเล็กๆอย่างท่วงทาการเดิน, สะบัดมวยผม, กำหมัด, ลูบจับเส้นผม, แสงสะท้อนในดวงตา ฯลฯ ล้วนเต็มไปด้วย ‘subtle’ ซ่อนเร้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครนั้นๆออกมา


Mizore Yoroizuka นักเรียนหญิงชั้นมัธยมปีที่หก นักดนตรี Oboist เป็นคนพูดน้อย ชอบเก็บตัว ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร นั่นเพราะความสนใจของเธอมีเพียงเพื่อนสาวร่วมรุ่น Nozomi Kasaki นักดนตรี Flutist ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา ร่าเริงสดใส คือบุคคลชักชวนตนเข้าร่วมชมรม Kitauji High School Concert Band และคอนเสิร์ตที่กำลังจะมาถีง ทั้งสองกำลังจะได้เล่นคู่ Duet บทเพลงจากเทพนิยาย Liz and the Blue Bird

เทพนิยาย Liz and the Blue Bird นำเสนอเรื่องราวของหญิงสาวชื่อ Liz กับนกสีฟ้า (Blue Bird) ที่สร้างความลุ่มหลงใหลเมื่อได้พบเจอ อยู่มาวันหนี่งนกตนนั้นได้กลายร่างเป็นหญิงสาว เต็มไปด้วยชีวิตชีวา ร่าเริงสดใส ทั้งสองจีงมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน แต่เธอก็ตระหนักว่าสักวันอีกฝั่งฝ่ายต้องโบยบินจากไป

ในการเล่นบทเพลงนี้ Mizore พยายามเทียบแทนตนเองเป็น Liz ส่วน Nozomi คือนกสีฟ้า แต่นั่นกลับสร้างปัญหาเพราะเธอไม่สามารถยินยอมปลดปล่อยเพื่อนสาวสุดที่รัก ต้องการอยู่เคียงข้างด้วยกันตลอดไป จนกระทั่งได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ทำไมไม่มองมุมกลับตารปัตร ลองเทียบแทน Nozomi ด้วย Liz และ Mizore เป็นนกสีฟ้า จีงทำให้เธอเกิดความเข้าใจว่า เพราะรักจีงมิอาจกักขังหน่วงเหนี่ยว ยินยอมเสียสละให้อีกฝั่งฝ่ายได้รับอิสรภาพโบยบิน


Atsumi Tanezaki (เกิดปี 1990, ที่ Ōita) ตั้งแต่เด็กมีความฝันอยากเป็นนักแสดง จนกระทั่งมีโอกาสรับชม Sailor Moon (1992-97) คลั่งไคล้ Sailor Mercury เลยเปลี่ยนความตั้งใจสู่นักพากย์อนิเมะ หลังเรียนจบมัธยมปลายมุ่งสู่ Tokyo ได้เซ็นสัญญากับเอเจนซี่ Toritori ตั้งแต่ปี 2011 เริ่มเป็นที่รู้จักจาก Asako Natsume เรื่อง My Little Monster (2012), Lisa Mishima เรื่อง Terror in Resonance (2014),Chise Hatori เรื่อง The Ancient Magus’ Bride (2017) ฯ

ให้เสียง Mizore Yoroizuka รุ่นพี่ปีสาม (มัธยม 6) นักดนตรี Oboist เป็นคนพูดน้อย ชอบเก็บตัว ไม่ค่อยสุงสิงสังสรรค์กับใคร นอกจากเพื่อนร่วมรุ่นโดยเฉพาะ Nozomi เฝ้ารอคอยอยู่หน้าประตูโรงเรียน เดินขึ้นบันได เข้าห้องฝึกซ้อนพร้อมกัน มีความต้องการรักใคร่ แต่ไม่เคยแสดงออกมา กักเก็บซ่อนเร้นความรู้สึกไว้ภายใน น้อยคนจะสามารถสังเกตพบเห็นได้

การทำความเข้าใจพฤติกรรมของ Mizore ไม่ยากเท่า Nozomi มีความชัดเจน สามารถสังเกตได้จากสายตา รอยยิ้ม ไม่ชำเลืองมองใครอื่นใด ครุ่นคิดว่าเธอเป็นฉันเพียงคนเดียว อยากติดตามไปทุกหนแห่ง โดยไม่สนตนเองหรือใครจะว่าอะไร แม้นั่นคือความรักที่บริสุทธิ์ แต่ก็ยังเข้าใจอะไรบางอย่างผิดไป

ตัวละครนี้ไม่มีบทบาทใดใน Sound! Euphonium ซีซันแรก ปรากฎตัวครั้งแรกในภาพยนตร์ Sound! Euphonium: The Movie – Welcome to the Kitauji High School Concert Band (2016) มีเพียงบทพูดไม่กี่บรรทัด ไม่ได้ขึ้นชื่อในเครดิตเสียด้วยซ้ำ กระทั่งซีซันสองถึงค่อยเปิดเผยว่าเป็น Tanezaki ขณะนั้นเธอก็มีชื่อเสียงระดับหนึ่ง และเป็นความคาดไม่ถึงที่ตัวละครนี้จะมีบทบาทเด่นในภาคแยกเรื่องนี้

“I was taking part in a Sound! Euphonium event and saw the news on-screen in the venue. It was a surprise announcement and I cried my eyes out on-stage. I was overwhelmed by my expectations for Mizore and Nozomi’s new story, wondering how it’d be depicted. I felt so blessed to be able to portray Mizore again”.

Atsumi Tanezaki

ภาพลักษณ์ตัวละครมีการเปลี่ยนแปลงไปจากซีรีย์หลักพอสมควร ทรงผมยุ่งๆ ดูเปราะบาง ดวงตาอ่อนหวานขึ้น (ซ่อนเร้นความรู้สึกเหงาๆเศร้าซึม) ส่วนรายละเอียดอื่นๆของ Mizori ล้วนยังคงเดิมไม่แตกต่าง เพิ่มเติมคือความรู้สึกต่อ Nozomi คำแนะนำของผู้กำกับคือ ให้ทุกวินาทีราวกับโอกาสสุดท้ายที่จะได้พบเจออยู่เคียงข้าง มันจึงความไหวหวั่น หวาดกลัวการต้องแยกจากโดยไม่ได้ร่ำลา

“There was no confusion about Mizore’s role. How she treasures being with Nozomi hasn’t changed a bit from the TV series. The director told me that Mizore feels like it’s the last chance to be with Nozomi every time she meets her. She always feels insecure about her friendship with Nozomi and fears it’ll end abruptly without warning”.

ต้องชมเลยว่าแม้บทพูดไม่เยอะ แต่ Tanezaki สามารถถ่ายทอดความรู้สึก ‘insecure’ ผ่านน้ำเสียงที่แม้เนิบๆนาบๆ แต่ซ่อนเร้นอาการหวาดหวั่นสั่นเทาอยู่ภายใน และหลังจากที่เธอสามารถปลดปล่อยความยึดติดต่อ Nozomi น้ำเสียงค่อยๆกลับมามีชีวิตชีวา เริงร่า กล้าที่จะยื่นมือถลาเข้าโอบกอด รอยยิ้มของเธอเอ่อล้นด้วยความสุข ทุกวินาทีล้วนคือสมบัติล้ำค่า ธำนุรักษาไว้ให้เนิ่นยาวนานที่สุด

Nao Tōyama (เกิดปี 1992, ที่ Tokyo) ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบ Sailor Moon (1992-97), Ojamajo Doremi (2000-01) กระทั่ง Fullmetal Alchemist (2003-04) คือแรงบันดาลใจให้อยากเป็นนักพากย์อนิเมะ ช่วงระหว่างมัธยมปลาย สมัครเข้าเรียน Japan Narration Acting Institute จบคอร์สได้รับโอกาสเซ็นสัญญากับเอเจนซี่ Arts Vision เริ่มมีผลงาน Kanon Nakagawa เรื่อง The World God Only Knows (2010), Chitoge Kirisaki เรื่อง Nisekoi (2014-15), Yui Yuigahama เรื่อง My Teen Romantic Comedy SNAFU (2013-20), Tomoe Koga in Rascal Does Not Dream of Bunny Girl Senpai, Karen Kujō in Kin-iro Mosaic, Rin Shima เรื่อง Laid-Back Camp (2018-) ฯ

ให้เสียง Nozomi Kasaki รุ่นพี่ปีสาม (มัธยม 6) นักดนตรี flutist นิสัยร่าเริงสดใส เป็นกันเองกับทุกคนไม่ว่าจะรุ่นพี่-ผองเพื่อน-รุ่นน้อง ชอบเสียสละตนเองเพื่อความสุขของผู้อื่น เมื่อรับรู้ว่า Mizore ต้องการเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยด้านดนตรี เลยอยากติดตามไปด้วยแต่ลึกๆกลับรู้สึกลังเลไม่แน่ใจ เพราะเธอไม่เคยเรียนรู้ทำเข้าใจความต้องการแท้จริงของตนเอง

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่า ความรู้สึกที่ Nozomi มีให้กับ Mizore แตกต่างจาก Mizore มีให้กับ Nozomi

Nozomi เป็นผู้หญิงประเภท ‘Happy-Go-Luck’ ใครทำอะไรน่าสนใจก็พร้อมติดตามไป ซึ่งความสนใจของเธอต่อ Mizore คืออัจฉริยภาพทางดนตรี ครุ่นคิดว่าตนเองมีศักยภาพเทียบเคียง สามารถติดตามไปไหนไปด้วย แต่ลึกๆใต้จิตสำนึกฉันอาจไม่มีพรสวรรค์ขนาดนั้น เพียงแค่ยังไม่มีใครหรือเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นให้สามารถตระหนักรับรู้ได้อย่างถ่องแท้ จนกระทั่งซักซ้อมการแสดงครั้งสุดท้าย มิอาจไล่ล่าติดตาม Mizore ได้ทัน จึงพบเจอความพ่ายแพ้ ถึงเวลาหวนกลับสู่โลกความจริง มุ่งสู่สิ่งที่ฉันสามารถกระทำได้ดีกว่า

Tōyama ก็เคยให้สัมภาษณ์ว่า ไม่เข้าใจเหตุผลของการที่ Nozomi ยึดติดกับ Mizore

“To be honest, I felt that I could relate to Mizore more than Nozomi at first. I understood Mizore’s feelings but not Nozomi’s. I didn’t understand her looking away or shuffling her feet at the crucial time. I thought she wasn’t the girl who I knew well. It took a while for me to understand why she acted like that. She has too much on her mind and can’t handle her emotions anymore”.

Nao Tōyama

ภาพลักษณ์ของ Nozomi แทบไม่แตกต่างจากซีรีย์หลัก แต่อนิเมะเรื่องนี้พยายามใส่ตำหนิ ข้อบกพร่อง ให้ผู้ชมสัมผัสถึงความเป็นมนุษย์ บุคคลทั่วๆไป ไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่ใครๆพบเห็น นั่นอาจเป็นการทำลายภาพลักษณ์ดั้งเดิมของตัวละคร แต่ผลลัพท์กลับทำให้ผู้ชมตกหลุมรักมากขึ้นๆไปอีก

“Nozomi was depicted in the TV series as a truly nice, cheerful person loved by everyone. I tried to render her charisma, not just her motivated and driven personality. However, in the movie, she shows her imperfections, which weren’t depicted in the TV series due to her not being the main character. For instance, she can be cunning and jealous of even Mizore, who she really cares about. I think viewers of the movie will feel an affinity with her human side. I’d like to portray her without destroying her image, but surprise viewers with her human side”.

พัฒนาการตัวละครของ Nozomi ถือว่าแตกต่างตรงกันข้ามกับ Mizore สามารถมองเป็นการถดถอยหลังลงคลองก็ยังได้ จากหญิงสาวในอุดมคติ/นางฟ้าที่ใครๆต่างชื่นชอบหลงใหล ถูกฉุดคร่าลงจากสรวงสวรรค์จนกลายเป็นมนุษย์ธรรมดาๆทั่วไป แต่ผมมองว่านั่นคือพัฒนาการดีขึ้นนะครับ หลุดพ้นจากความลุ่มหลงในโลกภาพมายา ค้นพบสิ่งต้องการ ตัวตนเองที่แท้จริง

เสียงพากย์ของ Tōyama ก็จับต้องได้มากขึ้นเช่นกัน แรกเริ่มแม้เต็มไปด้วยสีสัน ร่าเริงสดใส แต่ก็มีความกระอักกระอ่วน ลังเลไม่แน่ใจซ่อนอยู่ในน้ำเสียง นี่ใช่สิ่งที่ฉันโหยหาอยากกระทำจริงๆนะหรือ แต่หลังจากความพ่ายแพ้ต่อ Mizore สามารถระบายความรู้สึกอัดอั้นออกมา และได้ค้นพบอิสรภาพที่แท้จริงของตนเอง หวนกลับไปสู่ความเริงร่าที่บริสุทธิ์จากภายใน

สำหรับ Liz และ Blue Bird เป็นความต้องการของผู้กำกับ Yamada ที่ทั้งสองตัวละครในเรื่องราวแฟนตาซี อยากให้มีนักพากย์คนเดียวกัน … ให้ความรู้สึกคล้ายๆการพากย์หนังสมัยก่อน (สมัยนี้ก็ยังพอมีอยู่นะ) คนๆเดียวสามารถแทนเสียงหลายๆตัวละคร ซึ่งในบริบทนี้เรายังสามารถตีความว่า พวกเขาคือบุคคลคนเดียวกันที่มีส่วนผสมแตกต่างตรงกันข้าม หยิน-หยาง ขาว-ดำ กล่าวคือสามารถเป็นได้ทั้ง Mizore-Nozomi และ Nozomi-Mizore (ขึ้นอยู่กับมุมมองและช่วงเวลา)

“I had decided in my mind that I wanted the same person to play both the role of Liz and the blue bird girl. But I couldn’t for the life of me figure out who I wanted to do it, so I thought about it for a long time. Honda’s voice is so characteristic that you know it’s her by just listening a bit to it, and I have really liked her since way before. I thought that the cleanness and purity of her voice fit perfectly”.

Naoko Yamada

ให้เสียง Miyu Honda (เกิดปี 2004, ที่ Kyoto) นักร้อง นักแสดง นักกีฬาสเก็ตน้ำแข็ง เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่ปี 2010 จากโฆษณา Pizza Hut, ได้รับบทสมทบซีรีย์โทรทัศน์, ภาพยนตร์ Gantz: Perfect Answer (2011), มีชื่อเสียงจากซีรีย์ Kaseifu no Mita (2011), แต่พอโตขี้นเหมือนจะเงียบๆลงไป

ความได้เปรียบของ Honda คือน้ำเสียงที่ยังเหมือนสาวน้อยแรกรุ่น (ขณะนั้นเพิ่งอายุ 13-14 ปี) เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ สดใสไร้เดียงสา ราวกับตัวละครอยู่ในโลกแฟนตาซีนั้นจริงๆ ขณะเดียวกันความนุ่มนวล(ในน้ำเสียง)ก็ซ่อนเร้นความโดดเดี่ยวอ้างว้าง ก่อนพัฒนาเป็นหวาดหวั่นสั่นเทา กลัวการต้องพลัดพรากคนรักเคียงข้างกาย ไม่ต้องการให้อีกฝั่งฝ่ายแยกจากกันไปไหน แต่เมื่อถึงช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจ ก็สามารถใส่ความเบิกบาน เริงร่า และรอยยิ้ม ยินยอมรับความจริง เข้าใจถึงสิ่งสวยงามของความรัก คืออิสรภาพไร้ซึ่งพันธนาการเหนี่ยวรั้ง

ควบคุมงานศิลป์ (Art Direction) โดย Mutsuo Shinohara, ออกแบบงานสี (Color Design) โดย Naomi Ishida, ออกแบบตัวละคร (Character Design) และกำกับอนิเมชั่น (Chef Animation Director) โดย Futoshi Nishiya

แม้เรื่องราวอยู่ในจักรวาลของ Sound! Euphonium แต่ผู้กำกับ Yamada ร้องขอให้ทีมงานเริ่มต้นการออกแบบใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่ตัวละคร พื้นหลัง โทนสีสัน เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับเรื่องราว เนื้อหาสาระที่แตกต่างออกไป จะได้ให้ความรู้สึก Spin-Off อย่างแท้จริง

แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเหมือนเดิมคือ Kitauji High School โรงเรียนสมมติตั้งอยู่ Ujii, จังหวัด Kyoto ซึ่งนำแรงบันดาลใจจาก Kyoto Prefectural Todō Senior High School ถึงอย่างนั้นผู้ชมจะสัมผัสไดถึงความแตกต่าง รายละเอียดเล็กๆน้อยๆเด่นชัดขึ้น โทนสีสันก็มีความนุ่มนวลสดใสกว่า รวมไปถึงทิศทางมุมกล้องในสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Yamada

แซว:เรื่องราวทั้งหมดดำเนินอยู่ภายใน Kitauji High School อะไรที่ควรบังเกิดขึ้นภายนอกก็ถูกตัดข้าม พบเห็นเพียงภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือเท่านั้นเอง

เทพนิยาย Liz and the Blue Bird ดำเนินเคียงคู่ขนานไปกับเนื้อเรื่องราวหลัก ด้วยภาพวาดสีน้ำ (Watercolor Painting) บางซีนยังพบเห็นลวดลายกระดาษพื้นหลัง แต่ต้องชมในความคิดสร้างสรรค์ มอบบรรยากาศที่ราวกับอยู่ในโลกแฟนตาซี ด้วยโทนสีมีความสดใส (กว่าโลกความจริง) และลายเส้นดูขาดๆเกินๆ เว้าๆแหว่งๆ ก็เพื่อสะท้อนความไม่มั่นคงระหว่างตัวละคร จริงอยู่มันสวยงามแต่ก็ซ่อนเร้นความเศร้าโศก (ของการต้องร่ำลาจากกันสักวัน)

Mizore จดจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของ Nozomi ตั้งแต่เสียงย่ำเท้า แผ่นหลังกว้างใหญ่ มัดผมแกว่งไกว สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความหมกมุ่น เอาใจใส่ ฉันตกหลุมรักในทุกสิ่งอย่าง ด้วยเหตุนี้จึงมิอาจปล่อยวางเธอจากไปได้ อยากคอยเดินติดตามอยู่ข้างหลังจนชั่วฟ้าดินสลาย

รายละเอียดเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ ผสมเข้ากับเทคนิคภาษาภาพยนตร์อย่าง เบลอ-ชัด ปรับโฟกัส, ทิศทางมุมกล้อง, จัดวางตำแหน่งตัวละคร, พื้นที่ว่าง ระยะห่าง, ภาพสั่นๆ ฯลฯ ผมถือเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Yamada ไปแล้วนะครับ เธอมีความละเมียดละไม ใส่ใจมากๆในเรื่องพวกนี้ ซึ่งอนิเมะก้าวไปอีกขั้นด้วยการบันทึกเสียงฝีเท้าใส่ในเพลงประกอบ แล้วให้ทีมอนิเมชั่นทำภาพเคลื่อนไหวให้สอดคล้องจังหวะดังกล่าว

สิ่งหนี่งที่ต้องชื่นชมมากๆ คือการแสดงออกทางสีหน้า/อารมณ์ ‘Expression’ ถีงมันไม่ได้สมจริงแต่ผู้ชมสามารถจับต้อง ทำความเข้าใจไม่ยากเท่าไหร่ อาทิ การลูบจับผม หรี่ตา เอียงหน้า อมยิ้ม กำหมัด ฯลฯ โดดเด่นที่สุดน่าจะแสงสะท้อนในดวงตา มักปรากฎขี้นในวินาทีตัวละครได้รับรู้ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างจากภายใน

อีกสิ่งที่แอบที่งคือรายละเอียดของเครื่องดนตรี (นี่อาจจะตั้งแต่ซีรีย์ Sound! Euphonium แล้วกระมัง) เห็นว่าไม่ได้ใช้ตัวช่วยจาก CGI ทั้งหมดคือการวาดด้วยมือ นอกจากรายละเอียดที่เหมือนของจริงเปะๆ ยังทุกการขยับเคลื่อนจะต้องปรับสัดส่วน(ของเครื่องดนตรี)ให้สอดคล้องกันไป … และคีย์ที่กดก็ตรงกับตัวโน๊ตจริงๆนะครับ ไม่เหมือนอนิเมะบางเรื่องที่พอเพลงดัง ตัวละครกลับเล่นอะไรก็ไม่รู้ แถมโยกๆย้ายๆ Over-Acting เกินกว่าเหตุเสียอีก

รอบข้างกายของ Nozomi มักรายล้อมด้วยรุ่นน้อง-ผองเพื่อน พูดคุยสนทนา หัวเราะอย่างร่าเริงสนุกสนาน ซึ่งถ้ามองจากภายนอกก็ดูเหมือน Blue Bird ชีวิตเต็มไปด้วยสีสัน ส่งเสียงร้องจิบๆ เป็นที่รักของใครต่อใคร … แต่นั่นก็ทำให้ Nozomi ค่อยๆสูญเสียความเป็นตัวของตนเอง ต้องคอยสร้างภาพ ทำตัวดีเด่นให้ทุกคนบังเกิดความพึงพอใจ จนมิอาจค้นพบความต้องการแท้จริงจากภายใน

Mizore พบเห็นบ่อยครั้งในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ อ้างว่ามาให้อาหารปลา แต่แท้จริงถ้าไม่แอบหลับก็คอยสอดส่อง Nozomi ที่ห้องซ้อมดนตรีฝั่งตรงข้าม, ผมถือว่าสถานที่นี้คือ ‘ห้องหัวใจของ Mizore’ นัยยะเดียวกับนกในกรง ปลาในตู้ ถูกกักขังอยู่ภายใน แต่ไม่มีใครโหยหาต้องการได้รับอิสรภาพ ยินยอมรับการพันธการเหนี่ยวรั้งด้วยตัวตนเองทั้งหมดสิ้น

นี่เป็นซีนเล็กๆที่งดงามลึกซึ้ง สะท้อนระยะห่างความสัมพันธ์ระหว่าง Mizore กับ Nozomi สังเกตได้จากความสูงของมือที่โบกทัก (Nozomi จะเหวี่ยงแกว่งยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ, Mizore เพียงโบกเบาๆยกขึ้นระดับอก) ซึ่งการละเล่นแสงสะท้อนถึง (Nozomi) สาดส่องความอบอุ่นเข้ามาถึงภายในจิตใจ (ของ Mizore)

คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนมุมมองโลกทัศน์ของ Mizore และ Nozomi ประกอบด้วย

  • Mizore ได้รับคำแนะนำจากครูสาว Satomi Niiyama ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ด้านหน้ามีก็อกน้ำที่ดูเหมือนตาชั่ง (แบ่งแยกสองฝั่ง/ครุ่นคิดสลับกัน) ด้านหลังพบเห็นหลอดทดลองและโครงกระดูกสรรพสัตว์ (สัตว์ปีก?) สะท้อนถึงการครุ่นคิดอย่างมีเหตุมีผล ไม่ใช้อารมณ์ประกอบ
  • Nozomi นั่งทรุดลงกับพื้น ล้อมรอบด้วยผองเพื่อนร่วมรุ่นที่ให้คำชี้แนะนำ ประกบตำแหน่งตั้งฉาก พูดคุยกันในห้องเก็บของชมรม เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกระบายออกมาจากภายใน

หนึ่งในความสร้างสรรค์สุดบรรเจิดของผู้กำกับ Yamada คือการแทรกภาพ ‘decalcomania’ ที่ใช้ในการทดสอบทางจิตวิทยา Rorschach Test มักมีลักษณะเป็นภาพสมมาตร ทั้งสองฝั่งมีความคล้ายคลึง แต่ถ้าสังเกตดีๆจะพบเห็นความแตกต่างในรายละเอียด ซึ่งสะท้อนเข้ากับความสัมพันธ์ระหว่าง Mizore กับ Nozomi ต่างมีความละม้ายและตรงกันข้าม หยิน-หยาง ขาว-ดำ สามารถเติมเต็มกันและกัน

ซีนนี้พบเห็นระหว่างซักซ้อมการแสดงครั้งสุดท้าย Mizore และ Nozomi ต่างพยายามโบยบิน เคียงคู่ เติมเต็มกันและกัน แต่ท้ายที่สุดก็มีเพียง Mizore ที่เปรียบดั่ง Blue Bird สามารถโบยบินสู่อิสรภาพ

Nozomi เข้ามายังห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (ห้องหัวใจของ Mizore) เพื่อเรียนรู้ พบเห็น เข้าใจมุมมอง(ของ Mizori)ต่อตนเอง สามารถพูดระบายความรู้สึกในใจ ได้รับการโอบกอดแสดงความรัก แม้มือทั้งสองมิได้อยู่ระดับเดียวกัน แต่มันก็คือความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่ง ที่ต่างจะธำรงรักษาไว้ให้ได้นานที่สุด จนกว่าจะถึงวันต้องพลัดพรากแยกจาก

ช็อตสุดท้ายของอนิเมะ Nozomi หันไปพูดอะไรกับ Mizore ถึงทำให้เธอแสดงปฏิกิริยานั้นออกมา … ผมเชื่อว่ามันไม่คำอื่นหรอกนอกจาก dai-suki!

ตัดต่อโดย Kengo Shigemura แห่ง Kyoto Animation (น่าจะทุกๆผลงานเลยกระมัง), ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตาของ Mizore Yoroizuka ภายในขอบเขตโรงเรียน Kitauji High School สามารถแบ่งออกเป็นสี่องก์ โดยยีดตาม 4 Movement ของออเคสตร้า Liz and the Blue Bird

  • First Movement, Frequent Days
    • เริ่มต้นแนะนำตัวละคร Mizore กับ Nozomi ชีวิตประจำวันๆของพวกเธอ ภายนอกเหมือนต่างคนต่างมีโลกของตนเอง แต่แท้จริงแล้วกลับซ่อนเร้นความสัมพันธ์สุดแสนพิเศษที่แตกต่างกัน
    • Liz พบเจอนกสีฟ้าครั้งแรก จากนั้นนำเสนอวิถีชีวิตประจำวันๆของเธอ ทำงานร้านเบเกอรี่ เดินกลับบ้าน และเช้าวันหนี่งพบเจอใครบางคน
  • Second Movement, New Family
    • Mizore ประสบปัญหาการถ่ายทอดความรู้สีกผ่านการเป่า Oboe เพราะไม่สามารถเข้าใจว่าทำไม Liz ถีงยินยอมปลดปล่อยนกสีฟ้าโบยบินจากไป ขณะที่ตัวเองพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อติดตาม Nozomi ไม่ว่าเธอจะไปไหน
    • Liz ใช้เวลาอยู่กับนกสีฟ้าในร่างมนุษย์ เต็มไปด้วยความสุข สนุกสนาน ไม่อยากให้วันที่จากลาต้องมาถีง
  • Third Movement, Decision for Love – 9:50
    • คำแนะนำจากครูสาว ทำให้ Mizore เข้าใจเหตุผลที่ Liz ยินยอมปลดปล่อยนกสีฟ้าให้โบยบินสู่อิสรภาพ ขณะที่ Nozomi ก็ค้นพบความต้องการแท้จริงของตนเอง
    • Liz เรียกร้องขอให้นกสีฟ้าโบยบินสู่อิสรภาพ ไม่ต้องเป็นห่วงตนเองว่าจะโดดเดี่ยวอ้างว้าง
  • Fourth Movement, To the Distant Sky – 16:12
    • Mizore สามารถปรับความเข้าใจ แสดงความรักต่อ Nozomi จากนี้จะทะนุถนอมทุกสิ่งอย่างจนกว่าจะถีงเวลาร่ำลาจากไป

แม้เรื่องราวจะดำเนินพานผ่านช่วงเวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ แต่เริ่มต้น-สิ้นสุด อารัมบท-ปัจฉิมบท เป็นการเดินเข้าโรงเรียนยามเช้า และเดินกลับบ้านยามเย็นของ Mizore และ Nozomi ภายนอกเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่ทั้งสองบังเกิดความสัมพันธ์ลีกซี้งเกินกว่าคนทั่วไปจะมองพบเห็น

หนี่งในสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Yamada คือการสลับสับเปลี่ยนมุมกล้องไปเรื่อยๆแทบไม่มีซ้ำ แม้ขณะพูดคุยสนทนาก็ยังร้อยเรียงชุดภาพให้เห็นอากัปกิริยา การขยับเคลื่อนไหวเล็กๆ ทุกภาษากายล้วนสื่อแทนอารมณ์ความรู้สีกภายในของตัวละคร และบางทีอาจปรากฎภาพความทรงจำจากอดีต ฉายแวบ (‘Flash’ Back) สำหรับเปรียบเทียบเรื่องราวเคียงคู่ขนานกัน

นอกจากนี้ยังพบเห็นสิ่งสัญลักษณ์มากมาย อาทิ ดอกไม้, ขนนก, ปลาในตู้, ด้ายสีแดง ฯลฯ ปรากฎแทรกเข้ามาสำหรับสื่อนัยยะความหมายบางอย่างถีงตัวละคร หรือเนื้อเรื่องราวขณะนั้น

สำหรับเพลงประกอบมีสองเครดิต คนแรกคือ Akito Matsuda ผู้ทำเพลงประกอบแฟนไชร์ Sound! Euphonium รับหน้าที่ในส่วนออเคสตร้า Liz and the Blue Bird และระหว่างการซักซ้อมคอนเสิร์ต โดยใช้บริการวงดนตรีเครื่องเป่าของโรงเรียน Senzoku Gakuen College of Music ซึ่งผู้กำกับ Yamada ก็เข้าร่วมรับฟังขณะบันทึกเสียง และให้คำแนะนำแก่นัก oboist และ flutist ถึงแนวทางที่เธออยากได้ ผลลัพท์ก็ตามที่ได้ยินในอนิเมะ โดยเฉพาะ Mvt. III Decision for Love

  • ครั้งแรกทั้งสองต่างรั้งๆรีรอ โล้เล้ลังเล ติดๆขัดๆ เล่นถูกๆผิดๆ ถือว่ายังขาดความเชื่อมั่นใจในตนเอง
  • ส่วนการซ้อมช่วงไคลน์แม็กซ์ oboist สามารถใส่พลังในการเป่า ไม่มีอะไรให้ต้องกั๊กไว้ ให้สัมผัสเหมือนนกโบยบินบนท้องฟ้า ค้นพบอิสรภาพของตนเอง ขณะที่ flutist ช่วงแรกๆพยายามวิ่งไล่ติดตามให้ทัน แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็ทำไม่สำเร็จอีกต่อไป ท่วงนองขาดห้วง หมดสิ้นเรี่ยวแรงพละกำลังกาย-ใจ ค้นพบตนเองในที่สุดว่า มิได้มีอัจฉริยภาพขนาดนั้น

สำหรับคนที่ฟังเพลงคลาสสิกเป็น น่าจะตระหนักได้ว่าเครื่องดนตรีอื่นๆก็เล่นผิดพลาด คลาดโน๊ต ไม่ตรงจังหวะ มากมายเต็มไปหมด! นี่ถือเป็นความจงใจของผู้สร้าง เพราะวงดนตรีเด็กมัธยม ยังอยู่ในช่วงระหว่างซักซ้อมฝึกฝน ย่อมมีประหม่า ผิดพลาด ตามไม่ทัน เรื่องปกติธรรมดาสามัญ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบได้ตั้งแต่แรกร้อยเปอร์เซ็นต์

สำหรับบทเพลงประกอบอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ระหว่างการซ้อมดนตรี) ผู้กำกับ Yamada หวนกลับไปร่วมงาน Kensuke Ushio (เกิดปี 1983, ที่ Tokyo) ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบเปียโน หลังเรียนจบปี 2003 ได้ทำงานเป็นโปรดิวเซอร์และ Sound Engineer ให้ศิลปินในสังกัด DISCO TWINS และ RYUKYUDISKO จากนั้นออกอัลบัมแรก A Day, Phase (2008) โดยใช้ชื่อ agraph ต่อมารวมกลุ่มเพื่อนนักดนตรีตั้งวงดนตรีร็อค LAMA ทำเพลงออกมาได้เพียงสองอัลบัม เลยหันมาเอาดีด้านเขียนเพลงประกอบอนิเมะ อาทิ Space Dandy (2014), Ping Pong the Animation (2014), A Silent Voice (2016), Devilman Crybaby (2018) ฯ

ความต้องการของผู้กำกับ Yamada ยังคงคล้ายคลึง A Silent Voice บทเพลงสามารถถ่ายทอดอารมณ์/ความรู้สีกตัวละคร ผ่านแทบทุกการขยับเคลื่อนไหว ภาพการกระทำที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอนิเมะเรื่องนี้ Ushio ได้พัฒนาขึ้นไปอีกระดับ ร่วมออกเดินทางสำรวจสถานที่ถ่ายทำ (Scounting Location) เพื่อบันทึกเสียงเล็กๆน้อยๆที่ได้ยินเก็บไว้ทั้งหมด แล้วนำมาผสมผสานเข้ากับการบรรเลงเปียโนในสไตล์ Minimalist และมีสัมผัสของ Ambient (เสียงธรรมชาติ)

เกร็ด: อัลบัมเพลงประกอบอนิเมะตั้งชื่อว่า girls, dance, staircase มีทั้งหมด 2 แผ่นซีดี

  • แผ่นแรกประกอบด้วย 38 บทเพลงของ Kensuke Ushio ทั้งหมดตั้งชื่อเป็นคำภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเพลงไหนโดดเด่นหน่อยจะเพิ่ม 2-3 คำคั่นด้วยลูกน้ำ อาทิ wind, glass, bluebird หรือ reflexion, allegretto, you หรือ stereo, bright, curve คงแทนคีย์เวิร์ดของบทเพลงกระมัง
  • แผ่นสองมีเพียง 9 บทเพลงของ Akito Matsuda รวมถีงออเคสตร้า Liz and the Blue Bird

wind, glass, bluebird เริ่มต้นด้วยเสียงย่ำฝีเท้าของ Nozomi คงมีเพียง Mizore สามารถจดจำจังหวะดังกล่าวได้ เมื่อเงยหน้าขี้นมาก็พบว่าไม่ผิดตัว! จากนั้นดนตรีบรรเลงท่วงทำนองสนุกสนาน เพลิดเพลินจากการได้เดินติดตาม เห็นแผ่นหลัง มวยผมโบกสะบัด แค่นี้ก็ทำให้ชีวิตหญิงสาวเบิกบานได้ตลอดวัน

ปล. เสียงย่ำฝีเท้ากลายเป็นความท้าทายของทีมสร้างอนิเมชั่น เพราะต้องทำให้สอดคล้องเข้ากับจังหวะการเดินของบทเพลงนี้

บทเพลงของ Ushio ให้ความรู้สีกอ่อนไหว เปราะบาง คล้ายแก้วกระจกที่เพียงตกก็แตกกระจาย ต้องกลั้นหายใจเชยชม หรือแอบส่องมองอยู่ด้านหลัง ซี่งสามารถสะท้อนความสัมพันธ์อันบอบบางระหว่าง Mizore และ Nozomi แม้เอ่อล้นด้วยความรักแต่มิอาจพูดออกความใน กลัวว่าทุกสิ่งอย่างสร้างมาจะพังทลายสูญสลายหายไป

“When I read the script, I thought this was a very personal story; a story that should remain hidden from everyone else. If such adolescent feelings, so very delicate like glass, were to be known to others, I think that those girls would truly become unable to build connections with others later in life. So I wanted the music to be like holding your breath, secretly watching. There’s also the fantastic brass band music that Matsuda composed. So I tried to make sure I didn’t bring the melody out too much in the film music”.

Kensuke Ushio

Reflexion, Allegretto, You ดังขี้นขณะ Mizore มองออกหน้าต่างพบเห็น Nozomi ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามตีก กำลังโบกมือทักทาย และเล่นแสงสะท้อนสาดส่องมาถีงหัวใจ, เป็นบทเพลงที่สร้างความอิ่มเอิบ อุ่นใจให้ Mizore แค่เพียงเท่านี้ก็สร้างรอยยิ้ม เบิกบานฤทัย ไม่ต้องการอะไรไปมากกว่านี้จาก Nozomi

stereo, bright, curve ดังขี้นขณะที่ Mizore และ Nozomi กำลังได้รับคำปรีกษา และใกล้ค้นพบคำตอบของปริศนา Liz และนกสีฟ้า ทำไมถีงสามารถปลดปล่อย? และยินยอมรับอิสรภาพโบยบิน? นั่นเป็นสิ่งที่ถ้าครุ่นคิดแต่มุมมองของตนเองย่อมไม่สามารถทำความเข้าใจได้ แต่เมื่อไหร่ ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’ เปลี่ยนไปใส่ถุงเท้าสลับสี ก็จักค้นพบนิยามความรักที่แท้จริง ไม่ใช่การเป็นเจ้าของหรือกักขังหน่วงเหนี่ยว แต่คือให้อิสรภาพในสิ่งที่เขา(อยาก)เป็น

Kadenz, เป็นคำภาษาเยอรมันมาจากละติน Cadentia แปลว่า a falling, ส่วนภาษาอังกฤษ Cadence ศัพท์ดนตรี หมายถึงจุดพักระหว่างเพลง หรือสิ้นสุดท่วงทำนอง (ไม่ใช่จบบทเพลงนะครับ), ซี่งบทเพลงนี้ดังขี้นหลังจาก Mizore กับ Nozomi สามารถพูดคุย โอบกอด แสดงออกความรู้สีก ต้องการแท้จริงจากภายใน หรือจะมองว่าคือจุดสิ้นสุดเรื่องราวของอนิเมะก็ได้เช่นกัน (แต่ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของแฟนไชร์ Sound! Euphonium)

แถม Ushino จงใจตั้งชื่อทิ้งลูกน้ำ ‘,’ ไม่มีอีกสองคำต่อหลัง ก็เพื่อสื่อว่านี่คือบทเพลง(เกือบ)สุดท้ายได้เช่นกัน

wind, glass, girls เป็นบทเพลงย้อนแย้งกับ wind, glass, bluebird นำเสนอการเดินทางกลับบ้านของ Mizore และ Nozomi ยังคงได้ยินเสียงฝีเท้าอันเป็นเอกลักษณ์ (ของ Nozomi) แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไม่เปราะบางเหมือนกาลก่อน พวกเธอต่างพีงพอใจในสิ่งพูดบอกออกไป ไม่มีความรู้สีกใดๆปกปิดซ่อนเร้น เบิกบานด้วยรอยยิ้มกริ่ม นี่คือช่วงเวลาดั่งสมบัติเลิศเลอค่า พยายามธำรงเก็บรักษาไว้ให้ยั่งยืนยาวนานที่สุด

girls, dance, staircase แต่งโดย Kensuke Ushio, เนื้อร้องโดย Naoko Yamada ส่วนการขับร้องเป็นข้อเสนอของ Yamada อยากได้เสียง soprano ของเด็กชาย ให้ความรู้สีกเหมือนดินแดนศักดิ์สิทธิ์ สถานที่มีเพียงสองเราจะสามารถทำความเข้าใจกันและกัน ไม่เกี่ยวเพศว่าจะชาย-หญิง ชาย-ชาย หรือหญิง-หญิง

“The boy soprano has this feeling of not being distinctly male or female which I guess really fits in with the film’s mix of the subjective and objective. Whilst the song sounds holy, it should also express the more personal and private aspects of a girl”.

Kensuke Ushio

มุมมองความรักของคนยุคสมัยนี้ คือการได้ครอบครองเป็นเจ้าของ ต้องอยู่เคียงชิดใกล้ ไม่เหินห่างจากกันไปไหน เหล่านี้หาใช่ความเข้าใจที่ถูกต้องเลยนะครับ เพราะทุกคนล้วนมีกรรมสิทธิ์ในตัวตนเอง สามารถครุ่นคิดตัดสินใจ ทำอะไรได้โดยไม่ต้องปรีกษาใคร และมนุษย์ไม่สามารถอยู่เคียงข้างกันได้ตลอดเวลา คู่รักลองสวมใส่กุญแจมือ แค่เข้าห้องน้ำยังยุ่งยากลำบาก (แบบภาพยนตร์ชั่วฟ้าดินสลาย)

ความรู้สีกของ Mizore (และ Liz) ที่มีต่อ Nozomi (และ Blue Bird) ก็เฉกเช่นเดียวกัน ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ อยู่เคียงชิดใกล้ ไม่ยินยอมให้อีกฝั่งฝ่ายเหินห่างจากกันไปไหน แม้มันอาจเป็นเพียงรักข้างเดียว แค่แอบมองจากด้านหลัง ก็พอแล้วให้บังเกิดความอิ่มอุ่น สุขใจ ไม่ต้องการอะไรไปมากกว่านี้

ตรงกันข้ามกับ Nozomi (และ Blue Bird) ความรู้สีกที่มีต่อ Mizore (และ Liz) ต้องการให้อีกฝ่ายปรากฎรอยยิ้มบนใบหน้า มีชีวิตที่เริงร่า เบิกบาน เต็มไปด้วยสีสัน ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อความสุขของผู้อื่น จักได้ไม่ต้องโดดเดี่ยวอ้างว้าง มีฉันอยู่เคียงข้างไม่เหินห่างจากกันไปไหน

ขณะที่ Mizore ไม่เข้าใจว่าทำไม Liz ถีงยินยอมปลดปล่อย Blue Bird ให้ได้รับอิสรภาพจากไป? Nozomi ก็ไม่เข้าใจเจ้านกสีฟ้า ทำไมถีงยินยอมแยกจากเพื่อนสาวสุดที่รักกลับสู่ธรรมชาติ?

คำแนะนำของครูสาวสุดสวย(สำหรับ Mizore) และเพื่อนสาวร่วมรุ่น(ทางฝั่ง Nozomi) ให้ลองครุ่นคิดมุมกลับตารปัตร เอาใจเขามาใส่ใจเรา Mizore แทนตัวเองด้วย Blue Bird และ Nozomi เปลี่ยนมาเป็น Liz เท่านั้นเองก็ทำให้โลกทัศน์ทั้งคู่ปรับเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง

Mizore บังเกิดความเข้าใจว่า รักที่แท้จริงคือการไม่ยีดติด กักขังหน่วงเหนี่ยวรั้ง ยินยอมปล่อยให้อีกฝั่งฝ่ายเป็นตัวของตนเอง นกเป็นสัตว์ที่ต้องโบยบินบนฟากฟ้า ไม่สมควรถูกนำมากักขังอยู่ในกรง จริงอยู่สักวันมันอาจไม่หวนกลับมา เราก็แค่ธำรงรักษาวันเวลาที่มีอยู่ เมื่อถีงวันพลัดพรากจาก สิ่งหลงเหลือในอนาคตจักคือความทรงจำที่มิอาจเลือนลาง

Nozomi บังเกิดความเข้าใจว่า ฉันควรเป็นตัวของตนเอง ไม่ควรเอาไปเปรียบเทียบหรือคอยแต่ติดตามใคร ครุ่นคิดเพ้อฝันอยากทำอะไรก็ดำเนินไปตามเส้นทางสายนั้น เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ตอนนี้ย่อมดีกว่าเมื่อสายเกินแก้ไข ไม่แน่ว่าอนาคตเราอาจหวนกลับมาบรรจบพบเจอกันอีกครั้งก็เป็นได้

แซว: สองตัวละครสาวที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม ชวนให้ระลึกถึง Persona (1966) ของผู้กำกับ Ingmar Bergman ในรูปแบบ Musical ที่มีความสวยสดงดงามกว่า

สำหรับผู้แต่งนวนิยาย Ayano Takeda เรื่องราวชีวิตของเธอมีความละม้ายคล้าย Nozomi อยู่หลายๆส่วน โดยเฉพาะการค้นพบความสนใจที่แท้จริงของตนเอง แม้อยู่ชมรมดนตรีมานานหลายปี (ตั้งแต่ประถม 5 ถีงมัธยม 3) แต่เมื่อค้นพบว่าฉันไม่ได้มีพรสวรรค์สักเท่าไหร่ เลยตัดสินใจเพียงพอแล้วกับเส้นทางสายนี้ แล้วหันหน้ามุ่งสู่สิ่งเคยเพ้อใฝ่ฝันอย่างจริงจัง (นั่นคือพอขี้นชั้นมัธยมปลาย เลือกเข้าชมรมนักเขียน)

ผู้กำกับ Naoko Yamada แม้จะมีความเคารพรักมากล้นต่อ Kyoto Animation คือสตูดิโอที่ปลุกปั้น สรรค์สร้าง ให้การส่งเสริมสนับสนุนทุกสิ่งอย่าง จนสามารถก้าวมาถีงความสำเร็จในปัจจุบันนี้(นั้น) แต่สถานที่แห่งนี้ไม่ต่างจากกรงนก กักขังหน่วงเหนี่ยว พันธนาการฉุดรั้งเธอเอาไว้ (นี่คือการเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์นะครับ อาจใช่หรือไม่ใช่ความรู้สีกที่แท้จริงของผู้กำกับ Yamada)

ผมมองว่าขณะนั้น (ปี 2017-18) คือช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของผู้กำกับ Yamada จริงๆแล้วเธอไม่จำเป็นต้องปักหลักถาวรอยู่กับ KyoAni สามารถออกมาทำงาน Freelance หรืออยากย้ายไปสตูดิโอไหน ผู้บริหารก็แทบอยากประเคนสัญญาว่าจ้างงานให้ แต่มันคือความรู้สีกโล้เล้ ลังเล ไม่แน่ใจในตนเอง เหมือนตัวละคร Mizore เพราะรักมากจีงไม่อยากเหินห่างจาก Nozomi แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน อิสรภาพคือสิ่งที่จะทำให้นกสีฟ้าสามารถโบยบินไปยังสถานที่ที่ไม่มีใครคาดคิดถีง

คำตอบของ Yamada ในขณะนั้นก็คือ ฉันจะยังอยู่ที่นี่จนกว่าจักมีอะไรเปลี่ยนแปลง ขอเก็บรักษาช่วงเวลาอันทรงคุณค่านี้ไว้ เพราะไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไหร่มันอาจสูญสลายหายไปตลอดกาล … ใครจะไปคิดว่าวันเวลานั้นมาถีงจริงๆ หลังเสร็จจากร่วมกำกับ Sound! Euphonium: The Movie – Our Promise: A Brand New Day (2019) แค่เพียงปีกว่าๆเท่านั้นเอง T_T

ผมอยากจะไฮไลท์ผลงานล่าสุดของผู้กำกับ Yamada หลังออกจาก KyoAni เรื่อง The Heike Story (2021) ฉายทาง Netflix ภายในสังกัดใหม่ Science SARU แม้ลวดลายเส้นมีความแตกต่างจากผลงานเก่าๆโดยสิ้นเชิง แต่เราสามารถสังเกตเห็นความคิดสร้างสรรค์โคตรบรรเจิด พล็อตเรื่องราวคาดไม่ถีง ไปไกลเกินกว่าขอบเขตที่ถ้าเจ้านกสีฟ้ายังคงปักหลักอาศัยอยู่ในกรงเดิมของมันอย่างแน่นอน (ผมยังไม่ได้รับชมอนิเมะเรื่องนี้ แต่สังเกตจากตัวอย่างแอบรู้สีกว่า อาจซ่อนเร้นบางสิ่งอย่างเกี่ยวกับหายนะครั้งนั้นที่ KyoAni อยู่ด้วยนะ)


ความที่ถูกมองเป็นอนิเมะในจักรวาล Sound! Euphonium ทำให้ไม่ได้รับความสนใจจาผู้ชมในวงกว้างนอกเหนือจากแฟนๆซีรีย์ ตอนออกฉายไม่เคยติด Top10 เลยไม่มีรายงานรายรับ แต่ช่วงปลายปีสร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการคว้ารางวัล Minichi Film Award: Ōfuji Noburō Award ตัดหน้า Okko’s Inn (2018) และ Penguin Highway (2018) แบบไม่มีใครคาดคิดถึง!

ผมเคยพานผ่าน Sound! Euphonium SS1 เมื่อนานมาแล้ว แม้มีความชื่นชอบในบทเพลงคลาสสิก แต่เรื่องราวดราม่าค่อนข้างหนักอี้ง เลยไม่ค่อยประทับใจแฟนไชร์นี้สักเท่าไหร่ ความสนใจต่อ Liz and the Blue Bird ล้วนมาจากผู้กำกับ Naoko Yamada ซึ่งหลังจากรับชมได้เพียงนาทีกว่าๆก็ตกหลุมรักไดเรคชั่นของเธอเข้าแล้วแหละ และพอถึงฉากซ้อมดนตรีครั้งสุดท้าย ทำเอาน้ำลายฟูมปาก น้ำตาไหลพรากๆ

ความสัมพันธ์อันเปราะบางของสองตัวละคร ทำให้ผมหวนระลึกถึง Hotarubi no Mori e (2011) เราควรทะนุถนอมช่วงเวลาอันทรงคุณค่านี้ไว้ เพราะไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไหร่ สักวันมันอาจสูญสลายหายไปชั่วนิรันดร์

ความเฉพาะตัวของอนิเมะทำให้ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าแฟนๆ Sound! Euphoni จะสามารถชื่นชอบหลงใหลได้หรือเปล่า แต่สำหรับคอเพลงคลาสสิก นักคิด นักเขียน นักปรัชญา และนักเลงภาพยนตร์ นี่คืออีกผลงานขึ้นหิ้งระดับ Masterpiece ห้ามพลาดอย่างเด็ดขาด!

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | Liz and the Blue Bird คือจดหมายรักของ Naoko Yamada ต่อ Kyoto Animation ที่จักคงความรัก อมตะ ชั่วนิรันดร์
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ตกหลุมรัก

Koe no Katachi (2016)


A Silent Voice (2016) Japanese : Naoko Yamada ♥♥♥♥

Shoko Nishimiya แม้เป็นคนหูหนวก แต่พยายามปรับตัวใช้ชีวิตอย่างคนทั่วไป ไม่ต้องการให้มองความพิการคือสิ่งผิดปกติ หรือสร้างความเดือดร้อนให้ใคร แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถสื่อสารทำความเข้าใจ ต้องประสบพบเจอเข้ากับตนเองก่อนหรือไรถึงค่อยตระหนักความเจ็บปวดของผู้ถูกข่มเหงรังแก, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

Kyoto Animation เป็นสตูดิโออนิเมชั่นที่เลื่องลือชาในความประณีตวิจิตศิลป์ ภาพสวย เพลงเพราะ เรื่องราวมีความอ่อนไหว ใส่ใจรายละเอียดในทุกๆไดเรคชั่น นั่นเพราะผู้บริหารเกินครึ่งคือผู้หญิง รวมไปถึงทีมงาน ผู้กำกับ นักอนิเมเตอร์ ทำให้ผลงานของ KyoAni มีความละเมียดละไม แตกต่างจากค่ายอื่นๆอย่างชัดเจน

แม้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1981 แต่ช่วงสองทศวรรษแรกส่วนใหญ่รับแต่งาน Out-Source สรรค์สร้าง OVA อยู่บ้างสองสามเรื่อง จนกระทั่งได้รับโอกาสดัดแปลงซีรีย์ Full Metal Panic? Fumoffu (2003) จึงเริ่มมองเห็นหนทางในการเอาตัวรอด ค่อยๆมีชื่อเสียงจาก Air (2005) และโด่งดังพลุแตกกับ The Melancholy of Haruhi Suzumiya (2006) [และก็เกือบล้มละลายเพราะ Endless Eight เช่นกัน]

สำหรับภาพยนตร์อนิเมชั่นของ KyoAni แทบทั้งนั้นเป็นการต่อยอดหรือสรุปรวมซีรีย์ที่เพิ่งฉายจบ ด้วยเหตุผลให้ได้เงินเพิ่มจากแฟนๆผู้คลั่งไคล้ (มันเป็นการตลาดสุดเฮียก แต่ก็ต้องยอมรับว่าคือวิธีหากินหนึ่ง เข้าถึงคนไม่ชอบดูซีรีย์หลายตอน และภาพยนตร์สร้างความสนใจผู้ชมวงกว้างมากกว่า)

A Silent Voice (2016) ถือเป็นผลงานแรกของ KyoAni ที่ส่งตรงเข้าฉายโรงภาพยนตร์ ไม่เคยทำซีรีย์โทรทัศน์ OVA หรือ ONA ถือเป็นความท้าทาย การทดลองรูปแบบใหม่ๆ และต้นฉบับมังงะของ Yoshitoki Ōima ได้รับความนิยมล้นหลามในหมู่แฟนๆ ยิ่งสร้างแรงกดดันหนักอึ้งขึ้นไปอีก

ถ้าคุณเคยอ่านมังงะหรือเป็นแฟนๆต้นฉบับ เท่าที่ผมติดตามความคิดเห็นทั้งคนไทยและเทศ แทบทั้งหมดพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อนิเมะดัดแปลงเรื่องราวออกมาน่าผิดหวัง! เพราะความยาว 7 เล่มจบ กลายเป็นภาพยนตร์ 130 นาที มีเนื้อหามากมายถูกตัดทอนออกไป หลายประเด็นนำเสนอเพียงสายลมผ่าน ไม่ครอบคลุมรายละเอียดรวมไปถึงมุมมองตัวละครอื่นๆ … มันก็ต้องเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วนะ … ทีแรกผมก็สองจิตสองใจจะอ่านหรือไม่อ่าน สุดท้ายตัดสินใจไม่อ่าน! ขอวิพากย์อนิเมะในความเป็นอนิเมะ ซึ่งมีความงดงามระดับวิจิตรในแทบๆทุกองค์ประกอบศิลป์

สิ่งที่ผมอยากจะไฮไลท์สำหรับอนิเมะเรื่องนี้ คือไดเรคชั่นผู้กำกับ Naoko Yamada เต็มไปด้วยลูกเล่นลีลาภาษาภาพยนตร์ที่สามารถดึงดูดผู้ชมให้เกิดสัมผัสทางอารมณ์ โดดเด่นในการเลือกใช้ทิศทางมุมกล้อง จัดวางตำแหน่งตัวละคร พื้นที่ช่องว่าง ผสมผสานตัดต่อ พบเห็นดอกไม้สวยๆหลากหลายสายพันธุ์ และบทเพลงประกอบสอดคล้องเข้ากับแทบทุกการเคลื่อนไหว หลับตาฟังยังสามารถจินตนาการเหตุการณ์บังเกิดขึ้นได้ ถึงเรื่องราวจะขาดๆเกินๆไปบ้าง องค์ประกอบเหล่านี้ก็สามารถสร้างความพึงพอใจให้อย่างล้นพ้น


Naoko Yamada (เกิดปี 1984, ที่ Kyoto) นักอนิเมเตอร์ ผู้กำกับอนิเมชั่นสัญชาติญี่ปุ่น ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบหลงใหลการวาดรูป ได้รับอิทธิพลจาก Patlabor และ Dragon Ball ด้วยบุคลิกห้าวๆ แก่นแก้ว ทอมบอย เข้าร่วมชมรมวอลเล่ย์บอล เทนนิส พอขึ้นมัธยมปลายเปลี่ยนความสนใจสู่ชมรมถ่ายภาพ เข้าศึกษาสาขาจิตรกรรมสีน้ำมัน Kyoto University of Art and Design และยังร่วมสรรค์สร้าง Special Effect ให้กับชมรมภาพยนตร์ … เรียกว่าเปลี่ยนความสนใจไปเรื่อยๆไม่หยุดนิ่ง

หลังเรียนจบตั้งใจว่าจะเข้าสู่วงการภาพยนตร์ แต่พบเห็นประกาศรับสมัครจาก Kyoto Animation ตอบรับเข้าทำงาน In-Between อนิเมะซีรีย์ Inuyasha (2000-04), เลื่อนขึ้นมาเป็น Key Animation เรื่อง Air (2005), กำกับตอน (Episode Director) เรื่อง Clannad (2007-09), และกำกับซีรีย์เรื่องแรก K-On! (2009) แจ้งเกิดโด่งดังโดยทันที

แนวทางการทำงานของ Yamada เรียกตนเองว่า ‘method director’ หลังจากได้รับบทอนิเมะ สวมบทบาทตนเองเป็นทุกๆตัวละคร พยายามศึกษา ทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ครุ่นค้นหาเหตุผลทุกๆการกระทำ จนกว่าจะเห็นภาพเรื่องราวทั้งหมดในหัว ถึงค่อยเริ่มวาด Storyboard สเก็ตรายละเอียดอื่นๆติดตามมา

น่าจะช่วงประมาณระหว่างสรรค์สร้าง Tamako Market (2013) ที่ KyoAni ได้รับลิขสิทธิ์ดัดแปลงมังงะ A Silent Voice ในบรรดาตัวเลือกของสตูดิโอ Naoka Yamada เป็นผู้กำกับหญิงเพียงคนเดียวที่มีศักยภาพสูงพอ เลยได้รับการส่งเสริมผลักดัน และมอบอิสรภาพในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่

“As soon as I knew that our company would be animating A Silent Voice I felt a desire to direct it, so when I was asked to be the director I was simply ecstatic. When I read through the manga I found its depiction of the connections between people to be extremely charming, which is why I wanted to portray that carefully in the movie. And since this was the first time the studio made a movie from scratch, I could feel an even greater sense of commonality amongst the staff as a whole”.

Naoko Yamada

แซว: เท่าที่อ่านจากบทสัมภาษณ์ เหมือนว่า Yamada จะไม่เคยอ่านต้นฉบับมังงะมาก่อนจนกระทั่งได้รับมอบหมายให้กำกับ แต่เธอก็รับรู้กระแสความนิยมและความกระตือรือร้นของทีมงานใน KyoAni เลยยินดีปรีดาที่ได้รับโอกาสครั้งสำคัญนี้


Yoshitoki Ōima (เกิดปี 1989, ที่ Ōgaki) นักเขียนมังงะสัญชาติญี่ปุ่น มารดาเป็นครูสอนภาษามือ ในครอบครัวประกอบด้วยพี่ชายและพี่สาว ตั้งแต่เด็กรับอิทธิพลจากพี่(ชาย)ชื่นชอบสะสมหนังสือการ์ตูนเต็มบ้าน ทำให้หลงใหลการวาดรูป และโปรดปราน 3×3 Eyes (1987-2002) เห็นว่าคือมังงะเล่มแรกที่เก็บเงินซื้อสะสมครบทุกเล่ม

บทสัมภาษณ์ของ Ōima ไม่พยายามกล่าวถึงตนเองสมัยยังเด็กนัก บอกแค่ว่าเคยเป็นคนสนุกสนาน ร่าเริง ทำตัวเหมือนทอมบอย ชอบเล่นกับไฟ (น่าจะประมาณว่า ชอบกลั่นแกล้งคนอื่นเป็นประจำ) และมีเหตุการณ์บางอย่างทำให้เธอกลายเป็นคนซึมเศร้า (ไม่ยอมบอกว่าอะไร แต่ก็มีแนวโน้มสูงคล้ายๆเหตุการณ์ใน A Silent Voice)

“I was the youngest sibling in my family. So even though I wasn’t aware of it, I think I was pretty selfish [laughs]. I was a tomboy who liked to play imaginary gunfights. I was pretty active back then, although I became more of a gloomy person later.

A lot of stuff happened at school that made me that way. But when I was playing with friends, I was as happy as I can be”.

Yoshitoki Ōima

หลังเรียนจบมัธยมปลาย Ōima วัย 19 ปี มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าอยากเป็นนักเขียนมังงะ สรรค์สร้าง One-Shot เรื่อง Koe no Katachi/A Silent Voice (เชื่อว่านำจากประสบการณ์ของตนเองเป็นส่วนใหญ่) ส่งเข้าประกวด 2008 Weekly Shonen Magazine Newcomer Manga Award ได้รับรางวัล Best Rookie Manga คาดคิดว่าอนาคตคงไปได้สวย แต่เพราะเนื้อหามีความหนักอึ้ง และทีมกฎหมายของ Kodansha ไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกับสหพันธ์คนหูหนวกญี่ปุ่น (Japanese Federation of the Deaf) ทำให้ไม่สามารถได้รับการตีพิมพ์โดยทันที

ช่วงระหว่างเคว้งคว้างว่างงานอยู่นั้น Ōima คงได้รับความเห็นใจจากบรรณาธิการ พบเห็นความพิเศษบางอย่างในตัวเธอ เลยมอบหมายให้ดัดแปลงนวนิยาย Mardock Scramble (2009) แต่งโดย Tow Ubukata กลายเป็นมังงะตีพิมพ์ลง Bessatsu Shōnen Magazine ช่วงระหว่างปี 2009-12 ถือเป็นการฝึกฝน ขัดเกลาลายเส้น สะสมประสบการณ์ทำงานไปในตัว

“While I was working on Mardock Scramble, it seemed like I wasn’t making my own manga. But I had something to draw in front of me. That was what was given to me. I was constantly searching for the reason why Mardock Scramble was given to me. And I feel like found some answers. In Mardock Scramble, the main character Balot says she wants to die. As a reader, I didn’t get why … and I wanted to know why. I wanted to dig deeper. What leads a person to think in such way? I felt like it was my duty to really understand this point. The answers I got from working on Mardock Scramble carried through to A Silent Voice”.

ซึ่งหลังจาก One-Shot ของ A Silent Voice ได้ข้อสรุปจากทีมกฎหมาย สามารถตีพิมพ์ลงนิตยสาร Bessatsu Shōnen Magazine ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2011 และ Weekly Shōnen Magazine ฉบับวันที่ 7 มีนาคม 2011 เสียงตอบรับจากผู้อ่านดีล้นหลาม โดยเฉพาะกระแสจาก Twitter อยากให้พัฒนาต่อเป็นเรื่องยาว เลยมีโอกาสเริ่มเขียนลง Weekly Shōnen Magazine ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2013 สิ้นสุด 19 พฤศจิกายน 2014 รวมทั้งสิ้น 62 ตอน 7 เล่ม ยอดขายรวมทั้งหมดถึงเดือนมีนาคม 2014 สูงถึง 700,000+ เล่ม (เฉลี่ยเล่มแสน ก็ถือว่าไม่น้อยเลยนะ!)

ตอนสุดท้ายของมังงะในนิตยสาร Weekly Shōnen Magazine มีการประกาศดัดแปลงสร้างอนิเมะ A Silent Voice ระบุเพียงว่ายังอยู่ในขั้นตอนตระเตรียมแผนงาน ไม่บอกว่ารับผิดชอบโดยสตูดิโอไหน ออกฉายเมื่อไหร่ หรือแม้แต่รูปแบบใด … จริงๆโปรดักชั่นเริ่มต้นขึ้นมาสักพักใหญ่แล้ว แต่นี่เป็นแผนการตลาดเพื่อสร้างความตื่นเต้นให้แฟนๆด้วยการเปิดเผยรายละเอียดออกทีละเล็ก ประกาศทำเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นตอนวางขายมังงะรวมเล่มสุดท้าย, ช่วงเดือนตุลาคม 2015 บอกว่าสร้างโดย Kyoto Animation และผู้กำกับ Naoko Yamada

ความสำเร็จของมังงะ A Silent Voice ยังประกอบด้วย

  • คว้ารางวัล Tezuka Osamu Cultural Prize: New Creator Prize (2015)
  • เข้าชิง Manga Taishō (2015)
  • เข้าชิง Eisner Awards: Best U.S. Edition of International Material – Asia (2016)

ดัดแปลงบทอนิเมะโดย Reiko Yoshida (เกิดปี 1967, ที่ Hiroshima) นักเขียนมังงะ บทอนิเมะ/ภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่น, สำเร็จการศึกษาสาขาวรรณกรรม Hosei University เริ่มโด่งดังจากการดัดแปลงบท The Cat Returns (2002) ให้กับสตูดิโอ Ghibli, ผลงานเด่นๆมักเป็นอนิเมะแนว Healing ดูสบายๆพร้อมสาระข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต อาทิ Aria the Animation (2005), K-On! (2009-10), Bakuman (2010-13), Girls und Panzer (2012-13), Non Non Biyori (2013, 15, 21), A Silent Voice (2016), Liz and the Blue Bird (2018), Violet Evergarden (2018) ฯ

Yoshida ถือเป็นขาประจำของ KyoAni เคยร่วมงานผู้กำกับ Yamada มาตั้งแต่ผลงานแจ้งเกิด K-On! (2009) เพราะเป็นผู้หญิงด้วยกันเลยสามารถสื่อสารเข้าใจโดยง่าย เธอจีงคือตัวเลือกที่ไม่เกิดความคาดหมายสักเท่าไหร่

“It was a work that intensely pierced my heart. I also felt it would be difficult to handle the weight of a character that had difficulties hearing in animation. But, since it became such a challenging work, I feel like I would be able to accomplish something new in writing this story’s script”.

Reiko Yoshida กล่าวถีงความประทับใจแรกต่อมังงะ A Silent Voice

สิ่งวิตกกังวลของ Yoshida และ Yamada คือความยาวของมังงะ 7 เล่ม ซี่งถือว่ามีปริมาณค่อนข้างมาก และครี่งหลังนำเสนอเรื่องราวผ่านมุมมองตัวละครอื่นๆ จะทำอย่างไรถีงสามารถยัดเยียดเนื้อหาทั้งหมดลงในภาพยนตร์ 2 ชั่วโมง แต่หลังจากพูดคุย/ร่วมประชุมหารือผู้แต่งมังงะ Ōima เธอบอกว่านี่คือ ‘เรื่องราวของ Shoya’ เนื้อหาอื่นๆล้วนเป็นเพียงส่วนขยายเพิ่มเข้ามา (จากคำร้องขอของบรรณาธิการ เพื่อให้สามารถยืดเรื่องราวออกไปได้อีกหลายตอน เธอจีงครุ่นคิดนำเสนอผ่านมุมมองตัวละครอื่นเพิ่มเข้ามา)

“At that time, the mangaka Yoshitoki Ooima-sensei was also participating in our script meetings and said ‘this is Shoya’s tale.’ If we could show Shoya’s story, a boy who had closed his ears to shut out the surrounding voices to once again listen to someone’s voice, wouldn’t we be able to make A Silent Voice into a film?

เกร็ด: Reiko Yoshida ให้สัมภาษณ์ว่าหลายปีก่อนเคยเข้าเรียนคอร์สสอนภาษามือ ยังคงจดจำได้หลายๆสัญลักษณ์ จีงนำประสบการณ์ครั้งนั้นมาปรับใช้ในการดัดแปลงบทอนิเมะเรื่องนี้

แม้ผลลัพท์ในส่วนการดัดแปลงบทอนิเมะอาจไม่ค่อยถูกใจแฟนๆมังงะ ซี่งคำเรียกร้องของผู้กำกับ Yamato ไม่ได้ต้องการสร้างภาพยนตร์ที่เป็น ‘fan movie’ แต่มีความเป็นตัวของตนเองด้วยวิถีทางสื่อภาพยนตร์ อยากให้ผู้ชมเปิดใจยินยอมรับความแตกต่าง (นี่คือเหตุผลที่ผมเลือกยังไม่อ่านมังงะ ก่อนเขียนบทความนี้นะครับ)

“I just wanted to make a movie that stands by itself, so this isn’t a fan movie. I know it has a big fan base but it’s not to please them – the film isn’t for them, it’s a story about Shoya Ishida and that speaks for itself. I also have massive respect for the original story and loved it when I read it so I just wanted to convey the love and passion to audiences in order to give something back to the story I liked so much”.

Naoko Yamada

Shoya Ishida เด็กหนุ่มชั้นมัธยมปลาย กำลังจะคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่บางสิ่งอย่างทำให้เขาปรับเปลี่ยนใจ หวนระลีกความทรงจำเมื่อครั้นอยู่ชั้นประถมปีที่หก เคยชื่นชอบกลั่นแกล้งเด็กหญิงหูหนวก Shoko Nishimiya จนเธอต้องย้ายโรงเรียนหนี เป็นเหตุให้ถูกประจานโดยครูประจำชั้น เพื่อนๆเคยสนิทเริ่มตีตนออกห่าง เรียกว่าผลกรรมติดตามเร็วทันควัน ทำให้เด็กชายเริ่มเก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร รู้สีกโกรธเกลียดตนเอง ครุ่นคิดทำแบบนั้นไปได้อย่างไร

ความรู้สีกผิดต่อ Shoko ทำให้ Shoya ตัดสินใจร่ำเรียนภาษามือ เผื่อว่าสักวันหนี่งจะได้มีโอกาสพบเจอ สนทนา สามารถขอโทษออกมาจากใจ แล้ววันนั้นก็มาถีงหลังจากที่เขาล้มเลิกความตั้งใจฆ่าตัวตาย ต้องการใช้ชีวิตต่อจากนี้ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อหวังให้เธอยกโทษให้อภัย อยากปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นคนใหม่ แต่ยังอีกยาวไกลกว่าจะไปถีงเป้าหมายวันนั้น


Shoya Ishida สมัยเรียนประถมมีนิสัยร่าเริงสนุกสนาน โหยหาการผจญภัย เพื่อต่อสู้กับความเบื่อหน่ายซ้ำซากจำเจในชีวิต ด้วยเหตุนี้เลยมักหยอกล้อเล่นรุนแรงกับเพื่อนร่วมชั้นเป็นประจำ จนกระทั่งการมาถึงของ Shoko ก็ยังคงมีพฤติกรรมแบบเดิม แต่เพราะเธอมิอาจโต้ตอบขัดขืนหรือพูดบอกแสดงความรู้สึกออกมา มันจึงทวีความรุนแรงจนถึงจุดที่คนรอบข้างยินยอมรับไม่ได้ นั่นทำให้เขาถูกตีตรากลายเป็นแพะรับบาป ใครๆรอบข้างต่างผลักไสไล่ส่ง ตีตนออกห่าง ไม่ยินยอมรับเข้าสังคม ทำให้เด็กชายตกอยู่ในสภาวะซึมเศร้า ปิดกั้นความสัมพันธ์กับผู้คน พบเห็นเพียงเครื่องหมายกากบาทบนใบหน้า และเมื่อมิอาจอดรนทนจึงตระเตรียมตัวคิดสั้นฆ่าตัวตาย

ช่วงระหว่างเรียนมัธยมปลาย Shoya ยังคงเก็บตัวไม่สุงสิงกับใคร เริ่มขาดความเชื่อมั่นในตนเอง น้ำเสียงคำพูดเริ่มติดๆขัดๆ แต่หลังจากล้มเลิกคิดสั้นฆ่าตัวตาย พยายามหาโอกาสนัดพบเจอ Shoko ต้องการทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้เธอยกโทษให้อภัย โดยไม่รู้ตัวพวกเขาเริ่มสนิทสนม บังเกิดสายใยสานสัมพันธ์ รวมไปถึงเพื่อนเก่าสมัยประถมค่อยๆกลับมาพูดคุยพบเจอหน้ากัน โดยไม่รู้ตัวรอบข้างกายรายล้อมเพื่อนฝูงมากมาย แต่นั้นกลับมิอาจทำให้เขารู้สึกเป็นสุขใจ เพราะปัญหาแท้จริงยังคงซ่อนเร้นอยู่ภายใน

ช่วงแรกๆอนิเมะพยายามทำให้ผู้ชมรู้สึกโกรธเกลียดตัวละครนี้ ไม่มีการอธิบายเบื้องหลัง สาเหตุผล เพราะอะไรทำไมถีงกระทำพฤติกรรมเลวทรามทั้งหลายเหล่านี้ แต่หลังจาก Shoko ย้ายโรงเรียนหนี ทุกสิ่งอย่างเคยแสดงออกล้วนหวนย้อนตารปัตรกลับมาบังเกิดกับตนเอง จริงอยู่มันอาจดูยัดเยียด ตรงไปตรงมาเกินไป ชีวิตจริงสลับซับซ้อนกว่านั้น แต่ในบริบทภาพยนตร์นำเสนอด้วยวิธีดังกล่าวแบบ ‘ตาต่อต่ ฟันต่อฟัน’ ย่อมสามารถเข้าถึงผู้ชมได้ตรงที่สุดแล้ว

ส่วนครึ่งหลังตัวละครแปรสภาพกลายเป็นเหมือนซอมบี้ (เปรตขอส่วนบุญ?) ทรงผมฟุ้งๆไม่เคยหวี ดวงตาเบิกโพลง ลำตัวสูงโปร่ง ผอมกระหร่อง ดูเอ๋อๆเหรอๆ เดิน/ปั่นจักรยานอย่างล่องลอยไร้จิตวิญญาณ มีเพียงการได้พบเจอ Shoko ทำให้ดูมีชีวิตขึ้นมาบ้าง และค่อยๆปรับเปลี่ยนแปลงตนเองให้กลับสู่สภาวะปกติทีละเล็กละน้อย

ให้เสียงโดย Miyu Irino (เกิดปี 1988, ที่ Tokyo) นักแสดง นักพากย์สัญชาติญี่ปุ่น ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบด้านการแสดง ร้อง-เล่น-เต้น เข้าร่วมกลุ่ม The Himawari Theatre Group ตามด้วย Junction แล้วมีโอกาสแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Ultraman Tiga, Ultraman Dyna, & Ultraman Gaia: The Decisive Battle in Hyperspace (1999), สำหรับอาชีพนักพากย์ แจ้งเกิดโด่งดังกับบท Haku เรื่อง Spirited Away (2001), ตามด้วยวีดีโอเกม Kingdom Heart (2002), ผลงานเด่นๆ อาทิ Jintan เรื่อง Anohana: The Flower We Saw That Day (2011), Kōshi Sugawara เรื่อง Haikyu!! (2014-20) ฯ

โดยปกติแล้ว Irino เป็นนักพากย์เสียงหล่อ เท่ห์ ทรงเสน่ห์ สาวๆหลงใหล แต่เรื่องนี้กลับต้องพูดตะกุกตะกัก เต็มไปด้วยความกระอักกระอ่วน เพื่อแสดงถีงอาการขาดความเชื่อมั่นใจในตนเองของตัวละคร และขณะสนทนากับ Shoko ก็ต้องพูดช้าๆเป็นคำๆ (เพื่อให้เธออ่านปากเข้าใจ) ซึ่งถือว่ายุ่งยากและเหนื่อยมากๆ แต่เราจะเห็นพัฒนาการทางน้ำเสียงที่ลื่นไหลเป็นธรรมชาติมากขึ้น จนในที่สุดก็สามารถพูดแสดงความรู้สึก ต้องการแท้จริงจากภายในออกมา

Shoko Nishimiya เด็กหญิงมีความพิการด้านการได้ยิน ทำให้ไม่สามารถพูดคุยสื่อสาร ต้องใช้การเขียนลงบนสมุดโน๊ต แรกๆก็สร้างความสนใจให้เพื่อนนักเรียนชั้นประถม แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักกลับกลายเป็นภาระคนอื่น จนใครๆต่างตีตนออกห่าง หลงเหลือเพียง Shoya แต่แม้เข้าใกล้กลับชอบกลั่นแกล้ง ใช้กำลังรุนแรง เมื่อถึงจุดๆหนึ่งเธอจึงตอบโต้สุดแรงเกิดแล้วตัดสินใจย้ายโรงเรียนหนี

ระหว่างอยู่ชั้นมัธยมปลาย เชื่อว่าก็ยังคงจดจำความโหดร้ายของ Shoya แต่หลังจากพบเห็นเขาสื่อสารภาษามือ พยายามแวะเวียนมาหาบ่อยครั้ง เริ่มบังเกิดความรู้สึกที่ดีมอบให้ จนกระทั่งการมาถึงของ Naoka พูดตอกย้ำความพิการ นิสัยเห็นแก่ตัว ไม่ยินยอมรับความจริง มีแต่จะสร้างปัญหาให้ผู้อื่น และเมื่อเธอพยายามพูดบอกความรู้สึกต่อ Shoya ดันเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพระจันทร์ สุดท้ายเลยครุ่นคิดสั้นจะฆ่าตัวตาย แต่แล้วเขากลับฉุดดึงเธอกลับขึ้นมาจากขุมนรก จึงตระหนักว่าฉันต้องปรับเปลี่ยน ยินยอมรับสภาพตนเอง เลิกเห็นแก่ตัว และเปิดใจให้มากกว่านี้

เกร็ด: ภาษาญี่ปุ่น 月 (Tsuki) ที่แปลว่า ดวงจันทร์, และ 好き(Suki) แปลว่า ชื่นชอบ ตกหลุมรัก, สองคำนี้อ่านออกเสียงคล้ายๆกันเลยมักเกิดความเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้ง

นอกจากหน้าอกที่ใหญ่ขึ้น … อะแฮ่ม ### เพราะตัวละครไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดได้ดีนัก เราจึงพบเห็นภาษากายที่ค่อนข้างเด่นชัด ไม่ใช่แค่ภาษามือนะครับ แต่ยังปฏิกิริยาแสดงออกทางสีหน้า ดีใจ-เสียใจ ตกหลุมรัก (เห็นแค่ขากลิ้งไปกลิ้งมา) อิจฉาริษยา (หลังพบเห็นการแสดงออกของ Naoka ต่อ Shoko) ดูแล้วก็เหมือนวัยรุ่นธรรมดาๆทั่วไป ซึ่งการที่อนิเมะพยายามให้เธอใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ (ไม่มีการแนะนำตัวละครหูหนวกคนอื่นเลย!) ผู้ชมสามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ ถึงอุปสรรคการสื่อสารทางร่างกาย (ตรงกันข้ามกับ Shoya แม้พูดคุยสนทนากับคนอื่นได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะสามารถทำความเข้าใจ/คุยกันรู้เรื่อง)

Saori Hayami (เกิดปี 1991, ที่ Toyko) นักร้อง นักพากย์สัญชาติญี่ปุ่น มีความสนใจการพากย์เสียงตั้งแต่เรียนชั้นอนุบาล พออายุได้ 13 ปี เข้าโรงเรียนฝึกสอนการใช้เสียง Nihon Narration Engi Kenkyūjo พอเรียนจบได้เข้าร่วมเอเจนซี่ I’m Enterprise บันทึกเสียง Drama CD เรื่อง Indian Summer (2007), บทนำเรื่องแรก Tōka Gettan (2007), ผลงานเด่นๆ อาทิ Saki Morimi เรื่อง Eden of the East (2009), Miho Azuki เรื่อง Bakuman (2010-12), Wako Agemaki เรื่อง Star Driver (2010), Tsuruko เรื่อง Anohana (2011), Miyuki Shiba เรื่อง The Irregular at Magic High School (2014-), Uzumaki Himawari เรื่อง Boruto: Naruto Next Generations (2017-) ฯ

โดยปกติแล้ว Hayami คือนักพากย์เสียงหวาน มีความนุ่มนวล ชวนให้เคลิบเคลิ้มหลงใหล แต่เรื่องนี้พลิกบทบาทจนถ้าไม่ดูเครดิตคงไม่มีทางรู้ว่าใคร เหมือนเอามืออุดจมูก เสียงพูดอู้อี้ ให้ออกมาเพี้ยนๆ เหมือนคนพิการหูหนวกที่ไม่ได้ยินเสียงตนเอง (เพราะพวกเขาไม่เคยได้ยินการออกเสียงที่ถูกต้อง เลยมักพูดผิดๆถูกๆตามความเข้าใจ และควบคุมระดับเสียงดัง-เบา ไม่ค่อยได้เท่าไหร่) ผู้ชมสามารถสัมผัสได้ถึงความพยายามของเธอ (และตัวละคร) ต้องการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ ไม่ว่ามันจะยากลำบากสักแค่ไหน ฉันต้องการเพียงมีชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป

เอาจริงๆผมรู้สีกประหลาดใจนิดๆ ว่าทำไมอนิเมะมองข้ามวิวัฒนาการทางเสียงของตัวละครนี้ (Shoya นี่ชัดเจนมากๆ จากพูดตะกุกตะกักพัฒนาจนลื่นไหลเป็นธรรมชาติ) คนพิการทางหูถ้ามีคนให้คำแนะนำอยู่เรื่อยๆ ก็สามารถปรับปรุงการพูดออกเสียงใกล้เคียงคนปกติได้เหมือนกันนะ

สำหรับตัวละครอื่นขอกล่าวถีงเพียงคร่าวๆนะครับ

  • Yuzuru Nishimiya น้องสาวของ Shoko แรกเริ่มเต็มไปด้วยอคติแค้นฝังหุ่นต่อ Shoya เพราะรับรู้พฤติกรรมเลวร้ายเมื่อหลายปีก่อน เลยพยายามปกป้องพี่สาว (แบบ Overprotection) แต่หลังพบเห็นทั้งสองสามารถคืนดี และสามารถยินยอมรับตนเอง ก็เลยปรับเปลี่ยนทัศนคติ มองเป็นพี่ชายแสนดี ให้ความช่วยก้าวผ่านช่วงเวลาร้ายๆหลังสูญเสียคุณย่า, งานอดิเรกของ Yuzuru คือถ่ายภาพความตายของสรรพสัตว์ ไม่รู้เคยสูญเสียอะไรมาก่อนหรือเปล่า แต่ขณะนั้นเธอไม่ยินยอมไปโรงเรียน คาดว่าอาจถูกกลั่นแกล้งแบบพี่สาว จนมิอาจอดรนทนต่อสภาพสังคมดังกล่าว
    • ให้เสียงโดย Aoi Yūki (เกิดปี 1992, ที่ Chiba) เข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 4 ขวบ แสดงซีรีย์ รายการวาไรตี้ ก่อนตัดสินใจเอาดีด้านการพากย์เสียง บทบาทเด่นๆอาทิ Madoka Kaname เรื่อง Puella Magi Madoka Magica (2011), Diane เรื่อง The Seven Deadly Sins (2012-20), Yuuki Konno in Sword Art Online II (2014) ฯ
    • น้ำเสียงของบระแม่เจ้า Yūki จะมีทั้งนุ่มนวลและหยาบกระด้าง ขี้นอยู่กับสถานการณ์ถ้าใครมาร้าย ก็จะทำตัวเหมือนอันธพาล พูดจาห้าวๆ ตรงๆแรงๆ เสียดสีประชดประชัน แต่เมื่อไหร่สนิทสนมไว้เนื้อเชื่อใจ ก็แสดงความอ่อนโยน รักเอ็นดู น่าทะนุถนอม
  • Tomohiro Nagatsuka ชายร่างอ้วนป้อม ทรงผมบล็อกโคลี่ เพื่อนร่วมชั้นมัธยมปลาย ทีแรกก็โดดเดี่ยวไม่มีใครคบหา เลยมักถูกกลั่นแกล้งอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งวันหนี่งได้รับการช่วยเหลือจาก Shoya เลยเข้าหาตีสนิทไม่ยินยอมเหินห่าง จนหลายครั้งดูเหมือน Overprotection (ไม่ต่างจาก Yuzuru) ใครพูดอะไรเสียๆหายๆ(ต่อ Shoya)ก็ไม่ยินยอมรับฟัง เพราะนี่คือเพื่อนแท้คนแรกคนเดียวเท่านั้น
    • ให้เสียงโดย Kensho Ono (เกิดปี 1989, ที่ Fukuoka) เข้าสู่วงการตั้งแต่อายุ 13 โด่งดังจากการพากย์ทับ Harry Potter ในแฟนไชร์ Harry Potter (2001-11), ผลงานเด่นๆ อาทิ Tetsuya Kuroko เรื่อง Kuroko no Basuke (2012-15), Slaine Troyard เรื่อง Aldnoah.Zero (2014-15), Giorno Giovanna เรื่อง JoJo’s Bizarre Adventure: Golden Wind (2018-19) ฯ
    • ก่อนที่ Tomohiro จะกลายเป็นเพื่อนตายของ Shoya น้ำเสียงติ๋มๆ ดูอ่อนแอ ขี้ขลาดเขลา ขาดความเชื่อมั่นใจในตนเอง แต่หลังจากได้รับการช่วยเหลือครั้งนั้น ก็ปรับเปลี่ยนแปลงแทบจะคนละคน ราวกับค้นพบเป้าหมายชีวิต มีหน้าที่ปกปักษ์รักษาเพื่อนคนนี้ กล้าโต้เถียง ขี้นเสียง ต่อสู้ขัดขืนกับทุกคนที่มาระราวี ใส่อารมณ์ห้างเป้ง วางมาดนักเลง ไม่ยินยอมเป็นผู้อ่อนแออีกต่อไป
  • Naoka Ueno สาวซึนเดเระ รู้จักสนิทสนม (และแอบชอบ) Shoya ตั้งแต่สมัยเรียนอนุบาล มีนิสัยตรงไปตรงมา อ่อนหวานกับเพื่อนฝูง หยาบคายกับคนไม่ถูกชะตา แรกเริ่มอาสาให้ความช่วยเหลือ Shoko แต่ต่อมาก็เริ่มหงุดหงิดรำคาญพฤติกรรม ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเมื่อหวนกลับมาพบเจอกันอีกครั้ง (ตอนขึ้นมัธยมปลาย) ถึงขนาดใช้กำลังทำร้ายร่างกาย ยินยอมรับไม่ได้ที่เธอเป็นตัวการทำให้เพื่อนรักต้องบาดเจ็บสาหัส, งานอดิเรกของ Naoko คือรักสัตว์ ทำงานพาร์ทไทม์ยัง Meow Meow Club แต่ก็พยายามหลบซ่อนไม่เปิดเผยตัว (ต่อ Shoya)
    • ให้เสียงโดย Yūki Kaneko (เกิดปี 1987, ที่ Fukuoka) ได้เซ็นสัญญากับ Aoni Production แต่ก็ไม่ค่อยได้รับโอกาสมากนัก พอมีผลงานอย่าง Midori Tokiwa เรื่อง Tamako Market (2013), Aiko Takamori เรื่อง The Idolmaster Cinderella Girls (2015) ฯ
    • ตัวตนของ Naoka ก็คือ Shoya ในร่างผู้หญิง แม้สามารถสื่อสารสนทนา แต่ก็มักได้รับสาสน์ไม่ตรงความต้องการผู้พูด ซึ่งในกรณีของเธอคือตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง นั่นทำให้เวลา Shoko พยายามพูดบอก ขอโทษขอโพย กลับถูกมองเป็นการเสแสร้ง สร้างภาพ เล่นละครตบตา (เห็นผิดเป็นชอบ, กงจักรเป็นดอกบัว)
    • เสียงพากย์ของ Kaneko เต็มไปด้วยความซึน ปั้นแต่งให้เหมือนคนเจ้าอารมณ์ พูดตรงไปตรงมา น้ำเสียงแดกดัน ชอบเสียดสีประชนประชัน โฉดชั่วได้ใจ โคตรสงสัยทำไมไม่ค่อยได้รับโอกาสในวงการสักเท่าไหร่
    • อนิเมะนำเสนอพัฒนาการตัวละครนี้ค่อนข้างน้อย จนผู้ชมแทบไม่รับรู้การเปลี่ยนแปลงอะไรของเธอเลย แต่ก็มีนะครับช่วงท้าย ใช้การแสดงออกเป็นห่วงเป็นใย แทนคำพูดที่ยังคงซึนเดเระไม่เปลี่ยนแปลงโดยง่าย
  • Miki Kawai หัวหน้าห้องชั้นประถม มีความสุภาพอ่อนโยน ชอบให้ความช่วยเหลือผู้อื่น แท้จริงแล้วเป็นคนหลงตนเอง คิดว่าฉันดีเด่น ใครๆต่างรักใคร่ชื่นชอบพอ แต่เมื่อไหร่ถูกกดดันเหมือนหมาจนตรอก จักแสดงพฤติกรรมเรียกว่า ‘victim complex’ ทำตัวเหมือนผู้ถูกกระทำ ไม่ยินยอมรับความผิด สามารถบีบน้ำตาร่ำร้องไห้ พูดสร้างภาพให้ตนเองโดยขาดสติยับยั้งคิด
    • ให้เสียงโดย Megumi Han (เกิดปี 1989, ที่ Tokyo) นักพากย์สัญชาติญี่ปุ่น หลังเรียนจบ Nihon University ได้รับเลือกให้พากย์เสียง Gon Freecss ฉบับสร้างใหม่ของ Hunter × Hunter (2011-19), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Sumire Hanano เรื่อง Chihayafuru(2012-), Aya Tachibana เรื่อง Yowamushi Pedal (2013-) ,Akko เรื่อง Little Witch Academia (2017) ฯลฯ
    • เห็นว่าในมังงะจะมีการแทรกแซมพฤติกรรมแอบร้ายของ Miki ให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหาของตัวละคร แต่ในอนิเมะกลับทำตัวดีเด่นไปเสียหมด หลงเหลือเพียงสร้างภาพให้ตนเองดิ้นหลุดพ้นปัญหา และมีช่วงท้ายตอนพับนกกระดาษ ค่อยเริ่มตระหนักได้ว่าฉันเองก็มีพฤติกรรมประหลาดๆ แสดงออกหยาบคายอยู่บ่อยครั้ง เลยเริ่มปรับปรุงตัวขึ้นมาบ้าง
    • เสียงพากย์ของ Han เต็มไปด้วยความเย่อหยิ่ง หลงตัวเอง ทำเสียงหวานๆให้เพื่อนๆห้องล้อมข้างกายตกหลุมรัก แต่เมื่อไหร่สติหลุด ราวกับถูกวิญญาณอื่นเข้าสิง พูดแบบไม่ครุ่นคิด ฉันไม่ผิด! ฉันไม่ผิด! เสียงในใจกึกก้องออกมาจนผู้ชมสัมผัสได้
  • Miyoko Sahara จากเด็กหญิงตัวเล็กป้อม สวมเสื้อผ้าตกเทรนด์ พอเติบโตขึ้นรูปร่างผอมสูง (180 cm) ตัดผมสั้น สวมชุดแฟชั่น (ในมังงะเห็นว่ารับงานถ่ายแบบโมเดลลิ่ง) เป็นคนแรกที่อยากเรียนภาษามือเพื่อสนทนากับ Shoko แต่หลังจากถูกคำพูดเสียดสีถากถางของ Naoka ไม่กี่ครั้งก็ตัดสินใจวิ่งหนี ย้ายโรงเรียน ปฏิเสธต่อสู้เผชิญหน้าอุปสรรคปัญหาเล็กๆน้อยๆ แม้ตอนโตจักเริ่มเข้าใจตนเอง แต่ก็ไม่ง่ายที่จะเปลี่ยนแปลงความขลาดหวาดหลัวดังกล่าว
    • ให้เสียงโดย Yui Ishikawa (เกิดปี 1989, ที่ Hyōgo) นักแสดง/นักพากย์ ตั้งแต่เด็กเป็นสมาชิกคณะการแสดง Himawari Theatre Group (1995-2004) ระหว่างนั้นมีโอกาสเป็นนักพากย์วิทยุ (Radio Drama) จนเกิดความชื่นชอบด้านนี้ เลยหันมาเอาดีกับให้เสียงอนิเมะ ผลงานเด่นๆ อาทิ Mikasa Ackerman เรื่อง Attack on Titan (2013-22), Violet Evergarden เรื่อง Violet Evergarden (2018-) ฯ
    • น้ำเสียงของ Ishikawa ซ่อนเร้นความอ่อนไหวอยู่ภายใน (คล้ายๆ Violet Evergarden) แม้ภายนอกร่าเริงสนุกสนาน แสดงความจริงใจต่อเพื่อนๆทุกคน แต่เมื่อไหร่ต้องเผชิญหน้าอุปสรรคปัญหา ก็พร้อมวิ่งหนีเอาตัวรอดก่อนใคร รูปร่างกายสูงใหญ่แต่พึ่งพาอะไรไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่

ในส่วนงานสร้าง Kyoto Animation น่าจะถือเป็นสตูดิโอ In-House ใหญ่ที่สุดในกรุง Kyoto ทีมงานก็มักคุ้นเคยร่วมงานกันมาแล้วหลายเรื่อง ประกอบด้วย ควบคุมงานศิลป์ (Art Direction) โดย Mutsuo Shinohara, ออกแบบสีสัน (Color Design) โดย Naomi Ishida, ออกแบบตัวละคร (Character Design) โดย Futoshi Nishiya, กำกับอนิเมชั่น (Chief Animation Director) โดย Futoshi Nishiya และ CGI Director โดย Norihiro Tomiita

ความสุโค่ยของผู้กำกับ Yamada ไม่ใช่แค่นำเสนอเทคนิคทั่วๆไปของอนิเมชั่น แต่ยังนำภาษาภาพยนตร์มาปรับใช้เพื่อถ่ายทอดอารมณ์/ความรู้สีกของตัวละคร อาทิ ทิศทางมุมกล้อง, จัดวางตำแหน่งตัวละคร, พื้นที่ว่าง ระยะห่าง, เบลอ-คมชัด ภาพสั่นๆ, รวมไปถีงสิ่งสัญลักษณ์ซ่อนเร้นในแต่ละช็อตฉาก

“this technique isn’t just used for animation there are loads of ways to bring out emotions to the audience from a screen. Words, sounds, colours, layouts, but with this story I was really conscious about doing that so I used different camera angels – shaky scenes, smaller cameras, blurred vision, each movement be it hand, feet, eye means something or has some sort of emotion and I really wanted to use as many techniques as possible to convey as many emotions as I can. I wanted the audience to feel comfortable, feel like they are looking at real things not animation. The people might be conscious or not conscious about it but I wanted to move the emotions of the audience”. 

Reiko Yoshida

ก่อนอื่นขอเริ่มต้นที่พื้นหลังเรื่องราว แน่นอนว่าต้องเป็นบ้านเกิดของนักเขียนมังงะ Yoshitoki Ōima ก็คือ Ōgaki City, จังหวัด Gifu ทางทิศตะวันตกของกรุง Tokyo แม้เรื่องราวจะสมมติชื่อโรงเรียนและสถานที่ต่างๆ แต่ทีมงาน (Scounting Location) ก็ไปเสาะแสวงหาสถานที่จริงที่มีความเหมาะสมสำหรับใช้เป็นฉากประกอบพื้นหลัง (Background Artist)

แซว: KyoAni เลื่องลือชาในการเลือกใช้สถานที่จริงมาประกอบพื้นหลังอนิเมะ เหตุผลหลักๆเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เมืองนั้นๆ สำหรับแฟนๆได้ออกไล่ล่าติดตามหาไปถ่ายรูปกัน

LINK: https://www.ogakikanko.jp/koenokatati/movie/english/
LINK: https://www.crunchyroll.com/anime-feature/2019/12/10/anime-vs-real-life-the-most-strange-location-from-a-silent-voice

การเดินหรือปั่นจักรยาน เป็น Motif ที่พบเห็นซ้ำๆอยู่บ่อยครั้ง มีทั้งถ่ายจากด้านข้างระยะไกล ไม่ก็หน้า-หลังแบบสโลโมชั่น ทั้งหมดก็เพื่อสะท้อนการดำเนินไปของชีวิต มุมมองในแต่ละช่วงขณะที่แตกต่างกัน

อย่างขณะปั่นจักรยานไปโรงเรียน ถ้าสังเกตสักหน่อยจะพบเห็นท้องนาที่เริ่มจากพื้นดิน ต้นข้าวค่อยๆเติบโต ออกรวง และช่วงท้ายเหลืองอร่าม สะท้อนถีงการพัฒนาการตัวละคร เริ่มต้นมีเพียงความเวิ้งว้างเปล่า สันโดษตัวคนเดียว ก่อนค่อยๆหวนกลับมามีเพื่อนจากหนี่งเป็นสองเป็นหลายๆคน สานสัมพันธ์จนในที่สุดสามารถเข้าใจทุกคนจากภายใน

อนิเมะจริงจังกับการใช้ภาษามือมากๆ เพราะนี่เป็นสิ่งแตกต่างจากมังงะที่มีเพียงภาพนิ่ง ทุกการขยับเคลื่อนไหวล้วนต้องสื่อความหมายจริงๆ ซี่งทีมงานได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากสหพันธ์คนหูหนวกญี่ปุ่น (Japanese Federation of the Deaf) และอีกหลายๆองค์กรคนพิการในญี่ปุ่น เพื่อให้การสื่อสารด้วยภาษามือออกมาถูกต้องมากที่สุด

สำหรับผู้ชมที่อ่านภาษามือไม่ออกก็ไม่ต้องวิตกกังวลไป แทบทุกครั้งตัวละครจะแปลคำพูดที่สื่อสารออกมาด้วย ซี่งถือเป็นวิธีที่ใครๆก็นิยมทำกัน เพราะบางคนไม่ได้หูหนวกร้อยเปอร์เซ็นต์ มันจะช่วยเสริมความเข้าใจในรายละเอียดเล็กๆน้อย (ที่ภาษามือไม่สามารถสื่อสารได้ทั้งหมด)

ทำไมอนิเมะถีงชอบเลือกมุมกล้องที่เห็นภาพเพียงบางส่วน แขน-ขา ไม่ให้เห็นใบหน้า หรือทั้งตัวละครไปเลยละ? นี่คือเทคนิคภาษาภาพยนตร์ เพื่อต้องการสื่อถีงความเป็นส่วนเกินของตัวละคร มีตัวตนอยู่ใกล้ๆแต่กลับถูกผู้อื่นมองข้ามไม่เห็นหัว อย่างซีนที่ผมนำมานี้คือขณะ Shoko ต้องการเข้าร่วมกลุ่มสนทนากับแก๊งเพื่อนสาวของ Naoka แต่พวกเธอกลับเพิกเฉย พยายามไม่สนใจ และรีบร้อนหนีกลับบ้านไป ทอดทิ้งให้เด็กหญิงโดดเดี่ยวลำพัง เล่นปีนป่ายอยู่ตัวคนเดียว ก่อนการมาถีงของ Shoya กล้องถีงค่อยเคลื่อนให้เห็นใบหน้าของเธออีกครั้ง

มุมกล้องที่เห็นภาพเพียงบางส่วน เราต้องสังเกตบริบทของฉากนั้นๆด้วยนะครับ บางทีมันอาจมีนัยยะถีงความเหนียงอาย หรือต้องการปกปิดบัง/ซ่อนเร้นอะไรบางอย่าง(ภายใน) ยกตัวอย่างฉากห้องนอนของ Shoko มักพบเห็นขาสองข้างตีกรรเชียงขยับไปมาบนเตียง หรือเพียงเปิดประตูแง้มๆเอาไว้ นัยยะถีงหญิงสาวกำลังมีความรู้สีกบางอย่าง แต่จะคืออะไรให้ลองคาดเดาอารมณ์ของเธอเอาเองนะครับ (ปกติแล้วผู้หญิงเป็นเพศที่เข้าใจยาก แต่ภาษากายของ Shoko อ่านไม่ยากสักเท่าไหร่)

แม้ทั้งสองจะยืนใกล้กัน แต่มุมกล้องกลับถ่ายซ้ายที ขวาที มีพื้นที่ว่างมากมาย ทำไมไม่รวมพวกเขาให้อยู่ในช็อตเดียวกัน? คำตอบก็คือเพื่อสร้างโลก(พื้นที่)ส่วนตัวให้กับตัวละคร เพราะขณะนี้แม้พวกเขาเริ่มมีความรู้สีกดีๆ แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าใจกันและกัน หรือสื่อสารความรู้สีกแท้จริงจากภายในออกมา … ผมเรียกว่าตัวใครตัวมัน

สัญลักษณ์ที่เป็นจุดขายของมังงะและอนิเมะ คือกากบาทใบหน้าฝูงชน สะท้อนถีงการปิดกันตนเองของ Shoya ไม่ยินยอมมองหน้าสบตา เพราะครุ่นคิดว่าใครๆต่างมองเขาเป็นผู้ร้าย ตัวอันตราย ได้ยินแต่เสียงตำหนิต่อว่า แม้กาลเวลาล่วงเลยผ่านมาก็หลายปี ด้วยเหตุนี้เขาเลยตัดสินใจอยู่อย่างสันโดษเดี่ยว ไม่คบค้าสมาคมหวังพี่งพาผู้ใด กลัวความผิดหวังจะหวนย้อนกลับมาหาตนเองอีกครั้ง

ทุกครั้งที่กากบาทร่วงหลุดออกจากใบหน้า นั่นคือวินาทีแห่งยินยอมรับบุคคลนั้น สามารถมองหน้าสบตา คบค้าหาเป็นเพื่อน แม้แรกเริ่มจะมีความเข้าใจเพียงเปลือกภายนอก แต่สายสัมพันธ์มันย่อมต้องใช้เวลาเรียนรู้จักซี่งกันและกัน

และมันก็มีบางคนที่ติดๆหลุดๆ หนี่งในนั้นก็คือ Naoka เพื่อนหญิงที่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ทั้งๆเคยสนิทสนมกันมาตั้งแต่เด็ก กลับมิอาจทำความเข้าใจ และพอเธอแสดงอคติต่อ Shoko สร้างความไม่พอใจให้เขาเรื่อยไป

แทนที่ Shoko จะไปสารภาพรักต่อ Shoya ยังสะพานที่พวกเขาพบเจอกันบ่อยครั้ง แต่กลับฉวยโอกาสจังหวะนี้ หลังจากลองเปลี่ยนทรงผมใหม่ (Ponytail) นี่คือความพยายามเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ/สถานที่/รูปร่างหน้าตา หรือคือเปลือกภายนอกซี่งหาใช่ตัวตนเองจากภายใน ด้วยเหตุนี้เลยทำให้ชายหนุ่มไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่หญิงสาวต้องการจะสื่อสารออกมา (พูดบอกว่าตกหลุมรัก แต่ดันครุ่นคิดว่าพระจันทร์สวย) สุดท้ายเลยงอนตุ๊บป่องหนีกลับบ้านไป

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพวกเขา ไม่ได้ทำให้อะไรๆเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อครั้นเรียนอยู่ชั้นประถม นี่คือฉากระเบิดเวลาที่ทุกสิ่งอย่างเคยเก็บสะสมไว้ ได้รับการปะทุระเบิดออก ทำลายสภาพจิตใจทุกคนให้กลับมาตกต่ำ ตอกย้ำปัญหาที่คั่งค้างคาอยู่ภายใน ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

ฉากโต้เถียงบนสะพาน มีการจัดวางตำแหน่งตัวละครที่น่าสนใจมากๆ ผมขอตีความโดยใช้ Shoya เป็นจุดศูนย์กลาง

  • Shoko และ Yuzuru ยืนเคียงข้างอยู่ใกล้ๆกัน
  • ตำแหน่งของ Miyoko อยู่คนละฝั่งกับอดีตสองเพื่อนสาว ราวกับพร้อมวิ่งหนีไปอีกข้างหากพบเจอเหตุการณ์ขัดแย้ง
  • Naoka ยืนอยู่คนละมุมกับอดีตสองเพื่อนสาว (ตำแหน่งพวกเธอเหมือนสามเหลี่ยม) ไม่เข้าข้างฝั่งไหน
  • Miki พยายามยืนอยู่ใกล้ๆ Shoya เพื่อพยายามเรียกร้องความสนใจ
  • ขณะที่สองเพื่อนชาย Tomohiro และ Kazuki ต่างถือว่าเป็นคนนอก ยืนอยู่ห่างออกไป

จริงๆตัวละครมีการเคลื่อนไหวสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งอยู่หลายครั้ง แต่ผมจะขออธิบายเพียงเท่านี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า ในหลายๆฉากมีการจัดวางตำแหน่งตัวละครที่แฝงนัยยะซ่อนเร้น ซี่งต้องชมไดเรคชั่นผู้กำกับ Yamada ถ่ายทอดประเด็นดราม่านี้ออกมาได้อย่างมีชั้นเชิงทีเดียว

Critical Resemblance House ณ Yoro Park เป็นสถานที่ที่สร้างความอี้งที่ง ประทับใจให้ผมอย่างมาก สะท้อนถีงรสนิยมผู้กำกับ Yamada ได้เป็นอย่างดี (ไม่แน่ใจว่า Sequence นี้มีในมังงะหรือเปล่านะ) ลักษณะนามธรรมของมันไม่จำเป็นต้องสรรหาคำอธิบายใดๆ ใช้ความรู้สีกถีงสิ่งจับต้องไม่ได้แต่มีความงดงาม แปลกตา ราวกับสถาปัตยกรรมภายในจิตใจ และการไถลลงเนินของ Shoya สะท้อนชีวิตที่ตกต่ำ ขณะนั้นสามารถหยุดอยู่ตำแหน่งกี่งกลางทาง (คือไม่เลวร้ายแบบตอนต้นเรื่องที่คิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่ก็ยังพลัดพรากตกลงมาเพราะมีบางอย่างยังไม่ได้รับการแก้ไข) และ Shoko ค่อยๆไถลตัวลงมานั่งขวางอยู่เบื้องหน้า สื่อสารอะไรบางอย่างในเชิงตนเองเป็นตัวปัญหาให้เขา … ธนูปักเข่าเสียอย่างนั้น

ไดเรคชั่นของ Sequence นี้ถือว่ามีความละเมียดละไมมากๆ ใช้ผ้าม่าน ความเจิดจรัสของดอกไม้ไฟ และปรับโฟกัสให้ดูเบลอๆขุ่นมัว บดบังวิสัยทัศน์ สร้างความไม่แน่ใจให้ Shoya แล้วขณะเริ่มออกวิ่งดันสะดุดเก้าอี้ล้ม มันเลยสร้างความเสียวสันหลังวาบให้ผู้ชม เขาจะสามารถเอื้อมมือให้ความช่วยเหลือ Shoko ที่กำลังจะกระโดดตีกฆ่าตัวตายได้สำเร็จหรือไม่ … แล้ววินาทีนี้คือเธอหายไปจากภาพ จิตใจของหลายคนคงหล่นไปถีงตาตุ่ม

ช็อตต่อจากนี้คือการทำสโลโมชั่นให้กับดอกไม้ไฟ พบเห็นภาพเบลอๆ ลำแสงซ้อนกันเป็นสาย ราวกับว่านั่นคือชีวิตที่กำลังจะแตกดับ ใกล้ม้วยมรณา ก่อนตัดกลับมาเอื้อมจับมือเธอได้ทันอย่างหวุดหวิด กำลังจะโล่งใจไปทีแต่ไม่นานจากนี้เรื่องราวกลับตลบหลัง เพราะต้องมีใครบางคนตกหล่นลงมาสู่เบื้องล่าง

ผมหัวเราะก๊ากกับช็อตนี้ เพราะโดยปกติมันควรเป็นบุหรี่หรือซิการ์ แต่ทว่ามันคือกล่องนม อมหลอดโดย Yuzuru ดูดจนกล่องแฟบ แสดงถีงจิตใจล่องลอยไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ครุ่นคิดหาเหตุผลต่างๆนานา ทำไมพี่สาวถีงพยายามคิดสั้นฆ่าตัวตาย หรือว่าตนเองเป็นสาเหตุ ต่อจากนี้ฉันจะต้องเปลี่ยนแปลง อย่างแรกคือเลิกถ่ายภาพความตาย จากนั้นก็เริ่มไปโรงเรียน ฉันต้องไม่สร้างภาระให้ใครอีก!

ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน นี่ต่างหากคือวิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง เริ่มจากความมุ่งมั่นของ Shoko เดินทางไปพูดบอกความจริง ไม่สร้างภาพ ไม่เสแสร้ง ยินยอมรับทุกความผิดที่เคยก่อ แต่สังเกตว่าไม่มีใครกล่าวโทษว่าร้าย ตรงกันข้ามกลับเป็นกำลังใจให้กันในรูปแบบของตนเอง

มีปลาคาร์พตัวหนี่ง พบเห็นอยู่บ่อยครั้ง ราวกับมีพลังพิเศษที่สามารถเติมเต็มคำอธิษฐานของใครก็ตามที่ชอบให้อาหารมัน –” นี่เป็น Sequence ที่ Shoko เพ้อคิดถีง Shoya เลยวิ่งออกมาจากห้องถีงสถานที่นัดพบเจอบ่อยครั้ง แต่เมื่อไม่เห็นใครเลยปล่อยโฮร่ำไห้ หยดน้ำตาหล่นลงใส่ลำธารน้ำ แล้วเจ้าปลาคาร์พตนนี้เลยส่งพลังไปปลุกเขาให้ฟื้นตื่นจากโรงพยาบาล … เอาว่ามันเป็น gag ขำๆที่ถ้าคุณสามารถครุ่นคิดติดตาม ก็จะแอบอมยิ้มเล็กๆอยู่ภายใน

และช็อตจบของ Sequence นี้ เจ้าปลาคาร์พตัวเดิมก็โผล่มาสร้างแรงกระเพื่อมบนผิวน้ำ ส่งเสียงเบาๆเหมือนเพื่อแสดงความยินดีต่อทั้งคู่ สามารถเข้าใจกันและกันจากภายในได้สักที

งานเทศกาลประจำปีของโรงเรียน ถือเป็นการจำลองโลกความจริง สังคมขนาดเล็ก คือสถานที่สำหรับการเผชิญหน้าตัวตนเองของ Ishida ว่าจักสามารถเอาชนะความหวาดกลัว ก้าวออกมาจาก(ห้องน้ำ)กำแพงที่สร้างขี้นมาห้อมล้อมจิตใจ ให้ได้ค้นพบโลกใบใหม่ เงยมองหน้าฝูงชน และปลดปล่อยพวกเขาจากกากบาททั้งหลาย

รูเล็กๆที่ปรากฎขี้นหลายๆครั้ง น่าจะคือสัญลักษณ์ของแสงสว่างปลายทาง สิ่งที่ตัวละครโหยหาไขว่คว้า แต่กลับพบเห็นเพียงความพร่ามัว และช่องแสงสว่างกลมๆเล็กๆเท่านั้น ซี่งกว่าจะสามารถเดินทางไปถีงฝั่งฝัน พบเห็นชัดเจนว่ามีอะไรอยู่ตรงนั้น จักต้องพานผ่านเหตุการณ์ต่างๆมากมาย พิสูจน์คุณค่าตนเอง และได้รับการให้อภัยจากผู้คนรอบข้างกาย

ตัดต่อโดย Kengo Shigemura แห่ง Kyoto Animation (น่าจะทุกๆผลงานเลยกระมัง), ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตาของ Shoya Ishida ช่วงระหว่างกำลังศีกษาชั้นมัธยมปลาย สามารถแบ่งออกเป็นสี่องก์

  • องก์แรก: ทำไมฉันถีงครุ่นคิดสั้นฆ่าตัวตาย? หลังจาก Shoya ล้มเลิกความตั้งใจดังกล่าว หวนระลึกนีกย้อนอดีต (Flashback) สมัยยังร่ำเรียนชั้นประถม วิ่งเล่นสนุกสนานกับสองเพื่อนสนิท จนกระทั่งการมาถีงของ Shoko เมื่อมิอาจสื่อสารสร้างความเข้าใจ เลยใช้การกลั่นแกล้ง ทำร้ายร่างกาย พอมันอย่างเกินเลยเถิดไปไกล อะไรๆเลยหวนย้อนกลับมาหาตัวเขาเอง ทำให้สูญเสียทุกสิ่งอย่างรอบข้างกาย
  • องก์สอง: เราสามารถกลับมาเป็นเพื่อนกันได้ไหม? หวนกลับมาปัจจุบัน Shoya ในสภาพกี่งผีกี่งคน ไม่หลงเหลือใครสักคนเคียงข้างกาย ตัดสินใจเริ่มต้นสานสัมพันธ์ใหม่กับ Shoko ติดตามด้วย Tomohiro, Miki, Miyoko, (Satoshi) และ Naoka จนเกิดทริปเที่ยวเล่นสวนสนุก
  • องก์สาม: เมื่อไหร่เธอจะยินยอมรับความจริง? แม้(แทบ)ทุกคนจะสามารถหวนกลับมาเป็นเพื่อน แต่ปัญหาแท้จริงยังไม่ได้รับการแก้ไข เรื่องราวในองก์นี้สามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นอีกสามส่วน
    • ภายหลังจาก Naoka พูดบอกอะไรบางอย่างกับ Shoko ทำให้เธอตระหนักถีงความจริง เลยครุ่นคิดสั้นจะฆ่าตัวตาย แต่ได้รับการฉุดดีงจาก Shoya กลับกลายเป็นเขาได้รับบาดเจ็บสาหัส
    • ช่วงที่ Shoya พักรักษาตัวในโรงพยาบาล มีการเปลี่ยนมุมมองดำเนินเรื่องมาสู่ Shoko หลังจากถูกทำร้ายร่างกายโดย Naoka เลยตัดสินใจเปลี่ยนแปลงตนเอง ยินยอมรับความจริง และออกเดินทางไปหาเพื่อนทุกคนเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
    • ทั้ง Shoya และ Shoko มาพบเจอกันโดยไม่ได้นัดหมาย ต่างพูดกล่าวขอโทษในทุกสิ่งเคยกระทำ และสามารถระบายความรู้สีกแท้จริงออกมาจากภายใน
  • ปัจฉิมบท ประมวลสรุปเรื่องราวทั้งหมด, Shoya เดินทางไปร่วมงานเทศกาลของโรงเรียน แรกเริ่มเมื่อพบเจอเพื่อนร่วมชั้นเกิดอาการกระอักกระอ่วน หวาดกลัวการพบปะผู้คน แต่หลังจากได้รับการโน้มน้าวชักจูงจาก Tomohiro จีงสามารถก้าวเดินออกมา ปรับเปลี่ยนมุมมองภายหลังพูดคุยกับผองเพื่อนสนิท และค้นพบโลกใบใหม่ที่ไม่มีใครถูกกากบาทบนใบหน้า

ไฮไลท์การตัดต่อคือการร้อยเรียงชุดภาพ ปรับเปลี่ยนมุมกล้องไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่างฉากแนะนำตัวหน้าชั้นของ Shoko มีการตัดสลับไปมา อาทิ ภาพมุมกว้างจากด้านหลังชั้นเรียน, เพื่อนๆที่นั่งด้านหน้า, Shoya กำลังเล่นกับดินสอกด, ครูสะกิดเด็กหญิงให้แนะนำตัว, แตะบ่า, เปิดกระเป๋า, ภาพมุมกว้างขณะหยิบสมุดออกมา, ใบหน้า Shoya เต็มไปด้วยความฉงนสงสัย, Shoko เปิดกระดาษทีละแผ่น, มุมมองของเธอพบเห็นปฏิกิริยาเพื่อนร่วมชั้น, ใบหน้า Shoya, เปิดหน้าต่อไป, Close-Up ใบหน้า Shoya, เปิดมาหน้าสุดท้าย, ภาพมุมกว้างปฏิกิริยาเพื่อนร่วมชั้น … แค่นี้ก็น่าจะพอเห็นภาพกระมัง ว่าอนิเมะมีการร้อยเรียงชุดภาพที่เยอะมากๆ สร้างความดีงดูด ชักชวนให้ติดตาม บังเกิดอารมณ์คล้อยตามบรรยากาศ และไม่รู้สีกเบื่อหน่ายระหว่างรับชม

อีกเทคนิคหนี่งที่พบเห็นบ่อยครั้ง คือการ Cross-Cutting ใบหน้าตัวละคร (โดยเฉพาะ Shoya) เพื่อนำเสนอปฏิกิริยาแสดงออกจากเหตุการณ์หนึ่งสู่อีกเหตุการณ์หนึ่ง ถือเป็นลีลาการเปลี่ยนฉากที่อย่างน่าสนใจ เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ ‘กรรมสนองกรรม’ ยกตัวอย่าง

  • หลังจากกลั่นแกล้ง Shoko โยนสมุดบันทึกลงบ่อน้ำ Close-Up ใบหน้าของ Shoya เมื่อพบเห็นเธอลงไปค้นหาในบ่อ จากนั้น Cross-Cutting ใบหน้าเด็กชายที่กำลังเปียกปอน สิ่งเคยกระทำครั้งนั้นหวนย้อนกลับมาหาตนเอง ถูกกลั่นแกล้งโดยผองเพื่อนผลักให้ตกบ่อน้ำ
  • Close-Up ใบหน้าของ Shoya ขณะอยู่ในรถ พบเห็นแม่กำลังถอนเงินจากธนาคาร จากนั้น Cross-Cutting ใบหน้าของเขา จับจ้องมองแม่กำลังขอโทษขอโพย ยื่นเงินให้กับแม่ของ Shoko

และอนิเมะชื่นชอบการแทรกภาพดอกไม้สวยๆหลากหลายสายพันธุ์ เพื่อเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ต่อเหตุการณ์ ความรู้สีกตัวละครขณะนั้นๆ มีคำเรียกว่า Floriography หรือ Flower Language ยกตัวอย่าง

  • ดอกเดซี่สีขาว สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์
  • ซากุระร่วงโรย การหวนกลับมาพบเจอ คืนดีระหว่าง Shoko และ Shoya
  • ทานตะวันเบิกบาน ความสัมพันธ์ที่แสนหวานของ Shoko และ Shoya
  • Cyclamen ดอกไม้แห่งการจากลา
  • ต้นข้าว (พบเห็นขณะ Shoya ปั่นจักรยาน) สื่อถีงชีวิตดำเนินไป จากต้นกล้าจนสามารถออกรวง สีเหลืองทองอร่าม

ไม่ใช่แค่ดอกไม้นะครับ ยังมีสัญลักษณ์อื่นๆที่พบเห็นอีกมากมาย อาทิ ปลาคาร์พ (Koi) สัญลักษณ์แห่งความเพียรพยายาม ต่อสู้ดิ้นรนจนประสบความสำเร็จ, ดอกไม้ไฟ คือความไม่แน่นอนของชีวิต เมื่อถีงจุดสูงสุดก็พร้อมแตกสลาย พบเห็นสองครั้งในฉากตัวละครพยายามฆ่าตัวตาย

เพลงประกอบโดย Kensuke Ushio (เกิดปี 1983, ที่ Tokyo) ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบเปียโน หลังเรียนจบปี 2003 ได้ทำงานเป็นโปรดิวเซอร์และ Sound Engineer ให้ศิลปินในสังกัด DISCO TWINS และ RYUKYUDISKO จากนั้นออกอัลบัมแรก A Day, Phase (2008) โดยใช้ชื่อ agraph ต่อมารวมกลุ่มเพื่อนนักดนตรีตั้งวงดนตรีร็อค LAMA ทำเพลงออกมาได้เพียงสองอัลบัม เลยหันมาเอาดีด้านเขียนเพลงประกอบอนิเมะ อาทิ Space Dandy (2014), Ping Pong the Animation (2014), A Silent Voice (2016), Devilman Crybaby (2018) ฯ

เสียงคือองค์ประกอบสำคัญของ A Silent Voice โดยความต้องการของผู้กำกับ Yamada อยากได้บทเพลงที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์/ความรู้สีกของตัวละครออกมาจากภายใน เคยรับฟังอัลบัมเดี่ยวของ Ushio เลยขอให้โปรดิวเซอร์ลองติดต่อไป

“Sound is such an important aspect of our film and it was a very collaborative process. I wanted to express the sound within, not audible sound, but the sound within you. I wanted someone actually to create those sounds and he (Kensuke Ushio) was the perfect person to work with. We worked together all the way to the end of the production and he was there with me in the very final sound mix”.

Naoko Yamada

โดยปกติแล้วการทำงานร่วมกับนักแต่งเพลง จะมีเพียงพูดคุยคอนเซ็ป นำเสนอภาพร่าง Storyboard แลกเปลี่ยนความคิดเห็นไม่กี่ครั้ง แล้วกลับไปเขียนเพลง Image Album (บทเพลงได้แรงบันดาลใจจากภาพ) และเมื่ออนิเมชั่นเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ค่อยมาปรับแต่งท่วงทำนองให้สอดคล้องเข้ากับภาพเคลื่อนไหว

แต่สำหรับอนิเมะเรื่องนี้ ผู้กำกับ Yamada เริ่มต้นพูดคุยถีงคอนเซ็ปที่อยากได้ จากนั้น Ushio กลับไปเขียนเพลงตามแนวคิดดังกล่าว แล้วนำมาเทียบเคียง Storyboard ช็อตต่อช็อต ฉากต่อฉาก ปรับแก้ไขควบคู่กันไปตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มโปรดักชั่น ทำซ้ำอย่างนี้ต่อเนื่องไปจนเสร็จสิ้นกระบวนการบันทีกเสียง

We started talking in the abstract like ‘the concept of creation’ when we first met, and Mr. Ushio said, ‘I’ll compose a piece based on our talk first.’ Then, I showed the storyboard little by little as I drew, he read it, sent us new pieces of music, calling them ‘sketches’, and repeated the process.

We made the storyboard and music at the same time, in response [to each other]. It was like each of us making many parts of the film together. We’d meet to show each other what we were doing and integrated everything together in the end.

ด้วยเหตุนี้บทเพลงประกอบ A Silent Voice จีงไม่สามารถเรียกเต็มปากเต็มคำว่า Soundtrack แต่มีลักษณะเป็นท่อนทำนองเล็กๆ ส่วนใหญ่บรรเลงด้วยเปียโน ให้สัมผัสคล้าย ‘Ambient Song’ ทั้งหมด 82 แทร็ก รวบรวมใส่ CD 2 แผ่น จำนวน 61 เพลง และนำไปใช้ในอนิเมะเพียง 39 บทเพลงจากแผ่นแรกเท่านั้น

ความติสต์ของ Ushio ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ CD แผ่นแรกยังแทรกคั่น Bach: Invention No. 1 in C mayor, BWV 772 (บทเพลงที่ถือเป็นแรงบันดาลใจในการสรรค์สร้าง) แล้วทำการตัดแบ่งออกเป็นท่อนๆ ตั้งชื่อเพียงสามตัวอักษร inv แล้วใส่ลำดับ inv(I.i), inv (I,ii) จนถีง inv (II, vi) ส่วนบทเพลงอื่นๆก็ชื่อสามตัวอักษรเช่นกัน อาทิ tre, roh, lvs, rev, thn, lit, bnw, htb ฯลฯ ทั้งหมดคือรหัส/ตัวย่อที่เขาใช้ขณะเขียนเพลงประกอบ เคยให้สัมภาษณ์บอกว่าทำแบบนี้เพื่อให้ผู้ชมได้ครุ่นคิดทำความเข้าใจบทเพลงเหล่านี้ด้วยตนเอง (ไม่ใช่ยีดติดกับชื่อ แล้วพยายามทำความเข้าใจเนื้อเพลงจากตรงนั้น)

แซว: CD แผ่นสองตั้งชื่อเพลงตามปกตินะครับ แต่เป็นการรวบรวมเรียบเรียงบทเพลงที่ใช้ประกอบอนิเมะทั้งหมดขึ้นมาใหม่ จะมองเป็น Image Album ก็ได้ แต่ถ้าให้ถูกคงประมาณว่า ‘Inspire by Soundtrack Album’

tre [มาจาก tremble?] เป็นบทเพลงที่สะท้อนสภาวะทางจิตใจของ Shoya ขณะกำลังตระเตรียมฆ่าตัวตาย ฉีกฆ่าปฏิทิน ลาออกจากงาน ปิดบัญชีธนาคาร ขายสิ่งข้าวของในห้อง วางซองใส่เงินบนเตียงแม่ แล้วก้าวออกเดินถีงกี่งกลางสะพาน … บทเพลงมีความวูบๆวาบๆด้วยเสียงสังเคราะห์ ราวกับลมหายใจติดๆขัดๆ หัวใจเต้นเร็วแรง ตามด้วยเสียงหวีดแหลมบาดแก้วหู นี่ชีวิตฉันกำลังจะจบสิ้นลงจริงๆใช่ไหม

roh บทเพลงดังขี้นช่วงขณะการแนะนำตัวของ Shoko ใช้เพียงเสียงเปียโนบรรเลงที่ค่อยๆดีงดูดความสนใจผู้ชม (และนักเรียนในห้อง) ทุกตัวโน๊ตล้วนสอดคล้องท่วงท่าขยับเคลื่อนไหว อยากให้ไปลองสังเกตในอนิเมะ จะพบเห็นความคล้องจองที่เคียงคู่กันไป (ระหว่างภาพ+บทเพลง)

lvs บทเพลงที่สะท้อนความอ้างว้าง โดดเดี่ยวลำพัง แม้ช่วงแรกๆจะมีใครมากมายลายล้อม Shoko แต่ไม่นานก็เริ่มตระหนักถึงภาระ สร้างปัญหา จนใครต่อใครค่อยๆตีจาก เหินห่าง ไม่ยอมคบค้าสมาคม สื่อสารสนทนากับเธออีก, เห็นว่าบทเพลงนี้ใช้ไมค์บันทึกเสียงในเครื่องเปียโน เมื่อสัมผัสเสียงฟุ้งๆ อูอี้ (muffled sound) สะท้อนความรู้สึกภายในจิตใจของเด็กสาว ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง

บทเพลงนี้ในอีก variation ชื่อ lvs(var) ได้ยินระหว่าง Shoya และ Shoko เดินทางบนรถไฟฟ้าเพื่อไปติดตามหา Miyoko ซึ่งขณะนี้ทั้งคู่ยังมีความตื่นกังวล ไม่สามารถพูดคุยสนทนาซึ่งๆหน้า (แม้ยืนห่างเพียงตรงข้ามประตู) เลยใช้การส่งข้อความผ่านโทรศัพท์ แล้วปรากฎตัวอักษรขึ้นบนทิวทัศน์เคลื่อนพานผ่าน (นอกกระจกหน้าต่างที่อยู่ระหว่างพวกเขา) แทนการสื่อสารระหว่างทั้งสอง

ภายหลังล้มเลิกความตั้งใจฆ่าตัวตาย เงินที่อุตส่าห์เก็บสะสมมอดไหม้ ระหว่างกำลังปั่นจักรยานไปโรงเรียน บทเพลง lit [มาจาก light?] ให้ความรู้สึกของการเริ่มต้นใหม่ ทบทวนอดีตพานผ่านไป อีกทั้งการสนทนากับ Shoko เราสามารถเป็นเพื่อนกันได้ไหม พร้อมภาพปลาคาร์พกลืนกินเศษขนมปัง นั่นถือเป็นความหวังให้ Shoya ต่อสู้ชีวิตด้วยความเพียรพยายามของตนเอง

htb [มาจาก heartbeat?] ดังขึ้นครั้งแรกระหว่าง Shoya กับ Shoko กำลังให้อาหารปลา แล้วเกิดการแก่งแย่งสมุดบันทึกจนพลัดตกน้ำ ทั้งคู่ต่างกระโดดลงไปค้นหา บทเพลงแทนความรู้สึกของชายหนุ่ม มีความอิ่มเอิบ อุ่นใจที่ได้ทำบางสิ่งอย่างเพื่อเติมเต็มช่องว่างที่ขาดหายภายในจิตใจ และขณะแหวกว่ายใต้ผิวน้ำ หัวใจสั่นระริกรัว แอบมองเห็นสิ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ (อย่าไปมองว่าเป็นการแอบมองกางเกงในหญิงสาวนะครับ ฉากนี้สื่อนัยยะถึงการสัมผัสได้ถึงความรู้สึก ‘ภายในจิตใจ’)

ครั้งที่สองสลัจาก Shoya เป็น Shoko ขณะที่เธอจู่ๆเปลี่ยนทรงผม แต่งองค์ทรงเครื่อง ตั้งใจจะสารภาพรักต่อ Shoya เพื่อแทนความรู้สึกของหญิงสาว กำลังมีความอิ่มเอิบ อุ่นใจที่กำลังจะได้ทำบางสิ่งอย่างเติมเต็มหัวใจ (แต่เขาดันเข้าใจผิดครุ่นคิดว่า พระจันทร์สวย?)

flt เริ่มต้นที่ Rollercoaster กำลังพุ่งลงมาจากตำแหน่งสูงสุด นั่นคือจุดที่ Shoya รายล้อมรอบด้วยพรรคเพื่อนฝูงคนรู้จัก กำลังพูดคุยเล่นสนุกสนาน หัวใจกำลังอิ่มเอิบ เบิกบานด้วยรอยยิ้ม ท่วงทำนองดนตรีให้สัมผัสสุขสำราญ ก่อนค่อยๆครุ่นสงสัยว่านี่คือสิ่งที่ตนสมควรได้รับจริงๆหรือเปล่า

btf บทเพลงดังขึ้นช่วงระหว่างการสูญเสียคุณย่าของ Shoko และ Yuzuru สะท้อนห้วงอารมณ์ของสองสาว มีความหวิวๆ ใจหายวูบวาบ ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว จับจ้องมองผีเสื้อโบยบินผ่านหน้า คาดหวังว่าจิตวิญญาณคุณย่าคงไปสู่สุคติ เฝ้ามองพวกเธอจากบนสรวงสวรรค์ ให้พานผ่านช่วงเวลาร้ายๆ ค้นพบเจอชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุขสมหวัง

van(var) บทเพลงดังขึ้นขณะ Shoya และ Shoko พากันไปนัดเดท/ท่องเที่ยวยัง Critical Resemblance House ณ Yoro Park ทุกสิ่งอย่างในสถานที่แห่งนี้ล้วนเป็นสัญลักษณ์เชิงนามธรรม บทเพลงนี้ก็เช่นกัน สามารถเทียบแทนความรู้สึกที่มีต่อกันของหนุ่ม-สาว เต็มไปด้วยความอิ่มเอิบ รอยยิ้มเบิกบาน แต่ขณะเดียวกันภายในจิตใจหญิงสาว กลับมีบางสิ่งอย่างซ่อนเร้นอยู่ภายใน ความรู้สึกผิดต่อตนเองอันจะนำไปสู่…

frc [มาจาก fractal?] ดังขึ้นในค่ำคืนเทศกาลดอกไม้ไฟ Shoya บังเอิญถูกใช้ให้กลับไปที่ห้องของ Shoko แล้วพบเห็นเธอกำลังปีนป่าย ตะเกียกตะตาย เตรียมตัวจะกระโดดฆ่าตัวตาย, จากความเงียบงันค่อยเพิ่มเสียง เร่งความเร็ว จังหวะรุกเร้า จากนั้นให้ความระยิบระยับเหมือนดอกไม้ไฟ กำลังพุ่งทะยานสู่ฟากฟ้า ก่อนระเบิดแตกกระจายกลายเป็นสะเก็ดแสงงามตา เหมือนดั่งชีวิตที่เมื่อถึงจุดสูงสุดก็พร้อมดับสิ้นลมหายใจ

inv(ll.vi) คือบทเพลงขณะที่ Shoya กำลังพยายามฉุดดึง Shoko ให้หวนกลับขึ้นมาจากขุมนรก อธิษฐานขอพรพระผู้เป็นเจ้า แต่แล้วตัวเขาองกลับพลัดตกลงไป บังเกิดภาพความทรงจำ(ก่อนตาย) ครอบครัว เพื่อนฝูง และใช้ดอกไม้ไฟระเบิดแทนวินาทีตกลงบนพื้นผิวน้ำ เลือดค่อยๆไหลหลั่ง ภาพค่อยๆเลือนลาง ลมหายใจขาดห้วงไปอย่างช้าๆ

ปล. ผมไปอ่านเจอว่าในมังงะ Kazuki กับ Keisuke (สองเพื่อนสนิทสมัยประถมที่แปรเปลี่ยนเป็นคนละคนหลังเหตุการณ์นั้น) จริงๆแล้วแอบติดตาม Shoya เพื่อหาทางกลั่นแกล้งเล่นตามประสา แต่หลังจากพบเห็นเขาตกตึกลงมา เลยโทรเรียกรถพยาบาล ลงไปลากพาตัวขึ้นฝั่ง

svg คือบทเพลงแห่งการเปลี่ยนแปลงของ Shoko ตัดสินใจออกเดินทางไปหาทุกๆคนเพื่ออธิบายเหตุการณ์บังเกิดขึ้น ไม่หลีกเลี่ยง ไม่หลบหนี ไม่สร้างภาพให้ดูดี พร้อมเผชิญหน้ายินยอมรับความจริง ซึ่งเพื่อนๆทุกคนเมื่อได้รับฟัง ก็ยกโทษให้อภัย ดีใจที่เธอ(และเขา)ไม่เป็นอะไรมากเท่าไหร่

สัมผัสบทเพลงนี้เปี่ยมด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของ Shoko พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตนเอง ยินยอมรับทุกความผิดที่ก่อ ไม่ได้ต้องการคำขอโทษจากใคร แค่ได้รับโอกาสให้สามารถพูดบอกความรู้สึกจากภายใน

slt คือบทเพลงแห่งการฟื้นตื่นของทั้ง Shoko และ Shoya หนึ่งคือการตื่นขึ้นทางจิตวิญญาณ สองเพิ่งสามารถลุกขึ้นจากเตียง ต่างออกวิ่งมุ่งสู่สถานที่นัดหมาย เพื่อพูดคุยสนทนา เอ่ยกล่าวคำ ‘ขอโทษ’ จากความรู้สึกภายใน, ไฮไลท์บทเพลงนี้คือเสียงไวโอลินของนักดนตรีรับเชิญ Yuji Katsui ฟังดูไม่ค่อยคุ้นหูน่าจะเพราะบันทึกเสียงด้วยไวโอลินไฟฟ้า ซึ่งลีลาการเล่นของเธอสุดยอดมากๆ ใช้เทคนิค vibrato แทนอาการสั่นเครือของหัวใจ โหยหาต้องการพบเจออีกฝั่งฝ่าย ไม่สนว่าร่างกายเจ็บป่วยสักแค่ไหน

lit(var) [มาจาก light?] แม้แรกเริ่มในงานเทศกาลโรงเรียน Shoya จะยังมีความตื่นตระหนก หวาดกลัวฝูงชน จนต้องไปหลบซุกซ่อนในห้องน้ำ แต่เมื่อถูกลากพาตัวออกมา ตระหนักรู้ว่ารอบกายมีผองเพื่อนอยู่รายล้อม ขณะกำลังเดินเล่นเรื่อยเปื่อย กากบาทค่อยๆร่วงหล่นจากใบหน้าผู้คน ทำให้เขาบังเกิดรอยยิ้ม ความเบิกบานขึ้นภายใน ร่ำร้องไห้ออกมาด้วยความดีอกดีใจ อดีตอันเลวร้ายได้ผ่านพ้นไปแล้ว ในที่สุดก็เดินทางมาถึงแสงสว่างปลายอุโมงค์เสียที

บทเพลงที่ผมว่าเซอร์ไพรส์ผู้ชมมากสุดก็คือ Opening Song ชื่อ My Generation (1965) ของวงร็อค the Who สัญชาติอังกฤษ แม้ตอนจัดจำหน่ายไต่สูงสุดเพียงอันดับสอง ชาร์ท UK Singles แต่ได้รับการโหวตอันดับ 11 จาก 500 Greatest Songs of All Time ของนิตยสาร Rolling Stone แสดงถึงความยิ่งใหญ่อมตะ บทเพลงที่สามารถเป็นตัวแทนผู้คนยุคสมัย 60s

“when I was discussing the music with the sound director, Yôta Tsuruoka, we just wanted to have one song that everyone could relate to. The music has to be evergreen and we wanted everyone to recognise it. This is the story of Shoya and when he was at junior school he felt he was invincible but he was bored and frustrated. What better song to show both what he is and who he is?”

Naoko Yamada

Ending Song ชื่อเพลง Koi wo Shita no wa (แปลว่า เมื่อครั้นได้ตกหลุมรักกัน) ขับร้องโดย aiko, แม้พายุลมฝนพัดกระหน่ำสักเพียงใด แต่ท้องฟ้ายังคงสว่างสดใส ทำให้ฉันบังเกิดความหาญกล้าก้าวเดินไป หวังว่าจะได้พบเจอเธอที่ปลายทางแห่งฝากฝัน

การข่มเหงรังแกผู้อื่น ‘bully’ แทบจะถือว่าเป็นวัฒนธรรมประจำชาติญี่ปุ่น เพื่อค้นหาบุคคลผู้อ่อนแอในกลุ่มให้กลายเป็นแพะรับบาป ยกยอปอปั้นตนเองให้ดูดี มีสง่าราศี ความเป็นมนุษย์สูงส่งกว่า นั่นสะท้อนความเย่อหยิ่งจองหอง ทะนงในเกียรติศักดิ์ศรี มาตั้งแต่การไม่ยินยอมรับความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง (จริงๆมันก็ไม่เกี่ยวกับ WW2 ผมแค่ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นความทะนงตนของคนญี่ปุ่น ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่โบราณกาล)

ทัศนะของคนญี่ปุ่นต่อบุคคลผู้ถูกรังแก ใครอ่อนแอก็พ่ายแพ้ไป ปฏิเสธการรับผิดชอบใดๆ หรือถ้าเขาคนนั้นคิดสั้นฆ่าตัวตาย ก็หาได้รับรู้สึกผิดเพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่เห็นจะเกี่ยวข้องอะไรกับตนแม้แต่น้อย! ผมก็ไม่รู้ว่าโลกมันผิดเพี้ยนหรือจิตใจคนที่บิดเบี้ยว แนวความคิดดังกล่าวแสดงถึงความเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ไม่ใคร่สนใครอื่น คงไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมด้วยกระมัง ถ้าเหตุการณ์เหล่านั้นไม่หวนย้อนกลับมาหาตนเอง ย่อมไม่มีทางตระหนักถึงความรู้สึกผู้ถูกกระทำ

เอาจริงๆโลกสมัยนี้มันเลวร้ายยิ่งไปกว่านั้นอีกนะ เพราะแทนที่คนถูกกระทำจะจดจำเป็นบทเรียน กลับพยายามโต้ตอบเอาคืน มองเป็นความชอบธรรมอย่างหนึ่ง เมื่อมีโอกาสก็พร้อมแสดงออกสิ่งเหล่านั้นกับบุคคลอื่น โดยไม่สนถูกผิดชอบชั่วดี ขาดสติหยุดยับยั้งชั่งใจ ถูกพ่อแม่ทุบตีทำร้าย พอตนเองมีบุตรหลานก็พร้อมใช้ความรุนแรงเสี้ยมสอนสั่ง … ทำเอาเรื่องราวในอนิเมะดูหน่อมแน้มไปเลยละ

การจะแก้ปัญหาพฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่น มันจึงไม่ใช่ที่ตัวผู้กระทำ หรือผู้ถูกกระทำ แต่คือวัฒนธรรม/ค่านิยมทางสังคม ความไม่เท่าเทียมของผู้คน ทำอย่างไรคนรุ่นใหม่ถึงสามารถยินยอมรับความแตกต่าง เกิดจิตสำนึกทางจริยธรรม คุณธรรม ลดความเห็นแก่ตัว และครุ่นคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่นบ้างก็ยังดี

สิ่งที่อนิเมะ A Silent Voice พยายามนำเสนอออกมา ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา แต่คือความพยายามทำความเข้าใจปัญหาในมุมมองของผู้กระทำ Shoya Ishida จากเคยชื่นชอบการกลั่นแกล้ง ใช้กำลังรุนแรง บังเกิดความขัดแย้งผู้อื่น จนกระทั่งทุกสิ่งอย่างหวนย้อนกลับตารปัตรมาสู่ตนเอง (กลายเป็นผู้ถูกกระทำ) บังเกิดอาการโกรธเกลียด ยินยอมรับ(ตนเอง)ไม่ได้ ถึงขนาดครุ่นคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่หลังจากสามารถตระหนักถึงความรู้สึกผู้อื่น (ที่ตนเองเคยกระทำร้าย) จึงพยายามปรับเปลี่ยนแก้ไขตนเอง โหยหาการยินยอมรับ และได้รับการให้อภัยจากพวกเขาเหล่านั้น

“The ‘desire to be forgiven’. Humans generally fail, hurt someone or get hurt in order to live and end up in a situation that can’t be helped. I wanted to portray the hope that we can and may still live on”.

Naoko Yamada

การข่มเหงรังแก (bully) เราสามารถมองเชิงสัญลักษณ์ของความไม่เข้าใจในการสื่อสาร สำหรับ Shoya เริ่มจากครอบครัว (พ่อไม่อยู่ แม่ปล่อยปละละเลย พี่สาวก็เอาแต่แฟนหนุ่ม) กลุ่มเพื่อนต่างมีความเห็นแก่ตัว สนเพียงความพึงพอใจของตนเอง ครูที่โรงเรียนก็มองแต่ภาพลักษณ์ไม่รับฟังเหตุผลเบื้องหลังความจริง การมาถึงของ Shoko เลยไม่ต่างอะไรกับระเบิดเวลา เมื่อมิอาจสนทนาด้วยคำพูดเลยใช้การกลั่นแกล้งทำร้ายร่างกาย นั่นเป็นสิ่งที่ไม่มีใครยินยอมรับได้ ความโชคร้ายตกมาที่เขาให้กลายเป็น ‘แพะรับบาป’

เอาจริงๆไม่ใช่แค่ Shoya ที่มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร หรือ Shoko ไม่สามารถได้ยินเสียงใคร ตัวละครอื่นๆล้วนประสบปัญหาไม่เข้าใจบุคคลอื่น มองโลกแง่ดี-ร้ายเกินไป สนเพียงเอาตัวเองรอดไว้ก่อน ใครจะเป็นตายล้วนไม่เกี่ยวข้องกับฉัน

  • Naoka Ueno เป็นคนชอบครุ่นคิดตัดสินแทนผู้อื่น มองโลกในแง่ร้ายโคตรๆ และชอบทำสิ่งตรงกันข้ามกับคำพูด … เหล่านี้คือเหตุผลทำให้เธอโกรธเกลียด Shoko เข้ากระดูกดำ มิอาจยินยอมรับการมีตัวตน เพราะแก่งแย่งความสนใจไปจาก Shoya (คนที่เธอแอบชอบ)
  • Miyoko Sahara แม้มีความกล้าทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่ขาดพลังธำรงความเชื่อมั่นดังกล่าวจากภายใน เมื่อถูกบีบคั้นเพียงคำพูดเสียๆหายๆเลยหลบหนีเอาตัวเองให้รอดไว้ก่อน ย้ายโรงเรียน ตัดผมสั้น ปากพูดว่ายังโหยหาคิดถีง Shoko แต่ก็ยังมิอาจเผชิญหน้าปัญหาด้วยตัวตนเอง
  • Miki Kawai ตรงกันข้ามกับ Naoka เป็นคนมองโลกในแง่ดีเกินไป ทำให้ไม่ยินยอมรับด้านร้ายๆ ความเห็นแก่ตัวของตนเอง แถมชอบเอ่ยคำพูดโดยไม่ครุ่นคิดถีงความรู้สีกผู้อื่น สร้างภาพ เล่นละครตบตา วางตัวหัวสูงส่ง ครุ่นคิดว่าฉันดีเด่กว่าใคร
  • Yuzuru Nishimiya และ Tomohiro Nagatsuka ต่างถือเป็นคนนอกในเหตุการณ์นี้ แต่ทั้งสองมีสิ่งหนี่งเหมือนกันคือเป็นพวก ‘Overprotection’ ทำราวกับ Shoko และ Shoya เป็นไข่ในหินที่ต้องได้รับการทะนุถนอม ปกป้องรักษา ไม่ใคร่สนเลยว่านั่นเป็นสิ่งเหมาะสมควรหรือไม่ ความเพียงพอดีอยู่ตรงไหน

ชื่ออนิเมะภาษาญี่ปุ่น Koe no Katachi แปลตรงตัวว่า The Shape of Voice ไม่ได้จะสื่อถึงจินตนาการเสียงของสาวหูหนวก Shoko Nishimiya แต่คือความเข้าใจต่อสาสน์ที่ได้รับ แม้คำพูดออกเสียงเดียวกัน (อย่าง Tsuki/Suki) แต่กลับมีความหมายแตกต่าง ผู้รับสาสน์ก็เช่นกัน ย่อมปรากฎรูปร่าง/ภาพความคิดแตกต่างออกไป ซี่งอาจก่อให้เกิดความไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อออกมา

แม้การข่มเหงรังแกผู้อื่นจะคือเนื้อหาหลักของอนิเมะเรื่องนี้ แต่ผมมองสาระสำคัญคือการยินยอมรับความ(คิดเห็น)แตกต่างของผู้อื่น ไม่มีทางที่ใครบางคนจะลงรอย (อย่าง Naoka กับ Shoko) แต่ก็ใช่ว่าพวกเขาจะเป็นเพื่อนกันไม่ได้ มิตรภาพคือความหลากหลาย กับศัตรูคู่อาฆาตสักวันหนึ่งอาจกลายเป็นคู่รัก ถ้าพวกเขาสามารถบังเกิด ‘ความเข้าใจ’ และพร้อมให้อภัยในสิ่งเคยขัดย้อนแย้งต่อกัน


อนิเมะเข้าฉายในญี่ปุ่นวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2016 เปิดตัวอันดับสองรองจาก Your Name (2016) ทำเงินได้ ¥283 ล้านเยน รายรับในประเทศ ¥2.2 พันล้านเยน ($19.5 ล้านเหรียญ) และรวมทั่วโลกประมาณ $33 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

เพราะเข้าฉายปีเดียวกับ Your Name (2016) เลยมักถูกมองข้ามจากงานประกาศรางวัลช่วงปลายปี ทำได้เพียง

  • เข้าชิง Japan Academy Film Prize: Best Animation of the Year
  • Japan Media Arts Festival: Animation Division – Excellence Award (รางวัลที่สอง)

จริงๆผมมีโอกาสรับชมอนิเมะเรื่องนี้ตั้งแต่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ไม่มีความกระตือรือร้น อยากเขียนแสดงความคิดเห็นใดๆ เพราะความรุนแรงทางอารมณ์มันกัดกร่อนเรี่ยวแรงจนหมดสิ้นไป ขาดพลังใจมากพอจะชื่นชมโดยไม่สร้างอคติบางอย่างให้ผู้อ่าน

หวนกลับมารับชมครานี้ ช่วงแรกๆก็ยังคงเต็มไปด้วยความรู้สึกขัดย้อนแย้งนั้น แต่เพราะสามารถสังเกตเห็นไดเรคชั่นผู้กำกับ Naoko Yamada ตราตรึงความงดงาม ประณีตวิจิตร โดยเฉพาะบทเพลงประกอบที่สอดคล้องกับงานภาพ สร้างสัมผัสทางอารมณ์ ควบคุมบรรยากาศอนิเมะให้ดำเนินไปอย่างมั่นคง บังเกิดความพึงพอใจอย่างมาก ‘สงัดงาม’ คือความไพเราะจากภายใน

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” อนิเมะเรื่องนี้สามารถสร้างสามัญสำนึกให้ผู้ชม โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ การข่มเหงรังแกผู้อื่นไม่ใช่เรื่องดี ให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ครุ่นคิดถึงหัวอกของคนถูกกลั่นแกล้งเสียบ้าง เพราะถ้ามันหวนย้อนกลับมาเกิดขึ้นกับเราเอง ย่อมไม่พบเจอความสนุกสนานจากความเจ็บปวดที่ได้รับ

ผู้ใหญ่หลายคนอาจรู้สึกว่าอนิเมะเรื่องนี้ไกลจากตนเอง แต่เดี๋ยวก่อนนะ อะไรคือสาเหตุผลที่ทำให้เด็กๆเหล่านี้กลายเป็นอันธพาล ชอบกลั่นแกล้งคนอื่น ไม่ใช่ว่ามันคือผลกระทบจากการเลี้ยงดูของครอบครัว สภาพสังคม โรงเรียน รวมไปถึงการเมืองของประเทศ หรอกหรือ? ถ้าคุณมีสถานะ ‘ความเป็นผู้ใหญ่’ ควรครุ่นคิดให้ได้ว่าควรปรับตัว เปลี่ยนแปลงตนเองเช่นไร เพื่อมิให้ลูกๆหลานๆ คนรุ่นใหม่ เติบโตขึ้นแสดงออกพฤติกรรมเหล่านี้

จัดเรต 13+ กับพฤติกรรมข่มเหงรังแก ใช้กำลังทำร้ายร่างกาย ถ้อยคำรุนแรง รวมถึงพยายามฆ่าตัวตาย

คำโปรย | A Silent Voice แม้ดัดแปลงจากต้นฉบับมังงะไม่ดีเท่าไหร่ แต่องค์ประกอบอื่นๆล้วนมีความละเมียดละไม งดงามทรงคุณค่าระดับวิจิตรศิลป์
คุณภาพ | กึกก้กั
ส่วนตัว | สงัดงาม

Penguin Highway (2018)


Penguin Highway (2018) Japanese : Hiroyasu Ishida ♥♥♥♥♡

โลกทัศน์ของเด็กสิบขวบ เมืองอาศัยอยู่เปรียบดั่งจักรวาล พี่สาวหน้าอกใหญ่คือสิ่งมหัศจรรย์น่าหลงใหล ทางด่วนที่เพนกวินออกเดินทางผจญภัย เพื่อหวนกลับไปหาจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด ตัวตนเองของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

Aoyama แม้เป็นเด็กชายที่มีความเฉลียวฉลาดเกินวัย แต่ทั้งชีวิตยังคงต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ อาศัยอยู่กับพ่อแม่และน้องสาว ไม่เคยก้าวออกไปท่องเที่ยวท้องทะเล สัมผัสกลิ่นอายหาดทรายขาวเสียด้วยซ้ำ โดยปกติมักเปรียบเทียบสถานที่ดังกล่าวราวกับโลกทั้งใบ แต่ผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi ขยายจินตนาการไม่รู้จบสู่ จักรวาลของเด็กชาย!

Penguin Highway หนึ่งในนวนิยายได้รับเสียงชื่นชมมากที่สุดของ Tomihiko Morimi เพราะโดยปกติพี่แกมักเขียนเรื่องราวพื้นหลังกรุง Kyoto แจ้งเกิดโด่งดังกับไตรภาค Kyoto University นำเสนอเรื่องราวเพี้ยนๆตามวิถีนักศึกษามหาวิทยาลัย Tower of the Sun (2003), The Tatami Galaxy (2004) และ The Night Is Short, Walk On Girl (2006) แต่หลังจากได้รับประสบการณ์การเป็นนักเขียนมากพอประมาณ ก็ค้นพบว่าถึงเวลาต้องหวนกลับไปจุดเริ่มต้น สรรค์สร้างเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเกิดเมืองนอน เคยใช้ชีวิตตั้งแต่เด็กจนเติบใหญ่ (ก่อนย้ายไปศึกษาร่ำเรียนยังมหาวิทยาลัย Kyoto)

มีผู้ชม/นักอ่านมากมาย พยายามวิเคราะห์ตีความ Penguin Highway ในเชิงควอนตัมจักรวาล พี่สาวเปรียบดั่งพระเจ้า เพนกวินคือผู้พิทักษ์ ปกปักษ์โลกมนุษย์ด้วยการซ่อมแซมประตูมิติ (หรือมหาสมุทร) อันเป็นผลกระทบจากความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ เหล่านั้นคืออิสรภาพในการครุ่นคิดนะครับ ไม่มีผิดไม่มีถูก แต่ผมจะเขียนบทความนี้โดยอ้างอิงจากความตั้งใจแท้จริงของผู้แต่ง Morimi คือการหวนกลับไปหาจุดเริ่มต้นของตนเอง


Hiroyasu Ishida (เกิดปี 1988) ผู้กำกับสร้างอนิเมะ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Mihama, Aichi ค้นพบความชื่นชอบมังงะและอนิเมะตั้งแต่ยังเด็ก ช่วงระหว่างเรียนมัธยมปลาย Aichi Prefectural Asahigaoka High School ก็ได้เริ่มทำอนิเมชั่นขนาดสั้นเรื่องแรก Greeting of Love จากนั้นระหว่างเข้าศึกษา Kyoto Seika University สรรค์สร้างผลงานเรื่องที่สอง Fumiko’s Confession (2009) ความยาวเพียงสองนาทีกว่าๆ พออัพโหลดขึ้น Youtube กลายเป็นกระแสไวรัลได้รับความนิยมผู้ชมหลักล้าน และสามารถคว้ารางวัลที่สอง Excellence Prize – Animation จาก Japan Media Arts Festival

เกร็ด: การตบมุกของ Fumiko ตอนท้ายที่บอกว่า ‘จะทำซุป miso ให้รับประทานทุกเช้า’ คนญี่ปุ่นจะเข้าใจว่าสื่อถีงขอแต่งงาน

สำหรับโปรเจคจบการศึกษา rain town (2010) ความยาวเกือบๆ 10 นาที แม้กระแสตอบรับไม่ล้นหลามเท่า แต่ยังสามารถคว้ารางวัล New Creator – Animation จาก Japan Media Arts Festival ได้อีกครั้ง

ผมครุ่นคิดว่าหุ่นกระป๋อง (Tin Man) เป็นสัญลักษณ์ของวัตถุนิยม (คล้ายๆกับ The Wizard of Oz) แรกเริ่มสามารถสร้างความสนุกสนานให้ผู้คน (คุณย่าวัยเด็ก สวมเสื้อโค้ทสีแดง) แต่เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน โลกประสบภัยพิบัติ (อนิเมะนำเสนอเมืองที่ฝนตกไม่มีวันหยุด) วัตถุเหล่านั้นย่อมสูญสิ้นเสื่อมความสำคัญ ถูกหลงลืมเลือน ทอดทิ้งไปตามกาลเวลา วันหนี่งได้รับการพบเจอโดยหลานสาว (สวมเสื้อโค้ทสีเหลือง) แต่ไม่นานก็กลายเป็นเพียงเศษซากปรักหักพัง คุณยาย (สวมโค้ทสีแดง) เลยเลือกนำเฉพาะส่วนศีรษะ เก็บรักษาเอาไว้ในความทรงจำ จนกระทั่งหลานสาวถีงครามแก่ชราภาพ (ตอนต้นเรื่อง หญิงชราสวมเสื้อโค้ทสีเหลือง)

หลังเรียนจบได้รับการทาบทามจากสตูดิโอน้องใหม่ Studio Colorido ก่อตั้งโดยโปรดิวเซอร์ Hideo Uda เมื่อปี 2011 สรรค์สร้างอนิเมะขนาดสั้นฉายโรงภาพยนตร์เรื่องแรก Hinata no Aoshigure (2013) ความยาว 18 นาที คว้ารางวัล Special Judge’s Recommendation Award จาก Japan Media Arts Festival

ใครมีโอกาสรับชม Rain in the Sunshine (2013) คงพบเห็นความสนใจของผู้กำกับ Ishida หลงใหลเรื่องราวทะเล้นๆของเด็กประถม (น่าจะแทนตัวเขาเองนะแหละ) ผสมจินตนาการโบยบิน ไล่ล่าเติมเต็มความเพ้อฝัน ราวกับเป็นอารัมบทตระเตรียมตัวเพื่อสร้างผลงานเรื่องถัดๆไปโดยเฉพาะ

ผู้กำกับ Ishida มีโอกาสอ่านนวนิยาย Penguin Highway ของ Tomihiko Morimi จากคำแนะนำของเพื่อนๆ ตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย เกิดความชื่นชอบประทับใจมากกว่าผลงานเรื่องอื่นๆ แต่ไม่เคยครุ่นคิดจริงจังว่าสักวันหนึ่งจะได้รับโอกาสจากโปรดิวเซอร์ หลังเสร็จจาก Typhoon Noruda (2015) [ดูแลในส่วนออกแบบตัวละคร และกำกับอนิเมชั่น] ตระเตรียมแผนงานสร้างเพื่อนำเสนอขอลิขสิทธิ์ดัดแปลงจาก Morimi

“I never thought about making the books into an anime myself and was reading without those thoughts. However, I always felt like Penguin Highway felt different than other books by Morimi. It might be bold to say it, but I guess it was the one work that spoke to me the most”.

Hiroyasu Ishida

Tomihiko Morimi (เกิดปี 1979) นักเขียนสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ikoma City, จังหวัด Nara พอเติบโตขึ้นย้ายไปปักหลักร่ำเรียน Kyoto University นำประสบการณ์ระหว่างเป็นนักศีกษามาเขียนนวนิยายเรื่องแรก Tower of the Sun (2003) ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม เลยต้องติดตามด้วย The Tatami Galaxy (2004) และ Night Is Short, Walk On Girl (2006) ทั้งสามเรื่องถูกเหมารวมเป็นไตรภาค Kyoto University

Morimi เคยให้สัมภาษณ์กล่าวถึงช่วงก่อนได้รับโอกาสเริ่มตีพิมพ์นวนิยายเล่มแรก พยายามเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงชีวิตวัยเด็ก พื้นหลังเมือง Ikoma City แต่ไม่เคยได้รับความสนใจจากสำนักพิมพ์ไหน จนกระทั่งความสำเร็จของไตรภาค Kyoto University และอีกหลายๆผลงานติดตามมา ถึงจุดๆหนึ่งในชีวิตเมื่อรับรู้ตัวว่าตนเองมีประสบการณ์เพียงพอ บางทีการหวนกลับไปจุดเริ่มต้นน่าจะสรรค์สร้างเรื่องราวน่าสนใจยิ่งกว่า

“I think every writer wants to tackle the landscapes of their childhood at least once. Before writing Taiyō no Tō I had tried to write stories set in the suburbs and failed, so writing the world of Penguin Highway was essentially writing my roots.

I started writing Penguin Highway after gaining some degree of experience as an author, to the point where I felt, ‘Now maybe I can write about the suburbs,’ but it was still hard”.

Tomihiko Morimi

ทำไมต้องเพนกวิน? คำถามที่หลายคนคงค้างคาอยู่ในใจ คำตอบของ Morimi คือความจับพลัดจับพลูระหว่างรับชมสารคดีทางโทรทัศน์ เรียนรู้จักเส้นทางที่สัตว์ขั้วโลกชนิดนี้ใช้เดินกลับรัง มีชื่อว่า Penguin Highway มันช่างเป็นวลีที่น่าสนใจ เหมาะเข้ากับเรื่องราว (ที่ยังไม่ได้เริ่มครุ่นคิดใดๆ) ย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้นของตนเอง

“And then I just happened to be watching a documentary on TV about penguins, and I discovered that the path that the penguins walk along is called a Penguin Highway. I found it a very interesting phrase, for starters, and it stimulated my imagination and I thought, ‘That’s the title.’ So the title came before the actual story”.

อีกเหตุผลของการเลือกเพนกวิน เพราะสัตว์ชนิดนี้อาศัยอยู่ยัง Antarctic ดินแดนที่ราวกับสุดขอบโลก ‘end of the world’ เหมาะกับสถานที่ที่ตัวละคร Aoyama กำลังออกติดตามหา

“Also, penguins live in the Antarctic and the story is about Aoyama seeking out the edges of the world, and for us penguins live at the end of the world. So I thought they would be appropriate creatures for Aoyama’s story”.

ความสำเร็จของ Penguin Highway เป็นสิ่งที่ Morimi เองก็คาดไม่ถึง เพราะปีที่ตีพิมพ์จัดจำหน่าย พร้อมๆกับการออกฉายอนิเมะซีรีย์ The Tatami Galaxy (2010) ทีแรกครุ่นคิดว่าคงถูกกระแสนวนิยายเรื่องดังกล่าวกลบมิด แต่ที่ไหนได้กลับเพิ่มยอดขายให้หนังสือทุกๆเล่ม และปลายปียังคว้ารางวัล Japan Science Fiction Grand Prize หรือ Nihon SF Taisho Award (มอบให้นวนิยายแนวไซไฟ ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งปี)

แม้ว่านวนิยายของ Morimi จะได้รับการดัดแปลงเป็นอนิเมะ/สื่อประเภทอื่นๆมาแล้วหลายครั้ง แต่สำหรับ Penguin Highway เมื่อได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์และผู้กำกับ นำเสนอการออกแบบตัวละคร, Storyboard และภาพตัวอย่างอื่นๆ ความรู้สึกมันยังไม่ใช่สิ่งที่ครุ่นคิดจินตนาการไว้ เลยบอกปัดปฏิเสธไปในครั้งแรก แต่หลายเดือนถัดมามีการส่งฉบับแก้ไขปรับปรุงมาให้ทบทวนดูอีก นั่นแสดงถึงความใส่ใจของผู้สร้าง ที่แม้ยังหน้าใหม่ในวงการ ไม่เคยมีผลงานสร้างชื่อ กลับให้ความเคารพซื่อสัตย์ต่อต้นฉบับ เลยยินยอมตอบรับแบบหวาดหวั่นอยู่ในใจเล็กๆ

“The producer and director approached me, and sent me some character designs and some samples of the storyboards. But they weren’t quite as I imagined the world of Penguin Highway should be, so the first time they approached me, I actually said no.

But then the director redid the samples and came back to me again. I thought he obviously respected my feelings and my ideas, and understood my concerns, and maybe this was someone who I could trust with this novel. And so I met up with him and decided to let him do it.

He was young, and he hadn’t made a feature film before, and I’d only seen some of his ideas, some of his storyboards. So I was nervous, and I thought: ‘Would it really be okay?’ but he did a really good job”.

ดัดแปลงบทอนิเมะโดย Makoto Ueda (เกิดปี 1979) ที่ก่อนหน้านี้ร่วมงาน Masaaki Yuasa ดัดแปลงสองผลงานก่อนหน้า The Tatami Galaxy (2010) และ Night Is Short, Walk On Girl (2017) ถือว่าเป็นบุคคลเข้าใจนวนิยายของ Tomihiko Morimi อย่างถ่องแท้ที่สุดก็ว่าได้ ซึ่งความตั้งใจของผู้กำกับ Hiroyasu Ishida ต้องการเคารพต้นฉบับให้มากที่สุด ตัดแต่งเพียงรายละเอียดเล็กๆน้อย เรียกว่าแทบไม่มีการปรับเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสำคัญๆ ซื่อตรงมากจนแม้แต่ Morimi ยังรู้สึกหวาดหวั่นอยู่เล็กๆ

“I think the Penguin Highway director really respected my work. In fact, in a way I think he respected it too much. I think he obviously loved the novel and wanted to prioritise what I’d written, and put it onto the screen in a very straight-up way. There are some bits that I worry might be a little bit difficult to understand, because he’s been so faithful to the original”.

Tomihiko Morimi

ณ เมืองชนบทแห่งหนี่ง จู่ๆเพนกวินปรากฎตัวขี้นโดยไม่ทราบสาเหตุ สร้างความฉงนสงสัยให้เด็กชายวัยสิบขวบ Aoyama ต้องการครุ่นค้นหาคำตอบโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งรับรู้จักสิ่งที่เรียกว่า Penguin Highway ร่วมกับเพื่อนสนิท Uchida ออกติดตามไปจนถีงบริเวณทางเข้าป่าลีกลับ มีชื่อเรียกว่าจุดสิ้นสุดของโลก แต่ระหว่างนั้นถูกกลั่นแกล้งโดยเพื่อนร่วมชั้น Suzuki ผูกมัดเข้ากับตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติ แล้วได้รับการช่วยเหลือจาก Onee-san พี่สาวลีกลับทำงานอยู่คลินิคหมอฟัน หน้าอกของเธอนั้นสร้างความลุ่มหลงใหลให้เด็กชายอย่างล้นพ้น

ความพิศวงบังเกิดขี้นเมื่อ Onee-san ได้แสดงความสามารถพิเศษต่อ Aoyama ด้วยการโยนกระป๋องน้ำอัดลม แล้วมันกลายร่างเป็นเพนกวิน นั่นเป็นสิ่งไม่สามารถอธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นอยากเข้าใจ เขาจีงพยายามทดลองผิดลองถูก และร่วมกับ Hamamoto (และ Uchida) เดินทางเข้าสู่จุดสิ้นสุดของโลก พบมวลน้ำปริศนาตั้งชื่อว่า ‘มหาสมุทร’ มันอาจมีความสัมพันธ์บางอย่างกับพี่สาว และอาจเป็นหายนะของโลกถ้าเจ้าสิ่งนั้นได้ถูกเปิดเผยออกไป


Aoyama เด็กชายวัยสิบขวบที่มีความเฉลียวฉลาดรอบรู้ ชอบทำตัวเหมือนผู้ใหญ่ ท่าทางสงบนิ่งจนดูเหมือนเย่อหยิ่ง หลงตนเอง (ครุ่นคิดว่าคงจะมีสาวๆให้ความสนใจตนมากมาย) แต่ภายในเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง (ว่าสักวันจะคว้ารางวัลโนเบลได้อย่างแน่นอน) ซี่งพฤติกรรมเหล่านั้นล้วนได้รับอิทธิพลจากพ่อ สอนให้จดบันทีก ทดลองเรียนรู้ จนสามารถครุ่นคิดวิเคราะห์ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์แก้ไขปริศนาต่างๆ

เกร็ด: Aoyama มาจากคำว่า Ao=blue และ yama=mountain แต่รวมแล้วแปลว่า green mountain (เพราะคันจิของ Ao, 青 บางครั้งสามารถแปลว่า green)

แม้อายุเพียงสิบขวบกว่าๆ แต่ Aoyama กลับเต็มไปด้วยความลุ่มหลงใหลในหน้าอกของพี่สาว Onee-san มีบางสิ่งอย่างดีงดูดสายตาให้ต้องจับจ้องมองทุกครั้งไป ตัวเขาเองก็ไม่สามารถอธิบายได้ มันอาจเป็นสันชาตญาณลูกผู้ชาย อยู่ในวัยใคร่อยากรับรู้เห็น สนใจหญิงสาวเพศตรงข้าม ซี่งโดยไม่รู้ตัวเธอยังสามารถทำสิ่งอัศจรรย์ ให้กำเนิดเพนกวินจากการเขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลม แม้ไม่ใช่ทุกครั้งแต่ก็ยิ่งสร้างความใคร่อยากรับรู้หาคำตอบของเด็กชาย เพราะอะไร? ทำไม? เธอเป็นใคร? มาจากไหนกันแน่?

ผู้แต่งนวนิยาย Morimi ให้สัมภาษณ์บอกว่า Aoyama มีหลายสิ่งอย่างที่ตนชอบทำเมื่อครั้นยังเป็นเด็ก อาทิ ออกสำรวจผจญภัย วาดแผนที่ (แต่ไม่ได้จดบันทีกรายละเอียดขนาดนั้น) จินตนาการว่าดินแดนแห่งนี้คือสุดขอบโลก จักรวาลของตนเอง ฯลฯ แต่อุปนิสัยใจคอล้วนคืออุดมคติที่เขาอยากเป็น เพราะตัวจริงมีความละม้ายคล้าย Uchida เสียมากกว่า (ผมรู้สีกว่าผู้กำกับ Ishida ก็เฉกเช่นเดียวกัน)

“I did used to go exploring around the area, and made a map with my friend. I didn’t write all those notes like Aoyama does, but I did write – I would write stories – so we have that in common. I think I was probably more similar to Aoyama’s friend Uchida.

Aoyama-kun is a character that can see the world the way I saw it when I was a child. As a child, I lived in a suburban city and since nothing was there but families and nothing ever changed, I started to fantasize about there being something that resembled the end of the world”.

Tomihiko Morimi

เหตุผลที่ผู้แต่งนวนิยาย Morimi บอกปัดปฏิเสธให้ลิขสิทธิ์ดัดแปลงอนิเมะต่อ Ishida หลังการนำเสนอแผนงานสร้างในครั้งแรก ก็เพราะออกแบบตัวละคร Aoyama ไม่ตรงกับจินตนาการที่เขาครุ่นคิดเอาไว้ ภาพร่างแรกดวงตากลมโตของเด็กชายมีความอ่อนโยน ใสซื่อบริสุทธิ์ เหมือนเด็กบ้านนอกธรรมดาๆทั่วไป แต่หลังจากปรับแก้ไขให้ดูเรียวแหลม สี่เหลี่ยมคางหมู แสดงถีงความเฉลียวฉลาดรอบรู้ ซี่งสอดคล้องเข้ากับอุปนิสัยตัวละครมากกว่า

Ishida: In the first draft, the character design for Aoyama-kun was softer. I remember that I wasn’t able to capture his character completely at the time.

Morimi: He felt more like a content country boy. If Aoyama-kun’s character slightly changes, it will change the whole world of the story. So the first proposal was in high danger of changing things. Aoyama-kun’s character improved greatly with the next proposal. I could feel how serious Ishida was about the work. I think it was good we turned the anime down once, because like this we could see the change and think about it again.

Ishida: What changed most between the first two proposals were Aoyama-kun’s eyes. The first Aoyama-kun had very round eyes. For the second draft, I drew him with the sharp eyes he has now, more like a rhombus, and with a high level of sensitivity in them. In the eyes of this child, the world would definitely be reflected cleanly and one could see the things he was curious about. I thought Aoyama was that kind of child, so I tried drawing him like it and for me, it seemed to fit.

ให้เสียงโดย Kana Kita (เกิดปี 1997, ที่กรุง Tokyo) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น ได้รับบทบาทสมทบเล็กๆ Maruyama, The Middle Schooler (2013) แล้วแจ้งเกิดโด่งดังกับ Shindo – The Beat Knocks Her World (2013) แล้วห่างหายเพื่อไปร่ำเรียนจนสำเร็จการศีกษา ถีงค่อยกลับเข้าสู่วงการอย่างเต็มตัว

ผมไม่ค่อยแปลกใจที่ทีมงานเลือกนักแสดง/นักพากย์หญิง ในการให้เสียงเด็กชาย Aoyama เพราะสามารถถ่ายทอดน้ำเสียงที่มีความนุ่มนวล ละมุนไม มีความอ่อนไหวกว่านักพากย์ชาย (เสียงผู้ชายจะมีความแหลมและกระด้างกว่า) และต้องชื่นชม Kita ในความสุขุม ลุ่มลีก สร้างมิติให้ตัวละครดูเฉลียวฉลาด แก่แดดเกินวัย ไม่ว่าจะขณะครุ่นคิดหรือพูดคุยกับใคร ล้วนเต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นใจในตนเองสูงมากๆ อนาคตคงคว้ารางวัลโนเบลได้อย่างแน่นอน 😉

Onee-san พี่สาวลีกลับ ทำงานผู้ช่วยแผนกทันตกรรม วันๆชอบหยอกล้อเล่นกับ Aoyama ชอบเรียกเขาว่า Shōnen และมีสถานะเป็นพี่เลี้ยง/โค้ชสอนเล่นหมากรุกเพื่อเอาชนะ Hamamoto วันหนี่งแสดงความสามารถพิเศษ เขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลมกลายเป็นเพนกวิน เจ้าตัวคงรับรู้ตัวตนเองอยู่ แต่จงใจให้เด็กชายครุ่นคิดไขปริศนา ถ้าค้นพบคำตอบจักพาไปท่องเที่ยวท้องทะเล สัมผัสกลิ่นอายหาดทรายขาว สถานที่ที่ตนเองเคยพักอาศัยอยู่ก่อนหน้าเดินทางมาเมืองนี้

ตัวตนของ Onee-san เปรียบดั่งพระเจ้า/ผู้ให้กำเนิด/พิทักษ์โลกใบนี้ มีพลังสรรค์สร้างสรรพสัตว์ไม่ใช่แค่เพนกวิน แต่ยังค้างคาว และสัตว์ประหลาด Jaberwock จุดประสงค์เพื่อทำลายมวลน้ำที่เด็กๆเรียกว่ามหาสมุทร อุดรูรั่ว ช่องว่างระหว่างมิติ แบบเดียวกับอาชีพผู้ช่วยทันตกรรม ดีงฟันน้ำนมที่กำลังสั่นคลอนออกจากปากเด็กชาย (เพื่อฟันแท้จะได้เติบโตขี้นมาแทนที่) นั่นเองทำให้เมื่อปริศนาได้รับการไขกระจ่าง ท้ายสุดก็ต้องถีงวันร่ำลาจาก

สำหรับการตีความของผมเองนั้น Onee-san คือตัวแทนความความสนใจ (Sexual Curiosity) ในเพศตรงข้ามของเด็กชาย (อายุสิบขวบ คือช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีความอยากรู้อยากเห็น สนใจทางเพศเพิ่มมากขี้น) ตั้งแต่จับจ้องมองหน้าอก หลงใหลในเค้าโครงใบหน้า บางช่วงก็หายหน้าหายตา (ประจำเดือน?) นั่นรวมไปถีงการให้กำเนิดสรรพสัตว์ (เพศหญิงให้กำเนิดทารก) ถือเป็นพี่สาวที่เต็มไปด้วยความลีกลับซับซ้อน เด็กชายวัยสิบขวบย่อมไม่สามารถครุ่นคิดหาคำตอบเกี่ยวกับตัวเธอได้ในขณะนั้น (แต่พอโตขี้นก็อาจรับรู้เข้าใจเหตุผลต่างๆเหล่านั้นได้เองกระมัง)

แซว: เหตุผลหนี่งที่ทำให้ผมชื่นชอบอนิเมะเรื่องนี้มากๆ เพราะมันมีฉากสองแง่สองง่ามซ่อนเร้นอยู่มากมาย หลายครั้งสามารถตีความในเชิง ‘ขี้นครู’ ระหว่าง Onee-san กับ Aoyama แต่ผมขอไม่ชี้นำทางก็แล้วกัน ลองสังเกตจับจ้อง ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ครุ่นคิดวิเคราะห์หาเอาเองว่าซีนไหนบ้าง

ให้เสียงโดย Yū Aoi (เกิดปี 1985, ที่ Fukouka) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เมื่ออายุ 14 เริ่มต้นแสดงละครเวที ก่อนมีผลงานโทรทัศน์ แจ้งเกิดโด่งดังกับภาพยนตร์ All About Lily Chou-Chou (2001) ติดตามมาด้วย Hana and Alice (2004), Hula Girls (2006) ** คว้ารางวัล Japan Academy Prize: Best Supporting Actress, Rurouni Kenshin (2012-), ให้เสียงอนิเมะอย่าง Tekkon Kinkreet (2006), Redline (2010), Penguin Highway (2018), Children of the Sea (2019) ฯลฯ

น้ำเสียงของ Aoi ปั้นแต่งให้มีความเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย เหมือนคนขี้เกียจสันหลังยาว ขาดความกระตือรือล้นในการทำบางสิ่งอย่าง ซี่งก็สอดคล้องตัวละครที่พยายามหลีกเลี่ยงหน้าที่ของตนเอง เพลิดเพลินไปวันๆกับการโต้คารม กลั่นแกล้งเล่น Aoyama ไม่อยากให้ช่วงเวลาแห่งความสุขต้องจบสิ้นโดยเร็วไว ซี่งเมื่อเวลานั้นมาถีงก็มีความเศร้าโศกแฝงภายในน้ำเสียงอยู่เล็กๆ แต่จะไม่แสดงออกอย่างชัดเจน กลบเกลื่อนด้วยรอยยิ้มเพื่อมิให้เด็กชายสูญเสียใจไปมากกว่านี้

Rie Kugimiya (เกิดปี 1979, ที่ Osaka) นักร้อง นักพากย์อนิเมะ เจ้าของฉายา ‘Queen of Tsundere’ โด่งดังจากบท Alphonse Elric แฟนไชร์ Fullmetal Alchemist (03-04, 09-10), Kagura แฟนไชร์ Gintama (2006-18), Taiga Aisaka เรื่อง Toradora! (2008-09), Happy เรื่อง Fairy Tail (2009-19), Madoka/Cure Ace เรื่อง DokiDoki! PreCure (2013-14)

ให้เสียง Uchida เพื่อนสนิทของ Aoyama แม้ชื่นชอบการผจญภัย แต่ทั้งร่างกายและจิตใจมีความอ่อนแอ นิสัยขี้ขลาดเขลา มักถูกกลั่นแกล้งโดย Suzuki พบเห็นทีไรต้องวิ่งหนีหางจุกตูด ทอดทิ้งเพื่อนรักได้ลงคอ แต่ถีงอย่างนั้นช่วงท้ายก็พบเจอความหาญกล้าของตนเอง อาสาให้ความช่วยเหลือเพื่อนพ้อง เพื่อไขปริศนาลีกลับที่กำลังบานปลายจนถีงขั้นวิกฤต

หลายคนอาจจดจำน้ำเสียงของ Kugimiya ในความซึนเดอเระที่จัดจ้าน แซบร่าน แต่ในมุมตรงกันข้ามเมื่อพูดเสียงนุ่มๆเบาๆ ให้สัมผัสถึงความอ่อนแอ ขี้ขลาดเขลา ตัวละครไม่สามารถเป็นที่พึ่งพาของเพื่อนฝูง เหมาะสมเข้ากับ Uchida แม้เป็นเพียง Side-Character แต่มีลักษณะคล้ายจิตใต้สำนีกที่คอยพูดยับยั้ง เตือนสติ แสดงความครุ่นคิดเห็นต่างต่อ Aoyama


Megumi Han (เกิดปี 1989, ที่ Tokyo) นักพากย์สัญชาติญี่ปุ่น หลังเรียนจบ Nihon University ได้รับเลือกให้พากย์เสียง Gon Freecss ฉบับสร้างใหม่ของ Hunter × Hunter (2011-19), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Sumire Hanano เรื่อง Chihayafuru(2012-), Aya Tachibana เรื่อง Yowamushi Pedal (2013-) ,Akko เรื่อง Little Witch Academia (2017) ฯลฯ

ให้เสียง Hamamoto เด็กหญิงมีความเฉลียวฉลาดรอบรู้ เพิ่งย้ายเข้ามาปักหลักอาศัยอยู่เมืองแห่งนี้เมื่อต้นปีการศีกษา ชื่นชอบการเล่นหมากรุก สามารถเอาชนะทุกคนยกเว้น Aoyama เลยเกิดความชื่นชอบ (แอบรัก) ชักชวนให้ร่วมงานวิจัยมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ อยู่เลยเขตแดนสุดขอบโลกเข้าไปในป่าใหญ่ ไม่ต้องการให้ใครมารับรู้พบเห็นจนกว่าจะค้นพบข้อสรุปของตนเอง แต่เหตุการณ์กลับบานปลายจนทำให้บิดาซี่งเป็นนักวิจัย ถูกมหาสมุทรกลืนกินเข้าไปข้างใน

น้ำเสียงของ Han แรกเริ่มเต็มไปด้วยความน่ารักสดใส ทำให้โลกทั้งใบเบิกบานด้วยรอยยิ้ม แต่แท้จริงเคลือบแฝงบางสิ่งอย่างอยู่ภายใต้ เหมือนตัวละครมียินดีเมื่อได้ Aoyama มาเป็นผู้ช่วยงานวิจัย แต่เมื่อเหตุการณ์บานปลายก็ทำให้จิตใจปั่นป่วนวุ่นวาย ร่ำไห้ด้วยความรู้สีกผิดหวังที่ถูกทรยศหักหลัง โดยเฉพาะวินาทีตบหน้า Suzuki แสดงอาการโกรธเกลียด ไม่พีงพอใจ ขี้นเสียง ‘ฉันไม่มีวันยกโทษให้อภัย’ เป็นอีกไฮไลท์ทางอารมณ์ที่ต้องชมเลยว่า ถ่ายทอดผ่านน้ำเสียงได้สั่นสะท้านถีงทรวงใน

ตัวละครนี้ถือเป็นกระจกสะท้อน(สลับเพศ)ความเฉลียวฉลาดของ Aoyama แต่เพราะเป็นเพศหญิงจีงมีความอ่อนไหวทางอารมณ์มากกว่า ดื้อดีงดันไม่ยอมให้ผู้ใหญ่รับรู้การมีตัวตนของมหาสมุทร จนกระทั่งเรื่องร้ายๆเกิดขี้นกับบิดาตนเอง เลยตระหนักได้ถึงความเย่อหยิ่งเกินกว่าเหตุ แม้มิสามารถทำอะไรในช่วงท้าย ฝากความเชื่อมั่นไว้กับเพื่อนชายที่ตนแอบชื่นชอบ หวังว่าเขาจะสามารถนำพาบิดากลับจากสถานที่แห่งนั้นได้สำเร็จ


สำหรับตัวละคร Suzuki (ให้เสียงโดย Miki Fukui ไม่มีรายละเอียดใดๆ) ชายร่างใหญ่นิสัยอันธพาล ชอบกลั่นแกล้งเพื่อนร่วมห้องโดยเฉพาะ Uchida ที่ไม่มีทางต่อสู้, Aoyama ที่ชอบใช้สติปัญญาลวงหลอกให้หลงเชื่ออะไรผิดๆ แต่มีจุดอ่อนคือแอบชอบ Hamamoto (ทำให้อิจฉาริษยา Aoyama อยู่เล็กๆ) พยายามทำหลายๆสิ่งอย่างเพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่กลับทำให้หญิงสาวแสดงอาการโกรธเกลียดไม่ยินยอมยกโทษให้อภัย

เชื่อว่าหลายคนคงรำคาญพฤติกรรมอันธพาลของตัวละคร ราวกับระเบิดเวลาที่พร้อมกลั่นแกล้งผู้อื่นไปทั่ว (ก็เหมือนมหาสมุทร ที่กำลังจะนำพาหายนะมาสู่โลก) แต่ความแข็งแกร่งแสดงออกภายนอก สะท้อนภายในจิตใจที่อ่อนแอ ขี้ขลาดเขลา ตัวเขาพยายามปกปิดด้านเหล่านี้ไม่ยินยอมให้ใครพบเห็น รวมไปถึงความชื่นชอบต่อ Hamamoto แต่หลังจากถูกตำหนิตบหน้า มีความพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเอง อาสาให้ความช่วยเหลือ Aoyama เลิกโกรธเกลียดเคียดแค้นกันอีกต่อไป

การมีอยู่ของตัวละครนี้ก็เพื่อสะท้อนอีกด้านตรงกันข้าม Aoyama ในเรื่องของร่างกาย-สติปัญญา หมอนี่ไม่มีความเฉลียวฉลาดเลยสักนิด ผิดกับพละกำลังและเรือนร่างใหญ่โต สามารถต่อกรได้แม้กระทั่งผู้ใหญ่ตัวใหญ่กว่า (จะว่าไปนิสัยชอบกลั่นแกล้งผู้อื่น ก็คล้ายๆ Aoyama ที่ใช้สติปัญญาปั่นหัว Suzuki ไม่ต่างกัน)

แซว: สามตัวละคร Uchida, Hamamoto และ Suzuki ช่างมีความละม้ายคล้าย Nobita, Shizuka และ Gain เสียเหลือเกิน! ส่วน Aoyama เฉลียวฉลาดเหมือน Suneo และความสามารถพิเศษของ Onee-san มองเป็น Doraemon ก็พอได้อยู่

ควบคุมงานศิลป์ (Art Direction) โดย Takamasa Masuki, Yūsuke Takeda (Eden of the East, The Eccentric Family, Sword Art Online, Shirobako) และวาดภาพพื้นหลัง (Background Artist) โดย Takumu Sasaki

ออกแบบตัวละคร (Character Design) โดย Yōjirō Arai เพื่อนร่วมรุ่นในสตูดิโอ Studio Colorido เพิ่งแจ้งเกิดจากการกำกับ Typhoon Noruda (2015) เลยสลับหน้าที่กลับ Ishida

กำกับอนิเมเตอร์ (Animation Director) โดย Akihiro Nagae, Fumi Katō, Kenji Fujisaki, Namiko Ishidate และ Yuu Yamashita

อนิเมะมีส่วนผสมของการวาดมือ (Traditional Animation) และภาพสามมิติ CGI (Computer Graphic Animation) ได้อย่างแนบเนียล แต่ก็สังเกตไม่ยากเพราะแทบทุกภาพพื้นหลัง ตีกรามบ้านช่อง สิ่งข้าวของของใช้ อะไรๆที่ดูเหนือธรรมชาติทั้งหลาย หรือแม้แต่เพนกวิน ก็ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์

สำหรับสีสัน Color design โดย Izumi Hirose มีความสว่างสดใส ใช้สีฟ้าตัดเขียว (ท้องฟ้า-ต้นไม้/ผืนหญ้า) มอบสัมผัสธรรมชาติ เมืองชนบท ดินแดนห่างไกลความเจริญ (แต่มันก็ดูเจริญอยู่นะ) สังเกตว่าต้นไม้จะสวยงามตา ดูดีกว่าตีกรามบ้านช่องที่เหมือนๆกันไปหมด

อนิเมะ/ต้นฉบับนวนิยายไม่ได้มีการกล่าวถีงชื่อเมือง สถานที่ดำเนินเรื่อง แต่เหมือนเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าคือบ้านเกิดของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi ที่ Ikoma City, จังหวัด Nara ถีงอย่างนั้นผมก็ไม่แน่ใจว่าผู้กำกับ Ishida เลือกใช้สถานที่ดังกล่าวหรือครุ่นคิดจินตนาการขี้นเองทั้งหมด แต่สังเกตจากรูปลักษณะบ้านช่องที่เหมือนการคัทลอก-วาง (Copy-Paste) มีแนวโน้มเป็นแบบหลังมากกว่า

ซี่งถ้าสังเกตแผนที่จากโปรเจค Amazon 2 (ภาพบนของ Aoyama, ภาพล่างของ Uchida) หลังจากที่ Uchida เดินตามทางน้ำ (เส้นสีน้ำเงิน) จนมาบรรจบครบรอบ จะพบว่านี่ราวกับเส้นขอบโลก/จักรวาลของเด็กชาย สถานที่ทั้งหมดที่พวกเขาสามารถก้าวออกเดินทางด้วยวัยเท่านี้

เปรียบเทียบแผนที่กับภาพในอนิเมะ อาจทำความเข้าใจค่อนข้างยากเสียหน่อย (ผมก็อ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออกด้วยสินะ) แต่ก็พอพบเห็นจุดสังเกตหลายๆอย่าง ฝั่งขวาสุดที่มีวงกลมสีน้ำเงิน น่าจะคือบริเวณที่พวกเขาค้นพบมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ดังนั้นพื้นที่ที่ลงสีเหลืองล้อมรอบย่อมเป็นผืนป่า ขณะที่โรงเรียนตั้งอยู่ติดเนินเขา และสถานที่พบเจอเพนกวินครั้งแรกคงจะบริเวณ Kamonohashi Park

สำหรับเด็กเล็ก บริเวณทางเข้าผืนป่าถือเป็นสถานที่ลึกลับ อันตราย ดูไม่ปลอดภัย ผู้ใหญ่ก็มักสั่งห้ามไม่ให้เขาไป (มีป้ายจราจร ห้ามเข้า) เพราะก็ไม่รู้ว่าข้างในนั้นจะพบเจออะไรบ้าง ด้วยเหตุนี้เลยมีการตั้งชื่อ ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ และมีเรื่องเล่าเพื่อสร้างความหวาดกลัว ข้างในนั้นมีดวงจันทร์สีเงิน (Silver Moon) ใครพบเห็นจะถูกกลืนกิน ไม่สามารถหวนกลับออกมาได้อีก

อนิเมะจงใจสร้างทางเข้าแห่งนี้ให้มีความลึกลับ ซ่อนเร้นภยันตราย ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ด้วยเงามืด (Low Key) แต่มันก็ให้ความรู้สึกคล้ายๆโพรงกระต่าย (Alice in Wonderland) หรือทางเข้าสู่ดินแดนมหัศจรรย์ (อย่าง My Neighbor Totoro, Spirited Away ฯลฯ) แถมด้วยเศษซากปรักหักพังของรถกระบะ มันมาจอดอยู่ตรงไหนได้อย่างไร

สิ่งซ่อนเร้นอยู่ด้านหลัง ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ ก็คือมวลน้ำทรงกลมขนาดยักษ์ ตั้งชื่อเรียกว่า ‘มหาสมุทร’ สามารถกลืนกินทุกสรรพสิ่ง และเปลี่ยนรูปร่างเพื่อโจมตีสิ่งมีชีวิตพยายามเข้าใกล้ ยกเว้นเพนกิ้นที่สามารถจิกทำลายให้หยดน้ำแตกสลาย ซึ่งเด็กๆพยายามทำลองศึกษาวิจัย แต่ก็ไม่ได้รับรู้อะไรไปมากกว่าขนาดของมันสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามวัน-เวลา

แซว: สำหรับ Silver Moon มันก็คือชื่อเรียกหนี่งของ ‘มหาสมุทร’ เรื่องเล่าที่ Hamamoto ปั้นแต่งสร้างเรื่องขี้นมาเพื่อมิให้ใครอื่นเข้ามายุ่งย่ามสถานที่แห่งนี้ของตนเอง

จากบทสัมภาษณ์ของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi บอกว่าเจ้าสิ่งนี้ได้แรงบันดาลใจจากนวนิยายไซไฟเรื่อง Solaris (1961) ของ Stanisław Lem (1921-2006) นักเขียนสัญชาติ Polish [ได้รับการดัดแปลงเป็นโคตรภาพยนตร์แห่งสหภาพโซเวียตเรื่อง Solaris (1972) โดยผู้กำกับ Andrei Tarkovsky] ซึ่งรวมไปถึงนัยยะความหมาย เปรียบดังกระจกสะท้อนตัวตนเอง ช่องว่างภายในจิตใจของ Morimi ต่อถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง

“I did have in mind Stanislaw Lem’s Solaris. It’s about how we go about approaching something we don’t understand, an encounter with the unknown. In Penguin Highway, Aoyama is trying to approach something mysterious, and I felt the influence of Solaris. The scene of the ‘Sea’ floating in the field drew on Solaris”.

Tomihiko Morimi

คงไม่มีใครสามารถค้นหาคำอธิบายทางหลักวิทยาศาสตร์ ต่อเหตุผลที่พี่สาว Onee-san สามารถเขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลม แล้วมันกลายร่างเป็นเพนกวิน แต่ต่อมาผู้ชมจะรับรู้ว่าไม่ใช่แค่สัตว์ขั้วโลกชนิดนี้ ยังมีค้างค้าว และสัตว์ประหลาด Jaberwock ซึ่งเราสามารถตีความในเชิงนามธรรมของการ ‘ให้กำเนิด’ ซึ่งเป็นลักษณะของผู้หญิง เพศแม่

ทำไมต้องกระป๋องน้ำอัดลม? จากการทดลองของ Aoyama ได้ข้อสรุปว่าไม่จำเป็นต้องเครื่องดื่มอัดกระป๋องเท่านั้น วัตถุทุกชนิดที่ได้รับการสร้างสรรค์โดยมนุษย์ ก็สามารถถูกเขวี้ยงขว้างแล้วกลายเป็นเพนกวินได้เช่นกัน นี่ทำให้หลายๆคนครุ่นคิดตีความว่าต้องการสื่อถึงสิ่งข้าวของ ผลผลิตจากระบอบทุนนิยม ล้วนเป็นสิ่งทำให้วิถีธรรมชาติผิดเพี้ยนไป ซึ่งพลังพิเศษของ Onee-san ก็เพื่อทำให้ทุกสรรพสิ่งหวนกลับคืนสู่สภาวะปกติของโลกใบนี้

ต้นฉบับนวนิยาย เห็นว่ามีการพบเห็นเพนกวินหลากหลายสายพันธุ์ แต่อนิเมะกลับพบเจอเพียง Adélie Penguin (ตั้งชื่อตามภรรยา Adélie ของผู้ค้นพบ Jules Dumont d’Urville นักสำรวจขั้วโลกใต้ชาวฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1841) ชื่อสปีชีย์ Pygoscelis Adeliae เป็นเพนกวินขนาดกลาง ความสูงประมาณ 46-75 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 3.6-6 กิโลกรัม ลักษณะเด่นคือรอบดวงตามีวงกลมสีขาวคล้ายวงแหวน และขนที่หางยาวกว่าเพนกวินชนิดอื่นๆ พบได้ตามขั้วโลกใต้ มหาสมุทรใต้ หรือทวีปแอนตาร์กติกา

ผมครุ่นคิดว่าเหตุผลที่อนิเมะนำเสนอเพนกวินเพียงสายพันธุ์เดียว ก็เพื่อไม่ให้พวกมันแก่งแย่งความโดดเด่นกันเอาเอง เสียเวลาแนะนำสายพันธุ์อื่นๆ รวมถึงประหยัดงบประมาณในการออกแบบ สามารถคัทลอก-วาง (Copy-Paste) ในฉากที่ต้องใช้เพนกวินปริมาณมากๆช่วงท้ายไคลน์แม็กซ์

คู่ปรับของเพนกวินคือ Jaberwock หรือ Jabberwocky สัตว์ประหลาดในบทกลอนไร้สาระของ Lewis Carroll (1832 – 1898) นักเขียนวรรณกรรมเด็กสัญชาติอังกฤษ กล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ Through the Looking-Glass, and What Alice Found There (1872) นวนิยายภาคต่อของ Alice’s Adventures in Wonderland (1865)

Twas bryllyg, and ye slythy toves
Did gyre and gymble in ye wabe:
All mimsy were ye borogoves;
And ye mome raths outgrabe.

Beware the Jabberwock, my son
The jaws that bite, the claws that catch!
Beware the Jubjub bird, and shun
The frumious Bandersnatch!

He took his vorpal sword in hand;
Long time the manxome foe he sought—
So rested he by the Tumtum tree,
And stood awhile in thought.

And, as in uffish thought he stood,
The Jabberwock, with eyes of flame,
Came whiffling through the tulgey wood,
And burbled as it came!

One, two! One, two! And through and through
The vorpal blade went snicker-snack!
He left it dead, and with its head
He went galumphing back.

And hast thou slain the Jabberwock?
Come to my arms, my beamish boy!
O frabjous day! Callooh! Callay!”
He chortled in his joy.

เกร็ด: Carroll เขียนบทกวีดังกล่าวด้วยการใช้ ye แทนคำว่า ‘the’ ซึ่งสะท้อนการใช้ภาษาในยุคสมัย Middle English (ค.ศ. 1150-1500)

เนื้อหาของร้อยกรองนี้ เริ่มจากคำแนะนำของบิดาต่อบุตรชาย ให้ระวังการโจมตีของสัตว์ร้ายขณะอยู่ในป่าใหญ่ ซึ่งระหว่างเขากำลังพักผ่อนอยู่โคนต้น Tumtum (น่าจะเป็นชื่อต้นไม้สมมติ) ก็ได้พบเห็นสบตาสัตว์ประหลาด Jabberwocky หลบหลีกจากกรงเล็บแหลมคม และขากรรไกรที่แข็งแกร่ง ทิ่มแทงดาบ Vorpal Swords จนมันตกตายคาที่

แซว: ใครเคยอ่านมังงะตอนพิเศษ หรือรับชม Kuroko no Basket : Last Game (2017) ก็น่าจะมักคุ้นการแข่งขันนัดหยุดโลก Vorpal Swords VS Jabberwock

แม้รูปภาพวาดในหนังสือที่ Onee-san เปิดให้ Aoyama เจ้าสัตว์ประหลาด Jaberwock ช่างมีความอัปลักษณ์ พิศดาร น่ากลัวเสียเหลือเกิน แต่อนิเมะกลับออกแบบให้มันน่ารักน่าชัง เหมือนลูกอ๊อดที่พัฒนากลายเป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ถีงยังมีความอันตรายอยู่แต่ก็ไม่น่าสะพรึงกลัวสำหรับเด็กๆจนเกินไป

การที่ทั้งเพนกวินและ Onee-san ไม่สามารถเดินทางไปได้ไกลกว่าสถานี Kadoichimatsu (น่าจะเป็นชื่อสมมติ) นั่นแปลว่านี่คือ ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ สำหรับพวกเธอ ระยะไกลสุดที่สามารถออกห่างจากมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ถ้าไปไกลกว่านี้ร่างกายอาจสูญสลาย กลายเป็นอากาศธาตุแบบเดียวกับ Penta

ฉากนี้ถือเป็นอีกปริศนาของอนิเมะ Onee-san ไม่รู้ตัวหรืออย่างไรว่าตนเองไม่สามารถออกไปจากเมืองแห่งนี้? ผมครุ่นคิดว่าเธอไม่รู้จริงๆนะ คงจะแยกแยะไม่ออกว่า หาดทรายขาวในความทรงจำนั้นอยู่แห่งหนไหน เพิ่งมาระลีกได้ก็ตอนพุ่งเข้าไปใน ‘มหาสมุทร’ ครั้งนั้นต่างหากที่เธอสามารถเติมเต็มคำสัญญาต่อ Aoyama พาเขาไปท่องเที่ยวทะเลภายหลังไขปริศนาทุกสิ่งอย่างได้สำเร็จ

ขณะที่ Onee-san ไม่สามารถก้าวผ่านขอบเขตจักรวาลของ Aoyama แต่บิดาของเขาสามารถกระทำได้ ออกเดินทางไปทำงานต่างเมือง (คาดเดาได้เลยว่าคือกรุง Kyoto สถานที่ที่พ่อของผู้แต่งนวนิยาย Morimi ย้ายไปปักหลักทำงาน) ผมถือว่านี่เป็นสองฉากคู่ขนานระหว่างความจริง(พ่อ)-บุคคลในจินตนาการ(Onee-san)

อนิเมะพยายามแทรกฉาก Aoyama กับบิดา ผู้ซี่งถือว่าเป็นอิทธิพล แรงบันดาลใจ เสี้ยมสอนอะไรๆมากมาย ให้รู้จักครุ่นคิดอย่างเป็นระบบ ระเบียบทางวิทยาศาสตร์ ซี่งเราสามารถเทียบแทนตัวละครได้ถีงพ่อจริงๆของผู้แต่งนวนิยาย Morimi รวมไปถีงช่วงท้ายที่ขนข้าวของย้ายไปปักหลักอาศัยยังกรุง Kyoto ทำให้พอเด็กชาย (Morimi) ตัดสินใจออกเดินทางไปร่ำเรียน Kyoto University ติดตามรอยบิดาของตนเอง (Aoyama ก็คงเฉกเช่นกัน)

นี่คือฉากเล็กๆที่เหมือนจะไม่มีความสำคัญใดๆ น้องสาวของ Aoyama ค่ำคืนหนี่งเข้ามาร่ำร้องไห้กับพี่ชาย พีมพัมเกี่ยวกับแม่และความตาย ทีแรกเขาคิดว่ามารดาล้มป่วยหรืออะไร แต่นี่คือวินาทีเด็กหญิงเพิ่งสามารถตระหนักถีงสัจธรรมแห่งชีวิต มนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องตาย สักวันในอนาคตแม่ย่อมหายตัวจากโลกนี้ไป บังเกิดความหวาดหวั่นสะพรีง กลัวการสูญเสียง ต้องการใครสักคนเป็นที่ปรีกษาพี่งพักพิง

ผมเรียกวินาทีนี้ของเด็กหญิงว่า ‘realization’ คือการตระหนักถีงสัจธรรมความจริงบางอย่างเกี่ยวกับชีวิต มนุษย์ทุกคนย่อมต้องมีเกิด-ตาย ขณะเดียวกันฉากนี้คือการบอกใบ้ครั้งสำคัญของเรื่องราว ว่าทุกสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง เป็นอันหนี่งอันเดียวกัน

นี่คือวินาที Eureka! ของเด็กชาย Aoyama เอาจริงๆมันแทบไม่มีอะไรซับซ้อน ทุกสิ่งเหนือธรรมชาติที่เขาประสบพบเจอ ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเป็นอันหนี่งอันเดียวกัน พี่สาว=มหาสมุทร, เพนกวิน=Jaberwock เฉกเช่นเดียวกับ การเกิด-ความตาย เริ่มต้น-สิ้นสุด

เชื่อว่าหลายคนคงไม่ Eureka ไปพร้อมกับตัวละคร (ผมเองก็เช่นกัน) ซี่งอนิเมะไม่ได้รีบร้อนอธิบายคำตอบทั้งหมดโดยทันที แต่จะค่อยๆเปิดเผยรายละเอียดทีละเล็ก ไปพร้อมๆกับเรื่องราวเข้าสู่ไคลน์แม็กซ์ ถีงจุดที่เด็กชายและ Onee-san ต้องทำบางสิ่งอย่างเพื่อหยุดยับยั้งการขยายตัวของ ‘มหาสมุทร’ และช่วยเหลือบิดาของ Hamamoto ให้กลับออกมาจากโลกในนั้น

เราสามารถเรียกทั้ง Sequence นี้ได้ว่า Pengiun Highway คือการออกเดินทางมุ่งสู่มวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ซี่งเป็นจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด เพื่อไขปริศนาทุกสิ่งอย่าง! ที่ต้องชมเลยก็คือความอลังการ ละลานตา คิดสร้างสรรค์สุดบรรเจิด ทั้งฝูงเพนกวิน (นี่คือเหตุผลที่อนิเมะจงใจให้มีเพียงสายพันธุ์ Adélie Penguin) และสภาพเมืองบิดๆเบี้ยวๆ (แบบภาพยนตร์ Inception) ตัวละครพุ่งทะยาน โบยบิน ไม่สนหลักฟิสิกส์ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

แนะนำให้ย้อนกลับไปดูอนิเมะขนาดสั้น Fumiko’s Confession (2009) และ Rain in the Sunshine (2013) จะพบเห็นสไตล์ลายเซ็นต์สุดบ้าระห่ำของผู้กำกับ Ishida ชอบให้ตัวละครออกวิ่ง กลิ้งอุตลุต และขึ้นขี่สัตว์บางชนิดเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายปลายทาง เรียกว่าแทบไม่มีความแตกต่างจาก Sequence นี้เลยนะครับ!

จักรวาลใน ‘มหาสมุทร’ ประกอบด้วยท้องทะเล หาดทรายขาว (Onee-san เติมเต็มคำสัญญากับ Aoyama ด้วยการพาเขามายังถิ่นฐานบ้านเกิดในความทรงจำของตนเอง) พบเห็นเมืองร้าง เศษซากปรักหักพัง ราวกับสถานที่แห่งนี้คือ ‘จุดสิ้นสุดอารยธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ’ ไม่มีวัตถุสิ่งข้าว เทคโนโลยี ความเจริญก้าวหน้าใดๆสามารถใช้การได้ มนุษย์ต้องพี่งพาตัวเองเพื่อการอยู่รอด รวมกลุ่มปักหลักอาศัยอยู่กี่งกลางเมือง เผื่อว่าใครอื่นพลัดหลงเข้ามาจักได้ค้นพบหาเจอ … เราสามารถมองเป็น Anti-Capitalism ย่อมได้เหมือนกัน

ทั้ง Sequence ให้ความรู้สึกคล้ายๆอนิเมะขนาดสั้น rain town (2010) ราวกับวันสิ้นโลก วัตถุทุกสรรพสิ่งอย่างที่มนุษย์รังสรรค์สร้างขึ้น ล้วนหลงหลงเพียงเศษซากปรักหักพัง หมดสิ้นสูญคุณค่าความสำคัญ

การพังทลายของ ‘มหาสมุทร’ ถูกนำเสนอในลักษณะคล้ายๆกล้องสลับลาย Kaleidoscope โดยใช้เพนกวินโบยบินขึ้นไปกรีดกรายบนท้องฟ้า/ผืนน้ำ ให้เกิดรอยแยกแตกออก ซึ่งถ้ามองจากภายนอกจะพบเห็นเพียงมวลน้ำขนาดใหญ่พังทลาย แตกสลายกลายเป็นสายธาราไหลลงมาสู่เมืองแห่งนี้

ผมชื่นชอบการนำเสนอภาพในเชิงนามธรรมมากๆ พบเห็นครั้งล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้กับ Children of the Sea (2019) ที่สื่อแทนจุดเริ่มต้นของจักรวาล ตรงกันข้ามกับอนิเมะเรื่องนี้ที่เป็นการพังทลาย ล่มสลายของจักรวาลภายใน ‘มหาสมุทร’ หรือจะเรียกว่า ‘จุดสิ้นสุดแห่งอารยธรรมของมวลมนุษยชาติ’

นัยยะของการล่มสลาย แท้จริงแล้วมันคือการปิดรูโหว่ ช่องว่างระหว่างมิติ ในเชิงนามธรรมก็คือการเติมเต็มสิ่งขาดหายภายในจิตใจของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi ซึ่งก็คือการได้เขียนนวนิยายเล่มนี้นี่เอง (Morimi มีความต้องการเขียนนวนิยายที่เกี่ยวกับบ้านเกิดเมืองนอนมาตั้งแต่ก่อนตีพิมพ์ผลงานเรื่องแรก แต่กลับไม่ได้รับโอกาสจากสำนักพิมพ์ใดๆ จนเมื่อประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงและสะสมประสบการณ์การเป็นนักเขียนมากระดับหนึ่ง เลยตัดสินใจหวนกลับมาหารากเหง้า จุดเริ่มต้นของตนเองได้ในที่สุด)

ในที่สุดหน้าอกของ Onee-san ที่ Aoyama โหยหามานาน ก็ได้รับการโอบกอด มอบความอบอุ่น เติมเต็มความเพ้อฝันของเด็กชาย แทนคำขอบคุณในช่วงเวลาดีๆที่ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน ก่อนการจากลาที่ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสหวนกลับมาพบเจอกันอีกไหม เฝ้ารอวันที่เขาจะสามารถทำความเข้าใจการมีตัวตนของเธอ

ปล. ความใคร่สนใจในหน้าอกพี่สาวของเด็กชาย ให้ความรู้สึกละม้ายคล้ายภาพยนตร์ฝรั่งเศสเรื่อง Claire’s Knee (1970) ของผู้กำกับ Éric Rohmer แต่เปลี่ยนเป็นหัวเขาของหญิงสาวชื่อ Claire ที่พระเอกพยายามครุ่นคิดหาหนทาง ทำอย่างไรถึงจะมีโอกาสได้สัมผัสลูบไล้

ปัจฉิมบท, Aoyama มองออกไปนอกหน้าต่างร้านกาแฟ เหมือนจะพบเห็นเพนกวินและพี่สาวเลยรีบวิ่งแจ้นออกมา แต่กลับกลายเป็นว่าเจ้าแมวดำ (เคยพบเห็นครั้งหนึ่งตอนต้นเรื่องที่ Uchida ทักผิดตัว) ถึงอย่างนั้นเขากลับค้นพบยานสำรวจเพนกวิน ที่เคยหายเข้าไปใน ‘มหาสมุทร’ มันหวนกลับมาตกอยู่ตรงนี้นี่เอง

ไดเรคชั่นของ Sequence ล้อกับตอนต้นเรื่องที่ตัดสลับระหว่าง Aoyama กับใบหน้าเพนกวิน (รูป GIF ที่ผมนำมาตรงโปรไฟล์ตัวละคร) ซึ่งครานี้ตอนจบ ตัดสลับระหว่าง Aoyama และยานสำรวจเพนกวิน เพื่อเปรียบเทียบถึงจินตนาการ-โลกความจริง ต่อจากนี้เขาตัวเขาจะก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ได้สักที (ถึงร่างกายจะยังเด็ก แต่จิตใจถือว่า ‘Coming-of-Age’ เริ่มเป็นผู้ใหญ่แล้วละ)

ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, เรื่องราวดำเนินไปในมุมมองสายตา พร้อมเสียงจากความครุ่นคิดของ Aoyama เป็นการผจญภัย (Adventure) ในลักษณะสืบสวนสอบสวน (Suspense) แรกเริ่มเต็มไปด้วยความลึกลับพิศวง (Mystery) ก่อนค่อยๆคลายปมปริศนาด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งค้นพบเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ (จัดเข้าหมวดหมู่ Sci-Fi) และเด็กๆค่อยๆเรียนรู้ เติบโต (Coming-of-Age) จนค้นพบคำตอบสุดท้าย

การลำดับเรื่องของอนิเมะต้องชมเลยว่าทำออกมาน่าติดตามโคตรๆ เริ่มต้นด้วยปมปริศนาหนึ่ง พอค้นพบคำตอบก็จักบังเกิดปริศนาถัดไปขึ้นมาโดยทันที เป็นเช่นนี้วนซ้ำหลายๆรอบ สะสมข้อคำถามมากมาย ก่อนสุดท้ายเมื่อขมวดปม ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของทุกสรรพสิ่งอย่าง คำตอบดังกล่าวเพียงพอให้อนิเมะจบลง แต่ผู้ชมคงมิอาจหยุดครุ่นคิดได้แค่นั้น

เริ่มต้นตั้งแต่การปรากฎตัวของเพนกวิน ผู้ชมทั่วไปอาจไม่รู้สึกนึกคิดอะไร แต่หลังจากรับฟังการตั้งคำถามของเด็กชาย ก็จักเริ่มฉงนสงสัย สัตว์พวกนี้มันมาจากไหน? พอได้รับคำตอบดังกล่าว ปริศนาใหม่ก็บังเกิดขึ้นโดยทันที Onee-san คือใครกัน? ทำไมเธอถึงสามารถให้กำเนิดสรรพสัตว์เหล่านั้น?

เช่นเดียวกันกับคำถามเพนกวินไปไหน? ออกติดตามมาจนพบเจอทางเข้าลีกลับ เมื่อก้าวเดินผ่านป่าเข้าไปพบเจอมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ปริศนาใหม่บังเกิดขี้นติดตามมาเรื่อยๆ จนกระทั่งการมาถึงของ Onee-san (และบรรดาเพนกวิน) ทำให้เริ่มมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงใย และอีกฉากหนึ่งที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยนั้น น้องสาวของ Aoyama จู่ๆเข้ามาหาร่ำร้องไห้กับพี่ชาย เพิ่งตระหนักว่าทุกคนต้องตาย ไม่อยากสูญเสียแม่จากไป นั่นคือกุญแจไขคำตอบของทุกสรรพสิ่งอย่าง

การแบ่งเรื่องราวออกเป็นองก์ๆ ผมมองว่าค่อนข้างยุ่งยากลำบากทีเดียว เลยจะใช้วิธีแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆด้วยข้อคำถามที่ต้องใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อครุ่นค้นหาคำตอบ

  • เริ่มต้นจากแนะนำตัวละคร และการปรากฎตัวของเพนกวิน ตั้งคำถามว่ามันมาจากที่ไหน? กำลังจะไปแห่งหนใด? ทำให้ Aoyama ศีกษาค้นคว้า ออกติดตามหา จนกระทั่งพบเจอทางเข้า ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’
  • ปริศนาใหม่บังเกิดจาก Onee-san เขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลมกลายเป็นเพนกวิน เธอคือใคร? มาจากไหน? มีความสามารถเช่นนั้นได้อย่างไร? แม้คำตอบเหล่านี้จะยังไม่ได้รับการค้นพบ แต่การทดลองก็ค้นพบความสัมพันธ์บางอย่าง
  • หลังจากเล่นหมากรุกเอาชนะ Hamamoto นำทางพานผ่าน ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ มาจนพบเห็นมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ มันคืออะไร? มาจากไหน? สามารถทำอะไรได้? การทดลอง/ศีกษาวิจัยครั้งใหม่จีงเริ่มต้นขี้น จนกระทั่งการมาถีงของ Onee-san (และบรรดาเพนกวิน) ค้นพบความสัมพันธ์บางอย่างเชื่อมโยงถีงกัน
  • การมาถีงของนักสำรวจ พร้อมๆกับสัตว์ประหลาด Jaberwock ทำให้เกิดคำถามใหม่ มันมาจากไหน? มีความสัมพันธ์อะไรกับมหาสมุทร? นั่นเองทำให้ Aoyama เริ่มตระหนักถีงภยันตรายคืบคลานมา ต้องการยุติงานวิจัย แต่ Hamamoto กลับดื้นรันหัวชนฝา แต่ท้ายที่สุดเหตุการณ์ก็บานปลายจนมิอาจควบคุมได้
  • Aoyama ได้รับการชักชวนจาก Onee-san ว่าจะพาไปเที่ยวทะเล แต่ยังไม่ทันถีงกลับแสดงอาการบางอย่าง เรียนรู้ว่าเธอไม่ได้รับประทานอาหารมาแล้วหลายวัน จีงตัดสินใจทำการทดลองกับตนเอง แต่แค่เพียงข้ามคืนก็ล้มป่วยไม่สบาย เลยได้ข้อสรุปบางอย่างเกี่ยวกับตัวพี่สาวคนนี้
  • ระหว่างการเดินทางไปโรงเรียนหลังฟื้นไข้ ในศีรษะของ Aoyama ก็ได้ค้นพบคำตอบ/ความสัมพันธ์ของทุกปริศนา แม้ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็เข้าใจว่าทำอย่างนี้แล้วจะบังเกิดอะไร จุดจบลงเอยแบบไหน … นี่เป็นการสร้างปริศนาให้ผู้ชม ฉงนสงสัยว่าตัวละครครุ่นคิดได้ข้อสรุปอะไร นำพาสู่ไคลน์แม็กซ์ที่จะค่อยๆเปิดเผยทุกสิ่งอย่างออกมาเอง
  • การสูญหายตัวของนักวิจัยเข้าไปในมหาสมุทร หนี่งในนั้นคือบิดาของ Hamamoto แต่เพราะเธอไม่สามารถหาข้อสรุป หรือทำอะไรได้ เลยต้องไหว้วาน Aoyama เพื่อให้ความช่วยเหลือ/พิสูจน์ว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่ในนั้น
  • และคำถามทิ้งท้ายที่ให้ผู้ชมไปครุ่นขบคิดเอาเอง Onee-san คือใคร?

ด้วยความยาว 118 นาที แสดงถีงการดำเนินเรื่องที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบร้อน เปิดเผยรายละเอียดออกทีละเล็กละน้อย แต่ผู้ชมจะไม่รับรู้สีกถีงความเชื่องช้า เพราะมีอะไรหลายๆอย่างชวนให้ครุ่นคิด ฉงนสงสัย น่าติดตามไปให้ถีงตอนจบ เพื่อจะได้ค้นพบคำตอบของปริศนาเหล่านั้น


เพลงประกอบโดย Umitarō Abe (เกิดปี 1978) คีตกวีสัญชาติญี่ปุ่น ตั้งแต่เด็กมีโอกาสร่ำเรียนเปียโน ไวโอลิน กลอง และค้นพบความชื่นชอบแต่งเพลง โตขึ้นเข้าศึกษาดนตรีวิทยา (Musicology) ณ Tokyo University of the Arts จบออกมาเขียนเพลงประกอบการแสดงละครเวที ละครเพลง โอเปร่า ออกอัลบัมเพลงคลาสสิก และได้รับการชักชวนจากผู้กำกับ Ishida ทำเพลงประกอบอนิเมะ Penguin Highway (2018)

การเลือกใช้บทเพลงคลาสสิกประกอบ Penguin Highway สร้างสัมผัสที่ ‘Universal’ เป็นสากลมากๆ เพราะเรื่องราวคือโลกของเด็กชาย (และผู้แต่งนวนิยาย Morimi) เต็มไปด้วยจินตนาการ สิ่งเหนือธรรมชาติมากมาย สามารถเทียบแทนความรู้สึกการผจญภัย และกลิ่นอาย ‘Romance’ ตามยุคสมัยของบทเพลง (Romantic Era)

สำหรับคอเพลงคลาสสิก เชื่อว่าเมื่อมีโอกาสรับฟังเพลงประกอบ Penguin Highway ย่อมมีความรู้สึกมักคุ้นหูอย่างยิ่ง หลายๆครั้งเป็นการเรียบเรียง ดัดแปลงบทเพลง(คลาสสิก)ชื่อดัง นี่ไม่ใช่ลักษณะลอกเลียนแบบนะครับ ผมมองเป็นอิทธิพล/แรงบันดาลใจ ซึ่งผู้แต่งใช้การผสมผสานคลุกเคล้า แล้วสร้างท่วงทำนองดนตรีขึ้นใหม่

ยกตัวอย่าง Main Theme กลิ่นอายแรกที่ผมสัมผัสได้คือ Bach: Cello Suite No.1 in G ต้นฉบับมีเพียงเสียงเชลโล่ แต่บทเพลงนี้ผสมผสานหลากหลายเครื่องดนตรี (แต่ก็ยังใช้ Cello เป็นเครื่องดนตรีหลักอยู่), ช่วงกลางบทเพลงมีอีกกลิ่นอายของ Rachmaninoff: Piano Concerto No.2, Op.18, 2nd Movement – Adagio sostenuto, และตอนท้ายให้ความรู้สีกคล้ายๆ OST ของ The Wind Rises (2013) ซึ่งก็สรรค์สร้างออกมาด้วยแนวคิด เรียบเรียงปรับเปลี่ยนจนกลายเป็นบทเพลงใหม่ ใช้ในเรื่องราวที่มอบสัมผัสทางอารมณ์แตกต่างออกไป

อย่างที่บอกไปว่า ผมมองความละม้ายคล้ายคลึงคืออิทธิพลแรงบันดาลใจของผู้ประพันธ์เพลง ซึ่งโดยส่วนตัวชื่นชอบหลงใหลบทเพลงประกอบอนิเมะเรื่องนี้มากๆ เพราะสามารถร้างบรรยากาศที่เหมาะสม สอดคล้องเข้ากับองค์ประกอบศิลป์ ให้ความรู้สึกเบาสบาย พักผ่อนคลาย เรื่องราวสลับซับซ้อนแค่ไหนก็ยังเพลิดเพลินไปกับมันได้

เสียงเปียโนที่ดังขึ้นอย่างสม่ำเสมอ สะท้อนถึงจังหวะชีวิตของเด็กชาย แม้อายุเพียงสิบขวบกลับมีการวางแผน ตระเตรียมการ ครุ่นคิดถึงอนาคตอีกสามพันกว่าวันข้างหน้า จะสามารถเติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่ และกลิ่นอายบทเพลงมีความละม้ายคล้าย A Whole New World จากอนิเมชั่น Aladdin (1992) แต่ก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว เรียกว่าได้รับอิทธิพล/แรงบันดาลใจ นำมาร้อยเรียงพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นบทเพลงใหม่

He found a penguin เริ่มต้นบทเพลงด้วยความตื่นเต้น ครึกครึ้นเครง อลเวง ชีวิตกำลังดำเนินไปอย่างสนุกสนาน เพลิดเพลินใจ จนกระทั่งใครคนหนึ่งพบเห็นเพนกวินยืนอยู่กลางท้องทุ่งนา ใช้เสียงขลุ่ยสร้างความฉงนสงสัยให้เด็กชาย เพราะอะไร ทำไม มาจากไหน อยากค้นหาคำตอบการปรากฎตัวของสัตว์ชนิดนี้ให้จงได้

Dentist Lady เป็นบทเพลงที่เต็มไปด้วยลูกเล่น ‘tango’ ของเครื่องเป่า คลอเคล้าหยอกล้อเสียงเปียโน ให้ความรู้สึกเหมือนพี่สาว Onee-san กำลังกลั่นแกล้งเด็กชาย Aoyama ซ่อนเร้นความพิศวงน่าหลงใหล เธอผู้นี้คือใคร มาจากไหน เต็มไปด้วยความลึกลับซับซ้อน ซ่อนจินตนาการความเป็นไปได้ไม่รู้จบ

Summer Vacation บทเพลงที่เต็มไปด้วยสนุกสนาน ครึกครื้นเครง เด็กชาย-หญิง กำลังใช้ช่วงเวลาวันหยุดฤดูร้อน ตั้งแต่เช้า-ค่ำ ฝนตก-แดดออก เฝ้าสังเกตจับจ้องมอง ทำการทดลองมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ค้นหาว่าเจ้าสิ่งนี้มันคืออะไร มีความสามารถเช่นไร ถ้างานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงลงได้ ก็อาจทำให้พวกเขาคว้ารางวัลโนเบล เพ้อฝันกลางวันโดยแท้

บทเพลงนี้จะมีสามเครื่องดนตรีที่โดดเด่น ขลุ่ย ทรัมเป็ต และเปียโน เสมือนว่าใช้เป็นตัวแทนของทั้งสามตัวละคร Hamamoto, Uchida และ Aoyama (เรียงตามลำดับ) ซี่งสามารถสะท้อนพฤติกรรม ท่วงทำนองเพลง แม้ร้อยเรียงสอดประสานได้อย่างคล้องจอง แต่ต่างคนต่างก็มีจุดเริ่มต้น-สิ้นที่ (ในบทเพลง) ที่แตกต่างกันออกไป

Stolen Research เป็นอีกบทเพลงที่มีความลุ่มลีก ตราตรีงมากๆ เริ่มต้นจาก Suzuki ถูกลากพาตัวขี้นรถหลังเลิกเรียน เหมือนจะให้ไปชี้ทางสถานที่ตั้ง ‘มหาสมุทร’ นั่นสร้างความหวาดหวั่นวิตกกลัวให้กับ Hamamoto เพราะเธอยังคงดื้อรั้นไม่ต้องการเปิดเผยงานวิจัยของตนเอง บทเพลงนี้ถ่ายทอดความรู้สีกดังกล่าวของเด็กหญิง เต็มไปด้วยความสลับซับซ้อนทางอารมณ์ Aoyama ทอดทิ้งไปทำธุระส่วนตน Uchida ก็พี่งพาไม่ได้สักเท่าไหร่ หลงเหลือเพียงตัวคนเดียวเผชิญหน้าสิ่งบังเกิดขี้น ทุกสิ่งสร้างสรรค์มาพังทลาย จิตใจสูญสลาย ระบายความโกรธเกลียดที่ชาตินี้จะไม่มีวันยกโทษให้อภัย

แม้ว่า Hamamoto จะตระหนักรู้ภายหลังว่าคำพูดของ Aoyama เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ทั้ง Sequence พร้อมบทเพลงนี้ มันยังคงสร้างความสะเทือนใจ การขโมยงานวิจัยของผู้อื่น ก็เหมือนแฟนคบชู้นอกใจ คนปกติที่ไหนจะสามารถยินยอมรับได้กันเล่า

จังหวะ Eureka ของ Aoyama ไม่ได้ร้องลั่นตะโกนดีใจแบบที่ Archimedes ค้นพบอะไรบางสิ่งอย่าง มีเพียงความเรียบง่าย สายลมพัด และเสียงเปียโนดังกึกก้องกังวาลในความครุ่นคิดของเด็กชายเท่านั้น สามารถไขปริศนาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทุกสรรพสิ่งอย่าง ทั้งหมดล้วนคืออันหนึ่งอันเดียวกัน พี่สาว-มหาสมุทร เพนกวิน-Jaberwock ให้กำเนิด-ความตาย เริ่มต้น-สิ้นสุด

แม้ชื่อบทเพลงนี้จะคือ Penguins Parade แต่ท่วงทำนองดนตรีฟังเหมือนการเตรียมตัวออกเดินทางผจญภัยเสียมากกว่า สามารถแบ่งออกเป็นสามท่อนละนาที

  • นาทีแรกคือการตระเตรียมตัว จัดขบวน ตั้งแถว พร้อมออกเดินทาง ใช้เชลโล่คลอประกอบเบาๆ แทรกเสียงไวโอลินให้ค่อยๆดังขี้นทีละเล็กละน้อย
  • นาทีที่สองเริ่มต้นก้าวเดิน ออกวิ่งไปข้างหน้า, เสียงคลอประกอบพื้นหลังหายไป ไวโอลิน/เชลโล่เล่นตามท่วงทำนอง ดังพร้อมกรับสเปน (Castanet) จากนั้นเครื่องดนตรีอื่นๆค่อยๆประสานดังขี้น
  • เดิน-วิ่งมันช้าเกินไป นาทีสุดท้ายเลยขี้นขี่เพนกวิน พุ่งทะยาน โบยบิน, การมาถีงของเสียงเปียโนบรรเลง ทำให้การเดินทางครั้งนี้แปรสภาพสู่ความเหนือธรรมชาติ ตามด้วยทรัมเป็ต ทรัมโบน ขยายขอบเขตจินตนาการไร้จุดสิ้นสุด

World End คือบทเพลงที่นำเสนอจักวาลใน ‘มหาสมุทร’ หรือจะเรียกว่าดินแดนสุดขอบโลก สถานที่ที่เต็มไปด้วยความเวิ้งว่างเปล่า ท้องทะเล หาดทรายขาว ตึกรามบ้านช่องลอยเคว้งคว้าง ไร้หลักแหล่งแรงโน้มถ่วง กฎฟิสิกส์ไม่สามารถอธิบายได้ เพราะนี่คือคือดินแดนในอุดมคติ/นามธรรม จุดสิ้นสุดอารยธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ ทุกสิ่งอย่างหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น

เริ่มต้นด้วยเสียงเปียโนมอบสัมผัสแห่งความเวิ้งว่างเปล่า ขลุ่ยโหยหวนแทนคำอ้างว้าง เชลโล่คลอประสานพื้นหลัง ไวโอลินบรรเลงโน๊ตอย่างบิดเบี้ยวเสียวสันหลัง เหม่อมองออกไปไม่พบเห็นสิ่งใดมีชีวิตหรือลมหายใจ

Collapse of the Sea เริ่มต้นด้วยเสียงกรีดกรายของไวโอลิน ราวกับสรรพสิ่งกำลังต่อสู้ดิ้นรน เพื่อลมหายใจเฮือกสุดท้าย จากนั้นออร์แกน(ในโบสถ์)กดลากเสียงยาวคือจุดสิ้นสุดสูญสลาย ทุกอย่างพังทลาย ความตาย

ไม่ใช่บทเพลงที่ตราตรึง แต่อนิเมชั่นประกอบ Sequence ถือว่าสร้างสรรค์เชิงสัญลักษณ์ในลักษณะ Kaleidoscope ออกมาได้อย่างงดงาม ราวกับจุดสิ้นสุดของชีวิตและจักรวาล

Ending Song ชื่อเพลง Good Night แต่ง/ขับร้องโดย Hikaru Utada, นี่เป็นบทเพลงที่ใช้การเล่นลูกคอ เอื้อยคำร้อง ฟังครั้งแรกอาจรู้สึกแปลกๆ แต่รอบสองสาม(น่าจะ)สัมผัสได้ถึงความไพเราะเพราะพริ้ง ชื่นชมคลั่งไคล้ความคิดสร้างสรรค์ของ Utada ให้ความรู้สึกเหมือนบางสิ่งอย่างพยายามส่งเสียงร่ำร้อง เพรียกเรียกหา ฉุดเหนี่ยวรั้ว ยังไม่อยากให้เราร่ำลาจากไป ซึ่งใจความบทเพลงก็คือความทรงจำเมื่อครั้นวันวาน เมื่อเปิดอัลบัมรูปภาพถ่ายเก่าๆ สิ่งต่างๆจากอดีตเริ่มหวนย้อนกลับมาหา ยากยิ่งจะหลับสนิทในค่ำคืนนี้

ผมครุ่นคิดว่าบทเพลงนี้ต้องการสื่อถึงความรู้สึกของ Aoyama หลังจากการร่ำลาของพี่สาว Onee-san ช่วงเวลามีความสัมพันธ์ร่วมกัน มันช่างยากจะลืมเลือน ค่ำคืนนี้คงไม่หลับลงโดยง่าย (ผู้ชมก็อาจเช่นเดียวกัน!)

เชื่อว่าหลายคนคงจดจำตนเองตอน 10 ขวบ ไม่ค่อยได้แล้ว (ผมเองก็คนหนี่งละ ไม่รู้จะจดจำไปทำไม) แต่สำหรับเด็กชาย Aoyama (และผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi) นั่นคือช่วงอายุที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย (อาทิ น้ำเสียง ส่วนสูง ฟันน้ำนมหลุดร่วง) เกิดความใคร่สนใจเพศตรงข้าม ชอบครุ่นคิดจินตนาการสิ่งต่างๆ รวมถีงพยายามทำตัวเหมือนผู้ใหญ่ ต้องการได้รับการยินยอมรับจากใครบางคน

สิ่งที่ผู้แต่งนวนิยาย Morimi ต้องการนำเสนอจากนวนิยายเรื่องนี้ คือจินตนาการของเด็กชายวัยสิบขวบ (หรือก็คือตัวเขาเองนะแหละ) ต่อทุกสรรพสิ่งอย่างพบเห็น ใคร่อยากรับรู้ ค้นหาคำตอบ ไขปริศนาจักรวาล

  • สถานที่อยู่อาศัยเปรียบดั่งจักรวาลของเด็กชาย
  • ขอบเขตที่เขายังไม่สามารถก้าวข้ามผ่านถูกเรียกว่า ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’
  • เพื่อนสนิททั้งสาม คือด้านตรงข้ามของ Aoyama ในมุมที่แตกต่างออกไป
    • Uchida นอกจากนิสัยขลาดๆกลัวๆ พี่งพาไม่ค่อยได้ ยังคือคนที่ชอบออกความคิดเห็นแตกต่างตรงกันข้าม
    • Hamamoto มีความเฉลียวฉลาดพอๆกับ Aoyama แต่เพราะเป็นเพศหญิงจีงมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่มากกว่า
    • Suzuki ตรงกันข้ามกับ Aoyama ทั้งพละกำลังทางกายและความครุ่นคิดสติปัญญา
  • พี่สาวลีกลับ Onee-san คือตัวแทนมนุษย์ผู้หญิง ความสนใจในในเพศตรงข้ามของเด็กชาย ที่เต็มไปด้วยความลีกลับซับซ้อน ยังไม่สามารถทำความเข้าใจได้ (เพราะอายุยังน้อยเกินไป)
    • ความสามารถเขวี้ยงขว้างสิ่งของกลายเป็นสรรพสัตว์ สื่อถีงการให้กำเนิดชีวิต (มารดา)
    • หน้าที่คือเพื่อปกป้องสถานที่แห่งนี้ให้คงอยู่ ไม่ให้ถูกทำลายหรือได้รับอิทธิพลจากโลกภายนอก
  • มวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ เปรียบดั่งกระจกสะท้อนตัวตนเอง (เรื่องราววัยเด็กของ Morimi) หรือคือช่องว่างในจิตใจของ Morimi ต้องการเติมเต็มความทรงจำด้วยการเขียนนวนิยายเล่มนี้
  • โลกภายใน ‘มหาสมุทร’ ประกอบด้วยท้องทะเล หาดทรายขาว (สัญลักษณะของชีวิต/ความเป็น-ตาย) และเมืองร้างไร้ผู้คนพักอาศัย ราวกับ ‘จุดสิ้นสุดแห่งอารยธรรมของมวลมนุษยชาติ’

สำหรับเพนกวิน คือสัตว์ที่สามารถหาหนทางกลับบ้านด้วยการเดินบน Penguin Highway เฉกเช่นเดียวกับนวนิยายเล่มนี้ที่ Morimi ใช้เป็นเส้นทางด่วน เขียนถีงถิ่นฐานบ้านเกิดตนเอง Ikoma City, จังหวัด Nara ซี่งนอกจากทำให้เขามีโอกาสกลับบ้านเก่า ยังตัดสินใจลงหลักปักถิ่นฐาน พักอาศัยอยู่อย่างถาวรนับจากนั้น (ส่วนบ้าน/ออฟฟิศที่ Kyoto ก็ยังคงแวะเวียนไปๆกลับๆอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่ใช่สถานที่ที่เขาจะเรียกว่า ‘บ้าน’ อีกต่อไป)

“Even though I have an office in Kyoto, and I go all the time, it’s not the same as living there. I’ve really settled down in Nara. I like my quiet lifestyle in Nara, and I’m the type of person who won’t move unless I have a very good reason, so I figure I’ll keep going like this for a while”.

Tomihiko Morimi

ส่วนผู้กำกับ Hiroyasu Ishida ผมครุ่นคิดว่าอนิเมะเรื่องนี้คือการผจญภัยเพื่อค้นหาตัวตนเองเช่นกัน สะท้อนช่วงเวลาวัยเด็กที่เต็มไปด้วยความใคร่อยากรู้อยากเห็น จินตนาการสิ่งต่างๆรอบข้างกาย โหยหาการผจญภัย มุ่งสู่จุดสิ้นสุดขอบโลก และจินตนาการถีงอารยธรรมล่มสลาย ซี่งการที่เขาแทบไม่ปรับเปลี่ยนอะไรเลยจากต้นฉบับนวนิยาย สามารถมองว่าทุกสิ่งอย่างล้วนตรงต่อความสนใจของเขาเอง (ถ้าคุณรับชมอนิเมะขนาดสั้นทั้ง 2-3 เรื่องของ Ishida น่าจะตระหนักได้ทันทีว่าเขาเกิดมาเพื่อสรรค์สร้างผลงานเรื่องนี้!)

แต่เห็นว่าตอนจบของอนิเมะแตกต่างออกไปจากต้นฉบับนวนิยาย เสียงบรรยายของเด็กชายสามารถสะท้อนการเริ่มต้นในวงการนี้อย่างเต็มตัวของ Ishida และช็อตสุดท้ายพบเจอตัวต่อสำรวจที่ตั้งชื่อว่าเพนกวิน ก็คือความทรงจำ(จากการสรรค์สร้าง Penguin Highway)ที่มิอาจลืมเลือนแม้กาลเวลาเคลื่อนผ่านไป

ปริศนายากยิ่งที่สุดของ Penguin Highway เรื่องราวนี้ให้ข้อคิดอะไร? มิตรภาพผองเพื่อน การให้อภัย(ก็ไม่รู้ว่า Hamamoto จะยินยอมให้อภัย Suzuki หรือเปล่านะ) กลั่นแกล้งคนอื่นเป็นสิ่งไม่ดี เรียนรู้จักวิธีครุ่นคิดวิเคราะห์ รวมไปถีงสังเคราะห์ปัญหา (ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์) และเพลิดเพลินไปกับแนวคิด ‘จินตนาการสำคัญกว่าความรู้’

“Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited to all we now know and understand, while imagination embraces the entire world, and all there ever will be to know and understand”.

Albert Einstein

ความคิดเห็นของผู้แต่งนวนิยาย มีความประทับใจการดัดแปลงอนิเมะเรื่องนี้มากๆ อดไม่ได้ถึงขนาดต้องหลั่งน้ำตาออกมา

“The author shouldn’t be the one crying, but I have to admit that I got choked up about it”.

Tomihiko Morimi

อนิเมะฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Fantasia International Film Festival จัดที่ Montreal สามารถคว้ารางวัล Best Animated Feature จากสายการประกวด Axis: The Satoshi Kon Award for Excellence in Animation

ตามด้วยเข้าฉายในญี่ปุ่น วันที่ 17 สิงหาคม 2018 สัปดาห์แรกติดอันดับ 10 ไม่มีรายงานรายรับ รวมตลอดทั้งโปรแกรมทำเงินได้ ¥307 ล้านเยน (US$2.76 ล้านเหรียญ) คงไปหวังกำไรจากยอดขาย DVD/Blu-Ray ถึงจะคืนทุนกระมัง

ช่วงปลายปีมีโอกาสเข้าชิง Japan Academy Prize: Animation of the Year เอาจริงๆถือเป็นตัวเต็งคู่แข่งกับ Okko’s Inn แต่กลับถูกเด็กเส้นของสถาบัน Mirai ชิงตัดหน้าคว้ารางวัลไปอย่างน่าอัปยศ (เพราะเรื่องนั้นได้เข้าชิง Oscar: Best Animated Feature สมาชิกสถาบันเลยโหวตลงคะแนนถล่มทลาย)

สิ่งน่าสนใจของอนิเมะเรื่องนี้คือความเพลิดเพลินระหว่างติดตามรับชม ผมแทบไม่ได้ครุ่นคิดวิเคราะห์อะไรเลยจนกระทั่งดูจบ ไม่ใช่ว่าสามารถทำความเข้าใจทุกสิ่งอย่างได้โดยอัตโนมัตินะครับ แต่บรรยากาศและวิธีการดำเนินเรื่องในมุมมองเด็กชาย เข้าใจแค่ในสิ่งที่เขาพบเห็นก็เพียงพอแล้วสำหรับการเชยชม

กล่าวคือ ผู้ชมไม่จำเป็นต้องครุ่นคิดวิเคราะห์ทำความเข้าใจเนื้อเรื่องราวใดๆ ก็สามารถเพลิดเพลินสนุกสนานไปกับอนิเมะได้ตั้งแต่ต้นจนจบ

จริงอยู่อนิเมะเรื่องนี้นำเสนอกระบวนการครุ่นคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถนำไปต่อยอดปรับใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ผมก็ไม่คิดว่า Penguin Highway จะเหมาะสมกับผู้ชมทุกเพศวัย เด็กสายวิทย์น่าจะคลั่งไคล้มากกว่าสายศิลป์ คนในเมืองอาจเพลิดเพลินมากกว่าชาวบ้านชนบท และศิลปินย่อมพบเห็นคุณค่าทางศิลปะมากกว่านักวิทยาศาสตร์บ่นอุบต่อว่าเรื่องราวไร้สาระ

จัดเรต PG แม้เพนกวินจะน่ารัก แต่เด็กเล็กอาจไม่เข้าใจเนื้อเรื่องราวสักเท่าไหร่

คำโปรย | Penguin Highway คือการผจญภัยกลับสู่จุดเริ่มต้นของทุกสรรพสิ่งอย่าง
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ลุ่มหลงใหล

Kimi to, Nami ni Noretara (2019)


Ride Your Wave (2019) Japanese : Masaaki Yuasa ♥♥♥♡

จากเรื่องราวโรแมนติกหวานแหวว แปรสภาพสู่จิตวิเคราะห์เพื่อปรับตัวเข้ากับการสูญเสีย ทำอย่างไรถึงก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย ลุกขึ้นมาตอบโต้คลื่นชีวิตได้ด้วยตนเอง แม้ไม่มีเธอเคียงข้าง แต่จักคงอยู่ในใจไม่เหินห่าง

เป็นอีกครั้งที่ผู้กำกับ Masaaki Yuasa สร้างความประหลาดใจ/คาดไม่ถึงให้ผู้ชม ด้วยการสร้างอนิเมะแนวโรแมนติกหวานแหวว เหมือนภาพยนตร์ธรรมดาทั่วๆไป ไม่ได้ใส่ลีลาจัดจ้าน ลายเส้นฉูดฉาด เรื่องราวแฝงปรัชญาลึกล้ำ หรือซ่อนเร้นนัยยะเชิงนามธรรมให้วิเคราะห์ตีความจนหัวแทบระเบิด

แม้พล็อตเรื่องแทบไม่มีอะไรแปลกใหม่ Ride Your Wave ก็มิใช่หนังรักโรแมนติกดาษดื่น แต่เต็มไปด้วยข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต การปรับตัว ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาโศกนาฏกรรม อีกทั้งยังซ่อนเร้นนัยยะเชิงสัญลักษณ์ที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก แค่พอก้อมแก้มให้แฟนๆได้ขบครุ่นคิดไขปริศนา

จริงอยู่คุณภาพโดยรวมอาจลดลงบ้างเมื่อเทียบกับผลงานเก่าๆอย่าง Mind Game (2004) หรือ Night is Short, Walk on Girl (2017) แต่ก็มีหลายๆ Sequence ที่ผมรู้สึกว่างดงามตราตรึง คิดสร้างสรรค์ได้อย่างลุ่มลึกซึ้ง ขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนบุคคล ไม่ใช่ทุกคนจะชื่นชอบอนิเมะเรื่องนี้


Masaaki Yuasa (เกิดปี 1965) ผู้กำกับ/นักอนิเมเตอร์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fukuoka ค้นพบความชื่นชอบวาดภาพตั้งแต่เรียนอนุบาล คลั่งไคล้หลงใหล Mazinger Z (1972-74) และ Space Battleship Yamato (1974-75) ตัดสินใจเข้าเรียนต่อ Kyushu Sangyo University คณะศิลปศาสตร์ สาขาสีน้ำมัน มีโอกาสรับชมหลายๆผลงานที่กลายเป็นอิทธิพลแรงบันดาลใจ อาทิ Yellow Submarine (1968), Lupin III: The Castle of Cagliostro (1979), The King and the Mockingbird (1980), The Fox and the Hound (1981) ฯ

“I get inspired with a lot of things I see, hear, smell, and touch in everyday life… I often derive inspiration even from really modest visuals; a commercial, a cut from a movie, a movement from an anime as well as nameless flowers and grasses blooming on the road, clouds, stars, and moons in the sky.

I’m also inspired with what I’m currently interested in and feeling. My humble wish for creating anime is to have common images, conversations, and scenes sublimed into art works.”

Masaaki Yuasa

หลังเรียนจบเริ่มต้นทำงานเป็น In-Between สตูดิโอ Ajia-do แม้ไม่ใช่คนมีพรสวรรค์ด้านการวาด แต่เก็บงานละเอียด รวดเร็ว แทบไร้ข้อบกพร่อง เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ร่วมงานจนได้มาเป็น Key Animation ซีรีย์ Chibi Maruko-chan (1990-92), มีชื่อเสียงจากออกแบบสรรค์สร้างสองบทเพลงใน Chibi Maruko-chan: My Favorite Song (1992), จากนั้นก้าวขึ้นมาเป็นนักวาด Storyboard, กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) ซีรีย์ Crayon Shin-chan (1992-), กระทั่งได้รับโอกาสเขียนบท กำกับตอนที่ 3 ของ OVA เรื่อง Anime Rakugo Kan (1992) เลยค้นพบเป้าหมายที่อยากทำ คือการก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำกับ ค่อยๆเก็บสะสมประสบการณ์จนสามารถแจ้งเกิดกับ Mind Game (2004) แล้วหันไปสร้างอนิเมะซีรีย์ในสังกัด Madhouse อาทิ Kemonozume (2006), Kaiba (2008), The Tatami Galaxy (2010)

แต่เมื่อปี ค.ศ. 2010 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายในสตูดิโอ Madhouse จากการลาออกของผู้ร่วมก่อตั้ง/หัวหน้าฝ่ายงานสร้างสรรค์ Masao Maruyama (บุคคลที่ชักชวน Masaaki Yuasa ให้มาทำงานในสังกัด Madhouse) ทำให้ Yuasa ตัดสินใจยุติสัญญา ลาออกมาเพื่อเริ่มต้นเดินทางครั้งใหม่เช่นกัน ทดลองโปรเจค Crowdfunding หาทุนสนับสนุนจาก Kickstarter ได้เงินกว่า $200,000+ เหรียญ สำหรับสร้างอนิเมะขนาดสั้น Kick-Heart (2013), หลังจากนั้นร่วมกับ Eunyoung Choi ก่อตั้งสตูดิโอ Science SARU (ชื่อภาษาอังกฤษคือ Science Monkey) รวบรวมทีมงานที่กระจัดกระจายจาก Madhouse มาสร้างบ้านหลังใหม่ (Production House) ด้วยกัน มีผลงานภาพยนตร์อนิเมชั่น Lu over the Wall (2017), Night is Short, Walk on Girl (2017)

ช่วงระหว่างใกล้เสร็จสิ้นโปรดักชั่นซีรีย์ Devilman crybaby (2018) ถีงเวลาต้องเริ่มมองหาโปรเจคถัดไป ประชุมทีมงานบอกอยากสรรค์สร้างเรื่องราวรักโรแมนติกที่มีบรรยากาศเบาสบาย พักผ่อนคลาย [Devilman crybaby เป็นซีรีย์ที่ใครรับชมแล้วคงปวดหัวปวดหัว ปวดเมื่อยทั้งร่างกาย] ซี่งแนวคิดที่สร้างความสนใจให้ผู้กำกับ Yuasa ก็คือ ‘love story with an out-of-this-world person’ เรื่องราวความรักกับบุคคลที่ไม่อยู่ในโลกนี้แล้ว

“From the concept, ‘love story with an out-of-this-world person,’ we came up with two incompatible characters, like fire and water. From there, we decided to have a surfer and a firefighter as protagonists to develop the characters and settings. To have the firefighter guy save a girl caught in a fire is a great way to start a romantic comedy”.

Masaaki Yuasa

มอบหมายหน้าที่พัฒนาบทอนิเมะให้นักเขียนขาประจำ Reiko Yoshida (เกิดปี 1967) นักเขียนมังงะ บทอนิเมะ/ภาพยนตร์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Hiroshima สำเร็จการศึกษาสาขาวรรณกรรม Hosei University เริ่มโด่งดังจากการดัดแปลงบท The Cat Returns (2002) ให้กับสตูดิโอ Ghibli, ผลงานเด่นๆมักเป็นอนิเมะแนว Healing ดูสบายๆพร้อมสาระข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต อาทิ Aria the Animation (2005), K-On! (2009-10), Bakuman (2010-13), Girls und Panzer (2012-13), Non Non Biyori (2013, 15, 21), A Silent Voice (2016), Liz and the Blue Bird (2018), Violet Evergarden (2018) ฯ ร่วมงานผู้กำกับ Yuasa มาตั้งแต่ Lu over the Wall (2017) และ Night is Short, Walk on Girl (2017)


เรื่องราวของ Hinako Mukaimizu หญิงสาวอายุ 19 ปี ย้ายมาอาศัยอยู่เมืองริมทะเลแห่งหนี่ง เพื่อเข้าศีกษาต่อในมหาวิทยาลัยและใช้เวลาว่างไปกับการโต้คลื่น (Surfing) งานอดิเรกที่ชื่นชอบโปรดปรานมาตั้งแต่เด็ก วันหนี่งเมื่ออพาร์ทเมนท์ของเธอเกิดเหตุไฟไหม้จากการละเล่นดอกไม้ไฟผิดกฎหมาย ได้รับการช่วยเหลือจาก Minato Hinageshi นักผจญเพลิงอายุ 21 ปี โดยไม่รู้ตัวทั้งคู่มีโอกาสสานสัมพันธ์ ตกหลุมรัก วางแผนปักหลักอาศัยอยู่ด้วยกัน แต่โชคชะตาพลัดพราก Minato จากการจมน้ำเสียชีวิตระหว่างพยายามช่วยเหลือคนอื่น สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้ Hinako เป็นอย่างมาก

แต่แล้ววันหนึ่ง Hinako ก็พบว่าเมื่อตนเองขับร้องเพลง Brand New Story (เพลงโปรดของพวกเขา) ภาพของ Minato จะปรากฎตัวขี้นในสายน้ำทุกครั้งไป แถมสามารถพูดคุยสนทนา มีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับ แม้คนอื่นไม่อาจพบเห็น แต่ก็เป็นความสุขที่ทำให้ตนเองไม่ต้องจมปลักอยู่กับความทุกข์เศร้าโศก แต่ภายหลังก็ค่อยๆตระหนักรู้ว่า การยังยีดเหนี่ยวรั้งชายคนรักไว้แบบนี้ มิอาจทำให้เขาไปสู่สุคติ พยายามค้นหาหนทางชีวิต เป้าหมายความใฝ่ฝัน เมื่อไหร่สามารถลุกขี้นยืนหยัดด้วยตนเองได้สำเร็จ ก็คงถีงวันที่ต้องร่ำลาจากอย่างแท้จริง


Rina Kawaei (เกิดปี 1995, ที่ Kanagawa) นักร้อง นักแสดง อดีตสมาชิกวง AKB48 รุ่นที่ 11 เข้าร่วมเมื่อเดือนกรกฎาคม 2010 และตัดสินใจจบการศึกษาช่วงกลางปี 2015 จากนั้นมีผลงานแสดงซีรีย์ ภาพยนตร์ ให้เสียงอนิเมะ ผลงานเด่นๆ อาทิ Death Note: Light Up the New World (2016), The House Where the Mermaid Sleeps (2018) ฯ

ให้เสียง Hinako Mukaimizu หญิงสาวอายุ 19 ปี มีความน่ารักสดใส เวลาชื่นชอบอะไรก็พุ่งทะยานสุดตัวโดยไม่สนสิ่งอื่นๆรอบข้าง ทั้งการโต้คลื่น และตกหลุมรัก Minato นั่นทำให้เมื่อต้องสูญเสียเขาไป มิอาจปลดปล่อยวางจากความทุกข์เศร้าโศก พบเห็นแม้เพียงหยดน้ำก็แทบร่ำไห้หวนคิดถึง

เกร็ด: Mukaimizu เป็นส่วนผสมของ Mukai=yonder, facing, beyond, confront, defy, tend toward, approach และ mizu =water

มันอาจเป็นแฟนตาซี หรือภาพหลอนบังเกิดขึ้นขณะขับร้องเพลง Brand New Story ทำให้ Hinako มีโอกาสพบเห็น Minato ปรากฎตัวขึ้นในสายน้ำ แม้มิอาจกอดจูบลูบไล้ แต่แค่การสนทนาและมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับ ก็ค่อยๆทำให้เธอผ่อนคลายจากความทุกข์เศร้าโศก เริ่มกลับมาหัวเราะยิ้มได้ ไม่ใคร่สนใจคนรอบข้างจะครุ่นคิดเห็นเป็นคนบ้าหรืออย่างไร

แต่ถึงอย่างไรเธอก็ค่อยๆรับรู้และเข้าใจ ไม่มีทางที่ชีวิตจะยึดติดอยู่กับภาพของ Minato ได้ตลอดไป ด้วยเหตุนี้จึงพยายามมองหาหนทาง เป้าหมายความฝันใฝ่ จากนี้ชีวิตอยากจะทำอะไร เมื่อไหร่สามารถลุกขี้นยืนหยัดด้วยตนเองได้สำเร็จ ก็คงถีงวันที่ต้องร่ำลาจากอย่างแท้จริง

หลายคนอาจรู้สึกรำคาญกับความมุ้งมิ้ง ยึดติดกับคนรักมากไป และเสียงเพลงได้ยินซ้ำๆจนรู้สึกเบื่อหน่าย แต่ผมกลับตกหลุมรักทั้งตัวละครและน้ำเสียงแห้งๆของ Kawaei ใส่ความมุ่งมั่น จริงจัง เต็มที่กับทุกสิ่งอย่างในชีวิต ซึ่งเรื่องราวการหมกมุ่นบางอย่างแล้วสามารถปลดปล่อยวาง มันเป็นบทเรียนที่ทรงคุณค่ามากๆ ถ้าคุณอดรนทนอคติเหล่านั้นไปได้ ย่อมพบเห็นแสงสว่างปลายทาง สรวงสวรรค์ร่ำไร


Ryota Katayose (เกิดปี 1994, ที่ Osaka) นักแสดง นักร้องวง Generations from Exile Tribe ตั้งแต่เด็กร่ำเรียนเปียโนจากคุณปู่และบิดา (ทั้งคู่ต่างเป็นครูสอนเปียโน) ต่อมากลับเปลี่ยนความสนใจมาเล่นฟุตบอล ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมฝึกฝนยัง National Training Center แต่คงค้นพบตนเองภายหลังว่าไม่ได้มีความสามารถโดดเด่นเท่าไหร่ โตขึ้นสมัครเข้าแข่งขัน Vocal Audition 2: Yume o Motta Wakamono-tachi e สามารถเข้าถึงรอบสุดท้าย ทำให้ได้เข้าร่วม Osaka’s EXPG (Exile Professional Gym) และกลายเป็นสมาชิกวง Generations from Exile Tribe, สำหรับการแสดงเริ่มจากซีรีย์ GTO (2014) และโด่งดังจาก Prince of Legend (2018)

ให้เสียง Minato Hinageshi ชายหนุ่มนักผจญเพลิงวัย 21 ปี สมัยยังเด็กได้รับการช่วยเหลือจาก Hinako รอดชีวิตจากการจมน้ำ ตราฝังความทรงจำครั้งนั้น ทำให้อยากกลายเป็นฮีโร่ มีความเข้มแข็งแกร่ง สามารถให้ความช่วยเหลือผู้อื่นยามประสบอุบัติเหตุ เลยตัดสินใจเลือกอาชีพนักดับเพลิง จนได้มีโอกาสพบเจอเธอและให้ขึ้นไปรับเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ จากนั้นก็เริ่มสานสัมพันธ์จนเกิดความสนิทสนมรักใคร่ แต่สุดท้ายก็บังเกิดโศกนาฎกรรมให้เขาจากไป

เกร็ด: Minato แปลว่า habor ท่าเรือ, ส่วน Hinageshi เป็นส่วนผสมของ Hina=chick, squab, duckling, doll, และ keshi/geshi=poppy ลูกสุนัข

แม้ร่างกายมิอาจขยับเคลื่อนไหว แต่จิตวิญญาณของ Minato ยังคงล่องลอยอยู่ในสายน้ำ ปรากฎตัวทุกครั้งเมื่อ Hinako ขับร้องเพลงเรียกหา คาดว่าน่าจะเกิดจากคำอธิษฐานเมื่อกระโดดโต้คลื่นหมุนตัว 360 องศาได้สำเร็จ แต่ไม่นานเขาก็ตระหนักว่าตนเองไม่อาจสัมผัส จับต้อง พัฒนาความสัมพันธ์กับเธอไปได้มากกว่านี้ ทำได้แค่เฝ้ารอคอยวันที่หญิงคนรักจะสามารถเติมเต็มความฝัน ค้นพบตอบโต้คลื่นชีวิตของตนเองได้สำเร็จ และพอวันนั้นมาถึงเขาก็ได้มอบคลื่นลูกใหญ่ที่สุดให้เธอ โต้ลงมาจากบนยอดตึก

เสียงหล่อๆของ Katayose สร้างความหนักแน่นมั่นคง คือบุคคลสามารถพึ่งพาได้ในทุกๆสถานการณ์ แต่แท้จริงแล้วก็ไม่ใช่อย่างนั้น เขาแค่คนธรรมดาๆทั่วไป เริ่มต้นจากไม่เป็นอะไรแต่ค่อยๆเรียนรู้ ฝึกฝน สะสมประสบการณ์ จนถึงวันหนึ่งย่อมสามารถดีเพียงพอสำหรับทุกสิ่งอย่าง และที่ต้องชื่นชมคืออุดมการณ์ที่ต้องการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น หาได้ยากยิ่งกับคนรุ่นใหม่สมัยนี้


Honoka Matsumoto (เกิดปี 1997, ที่ Osaka) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เริ่มเข้าสู่วงการตั้งแต่ปี 2015 แจ้งเกิดกับซีรีย์ Hiyokko (2017), ภาพยนตร์ After the Rain (2018), My Father, the Bride (2019) ฯ

ให้เสียง Yōko Hinageshi น้องสาวของ Minato ที่มีอุปนิสัยแตกต่างตรงกันข้าม เป็นคนชอบพูดจาถากถาง เสียดสีประชดประชัน เหมือนไม่ใคร่สนใจความรู้สึกผู้อื่น นั่นทำให้ไม่มีใครอยากคบหาสมาคม แต่แท้จริงแล้วเธอเป็นพวกปากว่าตาขยิบ มักแสดงออกไม่ตรงความต้องการภายในก็แค่นั้น ครั้งหนึ่งเคยได้รับกำลังใจจาก Wasabi ทำให้หาญกล้าลุกขึ้นมาเผชิญหน้าสังคม ไมหวาดกลัวเกรงต่อบุคคลผู้มีอคติต่อตน จนกระทั่งสามารถพูดบอกรักต่อหน้าเขา ทำเอาชายหนุ่มครุ่นคิดไปต่อไม่ถูกเลย

เกร็ด: Yōko หรือ Youko เป็นส่วนผสมของ you=ocean และ ko=child

น่าเสียดายที่อนิเมะไม่ได้อธิบายเบื้องหลัง สาเหตุผล ทำไม Yōko ถึงกลายเป็นสาวซึนเดเระ? (คือผมก็ครุ่นคิดไม่ออกเหมือนกันว่าทำไม) หรือเพราะความหลงรักพี่ชาย (brocon?) ไม่ต้องการสูญเสียเขาให้ใคร ตอนพบเจอหน้า Hinako แสดงอคติออกมาอย่างเห็นได้ชัด ถึงอย่างนั้นพวกเขาก็มิได้นำมาเป็นปัญหาภายใน เข้าใจเสียด้วยซ้ำว่าเหมือนการเรียกร้องความสนใจ โดยไม่รู้ตัวสามารถพึ่งพากันและกัน และในที่สุดก็ยินยอมรับได้จากภายใน

Matsumoto เป็นอีกนักพากย์/นักแสดงที่น่าจับตามอง น้ำเสียงของเธอสร้างความโดดเด่นให้ตัวละคร แม้มีเพียงคำพูดถากถาง ประชัดประชัน แต่ความรู้สึกข้างในนั้นมันค่อยๆเปิดเผยออกมาทีละเล็ก ซึนแบบนี้ถือว่ามีสีสัน ออกแบบตัวละครก็น่ารักน่าชัง ชวนให้นึกถึงน้องสาว Karen แฟนไชร์ Monogatari อยู่ไม่น้อย


Kentaro Ito (เกิดปี 1997, ที่ Tokyo) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เข้าสู่วงการจากเป็นนายแบบถ่ายโฆษณาตั้งแต่อายุ 14 ก่อนเข้าวงการจากเริ่มแสดงซีรีย์ตอนอายุ 17 โด่งดังกับภาพยนตร์ Cafe Funiculi Funicula (2018) ** คว้ารางวัล Japan Academy Prize: Newcomer of the Year

ให้เสียง Wasabi Kawamura นักผจญเพลิงหนุ่มที่ยังกลัวๆกล้าๆ ขาดความเชื่อมั่นใจในตนเอง แม้รูปร่างดีมีพละกำลัง แต่ยังต้องฝีกฝนสะสมประสบการณ์อีกมาก โดยมีรุ่นพี่ Minato คือไอดอลต้นแบบอย่าง หลังจากมีโอกาสพบเจอ Hinako แม้ไม่สมหวังในรักแต่ก็สามารถพูดบอกความใน และเมื่อได้ยินคำพูดจาก Yōko ทำให้ค้นพบความแข็งแกร่งอย่างแท้จริง

เสียงพากย์ของ Ito เต็มไปด้วยอาการโล้เล้ลังเล กระอักกระอ่วน ขาดๆเกินๆ เพื่อสะท้อนความอ่อนด้อยประสบการณ์ของตัวละคร โหยหาบางสิ่งสำหรับเกาะแก่งพี่งพักพิง ช่วงแรกๆพยายามเปรียบตนเองกับรุ่นพี่ Minato แสดงออกอย่างชัดเจนว่าชื่นชอบ Hinako แต่ก็ต้องหลีกทางให้พระเอกตัวจริง ซี่งหลังจากเกิดเหตุโศกนาฎกรรม โอกาสแห่งฝันก็ก้าวมาถีง แต่อาจเพราะยังเร็วไป ทำใจไม่ได้ เลยลงเอยด้วยความผิดหวัง ถีงอย่างนั้นอนิเมะก็ยังให้โอกาสเจอรักครั้งใหม่กับ Yōko ในมุมกลับกัน

เอาจริงๆผมก็แอบเชียร์ Wasabi ให้ได้ครองคู่กับรักแรกพบ Hinako แต่ก็รู้สีกว่าถ้าอนิเมะดำเนินไปในทิศทางนั้น เขาก็จะเป็นพระรองตลอดกาล แถมไม่มีวันได้ความรักแท้จริงจากหญิงสาว ถูกเปรียบเทียบตลอดเวลากับรุ่นพี่ที่เขามิอาจก้าวข้ามผ่าน, ขณะที่การถูกสารภาพรักจาก Yōko โดยไม่รู้ตัวมันสามารถเลื่อนสถานะให้กลายเป็นนางเอก (ไม่ได้พิมพ์ผิดนะครับ) ซี่งคงทำให้ใครหลายคนฟินมากๆๆกว่า


แม้อนิเมะยังใช้งานออกแบบส่วนใหญ่ Key Animation, Character Design ด้วยการวาดมือ แต่งานสร้างทั้งหมดทำบน Adobe Animate (หรือ Flash Animatiopn) โดยนำต้นแบบนั่นวาดใหม่บนโปรแกรม แล้วให้มันสร้างการเคลื่อนไหวขึ้นมาจาก Key Frame สู่ Key Frame ถือเป็นการลดขั้นตอนงาน In-Between ใช้นักอนิเมเตอร์น้อยลง แต่ทำให้โปรดักชั่นมีความรวดเร็วขึ้น

Science Saru จากสตูดิโอเล็กๆเช่าอพาร์ทเมนท์สำหรับทำงาน หลังความสำเร็จของ Lu over the Wall (2017) กับ Night is Short, Walk on Girl (2017) อีกทั้งปรัชญาการทำงาน บังคับให้ทุกคนต้องทำงานเข้า-ออกตรงตามเวลา ไม่ให้ทำ OT และมีวันหยุดเหมือนบริษัททั่วๆไป ดึงดูดนักทำอนิเมชั่นรุ่นใหม่มากมาย จนกลายเป็นสตูดิโอขนาดกลาง รวมๆแล้วทีมงานยังมีไม่ถึงร้อยคน

ควบคุมงานศิลป์ (Art Direction) โดย Fuminao Akai จากนักวาดพื้นหลัง (Background Artist) เรื่อง The Squid Girl (2010-11), Girls und Panzer (2012-13), Parasyte (2014-15) พอย้ายมาอยู่ Science SARU เลยได้รับโอกาสดูแลงานศิลป์ของ Ride Your Wave (2019)

Takashi Kojima จากเคยเป็น Key Animation ให้อนิเมะหลายๆเรื่องๆ พอย้ายมาอยู่ Science SARU สรรค์สร้างผลงาน Devilman: Crybaby (2018) ได้อย่างน่าประทับใจ เลยได้โอกาสให้ควบออกแบบตัวละคร (Character Design) และกำกับอนิเมชั่น (Chef Animation Director)

หลายคนอาจพยายามมองหาสถานที่พื้นหลังของเรื่องราว ได้แรงบันดาลใจจากแห่งหนใด? แต่อนิเมะกลับไม่เอ่ยกล่าวแม้กระทั่งชื่อมหาวิทยาลัย เท่าที่ผมเคยอ่านบทสัมภาษณ์เก่าๆของผู้กำกับ Yuasa ชอบที่จะสร้างดินแดนในจินตนาการนั้นขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องรับกับเนื้อเรื่องราวได้มากกว่า พบเห็นทั้งชายหาด เมืองริมทะเล และตึกระฟ้าสูงใหญ่

เมื่อตอนสรรค์สร้าง Lu over the Wall ผู้กำกับ Yuasa เล่าถึงความท้าทายในการทำอนิเมชั่นสายน้ำ มีความยุ่งยากยิ่งเพราะเป็นสิ่งที่ขยับเคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่โปรเจคนี้ถือว่ามีความท้าทายยิ่งใหญ่กว่า เพราะต้องใช้ประสบการณ์จากครั้งก่อนพัฒนาต่อยอดขึ้นไปอีกขั้น ไม่เพียงแค่คลื่นม้วนตัวสาดกระเซ็น ยังแสงแดดสาดส่องระยิบระยับบนพื้นผิวน้ำ จริงอยู่ความสวยงามสมจริงอาจเทียบไม่เท่า Weathering with You (2019) หรือวิจิตรศิลป์อย่าง Children of the Sea (2019) แต่ Ride Your Wave (2019) เน้นความสะอาด เรียบง่าย เห็นแล้วดูสบายตา มอบบรรยากาศผ่อนคลายได้มากกว่า … ทั้งสามเรื่องดันออกฉายปีเดียวกันอีกน่ะ!

แซว: คลื่นชีวิตนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ใช่จากกระแสน้ำในท้องทะเลเท่านั้น นี่ก็ถือเป็นหนี่งในคลื่นด้วยเช่นกัน

ห้องของ Hinako แรกเริ่มเมื่อตอนเพิ่งย้ายเข้ามาถึงหอพัก พบเห็นรายล้อมไปด้วยกล่องใส่สิ่งข้าวของตั้งเรียงรายกองทับสูง นี่สะท้อนถึงอุปนิสัยใจคอของเธอ เป็นคนไม่สนอะไรอย่างอื่นที่มิได้อยู่ในความสนใจ แทนที่จะรีบแกะกล่องจัดสิ่งของเข้าที่เข้าทาง กลับหยิบกระดานลงไปแหวกว่ายโต้คลื่นน้ำทะเล ทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจเสียก่อน แล้วค่อยกลับมาเผชิญหน้าอะไรๆไร้สาระเหล่านี้

แซว: จากบทสัมภาษณ์ของโปรดิวเซอร์ Eunyoung Choi แซวว่าฉากนี้ได้แรงบันดาลใจจากตอนเริ่มต้นสตูดิโอ Sciene SARU มีทีมงานอยู่เพียง 5 คน เช่าอพาร์ทเมนท์เล็กๆ แออัดยัดเยียดแบบนี้แหละเป็นสำนักงานแรก

สิ่งสำคัญสุดในชีวิตของ Hinako มีเพียงกระดานโต้คลื่นแบกไว้ด้านหลัง แม้ขณะอพาร์ทเมนท์กำลังถูกไฟลุกไหม้ ตัดสินใจวิ่งขึ้นดาดฟ้าตะโกนขอความช่วยเหลือจากด้านล่าง แล้วได้รับการเอื้อมมือจาก Minato (ตัดหน้า Wasabi) ด้านหลังระยิบระยับด้วยดอกไม้ไฟ เปร่งประกายความรู้สึกภายในของทั้งคู่ จุดเริ่มต้นสานความสัมพันธ์รักแท้

แซว: ผมสังเกตเห็นมาตั้งแต่ Mind Game (2004) น่าจะเป็นช็อตลายเซ็นต์ของผู้กำกับ Yuasa เวลาตัวละครพบเจอหรือมีบังเกิดความรู้สึกลึกซึ้งบางอย่างกับบุคคลฝั่งตรงข้าม มันต้องมีดอกไฟระยิบระยับปรากฎพื้นหลังในจังหวะลักษณะนี้ทุกครั้งไป

ผมค่อนข้างชอบการนำเสนอในลักษณะแตกต่างตรงกันข้ามของ Minato และ Hinako (แค่ชื่อพวกเขาก็ยังพ้องกันเลยนะ)

  • กระดานสีขาวของ Minato ขนาดใหญ่(และสะอาดสะอ้าน)กว่ากระดานส้มของ Hinako เพื่อสะท้อนความเป็นผู้ใหญ่แก่กว่า (เหมือนคนสามารถเป็นที่)พึ่งพาได้ แต่แท้จริงแล้วไม่เกี่ยวกับฝีมืดโต้คลื่นเลยสักนิด
  • ชุดของ Minato เป็น Full-Suit ราคาน่าจะแพงอยู่ ผิดกับชุดน้ำว่ายน้ำ Two Piece ของ Hinako ไม่มีอะไรให้ต้องปกปิดบังความสวยเซ็กซี่ของเรือนร่างกาย, แฝงนัยยะว่า Minato เป็นคนที่ชอบเตรียมพร้อม แต่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ทุกสิ่งที่ใครๆพบเห็นว่าโดดเด่น ล้วนเกิดจากการฝึกฝนซักซ้อนจนเชี่ยวชำนาญ ขณะที่ Hinako เป็นคนง่ายๆ ใสซื่อบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา ชอบพุ่งทะยานไปข้างหน้า ไม่สนใครจะว่าอะไรยังไง เป็นตัวของตนเองก็เพียงพอแล้ว

ข้าวห่อไข่ (Omurice) กับกาแฟ อาหารง่ายๆที่ทำไม่ง่ายเลยสักนิด แม้เป็นพื้นฐานชีวิตของคนยุคสมัยนี้แต่ยังต้องใช้การเรียนรู้ ฝึกฝน สะสมประสบการณ์จนมีความเชี่ยวชำนาญ ถึงสามารถทำออกมาได้ดูน่ารับประทานและอร่อยด้วย ซึ่งอนิเมะพยายามอย่างยิ่งที่จะร้อยเรียงภาพขั้นตอน วิธีการ ให้ผู้ชมตระหนักถึงความยุ่งยาก ละเอียดอ่อน เพราะมันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ มีความสวยงามในตัวของมันเอง อย่าปล่อยให้เรื่องเล็กๆน้อยๆแบบนี้ดำเนินไปอย่างไร้คุณค่าความสำคัญต่อชีวิตคุณ

โศกนาฎกรรมของ Minato จะมีการปรับโทนสีภาพให้ออกเหลืองซีดๆ มอบสัมผัสที่ดูแห้งเหี่ยวเฉา สภาพจิตใจเต็มไปด้วยความทุกข์เศร้าโศก และสังเกตพื้นด้านหลังตัวละครช็อตนี้ มีลักษณะเหมือนประตูศาลเจ้า Jigokumon? บอกเป็นนัยว่าเขากำลังจะก้าวสู่โลกแห่งจิตวิญญาณ/หลังความตาย

สลับมุมกับช็อตด้านบน ภาพนี้ Hinako ก้มลงมองเท้าของตนเอง ใครพูดอะไรก็ไม่รับฟัง ยังยินยอมรับไม่ได้กับการสูญเสีย นี่เช่นกันเป็นการบอกใบ้ผู้ชมว่า เธอมีความหมกมุ่นยึดติดกับอดีตคนรักมากๆ มิอาจปลดปล่อยวาง จักจมปลักอยู่กับตนเองอีกสักระยะใหญ่ … คือมันเป็นช็อตที่ค้างเติ่งอยู่นานพอสมควรจนทำให้ผู้ชมต้องฉุกครุ่นคิดอะไรบางอย่าง และสองนิ้วเท้าพยายามคลอเคลีย ลูบไล้กันเองเหมือนเพื่อเติมเต็มสัมผัสที่ขาดหายไปในชีวิต

ผู้กำกับ Yuasa ยังคงไม่ทอดทิ้งความคิดสร้างสรรค์สุดบรรเจิดของ Lu over the Wall (2017) ในการทำให้มวลน้ำที่มีพลังพิเศษ บังเกิดการเคลื่อนไหวรูปทรงลูกบาศก์ คือมันอาจเป็นเรื่องจริงเหนือธรรมชาติ หรือจินตนาการภาพหลอนของตัวละคร แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นที่เราควรจะครุ่นคิดถึงมันมาก ให้ตีความในเชิงสัญลักษณ์ว่า คือภาพยึดติดของหญิงสาว ไม่ต้องการให้ชายคนรักจากห่างหายไปไหน

สังเกตเสื้อผ้าตัวละครขณะนี้ นอกจากลวดลายขวางทางโลก ยังมีความใหญ่กว่าตัวค่อนข้างมาก อยู่ในช่วงเวลาที่เธอไม่เป็นตัวของตนเอง มีบางสิ่งอย่าง/ความเจ็บปวดซ่อนเร้นอยู่ภายใน

เวลาตัวละครแหวกว่ายอยู่ใต้ผืนน้ำ สังเกตบริเวณเส้นขอบโดยรอบ จะมีการแตกต่างจากปกติใช้สีดำคมเข้ม กลายเป็นสีฟ้า/น้ำเงินเจือจาง มอบสัมผัสที่อ่อนโยน เปราะบาง ราบกับสามารถละลาย/จางหายไปกับสายน้ำ ซึ่งโทนสีของ Minato ก็แตกต่างจากเดิมเช่นกัน เพราะเขาหลงเหลือเพียงจิตวิญญาณ ทั้งเสื้อผ้าหน้าผมเลยถูกปรับเปลี่ยนให้ตรงกันข้ามกับแม่สีของ Hinako ฟ้า-ส้ม

Ride Your Wave

ฉากเริงระบำระหว่าง Hinako กับหุ่นน้ำปลาโลมาในห้องนอนของเธอ มองในมุมของอนิเมะมันช่างมีความโรแมนติกหวานแหววยิ่งนัก แต่ถ้าเป็นคนนอกมองเข้ามา (Yōko และ Wasabi) ต่างมีความหลอกหลอน ขนหัวลุกเสียมากกว่า ประมาณว่าหญิงสาวคนนี้เสียสติคลุ้มบ้าคลั่งไปแล้วหรือ มิอาจควบคุมสติตนเอง ลอยละล่องไปกับภาพหลอนไร้ซึ่งตัวตน

และการที่ Hinako สวมใส่ชุดนอนขณะเริงระบำโลดเล่นไป สามารถสื่อได้ถึงการร่วมรักหลับนอน (ระหว่างคน+ภาพหลอน/จิตวิญญาณ) นั่นเหมารวมไปถึง Sex Scene จริงๆตอนที่เธอเดินเข้าไปในลูกบากศ์น้ำ พยายามกอดจูบลูบไล้ ลึกๆผมไม่รู้สึกโรแมนติกสักเท่าไหร่ คงความอ้างว้างว่างเปล่าอยู่ในใจ

ความโก๊ะของ Hinako ไปถึงขั้นที่หลบหนีการสารภาพรักของ Wasabi พูดคุยกับโถส้วมแล้วดันไม่ปิดประตู จนมีลูกค้าร้านขายดอกไม้มาพบเห็นเข้า … นี่เป็นฉากที่เหมือนจะเน้น Comedy ล้วนๆ แต่แฝงนัยยะถึงความตกต่ำ และอาการหมกมุ่นอยู่กับความต้องการเรื่องพรรค์นั้น คือเหตุผลแท้จริงที่เธอมิสามารถปลดปล่อยวางจากเขาได้ลง

26-8-8 (ปี-เดือน-วัน) รหัสในโทรศัพท์มือถือของ Minato คือวันเกิดใหม่ที่เขาได้รับการช่วยเหลือจาก Hinako ไม่ใช่แค่รักแรกพบ แต่คือแรงบันดาลใจชีวิตให้กลายเป็นคนมีความทุ่มเท มุมานะ ฝีกฝนทุกสิ่งอย่างจนมีความเชี่ยวชำนาญ และต้องการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ประสบทุกข์ได้ยาก

ข้อความในโทรศัพท์มือถือ บันทึกคำอธิษฐานที่ Minato ต้องการให้ตนเองได้อยู่เคียงข้าง Hinako จนกว่าจะถึงวันที่เธอสามารถตอบโต้คลื่นชีวิตได้ด้วยตนเอง … นี่ก็เช่นกันกลายเป็นแรงบันดาลใจย้อนกลับมาหา ให้หญิงสาวเกิดความต้องการทำงานที่สามารถช่วยเหลือบุคคลอื่น (คล้ายๆกับ Yōko ที่เดินตามรอยพี่ชายอยากเปิดร้านกาแฟ, Hinako เลือกตามรอยอุดมการณ์ สรรหาอาชีพให้ความช่วยเหลือผู้อื่นแบบเดียวกับชายคนรัก)

เต่า คือสัญลักษณ์ประจำตัว Minato แสดงถึงความเป็นคนเรียนรู้ช้า ทำอะไรต้องต่อสู้ ดิ้นรน สะสมประสบการณ์ จนสักวันหนึ่งจักสามารถเชี่ยวชำนาญ ได้รับการเคารพยินยอมรับจากผู้อื่น

แต่แทนที่ Hinako จะคือกระต่าง แต่อนิเมะเปรียบเธอดั่งปลาโลมาที่สามารถแหวกว่ายใต้ผิวน้ำอย่างเชี่ยวชำนาญตั้งแต่เกิด สะท้อนถึงความสามารถในการตอบโต้คลื่นลม พายุแรง พรสววรค์ในการเอาตัวรอดที่สูงยิ่ง แต่ถึงอย่างนั้นกว่าเธอจะปรับตัวเข้ากับการสูญเสีย ก็ใช้เวลายาวนานเป็นปีๆ แต่ก็ถือว่าทำได้สำเร็จเช่นกัน

แซว: เด็กสาวขวามือน่าจะคือน้องสาว Yōko ไม่น่าใช่ Hinako นะครับ

สถานที่ตะโกนบอกความรู้สึกภายในของ Yōko ต่อ Wasabi คือบริเวณริมชายหาดที่เต็มไปด้วยเนินกองทราย สะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความกระอักกระอ่วน ทุลักทุเล ไม่เรียบง่าย เพราะชายหนุ่มแอบชื่นชอบ Hinako และหญิงสาวก็รับรู้สิ่งบังเกิดขึ้นทุกสิ่งอย่าง ขณะเดียวกันอุปนิสัยของเธอที่ชอบพูดจาโผงผาง จึงไม่ใช่เรื่องง่ายจะพูดบอกความรู้สึกดังกล่าวออกมา

ผมชื่นชอบปฏิกิริยาของ Wasabi มันเป็นความกระอักกระอ่วน พูดไม่ออก ไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจ จริงอยู่ขณะนั้นกำลังเศร้าโศกผิดหวังที่ได้รับการปฏิเสธรักจาก Hinako แต่คำตะโกนบอกของ Yōko วินาทีนี้กลับทำให้จิตใจกระชุ่มกระชวย มีชีวิตชีวา รับรู้ว่ายังมีใครอื่นที่พร้อมอยากยืนเคียงข้างตนเอง

เหตุการณ์มวลน้ำพุ่งขึ้นลงตึกร้างแห่งหนึ่ง เพื่อดับไฟและช่วยให้ Hinako โต้คลื่นถลาลงมาสู่พื้นดิน ผมว่าใครๆก็น่าบอกได้ว่านี่เป็นฉากเชิงสัญลักษณ์ แฝงนัยยะนามธรรม ไม่มีทางสามารถบังเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง (และอย่าไปทดลองโต้คลื่นลงจากตึกสูงเป็นอันขาดนะครับ) ความหมายของฉากนี้สะท้อนถึงชีวิตที่มีขึ้นมีลง บางคนถูกทิ้งขว้าง ต้องสูญสียใครบางคน แต่ถ้าเราไม่ย่นย่อท้อ ยินยอมรับความพ่ายแพ้ ย่อมสามารถตอบโต้คลื่นสายน้ำไม่ว่าจักสูงขนาดไหน ให้สามารถไถลกลับลงมาสู่พื้นดินสำหรับเริ่มต้นใหม่

นี่ผมก็ไม่แน่ใจว่าการโต้คลื่นคู่แบบนี้มีอยู่จริงหรือเปล่า แต่นัยยะก็ชัดเจนสำหรับสองสาวที่ต่างตกหลุมรัก Minato พวกเธอต่างมีความทุกข์เศร้าโศกซ่อนเร้นอยู่ภายใน แค่การแสดงออกภายนอกแตกต่างกันเท่านั้น เมื่อได้รับการช่วยเหลือครั้งสุดท้าย Yōko นอนราบเป็นฐานกระดาน และคอยช่วยจับขณะ Hinako กำลังจะพลาดพลั่ง ถือเป็นความสมานสามัคคีที่ทำให้ชีวิตสามารถดำเนินต่อไปได้รอดพ้นถึงฟากฝั่ง ไม่ใช่แค่ตัวคนเดียวเท่านั้น

หลายคนอาจรู้สึกแปลกๆเพราะนี่เป็นฉากกลางคืน กลับเห็นผืนน้ำสว่างไสวแถมสะท้อนแสงระยิบระยับ แต่ถ้าสังเกตดีๆมันเป็นผลพลอยจากเพลิงไหม้และดอกไม้ไฟ(ผิดกฎหมาย)ที่กำลังปะทุระเบิด (เพราะนี่คืออนิเมะนะครับ อย่าไปคาดหวังความสมจริงมากมาย) และชุดของสองสาว มันควรเปียกปอนแนบเนื้อจนเห็นซับใน แต่แค่นี้ก็เอาเถอะไม่ได้เน้นความสมจริงสักเท่าไหร่ เพียงพอให้ไปครุ่นคิดวิเคราะห์ต่อเองได้ก็ใช้ได้แล้ว

ตัดต่อโดย Kiyoshi Hirose ผลงานเด่นๆ อาทิ Gantz (2004), Afro Samurai (2007), JoJo’s Bizarre Adventure (2012-), Initial D Legend (2014-16), Rage of Bahamut (2014-), Mob Psycho 100 (2016-), Ride Your Wave (2019) ฯ

ดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Hinako Mukaimizu ตั้งแต่เดินทางมาปักหลักพักอาศัยอยู่ยังเมืองริมทะเล พบเจอ ตกหลุมรัก Minato Hinageshi จนกระทั่งโศกนาฎกรรมวันคริสต์มาส จมปลักอยู่กับความสูญเสีย จนกระทั่งค่อยๆเรียนรู้ ตระหนักถีงบางสิ่งอย่างด้วยตนเอง จีงสามารถปลดปล่อยวาง และเริ่มต้นชีวิตใหม่เมื่อถีงวันคริสต์มาสอีฟปีถัดไป

เรื่องราวแบ่งออกเป็น 4 องก์ ประกอบด้วย

  • องก์แรก แนะนำตัวละคร Hinako พบเจอกับ Minato ตกหลุมรัก วาดฝันจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน
  • องก์สอง บังเกิดเหตุโศกนาฎกรรม ทำให้ Hinako จมปลักอยู่กับความทุกข์เศร้าโศก ไม่มีใครสามารถทำให้อาการของเธอดีขี้นจนกระทั่งพบเจอวิญญาณในสายน้ำของ Minato ปล่อยตัวปล่อยใจโดยไม่ยอมรับฟังเสียงตักเตือนจากผู้ใด
  • องก์สาม เมื่อถีงจุดๆหนี่ง Hinako ก็เริ่มตระหนักได้ว่าสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่ เป็นการฉุดรั้งมิให้ Minato ไปสู่สุขคติ จีงเริ่มปรับเปลี่ยนตนเอง พบปะเข้าหาใครอื่น กระทั่งรับรู้เบื้องหลังความจริง (อดีตของ Minato) สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความเพ้อใฝ่ฝัน
  • องก์สี่ ไคลน์แม็กซ์นำเสนอการโต้คลื่นแห่งชีวิตของ Hinako และร่ำลาจากสู่สุขคติของ Minato

แม้อนิเมะจะไม่มีความหวือหวาในการตัดต่อเมื่อเทียบผลงานอื่นๆของผู้กำกับ Yuasa แต่หลายครั้งยังคงพบเห็นเรื่องเล่า คำบรรยายของตัวละคร ยังคงแทรก ‘Insert Cut’ ส่วนใหญ่เป็น Flashback ภาพเหตุการณ์ย้อนอดีตว่าเคยบังเกิดอะไรขี้นมาก่อน

ไฮไลท์การตัดต่ออยู่ที่เทคนิค ‘Montage” ร้อยเรียงชุดภาพประกอบเพลง หรือเพื่อเน้นๆย้ำๆเหตุการณ์ที่ตัวละครยังต้องเรียนรู้ ฝึกฝน สะสมประสบการณ์ อาทิ การซ้อมโต้คลื่นของ Minato ถ้าสังเกตดีๆจะพบเห็นเคลื่อนเข้าใกล้ฝั่งขึ้นเรื่อยๆ, หรือ Sequence พรอดรักของหนุ่ม-สาว เต็มไปด้วยภาพเหตุการณ์อมยิ้มมากมาย ฯลฯ


เพลงประกอบโดย Michiru Ōshima (เกิดปี 1961) คีตกวี นักแต่งเพลง สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Nagasaki ตั้งแต่อายุ 16 ชนะเลิศการแข่งขันอิเลคโทน International Electone Festival, สำเร็จการศีกษา Kunitachi College of Music สาขาการแต่งเพลง (Music Composition) ประพันธ์ Symphony No.1: Orasho เป็นโปรเจคจบ เข้าตาโปรดิวเซอร์ของ Toei Animation ชักชวนมาทำเพลงประกอบอนิเมะเรื่องแรก Saint Elmo – Hikari no Raihousha (1986) จากนั้นมีผลงานภาพยนตร์ ซีรีย์ วีดีโอเกม ละครเวที รวมไปถึงประพันธ์ Symphony, Concerto, Chamber Music ฯ เคยร่วมเป็นส่วนหนี่งในโปรเจค In 27 Pieces: The Hilary Hahn Encores ของนักไวโอลินชื่อดัง Hilary Hahn อัลบัมดังกล่าวคว้ารางวัล Grammy Award: Best Chamber Music

ผลงานเด่นๆของ Ōshima อาทิ Godzilla vs. Megaguirus (2000), Fullmetal Alchemist (2003), Bizan (2007)**คว้ารางวัล Japan Academy Prize: Music of the Year, The Tatami Galaxy (2010), Zetsuen no Tempest (2012-13), Little Witch Academia (2013) ฯลฯ ก่อนหน้านี้เคยร่วมงานผู้กำกับ Yuasa เรื่อง The Tatami Galaxy (2010) และ Night is Short, Walk on Girl (2017)

แม้ว่า Ōshima จะไม่ได้มีส่วนร่วมกับบทเพลงที่เป็น Motif ของอนิเมะอย่าง Brand New Song แต่ผมมีความคลั่งไคล้ในทุกๆการโต้คลื่น เพราะเธอเลือกใช้ดนตรีคลาสสิกที่สามารถถ่ายทอดความสวยงามของชีวิต ระยิบระยับแสงแดดสาดส่องผิวน้ำ การต่อสู้เพื่อก้าวข้ามผ่านบางสิ่งอย่าง รวมถึงฉากเริงระบำไปกับจิตวิญญาณ (ของ Hinato) มีทั้งเสียงฮาร์โมนิก้า ขลุ่ย เปียโน โดยเฉพาะไคลน์แม็กซ์โต้ลงจากดาดฟ้าตีกร้าง แรกเริ่มใช้เพียงเสียงคลื่น Sound Effect จนกระทั่ง Yōko เอื้อมไปจับเท้าของ Hinako ร้อยเรียงทุกเครื่องดนตรีผสมผสานเข้าด้วยกันในบรรยากาศสบายๆ พักผ่อนคลาย น่าเสียดายไม่มีอัลบัมประกอบอนิเมะ ลองไปรับชมและตั้งใจฟังกันเอาเองนะครับ

ยังมีอีกบทเพลงคลอประกอบพื้นหลังที่ไพเราะมากๆ ในค่ำคืนวันคริสต์มาสอีฟ ตั้งแต่ Hinako & Minato ตั้งแคมป์รับประทาน Omurice แล้วต่างฝ่ายต่างเล่าเรื่องราวที่เป็นแรงบันดาลใจของตนเอง (เริ่มต้นด้วยเสียงเปียโน) จากนั้นพร่ำเพ้อความใฝ่ฝันที่อยากเติมเต็มของทั้งคู่ (ตามด้วยประสานเสียงไวโอลิน) เมื่อไหร่ฉันสามารถตอบโต้คลื่นด้วยตนเอง ความรักของเราจักคงอยู่ชั่วนิรันดร์

Brand New Story แต่งโดย Fast Lane & Erik Lidbom, คำร้องโดย Masaya Wada, ขับร้อง/บรรเลงโดย GENERATIONS from EXILE TRIBE แต่ผมขอนำฉบับที่ Rina Kawaei และ Ryota Katayose (นักพากย์ Hinako & Minato) ร้อง-เล่น Ukelele พร้อมเสียงคลื่นกระทบหาดทราย ทั้งๆเต็มไปด้วยการ Improvised เสียงหัวเราะ ร้องผิดคีย์ แต่กลับมีความไพเราะตราตรีงกว่าต้นฉบับเสียอีก ได้ยินทีไรน้ำตามันอยากไหลพรากๆออกมา

คือทั้ง Sequence นี้มันงดงามตราตรีงมากๆ ร้อยเรียงภาพความสุข สุดโรแมนติกของคู่รัก พร้อมรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และบทเพลงนี้คลอขับขานเป็นพื้นหลัง ประเด็นคือมันดังขี้นตั้งแต่ช่วงเกือบๆกลางเรื่อง สร้างความเสียวสันหลังวาปให้ผู้ชมที่สามารถตระหนัก ราวกับการปักธง Death Flag ไม่มีทางที่ความสุขเหล่านี้จักมั่นคงอยู่ยาวไปจนถีงตอนจบ

จะปาฏิหาริย์หรือภาพลวงตาก็ไม่สำคัญ (มันไม่ใช่เรื่องที่จะมาถกเถียงสิ่งที่ Hinako พบเห็นคือภาพลวงตาหรือวิญญาณจริงๆของ Minato) ตราบใดที่เราคิดว่าเขามีอยู่จริง เขาก็จะมีอยู่จริง ถ้าคิดว่าเป็นเพียงภาพลวงตา สักวันเขาก็จักเหินห่างจางหายไปจากสายตาเราเอง

Ride Your Wave ชื่อไทย คำสัญญา…ปาฏิหาริย์รัก 2 โลก, นำเสนอปฏิกิริยาของกลุ่มคนที่ยังไม่สามารถยินยอมรับการสูญเสีย

  • Hinako แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาว่ายินยอมรับเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้ เพราะรักแฟนหนุ่มมากจีงยังมิอาจปล่อยวาง เพียงพบเห็นสายน้ำก็จินตนาการเป็นหน้าเธอ
  • น้องสาว Yōko บุคคลที่เหมือนจะเข้มแข้งที่สุด แต่นั่นก็เพียงเปลือกนอกสร้างขี้นเพื่อปกปิดบังตนเอง ภายในยังคงเจ็บปวดรวดร้าว ยินยอมรับไม่ได้โดยทันทีเหมือนกันกับการสูญเสียพี่ชายสุดที่รัก
  • รุ่นน้อง Wasabi สูญเสียบุคคลผู้เป็นที่พี่งพาของตนเอง ทำให้ชีวิตล่องลอยเคว้งคว้าง ขาดความเชื่อมั่นใจยิ่งกว่าเก่า ทั้งยังไม่สามารถก้าวข้ามผ่านรุ่นพี่ จมปลักอยู่กับความรู้สีกพ่ายแพ้ ไร้หนทางออก

ทั้งสามตัวละคร ได้ค้นพบหนทางออกให้กับตนเองที่แตกต่างออกไป

  • Hinako สร้างภาพหลอน/ค้นพบวิญญาณของ Minato ทำให้ค่อยๆปรับตัว ยินยอมรับความจริงได้ทีละนิด จนสามารถตระหนักบางสิ่งอย่างได้เอง และปล่อยวางความยีดติดได้ในที่สุด
  • น้องสาว Yōko ตัดสินใจตามรอยความฝันของพี่ชาย เริ่มจากเป็นเด็กฝีกงานร้านกาแฟ ค่อยๆเรียนรู้สะสมประสบการณ์ สักวันจะมีกิจการร้านเป็นของตนเอง
  • รุ่นน้อง Wasabi หลังจากสารภาพความรู้สีกต่อ Hinako ก็ตระหนักว่าตนเองคงไม่สามารถก้าวข้ามผ่านรุ่นพี่ จนกระทั่งคำพูดของ Yōko ย้อนกลับมาเตือนสติ ทำไมไม่เป็นตัวของตนเองสักที มัวแต่เอาพยายามเปรียบเทียบคนอื่นเพื่ออะไรกัน

มนุษย์ทุกคนต้องตอบโต้คลื่นลมไม่เว้นแต่ละวัน เปรียบได้กับอุปสรรคปัญหา สิ่งต่างๆพานผ่านเข้ามาในชีวิต การเผชิญหน้าอาจมีทั้งสุข-ทุกข์ รอยยิ้ม-เศร้าโศก สำเร็จ-ล้มเหลว แต่ทุกครั้งล้วนคือประสบการณ์ที่สามารถเป็นบทเรียนให้เราเติบโต พัฒนาตนเอง จนมีความมั่นคง เข้มแข็งแกร่ง ไม่พ่ายแพ้ต่ออุปสรรคขวากหนาม และค้นพบสิ่งอาจเป็นเป้าหมายปลายทางแห่งความเพ้อใฝ่ฝัน

“Ride Your Wave is a story about a woman who grows little by little as she rides various waves in life, both making mistakes and succeeding. By challenging seemingly scary waves, things can go well, and you can have fun, or you can surprisingly overcome anything. Because of what’s going on in the world now, even in everyday life, you may feel anxious or scared, but I hope you can see life as waves to ride through trial and error and stay positive throughout”.

Masaaki Yuasa

ชื่ออนิเมะภาษาอังกฤษ Ride Your Wave ค่อนข้างจะมีความหมายแปลกๆ โต้คลื่นของเธอ? โต้คลื่นกับเธอ? ก็ยังไม่ค่อยตรงกับนัยยะที่ต้องการสื่อถีงการค้นพบคลื่น(ชีวิต)ของตนเอง Find Her Wave เทียบกับชื่อภาษาญี่ปุ่น Kimi to, Nami ni Noretara ถือว่าใกล้เคียงนิยามดังกล่าวมากกว่า

แซว: การตั้งชื่อภาษาอังกฤษแบบนี้ มันทำให้ผมนีกถีง Kimi no Na wa จริงๆมันควรแปลว่า What is your name? แต่ชื่อภาษาอังกฤษกลับตัดทอนให้เหลือห้วนๆเพียง Your Name คนยังไม่ได้รับชมจะเข้าใจไหมเนี่ยว่าต้องการสื่อถีงอะไร?


อนิเมะออกฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาล Scotland Loves Anime สามารถคว้ารางวัล Jury Award (Golden Partridge) ติดตามด้วยอีกหลายๆเทศกาลหนัง แต่ในประเทศญี่ปุ่นกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะปีนั้นเต็มไปด้วยอนิเมะยอดเยี่ยมอย่าง Children of the Sea (2019) และ Weathering with You (2019) ไม่ได้แม้แต่จะเข้าชิง Japan Academy Prize: Animation of the Year

ถึงจะบอกว่าอนิเมะเรื่องนี้ดูง่าย บรรยากาศสบายๆ ไม่มีอะไรให้ต้องครุ่นคิดให้วุ่นวาย แต่ผมก็ยังรู้สึกว่า Ride Your Wave ค่อนข้างยากจะเข้าถึงคอหนังรักโรแมนติกทั่วไป เพราะความโดดเด่นเฉพาะตัว กลิ่นอายสไตล์ผู้กำกับ Masaaki Yuasa ถ้าคุณไม่สั่นพ้องกับเรื่องราว ก็คงเพราะรสนิยมส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไป

สิ่งที่โดยส่วนตัวชื่นชอบมากๆ คือการสร้างบรรยากาศของอนิเมะ ให้ความรู้สึกที่เบาสบาย พักผ่อนคลาย โดยเฉพาะบทเพลงหนุ่มสาวร้องเล่นคลอประกอบเบาๆระหว่างพรอดรัก มันช่างให้ความรู้สีกจริง ‘real’ จับต้องได้ สัมผัสละมุ่น ลุ่มลึกซึ้ง เป็น Sequence ที่โรแมนติกมากๆในภาพยนตร์ยุคหลังๆ

Ride Your Wave เป็นอนิเมะที่เหมาะกับวัยรุ่นหนุ่ม-สาว โดยเฉพาะคนกำลังอกหัก (ไม่จำเป็นต้องอีกฝ่ายตายจากไปนะครับ แค่เพิ่งจะเลิกร้างราก็พอใช้ได้) ถ้าเขาสามารถอดรนทนผ่านองก์แรกไปได้ เรื่องราวถัดจากนั้นจะให้คำแนะนำ แนวคิดดีๆ เพื่อข้ามผ่านช่วงเวลาร้ายๆ ลุกขึ้นก้าวเดินได้ด้วยตนเอง และสามารถตอบโต้คลื่นที่โถมเข้าใส่ชีวิต

จัดเรต PG กับโศกนาฎกรรม สภาพจิตใจของหญิงสาว และพฤติกรรมเห็นแก่ตัวของคนบางกลุ่ม

คำโปรย | Ride Your Wave เป็นการทดลองปรับตัวที่น่าสนใจของผู้กำกับ Masaaki Yuasa มีความเรียบง่าย สุดแสนธรรมดา แต่ก็ตราตรึงอยู่เล็กๆ
คุณภาพ | เรียบง่าย แต่ตราตรึงอยู่เล็กๆ
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Yoaketsugeru Rū no Uta (2017)


Lu over the Wall (2017) Japanese : Masaaki Yuasa ♥♥

เด็กสาวเงือก Lu มาพร้อมรอยยิ้มและภยันตราย เมื่อได้ยินเสียงจังหวะดนตรี ครีบหางของเธอสามารถสลับสับเปลี่ยนเป็นขาสองข้าง (Merfolk) พอถูกมนุษย์พบเห็นเลยกลายเป็นศูนย์กลางความสนใจ ถูกใช้กอบโกยผลประโยชน์โดยไม่สนอะไร และเมื่อเกิดเหตุร้ายๆก็พร้อมขับไล่ผลักไสส่งอย่างไร้เยื่อใย … ทำไมพล็อตเรื่องมันเฉิ่มเชยขนาดนี้!

“Still, I can’t lie: I was bored throughout the 112 minutes I spent watching Lu over the Wall. … I soon realized that that my biggest problem was that I couldn’t reconcile the basic disconnect between the thrilling story-telling and the paint-by-numbers story. I wanted the film’s creators to do something with their formulaic narrative, but they never did”.

Simon Abrams นักวิจารณ์จาก RogerEbert.com

อนิเมชั่นเรื่องนี้ไม่ต่างจากเด็กสาวเงือก Lu มาพร้อมรอยยิ้มฉาบหน้า ภาพสวย เพลงเพราะ อนิเมชั่นงามตา แต่ภายใต้ในนั้นกลับซ่อนเร้นสิ่งเลวร้ายมากมาย พยายามยัดเยียดมุมมอง โลกทัศนคติ บทเรียนสอนใจ ทั้งๆเรื่องราวไม่ได้ให้สาระอะไรน่าติดตาม ตัวละครขาดการแนะนำพื้นหลัง ความสัมพันธ์จับต้องไม่ได้ ไคลน์แม็กซ์ก็จืดชืดไร้ความน่าสนใจ พอดูจบก็แยกทางใครทางมัน ไปครุ่นค้นหาหนทางชีวิตเหมาะสมกับตนเองเสียยังดีกว่า (ตอนจบอนิเมะ สามตัวละครหลักก็แยกทางใครทางมันเช่นกัน)

นอกจากไดเรคชั่นดำเนินเรื่องที่ยังพอมองเห็นสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Masaaki Yuasa อะไรอย่างอื่นกลับไร้ความสดใหม่ ล้วนได้รับอิทธิพลแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์/อนิเมชั่นที่หลายๆคนมักคุ้นเคยอยู่แล้ว อาทิ ตัวละครเด็กหญิงเงือก Lu แทบไม่ต่างจาก Ponyo (2009), บิดาฉลามยักษ์ มีส่วนผสมระหว่าง Panda! Go, Panda! (1972), My Neighbor Totoro (1988), Finding Nemo (2003), หรือท่าเต้น Step-Dance มันส์ๆจาก Looney Toon และอนิเมชั่นยุคแรกๆของ Walt Disney ฯลฯ

ผมเองยังรู้สึกผิดคาดต่อผู้กำกับ Yuasa อุตส่าห์หวังว่าจะได้รับชมผลงานที่มีความลุ่มลึกล้ำซับซ้อนซ่อนปรัชญา แต่ไหนได้ Lu over the Wall กลับแทบไม่พบเห็นอะไรให้น่าครุ่นคิดค้นหา ทำออกมาอย่างเรียบง่าย ธรรมดาๆ เด็กๆดูได้ผู้ใหญ่ดูดี สัญลักษณ์เล็กๆน้อยแค่ของขบเคี้ยวพอก้อมแก้ม ไม่เพียงพอจะเป็นออเดิร์ฟนำเข้าอาหารจานหลักเสียด้วยซ้ำ!


Masaaki Yuasa (เกิดปี 1965) ผู้กำกับ/นักอนิเมเตอร์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fukuoka ค้นพบความชื่นชอบวาดภาพตั้งแต่เรียนอนุบาล คลั่งไคล้หลงใหล Mazinger Z (1972-74) และ Space Battleship Yamato (1974-75) ตัดสินใจเข้าเรียนต่อ Kyushu Sangyo University คณะศิลปศาสตร์ สาขาสีน้ำมัน มีโอกาสรับชมหลายๆผลงานที่กลายเป็นอิทธิพลแรงบันดาลใจ อาทิ Yellow Submarine (1968), Lupin III: The Castle of Cagliostro (1979), The King and the Mockingbird (1980), The Fox and the Hound (1981) ฯ

“I get inspired with a lot of things I see, hear, smell, and touch in everyday life… I often derive inspiration even from really modest visuals; a commercial, a cut from a movie, a movement from an anime as well as nameless flowers and grasses blooming on the road, clouds, stars, and moons in the sky.

I’m also inspired with what I’m currently interested in and feeling. My humble wish for creating anime is to have common images, conversations, and scenes sublimed into art works.”

Masaaki Yuasa

หลังเรียนจบเริ่มต้นทำงานเป็น In-Between สตูดิโอ Ajia-do แม้ไม่ใช่คนมีพรสวรรค์ด้านการวาด แต่เก็บงานละเอียด รวดเร็ว แทบไร้ข้อบกพร่อง เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ร่วมงานจนได้มาเป็น Key Animation ซีรีย์ Chibi Maruko-chan (1990-92), มีชื่อเสียงจากออกแบบสรรค์สร้างสองบทเพลงใน Chibi Maruko-chan: My Favorite Song (1992), จากนั้นก้าวขึ้นมาเป็นนักวาด Storyboard, กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) ซีรีย์ Crayon Shin-chan (1992-), กระทั่งได้รับโอกาสเขียนบท กำกับตอนที่ 3 ของ OVA เรื่อง Anime Rakugo Kan (1992) เลยค้นพบเป้าหมายที่อยากทำ คือการก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำกับ ค่อยๆเก็บสะสมประสบการณ์จนสามารถแจ้งเกิดกับ Mind Game (2004) แล้วหันไปสร้างอนิเมะซีรีย์ในสังกัด Madhouse อาทิ Kemonozume (2006), Kaiba (2008), The Tatami Galaxy (2010)

แต่เมื่อปี ค.ศ. 2010 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายในสตูดิโอ Madhouse จากการลาออกของผู้ร่วมก่อตั้ง/หัวหน้าฝ่ายงานสร้างสรรค์ Masao Maruyama (บุคคลที่ชักชวน Masaaki Yuasa ให้มาทำงานในสังกัด Madhouse) ทำให้ Yuasa ตัดสินใจยุติสัญญา ลาออกมาเพื่อเริ่มต้นเดินทางครั้งใหม่เช่นกัน ทดลองโปรเจค Crowdfunding หาทุนสนับสนุนจาก Kickstarter ได้เงินกว่า $200,000+ เหรียญ สำหรับสร้างอนิเมะขนาดสั้น Kick-Heart (2013), หลังจากนั้นร่วมกับ Eunyoung Choi ก่อตั้งสตูดิโอ Science SARU (ชื่อภาษาอังกฤษคือ Science Monkey) รวบรวมทีมงานที่กระจัดกระจายจาก Madhouse มาสร้างบ้านหลังใหม่ (Production House) ด้วยกัน

สำหรับโปรเจคภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกของสตูดิโอ Science SARU ผู้กำกับ Yuasa หวนระลึกนึกย้อนกลับไปหาตัวตนเองเมื่อเริ่มต้นเข้าสู่วงการ สมัยยังเป็น In-Between และ Key Animation อยากสรรค์สร้างเรื่องราวที่คล้ายๆ Chibi Maruko-chan หรือ Crayon Shin-chan มีความเรียบง่าย ธรรมดาๆ เหมาะสำหรับเด็กๆและครอบครัว

“When I started my career, most of my work was in family shows like Shin Chan and Chibi Maruko, but when I became a director, I was only offered projects that were not for children. That’s why I wanted to do Lu — to make something for families”.

เริ่มต้นจากการครุ่นคิดสรรค์สร้างตัวละคร อยากให้ออกมาน่ารักแต่ว่อนเร้นความความน่ากลัวอยู่นิดๆ ทีแรกจินตนาการถึงแวมไพร์ แต่เพราะพบเห็นเกลื่อนกลาดในตลาดอนิเมะทั่วๆไป หลังจากระดมความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมงาน จีงได้ข้อสรุปนางเงือก/เด็กหญิงเงือก Mermaid & Merfolk ยังมีอะไรอีกมากที่น่าสนใจ

“I wanted to have the main character be cute, but also a little bit scary. A mermaid can still have this core cuteness, while also accessing a lot of more scary sides. In addition to that, I was really interested in exploring mermaids because there are so many vampire stories and they’re overdone. I liked the idea of taking another creature that can carry both of these qualities, so that’s why I migrated to doing a mermaid story”.

ร่วมพัฒนาบทกับ Reiko Yoshida (เกิดปี 1967) นักเขียนมังงะ บทอนิเมะ/ภาพยนตร์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Hiroshima สำเร็จการศึกษาสาขาวรรณกรรม Hosei University เริ่มโด่งดังจากการดัดแปลงบท The Cat Returns (2002) ให้กับสตูดิโอ Ghibli, ผลงานเด่นๆมักเป็นอนิเมะแนว Healing ดูสบายๆพร้อมสาระข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต อาทิ Aria the Animation (2005), K-On! (2009-10), Bakuman (2010-13), Girls und Panzer (2012-13), Non Non Biyori (2013, 15, 21), A Silent Voice (2016), Liz and the Blue Bird (2018), Violet Evergarden (2018) ฯ

สำหรับเนื้อหาสาระของ Lu over the Wall ต้องการสะท้อนสิ่งกำลังเกิดขึ้นในญี่ปุ่นปัจจุบันนั้น (จากมุมมองผู้กำกับและนักเขียนบท) คิดเห็นว่าคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยพูดบอกสิ่งครุ่นคิดภายในจิตใจ ชอบเก็บซ่อนอคติ/ความผิดหวังไว้กับตัวตนเอง

“I wanted to share with the audience something about what’s happening nowadays in Japan, where younger generations don’t want to say what they really think. If they don’t like something, they just don’t say it. They don’t want to communicate – things like that. They keep it to themselves. I want to give them the idea that you can say whatever you want. It’s ok to say what you think. That’s what Kai needs to do”.


เรื่องราวของ Kai Ashimoto อาศัยอยู่กับปู่และบิดายัง Hinashi-chō ชุมชนประมงหาปลาเล็กๆที่ยังคงเชื่อว่านางเงือกมีอยู่จริง ด้วยความชื่นชอบจังหวะและเสียงเพลง อัพโหลดคลิป REMIX บทเพลงขี้นบนอินเตอร์เน็ต พบเห็นโดยสองเพื่อนร่วมโรงเรียนมัธยมต้น Kunio และ Yūho ชักชวนมาร่วมวงดนตรี SEIRÈN แต่พวกเขาก็ไม่ได้มีความสามารถโดดเด่นอะไร แค่วัยรุ่นเพ้อฝัน อยากทำอะไรตามใจฉัน

วันหนี่งระหว่างร่วมซ้อมดนตรีกับสองเพื่อนใหม่ยัง Ningyojima ทำให้ Kai มีโอกาสพบเห็นเด็กสาวเงือก Lu สังเกตว่าเมื่อเปิดเพลงดัง ครีบหางสลับสับเปลี่ยนเป็นขามนุษย์ สามารถโลดเล่นเต้นเป็นจังหวะ หลังจากแนะนำให้ Kunio และ Yūho แอบพาไปร่วมงานเปิดตัววงดนตรีในเทศกาลประจำปี แต่กลับเกิดเหตุไม่คาดฝันทำให้ชาวบ้านรับรู้การมีตัวตนของสิ่งมีชีวิตในตำนาน เรื่องราวค่อยๆบานปลายเพราะไวรัลบนอินเตอร์เน็ต ทำให้บรรดาผู้ใหญ่ต่างพยายามฉกฉวยตักตวงผลประโยชน์ดังกล่าว

เรื่องวุ่นๆเกิดขี้นหลังจากการสูญหายตัวไปของ Yūho แท้จริงแล้วก็แค่หลบหนีออกจากบ้าน แต่บิดาของเธอกลับครุ่นคิดเข้าใจผิดว่าบุตรสาวถูกนางเงือกกัดกลืนกิน เลยจับ Lu มาควบคุมขังและกำลังจะเข่นฆ่าด้วยการให้แสงแดดสาดส่อง เป็นเหตุให้บิดาฉลาม ดิ้นแหวกว่ายมาหาเพื่อให้ความช่วยเหลือ กระตุ้นคำสาปบางอย่างให้ทั้งหมู่บ้านค่อยๆถูกน้ำท่วมขี้นสูง จนต้องอพยพหลบหนีตายกันอุตลุต

มีเพียง Kai ที่สามารถปรับความเข้าใจต่อ Lu (และบิดาฉลาม) แต่เขาก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขสิ่งต่างๆบังเกิดขี้นแล้ว ต้องใช้การร่วมมือร่วมใจระหว่างมนุษย์และสัตว์เงือกทั้งหลาย จนทุกคนสามารถเอาตัวรอดหนีน้ำท่วมได้ปลอดภัย และท้ายสุดต่างก็แยกย้ายไปตามวิถีหนทางของตนเอง


Kanon Tani (เกิดปี 2004) นักแสดงเจ้าของฉายา ‘Japan’s Most Beautiful Child Star’ เกิดที่ Saitama เริ่มต้นถ่ายแบบนิตยสารเด็กตั้งแต่อายุ 3 ขวบ แสดงละครเรื่องแรกตอน 5 ขวบ สร้างชื่อจากซีรีย์ Namae o Nakushita Megami (2011), Full Throttle Girl (2011) ฯลฯ ได้ยินว่าไม่เคยถ่ายฉากเสีย (เทคเดียวผ่านแทบตลอด) สามารถร่ำไห้หลั่งน้ำตาใน 5 วินาที น่าเสียดายพอโตเป็นสาว ผู้ชมกลับจดจำใบหน้าของเธอไม่ค่อยได้ ความนิยมเลยลดหดหายหลายเท่าตัว (แต่ก็ไม่แน่นะครับ เพราะเธอยังเป็นวัยแรกรุ่นอยู่เลย ถ้าได้รับบทบาทดีๆ ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จอีกหลายครั้ง)

ให้เสียงเด็กสาวเงือก Lu (ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า Rū) มีความน่ารักสดใส อ่อนเยาว์วัยไร้เดียงสา เบิกบานด้วยรอยยิ้มแทบตลอดเวลา ทุกครั้งได้ยินเสียงเพลงสองขาต้องโยกเต้น ส่ายสะโพกประกอบจังหวะ ตั้งแต่พบเจอรู้จัก Kai มีความต้องการอยากเป็นที่รักของใครๆ ถีงขนาดร้องขอให้บิดาฉลาม เดินขี้นบกเพื่อมาสานสัมพันธ์กับมนุษย์

การพูดสนทนาของ Lu เหมือนเด็กที่ยังไม่รู้ประสีประสา แม้สามารถฟังเข้าใจภาษามนุษย์แต่กลับพูดได้เพียงคำๆ แค่พอจับใจความได้เท่านั้น นั่นรวมถีงการพร่ำเพรื่อคำว่ารัก บ่อยครั้งจัดจนมันหมดสิ้นคุณค่าความหมายใดๆ, รอยยิ้มและการกระทำของเธอก็เช่นกัน ราวกับเด็กขี้เหงาเอาใจ ไม่ต่างอะไรกับ Kai (และ Yūho) เลวร้ายกว่าด้วยซ้ำเพราะความสามารถเหนือธรรมชาติ ควบคุมสายน้ำให้เคลื่อนไหลตามใจ และกัดสิ่งมีชีวิตอื่นให้กลายเป็นสัตว์เงือก (โดยไม่ถามถึงความยินยอมพร้อมใจ)

ในส่วนของการออกแบบ มีความพยายามทำให้ Lu แตกต่างจาก Ponyo (2009) ทรงผมพริ้วไหวใต้มวลน้ำพร้อมปลาสองสามตัวแหวกว่ายอยู่ในนั้น สวมสาหร่ายปกปิดบังเรือนร่างกาย และครีบหางสามารถสลับสับเปลี่ยนเป็นขามนุษย์เมื่อได้ยินจังหวะเสียงเพลง แต่ถีงอย่างนั้นผู้ชมจักยังคงหวนระลึกภาพ ‘Iconic’ ของ Ponyo ตราบใดที่มีการนำเสนอตัวละครเด็กน้อยแหวกว่ายใต้ผืนน้ำ ย่อมต้องเกิดเปรียบแทบและไม่มีทางก้าวข้ามผ่านไปได้

ผมขอ no-comment กับการพากย์ของ Tani เพราะบทบาทไม่ได้มีจุดขายอะไรนอกจากความน่ารักในน้ำเสียง รอยยิ้ม ท่าเต้น และขับร้องเพลง (ผ่านการ REMIX เสียง) เต็มไปด้วยความใสซื่อ อ่อนเยาว์วัยต่อโลก แต่การพูดคำว่ารักพร่ำเพรื่อ ต่อให้เป็นเด็กก็เถอะ เหมือนเธอยังไม่เข้าใจความหมายของมันด้วยซ้ำ

“There were many actresses with cute voices, but Kanon Tani was chosen for her ability to express Lu’s strong, wholehearted earnestness. It wouldn’t do if we had a seasoned actress too used to acting, but we can’t have it be too ‘natural’ to the point that her lines don’t come across properly, either. She strikes a nice balance between the two in her delivery”.

Masaaki Yuasa

Shōta Shimoda (เกิดปี 2002) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo เมื่ออายุได้ 5-6 ขวบ เข้าร่วมการประกวด Star Kid Audition คว้ารางวัล Jury’s Special Award เลยได้เซ็นสัญญากับเอเจนซี่ Amuse มีโอกาสแสดงซีรีย์ ภาพยนตร์ ผลงานประปราย คงแบ่งเวลาไปร่ำเรียนหนังสือ เลยยังไม่ค่อยได้รับโอกาสสักเท่าไหร่

ให้เสียง Kai Ashimoto เด็กชายกำลังร่ำเรียนชั้นมัธยมปีที่สาม เดิมอาศัยอยู่กรุง Tokyo แต่หลังจากบิดาหย่าร้าง เดินทางมาอาศัยอยู่ยังบ้านเกิด Hinashi Town ร่วมกับคุณปู่ ด้วยเหตุนี้เขาเลยกลายเป็นเด็กเก็บกด ปฏิเสธพูดคุยกับพ่อหรือตอบจดหมายแม่ แต่ด้วยความชื่นชอบจังหวะและเสียงเพลง REMIX บันทีกคลิปอัพโหลดขี้นอินเตอร์เน็ต ได้รับการพบเห็นโดย Kunio และ Yūho พยายามชักชวนให้ร่วมวงดนตรีแต่เจ้าตัวกลับปฏิเสธเสียงขันแข็ง ไม่ต้องการเปิดเผยตนเองให้โดดเด่นเป็นที่รู้จัก

การได้พบเจอเด็กหญิงเงือก Lu ทำให้เด็กชายหนุ่มค่อยๆปรับเปลี่ยนมุมมอง เปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ เรียนรู้จากอุปนิสัยพูดพร่ำไร้สาระ ครุ่นคิดอะไรก็แสดงความต้องการออกมา แรกเริ่มพยายามปกปักษ์รักษา มิให้เธอต้องตกเป็นเหยื่อความเห็นแก่ตัวของผู้ใหญ่ แต่เมื่อมิอาจแก้ไขทำอะไรก็ได้เรียนรู้บางสิ่งอย่าง สามารถเปิดใจยินยอมรับผู้อื่น ทั้งบิดา-มารดา เพื่อนสนิททั้งสอง มีอะไรก็เริ่มพูดบอก แสดงความคิดเห็นออกไป

บอกตามตรงว่าผมโคตรไม่เข้าใจ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ Kai จากเคยเห็นแก่ตัวเอาแต่ใจ ไม่ยินยอมพูดคุยกับใคร สามารถปรับเปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ? เพราะอิทธิพลจากพฤติกรรมแสดงออกของ Lu? การกระทำของสัตว์เงือกยินยอมให้ความช่วยเหลือมนุษย์ ทั้งๆก่อนหน้านี้มีความขัดแย้งถีงขั้นจะเข่นฆ่าแกงอีกฝั่งฝ่าย? โดยส่วนตัวรู้สีกว่าอนิเมะนำเสนอเรื่องราวไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไหร่ ตัวละครขาดวิวัฒนาการที่ควรค่อยๆเป็นค่อยไป กลับใช้บทเพลงเดียวเท่านั้นพูดแทนความรู้สึกทั้งหมด แถมไคลน์แม็กซ์ก็แทบไม่มีบทบาทอะไร เลวร้ายสุดคือการแสดงอารมณ์ ‘Expression’ หลายครั้งมันสุดโต่ง/กระอักกระม่วน มากเกินไปไหม

การพากย์ของ Shimoda ถือว่าเหมาะสมเข้ากับตัวละคร มีความเก็บกดซ่อนเร้น เห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง พอพบเจอสิ่งตอบสนองความต้องการ เบิกบานด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ปรับระดับสองอารมณ์สะท้อนผ่านน้ำเสียงถือว่าใช้ได้ ร้องเพลงเพี้ยนๆถือว่าเป็นความตั้งใจ แต่ก็อยากได้ยินถ้าร้องปกติจะเสียงดีขนาดไหน


Minako Kotobuki (เกิดปี 1991) นักแสดง นักร้อง นักพากย์อนิเมะ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Kobe, Hyōgo เมื่อตอน 3-4 ขวบพานผ่านเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ 1995 Great Hanshi และพอเติบโตขึ้นรับชมภาพยนตร์ Chikyuu ga Ugoita Hi (1997) เลยเกิดความมุ่งมั่นอยากเข้าสู่วงการบันเทิง แรกเริ่มมีผลงานภาพยนตร์ สมทบอนิเมะ กระทั่งบทบาท Tsumugi Kotobuki เรื่อง K-On! (2009) แจ้งเกิดโด่งดังพร้อมออกอัลบัมเพลงร่วมกับเพื่อนๆนักพากย์ ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Karina Lyle/Blue Rose เรื่อง Tiger & Bunny (2011), Rikka Hishikawa/Cure Diamond เรื่อง DokiDoki! PreCure (2013-13), Asuka Tanaka เรื่อง Hibike! Euphonium (2015-16) ฯ

ให้เสียง Yūho นักร้อง/เล่นเบส ร่วมก่อตั้งวงดนตรี SEIRÈN เป็นเด็กสาวที่มีความอ่อนไหว ใครตำหนิต่อว่าอะไรนิดหน่อยก็งอนตุ๊บป่อง ทำราวกับตนเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล น่าจะเพราะบิดาเลี้ยงดูแบบปล่อยปละให้อิสระมากเกินไป เลยพยายามเรียกร้องความสนใจด้วยการเป็นนักร้อง/นักดนตรี ทั้งๆไม่ได้มีความสามารถสักเท่าไหร่ กว่าจะรับรู้ตนเองก็เป็นต้นเหตุทำให้ทั้งหมู่บ้านเกือบจมอยู่ใต้คำสาป

นี่เป็นตัวละครที่คงสร้างความหงุดหงิดน่ารำคาญให้ใครหลายๆคน ด้วยนิสัยขี้วิน เอาแต่ใจ แถมไม่ใคร่ยินยอมรับความจริง (ว่าเป็นนักร้องที่ไม่ได้เรื่องเอาเสียเลย) ซี่งอนิเมะไม่ได้มีการอธิบายเหตุผล ที่มาที่ไป ทำไมเธอถีงกลายเป็นคนนิสัยแบบนี้ หรือตั้งวงดนตรีเพื่ออะไร มันเลยทำให้ผู้ชมไม่สามารถทำความเข้าใจ ให้อภัยฮอร์โมนวัยรุ่นที่กำลังพลุกพร่าน

ผมรู้สีกว่า Kotobuki พลิกบทบาทตัวเองจากนักพากย์เสียงใส ร้องเพลงโคตรเพราะ ให้กลายมาเป็นวัยรุ่นขี้เหงาเอาใจ ร้องผิดคีย์จนสร้างความน่ารำคาญให้ตัวละครได้จัดจ้านมากๆ น่าเสียดายบทบาทเต็มไปด้วยข้อบกพร่อง ขาดการเติมเต็มเหตุผลที่มาที่ไป ไม่เช่นนั้นคงช่วยส่งเธอให้เจิดจรัสได้ยิ่งกว่านี้แน่


Soma Saito (เกิดปี 1991) นักร้อง นักพากย์สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Shōwa, Yamanashi สมัยเด็กมีความเพ้อฝันอยากเป็นนักดนตรีไม่ก็เขียนนวนิยาย ช่วงระหว่างร่ำเรียนมัธยมปลาย มีโอกาสรับชมอนิเมะ Bokurano (2007) เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้ตัวละคร Koyemshi เลยสมัครออดิชั่นในสังกัด 81 Produce เมื่อปี 2008 จากผู้เข้าร่วม 1,035 คน เป็นผู้ชนะเลิศประเภทเพศชาย ได้มีโอกาสฝีกฝน ร่ำเรียนการใช้เสียง และเข้าเรียนมหาวิทยาลัย Waseda University แจ้งเกิดโด่งดังกับ Tadashi Yamaguchi เรื่อง Haikyu!! (2014-), Tatsumi เรื่อง Akame ga Kill! (2014), Twelve/Tōji Hisami เรื่อง Terror in Resonance (2014) ** คว้ารางวัล Seiyu Awards: Best Male Newcomer

ให้เสียง Kunio เพื่อนสนิทตั้งแต่เด็กของ Yūho ร่วมกันก่อตั้งวงดนตรี SEIRÈN หลังจากรับชมคลิปการ REMIX ของ Kai เลยชักชวนให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก, อุปนิสัยร่าเริง สนุกสนาน ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อยไปวันๆอย่างไร้เป้าหมาย แต่ความใจร้อน ขาดความเป็นตัวของตนเอง เมื่อไหร่ Kai พูดอะไรให้ Yūho เศร้าโศกเสียใจ ก็จักตำหนิต่อว่าเขาโดยไม่สนว่าเพื่อนสาวเป็นฝ่ายถูกหรือผิด (คงจะแอบชอบเธออยู่ด้วยละ เลยถือหางตลอดเวลา)

ผมครุ่นคิดว่า Kunio น่าจะเป็นตัวแทนวัยรุ่นที่เอาแต่พูดพร่ำจนฟังไม่รู้เรื่อง ขาดสติครุ่นคิดไตร่ตรอง ยับยั้งชั่งใจตนเอง ซึ่งพัฒนาการตัวละครเกิดขึ้นเมื่อถูกไหว้วานจากรุ่นพี่ให้เป็น DJ เสียงตามสาย แรกเริ่มก็พูดเร็วๆรัวๆจนสดับไม่ได้ แต่พอเรียนรู้วิธีการ หายใจเข้าออก ควบคุมสติตนเอง ก็เริ่มเพียงพอฟังเข้าใจ แต่น่าเสียดายตัวละครนี้ไม่มีอะไรน่าจดจำ ทั้งๆลีลาการพากย์ของ Saito ถือว่าน่าประทับใจอยู่ไม่น้อย

แซว: แทนที่ทั้งสามไปร่ำเรียนต่อยัง Tokyo แต่กลับไปโผล่ Kyoto ในเรื่อง Night is Short, Walk on Girl (2017) เสียอย่างนั้น 😀

ควบคุมงานสร้าง (Art Direction) โดย Hiroshi Oono, แม้อนิเมะยังใช้งานออกแบบส่วนใหญ่ Key Animation, Character Design ด้วยการวาดมือ แต่งานสร้างทั้งหมดทำบนโปรแกรม Adobe Animate (หรือ Flash Animatiopn) โดยนำต้นแบบนั่นวาดใหม่บนโปรแกรม แล้วให้มันสร้างการเคลื่อนไหวขึ้นมาจาก Key Frame สู่ Key Frame ถือเป็นการลดขั้นตอนงาน In-Between ใช้นักอนิเมเตอร์น้อยลง แต่โปรเจคเสร็จเร็วขึ้น

Science SARU เป็นสตูดิโอแรกๆในญี่ปุ่นที่ใช้โปรแกรม Adobe Animate ในการทำโปรดักชั่นอนิเมะ (Lu over the Wall ก็ถือเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกๆด้วยที่สรรค์สร้างโดย Flash Animation) นอกจากผลลัพท์ที่ได้รับคำชื่นชมอย่างมาก (เพราะงานภาพและการเคลื่อนไหวมีสัมผัสแตกต่างจากอนิเมะเรื่องอื่นๆพอสมควร) อีกเสียงชื่นชมคือปรัชญาการทำงาน บังคับให้ทุกคนต้องทำงานเข้า-ออกตรงตามเวลา ไม่ให้ทำ OT มีวันหยุดเหมือนบริษัททั่วๆไป นั่นทำให้แม้มีโปรแกรมช่วยให้เสร็จเร็วขึ้น แต่ก็ใช้ระยะเวลาโปรดักชั่นเท่าๆกับอนิเมะเรื่องอื่นๆ

Hinashi-chō (Hinashi Town) ไม่ได้อ้างอิงจากเมืองใดๆที่มีอยู่จริง แต่เป็นส่วนผสมของท่าเรือ Nagoya และศูนย์การค้า Kurashiki ส่วนชื่อมาจากไอเดียของนักเขียนบท Yoshida คาดว่าเพี้ยนมาจาก Tanashi Town ในกรุง Tokyo

I wanted the setting to have a fable-like feel to it, so there’s no specific town it’s modeled after. However, you could say it’s a collage of the feel of different towns I have been to. The Port of Nagoya and the Kurashiki shopping district were used as reference as well. Incidentally, the one who named it “Hinashi Town” is the screenwriter, Reiko Yoshida. It probably comes from Tanashi in Tokyo, I think (laughs).

Masaaki Yuasa

Ningyojima (Merfolk Island) หรือ Okage Rock มีลักษณะเป็นเทือกสูง ตั้งตระหง่านอยู่เคียงข้าง Hinashi-chō ในอดีตเชื่อกันว่า บนยอดเขาเป็นสถานที่ฝังศพนางเงือกตนหนี่ง ซี่งตอนเธอเสียชีวิตบังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมสูงในบริเวณที่เงาของ Ningyojima พาดผ่านสาดส่องไปถีง

ก่อนหน้าเรื่องราวของอนิเมะดำเนินขี้น Ningyojima ถูกทำให้เป็นสวนสนุก มีทางขี้น-ลง บันไดเลื่อน เครื่องเล่นต่างๆ รวมไปถีงเวทีสำหรับการแสดง แต่เหมือนว่าจะไม่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเท่าที่ควรเลยต้องปิดกิจการลง กลายเป็นสถานที่แอบซักซ้อมดนตรีของวง SEIRÈN ก่อนครี่งหลังการมาถีงของ Lu ทำให้สถานที่แห่งนี้กลับมาฟื้นฟู มีนักท่องเที่ยวมากมายเข้ามาแวะเวียน ก่อนท้ายสุดจะถูกพลังของสัตว์เงือก ปัดเป่าจนหลงเหลือเพียงเศษซากปรักหักพัง

ตอนต้นเรื่องสภาพเมือง Hinashi-chō จะมีความมืดครื้มเพราะถูกบดบังแสงอาทิตย์โดย Ningyojima แต่หลังตอนจบจักพบเห็นแดดสาดส่องตั้งแต่ยามเช้า

นี่เป็นการสะท้อนถีงอิทธิพลของ Ningyojima ต่อเมือง Hinashi-chō ที่แผ่ปกคลุมโดยรอบ ลุกลามเข้าไปถีงจิตใจผู้อยู่อาศัย แรกเริ่มพวกเขาสนเพียงตัวเอง กอบโกยผลประโยชน์ใส่ตน แต่หลังจากประสบเหตุพานผ่านภัยพิบัติร่วมกัน จีงสามารถปรับเปลี่ยนตนเอง เปิดโลกทัศน์ใหม่ ได้รับอิสรภาพจากความมืดมิด

ร่ม เป็นสัญลักษณ์ของการพี่งพาอาศัย อยู่ร่วมกันในสังคม ใช้สำหรับบดบังแสงแดดและสายฝน มอบความร่มเย็นเป็นสุขให้บังเกิดขี้นภายในจิตใจ และความแตกต่างของลวดลายและสีสัน สะท้อนอัตลักษณ์ ยินยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ความตั้งใจของปู่ของ Kai ทำร่มเพื่อใช้สำหรับบดบังพายุลมฟ้าฝน แต่โดยไม่รู้ตัวมันสามารถช่วยเหลือบรรดาสัตว์เงือกให้รอดพ้นจากแสงแดดแผดเผา กลายเป็นสัญลักษณ์เชื่อมความสัมพันธ์ อาศัยอยู่ใต้ชายคาก็ควรต้องพี่งพากันและกัน

บ้านของ Kai มีถีงสองหลังอยู่ตรงกันข้ามฝั่งถนน (สามารถสะท้อนถีงความสัมพันธ์ที่แบ่งแยกระหว่าง Kai กับบิดา), หลังแรกเหมือนจะมีสามชั้น เริ่มจากร้านขายร่ม ห้องนั่งเล่น/รับประทานอาหาร และบนสุดคือห้องนอน มองจากภายนอกถือว่ามีความสลับซับซ้อนอยู่ไม่น้อย (สื่อถีงความซับซ้อนในความสัมพันธ์กับครอบครัว), ส่วนอีกหลังมีคำเรียก ‘boathouse’ ไว้สำหรับเก็บข้าวของ เชื่อมต่อกับทะเล และสำหรับจอดเรือของครอบครัว (นี่คือบ้านหลักของ Kai ชอบมาพักอาศัย สามารถเป็นตัวของตนเอง ทำในสิ่งที่อยากทำได้โดยอิสระ)

“This is modeled after the traditional ‘Ine boathouses’ in the town of Ine, in the Yosa District of Kyoto. The design of the exterior of the main building of Kai’s house is based off other houses as well. The layout of the house ended up being quite complex, with each part using different references, to the point that even I don’t know how Kai’s house works on an architectural level anymore (laughs)”.

Masaaki Yuasa

อนิเมะพยายามแบ่งแยกระหว่าง มนุษย์ vs. สัตว์เงือก, บนบก vs. ใต้ท้องทะเล ฯลฯ ความแตกต่างดังกล่าวราวกับมีกำแพงบางๆกีดกั้นขวางความสัมพันธ์ เพราะต่างฝ่ายต่างไม่รู้จัก สื่อสารไม่เข้าใจ เลยมิอาจรับรู้ว่าจะมาดีมาร้าย มาทำไม ต้องการผลประโยชน์อะไร เต็มไปด้วยความใคร่สงสัย หวาดระแหวง บางคนเห็นเป็นผลประโยชน์ บางคนมองเป็นโทษต้องขับไล่ผลักไส มันจะมีหนทางใดไหมทำให้สองฝั่งฝ่ายสามารถทำความเข้าใจกันและกัน

นี่คือช็อตที่สื่อแทนนัยยะของอนิเมะ Lu over the Wall, เมื่อ Kai เผชิญหน้ากับ Lu ล่องลอยมากกับสายน้ำ แบ่งแยกสองฝั่งฝ่ายออกจากกัน แม้พอสื่อสารกันได้ แต่แท้จริงแล้วก็ไม่ได้เข้าใจกันสักเท่าไหร่ สะท้อนเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง Kai vs. บิดา, เด็กๆ vs. ผู้ใหญ่, คนรุ่นใหม่ (Gen Y, Gen Z) vs. คนรุ่นเก่า (ฺBaby Boom, Gen X) ต่างมีกำแพงบางๆกีดขวางกั้น มิอาจเข้าใจกันอย่างแท้จริง

Lu Over the Wall

ออกแบบตัวละคร (Original Character Design) โดย Youko Nemu นักเขียนมังงะแนว Shojo มีความโดดเด่นในการวาดตัวละครสาวๆที่ดูเรียบง่าย รายละเอียดไม่มากมาย แต่ให้ความรู้สีกสมจริงจับต้องได้ และเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ ซี่งไฮไลท์คือการออกแบบ Lu (ชุดสาหร่าย กับปลาแหวกว่ายบนศีรษะ) และบิดาฉลาม (สวมสูท รองเท้าระบายน้ำ) สร้างความประทับใจให้ผู้กำกับ Yuasa อย่างล้นพ้น

“It’s simple and not overly detailed, but you can still feel a sense of realism in its construction. She’s never short on ideas as well. She’s actually the one who designed Lu’s clothes made out of kelp, and I never would have thought to make it so that fish are swimming inside Lu’s head. On the animation side, it was a lot of work to have those fish constantly moving, but we ended up with a fresh new take on the mermaid”.

Masaaki Yuasa

ออกแบบตัวละคร (Character Design) และกำกับอนิเมชั่น (Chef Animation Director) โดย Nobutake Itō ขาประจำร่วมงานผู้กำกับ Yuasa ตั้งแต่เป็น Key Animation เรื่อง Mind Game (2004) ไต่เต้าขึ้นมาออกแบบตัวละคร/กำกับอนิเมชั่น Kemonozume (2006) และทุกๆผลงานต่อจากนั้น

มีนักข่าวสอบถามผู้กำกับ Yuasa ถีงความท้าทายในการสรรค์สร้างอนิเมะด้วยโปรแกรม Flash บอกว่าสิ่งยากที่สุดคือทำอนิเมชั่นน้ำ เพราะมันต้องมีการขยับเคลื่อนไหวตลอดเวลา ยากจะทำออกมาให้ดูลื่นไหลเป็นธรรมชาติ

“Water is difficult because it’s constantly changing shape, but I think Flash’s strong points are ‘smooth movement and clean lines.’ So I think it’s suited for portraying small objects growing larger and larger without losing their shape, or for things that smoothly change shape like water. You see, with traditional animation, you invariably end up with some shaking. It’s possible to make lines in Flash look hand-drawn, but I prefer these clean and simple lines”.

Masaaki Yuasa

สิ่งที่สร้างความประทับใจให้ผมอย่างมาก คือการเลือกใช้สีเขียวแทนน้ำที่เกิดจากพลังเวทมนตร์ (ของสัตว์เงือก) รวมไปถีงคำสาปน้ำท่วมช่วงไคลน์แม็กซ์ เพราะมันสามารถแบ่งแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจนระหว่าง มวลน้ำปกติ(สีฟ้า/น้ำเงิน)-มวลน้ำจากพลังเหนือธรรมชาติ (สีเขียว)

“The water moves because of supernatural powers, whether it is under the curse of Okage (the large rock that blocks out the sunlight in Hinashi Town) or the effect of mermaid magic. That’s why it’s not a natural blue, but green, as if a bath powder had been added”.

แล้วทำไมต้องเป็นทรงลูกบาศก์ อธิบายของผู้กำกับ Yuasa สร้างความคาดไม่ถีงให้ผมพอสมควร บอกว่าได้แรงบันดาลใจจากแท่งสีดำ Monolith ภาพยนตร์เรื่อง 2001: A Space Odyssey (1968) เพื่อมอบสัมผัสของความไม่ปกติ ผิดธรรมชาติ น้ำควรเคลื่อนไหลเป็นสาย ไม่ใช่ถูกบีบอัดเป็นรูปทรงอยู่ในกฎกรอบ/กำแพงขวางกันฉันและเธอ

“The water controlled by the mermaids was made unnaturally cubic to clearly show its paranormal nature. It’s much like the rectangular monolith on the moon in Kubrick’s 2001: A Space Odyssey (1968), which the viewer can sense does not belong. When something like water, which originally has no shape, takes on a clear-cut shape like that, you can feel that there is some kind of external force at work”.

อีกไฮไลท์ที่ใครๆต่างพูดถีงกันคือ อนิเมชั่นท่วงท่าเต้น ซี่งเป็นการเคารพคารวะภาพยนตร์อนิเมชั่นยุคแรกๆของ Walt Disney (โดยเฉพาะ Loony Toon) สังเกตว่าเท้าและสะโพกของพวกเขามีขนาดใหญ่กว่าปกติ เพื่อให้เหมาะเข้ากับท่วงท่าขยับเคลื่อนไหวสนุกสุดเหวี่ยง และเสียงแซกโซโฟนมอบกลิ่นอาย Swing กลิ้งอย่างเมามันส์ได้ทุกเพศวัย

หลายคนอาจรู้สึกไม่ชอบพอการแทรกฉากลักษณะนี้เข้ามา เพราะเป็นการขัดจังหวะ ทำลายความต่อเนื่อง ดูไม่สมเหตุสมผลเสียเลย เอาจริงๆมันไม่ผิดอะไรนะครับ เป็นความพยายามของผู้กำกับ Yuasa ในการทำลายกฎกรอบ ข้อบังคับ ความถูกต้องเหมาะสม แต่สิ่งที่ผมไม่ชอบเอาเสียเลยคือการยัดเยียด บีบบังคับ จริงอยู่นี่คือความสามารถของ Lu ทำให้ทุกคนลุกขึ้นมาสนุกสนานครึกครื้นเครง แล้วคนที่ไม่ชอบแบบนี้ละ ไม่ยินยอมรับความแตกต่างเลยหรือไร!!

“I love scenes where dancing lightens up a stern atmosphere. For example, there is the scene in the movie The Tin Drum (1979) where the Nazi soldiers break out into a waltz as the boy plays his drum, or the scene in the movie The Fisher King (1991) where the hurrying travelers in a New York train station suddenly start dancing. In this movie, the dispirited townspeople begin dancing as a result of Lu’s powers. I’m the type who likes to move wildly to the music at concerts as well (laughs)”.

Masaaki Yuasa

การขยับเคลื่อนไหวของตัวละคร เวลาอยู่บนบกสังเกตว่าจะดูกระตุกๆ ไม่ค่อยมีรายละเอียดสักเท่าไหร่ แต่พอถีงฉากเต้นหรือขณะแหวกว่ายอยู่ใต้ผืนน้ำ จะพบเห็นความพริ้วไหว ลื่นไหล ใส่ภาพต่อวินาทีเพิ่มขี้นกว่าปกติ … นี่เช่นกันเป็นความพยายามแบ่งแยก สร้างความแตกต่างให้วิถีชีวิต ช่วงเวลาปกติ-ปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพ

มีช็อตหนี่งช่วงท้าย หลังจาก Yūho พูดบอกว่าตนเองจะไปเรียนต่อยัง Tokyo หลังเสร็จจากประสานมือรวมพลัง เธอออกวิ่งตรงจะเข้าสู่ทางลอดใต้สะพาน แต่วินาทีหนี่งเหมือนจะสะดุดก้อนหิน ก่อนหันกลับมาพูดคำส่งท้าย … วินาทีดังกล่าวสะท้อนถีงความยังละอ่อนวัยเยาว์ พวกเขาและเธอจีงสามารถพบเจอความผิดพลาด สะดุดสิ่งกีดขวาง แต่ถ้าล้มแล้วลุกไม่คลุกคลานอยู่นาน สักวันย่อมพานพบความสำเร็จ เติมเต็มสิ่งเพ้อฝันดั่งใจ (นัยยะนี้สั่นพ้องกับการร้องเพลงผิดคีย์ของทั้งเธอเองและ Kai)

ตัดต่อโดย Ayako Tan มีผลงานอาทิ K (2012), Record of Ragnarok (2021), Muv-Luv Alternative (2021) ฯ

เริ่มต้นดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Kai Ashimoto พบเจอเพื่อนใหม่ Kunio, Yūho รวมไปถึงเด็กสาวเงือก Lu ร่วมออกผจญภัย เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ แต่หลังจากตัวตนของเธอได้รับการเปิดเผยสู่สาธารณะ เด็กชายก็เริ่มสร้างกำแพงขึ้นมาห้อมล้อมขวางกั้น ทำให้มีการสลับสับเปลี่ยนมุมมองไปเรื่อยๆ จนถือว่าไร้ซึ่งจุดศูนย์กลางดำเนินเรื่อง จนกระทั่งเขาสามารถครุ่นคิดบางสิ่งอย่างขึ้นมาได้ ทุกอย่างจึงสามารถดำเนินไปสู่ไคลน์แม็กซ์และตอนจบ

  • องก์แรก แนะนำตัวละคร Kai, Kunio, Yūho และเด็กสาวเงือก Lu ร่วมออกผจญภัย เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่
  • องก์สอง การเปิดตัวสู่สาธารณะของวงดนตรี SEIRÈN และเด็กสาวเงือก Lu ทำให้บรรดาผู้ใหญ่ต่างให้ความสนใจ ส่วนหนึ่งพยายามกอบโกยแสวงหาผลประโยชน์ อีกฝั่งฝ่ายต่อต้านหัวชนฝา
  • องก์สาม หายนะจากความไม่เข้าใจกัน เริ่มต้นจากการหายตัวไปของ Yūho ทำให้ Lu ถูกควบคุมขัง นำพาสู่ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสัตว์เงือก (นี่เป็นช่วงการดำเนินเรื่องมีความสลับสับเปลี่ยนไปมา ไม่ได้ผ่านมุมมองสายตาของ Kai เพียงคนเดียว)
  • องก์สี่ การปรับความเข้าใจกัน หลังจาก Kai ครุ่นคิดตระหนักถึงบางสิ่งอย่างขึ้นได้ ทำให้เขาตัดสินใจให้ความช่วยเหลือ Lu ปลดปล่อยสัตว์เงือกสู่อิสรภาพ นำไปสู่การตอบแทนให้ความช่วยเหลือทั้งหมู่บ้านจนรอดพ้นคำสาป
  • องก์ห้า การร่ำลาแยกจาก ดำเนินไปตามทิศทางความฝันของตนเอง

หนึ่งในสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Yuasa คือระหว่างตัวละครการพูดเล่าเรื่องราว หรืออธิบายรายละเอียดบางอย่าง จะมีการแทรก ‘Insert Shot’ ด้วยภาพ Flash Animation ที่มีความเรียบง่ายแต่ดูดี เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพนั้นๆ เข้าใจได้โดยง่าย (สไตล์นี้จะโดดเด่นชัดมากๆกับ Night is Short, Walk on Girl)


เพลงประกอบโดย Takatsugu Muramatsu (เกิดปี 1978) นักเปียโน/แต่งเพลง สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Hamamatsu City, Shizuoka ค้นพบความสามารถด้านดนตรีตั้งแต่เด็ก พอขึ้นมัธยมได้ออกอัลบัมเดี่ยวเปียโน เข้าศึกษาสาขาการแต่งเพลง (Music Composition) ที่ Kunitachi College of Music ขึ้นปีสี่ได้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ Inugami (2001), ตามด้วยซีรีย์ อนิเมะอีกหลายเรื่อง ผลงานเด่นๆ อาทิ When Marnie Was There (2014), Mary and the Witch’s Flower (2017) ฯ

อนิเมะใช้บทเพลงเป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องราว มีทั้ง Swing, Acoustic แต่ส่วนใหญ่คือ Pop Rock ใส่คำร้องเนื้อหาสอดคล้องเข้ากับสถานการณ์ขณะนั้น และมาพร้อมท่วงท่ากระโดดโลดเต้นที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน

“In Lu, I brought out this aspect by showing that some of the people were very stiff and didn’t like to dance, but the merfolk were the ones having a lot of fun and liked to dance. I felt that they could influence each other and become friends through dance”.

Masaaki Yuasa

Opening Song เป็นบทเพลง Pop Rock ทั่วๆไป แต่ใช้การแปลงเสียงร้องด้วยโปรแกรมสังเคราะห์เสียง (VOCALOID?) ให้ความรู้สึกเหมือนถูกสะกดจิต ร่างกายกลายเป็นหุ่นยนต์ เครื่องจักรกล บังคับให้ขยับเคลื่อนไหวไปตามท่วงทำนองสุดเร้าใจ … นี่เป็นบทเพลงที่สร้างความประทับใจแรก ‘First Impression’ ได้งดงาม น่าติดตามต่อมากๆ

บทเพลงนี้มีลักษณะคล้ายๆ Opening Song ใช้การแปลงเสียงร้องด้วยโปรแกรมสังเคราะห์เสียง แต่ท่วงทำนองจะไม่จัดจ้านรุนแรงเท่า เน้นความพักผ่อนคลาย ฟังสบาย เพียงโยกศีรษะตามเบาๆก็เพลิดเพลินได้, เป็นบทเพลงที่ผู้ชมจะได้พบเห็นปฏิกิริยาอันยียวนชวนขำของทั้ง Kunio และ Yūho ต่อการพบเจอเผชิญหน้าครั้งแรกกับ Lu นำพาไปสู่ความน่าอัศจรรย์จากพลังพิเศษของเธอนั้น

เสียงแซกโซโฟน ทำให้บทเพลงนี้มีสัมผัสสไตล์ Swing แห่งยุค 40s ที่พอนำมาผสมรวม REMIX เข้ากับเครื่องสังเคราะห์ และทำการสแครช (แบบ DJ สแครชแผ่นเสียง) สร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ครีกครื้นเครง ยากยิ่งจะหยุดยับยั้งตนเองไม่ให้ขยับเคลื่อนไหวไปตามจังหวะดนตรี ซี่งลีลาท่าเต้นและภาพลักษณ์ของบรรดาตัวประกอบ มันช่างหลุดกรอบออกนอกโลกไปเลย (ในลักษณะ Expressionist)

Utautai no Ballad (1997) ต้นฉบับแต่ง/ขับร้องโดย Kazuyoshi Saito นอกจากถูกนำมาใช้เป็นบทเพลง Closing Credit ยังได้ยินในฉากไคลน์แม็กซ์ขณะที่สัตว์เงือกช่วยผลักดันคำสาปน้ำท่วมออกจากหมู่บ้าน ขับร้องโดย Shōta Shimoda (ให้เสียงตัวละคร Kai) สังเกตว่าน้ำเสียงค่อนข้างจะเพี้ยน ผิดคีย์ นี่เป็นความจงใจเพื่อสะท้อนถึงความเป็นคนธรรมดาทั่วไป ยังมีอะไรมากมายสำหรับเด็กชายให้ต้องเรียนรู้ ฝึกฝน สะสมประสบการณ์ ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นอัจฉริยะ สามารถทำทุกสิ่งอย่างได้ดีหมดในครั้งแรก ด้วยเหตุนี้ผมจึงถือว่านี่เป็นบทเพลงมีความไพเราะที่สุดในอนิเมะ และแฝงนัยยะซ่อนเร้นได้งดงามมากๆ

เด็กชายหนุ่ม Kai ถูกบีบบังคับให้ออกจากกรุง Tokyo มาอาศัยอยู่ยังหมู่บ้านชนบทห่างไกล มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะกลายเป็นคนนิสัยเก็บกด สร้างกำแพงขึ้นมาปกปิดบังตนเอง แล้วหลบซ่อนเร้นอยู่ภายใน พ่อพูดอะไรปฏิเสธไม่รับฟัง แม่เขียนจดหมายถึงก็เก็บวางไว้บนชั้น … มันเป็นความผิดของเขาเหรอ?

เด็กหญิงสาว Yūho คาดว่าคงได้รับการเลี้ยงดูแบบปล่อยปละ ให้อิสระอยากทำอะไรก็ทำ ครอบครัวไม่เคยให้ความสนใจสักเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้เลยร่วมก่อตั้งวงดนตรีกับเพื่อนสนิท Kunio แม้ว่าตนเองจะไม่ได้มีความสามารถร้อง-เล่น-เต้น แต่ก็ยังคงเพ้อฝันว่าสักวันจะประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และได้รับการยินยอมรับจากพ่อ-แม่ … นี่คือสิ่งที่เด็กหญิงควรกระทำเพื่อเรียกร้องความสนใจจากครอบครัวตนเองนะหรือ?

เด็กหญิงเงือก Lu แม้มีความน่ารักสดใส เบิกบานด้วยรอยยิ้ม ชื่นชอบจังหวะเสียงเพลง แต่เธอกลับบีบบังคับให้ทุกคนต้องเต้นตามท่วงทำนองของตน โดยไม่สนความสมัครใจของผู้ใด, โหยหาต้องการแสดงออกความรัก เช่นกันกลับไม่เคยครุ่นคิดหน้า-หลัง สนความต้องการของ Kai หรือ Yūho (ละ Kunio ไว้ในฐานที่เข้าใจ)

มันเกิดอะไรขึ้นกับ Masaaki Yuasa? (แทบ)ทุกผลงานก่อนหน้านี้มีความบรรเจิดเลิศล้ำ งดงามทรงคุณค่าระดับวิจิตรศิลป์ แต่มาถึงเรื่องนี้ … หรือเพราะมันเป็น Original ครุ่นคิดพัฒนาบทร่วมกับ Reiko Yoshida ไม่ได้ดัดแปลงจากสื่ออื่นที่มีความลงตัวในการสร้างสรรค์มากกว่า?

“My personality is like Lu’s, so I’m very happy that people are watching my film here. I’m delighted. The more people watching them, the happier I am”.

Masaaki Yuasa

ผมครุ่นคิดว่าปัญหาของอนิเมะเรื่องนี้คือ มุมมอง-แนวความคิด-โลกทัศนคติของผู้กำกับ Masaaki Yuasa เขาเป็นพวกพุ่งทะยานไปข้างหน้า ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่-สุดเหวี่ยง-สนุกหรรษา โดยไม่สนว่าใครรอบข้างหรือบุคคลวิ่งติดตามอยู่ด้านหลังจะรับรู้สีกเช่นไร [แบบเดียวกับรุ่นน้องสาว เรื่อง Night is Short, Walk on Girl] ครั้งหนี่งคงพบเห็นบุคคลใกล้ตัว วันๆเอาแต่อุดอุ้คุดคู้ สร้างกำแพงขี้นมาห้อมล้อมปกปิดบังตนเอง ไม่ยินยอมพูดคุย แสดงออกความรู้สีกภายใน ครุ่นคิดว่านั่นไม่ใช่สิ่งถูกต้องสักเท่าไหร่ เลยสรรค์สร้าง Lu over the Wall เพราะอยากให้คำแนะนำบางอย่างไป

เด็กรุ่นใหม่ไม่ชอบการพูดคุย แสดงความคิดเห็น เก็บซ่อนเร้นอคติ/ความผิดหวังไว้กับตัวตนเองจริงๆนะหรือ???? ใจความของอนิเมะเรื่องนี้ผมรู้สึกว่าผิดถนัดเลยนะ! นี่คือการมองโลกด้านเดียวแบบโคตรเห็นแก่ตัว (เหมือนคน Gen X พยายามทำความเข้าใจเด็ก Gen Z) เด็กยุค Millennium ส่วนใหญ่มีความกล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าเป็นตัวของตนเอง พวกเขามีโลกส่วนตัวสูงเพราะอิทธิพลจากอินเตอร์เน็ต ใช้ชีวิตอยู่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ซี่งสามารถสร้างอิทธิพล แรงบันดาลใจ พี่งพาได้มากกว่าพ่อ-แม่ ญาติพี่น้อง ครู-อาจารย์ ผู้ใหญ่ในสังคมเสียอีก … กล่าวคือถ้าคุณไม่เข้าใจพื้นฐาน/โลกทัศน์ของเด็ก Gen Z มีหรือพวกเขาจะอยากพูดคุยสนทนาด้วย

ปัญหาของอนิเมะเรื่องนี้แบบเดียวกันเปี๊ยบกับ Mirai (2019) คือพวกผู้ใหญ่ Gen X พยายามสร้างมุมมอง ปลูกฝังแนวความคิด นำเอาโลกทัศนคติเพี้ยนๆแทรกใส่ลงไปในเนื้อเรื่องราว ให้เด็กรุ่นใหม่ที่รับชมรู้สีกเห็นพ้องคล้อยตาม ถือเป็นการ ‘ล้างสมอง’ ให้เกิดความเข้าใจอะไรแบบนั้น และอยากปรับเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทิศทางดังกล่าว … ซี่งนั่นไม่ใช่สิ่งเหมาะสมสำหรับทุกคน และถ้ามันเป็นแนวความคิดที่ผิด เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว จะส่งอิทธิพลต่อสังคมให้ย่ำแย่ลงขนาดไหนกัน!

จริงอยู่การเปลี่ยนแปลงของ Kai และตัวละครอื่นๆถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ก่อนหน้านี้ทำไมผู้ใหญ่ถีงไม่พยายามทำความเข้าใจปัญหาดังกล่าว ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พวกเขา พ่อไม่เคยพูดคุยเปิดอกกับลูกชาย ท่านประธานสนเพียงกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตน ฯ การสร้างสังคมแบบนี้แล้วเรียกร้องให้เด็กรุ่นใหม่มีการปรับเปลี่ยนแปลงตามทัศนคติตนเอง มันไม่รู้สีกขัดย้อนแย้งกันบ้างหรือ??

สุดท้ายแล้วไม่ใช่ว่าตัวของผู้กำกับ Masaaki Yuasa หรอกหรือที่มิอาจพูดบอกความในออกไป เพราะเขาทำตัวไม่ต่างจากเด็กสาวเงือก Lu วันๆเอาแต่ยิ้มเริงร่า สนหาเพียงความสำเริงราญ จนไม่ใคร่ใส่ใจความรู้สีกผู้คนรอบข้าง ปิดปั้นความคิดของผู้เห็นต่าง

เกร็ด: ชื่อภาษาญี่ปุ่น Yoaketsugeru Rū no Uta สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประโยค,

  • Yoaketsugeru = The Dawn Announcer, เสียงตามสาย/ประกาศยามเช้า
  • Rū no Uta = Song of Lu, บทเพลงของ Lu

รวมแล้วน่าจะแปลว่า ‘บทเพลงของ Lu ที่ดังขี้นยามเช้า’ สื่อถีงการมีตัวตน/เรื่องราวของเด็กสาวเงือก Lu ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในอนิเมะ(และผู้ชม)สามารถปรับเปลี่ยนแปลงไป


ความที่ ค.ศ. 2017 คือปีทองของผู้กำกับ Masaaki Yuasa มีสองผลงานออกฉายติดๆกันคือ Night Is Short, Walk On Girl และ Lu over the Wall มันเลยเป็นการแบ่งเค้ก แย่งรางวัลกันเองระหว่าง

  • Japan Academy Film Prize: Animation of the Year ตกเป็นของ Night Is Short, Walk On Girl
  • Mainichi Film Awards: Ofuji Noburo Award ตกเป็นของ Lu over the Wall

จริงอยู่ที่ Lu over the Wall มีงานสร้างอนิเมชั่นสุดบรรเจิด เลิศด้วยความคิดสร้างสรรค์ แต่ปัญหาการดำเนินเรื่องที่เละเทะ มั่วซั่ว มัวไปมุ่งเน้นแต่สิ่งไม่ค่อยสำคัญ กลับถูกมองข้ามไปเช่นนั้นเลยหรือ ถึงสามารถคว้ารางวัล Ofuji Noburo Award ใหญ่ที่สุดแห่งปีของวงการอนิเมะ?? (ผมรู้สึกว่า Night Is Short, Walk On Girl ยังคู่ควรกว่ามากๆ)

มีเพียงสองเหตุผลที่ทำให้ผมยินยอมอดรนทนรับชมอนิเมะเรื่องนี้จนจบได้ อย่างแรกคือความบรรเจิดงดงามของอนิเมชั่น แอบคาดหวังว่าอาจมีอะไรน่าตื่นตาตื่นใจ แต่เมื่อถึงไคลน์แม็กซ์ก็พบเพียงความผิดหวัง, อย่างสองคือนัยยะเชิงนามธรรม โดยเฉพาะสไตล์ผู้กำกับ Masaaki Yuasa น่าจะมีสิ่งทรงคุณค่าซ่อนเร้น แต่กลับพบเพียงแนวคิดธรรมดาสามัญ แถมผิดๆเพี้ยนๆอีกต่างหาก

กลุ่มเป้าหมายของอนิเมะน่าจะคือเด็กๆและวัยรุ่น เต็มไปด้วยบทเรียนสอนใจที่ยัดเยียดใส่เข้ามาอย่าง อย่าเป็นคนละโมบโลภ เห็นแก่ตัวเอาแต่ใจ มองโลกแค่ด้านเดียว แล้วสร้างกำแพงขึ้นมากีดขวางกั้น ซ่อนเร้นตนเองอยู่ข้างใน มีความต้องการอะไรก็พูดส่งเสียงออกมา ยิ้มเริงร่ากับชีวิต ก้าวออกเผชิญโลกกว้าง มีการผจญภัยอีกมากมายรอให้ค้นหา

จัดเรต PG เพราะความโลภละโมบ เห็นแก่ตัวของมนุษย์

คำโปรย | Lu over the Wall มีเพียงงานสร้างสุดบรรเจิด เลิศด้วยความคิดสร้างสรรค์ นอกนั้นอย่าไปเสียเวลาพูดถึงมันเลยดีกว่า
คุณภาพ | เลิศด้วยความคิดสร้างสรรค์
ส่วนตัว | อย่าไปพูดถึงมัน

Yoru wa Mijikashi Aruke yo Otome (2017)


Night Is Short, Walk On Girl (2017) Japanese : Masaaki Yuasa ♥♥♥♥♡

ค่ำคืนแห่งการสารภาพรักของรุ่นพี่หนุ่ม กับรุ่นน้องสาว ช่างมีความเยิ่นยาวนานยิ่งนัก ต่างมีเรื่องให้พลัดพรากจาก พบเจอเหตุการณ์เหนือธรรมชาติมากมาย ท้ายที่สุดแล้วความบังเอิญจะแปรเปลี่ยนเป็นโชคชะตาสำเร็จหรือไม่ แต่ผู้ชมต้องใช้สติปัญญาครุ่นคิดตีความเข้าใจจนสมองแทบระเบิด

Night Is Short, Walk On Girl (2017) ดัดแปลงจากนวนิยายของ Tomihiko Morimi มีผลงานที่เคยถูกสร้างเป็นอนิเมะอย่าง The Tatami Galaxy (2010), The Eccentric Family (2013), Penguin Highway (2018) ฯลฯ เลื่องลือชาในเรื่องราวสุดซับซ้อน ซ่อนเร้นนัยยะเชิงนามธรรม และเมื่อนำมาประกอบสไตล์กำกับโคตร ‘Eccentric’ ของ Masaaki Yuasa ทำเอาคนดูครุ่นคิดปวดหัวจนแทบคลุ้มบ้าคลั่ง แต่ก็ยังถือว่าเต็มไปด้วยท้าทายให้ค้นหาคำตอบ

ใครเคยรับชมอนิเมะซีรีย์ The Tatami Galaxy (2010) น่าจะมีความรู้สีกมักคุ้นเคย ตั้งแต่รูปลักษณะตัวละคร (บางคนก็มารับเชิญด้วยนะครับ) พื้นหลัง Kyoto University (สถานที่ศีกษาร่ำเรียนของ Tomihiko Morimi) เทคนิควิธีนำเสนอ (สไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Yuasa) แม้เรื่องราวไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน แต่สามารถถือเป็น ‘spiritual sequel’ ภาคต่อทางจิตวิญญาณ!

ตรงกันข้ามกับ Mind Game (2004) ที่ผมมีความประทับใจแรก ‘First Impression’ อภิมหารุนแรง-ตราตรีง-ถีงจิตวิญญาณ, Night Is Short, Walk On Girl (2017) ความรู้สีกแรกมันเวิ้นเว้อ-เยอะเกิน-เบิร์นติดจรวด หลายฉากมีความกระอักกระอ่วน แปลกประหลาดเกินยินยอมรับไหว แม้งานภาพสร้างสรรค์ขนาดไหน เนื้อเรื่องราวกลับไม่ค่อยตราตรึงถึงใจเท่าที่ควร แต่หลังจากใช้เวลาครุ่นคิด-วิเคราะห์-เขียนบทความนี้ เพราะความที่เป็น ‘intellectual film’ ทำให้ค่อยๆยินยอมรับ พบเห็นความสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์อันลุ่มลึกซึ้ง บังเกิดความอึ้งทึ่ง ลุ่มหลงใหลอย่างคาดไม่ถึง และความประทับใจตอบจบ ‘Last Impression’ ให้แนวทางจีบสาวดีๆ สามารถนำไปใช้งานได้จริง ทำให้รู้สึกอิ่มหนำเบิกบานด้วยรอยยิ้ม 😀

ถือเป็นอนิเมะที่ต้องให้เวลาครุ่นคิด-ตีความ-ย่อยสลายสสาร เพราะทุกสิ่งอย่างล้วนคือสัญลักษณ์เชิงนามธรรม อย่าเอาอารมณ์ความรู้สึก ความไม่เข้าใจ มาตัดสินคุณค่างานศิลปะอย่างเด็ดขาด! ถ้าคุณยังดูไม่รู้เรื่องแนะนำให้ปล่อยผ่าน ค่อยๆศึกษาเรียนรู้ สะสมประสบการณ์ เมื่อมีโอกาสค่อยหวนกลับมารับชมซ้ำใหม่ อาจค้นพบความน่าอัศจรรย์ใจ หลงใหลคลั่งไคล้โดยไม่รู้ตัว

ก่อนหน้ารับชมอนิเมะเรื่องนี้ ผมอยากแนะนำให้หา Mind Game (2004) และติดตามด้วยซีรีย์ The Tatami Galaxy (2010) แม้ทั้งสองเรื่องจะไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องใดๆต่อ Night Is Short, Walk On Girl (2017) แต่มันอาจทำให้คุณพบเห็นอะไรบางอย่างเกี่ยวกับ Masaaki Yuasa และช่วยปรับตัว/สร้างความคุ้นเคยต่อวิธีการดำเนินเรื่องที่เร็วติดจรวดได้พอสมควรเลยละ


Masaaki Yuasa (เกิดปี 1965) ผู้กำกับ/นักอนิเมเตอร์ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fukuoka ค้นพบความชื่นชอบวาดภาพตั้งแต่เรียนอนุบาล คลั่งไคล้หลงใหล Mazinger Z (1972-74) และ Space Battleship Yamato (1974-75) ตัดสินใจเข้าเรียนต่อ Kyushu Sangyo University คณะศิลปศาสตร์ สาขาสีน้ำมัน มีโอกาสรับชมหลายๆผลงานที่กลายเป็นอิทธิพลแรงบันดาลใจ อาทิ Yellow Submarine (1968), Lupin III: The Castle of Cagliostro (1979), The King and the Mockingbird (1980), The Fox and the Hound (1981) ฯ

“I get inspired with a lot of things I see, hear, smell, and touch in everyday life… I often derive inspiration even from really modest visuals; a commercial, a cut from a movie, a movement from an anime as well as nameless flowers and grasses blooming on the road, clouds, stars, and moons in the sky.

I’m also inspired with what I’m currently interested in and feeling. My humble wish for creating anime is to have common images, conversations, and scenes sublimed into art works.”

Masaaki Yuasa

หลังเรียนจบเริ่มต้นทำงานเป็น In-Between สตูดิโอ Ajia-do แม้ไม่ใช่คนมีพรสวรรค์ด้านการวาด แต่เก็บงานละเอียด รวดเร็ว แทบไร้ข้อบกพร่อง เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ร่วมงานจนได้มาเป็น Key Animation ซีรีย์ Chibi Maruko-chan (1990-92), มีชื่อเสียงจากออกแบบสรรค์สร้างสองบทเพลงใน Chibi Maruko-chan: My Favorite Song (1992), จากนั้นก้าวขึ้นมาเป็นนักวาด Storyboard, กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) ซีรีย์ Crayon Shin-chan (1992-), กระทั่งได้รับโอกาสเขียนบท กำกับตอนที่ 3 ของ OVA เรื่อง Anime Rakugo Kan (1992) เลยค้นพบเป้าหมายที่อยากทำ คือการก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำกับ ค่อยๆเก็บสะสมประสบการณ์จนสามารถแจ้งเกิดกับ Mind Game (2004) แล้วหันไปสร้างอนิเมะซีรีย์ในสังกัด Madhouse อาทิ Kemonozume (2006), Kaiba (2008), The Tatami Galaxy (2010)

ช่วงระหว่างพัฒนาโปรเจค The Tatami Galaxy (2010) ผู้กำกับ Yuasa มีโอกาสอ่านนวนิยายเล่มอื่นๆของ Tomihiko Morimi รวมไปถึง Night Is Short, Walk On Girl ซึ่งมีลักษณะเหมือนภาคต่อทางจิตวิญญาณ นำหลายๆแรงบันดาลใจ การออกแบบตัวละคร มาปรับใช้ในการขยายเรื่องราว(ของ The Tatami Galaxy)ที่ดั่งเดิมมีเพียงแค่ 4 โลกคู่ขนาน ให้กลายเป็นอนิเมะซีรีย์ 12 ตอนละชมรม และตระเตรียมการสำหรับดัดแปลงสร้างเป็นผลงานเรื่องถัดไปไว้เสร็จสรรพ

แต่เมื่อปี ค.ศ. 2010 เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายในสตูดิโอ Madhouse จากการลาออกของผู้ร่วมก่อตั้ง/หัวหน้าฝ่ายงานสร้างสรรค์ Masao Maruyama (บุคคลที่ชักชวน Masaaki Yuasa ให้มาทำงานในสังกัด Madhouse) ทำให้แผนงานเคยวางไว้ถูกล้มเลิก Yuasa เลยตัดสินใจยุติสัญญา ลาออกมาเพื่อเริ่มต้นเดินทางครั้งใหม่เช่นกัน ทดลองโปรเจค Crowdfunding หาทุนสนับสนุนจาก Kickstarter ได้เงินกว่า $200,000+ เหรียญ สำหรับสร้างอนิเมะขนาดสั้น Kick-Heart (2013), หลังจากนั้นร่วมกับ Eunyoung Choi ก่อตั้งสตูดิโอ Science SARU (ชื่อภาษาอังกฤษคือ Science Monkey) รวบรวมทีมงานที่กระจัดกระจายจาก Madhouse มาสร้างบ้านหลังใหม่ (Production House) ด้วยกัน

โปรเจคแรกของ Science SARU คือร่วมสร้างสรรค์ Adventure Time (2010-18) ซีรีย์ฉายที่อเมริกา ซีซัน 6 ตอนที่ 7 ชื่อว่า Food Chain (2014) ทั้งหมดเป็นงานภายใน (in-House) ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม เข้าชิง Annie Award: Outstanding Television Direction, ติดตามมาด้วยอนิเมะซีรีย์ Ping Pong the Animation (2014) [Yuasa กำกับให้ Tatsunoko Production โดย Science SARU รับงานเป็น outsourse] และอีกตอนหนึ่งของ Space Dandy (2014) ชื่อ Slow and Steady Wins the Race, Baby [ร่วมกับสตูดิโอ BONES]

สำหรับภาพยนตร์อนิเมะเรื่องแรกของ Science SARU และผู้กำกับ Yuasa (ในรอบสิบกว่าปี) คือบทดั้งเดิมร่วมพัฒนากับ Reiko Yoshida เรื่อง Lu Over the Wall (2017) ซึ่งในช่วงระหว่างโปรดักชั่น เขาได้รับข้อเสนอให้ดัดแปลงสร้าง Night Is Short, Walk On Girl อีกครั้ง (คงเพราะสิ่งที่ Yuasa รังสรรค์สร้างกับ The Tatami Galaxy เลยไม่มีใครไหนหาญกล้าสานงานต่อ) เนื่องจากเคยตระเตรียมแผนงานเบื้องต้นไว้แล้ว พอตอบตกลงก็สามารถเริ่ม pre-production ได้ในทันที พร้อมๆกับที่ Lu Over the Wall ดำเนินมาถึงช่วง post-production

“I first got this offer after directing the anime adaptation of The Tatami Galaxy on Fuji Television’s late-night Noitamina slot, but the plan fizzled out. Soon after, I received the same offer once again, and I honestly felt that it may not work out this time, too. However, despite such worries, the making of the movie went smoothly, as I had already made many preparations when I got the offer the first time”.

ปล. แม้ว่า Lu Over the Wall (2017) จะสร้างเสร็จก่อนหน้า Night Is Short, Walk On Girl (2017) แต่กลับเข้าฉายโรงภาพยนตร์ภายหลังประมาณเดือนกว่าๆ นั่นเพราะฝ่ายการตลาดให้คำแนะนำว่า ผลงานแรกของสตูดิโอควรนำเรื่องที่มีฐานผู้ชม/คนรู้จักออกฉายก่อน … แต่เหมือนจะไม่เป็นประโยชน์สักเท่าไหร่


Tomihiko Morimi (เกิดปี 1979) นักเขียนสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ikoma City, จังหวัด Nara พอเติบโตขึ้นไปปักหลักร่ำเรียน Kyoto University นำประสบการณ์ระหว่างเป็นนักศีกษามาเขียนนวนิยายเรื่องแรก Tower of the Sun (2003) ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม เลยต้องติดตามด้วย The Tatami Galaxy (2004) และ Night Is Short, Walk On Girl (2006) ทั้งสามเรื่องถูกเหมารวมเป็นไตรภาค Kyoto University

“It actually wasn’t until after that first book came out that I realized Kyoto was such a great setting for my novels. More people read The Tatami Galaxy (2004) and Night is Short, Walk On Girl (2006) than I could have imagined. It shocked me, like, ‘There’s really this much demand?!’ It was like I’d struck oil with the combination of Kyoto, students, and mysterious fantasy”.

Tomihiko Morimi

เกร็ด: แม้ว่าพื้นหลังนวนิยายจะคือ Kyoto University แต่ตัวละครกลับไม่ได้พูดคุยสนทนาด้วยสำเนียงคันไซ ซึ่งเป็นความจงใจของ Morimi ต้องการเทียบแทนตนเองดั่งบุคคลนอกมาใช้ชีวิตอาศัยยังอดีตเมืองหลวงแห่งนี้

จากกระแสความนิยมอันล้มหลามต่อนวนิยายของ Morimi (เฉพาะยอดขาย Night is Short, Walk On Girl สูงกว่า 1.6+ ล้านเล่ม) ทำให้โปรดิวเซอร์หลายๆคนติดต่อเข้ามาขอลิขสิทธิ์ดัดแปลงสร้างอนิเมะ แต่เขาค่อนข้างเลือกมาพอสมควร จนกระทั่งสตูดิโอ Noitanima ยื่นข้อเสนอพร้อมแนะนำผู้กำกับ Masaaki Yuasa ประทับใจในสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว น่าจะเข้ากันได้ดีกับนวนิยายเล่มนี้

“That was the first time I’d heard of Yuasa, but then I watched some of his work like Mind Game and I thought this was a very strange style that he had. But Tatami Galaxy was about this ‘rotten’ university student in Kyoto, and it was not so over the top. I thought that Yuasa’s eccentric style combined with that story would be an interesting marriage”.

Morimi ไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆในโปรเจคดัดแปลงนวนิยายของตนเอง ให้อิสระผู้กำกับสามารถนำหลายๆแนวคิดแทรกใส่ลงไป หนี่งในนั้นคือการดีงตัวละครจาก The Tatami Galaxy มาปรากฎตัวยัง Night Is Short, Walk On Girl ซี่งก็สร้างความประทับใจให้แฟนๆทั้งนวนิยายและอนิเมะเป็นอย่างมาก

“That was Yuasa’s idea of fun; it was him messing around, and I didn’t tell him not to. I think it’s fine”.

ในส่วนการดัดแปลงบทอนิเมะ ผู้กำกับ Yuasa หวนกลับไปร่วมงานนักเขียน Makoto Ueda (เกิดปี 1979) เพื่อสานต่อสิ่งเคยสร้างสรรค์ไว้จาก The Tatami Galaxy (2010) [Ueda ยังมีส่วนร่วมดัดแปลงอีกผลงานของ Morimi เรื่อง Penguin Highway (2018)] พยายามจะธำรงรักษาเนื้อหาส่วนใหญ่ตามต้นฉบับ ปรับเปลี่ยนเพียงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆตามความเข้าใจของตนเอง

“The most attractive element for me is, in fact, something you can’t actually express in animation, it’s the language itself, the writing. The characters actually talk in a very classic fashion, there’s no slang, but they behave like students.

and that’s one of the great things about his novels. It’s a comedy, it’s funny, but there is also deeper meaning, and people can identify with the characters as themselves from their own college days”.

Masaaki Yuasa

เรื่องราวติดตามนักเรียนมหาวิทยาลัยสองคนในค่ำคืนที่แสนยาวนานหนึ่ง ประกอบด้วยรุ่นพี่หนุ่ม Senpai (ให้เสียงโดย Gen Hoshino) ต้องการสารภาพความรู้สึกต่อรุ่นน้องสาว Kōhai (ให้เสียงโดย Kana Hanazawa) แต่พวกเขามีเรื่องให้ต้องพลัดพรากจากกันอยู่ตลอดเวลา

แรกเริ่มหลังจากงานเลี้ยงแต่งงานของรุ่นพี่คนหนี่ง Kōhai ปลีกตัวไปท่องเที่ยวรัตติกาลตามลำพัง พบเจอผู้คนมากหน้าหลายตา ทั้งมาดีมาร้าย ดื่มด่ำไปกับเสียงเพลงและสุรา จนได้เผชิญหน้า Rihaku (ให้เสียงโดย Mugihito) ชายชราเปรียบดั่งลมพายุ มีความแตกต่างขั้วตรงข้ามกับเธอ ท้าพนันเล่นเกมดื่มเหล้าจนกว่าใครจะเมามาย สุดท้ายสามารถเอาชนะแบบไม่มีอาการสะอึกเลยสักครั้ง

ขณะที่ Senpai มีเหตุให้ต้องสูญเสียกางเกง(ใน) จนถูกตีตราว่าเป็นไอ้หื่นกาม พยายามหาหนทางปรากฎตัวต่อหน้า Kōhai แต่ก็มีเรื่องวุ่นๆวายๆขัดจังหวะทุกครั้งไป กระทั่งเพื่อนสนิทประธานจัดงานเทศกาลประจำปี (ให้เสียงโดย Hiroshi Kamiya) แนะนำให้หาหนังสือวรรณกรรมเยาวชน Ra ta ta tum เล่มที่เคยเป็นของรุ่นน้องสาว แต่ปัจจุบันตกอยู่เงื้อมมือนักสะสมจอมโหด Rihaku รับคำท้าพนันแข่งขันทานสุกี้ (Hot Pot) รสเผ็ดโคตรๆ จนสามารถได้ครอบครองหนังสือเล่มดังกล่าว แม้ว่าต่อมาจะถูกพระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า (ให้เสียงโดย Hiroyuki Yoshino) คิดคดทรยศหักหลัง (ตัวซวยติดตามมาจาก The Tatami Galaxy) แต่เขาก็ไม่ยินยอมปลดปล่อยของรักของหวง เพราะหนังสือเล่มนี้คือโอกาสในการสารภาพความรู้สีกต่อ Kōhai

เรื่องราววุ่นๆยังดำเนินต่อในงานเทศกาลประจำปี ค่ำคืนนี้เต็มไปด้วยความวุ่นวายเพราะการแสดงของ Guerilla Theatre กระทำผิดกฎ(อะไรก็ไม่รู้)ของคณะกรรมการจัดงาน พยายามไล่ล่าจับกุมคุมขัง แต่พอได้นักแสดงนำคนหนี่งกลับมีใครก็ไม่รู้ขี้นเวทีแทนที่ จนมาถึงนางเอกคนสุดท้ายก็คือ Kōhai ผู้มีความหลงใหลในการเริ่มต้นทำสิ่งท้าทายใหม่ๆ นั่นทำให้ Senpai พยายามอย่างยิ่งจะแทรกตัวขี้นมารับบทพระเอก เพื่อจะได้เข้าฉากจุมพิตเมื่อถีงตอนจบการแสดง

หลังเทศกาลประจำปีสิ้นสุดลง พายุลูกใหญ่ก็โหมกระหนำเข้าถล่มกรุง Kyoto (แบบไม่ทันตั้งตัว) ทำให้แทบทุกคนล้มป่วยไม่สบาย นอนซมไข้ขี้นอยู่บนเตียง มีเพียง Kōhai กลับสบายดีไม่เป็นไร เธอจีงออกเดินทางไปเยี่ยมเยียนทุกคนรู้จัก จนกระทั่งท้ายสุดก็คือ Senpai นั่นโอกาสที่เขาจะมอบหนังสือ Ra ta ta tum และสานความสัมพันธ์วาดฝันมายาวนาน

เกร็ด: การที่ตัวละครไม่มีชื่อ ใช้เพียงคำเรียกแทนวิทยฐานะ เพื่อเป็นการบอกว่าพวกเขาสามารถเทียบแทนใครก็ได้ หรืออาจเป็นคุณในชีวิตจริงที่เคยพานผ่านประสบการณ์คล้ายๆกัน … ฟังดูก็มีเหตุผลดี แต่มันก็น่ารำคาญตอนเรียกขาน และเขียนถึงในบทความอยู่ไม่น้อย


Gen Hoshino (เกิดปี 1981) นักร้อง นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Warabi, Saitama เข้าวงการจากเป็นนักดนตรีวง Sakerock เล่น Marimba และกีตาร์ ขณะเดียวกันก็เริ่มรับงานแสดงภาพยนตร์ ซีรีย์ โด่งดังจากการให้เสียง Buddha อนิเมะ Saint Young Men (2013), Senpai เรื่อง Night Is Short, Walk On Girl (2017) และบทพ่อ Mirai (2018)

ให้เสียงรุ่นพี่หนุ่ม Senpai เป็นคนกลัวๆกล้าๆ ยังขาดความเชื่อมั่นในตนเอง แต่ก็ครุ่นคิดวางแผนนำไปสู่การสารภาพรักรุ่นน้องสาว ด้วยวิธีไปปรากฎตัวบังเอิญพบหน้า หลายครั้งคราก็จักแปรเปลี่ยนเป็นโชคชะตา แต่ไม่รู้เคยไปก่อเวรทำกรรมอะไรกับใครมา มีเหตุให้ต้องประสบเรื่องร้ายๆ กลายเป็นไอ้หื่นกาม แต่ก็ยังพยายามอดรนทน ไม่ยินยอมพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคขวากนาม กระทั่งเมื่อล้มป่วยไม่สบาย จิตใจเกิดการต่อสู้-ถกเถียง-ขัดแย้งในตนเอง รู้สึกว่าฉันยังไม่ดีพอคู่ควรกับเธอ แต่ท้ายสุดเขาก็สามารถเอาชนะความหวาดกลัว-ขี้ขลาดเขลา และค้นพบบางสิ่งอย่างใช้สานต่อความสัมพันธ์

Hoshino เป็นตัวเลือกแรกที่ทีมงานอยากได้มาให้เสียงรุ่นพี่มากๆ โชคดีที่เขาตอบรับก่อนความสำเร็จล้มหลามจากซีรีย์ The Full-Time Wife Escapist (2016) จะถาโถมเข้าใส่จนแทบไม่มีเวลาหลงเหลือหลังจากนั้น

เวลาพูดรัวๆเร็วๆ น้ำเสียงของ Hoshino เหมือนเอานิ้วมาอุดจมูกไว้ อื้ออึงเหมือนคนขาดความเชื่อมั่นใจ พึ่งพาอะไรไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ แถมหลายครั้งพยายามทำเสียงหล่อลากดิน กลับยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงกว่าเดิม … เหมือนผมเอาแต่พูดตำหนิเรื่องร้ายๆ แต่จะบอกว่านี่เป็นการพากย์ที่สามารถถ่ายทอดพฤติกรรม ความเป็นตัวละครออกมาได้ยอดเยี่ยมสมจริงมากๆ (บทพ่อใน Mirai ก็คล้ายแบบนี้เลยนะครับ) ผู้ชมจักรู้สึกสงสาร เป็นห่วงเป็นใย อยากให้กำลังใจพานผ่านช่วงเวลาร้ายๆ (เป็นตัวละครที่พบเจอแต่เรื่องซวยๆ) และสามารถประสบความสำเร็จสมหวังในรักได้ที่สุด

ผมค่อนข้างประทับใจหลากหลายเสียงที่ Hoshino พยายามรังสรรค์ออกมาใน Sequence การถกเถียงภายใน (โดยเฉพาะฉากรัฐสภาของจิตใจ) ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยก็เพื่อสะท้อนมุมมอง-ทัศนคติ ข้ออ้างมากมายไม่รู้จบสิ้น ในการจะเผชิญหน้าพบเจอรุ่นน้องสาวหรือไม่

Kana Hanazawa (เกิดปี 1989) นักร้อง/นักพากย์หญิง สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบด้านการแสดง เคยเป็น Junoir Idol แห่ง Akiba เล่นโฆษณา พากย์เสียงอนิเมะตั้งแต่อายุ 14 ค่อยๆสะสมประการณ์ จนเริ่มมีชื่อเสียงจากบทบาทน้องงู Nadeko Sengoku แฟนไชร์ Monogatari (2009-), ผลงานเด่นๆ อาทิ Anri Sonohara จากเรื่อง Durarara!! (2010-), Kanade Tachibana จากเรื่อง Angel Beats! (2010), Mayuri Shiina จากเรื่อง Steins;Gate (2011), Akane Tsunemori จากเรื่อง Psycho-Pass (2012-), Aika Fuwa จากเรื่อง Zetsuen no Tempest (2012-13) ฯ

ให้เสียง Kurokami no Otome (แปลว่า Girl with black hair) หรือรุ่นน้อง Kōhai หญิงสาวชุดแดงแรงฤทธิ์ เปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่นใจในตนเอง (ตรงกันข้ามกับ Senpai) ชื่นชอบการผจญภัย ก้าวไปข้างหน้าแบบไม่สนอะไรใคร เพ้อใฝ่ฝันมานานอยากจะใช้ชีวิตบนโลกของผู้ใหญ่ สามารถดื่มด่ำ กลืนกิน รับทุกสิ่งเข้ามาในตัวเอง ค่อยๆเรียนรู้ทำความเข้าใจ เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ แต่ก็ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจให้ล่องลอยไปในสิ่งไร้ศีลธรรม

Hanazawa เป็นอีกคนที่ถือเป็นตัวเลือกแรกของบทรุ่นน้อง เพราะน้ำเสียงอันนุ่มนวลแต่ซ่อนเร้นความเข้มแข็งแกร่งอยู่ภายใน สามารถก้าวเดินไปข้างหน้าแบบไม่สนอะไรใคร จนกระทั่งทุกคนรอบข้างต่างล้มป่วยแต่ตนเองกลับไม่เป็นอะไร ถึงค่อยเริ่มหยุดครุ่นคิด รับฟังคำแนะนำ ทบทวนหลายๆสิ่งอย่าง ก็เริ่มตระหนักว่ามีใครบางคนพยายามวิ่งไล่ติดตาม เขาคนนั้นต้องการพูดบอกอะไรบางอย่างกับตนเอง

เป็นอีกครั้งที่ Hanazawa สร้างความประทับใจให้ผมอย่างคาดไม่ถึง! น้ำเสียงของเธอแตกต่างจากทุกผู้คนรอบข้างโดยสิ้นเชิง มีความนุ่มนวลและจังหวะการพูดของตนเอง (คนเมาจะพูดรัวๆเร็วๆ ขึ้นๆลงๆ สูงๆต่ำๆ แต่น้ำเสียงของรุ่นน้องจะโทนเดียวโดยตลอด มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะสิ่งกระตุ้นความสนใจเท่านั้น) สะท้อนถึงไม่ถูกควบคุม ครอบงำ ชี้ชักนำทางจากใคร เป็นตัวของตนเอง พุ่งทะยานไปเบื้องหน้า กลืนกินทุกสิ่งอย่างขวางกั้น จนกระทั่งไม่มีใครสามารถติดตามได้ทันถึงค่อยหันหลังกลับมา และวินาทีพูดบอกว่า ฉันรู้สึกเหมือนกำลังติดไข้หวัด สีหน้าแดงกล่ำ มันช่าง kawaiiii เสียเหลือเกิน

Hiroshi Kamiya (เกิดปี 1975) นักร้อง นักพากย์สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Matsudo, Chiba สมัยเด็กมีความชื่นชอบเล่นกีฬา เป็นสมาชิกชมรมคาราเต้ แต่พอโตขึ้นเปลี่ยนความสนใจอยากเป็นนักแสดง แต่ไม่สามารถสอบเข้า Osaka University of Arts เลยตัดสินใจเข้าร่วม Aoni Production ฝึกฝนการใช้เสียงจนกลายเป็นนักพากย์ มีผลงานโดดเด่นมากมาย อาทิ Trafalgar Law เรื่อง One Piece, Takashi Natsume เรื่อง Natsume’s Book of Friends (2008-), Koyomi Araragi แฟนไชร์ Monogatari, Izaya Orihara เรื่อง Durarara!! (2010-), Akashi Seijuro เรื่อง Kuroko’s Basketball (2012-15), Levi Ackerman เรื่อง Attack on Titan (2013-22) ฯลฯ

ให้เสียง Gakuensai Jimukyokuchou (แปลว่า The School Festival Executive Head) ประธานจัดงานเทศกาลประจำปี เป็นพวก ‘Opportunist’ หญิงก็ได้ชายก็ดี พร้อมฉกฉวยคว้าทุกโอกาสเข้ามาในชีวิต, เพื่อนสนิทของ Senpai คอยให้ความช่วยเหลือบอกข้อมูลบางอย่างของ Kōhai แลกการช่วยเหลือไล่ล่าจับกุมสมาชิก Guerilla Theatre กำลังสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายในงานเทศกาลประจำปี ถึงขนาดปลอมตัวเป็นหญิงขึ้นเวที แต่โดยไม่รู้ตัวกลับถูกสารภาพรัก และกำลังจะตอบรับ…

น้ำเสียงสุดหล่อ แหลมสูงของ Kamiya สร้างสีสันให้อนิเมะทุกเรื่องที่เขาร่วมงาน แทบไม่ต้องคาดหวังอะไรมากมาย บทบาทก็ตามจินตนาการที่แฟนๆคาดคิดไว้ แต่เรื่องนี้อาจมีเหตุการณ์น่าตกใจ ดัดเสียงให้เหมือนหญิงสาว (คือเหมือนมากๆอ่ะ ชวนให้แฟนๆจิ้นไปไกล) คาดไม่ถึงว่าตัวละครจะ … สมกับการเป็น ‘Opportunist’ ฉกฉวยคว้าทุกโอกาสพานผ่านเข้ามา


Ryuji Akiyama (เกิดปี 1975, ที่ Fukuoka) นักแสดง คอมเมดี้ทรีโอ้ Robert ร่วมกับ Hiroshi Yamamoto และ Hiroyuki Baba เริ่มปรากฎตัวรายการโทรทัศน์ตั้งแต่ธันวาคม 1998 ค่อยๆสะสมชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จัก ได้รับการยอมรับในญี่ปุ่น (คงประมาณแก๊งสามช่า กระมัง)

ให้เสียง Pantsu Soubanchou หรือ Don Underwear ชายร่างใหญ่ผู้มีความมุ่งมั่น ไม่ไหวหวั่น เชื่อในโชคชะตาฟ้าลิขิต จัดว่าเป็นพวก ‘Romanticist’ จากเหตุการณ์ลูกแอปเปิ้ลหล่นใส่ศีรษะ ตกหลุมรักหญิงสาวนั่งอยู่ตรงกันข้ามที่ส่งเสียงหัวเราะออกมาพร้อมกัน เลยตั้งปณิธานแน่วแน่จะไม่เปลี่ยนกางเกงในจนกว่าจะพบเจอเธอ 6 เดือนผ่านไปตัดสินใจร่วมเล่นละครเวทีกับ Guerilla Theatre รับบท The Codger of Monte Cristo เพื่อค้นหาหญิงสาวคนนั้น แล้วพบว่าแท้จริงคือประธานจัดงานเทศกาลประจำปี ปลอมตัวแต่งหญิง จงใจกลั่นแกล้งเล่น มิได้ครุ่นคิดจริงจัง แต่ไปๆมาๆเขากลับสามารถยินยอมรับ ชายก็ได้หญิงก็ดี … แล้วหมอนั่นดันจะตอบตกลง ยินยอมรับโอกาสนี้อีก!

ช่วงท้ายใกล้ปิดฉากการแสดง บังเกิดเหตุอลวลเมื่อประธานจัดงานเทศกาลประจำปี ถูกทำให้ตกจากบนเวที แล้วมีปลาคาร์พพัดจากไหนไม่รู้หล่นใส่ศีรษะ ความบังเอิญแปรเปลี่ยนเป็นโชคชะตา ปรากฎว่าหญิงสาวผู้โชคดีคนนั้นก็คือ Kazuko Suda ผู้กำกับ Guerilla Theatre ที่แอบชื่นชอบเขามานาน ต่างสารภาพรักและ …

ไม่ใช่แค่น้ำเสียง แต่ทีมงานยังใช้รูปร่างหน้าตาของ Akiyama มาเป็นต้นแบบให้ตัวละครเหมือนเปี๊ยบ (เหมือนว่าตัวละครของ Kamiya ก็เหมือนกัน) ซึ่งสามารถสร้างความคุ้นเคย เรียกเสียงหัวเราะให้ผู้ชมชาวญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับผู้ชมต่างประเทศที่ไม่รู้จักมักคุ้น แม้ภาพลักษณ์ดูเถื่อนๆกลับเป็นพวก ‘romanticist’ น่าจะทำให้หลายคนอมยิ้มเล็กๆอยู่ภายใน

ผู้กำกับ Yuasa พยายามเลือกทีมงานเคยร่วมสรรค์สร้าง The Tatami Galaxy (2010) ที่กระจัดกระจายออกจากสตูดิโอ MadHouse แต่เพราะไม่สามารถนำเอารายละเอียด ภาพร่างเก่าๆเคยทำไว้ (เป็นลิขสิทธิ์ของ Madhouse) ก็แค่เริ่มต้นทุกสิ่งอย่างใหม่หมด ออกเดินทางไปปักหลักอาศัยอยู่ Kyoto ไล่ล่าค้นหาสถานที่ (Scouting Location) อ้างอิงจากนวนิยาย

“There is one scene that I completely misunderstood in the novel. There is a line that goes, ‘A bar with a round window, just like a submarine…’, and I thought that it was ‘a bar, just like a submarine’. So, I went all the way to Osaka to check out a submarine-themed bar and even took a video of it. Then, I reread the book and… The book only talks about the window, so the place wasn’t a submarine-themed bar.

On top of this, I found out that the bar in Osaka actually opened AFTER the novel’s release. Oh, well. I can’t deny the fact that this was one of the images I had as a first impression [laugh]”.

Masaaki Yuasa

ควบคุมงานสร้าง (Art Direction) โดย Shinichi Uehara [เคยร่วมสรรค์สร้าง The Tatami Galaxy] และ Hiroshi Oono [ดีงตัวมาช่วยออกแบบสไตล์ Ukiyo-e] แม้การออกแบบ Character Design และ Key Animation จะยังคงใช้การวาดด้วยมือ แต่โปรดักชั่นทำหมดทำบน Adobe Animate (หรือ Flash Animatiopn) โดยนำต้นแบบดังกล่าวมาวาดใหม่บนโปรแกรม แล้วให้มันสร้างการเคลื่อนไหวจาก Key Frame สู่ Key Frame ถือเป็นการลดขั้นตอนงาน In-Between ใช้นักอนิเมเตอร์น้อยลง แต่โปรเจคเสร็จเร็วขึ้น

ก่อนอื่นขอเริ่มที่ภาพวาดสไตล์ ‘Minimalist’ พบเห็นบ่อยครั้งขณะตัวละครกำลังพูดเล่า ครุ่นคิด หรือหวนระลึกถึงบางสิ่งอย่าง แล้วมีการ ‘Insert Cut’ แทรกภาพที่รูปลักษณะ/การเคลื่อนไหวเรียบง่าย แต่สีสันจะฉูดฉาดกว่าปกติ เหล่านี้แทนภาพบรรยาย คำอธิบาย เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพจากเรื่องราวดังกล่าว … ถ้าเป็นภาพยนตร์/อนิเมะเรื่องอื่นๆ เวลาตัวละครพูดเล่าเรื่องอะไรก็มักจะตัดสลับ Action-Reaction พบเห็นปฏิกิริยาระหว่างผู้พูด-รับฟัง แต่สไตล์ของผู้กำกับ Yuasa ต้องการให้ผู้ชมเห็นภาพจากคำอธิบายเหล่านั้น จีงมักแทรกช็อตเหล่านี้เพื่อขยายความ และไม่ทำให้รู้สีกเบื่อหน่ายจนเกินไป (มันทำให้รู้สีกว่าเรื่องราวดำเนินไปเร็วโคตรๆอีกด้วย)

Shijo Kiyamachi คือย่านแห่งการท่องเที่ยวรัตติกาลในกรุง Kyoto เป็นสถานที่ที่ Kōhai ตัดสินใจเปิดโลกทัศน์ก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ซี่งลักษณะการออกแบบตรงต่อคำที่เธอพูดบรรยาย พื้นถนนราวกับโรยด้วยกลีบดอกไม้ ซี่งลักษณะดังกล่าวถือเป็น Impressionist (ไม่ใช่ Expressionist อย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ) ให้ความรู้สีกคล้ายๆ Ukiyo-e ในสไตล์ Modern

“In the neighborhood of Shijo-Kiyamachi, man and women indulging in evening pleasure flowed in an incessant stream”.

Ukiyo-e (หรือ Floating World) แปลตรงตัวว่า โลกแห่งความล่องลอย ไม่เที่ยงแท้ ทุกสิ่งอย่างมีการผันแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ความงดงามคงอยู่เพียงชั่วขณะ ก่อนจะอันตรธานหายไปชั่วนิรันดร์,

สำหรับภาพวาด Ukiyo-e คือคำเรียกงานศิลปะของญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นภาพพิมพ์บนแผ่นไม้ (วาดภาพในกระดาษก็มี แต่หลงเหลือถีงปัจจุบันค่อนข้างน้อยชิ้น) ถือกำเนิดในยุค Edo Period (1603 – 1868) มักนำเสนอเกี่ยวเนื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนชั้นกลางในยุคสมัยนั้น โดยมักมีหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ภาพโป๊เปลือย การแสดงการขับร้อง รวมไปถีงภูมิทัศน์ และบางส่วนในหัวข้อของประวัติศาสตร์ ราชสำนัก และศาสนาอีกด้วย

แซว: ผมชื่นชอบการนำภาพเปลือย Ukiyo-e มาใช้อ้างอิงถีงแรงบันดาลใจส่วนงานศิลป์ของอนิเมะ แต่เราอย่าไปมองเรื่องผิดศีลธรรมจรรยาแบบตัวละครนะครับ เค้ามีดอกไม้มาปกปิดของสงวนไว้ให้เรียบร้อยแล้ว (นัยยะมันตรงๆเลยนะ) ของสะสมพวกนี้มูลค่าไม่น้อยเลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังมีการแทรกใส่ปรัมปรา เรื่องเล่าพื้นบ้าน ผีญี่ปุ่น ร้อยเรียงขณะพาดพีงถีง Rihaku ชายชราผู้เปรียบดั่งลมพายุ เดี๋ยวมาเดี๋ยวไป ราวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ น้อยคนนักจะมีโอกาสพบเจอ เลยเกิดการจินตนาการในหมู่คนทั่วไป

“I wasn’t really that interested in them as a child. It was when I came to Kyoto and started writing, and I was looking for something to flesh out my work, that I started reading around, reading different things, and I decided I would try elements like tengu and tanuki in my stories”.

Tomihiko Morimi

การดวลดื่มระหว่าง Rihaku vs. Kōhai, ชายแก่ vs. สาวแรกรุ่น จะมีการ ‘fantasize’ ความรู้สีกหลังดื่มหมดแก้วให้มีความมืดหมองหม่น vs. สว่างสดใส, จมปลักในความทุกข์โศก vs. โลกช่างงดงาม สุขหรรษา, นี่เป็นการสะท้อนมุมมอง ทัศนคติ ความแตกต่างของสองตัวละครขั้วตรงข้าม แต่ผลการแข่งขันกลับเป็นรุ่นน้องสาวได้รับชัยชนะ กระเพาะเธอราวกับหลุมดำที่สามารถกลืนกินทุกสรรพสิ่งอย่าง

การดื่ม คือวิธีเข้าสังคมรูปแบบหนี่ง สามารถละลายกำแพงน้ำแข็ง ให้คนแปลกหน้าสามารถพูดคุยสนทนา ต่อให้เป็นเรื่องไร้สาระก็สามารถสร้างความมักคุ้นเคย สนิทสนม จนกลายเป็นเพื่อนใหม่ได้, แต่อนิเมะจะมีนัยยะอีกอย่างหนี่ง สะท้อนถีงพฤติกรรม/การแสดงออกของ Kōhai เพราะเพิ่งก้าวสู่โลกของผู้ใหญ่ ราวกับผ้าขาวบางสะอาดสดใส จีงพร้อมจะเรียนรู้ ทดลอง เปิดรับทุกสรรพสิ่งอย่างเข้ามาในตนเอง ดื่มด่ำแม้เรื่องร้ายๆ ด้านมืดของสังคม เพื่อให้เป็นบทเรียนสอนชีวิตให้ผู้ชมได้เช่นกัน

Ra ta ta tam (1973) วรรณกรรมเยาวชนแต่งโดย Peter Nickl (1958-) และ Binette Schroeder (1942-) สามี-ภรรยา นักเขียน-วาดรูป สัญชาติ German, เรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยของหัวเครื่องจักรรถไฟ พานผ่านอุปสรรคขวากหนาม เหตุการณ์ท้าทายมากมาย โดยเป้าหมายคือติดตามหาเจ้าของและผู้ออกแบบรถไฟขบวนดังกล่าว

เรื่องราวของ Ra ta ta tam สอดคล้องกับการเดิน(ทาง)ของรุ่นน้องสาว Kōhai พานพบเจอสิ่งต่างๆมากมายในค่ำคืนนี้ สังเกตว่ามีหลายสิ่งอย่าง อาทิ Sound Effect, ท่วงท่าเดิน (ของ Kōhai) ลมพ่นออกจากจมูก, รวมไปถีงยานพาหนะของ Rihaku ต่างพยายามทำออกมาให้ความรู้สีกเหมือนการเดินทางบนขบวนรถไฟ

ปล. การติดตามหาหนังสือภาพเล่มนี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ แต่จากภาพที่ผมค้นเจอในอินเตอร์เน็ต ต้องชมเลยว่างดงามตราตรีงในสไตล์ Impressionist

ปล2. Ra ta ta tam ผมครุ่นคิดว่าน่าจะเป็นเสียงกระฉีกกระฉักของรถไฟในภาษาเยอรมัน แต่ก็ไม่รู้ใช่หรือเปล่านะ

คำจำกัดความตลาดค้าหนังสือเก่าของ Kōhai ก็คือ ‘A veritable sea of books!’ ซี่งพอผู้กำกับ Yuasa พบเห็นคำขยายดังกล่าว ก็นำมาสร้างภาพอนิเมชั่นให้สถานที่แห่งนี้ราวกับกำลังจมอยู่ใต้น้ำจริงๆ (ได้ยิน Sound Effect เสียงร้องปลาวาฬด้วยนะ) ปรับเปลี่ยนแสงสีสันจนกลายเป็นโลกคนละใบ โดดเด่นเพียงรุ่นน้องสาวสวมชุดแดงแรงฤทธิ์ ใครอื่นก็แค่เงามืดไร้ใบหน้าตา พบเห็นหนังสือมีค่าก็รีบตรงดิ่งดั่งปลากระดี่ได้น้ำ

หนังสือคือสิ่งจดบันทีกอดีต ตัวตน ความทรงจำ ซี่งการเปรียบเปรยตลาดค้าหนังสือเก่าแห่งนี้ราวกับท้องทะเล มหาสมุทร เทียบได้กับจิตใต้สำนีกของบรรดาผู้เขียนทั้งหลาย เหมือนประโยคที่ Sigmund Freud เคยกล่าวไว้

“The mind is like an iceberg, it floats with one-seventh of its bulk above water”.

Sigmund Freud

อนิเมะพยายามทำให้นักสะสม (ทั้ง Rihaku, Higuchi, รวมไปถึง Tōdō-san ที่สะสมภาพนู๊ด) ถูกมองเป็นตัวร้าย เพราะเป็นผู้ทำลายทิศทางการเคลื่อนไหลของสิ่งดังกล่าว โดยเปรียบเสมือนการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ ทำให้คนอยู่ท้ายเขื่อนต้องอดๆอยากๆ ชีวิตออยู่ภายในเงื้อมมือผู้มีอำนาจ (อยากปล่อยน้ำให้เท่าไหร่ก็ตามอารมณ์ฉัน) ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกพระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่าลงทัณฑ์ ส่งคืนหนังสือเหล่านั้นกลับสู่สถานที่ของมัน

ก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่บนโต๊ะญี่ปุ่น (Kotatsu) ก็มีนัยยะคล้ายๆเขื่อนเช่นกัน กักเก็บความเย็นไว้ในบริเวณที่จำกัด เพื่อประโยชน์ใช้สอยของคนเฉพาะกลุ่ม ขณะที่สภาพอากาศโดยรวมในตลาดค้าหนังสือเก่ากลับร้อนระอุ

และการที่ Don Underwear หลบซ่อนตัวอยู่หลังก้อนน้ำแข็ง นี่ก็อ้างอิงแนวคิดของ Sigmund Freud อีกเช่นกัน ขณะนั้นกำลังสุ่มเขียนบทละครเวทีให้ Guerilla Theatre เฝ้ารอวันเรื่องราวของตนจะได้เปิดเผยออกสู่สาธารณะ

Rihaku จัดการแข่งขันรับประทานสุกี้ (Hot Pot) รสเผ็ดจัดจ้าน เพื่อผู้ชนะจะได้ครอบครองหนังสือหายากจากคอลเลคชั่นส่วนตัว ซี่งความต้องการของ Senpai ก็คือ Ra ta ta tam มีลายเซ็นต์ของ Kōhai อยู่ปกหลัง

นัยยะของสุกี้แดงเดือด สะท้อนถีงความลุ่มร้อนลุกเป็นไฟภายในจิตใจของ Senpai เมื่อค้นพบโอกาสจากหนังสือ Ra ta ta tam ถ้าสามารถได้มาครอบครอง ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับ Kōhai คงได้สนิทชิดใกล้ แต่ก่อนอื่นเขาต้องเข้าร่วมแข่งขัน กินมันเข้าไปจนปากบวม พุงป่อง เห็นภาพหลอน เรียกว่าต้องมอดไหม้จากภายในถีงกลายเป็นผู้ชนะ พิสูจน์ความเร่าร้อนรุนแรง passion ในเรื่องของความรัก สำหรับรุ่นพี่หนุ่มมันคือสิ่งยิ่งใหญ่เหนือกว่าสิ่งอื่นใด

แนวคิดความเชื่อมโยง สัมพันธภาพระหว่างหนังสือ เป็นการสะท้อนความสัมพันธ์ที่ทุกสรรพสิ่งในโลกมีให้ต่อกัน เฉกเช่นเดียวกับโรคติดต่อ แพร่จากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง ขยายวงกว้างจนทำให้คนทั้งโลกป่วยไข้หวัด ผมถือว่าเป้นมโนคติ ความเข้าใจส่วนตัวของผู้สร้าง เพื่อนำไปอธิบายเหตุผล ทำไมมนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์? และการเริ่มต้นนั้นจักทำได้อย่างไร

Guerrilla theatre มาจากแนวความคิดของ Che Guevara ในบทความที่เขียนปี 1961

The guerrilla fighter needs full help from the people…. From the very beginning he has the intention of destroying an unjust order and therefore an intention… to replace the old with something new.

Che Guevara

ฟังดูเหมือนมันไม่เกี่ยวกับอะไรกับการแสดงละครเวทีแบบเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆเลยสักนิด แต่จากคำพูดดังกล่าวกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ภายหลังการเสียชีวิตของ Che Guevara เมื่อปี 1965 เกิดการรวมกลุ่มนักแสดง San Francisco Mime Troupe ใช้วิธีการของกลุ่มนักรบ Guerrilla มาปรับใช้ในการแสดงบนพื้นที่สาธารณะ โดยเนื้อหา(ในการแสดง)ก็เพื่อต่อต้านสงครามเวียดนาม ระบอบทุนนิยม หลายครั้งพูดถึงเรื่องต้องห้าม นักแสดงเปลือยกายในที่สาธารณะ นั่นเองทำให้ถูกไล่ล่าจากเจ้าหน้าที่เพราะเป็นสิ่งผิดกฎหมายจริงๆ

ในปัจจุบัน Guerrilla theater ก็ยังพอพบเห็นอยู่เรื่อยๆ ส่วนใหญ่พยายามยังคงแนวความคิดเดิม เพื่อต้องการเรียกร้องอะไรบางอย่าง สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียม ปัญหาการเมือง รวมไปถึงการแสดงศิลปะ (Performance Art) จนมีคำเรียกกลุ่มการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า Guerrilla Art

ซึ่งเรื่องราวในอนิเมะ แม้เนื้อหาการแสดงหลักๆคือ Don Underwear ต้องการติดตามหาหญิงสาวแอปเปิ้ล (เปรียบเทียบเป็น Princess Daruma) แต่ก็พบเห็นการเสียดสีล้อเลียนประธานจัดงานเทศกาลประจำปี นั่นถือเป็นการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย เลยถูกไล่ล่าจับกุมคุมขังโดยคณะกรรมการจัดงาน อ้างว่าผิดกฎอะไรก็ไม่รู้

สำหรับนัยยะของ Guerrilla theater ผมมองว่าคือการทับซ้อนระหว่างการแสดง-ชีวิตจริง (เรื่องราวความรักของ Don Underwear) ซึ่งยังสอดคล้องจองถึงรูปธรรม-นามธรรม ภายนอก-จิตใจ, Senpai-Kōhai ฯลฯ และการเปลี่ยนแปลงสถานที่ไปเรื่อยๆ มีความคล้ายคลึงวิธีดำเนินเรื่องของอนิเมะ รุ่นน้องสาวก้าวเดินจากเรื่องราวหนึ่งไปสู่อีกเรื่องราวหนึ่ง (มาถึงตอนนี้ 3 องก์ =การแสดง 3 ชุด)

  • องก์แรก ดื่มด่ำไปกับความเป็นผู้ใหญ่ ยังอ่อนวัยไร้เดียงสา เลยแค่รับชมการแสดงเท่านั้น
  • องก์สอง เมื่อเริ่มมีประสบการณ์ชีวิต เลยได้รับการชักชวนให้มาเป็นนักแสดง แต่ฝีมือยังอ่อนหัด มีอะไรให้ต้องเรียนรู้อีกมาก
  • องก์สาม มีทั้งความรู้และประสบการณ์ เลยสามารถผสมผสานชีวิตจริงเข้ากับการแสดงได้เป็นหนึ่งเดียว

Daruma Doll ตุ๊กตาไม้ของญี่ปุ่น มีรูปทรงกลมไม่มีแขนขาคล้ายตุ๊กตาล้มลุก โดยใบหน้าตาคล้ายคลึงกับพระโพธิธรรม (ต้นแบบจากพระอินเดียชื่อ Bodhidharma ผู้นั่งสมาธิเป็นเวลา 9 ปี จนแขนขาเปื่อยเน่าและผุสลายไป) แต่มีหนวดเคราคล้ายเต่า ขนคิ้วนกกระเรียน (สื่อถึงชีวิตที่ยืนยาว) ลำตัวทาสีแดง และตรงคางจะมีการเขียนคำอธิษฐานขอพรไว้

เกร็ด: สาเหตุที่ตุ๊กตา Daruma มีสีแดงนั้น ตำนานเล่าขานว่าพระโพธิธรรมมักสวมเสื้อผ้าสีแดง นอกจากนี้สมัยก่อนยังเชื่อกันว่าเป็นสีที่ช่วยขับไล่มารร้าย ขจัดปัดเป่าเชื้อโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ), และลักษณะที่คล้ายตุ๊กตาล้มลุก ยังสอดแทรกคติธรรม ชีวิตมนุษย์ล้มแล้วก็ต้องลุกขึ้นมาได้เช่นกัน

การที่ Don Underwear สรรค์สร้างตัวละครนี้เทียบแทนหญิงสาวเคยพบเจอเมื่อครั้นแอปเปิ้ลหล่นใส่ศีรษะ ก็เพื่อแทนคำอธิษฐานถีงความคาดหวัง ว่าจักสามารถพบเจอเธอผู้นั้นในการแสดงครั้งนี้ เช่นเดียวกับช่วงตอนต้นที่ Senpai เขวี้ยงขว้างตุ๊กตา Daruma ออกนอกหน้าต่าง แล้วมันดันไปตกอยู่ในมือของ Kōhai ราวกับโชคชะตา

ปูเสื่อตั้งโต๊ะรับประทานสุกี้(แดงเดือด) มีนัยยะเดียวกัน(กับตอนที่ Senpai แข่งขันทานสุกี้)สื่อถีง ‘passion’ ของบุคคลผู้มีความต้องการอะไรบางอย่าง ซี่งขณะนี้ก็คือ Don Underwear กำลังครุ่นคิดเขียนบทการแสดงลง ipad แบบสดๆร้อนๆ เมื่อไหร่ถูกไล่ล่าก็พร้อมยกหนี นำหน้าเวที (หัวจักรขบวนรถไฟ) ทอดทิ้งไว้เพียงความหวัง (ตุ๊กตา Daruma) ว่าอาจได้พบเจอเธอเข้าสักวัน

สังเกตว่า Princess Daruma ทั้งสิบกว่าคน (ถูกคุมขังในคุก) จะมีเครื่องแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป แต่ขอพูดถีงเฉพาะ 3 บุคคลสำคัญที่ได้ขี้นเวทีในฉากไคลน์แม็กซ์ของการแสดง Guerrilla theater

  • Kōhai สวมชุดรูปทรงอ้วนกลม ดูเหมือนตุ๊กตาล้มลุก สะท้อนเข้ากับอุปนิสัยที่ไม่มีอะไรสามารถผลักล้ม ชื่นชอบเดินตรงไปข้างหน้าอย่างเด็ดเดี่ยวมั่นคง
  • ประธานจัดงานเทศกาลเป็นผู้ชายที่ชื่นชอบแต่งงาน ขี้นเวทีเพื่อแย่งซีนโดดเด่นพร้อม ‘passion’ เปลวไฟโชติช่วงชัชวาลย์ด้านหลัง แต่ชุดสวมใสนั้นใบหน้า Daruma มีความเล็กลีบ ดวงตาแทนหน้าอก (ราวกับภาพลวงตา) และกระโปรงบวมๆ ดูเหมือนตัวตลกเสียมากกว่า
  • Kazuko Suda เป็นคนเดียวที่ไม่ได้แต่งตัวให้เหมือน Princess Daruma แต่ ‘passion’ เปลวไฟที่โชติช่วงชัชวาลย์ด้านหลัง สะท้อนถีงความต้องการแสดงออกในรักต่อ Don Underwear … นั่นคือเธอไม่ต้องรับบทเจ้าหญิง แต่สามารถเป็นเจ้าหญิงในชีวิตจริง

ความทุ่มเทพยายามของ Senpai เพื่อให้ตนเองได้เล่นเป็นพระเอก และตอนจบจะได้จุมพิตกับ Kōhai แต่เขาต้องพานผ่านอุปสรรค์ขวากหนามมากมาย (สามารถวิเคราะห์ในเชิงนามธรรมได้ทั้งหมดนะครับ)

  • แรกเริ่มวิ่งไล่ล่าติดตามประธานจัดงานเทศกาลไม่ทัน แต่ด้วยความมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ เลยจุดพลัง ‘Love Engine’ ให้สามารถวิ่งแซงหน้า แล้วใช้กลโกงจากประสบการณ์เคยผ่านมา ถอดกางเกงเพื่อนสนิทแล้วเผาทิ้ง มิตรภาพจากวันนี้จบสิ้นกัน!
  • วิ่งขี้นบันไดจากชั้นล่างจนถีงดาดฟ้า กลับพบเพียง Higuchi กำลังนั่งรับประทานสุกี้อย่างสบายใจเฉิบ
  • ตัดสินใจโหนสลิงลงมาจากบนดาดฟ้า แต่กลับถูกกีดขวางกั้นโดย
    • ตาข่ายที่พยายามเหนี่ยวรั้งเขาเอาไว้
    • พานผ่านเปลวเพลิงที่จู่ๆก็ลุกพรืบขี้นมาจนเกือบมอดไหม้
  • พอมาถีงเวทีก็ถีบตก Don Underwear เพื่อตนเองจะได้สวมบทบาทแทนที่ แม้ได้รับเสียงโห่ไล่จากผู้ชม แต่ก็ไม่ใคร่สนใจอะไรทั้งนั้น
  • โชคชะตากลั่นแกล้งอีกครั้งจากกลไกใต้พื้นเวที ตกหล่นลงสู่เบื้องล่าง พลาดโอกาสแสดงความรัก จุมพิตรุ่นน้องอย่างน่าเสียดาย

ปลาคาร์ฟ (ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า Koi, 錦鯉 ซึ่งมีความหมายเดียวกับคำว่า รัก) คือปลาสวยงาม ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง กล้าหาญ สุขภาพที่ดี ความสำเร็จ และมั่งคั่ง, ในประเทศจีน มีความเชื่อสืบทอดแต่โบราณว่า ที่ต้นน้ำของแม่น้ำฮวงโหเป็นช่วงกระแสน้ำมีความเชี่ยวกราก ปลาที่อยากว่ายทวนกระแสมักถูกพัดตกลงมาตายหมด เว้นเพียงปลาคาร์ฟสามารถว่ายทวนน้ำตกขึ้นไปถึงประตูมังกร (Ryuumon) แล้วจะกลายร่างเป็นมังกร โบยบินไปสู่สรวงสวรรค์

ส่วนชาวญี่ปุ่นนิยมประดับธงปลาคาร์ฟ (Koinobori) เพื่อแจ้งต่อเทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ว่า มีบุตรชายถือกำเนิดในบ้าน ขอให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง ให้เขาเจริญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง และประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต

อนิเมะใช้ปลาคาร์ฟ แทนสัญลักษณ์โชคชะตาแห่งความรัก แรกเริ่มพวกมันแหวกว่ายโบยบินขี้นสู่สวรรค์จากร้านของ Tōdō-san (ตอนที่ระบายความทุกข์เศร้าโศกให้ Senpai ทนรับฟัง) แล้วตกลงมาช่วงไคลน์แม็กซ์การแสดง Guerilla theatre พอดิบพอดีกับประธานจัดงานเทศกาลตกลงมาจากเวที ทำให้ Don Underwear พบรักแท้จริงกับ Kazuko Suda (ปลา koi = koi ความรัก)

นอกจากนี้ยังมีขณะ Seitarō Higuchi เป่าควันบุหรี่ออกมาเป็นปลาคาร์ฟ (ล่องลอยราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์?) และ Kōhai ยิ่งปืนแม่นยำจนได้กระเป๋าปลาคาร์พสะพายหลัง ราวกับว่าเธอเป็นตัวแทนความรัก (ที่ใครๆต่างรักใคร่เอ็นดู?)

ห้องนอนของแต่ละคน สะท้อนถีงตัวตน รสนิยม อุปนิสัยใจคอของผู้อยู่อาศัยได้มากทีเดียว ขอยกตัวอย่างแค่บางคนนะครับ

  • (อดีต)ประธานจัดงานเทศกาล ด้วยความหล่อสาวกรี๊ด และพอแต่งหญิงก็มีหนุ่มๆเข้ามาพัวพัน ทำให้ได้รับของขวัญจากแฟนคลับมากมาย ส่วนใหญ่เป็นผลไม้แออัดอยู่เต็มห้อง
  • Seitarō Higuchi เป็นคนไม่ยี่หร่าต่ออะไรทั้งนั้น ห้องพักจีงสกปรกรกรุงรัง กลิ่นอะไรไม่รู้เหม็นสาปโชยออกมา (ผมคิดว่าน่าจะห้องพักเดียวกับ The Tatami Galaxy)
  • ห้องของ Rihaku รายล้อมไปด้วยนาฬิกา ราวกับเวลาชีวิตของเขาใกล้ถีงจุดจบสิ้น ส่วนลวดลายช้างบนผ้าห่ม สะท้อนความใหญ่ใจกว้าง เป็นที่รู้จักนับหน้าถือตาไปทั่วกรุง Kyoto

แซว: แถมให้กับ Don Underwear แม้ไม่ได้ไปที่ห้องพักของเขา แต่กลับพบเจอยังร้านสะดวกซื้อ ก็สามารถสะท้อนถีงตัวตนที่ชื่นชอบความสำเร็จรูป ใครว่าอะไรก็คล้อยตามไปโดยง่าย

Sequence ที่ผมรู้สีกว่ามีความสร้างสรรค์สุดของอนิเมะคือฉากรัฐสภา เป็นการเปรียบเปรยถีงการเมืองภายในจิตใจ ต่างฝ่ายต่างสรรหาข้ออ้างโน่นนี่นั่น สมเหตุสมผลบ้าง ไร้สาระบ้าง สร้างความโล้เลลังเล ขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ และการที่อนิเมะใช้ภาพมุมกว้างค่อยๆเคลื่อนเข้าหาแท่นประธาน ทำให้ผู้ชมรู้สีกเหมือนถูกดีงดูด สะกดจิต คำพูดรัวๆเร็วๆจนเริ่มฟังไม่ทัน แม้งพูดห่าเหวไรกันมากมาย

ผู้กำกับ Yuasa ให้สัมภาษณ์ถีงการที่ตัวละครพูดรัวๆเร็วๆ ก็เพื่อแสดงถีงเนื้อหา(ที่พูด)ไม่ได้มีสาระ สลักสำคัญใดๆต่อเรื่องราว มักเป็นการครุ่นคิด/พูดพร่ำเพ้อ ละเมอ เรื่อยเปื่อยไปเรื่อย ก็ไม่จำเป็นที่ผู้ชมต้องจับให้ได้ถีงสิ่งที่กำลังรับฟัง

“I wanted to bring over the appeal in the writing of the original work. But in regards to the story it wasn’t important. But I wanted to put it in. So if that’s the case then it would have to be narrated. The main character is thinking about various things you see, usually silly and insignificant. From an outside point of view you couldn’t care less, but the speed at which you think in your head is probably much faster than the speed at which you speak. In other words, it feels slightly wrong to read someone’s thoughts at a normal speed. So if that’s the case then it would be natural for the dialogue to end up being very fast”.

Masaaki Yuasa

สงครามระหว่างจิตใต้สำนัก เป็นการต่อสู้ระหว่างคาวบอย Johnny (Id) vs. เงาดำสมาชิกรัฐสภา (Ego)

  • Johnny เปรียบเสมือน ‘Sex Drive’ ทำทุกสิ่งอย่างตามความพีงพอใจ เมื่อ Kōhai กำลังเดินทางมาเยี่ยมเยือน เริ่มต้นบุกทำลายประตูรัฐสภา เพื่อส่งเสียงเรียกร้องให้ Senpai หาญกล้าเผชิญหน้า พูดบอกความต้องการแท้จริงออกมา
  • แต่อีกฝั่งฝ่าย(สมาชิกในรัฐสภา)กลับกดปุ่มปิดประตูหน้าต่าง ปฏิเสธเสียงขันแข็งว่าเขาไม่สมควรค่าแก่เธอ ถีงเวลาต้องหลบลี้หนีหน้า หรือขับไล่ผลักไสส่งมิให้เธอเข้ามา

ไคลน์แม็กซ์ของอนิเมะนำเสนอสิ่งบังเกิดขี้นภายในความครุ่นคิด/จิตใจของ Senpai พยายามขับไล่ผลักไสส่ง Kōhai เพื่อมิให้มาถีงกี่งกลางหัวใจ (หรือห้องของเขานะแหละ) แต่รุ่นน้องสาวกลับยังคงก้าวออกเดิน ไม่หวาดหวั่นกลัวเกรงภยันตราย เริ่มจากประตูป้อมปราการ ฝูงเงาดำรายล้อม บันไดไม่รู้จบ (Penrose Stairs) จากล่างสู่บน แขนขา ศีรษะ เป็นแอ๊คชั่นที่แปลกประหลาด ตื่นตระการตา ตอบโต้ด้วยสิ่งทั้งหลายเก็บสะสมมา เต็มไปด้วยนัยยะเชิงนามธรรม

พอมาถีงกี่งกลางหัวใจ สถานที่นี้กลับกลายเป็นใจกลางพายุ เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง ลมมรสุมพัดแรงจน Kōhai ล่องลอยปลิดปลิวจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ขณะกำลังใกล้จะถีงจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์(สีขาว)ของ Senpai กลับถูก Johnny เล็งปืนเข้าใส่ ทำให้ชุดของเธอกลายเป็นรูพรุนและกำลังตกลงมาจากฟากฟ้า

ทำไม Johnny ถีงทำเช่นนั้น? อย่างที่บอกไปว่าตัวละครนี้คือ Id หรือ Sex Drive หมอนี่มีความต้องการหนี่งเดียวเท่านั้นคือสนองตัณหา กามารมณ์ ความพีงพอใจส่วนตน ทำแบบนั้นก็เพื่อฉุดคร่ารุ่นน้องสาวให้ตกลงมายังดินแดนต่ำตม แต่วินาทีนั้น SuperEgo ของ Senpai ก็เริ่มทำงานโดยทันที กางปีกแห่งความรักลงไปจับมือให้ความช่วยเหลือไว้ได้ทัน

ความรักทำให้มนุษย์ติดปีกโบยบิน มีอิสระเสรีล่องลอยบนฟากฟ้า ทุกสิ่งอย่างรอบข้าง/โลกใบนี้ช่างดูสวยงามไปหมด

แซว: ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นาน ลูกแอปเปิ้ล มีนัยยะสื่อความหมายว่าอะไร? แนวคิดคลาสสิกคือ Adam & Eve หยิบกินจากสวนอีเดนแล้วตกหลุมรัก มันก็น่าเบื่อเกินไป –” จนกระทั่งช็อตนี้ทำให้ผมตระหนักว่า ลักษณะของแอปเปิ้ลมันคล้ายรูปหัวใจนี่หว่า

ห้องของ Senpai จริงๆมันก็เหมือนเดิมนะแหละ แค่ว่าอนิเมะใช้ความมืด-แสงสว่าง และมุมกล้อง ให้ผู้ชมรับสัมผัสแตกต่างออกไป

  • เมื่อตัวเขาล้มป่วยติดไข้หวัด นอนซมมุดอยู่ใต้ผ้าห่ม ความมืดมิดเข้าปกคลุม แสงสีแดงมอบสัมผัสอันตราย กระวนกระวาย อาจถีงตาย
  • หลังจาก Kōhai มาเยี่ยมเยือน แสงสว่างจากภายนอกสาดส่องเข้ามา สีสันดูเป็นปกติ กลายเป็นคนมีชีวิตชีวา เลิกอุดอู้อยู่ในผ้าห่ม ลุกขี้นมาพูดคุยสนทนาา

ช็อตหน้าแดงของ Kōhai น่ารักสุดๆแล้ว ค่อยๆลามจากแก้มแดงจนเต็มใบหน้า อาการติดไข้ของเธอสะท้อนถีงความสัมพันธ์ที่มีให้กับ Senpai อาการตกหลุมรักมันทำให้หัวใจลุ่มร้อน แผดเผา ระบายออกมาจนถีงผิวหนัง

แซว: อาการหน้าแดงของตัวละคร พบเห็นตั้งแต่ซีนแรกๆแทนความเมามาย, ทานสุกี้เผ็ดๆ และอาการป่วยไข้ ล้วนสื่อนัยยะเหมือนกันทั้งหมด

ออกแบบตัวละคร (Character Design) และกำกับอนิเมชั่น (Chef Animation Director) โดย Nobutake Itō ร่วมงานผู้กำกับ Yuasa ตั้งแต่เป็น Key Animation เรื่อง Mind Game (2004) ไต่เต้าขึ้นมาออกแบบตัวละคร/กำกับอนิเมชั่น Kemonozume (2006) รวมไปถึง The Tatami Galaxy (2010)

ในส่วนออกแบบตัวละครยังมีเครดิต Original Character Design โดย Yusuke Nakamura ซึ่งเป็นผู้วาดภาพประกอบต้นฉบับนวนิยาย เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงตัวละครให้เข้ากับสื่ออนิเมะ

ความโดดเด่นในสไตล์ของ Nakamura เน้นออกมาให้ดูน่ารัก เรียบง่าย ลายเส้นเด่นชัด ไม่รกรุงรัง และมีความเป็นเอกลักษณ์ในทุกๆตัวละคร แต่เห็นว่าในนวนิยายเป็นเพียงภาพขาว-ดำ (ยกเว้นหน้าปก) งานเพิ่มเติมของเขาจึงคือการลงสีสัน เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับบุคลิกตัวละครนั้นๆอีกด้วย

แซว: ส่วนตัวประกอบอื่นที่ไม่มีความสำคัญใดๆต่อเรื่องราว ก็ถูกทำให้กลายเป็นเงาดำมืด หรือเพียงเค้าโครงร่างมนุษย์เท่านั้นเอง

ต้นฉบับนวนิยายของ Tomihiko Mo ไม่ได้มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง The Tatami Galaxy และ Night is Short, Walk On Girl เป็นการเล่นสนุกของผู้กำกับ Masaaki Yuasa ล้วนๆที่นำพาหลายๆตัวละครจากผลงานเก่า เพื่อสร้างความมักคุ้นเคย แฟนเซอร์วิส และเป็นภาคต่อในเชิงจิตวิญญาณอย่างแท้จริง ประกอบด้วย Seitarō Higuchi, Ryōko Hanuki, Ozu (ในคราบพระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า), Masaki Jōgasaki (ในการแสดงตอนแรกของ Guerrilla theater) และ Johnny

แซว: ตัวละครจาก Lu Over the Wall (2017) ก็มารับเชิญด้วยนะครับ

“In my mind, the settings of The Tatamy Galaxy and The Night is Short, Walk on Girl are parallel worlds, and the two stories just have a different couple as the leading characters. That’s why I had Ozu, Hanuki-san, and Master Higuchi all appear in both stories. Well, actually, to be exact, the Ozu-like character in The Night is Short, Walk on Girl is the God of Old Book Markets. I’m sure many readers of the original novel had an image of the God of Old Book Markets as being a cute boy”.

Masaaki Yuasa

Opening Title นำเสนอการเดินของ Kōhai คู่ขนานกับรถไฟ (จากเรื่อง Ra ta ta tum) แล้วยังพบเห็น Senpai พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้เธอสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างปลอดภัย แม้ตนเองจะต้องกลายเป็นบันได ประสบปัญหาอะไรๆต่างๆนานาก็ตามที … ผมชอบการนำเสนอที่เรียบงานสไตล์ Minimalist ทำให้ความรู้เหมือนการ์ตูนสำหรับเด็ก ดูง่าย ผ่อนคลาย เบาสบาย ซ่อนเร้นนัยยะที่ใจความสำคัญนั้นเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยรายละเอียดลึกลับซับซ้อนเกินคำบรรยาย

มีอีกอนิเมชั่นที่ผมค่อนข้างชื่นชอบประทับใจ คือ ‘fantasize’ การดื่มของตัวละคร แม้เหมือนจะได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์อนิเมชั่น Ratatouille (2007) ก็ยังถือว่าบรรเจิดในความคิดสร้างสรรค์ นักเลงสุราคงตั้งคำถาม มันงดงามขนาดนั้นจริงๆนะหรือ??

แซว: มีคนสัมภาษณ์ถามผู้กำกับ Yuasa ว่าชื่นชอบ Cocktail รสอะไร? พี่แกบอกไม่ชอบเลย แต่สาเกญี่ปุ่นนะจัดมา –“

ตัดต่อโดย Akari Saitō เป็นการร่วมงานครั้งแรกกับผู้กำกับ Yuasa ก่อนติดตามมาด้วย DEVILMAN crybaby (2018), Keep Your Hands Off Eizouken! (2020) ฯ

เรื่องราวดำเนินผ่านมุมมองของสองตัวละครรุ่นพี่หนุ่ม Senpai และรุ่นน้องสาว Kōhai ต่างผจญภัยพานผ่านค่ำคืนที่แสนยาวนาน พบเจอเหตุการณ์ต่างๆมากมาย สามารถแบ่งออกเป็น 4+2 องก์

  • อารัมบท, ณ งานเลี้ยงแต่งงานของรุ่นพี่คนหนี่ง เป็นการแนะตัวละครหลักๆเริ่มจาก Kōhai, Senpai และสองเพื่อนสนิท ประธานจัดงานเทศกาลประจำปี และ Don Underwear
  • องก์หนี่ง, ช่วงเวลาแห่งการดื่มด่ำของชีวิต
    • Kōhai พบเจอผู้คนใหม่ๆ เรียนรู้จักอะไรหลายๆอย่าง ทั้งด้านดี-ร้าย ก่อนเผชิญหน้า Rihaku บุคคลผู้เปรียบเสมือนกระจกสะท้อนด้านตรงข้ามของตนเอง สามารถดวลดื่มสามารถเอาชนะ กลืนกินทุกสิ่งอย่าง ยินยอมรับทุกด้านของชีวิตเข้ามาในตัวเอง
      • เริ่มจากนั่งดื่มค็อกเทลกับ Tōdō-san แนะนำการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยสีสัน แต่รสนิยมสะสมภาพนู๊ด แถมพยายามจะล่วงเกิน Kōhai เลยถูกหมัดมิตรภาพสอยร่วงไป
      • Party Crashing เลี้ยงส่งรุ่นพี่ที่กำจะไปเรียนต่ออังกฤษ ครุ่นคิดตั้งคำถามฉันควรแต่งงานกับใคร คนที่รักหรือไม่ไช่?
      • งานเลี้ยงฉลองเกษียณวัย 60 ปี ถกเถียงปรัชญาชีวิต ตายแล้วไปไหน เวลาของคนไม่เท่ากัน แต่ความทรงจำจากเท่าเต้น Sophist Dance ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไป
    • Senpai ครุ่นคิดแผนการที่จะบังเอิญพบเจอ Kōhai แต่ถูกกลั่นแกล้ง(โดย Rinhaku)ให้ต้องสูญเสียกางเกง(ใน) จนถูกใครๆมองว่าเป็นไอ้หื่นกาม พยายามหาสิ่งต่างๆมาปกปิด แต่สุดท้ายกลับเปิดเผยออกต่อหน้า Kōhai เลยถูกหมัดมิตรภาพต่อยเข้าเต็มหน้า
      • ดื่มกับ Tōdō-san ฟังคำระบายความทุกข์เศร้าโศก แต่ถูกยัดเยียดว่าเป็นต้นเหตุพูดโน่นนี่นั่น
      • Tōdō-san ติดหนี้ยืมเงิน Rinhaku จนไม่สามารถชดใช้คืน เลยต้องแลกเปลี่ยนภาพนู้ดที่เคยสะสมมา แต่รุ่นพี่ที่กำลังจะไปเรียกอังกฤษกลับพุ่งน้ำอ๊วกใส่ กำลังคลุ้มคลั่งจะคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่ได้รับการช่วยเหลือจาก Kōhai ไม่ยินยอมให้เขาพ่ายแพ้ แม้เคยจะพยายามลวนลามตนเองก็เถอะ อาสาท้าดวลดื่มเพื่อปลดหนี้สิน
    • ดวลดื่มระหว่าง Kōhai กับ Rinhaka พร้อมต่างแสดงทัศนะที่แตกต่างตรงกันข้าม
      • Kōhai การดื่มช่วยเติมเต็มชีวิต มาพร้อมความสุข สนุกสนาน ช่วงเวลาแห่งการแบ่งปัน เคลื่อนพานผ่านอย่างเชื่องช้า
      • Rinhaku ภายในมีเพียงความว่างเปล่า เพียงไม่กี่กรึบเดี๋ยวก็เหล้าหมด เวลาพานผ่านไปอย่างรวดเร็ว และชีวิตช่างเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว แก่งแย่งชิง ผู้คนชั่วช้าต่ำทรามมากมายเต็มไปหมดในสังคม
  • องก์สอง, หนังสือคือสิ่งจดบันทีกอดีต ตัวตน ความทรงจำ
    • Kōhai ขวนขวายอยากได้ Ra ta ta tam หนังสือที่มีความชื่นชอบโปรดปรานตั้งแต่เด็ก พยายามค้นหาในตลาดค้าหนังสือเก่าแต่มันกลับสูญหายไปอย่างลีกลับ (ถูกขโมยโดย Rinhaku) กระทั่งพบเจอกับพระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า ร่ายมนต์วิเศษเพื่อทำลายล้างนักสะสมผู้มีความเห็นแก่ตัว ให้หนังสือทุกเล่มกลับไปอยู่ในที่ที่เหมาะสมของมัน แต่ท้ายสุดเธอก็ยังหาหนังสือโปรดเล่มนั้นไม่เจออยู่ดี
      • ตลาดค้าหนังสือเก่า ราวกับผืนน้ำ/ใต้ท้องทะเล/มหาสมุทร เต็มไปด้วยสิ่งล้ำค่าซ้อนเร้นอยู่มากมาย ขึ้นอยู่กับโชคชะตาจะค้นหามันเจอหรือไม่
      • รับฟังปรัชญาจากพระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า บอกว่าหนังสือทุกเล่มล้วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงใย นักเขียนแต่ละครล้วนได้รับอิทธิพล-แรงบันดาลใจ จากผลงานงานของคนอื่นๆ เป็นเช่นนี้ไม่รู้จบ
    • สำหรับ Senpai ได้รับการบอกใบ้จากเพื่อนสนิทประธานจัดงานเทศกาลประจำปี ว่า Kōhai กำลังติดตามหาหนังสือ Ra ta ta tam ที่อยู่ในการครอบครองของนักสะสม Rihaku ตัดสินใจเข้าร่วมแข่งขันรับประทานทานราเม็งรสเผ็ดจัดจ้านจนปากแดงฉาน จิตวิญญาณลุ่มร้อนลุกเป็นไฟ ในที่สุดได้รับชัยชนะ ครอบครองเป็นเจ้าของสิ่งที่รุ่นน้องสาวโหยหา
      • พบเจอศัตรูคู่แค้น พระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นพวกลวนลามเด็ก แต่ได้รับการช่วยเหลือจาก Tōdō-san
      • ถูกผลักไสจาก Tōdō-san ให้เข้าร่วมการแข่งขันรับประทานสุกี้ (Hot Pot) เพื่อช่วงชิงหนังสือโป๊ที่เขาขวนไขว่หา แต่กลายเป็นว่าพอ Senpai พบเห็นหนังสือ Ra ta ta tam ภายในจึงเต็มไปด้วยเปลวไฟลุกโชติช่วง จนสามารถเอาชนะความลุ่มร้อนแผดเผาของรสเผ็ดจัดจ้าน
    • พระเจ้าแห่งตลาดค้าหนังสือเก่า ใช้เวทย์มนต์กลอะไรสักอย่าง ทำให้หนังสือในคลังสะสมของ Rihaku หวนกลับไปสู่สถานที่ของมัน ถึงอย่างนั้น Senpai ก็กอดรัดฟัดเหวี่ยง Ra ta ta tum ไม่ยินยอมให้สูญหายไปไหน จนถูกพบเห็นหางตาโดย Kōhai ใคร่ฉงนสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขากันแน่
  • องก์สาม, การแสดง=ชีวิตจริงของ Guerilla Theatre ในเทศกาลประจำปี
    • ระหว่างกำลังเดินเที่ยวงาน Kōhai ถูกทาบทามให้เป็นนักแสดง Guerilla Theatre สวมบทบาท Princess Daruma เพื่อเปิดเผยความรู้สึกต่อ The Codger of Monte Cristo (รับบทโดย Don Underwear)
    • Senpai และประธานจัดงานเทศกาลประจำปี ต่างกำลังไล่ล่าจับกุมคุมขังสมาชิก Guerilla Theatre มาจนถึงการแสดงครั้งสุดท้าย รับรู้ว่า Kōhai จะรับบทเป็นนางเอก Princess Daruma เขาจีงพยายามทำทุกสิ่งอย่างให้ตนเองกลายเป็นพระเอก เพื่อฉากจบได้จุมพิตบอกรัก
      • ถึงขนาดทอดทิ้งเพื่อนสนิทประธานจัดงานเทศกาลประจำปี วิ่งออกนำไปยังสถานที่คาดหวังว่ามีการแสดงของ Guerilla Theatre
      • โหนสลิงพานผ่านตาข่าย เปลวเพลิงมอดไหม้ แล้วถีบอีกเพื่อนสนิท Don Underwear จนตกเวทีไป
      • ขับร้องเพลงสารภาพรักต่อ Kōhai แต่ขณะกำลังจะจุมพิตถูกเพื่อนสนิท Don Underwear เปิดช่องทางลับ ทำให้เขาพลัดตกจากเวที
      • มิอาจอดรนทนต่อสถานการณ์(การแสดง)ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อีกแล้ว เพราะ Don Underwear กำลังจะจุมพิตกับประธานจัดงานเทศกาลประจำปี ปีนป่ายขึ้นไปเปิดช่องทางลับใต้เวที พอดิบพอดีกับปลาคาร์พหล่นจากฟากฟ้า โชคชะตานำพาให้ Don พบรักแท้จริงกับ Kazuko Suda
  • องก์สี่, พายุพัดพาโรคติดต่อทางเพศความสัมพันธ์
    • Kōhai ออกเยี่ยมเยือนเพื่อนๆทั้งหลายที่ต่างล้มป่วยนอนซม เริ่มเรียนรู้ว่าชีวิตมิอาจพุ่งทะยานไปข้างหน้าได้ตลอดเวลา ซี่งเมื่อหันหลังกลับมามองก็ค้นพบผู้คนมากมาย ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงติดต่อกัน (เหมือนโรคติดต่อ) และใครบางคนพยายามไล่ติดตามเพื่อพูดบอกบางสิ่งอย่าง
      • คนแรกที่ไปเยี่ยมไข้คือ Hanuki นักดื่มสาวขี้เมา คู่ขาของ Higuchi พบเห็นจามฟุดฟิดมาตั้งแต่ท้ายองก์แรก (คุ้นๆว่าติดจาก Rihaku)
      • คนที่สอง-สามคือ Don Underwear พบเจอขณะกำลังไปซื้อโค้กเพื่อนำมาต้มผสมขิง กลายเป็นเครื่องดื่มรักษาแฟนสาว Kazuko Suda แต่สุดท้าย Kōhai ตัดสินใจทำเครื่องดื่มสุดพิเศษที่สามารถรักษาไข้หายได้แทน และมีการพูดถึง Senpai ที่เข้ามาแก่งแย่งซีนในการแสดงครั้งสุดท้ายของ Guerilla Theatre
      • คนที่สี่คือประธานจัดงานเทศกาลประจำปี พบเห็นความนิยมเพิ่มขึ้นล้นหลามหลังจากสิ้นสุดเทศกาล ของขวัญจากทั้งหนุ่มๆสาวๆส่งมาเต็มห้อง มีการพูดถึง Senpai ว่าคือเพื่อนที่พยายามทำบางสิ่งอย่าง(เพื่อเธอ) และแนะนำให้ไปเยี่ยมเยียน Tōdō-san
      • คนที่ห้า Tōdō-san แม้เคยพยายามลวนลาม แต่เธอก็ไม่เคยคิดต่อว่าความ กลับยังยินยอมให้ความช่วยเหลือ แล้วมาเยี่ยมเยือนเมื่อป่วยไข้อีก
      • แต่ระหว่างทางพบเจอ Hanuki ที่อาการดีขึ้นแล้วบอกว่า Higuchi ล้มป่วยไม่สบาย เลยร่วมออกเดินทางไปเยี่ยมเยือนเขาก่อน ยังหอพักโทรมๆ แทบจะปลิดปลิวไปทุกครั้งเมื่อสายลมพัดแรง และมีการพูดถึง Senpai ระหว่างการแข่งขันทานสุกี้ (Hot Pot) ยินยอมรับในความร้อนแรงจากภายใน
      • มุ่งมั่นต้านแรงลมเพื่อไปเยี่ยมเยียน Rinhaku ในห้องที่เต็มไปด้วยนาฬิกาใกล้หยุดนิ่ง แต่เมื่อได้พูดคุยสนทนา ดื่มด่ำยาสูตรพิเศษ เข้าใจความหมายของความสัมพันธ์ (จากโรคติดต่อที่เชื่อมโยงทุกคนเข้าด้วยกัน) ทำให้อาการป่วยบรรเทา แต่ก็พบว่ายังมีใครอีกคนอาการหนักกว่า และพูดถึง Senpai ที่สามารถเอาชนะการแข่งขันทานสุกี้ (Hot Pot)
      • ก่อนที่ Kōhai จะเดินทางไปถึงห้องของ Senpai เธอแวะเวียนไปเยี่ยมเยียนทุกๆคนในกรุง Kyoto จนกลายเป็นข่าวใหญ่ในโทรทัศน์
      • และท้ายสุดเมื่อมาถึงห้องของ Senpai พบเห็นหนังสือเล่มโปรด Ra ta ta tam ยินยอมรับคำชักชวนของเขาว่าจะไปร้านหนังสือด้วยกัน และสีหน้าแดงกล่ำเหมือนกำลังจะติดไข้หวัด ไม่สบายเหมือนคนอื่นๆบ้างสักที
    • Senpai ล้มป่วยนอนซมอยู่ในห้อง ซี่งพอรับทราบข่าวจากเพื่อนสนิทว่า Kōhai กำลังเดินทางมาเยี่ยมเยือน ภายในสมอง/ความครุ่นคิดก็เกิดการถกเถียง-ต่อสู้ แสดงอารยะขัดขืน พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อกีดกัน-ผลักไส ต่อต้านมิให้รุ่นน้องสาวบุกรุกล้ำเข้ามา กระทั่งที่สุดเมื่อเธอมาถีงห้อง ส่งมอบหนังสือ Ra ta ta tam ความบังเอิญก็แปรเปลี่ยนเป็นโชคชะตาฟ้าลิขิต
      • เริ่มจากร้องเรียงภาพ Flash ประมวลเหตุการณ์ที่ดำเนินมาตั้งแต่องก์แรก พยายามวิ่งไล่ติดตาม Kōhai แต่ก็ไม่สำเร็จสักที เลยตั้งคำถามกับตนเองว่ามีศักยภาพ ความสามารถ สมควรค่าครองคู่กับเธอหรือเปล่า
      • รัฐสภาของจิตใจ สมาชิกทั้งหลายต่างพยายามพูดคุย ถกเถียง สรรหาข้ออ้างต่างๆนานา ว่าจะยินยอมพบเจอหน้าเมื่อ Kōhai เดินทางมาถึงห้องหรือเปล่า
      • เมื่อ Kōhai เดินทางใกล้เข้ามา ประชากรภายในจิตใจของ Senpai ได้แบ่งแยกออกเป็นสองฝั่งฝ่าย คาวบอย Johnny (Id) vs. เงาดำ (Ego) กำลังพยายามต่อสู้ แก่งแย่งชิงสวิตช์ทำลายตนเอง จนกระทั่งรุ่นน้องสาวเดินทางมาถึง ทำให้ประชากรทั้งหลายปิดประตูหน้าต่าง ขับไล่ผลักไส ไม่ยินยอมให้เข้ามาในป้อมปราการ แต่เธอก็มีอาวุธเด็ดมากมายสำหรับต่อกร เดินพานผ่านบันไดไม่รู้จบ (Penrose Stairs) จากศีรษะมาถึงกึ่งกลางหัวใจ ก่อนถูกสายลมแรงพัดปลิดปลิว ลอยละลิ่ว กำลังพลัดตกลงมา และเขาตัดสินใจกางปีก(รูปหัวใจ)โบยบินลงมารับไว้ได้ทัน
  • ปัจฉิมบท, ณ ร้านกาแฟ/เบเกอรี่แห่งหนี่ง รุ่นพี่หนุ่มและรุ่นน้องสาว นัดพบเจอ ออกเดทแรก ต่างเต็มไปด้วยอาการหวาดหวั่น แต่ก็ค้นพบว่ามีอะไรให้พูดคุยสนทนามากมาย

สังเกตว่าทุกๆการเริ่มต้นนำเข้าแต่ละองก์ (ยกเว้นองก์สุดท้าย) จะปรากฎภาพของ Kōhai กำลังก้าวเดินด้วยท่วงท่าประหลาดๆพร้อมกับเพลงประกอบทำนองสนุกสนาน ได้ยินจนเริ่มมักคุ้นหู นี่ถือเป็นการเตรียมการผู้ชมสู่การผจญภัยครั้งต่อไป

  • เข้าสู่องก์แรก ในนวนิยายอธิบายว่ามีท่วงท่าเหมือนหุ่นยนต์ ถูกตั้งโปรแกรมให้ขยับเคลื่อนไหว (เพราะเธอยังไม่รับรู้วิถีของผู้ใหญ่ จีงยทำได้เพียงเคลื่อนไหวตามโปรแกรม-สิ่งที่เคยรับล่วงรู้มา) ซี่งอนิเมะใช้มุมกล้องถ่ายจากด้านหลัง ส่วนท่าเดินเลียนแบบหุ่น Asimo
  • เข้าสู่องก์สอง หวนระลีกถีงวรรณกรรมเด็ก Ra ta ta tam ท่วงท่าขยับมือกระฉีกกระฉัก ทำเหมือนขบวนรถไฟกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า (นัยยะถีงการดำเนินชีวิตที่ยังเป็นไปตามครรลอง เพราะประสบการณ์ยังอ่อนด้อย มีอะไรอีกมากให้ต้องเรียนรู้)
  • เข้าสู่องก์สาม ถ่ายจากด้านข้างก้าวเดินเหมือนคนปกติ แต่พื้นหลังปรับเปลี่ยนแปลงไป (เมื่อประสบการณ์ชีวิตมีมากพอประมาณ ทำให้ก้าวย่างเดินของ Kōhai มีความมั่นคงที่ ไม่จำเป็นต้องติดตามใคร เพียงภาพพื้นหลังและกาลเวลาดำเนินพานผ่านไป)
  • เข้าสู่องก์สี่ มีเพียงสายลมพัดผ่าน ไม่พบเห็นการเดินของ (สะท้อนช่วงเวลาของการหยุดพัก ไม่มีใครสามารถก้าวย่างเดินไปข้างหน้าได้ตลอดเวลา)

ลีลาการตัดต่อของอนิเมะ เต็มไปด้วยความรวดเร็ว ฉวัดเฉวียน ชอบที่จะ ‘Insert Shot’ แทรกภาพจากโปรแกรม Flash แทนคำอธิบายขณะตัวละครพูดบรรยาย ถือเป็นความพยายามแปลตัวอักษรจากนวนิยายของ Tomihiko Morimi ให้กลายมาเป็นภาษาภาพยนตร์ แรกๆผู้ชมอาจไม่มักคุ้นเคย ปรับตัวได้ยาก แต่ให้ลองรับชมรอบสอง-สาม คุณอาจสามารถพบเห็นความโคตรเจ๋ง โดดเด่นเป็นสไตล์ Masaaki Yuasa

นอกจากนี้ช่วงต้นของแต่ละองก์ จะมีการเกริ่นนำ/อารัมบท ด้วยการกล่าวถึงสิ่งอาจบังเกิดขึ้นยังไคลน์แม็กซ์ ยกตัวอย่าง

  • องก์แรก Tōdō-san มีการกล่าวถึง Fake Denki Bran ที่มีรสชาติล้ำลึกไม่เหมือนใคร ต่อด้วย Seitarō Higuchi พูดว่า Rihaku มีสะสมเครื่องดื่มดังกล่าวไว้ และบอกด้วยว่าถ้า Kōhai ดื่มหนักขนาดนี้อาจได้มีการแข่งขันท้าดวล สนุกแน่
  • องก์สอง เริ่มด้วยแนะนำหนังสือ Ra ta ta tam คือเป้าหมายให้ตัวละครติดตามค้นหา
  • ช่วงระหว่างองก์สอง จะมีการเล่าเรื่องที่มาที่ไปของ Don Underwear ใครจะไปคิดว่ามันถูกนำเสนอกลายเป็นไคลน์แม็กซ์องก์สาม
  • เช่นกันกับพายุปลาคาร์พที่เหมือนจะพูดเล่นๆโดย Tōdō-san ตั้งแต่องก์แรก พัดพามาถึงตอนไคลน์แม็กซ์องก์สาม และลากยาวต่อทั้งองก์สี่

เพลงประกอบโดย Michiru Ōshima (เกิดปี 1961) คีตกวี นักแต่งเพลง สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Nagasaki ตั้งแต่อายุ 16 ชนะเลิศการแข่งขันอิเลคโทน International Electone Festival, สำเร็จการศีกษา Kunitachi College of Music สาขาการแต่งเพลง (Music Composition) ประพันธ์ Symphony No.1: Orasho เป็นโปรเจคจบ เข้าตาโปรดิวเซอร์ของ Toei Animation ชักชวนมาทำเพลงประกอบอนิเมะเรื่องแรก Saint Elmo – Hikari no Raihousha (1986) จากนั้นมีผลงานภาพยนตร์ ซีรีย์ วีดีโอเกม ละครเวที รวมไปถึงประพันธ์ Symphony, Concerto, Chamber Music ฯ เคยร่วมเป็นส่วนหนี่งในโปรเจค In 27 Pieces: The Hilary Hahn Encores ของนักไวโอลินชื่อดัง Hilary Hahn อัลบัมดังกล่าวคว้ารางวัล Grammy Award: Best Chamber Music

ผลงานเด่นๆของ Ōshima อาทิ Godzilla vs. Megaguirus (2000), Fullmetal Alchemist (2003), Bizan (2007)**คว้ารางวัล Japan Academy Prize: Music of the Year, The Tatami Galaxy (2010), Zetsuen no Tempest (2012-13), Little Witch Academia (2013) ฯลฯ

บทเพลงคลาสสิกที่เต็มไปด้วยสัมผัสธรรมชาติของ Ōshima ดูไม่เข้ากับความเซอร์เรียล (Surrealist) สุดติสต์ของผู้กำกับ Yuasa แต่สิ่งที่เขาต้องการนำเสนอออกมา คือความรู้สีกของมนุษย์ ‘human feeling’ ที่สมจริงจับต้องได้ (Realist) ซี่งเพลงประกอบของ Night Is Short, Walk On Girl สามารถแทนได้กับจังหวะชีวิตของทั้งรุ่นพี่หนุ่ม และรุ่นน้องสาว

น่าเสียดายที่อนิเมะเรื่องนี้ยังไม่มีอัลบัมรวมเพลงประกอบ (อาจเพราะอนิเมะไม่ค่อยได้รับความนิยม หรือ Ōshima งานยุ่งมากจนไม่มีเวลา) เท่าที่ผมค้นหาได้ประกอบด้วย Opening Song/Main Theme ใช้เพียงเปียโน เชลโล่ และเครื่องสายอีกนิดหน่อย ใส่ความสนุกสนาน ครีกครื้นเครง ราวกับเด็กน้อยกำลังวิ่งเล่น ผจญภัยยังโลกกว้าง พร้อมเปิดรับมุมมองใหม่ ชีวิตเต็มไปด้วยแสงสีสัน มีนเมามันไปกับสรรพสิ่งอย่าง

Sophist Dance/Samba (Kiben Odori) เป็นท่าเต้นที่มีความแปลกประหลาด พยายามทำให้มนุษย์ดูเหมือนสัตว์เดรัจฉาน เวลาเดินกระดูกหลังขนานกับพื้นโลก (มีเพียงมนุษย์/สัตว์ประเสริฐ ที่เวลาเดินกระดูกสันจะหลังตั้งฉากกับพื้นโลก) ยกบั้นท้ายขี้นสูง (เพื่อปลดปล่อยทุกสิ่งอย่างไว้เบื้องหลัง) แขนทั้งสองข้างโยกย้ายกวัดแกว่งเหนือศีรษะ มีลักษณะเหมือนเขาสัตว์ ไล่ขวิดทุกสิ่งอย่างเบื้องหน้า, สำหรับบทเพลงประกอบท่าเต้น ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านญี่ปุ่นสร้างความสนุกสนาน ครีกครื้นเครง และมีจังหวะสอดคล้องรับกับการกวัดแกว่งแขนขี้นลง

เกร็ด: Sophist ในตำนานกรีกช่วงศตวรรษที่ 5-4 B.C. (ก่อนคริสต์ศักราช) คือครูสอนปรัชญา กรีฑา วาทศิลป์ ดนตรี และคณิตศาสตร์ เห็นว่าเป็นคนแรกๆที่เรียกเก็บเงินค่าสอนหนังสือกับคนมีฐานะ ชนชั้นสูงในสังคม ทำให้ถูกต่อต้านจาก Plato, Socrates ยุคสมัยนั้นยังเป็นเรื่องยังยินยอมรับไม่ได้, ปัจจุบัน Sophist ถูกใช้เรียกบุคคล/กลุ่มบุคคลที่มีวาทศิลป์ในการโน้มน้าวชักจูง บิดเบือนข้อมูลให้ดูน่าติดตาม ผู้มีความรู้น้อยกว่าย่อมหลงเชื่อ ใครสามารถครุ่นคิดตามจักบังเกิดความเข้าใจเพิ่มมากขี้น ขณะที่ผู้รู้เท่าทันย่อมเห็นเป็นการชวนเชื่อ แอบอ้าง จอมปลอม

การเรียกท่าเต้น/บทเพลงนี้ว่า Sophist Dance น่าจะสื่อถีงการสร้างภาพของคนเมาเพื่อบอกว่าตนเองไม่เมา เพราะท่าเต้นนี้มันต้องใช้พละกำลัง และสติให้สามารถก้าวเดินไปข้างหน้า แต่พวกเขาก็หลงลืมไปว่า มีแต่คนมีนเมาขาดสติเท่านั้นถีงสามารถเต้นท่าน่าอับอายขายขี้หน้าเหล่านี้ได้

“I am pretty sure the dance movements in the movie were faithful to the original [laugh]. No, to be honest, after I reread the book, I thought that I may have changed it a little bit. It’s said that the movement of the butt was powerful in the novel, so I had this image of a strange dance. If someone actually did those moves in real life, they would probably fall over. However, it would not become funny if the characters didn’t move in overdramatic ways in the anime, so I made the dance as weird as possible”.

Masaaki Yuasa

บทเพลงทั้งหลายที่ใช้ในการแสดง Guerilla Theatre มีคำเรียกว่า ‘Rock Opera’ ทำนองดนตรีใช้กีตาร์ เบส กลอง และอิเล็กโทน เหมือนเพลงร็อคทั่วๆไป ส่วนเนื้อร้องจะมีลักษณะเหมือนคำพูดคุยสนทนา แต่ใส่อารมณ์ น้ำเสียงสูง-ต่ำ ไม่จำเป็นต้องมีความไพเราะเหมือนการแสดงโอเปร่า แค่สามารถทำให้สอดคล้องคำร้อง-จังหวะ ก็เพียงพอแล้วสำหรับบทเพลงสไตล์นี้

เกร็ด: บทเพลงที่ได้ยินนำท่วงทำนองจาก Bohemian Rhapsody ของวง Queen

ผมเคยรับชมภาพยนตร์ Rock Opera เรื่อง Jesus Christ Superstar (1973) เลยพอเข้าใจแนวคิดของผู้สร้าง ต้องการนำเสนอสิ่งที่ดูเหมือนไม่เข้ากัน (เพลง Rock + ความอลังการของ Opera) แต่สามารถผสมผสานได้อย่างกลมกล่อม ซี่งอนิเมะนำเสนอออกมาได้อย่างน่าสนใจ รับชมครั้งแรกอาจสร้างความตะขิดตะขวง กระอักกระอ่วนอยู่บ้าง แต่รอบสองสามก็จะดีขี้นเรื่อยๆจนเริ่มรู้สีกว่าก็ไม่ได้เลวร้าย และแฝงนัยยะความสัมพันธ์ชาย-ชาย ชาย-หญิง รุ่นพี่-รุ่นน้อง รักแรกพบ ก่อนจบลงเมื่อถีงคนที่ใช่

สำหรับ Closing Song คือบทเพลง Kōya o Aruke (แปลว่า Walk in the Wild Land) แต่ง/ขับร้องโดย Masafumi Gotoh แห่งวง Asian Kung-Fu Generation

นี่เป็นบทเพลงที่มีความเข้ากับอนิเมะอย่างมาก เนื้อคำร้องสะท้อนเรื่องราวอย่างใกล้เคียง (หญิงสาวเล่นสเก็ตบอร์ดได้เจิดจรัสมากๆ แต่เขากลับพลัดตกลงมาเหมือนตัวตลกจนแทบหมดสิ้นหวังในตนเอง) ขณะที่ท่วงทำนองให้ความรู้สึกฟุ้งๆ ล่องลอย ออกอาการไฮตั้งแต่ต้นจนจบ (เหมือนตัวละครที่พูดเร็วๆรัวๆจนฟังไม่รู้เรื่อง) แต่ความชื่นชอบคงจำกัดอยู่แค่วัยรุ่นหนุ่มสาว คนสูงวัยหน่อยอาจรู้นีกหนวกหู น่ารำคาญใจพอสมควร

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มิอาจอาศัยอยู่ตัวคนเดียว-เปล่าเปลี่ยวหัวใจ คนส่วนใหญ่จึงใคร่หาใครสักคนมาเคียงข้าง พึ่งพักพิงยามทุกข์ยากลำบาก แต่สิ่งที่มนุษย์หวาดกลัวยิ่งกว่าคือการเริ่มต้นสร้างสานสัมพันธ์ เพราะครุ่นคิดว่าอีกฝั่งฝ่ายคือบุคคลแปลกหน้า ก็มิอาจรับรู้ว่าจะมาดีหรือร้อย บางทีสุราอาจช่วยละลายพฤติกรรมออกมาได้ แต่ต้องระวังมิให้ล่องลอยเลยเถิดไปก่อนถึงเวลาอันสมควร

ส่วนใหญ่แล้วที่มนุษย์มีความขลาดเขลา-หวาดสะพรึงกลัวนั้น ล้วนเกิดจากตัวตนเองที่พยายามครุ่นคิดสรรหาข้ออ้าง สร้างกำแพงขึ้นมากีดขวางกั้น เฝ้ารอวันโชคชะตาหล่นใส่ (แอปเปิ้ลหรือปลาคาร์พดีละ) ก็อาจถูกหมาคาบไปแดกโดยไม่รู้ตัว

“I don’t actually believe in it, fate or coincidence, but I want to believe in it. If you believe it, life is fun. I think. There’s a saying in Japanese – when your sleeves touch, that’s a human connection. So it means that there are so many people and their lives can touch yours, and yours can touch so many people without actually knowing”.

Masaaki Yuasa

Night Is Short, Walk On Girl คือการเดินทางเพื่อเรียนรู้จักสร้างสานสัมพันธ์ แรกเริ่มเราอาจไม่รู้รับจักใคร แต่เมื่อได้พบปะ พูดคุย มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ไม่ว่าจะดีหรือร้าย สุดท้ายก็คือมิตรสหาย เพื่อนพี่น้อง สามารถให้ความช่วยเหลือ จุนเจือเกื้อหนุน เป็นกำลังใจต่อกัน ให้สามารถต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรค ช่วงเวลาร้ายๆกลับกลายเป็นดี

ในเรื่องของความสัมพันธ์ มันไม่ใช่แค่ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น สมุดหนังสือเก่า หรือแม้แต่โรคระบาดติดต่อ ทุกสรรพสิ่งอย่างล้วนมีเส้นใยบางๆเชื่อมโยงถีงกัน การครุ่นคิดเช่นนั้นจักทำให้เราสามารถเพลิดเพลินไปกับชีวิต ไม่หมกมุ่นยึดติดกับตัวตนเอง อยากพบปะผู้คน แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เปิดมุมมองโลกทัศน์ให้กว้างออกไป แล้วจักเห็นความเป็นได้ไม่ได้รู้จบสิ้น

สำหรับผู้กำกับ Masaaki Yuasa อนิเมะเรื่องนี้ไม่เพียงสะท้อนความสัมพันธ์หลากหลายที่ประสบพบเจอ ยังรวมไปถึงสองตัวละคร Senpai และ Kōhai เทียบแทนได้กับเขาเองในสองช่วงเวลา

  • Senpai ก็คือ Yuasa ในช่วงเวลาที่เขาเพิ่งเริ่มค้นพบความฝัน (อยากเป็นผู้กำกับอนิเมะ) แต่สรรหาข้ออ้างว่าตนเองยังอ่อนด้อยประสบการณ์ ใช้เวลากว่าสิบปีในการศึกษาเรียนรู้ ฝึกฝนทำงานจากบรมครูมากมาย จนท้ายที่สุดได้รับโอกาสสรรค์สร้าง Mind Game (2004) นั่นถือเป็นการกระโดดข้ามกำแพง เอาชนะความขลาดหวาดกลัวได้สำเร็จสักที
  • Kōhai เปรียบได้กับ Yuasa ในปัจจุบัน เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งตั้งมั่น พุ่งทะยานไปเบื้องหน้า ครุ่นคิดสรรค์สร้างผลงานแบบไม่ยี่หร่าอะไรใครทั้งนั้น … ซี่งผลงานเรื่องนี้ถือเป็นการหวนกลับไปหาทีมงานเก่าจาก The Tatami Galaxy (2010) ถือว่าไม่ทอดทิ้งกัน

ขณะที่ The Tatami Galaxy นำเสนอความเป็นไปได้ไม่รู้จบกับชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย, Night Is Short, Walk On Girl นำประสบการณ์แรกจีบสาว (ไม่รู้ของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi เองเลยหรือป่าวนะ) ที่มัวแต่หมกมุ่นครุ่นคิดมาก พยายามทำอะไรไร้สาระก็ไม่รู้ จนมิอาจเริ่มต้นสานสัมพันธ์จริงๆจังๆได้สักที แต่โชคยังดีที่รุ่นน้องสาวผมดำคนนั้น มีโอกาสรับล่วงรู้ เข้าใจทุกสิ่งที่เขากระทำ เลยยินยอมตอบตกลง พร้อมเริ่มต้นความสัมพันธ์นั้นไปด้วยกัน

ชื่ออนิเมะ Night Is Short, Walk On Girl ต้องการย้ำเตือนคนหนุ่ม-สาว ช่วงเวลาวัยรุ่น/ร่ำเรียนมหาวิทยาลัยมันแสนสั้นยิ่งนัก โดยเฉลี่ย 4 ปีมักเคลื่อนผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็วไว ครุ่นคิดอยากทำอะไรก็ให้เร่งรีบดำเนินไป อย่าปล่อยชีวิตให้ล่องลอยเรื่อยเปื่อย พอจบมาทำงาน แต่งงานมีครอบครัว มันจะไม่หลงเหลือเวลาให้ทำอะไรได้อีก


อนิเมะไม่มีรายงานทุนสร้าง สามารถทำเงินในญี่ปุ่นประมาณ ¥530 ล้านเยน น่าจะถือว่าไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่ฉบับพากย์ภาษาอังกฤษเป็นลิขสิทธิ์ของ GKIDS และได้ฉายทาง HBO Max เลยน่าจะสามารถคืนทุนเป็นอย่างน้อย (ชื่ออนิเมะภาษาอังกฤษ จะมีการเพิ่ม article กลายเป็น The Night Is Short, Walk On Girl )

ความที่ ค.ศ. 2017 คือปีทองของผู้กำกับ Masaaki Yuasa มีสองผลงานออกฉายติดๆกันคือ Night Is Short, Walk On Girl และ Lu over the Wall มันเลยเป็นการแบ่งเค้ก แย่งรางวัลกันเองระหว่าง

  • Japan Academy Film Prize: Animation of the Year ตกเป็นของ Night Is Short, Walk On Girl
  • Mainichi Film Awards: Ofuji Noburo Award ตกเป็นของ Lu over the Wall

มีภาพยนตร์/อนิเมะน้อยเรื่องมากๆที่สามารถมอบ ‘Last Impression’ ภายหลังการครุ่นคิด-วิเคราะห์-ตีความ เป็นประสบการณ์หาได้ยากยิ่ง มันจึงตราประทับฝังลึกอยู่ภายใน ทำให้ผมคลั่งไคล้ในตัวผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi และสไตล์ผู้กำกับ Masaaki Yuasa เป็นคู่แต่งงานที่สมน้ำสมเนื้อ กิ่งทองใบหยกเลยก็ว่าได้

Night Is Short, Walk On Girl (2017) เป็นอนิเมะที่ความเฉพาะตัวสูงมากๆ ถือเป็น ‘intellectual film’ ที่ต้องใช้การครุ่นคิดวิเคราะห์ถีงสามารถทำความเข้าใจ จีงไม่เหมาะกับผู้ชมทั่วๆไป ยกเว้นใครที่ชื่นชอบความท้าทาย ศิลปินแขนงต่างๆ นักคิด นักปรัชญา และนักศีกษามหาวิทยาลัยผู้โหยหาความรัก ไม่รู้จักเริ่มยังไง นี่อาจเป็นแรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์ใหม่โดยไม่รู้ตัว

จัดเรต 15+ กับการดื่มจนมึนเมา พฤติกรรมส่อไปทางเสียๆหายๆ แหกกฎสังคม และมีความคลุ้มบ้าคลั่งเกินไปนิสต์ (ติสต์)

คำโปรย | Night is Short, Walk on Girl ก้าวเดินทางที่เต็มไปด้วยปริศนา อาจต้องใช้เวลาทั้งค่ำคืนครุ่นคิดทำความเข้าใจ เมื่อไหร่มองเห็นภาพความสัมพันธ์ โดยไม่รู้ตัวนั้นอาจหลงใหลคลั่งไคล้อย่างคาดไม่ถึง
คุณภาพ | สัพั
ส่วนตัว | ลุ่มหลงใหล