In the Heat of the Night (1967)


In the Heat of the Night (1967) hollywood : Norman Jewison ♥♥♥♥

“They call me Mister Tibbs!” และการตบหน้าคนขาวของ Sidney Poitier ถือเป็นหมุดไมล์ของชาวผิวสี (African-American) ในยุคสมัยการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง Civil Rights Movement (1954-68), สามารถคว้า 5 รางวัล Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี

แม้ว่า Hays Code จะล่มสลายในปี ค.ศ. 1968 แต่บรรดาสตูดิโอ/ผู้สร้างภาพยนตร์ต่างเริ่มไม่เห็นหัว ปฏิเสธร่วมสังฆกรรมมาตั้งแต่ Who’s Afraid of Virginia Woolf? (1966), หมุดไมล์สำคัญคือปี ค.ศ. 1967 เต็มไปด้วยผลงานที่ท้าทายขนบขนบกฎกรอบทางสังคมสมัยนั้น Bonnie and Clyde, Guess Who’s Coming to Dinner, In the Heat of the Night ฯ

ถ้าผมเป็นคณะกรรมการ Academy Award ปีนั้นคงปวดขมับอย่างแน่นอน นอกจากสามเรื่องนี้ยังมี The Graduate และ Doctor Dolittle เลือกยากมากๆว่าภาพยนตร์เรื่องไหนสมควรคว้ารางวัล Best Picture สุดท้ายตกเป็นของ In the Heat of the Night ที่อาจไม่ค่อยถูกใจใครหลายคน แต่ต้องถือเป็นอีกหมุดไมล์สำคัญ … ครั้งแรกของภาพยนตร์ที่มีนักแสดงผิวสีรับบทนำและคว้ารางวัล Oscar: Best Picture

แม้ว่า Sidney Poitier เข้าชิง Oscar: Best Actor ครั้งแรกกับ The Defiant Ones (1958) และคว้ารางวัลจาก Lilies of the Field (1963) แต่ผลงานที่ทำให้กลายเป็นดาวดาราค้างฟ้ากลับคือ In the Heat of the Night (1967) หลายคนอาจสะดุ้งตอนตบหน้าคนขาว แต่ยังมีประโยค “They call me Mister Tibbs!” คำว่า Mister ใช้กับบุคคลที่ได้รับความเคารพนับถือ นี่ถือเป็นการตบหน้า(เชิงนามธรรม)คนขาวในรัฐทางตอนใต้ Deep South ได้อย่างเจ็บแสบกระสันต์!

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงก็คือบทเพลง In the Heat of the Night แต่งโดย Quincy Jones, คำร้องโดยสามี/ภรรยา Alan & Marilyn Bergman, ขับร้องโดย Ray Charles ท่วงทำนองมีจังหวะช้าเนิบ และมักเอื้อยคำร้อง In the Heatttt of the Night มอบสัมผัสลุ่มร้อน มอดไหม้ทรวงใน นี่ฉันจะมาอดรนทน(อากาศร้อน)อยู่ทำไม? แฝงนัยยะถึงการอยู่ผิดที่ผิดเวลา แต่ค่ำคืนนี้อีกไม่นานก็ผ่านไป

Norman Frederick Jewison (1926-2024) ผู้กำกับ/นักแสดง สัญชาติ Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario ตั้งแต่เด็กฉายแววด้านการแสดง ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อาสาสมัครทหารเรือ Royal Canadian Navy หลังปลดประจำการออกเดินทางท่องเที่ยว American South หวนกลับมาเรียนต่อ Victoria College แล้วย้ายสู่ London เขียนบทรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก หวนกลับมาแคนาดาทำงานยัง CBC Television ได้เป็นผู้ช่วย กำกับเกมโชว์ วาไรตี้ เข้าตานักแสดง Tony Curtis ชักชวนมากำกับภาพยนตร์เรื่องแรก 40 Pounds of Trouble (1962), แจ้งเกิดกับ The Cincinnati Kid (1965), The Russians Are Coming, the Russians Are Coming (1966), เคยเข้าชิง Oscar: Best Director จำนวนสามครั้ง แต่ไม่เคยได้สักรางวัล In the Heat of the Night (1967), Fiddler on the Roof (1971) และ Moonstruck (1987)

เกร็ด: คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า Norman Jewison เป็นชาว Jews (เพราะนามสกุล) แต่แท้จริงแล้วนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestant) กลุ่มเคลื่อนไหว Methodists

แม้ทศวรรษนั้นกลุ่มการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิพลเมือง Civil Rights Movement (1954-68) กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แต่ผกก. Jewison ไม่ได้มีความสนใจในประเด็นเหล่านั้น เพียงได้รับมอบหนังสือจากโปรดิวเซอร์ Walter Mirisch แนะนำให้รู้จักกับนักเขียน John Ball อ่านแล้วเกิดสนใจอยากสรรค์สร้างภาพยนตร์ เท่านั้นเอง!

I don’t think people in the arts are that political, but I do think they have strong ideas of how the world should be and how society should be.

Norman Jewison

นวนิยาย In the Heat of the Night (1965) แนว Mystery แต่งโดย John Dudley Ball Jr. (1911-88) สัญชาติ African-American เกิดที่ Schenectady, New York แล้วไปเติบโต Milwaukee, Wisconsin หลังเรียนจบ Carroll College ทำงานเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ เขียนบทความลงนิตยสาร และครั้งหนึ่งเคยรักษาการนายอำเภอ (Reserve Deputy) ณ Los Angeles County Sheriff’s Office

เกร็ด: นวนิยาย In the Heat of the Night นอกจากขายดีเทน้ำเทท่าจนมีภาคต่อติดตามมามากมาย ยังสามารถคว้ารางวัล Edgar Award: Best First Novel

ดัดแปลงบทภาพยนตร์โดย Stirling Silliphant (1918-96) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Detroit, Michigan แล้วมาเติบโตยัง Glendale, California หลังเรียนจบ University of Southern California ทำงานเป็นนักเขียนรายการทอล์คโชว์ บทละคร ซีรีย์โทรทัศน์ Naked City (1958-63), Route 66 (1960-64), ภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ In the Heat of the Night (1967), The Poseidon Adventure (1972), The Towering Inferno (1974) ฯ

บทหนังมีความซื่อตรงต่อต้นฉบับนวนิยายอย่างมากๆ แต่ให้อิสระนักแสดงในการดั้นสด (Improvised) และปรับเปลี่ยนสถานที่พื้นหลังมาเป็น Sparta, Mississippi (ถ่ายทำยัง Sparta, Illinois) เพราะไม่สามารถยกกองไปถ่ายทำยังรัฐทางตอนใต้ (Deep South) ทศวรรษนั้นยังมีความเสี่ยงอันตรายมากเกินไป!


Sir Sidney Poitier (1927-2022) นักแสดงเชื้อสาย Bahamian แต่บังเอิญคลอดที่ Miami, Florida เลยได้รับสัญชาติอเมริกันโดยอัตโนมัติ แล้วมาเติบโตยัง Bahamas จนกระทั่งย้ายมาอยู่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่อายุ 15 ปีถัดมาเข้าร่วม American Negro Theater แรกๆไม่ได้รับการยอมรับเพราะ Tone Deaf ร้องเพลงไม่ได้ แต่ก็ฝึกหัดการแสดงด้วยตนเองจนกระทั่งได้รับบทนำละครเวที Broadways เข้าตาโปรดิวเซอร์ Darryl F. Zanuck จับเซ็นสัญญาแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก No Way Out (1950), โด่งดังกับ The Defiant Ones (1958), กลายเป็นนักแสดงผิวสีคนแรกที่คว้ารางวัล Oscar: Best Actor จากเรื่อง Lilies of the Field (1963), ผลงานเด่นอื่นๆ A Patch of Blue (1965), In the Heat of the Night (1967), Guess Who’s Coming to Dinner (1967) ฯ

รับบท Virgil Tibbs เดินทางมาเยี่ยมมารดา ระหว่างรอรถไฟเดินทางกลับ ถูกเข้าใจผิดว่าคือฆาตกร โดนดูถูกเหยียดหยามจากตำรวจ/ผู้กำกับการ Bill Gillespie อดกลั้นฝืนทนจนความจริงเปิดเผยว่าคือนักสืบจาก PPD (Philadelphia Police Department) ก็นึกว่าคงหมดเวรหมดกรรม หัวหน้าปลายสายแนะนำให้ช่วยเหลือตำรวจท้องถิ่น อยากปฏิเสธใจแทบขาด ก็มิอาจละทอดทิ้งภาระหน้าที่ ศักดิ์ศรีความเป็นตำรวจค้ำคอ

Poitier มีความกระตือลือร้นอยากรับบทบาทนี้ตั้งแต่อ่านนวนิยายต้นฉบับ เป็นตัวเลือกแรก ตัวเลือกเดียว แต่ด้วยข้อแม้ไม่ขอเดินทางข้ามเขตแดน Mason-Dixon Line ไปถ่ายทำยังรัฐทางตอนใต้ (South Deep) เพราะประสบการณ์เคยไปโปรโมทภาพยนตร์ แล้วถูกเพ่งเล็งจาก KKK (Ku Klux Klan) เสี่ยงอันตรายเกินไป … แต่ไม่แตกต่างจาก Gillespie สามารถโน้มน้าว Tibbs ให้ตัดสินใจอยู่ทำความคดีความ, ผกก. Jewison เกลี้ยกล่อม Poitier ยินยอมเดินทางไปถึงยัง Tennessee

บทบาท Virgil Tibbs ได้สร้างภาพจำอันเป็นเอกลักษณ์ของ Poitier ดูสุขุม เยือกเย็น สุภาพอ่อนน้อม แต่งตัวภูมิฐาน เฉลียวฉลาดปราชญ์เปรื่อง จนได้รับนับหน้าถือตา ‘Mister Tibbs’ แต่ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยความอดกลั้น เก็บกดอารมณ์เกรี้ยวกราดไว้ภายใน เมื่อไหร่ถูกกระทำร้ายก็พร้อมโต้ตอบกลับ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ไม่ยินยอมศิโรราบก้มหัวให้กับผู้ใด (โดยเฉพาะคนขาว)

ตรงกันข้ามกับ Steiger ที่มีความลุ่มร้อน ฉุนเฉียว หยาบโลน บทบาทของ Poitier ถือเป็น ‘น้ำกับไฟ’ จึงมักถูกมองข้าม (หลุดโผไม่ได้เข้าชิง Oscar: Best Actor) เพราะคิดเห็นว่าไม่ได้ต้องแสดงอะไรออกมามากมาย แต่แท้จริงแล้วลุ่มลึกกว่ามากๆ ต้องเก็บกด อดกลั้น เต็มไปด้วยความขัดแย้งภายใน อีกทั้งการเป็นคนดำในรัฐทางใต้ไม่ใช่เรื่องปลอดภัย หวาดระแวง วิตกจริต หวาดกลัวความตาย แต่ยังสามารถสำแดงมนุษยธรรม พิสูจน์ตนเองต่อพวกคนขาว


Rodney Stephen Steiger (1925-2002) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Westhampton, New York ในครอบครัว Lutheran อาศัยอยู่กับมารดาเป็นนักร้อง นักแสดง ก่อนติดเหล้าจนสูญเสียทุกสิ่งอย่าง ปล่อยให้บุตรชายวัยห้าขวบถูกข่มขืน ทำร้ายร่างกาย พออายุสิบหกออกจากบ้านเข้าร่วมกองทัพเรือ (US Navy) ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปลดประจำการออกมารับจ้างทั่วไป ก่อนตัดสินใจเข้าโรงเรียนการแสดง New School for Social Research เป็นลูกศิษย์ของ Erwin Piscator ทำให้ค้นพบความสามารถด้านนี้ เริ่มจากมีผลงานละครเวที เข้าร่วม Actors Studio รุ่นเดียวกับ Marlon Brando, Kal Malden, Eli Wallach ฝึกฝนเทคนิค Method Acting แจ้งเกิดกับภาพยนตร์ On the Waterfront (1954), Oklahoma! (1955), Al Capone (1959), The Pawnbroker (1964), Doctor Zhivago (1965), In the Heat of the Night (1967) **คว้ารางวัล Oscar: Best Actor, Waterloo (1970), Duck, You Sucker! (1971), The Lion of the Desert (1980) ฯ

รับบทผู้กำกับการ Bill Gillespie แผนก Sparta Police Department เป็นคนใจร้อน อารมณ์ฉุนเฉียว ใครทำอะไรไม่พึงพอใจก็ด่ากราด ชอบดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น นั่นรวมถึงนักสืบ Virgil Tibbs แม้รับรู้ว่าอีกฝ่ายคือใคร ก็ไม่อยากยินยอมรับว่าตนเองต่ำต้อย โง่เขลา พยายามหาข้อสรุปคดีความด้วยตนเอง จนแล้วจนรอดเอาแต่จับกุมผิดคน

เห็นว่า Steiger มีความสนิทสนมกับ Poitier มองหาโอกาสร่วมงานภาพยนตร์กันสักครั้ง แต่สไตล์การแสดงของพวกเขาแตกต่างตรงกันข้าม โดยไม่รู้ตัวสอดคล้องเข้ากันได้ดีอย่างกลมกล่อม (Steiger มาจากสำนัก Method Acting, Poitier เน้นการแสดงออกมาโดยธรรมชาติ)

หนึ่งในบทบาทการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Steiger มีความดิบ เถื่อน กล้าพูด กล้าแสดงความรู้สึก ไม่สามารถหยุดยับยั้งชั่งใจ ครุ่นคิดว่าฉัน(อวด)เก่ง โลกต้องหมุนรอบตนเอง แต่กลับทำอะไรไม่เป็นสักสิ่งอย่าง สะท้อนความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะของตำรวจ(ทางตอนใต้) และตบหน้าพวกคลั่งขาว (White Supremacy) เหยียดผิว (Racism) ดูไม่ค่อยเหมือนมนุษย์มนาสักเท่าไหร่

เอาจริงๆถ้า Steiger คว้ารางวัล Oscar จากบทบาทอื่นอย่าง On the Waterfront (1954) หรือ The Pawnbroker (1964) เชื่อว่าน่าจะได้รับการจดจำมากกว่านี้ เพราะบทบาทของ In the Heat of the Night (1967) คือตำรวจจอมเหยียด มันจึงเป็นความกระอักกระอ่วน ขัดย้อนแย้งต่อสามัญสำนึก ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถแยกแยะระหว่างการแสดง-ชีวิตจริง


ถ่ายภาพโดย Haskell Wexler (1922-2015) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Chicago, Illinois ในครอบครัวเชื้อสาย Jews สำเร็จการศึกษาจาก University of California, Berkeley อาสาสมัครเป็นลูกเรือ Merchant Marine ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปลดประจำการทำงานบริษัทของบิดา Allied Radio ก่อนเปิดสตูดิโอถ่ายภาพของตนเอง รับงานฟรีแลนซ์ช่างภาพ ผลงานเด่นๆ อาทิ America America (1963), Who’s Afraid of Virginia Woolf? (1966), In the Heat of the Night (1967), The Thomas Crown Affair (1968), One Flew Over the Cuckoo’s Nest (1993) ฯ

งานภาพของหนังคละคลุ้งกลิ่นอาย Neo-Noir แต่ไม่ใช่แค่เงามืดหรือสีสันยามค่ำคืน, ตากล้อง Wexler ยังจัดแสงโดยพิจารณาถึงสีผิวของ Poitier พยายามทำให้ดูละมุน นุ่มนวล (สะท้อนตัวตนที่มีความสุภาพอ่อนน้อม) ตรงกันข้ามกับพวกตำรวจ แสงขาวหยาบกระด้าง (จิตใจต่ำทราม พฤติกรรมหยาบโลน) … เห็นว่าคือครั้งแรกๆของ Hollywood ที่การถ่ายภาพคำนึงถึงสีผิวนักแสดง

ด้วยความที่ฉากส่วนใหญ่ถ่ายทำตอนกลางคืนบนท้องถนน ยุคสมัยนั้นยังมีความยุ่งยาก ท้าทาย อุปกรณ์ถ่ายทำมีข้อจำกัดมากมาย ผกก. Jewison เลยตัดสินใจไม่ใช้การบันทึกเสียง Sound-On-Film แล้วค่อยให้นักแสดงพากย์ทับเอาภายหลัง (Post-Production) นี่จะช่วยลดงาน ลดงบประมาณ และการถ่ายทำสะดวกรวดเร็วขึ้นด้วย … ใช้เวลาโปรดักชั่น 10-12 สัปดาห์ ระหว่างกลางเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 1966

แม้ในนวนิยาย Wells, South Carolina จะคือเมืองสมมติ แต่ยุคสมัยนั้นไม่มีทางที่โปรดักชั่นภาพยนตร์เกี่ยวกับคนผิวสีจะสามารถเดินทางไปถ่ายทำยังรัฐทางตอนใต้ (Deep South) ทีมงานจึงต้องมองหาสถานที่ที่มีความใกล้เคียง ใช้เวลานานถึงสามเดือนกว่าจะพบเจอ Sparta, Illinois เลยเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสมมติ Sparta, Mississippi เพราะจะได้ไม่ต้องแก้ไขป้ายชื่อที่อยู่อาศัย … แต่โดยที่ไม่มีใครรู้ตัว Sparta, Mississippi กลับเป็นเมืองที่มีอยู่จริง! คนท้องถิ่นรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้เลยเกิดความสับสน เพราะไม่สักช็อตถ่ายทำละแวกนั้น

แม้ว่า Sidney Poitier ยืนกรานเสียงขันแข็งว่าจะไม่ข้ามเขตแดน Mason-Dixon Line (เส้นแบ่งเขตเหนือ-ใต้ เข้าสู่ Deep South) แต่ผกก. Jewison ก็พยายามโน้มน้าวจนยินยอมเดินทางสู่ Dyersburg และ Union City, Tennessee ซีเควนซ์ฟาร์มฝ้ายและเรือนกระจก (บ้านพักของ Eric Endicott) ถึงอย่างนั้นบรรยากาศก็เต็มไปด้วยความตึงเครียด นอกจากเวลาถ่ายทำ Poitier ไม่เคยออกจากห้องพักไปไหน … นี่ช่วยเสริมเติมซีเควนซ์นี้ให้ตัวละครมีความหวาดระแวง วิตกกังวล โชคดีไม่มีเหตุการณ์เลวร้ายใดๆเกิดขึ้น


สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้สังเกตคือการใช้สัมผัส จับต้องร่างกาย โดยปกติแล้วพวกคลั่งขาวทางตอนใต้ มักไม่ยินยอมแตะเนื้อต้องตัวคนผิวสี ด้วยเหตุนี้การตบหน้าจึงเป็นฉากรุนแรง บางรัฐถึงขั้นผิดกฎหมาย สามารถโต้ตอบ เข่นฆ่าให้ตกตายโดยทันที!

  • Mrs. Colbert ปฏิกิริยาแรกเริ่มคือต่อต้านขัดขืน แต่ไม่ใช่เพราะรังเกียจเดียดฉันท์ แค่ยังยินยอมรับการสูญเสียสามีไม่ได้ สัมผัสของ Tibbs แสดงความห่วงใย เป็นกำลังใจ ทำอย่างละมุน นุ่มนวล เคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้เธอไม่รู้สึกอึดอัด ตะขิดตะขวงใจ
  • การชันสูตรศพ Philip Colbert มือของ Tibbs สัมผัสจับต้องด้วยความคล่องแคล่ว เชี่ยวชำนาญ มากด้วยประสบการณ์ แสดงถึงความเป็น ‘มืออาชีพ’
  • ไฮไลท์ช่วงท้าย Gillespie เป็นผู้ยื่นมาขอจับมือด้วยตนเอง นั่นแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ให้ความเคารพ ยินยอมรับกันและกัน

สถานีรถไฟ สถานที่สำหรับการเดินทาง สลับสับเปลี่ยนราง/ขบวนรถไฟ

  • หลายคนอาจไม่ทันสังเกตตอน Opening Credit ขบวนรถไฟมาจอดเทียบยัง Sparta, Mississippi กล้องถ่ายมุมก้มติดพื้น (ไม่เห็นหน้า) ชายคนหนึ่งเดินลงมา หรือก็คือนักสืบ Tibbs เพื่อรอการสลับสับเปลี่ยนขบวนรถไฟ
  • ระหว่างกำลังนั่งรอคอยรถไฟ นายตำรวจ Sam Wood เกิดความเข้าใจผิด ครุ่นคิดว่าหมอนี่คือฆาตกร จึงควบคุมตัวไปไปยังโรงพัก ใช้ถ้อยคำที่เต็มไปด้วยการดูถูกเหยียดหยาม
  • ช่วงระหว่างกลางเรื่อง นักสืบ Tibbs มิอาจอดรทนต่อพฤติกรรมดูถูกเหยียดหยามของ Gillespie เลยต้องการเดินทางกลับบ้าน แต่อีกฝ่ายเพราะถูกบีบบังคับจึงเข้ามาพูดคุย โน้มน้าว งอนง้อคืนดี ท้าทายอีกฝ่ายด้วยข้ออ้างหน้าที่ และการพิสูจน์ตนเองของชาติพันธุ์
    • ซีเควนซ์นี้ถ้ามองในเชิงนามธรรม จะเหมือนการสลับสับเปลี่ยนรางรถไฟ = นักสืบ Tibbs ปรับเปลี่ยนความตั้งใจ
  • และการร่ำจากลา Gillespie เป็นคนยื่นขอจับมือ ให้การยินยอมรับ อำนวยอวยพรให้เขาไปดี
    • มิตรภาพ ความสัมพันธ์ Bromance ของทั้งสอง อาจทำให้หลายคนจิ้นไปไกล จับมือไม่ต่างอะไรจากการจุมพิต (เพราะยุคสมัยนั้นการสัมผัสจับต้องเนื้อตัวยังเป็นสิ่งต้องห้ามระหว่างชาติพันธุ์)

การเดินทางไปยังฟาร์มฝ้ายเพื่อพบเจอกับ Eric Endicott อย่างที่บอกไปว่าสถานที่แห่งนี้ถ่ายทำยัง Tennessee ซึ่งอยู่ข้ามเขตแดน Mason-Dixon Line ในตอนแรกผกก. Jewison ครุ่นคิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรมาก แต่เจ้าโรงแรมกลับแนะนำว่าถ้าหลีกเลี่ยงได้ให้หลีกเลี่ยง … นั่นทำให้ Poitier กักขังตนเองอยู่ในห้องพัก ออกมาเฉพาะตอนถ่ายทำ

สารพัดสิ่งอย่างในคฤหาสถ์หรูหราของ Eric Endicott ล้วนเต็มไปด้วยความขาวผ่อง ทั้งสีบ้าน เรือนกระจก รสนิยมดอกกล้วยไม้ รวมถึงหุ่นปั้นคนดำ(ทำหน้าตาตลกๆ)ยังสวมใส่ชุดสีขาว เหล่านี้บอกใบ้ถึงธาตุแท้ตัวตน คนคลั่งขาว (White Supremacy) ทุกสิ่งอย่างอ้างว่าทำเพื่อคนดำ เบื้องหลังกลับดูถูกเหยียดหยาม ไม่เคยให้การยินยอมรับนับถือ

ปล. ระหว่างทางที่ Gillespie ขับรถพานักสืบ Tibbs มาถึงยังคฤหาสถ์หลังนี้ คลอประกอบพื้นหลังด้วยบทเพลง In the Heat of the Night แต่ทั้งๆซีเควนซ์ไม่ใช่ตอนกลางคืน สภาพอากาศไม่ร้อนระอุ นั่นแสดงว่าต้องการสื่อถึงสถานที่แห่งนี้ บ้านหรูหราของ Eric Endicott มันมีบางสิ่งอย่างที่สร้างความลุ่มร้อนทรวงใน (แก่ชาวผิวสี)

ช็อตสุดท้ายของหนัง ลงทุนใช้ Helicopter เริ่มถ่ายจากนักสืบ Tibbs นั่งในตู้โดยสาร แล้วกล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลังเห็นขบวนรถไฟ ทิวทัศนียภาพกว้างใหญ่ นี่ลักษณะของการเปลี่ยนแปรสภาพ จากจุลภาคสู่มหภาค เหตุการณ์เกิดขึ้นในภาพยนตร์จักกลายเป็นสิ่ง “larger than life” ขยับขยาย สร้างอิทธิพลให้กับผู้คนต่างๆมากมาย

ตัดต่อโดย Hal Ashby (1929-88) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Ogden, Utah โตขึ้นเดินทางสู่ Los Angeles ทำงานเป็นผู้ช่วยตัดต่อ ก่อนแจ้งเกิดกับ The Loved One (1965), The Russians Are Coming, the Russians Are Coming (1966), In the Heat of the Night (1967), The Thomas Crown Affair (1968), จากนั้นผันตัวมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ The Landlord (1970), Harold and Maude (1971), Shampoo (1975), Being There (1979) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านคู่หูต่างสีผิว ผู้กำกับการ Bill Gillespie และนักสืบ Virgil Tibbs จาก PPD เพื่อสืบเสาะค้นหาใครคือฆาตกรสังหารโหดนักธุรกิจ Phillip Colbert แล้วทิ้งศพไว้กลางถนน

  • อารัมบท, นายตำรวจ Sam Wood ระหว่างขับรถสายตรวจยามค่ำคืน บังเอิญพบศพนักธุรกิจ Phillip Colbert ถูกทิ้งศพไว้กลางถนน
  • แนะนำนักสืบ Virgil Tibbs
    • ผู้กำกับการ Bill Gillespie มอบหมายให้นายตำรวจ Sam Wood ออกสำรวจยังสถานที่ต่างๆ พบเจอกับชายผิวสีนั่งอยู่ในสถานีรถไฟ จึงควบคุมตัวมายังสถานีตำรวจ
    • หลังจากซักไซร้ไล่เรียง ถึงค้นพบว่าชายผิวสีคนนั้นคือนักสืบ Virgil Tibbs จาก PPD
    • หัวหน้าของ Tibbs โน้มน้าวให้เขาช่วยเหลือทำคดี ทีแรกพยายามบอกปัดปฏิเสธ Gillespie ก็ไม่ยินยอมพร้อมใจ แต่สุดท้ายเดินทางไปชันสูตรศพผู้เสียชีวิต
  • ผู้ต้องสงสัย Harvey Oberst
    • Gillespie ทำการล้อมจับผู้ต้องหาหลบหนี Harvey Oberst พร้อมยัดข้อหาฆาตกร
    • Tibbs เดินทางกลับมายังโรงพักเพื่อส่งมอบผลการชันสูตร ตรวจสอบคร่าวๆพบว่า Harvey Oberst ไม่ใช่ฆาตกร แต่ทว่าผู้กำกับกลับพยายามยัดข้อกล่าวหา สร้างความไม่พึงพอใจต่อ Mrs. Colbert (ภรรยาของผู้เสียชีวิต)
    • Tibbs ปฏิเสธที่จะร่วมสังฆกรรมใดๆกับ Gillespie เตรียมตัวขึ้นรถไฟกลับ Philadelphia
    • แต่ทว่า Mrs. Colbert กล่าวตำหนินายกเทศมนตรี เลยโน้มน้าวให้ Gillespie พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ Tibbs ยินยอมกลับมาทำคดี
  • ผู้ต้องสงสัย Eric Endicott
    • ณ สถานีรถไฟ Gillespie พูดโน้มน้าว Tibbs จนยินยอมหวนกลับมาทำคดีความ
    • Tibbs ค้นพบเบาะแสสำคัญ ร่วมกับ Gillespie เดินทางไปยังฟาร์มฝ้าย พบเจอ Eric Endicott ยังเรือนกระจก
    • Tibbs ถูกบรรดานักเลงหัวรุนแรง ที่มีความจงเกลียดจงชังคนผิวสี ขับรถไล่ล่า ต้อนจบมุม โชคยังดีได้รับความช่วยเหลือจาก Gillespie
    • คราวนี้ Gillespie พยายามขับไล่ ผลักไส เรียกร้องขอให้ Tibbs เดินทางกลับ แต่เจ้าตัวตอบปัดปฏิเสธ ขอเวลาค้นหาข้อเท็จจริง
  • ผู้ต้องสงสัย Sam Wood
    • Tibbs ขอให้นายตำรวจ Sam Wood ขับรถตามเส้นทางสายตรวจ แวะเวียนร้านอาหารของ Ralph Henshaw แต่หลังจากนั้นกลับพาออกนอกเส้นทาง
    • เช้าวันถัดมา Gillespie เดินทางไปธนาคาร ก่อนค้นพบเงินก้อนโตในบัญชีนายตำรวจ Sam Wood เลยครุ่นคิดว่าหมอนี่ต้องคือฆาตกร
    • แต่ไม่ทันไร Lloyd Purdy พาน้องสาว Delores มายังโรงพัก เพื่อแจ้งจับกุมนายตำรวจ Sam Wood ว่าคือต้นเหตุให้เธอตั้งครรภ์
    • Tibbs เดินทางไปยังสถานที่ตั้งโรงงานยังไม่ได้สร้างของ Phillip Colbert ขอโอกาสสุดท้ายจาก Gillespie
  • ฆาตกรตัวจริง
    • ค่ำคืนนั้น Tibbs เดินทางไปหา Mama Caleba เพื่อสืบค้นว่าใครคือคนรักของ Delores 
    • บังเอิญว่า Delores เดินทางมาหา Mama Caleba เพื่อจะทำแท้ง ทำให้ค้นพบว่าใครคือคนรักของเธอ
    • เผชิญหน้าระหว่างพี่ชาย Lloyd ถูกยิงโดยคนรักของ Delores
    • กลับมาที่โรงพัก คนร้ายรับสารภาพผิด
    • ณ สถานีรถไฟ Gillespie เดินทางมาส่ง Tibbs

หนึ่งในลายเซ็นต์ของผกก. Jewison มักนำเสนอเรื่องราวในทิศทางวกไปวนมาอยู่บ่อยครั้ง อย่างในช่วงแรกๆ Gillespie ไม่ต้องการร่วมงานกับ Tibbs แต่ต่อมาถูกบีบบังคับให้ต้องกลืนน้ำลายตนเอง อ้อนวอนร้องขอ โน้มน้าวให้ช่วยอยู่ทำคดี และพอครึ่งหลังจากการตบหน้าครั้งนั้น Gillespie ก็พยายามขับไล่ ผลักไส แต่คราวนี้ Tibbs ไม่ยินยอมกลับ ฝืนทำคดีจนกว่าจะเสร็จสิ้น!


เพลงประกอบโดย Quincy Delight Jones Jr. (เกิดปี 1933) นักแต่งเพลง American Jazz เกิดที่ Chicago, Illinois เมื่อตอนอายุ 14 พบเห็น Ray Charles (ขณะนั้นอายุ 16 ปี) เล่นดนตรีในไนท์คลับ Black Elks Club เกิดความชื่นชอบหลงใหล ตัดสินใจเอาจริงจังด้านนี้ ได้รับทุนการศึกษาต่อ Berklee College of Music แต่ไม่นานก็ลาออกเพื่อเข้าร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับ Lionel Hampton, และยังเดินทางท่องยุโรปกับ Harold Arlen, จากนั้นมีโอกาสร่วมงานศิลปินชื่อดังมากมาย จนกระทั่งผู้กำกับ Sidney Lumet ชักชวนมาทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแรก The Pawnbroker (1964), ผลงานเด่นๆ อาทิ Walk, Don’t Run (1966), The Deadly Affair (1967), In Cold Blood (1967), In the Heat of the Night (1967), The Italian Job (1969), The Getaway (1972), The Color Purple (1985) ฯ

งานเพลงของ Jones แน่นอนว่าเลือกใช้สไตล์ดนตรี Blues Jazz บรรยากาศ Funky Mood ผมอ่านเจอว่ายังมีกลิ่นอาย Southern (ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นยังไง) สร้างบรรยากาศตึงๆระหว่างสองตัวละครหลัก และมอบสัมผัสอันตราย ดินแดนไม่ปลอดภัยสำหรับชาวผิวสี

บทเพลงไคลน์แม็กซ์ Mama Caleba’s Blues บรรเลงเปียโนโดย Ray Charles ถ่ายทอดสัมผัสทางอารมณ์ที่เก็บกด ซุกซ่อนเร้น เต็มไปด้วยความอัดอั้น เสียงฮาร์โมนิก้าสะท้อนความวังเวงชีวิต การเป็นคนดำในดินแดนตอนใต้สหรัฐอเมริกัน มันช่างทุกข์ทรมาน ลำบากแสนเข็น

ค่ำคืนดึกดื่น สภาพอากาศร้อนระอุ เกิดเหตุการณ์ฆาตกรรมขึ้นยังรัฐทางตอนใต้ (Deep South) ของสหรัฐอเมริกา ดินแดนของพวกคลั่งขาว (White Supremacy) ดูถูกเหยียดหยามคนผิวสี (Racism) แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับต้องขอความช่วยเหลือนักสืบคนดำ นั่นไม่ใช่สิ่งน่าอภิรมณ์ใจเลยสักนิด!

มองผิวเผิน In the Heat of the Night (1967) นำเสนอกระบวนการสืบสวนสอบสวน (Police Procedural) เพื่อค้นหาตัวฆาตกรสังหารโหด แต่เหตุการณ์คู่ขนานบังเกิดขึ้นคือการเผชิญหน้าระหว่างผู้กำกับการ Bill Gillespie vs. นักสืบ Virgil Tibbs, ต่างเป็นตัวแทนความขัดแย้งระหว่างคนขาว vs. ผิวสี, ฟากฝั่งหนึ่งเอาแต่ใช้อารมณ์ แสดงออกผ่านคำพูด ภาษากาย vs. อีกฝ่ายครุ่นคิดด้วยเหตุผล แล้วยังต้องพยายามเก็บซ่อนความรู้สึกไว้ภายใน

สหรัฐอเมริกาช่วงทศวรรษ 50s-60s เต็มไปด้วยการชุมนุมประท้วง เดินขบวนต่อต้าน เรียกร้องสิทธิโน่นนี่นั่นมากมาย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสองฝั่งฝ่าย สถานการณ์ร้อนระอุ บางครั้งลุกลามบานปลาย รุนแรงถึงขนาดฆ่าปิดปากเลยก็พบเห็นได้ทั่วไป (Political Assassination)

ความขัดแย้งระหว่างคนขาว vs. ผิวสี ช่วงทศวรรษนั้นน่าจะถือว่าเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันเลยก็ว่าได้ (ยิ่งกว่าตอนเลิกทาสเสียอีก!) เพราะพวกคลั่งขาวไม่สามารถยินยอมรับข้อเรียกร้อง สิทธิ เสมอภาคเท่าเทียม (ตอนเลิกทาสยังแค่ปลดแอกสถานะทางสังคม ยังไม่ได้ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่างคนขาว-ดำ) จึงเกิดการต่อสู้ โต้ตอบด้วยความรุนแรง เข่นฆ่าแกง ลอบสังหารทางการเมืองนับครั้งไม่ถ้วน!

In the Heat of the Night (1967) สะท้อนบรรยากาศความขัดแย้งระหว่างคนขาว vs. ชาวผิวสี โดยเฉพาะรัฐทางตอนใต้ที่ยังรุนแรง คุกรุ่น แม้กฎหมาย Jim Crow Laws เพิ่งถูกล้มล้างเมื่อปี ค.ศ. 1965 แต่ใช่ว่าคนเคยเต็มไปด้วยอคติ รังเกียจเหยียดหยาม ฟากฝั่งอนุรักษ์นิยม จะให้การยินยอมรับได้โดยทันที

ผมอธิบายไปตอนต้นว่าผกก. Jewison ไม่ได้มีความสนใจด้านการเมือง หรือเรื่องเรียกร้องสิทธิพลเมือง เพียงมือปืนรับจ้าง ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากโปรดิวเซอร์ แค่บังเอิญว่าผลงานเรื่องนี้ได้กลายเป็นหมุดหมายสำคัญให้กับกลุ่มเคลื่อนไหว Civil Rights Movement ตบหน้าพวกคลั่งขาวทางร่างกาย วาจา และจิตใจ

ความสนใจจริงๆของผกก. Jewison เปรียบตนเองดั่งนักสืบ Virgil Tibbs ต่างเป็นคนต่างที่ต่างถิ่น จับพลัดจับพลู ถูกโน้มน้าวให้มาช่วยทำงานยังต่างแดน (ผกก. Jewison เป็นชาว Canadian เดินทางมาสรรค์สร้างภาพยนตร์ยัง Hollywood) … สังเกตว่าผกก. Jewison ซึ่งเป็นคนขาว เปรียบตนเองกับนักสืบผิวสี นั่นแสดงว่าเขาไม่ได้สนใจความแตกต่างอะไรเลย จะมีก็แต่พวกอเมริกันที่หมกมุ่นอยู่กับเรื่อง(ชาติ)พันธุ์นี้

สำหรับผู้แต่งนวนิยาย John Ball หลายคนมองเรื่องราวนี้คือการระบายอารมณ์เกรี้ยวกราด โกรธเกลียดแค้น หรือกระทั่งคลั่งดำ (Black Supremacy) [กลุ่มเคลื่อนไหวที่ล้อกับพวกคลั่งขาว] ถึงพยายามออกแบบตัวละครคนผิวสี ให้มีความเฉลียวฉลาด เก่งกาจ เหนือกว่าพวกคนขาวในทุกๆด้าน! แต่การจับมือ(ที่ไม่ต่างจากจุมพิต)ตอนจบ มันคือการให้การเกียรติ ยินยอมรับกันและกัน แสดงถึงความคาดหวังต่อเหตุการณ์ขัดแย้งชาติพันธุ์ จะสามารถหยุดยับยั้ง คลายความรังเกียจชังลงได้เสียที … ออกไปทางประณีประณอมเสียมากกว่า ใช้สติปัญญาเผชิญหน้าอารมณ์


ด้วยทุนสร้าง $2 ล้านเหรียญ ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม สามารถทำเงินประมาณ $24.4 ล้านเหรียญ แต่บางเมืองต้องรีบนำออกจากโรงภาพยนตร์ เพราะมีการชุมนุมประท้วง (โดยคนขาว) จาก Newark, Milwaukee และ Detroit

หนังเข้าชิง Oscar จำนวน 7 สาขา สามารถคว้ามา 5 รางวัล แต่สิ่งน่าผิดหวังที่สุดก็คือ Sidney Poitier และ Quincy Jones (เพลงประกอบ) ไม่ได้รับโอกาสแม้จะเข้าชิง! ส่วนสาขาผู้กำกับ Jewison ก็ถูกแก่งแย่งไปโดย Mike Nichols เพราะปีก่อนพลาดรางวัลจาก Who’s Afraid of Virginia Woolf? (1966)

  • Academy Award
    • Best Picture **คว้ารางวัล
    • Best Director
    • Best Actor (Rod Steiger) **คว้ารางวัล
    • Best Adapted Screenplay **คว้ารางวัล
    • Best Film Editing **คว้ารางวัล
    • Best Sound **คว้ารางวัล
    • Best Sound Effects
  • Golden Globe Awards
    • Best Motion Picture – Drama **คว้ารางวัล
    • Best Director
    • Best Actor in a Motion Picture – Drama (Sidney Poitier)
    • Best Actor in a Motion Picture – Drama (Rod Steiger) **คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actress (Quentin Dean)
    • Best Supporting Actress (Lee Grant)
    • Best Screenplay **คว้ารางวัล

ความสำเร็จของหนังทำให้มีการเข็นสองภาคต่อ แต่แค่เพียง Sidney Poitier ยินยอมหวนกลับมา แนะนำว่าไม่ต้องเสียเวลารับชมก็ได้มั้งนะ They Call Me Mister Tibbs! (1970), The Organization (1971)

กาลเวลาทำให้หนังได้รับการโหวตจากสถาบัน American Film Institite ติดอันดับหลายชาร์ททีเดียว

  • AFI’s 100 Years…100 Movies (10th Anniversary Edition): #75
  • AFI’s 100 Years…100 Cheers: #21
  • AFI’s 100 Years…100 Heroes & Villains: #19 Virgil Tibbs (Hero)
  • AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes: #16 “They call me Mister Tibbs!”

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 4K Ultra HD สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray จาก Criterion Collection และ Kino Lorber (แนะนำของ Kino Lorber เพราะยัดสองภาคต่อเข้ามาในของแถม) ส่วนของค่าย MGM ตั้งแต่ขายต่อให้ 20th Century Fox แล้วควบรวมกิจการ Walt Disney ก็ไม่รู้โชคชะตาร้ายดี

จริงๆผมตั้งใจจะรวบรวมเขียนถึงผลงาน Sidney Poitier ตั้งแต่เมื่อปีก่อน ตอนที่เพิ่งเสียชีวิต น่าเสียหายหาเวลาลงไม่ได้ จนกระทั่งเดือนที่แล้วถึงคราของผกก. Norman Jewison มันเลยจำเป็นต้องเขียนถึงภาพยนตร์เรื่องเสียที!

ส่วนตัวมีความชื่นชอบประทับใจหนังอย่างมากๆ สัมผัสบรรยากาศตึงเครียด ต่อต้านคนผิวสีใน Deep South ที่น่าหวาดสะพรึงกลัวยิ่งนัก! ต้องชื่นชมความหาญกล้าบ้าบิ่นของผกก. Norman Jewison การแสดงระดับซุปเปอร์สตาร์ Sidney Poitier (ขอละ Rod Steiger ไว้ในฐานที่เข้าใจ) และบทเพลงอันไพเราะเพราะพริ้ง Quincy Jones สร้างความลุ่มร้อน มอดไหม้ หมุดไมล์แห่งวงการภาพยนตร์ Hollywood

จัดเรต 15+ กับถ้อยคำดูถูกเหยียดหยาม (Racism) คดีฆาตกรรม บรรยากาศต่อต้านคนผิวสีใน Deep-South

คำโปรย | In the Heat of the Night ค่ำคืนอันเดือดพล่าน ความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ ผลักดันให้ Sidney Poitier กลายเป็นนักแสดงอันดับหนึ่งของชาว African-American
คุณภาพ | มุล์
ส่วนตัว | เดือดพล่าน

Kramer vs. Kramer (1979)


Kramer vs. Kramer (1979) hollywood : Robert Benton ♥♥♥

ภาพยนตร์ชวนเชื่อสิทธิบุรุษ (Men’s Rights Propaganda) นั่นเพราะมารดา Meryl Streep ตัดสินใจทอดทิ้งบุตรชายให้กับบิดา Dustin Hoffman ผ่านไปปีกว่าๆหวนกลับมายื่นฟ้องขอสิทธิ์ในการเลี้ยงดู แล้วศาลตัดสินให้ได้รับชัยชนะ อิหยังวะ? คว้ารางวัล Oscar จำนวน 5 สาขา พร้อมภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี!

Kramer vs. Kramer (1979) เป็นภาพยนตร์ที่ครองใจผู้ชมทั่วโลกในปีที่ออกฉาย! ทำเงินถล่มทลาย หลายคนดูจบแล้วหลั่งน้ำตาร่ำไห้ เกิดข้อถกเถียงถึงความถูกต้องชอบธรรมของกฎหมาย สิทธิบุรุษในการเลี้ยงดูแลบุตร แต่เรื่องราวของหนังไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงในยุคสมัยนั้นเลยสักนิด!

It’s too bad that the legal profession was portrayed as 50 years behind the times … In so many ways the court process was portrayed as unfeeling, unrealistic and incomplete.

Felice K. Shea ผู้พิพากษาศาลฏีกาประจำกรุง New York

ปัญหาใหญ่ของ Kramer vs. Kramer (1979) คือการเลือกข้าง มุ่งเน้นนำเสนอแต่มุมมองบิดาและบุตรชาย หลังถูกภรรยา/มารดาทอดทิ้ง พวกเขาต้องเรียนรู้จักปรับตัว หาหนทางเอาตัวรอดไปด้วยกัน นั่นทำให้ผู้ชมรู้สึกสงสาร เห็นอกเห็นใจ ยินยอมรับในความเป็นบิดา (Fatherhood) แล้วจู่ๆเมื่อมารดาหวนกลับมาฟ้องร้องขอสิทธิ์ในการเลี้ยงดู ใครกันจะยินยอมรับเพียงเพราะข้ออ้างความเป็นมารดา (Motherhood)

สิ่งที่ทำให้ผมสามารถอดรนทนรับชม Kramer vs. Kramer (1979) คือภาพถ่ายสวยๆของ Néstor Almendros คลอประกอบเพลงคลาสสิกจากคีตกวี Vivaldi & Purcell และการแสดงเด็กชาย Justin Henry มีความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา น่าประทับใจกว่าพ่อแม่ที่เป็นพิษ (Toxic Parent) … จริงๆการแสดงของทั้ง Dustin Hoffman และ Meryl Streep ถือว่าระดับ Masterclass แต่มลพิษของตัวละคร มันเลยดูไม่ค่อยน่าอภิรมณ์เริงใจสักเท่าไหร่


Robert Douglas Benton (เกิดปี 1932) นักเขียน/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Waxahachie, Texas โตขึ้นเข้าศึกษา University of Texas ตามด้วย Columbia University จบออกมาร่วมกับ Harvey Schmidt เขียนหนังสือ The IN and OUT Book (1959), จากนั้นทำงานแผนกศิลป์ (Art Director) นิตยสาร Esquire, มีโอกาสรับรู้จัก David Newman ร่วมพัฒนาบทภาพยนตร์ Bonnie and Clyde (1967), What’s Up, Doc? (1972), Superman (1978), กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Bad Company (1972), The Late Show (1977) ฯ

โปรดิวเซอร์ Stanley R. Jaffe เป็นผู้แนะนำ Benton ให้รู้จักหนังสือ Kramer Versus Kramer (1977) แต่งโดย Avery Corman (เกิดปี 1935) อ่านแล้วเกิดความชื่นชอบประทับใจ ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงภาพยนตร์ทันที!

เกร็ด: หลายคน(รวมถึงผมเอง)ครุ่นคิดว่า Kramer Versus Kramer น่าจะอ้างอิงจากคดีความที่เคยบังเกิดขึ้นจริง แต่ไม่เลยนะครับ เรื่องราวทั้งหมดเกิดจากการแต่งขึ้นของ Avery Corman ไม่รู้ได้แรงบันดาลใจจากไหน เพราะเจ้าตัวไม่เคยหย่าร้างด้วยซ้ำ!

ในตอนแรก Benton ไม่ได้ครุ่นคิดจะกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยตนเอง ทำการพูดคุยชักชวน François Truffaut แต่อีกฝ่ายงานยุ่งมากๆ อีกทั้งไม่มีความสนใจโปรเจคอื่น(ที่ไม่ใช่ของตนเอง) ขณะเดียวกันยังให้คำแนะนำ Benton ทำไมไม่กำกับด้วยตนเองเสียเลยละ?

แม้ว่าหนังสือของ Corman จะได้รับคำชื่นชมอย่างมากๆในส่วนของบทพูด มีความเฉลียวฉลาด คมคาย แต่ฉบับภาพยนตร์ผกก. Benton เลือกให้อิสระกับนักแสดงในการดั้นสด ‘improvised’ สาเหตุเพราะ…

  • Dustin Hoffman มาจากฟากฝั่ง ‘method acting’ พร้อมสวมวิญญาณ ปรับเปลี่ยนแปลงตนเองให้เข้ากับบทบาทการแสดง
  • Meryl Streep ไม่ค่อยพึงพอใจกับบทบาทของตนเอง ซีเควนซ์ขึ้นให้การบนศาลเลยขอปรับแก้ไขบทพูดใหม่หมด
  • และเด็กชาย Justin Henry จะไปบังคับให้ท่องจำบทคงไม่ได้ เพียงพูดคุยอธิบาย และให้อิสระในการทำสิ่งต่างๆ

Ted Kramer (รับบทโดย Dustin Hoffman) เป็นคนบ้าทำงาน ไต่เต้าจนได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในบริษัทโฆษณา ณ New York City แต่แล้ววันหนึ่งเดินทางกลับมาถึงอพาร์ทเม้นท์ พบเห็นภรรยา Joanna (รับบทโดย Meryl Streep) เก็บเสื้อผ้า สิ่งข้าวของ พูดบอกต้องการเลิกราหย่าร้าง ทอดทิ้งให้เขาอาศัยอยู่กับบุตรชาย Billy (รับบทโดย Justin Henry)

สองพ่อลูกจึงจำต้องเรียนรู้ ปรับตัว ทั้งชีวิตครอบครัวและการทำงาน แต่มันเป็นไปได้ยากที่ทั้งสองอย่างจะประสบความสำเร็จด้วยกัน แล้วจู่ๆวันหนึ่ง Joanna หวนกลับมาหา ต้องการเรียกร้องสิทธิ์ในการเลี้ยงดูแลบุตรชาย พอดิบพอดี Ted เพิ่งถูกไล่ออกจากงาน เขาจึงพยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อไม่ให้สูญเสียบุตรชายสุดที่รัก


Dustin Lee Hoffman (เกิดปี 1937) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles, California, ในครอบครัวเชื้อสาย Jews ตอนเด็กตั้งใจเป็นนักเปียโน แต่ภายหลังเข้าเรียนการแสดงแล้วรู้สึกว่าง่ายกว่ามากเลยหันมาเอาดีด้านนี้ เริ่มจากเป็นนักแสดงละครเวทีประกบกับ Gene Hackman ต่อมามุ่งสู่ New York พักอาศัยอยู่ห้องเดียวกับ Robert Duvall, หลังจากมีผลงาน Off-Broadway เข้าเรียน Actors Studio กลายเป็นนักแสดง Method Acting, ภาพยนตร์เรื่องแรก The Tiger Makes Out (1967), ได้รับการจดจำจาก The Graduate (1966), Midnight Cowboy (1969), All the President’s Men (1976), Tootsie (1982), คว้ารางวัล Oscar: Best Actor สองครั้งเรื่อง Kramer vs. Kramer (1979) และ Rain Man (1988)

รับบท Ted Kramer วันๆเอาแต่หมกมุ่นอยู่กับการทำงาน (Workaholic) ไต่เต้าจนกำลังจะได้เป็นผู้บริหาร ทำให้ไม่หลงเหลือเวลาว่างให้กับครอบครัว สร้างความเหน็ดเหนื่อย เอือมระอาให้กับภรรยา Joanna ไม่สามารถอดรนทนต่อพฤติกรรมเห็นแก่ตัว ปิดกั้น ปฏิเสธรับฟังความต้องการของตนเอง ค่ำคืนหนึ่งหลังส่งลูกเข้านอน ตัดสินใจเก็บข้าวของย้ายออกจากบ้าน ทอดทิ้งเขาและบุตรชายให้เอาตัวรอดเพียงลำพัง

หลังถูกภรรยาทอดทิ้ง เขาจึงจำต้องปรับตัวเข้ากับงานบ้านงานเรือน ให้เวลาเลี้ยงดูแลบุตรชาย แต่นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำสองสิ่งอย่างไปพร้อมๆกัน เป็นเหตุให้อาชีพการงานเริ่มถดถอย นายจ้างก็เริ่มไม่ค่อยพึงพอใจ เลยถูกไล่ออกก่อนวันหยุดยาวสิ้นปี พอดิบพอดี(อดีต)ภรรยาหวนกลับมายื่นฟ้องเรียกร้องสิทธิ์การเลี้ยงดูบุตร ทำให้เขาต้องลดละทิฐิ เร่งรีบหางาน ไม่เกี่ยงเงินเดือน เพื่อโอกาสการต่อสู้คดีความบนชั้นศาล

แม้ว่า Hoffman จะคือตัวเลือกแรกของผู้สร้าง แต่ขณะนั้นเจ้าตัวรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่ายต่อวงการภาพยนตร์ ครุ่นคิดอยากหวนกลับไปแสดงละคอนเวที เลยไม่มีความกระตือรือล้นที่จะตอบตกลง, หลังจากนั้นก็มีการยืนบทให้กับ James Caan, Al Pacino, Jon Voight ฯ ก่อนสุดท้ายผกก. Benton และโปรดิวเซอร์ Jaffe บังเอิญพบเจอ Hoffman ระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์ Agatha (1979) ณ กรุง London พูดคุยอะไรยังไงกันไม่รู้ คราวนี้ถึงเปลี่ยนใจตอบตกลง

อาจเพราะขณะนั้น Hoffman ใกล้จะหย่าร้างกับภรรยา Anne Byrne (เซ็นใบหย่าปี ค.ศ. 1980) เลยนำความรู้สึกของตนเองใส่ลงในตัวละคร แล้วทำการสร้างบุคลิกภาพชายผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างแรงกล้า เย่อหยิ่ง ทะนงตน หลงตัวเอง อ้างอวดเก่ง ครุ่นคิดว่าฉันสามารถทำอะไรๆได้ทุกสิ่งอย่าง เอาจริงๆเขาก็สามารถทำได้ แต่ประสิทธิภาพ/ผลสำเร็จของงานจะลดน้อยลง ถึงอย่างนั้นนั่นเป็นสิ่งที่เจ้าตัวไม่เคยรับรู้(ข้อบกพร่อง/ความผิดพลาดของ)ตนเองจนเมื่อภรรยาทอดทิ้ง ถูกไล่ออก และพ่ายแพ้คดีความ … ต้องใช้ความสุดโต่งเท่านั้นถึงทำให้ตัวละครเผชิญหน้ากับความจริง ยินยอมรับความผิดพลาด

ไม่ใช่แค่ความสุดโต่งของตัวละคร ยังวิธีการที่ Hoffman พัฒนาขึ้นโดยใช้ข้ออ้าง ‘method acting’ ด้วยความที่ Ted ไม่ถูกกับ Joanna (เพราะอีกฝ่ายทอดทิ้งเขาไป) บ่อยครั้งใช้คำพูดดูถูกเหยียดยาม Streep กล่าวชื่ออดีตคู่หมั้นที่เพิ่งเสียชีวิต John Cazale กระแหนะกระแหน ลวนลาม ตบจริง นั่นทำให้เธอรู้สึกไม่พึงพอใจอย่างมากๆ

เกร็ด: ครั้งเลวร้ายสุดก็คือ Hoffman ทำการเขวี้ยงแก้วไวน์ในร้านอาหารโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า (กระซิบบอกแค่ตากล้อง) นั่นสร้างความไม่พึงพอใจอย่างรุนแรงต่อ Streep ทำให้พวกเขามองหน้ากันไม่ติดอีกต่อไป!

This was my first film, and it was my first take in my first film, and he just slapped me. And you see it in the film. It was overstepping.

Meryl Streep

บทบาทนี้สำหรับ Hoffman ทำให้เขาค้นพบความชื่นชอบการแสดงภาพยนตร์ขึ้นอีกครั้ง ได้ทำการทดลองอะไรใหม่ๆ และสำคัญที่สุดคือการรับบทเป็นพ่อ ทำให้ชีวิตจริงสามารถเข้าใจ ‘ความเป็นบิดา’ เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน


Mary Louise ‘Meryl’ Streep (เกิดปี 1949) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกา เกิดที่ Summit, New Jersey บิดามีเชื้อสาย German & Swiss ตอนเด็กเป็นเชียร์ลีดเดอร์ แสดงละครเวทีโรงเรียน แต่ไม่คิดจริงจังจนกระทั่งนำแสดง Miss Julie สร้างความตกตะลึงสมจริงให้กับทุกคน เลยตัดสินใจเข้าเรียนต่อ Yale School of Drama จบออกมาเริ่มจากเป็นนักแสดงละครเวที Broadway จนประสบความสำเร็จคว้ารางวัล Tony Award: Best Actress แล้วผันตัวเข้าสู่วงการภาพยนตร์เพราะความประทับใจ Robert De Niro เรื่อง Taxi Driver (1976), ผลงานเรื่องแรก Julia (1977), โด่งดังพลุแตกกับ The Deer Hunter (1978) [ได้ร่วมงานกับ Idol ของตนเอง], ปีเดียวกันแสดง mini-Series เรื่อง Holocaust (1978), Manhattan (1979), Kramer vs. Kramer (1979), Sophie’s Choice (1982), Out of Africa (1985), Adaptation (2002), The Hours (2002), The Devil Wears Prada (2006), Mamma Mia! (2008), The Iron Lady (2011) ฯ

รับบท Joanna Kramer หญิงสาวผู้มีความเบื่อหน่าย เอือมระอาต่อพฤติกรรมสามี ที่ไม่เคยรับฟัง แสดงความสนอกสนใจ ปล่อยให้ตนเองเอาแต่ทำงานบ้าน เลี้ยงดูแลบุตรชายตามลำพัง ชีวิตตกอยู่ในความสิ้นหวัง โหยหาอิสรภาพ ก่อนตัดสินใจหนีออกจากบ้านหลัง ถึงอย่างนั้นสันชาติญาณเพศแม่ เลยยังคงห่วงโหยหา ต้องการหวนกลับคืนมา พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อสิทธิ์ในการเลี้ยงดูแลบุตรในไส้

มีนักแสดงหญิงมากมายได้รับการติดต่อทาบทาม อาทิ Kate Jackson, Faye Dunaway, Jane Fonda, Ali MacGraw, ขณะที่ Meryl Strrp ในตอนแรกได้รับบท Phyllis แต่สามารถทำการโน้มน้าวทั้งผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ และโดยเฉพาะ Hoffman เมื่อได้พบเห็นการอ่านบทของเธอ “That’s Joanna!”

เกร็ด: ระหว่าง 12 วันถ่ายทำ Streep กำลังตั้งครรภ์ท้องแก่ แต่เชื่อว่าหลายคนคงไม่ทันสังเกต เพราะมุมกล้องจงใจไม่ถ่ายให้เห็นชัดๆ และฉากสุดท้ายตัวละครสวมใส่ชุดกันฝน ปกปิดบังครรภ์ได้อย่างแนบเนียน

Streep ให้คำนิยามตัวละครของตนเองว่า “an ogre, a princess, an ass” ทั้งบทหนังและต้นฉบับนวนิยายไม่ได้มีความน่าเห็นใจเลยสักนิด! หนำซ้ำดูเหมือนคนวิกลจริต (neurotic) ด้วยเหตุนี้เธอจึงพยายามเรียกร้องขอแก้ไขบทพูด โดยเฉพาะคำให้การบนชั้นศาล เพื่อทำให้ Joanna มีความสลับซับซ้อน ไม่ใช่แค่ทอดทิ้งสามีและบุตร แต่เหมือนมีบางสิ่งอย่างทำให้ผู้ชมเกิดความสงสารเห็นใจ

สาเหตุผลที่ Streep มองตัวละครในลักษณะนั้น เพราะเธอเพิ่งสูญเสียคู่หมั้น John Cazale เมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้า มันจึงมีความเจ็บปวด เปราะบาง คราบน้ำตาไม่ใช่เพราะครุ่นคิดถึงบุตร แต่คือชายคนรักที่ลาจากโลกนี้ไปเสียมากกว่า นั่นทำให้การแสดงมีความทรงพลัง บีบเค้นคั้น แทบมิอาจกลั้นหลั่งธารน้ำตา

แซว: ระหว่างงานเลี้ยง Governor’s Ball ภายหลังการประกาศรางวัล Oscar ท่าทาง Meryl Streep คงดื่มหนักจนหลงลืมรางวัลของตนเองทิ้งไว้ในห้องน้ำ โชคยังดีมีคนพบเจอแล้วส่งคืนให้ก่อนเดินทางกลับ


Justin Henry (เกิดปี 1971) เกิดที่ Rye, New York บุตรของนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขณะอายุ 7 ขวบ ได้รับการชักชวนจากเพื่อนบ้านที่เป็นนักคัดเลือกนักแสดง (Casing Director) ให้มาทดสอบหน้ากล้องภาพยนตร์ Kramer vs. Kramer (1979) จากเด็กชายพันกว่าคนหลงเหลือเพียงสองคน ผกก. Benton ตัดสินใจเลือก Henry เพราะหน้าตาละม้ายคล้าย Meryl Streep

รับบท Billy Kramer เด็กชายยังไม่รู้เดียงสา แม้จะโหยหามารดา แต่ไม่เคยพบเห็นงอแง ร่ำร้องไห้เมื่ออยู่กับบิดา นอกจากครั้งที่ต้องการเรียกร้องความสนใจ ไม่นานก็สามารถปรับตัว มักคุ้นชินกับการใช้ชีวิต สุดท้ายตัดสินใจไม่ได้ว่าอยากอยู่กับใครมากกว่า

ด้วยความที่ Henry ยังเด็กอยู่มาก เลยไม่ค่อยรับรู้ประสีประสาการแสดง ซึ่ง Hoffman ต้องใช้เวลาพูดคุย สานสัมพันธ์ อธิบายสิ่งต่างๆจนกว่าจะเข้าใจ ส่วนใหญ่จึงให้อิสระในการแสดง อย่างฉากรับประทานไอศกรีม ไม่มีในบท เล่นสดๆ ‘improvised’ ได้อย่างน่าประทับใจ

แซว: Hoffman เคยสอบถาม Henry ถ้าต้องเลือกระหว่างตนเองกับ Streep อยากอาศัยอยู่กับใคร? เด็กชายตอบว่า “Her. She’s nicer” นั่นทำให้ Hoffman โต้กลับ “Oh yeah? Work with her five weeks then see what you say.”

หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ Henry เคยรับงานแสดงอยู่บ้างประปราย, สำเร็จการศึกษาจิตวิทยา Skidmore College, ระหว่างปี 1998-2003 ร่วมก่อตั้ง Slamdunk Film Festival จัดขึ้นที่ Park City, Utah (ถือเป็น Counter-Festival ของ Sundance Film Festival), ปัจจุบันทำงานสื่อดิจิตอล (Digital Media) ให้บริษัทแห่งหนึ่งใน Los Angeles


ถ่ายภาพโดย Néstor Almendros Cuyás (1930-92) ตากล้องสัญชาติ Spanish เกิดที่ Barcelona แล้วหลบลี้หนีภัย (จากจอมพล Francisco Franco) มาอาศัยอยู่ประเทศ Cuba จากนั้นไปร่ำเรียนการถ่ายภาพยังกรุงโรม Centro Sperimentale di Cinematografia, หวนกลับมาถ่ายทำสารคดี Cuba Revolution (1959) พอถูกแบนห้ามฉายก็มุ่งสู่ Paris กลายเป็นขาประจำผู้กำกับรุ่น French New Wave ร่วมงานขาประจำ Éric Rohmer และ François Truffaut ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Days of Heaven (1978) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography, Kramer vs. Kramer (1979), The Blue Lagoon (1980), Sophie’s Choice (1982) ฯ

แซว: เหตุผลที่ Almendros ตอบตกลงรับงานภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะครุ่นคิดว่าจะได้ร่วมงานผกก. Truffaut แต่อีกฝ่ายดันถอนตัวออกไป จะบอกปัดปฏิเสธก็สายเกินแก้ไข

Almendros เลื่องชื่อในฐานะ ‘master of light’ แต่ส่วนใหญ่ของภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำภายในอพาร์ทเม้นท์ สำนักงาน และบนชั้นศาล ถึงอย่างนั้นเมื่อตัวละครออกสู่โลกภายนอก สวนสาธารณะ พบเห็นฤดูกาลผันแปรเปลี่ยน (ถ่ายทำระหว่างกันยายน-ธันวาคม ค.ศ. 1978 คาบเกี่ยวฤดูใบไม้ร่วง และหิมะตก) มันช่างมีความงดงาม (ด้วยแสงธรรมชาติ) จัดองค์ประกอบได้อย่างเพลิดเพลินสายตา

หนังถ่ายทำยังสถานที่จริงทั้งหมด ปักหลักอยู่ยัง Manhattan และ New York City อาทิ สวนสาธารณะ Central Park, James Michael Levin Playground, โรงพยาบาล Lenox Hill Hospital, โรงเรียน The Lillie Devereaux Blake School, สถานที่ทำงานของ Ted อยู่ในอาคาร Fred F. French Building, คาเฟ่นัดพบเจอ Joanna ยัง J.G. Melon Restaurant, ฉากในศาล Federal Hall, Tweed Courthose ฯ


ภาพช็อตแรกของหนังถ่าย Close-Up ใบหน้า Joanna ขณะกำลังกล่อมลูกเข้านอน สังเกตว่าพื้นหลังปกคลุมด้วยความมืดมิด นั่นสามารถสะท้อนสภาพจิตใจของเธอ มีความมืดหม่น อับจน ไร้หนทางออก หลังจากบุตรชายนอนหลับ ก็ออกไปแพ็กเสื้อผ้าใส่กระเป๋า เตรียมตัวออกเดินทาง หนีไปจากอพาร์ทเม้นท์หลังนี้

คุณภาพหนังฉบับที่ผมรับชมไม่ได้คมชัดมากนัก (ใครสามารถหาดูฉบับ 4K ลองไปสังเกตดูนะครับ) Streep เคยให้สัมภาษณ์ว่าฉากในลิฟท์ ใบหน้าที่แดงกล่ำ ร่ำไห้ เพราะเพิ่งถูก Hoffman ตบจริงแบบไม่ทันตั้งตัว แถมยังกระซิบกระซาบอะไรสักอย่างถึงอดีตคู่หมั้น John Cazale เพื่อให้เธอแสดงอารมณ์อัดอั้น โกรธเกลียดเคียดแค้น ไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง ผลลัพท์ออกมาตราตรึง ทรงพลัง แต่มันค่อนข้างล้ำเส้น ถ่ายทำเสร็จเธอก็น่านิ่วคิ้วขมวดออกจากกองถ่าย

โดยปกติแล้วถ้าฝ่ายชายไม่อยากเลิกราจริงๆ ก็ควรจะหยุดยับยั้งประตูลิพท์ พูดคุยให้จนกว่าจะรับรู้เรื่อง แต่นี่เขากลับปล่อยให้มันปิดเลย ไม่เคยยืดยื้อประการใด เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของจุดจบ ตัดขาดความสัมพันธ์ … สองคนนี้รักกันจริงหรือเปล่าเนี่ย?

เช้าวันถัดมาหลังจาก Joanna ทอดทิ้งออกจากบ้าน ภาพยามเช้าช็อตแรกแม้งก็จงใจเหลือเกิน ถ่ายภายนอกอพาร์ทเม้นท์ พบเห็นรถเก็บขยะ เพื่อสื่อถึงความชิบหายวายป่วนของครอบครัว Kramer กำลังจะเริ่มต้นขึ้น!

ความ ‘fuck up’ แรกของพ่อลูก Kramer คือมื้ออาหารเช้า กิจวัตรพื้นฐานในชีวิตประจำวัน โดยปกติแล้วจะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของภรรยา/มารดา แต่เมื่อเธอทอดทิ้งจากไป พวกเขาจึงจำต้องเรียนรู้ ปรับตัว หาหนทางเอาตัว ทดลองผิดลองถูก ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด

ช่วงกลางๆเรื่องเมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน สองพ่อ-ลูกก็สามารถปรับตัวเข้ากับมื้ออาหารเช้า รับรู้หน้าที่ กิจวัตรของตนเองว่าควรทำอะไร หยิบจานหยิบช้อน เทนมใส่แก้ว ต่างฝ่ายต่างสามารถดูแลกันและกัน ไม่วุ่นๆวายๆเหมือนวันแรกนั้น … จริงๆมันยังมีอีกครั้งสุดท้าย แต่เดี๋ยวไว้ค่อยพูดถึง

โปสเตอร์ด้านหลังคือหนังเพลง You Can’t Have Everything (1937) นำแสดงโดย Alice Faye และ Don Ameche, แต่สิ่งที่ต้องการสื่อถึงน่าจะคือ “You Can’t Have Everything.” พูดบอกกับ Ted Kramer ว่าไม่มีที่เขาจะสามารถทำทุกสิ่งอย่างได้ด้วยตนเอง อาชีพการงาน รวมถึครอบครัวทางบ้าน

การได้พบเห็นบุตรชายปั่นจักรยานสำเร็จครั้งแรก มันคือความสุขเล็กๆของคนเป็นพ่อ(และแม่) ก่อให้เกิดสายสัมพันธ์ เชื่อมโยงผูกพัน ซึ่งผมมองว่าซีนนี้ยังเป็นสัญลักษณ์การเติบโตของบิดาด้วยเช่นกัน คอยผลักดันอยู่เบื้องหลัง จนเมื่อลูกสามารถปั่นจักรยานสำเร็จ เขาจึงก้าวถอยไปยืนข้างๆ มองดูอย่างภาคภูมิใจ เริ่มต้นเข้าใจความหมายของชีวิต!

บ่อยครั้งที่ Joanna อ้างว่าแอบมายืนมองบุตรชายเข้าโรงเรียน ณ ร้านกาแฟฟากฝั่งข้ามถนน สิ่งน่าสนใจของช็อตนี้ไม่ใช่ปฏิกิริยาสีหน้าของ Meryl Streep คือภาพวาด Picasso ที่แขวนอยู่ข้างๆ ผมดูไม่ออกว่ารูปอะไร แต่แอบรู้สึกว่ามันสามารถสะท้อนความบิดเบี้ยวที่อยู่ภายในจิตใจตัวละครได้ตรงๆเลยละ!

เหตุผลที่เด็กชาย Billy ชื่นชอบเล่นเครื่องบิน (จนพลัดตกลงมาจากอุปกรณ์ปีนป่ายในสนามเด็กเล่น) อาจเพราะเขาโหยหาอิสรภาพ ต้องการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จักสามารถทำอะไรตามใจ ไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่กับบิดา (หรือมารดา) พึ่งพาตนเองได้เสียที … แต่เพราะเขายังเล็กนัก จึงพลัดตกล่นจากความฝัน

นี่เป็นมุมกล้องที่ชาญฉลาดอย่างมากๆ เชื่อว่าหลายคนคงจับจ้องมองแต่ Joanna ระหว่างนั่งรอคอยอดีตสามี แต่ถ้าใครสังเกตกระจกข้างๆ จะพบเห็นขณะที่ Ted กำลังเดินเข้ามาในร้าน มองซ้ายมองขวา แล้วตรงเข้ามานั่งข้างๆ

ลองสังเกตปฏิกิริยาของ Streep เมื่อครั้ง Hoffman ปัดแก้วไวน์แตก สะดุ้ง ตกใจกลัว ไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง แต่เพราะผู้กำกับยังไม่สั่งคัท จึงยกมือขึ้นมาปิดปาก อดกลั้น แสดงถึงความเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง! หลังถ่ายเสร็จพูดบอกกับอีกฝ่าย “Next time you do that, I’d appreciate you letting me know.”

เมื่อตอนที่ Ted ได้รับชักชวนจากหัวหน้า มารับประทานอาหารกลางวัน รับฟังคำพูดหว่านล้อม แท้จริงแล้วต้องการบอกว่าอีกฝ่ายถูกไล่ออกจากงาน ผมรู้สึกว่าต้องการล้อกับซีเควนซ์ที่เพิ่งอธิบายไป Ted พบเจอ(อดีตภรรยา) Joanna แล้วปฏิเสธอีกฝ่ายไม่ให้ได้รับสิทธิ์เลี้ยงดูแลบุตร … ทั้งสองเหตุการณ์เกิดขึ้นในร้านอาหาร Ted เกิดความไม่พึงพอใจจนต้องลุกขึ้นสะบัดตูดหนี แตกต่างคือทิศทางมุมกล้องถ่ายเข้ามาภายใน vs. หันออกนอก (ต่างมีกระจกเหมือนกันด้วยนะ)

หลังจากถูกไล่ออกจากงาน ค่ำคืนนี้พบเห็น Ted กำลังนั่งทำพวงมาลัย ด้วยการใช้กระดาษม้วนเป็นข้อๆติดต่อเนื่องกัน ลักษณะของมันดูเหมือนลำดับขั้นชีวิต สิ้นสุดวันหนึ่ง เริ่มต้นวันถัดไป หรือคือเขาที่ถูกไล่ออกจากงาน ก็แค่ต้องเตรียมมองหางานทำใหม่

เอาจริงๆผมไม่ชอบความเย่อหยิ่ง อวดดีของ Ted ระหว่างไล่ล่าหางานนี้สักเท่าไหร่ (คนพฤติกรรมแบบนี้ ผมละสาปส่งให้หางานทำไม่ได้) เพราะพยายามไปบีบบังคับ ควบคุมครอบงำนายจ้าง ถ้าคุณไม่ตอบตกลงวันนี้ก็แห้วรับประทาน บางองค์กรอาจต้องการคนเก่ง แต่คนเอาแต่ใจ หลงตัวตนเองขนาดนี้ แน่ใจหรือว่าจะสามารถควบคุมได้

ท่ามกลางงานเลี้ยงปาร์ตี้ที่ใครต่อใครกำลังสังสรรค์เฮฮา Ted นั่งลุ้นอย่างหน้าดำคร่ำเครียด จะได้รับการว่าจ้างงานหรือไม่ บรรยากาศซีเควนซ์นี้ทำให้ผู้ชมรู้สึกสงสารเห็นใจตัวละคร แต่เอาจริงๆมันกลับทำให้หมอนี่มีความเย่อหยิ่ง ทะนงตัว หลงตัวเองยิ่งขึ้นกว่าเก่า

หลังสิ้นสุดการพิจารณาคดีความ Joanna เหมือนจงใจดักรอ Ted อยู่บริเวณทางลงลิฟท์ พยายามพูดขอโทษ ไม่ได้ตั้งใจ แต่ปฏิกิริยาสีหน้าของเขากลับดูหน้าดำคร่ำเครียด ไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง ช่างไม่แตกต่างจากตอนต้นเรื่องในทิศทางกลับตารปัตร

หลายวันถัดมาระหว่าง Ted เดินทางไปหาทนายความ สภาพอากาศหิมะตกหนัก นี่เป็นการบอกใบ้ผลการตัดสินคดีความ ที่จักทำให้จิตใจของเขาหนาวเหน็บ ตกอยู่ในสภาพหมดสิ้นหวัง … เพราะพ่ายแพ้คดีความ

เมื่อตอนที่บิดาพูดบอกกับบุตรชาย ว่าจำเป็นต้องส่งเขาไปอาศัยอยู่กับมารดา สังเกตว่าพวกเขาต่างสวมใส่เสื้อกันหนาว แต่สถานที่พื้นหลังกลับดูเหมือนช่วงฤดูใบไม้ร่วง (เพราะพื้นเต็มไปด้วยใบไม้สีน้ำตาลแห้งเหี่ยวร่วงหล่น) ผมเลยไม่รู้จะตีความฉากนี้ยังไงดี เพราะโดยปกติแล้วฤดูใบไม้ร่วงคือช่วงเวลาแห่งการจากลา แต่เวลาจริงๆในหนังมันควรเป็นหลังปีใหม่เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิไม่ใช่หรือ??

ครั้งสุดท้ายที่พ่อ-ลูกเข้าครัว ทำอาหารเช้า แต่คราวนี้ไม่วุ่นๆวายๆ ชิบหายวายป่วนเหมือนเก่า เพราะพวกเขาต่างมีประสบการณ์ เรียนรู้จักวิธีการ จึงสามารถช่วยเหลือ เติมเต็ม เข้าใจกันและกัน ซีเควนซ์นี้จึงมีบรรยากาศเศร้าๆ เวิ้งว่างเปล่า เพราะนี่อาจเป็นครั้งสุดท้ายจักได้อยู่ร่วมชายคาเดียวกัน

ฉากสุดท้ายของหนังหวนกลับมาที่ลิฟท์อีกแล้ว! คล้ายๆตอนต้นเรื่องที่ Joanna เข้าไปในลิฟท์ แต่คราวนี้เป็นจากขาลง (หนีออกจากบ้าน) มาเป็นขาขึ้น (กลับมาเยี่ยมเยียน) เช่นเดียวกับปฏิกิริยาของ Ted จากเคยไม่รับรู้อะไร มาคราวนี้เข้าใจทุกสรรพสิ่งอย่าง

ตัดต่อโดย Gerald B. Greenberg (1936-2017) สัญชาติอเมริกัน สมัยเด็กอยากเป็นนักดนตรี ชื่นชอบตัดต่อเพลง บันทึกเสียง (Sound Edited) ไปๆมาๆได้งานเป็นผู้ช่วย Dede Allen ตัดต่อภาพยนตร์ American American (1963), แล้วแจ้งเกิดกับ Bonnie and Clyde (1967), ผลงานเด่นๆ อาทิ The French Connection (1971)**คว้ารางวัล Oscar: Best Edited, Apocalypse Now (1979), Kramer vs. Kramer (1979), Heaven’s Gate (1980), Dressed to Kill (1980), Scarface (1983), The Untouchables (1987), American History X (1998) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองบิดา Ted Kramer หลังจากถูกภรรยา Joanna ทอดทิ้ง หนีออกจากบ้าน จำเป็นต้องปรับตัวให้เวลากับบุตรชายมากขึ้น ส่งผลกระทบต่ออาชีพการทำงาน จนสร้างความไม่พึงพอใจให้กับนายจ้าง เหตุการณ์วุ่นๆเกิดขึ้นเมื่อภรรยาหวนกลับมาเรียกร้องขอสิทธิ์ในการเลี้ยงดู พอดิบพอดีถูกไล่ออกจากงาน เขาจะสามารถพานผ่านช่วงเวลาเลวร้ายนี้ไปได้หรือไม่

  • การจากไปของภรรยา Joanna
    • หลังจากส่งบุตรชายเข้านอน Joanna เก็บข้าวของเตรียมออกจากบ้าน
    • หลังเลิกงาน Ted ไปดื่มกินกับเจ้านาย กำลังจะได้รับโอกาสก้าวหน้าครั้งสำคัญ
    • แต่พอกลับมาบ้านพบเห็นการจากไปของเธอ ทำให้สร่างเมาโดยพลัน
    • เช้าวันถัดมาทำอาหารกับบุตรชาย อะไรๆล้วนผิดพลาดไปเสียหมด
  • ช่วงเวลาปรับตัวของ Ted และบุตรชาย
    • Ted ต้องค่อยปรับตัว ให้เวลาครอบครัว ไปรับไปส่งบุตรชาย หลงเหลือเวลางานลดน้อยลง ไม่สามารถสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน
    • ครั้งหนึ่งชักชวนเพื่อนร่วมงานหญิงมาหลับนอนที่บ้าน แต่ดูแล้วเธอคนนั้นคงไม่หวนกลับมาอีก (One Night Stand)
    • ครั้งหนึ่งบุตรชายประสบอุบัติเหตุ พลัดตกจากเครื่องเล่น รีบพาไปรักษายังโรงพยาบาล
  • การหวนกลับมาของ Joanna
    • ผ่านไป 15 เดือน Joanna หวนกลับมาพบเจอ Ted ต้องการพบเจอบุตรชาย
    • จากนั้นเธอพยายามต่อรอง เรียกร้องสิทธิ์ในการดูแล สร้างความไม่พึงพอใจให้เขาอย่างรุนแรง
    • หลังได้กำหนดการพิจารณาคดี พอดิบพอดี Ted ถูกไล่ออกจากงาน
    • เขาจึงจำเป็นต้องเร่งรีบหางานทำภายในหนึ่งวัน เพื่อไม่ให้สูญเสียรูปคดี
  • การพิจารณาคดีความ
    • เริ่มต้นด้วยการให้การของ Joanna
    • ตามด้วยพยานฟากฝั่ง Ted
    • และคำให้การของ Ted
  • ผลการพิจารณาคดีความ
    • Joanna เป็นฝ่ายชนะคดีความ ทำให้ Ted ต้องเตรียมร่ำลาบุตรชาย
    • Ted และบุตรชายทำอาหารร่วมกันมื้อสุดท้าย
    • แต่พอถึงวันส่งมอบ Joanna กลับยินยอมรับความพ่ายแพ้

เรื่องราวของหนังมีการกระโดดไปข้างหน้า ‘Time Skip’ อยู่บ่อยครั้ง แต่ผู้ชมแทบจะไม่รับรู้สึกถึงกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน ทำได้เพียงสังเกตบริบทรอบข้าง ฤดูกาลผันแปรเปลี่ยน ซึ่งยังมีความสอดคล้องกับเรื่องราวขณะนั้นๆ ในส่วนนี้ต้องชมว่าทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม สมควรค่าแก่การได้เข้าชิง Oscar: Best Edited


ในส่วนของเพลงประกอบ การเลือกใช้บทเพลงของ Antonio Vivaldi (1678-1741) และ Henry Purcell (1659-95) ถือว่าน่าสนใจทีเดียว ไม่ได้นำมาสร้างบรรยากาศ หรือขับเน้นทางอารมณ์ แต่ดนตรีสไตล์ Baroque (1600-1750) ขึ้นชื่อเรื่องความขัดแย้ง (Tension) มักมีเสียงหรือเครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดที่สะท้อนกันและกัน คนละระดับเสียง สลับเสียงสะท้อน ไม่ก็ย้อนแก่นสาร (Reversing Theme) … แนวคิดของดนตรีบาโรก สะท้อนความขัดแย้งระหว่าง Kramer vs. Kramer ได้อย่างลงตัว!

  • Antonio Vivaldi: Concerto in C Major for Mandolin and Strings
  • Henry Purcell: Sonata for Trumpet and Strings
  • Henry Purcell: The Gordian Knot Untied

Kramer vs. Kramer (1972) นำเสนอเรื่องราวการหย่าร้าง ภรรยาทอดทิ้งสามีและบุตร แต่ภายหลังหวนกลับมาทวงคืนสิทธิ์รับเลี้ยงดู ถึงขนาดฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล แล้วได้รับการตัดสินเข้าข้างมารดา ด้วยเหตุผลของความเป็นแม่ (Motherhood) นั่นใช่สิ่งถูกต้องเหมาะสมหรือไม่?

จริงอยู่ว่าแม่มักมีความสนิทใกล้ชิดกับลูกมากกว่าพ่อ เพราะต้องแบกครรภ์นานกว่าเก้าเดือน จึงบังเกิดสายสัมพันธ์ไม่มีวันตัดขาด แต่หลังจากคลอดบุตรออกมา ไม่ว่าบิดาหรือมารดาล้วนมีภาระรับผิดชอบ เลี้ยงดูแลจนกว่าจะเติบใหญ่ ให้สามารถเอาตัวรอด พึงพาตนเอง … ช่วงเวลาปฐมวัยจนถึงวัยรุ่น ความเป็นบิดา (Fatherhood) และความเป็นมารดา (Motherhood) ล้วนมีความสำคัญเทียบเท่าเทียมกัน!

โดยปกติแล้วสิทธิ์ในการรับเลี้ยงดูบุตร มันมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆมากมาย ผลการตัดสินล้วนเป็นไปได้ทั้งสองฟากฝั่ง แต่เรื่องราวของหนังจงใจเลือกข้าง นำเสนอผ่านมุมมองบิดา แล้วตีตราการกระทำมารดา ทอดทิ้งครอบครัวในช่วงเวลาคับขัน ผู้ชมจึงไม่รู้สึกสงสาร เห็นอกเห็นใจ ชัยชนะของเธอเลยโดนวิพากย์วิจารณ์อย่างหนัก … ทั้งๆที่ตัวกฎหมายก็ไม่ได้ขาดตกบกพร่องประการใด

ความคิดเห็นของนักแสดง Meryl Streep ที่ไม่ได้ชื่นชอบตัวละครตนเองมากนัก จนต้องขอปรับแก้ไขบทพูด คำให้การบนชั้นศาล ผมรู้สึกว่านั่นสะท้อนมุมมองของทั้งผู้แต่งนวนิยายและผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่ล้วนคือบุรุษเพศ คิดเองเออเอง ในบริบทสังคมชายเป็นใหญ่ ปิตาธิปไตย (Patriarchy) ทำไมฉันจะทำในสิ่งที่ภรรยา/เพศหญิงทำไม่ได้? พัฒนาเรื่องราวในมุมมองบุรุษ ให้ผู้ชมรู้สึกสงสารเห็นใจ

เอาจริงๆปัญหาของเรื่องราวนี้มันอาจไม่ใช่ความผิดฝ่ายหญิงเสียด้วยซ้ำ เหตุผลที่ Joanna ตัดสินใจทอดทิ้ง เลิกราหย่าร้าง มันเพราะพฤติกรรมเห็นแก่ตัวของ Ted ไม่ใช่หรือ? เอาแต่หมกมุ่นอยู่กับการทำงาน ปล่อยปละละเลยเรื่องทางบ้าน ปฏิเสธพูดคุย รับฟังความคิดเห็น ภรรยาต้องเป็นผู้เสียสละ ดำเนินตามช้างเท้าหลัง มีหน้าที่เพียงเลี้ยงดูแลบุตร (และร่วมเพศสัมพันธ์)

ผมมองการตัดสินใจของ Joanna สะท้อนการมาถึงของยุคสมัย Feminist ทำไมสตรีถึงไร้สิทธิ์เสียง ไม่สามารถครุ่นคิดตัดสินใจอะไรๆด้วยตนเอง เธอเพียงโหยหาอิสรภาพ ต้องการดิ้นหลุดจากขนบกฎกรอบครอบครัว/สังคม กระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจส่วนบุคคล! … ซึ่งการที่หนังพยายามฉุดเหนี่ยวรั้ง ทำออกมาในลักษณะชวนเชื่อเรียกร้องสิทธิบุรุษ (Men’s Rights Propaganda) เท่ากับเป็นความพยายามต่อต้านสิทธิสตรี (Anti-Feminist) ไม่เห็นด้วยกับการได้อิสรภาพเพศหญิง

นี่ยังไม่รวมสารพัดมลพิษที่ Hoffman ใช้ข้ออ้าง ‘method acting’ กระทำรุนแรงต่อ Streep ทั้งตบหน้า พูดจาดูถูกเหยียดหยาม แง่มุมหนึ่งมันอาชีพการแสดง แต่ขณะเดียวกันมันอาจก้าวล้ำเส้น กลายเป็นพฤติกรรมกลั่นแกล้ง บูลลี่ (Bully) กดขี่ข่มเหง ใช้อำนาจบาดใหญ่ เลยไม่น่าแปลกใจในชีวิตจริงกำลังถูกภรรยาขอเลิกราหย่าร้าง

ความสำเร็จอย่างล้นหลามของหนัง ยังสะท้อนสภาพสังคมยุคสมัยนั้น ชายเป็นใหญ่ ปิตาธิปไตย (Patriarchy) สถาบัน Academy of Motion Picture Arts and Sciences (ผู้จัดงาน Oscar) คงมีสมาชิกเพศชายมากเกินกว่าครึ่ง! ยังอีกหลายทศวรรษกว่าแนวคิด Feminist จะเริ่มเบ่งบาน ได้รับการยินยอมรับอย่างแพร่หลายจริงจัง


ด้วยทุนสร้าง $8 ล้านเหรียญ สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกา $106.3 ล้านเหรียญ รวมรายรับทั่วโลก $173 ล้านเหรียญ สูงสุดแห่งปี ค.ศ. 1979 (ทั้งยังเป็นหนังทำเงินสูงสุดของค่าย Columbia TriStar จนกระทั่ง Look Who’s Talking (1989)) และยังได้เข้าชิง Oscar & Golden Globe อีกหลายสาขา กวาดเรียบรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปีจากแทบทุกสำนัก ชิงตัดหน้า Apocalypse Now (1979) และ All That Jazz (1979) จนถูกตีตราปีแห่งความอัปยศ!

  • Academy Award
    • Best Picture **คว้ารางวัล
    • Best Director **คว้ารางวัล
    • Best Actor (Dustin Hoffman) **คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actor (Justin Henry)
    • Best Supporting Actress (Jane Alexander)
    • Best Supporting Actress (Meryl Streep) **คว้ารางวัล
    • Best Adapted Screenplay **คว้ารางวัล
    • Best Cinematography
    • Best Film Editing
  • Golden Globe Award
    • Best Motion Picture – Drama **คว้ารางวัล
    • Best Director **คว้ารางวัล
    • Best Actor – Drama (Dustin Hoffman) **คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actor (Justin Henry)
    • Best Supporting Actress (Jane Alexander)
    • Best Supporting Actress (Meryl Streep) **คว้ารางวัล
    • Best Screenplay **คว้ารางวัล
    • New Star of the Year – Actor (Justin Henry)

เกร็ด: ด้วยวัยเพียง 8 ขวบ 276 วัน เด็กชาย Justin Henry คือนักแสดงอายุน้อยสุดเคยเข้าชิง Oscar มาจนถึงปัจจุบัน

ชัยชนะของ Kramer vs. Kramer (1979) เพราะเรื่องราวเข้าถึงง่าย มีความซาบซึ้งกินใจ หลายคนถึงขนาดหลั่งน้ำตาร่ำไห้ มีความเป็น Hollywood มากกว่าสองโคตรหนัง Apocalypse Now (1979) และ All That Jazz (1979) ต่างเหนือล้ำกาลเวลาเกินไป เลยเข้าไม่ถึงผู้ชมสมัยนั้น

ผมพบเห็น Boxset ชื่อว่า Columbia Classics Collection: Volume 4 4K วางจำหน่ายกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 ประกอบด้วย His Girl Friday (1940), Guess Who’s Coming to Dinner (1967), Kramer vs. Kramer (1979), Starman (1984), Starman The Series (1986-87), Sleepless in Seattle (1993) และ Punch-Drunk Love (2002) ไม่แน่ใจว่าเป็นการบูรณะหรือแค่สแกนใหม่ แต่คุณภาพ 4K UHD ราคา $215.99 (จาก Amazon) น่าจะคุ้มมั้งนะ??

เกร็ด: Kramer vs. Kramer (1979) เคยถูกสร้างใหม่ฉบับ Bollywood เรื่อง Akele Hum Akele Tum (1995) นำแสดงโดย Amir Khan และ Manisha Koirala

Kramer vs. Kramer (1979) เหมาะสำหรับคอหนัง Hollywood รับชมภาพยนตร์เพื่อการบันเทิง สร้างความเพลิดเพลิน แฝงสาระข้อคิดอย่างผิวเผิน แต่ถ้าคุณสามารถขบครุ่นคิดลึกๆ จะเกิดความหงุดหงิด รำคาญใจ เรื่องราวไม่สมเหตุสมผล ตัวละครเต็มไปด้วยมลพิษ แถมการเลือกข้างยังทำให้ผม(ที่เป็นผู้ชาย)รู้สึกกระด้างกระเดื่อง ไม่ได้เป็นกลาง ไม่มีความถูกต้องชอบธรรมเลยสักนิด!

เอาจริงๆหนังมีดีเยอะนะ ทั้งภาพถ่ายสวยๆของ Néstor Almendros แฝงนัยยะเข้ากับเรื่องราว คลอประกอบบทเพลงจากคีตกวี Vivaldi และ Purcell เลือกใส่มาได้อย่างเหมาะเจาะ! ต้องถือว่าโปรดักชั่นยอดเยี่ยม … แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับความพ่ายแพ้ของ Apocalypse Now (1979) หรือ All That Jazz (1979)

จัดเรต pg กับพฤติกรรมเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ครอบครัวหย่าร้าง สงสารบุตรชาย

คำโปรย | สงครามระหว่าง Kramer vs. Kramer ทำการชวนเชื่อเลือกข้างบิดา แต่ที่น่าสงสารคือบุตรชาย ไร้สิทธิ์เสียงในการตัดสินใจ
คุณภาพ | โปรดักชั่นเยี่ยมแต่เต็มไปด้วยมลพิษ
ส่วนตัว | หงุดหงิดใจ

The French Connection (1971)


The French Connection (1971) hollywood : William Friedkin ♥♥♥♥

สัญชาติญาณล้วนๆของคู่หูนักสืบ Gene Hackman และ Roy Scheider ทำให้การไล่ล่าเครือข่ายลักลอบขนส่งเฮโรอีนข้ามชาติ (French Connection) มีความรุนแรง ดิบเถื่อน ฉากไล่ล่าสุดมันส์ คว้ารางวัล Oscar จำนวน 5 สาขา รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี

เกร็ด: French Connection คือคำเรียกเครือข่ายลักลอบขนส่งเฮโลอีนข้ามชาติ เริ่มต้นโดยเจ้าพ่อมาเฟียชาวฝรั่งเศส Paul Carbone ก่อตั้งองค์กร Corsican Gang ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 30s (จนถึงต้นทศวรรษ 70s) เพื่อนำเฮโลอีนผลิตจากอินโดจีน (แถวๆประเทศไทยนี่แหละ) ขนส่งผ่านตุรกี, ฝรั่งเศส ปลายทางคือแคนาดา และสหรัฐอเมริกา

หลังการล่มสลายของ Hays Code เมื่อปี ค.ศ. 1967 เปลี่ยนผ่านสู่ยุคสมัยจัดเรตติ้ง มีภาพยนตร์มากมายที่พยายามท้าทายกฎกรอบทางศีลธรรม อาทิ Bonnie and Clyde (1967), Midnight Cowboy (1969), Easy Rider (1969) ฯลฯ หนึ่งในนั้นก็คือ The French Connection (1971) เป็นภาพยนตร์ที่มีความรุนแรง ดิบเถื่อน นำเสนอการทำงานคู่หูตำรวจ ที่ไม่สนห่าเหวอะไรทั้งนั้น เพียงเพื่อจับกุมอาชญากร ยินยอมพร้อมแลกมาด้วยทุกสิ่งอย่าง

เมื่อสมัยวัยรุ่น ผมรับรู้จักมือปราบเพชรตัดเพชร, The French Connection (1971) จากคนแนะนำว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีฉากไล่ล่าน่าตื่นเต้นเร้าใจ ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก! แต่พอมีโอกาสรับชมก็มึนๆตึงๆ ดูไม่ค่อยรู้เรื่องก็อย่างหนึ่ง เสียงเล่าอ้างดังกล่าวเหมือนไม่ค่อยมีมูลสักเท่าไหร่ (เมื่อเทียบกับหนังสมัยใหม่)

การรับชมครานี้ พบเห็นลูกเล่นลีลาของผกก. William Friedkin ทำให้ผมพอเข้าใจเหตุผลคำสรรเสริญเยินยอของ The French Connection (1971) เพราะวิธีการนำเสนอ(รับอิทธิพลจาก The Battle of Algiers (1966) และ Z (1969))พยายามทำออกมาให้มีความสมจริง ตรงไปตรงมา นั่นทำให้ฉากไล่ล่าทั้งหลาย ดูรุนแรงกว่าปกติหลายเท่าตัว … ภาพยนตร์สมัยใหม่ที่แพรวพราวความฉวัดเฉวียน กล้องสั่นๆ ตัดต่อสลับไปมาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นนกกระจอกไม่ทันกินน้ำโดยทันที!


ต้นฉบับของ The French Connection (1969) คือหนังสือ Non-Ficition แนวอาชญากรรม (True Crime) เขียนโดย Robin Moore (1925-2008) เรียบเรียงจากเหตุการณ์จริงเกิดขึ้นที่ New York City เมื่อปี ค.ศ. 1961 คู่หูนักสืบ Eddie Egan และ Sonny Grosso ร่วมกันเปิดโปงเครือข่ายลักลอบขนส่งเฮโรอีนข้ามชาติ (French Connection) เริ่มต้นจากสังเกตการณ์อาชญากร Pasquale ‘Patsy’ Fuca ที่ไนท์คลับแห่งหนึ่ง แล้วค้นพบความเชื่อมโยงผู้ค้ารายใหญ่ชาวฝรั่งเศส Jean Jehan และนักแสดงโทรทัศน์ Jacques Angelvin ซุกซ่อนเฮโรอีนในรถยนต์ Citroën DS ลักลอบนำเข้าประเทศผ่านเรือโดยสาร SS France จำนวน 246 ปอนด์ = 111.6 กิโลกรัม (ถือเป็นสถิติการจับกุมสูงสุดขณะนั้น!)

เกร็ด: ชื่อเต็มของหนังสือเล่มนี้คือ The French Connection: The World’s Most Crucial Narcotics Investigation ในบางฉบับตีพิมพ์ยังใช้ชื่อ The French Connection: A True Account of Cops, Narcotics, and International Conspiracy

ในตอนแรกลิขสิทธิ์ดัดแปลงภาพยนตร์ The French Connection ตกเป็นของโปรดิวเซอร์ Philip D’Antoni จาก National General Pictures ว่าจ้างนักเขียน Robert E. Thompson และเลือกตัวผู้กำกับ William Friedkin แต่บทของ Thompson ทำออกมาไม่ค่อยถูกใจสักเท่าไหร่ เลยส่งไม้ต่อให้อีกนักเขียน Ernest Tidyman ได้รับค่าจ้าง $5,000 เหรียญ

William David Friedkin (เกิดปี 1935) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกา เกิดที่ Chicago, Illinois ในครอบครัวชาว Jewish อพยพมาจาก Ukrane, วัยเด็กชื่นชอบเล่นกีฬา Basketball แต่หลังจากได้รับชม Citizen Kane (1941) จึงมุ่งมั่นอยากเป็นผู้กำกับ, หลังเรียนจบมัธยมทำงานในห้องจดหมาย (Mail Room) ณ WGN-TV ไม่นานก็ได้รับโอกาสทำรายการโทรทัศน์ เคยกำกับตอนสุดท้าย Off Season ของซีรีย์ The Alfred Hitchcock Hour (1962-1965), สำหรับภาพยนตร์เรื่องแรก Good Times (1967) แม้ได้รับเสียงวิจารณ์ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน Friedkin กลับบอกว่านั่นคือช่วงเวลามีความสุขที่สุดในชีวิต, ผลงานเด่นๆ อาทิ The French Connection (1971), The Exorcist (1973), Sorcerer (1977), To Live and Die in L.A. (1985) ฯ

D’Antoni ประเมินงบประมาณของหนังไว้ที่ $4.5 ล้านเหรียญ แต่ถูกตีกลับจากผู้บริหาร National General Pictures เลยจำใจต้องขายต่อให้ Richard Zanuck, Jr. และ David Brown แห่งสตูดิโอ Twentieth Century-Fox บอกกับ Friedkin ถ้าสามารถทำหนังในราคาต่ำกว่า $2 ล้านเหรียญ ก็จะยินยอมอนุมัติทุนสร้าง

แม้งบประมาณจะลดลงมากว่าครึ่ง แต่ผกก. Friedkin ก็ไม่ปฏิเสธโอกาสดังกล่าว ค้นพบแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Z (1969) ของ Costa-Gavras ทุกช็อตฉากใช้สถานที่จริงทั้งหมด ถ่ายทำในลักษณะคล้ายสารคดี (documentary-like) มอบสัมผัสดิบเถื่อน และดูสมจริงอย่างมากๆ

After I saw Z, I realized how I could shoot The French Connection. Because he (Costa-Gavras) shot Z like a documentary. It was a fiction film but it was made like it was actually happening. Like the camera didn’t know what was gonna happen next. And that is an induced technique. It looks like he happened upon the scene and captured what was going on as you do in a documentary. My first films were documentaries too. So I understood what he was doing but I never thought you could do that in a feature at that time until I saw Z.

William Friedkin

ด้วยความที่ Friedkin สนใจกำกับหนังในสไตล์สารคดี บทพูดทั้งหมดจึงอนุญาตให้นักแสดงทำการดั้นสด (Improvised) จนไม่มีข้อความสนทนาใดๆหลงเหลือจากบทของ Tidyman เพียงแผนงาน โครงสร้าง และรายละเอียดฉากไล่ล่า แอ๊คชั่นทั้งหลาย มีการวาดภาพ Storyboard เตรียมงานละเอียดถี่ยิบ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดใดๆระหว่างถ่ายทำ

แซว: ผกก. Friedkin ขณะนั้นออกเดทอยู่กับ Kitty Hawks บุตรสาวของผู้กำกับดัง Howard Hawks มีโอกาสเลยสอบถามความคิดเห็นต่อบทหนัง ได้รับคำตอบ ‘lousy’ แต่ยังให้คำแนะนำว่า “Make a good chase. Make one better than anyone’s done.”


เรื่องราวเริ่มต้นที่ Marseille, เจ้าพ่อมาเฟีย Alain Charnier (รับบทโดย Fernando Rey) กำลังตระเตรียมการลักลอบขนเฮโรอีนเข้าสู่สหรัฐอเมริกา โดยซุกซ่อนไว้ในรถหรูของนักแสดง Henri Devereaux (รับบทโดย Frédéric de Pasquale) เดินทางขึ้นเรือมาถึงยัง New York City

คู่หูนักสืบ Jimmy ‘Popeye’ Doyle (รับบทโดย Gene Hackman) และ Buddy ‘Cloudy’ Russo (รับบทโดย Roy Scheider) ระหว่างนั่งดื่มยังไนท์คลับแห่งหนึ่ง ชักชวนกันเล่นๆแอบติดตามพ่อค้ายา Salvatore ‘Sal’ Boca (รับบทโดย Tony Lo Bianco) พบเห็นพฤติกรรมลับๆล่อๆ นัดพบเจอ Alain Charnier และ Henri Devereaux จนเกิดความเอะใจว่าอาจกำลังมีเหตุการณ์ค้าขายยาเสพติดครั้งใหญ่


Eugene Allen Hackman (เกิดปี 1930) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ San Bernardino, California ครอบครัวหย่าร้างเมื่ออายุ 13 ปี สามปีให้หลังจึงหนีออกจากบ้าน โกงอายุสมัครเข้าทหารเรือ ทำงานหน่วยสื่อสาร ประจำการอยู่ประเทศจีนในช่วง Communist Revolution ต่อด้วย Hawaii และญี่ปุ่น จนปลดประจำการเมื่อปี ค.ศ. 1951 แล้วลงหลักปักฐาน New York ดิ้นรนหางานทำไปเรื่อยๆ จนเกิดความสนใจด้านการแสดง กลายเป็นเพื่อนร่วมห้อง Dustin Hoffman และ Robert Duvall รับบทเล็กๆในซีรีย์โทรทัศน์ แสดงละครเวที Off-Broadway โด่งดังทันทีจากบทสมทบ Bonnie and Clyde (1967)**เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actor, ผลงานเด่นๆ อาทิ The French Connection (1971)**คว้ารางวัล Oscar: Best Actor, The Poseidon Adventure (1972); The Conversation (1974), Superman: The Movie (1978), Mississippi Burning (1988), Unforgiven (1992)**คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor, The Royal Tenenbaums (2001) ฯ

รับบท Jimmy ‘Popeye’ Doyle เป็นนักสืบที่มีความดิบเถื่อน เจ้าอารมณ์ ชอบใช้สันชาติญาณแก้ปัญหา อีกทั้งยังขี้เมา เจ้าชู้ ชอบพูดจาดูถูกเหยียดหยาม (Racist) แม้อุปนิสัยเต็มไปด้วยข้อบกพร่อง เย่อยิ่งจองหอง แต่ยึดถือมั่นในหลักยุติธรรมอย่างแรงกล้า ร่วมงานคู่หู Cloudy พร้อมเผชิญหน้า เสี่ยงอันตราย ท้าความตาย ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อไล่ล่าจับกุมอาชญากรข้ามชาติ

เกร็ด: ตัวละครนี้ได้แรงบันดาลใจจากนักสืบ Eddie Egan ที่ก็ได้รับฉายา ‘Popeye’ เพราะความบ้าพลัง ชอบทำสิ่งรุนแรงคลุ้มคลั่ง

นักแสดงที่เป็นตัวเลือกของผกก. Friedkin อาทิ Paul Newman (ค่าตัวไกลเกินเอื้อม), Jackie Gleason, Peter Boyle, Jimmy Breslin, Steve McQueen (บอกปัดเพราะเพิ่งแสดงหนังตำรวจ Bullitt (1968)), Charles Bronson, Lee Marvin, James Caan, Robert Mitchum, Rod Tayler ฯ ในตอนแรกก็ไม่อยากตอบรับ Gene Hackman แต่ถูกสตูดิโอบีบบังคับเลยต้องยอมตกลง

Hackman และ Scheider ได้มีโอกาสติดตามคู่หูนักสืบ Eddie Egan และ Sonny Grosso นานเกือบเดือน! พบเห็นวิธีการที่พวกเขาตรวจค้น ควบคุมผู้ต้องหา จับกุมพ่อค้ายา เต็มไปด้วยความรุนแรง ถ้อยคำหยาบคาย จนเกิดอาการสะอิดสะเอียน แต่จำต้องอดทนเพื่อนำมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับตัวละคร

การแสดงของ Hackman เต็มไปด้วยพลัง ความรุนแรง ไม่รู้เก็บกดอารมณ์เกรี้ยวกราดมาจากไหน แทบไม่เคยพบเห็นรอยยิ้ม หน้านิ่วคิ้วขมวดอยู่ตลอดเวลา พร้อมกระทำสิ่งบ้าๆบอๆ แสดงออกไม่ต่างจากตัวร้าย (Villain) แต่ด้วยข้ออ้างยึดถือมั่นในหลักยุติธรรม ทำให้กลับกลายเป็นวีรบุรุษ (Hero) ได้รับการยกย่องสรรเสริญ

ตัวของ Hackman ไม่ใช่คนคลั่งความรุนแรง แถมผกก. Friedkin ยังให้อิสระกับนักแสดงในการดั้นสด (Improvised) เลยมีปัญหาบ่อยครั้งกับการพูดคำดูถูกเหยียดหยาม (Racisim) แต่พวกเขาก็รับรู้ว่าสิ่งที่นักสืบ Eddie Egan พูดออกมานั้นเป็นการแสดงเสียมากกว่า เพื่อให้พวกพ่อค้ายายินยอมปฏิบัติตามคำสั่งแต่โดยดี

[Eddie Egan is] a great cop, and a lot of this was an act. A lot of what Egan did was bravado in order to seize control and make sure that all of these suspects, most of them dealers and often users of heavy drugs, would do what he told them to do.

William Friedkin กล่าวถึงพฤติกรรมรุนแรง การพูดคำดูถูกเหยียดหยามของนักสืบ Eddie Egan

หลายคนอาจมองว่านี่คือบทบาทการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Hackman แต่ผมกลับไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่ ตัวละครไม่ได้มีมิติซับซ้อน หรือนำเสนอมุมมองอื่นให้เห็นมากนัก เวลาส่วนใหญ่ก็ไล่ล่า ติดตามผู้ร้าย แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราด กระทำสิ่งคลุ้มบ้าคลั่ง … แต่เหตุผลที่คว้ารางวัล Oscar: Best Actor และได้รับการจดจำเหนือกาลเวลา ผมมองว่าเกิดจากอิทธิพลยุคสมัยนั้น ยังอยู่ในช่วงระหว่างเปลี่ยนผ่าน Hays Code ภาพยนตร์/การแสดงท้าทายขีดจำกัด ขนบกฎกรอบทางสังคม ‘Anti-Hero’ จึงได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าแปลกใหม่ ไม่เคยพบเห็นตำรวจที่ควรเป็นแบบอย่างคนดีมีศีลธรรม กระทำสิ่งสุดโต่งต่ำทรามขนาดนี้!

เกร็ด: ตัวละคร Jimmy ‘Popeye’ Doyle ของ Gene Hackman ได้รับการโหวตติดอันดับ 44 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Heroes and Villains ฟากฝั่ง (American) Hero


Roy Richard Scheider (1932-2008) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Orange, New Jersey ตั้งเแต่เด็กชื่นชอบการเล่นกีฬา เบสบอล ชกมวย เคยขึ้นชกเวทีสมัครเล่น 12 ไฟต์ ชนะ 11 แพ้ 1, พอเรียนจบมัธยมเข้าศึกษาด้านการแสดง Rutgers Universiy และ Franklin and Marshall College, จากนั้นอาสาสมัครทหารอากาศ, พอปลดประจำการก็เข้าสู่วงการภาพยนตร์ เริ่มมีชื่อเสียงจาก Klute (1971), The French Connection (1971), The Seven-Ups (1973), Jaws (1975), Marathon Man (1976), Sorcerer (1977), All That Jazz (1979), Naked Lunch (1991) ฯลฯ

รับบท Buddy ‘Cloudy’ Russo คู่หูนักสืบ Popeye ร่วมงานกันมาหลายสิบปีจนมองตารู้ใจ แต่อุปนิสัยกลับแตกต่างตรงข้าม เป็นคนใจเย็น พูดจาสุภาพ ชอบใช้เหตุผลแก้ปัญหา หลายครั้งจึงสามารถหยุดยับยั้งเพื่อนสนิท ไม่ปล่อยให้อีกฝ่ายใช้อารมณ์รุนแรงเกินไป

เกร็ด: ตัวละครนี้ได้แรงบันดาลใจจากนักสืบ Sonny Grosso เจ้าของฉายา ‘Cloudy’ เพราะชอบทำหน้านิ่วคิ้วขมวด ครุ่นคิดมาก เอาจริงเอาจังกับชีวิตเกินไป

สำหรับบทบาทนี้เห็นว่าใช้การ Audition หนึ่งในนั้นคือ Roy Scheider ที่ยังไม่มีชื่อเสียงมากนัก แต่เมื่อมาทดสอบหน้ากล้องเกิดความไม่พึงพอใจอะไรบางอย่าง แสดงอารมณ์หงุดหงิด ส่งเสียงดัง ก้าวเดินออกจากห้องออดิชั่น … นั่นกลับเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาได้รับบทบาทนี้

แม้คำอธิบายบทบาทนี้จะเขียนว่า Cloudy คือคู่หูที่คอยเติมเต็ม แสดงความคิดเห็น ด้านสติปัญญา (SuperEgo) ของ Popeye แต่ในหนังผมกลับไม่รู้สึกเช่นนั้นสักเท่าไหร่ Scheider ถูกรัศมีของ Hackman กลบเกลือบจนแทบไร้ตัวตน ก็แอบงงๆว่าเข้าชิง Oscar: Best Supporting Actor ได้อย่างไร

ผมรู้สึกว่า Scheider ไม่ถนัดเรื่องการดั้นสด (Improvised) จึงไม่สามารถต่อล้อต่อเถียง โต้ตอบ Hackman ด้วยบทพูดที่แสดงถึงความเฉลียวฉลาด (ผิดกับตอนแสดง Jaws (1975) ที่บทพูดคมๆทำให้ตัวละครมี ‘charisma’ โดดเด่นเพิ่มขึ้นเยอะมากๆ) มันเลยรู้สึกว่า Popeye มีความโดดเด่น น่าจดจำ เป็นผู้นำ ไม่ใช่คู่หูที่สามารถเติมเต็มกันและกัน


Fernando Rey ชื่อจริง Fernando Casado Arambillet (1917-94) นักแสดงสัญชาติ Spanish เกิดที่ A Coruña, Galicia โตขี้นร่ำเรียนสถาปนิก แต่การมาถีงของ Spanish Civil War (1936-39) ทำให้ต้องดิ้นรนหาทางเอาตัวรอดด้วยการเป็นนักแสดง เริ่มจากตัวประกอบ สมทบภาพยนตร์ เริ่มมีชื่อเสียงจาก Locura de amor (1948), โด่งดังระดับนานาชาติกับ The Last Days of Pompeii (1959), The Savage Guns (1961), จากนั้นมีร่วมงาน Orson Welles และ Luis Buñuel อาทิ Viridiana (1961), Chimes at Midnight (1966), Tristana (1970), The Discreet Charm of the Bourgeoisie (1972), That Obscure Object of Desire, 1977) ฯ

รับบท Alain ‘Frog One’ Charnier พ่อค้าเฮโรอีนชาวฝรั่งเศส เป็นคนรอบคอบ เฉลียวฉลาด รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง ครุ่นคิดแผนการลักลอบขนส่งเฮโรอีนเข้าสู่สหรัฐอเมริกา แต่โชคไม่ดีถูกติดตามตื้อโดยคู่หูนักสืบ Popeye & Cloudy แม้ถูกห้อมล้อมกลับสามารถหลบหนีเอาตัวรอด

ผกก. Friedkin มีความสนใจนักแสดงคนหนึ่งจาก Belle de Jour (1967) รับรู้เพียงว่าเป็นชาว Spanish แต่ไม่รู้จักชื่อของอีกฝ่าย ทีมคัดเลือกนักแสดงเข้าใจผิดครุ่นคิดว่า Fernando Rey (ที่เป็นนักแสดงขาประจำผกก. Luis Buñuel) พอเดินทางมาถึงสนามบินถึงค้นพบว่าไม่ใช่! แท้จริงแล้วนักแสดงคนนั้นคือ Francisco Rabal, ทีแรกว่าจะล้มเลิกสัญญา Rey แต่พอรับรู้ว่า Rebal พูดอังกฤษไม่ได้ก็เลยช่างแม้ง

แซว: Fernando Rey เป็นชาว Spanish เลยพูดฝรั่งเศสไม่ค่อยชัด (แต่พูดอังกฤษได้คมชัด) สุดท้ายถูกพากย์ทับ

เอาจริงๆผมว่า Rey มีภาพลักษณ์ที่เหมาะสมกับตัวละครนี้กว่า Rabal เพราะความลึกลับ มาดภูมิฐาน ทำให้ดูเฉลียวฉลาด พานผ่านประสบการณ์อย่างโชกโชน คู่ปรับที่สามารถเผชิญหน้า Hackman ได้อย่างไม่กลัวเกรง (ตรงข้ามกันด้วยในด้านการใช้อารมณ์-สติปัญญา)

ผมชื่นชอบความยียวนกวนประสาทของ Rey คือขณะเข้าๆออกๆขบวนรถไฟใต้ดิน ล่อหลอกตัวละครของ Hackman ให้หลงติดกับดัก แล้วตอนโบกมือบ้ายบาย รอยยิ้มกริ่มแห่งชัยชนะ ทำเอาผมอยากให้กำลังใจเชียร์พี่แก เอาตัวรอดจากการถูกไล่ล่าครั้งนี้เลยละ!

ถ่ายภาพโดย Owen Roizman (1936-2023) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City, บิดาทำงานเป็นตากล้องให้กับ Movietone News, วัยเด็กเพ้อฝันอยากเป็นนักกีฬา แต่ล้มป่วยโปลิโอเลยเปลี่ยนมาเป็นตากล้อง เริ่มจากถ่ายทำโฆษณา ภาพยนตร์เรื่องแรก Stop (1970), โด่งดังกับ The French Connection (1971), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Exorcist (1973), Network (1976), Tootsie (1982), Wyatt Earp (1994) ฯ

งานภาพของหนังรับอิทธิพลอย่างมากๆจากภาพยนตร์ Z (1969) ที่แม้เป็นเรื่องแต่ง (fiction story) กลับถ่ายทำออกมาในสไตล์สารคดี (documentary-like) กล้องสั่นๆ แสงธรรมชาติ ถ่ายทำยังสถานที่จริงทั้งหมด ซึ่งการทำงานใช้รูปแบบกองโจร (Guerrilla Unit) เพราะหลายๆสถานที่ไม่ได้รับอนุญาตถ่ายทำ จึงต้องลักลอบ แอบถ่าย ได้รับความช่วยเหลือจากคู่หูตำรวจ Eddie Egan & Sonny Grosso เป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิค (Technical Advisers) รับรู้ทางหนีทีไล่เป็นอย่างดี

I used about 100 cops on the shoot, and Billy was great, letting me use whomever I wanted as extras. We’d shoot a scene with some cops playing bad guys in the day. Then I’d go back on night duty with the same cops, except we were now busting people for real at the same bar. As Popeye would say, ‘Alright, let’s hit ‘em!’

Sonny Grosso

ผมเห็นรายการสถานที่ถ่ายทำแล้วก็แอบอึ้งทึ่ง ใน Wikipedia ลงไว้ถึง 36 สถานที่! ก็สมกับการถ่ายทำรูปแบบกองโจร (Guerrilla Unit) พาผู้ชมท่องเที่ยว Brooklyn, Queen, East River, Manhattan, New York City, รวมถึง Marseille (ฝรั่งเศส) เก็บบรรยากาศช่วงทศวรรษ 70s ฝังไว้ใน ‘Time Capsule’ … แค่สิ่งนี้ก็ทำให้หนังมีความทรงคุณค่าระดับหนึ่งแล้วนะครับ (อาจจะมากกว่าหนัง ‘city symphony’ บางเรื่องเสียด้วยซ้ำ!)

หนึ่งในสถานที่ที่ถือเป็นไฮไลท์ก็คือตึก World Trade Center ที่กำลังก่อสร้างอยู่เบื้องหลังช็อตนี้ ขณะนั้นยังไม่ทันเสร็จดี (เพิ่งขึ้นแค่ตึกเดียว) แต่ระดับความสูงก็เหนือกว่าตึกอื่นใดรอบๆข้าง … ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายติดว่าที่ตึกสูงสุดในโลก (ขณะนั้น)

ไฮไลท์ของหนังคือซีเควนซ์ขับรถไล่ล่า เคยได้รับการยกย่องว่าน่าตื่นเต้นเร้าใจที่สุด! แต่ซีเควนซ์ดังกล่าวไม่ใช่รถไล่รถ (Car Chase) แต่คือนักสืบ Popeye ปล้นรถเก๋งประชาชน (1971 Pontiac LeMans) แล้วขับติดตามขบวนรถไฟ BMT West End Line (Bensonhurst, Brooklyn) พุ่งชนโน่นนี่นั่นโดยไม่สนห่าเหวอะไร

แตกต่างจากภาพยนตร์หลังสหัสวรรษใหม่ ที่นิยมทำให้กล้องสั่นๆ โฉบเฉี่ยวฉวัดเฉวียน และตัดต่อรวดเร็วฉับไวภายในเสี้ยววินาที ความคลาสสิกของภาพยนตร์ยุคก่อนคือการนำเสนออย่างตรงไปตรงมา ไม่ได้ใช้ลูกเล่นลีลา แต่สามารถสร้างความน่าตื่นเต้นเร้าใจ และดูเป็นงานศิลปะ! … The French Connection (1971) ผมยังรู้สึกว่าทำออกมาได้ยอดเยี่ยม คอหนังอาร์ทน่าจะชื่นชอบมากๆ แต่คงไม่ทันใจวัยรุ่นสมัยใหม่แล้วกระมัง

เพื่อเพิ่มความตื่นเต้นเร้าใจ ตากล้อง Roizman ให้สัมภาษณ์ว่าบันทึกภาพด้วยอัตราเร็ว 18 fps (frame per seconds) เพื่อเวลานำมาฉาย 25 fps จะออกมาเหมือนรถเคลื่อนด้วยความเร็วมากกว่าปกติ! นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งกล้องหน้ารถ ระดับเกือบจะติดพื้นถนน ซึ่งมุมต่ำขนาดนั้นจะเพิ่มความฉวัดเฉวียด วิงเวียน สัมผัสอันตราย เฉียดตาย พุ่งผ่านสี่แยกได้น่าหวาดเสียวชิบหาย!

เนื่องจากบางสถานที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำ เพราะการจราจรค่อนข้างคับคั่ง แต่เพราะมีที่ปรึกษา Eddie Egan & Sonny Grosso ต่างรับรู้จักตำรวจจราจรแถวนั้น จึงใช้เส้นสายช่วยให้การถ่ายทำค่อนข้างราบรื่นตาม Storyboard แต่ก็ความผิดพลาดจากสตั๊นแมน ถูกรถพุ่งชนเข้าอย่างจัง (จริงๆต้องแค่เฉี่ยวๆ แต่ผลลัพท์ออกมาดีเกินคาด และไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ)

ปล. ฉากคุณยายข้ามถนนมีอยู่ใน Storyboard ตระเตรียมการไว้อย่างปลอดภัย ไม่มีใครเป็นอันตราย

ตัดต่อโดย Gerald B. Greenberg (1936-2017) สัญชาติอเมริกัน สมัยเด็กอยากเป็นนักดนตรี ชื่นชอบตัดต่อเพลง บันทึกเสียง (Sound Edited) ไปๆมาๆได้งานเป็นผู้ช่วย Dede Allen ตัดต่อภาพยนตร์ American American (1963), แล้วแจ้งเกิดกับ Bonnie and Clyde (1967), ผลงานเด่นๆ อาทิ The French Connection (1971)**คว้ารางวัล Oscar: Best Edited, Apocalypse Now (1979), Kramer vs. Kramer (1979), Heaven’s Gate (1980), Dressed to Kill (1980), Scarface (1983), The Untouchables (1987), American History X (1998) ฯ

การดำเนินเรื่องและโครงสร้างของหนังใช้แนวคิด ‘การไล่ล่า’ ตัดสลับมุมมองไปมาระหว่างตำรวจ-อาชญากร หรือคู่หูนักสืบ Popeye & Cloudy และกลุ่มอาชญากรข้ามชาติ The French Connection นำโดย Alain Charnier

  • อารัมบท แนะนำตัวละคร
    • เริ่มจาก Marseille นักสืบฝรั่งเศสถูกฆ่าปิดปาก
    • คู่หูนักสืบ Popeye & Cloudy วิ่งไล่ล่าจับกุมพ่อค้ายา (ในชุดซานต้าครอส)
  • ความอยากรู้อยากเห็นเป็นเหตุ
    • Alain Charnier พูดคุย วางแผนลักลอบขนส่งเฮโรอีนข้ามชาติ
    • Popeye ชักชวน Cloudy ไปดื่มกินยังไนท์คลับแห่งหนึ่ง จากนั้นร่วมกันแอบติดตามพ่อค้ายา Boca
    • ด้วยสันชาติญาณของ Popeye เกิดความเอ๊ะใจอะไรบางอย่าง จึงขออนุญาตผู้กำกับการทำคดีดังกล่าว
  • ช่วงระหว่างมองหาหลักฐาน
    • Henri Devereaux เดินทางมาถึงฝรั่งเศส
    • Popeye & Cloudy ดักฟังการจนสนทนา จนค้นพบความน่าสงสัยบางอย่าง
    • Popeye และคณะเริ่มออกติดตาม Boca, Devereaux และ Alain Charnier
    • Popeye หักเหลี่ยมเฉือนคมกับ Frog One แต่ก็ไม่สามารถติดตามทัน ถึงอย่างนั้นลูกน้องก็พบเห็นปฏิสัมพันธ์กับ Devereaux
  • การเผชิญหน้าระหว่าง Popeye และนักฆ่า Pierre Nicoli
    • Frog Two วางแผนลอบฆ่า Popeye แต่ทำไม่สำเร็จ
    • Frog Two วิ่งหลบหนีขึ้นขบวนรถไฟ ใช้ปืนจี้คนขับรถไม่ให้จอด
    • Popeye ลักขโมยรถของประชาชน ขับติดตามขบวนรถไฟ ชนแหลกโดยไม่สนหัวใจ
    • ก่อนสุดท้าย Popeye เผชิญหน้า Frog Two
  • Citroën DS เจ้าปัญหา
    • Popeye & Cloudy สังเกตความผิดปกติของรถ Citroën DS จึงให้ตำรวจตรวจยึด ก่อนค้นพบว่าซุกซ่อนเฮโรอีนขนาดใหญ่
    • Devereaux ตัดสินใจล้มเลิกการแลกเปลี่ยน ทำให้ Alain Charnier ต้องขับรถไปที่ Wards Island เพื่อพบเจอกับพ่อค้ายาด้วยตนเอง
    • แต่แล้ว Wards Island ถูกห้อมล้อมโดยตำรวจ ไร้หนทางหลบหนี

แม้ลีลาตัดต่อจะไม่ได้มีความโฉบเฉี่ยวฉวัดเวียน (เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ยุค Millennium) แต่ยุคสมัยนั้นถือว่าค่อนข้างจะรวดเร็ว สามารถสร้างความลุ้นระทึก ตื่นเต้นเร้าใจ และดูมีความเป็นศิลปะ ระหว่างการแอบติดตาม-พยายามหลบหนี หักเหลี่ยมเฉือนคมระหว่างตำรวจ-อาชญากร สมควรแก่รางวัล Oscar: Best Film Edited


เพลงประกอบโดย Donald Johnson Ellis (1934-78) นักดนตรีแจ๊ส สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles วัยเด็กหลงใหลคลั่งไคล้ Louis Armstrong และ Dizzy Gillespie โตขึ้นเข้าศึกษาด้านการแต่งเพลง Boston University, เริ่มทำงานวงดนตรี Glenn Miller ตามด้วยกองทัพ Seventh Army Symphony Orchestra หลังปลดประจำการเข้าร่วม The New York Avant-Garde ต่อมาหลงใหล Indian Music ออกอัลบัมกับ Columbia Records และทำเพลงประกอบภาพยนตร์ The French Connection (1971)

ศิลปิน Don Ellis เลื่องชื่อในบทเพลงแนวทดลอง (Experimental) ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยการผสมผสานสไตล์ Jazz, Classical, Electronic เพื่อสร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทึก ไม่ได้เน้นสร้างบรรยากาศกลมกลืน แต่พยายามทำออกมาให้มีความโด่ดเด่น เร่งรีบ สัมผัสอันตรายได้โดยทันที ซึ่งหลายๆครั้งจะดังเป็นห้วงๆ ช่วงๆ ก่อนเลือนหายไปกับ Sound Effect

Main Title เริ่มต้นมาก็อาจสร้างความตื่นตระหนก ตกอกตกใจ ทั้งๆมีแค่เครดิตเคลื่อนไปมา กลับเลือกใช้บทเพลงปลุกตื่น สร้างความกระตือรือล้น สัมผัสอันตราย มันต้องกำลังมีอะไรสักอย่างเลวร้ายบังเกิดขึ้น

บทเพลงได้ยินจากไนท์คลับชื่อว่า Everybody Gets to Go to the Moon (1969) แต่งโดย Jimmy Webb เพื่อเฉลิมฉลองการลงจอดดวงจันทร์ของยาน Apollo 11 ต้นฉบับขับร้องโดย Thelma Houston ติดอันดับ 88 ชาร์ท Billboard Hot 100, ฉบับที่ใช้ในหนังขับร้องโดยสามสาว The Three Degrees

Staking Out Sal ใช้เสียงดนตรี Electronic กีตาร์ไฟฟ้า สร้างสัมผัสลึกลับ เต็มไปด้วยความพิศวง ฟังแล้วรู้สึกเหมือนมีบางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้น ภยันตราย สิ่งเลวร้ายในการแอบติดตามพ่อค้ายา Salvatore ‘Sal’ Boca ทำตัวลับๆล่อๆ ต้องมีอะไรสักอย่างแน่แท้

บทเพลง Hotel Chase ดังขึ้นระหว่าง Popeye แอบติดตาม Frog One ค่อยๆสร้างบรรยากาศลุ้นระทึก น่าตื่นเต้น ขณะเดียวกันก็มีการหักเหลี่ยมเฉือนคม ใครไหนจะสามารถหลบหนี-ติดตาม ไม่ให้อีกฝ่ายรับรู้ตัว(ว่ากำลังถูกล่อหลอก)

นี่ถือเป็นอีกบทเพลงแนวทดลอง (Experimental) ด้วยการผสมเสียงที่ไม่ค่อยคุ้นหู บางครั้งเหมือนบรรเลงผิดๆถูกๆ จงใจเป่าให้เสียงบิดๆเบี้ยวๆ แต่ใช้การค่อยๆเร่งจังหวะ ความเร็ว (Tempo) ไต่ไล่บันไดเสียง เพื่อสร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทึก มันส์เร้าใจ ผลลัพท์ออกมาแปลกใหม่ไม่ซ้ำแบบใคร

End Title ฟังแล้วรู้สึกห่อเหี่ยว เปล่าเปลี่ยว หลงเหลือเพียงความเวิ้งว่างเปล่าภายใน ตรงกันข้ามกับ Main Title ที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้น รุกเร้าใจ เพราะตอนจบไม่เพียง Popeye จะพลั้งพลาดวิสามัญเพื่อนตำรวจ แต่ยังไม่สามารถติดตามตัว Frog One มารับโทษทัณฑ์ (ใครเคยรับชมภาคสองที่ไม่ควรจะสร้าง คงรับรู้ว่าหมอนี่แค่หายตัวไปอย่างลึกลับ)

เสียงปืนนัดที่สองแม้เต็มไปด้วยความคลุมเคลือ แต่ไม่จำเป็นต้องสื่อถึงความตาย สามารถหมายถึงหายนะและความสิ้นหวัง ความผิดพลาดของ Popeye จักกลายเป็นตราบาปฝังใจ ไม่มีวันลบเลือนหาย … ชักชวนผู้ชมให้เกิดความตระหนักด้วยว่า ตำรวจก็คือมนุษย์ หาใช่คนดีแท้สมบูรณ์แบบ ย่อมมีความผิดพลาดพลั้งบังเกิดขึ้น

People have asked me through the years what (that gunshot) meant. It doesn’t mean anything…although it might. It might mean that this guy is so over the top at that point that he’s shooting at shadows.

William Friedkin

เรื่องราวของ The French Connection (1971) ไม่ได้มีอะไรไปมากกว่าตำรวจไล่ล่าจับกุมผู้ร้าย แต่ความน่าสนใจที่ถึงขนาดทำให้คว้ารางวัล Oscar: Best Picture นั่นเพราะความสดใหม่ในวิธีการนำเสนอที่มีความดิบเถื่อน สมจริง ด้วยสไตล์เหมือนสารคดี (documentary-like) เต็มไปด้วยความรุนแรงจับต้องได้

เกร็ด: ช่วงปีที่หนังออกฉาย การลักลอบนำเข้าเฮโรอีนกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ถึงขนาดปธน. Richard Nixon ประกาศกร้าวเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1971 เรียกปัญหาคนติดยาว่าเป็น “Publich Enemy Number One”

อีกทั้งตัวละครตำรวจที่ควรผดุงความยุติธรรม ทำตัวเป็นต้นแบบอย่างที่ดีในสังคม นักสืบ Popeye กลับแสดงออกในสิ่งตรงกันข้ามทุกสิ่งอย่าง ขี้เมา เจ้าชู้ ชอบพูดจาดูถูกเหยียดหยาม (Racist) ถึงอย่างนั้นตัวตนแท้จริง กลับยึดถือมั่นในหลักยุติธรรมอย่างแรงกล้า ไม่มีอะไรสามารถสั่นคลอนความเป็นชายชาติตำรวจ

อาจมีหลายคนถกเถียงกันว่า ‘morally ambiguous’ อย่างนักสืบ Popeye สมควรเป็นตำรวจหรือไม่? ในบางประเทศ/สถานที่ที่ห่วงหน้าห่วงตา สนเพียงภาพลักษณ์องค์กร คงตอบไม่เห็นด้วยเสียงขันแข็ง! แต่การเป็นตำรวจที่ดี จำเป็นต้องมีนิสัยดีงามจริงๆนะหรือ? ตำรวจเลวๆสมัยนี้ ล้วนแอบอ้างว่าเป็นคนดีด้วยกันทั้งนั้น!

ภายหลังการล่มสลายของ Hays Code ค.ศ. 1967 มาจนถึง The French Connection (1971) ถือเป็นหนึ่งในภาพยนตร์คลื่นลูกใหม่ (New Hollywood) นำเสนอความรุนแรงสุดโต่งที่ผู้ชมสมัยก่อน (เมื่อตอนยังมีระบบ Hays Code) ไม่สามารถยินยอมรับได้อย่างแน่นอน แต่ระบบเรตติ้ง R-Rated ให้คำแนะนำสำหรับผู้ชมอายุ 18 ปีขึ้นไป นั่นถือเป็นกลุ่มเป้าหมายของหนัง ไม่จำเป็นต้องยื้อยั้งความเหมาะสม นำเสนอสิ่งท้าทายขีดจำกัด ศีลธรรมทางสังคม

การรับชมหนังในปัจจุบัน ทำให้สิ่งที่เคยสุดโต่งของ The French Connection (1971) ดูบรรเทาลงอย่างมากๆ แต่วิธีการนำเสนอสไตล์เหมือนสารคดี (documentary-like) ยังคงทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ดูสมจริง รุนแรงแบบจับต้องได้ แม้แต่ฉากขับรถไล่ล่าก็ยังสมควรค่าแก่การยกย่องว่ามีความน่าตื่นเต้นเร้าใจ ไม่ง่ายที่คอหนังสมัยใหม่จะอดรนทน พบเห็นความงดงามของศิลปะภาพยนตร์

หลายๆผลงานของผกก. Friedkin มักเน้นความตื่นเต้น ลุ้นระทึก เสี่ยงเป็น ท้าความตาย ทั้งๆพี่แกไม่น่าจะเคยพานผ่านอะไรเลวร้ายขนาดนั้น แต่อาจเพราะตระหนักถึงรากเหง้าเชื้อสาย Jews ครอบครัวอพยพมาจาก Ukrane อดีตยังคงติดตามมาไล่ล่า หลอกหลอน ต้องการชำระล้าง แต่ก็ไม่สามารถลบเลือนอะไรได้ทั้งนั้น


ด้วยทุนสร้างเพียง $1.8 ล้านเหรียญ (บางสำนักว่า $2.2 ล้านเหรียญ) ด้วยเสียงตอบรับดีเยี่ยม สามารถทำเงินถล่มทลาย มีรายรับในสหรัฐอเมริกาอยู่ $26.3 ล้านเหรียญ (อีกแหล่งข่าวว่าทำเงิน $41.15 ล้านเหรียญ) รวมทั่วโลกอาจสูงถึง $75 ล้านเหรียญ!

ค.ศ. 1971 เป็นปีที่มีภาพยนตร์ยอดเยี่ยมหลายเรื่อง อาทิ A Clockwork Orange, Fiddler on the Roof, The Last Picture Show แต่กลับเป็น The French Connection ที่กวาดรางวัลมากกว่าใครเพื่อน

  • Academy Award
    • Best Picture **คว้ารางวัล
    • Best Director **คว้ารางวัล
    • Best Actor (Gene Hackman) **คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actor (Roy Scheider)
    • Best Adapted Screenplay **คว้ารางวัล
    • Best Cinematography
    • Best Film Editing **คว้ารางวัล
    • Best Sound
  • Golden Globe Award **คว้ารางวัล
    • Best Motion Picture – Drama **คว้ารางวัล
    • Best Actor in a Motion Picture – Drama (Gene Hackman) **คว้ารางวัล
    • Best Director
    • Best Screenplay

เกร็ด: William Friedkin เกือบจะไม่ได้เข้าร่วมงานประกาศรางวัล Oscar เพราะรถเสียกลางทาง โชคดีโบกรถแล้วมีคนจอดรับ จริงๆคนขับรถคันนั้นก็ไม่ได้อยากรับสักเท่าไหร่ แต่เพราะผกก. Friedkin บอกว่าจะจ่ายเงิน $200 เหรียญ เลยจำยินยอมพามาส่งหน้างาน

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 2K ภายใต้การดูแลของผกก. William Friedkin และตากล้อง Owen Roizman เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2012 จัดจำหน่ายโดย 20th Century Fox Home Entertainment

เกร็ด: The French Connection (1971) เป็นภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Akira Kurosawa, David Fincher, Brad Pitt, Safdie Brothers ฯ

แม้ว่า The French Connection (1971) จะเต็มไปด้วยสารพัดความรุนแรง ถ้อยคำหยาบคาย ถ้อยคำดูถูกเหยียดหยาม (Racism) แถมเรื่องราวก็ไม่ได้มีเนื้อหาสาระอะไรสักเท่าไหร่ แต่ผู้กำกับ William Friedkin นำเสนอความรุนแรงเหล่านี้ออกมาในเชิงศิลปะได้อย่างน่าประทับใจ และมาถึงจุดๆนี้ผมเห็นด้วยว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์มีฉากไล่ล่ายอดเยี่ยมที่สุด!

แนะนำอย่างยิ่งสำหรับตำรวจ สายตรวจ นักสืบทั้งหลาย หนังอาจสร้างแรงบันดาลใจ แต่ขณะเดียวกันแนะนำให้มองหาระดับความเหมาะสมในการทำงาน ไม่จำเป็นต้องรุนแรงบ้าระห่ำขนาดนั้น และใครชื่นชอบภาพยนตร์แนว ‘Time Capsule’ บันทึกบรรยากาศ New York ช่วงทศวรรษ 70s ไม่ควรพลาดเลยละ!

จัดเรต 18+ กับดิบ เถื่อน ความรุนแรง ถ้อยคำหยาบคาย อาชญากรรมข้ามชาติ

คำโปรย | The French Connection ภาพยนตร์ที่มีความดิบ เถื่อน ตรงไปตรงมา ไล่ล่าสุดมันส์ ระห่ำปรอทแตก
คุณภาพ | ห่ำดื
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Grand Hotel (1932)


Grand Hotel (1932) hollywood : Edmund Goulding ♥♥♥♥

ครั้งแรกๆของภาพยนตร์รวมดารา (Ensemble Cast) ดำเนินเรื่องภายในโรงแรมหรูหรา Grand Hotel ณ กรุง Berlin แต่ทั้งหมดถ่ายทำยังสตูดิโอ MGM สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture ด้วยการเข้าชิงเพียงสาขาเดียว

ผมลองสอบถาม ChatGPT ว่าภาพยนตร์เรื่องไหนคือเรื่องแรกที่ทำการรวมดารา คำตอบย่อหน้าแรกมันทำการยื้อๆยักๆ ชักแม่น้ำทั้งห้า พยายามอธิบายแนวคิด ‘Ensemble Cast’ แล้วบอกว่าเป็นไปได้ยากจะหาข้อสรุปเรื่องแรก! เพราะนักแสดงแต่ละคนก็มีชื่อเสียงไม่เท่ากัน ต้องโด่งดังระดับไหนถึงเป็น Superstar และต้องกี่คนขึ้นไปถึงเรียกรวมดาวดารา

จากนั้นก็เท้าความไปถึงระบบ ‘Star System’ ที่ใช้จัดอันดับชื่อเสียง ความสำเร็จ มูลค่าทางการตลาดของนักแสดง มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ 1910s ได้รับความนิยมอย่างสูงช่วงทศวรรษ 1920s-30s (และเสื่อมสิ้นความนิยม 60s)

จากมาตรวัดความนิยมนักแสดงด้วยระบบ ‘Star System’ ถึงค่อยได้รับคำตอบว่า Grand Hotel (1932) คือภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทำการรวมดาวดารา ประกอบด้วย (อันดับจากการสำรวจเมื่อปี ค.ศ. 1932)

  • Greta Garbo ติดอันดับ #1 Quigley Poll, #1 Motion Picture Herald (นักแสดงหญิง)
  • John Barrymore ติดอันดับ #3 Quigley Poll, #1 Motion Picture Herald (นักแสดงชาย)
  • Joan Crawford ติดอันดับ #8 Quigley Poll, #5 Motion Picture Herald (นักแสดงหญิง)
  • Wallace Beery ติดอันดับ #2 Quigley Poll, #2 Motion Picture Herald (นักแสดงชาย)
  • Lionel Barrymore ติดอันดับ #10 Quigley Poll, #6 Motion Picture Herald (นักแสดงชาย)

เอาแค่ห้านักแสดงที่ต่างติดอันดับ Top10 ของทั้งสองชาร์ทนักแสดงแห่งปี! ผมว่ามันก็เพียงพอให้เรียก Grand Hotel (1932) ว่าคือภาพยนตร์รวมดารา (Ensemble Cast) อีกทั้งความสำเร็จรายรับ รวมถึงคว้ารางวัล Oscar: Best Picture ถือว่าจุดประกายหนังแนวนี้ให้ได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน


ก่อนอื่นขอกล่าวถึง Hedwig ‘Vicki’ Baum (1888-1960) นักเขียนหญิงสัญชาติ Austrian เรียกตัวเองว่า “New Woman” ล้มเหลวกับการแต่งงานสองครั้ง จึงเลือกใช้ชีวิตโดยไม่พึ่งพาบุรุษ เขียนนวนิยายเล่มแรกตอนอายุ 31 จากนั้นก็มีผลงานใหม่ๆวางขายทุกๆปีรวมกว่า 50+ เล่ม

สำหรับผลงานประสบความสำเร็จสูงสุดของ Baum ก็คือ Menschen im Hotel (1929) แปลว่า People in the Hotel หลังจากวางจำหน่ายไม่นานกลายเป็น Best-Selling แล้วได้รับการดัดแปลงเป็นละครเวทีภาษาเยอรมัน กำกับโดย Max Reinhardt ทำการแสดงยังกรุง Berlin เมื่อปี ค.ศ. 1929

เกร็ด: ความสำเร็จอย่างล้นหลามของ Menschen im Hotel (1929) จุดประกายนวนิยายแนว ‘hotel novel’ แพร่หลายไปทั่วโลก

เมื่อนวนิยายได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Geoffrey Bles ค.ศ. 1930 โปรดิวเซอร์ Irving Thalberg ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ทันทีสูงถึง $13,000 เหรียญ แล้วมอบหมาย William A. Drake (1899-1965) ดัดแปลงเป็นละครเวที Broadway ทำการแสดงยัง National Theatre ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 จำนวน 459 รอบ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม

I thought Menschen im Hotel was a brilliant novel, and I knew that it would make a great film. The characters were complex and interesting, the story was compelling, and the setting was perfect.

Irving Thalberg

ความสำเร็จของ Broadway ทำให้ Thalberg ต้องการพัฒนาต่อเป็นโปรเจคภาพยนตร์ โดยใช้บทของ Drake รวมกับ Béla Balázs และมอบหมายผู้กำกับในสังกัด Edmund Goulding

Edmund Goulding (1891-1959) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Feltham, Middlesex เริ่มต้นจากเป็นนักแสดง เขียนบท กำกับละครเวทีที่ West End จากนั้นอาสาสมัครทหารสงครามโลกครั้งหนึ่ง ได้รับบาดเจ็บจึงอพยพสู่สหรัฐอเมริกา ใฝ่ฝันอยากเป็นนักร้องแต่กลับมีโอกาสแสดงหนังเงียบ Three Live Ghosts (1922) จากนั้นเข้าร่วมสตูดิโอ MGM ทำงานเขียนบทหนัง The Broadway Melody (1929), กำกับภาพยนตร์ดังๆ อาทิ The Trespasser (1929), Grand Hotel (1932), The Dawn Patrol (1938), Dark Victory (1939), The Razor’s Edge (1946), Nightmare Alley (1947) ฯ

I was drawn to Grand Hotel because it was a story about people from all walks of life who came together in a single place, a grand hotel.

Edmund Goulding

นำเสนอเรื่องราว 3 วัน 2 คืนของบรรดาผู้เดินทางมาพักอาศัยโรงแรมหรู Grand Hotel ตั้งอยู่ ณ กรุง Berlin เต็มไปด้วยความวุ่นๆวายๆ แต่ประเดี๋ยวทุกสิ่งอย่างก็พานผ่านไป ราวกับไม่เคยมีอะไรบังเกิดขึ้น

People coming, going. Nothing ever happens.

คำกล่าวของหนึ่งในผู้พักอาศัย Doctor Otternschlag

แขกเหรื่อที่เดินทางมาเข้าพักอาศัยในสุดสัปดาห์นี้ ตัวละครหลักๆมีทั้งหมดห้าคน เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันโดยไม่รับรู้ตัว ประกอบด้วย

  • Baron Felix von Gaigern (รับบทโดย John Barrymore) ดูเป็นคนใจกว้าง อัธยาศัยดีงาม ชอบให้ความช่วยเหลือผู้อื่น แต่แท้จริงแล้วคือนักต้มตุ๋น (Con Artist) วางแผนโจรกรรมเครื่องประดับของนักเต้นสาว Grusinskaya โดยไม่รู้ตัวกลับถูกเธอขโมยหัวใจ ซะงั้น!
  • Elizaveta Grusinskaya (รับบทโดย Greta Garbo) นักเต้นสาวชาวรัสเซีย เป็นคนขี้เหงา เอาแต่ใจ ชอบทำตัวหัวสูง จมปลักอยู่ในโลกมายา ปากบอกว่าต้องการอยู่คนเดียว แท้จริงแล้วโหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย บังเอิญพบเจอ Baron Gaigern ระหว่างกำลังเข้ามาโจรกรรมเครื่องประดับ กลับกลายเป็นตกหลุมรัก เฝ้ารอคอยวันพรุ่งนี้จะได้ขึ้นรถไฟไปฮันนีมูนร่วมกัน
  • General Director Preysing (รับบทโดย Wallace Beery) เดินทางมาต่อรองธุรกิจอะไรสักอย่าง แต่ถูกทาง Manchester ล้มเลิกแผนควบรวมกิจการ ถึงอย่างนั้นเขากลับยังดื้อรั้น ดึงดัน ไม่สนห่าเหวอะไร และเวลาว่างๆก็พยายามเกี้ยวพาราสีนักพิมพ์ดีดสาว Flaemmchen หวังครอบครอบ สนองตัณหา
  • Flaemmchen (รับบทโดย Joan Crawford) นักพิมพ์ดีดสาว มีความละอ่อนวัย ดูสวยใสไร้เดียงสา ในตอนแรกเกิดความสนใจ Baron Gaigern ต่อมาถูก Preysing พยายามฉกฉวยโอกาส แต่สุดท้ายเธอกลับตัดสินใจเลือก Otto Kringelein พากันออกเดินทาง ใช้ชีวิตอย่างไม่ยี่หร่าอะไรใคร … ไม่ต่างอะไรกับ ‘Gold Digger’
  • Otto Kringelein (รับบทโดย Lionel Barrymore) นักบัญชีผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าล้มป่วยหนัก ใกล้เสียชีวิตในอีกไม่กี่วัน ทำให้จากเคยก้มหน้าก้มตาทำงานบริษัทของ Preysing มาวันนี้จับจ่ายใช้สอย ปล่อยตัวปล่อยใจ ปล่อยชีวิตไม่ยี่หร่าอะไรใคร

Greta Garbo ชื่อจริง Greta Lovisa Gustafsson (1905 – 1990) นักแสดงสัญชาติ Swedish เกิดที่ Södermalm, Stockholm วัยเด็กเป็นคนเพ้อฝัน ไม่ชอบโรงเรียน แต่มีศักยภาพผู้นำ ตอนอายุ 15 ระหว่างทำงานในห้างสรรพสินค้าชื่อ PUB ได้เป็นนางแบบขายหมวก ถูกแมวมองชักชวนมาถ่ายทำโฆษณาเสื้อผ้าหญิง แล้วเข้าตาผู้กำกับ Erik Arthur Petschler แสดงหนังสั้นเรื่องแรก Peter the Tramp (1922), นั่นเองทำให้เธอตัดสินใจเข้าเรียนต่อ Royal Dramatic Theatre’s Acting School, Stockholm เริ่มมีชื่อเสียงจากผลงานของ G. W. Pabst เรื่อง Die freudlose Gasse (1925), เซ็นสัญญากับ Louis B. Mayer มุ่งหน้าสู่ Hollywood ผลงานเด่นๆช่วงหนังเงียบคือ Torrent (1926), The Temptress (1926), Flesh and the Devil (1926), A Woman of Affairs (1928), ก้าวข้ามผ่านยุคหนังพูด Mata Hari (1931), Grand Hotel (1932), Queen Christina (1933), เข้าชิง Oscar: Best Actress ทั้งหมด 3 ครั้ง Anna Christie (1930) กับ Romance (1930)**เข้าชิงปีเดียวกัน, Camille (1936), Ninotchka (1939)

เกร็ด: Greta Garbo ติดอันดับ 5 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Stars ฝั่ง Female Legends

รับบทนักเต้นบัลเล่ต์ Elizaveta Grusinskaya ชาวรัสเซีย เคยประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงโด่งดัง แต่ปัจจุบันความนิยมเริ่มเสื่อมถดถอย (ตามกาลเวลา) เลยเต็มไปด้วยความอิจฉาริษยานักเต้นหน้าใหม่ แล้วเกิดอาการหลงผิด ไม่สามารถยินยอมรับสภาพเป็นจริง อีกทั้งการต้องต่อสู้ดิ้นรนเพียงลำพัง ไร้บุคคลเคียงข้างกายคอยให้การพึ่งพักพิง เมื่อได้พบเจอ Baron Gaigern ทำให้โลกสวยสดใส ทุกสิ่งอย่างกลับตารปัตรตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

ด้วยความที่ Garbo เป็นชาว Swedish แต่ต้องมารับบทหญิงสาวชาว Russian เลยทำให้ถูกตั้งข้อครหาอย่างรุนแรง สำเนียงเสียงพูดก็ฟังไม่ค่อยสมจริงสักเท่าไหร่ แต่เรื่องพรรค์นี้ในยุคสมัยนั้นไม่มีสตูดิโอไหนสนใจกัน เพราะเธอคือ Superstar อันดับหนึ่งแห่งทศวรรษ! ไม่ว่าจะบทบาทไหนย่อมประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม

หลายคนอาจรับรู้สึกว่าบทบาทนี้ของ Garbo ช่างมีความเหนือจริง Over-Acting จับต้องไม่ได้ แต่นั่นคืออาการป่วยจิต หลงตนเอง จมปลักอยู่ในโลกมายาของตัวละคร ทุกท่วงท่า สีหน้า อิริยาบท เต็มไปด้วยการปั้นแต่ง เว่อวังอลังการ (คล้ายการแสดงยุคหนังเงียบ) ราวกับเป็นบุคคลสูงส่ง นางฟ้าบนสรวงสวรรค์ ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถอาจเอื้อมมือไขว่คว้า เติมเต็มความต้องการของหัวใจ

Miss Garbo is superb as the fading ballerina, Grusinskaya. She gives a performance of great intensity and passion, and she captures the character’s loneliness and despair with great skill.

นักวิจารณ์ Mordaunt Hall จาก The New York Times

Garbo gives a performance of such depth and power that it is impossible to look away.

นักวิจารณ์ Edwin Schallert จาก The Hollywood Reporter

แม้ยังอีกหลายปีกว่าที่ Garbo จะเกษียณตัวออกจากวงการ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นไม่ต่างจากตัวละคร รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่าย อยากไปใช้ชีวิตอย่างสงบ ตัวคนเดียว “I want to be alone.” ซึ่งเธอก็ไม่เคยแต่งงาน-มีบุตรด้วยนะครับ

เกร็ด: “I want to be alone”. ติดอันดับ 30 ของ AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes

John Barrymore ชื่อจริง John Sidney Blyth (1882-1942) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน น้องชายของ Lionel Barrymore เกิดที่ Philadelphia, Pennsylvania วัยเด็กเพ้อใฝ่ฝันอยากเป็นจิตรกร แต่ก่อนจำใจเปลี่ยนมาเป็นนักแสดงตามรอยพี่ชาย โด่งดังกับโปรดักชั่นละครเวที Justice (1916), Richard III (1920), Hamlet (1922) จนได้รับฉายา “greatest living American tragedian” ตามมาด้วยหนังเงียบ Dr. Jekyll and Mr. Hyde (1920), Sherlock Holmes (1922), The Sea Beast (1926) พอเปลี่ยนมายุคหนังพูด (Talkie) ก็ยังคงประสบความสำเร็จกับ Grand Hotel (1932), Twentieth Century (1934), Midnight (1939) ฯ

รับบท Baron Felix von Gaigern ดูเป็นคนใจกว้าง อัธยาศัยดีงาม แอบอ้างทำตัวเหมือนผู้ดีมีสกุล แท้จริงแล้วคือนักต้มตุ๋นหลอกลวง (Con Artist) วางแผนโจรกรรมเครื่องประดับนักเต้นสาว Grusinskaya แต่โดยไม่รู้ตัวกลับถูกเธอขโมยหัวใจ เกิดความปรารถนาในรัก ต้องการครอบครองคู่อยู่ร่วม น่าเสียดายเพราะเงินตัวเดียว ทำให้ทุกสิ่งอย่างพังทลายลง

คนน้อง Barrymore (โด่งดังกว่าพี่ชาย) ถือเป็นนักแสดงระดับ Superstar อันดับหนึ่งแห่งทศวรรษนั้น! แม้อายุย่างเข้า 40 ปี ยังรูปหล่อ คารมเป็นต่อ เต็มไปด้วยมารยาเสน่ห์ วางมาดผู้ดี สาวๆกรี๊ดสลบ เคมีเข้าขากับ Garbo (ขณะนั้นอายุ 26-27) ราวกับเจ้าชายขี่ม้าขาว … แอบชวนให้นึกถึง John Gilbert อยู่เล็กๆ

แต่ความโดดเด่นของ Barrymore ที่ทำให้ได้รับฉายา ‘greatest tragedian’ และ ‘great profile’ เพราะมักเลือกบทบาทที่ซับซ้อน ถ่ายทอดความรู้สึกขัดแย้งภายใน ทุกสิ่งอย่างพบเห็นล้วนคือการปรุงแต่ง สร้างภาพ (รวมถึงศักดินา Baron บลา บลา บลา ก็น่าจะชื่อปลอมทั้งนั้น) แท้จริงแล้วเป็นนักต้มตุ๋น ลวงล่อหลอกให้ผู้อื่นตายใจ ไม่ได้อยากลักขโมยสิ่งของผู้ใด แต่หนี้สินต้องชดใช้ โชคชะตาจึงนำพาให้ประสบเหตุโศกนาฎกรรม

Barrymore is magnificent as the Baron, a man who is both a cynic and a romantic. He gives a performance of great range and subtlety.

นักวิจารณ์ Mordaunt Hall จาก The New York Times

Barrymore is simply mesmerizing as Gaigern, the charming and debonair aristocrat who is also a con artist and jewel thief.

นักวิจารณ์ Edwin Schallert จาก The Hollywood Reporter

Joan Crawford ชื่อเดิม Lucille Fay LeSueur (1904 – 1977) นักแสดง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ San Antonio, Texas บิดาแท้ๆทอดทิ้งเธอไปไม่กี่เดือนหลังคลอด มารดาแต่งงานใหม่กับพ่อเลี้ยงทำงานอยู่ Opera House ทำให้เกิดความชื่นชอบหลงใหลด้านการแสดงตั้งแต่เด็ก เคยทำงานสาวเสิร์ฟ เซลล์เกิร์ล ก่อนได้ขึ้นเวทียัง Winter Garden Theatre เข้าตาโปรดิวเซอร์ Harry Raph จับเซ็นสัญญาสตูดิโอ M-G-M มุ่งหน้าสู่ Hollywood ตั้งแต่ยุคหนังเงียบ เริ่มจากบทสมทบเล็กๆ The Circle (1925), The Merry Widow (1925), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Sally, Irene and Mary (1925) ติดหนึ่งใน WAMPAS Baby Stars ตามด้วย The Unknown (1927), Our Dancing Daughters (1928), การมาถึงของยุคหนังพูด ยิ่งทำให้โด่งดังยิ่งขึ้นกว่าเดิม Untamed (1929), Grand Hotel (1932), กระทั่งย้ายมา Warner Bros. มีผลงานชิ้นเอก Mildred Pierce (1945) คว้า Oscar: Best Actress, เด่นๆนอกจากนี้ อาทิ Possessed (1947), Sudden Fear (1952), Johnny Guitar (1954), Whatever Happened to Baby Jane? (1962) ฯ

เกร็ด: Joan Crawford ติดอันดับ 10 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Stars ฝั่ง Female Legends

รับบท Flaemmchen นักพิมพ์ดีดสาว (Stenographer) มีความละอ่อนวัย สวยใส ชอบทำตัวไร้เดียงสา แต่จริงๆเป็นคนเฉลียวฉลาด ทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง เมื่อได้ยินสมญา Baron ก็แสดงทีท่าหูพึ่ง หรือตอนได้รับการชักชวนจาก General Director Preysing พร้อมต่อรองร่วมออกเดินทางโดยไม่หวงเนื้อหวงตัว และสุดท้ายพบเห็นความร่ำรวยของ Otto Kringelein ก็ยินยอมไปกับเขาโดยไม่สนหน้าตา อายุ … ผู้หญิงสายพันธุ์นี้มีคำเรียก Gold Digger

ชื่อเสียงของ Crawford ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่หนังพูดอาจยังไม่โด่งดังเท่า Garbo (Crawford จะได้รับการจดจำมากกว่าในช่วงวัยกลางคน) แต่บทบาทของทั้งสองถือว่าแตกต่างขั้วตรงข้าม ในหนังเหมือนไม่เคยพบเจอกันด้วยซ้ำนะ

  • Garbo/Grusinskaya คือนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ ไกลเกินเอื้อม จับต้องไม่ได้
  • Crawford/Flaemmchen ดูเป็นผู้หญิงธรรมดาๆ มีความเพ้อฝัน ทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง เลยเป็นที่หมายปองของใครต่อใคร

การแสดงของ Crawford ก็ดูเป็นธรรมชาติ มีความสมจริง จับต้องได้มากกว่า และที่สุดยอดก็คือธาตุแท้ตัวตน หลายคนอาจไม่ทันสังเกตว่าเธอคือนักขุดทอง (Gold Digger) พร้อมละทอดทิ้งชายคนหนึ่ง สู่ชายอีกคนหนึ่ง โดยไม่สนอายุ หน้าตา ขอแค่มีเงิน สามารถตอบสนองความต้องการ ได้หมดถ้าสดชื่น!

Miss Crawford is surprisingly good as Flaemmchen, the ambitious young stenographer… She is a little more hard-bitten than I thought she would be, but she is also more vulnerable, and her scenes with Beery are excellent.

นักวิจารณ์ Frank S. Nugent จาก The New York Times

Wallace Fitzgerald Beery (1885-1949) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Clay County, Missouri วัยเด็กมีความสนใจด้านดนตรี แต่ไม่ชอบเรียนหนังสือเลยลาออกมาทำงาน อายุ 16 หลบหนีออกจากบ้านเข้าร่วมคณะละครสัตว์ Ringling Brothers Circus เป็นผู้ช่วยฝึกช้าง แต่ก็ลาออกสองปีถัดมาเพราะถูกเสือดาวข่วน จากนั้นมุ่งสู่ New York City กลายเป็นนักแสดงตัวประกอบ Broadways กระทั่งการมาถึงของวงการภาพยนตร์ เซ็นสัญญา Essanay Studios เริ่มจากเป็นนักแสดงตลก ไปๆมาๆอาจเพราะใบหน้าอันน่าเกรงขาเลยได้รับบทผู้ร้าย ผลงานเด่นๆ อาทิ The Four Horsemen of the Apocalypse (1920), The Last of the Mohicans (1920), Robin Hood (1922), The Sea Hawk (1924), The Lost World (1925), Beggars of Life (1928), คว้ารางวัล Oscar: Best Actor จากเรื่อง The Champ (1930)

รับบท General Director Preysing ผู้บริหารบริษัทแห่งหนึ่งที่อังกฤษ เดินทางสู่ Grand Hotel เพื่อต่อรองธุรกิจอะไรสักอย่าง แต่ถูกต้นสังกัดล้มเลิกแผนควบรวมกิจการ ถึงอย่างนั้นเขากลับยังดื้อรั้น ดึงดัน พยายามโน้มน้าว ล่อหลอกบริษัทคู่ค้า เพื่อให้ได้ข้อตกลง/ลายเซ็นต์ โดยไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว ปากอ้างว่าซื่อสัตย์ภรรยา กลับสิเน่หานักพิมพ์ดีดสาว Flaemmchen ต้องการจะครอบครอง ตอนบสนองตัณหา

นี่ถือเป็นตัวละคร ‘stereotype’ ของ Beery มีความอึดถึก ดื้อรั้น บ้าพลัง (Alpha Male) อุปนิสัยเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ปฏิเสธโอนอ่อนผ่อนปรน ไม่เคยสนความรู้สึกผู้อื่นใด เพิ่มเติมคือพฤติกรรมโฉดชั่ว คอรัปชั่น พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเติมเต็มความปรารถนา ตอบสนองตัณหาราคะ

แต่เมื่อไหร่เรื่องเลวร้ายบังเกิดขึ้นกับตนเอง (ได้รับโทรเลขจากต้นสังกัดให้ล้มเลิกการควบรวมกิจการ หรือหลังจากเข่นฆาตกรรม Baron Gaigern) ก็แสดงอาการพูดไม่ออกบอกไม่ถูก อ้ำๆอึ้งๆ สีหน้าซีดเผือก ไม่รู้จะทำอะไร เลยพยายามดิ้นรน หาหนทางเอาตัวรอด สุดท้ายไม่สามารถหลบหนีพ้น แล้วผลกรรมเคยทำไว้ล้วนติดตามทัน

Beery is magnificent as the ruthless and demanding General Director Preysing. He gives a performance of such power and intensity that it is impossible to look away. His eyes gleam with suppressed fury, and his voice is like a whiplash when he is angered. But he can also be tender and compassionate, as when he tries to comfort the dying Kringelein.

นักวิจารณ์ Mordant Hall จาก The New York Times

Lionel Barrymore ชื่อเดิม Lionel Herbert Blythe (1878 – 1954) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน พี่ชายของ John Barrymore เกิดที่ Philadelphia, Pennsylvania พ่อ-แม่เป็นจิตรกร แต่ตัวเขาเติบโตขึ้นกับทวดที่เป็นนักแสดง เลยถูกบังคับให้เป็นเล่นละครเวทีตั้งแต่อายุ 15 เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากการชักชวนของ D. W. Griffith มีผลงานร่วมกันหลายเรื่อง (ส่วนใหญ่สูญหายไปแล้ว) ในยุคเปลี่ยนผ่านสู่หนังพูดด้วยความเริ่มมีอายุสูงวัย เลยไม่ต้องดิ้นรนปรับตัวอะไรมาก คว้ารางวัล Oscar: Best Actor จากเรื่อง A Free Soul (1931), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Mysterious Island (1929), Grand Hotel (1932), Captains Courageous (1937), You Can’t Take It with You (1938), ได้รับการจดจำสูงสุดก็ It’s a Wonderful Life (1946)

รับบท(อดีต)นักบัญชี Otto Kringelein จากเคยมุ่งมั่นทุ่มเททำงานบริษัทของ Preysing หลังแพทย์วินิจฉัยว่าล้มป่วยหนัก อยู่ได้อีกเพียงสามสัปดาห์ เกิดความตระหนักว่าตนเองยังไม่เคยรู้จักการใช้ชีวิต เลยตัดสินใจทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง ลาออกจากงาน ออกเดินทางมุ่งสู่ Grand Hotel จับจ่ายใช้สอย ปล่อยตัวปล่อยใจ ดื่มเหล้ามึนเมามาย หลงเชื่อว่าได้รับมิตรภาพจาก Baron Gaigern และ Flaemmchen (แท้จริงแล้วทั้งสองต่างมีลับลมคมในบางอย่าง)

ผมมีภาพจำคนพี่ Barrymore จากนายธนาคารผู้ชั่วร้ายใน It’s a Wonderful Life (1946) แต่เรื่องนี้แค่ติดหนวด สวมแว่น ก็แทบจดจำหน้าตาไม่ได้! แถมบุคลิกภาพก็มีความแตกต่างตรงกันข้าม ท่าทางรุกรี้รุกรน เต็มไปด้วยความหวาดกังวล ร้อนรน วิตกจริต บางคนอาจรู้สึกน่าหงุดหงิด สมเพศเวทนา แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่หลังรับฟังข้อเท็จจริง ล้มป่วยหนักใกล้ตาย คงเกิดความสงสารเห็นใจ

ในบรรดานักแสดงชายของหนัง ผมถือว่าคนพี่ Barrymore มีการแสดงที่ตราตรึง น่าประทับใจมากที่สุด ราวกับบ่อเงินบ่อทอง แสดงออกความต้องการตรงไปตรงมา ดึงดูดใครต่อใครตรงเข้าหาอย่างลับเลศนัย ผู้ชมเกิดความรู้สึกสงสารเห็นใจ คาดหวังให้ได้พบเจอคนดีๆ ไม่ฉกฉวยโอกาส เติมเต็มช่วงเวลาหลงเหลือ/ช่องว่างภายในที่ขาดหาย

แม้ว่า Flaemmchen ในความเป็น ‘Gold Digger’ อาจไม่ใช่ผู้หญิงดูดีสักเท่าไหร่ แต่อย่างน้อยการแสดงออกไม่ได้ดูเสแสร้ง หรือต้องการเงินทองของอีกฝ่ายเพียงอย่างเดียว พร้อมให้ความช่วยเหลือ แสดงความเป็นห่วงเป็นใย นั่นทำให้ Kringelein รู้สึกชีวิตได้รับการเติมเต็ม ไม่สูญเสียดายเมื่อถึงเวลาตายจากไป

Barrymore’s performance is one of the most moving and unforgettable in screen history. He captures the essential pathos of the character without ever resorting to cheap sentiment.

นักวิจารณ์ John Grierson จาก The New York Sun

Barrymore’s performance is a masterpiece of understatement and suggestion; he never overplays, but he always conveys the full range of Kringelein’s emotions. A master of the glance, the gesture, the half-line, he communicates more with the smallest inflection than many actors with their full repertoire of tricks. . His Kringelein is a figure of tragic pathos, but he is never sentimentalized; he is simply a man, and a very human one.

นักวิจารณ์ James Agee จาก The Nation

ถ่ายภาพโดย William H. Daniels ตากล้องส่วนตัวของ Greta Garbo และขาประจำผู้กำกับ Erich von Stroheim ผลงานเด่นๆ อาทิ Foolish Wives (1922), Greed (1924), Flesh and the Devil (1926), Queen Kelly (1928), Ninotchka (1939), เข้าชิง Oscar: Best Cinematography ทั้งหมด 4 ครั้ง Anna Christie (1930), The Naked City (1949)**คว้ารางวัล, Cat on a Hot Tin Roof (1959), How the West Was Won (1962)

งานภาพของหนังมีหลากหลายลูกเล่นที่ถือว่าน่าสนใจ ทั้งการจัดแสง-ความมืด, ขยับเคลื่อนเลื่อนกล้อง, รวมถึงถ่ายทำแบบ Long Take ฯ จะว่าไปล้วนเป็นเทคนิคที่พยายาม ‘show off’ เน้นขายความยิ่งใหญ่ อลังการงานสร้าง ให้ดูวิจิตรงดงามเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ทุกช็อตฉากของหนังถ่ายทำภายในสตูดิโอ MGM ด้วยการออกแบบงานสร้างโดย Cedric Gibbons รับอิทธิพลมาจาก Art Deco (ไม่ได้นำแรงบันดาลใจอะไรจากสถานที่จริง Grand Hotel ณ กรุง Berlin) เน้นความสวยหรู อลังการ วิจิตรศิลป์ และโดยเฉพาะบริเวณล็อบบี้ ออกแบบให้สามารถถ่ายทำได้จากทุกทิศทาง 360 องศา! … งานออกแบบฉากของหนัง ได้สร้างอิทธิพลต่อวงการภาพยนตร์อย่างมากๆทีเดียว

The set design for Grand Hotel was one of the most influential in film history. … It helped to define the Art Deco style, and it continues to be used by designers today.

นักวิจารณ์ John Baxter

ดูจากภาพเบื้องหลังงานสร้าง หลายคนคงตระหนักว่าสตูดิโอ MGM ไม่น่าจะมีเพดานสูงสำหรับถ่ายมุมก้มลงมาจากเบื้องบน แต่ภาพยนตร์คือศาสตร์มายากลที่สามารถซ้อนภาพ รวมถึงเทคนิค Matte Painting สำหรับลวงหลอกตาผู้ชม

การออกแบบภายใน Grand Hotel ให้มีลักษณะวงกลม สามารถสื่อถึงโลกใบนี้ที่ก็มีลักษณะทรงกลม! ส่วนพื้นชั้นล่างสลับลายขาว-ดำ (มีความละลานตา ราวกับภาพลวงตา) จะมองว่าคือด้านดี-ชั่ว ภายนอก-ใน สองสิ่งขั้วตรงข้ามที่คือพื้นฐานแห่งชีวิต ทุกสิ่งอย่างล้วนเวียนวน พานผ่านมาแล้วก็พานผ่านไป ‘circle of life’

William H. Daniels คือตากล้องส่วนตัวของ Greta Garbo เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะเขารับรู้ว่าต้องถ่ายมุมไหน จัดแสงอย่างไร ถึงทำออกมาให้เธอมีความเจิดจรัส เปร่งประกาย งดงามที่สุด!

ซึ่งคนที่สามารถทำความเข้าใจรายละเอียดแสง-เงา ย่อมมีความเพลินเพลินกับสัมผัสของแสง โดยเฉพาะซีนของ Garbo ช่วงแรกๆมักรายล้อมรอบด้วยความมืดมิด แต่หลังจากตกหลุมรัก Baron มันจะมีความฟุ้งๆ จร้าๆ ลองเปรียบเทียบสองช็อตที่ผมนำมานี้นะครับ แรกพบยามค่ำคืน vs. เช้าวันถัดมา

หลายช็อตฉากของหนังจะมีแสงภายนอกสาดส่องผ่านบานเกร็ด ทำให้พบเห็นเงาบนผนัง ลักษณะเหมือนซี่กรงขัง สามารถสื่อถึงสภาพจิตใจตัวละคร ราวกับถูกจองจำ พันธนาการเหนี่ยวรั้ง ยังไม่สามารถหลบหนี ดิ้นหลุดพ้น อย่างขณะนี้ Kringelein และ Flaemmchen นั่งซึมเศร้า ตกอยู่ในสภาพสิ้นหวัง ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป (ภายหลังจาก Preysing เข่นฆาตกรรม Baron Gaigern)

ตัดต่อโดย Blanche Irene Sewell (1898-1949) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Oklahoma แล้วมาเติบโตที่ Idaho ตามด้วย Los Angeles, โตขึ้นเข้าทำงาน First National Pictures เป็นผู้ช่วยตัดฟีล์ม (Assistant Cutter) จากนั้นกลายได้เป็นผู้ช่วย Viola Lawrence (นักตัดต่อหญิงคนแรกของวงการภาพยนตร์) เริ่มทำงานสตูดิโอ MGM ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1925 มีผลงานเด่นๆ อาทิ Grand Hotel (1932), Queen Christina (1933), The Wizard of Oz (1939) ฯ

หนังดำเนินเรื่องทั้งหมดภายในโรงแรม Grand Hotel ณ กรุง Berlin ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ส่วนใหญ่จะเวียนวนอยู่บริเวณเคาน์เตอร์ ล็อบบี้ ห้องพักชั้นหนึ่ง (VIP) และห้องอาหาร นำเสนอพานผ่านหลากหลายตัวละคร พบเจอ-พูดคุย-แยกจาก มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างใยแมงมุม

ผมขอแบ่งหนังออกตามระยะเวลา 3 วัน 2 คืน แล้วกันนะครับ

  • วันแรก
    • อารัมบท แนะนำตัวละครต่างๆ พูดคุยโทรศัพท์ และเช็คอินเข้าห้องพัก
    • เรื่องวุ่นๆวายๆของ Otto Kringelein กับการเช็คอินเข้าห้องพัก ได้รับรู้จัก Baron Gaigern อาสาให้ความช่วยเหลือเมื่อมีโอกาส
    • เมื่อนักพิมพ์ดีดสาว Flaemmchen เดินทางมาถึง ถูกเกี้ยวพาโดย Baron Gaigern ก่อนเริ่มทำงานกับ General Director Preysing
    • นักเต้นสาว Grusinskaya รู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิต ไม่อยากไปทำการแสดง แต่ก็ถูกโน้มน้าวจนยินยอมออกเดินทาง
    • ดึกดื่น Baron Gaigern สบโอกาสปีนป่ายเข้าทางหน้าต่าง แอบเข้าห้องพัก Grusinskaya เตรียมลักขโมยเครื่องประดับ แต่เธอดันหวนกลับมาก่อน
    • หลังจากพบเห็นสภาพของ Grusinskaya ทำให้ Baron Gaigern ตัดสินใจเปิดเผยตนเอง พยายามโน้มน้าว เกี้ยวพาราสี แสดงออกว่าตกหลุมรัก
  • วันที่สอง
    • ตั้งแต่เช้าจรดเย็น General Director Preysing ต่อรองธุรกิจจนแล้วเสร็จ จากนั้นชักชวน Flaemmchen ร่วมออกเดินทางกลับอังกฤษ
    • Baron Gaigern เกี้ยวพาราสี Grusinskaya จนเธอมีรอยยิ้มสดชื่น เย็นวันนั้นตัดสินใจหวนกลับไปทำการแสดง เฝ้ารอคอยจะได้พบเจอเขาอีกครั้ง
    • หลังเลิกงาน Flaemmchen ได้พบเจอ Baron Gaigern แต่เขากลับสารภาพว่าตกหลุมรักหญิงสาวอีกคน (Grusinskaya)
    • Baron Gaigern ยังคงมีปัญหาเรื่องการเงิน จึงชักชวน Otto Kringelein ร่วมเล่นการพนัน แต่กลับเป็นตนเองที่หมดตัว
    • ค่ำวันนั้น Flaemmchen เข้าพักในโรงแรม Grand Hotel เพื่อเตรียมตัวออกเดินทางสู่อังกฤษร่วมกับ General Director Preysing
    • ดึกดื่น Baron Gaigern เข้ามาลักขโมยเงินในห้องพักของ General Director Preysing เลยถูกฆาตกรรมปิดปาก แล้วเรื่องวุ่นๆวายๆก็บังเกิดขึ้น
    • Grusinskaya เดินทางกลับมาถึงโรงแรม เฝ้ารอคอยจะได้พบเจอ Baron Gaigern
  • วันที่สาม
    • General Director Preysing ถูกตำรวจควบคุมตัว
    • Grusinskaya ออกเดินทางด้วยความคาดหวังจะได้พบเจอ Baron Gaigern
    • และ Flaemmchen ร่วมออกเดินทางไปกับ Otto Kringelein เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่

มันเป็นความน่ามหัศจรรย์ของการดำเนินเรื่อง ที่สามารถเชื่อมโยงหลากหลายตัวละคร/เรื่องราวเข้าด้วยกัน สำหรับคนช่างสังเกตจักพบเห็นจุดเชื่อมโยงอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะคล้ายๆการส่งไม้ผลัด บางครั้งแค่เดินสวนทางก็สลับสับเปลี่ยนมุมมองเรื่องราว


สำหรับเพลงประกอบยกเว้น Opening Credit แต่งขึ้นใหม่โดย William Axt นอกนั้นจะเป็นบทเพลงคลาสสิก ดังล่องลอยมาจากสักแห่งหนไหน (น่าจะเป็นบทเพลงจากวิทยุ/แผ่นเสียงที่โรงแรมเปิดบริเวณล็อบบี้) ในลักษณะ ‘diegetic music’ ส่วนใหญ่จะเป็นผลงานของ Johann Strauss ซึ่งเน้นสร้างความผ่อนคลาย เบาสบาย ฟังแล้วนอนหลับสบาย

  • Johann Strauss: The Blue Danube (1867)
    • ดังขึ้นบ่อยครั้งบริเวณล็อบบี้
  • Johann Strauss: Morning Papers (1862)
  • Johann Strauss: Artist’s Life (1867)
  • Sergei Rachmaninoff: Piano Concerto No.2 in C minor, Op. 18, Mvt. III (1901)
    • ปลุกตื่น Grusinskaya ขึ้นมายามเย็น
  • Johann Strauss: Tales from the Vienna Woods (1868)
    • Grusinskaya และคณะกำลังออกเดินทางไปยังโรงละครเวที
  • Rudolf Sieczynski: Vienna, City of My Dreams
    • เมื่อตอน Baron Gaigern เปิดเผยตกเองกับ Grusinskaya
  • Edvard Grieg: Jeg Elsker Dig (Ich Liebe Dich) (1864)
    • ขับร้องโดย Greta Garbo ระหว่างอยู่ในห้องพัก
  • Noel Gay: The King’s Horses
    • Kringelein กำลังมึนเมาอยู่ในห้องตัวคนเดียว
  • Alfons Czibulka: Love’s Dream after the Ball
    • ดังขึ้นในบาร์ภายหลังจาก Grusinskaya มีเรื่องกับ Preysing

บทเพลงเหล่านี้ทำหน้าที่สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ไม่ให้ผู้ชมเกิดความตึงเครียด เงียบสงัดจนเกินไป (มันยังเป็นข้อจำกัดในยุคสมัยเปลี่ยนผ่านหนังเงียบสู่หนังเสียง ว่าบทเพลงต้องดังจากแหล่งกำเนิดอะไรสักอย่าง) และบางครั้งยังเลือกบทเพลงที่มีท่วงทำนองสอดคล้อง กลมกลืนเข้ากับเหตุการณ์ขณะนั้นๆ

I wanted to create a film that would be a microcosm of society, with characters from all walks of life intersecting at the Grand Hotel. I thought an ensemble cast would be the best way to achieve this.

Edmund Goulding

โรงแรมหรู Grand Hotel (1932) คือสถานที่ที่เต็มไปด้วยความวุ่นๆวายๆ ผู้คนมากมายพานผ่านมาแล้วก็พานผ่านไป ก็เหมือนโลกใบนี้ที่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาและตายจากไป ซึ่งเรายังสามารถเปรียบเทียบระดับจุลภาคของสังคม (microcosm of society) แต่ละตัวละครสามารถเป็นตัวแทนกลุ่มบุคคล ดังต่อไปนี้

  • Baron Gaigern ตัวแทนชนชั้นสูง ผู้ดีมีสกุล (Aristocratic) แต่แท้จริงแล้วคือนักต้มตุ๋น หลอกลวงผู้คน
  • General Director Preysing ตัวแทนนายทุน เจ้าของกิจการ ผู้บริหารบริษัท (Bourgeois/Upper-Middle Class) พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง ตอบสนองตัณหา โดยไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว วิธีการคอรัปชั่นประการใด
  • Otto Kringelein พนักงานบัญชี ชนชั้นกลาง (Lower-Middle Class) ก้มหน้าก้มตาทำงานตามคำสั่งหัวหน้า จนกระทั่งวันใกล้ตายค่อยสามารถตระหนักถึงความจริง ใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายอย่างไม่ยี่หร่าอะไร
  • Grusinskaya ตัวแทนศิลปิน นักแสดง (Artists) ลุ่มหลงในชื่อเสียง เงินทอง จมปลักอยู่ในมายาคติ โหยหาใครสักคนสำหรับเป็นที่พึ่งพักพิง
  • Flaemmchen ตัวแทนชนชั้นทำงาน (Working Class) โหยหาเงินทอง บุคคลร่ำรวย พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อความสุขสบาย เติมเต็มความต้องการของจิตใจ

จริงๆยังมีตัวละครหมอ Dr. Otternschlag, พนักงานโรงแรม, คนรับใช้ของ Grusinskaya ฯ ซึ่งก็สามารถเป็นตัวแทนกลุ่มบุคคลต่างๆในสังคมเช่นกัน แต่เนื่องจากมิได้มีความสลักสำคัญต่อเนื้อเรื่องราวสักเท่าไหร่ จึงขอไม่กล่าวถึงนะครับ

จะว่าไปแทบทุกตัวละครล้วนมีด้านดี-ชั่ว ภายนอกสร้างภาพ/แสดงออกให้ดูดี ปกปิดซุกซ่อนเร้นบางสิ่งอย่างไว้ภายใน … นี่เป็นการสะท้อนสภาพความเป็นจริงของโลกใบนี้ เพื่อให้ผู้ชมเกิดความตระหนักรู้ ครุ่นคิดถึงสถานะตนเอง ฉันอยู่ตรงไหน มีบทบาทอะไร เข้าใจมุมมองบุคคลอื่น และรู้จักสังคมมากน้อยเพียงไหน

ในบรรดาตัวละครทั้งหมด เรื่องราวของ Otto Kringelein น่าจะเข้าถึงผู้ชมส่วนใหญ่ (ที่เป็นชนชั้นกลาง) พนักงานบริษัททำงานงกๆ แทบไม่มีเวลาว่าง แสวงหาความสุขใส่ตน ต้องรอจนปลดเกษียณ แพทย์วินิจฉัยป่วยใกล้ตายก่อนหรือไร ถึงสามารถปลดปล่อยตนเอง กระทำสิ่งตอบสนองเสียงเรียกร้องหัวใจ

I wanted Grand Hotel to be a film that would give people hope. I wanted them to see that even in the midst of tragedy, there is always hope for redemption and new beginnings.

ความหรูหราอลังการของโรงแรม Grand Hotel ชวนให้ผมนึกถึง The Great Gatsby และยุคสมัย Roaring Twenties แห่งความฟุ้งเฟ้อ สุรุ่ยสุร่าย ผู้คนจับจ่ายใช้สอย ปลดปล่อยชีวิตอย่างไม่ยี่หร่าอะไร ซึ่งนั่นสะท้อนกระแสนิยม Hollywood และอาจรวมถึงผู้กำกับ Goulding ด้วยกระมัง

ผู้กำกับ Goulding แม้ทำหนังประสบความสำเร็จมากมาย ได้รับการยินยอมรับจากผู้ชมทั่วไป แต่เบื้องหลังมีรสนิยมทางเพศ ‘bisexual’ เลื่องชื่อใน Hollywood ว่าชอบจัดกิจกรรม Sex Party และ Casting Couch (จินตนาการเอาเองนะครับว่ามันคืออะไร) นั่นทำให้ผมครุ่นคิดว่าภาพยนตร์ Grand Hotel (1932) ที่ทำการรวบรวมดาวดาราดัง พักอาศัยในม่านรูดโรงแรมหรู ผู้คนพานผ่านมาแล้วก็พานผ่านไป อาจแฝงนัยยะอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องพรรค์นี้ (คือผมก็ไม่อยากเขียนอธิบาย เอาไปครุ่นคิดต่อเองแล้วกัน)


หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Astor Theatre, New York City วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1932 เสียงตอบรับถือว่าดีล้นหลาม ด้วยทุนสร้าง $750,000 เหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $1.359 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $2.594 ล้านเหรียญ ทำกำไรงามๆกว่า $947,000 เหรียญ

นอกจากนี้หนังยังคว้ารางวัล Academy Award for Outstanding Production เรื่องแรกเรื่องเดียวในประวัติศาสตร์ที่ได้ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี ด้วยการเข้าชิงเพียงสาขาเดียวเท่านั้น!

Grand Hotel is a brilliant picture, one of the best of the year. It is a superb example of ensemble acting, with all the parts well played and beautifully fitted together, and it is a brilliant example of screen craftsmanship.

นักวิจารณ์ B.R. Crisler จาก New York Times

Grand Hotel is a corking picture, with a cast that is practically perfect, a story that is simple and well told, and a production that is lavish and beautiful.

นักวิจารณ์ Mordaunt Hall ตีพิมพ์ลง Vareity (Hall เขียนบทความลงทั้ง New York Times และ Variety)

Grand Hotel is the original Ocean’s Eleven for its star power, and like Gosford Park for its dense structure that tells the stories. Most importantly, the film holds up better today than it should.

Well, Grand Hotel would be a good place to start connecting with old-fashioned Hollywood. Made in 1932, the pacing is quick, the acting is eloquent and the stories are actually interesting. It’s pure theatricality. But ‘Hotel’ lasted thanks to its simplicity, and the star power doesn’t hurt either. This is grand, old Hollywood captured on film.

นักวิจารณ์ Blake Goble จาก The Michigan Daily ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 2009

ผมแอบแปลกใจเล็กๆว่าทำไม Blu-Ray คุณภาพ 2K เมื่อปี ค.ศ. 2013 ถึงจัดจำหน่ายโดยสตูดิโอ Warner Bros. ลองค้นหาข้อมูลก็พบว่าลิขสิทธิ์เฉพาะ Home Entertainment (DVD/Blu-Ray) ถูกขายให้ WB เมื่อปี ค.ศ. 2012 มูลค่าสูงถึง $2 พันล้านเหรียญ!

แต่หลังจาก Amazon ควบรวมกิจการ MGM เมื่อปี ค.ศ. 2022 มูลค่า $8.5 พันล้านเหรียญ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำให้ Warner Bros. สูญเสียลิขสิทธิ์จัดจำหน่าย Home Entertainment หรือเปล่านะครับ

สมัยก่อนเวลาดูหนังรวมดารา ผมก็มักสนใจแต่นักแสดงที่ชื่นชอบอย่าง Greta Garbo, Joan Crawford (ผมเป็นผู้ชายไง เลยไม่ค่อยสนใจนักแสดงชาย) ทั้งสองช่างมีความแตกต่างขั้วตรงข้าม เจิดจรัสเหนือจริง-นุ่มนวลจับต้องได้ แม้พวกเธอไม่เคยพบเจอพูดคุย แค่เดินสวนทาง แต่กลับสามารถเติมเต็มกันและกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ส่วนนักแสดงนำชาย John Barrymore, Wallace Beery, Lionel Barrymore ต่างประชันความสามารถ แข่งขันกันโดดเด่น ไม่มีใครยอมใคร ไฮไลท์ต้องมอบให้ Barrymore (คนพี่) หลายคนอาจรู้สึกน่ารำคาญ แต่เมื่อรับรู้ถึงสิ่งบังเกิดขึ้นกับตัวละคร ย่อมทำให้หลายคนเปลี่ยนความรู้สึกสงสารเห็นใจ

นอกจากการรวมดารา ผมยังชื่นชอบโปรดักชั่นงานสร้างของ Grand Hotel (1932) ทั้งการออกแบบฉากในสตูดิโอ และหลายๆช็อตที่เป็น Long-Take มันช่างดูอลังการ วุ่นวาย สมจริง รับชมในปัจจุบันยังคงความคลาสสิก

จัดเรต pg กับเรื่องวุ่นๆในโรงแรม Grand Hotel การพนัน อาชญากร ฆาตกรรม

คำโปรย | แม้โรงแรม Grand Hotel จะถ่ายทำในสตูดิโอ แต่ก็มีความหรูหรา อลังการ รวมดาวดาราเจิดจรัสจร้า ผู้คนพานผ่านมาแล้วก็พานผ่านไป
คุณภาพ | จิรัร้
ส่วนตัว | เพลิดเพลิน

Tom Jones (1963)


Tom Jones (1963) British : Tony Richardson ♥♥♡

ชายหนุ่มนาม Tom Jones (รับบทโดย Albert Finney) เลื่องชื่อเรื่องความเจ้าชู้ประตูดิน เพศสัมพันธ์กับหญิงสาวไม่ซ้ำหน้า นั่นคือสิ่งที่สังคมผู้ดีอังกฤษช่วงศตวรรษ 18 ยังไม่ให้การยินยอมรับ แต่การกำลังมาถึงของยุคสมัย Swinging London กลับสามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Picture และทำเงินอย่างเป็นกอบเป็นกำ

แม้ว่า Tom Jones (1963) จะเป็นภาพยนตร์แนวพีเรียต (Period) ดัดแปลงจากนวนิยายเขียนขึ้นตั้งแต่ศตวรรษ 18th แต่ก็ไม่มีใคร (หรือแม้แต่ผกก. Richardson) คาดคิดว่า Sex Comedy ที่น่าจะเจ๊งเรื่องนี้ กลับประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม! ซึ่งเหตุผลที่บรรดานักวิจารณ์/นักประวัติศาสตร์ต่างลงความเห็นตรงกัน เพราะอิทธิพลจากการกำลังมาถึงของยุคสมัย Swinging London

Swinging Sixties หรือ Swinging London ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี และแฟชั่น เกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงกลางทศวรรษ 60s ถือเป็นวิวัฒนาการต่อยอด (บ้างใช้คำว่า ‘metamorphosis’ การเปลี่ยนสัณฐาน) คนรุ่นใหม่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (post-Wars) พบเห็นครอบครัวพานผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากลำบาก (Great Depression) พวกเขาจึงพยายามมองหาสิ่งที่มีความสดใส แสงสีสว่าง บทเพลงจังหวะมันส์ๆ สำหรับปลดปล่อยตนเอง เป็นอิสระจากบริบทกฎกรอบทางสังคม การเมือง และเสรีภาพทางเพศ

By the mid-60s, all eyes were on London – the swinging capital of the world – where radical changes to social and sexual politics were fanned by a modern youth. Britain was undergoing a cultural revolution – symbolised by its pop and fashion exports, like Beatlemania and the miniskirt; the iconic status of popular shopping areas, the King’s Road, Kensington and Carnaby Street; the political activism of anti-nuclear campaigns; and sexual liberation.

คำนิยาม Swinging London ของนิตยสาร British Film Institute (BFI)

ผมมีความกระอักกระอ่วนอย่างมากๆๆในการรับชม Tom Jones (1963) แม้หลงใหลในลวดลีลา ความยียวนกวนบาทา ไว้สักวันหนึ่งจะหวนกลับมาเคารพคารวะผลงานอื่นๆของผกก. Richardson แต่เพราะเนื้อหา(ไร้)สาระเต็มไปด้วยความสัปดล Tom Jones เหมือนคนป่วยจิต กามวิปริต ไม่สามารถควบคุมตัณหา อารมณ์ทางเพศของตนเอง แล้วหนังจบลงอย่าง Happy Ending แม้งโคตรเหนือจริง (Surreal) ไม่น่าเป็นไปได้เลยสักนิด!

แม้แต่ผู้กำกับ Richardson ก็ไม่ได้มีความชื่นชอบผลลัพท์ของภาพยนตร์เรื่องนี้สักเท่าไหร่ (ถึงขนาดปฏิเสธเข้าร่วมงานประกาศรางวัล Oscar) เขียนอธิบายไว้ในหนังสือชีวประวัติ

I felt the movie to be incomplete and botched in much of its execution. I am not knocking that kind of success – everyone should have it – but whenever someone gushes to me about Tom Jones, I always cringe a little inside.

Tony Richardson

ก่อนอื่นขอกล่าวถึง The History of Tom Jones, a Foundling หรือเรียกสั้นๆว่า Tom Jones (1749) นวนิยายแต่งโดย Henry Fielding (1707-54) นักเขียนชาวอังกฤษ เรียนจบด้านกฎหมาย แต่ทำงานเขียนบทละครเวที เลื่องชื่อในผลงานแนวตลกขบขัน เสียดสีล้อเลียนสังคม/การเมือง บันเทิงคดีแนวผู้ร้ายผู้ดี (Picaresque)

สำหรับ Tom Jones นำจากประสบกามณ์ส่วนตัวของ Fielding เลื่องชื่อเรื่องความเจ้าชู้ประตูดิน ตั้งแต่อายุ 17 เคยพยายามลักพาตัวลูกพี่ลูกน้องที่แอบชื่นชอบหลงใหล Sarah Andrews แต่กลับหลบหนีไปได้ไม่ถึงไหน, เริ่มต้นเขียนนวนิยายเล่มนี้ภายหลังภรรยาคนแรกเสียชีวิต Charlotte Craddock (มีบุตรร่วมกัน 5 คน) แล้วสามปีถัดมาไม่สนคำทัดทานผู้ใด แต่งงานใหม่กับสาวรับใช้ Mary Daniel (มีบุตรร่วมกันอีก 5 คน), แต่ผลงานเล่มนี้อุทิศให้เพื่อนสนิทตั้งแต่เด็ก George Lyttelton, 1st Baron Lyttelton หรือ The Lord Lyttelton (1709-73) ที่คอยให้การช่วยเหลือ สนับสนุนผลงาน/การเงิน ‘patron of the arts’

สำหรับพื้นหลังของ Tom Jones คาบเกี่ยวช่วงเวลา Jacobite rising of 1745 หรือ Forty-Five Rebellion (ระหว่าง 19 สิงหาคม ค.ศ. 1745 ถึง 20 เมษายน ค.ศ. 1746) ระหว่างที่กองทัพอังกฤษกำลังแผ่ขยายอิทธิพลยังทวีปยุโรปในช่วง War of the Austrian Succession (1740-48), อดีตเจ้าชาย Charles Edward Stuart จึงฉวยโอกาสรวบรวมอดีตสมาชิกราชวงศ์ ก่อตั้งกลุ่มกบฎ Jacobites ต้องการทวงคืนสิทธิ์ในราชบัลลังก์อังกฤษ แต่สุดท้ายก็ประสบความพ่ายแพ้ … จะว่าไปเหตุการณ์ดังกล่าว สะท้อนหลายๆเรื่องราวรวมถึงพื้นหลังตัวละคร Tom Jones ได้เช่นกัน!

เกร็ด: รูปแบบการเขียน/ตีพิมพ์ของ Tom Jones (1749) ด้วยความยาวประมาณ 900+ หน้ากระดาษสมัยนี้ ถือได้ว่าเป็นนวนิยายมาสเตอร์พีซเล่มแรกๆของประเทศอังกฤษ


Cecil Antonio ‘Tony’ Richardson (1928-91) ผู้กำกับภาพยนตร์/ละครเวที เกิดที่ Shipley, West Yorkshire โตขึ้นสอบเข้า Wadham College, University of Oxford เป็นประธานชมรม Oxford University Dramatic Society และ the Experimental Theatre Club (the ETC), จบออกมามีผลงานละครเวที ซีรีย์โทรทัศน์ เข้าร่วมกลุ่ม Free Cinema แล้วกลายเป็นผู้บุกเบิก British New Wave กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Look Back in Anger (1959), โด่งดังกับแนว Kitchen Sink Realism อาทิ The Entertainer (1960), A Taste of Honey (1961), The Loneliness of the Long Distance Runner (1962), คว้ารางวัล Oscar: Best Director จากผลงาน Tom Jones (1963)

ความสนใจของ Richardson ต่อนวนิยาย Tom Jones (1749) ไม่ใช่เรื่องราวสัปดลทางเพศ หรือวิพากย์วิจารณ์บริบททางสังคม แต่มองการเฉลิมฉลองชีวิต วิถีความเป็นมนุษย์ สะท้อนวัฒนธรรม และความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ (สมัยนั้น)

We were out to make a film about what we liked in life, as opposed to what we didn’t like. It was a kind of celebration of bawdiness and joyfulness, rather than an attack on anybody.

Richardson ได้ลิขสิทธิ์นวนิยายของ Fielding ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 แล้วมอบหมายให้ John Osborne ทำการดัดแปลงบท โดยพยายามคงเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับ Sophie Western (นวนิยายกว่า 900+ หน้า เหลือเพียงสองชั่วโมงนิดๆ ถือว่าตัดทิ้งเนื้อหาไปเยอะมากๆ) แล้วมองหาวิธีนำเสนอให้มีความทันสมัย สอดคล้องเทคนิคภาพยนตร์รูปแบบใหม่

I think it is the funniest film I have ever seen. The sort of film that we want to make is one that, within the context of telling a story, will include everything – black comedy, broad comedy, farce, slapstick, and a sort of robust, irreverent quality.

John Osborne

Tom Jones (รับบทโดย Albert Finney) คือบุตรนอกสมรสของสาวรับใช้ แต่ได้รับการเลี้ยงดูแลเหมือนบุตรจาก Squire Allworthy พยายามเสี้ยมสอนความเป็นผู้ดีมีสกุล ถึงอย่างนั้นเขากลับรักอิสระ ชอบก่อความวุ่นวาย รวมถึงมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวไม่เลือกหน้า จนถูกตีตราเหมือนสัตว์ร้าย ไม่มีใครให้การยินยอม

วันหนึ่งระหว่าง Tom Jones ร่วมล่าสัตว์กับ Squire Western (รับบทโดย Huge Griffith) บังเอิญให้ความช่วยเหลือเพื่อนสาวรู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก Sophie Western (รับบทโดย Susannah York) โดยไม่รู้ตัวต่างชื่นชอบ ตกหลุมรัก

แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากลับไม่ได้รับการยินยอมรับ ขณะที่ Tom Jones ถูกใส่ร้ายป้ายสีจนโดนขับไล่ออกจากบ้าน, Sophie ถูกบิดาและน้า Miss Western (รับบทโดย Edith Evans) พยายามจับคู่แต่งงาน Mr. Blifil (รับบทโดย David Warner) เธอเลยตัดสินใจหลบหนีออกจากบ้าน, ระหว่างทางกำลังมุ่งหน้าสู่ London ทั้งสองก็พบเจอเรื่องวุ่นๆ สัปดล ชวนหัว รักครั้งนี้จะสมหวังหรือไม่?


Albert Finney (1936-2019) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Salford, Lancashire ร่ำเรียนการแสดง Royal Academy of Dramatic Art (RADA) จากนั้นมีโอกาสแสดงละครเวที สมทบซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องแรก The Entertainer (1960), เริ่มมีชื่อเสียงกับ Saturday Night and Sunday Morning (1960), เคยได้รับเลือกแสดงนำ Lawrence of Arabia (1962) แต่หลังจากเซ็นสัญญาโปรดิวเซอร์ Sam Spiegel ตัดสินใจบอกปัดโปรเจคดังกล่าว, ถึงอย่างนั้นก็ยังโด่งดังระดับนานาชาติกับ Tom Jones (1963), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Two for the Road (1967), Murder on the Orient Express (1974), Under the Volcano (1984), Erin Brockovich (2000) ฯลฯ

รับบท Tom Jones ชายหนุ่มรักอิสระ แม้ได้รับการเลี้ยงดูอย่างผู้ดีมีสกุล กลับเลือกใช้ชีวิตเตร็ดเตร่ สำมะเลเทเมา สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองความสนใจ ใครแสดงความยั่วเย้ายวนก็ร่วมเพศสัมพันธ์ ไม่รู้จักควบคุมความต้องการของตนเอง นั่นรวมถึงหญิงสาวที่ตกหลุมรัก Sophie Western ไม่เคยซื่อสัตย์ จงรักภักดี พิสูจน์ตนเองว่าสมควรค่าแก่เธอเลยสักครั้ง!

โปรดิวเซอร์แสดงความสนใจ Laurence Harvey และ Anthony Newley แต่หลังจากผู้กำกับ Richardson พบเห็นการพลิกบทบาทครั้งสำคัญของ Albert Finney จากละครเวที Billy Liar เลยเกิดความเชื่อมั่นว่าเหมาะสมกับบทบาทนี้

สำหรับ Finney ในตอนแรกอยากบอกปัดปฏิเสธ เพราะมองว่า Tom Jones มีความเป็น ‘passive’ ไม่ได้เน้นขายศักยภาพด้านการแสดง แต่ก็ต่อรองโปรดิวเซอร์/ผู้กำกับ เพื่อให้ตนเองมีอิสระในการสร้างสรรค์ตัวละคร รวมถึงบวก 10% จากกำไรหนัง … ผลลัพท์เห็นว่าได้ค่าตัวรวมโบนัสประมาณ $1 ล้านเหรียญ

ใบหน้าของ Finney อาจไม่ได้หล่อกระชากใจ แต่รอยยิ้มและสายตาอันเย้ายวน นั่นคือภาพลักษณ์เทพบุตร เพลย์บอย เสน่ห์ที่ทำให้สาวๆลุ่มหลงใหล ยินยอมพร้อมพลีกายถวาย แม้หนังทั้งเรื่องพยายามนำเสนอให้ Tom Jones ดูบริสุทธิ์ เป็นผู้ถูกเก็บแต้ม แต่การไม่รู้จักควบคุมตนเอง หักห้ามหัวใจ ไร้ความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ผู้ชายพรรค์นี้ไม่ได้มีมูลค่าราคา สมควรค่าครองรักแฟนสาว Happy Ending เลยสักนิด! … คิดหรือว่าหลังแต่งงาน หมอนี่มันจะปรับเปลี่ยนสันดานธาตุแท้ของตนเอง?

ผมรู้สึกว่าบทบาท Tom Jones นอกจากบุคลิก อุปนิสัย สีหน้าหื่นกระหาย การแสดงของ Finney ไม่ได้มีพัฒนาการอะไร ตั้งแต่ต้นจนจบก็ยังคงไร้สามัญสำนึก ทำตัวเอ้อละเหยลอยชายไปวันๆ … แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่กลับมองว่านี่คือบทบาทแจ้งเกิด ‘breakthrough’ ที่เต็มไปด้วยพลังของคนหนุ่ม ถ่ายทอดอารมณ์ที่หลากหลาย (เป็นได้ทั้งพระเอกโรแมนติก, ดราม่า และคอมเมอดี้) ขณะเดียวกันสามารถใช้ร่างกายแสดงความขบขัน (Physical Comedy หรือ Slapstick) ออกมาได้อย่างน่าประทับใจ

Finney gives one of the most exuberant and joyous performances in the history of cinema.

นักวิจารณ์ Roger Ebert

Susannah Yolande Fletcher (1939-2011) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Chelsea, London ในตระกูลนักธุรกิจ ตัวเธอไม่ชอบเรียนหนังสือแต่หลงใหลด้านการแสดง เข้าศึกษายัง Royal Academy of Dramatic Art (RADA) ร่วมรุ่นเดียวกับ Peter O’Toole, Albert Finney, Tom Courtenay, จากนั้นเข้าสู่วงการภาพยนตร์เรื่อง Tunes of Glory (1960), รับบทนำ The Greengage Summer (1961), แจ้งเกิดโด่งดัง Tom Jones (1963), ผลงานเด่นๆ อาทิ A Man for All Seasons (1966), They Shoot Horses, Don’t They? (1969), Images (1972), Superman (1978)

รับบท Sophie Western เพื่อนสาวตั้งแต่เด็กของ Tom Jones เดินทางไปร่ำเรียนหนังสือที่ฝรั่งเศส เพิ่งมีโอกาสหวนกลับมาบ้านชนบท ระหว่างร่วมออกไล่ล่าสัตว์ ม้าที่ควบขี่เกิดอาการฟืดฟาด ได้รับความช่วยเหลือ เลยเกิดความชื่นชอบ ตกหลุมรัก พบเห็นจิตใจอันบริสุทธิ์ของอีกฝ่าย แต่ไม่วายเต็มไปด้วยเรื่องสัปดล ข่าวคาวเสียๆหายๆ และเมื่อถูกบิดาบังคับให้แต่งงาน ตัดสินใจหลบหนีกลับกรุง London พักอาศัยอยู่กับ Lady Bellaston (ที่ก็เป็นอีกชู้รักของ Tom Jones)

York เป็นตัวเลือกแรกของผู้กำกับ Richardson เกิดความประทับใจจากการร่วมงาน The Greengage Summer (1961) เลยชักชวนมารับบทสำคัญในภาพยนตร์เรื่องใหม่

หน้าตาของ York เป็นหญิงสาวที่มีความร่าเริงสดใส เบิกบานด้วยรอยยิ้ม ไม่ถึงกับบริสุทธิ์ผุดผ่อง แต่ก็น่าเอ็นดูทะนุถนอม ชายใดพบเห็นย่อมต้องเกิดความลุ่มหลงใหล แต่ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเธอพบเห็นอะไรในตัว Tom Jones ยินยอมให้อภัยอีกฝั่งฝ่ายแม้หลักฐานตำตา ราวกับว่า ‘ความรักทำให้ตาบอด’ เพียงงอนตุ๊บป่อง ดื้อรั้น เอาแต่ใจ ไม่เคยครุ่นคิดหน้าหลัง แต่งงานไปแล้วจะสามารถสยบความเจ้าชู้อีกฝ่ายได้อย่างไร


Hugh Emrys Griffith (1912-80) นักแสดงสัญชาติ Welsh เกิดที่ Marian-glas, Anglesey หลังสอบไม่ผ่านมหาวิทยาลัย ทำงานเป็นเสมียนธนาคาร ก่อนเดินทางสู่ London ร่ำเรียนการแสดงยัง Royal Academy of Dramatic Arts, อาสาสมัครทหาร เดินทางสู่พม่าและอินเดียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, เมื่อเดินทางกลับมามีโอกาสแสดงละครเวที สำหรับภาพยนตร์โด่งดังกับ Ben-Hur (1959) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor, ผลงานเด่นๆ อาทิ Kind Hearts and Coronets (1949), Mutiny on the Bounty (1962), Tom Jones (1963), Oliver! (1968) ฯลฯ

รับบท Squire Western บิดาขี้เมาของ Sophie นิสัยเห็นแก่ตัวเอาแต่ใจ ชื่นชอบการล่าสัตว์ ใช้ชีวิตอยู่ฟาร์มปศุสัตว์ พยายามวางอำนาจบาดใหญ่ แต่ไม่เคยโต้ถกเถียงเอาชนะความสำบัดสำนวนของพี่สาว Miss Western ต้องการจับคู่บุตรสาวให้แต่งงาน Mr. Blifil กลับเต็มไปด้วยเรื่องวุ่นๆวายๆ ไม่มีอะไรเป็นดั่งใจสักสิ่งอย่าง

เกร็ด: Squire ไม่ใช่ชื่อตัวละครนะครับ แต่เป็นยศฐาบรรดาศักดิ์ หมายถึงสามัญชนมีที่ดินเป็นเอกสิทธิ์ ถือเป็นผู้มีอิทธิพลในชุมชน สถานะสูงกว่าคนปกติทั่วไป

Griffith ถือเป็นตัวขโมยซีน สร้างสีสันด้วยความขี้เมา อารมณ์เกรี้ยวกราด ถ้อยคำด่ากราด ทำตัวไม่เห็นเหมือนผู้ดีมีสกุล ชอบอวดอ้าง เบ่งบารมี แต่พฤติกรรมของตนเองก็แทบไม่แตกต่างจาก Tom Jones (Griffith ถือว่าเข้าขากันดีกับ Finney แม้ตัวจริงของทั้งคู่แทบจะแตกต่างตรงกันข้ามก็ตามที)

Griffith is a perfect foil to Finney’s exuberance.

นักวิจารณ์จากนิตยสาร Variety

แซว: เห็นว่าตลอดแทบทั้งการถ่ายทำ Griffith มักดื่มสุราจนมึนเมา เดินตุปัดตุเป๋ ล้มกลิ้ง รวมถึงสูญหายตัวจากกองถ่าย(ไปกินเหล้า)จนต้องมีบุคคลสำหรับคอยประกบ แอบติดตาม หลายครั้งพบเจอนอนหลับอยู่ตามผับบาร์


Dame Edith Mary Evans (1888-1976) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Pimlico, London ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดงตั้งเด็ก มีโอกาสขึ้นเวทีตั้งแต่อายุ 15 โด่งดังเป็นที่รู้จักจากโปรดักชั่น The Way of the World (1924), สำหรับภาพยนตร์เคยมีผลงานตั้งแต่ยุคหนังเงียบ แต่หันมาเอาจริงเอาจังช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อาทิ The Nun’s Story (1959), Tom Jones (1963), The Chalk Garden (1964), The Whisperers (1967),

รับบท Miss Western พี่สาวของ Squire Western เต็มไปด้วยความเย่อหยิ่ง ทะนงตน ยึดถือมั่นในชาติผู้ดีมีสกุลนา พยายามวางตัวหัวสูงส่ง ด้วยวาทะศิลป์เฉียบคมคาย ดั้งเดิมอาศัยอยู่กรุง London แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนหลานสาวยังชนบท เพื่อช่วยจัดแจงหาคู่ครองให้สมวิทยฐานะ

จริตของ Miss Wester มีความจัดจ้าน เริดเชิดเย่อหยิ่ง วางตัวหัวสูงส่ง ถือเป็น ‘stock character’ ชนชั้นสูงสไตล์ผู้ดีอังกฤษ แต่ก็ต้องยอมรับว่า Dame Evans สร้างความแตกต่างด้วยลีลาวาทะศิลป์ เมื่อต้องต่อล้อต่อเถียงกับใคร ก็สามารถแสดงความเฉียบคม เหนือชั้นกว่า เรียกเสียงเฮฮา ขบขำกลิ้งได้ตลอดเวลา

ผมไม่เคยรับชมผลงานอื่นๆของ Dame Evans แต่สามารถคาดเดาไม่ยาก ว่ายิ่งแก่ยิ่งเก๋า เหมือนสำนวนไวน์ในโถหมักจริตของตัวละครสะท้อนประสบการณ์ พานผ่านอะไรๆมาอย่างโชคโชน จึงสามารถสร้างความโดดเด่นได้อย่างมีชั้นเชิง เฉียบคม สไตล์ผู้ดีอังกฤษ


ถ่ายภาพโดย Walter Lassally (1926-2017) สัญชาติ German เชื้อสาย Jews เกิดที่ Berlin อพยพสู่อังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1939 บิดาเป็นผู้กำกับสารคดี ทำให้บุตรชายมีความชื่นชอบด้านการถ่ายภาพ เริ่มต้นเข้าสู่วงการจากเป็นเด็กตอกสเลท Riverside Studios ไต่เต้าจนกลายเป็นช่างภาพขาประจำ British New Wave ผลงานเด่นๆ อาทิ A Taste of Honey (1961), The Loneliness of the Long Distance Runner (1962), Tom Jones (1963), Zorba the Greek (1964) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography (Black-and-White), Visions of Eight (1973), Heat and Dust (1983) ฯลฯ

หลังจากถ่ายทำหนังดราม่าเครียดๆ ‘Kitchen Sink Realism’ ติดต่อกันมาหลายเรื่อง ผกก. Richardson เลยวางแผนให้ Tom Jones เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ ท่องเที่ยวพักผ่อน “This is our holiday film”. แต่การถ่ายทำยังสถานที่จริง ท่ามกลางสภาพอากาศคาดเดาไม่ได้ พร้อมด้วยฟีล์มสี (Eastmancolor) ล้วนคือสาเหตุทำให้งบประมาณเบิกบานปลายไปเรื่อยๆ ถึงขนาดต้องหยุดพักกลางทางเพราะเงินหมด แถมไม่มีสตูดิโอไหนในอังกฤษอยากช่วยเหลือเพราะฟุตเทจมีความเละเทะ เลอะเทอะ ‘too much cut corner’ … โชคดีได้รับการอุ้มชูจากสตูดิโอ United Artists ก็ไม่รู้เล็งเห็นโอกาสอะไร แต่ก็ทำให้โปรดักชั่นรอดพ้นหายนะ

งานภาพของหนัง เต็มไปด้วยเทคนิค ลวดลีลา ผกก. Richardson พยายามมองหาวิธีแปลกใหม่ในการนำเสนอ -ตามสไตล์ British New Wave- ตั้งแต่อารัมบทสไตล์หนังเงียบ, ถ่ายทำจากเฮลิคอปเตอร์, ด้วยกล้องมือถือ (Hand-Held Camera), เสียงบรรยาย/ขึ้นข้อความ พร้อมภาพหยุดนิ่ง (Freeze Frame), สบตาหน้ากล้อง (Breaking the Fourth Wall), Jump Cut, Fast Motion, Whip Pan ฯลฯ

จุดประสงค์ของการใช้เทคนิคเหล่านี้ เพื่อสร้างความแปลกแยก ประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้ชม ก็เหมือนตัวละคร Tom Jones ที่ถูกสังคมตีตราว่าเป็นพวกนอกคอก นอกรีตนอกรอย กระทำสิ่งต่างๆผิดแผกแตกต่างจากวิถีทางปกติ … นี่คือลักษณะของ New Wave ที่ชัดเจนอย่างมากๆ

หนังใช้เวลาโปรดักชั่น 4-5 เดือน ระหว่างมิถุนายน – ตุลาคม ค.ศ. 1962 โดยสถานที่ถ่ายทำ ประกอบด้วย

  • Castle Street อยู่ย่าน Bridgewater, Somerset
  • Abbey Street อยู่ย่าน Cerne Abbas, Dorset
  • Wilton House ณ Wiltshire
  • Old Wadour Castle ณ Tisbury
  • และฉากภายในถ่ายทำยังสตูดิโอ Woodfall Films ณ Curzon Street, London

การอารัมบทด้วยสไตล์หนังเงียบ (Silent Film) คือจะไม่ได้ยินเสียงพูดคุยสนทนา พบเห็นเพียงท่วงท่า อากัปกิริยา ตัดสลับกับข้อความตัวอักษรปรากฎขึ้นมา จุดประสงค์เพื่อเป็นการเปรียบเทียบคู่ขนานถึงยุคสมัยภาพยนตร์ ว่ามีความแบเบาะ ไม่ต่างจากเด็กทารกน้อย Tom Jones

ผมครุ่นคิดว่าความตั้งใจดั้งเดิมของผกก. Richardson ต้องการนำเสนอวิวัฒนาการ เทคนิคภาพยนตร์ ควบคู่ไปกับการดำเนินเรื่องราวของหนัง แต่ท้ายที่สุดแล้วกลับมีแค่ตอนอารัมบทหนังเงียบ และแทรกแซมเทคนิคอื่นๆประปราย ผลลัพท์น่าจะยังไม่ได้ครุ่นคิดคาดหวังไว้สักเท่าไหร่

หลังจาก Opening Credit หนังใช้วิธีการเล่าเรื่องด้วยเสียงบรรยาย (แทนข้อความปรากฎขึ้น) นำเสนอกิจกรรมไล่ล่าสัตว์ Tom Jones ไม่ต่างจากสุนัขล่าเนื้อ (Molly เรียกเขาว่า You Wicked Dog.) เมื่อพบเจอหญิงสาว แสดงท่าทางเชื้อเชิญ ส่งสัญญาณยั่วเย้ายวน ต้องการร่วมเพศสัมพันธ์ ใครกันจะไปอดรนทนไหว

แต่พอถาโถมเข้าใส่ โอบกอดจุมพิต ท่ามกลางผืนป่า แมกไม้ ใบหญ้าสีเขียว (สื่อถึงการกำลังจะร่วมเพศสัมพันธ์นี้ มันคือวิถีธรรมชาติชีวิต) กลับถูกแช่ภาพค้างไว้ ‘Freeze Frame’ สังคมสั่งให้หยุดยับยั้ง ด้วยคำอธิบาย …

It shall be our custom to leave such scenes where taste, decorum, and the censor dictate.

ภาพแรกของ Sophie Western ถ่ายติดหงส์กำลังเล่นน้ำอยู่เบื้องหลัง เป็นการสื่อให้เห็นถึงความงดงาม สูงส่ง เลิศเลอค่า แต่ของขวัญที่ Tom Jones มอบให้เธอนั้นคือนกที่อยู่ในกรง นี่น่าจะสื่อถึงความไร้อิสรภาพในชีวิตของหญิงสาว ถูกควบคุมครอบงำโดยบิดา ขนบกฎกรอบ และชนชั้นทางสังคม (บางคนอาจจะตีความ Tom ต้องการให้ Sophie มาเป็นนกในกรง/ภรรยาของตนเอง ก็ได้กระมัง)

แล้วซีนหลังจากนี้ Mr. Blifil ลูกพี่ลูกน้อง/ศัตรูของ Tom กลับแสร้งว่าเปิดกรง ปลดปล่อยนกสู่อิสรภาพ นั่นสื่อถึงการไม่ยินยอมรับ ไม่เชื่อว่าเดรัจฉาน(อย่าง Tom)จะสามารถอยู่ภายในขนบกฎกรอบ(กรงขัง) รวมถึงไม่ต้องการให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่บังเกิดขึ้น … มันคืออาการอิจฉาริษยานั่นเองนะครับ

การให้ความช่วยเหลือหญิงสาวที่โดนกลั่นแกล้ง ถูกกระทำร้ายร่างกาย ในบริบททางสังคมปัจจุบันสมควรเรียกว่า ‘สุภาพบุรุษ’ แต่ยุคสมัยก่อนถ้าฝ่ายหญิงมีพฤติกรรมสำส่อน โสเภณี ฝ่ายชาย(ที่ให้การช่วยเหลือ)ก็มักเหมารวมว่าเป็นพวกต่ำตม ชนชั้นเดียวกัน สังคมไม่ให้การยินยอมรับ … นี่แสดงให้เห็นถึงโลกทัศนคติของคนสมัยก่อน ยึดถือมั่นอยู่ในขนบกฎกรอบ ผิดแผกแตกต่างจากค่านิยมทางสังคมที่ปรับเปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน

ฉากนี้ถ่ายทำยังสุสานข้างโบสถ์ (หลังพิธีมิสซาวันอาทิตย์) สื่อถึงการรุมกระทำร้ายโดยคาดหวังให้อีกฝ่ายตกตายยังหลุมฝัง ขณะเดียวกันยังสะท้อนพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านั้น ราวกับปีศาจ สัตว์ร้าย ผุดขึ้นมาจากสุสาน

ในต้นฉบับนวนิยาย เห็นว่ามีการกล่าวถึงฉากไล่ล่าสัตว์แค่ไม่กี่บรรทัด แต่หนังกลับถ่ายทำซีเควนซ์นี้อย่างยิ่งใหญ่อลังการ ประกอบด้วยฝูงสุนัข ตัวประกอบควบขี่ม้า (อาจจะถึงหลักร้อย) และยังเฮลิคอปเตอร์ถ่ายทำจากเบื้องบน ‘bird’s-eye view’ ร้อยเรียงปะติดปะต่อยาวนานหลายนาที จุดประสงค์เพื่อต้องการเปรียบเทียบในเชิงสัญลักษณ์ ‘sex predator’ มนุษย์=หมาล่าเนื้อ เหยื่อก็คือหญิงสาว เป้าหมายแท้จริงต้องการครอบครอง เป็นเจ้าของ ร่วมเพศสัมพันธ์!

แซว: หลังจากพบเห็นฝูงชน ฝูงสุนัข กำลังไล่ล่าเจ้ากวางน้อย (ระดับมหภาค) ซีนถัดมาม้าของ Sophie จู่ๆควบคุมไม่อยู่ Tom เลยควบไล่ล่าติดตามไปช่วยเหลือ (ระดับจุลภาค) … กวางในอ้อมอก Squire Western = Sophie ในอ้อมอก Tom

Tom แขนหักจากการช่วยเหลือ Sophie เมื่ออาการดีขึ้นพวกเขาจึงออกเดินเล่นในแล้ว ได้ยินเสียงเปียโนนุ่มๆ ท่วงทำนองโรแมนติก แล้วจะมีการซ้อนภาพดอกไม้สีขาว (เราไม่จำเป็นต้องรับรู้จักชื่อดอกไม้นะครับ เอาแค่สีขาวสามารถแทนสัญลักษณ์ความรักอันบริสุทธิ์) รู้สึกเหมือนกำลังล่องลอยอยู่ในความเพ้อฝัน จากนั้นระหว่างล่องเรือ จู่ๆภาพหยุดแน่นิ่ง ‘Freeze Frame’ หลายคนอาจตีความว่าหญิงสาวต้องการจดจำช่วงเวลานี้ไว้ แต่ตอนต้นเรื่องเคยมีคำอธิบายธรรมเนียมปฏิบัติ ทุกครั้งที่หยุดแช่ภาพย่อมหมายถึงกำลังจะมีการร่วมเพศสัมพันธ์! รอยยิ้มพร้อมหันมาสบตาหน้ากล้อง ‘Breaking the Fourth Wall’ ช่างเต็มไปด้วยเลศนัยยิ่งนัก!

สำหรับคนที่ไม่ได้สังเกต ระหว่างการเปลี่ยนภาพ (Film transition) ป้ายสุสาน Bridget Allworthy (พี่สาวและชู้รักของ Squire Allworthy) จะมีลวดลีลาแยกภาพออกเป็นสี่ส่วน ดูลักษณะเหมือนไม้กางเขน

ขณะที่หลังงานศพจะมีการใช้ Iris Shot จับจ้องใบหน้าทนายความ หลังมอบจดหมายของ Bridget Allworthy ให้กับ Mr. Blifil โดยปกติแล้วการทำเช่นนี้มักต้องการสร้างจุดสนใจให้กับตัวละคร แต่ในขณะนี้กลับมอบความรู้สึกฉงนสงสัย บางสิ่งอย่างลับลมคมใน

บ้านฟาร์มของ Squire Western เต็มไปด้วยสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ซึ่งหนังก็ได้ทำการแทรกภาพสรรพสัตว์เหล่านี้ เพื่อสื่อถึงความเป็นผู้ดีในชนบท หน้าที่คือปกครองพวกมันเหล่านี้ ไม่ต่างจากมนุษย์สักเท่าไหร่ (แต่ไม่รู้ทำไมผมกลับนึกถึง Animal Farm ขึ้นมา)

แซว: มันจะมีช็อตที่ Miss Wester เดินเข้ามาพูดคุยกับ Squire Western เรื่องการหมั้นหมายแต่งงานหลานสาว Sophie สังเกตว่ามันจะมีไก่(และหมู)หลายตัวอยู่ในเฟรม ซึ่งสัตว์ชนิดนี้ชอบส่งเสียงขับขาน ไม่ต่างจากวาทะศิลป์ของตัวละคร

ช่วงระหว่างที่ Three Scrooges นำโดยญาติห่างๆ Mr. Blifil พยายามหาวิธีกดดัน Squire Allworthy เพื่อขับไล่ Tom Jones ออกไปจากมรดก/คฤหาสถ์หลังนี้ ภาพของตัวตลกทั้งสามจะถ่ายมุมเงยขึ้นด้านบน ส่วน Squire Allworthy ก็จะพบเห็นมุมก้ม แสดงถึงความกดดันจากผู้คนรอบข้าง จนทำให้เขาต้องตัดสินใจขับไล่บุตรชาย(ครุ่นคิดว่า)บุญธรรมออกจากบ้าน

และช็อตที่ Squire Allworthy พูดขับไล่ Tom Jones สังเกตว่ามุมกล้องก็ถ่ายจากเบื้องบนลงมา ราวกับว่านั่นคือสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้คนรอบข้าง … นี่ไม่เชิงว่าเชื่อคนง่าย แต่เขาไม่สามารถวางตัวอยู่เหนือกว่าบริบทกฎกรอบทางสังคม

ระหว่างการออกเดินทางของ Tom Jones พบเจอทหารอังกฤษที่กำลังเดินทางขึ้นเหนือ เพื่อไปสู้รบกับกบฎ Jacobite กลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์ House of Stuart ให้กลับคืนสู่ราชบัลลังก์อังกฤษ (แต่สุดท้ายก็ประสบความพ่ายแพ้) นี่เป็นการใช้เหตุการณ์อิงประวัติศาสตร์ Jacobite rising of 1745 เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของ Tom Jones ที่ไม่ต่างจากคนหัวขบถ กระทำสิ่งนอกรีตนอกรอย สังคมไม่ให้การยินยอมรับ เลยถูกขับไล่ออกจากบ้าน

ด้วยความสัมพันธ์ในเชิงสัญลักษณ์นั้นเอง ทำให้ฉากถัดมา Tom Jones จึงมีเรื่องขัดแย้งกับสมาชิกของกองทัพ จนเกิดการต่อสู้ เฉียดเป็นเฉียดตาย ทำให้อีกฝ่ายเคียดแค้นฝังหุ่น

แซว: ความขัดแย้งระหว่าง Tom Jones กับสมาชิกกองทัพคือเรื่องหญิงสาว Sophie Western ซึ่งถ้าเปรียบเทียบย้อนกลับ Jacobite rising of 1745 สามารถสื่อถึงราชบัลลังก์อังกฤษได้เลยนะ!

นายทหารที่ก่อนหน้านี้เพิ่งมีความขัดแย้งกับ Tom Jones (เลยตัดสินใจหลบหนีทหาร) ยังไม่ทันไรก็หวนกลับมาพบเจอกันอีกครั้ง คราวนี้กำลังพยายามข่มขืน Mrs. Waters แต่ได้รับการช่วยเหลือไว้ได้ทัน

ผมครุ่นคิดว่าฉากนี้ ต้องการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างข่มขืน vs. ความเจ้าชู้ประตูดินของ Tom Jones เพราะคนสมัยก่อนมักมองว่าคาสโนว่า เพลย์บอย เสือผู้หญิง มักทำการล่อลวง ขืนใจ ไม่ได้เกิดจากความยินยอมของอีกฝั่งฝ่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่!

  • การข่มขืน จะมีลักษณะบีบบังคับ ใช้กำลัง ความรุนแรง โดยที่ฝั่งฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมพร้อมใช้
  • สาวๆที่พลีกายให้กับ Tom Jones ล้วนส่งสายตาหยอกเย้า ท่าทางยั่วยวน ชักชวนอีกฝ่ายให้ร่วมเพศสัมพันธ์

ระหว่างเดินนำ Mrs. Waters ที่อยู่ในสภาพครึ่งเปลือย มันราวกับว่า Tom Jones สังเกตเห็นการมีตัวตนของกล้อง ไม่เพียงหันมาสบตา (Breaking the Fourth Wall) ยังหยิบหมวกขึ้นมาวางบดบัง … ฉากนี้เหมือนต้องการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ชม เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ และ(นำเอาหมวกมา)ปกปิดความครึ่งเปลือยของนักแสดงหญิงที่อยู่ด้านหลัง (ผมมองว่าเป็นวิธีล่อหลอกกองเซนเซอร์ได้อย่างน่าสนใจ)

ฉากดินเนอร์ระหว่าง Tom Jones และ Mrs. Waters ทั้งสองต่างแสดงท่าทางหยอกเย้า ยั่วยวน เต็มไปด้วยความรัญจวน ร่านราคะ นี่สามารถเปรียบเทียบในเชิงสัญลักษณ์ ทานอาหาร = เพศสัมพันธ์ นั่นคือสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์/สิ่งมีชีวิต ขาดไม่ได้เหมือนกัน!

แซว: ฉากนี้เห็นว่าใช้เวลาถ่ายทำนานถึงสามชั่วโมงกว่านักแสดงจะรู้สึกพึงพอใจ แต่ปรากฎว่าก็ทำให้ทั้งคู่ขึ้นอืด ขยาดอาหาร กินอะไรไม่ลงเป็นวันๆ

หลังจากที่ Tom Jones ตระหนักว่า Sophie พานผ่านมายังโรงแรมแห่งนี้ เขาตระหนักถึงความผิดพลาด รู้สึกละอาย หวาดกลัว หลากหลายอารมณ์ถาโถมเข้าใส่ จึงตัดสินใจ Fast-Motion กระทำทุกสิ่งอย่างเร่งรีบร้อนรน และพยายามหลบหนีจาก Squire Western (และ Miss Western) วิ่งหางจุกตูด … แต่ผมรู้สึกว่ามันยังไม่ค่อยเร็วพอที่จะสร้างความขบขันสักเท่าไหร่ น่าจะต้อง x3 หรือมากกว่านั้น!

ในงานเต้นรำหน้ากาก Squire Western และ Miss Western ต่างสวมใส่หน้ากากช้าง ซึ่งจะมีงวงยืดยาวออกมา หลายคนน่าจะคาดเดาได้ว่ามันสัญลักษณ์ของ ‘ลึงค์’ แสดงถึงความมีอำนาจ จ้าวโลก (ไม่จำเป็นว่าต้องสื่อถึงอวัยวะเพศชายเท่านั้น) ต้องการควบคุม ครอบงำ ทำทุกสิ่งอย่างให้ดำเนินไปตามความต้องการของตนเอง (นัยยะดังกล่าวสามารถสอดคล้องกับ Miss Western แม้เป็นเพศหญิงก็เถอะ)

หลังจาก ‘freeze frame’ กับ Lady Bellaston วันถัดมา Tom Jones ถูกจับแต่งองค์ทรงเครื่องให้กลายเป็นผู้ดีชาวเมือง สวมชุดหรู วิกปลอม แต่กลับจามฟุดฟิดเมื่อดมน้ำหอม นั่นแสดงถึงสันดานธาตุแท้ กลิ่นตัวตนแท้จริง (ภาพสะท้อนในกระจก) ไม่ใช่สิ่งสามารถปกปิด สร้างภาพ หรือปัจจัยภายนอกเหล่านี้

ปล. หญิงสาวทั้งหมดที่ Tom Jones ได้กระทำการร่วมเพศสัมพันธ์ ต่างเป็นตัวแทนของ

  • Molly Seagrim ตัวแทนหญิงสาวชนชั้นล่าง ถือว่ามีความต่ำตม เพศสัมพันธ์กับชายไม่เลือกหน้า
  • Mrs. Waters ตัวแทนชนชั้นกลาง(มั้งนะ) แต่งงานแล้ว ไม่ยินยอมถูกข่มขืน แต่พร้อมมีเพศสัมพันธ์กับชายที่ตนสนใจ
  • Lady Bellaston ตัวแทนชนชั้นสูง เป็นคนช่างเลือก รสนิยมไฮโซ (ไม่ได้เอากับใครก็ได้)

การต่อสู้ดวลดาบระหว่าง Tom Jones กับ Mr. Fitzpatrick (จะรวมถึงตอนดวลดาบ-ไม้ กับนายทหารคู่อริ ก็ได้ด้วย) ครุ่นคิดไปมาผมรู้สึกว่า ดาบสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์แทน ‘ลึงค์’ แท่งกลมๆยาวๆ สำหรับทิ่มแทง แต่สำหรับชาย-ชาย มันคือการแข่งขัน แก่งแย่งชิง ซึ่งในทั้งสองฉาก(ที่มีการดวลดาบ) ล้วนมีต้นสาเหตุความขัดแย้งจากเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงทั้งนั้น! … กล่าวคือเหตุผลการต่อสู้ของบุรุษ ล้วนเพื่อครอบครองเป็นเจ้าของสตรี!

อีกหนึ่งการเปลี่ยนภาพ (Film transition) ที่ผมรู้สึกว่าน่าสนใจไม่น้อย หลังจาก Squire Allworthy รับรู้ว่า Tom Jones กำลังติดคุกติดตาราง ระหว่างเปลี่ยนซีนทำเหมือนบานเกล็ดแนวดิ่ง ซึ่งมีความละม้ายซี่กรงเรือนจำ … จะมองว่านี่ล้อกับนกในกรงขังตอนต้นเรื่อง ก็ได้กระมัง

ผมรู้สึกว่าการร้อยเรียงภาพนิ่งระหว่าง Mr. Partridge และ Mrs. Millar กำลังแอบฟังอยู่ตรงประตู ดูไม่ค่อยเข้าท่าสักเท่าไหร่ เพราะมันไปซ้อนทับกับธรรมเนียม ‘Freeze Frame’ หลายคนอาจครุ่นคิดว่าบุคคลที่อยู่ในห้องกำลังร่วมเพศสัมพันธ์ แต่มันไม่ใช่เลยสักนิด!

วิธีการที่หนังเฉลยปริศนาชาติกำเนิดของ Tom Jones คือให้ Mrs. Waters หันมาพูดคุยอธิบายกับผู้ชมต่อหน้ากล้อง (Breaking the Fourth Wall) ความจริงก็คือ Tom เป็นบุตรของ Squire Allworthy กับพี่สาว Bridget Allworthy ซึ่งทั้งสองแอบเป็นชู้รัก ร่วมเพศสัมพันธ์ (Incest) แต่ฝ่ายหญิงไม่กล้าพูดบอกความจริงเพราะกลัวว่าเขาจะยินยอมรับไม่ได้ (ว่าบุตรชายเกิดจากเลือดเนื้อเชื้อไขเดียวกัน) จึงมอบหมายให้ Mrs. Waters นำทารกน้อยไปวางไว้บนเตียง แล้วเรื่องวุ่นๆก็บังเกิดขึ้นหลังจากนั้น!

นี่แสดงว่าพฤติกรรมหัวขบถ กระทำสิ่งนอกรีตนอกรอย สำส่อนทางเพศของ Tom Jones ไม่ได้มาจากชาติกำเนิด หรือชนชั้นทางสังคม เพราะทีแรกใครๆมองว่าเขาเป็นบุตรนอกสมรส (Bastard Son) ถือกำเนิดจากหญิงสาวชนชั้นต่ำ แต่พอเฉลยว่ามีเลือดเนื้อเชื้อไขของ Squire Allworth แสดงว่ามันไม่เกี่ยวอะไรกัน! … กล่าวคือ อุปนิสัยของคนไม่ได้เกี่ยวกับชาติกำเนิด หรือชนชั้นทางสังคม

มันช่างเป็นความน่าฉงนสงสัย ว่าเหตุไฉนนายทหารคู่เวรคู่กรรมของ Tom Jones ทำอะไรยังไงถึงได้เลื่อนขั้นกลายมาเป็นผู้ควบคุมการประหารชีวิต ควบขี่ม้านำขบวน พร้อมอำนวยอวยพร “Better luck in the next world”

ช็อตสุดท้ายของหนัง จบลงด้วยการแช่ภาพ ‘Freeze Frame’ หลังจาก Tom Jones โถมเข้ามากอดจูบ Sophia Western คงไม่ต้องอธิบายหลังฉากแล้วกระมัง นี่มันครั้งที่เท่าไหร่แล้วละเนี่ย

Happy the man, and happy he alone,
He who can call today his own:
He who, secure within, can say,
Tomorrow do thy worst, for I have lived today.

John Dryden (1631-1700) แปลจากบทกวีภาษาละติน Odes: Book 3.1, Odi profanum vulgus et arceo ประพันธ์โดย Horace (65-8 BCE)

ตัดต่อโดย Antony Gibbs (1925-2016) สัญชาติอังกฤษ เข้าสู่วงการในช่วงกลางทศวรรษ 50s จากเป็นผู้ช่วยตัดต่อ Ralph Kemplen และ Alan Osbiston จากนั้นร่วมงานขาประจำผู้กำกับรุ่น British New Wave ผลงานเด่นๆ อาทิ A Taste of Honey (1961), The Loneliness of the Long Distance Runner (1962), Tom Jones (1963), The Knack …and How to Get It (1965), Performance (1970), Walkabout (1971), Fiddler on the Roof (1971), Jesus Christ Superstar (1973), A Bridge Too Far (1977), Dune (1984) ฯลฯ

ตามชื่อหนัง Tom Jones คือจุดศูนย์กลางของเรื่องราว! แรกพบเจอตั้งแต่เมื่อครั้นยังเป็นทารกน้อย พอเติบใหญ่ก็ใช้เสียงบรรยายของ Micheál Mac Liammóir คอยเล่าเหตุการณ์วุ่นๆวายๆ ความสัมพันธ์กับหญิงสาวหลากหลาย ตกหลุมรัก Sophie Western และหลังถูกขับไล่จากคฤหาสถ์ Allworthy ออกเดินทางผจญภัยมุ่งสู่กรุง London

  • อารัมบทสไตล์หนังเงียบ ทารกน้อย Tom Jones
  • พฤติกรรมสัปดลของ Tom Jones
    • วันๆชอบเที่ยวเตร่ สำมะเลเทเมา เพศสัมพันธ์กับ Molly Seagrim
    • เมื่อมีโอกาสหวนกลับมาพบเจอเพื่อนวัยเด็ก Sophie Western ต่างดูมีความชื่นชอบหลงใหล
    • กระทั่งกิจกรรมล่าสัตว์ของ Squire Western ทำให้ Tom Jones และ Sophie ตกหลุมรักกันและกัน
  • การมาถึงของ Miss Western พยายามจับคู่ให้ Sophie
    • อุบัติเหตุเกิดขึ้นกับรถม้าของ Squire Allworthy โชคดียังสามารถเอาตัวรอดชีวิต
    • แต่ Tom Jones กลับเฉลิมฉลองเกินกว่าเหตุ มึนเมาจนมีเพศสัมพันธ์กับ Molly Seagrim แล้วถูกจับได้ ตีไข่ใส่สี จนทำให้โดนขับไล่ออกจากบ้าน
    • Miss Western พยายามโน้มน้าวน้องชาย Squire Western ให้จับคู่แต่งงาน Sophie กับ Mr. Blifil แต่เธอกลับไม่ยินยอมพร้อมใจ แล้วแอบลักลอบหนีออกจากบ้านเช่นกัน
  • การผจญภัยของ Tom Jones ระหว่างเดินทางสู่ London
    • ระหว่างทาง Tom Jones พบเจอกับทหารอังกฤษที่กำลังจะเข้าร่วมสู้รบกับกลุ่มกบฎ Jacobite แล้วเกิดความขัดแย้งบางอย่าง
    • หลังจากออกเดินทางต่อ ให้ความช่วยเหลือ Mrs. Waters ระหว่างกำลังโดนข่มขืน
    • เดินทางมาถึงโรงแรมอีกแห่ง Tom Jones สานสัมพันธ์/ร่วมรักกับ Mrs. Waters แล้วเกิดเรื่องวุ่นๆให้เข้าใจผิดกับ Fitzpatrick (ครุ่นคิดว่า Mrs. Waters=Mrs. Fitzpatrick) รวมถึง Sophie (ขึ้นรถม้ามากับเพื่อนสาว Mrs. Fitzpatrick) ที่เพิ่งติดตามมาถึงติดๆ
  • เรื่องวุ่นๆยังกรุง London
    • Tom Jones ได้พบเจอกับช่างตัดผม Mr. Partridge ที่เคยถูกเข้าใจผิดว่าคือบิดา(ของ Jones) แล้วพักอาศัยอยู่กับอดีตแม่ครัว Mrs. Millar
    • ระหว่างนั้น Tom Jones พยายามติดต่อหา Sophie ที่อาศัยอยู่กับ Lady Bellaston แต่เขากลับถูกเธอล่อหลวง ร่วมเพศสัมพันธ์ แต่งองค์ทรงเครื่องให้กลายเป็นผู้ดีมีสกุล
    • วันหนึ่งที่ Tom Jones เดินทางมาขอความช่วยเหลือ Mrs. Fitzpatrick แล้วขากลับพบเจอกับสามีของเธอ ครุ่นคิดเข้าใจผิดว่าเขาแอบสานสัมพันธ์กันภรรยา เลยเกิดการต่อสู้ ดวลดาบ จนอีกฝ่ายเสียชีวิต
    • Tom Jones ได้รับการใส่ร้ายป้ายสีและกำลังจะถูกแขวนคอประหารชีวิต แต่ระหว่างนั้น Squire Allworthy ก็ได้รับทราบความจริงทั้งหมดจาก Mrs. Millar

ผมรู้สึกว่าหนังมีปัญหากับการลำดับเรื่องราวพอสมควร โดยเฉพาะช่วงระหว่างการเดินทาง รวมถึงเหตุการณ์ชุลมุนในกรุง London เต็มไปด้วยความสับสนมึนงง พยายามแทรกเรื่องราว/คอมเมอดี้ของตัวละครอื่นๆเข้ามาแย่งซีน Tom Jones จนแทบไม่พบเห็นพัฒนาการเปลี่ยนแปลงใดๆ พอเจอหญิงสาวคนใหม่ก็พร้อมถาโถมเข้าใส่ ทำให้เมื่อเฉลยปมปริศนา ทุกสิ่งอย่างมันเลยโคตรเหนือจริง จับต้องไม่ได้สักเท่าไหร่

และปัญหาใหญ่ก็คือการอารัมบทด้วยสไตล์หนังเงียบ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจมากๆ แต่หลังจากนั้นความตื่นเต้นกลับค่อยๆเลือนลางจางหาย เห็นว่าเกิดจากการสู้รบระหว่างผกก. Richardson กับโปรดิวเซอร์ที่ต้องการให้หนังเข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้น เทคนิค ลูกเล่นต่างๆจึงลดน้อยลงอย่างมากๆ


เพลงประกอบโดย John Mervyn Addison (1920-98) สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Chobham, Surrey ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบเครื่องดนตรี Oboe, พออายุสิบหกเข้าเรียนด้านการประพันธ์เพลง Royal College of Music, อาสาสมัครทหารช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเจ้าหน้าที่ประจำรถถังใน Battle of Normand, หลังสิ้นสุดสงครามกลับมาทำงานครูสอนวิชาแต่งเพลง Royal College of Music แล้วเริ่มมีโอกาสทำเพลงประกอบภาพยนตร์ ละครเวที ขาประจำผู้กำกับ Tony Richardson อาทิ The Entertainer (1960), A Taste of Honey (1961), The Loneliness of the Long Distance Runner (1962), Tom Jones (1963), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Torn Curtain (1966), Sleuth (1972), A Bridge Too Far (1977) ฯลฯ

งานเพลงถือเป็นอีกไฮไลท์ของหนัง (คว้ารางวัล Oscar และ Grammy Award) เต็มไปด้วยท่วงทำนองที่สร้างความสนุกสนาน ครึกครื้นเครง อลเวง ชวนหัว บางครั้งก็โรแมนติกหวานแหวว ซาบซึ้งกินใจ ยั่วเย้ายวนชวนหลงใหล เต็มไปด้วยอารมณ์มากมาย ส่วนสไตล์เพลงก็มีทั้ง Baroque, ยุคสมัย Romantic, รวมถึง Folk & Traditional Music และ Ballads Song (บทเพลงที่มีเนื้อคำร้อง) พยายามผสมผสานหลายสิ่งอย่างคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน

Main Theme เริ่มต้นด้วยกลิ่นอายสไตล์ Baroque ดนตรีแห่งความขัดแย้ง (มักใช้เครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดเล่น เปียโน vs. Harpsichord ท่วงทำนองสะท้อนกันและกัน คนละระดับเสียง สลับเสียง หรือย้อนแก่นสาร) รับอิทธิพลไม่น้อยจาก George Frideric Handel ซึ่งเหมาะกับหนังแนวพีเรียตย้อนยุค ที่มีตัวละครไม่ชอบอยู่ภายใต้ขนบกฎกรอบ และมีพฤติกรรมต่อต้านวิถีทางสังคม

บทเพลงที่ผมถือว่าคือไฮไลท์ของหนังคือ Swordplay (แนะนำให้หาฟังใน Spotify) ตรงกับฉากต่อสู้ดวลดาบระหว่าง Tom Jones vs. Mr. Fitzpatrick ทั้งๆพวกเขาพยายามเข่นฆ่าอีกฝ่ายให้ตกตาย แต่กลับเต็มไปด้วยความสนุกสนาครึ้นเครง นี่ต้องชมการตัดต่อ ทิศทางมุมกล้อง และออกแบบการต่อสู้ ทำให้ซีเควนซ์นี้เพิ่มความรุกเร้าใจขึ้นอย่างมากๆ

แซว: ผมรู้สึกว่าฉากต่อสู้ซีเควนซ์นี้ มีความน่าตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจกว่าการดวลดาบเจไดของ Star Wars (1977-80-83) สามภาคแรกเสียอีกนะ!

บทเพลงคำร้อง If He Swing by the String แต่งโดย John Addison และ Julian More ผมหาเครดิตไม่ได้ว่าใครขับร้อง ได้ยินตอน Tom Jones ถูกควบคุมขัง และกำลังเดินทางสู่ลานประหาร (และหนังยังพยายามร้อยเรียงชุดภาพ ให้มีความสอดคล้องกับเนื้อคำร้อง)

If he swing by the string
He will hear the bell ring
And then there’s an end to poor Tommy

He must hang by the noose
Where no hand will cut loose
The rope from the neck of poor Tommy

เนื่องจากผมหาบทเพลงที่ใช้ประกอบในหนังไม่ได้ แต่เหมือนว่า Marlene Dietrich มีความชื่นชอบบทเพลงนี้มากๆ จึงติดต่อขอบันทึกเสียง วางจำหน่ายปี ค.ศ. 1964

The History of Tom Jones, a Foundling คือนวนิยายกึ่งอัตชีวประวัติของ Henry Fielding เปรียบได้กับจดหมายรักมอบให้ภรรยาผู้ล่วงลับ ขอบคุณในความจงรักภักดี (มีบุตรร่วมกันถึง 5 คน) แม้ว่าตนเองจะเป็นคนหมกมุ่นมักมากในกามคุณ ร่วมเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นไม่ซ้ำหน้า แต่ความรักจากเธอยังทำให้ฉันคงความเป็นมนุษย์ ท่ามกลางสังคมที่ราวกับหมาล่าเนื้อ คอยไล่ล่า ฉีกกัดกิน พร้อมเข่นฆ่าบุคคลนอกคอกให้ตกตายจากหลังม้า

ขณะเดียวกัน Fielding ยังทำการเสียดสีล้อเลียนวิถีผู้ดีอังกฤษสมัยนั้น ที่มัวแต่ยึดถือมั่นในขนบประเพณี วิถีทางสังคม สรรหาสรรพข้ออ้างในการควบคุมครอบงำ กดขี่ข่มเหงบุคคลชนชั้นต่ำต้อยกว่า ตีตราว่าร้าย Tom Jones เพราะชาติกำหนดเป็นบุตรนอกสมรส (Bastard Son) แต่พอความจริงได้รับการเปิดเผย ความผิดทุกสิ่งอย่างกลับได้รับการยกโทษให้อภัย นั่นคือ ‘อภิสิทธิ์ทางชนชั้น’ ไม่มีทางเกิดขึ้นกับสามัญชน

คาสโนว่า เพลย์บอย เสือผู้หญิง มันผิดอะไรที่มนุษย์จะตกหลุมรัก มีเพศสัมพันธ์ แต่งงานกับหลายบุคคล (Polygamy) ความรู้สึกอคติ ไม่ยินยอมรับ ล้วนเกิดจากการที่เราถูกควบคุมครอบงำโดยบริบททางสังคม บางศาสนาสอนให้มีภรรยาเพียงหนึ่ง (ถึงสี่) อ้างว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งใหญ่ แสดงถึงอารยธรรมสูงส่ง ดูถูกเหยียดหยามบุคคลมักมากในกามคุณ มีภรรยาหลายคนไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน

พุทธศาสนาไม่ได้กำหนดข้อบังคับอะไรเกี่ยวกับจำนวนของภรรยา (คนที่ทำบุญบารมีจนได้ขึ้นสวรรค์ สามารถมีบริวาร/ภรรยานับพันหมื่นแสน) เพียงแต่ศีลข้อสามกาเมสุมิจฉาจาร อย่าไปผิดประเวณี ร่วมเพศสัมพันธ์กับบุคคลมีเจ้าของ เพราะนั่นอาจสร้างความไม่พึงพอใจ (ลองคิดดูว่าถ้าบุตร/ภรรยาของคุณถูกใครอื่นล่วงละเมิดทางเพศ จะยินยอมรับได้งั้นหรือ?) จนกลายเป็นกงเกวียนกรรมเกวียน เวียนวน เราไปเอาเมียเขา เขามาเอาลูกเรา ความขัดแย้งพัฒนาสู่ความเคียดแค้น เมื่อไหร่มันจักจบจักสิ้น

เรื่องราวของ Tom Jones เป็นสิ่งที่สังคม(ตะวันตก)ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนล้วนไม่ให้การยินยอมรับ แต่ในความจริงพวกเขาเหล่านั้นกลับเต็มไปด้วยความโหยหา อิจฉาริษยา เพราะตนเองไม่สามารถทำได้อย่างนั้น มันมีบางสิ่งอย่างมันค้ำคอเอาไว้ จึงต้องแสดงอคติ รังเกียจต่อต้าน พยายามขับไล่ผลักไส ประหัดประหารแขวนคอ … แต่พอตระหนักว่าอีกฝั่งฝ่ายคือเลือดเนื้อเชื้อไข ก็กุลีกุจอ พร้อมยกโทษให้อภัย แสดงถึงความกลับกลอกปอกลอก กะล่อนปลิ้นปลิ้น ออกกฎระเบียบเหล่านั้นเพียงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น

ความสำเร็จของภาพยนตร์ Tom Jones (1963) ก็ชัดเจนมากๆถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม คนรุ่นใหม่ปฏิเสธการถูกบีบบังคับ ควบคุมครอบงำ ใครจะว่าอะไรฉันไม่สน โหยหาอิสรภาพให้กับตัวตนเอง นั่นรวมถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ สะท้อนการกำลังมาถึงของยุคสมัย Swinging London ไม่มีใครจะคาดคิดว่าอังกฤษ(ที่เลื่องชื่อเรื่องขนบกฎกรอบ)จะเป็นประเทศแรกๆ นำเทรนด์การปฏิวัติทางวัฒนธรรม (น่าจะเพราะเป็นประเทศมีสิ่งต่างๆบีบรัดมัดตัวมากที่สุด ผู้คนเลยพยายามหาหนทางดิ้นให้หลุดพ้นอย่างรุนแรงที่สุด)

ผู้กำกับ Richardson หลังจากสรรค์สร้างภาพยนตร์ ‘Kitchen Sink Realism’ สะท้อนสภาพสังคมประเทศอังกฤษ (Contemporary England) ที่เต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราด (Look Back in Anger (1959)) โดดเดี่ยวอ้างว้าง (The Loneliness of the Long Distance Runner (1962)) พอมาถึง Tom Jones (1963) คือช่วงเวลาแห่งการปลดปล่อย ระบายความอึดอัดอั้น อิสรภาพแห่งชีวิต ละทอดทิ้งโลกความเป็นจริง เลิกสนใจปัญหาสังคม-การเมือง ผลงานหลังจากนี้จะเน้นสร้างสิ่งตอบสนองตัณหาส่วนตนเป็นที่ตั้ง!

(เนื่องจากผมยังไม่เคยรับชมผลงานก่อนหน้านี้ของผกก. Richardson เลยบอกไม่ได้ว่าเขามีความอึดอัดอั้นอะไรที่ฝังอยู่ภายใน ไว้เขียนถึง ‘Kitchen Sink Realism’ ค่อยว่ากันอีกทีนะครับ)


หลังเข้าฉายรอบปฐมทัศน์ในประเทศอังกฤษ เดินทางต่อไปยังเทศกาลหนังเมือง Venice แม้เสียงตอบรับจะกลางๆ (Mixed Review) แต่สามารถคว้ารางวัล Best Actor (Albert Finney) ขณะที่ Golden Lion ปีนั้นตกเป็นของ Hands Over the City (1963) กำกับโดย Francesco Rosi

ด้วยทุนสร้าง £467,000 ปอนด์ (ประมาณ $1 ล้านเหรียญสหรัฐ) ไม่มีรายงานรายรับในอังกฤษ เพียงบอกว่า ‘Popular’ เมื่อเข้าฉายสหรัฐอเมริกาสามารถทำเงินได้สูงถึง $17 ล้านเหรียญ (อีกแหล่งข่าวรายงานว่า $37.6 ล้านเหรียญ) ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม

นอกจากนี้ยังมีลุ้นรางวัล Oscar, Golden Globe, BAFTA Award และสามารถกวาดรางวัลได้มากมาย (ถือเป็นหนึ่งในตัวเต็งเคียงข้าง Cleopatra (1963))

  • Academy Award
    • Best Picture ** คว้ารางวัล
    • Best Director ** คว้ารางวัล
    • Best Actor (Albert Finney)
    • Best Supporting Actor (Hugh Griffith)
    • Best Supporting Actress (Diane Cilento)
    • Best Supporting Actress (Edith Evans)
    • Best Supporting Actress (Joyce Redman)
    • Best Adapted Screenplay ** คว้ารางวัล
    • Best Art Direction – Color
    • Best Original Score ** คว้ารางวัล
  • Golden Globe Award
    • Best Motion Picture – Musical or Comedy ** คว้ารางวัล
    • Best Foreign Film – English-Language
    • Best Director
    • Best Actor – Musical or Comedy (Albert Finney)
    • Most Promising Newcomer – Male (Albert Finney) ** คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actor (Hugh Griffith)
    • Best Supporting Actress (Joan Greenwood)
  • BAFTA Award
    • Best Film from any Source ** คว้ารางวัล
    • Best British Film ** คว้ารางวัล
    • Best British Actor(Albert Finney)
    • Best British Actor (Hugh Griffith)
    • Best British Actress (Edith Evans)
    • Best Adapted Screenplay ** คว้ารางวัล

เกร็ด: เนื่องจากผกก. Tony Richardson ไม่ได้เข้าร่วมงานประกาศรางวัล Oscar ด้วยเหตุนี้นักแสดง Edith Evans จึงขึ้นรับแทนสาขา Best Director และ David Picker (ตัวแทนของ United Artist) ขึ้นรับ Best Picture

เกร็ด2: นอกจากนี้ Tom Jones (1963) ยังเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกเรื่องเดียวที่มีนักแสดงหญิงถึงสามคนเข้าชิง Oscar: Best Supporting Actress แต่ผู้ชนะกลับคือ Margaret Rutherford จากเรื่อง The V.I.P.s. (1963)

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 4K เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2018 ซึ่งมีทั้งฉบับดั้งเดิม Original Theatrical Version (129 นาที) และ Director’s Cut (121 นาที) ได้รับการอนุมัติโดยตากล้อง Walter Lassally สามารถหาซื้อ Blu-Ray และรับชมออนไลน์ได้จาก BFI และ Criterion

หรือใครสนใจคอลเลคชั่น Woodfall: A Revolution in British Cinema 1959-1965 รวบรวมผลงานยุคแรกๆของผู้กำกับ Tony Richardson จัดจำหน่ายโดย BFI Video มีจำนวน 8 เรื่อง (ได้รับการบูรณะแล้วทั้งหมด)

แม้จะเต็มไปด้วยลีลาภาพยนตร์อันจัดจ้าน รวมถึงสะท้อนสภาพสังคมยุคสมัยนั้น Swinging London แต่ผมกลับขื่นขำไม่ออกกับความเหนือจริงของเรื่องราว Sex Fantasy ที่พยายามสร้างมูลค่าให้ความสัปดลของ Tom Jones สมควรได้รับตอนจบ Happy Ending จริงๆนะหรือ?

สิ่งน่าหงุดหงิดใจที่สุดของหนังก็คือ การเป็นภาพสะท้อนสังคมยุคสมัยนั้น มันทำให้ผมเกิดข้อคำถามขึ้นมาว่า เราควรยินยอมรับ ‘เสรีภาพทางเพศ’ ขนาดไหนกัน? คุยเรื่องเพศกับลูกก็เรื่องหนึ่ง อยู่ก่อนแต่งก็เรื่องนึง โสเภณีขายตัวก็อีกเรื่องนึง แต่การไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ‘sex predator’ อะไรคือเส้นแบ่งบางๆระหว่างสำส่อน กามวิปริต จิตวิตถาร

จัดเรต 18+ กับความเจ้าชู้ประตูดิน เพศสัมพันธ์ไม่เลือกหน้า หยามเหยียดชนชั้น คำพูดกักฬระ

คำโปรย | ความชวนหัวที่เกิดจากพฤติกรรมสัปดลของ Tom Jones มีความแปลกประหลาด ตื่นตระการตา แต่อาจสร้างความขื่นขำไม่ออกให้กับผู้ชมส่วนใหญ่
คุณภาพ | สัปดล สับสน
ส่วนตัว | ขื่นขำ

Gandhi (1982)


Gandhi

Gandhi (1982) British : Richard Attenborough ♥♥♥♥

มหาตมา คานธี พยายามอย่างยิ่งจะใช้หลัก ‘อหิงสา’ ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา แต่ท้ายสุดก็มิอาจเอาชนะสันดานธาตุแท้มนุษย์ ถูกเข่นฆาตกรรมโดยผู้มีความครุ่นคิดเห็นต่าง ปัจจุบันหลงเหลือเพียงตำนานลือเล่าขาน ค่อยๆถูกหลงลืมเลือนไปตามกาลเวลา, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ประวัติศาสตร์โลกนับครั้งได้! ที่หลักอหิงสาของมหาตมา คานธี จะประสบความสำเร็จในการประท้วง เรียกร้อง ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา (ในระดับมหภาค) นั่นเพราะสันดานธาตุแท้มนุษย์คือการเข่นฆ่า ยิ่งยุคสมัยนี้กอปรความด้านได้อายอด สนเพียงผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ยึดถือมั่นในวัตถุสิ่งของรูปธรรม ปฏิเสธความเชื่อศรัธาศาสนานามธรรม ตายไปตกนรกแล้วไง ปัจจุบันร่ำรวยสุขสบาย เท่านั้นก็เหลือเฟือเพียงพอแล้วสำหรับชาตินี้

Gandhi (1982) เป็นภาพยนตร์ที่มักได้รับการเขม่นจากผู้ชม/นักวิจารณ์ นั่นเพราะดันไปแก่งแย่งชิง Oscar: Best Picture (และอีกหลายๆสาขา) มาจาก E.T. the Extra-Terrestrial (1982) อันที่จริงคุณภาพก็ไม่ได้เลวร้าย แต่กาลเวลาเลือกจดจำ E.T. มากกว่า Gandhi เท่านั้นเอง!

ผมจะเคยรับชม Gandhi (1982) มาแล้วหลายครั้ง แต่ครานี้กลับยังพบเห็นความน่าประทับใจในไดเรคชั่นของ Richard Attenborough เกือบๆสมราคา 8 รางวัล Oscar (ถ้าไม่มี E.T. ให้เปรียบเทียบ) ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ David Lean อาจพบความล้มเหลว … ก็น่าคิดไม่น้อยถ้าผู้กำกับ Lean ได้สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ จะทำออกมาได้ระดับเดียวกับ Lawrence of Arabia (1962) หรือเปล่า?


มหาตมา คานธี (1869 – 1948) ชื่อเต็มว่า โมหันทาส กรัมจันท์ คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) ผู้นำ/นักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดีย เกิดที่แคว้นคุชราต ทางทิศตะวันตกของอินเดีย ในครอบครัวนับถือศาสนาฮินดู เมื่ออายุ 13 ปี สมรสกับเด็กหญิงกัสตูรบา, Kasturba (1869 – 1944) ตามประเพณีท้องถิ่นที่นิยมให้เด็กแต่งงานกันเร็วๆ ทั้งสองมีบุตร-ธิดา รวมทั้งหมด 5 คน

ค.ศ. 1888 เป็นปีที่บุตรคนแรกของคานธีได้ถือกำเนิดขึ้น ขณะเดียวกันครอบครัวตัดสินใจส่งเขาไปร่ำเรียนวิชากฎหมายยังประเทศอังกฤษ ใช้เวลาพอสมควรกว่าจะปรับตัวเข้ากับมารยาท วัฒนธรรม ขณะเดียวกันตัดสินใจเปลี่ยนมารับประทานมังสวิรัติ และสำเร็จการศึกษาและสอบได้เป็นเนติบัณฑิต

ค.ศ. 1894 ได้รับมอบหมายให้เป็นทนายในประเทศแอฟริกาใต้ ซื้อตั๋วรถไฟชั้นหนึ่งแต่ถูกผู้โดยสารผิวขาวไม่พึงพอใจ จึงไปประท้วงเจ้าหน้าที่ให้สั่งย้ายไปนั่งชั้นสาม คานธีไม่ยินยอมเลยถูกรุมทำร้ายโยนออกมาจากขบวนรถไฟ ความไม่พึงพอใจดังกล่าวทำให้เขาริเริ่มต้นต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนอยู่หลายปี ทอดทิ้งเครื่องแต่งกายตะวันตก หวนกลับมาสวมใส่เสื้อผ้าพื้นเมืองดั้งเดิม เมื่อเดินทางกลับบอมเบย์ปี ค.ศ. 1915 มีชาวอินเดียจำนวนมากไปรอต้อนรับ ถึงขนาดรพินทรนาถ ฐากุร, Robindronath Tagore (1861 – 1941) มหากวีแห่งอินเดีย ขนานนามคานธีว่า ‘มหาตมา’ อันแปลว่า ผู้มีจิตใจสูงส่ง

คานธีออกเดินทางไปทั่วประเทศ เพื่อรู้เห็นวิถีชีวิต ความเป็นจริงของชาวอินเดีย ค.ศ. 1916 ก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชน ด้วยวิธีขอความร่วมมือผนึกกำลังคนละเล็กคนละน้อยจนเป็นพลังที่สั่นคลอนประเทศได้

ค.ศ. 1919 ได้มีการประกาศกฎหมาย Rowlatt Act ที่ทำการกดขี่ชาวอินเดีย คานธีใช้วิธีขอความร่วมมือว่าในวันที่ 30 มีนาคม ประชาชนทุกคนจะหยุดงาน ทำให้อำนาจรัฐบาลอังกฤษเกิดการสั่นคลอนอย่างชัดเจน แต่แผนการดังกล่าวมีช่องโหว่คือตัวคานธีเอง รัฐบาลอังกฤษจับเขาคุมขังคุก สร้างความไม่พึงพอใจให้ประชาชนจนเกิดเหตุจารจลทั่วทั้งประเทศ

วันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1919 รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจปล่อยตัวคานธี ซึ่งพอเข้าตัวรับรู้ถึงความรุนแรงที่บังเกิดขึ้น ตัดสินใจอดอาหารเพื่อเรียกร้องประชาชนกลับคืนสู่ความสงบ ขณะเดียวกันในวันนั้น ประชาชนนับพันไปรวมตัวสังสรรค์ที่สวนสาธารณะชัลลียันวาลา เมืองอมฤตสระ แต่ทว่า นายพลเรจินัลด์ ดายเออร์, Reginald Dyer ผู้บังคับบัญชากองทหารอังกฤษ ออกคำสั่งให้กองทัพรัวปืนใส่กลุ่มประชาชน ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,500 ศพ บาดเจ็บประมาณ 3,000 คน เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ทำให้รัฐบาลอังกฤษเสื่อมเสียเกียรติยศอย่างยากจะฟื้นตัว

ค.ศ. 1930 คานธีต้องการประท้วงกฎหมายอังกฤษที่ห้ามคนอินเดียทำเกลือกินเอง วันที่ 12 มีนาคม จึงเริ่มออกเดินทางไปยังชายทะเลในตำบลฑัณฑี พร้อมกับประชาชนนับแสนคนที่เต็มใจไปพร้อมกัน ใช้เวลา 24 วัน ระยะทาง 400 กิโลเมตร ทางการอังกฤษดันทุรังจับกุมคานธีและประชาชนนับแสนคนในวันที่ 4 พฤษภาคม ทำให้จำนวนแรงงานอาชีพหายไปเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจและระบบบริหารงานของรัฐบาลอังกฤษเกิดความปั่นป่วนอย่างใหญ่หลวง จนต้องทะยอยปล่อยตัวประชาชนออกมาเรื่อยๆ

ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง มีการเดินขบวนรณรงค์ เรียกร้องอิสรภาพ ทำให้คานธีถูกจับกุมคุมขัง ระหว่างอยู่ในคุกภรรยากัสตูรบา ได้เสียชีวิตลงปี ค.ศ. 1944

ค.ศ. 1945 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศอังกฤษ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ประกาศจะให้อินเดียได้ปกครองตนเอง แต่ทว่าก่อนจะมอบเอกราชจำต้องมีรัฐบาลชาวอินเดียขึ้นเสียก่อน เนื่องด้วยไม่สามารถตกลงกันได้ว่าระหว่างพรรคคองเกรสที่นับถือศาสนาฮินดู กับสันนิบาตมุสลิม จึงเกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นเหตุนองเลือดรุนแรงไปทั่วทุกหัวระแหง คานธีรู้สึกเศร้าโศกเสียใจอย่างมาก อิสรภาพอยู่แค่เอื้อมแต่เรากลับทะเลาะกันเองภายใน เขาจึงหอบสังขารวัย 77 ปี ออกเดินเท้าไปยังภูมิภาคต่างๆเพื่อขอร้องให้ชาวอินเดียหันมาสมัครสมานาสามัคคีกัน

เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1947 ได้มีการเจรจาตกลงระหว่างพรรคคองเกรส กับสันนิบาตมุสลิม โดยผลสรุปคือเมื่ออินเดียได้รับเอกราช จะแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน โดยให้พื้นที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือฮินดูเป็นประเทศอินเดีย และพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่นับถืออิสลามเป็นประเทศปากีสถาน

13 มกราคม ค.ศ. 1948 คานธีเดินทางไปปากีสถาน เพื่อหวังสมานฉันท์กับชาวมุสลิม แต่เพราะเจ้าตัวนับถือฮินดู สันนิบาตมุสลิมจึงคัดค้านการเพราะเกรงจะเกิดอันตราย เขาเลยประกาศอดอาหารอีกครั้ง

30 มกราคม ค.ศ. 1948 ในตอนเย็นคานธีกำลังสวดมนต์ไหว้พระอยู่ที่สนามหญ้า ขณะพูดว่า ‘เห ราม’ (ภาษาอังกฤษ Oh God) แปลว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า, นายนาถูราม โคทเส (Nathuram Vinayak Godse) ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนาไม่ต้องการสมานฉันท์กับมุสลิม ได้ยิงปืนใส่ 3 นัด ล้มลงสิ้นลมหายใจในวัย 78 ปี

ค.ศ. 1952 โปรดิวเซอร์ Gabriel Pascal ทำข้อตกลงกับนายกรัฐมนตรีอินเดียขณะนั้น Jawaharlal Nehru เพื่อสรรค์สร้างภาพยนตร์อัตชีวประวัติมหาตมา คานธี แต่น่าเสียดายที่ Pascal พลันด่วนเสียชีวิตเมื่อปี 1954 ยังไม่ทันริเริ่มต้นทำอะไรทั้งนั้น

ต่อมาผู้กำกับ David Lean และโปรดิวเซอร์ Sam Spiegel หลังเสร็จจาก The Bridge on the River Kwai (1957) เกิดความสนใจในเรื่องราวของมหาตมา คานธี วางแผนต้องการสร้างเป็นผลงานเรื่องถัดไป คาดหวังให้ Alec Guinness รับบทแสดงนำ แต่สุดท้ายพวกเขาตัดสินใจเปลี่ยนไปทำ Lawrence of Arabia (1962)

ค.ศ. 1962 ผู้กำกับ Richard Attenborough มีโอกาสพบปะพูดคุย Motilai Kothari แนะนำให้รู้จักมหาตมา คานธี หลังจากมีโอกาสอ่านหนังสือชีวประวัติ(คานธี)ของ Louis Fischer เกิดความใคร่สนใจดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ แต่ก็คาดคิดว่าโปรเจคนี้คงต้องใช้เวลาเตรียมการยาวนานเกินกว่า 20 ปี เพราะคงไม่มีสตูดิโอไหนสนใจให้ทุนสร้างอย่างแน่นอน

ค.ศ. 1964 ก้าวแรกของผู้กำกับ Attenborough คือการได้พบเจอนายกรัฐมนตรี Jawaharlal Nehru, บุตรสาวของคานธี Indira Gandhi และ Lord Louis Mountbatten (ผู้ปกครองอินเดียคนสุดท้าย) ทุกคนพร้อมให้การส่งเสริมสนับสนุน แต่การเสียชีวิตของ Nehru ทำให้โปรเจคเกิดความล่าช้าไปอีกพอสมควร

ช่วงปลายทศวรรษ 60s ผู้กำกับ Lean ยังคงแสดงความสนใจสรรค์สร้างภาพยนตร์อัตชีวประวัติมหาตมา คานธี แต่คงประสบปัญหาเดียวกับ Attenborough ไม่มีสตูดิโอไหนสนใจให้ทุนสร้าง ไม่นานพี่แกก็เปลี่ยนความสนใจไปสรรค์สร้าง Ryan’s Daughter (1970) ประสบความล้มเหลวจนไปต่อแทบไม่ถูก

ค.ศ. 1976 ผู้กำกับ Attenborough สามารถต่อรองงบประมาณส่วนหนึ่งได้จากสตูดิโอ Warner Bros. ทำข้อตกลงโปรดิวเซอร์ Joseph E. Levine แลกเปลี่ยนกับการสร้างภาพยนตร์ A Bridge Too Far (1977), Magic (1978) และหุ้นส่วนจากละครเวที The Mousetrap

งบประมาณอีกส่วนหนึ่งขอได้จากรัฐบาลอินเดีย โดยนายกรัฐมนตรี(ขณะนั้น) Indira Gandhi ตัดงบจาก National Film Development Corporation of India เมื่อได้ทุนสร้างเพียงพอแล้ว Attenborough จึงจัดงานแถลงข่าว ณ กรุงเดลี มีผู้คนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากทีเดียว


Richard Samuel Attenborough, Baron Attenborough (1923 – 2014) ผู้กำกับ/นักแสดง สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Cambridge โตขึ้นเข้าเรียนการแสดงยัง Royal Academy of Dramatic Art ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อาสาสมัครทหารอากาศ เข้าร่วมสังกัด Royal Air Force Film Production Unit กลายเป็นนักแสดงภาพยนตร์ชวนเชื่อ อาทิ In Which We Serve (1942), Journey Together (1943) ปลดประจำการเริ่มต้นจากละครเวที ตามด้วยภาพยนตร์ อาทิ The Great Escape (1963), Séance on a Wet Afternoon (1964), Guns at Batasi (1964), The Sand Pebbles (1966), Jurassic Park (1993), กำกับเรื่องแรก The Angry Silence (1960), โด่งดังที่สุดกับ Gandhi (1982)

สำหรับบทภาพยนตร์ แรกเริ่มต้นพัฒนาโดย Robert Bolt (1924 – 1995) นักเขียนสัญชาติอังกฤษ ที่มีผลงานดัดแปลง Lawrence of Arabia (1962), Doctor Zhivago (1965), A Man for All Seasons (1966) แต่บทยังไม่เป็นที่พึงพอใจของโปรดิวเซอร์ ไม่ทันปรับปรุงแก้ไขล้มป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

ส้มหล่นตกใส่ Bank John Briley (1925 – 2019) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน ก่อนหน้านี้พัฒนาบท Pope Joan (1972) ซึ่งทีแรก Attenborough ได้รับมอบหมายกำกับแต่ถอนตัวออกไป ด้วยความประทับใจในบทดังกล่าวเลยติดต่อให้มาพัฒนาบทมหาตมา คานธี

ผมไปอ่านเจอบทสัมภาษณ์ของ Briley แสดงทัศนะต่อบทหนัง Gandhi ที่พัฒนามาก่อนหน้าฉบับของตนเอง (มีฉบับอื่นๆนอกจากของ Robert Bolt อีกนะครับ) ว่าทั้งหมดล้วนมาจากนักเขียนชาวอังกฤษ พวกเขาคงไม่เข้าใจสาเหตุผลว่าทำไมคานธี ถึงพยายามต่อต้านสหราชอาณาจักร แต่เพราะตัวเขาเป็นนักเขียนชาวอเมริกัน มันชัดเจนในมุมมองคนนอก ไม่มีใครอยากถูกปกครองภายใต้ชนชาติพันธุ์อื่น

“All the previous screenwriters had been English, and they had a very English point of view, namely, that Gandhi was this wise, profound, slightly unpleasant philosopher who didn’t appreciate all the British had done for India. Indeed, in the last screenplay, Gandhi’s off in the distance. The hero is an English schoolmaster in the Himalayas, and everybody’s wondering why Gandhi wants to get rid of the English. But I’m an American. It seemed clear to me that the story was about kicking the British out”.

John Briley

นำแสดงโดย Sir Ben Kingsley ชื่อเกิด Krishna Pandit Bhanji (เกิดปี 1943) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Snainton, North Riding of Yorkshire ปู่ทวดเป็นพ่อค้าเครื่องเทศเชื้อสาย Gujarati Indian บิดาเป็นหมอ ส่วนมารดาเป็นนักแสดง, โตขึ้นเข้าเรียนการแสดงยัง De La Salle College (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Ben Kingsley Theatre) ได้รับการค้นพบโดย Dick James ชักชวนมาเข้าร่วม Royal Shakespeare Company มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักแสดงละครเวที West End, ภาพยนตร์เรื่องแรกๆ Fear Is the Key (1972), โด่งดังกับ Gandhi (1982), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Schindler’s List (1993), Shutter Island (2010), Hugo (2011), Iron Man 3 (2013) ฯ

นักแสดงที่มีชื่อพัวพันกับบทบาทนี้ อาทิ Alec Guinness, Tom Courtenay, John Hurt, Dustin Hoffman แต่สุดท้ายบิดาของผู้กำกับ Michael Attenborough เป็นผู้แนะนำ Ben Kingsley ด้วยเหตุผลภาพลักษณ์ และต้นตระกูลมีเชื้อสายอินเดีย

Kingsley เตรียมตัวรับบทด้วยการศึกษาจากฟุตเทจ Newsreel, อ่านหนังสือชีวประวัติ, พูดคุยกับญาติพี่น้อง จากนั้นออกเดินทางไปปักหลักอาศัยอยู่อินเดีย รับประทานมังสวิรัติ ลดน้ำหนัก ฝึกโยคะ รวมไปถึงหัดปั่นด้าย เคยให้สัมภาษณ์ว่าเรียนทำเสื้อไม่ยากเท่าไหร่ แต่การต้องแบ่งสมาธิพูดพร้อมไปด้วยค่อนข้างท้าทายทีเดียว!

เฉกเช่นเดียวกับ Anthony Hopkins เกิดมาเพื่อรับบท Hannibal Lecter, Ben Kingsley ถือเป็นตัวตายตัวแทน ‘อวตาร’ ของมหาตมา คานธี ไม่เพียงภาพลักษณ์ที่สามารถทำให้ชาวอินเดียเข้าใจผิด ลีลาการแสดงยังมีความสงบงาม เชื่องช้าแต่มั่นคง ทุกย่างก้าวล้วนกอปรด้วยสติ สมาธิ ครุ่นคิดแก้ปัญหาด้วยปัญญา ยึดหลังอหิงสา โหยหาความเสมอภาคเทียม ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติศาสนา

เห็นว่าบทหนังของ John Briley จะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างคานธีกับ (ว่าที่นายกรัฐมนตรี) Jawaharlal Nehru มีบทบาทโดดเด่นพอๆกัน แต่การแสดงอันโคตรตราตรึงของ Kingsley กลบเกลือนความสำคัญตัวละครอื่นๆจนหมดสิ้น ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นสิ่งเหมาะสม เพราะ Charima ของมหาบุรุษผู้นี้ ยิ่งใหญ่เกินหาสิ่งอื่นใดมาเปรียบ


ถ่ายภาพโดย Billy Williams (เกิดปี 1929) ตากล้องสัญชาติอังกฤษ ผลงานเด่นๆ อาทิ Women in Love (1969), Gandhi (1982), On Golden Pond (1981) ฯ

หนังถ่ายทำด้วยฟีล์ม 35mm ระบบ Panavision (2.39:1) แล้วค่อยไปทำการขยายขนาด (Blow-Up) เป็นฟีล์ม 70mm ซึ่งเป็นค่านิยมการฉายหนังระดับมหากาพย์ (Epic) ของยุคสมัยนั้น ให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่ อลังการงานสร้าง

แทบทั้งหมดของหนังถ่ายทำยังสถานที่จริง Delhi, Gujarat, Bihar, Punjab, West Bengal เว้นแต่ฉากที่แอฟริกาใต้ยังถ่ายทำยัง Maharashtra, ใช้ระยะเวลาถ่ายทำ 6 เดือน พฤศจิกายน 1980 ถึง พฤษภาคม 1981

ฉากงานศพของมหาตมา คานธี ถ่ายทำวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1981 ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิต 33 ปี ซึ่งทีมงานประกาศรับสมัครตัวประกอบด้วยใบปลิว และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ได้ผู้เข้าร่วมกว่า 300,000 คน กลายเป็นสถิติโลก ‘ตัวประกอบมากสุดในฉากเดียว’ ที่ดูแล้วคงไม่มีเรื่องไหนมาทำลายได้ (เพราะยุคสมัยนี้ถ้าต้องการฝูงชนจำนวนมาก ทำด้วย CGI คงจะประหยัดงบประมาณกว่า)

การถ่ายทำใช้ทีมงาน 11 ชุด (ตัวประกอบสามแสนคนจะใส่ชุดขาว ส่วนทีมงานใส่เสื้อผ้ามีสีสัน) กล้อง 19 ตัว (ถ่ายจากหลายมุมมอง) ได้ฟุตเทจความยาวกว่า 20,000 ฟุต ตัดต่อเหลือเพียง 2 นาที 5 วินาที (125 วินาที)

แซว: ฝูงชนปริมาณมากขนาดนี้ไม่มีทางที่จะจ่ายค่าตัวได้หมด มีเพียง 94,560 คนเท่านั้นที่ได้ค่าตัว (จากการเซ็นสัญญาไว้ล่วงหน้า) ส่วนที่เหลือล้วนมาด้วยใจ อาสาสมัครแบบไม่ได้ค่าตัว

Gandhi (1982) เป็นภาพยนตร์ที่ผมถือว่าใช้ประโยชน์จากความยาวของภาพ (2.39:1) ได้ยอดเยี่ยมมากๆเรื่องหนึ่ง นอกจากทิวทัศน์พื้นหลังสวยๆ ยังพบเห็นการจัดวางตำแหน่ง องค์ประกอบภาพ แบ่งแยกฝักฝ่ายอย่างชัดเจน

ยกตัวอย่างช็อตนี้ การชุมนุมครั้งแรกของคานธี สังเกตว่าผู้คนต่างยืนจับกลุ่มพวกพ้องของตน ขณะที่ผู้หญิง/ภรรยาพบเห็นอยู่ไกลลิบๆ (ยุคสมัยนั้น สตรียังคงเป็นช้างเท้าหลัง ไร้ซึ่งสิทธิ์เสียง ต้องคอยเดินตามหลังบุรุษเท่านั้น)

ไม่ใช่แค่ Long Shot หรือ Extreme-Long Shot เท่านั้นที่โดดเด่น มุมกล้องระยะใกล้ Close-Up ก็พบเห็นบ่อยครั้งในหนัง โดยเฉพาะใบหน้าของคานธี ชายตัวเล็กๆที่คำพูด ความครุ่นคิดของเขา ยิ่งใหญ่เกินกว่าระบบ Panavision จะบีบให้เล็กลงได้ (แต่ยกเว้นกับการพูดครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ เพราะยังอ่อนวัย ขาดประสบการณ์ เลยไม่สามารถใส่พลังในการพูดโน้มน้าวผู้คนได้)

นี่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของ Daniel Day-Lewis บทบาทเล็กๆที่ก็พอใช้ได้เลยนะ

เป็นอีก Sequence ที่ใช้ประโยชน์จาก Panavision ได้ตราตรึงมากๆ แบ่งแยกภาพออกเป็นสองฝั่งฝ่าย

  • General Jan Smuts ได้รับการต้อนรับด้วยขบวนแถว เสียงเพลง เกียรติยศ
  • มหาตมา คานธี ล้อมรอบด้วยฝูงชน เป็นที่สนใจของนักข่าว กลายเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของคนในชาติ

มหาตมา คานธี ในมุมมองชาวอินเดีย อาจดูเหมือนเทพเจ้าจุติลงมาบนโลก คอยให้คำแนะนำด้วยสันติวิธี ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย แต่ฉากนี้ทำให้เขาดูเหมือนเป็นมนุษย์คนหนึ่ง แสดงพิธีแต่งงานพร้อมภรรยาให้เพื่อนนักข่าว (รับบทโดย Martin Sheen) ก่อนตบท้ายด้วยคำพูดอันน่าทึ่ง ‘ฉันแต่งงานเมื่อตอนอายุ 13 ปี’ จริงๆเหรอนี่!

การปั่นด้าย สวมใส่เสื้อผ้าท้องถิ่น เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของคานธี ไม่ต้องการถูกควบคุม ครอบงำ สวมใส่สิ่งที่จะทำให้ตนเองตกเป็นทาสวัตถุจากโลกตะวันตก ขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมวิถีพื้นบ้าน รู้จักพึ่งพาตนเอง เพียงพอใจในสิ่งที่มี ใช้ชีวิตด้วยสติ และยังเป็นการฝึกสมาธิ (การปั่นด้าย ต้องใช้สมาธิในการทำอย่างมากนะครับ)

ความขัดแย้งภายในระหว่างฮินดูกับมุสลิม เป็นสิ่งที่แม้แต่คานธีก็ไม่สามารถหาหนทางแก้ปัญหาได้ เขาจึงจำเป็นต้องเลือกฝั่งฝ่าย ตำแหน่งสุดท้ายของทุกคนในช็อตนี้ก็แบ่งแยกชัดเจนเลยว่า ใครอยู่ฝั่งไหน

ผมรู้สึกเสียดายเล็กๆที่หนังไม่ได้ขยี้ปัญหาขัดแย้งภายใน ให้มีความสมเหตุสมผลมากกว่านี้ (อาจเพราะผู้กำกับเชื่อว่า ผู้ชมน่าจะรับรู้ปัญหาดังกล่าวดีอยู่แล้ว เลยไม่จำเป็นต้องนำเสนออะไรลึกซึ้ง) โดยเฉพาะการเลือกข้างของคานธี เอาจริงๆนี่น่าจะเป็นการตัดสินใจผิดพลาดที่สุดในชีวิตก็ว่าได้

การเสียชีวิตของมหาตมา คานธี จริงๆแล้วเกิดขึ้นขณะกำลังสวดมนต์ แต่หนังนำเสนอฆาตกรบุกเข้ามายิงปืนแสกหน้า ขณะกำลังเดินและโอบกอดบุตรสาวสองคนเคียงข้าง

ผมมาครุ่นคิดถึงสาเหตุผลที่ทำไมผู้กำกับเลือกนำเสนอภาพ คานธีโอบลูกสาวทั้งสองคนในฉากนี้ ได้ข้อสรุปว่าพวกเธออาจเป็นสัญลักษณ์ความสมานฉันท์ระหว่างฮินดู-มุสลิม แม้ว่ามันไม่เป็นเช่นนั้น แต่ถือว่าสะท้อนอุดมการณ์ เพ้อฝัน สิ่งที่เขาต้องการให้เป็นในวาระสุดท้ายของชีวิต (อินเดียและปากีสถาน อยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติสุข)

ภาพสุดท้ายของหนัง สังเกตว่าจงใจไม่ถ่ายให้เห็นพระอาทิตย์ (ขณะที่ภาพแรกของหนัง นำเสนอดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนคล้อยตกดิน) นั่นอาจหมายถึงการลาลับไปแล้วของมหาตมา คานธี แต่สิ่งที่หลงเหลือคือแสงสว่าง/คุณความดีงามที่ยังสาดสะท้อนบนผิวน้ำ

ตัดต่อโดย John Bloom (เกิดปี 1935) สัญชาติอังกฤษ ผลงานเด่นๆ อาทิ The French Lieutenant’s Woman (1981), Gandhi (1982), A Chorus Line (1985), Notes on a Scandal (2006) ฯ

หนังเริ่มต้นจากการถูกลอบสังหารของมหาตมา คานธี จากนั้นเล่าย้อนอดีตผ่านเหตุการณ์สำคัญๆในชีวิต ประกอบด้วย

  • การเรียกร้องสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมในประเทศแอฟริกาใต้
  • เดินทางกลับอินเดีย ค่อยๆเรียนรู้ปัญหาการกดขี่ข่มเหงของชาวอังกฤษ
  • แคมเปญเรียกร้องอิสรภาพ อดอาหารประท้วง, เดินไปทำเกลือ, ขึ้นเรือสู่เกาะอังกฤษ
  • อินเดียได้รับอิสรภาพ แต่ก็มาพร้อมความขัแย้งแบ่งแยกประเทศ

หลายๆเหตุการณ์ในหนัง สังเกตว่าใช้การเล่าเรื่องด้วยคำพูดมากกว่านำเสนอภาพ หรืออาจจะนำเสนอแบบผ่านๆ ยกตัวอย่าง คานธีเดินทางสู่ประเทศอังกฤษ ใช้เทคนิคเล่าเรื่องด้วย Newsreel ฯ นี่อาจเพราะข้อจำกัดด้านงบประมาณ ไม่ก็ถูกตัดออกเพราะระยะเวลานำเสนอเยิ่นยาวนาน แต่ขณะเดียวกันมันคือความคิดสร้างสรรค์ของผู้กำกับ/นักตัดต่อ สร้างความแตกต่างในไดเรคชั่นนำเสนอ ทำให้ผู้ชมไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย มีอะไรใหม่ๆมานำเสนออยู่เรื่อยไป

อีกหนึ่งเทคนิคที่พบเห็นบ่อยคือการตัดสลับระหว่าง Action-Reaction ยกตัวอย่าง คานธีกำลังกล่าวสุนทรพจน์ จะมีการตัดสลับให้เห็นสีหน้า ปฏิกิริยาผู้ฟังอยู่บ่อยครั้ง, หรือฉากผู้ชุมนุมกำลังเผชิญหน้าทหารม้า ตัดสลับไปมาภาพทั้งสองฝั่ง สร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทึก และอารมณ์บางอย่างที่พ่วงมากับเหตุการณ์นั้น (อาทิ สงสารเห็นใจ, เศร้าสลด, เคียดแค้น ฯ)


เพลงประกอบโดย

  • George Fenton (The Blue Planet, The Wind That Shakes The Barley) สำหรับท่วงทำนองดนตรีคลาสสิก ทางฝั่งตะวันตก
  • Ravi Shankar (The Apu Trilogy) สำหรับดนตรีพื้นบ้านอินเดีย

น่าเสียดายสำหรับงานเพลง ใช้เพียงมอบสัมผัสบรรยากาศ ‘impression’ ให้กับหนังเท่านั้น กล่าวคือ ถ้าเรื่องราวดำเนินอยู่ในอินเดียก็มักใช้เพลงของ Shankar, หรือถ้าเกี่ยวกับชาวอังกฤษก็ใช้ทำนองคลาสสิกของ Fenton ซึ่งมีความขัดแย้ง ‘contrast’ กันพอสมควร แต่ก็ถือว่าสอดคล้องเข้ากับเนื้อหาหนัง (ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างชาวอินเดีย กับสหราชอาณาจักร)

ถึงจะบอกว่าน่าเสียดาย แต่งานเพลงของ Shankar ผมให้เต็มสิบเลยนะ กลิ่นอายอินเดียจัดเต็ม ครบเครื่องดนตรีพื้นบ้าน สนุกสนาน รุกเร้า งดงามตราตรึง … ไม่รู้เพราะเหตุผลนี้หรือเปล่าเลยได้เข้าชิง Oscar: Best Original Score แต่ก็ยังไม่ดีพอพ่ายให้กับ E.T.

บทเพลง Ending Credit ชื่อ For All Mankind ขับร้องโดย Vaishnava Janato & Raghupati Raghava Raja Ram

Oh Lord Rama, descendent of Raghu, Uplifter of the fallen.
You and your beloved consort Sita are to be worshipped.
All names of God refer to the same Supreme Being,
including Ishvara and the Muslim Allah.
Oh Lord, Please give peace and brotherhood to everyone,
as we are all your children.
We all request that this eternal wisdom of humankind prevail.

หลักอหิงสา ของมหาตมา คานธี ได้แรงบันดาลใจจากการศึกษาหลักคำสอนของหลากหลายศาสนา ครอบครัวนับถือฮินดู, ในอินเดียยังพบเห็นมุสลิม พราหมณ์ ซิกข์, เดินทางไปศึกษาต่อสหราชอาณาจักรพบเจอคริสเตียน ฯ พยายามค้นหาสัจธรรมที่เป็นจุดร่วมสากล และค้นพบหลักธรรมที่เหมือนๆกันว่า ‘การทำร้ายสิ่งอื่น ประหนึ่งทำร้ายตนเอง’ ตั้งแต่นั้นจึงพยายามไม่เบียดเบียน ละเว้นความรุนแรง ใช้กำลังทำร้ายไม่ใช่แค่เฉพาะกับมนุษย์ แต่ยังทุกสรรพสิ่งมีชีวิตร่วมโลกใบนี้

น่าเสียดายที่หลักอหิงสา ในระดับมหภาคแทบจะไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง ส่วนหนึ่งอาจเพราะขาดผู้นำดีแท้ๆอย่างมหาตมา คานธี เลยไม่สามารถโน้มน้าวชักจูงฝูงชนให้เห็นพ้องคล้อยตาม ด้วยเหตุนี้แนวความคิดดังกล่าวจึงแทบจะเรียกได้ว่า ‘อุดมคติ’ มันคงดีถ้าปัญหาขัดแย้ง สามารถแก้ไขได้โดยสันติวิธี

แต่ถึงจะเป็น ‘อุดมคติ’ เรายังสามารถนำหลายๆแนวคิดของหลักอหิงสา (ที่สอดคล้องกับพุทธศาสนา) มาปรับประยุกต์ใช้ระดับจุลภาค ในชีวิตประจำวันทั่วไป อาทิ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น(และสรรพสัตว์) ฝึกสมาธิให้มีสติ สงบจิตสงบใจ ลดละแก้ปัญหาด้วยกำลัง ความรุนแรง และรู้จักเพียงพอดีในความต้องการตนเอง

ความน่าสนใจในเรื่องราวชีวิตมหาตมา คานธี แม้ได้รับชัยชนะด้วยหลักอหิงสาต่อเภทภัยภายนอก (สหราชอาณาจักร) แต่ท้ายสุดกลับพ่ายแพ้ภัยตนเอง (ประเทศแตกแยก, ถูกลอบฆ่าจากบุคคลคลั่งศาสนา) ผมถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนความตกต่ำทางจิตใจของมนุษย์ชาติ ปฏิเสธความสงบสุข สันติภาพ ไม่ยินยอมรับความเสมอภาคเท่าเทียม ใครครุ่นคิดเห็นต่างคือศัตรูเท่านั้น และมีเพียงความรุนแรงเท่านั้นเป็นหนทางแก้ปัญหา

ลองเปรียบเทียบกับการเมืองไทย หลายต่อหลายครั้งมีความพยายามที่จะใช้หลักอหิงสา ในการประท้วง เรียกร้อง ทวงคืนประชาธิปไตย แต่น่าจะนับครั้งได้ (จริงๆผมรู้สึกว่ามันไม่มีเลยนะ!) ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา

หลังจากรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมไม่ครุ่นคิดว่าผู้กำกับ Richard Attenborough จะริหาญกล้าเปรียบเทียบตัวเองดั่งมหาตมา คานธี (แบบที่ผู้กำกับระดับ ‘ศิลปิน’ มักนิยมสรรค์สร้างงานศิลปะขั้นสูง) สรรค์สร้าง Gandhi (1982) คงด้วยจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่มหาบุรุษแห่งแดนภารตะ ให้เป็นที่รู้จักต่อชนชาวตะวันตก นำเสนอแนวความคิด ทัศนคติ วิธีการโลกตะลึง ไม่น่าเชื่อว่าครั้งหนึ่งมันจะเกิดเหตุการณ์คาดไม่ถึงเหล่านี้ขึ้นได้

ซึ่งการจะสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมรู้สึกว่า Attenborough มีความเคารพยกย่องคานธี ในระดับสูงสุด! ส่วนหนึ่งอาจเพราะเขาเป็นชาวอังกฤษ เคยอาสาสมัครรับใช้ชาติในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แรกเริ่มอาจไม่เข้าใจว่าทำไมชายคนนี้ถึงพยายามต่อต้านสหราชอาณาจักร แต่กาลเวลาทำให้ค่อยๆเรียนรู้จักความสำคัญของสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาพเท่าเทียม ซึ่งหลักอหิงสาของคานธี เป็นสิ่งน่าทึ่ง ตกตะลึง คิดได้ไง อุดมคติที่ควรเผยแพร่ มหาบุรุษต้องได้รับการยกย่อง วาดฝันให้ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้ทั่วโลกโหยหาสันติภาพ วิถีชีวิตแบบเพียงพอดี สุขสงบภายในจิตใจ แก้ไขปัญหายุคสมัยนั้น (ทศวรรษ 80s) ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง คอรัปชั่น จิตใจตกต่ำ สังคมเสื่อมทราม นั่นอาจเป็นหนทางออกของอนาคตอันมืดหมองมัว


หนังฉายรอบปฐมทัศน์ที่กรุงเดลี วันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 และสองวันถัดมา Royal Premiere ที่ Odeon Leicester Square, กรุง London โดยมี Prince Charles และ Princess Diana เข้าร่วมงาน

ด้วยทุนสร้าง $22 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา $52.7 ล้านเหรียญ รวมรายรับทั่วโลก $127.8 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จไม่น้อยทีเดียว

ขณะที่ในอินเดีย ประเมินกันว่าสามารถทำเงินสูงกว่า ₹100 Crore (มากกว่า 1 พันล้านรูปี) กลายเป็นภาพยนตร์ต่างชาติทำเงินสูงสุด(ในอินเดีย)ขณะนั้น (และอาจจนถึงปัจจุบัน) เทียบค่าเงินเมื่อปี 2015 เท่ากับ $14.9 ล้านเหรียญ

เข้าชิง Oscar 11 สาขา คว้ามา 8 รางวัล ประกอบด้วย

  • Best Film
  • Best Director
  • Best Actor (Ben Kingsley)
  • Best Original Screenplay
  • Best Cinematography
  • Best Editing
  • Best Art Direction
  • Best Makeup พ่ายให้กับ Quest for Fire
  • Best Costume Design
  • Best Sound Mixing พ่ายให้กับ E.T. the Extra-Terrestrial
  • Best Original Score พ่ายให้กับ E.T. the Extra-Terrestrial

รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของ Gandhi (1982) สร้างความประหลาดใจให้ผู้ชม/นักวิจารณ์เป็นอย่างมาก ถึงคุณภาพจะยอดเยี่ยมสมราคา(ตามยุคสมัยนั้น) แต่ตัวเต็งหนึ่งคือ E.T. the Extra-Terrestrial ของผู้กำกับ Steven Spielberg กลับพลาดโอกาสครั้งสำคัญนี้ไป แถมเมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน ผู้คนยกย่องจดจำ E.T. มากยิ่งกว่า Gandhi เสียอีก!

ส่วนตัวมีความชื่นชอบหนังพอสมควร ประทับใจงานภาพสวยๆ หลากหลายไดเรคชั่นดำเนินเรื่องน่าสนใจ โดยเฉพาะการแสดงราวกับกลับชาติมาเกิดของ Ben Kingsley เกือบๆสมราคา 8 รางวัล Oscar (ถ้าไม่มี E.T. ให้เปรียบเทียบ)

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แนะนำให้ลองศึกษาทำความเข้าใจหลักอหิงสา ของมหาตมา คานธี นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วคุณอาจค้นพบความสุขสงบภายในจิตใจ

จัดเรต PG กับความรุนแรงเล็กๆน้อยๆ ที่พอพบเห็นบ้างประปราย

คำโปรย | Gandhi เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติที่ทรงคุณค่าในด้านประวัติศาสตร์ และการเรียนรู้หลักอหิงสา
คุณภาพ | คุค่
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Birdman (2014)


Birdman

Birdman (2014) hollywood : Alejandro González Iñárritu ♥♥♥♥

อีโก้ที่อยู่ภายในความหมกมุ่นครุ่นคิดของ Alejandro González Iñárritu สงบลงได้เพราะการนั่งสมาธิทุกตื่นเช้า รังสรรค์สร้าง Birdman เพื่อปลดปล่อยมันให้ได้รับอิสรภาพล่องลอยโผบินบ้าง ไม่เช่นนั้นคงอึดอัดแน่นคลุ้มคลั่ง จนค่อยๆสูญเสียสติควบคุมตนเองไม่ได้แน่

เสียงในหัวของผู้กำกับ Iñárritu ให้สัมภาษณ์เล่าว่าก็มีลักษณะคล้ายๆ Birdman ชอบทำตัวขี้สงสัย ประชดประชัน มักมากไม่รู้จักพอ โหยหาความสมบูรณ์แบบในทุกๆรอบด้าน นี่ถ้าไม่เพราะเขามีโอกาสเรียนรู้จักฝึกหัดนั่งสมาธิ ชีวิตคงไม่สามารถเอาตัวรอดมาถึงปัจจุบันได้แน่!

“My personal creative process is full of doubt, all the time, so there are a lot of them. To question your own process is a necessity. If you don’t question yourself, it’s impossible to improve. It’s a torturous process for me, and this voice that I have in my head is a fucking dictator, a horrible tyrant. I call it The Inquisitor. No matter how well you present the idea, that voice makes you feel like you will go to hell.

I have been meditating for the last five years. That has helped me to identify this voice that really tortured me all my life. Now that I have identified it, I find it is incredibly interesting. That in a way, is the seed of what this film is about. Everybody has their own version of The Inquisitor”.

– Alejandro González Iñárritu

คงเป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงชั่วกัปชั่วกัลป์ ระหว่าง Birdman กับ Boyhood สองโคตรภาพยนตร์แห่งปี ค.ศ. 2014 เรื่องไหนสมควรคว้ารางวัล Oscar มากกว่ากัน … ในเมื่อหวยมันออก Birdman ไม่ได้ประกาศผิดแบบ La La Land เลือกตั้งแพ้ก็ยอมรับโชคชะตา ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงกันได้เสียที่ไหน

ถึงตอนนั้นผมถือหาง Boyhood แต่หลังจากรับชม Birdman ก็ไม่เกิดอคติถ้าเรื่องนี้จะคว้า Oscar: Best Picture ถือว่ามีความเหมาะสมควรห่ำหั่นกันไม่ลงจริงๆ ถึงกระนั้นกองเชียร์เสื้อเหลืองย่อมไม่ยินยอมแน่ถ้าฝ่ายแดงชนะ ประชาธิปไตยปฏิเสธเผด็จการ … ไปนั่งสมาธิเสียเถอะนะ อีโก้ที่อยู่ภายในความหมกมุ่นครุ่นคิด จิตจักได้สงบสติอารมณ์ลงบ้าง


Alejandro González Iñárritu (เกิดปี 1963) ชื่อเล่น Negro ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Mexican เกิดที่ Mexico City คนสุดท้องจากพี่น้อง 7 คน เมื่ออายุ 16 ปี ทำงานในเรือขนส่งสินค้าข้ามมหาสมุทร Atalantic จึงมีโอกาสเปิดโลกกว้าง ท่องเที่ยวยุโรป แอฟริกา (ทริปแรกคือ Barcelona) สองปีถัดมาเรียนต่อสาขาสื่อสาร Universidad Iberoamericana, จบแล้วได้เป็นนักจัดรายการวิทยุ สถานี WFM ต่อมากลายเป็นโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ โฆษณา สร้างหนังสั้น ซีรีย์โทรทัศน์ และภาพยนตร์เรื่องแรก Amores perros (2000)

Iñárritu น่าจะเริ่มฝึกสมาธิประมาณปี 2009-10 ช่วงระหว่างกำลังสร้าง Biutiful (2010) หลังจากเริ่มแยกแยะ Alter-Ego อีกเสียงที่ดังขึ้นภายในความครุ่นคิดของตนเอง เกิดความลุ่มหลงใหลในสิ่งนามธรรมดังกล่าว เลยต้องการดึงออกมาสร้างเป็นตัวตนจับต้องได้

“the first image I described was the one you saw, a guy levitating and meditating. From there, you cannot go back. That image was the seed and the fun part, our attitude was reflected in that first shot”.

– Alejandro González Iñárritu

นำแนวคิดดังกล่าวไปพูดคุยกับ Armando Bó และ Nicolás Giacobone สองนักเขียนชาวอาร์เจนไตน์ ที่เพิ่งร่วมงานกันเรื่อง Biutiful (2010) แสดงความต้องการให้พื้นหลังเกี่ยวกับละครเวที และทั้งหมดนำเสนอต่อเนื่องเพียง Long Take ช็อตเดียว

“The first phone call from Alejandro was just the strangest thing ever. ‘I want to do a film about the theater, in one shot’.”

– Nicolás Giacobone

เพราะความที่ Bó และ Giacobone ไม่ได้มีประสบการณ์ด้านละครเวทีสักเท่าไหร่ Iñárritu เลยดึงตัวอีกนักเขียน Alexander Dinelaris Jr. สัญชาติอเมริกา ที่มีเพิ่งมีผลงาน Broadway โคตรฮิตเรื่อง The Bodyguard The Musical (2012)

สำหรับบทละครเวทีที่เลือกนำมาเป็นการแสดงพื้นหลัง คือ What We Talk About When We Talk About Love (1981) รวมเรื่องสั้นของนักเขียนสัญชาติอเมริกัน Raymond Carver (1938 – 1988) ก่อนหน้านี้มีผลงานที่ได้รับดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ คือ Short Cuts (1993) โดยผู้กำกับ Robert Altman

แซว: ว่ากันว่า Altman ใช้เวลาตื้อภรรยาหม้ายของ Carver ถึงสองปีเต็มกว่าจะได้ลิขสิทธิ์ดัดแปลง แต่ในกรณีของ Iñárritu แนบบทหนังไปด้วยแล้วได้จดหมายตอบกลับชื่นชอบ และหลังจากมีโอกาสรับชมหนังบอกว่า ‘Carver คงหัวเราะหนักมากแน่’

Riggan Thomson (รับบทโดย Michael Keaton) นักแสดง Hollywood ชื่อดังจากบทบาทซุปเปอร์ฮีโร่ Birdman เมื่อทศวรรษ 90s ปัจจุบันต้องการผันตัวมากำกับ/แสดงนำละครเวที Broadway ด้วยการดัดแปลงเรื่องสั้น What We Talk About When We Talk About Love ของ Raymond Carver กำลังจะเปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ในอีก 2 วันข้างหน้า

เรื่องวุ่นๆเกิดขึ้นเมื่อนักแสดงสมทบเล่นได้ไม่น่าพึงพอใจเท่าไหร่ เป็นเหตุให้ต้องหาใครอื่นมาแทน ส้มหล่นใส่ Mike Shiner (รับบทโดย Edward Norton) ผู้คลั่งไคล้ Method Acting ต้องการทำทุกสิ่งอย่างให้ออกมาสมจริงจัง ดื่มเหล้ายังต้องมึนเมามาย ทั้งยังขอร่วมรักแฟนสาวต่อหน้าคนดู ฯ นั่นสร้างความคลุ้มคลั่งให้ Riggan ในรอบพรีวิวไม่น้อยทีเดียว


นำแสดงโดย Michael Keaton ชื่อจริง Michael John Douglas (เกิดปี 1951) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Coraopolis, Pennsylvania ลูกคนเล็กจากพี่น้องเจ็ดคน โตขึ้นเข้าเรียนสาขาการพูดยัง Kent State University แต่ก็ทนอยู่สองปีลาออกมาสานฝันเป็นนักแสดงละครเวที ตามด้วยแสดงรายการโทรทัศน์ ซิทคอม คอมเมอเดี้ยน Night Shift (1982), Beetlejuice (1988), กลายเป็นตำนานกับ Batman (1989) และ Batman Returns (1992) ฯ

รับบท Riggan Thomson นักแสดง Hollywood เคยประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงโด่งดังจากบทบาท Birdman จนติดตามมาหลอกหลอนกลายเป็น Alter-Ego ส่งเสียงพูดประชดประชันกึกก้องในความครุ่นคิด เสมือนว่ามีพลังจิตสามารถขยับเคลื่อนไหวสิ่งข้าวของ รวมถึงล่องลอยโผลบินบนฟากฟ้า, ปัจจุบันเพ้อวาดฝันความสำเร็จจากการแสดง Broadway แต่ก็มีเรื่องว้าวุ่นวายมากมายก่อนรอบปฐมทัศน์ ทำให้จิตใจไม่สามารถอยู่สงบสุข เลยกระทำบางสิ่งอย่างที่จะทำให้ตนเองกลายเป็นตำนานไม่รู้ลืม

Keaton เป็นแฟนผู้กำกับ Iñárritu ตั้งแต่ Amores perros (2000) เมื่อได้ยินว่าต้องการร่วมงานเลยรอคอยใจจดใจจ่อ อ่านบทดื่มไวน์พูดคุยกันตอนมื้อเย็น สอบถามแบบจริงจัง

“Are you making fun of me with this?”

– Michael Keaton

ผู้ชมส่วนใหญ่คงติดภาพ Keaton จากบทบาท Batman แต่เหตุผลของ Iñárritu เพราะความสามารถที่เล่นได้ทั้งดราม่า คอมเมอดี้ มีทั้งมุมสว่างและโคตรมืดมิด แถมพลิกกลับไปกลับมา แบกหนังทั้งเรื่องได้อย่างสบายๆ

“this movie was the most challenging I has ever done”.

ฉากตราตรึงสุดของ Keaton แน่นอนว่าคือความกล้าบ้า กางเกงในตัวเดียวเดินท่ามกลาง Times Square ถ้าเป็นคนอื่นคงเหี่ยวห่อไหล่ ปิดหน้าปิดตา ยอมแพ้ไปนานแล้ว แต่ท่วงท่าทางพี่แกอย่างกร่าง เร่งรีบแบบมีสไตล์ ทั้งกลัวทั้งยอมแพ้ไม่ได้ แก้ผ้าหน้ารอดเฉพาะหน้าได้สุดตรีนจริงๆ


Edward Harrison Norton (เกิดปี 1969) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Boston, Massachusetts เมื่อตอนอายุ 5 ขวบ ได้รับชมละครเพลง Cinderella เกิดความลุ่มหลงในในการแสดง อายุ 8 ขวบ มีโอกาสแสดงละครเพลง Annie Get Your Gun โตขึ้นเข้าเรียนวิจิตรศิลป์ Yale University, เริ่มจากเป็นนักแสดงละครเวที ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด Primal Fear (1996), โด่งดังกับ American History X (1998), Fight Club (1999), The Incredible Hulk (2008), Moonrise Kingdom (2012), The Grand Budapest Hotel (2014) ฯ

รับบท Mike Shiner นักแสดงยอดฝีมือผู้มีความหมกมุ่นใน Method Acting ต้องการทำทุกสิ่งให้ดูหนักแน่น สมจริงจัง เกรี้ยวกราดโกรธเกลียดเมื่อใครพยายามหักห้ามกีดกัน ต้องให้ได้ดั่งอุดมการณ์เป้าหมายตามใจเท่านั้น อย่างอื่นช่างหัวมันฉันไม่แคร์

นักแสดงคนแรกที่เล็งไว้คือ Josh Brolin แต่เหมือนติดโปรเจคเรื่องอื่นอยู่, เห็นว่าหลังจากอ่านบท Norton พยายามโน้มน้าว Iñárritu ให้เลือกตนเอง แถมชอบทำแบบตัวละครที่พยายามชี้แนะนำ ปรับเปลี่ยนแปลงโน่นนี่นั่นตามใจ ไม่ผิดเลยกับบทบาทนี้!

ความหมกมุ่นใน Method Acting ของตัวละคร ส่วนตัวแอบรู้สึก Stereotype อยู่เล็กๆ แต่ความยียวนกวนประสาทของ Norton สร้างสรรค์ความเฉพาะตัว กล้าบ้าหน้าไม่อาย รูปร่างผอมเพียวแต่เปรี้ยวจัดจ้านได้ใจ ใครต่อยมาก็พร้อมสู้กลับ สุดเหวี่ยงอย่างเต็มศักยภาพสามารถ

“I had as much fun making Birdman as I’ve ever had making a movie. I think it was one of the most creatively satisfying experiences I’ve had — and I think it’s an incredibly audacious and very rare movie”.

– Edward Norton


Emily Jean ‘Emma’ Stone (เกิดปี 1988) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Scottsdale, Arizona ขึ้นเวทีการแสดงตั้งแต่อายุ 4 ขวบ วาดฝันเป็นตลก ตามด้วยนักร้อง โตขึ้นสมัครงานทดสอบหน้ากล้องมากมาย ได้รับเลือกแสดงซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์ Superbad (2007), เริ่มมีชื่อจาก Ghosts of Girlfriend Past (2009), ตามด้วย Zombieland (2009), Easy A (2010), The Help (2011), The Amazing Spider-Man (2012-14), Birdman (2015), คว้า Oscar: Best Actress เรื่อง La La Land (2017)

รับบท Sam Thomson ลูกสาววัยรุ่นของ Riggan เป็นเด็กหัวขบถดื้อรั้น เคยติดยาเข้าสถานบำบัด คงเพราะพยายามเรียกร้องความสนใจต่อพ่อที่ไม่เคยสนหัว แม้ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยใกล้ชิดแต่เธอพยายามหลบซ่อนเร้น แสร้งทำเป็นไม่มีตัวตน จนกระทั่งได้รับการค้นพบโดย Mike Shiner ไม่รู้เป็นคนแรกเลยหรือเปล่าเปิดอกยินยอมรับตัวตน ด้วยเหตุนี้เลยลงเอยด้วยการ…

ผมละอยากรู้มากๆว่านั่นคอนแทคเลนส์หรือดวงตาจริงๆของ Stone มันช่างดูใหญ่โต ผิดปกติ แถมทาขอบดำขลับ (เหมือนคนขี้ยา) สะท้อนพฤติกรรมตัวละครที่เต็มไปด้วยความก้าวร้าว หัวขบถ ขัดแย้งภายใน โหยหาการยินยอมรับ ใครก็ได้ที่สามารถเติมช่องว่างขาดหาย

ภาพลักษณ์อย่าง Stone คงจะให้แสดงเป็นกุลสตรีเรียบร้อยแบบผ้าพับไว้คงไม่ได้อยู่แล้ว แต่ความโดดเด่นของเรื่องนี้จนได้เข้าชิง Oscar นั่นเพราะเธอราวกับ ‘Stone’ (มึนเมาจากการพี้ยา) จริงๆ

เกร็ด: Stone ปลีกเวลามาถ่ายทำหนังเรื่องนี้ ระหว่างพักกอง The Amazing Spider-Man 2 (2014) ซึ่งเธอมีเพ้นท์รอยสักรูปนกตรงแขน สะท้อนความโหยหาอิสรภาพในชีวิตของตัวละคร


ถ่ายภาพโดย Emmanuel Lubezki หรือ Chivo ตากล้องยอดฝีมือสัญชาติ Mexican เพื่อนสนิทร่วมรุ่นเดียวกับ Cuarón เจ้าของสามรางวัลติด Oscar: Best Cinematography ประกอบด้วย Gravity (2013), Birdman or (The Unexpected Virtue of Ignorance) (2014), The Revenant (2015)

โดยปกติแล้วขาประจำของ Iñárritu คือ Rodrigo Prieto แต่ด้วยไดเรคชั่นหนังที่เปลี่ยนไป มีตากล้องเพียงคนเดียวเท่านั้นมากประสบการณ์ถ่ายทำแบบ Long Take คือ Lubezki เลยลองนำบทไปให้อ่านแล้วบ่นอุบ

“[Birdman] had all of the elements of a movie that I did not want to do at all”.

– Emmanuel Lubezki

แต่หลังจากพูดคุย เกลี้ยกล่อม ก็ยินยอมตอบตกลงรับความท้าทาย เริ่มต้นด้วยการเช่าโรงถ่ายว่างๆที่ Sony Studio ทดลองค้นหาวิธีการนำเสนอ ใช้เพื่อนๆ/หุ่นแทนตัวละคร เดินกี่ก้าว กล้องเคลื่อนยังไง จัดแสงตรงไหน เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ทั้งหมดในการถ่ายทำ

สถานที่ถ่ายทำจริงๆคือ St. James Theatre และ Kaufman Astoria Studios ซึ่งขณะนั้นกำลังปิดปรับปรุงชั่วคราว เลยสามารถทำโน่นนี่นั่นได้มากมาย ถึงกระนั้นถ่ายทำจริงทุกสิ่งอย่างต้องเป็นไปตามแผนเปะๆ ไร้ซึ่งช่องว่างสำหรับการ Improvised แม้แต่น้อย

“There was no room to improvise at all. Every movement, every line, every door opening, absolutely everything was rehearsed”.

– Alejandro González Iñárritu

แม้ทั้งเรื่องจะคือ Long Take แต่ในความเป็นจริง การถ่ายทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆนั้นเป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้สองนักตัดต่อขาประจำ Douglas Crise และ Stephen Mirrione จึงเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันตั้งแต่กระบวนการซักซ้อม/ถ่ายทำจริง เพื่อดูว่าช็อตไหน ตำแหน่งใด สามารถตัดจบฉาก ให้เกิดความแนบเนียนสังเกตไม่ออก

ความยาวโดยเฉลี่ยของแต่ละเทคคือ 5-10 นาที ยาวนานสุดประมาณ 14 นาที ใช้เวลาถ่ายทำ 2 เดือน (ตัดต่อ 2 สัปดาห์) เพื่อให้ได้ออกมาสมบูรณ์แบบสุดเห็นว่าบางฉากต้องแสดงซ้ำๆ 20-30 เทค ซึ่งคนผิดพลาดบ่อยสุดคือ Emma Stone และน้อยครั้งสุด Edward Norton

เรื่องราวดำเนินไปในระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ซึ่งหนังความยาวแค่ 119 นาที จึงมีหลายครั้งที่เป็น Time Skip แบบเนียนๆ และสองครั้งกับใช้เทคนิค Time Lapse ด้วยการให้กล้องจับจ้องมองท้องฟ้า กลางวัน-กลางคืน ความมืดมิด-แสงอาทิตย์เคลื่อนพานผ่าน พอถึงช่วงเวลาก็หวนกลับมาดำเนินเรื่องต่อ

Title ของหนัง ขึ้นข้อความยาวๆไล่เลียงตามตัวอักษร นี่เป็นการเคารพคารวะภาพยนตร์ของ Jean-Luc Godard ถึงสองเรื่องคือ Pierrot le Fou (1965) และ Made in U.S.A (1966) ซึ่งข้อความนี้เห็นว่าแกะสลักบนหลุมฝังศพของ Raymond Carver (ผู้เขียนบทละคร What We Talk About When We Talk About Love)

ช็อตแรกการลอยตัวของ Riggan Thomson ผู้ชมสามารถมองได้ว่า ตัวละครฝึกสมาธิ/พลังจิตจนสำเร็จลอยได้จริงๆ หรือทั้งหมดเป็นจินตนาการที่เขาเพ้อฝันขึ้นมาด้วยตนเอง นี่รวมถึงการมีตัวตนของ Birdman ทั้งหมดเลยนะ!

การที่หนังถ่ายทำในลักษณะ Long Take เท่าที่ผมอ่านบทสัมภาษณ์ คำอธิบายของ Edward Norton ดูจะเข้าใจง่ายสุดแล้ว

“Alejandro [Iñárritu] has conceived it as kind of a waking dream, like a seamless floating shot. The entire film moves along without any apparent break or edit throughout virtually the entirety of the film. It’s not like one of those films where there’s a bravura seven-minute shot within the middle of the film that’s a set piece. The entire film presents itself as a single, unbroken seamless movement of the camera.

The amazing thing about Alejandro, I think, is he said right away, ‘Look, there’s a reason for doing this, which is I’m telling a story about a person in a spiritual crisis who might actually be losing his mind. He might actually be going crazy, we’re not sure. And I don’t ever want to leave the bubble of his anxiety: I want the audience with him inside the bubble of his mounting panic’.”

– Edward Norton

การมาถึงของ Mike Shiner ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว เขายืนอยู่ข้างๆหลอดไฟดวงนี้ กล้องและ Riggan เดินตรงรี่เข้ามาหา ทันใดที่แสงไฟสาดส่องมาตรงหน้า Shiner กลับเดินหลบหันหลังให้ เงามืดอาบฉาบใบหน้าเขา … นี่เป็นการสะท้อนตัวตน/ธาตุแท้ของเขา ยินยอมรับบทนี้เพื่อหวังผลบางสิ่งอย่าง ค่าตัวสูงลิบลิ่ว แย่งซีนความโดดเด่น และถ้าเป็นไปได้ก็ขโมยโชว์เป็นของตนเองไปเลย

เมื่อพูดถึงแสงสีสัน จะพบความหลากหลาย แดง น้ำเงิน เขียว ฯลฯ ซึ่งล้วนแฝงนัยยะบางอย่าง … ช็อตนี้สีแดง มอบสัมผัสภยันตราย เรื่องเลวร้าย ซึ่งสิ่งที่ตัวละครพูดบอกกับ Riggan ก็คือ …

ช็อตนี้ไม่มีอะไรนะครับ แค่ปรับโฟกัสระยะใกล้-ไกล ให้เห็นว่าใครที่นั่งอยู่ริมสุดบาร์ แต่ที่อยากพูดถึงคือในมุมนักวิจารณ์ (เพราะผมเองก็ถือว่าเป็นนักวิจารณ์) พวกเราก็แค่คนอยู่เบื้องหลังไกลๆแบบนี้ ไม่ใช่แนวหน้าที่จะหากินกับผู้ชม แต่คือผู้สนับสนุนหรือถีบส่ง เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม แบ่งพรรคพวก ให้คำชี้แนะนำ ประเมินคุณค่าผลงาน ยังไงก็เป็นอาชีพขาดไม่ได้ในทุกวงการ เพื่อกระตุ้นวิวัฒนการของศิลปะให้ก้าวไปข้างหน้า ไม่ใช่ย่ำอยู่กับที่เพราะศิลปินครุ่นคิดว่า ฉันยอดเยี่ยมสุดแล้ว! (หรือหลงตนเอง?)

แซว: ชื่อ Tabitha Dickinson เห็นสิ่งที่ผมพยายามเน้นไหมเอ่ย

การพบเจอระหว่าง Mike Shiner และ Sam Thomson สองครั้งคราบนดาดฟ้า (กลางคืน-กลางวัน) ทั้งคู่ต่างคือขั้วตรงข้ามที่สามารถเติมเต็ม เข้าใจกันและกัน และมีความ ‘High’ ของใครของมัน (Sam เสพยาจนสูง, Mike สมจริงจังกับ Method Acting)
– Mike พยายามทำตัวให้โดดเด่นเข้าไว้
– Sam พยายามหลบซ่อนตัวราวกับไม่มีตัวตน

ด้วยเหตุนี้มันเลยไม่แปลกอะไรถ้าพวกเขา Truth of Dare ยินยอมรับคำท้าเมื่อไหร่ก็ถาโถมเข้าใส่หลังฉาก สะท้อนเข้ากับเรื่องราวในการแสดง Broadway (ที่ภรรยาของ Riggan เป็นชู้กับตัวละครของ Mike)

ว่าไปพบเห็นป้ายโฆษณา A Phantom of Opera เรื่องราวของนักแสดงโอเปร่าชื่อดังก้องโลก หลบซ่อนตัวอยู่ใต้หน้ากาก เรื่องราวของ Birdman/Batman แทบจะไม่แตกต่างกัน

แซว: วันที่ถ่ายทำฉากบนดาดฟ้านี้ โรงละครแถวๆนั้นกำลังมีรอบปฐมทัศน์ Lucky Guy นำแสดงโดย Tom Hanks ซึ่ง Norton ก็ได้ส่งข้อความหา แล้วพี่แกก็เงยหน้าขึ้นมาตะโกนโหวกแหวก

“What is going on? Is the girl from Spider-Man going to jump? Don’t jump, Emma!”

– Tom Hank

เนื่องจากหนังไม่ได้มีเงินทุนมากมายสำหรับว่าจ้างตัวประกอบและปิดถนน ด้วยเหตุนี้ฉากยัง Times Square จึงใช้ฝูงชนจริงๆที่เดินทางมารับชมละครเวที Broadway ยามสองทุ่มตรง (ถ้าก่อนหน้านี้คนจะเยอะเกิน หลังจากนี้ก็น้อยเกิน ต้องเวลาประมาณนี้กำลังดี) แต่การจะเรียกรวมพลนั้นเป็นไปไม่ได้ ซึ่งผู้กำกับ Iñárritu วันหนึ่งได้เห็นขบวนพาเรด เสียงดนตรีตีกลองดังสนั่นหวั่นไหว สามารถเรียกความสนใจผู้คนได้ล้นหลาม ก็เลยใช้วิธีเดียวกันนี้ แล้วก็แบกกล้องถ่ายทำกันไป แค่เพียง 2 เทคเท่านั้นก็สำเร็จเสร็จสิ้น!

ความน่าอับอายที่เกิดนี้กับ Riggan สะท้อนตัวตน/จิตวิญญาณของนักแสดง ทุกวันที่ขึ้นเวทีแสดงหนัง/ละคร ล้วนขายความเปลือยเปล่า/ตัวตนเองเพื่อให้ผู้ชมเกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เสียงหัวเราะ ทุกห้วงอารมณ์

การเปรียบเทียมยอดฮิตของ Birdman คือ Alter-Ego ของ Riggan Thomson ซึ่งเป็นทั้งความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิต และตราบาป/Trauma อยากหลงลืมทอดทิ้ง แต่มันกลับติดตัวเขาไปจนวันตาย

ช่วงเวลาที่จิตใจของ Riggan ตกอยู่ในสภาพหดหู่ อ่อนล้า ตื่นเช้าขึ้นมาเมาค้าง เหตุนี้จึงราวกับ Birdman ได้เข้าสิงสู่แปรสภาพกลายเป็น ด้วยเหตุนี้จึงปรากฎภาพเหมือนล่องลอย โบยบิน ไปรอบๆ ก่อนสุดท้ายเดินเข้าโรงละคร … คนขับแท็กซี่เดินเข้าไปทวงเงิน

แซว: Michael Keaton เห็นว่าเคยประสบเหตุการณ์ดังกล่าวเข้ากับตนเอง แบบนี้เปะๆคือลืมจ่ายค่าแท็กซี่ เปิดประตูตรงรี่เข้าไปในโรงละคร และโดนทวงถามค่ารถ อับอายขายหน้าเพื่อนร่วมงานไปเป็นวันๆ

จะว่าไปหนังมีการใช้ CGI เข้าช่วยเยอะทีเดียวนะ ไม่ใช่แค่ฉากนี้ที่สร้างนกเหล็กถล่ม Broadway แต่ยังฉากภาพสะท้อนในกระจก  ลบเชือก ลบกล้อง ลบทีมงานเบื้องหลัง ฯลฯ

ว่ากันว่า Martin Scorsese เป็นหนึ่งในฝูงผู้ชม … แต่ผมหาไม่เจอ!

ฉากนี้ให้สังเกตดีๆ ขณะที่ทุกคนลุกยืนขึ้นปรบมือ เจ๊ Tabitha Dickinson จะนั่งอยู่กับที่ แล้วอยู่ดีๆเธอก็ลุกขึ้นเดินออกจากโรงละครโดยพลัน … ช่างเป็นวิธีเรียกร้องความสนใจที่เด่นชัดเจนมากๆ

ผมไม่ค่อยแน่ใจการเลือกแสงสีน้ำเงินอาบฉาบบรรดาผู้ชมในโรงละคร ว่าต้องการสื่อถึงอะไรกันแน่? แต่ความเกือบตายของ Riggan คงมอบสัมผัสเย็นยะเยือกไปถึงขั้วหัวใจของผู้ชมเลยทีเดียว

เกร็ด: หลายๆฉากของหนังในรอบพรีวิว เห็นว่าไม่ได้ใช้มนุษย์จริงๆเข้าฉากเหมือนช็อตนี้นะครับ ผมเห็นรูปคือหุ่นหน้าคน ไม่สิ้นเปลืองสักเท่าไหร่

ขณะที่ 99% ของหนังคือโคตร Long Take แต่จะมีชั่วขณะหนึ่งช่วงต้นและท้าย ร้อยเรียงภาพชุดสโลโมชั่น หนึ่งในนั้นคือช็อตนี้แมงกะพรุน!

ประมาณกึ่งกลางหนัง Riggan เล่าเรื่องราวบางอย่างให้อดีตภรรยารับฟัง เกี่ยวกับรอยไหม้ผิวหนัง แท้จริงแล้วเกิดจากความต้องการฆ่าตัวตายหลังจากโดนภรรยาจับได้ว่านอกใจ แต่แมงกระพรุนดันช่วยชีวิตไว้! … ภาพช็อตนี้เลยประมาณว่า สาเหตุที่เขายังไม่เสียชีวิตจากปืนลั่น ก็เพราะภาพแมงกระพรุนช่วยชีวิตไว้นี่แหละ –”

แซว: จมูกใหม่ของ Riggan ใช้ CGI สร้างขึ้นนะครับ, สังเกตผ้าพันแผลดูราวกับหน้ากาก Birdman นั่งขี้อยู่ในห้องน้ำสะท้อนถึงความ Shit ของชีวิตขณะนี้, และดอก Lilac คือสัญลักษณ์ของความตาย ไม่นิยมมอบให้เป็นของขวัญต่อใคร

หนังทิ้งปริศนาตอนจบไว้อย่างค้างคาว่า Riggan กระโดดตกตึก หรือสามารถโบยบินได้ เพราะดวงตาโคตรโตของ Sam เริ่มจากก้มลงก่อนแล้วค่อยมองขึ้น พบเห็นอะไรหรือเธอ?

ตอนจบดั้งเดิมของหนัง วางแผนให้ Johnny Depp ในห้องแต่งตัวของ Riggan มีภาพโปสเตอร์ Pirates of the Caribbean ติดอยู่ด้านหลัง พูดน้ำเสียง Jack Sparrow

“What the fuck are we doing here, mate?”

จุดประสงค์เพื่อนเป็นการเวียนวนลูป ทุกสิ่งอย่างเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จักจบสิ้นสุด … แต่ตอนจบดังกล่าวไม่เป็นที่พึงพอใจของ Iñárritu เลยครุ่นคิดกันใหม่กลายเป็นปัจฉิมบทแห่งความคลุมเคลือดังกล่าว

เพลงประกอบโดย Antonio Sánchez นักแต่งเพลง/ตีกลอง สัญชาติ Mexican, ได้รับคำท้าทายจาก Iñárritu ต้องการใช้เพียงเสียงกลองเพื่อสร้างจังหวะให้กับเรื่องราว

“The drums, for me, was a great way to find the rhythm of the film… In comedy, rhythm is king, and not having the tools of editing to determine time and space, I knew I needed something to help me find the internal rhythm of the film”.

– Alejandro González Iñárritu

ผมว่ายอดเยี่ยมกว่า Whiplash (2014) เสียอีกนะ! เสียงกลองใน Birdman ไม่เพียงแค่สร้างจังหวะเท่านั้น มันจะมีระดับความดัง-เบา เนิบนาบ-เร่งรีบ-รุกเร้า สามารถทำให้หัวใจเต้นระริกสั่นรัว (ไปตามจังหวะกลอง) ก่อเกิดเป็นอารมณ์ความรู้สึกพ้องตามมา

แต่ก็ไม่ใช่ว่าหนังทั้งเรื่องมีแต่เสียงกลองนะครับ หลายครั้งทีเดียวได้ยินบทเพลงคลาสสิก
– Maurice Ravel: Pavane pour une infante défunte
– Maurice Ravel: Piano Trio in A Minor, Passacaille
– Gustav Mahler: Symphony No. 9 in D
– Gustav Mahler: Ich bin der Welt Abhanden Gekommen [Rückert-Lieder]
– Pyotr Ilyich Tchaikovsky: Symphony No. 5 Op. 64 in E Minor: Andante Cantabile
– Pyotr Ilyich Tchaikovsky: Symphony No. 4 in F minor Op. 36.2 in Andantino in Modo Di Canzone
– Sergei Rachmaninoff: Symphony No. 2 in E Minor, Op. 27 ท่อน Largo และ Allegro Moderato

บทเพลงที่ดังขึ้นขณะ Birdman โผบินเหินหาว นำจาก Sergei Rachmaninoff: Symphony No. 2 in E minor Op. 27 บันทึกการแสดงโดย The Stuttgart Radio Symphony Orchestra

Birdman or (The Unexpected Virtue of Ignorance) คือความพยายามของผู้กำกับ Alejandro González Iñárritu ที่จะระบายความครุ่นคิด/รู้สึกของตนเองต่อวงการภาพยนตร์ การมาถึงของยุคสมัย Superhero และการปรับตัวสู่โลกอนาคต (เพราะชีวิตไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีตได้)

ขอเริ่มจากมุมมองของ Iñárritu ต่อการมาถึงของยุคสมัย Superhero

“I think there’s nothing wrong with being fixated on superheroes when you are 7 years old, but I think there’s a disease in not growing up”.

– Alejandro González Iñárritu

หลักๆคือเรื่องของเงิน และความสำเร็จ ที่ค่อยๆบั่นทอนคุณค่าของภาพยนตร์ลงไป สตูดิโอผู้สร้างสนเพียงกำไร ลงทุน $100 ล้านเหรียญ หวังคืน $1,000 ล้านเหรียญ กลายเป็นค่านิยมมาตรฐานไปแล้ว

อีกเหตุผลหนึ่งคือการมองโลกในแง่มุมเดียว แทบทั้งนั้นคือกลุ่มคนขวาจัด หัวก้าวหน้า โลกเสรี ใครเป็นศัตรูไม่เข้าพวกก็เข่นฆ่าทำลายล้าง นั่นทำให้เกิดการปลูกฝังค่านิยม ไม่ต่างอะไรกับยาพิษ ‘Cultural Genocide’ ผู้ชมจดจำเพียงความบันเทิง ไม่ได้ครุ่นคิดถึงสาระประโยชน์ คุณค่าความเป็นมนุษย์แม้แต่น้อย

“I sometimes enjoy them because they are basic and simple and go well with popcorn. The problem is that sometimes they purport to be profound, based on some Greek mythological kind of thing. And they are honestly very right wing. I always see them as killing people because they do not believe in what you believe, or they are not being who you want them to be. I hate that, and don’t respond to those characters. They have been poison, this cultural genocide, because the audience is so overexposed to plot and explosions and shit that doesn’t mean nothing about the experience of being human”.

มีเหมือนกันที่ Hollywood เสนอโปรเจค Superhero ให้กับ Iñárritu แต่เจ้าตัวบอกปัดปฏิเสธ

“How can I give up two years of my life mainly for money? I couldn’t do it”.

การจะต่อกรกับภาพยนตร์ Superhero ย่อมไม่ใช่ด้วยปัจจัยเงินทุน แต่ต้องคือเนื้อหาสาระ คุณค่าทางศิลปะ ใช้สติปัญญาชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดติดตาม จนเกิดความเข้าถึงบางสิ่งอย่าง สัจธรรมชีวิต นั่นถือเป็นอีกแง่มุมหนึ่งของความบันเทิง จรรโลงสังคมกว่า และสร้างค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสมให้คนทุกเพศวัย

“I turned 50 last year and I have learned a lot going through my personal process. I learned there are ways to approach life. You can never change the events, but you can change the way you approach them”.

อดีต ประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งเกิดขึ้นผ่านไปแล้ว ไม่มีทางแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่เราสามารถปรับมุมความเข้าใจ มองโลกด้วยทิศทางแตกต่าง ดูอย่าง Michael Keaton เคยเล่น Batman ประสบความสำเร็จโด่งดัง แต่ชีวิตหลังจากนั้นก็ขึ้นๆลงๆเอาแน่เอานอนไม่ได้ ใครจะไปครุ่นคิดว่าเกือบๆ 3 ทศวรรษถัดมา จะมีโอกาสหวนกลับมาเล่นบทบาทคล้ายเดิม Birdman (2014) แถมยัง Spider-Man: Homecoming (2017) และภาคต่อ เออเว้ยเห้ย! ชีวิต อะไรๆมันก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

“The only thing that is important to me is to be honest to my circumstance and context. What this film talks about, I have been through. I have seen and experienced all of it; it’s what I have been living through the last years of my life. Instead of approaching it tragically, I wanted to try another mode. Not to reconcile past events, but actually to survive them. Doing this, I personally experienced a kind of reconciliation with life itself and faced things I don’t like about myself, things which used to make me bitter”.

ชีวิตจะก้าวไปข้างหน้าได้ก็ด้วยการเรียนรู้ความผิดพลาด ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นกว่าวันวาน อะไรเคยไม่ชอบโกรธเกลียดก็เปลี่ยนแปลง ดีอยู่แล้วรักษาธำรงไว้ต่อยอดทำให้ดียิ่งๆขึ้นไป อย่ามัวจมปลักหมกมุ่นครุ่นยึดติดกับอดีต ยังจะให้สิ่งจบสิ้นพานผ่านหวนย้อนกลับมามีอิทธิพลเหนือเราทำไม เชื่อมั่นในตนเอง กล้าที่จะเสี่ยง ทดลอง เผชิญหน้าอะไรใหม่ๆ ผิดพลาดพลั่งก็คงไม่ถึงตาย ตราบใดมีลมหายใจ ชีวิตจำต้องต่อสู้ไป

สำหรับคำอธิบายสร้อยต่อท้ายในวงเล็บ (The Unexpected Virtue of Ignorance) ขอยกบทสัมภาษณ์ผู้กำกับมาเลยแล้วกัน

“In the moment that Riggin Thompson tries pretentiously and ignorantly to prove he is something that he is not, when he surrenders to that, when the critic says I will kill you, when his daughter rejects him and he realizes he has lost everything, in that moment right before that climactic act onstage, he is not acting. He is real and that is why the critic responded to his performance. He broke the rules of the game. And by surrendering to his reality, he gets to the unexpected virtue of ignorance. There was beauty in it”.

ความงดงามของชีวิต ในมุมมองอันคาดไม่ถึงของ Iñárritu คือการกระทำอันบริสุทธิ์ ไม่ปรุงแต่ง เสแสร้ง หรือหลอกลวงตัวเอง ผู้คน/ผู้ชม ไม่อาจคาดเดาสิ่งเท็จจริงที่บังเกิดขึ้น นั่นถือเป็นจุดสูงสุดของการสรรค์สร้างงานศิลปะ บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็แล้วแต่คำใครจะเรียกหานิยาม


หนังเข้าฉายเปิดเทศกาลหนังเมือง Venice คว้ามาถึง 4 รางวัล (แต่ไม่ใช่รางวัลใหญ่เลยนะ)
– Future Film Festival Digital Award
– Leoncino d’Oro Agiscuola Award
– Nazareno Taddei Award
– Soundtrack Stars Award

ด้วยทุนสร้าง $18 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $60.9 ล้านเหรียญ รวมทั้งโลก $103.2 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จไม่น้อยทีเดียว

เข้าชิง Oscar ทั้งหมด 9 สาขา คว้ามา 4 รางวัล
– Best Picture ** คว้ารางวัล
– Best Director ** คว้ารางวัล
– Best Actor (Michael Keaton)
– Best Supporting Actor (Edward Norton)
– Best Supporting Actress (Emma Stone)
– Best Original Screenplay ** คว้ารางวัล
– Best Cinematography ** คว้ารางวัล
– Best Sound Mixing
– Best Sound Editing

สาขาที่ถูก SNUB อย่างน่ากังขาคือ Best Original Score โดยคณะกรรมการ Academy ส่งจดหมายให้ความเห็นว่า บทเพลงคลาสสิกที่ใช้ในหนังไม่ใช่ Original Score (โดยมองข้ามเสียงกลองไปโดยสิ้นเชิง)

“the fact that the film also contains over a half an hour of non-original (mostly classical) music cues that are featured very prominently in numerous pivotal moments in the film made it difficult for the committee to accept your submission”.

พิธีกรมอบรางวัล Best Picture คือ Sean Penn ที่เคยร่วมงานกับ Iñárritu เรื่อง 21 Grams (2003) พูดแซวว่า

“And the Oscar goes to… Who gave this son of a bitch his green card? Birdman!”

– Sean Penn

แม้ Penn จะถูกตำหนิต่อว่าเป็นการใช้คำพูดดูถูก แต่ผู้กำกับ Iñárritu ไม่ถือสาอะไร มองเป็นเรื่องตลก เพราะทั้งคู่สนิทสนมกันดี (นักข่าวเองนะแหละที่ไปตีโพยตีพาย)

เกร็ดอื่นๆของรางวัล:
– ปกติแล้วหนังได้เข้าชิง Best Picture มักควบกับ Best Film Editing แต่เพราะเรื่องนี้ถือเป็น Long Take เลยไม่มีโอกาสลุ้นรางวัลใดๆ ซึ่งครั้งล่าสุดก็ Ordinary People (1980)
– เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่คว้ารางวัล Best Picture ด้วยชื่อมีวงเล็บ ()
– น่าจะเป็นหนังคว้ารางวัล Best Picture ชื่อยาวที่สุด แต่ไม่ใช่ชื่อเข้าชิงยาวที่สุดนะครับ Dr. Strangelove or: How I Learned to Stop Worrying and Love the Bomb (1964)
– เป็นหนังรางวัล Best Picture เรื่องแรก ถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอลทั้งหมด (เรื่องอื่นๆก่อนหน้านี้ยังถ่ายด้วยฟีล์ม หรือดิจิตอลบางส่วน)

ผมรับชม Birdman ครานี้เป็นคำรอบสอง ยังหัวเราะท้องแข็งกับฉากกางเกงในตัวเดินเดียวท่ามกลาง Times Square มันเป็นความจี๊ดเจ็บจริง! เรียกได้ว่าคือ ‘จิตวิญญาณการแสดง’ จะมีสักกี่คนในโลกทุ่มเทมุมานะ พยายามได้ถึงขนาดนั้น!

แต่สิ่งที่โดยส่วนตัวคลุ้มคลั่งไคล้สุดของหนัง คือโคตรของโคตรๆๆ Long Take ทั้งรู้ว่าไม่ใช่ทั้งหมดแต่ก็ยังอึ้งทึ่ง ตราตะลึง ขาดไปนิดเดียวเท่านั้นคืออยากให้กล้องโผบินไปด้วยกับ Birdman และเคลื่อนติดตามตัวละครขณะกระโดดลงจากดาดฟ้า มันจะยอดยิ่งอ้าปากค้างกว้างๆเลยละ!

เปรียบเทียบความ ‘High Art’ ใกล้เคียงสุดของ Birdman คงเป็น 8½ (1963) ของ Federico Fellini และ Opening Night (1977) ของ John Cassavetes งดงามทรงคุณค่าในเชิงศิลปะ แต่สำหรับผู้ชมทั่วไปคงส่ายหัวกุมขมับ, แนะนำเฉพาะกับคอหนัง Art-House, ลุ่มหลงใหลละครเวที Play within Film, แฟนๆผู้กำกับ Alejandro González Iñárritu และคลั่งไคล้นักแสดง Michael Keaton, Edward Norton, Emma Stone, Naomi Watts ไม่ควรพลาด

เผื่อคนชอบหนัง Long Take แนะนำเพิ่มเติมกับ Rope (1948), Russian Ark (2002) ฯ

จัดเรต 18+ กับความหมกมุ่นระดับคลุ้มคลั่งของตัวละคร เสพยา มึนเมามาย และล่องลอยไปอย่างขาดสติควบคุม

คำโปรย | ล่องลอยโผบินไปกับ Birdman สะท้อนอีโก้ภายในความหมกมุ่นครุ่นคิดของผู้กำกับ Alejandro González Iñárritu ได้อย่างคาดไม่ถึง
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | คลั่งไคล้

A Man for All Seasons (1966)


A Man for All Seasons

A Man for All Seasons (1966) British : Fred Zinnemann ♥♥♥♥

เรื่องราวของ Sir Thomas More ผู้ซึ่งไม่ว่าอะไรจะบังเกิดขึ้น ยังคงยึดถือเชื่อมั่นในศรัทธาคำสอนพระเจ้า แม้ต้องกลายเป็นปรปักษ์ขัดแย้ง King Henry VIII (1509 – 1547) ที่ต้องการหย่าร้างราชินี และต่อมาสมรสใหม่ถึง 6 ครั้งครา, คว้า 6 รางวัล Oscar และภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ชื่อหนังได้แรงบันดาลใจจากข้อความในหนังสือ Vulgaria (1550) เขียนโดยนักไวยากรณ์ชาวอังกฤษ Robert Whittington (1480 – 1553) เอ่ยกล่าวถึง Sir Thomas More แม้มิเคยได้พานพบเจอ แต่เปรียบชายคนนี้ดั่ง A Man for All Seasons

“More is a man of an angel’s wit and singular learning; I know not his fellow. For where is the man of that gentleness, lowliness, and affability? And, as time requireth, a man of marvelous mirth and pastimes, and sometime of as sad gravity: a man for all seasons“.

– Robert Whittington

ถึงผมจะไม่ค่อยอินกับความขวาจัด อนุรักษ์นิยม คลั่งศาสนา แต่ก็อดไม่ได้จะชื่นชมบุคคลผู้ยึดถือมั่นคงในอุดมการณ์ (แม้จะแบบผิดๆก็เถอะ) ต่อสู้กับคอรัปชั่นที่แผ่อิทธิพลครอบงำทั่วทุกหย่อมหญ้า นั่นต้องใช้ความเชื่อมั่นศรัทธาแรงกล้าขนาดไหน ถึงสามารถเอาชีวิตเข้าแลกทุกสิ่งอย่าง

ซึ่งสิ่งตื่นตระการตาสุดของหนัง คือการออกแบบเสื้อผ้าตัวละครโดย Elizabeth Haffenden และ Joan Bridge [ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Ben-Hur (1959), Fiddler on the Roof (1971)] มีความเป็น Costume Period ที่อลังการงานสร้างมากๆ


A Man for All Seasons (1954) แรกเริ่มคือบทละครวิทยุ ออกอากาศสถานี BBC Radio แต่งเรื่องราวโดย Robert Bolt (1924 – 1995) นักเขียนสัญชาติอังกฤษ ผลงานเด่นๆ อาทิ Lawrence of Arabia (1962), Doctor Zhivago (1965) ฯ

เพราะได้เสียงตอบรับอย่างดีจึง Bolt จึงพัฒนาต่อยอดกลายเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ ความยาว 1 ชั่วโมง ออกฉายสถานี BBC เมื่อปี 1957 นำแสดงโดย Bernard Hepton

ตามต่อด้วยดัดแปลงเป็นละครเวที เริ่มจาก West End/London เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ยัง Globe Theatre (ปัจจุบันคือ Gielgud Theatre) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1960 ยืนยาวนาน 320 รอบการแสดง และยังได้ไปต่อ Broadway/New York ณ ANTA Playhouse รอบปฐมทัศน์ 22 พฤศจิกายน 1961 จำนวน 620 รอบการแสดง, ทั้งสองชุดนำแสดงโดย Paul Scofield

ด้วยความสำเร็จขนาดนี้ ไม่แปลกที่ Columbia Pictures จะขอลิขสิทธิ์สร้างภาพยนตร์ ได้รับข้อแม้คือ Bolt ทำการดัดแปลงบทหนังด้วยตนเอง และติดต่อได้ผู้กำกับ Fred Zinnemann

Alfred ‘Fred’ Zinnemann (1907 – 1997) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติ Austrian เกิดที่ Rzeszów (ปัจจุบันคือประเทศ Poland) ในครอบครัวชาว Jews ตอนเด็กมีความฝันต้องการเป็นนักดนตรี กลับเรียนจบกฎหมายที่ University of Vienna แล้วเกิดความหลงใหลคลั่งไคล้ในภาพยนตร์ เข้าเรียนต่อ Ecole Technique de Photographie et Cinématographie ที่ Paris จบมาทำงานเป็นตากล้องทำงานใน Berlin และขอครอบครัวอพยพย้ายสู่ Hollywood ครั้งหนึ่งเป็นตัวประกอบใน All Quiet on the Western Front (1930) กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก The Wave (1935) ถ่ายทำใน Mexico ใช้นักแสดงสมัครเล่น ถือเป็นหนังแนว Social Realism เรื่องแรกๆของโลก

พ่อ-แม่ ครอบครัวของ Zinnemann ถูกฆ่าล้างชาติพันธุ์โดย Nazi ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างความเจ็บปวดชอกช้ำให้กับเขาเป็นอย่างมาก แต่เพราะติดสัญญาทาสกับสตูดิโอ MGM ทำให้สร้างหนังทิ้งๆขว้างๆอยู่ 2-3 เรื่อง จนกระทั่งได้รับอิสรภาพ มีโอกาสสร้างหนังเรื่อง Act of Violence (1949) ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่สะท้อนปัญหาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และตั้งคำถามเกี่ยวกับจริยธรรมของสงคราม (Ethics of Wars) ตามด้วย High Noon (1952), From Here to Eternity (1953), The Nun’s Story (1959), The Sundowners (1960), A Man for All Seasons (1966), Julia (1977) ฯ

พื้นหลังประเทศอังกฤษ ค.ศ. 1529-35, เรื่องราวของ Sir Thomas More (รับบทโดย Paul Scofield) เมื่อครั้นดำรงตำแหน่งองคมนตรีและประธานฝ่ายตุลาการ มีความคิดเห็นต่อต้านการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ คัดค้านการแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก และไม่ยินยอมรับ King Henry VIII (รับบทโดย Robert Shaw) เป็นประมุขสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษ อันเป็นเหตุให้ถูกจองจำคุกข้อหาการกบฏ และได้รับโทษตัดสินประหารชีวิตตัดศีรษะ วันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1535


นำแสดงโดย David Paul Scofield (1922 – 2008) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ หนึ่งใน Triple Crown of Acting (คว้า Oscar, Tony, Emmy) เกิดที่ Birmingham, Warwickshire แม่นับถือ Roman Catholic ส่วนพ่อเป็น Anglican ทำให้วัยเด็กขาดทิศทางศรัทธาความเชื่อศาสนา แต่หลังจากพบเจอ Shakespeare ลุ่มหลงใหลในการแสดง โตขึ้นฝึกหัดยัง Croydon Repertory Theatre ปีถัดมาขึ้นการแสดงได้รับการเปรียบเทียบทันทีกับ Laurence Olivier, ภาพยนตร์เรื่องแรก That Lady (1955), ผลงานเด่นๆ อาทิ A Man for All Seasons (1966), King Lear (1971), Henry V (1989), Quiz Show (1994), The Crucibble (1996) ฯ

รับบท Sir Thomas More (1478 – 1535) นักกฎหมาย นักปรัชญาสังคม รัฐบุรุษ องคมนตรีใน King Henry VIII เป็นผู้มีความเชื่อศรัทธาในหลักคำสอนศาสนาอย่างเคร่งครัดแรงกล้า ไม่โอนอ่อนผ่อนปรนแม้จะถูกบีบบังคับอับจนหนทาง ใช้สติปัญญาอันเฉียบคมคาย สามารถเพิกเฉยวางตัวเป็นกลางตลอดทุกการใส่ร้ายป้ายความผิด แต่เมื่อโชคชะตาไม่เข้าข้างดั่งครุ่นคิด คำพูดสุดท้ายจึงประกาศกร้าวถึงอุดมคติตั้งมั่น ใครจะตำหนิต่อว่าอะไรฉันก็ช่าง แล้วพบเจอกันยังโลกหลังความตาย

เกร็ด: Sir Thomas More ได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดย Pope Pius XI เมื่อปี ค.ศ. 1935

แม้ว่าชื่อของ Scofield จะเลื่องลือนามในวงการละครเวที แต่ก่อนหน้านี้แสดงภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่อง ไร้ชื่อเสียงเรียงนามใดๆในความเชื่อโปรดิวเซอร์ แต่เป็นผู้กำกับ Zinnemann ย้ำยืนกรานต้องคนนี้เท่านั้น ประกอบกับ Richard Burton, Laurence Olivier, Alec Guinness ต่างบอกปัดปฏิเสธ เลยจำยินยอมเสี่ยง

แซว: Charlton Heston พยายามล็อบบี้ให้ตนเองได้รับบทนำ แต่เขาหาได้อยู่ในความสนใจของโปรดิวเซอร์แม้แต่น้อย

ภาพลักษณ์ของ Scofield เป็นคนที่มี Charisma สูงมากๆ ทุกถ้อยคำพูด ท่วงท่าทางการเคลื่อนไหว ล้วนดูดีมีสง่าราศี เต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นในตนเองสูง แม้บางครั้งก้มหน้าเพราะความผิดคาดหวัง แต่ศรัทธาเชื่อมั่น/อุดมการณ์อันแรงกล้า ทำให้ไร้ซึ่งสีหน้าหวาดสะพรึงกลัวเกรงต่อสิ่งอันใด แม้ความตาย

สิ่งที่ตราตรึงมากๆในการแสดงของ Scofield คือวินาทีโต้ตอบกลับ เมื่อถูกใครพยายามชี้ชักนำพา อ้อมค้อมประโลมโลก จากก้มหัวสามารถเงยหน้าลุกขึ้นพูดเอ่ยถ้อยคำอธิบาย ย้อนแย้งด้วยน้ำเสียงอันหนักแน่นมั่นคง กลับตารปัตรพลิกสถานการณ์ ไร้ซึ่งจุดอ่อนให้ใครสามารถเจาะทำลายล้าง … นอกจากถ้อยคำพลิกลิ้น โป้ปดหลอกลวง ซึ่งนั่นนำมาสู่จุดจบสิ้นหวังโดยทันที


Robert Archibald Shaw (1927 – 1978) นักเขียน นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Westhoughton, Lancashire, โตขึ้นเคยเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่ Glenhow Preparatory School ก่อนหันเหความสนใจเข้าเรียน Royal Academy of Dramatic Art กลับจากเป็นทหารอากาศมุ่งสู่ละครเวที West End ตามด้วยซีรีย์โทรทัศน์ โด่งดังกับ From Russian with Love (1963), Battle of the Bulge (1965), A Man for All Seasons (1966), Young Winston (1972), The Sting (1973), Jaws (1975) ฯ

รับบท King Henry VIII of England จากราชวงศ์ Tudor สมรสครั้งแรกกับ Catherine of Aragon แม้มีบุตรถึง 6 ครั้ง แต่ก็มีเหตุเป็นไปมากมายจนไม่หลงเหลือรัชทายาทชายสืบราชบัลลังก์ ซึ่งหลังจากคบชู้ Anne Boleyn ต้องการหย่าขาดราชินีเก่าแต่ถือว่าขัดต่อหลักศาสนา ทำให้ทรงริเริ่มการปฏิรูปอังกฤษเพื่อแยกคริสตจักรออกจากอำนาจของพระสันตะปาปา และแต่งตั้งพระองค์เองเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรอังกฤษ

เลื่องลือชาในความเฉลียวฉลาดรอบรู้ นักประพันธ์ร้อยแก้ว/ร้อยกรอง ลุ่มหลงใหลในดนตรี การเต้นรำ ด้วยเหตุนี้จึงชอบใช้จ่ายราชทรัพย์อย่างสุรุยสุหร่าย หาเงินจากการปิดวัดวาอาราม จัดการผู้เห็นต่างด้วยอำนาจเผด็จการรุนแรง กลายเป็นคนอารมณ์ไม่มั่นคง อัตตาสูง และได้รับจดจำในฐานะกษัตริย์ตัณหากลับ (สมรสถึงหกครั้ง)

Peter O’Toole และ Richard Harris ต่างเป็นตัวเต็งในบทบาทนี้ แต่ Zinnemann หลงใหลในความเอาแน่เอานอนไม่ได้ของ Shaw ตราตรึงกับ From Russian with Love (1963) เลยมอบบทนำนี้ให้

ความกวัดแกว่งทางอารมณ์ของ King Henry เป็นสิ่งไม่มีใครสามารถคาดเดาอะไรได้ ซึ่ง Shaw ก็ได้สร้างมิติให้ตัวละครได้อย่างสุดกู่เช่นกัน แรกเริ่มย่ำลงโคลนแสดงสีหน้าทำเอาใครๆต่างตื่นตระหนกตกใจ แล้วอยู่ดีๆพลันหัวเราะร่า โล่งอกไปทีไม่มีใครตาย … ต้องถือว่าเป็นความ ‘free spirit’ เต็มที่กับชีวิต ไม่มีอะไรต้องปกปิดบังซ่อนเร้นไว้ภายใน


Leo McKern ชื่อจริง Reginald McKern (1920 – 2002) นักแสดงสัญชาติ Australian เกิดที่ Sydney, New South Wales เมื่อตอนอายุ 15 สูญเสียตาขวา โตขึ้นฝึกงานเป็นวิศวกร ได้เป็นทหารขุดอุโมงค์ในสังกัด Royal Australian Engineers ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปลดประจำการออกมาตกหลุมรักนักแสดง Jane Holland ย้ายสู่ประเทศอังกฤษเพื่อแต่งงานกับเธอ และได้กลายเป็นนักแสดงละครเวที, ภาพยนตร์เรื่องแรก Murder in the Cathedral (1952), ผลงานเด่นๆ อาทิ Help! (1965), A Man for All Seasons (1966), Ryan’s Daughter (1970), The Blue Lagoon (1980), The French Lieutenant’s Woman (1981), Ladyhawke (1985) ฯ

รับบท Thomas Cromwell ทนายความ ที่ปรึกษารัฐ รัฐบุรุษชาวอังกฤษ และได้กลายเป็นหัวหน้ารัฐมนตรีให้ King Henry VIII มีนิสัยกลับกลอกปอกลอก ก็ไม่รู้ฟังคำจากกษัตริย์หรือโป้ปดหลอกลวง ใช้ข้ออ้างพระนามเพื่อให้ได้ทุกสิ่งอย่างตามใจปรารถนา มองมุมหนึ่งเหมือนต้องการเอาคืน Sir Thomas More ที่เคยพูดจาดูถูกตนเองไว้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะชายคนนี้ไร้ซึ่งจุดอ่อน ซึ่งเมื่อกระทำสำเร็จเลยเป็นเหตุให้ผลกรรมสุดท้าย ถูกประหารตัดคอไม่แตกต่างกัน

แค่รูปร่างภาพลักษณ์ McKern แลดูชั่วร้ายอันตราย เห็นใบหน้านิ่งๆแต่ถ้อยคำพูดและสิ่งซ่อนเร้นภายในเด่นชัดนัก พร้อมที่จะทำทุกสิ่งอย่างเพื่ออำนาจชัยชนะ แต่ก็หมดสิ้นจนปัญญาถึงขนาดต้องเลี้ยวลดคดไม่ซื่อ ไม่ต่างอะไรกับอสรพิษ/งูเห่า พร้อมย้อนแย้งแว้งกันทุกผู้คนได้ตลอดเวลา


Sir John Vincent Hurt (1940 – 2017) นักแสดงยอดฝีมือสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Chesterfield, Derbyshire บ้านของเขาอยู่ตรงข้ามกับโรงหนัง แต่ครอบครัวไม่อนุญาติให้เขาเข้าไปรับชมหรือเป็นเพื่อนกับเด็กๆแถวบ้าน กระนั้นก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงความสนใจการแสดงตั้งแต่เด็ก โตขึ้นได้เข้าเรียน Royal Academy of Dramatic Art เริ่มจากเป็นตัวประกอบ The Wild and the Willing (1962) รับบทนำครั้งแรก A Man for All Seasons (1966) โด่งดังกับ 10 Rillington Place (1971), Midnight Express (1978), Alien (1979), The Elephant Man (1980) ฯ

รับบท Richard Rich (1946 – 1567) แม้ต้นกำเนิดไม่มีระบุไว้ แต่เป็นคนมากด้วยความทะเยอทะยานฝันใฝ่ เริ่มต้นขอความช่วยเหลือจาก Sir Thomas More กลับถูกกีดกันเลยหันเปลี่ยนไปเข้าข้าง Thomas Cromwell ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อแลกมาด้วยตำแหน่ง กล้าพูดโกหกหลอกลวงไม่เกรงกลัวความผิดในชีวิตนี้หรือโลกหน้า … ได้ดิบได้ดีจนกระทั่งต่อมาไต่เต้าเป็นนายกรัฐมนตรี และเสียชีวิตแบบนอนตายตาหลับบนเตียง

เริ่มต้นดูเป็นบทบาทเล็กๆที่แทบไม่มีใครเห็นหัว ซึ่งภาพลักษณ์วัยละอ่อนของ Hurt ทำให้ตัวละครดูทึ่มทื่อ ซื่อบื้อ ไร้เดียงสาต่อโลก แต่ไปๆมาๆกลับกลายเป็นบุคคลสำคัญ ชี้ชะตากรรมตัวเอก กลายสภาพเป็นคนเย่อหยิ่งทะนงตน สนเพียงเป้าหมายความสำเร็จพึงพอใจส่วนตนเองเท่านั้น


ถ่ายภาพโดย Ted Moore (1914 – 1987) ตากล้องยอดฝีมือสัญชาติอังกฤษ โด่งดังกับแฟนไชร์ James Bond ไล่ตั้งแต่ Dr. No (1962) จนถึง The Man with the Golden Gun (1974) แต่ได้รับการจดจำสูงสุดกับ A Man for All Seasons (1966) กวาดเรียบทุกสถาบัน Best Cinematographer

หนังถ่ายทำยังสถานที่จริง Oxfordshire, Hampshire, Surrey, แม่น้ำ Beaulieu River
– พระราชวัง King Henry VIII ถ่ายทำที่ Hampton Court Palace
– บ้านของ Sir Tomas More ยัง Studley Priory, Horton Hill
ฯลฯ

ความโดดเด่นด้านงานภาพ ประกอบด้วยสีสันสวยสดสอดคล้องรับเสื้อผ้าเครื่องประดับ ระยิบระยับแสงแดดสะท้อนผืนผิวน้ำ และความมืดมิดรายล้อม สิ่งชั่วร้ายปกคลุมทุกทิศทาง

Opening Credit พบเห็นความระยิบระยับของแสงอาทิตย์สาดส่องพื้นผิวน้ำ แรงกระเพื่อมทำให้ภาพสะท้อนมองไม่เห็นเป็นรูปร่าง หรือคือศีลธรรมจรรยา ความเชื่อศรัทธามนุษย์ กำลังถูกบางสิ่งอย่างทำให้พร่าเลือนลาง บิดพริ้วไหว ไร้ซึ่งความสงบราบเรียบเหมือนแต่เก่าก่อน

แทบทุกฉากที่ Sir Thomas More ต้องเข้าไปในกรุงลอนดอน/พระราชวัง จะพบเห็นรอบข้างรายล้อมปกคลุมด้วยความมืดมิด นั่นสะท้อนถึงสิ่งชั่วร้ายคอรัปชั่น ได้กลืนกลืนครอบงำสถานที่แห่งนี้ไว้หมดสิ้น

แซว: Orson Welles รับเชิญในบทบาท Cardinal Wolsey แค่เพียง 2 ฉาก กลับได้ค่าตัวสูงเท่านักแสดงนำ!

ฉากการสนทนาในสวนระหว่าง King Henry VIII กับ Sir Thomas More สังเกตว่าสีเขียวของต้นไม้ ตัดกับสีอิฐของคฤหาสถ์ และกลมกลืนเข้ากับเสื้อผ้าตัวละคร นี่เป็น Color Palette กลายเป็นโคตรอิทธิพลให้ภาพยนตร์แนว Period ของประเทศอังกฤษ ที่ผมพอรู้จักอาทิ Anne of the Thousand Days (1969), The Draughtsman’s Contract (1982), The Favourite (2018) ฯ

ไดเรคชั่นเจ๋งสุดในหนังต้องยกให้ฉากนี้ Sir Thomas More ขณะกำลังเดินออกจากห้องรับรองสู่โถงพิพากษาคดีความ กล้องจะเคลื่อนติดตามตัวละครผ่านประตู ทางเดิน ไปจนพบเห็นทุกสิ่งอย่างเบื้องนอก

ทิ้งท้ายกับมุมกล้องเมื่อ Sir Thomas More หมดสิ้นความจำเป็นต้องปกปิดบังข้อคิดเห็นตนเองอีกไป ถ่ายจากด้านหลังแท่นผู้พิพากษา ราวกับว่าคือมุมมองของพระคริสต์จับจ้องลงมา พบเห็นนักบุญผู้ยังเชื่อมั่นศรัทธา กำลังถูกกดขี่ กลั่นแกล้ง คำสอนพระองค์ได้รับการบิดเบือน แปดเปื้อน จุดเริ่มต้นของรอยแตกแยกคริสตจักร

ตัดต่อโดย Ralph Kemplen (1912 – 2004) สัญชาติอังกฤษ ขาประจำของผู้กำกับ John Huston ผลงานเด่นๆ อาทิ The African Queen (1951), Moulin Rouge (1952), Oliver! (1968), The Day of the Jackal (1973) ฯ

ดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองสายตาของ Sir Thomas More ได้รับจดหมายเรียกตัวให้เข้าพบ Cardinal Wolsey ซึ่งใช้การส่งไม้พลัด(จดหมาย) จากมือสู่มือ เบื้องบนสู่เบื้องล่าง ทางบกสู่ทางน้ำ ซึ่งโครงสร้างหนังทั้งเรื่องก็จะมีลักษณะนี้เช่นกัน กล่าวคือ เริ่มจากจุดสูงสุดของ More หลังจากความขัดแย้งไม่เห็นพ้องกับ King Henry VIII ชีวิตพานพบความตกต่ำลงเรื่อยๆ สูญสิ้นพันธมิตร ถูกจับติดคุก ไต่สวนแบบฟังความข้างเดียว และที่สุดโทษประหารชีวิตตัดคอ

ผมว่าลึกๆไดเรคชั่นการส่งไม้พลัด อาจได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งจากวิวัฒนาการของผู้เขียน Robert Bolt พัฒนาเรื่องราวนี้เริ่มจาก รายการวิทยุ, ภาพยนตร์โทรทัศน์, ละครเวที, ภาพยนตร์ … ไต่เต้าความสำเร็จตามลำดันขั้นตอนเปะๆ


เพลงประกอบโดย Georges Delerue (1925 – 1992) นักแต่งเพลงยอดฝีมือสัญชาติฝรั่งเศส ขาประจำของผู้กำกับรุ่น French New Wave โกอินเตอร์กับผลงานเด่นๆ Anne of the Thousand Days (1969), Julia (1977), A Little Romance (1980), The Last Metro (1981), Sword of Gideon (1987) ฯ

ผมละโคตรไม่เข้าใจ ทำไม Delerue ถึงพลาดโอกาสเข้าชิง Oscar: Best Original Score จากบทเพลงกลิ่นอาย Renaissance ที่มีความไพเราะงดงามขนาดนี้ จริงอยู่มันอาจไม่ได้มีลูกเล่นในท่วงทำนองอะไร แต่ถือว่ากลมกลืนเข้ากับบรรยากาศยุคสมัยได้อย่างเหมาะสมลงตัว

ไม่ใช่แค่คริสตจักรที่เกิดการแบ่งแยกโรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ ออร์ทอดอกซ์ ฯ ศาสนาพุทธก็ไม่แตกต่าง วิวัฒนาการกลายเป็นเถรวาท มหายาน วัชรยาน ฯ สาเหตุเพราะความคอรัปชั่นภายในจิตใจมนุษย์ ต้องการปรับเปลี่ยนวิถีความเชื่อศรัทธาให้เข้าหาตนเอง

ฟังดูพิลึกพิลั่นแปลกพิศดาร แต่จากบริบทภาพยนตร์เรื่องนี้ King Henry VIII ต้องการให้ตนเองสามารถเลิกราหย่าร้างราชินีแล้วแต่งงานใหม่ได้ ในเมื่อทั้งๆที่ศาสนาไม่มีบทบัญญัติยินยอมอนุญาต เลยสถาปนาตนเองขึ้นเป็นผู้นำคริสตจักร จักสามารถเป็นออกกฎระเบียบการปกครองใหม่ สนองความต้องการพึงพอใจส่วนตนเอง

เหตุการณ์ลักษณะนี้มักเกิดขึ้นเมื่อความเชื่อศรัทธาอยู่ในสภาวะวิกฤตตกต่ำ ผู้มีอำนาจ/ขุนนาง/กษัตริย์ เต็มไปด้วยความคอรัปชั่นภายในจิตใจ สนเพียงกอบโกยแสวงผลประโยชน์พึงพอใจส่วนตน หาได้ใคร่แยแสต่อศีลธรรมถูกผิด หรือสนหัวข้าราษฎร คนรับใช้ ถูกมองข้ามแทบไม่ได้รับการกล่าวพูดถึง

จะว่าไป Sir Thomas More และ Richard Rich ต่างเป็นขั้วตรงข้ามที่มีอุดมการณ์/ทิศทางชีวิตสวนทางกัน
– Sir Thomas More เพราะความยึดถือเชื่อมั่นศรัทธาในพระเจ้าอย่างแรงกล้า ไม่มีอะไรใต้หล้าจะสามารถปรับเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเขาได้ ทำให้จากสูงสุดค่อยๆตกต่ำลงเรื่อยๆ
– Richard Rich มากล้นด้วยความทะเยอทะยาน พร้อมทำทุกสิ่งอย่าง ไต่เต้าจากดินขึ้นสู่ดาว ได้ดิบดีมีเงินทอง ชื่อเสียง หน้าตาทางสังคม โดยไม่สนถูกผิดชอบดีชั่วหรือพระเจ้าองค์ใด

หลายคนอาจมองว่า ตัวละครของ Richard Rich คือบุคคลผู้มีความน่าหวาดสะพรึงกลัว ปลิ้นปล้อนกลับกลอก ตัวอันตรายที่สุดในหนัง แต่ผมมองว่า Sir Thomas More ก็เฉกเช่นกัน เพราะความยึดถือเชื่อมั่นศรัทธาในพระเจ้าอย่างแรงกล้า ทำให้ไม่สามารถประณีประณอมอ่อนข้อให้ใครอื่น จริงอยู่บุคคลลักษณะนี้ดูน่ายกย่องสรรเสริญ แต่ถ้าออกตัวแรงแล้วค้นพบว่ามันไม่ใช่ ตายไปพบเจอความสูญว่างเปล่า ก็เท่ากับทั้งหมดนี้คือการหลงผิด หลอกตนเอง อะไรจะเกิดขึ้นกับเขาต่อไปกัน

ความสนใจของผู้กำกับ Fred Zinnemann ต่อ A Man for All Seasons (1966) ผมรู้สึกคล้ายๆ High Noon (1952) คือเรื่องราวของบุคคลที่ยินยอมเสียสละตนเองเพื่อเป้าหมาย อุดมการณ์สูงสุด แม้จะถูกสังคมรอบข้างและครอบครัวกีดกัน ครุ่นคิดเห็นต่าง ชัยชนะอาจไม่ได้ยิ่งใหญ่เมื่อมองจากภายนอก แต่สามารถยกระดับความทรงคุณค่าทางจิตใจให้สูงส่งขึ้นไป

แซว: John Wayen เคยบอกว่าโคตรเกลียด High Noon (1952) เลยร่วมกับ Howard Hawks สร้าง Rio Bravo (1959) เป็นการโต้ตอบ แต่พอมาถึง A Man for All Seasons (1966) เห็นว่ากลายเป็นหนึ่งในหนังเรื่องโปรดของพี่แกเลย!


ด้วยทุนสร้าง $2 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $28.3 ล้านเหรียญ น่าเสียดายไม่มีรายงานรายรับทั่วโลก คาดว่าคงจะประสบความสำเร็จล้นหลามเฉกเช่นเดียวกัน

เข้าชิง Oscar 8 สาขา คว้ามา 6 รางวัล
– Best Picture ** คว้ารางวัล
– Best Director ** คว้ารางวัล
– Best Actor (Paul Scofield) ** คว้ารางวัล
– Best Supporting Actor (Robert Shaw)
– Best Supporting Actress (Wendy Hiller)
– Best Adapted Screenplay ** คว้ารางวัล
– Best Cinematography – Color ** คว้ารางวัล
– Best Costume Design – Color ** คว้ารางวัล

เกร็ด:
– หนึ่งในสี่เรื่องที่สามารถคว้า Tony Award: Best Play และ Oscar: Best Picture ประกอบด้วย My Fair Lady (1964), The Sound of Music (1965) และ Amadeus (1984)
– ขณะที่ Paul Scofield เป็นหนึ่งในหกที่สามารถคว้า Tony Award และ Oscar สาขา Best Actor ประกอบด้วย Cyrano de Bergerac (1950), The King and I (1956), My Fair Lady (1964) The Subject Was Roses (1968), Cabaret (1972)
– Robert Shaw เป็นนักแสดงคนที่สองจากสาม เข้าชิง Oscar จากบทบาท King Henry VIII ถัดจาก Charles Laughton เรื่อง The Private Life of Henry VIII. (1933) และ Richard Burton เรื่อง Anne of the Thousand Days (1969)
– เพียงสองครั้งเท่านั้นขึ้นต้นด้วยตัวอักษร -A- และคว้า Oscar: Best Picture อีกเรื่องคือ A Beautiful Mind (2001)

ส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบหนัง ประทับใจการแสดง ตระการตากับเสื้อผ้าหน้าผม ถ่ายภาพ เพลงประกอบ ทุกองค์ประกอบมีความครบเครื่องลงตัว แค่เสพงานโปรดักชั่นก็อิ่มหนำมากๆแล้ว

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ถึงการกระทำของ Sir Thomas More จะดูสุดโต่งหลุดและหลงผิด แต่ทำไมไม่มองมุมศรัทธาอันแรงกล้า เป็นคุณถ้ามีความเชื่อมั่นในบางสิ่งอย่าง จะกล้าแสดงออกได้ถึงระดับนั้นหรือเปล่า หรืออาจเห็นเป็นข้อคิดคติเตือนใจ การหมกมุ่นอะไรมากไปจนไม่สามารถโอนอ่อนผ่อนตาม วางตัวเป็นกลาง สุดท้ายรังแต่จะพานพบเจอหายนะจุดจบสิ้น

จัดเรต 13+ กับความสวยงามฟุ้งเฟ้อที่รายล้อมรอบไปด้วยความคอรัปชั่น

คำโปรย | A Man for All Seasons ของผู้กำกับ Fred Zinnemann ตระการตาไปด้วยสีสัน โปรดักชั่น การแสดง แต่รายล้อมรอบไปด้วยความคอรัปชั่น
คุณภาพ |
ส่วนตัว | ค่อนข้างชอบ

All the King’s Men (1949)


All the King's Men

All the King’s Men (1949) hollywood : Robert Rossen ♥♥♡

นี่คือ Citizen Kane (1942) ฉบับการเมือง/เลือกตั้ง ดัดแปลงจากนวนิยายรางวัล Pulitzer Prize คว้าสาม Oscar รวมถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี, ชายคนหนึ่งพบเห็นช่องทางการเมือง ไต่เต้าจนได้รับชัยชนะเลือกตั้ง แล้วค่อยๆตกต่ำเพราะผลแห่งการกระทำของตนเอง

ถึงจะบอกว่า All the King’s Men เปรียบได้กับ Citizen Kane ฉบับการเมือง/เลือกตั้ง แต่อย่าไปคาดหวังความยิ่งใหญ่อลังการเทียบเท่า เพราะมันแทบจะคัทลอก-วาง (Copy-Paste) ปรับเปลี่ยนแปลงแค่เนื้อหาฉากหลังเท่านั้นเอง

การที่ผู้ชม/นักวิจารณ์สมัยนั้น ต่างสรรเสริญเยินยอภาพยนตร์เรื่องนี้เหลือเกิน ถึงขนาดคว้า Oscar: Best Picture ผมได้ข้อสรุปว่า เพราะใครๆเพิ่งเริ่มตระหนักถึงอิทธิพลความสำคัญของ Citizen Kane เมื่อพบเห็นการโคลนนิ่งที่มีความตราตรึงทรงพลังใกล้เคียง เลยอยากปรับแก้ไขความผิดพลาดจากอดีต … และรู้สึกว่าปีนั้นการแข่งขันอ่อนมากๆด้วย ไม่มีหนัง Hollywood เรื่องไหนควรคู่หรืออยู่เหนือกาลเวลา โชคชะตาเลยมาลงเอย All the King’s Men

กาลเวลาทำให้คุณภาพหนังเสื่อมถดถอยลงมาก สาเหตุหลักๆเพราะถูกรัศมี Citizen Kane บดบังกลบมืดมิด จนแทบไม่มีใครพูดกล่าวถึงอีกสักเท่าไหร่ แต่เพิ่งได้โอกาสโหนกระแสเมื่อมีการสร้างใหม่ All the King’s Men (2006) โดยผู้กำกับ Steven Zaillian นำแสดงโดย Sean Penn, Jude Law, Kate Winslet, Mark Ruffalo ถึงดาราคุณภาพคับ แต่ได้เสียงตอบรับต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ถ้าคุณไม่ใช่แฟนเดนตายของนวนิยาย ก็ช่างหัวมันเถอะนะครับ


Robert Rossen (1908 – 1966) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City ครอบครัวเชื้อสาย Russian-Jewish พ่อเป็นแรบไบ ตั้งแต่เด็กมีความสนใจเล่นพูล (เป็นแรงบันดาลใจสร้าง The Hustler) เข้าเรียนต่อ New York University จบออกมาทำงานผู้จัดการละครเวที Off-Broadway รู้จักสนิทสนม John Huston, Elia Kaza, Joseph Losey, สู่วงการภาพยนตร์เป็นนักเขียน Marked Woman (1937), กำกับเรื่องแรก Johnny O’Clock (1947), ผลงานเด่นๆ All the King’s Men (1949) และ The Hustler (1961)

Rossen เคยเข้าร่วมพรรค American Communist Party ระหว่างปี 1937 – 47 ด้วยความเชื่อว่า

“The Party was dedicated to social causes of the sort that we as poor Jews from New York were interested in”.

– Robert Rossen

กระนั้นเมื่อรับเรียนรู้เบื้องหลังข้อเท็จจริงของพรรค ตัดขาดความสัมพันธ์เมื่อปี 1949 แต่ไม่วายโดนหมายเรียกของ House Un-American Activities Committee จนถูกขึ้นบัญชีดำ Hollywood Blacklist เมื่อปี 1951 ไม่สามารถหาการงานอะไรทำได้ เลือกตัดสินใจเปิดเผย 57 รายชื่อคนรู้จัก เพื่อตนเองขายผ้าหน้ารอด

สำหรับ All the King’s Men ต้นฉบับคือนวนิยายชื่อเดียวกัน แต่งโดย Robert Penn Warren (1905 – 1989) กวี นักเขียน/นักวิจารณ์ สัญชาติอเมริกัน ผู้บุกเบิกกลุ่มเคลื่อนไหว New Criticism, ร่วมก่อตั้งนิตยสาร The Southern Review และคว้ารางวัล Pulitzer Prize ถึงสามครั้ง
– Pulitzer Prize for the Novel สำหรับผลงาน All the King’s Men (1946)
– อีกสองครั้งคือ Pulitzer Prize for Poetry เมื่อปี 1958 และ 1979

เรื่องราวได้แรงบันดาลใจจาก Huey Pierce Long Jr. (1893 – 1935) นักการเมืองชื่อดัง ฉายา The Kingfish ผู้มีคำขวัญประจำใจ ‘Every Man a King’ เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐ Louisiana ระหว่างปี 1928-32 และได้รับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตั้งแต่ 1932 จนกระทั่งถูกลอบสังหารเสียชีวิต 1935

ผู้กำกับ Robert Rossen มีความคลั่งไคล้นวนิยายเล่มนี้อย่างมาก น่าจะเพราะเรื่องราวดังกล่าวสะท้อนอุดมการณ์ของตัวตนเองขณะเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ ตัดสินใจควักเงินส่วนตัวจ่ายค่าลิขสิทธิ์และเริ่มต้นดัดแปลงบทรอไปก่อน จนกระทั่งสรรหาได้สตูดิโอ Columbia Picture อาสาออกทุนสร้างให้

เรื่องราวของ Jack Burden (รับบทโดย John Ireland) นักข่าวหนุ่มถูกส่งตัวไปติดตามสถานการณ์เลือกตั้งท้องถิ่นที่ Kanoma County พบเจอ Willie Stark (รับบทโดย Broderick Crawford) เหมือนเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต มั่นคงต่ออุดมการณ์เพื่อประชาชน ต้องการต่อสู้ซึ่งๆหน้าแต่ไม่วายพ่ายแพ้ย่อยยับเยิน! เรียนรู้สะสมประสบการณ์จนมองเห็นลู่หนทางเอาชนะ ค่อยๆไต่เต้าจนได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการรัฐ เพ้อใฝ่ฝันต้องการไปให้ถึงประธานาธิบดี แต่เบื้องหลังความจริงกำลังค่อยๆถูกเปิดเผย ก็อยู่ที่มุมมองผู้ชมต่อวิธีการของเขา ดี-ชั่ว ถูก-ผิด ประการใด


นำแสดงโดย William Broderick Crawford (1911 – 1986) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Philadelphia, Pennsylvania ครอบครัวเป็นนักแสดงเร่ แม่เคยสมทบหนัง Top Hat, Swing Time, ด้วยเหตุนี้เลยเขามีความใคร่สนใจด้านการแสดง ได้ทุนเข้าเรียน Havard University แต่บอกปัดเพื่อเข้าสู่วงการ เริ่มจากเป็นละครเวที จัดรายการวิทยุ Broadway ภาพยนตร์เรื่องแรก Woman Chases Man (1937), เรื่อยๆเปื่อยๆในบทสมทบหนังเกรด B จนกระทั่งคว้า Oscar: Best Actor จาก All the King’s Men (1949) ถึงได้รับการจดจำเสียที

รับบท Willie Stark ชายร่างใหญ่วัยกลางคน จากเคยหนักแน่นด้วยอุดมการณ์ เมื่อตระหนักทราบถึงความโง่เขลาเบาปัญญา ปรับเปลี่ยนแปลงความคิดอ่าน ใช้ทุกวิถีหนทางนำมาเพื่อชัยชนะการเลือกตั้ง ดี-ชั่วไม่ใช่สิ่งสำคัญ ขอแค่ให้ฉันได้ข้ออ้างผลประโยชน์ ถูกตราหน้าว่าเผด็จการก็ไม่เป็นไร!

แต่เดิมผู้กำกับ Rossen ตระเตรียมบทบาทนี้ไว้ให้ John Wayne แต่เจ้าตัวบอกปัดพร้อมส่งจดหมายด่ากลับ รับไม่ได้กับความชั่วช้าสามาลย์ของตัวละคร} ซึ่งในปีนี้ Wayne ยังมีโอกาสเข้าชิง Oscar: Best Actor จากเรื่อง Sands of Iwo Jima (1949) แต่ก็พ่ายให้กับ Broderick Crawford จากเรื่องนี้นี่แหละ!

Crawford ถือเป็นนักแสดงฝืมือที่ไม่ค่อยมีโอกาสสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่รับบทตัวตลกสร้างความขบขันจนกลายเป็น Typecast ครานี้พลิกบทบาทเลยขอทุ่มสุดตัว ไม่มีอะไรจะเสียอยู่แล้ว! ปรากฎว่าประสบความสำเร็จเกิดความคาดหมาย ทั้งภาพลักษณ์ Charisma พูดคำยากๆรัวๆ และพัฒนาการตัวละคร จากดีแท้บริสุทธิ์ค่อยๆหยาบกร้านแข็งกระด้าง ท้ายสุดกลายสภาพดั่งปีศาจ เย่อหยิ่งผยอง จองหองอวดอ้างดี ใช้ความเผด็จการเอามันทุกสิ่งอย่าง

เกร็ด: ว่ากันว่า Crawford ดื่มเหล้าเมากรึ่มๆก่อนเข้าฉาก ไม่ถึงขั้นเมามายแต่เพื่อให้ได้เข้าถึงตัวละครอย่างสมจริงที่สุด


John Benjamin Ireland (1914 – 1992) นักแสดงสัญชาติ Canadian เกิดที่ Vancouver แต่อพยพย้ายสู่ New York City ตั้งแต่เล็ก เรียนจบเกรด 7 แล้วออกมาทำงานช่วยเหลือครอบครัว ดิ้นรนไปเรื่อยๆจนกระทั่งตกหลุมรักการแสดง เริ่มจากละครเวที เซ็นสัญญาสตูดิโอ Fox สมทบหนังอย่าง My Darling Clementine (1946), Red River (1948), Joan of Arc (1948), โด่งดังพลุแตกกับ All the King’s Men (1949), แต่ได้รับการจดจำสูงสุดคงคือ Crixus เรื่อง Spartacus (1960)

รับบท Jack Burden นักข่าวหนุ่มหล่อไฟแรง แต่ยังขาดอุดมการณ์เป้าหมายในชีวิต จนกระทั่งได้พบเจอ Willie Stark เชื่อว่านี่แหละคือคนจริง! ผู้สามารถเปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบ จึงให้ความส่งเสริมสนับสนุนผลักดัน แต่หลังจากได้ร่วมงานและถูกแก่งแย่งแฟนสาว Anne Stanton (รับบทโดย Joanne Dru) แม้ไม่พึงพอใจกลับมิสามารถขัดแย้งเห็นต่างอะไร เฝ้ารอคอยเวลาให้บางสิ่งอย่างบังเกิดขึ้น

แม้หนังจะเริ่มต้นที่ตัวละครนี้และใช้เสียงบรรยายดำเนินเรื่อง แต่บทบาทจะค่อยๆเลือนลางจนกลายเป็นเพียงตัวประกอบสมทบ ใบหน้าอันหล่อเหลาของ Ireland ก็ไม่ช่วยอะไร เพียงความดื้อด้านรั้นหัวชนฝา ทั้งๆรู้ว่าผิดแต่ก็ไม่คิดปรับเปลี่ยนแปลงตัดสินใจ ลื่น(ปลา)ไหลไปตามบทบาท และหยอกเย้าเข้าขา Mercedes McCambridge เป็นอย่างดี


Carlotta Mercedes Agnes McCambridge (1916 – 2004) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกัน ผู้กำกับ Orson Welles ให้คำนิยามว่า ‘the world’s greatest living radio actress’ เกิดที่ Joliet, Illinois ครอบครัวเชื้อสาย Irish นับถือ Roman Catholic โตขึ้นเข้าเรียน Mundelein College จบออกมาเป็นนักพากย์วิทยุ ละครเวที Broadway แสดงโทรทัศน์ และภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด All the King’s Men (1949) คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actress, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Johnny Guitar (1954), Giant (1956) ฯ

รับบท Sadie Burke แรกเริ่มเป็นผู้ช่วยหาเสียงของ Willie Stark เต็มไปด้วยความเบื่อหน่ายเพราะรับรู้ว่ายังไงก็ไม่ชนะ แต่หลังจากพบเห็นการเปลี่ยนแปลงคาดไม่ถึง ได้ทำงานเลขานุการส่วนตัว รับรู้เบื้องหลังความจริง ลึกๆคงอยากหลบหนีไปให้ไกล แต่ตระหนักรู้ตัวได้ว่าเซ็นสัญญากับปีศาจ ย่อมมิอาจหลุดรอดพ้น

วันที่ McCambridge มาทดสอบหน้ากล้อง ถูกทิ้งให้นั่งรอคอยหลายชั่วโมงจนหงุดหงิดหัวเสีย ด่ากราดโปรดิวเซอร์แล้วกลับบ้านไป วันถัดมาถูกเรียกตัวบอกว่าได้รับบท!

จริตของ McCambridge เป็นอะไรที่ชวนชมดีแท้ ถึงใบหน้าไม่สวย(ว่าไปดูเหมือน Judy Garland)แต่รวยเสน่ห์ จัดจ้าน ร่านแรง และน้ำเสียงมีลีลาเฉพาะตัว ทำเหมือนไม่แคร์ยี่หร่าแต่ครุ่นคิดหน้าหลังเข้าใจสถานการณ์เป็นอย่างดี


ถ่ายภาพโดย Burnett Guffey (1905 – 1983) สัญชาติอเมริกัน เจ้าของสองผลงาน Oscar: Best Cinematography เรื่อง From Here to Eternity (1953) และ Bonnie and Clyde (1967) ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ All the King’s Men (1949), In a Lonely Place (1950), Birdman of Alcatraz (1962) ฯ

งานภาพของหนังรับอิทธิพลเต็มๆจาก Citizen Kane (1942) ทั้งการจัดแสงเงากลิ่นอายนัวร์ ทิศทางมุมกล้อง องค์ประกอบภาพสะท้อนจิตวิทยาตัวละคร รวมถึงการรวบเร่งรัดเรื่องราวด้วยการร้อยเรียงฟุตเทจข่าว ฯ

หนุ่ม-สาว พรอดรักกอดจูบต่อหน้ารูปภาพอันใหญ่โตของบิดาด้านหลัง ถ่ายมุมเงยขึ้นสะท้อนถึงอิทธิพลครอบงำ ทั้งๆเสียชีวิตจากไปแล้วแต่คนรุ่นหลังยังต้องเงยหน้ามอง ขวนขวายไขว่คว้าความสำเร็จให้ได้เท่าเทียมบรรพบุรุษเคยกระทำมา

ฉากนี้คือตอน Willie Stark ตระหนักถึงทุกสิ่งที่ตนเองกระทำมาก่อนหน้านี้ ไม่ต่างอะไรจากสวนสนุก ของเด็กเล่น หาได้รับรู้เข้าใจธาตุแท้จริงของเกมการเมือง ที่ต่างเล่นสกปรก สรรหาสารพัดวิธีซกมก เพื่อให้ได้รับชัยชนะเลือกตั้ง สำคัญเหนือกว่าสิ่งอื่นใดในปฐพี

ขณะที่ Jack Burden และ Sadie Burke ได้เพียงเกาะบันไดจับจ้องมองอยู่ห่างๆ บนเวทีมุมเงยขึ้น Willie Stark ได้ค้นพบตัวเอง ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำหน้า ไม่อีกแล้วจะยอมเป็นหุ่นเชิดให้คนยืนข้างหลังควบคุมชี้ชักนำ

การยกเท้าขึ้นวางบนโต๊ะระดับเดียวกับศีรษะ มักสื่อถึงการกระทำดูหมิ่นเหยียบหยามผู้อื่น แต่ขณะเดียวกันสามารถมองว่า สิ่งดี-ชั่ว สูง-ต่ำ มีความเท่ากันในสังคม สะท้อนเข้ากับวิถีทางของตัวละครนี้ ฉันพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้มาด้วยชัยชนะ!

ว่าไปตำแหน่ง/ทิศทาง หันหน้าของตัวละคร ล้วนมีนัยยะสำคัญเช่นกัน อย่างช็อตนี้สามตัวละครหันหน้าไปทางซ้ายอย่างพร้อมเพียงคือเห็นพ้อง ขณะที่ Jack Burden คนเดียวเท่านั้นครุ่นคิดเห็นต่าง เลยหันไปอีกด้านหนึ่งเผชิญหน้ากับพวกเขา

นี่เป็นช็อตที่ใครๆน่าจะตระหนักได้ทันทีว่าคือ Citizen Kane-like ถ่ายมุมเงย พบเห็นตัวละคร และรูปภาพขนาดใหญ่โตประดับพื้นหลัง แสดงถึงพลังอำนาจ ความยิ่งใหญ่ และชัยชนะที่มาจากการเลือกตั้ง

และที่ขาดไม่ได้คือ Xanadu-like คฤหาสถ์อันกว้างใหญ่โต แต่กลับให้สัมผัสอันเวิ้งว้างว่างเปล่า นั่นคือตำแหน่งสูงสุดของโลก ‘ยิ่งสูงยิ่งหนาว’ ขี่หลังเสือแล้วไม่สามารถก้าวลงได้ จำต้องตะเกียกตะกายปีนป่ายขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดเรี่ยวแรงสิ้นลมหรือกลิ้งตกเขา ยกธงขาวยินยอมรับความพ่ายแพ้

ตัดต่อโดย Al Clark หลังจากเรียบเรียงทุกสิ่งอย่างเข้าด้วยกันได้ความยาว 250 นาที พยายามแล้วแต่ไม่สามารถตัดทอนไปมากกว่านี้ สตูดิโอ Columbia เลยว่าจ้าง Robert Parrish รวบรัดเหลือเพียง 109 นาที!

ต้นฉบับนวนิยาย ดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองสายตาและเสียงบรรยายของ Jack Burden แต่ฉบับหนังเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับ Willie Stark เสียมากกว่า ผลลัพท์เลยออกมาดูครึ่งๆกลางๆ ชวนให้มึนงงสับสนว่าใครคือตัวละครหลักดำเนินเรื่องกันแน่!

การมี Time Skip เยอะๆ ส่งผลเสียต่อหนังสักมากทีเดียว เพราะทำให้ผู้ชมไม่สามารถประติดประต่อเรื่องราวเข้าด้วยกัน ชวนให้เกิดอาการมึนงงสับสน การแสดงก็จะขาดๆเกินๆ ไร้ความต่อเนื่องทางอารมณ์ ตัวละครประเดี๋ยวดีประเดี๋ยวเดี๋ยวร้าย เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ และตอนจบเป็นอะไรที่ยากเกินคาดเดา

การตัดต่อ/เล่าเรื่อง เป็นส่วนที่ Citizen Kane ทำออกมาได้ดีกว่ามากๆระดับฟ้ากับเหว! นั่นคงเพราะ Welles คงครุ่นคิดตระเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว ขณะที่แผนเดิมของ Rossen ได้ความยาว 250 นาที ถือว่าล้มเหลวผิดพลาด แก้ปัญหาเฉพาะหน้าผลลัพท์ออกมาเลยไม่ค่อยดีเท่าไหร่ … ผมละอยากรับชมฉบับ 250 นาที เหลือเกินนะ! เชื่อเล็กๆน่าจะทำออกมาได้ดีกว่านี้

เพลงประกอบโดย Louis Gruenberg (1884 – 1964) คีตกวีสัญชาติ Russian อพยพย้ายสู่อเมริกาช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แต่งเพลงประกอบหนังดังๆอย่าง Stagecoach (1939), So Ends Our Night (1941), Commandos Strike at Dawn (1942), All the King’s Men (1949) ฯ

งานเพลงให้สัมผัสเหมือนสารคดีข่าว/Filmreel มักได้ยินช่วงระหว่าง Time Skip ด้วยท่วงทำนองสะท้อนเรื่องราวอารมณ์ สร้างความต่อเนื่องจากเหตุการณ์ล่าสุด กอปรเข้ากับเสียงบรรยายและ Sound Effect จนเต็มไปด้วยความโกลาหน สับสนวุ่นวาย และลางร้ายหายนะค่อยๆคืบคลานเข้ามา


Humpty Dumpty sat on a wall,
Humpty Dumpty had a great fall.
All the king’s horses and all the king’s men
Couldn’t put Humpty together again.

– คำร้องบทเพลงกล่อมเด็ก Nursery Rhyme

นัยยะของกลอนบทนี้กล่าวถึงตัวละคร Humpty Dumpty (มีรูปร่างหน้าตาเหมือนไข่)
– นั่งอยู่บนกำแพง คือปีนขึ้นสูง ไต่เต้าสู่ความสำเร็จ
– พลัดตกลงมา คือตกต่ำล้มเหลว
– ไม่ว่าไพร่ฟ้าประชาราษฏร์ ก็มิอาจให้ความช่วยเหลือ
– ประกอบร่างแตกละเอียดของ Humpty Dumpty ให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม

ในบริบทของภาพยนตร์เรื่องนี้ Humpty Dumpty คงจะสื่อได้ถือนักการเมือง Willie Stark ผู้ไต่เต้าสู่ความสำเร็จสูงสุดแล้วค่อยๆตกต่ำลง ขณะที่ All the King’s Men ย่อมหมายถึง ‘ประชาชน’ ไม่มีใครไหนจะสามารถช่วยเหลือ กอบกู้ชื่อเสียง และชีวิตของเขาให้กลับคืนมาเหมือนเดิมได้

All the King’s Men ชักชวนให้ผู้ชมตั้งคำถามถึงการกระทำของนักการเมือง Willie Stark นั่นเป็นสิ่งถูก-ผิด ดี-ชั่ว ประชาธิปไตยจริงๆหรือเปล่า? ปากอ้างว่าได้รับเสียงส่งเสริมสนับสนุน ผลโหวตอุดหนุนจากประชาชน แต่เบื้องหลังกลับเล่นเกมสกปรก ใช้เงินจกซื้อทุกสิ่งอย่าง ขจัดอริให้พ้นทาง ชัยชนะเท่านั้นคือสิ่งสำคัญสูงสุด

ผู้กำกับ Robert Rossen สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยอุดมคติคอมมิวนิสต์ สามารถเรียกได้ว่าชวนเชื่อ ต่อต้านประชาธิปไตย (Anti-Democrat) ชักนำให้ผู้ชมพบเห็นความคอรัปชั่นที่หลบซ่อนเร้น คนส่วนใหญ่มักมองไม่เห็น … แต่บางคนก็แสร้งทำเป็นพร่าตาบอด บางครั้งเพื่อผลประโยชน์ แต่ส่วนใหญ่ด้วยหลักการเพี้ยนๆ (ขึ้นขี่หลังเสือแล้วหาทางลงไม่ได้)

แต่การจะตัดสินประชาธิปไตยด้วยปลาเน่าในเข่งก็หาใช่สิ่งถูกต้องสักเท่าไหร่ (ต่อให้มันเน่าทั้งเข่งเลยก็เถอะ!) เพราะวิธีการให้ประชาชนมีสิทธิ์ส่วนร่วมในการเลือก ตัดสินใจ นั่นต่างหากละคืออุดมคติของการปกครอง ความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม ที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นเรื่องผลกรรมเวร สักวันเดี๋ยวพวกเขาก็สาแก่ใจ

สังเกตจากแทบทุกตัวละครในหนัง ‘กรรมสนองกรรม’ ของพวกเขาล้วนเป็นผลลัพท์จากอดีต
– Willie Stark โหยหาชัยชนะ ทำทุกสิ่งอย่างจนได้รับมา ท้ายที่สุดค่อยๆตกต่ำลง ล้วนจากการกระทำของตนเอง
– Jack Burden เริ่มต้นจากไร้อุดมการณ์ แต่พอพบเจอที่คาดคิดว่าใช่แล้วเข้าใจผิด ก็มิอาจกล้ำกลืนฝืนลงจากหลังเสือ
– ผู้พิพากษา พยายามอ้างว่าตนเองทำในสิ่งที่ถูก แต่ครั้งแรกสุดกลับเคยกระทำสิ่งชั่วร้าย เมื่อหวนระลึกตระหนักขึ้นมาได้ เลยมิอาจบากหน้าทนอยู่
– Anne Stanton ทรยศหักหลังแฟนหนุ่ม คบชู้สู่ชาย ไปๆมาๆทรยศต่อครอบครัว สุดท้ายแทบไม่หลงเหลือใครใกล้ตัวมีชีวิตอยู่
ฯลฯ


หนังไม่มีรายงานทุนสร้าง แต่ทำเงินได้ $2.4 ล้านเหรียญ ดูจากขนาดโปรดักชั่นคาดคิดว่าน่าจะขาดทุนพอสมควร, เข้าชิง Oscar 7 สาขา คว้ามา 3 รางวัล
– Best Motion Picture ** คว้ารางวัล
– Best Director
– Best Actor (Broderick Crawford) ** คว้ารางวัล
– Best Supporting Actor (John Ireland)
– Best Supporting Actress (Mercedes McCambridge) ** คว้ารางวัล
– Best Writing, Screenplay
– Best Film Editing

เกร็ด:
– เป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายจนถึงปัจจุบัน ที่ดัดแปลงจากผลงานคว้ารางวัล Pulitzer Prize
– เป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่คว้าภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแต่พลาดสาขาบท ซึ่งครั้งถัดมาคือ Gladiator (2000) รวมเวลา 50 ปีให้หลัง

ส่วนตัวค่อนข้างผิดหวังกับหนัง คัทลอก-วางจาก Citizen Kane ยังไม่เท่าไหร่ อคติเกิดจากมุมมองการดำเนินเรื่อง สัมผัสได้ถึงความโล้เล้ลังเล แถมกระโดดไปกระโดดมา หาหลักปักฐานไม่ค่อยได้เท่าไหร่

แนะนำคอหนังการเมือง เลือกตั้ง เคยอ่านนวนิยายรางวัล Pulitzer Prize, ตากล้อง/นักตัดต่อ นักเรียนภาพยนตร์ลองศึกษาเปรียบเทียบ Citizen Kane, แฟนๆผู้กำกับ Robert Rossen และรู้จักนักแสดงนำ Broderick Crawford, John Ireland, Mercedes McCambridge ไม่ควรพลาด

จัดเรต 18+ กับความหยาบคาย คอรัปชั่น

คำโปรย | แม้ผู้กำกับ Robert Rossen เคยสวมมงกุฎกษัตริย์ All the King’s Men แต่กาลเวลาถูกบีบบังคับให้ต้องสละราชสมบัติ กลับคืนสู่สามัญชนคนธรรมดา
คุณภาพ | พอใช้ได้
ส่วนตัว | ผิดหวังลึกๆ

Crash (2004)


Crash

Crash (2004) hollywood : Paul Haggis ♥♥♥♡

ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ฐานะ ชนชั้นทางสังคม เป็นสาเหตุให้มนุษย์เกิดการกระทบกระทั่ง กระแทก’ชน’กัน จนเกิดปฏิกิริยาโกรธ เกลียด เหยียดหยาม ไม่พยายามครุ่นคิดเข้าใจหัวอกผู้อื่น

ผมว่า Crash เป็นภาพยนตร์ที่เจ๋งมากๆเรื่องหนึ่ง คล้ายๆ Short Cuts (1993), Magnolia (1999) ฯ ร้อยเรียงเรื่องราวจากหลากหลายกลุ่มผู้คน ผสมผสานคลุกเคล้าให้เกิดความสัมพันธ์ร่วมบางอย่าง ปัญหาคือการคว้า Oscar: Best Picture ตัดหน้าตัวเต็งหนึ่ง Brokeback Mountain (2005) เป็นความอัปยศเกือบๆที่สุดแห่งสถาบัน Academy Award

“Was [Crash] the best film of the year? I don’t think so. Crash, for some reason, affected people, it touched people. And you can’t judge these films like that. I’m very glad to have those Oscars. They’re lovely things. But you shouldn’t ask me what the best film of the year was because I wouldn’t be voting for Crash”.

– ผู้กำกับ Paul Haggis ให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2015

นิตยสาร Film Comment เมื่อปี 2014 มีการจัดอันดับ Worst Winners of Best Picture Oscars ผลสำรวจปรากฎว่า
1) Crash
2) Slumdog Millionaire
3) Chicago


Paul Edward Haggis (เกิดปี 1953) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Canadian เกิดที่ London, Ontario ครอบครัวเป็นเจ้าของ The Gallery Theatre ตั้งแต่เด็กเลยเกิดความลุ่มหลงใหลในสายงานนี้ มีความชื่นชอบผู้กำกับ Alfred Hitchcock, Jean-Luc Godard หลังจากมีโอกาสรับชม Blowup (1966) ของ Michelangelo Antonioni มีความต้องการเป็นตากล้องแฟชั่น เข้าเรียนถ่ายภาพยัง Fanshawe College จบแล้วมุ่งสู่ Hollywood เริ่มต้นจากเขียนบทรายการโทรทัศน์ โปรดิวเซอร์ซีรีย์ โด่งดังจากดัดแปลงบท Million Dollar Baby (2004), และภาพยนตร์ Crash (2004)

แรงบันดาลใจของ Crash เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ 9/11 ผู้กำกับ Haggis ตื่นขึ้นกลางดึกหวนระลึกนึกถึงเมื่อหลายปีก่อน 1991 ขากลับจากเดินทางไปรับชม The Silence of the Lambs ถูกชายผิวสีสองคนดักโจรกรรมขโมยรถ Porsche กลายเป็นปม Trauma ฝังลึกในใจ โกรธเกลียดเหยียด ผ่านมาหลายปีจึงค่อยๆครุ่นคิดขึ้นเองได้ ทำไมฉันถึงเหมารวมคนดำทั้งหมดคือความชั่วร้าย

ร่วมงานกับนักเขียนขาประจำ Bobby Moresco พัฒนาบทภาพยนตร์เสร็จสิ้นในระยะเวลา 2 สัปดาห์ นำไปพูดคุย Don Cheadle อาสาแสดงนำและเป็นโปรดิวเซอร์ช่วยหาทุนสร้างให้

เรื่องราวหลักๆของหนังประกอบด้วย
– นักสืบ Graham Waters (รับบทโดย Don Cheadle) เริ่มต้นกำลังมี Sex กับสาวละตินเพื่อนร่วมงาน แต่กลับไม่ครุ่นคิดสานสัมพันธ์ลึกซึ้ง สาเหตุเพราะมีแม่ติดยา ตำหนิต่อว่าตนเองทอดทิ้งน้องชาย Peter (รับบทโดย Larenz Tate) หนีออกจากบ้านกลายเป็นอาชญากรข้างถนน
– Farhad (รับบทโดย Shaun Toub) ชายสูงวัยชาวเปอร์เซีย และลูกสาว Dorri (รับบทโดย Bahar Soomekh) เดินทางไปซื้อปืนสำหรับป้องกันตัว เหตุเกิดเมื่อกลอนประตูร้านของพวกเขามีสภาพไม่ค่อยแข็งแรง ติดต่อนักซ่อมกุญแจ Daniel Ruiz (รับบทโดย Michael Peña) แต่ปัญหาอยู่ที่บานประตู สื่อสารไม่เข้าใจเป็นเหตุให้ค่ำคืนนั้นถูกโจรปล้นทำลายข้าวของ หมดสิ้นทุกสิ่งอย่าง
– ทนาย Rick Cabot (รับบทโดย Brendan Fraser) และภรรยา Jean (รับบทโดย Sandra Bullock) ถูกชายผิวสีสองคนปล้นชิงรถ SUV ไปต่อหน้าต่อตา แถมติดตามตัวไม่ได้เสียที สร้างความหวาดหวั่นสั่นกลัว หญิงสาวพบเห็นใครไม่ใช่ผิวขาวเหมารวมแสดงการเหยียดหยามออกมา
– Anthony (รับบทโดย Ludacris) ชายผิวสีผู้ต้องการร่ำรวยทางลัด ร่วมออกปล้นรถ SUV กับ Peter (รับบทโดย Larenz Tate) โดยมีเป้าหมายเฉพาะคันคนขาว แต่หนึ่งในเป้าหมายกลับเป็น Cameron Thayer (รับบทโดย Terrence Howard) ผู้กำกับภาพยนตร์ผิวสี รู้สึกผิดหวัง อับอายขายขี้หน้าต่อตนเองเป็นอย่างมาก
– นายตำรวจ John Ryan (รับบทโดย Matt Dillon) มีพ่อป่วยไม่สบายโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ วันนั้นขับรถสายตรวจร่วมกับ Tom Hansen (รับบทโดย Ryan Phillippe) เรียกจอดรถ SUV ของ Cameron Thayer และภรรยา Christine (Thandie Newton) หาข้ออ้างโน่นนี่นั่นทำการเหยียดหยามลวนลาม วันถัดมาโดยพบเห็นอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ พยายามสุดความสามารถเพื่อช่วยเหลือ แต่คนติดอยู่ในนั้นคือ Christine
ฯลฯ

ในบรรดาทีมนักแสดง Ensemble Cast โดดเด่นสุดคงหนีไม่พ้น Matt Dillion ที่ได้เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actor เริ่มต้นมาด้วยการเป็นตำรวจจอมเหยียด สร้างความขยะแขยงโกรธเกลียดให้ใครหลายๆคน แต่ฉากถัดๆมาเมื่อตัวละครเริ่มเล่าถึงอดีต เบื้องหลัง ความทุกข์ทรมานของพ่อ และที่สุดคือให้ความช่วยเหลือหญิงสาวผิวสี … คนที่เขาลวนลามกับมือเองเมื่อคืนก่อน ให้ตายเถอะ! มันช่างเป็นวินาทีกลืนไม่เข้าคายไม่ออก บอกไม่ได้ว่าควรจะรู้สึกแสดงออกเช่นไรดี

จริงๆมีอีกคนต้องชื่นชมไม่แพ้กัน นั่นคือ Thandie Newton หญิงสาวผิวสีที่ถูกตัวละครของ Dillion ลูบไล้ลวนลาม หลังจากนั้นเต็มไปด้วยความขุ่นเคืองสามีที่กลับเพิกเฉยเฉื่อยชา นี่ฉันแต่งงานกับหมาข้างถนนหรืออย่างไร! ไฮไลท์เกิดขึ้นขณะประสบอุบัติเหตุติดอยู่ในรถ แม้หัวคว่ำหกคะเมนตีลังกา พอรับรู้ว่านายตำรวจที่กำลังช่วยเธอคือหมอนี่ วินาทีแรกย่อมปฏิเสธขัดขืน แต่ความเป็นตายกลับทำให้มนุษย์คลายอคติทั้งหมดสิ้นเคยมีมา

แซว: Sandra Bullock บทบาทน้อยสุดในหนัง ประมาณ 5 นาทีได้กระมัง แต่กลับค่าตัวสูงสุด แถมชื่นบนเครดิตบนสุดอีกต่างหาก!


ถ่ายภาพโดย J. Michael Muro สัญชาติอเมริกัน ขาประจำผู้กำกับ James Cameron ผลงานเด่นๆ อาทิ The Abyss, Terminator 2: Judgment Day, True Lies, คว้า Oscar: Best Cinematography เรื่อง Dances with Wolves, Titanic

สไตล์ถนัดของ Muro คือใช้กล้อง Steadicam จัดแสงธรรมชาติ ซึ่งเรื่องนี้โดดเด่นมากกับฉากกลางคืน ปรับโฟกัสระยะใกล้-ไกล พบเห็นแสงไฟกลมๆระยิบระยับประดับพื้นหลัง ราวกับดวงวิญญาณ ภยันตรายกำลังคืนคลานเข้าหา

หลายคนอาจไม่ทันสังเกตว่า ช่วงกลางๆเรื่องตัวละครของ … มีพูดถึงการขึ้นโดยสารรถประจำทาง

“You have no idea why they put them great big windows on the sides of buses, do you?

One reason only. To humiliate the people of color who are reduced to ridin’ on ’em”.

ปากดีหนักหนาว่าจะไม่มีวันปล้นรถ ทำร้ายคนผิวสีด้วยกันเอง แต่เมื่อผิดพลาดพลั้งเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว หมอนี่เลยโดยสารรถประจำทาง ยินยอมรับความอับอายขายขี้หน้าต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ตัดต่อโดย Hughes Winborne สัญชาติอเมริกัน ผลงานเด่นๆ อาทิ Crash (2004), The Pursuit of Happyness (2006), The Help (2011), Guardians of the Galaxy (2014) ฯ

จุดหมุนของหนังคือเมือง Los Angeles ในระยะเวลา 3 วัน 2 คืน เริ่มต้นจากกลางคืนวันที่สอง ย้อนกลับไปเมื่อวาน และสิ้นสุดเหตุการณ์วันพรุ่งนี้

หนังประกอบขึ้นจากหลากหลายเรื่องราว/กลุ่มคน/สถานที่ ซึ่งการเชื่อมต่อเปลี่ยนฉาก มักมีบางสิ่งอย่างสำหรับส่งไม้ผลัด อาทิ
– กำลังขับรถผ่าน พบเห็นอีกเหตุการณ์จึงนำเข้าสู่เรื่องราวนั้น
– ตัวละครตรงรี่ไปเปิดประตู ตัดไปอีกเรื่องราวที่เริ่มต้นจากตอนเปิดประตู
ฯลฯ

สำหรับเพลงประกอบ เครดิตโดย Mark Isham นักทรัมเป็ต Synthesist สัญชาติอเมริกัน โดดเด่นแนว Jazz กับ Electronic สร้างสรรค์บทเพลงที่มีสัมผัสแห่งความเวิ้งว้างว่างเปล่า ราวกับสุญญากาศ จิตวิญญาณมนุษย์ค่อยๆถูกครอบงำด้วยบางสิ่งอย่าง ภยันตรายรายล้อมแทบทุกทิศทาง … แต่นั่นอยู่ที่มุมมองทัศนคติของตัวคุณเอง

คงไม่มี Soundtrack ไหนของหนังจะทรงพลังไปกว่า A Really Good Cloak ราวกับว่ามีเทพเทวดา เสื้อกันกระสุนล่องหนจริงๆปกคลุมเสียงกรีดร้องอย่างสโลโมชั่นและปฏิกิริยาสีหน้าอันตื่นตระหนัก ก่อนเด็กหญิงจะเงยหน้าขึ้นพูดประโยคอึ้งทึ่ง “It’s a really good cloak”.

แซว: มีคำวิจารณ์ใน Comment ของ Youtube ยกย่องฉากนี้ว่า “Most Wrenching Scenes in the history of American film”.

ชื่อหนัง Crash ไม่ใช่แค่ขับรถหรือเดินชนจนเกิดอุบัติเหตุ ยังหมายถึงการเผชิญหน้าระหว่างสองกลุ่ม อันก่อให้เกิดความขัดแย้งไม่เข้าใจกัน ลุกลามบานปลายเหมารวมทั้งหมดว่าคือชนวนสาเหตุ

Crash นำเสนอเรื่องราวของคนผิวขาว-ผิวเหลือง-ผิวสี เอเชีย-เปอร์เซีย-ละติน ตำรวจ-อาชญากร ฐานะร่ำรวย-ยากจน สูงวัย-เด็กหญิง ทั้งหมดมีความแตกต่างเป็นพื้นฐาน ชนวนสาเหตุให้เกิดความขัดแย้ง โกรธเกลียดกลายเป็นเหยียด เหมารวมสิ่งร้ายๆทั้งที่เป็นเรื่องตัวบุคคล เมื่อถึงจุดๆหนึ่งถูกย้อนแย้งบางสิ่งเข้ากับตัว ถึงค่อยตระหนักครุ่นคิดขึ้นเองได้

สิ่งดีงามของภาพยนตร์เรื่องนี้ ทุกสิ่งดีงาม-ชั่วร้ายที่ตัวละครกระทำในครึ่งแรก ล้วนส่งผลกระทบย้อนแย้งเข้ากับตัวในครึ่งหลัง
– ตำรวจจอมเหยียด ให้ความช่วยเหลือหญิงผิวสีที่ตนลวนลาม
– ตำรวจหนุ่มผู้มากด้วยอุดมการณ์ กลับเข่นฆ่าคนดีไม่ได้ครุ่นคิดร้ายประการใด
– อาชญากรลักขโมยรถ ปลดปล่อยแรงงานทาสผิดกฎหมาย
– ชายสูงวัยชาวอิหร่าน หงุดหงิดโทโสต่อคนซ่อมกุญแจ ตั้งใจจะยิงปืนขู่ฆ่า พลั้งพลาดโดนเด็กหญิง โชคดีกระสุนเปล่า สำนึกตัวได้ว่านั่นเป็นสิ่งไม่ถูกต้องสมควร
– หญิงสาวพูดจาเหยียดหยาม แสดงอาการหวาดกลัวเกรงชนชาติอื่นๆ เมื่อตกบันไดได้รับการช่วยเหลือจากคนรับใช้ คงเกิดความเข้าใจไม่ใช่ทุกคนจะชั่วร้ายเลวทราม
ฯลฯ

ไม่มีตัวละครไหนใน Crash ที่คือผู้ก่อเหตุ ทั้งหมดคือ ‘เหยื่อ’ ถูกกระทำจากบริบททางสังคม ผลพวงกระทบต่อเนื่องจากเหตุการณ์หนึ่งสู่เหตุการณ์หนึ่ง พลังบวกกลายเป็นลบ ตั้งใจดีกลับได้ผลร้ายๆ หลังจากผ่านช่วงเวลาอันน่าอับอาย ทุกสิ่งอย่างจะกลับตารปัตรตรงกันข้าม

แม้หนังออกฉายเทศกาล Toronto International Film Festival ตั้งแต่ปี 2004 แต่สตูดิโอ Lions Gate ผู้จัดซื้อไม่ได้นำออกฉายปลายปีนั้น ล่วงเลยข้ามปี 2005 เลยได้ลุ้น Oscar อีกหนึ่งปีถัดมา


ด้วยทุนสร้าง $6.5 ล้านเหรียญ ทำเงินในอเมริกา $53.4 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $98.4 ล้านเหรียญ แม้ประสบความสำเร็จล้นหลาม แต่เป็นหนังรางวัล Oscar: Best Picture ทำเงินน้อยสุดในอเมริกานับตั้งแต่ The Last Emperor (1987) [ก่อนตามด้วย The Hurt Locker (2008)]

เข้าชิง Oscar 6 สาขา คว้ามา 3 รางวัล
– Best Picture ** คว้ารางวัล
– Best Director
– Best Supporting Actor (Matt Dillon)
– Best Film Editing ** คว้ารางวัล
– Best Original Screenplay ** คว้ารางวัล
– Best Original Song บทเพลง In the Deep

เกร็ด:
– Paul Haggis คือคนแรกคนเดียวที่เขียนบทหนังคว้ารางวัล Oscar: Best Picture สองปีติด (ปีก่อนจาก Million Dollar Baby)
– เรื่องเดียวในประวัติศาสตร์ที่คว้า Oscar: Best Picture แต่ไม่ได้เข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจาก Golden Globe Awards
– ชื่อหนังพยางค์เดียวจำนวนอักษรน้อยสุด เคียงข้าง Wings (1927)

ถ้าหนังเรื่องนี้ไม่คว้า Oscar: Best Picture ผมเชื่อว่าน่าจะได้รับยกย่องสรรเสริญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามกาลเวลา โดยเฉพาะการมาถึงของ #OscarSoWhite และ #MeToo มีใจความต่อต้านการเหยียด เหมารวมแทบทุกสิ่งอย่าง

แต่ประเด็นคือหนังคว้า Oscar: Best Picture ตัดหน้าตัวเต็งหนึ่ง Brokeback Mountain น่าจะด้วยสาเหตุเดียวเท่านั้น คือสมาชิก Academy ยังยินยอมเปิดรับเรื่อง ‘รักร่วมเพศ’ ไม่ได้ อคติเกิดขึ้นจากความเห็นต่าง เป็นโชคชะตากรรมของหนังที่แสน Ironic นักเชียว!

ส่วนตัวชื่นชอบหนังเรื่องนี้พอสมควรเลยละ จี๊ดมากๆตอนตำรวจจอมเหยียดให้ความช่วยเหลือสาวผิวสีที่ตนลวนลาม ความ Ironic ดังกล่าว สอนใจใครต่อใครไม่น้อยทีเดียว

แนะนำคอหนัง Drama แนววิพากย์สังคม แฝงข้อคิดดีๆต่อการใช้ชีวิต, นักตัดต่อ ผู้สร้างภาพยนตร์, รวมทีมนักแสดง Sandra Bullock, Don Cheadle, Matt Dillon, Terrence Howard, Thandie Newton ฯ

จัดเรต 18+ กับการเหยียดหยาม ลวนลาม พฤติกรรมอันน่าละอาย

คำโปรย | Crash เป็นภาพยนตร์ที่กระแทกกระทั้นผู้อื่นไปทั่ว แม้ด้วยความปรารถนาดี แต่ล้วนมีความเข้าใจผิดเสียๆหายๆ
คุณภาพ | ยอดเยี่ยม
ส่วนตัว | ชื่นชอบ