Debussy: Clair de lune


Debussy: Clair de lune

แสงจันทรายามค่ำคืน ตกกระทบพื้นผิวน้ำ มันช่างสงบงามและเศร้าสร้อย จิตวิญญาณล่องลอย โหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย, Claude Debussy ใช้เวลาประพันธ์ Suite bergamasque ยาวนานกว่า 15+ ปี กลายเป็นบทเพลงอมตะ คละคลุ้งด้วยกลิ่นอาย Impressionist

บทเพลง Suite bergamasque (1890-1905) มีลักษณะ Piano Suite (บรรเลงด้วยเปียโน) ประกอบด้วย 4 Movement

  1. Prélude
  2. Menuet
  3. Clair de lune
  4. Passepied

แต่คนส่วนใหญ่มักรู้จักเพียงท่อนที่สาม III. Clair de lune ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า Moonlight, แสงจันทร์ ถูกนำมาบรรเลงในหลากหลายโอกาส ไม่ใช่แค่ประกอบโฆษณา ภาพยนตร์ ยังมักได้ยินตามห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ ริมเล บรรยากาศชิลๆ สำหรับสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้มาใช้บริการ บางคนยังใช้กล่อมเด็ก เปิดฟังก่อนนอนจะได้หลับฝันดี

เกร็ด: ภาพวาดหน้าปกที่นำมาคือ Starry Night Over the Rhône (1888) ของ Vincent van Gogh


Claude-Achille Debussy (1862-1918) คีตกวี ‘Impressionist’ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Saint-Germain-en-Laye, Seine-et-Oise ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุง Paris, ช่วงระหว่าง Franco-Prussian War (1870) ครอบครัวอพยพสู่เมือง Cannes ทำให้เด็กชาย Debussy วัยเจ็ดขวบมีโอกาสร่ำเรียนเปียโน ไม่นานนักก็ค้นพบพรสวรรค์ เลยถูกส่งเข้าศึกษายัง Conservatoire de Paris ขึ้นแสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกเมื่อปี 1874 จากการเล่นบทเพลง Chopin: Piano Concerto No. 2 in F minor, Op. 21 คว้ารางวัล Deuxième Accessit (ที่สอง), ช่วงฤดูร้อน 1879 รับเล่นเปียโน (part-time) อยู่ที่ Château de Chenonceau ใช้เวลาว่างประพันธ์เพลงแรกในชีวิต ดัดแปลงจากบทกวีของ Alfred de Musset ประกอบด้วย Ballade à la lune และ Madrid, princesse des Espagnes

คีตกวีที่ถือเป็นแรงบันดาลใจคนสำคัญของ Debussy นั้นคือ Richard Wagner เมื่อมีโอกาสรับชมอุปรากร Tristan und Isolde เมื่อปี 1887 ถึงกับเอ่ยปากว่ายอดเยี่ยมที่สุด “the finest thing I know” แม้ผลงานของทั้งสองจะมีความแตกต่างคนละสไตล์ แต่สิ่งที่ส่งอิทธิพลคือแนวความคิดสร้างสรรค์

[Wagner] created a new, instinctive, dreamlike world of music, lyrical and pantheistic, contemplative and objective – a kind of art, in fact, which seemed to reach out into all aspects of experience.

Claude Debussy

หลังสำเร็จการศึกษา Debussy มีโอกาสเดินทางไปทำงาน Rome, Italy ไปๆกลับๆอยู่หลายปี จึงคาดกันว่าเริ่มต้นประพันธ์ Suite bergamasque ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1880s-1890s … คำว่า Bergamasque เป็นคำเรียกภาษาฝรั่งเศสของเมือง Bergamo, Lombardia อยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี ซึ่งมีความเก่าแก่ สถาปัตยกรรมเฉพาะตัว และได้รับยกย่องเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 2017

ไม่มีใครรับรู้ว่า Suite bergamasque แต่งเสร็จ ไม่เสร็จ หรืออะไรยังไง คาดกันว่า Debussy น่าจะยังไม่พึงพอใจในผลลัพท์ เพราะเป็นงานประพันธ์ที่ยังไม่เติบโตนัก จึงไม่เคยนำออกเผยแพร่สู่สาธารณะ จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1905 ได้รับการติดต่อจากสำนักพิมพ์ เล็งเห็นโอกาสที่จะใช้จุดขาย ‘ประพันธ์นาน 15+ ปี’ จึงนำเอาบทเพลงนี้มาปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะสองท่อนสุดท้ายมีการเปลี่ยนชื่อ เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่

  • ท่อนสามจากเดิม Promenade sentimentale (แปลว่า Sentimental walk) กลายมาเป็น Clair de lune
  • และท่อนสี่จากเดิม Pavane กลายมาเป็น Passepied (ทั้งสองคำต่างคือชื่อประเภทบทเพลงเต้นรำ)
    • Passepied ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า Pass-Foot เป็นท่าเต้นรำในพระราชวัง (Court Dance) เคยได้รับความนิยมช่วงศตวรรษที่ 16-18
    • Pavane ก็เป็นชื่อประเภททเพลงเต้นรำจังหวะช้าของยุโรป ได้รับความนิยมในย่าน Padua (ประเทศอิตาลี) ช่วงศตวรรษที่ 16

และสำหรับ Clair de lune ยังได้แรงบันดาลใจจากบทกวีชื่อเดียวกันของ Paul-Marie Verlaine (1844-96) สัญชาติฝรั่งเศส ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1869

ต้นฉบับฝรั่งเศสแปลอังกฤษ
Votre âme est un paysage choisi
Que vont charmant masques et bergamasques
Jouant du luth et dansant et quasi
Tristes sous leurs déguisements fantasques.

Tout en chantant sur le mode mineur
L’amour vainqueur et la vie opportune
Ils n’ont pas l’air de croire à leur bonheur
Et leur chanson se mêle au clair de lune,

Au calme clair de lune triste et beau,
Qui fait rêver les oiseaux dans les arbres
Et sangloter d’extase les jets d’eau,
Les grands jets d’eau sveltes parmi les marbres.
Your soul is a chosen landscape
On which masks and Bergamasques cast enchantment as they go,
Playing the lute, and dancing, and all but
Sad beneath their fantasy-disguises.

Singing all the while, in the minor mode,
Of all-conquering love and life so kind to them
They do not seem to believe in their good fortune,
And their song mingles with the moonlight,

With the calm moonlight, sad and lovely,
Which makes the birds dream in the trees,
And the plumes of the fountains weep in ecstasy,
The tall, slender plumes of the fountains among the marble sculptures.

ทั้งสี่ท่อนของ Suite bergamasque มีจังหวะ อารมณ์ วัตถุประสงค์การนำเสนอที่แตกต่างออกไป

  • Prélude จังหวะปานกลาง (Moderato) เริ่มต้นด้วยท่วงทำนองเร่งเร้า มีชีวิตชีวา ดูน่าตื่นตาตื่นใจ ก่อนค่อยๆลดระดับความเร็วลงจนช้าเนิบ แต่ยังคงความงดงาม น่าติดตาม ชักชวนให้ผู้ฟังอดใจรอสักนิด ‘ช้าๆได้พร้าเล่มงาม’ ก่อนเข้าสู่ไคลน์แม็กซ์ที่ใครต่อใครเฝ้ารอคอย
  • Menuet จังหวะช้าพอประมาณ (Andante) ท่วงทำนองมีความสนุกสนาน ร่าเริงขบขัน (Playful Comedic) ชักชวนผู้ฟังลุกขึ้นมาโยกเต้น เริงระบำ สร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ โยนความตึงเครียดทิ้งไป
  • Clair de lune จังหวะช้าพอประมาณ (Andante) จินตนาการถึงแสงจันทร์ตกกระทบผืนน้ำ มีความงดงามระยิบระยับ จิตวิญญาณล่องลอย สายลมพัดปลิดปลิว โหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย จะได้ไม่อ้างว้าง เปล่าเปลี่ยว นั่งอยู่ตัวคนเดียวอีกต่อไป
  • Passepied จังหวะค่อนข้างเร็ว (Allegretto) แต่มอบความรู้สึกเหมือนการกระโดดย่างเท้า รวดเร็วแต่น้ำหนักเบา ปลิดปลิวเหมือนปุยนุ่น ล่องลอยสู่ความเป็นนิจนิรันดร์

หลายปีที่ผ่านมา ผมเริ่มไม่ค่อยอินกับบทเพลงที่ชอบบดขยี้ บี้อารมณ์มากเกินไป โหยหาความเพียงพอดี ไม่เยิ่นเย้อยืดยาว ฉบับของ Walter Gieseking บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1956 ถือว่าไม่มากไม่น้อยเกินไป!

บังเอิญไปพบคลิปการตีความบทเพลงนี้ของ Lang Lang บรรเลงได้หยดย้อย หวานปานน้ำผึ้งเดือนห้า ส่วนตัวไม่ค่อยชอบสักเท่าไหร่ ใส่อารมณ์มากเกินไป แต่เหมาะกับคนที่อยากทำความเข้าใจบทเพลงนี้ผ่านมุมมองนักดนตรี ตีความอาจจะแตกต่างออกไป น่าจะมีประโยชน์มากๆเลยละ

มีภาพยนตร์นับไม่ถ้วน มากเกินไปด้วยซ้ำที่นำ Clair de lune มาเป็นเพลงประกอบพื้นหลัง อาทิ The Right Stuff (1983), And the Ship Sails On (1983), Ocean’s Eleven (2001), Man on Fire (2004), Atonement (2007), Tokyo Sonata (2008), The Twilight Saga: Eclipse (2010), Everything Everywhere All at Once (2022), The Creator (2023) ฯลฯ

ผมอยากกล่าวชมตัวอย่างภาพยนตร์ Godzilla, King of Monsters (2018) ถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่ใช้ประโยชน์จากบทเพลง Clair de lune ได้อย่างน่าประทับใจ ปลุกคืนชีพสัตว์ประหลาด Mothra ที่ควรหลับใหลใต้แสงจันทร์ ฟื้นตื่นขึ้นมาเป็นตัวร้ายหลักของหนัง (มั้งนะ ผมยังไม่มีโอกาสรับชม)

อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องกล่าวถึงคือภาพยนตร์อนิเมชั่น Fantasia (1940) ดั้งเดิมเคยใช้ Clair de lune เป็นบทเพลง Opening Song แต่ผลลัพท์ออกมาไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่เลยถูกปรับเปลี่ยนบทเพลงอื่นแทน ลองรับชมคลิป Delete Scene ดูเองก็แล้วกัน มีการทำอนิเมชั่นให้สอดคล้องภาพเคลื่อนไหว

ในบรรดาเพลงคลาสิกที่เกี่ยวกับแสงจันทร์ (Moonlight) ยามค่ำคืน (Nocturne) แน่นอนว่า Debussy: Clair de lune คืออันดับต้นๆที่สร้างความซาบซ่าน กินใจ ตอนผมได้ยินครั้งแรกๆก็ตกหลุมรัก ลุ่มหลงใหล แต่พอพบเห็นสื่อต่างๆมากมายนำมาใช้ประกอบพื้นหลัง ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนเกิดความเบื่อหน่าย เอือมระอา ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา สูญเสียมนต์เสน่ห์ไปเรียบร้อยแล้วละ … ถ้าเลือกใช้อย่างสมเหตุสมผลก็ยังพอรับได้อยู่ละ

ความไพเราะของบทเพลงนี้ เวลานานๆฟังที ในวโรกาสที่เหมาะสมก็ยังเพราะพริ้งอยู่ ความตั้งใจของ Debussy คือสร้างสัมผัส Impressionist ไม่ใช่บดขยี้ หรือบีบเค้นคั้นทางอารมณ์ แต่ก็แล้วแต่รสนิยมชื่นชอบส่วนบุคคล ถือเป็นบทเพลงคลาสสิกเข้าถึงผู้ฟังในวงกว้าง ไม่เช่นนั้นคงไม่ได้ยินเกลื่อนกลาดมากมายขนาดนี้

คำโปรย | Debussy: Clair de lune แสงจันทรายามค่ำคืน ช่างสงบงามและเศร้าสร้อย จิตวิญญาณล่องลอย โหยหาใครสักคนเคียงข้างกาย
คุณภาพ | จั
ส่วนตัว | เคลิบเคลิ้มล่องลอย

Debussy: Deux Arabesques


Debussy: Deux Arabesques

Arabesque คือลวดลายสไตล์อาหรับ ที่มีลักษณะเรขาคณิตหรืออักษรวิจิตร ทำซ้ำ-เรียงซ้อน-ติดต่อเนื่องกันไป แต่บทเพลง Arabesques (1888 & 1891) ของคีตกวี Claude Debussy (1862-1918) มอบสัมผัส Impressionist กลิ่นอาย Late-Romantic (1800-1910) ทำให้ผู้ฟังเคลิบเคลิ้ม ล่องลอย ระริกระรี้อยู่บนสรวงสวรรค์

Claude-Achille Debussy (1862-1918) คีตกวี ‘Impressionist’ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Saint-Germain-en-Laye, Seine-et-Oise ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุง Paris, ช่วงระหว่าง Franco-Prussian War (1870) ครอบครัวอพยพสู่เมือง Cannes ทำให้เด็กชาย Debussy วัยเจ็ดขวบมีโอกาสร่ำเรียนเปียโน ไม่นานนักก็ค้นพบพรสวรรค์ เลยถูกส่งเข้าศึกษายัง Conservatoire de Paris ขึ้นแสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกเมื่อปี 1874 จากการเล่นบทเพลง Chopin: Piano Concerto No. 2 in F minor, Op. 21 ในงานประกวดประจำปี คว้ารางวัล Deuxième Accessit (ที่สอง), ช่วงฤดูร้อน 1879 รับเล่นเปียโน (part-time) อยู่ที่ Château de Chenonceau ใช้เวลาว่างประพันธ์เพลงแรกในชีวิต ดัดแปลงจากบทกวีของ Alfred de Musset ประกอบด้วย Ballade à la lune และ Madrid, princesse des Espagnes

คีตกวีที่ถือเป็นแรงบันดาลใจคนสำคัญของ Debussy นั้นคือ Richard Wagner เมื่อมีโอกาสรับชมอุปรากร Tristan und Isolde เมื่อปี 1887 ถึงกับเอ่ยปากว่ายอดเยี่ยมที่สุด “the finest thing I know” แม้ผลงานของทั้งสองจะมีความแตกต่างคนละสไตล์ แต่สิ่งที่ส่งอิทธิพลคือแนวความคิดสร้างสรรค์

[Wagner] created a new, instinctive, dreamlike world of music, lyrical and pantheistic, contemplative and objective – a kind of art, in fact, which seemed to reach out into all aspects of experience.

Claude Debussy

สำหรับ Deux Arabesques หรือ Two Arabesques คือบทเพลงบรรเลงเปียโน ประกอบด้วย

  • Première Arabesque หรือ Arabesque No. 1. Andantino con moto (1888)
  • Deuxième Arabesque หรือ Arabesque No. 2. Allegretto scherzando (1891)

ทั้งสองบทเพลงล้วนเป็นการทดลองสร้างเสียงดนตรี ให้สอดคล้องกับภาพวาด ผลงานศิลปะ ซึ่งยุคสมัยนั้น Art Nouveau (1890-1910) กำลังได้รับความนิยมแพร่หลาย, Debussy เลยเขียนสองบทเพลงนี้โดยนำแรงบันดาลใจจากลวดลาย Arabesques … นี่คือบทเพลงแรกๆที่ Debussy ทำการทำลองแต่งขึ้นโดยอ้างอิงจากจากภาพวาด ผลงานศิลปะ ซึ่งจะถูกต่อยอดสู่ธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร ผืนน้ำ มหาสมุทร แสงจันทรา ฯลฯ กลายเป็นต้นแบบในการประพันธ์บทเพลงสไตล์ ‘Impressionist’ ในยุคหลังๆ

That was the age of the ‘wonderful arabesque’ when music was subject to the laws of beauty inscribed in the movements of Nature herself.

Claude Debussy

แต่ถึงจะบอกว่าบทเพลงได้แรงบันดาลใจมาจากความงดงามของลวดลาย Arabesque แต่ผู้ฟังแทบทั้งนั้นมักจินตนาการถึงภาพวาด ‘Impressionist’ โดยเฉพาะผลงานของจิตรกรชาวฝรั่งเศส Claude Monet (1840-1926) อย่างภาพบนหนังสือโน๊ตเพลงที่ผมนำมา ก็คือภาพสีน้ำมัน Boulevard des Capucines (1873) บนท้องถนนที่คาคลั่งด้วยผู้คนเดินทางไปมาขวักไขว่ (แต่ผมก็ไม่รู้ทำไมหน้าปกเพลงถึงพลิกกลับภาพจากซ้ายเป็นขวาด้วยนะครับ)

แนะนำให้รับชมคลิปนี้ที่ทำการร้อยเรียงภาพวาดของจิตรกร Claude Monet คลอประกอบบทเพลง Arabesque No.1 ของคีตกวี Claude Debussy … มาครุ่นคิดดูก็แอบน่าทึ่งอยู่เล็กๆ เพราะทั้งสอง Claude (ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใดๆ) ต่างเป็นผู้บุกเบิกยุคสมัย Impressionist (คนหนึ่งคือจิตรกร อีกคนหนึ่งคือคีตกวี) โด่งดังประสบความสำเร็จในช่วงไล่เลี่ยกัน

แซว: แต่ผมไปพบเจอว่า Debussy ชื่นชอบผลงานศิลปะของ J. M. W. Turner และ James Abbott McNeill Whistler มากกว่านะครับ

คนส่วนใหญ่มักรับรู้จัก จดจำได้เพียง Arabesques No.1 แต่บทเพลงนี้ยังมี Arabesques No.2 ที่แม้ไม่ได้ตราตรึงเทียบเท่า แต่ยังคงโดดเด่นในลูกเล่นลีลา มอบสัมผัส Impressionist เหมือนเด็กน้อยกำลังวิ่งเล่นอย่างเพลิดเพลินสนุกสนาน สำราญกาย-ใจ ระริกระรี้โดยไม่ยี่หร่าอะไรใคร

หลายคนน่าจะคาดเดาไม่ยากว่าทำไมผมถึงเขียนบทเพลงนี้ เพราะแทบจะเป็น Main Theme ของภาพยนตร์ All About Lily Chou-Chou (2001) หรือถ้าตามภาษาวัยสะรุ่นในหนังก็คือบทเพลงทำให้ผู้ฟังสัมผัสถึงสสาร Ether ที่ล่องลอยอยู่รอบตัวเรา บังเกิดความผ่อนคลาย เบาสบาย แล้วหายใจเข้าเต็มปอด ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างบนโลก เพื่อบังเกิดความสงบสันติสุขขึ้นภายใน

ในบรรดาผลงานเปียโนของ Debussy ระหว่าง Arabesques No. 1, Rêverie (1890) และ Clair De Lune (1890) บอกตามตรงว่าผมเลือกไม่ได้จริงๆว่าชื่นชอบเพลงไหนมากกว่า (แต่เพลงดังที่สุดน่าจะ Clair De Lune) หนึ่งล่องลอยบนสรวงสวรรค์ สองบนความเพ้อฝัน สามท่ามกลางแสนจันทรา ต่างช่างมีความไพเราะเพราะพริ้ง งดงามจับจิตจับใจ ยิ่งถ้าได้นักเปียโนตีความเก่งๆ ย่อมทำให้น้ำลายฟูมปากด้วยกันทั้งนั้น

ซึ่งฉบับที่ผมชื่นชอบประทับใจสุดบรรเลงโดย François-Joël Thiollier (เกิดปี 1943) นักเปียโนชาวฝรั่งเศส-อเมริกัน หลายคนฟังแล้วสัมผัสได้ว่ามีความเชื่องช้ากว่าปกติ แต่นี่คือความเร็ว ‘Tempo’ ที่แท้จริงของเพลงนี้นะครับ (นักเปียโนอื่นๆมักเล่นด้วยความเร่ง เร็วติดจรวด ไม่รู้จะรีบร้อนไปไหน) สังเกตว่าทุกท่องของบทเพลงจะมีช้า-เร็ว ดัง-ค่อย สลับกันไป เป็นการสร้างสมดุลในความสลับซับซ้อน สอดคล้องลักษณะลวดลาย Arabesques ได้อย่างลุ่มลึกล้ำกว่ามากๆ

Debussy ถือเป็นอีกคีตกวีคนสำคัญของโลก หนึ่งในผู้บุกเบิกไม่ใช่แค่บทเพลงสัมผัส Impressionist แต่ยัง Modern Music ที่ทำการสร้างเสียงเพลงให้สอดคล้องสิ่งต่างๆรอบข้าง (ธรรมชาติ ภาพวาด ผลงานศิลปะ ฯลฯ) ใครสนใจแนะนำให้ลองหารับฟัง

  • Prélude à l’Aprés-Midi d’un Faune (1894) ถือเป็นหมุดหมายของ Modern Music เริ่มต้นที่บทเพลงนี้
  • Pelléas Et Mélisande (1902) แม้เป็นอุปรากรเรื่องเดียวในชีวิตของ Debussy แต่ได้รับการยกย่องว่าเป็น Landmark จุดเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20th
  • La Mer (1905) ได้แรงบันดาลใจจากภาพวาด The Great Wave off Kanagawa (1831) หนึ่งในผลงานชิ้นเอกของ Katsushika Hokusai

คำโปรย | Arabesques ของ Claude Debussy ทำให้ผู้ฟังเคลิบเคลิ้ม ล่องลอย ระริกระรี้อยู่บนสรวงสวรรค์
คุณภาพ | ค์
ส่วนตัว | เคลิบเคลิ้ม

Puccini: O mio babbino caro


Puccini: O mio babbino caro

O mio babbino caro แปลว่า Oh my dear Papa ท่อนขับร้อง Soprano จากอุปรากร Gianni Schicchi (1918) ที่คนสมัยนี้ไม่ค่อยรับรู้จักของคีตกวีสัญชาติอิตาเลี่ยน Giacomo Puccini (1858-1924) แต่ได้รับการยกย่องจดจำ จนแทบจะกลายเป็นเพลงประจำเมือง Florence โหยหวน คร่ำครวญ หัวใจสั่นไหว สะท้านถึงทรวงใน

Giacomo Puccini ชื่อเต็มๆ Giacomo Antonio Domenico Michele Secondo Maria Puccini (1858-1924) คีตกวีสัญชาติอิตาเลี่ยน เกิดที่ Lucca เป็นบุตรคนที่หกจากเก้า ในตระกูลนักดนตรีเก่าแก่ Giacomo (1712–81) สืบทอดตำแหน่ง maestro di cappella (ผู้อำนวยการดนตรี) ให้กับ Cattedrale di San Martino จากรุ่นทวดสูหลาน ยาวนานกว่าร้อยปี! ไม่ได้สนใจว่าบุตรชายจะมีความชื่นชอบด้านดนตรีหรือไม่ ทำการเสี้ยมสอน หล่อหลอม ส่งไปร่ำเรียนต่อ Milan Conservatory ประพันธ์เพลงแรก Messa (1880) เป็นแนว Church Music ใช้ประกอบพิธีมิสซา

ชื่อเสียงของ Giacomo Puccini โด่งดังจากการประพันธ์อุปรากร (Italian Opera) สืบสานต่อยุคสมัยของ Giuseppe Verdi (1813-1901) พัฒนาจากยุคปลาย late-Baroque ก้าวเข้าสู่ Romantic Era ผลงานเด่นๆ อาทิ La bohème (1896), Tosca (1900), Madama Butterfly (1904), Turandot (1924) ฯ

สำหรับบทเพลงที่ผมนำมากล่าวถึงนี้ O mio babbino caro คือท่อน Aria (บทร้องเดี่ยว สำหรับให้ตัวละครเพียงคนเดียวขับร้องในการแสดงอุปรากร) ระดับเสียง Soprano จากอุปรากรตลก Gianni Schicchi (1918) เขียนคำร้องโดย Giovacchino Forzano ได้แรงบันดาลใจจากกวีมหากาพย์ Comedìa หรือ Divine Comedy (1320) ภาค Inferno (แปลว่า Hell) ผลงานชิ้นเอกของ Dante Alighieri (1265-1321) นักเขียน นักกวีชาวอิตาเลี่ยน ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคกลาง (Middle Age)

เรื่องราวมีพื้นหลัง Florence เมื่อปี ค.ศ. 1299, เริ่มต้นด้วยฉากการเสียชีวิตของมหาเศรษฐี Buoso Donati ทำให้บรรดาญาติๆพี่น้องต่างอยู่ห้อมล้อม รอคอยการอ่านพินัยกรรม แต่ปรากฎว่าทรัพย์สินทั้งหมดถูกยกให้มหาวิหาร Santa Reparata ท่ามกลางความสิ้นหวังนั้นเอง หลานชาย Rinuccio เสนอให้ไปขอคำแนะนำ Gianni Schicchi บิดาของหญิงสาวคนรัก Lauretta ถึงขนาดอาสาปลอมตัวเป็น Buoso Donati แล้วเรียกทนายความให้มาแก้ไขพินัยกรรม

ด้วยความที่ Gianni Schicchi เคยมีความเจ็บแค้นฝังหุ่นกับตระกูล Donati เพราะในอดีตเคยโดนใครต่อใครพูดดูถูกเหยียดหยามเรื่องชาติกำเนิดอันต้อยต่ำ เลยบอกให้ทนายแก้พินัยกรรมโดยให้ยกทรัพย์สมบัติส่วนมีค่าที่สุดให้ตนเอง เมื่อหนุ่มสาว Rinuccio และ Lauretta พบเห็นเหตุการณ์พลิกกลับตารปัตร ก็แสดงอาการดีใจอย่างออกนอกหน้า คาดคิดว่าพวกเขาจะมีสินสอดเงินทองสำหรับหมั้นหมายแต่งงาน ครองคู่อยู่ร่วมสมดั่งใจหวัง

ภาพการออกแบบฉากที่ใช้ในการแสดงอุปรากร

ภาพการออกแบบตัวละครและเสื้อผ้าของ Gianni Schicchi, Lauretta และ Rinuccio

กลับมาที่ O mio babbino caro แปลไทย โอ้! ปะป๊าสุดที่รัก ขับร้องโดยหญิงสาว Lauretta ในฉากที่เธอพร่ำรำพัน ร่ำร้องขอให้บิดาช่วยแฟนหนุ่มเรื่องพินัยกรรม ถึงขนาดพูดคำขู่ถ้ารักครั้งนี้ไม่สมหวัง จะไปกระโดดสะพาน Ponte Vecchio ทิ้งตนเองลงสู่ก้นเบื้องแม่น้ำ Arno

O mio babbino caro,
mi piace, è bello, bello,
Vo’ andare in Porta Rossa
a comperar l’anello!

Sì, sì, ci voglio andare!
E se l’amassi indarno,
andrei sul Ponte Vecchio,
ma per buttarmi in Arno!

Mi struggo e mi tormento!
O Dio, vorrei morir!
Babbo, pietà, pietà!
Babbo, pietà, pietà!
Oh my beloved father,
I love him, I love him,
I’ll go to Porta Rossa,
To buy our wedding ring!

Oh yes, I really love him!
And if you still say no,
I’ll go to Ponte Vecchio,
And throw myself below!


My love for which I suffer,
At last, I want to die!
Father, I beg, I beg!
Father, I beg, I beg!

ด้วยความยาวเพียงองก์เดียวของ Gianni Schicchi จึงไม่เพียงพอสำหรับหนึ่งค่ำคืน Puccini จึงมีการประพันธ์เพิ่มเติมอีกสองเรื่อง Il tabarro (The Cloak) และ Suor Angelica (Sister Angelica) รวมเรียกว่า Il Trittico (The Triptych) เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์วันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1918 ยังโรงอุปรากร Metropolitan Opera, New York

ในบรรดาทั้งอุปรากรทั้งสามเรื่อง Gianni Schicchi ถือว่าได้เสียงตอบรับจากทั้งนักวิจารณ์และผู้ชมดีล้นหลามที่สุด ถึงขนาดมีการแยกออกมาทำการแสดงเรื่องเดี่ยว (โดยที่ Puccini ไม่ค่อยยินยอมพร้อมใจนัก) แต่กาลเวลาก็มักถูกนำไปเปรียบเทียบผลงานชิ้นเอกเรื่องอื่นๆของ Puccini ด้วยเหตุนี้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงค่อยๆลืมเลือน Il Trittico ไม่ค่อยนำกลับมาทำการแสดงสักเท่าไหร่

ภาพซักซ้อมการแสดงอุปรากร Gianni Schicchi ที่ Metropolitan Opera

บุคคลแรกที่เป็นผู้ขับร้อง O mio babbino caro ก็คือ Florence Easton (1882-1955) นักร้องอุปรากรเสียง Soprano สัญชาติอังกฤษ ผู้ให้คำนิยามตนเองว่า ‘lyric dramatic soprano’ มีชื่อเสียงโด่งดังในอังกฤษ เยอรมัน และอเมริกาเหนือ

ผมลองค้นหาเล่นๆใน Youtube คาดไม่ถึงพบเจอคลิปบันทึกเสียงจากแผ่นครั่งเมื่อปี 1918 (ปีเดียวกับที่อุปรากรเรื่องนี้เริ่มทำการแสดง) เลยนำมาให้รับฟังกัน

ส่วนฉบับบันทึกเสียงที่ทำให้บทเพลงนี้โด่งดัง กลายเป็นอมตะ ขับร้องโดย Dame Joan Hilda Hood Hammond (1912-96) นักร้องอุปรากรสัญชาติ Australian เกิดที่ Christchurch, New Zealand แล้วไปเติบโตที่ Sydney เก็บหอมรอมริด ระดมทุนจนได้ไปร่ำเรียนต่อ Vienna ติดตามด้วย London แล้วกลายเป็นนักร้องขาประจำในโรงอุปรากรชื่อดัง อาทิ Royal Opera House (อังกฤษ), La Scala (ฝรั่งเศส), Vienna State Opera (ออสเตรีย) และ Bolshoi Theatre (รัสเซีย)

ชื่อเสียงของ Dame Joan Hammond เห็นว่าไม่ได้มาจากการแสดงยังโรงอุปรากรเหล่านั้น แต่เริ่มต้นจากการบันทึกแผ่นเสียง O mio babbino caro ในชื่อภาษาอังกฤษ O My Bloved Father จัดจำหน่ายปี 1969 สามารถทำยอดขายเกินกว่า 1 ล้านก็อปปี้ (Gold Record)

มีนักร้องอุปรากรมากมายที่ตีความบทเพลงได้ไพเราะ จับจิตใจจับ แต่ผมสังเกตว่าหลายๆคนมักจะ ‘exaggerated’ บีบเค้นคั้น บดขยี้อารมณ์มากเกินไป โดยเฉพาะ Montserrat Caballé, Renée Fleming จริงอยู่พวกเธอเหล่านี้อาจทำให้ผู้ฟังขนลุกขนพอง สั่นสะท้านทรวงใน แต่เมื่อมันเลยเถิดจนถึงจุดๆหนึ่งจะเริ่มรู้สึกหวานเลี่ยน เอียนหู

ลองฟังฉบับของ Renée Fleming ที่โดยส่วนตัวรู้สึกว่าโคตรน่ารำคาญใจ (อันนี้แล้วแต่รสนิยมส่วนบุคคลนะครับ หลายคนอาจฟังแล้วหลงใหลคลั่งไคล้ก็แล้วแต่เลย) พยายามบดบี้ ขย้ำขยี้ จนผู้ฟังแทนลงไปนอนแผ่พังพาบบนพื้น … คือมันต้องถึงขนาดนั้นเลยเหรอ

ผมรู้สึกสองจิตสองใจระหว่างความสวยสง่างาม ‘elegant’ ของ Dame Kiri te Kanawa และฉบับซื่อตรงไปตรงมาของ Mirella Freni (สองขั้วตรงกันข้ามกันเลยนะ) เพราะเอาจริงๆผมไม่เคยรับชมอุปรากร Gianni Schicchi (1918) เลยบอกไม่ได้ว่าตัวตนแท้จริงของ Lauretta เหมาะสมกับการตีความแบบใด

การตีความของ Mirella Freni สะท้อนถึงตัวตนของ Lauretta ที่มีความใสซื่อบริสุทธิ์ อ่อนเยาว์วัยไร้เดียงสา แสดงออกความรักอย่างมั่นคงจริงใจ ไม่มีสิ่งอื่นใดเคลือบแอบแฝง

ฉบับของ Dame Kiri Te Kanawa ให้ความรู้สึกเหมือน Lauretta เป็นเจ้าหญิงที่มีความสวยสง่างาม เปร่งประกาย เต็มไปด้วยความเพ้อใฝ่ฝัน แสดงออกความรักจากก้นเบื้องทรวงใน

มันช่างเนิ่นยาวนานเหลือเลยที่ผมไม่ได้เขียนหมวดหมู่เพลง จริงๆก็มีหลายบทเพลงคลาสสิกจากภาพยนตร์ที่อยากพูดกล่าวถึง ถ้าไม่เพราะ A Room with a View (1985) สร้างความประทับ ตราตรึง สั่นสะท้านทรวงใน ถ้าไม่เขียนถึงบทความนี้คงขาดใจตายแน่ๆ

แซว: จริงๆมันก็มีภาพยนตร์นับร้อยที่นำบทเพลงนี้มาใช้ประกอบ อาทิ The Truman Show (1998), Rocky Balboa (2006), Mr. Bean’s Holiday (2007), Now You See Me 2 (2016), Luca (2021) ฯลฯ แต่ไม่คงมีเรื่องไหนตราประทับฝังใจผู้ชมไปมากกว่า A Room with a View (1985) อีกแล้วละ!

“ถ้าพูดถึงเมือง Florence ก็ต้องนึกถึงบทเพลง Puccini: O mio babbino caro” คำกล่าวนี้ไม่ผิดเลยนะครับ ซึ่งจะปรากฎภาพสะพาน Ponte Vecchio และแม่น้ำ Arno ซึ่งต่างเป็นสัญลักษณ์ของเมืองอยู่ร่วมด้วย ใครเคยได้ไปเยี่ยมเยือนสถานที่แห่งนี้ ย่อมไม่มีวันลืมเลือนอย่างแน่นอน

คำโปรย | Puccini: O mio babbino caro คำรำพันอันโหยหวน ที่ทำให้หัวใจสั่นไหว สะท้านถึงทรวงใน เต้นระริกรัวจนแทบขาดใจตาย
คุณภาพ | ท้
ส่วนตัว | ล่องลอยในความเพ้อฝัน

Vivaldi: The Four Seasons


The Four Seasons

Vivaldi: The Four Seasons

ความมหัศจรรย์ของ The Four Seasons (1725) สี่บทเพลง Violin Concerto ของคีตกวีเอกสัญชาติอิตาเลี่ยน Antonio Vivaldi (1678 – 1741) แห่งยุคสมัย Baroque คือผู้ฟังสามารถหลับตา จินตนาการถึงฤดูกาล สัมผัสได้ถึงกลิ่นอายสายลม แสงแดด ใบไม้ร่วง และหิมะหนาวเหน็บ

ต่อให้ไม่ใช่คนในวงการเพลงคลาสสิก เชื่อว่าแทบทุกคนน่าจะต้องเคยได้ยินท่วงทำนอง The Four Seasons จากรายการโฆษณา โทรทัศน์ วิทยุ หรือเสียงเพลงในห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ ฯ แต่ความยิ่งใหญ่ของบทเพลงยังไม่จบเท่านี้ ลุกลามข้ามศาสตร์สู่วงการศิลปะ ออกแบบ วรรณกรรม ภาพยนตร์ ฯ แทบจะทุกสิ่งอย่างในยุคสมัยนี้ เมื่อเอ่ยกล่าว ‘ฤดูกาล’ ต้องพานให้พูดถึง Antonio Vivaldi

“The Four Seasons ของ Vivaldi เป็นผลงานได้รับความนิยมมากที่สุดของดนตรีคลาสสิกโลก มีการแสดงและบันทึกเสียงอาจจะมากกว่า Symphony No.5 ของ Beethoven เสียอีกกระมัง”

Antonio Lucio Vivaldi (1968 – 1741) คีตกวี ครูสอนดนตรี นักไวโอลิน บาทหลวงสัญชาติ Italian เกิดที่ Venice, Venetian Republic บิดาคือ Giovanni Baptista Vivaldi เป็นช่างทำขนมปังและหัวหน้าคณะนักดนตรีประจำมหาวิหาร San Giovanni in Bragora, ในวันที่ Vivaldi ถือกำเนิด เมือง Venice ประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ทารกน้อยเกือบเอาชีวิตไม่รอด มีอาการไข้สูงตลอดเวลา มารดามองว่าเป็นลางร้ายอะไรสักอย่างจึงตั้งมั่นหมายให้บุตรชายบวชเป็นพระ/บาทหลวง เพราะครุ่นคิดว่าอาจช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาลงได้

เมื่ออายุได้ 15 ปี Vivaldi เลยรับศีลบวชพระอย่างเต็มตัว เพราะการมีผมสีแดง แถมคนทั่วไปมักพบเห็นใส่เสื้อคลุมสีแดงอีก ทำให้ได้รับฉายา ‘Il Prete Rosso’ แปลว่าพระแดง แต่ถึงบวชก็ไม่ได้แก้ไชคชะตาให้ดีขึ้น หนำซ้ำร้ายป่วยหนักเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด หลอดลมอักเสบ ประกอบอาการเจ็บหน้าอกและไออยู่ตลอดเวลา จึงไม่สามารถประกอบพิธีมิสซาได้เลย

ชีวิตการดนตรีของ Vivaldi ไม่แน่ชัดว่าเริ่มเรียนจากที่ใด แต่พอสันนิษฐานได้ว่าคงรับอิทธิพลและพื้นฐานการเล่นไวโอลินจากบิดา ไม่นานหลังจากรับศีลบวช ค.ศ. 1703 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอนไวโอลินที่สถานเลี้ยงเด็กหญิง Ospedale della Pieta ซึ่งยังได้สร้างสรรค์ผลงานดนตรีมากมาย ทั้งเพื่อการฝึกสอนและที่เป็นวรรณกรรมดนตรีโดยแท้ โดยผลงานชิ้นแรกคือ Sonate da camera a tre, Opus 1 (1705)

ผลงานประพันธ์ของ Vivaldi ไม่นานนักก็ได้รับการกล่าวขวัญ โดดเด่นในเรื่องความรวดเร็วฉับไว ทันอกทันใจ มีการใช้บทร้องประกอบการแสดงเดี่ยวเครื่องดนตรี ทั้งยังเน้นร้องเดี่ยวแทนกลุ่มประสานเสียง โดยมีเนื้อหาไม่หนักหนามากจนเกินไป จนถูกใจผู้ชมชนชั้นกลางที่กำลังเบื่อหน่ายการแสดงอุปรากรรุ่นเก่าก่อน ใช้เทคนิคชั้นสูง เยิ่นเย้อ และเนื้อหาหนักมากเกินกว่าจะเป็นเครื่องหย่อนผ่อนคลายอารมณ์

นอกจากจะได้รับการยกย่องกลายเป็นผู้นำของ Italian Opera ยุคสมัยใหม่} Vivaldi ยังเป็นผู้บุกเบิกงานเพลงประเภท Solo Concerto ประชันระหว่างเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวกับวงออเคสตรา อันเป็นการพัฒนาต่อยอดจาก Concerto Grosso ซึ่งเป็นผลงานการบุกเบิกของ Arcangelo Corelli (1653 – 1713) นักไวโอลิน คีตกวีชาวอิตาลีคนแรก สร้างแบบแผนของดนตรีแนว Concerto คือการประชันกันระหว่าง’กลุ่ม’เครื่องดนตรีตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป

เกร็ด: ความแตกต่างระหว่าง Concerto Grosso กับ Solo Concerto หลักๆคือปริมาณเครื่องดนตรีและจำนวนท่อน (Movement)
– Concerto Grosso คือกลุ่มเครื่องดนตรี อาทิ ไวโอลิน+เชลโล ปะทะกับออเคราสตราเครื่องสาย/เต็มวง ฯ และสามารถมีปริมาณท่อนได้ไม่จำกัดรูปแบบ
– Solo Concerto คือเครื่องดนตรีเดียวๆ ปะทะออเครสต้า ซึ่งจะมีคำเรียก อาทิ Piano Concerto, Violin Concerto, Oboe Concerto ฯ และนิยมประพันธ์เพียง 3 ท่อน ในลักษณะเร็ว-ช้า-เร็ว (Vivaldi ก็เป็นแม่แบบอีกเช่นกัน)

เกร็ด 2: อีกหนึ่งฉายาของ Vivaldi คือ ‘Maestro di Concerti’

สำหรับคนที่นึกไม่ออกว่าการประชัน Concerto มีลักษณะเช่นไร ให้รับชม Itzhak Perlman กำกับวงและดวล Israel Philharmonic Orchestra เล่นบรรเลง The Four Seasons: Spring ไม่ถึงกับสมบูรณ์แบบนัก แต่ตัดต่อได้เร้าใจดี

สำหรับผลงานชิ้นเอกที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Vivaldi คือ Il Cimento dell’Armonia e dell’Invenzione, Opus 8 ได้รับการตีพิมพ์ ณ กรุง Amsterdam ค.ศ. 1725 มีลักษณะ Violin Concerto 1 ชุด 12 บท โดยสี่ท่อนแรกเป็นที่รู้จักกันในนาม I Quattro Stagioni (The Four Seasons) บรรยายถึงช่วงเวลาสี่ฤดูกาล Spring, Summer, Autumn, Winter อ้างอิงจากโคลงสี่บท (ไม่ทราบรายละเอียดผู้แต่ง แต่คาดกันว่าน่าจะคือ Vivaldi นะแหละ) โดยใช้ Violin สื่อนำจินตนาการของผู้ฟัง

1) Concerto No. 1 in E major, Op. 8, RV 269, “La primavera” (ฤดูใบไม้ผลิ)
– Allegro (in E major) เมื่อฤดูใบไม้ผลิล่วงมาถึง สรรพสัตว์น้อยใหญ่ส่งเสียงเจื้อยแจ้วขับขาน แสดงออกด้วยความสนุกสนาน ร่าเริงเบิกบาน สุขสำเริงสำราญใจ แล้วอยู่ดีๆกระแสพายุไวโอลินก็โหมกระหนำทำลายความเงียบสงบงัน แต่ไม่นานนักมรสุมนั้นก็พัดพานผ่านไป ทุกสิ่งอย่างท้องฟ้าครามหวนกลับมาสว่างแจ่มใสอีกครา
– Largo e pianissimo sempre (in C♯ minor) เสียงไวโอลินเอื้อยลากยาย พรรณาภาพดอกไม้แรกแย้มผลิดอกบาน คนเลี้ยงแกะกำลังนอนหลับฝันดีอยู่ในบ้าน และสุนัขตัวโปรดนั่งหมอบอยู่ข้างกาย
– Allegro pastorale (in E major) เทศกาลแห่งการร้องรำทำเพลง ต้อนรับการสิ้นสุดของฤดูใบไม้ผลิ หนุ่มสาว นางไม้ คนเลี้ยงแกะ ต่างเอ่อล้นด้วยรอยยิ้ม สุขสำราญ เบิกบานหัวใจ ไม่มีใครอยากให้ช่วงฤดูกาลนี้ผ่านพ้นไป

Allegro
Giunt’ è la Primavera e festosetti
La Salutan gl’ Augei con lieto canto,
E i fonti allo Spirar de’ Zeffiretti
Con dolce mormorio Scorrono intanto:
Vengon’ coprendo l’ aer di nero amanto
E Lampi, e tuoni ad annuntiarla eletti
Indi tacendo questi, gl’ Augelletti;
Tornan’ di nuovo al lor canoro incanto:


Largo
E quindi sul fiorito ameno prato
Al caro mormorio di fronde e piante
Dorme ‘l Caprar col fido can’ à lato.


Allegro
Di pastoral Zampogna al suon festante
Danzan Ninfe e Pastor nel tetto amato
Di primavera all’ apparir brillante.

Allegro
ครั้นเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ
แสนปิติเหล่านกน้อยร้องเริงร่า
หิมะละลายลำธารไหลสายธารา
ช่างชุ่มชื่นชื้นอุราพาเย็นใจ

แม้จะมีอสุนีบาตและวายุ
เมฆดำคุคำรามพัดยอดไม้ไหว
แต่ก็เพียงผ่านมาและผ่านไป
เสียงใสใสเหล่าสกุณากลับร่าเริง


Largo
ทุ่งดอกไม้แสนอบอุ่นและหอมหวล
เหมือนเชิญชวนให้พักผ่อนใต้ร่มไม้
คนเลี้ยงแกะนอนเหยียดยาวดูหย่อนใจ
ข้างเขาไซร้มีสุนัขคอยเฝ้ารักและภักดี


Allegro Pastorale
แว่วเสียงปี่สก๊อตงานเทศกาล
ของชาวบ้านผู้เลี้ยงแกะน่าสนุกสนาน
เหล่าสาวงามเต้นร้องรำใจเบิกบาน
สุขสำราญฤดูใบไม้ผลิดีเหลือเกิน

2) Concerto No. 2 in G minor, Op. 8, RV 315, “L’estate” (ฤดูร้อน)
– Allegro non molto (in G minor) เริ่มต้นด้วยความอิดโรยอ่อนล้า แสงแดดเร่าร้อนจากตะวันสาดส่องแผดเผา คนเลี้ยงแกะถูกปลุกให้ตื่นด้วยเสียงนกกาเหว่า นกเขา สายลมเอื่อยๆพัดโชยจากทิศเหนือ สร้างความหวาดหวั่นสั่นสะพรึง เกรงกลัวลมพายุฤดูร้อนจะย่างกรายมาถึงโดยไม่รู้ตัว
– Adagio e piano – Presto e forte (in G minor) สิ่งที่คนเลี้ยงแกะหวาดสะพรึงกลัวในขั้วหัวใจ คือฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และเสียงอื้ออึงของสรรพแมลงมากมาย ล้วนเป็นลางร้ายหายนะ ภัยพิบัติไม่อยากให้พัดเข้ามาเกิดขึ้นเลย
– Presto (in G minor) และแล้วความหวาดสะพรึงกลัวของคนเลี้ยงแกะนั้นก็ได้กลายเป็นจริง พายุ ห่าฝน ลูกเห็บ ได้พัดพาความเร่าร้อนแรงของพายุฤดูร้อน เข้ามาทำลายพืชผลผลิต ทุกสิ่งอย่างเพาะปลูกลงแรง ย่อยยับเยินพังทลายหมดสิ้นไป

Allegro non molto
Sotto dura Staggion dal Sole accesa
Langue l’ huom, langue ‘l gregge, ed arde il Pino;
Scioglie il Cucco la Voce, e tosto intesa
Canta la Tortorella e ‘l gardelino.
Zeffiro dolce Spira, mà contesa
Muove Borea improviso al Suo vicino;
E piange il Pastorel, perche sospesa
Teme fiera borasca, e ‘l suo destino;


Adagio e piano – Presto e forte
Toglie alle membra lasse il Suo riposo
Il timore de’ Lampi, e tuoni fieri
E de mosche, e mosconi il Stuol furioso!


Presto
Ah, che pur troppo i Suo timor Son veri
Tuona e fulmina il Ciel e grandinoso
Tronca il capo alle Spiche e a’ grani alteri.

Allero non molto
ฤดูร้อนช่างแสนน่าเบื่อหน่าย
แดดยามบ่ายร้อนอบอ้าวจนเหงื่อไหล
ชาวนาทำงานจนเพลียละเหี่ยใจ
ลมพัดใบสนสะบัดยอดโอนเอน

นกดุเหว่าร่ำร้องทำนองเพราะ
ฟังเสนาะหูนักรักสดใส
นกเขาคูร้องทักมาแต่ไกล
นกกระจิบไม้ร่วมร้องเพลงบรรเลงกัน

แต่ทันใดลมพายุโหมกระหน่ำ
ท้องฟ้าคล้ำพื้นเจิ่งน้ำฝนหลั่งไหล
ชาวเลี้ยงแกะหวาดผวากลัวจับใจ
แรงทำลายของพายุช่างน่ากลัว


Adagio e piano – Presto e forte
ชาวเลี้ยงแกะผูกเชือกสัตว์ไว้ให้แน่น
เพราะแสนกลัวลมพายุที่พัดผ่าน
ฟ้าผ่าร้องก้องเปรี้ยงเสียงสะท้าน
ครืนครั่นนานเนื่องอื้ออึงดั่งผึ้งรัง


Presto
อ้า…ดั่งที่กลัวไว้ว่าจะมีพายุ
ฟ้าทะลุด้วยแรงฝนชลหลั่งไหล
ฟ้าร้องแลบแปลบปลาบหวาบหวั่นใจ
ข้าวโพดในไร่โอนเอนเบนสู้ลม

3) Concerto No. 3 in F major, Op. 8, RV 293, “L’autunno” (ฤดูใบไม้ร่วง)
– Allegro (in F major) การมาถึงของฤดูใบไม้ร่วง เริ่มต้นด้วยเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวพืชผลผลิตที่สุกงอม ท่วงทำนองเพลงเต้นรำ งานเลี้ยงสังสรรค์ สนุกสนานครึกครื้นเครง ดื่มด่ำเมามาย สุขสำเริงสำราญจนผลอยหลับสนิทไม่รู้ตัว
– Adagio molto (in D minor) ความเหมาะสมของสภาพอากาศในฤดูกาลนี้ ทำให้ใครๆต่างมีความง่วงหงาวหาวหลับนอน เคลิบเคลิ้ม เพลิดเพลิน สุขสำราญฝันดีแท้ ไร้ซึ่งเพศภัยอันใดมาขัดจังหวะปลุกตื่น ชั่วนิรันดร์ไปเลยได้ยิ่งดี
– Allegro (in F major) เสียงแตรยามรุ่งอรุณ สุนัขเห่าหอน และเสียงปืนลั่น แสดงถึงกิจกรรมออกล่าสัตว์ เสียงไวโอลินใช้เป็นตัวแทนผู้ถูกล่า วิ่งหนีด้วยความหวาดสะพรึงกลัวตาย เต็มไปด้วยความตื่นตระหนกตกใจกลัว แต่สุดท้ายก็ไม่อาจหลบหนีโชคชะตาขาดได้พ้น

Allegro
Celebra il Vilanel con balli e Canti
Del felice raccolto il bel piacere
E del liquor de Bacco accesi tanti
Finiscono col Sonno il lor godere.


Adagio molto 
Fà ch’ ogn’ uno tralasci e balli e canti
L’ aria che temperata dà piacere,
E la Staggion ch’ invita tanti e tanti
D’ un dolcissimo Sonno al bel godere.


Allegro 
cacciator alla nov’ alba à caccia
Con corni, Schioppi, e cani escono fuore
Fugge la belva, e Seguono la traccia;
Già Sbigottita, e lassa al gran rumore
De’ Schioppi e cani, ferita minaccia
Languida di fuggir, mà oppressa muore.

Allegro
พวกชาวนาพากันร้องรำทำเพลง
เมาครื้นเครงเก็บเกี่ยวดีมีพืชผล
พรแห่งเทพแบคคุสช่วยบันดล
ทั่วทุกคนต่างหลับใหลให้ฝันดี


Adagio molto
อากาศเย็นสบายแสนสดชื่น
หลับลืมตื่นคืนแห่งฝันช่างหอมหวาน
อยากนอนหลับสบายอย่างนี้อีกนานนาน
ลืมวันวานแห่งความหลังที่ฝังใจ


Allegro
อรุณรุ่งวันใหม่ไปล่าสัตว์
พากันนัดไปร่วมแรงกันดีไหม
อย่าลืมแตร ปืนและสุนัขคู่ใจ
ภาวนาไว้ให้ไล่ล่าหาสัตว์เจอ

ทำให้มันกลัวด้วยเสียงปืนและสุนัข
ไม่นานนักมันจะเพลียและเหนื่อยอ่อน
เมื่อมันล้าถ้ามันหนีเราคอยต้อน
และแน่นอนเราจะได้สัตว์สมดังใจ

4) Concerto No. 4 in F minor, Op. 8, RV 297, “L’inverno” (ฤดูหนาว)
– Allegro non molto (in F minor) เริ่มต้นด้วยความหนาวเหน็บ สั่นสะท้านของสายลมแห่งฤดูหนาว ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าเย็นยะเยือกแข็ง โหยหาความอบอุ่นอย่างร้านแรง
– Largo (in E♭ major) มองไปภายนอกพบเห็นหิมะ สายฝน ตกอยู่ไม่ขาดสาย เป็นใครย่อมเกิดความขี้เกียจคร้าน หมกตัวอยู่ในผ้าห่ม เสื้อกันหนาว แอบอิงอยู่ข้างเตาผิงไฟ โหยหาไอความอบอุ่นข้างกาย
– Allegro (in F minor) การออกไปข้างนอกในช่วงเวลานี้ช่างอันตรายนัก โดยเฉพาะเดินวิ่งบนพื้นน้ำแข็งต้องเต็มไปด้วยความระมัดระวัง ถึงกระนั้นความงดงามของฤดูกาลนี้เกิดขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์สาดส่องลงมา ความอบอุ่นช่วยบรรเทาผ่อนคลายความหนาวเหน็บให้สามารถเบาบางลงไป

Allegro non molto
Aggiacciato tremar trà nevi algenti
Al Severo Spirar d’ orrido Vento,
Correr battendo i piedi ogni momento;
E pel Soverchio gel batter i denti;


Largo
Passar al foco i di quieti e contenti
Mentre la pioggia fuor bagna ben cento


Allegro
Caminar Sopra il giaccio, e à passo lento
Per timor di cader girsene intenti;
Gir forte Sdruzziolar, cader à terra
Di nuove ir Sopra ‘l giaccio e correr forte
Sin ch’ il giaccio si rompe, e si disserra;
Sentir uscir dalle ferrate porte
Sirocco, Borea, e tutti i Venti in guerra
Quest’ é ‘l verno, mà tal, che gioja apporte.

Allegro non molto
เย็นยะเยือกเกล็ดหิมะปลิวโปรยปราย
จนร่างกายสั่นสะท้านด้วยลมหนาว
เราต้องวิ่งรีบวิ่งไปก้าวยาวยาว
หนีลมหนาวเย็นจนฟันกระทบกัน


Largo
พอหมดวันฉันมานั่งหน้าเตาผิง
แสนสุขจริงนิ่งสงบเหมือนพบฝัน
ข้างนอกบ้านหิมะปรายเหมือนสายธาร
สุขสำราญเย็นชุ่มชื่นชื้นหัวใจ


Allegro
วันนี้ต้องเดินข้ามผ่านธารน้ำแข็ง
อย่าเดินแรงอาจลื่นล้มก้นจ้ำเบ้า
ถ้าวิ่งก็ลื่นกองกับพื้นได้นะเรา
เดินเบาเบาลุกขึ้นใหม่ใจเย็นเย็น

เวลาเดินระวังแผ่นน้ำแข็งแยก
เสียงเปรี๊ยะแตกห่างออกไปไม่ไกลหนา
ลมซิรอคโค ,โบเรีย พัดแรงมา
จากฟากฟ้านี่แหละหนาฤดูหนาวเอย

ให้ข้อสังเกตกับสี่ฤดูกาลนี้ ประกอบด้วยสามท่อนซึ่งมีลักษณะ เร็ว-ช้า-เร็ว โดยเนื้อหาเรื่องราวจะประมาณว่า ก้าวย่างสู่-ระหว่างกลาง-ใกล้ถึงจุดสิ้นสุด(ฤดูกาล) เวียนวนเช่นนี้จนครบรอบวัฎจักรชีวิต

ถึงแม้ในช่วงที่มีชื่อเสียง Vivaldi จะได้รับเงินค่าจ้างตอบแทนมากมาย แต่ใช่ว่าเขาจะมั่งคั่งร่ำรวย เพราะค่าใช้จ่ายประจำวันสูงมากๆ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเดินทางไปเปิดการแสดงทั่วอิตาลีและยุโรป ไหนจะค่าเช่าที่พักเวลาค้างแรม ค่าจ้างแม่บ้าน แพทย์ประจำตัว ยารักษา ฯ ซึ่งระหว่างพักพำนับอยู่ในกรุงเวียนนา สุขภาพร่างกายที่อิดโรนอ่อนแรง แต่คิวงานยังคงแน่นขนัด ค้างคางานประพันธ์ไว้มากมาย วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1741 ถึงแก่กรรมโดยสงบจากการติดเชื้อภายใน สิริอายุ 63 ปี พิธีฝังศพเป็นไปอย่างค่อนข้างเงียบเหงาและอนาถา ค่าใช้จ่ายในพิธีศพของเป็นเงินเพียง 19 Florins, 45 Kreutzens (ในขณะที่พิธีศพของขุนนาง อย่างน้อยต้องใช้เงินราว 100 Florins)

ภายหลังสิ้นสุดยุคสมัย Baroque (ค.ศ. 1600 – 1750) ผลงานและชื่อเสียงของ Vivaldi ค่อยๆถูกลบเลือนลางจางหายไปตามกาลเวลา แม้แต่ The Four Seasons ก็เฉกเช่นเดียวกัน กระทั่งต้นศตวรรษ 20th เมื่อคีตกวี/นักไวโอลิน Friedrich ‘Fritz’ Kreisler (1875 – 1962) สัญชาติออสเตรีย ประพันธ์บทเพลง Concerto in C ในสไตล์เลียนแบบ Vivaldi แม้เจ้าตัวจะไม่ยินยอมรับอิทธิพล แต่นั่นเป็นการปลุกคืนชีพ หวนกลับมาได้รับการค้นพบอีกครั้งหนึ่ง

ฉบับเก่าแก่สุดที่มีการบันทึกลงแผ่นครั่งของ The Four Seasons ควบคุมวงโดย Bernardino Molinari เมื่อปี 1942 โชคดีมากๆที่มีอัพโหลดขึ้น Youtube สามารถหารับฟังได้ครบทุกท่อน

ขณะที่ความนิยมล้นหลามของ The Four Seasons ในยุคสมัยใหม่ เริ่มต้นจากฉบับบันทึกการแสดงคอนเสิร์ตของนักไวโอลิน Louis Kaufman ที่ Carnegie Hall เมื่อปี 1947 ซึ่งสามารถคว้ารางวัล French Grand Prix du Disque (ปี 1950) และได้รับเลือกเข้าสู่ Grammy Hall of Fame (ปี 2002) … น่าเสียดาย หาฉบับนี้บนโลกอินเตอร์เน็ตมาให้รับฟังไม่ได้ ใครเป็นเจ้าของอัลบัมนี้ถือเป็นสมบัติล้ำค่าเลยละ!

The Four Seasons ได้รับการเรียบเรียง, ล้อเลียน, Remix, Cover นับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งฉบับที่ผมมีความใคร่สนใจที่สุดของ Franz Joseph Haydn (1732 – 1809) คีตกวีสัญชาติออสเตรีย เจ้าของฉายา ‘Father of the Symphony’ ประพันธ์สามซิมโฟนี่ตั้งชื่อ ‘Part of day’ บรรยายถึงช่วงเวลาต่างๆในรอบวัน ประกอบด้วย
– Symphony No. 6 in D major ‘Le matin’ (Morning)
– Symphony No. 7 in C major ‘Le midi’ (Noon)
– Symphony No. 8 in G major ‘Le Soir’ (Evening)

ในบรรดา 12 ท่อนของ The Four Seasons คนส่วนใหญ่อาจลุ่มหลงใหล ติดตราตรึง Spring (Allegro) แต่ส่วนตัวโปรดปรานที่สุดคือ Winter (Largo) จะว่ามันคือความโหยหา ต้องการใครสักคนแอบแนบผิงกายคงไม่ผิดอะไร เพราะยังวันนั้นมันยังมาไม่ถึง เลยเต็มไปด้วยความสั่นสะท้านถึงขั้วหัวใจ จะมีไหมหนาความหวังโอกาสแห่งชีวิตนั้น

และผมรู้สึกว่า Winter (Largo) มีความไพเราะกว่าถ้าเป็นการบรรเลงโดยฟลุต น่าเสียดายหาฉบับที่เคยโปรดปรานนั้นไม่เจอเสียแล้ว พอกล่อมแกล้มโดย James Galway ไปก่อนแล้วกัน

คำโปรย | ความงดงามแห่งฤดูกาล ได้รับการเรียบเรียงพรรณาโดย Antoni Vivaldi กลายมาเป็น The Four Seasons อันทรงคุณค่าเหนือกาลเวลา 
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ตกหลุมรัก

Liszt: Un Sospiro


Liszt: Un Sospiro

ทอดถอนลมหายใจเมื่อเหม่อล่องลอยออกไป พบเห็นดวงดาวดาราระยิบระยับสาดส่องทอประกายแสง รู้สึกอิจฉาริษยาความเจิดจรัสจร้า อยากได้รับการจดจำเช่นนั้นบ้าง แต่นั่งนิ่งอยู่เฉยๆมันจะมีประโยชน์อะไร ต้องเรียนรู้ที่จะลุกขึ้นก้าวเดิน ความสำเร็จเริ่มต้นที่การเอาชนะใจตนเอง, บทเพลงมีความไพเราะเพราะพริ้งที่สุดของ Franz Liszt และคือบทเรียนด่านสุดท้ายของผู้ใฝ่ฝันอยากเป็นนักเปียโน

Franz Liszt (1811 – 1886) คีตกวีสัญชาติ Hungarian แห่งยุคสมัย Romantic Era เลื่องลือชาในทักษะการเล่นเปียโนระดับอัจฉริยะ แถมยังเป็นครูสอนดนตรีทำให้มีความชื่นชอบประพันธ์บทเพลงที่สามารถใช้ฝึกนักเรียน หนึ่งในนั้นคือ Three Concert Études สามบทเพลงฝึกหัดสำหรับขึ้นแสดงคอนเสิร์ต ประกอบด้วย
– Étude No. 1, Il Lamento
– Étude No. 2, La Leggierezza (แปลว่า Lightness)
– Étude No. 3, Un Sospiro (แปลว่า A sigh)

ผมมีโอกาสรู้จักกับ Un Sospiro จากภาพยนตร์เรื่อง Shine (1996) ได้ยินบ่อยครั้งใน Random บน Youtube แต่ก็ไม่ได้จดจ่อตั้งใจฟังสักเท่าไหร่ ไพเราะดีแล้วเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา จนกระทั่งได้รับชม Letter from an Unknown Woman (1948) จึงเกิดความซึ้งซาบซ่าน ระยิบระยับความงดงามจนธารน้ำตาแทบหลั่งไหลรินออกมา

หลับตาฟังอาจรู้สึกว่าบทเพลงนี้ไม่น่าเล่นยากสักเท่าไหร่ แต่พอดาวน์โหลดโน๊ตเพลงตั้งใจจะลองมาหัดเล่นก็ถึงกับจุกอก นั่งดูคลิปการแสดงใน Youtube ถึงตระหนักได้ว่านี่เป็นบทเพลงระดับโคตรยาก และเพื่อให้เกิดความงดงามที่สุดคือการสลับมือเล่น ธารน้ำตาไหลพรากๆเพราะความสามารถตนเองไปไม่ถึงเกรดนั้น

ลองสังเกตโน๊ตเพลงช่วงมี 3 บรรทัด ชั้นบนสุดแม้โน๊ตน้อยเล่นไม่ยาก แต่มือสองข้างล้วนพลันวันกับสองชั้นล่าง ซึ่งจะมีช่วงขณะเว้นว่างให้สามารถปลีกตัวได้ กระนั้นก็ต้องสลับมือซ้ายทีขวาทีไขว้ไปมา ไม่ใช่แค่สมาธิแต่ยังต้องความรวดเร็วพริ้วไหวถึงสามารถเล่นบทเพลงนี้ได้อย่างงดงามเพราะพริ้ง

ความท้าทายของบทเพลงนี้ยังไม่ได้จบแค่การสลับไขว้มือนะครับ แต่ยังการไล่โน๊ตขึ้นลงซึ่งต้องอาศัยความรวดเร็ว ลื่นไหล สร้างความกลมกลืน (Harmony) ท่ามกลางรายละเอียดอันสลับซับซ้อน นี่คือสิ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดสัมผัสระยิบระยับเหมือนเม็ดทราย ดวงดาวดาราสาดส่องทอประกายแสง มอบสัมผัสคล้าย Impressionist Painting หรือคือยุคสมัย Romantic Era

เป็นความบังเอิญระหว่างผมค้นหาข้อมูลบทเพลงนี้ ได้พานผ่านสองภาพวาด Impressionist อาจไม่ใช่จิตรกรชื่อดัง แต่ได้แรงบันดาลใจจากสร้างสรรค์ผลงานจาก Un Sospiro ซึ่งทั้งสองภาพมีองค์ประกอบคล้ายๆกันคือหญิงสาวยืนเหม่อล่องลอยออกไปไกล

ภาพแรกคือผลงานของ Nik Helbig ให้คำนิยามว่า “Painting of lady with umbrella looking out to a stormy sea”.

ผลงานของ Alejandro Erazo ให้คำอธิบาย “The girl walking towards the twilight represents the start of a new life, the movement in the sky is disposed as if wings come from her back”.

แซว: ภาพนี้ชวนให้ระลึกถึงหนังเรื่อง The Tree of Life (2011)

น่าเสียดายที่บทเพลงนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากนักเปียโนชื่อดังระดับโลกสักเท่าไหร่ คงเพราะความยากและท้าทายเกินไปที่จะตีความบรรเลงออกมาไพเราะเพราะพริ้ง จับจิตจับใจ แต่ก็ยังดีมีฉบับนี้ของ Ida Cernecka งดงามสุดเท่าที่สามารถหารับฟังได้ทั่วไป ทุกจังหวะ น้ำหนัก การประสานเสียง กลมกล่อมลงตัวน่าจะที่สุดแล้วกระมัง

คำโปรย | Un Sospiro ของ Franz Liszt คือบทเพลงเดี่ยวเปียโนที่มีความไพเราะเพราะพริ้ง งดงามระยิบระยับที่สุดทั้งท่วงทำนองและลีลาการบรรเลง
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว |

The Last Rose of Summer


The Last Rose of Summer

The Last Rose of Summer

จากบทกวีประพันธ์โดย Thomas Moore สัญชาติไอริช เมื่อปี ค.ศ. 1805 กลายเป็นแรงบันดาลนับไม่ถ้วนให้กับบทเพลงไพเราะมากมาย เริ่มต้นจาก John Andrew Stevenson แม้แต่ Beethoven, Mendelssohn ยังเคยเรียบเรียงใส่ผลงานของตนเอง

Thomas Moore (1779 – 1852) กวี นักแต่งเพลง สัญชาติ Irish เกิดที่ Dublin, Ireland ตั้งแต่เด็กมีความสนใจด้านดนตรี การแสดง Performing Arts แต่ตัดสินใจเติมเต็มความฝันของแม่เรียนกฎหมายที่ Middle Temple, London เพราะความไม่ค่อยมีเงินเลยแต่งกวี แปลภาษา ขับร้องเพลง จนสามารถเรียนจบแล้วหันมาเอาดีด้านนี้ กลายเป็นนักร้อง Librettos บนเวทีการแสดง Opera

Sir John Andrew Stevenson (1761 – 1833) คีตกวีสัญชาติ Irish เกิดที่ Crane Lane off Dame Street, Dublin เพราะพ่อแม่เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเด็ก ได้รับการเลี้ยงดูจากญาติห่างๆ ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในโบสถ์ Christ Church Cathedral, Dublin กลายเป็นนักร้อง Choirboy ได้รับการสอนเปียโนโดย Richard Woodward และ Samuel Murphy จนได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ Doctor of Music จาก University of Dublin

ว่ากันว่า Stevenson ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับ Moore ประมาณปี 1798 โดย Rev. Mr. Cradock ผู้ช่วยบรรณาธิการห้องสุด Archbishop Marsh’s Library ระหว่างทั้งคู่ต่างกำลังศึกษาข้อมูลเพื่อทำงานของตนเองอยู่ พบเจอกันบ้างประปราย ประทับใจผลงานกันและกัน จนกระทั่งเมื่อตอน Moore เริ่มสนใจรวบรวมบทกวีของตนเองตีพิมพ์รวมเล่ม ได้รับคำแนะนำจากสำนักพิมพ์ให้เขียนโน๊ตเพลงเพิ่มเข้าไปด้วย (จะได้เพิ่มยอดขาย) เลยตัดสินใจขอความช่วยเหลือจาก Stevenson กลายมาเป็น
– Irish Melodies (1808–34) จำนวน 10 เล่ม
– The Sacred Melodies (1808–34)
– National Airs (1815)

ผลงานของทั้งคู่ที่ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญ ไพเราะเหนือกาลเวลา เรียกว่า Masterpiece ของพวกเขาเลยก็ว่าได้คือ The Last Rose of Summer เริ่มจากบทกวีที่ได้แรงบันดาลใจจากดอก Rosa ‘Old Blush’ กุหลาบจากประเทศจีนที่เพิ่งได้รับการแพร่พันธุ์ในยุโรป Moore พบเห็นเกิดความหลงใหลขณะพักอาศัยอยู่ Jenkinstown Park ณ County Kilkenny, Ireland เมื่อประมาณปี 1805 รวบรวมตีพิมพ์ครั้งแรกลงในหนังสือ A Selection of Irish Melodies เล่ม 5 เมื่อเดือนธันวาคม 1813

‘Tis the last rose of summer,
Left blooming alone;
All her lovely companions
Are faded and gone;
No flower of her kindred,
No rosebud is nigh,
To reflect back her blushes,
Or give sigh for sigh.

I’ll not leave thee, thou lone one!
To pine on the stem;
Since the lovely are sleeping,
Go, sleep thou with them.
Thus kindly I scatter,
Thy leaves o’er the bed,
Where thy mates of the garden
Lie scentless and dead.

So soon may I follow,
When friendships decay,
And from Love’s shining circle
The gems drop away.
When true hearts lie withered,
And fond ones are flown,
Oh! who would inhabit
This bleak world alone?

สำหรับ Piano Accompaniment ฉบับของ John Andrew Stevenson หาฟังย้ากยาก เพราะคือดนตรีที่เด็กเล่น สมัยผมเรียนเปียโนคุ้นๆว่าเกรดสองเองมั้งนะ คือใครๆก็สามารถเล่นได้ (ถ้าฝึกหัดสักหน่อย) เลยเอาฉบับมีโน๊ตมาให้รับชม (เผื่อใครอยากเล่นตาม)

กับ Piano Accompaniment ของ Stevenson ถามว่าไพเราะไหม? ผมว่ามันคลาสสิกแบบเบสิคเท่านั้นนะ ที่น่าทึ่งคือการเรียงเรียงและลีลาของผู้บรรเลงมากกว่า ไม่น่าเชื่อว่ามีคีตกวีมากมายนำเอาไปทดลองใส่โน่นนี่นั่น เพลงเดียวกันมีเป็นร้อยพันหมื่น Variation ฟังได้ไม่เบื่อเลย

Ludwig van Beethoven เคยนำ The Last Rose of Summer มาเรียบเรียงใหม่ถึงสองครั้ง
– Irish Songs WoO 153 (เขียนปี 1814, ตีพิมพ์ 1816) อยู่ใน Volumn 2 ท่อนที่ 6 ชื่อ Sad and Luckless was the Season
– Six National Airs with Variations Op. 105 (เขียนปี 1818, ตีพิมพ์ 1819) สำหรับฟลุตและเปียโน ท่อนที่ 4

Felix Mendelssohn ประพันธ์ Fantasia on ‘The Last Rose of Summer’ Op. 15 (1827) สำหรับเดี่ยวเปียโน,

ท่อนแรกเริ่มจากการคารวะต้นฉบับ ต่อจากนั้นก็ได้นำพาผู้ฟังเข้าสู่โลกของ Mendelssohn ร้อยเรียงความสับสนอลม่านที่ไม่น่าเชื่อว่าจะผสมผสานคลุกเคล้าเข้ากันได้ แต่กลับมีความกลมกลืนกล่อม มุ่งสู่ทิศเป้าหมายปลายทางเดียวกัน

ฉบับภาษาไทยเราก็มีนะ ใช้ชื่อ กำศรวลจันทร์ แต่งขึ้นเพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์ ฟ้าทะลายโจร (พ.ศ. ๒๕๔๓)
คำร้อง ศิริพรรณ เตชจินดาวงศ์ กับ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
เรียบเรียง สุนทร ยอดศรีทอง
บรรเลง The Groves of Blarney
ขับร้อง เยาวเรศ เมธาคุณวุฒิ

ใจความของบทกวี The Last Rose of Summer คือการรำพันถึงความตาย เมื่อสิ้นฤดูร้อนดอกกุหลาบค่อยๆร่วงโรย ชีวิตค่อยๆแห้งเหี่ยว เพื่อนฝูงจากรา อีกไม่อีกคราคงถึงตาฉัน จะได้ไปสมทบพรรคเพื่อนพัลวัน สู่ความเป็นนิจนิรันดร์ในสรวงสวรรค์เบื้องบน

และเพราะความที่ Stevenson เสียชีวิตจากไปก่อน Moore จึงได้ประพันธ์บทกวีรำลึกถึงเพื่อนรักในชื่อ Silence is in our Festal Halls พร้อมคำลงท้าย Footnote

“To inform the reader that these lines are meant as a tribute of sincere friendship to the memory of an old and valued colleague in this work, Sir John Stevenson”.

– Thomas Moore

สิ่งที่ผมชื่นชอบในกวีนี้ คือความโหยหวนล่องลอย และการรำพันถึงความตาย ทุกบทเพลงเรียบเรียงจาก The Last Rose of Summer จะมาความเศร้าสลดเป็นที่ตั้ง เอื้อยเอื่อย บีบรัด แทบจะขาดใจตายลงไปให้ได้ตรงนั้น ช่างเป็นอารมณ์เจ็บปวดรวดร้าวทรมาน แต่ก็ยังเทียบกับความตายจริงๆไม่ได้อยู่ดีนะ

คำโปรย | “The Last Rose of Summer บทกวีรำพันถึงความตาย เสริมแต่งด้วยบทเพลงทำให้หลับสนิทนิจนิรันดร์”
คุณภาพ | ไพเราะเพราะพริ้ง
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Tchaikovsky: The Nutcracker


The Nutcracker

Tchaikovsky: The Nutcracker

บัลเลต์ความยาว 2 องก์ ผลงานประพันธ์ของ Pyotr Ilyich Tchaikovsky ดัดแปลงจากเรื่องสั้น The Nutcracker and the Mouse King (1816) ของ E.T.A. Hoffmann เมื่อเด็กหญิงพบเจอเจ้าชายที่ถูกสาปให้เป็นเปลือกลูกนัท กระเทาะกลับออกมามีชีวิตต่อสู้กับราชาหนู และออกผจญภัยในอาณาจักรของเล่น

เท่าที่ผมอ่านเรื่องย่อคร่าวๆของ The Nutcracker and the Four Realms (2018) มีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่นำจาก The Nutcracker คือขณะท่องไปแค่อาณาจักรของเล่น ของเทพธิดาขนมหวาน (Sugar Plum Fairy) ส่วนภาพยนตร์จากชื่อบ่งบอกมีถึง 4 โลก (ดินแดนเกล็ดหิมะ, ดินแดนดอกไม้, ดินแดนของหวาน และดินแดนที่สี่) คงไม่ถือเป็นการสปอยเท่าไหร่สำหรับคนตั้งหน้าตั้งตารอชม

Nussknacker und Mausekönig (1816) เรื่องสั้นผลงานการประพันธ์ของ Ernst Theodor Amadeus Hoffmann (1776 – 1882) นักเขียนชื่อดังสัญชาติเยอรมัน เลื่องลือชาในแนว Fantasy, Gothic Horroy ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Die Abenteuer der Silvester-Nacht (1814) The Sandman (1816), Rat Krespel (1819) [สามเรื่องแรกกลายมาเป็นบัลเล่ต์ Offenbach: The Tales of Hoffmann (1881)], Mademoiselle de Scuderi (1819) ฯ

เรื่องราวเกิดขึ้นในค่ำคืนวันคริสต์มาสอีฟ เด็กหญิงอายุ 7 ขวบ Marie Stahlbaum ได้รับของขวัญคือ The Nutcracker ในความเชื่อของคนเยอรมันเป็นสิ่งช่วยขจัดภัยร้าย สัญลักษณ์แห่งความโชคดี แต่ในค่ำคืนนั้นเจ้าหุ่นกระบอกกลับกลายมามีชีวิต กระเทาะเปลือกนัทออกมาต่อสู้กับราชาหนู เธอให้ความช่วยเหลือจนสามารถเอาชนะมาได้ ชักชวนนำทางพาไปยังอาณาจักรของเล่น พบเห็นการแสดงระบำนางฟ้าขนมหวาน, ระบำช็อคโกแลต (สเปน), ระบำกาแฟ (อาหรับ), ระบำน้ำชา (จีน), ระบำดอกไม้ เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ

เกร็ด: Nutcracker คือคีมสำหรับบีบลูกนัตให้เปลือกแตกออก จะได้แกะเนื้อในออกมากินได้ง่ายๆ เป็นอาหารขบเคี้ยวในเทศกาลวันคริสต์มาส ของชาวยุโรป ด้วยความนิยมอย่างสูง จึงมีคนคิดประดิษฐ์หุ่น/ตุ๊กตาผู้ชายแต่งชุดทหาร สามารถใช้ปากแทบคีมหนีบได้ เลยกลายเป็นที่มาที่ไปของหุ่น The Nutcracker

Pyotr Ilyich Tchaikovsky (1840 – 1893) คีตกวีสัญชาติรัสเซีย ในยุคสมัย Romantic Period เกิดที่ Votkinsk, Russian Empire ในครอบครัวฐานะดี พ่อเป็นทหารยศพันโทและวิศวกรรมเหมืองแร่เหล็ก Kamsko-Votkinsk, ด้วยความสนใจในดนตรีแต่สมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเปิดสอน จนกระทั่งปี 1862 กลายเป็นนักเรียนรุ่นแรกของ Saint Petersburg Conservatory ลูกศิษย์เอกของ Anton Rubinstein ซึ่งก็ได้รับอิทธิพลดนตรีจากชาติตะวันตก/ยุโรปมาเต็มๆ หลังเรียนจบทำงานในรัสเซียจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ แต่พอออกทัวร์ยุโรป อิตาลี อเมริกา กลายเป็นคีตกวีเลื่องชื่อร่วมสมัยเดียวกับ Johannes Brahms, Antonín Dvořák ได้รับยกย่อง ‘สะพานเชื่อมระหว่างดนตรีตะวันตกกับรัสเซีย’

เกร็ด: ว่ากันว่า Tchaikovsky เป็นคนรักร่วมเพศ (ที่พยายามปกปิด เพราะสมัยนั้นยังยินยอมรับกันไม่ได้) หลายๆผลงานของเขาจึงค่อนข้างแอบแฝงซ่อนเร้นเรื่องราว/อารมณ์บางสิ่งอย่างไว้ ครุ่นคิดไปๆมาๆ The Nutcracker ก็เฉกเช่นเดียวกันเลยนะ ซ่อนตัวตนแท้จริงไว้ในเปลือกนัท

สำหรับ The Nutcracker จุดเริ่มต้นเกิดจากความสำเร็จของบัลเล่ต์ The Sleeping Beauty (1890) ทำให้ Ivan Vsevolozhsky ผู้อำนวยการโรงละคร Imperial Theatres มอบหมาย Tchaikovsky ตระเตรียมผลงานถัดไป อยากได้โปรแกรมควบ Opera + Ballet (เหมือนฉายหนังควบ) โดยในส่วนของโอเปร่า เลือกเอา Iolanta, Op. 69 (1892) ผลงานที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ของ Tchaikovsky นำมาแสดงซ้ำเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

ในส่วนของบัลเล่ต์ ร่วมงานกับ Marius Petipa (1818 – 1910) นักเต้น/ออกแบบท่าบัลเล่ต์ สัญชาติ French-Russian [เคยร่วมงานกันเมื่อ The Sleeping Beauty] และ Lev Ivanov (1834 – 1901) ผู้เป็น Second Balletmaster ของ Imperial Ballet เข้ามาช่วยเพราะ Petipa ล้มป่วยไม่สบายพอดี (บ้างว่าท่าเต้นทั้งหมด Ivanov เป็นผู้คิดค้นขึ้น จากคำแนะนำของ Petipa ที่เต้นไม่ไหวแล้ว)

Petipa เป็นผู้เลือก The Story of a Nutcracker (1844) ฉบับปรับปรุงของ Alexandre Dumas (1802 – 1870) นักเขียนสัญชาติฝรั่งเศส ที่มีผลงานดังอย่าง The Three Musketeers (1844), The Count of Monte Cristo (1844–1845) ฯ เพื่อสร้างสรรค์กลายเป็นผลงานบัลเลต์ แม้นั่นจะเป็นสิ่งขัดต่อประสงค์ของ Tchaikovsky โดยสิ้นเชิง (คือพี่แกเป็นนักแต่งเพลงคลาสสิก ไม่ได้ชื่นชอบบัลเลต์เท่าไหร่ แต่แปลกที่ผลงานโด่งดังสุดกลับคือ Ballet ซะงั้น!)

การแสดงรอบปฐมทัศน์ 6 ธันวาคม 1892 ตามปฏิทินรัสเซียเก่า (เทียบกับปฏิทินปัจจุบันคือ 18 ธันวาคม) ที่ Imperial Mariinsky Theatre, St. Petersburg เสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ ฉากต่อสู้(ระหว่างเจ้าชาย vs. ราชาหนู)ค่อนข้างสับสนวุ่นวาย แถมเนื้อเรื่องยังไม่ซื่อตรงต่อต้นเรื่องราวต้นฉบับของ E.T.A. Hoffmann กระนั้นนักแสดงที่รับบท Sugar Plum Fairy ได้รับเสียงชื่นชมล้นหลาม ผู้ชมยืนปรบมือจนต้องออกมาโค้งคำนับหลังแสดงถึงห้ารอบ

แค่เพียงฉากเดียว บทเพลงเดียว Dance Of The Sugarplum Fairy ก็ทำให้ชื่อเสียงของ The Nutcracker, Op. 71 โด่งดังขจรขจาย แต่เพราะโดยรวมไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ Tchaikovsky เลยตัดสินใจเรียบเรียงใหม่ คัดเลือกสรรเฉพาะ 8 บทเพลงเพราะๆหน่อย ตั้งชื่อว่า The Nutcracker Suite, Op. 71a สำหรับการแสดงรอบต่อๆไป ประกอบด้วย

  • I. Miniature Overture
  • II. Danses caractéristiques
    • Marche
    • Dance of the Sugar Plum Fairy
    • Russian Dance
    • Arabian Dance
    • Chinese Dance
    • Reed Flutes
  • III. Waltz of the Flowers

เมื่อถูกนำออกทัวร์ในยุโรปครั้งแรกปี 1934 ที่ประเทศอังกฤษ ความไพเราะเพราะพริ้งของ The Nutcracker Suite, Op.71a เข้าตานาย Walt Disney ติดต่อขอนำมาใส่ในภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่อง Fantasia (1940) โด่งดังก่อนหน้าบัลเล่ต์จะมาเปิดการแสดงที่อเมริกาเสียอีก! (การแสดงบัลเลต์ครั้งแรกในอเมริกา ปี 1944)

ถึงผมจะมิได้เชี่ยวชาญในบัลเลต์ แต่ก็อดทึ่งไม่ได้กับท่วงท่า ลีลา เล่นจังหวะ ในบทเพลง Dance Of The Sugarplum Fairy ช่างมีความ ‘Enchanted’ มนต์เสน่ห์อันงดงามน่าหลงใหล ทุกอย่างดูง่ายดายไปหมด Alina Somova ราวกับเทพธิดานางฟ้า ‘Fairy’ โลดแล่นล่องลอยโบยบิน

เพลงเดียวกัน แต่อยากให้ลองเปรียบเทียบกับ Lauren Cuthbertson ที่ไม่ได้เต้นลงจังหวะแบบ Alina กระนั้นท่วงท่าลีลามีความเฉพาะตัว ในโลกส่วนตนเอง แถมยังเล่นหูเล่นตา หยอกเย้ากับผู้ชม นี่มิได้แปลว่าทักษะการเต้น Lauren ด้อยชั้นกว่า ตรงกันข้ามผมกลับรู้สึกชื่นชอบเธอมากกว่าอีกในความสง่างาม เหมือนราชินีมากกว่า

ส่วน Nina Kaptsova เธอเหมือนแฟรี่ขี้เล่น ชื่นชอบการโลดแล่นโบยบิน หมุนตัวพริ้วไหว กระโดดโลดโผนไปมา ช่วงท้ายขณะหมุนตัวโดยรอบวงกลม หายใจไม่ทั่วท้อง ‘Breathtaking’ เสียเหลือเกิน

นอกจาก Dance Of The Sugarplum Fairy ยังมีอีกหลายบทเพลงใน The Nutcracker ที่มีความไพเราะเพราะพริ้งไม่ย่อหย่อนไปกว่ากัน ขอนำเสนออีกเพลงที่โดยส่วนตัวชื่นชอบมากๆคือ Waltz of the Flowers ได้ยินแล้วอยากขยักโยกเต้นลีลาศตาม

ดอกไม้เป็นพืชพันธุ์ที่ไม่สามารถขยับเคลื่อนย้ายไปไหนได้ แต่มันสามารถโยกกิ่งก้าน หุบบาน พริ้วไหวตามลม ค่อยๆเคลื่อนคล้อยไปตามท่วงทำนองอารมณ์เพลง ซึ่งสัมผัสของ Waltz of the Flowers ไม่ใช่เพียงแค่เรือนร่างกายเท่านั้นที่ล่องไป แต่ยังจิตวิญญาณที่สามารถลอยติดตามไปด้วยได้อย่างใกล้ชิด

สำหรับคนที่อยากฟัง The Nutcracker Suite แบบเต็มๆ

หรือรับชมการแสดง Ballet ของ The Nutcracker

ความที่น้องสาวของ Tchaikovsky เสียชีวิตไปก่อนหน้าเริ่มต้นประพันธ์ The Nutcracker เพียงเล็กน้อย ทำให้ตัวเขาไม่ค่อยอยากทำงานนี้สักเท่าไหร่ ภาพรวมบอกว่าชื่นชอบน้อยกว่า Swan Lake และ The Sleeping Beauty เสียอีก แต่กลับกลายเป็นผลงานโด่งดังสร้างชื่อให้เขาเป็นที่สุด (อันดับ 1-2 ของ Tchaikovsky คือ Swan Lake และ The Nutcracker)

เราสามารถมอง The Nutcracker คือบทเพลงที่ Tchaikovsky ประพันธ์เพื่อเป็นของขวัญให้น้องสาวผู้ล่วงลับ จินตนาการตัวเองคือเจ้าชายผู้ถูกสาปกลายเป็นลูกนัท (ตนเองเป็นเกย์ ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม) ได้รับการช่วยเหลือจากหญิงสาว (น้องสาวของ Tchaikovsky) จนสามารถกระเทาะเปลือกนอกออกมา ต่อสู้เอาชนะราชาหนู (ศัตรู/เผด็จการคือผู้มีอำนาจ กำหนดกฎกรอบเกณฑ์ของสังคม) หลังจากนั้นคือคำขอบคุณจากใจ ให้เธอสามารถไปสู่โลกหน้าได้อย่างหมดอาลัยห่วง

จริงๆต้นฉบับของ The Nutcracker and the Mouse King มีความลึกล้ำซับซ้อนกว่านี้มากๆ ชนวนขัดแย้งระหว่างเจ้าชายลูกนัท กับราชาหนู เกิดจากปมขัดแย้งความเห็นแก่ตัวระหว่างราชินีหนูกับองค์หญิงอีกคน (มันจะสะท้อนเข้ากับเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของเด็กหญิง) ซึ่งเรื่องเล่าดังกล่าวจะกลายเป็นบทเรียนสอนใจ เติบโตขึ้นเธอจะได้ไม่กลายเป็นแบบสิ่งที่เกิดขึ้นในนิทาน/ความเพ้อฝันของตนเอง

เพราะการที่ Tchaikovsky เป็นเกย์ ทำให้ชีวิตของเขาตกอยู่ในสภาวะยุ่งยาก ได้รับคำครหาของสังคมจนป่วยเป็นโลกซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตายอยู่หลายหน ขณะเดียวกันเพื่อกลบข่าวลือ แต่งงานกับหญิงสาวแต่สุดท้ายก็เลิกรา เสียชีวิตด้วยอหิวาตกโรค แต่บางกระแสกล่าวว่าเขาถูกบังคับให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย จากข้อหารักร่วมเพศ

มีความพยายามเรียบเรียง/ดัดแปลง The Nutcracker เป็นสื่ออื่นๆมากมาย ภาพยนตร์/โทรทัศน์/ละครเพลง(ที่ไม่ใช่บัลเล่ต์)/เกมก็ยังมี, สำหรับภาพยนตร์ที่โดยส่วนตัวรู้สึกว่าน่าสนใจ นอกจาก Fantasia (1940) ก็มี The Nutcracker and the Four Realms (2018) โปรดักชั่นงดงามอลังการมากๆ ภายใต้สังกัด Walt Disney แนวโน้มน่าจะออกมาไม่เลว แค่ตัวอย่างหนังก็ทรงพลังอลังการมากยิ่งๆแล้ว

ผมครุ่นคิดถึงนัยยะของบทเพลงนี้มานานพอสมควร เพราะรู้สึกว่ามันไพเราะเพราะพริ้งเกินกว่าผู้ชายทั้งแท่งจะประพันธ์ได้! ลองนึกถึงตัวตนของ Mozart และสไตล์เพลงของเขาสิครับ เป็นคนเฮฮาครึกครื้นเครงจึงสามารถเขียนท่วงทำนองฟังแล้วสามารถหัวเราะยิ้มออก นั่นแปลว่า Tchaikovsky อาจมีอีกด้านหนึ่งที่โคตรแฟนตาซี (นึกถึง Swan Lake ตามไปด้วยก็ได้) อะไรกันที่ทำให้เขาหวานหยดย้อยได้ขนาดนั้น มาค้นหาข้อมูลพบว่าเป็นเกย์ก็รู้สึกว่าใช่เลยละ สัมผัสอันนุ่มนวลผิดชาย ไว้หนวดยาวแค่ไหนก็มิอาจปกปิดตัวตนภายใน

The Nutcracker เป็นเพลงเหมาะสำหรับเปิดฟังในช่วงเทศกาลคริสต์มาสอย่างยิ่ง (เมืองไทยอาจไม่อินเท่าไหร่ แต่ยุโรป/อเมริกา โดยเฉพาะรัสเซีย!) ระยิบระยับด้วยเกล็ดหิมะ รอยยิ้ม ความสุขสำราญมาพร้อมความหนาวเหน็บ และกล่องของขวัญปีใหม่ ลุ้นระทึกว่าจะมีอะไรอยู่ข้างใน

TAGLINE | “The Nutcracker กระเทาะเปลือกของ Pyotr Ilyich Tchaikovsky นำเสนอตัวตนเองออกสู่สายตาชาวโลก”
QUALITY | RARE
MY SCORE | LIKE

Holst: The Planets


The Planets

Holst: The Planets

เทียบกับวงการภาพยนตร์ คงต้องเรียกความยิ่งใหญ่ของบทเพลง The Planets, Op. 32 ประพันธ์โดยคีตกวีสัญชาติอังกฤษ Gustav Holst ว่าระดับ ‘Symphonic Blockbuster’ เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ปี 1918 ประกอบด้วย 7 Movement พรรณาถึง 7 ดาวเคราะห์ของระบบสุริยะขณะนั้น

  • Mars, the Bringer of War
  • Venus, the Bringer of Peace
  • Mercury, the Winged Messenger
  • Jupiter, the Bringer of Jollity
  • Saturn, the Bringer of Old Age
  • Uranus, the Magician
  • Neptune, the Mystic

Gustav Theodore Holst (1874 – 1934) คีตกวีสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Cheltenham, Gloucestershire
– ปู่ทวด Matthias Holst (1767-1854) มีเชื้อสาย German เป็นนักแต่งเพลง สอนดนตรี Harp ให้กับราชวงศ์ Imperial Russian Court
– ปู่ Gustavus Holst (1799-1871) คงต้องการหนีจากร่มเงาปู่ทวด เลยอพยพย้ายมาอยู่อังกฤษ เป็นนักแต่งเพลงและครูสอน Harp เช่นกัน
– พ่อ Adolph Holst (1846-1901) ชื่นชอบเล่นออร์แกน ผู้ควบคุมวงคอรัส สังกัด All Saints’ Church, Cheltenham
– มีน้องชายร่วมสายเลือด Emil Holst ต่อมาใช้ชื่อ Ernest Cossart มุ่งสู่วงการละครเวที West End ประสบความสำเร็จพอสมควร และเคยแสดงหนัง Hollywood อยู่ปริมาณหนึ่ง

ช่วงชีวิตวัยเด็กของ Gustav Holst เริ่มต้นจากเรียนเปียโน(ชอบมาก) ไวโอลิน(ไม่ชอบเท่าไหร่) ป่วยเป็นโรคหอบหืดเลยหัดเล่นทรัมโบนด้วยเพื่อช่วยบรรเทาอาการ(ให้ปอดแข็งแรงขึ้น) โตขึ้นประพันธ์เพลงเปียโน ออร์แกน ขับร้อง ซิมโฟนี่ชิ้นแรกปี 1892 อิทธิพลหลักๆรับจาก Felix Mendelssohn, Frédéric Chopin, Edvard Grieg, Arthur Sullivan (แต่งานเพลงออกไปสไตล์ Richard Wagner และ Richard Strauss)

พ่อ Adolph พยายามผลักดันให้ลูกชายเป็นนักเปียโน แต่เขากลับเป็นคน Over-sensitive แถมชอบทำตาเบลอๆลอยๆเหมือนคนไร้วิญญาณ (จริงๆคือสายตาสั้น ขณะนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าต้องพาไปตัดแว่น) คอนเสิร์ตแรกที่พ่อ-ลูก คู่นี้แสดงร่วมคือ Brahms: Hungarian Dances

ปี 1892, Gustav Holst ได้รับมอบหมายให้ประพันธ์ Operetta เรื่อง Lansdown Castle, or The Sorcerer of Tewkesbury เปิดการแสดงที่ Cheltenham Corn Exchange ได้รับเสียงตอบรับดีล้นหลาม เลยตัดสินใจส่งใบสมัครขอทุนการศึกษายัง Royal College of Music แม้ปีนั้นจะไม่ได้ทุนแต่ก็ได้รับโอกาสศึกษาต่อ หาเงินเรียนด้วยการเล่นทรัมโบนโดยมี Richard Strauss เป็นคอนดักเตอร์

ดิ้นรนไปเรื่อยๆจนเรียบจบ ทำงานเป็นนักดนตรี ประพันธ์บทเพลง ประสบความสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง จนกระทั่งประมาณปี 1913 ได้รับฟังเรื่องเล่าจากเพื่อนนักเขียน/กวีชื่อดัง Clifford Bax เงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้ายามค่ำคืน แนะนำดาวทั้ง 7 ของระบบสุริยะ และหลักการทางโหราศาสตร์ที่เชื่อว่าดาวแต่ละดวงมีพลัง อารมณ์ แนวคิด ความเชื่อบางอย่างซ่อนเร้นอยู่

คิดเล่นๆสนุกสนานแต่ไปๆมาๆกลับเริ่มจริงๆจัง นำเรื่องราวแนวคิดจากหนังสือ What is the Horoscope and How is it Cast (1902) เขียนโดย Alan Leo ผู้ได้รับการยกย่องว่าคือ ‘the father of modern astrology’ มาเป็นแรงบันดาลใจ

ในตอนแรกตั้งชื่อว่า Seven Pieces for Large Orchestra (ได้แรงบันดาลใจชื่อจาก Arnold Schoenberg: Five Pieces for Orchestra) เริ่มต้นเขียนเพลงขึ้นจากเปียโนสองตัว ยกเว้นท่อนของ Neptune พิเศษโดยเฉพาะกับออร์แกน (เพราะเป็นดาวเคราะห์ห่างไกลโลกสุดขนาดนั้น และเสียงออร์แกนฟังดูเหินห่างยาวไกลที่สุด) ต่อจากนั้นใช้เวลาเป็นปีๆเพื่อเรียบเรียงเป็นออเครสต้าเต็มวง เปลี่ยนชื่อเป็น The Planets Suite รอบปฐมทัศน์ ณ Queen’s Hall, London กำกับวงโดย Adrian Boult วันที่ 29 กันยายน 1918 (สัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1) ได้รับเสียงตอบรับดีเยี่ยม ประสบความล้นหลามโดยทันที

Mars, the Bringer of War เริ่มต้นด้วยพลังแห่งความเกรี้ยวกราดโกรธ ลางร้าง ไม่ใช่เรื่องดีแน่ เสียงกลองรัวเป็นจังหวะเร่งเร้าเหมือนเสียงย้ำฝีเท้า กรีธาทัพเข้าสู่ท้องสนามรบ ตรงกับชื่อ ‘God of War’ ของชาวโรมัน ขนลุกขนพองทุกทีที่ได้ฟัง

Venus, the Bringer of Peace ตรงข้ามกับดาวเคราะห์สีแดง ย่อมคือดาวศุกร์สีน้ำเงิน ท่วงทำนองเบาๆ เชื่องช้า ล่องลอย มอบสัมผัสที่ผ่อนคลาย เรียบง่าย งดงามด้วย Harps, Flutes และโซโล่ไวโอลิน แทนความงามของเทพีแห่งความรัก ณ อาณาจักรโรมัน

Mercury, the Winged Messenger ท่วงทำนองอันเหลาะแหละ หยองแย่ง เหมือน Bugs Bunny กระโดดโลดเต้น วิ่งเล่นลัลล้าไปมา ตรงกับความเป็นดาวเคราะห์น้องคนเล็ก เทพเจ้านำสาร หมุนรวดเร็วจี๋รอบวงโคจรพระอาทิตย์ (เป็นท่อนสั้นสุดของ Suite นี้ด้วยนะ)

Jupiter, the Bringer of Jollity การจะได้เข้าเฝ้าพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ ‘Majestic’ ที่สุดในน่านฟ้าระบบสุริยะ นำมาซึ่งความลิงโลด ตื่นเต้น ดีใจที่สุดในชีวิต เมื่อฉาบลงราวกับถึงเวลาพระองค์กำลังเสด็จลงพระที่นั่ง เงียบสงัดชั่วครู่หนึ่ง จากนั้นเสียงเครื่องเป่าลมทุ้มต่ำดังขึ้น แสดงถึงน้ำพระทัยที่แผ่ปกคลุมมาถึง ประสานต่อด้วยเครื่องสายให้เกิดความซาบซึ้ง ระยับวิจิตรตระการตา อยากเงยหน้าขึ้นสักครามาเชยชมพระบารมี

Saturn, the Bringer of Old Age เทพโรมันแห่งการเกษตร ตัวแทนคนรุ่นเก่าที่ปัจจุบันเมื่อสูงวัยเริ่มมีความเชื่อช้า โรยรา ใกล้ถึงจุดจบแห่งชีวิต เต็มไปด้วยความหวาดสะพรึงกลัว อนาคตอันมืดหมองหม่น แต่สุดท้ายแล้ว (เมื่อระฆังดังขึ้น) นั่นก็คือสัจธรรม มิอาจหลีกหนีพ้นจุดจบแห่งโชคชะตาลงได้

โลกหลังความตาย ในมุมมองของบทเพลงนี้ มันอาจไม่ได้เลวร้ายดั่งที่ใครๆครุ่นคาดคิดหวังกัน เพราะการตาย=การเกิด ชีวิตเบื้องหน้าอาจสงบสุขยอดเยี่ยมกว่าปัจจุบันก็เป็นได้

Uranus, the Magician นักมายากล ผู้เต็มเปี่ยมด้วยลูกเล่นลีลาแพรวพราว เบื้องนอกดูเหมือนไม่มีอะไรเท่าไหร่ แต่สิ่งที่อยู่ภายในกลับยิ่งใหญ่เอ่อล้น ค่อยๆเปิดเผยแสดงตัวตนออกมาทีละเล็กละน้อย สะกดจิตทุกผู้คนให้ตะลึงงัน เงียบสงัด จากนั้นทำบางสิ่งอย่าง … (ให้สมชื่อดาวมฤตยู)

Neptune, the Mystic เริ่มต้นด้วยเสียง Harp ประสานสอดคล้องออร์แกนอย่างนุ่มนวล บอบบาง มอบความรู้สึกเหมือนฝันอันห่างไกล ราวกับชีวิตลมหายใจค่อยๆเจือจางหาย ทุกสิ่งอย่างถูกลบลืมเลือนลางไปตามกาลเวลา และเมื่อเสียงคอรัสดังขึ้น บางสิ่งอย่างที่มองไม่เห็นด้วยตาแต่สัมผัสรับได้ว่ามีอยู่พานผ่านเข้ามา ช่างเป็นดวงที่เต็มไปด้วยความลึกลับพิศวงยิ่งนัก

สรุปโดยย่อของทั้ง 7 ท่อน อารมณ์ประมาณนี้

  • Mars: รุนแรง เกรี้ยวกราดโกรธ
  • Venus: นุ่มนวล สงบงาม
  • Mercury: รวดเร็ว เร่าร้อน
  • Jupiter: เฉลิมฉลอง ยิ่งใหญ่
  • Saturn: หดหู่ น่าสะพรึง
  • Uranus: มหัศจรรย์ ว้าวุ่นวาย
  • Neptune: ลึกลับ ห่างไกลโพ้น

การตีความบทเพลงนี้ นอกจากเรื่องอารมณ์ที่นำเสนอไปแล้ว มองจากยุคสมัยของการประพันธ์นั้น ครุ่นคิดตามแล้วจะขนหัวลุก สะท้อนเข้ากับสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เลยนะนั่นนะ

  • The Bringer of War ถ่ายทอดสัมผัสทางอารมณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 1
  • The Bringer of Peace เมื่อสงครามจบ ช่วงเวลาแห่งความสงบสุขสันติจึงถือกำเนิดขึ้น
  • The Winged Messenger ข่าวสารแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก
  • The Bringer of Jollity นำรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ดีใจอย่างสุดๆเมื่อสงครามสิ้นลง
  • The Bringer of Old Age การสิ้นสุดของสงคราม ถือเป็นจุดเปลี่ยนของยุคสมัย อดีตกำลังค่อยๆร่วงโรยลาลับไป
  • Uranus, the Magician โลกต่อไปย่อมเต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ จากการเปลี่ยนแปลง
  • Neptune, the Mystic และไกลกว่านั้นคือความลึกลับที่ไม่มีใครสามารถบ่งบอกได้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ในบรรดาวาทยากรที่สามารถเรียบร้อยเรียง ตีความ ถ่ายทอดอารมณ์ของ The Planets ออกมาได้อย่างดงาม ยิ่งใหญ่ทรงพลัง สมบูรณ์แบบที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้น Herbert von Karajan สัญชาติออสเตรีย ผู้ขึ้นเรื่องการใส่อารมณ์อันเกรี้ยวกราดรุนแรงลงไปขณะกำกับวง! ซึ่ง Record นี้ ท่อน Mars คือการบันทึกเสียงที่เจ้าตัวเคยบอกว่าชื่นชอบมากสุดๆ แม้หลายคนอาจรู้สึกทะแม่งๆด้วยความหน่วงเชื่องช้ากว่า Tempo ปกติ แต่ผมกลับขนหัวลุกซู่ทุกครั้งที่ได้ฟัง นี่อาจเป็นผลงาน Masterpiece ของ Karajan เลยนะเนี่ย

การตีความใหม่ของ The Planets ฉบับที่มีความน่าสนใจโคตรๆเลยก็คือ Isao Tomita ด้วยเครื่องสังเคราะห์เสียง จะนำพาคุณไปสู่โลกอนาคตอัน … ลองฟังดูเองแล้วกันนะครับ ว่าจะลึกล้ำพิศดารสักเพียงไหน

The Planets คือผลงาน Orchestral Suite ประสบความสำเร็จสูงสุดของ Gustav Holst แต่เจ้าตัวเหมือนจะไม่ค่อยแคร์มันเท่าไหร่ (ประมาณว่าเพลงนี้โด่งดังเกินไป จนคนส่วนใหญ่ไม่สนใจผลงานอื่นของตนเองเท่าที่ควร) สำหรับท่อนโปรดของผู้แต่งคือ Saturn และเมื่อตอนนักดาราศาสตร์ค้นพบดาวมฤตยู Pluto เมื่อปี 1930 มีคนไปสอบถาม Holst จะแต่งต่อไหม? ส่ายหัวปฏิเสธไม่สนใจ (ปัจจุบัน Pluto หลุดจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะไปแล้วนะครับ กลายเป็นว่า The Planets ยังคงเป็น Orchestra แห่ง Solar System สมบูรณ์ที่สุดอยู่ดี)

ประเด็นคือ Leonard Bernstein เมื่อปี 1972 ทำการตีความ The Planets ในรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งประพันธ์เพิ่มเติม Pluto, the Unpredictable เผื่อใครสนใจอยากฟังนำมาฝากทิ้งท้าย มันแบบว่า Avant-Garde สุดๆไปเลยนะ

สำหรับภาพยนตร์มีชื่อหน่อย ที่ได้รับแรงบันดาลใจ หรือนำ The Planets ไปใช้ประกอบ อาทิ
– The Imperial March ของ Star Wars (1977) ผู้แต่ง John Williams ให้สัมภาษณ์ถึงแรงบันดาลใจจากท่อน Mars
– The Right Stuff (1983) รับอิทธิพลจาก Mars, Jupiter, Neptune
– สารคดี The Planets (1983)
– Gladiator (2000) ประพันธ์โดย Hans Zimmer มีทำนองคล้ายคลึงกับ Mars จนขนาดถูกฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์จาก Holst Foundation
– The Curse of the Were-Rabbit (2005) ได้ยินท่อน Mars
– Hellboy II: The Golden Army (2008) ได้ยินท่อน Mars
– Knowing (2009) ได้ยินท่อน Jupiter
– The Boss Baby (2017) ได้ยินท่อน Mars

จริงๆผมจดจำไม่ได้แล้วว่าเคยฟัง The Planets ครั้งแรกเมื่อไหร่ แต่ระหว่างเขียนบทความ The Right Stuff (1983) ระลึกได้ถึง Orchestra ชิ้นนี้ นำมาเปิดฟังเพื่อสร้างบรรยากาศ แค่ท่อนแรก Mars ก็ทำให้ขนลุกขนพองจนเกิดความตั้งใจอยากเขียนบทความนี้ขึ้นมา

ส่วนตัวไม่ได้ชื่นชอบท่อนไหนของบทเพลงนี้มากเป็นพิเศษ แต่ถ้าให้ไล่เรียงคงประมาณ Mars > Saturn > Jupiter > Venus > Neptune > Uranus > Mercury

TAGLINE | “The Planets ของ Gustav Holst คือ Orchestra ที่ยิ่งใหญ่สุดแห่งระบบสุริยะ!”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Mozart: Requiem


Mozart Requiem

Mozart: Requiem

ผลงานชิ้นสุดท้ายของ Wolfgang Amadeus Mozart ทว่าตัวเขาพลันด่วนเสียชีวิตลงก่อนด้วยโรคไตและไข้รากสาดใหญ่ ต่อมาเป็น Franz Xaver Süssmayr หนึ่งในลูกศิษย์ที่ภรรยาหม้าย Constanze ร้องขอให้ช่วยแต่งต่อครึ่งหลังให้เสร็จ เพื่อมิให้ Count Franz von Walsegg ผู้ว่าจ้าง Mozart ประพันธ์บทเพลงนี้ ฉกฉวยนำไปเป็นผลงานของตนเอง

เอาจริงๆมีเพียงท่อนเดียวแรกสุดเท่านั้น Introitus – Requiem aeternam ที่ Mozart ได้จดบันทึกโน๊ตเพลงไว้ครบถ้วนหมดสิ้น ขณะที่ท่อน 2-3-4 สำเร็จเสร็จแค่บางส่วน คำร้อง ทำนองหลัก แต่ก็ได้กำหนดทิศทางของดนตรีไว้บ้างแล้ว สามารถนำไปแต่งต่อได้ใจความหลักครบถ้วน ขณะที่ 5-6-7-8 เป็นการประพันธ์เพิ่มขึ้นใหม่ของ Süssmayr เพื่อเติมเต็มบทเพลง Requiem Mass ตามรูปแบบของยุคสมัยนั้น

ขอกล่าวถึง Requiem Mass ก่อนแล้วกัน คือบทเพลงของศาสนาคริสต์ที่นิยมใช้ในพิธีศพ (แต่ปัจจุบันมักนำมาแสดงในคอนเสิร์ตมากกว่า) เพื่อแสดงความอาลัย ระลึกถึง สวดอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้าให้มารับดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สรวงสวรรค์ โดยเนื้อหามักอ้างอิงจากเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลทั้งเก่าใหม่ โดยปกติจะมีความยาวค่อนข้างมาก ประกอบด้วยการขับร้องเดี่ยว ประสานเสียง และร่วมกับวงออเครสต้า ฯ

ประมาณกลางปี 1791, Mozart ในวัย 35 ปี ได้รับหมอบหมายงานจาก Count Franz von Walsegg เพื่อประพันธ์บทเพลง Requiem ให้กับภรรยาสาว Anna ที่เพิ่งเสียชีวิตขณะมีอายุเพียง 20 ปี ในตอนแรกก็ไม่ยากรับงานนี้สักเท่าไหร่ แต่เพราะค่าตอบแทนค่อนข้างสูงจึงตอบตกลงกลับด้วยจดหมาย แต่ก็ใช้เวลาระหว่างนั้นประพันธ์โอเปร่าสองเรื่อง La Clemenza di Tito และ The Magic Flute ทำให้บทเพลงนี้เกิดความล่าช้า ประกอบกับอาการป่วยทรุดหนักจนต้องล้มหมอนนอนเสื่อมิอาจลุกขึ้นมาเขียนเพลงต่อได้ เห็นว่าก็คือ Franz Xaver Süssmayr ที่เป็นผู้อยู่ข้างเตียง คอยจดบันทึกโน๊ตเพลงตามคำบอกเล่าของ Mozart แต่โชคชะตาฟ้าดินก็ไม่เข้าข้างเขาเสียแล้ว พลันด่วนจากไปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 1971

Count Franz von Walsegg เป็นขุนนางจอมกะล่อนปลิ้นปล้อน หลายครั้งจ่ายเงินให้คีตกวีมีชื่อประพันธ์เพลงให้ แต่ก็เขียนลงในสัญญาว่านามผู้แต่งจะต้องคือตนเองเท่านั้น เพราะรู้ความเช่นนี้ภรรยาหม้าย Constanze จึงไม่ต้องการให้ผลงานสุดท้ายที่ยังแต่งไม่เสร็จของสามี ถูกนำไปแอบอ้างโดยใครก็ไม่รู้ เลยไหว้วานร้องขอให้ Franz Xaver Süssmayr ช่วยประพันธ์ต่อให้เสร็จ ก่อนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1792 (แสดงครั้งแรกในวันฝังศพของ Anna)

โครงสร้างของ Requiem แบ่งออกเป็น 7 ท่อน 14 ลีลา ประกอบด้วย

  1. Introitus: Requiem aeternam (ประสานเสียง และโซปราโนเดี่ยว)
  2. Kyrie eleison (ประสานเสียง)
  3. Sequentia:
    • Dies irae (ประสานเสียง)
    • Tuba mirum (โซปราโน, คอนทราลโต, เทเนอร์ และเบสเดี่ยว)
    • Rex tremendae majestatis (ประสานเสียง)
    • Recordare, Jesu pie (โซปราโน, คอนทราลโต, เทเนอร์ และเบสเดี่ยว)
    • Confutatis maledictis (ประสานเสียง)
    • Lacrimosa dies illa (ประสานเสียง)
  4. Offertorium:
    • Domine Jesu Christe (ประสานเสียง กับเดี่ยวควอร์เทต)
    • Versus: Hostias et preces (ประสานเสียง)
  5. Sanctus:
    • Sanctus Dominus Deus Sabaoth (ประสานเสียง)
    • Benedictus (เดี่ยวควอร์เทต จากนั้นประสานเสียง)
  6. Agnus Dei (ประสานเสียง)
  7. Communio:
    • Lux aeterna (โซปราโนเดี่ยว และประสานเสียง)

คนส่วนใหญ่พอจบ Lacrimosa หรือ Offertorium ก็จะเลิกฟังเพลงนี้แล้ว เพราะตั้งแต่ Sanctus ถือเป็นผลงานของ Süssmayr คุณภาพหาได้ยิ่งใหญ่ทรงพลังเทียบเท่าของ Mozart ที่ตั้งต้นไว้อย่างเลิศหรู แต่ส่วนตัวเคยฟังแล้วไม่รู้สึกเลวร้ายเท่าไหร่นะ อารมณ์ประมาณ The Godfather Part III ถึงจะเทียบสองภาคแรกไม่ได้ แต่ก็ยังมีความโดดเด่นในตนเอง (แต่ถ้าฟังบ่อยๆ ก็น่าจะจับใจความกันได้เองว่า มันคนละสไตล์และระดับชั้นกันเลย)

ปกติผมไม่ค่อยฟัง Requiem สักเท่าไหร่ แต่เพราะภาพยนตร์หลายๆเรื่องมักนำบางท่อนไปใช้ประกอบเรื่องราว เลยได้ยินคุ้นหูอยู่เรื่อยๆจนพอจดจำท้วงทำนองอารมณ์เพลงได้ ไล่เรียงความชื่นชอบคือ Requiem aeternam > Dies irae > Lacrimosa dies illa > Confutatis maledictis > Rex Tremendae และขอนำเสนอแค่ Lacrimosa พอนะครับ ที่เหลือพอไม่ใช่ของ Mozart เลยไม่มีกระจิตอยากทำความเข้าใจสักเท่าไหร่

Requiem aeternam (แปลว่า Eternal Rest) คือท่อนเดียวที่ Mozart ประพันธ์เสร็จสิ้นทั้งหมดครบทุกเครื่องดนตรี ก็ต้องถือว่ามีความไพเราะทรงพลังที่สุด, คำร้องมีใจความอธิษฐานสวดอ้อนวอนขอให้พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดสาดส่องประการแสงสว่างลงสู่ผู้ตาย นำทางให้เขาสามารถขึ้นสู่สรวงสวรรค์ หลับสนิทชั่วนิรันดร์ในอาณาจักรของพระองค์

Requiem aeternam dona ets, Domine,
et lux perpetua luceat ets.
Te decet hymnus, Deus, in Sion,
et tibi reddetur votum in Jerusalem.
Exaudi orationem meam,
ad te omnis caro veniet.
Requiem aeternam dona ets, Domine,
et lux perpetua luceat ets.

Grant them eternal rest, Lord
And let perpetual light shine on them
You are praised, God, in Zion
And homage will be paid to You in Jerusalem
Hear my prayer
To You all flesh will come
Grant them eternal rest, Lord
And let perpetual light shine on them

เสียงคอรัสร้องรับสลับสูง-ต่ำ ชาย-หญิง ตัดกันไปมา ทั้งๆที่คำร้องก็แสนสั้นแต่มีลักษณะเหมือนการแก่งแย่งแข่งขัน เพื่อขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดทรงเมตตาปราณีต่อตัวข้าโดยเร็วไวด้วยเถิด

Kyrie eleison,
Christe eleison,
Kyrie eleison.

Lord have mercy,
Christ have mercy,
Lord have mercy.

Dies irae (แปลว่า Day of wrath) นำคำร้องจากบทสวดภาษาละติน สันนิฐานว่าเขียนขึ้นโดย Tommaso da Celano ไม่ก็ Latino Malabranca Orsini ประมาณศตวรรษที่ 13 ใจความกล่าวเอ่ยถึงการพิพากษาครั้งสุดท้าย และแตรของอัครทูตสวรรค์ Gabriel เบิกวิญญาณที่หน้าบัลลังก์พระเจ้า คำร้องคอรัสเต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราดโกรธรุนแรงของพระผู้เป็นเจ้า ช่วงเวลาแห่งการตัดสินกำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว

ปล. นี่น่าจะคือท่อนที่ผลงานศิลปะยุคใหม่นิยมนำไปใช้มากสุดแล้วกระมัง

Dies irae, dies illa
Solvet saeclum in favilla,
Teste David cum Sibylla.
Quantus tremor est futurus
Quando judex est venturus
Cuncta stricte discussurus.

Day of wrath, day of anger
Will dissolve the world in ashes
As foretold by David and the Sibyl
Great trembling there will be
When the Judge descends from heaven
To examine all things closely

เริ่มต้นด้วยเสียงทรอมโบนนุ่มๆแบบลุ่มลึก กึกก้องเพื่อร้องเรียกให้ทุกดวงวิญญาณสรรพสิ่งเข้ามารวมตัวต่อหน้าพระบัลลังก์เพื่อรอการตัดสินพิพากษาครั้งสุดท้ายจากพระผู้เป็นเจ้า, ทรอมโบนถือเป็นตัวแทนของทูตสวรรค์ ส่วนนักร้องจะมี 4 ระดับ ไล่จาก Bass, Tenor, Contralto, Soprano (ชาย 2 หญิง 2) เรียกว่าเป็นตัวแทนของมนุษย์ทุกหมู่เหล่า

Tuba mirum spargens sonum
per sepulchra regionum,
coget omnes ante thronum.
Mors stupebit et natura
cum resurget creatura,
judicanti responsura.
Liber scriptus proferetur,
in quo totum continetur,
unde mundus judicetur.
Judex ergo cum sedebit,
quid latet apparebit:
nil inultum remanebit.
Quid sum miser tunc dicturus?
Quem patronum rogaturus
cum vix justus sit securus?

The trumpet will send its wondrous sound
throughout earth’s sepulchres,
and gather all before the throne.
Death and nature will be astounded
when all creation rises again,
to answer the judgement.
A book will be brought forth,
in which all will be written,
by which the world will be judged.
When the judge takes his place,
what is hidden will be revealed:
nothing will remain unavenged.
What shall a wretch like me say?
Who shall intercede for me
when the just ones need mercy?

Rex Tremendae คือคำอธิษฐานวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ล้นฟ้า ให้ช่วยสงเคราะห์เมตตาลูกแกะน้อยตนนี้ ให้รอดพ้นจากการถูกตัดสินความผิดนี้ด้วยเถิด, คำว่า Rex แปลว่าพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ประสานเสียงดัง’กึกก้อง’ราวกับเพื่อให้พระองค์ทรงได้ยิน แล้วหันมารับฟังคำร้องขอของลูกแกะน้อยตนนี้

สังเกตว่าท่อนนี้คำร้องคอรัสจะไม่สับสนวุ่นวายเท่า Kyrie คงเพราะใจความเจาะจงที่ตัวบุคคลมากกว่าเหมารวมแทนด้วยทุกสรรพสิ่ง

Rex tremendae majestatis,
Qui salvandos salvas gratis,
Salve me, fons pietatis.

King of tremendous majesty,
who freely saves those worthy ones,
save me, source of mercy.

ท่อนที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบกันสักเท่าไหร่ Recordare (แปลว่า Remember) ใช้นักร้อง 4 ระดับเช่นกัน Bass, Tenor, Contralto, Soprano (ชาย 2 หญิง 2) ตัวแทนของมนุษย์ทุกหมู่เหล่า ทำการรำพันถึงคำอธิษฐานของตนเองที่เคยได้เอ่ยกล่าวไว้ พระผู้เป็นเจ้า/พระเยซูคริสต์ โปรดทรงหวนระลึกถึงสิ่งนั้น จะได้ช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้นจากการถูกพิพากษาตัดสินนี้เถิด

Recordare, Jesu pie,
quod sum causa tuae viae:
ne me perdas illa die.
Quaerens me, sedisti lassus:
redemisti crucem passus:
tantus labor non sit cassus.
Juste judex ultionis,
donum fac remissionis
ante diem rationis.
Ingemisco, tamquam reus:
culpa rubet vultus meus,
supplicanti parce, Deus.
Qui Mariam absolvisti,
et latronem exaudisti,
mihi quoque spem dedisti.
Preces meae non sunt dignae:
sed tu bonus fac benigne,
ne perenni cremer igne.
Inter oves locum praesta,
Et ab haedis me sequestra,
Statuens in parte dextra.

Remember, sweet Jesus,
my salvation caused your suffering;
do not forsake me on that day.
Faint and weary you have sought me,
redeemed me, suffering on the cross:
may such great effort not be in vain.
Righteous judge of vengeance,
grant me the gift of absolution
before the day of retribution.
I moan as one who is guilty:
owning my shame with a red face,
suppliant before you, Lord.
You, who absolved Mary,
and listened to the thief,
give me hope also.
My prayers are unworthy:
but, good Lord, have mercy,
and rescue me from eternal fire.
Provide me a place among the sheep,
and separate me from the goats,
guiding me to your right hand.

Confutatis เมื่อจำเลยได้ถูกตัดสินว่ามีความผิด คุกเข่าอ้อนวอนด้วยความจำนนรู้สำนึก ขอโปรดให้พระองค์ให้อภัยข้าพเจ้าด้วยเถอะ, ท่วงทำนองช่วงนี้จะสลับไปมาระหว่างเสียงคอรัสที่ดุดันหนักแน่น กับเสียงโหยหวนอันเบาบางล่องลอย สะท้อนถึงความรู้สำนึกผิด ต้องการให้พระผู้เป็นเจ้ายกโทษให้อภัย

เกร็ด: นี่เป็นท่อนไฮไลท์ของภาพยนตร์เรื่อง Amadeus (1984) ขณะ Mozart อยู่บนเตียง ขอให้ Antonio Salieri จดบันทึกโน๊ตเพลงนี้ให้

Confutatis maledictis
Flammis acribus addictis,
Voca me cum benedictis.
Oro supplex et acclinis,
Cor contritum quasi cinis,
Gere curam mei finis.

When the accused are confounded,
and doomed to flames of woe,
call me among the blessed.
I kneel with submissive heart,
my contrition is like ashes:
help me in my final condition.

Lacrimosa แปลว่าการไว้อาลัยและร่ำลา นั่นคือเมื่อการพิพากษาของพระผู้เป็นเจ้ามาถึงกาลสิ้นสุด ทุกสิ่งอย่างบนโลกเหลือเพียงเถ้าถ่านจากการมอดไหม้ทำลาย ขออธิษฐานให้ทุกสรรพสิ่งที่สูญสิ้นไป ได้หลับไหลสนิลลงชั่วกาลนาน – อาเมน

เกร็ด: คำร้องสุดท้ายของบทเพลงนี้ Amen เหมือนว่าจริงๆแล้ว Mozart น่าจะคิดแต่งอีกท่อนหนึ่ง (ที่เป็นท่อน Amen โดยเฉพาะ) แต่ไม่ใช่กับ Süssmayr คงมองว่า แค่นี้ก็เหลือเฟือเพียงพอแล้ว

Lacrimosa dies ilia
Qua resurget ex favilla
Judicandus homo reus.
Huic ergo parce, Deus,
Pie Jesu Domine,
Dona els requiem.

That day of tears and mourning,
when from the ashes shall arise,
all humanity to be judged.
Spare us by your mercy, Lord,
sweetest Lord Jesus.
Grant them eternal rest. Amen.

LINK แปลบทเพลง: http://aberdeenbachchoir.com/December2015/ProgrammeNotes12.shtml

เพราะความป่วยไข้ ทำให้ว่ากันว่า Mozart พร่ำเพ้อหลงเข้าใจคิดไปว่า บทเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ในงานศพของตนเอง แต่ในความเป็นจริงครอบครัวกลับไม่มีเงินจะจัดงานศพให้ เลยต้องใช้บริการสาธารณะ ถูกฝังรวมในหลุมอย่างน่าอนาถเศร้าสลดใจ (แบบในหนัง Amadeus) กระนั้นกาลเวลาก็ทำให้ผู้ฟังต่างเห็นพ้อง นี่คือบทเพลงที่สะท้อนความตายของ Mozart เองจริงๆนะแหละไม่ใช่ความหลงผิด

มีวาทยากรระดับ Maestro ชื่อดังหลายคนที่กล้าท้าทายอำนวยการบทเพลงนี้ หนึ่งในนั้นคือ Herbert von Karajan สัญชาติออสเตรีย ผู้ขึ้นเรื่องการใส่อารมณ์เกรี้ยวกราดรุนแรงขณะกำกับวง แต่เท่าที่เห็นในคลิปนี้ทำเอาผมประหลาดใจพอสมควรเลยละ เพราะปกติพี่แกจะแสดงออกมาบ้าคลั่งกว่านี้มาก แต่นี่ราวกลับคนที่กำลังล่องลอยอยู่บนสรวงสวรรค์ ใบหน้าแหงนเชิดหลับตาปี๋อยู่ตลอด (ใช้สัมผัสทางหูเท่านั้นกำกับเพลงนี้) คงเป็นอัครทูตของบทเพลงนี้ที่พยายามดึงจิตวิญญาณของ Karajan ให้ออกจากร่าง เขาเลยพยายามอย่างเต็มที่จะเหนี่ยวรั้งไว้

ขณะที่ Karl Böhm สัญชาติออสเตรีย ถึงจะมีความเชื่องช้ากว่าปกติพอสมควร (คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยชอบนะครับ เพราะมันเอื่อยเฉื่อยเกินไปสักนิด) แต่กลับทำให้ผมขนลุกขนพองแทบทุกครั้งที่รับฟัง คงเพราะ Requiem เป็นบทเพลงที่นำเสนอความหวาดหวั่นวิตกสั่นกลัวของจิตวิญญาณต่อความตาย ท่วงทำนองที่มีความเนิบนาบเลยเกิดความสั่นพ้อง ‘Resonance’ เข้าไปในหัวจิตหัวใจ

จริงๆผมยังไม่เจอ Record ที่ถูกใจสักเท่าไหร่ ก็มี Karajan กับ Böhm นี่แหละที่สุดขั้วในสไตล์ของตนเองเลยเลือกนำมาแนะนำ ถ้าใครยังไม่เคยฟังสักฉบับมาก่อน แนะนำให้เริ่มจาก Böhm ก่อนเลย เพราะถ้าได้ยินทำนองเร็วๆจนติดหูแล้วค่อยเริ่มฟังจังหวะช้าๆ มันจะหงุดหงิดรำคาญใจมากๆจับลมหายใจตามไม่ทันเท่าไหร่ เริ่มจากเชื่องช้าสุดก่อนเลย อาจทำให้เราได้ยินบางโน๊ตที่มันแอบซ่อนอยู่ เมื่อไปฟังการตีความเร็วๆ จะได้ไม่พลาดสิ่งสุดมหัศจรรย์นั้น

บทเพลงแห่งความตาย แค่ชื่อก็เหมือนอาถรรพ์แล้ว ยิ่งได้ Mozart ประพันธ์ไม่ทันเสร็จก็พลันด่วนเสียชีวิตจากไป มันเลยกลายเป็นของต้องห้ามไปในตัว แต่ขณะเดียวกันก็คีตกวีเก๋าๆรุ่นถัดมา อาทิ Verdi, Bruckner, Dvořák, Fauré, Duruflé ฯ พวกเขาสนคำสาปนี้ที่ไหนกันละ … ว่าไปในบรรดา Requiem ที่โดยส่วนตัวชื่นชอบสุดคือของ Verdi ถ้ามีโอกาสก็ตั้งใจจะเขียนถึงอยู่

TAGLINE | “แม้ Mozart จะประพันธ์ Requiem ไม่เสร็จ แต่แค่ส่วนที่หลงเหลือก็ยิ่งใหญ่ทรงพลัง ล่องลอยไปจนถึงสรวงสวรรค์สุดขอบจักรวาล”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Sarasate: Zigeunerweisen


Zigeunerweisen

Sarasate: Zigeunerweisen

คีตกวีสัญชาติสเปน Pablo de Sarasate ประพันธ์ Zigeunerweisen (Gypsy Airs), Op. 20 ขึ้นเมื่อปี 1847 บันทึกลงแผ่นครั่งปี 1904 ประมาณนาทีที่ 3 กว่าๆ เผลอพูดให้คำแนะนำนักดนตรี ติดลงในแผ่นเสียง ผู้ฟังที่กำลังเคลิบเคลิ้มสมัยนั้น พอได้ยินต่างสะดุ้งตกใจนึกว่าเสียงผี กลายเป็นตำนานอมตะของบทเพลงนี้โดยพลัน, ขณะที่ในเมืองไทยก็ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี นำมาประพันธ์เป็นบทกลอนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (ค.ศ. 1934) ตั้งชื่อว่า คิดถึง (จันทร์กระจ่างฟ้า)

โชคดีมากๆที่สมัยนี้มี Youtube และแผ่นครั่งเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว ยังอยู่ในสภาพดีเยี่ยมใช้การได้ แม้คุณภาพจะด้อยไปตามกาลเวลา ลองสังเกตฟังกันให้ดี คลิปนี้นาทีที่ (3.35)

เสียงสนทนาที่ดังขึ้นเป็นภาษาสเปนของ Sarasate จับใจความได้ว่าเป็นการแนะนำนักดนตรีให้ลดระดับเสียงลงมานิดหนึ่ง

abajo el -pedal- de la sordina
press down the mute -pedal-

ผมมีโอกาสรู้จักบทเพลงนี้จากภาพยนตร์ Horror Surrealist เรื่อง Zigeunerweisen (1980) ของผู้กำกับ Seijun Suzuki ที่ฉาก Opening Credit เราจะได้ยินบทเพลงนี้แบบเต็มๆ แถมตัวละครยังเน้นย้ำผู้ชมตั้งใจฟังให้ดี ตอนแรกผมก็ไม่ได้รู้สึกอะไรแต่พอมาครุ่นคิดดู ถ้าสมัยก่อนมีคนซื้อแผ่นครั่งนี้ไปแล้วได้ยินเสียงพูดนี้ดังขึ้น พวกเขาคงจะสะดุ้งหลอนแค่ไหน นี่คือที่มาของคำเรียก ‘Record ผีสิง’ แต่ผู้คนสมัยนี้คงไม่รู้สึกอะไรแล้วละ (หรือเปล่า?)

Pablo de Sarasate หรือชื่อเต็ม Martín Melitón Pablo de Sarasate y Navascués (1844 – 1908) คีตกวีและนักไวโอลินสัญชาติ Spanish ในยุค Romantic Era เกิดที่ Pamplona, Navarre พ่อเป็นผู้นำวง Bandmaster ทำให้เขามีความสนใจไวโอลิน เรียนเล่นตั้งแต่อายุ 5 ขวบ จนสามารถขึ้นแสดงคอนเสิร์ตได้ตอนอายุ 8 ขวบ ถือว่าเป็นผู้มีพรสวรรค์และโชคเข้าข้าง มีโอกาสเล่นดนตรีต่อหน้าพระพักตร์ Queen Isabella II of Spain มอบทุนพร้อมส่งให้ไปเรียนกับ Jean-Delphin Alard ที่ Paris Conservatoire, ตอนอายุ 17 ชนะเลิศการประกวดดนตรีรางวัลที่ 1 Premier Prix ของ Conservatoire, หลังจากออกทัวร์คอนเสิร์ตทั่วยุโรป อเมริกาเหนือใต้ เริ่มมีความสนใจแต่ง Opera, Orchestra พยายามที่จะนำบทเพลง Spanish Music ผสมผสานกลิ่นอาย Gpysy เข้าไป

สำหรับผลงานมีชื่อเสียงโด่งดังสุดของ Sarasate คือ Zigeunerweisen (Gypsy Airs), Op. 20 ส่วนผสมระหว่างไวโอลินกับ Orchestra (เรียกว่า Violin Concerto ก็ยังได้) ประพันธ์ขึ้นปี 1817 เปิดการแสดงครั้งแรกที่ Leipzig, Germany

แรงบันดาลของบทเพลง มาจากการเดินทางเร่รอนของชาว Gypsy พอไปถึงที่ไหนๆก็มักชอบร้องเล่นเต้นรำทำเพลง ยามค่ำคืนใต้แสงจันทรา ค่ำคืนเดือนหงาย (บางครั้งเพลงนี้จะเรียกว่า Gypsy Moon)

บทเพลงมี Movement เดียว แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ท่อน 4 อารมณ์

  1. Moderato – เริ่มจาก Orchestra จัดเต็มทรงพลัง ตามด้วยเสียงไวโอลินทุ้มต่ำแทรกตัวขึ้นมา ทีละเล็กละน้อย บทเพลงค่อยๆไล่โน้ตสูง เพิ่มความนุ่มนวลในขึ้นเรื่อยๆ (จบประมาณนาทีที่ 1:02)
  2. Lento – โดยไม่รู้ตัว ช่วงนี้เสียงไวโอลินจะมีทำนองพริ้วไหว โบยบินโฉบไปมา เดี๋ยวสูงเดี๋ยวต่ำ Orchestra บรรเลงเป็นพื้นหลังประกอบเบาๆ
  3. Un poco più lento – เมื่อไวโอลินเงียบลง เสียง Orchestra ค่อยๆดังขึ้น ช่วงนี้จะมีจังหวะความเร็วช้ากว่า Lento แต่เสียงไวโอลินจะแหลมสูง ความโหยหวนถึงจุดสูงสุด
  4. Allegro molto vivace – จังหวะดนตรีจะเปลี่ยนทันควัน มีความเร่งรีบรวดเร็วปานสายฟ้า ความสนุกสนานครึกครื้นกลับคืนมาสู่โลกอีกครั้ง

ในบรรดานักไวโอลินที่สามารถบรรเลงเล่นบทเพลงนี้ได้ไพเราะ กลายเป็นตำนานก็คือ Itzhak Perlman (เกิดปี 1945) อัจฉริยะ Violinist วาทยากร ครูสอนดนตรีสัญชาติ Israeli เกิดที่ Tel Aviv ขณะนั้นยังเป็น British Mandate of Palestine เห็นว่าตอน 3 ขวบได้ยินบทเพลงคลาสสิกในวิทยุ ก็มีความตั้งใจตั้งแต่ตอนนั้น แต่ถูกปฏิเสธจากโรงเรียนสอนดนตรีเพราะยังเด็กเกินไป เลยหัดเรียนเล่นด้วยตนเอง แสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกตอนอายุ 10 ขวบ ย้ายอเมริกาเพื่อเรียนที่ Juilliard School ลูกศิษย์เอกของ Ivan Galamian และ Dorothy DeLay

เกร็ด: Itzhak Perlman รู้จักสนิทกับ John Williams เคยมารับเชิญเดี่ยวไวโอลินในหนังเรื่อง Schindler’s List (1993), Memoirs of a Geisha (2005) ทั้งสองเรื่องคว้า Oscar: Best Original Score

ท่อนแรก Moderato ของบทเพลงนี้ โด่งดังมากๆ Les Allen (1902 – 1996) นักร้อง Saxophonist สัญชาติ Canadian ร่วมกับ The Durium Dance Band เขียนคำร้องภาษาอังกฤษ ตั้งชื่อว่า Gipsy Moon เมื่อปี 1932

ในเมืองไทย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) (พ.ศ. ๒๔๑๙ – ๒๔๘๖) น่าจะแปล/ประพันธ์เป็นบทกลอนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (ค.ศ. 1934) ตั้งชื่อว่า คิดถึง (จันทร์กระจ่างฟ้า)

จันทร์กระจ่างฟ้า นภาประดับด้วยดาว
โลกสวยราวเนรมิตประมวลเมืองแมน
ลมโชยกลิ่นมาลากระจายดินแดน
เรียมนี้แสนคะนึงถึงน้องดวงจันทร์

งามใดหนอ จะพอทัดเทียบเปรียบน้อง
เจ้างามต้องตาพี่ไม่มีใครเหมือน
ถ้าหากน้องอยู่ด้วยและช่วยชมเดือน
โลกจะเหมือนเมืองแมนแม่นแล้วนวลเอย

ว่ากันว่า ฉบับบทึกเสียงครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ขับร้องโดย เฉลา ประสพศาสตร์ บรรเลงโดยคณะมงคลและสหาย,

ผมยังฟังไม่ครบทุกฉบับใน Youtube เลยนะครับ มีเยอะมาก อาทิ ชรินทร์ นันทนาคร, สุเทพ วงศ์กำแแหง, นัดดา วิยะกาญจน์, กิตติคุณ เชียรสงค์, อุเทน พรหมมินทร์, ธงไชย แมคอินไตย์, จินตนา สุขสถิตย์, ยุรนันท์ ภมรมนตรี ฯ เลยยังไม่ขอเลือกดีกว่าว่าชอบฉบับไหนมากสุด

บทเพลงนี้ยังเคยประกอบโฆษณาชุด The Bangkok Sathorn ‘เพชร’ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ของบริษัท Land and Houses ดนตรี/เรียบเรียงโดย พีช The Peach Band ขับร้องโดย ระพี บุญเปลื้อง

ลักษณะเด่นของบทเพลงที่ประพันธ์ในยุคโรแมนติก คือสามารถสะท้อนอารมณ์ออกมาผ่านทางท่วงทำนองได้หลากหลาย ซึ่ง 4 ท่อนของบทเพลงนี้สามารถทำความเข้าใจได้คือสุข เศร้า เหงา สนุกสนาน มีความตรงกันข้ามคนละขั้ว สะท้อนถึงอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ที่พบเจอได้ทั่วไป (จะมองว่า 4 ท่อนคือ 4 ฤดูกาลก็ยังได้)

ส่วนตัวแล้วชื่นชอบท่อน 3 มากที่สุด ในห้วงความอ้างว้าง เปล่าเปลี่ยว โดดเดี่ยวเดียวดาย ท้วงทำนองมีความโหยหวน โบยบินล่องลอยไปถึงจันทรา ที่สุดแห่งความเงียบเหงา

TAGLINE | “Zigeunerweisen บทเพลงพรรณาความงดงามของแสงจันทรา ประพันธ์โดย Pablo de Sarasate เก็บตกทุกห้วงอารมณ์ได้อย่างไร้ที่ติ”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE