News from Home (1976)


News from Home (1976) Belgian : Chantal Akerman ♥♥♥♥

ร้อยเรียงภาพภูมิทัศน์ New York City ในความทรงจำของผู้กำกับ Chantal Akerman เมื่อครั้นเคยปักหลักอาศัยอยู่สหรัฐอเมริกา ทำออกมาลักษณะคล้ายๆ “City Symphony” แต่ใช้การอ่านจดหมายมารดา พรรณาถึงข่าวสารจากที่บ้าน

ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ หลายคนอาจเกาหัวส่ายหน้า ไม่เห็นว่ามันจะมีห่าเหวอะไร เพียงร้อยเรียงภาพภูมิทัศน์ New York City ช่วงทศวรรษ 70s เก็บฝังไว้ใน ‘Time Casule’ แค่นั้นเอง??? แต่ไฉนกลับได้รับการโหวตติดอันดับ 52 (ร่วม) ชาร์ท “Greatest Film of All-Time” ครั้งล่าสุดของนิตยสาร Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 สูงกว่า Battleship Potemkin (1925), Le Mépris (1963), Metropolis (1927), Sans Soleil (1982), La dolce vita (1960), The Third Man (1949), The Red Shoe (1946) ฯลฯ

ผมจะพยายามแก้ต่างให้สักนิด ความน่าสนใจของ News from Home (1976) ประกอบด้วยการเลือกทิศทางมุมกล้องให้มีความสมมาตร (มักอยู่ตำแหน่งกึ่งกลางถนน, ขบวนรถไฟ ฯ) สูงระดับสายตาผกก. Akerman และเป็นสถานที่ที่เธอเคยพานผ่านมา ใช้ชีวิตในช่วงเวลาอาศัยอยู่สหรัฐอเมริกา … เรียกได้ว่าทุกช็อตฉากมีความเป็นส่วนตัว สไตล์ลายเซ็นต์ ‘Cinéma Vérité’ ของผกก. Akerman

นอกจากนี้จดหมายที่อ่าน ล้วนบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของผกก. Akerman ผู้ชมสามารถสังเกตความสัมพันธ์มารดา กับเนื้อหา ลักษณะข้อความ ถ้อยคำพูดที่ใช้เขียน อาทิ

  • อยากรู้อยากเห็น, Please write about your work and your life there.
  • แสดงความประหลาดใจ, I was surprised not to get a letter this week.
  • กระวนกระวาย/เชิงออกคำสั่ง, You never answer my questions, and it’s bothering me. Please answer this time.

แต่ถึงอย่างนั้นรายละเอียดเหล่านี้ เพียงพอแล้วหรือที่ทำให้ News from Home (1976) สมควรค่าติดอันดับสูงโคตรๆของชาร์ทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาล??? หรือเพราะผู้มีสิทธิ์โหวตต่างทุ่มคะแนนให้เพราะคิดเห็นว่าเป็นผลงานผู้กำกับหญิง เพื่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมในยุคสมัยแห่งสิทธิสตรี (Feminist)


Chantal Anne Akerman (1950-2015) ศิลปิน ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Belgian เกิดที่ Brussels, Belgium ในครอบครัวชาว Jews อพยพจาก Poland รอดชีวิตจากเหตุการณ์ Holocaust, ตั้งแต่เด็กมีความสนิทสนมกับมารดา แม้มีความจุ้นจ้าน เจ้ากี้เจ้าการ แต่ก็ผลักดันให้บุตรสาวทำในสิ่งชื่นชอบ ไม่ใช่เร่งรีบแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย (Akerman (ต้อง)เขียนจดหมายหามารดาทุกๆสัปดาห์), ค้นพบความเป้าหมายชีวิตหลังรับชม Pierrot le Fou (1965) เกิดความมุ่งมั่นอยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เข้าศึกษายังสถาบัน Institut national supérieur des arts du spectacle et des techniques de diffusion (INSAS) แต่เพียงไม่ถึงเทอมลาออกมาทำหนังสั้น Saute ma ville (1968) ดำเนินเรื่องเกือบทั้งหมดในห้องครัว ช่วงแรกๆก็ดูเหมือนปกติ ไม่นานกลับเริ่มทำอะไรเพี้ยนๆพิศดาร (เธอให้คำนิยามโปรเจคนี้ว่า ‘Chaplin film’)

I could see myself in that movie. It opened up a whole new world to me. I had been living in Brussels until then, and it was like, ‘Oh my God, you can make a movie like that?’ It gave me a whole new freedom in my head. It really changed my life.

Chantal Akerman กล่าวถึง Pierrot le Fou (1965)

หลังเสร็จจากหนังสั้นเรื่องแรก เดินทางมุ่งสู่ New York, สหรัฐอเมริกา ทำให้มีโอกาสรับรู้จักผลงาน Avant-Garde ของผู้กำกับดังๆอย่าง Michael Snow, Yvonne Rainer, Marcel Hanoun, Jonas Mekas นั่นเองทำให้ Akerman ค้นพบสไตล์ลายเซ็นต์ ความสนใจของตนเองต่อสื่อภาพยนตร์ นั่นคือการไม่ยึดติดกับรูปแบบ โครงสร้าง วิธีการนำเสนอ และที่สำคัญสุดคือพบเจอตากล้องขาประจำ Babette Mangolte ร่วมกันสรรค์สร้างสองหนังสั้น La chambre 1 & 2 (1972) ถ่ายทำแบบ Long-Take ด้วยการให้กล้องหมุน 360 องศา วนรอบอพาร์ทเม้นท์ พบเห็นสิ่งต่างๆวางเรียงราย กระจัดกระจาย ขณะที่ Akerman (เล่นเองกำกับเอง)นอนอยู่บนเตียง สลับเปลี่ยนท่วงท่าไปเรื่อยๆ จนประมาณวนรอบสาม กล้องจะหมุนกลับทิศทาง และบางสิ่งอย่างก็เริ่มผิดแผกแตกต่าง

สำหรับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Hotel Monterey (1973) ใช้เวลาถ่ายทำเพียงหนึ่งคืน! ด้วยการตั้งกล้องบันทึกภาพตั้งแต่ชั้นล่างจนถึงดาดฟ้า พบเห็นผู้คน โถงทางเดิน ภายนอก-ในห้องพัก ฯ นานแค่ไหนแล้วแต่สันชาติญาณของผู้กำกับ “the shots are exactly as long as I had the feeling of them inside myself”. ผลลัพท์ออกมาถือว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยละ ผู้ชมเกิดความซึมซับบรรยากาศของโรงแรมแห่งนี้

I want people to lose themselves in the frame and at the same time to be truly confronting the space.

จริงๆแล้ว Akerman ยังครุ่นคิดพัฒนาอีกโปรเจค Hanging Out Yonkers ต้องการบันทึกภาพเมือง Hudson Rivery ทำออกมาในลักษณะ ‘city symphony’ แต่ติดขัดเรื่องงบประมาณ ซึ่งเธอเองก็หางานอื่นทำไม่ได้ เลยตัดสินใจเดินทางกลับ Brussels เมื่อปี ค.ศ. 1973 ทำงานพิมพ์ดีด (Typist) อยู่นานหลายเดือนเพื่อเก็บหอมรอมริดมาใช้เป็นทุนสร้างภาพยนตร์ Je Tu Il Elle (1974) ถ่ายทำเสร็จสิ้นในระยะเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์!

หลังเสร็จสร้างผลงานชิ้นเอก Jeanne Dielman, 23 quai du Commerce, 1080 Bruxelles (1975) ผกก. Akerman ต้องการหวนกลับ New York เพื่อไปสานต่อโปรเจค Hanging Out Yonkers จึงพยายามนำแนวคิดไปพูดคุยสถานีโทรทัศน์ฝรั่งเศส แต่ถูกตีกลับบอกว่าเป็นแนวทดลองเกินไป (too experimental) ลองติดต่อไปเรื่อยๆจนสามารถของบประมาณจาก National Endowment for the Arts (ของสหรัฐอเมริกา), New York State Council on the Arts (ของกรุง New York City) และบรรดาเพื่อนสนิทมิตรสหายที่เคยรับรู้จักกัน

In the beginning, I didn’t even have a script, I just had this idea. I was turned down by the French television stations, because they said it was too experimental. But eventually I was able to secure some funding from the National Endowment for the Arts and the New York State Council on the Arts. And then Jonas Mekas saw some of the footage and he gave me some money, and other people started to contribute as well. So it was a combination of different sources that allowed me to make the film.

เมื่อตอนครุ่นคิดพัฒนาโปรเจค Hanging Out Yonkers ผกก. Akerman ต้องการเพียงเก็บภาพวิถีชีวิต บันทึกความทรงจำ กิจวัตรประจำวันของชาว New Yorker แต่หลังจากเธอหวนกลับบ้านที่ Brussels สรรค์สร้างภาพยนตร์สองเรื่อง เหินห่างจากเมืองแห่งนี้หลายปี ทำให้มุมมอง/โลกทัศน์ต่อสถานที่ค่อยๆปรับเปลี่ยนแปลงไป

ด้วยความที่ New York ไม่ใช่บ้านของผกก. Akerman อีกต่อไป! การเดินทางสู่สถานที่แห่งนี้มันจึงเหมือนหวนระลึกอดีต ความทรงจำ รวมถึงจดหมายเคยโต้ตอบกับมารดาเมื่อครั้นเพิ่งมาใช้ชีวิตอยู่ใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้เป้าหมายของเธอจึงพยายามมองหาภาพที่ไม่เพียงแทนความเป็น New Yorker แต่ยังสอดคล้องเนื้อหาภายในจดหมายด้วยเช่นกัน

I wanted to make a film about distance. I had left home [in Brussels] five years before and I had lived in Paris, but New York was really something else. And it was also the first time I was separated from my mother. I thought I would use her letters as a way of hearing her voice in the film. And so I started making these shots of New York City, of the streets and the buildings and the people. I was trying to find an image of the city that would correspond to the words in the letters.

ชื่อหนัง/สารคดี News from Home เชื่อว่าอาจสร้างความเข้าใจให้ใครหลายคน เพราะมันช่างมีความละม้ายคล้ายฟีล์มข่าว Newsreel ฉายในช่วงสงครามโลก แต่ความตั้งใจของผกก. Akerman สื่อถึงจดหมาย/ข่าวสารจากมารดา คือสิ่งที่เหมือนพละพลัง กำลังใจในการใช้ชีวิต ระหว่างพักอาศัยอยู่ยังดินแดนห่างไกลบ้านเกิดเมืองนอน

The title ‘News from Home’ was very important to me. Because the film is about the distance between my mother and myself, but it’s also about the distance between me and New York City. I felt very much like a stranger there, like I didn’t belong. And yet, at the same time, I was fascinated by the city. So the title refers to the letters from my mother, which are a kind of anchor to my past, but it also refers to the images of the city, which are like a window onto this new, unfamiliar world.


ถ่ายภาพโดย Babette Mangolte (เกิดปี 1941) ตากล้องสัญชาติฝรั่งเศส-อเมริกัน โตขึ้นเมื่อมีโอกาสรับชม Man with a Movie Camera (1929) ตัดสินใจแน่วแน่ต้องการเป็นตากล้องภาพยนตร์, เข้าศึกษาด้านการถ่ายภาพจาก L’École nationale supérieure Louis-Lumière (ชื่อย่อ ENS Louis-Lumière) แต่ไม่พึงพอใจวงการหนังฝรั่งเศสที่ยังกีดกันผู้หญิงทำงานเบื้องหลัง มุ่งหน้าสู่ New York สร้างสรรค์การถ่ายภาพแนวทดลองร่วมกับ Jonas Mekas, Stan Brakhage รับงานภาพยนตร์ประปราย ก่อนกลายเป็นขาประจำของ Chantal Akerman ร่วมงานกันตั้งแต่หนังสั้น La chambre 1 & 2 (1972), ภาพยนตร์ขนาดยาว Hotel Monterey (1973), Jeanne Dielman, 23 quai du Commerce, 1080 Bruxelles (1975) และ News from Home (1977)

ผลงานก่อนหน้าของผกก. Akerman แทบทั้งหมด(ทั้งหนังสั้น-ขนาดยาว)ถ่ายทำภายในห้องพัก/อพาร์ทเม้นท์ หรือโรงแรมที่มีผนังกำแพงห้อมล้อมรอบ แต่สำหรับ News from Home (1977) เป็นการก้าวออกมา (ไม่มีสักช็อตฉากถ่ายทำภายในห้องพัก/อพาร์ทเม้นท์) ถ่ายทำยัง Manhattan, New York City ล้วนเป็นสถานที่ที่เธอเคยเตร็ดเตร่ พานผ่าน ใช้ชีวิตเมื่อครั้งอาศัยอยู่สหรัฐอเมริกา ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1970-73

งานภาพของหนังสไตล์ ‘Minimalist’ ถ่ายทำด้วยฟีล์ม 16mm (คุณภาพเลยค่อนข้างต่ำ เดี๋ยวเบลอ-เดี๋ยวชัด และเต็มไปด้วยเม็ดฟีล์มยิบๆยับๆ) สำหรับคนช่างสังเกตจะพบเห็นรายละเอียดที่ถือเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ผกก. Akerman หรือถ้าใครเคยรับชม Jeanne Dielman (1975) ก็น่าจะรับรู้สึกมักคุ้นเคยอะไรหลายๆอย่าง ประกอบด้วย

  • ระดับความสูงของกล้อง ต่ำเตี้ยกว่าผู้คนทั่วไปเล็กน้อย เพราะนั่นคือความสูงจริงๆของผกก. Akerman เพื่อเทียบแทนมุมมองสายตาของเธอต่อภาพยนตร์เรื่องนี้
  • ทุกช็อตฉากพยายามเลือกทิศทางมุมกล้องที่มีความสมมาตร ตำแหน่งกึ่งกลาง เพื่อสร้างสัมผัสเหมือนบางสิ่งอย่างห้อมล้อมรอบ เปลี่ยนจากผนัง-เพดาน เป็นท้องถนนหนทาง ตึกระฟ้าสูงใหญ่ หรือภายในขบวนรถไฟ ฯ
  • การถ่ายทำแบบ ‘Long Take’ แช่ภาพค้างไว้นานๆ เพื่อให้ผู้ชมสามารถซึมซับบรรยากาศสถานที่

โดยปกติแล้ว ‘city symphony’ มักกอปรด้วยแนวคิด ‘หนึ่งวันในเมืองใหญ่’ คือบันทึกภาพเช้าจรดเช้าของอีกวัน ตั้งแต่ท้องถนนยังว่างเปล่า ผู้คนก้าวออกจากบ้าน คลาคลั่งเต็มท้องถนนหนทาง เต็มไปด้วยผู้คน สับสนวุ่นวาย ค่ำคืนแห่งแสงสีสัน ดึกดื่นราวกับโลกอีกไป และสิ้นสุด ณ จุดเริ่มต้น ครบครอบวัฏจักรชีวิต … แต่นั่นไม่ใช่แนวคิดของ News for Home (1976) แม้เริ่มต้นยามเช้า ขณะท้องถนนยังว่างเปล่าเหมือนกัน หลังจากนั้นหนังพยายามเลือกหาสถานที่ที่สอดคล้องเนื้อหาในจดหมาย (อ่านออกเสียงโดย ผกก. Akerman) ไม่ใช่ว่าต้องให้ตรงเป๊ะตามตัวอักษร เพียงพบเห็นภูมิทัศน์ที่มอบสัมผัส บรรยากาศ คล้ายๆข้อความดังกล่าว ยกตัวอย่าง

  • เมื่อกล่าวถึงญาติคนหนึ่งอาศัยอยู่ที่ Bronx จะมีการตัดภาพให้เห็นหญิงผิวสีนั่งเก้าอี้อยู่ตรงสี่แยกไฟแดง
    • The son of one of my nieces is studying medicine. Why don’t you go see his parents in the Bronx? They know you want to make films.
  • ข้อความในจดหมายสอบถามว่าทำงานอะไรที่ร้านอาหาร? ผมครุ่นคิดว่าภาพพบเห็นขณะนั้นน่าจะคือสถานที่ที่ ผกก. Akerman เคยทำงานอยู่
    • What kind of work are you doing at that restaurant?
  • มารดาเกิดความตระหนักว่า Akerman คงไม่ได้กลับบ้าน กำลังวุ่นๆวายๆกับชีวิต/การทำงาน ภาพขณะนั้นพบเห็นผู้คนเดินไปเดินมา คาคั่งเต็มท้องถนน
    • You’re busy, but try and write some more anyway.
  • หนึ่งในช็อตที่ผมชอบมากๆ และเลือกจังหวะได้อย่างพอดิบดีก็คือ มารดาเรียกร้องขอให้ Akerman ตอบกลับจดหมาย (อย่างใส่อารมณ์) พบเห็นคนกลุ่มหนึ่งยืนอยู่ตรงทางข้าม รอไฟเขียว/รถหยุด จะได้ออกเดินต่อ
    • Please answer my qutestions for once. For heaven’s sake.
    • การไม่ตอบจดหมายของ Akerman เปรียบดั่งคนยืนรอไฟแดง ราวกับชีวิตหยุดนิ่ง ยังไม่สามารถดำเนินไปไหนได้ต่อ
  • ในจดหมายไม่ได้พูดอธิบายตรงๆ แต่มีครั้งหนึ่งพอจับใจความได้ว่า บิดาสูญเสียเงินกู้ให้กับลูกค้าล้มละลาย (จำนวน 300,000 ฟรังก์ = $8,300 เหรียญ) ตลอดทั้งซีเควนซ์จะถ่ายทำบนท้องถนนยามค่ำคืน มืดมิด มองอะไรแทบไม่เห็น
    • I hope business will pick up this season. Father took out a credit insurance that will cover 80 percent. This kind of misfortune happens more and more.

ผมสังเกตว่าสถานที่พบเห็นของหนัง มักเกี่ยวกับการเดินทางบนท้องถนน ฟุตบาท สถานีรถไฟ (แทบจะไม่พบเห็นสถานที่สำคัญๆ จุดท่องเที่ยว ชมวิวทิวทัศน์สวยๆ) บันทึกภาพกิจวัตรประจำวันของชาว New Yorker มักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการสัญจรไปมา ห้องพัก <-> สถานที่ทำงาน พานผ่านผู้คนมากมาย เต็มไปด้วยความหลากหลาย กำลังมุ่งหน้าสู่เป้าหมายปลายทาง (ทั้งในเชิงรูปธรรม-นามธรรม)

I walked through the city like a vagabond, with my camera in my hand, taking pictures of everything. I was trying to capture something of the essence of New York, its energy, its rhythm, its people. I was always searching for the perfect shot, the perfect moment. It was a very intense experience, but also a very rewarding one.

Chantal Akerman

มองจากไกลๆ New York City ดูโมเดิร์น หรูหรา ตึกระฟ้าสูงใหญ่อลังการ แต่ขณะเดียวกันสถานที่แห่งนี้กลับซุกซ่อนเร้น/เต็มไปด้วยความเสื่อมโทรม ปรักหักพัง สภาพไม่ต่างจากสลัม โดยเฉพาะข้อความขีดๆเขียนๆ กราฟฟิตี้ (Graffitti) รอยขูดขีดตามผนังกำแพง แทนสัญลักษณ์ความหัวขบถ ต่อต้านสังคม ดินแดนแห่งความขัดแย้ง-แตกต่าง นั่นคือเสรีภาพในการครุ่นคิดแสดงออก

เกร็ด: กราฟฟิตี้ (Graffitti) มีจุดเริ่มต้นที่ Philadelphia, Pennsylvania ในช่วง 60s ก่อนแพร่หลายมายัง New York ทศวรรษถัดมา

New York was a very strange place for me. I felt like I was in a foreign country. I didn’t understand the language, I didn’t understand the culture. But at the same time, I was fascinated by the city. I would walk around for hours, taking pictures, trying to capture something of its energy and its spirit.

สิ่งน่าสนใจในมหานคร New York ของผกก. Akerman คือลักษณะความขัดแย้ง-แตกต่าง ด้านหนึ่งพบเห็นมหาเศรษฐี อาศัยสุขสบายอยู่บนตึกสูงระฟ้า อีกฟากฝั่งคนยากจนต้องต่อสู้ดิ้นรน หาเช้ากินค่ำ หลับนอนข้างถนน รวมถึงวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ฯ เรียกได้ว่าดินแดนแห่งความเป็นไปได้ไม่รู้จบในทุกตรอกซอกซอย

I was fascinated by the contrasts and contradictions of New York. It’s a place where you have extreme wealth and extreme poverty living side by side, where you have all these different cultures and languages intersecting. I wanted to capture that in my film. I wanted to show how people live in the city, how they move through its streets and spaces, and how they interact with one another. For me, New York was a place of endless possibilities, both as a filmmaker and as a person.

ช่วงเวลาหลายปีที่ผกก. Akerman ปักหลักอาศัยอยู่ใน New York City ทำให้ซึมซับวัฒนธรรม-วิถีชีวิต แนวคิดเสรีภาพ ความเป็นไปได้ไม่รู้จบ นั่นคือการค้นพบตัวตนเอง (Self-Discovery) มีโอกาสครุ่นคิดทบทวน เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ความสัมพันธ์(ของตนเอง)กับมารดา รวมถึงสำนึกรักบ้านเกิด(เพราะจากมาก็หลายปี)

จดหมาย ไม่ใช่แค่สิ่งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผกก. Akerman กับมารดา(และบ้านเกิด) แต่โดยไม่รู้ตัว(พยายามสรรหาสรรพข้ออ้างไม่เขียนตอบกลับ)กลับทำให้เธอเอ่อล้นด้วยพละพลัง กำลังใจในการใช้ชีวิต ตระหนักรับรู้อยู่ตลอดเวลาว่าฉันมีตัวตน บุคคลคอยห่วงโหยหา นั่นคือรากฐานแห่งความมั่นคง ให้สามารถเติบใหญ่ แผ่กิ่งก้าน ผลิดอกออกผล กระทำในสิ่งเพ้อฝันปรารถนา

และเมื่อมองย้อนกลับไปช่วงเวลานั้น (ถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ปี ค.ศ. 1976 ประมาณสามปีหลังจากร่ำจากลา New York) ผกก. Akerman เล่าว่าเธอยังรู้สึกถึงความเหินห่าง เหมือนได้สูญเสียบางสิ่งอย่าง หลงเหลือเพียงความทรงจำและข้อความในจดหมาย เมื่อได้เปิดอ่านค่อยหวนรำลึกความหลัง (Nostalgia) อดีตไม่มีทางย้อนกลับมา

The letters were a way for me to maintain a connection with my mother and with home while I was living in New York. But they also represented a kind of nostalgia and longing for a place and a time that I could never return to. Reading the letters in voiceover while the camera shows images of New York was a way to create a sense of contrast and tension between the past and the present, between the familiarity of home and the strangeness of the city. The letters were like a lifeline for me, but they also represented a kind of loss and displacement.

ภาพสุดท้ายของหนังเป็นอีก ‘Long Take’ ความยาวประมาณสิบนาที เริ่มถ่ายตั้งแต่ Staten Island Ferry เรือกำลังเคลื่อนออกจากท่า พบเห็นภูมิทัศน์ lower-Manhattan กำลังค่อยๆเหินห่าง และเลือนลางไปกับหมอกควัน นี่ไม่ใช่แค่เพียงจุดจบของหนัง ยังรวมถึงการเดินทาง/ความทรงจำมหานคร New York City และจุดสิ้นยุคสมัยแรก (Formalist Era) ของผกก. Akerman

That knowledge makes the closing image of News from Home—a ten-minute, unbroken shot from the stern of the Staten Island ferry as it departs from the city, the lower-Manhattan skyline framed finally with foggy, melancholy grandeur—doubly touching. It’s a good-bye to New York, and also to Akerman’s most artistically formative era.

Michael Koresky นักวิจารณ์จาก Criterion Collection

เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ที่ West German ช่วงปลายปี ค.ศ. 1976, ต่อด้วยนอกสายการประกวด (Out-of-Competition) เทศกาลหนังเมือง Cannes จากนั้นก็ตระเวนไปตามเทศกาลต่างๆ รวมถึง New York Film Festival ได้เสียงตอบรับจากชาว New York ดีเยี่ยมมากๆ

Miss Akerman’s movie is an astonishing, possibly great film in which the only actor is the city of New York, observed from a distance through the eyes of an exile, heard from even further away through the voice of a mother. ‘News From Home’ is a modernist documentary, a nonnarrative film that is nevertheless filled with incident, much of it offscreen. It’s a symphony of a city, not a report.

Vincent Canby นักวิจารณ์จากนิตยสาร The News York Times

A portrait of a now-gone New York and, sadly, of Chantal Akerman herself. News from Home centres on the tension that occurs when, after yearning for new space, this sensation gives way to the reality of prolonged (perhaps even unbridgeable) distance: the inescapable condition of loneliness.

นักวิจารณ์ Kiva Reardon

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะโดย Cinémathèque royale de Belgique ร่วมกับ Foundation Chantal Akerman คุณภาพ 2K (แต่ฟีล์มต้นฉบับ 16mm ผลลัพท์ก็ไม่ได้ดีสักเท่าไหร่) ผ่านการตรวจอนุมัติโดยผู้กำกับ Akerman เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2014 สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray และรับชมออนไลน์ทาง Criterion Channel

แม้ส่วนตัวจะเพลิดเพลินประทับใจลีลาการร้อยเรียงภาพภูมิทัศน์ ‘City Symphony’ เก็บฝังไว้ในไทม์แคปซูลของ New York City ต้องเรียกว่าเมืองแห่งคนเหงา แต่ผมไม่สามารถสัมผัสถึงความยิ่งใหญ่ หรืออิทธิพลต่อวงการภาพยนตร์ ที่ทำให้ติดอันดับสูงถึง 52 (ร่วม) ชาร์ทของ Sight & Sound: Critic’s Poll 2022

สำหรับคนที่สนใจภาพยนตร์แนว ‘City Symphony’ แนะนำให้ลองหารับชม Manhatta (1921), Rien que les heures (1926), Berlin: Die Sinfonie der Großstadt (1927), Man with a Movie Camera (1929), Regen (1929), A propos de Nice (1930), หรือถ้าต้องการแบบ Modern สักหน่อยก็อย่าง Calcutta (1969), Roma (1972), Tokyo-Ga (1985), Salaam Bombay! (1988), Of Time and the City (2008) ฯ ว่ากันตามตรงลิสที่ผมเลือกมานี้ อาจมีความน่าสนใจกว่า News from Home (1976) เสียด้วยซ้ำนะ

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | News from Home ร้อยเรียงภาพภูมิทัศน์ New York City ในความทรงจำของผู้กำกับ Chantal Akerman
คุณภาพ | ม์ซู
ส่วนตัว | เพลิดเพลิน

1 thoughts on “News from Home (1976)

  1. Oazsaruj 2024-03-31 / 18:45

    อันดับล่าสุดแค่เป็นผู้หญิงก็อันดับสูงแล้วแต่มันจะสูงได้นานแค่ไหนถ้ากระแสเจือจาง As I was Moving Ahead Occasionally I Saw Brief Glimpses of Beauty คุณภาพเหนือกว่าเยอะ

    ถูกใจ

ใส่ความเห็น