Adaptation (2002)


Adaptation (2002) hollywood : Spike Jonze ♥♥♥♥

Charlie Kaufman เคยพยายามดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief แต่เพราะมันแทบไม่มีเนื้อเรื่องราว จุดหักเห รวมถึงไคลน์แม็กซ์ จึงไม่สามารถขบครุ่นคิด หาวิธีพัฒนาบทหนัง ตกอยู่ในสภาวะสมองตัน (Writer’s Block) เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็ช่างหัวแม้ง ทำออกมาคล้ายๆแบบ 8½ (1963) ระบายทุกสิ่งอย่างอัดอั้นภายในออกมา

ปรมาจารย์ผู้กำกับ Federico Fellini ก่อนจะสรรค์สร้างหนึ่งในผลงานโลกตะลึง 8½ (1963) เคยตกอยู่ในสภาวะสมองตื้อตัน ระหว่างงานแถลงข่าว มีคนสอบถามถึงพล็อตหนังเรื่องถัดไป เกิดความตระหนักว่าตนเองยังครุ่นคิดไม่ออก ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป … แต่แล้ววันหนึ่งก็ ยูเรก้า! นำเอาประสบการณ์เมื่อตนเองตกอยู่ในสภาวะ ‘Director’s Block’ มาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์เสียเลย!

เฉกเช่นเดียวกับ Charlie Kaufman เคยได้รับมอบหมายดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief ของ Susan Orlean แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่รู้จะพัฒนาบทออกมายังไง ด้วยเหตุนี้จึงนำเอาประสบการณ์จากสภาวะ ‘Writer’s Block’ มาครุ่นคิดเขียนบทหนังเรื่องใหม่แม้งเลย!

เกร็ด: Writer’s Block, Creative Block หรือ Director’s Block, Musician’s Block, Artisan’s Block ฯ อะไรก็ตามที่ลงท้ายด้วย -Block สามารถเหมารวมถึงอาการสมองตัน ครุ่นคิดอะไรไม่ออก ขาดแรงบันดาลใจ มักเกิดจากอาการเครียด โหมงานหนักไป ไม่ก็ความขี้เกียจคร้าน

ผมเคยบ่นพึมพัมถึง Being John Malkovich (1999) แทบไม่พบเห็นความเป็นส่วนตัวของผกก. Spike Jonze มีแต่ Charlie Kaufman อวตาร สวมวิญญาณ คือทุกสิ่งอย่างในภาพยนตร์เรื่องนั้น … Adaptation (2002) ก็เฉกเช่นเดียวกัน แม้ว่าหนังจะเต็มไปด้วยลูกเล่น แพรวพราวเทคนิค แต่สิ่งที่ถือเป็นมาสเตอร์พีซคือบทของ Kaufman โคตรซับซ้อน บ้าระห่ำ จนบางครั้งรู้สึกเหนือจริง (Surrealist)

นอกจากบทของ Kaufman ยังต้องชื่นชมทีมนักแสดง (Ensemble Cast) ตั้งแต่ Nic Cage กับการพลิกบทบาทที่ทั้งสองคู่แฝดต่างไม่ใช่ Nicolas Cage, Meryl Streep ชื่อนี้ไม่ต้องอธิบายอะไร, และโดยเฉพาะ Chris Cooper สมควรค่าแก่รางวัล Oscar: Best Supporting Actor


ก่อนอื่นขอกล่าวถึง The Orchid Thief (1998) หนังสือ Non-Fiction ของ Susan Orlean (เกิดปี 1955) นักเขียน/นักข่าว สัญชาติอเมริกัน ได้ทำการสืบสวนสอบสวนคดีความจับกุมพ่อค้า John Laroche ข้อหาลักขโมยกล้วยไม้ป่า (Orchid) ในอุทยานแห่งชาติ Fakahatchee Strand State Preserve, รัฐ Florida เมื่อปี ค.ศ. 1994 แต่กลับไม่ได้รับโทษทัณฑ์ใดๆ เพราะอ้างว่าชนพื้นเมือง Seminole เป็นผู้ลักขโมยนำเอาพืชพันธุ์เหล่านั้นออกมา (ถ้ากล้วยไม้ถูกตัดโดยชาวพื้นเมืองถือว่าไม่ผิดกฎหมาย)

ในตอนแรก Susan ตั้งใจแค่เพียงจะเขียนบทความลงนิตยสาร New Yorker ฉบับวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1995 แต่ด้วยเสียงตอบรับดีล้นหลาม จึงขยับขยายจนกลายเป็นหนังสือ Non-Fiction รวบรวมบทสัมภาษณ์ คำให้การ และความคิดเห็นส่วนตัว วางแผงตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1998

สตูดิโอ Fox 2000 มีความสนใจ The Orchid Thief ตั้งแต่ยังไม่รวมเล่มตีพิมพ์ ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงเมื่อปี ค.ศ. 1997 แล้วขายต่อให้ผู้กำกับ Jonathan Demme ขอทุนจาก Columbia Pictures และมอบหมาย Charlie Kaufman พัฒนาบทภาพยนตร์

Charles Stuart Kaufman (เกิดปี 1958) นักเขียน/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เชื้อสาย Jewish เกิดที่ New York City แล้วมาเติบโตยัง West Hartford, Connecticut ตั้งแต่สมัยเรียนสมัครชมรมการแสดง โตขึ้นเข้าศึกษาต่อ Boston University ก่อนย้ายมาเรียนภาพยนตร์ New York University Film School ทำให้มีโอกาสรับรู้จัก Paul Proch ร่วมกันเขียนบทความตลก, Spec Scripts, Sketch Comedy, Pilot Scripts ฯ

I liked the book, I took the job. I thought I would figure out how to do it afterwards. Then I didn’t and I got all panicky because people were waiting on it. I got depressed and took a long time. I don’t know if there was a maximum point. I’d just be waking up for weeks on end with my first thought in the morning (being), “I can’t face this.” That went on for quite a while

Charles Kaufman

เมื่อถึงจุดๆหนึ่งที่ Kaufman ตระหนักว่าไม่สามารถดัดแปลง The Orchid Thief จึงเริ่มครุ่นคิดทบทวน มองย้อนกลับหาตนเอง แล้วเกิดแรงบันดาลใจสร้างเรื่องราวคู่ขนาน ผสมผสานเข้ากับชีวิตจริง ช่วงเวลาที่ฉันตกอยู่ในสภาวะ ‘Writer’s Block’ ระหว่างพัฒนาบทหนังดังกล่าว

What I need to do when I’m writing something is figure out what it is I’m thinking about and where my energy is. And (this time) my energy was in the thought that I couldn’t do it. So I decided, OK, that’s what I’m going to write about. Then it started to fall into place. The whole adaptation parallel, that sort of opened doors for me and it started to snowball — and I started to have fun again, although I was scared because I couldn’t tell anyone I was doing it!

Kaufman ใช้เวลาพัฒนาบทร่างประมาณ 7-8 เดือน ก่อนนำกลับไปเสนอโปรดิวเซอร์ เชื่อว่าคงถูกบอกปัดปฏิเสธ อาชีพการงานหลังจากนี้คงจบสิ้นแน่แท้ แต่ปรากฎว่าหนึ่งในโปรดิวเซอร์ Valerie Thomas (ในหนังรับบทโดย Tilda Swinton) อ่านแล้วแสดงความสนอกสนใจอย่างแรงกล้า


Spike Jonze ชื่อจริง Adam Spiegel (เกิดปี 1969) ผู้กำกับภาพยนตร์ โฆษณา Music Video สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City บิดาเป็นชาวเยอรมันเชื้อสาย Jewish, ช่วงวัยรุ่นมีความลุ่มหลงใหล BMX ตอนอายุ 16 ทำงานในร้าน Rockville BMX, Maryland ชื่นชอบถ่ายภาพจักรยาน เจ้าของร้านเห็นแววเลยส่งตีพิมพ์ลงนิตยสาร Freestylin’ Magazine จากนั้นออกเดินทางสู่ Hollywood ถ่ายทำโฆษณา Music Video ให้วง Sonic Youth จึงมีโอกาสพบเจอตกหลุมรัก Sofia Coppola, หลังถ่ายกำกับสารคดีสั้น Amarillo by Morning (1997) มองหาบทหนังสำหรับสรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก

ระหว่างที่ผกก. Jonze กำลังสรรค์สร้าง Being John Malkovich (1999) ก็มีการพูดคุย ให้คำแนะนำ Kaufman เข้าใจความรู้สึกอีกฝ่ายที่ไม่สามารถดัดแปลงนวนิยาย The Orchid Thief และพอรับฟังแนวคิด Adaptation (2002) บังเกิดความเชื่อมั่น สนอกสนใจ ต้องการกำกับโปรเจคนี้เป็นผลงานเรื่องถัดไป

Well, we were shooting “Malkovich” at the time when Charlie was sort of at the peak of his torment. So when he’d come by the set or we’d talk on the phone, he’d share his despair. I don’t even remember what I said or how much help I was to him until he came up with this idea of writing himself into it. From that moment, I had total faith that he was going to find it. All of a sudden, it was a whole new idea.

Spike Jonze

แต่ก่อนที่ Jonze จะได้กำกับ Adaptation (2002) เห็นว่าตอนแรก Jonathan Demme (ซึ่งเป็นเจ้าของโปรเจคอยู่แล้ว) ตั้งใจจะกำกับด้วยตนเอง แต่เขาส่งจดหมายร้องขออีกฝ่าย และยังนำ Being John Malkovich (1999) มาฉายให้รับชม สุดท้ายเลยได้รับการตอบตกลง

… as soon as I heard that idea, I knew it was something I wanted to do. I didn’t read it for another three or four months, until he had handed it in to the producers, at which point he gave me a copy to read. At that point Jonathan Demme was thinking about directing it. I wrote Jonathan a letter telling him I loved the movie and if he didn’t want it, I hoped he’d consider me. Then we were close to finishing the editing of our movie (Being John Malkovich), we showed it to Jonathan and Ed, and right about that time he decided to let me do it.

ปัญหาใหญ่สุดของหนัง จะได้สร้างหรือไม่ขึ้นอยู่กับ Susan Orlean เจ้าของหนังสือ The Orchid Thief ซึ่งปฏิกิริยาแรกของเธอเมื่ออ่านบทหนัง เกิดอาการตกตะลึง คาดไม่ถึง พยายามปฏิเสธเสียงขันแข็ง “Absolutely not!” แต่ไม่นานก็อ่อนแรงลง หลังจากมีโอกาสรับชมหนังแสดงความชื่นชอบอย่างมากๆ โดยเฉพาะการแสดงของ Meryl Streep ใกล้เคียงกับตนเองไม่น้อยทีเดียว!

[Reading the screenplay] was a complete shock. My first reaction was “Absolutely not!” They had to get my permission and I just said: “No! Are you kidding? This is going to ruin my career!” Very wisely, they didn’t really pressure me. They told me that everybody else had agreed and I somehow got emboldened. It was certainly scary to see the movie for the first time. It took a while for me to get over the idea that I had been insane to agree to it, but I love the movie now. What I admire the most is that it’s very true to the book’s themes of life and obsession, and there are also insights into things which are much more subtle in the book about longing, and about disappointment.

Susan Orlean

เกร็ด: ในชีวิตจริงระหว่างพัฒนาบทหนัง Charlie Kaufman ไม่เคยพบเจอ Susan Orlean จนกระทั่งระหว่างการถ่ายทำ Adaptation (2002) เมื่อเผชิญหน้าเธอก็พูดขึ้นว่า “You have no idea how embarrassed I am right now.” ก่อนได้รับคำตอบกลับ “Not as embarrassed as me.” จากนั้น Kaufman ก็วิ่งหนีหายตัวออกจากกองถ่าย


Nicolas Cage ชื่อจริง Nicolas Kim Coppola (เกิดปี 1964) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Long Beach, บิดาคือ August Coppola เป็นพี่ชายของ Francis Ford Coppola, วัยเด็กมีความคลั่งไคล้ James Dean เลยมุ่งมั่นอยากเป็นนักแสดง พยายามโน้มน้าวลุงให้ได้ทดสอบหน้ากล้อง (ไม่รู้หนังเรื่องอะไร) แต่พอไม่ได้รับโอกาสเลยทำการเปลี่ยนชื่อ Nicolas Cage (ได้แรงบันดาลใจจาก Superhero ชื่อ Luke Cage) แล้วเข้าเรียนต่อ UCLA School of Theater, Film and Television, ผลงานสร้างชื่อ อาทิ Moonstruck (1987), Raising Arizona (1987), Wild at Heart (1990), Leaving Las Vagas (1995) ** คว้า Oscar: Best Actor, Adaptation (2002), The Bad Lieutenant: Port of Call New Orleans (2009) ฯ

รับบท Charlie Kaufman นักเขียนชื่อดัง ได้รับมอบหมายดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief แต่เพราะมันแทบไม่มีพล็อตเรื่องราว จุดหักเห รวมถึงไคลน์แม็กซ์ จึงไม่สามารถขบครุ่นคิด หาวิธีพัฒนาบทหนัง เกิดความเคร่งเครียด เก็บกดดัน สมองตัน (Writer’s Block) ตกอยู่ในสภาวะซึมเศร้า ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป

ขณะเดียวกันยังรับบทน้องชาย/ฝาแฝด Donald Kaufman อุปนิสัยแตกต่างตรงกันข้าม เป็นคนร่าเริง สนุกสนาน รักในอิสรภาพ ร่วมเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวแทบไม่ซ้ำหน้า ขณะนั้นครุ่นคิดอยากเป็นนักเขียน (เลียนแบบพี่ชาย) เลยพูดคุยแลกเปลี่ยน ขอคำปรึกษา จนสามารถพัฒนาบท The 3 และช่วยเหลือพี่ชายในการสืบเสาะ ค้นพบตัวตนแท้จริงของ Susan Orlean แต่กลับทำให้ประสบโศกนาฎกรรมที่คาดไม่ถึง

เกร็ด: Donald เป็นตัวละครที่นักเขียน Charlie Kaufman สมมติขึ้นมา ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง น้องชายในจินตนาการ แต่ได้รับเครดิต Screenplay และอุทิศให้ (รวมถึงได้เข้าชิง Oscar เสียด้วยนะ!)

ตัวเต็งสำหรับบทบาทนี้คือ Tom Hank แต่เหมือนค่าตัวแพงเกินไป เลยส้มหล่นใส่ Nic Cage ด้วยค่าจ้างเพียง $5 ล้านเหรียญ … ก่อนหน้านี้ Cage เคยแสดงภาพยนตร์ Face/Off (1997) รับบทสองตัวละครที่มีความแตกต่างตรงกันข้ามได้น่าประทับใจทีเดียว

เกร็ด: ฝาแฝด Charlie & Donald Kaufman ไม่ได้มีความแตกต่างทางกายภายใดๆ (ต่างสวมใส่วิกผมและ Fat Suit ทรงเดียวกัน) แต่อุปนิสัยใจคอ ท่าทางแสดงออก คำพูดคำจา รวมถึงความครุ่นคิดอ่าน ไม่เหมือนกันเลยสักนิด!

Cage เล่าว่ามีความคลั่งไคล้การแสดงฝาแฝด Jeremy Irons ภาพยนตร์ Dead Ringers (1988) แต่ค้นพบว่ามันไม่มีความน่าอภิรมรณ์เลยสักนิด เพราะวันๆต้องสลับสับเปลี่ยน เดี๋ยวเล่นเป็น Charlie เดี๋ยวเล่นเป็น Donald จับจ้องมองลูกเทนนิส (เวลาสองพี่น้องสนทนากันเอง) ตั้งใจฟังเสียงบันทึกไว้ผ่านหูฟัง (เพื่อไม่ให้บทสนทนาซ้อนทับกับ) มันช่างซับซ้อน วุ่นวาย ปรับตัวเองแทบไม่ทัน

I was a fan of Jeremy Irons’ performance as twins in Dead Ringers. But I’d get frustrated when we would switch the characters three or four times a day. At one point I literally screamed out of frustration and Spike would talk me down.

I’d be literally acting with a tennis ball or an X on a wall, to tell me where to look, and an earpiece in my ear listening to whatever I had already recorded so that I wouldn’t overlap dialog. And then I’d try to move so it worked with my memory of what I’d done as the other character.

Nicolas Cage

โดยปกติแล้วการแสดงของ Cage มักออกไปทาง Over-Acting เน้นความเว่อวังอลังการ ตามคำเรียก ‘Nouveau Shamanic’ ทุกสิ่งอย่างออกมาโดยสันชาตญาณ แต่เพราะสองบทบาทนี้มีความแตกต่างตรงกันข้าม

  • Charlie ดูเงียบๆ เคร่งเครียด เก็บกด(ทางเพศ)
  • ขณะที่ Donald จะปลดปล่อย อิสรภาพ ไม่ค่อยครุ่นคิดอะไรมาก

มันจึงมีความยุ่งยาก สลับซับซ้อน บางครั้งจึงเกิดความสับสนในตนเอง นั่นคือเหตุผลที่เขาต้องรับฟังคำแนะนำผกก. Jonze เพื่อให้ผลลัพท์ออกมาเหมาะสม ถูกต้อง ถูกตัวละคร ในปริมาณเพียงพอดี แต่ยังคงบ้าบอคอแตกในความเป็น Nic Cage

เอาจริงๆผมว่าถ้า Cage ไม่เคยคว้ารางวัล Oscar: Best Actor จาก Leaving Las Vagas (1995) น่าจะเป็นตัวเต็งอันดับหนึ่งปีนั้น ผู้ชนะคือ Adrien Brody ภาพยนตร์ The Pianist (2002)


Mary Louise ‘Meryl’ Streep (เกิดปี 1949) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกา ได้รับการยกย่องว่า ‘Best Actress of her Generation’ เกิดที่ Summit, New Jersey พ่อมีเชื้อสาย German, Swiss ตอนเด็กเป็นเชียร์ลีดเดอร์, แสดงละครเวทีโรงเรียน แต่ไม่คิดจริงจังจนกระทั้งนำแสดงเรื่อง Miss Julie สร้างความตกตะลึงสมจริงให้กับทุกคน เลยตัดสินใจเข้าเรียนต่อ Yale School of Drama จบออกมาเริ่มจากเป็นนักแสดงละครเวที Broadway จนประสบความสำเร็จคว้า Tony Award: Best Actress เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากความประทับใจ Robert De Niro เรื่อง Taxi Driver (1976), ผลงานเรื่องแรก Julia (1977), โด่งดังพลุแตกกับ The Deer Hunter (1978), ปีถัดมาคว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actress จากเรื่อง Kramer vs. Kramer (1979)

รับบท Susan Orlean ผู้เขียนหนังสือ The Orchid Thief ในตอนแรกสนใจเพียงเขียนข่าวคดีความลักขโมยกล้วยไม้ป่าของ John Laroche แต่หลังจากได้พูดคุย รับรู้จัก ผจญภัยในป่าใหญ่ เกิดความลุ่มหลงใหล มึนเมามายไปกับสารสกัด (จากกล้วยไม้ป่า) นั่นทำให้พวกเขาแอบคบชู้รัก ก่อนถูกเปิดโปงโดยสองพี่น้อง Kaufman

I’ve never read anything like it. It’s so original and daring, and it’s funny and heartbreaking at the same time. I knew I had to be a part of it.

Meryl Streep

แม้ว่า Streep ไม่ใช่ตัวเลือกแรกบทบาทนี้ (บุคคลแรกติดต่อไปคือ Susan Sarandon) แต่หลังจากอ่านบทก็กล่าวยกย่องสรรเสริญ ‘บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่สุดเคยอ่านมา’ พัฒนาตัวละครโดยอ้างอิงจากตัวจริงของ Susan Orlean ไม่ใช่ตัวละครที่อยู่ในหนังสือ The Orchid Thief (นี่กระมังคือเหตุผลที่ผู้แต่งชื่นชมการแสดงของ Streep มีความใกล้เคียงตนเองอย่างมากๆ)

ผมไม่รู้ว่าควรเรียกวัยทองหรือ ‘midlife crisis’ ตัวละครของ Streep ช่วงแรกๆดูเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย พยายามสร้างภาพให้คนรอบข้างไม่รับรู้สึกถึงความผิดปกติใดๆ แต่จิตใจกลับเต็มไปด้วยความขัดแย้ง โหยหาอิสรภาพ ไร้ความสุขกับชีวิตคู่ จนกระทั่งได้พบเจอ John Laroch ลุ่มหลงใหลในคำพูด แนวคิด วิธีมองโลก ออกผจญภัยในป่าใหญ่ (ชวนให้นึกถึง Katharine Hepburn เรื่อง The African Queen (1951)) หลังตัดสินใจเสพยาล่องลอย ก็สามารถปลดปล่อยทุกสิ่งอย่าง … แค่รับชม Streep ตาลอยๆระหว่างเสพยา ก็สมควรแก่การเข้าชิง Oscar สมัยที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้

แซว: เมื่อตอนงานประกาศรางวัล BAFTA Award และ Charlie Kaufman คว้ารางวัล Best Adapt Screenplay เห็นว่า Streep ขึ้นรับรางวัลแทนและกล่าวสุนทรพจน์ เหมือนจะจงใจพูดผิด “I would like to spank … Spike Jonze” จริงๆต้องพูดว่า thank, https://www.youtube.com/watch?v=MFmr_yuuib8


Christopher Walton Cooper (เกิดปี 1951) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Kansas City, Missouri บิดาเป็นเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ ช่วงวัยรุ่นเคยทำงานสร้างฉากให้โรงละครใกล้บ้าน ทีแรกครุ่นคิดอยากเปิดบริษัทรับเหงา แต่หลังจากเข้าเรียนต่อ University of Missouri ค้นพบความสนใจด้านการแสดง จากนั้นมุ่งสู่ New York City ฝึกฝนยัง Actors Theater of Louisville และ Seattle Repertory, ภาพยนตร์เรื่องแรก Matewan (1987), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Money Train (1995), A Time to Kill (1996), American Beauty (1999), The Patriot (2000), The Bourne Identity (2002), คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor จากเรื่อง Adaptation (2002)

รับบท John Laroche พ่อค้าผู้ลักลอบตัดกล้วยไม้ป่า แต่สามารถเอาตัวรอดคดีความเพราะใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย ด้วยการให้ชนพื้นเมือง Seminole เป็นผู้ตัดไม้เหล่านั้น, ก่อนหน้านี้เคยชื่นชอบอะไรๆหลายอย่าง สะสมเต่า ซากฟอสซิล กระจกโบราณ ฯ แต่ไม่นานก็เกิดความเบื่อหน่าย สามารถ’ปรับตัว’เปลี่ยนแปลงความสนใจ นั่นสร้างความฉงนสงสัยให้ Susan Orlean จนบังเกิดความลุ่มหลงใหล

ในตอนแรกมีการติดต่อเข้าหา John Turturro, Joaquin Phoenix, ก่อนมาลงเอย Chris Cooper ที่ไม่ได้ชื่นชอบบทบาทนี้สักเท่าไหร่ แต่ถูกภรรยาโน้มน้าวจึงยินยอมตอบตกลง

โดยไม่รู้ตัว John Laroche กลายเป็นบทบาทไฮไลท์ในอาชีพการงานของ Cooper ตั้งแต่ภาพลักษณ์ไร้ฟันหน้า (ใช้ฟันปลอมสวมแทน ซึ่งสร้างความยุ่งยากในการพูดเป็นอย่างมาก) ลดน้ำหนัก ไว้ผมยาว กิริยาท่าทางบ้าบิ่น หยิ่งยโสโอหัง ลุ่มหลงในตนเอง ชอบอวดเก่ง แต่ลึกๆยังคงเก็บกดความสูญเสีย(ครอบครัวและภรรยา) พยายามปกปิดธาตุแท้ตัวตน ทำเหมือนคนไม่ยี่หร่าอะไรใคร

ความน่าสนใจของตัวละคร John Laroche ที่ทำให้ใครๆต่างลุ่มหลงใหล คือการดำเนินชีวิตด้วยแรงขับเคลื่อนสันชาตญาณ สามารถ’ปรับตัว’ให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง/สิ่งแวดล้อมรอบข้าง นั่นเป็นสิ่งที่ผู้คนในโลกวัตถุนิยมไม่สามารถปล่อยละวางความหมกมุ่นยึดติด ได้รับอิสรภาพชีวิต กระทำสิ่งตอบสนองความพึงพอใจ ใช้ชีวิตธำรงชีพรอดไปวันๆ อย่างไม่ยี่หร่าอะไรใคร


ถ่ายภาพโดย Lance Acord (เกิดปี 1964) ตากล้องสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Fresno County, California โตขึ้นเข้าเรียนถ่ายภาพยัง San Francisco Art Institute เข้าสู่วงการโดยเป็นขาประจำ Bruce Weber ถ่ายทำสารคดี โฆษณา Music Video โด่งดังจากบทเพลง Weapon of Choice ของ Fatboy Slim กำกับโดย Spike Jonze คว้ารางวัล MTV Award: Best Cinematography, สำหรับภาพยนตร์เริ่มจาก Buffalo ’66 (1998), Being John Malkovich (1999), Adaptation (2002), Lost in Translation (2003), Marie Antoinette (2006), Where the Wild Things Are (2009) ฯ

งานภาพโดยทั่วไปของหนังไม่ได้มีความหวือหวาสักเท่าไหร่ นอกเสียจากการอยู่ร่วมช็อตเดียวกันของฝาแฝด Kaufman (ใช้วิธีการถ่ายทำสองครั้ง แล้วนำมาซ้อนทับกัน) และภาพถ่าย ‘Time Lapse’ กาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน ดอกไม้หุบ-บาน

สถานที่ถ่ายทำปักหลักอยู่ California ตระเวนไปตาม Santa Barbara, Santa Clarita, Acton และในสตูดิโอ Los Angeles Center Studios น่าเสียดายผมหาข้อมูลไม่ได้ว่า บุกป่าเข้าไปถ่ายทำยังอุทยานแห่งหนไหน (แต่ไม่ได้เดินทางไป Fakahatchee Strand State Preserve, Florida อย่างแน่นอนนะครับ)


ชื่อหนัง Adapatation สามารถสื่อถึงวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลง (มีการกล่าวอ้างถึง Charles Darwin) เลยไม่น่าแปลกใจจะมีการนำเสนอ ‘Time Lapse’ จุดกำเนิดโลกเมื่อสี่พันล้านปีก่อน ตั้งแต่ยังเป็นลาวาร้อนๆ ก่อนอุณหภูมิเย็นลงเยือกแข็ง จากนั้นก็ค่อยๆปรับเปลี่ยนทุกสิ่งอย่างไปเรื่อยๆมาจนถึงปัจจุบัน

หลายคนอาจรู้สึกว่าการปรากฎขึ้นของ ‘Time Lapse’ มันช่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ไม่มีเหตุผลอันใด แต่ช่วงกลางๆเรื่องจะมีคำอธิบาย วินาทียูเรก้า!ของ Charlie Kaufman ว่าทำไมถึงต้องอารัมบทด้วยซีเควนซ์นี้ ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการทางความคิด ต่อยอดจากจุดเริ่มต้นดัดแปลงหนังสือ The Orchard Thief ถือว่าไปไกลถึงระดับ 2001: A Space Odyssey (1968)

To write about a flower, to dramatize a flower, I have to show the flower’s arc. And the flower’s arc stretches back to the beginning of life. How did this flower get here? What was its journey? Therefore, I should infer from analogy that probably all the organic beings which have ever lived on this earth have descended from some one primordial form into which life was first breathed. It is a journey of evolution. Adaptation.

Charlie Kaufman

Dendrophylax lindenii หรือ(คำเรียกชาวพื้นเมือง) Polyrrhiza lindenii หรือ Ghost Orchid (ชื่ออื่นๆ Palm Polly, White Frog Orchid) ภาษาไทยเรียกว่ากล้วยไม้ผี เป็นพืชอายุยืนกาฝากในวงศ์กล้วยไม้ ถิ่นกำเนิดรัฐ Florida, ประเทศ Cuba และประเทศ Bahamas พบเจอโดยนักสำรวจชาวเบลเยี่ยม Jean Jules Linden เมื่อปี ค.ศ. 1844

ดอกมีสีขาว บานประมาณ 2 สัปดาห์ ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาว 7-9 เซนติเมตร รากที่ยึดเกาะกับต้นไม้มีความกลมกลืนพื้นหลัง ทำให้แลดูเหมือนดอกกำลังลอยอยู่กลางอากาศ (ทำให้ได้รับชื่อ กล้วยไม้ผี) และจากการที่มันหาได้ยาก นำมาเพาะปลูกก็ไม่สำเร็จ ทำให้มีการตั้งราคาไว้สูงลิบ กลายเป็นพืชสงวนในสหรัฐอเมริกา

ผมมองนัยยะของ Ghost Orchid ที่มีความงดงาม แต่หาได้ยากลำบาก คล้ายๆสำนวนไทย ‘ช้างเผือกเกิดในป่า’ สิ่งทรงคุณค่าทางจิตใจ ไม่สามารถพบเจอโดยง่ายดาย และบางครั้งถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ความโชคดี (ต้องโชคดีจริงๆถึงจะได้พบเจอ)

If the ghost orchid was really a phantom, it was such a bewitching one that it could seduce people to pursue it year after year and mile after miserable mile. If it was a real flower, I wanted to see one. The reason wasn’t that I love orchids. I don’t even especially like orchids. What I wanted was to see this thing that people were drawn to in such a singular and powerful way.

Susan Orlean จากหนังสือ The Orchid Thief

หลายคนอาจไม่คุ้นหน้าสักเท่าไหร่ ในฉากดินเนอร์ของ Susan Orlean ชายคนกลางนี้คือผกก. David O. Russell ก่อนหน้านี้เคยร่วมงาน Spike Jonze (รับบท Private First Class Conrad Vig) ภาพยนตร์เรื่อง Three Kings (1999)

ส่วนสามีของ Susan Orlean รับบทโดย Curtis Hanson (1945-2016) ผู้กำกับภาพยนตร์ L.A. Confidential (1997), 8 Mile (2002) ฯ

วิวัฒนาการถ่ายทำฝาแฝด นักแสดงคนเดียวรับบทสองตัวละคร ได้มาถึงจุดที่พวกเขาสามารถเดินสวนทาง ผ่านกันไปมา ใช้วิธีการซ้อนทับสองภาพถ่ายทำ (ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์) แทนที่เทคนิค ‘Split Screen’ หรือตัดแปะฟีล์มสองม้วนเข้าด้วยกัน … วิวัฒนาการจากยุคสมัยอนาล็อค (Analog) สู่ดิจิตอล (Digital)

มีอยู่สองสามครั้งที่ Charlie ครุ่นคิดจินตนาการ ว่าตนเองกำลังร่วมเพศสัมพันธ์กับหญิงสาว/เพื่อนร่วมงาน (รวมถึง Susan Orlean) แต่ไม่ทันไรเขาก็ถูกปลุกตื่น ตัดภาพให้เห็นขณะกำลังช่วยตนเอง (Masturbation) ในห้องนอนมืดมิด ชีวิตจริงหาได้เป็นไปตามความเพ้อฝัน

  • พนักงานเสิร์ฟสาว มีความสนใจในหนังสือดอกไม้ (สื่อถึงเธอคือตัวแทนของดอกไม้ สำหรับเด็ดดอมดม) แต่ถูกปลุกตื่น น้องชาย Donald เคาะประตู ทำให้ความสัมพันธ์นี้ไม่ประสบความสำเร็จ
  • โปรดิวเซอร์ Valerie Thomas (รับบทโดย Tilda Swinton) คือผู้มอบหมายให้ Charlie ดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief ซึ่งเขาจินตนาการว่าตนเองสามารถทำงานนี้สำเร็จ เธออ่านแล้วชื่นชอบประทับใจ จึงยินยอมร่วมเพศสัมพันธ์ แต่ในความจริงนั้นตัดให้เห็นแค่สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (คือขณะนั้น Charlie ยังดัดแปลงบทหนังไม่เสร็จสิ้น)
  • Susan Orlean คือบุคคลที่ Charlie เรียนรู้จักผ่านหนังสือ The Orchid Thief เกิดความชื่นชอบ ตกหลุมรัก เข้าใจกันและกัน เลยจินตนาการว่าได้ร่วมเพศสัมพันธ์ (Susan = Charlie ต่างเป็นนักเขียน สามารถเติมเต็มกันและกัน)

Robert McKee (รับบทโดย Brian Cox) นักพูด ที่ปรึกษาการเขียน ‘Story Seminar’ ศาสตราจารย์ University of Southern California ผู้มีความเข้าใจกลไก (mechanical form) การเล่าเรื่องด้วยรูปแบบ โครงสร้าง วิธีการต่างๆ ได้รับการยกย่องระดับนานาชาติ ถูกเชิญไปพูดสัมมนาหลากหลายประเทศทั่วโลก และเป็นผู้เขียนหนังสือ Story: Substance, Structure, Style and the Principles of Screenwriting (1998)

ในสื่อภาพยนตร์ McKee เคยแสดงความคิดเห็นต่อต้านทฤษฎี ‘auteur theory’ เพราะเชื่อว่าบุคคลที่มีความสำคัญที่สุด คือนักเขียน (writer/screenwriter) สมควรได้รับยกย่องในฐานะ ‘author’

First of all, you write a screenplay without conflict or crisis, you’ll bore your audience to tears.

Secondly, nothing happens in the world? Are you out of your fucking mind? … If you can’t find that stuff in life, then you, my friend, don’t know crap about life! And why the fuck are you wasting my two precious hours with your movie?

Robert McKee

เกร็ด: มีนักแสดงหลายคนที่อยู่ในความสนใจ อาทิ Albert Finney, Christopher Plummer, Terence Stamp, Michael Caine แต่เป็น McKee ที่ใช้เส้นสายต้องการให้ Brian Cox รับบทเป็นตนเอง

ภาพสุดท้ายของหนังคือ ‘Time Lapse’ ดอกไม้หุบ-บาน ปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลากลางวัน-กลางคืน เท่าที่ผมสังเกตเห็น น่าจะคือวัชพืชบัวตอง (Tree Marigold) จริงๆแล้วเป็นพืชที่สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ แต่ผู้สร้างภาพยนตร์หลายคนมักเข้าใจกันผิดๆ ใช้แทนสัญลักษณ์ดอกทานตะวัน เบิกบานรับเช้าวันใหม่ (นัยยะถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่)

ในบริบทของหนัง น่าจะต้องการสื่อนัยยะถึงการปรับตัว ไม่ว่าจะมนุษย์หรือดอกไม้ ล้วนพยายามทำทุกสิ่งอย่างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบข้าง

ตัดต่อโดย Eric James Zumbrunnen (1964-2017) สัญชาติอเมริกัน เรียนจบวารสารศาสตร์ เคยเป็นนักร้อง-นักกีตาร์ ก่อนพบเจอผู้กำกับ Spike Jonze เปลี่ยนมาเป็นนักตัดต่อหนังสั้น, Music Video, ภาพยนตร์ อาทิ Being John Malkovich (1999), Adaptation (2002), Where the Wild Things Are (2009), John Carter (2012), Her (2013) ฯ

ครึ่งแรกของหนังมีการดำเนินเรื่องที่ถือว่าสลับซับซ้อนทีเดียว วิธีการที่จะทำความเข้าใจได้ง่ายสุด คือต้องครุ่นคิดว่าตลอดทั้งเรื่องนำเสนอผ่านมุมมองนักเขียน(พี่ชาย) Charlie Kaufman ตั้งแต่เดินทางไปเยี่ยมเยียนกองถ่าย Being John Malkovich (1999) ได้รับมอบหมายโปรดิวเซอร์ให้ดัดแปลง The Orchid Thief ซึ่งระหว่างที่กำลังอ่านหนังสือ จะมีการแทรกภาพย้อนอดีต/เล่าเหตุการณ์บังเกิดขึ้น(ในหนังสือเล่มนั้น) สลับไปมาระหว่างอดีต-ปัจจุบัน เหตุการณ์จริง-จินตนาการเพ้อฝัน(จากในหนังสือ)

หลังจาก Charlie อ่านหนังสือจบลง เรื่องราวหลังจากนี้จะเป็นความพยายามครุ่นคิดหาวิธีดัดแปลงบทหนัง ก้าวข้ามผ่านอาการสมองตัน (Writer’s Block) และนำเข้าสู่ไคลน์แม็กซ์พบเจอกับผู้แต่ง Susan Orlean ในสถานการณ์ที่ไม่มีใครสามารถคาดคิดถึง!

  • อารัมบท แนะนำนักเขียน Charlie Kaufman
    • Charlie มาเยี่ยมเยียนกองถ่าย Being John Malkovich (1999)
    • จินตนาการวิวัฒนาการถือกำเนิดโลก
    • Charlie ได้รับมอบหมายดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief
  • Charlie Kaufman ระหว่างอ่านหนังสือ The Orchid Thief
    • Charlie จินตนาการถึง Susan Orlean กำลังนั่งพิมพ์หนังสือ The Orchid Thief
    • (อ่านหนังสือ) เริ่มต้นเมื่อ John Laroche ลักลอบเข้าอุทยาน ตัดกล้วยไม้ป่า แล้วถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัว
    • Charlie พูดคุยกับน้องชาย Donald แล้วออกไปเดทกับแฟนสาวขณะนั้น Amelia Kavan
    • (อ่านหนังสือ) Susan Orlean แรกพบเจอ เกิดความสนใจใน John Laroche หลังการขึ้นศาลไต่สวน
    • Charlie ระหว่างขับรถไปส่งแฟนสาว เธอพยายามบอกใบ้อะไรบางอย่าง แต่เขากลับตอบปฏิเสธจนพลาดโอกาสดีๆ
    • (อ่านหนังสือ) Susan Orlean ขึ้นรถตู้ของ John Laroche พูดคุยสอบถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิต
    • (อ่านหนังสือ) Susan Orlean กับผองเพื่อนและสามี ค่อยๆตระหนักว่าชีวิตแบบนี้มันช่างจอมปลอม น่าเบื่อหน่าย
    • Charlie จินตนาการรักกับสาวเสิร์ฟ แต่ก็ไม่มีอะไรสมดั่งใจหวัง
    • Charlie & Donald ในกองถ่ายภาพยนตร์ Being John Malkovich (1999)
    • (อ่านหนังสือ) John Laroche เล่าถึงเหตุผลที่ฟันหน้าหัก อุบัติเหตุ สูญเสียครอบครัวและภรรยา
  • ความพยายามครุ่นคิดวิธีดัดแปลงบทหนังของ Charlie Kaufman
    • Susan Orlean พบเจอโปรดิวเซอร์ ติดต่อขอลิขสิทธิ์ดัดแปลงภาพยนตร์
    • Charlie พยายามพูดคุยกับโปรดิวเซอร์ เพื่อขอยกเลิกการดัดแปลงโปรเจคดังกล่าว แต่กลับได้รับคำตอบปฏิเสธ
    • Charlie ครุ่นคิดจินตนาการถึง Susan Orlean แล้วทำการช่วยเหลือตนเอง
    • Susan Orlean ร่วมออกเดินทางไปหากล้วยไม้ป่ากับ John Laroche แต่เขากลับพาหลงทาง
    • Charlie เดินทางไปเข้าร่วมสัมมนา ขอคำปรึกษาจากนักเขียนชื่อดัง Robert McKee
  • ในความเป็นจริงระหว่าง Susan Orlean และ John Laroche
    • Donald อาสาให้ความช่วยเหลือ Charlie เข้าไปพูดคุยสัมภาษณ์ Susan Orlean
    • เหตุการณ์ต่อจาก Susan Orlean และ John Laroche กำลังหลงทาง ในที่สุดก็พบเจอกล้วยไม้ป่า สามารถกลับออกมา ระหว่างขับรถกลับเล่าความจริงเกี่ยวกับสารเสพติดสกัดจากพืชชนิดนี้
    • Donald ตระหนักถึงความผิดปกติบางอย่างของ Susan Orlean จึงแอบติดตาม พบเห็นเธอสานสัมพันธ์ชู้รัก John Laroche
    • Charlie ทำบางสิ่งพลั้งพลาด เลยโดนจับได้ พวกเขาตัดสินใจจะฆ่าปิดปาก
    • ระหว่างกำลังเดินทางไปอุทยาน Charlie และ Donald สามารถฉกฉวยโอกาสหลบหนี
    • จากนั้นก็บังเกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรม
    • ท้ายสุดหลังพานผ่านเหตุการณ์ดังกล่าว Charlie คงจะสามารถพัฒนาบทหนัง Adaptation และตัดสินใจหวนกลับไปคืนดีแฟนสาว

สำหรับผู้ชมที่ยังมีประสบการณ์ภาพยนตร์ไม่มากนัก ครึ่งแรกอย่างรู้สึกว่าสับสน ซับซ้อน ดูไม่ค่อยรู้เรื่องสักเท่าไหร่ แต่ผมแนะนำให้พยายามอดรนทนดูหนังจนจบ แล้วครุ่นคิดทำความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมด จากนั้นหวนกลับไปรับชมซ้ำอีกรอบ จะไม่เปิดความมึนงงอย่างแน่นอน พบเห็นลีลาตัดต่ออันน่าอึ่งทึ่ง … เอาจริงๆผมรู้สึกว่าลีลาตัดต่อ ซับซ้อนพอๆกับ 8½ (1963) แต่ศักยภาพผู้ชมสมัยนี้ น่าจะไม่ยากเกินไปหรอกกระมัง


เพลงประกอบโดย Carter Benedict Burwell (เกิดปี 1954) เกิดที่ New York City เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากทำเพลงประกอบ Blood Simple (1984) แล้วกลายเป็นขาประจำสองพี่น้อง Coen, ผลงานเด่นๆ อาทิ Raising Arizona (1987), Fargo (1996), The Big Lebowski (1998), Being John Malkovich (1999), Adaptation (2002), No Country for Old Men (2007), The Twilight Saga: Breaking Dawn (2011-12), Carol (2015), Three Billboards Outside Ebbing, Missouri (2017), The Banshees of Inisherin (2022) ฯ

งานเพลงของหนัง เต็มไปด้วยสัมผัสลึกลับ สับสน เป็นกังวล หลายครั้งมีความบิดเบี้ยว นำสรรพเสียงแปลกๆเข้ามาผสมผสานคลุกเคล้า เพื่อสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ สภาพจิตใจของ Charlie Kaufman เมื่อสมองตื้อตัน ครุ่นคิดอะไรไม่ออก (อาการ Writer’s Block) เลยไม่รู้จะทำอะไรยังไง ตกอยู่สภาพท้อแท้สิ้นหวัง เศร้าสลดหดหู่

จริงๆบทเพลงนี้ควรชื่อว่า The Evolution Of Planet Earth เสียมากกว่านะ เพราะดังขึ้นระหว่างฉายภาพ ‘Time Lapse’ วิวัฒนาการโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ท่วงทำนองที่มีความลึกลับ สั่นหยิว ราวกับเวทย์มนต์ดำ กลังนำพาหายนะ ภัยพิบัติ วันโลกาวินาศกำลังมาถึงเสียมากกว่า

หนึ่งในบทเพลงที่มีความน่าสนใจทีเดียว On The Similarity Of Human And Orchid Forms เสียงขลุ่ยถูกใช้แทนดอกกล้วยไม้ (=จิตใจอันบริสุทธิ์ของมนุษย์) งอกเงยท่ามกลางผืนป่ากว้างใหญ่ ห้อมล้อมรอบด้วยภยันตราย (สรรพเสียงอื่นๆที่ไม่ใช่ขลุ่ย มอบสัมผัสอันตรายทั้งนั้น) เฝ้ารอคอยให้ใครค้นพบเจอ จักได้เด็ดดอม สูดดม แล้วล่องลอยสู่สรวงสวรรค์

ทิ้งท้ายกับบทเพลง Happy Together (1967) แต่งโดย Garry Bonner, Alan Gordon (ตอนเขียนเพลงนี้ ทั้งสองยังเป็นสมาชิก The Magicians) บันทึกเสียงโดยวงร็อคอเมริกัน the Turtles เคยไต่ถึงอันดับหนึ่ง Billboard Hot 100

เนื้อคำร้องบทเพลงนี้ เต็มไปด้วยความปลื้มปีติ ยินดีปรีดา พรรณาความเพ้อฝัน คาดหวังว่าฉันกับเธอ (เหมารวมถึงสมาชิกวง the Turtles) จะสามารถมีโอกาสครอบรักร่วมกัน … ในหนังอาจจะสื่อถึง Charlie กับแฟนสาว Amelia Kavan หลังพานผ่านโศกนาฎกรรม ได้รับบทเรียนชีวิต ในที่สุดก็สามารถก้าวข้ามอุปสรรคปัญหา ทั้งการเขียนบทหนัง Adaptation และพูดคำบอกรักกับเธอ

Imagine me and you, I do
I think about you day and night, it’s only right
To think about the girl you love and hold her tight
So happy together

If I should call you up, invest a dime
And you say you belong to me, and ease my mind
Imagine how the world could be, so very fine
So happy together

I can’t see me lovin’ nobody but you
For all my life
When you’re with me, baby, the skies’ll be blue
For all my life

Me and you, and you and me
No matter how they toss the dice, it had to be
The only one for me is you, and you for me
So happy together

I can’t see me lovin’ nobody but you
For all my life
When you’re with me, baby, the skies’ll be blue
For all my life

Me and you, and you and me
No matter how they toss the dice, it had to be
The only one for me is you, and you for me
So happy together

Ba-ba-ba-ba ba-ba-ba-ba ba-ba-ba ba-ba-ba-ba
Ba-ba-ba-ba ba-ba-ba-ba ba-ba-ba ba-ba-ba-ba

Me and you, and you and me
No matter how they toss the dice, it had to be
The only one for me is you, and you for me
So happy together

So happy together
And how is the weather?
So happy together
We’re happy together
So happy together
Happy together
So happy together
So happy together

นักเขียนชื่อดัง Charlie Kaufman ได้รับมอบหมายดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief ของ Susan Orlean แต่ไม่นานค้นพบว่ามีความยุ่งยาก เพราะมันแทบไม่มีเนื้อเรื่องราว จุดหักเห รวมถึงไคลน์แม็กซ์ จึงไม่สามารถขบครุ่นคิด หาวิธีพัฒนาบทหนัง ตกอยู่ในสภาวะสมองตัน (Writer’s Block) รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป

แต่หลังจากได้รับแรงกระตุ้นจากโปรดิวเซอร์ คำแนะนำน้องชาย รวมถึงความช่วยเหลือผู้มีประสบการณ์ จึงค่อยๆสามารถ ‘ปรับตัว’ ค้นพบแนวทางดัดแปลงบทหนัง Adaptation (2002) และเผชิญหน้ากับ Susan Orlean ก่อนประสบพบเจอเหตุการณ์ไม่มีใครคาดคิดถึง!

Adaptation (คำนาม) การดัดแปลง [วรรณกรรม, นิติศาสตร์, รัฐศาสตร์], การปรับตัว [แพทยศาสตร์, พฤกษศาสตร์, ธรณีวิทยา, ชีววิทยา], การปรับใช้ [เศรษฐศาสตร์, รัฐศาสตร์], การปรับให้เหมาะ, สิ่งที่ได้จากการปรับให้เหมาะ, ภาวะที่เหมาะสม, ฉบับแก้ไขปรับปรุง, สิ่งที่แก้ไขปรับปรุง, การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม, การปรับตัวของรูม่านตา

หลายคนอาจครุ่นคิดว่าชื่อหนัง Adaptation (2002) สื่อถึงแค่เรื่องราวนักเขียนบท ทำการ’ดัดแปลง’หนังสือสู่ภาพยนตร์ แต่คำว่า Adaptation ยังหมายถึงการ’ปรับตัว’เปลี่ยนแปลง ซึ่งแทบทุกตัวละครในหนังล้วนมีวิวัฒนาการ (ตามทฤษฎีของ Charles Darwin) ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

  • ชัดเจนที่สุดก็คือ John Laroche เป็นบุคคลมีความสามารถในการ’ปรับตัว’เข้ากับทุกความเปลี่ยนแปลง ละทอดทิ้งอดีต ครอบครัว ภรรยา ของสะสมอย่างเต่า ซากฟอสซิล กระจกโบราณ หรือแม้แต่ปัจจุบันถูกจับข้อหาลักขโมยกล้วยไม้ป่า กลับเอาตัวรอดด้วยช่องโหว่ทางกฎหมาย
  • นักเขียน Susan Orlean เริ่มจากเกิดความสนเท่ห์ในตัว John Laroche วิวัฒนาการสู่ความชื่นชอบ หลงใหล จากนั้นโล้เล้ลังเลใจ แต่หลังจากเสพยาจากดอกกล้วยไม้ กลับกลายเป็นทาสรัก ยินยอมศิโรราบทุกสิ่งอย่าง
  • น้องชาย Donald Kaufman มีความครุ่นคิดอยากเป็นนักเขียนเหมือนพี่ รับคำปรึกษา นำมาปรับปรุงแก้ไข จนในที่สุดสามารถพัฒนาบทหนัง The 3

จะว่าไปหนังพยายามนำเสนอสองเหตุการณ์คู่ขนาน ที่สามารถสะท้อน-เติมเต็มกันและกัน

  • Charlie ดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief == Susan เขียนหนังสือ The Orchid Thief
  • หนังสือ The Orchid Thief มีความยุ่งยากลำบากในการดัดแปลงภาพยนตร์ == ดอกกล้วยไม้ผี (Ghost Orchid) ค้นหาพบเจอในป่าได้ยากยิ่งนัก
  • Charlie ได้น้องชาย Donald ช่วงเป็นแรงกระตุ้นผลักดัน == Susan มีความลุ่มหลงใหล ชื่นชอบประทับใจ John
  • Charlie ค้นพบวิธีการอันบรรเจิดสำหรับดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief == Susan เสพยาจากดอกกล้วยไม้ ทำให้ล่องลอยอยู่ในความเพ้อฝัน
  • ตอนจบ, Charlie สูญเสีย Donald == Susan สูญเสีย John

ในแง่ของการกำกับภาพยนตร์ ผกก. Spike Jonze ต้องถือว่ามีประสบการณ์/วิวัฒนาการเพิ่มขึ้นมากจาก Being John Malkovich (1999) กล้าที่จะเริ่มทดลองทำโน่นนี่นั่น ปรับปรุงพัฒนาตนเอง ท้าทายวิธีการนำเสนอใหม่ เพื่อให้สอดคล้องบทหนังของ Charlie Kaufman ที่มีความสลับซับซ้อน ให้ดูอลังการ ท้าทายศักยภาพของผู้ชม … แม้ว่าผกก. Jonze ยังขาดความเป็นส่วนตัวไปบ้าง แต่ก็สามารถขับเน้น เพิ่มศักยภาพให้บทหนังของ Kaufman โดดเด่นยิ่งๆขึ้นไปอีก

สำหรับ(ตัวจริง) Charlie Kaufman อาจไม่ได้ไก่อ่อน ตาขาว ท้อแท้สิ่งหวัง หรือแสดงออกอย่างเว่อวังอลังการเกินไป แต่ทั้งหมดล้วนสะท้อนความรู้สึกแท้จริงจากภายใน การจะเอาตัวรอดในวงการภาพยนตร์ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องรู้จักปรับตัว ค้นหาแนวทางของตนเอง และมีผองเพื่อนที่สามารถไว้เนื้อเชื่อใจ

The emotions that Charlie is going through [in the film] are real and they reflect what I was going through when I was trying to write the script. Of course there are specific things that have been exaggerated or changed for cinematic purposes. Part of the experience of watching this movie is the experience of seeing that Donald Kaufman is credited as the co-screenwriter. It’s part of the movie, it’s part of the story.

Charlie Kaufman

การสร้างตัวละครน้องชาย Donald Kaufman ในลักษณะแตกต่างตรงกันข้าม ก็เพื่อเป็นกระจกสะท้อน วิพากย์วิจารณ์ตัวตนเอง (Self-Criticism) เติมเต็มสิ่งที่ขาดหาย อันจะทำให้พี่ชาย Charlie (หรือก็ตัวของ Charlie Kaufman) สามารถปรับตัวเปลี่ยนแปลง … ซึ่งความตายของ Donal ก็คือจุดจบสถาวะสมองตัน (Writer’s Block) ค้นพบแนวทางดัดแปลงบทหนัง ให้สำเร็จลุล่วงโดยดี

เกร็ด: ชื่อหนัง Adaptation ถ้าเขียนแบบสไตล์ลิสจะมีเครื่องหมายมหัพภาค (.) หรือจุดฟูลสต๊อปลงท้าย Adaptation.


ด้วยทุนสร้าง $19 ล้านเหรียญ อาจเพราะความซับซ้อนของหนัง จึงทำเงินในสหรัฐอเมริกาได้เพียง $22.5 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $32.8 ล้านเหรียญ น่าจะขาดทุนพอสมควร ถึงอย่างนั้นช่วงปลายปีก็ได้ลุ้นหลากหลายรางวัล

  • Academy Award
    • Best Actor (Nicolas Cage)
    • Best Supporting Actor (Chris Cooper)**คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actress (Meryl Streep)
    • Best Adapted Screenplay
  • Golden Globe Awards
    • Best Motion Picture – Musical or Comedy
    • Best Director
    • Best Actor – Musical or Comedy (Nicolas Cage)
    • Best Supporting Actor (Chris Cooper)**คว้ารางวัล
    • Best Supporting Actress (Meryl Streep)**คว้ารางวัล
    • Best Screenplay

เกร็ด: ในสาขา Best Adapted Screenplay ผู้เข้าชิงคือ Charlie Kaufman และ Donald Kaufman ซึ่งรายหลังไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง (คือตัวละครที่ Kaufman สมมติว่าเป็นน้องชาย แล้วใส่ในเครดิตเขียนบท พร้อมข้อความอุทิศให้)

นอกจากนี้หนังยังเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Berlin (เข้าภายหลังออกฉายสหรัฐอเมริกา) สามารถคว้ารางวัล Silver Bear: Grand Jury Prize (ที่สอง) พ่ายรางวัลใหญ่ Golden Bear ให้กับ In This World (2002) กำกับโดย Michael Winterbottom

ส่วนตัวมีความชื่นชอบหนังอย่างมากๆ คงเพราะเคยพานผ่านประสบการณ์ Writer’s Block มาคล้ายๆกัน (แต่ในกรณีของผมที่เคยหยุดเขียน raremeat.blog เพราะขี้เกียจเสียมากกว่า) ประทับใจบทหนัง ทีมนักแสดง แอบเสียดายผกก. Spike Jonze น่าจะดีกว่านี้ถ้าสามารถค้นพบตัวตนเอง และตีลาจาก Charlie Kaufman (ซึ่งเขาก็ทำเช่นนั้นจริงๆ)

แนะนำหนังอย่างยิ่งกับนักเขียน (เอาจริงๆก็ไม่จำกัดแค่สายงานเขียนเท่านั้นนะครับ ศิลปิน นักดนตรี ผู้กำกับ บุคคลสรรค์สร้างงานศิลปะ ฯ) การรับชม Adaptation (2002) อาจสร้างแรงบันดาลใจ ให้สามารถเปิดมุมมอง ค้นพบแนวคิดใหม่ๆ ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาสมองตัน ‘writer’s block’

จัดเรต 18+ กับความรุนแรง เสพยา เซ็กซ์แฟนตาซี

คำโปรย | Adaptation ดัดแปลงจากตัวตนเองของ Charlie Kaufman ระบายทุกสิ่งอย่างอัดอั้นภายในออกมา
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ปรับตัว

ใส่ความเห็น