Lost in Translation (2003)


Lost in Translation (2003) hollywood : Sofia Coppola ♥♥♥♥

รำพันความเหงาของ Bill Murray โดดเดี่ยวเปล่าเปลี่ยวท่ามกลางกรุง Tokyo ก่อนจะได้พบเจอสิ่งงดงามทรงคุณค่าที่สุดในชีวิต ความรักที่มีให้กับ Scarlett Johansson ไม่ใช่ด้วยเรือนร่างกาย แต่สามารถเติมเต็มจิตวิญญาณกันและกัน

Sofia Coppola แต่งงานกับ Spike Jonze เมื่อปี ค.ศ. 1999 แต่ตั้งแต่วันแรกที่ใช้ชีวิตร่วมกัน เธอก็เริ่มตระหนักถึงความผิดพลาด เพราะต่างฝ่ายต่างมีวิถีชีวิต โลกส่วนตัว อาชีพการงานที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น (Coppola ขณะนั้นวุ่นวายกับ The Virgin Suicides (1999), ส่วน Jonze ประสบความสำเร็จกับ Being John Malkovich (1999)) จากนั้นพวกเขาแทบไม่หลงเหลือเวลาให้กัน แบบเดียวกับ Charlotte & John (Scarlett Johansson & Giovanni Ribisi) รู้สึกโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว เหมือนอยู่ตัวคนเดียวในกรุง Tokyo สื่อสารกันคนละภาษา ไม่สามารถพูดคุยปรับความเข้าใจ โหยหาใครสักคนสำหรับเป็นที่พึ่งพักพิงทางใจ

Lost in Translation (2003) เป็นภาพยนตร์สำหรับคนขี้เหงาอันดับต้นๆ (รองจากผลงานของหว่องกาไว) ที่แทบไม่ได้มีโครงสร้าง เนื้อเรื่องราวใดๆ เพียงแปะติดปะต่อเหตุการณ์ดำเนินไป ร้อยเรียงประสบการณ์เมื่อครั้นผกก. Coppola เคยอาศัยใช้ชีวิตอยู่โรงแรม Park Hyatt Tokyo ต้องการนำเสนอความชื่นชอบประทับใจ ‘cultural shock’ ของชาวอเมริกันต่อญี่ปุ่นสมัยนั้น

โลกยุคสหัสวรรษใหม่ (Millennium) แม้มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตึกระฟ้าสูงใหญ่ ผู้คนมากมาย แต่การจะติดตามหาใครสักคนสามารถเป็นที่พึ่งพักพิงทางกาย มันกลับเป็นไปได้ยากยิ่งนัก ต่อให้พูดคุยภาษาเดียวกันก็ยังอาจสื่อสารไม่เข้าใจ ‘Lost in Translation’ การได้พบเจอใครสักคนเติมเต็มความต้องการของหัวใจ มันจึงเป็นสิ่งงดงามล้ำค่า สำคัญยิ่งกว่าอะไรอื่นใด

แม้ว่าหนังได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม ประสบความสำเร็จทำเงินเกินร้อยล้าน แถมเข้าชิง Oscar ถึงสี่สาขา แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ชมในญี่ปุ่น กลับมองเป็นการนำเสนอ ‘japanese stereotype’ ในลักษณะดูถูกเหยียดหยาม สร้างความตลกขบขัน ไม่เคยพยายามทำความเข้าใจวัฒนธรรม เอามุมมองคิดเห็นส่วนตน อารมณ์ศิลปินเป็นที่ตั้ง … ไม่ต่างจากชื่อหนัง Lost in Translation อีกเช่นกัน

Sofia’s view of Japan is outrageously biased and banal … To make matters worse, all the Japanese characters are portrayed only smiling or bowing.

นักวิจารณ์ Yoshiro Tsuchiya จากหนังสือพิมพ์ Yomiuri Shimbun

There is no scene where the Japanese are afforded a shred of dignity. The viewer is sledgehammered into laughing at these small, yellow people and their funny ways, desperately aping the western lifestyle without knowledge of its real meaning. 

Coppola’s negative stereotyping makes her more the thinking person’s Sylvester Stallone than a cinematic genius. Good luck to the director for getting away with it, but what on earth are people with some semblance of taste doing saluting it?

ศิลปิน Kiku Day เขียนบทความลงนิตยสาร The Guardian

Japanese understand Japanese dialogue. So contrary to the director’s intention, Japanese audiences cannot help paying attention to what Japanese are saying in the background, missing the whole ‘lost in translation’ effect.

And Japanese might feel they were betrayed by ‘their true friends,’ Americans.

Michiko Shiraishi จาก Jiji Press

Sofia Carmina Coppola (เกิดปี 1971) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ เกิดที่ New York City เป็นบุตรของ Francis Ford Coppola และ Eleanor Jessie Neil ยังไม่ทันถึงขวบก็ปรากฎในภาพยนตร์ The Godfather (1972), เติบโตขึ้นที่บ้านฟาร์ม Rutherford ด้วยความที่เครือญาติต่างเป็นนักแสดง/ศิลปิน ช่วงวัยเด็กจึงมีความชื่นชอบหลาย ถ่ายรูป ดนตรี เสื้อผ้าแฟชั่น แต่หาได้มีความสนใจทำงานภาพยนตร์สักเท่าไหร่

ช่วงทศวรรษ 90s หลังลาออกจาก California Institute of the Arts (CalArts) Coppola มีโอกาสเดินทางไปญี่ปุ่นบ่อยครั้ง ซึมซับวัฒนธรรม ได้รับการว่าจ้างถ่ายรูป ออกแบบแฟชั่น (Fashion Designer) นำแรงบันดาลใจมาทำแบรนด์เสื้อผ้าผู้หญิง Milk Fed ปัจจุบันก็ยังพอได้รับความนิยมในญี่ปุ่น

A friend of mine was doing a fashion show and asked me to come help produce it. And I said, Okay, I’ll come to Tokyo. And then I met that guy Charlie (Fumihiro Hayashi). He had a magazine and hired me to do photos. And so I was going there, working for him. I mean, it was exciting for me because I was getting to work as a photographer. And I just met more people there and just always found it really stimulating and an interesting place. And people kind of know the world there. So, I kept going back there to do this work.

Sofia Coppola

หลังจากค้นพบความสนใจด้านภาพยนตร์ The Virgin Suicides (1999) ระหว่างเดินทางไปโปรโมทยังประเทศญี่ปุ่น พักอาศัยโรงแรม Park Hyatt Tokyo เกิดความครุ่นคิดอยากนำประสบการณ์ต่างๆที่เคยพบเจอ จดบันทึก ถ่ายภาพ/อัดเทปไว้ มารวมรวบเรียบเรียง แปะติดปะต่อให้กลายเป็นผลงานเรื่องถัดไป

The idea for “Lost in Translation” really started when I saw Charlie perform “God Save the Queen” at a karaoke bar. I said, “I have to put this in a movie.”

I had spent a bunch of time in Tokyo, so I was thinking about that. And then I was just kind of taking notes about different little impressions I had of it there and started writing the script but not in script form, just more like little stories, and then kind of collecting pictures for the visuals. And then I kind of adapted that to a script.

หลังเสร็จสิ้นการโปรโมท The Virgin Suicides (1999) จึงมีเวลาเริ่มต้นพัฒนาบทหนัง แต่ไม่ใช่ด้วยรูปแบบโครงสร้างเรื่องราวทั่วๆไป Coppola ให้คำเรียกว่า ‘little paragraphs’ แบ่งออกเป็นย่อหน้าเล็กๆ อธิบายความชื่นชอบประทับใจในสิ่งเคยประสบพบเจอ หลังจากได้ความยาวประมาณ 20 หน้ากระดาษ ออกเดินทางสู่ Tokyo อีกครั้งเพื่อหาแรงบันดาลใจเพิ่มเติม

Coppola พัฒนาตัวละคร Bob โดยมีภาพของ Bill Murray ตั้งใจว่าถ้าเขาไม่ตอบตกลงก็จะไม่สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่กว่าจะสามารถติดต่อ นัดพูดคุย Murray เลื่องชื่อในความโคตรติสต์ ไม่เคยรับโทรศัพท์ ไม่เคยติดต่อใครกลับ ไม่ตอบตกลงถ้าไม่ใช่โปรเจคสนใจ ใช้เวลาตามตื้อนานนับปีจนเขายินยอมพบเจอ พูดคุย และตอบตกลงในที่สุด

ด้วยความที่ผกก. Coppola ไม่ต้องการให้สตูดิโอเข้ามายุ่งย่ามก้าวก่าวในรายละเอียด เธอจึงควักเนื้อออกเงินไปก่อน ไม่ขายลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายจนกระทั่งถ่ายทำ-ตัดต่อเสร็จสิ้น แล้วค่อยฉายผู้บริหาร Focus Features ทีแรกจะเรียกร้อง $5 ล้านเหรียญ แต่ได้ข้อตกลง $4 ล้านเหรียญ


นักแสดงชาวอเมริกัน Bob Harris (รับบทโดย Bill Murray) เดินทางมาถึงกรุง Tokyo ประเทศญี่ปุ่น เพื่อถ่ายทำโฆษณา Suntory Whisky แต่ประสบปัญหา jet lag (อาการนอนไม่หลับ ยังไม่สามารถปรับตัวกับ ‘time zone’ ที่เปลี่ยนไป), culture shock (เกิดความสับสนต่อวัฒนธรรมที่แตกต่าง) รวมถึง midlife crisis (รู้สึกเบื่อหน่ายกับครอบครัวแต่งงานมา 25 ปี) เลยไม่รู้จะทำอะไรยังไงกับช่วงเวลาว่างๆ พูดคุยสื่อสารใครไม่รู้เรื่อง ยามค่ำคืนจึงทำได้เพียงพักอาศัยอยู่ตัวคนเดียวในโรงแรมหรู Park Hyatt Tokyo

นักศึกษาจบใหม่ Charlotte (รับบทโดย Scarlett Johansson) เพิ่งแต่งงานกับช่างภาพ John (รับบทโดย Giovanni Ribisi) ร่วมออกติดตามสู่ญี่ปุ่น พักอาศัยยัง Park Hyatt Tokyo แต่สามีกลับแทบไม่มีเวลาว่างให้ วันๆเอาแต่ง่วนกับการทำงาน ปล่อยปละละเลยให้เธออยู่ตัวคนเดียว เปล่าเปลี่ยว โดดเดี่ยว ออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆเพียงลำพัง

จนกระทั่งวันหนึ่ง Bob และ Charlotte ได้มีโอกาสพบเจอ พูดคุยสนทนา โดยไม่รู้ตัวสองคนเหงา สามารถเติมเต็มสิ่งต่างๆของกันและกัน ทำให้การพักอาศัยในกรุง Tokyo เริ่มมีสีสัน ชีวิตชีวา กลายเป็นช่วงเวลาอันน่าจดจำ


William James Murray (เกิดปี 1950) นักแสดง คอมเมเดี้ยน สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Evanston, Illinois ในครอบครัว Roman Catholic มีพี่น้องทั้งหมดแปดคน, สมัยวัยรุ่นร่วมกับเพื่อนเป็นนักร้องวง Rock โตขึ้นสามารถสอบเข้าโรงเรียนเตรียมแพทย์ Regis University แต่ตัดสินใจลาออกมาเป็นนักแสดงตลกในสังกัด The Second City, จัดรายการวิทยุ The National Lampoon Radio Hour, จากนั้นกลายเป็นนักแสดง Off-Broadway, มุ่งสู่วาไรตี้โชว์ Saturday Night Live, ไม่นานนักเริ่มได้รับความนิยมจนมีโอกาสแสดงภาพยนตร์ Meatballs (1979), Caddyshack (1980), Tootsie (1982), Ghostbusters (1984), Ed Woods (1994), The Royal Tenenbaums (2001), และได้เข้าชิง Oscar: Best Actor เรื่อง Lost in Translation (2003)

รับบท Bob Harris ชายวัยกลางคนแต่งงานมา 25 ปี แต่ตอนนี้กำลังมีปัญหา ‘midlife crisis’ รู้สึกเบื่อหน่ายชีวิตครอบครัว รวมถึงอาชีพนักแสดงที่ชื่อเสียงกำลังค่อยๆเลือนหายไปจากวงการ เดินทางมาญี่ปุ่นเพื่อรับเงินก้อนโต ถ่ายทำโฆษณา Suntory Whisky แต่กลับไม่สามารถสื่อสารทำความเข้าใจอะไรกับใคร รู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดาย ไม่รู้จะเดินทางไปแห่งหนไหน จนกระทั่งได้พบเจอกับ Charlotte พูดคุยถูกคอ กลายเป็นเพื่อนสนิทสนม เติมเต็มความต้องการของจิตวิญญาณ

ผกก. Coppola พยายามใช้เส้นสายในวงการ ติดต่อนักเขียน Mitch Glazer ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ Murray นำบทหนังมาให้อ่าน เพื่อช่วยโน้มน้าว พูดคุย เกลี้ยกล่อมเกลา

Sofia is amazing because she’s such an artist, but she grew up in a family that gets things done. She knows how to be relentless. She’s completely genuine, but she is as driven and tough as anyone I’ve met in Hollywood. And she wanted Bill. She had written it for him. When she was pursuing Bill, I talked to her more than I talked to my wife. She talked to me a thousand times. In that sweet way, but persistent. In more than 20 years of friendship, I never said anything was perfect for Bill, and this time, I did. But Bill is difficult. He wouldn’t give anyone an answer.

Mitch Glazer

จนกระทั่งหลายเดือนพานผ่าน (บางแหล่งข่าวบอกเป็นปีๆ) จู่ๆวันหนึ่งก็ยินยอมนัดพบเจอ รับประทานอาหารกลางวันยัง Il Cantinori, New York พูดคุยกันประมาณห้าชั่วโมง โดยผกก. Coppola ไม่ได้เอ่ยกล่าวอะไรสักอย่างเกี่ยวกับตัวหนัง ถึงอย่างนั้น Murray ก็ยินยอมตอบตกลงปากเปล่า

The whole thing felt slight, which was a little troubling. But she had a way of saying her dream wouldn’t have come true unless I did the movie. I got reeled in from way, way offshore, but Sofia’s very good on the phone, and she spent a lot of time getting me to be the guy. In the end, I felt I couldn’t let her down. You can’t ruin somebody’s dream.

Bill Murray

แต่ความหวาดเสียวระดับ ‘nerve-wracking’ ก็บังเกิดขึ้นกับผกก. Coppola เนื่องจากทีมงานไม่สามารถติดต่อเซ็นสัญญาลายลักษณ์อักษรกับ Murray แต่โปรดักชั่นจำต้องเริ่มเตรียมงานสร้าง ถ้าวันถ่ายทำเขาไม่ปรากฎตัวที่กรุง Tokyo ทุกอย่างคงจบสิ้น! พูดคุยทางโทรศัพท์กับ Wes Anderson (เคยร่วมงาน Murray เมื่อครั้น The Royal Tenenbaums (2001)) ยืนยันว่าอีกฝ่ายไม่ใช่คนผิดคำสัญญาอย่างแน่นอน … จนกระทั่งโปรดิวเซอร์โทรศัพท์มาแจ้งว่า “The Eagle has landed!” ราวกับยกภูเขาออกจากอก

การแสดงของ Murray (Johansson ให้คำเรียกว่า ‘comedy-Bill thing’) มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แถมได้รับอิสรภาพในการ ‘improvised’ แสดงสีหน้าท่าทางไม่มากไม่น้อย แต่สามารถสร้างความตลกขบขัน (Deadpan Comedy) ทำตัวเหมือนหลงที่หลงทาง ฉันมาอยู่ยังญี่ปุ่น/โรงแรมแห่งนี้ได้อย่างไรกัน??

นักวิจารณ์แทบทุกสำนักต่างยกให้เป็นบทบาทการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Murray เหมือนจะเรียบง่าย ภายนอกแทบไม่แสดงออกอะไร แต่ผู้ชมกลับสัมผัสถึงทุกสิ่งอย่างภายใน โดดเดี่ยวเปล่าเปลี่ยว เวิ้งว้างว่างเปล่า ชีวิตเต็มไปด้วยปัญหา โหยหาบางสิ่งอย่างเติมเต็มความต้องการจิตใจ และเมื่อได้พบเจอก็บังเกิดความแช่มชื่น สุขอุรา ดูมีความเป็นมนุษย์เพิ่มขึ้นมา จับต้องได้ในความจับต้องไม่ได้

Bill Murray’s acting in Sofia Coppola’s “Lost in Translation” is surely one of the most exquisitely controlled performances in recent movies. Without it, the film could be unwatchable. With it, I can’t take my eyes away. Not for a second, not for a frame, does his focus relax, and yet it seems effortless. It’s sometimes said of an actor that we can’t see him acting. I can’t even see him not acting. He seems to be existing, merely existing, in the situation created for him by Sofia Coppola.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนนหนัง 4/4 พร้อมสรรเสริญการแสดงของ Bill Murray

นักวิจารณ์ Ebert ยังชักชวนให้ผู้ชมตั้งคำถาม “Is he playing himself?” แล้วเล่าประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของ Murray ไม่เชิงว่าเป็นเพื่อนเก่า แต่แต่งงานกับหญิงสาวที่เขาเคยจีบ เลยพอรับรู้ว่าอีกฝ่ายไม่ได้มีความละม้ายคล้าย Bob Harris และเติบโตมาจากสายคอมเมเดี้ยน จึงสามารถแสดงอารมณ์ออกมาเหมือนคนปกติทั่วไป

ด้วยเหตุนี้การแสดงใน Lost in Translation (2003) จึงเป็นการสวมบทบาทตามคำแนะนำผกก. Coppola ซึ่งมีความสอดคล้องสไตล์ลายเซ็นต์ รูปแบบคอมเมเดี้ยนที่ Murray มีความโดดเด่นเฉพาะตัว ผลลัพท์ออกมาลื่นไหล ดูเป็นธรรมชาติ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างลงตัว สมบูรณ์แบบ Masterclass!

ผมเจอบทสัมภาษณ์ของ Murray แสดงความคิดเห็นต่อการทำงานผกก. Coppola ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว

Don’t let Sofia’s littleness and quietness confuse you. Sofia is made of steel. She’s tough, but she doesn’t pretend to be a man. She has a way of getting her way. She’s very polite about it. She nods her head and says, ‘You’re right, you’re right, but this is what I want to do.’ And it works. When you see her movies, you forget that she is Francis’s daughter. She has been able to reinvent what her last name represents.

Bill Murray

Scarlett Ingrid Johansson (เกิดปี 1984) นักแสดง โมเดลลิ่ง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Manhattan, New York City บิดาเป็นสถาปนิกจาก Denmark, มารดาชาว Jews อพยพจาก Poland ทำงานโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์, ตั้งแต่เด็กฉายแววด้านการร้อง-เล่น-เต้น แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก North (1994), Manny & Lo (1996), มีชื่อเสียงจาก The Horse Whisperer (1998), Ghost World (2001), โตขึ้นมีผลงาน Girl with a Pearl Earring (2003), Lost in Translation (2003), Match Point (2005), The Prestige (2006), รับบท Black Widow ในจักรวาล Marvel, Lucy (2014), Ghost in the Shell (2017) ฯ

รับบท Charlotte หญิงสาวสวย เพิ่งเรียนจบปรัชญา เร่งรีบแต่งงานสามี John แล้วออกเดินทางมาญี่ปุ่นเพื่ออยู่เคียงข้าง แต่วันๆเขากลับยุ่งวุ่นอยู่แต่การทำงาน แทบไม่หลงเหลือเวลาร่วมทำกิจกรรมใดๆ จึงเกิดความโดดเดี่ยวอ้างว้าง ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ จนกระทั่งได้พบเจอกับ Bob Harris พูดคุยถูกคอ กลายเป็นเพื่อนสนิทสนม เติมเต็มความต้องการของจิตวิญญาณ

ผกก. Coppola ประทับใจการแสดงของ Johansson จากภาพยนตร์ Manny & Lo (1996) ให้คำนิยาม “a cute little girl with that husky voice” ทีแรกก็แอบหวาดหวั่นเรื่องอายุ ขณะนั้นอีกฝ่ายเพิ่งย่าง 17 ปี (ตัวละครอายุประมาณ 22 ปี) แต่เมื่อได้นัดพบเจอ พูดคุยสนทนา ก็ตัดสินใจเลือกเธอโดยไม่มีการออดิชั่นด้วยซ้ำ

She makes you feel like she has been around the world. She has a coolness and a subtlety that you would not expect. You feel like she’s seen a lot. She can convey an emotion without saying very much at all.

Sofia Coppola

ผมว่าผู้ชมสมัยนี้คงรู้สึกแปลกๆกับการแสดงเงียบๆเหงาๆของ Johansson เพราะมีภาพจำ Black Widow จากจักรวาล Marvel รวมถึงบทบาทตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2010s มักเล่นเป็นหญิงแกร่ง ร่างกายเข้มแข็ง ต่อสู้เผชิญหน้าบุรุษเพศได้อย่างไม่กลัวเกรง … ก่อนหน้าที่เธอจะโด่งดังระดับ Superstar บทบาทส่วนใหญ่มักสวยใส หน้าอกใหญ่ ขายความเซ็กซี่ โรแมนติก ทำให้หนุ่มๆตกหลุมรักใคร่

บทบาทของ Johansson ยังถูกกลบเกลื่อนด้วยการแสดงของ Murray ที่มีความแปลกพิศดารเฉพาะตัว ทำให้เธอดูเหมือนหญิงสาวธรรมดาทั่วๆไป เต็มไปด้วยข้อสงสัยกับชีวิต (เรียกว่า Introvert ก็ได้กระมัง) เหมือนผู้สูงวัยในร่างสาวแรกรุ่น นี่ฉันคิดถูกแล้วรึเปล่าที่เร่งรีบแต่งงาน วันๆทำได้เพียงนั่งเหม่อมองนอกหน้าต่าง และสงบเงียบงันในวงสนทนาที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานครึกครื้นเครง

You can see the film is very personal. Sofia bleeds through the character — her ironic sense of humor, that feeling of being lost and disillusioned and trying to figure out what direction you want to take with your life.

Scarlett Johansson

ความเห็นของนักวิจารณ์บางคนบอกว่า Johansson หน้าตาเหมือนผกก. Coppola ผมก็ว่าละม้ายคล้ายกันอยู่นะ (นั่นอาจคือเหตุผลที่ Coppola ตัดสินใจเลือก Johansson โดยไม่ต้องผ่านการทดสอบหน้ากล้อง) ซึ่งนั่นอาจคือเหตุผลเดียวกับอดีตสามี Spike Jonze เมื่อตอนสรรค์สร้าง Her (2013) พยายามเรียกร้องขอให้ Johansson ช่วยเล่นบทบาทตัวตายตัวแทนอดีตภรรยาคนนี้


ถ่ายภาพโดย Lance Acord (เกิดปี 1964) ตากล้องสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Fresno County, California โตขึ้นเข้าเรียนถ่ายภาพยัง San Francisco Art Institute เข้าสู่วงการโดยเป็นขาประจำ Bruce Weber ถ่ายทำสารคดี โฆษณา Music Video โด่งดังจากบทเพลง Weapon of Choice ของ Fatboy Slim กำกับโดย Spike Jonze คว้ารางวัล MTV Award: Best Cinematography, สำหรับภาพยนตร์เริ่มจาก Buffalo ’66 (1998), Being John Malkovich (1999), Adaptation (2002), Lost in Translation (2003), Marie Antoinette (2006), Where the Wild Things Are (2009) ฯ

ช่วงปีนั้นกล้องวีดิโอ (Digital Video, DV) กำลังเริ่มได้รับความนิยมแพร่หลาย แต่ผกก. Coppola ยังตัดสินใจเลือกใช้กล้องฟีล์มที่ไวต่อแสง (สำหรับบันทึกภาพในสถานที่ที่มีแสงสว่างน้อย ยามค่ำคืนตามท้องถนนกรุง Tokyo) เพราะรู้สึกว่ามันสามารถมอบสัมผัสโรแมนติก คลาสสิก คล้ายๆความทรงจำ รวมถึงความรู้สึกเหินห่าง โดดเดี่ยวอ้างว้าง (Isolation) ได้มากกว่า

We were encouraged to consider DV, but I wanted the movie to feel romantic…like a memory. Film does that … It has the nostalgic and romantic feeling of the past; that’s how I remember things, through film and photos. Film gives a little bit of a distance, which feels more like a memory to me. Video is more present tense, there isn’t that stepping back.

Sofia Coppola

สำหรับคนช่างสังเกตจะพบว่าซีเควนซ์ในโรงแรม มักมีบรรยากาศสงบนิ่งเงียบ กล้องตั้งอยู่กับที่ ไม่มีการขยับเคลื่อนไหว (มากสุดคือแพนนิ่ง), แต่เมื่อไหร่ออกมาภายนอก จะถ่ายทำโดยใช้ Hand-Held Camera เคลื่อนติดตามนักแสดงบนท้องถนน ผู้คนมากมาย ตึกระฟ้าสูงใหญ่ สีสันสดใส กรุง Tokyo เต็มไปด้วยความวุ่นๆวายๆ

ความที่หนังได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรเพียงแค่ถ่ายทำในโรงแรม Park Hyatt Tokyo (ไม่เกินตีหนึ่ง เพื่อไม่ให้รบกวนแขกเหรื่อเข้าพัก) สถานที่อื่นๆ New York Bar, Shibuya Crossing, Subway ฯ จึงต้องใช้วิธีการแบบกองโจร (guerrilla unit) หรือคำเรียกว่า ‘run-and-gun’ ด้วยทีมงานขนาดเล็ก อุปกรณ์น้อยชิ้น พึ่งพาแสงธรรมชาติทั้งหมด และแผนการถ่ายทำจะปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์แต่ละวัน (ทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ รวมระยะเวลา 27 วัน ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ค.ศ. 2002)


ก่อนอื่นขอกล่าวถึง Park Hyatt Hotel โรงแรมหรูในเครือ Hyatt Hotels Corporation ก่อสร้างสาขาแรกเมื่อปี ค.ศ. 1980 ณ Chicago, Illinois มีชื่อเสียงด้านการให้บริการ ความหรูหรา ราคาแพง ปัจจุบันค.ศ. 2023 มีจำนวน 33 แห่งทั่วโลกรวมถึง Park Hyatt Bangkok ตั้งอยู่ Central Embassy ใกล้ๆสถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต

สำหรับ Park Hyatt Tokyo คือโรงแรมในเครือแห่งที่สองที่เปิดให้บริการ สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1995 จำนวน 53 ชั้น 1,024 ห้องนอน และ 29 ห้องสูท ตั้งอยู่ย่าน Shinjuku เหม่อมองออกไปพบเห็นวิวภูเขาไฟฟูจิ

ด้วยความที่ Johansson เพิ่งอายุย่างเข้า 17 ปี เลยยังไม่เคยถ่ายภาพเซ็กซี่ เปลือยกาย หรือบั้นท้าย จึงเต็มไปด้วยความหวาดวิตกกังวล แต่ผกก. Coppola ผู้หญิงด้วยกันจึงทำการสวมใส่กางเกงในตัวนั้นเป็นแบบอย่าง และยังบอกว่าถ้าคิดว่าไม่ไหวจะไม่ถ่ายฉากนี้ก็ได้ … นั่นทำให้ Johansson รู้สึกปลอดภัยไร้กังวล แถมพูดแซวกับตากล้อง Lance Acord ถ้าถ่ายออกมาไม่สวย อาชีพนายจบสิ้นแน่

I don’t have a really good reason for it. It’s just how I wanted to start the movie. I liked having a hint of the character — a sweet, young girl waiting around in her hotel room — and then go into the story.

Sofia Coppola

แวบแรกที่ผมเห็นบั้นท้ายของ Johansson ชวนนึกถึงแก้มก้น Brigitte Bardot จากภาพยนตร์ Le Mépris (1963) ซึ่งเหตุผลผกก. Jean-Luc Godard เพื่อล่อหลอกโปรดิวเซอร์ (และผู้ชม) ว่าเป็นหนังขายความเซ็กซี่ของนักแสดง แต่เรื่องราวจริงๆเกี่ยวกับรักๆเลิกๆ ใกล้ถึงวันร่ำจากลาสามี-ภรรยา Godard-Karina

มีนักวิจารณ์ นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์จำนวนมากพยายามครุ่นคิดหาเหตุผลของ Opening Shot บ้างว่าเป็นการท้าทายแนวคิด Mainstream vs. Independent Film เพราะช็อตลักษณะนี้มักมีเป้าหมายขายเรือนร่าง ความเซ็กซี่นักแสดง (แนวคิด Mainstream) แต่เรื่องราวแท้จริงกลับมิได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องใดๆ ทำความคาดหวังผู้ชมลงโดยสิ้นเชิง

Coppola’s intention with this opening shot appears to be to defy taboos and to undermine expectations surrounding what might be considered the ‘money shot’ in more traditionally exploitative cinema.

นักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ Wendy Haslem 

การเริ่มต้นหนังด้วยภาพช็อตนี้ เชื่อว่าอาจทำให้หลายคนตกอยู่ในอาการอ้ำๆอึ้งๆ ‘Lost in Translation’ พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ไม่รู้มันจะสื่อความหมายอะไร แถมยังแช่ค้างภาพนานกว่า 36 วินาที ไม่ว่าผู้ชมเพศไหน ย่อมเกิดความอึดอัด กระอักกระอ่วน นี่คือแนวคิดของ ‘male gaze’ สำหรับท้าทายสามัญสำนึกจิตใจ

[this shot] lasts so long as to become awkward—forcing the audience to become aware of (and potentially even question) their participation in the gaze.

นักวิชาการ Todd Kennedy

ปฏิกิริยาของ Bob ระหว่างโดยสารรถ Taxi จากสนามบินสู่โรงแรม Park Hyatt Tokyo เริ่มต้นสลึมสลือ ง่วงหงาวหาวนอน (อาการ ‘jet lag’) พอสัปหงกตื่นขึ้นมา พบเห็นทิวทัศน์ Tokyo ก็เกิดอาการตกตะลึง อึ้งทึ้ง รำพันเบาๆ ‘Oh My God’ ก่อนต้องขยี้ตาเมื่อพบเห็นป้ายโฆษณาของตนเอง และช็อตสุดท้ายไฟนีออนข้อความ 三千里薬品 อ่านว่า Sanzenri yakuhin แปลว่า 3000 Pharmaceutical (ร้านขายยาสามพัน) มีลูกเล่นที่ละลานตา เหมือนการสะกดจิต ราวกับต้องมนต์

สำหรับ Charlotte จะเริ่มต้นตรงกันข้ามกับ Bob เข้าพักอาศัยโรงแรม Park Hyatt Tokyo ก่อนหน้าหลายวัน แต่เพราะสามีเอาแต่ยุ่งวุ่นกับการทำงาน จนไม่หลงเหลือเวลาว่างคอยเอาใจใส่ ปล่อยเธอให้เหงาหงอย เศร้าซึม ราวกับนกในกรง ปลาในโถ นั่งอยู่ริมหน้าต่าง เหม่อมองกรุง Tokyo ช่างกว้างใหญ่

เมื่อปี ค.ศ. 1980, Francis Ford Coppola เดินทางสู่ญี่ปุ่นเพื่อถ่ายทำโฆษณา Suntory Whiskey ร่วมกับ Akira Kurosawa (ขณะนั้นกำลังถ่ายทำ Kagemusha (1980)) ได้รับค่าจ้างวันละ $30,000 เหรียญ! ไม่แน่ใจว่าครั้งนั้นบุตรสาว Sofia Coppola ร่วมออกเดินทางมาด้วยไหม แต่นั่นคือแรงบันดาลใจซีเควนซ์ถ่ายทำโฆษณา Suntory Whiskey (แต่ท่าทางของ Murray ออกไปทาง The Godfather (1972))

LINK: https://www.youtube.com/watch?v=oly9Ix8f-ZM

แซว: แม้ว่า Suntory Whiskey ชอบนำนักแสดง Hollywood มาถ่ายทำสป็อตโฆษณาที่ญี่ปุ่น อาทิ Lee Van Cleef, Sammy Davis Jr., Sean Connery, Quentin Tarantino, George Clooney ฯ แต่ก็ไม่มีใครทำให้วิสกี้ยี่ห้อนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกมากกว่า Bill Murray

เกร็ด: ในโอกาสครบรอบร้อยปี Suntory Whiskey เมื่อปี ค.ศ. 2023 ผกก. Coppola ได้รับโอกาสถ่ายทำสป็อตโฆษณาจริงๆ (ไม่ใช่แบบ Lost in Translation ที่เพียงอ้างอิงถึงในหนัง) ซึ่งมีการนำเอาฟุตเทจเก่าๆมาแปะติดปะต่อ และแนะนำพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ Keanu Reeves (Reeves ก็เคยมาแสดงโฆษณา Suntory Whiskey เมื่อปี ค.ศ. 1992)

LINK: https://www.youtube.com/watch?v=DlzqmIWWEfI

Bill Murray สนทนากับลิงชิมแพนซีระหว่างไปออกรายการ Saturday Night Live (1975) น่าเสียดายไม่มีคลิปดังกล่าวใน Youtube และหลังจากนี้จะมีการเปลี่ยนช่องไปพบเห็นรถตำรวจพุ่งข้ามเนินดิน นั่นมาจากภาพยนตร์อีกเรื่อง Car 54, Where Are You? (1994) แต่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ Murray เลยนะครับ

ช่วงครึ่งแรกของหนังจะเต็มไปด้วยการสื่อสารผิดพลาด ‘Lost in Translation’ หนึ่งในนั้นที่หลายคนอาจหัวเราะขบขำกลิ้งก็คือ “Lip my stocking” ทีแรกผมก็นึกว่าให้ใช้ริมฝีปากจุมพิต (Lip) หรือลิ้นเลีย (Lick) ก่อนเฉลยคำที่ถูกต้องคือ “You want me to rip your stocking?” ซึ่งแปลว่าฉีกกระชากถุงน่อง ไม่รู้เหมือนกันว่าทำแล้วจะเกิดอารมณ์ทางเพศอย่างไร (มันเป็นรสนิยมเฉพาะตัวของชาว Fetishism ในหนังโป๊ญี่ปุ่นจะพบเห็นบ่อย)

เพราะยังนอนไม่หลับจากอาการ ‘jet lag’ ค่ำคืนดึกดื่น Bob จึงตัดสินใจมาออกกำลังกาย เสียเหงื่อ เผื่อว่าจะได้นอนหลับสนิท แต่เครื่องวิ่งดันทำงานผิดปกติ ไม่รู้จะหยุดยับยั้งยังไง ตะโกนขอความช่วยเหลือก็ไม่มีใครอยู่แถวนั้น … ความเจริญทางเทคโนโลยีทำให้ชีวิตมีความสะดวก สุขสบายก็จริง แต่ใช่ว่ามันจะยอดเยี่ยมสมบูรณ์แบบ ก็เหมือนกับมนุษย์ย่อมต้องมีโอกาสทำสิ่งผิดพลาด

จริงๆฉากนี้ยังสามารถมองว่าคือการสื่อสารไม่เข้าใจ (Lost in Translation) ระหว่าง Bob กับเครื่องออกกำลังกาย เพราะเขาอาจกดปุ่มผิดๆถูกๆ อ่านเมนูภาษาญี่ปุ่นไม่ออก มันเลยเร่งความเร็วขึ้นสูงสุด

ผมไม่ได้มีความสนใจในซีดี A Soul’s Search (นี่บอกใบ้ใจความหนังเลยนะ) ของ Michael Rohatin ใครสนใจก็ลองมองหาดูเองนะครับ อาจยังพอมีขายตามร้านมือสอง

Do you ever wonder what your purpose in life is? This book is about finding your soul’s purpose or destiny. Every soul has its path. Sometimes that path is not clear. The Inner Map Theory is an example of how each soul begins with an imprint, all compacted into a pattern that has been selected by your soul before you’ve even gotten here.

Anna Faris รับเชิญในบท Kelly นักแสดง Hollywood เดินทางมาโปรโมทภาพยนตร์สมมติ Midnight Velocity (ดูจากชื่อหนังอารมณ์ประมาณขับรถซิ่ง Speed (1994)) นำแสดงร่วมกับ Keanu Reeves (มีการกล่าวอ้างถึงภาพยนตร์ Little Buddha (1993))

แม้ทั้งซีเควนซ์นี้จะเป็นการสมมติขึ้นทั้งหมด และตัวละครของ Faris ก็มีความ ‘hyper’ ที่ตรงกันข้ามกับ Johansson (และผกก. Coppola) แต่เหตุการณ์ดังกล่าวคาดว่าต้องการอ้างอิงถึงตอนผกก. Coppola เดินทางมาโปรโมทภาพยนตร์ The Virgin Suicides (1999) ณ สถานที่แห่งนี้กระมัง

ภาพยนตร์เรื่องนี้คือ Tōmei Tengu (1960) แปลว่า Invisible Demon ผมไม่เคยรับชมเหมือนกัน แต่ดูตัวอย่างชวนให้นึกถึง The Invincible Man ในคราบซามูไร ซึ่งสามารถสะท้อนถึง Bob และ Charlotte ราวกับไม่มีตัวตนเมื่อมาพำนับอาศัยอยู่ยังกรุง Tokyo

ครั้งแรกพบเจอกันในลิฟท์ ไม่ได้มีโอกาสพูดคุยทักทาย, ครั้งสองพบเจอในบาร์โรงแรม แต่ฝ่ายหญิงห้อมล้อมอยู่กับเพื่อนของสามี, และนี่ครั้งที่สาม ค่ำคืนดึกดื่นพวกเขาต่างยังนอนไม่หลับ จึงมีโอกาสพูดคุยตามประสาคนแปลกหน้า แต่สังเกตว่าเบื้องหลังยามค่ำคืนกรุง Tokyo ถูกทำให้เบลอหลุดโฟกัส ราวกับโลกทั้งใบมีเพียงเราสองคน

ตัวจริงเสียงจริง Fumihiro Hayashi หรือที่ใครๆเรียกว่า Charlie Brown เพื่อนชาวญี่ปุ่นของผกก. Coppola ที่เป็นแรงบันดาลใจ จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ Lost in Translation (2003)

เกร็ด: Charles “Charlie” Brown คือตัวการ์ตูนได้รับฉายา ‘Lovable Loser’ จากการ์ตูนแถบ (Comic Strip) เรื่อง Peanuts ออกแบบโดย Charles M. Schulz ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ Sunday Newspaper มีการกล่าวถึงครั้งแรก 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 ก่อนปรากฎตัวครั้งแรก 2 ตุลาคม ค.ศ. 1950 น่าเสียดายที่หลังจาก Schulz เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 2000 การ์ตูนเรื่องนี้ก็ไม่ได้รับการสานต่อจากใคร

คาราโอเกะ (Karaoke) มาจากภาษาญี่ปุ่น คาระ (空 หรือ カラ) หมายถึง ว่างเปล่า, โอเกะ (オーケ) ย่อจากคำว่า โอเกซูโตระ (オーケストラ) หรือออร์เคสตรา, คือความบันเทิงชนิดหนึ่งในรูปแบบเพลงบรรเลง หรือบทเพลงที่ปิดเสียงของนักร้องเอาไว้ เพื่อให้ผู้ใช้งานขับร้องเพลงนั้นผ่านไมโครโฟน จุดเริ่มต้นมาจากประเทศญี่ปุ่น ก่อนแพร่ขยายไปทั่วโลก

เกร็ด: Daisuke Inoue ผู้ได้ชื่อว่าประดิษฐ์เครื่องร้องเพลงคาราโอเกะ เมื่อช่วงต้นทศวรรษ 70s เคยได้รับยกย่อง “Most Influential Asians of the Century” จากนิตยสาร TIME และคว้ารางวัล Ig Nobel Peace Prize ประจำปี 2004

ซีเควนซ์ขับร้องคาราโอเกะ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยน/แบ่งครึ่งของหนัง หลังจากทั้ง Bob และ Charlotte หน้าบึ้งตึง โดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว ตัวคนเดียวในกรุง Tokyo หลังมีโอกาสรับรู้จัก Charlie และผองเพื่อน พามาดื่มด่ำ มึนเมามาย ตะโกนโหวกแหวก ขับร้องคาราโอเกะ พานผ่านประสบการณ์เฉียดตาย(จากยากูซ่า) ก็ทำให้ทั้งสองปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อประเทศญี่ปุ่น สามารถเปิดหัวใจ ค่อยๆปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรม ไม่รู้สึกเหงาหงอยเศร้าซึมอีกต่อไป

หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมขับร้องคาราโอเกะ Bob และ Charlotte ขึ้นรถแท็กซี่กลับโรงแรม ไม่รู้พวกเขากำลังข้ามสะพานอะไร แต่มันคือสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง ข้ามผ่านอคติเคยมี สู่อีกฟากฝั่ง โลกใบใหม่ พบเห็นกรุง Tokyo ที่แตกต่างออกไป (จากครึ่งแรกของหนัง)

และมีอีกหลายช็อตระหว่างนั่งรถแท็กซี่ ที่ล้อกับตอนต้นเรื่องเมื่อ Bob เดินทางมาถึงกรุง Tokyo เพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่าง

  • ครึ่งแรก Bob รู้สึกแปลกแยก ไม่คุ้นชิน (alienated) เหมือนมีพลังงานลึกลับถาโถมเข้าใส่ (overwhelmed) … คืออาการ ‘jet lag’ และ ‘cultural shock’
  • ครึ่งหลังเมื่อเริ่มสามารถยินยอมรับ ปรับตัว เปลี่ยนมาถ่ายภาพ Charlotte พบเห็นกรุง Tokyo มีความงดงาม เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์อันน่าหลงใหล

จริงๆแล้ว Park Hyatt Tokyo สามารถมองเห็นทิวทัศน์ภูเขาไฟ Fuji แต่กลับไม่มีสักช็อตถ่ายจากภายในโรงแรม จนกระทั่ง Bob กำลังตีกอล์ฟ เหมือนจะเล็งไปยังยอดเขา … Mount Fuji เปรียบดั่งจิตวิญญาณของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งภายหลังค่ำคืนคาราโอเกะ Bob จึงได้พบเห็นความงดงามของดินแดนแห่งนี้

Bob และ Charlotte กำลังนอนรับชม La Dolce Vita (1960) ภาพยนตร์แห่งความล่องลอย เรื่อยเปื่อย เต็มไปด้วยกิจกรรมบ้าคลั่งสุดเหวี่ยง สำหรับค้นหาเป้าหมายชีวิต … เป็นอีกภาพยนตร์ที่ผกก. Coppola รับอิทธิพลมาไม่น้อยทีเดียว

การสนทนาบทเตียงนอนระหว่าง Bob กับ Charlotte ไม่ได้จบลงด้วยความโรแมนติก อีโรติก หรือการร่วมเพศสัมพันธ์ แต่คือช็อตนี้ที่

  • Bob เบือนหน้าหนีฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการให้เกียรติ ไม่ได้ต้องการล่วงเกิน (แค่เอามือจับเท้าเอาไว้) ส่วนท่านอนแข็งๆ ราวกับขอนไม้ ต้นไม้ใหญ่ ไม่มีอะไรสามารถสั่นคลอนคุณธรรมประจำใจ
  • ท่านอนของ Charlotte ดูราวกับทารกในครรภ์ หันเข้าหา Bob คำแนะนำของเขาราวกับเปิดมุมมอง/ให้กำเนิดชีวิตใหม่แก่เธอ

วันถัดมาถึงคราว Charlotte ได้พบเห็นภูเขาไฟ Fuji ระหว่างนั่งรถไฟชินคันเซ็นมุ่งสู่ Kyoto และสถานที่แห่งนั้นทำให้พบเจอคู่รักแต่งงาน นั่นคืออีกสิ่งที่ทำให้มุมมองเกี่ยวกับชีวิตปรับเปลี่ยนแปลงไป

นี่คือรายการ Matthew’s Best Hit TV แต่ไม่ได้นำออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องไหน เพียงใช้ในภาพยนตร์เท่านั้น ซึ่งการที่ Bob ยินยอมเข้าร่วมบันทึกเทป ถือเป็นการก้าวออกจาก ‘safe zone’ ทำในสิ่งแปลกใหม่ ท้าทาย พิธีกร Matthew Smellick ก็มีความสุดเหวี่ยง บ้าบอคอแตกชิบหาย … แม้แต่ Bob กลับมาโรงแรมก็อดรนทนดูตนเองไม่ได้

แม้นี่จะเป็นยามเช้า พระอาทิตย์เพิ่งโผล่พ้นขอบฟ้า แต่กลับมอบสัมผัสเหมือนยามเย็น แสงสว่างใกล้จะสิ้นสุดลง หรือคือ Bob กำลังเตรียมตัวเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา … ผมมองเหตุผลที่หนังเลือกใช้ช่วงเวลายามเช้า (แทนที่จะเป็นพระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า) เพื่อสื่อถึงการกำลังจะเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้งของ Bob หลังเสร็จสิ้นภารกิจ ณ กรุง Tokyo ความทรงจำในช่วงเวลาสั้นๆนี้ จักตราฝังอยู่ในความทรงจำตราบจนวันตาย

จริงๆแล้วมันมีเสียงกระซิบกระซาบ พูดคุยสนทนาครั้งสุดท้ายระหว่าง Bob กับ Charlotte แต่ดันเกิดปัญหาเครื่องบันทึกเสียง (ผู้คนพลุกพร่าน ส่งเสียงดังแซ็งแซ่) จึงไม่มีใครรับรู้แม้แต่ผกก. Coppola ก็ให้ Murray ทำการดั้นสด ทีแรกจะให้บันทึกเสียงใหม่ ไปๆมาๆก็ช่างแม้ง ทำแบบภาพยนตร์ The Quiet Man (1952) ไม่มีใครรับรู้ว่า John Wayne กระซิบกระซาบอะไรกับ Maureen O’Hara ปล่อยอิสระผู้ชมจิ้นไปต่างๆนานา

แซว: มันช่างเป็นความ Ironic ยิ่งนัก! ที่หนังได้สูญเสียเสียงสนทนาในฉากจบนี้ สอดคล้องกับชื่อหนัง Lost in Translation

การกอดจูบร่ำลาระหว่าง Bob กับ Charlotte ชวนให้ผมนึกถึงหนังหลายๆเรื่องของ Éric Rohmer ความแนบแน่นชิดกายระหว่างชาย-หญิง ไม่จำต้องสื่อถึงเรื่องเพศ(สัมพันธ์) สามารถใช้แสดงออกถึงความสนิทแนบแน่น รักบริสุทธิ์ สื่อสารภาษากาย … นี่ก็เป็นอีกสิ่งที่โลกปัจจุบัน (เพราะคนสมัยนี้มักมองการสัมผัสจับต้องต่างเพศ คือลักษณะล่วงละเมิด ‘sexual harassment’) กำลังสูญเสียวิธีสื่อสารดังกล่าว (Lost in Translation)

ตัดต่อโดย Sarah Flack สัญชาติอเมริกัน เริ่มต้นจากเป็นผู้ช่วยโปรดักชั่นภาพยนตร์ Kafka (1991) แล้วผันตัวทำงานตัดต่อ ก่อนกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Sofia Coppola ร่วมงานกันตั้งแต่ Lost in Translation (2003), Marie Antoinette (2006), Somewhere (2010), The Beguiled (2017) ฯ

หนังไม่ได้มีโครงสร้างเรื่องราวที่จับต้องได้ ส่วนใหญ่เป็นการแปะติดปะต่อ ร้อยเรียงเหตุการณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน นำเสนอผ่านมุมมองสองคนเหงา Bob Harris และ Charlotte แต่เรายังสามารถจัดแบ่งโครงสร้างคร่าวๆออกได้เป็นครึ่งแรก-ครึ่งหลัง ก่อนและหลังทั้งสองได้พบเจอกัน

  • ครึ่งแรก: เรื่องราวของ Bob Harris และ Charlotte
    • Bob เดินทางมาถึงญี่ปุ่น เข้าพักยัง Park Hyatt Tokyo ค่ำคืนนี้นอนไม่หลับเพราะ ‘jet lag’ เลยลงมานั่งดื่มยังบาร์โรงแรม
    • Charlotte พักอาศัยในโรงแรมกับสามี
    • เช้าวันถัดมา Bob เดินทางไปถ่ายทำโฆษณา Suntory Whisky
    • Charlotte เดินทางไปวัดวา กลับมาตกแต่งห้อง พบเห็นสามีเอาแต่ยุ่งวุ่นการทำงาน
    • Bob นั่งเหงาอยู่ในห้องพัก ก่อนได้รับบริการพิเศษ
    • วันถัดมา Bob เดินทางไปถ่ายแบบโฆษณาอีกครั้ง
    • ยามค่ำคืน Bob เลยมานั่งดื่ม พบเห็น Charlotte ก็นั่งร่วมโต๊ะกับสามีและเพื่อนร่วมงาน
    • วันว่างๆของ Charlotte หลังได้พบเจอ Kelly นักแสดง Hollywood ที่เป็นคนรู้จักของสามี เข้าพักยัง Park Hyatt Tokyo
    • ค่ำคืนนั้น Bob และ Charlotte ลงมานั่งดื่มในบาร์ และมีโอกาสพูดคุยสนทนา
    • วันถัดมา Charlotte ยังคงออกเตร็ดเตร่ในกรุง Tokyo, ค่ำคืนดื่มกินร่วมกับ Kelly และเช้าวันถัดมาสามีจำต้องออกเดินทางไปทำงานต่างจังหวัด
  • ครึ่งหลัง: หลังจากที่ Bob Harris และ Charlotte ได้พบเจอกัน
    • Bob และ Charlotte พบเจอกันยังสระว่ายน้ำ ค่ำคืนนั้นจึงชักชวนกันไปท่องเที่ยงราตรี
    • เต้นระบำ ดื่มกิน วิ่งหลบหนีอันธพาล ขับร้องคาราโอเกะ ก่อนพากลับห้องพัก
    • หลังจากตีกอล์ฟ Bob พา Charlotte มารับประทานซูชิ เข้าโรงพยาบาล ท่องเที่ยวบาร์เปลือย ก่อนหวนกลับมาโรงแรมพบเห็น Kelly กำลังร้องเพลงในบาร์
    • ค่ำคืนนั้นนอนไม่หลับ Charlotte จึงขอเข้าห้องพักของ Bob พูดคุยถึงเบื้องหลังความเป็นมา
    • วันถัดมา Charlotte เตร็ดเตร่ไปถึงวัดแห่งหนึ่ง พบเห็นหนุ่ม-สาวเข้าพิธีแต่งงาน
    • Bob ตัดสินใจตอบรับคำเชิญเข้าร่วมอัดรายการโทรทัศน์
    • ค่ำคืนนั้นโดยไม่รู้ตัว Bob เกี้ยวพานักร้องในบาร์โรงแรม ก่อนจบลงที่ห้องพัก
    • Charlotte ชักชวน Bob ไปรับประทานสุกี้ยากี้
    • ค่ำคืนนั้นมีการซักซ้อมไฟไหม้
    • และวันสุดท้ายของ Bob ตัดสินใจร่ำลา Charlotte และเดินทางกลับบ้าน

หลายต่อหลายครั้งที่หนังตัดสลับไปมาระหว่าง Bob กับ Charlotte ทำให้เกิดสัมผัสหลงเลือนกาลเวลา ไม่รู้วันเดือน นานเท่าไหร่พานผ่าน ล่องลอยเหมือนฝัน แต่ผมครุ่นคิดว่าผกก. Coppola ต้องการทำออกมาให้เหมือนอาการ ‘jet lag’ สับสนมึนงง ครึ่งหลับครึ่งตื่น


ในส่วนของเพลงประกอบ เป็นการผสมผสาน ‘remix’ หลากหลายแนวเพลง Dream Pop, Alternative Rock, จากศิลปินดังๆอย่าง Death in Vegas, Phoenix, Squarepusher, Sébastien Tellier, Happy End มีทั้งแต่งขึ้นใหม่ และหลายๆบทเพลงที่ผกก. Coppola ชื่นชอบและยังรับฟังอยู่ขณะนั้น

I wanted to create this sense of disassociation, of being in this kind of unfamiliar, alienating world, but discovering something there that was relevant. I want to create a very moody, kind of melancholic movement to the narrative.

Sofia Coppola

มาเริ่มกันที่บทเพลงแรก Girls (2002) แต่งโดย Tim Holmes & Richard McGuire บรรเลงโดยวง Death in Vegas ประกอบอัลบัม Scorpio Rising (ได้แรงบันดาลใจจากโคตรหนังสั้นแนวทดลอง Scorpio Rising (1964) กำกับโดย Kenneth Anger)

บทเพลงนี้ดังขึ้นระหว่าง Bob ขึ้นแท็กซี่จากสนามบินสู่โรงแรม Park Hyatt Tokyo มอบสัมผัสล่องลอยเหมือนฝัน (dreamlike) พบเห็นแสงสีสัน ป้ายโฆษณา ตึกระฟ้าสูงใหญ่ยามค่ำคืนของกรุง Tokyo ช่างมีความงดงาม เหนือจริง เกิดความรู้สึกไม่คุ้นชิน (alienated) ราวกลับมีพลังงานลึกลับถาโถมเข้าใส่ (overwhelmed)

หนึ่งในบทเพลงแห่งความเหงา Tommib (2001) แต่ง/บรรเลงโดย Tom Jenkinson แห่งวง Squarepusher, ดังขึ้นระหว่าง Charlotte นั่งเหม่อมองออกไปนอกหน้าต่าง กรุง Tokyo ช่างกว้างใหญ่ไพศาล แต่ทำไมฉันกลับรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง ราวกับถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว

มีหลากหลายบทเพลงที่สาวผมแดง Catherine Lambert ชาวฝรั่งเศส ขับร้องในบาร์โรงแรมมีทั้งหมด 4 เพลง ประกอบด้วย

  • ค่ำคืนแรกที่ Bob เดินทางมาถึงกรุง Tokyo ขับร้องบทเพลง The Thrill Is Gone (1958) แต่งโดย Roy Hawkins & Rick Darnell, ต้บฉบับขับร้องโดย Sarah Vaughan
    • I’m in your arms
      And you are kissing me,
      But there seems to be
      Something missing
      From your kissing.
    • คำร้องบทเพลงนี้บรรยายความรู้สึกของ Bob เมื่อเดินทางมาถึงยังกรุง Tokyo ทำให้บางสิ่งอย่างขาดหายไปในชีวิต
  • Scarborough Fair/Canticle (1966) แต่ง/ขับร้องโดย Simon & Garfunkel
    • Are you going to Scarborough Fair?
      Parsley, sage, rosemary, and thyme
      Remember me to one who lives there
      She once was a true love of mine
  • You Stepped Out of a Dream (1940) แต่งทำนองโดย Nacio Herb Brown, ขับร้องโดย Gus Kahn, ต้บฉบับคือส่วนหนึ่งของหนังเพลง Ziegfeld Girl (1941) ขับร้องโดย Tony Martin
    • You stepped out of a dream
      You are too wonderful to be what you seem!
      Could there be eyes like yours,
      Could there be lips like yours
      Could there be smiles like yours,
      Honest and truly?
      You stepped out of a cloud
      I want to take you away, away from the crowd
      And have you all to myself,
      Alone and apart out of a dream,
      Safe in my heart
    • เปรียบเทียบตรงๆถึง Charlotte ก้าวออกมาจากวงสนทนาของสามีและ Kelly เพื่อมาพูดคุย นัดหมายพบเจอกับ Bob
  • Midnight at the Oasis (1973) แต่งโดย David Nichtern, ต้นฉบับขับร้องโดย Maria Muldaur
    • Midnight at the oasis
      Send your camel to bed
      Shadows painting our faces
      Traces of romance in our heads
      Heaven’s holding a half-moon
      Shining just for us
      Let’s slip off to a sand dune, real soon
      And kick up a little dust
    • นี่เป็นบทเพลงที่สาวผมแดงขับร้องส่วนตัวให้กับ Bob ยามเช้าหลังเสร็จกามกิจยามค่ำคืน ดูเหมือนพี่แกจะเมามากจนไม่รับรู้ตัวเสียด้วยซ้ำ

ในร้านคาราโอเกะ ก็มีการขับร้องหลากหลายบทเพลงเช่นกัน อาทิ

  • God Save the Queen (1977) แต่ง/ขับร้องโดยวง Sex Pistols เป็นแนว Punk Rock เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี (Silver Jubilee) ของพระราชินี Queen Elizabeth II เมื่อปี ค.ศ. 1977
    • God save the queen
      The fascist regime
      They made you a moron
      A potential H bomb
    • God save the queen
      She’s not a human being
      and There’s no future
      And England’s dreaming
    • นี่คือบทเพลงที่ Fumihiro Hayashi หรือที่ใครๆเรียกว่า Charlie Brown เพื่อนสนิทตัวจริงๆของผกก. Coppola ขับร้องคาราโอเกะได้อย่างคลุ้มคลั่ง เลยเกิดแรงบันดาลใจอยากสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้
  • (What’s So Funny ‘Bout) Peace, Love, and Understanding (1974) แต่ง/ขับร้องโดย Nick Lowe แนว Country Rock
    • As I walk through this wicked world
      Searchin’ for light in the darkness of insanity
      I ask myself, “Is all hope lost?
      Is there only pain and hatred and misery?
    • And each time I feel like this inside
      There’s one thing I wanna know
      What’s so funny ’bout peace, love and understanding? Oh-oh
      What’s so funny ’bout peace, love and understanding?
    • ในหนังขับร้องโดย Bill Murrey อย่างออกอารมณ์ เลยกลายเป็นบทเพลงรำพันชีวิตของตัวละคร ถึงความบิดเบี้ยวบนโลกใบนี้
  • Brass in Pocket (1979) แต่งโดย Chrissie Hynde & James Honeyman-Scott ต้นฉบับขับร้องโดยวงร็อค the Pretenders
    • I got rhythm, I can’t miss a beat
      I got a new Skank, so reet
      Got something, I’m winking at you
      Gonna make you, make you, make you notice
    • Gonna use my arms
      Gonna use my legs
      Gonna use my style
      Gonna use my sidestep
      Gonna use my fingers
      Gonna use my, my, my, imagination
    • Oh, ’cause I gonna make you see
      There’s nobody else here, no one like me
      I’m special (Special)
      So special (Special)
      I got to have some of your attention, give it to me
    • ในหนังขับร้องโดย Scarlett Johansson เช่นเดียวกันคือบทเพลงรำพันความรู้สึกภายในของตัวละคร(ต่อสามี)
  • More Than This (1982) แต่งโดย Bryan Ferry, ขับร้องโดย Roxy Music
    • I could feel at the time
      There was no way of knowing
      Fallen leaves in the night
      Who can say where they’re blowing?
    • As free as the wind
      Hopefully learning
      Why the sea on the tide
      Has no way of turning
    • More than this
      You know there’s nothing
      More than this
      Tell me one thing
      More than this
      Ooh there’s nothing

แซว: Bill Murray เป็นนักร้องเก่า แต่การที่เขาแสร้งว่าร้องผิดคีย์ มันช่างขบขำกลิ้ง ยียวนกวนประสาทของแท้!

หลังเสร็จกิจกรรมขับร้องคาราโอเกะ Bob และ Charlotte ขึ้นแท็กซี่กลับโรงแรม เหม่อมองสองข้างทาง (ล้อกับตอนต้นเรื่องที่ Bob เคยตื่นตาตะลึง ‘culture shock’ กับกรุง Tokyo) บทเพลงดัง Sometimes (1991) แต่งโดย Kevin Shields, บรรเลงโดย My Bloody Valentine, มีเนื้อคำร้องสะท้อนความสัมพันธ์ของทั้งคู่ (จริงๆจะมองว่า Bob กับกรุง Tokyo ก็ได้เช่นกัน)

Close my eyes, feel me now
I don’t know how you could not love me now
You will know, and her feet down to the ground
Over there, and I want true love to know
You can’t hide, oh no, from the way I feel

Turn my head into sound
I don’t know when I lay down on the ground
You will find the way it hurts to love
Never cared, and the world turned hearts to love
You will see, oh, now, oh, the way I do

You will wait, see me go
I don’t care, when your head turned all alone
You will wait, when I turn my eyes around
Overhead, when I hold you next to me
Overhead, to know, oh, the way I see

Close my eyes, feel me how
I don’t know, maybe you could not hurt me now
Here alone, when I feel down too
Over there, when I await true love for you
You can hide, oh, now, the way I do
You can see, oh, now, oh, the way I do

ในบรรดาบทเพลง Dream Pop (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Shoegaze) ที่ผมรู้สึกว่ามีความตราตรึงมากสุดของหนังก็คือ Shibuya แต่ง/บรรเลงโดย Brian Reitzell และ Roger J. Manning Jr. มอบสัมผัสล่องลอย เหมือนฝัน ราวกับอยู่สรวงสวรรค์ Charlotte ก้าวออกเดินไปอย่างไร้จุดมุ่งหมาย ผู้คนมากมาย แต่กลับไม่มีใครเข้าใจตัวเรา

I had been to Tokyo, and I knew what Sofia meant, about the way the city feels and the way you feel as a traveler — the kind of strange, floating, jet-lagged weirdness.

Brian Reitzell

ครั้งหนึ่งที่ Charlotte ออกเดินทางขึ้นรถไฟสู่ Kyoto ท่องเที่ยววัดวาอาราม พบเห็นคู่รักแต่งงานเดินผ่าน บทเพลง Alone in Kyoto แต่งโดยศิลปินดูโอ้ Air ที่เคยร่วมงานผกก. Coppola เรื่อง The Virgin Suicides (1999) แต่ฟังแล้วไม่รู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายสักเท่าไหร่ เพราะขณะนั้นเธอรับรู้จัก Bob ทำให้ค้นพบว่าไม่ได้มีแค่ฉันตัวคนเดียวบนโลกกว้างใหญ่ แม้ขณะนี้ไม่มีใครเคียงข้างกาย ก็หาได้รู้สึกเงียบเหงาหัวใจอีกต่อไป

สังเกตว่าช่วงกลางบทเพลง จะมีการบรรเลงเปียโน สลับเสียงสูง-ต่ำ นั่นคือสิ่งที่ทำให้ความโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว ได้รับการเติมเต็มจากภายใน

เหมือนว่าสาวผมแดงจะเดินทางกลับไปแล้ว ค่ำคืนสุดท้ายระหว่าง Bob กับ Charlotte เลยได้ยินบทเพลง So Into You (1976) แต่งโดย Buddy Buie, Robert Nix, Dean Daughtry, ต้นฉบับขับร้องโดย Atlanta Rhythm Section, ส่วนในหนังขับร้องโดย Mark Willms, นี่เป็นบทเพลงรำพันความรู้สึกระหว่าง Bob กับ Charlotte ได้อย่างชัดเจนที่สุด แต่ต่างฝ่ายต่างก็รับรู้ตัวว่าไม่มีทางเกินเลยเถิดไปมากกว่านี้

When you walked into the room
There was voodoo in the vibes
I was captured by your style
But I could not catch your eyes
Now I stand here helplessly
Hoping you’ll get into me

I am so into you
I can’t think of nothing else
I am so into you
I can’t think of nothing else

สำหรับ Closing Song ผมขอเลือกมาแค่บทเพลงแรกหลังการร่ำลาที่ชื่อว่า Just Like Honey (1985) แต่งโดย William Reid & Jim Reid, ขับร้องโดยวงร็อค The Jesus and Mary Chain, รำพันความรักที่ Bob มีให้กับ Charlotte เปรียบดั่งน้ำผึ้งหวานฉ่ำ น่าเสียดายตัวเขาไม่สามารถดื่มด่ำความรู้สึกนั้นได้อีกต่อไป

Listen to the girl
As she takes on half the world
Moving up and so alive
In her honey dripping beehive
Beehive
It’s good, so good, it’s so good
So good

Walking back to you
Is the hardest thing that
I can do
That I can do for you
For you

I’ll be your plastic toy
I’ll be your plastic toy
For you

Eating up the scum
Is the hardest thing for
Me to do

Just like honey

He was trapped … When you go to a foreign country, truly foreign, there is a major shock of consciousness that comes on you when you see that, “Oh God, it’s just me here.” There’s nobody, no neighbors, no friends, no phone calls—just room service.

Bill Murray กล่าวถึงตัวละคร Bob Harris

คำกล่าวของ Murray ไม่ใช่แค่อธิบายตัวละคร Bob Harris ยังเหมารวมถึงผกก. Coppola ตั้งแต่เมื่อครั้นเดินทางมาญี่ปุ่นครั้งแรกๆ และรวมถึงชีวิตของเธอขณะนั้น เต็มไปด้วยความโดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว ไม่รู้จะทำอะไรยังไง ทุกสิ่งอย่างล้วนผิดที่ผิดทาง นี่ฉันมาอยู่ยังสถานที่แห่งนี้ได้อย่างไร?

Lost in Translation (2003) นำเสนอประสบการณ์ต่างที่ต่างถิ่น ไม่คุ้นเคยชินกับสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อร่างกาย (อาการ ‘jet lag’ ทำให้นอนไม่หลับ รู้สึกกระวนกระวาย) และจิตใจ (อาการ ‘cultural shock’ ตกตะลึงต่อความแตกต่าง) จำต้องใช้เวลาสักพักใหญ่ๆถึงสามารถปรับตัว พูดคุยสื่อสาร เข้าใจสิ่งต่างๆรอบข้าง

นี่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต สภาพสังคม สิ่งแวดล้อมรอบข้าง คือสิ่งที่สามารถส่งผลกระทบต่อตัวเรา (ทั้งร่างกาย-จิตใจ) รู้สึกเหินห่าง ไม่คุ้นชิน ทำให้ค่อยๆสูญเสียอัตลักษณ์ตัวตน (Identity’s Crisis) เกิดการตั้งคำถามว่าจะโอบรับความเปลี่ยนแปลง หรือแสดงอารยะต่อต้านขัดขืน

I wanted to make the movie: to convey what I love about Tokyo and visiting the city. It’s about moments in life that are great but don’t last. They don’t go on, but you always have the memory and they have an effect on you. 

Being in a hotel, and jet-lagged, kind of distorts everything. Even little things that are no big deal feel epic when you’re in that mood. Your emotions are exaggerated, it’s hard to find your way around, it’s lonely.

Sofia Coppola

เรื่องราวของสองคนเหงา Bob และ Charlotte มีความแตกต่างตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

  • Bob ชายวัยกลางคน แต่งงานมา 25 ปี กำลังมีปัญหาวัยกลางคน (midlife crisis)
    • Charlotte หญิงสาวจบใหม่ เพิ่งแต่งงานไม่นาน แล้วเกิดความไม่แน่ใจในชีวิตคู่
  • Bob เกิดความรู้สึกแปลกแยก ไม่คุ้นชิน (alienated) เหมือนมีพลังงานลึกลับถาโถมเข้าใส่ (overwhelmed) จากสภาพแวดล้อมของกรุง Tokyo จึงพยายามหลบซ่อนตัวอยู่ภายในห้องพัก/โรงแรม
    • ผิดกับ Charlotte ราวกับถูกกักขังในห้องพัก เหม่อมองออกไปนอกหน้าต่าง รู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง (isolated) เลยออกเดินทางเรื่อยเปื่อย (wandering) ไปทั่วกรุง Tokyo

การที่ Charlotte ชักชวน Bob ให้สัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวรัตติกาล (Tokyo Nightlife) นั่นคือวิธีการทำให้พวกเขาสามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง (รวมถึงกันและกัน) โดยไม่รู้ตัวนั่นทำทั้งสองเกิดความตระหนักว่า ‘ฉันไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวบนโลกนี้’ ยังมีใครคนอื่นมองหาสิ่งทรงคุณค่าทางจิตใจมากกว่าเรือนร่างกาย

Everybody, at a certain point, is a little lost and sometimes we just find a connection to someone that helps to re-inspire or center us. And it’s something we’ll never forget.

โปรดิวเซอร์ Ross Katz

For everyone, there are those moments when you have great days with someone you wouldn’t expect to. Then you have to go back to your real lives, but it makes an impression on you. It’s what makes it so great and enjoyable.

Sofia Coppola

ความโมเดิร์น หรูหรา ตึกระฟ้าสูงใหญ่ แสงนีออนตื่นตระการตาในกรุง Tokyo เป็นเพียงความงดงามภายนอกที่จับต้องไม่ได้ ผู้คนมากมายเต็มท้องถนนไม่สามารถเติมเต็มความสุขภายใน เพียงใครคนหนึ่งที่มีความเข้าใจ สามารถให้เวลากันและกัน นั่นคือสิ่งที่ผกก. Coppola ครุ่นคิดว่านั่นคือความหมายแท้จริงของการแต่งงาน ชีวิตคู่ ครอบครัวในอุดมคติ

Sofia Coppola และ Spike Jonez พบกันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1992 ระหว่างที่เธอบังเอิญเข้าไปเยี่ยมเยือนกองถ่าย Music Video ของวง Sonic Youth ซึ่งเขาเป็นผู้กำกับ จึงมีโอกาสพูดคุยสนทนา สานสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน พัฒนากลายเป็นคู่รัก ปักหลักอาศัยอยู่ร่วมกัน ก่อนตัดสินใจสู่ขอแต่งงานเมื่อปี ค.ศ. 1999 ช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของทั้งคู่ (Coppola ขณะนั้นยุ่งวุ่นวายกับ The Virgin Suicides (1999), ส่วน Jonze ประสบความสำเร็จกับ Being John Malkovich (1999)) จากนั้นพวกเขาก็แทบไม่หลงเหลือเวลาให้กัน ท้ายที่สุดก็ตัดสินใจหย่าร้างหลังหลังเสร็จสร้าง Lost in Translation (2003) ด้วยเหตุผล “ความแตกต่างที่ไม่สามารถเข้ากันได้”

That was not the moment to be making life decisions. But we’d been together a long time, we were living together, and I wanted to move on to the next [phase of our relationship].

It was just stressful making such a big decision, because I think part of me hadn’t totally thought about it, even though we’d been together a long time. I think I had doubts, but because I was younger I wasn’t really paying attention to those [doubts]. I always tell my kids they can’t get married before they’re 30 because you have to really know who you are first. I refer to it as my practice marriage — it was fun and served its purpose for that time.

Sofia Coppola กล่าวถึงเหตุผลการแต่งงานกับ Spike Jonez ที่สุดท้ายลงเอยด้วยการหย่าร้าง

ผมอ่านเจอความคิดเห็นของนักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ อธิบายลักษณะของหนังคือ ‘Anti-Romance’ หรือ ‘Postmodern of Love’ ซึ่งมีความผิดแผกแตกต่างจากวิถีแห่งรักที่ Hollywood รวมถึงค่านิยมทางสังคมสมัยนั้นยึดถือปฏิวัติ การกอดจูบไม่ได้แปลว่าร่านราคะ ชายหญิงอยู่ร่วมห้อง/เตียงเดียวกัน ไม่ได้จำเป็นต้องร่วมเพศสัมพันธ์ เอาจริงๆนี่ไม่ใช่แนวคิดอะไรใหม่ แต่เพราะมันไม่เคยอยู่ในกระแสหลัก Lost in Translation (2003) จึงถือเป็นอุดมคติแห่งรักรูปแบบใหม่ สำหรับเติมเต็มความรู้สึกภายในจิตวิญญาณ


หนังฉายรอบปฐมทัศน์วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2003 ยังเทศกาล Telluride Film Festival สองวันถัดมาเดินทางไปยัง Venice Film Festival ไม่กี่วันถัดจากนั้นมุ่งสู่ Toronto International Film Festival และเริ่มฉายจำกัดโรงในสหรัฐอเมริกา 12 กันยายน ค.ศ. 2003 … นี่เป็นแผนการโปรโมทที่สร้างกระแสปากต่อปากได้ยอดเยี่ยมมากๆ

ในญี่ปุ่นแม้เต็มไปด้วยกระแสติดลบจากนักวิจารณ์ แต่หนังกลับทำเงินได้พอสมควร (คงเพราะผู้ชมชาวญี่ปุ่นอยากรับรู้ว่าหนังเลวร้ายดังที่ว่ากล่าวกันไหม) ผกก. Coppola พยายามอธิบายแก้ต่างถึงความเข้าใจผิด ‘Lost in Translation’ ตนเองไม่ใช่พวก Racist ทุกสิ่งอย่างในภาพยนตร์เรื่องนี้ล้วนเกิดจากความประทับใจ ‘impression’ ที่มีต่อประเทศญี่ปุ่น

I can see why people might think that but I know I’m not racist. I think if everything’s based on truth you can make fun, have a little laugh, but also be respectful of a culture. I just love Tokyo and I’m not mean spirited … I guess someone has misunderstood my intentions. It bugs me because I know I’m not racist. I think that everything you do, people could be offended by – unless you’re just trying to be nice about everyone.

Sofia Coppola

สัปดาห์แรกเข้าฉายเพียง 23 โรงภาพยนตร์ สามารถทำเงินสูงถึง $925,000 เหรียญ รวมทั้งสัปดาห์ $2.62 ล้านเหรียญ เรียกว่าใกล้จะคืนทุนสร้างอยู่แล้ว! ก่อนขยับขยายวงกว้างมากสุด 882 โรงภาพยนตร์ แถมช่วงต้นปี ค.ศ. 2004 ยังได้กระแสเข้าชิง Oscar 4 สาขา กราฟทำเงินจึงขึ้นๆลงๆเหมือนระลอกคลื่น รวมๆแล้วรายรับในสหรัฐอเมริกา $44.6 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $118.7 ล้านเหรียญ

  • Academy Award
    • Best Picture
    • Best Director
    • Best Actor (Bill Murray)
    • Best Original Screenplay ** คว้ารางวัล
  • Golden Globe Award
    • Best Motion Picture – Musical or Comedy ** คว้ารางวัล
    • Best Director
    • Best Actor – Motion Picture Musical or Comedy (Bill Murray) ** คว้ารางวัล
    • Best Actress – Motion Picture Musical or Comedy (Scarlett Johansson)
    • Best Screenplay ** คว้ารางวัล

ไม่เพียงความสำเร็จในการฉายโรงภาพยนตร์ ยอดจัดจำหน่าย DVD ยังขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มีรายงานว่าห้าวันแรกทำรายได้จากการเช่า-ยืม (rental) กว่า $5 ล้านเหรียญ, สัปดาห์แรกขายแผ่นได้กว่าล้านก็อปปี้! น่าเสียดายไม่มีรายงานรายรับ แต่เห็นว่าทุบสถิติขายดี (Best-Selling) ของ Home Video สมัยนั้น

ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าหนังบูรณะแล้วหรือยัง แต่เห็นข่าว Kino Lorber กำลังจะวางจำหน่าย Blu-Ray คุณภาพ 4K Ultra HD ช่วงปลายปี ค.ศ. 2023 (ยังไม่รู้แค่สแกนใหม่หรือบูรณะ) ใครชื่นชอบเก็บสะสมรอคอยไปก่อนนะครับ

ตอนสมัยวัยรุ่น ผมชื่นชอบที่จะ Backpacking ถือกระเป๋าแบกเป้ เดินทางไปท่องเที่ยวหลายๆประเทศ พบเจอประสบการณ์ ‘cultural shock’ คล้ายๆแบบ Lost in Translation รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้จึงสร้างบรรยากาศหวนระลึก ‘nostalgia’ มากกว่ารู้สึกเหงาๆเสียอีกนะ!

สิ่งที่ผมชื่นชอบมากสุดของหนัง คือความสัมพันธ์ระหว่างสองคนเหงา พวกเขาสามารถเติมเต็มความรู้สึกของกันและกัน แต่ไม่ใช่เอาร่างกายถาโถมเข้าใส่ กอดจูบกระซิบกระซาบไม่ได้แปลว่าต้องการร่วมเพศสัมพันธ์ นั่นคือความรักบริสุทธิ์ หาได้ยากในปัจจุบัน

การแสดงของ Bill Murray คืออีกไฮไลท์ที่ไม่อาจคลาดสายตา เต็มไปด้วยแรงดึงดูด ตึงเครียดแต่ขบขัน ตลกหน้าตาย (Deadpan Comedy) ถือเป็นบทบาทยอดเยี่ยมที่สุดในอาชีพการงานเลยก็ว่าได้

จัดเรต 15+ กับบรรยากาศเหงาๆ แสงสีแห่งรัตติกาล

คำโปรย | Lost in Translation รำพันความเหงาของ Bill Murray และ Sofia Coppola เพื่อจะได้พบเจอสิ่งงดงามทรงคุณค่าที่สุดในชีวิต
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | เหงาๆ

ใส่ความเห็น