The Runner (1984)


The Runner (1984) Iranian : Amir Naderi ♥♥♥♥

เด็กชายถูกทอดทิ้งอยู่บริเวณเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย ต้องหาหนทางต่อสู้ดิ้นรน ทำงานหาเลี้ยงชีพรอดด้วยตนเอง ใช้การวิ่งคือนัยยะเชิงสัญญะ ฉันจะดำเนินชีวิตต่อไปได้ไกลแค่ไหน มีโอกาสถึงเป้าหมายเส้นชัยหรือไม่

The Runner (1984) ถือเป็นเสาหลักไมล์ต้นแรกของวงการภาพยนตร์อิหร่าน ภายหลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง Iranian Revolution (1978-79) หรือเรียกว่า post-Revolutionary เพราะได้ทำการลบล้างแนวคิดการดำเนินเรื่อง ‘narrative film’ มาเป็นลักษณะของ ‘essay film’ ซึ่งมีความผิดแผกแปลกต่างจากวิถีทางในอดีต และเรื่องราวนำเสนอผ่านมุมมองเด็กชาย พบเห็นการเข้ามาถึงของเครื่องบิน เรือลำใหญ่ สัญลักษณ์ของโลกยุคสมัยใหม่ (Modernity)

รับชมฉบับบูรณะของหนัง จะยิ่งทำให้พบเห็นความงดงามระดับวิจิตรศิลป์ ทั้งการถ่ายภาพ ตัดต่อ กลิ่นอาย Neorealism แฝงนัยยะเชิงสัญลักษณ์ของการแหวกว่าย ปีนป่าย ปั่นจักรยาน ออกวิ่งติดตามขบวนรถไฟ เรือลำใหญ่ และเครื่องบิน สัมผัสถึงความลุ่มลึกล้ำที่ไม่ใช่แค่เหนือกาลเวลา แต่ยังทรงคุณค่าระดับมาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์

ในชาร์ท Asian Cinema 100 Ranking ของเทศกาลหนังเมืองปูซาน The Runner (1984) ติดอันดับ 83 อาจดูไม่สูงเท่าไหร่ แต่ภาพยนตร์ติดชาร์ทนี้ก็ถือว่าไม่ธรรมดาแล้วนะครับ!

Amir Naderi (เกิดปี 1946), امیر نادری ผู้กำกับภาพยนตร์สัญชาติ Iranian เกิดที่ Abadan เมืองท่าทางตอนใต้ของอิหร่าน ตั้งแต่เด็กมีความสนใจการถ่ายรูปและภาพยนตร์ หลงใหลผลงานภาพนิ่งของ Henri Cartier-Bresson และกลุ่มเคลื่อนไหว Italian Neorealist, โตขึ้นเดินทางสู่ Tehran ทำงานเป็นตากล้อง มีโอกาสถ่ายภาพนิ่งให้ภาพยนตร์ Qeysar (1969), Hassan, the Bald (1970), กำกับผลงานเรื่องแรก Khodahafez Rafigh (1971), โด่งดังจาก Sazdahani (1973), Tangsir (1973) ฯลฯ

สำหรับ دونده อ่านว่า Davandeh แปลว่า The Runner มีจุดเริ่มต้นจากผู้กำกับ Naderi ต้องการบันทึกภาพวิถีชีวิตของเด็กกำพร้า เติบโตขึ้นมาบริเวณเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf) พยายามนำไปเสนอของบประมาณจากสตูดิโอ สถานีโทรทัศน์ แต่ไม่เคยได้รับการตอบอนุมัติ

จนกระทั่งได้ยินข่าวว่าสถาบัน Institute for the Intellectual Development of Children and Young Adults (IIDCYA) กำลังมองหาโปรเจคเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน จึงนำบทหนังไปยื่นเสนองบประมาณ ในตอนแรกคณะกรรมการส่วนใหญ่มองว่าพล็อตธรรมดาเกินไป ไม่มีความน่าสนใจ แต่หลังจากพยายามปรับแก้ไขอยู่หลายๆครั้ง Behrouz Gharibpour (เกิดปี 1950), بهروز غریب‌پور นักเขียน/ผู้กำกับละครเวทีและหุ่นเชิด (Persian Puppet Theatre) เลยให้คำแนะนำสิ่งที่ควรแก้ไขปรับปรุง

Mr. Amir Naderi proposed the initial scenario of ‘The Runner’ which was rejected on TV, twice to the committee, which was also rejected by the committee. And everyone said it was weak. But it was clear that Mr. Naderi thought of pictures in his mind. I was also a serious opponent of this script. But the last time he presented the script, I told the other committee that the problem with this script is these things, and I wrote them down and told Mr. Naderi to tell him that this movie can be made in a much better way, and if he finds this way, then will be usable.

Behrouz Gharibpour

แม้ว่า Gharibpour จะร่วมพัฒนาบทหนังจนได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการของ IIDCYA แต่ผู้กำกับ Naderi เมื่อตอนถ่ายทำก็แทบไม่ได้สนใจรายละเอียดเหล่านั้นสักเท่าไหร่ เลือกสรรค์สร้างผลงานที่สะท้อนวิสัยทัศน์ของตนเอง … นั่นเพราะ Gharibpour มาจากสายการละคอน พัฒนาเรื่องราวในลักษณะของ ‘narrative story’ แต่ผู้กำกับ Naderi ต้องการนำเสนอผ่านภาพถ่าย การตัดต่อ สื่อสารด้วยภาษาภาพยนตร์ในลักษณะ ‘essay film’

เกร็ด: สถาบัน IIDCYA เคยอนุมัติทุนสร้างภาพยนตร์ดังๆอย่าง The Traveller (1974), Where Is the Friend’s Home? (1987), Bashu, the Little Stranger (1989), And Life Goes On (1992), Children of Heaven (1998) ฯลฯ


เรื่องราวมีพื้นหลังยัง Bandar Abbas, بندر عباس (แปลว่า Port of Abbas) ชื่อเล่น The Crab Port เมืองท่าของจังหวัด Hormozgan ติดอ่าวเปอร์เซีย ชายฝั่งทางตอนใต้ของอิหร่าน

เด็กชาย Amiro อายุประมาณ 11-12 ปี ถูกครอบครัวทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง จำต้องหาหนทางดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยตนเอง เริ่มจากขุดคุ้ยกองขยะ เก็บค้าของเก่า ต่อด้วยว่ายน้ำเก็บขวด ขายน้ำดื่มเย็นๆ และกลายเป็นเด็กขัดรองเท้า เมื่อเริ่มมีเงินเหลือเก็บก็มักหาซื้อนิตยสารที่มีรูปเรือ เครื่องบิน เพ้อฝันว่าสักวันจะได้รับโอกาสขึ้นไปทำงานบนนั้น

จนกระทั่งวันหนึ่งพ่อค้านิตยสารพูดคุยสอบถาม ทำไมโตป่านนี้ถึงยังอ่านหนังสือไม่ออก? นั่นกลายเป็นแรงผลักดันให้เขาสมัครเข้าโรงเรียน ต้องการอ่านออกเขียนได้ มีโอกาสอย่างคนทั่วๆไป แม้หนังจะจบลงแค่การท่องพยัญชนะ 32 ตัวอักษรเปอร์เซีย แต่ Amiro ก็แสดงออกว่าจะไม่ย่นย่อท้อแท้ จนกว่าวิ่งถึงเป้าหมายเส้นชัย


ถ่ายภาพโดย Firooz Malekzadeh (เกิดปี 1945), فیروز ملک‌زاده ตากล้องสัญชาติ Iranian เคยร่วมงานผู้กำกับ Bahram Beyzai เมื่อครั้นถ่ายทำหนังสั้น Safar (1972), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Traveler (1974), Stranger and the Fog (1976), The Runner (1984), The Mare (1986), Bashu, the Little Stranger (1989) ฯลฯ

ประสบการณ์จากเคยเป็นช่างภาพนิ่งของผู้กำกับ Naderi ทำให้งานภาพมีความประณีต ละเมียดไม งดงามระดับวิจิตรศิลป์ ตั้งแต่การจัดวางองค์ประกอบ ทิศทางมุมกล้อง เล่นกับระยะใกล้-ไกล ขยับเคลื่อนไหล ซูมเข้า-ออก ทั้งยังใช้เพียงแสงธรรมชาติ ปรับแต่งโทนสีสันให้มีความซีดๆ ดูเหือดแห้งแล้ง และยังใช้สัญลักษณ์น้ำ-ไฟ ที่ขัดย้อนแย้ง แฝงนัยยะความหมายบางอย่าง

แม้หนังจะมีกลิ่นอาย Neorealist จากการถ่ายทำยังสถานที่จริง ด้วยแสงธรรมชาติ และใช้เพียงนักแสดงสมัครเล่น แต่ผมกลับไม่รู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติของหนังสักเท่าไหร่! เพราะทุกช็อตฉากล้วนปรุงปั้นแต่ง ดูสวยงามเกินไป … แต่มันก็ไม่ได้ผิดหลักเกณฑ์อะไรนะครับ องค์ประกอบ Neorealist ถือว่าครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้ว!


เด็กชาย Amiro ชอบโบกไม้โบกมือ ตะโกนโหวกเหวก (ล้อกับภาพยนตร์ Tarzan ที่เคยรับชม) ส่งเสียงเรียกเรือและเครื่องบิน สิ่งสร้างความลุ่มหลงใหล ใคร่สนใจอย่าง ‘overwhelming’ เพ้อใฝ่ฝันว่าสักวันจะมีโอกาสขึ้นไปทำงาน ใช้ชีวิตอยู่บนนั้น ก้าวออกไปจากดินแดนโกโรโกโสแห่งนี้

ผมรู้สึกว่า The Runner (1984) เป็นภาพยนตร์ที่มีความใกล้เคียงชีวประวัติผู้กำกับ Naderi เพราะใช้ชีวิตวัยเด็ก เติบโตยังเมืองท่าติดอ่าวเปอร์เซีย สิ่งที่เขาพบเห็นย่อมสร้างอิทธิพลให้กับชีวิตแบบเดียวกับเด็กชาย Amiro … จะว่าไปชวนให้ผมนึกถึงผู้กำกับ Jacques Demy อยู่เล็กๆ

หนังเต็มไปด้วยสารพัดการแข่งขันของเด็กๆ ซึ่งสามารถเรียกตามชื่อหนัง ‘The Runner’ พบเห็นการวิ่งแข่ง ปีนป่าย ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ฯ โดยผู้ชนะเข้าถึงเส้นชัยคนแรก มักได้รับรางวัลคือเครื่องดื่ม น้ำอัดลม และก้อนน้ำแข็งสำหรับดับกระหายคลายร้อน

การแข่งขันเหล่านี้มักแทรกคั่นช่วงระหว่างเปลี่ยนอาชีพของ Amiro เพื่อสื่อถึงการต่อสู้ดิ้นรน ‘ชีวิตคือการแข่งขัน’ ไล่ล่าวิ่งตามความฝัน เพื่อสักวันจะได้ไปถึงเป้าหมายเส้นชัยชนะ

ผลงานของผู้กำกับ ‘auteur’ มักต้องหาหนทางกล่าวอ้างอิงถึงภาพยนตร์ที่ชื่นชอบโปรดปราน นอกจากพบเห็นนิตยสารจากร้านขายหนังสือข้างทาง ยังมีกล่าวถึง Tarzan และท่าทางเดินเลียนแบบ Charlie Chaplin

เกร็ด: ผมลองค้นข้อมูลดูเล่นๆนิตยสาร Sight & Sound หน้าปก Orson Welles พบเจอว่าคือฉบับเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1975 (แต่หนังฉายปี 1984)

ชัยชนะจากการวิ่งแข่งครั้งสุดท้าย ถ้วยรางวัลคือก้อนน้ำแข็ง (ท่าดีใจของเด็กชายช่างมีความเว่อวังอลังการ!) ซึ่งเป็นสิ่งข้ดย้อนแย้งกับภาพเปลวไฟลุกโชติช่วงด้านหลัง หลายคนคงพยายามครุ่นคิดนัยยะเกี่ยวกับความร้อน vs. เยือกเย็น, การแข่งขันที่เข้มข้น เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น (ดั่งเปลวเพลิงที่ลุกโชติช่วง) แล้วชัยชนะทำให้ดับกระหายคลายร้อน จิตใจสงบเย็นลง ฯ

แต่ผมมองว่าหนังต้องการนำเสนอการผสมผสานสองสิ่งขั้วตรงข้าม ยกตัวอย่าง อิทธิพลจากโลกตะวันตก(น้ำแข็ง)กำลังแผ่ปกคลุมมาถึงดินแดนทะเลทรายในตะวันออกกลาง(เปลวเพลิง) อันจะก่อให้เกิดการผสมผสาน เติมเต็มกันและกัน จนกลายเป็นอันหนึ่งเดียวกัน

The Runner

ภาพสุดท้ายของหนังพบเห็น Amiro กำลังท่องพยัญชนะ 32 ตัวอักษรเปอร์เซีย พร้อมๆเครื่องบินกำลังทะยานขึ้นสู่ท้องฟากฟ้า นี่คือสัญลักษณ์จุดเริ่มต้นการเดินทางครั้งใหม่ ความรู้หนังสือจะเป็นสิ่งทำให้เด็กชายสามารถติดปีกโบยบิน ไปได้ไกลกว่าการวิ่งอยู่บนพื้นดิน

ผมเห็นด้วยว่าการศึกษามีความสำคัญ คือจุดเริ่มต้นให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ มีโอกาสพบเห็นโลกกว้าง ก้าวข้ามผ่านความยากจน สามารถกระทำสิ่งเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน แต่การรู้หนังสือไม่ใช่ทุกสิ่งอย่าง! ใบปริญญาก็เพียงแค่กระดาษใบหนึ่ง สมัยก่อนคนจบ ป.4 ก็สามารถประสบความสำเร็จ มันอยู่ที่ตัวเราเองมีความมุมานะ ทุ่มเทพยายามสักเพียงไหน (ผมมองว่าสิ่งนี้อาจสำคัญกว่าการอ่านออกเขียนได้อีกนะ!)

ตัดต่อโดย Bahram Beizai ผู้กำกับภาพยนตร์/ละครเวทีชื่อดัง เจ้าของผลงาน Downpour (1972), Bashu, the Little Stranger (1989) ฯลฯ

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของเด็กชาย Amiro หลังจากถูกทอดทิ้งให้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพียงลำพัง เริ่มจากขุดคุ้ยกองขยะ เก็บค้าของเก่า ต่อด้วยว่ายน้ำเก็บขวด ขายน้ำดื่มเย็นๆ กลายเป็นเด็กขัดรองเท้า และท้ายสุดคือตัดสินใจสมัครเข้าโรงเรียน ต้องการพูด-อ่าน-เขียน ได้รับโอกาสเหมือนคนทั่วไป

  • อาชีพแรกขุดคุ้ยกองขยะ เก็บค้าของเก่า แต่มักไม่ค่อยพบเจออะไร ทั้งเสียเวลา ได้เงินมาเพียงน้อยนิด
  • ได้รับการชักชวนให้ว่ายน้ำออกทะเล เก็บขวดแก้ว(ที่ซัดมาเกยตื้น)ไปขาย แต่แค่วันแรกก็มีความขัดแย้งเพื่อนฝูง แถมแถวนั้นฉลามชุกชุม
  • เลยเปลี่ยนมาเป็นขายน้ำดื่มเย็นๆ แม้ราคาแค่เหรียญเดียวกลับยังถูกคดโกง และยังมีโจรคอยดักปล้นน้ำแข็งกลางทาง
  • กลายมาเป็นเด็กขัดรองเท้า อาชีพที่ต้องใช้ทักษะฝีมือ เลยไม่ต้องกลัวการถูกคดโกง แต่เด็กชายกลับถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวขโมย (ทั้งๆไม่ได้ทำอะไร)
  • และท้ายสุดตัดสินใจสมัครเข้าโรงเรียน ต้องการพูด-อ่าน-เขียน จนสามารถท่องพยัญชนะ 32 ตัวอักษรเปอร์เซีย

แม้ว่าอาชีพการงานจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่แทบทุกครั้ง Amiro มักหวนกลับหาเพื่อนๆ ร่วมวิ่งแข่งขัน ปั่นจักรยาน ไล่ติดตามขบวนรถไฟ ฯ โดยผู้ชนะมักได้รางวัลเป็นเครื่องดื่ม น้ำอัดลม และไคลน์แม็กซ์คือก้อนน้ำแข็ง (ดูราวกับถ้วยรางวัล) ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ดิ้นรน มุ่งสู่เป้าหมายปลายทาง เติมเติมความเพ้อใฝ่ฝันของตัวละคร

เพื่อสร้างสัมผัส Neorealist หนังจึงไม่มีการใช้บทเพลงประกอบ (Soundtrack) แต่จะเป็นลักษณะของ ‘Diegetic music’ ได้ยินเด็กๆขับร้อง-เล่น (บนขบวนรถไฟ) หรือดังจากวิทยุ/เครื่องกระจายเสียง (บาร์ริมท่าเรือ) มีทั้งท่วงทำนอง Jazz, บทเพลงดังๆอย่าง Louis Armstrong: What A Wonderful World, Frank Sinatra: Around The World ฯลฯ


The Runner (1948) นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของเด็กชายที่ถูกทอดทิ้ง แต่เขาไม่ต้องการเป็นคนพ่ายแพ้ เลยตัดสินใจลุกขึ้นออกวิ่ง กระทำสิ่งเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน ไต่เต้าจากล่างขึ้นบน แม้จุดสูงสุดของหนังจะแค่เพียงสามารถท่องพยัญชนะ 32 ตัวอักษรเปอร์เซีย แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความมุมานะ ทุ่มเทพยายาม ต้องการไปให้ถึงเป้าหมายเส้นชัย

นักวิ่ง ‘The Runner’ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้แข่งขัน เพื่อสามารถกระทำสิ่งเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน ไม่ใช่แค่ธำรงชีพรอดในสังคม แต่มุ่งมั่นต้องการให้ถึงจุดสูงสุด คว้าชัยชนะด้วยเรี่ยวแรงพละกำลัง ทุกสิ่งอย่างที่ฉันพึงมี ดูสิว่าจะไปได้ไกลสักเพียงไหน

A runner is someone who is in competition with people or with forces and must give all his breath and energy to surpass them. 

Behrouz Gharibpour

แนวคิดดังกล่าวค่อนข้างจะมีความเป็นตะวันตก (Westernization) ผิดแผกแตกต่างจากวิถีโลกตะวันออก(กลาง) นี่แสดงให้เห็นอิทธิพล(ของตะวันตก)ที่กำลังแผ่ปกคลุมมาถึงอิหร่าน และกำลังนำพาประเทศก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ (Modernity) … นี่ถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสมัย post-Revolutionary ได้เป็นอย่างดี

ตั้งแต่จักรยาน รถยนต์ รถไฟ เรือลำใหญ่ และเครื่องบิน ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องยนต์กลไก (Machinery) ยุคสมัยอุตสาหกรรม (Industrial) หรือโลกยุคสมัยใหม่ ซึ่งต้องนำเข้าจากชาติตะวันตก สามารถสร้างความสะดวกสบาย มองดูหรูหรา สามารถแบ่งแยกชนชั้นฐานะ (แสดงถึงความร่ำรวยของผู้เป็นเจ้าของ) สิ่งเหล่านี้จักสร้างอิทธิพลต่อเยาวชน คนรุ่นใหม่ ใคร่อยากได้อยากมี พยายามต่อสู้ดิ้นรน พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อครอบครองวัตถุเหล่านี้

น้ำกับไฟ ถือว่าเป็นสองสิ่งขั้วตรงกันข้าม ก็คล้ายๆโลกตะวันออก-ตก เอเชีย-ยุโรป คนขาว-ผิวสี ฯลฯ ในยุคสมัยนั้นเริ่มเกิดการผสมผสาน กำลังจะกลายเป็นอันหนึ่งเดียว สะท้อนแนวคิดร่วมสมัย (Contemporary) ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เฉกเช่นเดียวกัน!

ผู้กำกับ Naderi เกิดและเติบโตยังเมืองท่าริมอ่าวเปอร์เซีย แม้ไม่ได้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเหมือนเด็กชาย Amiro แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีกลิ่นอายชีวประวัติ ด้วยการบันทึกภาพวิถีชีวิต อิทธิพล ความหลงใหลคลั่งไคล้ที่มีต่อชาติตะวันตก … ไม่น่าแปลกใจที่ผู้กำกับ Naderi ตัดสินใจอพยพย้ายสู่สหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1990s


หลังจากเข้าฉายในอิหร่าน ปีถัดมาก็ตระเวนไปตามเทศกาลหนัง Venice, London (นอกสายการประกวด) ได้เสียงตอบรับอย่างดีล้นหลาม บางเทศกาลก็สามารถคว้ารางวัลอย่าง …

  • Nantes International Film Festival คว้ารางวัล Grand Prix
  • Melbourne International Film Festival คว้ารางวัล International Jury Prize

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะโดย Iranian National Cinema แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี 2019 คุณภาพ 4K เข้าฉายปฐมทัศน์เทศกาล Fajr International Film Festival สามารถหาซื้อ Blu-Ray จัดจำหน่ายโดยค่าย Elephant Films

ส่วนตัวมีความชื่นชอบหนังอย่างมากๆ สัมผัสถึงความประณีต ละเมียดไม งดงามระดับวิจิตรศิลป์ รู้สึกเพลิดเพลินผ่อนคลาย เต็มไปด้วยนัยยะเชิงสัญญะ ท้าทายการครุ่นคิดวิเคราะห์ เป็นกำลังใจให้เด็กชาย สามารถวิ่งไปถึงเป้าหมาย ได้รับชัยชนะสุดยิ่งใหญ่

แนะนำคอหนัง Art House ชื่นชอบการครุ่นคิดวิเคราะห์, หลงใหล Neorealist บันทึกภาพวิถีชีวิต การต่อสู้ดิ้นรน อิหร่านภายหลังการปฏิวัติ, นักคิด นักปรัชญา นักเขียนนวนิยาย เพลิดเพลินบทกวีภาพยนตร์, โดยเฉพาะบุคคลผู้กำลังท้อแท้สิ้นหวัง ประสบความพ่ายแพ้ หรือสูญเสียเป้าหมายชีวิต The Runner (1984) อาจสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ลุกขึ้นมา ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายไปได้

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | The Runner ของผู้กำกับ Amir Naderi ออกวิ่งจนถึงเป้าหมาย และได้รับชัยชนะสุดยิ่งใหญ่
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | งดงามมากๆ

Ma vie de Courgette (2016)


My Life as a Zucchini (2016) French : Claude Barras ♥♥♥♡

เด็กชายวัย 9 ขวบ บังเอิญผลักมารดาตกบันไดเสียชีวิต เขากำลังต้องเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาเลวร้ายนั้น นำเสนอด้วยเทคนิค Stop-Motion Animation ช่างมีความมหัศจรรย์ ต้องมนต์ขลัง

เรื่องราวของ My Life as a Zucchini (2016) ถ้าสร้างเป็นภาพยนตร์คนแสดง หรืออนิเมชั่นสามมิติ ผมเชื่อว่าจะได้ผลลัพท์แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง, Live-Action มันดูสมจริง เหี้ยมโหดร้ายเกินไปสำหรับเด็กๆ และการจะหานักแสดงรุ่นเล็กมารับบท ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด!, ขณะที่ 3D Animation มันคงขาดอารมณ์ร่วม สัมผัสจับต้องไม่ได้สักเท่าไหร่

การเลือก Stop-Motion Animation มานำเสนอเรื่องโศกนาฎกรรมของเด็กวัย 9 ขวบ ถือว่ามีความน่าสนใจทีเดียว เพราะเทคนิคดังกล่าวมีลักษณะคาบเกี่ยวระหว่าง Live-Action และ Animation มันจึงให้ความรู้สึกครึ่งจริง-ครึ่งไม่จริง (รับรู้ว่าหุ่นปั้นไม่ใช่สิ่งมีชีวิต แต่กลับขยับเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกจับต้องได้) ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอารมณ์ร่วมอย่างน่าฉงน

The scene where he kills the mother. If it was live action, you’d think — we’re putting a real kid through that? It allows you to go further I think, politically. There’s a little distance with the fact that it’s a puppet. It’s not a cold distance but you’re more surprised by your own emotions and how you relate to an object that is obviously a puppet. 

Céline Sciamma

นอกจากงานสร้าง Stop-Motion สิ่งน่าสนใจมากๆสำหรับ My Life as a Zucchini (2016) คือการดัดแปลงบทของ Céline Sciamma ซึ่งเต็มไปด้วยลูกเล่นลีลา ลดบทพูด ตัดเสียงบรรยาย ส่วนใหญ่ใช้ภาษากาย สื่อสารด้วยการขยับเคลื่อนไหว (และภาษาภาพยนตร์) แต่น่าเสียดายที่หนังค่อนข้างสั้น อารมณ์(ของผู้ใหญ่)เลยยังเติมไม่เต็มสักเท่าไหร่ (แต่ก็เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายคือเด็กๆ ยาวกว่านี้คงจะตึงเครียดเกินไป)


Claude Barras (เกิดปี 1973) ผู้กำกับ/นักอนิเมเตอร์ ศิลปินสรรค์สร้าง Stop-Motion Animation เกิดที่ Sierre, Switzerland โตขึ้นเดินทางสู่ Lyon ร่ำเรียนการออกแบบ คอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่ École Emile Cohl จบออกมาเริ่มจากรับงานฟรีแลนซ์ สรรค์สร้างหนังสั้นทั้งสองมิติและสามมิติ Mélanie (1998), Casting Queen (1999), กระทั่งค้นพบความสนใจใน Stop-Motion จากเพื่อนสนิท Cédric Louis ร่วมงานกันตั้งแต่ The Genie in a Ravioli Can (2006)

เห็นว่าเป็น Louis ได้มีโอกาสอ่านวรรณกรรมเยาวชน Autobiographie d’une Courgette (2002) เมื่อประมาณปี 2006 เลยชักชวน Barras ให้ร่วมดัดแปลงสร้างเป็น Stop-Motion Animation แต่เพราะพวกเขายังขาดประสบการณ์ทำงาน (และความเชื่อมั่นใจว่าจะทำออกมาสำเร็จ) จึงทดลองสรรค์สร้าง Stop-Motion ขนาดสั้น Sainte Barbe (2007) และ Au Pays Des Tetes (2008)

และเมื่อค้นพบความเชื่อมั่นในตนเอง เลยสรรค์สร้างตอน Pilot ขนาดสั้นความยาวสามนาที Zucchini (2010) สำหรับมองหาโปรดิวเซอร์/ผู้จัดจำหน่าย ขอทุนสำหรับสรรค์สร้างโปรเจคดังกล่าว … หนังสั้นเรื่องกล่าวก็คือบทสัมภาษณ์ (นักพากย์) Zucchini ที่อยู่ช่วง Mid-Credit ของหนังนะครับ

Autobiographie d’une Courgette แปลว่า Autobiography of a Zucchini แต่งโดย Gilles Paris (เกิดปี 1959) นักเขียน/นักข่าว สัญชาติฝรั่งเศส ผมไม่แน่ใจนักว่านวนิยายเรื่องนี้คืออัตชีวประวัติของผู้เขียนหรือไม่ แต่ใช้การเล่าเรื่องผ่านมุมมองบุคคลที่หนึ่ง ซึ่งก็คือ Courgette หรือ Zucchini (ชื่อที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ)

เกร็ด: นวนิยายเล่มนี้ เคยได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ฉายโทรทัศน์ C’est mieux la vie quand on est grand กำกับโดย Luc Béraud ออกอากาศเมื่อปี 2008 แต่เสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่

ความประทับใจใน Tomboy (2011) [ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กๆ พยายามปกปิด/ซุกซ่อนเร้นบางสิ่งอย่างจากเพื่อนคนอื่นๆ] ทำให้ Barras ร้องขอให้โปรดิวเซอร์ติดต่อหา Céline Sciamma เพื่อดัดแปลงบทจากนวนิยาย Autobiographie d’une Courgette … ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมอย่างยิ่งทีเดียว

Sciamma ให้สัมภาษณ์ว่ามีโอกาสพบเห็นภาพร่างตัวละคร ซึ่งช่วยในการพัฒนาบทอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เธอจึงพยายามใส่ mise-en-scène คำอธิบายรายละเอียดทุกสิ่งอย่าง (องค์ประกอบฉาก, การจัดแสง, เครื่องแต่งกาย และการแสดง) เพื่อให้ทีมงานนำไปปรับใช้ในงานสร้างได้โดยทันที

When they asked me to write the script they did already have sketches of the characters. So it really felt like writing for a character. I knew all the faces, not the voices, but the looks. It helped with the writing, like knowing an actor and writing for them. I already felt intimacy.

I put a lot of mise-en-scène in the script – I’m quite accurate about it, the rhythm of the scene and a take.

Céline Sciamma

บทหนังที่ได้มาถูกปรับแก้ไขเพียงเล็กน้อยโดย Claude Barras, Morgan Navarro และ Germano Zullo (ในเครดิคขึ้นเพียง Contributing Writer) แต่รายละเอียดเนื้อหาหลักๆยังคงเดิม ซึ่งเมื่อ Sciamma มีโอกาสรับชมหนังครั้ง ก็รู้สึกรบกวนจิตใจเล็กๆที่แทบไม่มีเนื้อหาแตกต่างจากบทที่เขียน (อย่างภาพยนตร์ Live-Action อย่างน้อยมันจะมีการ ‘Improvised’ ปรับเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ถ่ายทำ แต่สำหรับ Animation ส่วนใหญ่ก็สร้างตามบทเปะๆ นักอนิเมเตอร์แทบไม่สามารถปรับเปลี่ยนแปลงอะไรได้ทั้งนั้น)

It was quite disturbing how much of the film was exactly what I wrote. The thing that struck me was how sensitive the animation was, the movements. I think it’s pretty rare and true. The way they hold hands, that was insane. I didn’t think it would be that, I don’t know


เรื่องราวมีพื้นหลัง Switzerland ช่วงทศวรรษ 2010s, เด็กชายวัย 9 ขวบชื่อ Icare (แต่ชอบให้เรียกว่า Courgette หรือ Zucchini) วันหนึ่งผลักมารดาในสภาพเมามายตกบันไดเสียชีวิต เลยถูกส่งตัวไปสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า แรกๆยังเต็มไปด้วยความทุกข์โศก เศร้าเสียใจ แต่หลังจากค่อยๆปรับตัว สนิทสนมผองเพื่อนใหม่ๆ และการมาถึงของ Camille กลายเป็นรักแรกพบที่ต่างให้ความช่วยเหลือ กำลังใจต่อกัน จนกระทั่งทั้งสองได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ Raymond รับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

สำหรับนักพากย์เด็กๆ ทั้งหมดล้วนเป็นมือสมัครเล่น (non-professional) ที่ผ่านการออดิชั่น (แบบเดียวกับ Mid-Credit ของหนัง) โดยเลือกคนที่มีบุคลิกภาพ(และน้ำเสียง)สอดคล้องเข้ากับตัวละคร เพื่อพวกเขาจะได้ไม่ต้องปรุงปั้นแต่งอะไรมาก

ซึ่งวิธีการบันทึกเสียงจะไม่ใช่การอ่านตามบทพูด(ที่นิยมทำตามสตูดิโอทั่วไป) ทีมงานลงทุนสร้างฉากภายในสตูดิโอ จัดแต่งเฟอร์นิเจอร์ สิ่งข้าวของต่างๆ ให้มีลักษณะใกล้เคียงรายละเอียด(ที่จะทำ Stop-Motion) แล้วมอบอิสระเด็กๆในการละเล่น ทำการแสดง บันทึกภาพและเสียงไปพร้อมๆกัน (ซึ่งการแสดงของเด็กๆเหล่านั้น จะถูกนำไปใช้อ้างอิงในโปรดักชั่นอีกด้วย) … ใช้เวลาในส่วนนี้ทั้งหมด 6 สัปดาห์ (เท่ากับโปรดักชั่นหนังเรื่องนึงเลยนะ)

ในส่วนการออกแบบตัวละคร มองผิวเผินก็ดูเหมือนหุ่นปั้นดินน้ำมันทั่วๆไป และใส่กลไกสำหรับขยับเคลื่อนไหวอยู่ภายใน แต่การออกแบบถือว่ามีความเฉพาะตัวอยู่ไม่น้อยเลยละ

  • ลักษณะศีรษะมีขนาดเกือบๆ 1 ใน 3 (ของร่างกาย) ขณะที่รูปทรงมีทั้งกลม เรียว แหลม ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยใจคอของตัวละครนั้นๆ
  • ดวงตาโต (Big Eye) แต่ผมรู้สึกว่าขนาดเท่ากันหมดนะ (แค่ใหญ่กว่าตาปกติของมนุษย์ก็เท่านั้น)
  • ความท้าทายอยู่ที่เปลือกตา จะพบเห็นการกระพริบบ่อยครั้งมากๆ ซึ่งสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ตัวละครออกมา
  • ทรงผม ก็บ่งบอกสภาวะทางอารมณ์ได้ด้วยเช่นกัน
    • มีเด็กคนหนึ่งที่มักปัดผมลงปิดตาข้างหนึ่ง นั่นสะท้อนถึงการขาดความมั่นใจในตนเอง (เหมือนเพราะตาข้างนั้นมีรอยแผลเป็น ไม่อยากให้ใครพบเห็น) แต่หลังจาก Camille พยายามปัดขึ้นให้ตลอดเวลา เขาจึงค่อยๆบังเกิดความหาญกล้าขึ้นมาเล็กๆ
    • ผมชอบทรงผมของ Simon มากสุดนะ สีส้มแดงแรงฤทธิ์ เริดเชิดขึ้นข้างบน และไม่ปิดบังรอยแผลเป็น พร้อมเผชิญหน้าทุกสิ่งอย่าง

ขณะที่ไฮไลท์ของการออกแบบตัวละครคือแขนยาว (Long Arms) ทำจากลวดอลูมิเนียม ไม่มีข้อศอก เพื่อให้สามารถขยับเคลื่อนไหวในท่วงท่ายากๆ อาทิ กอดอก กอดเข่า วางอย่างห่อเหี่ยว ฯ ใช้สื่อแทนสภาพอารมณ์/สภาวะจิตใจของตัวละคร (คล้ายๆดวงตาคือหน้าต่างหัวใจ แต่อนิเมชั่นเรื่องนี้ใช้แขนยาวเพื่อแทนภาษากายแสดงออกมา)

The length of the arms was determined for the characters to be able to put their hands in front of their eyes so as not to force the animation too much. In order to reduce the Orangutan effect, we made arms with an aluminum wire armature, no elbow, so that they could be bent throughout the film to prevent having the hands too close to the ground in neutral position.

Claude Barras

งานศิลป์ของหนัง หลายคนอาจรู้สีกถีงความละม้ายคล้าย ‘Tim Burton style’ ทั้งห้องใต้หลังคา (ที่ชวนให้นีกถีง Sweeney Todd (2007) กับสายล่อฟ้าใน Frankenweenie (2012)) และสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า (ส่วนผสมของ Beetlejuice (1988)) แต่ผมครุ่นคิดว่ามีความเป็น Brutalism (Brutalist Art) เน้นความเรียบง่าย (Minimalist) มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์มากกว่าความสวยงาม ซี่งสะท้อนค่านิยมทางสังคมที่ผู้คนมักมาก เห็นแก่ตัว สนเพียงผลประโยชน์กำไร ไม่ใคร่สนใจ/ครุ่นคิดถีงสภาพจิตใจของผู้อื่น (โดยเฉพาะครอบครัวของเด็กๆที่ถูกทอดทิ้งขว้างเหล่านี้)

ส่วนทิวทัศน์ธรรมชาติ ให้สัมผัสของ Primitivism (Primitive Art) แต่มีความเวิ้งว่างเปล่า ต้นไม้ขี้นห่างๆ ไกลสุดลูกหูลูกตา นี่ไม่ใช่เพราะทุนสร้างไม่เพียงพอนะครับ แต่จงใจให้สื่อถีงความแห้งแล้งของจิตใจมนุษย์ ทอดทิ้งเด็กๆในสถานที่ห่างไกล ไม่มีใครใคร่เหลียวแล

หนังเต็มไปด้วยอารมณ์ขันที่ทั้งฮากลิ้ง และเศร้าสลดในคราเดียวกัน (นี่ต้องชม Céline Sciamma ครุ่นคิดได้ยังไง) แต่ผมขอเลือกเด่นๆที่หลายคนอาจครุ่นคิดไม่ทันมาแนะนำกัน

ว่าวของ Zucchini ด้านหน้าวาดรูปพ่อที่เหมือนเป็น Superheo ไม่เคยอยู่บ้านเพราะมัวกอบกู้โลก ส่วนด้านหลังวาดรูปไก่ (Chick) เป็นศัพท์แสลงที่เด็กๆอาจยังไม่เข้าใจ หมายถีงหญิงสาว (สื่อถีงการที่พ่อไม่เคยกลับมาบ้าน เพราะมัวติดสาวๆสวยๆ แต่งงานมีเมียใหม่ไปแล้วกระมัง), ส่วนตอนท้ายเจ้าไก่จะถูกแทนที่ด้วยภาพถ่ายเพื่อนๆ สะท้อนถีงบุคคลที่ช่วยให้เขาก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาร้ายๆ พวกเขาจักคงอยู่ในความทรงจำชั่วนิรันดร์

ภาพวาดของ Zucchini แม้งโคตรจะ…18+ จินตนาการของเด็กๆมันช่างบริสุทธิ์เสียเหลือเกิน ซี่งการตั้งชื่อทารก Spider (บุตรของผู้ดูแล) ก็เพื่อสื่อถีงการเป็นบุคคลผู้สามารถเชื่องโยงใย สานสายสัมพันธ์ให้ทุกคนมีความสนิทสนมใกล้ชิดเชื้อ

กระบองเพชร คือสัญลักษณ์ของความโดดเดี่ยว อ้างว้าง โดยปกติมักเจริญเติบโตท่ามกลางทะเลทราย สถานที่อันแห้งแล้ง ธุรกันดาร ไม่ค่อยได้รับความชุ่มฉ่ำ (ไม่มีแหล่งน้ำงอกงามขี้นได้) ซี่งสะท้อนสภาพจิตใจของ Raymond อาศัยอยู่ตัวคนเดียว เปล่าเปลี่ยวหัวใจ ต้องการรับเลี้ยงเด็กๆเพื่อเติมเต็มความเวิ้งว้างเปล่าภายใน

ด้วยทุนสร้างที่จำกัด ทำให้หนังสามารถว่าจ้างนักอนิเมเตอร์ได้เพียง 10 กว่าคนเท่านั้น ซึ่งก็มอบหมายการทำงานหนึ่งคนหนึ่งฉาก (นี่ยังไม่รวมทีมงานอื่นๆ ช่างภาพ คนจัดแสง ออกแบบฉาก ฯ) โดยเฉลี่ยแล้ววันหนึ่งถ่ายได้ประมาณ 3 วินาที (ผมไม่แน่ใจหนังใช้เฟรมเรตเท่าไหร่ แต่คาดว่าน่าจะ 20 fps/ภาพต่อวินาที) รวมๆแล้วในส่วนโปรดักชั่นใช้เวลา 9 เดือนกว่าจะเสร็จสิ้น

ตัดต่อโดย Valentin Rotelli, ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตาของเด็กชาย Icare ขณะใช้ชีวิตในชื่อ Zucchini (หรือ Courgette) ตั้งแต่สูญเสียมารดา ถูกส่งไปยังสถานกำพร้า จนกระทั่งได้รับการอุปถัมถ์โดย Raymond ในช่วงระยะเวลาประมาณ 1 ปี (เริ่มต้นฤดูฝน ใบไม้ร่วง หิมะตก และใบไม้แรกผลิ)

ลักษณะการดำเนินเรื่องของหนัง แบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆ (Episode) แต่ก็สามารถจัดรวมทั้งหมด 3 องก์/ช่วงอารมณ์ (ไม่นับรวมอารัมบท+ปัจฉิมบท)

  • อารัมบท: โศกนาฎกรรมของ Zucchini
  • ช่วงเวลาซีมเศร้าโศกเสียใจ
    • Zucchini ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ Raymond
    • ถูกส่งตัวเดินทางถีงสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า
    • พบปะเพื่อนใหม่ (ช่วงแรกๆ Zucchini ยังจมอยู่ในความเศร้าโศก)
  • ค่อยๆปรับตัว คลายจากความเศร้าซีม
    • หลังชกต่อยเอาชนะ Simon ก็ค่อยๆเรียนรู้ ปรับตัวเข้ากับสถานที่แห่งนี้
    • การมาถีงของ Camille ทำให้ Zucchini ตกหลุมรักแรก(พบ)
    • ท่องเที่ยวเมืองหิมะ โยกเต้น เล่นสกี
  • การเผชิญหน้า ต่อสู้กับสิ่งชั่วร้าย
    • อดีตของเด็กๆเริ่มหวนกลับมาหา
    • แผนการตลบหลังน้าของ Camille ด้วยการให้เธอซ่อนตัวในกระเป๋าขณะ Raymond พา Zucchini ไปท่องเที่ยวสวนสนุก
    • Camille ถูกน้าลักพาตัว แต่แผนการชั่วร้ายก็ถูกเปิดโปง
    • งานเลี้ยงปาร์ตี้ประจำปี
  • ปัจฉิมบท: เริ่มต้นครอบครัวใหม่ของ Zucchini (และ Camille)

เพลงประกอบโดย Sophie Hunger ชื่อจริง Émilie Jeanne-Sophie Welti (เกิดปี 1983) นักร้อง นักดนตรี และแต่งเพลงสัญชาติ Swiss เกิดที่ Bern, Switzerland แล้วไปเติบโตที่ London ก่อนมาปักหลักอยู่กรุง Berlin ขณะออกอัลบัมแรก Monday’s Ghost เมื่อปี 2008

งานเพลงของหนัง ผมรู้สีกว่ามีลักษณะ ‘Expermential’ ด้วยการใช้เสียงเครื่องดนตรีที่แตกต่างออกไป (เปียโน, กีตาร์, เบส, กลอง, เชลโล ฯ) บรรเลงท่วงทำนองสอดคล้องสภาวะทางอารมณ์/สภาพจิตใจตัวละครขณะนั้นๆ ด้วยเหตุนี้จีงไม่เน้นความไพเราะหรือกลมกลืนกับพื้นหลัง แค่ว่าพอเข้ากันได้และสื่อความหมายออกมา

บทเพลงที่เด็กๆโยกเต้น แดนซ์กระจายยังรีสอร์ทตากอากาศคือ Eisbär (1981) ภาษาเยอรมันแปลว่า Polar Bear โดยวงร็อค Grauzone เท่าที่ผมหาข้อมูลได้ นี่เป็นบทเพลงแนว Neue Deutsche Welle หรือ Post-Punk (ของ West German) โดยเนื้อคำร้องกล่าวถีงชายคนหนี่งอยากเป็นหมีขั้วโลก เพราะจะได้ไม่ต้องกรีดร้อง ร่ำร้องไห้ หรือหลั่งน้ำตา และชีวิตก็จะไม่เศร้าโศกเสียใจไปกว่านี้

สำหรับ Closing Song คือบทเพลง Le Vent nous portera (แปลว่า The Wind will Carry Us) แต่งโดย Bertrand Cantat, ขับร้องโดย Sophie Hunger รวมอยู่ในอัลบัม 1983 วางจำหน่ายปี 2010

สำหรับเนื้อคำร้องกล่าวถีงการออกเดินทาง (ของตัวละคร Zucchini) อย่าไปคาดหวัง ตั้งเป้าหมาย ปล่อยให้สายลมแห่งโชคชะตาพัดพาไป แล้วสักวันหนี่งก็(อาจ)จะถีงเส้นชัยด้วยตัวเอง (กล่าวคือ Zucchini แม้เริ่มต้นด้วยเหตุการณ์ร้ายๆ แต่เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานไป เขาก็ได้พบเจอสิ่งดีๆย้อนกลับมาหาตนเอง)

เด็กตัวเล็กๆที่ร่างกายยังอ่อนแอ แต่ไม่น่าเชื่อพวกเขามีความเข้มแข็งแกร่งทางจิตใจมากกว่าผู้ใหญ่(บางคน)เสียอีก! นั่นเพราะประสบการณ์ชีวิตของพวกเขายังน้อยนิด บางครั้งก็ไม่เข้าใจว่าสิ่งสูญเสียไปนั้นสลักสำคัญต่อตนเองประการใด เมื่อได้พบเจอสิ่งใหม่ๆน่าสนใจกว่า ก็พร้อมปล่อยปละละทอดทิ้งของเก่า … แปลกที่คนเรามักเรียกพฤติกรรมเหล่านั้นว่า ไร้เดียงสา

ความเข้มแข็งแกร่งทางจิตใจของเด็กๆ เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ควรศึกษาไว้บ้างนะครับ อย่าไปมองว่าพวกเขาไม่ได้ต้องแบกภาระ ความรับผิดชอบ หรืออ้างคำ ‘ไร้เดียงสา’ เพราะไม่ว่าใคร วัยไหน อายุเท่าไหร่ เมื่อต้องประสบโศกนาฎกรรม ย่อมต้องตกอยู่ในความทุกข์ เศร้าโศกเสียใจ (เด็กๆก็เช่นกัน) แต่พวกเขาเหล่านั้นเรียนรู้ที่ปลดปล่อยวาง ละทอดทิ้งความเจ็บปวด เพราะมันไม่ได้ก่อเกิดประโยชน์อันใดต่อตนเอง ดำเนินชีวิตต่อไปวันข้างหน้า อีกไม่นานประเดี๋ยวก็หลงลืม

เรื่องราวของ My Life as a Zucchini แม้เริ่มต้นด้วยโศกนาฎกรรม แต่เอาจริงๆผมรู้สึกว่านั่นความโชคดีแรกของ Zucchini เพราะมารดาของเขาเอาแต่ดื่มสุรามึนเมามาย ถ้าไม่ตกบันไดตาย เด็กชายอาจเติบโตขึ้นกลายเป็นเด็กมีปัญหา ต่อต้านสังคม ก่ออาชญากรรม ฯลฯ

แม้มารดาติดเหล้าอย่างหนัก แต่เพราะเป็นบุคคลเดียวที่ Zucchini สามารถพึ่งพักพิง เขาจึงบังเกิดความโหยหาอาลัย จมปลักอยู่ในความทุกข์เศร้าโศก จนกระทั่งถูกส่งมาอาศัยยังสถานกำพร้า พบเจอผองเพื่อนที่เคยพานผ่านอะไรๆคล้ายกันมา นั่นทำให้เด็กชายค่อยๆสามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลง เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ ค่อยๆเบิกบานด้วยรอยยิ้ม อิ่มเอมสุขฤทัยเมื่อได้ตกหลุมรักแรก Camille

สรุปแล้วทิศทางชีวิตของ Zucchini หรือ Courgette เริ่มต้นจากจุดตกต่ำสุด (แต่อาศัยอยู่ห้องใต้หลังคา) ค่อยๆไต่ระดับไปเรื่อยๆจนมาถึงจุดสูงสูง/ค้นพบเจอความสุขของชีวิต (จากการได้ผู้อุปถัมภ์ กลายเป็นบุตรบุญธรรมพร้อมความรักอย่างแท้จริง)

การได้เรียนรู้จักความรัก ทำให้ชีวิตของ Zucchini มีความสดใสดูดีขึ้นทันตา ทั้งจากเพื่อนสนิท Simon, หญิงสาวรักแรก Camille และบิดาบุญธรรม Raymond ทุกบุคคลเริ่มจากคนไม่รู้จัก ค่อยๆพัฒนาสานความสัมพันธ์ จนสนิทสนมชิดเชื้อ ไว้เนื้อเชื่อใจ และในที่สุดก็สามารถกลายเป็นที่พึ่งพักพิง(ทางใจ)ให้กันและกัน

I wanted to adapt Gilles Paris’ book because I wanted to make a film about children that addresses ill-treatment of children and remedies for abuse in today’s world; an entertaining film that makes you laugh and cry, but especially a firmly committed film that happens in the here and now and tells you about the strength of resilience amongst a group of friends, advocating empathy, comradery, sharing and tolerance.

Claude Barras

เกร็ด: หลายคนอาจสับสนกับชื่อหนัง My Life as a Zucchini หรือ Courgette จริงๆแล้วทั้งสองคำต่างแปลว่า บวบ (พืชล้มลุกที่นำมาทำอาหาร คนไทยชอบรับประทานกับน้ำพริกอร่อยนักแล) ขึ้นอยู่กับการใช้ภาษาของประเทศนั้นๆ ขณะที่ชื่อหนังภาษาฝรั่งเศส Ma vie de Courgette

ช่วงชีวิตที่ฉันเป็น Zucchini หรือ Courgette น่าจะสื่อถึงช่วงเวลาที่เด็กชายไร้ผู้ปกครอง บุคคลให้พึ่งพักพิง (ตั้งแต่สูญเสียมารดา จนตอนจบพบเจอครอบครัวบุญธรรมใหม่) เขาจึงมีความอ่อนแอ บอบบางทางจิตใจ (เหมือนบวบ?)


หนังเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes ในรอบ Directors’ Fortnight ได้รับคำชื่นชมดีล้นหลาม จนสามารถเข้าชิง Oscar และ Golden Globe สาขา Best Animated Feature (พ่ายให้ Zootopia (2016))

แต่ด้วยทุนสร้าง $8 ล้านเหรียญ กลับทำเงินได้เพียง $5.8 ล้านเหรียญ ถือว่าน่าผิดหวังโดยสิ้นเชิง! ถีงอย่างนั้นผมไม่คิดว่าปัญหาเกิดจาก Stop-Motion Animation เหตุผลหลักๆคือเนื้อเรื่องราวไม่ได้มีความน่าดึงดูดผู้ชมสักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับ Kubo and the Two Strings (2016) ที่ออกฉายปีเดียวกัน กลับสามารถทำเงินได้ $77.5 ล้านเหรียญ (แต่เรื่องนี้ก็เจ๋งเหมือนกันนะครับ เพราะใช้ทุนสร้างสูงถีง $60 ล้านเหรียญ)

แม้ว่าบทดัดแปลงของ Céline Sciamma จะทำออกมาได้น่าสนใจ แต่ไดเรคชั่นของผู้กำกับ Claude Barras กลับไม่ค่อยมีความน่าหลงใหล แปลกใหม่สักเท่าไหร่ ภาพรวมจีงได้แค่ความบันเทิงสำหรับเด็กๆ และ Stop-Motion Animation ที่น่าตื่นตา ต้องมนต์ขลัง แค่นั้น!

แม้ว่าหนังจะนำเสนอเรื่องราวของเด็กเล็ก แต่ควรมีผู้ปกครองนั่งรับชมอยู่เคียงข้างนะครับ เพราะเนื้อหาช่วงแรกๆค่อนข้างตีงเครียด หนักหนาสาหัสพอสมควร ถีงอย่างนั้นพอสักกลางเรื่องก็ค่อยๆผ่อนคลายลง และตอนจบ(ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก)ก็น่าจะสามารถยิ้มออกมาเล็กๆ

จัดเรต 13+ กับบรรยากาศตึงๆ ความซึมเศร้าจากโศกนาฎกรรม

คำโปรย | My Life as a Zucchini นำเสนอการก้าวข้ามผ่านโศกนาฎกรรมของเด็กเล็ก แม้ชีวิตจะเต็มไปด้วยเหตุการณ์อันเลวร้าย แต่เราทุกคนก็สามารถพบเจอความสุขครั้งใหม่ได้
คุณภาพ |
ส่วนตัว | ขาดความน่าดึงดูด

Tomboy (2011)


Tomboy (2011) French : Céline Sciamma ♥♥♥♥

เด็กอายุสิบขวบ อยู่ในช่วงวัยแห่งการค้นหาอัตลักษณ์ทางเพศ ‘sexual identity’ แม้กายวิภาคจะคือหญิง แต่รูปลักษณะภายนอก ความแข็งแกร่งของร่างกาย จิตใจอยากได้รับการยินยอมรับจากเพื่อนชาย สรุปแล้วฉันเพศอะไรกันแน่? จะมีสิทธิ์เลือกได้หรือเปล่า?

ความอ่อนเยาว์วัยของเด็กๆ ทำให้ผู้ชมไม่สามารถบังเกิดอคติใดๆต่อหนัง เพราะใครๆย่อมตระหนักว่าเขา-เธอยังใสซื่อบริสุทธิ์ แสดงออกพฤติกรรมเบี่ยงเบนด้วยความไร้เดียงสา ยังมีอะไรๆอีกมากมายที่เด็กวัยนี้ยังไม่สามารถรับรู้เข้าใจ ฉงนสงสัยในอัตลักษณ์ทางเพศ ทำไมมนุษย์ถึงมีการแบ่งแยกชาย-หญิง? คำถามนี้แม้แต่ผู้ใหญ่บางคนก็อาจตอบไม่ได้

พัฒนาการของผู้กำกับ Céline Sciamma ก้าวกระโดดจาก Water Lilies (2007) อย่างไม่เห็นฝุ่น! เธอมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องราว ตัวละคร ไดเรคชั่นนำเสนอทีละลำดับขั้นตอน ใช้เทคนิคภาษาภาพยนตร์ได้ลื่นไหล เป็นธรรมชาติกว่าผลงานก่อน และทิ้งประเด็นคำถามที่สร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง จะสามารถยินยอมรับถ้าลูกๆ ถ้าพวกเขาเติบโตมาเป็น LGBT+ ได้หรือยัง?

และสิ่งที่ต้องชื่นชมสุดๆก็คือ Zoé Héran มองมุมหนึ่งเหมือนเด็กชาย มองอีกมุมเหมือนเด็กหญิง ทั้งยังการแสดงที่ถ่ายทอดความซับซ้อนของตัวละครออกมาอย่างโคตรเป็นธรรมชาติ ตราตรึงระดับเดียวกับ Ana Torrent เรื่อง The Spirit of the Beehive (1973)


Céline Sciamma (เกิดปี 1978) ผู้กำกับ/นักเขียนบทภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Pontoise, Val-d’Oise วัยเด็กชื่นชอบการอ่าน-เขียน หลงใหลในภาพยนตร์เพราะคุณย่ามักเปิดหนัง Hollywood ยุคเก่าๆให้รับชม, พอช่วงวัยรุ่นก็แวะเวียนเข้าโรงหนัง Art House สัปดาห์ละสามวัน, คลั่งไคล้ผลงานของ Chantal Akerman และ David Lynch, ศึกษาต่อยัง École Nationale Supérieure des Métiers de l’Image et du Son (เรียกสั้นๆว่า La Fémis) พัฒนาบทโปรเจคจบ Naissance des Pieuvres ไม่เคยคาดหวังจะเป็นผู้กำกับ แต่หลังจากนำบทดัวกล่าวไปพูดคุยโปรดิวเซอร์ ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่จนได้แจ้งเกิดกลายมาเป็น Water Lilies (2007)

หลังเสร็จจากผลงานแรก Sciamma ก็ได้เปลี่ยนบรรยากาศไปสร้างหนังสั้น Pauline (2009) และร่วมเขียนบท Ivory Tower (2010) เพื่อสะสมประสบการณ์ เปิดมุมมองใหม่ๆ เรียนรู้วิธีการทำงาน จนมีความเข้าใจต่อสื่อภาพยนตร์มากขึ้น

สำหรับผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวลำดับสอง Sciamma ต้องการทำสิ่งแตกต่างตรงกันข้ามกับ Water Lilies (2007) นำเสนอเรื่องราวที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง (Energy) ด้านสว่างสดใส และใช้เวลาให้น้อยที่สุด, หวนระลึกถึงช่วงเวลาวัยเด็กของตนเองที่นิสัยแก่นแก้ว ทอมบอยอยู่เล็กๆ เลยบังเกิดแนวคิด ‘เด็กหญิงปลอมตัวเป็นเด็กผู้ชาย’

I had the storyline in mind for a while, as a pitch: “a little girl pretending to be a little boy”. When I decided I wanted to make a second film I was looking for a very simple and catchy story, that I could write and direct very fast. I wanted to make a movie in a crazy energy, as free as possible. I thought that story would be perfect, because it’s about childhood, the rush of emotions, the energy.

Céline Sciamma

หลายคนอาจครุ่นคิดว่าหนังเรื่องนี้คืออัตชีวประวัติ (Auto-biographical) แต่ Sciamma ให้สัมภาษณ์ว่า แม้ตอนเด็กๆตัดผมสั้นจะดูเหมือนทอมบอย แต่ก็ไม่เคยคิดจะปลอมตัวเป็นผู้ชาย (เธอเป็นเลสเบี้ยนนะครับ จะอยากเป็นผู้ชายทำไม?) ส่วนที่มาจากชีวิตจริงมีเพียงพื้นหลังครอบครัว (พ่อไม่ค่อยอยู่บ้าน แม่กำลังตั้งครรภ์น้องชายคนสุดท้อง) และความสัมพันธ์พี่-น้อง (สะท้อนความอยากเป็นพี่สาวที่เข้มแข็งแกร่ง ปกป้องน้องรักไม่ให้ใครมารังแก)

At some points it’s autobiographical but it’s not my story. I didn’t pretend I was a little boy when I was a little girl. I was kind of boyish when I was the character’s age but that was because it was the 80s and girls had short hair at the time. Sometimes people might have thought I was a boy but it wasn’t something I wanted to happen. The parts that really belong to my own story are the family interactions and the sisterhood.

เกร็ด: Céline Sciamma ใช้เวลาพัฒนาบท Tomboy (2011) เพียง 3 สัปดาห์ แต่ก็เต็มไปด้วยรายละเอียด บทพูด มีส่วนน้อยที่ปรับแก้ ‘Improvised’ ระหว่างถ่ายทำ

เรื่องราวของ Laure (รับบทโดย Zoé Héran) เด็กหญิงวัยสิบขวบ มีรูปร่างหน้าตาเหมือนเด็กผู้ชาย เมื่อย้ายมาอยู่อพาร์ทเม้นท์หลังใหม่ เปลี่ยนมาใช้ชื่อ Mickaël แล้วถอดเสื้อเล่นฟุตบอล สวมใส่เพียงกางเกงว่ายน้ำ (แล้วยัดดินน้ำมันแทนไอ้จ้อน) แต่หลังเกิดเหตุทะเลาะชกต่อยเพราะน้องสาว Jeanne (รับบทโดย Malonn Lévana) ถูกกระทำร้าย ความจริงเรื่องที่เธอเป็นเด็กหญิงเลยได้รับการเปิดเผยออกมา


Sciamma มีเวลาคัดเลือกนักแสดงเพียง 2-3 สัปดาห์ ก่อนเริ่มถ่ายทำเดือนถัดไป ซี่งแทบไม่หลงเหลือเวลาให้ซักซ้อมเตรียมตัวสักเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้วิธีการง่ายสุดก็คือติดต่อเอเจนซี่ที่มีนักแสดงเด็กๆในสังกัด โดยให้คีย์เวิร์ด ‘Tomboy’ แค่เพียงวันแรกเท่านั้นก็ได้พบเจอ Zoé Héran ไม่เพียงรูปร่าง/ใบหน้าเหมือนเด็กผู้ชาย แต่ยังสายตาดูเคร่งขรีม ครุ่นคิดมาก เอาจริงเอาจังกับชีวิต เฉลียวฉลาดเกินวัย

I headed straight to the acting children agencies, spreading the word I was looking for a Tomboy. Quickly the word came back that there was this girl, Zoé, who had what it took. I met her on the first day of casting, and was amazed. Of course she had the looks, but mostly she had such an intense face, and incredibly photogenic. We didn’t have the time to rehearse as we were shooting a month later. I just cut her hair as a preparation for the part, and then all the work was on the set.

Zoé Héran (เกิดปี 1999, ที่ Seine-et-Marne) มีความสนใจด้านการแสดงตั้งแต่อายุ 6-7 ขวบ ได้เล่นตัวประกอบซีรีย์ ภาพยนตร์โทรทัศน์ แม้เป็นเด็กมีความสามารถ แต่เพราะขาดบทบาทเหมาะสมบุคลิกภาพของเธอ จีงไม่ค่อยพบเจอโอกาสใดๆ จนกระทั่ง Tomboy (2011) ถีงอย่างนั้นก็ใช่ว่าหนทางอนาคตจะสดใส ต้องรอคอยจนเติบโตเป็นสาว (ตัวจริงไม่ได้เบี่ยงเบนเหมือนตัวละครนะครับ) ค่อยได้รับโอกาสครั้งใหม่ๆ

ด้วยความที่ Laure มีรูปร่างหน้าตาเหมือนเด็กชาย (ยกเว้นอวัยวะเพศหญิง) ชื่นชอบการวิ่งเล่น ใช้พละกำลัง แข็งแกร่งกว่าเพื่อน(ชาย)บางคนเสียอีก เลยโหยหาอยากได้รับการยินยอมรับ (จากเพื่อนชาย) เลยตัดสินใจใช้ชื่อ Mickaël และพยายามพิสูจน์ตนเองด้วยการถอดเสื้อเตะฟุตบอล สวมใส่เพียงกางเกงว่ายน้ำ (แล้วยัดดินน้ำมันแทนไอ้จ้อน) ทั้งรู้ว่าการกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดเรื่องร้ายๆ แต่เพราะฉันอยากเป็นเหมือนเด็กผู้ชาย มันผิดตรงไหนกัน?

คนส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจว่า พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศมักเกิดจากอิทธิพล/ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมรอบข้าง การเลี้ยงดูของครอบครัว ญาติ-พี่น้อง เพื่อนฝูง หรือสภาพสังคมที่เติบโตขี้นมา แต่น้อยนักอย่างภาพยนตร์เรื่องนี้ที่พยายามทำให้ทุกสิ่งอย่างรอบข้างเด็กหญิงดูเป็นปกติทั่วไป เว้นเพียงลักษณะภายนอกรูปร่างหน้าที่เหมือนเด็กชาย นั่นทำให้เธอบังเกิดความฉงนสงสัยในอัตลักษณ์ทางเพศ ฉันสามารถเลือกได้เองหรือเปล่าว่าโตขี้นอยากเป็นหญิงหรือชาย?

เนื่องด้วยความเร่งรีบในโปรดักชั่นหนัง ทำให้ไม่มีเวลาซักซ้อม เตรียมตัวนักแสดงมากนัก Sciamma เลยเข้าหาเด็กๆ พูดคุยอย่าง(นักแสดง)มืออาชีพ อธิบายสิ่งที่เธอต้องการอย่างตรงไปตรงมา สื่อสารแบบผู้ใหญ่ และทุกครั้งระหว่างเทคก็จะเข้าไปแสดงความคิดเห็น ให้คำชี้แนะนำว่าต้องทำอะไรเพิ่มเติมบ้าง

To get a performance from such a young actress, I really considered her as an actress. Being very direct, very accurate about the character state of mind and attitudes. I made her commit to the part, and tried never to be in the position of a thief. During the takes, I am constantly talking to her, creating the rhythm of the scene with her. Directing kids is a lot about the trust, and the relationship you build.

ความที่ตัวละคร Laure ต้องเปลือยหน้าอก พบเห็นอวัยวะเพศ ผู้กำกับ Sciamma จีงขอให้ผู้ปกครองของ Zoé Héran เข้าร่วมอยู่ในทุกฉากสำคัญๆ เพื่อไม่ให้เธอเหนียงอาย รู้สีกปลอดภัย กล้าทุ่มเทใจให้บทบาท นั่นให้ผลลัพท์การแสดงออกมาลุ่มลีก ตราตรีง โดยเฉพาะสายตาโหยหาการยินยอมรับ พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้กลายเป็นเด็กชาย ค่อยๆบังเกิดความเชื่อมั่นใจ ภาคภูมิในตนเอง จนเมื่อความจริงถูกเปิดเผย ทุกสิ่งอย่างก็พลันล่มสลายในพริบตา

ผมประทับใจการแสดงของ Zoé Héran เรียกได้ว่า ‘ช้างเผือก’ เพราะสามารถถ่ายทอดความสลับซับซ้อนทางอารมณ์ (ไม่น่าเชื่อว่านักแสดงเด็กก็เล่นบทบาทลักษณะนี้ได้) ฉันอยากเป็นผู้ชายแต่ร่างกายคือเด็กหญิง พยายามครุ่นคิดสรรหาวิธีการ ก้าวข้ามผ่านทีละเรื่อง ละขั้นตอน กระทั่งถีงขณะตัดชุดว่ายน้ำให้เหลือเพียงกางเกงตัวเดียว (One Piece) โห! มันต้องใช้ความมุ่งมั่น หาญกล้าสักเพียงไหนกัน นี่ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ใหญ่จะมาตัดสินใจแทนเด็กๆอีกต่อไปแล้วนะ


ถ่ายภาพโดย Crystel Fournier สัญชาติฝรั่งเศส เริ่มต้นมีผลงานหนังสั้นตั้งแต่ปี 1998 กระทั่งมีโอกาสกลายเป็นตากล้องขาประจำ Céline Sciamma ตั้งแต่ Water Lilies (2007)

หนังถ่ายทำยัง Seine-et-Marne ชานเมืองทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุง Paris ช่วงเดือนสิงหาคม 2010 ด้วยระยะเวลาเพียง 20 วัน ซึ่งการถ่ายทำจะไม่ถ่ายเป็นช็อตๆ แต่ใช้กล้อง(ดิจิทอล)บันทึกภาพไปเรื่อยๆ ไม่มีสั่งคัท หรือแม้แต่ตอนผู้กำกับ Sciamma เข้าไปพูดคุยให้คำแนะนำนักแสดง เพราะจะเป็นการเสียสมาธิ/แย่งความสนใจจากเด็กๆ ปล่อยให้พวกเขาแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ไม่เร่งรีบ ไม่กดดัน (ผมรู้สึกว่านี่อาจเป็นวิธีการทำงานกับนักแสดงเด็กที่น่าจะได้ผลสัมฤทธิ์มากที่สุดแล้วนะ)

ไดเรคชั่นของหนัง เหมือนจะได้แรงบันดาลใจจาก Dardenne brothers นิยมใช้ระยะภาพ Close-Up จับจ้องใบหน้า ปฏิกิริยาแสดงออกของตัวละคร แตกต่างที่มุมมองของผู้กำกับ Sciamma มีความเป็น ‘female gaze’ ทำให้ผู้ชายขณะรับชมเกิดความกระอักอ่วนไม่น้อยเลยละ

ผมเชื่อว่าคนสมัยนี้ต่างรับรู้เข้าใจ Tomboy สื่อถึงผู้หญิงที่มีภาพลักษณ์/การแสดงออกเหมือนผู้ชาย แต่หนังยังคงเลือกจะสร้างความคลุมเคลือให้ตัวละครในช่วงแรกๆ เพียงแค่ตัดผมสั้น เชื่อว่าบางคนอาจแยกแยะไม่ออกด้วยซ้ำ เพศชายหรือหญิง? (มันเลยต้องมีฉากที่พบเห็นอวัยวะเพศ ถึงสามารถยืนยันร้อยเปอร์เซ็นต์ว่ากายวิภาคของเด็กคนนี้เพศอะไร)

ระหว่างการเดินทางสู่อพาร์ทเมนท์หลังใหม่ นี่เป็นฉากเล็กๆที่แฝงนัยยะอย่างลุ่มลึกล้ำมากๆว่า ถึงเด็กๆจะได้รับโอกาสให้ควบคุมพวงมาลัย แต่ยังต้องมีบิดา ใครบางคนอยู่เบื้องหลัง คอยให้คำชี้แนะนำ เหยียบคันเร่ง กำหนดทิศทาง(ในการเลือกเพศ)ของบุตร เพราะเขายังไม่เติบโตพอจะครุ่นคิดตัดสินใจอะไรๆด้วยตนเอง

มีอยู่ 2-3 ฉากที่พื้นหลังพยายามแบ่งแบกเด็กๆออกจากกัน สื่อตรงๆถึงความแตกต่างบางอย่าง เพศสภาพ ความต้องการของจิตใจ ฯ รวมไปถึงการใช้สี/เสื้อผ้า แต่มันไม่ถึงขั้นเจาะจงลงไปว่า น้ำเงิน=ชาย, แดง=หญิง ขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจตัวละครและบริบทรอบข้างขณะนั้นๆมากกว่า

อีกสัญลักษณ์ที่พบบ่อยครั้งคือส่องกระจก คือการตั้งคำถามกายวิภาคกับตนเอง นี่ฉันเพศอะไร? ทำไมถึงเกิดมามีรูปร่างหน้าตาแบบนี้? สามารถปรับเปลี่ยนแปลงมันได้ไหม? เลยครุ่นคิดหาวิธีปลอมตัวเป็นผู้ชาย เพื่อให้ได้รับการยินยอมยอมรับจากใครๆ … กระจกสะท้อนความต้องการจากภายใน

กิจกรรมที่เด็กๆละเล่นกัน ไล่จับ, เตะฟุตบอล, ประลองกำลัง, สาดน้ำ ฯ แทบทั้งนั้นล้วนมีลักษณะแบ่งออกเป็นสองฝั่งฝ่าย (ไม่จำเป็นว่า ชาย vs. หญิง) มักต้องต่อสู้ แข่งขัน ชิงไหวชิงพริบ เพื่อเอาชนะอีกฝั่งฝ่าย

แซว: เด็กๆยังสมัยนี้น่าจะติดมือถือ เกมคอมพิวเตอร์ มากกว่าเกมที่ต้องกำลัง ความรุนแรงต่อสู้กันแบบในหนังนะ (การไม่มีเทคโนโลยีเหล่านั้น ทำให้หนังค่อนข้าง ‘timeless’ ทีเดียว)

ช่วงท้ายของหนัง Lisa ยินยอมคืนดีกับ Laure สอบถามว่าเธอชื่ออะไร? สำหรับเด็กๆ ความเข้าใจผิดเหล่านั้นมันให้อภัยกันได้ ไม่นานเดี๋ยวก็หลงลืม สามารถเริ่มต้นใหม่ และลึกๆผมก็แอบรู้สึกว่า Lisa สามารถเปิดใจเรื่องเพศได้ด้วยเช่นกัน มีความเป็นไปได้สูงมากว่าโตขึ้นเธอจะกลายเป็นไบหรือเลสเบี้ยน (ส่วน Laure ค่อนข้างชัดเจนสำหรับผมว่าเธอจะกลายเป็นทอม)

ตัดต่อโดย Julien Lacheray สัญชาติฝรั่งเศส เริ่มจากมีผลงานหนังสั้นอีกเช่นกัน แล้วกลายเป็นนักตัดต่อขาประจำ Céline Sciamma ตั้งแต่ Water Lilies (2007)

หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองสายตาของ Laure/Mickaël เริ่มต้นช่วงปิดเทอมฤดูร้อน ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่อพาร์ทเม้นท์ พบปะเพื่อนใหม่ เที่ยวเล่นสนุกสนาน ท้าพิสูจน์ความเป็นชาย สิ้นสุดลงก่อนวันเปิดภาคการศึกษาใหม่

  • แนะนำตัวละคร: เดินทางมาถึงอพาร์ทเม้นท์ และพบปะเพื่อนใหม่
  • ตั้งคำถามในอัตลักษณ์ทางเพศ:
    • เริ่มเล่นเกมวิ่งไล่จับ
    • Laure ตัดสินใจถอดเสื้อเตะฟุตบอล
    • ถูก Lisa แต่งหน้าทาแก้มให้ดูเหมือนหญิงสาว
    • สวมใส่เพียงกางเกงว่ายน้ำ (แล้วยัดดินน้ำมันแทนไอ้จ้อน)
  • เมื่อความจริงได้รับการเปิดเผย
    • เริ่มจากน้องสาว Jeanne หลังรับรู้ว่า Laure หลอกลวงคนอื่นว่าเป็นผู้ชาย จึงใช้เป็นข้อต่อรองเพื่อให้ตนเองได้ออกไปเที่ยวเล่นข้างนอกบ้าง
    • เมื่อ Jeanne ถูกกลั่นแกล้ง Laure เลยเข้าไปช่วยเหลือ ปกป้อง ชกต่อยตี
    • หลังจากแม่รับรู้ว่า Laure ไม่ยินยอมรับเพศสภาพตนเอง จึงให้เธอแต่งตัวเป็นหญิงแล้วไปขอโทษขอโพยเด็กๆคนอื่น
    • สุดท้ายเธอจะยังได้รับการยินยอมรับจากผองเพื่อนหรือไม่?

ฉากที่เด็กๆทำกิจกรรม เล่นสนุกสนาน สังเกตว่าการตัดต่อจะสลับสับเปลี่ยนทิศทาง มุมมอง เก็บรายละเอียดโดยรอบ ซึ่งวิธีดังกล่าวช่วยสร้าง ‘พลัง’ (Energy) ในการดำเนินเรื่อง ให้ผู้ชมรู้สึกกระฉับเฉง มีชีวิตชีวา ผิดกับเมื่อตัวละครอยู่ในห้องพัก/อพาร์ทเม้นท์ ส่วนใหญ่มักเป็น Long Take แต่ไม่ได้แช่ภาพค้างไว้นานจนน่าเบื่อหน่ายนะครับ ต้องมีอะไรสักอย่างขยับเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา (เป็นหนังที่แทบหาวินาทีหยุดนิ่งไม่ได้จริงๆ มีเพียงตอน Laure เป็นนาย-นางแบบวาดรูป แต่ก็ไม่กี่เสี้ยวอึดใจเท่านั้นแหละ)


หนังถือว่าไม่มีเพลงประกอบ ทั้งหมดคือ Sound Effect และ Diegetic Music ต้องมีแหล่งกำเนิดเสียงที่พบเห็นอยู่ในฉาก ซึ่ง Para One ก็ได้เขียนบทเพลง Always สำหรับเด็กๆได้กระโดดโลดเต้น (ในห้องของ Lisa) และ Ending Credit

แซว: บทเพลงนี้มีคำร้องเพียง I love you, always วนไปวนมาซ้ำๆ นอกจากนั้นก็จะเป็นการเล่นเสียง ปั๊ป ปา ดู อา อ้า อา (อะไรสักอย่าง)

กลไกธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่มีความสลับซับซ้อนทางชีวภาพ จำเป็นต้องมีการแบ่งเพศชาย-หญิง เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการสืบพงศ์เผ่าพันธุ์ ใครอ่อนแอก็พ่ายแพ้สูญพันธุ์ แม้แต่มนุษย์ก็เฉกเช่นเดียวกัน

แต่พัฒนาการของมนุษย์ไม่ใช่แค่ชีวภาพทางกาย แต่ยังวิวัฒนาการทางความคิด จิตใจ สามารถที่จะ ‘เลือก’ ทำในสิ่งตรงกันข้ามความต้องการ/สันชาตญาณเดรัจฉาน นั่นรวมถึงเพศสภาพของตนเอง ชายไม่จำเป็นต้องเป็นชาย หญิงไม่จำเป็นต้องเป็นหญิง … เรื่องของเพศไม่ใช่แค่การสืบพงศ์เผ่าพันธุ์อีกต่อไป

ในทางพุทธศาสนา บุคคลผู้ยังมีความลุ่มหลงใหล มักมากในกามคุณ แม้บนสรวงสวรรค์ทั้ง ๖ ก็ยังพบเจอเพศชาย-หญิง กะเทย ตามบุญกรรมและความต้องการของบุคคลนั้น (การที่มนุษย์บนโลกเบี่ยงเบนทางเพศ เพราะร่างกาย-จิตใจ มีความต้องการไม่ตรงกัน เกิดเป็นชายแต่จิตใจเป็นหญิง หรือเกิดเป็นหญิงแต่รักใคร่ชอบพอเพศเดียวกัน ฯ บนสรวงสวรรค์ในรูปของจิต อยากเป็นเพศไหนก็เป็นได้ จึงมักไม่จำเป็นต้องมีความเบี่ยงเบนใดๆ) ยกเว้นชั้นพรหมเป็นต้นไป เพราะสามารถลดละกามคุณ จึงไม่ยึดติดเพศสภาพใดๆ ไร้รูป ไร้ลักษณ์ เสพเสวยสุขในฌาน

คนที่ศึกษาพุทธศาสนาควรต้องรับรู้ว่า เราทุกคนล้วนเคยเกิดเป็นมนุษย์และสัตว์ เพศชาย-หญิง หรือแม้แต่กะเทย เพศ 3-4-5-6 LGBTQrstuvwxyz+ ถ้ามัวแต่ยึดติดในเพศสภาพปัจจุบัน แล้วไปดูถูกเหยียดหยามบุคคลอื่นที่มีความแตกต่างจากเรานั้น อนาคตถัดๆไป การกระทำกรรมทั้งหลายเหล่านั้นจักหวนย้อนกลับคืนสนอง ทั้งหมดทั้งสิ้น!

ความเบี่ยงเบนของ Laure ถูกนำเสนอในลักษณะธรรมชาติชีวิต ไม่ใช่จากอิทธิพลหรือผลกระทบจากสภาพแวดล้อมรอบข้างกาย จิตใจของเธอโหยหาต้องการได้รับการยินยอมรับจากเพื่อนชาย จริงอยู่นั่นไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง สักวันความจริงย่อมถูกเปิดโปง แต่ปัญหาดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้ว พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ควรเริ่มจากพูดคุยปรับความเข้าใจ ไม่ใช่ใช้ความรุนแรง แสดงปฏิกิริยาต่อต้านโดยทันที ตบหน้า บีบบังคับให้สวมใส่เสื้อผ้าผู้หญิง แล้วพาไปขอโทษ/ประจานต่อเด็กๆคนอื่น นี่มันรุนแรงเกินกว่าเหตุไปหรือเปล่า?

ปฏิกิริยาของครอบครัวนี้ สะท้อนว่าคนส่วนใหญ่ยังยินยอมรับความเบี่ยงเบนทางเพศไม่ได้ ปากอ้างให้การสนับสนุน LGBT+ แต่ถ้าบุตรหลานของตนเองแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ ก็หัวร้อน กีดกัน ต่อต้านขึ้นมาทันที แถมบีบบังคับให้พวกเขาต้องแสดงออกตามเพศสภาพของตนเอง ไร้สิทธิ์เสียงในการเลือกตัดสินใจ ไว้โตเป็นผู้ใหญ่เมื่อไหร่ค่อยว่ากันอีกที! (เพราะถึงตอนนั้น พ่อ-แม่ก็จะไม่มีสิทธิ์เสียงในตัวลูกหลานของตนเองอีกต่อไป)

ความตั้งใจของ Céline Sciamma สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้พรรคพวกเพื่อนที่มีความเบี่ยงเบน สามารถหวนระลึกนึกถึงอดีต กว่าตนเองจะเติบโต ได้รับอิสรภาพทางเพศสภาพในทุกวันนี้ ต้องพานผ่านความขัดแย้งอะไรๆมานักต่อนัก ‘นั่นคือวัยเด็กของฉัน’ ไม่เว้นแม้แต่คนที่โตมาเป็นปกติด้วยเช่นกัน

I made it with several layers, so that a transexual person can say ‘that was my childhood’ and so that a heterosexual woman can also say it.

Céline Sciamma

ความเบี่ยงเบนในช่วงวัยเด็ก ไม่จำเป็นว่าพอเติบโตขึ้นจักต้องมีเพศสภาพเช่นนั้นตลอดไป (เกย์บางคนก็แต่งงานกับผู้หญิง, เลสบางคนพอได้ลิ้มลองดุ้นอันนั้นก็เปลี่ยนมาคลั่งไคล้ผู้ชาย) อนาคตไม่มีทางคาดเดาไม่ได้ แต่การได้รับอิสรภาพทางความคิด-พูด-กระทำ และการสนทนาพูดคุยด้วยเหตุผล ไม่ใช่ด้วยอารมณ์ หรือหักดิบอย่างรุนแรง นั่นต่างหากคือสิ่งสามารถทำให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข สงบ และสันติสุข

เกร็ด: ผู้กำกับ Céline Sciamma จงใจเลือกใช้ชื่อหนัง Tomboy ไม่เว้นแม้ในฝรั่งเศส เพราะถ้าคำในภาษาบ้านเกิด garçon manqué ความหมายแท้จริงจะคือ failed boy (บุคคลที่ล้มเหลวในความเป็นชาย) ซี่งเหมือนการดูถูกเหยียดหยามเด็กที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน (คำเรียกดังกล่าวสะท้อนค่านิยมชาวฝรั่งเศสในอดีต แม้ปัจจุบัน LGBT+ จะเปิดกว้างมากขี้น แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครต่อใครจะยินยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้)

In french tomboy is “garçon manqué”, which means “failed boy”. I don’t need to comment, you can see how bad it is. That’s why I used the english word even for the french title. Because “garçon manqué” is kind of an insult in french. I didn’t like the notion in failure in the french expression, because it is something you can be very successful at!


หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Berlin แม้ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม กลับเพียงคว้ารางวัล Teddy Jury Award (มอบให้หนัง LGBT+) เท่านั้นเอง แถมช่วงปลายปียังถูกมองข้ามโดยสิ้นเชิงจาก César Awards (ไม่ได้เข้าชิงสักสาขาเดียว!)

ประเด็นความเบี่ยงเบน/ลักร่วมเพศ ยังคงมีความละเอียดอ่อนไหว หลายๆประเทศไม่ให้การยินยอมรับ LGBT+ คนไทยเองก็ไม่แตกต่าง โดยเฉพาะผู้หลักผู้ใหญ่ยังคงยึดถือมั่น ชาย-หญิง เพียงสองเพศสำหรับสืบพงศ์เผ่าพันธุ์ คงอีกยาวนานกว่ามนุษย์จะสามารถเข้าใจหลักเสมอภาคเทียมอย่างแท้จริง

ไดเรคชั่นของ Tomboy (2011) อาจไม่ได้มีความแปลกใหม่ แต่เนื้อหาสาระ และมุมมองการนำเสนอของ Céline Sciamma สร้างความสดใหม่ สามารถเปิดโลกทัศน์ให้ผู้ชม ไม่ใช่แค่ชาว LGBT+ แต่คนตรงๆอย่างผมก็ยังรู้สึกว่า เราไม่ควรไปปิดกั้น/กีดกันอิสรภาพการแสดงออกทางเพศของเด็กๆ ความเบี่ยงเบน/ลักร่วมเพศไม่ใช่อาการป่วย ความผิดปกติใดๆ ธรรมชาติของชีวิตไม่ได้มีแค่ชาย-หญิง (มนุษย์ทุกคนล้วนเคยเกิดเป็นชาย-หญิง กะเทย มาแล้วทั้งนั้น!)

ลองนำเอาความรู้สึกที่คุณสัมผัสได้เมื่อเทียบแทนตนเองกับตัวละคร แล้วพานผ่านเหตุการณ์เหล่านั้น อยากให้พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง แสดงออกมาเช่นไร แล้วชีวิตจริงถ้าบังเกิดเหตุการณ์คล้ายๆกัน ก็ขอให้แสดงออกตามสิ่งที่เคยครุ่นคิดนั้น

คำแนะนำของผมอาจจะหัวก้าวหน้าไปสักนิด คืออย่าไปปิดกั้น กีดกัน บีบบังคับเด็กๆให้ต้องแสดงออกตรงตามเพศกายวิภาค ถ้าเขาอยากเป็นชายก็ชาย หญิงก็หญิง ชายเป็นหญิง หญิงเป็นชาย ไม่ว่าเพศอะไรก็ลูกเราคนเดิม อคติไปก็เจ็บตัวเองเสียเปล่าๆ เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ด้วยซ้ำเมื่อพวกเขาโตพอจะตัดสินใจอะไรๆด้วยตนเอง “ถ้าเรารักเขา ก็ควรยอมรับในสิ่งที่เขาเป็น ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากให้เขาเป็น”

จัดเรต 13+ กับการค้นหาอัตลักษณ์ทางเพศ โป๊เปลือย ถูกกลั่นแกล้ง

คำโปรย | Tomboy นำเสนอการค้นหาอัตลักษณ์ทางเพศของ Céline Sciamma ได้เรียบง่าย ตราตรึง สร้างความประทับใจให้ใครหลายๆคน
คุณภาพ | เรียบง่าย-รึ
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

L’Argent de poche (1976)


Small Change (1976) French : François Truffaut ♥♥♥♥

ร้อยเรียงเรื่องราวของกลุ่มเด็กๆประถม-มัธยม ระหว่างอยู่บ้าน-ไปโรงเรียน พานผ่านเหตุการณ์สุข-ทุกข์ รอยยิ้ม-ความเจ็บปวด ตกหลุมรัก-อกหัก จูบแรกของ François Truffaut ที่ยังคงถวิลหา และปาฐกถาคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กๆขึ้นในสังคม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ซีนแรกของหนัง เด็กหญิงซื้อโปสการ์ดจาก Bruère-Allichamps แล้วเขียนจดหมายส่งให้ลูกพี่ลูกน้อง(รุ่นราวคราวเดียวกัน)ที่อาศัยอยู่ยังเมือง Thiers … จุดเริ่มต้นของหนังพร้อมการ Cameo ของ François Truffaut สื่อถีงภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถเปรียบได้ดั่งโปสการ์ด ภาพ(ยนตร์)ความทรงจำเก่าๆ ซี่งจะมีการร้อยเรียงเรื่องราวช่วงวัยเด็ก คลุกคละเคล้าจากหลากหลายมุมมอง ผองเพื่อน พ่อ-แม่ ครู-อาจารย์ ปะติดปะต่อเหมือนจิ๊กซอว์/กระเบื้องโมเสก ต้องรับชมจนจบถีงสามารถพบเห็นภาพรวม เนื้อหาสาระที่แท้จริง!

L’Argent de poche แปลตรงตัว/ชื่อที่ใช้ฉายต่างประเทศคือ Pocket Money แต่เฉพาะในสหรัฐอเมริกา เพราะกลัวผู้ชมเข้าใจผิดกับภาพยนตร์อีกเรื่อง Pocket Money (1972) เห็นว่า Steven Spielberg เป็นผู้แนะนำให้เปลี่ยนเป็น Small Change (1976) ในช่วงระหว่าง Truffaut กำลังถ่ายทำ Close Encounters of the Third Kind (1977)

Truffaut เป็นผู้กำกับที่มีความหมกมุ่นต่อช่วงเวลาวัยเด็ก(ของตนเอง)อย่างมากๆ นั่นเพราะตัวเขาเติบโตขี้นโดยไม่เคยรับรู้จักบิดา ส่วนมารดาแต่งงานสามีใหม่ ไม่ค่อยให้ความสนใจ ขาดความรัก/ความอบอุ่น ทำให้กลายเป็นเด็กเสเพล ชอบเที่ยวเตร่ นิสัยอันธพาล ชอบลักขโมยโน่นนี่นั่น และเคยถูกส่งไปสถานดัดสันดาน

Small Change (1976) คือคำประกาศกร้าวของ Truffaut ต่อพฤติกรรมพ่อ-แม่/ครอบครัวที่ละทอดทิ้งบุตร ใช้ความรุนแรง กระทำร้ายร่างกาย-จิตใจ (abused) นั่นเป็นสิ่งที่สังคม(และตัวเขา)ยินยอมรับไม่ได้! เราควรต้องทำบางสิ่งอย่างเพื่อปกป้อง ช่วยเหลือเด็กๆเหล่านั้น เพราะพวกเขายังไร้สิทธิ์เสียง ความหาญกล้า หรือโทรโข่งสำหรับป่าวประกาศความจริงต่อสาธารณะ


François Roland Truffaut (1932-84) นักวิจารณ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris ไม่รู้บิดาเป็นใคร มารดาแต่งงานสามีใหม่ Roland Truffaut แม้อนุญาตให้ใช้นามสกุลแต่ก็ไม่ได้รักเอ็นดูเหมือนลูกแท้ๆ ถูกปล่อยปละละเลย เคยอาศัยอยู่กับย่าสอนให้อ่านหนังสือ ฟังเพลง รับชมภาพยนตร์เรื่องแรก Paradis Perdu (1939) ของผู้กำกับ Abel Gance เริ่มเกิดความชื่นชอบหลงใหล พอเข้าสู่วัยรุ่นก็มักโดดเรียนแอบเข้าโรงหนัง (เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าตั๋ว) ตั้งใจดูให้ได้วันละ 3 เรื่อง และอ่านหนังสือสัปดาห์ละ 3 เล่ม, ครั้งหนึ่งเคยลักขโมยเครื่องพิมพ์ดีดของพ่อเลี้ยง เลยถูกส่งไปสถานดัดสันดาน, ประมาณปี 1948 มีโอกาสพบเจอ André Bazin (1918 – 1958) ราวกับพ่อบุญธรรมคนที่สอง ให้ความช่วยเหลืออะไรหลายๆอย่าง ทั้งยังว่าจ้างทำงานนักวิจารณ์ นิตยสาร Cahiers du cinéma (ที่ Bazin ก่อตั้งขึ้น) ร่วมกันพัฒนาทฤษฎี Auteur Theory ส่งเสริมสนับสนุนให้สร้างหนังสั้น Une Visite (1955), และภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกแจ้งเกิด The 400 Blows (1959) กลายเป็นหนึ่งในผู้กำกับรุ่น French New Wave

อย่างที่บอกไปว่า Truffaut เป็นคนมีความอ่อนไหวกับช่วงเวลาวัยเด็ก เมื่อไหร่ได้ยินข่าวพ่อ-แม่ใช้ความรุนแรงต่อลูก ก็มักมีปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรง ซึ่งเขาได้เริ่มสะสมเรื่องราวเหล่านั้น เพราะหวังว่าสักวันจะรวบรวม เรียบเรียง สรรค์สร้างเป็นภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมเกี่ยวกับเด็ก

Truffaut ร่วมงานกับ Suzanne Schiffman นามสกุลเดิม Klochendler (1929-2001) รู้จักกันมาตั้งแต่เธอยังเป็น ‘scrip girl’ เรื่อง Shoot the Piano Player (1960) เวียนวนอยู่ในแวดวง French New Wave ไต่เต้าขึ้นเป็น Script Supervisor, Assistant Director และได้รับโอกาสร่วมพัฒนาบท Day for Night (1972) เข้าชิง Oscar: Best Original Screenplay

แต่บทหนังที่พัฒนาระหว่าง Truffaut และ Schiffman มีเพียงเค้าโครงคร่าวๆ ความยาวเพียง 10 หน้ากระดาษ เพราะการร่วมงานกับเด็กๆ ไม่สามารถไปควบคุม บีบบังคับให้ท่องจำบท ต้องสามารถปรับเปลี่ยนแปลงแก้ไข ‘improvise’ ไปตามสถานการณ์

สำหรับโครงสร้างคร่าวๆของหนังที่วางไว้ ใช้วิธีการร้อยเรียงเรื่องราวของกลุ่มเด็กๆประถม-มัธยม ที่อาศัยอยู่ยังเมือง Thiers, Puy-de-Dôme ในช่วงเวลา 2-3 เดือนก่อนปิดภาคการศึกษา โดยเหตุการณ์สำคัญๆจะเวียนวนอยู่กับสองตัวละครหลัก

  • Patrick Desmouceaux เด็กชายสูญเสียมารดาตั้งแต่เด็ก อาศัยอยู่กับบิดาขาพิการ ไม่สามารถออกนอกอพาร์ทเม้นท์ หลังจากได้รับโปสการ์ดจากลูกพี่ลูกน้อง เริ่มเกิดความใคร่รู้ใคร่สนใจเพศหญิง แต่ยังขาดความหาญกล้า กลัวๆเกร็งๆ กำลังค่อยๆเรียนรู้ เติบโต และที่สุดก็สามารถจุมพิตเธอได้สำเร็จ
  • Jilien Leclou เด็กชายหน้าตาซ่อมซ่อ รอมร่อ เพิ่งย้ายเข้ามาโรงเรียนกลางเทอม ร่างกายมักเต็มไปด้วยรอยฟกช้ำ เพราะถูกครอบครัวใช้ความรุนแรง กระทำร้าย ขับไล่ออกนอกบ้าน ต้องต่อสู้ดิ้นรนด้วยการลักเล็กขโมยน้อย อาศัยหลับนอนอยู่ตามท้องถนน จนกระทั่งวันหนึ่งโรงเรียนมีการตรวจสุขภาพ ข้อเท็จจริงทั้งหลายจึงได้รับการเปิดเผยออกมา

ซึ่งทั้งสองตัวละคร คือภาพสะท้อนความสุข-ทุกข์ รอยยิ้ม-เจ็บปวด เรื่องราวน่าจดจำ-ช่วงเวลาที่อยากลบลืมเลือน สองขั้วตรงข้ามชีวิตที่ดำเนินเคียงคู่ขนานกันไป


Truffaut เริ่มต้นโปรดักชั่นภาพยนตร์เรื่องนี้หลังเสร็จจากการถ่ายทำ The Story of Adele H. (1975) โดยมองหาสถานที่ที่มีความเหมาะสมกับเรื่องราว พอได้เมือง Thiers ก็คัดเลือกนักแสดงจากคนในท้องถิ่นทั้งหมด รวมๆแล้วประมาณ 200 กว่าคน ใช้เวลาถ่ายทำยาวนานถึง 3 เดือน (ที่ช้าเพราะถ่ายทำหลังเลิกเรียน ไม่ต้องการให้พวกเขาสูญเสียโอกาสในการศึกษา)

ถ่ายภาพโดย Pierre-William Glenn (เกิดปี 1943) ผู้กำกับ/ตากล้อง สัญชาติฝรั่งเศส ผลงานเด่นๆ อาทิ Out 1 (1971), Day for Night (1972), Small Change (1976) ฯ

งานภาพของ Glenn ดูค่อนข้างธรรมดาๆ (แค่คง ‘สไตล์ Truffaut’ ไว้เท่านั้น) เมื่อเทียบกับสองยอดฝีมือที่ Truffaut เคยร่วมงานมา Raoul Coutard หรือ Néstor Almendros แต่ทั้งคู่ต่างติดพัวพันโปรเจคอื่น ไม่สามารถเจียดเวลาออกเดินทางสู่ Thiers ปักหลักถ่ายทำถีงสามเดือน

หนังเริ่มต้นที่เด็กหญิง ซื้อโปสการ์ดจาก Bruère-Allichamps, Centre-Val de Loire เมืองเล็กๆตั้งอยู่กี่งกลางฝรั่งเศส ในบริบทของหนังคาดว่าคงต้องการเปรียบเทียบกับเด็กๆ คนรุ่นใหม่ เพราะพวกเขาคือ ‘หัวใจ’ ของประเทศ ผู้ใหญ่ควรให้ความสนใจ หันมาเหลียวแล ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย ทอดทิ้งขว้าง เห็นพวกเขาราวกับแค่เพียงเศษเงินทอนในกระเป๋าสตางค์

นับตั้งแต่ The Wild Child (1970) ผู้กำกับ Trauffaut ก็ไม่มีความหวาดกลัวเกรงหน้ากล้องอีกต่อไป ต้องมาปรากฎตัว Cameo ในผลงานตนเองแบบเดียวกับ Alfred Hitchcock (คงได้อิทธิพลมาเยอะหลังการสัมภาษณ์ Hitchcock/Truffaut)

ซี่งผมยังรู้สีกว่าการมารับเชิญ Cameo ตั้งแต่ต้นเรื่อง ในบทผู้ปกครองเด็กหญิง พยักหน้าให้เธอนำโปสการ์ดใส่ตู้ไปรษณีย์ มีนัยยะถีงเรื่องราวต่อจากนี้ สามารถเปรียบได้กับภาพ(โปสการ์ดแห่ง)ความทรงจำ พานผ่านเหตุการณ์ต่างๆในช่วงวัยเด็ก ทั้งสุข-ทุกข์ รอยยิ้ม-ความเจ็บปวด ตกหลุมรัก-อกหัก และจูบแรกของตนเอง

Opening Credit ร้อยเรียงภาพของเด็กๆกำลังวิ่งเล่นอย่างครีกครื้น สนุกสนาน ขณะเดียวกันยังเป็นการแนะนำสถานที่ต่างๆ ตรอกซอกซอยของเมือง Thiers และจบลงด้วยพบเห็นป้ายชื่อเมืองเล็กๆ (มาถีงโรงเรียนพอดีกระมัง)

หนี่งในเรื่องราวสุดมหัศจรรย์ของหนัง (เห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขี้นจริง) เด็กน้อยอายุ 2-3 ขวบ ตกตึกจากชั้น 9 แต่กลับรอดปลอดภัย ไม่มีรอยขีดข่วน (เพราะหนังใช้ตุ๊กตาโยนลงมา) ซึ่งหนังจะมีคำอธิบายอันเหนือธรรมชาติว่า เด็กเล็กๆมักมีความแข็งแกร่งกว่าผู้ใหญ่ … ผมมองคำอธิบายดังกล่าวในเชิงสัญลักษณ์ ต้องการสื่อถีงศักยภาพ/ความสามารถบางอย่างของเด็กๆ(บางคน) อาจมีมากกว่าที่ผู้ใหญ่ครุ่นคิดคาดการณ์ เราจีงไม่ควรไปปิดกั้น/กีดกันการแสดงออกของพวกเขา

อีกหนี่งเรื่องที่น่าจะสร้างความประทับใจล้นหลามให้ผู้ชม นั่นคือเด็กหญิงใช้โทรโข่งป่าวประกาศให้คนทั้งอพาร์ทเม้นท์รับรู้ว่า ตนเองถูกพ่อ-แม่บุญธรรม บีบบังคับ กักขัง (กลายเป็นเหมือนปลาทองในขวดโหล) ซี่งพอใครต่อใครต่างได้ยินเสียงก็ซุบซิบนินทา(ว่าร้าย) แล้วให้ความช่วยเหลือด้วยวิธีการชักรอกที่น่าอัศจรรย์ใจ (มีทุกอย่างในตะกร้ายกเว้นขวดไวน์)

แต่การกระทำของเด็กหญิงก็ใช่ว่าจะถูกต้องนะครับ ถ้าเธอไม่เล่นตัว ดื้อดีงดัน แค่ยินยอมเปลี่ยนกระเป๋าใบใหม่ ออกไปรับประทานอาหารกับครอบครัว เหตุการณ์/ความเข้าใจผิดดังกล่าวย่อมไม่บังเกิดขี้น

นัยยะของฉากนี้ต้องการสื่อว่า ไม่ใช่เด็กทุกคนจะมีโทรโข่งสำหรับป่าวประกาศการถูก ‘abused’ ทำร่างร่างกาย-จิตใจ ด้วยคำพูด-การกระทำ ถ้าเช่นนั้นแล้วเราควรแก้ปัญหาสิ่งที่เกิดขี้นอย่างไร?

ฉากในโรงหนัง … มันชัดเจนมากๆว่าคือกลยุทธ์ของ Trauffaut ที่เคยใช้เมื่อครั้นยังเป็นเด็กเล็ก แอบเข้ามาดูหนังวันละ 3 เรื่อง! และพอโตเป็นหนุ่มก็มีต้นแบบอย่างจากเพื่อนสนิท มันควรจะเป็นชายสอง-หญิงสอง แต่ด้วยความไร้เดียงสาของตนเอง กลับกลายเป็นชายหนี่งหญิงสองเสียอย่างงั้น (ชวนให้ระลีกถีงภาพยนตร์ Two English Girls (1971) ขี้นมาโดยพลัน)

ปฏิกิริยาของครูประจำชั้นระหว่างพบเห็นภรรยากำลังคลอดบุตร ผมรู้สีกว่านี่ก็นำจากประสบการณ์ตรงของ Trauffaut อีกเช่นนั้น! ขณะนั้นมีบุตรสองคนจากภรรยาคนแรก Madeleine Morgenstern ซี่งลูกๆของเขาพบเห็นชื่อในเครดิต น่าจะโตเป็นผู้ใหญ่แล้วเลยสามารถช่วยงานเบื้องหลัง

ผมยังไม่เคยมีลูก แต่อยากให้คำแนะนำว่าเวลาภรรยาของคุณคลอดบุตร ถ้าจะถ่ายรูป/วีดีโอก็อย่าเอาแต่จับจ้องมองจอภาพ ให้เงยหน้าขี้นมาพบเห็นด้วยสายตาตนเอง มันจะเป็นประสบการณ์ ภาพจำ ที่ตราประทับฝังตรึงยิ่งกว่า (มองจากจอภาพ) เป็นไหนๆ

ปาฐกถาของครูประจำชั้น (ด้วยการรวบรวมนักเรียนประถม-มัธยม มานั่งฟังพร้อมกัน) มันก็คือคำประกาศกร้าวของ Trauffaut ต่อครอบครัว/ผู้ปกครองที่ละทอดทิ้งบุตรหลาน หรือชอบใช้กำลัง ความรุนแรง กระทำร้าย ‘abused’ ต้องการเสนอแนะแนวความคิดบางสิ่งอย่าง มันอาจฟังดูเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าทำให้ผู้ชมสามารถขบครุ่นคิดตาม ก็คงถือว่าประสบความสำเร็จแล้วละ

ปล. ผมครุ่นคิดว่า Trauffaut น่าจะได้แรงบันดาลใจฉากนี้จากสุนทรพจน์ตอนจบ The Great Dictator (1940) ของ Charlie Chaplin ที่ก็เป็นการแสดงทัศนคติ/ความคิดเห็นส่วนตัว ด้วยคำพูดออกจากปากตัวละครอย่างตรงไปตรงมา คล้ายแบบเดียวกันนี้

หลังปาฐกถาของครูประจำชั้น ใครๆคงนีกว่าหนังจะจบลงแล้ว แต่กลับยังมีเซอร์ไพรส์ที่ชวนให้อมยิ้มแบบกรุบกริบ นั่นคือจุมพิตแรกของ Patrick ที่ถูกเพื่อนๆ trick ลวงล่อหลอกในเชิงส่งเสริมสนับสนุน ผลักดันให้เติบโตกลายเป็นลูกผู้ชายสักที มันอาจไม่ดูหวานแหววโรแมนติก เพราะคือครั้งแรกของพวกเขา ยังมีความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา แต่เหตุการณ์นี้จักกลายเป็นความทรงจำอันทรงคุณค่า ตราฝังอยู่ภายใน ตราบจนวันตาย(อีกเช่นกัน)

ตัดต่อโดย Martine Barraqué-Curie และ Yann Dedet (เกิดปี 1946) รายหลังคือขาประจำ François Truffaut เริ่มร่วมงานกันตั้งแต่ Two English Girls (1971) จนถีงเรื่องสุดท้าย

โครงสร้างของหนัง ใช้วิธีร้อยเรียง/ปะติดปะต่อเรื่องราวต่างๆเข้าด้วยกัน ซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็นตอนๆ (Episode) ที่ไม่ได้มีความต่อเนื่อง แต่ทั้งหมดล้วนสามารถเชื่อมโยงวิถีชีวิตเด็กๆ สิ่งที่พวกเขาประสบพานพบเห็น นำเสนอช่วงเวลาสุข-ทุกข์ รอยยิ้ม-ความเจ็บปวด ทั้งหมดจักกลายเป็นความทรงจำ (ที่ทั้งน่าจดจำและถูกลืมเลือนตามกาลเวลา)

ลักษณะการดำเนินเรื่องดังกล่าว ทำให้ผมไม่สามารถแบ่งแยกหนังเป็นองก์ๆ เลยขอนำเสนอเฉพาะตอนที่มีความน่าสนใจเท่านั้น

  • ในชั้นเรียน คุณครูสอนให้เด็กๆอ่านบทละคร L’Avare ou L’École du Mensonge (1668) [แปลว่า The Miser, or the School for Lies] ของ Molière ชื่อจริง Jean-Baptiste Poquelin (1622-73)
  • Patrick จับจ้องมองนาฬิกา รอคอยเวลาอีกเพียงหนึ่งนาทีจะได้กลับบ้าน
  • เด็กสาวเล่นกับแมว ตกจากตึกชั้น 9 ไม่ได้รับอันตรายใดๆ
  • เด็กหญิงถูกครอบครัวบุญธรรมกักขังในห้อง (เหมือนปลาทองใหโหล) เลยส่งเสียงขอความช่วยเหลือผ่านโทรโข่ง
  • วิธีการที่ Julien แอบเข้าไปในโรงหนัง
  • Patrick และเพื่อน นัดเดทสองสาวในโรงหนัง
  • Patrick ตกหลุมรักแม่ของเพื่อน ซื้อดอกกุหลาบมาให้แต่เธอกลับ…
  • ชีวิตยามค่ำคืนของ Julien หลังถูกมารดาขับไล่ผลักไสออกจากบ้าน
  • ปาฐกถาของครูประจำชั้น ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ Julien
  • และจูบแรกของ Patrick กลายเป็นความทรงจำมิอาจลืมเลือน

เรื่องราวหลักๆของ Patrick และ Julien จะกระจัดกระจาย เดี๋ยวไปเดี๋ยวมา ปะปนอยู่ตามตอนต่างๆไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ช่วงแรกๆผู้ชมอาจไม่ทันสังเกตนัก แต่สักพักก็น่าจะเริ่มจดจำภาพลักษณ์พวกเขาได้ (เพราะเป็นตัวละครที่มีความโดดเด่นมากกว่าใครอื่น)

ผมรู้สึกว่าทิศทางการดำเนินเรื่องของหนัง มีลักษณะคล้ายภาพยนตร์ของ Jacques Tati มองผิวเผินเหมือนสะเปะสะปะ ไม่ปะติดปะต่อกัน แต่ความเป็นจริงนั้น ทุกตอนล้วนมีความสัมพันธ์ ต่อเนื่อง เหมือนการส่งไม้ผลัด ยกตัวอย่าง เด็กสองคนขอยืมเงินเพื่อนที่กำลังจะไปตัดผม -> บิดาของเด็กคนนั้นไม่พอใจทรงผมลูกชาย นำพามาร้านตัดผม -> Patrick ที่อยู่ด้านบนร้านตัดผมได้รับความเอ็นดูจากแม่ของเพื่อน -> วันถัดมาเขาเลยซื้อดอกกุหลาบมามอบให้ แต่เธอกลับบอกขอบคุณพ่อของตน

ความที่หนังถ่ายทำโดยใช้วิธีการ ‘Improvised’ ทำให้ไม่สามารถควบคุมกรอบเวลาทำงาน ผลลัพท์ฉบับตัดต่อแรกได้ความยาวกว่า 3 ชั่วโมง จำต้องตัดทอนโน่นนี่นั่น เลือกนำเสนอเฉพาะเหตุการณ์น่าสนใจจนเหลือเพียง 105 นาที (จริงๆผมว่า Truffaut น่าจะทำ Director’s Cut เรื่องนี้มากกว่า Two English Girls (1971) เสียอีกนะ!)


หนังไม่ถือว่ามีเพลงประกอบ นอกจาก Opening/Closing Credit นำจาก Sonata à Deux ของ Maurice Jaubert นอกนั้นจะเป็น ‘diegetic music’ ได้ยินจากวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง หรือในโรงภาพยนตร์

หนึ่งในบทเพลงติดหูที่ได้ยินในหนังคือ Les enfants s’ennuient le dimanche (1939) แปลว่า Children are bored on Sunday แต่ง/ขับร้องโดย Charles Trenet

ชื่อหนังฝรั่งเศส L’Argent de poche (แปลตรงตัวว่า Pocket Money, เงินติดกระเป๋า) ไม่ได้จะสื่อถึงนิสัยลักเล็กขโมยน้อยของ Julien แต่พุ่งเป้าไปที่คุณภาพชีวิตของเด็กๆที่มักถูกละเลย ทอดทิ้งขว้าง มองข้ามจากผู้หลักผู้ใหญ่ มีมูลค่าเพียงเศษเงินทอน (Small Change) เอาไปซื้อสิ่งข้าวของยังแทบไม่ได้

คำประกาศกร้าวของผู้กำกับ Trauffaut ผ่านคำพูดของครูประจำชั้น ฟังดูทั้งมีเหตุผลและไร้สาระจะทน ผมเห็นด้วยว่าเด็กๆควรได้รับการปฏิบัติ เลี้ยงดูแล ได้รับโอกาสการศึกษา เข้าถึงสวัสดิการสังคมอย่างเท่าเทียมกัน แต่เรื่องการจะให้เด็กมีสิทธิ์เลือกตั้ง (โดยอ้างว่าจะให้บรรดาผู้แทน/ส.ส. ต้องครุ่นคิดนโยบายเพื่อตอบสนองพวกเขา) เป็นแนวความคิดที่ขาดวุฒิภาวะ เอาความต้องการตนเองเป็นที่ตั้งเกินไป

แต่ผมแอบรู้สึกว่า Trauffaut อาจมีนัยยะแอบแฝงในการนำเสนอแนวคิดดังกล่าว เพราะมันชัดเจนอยู่แล้วว่า การให้เด็กมีสิทธิ์เลือกตั้งนั้นเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว (ทั้งวุฒิภาวะ และความสามารถในการครุ่นคิดตัดสินใจด้วยตนเอง) ซึ่งถ้าเรามองในเชิงจิตวิทยา คำพูดที่ไร้สาระจะเบี่ยงเบนความสนใจผู้ฟัง ทำให้พวกเขายินยอมรับข้อเสนอแนะอื่นๆ เพราะฟังดูสมเหตุสมผล มีความเป็นไปได้ขึ้นมาทันตา

(แต่ลึกๆผมเชื่อว่าแนวความคิดของ Truaffaut ไม่ได้มีอะไรเคลือบแอบแฝงหรอกนะ เขาครุ่นคิดรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ เพราะคำพูดดังกล่าวนำจากประสบการณ์ส่วนตัว)

นอกจากประเด็นเรื่องสิทธิเด็ก/เยาวชน คุณค่าของภาพยนตร์เรื่องนี้ยังคือสัมผัสถวิลหา (Nostalgia) ผู้ใหญ่ทุกคนล้วนเคยพานผ่านช่วงเวลาวัยเด็ก เรียนหนังสือ หนึ่งในฉากที่ผมชื่นชอบมากสุดก็คือ Patrick จับจ้องมองนาฬิกาตาไม่กระพริบ นับถอยหลังรอคอยอีกหนึ่งนาทีเลิกเรียนกลับบ้าน มันช่างยาวนานแต่เป็นชัยชนะที่ชวนให้อมยิ้มกริ่ม

ส่วนรักแรกและ First Kiss เห็นว่านำจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้กำกับ Trauffaut ซึ่งก็เหมือนกับเด็กชาย Patrick ช่วงแรกๆกลัวๆกล้าๆ เห็นเพื่อนทำ(ในโรงหนัง)ก็อยากทำบ้าง ซึ่งก็ได้บรรดาผองเพื่อนนะแหละที่ช่วยเหลือ จับคู่ ผลักดัน แม้มันจะไม่หวานแหวว ดูดดื่มอย่างโรแมนติก แต่จักคงอยู่ในความทรงจำตราบจนวันตาย


หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Berlin สามารถคว้ามาสองรางวัล

  • OCIC Award – Recommendation
  • Reader Jury of the ‘Berliner Morgenpost’

ด้วยเหตุนี้เมื่อเข้าฉายฝรั่งเศสจีงได้รับความนิยมถล่มทลาย ยอดจำหน่ายตั๋วสูงถึง 2 ล้านใบ ในบรรดาผลงานของ Truffaut ประสบความสำเร็จอันดับสาม เป็นรองเพียง The 400 Blows (1959) และ The Last Metro (1980)

นอกจากนี้หนังยังได้เข้าชิง Golden Globe: Best Foreign Language Film (พ่ายให้กับ Face to Face (1976) ของ Ingmar Bergman) แต่กลับไม่ได้เป็นตัวแทนฝรั่งเศสลุ้นรางวัล Oscar เพราะคณะกรรมาธิการภาพยนตร์ ตัดสินใจเลือก Cousin cousine (1975) [เรื่องนี้ก็ได้เข้าชิง Golden Globe กลายเป็นหนังฝรั่งเศสสองเรื่องได้เข้าชิงพร้อมกันในปีเดียว!]

เกร็ด: นักวิจารณ์ Roger Ebert ยกให้ Small Change (1976) คือภาพยนตร์เรื่องโปรดแห่งปี 1976

ถีงผมไม่ค่อยเห็นด้วยต่อบางแนวคิดในปาฐถกาช่วงท้าย (จริงๆแค่เรื่องการให้เด็กมีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่มันสุดโต่ง/สิ้นคิดเกินไป) แต่ก็ต้องชื่นชมในไดเรคชั่นผู้กำกับ Truffaut รวบรวม ร้อยเรียงเรื่องราวที่มีความน่าอัศจรรย์ใจ แข่งขันกันเปร่งประกาย ระยิบระยับ ทำให้ผู้ชมราวกับต้องมนต์ขลัง ถือเป็นหนี่งในผลงานยอดเยี่ยมที่สุด … แต่กลับค่อยๆเลือนลางไปตามกาลเวลา

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” นี่เป็นภาพยนตร์ที่สามารถเตือนสติผู้ใหญ่ การจะทำอะไรต่อลูกๆ เลี้ยงดูบุตรหลาน จำต้องครุ่นคิดอย่างมีสติ รับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการแสดงความรัก มอบความอบอุ่น เสี้ยมสอนให้พวกเขารู้จักทำดี และชี้นำในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม

สำหรับเด็กๆจนถีงวัยรุ่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังสามารถชี้นำพวกเขาให้มีความหาญกล้า ท้าท้ายพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ถ้าพวกเขาแสดงออกสิ่งอันมิชอบ ใช้ความรุนแรง ด้วยคำพูดหรือการกระทำ เราจำเป็นต้องรู้จักต่อสู้ขัดขืน เปิดโปงความจริง อย่าเอาแต่เก็บกด หลบซ่อนตัว กลัวเสียชื่อเสียง เงินทอง หรือสร้างความเดือดร้อนผู้อื่น … เพราะไม่มีสิ่งใดในโลกสำคัญยิ่งไปกว่าตัวเราเอง

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | Small Change ร้อยเรียงเรื่องราววัยเด็กของ François Truffaut ที่เต็มไปด้วยความถวิลหา และคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กๆขึ้นในสังคม
คุณภาพ | ยิยั
ส่วนตัว | ถวิลหา

Waka Okami wa Shōgakusei! (2018)


Okko’s Inn (2018) Japanese : Kitarō Kōsaka ♥♥♡

Okko เด็กหญิงวัย 12 ขวบ สูญเสียครอบครัวจากอุบัติเหตุบนท้องถนน จำต้องมาอาศัยอยู่กับคุณย่าดูแลโรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่ง เพราะไม่มีทางเลือกอื่นเธอจึงกลายเป็นผู้จัดการรุ่นเยาว์ ค่อยๆเรียนรู้ เติบโต ก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้าย

Okko’s Inn ฉบับฉายโรงภาพยนตร์ และซีรีย์โทรทัศน์ 26 ตอน แม้ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่องเดียวกัน แต่ใช้ทีมสร้างคนละชุด ผู้กำกับคนละคน (แต่นักพากย์ชุดเดียวกัน) ผลลัพท์ราวกับคนละเรื่องเดียวกัน

  • ได้ยินว่าซีรีย์ค่อนข้างซื่อตรงต่อต้นฉบับ สามารถค่อยๆนำเสนอเรื่องราว สานความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร มีลักษณะเป็น Slice-of-Life ชีวิตประจำวันของเด็กหญิง Okko ในฐานะผู้จัดการรุ่นเยาว์ ส่วนใหญ่ใช้การวาดมือ (Tradition Animation) ไม่ค่อยมีซีนหวือๆหวาๆ น่าตื่นตาตื่นใจสักเท่าไหร่
  • ขณะที่ฉบับหนังอนิเมะความยาวเพียง 94 นาที ตัดทอนปรับแต่งรายละเอียดมากมาย มุ่งเน้นนำเสนอการก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้ายของ Okko ส่วนงบประมาณแม้ได้รับพอๆกัน แต่สามารถทุ่มให้โปรดักชั่น CGI เต็มไปด้วยสีสันสดใสตระการตา

ประเด็นคือ Okko’s Inn แรกเริ่มตั้งใจสร้างเป็นซีรีย์ฉายโทรทัศน์ แต่คุณภาพโปรดักชั่นค่อนข้างต่ำกว่ามาตรฐาน สตูดิโอ MadHouse เลยติดต่อขอความช่วยเหลือ Kitarō Kōsaka คงเล็งเห็นว่า(ฉบับซีรีย์)กู่ไม่กลับแล้ว เลยตัดสินใจขอกำกับสร้างภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องใหม่ขี้นมาแทน

“One day, I was offered to direct the TV [adaptation of] the Okko’s Inn. [The reason I made it into a movie instead of a TV series,] was because the production – which was originally carried out by a friend – was going poorly. So my friend asked me to direct a film instead. I read the original novel so I knew it was going to be fun and I accepted the offer”.

Kitarō Kōsaka

ทีแรกผมตั้งใจจะดูซีรีย์ 26 ตอน ที่สร้างขึ้นพร้อมๆฉบับฉายโรงภาพยนตร์เคียงคู่เปรียบเทียบกัน แต่เพราะไม่สามารถหารับชม(ซีรีย์) เลยตัดใจเหลือแค่หนังอนิเมะเรื่องนี้ เพราะชื่อเสียงเรียงนามของ Kitarō Kōsaka แถมคว้ารางวัล Mainichi Film Award: Best Animation Film เลยตั้งความหวังไว้สูงโคตรๆ

จริงอยู่อนิเมะเรื่องนี้อาจมีประโยชน์สำหรับเด็กๆ มอบความบันเทิง แฝงสาระข้อคิดในการใช้ชีวิต ก้าวข้ามผ่าน ‘Trauma’ ความทรงจำที่เลวร้าย แต่สำหรับผู้ใหญ่ ผมกลับรู้สึกถึงการยัดเยียดมุมมองทัศนคติบางอย่าง(ต่อเด็กเล็ก), สร้างภาพการแสดงออกของ Okko มากเกินไป (Over-Acting), วิญญาณสามตนต่างแย่งซีนกันเอง ใส่มาทำไมเยอะแยะ (เคารพต้นฉบับมากไป), นอกจากความงดงามในโปรดักชั่น งานศิลป์ อย่างอื่นคลุกเคล้าไม่เข้ากันสักเท่าไหร่


Kitarō Kōsaka (เกิดปี 1962, ที่ Kanagawa) ผู้กำกับ นักอนิเมเตอร์สัญชาติญี่ปุ่น ด้วยความชื่นชอบในผลงานผู้กำกับ Hayao Miyazaki (ตั้งแต่ยังไม่ได้ก่อตั้งสตูดิโอ Ghibli) หลังเรียนจบมัธยม ยื่นใบสมัครสตูดิโอเดียวกับที่เขาทำอยู่ขณะแต่ได้รับการปฏิเสธ เลยมองหาสังกัดอื่นที่รับงาน Outsource (อนิเมะของ Miyazaki) จนได้เริ่มต้นที่ Oh! Production ปักหลักเรียนรู้งานตั้งแต่ปี 1979 มีโอกาสเป็น Key Animation เรื่อง Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), Angel’s Egg (1985), Castle in the Sky (1986) ฯ เมื่อถึงจุดอิ่มตัวลาออกมาเป็น Freelance อาทิ Royal Space Force: The Wings of Honneamise (1987), Grave of the Fireflies (1988), Akira (1988), ได้รับคำชื่นชมจาก Miyazaki จนก้าวขึ้นมากำกับอนิเมชั่น (Animation Director) เรื่อง Whisper of the Heart (1995), Princess Mononoke (1997), Spirited Away (2001), Howl’s Moving Castle (2005), Ponyo on the Cliff by the Sea (2008) และ The Wind Rises (2013)

แม้อยู่ในวงการอนิเมะมานาน แต่ Kōsaka ก็ไม่ได้มีความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้กำกับสักเท่าไหร่ แต่ด้วยความชื่นชอบหลงใหลในจักรยาน ได้รับคำแนะนำพร้อมผลักดันจาก Miyazaki ให้ดัดแปลงสร้าง Nasu: Summer in Andalusia (2003) กลายเป็นอนิเมะเรื่องแรกเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes ติดตามด้วยภาคต่อ Nasu: A Migratory Bird with Suitcase (2007) แม้ไม่ประสบความสำเร็จเท่า แต่ก็ยังได้รับคำชื่นชมจนคว้ารางวัล Tokyo Anime Award: Best OVA (Original Video Animation)

หลังเสร็จจาก ‘passion project’ ก็หวนกลับมาเป็น freelance รับงานที่ตนสนใจ ส่วนใหญ่ยังคงปักหลักอยู่สตูดิโอ Ghibli แม้ Miyazaki ประกาศรีไทร์ ก็ให้ความช่วยเหลือรุ่นน้อง Hiromasa Yonebayashi ไม่ห่างหายไปไหน จนกระทั่งช่วงปี 2017 ได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์ของ MadHouse ให้มาช่วยอุ้มโปรเจค Okko’s Inn

Waka Okami wa Shōgakusei! แปลตรงตัวว่า The Young Innkeeper Is a Grade Schooler! คือนวนิยายสำหรับเด็ก แต่งโดย Hiroko Reijō วาดภาพลงสีโดย Asami มีทั้งหมด 20 เล่ม ตีพิมพ์ระหว่างปี 2003 – 2013 ยอดขายเกินกว่า 3 ล้านเล่ม!, ต่อมาได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะ วาดโดย Eiko Ōuchi ตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายเดือน Nakayoshi สำหรับเด็กผู้หญิง (shōjo) ระหว่างปี 2006 – 2012 รวมได้ 7 เล่ม

(สองภาพซ้ายหน้าปกนวนิยาย, สองภาพขวาหน้าปกมังงะ)

อย่างที่บอกไปตอนต้นว่า Kōsaka ตัดสินใจทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างจากฉบับซีรีย์โทรทัศน์ เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ตั้งแต่ดัดแปลงบท ติดต่อนักเขียน Reiko Yoshida จริงๆแล้วเธองานยุ่งมากๆ แต่เพราะเคยติดตามอ่านนวนิยาย มีความชื่นชอบประทับใจเป็นการส่วนตัว เลยยินยอมตอบตกลง

Reiko Yoshida (เกิดปี 1967, ที่ Hiroshima) นักเขียนมังงะ บทอนิเมะ/ภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่น, สำเร็จการศึกษาสาขาวรรณกรรม Hosei University เริ่มโด่งดังจากการดัดแปลงบท The Cat Returns (2002) ให้กับสตูดิโอ Ghibli, ผลงานเด่นๆมักเป็นอนิเมะแนว Healing ดูสบายๆพร้อมสาระข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต อาทิ Aria the Animation (2005), K-On! (2009-10), Bakuman (2010-13), Girls und Panzer (2012-13), Non Non Biyori (2013, 15, 21), A Silent Voice (2016), Liz and the Blue Bird (2018), Violet Evergarden (2018) ฯ

ในต้นฉบับนวนิยายพยายามหลีกเลี่ยง พูดกล่าวถึง นำเสนอประเด็นความตายออกมาตรงๆ (เพราะกลุ่มเป้าหมายคือเด็กเล็ก) แต่นวนิยายเล่มนี้ก็มีอายุเกินกว่า 10+ ปี แฟนๆกลุ่มแรกที่เคยอ่านคงเติบโตเป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว อนิเมะจึงลองปรับเปลี่ยนทิศทางนำเสนอ เริ่มต้นด้วยการตายของพ่อ-แม่ แล้วดูว่า Okko จะรับมือกับความสูญเสียเช่นไร?

“The original series was meant for children, so they do not really touch on the topic of death, at least intentionally. But the series was published over 10 years ago, and the original fans of the series – who were mostly elementary school students at the time – are now in their mid-20s. I wanted them to also be able to enjoy the adaptation, so I concentrated on how Okko deals with the topic of death in the film”.

เรื่องราวของ Oriko Seki เด็กหญิงสูญเสียบิดา-มารดา จากอุบัติเหตุระหว่างการเดินทางบนท้องถนน ตัวเธอรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด เลยต้องย้ายมาปักหลักอาศัยอยู่กับคุณย่า ผู้ดูแลกิจการโรงแรมและสปาขนาดเล็ก Harunoya Inn โดยไม่รู้ตัว Okko สามารถมองเห็น/สนทนากับวิญญาณเด็กชาย Makoto ‘Uribo’ Tachiuri เรียกร้องขอให้เธอรับช่วงต่อ เป็นผู้จัดการรุ่นเยาว์ เพื่อแบ่งเบาภาระคุณย่า (รู้จักกันมาตั้งแต่ก่อนเสียชีวิต) ทีแรกก็ใคร่ไม่ยินดีสักเท่าไหร่ หาใช่เรื่องง่ายจะปรับตัวเข้ากับสถานที่แห่งนี้ แต่ไม่นานก็ค้นพบความชื่นชอบ รู้สึกอิ่มเอิมใจเมื่อพบเห็นผู้เข้าพักต่างมีรอยยิ้มก่อนเดินทางกลับบ้านไป


Seiran Kobayashi (เกิดปี 2004, ที่ Tokyo) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น หลังเซ็นสัญญากับ Theatre Academy มีโอกาสแสดงโฆษณา Calpis เมื่อปี 2009 ติดตามด้วยซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ให้เสียงพากย์อนิเมะ และหนังต่างประเทศ

ให้เสียง Oriko Seki ชื่อเล่น Okko เด็กหญิงอายุ 12 ขวบ เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 4 ภายนอกดูสนุกสนานร่าเริง เบิกบานด้วยรอยยิ้ม ยังเต็มไปด้วยความอ่อนเยาว์วัยไร้เดียงสา เชื่อคนง่าย ใครพาไปไหนก็ไป ยังสามารถเรียนรู้ ลิ้มลองสิ่งแปลกใหม่ แต่ลึกๆภายในจิตใจยังทำใจไม่ได้กับการสูญเสีย ครุ่นคิดว่าพ่อ-แม่ ยังอยู่ข้างกายไม่เหินห่างไปไหน นั่นอาจรวมไปถึงเพื่อนผีทั้งสามตน (จะมองว่าพวกเขาเป็นวิญญาณ หรือจินตนาการเด็กหญิงก็ได้เหมือนกัน) จนกว่าจะถึงวันก้าวข้ามผ่านปม ‘Trauma’ จักคอยอยู่เคียงข้าง เป็นกำลังใจไม่ยอมเหินห่างไปไหน

ผมพอเข้าใจนะว่าเด็กเล็กมีพละกำลัง เรี่ยวแรง ‘Active’ สามารถวิ่งเล่น ทำโน่นนี่นั่น ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ซึ่งเรายังสามารถมองการแสดงออกของ Okko คือกลไกปกป้องตนเองเพื่อมิให้มัวแต่ครุ่นคิดถึงพ่อ-แม่ จนไม่อาจกระทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน … แต่อนิเมะพยายามใส่ปฏิกิริยาแสดงออกให้ตัวละครหัวเราะ ร้องไห้ ดีใจ เศร้าโศก ฯลฯ ในปริมาณสุดโต่ง เว่อวังอลังการ จนน่าหมั้นไส้ รำคาญใจ มันต้อง ‘Overacting’ ขนาดนั้นเลยเหรอ? เต็มที่กับชีวิตเป็นสิ่งดี แต่ถ้าไม่รู้จักควบคุมตนเองมันจะกลายเป็นปัญหาสังคมในกาลต่อไป!

“Children are full of vigor and make a lot of movements, unlike adults. They talk out loud, and walk and jump around a lot. I carefully observed these movements and tried to convey what it means to be a child in the movie. That’s why the characters wander around so much during the film”.

Kitarō Kōsaka

น้ำเสียงของ Kobayashi แม้มีความร่าเริงสดใส เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นใจในตนเอง แต่ลึกๆซ่อนเร้นความเจ็บปวดรวร้าว ที่พร้อมแสดงออกภายนอกโดยไม่รู้ตัวเมื่อถูกบางสิ่งอย่างกระทบกระเทือนจิตใจ ผู้ชมจะรู้สึกสงสาร พยายามทำความเข้าใจ และเป็นกำลังใจให้เธอสามารถก้าวข้ามปมเลวร้ายจากอดีต ได้รับความที่รักจากทุกๆคนรอบข้าง

สำหรับตัวละครอื่นขอแสดงความคิดเห็นเพียงคร่าวๆนะครับ เพราะอนิเมะไม่ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ผมรู้สึกประทับใจพวกเขาและเธอสักเท่าไหร่ เชื่อว่าในมังงะหรือต้นฉบับนวนิยาย ผู้อ่านน่าจะหลงใหลตัวประกอบเหล่านั้นไม่น้อยเลยละ

  • Makoto ‘Uribo’ Tachiuri เพื่อนผีตนแรกของ Okko เดิมเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกับคุณย่า แต่พลัดตกจากหลังคาคอหักเสียชีวิต เลยกลายเป็นวิญญาณเร่ล่องลอยอยู่แถวๆนี้ เฝ้ารอคอยวันได้เติมเต็มความฝัน มีโอกาสพูดคุยสนทนากับมนุษย์อีกสักครั้ง
    • ความที่ตัวละครนี้ไม่สามารถหยิบจับ สัมผัส ทำได้เพียงสร้างภาพลวงตา และมีหน้าที่ปรากฎตัวมาออกพูดหยอก หลอกเล่น ให้คำแนะนำแก่ Okko เป็นเพื่อนร่วมสุข-ทุกข์ อยู่เคียงข้างกายจนกระทั่งวันร่ำลาจาก
  • Miyo Akino ผีพี่สาวของ Matsuki Akino ไม่ยินยอมให้ Okko พูดจาว่าร้ายน้องสาว มีพลังจิตสามารถควบคุมทุกสิ่งรอบข้างกาย เลยสามารถกลั่นแกล้ง ชอบเขียนหน้า มองหาสิ่งสนุกๆหยอกล้อเล่นไปวันๆ แต่เพราะเธออาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวตัวคนเดียวในโรงแรมหลังใหญ่ กระทั่งมาพบเจอ Okko และ Uribo เลยตัดสินใจย้ายมาปักหลักอาศัยอยู่ยัง Harunoya Inn
    • Miyo ถือเป็นผีคู่ปรับของ Uribo มีความเฉลียวฉลาดรอบรู้ ทั้งยังพลังจิตสามารถควบคุมสิ่งข้าวของ ซึ่งสามารถช่วยงาน Okko ปัดกวาดเช็ดถู พฤติกรรมช่วงแรกๆเหมือนพยายามเรียกร้องหาความสนใจ เมื่อย้ายมาอยู่ Harunoya Inn วันๆก็สนุกสนานปาร์ตี้ ไปไหนไปได้วย เต็มกับชีวิตที่หลงเหลือจนสามารถไปสู่สุขคติ
  • Suzuki ปีศาจกระดิ่งที่หลุดออกมาเพราะ Okko เผยไปเขย่าจนเสียงเปลี่ยน รูปร่างเล็ก แต่มีนิสัยขี้ขโมย ตะกละตะกลาม ชอบกินขนมรสมือของ Akko และมีความสามารถเรียกแขก (เหมือนนางกวัก?)

ทีแรกผมครุ่นคิดว่าวิญญาณทั้งสามน่าจะเทียบแทนด้วย Id, Ego, SuperEgo ตามหลักทฎษฎีจิตวิเคราะห์ของ Sigmund Freud ที่สามารถเป็นผู้ช่วยให้เด็กหญิงก้าวข้ามผ่าน PTSD (Post-traumatic stress disorder) แต่มันกลับไม่มีความใกล้เคียเลยสักนิด เหมือนแค่ต้องการให้พวกเขาและเธอเป็นเพื่อนเล่นในจินตนาการของ Okko ก็เท่านั้น … ถ้าเป็นแบบนี้ก็น่าผิดหวังนะครับ

  • คุณย่า Mineko Seki ผู้ดูแลโรงแรม Harunoya Inn มีความยินดีที่ Okko อยากรับช่วงต่อกิจการ พยายามเสี้ยมสอน ให้คำแนะนำ วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมต่อแขกผู้มาใช้บริการ … แค่นั้นอ่ะนะ
  • Matsuki Akino เพื่อนสาวร่วมรุ่นเดียวกับ Okko ชื่นชอบใส่ชุดสีชมพู ทำตัวให้โดดเด่นกว่าใคร เป็นทายาทเจ้าของกิจการ Shuukou Lodge Hotel โรงแรมขนาดใหญ่ (ตรงกันข้ามกับ Harunoya Inn ที่มีเพียง 4-5 ห้องพักเล็กๆ) ทำตัวเย่อหยิ่ง วางตัวหัวสูงส่งกว่าใคร ช่วงแรกๆมีความโกรธเกลียดนิสัยพูดตรงๆของ Okko จนเกือบวางมวยชกต่อย แต่หลังจากมีโอกาสพูดคุยเปิดอก จึงเริ่มยินยอมรับกันและกันขึ้นมานิดหน่อย
    • นี่น่าจะเป็นตัวละครมีสีสัน น่าสนใจสุดของอนิเมะ (ให้เสียงโดย Nana Mizuki) แตกต่างตรงกันข้าม/คู่ปรับในทุกๆเรื่องของ Okko แม้พวกเธอจะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง พร้อมเข่นฆ่าแกงอีกฝั่งฝ่าย แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่งต่างฝ่ายก็ยินยอมรับนับถือกันและกัน (แต่ไม่ได้แปลว่าพวกเธอจะมองตากันติดนะครับ)
  • ในบรรดาแขกเหรื่อที่มาเข้าพัก Glory Suiryo แม่หมอดูสาวสุดสวย สามารถทำนายอนาคตผู้อื่นได้อย่างแม่นยำยกเว้นตนเอง วันที่ควรโชคดีสุดๆกลับถูกแฟนหนุ่มบอกเลิก เลยหมกมุ่นขังตัวในห้องพัก กระทั่งได้รับความช่วยเหลือจาก Okko เด็กน้อยหน้าตาใสซื่อไร้เดียงสา ก็ไม่รู้ถูกชะตาอะไรถึงลากพาเธอไปช้อปปิ้ง จนตระหนักถึงเห็นรอยยิ้มบนใบหน้า ภายในกลับซุกซ้อนเร้นปม ‘Trauma’ ความเจ็บปวดจากการสูญเสีย
    • ขณะที่ Okko มองพี่สาวด้วยแววตาหลงใหล ประทับใจในความสวยสง่า รสนิยมแฟชั่น เติบโตขึ้นอยากกลายเป็นผู้หญิงเท่ห์ๆแบบนั้น ในมุมกลับกัน Glory ก็ได้แรงบันดาลใจจากเด็กหญิง ภายนอกเบิกบานด้วยรอยยิ้มกลับซ่อนเร้นความเจ็บปวดรวดร้าวไว้ภายใน ถ้าอายุแค่นั้นยังอดทนได้ นับประสาอะไรกับตนเองแค่เลิกราแฟนหนุ่ม

นอกจากหน้าที่กำกับ Kōsaka ยังควบออกแบบตัวละคร (Character Design) โดยอ้างอิงจากต้นฉบับนวนิยาย (ถ้าเป็นฉบับซีรีย์โทรทัศน์ จะอ้างอิงจากมังงะ) เริ่มต้นออกแบบด้วยการวาดมือ จากนั้นนำไปทำโมเดลในคอมพิวเตอร์ ให้ตัวละครดูมีมิติ ตื้นลึกหนาบาง สามารถขยับหมุนซ้าย-ขวา เล่นกับความเว้า-นูน (ผ่านกระจก/ลูกแก้ว) หรือวิญญาณโปร่งใส

การที่ตัวละครถูกสร้างด้วยโมเดลสามมิติ อาจทำให้หลายคนรู้สึกแปลกตา ไม่ค่อยมักคุ้นเคยสักเท่าไหร่ แต่มันก็ไม่เลวร้ายถึงขั้น Knights of Sidonia (2014-15) ที่ดูเก้งๆกังๆ ฝืนธรรมชาติเกินไป ส่วนหนึ่งอาจเพราะเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น และ Kōsaka กำชับทีมงานให้พยายามเรนเดอร์ภาพออกมาใกล้เคียงภาพวาดสองมิติมากที่สุด

เท่าที่ผมสังเกตเห็นจากอนิเมะหลายๆเรื่อง มักออกแบบตัวละครเด็กให้มีใบหน้าขนาดใหญ่ (เมื่อเทียบกับสัดส่วนร่างกาย) และดวงตาขนาดกลมโตกว่าปกติ (ประมาณ 1/3 – 1/5 ของใบหน้า) ซึ่งจะมีสัดส่วนลดหลั่นลงไปตามอายุอานาม นี่ถือเป็นเทคนิคคลาสสิกในการสร้างความแตกต่าง (ระหว่างเด็ก-ผู้ใหญ่) และ ‘ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ’ เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถปกปิดอารมณ์/ความรู้สึกจากภายในได้สักเท่าไหร่ เลยมักแสดงออกมาตรงๆผ่านดวงตาและการกระทำ ผิดกับผู้ใหญ่ที่สามารถซุกซ่อนเร้นความต้องการไว้ในจิตใจได้ดีกว่า (ดวงตาก็เลยมักมีขนาดเล็กกว่า)

เช่นกันกับสีสัน Color design โดย Terumi Nakauchi, ต้องมีความสดสว่าง โลกสวยงาม ราวกับหลุดเข้าไปในดินแดนแฟนตาซี ผู้ชมแทบสัมผัสไม่ได้ถึงความรู้สึกเจ็บปวดรวดร้ายที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจเด็กหญิง (แต่ไปสอดแทรกอยู่ในองค์ประกอบอื่นแทน อาทิ น้ำเสียงพากย์, การแสดงออกด้วยสันชาติญาณ/กลไกป้องกันตนเอง หรือเพลงประกอบ)

สำหรับทีมงานอื่นๆ Kōsaka คือผองเพื่อนคนรู้จัก ต่างล้วนเคยร่วมงานสตูดิโอ Ghibli ประกอบด้วย ควบคุมงานศิลป์ (Art Direction) โดย Youichi Watanabe, กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) โดย Shunsuke Hirota, และ CGI Director โดย Tomohisa Shitara

ผมลองค้นหา Hananoyu Spa หรือ Harunoya Inn ว่ามีอยู่จริงไหม? ก็พบเจอสองโรงแรมชื่อเดียวกัน Hananoyu Hotel แห่งแรกตั้งอยู่ที่ Koriyama จังหวัด Fukushima, อีกแห่ง Sendai จังหวัด Miyagi เลยไม่รู้ว่าสถานที่แห่งใดเป็นแรงบันดาลใจของอนิเมะ ก็เลยสรุปว่าน่าจะเป็นชื่อสมมติ ไม่มีอยู่จริง แต่สังเกตุจากรูปลักษณะ ก็คล้ายๆเมือง Spa ทั่วไปในญี่ปุ่น

สำหรับ Harunoya Inn มีลักษณะเป็น ryokan ห้องพักแบบโบราณ/ดั้งเดิม (Traditional) ของญี่ปุ่น พื้นปูด้วยเสื่อ Tatami อ่างอาบน้ำสาธารณะ(กลางแจ้ง) แขกเหรื่อนิยมสวมชุด Yukata และมักพูดคุยสนทนาอย่างเป็นกันเองกับผู้จัดการ/เจ้าของโรงแรม … เป็นโรงแรมที่เน้นการบริการ เอาใจใส่ลูกค้ารายบุคคล แม้อาจต้องจองล่วงหน้าเป็นระยะเวลานาน (เพราะมีห้องพักจำนวนจำกัด) แต่ส่วนใหญ่ก็มักหวนกลับมาพักอาศัยครั้งสอง-สาม-สี่

เกร็ด: โรงแรมเก่าแก่ที่สุดในโลก Nishiyama Onsen Keiunkan ก็มีลักษณะเป็น ryokan เปิดให้บริการครั้งแรก ค.ศ. 705 ในยุคสมัย Keium Period (ค.ศ. 704-708)

ตรงกันข้ามกับ Harunoya Inn, โรงแรมห้าดาว Shuukou Lodge Hotel ของ Matsuki Akino พยายามอย่างยิ่งจะสร้างความประทับใจ(ทางกายภาพ)ให้ผู้เข้าพัก ตั้งแต่ปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ ประดับประดาธงปลาคาร์พนับสิบ-ร้อย (ในเทศกาลวันเด็กผู้ชาย) และช็อตนี้เปิดไฟยามค่ำคืน มองลงมาจากห้องพักเห็นแสงระยิบระยับราวกับดวงดาวบนฟากฟ้า

ภายในห้องพัก/สำนักงาน ชั้นบนสุดของ Shuukou Lodge Hotel ช่างเต็มไปด้วยมนต์ขลัง สถาปัตยกรรมยุโรป (อังกฤษ?) พบเห็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ บันไววน ตู้เก็บหนังสือ ภาพวาดบรรพบุรุษ ฯลฯ ราวกับว่า Matsuki แบกภาระ/ประวัติศาสตร์ของตระกูลไว้บนบ่า ต้องธำรงรักษาโรงแรมแห่งนี้ให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน

ด้วยเหตุนี้ตัวละครจึงพยายามสร้างแตกต่างให้ตนเอง ทำตัวหัวสูงส่ง ไม่ต้องการสุงสิงกับคนทั่วๆไป ใส่ชุดสีชมพูระยิบระยับ (เหนื่อยแทนนักอนิเมเตอร์ ต้องทำให้เสื้อผ้าของเธอ วิ้งๆ ตลอดเวลา) แต่ภายในจิตใจคงเต็มไปด้วยความอ้างว้าง โดดเดี่ยวเดียวดาย โหยหาใครสักคนสามารถเป็นเพื่อน พูดคุยเปิดอก ผ่อนคลายตนเองจากภาระหนักอึ้ง

If you can dream, you can do it.

Walt Disney

หนึ่งในซีนเล็กๆที่ทรงพลังมากๆ ขณะ Okko เดินทางออกจากบ้านขึ้นรถไฟเพื่อไปปักหลักอาศัยอยู่กับคุณย่า ช็อตนี้ระหว่างรถไฟวิ่งเข้าอุโมงค์ พบเห็นภาพสะท้อนในกระจก ครอบครัวพ่อ-แม่-ลูก นั่งอยู่ฝั่งตรงข้าม จากนั้นเมื่อผ่านพ้นอุโมงค์ภาพนั้นก็เปลี่ยนเป็นทิวทัศน์ธรรมชาติ ท้องฟ้า มหาสมุทร และเมือง Hananoyu

แม้ปฏิกิริยาภายนอกของตัวละครไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่ความรู้สึกของผู้ชมน่าจะเจ็บจี๊ดถึงทรวงใน เพราะเด็กหญิงเพิ่งสูญเสียพ่อ-แม่ และช็อตนี้พบเห็นครอบครัวอื่นที่ยังมีสมาชิกพร้อมหน้า มันช่างเป็นภาพบาดตาบาดใจเหลือเกิน

นอกจากปฏิกิริยาท่าทาง ‘overacting’ มากเกินของ Okko ผมยังไม่ค่อยชอบไดเรคชั่นฉากนี้สักเท่าไหร่ พยายามทำออกมาให้เธอเกิดความสับสน งุนงง ยินยอมรับข้อตกลงที่ไม่ได้บังเกิดจากความต้องการแท้จริง แม้มันเป็นบริบทที่ถ้าไม่ทำก็ไม่ได้ อยู่ไปเดี๋ยวก็ชื่นชอบขี้นมาเอง แต่เริ่มต้นจากการบีบบังคับ ทวงหนี้บุญคุณ วิธีการแบบนี้ควรถูกลบล้างจากสังคมได้แล้ว (มันคล้ายๆการคลุมถุงชน แต่งงานไปก่อนเดี๋ยวก็ตกหลุมรักกันเอง เป็นคุณจะยินยอมรับได้รีป่าวละ)

ทุกวันที่ 5 พฤษภาคม จะมีงานเทศกาลวันเด็กผู้ชาย (Kodomonohi) โดยครอบครัวที่มีบุตรชาย คนญี่ปุ่นจะกำหนดให้มีการจัดพิธีบูชา ตุ๊กตาที่ใส่ชุดนักรบ และตั้งเสาธงปลาคาร์ฟ (Koinobori) อย่างน้อยสามตัวไว้ภายในบริเวณบ้าน ประกอบด้วย พ่อปลา แม่ปลา และลูกปลา ให้แหวกว่ายอยู่บนท้องฟ้า เพื่อแสดงความยินดีและขอให้บุตรชายมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไร้โรคภัยไข้เจ็บ เป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย โตวันโตคืน ส่วนเด็กหญิงจะนิยมสวมชุดกิโมโ๋นตกแต่งลวดลายไว้อย่างสวยงาม

ซึ่งในบริบทนี้เหมือนต้องการสื่อถึงการเกิดใหม่ของเด็กชาย Akane หลังพบเจอ Okko และสามารถทำใจจากการสูญเสียแม่ ซึ่งเขามีโอกาสเห็นธงปลาคาร์ฟเหล่านี้ระหว่างเดินทางกลับพอดี

Shopping Therapy เป็นวิธีคลายเคลียดของสาวๆ ปลดปล่อยตนเองให้ล่องลอย หลงระเริงไปกับสิ่งสวยๆงามๆ เงินทองมีไว้จับจ่ายใช้สอย บังเกิดความสุขพึงพอใจส่วนตน …ถอนหายใจเฮือกใหญ่

ผมรู้ว่านี่เป็นหนึ่งในกิจกรรมโปรดปรานของหญิงสาวสมัยนี้ ที่ทำให้หนุ่มๆต้องเดินตามเหมือนสัตว์เลี้ยง คนรับใช้แบกข้าวของ แต่นี่ไม่ใช่การปลูกฝังแนวคิด ล้างสมองเด็กหรอกหรือ? โตขึ้นฉันต้องสวย หาเงินให้ร่ำรวย ซื้อรถหรู สวมใส่ชุดแฟชั่น ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับวัตถุที่ใฝ่ฝัน

Kagura (แปลว่า god-entertainment) คือพิธีการเต้นรำ (cereminial dance) ของผู้นับถือชินโต ในการแสดงความเคารพต่อพระเจ้า ซี่งแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกันไป ชาวนามักเพื่อขอให้พืชพันธุ์ออกดอกออกผลงดงาม, บางแห่งเต้นเพื่อขับไล่จิตวิญญาณชั่วร้าย ฯลฯ

ในบริบทของอนิเมะ มีจุดประสงค์เพื่อเคารพบูชาเทพเจ้าแห่งสายน้ำ ขอบคุณที่ทำให้สถานที่แห่งนี้มีสิ่งดึงดูดผู้คนมากมาย เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนคลาย ปลดปล่อยตนเองจากความเหน็ดเหนื่อย ทุกข์เศร้าโศก รวมไปถึง Okko สามารถคลายทุกข์เศร้าโศกจากการสูญเสียครอบครัว และค้นพบโลกใบใหม่ที่จะเติมเต็มความใฝ่ฝันของตนเอง

ตัดต่อโดย Kashiko Kimura และ Takeshi Seyama, เรื่องราวนำเสนอผ่านมุมมองสายตาของ Oriko Seki ระหว่างปักหลักใช้ชีวิต กลายเป็นผู้จัดการโรงแรมรุ่นเยาว์อยู่ยัง Harunoya Inn ในช่วงระยะเวลาหนี่งปีตั้งแต่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ สูญเสียครอบครัวจนต้องมาอาศัยอยู่กับคุณย่า ถีงอย่างนั้นเธอยังสามารถจินตนาการเห็นพ่อ-แม่ (ในความฝัน) รวมไปถีงสนทนาสื่อสารวิญญาณเร่ร่อนสามตน (จนกลายเป็นเพื่อนสนิทคลายความวิตกกังวลในชีวิต)

เรื่องราวของอนิเมะสามารถแบ่งออกเป็นตอนๆ (ได้ชัดเจนกว่าแบ่งออกเป็นองก์) ประกอบด้วย

  • Okko กับการสูญเสียครอบครัวจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
  • Okko เริ่มต้นการเป็นผู้จัดการโรงแรมรุ่นเยาว์, พบเจอเพื่อนวิญญาณตนแรก Uribo
  • Okko รับแขกครั้งแรก, ระหว่างทางกลับจากโรงเรียน พบเจอพ่อ-ลูก แม้สภาพมอมแมมแต่ก็ยังชักชวนให้มาเข้าพักที่โรงแรม ในตอนแรกเด็กชาย Akane พยายามปิดกั้นตนเอง แต่ก็ค่อยๆเปิดใจยินยอมรับ Okko เพราะต่างสูญเสียบุคคลที่รักไปเหมือนกัน
  • Okko กับเพื่อนวิญญาณที่สองสาม, ถูกกลั่นแกล้งโดย Miyo และลักขโมยกินขนมโดยปีศาจน้อย Suzuki
  • Okko ชื่นชอบแฟชั่น, หลังให้ความช่วยเหลือพี่สาว Glory ถูกลากพาไปช็อปปิ้ง แม้ระหว่างเดินทางจะมีบางสิ่งกระทบกระเทือนหัวใจ แต่ก็สามารถเปิดโลกทัศน์ เรียนรู้จักมุมมองใหม่ๆ
  • Okko กับบทพิสูจน์การเป็นผู้จัดการโรงแรมรุ่นเยาว์ที่แท้จริง, เผชิญหน้ากับแขกที่ไม่เพียงเลือกมาเรื่องการกิน (จนต้องขอความช่วยเหลือจาก Mutsuki ด้วยการลดทิฐิและพูดขอโทษจากใจ) แต่ภายหลังยังค้นพบว่าคือต้นอุบัติเหตุที่ทำให้ Okko ต้องสูญเสียพ่อ-แม่ ไปชั่วนิรันดร์ (ทีแรกก็ทำใจไม่ได้ แต่หลังจากได้รับคำแนะนำจากพี่สาว Glory เลยสามารถก้าวข้ามผ่านอดีตอันเลวร้าว)
  • Okko กับ Matsuki และการเต้นรำเพื่อเคารพบูชาเทพเจ้าแห่งสายน้ำ

ความน่าผิดหวังของการตัดต่อ คือไร้ซี่งเทคนิค ลีลาร้อยเรียงเรื่องราวแต่ละตอนให้มีความเชื่อมต่อเนื่องลื่นไหล (แต่ละตอนที่ผมแยกแยะออกมานี้ ล้วนเริ่มต้น-สิ้นสุดในตัวมันเองทุกครั้ง) มันจีงเหมือนการนำซีรีย์(ฉายโทรทัศน์)แต่ละตอนมาเรียงต่อๆกันเท่านั้น


เพลงประกอบโดย Keiichi Suzuki (เกิดปี 1951, ที่ Tokyo) นักร้อง นักแต่งเพลง สัญชาติญี่ปุ่น, ช่วงต้นทศวรรษ 70s มีโอกาสเข้าร่วมเป็นหนี่งในนักร้องวง Hachimitsu Pie ตามด้วยร่วมก่อตั้ง Moonriders แต่ตั้งชื่ออัลบัมว่า Keiichi Suzuki and the Moonriders (1976), ต่อมามีโอกาสทำเพลงประกอบภาพยนตร์หลายเรื่อง อาทิ Sachiko no sachi (1976), Love Letter (1995), Tokyo Godfathers (2003) ฯ

สไตล์ถนัดของ Suzuki นิยมใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า อิเล็คโทน/คีย์บอร์ด บรรเลงคู่เปียโน และเครื่องสายไวโอลิน เพื่อมอบสัมผัสแฟนตาซีตัดกับโลกความจริง สะท้อนเข้ากับตัวละคร Okko ภายนอกสดใสยิ้มเริงร่า แต่ภายในจิตใจกลับเต็มไปด้วยความทุกข์โศกเศร้า ซ่อนเร้นความเจ็บปวดจากการสูญเสีย

แต่อาจยกเว้นบทเพลง 春の屋へ (Harunoyae, แปลว่า go to spring town) เสียงเปียโนมอบสัมผัสเศร้าๆภายหลังการสูญเสีย ทำให้เด็กหญิง Okko ต้องออกเดินทางครั้งใหม่ ครอบครัวหลงเหลือเพียงในความทรงจำ/ภาพสะท้อนในกระจก ต่อจากนี้ต้องปักหลักอาศัยอยู่กับคุณย่า ในโรงแรมเล็กๆแห่งหนี่งชื่อ Harunoya Inn

Uribou no Onegai = คำร้องขอของ Uribou ต้องการให้ Okko ช่วยเหลือคุณย่า (Mineko-chan) เป็นผู้จัดการรุ่นเยาว์ แบ่งเบาภาระดูแลโรงแรมแห่งนี้, เริ่มต้นด้วยเสียงฟลุตให้สัมผัสลังเลไม่แน่ใจ แต่พอประสานเข้ากับเสียงอิเล็คโทน/คีย์บอร์ด มันจีงกลายเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ของเด็กหญิง จำยินยอมตอบรับ ไหลตามน้ำ เพราะมันคงแก้ไขความเข้าใจผิดไม่ได้อีกต่อไป

Mineko no Album = อัลบัมความทรงจำของคุณย่า Mineko เปิดให้หลาน Okko พร้อมหวนระลีกถีงช่วงเวลาวัยเด็ก วิ่งเล่น ปีนป่าย สนุกหรรษากับเพื่อนข้างบ้าน Uribou แต่หลังจากเธอย้ายออกไปก็ไม่เคยมีโอกาสติดต่อ รับรู้ว่าเกิดอะไรขี้นกับเขา ช่างเป็นช่วงเวลาสุขปนเศร้า บทเพลงถ่ายทอดความรู้สีกดังกล่าวผ่านเสียงเปียโนนุ่มๆ ตัดกับเครื่องสายประสานเสียง ได้อย่างไพเราะเพราะพริ้ง วาบหวิวถีงทรวงใน (แต่จบห้วนๆไปหน่อยนะ คงตัดเปลี่ยนฉากพอดีกระมัง)

Himitsu no Basho สถานที่ลับ ‘secret place’ ที่ Uribou เปิดเผยให้ Okko พบเห็นเป็นประจักษ์ (บอกว่าคือสถานที่ที่ตนเคยใช้หลบซ่อนตัวอยู่กับคุณย่า Mineko) แต่ผมครุ่นคิดว่านี่คือภาพที่เด็กหญิงครุ่นคิดจินตนาการขี้นเอง (หรือจะมองว่าคือความสามารถพิเศษหนี่งเดียวของ Uribou ก็ได้เหมือนกัน) บทเพลงเลยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า อิเล็คโทน/คีย์บอร์ด เพื่อมอบสัมผัสถีงสิ่งไม่มีอยู่จริงบนโลก

แซว: บทเพลงนี้ให้ความรู้สีกเหมือนเกมยุคก่อนๆ ซี่งในเครดิตของ Suzuki ก็เคยทำเพลงประกอบวีดีโอเกมอย่างแฟนไชร์ Mother (1989), Super Smash Bros. Brawl (2008) ฯ

Rotenburo Pudding (แปลว่า Open-Air bath Pudding) ใช้เสียงอิเล็กโทนช่วยเติมเต็มจินตนาการสุดสร้างสรรค์ของ Okko ระหว่างกำลังผสมเครื่องปรุงทำพุดดิ้ง ตัดสลับกับภาพบ่ออาบน้ำกลางแจ้ง (Open-Air bath) กำลังมีบางสิ่งอย่างพวยพุ่งขี้นมาจากเบื้องล่าง กระทั่งเมื่อทำของหวานสำเร็จ ตั้งชื่อว่า Open-Air bath Pudding (หน้าตาของพุดดิ้ง ล้อกับจินตนาการของ Okko ที่มีพุดดิ้งขี้นมาจากบ่ออาบน้ำกลางแจ้ง)

Keshitai Kioku แปลว่า ความทรงจำที่อยากลบลืมเลือน เป็นบทเพลงได้ยินขี้นขณะที่พี่สาว Glory ลากพา Okko ขี้นรถเดินทางไปช็อปปิ้ง แต่เด็กหญิงกลับหน้าซีด ตัวสั่นเทา กำหมัดแน่น ความทรงจำอันร้ายจากอดีตค่อยๆหวนย้อนกลับคืนมา, บทเพลงนี้ใช้เพียงเครื่องดนตรีไฟฟ้า ใส่เสียงโน่นนี่นั่น ฟังไม่เป็นจังหวะ แต่สร้างบรรยากาศหลอกหลอน สัมผัสน่าสะพรีงกลัว เด็กหญิงไม่สามารถแบ่งแยกออกว่าสิ่งมองเห็น (พ่อและแม่ที่กำลังขับรถอยู่) คือเรื่องจริงหรือความฝัน

Jikan Bungee Jump ขับร้องโดย Kobayashi Seiran จากเคยเป็น Opening Song ฉบับซีรีย์โทรทัศน์ หนังอนิเมะจะได้ยินระหว่างการเดินทางไปช็อปปิ้ง (Therapy Shopping) ตั้งแต่พี่สาว Glory ตัดสินใจเปิดประทุนหลังคารถ เพื่อให้ Okko (และผีเพื่อนทั้งสองนั่งเบาะหลัง) ไม่ต้องอุดอู้ คุดคู้ จนหวนระลีกถีงปม ‘Trauma’ ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของการเปิดมุมมอง ปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ใหม่ ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงให้เต็มที่ รวมไปถีงจิตใจเด็กสาว หลังจากระบายความรู้สีกเจ็บปวดรวดร้าวออกมา (ให้พี่สาวรับฟัง) ราวกับสามารถก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้ายนั้นได้ทันที … เร็วไปไหม –“

Syouta no Okko เด็กชาย Shota ไม่อยากจากลาโรงแรมแห่งนี้ เมื่อพบเห็นพี่สาว Okko เลยรีบวิ่งถาโถมเข้าใส่ เหตุผลแท้จริงคือบิดาของเขาไม่สามารถทำใจ เมื่อได้รับรู้ว่าเด็กสาวคนนี้คือลูกของครอบครัวที่ประสบอุบัติเหตุจากความผิดพลาดของตนเอง

นี่น่าจะเป็นบทเพลงมีความไพเราะที่สุดของอนิเมะ ดังขี้นหลังจาก Okko สามารถเผชิญหน้ายินยอมรับความสูญเสีย ซี่งเหตุการณ์ขณะนี้เด็กชาย Shota ช่างละม้ายคล้ายกับตนเองเมื่อตอนก่อนหน้า ไม่ยินยอมปล่อยวางในสิ่งที่โหยหา, เสียงเปียโนตัดกับไวโอลิน/เชลโล่ (ไม่มีเสียงเครื่องดนตรีไฟฟ้าแทรกอยู่) สะท้อนความจริงที่ตัวละครต้องเผชิญหน้า แม้มันจะเจ็บปวดรวดร้าว เต็มไปด้วยความขมขื่นทุกข์ทรมาน แต่เราจำเป็นต้องอดรนทน แล้วก้าวเดินต่อไปข้างหน้า

Waka Okami wa Shōgakusei! บทเพลงที่คือชื่ออนิเมะนี้ ดังขี้นในวินาทีที่ Okko เรียกตนเองว่า ผู้จัดการโรงแรมรุ่นเยาว์ ยินยอมรับทุกผู้คนที่มาเข้าพัก ไม่ว่าเขาจะคือใคร เคยทำอะไร ดี-ชั่วแค่ไหน เพราะสถานที่แห่งนี้ Hananoyu Spa คือของขวัญจากพระเจ้า ไม่ปฏิเสธบุคคลผู้ต้องการที่พี่งพักพิง

นี่คือวินาทีแห่งการเติบโตของ Okko สามารถก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้าย ยินยอมรับความสูญเสีย และสามารถให้อภัยบุคคลผู้ทำลายครอบครัวของตนเอง … จากเด็กหญิงธรรมดาทั่วๆไป เติบโตกลายเป็นแม่พระเป็นที่เรียบร้อย

ทิ้งท้ายด้วย Hana no yu Kagura และ Hana no Ame (ตอนต้นเรื่อง, ท้ายเรื่อง) สองบทเพลงนี้แต่งโดย Ikegami Shongo ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านญี่ปุ่นบรรเลงท่วงทำนอง สำหรับประกอบการเต้นรำประจำปี มีจุดประสงค์เพื่อเคารพบูชาเทพเจ้าแห่งสายน้ำ, ความแตกต่าง(ของสองบทเพลง)อยู่ที่ Hana no Ame จะมีความเร่งเร้า จังหวะสนุกสนานกว่า ผิดจากขนบประเพณี (ของ Hana no yu Kagura) ซี่งถือว่าตัวละครได้หลุดจากพันธการ ความทรงจำอันเลวร้ายจากอดีต และสองวิญญาณเพื่อนสนิทกำลังเตรียมตัวไปสู่สุขคติ

ความแตกต่างระหว่าง Okko’s Inn ฉบับฉายโรงภาพยนตร์และซีรีย์โทรทัศน์ นอกจากงานสร้างโปรดักชั่นที่เห็นภาพชัด จุดโฟกัสเรื่องราวที่หนังอนิเมะเลือกนำเสนอ เป็นประเด็นที่แม้แต่ต้นฉบับนวนิยายไม่พยายามกล่าวถีง คือการจัดการความรู้สีกของ Okko ภายหลังสูญเสียครอบครัวจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

ด้วยวัยเพียง 12 ขวบ มันค่อนข้างก้ำกี่งว่า Okko ยังเด็กเกินไปจะรับรู้เรื่องราว หรือสามารถเข้าใจทุกสิ่งอย่างแท้จริง ซี่งอนิเมะพยายามนำเสนอทั้งสองแนวคิดผสมผสานกันไป (อย่างไม่ค่อยแนบเนียนเท่าไหร่) แสดงออกภายนอกด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ชอบพูดคุยกับตนเอง ทำท่าทางประหลาดๆ ปฏิกิริยาไขว้แขนขาสุดเหวี่ยง เหล่านี้ล้วนคือกลไกปกป้องตนเอง เช่นเดียวกับพ่อ-แม่ปรากฎตัวขี้นในความฝัน, พบเห็นเพื่อนผีสามตนอยู่เคียงข้าง (จะมองว่าพวกเขาเป็นวิญญาณ หรือจินตนาการเด็กหญิงก็ได้เหมือนกัน) หรือขณะตัวสั่นเทาระหว่างนั่งอยู่บนรถพี่สาว Glory พานผ่านถนนเส้นนั้น

PTSD (Post-traumatic stress disorder) สำหรับเด็กวัยเท่านี้ค่อนข้างเป็นโจทย์ท้าทายของจิตแพทย์/นักจิตวิทยา เพราะส่วนใหญ่ไม่สามารถสนทนา ทำความเข้าใจกับผู้ป่วยได้ว่าต้นตอปัญหาอะไร (คือยังไม่สามารถสื่อสาร ทำความเข้าใจ เผชิญหน้าเหตุการณ์เหล่านั้นได้ตรงไปตรงมา) วิธีการของอนิเมะคือ นำเสนอเรื่องราวรายล้อม Okko ที่จะสามารถเป็นบทเรียนรู้ในฐานะผู้จัดการโรงแรม ค่อยๆปรับตัวเปลี่ยนแปลงทีละนิด จากเคยกลัวเกลียดแมง-แมลง-จิ้งจก พบเห็นจนเริ่มมักคุ้นก็สามารถจับเล่น และรู้สีกสงสารเห็นใจเมื่อมันถูกกลั่นแกล้งทำร้าย เหล่านี้ก็เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเผชิญหน้าครั้งสุดท้าย

ผมค่อนข้างแอบที่งใน ‘ความเสี่ยง’ ที่ผู้กำกับ Kitarō Kōsaka และนักเขียน Reiko Yoshida หาญกล้านำเสนอฉากไคลน์แม็กซ์ ให้เด็กหญิง Okko เผชิญหน้าบุคคลที่เป็นต้นสาเหตุการเสียชีวิตของพ่อและแม่! … โดยส่วนตัวรู้สีกว่ามันรวดเร็วเกินไป (น่าจะรอให้เติบโตขี้นอีกสักหน่อย) และการที่เธอสามารถยินยอมยกโทษให้อภัย (แม้จะไม่ใช่ในทันทีก็ตามเถอะ) หลังได้รับฟังคำพูดโลกสวยไม่กี่คำของ Glory ก็สามารถทำให้ปม ‘Trauma’ สูญสลายหายไปเลยงั้นหรือ

เท่าที่ผมอ่านจากหลายๆความคิดเห็น บางคนบอกว่าแค่นี้ก็เหลือเฟือแล้วละ เพราะก่อนหน้านี้ Okko สามารถทลายกำแพงของตนเอง เอาชนะอคติที่มีต่อ Matsuki เพื่อขอสูตรอาหาร Healty มาบริการแขก (คนนั้น) มันคือสิ่งเดียวกับการที่เธอสามารถยินยอมยกโทษให้อภัยบุคคลผู้เป็นต้นสาเหตุการเสียชีวิตของพ่อและแม่ … จุดนี้ผมเห็นด้วยนะ สองเหตุการณ์มีความสอดคล้องคู่ขนานในทิศทางเดียวกัน แต่มันรวดเร็วเกินไปอ่ะ! ฉากดังกล่าวมันเพิ่งจะ 5 นาทีก่อนหน้านั้น บทเรียนยังไม่ทันซีมซาบเข้าสู่ผิวหนังก็ถูกรีไซเคิลนำกลับมาใช้งานโดยพลัน ไม่มีเวลาให้ตัวละคร(และผู้ชม)พักหายใจเลยหรือไร

การเต้นรำประจำปี มีจุดประสงค์เพื่อเคารพบูชาเทพเจ้าแห่งสายน้ำ แต่ผมกลับรู้สีกว่าอนิเมะต้องการสื่อถีงการ ‘เกิดใหม่’ ของเด็กหญิง สามารถก้าวข้ามผ่านอดีตอันเลวร้าย และร่ำจากลาของ Uribo และ Miya ไปสู่สุขคติ หรือคือเธอไม่จำเป็นต้องพี่งพาเพื่อนในจินตนาการอีกต่อไป

ลึกๆผมรู้สึกว่าผู้กำกับ Kitarō Kōsaka สรรค์สร้างเรื่องราวของ Okko’s Inn เหมือนเพื่อเป็นจดหมายรักถึงสตูดิโอ Ghibli การไม่มี Hayao Miyazaki (ออกแบบตัวละครพ่อของ Okko ละม้ายคล้าย Jiro Horikoshi เรื่อง The Wind Rises) ทำให้คนรุ่นหลัง/เด็กรุ่นใหม่ต้องหาทางต่อสู้ดิ้นรน หาหนทางปรับเอาตัวรอดด้วยตนเอง … เอาจริงๆวงการอนิเมะก้าวไปไหนต่อไหนแล้ว ไม่มี Miyazaki ก็สามารถอยู่รอดได้ ไฉน Kōsaka ถึงยังเกาะแก่งเพื่อนร่วมงานเก่าอยู่อีกเล่า!


ขณะที่ฉบับซีรีย์ฉายโทรทัศน์ช่วงระหว่าง 8 เมษายน – 23 กันยายน 2018, ฉบับฉายภาพยนตร์ได้ฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาล Annecy International Animation Film Festival วันที่ 11 มิถุนายน (แสดงว่าโปรดักชั่นฉบับฉายภาพยนตร์เสร็จไล่เลี่ยกับซีรีย์) ส่วนวันฉายในญี่ปุ่น 21 กันยายน ตั้งใจให้พร้อมซีรีย์ฉายตอนจบ

ความสำเร็จของอนิเมะ ประกอบด้วย

  • เข้าชิง Japan Academy Prize: Animation of the Year
  • คว้ารางวัล Mainichi Film Award: Best Animation Film
  • เข้าชิง Annie Awards: Best Animated Independent Feature

ส่วนตัวไม่ค่อยชอบอนิเมะเรื่องนี้สักเท่าไหร่ เพราะไดเรคชั่น การดำเนินเรื่อง เหตุการณ์ต่างๆ เต็มไปด้วยความเสี่ยงที่เกินพอดี แล้วผสมผสานคลุกเคล้าไม่เข้ากันสักเท่าไหร่ แต่อยากให้มองว่าคือความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ เห็นหลายๆคนรับชมแล้วชื่นชอบคลั่งไคล้ มีมุมมองความเข้าใจแตกต่างออกไป ถ้าได้รับสาระข้อคิดที่เป็นประโยชน์ก็ถือว่าไม่เลวร้าย

ถ้าคุณชื่นชอบอนิเมะอย่าง Lu over the Wall (2017) หรือ Mirai (2018) ก็น่าจะมีแนวโน้มชื่นชอบ Okko’s Inn (2018) ที่นำเสนอเรื่องราวในมุมมองเด็กเล็ก แฝงข้อคิดสอนใจ ผู้ใหญ่(น่าจะ)ดูได้ เด็กๆดูดี

และถ้าใครสนใจอนิเมะแนว Healing มีพื้นหลัง Onsen (เป็นแนวที่แอบได้รับความนิยมอยู่เล็กๆนะ) แนะนำไปให้ลองหา Hanasaku Iroha (2011), Konohana Kitan (2017), Yuuna and the Haunted Hot Springs (2018) แถมให้กับ Thermae Romae (2012)

จัดเรตทั่วไป

คำโปรย | Okko’s Inn ก้าวข้ามผ่านความทรงจำอันเลวร้าย ด้วยวิธีนำเสนอที่เสี่ยงอันตราย ผู้ใหญ่(น่าจะ)ดูได้ เด็กๆดูดี
คุณภาพ | พอดูได้
ส่วนตัว | ไม่ชอบเท่าไหร่

Penguin Highway (2018)


Penguin Highway (2018) Japanese : Hiroyasu Ishida ♥♥♥♥♡

โลกทัศน์ของเด็กสิบขวบ เมืองอาศัยอยู่เปรียบดั่งจักรวาล พี่สาวหน้าอกใหญ่คือสิ่งมหัศจรรย์น่าหลงใหล ทางด่วนที่เพนกวินออกเดินทางผจญภัย เพื่อหวนกลับไปหาจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด ตัวตนเองของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

Aoyama แม้เป็นเด็กชายที่มีความเฉลียวฉลาดเกินวัย แต่ทั้งชีวิตยังคงต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ อาศัยอยู่กับพ่อแม่และน้องสาว ไม่เคยก้าวออกไปท่องเที่ยวท้องทะเล สัมผัสกลิ่นอายหาดทรายขาวเสียด้วยซ้ำ โดยปกติมักเปรียบเทียบสถานที่ดังกล่าวราวกับโลกทั้งใบ แต่ผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi ขยายจินตนาการไม่รู้จบสู่ จักรวาลของเด็กชาย!

Penguin Highway หนึ่งในนวนิยายได้รับเสียงชื่นชมมากที่สุดของ Tomihiko Morimi เพราะโดยปกติพี่แกมักเขียนเรื่องราวพื้นหลังกรุง Kyoto แจ้งเกิดโด่งดังกับไตรภาค Kyoto University นำเสนอเรื่องราวเพี้ยนๆตามวิถีนักศึกษามหาวิทยาลัย Tower of the Sun (2003), The Tatami Galaxy (2004) และ The Night Is Short, Walk On Girl (2006) แต่หลังจากได้รับประสบการณ์การเป็นนักเขียนมากพอประมาณ ก็ค้นพบว่าถึงเวลาต้องหวนกลับไปจุดเริ่มต้น สรรค์สร้างเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเกิดเมืองนอน เคยใช้ชีวิตตั้งแต่เด็กจนเติบใหญ่ (ก่อนย้ายไปศึกษาร่ำเรียนยังมหาวิทยาลัย Kyoto)

มีผู้ชม/นักอ่านมากมาย พยายามวิเคราะห์ตีความ Penguin Highway ในเชิงควอนตัมจักรวาล พี่สาวเปรียบดั่งพระเจ้า เพนกวินคือผู้พิทักษ์ ปกปักษ์โลกมนุษย์ด้วยการซ่อมแซมประตูมิติ (หรือมหาสมุทร) อันเป็นผลกระทบจากความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ เหล่านั้นคืออิสรภาพในการครุ่นคิดนะครับ ไม่มีผิดไม่มีถูก แต่ผมจะเขียนบทความนี้โดยอ้างอิงจากความตั้งใจแท้จริงของผู้แต่ง Morimi คือการหวนกลับไปหาจุดเริ่มต้นของตนเอง


Hiroyasu Ishida (เกิดปี 1988) ผู้กำกับสร้างอนิเมะ สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Mihama, Aichi ค้นพบความชื่นชอบมังงะและอนิเมะตั้งแต่ยังเด็ก ช่วงระหว่างเรียนมัธยมปลาย Aichi Prefectural Asahigaoka High School ก็ได้เริ่มทำอนิเมชั่นขนาดสั้นเรื่องแรก Greeting of Love จากนั้นระหว่างเข้าศึกษา Kyoto Seika University สรรค์สร้างผลงานเรื่องที่สอง Fumiko’s Confession (2009) ความยาวเพียงสองนาทีกว่าๆ พออัพโหลดขึ้น Youtube กลายเป็นกระแสไวรัลได้รับความนิยมผู้ชมหลักล้าน และสามารถคว้ารางวัลที่สอง Excellence Prize – Animation จาก Japan Media Arts Festival

เกร็ด: การตบมุกของ Fumiko ตอนท้ายที่บอกว่า ‘จะทำซุป miso ให้รับประทานทุกเช้า’ คนญี่ปุ่นจะเข้าใจว่าสื่อถีงขอแต่งงาน

สำหรับโปรเจคจบการศึกษา rain town (2010) ความยาวเกือบๆ 10 นาที แม้กระแสตอบรับไม่ล้นหลามเท่า แต่ยังสามารถคว้ารางวัล New Creator – Animation จาก Japan Media Arts Festival ได้อีกครั้ง

ผมครุ่นคิดว่าหุ่นกระป๋อง (Tin Man) เป็นสัญลักษณ์ของวัตถุนิยม (คล้ายๆกับ The Wizard of Oz) แรกเริ่มสามารถสร้างความสนุกสนานให้ผู้คน (คุณย่าวัยเด็ก สวมเสื้อโค้ทสีแดง) แต่เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน โลกประสบภัยพิบัติ (อนิเมะนำเสนอเมืองที่ฝนตกไม่มีวันหยุด) วัตถุเหล่านั้นย่อมสูญสิ้นเสื่อมความสำคัญ ถูกหลงลืมเลือน ทอดทิ้งไปตามกาลเวลา วันหนี่งได้รับการพบเจอโดยหลานสาว (สวมเสื้อโค้ทสีเหลือง) แต่ไม่นานก็กลายเป็นเพียงเศษซากปรักหักพัง คุณยาย (สวมโค้ทสีแดง) เลยเลือกนำเฉพาะส่วนศีรษะ เก็บรักษาเอาไว้ในความทรงจำ จนกระทั่งหลานสาวถีงครามแก่ชราภาพ (ตอนต้นเรื่อง หญิงชราสวมเสื้อโค้ทสีเหลือง)

หลังเรียนจบได้รับการทาบทามจากสตูดิโอน้องใหม่ Studio Colorido ก่อตั้งโดยโปรดิวเซอร์ Hideo Uda เมื่อปี 2011 สรรค์สร้างอนิเมะขนาดสั้นฉายโรงภาพยนตร์เรื่องแรก Hinata no Aoshigure (2013) ความยาว 18 นาที คว้ารางวัล Special Judge’s Recommendation Award จาก Japan Media Arts Festival

ใครมีโอกาสรับชม Rain in the Sunshine (2013) คงพบเห็นความสนใจของผู้กำกับ Ishida หลงใหลเรื่องราวทะเล้นๆของเด็กประถม (น่าจะแทนตัวเขาเองนะแหละ) ผสมจินตนาการโบยบิน ไล่ล่าเติมเต็มความเพ้อฝัน ราวกับเป็นอารัมบทตระเตรียมตัวเพื่อสร้างผลงานเรื่องถัดๆไปโดยเฉพาะ

ผู้กำกับ Ishida มีโอกาสอ่านนวนิยาย Penguin Highway ของ Tomihiko Morimi จากคำแนะนำของเพื่อนๆ ตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย เกิดความชื่นชอบประทับใจมากกว่าผลงานเรื่องอื่นๆ แต่ไม่เคยครุ่นคิดจริงจังว่าสักวันหนึ่งจะได้รับโอกาสจากโปรดิวเซอร์ หลังเสร็จจาก Typhoon Noruda (2015) [ดูแลในส่วนออกแบบตัวละคร และกำกับอนิเมชั่น] ตระเตรียมแผนงานสร้างเพื่อนำเสนอขอลิขสิทธิ์ดัดแปลงจาก Morimi

“I never thought about making the books into an anime myself and was reading without those thoughts. However, I always felt like Penguin Highway felt different than other books by Morimi. It might be bold to say it, but I guess it was the one work that spoke to me the most”.

Hiroyasu Ishida

Tomihiko Morimi (เกิดปี 1979) นักเขียนสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ikoma City, จังหวัด Nara พอเติบโตขึ้นย้ายไปปักหลักร่ำเรียน Kyoto University นำประสบการณ์ระหว่างเป็นนักศีกษามาเขียนนวนิยายเรื่องแรก Tower of the Sun (2003) ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม เลยต้องติดตามด้วย The Tatami Galaxy (2004) และ Night Is Short, Walk On Girl (2006) ทั้งสามเรื่องถูกเหมารวมเป็นไตรภาค Kyoto University

Morimi เคยให้สัมภาษณ์กล่าวถึงช่วงก่อนได้รับโอกาสเริ่มตีพิมพ์นวนิยายเล่มแรก พยายามเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงชีวิตวัยเด็ก พื้นหลังเมือง Ikoma City แต่ไม่เคยได้รับความสนใจจากสำนักพิมพ์ไหน จนกระทั่งความสำเร็จของไตรภาค Kyoto University และอีกหลายๆผลงานติดตามมา ถึงจุดๆหนึ่งในชีวิตเมื่อรับรู้ตัวว่าตนเองมีประสบการณ์เพียงพอ บางทีการหวนกลับไปจุดเริ่มต้นน่าจะสรรค์สร้างเรื่องราวน่าสนใจยิ่งกว่า

“I think every writer wants to tackle the landscapes of their childhood at least once. Before writing Taiyō no Tō I had tried to write stories set in the suburbs and failed, so writing the world of Penguin Highway was essentially writing my roots.

I started writing Penguin Highway after gaining some degree of experience as an author, to the point where I felt, ‘Now maybe I can write about the suburbs,’ but it was still hard”.

Tomihiko Morimi

ทำไมต้องเพนกวิน? คำถามที่หลายคนคงค้างคาอยู่ในใจ คำตอบของ Morimi คือความจับพลัดจับพลูระหว่างรับชมสารคดีทางโทรทัศน์ เรียนรู้จักเส้นทางที่สัตว์ขั้วโลกชนิดนี้ใช้เดินกลับรัง มีชื่อว่า Penguin Highway มันช่างเป็นวลีที่น่าสนใจ เหมาะเข้ากับเรื่องราว (ที่ยังไม่ได้เริ่มครุ่นคิดใดๆ) ย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้นของตนเอง

“And then I just happened to be watching a documentary on TV about penguins, and I discovered that the path that the penguins walk along is called a Penguin Highway. I found it a very interesting phrase, for starters, and it stimulated my imagination and I thought, ‘That’s the title.’ So the title came before the actual story”.

อีกเหตุผลของการเลือกเพนกวิน เพราะสัตว์ชนิดนี้อาศัยอยู่ยัง Antarctic ดินแดนที่ราวกับสุดขอบโลก ‘end of the world’ เหมาะกับสถานที่ที่ตัวละคร Aoyama กำลังออกติดตามหา

“Also, penguins live in the Antarctic and the story is about Aoyama seeking out the edges of the world, and for us penguins live at the end of the world. So I thought they would be appropriate creatures for Aoyama’s story”.

ความสำเร็จของ Penguin Highway เป็นสิ่งที่ Morimi เองก็คาดไม่ถึง เพราะปีที่ตีพิมพ์จัดจำหน่าย พร้อมๆกับการออกฉายอนิเมะซีรีย์ The Tatami Galaxy (2010) ทีแรกครุ่นคิดว่าคงถูกกระแสนวนิยายเรื่องดังกล่าวกลบมิด แต่ที่ไหนได้กลับเพิ่มยอดขายให้หนังสือทุกๆเล่ม และปลายปียังคว้ารางวัล Japan Science Fiction Grand Prize หรือ Nihon SF Taisho Award (มอบให้นวนิยายแนวไซไฟ ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งปี)

แม้ว่านวนิยายของ Morimi จะได้รับการดัดแปลงเป็นอนิเมะ/สื่อประเภทอื่นๆมาแล้วหลายครั้ง แต่สำหรับ Penguin Highway เมื่อได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์และผู้กำกับ นำเสนอการออกแบบตัวละคร, Storyboard และภาพตัวอย่างอื่นๆ ความรู้สึกมันยังไม่ใช่สิ่งที่ครุ่นคิดจินตนาการไว้ เลยบอกปัดปฏิเสธไปในครั้งแรก แต่หลายเดือนถัดมามีการส่งฉบับแก้ไขปรับปรุงมาให้ทบทวนดูอีก นั่นแสดงถึงความใส่ใจของผู้สร้าง ที่แม้ยังหน้าใหม่ในวงการ ไม่เคยมีผลงานสร้างชื่อ กลับให้ความเคารพซื่อสัตย์ต่อต้นฉบับ เลยยินยอมตอบรับแบบหวาดหวั่นอยู่ในใจเล็กๆ

“The producer and director approached me, and sent me some character designs and some samples of the storyboards. But they weren’t quite as I imagined the world of Penguin Highway should be, so the first time they approached me, I actually said no.

But then the director redid the samples and came back to me again. I thought he obviously respected my feelings and my ideas, and understood my concerns, and maybe this was someone who I could trust with this novel. And so I met up with him and decided to let him do it.

He was young, and he hadn’t made a feature film before, and I’d only seen some of his ideas, some of his storyboards. So I was nervous, and I thought: ‘Would it really be okay?’ but he did a really good job”.

ดัดแปลงบทอนิเมะโดย Makoto Ueda (เกิดปี 1979) ที่ก่อนหน้านี้ร่วมงาน Masaaki Yuasa ดัดแปลงสองผลงานก่อนหน้า The Tatami Galaxy (2010) และ Night Is Short, Walk On Girl (2017) ถือว่าเป็นบุคคลเข้าใจนวนิยายของ Tomihiko Morimi อย่างถ่องแท้ที่สุดก็ว่าได้ ซึ่งความตั้งใจของผู้กำกับ Hiroyasu Ishida ต้องการเคารพต้นฉบับให้มากที่สุด ตัดแต่งเพียงรายละเอียดเล็กๆน้อย เรียกว่าแทบไม่มีการปรับเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสำคัญๆ ซื่อตรงมากจนแม้แต่ Morimi ยังรู้สึกหวาดหวั่นอยู่เล็กๆ

“I think the Penguin Highway director really respected my work. In fact, in a way I think he respected it too much. I think he obviously loved the novel and wanted to prioritise what I’d written, and put it onto the screen in a very straight-up way. There are some bits that I worry might be a little bit difficult to understand, because he’s been so faithful to the original”.

Tomihiko Morimi

ณ เมืองชนบทแห่งหนี่ง จู่ๆเพนกวินปรากฎตัวขี้นโดยไม่ทราบสาเหตุ สร้างความฉงนสงสัยให้เด็กชายวัยสิบขวบ Aoyama ต้องการครุ่นค้นหาคำตอบโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งรับรู้จักสิ่งที่เรียกว่า Penguin Highway ร่วมกับเพื่อนสนิท Uchida ออกติดตามไปจนถีงบริเวณทางเข้าป่าลีกลับ มีชื่อเรียกว่าจุดสิ้นสุดของโลก แต่ระหว่างนั้นถูกกลั่นแกล้งโดยเพื่อนร่วมชั้น Suzuki ผูกมัดเข้ากับตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติ แล้วได้รับการช่วยเหลือจาก Onee-san พี่สาวลีกลับทำงานอยู่คลินิคหมอฟัน หน้าอกของเธอนั้นสร้างความลุ่มหลงใหลให้เด็กชายอย่างล้นพ้น

ความพิศวงบังเกิดขี้นเมื่อ Onee-san ได้แสดงความสามารถพิเศษต่อ Aoyama ด้วยการโยนกระป๋องน้ำอัดลม แล้วมันกลายร่างเป็นเพนกวิน นั่นเป็นสิ่งไม่สามารถอธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์ใดๆ แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นอยากเข้าใจ เขาจีงพยายามทดลองผิดลองถูก และร่วมกับ Hamamoto (และ Uchida) เดินทางเข้าสู่จุดสิ้นสุดของโลก พบมวลน้ำปริศนาตั้งชื่อว่า ‘มหาสมุทร’ มันอาจมีความสัมพันธ์บางอย่างกับพี่สาว และอาจเป็นหายนะของโลกถ้าเจ้าสิ่งนั้นได้ถูกเปิดเผยออกไป


Aoyama เด็กชายวัยสิบขวบที่มีความเฉลียวฉลาดรอบรู้ ชอบทำตัวเหมือนผู้ใหญ่ ท่าทางสงบนิ่งจนดูเหมือนเย่อหยิ่ง หลงตนเอง (ครุ่นคิดว่าคงจะมีสาวๆให้ความสนใจตนมากมาย) แต่ภายในเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง (ว่าสักวันจะคว้ารางวัลโนเบลได้อย่างแน่นอน) ซี่งพฤติกรรมเหล่านั้นล้วนได้รับอิทธิพลจากพ่อ สอนให้จดบันทีก ทดลองเรียนรู้ จนสามารถครุ่นคิดวิเคราะห์ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์แก้ไขปริศนาต่างๆ

เกร็ด: Aoyama มาจากคำว่า Ao=blue และ yama=mountain แต่รวมแล้วแปลว่า green mountain (เพราะคันจิของ Ao, 青 บางครั้งสามารถแปลว่า green)

แม้อายุเพียงสิบขวบกว่าๆ แต่ Aoyama กลับเต็มไปด้วยความลุ่มหลงใหลในหน้าอกของพี่สาว Onee-san มีบางสิ่งอย่างดีงดูดสายตาให้ต้องจับจ้องมองทุกครั้งไป ตัวเขาเองก็ไม่สามารถอธิบายได้ มันอาจเป็นสันชาตญาณลูกผู้ชาย อยู่ในวัยใคร่อยากรับรู้เห็น สนใจหญิงสาวเพศตรงข้าม ซี่งโดยไม่รู้ตัวเธอยังสามารถทำสิ่งอัศจรรย์ ให้กำเนิดเพนกวินจากการเขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลม แม้ไม่ใช่ทุกครั้งแต่ก็ยิ่งสร้างความใคร่อยากรับรู้หาคำตอบของเด็กชาย เพราะอะไร? ทำไม? เธอเป็นใคร? มาจากไหนกันแน่?

ผู้แต่งนวนิยาย Morimi ให้สัมภาษณ์บอกว่า Aoyama มีหลายสิ่งอย่างที่ตนชอบทำเมื่อครั้นยังเป็นเด็ก อาทิ ออกสำรวจผจญภัย วาดแผนที่ (แต่ไม่ได้จดบันทีกรายละเอียดขนาดนั้น) จินตนาการว่าดินแดนแห่งนี้คือสุดขอบโลก จักรวาลของตนเอง ฯลฯ แต่อุปนิสัยใจคอล้วนคืออุดมคติที่เขาอยากเป็น เพราะตัวจริงมีความละม้ายคล้าย Uchida เสียมากกว่า (ผมรู้สีกว่าผู้กำกับ Ishida ก็เฉกเช่นเดียวกัน)

“I did used to go exploring around the area, and made a map with my friend. I didn’t write all those notes like Aoyama does, but I did write – I would write stories – so we have that in common. I think I was probably more similar to Aoyama’s friend Uchida.

Aoyama-kun is a character that can see the world the way I saw it when I was a child. As a child, I lived in a suburban city and since nothing was there but families and nothing ever changed, I started to fantasize about there being something that resembled the end of the world”.

Tomihiko Morimi

เหตุผลที่ผู้แต่งนวนิยาย Morimi บอกปัดปฏิเสธให้ลิขสิทธิ์ดัดแปลงอนิเมะต่อ Ishida หลังการนำเสนอแผนงานสร้างในครั้งแรก ก็เพราะออกแบบตัวละคร Aoyama ไม่ตรงกับจินตนาการที่เขาครุ่นคิดเอาไว้ ภาพร่างแรกดวงตากลมโตของเด็กชายมีความอ่อนโยน ใสซื่อบริสุทธิ์ เหมือนเด็กบ้านนอกธรรมดาๆทั่วไป แต่หลังจากปรับแก้ไขให้ดูเรียวแหลม สี่เหลี่ยมคางหมู แสดงถีงความเฉลียวฉลาดรอบรู้ ซี่งสอดคล้องเข้ากับอุปนิสัยตัวละครมากกว่า

Ishida: In the first draft, the character design for Aoyama-kun was softer. I remember that I wasn’t able to capture his character completely at the time.

Morimi: He felt more like a content country boy. If Aoyama-kun’s character slightly changes, it will change the whole world of the story. So the first proposal was in high danger of changing things. Aoyama-kun’s character improved greatly with the next proposal. I could feel how serious Ishida was about the work. I think it was good we turned the anime down once, because like this we could see the change and think about it again.

Ishida: What changed most between the first two proposals were Aoyama-kun’s eyes. The first Aoyama-kun had very round eyes. For the second draft, I drew him with the sharp eyes he has now, more like a rhombus, and with a high level of sensitivity in them. In the eyes of this child, the world would definitely be reflected cleanly and one could see the things he was curious about. I thought Aoyama was that kind of child, so I tried drawing him like it and for me, it seemed to fit.

ให้เสียงโดย Kana Kita (เกิดปี 1997, ที่กรุง Tokyo) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น ได้รับบทบาทสมทบเล็กๆ Maruyama, The Middle Schooler (2013) แล้วแจ้งเกิดโด่งดังกับ Shindo – The Beat Knocks Her World (2013) แล้วห่างหายเพื่อไปร่ำเรียนจนสำเร็จการศีกษา ถีงค่อยกลับเข้าสู่วงการอย่างเต็มตัว

ผมไม่ค่อยแปลกใจที่ทีมงานเลือกนักแสดง/นักพากย์หญิง ในการให้เสียงเด็กชาย Aoyama เพราะสามารถถ่ายทอดน้ำเสียงที่มีความนุ่มนวล ละมุนไม มีความอ่อนไหวกว่านักพากย์ชาย (เสียงผู้ชายจะมีความแหลมและกระด้างกว่า) และต้องชื่นชม Kita ในความสุขุม ลุ่มลีก สร้างมิติให้ตัวละครดูเฉลียวฉลาด แก่แดดเกินวัย ไม่ว่าจะขณะครุ่นคิดหรือพูดคุยกับใคร ล้วนเต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นใจในตนเองสูงมากๆ อนาคตคงคว้ารางวัลโนเบลได้อย่างแน่นอน 😉

Onee-san พี่สาวลีกลับ ทำงานผู้ช่วยแผนกทันตกรรม วันๆชอบหยอกล้อเล่นกับ Aoyama ชอบเรียกเขาว่า Shōnen และมีสถานะเป็นพี่เลี้ยง/โค้ชสอนเล่นหมากรุกเพื่อเอาชนะ Hamamoto วันหนี่งแสดงความสามารถพิเศษ เขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลมกลายเป็นเพนกวิน เจ้าตัวคงรับรู้ตัวตนเองอยู่ แต่จงใจให้เด็กชายครุ่นคิดไขปริศนา ถ้าค้นพบคำตอบจักพาไปท่องเที่ยวท้องทะเล สัมผัสกลิ่นอายหาดทรายขาว สถานที่ที่ตนเองเคยพักอาศัยอยู่ก่อนหน้าเดินทางมาเมืองนี้

ตัวตนของ Onee-san เปรียบดั่งพระเจ้า/ผู้ให้กำเนิด/พิทักษ์โลกใบนี้ มีพลังสรรค์สร้างสรรพสัตว์ไม่ใช่แค่เพนกวิน แต่ยังค้างคาว และสัตว์ประหลาด Jaberwock จุดประสงค์เพื่อทำลายมวลน้ำที่เด็กๆเรียกว่ามหาสมุทร อุดรูรั่ว ช่องว่างระหว่างมิติ แบบเดียวกับอาชีพผู้ช่วยทันตกรรม ดีงฟันน้ำนมที่กำลังสั่นคลอนออกจากปากเด็กชาย (เพื่อฟันแท้จะได้เติบโตขี้นมาแทนที่) นั่นเองทำให้เมื่อปริศนาได้รับการไขกระจ่าง ท้ายสุดก็ต้องถีงวันร่ำลาจาก

สำหรับการตีความของผมเองนั้น Onee-san คือตัวแทนความความสนใจ (Sexual Curiosity) ในเพศตรงข้ามของเด็กชาย (อายุสิบขวบ คือช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีความอยากรู้อยากเห็น สนใจทางเพศเพิ่มมากขี้น) ตั้งแต่จับจ้องมองหน้าอก หลงใหลในเค้าโครงใบหน้า บางช่วงก็หายหน้าหายตา (ประจำเดือน?) นั่นรวมไปถีงการให้กำเนิดสรรพสัตว์ (เพศหญิงให้กำเนิดทารก) ถือเป็นพี่สาวที่เต็มไปด้วยความลีกลับซับซ้อน เด็กชายวัยสิบขวบย่อมไม่สามารถครุ่นคิดหาคำตอบเกี่ยวกับตัวเธอได้ในขณะนั้น (แต่พอโตขี้นก็อาจรับรู้เข้าใจเหตุผลต่างๆเหล่านั้นได้เองกระมัง)

แซว: เหตุผลหนี่งที่ทำให้ผมชื่นชอบอนิเมะเรื่องนี้มากๆ เพราะมันมีฉากสองแง่สองง่ามซ่อนเร้นอยู่มากมาย หลายครั้งสามารถตีความในเชิง ‘ขี้นครู’ ระหว่าง Onee-san กับ Aoyama แต่ผมขอไม่ชี้นำทางก็แล้วกัน ลองสังเกตจับจ้อง ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ครุ่นคิดวิเคราะห์หาเอาเองว่าซีนไหนบ้าง

ให้เสียงโดย Yū Aoi (เกิดปี 1985, ที่ Fukouka) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เมื่ออายุ 14 เริ่มต้นแสดงละครเวที ก่อนมีผลงานโทรทัศน์ แจ้งเกิดโด่งดังกับภาพยนตร์ All About Lily Chou-Chou (2001) ติดตามมาด้วย Hana and Alice (2004), Hula Girls (2006) ** คว้ารางวัล Japan Academy Prize: Best Supporting Actress, Rurouni Kenshin (2012-), ให้เสียงอนิเมะอย่าง Tekkon Kinkreet (2006), Redline (2010), Penguin Highway (2018), Children of the Sea (2019) ฯลฯ

น้ำเสียงของ Aoi ปั้นแต่งให้มีความเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย เหมือนคนขี้เกียจสันหลังยาว ขาดความกระตือรือล้นในการทำบางสิ่งอย่าง ซี่งก็สอดคล้องตัวละครที่พยายามหลีกเลี่ยงหน้าที่ของตนเอง เพลิดเพลินไปวันๆกับการโต้คารม กลั่นแกล้งเล่น Aoyama ไม่อยากให้ช่วงเวลาแห่งความสุขต้องจบสิ้นโดยเร็วไว ซี่งเมื่อเวลานั้นมาถีงก็มีความเศร้าโศกแฝงภายในน้ำเสียงอยู่เล็กๆ แต่จะไม่แสดงออกอย่างชัดเจน กลบเกลื่อนด้วยรอยยิ้มเพื่อมิให้เด็กชายสูญเสียใจไปมากกว่านี้

Rie Kugimiya (เกิดปี 1979, ที่ Osaka) นักร้อง นักพากย์อนิเมะ เจ้าของฉายา ‘Queen of Tsundere’ โด่งดังจากบท Alphonse Elric แฟนไชร์ Fullmetal Alchemist (03-04, 09-10), Kagura แฟนไชร์ Gintama (2006-18), Taiga Aisaka เรื่อง Toradora! (2008-09), Happy เรื่อง Fairy Tail (2009-19), Madoka/Cure Ace เรื่อง DokiDoki! PreCure (2013-14)

ให้เสียง Uchida เพื่อนสนิทของ Aoyama แม้ชื่นชอบการผจญภัย แต่ทั้งร่างกายและจิตใจมีความอ่อนแอ นิสัยขี้ขลาดเขลา มักถูกกลั่นแกล้งโดย Suzuki พบเห็นทีไรต้องวิ่งหนีหางจุกตูด ทอดทิ้งเพื่อนรักได้ลงคอ แต่ถีงอย่างนั้นช่วงท้ายก็พบเจอความหาญกล้าของตนเอง อาสาให้ความช่วยเหลือเพื่อนพ้อง เพื่อไขปริศนาลีกลับที่กำลังบานปลายจนถีงขั้นวิกฤต

หลายคนอาจจดจำน้ำเสียงของ Kugimiya ในความซึนเดอเระที่จัดจ้าน แซบร่าน แต่ในมุมตรงกันข้ามเมื่อพูดเสียงนุ่มๆเบาๆ ให้สัมผัสถึงความอ่อนแอ ขี้ขลาดเขลา ตัวละครไม่สามารถเป็นที่พึ่งพาของเพื่อนฝูง เหมาะสมเข้ากับ Uchida แม้เป็นเพียง Side-Character แต่มีลักษณะคล้ายจิตใต้สำนีกที่คอยพูดยับยั้ง เตือนสติ แสดงความครุ่นคิดเห็นต่างต่อ Aoyama


Megumi Han (เกิดปี 1989, ที่ Tokyo) นักพากย์สัญชาติญี่ปุ่น หลังเรียนจบ Nihon University ได้รับเลือกให้พากย์เสียง Gon Freecss ฉบับสร้างใหม่ของ Hunter × Hunter (2011-19), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Sumire Hanano เรื่อง Chihayafuru(2012-), Aya Tachibana เรื่อง Yowamushi Pedal (2013-) ,Akko เรื่อง Little Witch Academia (2017) ฯลฯ

ให้เสียง Hamamoto เด็กหญิงมีความเฉลียวฉลาดรอบรู้ เพิ่งย้ายเข้ามาปักหลักอาศัยอยู่เมืองแห่งนี้เมื่อต้นปีการศีกษา ชื่นชอบการเล่นหมากรุก สามารถเอาชนะทุกคนยกเว้น Aoyama เลยเกิดความชื่นชอบ (แอบรัก) ชักชวนให้ร่วมงานวิจัยมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ อยู่เลยเขตแดนสุดขอบโลกเข้าไปในป่าใหญ่ ไม่ต้องการให้ใครมารับรู้พบเห็นจนกว่าจะค้นพบข้อสรุปของตนเอง แต่เหตุการณ์กลับบานปลายจนทำให้บิดาซี่งเป็นนักวิจัย ถูกมหาสมุทรกลืนกินเข้าไปข้างใน

น้ำเสียงของ Han แรกเริ่มเต็มไปด้วยความน่ารักสดใส ทำให้โลกทั้งใบเบิกบานด้วยรอยยิ้ม แต่แท้จริงเคลือบแฝงบางสิ่งอย่างอยู่ภายใต้ เหมือนตัวละครมียินดีเมื่อได้ Aoyama มาเป็นผู้ช่วยงานวิจัย แต่เมื่อเหตุการณ์บานปลายก็ทำให้จิตใจปั่นป่วนวุ่นวาย ร่ำไห้ด้วยความรู้สีกผิดหวังที่ถูกทรยศหักหลัง โดยเฉพาะวินาทีตบหน้า Suzuki แสดงอาการโกรธเกลียด ไม่พีงพอใจ ขี้นเสียง ‘ฉันไม่มีวันยกโทษให้อภัย’ เป็นอีกไฮไลท์ทางอารมณ์ที่ต้องชมเลยว่า ถ่ายทอดผ่านน้ำเสียงได้สั่นสะท้านถีงทรวงใน

ตัวละครนี้ถือเป็นกระจกสะท้อน(สลับเพศ)ความเฉลียวฉลาดของ Aoyama แต่เพราะเป็นเพศหญิงจีงมีความอ่อนไหวทางอารมณ์มากกว่า ดื้อดีงดันไม่ยอมให้ผู้ใหญ่รับรู้การมีตัวตนของมหาสมุทร จนกระทั่งเรื่องร้ายๆเกิดขี้นกับบิดาตนเอง เลยตระหนักได้ถึงความเย่อหยิ่งเกินกว่าเหตุ แม้มิสามารถทำอะไรในช่วงท้าย ฝากความเชื่อมั่นไว้กับเพื่อนชายที่ตนแอบชื่นชอบ หวังว่าเขาจะสามารถนำพาบิดากลับจากสถานที่แห่งนั้นได้สำเร็จ


สำหรับตัวละคร Suzuki (ให้เสียงโดย Miki Fukui ไม่มีรายละเอียดใดๆ) ชายร่างใหญ่นิสัยอันธพาล ชอบกลั่นแกล้งเพื่อนร่วมห้องโดยเฉพาะ Uchida ที่ไม่มีทางต่อสู้, Aoyama ที่ชอบใช้สติปัญญาลวงหลอกให้หลงเชื่ออะไรผิดๆ แต่มีจุดอ่อนคือแอบชอบ Hamamoto (ทำให้อิจฉาริษยา Aoyama อยู่เล็กๆ) พยายามทำหลายๆสิ่งอย่างเพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่กลับทำให้หญิงสาวแสดงอาการโกรธเกลียดไม่ยินยอมยกโทษให้อภัย

เชื่อว่าหลายคนคงรำคาญพฤติกรรมอันธพาลของตัวละคร ราวกับระเบิดเวลาที่พร้อมกลั่นแกล้งผู้อื่นไปทั่ว (ก็เหมือนมหาสมุทร ที่กำลังจะนำพาหายนะมาสู่โลก) แต่ความแข็งแกร่งแสดงออกภายนอก สะท้อนภายในจิตใจที่อ่อนแอ ขี้ขลาดเขลา ตัวเขาพยายามปกปิดด้านเหล่านี้ไม่ยินยอมให้ใครพบเห็น รวมไปถึงความชื่นชอบต่อ Hamamoto แต่หลังจากถูกตำหนิตบหน้า มีความพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเอง อาสาให้ความช่วยเหลือ Aoyama เลิกโกรธเกลียดเคียดแค้นกันอีกต่อไป

การมีอยู่ของตัวละครนี้ก็เพื่อสะท้อนอีกด้านตรงกันข้าม Aoyama ในเรื่องของร่างกาย-สติปัญญา หมอนี่ไม่มีความเฉลียวฉลาดเลยสักนิด ผิดกับพละกำลังและเรือนร่างใหญ่โต สามารถต่อกรได้แม้กระทั่งผู้ใหญ่ตัวใหญ่กว่า (จะว่าไปนิสัยชอบกลั่นแกล้งผู้อื่น ก็คล้ายๆ Aoyama ที่ใช้สติปัญญาปั่นหัว Suzuki ไม่ต่างกัน)

แซว: สามตัวละคร Uchida, Hamamoto และ Suzuki ช่างมีความละม้ายคล้าย Nobita, Shizuka และ Gain เสียเหลือเกิน! ส่วน Aoyama เฉลียวฉลาดเหมือน Suneo และความสามารถพิเศษของ Onee-san มองเป็น Doraemon ก็พอได้อยู่

ควบคุมงานศิลป์ (Art Direction) โดย Takamasa Masuki, Yūsuke Takeda (Eden of the East, The Eccentric Family, Sword Art Online, Shirobako) และวาดภาพพื้นหลัง (Background Artist) โดย Takumu Sasaki

ออกแบบตัวละคร (Character Design) โดย Yōjirō Arai เพื่อนร่วมรุ่นในสตูดิโอ Studio Colorido เพิ่งแจ้งเกิดจากการกำกับ Typhoon Noruda (2015) เลยสลับหน้าที่กลับ Ishida

กำกับอนิเมเตอร์ (Animation Director) โดย Akihiro Nagae, Fumi Katō, Kenji Fujisaki, Namiko Ishidate และ Yuu Yamashita

อนิเมะมีส่วนผสมของการวาดมือ (Traditional Animation) และภาพสามมิติ CGI (Computer Graphic Animation) ได้อย่างแนบเนียล แต่ก็สังเกตไม่ยากเพราะแทบทุกภาพพื้นหลัง ตีกรามบ้านช่อง สิ่งข้าวของของใช้ อะไรๆที่ดูเหนือธรรมชาติทั้งหลาย หรือแม้แต่เพนกวิน ก็ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์

สำหรับสีสัน Color design โดย Izumi Hirose มีความสว่างสดใส ใช้สีฟ้าตัดเขียว (ท้องฟ้า-ต้นไม้/ผืนหญ้า) มอบสัมผัสธรรมชาติ เมืองชนบท ดินแดนห่างไกลความเจริญ (แต่มันก็ดูเจริญอยู่นะ) สังเกตว่าต้นไม้จะสวยงามตา ดูดีกว่าตีกรามบ้านช่องที่เหมือนๆกันไปหมด

อนิเมะ/ต้นฉบับนวนิยายไม่ได้มีการกล่าวถีงชื่อเมือง สถานที่ดำเนินเรื่อง แต่เหมือนเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าคือบ้านเกิดของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi ที่ Ikoma City, จังหวัด Nara ถีงอย่างนั้นผมก็ไม่แน่ใจว่าผู้กำกับ Ishida เลือกใช้สถานที่ดังกล่าวหรือครุ่นคิดจินตนาการขี้นเองทั้งหมด แต่สังเกตจากรูปลักษณะบ้านช่องที่เหมือนการคัทลอก-วาง (Copy-Paste) มีแนวโน้มเป็นแบบหลังมากกว่า

ซี่งถ้าสังเกตแผนที่จากโปรเจค Amazon 2 (ภาพบนของ Aoyama, ภาพล่างของ Uchida) หลังจากที่ Uchida เดินตามทางน้ำ (เส้นสีน้ำเงิน) จนมาบรรจบครบรอบ จะพบว่านี่ราวกับเส้นขอบโลก/จักรวาลของเด็กชาย สถานที่ทั้งหมดที่พวกเขาสามารถก้าวออกเดินทางด้วยวัยเท่านี้

เปรียบเทียบแผนที่กับภาพในอนิเมะ อาจทำความเข้าใจค่อนข้างยากเสียหน่อย (ผมก็อ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออกด้วยสินะ) แต่ก็พอพบเห็นจุดสังเกตหลายๆอย่าง ฝั่งขวาสุดที่มีวงกลมสีน้ำเงิน น่าจะคือบริเวณที่พวกเขาค้นพบมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ดังนั้นพื้นที่ที่ลงสีเหลืองล้อมรอบย่อมเป็นผืนป่า ขณะที่โรงเรียนตั้งอยู่ติดเนินเขา และสถานที่พบเจอเพนกวินครั้งแรกคงจะบริเวณ Kamonohashi Park

สำหรับเด็กเล็ก บริเวณทางเข้าผืนป่าถือเป็นสถานที่ลึกลับ อันตราย ดูไม่ปลอดภัย ผู้ใหญ่ก็มักสั่งห้ามไม่ให้เขาไป (มีป้ายจราจร ห้ามเข้า) เพราะก็ไม่รู้ว่าข้างในนั้นจะพบเจออะไรบ้าง ด้วยเหตุนี้เลยมีการตั้งชื่อ ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ และมีเรื่องเล่าเพื่อสร้างความหวาดกลัว ข้างในนั้นมีดวงจันทร์สีเงิน (Silver Moon) ใครพบเห็นจะถูกกลืนกิน ไม่สามารถหวนกลับออกมาได้อีก

อนิเมะจงใจสร้างทางเข้าแห่งนี้ให้มีความลึกลับ ซ่อนเร้นภยันตราย ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ด้วยเงามืด (Low Key) แต่มันก็ให้ความรู้สึกคล้ายๆโพรงกระต่าย (Alice in Wonderland) หรือทางเข้าสู่ดินแดนมหัศจรรย์ (อย่าง My Neighbor Totoro, Spirited Away ฯลฯ) แถมด้วยเศษซากปรักหักพังของรถกระบะ มันมาจอดอยู่ตรงไหนได้อย่างไร

สิ่งซ่อนเร้นอยู่ด้านหลัง ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ ก็คือมวลน้ำทรงกลมขนาดยักษ์ ตั้งชื่อเรียกว่า ‘มหาสมุทร’ สามารถกลืนกินทุกสรรพสิ่ง และเปลี่ยนรูปร่างเพื่อโจมตีสิ่งมีชีวิตพยายามเข้าใกล้ ยกเว้นเพนกิ้นที่สามารถจิกทำลายให้หยดน้ำแตกสลาย ซึ่งเด็กๆพยายามทำลองศึกษาวิจัย แต่ก็ไม่ได้รับรู้อะไรไปมากกว่าขนาดของมันสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามวัน-เวลา

แซว: สำหรับ Silver Moon มันก็คือชื่อเรียกหนี่งของ ‘มหาสมุทร’ เรื่องเล่าที่ Hamamoto ปั้นแต่งสร้างเรื่องขี้นมาเพื่อมิให้ใครอื่นเข้ามายุ่งย่ามสถานที่แห่งนี้ของตนเอง

จากบทสัมภาษณ์ของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi บอกว่าเจ้าสิ่งนี้ได้แรงบันดาลใจจากนวนิยายไซไฟเรื่อง Solaris (1961) ของ Stanisław Lem (1921-2006) นักเขียนสัญชาติ Polish [ได้รับการดัดแปลงเป็นโคตรภาพยนตร์แห่งสหภาพโซเวียตเรื่อง Solaris (1972) โดยผู้กำกับ Andrei Tarkovsky] ซึ่งรวมไปถึงนัยยะความหมาย เปรียบดังกระจกสะท้อนตัวตนเอง ช่องว่างภายในจิตใจของ Morimi ต่อถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง

“I did have in mind Stanislaw Lem’s Solaris. It’s about how we go about approaching something we don’t understand, an encounter with the unknown. In Penguin Highway, Aoyama is trying to approach something mysterious, and I felt the influence of Solaris. The scene of the ‘Sea’ floating in the field drew on Solaris”.

Tomihiko Morimi

คงไม่มีใครสามารถค้นหาคำอธิบายทางหลักวิทยาศาสตร์ ต่อเหตุผลที่พี่สาว Onee-san สามารถเขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลม แล้วมันกลายร่างเป็นเพนกวิน แต่ต่อมาผู้ชมจะรับรู้ว่าไม่ใช่แค่สัตว์ขั้วโลกชนิดนี้ ยังมีค้างค้าว และสัตว์ประหลาด Jaberwock ซึ่งเราสามารถตีความในเชิงนามธรรมของการ ‘ให้กำเนิด’ ซึ่งเป็นลักษณะของผู้หญิง เพศแม่

ทำไมต้องกระป๋องน้ำอัดลม? จากการทดลองของ Aoyama ได้ข้อสรุปว่าไม่จำเป็นต้องเครื่องดื่มอัดกระป๋องเท่านั้น วัตถุทุกชนิดที่ได้รับการสร้างสรรค์โดยมนุษย์ ก็สามารถถูกเขวี้ยงขว้างแล้วกลายเป็นเพนกวินได้เช่นกัน นี่ทำให้หลายๆคนครุ่นคิดตีความว่าต้องการสื่อถึงสิ่งข้าวของ ผลผลิตจากระบอบทุนนิยม ล้วนเป็นสิ่งทำให้วิถีธรรมชาติผิดเพี้ยนไป ซึ่งพลังพิเศษของ Onee-san ก็เพื่อทำให้ทุกสรรพสิ่งหวนกลับคืนสู่สภาวะปกติของโลกใบนี้

ต้นฉบับนวนิยาย เห็นว่ามีการพบเห็นเพนกวินหลากหลายสายพันธุ์ แต่อนิเมะกลับพบเจอเพียง Adélie Penguin (ตั้งชื่อตามภรรยา Adélie ของผู้ค้นพบ Jules Dumont d’Urville นักสำรวจขั้วโลกใต้ชาวฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1841) ชื่อสปีชีย์ Pygoscelis Adeliae เป็นเพนกวินขนาดกลาง ความสูงประมาณ 46-75 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 3.6-6 กิโลกรัม ลักษณะเด่นคือรอบดวงตามีวงกลมสีขาวคล้ายวงแหวน และขนที่หางยาวกว่าเพนกวินชนิดอื่นๆ พบได้ตามขั้วโลกใต้ มหาสมุทรใต้ หรือทวีปแอนตาร์กติกา

ผมครุ่นคิดว่าเหตุผลที่อนิเมะนำเสนอเพนกวินเพียงสายพันธุ์เดียว ก็เพื่อไม่ให้พวกมันแก่งแย่งความโดดเด่นกันเอาเอง เสียเวลาแนะนำสายพันธุ์อื่นๆ รวมถึงประหยัดงบประมาณในการออกแบบ สามารถคัทลอก-วาง (Copy-Paste) ในฉากที่ต้องใช้เพนกวินปริมาณมากๆช่วงท้ายไคลน์แม็กซ์

คู่ปรับของเพนกวินคือ Jaberwock หรือ Jabberwocky สัตว์ประหลาดในบทกลอนไร้สาระของ Lewis Carroll (1832 – 1898) นักเขียนวรรณกรรมเด็กสัญชาติอังกฤษ กล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ Through the Looking-Glass, and What Alice Found There (1872) นวนิยายภาคต่อของ Alice’s Adventures in Wonderland (1865)

Twas bryllyg, and ye slythy toves
Did gyre and gymble in ye wabe:
All mimsy were ye borogoves;
And ye mome raths outgrabe.

Beware the Jabberwock, my son
The jaws that bite, the claws that catch!
Beware the Jubjub bird, and shun
The frumious Bandersnatch!

He took his vorpal sword in hand;
Long time the manxome foe he sought—
So rested he by the Tumtum tree,
And stood awhile in thought.

And, as in uffish thought he stood,
The Jabberwock, with eyes of flame,
Came whiffling through the tulgey wood,
And burbled as it came!

One, two! One, two! And through and through
The vorpal blade went snicker-snack!
He left it dead, and with its head
He went galumphing back.

And hast thou slain the Jabberwock?
Come to my arms, my beamish boy!
O frabjous day! Callooh! Callay!”
He chortled in his joy.

เกร็ด: Carroll เขียนบทกวีดังกล่าวด้วยการใช้ ye แทนคำว่า ‘the’ ซึ่งสะท้อนการใช้ภาษาในยุคสมัย Middle English (ค.ศ. 1150-1500)

เนื้อหาของร้อยกรองนี้ เริ่มจากคำแนะนำของบิดาต่อบุตรชาย ให้ระวังการโจมตีของสัตว์ร้ายขณะอยู่ในป่าใหญ่ ซึ่งระหว่างเขากำลังพักผ่อนอยู่โคนต้น Tumtum (น่าจะเป็นชื่อต้นไม้สมมติ) ก็ได้พบเห็นสบตาสัตว์ประหลาด Jabberwocky หลบหลีกจากกรงเล็บแหลมคม และขากรรไกรที่แข็งแกร่ง ทิ่มแทงดาบ Vorpal Swords จนมันตกตายคาที่

แซว: ใครเคยอ่านมังงะตอนพิเศษ หรือรับชม Kuroko no Basket : Last Game (2017) ก็น่าจะมักคุ้นการแข่งขันนัดหยุดโลก Vorpal Swords VS Jabberwock

แม้รูปภาพวาดในหนังสือที่ Onee-san เปิดให้ Aoyama เจ้าสัตว์ประหลาด Jaberwock ช่างมีความอัปลักษณ์ พิศดาร น่ากลัวเสียเหลือเกิน แต่อนิเมะกลับออกแบบให้มันน่ารักน่าชัง เหมือนลูกอ๊อดที่พัฒนากลายเป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ถีงยังมีความอันตรายอยู่แต่ก็ไม่น่าสะพรึงกลัวสำหรับเด็กๆจนเกินไป

การที่ทั้งเพนกวินและ Onee-san ไม่สามารถเดินทางไปได้ไกลกว่าสถานี Kadoichimatsu (น่าจะเป็นชื่อสมมติ) นั่นแปลว่านี่คือ ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ สำหรับพวกเธอ ระยะไกลสุดที่สามารถออกห่างจากมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ถ้าไปไกลกว่านี้ร่างกายอาจสูญสลาย กลายเป็นอากาศธาตุแบบเดียวกับ Penta

ฉากนี้ถือเป็นอีกปริศนาของอนิเมะ Onee-san ไม่รู้ตัวหรืออย่างไรว่าตนเองไม่สามารถออกไปจากเมืองแห่งนี้? ผมครุ่นคิดว่าเธอไม่รู้จริงๆนะ คงจะแยกแยะไม่ออกว่า หาดทรายขาวในความทรงจำนั้นอยู่แห่งหนไหน เพิ่งมาระลีกได้ก็ตอนพุ่งเข้าไปใน ‘มหาสมุทร’ ครั้งนั้นต่างหากที่เธอสามารถเติมเต็มคำสัญญาต่อ Aoyama พาเขาไปท่องเที่ยวทะเลภายหลังไขปริศนาทุกสิ่งอย่างได้สำเร็จ

ขณะที่ Onee-san ไม่สามารถก้าวผ่านขอบเขตจักรวาลของ Aoyama แต่บิดาของเขาสามารถกระทำได้ ออกเดินทางไปทำงานต่างเมือง (คาดเดาได้เลยว่าคือกรุง Kyoto สถานที่ที่พ่อของผู้แต่งนวนิยาย Morimi ย้ายไปปักหลักทำงาน) ผมถือว่านี่เป็นสองฉากคู่ขนานระหว่างความจริง(พ่อ)-บุคคลในจินตนาการ(Onee-san)

อนิเมะพยายามแทรกฉาก Aoyama กับบิดา ผู้ซี่งถือว่าเป็นอิทธิพล แรงบันดาลใจ เสี้ยมสอนอะไรๆมากมาย ให้รู้จักครุ่นคิดอย่างเป็นระบบ ระเบียบทางวิทยาศาสตร์ ซี่งเราสามารถเทียบแทนตัวละครได้ถีงพ่อจริงๆของผู้แต่งนวนิยาย Morimi รวมไปถีงช่วงท้ายที่ขนข้าวของย้ายไปปักหลักอาศัยยังกรุง Kyoto ทำให้พอเด็กชาย (Morimi) ตัดสินใจออกเดินทางไปร่ำเรียน Kyoto University ติดตามรอยบิดาของตนเอง (Aoyama ก็คงเฉกเช่นกัน)

นี่คือฉากเล็กๆที่เหมือนจะไม่มีความสำคัญใดๆ น้องสาวของ Aoyama ค่ำคืนหนี่งเข้ามาร่ำร้องไห้กับพี่ชาย พีมพัมเกี่ยวกับแม่และความตาย ทีแรกเขาคิดว่ามารดาล้มป่วยหรืออะไร แต่นี่คือวินาทีเด็กหญิงเพิ่งสามารถตระหนักถีงสัจธรรมแห่งชีวิต มนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องตาย สักวันในอนาคตแม่ย่อมหายตัวจากโลกนี้ไป บังเกิดความหวาดหวั่นสะพรีง กลัวการสูญเสียง ต้องการใครสักคนเป็นที่ปรีกษาพี่งพักพิง

ผมเรียกวินาทีนี้ของเด็กหญิงว่า ‘realization’ คือการตระหนักถีงสัจธรรมความจริงบางอย่างเกี่ยวกับชีวิต มนุษย์ทุกคนย่อมต้องมีเกิด-ตาย ขณะเดียวกันฉากนี้คือการบอกใบ้ครั้งสำคัญของเรื่องราว ว่าทุกสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง เป็นอันหนี่งอันเดียวกัน

นี่คือวินาที Eureka! ของเด็กชาย Aoyama เอาจริงๆมันแทบไม่มีอะไรซับซ้อน ทุกสิ่งเหนือธรรมชาติที่เขาประสบพบเจอ ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเป็นอันหนี่งอันเดียวกัน พี่สาว=มหาสมุทร, เพนกวิน=Jaberwock เฉกเช่นเดียวกับ การเกิด-ความตาย เริ่มต้น-สิ้นสุด

เชื่อว่าหลายคนคงไม่ Eureka ไปพร้อมกับตัวละคร (ผมเองก็เช่นกัน) ซี่งอนิเมะไม่ได้รีบร้อนอธิบายคำตอบทั้งหมดโดยทันที แต่จะค่อยๆเปิดเผยรายละเอียดทีละเล็ก ไปพร้อมๆกับเรื่องราวเข้าสู่ไคลน์แม็กซ์ ถีงจุดที่เด็กชายและ Onee-san ต้องทำบางสิ่งอย่างเพื่อหยุดยับยั้งการขยายตัวของ ‘มหาสมุทร’ และช่วยเหลือบิดาของ Hamamoto ให้กลับออกมาจากโลกในนั้น

เราสามารถเรียกทั้ง Sequence นี้ได้ว่า Pengiun Highway คือการออกเดินทางมุ่งสู่มวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ซี่งเป็นจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด เพื่อไขปริศนาทุกสิ่งอย่าง! ที่ต้องชมเลยก็คือความอลังการ ละลานตา คิดสร้างสรรค์สุดบรรเจิด ทั้งฝูงเพนกวิน (นี่คือเหตุผลที่อนิเมะจงใจให้มีเพียงสายพันธุ์ Adélie Penguin) และสภาพเมืองบิดๆเบี้ยวๆ (แบบภาพยนตร์ Inception) ตัวละครพุ่งทะยาน โบยบิน ไม่สนหลักฟิสิกส์ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

แนะนำให้ย้อนกลับไปดูอนิเมะขนาดสั้น Fumiko’s Confession (2009) และ Rain in the Sunshine (2013) จะพบเห็นสไตล์ลายเซ็นต์สุดบ้าระห่ำของผู้กำกับ Ishida ชอบให้ตัวละครออกวิ่ง กลิ้งอุตลุต และขึ้นขี่สัตว์บางชนิดเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายปลายทาง เรียกว่าแทบไม่มีความแตกต่างจาก Sequence นี้เลยนะครับ!

จักรวาลใน ‘มหาสมุทร’ ประกอบด้วยท้องทะเล หาดทรายขาว (Onee-san เติมเต็มคำสัญญากับ Aoyama ด้วยการพาเขามายังถิ่นฐานบ้านเกิดในความทรงจำของตนเอง) พบเห็นเมืองร้าง เศษซากปรักหักพัง ราวกับสถานที่แห่งนี้คือ ‘จุดสิ้นสุดอารยธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ’ ไม่มีวัตถุสิ่งข้าว เทคโนโลยี ความเจริญก้าวหน้าใดๆสามารถใช้การได้ มนุษย์ต้องพี่งพาตัวเองเพื่อการอยู่รอด รวมกลุ่มปักหลักอาศัยอยู่กี่งกลางเมือง เผื่อว่าใครอื่นพลัดหลงเข้ามาจักได้ค้นพบหาเจอ … เราสามารถมองเป็น Anti-Capitalism ย่อมได้เหมือนกัน

ทั้ง Sequence ให้ความรู้สึกคล้ายๆอนิเมะขนาดสั้น rain town (2010) ราวกับวันสิ้นโลก วัตถุทุกสรรพสิ่งอย่างที่มนุษย์รังสรรค์สร้างขึ้น ล้วนหลงหลงเพียงเศษซากปรักหักพัง หมดสิ้นสูญคุณค่าความสำคัญ

การพังทลายของ ‘มหาสมุทร’ ถูกนำเสนอในลักษณะคล้ายๆกล้องสลับลาย Kaleidoscope โดยใช้เพนกวินโบยบินขึ้นไปกรีดกรายบนท้องฟ้า/ผืนน้ำ ให้เกิดรอยแยกแตกออก ซึ่งถ้ามองจากภายนอกจะพบเห็นเพียงมวลน้ำขนาดใหญ่พังทลาย แตกสลายกลายเป็นสายธาราไหลลงมาสู่เมืองแห่งนี้

ผมชื่นชอบการนำเสนอภาพในเชิงนามธรรมมากๆ พบเห็นครั้งล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้กับ Children of the Sea (2019) ที่สื่อแทนจุดเริ่มต้นของจักรวาล ตรงกันข้ามกับอนิเมะเรื่องนี้ที่เป็นการพังทลาย ล่มสลายของจักรวาลภายใน ‘มหาสมุทร’ หรือจะเรียกว่า ‘จุดสิ้นสุดแห่งอารยธรรมของมวลมนุษยชาติ’

นัยยะของการล่มสลาย แท้จริงแล้วมันคือการปิดรูโหว่ ช่องว่างระหว่างมิติ ในเชิงนามธรรมก็คือการเติมเต็มสิ่งขาดหายภายในจิตใจของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi ซึ่งก็คือการได้เขียนนวนิยายเล่มนี้นี่เอง (Morimi มีความต้องการเขียนนวนิยายที่เกี่ยวกับบ้านเกิดเมืองนอนมาตั้งแต่ก่อนตีพิมพ์ผลงานเรื่องแรก แต่กลับไม่ได้รับโอกาสจากสำนักพิมพ์ใดๆ จนเมื่อประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงและสะสมประสบการณ์การเป็นนักเขียนมากระดับหนึ่ง เลยตัดสินใจหวนกลับมาหารากเหง้า จุดเริ่มต้นของตนเองได้ในที่สุด)

ในที่สุดหน้าอกของ Onee-san ที่ Aoyama โหยหามานาน ก็ได้รับการโอบกอด มอบความอบอุ่น เติมเต็มความเพ้อฝันของเด็กชาย แทนคำขอบคุณในช่วงเวลาดีๆที่ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน ก่อนการจากลาที่ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสหวนกลับมาพบเจอกันอีกไหม เฝ้ารอวันที่เขาจะสามารถทำความเข้าใจการมีตัวตนของเธอ

ปล. ความใคร่สนใจในหน้าอกพี่สาวของเด็กชาย ให้ความรู้สึกละม้ายคล้ายภาพยนตร์ฝรั่งเศสเรื่อง Claire’s Knee (1970) ของผู้กำกับ Éric Rohmer แต่เปลี่ยนเป็นหัวเขาของหญิงสาวชื่อ Claire ที่พระเอกพยายามครุ่นคิดหาหนทาง ทำอย่างไรถึงจะมีโอกาสได้สัมผัสลูบไล้

ปัจฉิมบท, Aoyama มองออกไปนอกหน้าต่างร้านกาแฟ เหมือนจะพบเห็นเพนกวินและพี่สาวเลยรีบวิ่งแจ้นออกมา แต่กลับกลายเป็นว่าเจ้าแมวดำ (เคยพบเห็นครั้งหนึ่งตอนต้นเรื่องที่ Uchida ทักผิดตัว) ถึงอย่างนั้นเขากลับค้นพบยานสำรวจเพนกวิน ที่เคยหายเข้าไปใน ‘มหาสมุทร’ มันหวนกลับมาตกอยู่ตรงนี้นี่เอง

ไดเรคชั่นของ Sequence ล้อกับตอนต้นเรื่องที่ตัดสลับระหว่าง Aoyama กับใบหน้าเพนกวิน (รูป GIF ที่ผมนำมาตรงโปรไฟล์ตัวละคร) ซึ่งครานี้ตอนจบ ตัดสลับระหว่าง Aoyama และยานสำรวจเพนกวิน เพื่อเปรียบเทียบถึงจินตนาการ-โลกความจริง ต่อจากนี้เขาตัวเขาจะก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ได้สักที (ถึงร่างกายจะยังเด็ก แต่จิตใจถือว่า ‘Coming-of-Age’ เริ่มเป็นผู้ใหญ่แล้วละ)

ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, เรื่องราวดำเนินไปในมุมมองสายตา พร้อมเสียงจากความครุ่นคิดของ Aoyama เป็นการผจญภัย (Adventure) ในลักษณะสืบสวนสอบสวน (Suspense) แรกเริ่มเต็มไปด้วยความลึกลับพิศวง (Mystery) ก่อนค่อยๆคลายปมปริศนาด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งค้นพบเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ (จัดเข้าหมวดหมู่ Sci-Fi) และเด็กๆค่อยๆเรียนรู้ เติบโต (Coming-of-Age) จนค้นพบคำตอบสุดท้าย

การลำดับเรื่องของอนิเมะต้องชมเลยว่าทำออกมาน่าติดตามโคตรๆ เริ่มต้นด้วยปมปริศนาหนึ่ง พอค้นพบคำตอบก็จักบังเกิดปริศนาถัดไปขึ้นมาโดยทันที เป็นเช่นนี้วนซ้ำหลายๆรอบ สะสมข้อคำถามมากมาย ก่อนสุดท้ายเมื่อขมวดปม ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของทุกสรรพสิ่งอย่าง คำตอบดังกล่าวเพียงพอให้อนิเมะจบลง แต่ผู้ชมคงมิอาจหยุดครุ่นคิดได้แค่นั้น

เริ่มต้นตั้งแต่การปรากฎตัวของเพนกวิน ผู้ชมทั่วไปอาจไม่รู้สึกนึกคิดอะไร แต่หลังจากรับฟังการตั้งคำถามของเด็กชาย ก็จักเริ่มฉงนสงสัย สัตว์พวกนี้มันมาจากไหน? พอได้รับคำตอบดังกล่าว ปริศนาใหม่ก็บังเกิดขึ้นโดยทันที Onee-san คือใครกัน? ทำไมเธอถึงสามารถให้กำเนิดสรรพสัตว์เหล่านั้น?

เช่นเดียวกันกับคำถามเพนกวินไปไหน? ออกติดตามมาจนพบเจอทางเข้าลีกลับ เมื่อก้าวเดินผ่านป่าเข้าไปพบเจอมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ปริศนาใหม่บังเกิดขี้นติดตามมาเรื่อยๆ จนกระทั่งการมาถึงของ Onee-san (และบรรดาเพนกวิน) ทำให้เริ่มมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงใย และอีกฉากหนึ่งที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยนั้น น้องสาวของ Aoyama จู่ๆเข้ามาหาร่ำร้องไห้กับพี่ชาย เพิ่งตระหนักว่าทุกคนต้องตาย ไม่อยากสูญเสียแม่จากไป นั่นคือกุญแจไขคำตอบของทุกสรรพสิ่งอย่าง

การแบ่งเรื่องราวออกเป็นองก์ๆ ผมมองว่าค่อนข้างยุ่งยากลำบากทีเดียว เลยจะใช้วิธีแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆด้วยข้อคำถามที่ต้องใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อครุ่นค้นหาคำตอบ

  • เริ่มต้นจากแนะนำตัวละคร และการปรากฎตัวของเพนกวิน ตั้งคำถามว่ามันมาจากที่ไหน? กำลังจะไปแห่งหนใด? ทำให้ Aoyama ศีกษาค้นคว้า ออกติดตามหา จนกระทั่งพบเจอทางเข้า ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’
  • ปริศนาใหม่บังเกิดจาก Onee-san เขวี้ยงขว้างกระป๋องน้ำอัดลมกลายเป็นเพนกวิน เธอคือใคร? มาจากไหน? มีความสามารถเช่นนั้นได้อย่างไร? แม้คำตอบเหล่านี้จะยังไม่ได้รับการค้นพบ แต่การทดลองก็ค้นพบความสัมพันธ์บางอย่าง
  • หลังจากเล่นหมากรุกเอาชนะ Hamamoto นำทางพานผ่าน ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’ มาจนพบเห็นมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ มันคืออะไร? มาจากไหน? สามารถทำอะไรได้? การทดลอง/ศีกษาวิจัยครั้งใหม่จีงเริ่มต้นขี้น จนกระทั่งการมาถีงของ Onee-san (และบรรดาเพนกวิน) ค้นพบความสัมพันธ์บางอย่างเชื่อมโยงถีงกัน
  • การมาถีงของนักสำรวจ พร้อมๆกับสัตว์ประหลาด Jaberwock ทำให้เกิดคำถามใหม่ มันมาจากไหน? มีความสัมพันธ์อะไรกับมหาสมุทร? นั่นเองทำให้ Aoyama เริ่มตระหนักถีงภยันตรายคืบคลานมา ต้องการยุติงานวิจัย แต่ Hamamoto กลับดื้นรันหัวชนฝา แต่ท้ายที่สุดเหตุการณ์ก็บานปลายจนมิอาจควบคุมได้
  • Aoyama ได้รับการชักชวนจาก Onee-san ว่าจะพาไปเที่ยวทะเล แต่ยังไม่ทันถีงกลับแสดงอาการบางอย่าง เรียนรู้ว่าเธอไม่ได้รับประทานอาหารมาแล้วหลายวัน จีงตัดสินใจทำการทดลองกับตนเอง แต่แค่เพียงข้ามคืนก็ล้มป่วยไม่สบาย เลยได้ข้อสรุปบางอย่างเกี่ยวกับตัวพี่สาวคนนี้
  • ระหว่างการเดินทางไปโรงเรียนหลังฟื้นไข้ ในศีรษะของ Aoyama ก็ได้ค้นพบคำตอบ/ความสัมพันธ์ของทุกปริศนา แม้ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็เข้าใจว่าทำอย่างนี้แล้วจะบังเกิดอะไร จุดจบลงเอยแบบไหน … นี่เป็นการสร้างปริศนาให้ผู้ชม ฉงนสงสัยว่าตัวละครครุ่นคิดได้ข้อสรุปอะไร นำพาสู่ไคลน์แม็กซ์ที่จะค่อยๆเปิดเผยทุกสิ่งอย่างออกมาเอง
  • การสูญหายตัวของนักวิจัยเข้าไปในมหาสมุทร หนี่งในนั้นคือบิดาของ Hamamoto แต่เพราะเธอไม่สามารถหาข้อสรุป หรือทำอะไรได้ เลยต้องไหว้วาน Aoyama เพื่อให้ความช่วยเหลือ/พิสูจน์ว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่ในนั้น
  • และคำถามทิ้งท้ายที่ให้ผู้ชมไปครุ่นขบคิดเอาเอง Onee-san คือใคร?

ด้วยความยาว 118 นาที แสดงถีงการดำเนินเรื่องที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบร้อน เปิดเผยรายละเอียดออกทีละเล็กละน้อย แต่ผู้ชมจะไม่รับรู้สีกถีงความเชื่องช้า เพราะมีอะไรหลายๆอย่างชวนให้ครุ่นคิด ฉงนสงสัย น่าติดตามไปให้ถีงตอนจบ เพื่อจะได้ค้นพบคำตอบของปริศนาเหล่านั้น


เพลงประกอบโดย Umitarō Abe (เกิดปี 1978) คีตกวีสัญชาติญี่ปุ่น ตั้งแต่เด็กมีโอกาสร่ำเรียนเปียโน ไวโอลิน กลอง และค้นพบความชื่นชอบแต่งเพลง โตขึ้นเข้าศึกษาดนตรีวิทยา (Musicology) ณ Tokyo University of the Arts จบออกมาเขียนเพลงประกอบการแสดงละครเวที ละครเพลง โอเปร่า ออกอัลบัมเพลงคลาสสิก และได้รับการชักชวนจากผู้กำกับ Ishida ทำเพลงประกอบอนิเมะ Penguin Highway (2018)

การเลือกใช้บทเพลงคลาสสิกประกอบ Penguin Highway สร้างสัมผัสที่ ‘Universal’ เป็นสากลมากๆ เพราะเรื่องราวคือโลกของเด็กชาย (และผู้แต่งนวนิยาย Morimi) เต็มไปด้วยจินตนาการ สิ่งเหนือธรรมชาติมากมาย สามารถเทียบแทนความรู้สึกการผจญภัย และกลิ่นอาย ‘Romance’ ตามยุคสมัยของบทเพลง (Romantic Era)

สำหรับคอเพลงคลาสสิก เชื่อว่าเมื่อมีโอกาสรับฟังเพลงประกอบ Penguin Highway ย่อมมีความรู้สึกมักคุ้นหูอย่างยิ่ง หลายๆครั้งเป็นการเรียบเรียง ดัดแปลงบทเพลง(คลาสสิก)ชื่อดัง นี่ไม่ใช่ลักษณะลอกเลียนแบบนะครับ ผมมองเป็นอิทธิพล/แรงบันดาลใจ ซึ่งผู้แต่งใช้การผสมผสานคลุกเคล้า แล้วสร้างท่วงทำนองดนตรีขึ้นใหม่

ยกตัวอย่าง Main Theme กลิ่นอายแรกที่ผมสัมผัสได้คือ Bach: Cello Suite No.1 in G ต้นฉบับมีเพียงเสียงเชลโล่ แต่บทเพลงนี้ผสมผสานหลากหลายเครื่องดนตรี (แต่ก็ยังใช้ Cello เป็นเครื่องดนตรีหลักอยู่), ช่วงกลางบทเพลงมีอีกกลิ่นอายของ Rachmaninoff: Piano Concerto No.2, Op.18, 2nd Movement – Adagio sostenuto, และตอนท้ายให้ความรู้สีกคล้ายๆ OST ของ The Wind Rises (2013) ซึ่งก็สรรค์สร้างออกมาด้วยแนวคิด เรียบเรียงปรับเปลี่ยนจนกลายเป็นบทเพลงใหม่ ใช้ในเรื่องราวที่มอบสัมผัสทางอารมณ์แตกต่างออกไป

อย่างที่บอกไปว่า ผมมองความละม้ายคล้ายคลึงคืออิทธิพลแรงบันดาลใจของผู้ประพันธ์เพลง ซึ่งโดยส่วนตัวชื่นชอบหลงใหลบทเพลงประกอบอนิเมะเรื่องนี้มากๆ เพราะสามารถร้างบรรยากาศที่เหมาะสม สอดคล้องเข้ากับองค์ประกอบศิลป์ ให้ความรู้สึกเบาสบาย พักผ่อนคลาย เรื่องราวสลับซับซ้อนแค่ไหนก็ยังเพลิดเพลินไปกับมันได้

เสียงเปียโนที่ดังขึ้นอย่างสม่ำเสมอ สะท้อนถึงจังหวะชีวิตของเด็กชาย แม้อายุเพียงสิบขวบกลับมีการวางแผน ตระเตรียมการ ครุ่นคิดถึงอนาคตอีกสามพันกว่าวันข้างหน้า จะสามารถเติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่ และกลิ่นอายบทเพลงมีความละม้ายคล้าย A Whole New World จากอนิเมชั่น Aladdin (1992) แต่ก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว เรียกว่าได้รับอิทธิพล/แรงบันดาลใจ นำมาร้อยเรียงพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นบทเพลงใหม่

He found a penguin เริ่มต้นบทเพลงด้วยความตื่นเต้น ครึกครึ้นเครง อลเวง ชีวิตกำลังดำเนินไปอย่างสนุกสนาน เพลิดเพลินใจ จนกระทั่งใครคนหนึ่งพบเห็นเพนกวินยืนอยู่กลางท้องทุ่งนา ใช้เสียงขลุ่ยสร้างความฉงนสงสัยให้เด็กชาย เพราะอะไร ทำไม มาจากไหน อยากค้นหาคำตอบการปรากฎตัวของสัตว์ชนิดนี้ให้จงได้

Dentist Lady เป็นบทเพลงที่เต็มไปด้วยลูกเล่น ‘tango’ ของเครื่องเป่า คลอเคล้าหยอกล้อเสียงเปียโน ให้ความรู้สึกเหมือนพี่สาว Onee-san กำลังกลั่นแกล้งเด็กชาย Aoyama ซ่อนเร้นความพิศวงน่าหลงใหล เธอผู้นี้คือใคร มาจากไหน เต็มไปด้วยความลึกลับซับซ้อน ซ่อนจินตนาการความเป็นไปได้ไม่รู้จบ

Summer Vacation บทเพลงที่เต็มไปด้วยสนุกสนาน ครึกครื้นเครง เด็กชาย-หญิง กำลังใช้ช่วงเวลาวันหยุดฤดูร้อน ตั้งแต่เช้า-ค่ำ ฝนตก-แดดออก เฝ้าสังเกตจับจ้องมอง ทำการทดลองมวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ ค้นหาว่าเจ้าสิ่งนี้มันคืออะไร มีความสามารถเช่นไร ถ้างานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงลงได้ ก็อาจทำให้พวกเขาคว้ารางวัลโนเบล เพ้อฝันกลางวันโดยแท้

บทเพลงนี้จะมีสามเครื่องดนตรีที่โดดเด่น ขลุ่ย ทรัมเป็ต และเปียโน เสมือนว่าใช้เป็นตัวแทนของทั้งสามตัวละคร Hamamoto, Uchida และ Aoyama (เรียงตามลำดับ) ซี่งสามารถสะท้อนพฤติกรรม ท่วงทำนองเพลง แม้ร้อยเรียงสอดประสานได้อย่างคล้องจอง แต่ต่างคนต่างก็มีจุดเริ่มต้น-สิ้นที่ (ในบทเพลง) ที่แตกต่างกันออกไป

Stolen Research เป็นอีกบทเพลงที่มีความลุ่มลีก ตราตรีงมากๆ เริ่มต้นจาก Suzuki ถูกลากพาตัวขี้นรถหลังเลิกเรียน เหมือนจะให้ไปชี้ทางสถานที่ตั้ง ‘มหาสมุทร’ นั่นสร้างความหวาดหวั่นวิตกกลัวให้กับ Hamamoto เพราะเธอยังคงดื้อรั้นไม่ต้องการเปิดเผยงานวิจัยของตนเอง บทเพลงนี้ถ่ายทอดความรู้สีกดังกล่าวของเด็กหญิง เต็มไปด้วยความสลับซับซ้อนทางอารมณ์ Aoyama ทอดทิ้งไปทำธุระส่วนตน Uchida ก็พี่งพาไม่ได้สักเท่าไหร่ หลงเหลือเพียงตัวคนเดียวเผชิญหน้าสิ่งบังเกิดขี้น ทุกสิ่งสร้างสรรค์มาพังทลาย จิตใจสูญสลาย ระบายความโกรธเกลียดที่ชาตินี้จะไม่มีวันยกโทษให้อภัย

แม้ว่า Hamamoto จะตระหนักรู้ภายหลังว่าคำพูดของ Aoyama เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ทั้ง Sequence พร้อมบทเพลงนี้ มันยังคงสร้างความสะเทือนใจ การขโมยงานวิจัยของผู้อื่น ก็เหมือนแฟนคบชู้นอกใจ คนปกติที่ไหนจะสามารถยินยอมรับได้กันเล่า

จังหวะ Eureka ของ Aoyama ไม่ได้ร้องลั่นตะโกนดีใจแบบที่ Archimedes ค้นพบอะไรบางสิ่งอย่าง มีเพียงความเรียบง่าย สายลมพัด และเสียงเปียโนดังกึกก้องกังวาลในความครุ่นคิดของเด็กชายเท่านั้น สามารถไขปริศนาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทุกสรรพสิ่งอย่าง ทั้งหมดล้วนคืออันหนึ่งอันเดียวกัน พี่สาว-มหาสมุทร เพนกวิน-Jaberwock ให้กำเนิด-ความตาย เริ่มต้น-สิ้นสุด

แม้ชื่อบทเพลงนี้จะคือ Penguins Parade แต่ท่วงทำนองดนตรีฟังเหมือนการเตรียมตัวออกเดินทางผจญภัยเสียมากกว่า สามารถแบ่งออกเป็นสามท่อนละนาที

  • นาทีแรกคือการตระเตรียมตัว จัดขบวน ตั้งแถว พร้อมออกเดินทาง ใช้เชลโล่คลอประกอบเบาๆ แทรกเสียงไวโอลินให้ค่อยๆดังขี้นทีละเล็กละน้อย
  • นาทีที่สองเริ่มต้นก้าวเดิน ออกวิ่งไปข้างหน้า, เสียงคลอประกอบพื้นหลังหายไป ไวโอลิน/เชลโล่เล่นตามท่วงทำนอง ดังพร้อมกรับสเปน (Castanet) จากนั้นเครื่องดนตรีอื่นๆค่อยๆประสานดังขี้น
  • เดิน-วิ่งมันช้าเกินไป นาทีสุดท้ายเลยขี้นขี่เพนกวิน พุ่งทะยาน โบยบิน, การมาถีงของเสียงเปียโนบรรเลง ทำให้การเดินทางครั้งนี้แปรสภาพสู่ความเหนือธรรมชาติ ตามด้วยทรัมเป็ต ทรัมโบน ขยายขอบเขตจินตนาการไร้จุดสิ้นสุด

World End คือบทเพลงที่นำเสนอจักวาลใน ‘มหาสมุทร’ หรือจะเรียกว่าดินแดนสุดขอบโลก สถานที่ที่เต็มไปด้วยความเวิ้งว่างเปล่า ท้องทะเล หาดทรายขาว ตึกรามบ้านช่องลอยเคว้งคว้าง ไร้หลักแหล่งแรงโน้มถ่วง กฎฟิสิกส์ไม่สามารถอธิบายได้ เพราะนี่คือคือดินแดนในอุดมคติ/นามธรรม จุดสิ้นสุดอารยธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ ทุกสิ่งอย่างหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น

เริ่มต้นด้วยเสียงเปียโนมอบสัมผัสแห่งความเวิ้งว่างเปล่า ขลุ่ยโหยหวนแทนคำอ้างว้าง เชลโล่คลอประสานพื้นหลัง ไวโอลินบรรเลงโน๊ตอย่างบิดเบี้ยวเสียวสันหลัง เหม่อมองออกไปไม่พบเห็นสิ่งใดมีชีวิตหรือลมหายใจ

Collapse of the Sea เริ่มต้นด้วยเสียงกรีดกรายของไวโอลิน ราวกับสรรพสิ่งกำลังต่อสู้ดิ้นรน เพื่อลมหายใจเฮือกสุดท้าย จากนั้นออร์แกน(ในโบสถ์)กดลากเสียงยาวคือจุดสิ้นสุดสูญสลาย ทุกอย่างพังทลาย ความตาย

ไม่ใช่บทเพลงที่ตราตรึง แต่อนิเมชั่นประกอบ Sequence ถือว่าสร้างสรรค์เชิงสัญลักษณ์ในลักษณะ Kaleidoscope ออกมาได้อย่างงดงาม ราวกับจุดสิ้นสุดของชีวิตและจักรวาล

Ending Song ชื่อเพลง Good Night แต่ง/ขับร้องโดย Hikaru Utada, นี่เป็นบทเพลงที่ใช้การเล่นลูกคอ เอื้อยคำร้อง ฟังครั้งแรกอาจรู้สึกแปลกๆ แต่รอบสองสาม(น่าจะ)สัมผัสได้ถึงความไพเราะเพราะพริ้ง ชื่นชมคลั่งไคล้ความคิดสร้างสรรค์ของ Utada ให้ความรู้สึกเหมือนบางสิ่งอย่างพยายามส่งเสียงร่ำร้อง เพรียกเรียกหา ฉุดเหนี่ยวรั้ว ยังไม่อยากให้เราร่ำลาจากไป ซึ่งใจความบทเพลงก็คือความทรงจำเมื่อครั้นวันวาน เมื่อเปิดอัลบัมรูปภาพถ่ายเก่าๆ สิ่งต่างๆจากอดีตเริ่มหวนย้อนกลับมาหา ยากยิ่งจะหลับสนิทในค่ำคืนนี้

ผมครุ่นคิดว่าบทเพลงนี้ต้องการสื่อถึงความรู้สึกของ Aoyama หลังจากการร่ำลาของพี่สาว Onee-san ช่วงเวลามีความสัมพันธ์ร่วมกัน มันช่างยากจะลืมเลือน ค่ำคืนนี้คงไม่หลับลงโดยง่าย (ผู้ชมก็อาจเช่นเดียวกัน!)

เชื่อว่าหลายคนคงจดจำตนเองตอน 10 ขวบ ไม่ค่อยได้แล้ว (ผมเองก็คนหนี่งละ ไม่รู้จะจดจำไปทำไม) แต่สำหรับเด็กชาย Aoyama (และผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi) นั่นคือช่วงอายุที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย (อาทิ น้ำเสียง ส่วนสูง ฟันน้ำนมหลุดร่วง) เกิดความใคร่สนใจเพศตรงข้าม ชอบครุ่นคิดจินตนาการสิ่งต่างๆ รวมถีงพยายามทำตัวเหมือนผู้ใหญ่ ต้องการได้รับการยินยอมรับจากใครบางคน

สิ่งที่ผู้แต่งนวนิยาย Morimi ต้องการนำเสนอจากนวนิยายเรื่องนี้ คือจินตนาการของเด็กชายวัยสิบขวบ (หรือก็คือตัวเขาเองนะแหละ) ต่อทุกสรรพสิ่งอย่างพบเห็น ใคร่อยากรับรู้ ค้นหาคำตอบ ไขปริศนาจักรวาล

  • สถานที่อยู่อาศัยเปรียบดั่งจักรวาลของเด็กชาย
  • ขอบเขตที่เขายังไม่สามารถก้าวข้ามผ่านถูกเรียกว่า ‘จุดสิ้นสุดขอบโลก’
  • เพื่อนสนิททั้งสาม คือด้านตรงข้ามของ Aoyama ในมุมที่แตกต่างออกไป
    • Uchida นอกจากนิสัยขลาดๆกลัวๆ พี่งพาไม่ค่อยได้ ยังคือคนที่ชอบออกความคิดเห็นแตกต่างตรงกันข้าม
    • Hamamoto มีความเฉลียวฉลาดพอๆกับ Aoyama แต่เพราะเป็นเพศหญิงจีงมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่มากกว่า
    • Suzuki ตรงกันข้ามกับ Aoyama ทั้งพละกำลังทางกายและความครุ่นคิดสติปัญญา
  • พี่สาวลีกลับ Onee-san คือตัวแทนมนุษย์ผู้หญิง ความสนใจในในเพศตรงข้ามของเด็กชาย ที่เต็มไปด้วยความลีกลับซับซ้อน ยังไม่สามารถทำความเข้าใจได้ (เพราะอายุยังน้อยเกินไป)
    • ความสามารถเขวี้ยงขว้างสิ่งของกลายเป็นสรรพสัตว์ สื่อถีงการให้กำเนิดชีวิต (มารดา)
    • หน้าที่คือเพื่อปกป้องสถานที่แห่งนี้ให้คงอยู่ ไม่ให้ถูกทำลายหรือได้รับอิทธิพลจากโลกภายนอก
  • มวลน้ำ ‘มหาสมุทร’ เปรียบดั่งกระจกสะท้อนตัวตนเอง (เรื่องราววัยเด็กของ Morimi) หรือคือช่องว่างในจิตใจของ Morimi ต้องการเติมเต็มความทรงจำด้วยการเขียนนวนิยายเล่มนี้
  • โลกภายใน ‘มหาสมุทร’ ประกอบด้วยท้องทะเล หาดทรายขาว (สัญลักษณะของชีวิต/ความเป็น-ตาย) และเมืองร้างไร้ผู้คนพักอาศัย ราวกับ ‘จุดสิ้นสุดแห่งอารยธรรมของมวลมนุษยชาติ’

สำหรับเพนกวิน คือสัตว์ที่สามารถหาหนทางกลับบ้านด้วยการเดินบน Penguin Highway เฉกเช่นเดียวกับนวนิยายเล่มนี้ที่ Morimi ใช้เป็นเส้นทางด่วน เขียนถีงถิ่นฐานบ้านเกิดตนเอง Ikoma City, จังหวัด Nara ซี่งนอกจากทำให้เขามีโอกาสกลับบ้านเก่า ยังตัดสินใจลงหลักปักถิ่นฐาน พักอาศัยอยู่อย่างถาวรนับจากนั้น (ส่วนบ้าน/ออฟฟิศที่ Kyoto ก็ยังคงแวะเวียนไปๆกลับๆอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่ใช่สถานที่ที่เขาจะเรียกว่า ‘บ้าน’ อีกต่อไป)

“Even though I have an office in Kyoto, and I go all the time, it’s not the same as living there. I’ve really settled down in Nara. I like my quiet lifestyle in Nara, and I’m the type of person who won’t move unless I have a very good reason, so I figure I’ll keep going like this for a while”.

Tomihiko Morimi

ส่วนผู้กำกับ Hiroyasu Ishida ผมครุ่นคิดว่าอนิเมะเรื่องนี้คือการผจญภัยเพื่อค้นหาตัวตนเองเช่นกัน สะท้อนช่วงเวลาวัยเด็กที่เต็มไปด้วยความใคร่อยากรู้อยากเห็น จินตนาการสิ่งต่างๆรอบข้างกาย โหยหาการผจญภัย มุ่งสู่จุดสิ้นสุดขอบโลก และจินตนาการถีงอารยธรรมล่มสลาย ซี่งการที่เขาแทบไม่ปรับเปลี่ยนอะไรเลยจากต้นฉบับนวนิยาย สามารถมองว่าทุกสิ่งอย่างล้วนตรงต่อความสนใจของเขาเอง (ถ้าคุณรับชมอนิเมะขนาดสั้นทั้ง 2-3 เรื่องของ Ishida น่าจะตระหนักได้ทันทีว่าเขาเกิดมาเพื่อสรรค์สร้างผลงานเรื่องนี้!)

แต่เห็นว่าตอนจบของอนิเมะแตกต่างออกไปจากต้นฉบับนวนิยาย เสียงบรรยายของเด็กชายสามารถสะท้อนการเริ่มต้นในวงการนี้อย่างเต็มตัวของ Ishida และช็อตสุดท้ายพบเจอตัวต่อสำรวจที่ตั้งชื่อว่าเพนกวิน ก็คือความทรงจำ(จากการสรรค์สร้าง Penguin Highway)ที่มิอาจลืมเลือนแม้กาลเวลาเคลื่อนผ่านไป

ปริศนายากยิ่งที่สุดของ Penguin Highway เรื่องราวนี้ให้ข้อคิดอะไร? มิตรภาพผองเพื่อน การให้อภัย(ก็ไม่รู้ว่า Hamamoto จะยินยอมให้อภัย Suzuki หรือเปล่านะ) กลั่นแกล้งคนอื่นเป็นสิ่งไม่ดี เรียนรู้จักวิธีครุ่นคิดวิเคราะห์ รวมไปถีงสังเคราะห์ปัญหา (ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์) และเพลิดเพลินไปกับแนวคิด ‘จินตนาการสำคัญกว่าความรู้’

“Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited to all we now know and understand, while imagination embraces the entire world, and all there ever will be to know and understand”.

Albert Einstein

ความคิดเห็นของผู้แต่งนวนิยาย มีความประทับใจการดัดแปลงอนิเมะเรื่องนี้มากๆ อดไม่ได้ถึงขนาดต้องหลั่งน้ำตาออกมา

“The author shouldn’t be the one crying, but I have to admit that I got choked up about it”.

Tomihiko Morimi

อนิเมะฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Fantasia International Film Festival จัดที่ Montreal สามารถคว้ารางวัล Best Animated Feature จากสายการประกวด Axis: The Satoshi Kon Award for Excellence in Animation

ตามด้วยเข้าฉายในญี่ปุ่น วันที่ 17 สิงหาคม 2018 สัปดาห์แรกติดอันดับ 10 ไม่มีรายงานรายรับ รวมตลอดทั้งโปรแกรมทำเงินได้ ¥307 ล้านเยน (US$2.76 ล้านเหรียญ) คงไปหวังกำไรจากยอดขาย DVD/Blu-Ray ถึงจะคืนทุนกระมัง

ช่วงปลายปีมีโอกาสเข้าชิง Japan Academy Prize: Animation of the Year เอาจริงๆถือเป็นตัวเต็งคู่แข่งกับ Okko’s Inn แต่กลับถูกเด็กเส้นของสถาบัน Mirai ชิงตัดหน้าคว้ารางวัลไปอย่างน่าอัปยศ (เพราะเรื่องนั้นได้เข้าชิง Oscar: Best Animated Feature สมาชิกสถาบันเลยโหวตลงคะแนนถล่มทลาย)

สิ่งน่าสนใจของอนิเมะเรื่องนี้คือความเพลิดเพลินระหว่างติดตามรับชม ผมแทบไม่ได้ครุ่นคิดวิเคราะห์อะไรเลยจนกระทั่งดูจบ ไม่ใช่ว่าสามารถทำความเข้าใจทุกสิ่งอย่างได้โดยอัตโนมัตินะครับ แต่บรรยากาศและวิธีการดำเนินเรื่องในมุมมองเด็กชาย เข้าใจแค่ในสิ่งที่เขาพบเห็นก็เพียงพอแล้วสำหรับการเชยชม

กล่าวคือ ผู้ชมไม่จำเป็นต้องครุ่นคิดวิเคราะห์ทำความเข้าใจเนื้อเรื่องราวใดๆ ก็สามารถเพลิดเพลินสนุกสนานไปกับอนิเมะได้ตั้งแต่ต้นจนจบ

จริงอยู่อนิเมะเรื่องนี้นำเสนอกระบวนการครุ่นคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถนำไปต่อยอดปรับใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ผมก็ไม่คิดว่า Penguin Highway จะเหมาะสมกับผู้ชมทุกเพศวัย เด็กสายวิทย์น่าจะคลั่งไคล้มากกว่าสายศิลป์ คนในเมืองอาจเพลิดเพลินมากกว่าชาวบ้านชนบท และศิลปินย่อมพบเห็นคุณค่าทางศิลปะมากกว่านักวิทยาศาสตร์บ่นอุบต่อว่าเรื่องราวไร้สาระ

จัดเรต PG แม้เพนกวินจะน่ารัก แต่เด็กเล็กอาจไม่เข้าใจเนื้อเรื่องราวสักเท่าไหร่

คำโปรย | Penguin Highway คือการผจญภัยกลับสู่จุดเริ่มต้นของทุกสรรพสิ่งอย่าง
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ลุ่มหลงใหล

The Color of Paradise (1999)


The Color of Paradise

The Color of Paradise (1999) Iranian : Majid Majidi ♥♥♥♥

เด็กชายแม้พิการตาบอด แต่สามารถสัมผัสและได้ยินเสียงที่คนทั่วไปเพิกเฉยไม่ใส่ใจ ราวกับว่านั่นคือสีสันของสรวงสวรรค์ ที่พระเจ้าอำนวยอวยพรให้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ความพิการนั้นมีสองระดับ
– (ลูก)พิการทางกาย แม้ตลอดชั่วชีวิตจักต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น แต่ถ้าจิตใจไม่ย่นย่อท้อแท้ ยินยอมพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคร่างกาย ย่อมสามารถต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอดได้ไม่ยาก
– (พ่อ)พิการทางใจ จะทำให้ชีวิตจมปลักกับบางสิ่ง ทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จเพราะมันแต่โทษโชคชะตาและคนรอบข้าง แท้จริงแล้วคือตนเองนะแหละมัวแต่หมกมุ่นครุ่นยึดติด ไม่ลุกขึ้นมาเผชิญหน้าก้าวเดินต่อไปในชีวิต

จริงๆถ้า The Color of Paradise ไม่ข้องแว้งยุ่งเกี่ยวกับความเชื่อศรัทธาในพระเจ้ามากเกินไป ผมคงตกหลุมรักคลั่งไคล้หนังมากๆ เพราะนำเสนอความพิการในระดับรูปธรรม-นามธรรม ผ่านมุมมองสองตัวละครพ่อ-ลูก ได้อย่างงดงามทรงคุณค่ายิ่ง

สำหรับศาสนาอื่นๆ(นอกจากพุทธ) มักกล่าวโทษความพิกลพิการว่าเกิดจากพระเจ้าอำนวยอวยพร เพื่อสอนให้มนุษย์เรียนรู้จักการเผชิญหน้าต่อสู้ปัญหาชีวิต, เพียงพุทธศาสนาเท่านั้นกระมัง ให้คำอธิบายถึงความผิดปกติทางร่างกายเป็นผลสืบเนื่องจากวิบากรรม ความโชคร้ายดังกล่าวถือว่าเป็นการชดใช้สิ่งชั่วร้ายที่เคยก่อ สงสารเห็นใจได้ แต่วางตัวอุเบกขาไว้

“ความไม่พิการ เป็นลาภอันประเสริฐ”


Majid Majidi (เกิดปี 1959) นักเขียน/ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติอิหร่าน เกิดที่ Tehran ในครอบครัวชนชั้นกลาง, มีความสนใจด้านการแสดงตั้งแต่เด็ก ตอนอายุ 14 เข้าร่วมคณะการแสดงสมัครเล่น ต่อด้วยเข้าเรียนยัง Institute of Dramatic Arts, หลังจากการปฏิวัติอิหร่าน 1979 ผันตัวสู่วงการภาพยนตร์ Boycott (1989), กำกับหนังสั้น สารคดี ผลงานเรื่องแรก Baduk (1992), Father (1996), แจ้งเกิดโด่งดังกับ Children of Heaven (1997) เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film เรื่องแรกของประเทศ

ช่วงระหว่างที่ Majidi กำลังคัดเลือกนักแสดงเด็กเพื่อมารับบทใน Children of Heaven มีโอกาสแวะเวียนยังโรงเรียนสอนเด็กตาบอด นั่นเองทำให้เขามีความลุ่มหลงใหลในประเด็นความมืดบอด ‘Blindness’ จึงพัฒนาบท Rang-e Khodā แปลตรงๆว่า The Color of God เพื่อสะท้อนแนวคิดที่ว่า แม้มองไม่เห็นแต่ทุกคนสามารถสัมผัสได้ถึงการมีตัวตนของพระเจ้า

“God is not visible. He is everywhere. You can feel Him. You can see Him through your fingertips”.

เรื่องราวของ Mohammad (รับบทโดย Mohsen Ramezani) เด็กชายพิการตาบอด รอคอยพ่อ (รับบทโดย Hossein Mahjoub) มารับกลับบ้านในช่วงปิดเทอมของโรงเรียน จากนั้นออกเดินทางไปหาย่า (รับบทโดย Salameh Feyzi) อาศัยอยู่กับพี่และน้องสาวยังชนบทต่างจังหวัด วันๆวิ่งเที่ยวเล่นสนุกสนาน

สำหรับพ่อ กำลังตระเตรียมการหมั้นหมายแต่งงานใหม่ เพราะเหน็ดเหนื่อยหน่ายกับการเลี้ยงดูลูกๆ(และแม่)เพียงตัวคนเดียว อยากจะได้คนมาช่วยแบ่งเบาภาระ ขณะเดียวกันเป็นห่วงเป็นใยอนาคตของลูกชายตาบอด ตัดสินใจส่งเขาไปเรียนแกะสลักกับช่างไม้ที่พิการตาบอดเช่นกัน แต่นั่นสร้างความไม่พึงพอใจต่อแม่อย่างมาก จึงพยายามหลบหนีออกจากบ้าน แต่…


นำแสดงโดย Hossein Mahjoub (เกิดปี 1948) นักแสดงสัญชาติอิหร่าน เกิดที่ Rashit ตั้งแต่เด็กชื่นชอบอ่านหนังสือ หลงใหลในวรรณกรรม ตามด้วยการแสดง โตขึ้นเริ่มต้นทำงานละครเวที ภาพยนตร์เรื่องแรก Downpour (1972), โด่งดังกับ Mare (1984) ผลงานเด่นๆ อาทิ The Last Act (1990), Color of Paradise (1997), I’m Taraneh, 15 (2001), Big Drum under the Left Foot (2004), We’re Still Alive (2008) ฯ

รับบทพ่อ ผู้มีความเก็บกด อึดอัดอั้น ทุกข์ทรมานที่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูแลครอบครัวแต่เพียงผู้เดียว โทษว่ากล่าวกับลูกชายที่พิการตาบอดพึ่งพาไม่ได้ ขณะเดียวกันตนเองก็ไม่ได้มีความสามารถดีเด่นอะไร ก็แค่กรรมกรที่ต้องปรับเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ วาดฝันแต่งงานใหม่กับหญิงหม้าย แต่โชคชะตานำพาให้เขาสูญเสียสิ้นทุกสิ่งอย่าง

การแสดงของ Mahjoub ดูมีความเป็นธรรมชาติมากๆ พ่อที่เต็มไปด้วยความเก็บกด อึดอัดอั้น สีหน้าอมทุกข์ทรมาน ไม่สามารถปลดปล่อยวางจากความหมกมุ่นยึดติด พาลให้โกรธเกลียดเคียดแค้นไปทุกสิ่งอย่าง โหยหาความสุขภายนอกแต่มืดบอดต่อสิ่งดีงามอยู่ใกล้ตัวภายใน

สำหรับนักแสดงอื่นๆล้วนเป็นมือสมัครเล่น คัดเลือกจากชาวหมู่บ้านที่ไปถ่ายทำ หรือขาประจำของผู้กำกับ Majidi ส่วน Mohsen Ramezani (ผู้รับบท Mohammad) ค้นพบเจอที่โรงเรียนสอนคนตาบอด ปัจจุบันโตขึ้นได้ทำงาน Call Center ยังธนาคารแห่งหนึ่ง


ถ่ายภาพโดย Mohammad Davudi ที่จะได้ร่วมงานกับ Majidi อีกครั้งเรื่อง Baran (2001)

สมชื่อ The Color of Paradise งานภาพมีความสวยสด งดงาม ตื่นตระการตา โดยเฉพาะหลังจากที่ Mohammad เดินทางไปพักอาศัยยังชนบท ทุ่งดอกไม้ ทิวทัศน์พื้นหลังกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา น่าเสียดายจริงๆที่เด็กชายตาบอดไม่มีโอกาสได้พบเห็น

เริ่มต้นด้วยความมืดมิด Opening Credit ปรากฎขึ้น ครูกดฟังเทป ให้นักเรียนแยกแยะว่าอันไหนของใคร แต่พอภาพแรกปรากฎทำให้ผู้ชมพบเห็นว่า เด็กๆเหล่านั้นพิการตาบอด ใช้เพียงหูในการรับประสาทสัมผัส … ถือเป็นการอารัมบทโลกของเด็กๆเลยก็ว่าได้

ลูกนกหล่นจากรัง สามารถเปรียบได้กับเด็กชายที่มีความผิดแผกแปลก/นอกคอกจากพี่น้องคนอื่น มันไม่สามารถเอาตัวรอดเองได้ (กำลังจะถูกแมวตะคุบ) นอกจากเสียจากการช่วยเหลือของผู้อื่น ซึ่งกลายเป็นว่าทั้งสองสามารถพึ่งพาอาศัยกันและกัน ตะเกียกตะกายปีนป่าย แม้โคตรจะเสี่ยงอันตราย แต่ชีวิตใช่ว่าคนปกติจักมีความปลอดภัยประการใด

สำหรับพ่อ ระหว่างกำลังโกนหนวดทำหล่อเพื่อไปหาคู่หมั้น ได้ยินเสียงแว่วอะไรสักอย่างทำให้ตื่นตระหนกตกใจ พลัดทำกระจกตกแตกร้าว หยิบขึ้นมาส่องหน้าพบเห็นภาพสะท้อน… ช็อตนี้สะท้อนความแตกร้าว/คอรัปชั่นภายในจิตใจของพ่อ ทั้งรักและเกลียดลูกชาย โหยหาบางสิ่งอย่างเพื่อให้ชีวิตกลับมามีความสุขอีกครั้ง

ปลาแหวกว่ายบนน้ำตื้น สะท้อนกับชีวิตมนุษย์ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน มันไม่สามารถเอาตัวรอดเองได้แน่ แม่จึงตัดสินใจช่วยเหลือหยิบนำมาปล่อยลงน้ำ

สำหรับแม่ก็เช่นกัน เธอรับไม่ได้กับการที่ลูกชายเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว จึงตัดสินใจหลบหนีออกจากบ้าน เป้าหมายไม่มีใครรู้ ซึ่งระหว่างพยายามกำลังเดินข้ามแอ่งน้ำเล็กๆธารนี้ ถูกอุ้มแบกกลับบ้าน

ความพยายามของพ่อทาสีทำบ้านใหม่ ก็เพื่อต้อนรับว่าที่ภรรยา ชีวิตจักได้หวนกลับมามีความสุขสำราญอีกครั้ง แต่ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงภายนอก ขณะที่แม่ป่วยซมอยู่ภายในกลับไม่มีทางรักษาหาย

ช็อตนี้มหัศจรรย์มากๆ เงาลางๆของเทือกเขาท่ามกลางสายหมอก ให้สัมผัสเหมือนสรวงสวรรค์/อาณาจักรพระเจ้า ซึ่งปรากฎขึ้นก่อนหน้าที่แม่จะสิ้นใจ ซึ่งพอท่านจากไปหมอกก็ค่อยๆเข้ามาปกคลุมจนมองอะไรไม่เห็น

อาชีพแกะสลักไม้ ดูเป็นงานไม่น่าเป็นไปได้สำหรับคนตาบอด แต่สัมผัสและมุมมองของพวกเขาต่อความละเอียดละออของงานศิลป์ อดไม่ได้จะต้องยกย่องชื่นชมเชย สามารถทำออกมาได้เหมือนสมจริง ยิ่งกว่าคนตาดีๆเสียอีกกระมัง

ผมครุ่นคิดว่างานแกะสลักดังกล่าว เป็นสิ่งสะท้อนมุมมองของมนุษย์ปกติ/ตาบอด ทำสิ่งเดียวกัน ได้ผลลัพท์/ผลิตภัณฑ์เดียวกัน แต่คุณค่ากลับแตกต่างลิบลับ … เป็นคุณถ้ารับรู้ว่างานแกะสลักสองชิ้นเหมือนกันเปี๊ยบ หนึ่งฝีมือคนปกติ สองฝีมือช่างตาบอด จะซื้ออันไหน?

เราควรจะสงสารเห็นใจพ่อดีไหม? คือถ้าคิดในแง่มุมที่ ภรรยาใหม่จะสามารถช่วยเหลือเลี้ยงดูแล Mohammad ผมว่าไม่มันก็ยังดีกว่าเขาตัวคนเดียวเลี้ยงลูกแบบทุกข์ทรมาน แต่การถูกส่งคนของหมั้นเพราะลางร้ายจากความตายแม่ ผมรู้สึกครอบครัวฝ่ายหญิงแม้งโคตรจะงี่เง่าเลยว่ะ … ความเชื่อของคนเป็นสิ่งน่าหวาดสะพรึงกลัวเสียจริง

ซึ่งสถานที่ที่พ่อรับทราบเรื่องดังกล่าว ในห้องเก็บฟืนที่เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก เป็นการเน้นย้ำความตกต่ำทางศีลธรรมของตัวละคร ถือว่าเหยียบย่ำให้จมมิดดินเลยก็ว่าได้

ทั้ง Sequence ขับเคลื่อนด้วยภาพสโลโมชั่น ทำออกมาให้ดูประดิษฐ์ประดอย เว่อเกินจริง (แถมอันตรายมากด้วย) คงเพื่อให้ผู้ชมสามารถซึมซาบซ่านถึงการสูญเสีย ครุ่นคิดตระหนักได้ตอนนี้ก็เมื่อครั้นสายเกินแก้ไข

ว่าไปจุดสิ้นสุดของสายน้ำ ให้สัมผัสคล้ายๆภาพยนตร์เรื่อง La Strada

ช็อตสุดท้ายของหนัง ไม่ได้จะชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดว่าเด็กชายรอด-ไม่รอด กล้องเคลื่อนจากมุมสูงค่อยๆลดระดับลงมา (เสร็จลงมาจากสรวงสวรรค์) แสงสีเหลืองทองอร่ามที่อาบฉาบมือ นั่นคือมุมมอง/สัมผัสจากพระเจ้าลอดผ่านนิ้วมือ  และการขยับเคลื่อนไหวสะท้อนการเกิดใหม่บนสรวงสวรรค์/โลกหน้า

ตัดต่อโดย Hassan Hassandoost, หนังดำเนินเรื่องคู่ขนานระหว่างระหว่างพ่อ-ลูก เริ่มต้นจาก Mohammad อยู่ตัวคนเดียว จบสิ้นที่หลงเหลือพ่อเพียงคนเดียว (ที่มีชีวิตอยู่บนโลก)

ต้องถือว่าพ่อ-ลูก มีมุมมองชีวิตคู่ขนาน ตรงกันข้าม
– ลูก แม้อยู่ในความมืดมิด แต่ก็ราวกับว่าได้พบเห็นแสงสว่างอยู่ตลอดเวลา
– พ่อ แม้สามารถมองเห็นทุกสิ่งอย่าง แต่ราวกับจิตใจปกคลุมด้วยความมืดมิดตลอดเวลา

สิ่งที่โดดเด่นมากๆของหนังคือ Sound Effect ประสมด้วยสายลม สายน้ำ สรรพสัตว์ โดยเฉพาะเสียงนก ถูกทำให้มีความดังชัดกว่าปกติ เพื่อสะท้อนสัมผัสพิเศษของ Mohammad ผู้ชมสามารถหลับตาและจินตนาการไปด้วยได้เลย ซึ่งบทเพลงประกอบของ Alireza Kohandairy จักคอยแต่งแต้มความเหนือธรรมชาติของเรื่องราว ผู้ชมเกิดความขนลุกขนพองโดยไม่รู้ตัว


“I believe in God and live with my beliefs in every single moment of my life”.

– Majid Majidi

ความเชื่อศรัทธาของผู้กำกับ Majid Majidi สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้คงเพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวที่มีบุตรหลานผิดปกติ ร่างกายพิการ ชี้แนะนำให้มองโลกในแง่ดี เพราะพวกเขาเหล่านี้ไม่มีวันถูกทอดทิ้งจากพระผู้เป็นเจ้า หนำซ้ำยังอาจได้รับความใส่ใจมากกว่าใครเป็นพิเศษ

ผมมองวิธีคิดดังกล่าวเป็นการมองโลกในแง่ดี สร้างภาพมายาคติ คือมันก็ไม่ผิดอะไรหรอกนะครับ แต่ขณะเดียวกันดูเหมือนหลอกตนเอง ไม่ยินยอมรับความจริง แต่ถ้าสามารถทำให้ชีวิตก้าวเดินต่อไปได้ วิธีการไหนคงไม่สลักสำคัญ

พิการทางกายไม่มีใครเลือกเกิดได้ แต่พิการทางใจเป็นสิ่งน่าสมเพศเวทนา สาเหตุผลมักเกิดจากความหมกมุ่นครุ่นยึดติด เห็นแก่ตัว สนเพียงความสุขส่วนตนเอง ทั้งยังมองข้ามสาระสำคัญชีวิต ซึ่งสิ่งเกิดขึ้นจากความไม่รู้จักพอของพ่อ ทำให้เขาสูญเสียสิ้นทุกสิ่งอย่าง แม่จากไป ว่าที่ภรรยาถอนหมั้น และบุตรชายหนึ่งเดียวของตนเองจมน้ำตาย … ชีวิตของเขาต่อจากนี้จะเป็นเช่นไร คงไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้แน่

บทเรียนพุทธศาสนาต่อบุคคลผู้มีความผิดปกติทางกาย คือทำความเข้าใจเหตุผลที่เขาเกิดมาเป็นเช่นนั้น และพยายามไม่ให้ตนเองกลายเป็นเช่นนั้น ขอยกตัวอย่างเหตุผลของการตาบอดก็แล้วกันนะ
– ในอดีตชาติ เคยทำร้ายคน/สัตว์ที่ดวงตา เช่น ชกคนจนตาบอด, หยิบยาผิดไปหยอดตาให้ญาติ, เอาทรายปาใส่ตาเพื่อน, เอาไม้ทิ่มถูกตาสุนัข ฯ
– ในอดีตชาติ เคยขังนักโทษไว้ในคุกมืด, จับปลามาขังในตุ่มที่ปิดฝา ฯ
– ในอดีตชาติ เคยมองคนอื่นด้วยตาดุๆ, มองคนด้วยความหมั่นใส้, จองหน้าผู้ใหญ่เมื่อถูกตักเตือน, มองคนด้วยจิตริษยา ดูถูกดูแคลน, มองคนด้วยหางตา, ชอบมองจับผิดคนอื่น, มองสัตว์ด้วยจิตคิดร้าย, เล็งธนูล่าสัตว์, แอบดูสาวอาบน้ำ ฯ
– ในอดีตชาติ เคยเป็นนักการพนัน, ซ่อนไพ่หลอกพวกนักพนัน ฯ
– ในอดีตชาติ เคยพูดตัดรอนกำลังใจกับคนที่มาขอความช่วยเหลือ, พูดคำหยาบคาย โกหกย้อมแมวขาย, ล้อเลียนเพื่อนที่ใส่แว่นตาหนา, คนหนังตาตก, คนตาชั้นเดียว ฯ

สรุปวิบากกรรมที่ทำให้เกิดโรคตา คือ
– ทำร้ายตาคน และสัตว์
– ขังคน และสัตว์ในที่มืด
– ใช้ดวงตาไปทำบาป
– ใช้ปากทำบาป

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงลักษณะดวงตาของพระมหาบุรุษเอาไว้ว่า พระองค์ทรงมีพระเนตรดำสนิท มีพระเนตรแจ่มใส ดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด เพราะในชาติก่อนไม่ทรงถลึงตามอง ไม่มองค้อน ไม่เมิน มองเต็มตา แลดูชนหมู่มาก ด้วยดวงตาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรัก เพราะทรงกระทำสั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์มาเป็นมนุษย์… ย่อมได้มหาปุริสลักษณะ ๒ ประการนี้

“ดวงตาของฉันมันมืดมิด แต่ชีวิตฉันยังไม่มืดลง…”

– วณิพก, คาราบาว


ส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบหนัง ประทับใจมากๆกับการใช้เสียง Sound Effect ที่มีความโดดเด่นจนสัมผัสได้ นั่นทำให้มุมมองโลกทัศน์ผู้ชมปรับเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ความพิการทางกาย แม้เป็นสิ่งรักษาไม่หายถ้าจิตใจไม่ย่นย่อท้อแท้ มีความเข้มแข็งตั้งมั่น ย่อมสามารถฟันฝ่าอุปสรรคได้ทุกสิ่งอย่าง ผิดกับคนที่มีความพิการทางใจ ทำยังไงก็ไม่มีวันรักษาหาย จนกว่าจะพบเจอการสูญเสียสิ่งรักที่สุดไป

จัดเรต PG กับเรื่องราวฝั่งพ่อที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว มองโลกในแง่ร้าย

คำโปรย | The Color of Paradise เต็มไปด้วยสีสันและเสียง งดงามดั่งสรวงสวรรค์
คุณภาพ | 
ส่วนตัว | ชื่นชอบมาก

Where Is the Friend’s Home? (1987)


Where Is the Friend's Home

Where Is the Friend’s Home? (1987) Iranian : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥

เด็กชายตระหนักได้ว่าหยิบสมุดการบ้านเพื่อนติดตัวกลับมาด้วย ต้องการนำส่งคืนก่อนถูกครูลงโทษพรุ่งนี้เช้า แต่… บ้านนายอยู่ไหน? ภาพยนตร์สร้างชื่อระดับนานาชาติให้ผู้กำกับ Abbas Kiarostami งดงามดั่งบทกวี, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

การกระทำของเด็กชายส่งคืนสมุดการบ้านให้เพื่อน อาจดูไม่ได้มีความจำเป็น สลักสำคัญ ยิ่งใหญ่เลอค่าประการใด แต่นั่นมองได้พื้นฐานแห่งคุณธรรมดีงาม รับรู้จักผิดชอบ และแก้ไขข้อผิดพลาดตนเอง เพื่อมิให้ผู้อื่นต้องตกภาระกำลำบาก จากกฎกรอบข้อบังคับ ความเห็นแก่ตัวของบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่

ในโลกของเด็กชาย รายล้อมไปด้วยผู้ใหญ่ที่มีนิสัยเห็นแก่ตัวเอาแต่ใจ ไม่เคยรับฟังความจริง ข้อเรียกร้องคิดเห็น แถมยังบิดเบือนเพื่อให้ตนเองถูกเสมอ! พวกเขาถูกครองงำจากบรรพบุรุษเสี้ยมสอนสั่งมาแบบนี้ ฉันมีหน้าที่ต้องสืบสานต่อให้ลูกหลานรุ่นถัดไป ดำเนินเดินตามรอยเท้าโดยไม่ย้อนแย้งขัดขืน

มองมุมหนึ่ง Where Is the Friend’s Home? คือภาพยนตร์สะท้อนค่านิยมชาวอิหร่าน ผู้ใหญ่จำต้องเสี้ยมสั่งสอนลูกๆหลานๆให้เชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่ง ไม่ว่าจะด้วยวิธีการอันใด, ตรงกันข้ามกับผู้ชมแห่งโลกเสรี พานพบเห็นผู้ใหญ่ที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัวเอาแต่ใจเฉกเช่นนั้น มันช่างน่าหงุดหงิดโมโหโทโส สงสารพร้อมสมเพศเห็นใจ ดินแห่งแห่งนี้ช่างเสื่อมโทรมล้าหลัง คนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นจักมีอนาคตสดใสได้อย่างไร


Abbas Kiarostami (1940 – 2016) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอิหร่าน เกิดที่ Tehran วัยเด็กมีความลุ่มหลงใหลการวาดภาพ โตขึ้นเข้าเรียน School of Fine Arts ณ University of Tehran ระหว่างนั้นทำงานพาร์ทไทม์เป็นตำรวจจราจร, จบออกมาได้กลายเป็นนักออกแบบโปสเตอร์ กำกับโฆษณากว่า 150 ชิ้น กระทั่งการมาถึงของ The Cow (1969) สร้างโดยผู้กำกับ Dariush Mehrjui อันเป็นจุดเริ่มต้นของ Iranian New Wave ทำให้ Kiarostami ติดตามรอยเท้า เริ่มต้นสร้างหนังสั้น The Bread and Alley (1970), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก The Experience (1973) และหลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาหลายปี ในที่สุดก็ค้นพบแนวทางของตนเองกับ Where Is the Friend’s Home? (1987)

สไตล์ของ Kiarostami รับอิทธิพลจาก Neorealist เน้นความเป็น Naturalist และ Minimalist มักนำเสนอแบบ DramaDocu จนมีลักษณะของ Poetic Film, หัวข้อสนใจมักสะท้อนปัญหาสังคม เกี่ยวกับครอบครัว ชีวิต-ความตาย และจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์

จุดเริ่มต้นของ Where Is the Friend’s Home? เกิดจากความสนใจในสถานที่ Koker, Gilan Province เมืองชนบทเล็กๆทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Tehran ระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร ซึ่งความเจริญจากเมืองหลวงยังมาไม่ถึง ผู้คนยึดถือมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีปฏิบัติดั้งเดิมสืบต่อกันมา

เรื่องราวของเด็กชาย Ahmed เมื่อตระหนักได้ว่านำสมุดการบ้านของเพื่อนสนิท Mohamed Reza Nematzadeh ติดตัวมาด้วย ต้องการเร่งรีบนำไปส่งคืน เพื่อไม่ให้พรุ่งนี้ถูกครูลงโทษไล่ออกจากโรงเรียน ออกเดินทางมุ่งสู่ Poshteh ทั้งๆไม่ล่วงรับรู้ว่าบ้านเพื่อนอยู่แห่งหนใด พูดคุยสอบถาม พานผ่านเหตุการณ์ต่างๆมากมาย สุดท้ายแล้วจะมีโอกาสได้พบเจอกันหรือเปล่า??


สำหรับนักแสดงทั้งหมดคือมือสมัครเล่น คัดเลือกจากชาวเมือง Koker ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน ซึ่งไดเรคชั่นของ Kiarostami คือให้คำแนะนำเบื้องต้น แล้วมอบอิสรภาพในการพูด แสดงออก มุ่งเน้นเป็นธรรมชาติที่สุด

ต้องกล่าวถึงเลยคือ Babek Ahmedpour ผู้รับบท Ahmed ทั้งตัวเขาและตัวละครเป็นคนเงียบๆ ขี้เหนียงอาย เวลาพูดกับผู้ใหญ่มักก้มหัว ไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นส่งเสียงดัง นั่นเพราะกลัวการถูกตำหนิลงโทษ (ซึ่งก็โดนทุกครา!) สีหน้าเวลาถูกคุกคามต่อว่าซีดเซียวสั่นสะท้าน ดูแล้วช่างน่าสงสารเห็นใจ แต่ก็อดชื่นชมในมิตรไมตรีจิต มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว เพราะไม่ต้องการสูญเสียเพื่อนสนิท เลยกล้ากระทำสิ่งขัดย้อนแย้งนอกเหนือคำสั่ง

สำหรับ Ahmed Ahmedpour ผู้รับบท Mohamed Reza Nematzadeh ไม่แน่ใจว่าน้องหรือญาติของ Babek การแสดงอาจไม่มีอะไรให้พูดถึง แต่สีหน้าความมุ่งมั่นของ Babek ต้องการคืนสมุดการบ้าน ถ้าจินตนาการว่า Mohamed คือน้องแท้ๆตนเองละก็ มันคงมีความสมจริงมากยิ่งเลยละ

ถ่ายภาพโดย Farhad Saba ที่จะมีโอกาสร่วมงานผู้กำกับ Kiarostami อีกครั้งเรื่อง Through the Olive Trees (1994)

งานภาพมอบสัมผัสของ Neorealist ถ่ายทำจากสถานที่จริง ไม่มีการจัดแสง (ใช้แสงธรรมชาติทั้งหมด) พบเห็นระยะภาพตั้งแต่ใกล้สุด Close-Up เพื่อบันทึกปฏิกิริยาสีหน้านักแสดง กระทั่งไกลสุด Extreme-Long Shot ระหว่างออกเดินทาง ซิกแซกขึ้นลงเนินเขา และภาพมุมกว้างของเมือง

เมือง Poshteh ดูราวกับเขาวงกต! แถมการถ่ายภาพระยะประชิดใกล้นักแสดง ทำให้รู้สึกเหมือนถูกรายล้อมรอบด้านด้วยผนังกำแพงสูง ไร้หนทางออก บ้านเพื่อนอยู่ไหน? ผู้ชมต้องคอยจดจำคำใบ้และสังเกตจากมุมมองที่หนังนำเสนอเอง, ขณะที่ไฮไลท์คือฉากหัวค่ำมืดกลางคืน พบเห็นแสงไฟสาดส่องลอดผ่านบานประตูหน้าต่าง ซึ่งพอตัวละครชายสูงวัยพูดอธิบาย เลยเพิ่งตระหนักได้ถึงความงดงาม

ตัดต่อโดย Abbas Kiarostami ร้อยเรียงเรื่องราวผ่านมุมมองสายตาของ Ahmed ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น
– อารัมบท, ตอนเช้าที่โรงเรียน พบเห็นการลงโทษของครูกับ Mohamed Reza Nematzadeh ทำให้รู้สึกสงสารเห็นใจ
– องก์หนึ่ง, บ้านของ Ahmed หลังจากตระหนักได้ว่าหยิบสมุดการบ้านของเพื่อนมา พยายามพูดคุยต่อรองกับแม่แต่ก็ไม่เป็นผลสักที กระทั่งมีโอกาสจึงรีบเร่งออกเดินทางสู่ Poshteh
– องก์สอง, การเดินทางรอบแรก พอไปถึง Poshteh ทำให้เพิ่งรับรู้ว่าเมืองนี้ใหญ่โตนัก การจะค้นหาบ้านเพื่อนไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด พานพบเจอผู้คนมากมาย สุดท้ายได้ยินว่า Mohamed Reza Nematzadeh เพิ่งออกเดินทางไปหาพ่อที่ Koker จึงรีบเร่งหวนกลับมา
– องก์สาม, เมื่อกลับมาถึง Koker พานพบเจอใครบางคนต้องสงสัยว่าคือพ่อของ Mohamed Reza Nematzadeh เลยรีบวิ่งติดตามจนหวนกลับมา Poshteh
– องก์สี่, พระอาทิตย์เคลื่อนคล้อย ความมืดย่างกรายเข้ามา โอกาสสุดท้ายพบเจอชายแก่นักทำบานประตู รู้จักทุกคนรวมถึง Mohamed Reza Nematzadeh จึงนำพา Ahmed ไปส่งถึงหน้าบ้าน
– ปัจฉิมบท, ตอนเช้าที่โรงเรียน แม้มาสายแต่ก็ได้ทำบางอย่างไม่ให้ Mohamed Reza Nematzadeh ต้องถูกลงโทษทัณฑ์

ส่วนใหญ่ของหนังมักเป็นการพูดคุยสนทนา ซึ่งจะมีการตัดสลับไปมาระหว่างผู้พูด-ผู้ฟัง ผู้ใหญ่พยายามครอบงำ-เด็กๆมีสีหน้าหวาดสะพรึงกลัว

ส่วนที่เหลือเมื่อไม่มีใครพูดคุยกับใคร ระหว่าง Ahmed กำลังเดินทางไป-กลับ Koker สู่ Poshteh เป็นการร้อยเรียงภาพทิวทัศน์ประกอบบทเพลงพื้นบ้านเปอร์เซีย ส่วนนี้สามารถเรียกได้ว่าสร้อยของบทกวี เชื่อมรอยต่อระหว่างวรรค/ตอน ให้มีความต่อเนื่องลื่นไหลสอดคล้อง


หลังการปฏิวัติอิหร่าน ค.ศ. 1979 โค่นล้มระบอบการปกครองกษัตริย์ Shah Mohammad Reza Pahlavi แทนที่ด้วยสาธารณรัฐอิสลาม ภายใต้ผู้นำสูงสุด Ruhollah Khomeini ทิศทางของประเทศแม้กำลังก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ แต่อะไรๆยังคงอยู่ในช่วงรอยต่อคาบเกี่ยว ประกอบการมาถึงของ Iran–Iraq War (1980-89) กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในอิรัก ต้องการก้าวขึ้นมามีอิทธิพลควบคุมครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนอิหร่าน นั่นไม่ทำให้อะไรๆมุ่งสู่ความเจริญก้าวหน้าเลยสักนิด

นำเอาอิทธิพลพื้นหลังดังกล่าวตั้งไว้ในใจ ยุคสมัยการปกครองของอิหร่านแม้กำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป แต่คนรุ่นเก่ายังคงมีอยู่มากในสังคมที่ยึดถือเชื่อมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีแนวคิดโบราณดั้งเดิม ว่าจักสามารถเสี้ยมสั่งสอนลูกหลานให้เติบโตขึ้นกลายเป็นคนดีมีประโยชน์ต่อสังคม

หนังนำเสนอเรื่องราวในมุมมองเด็กๆ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่ต้องคอยก้มหัวเชื่อฟัง ปฏิบัติตามคำสอนสั่งผู้ใหญ่ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกผิด โป๊ะแตก หน้าแหกหรืออะไร ด้วยทัศนคติคนรุ่นเก่า ถ้าไม่สามารถควบคุมครอบงำพวกเขาได้ อนาคตต่อไปเมื่อเติบโตขึ้น สังคมจะเกิดความสงบสันติสุขขึ้นได้อย่างไร

ผมว่าชาวอิหร่านคงครุ่นคิดเห็นแตกต่างจากผู้ชมโลกเสรี แบบขั้วตรงข้ามเลยนะ! Where Is the Friend’s Home? คงภาพยนตร์ที่สะท้อนขนบวิถี ประเพณีความเชื่อ และวิธีการปกครองลูกหลานชาวอิหร่านที่ถูกต้องเหมาะสม กล่าวคือถ้าผู้ใหญ่ในสถาบันครอบครัว โรงเรียน ไม่สามารถควบคุมสั่งสอนให้พวกเขากระทำตามกฎกรอบข้อบังคับได้ อนาคตต่อไปประเทศชาติคงไร้ซึ่งความสงบสุขสันติ

แต่สำหรับผู้ชมโลกเสรี การกระทำของพ่อ-แม่ ครูอาจารย์ ช่างเต็มไปด้วยความเผด็จการ เห็นแก่ตัว พยายามควบคุมครอบงำลูกหลานราวกับจะให้กลายเป็นเหมือนหุ่นยนต์ ไร้สมองสติปัญญาครุ่นคิดนอกรอบ นอกเสียจากคอยรับคำสั่งและก้มหัวให้ผู้อื่น

การกระทำของเด็กชาย ถือเป็นจุดเริ่มต้นครุ่นคิดกระทำสิ่งนอกเหนือกฎกรอบ เรียนรู้ว่าตนเองสามารถแสดงออกได้โดยไม่ต้องคอยปฏิบัติตามคำกล่าวบอกผู้อื่น จริงอยู่มันอาจต้องแลกด้วยบทลงโทษที่แสนเจ็บปวด แต่ถ้าสามารถคดเคี้ยวเลี้ยวลด ซิกแซกหาทางออกอื่น …ทำการบ้านให้เพื่อน … อนาคตต่อไปใช่ว่าจะยิ่งบิดเบือน แสวงหาช่องว่างทางกฎหมายแล้วดิ้นแทรกให้ตนเองหลุดรอดพ้นความผิด หรอกหรือ?

Where Is the Friend’s Home? ลึกๆผมรู้สึกว่าผู้กำกับ Kiarostami อาจต้องการสะท้อนถึงสงคราม Iran–Iraq War (1980-89) เปรียบเทียบสองเมือง Koker กับ Poshteh ได้กับ Iran และ Iraq ซักถามรบกันไปเพื่ออะไร? มีประโยชน์ตรงไหน? เราก็พวกพ้องอาหรับเหมือนกัน มีปัญหาทำไมไม่ช่วยเหลือแก้ไข เข่นฆ่าแกงเอาเป็นเอาตายอยู่เช่นนี้ทำไม?

ประตู-หน้าต่าง ทางเข้า-ออกบ้าน ถือว่าสะท้อนความแตกต่างยุคสมัย อดีต-ปัจจุบัน สูงวัย-เด็กชาย สองเมือง Koker-Poshteh และประเทศ Iraq-Iran เพราะโลกกำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป ย่อมไม่มีทางที่แนวคิดวิถีชีวิตเดิมๆจะสามารถดำรงคงอยู่ตลอดกาล มันต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถปรับตัวไปข้างหน้า ถ้ามัวแต่จะยึดถือมั่นในกฎกรอบระเบียบแบบแผนไม่เปลี่ยนแปลง อะไรๆคงถดถอยหลังลงคลองจนสักวันหนึ่งอาจสูญหมดสิ้นอารยธรรมของตนเอง

“สิ่งที่ไม่มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลง สักวันหนึ่งย่อมถึงการดับสิ้นสูญพันธุ์ ไดโนเสาร์เคยเป็นเฉกเช่นนั้น มนุษย์ย่อมไม่แตกต่าง”

ชื่อหนังทั้งภาษาเปอร์เซีย خانه دوست کجاست (อ่านว่า Khane-ye dust kojast) และอังกฤษที่แปลว่า Where Is the Friend’s Home? นำจากท่อนหนึ่งของบทกวีชื่อ Address แต่งโดย Sohrab Sepehri (1928 – 1980) นักกวีชาวอิหร่านชื่อดัง ผู้บุกเบิกยุคสมัย New Poetry

“Where is the friend’s house?”
Horseman asked by twilight and,
The sky paused.

The passerby presented sands, the branch of light that he had in mouth
And pointed to a poplar tree and said:

“Before reaching the tree,
There is a garden alley that is greener than God’s sleep
And in it, love is as blue as the feathers of honesty.
Go to the end of the alley which stops at the back of adolescence.
Then turn to the flower of loneliness,
Two steps short of reaching the flower,
Stay by the fountain of eternal myth of earth
And you feel a transparent fear.
And in the fluid sincerity of the air, you will hear a scratch:
You will see a child
Who has gone up the pine tree, to grab a bird from the nest of light
And you ask him
Where the friend’s house is.”


ส่วนตัวชื่นชอบหนังมากๆ ประทับใจในความงดงาม เชื่องช้า ลุ่มลึกดั่งบทกวี ต้องถือว่าไดเรคชั่นของผู้กำกับ Abbas Kiarostami พัฒนาถึงจุดสูงสุดแล้วกระมัง

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ไม่ใช่แค่กับเด็กๆแต่รวมถึงพ่อ-แม่ ผู้ใหญ่ในสังคม
– สำหรับเด็กๆ คือบทเรียนแห่งมิตรภาพเพื่อเพื่อนพ้อง ไม่ยินยอมพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคขวากหนาม ยึดถือมั่นในคุณธรรมความดีงาม แม้จะต้องขัดคำสั่งผู้ใหญ่แต่ถ้าเชื่อว่าเป็นสิ่งถูกก็ไม่ต้องหวาดสะพรึงกลัวใดๆ
– สำหรับผู้ใหญ่อาจมองหนังได้ถึงสองด้าน แต่ขอให้เลือกกระทำในสิ่งเหมาะสมควรตามหลักศีลธรรมมโนธรรม อย่าเอาจารีตขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อโบราณมาเป็นข้ออ้างข้างๆคูๆ ถูๆไถๆ พยายามครุ่นคิดและปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยเสียด้วยละ!

อิสรภาพไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต เฉกเช่นเดียวกับการต้องอยู่ในกฎกรอบระเบียบอย่างเคร่งครัด จุดสมดุลกึ่งกลางระหว่างซ้าย-ขวาจัดต่างหาก ทำให้มนุษย์พานพบเจอความสงบสุขแท้จริง!

จัดเรต PG สำหรับพฤติกรรมกลับกลอก ความเห็นแก่ตัวของผู้ใหญ่

คำโปรย | Where Is the Friend’s Home? คือการค้นพบตนเองของผู้กำกับ Abbas Kiarostami งดงาม เชื่องช้า ลุ่มลึกดั่งบทกวี 
คุณภาพ | -เชื่องช้า-ลุ่ลึ
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

The White Balloon (1995)


The White Balloon

The White Balloon (1995) Iranian : Jafar Panahi ♥♥♥♥

เด็กหญิงวัย 7 ขวบ ต้องการซื้อปลาทองตัวใหม่ แต่เงินที่กว่าจะออดอ้อนขอแม่มาได้ กลับมีเรื่องว้าวุ่นวายให้ถูกลักขโมย ทำตกหล่น สูญหายข้างทาง สุดท้ายแล้วเธอจะได้เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝันนั้นหรือเปล่า, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ผลงานแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ Jafar Panahi ที่สร้างขึ้นจากบทภาพยนตร์ของ Abbas Kiarostami เปลือกนอกดูเป็นเรื่องราวใสบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของเด็กหญิง แต่แท้จริงแล้วสะท้อนเสียดสีสภาพสังคมประเทศอิหร่าน และต่อต้านระบบทุนนิยมออกมาได้อย่างตราตรึงทรงพลัง

ถึงผมจะรับชมภาพยนตร์จากประเทศฝั่งตะวันออกกลางมาไม่มากเท่าไหร่ แต่ก็สามารถตระหนักเข้าถึงแนวคิด จิตวิญญาณ และทิศทางของผู้สร้างหนัง ซึ่งล้วนสะท้อนสภาพสังคม ปัญหาการเมือง ชนชั้นผู้นำที่เต็มไปด้วยความเข้มงวดกวดขัน คอรัปชั่นคดโกงกิน และมักเชื่อมโยงอ้างอิงความเชื่อศรัทธาศาสนาทางใดทางหนึ่ง

Jafar Panahi คือหนึ่งในผู้กำกับชาวอิหร่าน ที่ได้รับอิทธิพลความเข้มงวดกวดขันจากกองเซนเซอร์ The White Balloon เป็นผลงานแรกและเรื่องเดียวที่ได้เข้าฉายในประเทศ หลังจากนั้นแม้ไปกวาดรางวัล Golden Lion, Golden Bear กลับโดนแบนหมด แถมถูกยึดพาสปอร์ต ห้ามเดินทางออกนอกประเทศอีกต่างหาก!


Jafar Panahi (เกิดปี 1960) ผู้กำกับสัญชาติอิหร่าน เกิดที่ Mianeh, East Azerbaijan ในครอบครัวชนชั้นทำงาน เมื่ออายุ 12 ขวบ เริ่มทำงานหลังเลิกเรียนเพื่อเก็บเงินไปรับชมภาพยนตร์ เปิดมุมมองตนเองต่อโลกกว้าง พออายุ 20 ปี อาสาสมัครทหาร เข้าร่วมสงคราม Iran-Iraq War (1980-88) แต่รับหน้าที่เป็นตากล้องบันทึกภาพสารคดีการสู้รบ เมื่อปลดประจำการสมัครเข้าเรียน College of Cinema and TV ที่ Tehran จึงมีโอกาสรับชมภาพยนตร์ตะวันตกมากมาย สนิทสนมเพื่อนร่วมรุ่น Parviz Shahbazi และตากล้องขาประจำ Farzad Jodat จากนั้นได้เริ่มทำงานสารคดีฉายโทรทัศน์ หนังสั้น

เมื่อ Abbas Kiarostami มีโอกาสรับชมหนังสั้นของ Panaha ชื่นชมและยกย่องในความสามารถ เลยว่าจ้างให้มาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Through the Olive Trees (1994)

“[Jafar Panahi have] extremely gifted and can be a promising figure in our cinema’s future”.

– Abbas Kiarostami

แรกเริ่ม Panahi พัฒนาบทภาพยนตร์ชื่อ Happy New Year ร่วมกับ Parviz Shahbazi ยื่นของบประมาณจาก IRIB’s Channel 1 (น่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ของอิหร่าน) ตั้งใจให้เป็นหนังสั้น แต่ข้อเสนอถูกปัดตกคงเพราะขาดความน่าสนใจ ระหว่างช่วยงานถ่ายทำ Through the Olive Trees จึงลองนำ Treatment ให้ Kiarostami วิพากย์วิจารณ์ ปรากฎว่าเกิดชื่นชอบ เลยให้ความช่วยเหลือ และแนะนำทำเป็นภาพยนตร์เลยจะดีกว่า

แต่ Kiarostami ก็ไม่ได้มีเวลาว่างเยอะแยะ วิธีการทำงาน/พัฒนาบทของพวกเขาก็คือ ระหว่างขับรถครุ่นคิดอะไรได้ก็พูดออกมา Panahi จะคอยบันทึกเทป จากนั้นนำไปประติดประต่อ พิมพ์ออกมากลายเป็นบทภาพยนตร์ (แต่ก็ยกเครดิตเขียนบทเดี่ยวๆให้ Kirostami เลยนะ)

นอกจากเรื่องบท Kiarostami ยังช่วยจัดหาทุนสร้างได้จาก IRIB’s Channel 2 ได้มาไม่เยอะเท่าไหร่แต่ก็เพียงพอให้สามารถถ่ายทำหนังเสร็จ

“I wanted to prove to myself that I can do the job, that I can finish a feature film successfully and get good acting out of my players. In a world where films are made with millions of dollars, we made a film about a little girl who wants to buy a fish for less than a dollar – this is what we’re trying to show”.

– Jafar Panahi

อีกประมาณชั่วโมงครึ่งจะถึงวันขึ้นปีใหม่ของชาวเปอร์เซีย เด็กหญิงอายุเจ็ดขวบ Razieh (Aida Mohammadkhani) พบเห็นปลาทองในโถแก้วสุดสวย ต้องการนำมาประดับบ้านเพื่อเป็นสิริมงคล แต่ราคา 100 Toman ถือว่าค่อนข้างสูงสำหรับชนชั้นทำงาน ให้พี่ชาย Ali (รับบทโดย Mohsen Kalifi) ออดอ้อนขอแม่จนสำเร็จได้ธนบัตร 500 Toman รีบออกเดินทางไปซื้อปลาแต่ระหว่างทางพานพบอุปสรรคมากมาย
– การแสดงโชว์งู ที่อยู่ดีๆพิธีการก็นำเงินของเธอไป เพราะครุ่นคิดเข้าใจผิดว่าเธอต้องการบริจาคให้
– ธนบัตรใบนั้นปลิวหล่นหายไปไหนก็ไม่รู้
– พบเจอตกอยู่ในท่อ หน้าร้านที่วันนั้นปิดกิจการ ขอความช่วยเหลือเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าข้างๆ แต่เขาสนเพียงตนเองไม่ใคร่อยากให้ความช่วยเหลือ
– นายทหาร ชายแปลกหน้าเข้ามาพูดคุย
– และสุดท้ายคือเพื่อนเด็กขายลูกโป่ง ใช้ไม้ติดหมากฝรั่งติดเงินขึ้นมา

สำหรับนักแสดง ทั้งหมดคือมือสมัครเล่นผ่านการคัดเลือก หรือไม่ก็ชักชวนคนรู้จักมาร่วมงาน
– Aida Mohammadkhani ได้รับการค้นพบเจอตั้งแต่โรงเรียนแรกที่ทำการออดิชั่น ประทับใจในสายตาอันบริสุทธิ์สดใส สีหน้าท่าทางสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกภายในอย่างตรงไปตรงมา รอยยิ้มเริงร่า บูดบึ้งซึมเศร้า ขยะแขยงจะร้องไห้ เต็มไปด้วยความน่าสงสารเห็นใจ สามารถเป็นตัวแทนชาวอิหร่านได้ทั้งประเทศเลยละ
– สำหรับบทพี่ชายหายากยิ่งกว่า ต้องคัดเลือกนักแสดงประมาณ 2,600 คน กว่าจะได้ Mohsen Kalifi (ผมรู้สึกหน้าตาคล้ายๆเด็กชายใน Bicycle Thieves) ที่ต้องคอยรองมือรองเท้า ให้ความช่วยเหลือทุกคนที่พานผ่านเข้ามาในชีวิต แต่เพราะรักครอบครัวและน้องสาว เลยไม่ปฏิเสธปัญหา ร่วมด้วยกันแก้ไขต่อสู้ฟันฝ่า


ถ่ายภาพโดย Farzad Jadat เพื่อนร่วมรุ่น ขาประจำผู้กำกับ Panahi

งานภาพมอบสัมผัสของ Neorealist นอกจากนักแสดงสมัครเล่น ยังถ่ายทำสถานที่จริง ไม่มีการจัดแสง (ใช้แสงธรรมชาติทั้งหมด) ระยะภาพใกล้ชิดตัวละคร ทำให้ผู้ชมราวกับเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราว/เหตุการณ์ พบเห็นความว้าวุ่นวาย และปฏิกิริยาอารมณ์ของเด็กสาว

ไม่ใช่แค่ชื่อหนัง The White Balloon องค์ประกอบและโทนสีสันของภาพ พบเห็นสีขาวเป็นหลัก โดดเด่นชัดมากกับผ้าคลุมศีรษะของเด็กหญิง สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ขาวสะอาด (ปลาทองที่มีสีขาวก็เฉกเช่นกัน!)

เชื่อว่าหลายคนอาจไม่ทันสังเกตฉากแรกของหนัง เพราะผมมีความฉงนสงสัยเกี่ยวกับเด็กชายขายลูกโป่งจึงย้อนกลับไปดู เลยเห็นว่าทุกๆตัวละครที่พานพบเจอตลอดหนัง ล้วนอารัมบทปรากฎตัวในสี่แยกกลางตลาดนี้ก่อนแล้วทั้งนั้น คือเราไม่ได้สนใจเพราะยังมิได้รู้จักมักคุ้นพวกเขามาก่อน … ชีวิตก็มักพบเจอสวนทางกันแบบนี้ละนะ!

ผมมีความลุ่มหลงใหลในองค์ประกอบศิลป์ของช็อตนี้อย่างมาก ดูหรูหราไฮโซ แถมตำแหน่งสูงกว่า ราวกับตำหนักพระราชา ผู้นำปกครองประเทศชาติ ซึ่งตลอด Sequence นี้ จะไม่พบเห็นเด็กหญิงเข้าไปในบ้าง มีเพียงแม่ และการกระซิบซาบของพี่ชาย

กล่าวคือเราสามารถเปรียบเทียบมหภาคของหนัง พ่อ-แม่ ได้กับชนชั้นผู้นำ/ปกครองประเทศอิหร่าน และเด็กๆทั้งสองที่มีแววตาสดใสไร้เดียงสา ก็คือประชาชนชาวอิหร่าน ต้องคอยก้มหัวยินยอมปฏิบัติทำตามคำสั่งห้ามขัดขืน นอกเสียจากมีผลประโยชน์ได้เสียบางอย่างถึงค่อยยินยอมผ่อนปรน

เงินกับงู คือสิ่งชั่วร้ายอันตราย ถ้ามนุษย์หมกมุ่นลุ่มหลงใหลกับมันสักวันย่อมประสบพบภัย ตัดสลับกับปฏิกิริยาใบหน้าอันหวาดสะพรึงกลัว สั่นสะท้าน น้ำตาไหลพรากๆของเด็กหญิง ใครเห็นแล้วไม่รู้สึกอะไรนี่กามตายด้านหรือเปล่า!

Sequence การแสดงงู ชัดเจนเลยว่าเพื่อสร้างความชวนเชื่อให้ผู้ชม ไม่ให้ลุ่มหลงใหลยึดติดในอำนาจเงินตรา ระบอบทุนนิยม เพราะมันเป็นสิ่งล่อลวง ยั่ยยุ เต็มไปด้วยอันตราย ควรต้องรู้จักใช้อย่างมีสติระแวดระวังตนเอง ไม่เช่นนั้นอาจโดนย้อนแย้งแว้งกัด พิษไหลเข้ากระแสเลือดโดยไม่รู้ตัว

ปลาทอง สัตว์สวยงามที่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรนอกจากความเพลิดเพลินเจริญตา แต่ถือว่ามีคุณค่าทางจิตใจต่อเด็กหญิง เพราะสามารถเติมเต็มความต้องการเพ้อใฝ่ฝัน

ขณะเดียวกันเราสามารถเปรียบปลาทอง ได้กับเด็กหญิง และประชาชนชาวอิหร่าน ต่างถูกกักขังอยู่ในโถแก้ว ได้รับการเลี้ยงดูแลจนอวบอิ่มหนำ มีความบริสุทธิ์สวยสง่างาม แต่ไม่สามารถดิ้นรนไปไหนมาไหน โหยหาอิสรภาพด้วยตนเอง

ใบหน้าอันทุกข์โศกของเด็กหญิง ย่อมทำให้บางคนรู้สึกสงสารเห็นใจ หญิงสูงวัยพยายามให้ความช่วยเหลือจนค้นพบเจอตกอยู่ในท่อระบายน้ำ ซึ่งเธอก็ส่งไม้ต่อให้กับชายสูงวัยเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าข้างๆ ซึ่งมีนิสัยแตกต่างตรงกันข้าม เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัวไม่สนใจใคร

ความเห็นแก่ตัวของชายสูงวัยคนนี้นี่ระดับสูงสุดเลย เพิกเฉยต่อเด็กหญิงแล้วหันไปตำหนิต่อว่าลูกจ้าง/พนักงาน ทำผลงานออกมาไม่ได้เรื่องไร้ความรับผิดชอบ ซึ่งคำด่ากราดดังกล่าวสะท้อนเข้าหาตัวเขาอย่างตรงไปตรงมา … นี่นะหรือคือสังคมประเทศอิหร่าน ไม่ใช่เรื่องของฉันก็ปฏิเสธหาเหาใส่หัว!

สำหรับลูกโป่งสีขาว พบเห็นช็อตสุดท้ายของหนัง คือสัญลักษณ์แห่งความหวังที่บริสุทธิ์สะอาด นั่นเพราะการกระทำของเด็กชายขายลูกโป่ง เขาไม่ได้รับอะไรค่าตอบแทนใดๆนอกเสียจากรอยยิ้ม ความพึงพอใจ และสามารถขายลูกโป่งได้เกือบหมด …แค่นั้นก็ถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับชีวิตคน

ตัดต่อโดย Jafar Panahi, ดำเนินเรื่องในมุมมองสายตาของ Razieh โดยเทียบกับระยะเวลาจริง นาทีต่อนาทีก่อนหน้าเวลา 6 โมงเย็น วันขึ้นปีใหม่ของประเทศอิหร่าน (หรือคือวันวสันตวิษุวัต ที่กลางวันเท่ากับกลางคืน ตรงกับประมาณ 20-21 มีนาคมของทุกปี)

เทคนิคที่พบเห็นบ่อยคือ การตัดต่อสลับไปมาระหว่าง Action-Reaction, ภาพที่พบเห็น-ปฏิกิริยาของเด็กสาว ผู้ชมจะสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของเธอต่อทุกเหตุการณ์เกิดขึ้นได้อย่างตรงไปตรงมา

นอกจาก Opening/Closing Credit จะไม่มีการแทรกใส่บทเพลงประกอบนอกเสียจาก Diegetic Music ได้ยินจากวิทยุซึ่งคอยบอกเวลาดำเนินไปด้วย (คนที่ฟังภาษาเปอร์เซียออก จะสามารถเข้าใจเสียงเพลง/สนทนาที่ดังมาจากวิทยุด้วย ไม่รู้มีการแทรกใส่อะไรไว้เพิ่มเติมหรือเปล่า)


The White Balloon คือการผจญภัยของเด็กหญิง เพื่อให้ได้ครอบครองเป็นเจ้าของสิ่งที่ตนเพ้อใฝ่ฝัน ระหว่างทางพานผ่านอุปสรรคขวางกั้น ได้รับความช่วยเหลือชี้ชักนำจนสามารถเอาตัวรอดก้าวข้ามพ้น กลายเป็นบทเรียนชีวิตอันทรงคุณค่ายิ่ง ตราประทับฝังลึกภายในจิตใจไม่รู้ลืม

เด็กหญิงวัย 7 ขวบ ถือว่ายังอ่อนวัยไร้เดียงสา ไม่รู้เท่าทันคนอื่นจึงมักถูกลวงล่อหลอกได้โดยง่าย แต่ขณะเดียวกันก็มีสีหน้าเศร้าโศกคราบน้ำตาเป็นอาวุธเรียกความสงสาร ทำให้ผู้ใหญ่แม้โฉดชั่วร้ายแค่ไหนยังยินยอมใจอ่อนข้อให้ (คือถ้าเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่ทำอะไรผิดพลาดพลั้ง ย่อมมีแต่จะถูกตำหนิด่ากราดแบบพนักงานร้านขายเสื้อผ้า) ด้วยเหตุนี้ท้ายที่สุดหนังจึงจบลงแบบ Happy Ending เกิดความหวังรับวันขึ้นปีใหม่

แต่ผมว่าชาวอิหร่านทั่วไปคงไม่โชคดีเหมือนเด็กหญิงคนนี้ เพราะทุกสถาบันของสังคมต่างพยายามควบคุมครอบงำคนใต้สังกัด (พ่อออกคำสั่งลูก, หัวหน้าใช้งานลูกน้อง, ผู้นำปกครองประชาชน, และศาสนาคือรากฐานความเชื่อ) เงินทองพอหายากลำบากกพยายามทุกวิถีทาง ขูดรีดไถ/ยกแม่น้ำทั้งห้าสายเข้ามาอ้างโน่นนี่นั่น แถมทุกครั้งเวลามีปัญหา ถ้าไม่ใช่เรื่องของกรูก็ไม่ต้องการหาเหาใส่หัว 

แต่โลกใบนี้ก็มีทั้งคนดี-เลว ผสมปะปนเปใช่ว่าจะหมดสิ้นหวังเลยทีเดียว ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดติดตาม ทำไมเราถึงไม่พยายามแสดงออกต่อกันด้วยน้ำใจมิตรไมตรี ให้ความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ มันอาจจะอุดมคติสักหน่อย แต่คงทำให้ประเทศของเราน่าอยู่ขึ้นมากทีเดียว

ขณะที่ผู้กำกับ Jafar Panahi มองปัญหาพื้นฐานของสังคม คือระบอบทุนนิยม ‘เงิน’ เปรียบเทียบกับอสรพิษที่พร้อมฉกกัดทำร้ายเจ้าของ แต่เนื่องจากวิถีของโลกคงไม่มีใครสามารถต้านทาน ดังนั้นเราจึงควรต้องเห็นคุณค่าของมัน แม้เพียง 100 Toman ก็มีมูลค่ามหาศาล (คือผมก็ไม่รู้มูลค่าจริงๆมันเท่าไหร่นะ)


หนังเข้าฉาย Directors’ Fortnight ในเทศกาลหนังเมือง Cannes และสามารถคว้ารางวัล Caméra d’Or (มอบให้ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สำหรับผู้กำกับที่มีผลงานแรก)

นอกจากนี้ยังได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศ ส่งเข้าชิงชัย Oscar: Best Foreign Language Film แต่ไปๆมาๆเมื่อรัฐบาลอิหร่านมีข้อพิพาทข้ดแย้งกับสหรัฐอเมริกา ส่งเรื่องร้องขอมิให้พิจารณาหนังเรื่องนี้เข้าร่วมประกาศรางวัล ซึ่งพอทาง Academy ไม่ยินยอม ก็ยึดพาสปอร์ตของ Jafar Panahi ไม่ให้เข้าร่วมเทศกาลหนังเมือง Sundances หรือโฟนอินสัมภาษณ์ใดๆ … กระนั้นหนังก็ไม่ได้ลุ้นเข้าชิงรางวัลใดๆอยู่ดี

ส่วนตัวชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างมาก แม้เต็มไปด้วยความเครียด กดดัน โคตรจะสงสารเห็นใจเด็กหญิง และชาวอิหร่าน (ผู้กำกับ Panahi ด้วยนะ!) สังคมแบบนั้นทนอยู่กันไปได้อย่างไร หวนระลึกนึกถึงประเทศไทย บ้านเรานี่สรวงสวรรค์เลยนะ แม้มีรัฐบาลเฮงซวยแต่ประชาชนก็ยังมีเสรีภาพ ผู้คนเป็นมิตร ยิ้มแย้มมีไมตรีจิตต่อกัน

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของเด็กหญิง ไม่เพียงทำให้ผู้ชมสงสารรู้สึกเห็นใจ แต่อยากมีมิตรไมตรีจิตต่อบุคคลอื่น โกรธเกลียดพวกเห็นแก่ตัว สนเพียงเงินทอง ไร้สามัญสำนึกคุณธรรมประจำใจ และถ้ามีใครมาขอความช่วยเหลือก็พร้อมยินดีสนองให้ (แต่อย่าเรียกร้องให้มากเกินพอดีแบบ Funny Games เสียละ!)

จัดเรต 13+ คือหนังก็ไม่ได้เหมาะกับเด็กเล็กสักเท่าไหร่หรอกนะ แต่ควรรับชมเมื่อโตขึ้นมาสักหน่อย จะได้ไม่พบเห็นโลกในแง่ร้ายจนเกินไป

คำโปรย | The White Balloon คือความบริสุทธิ์ทางภาพยนตร์ ไร้เดียงสาในสามัญสำนึก และงดงามทรงคุณค่าระดับสากล
คุณภาพ | ริสุธิ์ดี
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

E.T. the Extra-Terrestrial (1982)


E.T.

E.T. the Extra-Terrestrial (1982) hollywood : Steven Spielberg ♥♥♥♥

เพื่อนรักจากต่างดาว คือด้านมืดของเด็กชาย (และผู้กำกับ Steven Spielberg) ที่ยังไม่สามารถปรับตัวต่อการสูญเสียพ่อ เลยสร้างเพื่อนในจินตนาการเพื่อทดแทนความรู้สึกขาดหาย ค่อยๆเรียนรู้จักชีวิต พบเจอมิตรภาพ เข้าใจการสูญเสีย พิสูจน์ตนเองจนสามารถลุกขึ้นและก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้เอง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ขณะที่ฉากโมเสสแหวกทะเลแดงใน The Ten Commandments (1956) ได้รับการกล่าวขวัญ ‘Greatest Special Effect of All Time’, ภาพยนตร์เรื่องนี้มีฉากที่ Elliott และ E.T. ปั่นจักรยานเหินผ่านพระจันทร์เต็มดวง ถูกเรียกว่า ‘The Most Magical Moment in Cinema History’

E.T. the Extra-Terrestrial คือภาพยนตร์สุดมหัศจรรย์อันทรงคุณค่า เอ่อล้นด้วยจินตนาการเพ้อฝัน ที่ไม่ใช่แค่เหมาะสำหรับเด็ก ผู้ใหญ่ยังสามารถอึ้งทึ่งตราตรึงไปกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ และไดเรคชั่นของ Steven Spielberg ทำให้ได้รับฉายา ‘พ่อมดแห่งวงการภาพยนตร์’

แต่มาครุ่นคิดดู E.T. the Extra-Terrestrial เป็นภาพยนตร์ที่โคตรจะดาร์ก/มืดหม่นมากๆเลยนะ นำเสนอสภาพจิตใจอันหดหู่ซึมเศร้าของเด็กชาย แถมหน้าตาสิ่งมีชีวิตต่างดาว E.T. ก็โคตรอัปลักษณ์พิศดาร น่ารังเกียจขยะแขยงเหลือทน แล้วมันเกิดอะไรขึ้นกับเด็กๆ(และผู้ใหญ่)สมัยนั้น ถึงได้ตกหลุมรักคลั่งไคล้อย่างหัวปลักหัวปลำ

การมาถึงของสงครามเย็น ทำให้ร่องรอยต่อระหว่างดี-ชั่ว ถูก-ผิด ค่อยๆเลือนลางจางหายไป รูปสวยใช่ว่าข้างในจะงดงาม เฉกเช่นเดียวกับภายนอกโคตรอัปลักษณ์พิศดาร แต่จิตใจอาจเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์สดใส … นี่น่าจะเป็นสาเหตุผลสำคัญหนึ่งที่ทำให้ E.T. the Extra-Terrestrial กลายเป็นผลงานที่ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าวงการภาพยนตร์ และทุบสถิติทำเงินสูงสุดตลอดกาลขณะนั้นของ Star Wars (1977)


Steven Allan Spielberg (เกิดปี 1946) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติอเมริกา เจ้าของฉายา ‘พ่อมดแห่งวงการภาพยนตร์’ เกิดที่ Cincinnati, Ohio, ครอบครัวนับถือ Orthodox Jewish ปู่ทวดอพยพจากประเทศ Ukrane ชื่นชอบเล่าอดีตพี่น้องหลายสิบของตนต้องสูญเสียชีวิตในค่ายกักกัน (นั่นคือเหตุผลที่ปู่ทวดอพยพย้ายสู่อเมริกา), ตั้งแต่เด็กมีความสนใจเล่นถ่ายทำภาพยนตร์ด้วยกล้อง 8mm จาก 9 นาทีกลายเป็น 40 นาที พออายุ 16 สร้างภาพยนตร์ไซไฟ 140 นาทีเรื่อง Firelight (เป็นแรงบันดาลใจให้ Close Encounter) ทุนสร้างจากครอบครัว $500 เหรียญ ออกฉายโรงภาพยนตร์แถวบ้าน ได้ทุนคืนทั้งหมดในรอบฉายเดียว, หลังเรียนจบมัธยมปลาย มุ่งสู่ Los Angeles เข้าเรียน California State University, Long Beach ระหว่างนั้นเป็นเด็กฝึกงานที่ Universal Studios มีโอกาสถ่ายทำภาพยนตร์ 35mm ขนาดสั้นเรื่อง Amblin’ (1968) คว้ารางวัลมากมาย แถมยังไปเข้าตารองประธานสตูดิโอขนาดนั้น Sidney Sheinberg จับเซ็นสัญญา 7 ปี ดรอปเรียนจากมหาวิทยาลัยโดยพลัน

ช่วงแรกๆในวงการ เริ่มทำงานเป็นผู้กำกับซีรีย์โทรทัศน์ ไม่นานนักสร้างภาพยนตร์เรื่องแรก The Sugarland Express (1974) แม้คำวิจารณ์ค่อนข้างดีแต่ไม่ทำเงินเท่าไหร่ ตามด้วย Jaws (1975) แม้ประสบปัญหามากมาย ทุนสร้างบานปลาย แต่กลับทำเงินถล่มทลายมากมายมหาศาล ผลงานถัดมา Close Encounters of the Third Kind (1977), 1941 (1979), Raiders of the Lost Ark (1981)

เมื่อปี 1978, Spielberg ประกาศว่าจะทำโปรเจคชื่อ Growing Up ภาพยนตร์อัตชีวประวัติของตนเอง โดยนำเรื่องราวช่วงชีวิตวัยเด็ก เมื่อตอนพ่อ-แม่ เลิกราหย่าร้าง จิตใจของเขาเต็มไปด้วยความเวิ้งว้างว่างเปล่า จึงสร้างเพื่อนในจินตนาการเป็นเอเลี่ยนต่างดาว

“[alien was] a friend who could be the brother [he] never had and a father that [he] didn’t feel [he] had anymore”.

– Steven Spielberg

แต่ความล่าช้าของ 1941 (1979) ทำให้ Spielberg ไม่มีเวลาว่างหลงเหลือเพียงพอ จำต้องออกเดินทางไป Tunisia เพื่อเริ่มโปรดักชั่น Raiders of the Lost Ark (1981) แต่ระหว่างถ่ายทำมีเวลาว่างเหลือเยอะ เลยนำบทหนัง Night Skies เคยครุ่นคิดคร่าวๆไว้กับ John Sayles เพื่อเป็นภาคต่อของ Close Encounters of the Third Kind (1977) มาปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่กับ Melissa Mathison เรื่องราวของมนุษย์ต่างดาวเป็นเพื่อนกับเด็กชายออทิสติก และตอนจบตัดสินใจออกเดินทางไปนอกโลกด้วยกัน

Spielberg ประทับใจบทร่างแรกของ Mathison เป็นอย่างมาก นำไปเสนอสตูดิโอ Columbia Picture แต่ผู้บริหารขณะนั้น Marvin Atonowsky มองว่าภาคต่อของ Close Encounters of the Third Kind มีความจำเพาะกลุ่มเกินไป ดูแล้วไม่น่าจะทำเงินสักเท่าไหร่ แถมยังเรียกว่า ‘a wimpy Walt Disney movie’ เลยบอกปัดปฏิเสธไม่สนหัว

หลังจากนั้นมีการปรับแก้ไขบทเพิ่มเติม และตัดสินใจไม่เชื่อมโยงให้เป็นภาคต่อของ Close Encounters of the Third Kind พอนำไปเสนอ Universal Studios อนุมัติทุนสร้าง แถมด้วยค่าลิขสิทธิ์บทหนังสูงถึง $1 ล้านเหรียญ และ Spielberg ต่อรองได้อีก 5% กำไรหนัง

เรื่องราวมีพื้นหลัง San Fernando Valley, เด็กชายวัยสิบขวบ Elliott (รับบทโดย Henry Thomas) พานพบเจอบางสิ่งอย่างในโรงเก็บของ พยายามพูดบอกแม่ Mary (รับบทโดย Dee Wallace), พี่ชาย Michael (รับบทโดย Robert MacNaughton) และน้องสาว Gertie (รับบทโดย Drew Barrymore) ก็ไม่มีใช่ใคร่เชื่อถือ จนกระทั่งใช้ลูกกวาด Reese’s Pieces โปรยทานเรี่ยราดให้เจ้าสิ่งนั้นติดตามเข้ามาหา จนได้ค้นพบว่าคือมนุษย์ต่างดาวตั้งชื่อ E.T. จึงนำมาหลบซ่อนเร้นไว้ในห้องนอน ยังตู้เสื้อผ้าของตนเอง

E.T. เป็นมนุษย์ต่างดาวที่พลัดพรากจากยานแม่ กำลังถูกมนุษย์/ผู้ใหญ่ไล่ล่าติดตามตัว แม้ไม่ทราบจุดประสงค์แต่มีแนวโน้มไม่ใช่เรื่องดีงาม การพานพบเจอ Elliott ทำให้ค่อยๆเรียนรู้จักโลก ประสานจิตวิญญาณ ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’ ขณะเดียวกันก็เริ่มครุ่นคิดวิธีติดต่อสื่อสาร ประดิษฐ์เรดาร์จานดาวเทียม คาดหวังว่าเพื่อนๆจะหวนมารับเขากลับสู่บ้านของตนเองก่อน … จะมีเหตุอันใดเป็นไป


Henry Jackson Thomas Jr. (เกิดปี 1971) นักแสดง/นักดนตรี สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ San Antonio, Texas ระหว่างเข้าเรียน East Central High School ได้มีโอกาสมาคัดเลือกนักแสดง E.T. the Extra-Terrestrial (1982) นำเอาความรู้สึกที่สุนัขตัวโปรดเพิ่งเสียชีวิต ถ่ายทอดออกมาจากผู้กำกับ Spielberg ร่ำร้องไห้ เลยมอบบทบาทแจ้งเกิดโด่งดังที่สุดในชีวิตให้

รับบท Elliott เด็กชายวัยสิบขวบ แม้ดูมีชีวิตปกติสุขแต่เบื้องลึกยังเก็บกดต่อการจากไปของพ่อ เรียกร้องความสนใจต่อไม่มีใครใคร่เหลียวแล จนกระทั่งได้พบเจอ E.T. มีสายสัมพันธ์จิตวิญญาณร่วมกัน เรียนรู้จัก’เอาใจเขามาใส่ใจเรา’ และต้องการช่วยเหลือเพื่อนรักได้มีโอกาสกลับบ้านของตนเอง

แซว: ชื่อเรียก E.T. ก็มาจากอักษรตัวแรกและสุดท้ายของ Elliott

ตัวละครนี้ถือได้ว่าเป็นตัวแทนผู้กำกับ Spielberg เมื่อครั้นเยาว์วัย นิสัยค่อนข้างจะดื้อรั้นเอาใจ แต่ผู้ชมจักยินยอมให้อภัยเพราะเด็กๆมักทำสิ่งต่างๆไปด้วยความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา เฉกเช่นเดียวกับ Elliott ดวงตาค่อนข้างใสซื่อ ซึ่งผมว่าบื้อไปด้วยซ้ำ ขาดมิติด้านมืดที่สมควรปรากฎพบเห็น ใช้ภาษาภาพยนตร์กลบเกลื่อนบดบัง … คงกลัวว่านักแสดงเด็ก อาจแสดงไม่สมจริงเทียบเท่าผู้ใหญ่

ชีวิตหลังจากนี้ของ Thomas ยังอยู่ในวงการตราบจนปัจจุบัน แต่กลายเป็นนักแสดงสมทบ/เกรดบี ที่ไม่ค่อยมีใครจดจำสักเท่าไหร่ ขณะเดียวกันยังพัฒนาความสนใจด้านการเล่นกีตาร์ ตั้งวง The Blue Heelers และออกอัลบัมเพลง


สำหรับ E.T. ย่อมาจาก Extra-Terrestrial สิ่งมีชีวิตต่างดาวจากนอกโลกอายุ 10 ล้านปี สรรค์สร้างขึ้นโดย Carlo Rambaldi (1925 – 2012) นักออกแบบ Special Effect สัญชาติอิตาเลี่ยน ผลงานเด่นๆก่อนหน้านี้คือ King Kong (1976), Close Encounters of the Third Kind (1977) และ Alien (1980)

แรงบันดาลใจใบหน้าของ E.T. คือส่วนผสมระหว่าง Carl Sandburg, Albert Einstein, Ernest Hemingway และสุนัขพันธุ์ปั๊ก (แต่ผมว่าคล้ายโยดา จาก Star Wars มากกว่านะ) สร้างขึ้นมา 4 หัวให้สามารถขยับเคลื่อนไหวแสดงสีหน้าปฏิกิริยา (Facial Expressions), กระพริบดวงตาโตสีฟ้า (Big Eye), ส่วนคอโยกขึ้นลงด้วย Animatronic และครอบสวมใส่โดยคนแคระ Tamara De Treaux, Pat Bilon และเด็กชายพิการไร้ขา อายุ 12 ขวบ Matthew DeMeritt ความสูง 2’10” สังเกตว่าเวลาเดินช่างดูเหมือนนกเพนกวิ้นเหลือเกิน

เกร็ด: ราคาของหุ่น E.T. คือ $1.5 ล้านเหรียญ ใช้เวลาสร้าง 3 เดือนเต็ม

สำหรับผู้พากย์เสียง E.T. อันโคตรเป็นเอกลักษณ์คือ Patricia Anderson Welsh (1915 – 1995) นักพากย์รายการวิทยุ Soap Opera, เพื่อให้ได้เสียงดังกล่าวออกมา เธอต้องสูบบุหรี่อัดควันเข้าไปในลำคอถึงสองแพ็ก และใช้เวลาเข้าห้องอัด 9 ชั่วโมงครึ่ง รับค่าจ้างเพียง $380 เหรียญ

เกร็ด: George Lucas ยังว่าจ้างเธอมาให้เสียง Boushh เรื่อง Return of the Jedi (1983)

ถ่ายภาพโดย Allen Daviau (เกิดปี 1942) ตากล้องสัญชาติอเมริกัน ขาประจำของ Spielberg ช่วงแรกๆ ผลงานเด่นอาทิ The Color Purple (1985), Empire of the Sun (1987), Avalon (1990), Bugsy (1991) ฯ

สถานที่ถ่ายทำหลักๆคือ San Fernando Valley ทางตอนเหนือของ Los Angeles โดยใช้ชื่อกองถ่าย A Boy’s Life เพื่อปกปิดรายละเอียดหนังไม่ให้ความลับรั่วไหล ซึ่งทีมงานทุกคนต้องมีบัตรผ่าน ID Card สำหรับเข้าออก นักแสดงไม่ได้ครอบครองบทหนัง และการถ่ายทำแบบไล่เรียงลำดับ (Chronological Order) เพื่อเด็กๆจักสามารถแสดงด้วยความต่อเนื่อง

จุดเด่นของการถ่ายภาพ คือมุมกล้องที่มักสูงแค่ระดับสายตาของ Elliott หรือไม่ก็ E.T. ทำให้หลายครั้งมองไม่ค่อยเห็นใบหน้าผู้ใหญ่ (หรือไม่ก็ปกคลุมด้วยความมืดมิดแบบช็อตนี้) ซึ่งถือเป็นการแทน ‘มุมมอง’ เด็กๆในการดำเนินเรื่อง

สถานที่พบเจอครั้งแรกระหว่าง Elliott และ E.T. คือโรงเก็บของที่ใครก็ไม่รู้เปิดไฟทิ้งไว้สว่างจร้า และจันทรายามค่ำคืนพบเห็นเพียงเศษเสี้ยว (มันคงอีกหลายวันคืนกว่าจะถึงพระจันทร์เต็มดวง)

การจัดแสงไฟในหนังเรื่องนี้ ผมรู้สึกว่ามันประดิษฐ์ประดอยจนดูผิดเพี้ยนไปกว่าปกติพอสมควร แต่ถ้ามองว่าคือแฟนตาซีในโลกของเด็กๆก็พอที่จะยินยอมให้อภัยได้บ้าง, ดูอย่างช็อตนี้ หลอดไฟกลมบนศีรษะของเด็กชาย ดวงกระเปี๊ยกแทบไม่ให้แสงใดๆ แล้วไฉนในโรงเก็บของกลับส่องสว่างเจิดจรัสจร้าเช่นนั้นได้?

ก็ให้ตีความไปว่า แสงสว่างในโรงเก็บของหรือที่หลบซ่อน E.T. มันคือประกายแห่งความหวังที่สามารถส่องสว่างชีวิตเด็กชายให้เจิดจรัสจร้ากว่าเดิม มันจึงสร้างความลุ่มหลงใหล ใคร่สงสัย อยากล่วงรับรู้ว่าภายในมีอะไรในความผิดปกตินี้

ตามสูตรของหนังสัตว์ประหลาด จะไม่เร่งรีบร้อนเปิดเผยใบหน้าภาพลัลกษณ์แท้จริงของสิ่งมีชีวิตต่างดาว เรื่องนี้ก็เฉกเช่นกัน เริ่มด้วยนิ้วมือค่อยๆยื่นปรากฎมาก่อน จากนั้นโดยไม่ทันตั้งตัวท่ามกลางไร่อ้อย Elliott สาดส่องแสงไฟพบเจอตัวเป็นๆ เพียงไม่กี่เสี้ยววินาทีต่างแสดงอาการตื่นตระหนกตกใจกลัว กรีดร้องลั่น … แต่นี่แค่อารัมบทเพื่อให้ผู้ชมค่อยๆปรับตัวยินยอมรับได้กับความอัปลักษณ์พิศดารของตัวละครนี้

ทำไมต้องท่ามกลางไร่อ้อย? (น่าจะไร่อ้อยใช่ไหม?) ฉากนี้ทำให้ผมนึกถึง Superman ที่พ่อแม่บุญธรรมของ Clark Kent ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว ไร่อ้อย ซึ่งถือเป็นพืชพันธุ์/วัตถุดิบตั้งต้นของการทำอาหาร, ซึ่งความรกๆของพงไม้ ยังสามารถสื่อถึงสันชาติญาณของสิ่งมีชีวิต หรือค้นพบเจออีกธรรมชาติตัวตนเอง

Elliott จับจ้องมองลอดผ่านเครื่องเล่นชิงช้า พบเห็น E.T. เดินเข้าไปอีกฟากฝั่งของรั้วเหล็ก ซึ่งแสงไฟสีแดงสัญลักษณ์แห่งอันตรายขวางกั้น นั่นทำให้เขาครุ่นคิดวางแผนกระทำการบางอย่าง … แทนที่จะให้ตนเองเดินเข้าไปสู่เขตแดนอันตราย ก็ล่อลวงสิ่งมีชีวิตนั้นให้เดินออกมาหาตน (นี่เรียกว่ากลับตารปัตรในมุมมองความคิดเห็น จุดเริ่มต้นของการ ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’)

เดิมนั้นทีมงานติดต่อ Mars Company บริษัทผลิตขนม M&M เพื่อต้องการใช้เป็นขนมหลอกล่อ E.T. แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ผลิตภัณฑ์เพราะมองว่าสิ่งมีชีวิตต่างดาวตัวนี้น่าคงสร้างความหวาดกลัวให้กับเด็กๆ ส่งผลประทบต่อยอดขายให้ตกต่ำลง ด้วยเหตุนี้เลยจำเป็นต้องเปลี่ยนมาเป็น Reese’s Pieces ซึ่งผลลัพท์เมื่อตอนหนังออกฉาย ปรากฎว่ายอดขายถล่มทลาย ถูกกวาดซื้อไปเกร็งราคาจัดจำหน่ายอยู่เป็นปีๆ

นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ผลิตภัณฑ์ Tie-in แล้วส่งผลกระทบต่อยอดจำหน่ายสินค้านะครับ ก่อนหน้านี้ก็เรื่อยๆมาเรียงๆ อาทิ
– From Here to Eternity (1953) ทำให้ยอดขายเสื้อฮาวาย ได้รับความนิยมถล่มทลาย
– Superman (1978) ตื่นเช้ามาที่บ้านของหนุ่มน้อย Clark Kent มีกล่อง Cheerio’s® วงอยู่ข้างเตียง
ฯลฯ

โต๊ะรับประทานอาหารบ้านนี้ช่างแปลกพิลึก มีลักษณะสามมุม แบ่งแยกออกเป็นสามกลุ่มตัวละคร
– แม่ Mary และพี่ชาย Michael ถือว่านั่งอยู่ฝั่งผู้ใหญ่ สามารถเรียนรู้ปรับตัวและเข้าใจการจากไปของพ่อ
– Elliott อายุสิบขวบ ถือว่าอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มเรียนรู้จดจำแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจอะไรๆมากนัก ซึ่งพอพ่อจากไปจึงยังมิอาจปรับตัวยินยอมรับความจริง
– น้องสาว Gertie ยังเด็กเล็กใสซื่อไร้เดียงสา ยังไม่เรียนรู้เข้าใจอะไรเท่านั้น พูดออกมาว่าพ่ออยู่เม็กซิโกแต่กลับไม่รับรู้สึกใดๆ

ผมละอยากเรียก E.T. ว่าหนังนัวร์เสียจริง! สังเกตว่าบ้านหลังนี้ใช้บานเกล็ด ที่พอแสงสว่างสาดส่องเข้ามา พบเห็นเงาอาบฉาบผนังมีลักษณะเหมือนซี่กรงขังคุก ซึ่งสะท้อนถึงจิตใจพวกเขาต่างผูกติดอยู่กับอะไรบางอย่าง ไร้อิสระเสรีภาพในการครุ่นคิดตัดสินใจกระทำ … ซึ่งก็คือการเลิกราจากไปของพ่อ ทำให้ทุกคนในครอบครัวเต็มไปด้วยความผิดหวัง ทุกข์เศร้าโศก แม้มีแสดงออกที่แตกต่าง ก็ยังไม่สามารถปรับตัวเองให้ยินยอมรับวิถีชีวิตต่อจากนี้ได้

มนุษย์ต่างดาวหรือสุนัขว่ะเนี่ย? แค่เพียงโปรยขนม M&M Reese’s Pieces ก็ยินยอมมาตามนัก สังเกตแสงไฟโคตรผิดธรรมชาติที่สาดส่องลงบนดวงตาของเด็กชาย มันมาจากส่วนไหนของโลกกัน … หรือว่าดวงจันทร์?

มือของ E.T. ที่ค่อยๆยื่นเข้ามา เริ่มต้นย่อมทำให้เด็กชายเกิดความตื่นตระหนกหวาดสะพรึง ไม่รู้จะมาดีหรือร้าย แต่พอปล่อยขนม Reese’s Pieces ให้ตกลงพื้น สันชาตญาณทุกคนจะสามารถเข้าใจได้ อร่อยละสิเลยมาขออีก!

เอาจริงๆผมหาไม่เจอช็อตสัมผัสแรกของ Elliott สัมผัสกับ E.T. แบบภาพบนโปสเตอร์ ที่ได้แรงบันดาลใจจากภาพวาดฝาผนัง The Creation of Adam ของ Michelangelo การสื่อสารของทั้งคู่เหมือนจะเริ่มต้นด้วยภาษามือ และวินาทีที่เด็กชายง่วงหงาวหาวนอน ราวกับว่าสายสัมพันธมิตรภาพของทั้งคู่ได้เริ่มต้นเชื่องโยงกันขึ้น

พอจะพบเห็น Easter Egg ในช็อตนี้กันหรือเปล่า??

สถานที่เก็บซ่อนตัวของ E.T. คือตู้เสื้อผ้า/ห้องเก็บเสื้อผ้า … ใครเป็นแฟนหนัง LGBT และ Narnia น่าจะกรี๊ดแตก แต่บริบทนี้มันไม่เชิงว่า Elliott มีความเบี่ยงเบนทางเพศประการใด แค่ว่ามันคือสิ่งที่เขาต้องการปกปิดหลบซ่อนไว้ภายในจิตใจ

ซึ่งฉากที่ผู้กำกับ Spielberg บอกว่าชื่นชอบประทับใจสุดของหนัง คือตอนที่ E.T. สวมใส่วิกแต่งตัวเป็นหญิง … ผมว่าทุกคนตอนเป็นเด็กย่อมต้องมีความสงสัยเรื่องเพศ ฉันคือชายหรือหญิง แตกต่างกันเช่นไร?

ฉากนี้ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว Elliott พยายามพูดอธิบายโน่นนี่นั่นให้ E.T. เรียนรู้รับฟัง แต่สังเกตว่าหนังถ่ายภาพย้อนแสง พบเห็นใบหน้าของพวกเขาปกคลุมด้วยความมืดมิด แถมเด็กชายก็มักหลุดออกนอกเฟรมบ่อยครั้ง นั่นไม่เพียงแปลว่า พูดอะไรไม่รู้เรื่องเข้าใจ แต่สารัตถะทางโลกเต็มไปด้วยความน่าเบื่อหน่าย เหมือนกับปลาในโถที่ถูกกักขังไร้อิสรภาพ จิตใจของเด็กชายในบ้านหลังนี้ก็เฉกเช่นกัน

วินาทีที่น้องสาวคนเล็ก Gertie พบเจอกับ E.T. ครั้งแรก มุมกล้องเงยขึ้นเพื่อสะท้อนการมาจากเบื้องบน/สิ่งมีชีวิตต่างดาว ซึ่งสร้างความหวาดตื่นตระหนกตกใจกลับให้กับเด็กหญิง จนต้องกรีดร้องลั่นออกมา เฉกเช่นเดียวกับ E.T. อ้าปากหวอ ยืดหดคอ ยกมือขึ้นค้างไว้ การแสดงออกของพวกเขาแทบไม่แตกต่างอะไรกันเลย

การมาถึงของฉากนี้สร้างความอึ้งทึ่งคาดไม่ถึงให้ผมอย่างมาก, เริ่มต้นด้วย Vertigo Zoom (หรือ Dolly zoom) กล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลังพร้อมๆกับการซูมเข้าไปข้างหน้า (เพราะเทคนิคนี้เริ่มต้นจากภาพยนตร์เรื่อง Vertigo ของผู้กำกับ Alfred Hitchcock เลยได้รับการตั้งชื่อเพื่อยกย่องเป็นเกียรติ) แสดงถึงมุมมองสายตาของผู้ใหญ่ที่กำลังจับจ้องมองหาสถานที่หลบซ่อนตัวของสิ่งมีชีวิตต่างดาว แล้วอยู่ดีๆเลนส์ซูมขนาดยาวๆ (ดูเหมือนลึงค์/อวัยวะเพศชาย)โผล่ปรากฎเข้ามา และชายปริศนาฉายา Keys ถ่ายมุมกล้องตำแหน่งตรงเป้ากางเกงพอดิบพอดี … เฉกเช่นนี้จะให้ครุ่นคิดจินตนาการถึงอะไรกัน??

Harrison Ford มีบทรับเชิญในหนังด้วยนะครับ แสดงเป็นครูใหญ่ประจำโรงเรียนแต่ถูกตัดทิ้งออกไป ซึ่งเหมือนว่าผู้ชมยังพอจะได้ยินเสียงและเห็นด้านหลังช็อตนี้ กำลังบรรยายสอนวิชาวิทยาศาสตร์

ทำไมแม่ถึงมองไม่เห็น E.T. ? ผมว่ามันเป็นความพิศวงอันสุดมหัศจรรย์ของหนัง เพราะใครๆย่อมคาดเดาได้ว่า ผู้ใหญ่ต้องมีปฏิกิริยาโต้ตอบสนองต่อสิ่งอัปลักษณ์พิศดารนี้ ในทางต่อต้านยินยอมรับไม่ได้อย่างแน่นอน จึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้พบเจอสวนทางกันก่อน ซึ่งตอนเธอพบเห็น E.T. จริงๆ ก็ชัดเจนว่าสมมติฐานถูกต้อง

“E.T. phone home.”

ประโยคนี้กลายเป็นคำพูดติดปาก ได้รับความนิยมอันดับ 15 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes

ค่ำคืน 15 ค่ำ วันฮาโลวีน เด็กๆมักปลอมตัวเป็นสัตว์ประหลาด เล่นเกม Trick or Treat เพื่อขอสิ่งของแลกเปลี่ยนจากผู้ใหญ่ไม่ให้ประสบพบโชคร้าย สามตัวละครปลอมตัวเป็น
– Michael คนจรที่ถูกขวานจามหัว ไร้สมองที่จะครุ่นคิดทำอะไรด้วยตนเอง ยินยอมติดตามน้องชาย Elliott ไปไหนไปกัน
– Elliott แต่งหน้าเหมือนซอมบี้ ขยับเคลื่อนไหวโดยไร้จิตวิญญาณ (จิตวิญญาณของเขาขณะนี้คือ E.T.)
– Gertie ปลอมตัวเป็น Cowgirl สาวควบม้ายั่วสวาทหนุ่มๆ … แต่เธอยังเด็กเกินไปจะรับรู้เดียงสาหรือเปล่านะ
– แม่ Mary กลายเป็นนางแมวยั่วสวาท นี่สะท้อนความร่านราคะที่ยังคงซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใจเธอ ต้องการชายคนรักเพื่อเติมเต็มความต้องการ แต่ขณะนี้กำลังขาดอีกฝั่งฝ่ายสำหรับเติมเต็ม
– ส่วน E.T. แค่สวมใส่ผ้าคลุมสีขาวเจาะรูตรงตา เรียบง่ายแต่เฉลียวฉลาดที่สุดเลย

ท่าทางผู้กำกับ Spielberg จะติดใจกับ Cameo ของตัวละครโยดามากๆ ซึ่งตอนต้นเรื่องพี่ชาย Michael ได้ทำเสียงพูดล้อเลียนไปแล้วรอบหนึ่ง แถมกลางเรื่องวัน Halloween จะมีคอสเพลย์โผล่มาอีก!

แซว: ผู้กำกับ Spielberg แนะนำ George Lucas ให้สร้างสปีชีย์ E.T. ขึ้นมาเป็นตัวละครในแฟนไชร์ Star Wars ซึ่งก็ยินยอมทำตามคำขอ ปรากฎพบเห็นในไตรภาคต้น Star Wars: Episode I – The Phantom Menace (1999)

ฉากนี้ผู้กำกับ Spielberg สรรค์สร้างขึ้นเพื่อเคารพคารวะ Miracle in Milan (1951) โคตรหนัง Italian Neorealist ของผู้กำกับ Vittorio De Sica นำเสนอความมหัศจรรย์ที่ไม่มีใครคาดคิดถึงเมื่อทุกคนสามารถขี่ไม้กวาดลอยได้!

สำหรับเด็กๆ การปั่นจักรยานคือสิ่งที่สามารถพุ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูงสุด แต่จินตนาการสำคัญกว่าการเรียนรู้ วินาทีอันสุดมหัศจรรย์ ทำให้พวกเขาสามารถล่องลอยเปิดโลกทัศน์ ไปไกลถึงไหนต่อไหนก็ได้ไร้ซึ่งขอบเขตพรมแดนขวางกั้น

พระจันทร์ เสมือนดินแดนแห่งความเพ้อฝัน ซึ่งสามารถสะท้อนถึงมิตรภาพระหว่าง Elliott และ E.T.
– พบเจอฉากแรกๆ จะพบเห็นพระจันทร์เสี้ยว
– เมื่อมิตรภาพเบ่งบาน วินาทีนี้เกิดความเชื่อมั่นต่อกันและพัน พื้นหลังคือพระจันทร์เต็มดวง
– และช่วงท้ายเปลี่ยนมายามเย็น #ทีมE.T. เหินผ่านพระอาทิตย์กำลังเคลื่อนคล้อยตกดิน พวกเขากำลังใกล้ถึงเวลาร่ำลาจาก

เกร็ด: อุปกรณ์สื่อสารของ E.T.’s Communicator ได้รับการประดิษฐ์โดยนักวิทยุสมัครเล่น Henry Feinberg ซึ่งสามารถใช้งานได้จริง!

แม่สวมโค้ทสีดำแทนเสื้อลวดลายเสือสมิงของตนเอง แสดงถึงความตระหนักได้ว่าฉันมีบางสิ่งอย่าง(ลูกๆ)ที่ต้องรับผิดชอบ จะมัวสรรหาความสุข ตอบสนองตนเองต่อไปอีกไม่ได้แล้ว

แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าของช็อตนี้ นอกจากตำรวจที่พบเห็นเพียงด้านหลังลางๆ ยังคือ Elliott หลบซ่อนตัวอยู่หลังตู้เย็น แฝงนัยยะถึงความหลงลืม การมองข้ามของแม่ ไม่ได้ใคร่สนใจให้เวลากับเขาสักเท่าไหร่ จนครุ่นคิดเพ้อไปไกลว่าลูกหลบหนีออกจากบ้าน (ขณะที่พี่ชายและน้องสาว นั่งนิ่งเงียบไม่ไหวติง ไม่ต้องการปริปากพูดบอกอะไรออกไป)

อาการของป่วยทรุดลงของ E.T. ไม่ทราบสาเหตุจากอะไร แต่ถือว่าสะท้อนสภาพจิตใจของ Elliott หลังจากพวกเขาสามารถติดต่อสื่อสารกับพรรคพวกเพื่อนต่างดาว เด็กชายจึงเกิดความหวาดระแวง กลัวการสูญเสียเพื่อนรักยิ่งคนนี้ไป (คล้ายๆกับพ่อที่หนีหายตัวไปอยู่ Mexico)

สถานที่ที่ Elliott ค้นพบเจอ E.T. คือตรงใต้สะพานพร้อมกับแรคคูน (ไปอยู่ตรงนั้นได้อย่างไร?) นำพากลับมาที่บ้านหน้าห้องอาบน้ำ คงตั้งใจจะชำระล้างทำความสะอาดร่างกาย แต่จิตใจของเด็กชายยังคงเต็มไปด้วยความซีดเซียว ขุ่นมัวหมอง (สังเกต E.T. ตัวสีขาวโพลนเหมือนไปคลุกแป้งฝุ่นมา)

วินาทีที่แม่มาพบเห็น ทำแก้วน้ำตกสะท้อนถึงความตื่นตระหนกตกใจกลับ พบเห็นความอัปลักษณ์ของ E.T. ช่างดูสกปรก น่าขยะแขยง อดรนทนรับไม่ได้ ต้องอุ้มพาตัวลูกๆให้อยู่ออกห่าง

การมาถึงของมนุษย์ต่างดาว หรือคือโลกของผู้ใหญ่ (ในมุมมองของเด็กๆ) สังเกตมุมกล้องในสายตา E.T. เงยหน้าขึ้นราวกับว่าคนพวกนี้มาจากนอกโลก สง่างามด้วยธงชาติสหรัฐอเมริกาปักที่แขน … วินาทีเดินเรียงแถวผมละนึกถึง The Right Stuff (1983) แต่เดี๋ยวนะ E.T. สร้างก่อนนี่หว่า –”

ในที่สุดใบหน้าของชายผู้มีนามปากกาว่า Keys ก็ได้ปรากฎพบเห็นสักที! ช็อตนี้พบเห็นภาพของ Elliott ปรากฎขึ้นบนหมวกครอบนักบินอวกาศ นัยยะสะท้อนถึงการกว่าจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ทุกคนย่อมเคยเป็นเด็กมาก่อนหน้า

กล่าวคือ Keys ก็ไม่เชิงว่าตัวร้ายของหนัง (ที่พยายามชี้นำทางเช่นนั้นมาโดยตลอด) ภาพช็อตนี้สะท้อนความเพ้อฝันของผู้ใหญ่ที่ก็เคยเป็นเด็ก โหยหา เฝ้ารอยคอยที่จะได้พานพบเจอสิ่งมีชีวิตต่างดาว แต่ก็เพิ่งเคยได้มีโอกาสครั้งนี้ มันช่างเป็นเรื่องน่ายินดีและเศร้าสร้อยโหดร้าย เพราะกำลังจะสูญเสียจากไป

มิตรภาพความสัมพันธ์ระหว่าง Elliott กับ E.T. (หรือคือเด็กชาย-เพื่อนในจินตนาการ) เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่สามารถยินยอมรับได้ พวกเขาจึงพยายามทุกวิธีทางเพื่อแบ่งแยก กีดกัน มิให้เติบโตขึ้นมัวแต่จมอยู่ในความเพ้อฝัน ก้าวออกมาเผชิญหน้าโลกความเป็นจริง

Elliott จากเคยมีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นแฟ้นกับ E.T. หลังจากถูกผู้ใหญ่ทำให้ตัดขาดสะบั้น สิ่งหลงเหลืออยู่กับเขานั้นเพียงภาพเงาสะท้อนกระจก และความตายของเพื่อนรัก ซึ่งจักสามารถฟื้นคืนชีพเพราะศรัทธา ความเชื่อมั่นแรงกล้า (สะท้อนกับการฟื้นคืนชีพของพระเยซูคริสต์)

ขณะเดียวกันสามารถมองการฟื้นคืนชีพของ E.T. คือการตื่นขึ้นทางจิตวิญญาณของเด็กชาย หลังจากรับเรียนรู้จักการสูญเสีย ทำให้เข้าใจว่าทุกชีวิตมีเกิด-ดับ พบเจอ-พลัดพราก ไม่ว่าพ่อหรือใครไหน เพราะนั่นคือสัจธรรมความจริงวิถีแห่งโลกใบนี้

นั่นทำให้ฉากการโบยบินอีกครั้งของ #ทีมE.T. สะท้อนถึงอิสรภาพของเด็กๆ เมื่อเกิดความเชื่อมั่นในสิ่งพวกเขาครุ่นคิดว่ากระทำถูกต้องเหมาะสมควร จึงไม่จำเป็นต้องก้มหัวยินยอมกระทำตามคำแนะนำสั่งสอน ‘เผด็จการ’ ของผู้ใหญ่

ฉบับดั้งเดิมของหนังนั้น จะพบเห็นสองนายตำรวจซ้ายขวาถืออาวุธปืน สัญลักษณ์แห่งความรุนแรง (และอวัยวะเพศชาย) เพื่อใช้ข่มขู่เด็กๆให้หยุดรถจักรยานยินยอมพ่ายแพ้ แต่ Spielberg ไม่รู้เกิดปม Trama อะไรขึ้น จึงมีการใช้ CGI ปรับแก้ไขในฉบับ Special Edition ออกฉายปี 2002 เปลี่ยนให้ทั้งสองถือ Walkie-Talkies แทน …. แน่นอนได้เสียงตอบรับย่ำแย่จนผู้กำกับต้องออกมากล่าวขอโทษ

“[In the future,] … There’s going to be no more digital enhancements or digital additions to anything based on any film I direct”.

แซว: ไม่รู้ว่า Spielberg ได้แรงบันดาลใจการปรับแก้หนังด้วย CGI จากเพื่อนสนิท George Lucas ที่ได้ทำการเปลี่ยนตอนจบของ Return of the Jedi (1983) หรือเปล่านะ!

ฉากของการร่ำลาจาก E.T. เดินทางกลับบ้าน ตระการตาไปด้วยแสงไฟด้านหลังสาดส่อง คอยบดบังคราบน้ำตาและความเศร้าโศกของเด็กๆ และรุ้งกินน้ำ โดยปกติมักเกิดขึ้นบนฟ้าหลังฝน นั่นสะท้อนถึงสภาพจิตใจของเด็กชาย จากเรื่องราวเหตุการณ์ครั้งนี้ คงได้เรียนรู้และเข้าใจความหมายชีวิตมากขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน

ตอนจบดั้งเดิมของหนัง ให้สัมภาษณ์โดย Robert MacNaughton ที่รับบท Michael บอกว่าทุกคนนั่งล้อมวงเล่นเกม Dungeons and Dragons (ล้อกับตอนต้นเรื่องที่ Elliott อยากเล่นด้วยแต่ไม่ได้เล่น) ซึ่งครานี้ Elliott คือ Dungeon Master เพราะเขาเป็นผู้พบเจอ E.T. และกล้องเคลื่อนขึ้นไปบนหลังคา พบเห็นอุปกรณ์สื่อสาร ( E.T.’s Communicator) ที่ยังคงทำงานอยู่

ตัดต่อโดย Carol Littleton (เกิดปี 1948) สัญชาติอเมริกัน ผลงานเด่นๆ อาทิ Body Heat (1981), The Big Chill (1983), The Manchurian Candidate (2004)

ดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ E.T. และ Elliott ซึ่งช่วงที่พวกเขาอยู่ห่างกัน ก็จะมีการตัดสลับสับเปลี่ยนไปมา เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงใยระหว่างกัน

Sequence ที่ผมถือว่าคือไฮไลท์ของหนังเลยก็คือ E.T. ดื่มเบียร์เมามาย ตัดสลับกับ Elliott ในห้องเรียนที่กำลังง่วงหงาวหาวนอน ลากยาวไปถึงตอนกำลังรับชม The Quiet Man (1952) และเด็กชายฉุดกระชากหญิงสาวกลับมาในห้อง

เพลงประกอบโดย John Williams ขาประจำเกือบทุกเรื่องของผู้กำกับ Spielberg มองความท้าทายคือ ทำอย่างไรให้ผู้ชมรู้สึกสงสารเห็นใจ ต่อสิ่งมีชีวิตหน้าตาอัปลักษณ์พิศดารนี้

Spielberg ลุ่มหลงใหลในทุกบทเพลงของ Williams แต่พอพบเห็นความยุ่งยากเสียเวลาในการปรับแต่งท่วงทำนองให้สอดคล้องกับภาพเหตุการณ์ เขาเลยบอกไม่ต้องแก้ไขอะไร จะขอไปตัดต่อเพิ่ม-ลดฉาก เพื่อให้มีความลงตัวกับเพลงประกอบเอง

ผลลัพท์ก็คือ Williams เหมาเรียบกวาดรางวัล Best Original Score จากสี่สถาบัน Academy Award, Golden Globe, Grammy, BAFTA แถมด้วยติดอันดับ 14 จากชาร์ท AFI’s 100 Years of Film Scores [เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สามของ Williams ในชาร์ทนี้ ถัดจาก Star Wars และ Jaws]

แต่ไม่ใช่ Main Theme ของหนังที่ได้รับการจดจำสูงสุดนะครับ Flying Theme ช่วงขณะ Elliott และ E.T. กำลังปั่นจักรยานเหินลอยขึ้นจากผืนดินต่างหาก ช่างมีความไพเราะเพราะพริ้ง และประสานเสียงท่อนฮุคในจังหวะลงตัวพอดิบพอดี สร้างความขนลุกขนพอง ซึ้งซาบซ่าน จนใครหลายคนอาจปริ่บๆคราบน้ำตาและรอยยิ้มหวาน

แถมให้อีกนิดกับบทเพลง The Magic Of Halloween วินาที 0:44 เมื่อสายตาของ E.T. พานพบเห็นเด็กชายสวมใส่คอสเพลย์โยดาเดินผ่านไป ใครเคยรับฟัง Yoda’s theme จาก The Empire Strikes Back (1980) น่าจะจดจำได้อย่างแน่นอน [เพราะ Williams คือผู้แต่งเพลงนี้ให้กับ Star Wars นะครับ]

E.T. the Extra-Terrestrial นำเสนอเรื่องราวการเรียนรู้จักชีวิต เติบโตขึ้นของเด็กชาย แรกเริ่มรับไม่ได้จากการจากไปของพ่อ ต่อมามีโอกาสพบเจอเพื่อนที่สามารถเติมเต็มช่องว่างความรู้สึก สร้างสานความสัมพันธ์ เข้าถึงแก่นแท้มิตรภาพที่ต้องใช้เวลาพิสูจน์ และการเสียสละอันเป็นเหตุให้ต้องพลัดพรากแยกจาก (จึงเกิดความเข้าใจต่อพ่อที่จากไป)

ผู้กำกับ Spielberg สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อเติมเต็มช่องว่างที่เคยขาดหายไปในชีวิตตนเองตั้งแต่เด็ก ซึ่งเมื่อตอนนั้นเป็นได้เพียงจินตนาการภาพเพ้อฝัน แต่ปัจจุบัน(ปีที่สร้างหนังนั้น)สามารถนำเสนอถ่ายทอดออกมา กลายเป็นรูปธรรมจับต้องได้เสียที

ผลงานของ Spielberg ก็มักมีลักษณะแบบนี้ คือเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝันของตนเอง ซึ่งพอดิบพอดีสอดคล้องของกับจินตนาการของเด็กๆ รสนิยมอเมริกันชนยุคสมัยนั้น จับต้องอะไรจึงล้วนประสบผลสำเร็จ ผู้คนมากมายตกหลุมรักคลั่งไคล้ … แต่อย่าหลงลืมว่าทุกสิ่งอย่างคือการขายฝัน ไม่มีใครสามารถจมปลักอยู่ในนั้นชั่วนิรันดร์

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเด็กๆ -ในมุมมองผู้กำกับ Spielberg ถ่ายทอดลงมาในภาพยนตร์เรื่องนี้- คือการแสดงความสนใจของพ่อ-แม่ พี่-น้อง เพราะพวกเขาอยู่ในวัยแห่งการเจริญเติบโต กำลังเรียนรู้จักอะไรใหม่ๆ ยังมีอีกมากไม่เข้าใจต้องการคำอธิบาย แต่ถ้าไร้บุคคลผู้ให้คำชี้แนะนำก็อาจหลงผิดเป็นชอบ มุ่งหน้าสู่ด้านมืดมิดของโลกใบนี้โดยไม่รู้ตัว

แต่ขณะเดียวกันผมมองว่ามันเป็นกระจกสองด้าน กล่าวคือ เด็กๆเติบโตขึ้นในครอบครัวที่พ่อแม่มีความเข้มงวดกวดขัน ดูแลเอาใจใส่ให้ความสนใส่ใจมากเกินไป เติบโตขึ้นคงไม่ต่างจากนกในกรงไร้ซึ่งอิสรภาพเสรี ครุ่นคิดทำอะไรเองไม่ค่อยจะได้ การที่ Spielberg ถูกเลี้ยงดูแบบทิ้งๆขว้างๆไม่ค่อยมีใครสนใจ เขาเลยเติบโตขึ้นเอ่อล้นด้วยจินตนาการเพ้อฝัน โหยหาบางสิ่งอย่างเพื่อเติมเต็มช่องวางขาดหายไปในอดีต

แม้หนังทั้งเรื่องจะนำเสนอมุมมองของเด็กๆ แต่ก็ให้ข้อคิดต่อผู้ใหญ่ไม่น้อยทีเดียวเกี่ยวกับการเลี้ยงดูแลบุตรหลาน ซึ่งแต่ละคนคงมีทัศนคติครุ่นคิดเห็นแตกต่างกันไป อย่างไหนถึงเกิดความเพียงพอดีผมเองก็ไม่สามารถให้คำแนะนำได้ แต่พ่อ-แม่ที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว สนเพียงความต้องการพึงพอใจ สนองตัณหาอิสรภาพส่วนตนเอง นั่นไม่ใช่สิ่งถูกต้องดีงามอย่างแน่นอน!


หนังเข้าฉายปิดเทศกาลหนังเมือง Cannes (นอกสายการประกวด) ปรากฎว่าได้รับการยืนปรบมือ ส่งเสียงเชียร์อยู่หลายนาที ทำเอาภาพยนตร์สายการประกวดปีนั้นเหงาหงอยด้อยค่าไปเลย

ด้วยทุนสร้าง $10.5 ล้านเหรียญ เปิดตัวสัปดาห์แรกรายได้ $11 ล้านเหรียญ ติดอันดับหนึ่งต่อเนื่องยาวนานหกสัปดาห์ ใช้เวลากว่าครึ่งปีถึงสามารถแซงผ่าน Star Wars (1977) ในสหรัฐอเมริกาทำเงิน $359 ล้านเหรียญ (ประมาณตั้๋ว 120 ล้านใบ) รวมทั่วโลก $612 ล้านเหรียญ

เข้าชิง Oscar 9 สาขา คว้ามา 4 รางวัล
– Best Picture
– Best Director
– Best Writing, Screenplay Written Directly for the Screen
– Best Cinematography
– Best Film Editing
– Best Sound ** คว้ารางวัล
– Best Sound Effects Editing ** คว้ารางวัล
– Best Visual Effects ** คว้ารางวัล
– Best Original Score ** คว้ารางวัล

เป็นปีที่ใครๆคาดกันว่า E.T. ต้องคว้าภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแน่ๆ แต่อาถรรพ์ของหนังไซไฟ พลาดรางวัลให้ Gandhi (1982) ซึ่งผู้กำกับ Richard Attenborough ให้สัมภาษณ์ภายหลังบอกรู้สึกแย่ที่เหมือนไปฉกแย่งผู้ชนะตัวจริงมา

“I was certain that not only would E.T. win, but that it should win. It was inventive, powerful, [and] wonderful. I make more mundane movies.”

– Richard Attenborough

ไม่ใช่แค่ฉายโรงภาพยนตร์เท่านั้นทำเงินล้นหลาม ครั้งแรกของการจำหน่าย VHS และ Laserdisc เมื่อปี 1988 ยอดขายสูงถึง $75 ล้านเหรียญ!

ระหว่างที่หนังยังฉายอยู่ ผู้กำกับ Spielberg และนักเขียน Mathison ร่วมกันร่าง Treatment ภาคต่อ ตั้งชื่อว่า E.T. II: Nocturnal Fears เรื่องราวของ Elliott และผองเพื่อน ถูกลักพาตัวโดยเอเลี่ยนชั่วร้าย จึงพยายามหาทางติดต่อ E.T. ให้มาช่วยเหลือ แต่พอภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จล้นหลามแบบไม่มีใครคาดคิดถึงเลยล้มเลิกความตั้งใจไป

“It’s would do nothing but rob the original of its virginity”.

– Steven Spielberg

เกร็ด: ความสำเร็จอันล้นหลามของภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้ Spielberg นำภาพ Elliott และ E.T. ปั่นจักรยานเหินผ่านพระจันทร์เต็มดวง มาเป็นสัญลักษณ์ตราบริษัท Amblin Entertainment

E.T. เป็นภาพยนตร์ที่ยังไม่เก่าเลยนะ ผมรับชมด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะไปกับ Easter Egg และหลายๆสิ่งอย่างที่เป็นการเคารพคารวะยุคสมัยก่อนหน้า เด็ดสุดหนีไม่พ้นเพลงประกอบของ John Williams ลงตัวกับทุกจังหวะตัดต่อ ขนลุกขนพอง อิ่มเอิบหัวใจที่สุด

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” พบเจอมิตรภาพ การเสียสละ เรียนรู้จักชีวิต ความสูญเสีย ทำให้เด็กๆสามารถเติบโต ลุกขึ้น และก้าวเดินต่อไปด้วยลำแข้งตนเอง

สำหรับผู้ใหญ่ แนะนำว่าควรรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้กับบุตรหลานของท่านนะครับ (ดูคนเดียวมันอาจไม่ฟินสักเท่าไหร่) สังเกตรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และอาจคลุกเคล้าน้ำตา มันจะทำให้คุณเหมือนว่ากลับกลายเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่งโดยไม่รู้ตัว

จัดเรต PG กับการกระทำของผู้ใหญ่ที่ค่อนข้างเห็นแก่ตัวทีเดียว

คำโปรย | E.T. the Extra-Terrestrial คือความมหัศจรรย์ราวกับเวทย์มนต์ ส่งให้ผู้กำกับ Steven Spielberg กลายเป็นพ่อมดแห่งวงการภาพยนตร์
คุณภาพ | หัย์
ส่วนตัว | ชื่นชอบ