Dont Look Back (1967)


Dont Look Back (1967) hollywood : D. A. Pennebaker ♥♥♥♡

Bob Dylan กลายเป็นตำนานเพราะอะไร? บทเพลงไพเราะ? เนื้อคำร้องแฝงข้อคิด? หรืออุปนิสัยหัวขบถ ดื้อรั้น สนเพียงกระทำสิ่งตอบสนองความต้องการส่วนตน? รับชมสารคดีเรื่องนี้อาจทำให้คุณตระหนักถึงตัวตนแท้จริง ที่ไม่ได้น่ายกย่องสรรเสริญสักเท่าไหร่

มนุษย์ศตวรรษนี้มักทำการ ‘Idolize’ เซเลบริตี้ ผู้มีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง หน้าตาหล่อเหลา ภาพลักษณ์ภายนอกดูดี ยกย่องสรรเสริญใครก็ตามที่สามารถสรรค์สร้างผลงาน/กระทำสิ่งตอบสนองความสำราญของคนหมู่มาก … หมดสิ้นการเชิดชูคนดีมีศีลธรรม เพราะยุคสมัยนี้ใครอ้างว่าฉันเป็นคนดี แม้งปากว่าตาขยิบกันทั้งนั้น!

รับชมสารคดี Dont Look Back (1967) อาจทำให้ใครหลายคนเกิดความตระหนักถึง Bob Dylan ที่แม้ทำเพลงเพราะๆมากมาย Like a Rolling Stone, Blowin’ in the Wind, The Times They Are a-Changin’ ฯ แต่อุปนิสัยใจคอ พฤติกรรมแสดงออก (เมื่อสมัยยังละอ่อนวัย) ไม่ต่างจากไอ้เด็กเมื่อวานซืน เต็มไปด้วยความดื้อรั้น เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ชอบดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น ทุกสิ่งอย่างต้องหมุนรอบตนเอง

the mischief—antic press conferences (“My real message? Keep a good head and always carry a lightbulb”), hip pranks (“Donovan, our target. He’s our target for tomorrow”), witless officialdom (“Who is in charge of this room?”), surreal concert escapes (“Will you get that girl off our car, please?”), Magoo-ish hacks (“Your name, please?” “Joan Baez.” “I didn’t recognize you, I’m sorry . . . It’s nice to see you. I’ve been looking for you all day”), giggly schoolkids (“Do you have any brothers or sisters?”) etc.

นักวิจารณ์ Robert Polito กล่าวถึงพฤติกรรมทรามๆของ Bob Dylan ที่พบเห็นใน Dont Look Back (1967)

เปรียบเทียบวงการภาพยนตร์ คงคล้ายๆผู้กำกับดังอย่าง Jean-Luc Godard, Bernardo Bertolucci, Lars Von Trier, Roman Polanski, Woody Allen ฯ (รวมถึงโปรดิวเซอร์ Harvey Weinstein) แม้ผลงานของพวกเขาจะได้รับการยกย่องสรรเสริญระดับนานาชาติ แต่ในแง่ความเป็นมนุษย์ ลับหลังเต็มไปด้วยความฉ้อฉล สัปดล เมื่อข้อเท็จจริงเหล่านั้นได้ถูกเปิดโปง เรายังสามารถ”มองย้อนกลับ”ไปชื่นชมผลงานเหล่านั้นได้อยู่หรือเปล่า?

แม้การรับชม Dont Look Back (1967) จะทำให้ผมรู้สึกสูญสิ้นความสนใจในตัว Bob Dylan แต่ลีลาการนำเสนอสารคดีเรื่องนี้ของผู้กำกับ D. A. Pennebaker มีคำเรียก “direct cinema” ต้องบอกเลยว่าน่าอึ่งทึ่ง สร้างความประทับใจอย่างมากๆ ทั้งๆมีแค่การบันทึกภาพกิจวัตร พูดคุยสนทนา ขับร้อง-เล่นดนตรี แต่สามารถร้อยเรียง ปะติดปะต่อ ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงธาตุแท้ตัวตน สิ่งที่ผู้สร้างค้นพบเห็นในตัวศิลปิน … ติดอันดับ 9 ชาร์ท Sight & Sound: Greatest Documentaries of All Time เมื่อปี ค.ศ. 2014 อาจจะดูสูงไปนิด แต่สะท้อนอิทธิพลสารคดีเรื่องนี้ต่อผู้ชมในวงกว้างไม่น้อยทีเดียว


Donn Alan Pennebaker (1925-2019) ผู้กำกับสารคดี สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Evanston, Illinois โตขึ้นอาสาสมัครทหารเรือ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, จากนั้นเข้าศึกษาคณะวิศวกรรม Yale University จบออกมาร่วมเปิดบริษัท Electronic Engineering แต่ไม่นานก็เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ได้แรงบันดาลใจจาก Francis Thompson ตัดสินใจลาออกมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เริ่มต้นทำหนังสั้น มีชื่อเสียงจากถ่ายทำสารคดี Primary (1960) และ Crisis (1963) ให้ปธน. John F. Kennedy

ช่วงต้นปี ค.ศ. 1965 ผกก. Panebaker ได้รับการติดต่อจาก Albert Grossman ผู้จัดการของ Bob Dylan ชักชวนให้ร่วมออกทัวร์ประเทศอังกฤษ บันทึกสารคดีคอนเสิร์ตระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1965 แต่หลังจากมีโอกาสพบเจอ พูดคุย รับรู้จัก Dylan (ขณะนั้นเพิ่งเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง) เลยปรับเปลี่ยนมาเป็นการบันทึกภาพกิจวัตร ช่วงเวลาว่างๆ ระหว่างสัมภาษณ์ เรื่องวุ่นๆก่อน-หลังทำการแสดง

I was interested in real people and why they did things, or how they did things. And the only way to find that out was to follow them. I didn’t know him [Dylan] that well, I didn’t know who he was really. But the idea of going with a musician on a tour and being able to photograph him – both when he performed and when he didn’t perform – that seemed to me an interesting idea.

Dylan is an interesting person to watch because he is constantly creating himself, and then standing back and trying to witness it. I was intrigued by his Byronic quality. I decided I wasn’t going to make a music film at all. I was going to make a film about this person. I thought, years from now, people will want to know what he was like.

D. A. Pennebaker

วิธัการทำงานของ Pennebaker ถือกล้อง 16mm พร้อมไมค์ ไม่จำเป็นต้องใช้ทีมงาน ไม่มีการจัดแสง ถือฉาก ตอกสเลท ทำทุกสิ่งอย่าง ‘one-man-cinema’ ด้วยตัวคนเดียวทั้งหมด!

If you’re only one person and you’re shooting with a camera that you built yourself, it’s not so expensive. You didn’t need a crew. You didn’t need lights because the film was pretty fast. You didn’t need any extra things. You didn’t have to have big studios and expensive makeup and all the things that Hollywood had put on to the films, because they weren’t necessary. And that’s what I did, and that’s what we still do.

เกร็ด: แนวคิด “direct cinema” หรือ “observational cinema” คือการบันทึกภาพในลักษณะผู้สังเกตการณ์ มุมมองบุคคลที่สาม ไม่มีการจัดแสง จัดฉาก จัดทิศทางมุมกล้อง หรือสัมภาษณ์ถามโดยใครก็ไม่รู้ (แบบที่สารคดีแนวพูดคุยสัมภาษณ์นิยมทำกัน) ปล่อยให้เหตุการณ์ดำเนินไปตามสภาพความเป็นจริง


จากนี้เป็นการประมวลผลเหตุการณ์สำคัญๆ ซึ่งลำดับเรื่องราวจะไม่ได้ไล่เรียงตามเวลา (Non-Chronological order) มักมีการกระโดดไปกระโดดมา แถมหลายต่อหลายครั้งแทรกภาพการแสดงคอนเสิร์ต ณ Royal Albert Hall ตามแต่อารมณ์ของผู้กำกับ Pennebaker (เป็นผู้ตัดต่อด้วยตนเอง)

  • อารัมบท, Bob Dylan ยืนเปิดข้อความที่เขียนลงบนกระดาษ โดยนำจากแต่ละท่อนของบทเพลง Subterranean Homesick Blues และบุคคลยืนสนทนาเบื้องหลังคือ Allen Ginsberg และ Bob Neuwirth
    • ซีเควนซ์นี้ถือเป็น ‘Iconic’ ได้รับการพูดกล่าวถึงมากสุดๆของหนัง และเห็นว่า Dylan คือคนเสนอแนะนำให้ผกก. Pennebaker เห็นดีเห็นชอบด้วย แต่กว่าจะได้ถ่ายทำก็เมื่อก่อนเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา
    • เทคแรกถ่ายทำหน้าโรงแรมที่พวกเขาพักอาศัย แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขับไล่, ส่วนเทคสามถ่ายทำบนดาดฟ้า(ไม่รู้แห่งหนไหน) แล้วกระดาษทั้งหมดก็ปลิดปลิวสูญหายไปกับสายลม
  • Bob Dylan และคณะ เดินทางมาถึงประเทศอังกฤษ ได้รับการต้อนรับจากแฟนๆตั้งแต่สนามบิน จากนั้นให้สัมภาษณ์กับนักข่าว ตอบคำถามด้วยความยียวนกวนบาทา
    • เมื่อมีนักข่าวสอบถาม “How did it all begin for you, Bob?”
      • (Flashback) จะมีการแทรกภาพฟุตเทจสามปีก่อนหน้า วันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1963 ที่งาน Voters’ Registration Rally ณ Greenwood, Mississippi พบเห็น Dylan กำลังขับร้องเพลง Only a Pawn in Their Game (ถ่ายทำโดย Ed Emshwiller)
      • (Flashforward) หลังจบเพลงจะมีการตัดไปภาพการแสดงคอนเสิร์ตที่ Royal Albert Hall ขับร้องบทเพลง The Times They Are A-Changin’
  • กิจวัตรวุ่นๆของ Dylan พูดคุยกับแฟนๆ, ผู้จัดการต่อล้อต่อเถียงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ, ทำการแสดงที่ Merseyside ไมค์ไม่ดังระหว่างขับร้องบทเพลง The Times They Are A-Changin’
  • บทเพลงที่ Joan Baez ขับร้องประกอบด้วย Sally Go Round the Roses, Percy’s Song, Love Is Just a Four-Letter Word และเมื่อเธอพูดคุยกับ Dylan บอกว่า “If you finish it I’ll sing it on a record บทเพลงนั้นคือ Any Day Now บันทึกเสียงปี ค.ศ. 1968
    • Marianne Faithfull นั่งอยู่ข้างๆ Dylan ขณะกำลังใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์บทความ lternatives To College ให้กับนิตยสาร Esquire magazine แต่สุดท้ายไม่ได้รับการตีพิมพ์จนกระทั่งสองทศวรรษให้หลัง
    • สำหรับคนอยากอ่านบทความดังกล่าว: https://www.angelfire.com/ky/tsalagi/alternatives.html
  • ผู้จัดการ Albert Grossman ต่อรองเรื่องค่าตัวกับนายหน้า Tito Burns เรียกร้องอยากได้ $2,000 เหรียญ แต่จนแล้วจนรอด $1,500 ยังไม่รู้จะถึงหรือเปล่า
  • ช่วงเวลาแห่งการพบปะผู้คนมากมาย
    • Dylan ต่อร้องต่อเถียง ‘บูลลี่’ นักศึกษาวิทยาศาสตร์ชื่อ Terry Ellis (ภายหลังกลายเป็นผู้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลง Chrysalis Records)
    • พบเจอหญิงสาวผู้ดีอังกฤษที่ใช้ชื่อว่า High Sheriff’s Lady
    • พบเจอ Alan Price (อดีตสมาชิกวง The Animals) เล่นเปียโนบทเพลง Little Things, แล้วคั่นด้วยคอนเสิร์ต Dylan ขับร้องบทเพลง Don’t Think Twice, It’s All Right
    • พบเจอ Donovan มีการขับร้องบทเพลง It’s All Over Now, Baby Blue ตามด้วย To Sing for You
  • Dylan เดินทางไปยัง Royal Albert Hall เพื่อเตรียมตัวก่อนทำการแสดง
  • ต่อล้อต่อเถียงกับนักข่าว Horace Freeland Judson จากนิตยสาร TIME
  • ทำการแสดงบทเพลง The Times They Are A-Changin’, Talkin’ World War III Blues, It’s Alright, Ma (I’m Only Bleeding), Gates Of Eden, Love Minus Zero/No Limit
  • หลังเสร็จสิ้นการแสดง Dylan ต้องรีบหาทางเผ่นหนีแฟนๆ ขึ้นรถกลับโรงแรม และได้รับการค้นพบว่าถูกนักข่าวตีตรา ‘Anarchrist Singer’

Bob Dylan ชื่อจริง Robert Dylan ชื่อเกิด Robert Allen Zimmerman (เกิดปี 1941) นักร้อง/นักแต่งเพลง เจ้าของฉายา ‘ราชาแห่งโฟล์ก’ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Duluth, Minnesota ตั้งแต่เด็กชื่นชอบฟังเพลงจากวิทยุ หลงใหลใน Blue, Country, Rock and Roll, ช่วงเรียนมัธยมร่วมก่อตั้งวงดนตรีกับเพื่อนๆ สามารถสอบเข้า University of Minnesota แต่แค่ไม่ถึงปีก็ลาออก เพื่อไปแสดงดนตรีตามคลับ ผับบาร์ จนกระทั่งมีโอกาสร่วมบันทึกเสียงกับ Sonny Terry อัลบัม Midnight Special (1962) นั่นคือจุดเริ่มต้นให้ได้เซ็นสัญญา Columbia Records และออกอัลบัมแรก Bob Dylan (1962)

ผลงานเพลงในยุคแรกๆของ Dylan มักมีลักษณะต่อต้านกระแสนิยม ทั้งในแง่สไตล์การเล่นดนตรี พลิกฟื้น American Folk Song (ยุคสมัยนั้นดนตรี Pop กำลังได้รับความนิยม) รวมถึงเนื้อคำร้องมีการแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาตรงๆ วิพากย์วิจารณ์การทำงานรัฐบาล สภาพสังคม สิทธิมนุษยชน ต่อต้านสงคราม ฯ นั่นเองทำให้ผลงานของ Dylan ค่อยๆได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงกว้าง

บทเพลงของ Bob Dylan เนื้อคำร้องมักมีความสอดคล้องจอง เหมือนสัมผัสนอก-ในบทกวี รวมถึงวิธีออกเสียง บางครั้งอ้อยอิ่ง บางครั้งเร่งรีบ ดัง-ค่อย สูง-ต่ำ ลักษณะคล้ายทำนองเสนาะ(ของภาษาอังกฤษ) นั่นคือลีลาที่ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ฟังแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เบาสบาย ลื่นหู แม้อาจไม่รู้พร่ำพูดอะไร แค่จับใจความได้บางคำ (แบบเดียวกับอารัมบท เลือกเขียนเฉพาะคำสำคัญๆในแต่ละท่อน) ก็เพียงพอแล้วที่จะ’ฟิน’ไปกับบทเพลง

ผมรู้สึกว่า Dylan ไม่ได้ทำเพลงเพื่อใครนอกจากตัวตนเอง ต้องการระบายความอึดอัดอั้นต่อทุกสรรพสิ่งอย่างรอบข้าง สังคม สงคราม การเมือง ซึ่งสะท้อนสภาพยุคสมัยนั้นที่มีความฟ่อนเฟะ เน่าเละ บิดเบี้ยวคอรัปชั่น ผู้ฟังย่อมบังเกิดอารมณ์ร่วม ราวกับได้พบเจอบุคคลพานผ่านอะไรมาเหมือนกัน เป็นตัวตายตัวแทน สถานที่พึ่งพักพิง สำหรับหลบหลีกหนี (Escapist) จากวิถีเลวร้ายของโลกใบนี้

มีนักข่าวสอบถามผกก. Pennebaker ว่าการได้รับรู้จัก Bob Dylan ถือเป็นศิลปินประเภท “Once-in-a-Lifetime” หรือไม่? แน่นอนว่าในตอนนั้นย่อมไม่มีใครตอบได้ เขามองว่าคือวัยรุ่นสร้างตัว อยู่ในช่วงกำลังมองหาเป้าหมาย ทิศทางชีวิต นั่นคือเหตุผลในการทำ Dont Look Back (1967) ด้วยจุดประสงค์บันทึกภาพ Dylan ไม่ใช่สารคดีการแสดงคอนเสิร์ต

I never thought such thoughts. What I thought was, this person is trying to generate himself. He’s trying to figure out who he is and what he wants to do. So I filmed him talking to people and listening to people. When the concerts came, I would only shoot little parts of them. I didn’t want it to be a music film. I wanted it to be a film about a person who was finding out who he was.

D. A. Pennebaker

ตัวตนของ Dylan ที่ปรากฎพบเห็นใน Dont Look Back (1967) ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะสร้างอคติให้ผู้ชม แม้แต่ผกก. Pennebaker ก็ตระหนักถึงจุดนี้ แต่พวกเขา(และ Dylan)ไม่ยี่หร่าอะไรกับเสียงเห่าหอนของหมูหมากาไก่ (ก็อย่างคำพูดที่ Dylan กล่าวถึงบทสัมภาษณ์/วิจารณ์เหล่านั้น มันเขียนเพื่อขายข่าว เต็มไปด้วยคำโป้ปดหลอกลวง ไม่มีความน่าเชื่อถือเลยสักนิด!) สำหรับบุคคลที่ไม่เคยพบเจอ พูดคุย รับรู้จัก แล้วจู่ๆไปวิพากย์วิจารณ์เสียๆหายๆเช่นนั้น มันใช่เรื่องเสียทีไหน เอามาใส่ใจทำไม

Some people thought he looked like a total shit, you know. I mean, people make up their own mind about what he is like from watching the film and that’s OK. I can’t change that.

ผม(ในฐานะนักวิจารณ์)มองว่าการวิพากย์วิจารณ์ ไม่ใช่คำด่าทอ ตำหนิต่อว่า หรือพยายามสร้างอคติให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ แต่คือมุมมองความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย เหมาะสม-ไม่เหมาะสม คำแนะนำผู้อ่านให้เกิดวิจารณญาณในการรับชม/รับฟัง อย่างภาพยนตร์เรื่องนี้ที่นำเสนอตัวตนของ Dylan พบเห็นชายหนุ่มหัวขบถ นิสัยดื้อรั้น เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ บลา บลา บลา มันมีความชัดเจน ตรงไปตรงมาอย่างสุดแล้วนะ!

สิ่งน่าขบขันที่สุดก็คือ Dylan บอกว่าไม่สนใจเสียงเห่าหอนของหมู่หมากาไก่ แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับนำเอาคำวิพากย์วิจารณ์นั้นมาหมกมุ่นครุ่นคิดมาก จริงจังเสียจนเกิดความเครียด เก็บกดดัน เมื่อถึงจุดๆหนึ่งในชีวิตจึงปฏิเสธให้สัมภาษณ์ ออกสื่อ ปิดกั้นตัวเอง สร้างกำแพงขึ้นมาห้อมล้อมรอบ แต่งเพลงทศวรรษต่อๆมาโดยไม่ยี่หร่าสิ่งต่างๆรอบข้างอีกต่อไป … ทิศทางชีวิตของ Dylan จะว่าไปแทบไม่แตกต่างผกก. Jean-Luc Godard

ชื่อหนัง Dont Look Back (ไม่มีเครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยว ‘ (apostrophe) ตรงคำว่า Don’t) ถ้าตามสารคดีจะสื่อถึงลักษณะอุปนิสัยของศิลปิน Bob Dylan ที่ไม่ค่อยสนใจในสิ่งต่างๆรอบข้าง บทสัมภาษณ์ รวมถึงเรื่องราวเกิดขึ้นในอดีต มีความเป็นตัวของตนเอง กระทำสิ่งตอบสนองความสนใจ และมองไปยังอนาคต วันข้างหน้า

แต่ผมตีความชื่อหนัง Dont Look Back เป็นคำกล่าวกับผู้ชม บางครั้งเราไม่ควรมองย้อนกลับไปขุดคุ้ยเรื่องราวจากอดีต เพราะข้อเท็จจริงบางอย่างอาจทำลายทุกสิ่งที่เคยครุ่นคิดจินตนาการ อย่างการรับรู้จักธาตุแท้ตัวตนของ Bob Dylan ถ้าไม่หลงใหลคลั่งไคล้ นายคนนี้ก็แค่ไอ้เด็กเมื่อวานซืน


Dont Look Back is really about fame and how it menaces art, about the press and how it categorizes, bowdlerizes, sterilizes, universalizes or conventionalizes an original like Dylan into something it can dimly understand.

นักวิจารณ์จากนิตยสาร Newsweek

ใครกันจะอยากรับชมภาพยนตร์นำเสนอศิลปินนิสัยหัวขบถ ดื้อรั้น แถมยังไม่ค่อยมีชื่อเสียงสักเท่าไหร่ นั่นเลยทำให้ไม่มีผู้จัดจำหน่ายแห่งหนไหนให้ความสนใจ จนกระทั่งวันหนึ่งผกก. Pennebaker ได้รับการติดต่อจากชายแปลกหน้า ซึ่งเป็นเจ้าของ ‘porn houses’ ชื่อว่า Presidio Theatre ณ San Francisco

one day, a guy came to me and said, ‘I understand you have a film I should look at.’ I was willing to show it to anyone at that point. So he came up and looked at it, and after, he said, ‘It’s just what I’m looking for—it looks like a porn film, but it’s not.’ He had a whole big string of porn houses all over the West, and I think he was trying to get out of the business, because of his wife or something. He gave it the largest theater he had, the Presidio in San Francisco. I might never have gotten it distributed if it hadn’t been for that guy.

D. A. Pennebaker

การมีโอกาสฉายยัง San Francisco ทำให้หนังได้รับการพูดถึง ค่อยๆเป็นรู้จักในวงกว้าง ด้วยทุนสร้างกระจิดริด (เรียกว่าแทบไม่มี) กอปรกับความนิยมในตัว Bob Dylan เพิ่มสูงขึ้นทุกๆปี ไม่นานนักพวกเขาก็สามารถกอบโกยกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

นั่นเองทำให้ Dylan เกิดความอิจฉาริษยาสารคดีเรื่องนี้ (เพราะเขาไม่ได้ค่าลิขสิทธิ์สักแดงจาก Dont Look Back (1967)) เลยติดต่อผกก. Pennebaker ให้มาเป็นตากล้องถ่ายทำ Eat the Document (1966) ด้วยทิศทางกำกับของ(Dylan)ตนเอง แต่เพราะความอ่อนด้อยประสบการณ์ ไม่ได้มีองค์ความรู้ในสื่อภาพยนตร์ ผลลัพท์คงไม่น่าพึงพอใจเลยเก็บดองไว้ในโถหมัก จนกระทั่ง Martin Scorsese มีโอกาสสรรค์สร้าง No Direction Home (2005) ได้รับอนุญาตเข้าถึงฟุตเทจสารคดีเรื่องดังกล่าว

ปล. ผมยังไม่เคยรับชม No Direction Home (2005) ของผกก. Martin Scorsese แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นสารคดีเกี่ยวกับ Bob Dylan ยอดเยี่ยมที่สุดอย่างไร้ข้อกังขา และแนวโน้มอาจดีกว่า Dont Look Back (1967) ด้วยซ้ำนะ!

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะทั้งภาพและเสียง คุณภาพ 4K ผ่านการการตรวจอนุมัติโดยผู้กำกับ Pennebaker เห็นว่าต้นฉบับคุณภาพย่ำแย่มากๆ ใช้เวลาเป็นปีๆกว่าจะฟื้นฟูจนออกมาดูดี สามารถหาซื้อ Blu-Ray และรับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel

This new digital transfer was created in 4K resolution on a Lasergraphics Director film scanner from the 16mm A/B original negative. Thousands of instances of dirt, debris, scratches, splices, and warps were manually removed using MTI’s DRS, while Digital Vision’s Phoenix was used for small dirt, grain, noise management, jitter, and flicker. The original monaural soundtrack was remastered at 24-bit from the original quarter-inch magnetic masters. Clicks, thumps, thumps, hiss, hum, and crackle were manually removed using Pro Tools HD, AudioCube’s integrated workstation, and iZotope RX4.

Transfer supervisors: D.A. Pennebaker/Chris Hegedus, Lee Kline, Frazer Pennebaker.
Colorist: Jason Crump/Metropolis Post, New York.

คำโปรยบน Booklet ของแถม Blu-Ray ของค่าย Criterion Collection

เมื่อตอนรับชม I’m Not There (2007) ผมยังมองแค่ว่า Bob Dylan เป็นบุคคลที่มีความน่าสนใจ ไม่ต่างจากกิ้งก่าเปลี่ยนสี (แบบเดียวกับ Pablo Picasso ที่ก็ปรับเปลี่ยนสไตล์การวาดรูปไปตามยุคสมัย) แต่หลังจากรับชม Dont Look Back (1967) เพราะความโคตรๆสมจริง “direct cinema” ของผกก. Pennebaker เปิดเผยสันดาน ธาตุแท้ตัวตน เกิดความฉงนว่าบุคคลเช่นนี้นะหรือสมควรได้รับยกย่องระดับตำนาน … แต่เราอย่าไปตัดสิน Dylan จากแค่สารคดีเรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เพราะมันแค่บันทึกภาพเหตุการณ์ชีวิต ออกทัวร์คอนเสิร์ต แค่ไม่กี่สัปดาห์ เสี้ยวหนึ่งของชีวิตเท่านั้นเอง

ผมไม่ได้มีอคติใดๆต่อสารคดีเรื่องนี้นะครับ ตรงกันข้ามรู้สึกอึ้งทึ่งในอัจฉริยภาพของผกก. Pennebaker ใช้ประโยชน์จากข้อจำกัด รังสรรค์ผลงานที่ต้องถือว่าปฏิวัติวงการภาพยนตร์ นำเสนอแนวคิด วิธีการใหม่ๆ Rockumentaries ไม่ซ้ำแบบใคร

Dont Look Back (1967) เป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสำหรับคนสองจำพวก หนึ่งคือแฟนเพลง/สาวกของ Bob Dylan และคนทำงานสายสารคดี ศึกษาแนวคิด วิธีการนำเสนอ โดยไม่รู้ตัวอาจได้รับแรงบันดาลใจใหม่ๆสำหรับการสรรค์สร้างผลงานศิลปะ

จัดเรต 15+ กับพฤติกรรมหัวขบถ โลกต้องหมุนรอบตัว Bob Dylan

คำโปรย | Dont Look Back สารคดีบุกเบิกอนาคตของ “direct cinema” ที่ทำให้ผู้ชมตระหนักว่า Bob Dylan ไม่ต่างจากไอ้เด็กเมื่อวานซืน
คุณภาพ | อัริ
ส่วนตัว | เป็นสารคดีที่เจ๋งแต่เห็นแต่ไอ้เด็กเมื่อวานซืน

ใส่ความเห็น