Hotel Rwanda (2005)


Hotel Rwanda

Hotel Rwanda (2005) : Terry George ♥♥♥♡

เรื่องราวของฮีโร่ (รับบทโดย Don Cheadle) แม้เป็นเพียงผู้จัดการโรงแรมแห่งหนึ่ง แต่ได้ช่วยเหลือชาว Rwanda หลักพันคน ให้รอดพ้นจากเหตุการณ์เข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อปี 1994 ที่สาเหตุเกิดจากแค่ความโกรธเกลียดชังในเชื้อชาติพงษ์พันธุ์เท่านั้น ประมาณการณ์ผู้เสียชีวิตกว่า 800,000 ถึงหลักล้านคน

รวันดา (Rwanda) เป็นประเทศขนาดเล็กในทวีปแอฟริกากลาง เมืองหลวงคือ Kigali จำนวนประชากรประมาณ 11.2 ล้านคน (ตัวเลขปี 2015) อาณาเขตพื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร (เทียบกับประเทศไทยเล็กกว่าเกือบ 20 เท่า) ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเนินเขาปกคลุมด้วยป่าดงดิบ ทิศเหนือจรดประเทศ Uganda, ตอนใต้ติดประเทศ Burundi, ทางตะวันออกติด Tanzania, และตะวันตกสาธารณรัฐ Congo ไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่อยู่ติดทะเลสาบ Great Lakes

นักประวัติศาสตร์ทำการคาดคะเน เริ่มแรกสุดในดินแดน Rwanda คือชนเผ่าชาว Twa เข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐาน ตั้งแต่ประมาณ 8,000 B.C. – 3,000 B.C. ตามด้วยชาว Hutu เมื่อ 700 B.C. – 1,500 A.D. และสุดท้ายคือชาว Tutsi ที่อพยพย้ายมาจากเอธิโอเปีย

ด้วยรูปลักษณ์สันฐานที่มีความแตกต่าง ทำให้สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้ชัดเจน
– Twa มีรูปร่างเตี้ยป้อม (เป็นชนเผ่าที่ตัวเล็กที่สุดในโลก)
– Hutu รูปร่างปานกลางผิวเข้ม ริมฝีปากหนา โดดเด่นด้านกสิกรรมเพาะปลูก
– Tutsi สูงเพรียว ริมฝีปากบาง สีผิวค่อนข้างอ่อน เป็นนักล่าเลี้ยงสัตว์ ค้าขายเก่ง

ความขัดแย้งระหว่าง 2-3 ชนเผ่า ก็ถือเป็นเรื่องปกติทั่วไปของมนุษย์ จนกระทั่งการมาถึงของยุคล่าอาณานิคมโดยประเทศ Belgium ประมาณศตวรรษที่ 19 ชาวผิวขาวพบว่ารัฐเล็กๆรอบทะเลสาป Great Lakes ที่ถูกปกครองโดยชนเลี้ยงสัตว์ (Tutsi) มีพัฒนาการก้าวหน้าเป็นแบบแผนกว่ากลุ่มชนเผ่ากสิกรรม (Hutu) จึงหนุนหลังสนับสนุนชาวเผ่า Tutsi ให้ขึ้นมาเป็นกลุ่มผู้นำบริหารประเทศ [จริงๆเหมือนว่า Tutsi เป็นพวกประจบสอพลอ ค้าขายเก่งเลยมีวาทะดีมีความเฉลียวฉลาด] แล้วตีตราแบ่งแยกชนทั้งสองเผ่าพันธุ์ออกจากกัน ประทับลงไว้ในบัตรประชาชน

การกระทำเช่นนี้ได้สร้างความมีอภิสิทธิ์ชนให้ชาว Tutsi จนเกิดความเย่อหยิ่งจองหองอวดดี แถมชอบดูถูกเหยียดหยามเผ่า Hutu ค่อยๆเริ่มอิจฉาริษยา สะสมความรังเกียจชัง ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาณานิคม Belgium ถึงการสิ้นสุด ประเทศ Rwanda ได้รับเอกราชเมื่อปี 1962 ปกครองด้วยรัฐบาล Tutsi ไม่นานได้เกิดการปฏิวัติยึดอำนาจ หลายคนถูกขับออกนอกประเทศ และมีการตั้งกลุ่มแนวหน้ารักชาติรวันดา (RPF, Rwandan Patriotic Front) เพื่อรอวันหวนคืนกลับมาทวงคืนสิทธิ์อันชอบธรรมของตน

ความขัดแย้งของทั้งสองชนเผ่าพันธุ์ค่อยๆทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ขนาดว่ากลุ่ม Hutu หัวรุนแรงมีการจัดตั้งสถานีวิทยุและหนังสือพิมพ์ เผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อในเชิงปลุกปั่นสร้างความเกลียดชัง เรียกชาว Tutsi ว่าคือ แมลงสาป ต้องถูกกำจัดทำลายล้างให้สิ้นซากหมดไป

ในปี 1994 ประธานาธิบดี Juvénal Habyarimana ของ Hutu ตัดสินใจเจรจาสันติภาพกับ RPF ทว่าลูกน้องจำนวนมากไม่เห็นด้วย ซึ่งหลังจากเซ็นสัญญาสงบศึกนั้นเอง เครื่องบินของประธานาธิบดีก็ถูกจรวด Missile ลึกลับยิงถล่มปลิดชีพ, การเสียชีวิตของ Habyarimana กลายเป็นชนวนข้ออ้างความโกรธแค้น โดยพวกเขากล่าวหาว่าต้องเป็นฝีมือของพวก Tutsi (แต่เชื่อกันว่า ผู้ลงมือน่าจะเป็นลูกน้องปธน. ที่ไม่พอใจการสงบศึกมากกว่า) และหลังจากนั้นไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมง การเข่นฆ่าล้างแค้นนองเลือดจึงบังเกิดขึ้น

วันที่ 6 เมษายน 1994 กองทัพชาว Hutu และประชาชนบางส่วนได้ออกมาตามท้องถนน ไล่เข่นฆ่าสังหารชาว Tutsi (และ Twa ที่แม้เป็นชนกลุ่มน้อย แต่โดยพ่วงร่วมไปด้วยเพราะไม่ใช่เชื้อชาติเดียวกัน) โดยมีเป้าหมายหลักคือผู้ชายทุกวัยไม่เว้นแม้แต่เด็ก ส่วนหญิงสาวจะถูกจับมาข่มขืนและสังหารทิ้งอย่างเหี้ยมโหด ขณะคนที่รอดชีวิตราวสองในสาม ต้องกลายเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในช่วงเวลานั้น

แต่ในเวลาดังกล่าว กลับไม่มีนานาชาติไหนยื่นมือเข้าขัดขวางเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งนี้ พวกเขาทำเพียงอพยพคนของตนออกมาเท่านั้น
– แม้กองกำลังสหประชาชาติจะถูกส่งเข้าไปใน Rwanda ตั้งแต่ก่อนเกิดเรื่อง ทว่าพวกเขาก็ไม่ได้รับคำสั่งให้กระทำการใดๆเพื่อยุติเหตุรุนแรง (เนื่องจากยังไม่มีมติเห็นชอบจากประเทศสมาชิกสำคัญ)
– สหรัฐอเมริกาที่ขณะนั้นตั้งตนว่าเป็นตำรวจโลก ไม่ต้องการเข้าไปยุ่งด้วยเนื่องจากไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในดินแดนนี้
– ขณะที่ฝรั่งเศสวางตัวเพิกเฉย เนื่องจากกลัวเสียสัมพันธภาพกับรัฐบาล Hutu
– และเบลเยี่ยม เจ้าอาณานิคมเดิมก็ไม่อยากเข้าไปข้องเกี่ยวเพราะเกรงจะเกิดปัญหาทางการเมืองกับฝ่ายตน

การเพิกเฉยของนานาชาติทำให้เหตุการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ฝ่าย RPF ก็เริ่มเปิดฉากโต้ตอบฝ่ายฮูตูอย่างรุนแรง จนถึงขั้นสังหารนายกรัฐมนตรีของชาว Hutu ยิ่งทำให้พวกเขาลงมือสังหารหมู่ชาว Tutsi ด้วยความเกี้ยวกราดรุนแรงมากยิ่งขึ้น

เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สิ้นสุดลงประมาณกลางเดือนกรกฎาคม 1994 เมื่อกองกำลัง RPF นำโดย Paul Kagame ใช้วิธีกวาดต้อนเข่นฆ่าสังหารชาว Hutu หัวรุนแรง ด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า ขณะเดียวกันก็ทำในสิ่งที่ไม่เคยปรากฎพบมาก่อนต่อชาว Rwanda คือให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งสตรีและเด็ก เรียกคะแนนความประทับใจได้ทั้งชาติ ซึ่งเมื่อเข้ายึดอำนาจขับไล่รัฐบาล Hutu สำเร็จแล้ว การเลือกตั้งครั้งถัดมา Kagame ก็ได้รับคะแนนเสียงชัยชนะล้นหลาม ไม่นานสามารถฟื้นฟูประเทศให้กลับสู่สภาวะปกติ และเหมือนว่ากำลังจะก้าวกระโดดกลายเป็น Oasis ในทวีปแอฟริกาไปเสียแล้วนะ

ในปี 2017, ประเทศ Rwanda ก้าวขึ้นมาแตะระดับของประเทศชนชั้นกลาง และกำลังจะก้าวพ้นความยากจนกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในเขตแอฟริกากลางแล้ว ถือเป็นประเทศที่สงบสุข มีความปลอดภัยสูง และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ประชุมสัมมนา และทำธุรกิจแห่งใหม่ในแอฟริกา

เกร็ดเล็กๆน้อย อาทิ
– เป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนทำธุรกิจง่ายที่สุดอันดับ 2 ของแอฟริกา และอันดับ 42 ของโลก (สะดวกกว่าไทยที่ 46)
– อินเทอร์เน็ตเร็วที่สุดในแอฟริกา ดาวน์โหลดเฉลี่ย 7Mbps
– อัตราอาชญากรรมต่ำมาก ดัชนีอาชญากรรมอยู่ที่ 16.18 ซึ่งต่ำกว่าไทย!! (อัตราดัชนีอาชญากรรมไทยอยู่ที่ 51.2)
– คนอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้นจาก 56% เป็น 71%
– อายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 42 ปี เป็น 56 ปี
– อัตราการเข้าถึงน้ำสะอาดอยู่ในระดับ 100% ของประชากรทั้งหมด จากเดิมมีไม่ถึง 13%
– นักท่องเที่ยวปีละ 9 แสนคนสร้างรายได้ 303 ล้านเหรียญ
– สนามบิน Kigali มีเที่ยวบินนานาชาติมากกว่า 500 เที่ยว/สัปดาห์
– ระบบจัดการสหกรณ์ท่องเที่ยวท้องถิ่นดีที่สุดในแอฟริกา ไม่มีคนมาวิ่งไล่ขายของและขอทาน

reference: http://www.komkid.com/ประวัติศาสตร์สังคม/ล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา/
reference: https://prachatai.com/journal/2014/04/52623
reference: https://www.the101.world/life/rwanda/

Hotel Rwanda คือภาพยนตร์ที่มีพื้นหลังอ้างอิงจากเหตุการณ์จริง การเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาเมื่อปี 1994 เรื่องราวของ Paul Rusesabagina อดีตผู้จัดการ Hôtel des Mille Collines, Kigali ที่ได้ช่วยเหลือชาว Rwanda ทั้ง Hutu และ Tutsi จำนวน 1,268 คน ให้รอดชีวิตจากเหตุการณ์พันธุฆาต (Genocide) อพยพลี้ภัยกระจัดกระจายออกนอกประเทศ

Terry George (เกิดปี 1952) นักเขียน ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติ Irish เกิดที่ Belfast, Northern Ireland สมัยวัยรุ่นเป็นคนซ้ายจัดสุดโต่ง ชอบเข้าร่วมเดินขบวน พกอาวุธจนถูกจับติดคุก 6 ปี พอออกมาได้แต่งงานเลยสงบเสงี่ยมขึ้น มุ่งแสวงโชคยังอเมริกา กลายเป็นนักเขียนบทละคร บทภาพยนตร์ ผู้ช่วย Jim Sheridan เรื่อง In the Name of the Father (1993), The Boxer (1997) กำกับเรื่องแรก Some Mother’s Son (1996), โด่งดังสุดก็คือ Hotel Rwanda (2004)

ร่วมงานกับนักเขียน Keir Pearson ด้วยความสนใจนำเหตุการณ์เข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาเมื่อปี 1994 ดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ ซึ่งขณะกำลังมองหาแรงบันดาลใจของเรื่องราวนี้อยู่ ครั้งหนึ่ง George โทรศัพท์ไปยังสถานทูต Rwanda ณ Washington D.C. ผู้หญิงที่รับสายปลายทาง ปรากฎว่าคือหนึ่งในผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น และเคยอาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ Hôtel des Mille Collines จึงแนะนำให้ติดต่อ Paul Rusesabagina วีรบุรุษผู้ช่วยชีวิต ขณะนั้นปักหลักอาศัยอยู่ประเทศ Belgium

นำแสดงโดย Donald Frank Cheadle Jr. (เกิดปี 1964) นักดนตรี นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Kansas City, Missouri ตั้งแต่เด็กมีความสนใจด้านดนตรี เล่น Saxophone ร่วมกับวงดนตรี Jazz บางครั้งก็ร้อง Choirs จนมีโอกาสเป็นนักแสดงละครเพลง เข้าเรียนต่อ California Institute of the Arts จบสาขาการแสดง แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Moving Violations (1985) ตามด้วย Hamburger Hill (1987), ค่อยๆเริ่มมีชื่อเสียงจาก Devil in a Blue Dress (1995), Boogie Nights (1997), Traffic (2000), Ocean’s Eleven (2001), Crash (2004), เข้าชิง Oscar: Best Actor เรื่อง Hotel Rwanda (2004)

รับบท Paul Rusesabagina ผู้จัดการโรงแรม Hôtel des Mille Collines มีความรู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง รู้จักวิถีของชาว Rwanda ที่สามารถใช้เส้นสาย เงินทอง ซื้อใจได้ทุกสิ่งอย่าง ตัวเขามักพบเห็นใส่สูทผูกไทด์มาดเนี๊ยบ ภาพลักษณ์ดูดีมีสไตล์ไว้ก่อน แม้เหตุการณ์จะมีความสั่นคลอน แต่จักสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้พักอาศัยได้

ด้วยความรักยิ่งต่อครอบครัว ต้องการทำทุกอย่างให้ศรีภรรยาและลูกๆมีชีวิตเอาตัวรอด แต่ในช่วงแรกๆไม่ค่อยอยากใคร่สนผู้อื่น เพื่อนข้างบ้านมากนัก แต่ไปๆมาๆเมื่อถึงจุดหนึ่งก็มิอาจทนเห็นความชั่วร้ายบัดซบที่บังเกิดขึ้นได้ ใครสามารถเข้ามาได้ก็ให้ความช่วยเหลือทุกคน

เกร็ด: มีหนึ่งในผู้รอดชีวิต Pasa Mwenenganucye ออกมาแฉความไม่บริสุทธิ์จริงของ Rusesabagina หาใช่พระเอกฮีโร่เหมือนที่เห็นในหนังแม้แต่น้อย เพราะใครก็ตามที่จะเข้าพักในโรงแรมแห่งนี้ ต้องจ่ายค่าห้อง/ค่าอาหารด้วยตนเอง ถ้าไม่มีเงินก็ราวกับพลเมืองชั้น 3 ไม่ได้รับความสนใจใคร่สำคัญอะไรนัก

การแสดงของ Cheadle น่าจะคือไฮไลท์ในอาชีพเลยนะ เป็นผู้จัดการที่มีสไตล์ วางมาดคำพูดจา การเคลื่อนไหวดูดีเท่ห์ไปหมด ขณะที่ด้านอ่อนไหวกับครอบครัว หรือภาพความโหดร้ายที่พบเห็น สะท้อนออกมาด้วยสีหน้าท่าทางหวาดกลัวคลุ้มคลั่ง สมจริงจับต้องได้ และที่สำคัญคือรูปลักษณ์ใบหน้า ก็ชัดเจนว่าคือ Hutu ไม่ผิดแน่

ไฮไลท์ของ Cheadle ผมชอบสุดขณะผูกไทด์ไม่สำเร็จ มันอาจดูจงใจไปเสียนิด แต่ความหงุดหงิดร้าวรานที่พรั่งพรูทะลักออกมาถัดจากนั้น สะท้อนความหวาดกลัวคลุ้มคลั่ง จนมิอาจควบคุมสติ ปกปิดความรู้สึกแท้จริงของตนเองออกมาได้ แต่ที่ยังต้องฝืนทนต้องสร้างภาพ(ใส่สูทให้ดูดีไว้) ก็เพื่อให้โรงแรมแห่งนี้ยังคงได้รับอภิสิทธิ์พิเศษ ปลอดภัยจากพวกหัวรุนแรง Hutu, แต่หลังจากนี้ เราจะไม่เห็นตัวละครสวมสูทอีกแล้วนะ

Sophie Okonedo (เกิดปี 1968) นักแสดงหญิงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ London พ่อเป็นชาว Nigerian แม่มีเชื้อสาย Jews อพยพจาก Poland แม้ฐานะทางครอบครัวจะไม่ค่อยดีนัก แต่ก็แม่ก็ชอบหาหนังสือมาให้อ่าน โตขึ้นเข้าเรียนจบจาก Royal Academy of Dramatic Art มีผลงานซีรีย์โทรทัศน์, ละครเวที, โด่งดังเป็นที่รู้จักกับภาพยนตร์ Hotel Rwanda (2004), The Secret Life of Bees (2008), Skin (2008) ฯ

รับบท Tatiana Rusesabagina ภรรยา(คนที่สอง)ของ Paul เป็นชาว Tutsi ก่อนแต่งงานทำงานเป็นพยาบาล พวกเขามีลูกด้วยกันหนึ่งคนแต่เสียชีวิตหลังคลอดได้ไม่กี่วัน เลยไม่คิดจะมีกันอีก สำหรับลูก 3 คนติดมาจากภรรยาคนแรก ที่หลังจากหย่าไม่น่าก็เสียชีวิตจากไป รักเอ็นดูเหมือนลูกแท้ๆ และหลังจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา พวกเขายังรับเลี้ยงดูหลานอีกสองคน ที่เป็นลูกของพี่ชาย Tatiana พบเจอยังค่ายผู้อพยพของ UN, คงเพราะเคยทำงานเป็นพยาบาล ทำให้เป็นคนจิตใจอ่อนไหว พอเห็นผู้อื่นตกทุกข์เลยอยากให้การช่วยเหลือพึ่งพิง ถือว่าเต็มเปี่ยมด้วยความมีมนุษยธรรมโดยแท้

การแสดงของ Okonedo สร้างความประทับใจให้ผมมากกว่า Cheadle เสียอีกนะ เพราะความรักเป็นห่วงใยต่อสามี ลูกๆ และเครือญาติ มันเอ่อล้นทะลักออกมาจนสัมผัสได้ และวินาทีที่ถูกขอให้ ถ้ามันเจียนตัวจริงๆกระโดดตึกฆ่าตัวตาย นั่นเป็นสิ่งไม่มีผู้หญิงคนไหนจะทนรับฟังและตบปากรับคำได้ ร้องไห้ดิ้นพร่าน รู้สึกรวดร้าวทรมานแทนเสียเหลือเกิน

เกร็ด: ทั้ง Cheadle และ Okonedo ต่างได้พบเจอตัวจริงของ Paul และ Tatiana (น่าจะตลอดการถ่ายทำเลยมั้งนะ เพราะต่างเป็นที่ปรึกษาของหนัง) พวกเขาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แต่ไม่ใช่จะเลียนแบบให้เกิดความสมจริง

ถ่ายภาพโดย Robert Fraisse สัญชาติฝรั่งเศส ผลงานเด่น อาทิ The Lover (1992), Seven Years in Tibet (1997), The Notebook (2004), Hotel Rwanda (2004) ฯ

หนังถ่ายทำส่วนหนึ่งยังสถานที่จริง Kigali, Rwanda ว่าจ้างชาวรวันดาหลายพันให้มาเป็นตัวประกอบ แต่ฉากของโรงแรม Hôtel des Mille Collines เหมือนจะถ่ายทำที่ Johannesburg, South Africa

ส่วนใหญ่ของหนังใช้กล้อง Hand Held ทำให้ภาพมีสั่นๆ สะท้อนความสับสนวุ่นวายอลม่านต่อเหตุการณ์ที่บังเกิดขึ้น ซึ่งถ้าฉากไหนมีความกระแทกกระทั้นทางอารมณ์ค่อนข้างสูง กล้องก็จะสั่นมาก มีความโฉบเฉี่ยวฉวัดเฉวียน และเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เพื่อสะท้อนอารมณ์ปั่นป่วน หวาดสะพรึงกลัวของตัวละครออกมา

มีไดเรคชั่นฉากหนึ่ง Paul ได้รับคำแนะนำให้ขับรถกลับโรงแรมเรียบแม่น้ำ สังเกตว่ารุ่งอรุณเช้าวันนั้นหมอกลงจัดมาก มองอะไรแทบไม่เห็น (เพื่อปกปิดความน่าพิศวง และให้ผู้ชมเกิดจินตนาการไปก่อนเองว่า มันจะมีอะไรเกิดขึ้น) แล้วอยู่ดีๆรถก็กระโดดเด้งโหยง เผลอขับออกนอกเส้นทางหรือเปล่านี จอดเดินลงมาดู ก็ได้อ๊วกแตกอ๊วกแตนกันเลยทีเดีย

ว่าไปมีอีกฉากที่ใช้ประโยชน์จากสภาพอากาศให้เป็นประโยชน์ ค่ำคืนแรกของหนัง เป็นภาพถ่ายจากด้านในโรงแรม เห็นฟ้าแลบแปล๊บอยู่ไกลๆ อาจต้องใช้การสังเกตหน่อย ซึ่งนัยยะของ Distant Thunder พายุฝนฟ้าคะนองที่ค่อยๆเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้เรื่องๆ คือบางสิ่งอย่าง เหตุการณ์ชั่วร้ายอันตราย กำลังใกล้ปะทุบังเกิดขึ้น

ตัดต่อโดย Naomi Geraghty สัญชาติ Irish ผลงานเด่น อาทิ In America (2002), The Illusionist (2006), Reservation Road (2007) ฯ ใช้มุมมองของ Paul Rusesabagina และครอบครัว ในการดำเนินเล่าเรื่องทั้งหมด

เพลงประกอบโดย Afro Celt Sound System, Rupert Gregson-Williams และ Andrea Guerra, บทเพลงมีความหลากหลายในท่วงทำนองและสไตล์ แต่ทั้งหมดล้วนให้สัมผัสของทวีปแอฟริกา มีส่วนผสมของเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ภาษาพื้นเมือง และเนื้อร้องใจความสื่อสะท้อนถึงเหตุการณ์ในช่วงขณะนั้นๆ

บทเพลง Mam Ararira โดย Afro Celt Sound System และ Dorothee Munyaneza มีสัมผัสที่โหยหวนล่องลอย เจ็บปวดรวดร้าวใจ เนื้อร้องเล่าถึงการแยกจากของแม่และลูกสาว แต่พวกเขาก็สามารถหวนกลับมาพบเจอกันอีกครั้ง สะท้อนถึงโอกาสและความหวัง ที่ตราบใดคงหลงเหลือไม่หมดสิ้น โชคชะตาก็อาจนำพาให้พบเจอ

บทเพลง Million Voices ขับร้องโดย Wyclef Jean ร่วมกับ African Children’s Choir ดังขึ้นในขณะที่คนผิวขาวทั้งหมดใน Rwanda กำลังเดินทางออกนอกประเทศ แล้วบาทหลวงพร้อมเด็กๆ รีบเดินฝ่าสายฝนเข้ามาด้วยความหวังที่พวกเขาคงได้รับการช่วยเหลือปลอดภัยแน่ แต่ที่ไหนได้

คำร้องคอรัสของเด็กๆ Ni ryari izuba, Rizagaruka, Hejuru yacu, Ni nd’ uzaricyeza ricyeza แปลว่า Who will show us the light? Who will return it to us? ซึ่งท่อนนี้จะได้ยินอีกครั้งช่วงท้ายของหนัง เมื่อ Paul ได้พบเจอหลานสองคนที่สูญหายไป (บทเพลงชื่อ Children Found)

บทเพลง Finale บรรเลงโดย Orchestra ล้วนๆไม่มีคำร้อง เสียงไวโอลินประสานเสียงให้สัมผัสของความหมดสิ้นหวัง ด้วยความที่หลงคิดไปว่าภรรยากับลูกๆคงตัดสินใจกระโดดตึกฆ่าตัวตายตามสัญญาให้ไว้เป็นแน่ เกิดความวิตกจริต ใจหายวูบ รีบออกวิ่งพร่านตามค้นหาไปทั่ว ฉันต้องตายแน่ๆถ้าเห็นร่างอันไร้ลมหายใจของพวกเธอ … ก็ไปบีบบังคับคิดสั้นให้ทำสัญญานั้นเอง แต่ยังถือว่าโชคดีเข้าข้าง

สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศ Rwanda คงไม่มีคำอธิบายใดอื่นนอกจากเรียกว่า โศกนาฎกรรม การจะไปโทษว่ากล่าวหลายๆประเทศที่อยู่นิ่งเพิกเฉยทำทองไม่รู้ร้อน ก็สะท้อนกับการกระทำของพระเอกในช่วงแรกๆ จะให้ช่วยทุกคนในโลกคงเป็นไปไม่ได้หรอกนะ ความเห็นแก่ตัวต้องเริ่มจากคนใกล้ชิดในครอบครัวของเราก่อน เมื่อปลอดภัยสบายใจแล้ว ถึงค่อยสามารถเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันต่อผู้อื่น

นี่ไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ แต่คือวิถีสัจธรรมของโลก เวลาขึ้นเครื่องบินทุกครั้งแอร์โฮสเตสสาวสุดสวยจะทำการสาธิตคำแนะนำ เน้นย้ำให้สวมหน้ากาก Oxygen กับตนเองก่อนทุกครั้ง ถึงค่อยช่วยเหลือคนข้างๆ เพราะถ้าคุณหายใจไม่ออกได้รับอากาศไม่ทัน คนที่ดูแลตนเองไม่ได้จะเอาตัวรอดได้อย่างไร

ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะสามารถสั่งสอนสัตว์โลก ก็ใช่ว่าขณะครึ่งๆกลางๆยังไม่บรรลุแล้วถึงเริ่มเผยแพร่ศาสนา พระองค์ทรงตรัสรู้เข้าใจทุกสิ่งอย่างในสากลจักรวาลแล้วต่างหาก ถึงค่อยเริ่มต้นการหมุนของพระธรรมจักร

ซึ่งช่วงระหว่าง 45 ปีที่ทรงเผยแพร่พุทธศาสนา ก็ใช่ว่าพระภิกษุ พุทธศานิกชนทุกคนที่ได้รับฟังคำสั่งสอน จะสามารถบรรลุหลุดพ้นไม่หวนกลับมาเกิดอีก น่าจะแค่เพียงหยิบเม็ดทรายหนึ่งกำมือเท่านั้นกระมังที่ถึงอรหัตผล บางคนช่วยเหลืออะไรไม่ได้ด้วยซ้ำ กระทำเลวชั่วจนตกนรกขุมอเวจีลึกสุด แต่แค่นั้นก็ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณมากล้น บทเรียนแบบอย่างให้คนรุ่นถัดๆไปได้ยึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางใช้ชีวิตต่อไป

ผมอาจจะเปรียบเทียบเว่อวังอลังการไปสักนิด แต่ก็สามารถสะท้อนแนวคิดได้ใกล้เคียงกันอยู่มาก การกระทำเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้หลุดรอดพ้นจากวิถีโชคชะตาชีวิตเดิมๆ บุคคลนั้นมีคำเรียกภาษาปากยุคสมัยนี้คือ ฮีโร่/วีรบุรุษ

เกร็ด: เรื่องราวของ Paul Rusesabagina บางครั้งก็มีคนเรียกว่า Oskar Schindler แห่งทวีป Africa

Hotel Rwanda คือเรื่องราวของฮีโร่/วีรบุรุษ จริงอยู่เข้าอาจไม่ใช่คนดีบริสุทธิ์แท้ มีการออกมาแฉว่า Paul Rusesabagina อาจเป็นพวกเห็นแก่เงินและผลประโยชน์ส่วนตน แต่ชีวิตคนมันมีค่ามากกว่าสิ่งนอกกายเหล่านั้นอย่างหาที่เปรียบมิได้ นี่ต่างหากคือสิ่งที่เมื่อกาลเวลาผ่านไป โลกจะไม่รู้ลืมคุณความดีที่ได้เคยสร้างสมกระทำไว้

ด้วยทุนสร้าง $17.5 ล้านเหรียญ ทำเงินได้ทั่วโลก $33.9 ล้านเหรียญ หักทุนแล้ว กำไรส่วนต่างนำเข้า International Fund for Rwanda ของ UN Foundation เพื่อใช้เป็นทุนช่วยเหลือสำหรับผู้รอดชีวิต

“The goal of the film is not only to engage audiences in this story of genocide but also to inspire them to help redress the terrible devastation,”

เข้าชิง Oscar 3 สาขา ไม่ได้สักรางวัล
– Best Actor (Don Cheadle)
– Best Supporting Actress (Sophie Okonedo)
– Best Writing, Original Screenplay

โดน SNUB สองสาขาคือ Best Picture และ Best Original Score เหตุผลคาดเดาไม่ยาก เพราะคงชาวอเมริกันอีกมากยินยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ ละอายใจที่ประธานาธิบดีของตนสมัยนั้น (Bill Clinton) ทำท้องไม่รู้ร้อนต่อเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้

เห็นว่า Clinton ให้ข้ออ้างของการไม่สนใจ เข้าไปหักห้ามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ว่าไร้ซึ่งความรู้เข้าใจในสถานการณ์ และไม่คิดว่านั่นจะคือการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (มีฉากหนึ่งในหนังที่นำเสนอรายการข่าว ผู้สัมภาษณ์พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้คำว่า Genocide เป็นคำว่า ‘Acts of Genocide’ คงเพราะถูกเบื้องบนสั่งมาอย่างแน่นอน)

ส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบหนังเรื่องนี้ ประทับใจในไดเรคชั่นที่นำเสนอเหตุการณ์เข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ผ่านมุมมองของตัวละครที่ก็แค่คนธรรมดาคนหนึ่ง ต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอดในสไตล์ของตนเอง, การแสดงของ Don Cheadle กับ Sophie Okonedo ถือว่าเป็นวีรบุรุษเลยละ และเพลงประกอบมีความแปลกหูพิศดารดีแท้

แนะนำกับคอหนังประวัติศาสตร์ สนใจเหตุการณ์เข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของประเทศ Rwanda, นักสังคมสงเคราะห์ ทำงานอาสาสมัคร Red Cross, UN ทำความเข้าใจวิถีของโลก, และแฟนๆนักแสดง Don Cheadle, Sophie Okonedo ไม่ควรพลาด

จัดเรต 18+ ความรุนแรงของการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

TAGLINE | “Hotel Rwanda คือ Oasis ที่อยู่กึ่งกลางทวีปแอฟริกา ไม่ใช่แค่โรงแรมสี่ดาว แต่ยังคือจิตวิญญาณของวีรบุรุษ Don Cheadle”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

The Reader (2008)


The Reader (2008) hollywood : Stephen Daldry ♥♥♥♥

ถ้าคุณชื่นชอบใครสักคนหนึ่ง อดีตของเขาหรือเธอจะเป็นปัจจัยต่อความรักนั้นหรือไม่? Kate Winslet ในบทบาทคว้า Oscar: Best Actress คืออดีตเจ้าหน้าที่หญิง Nazi ผู้ผลักดันชาวยิวเข้าห้องรมแก๊ส กักขังพวกเขาไว้ในโบสถ์แล้วเผาให้ตายทั้งเป็น … คนที่มีอดีตชั่วร้ายขนาดนี้ จะยังมีใครรักลงอีกไหม

ตอนที่ผมรับชมหนังเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์ เกิดความเจ็บจี๊ดๆรวดร้าวเล็กๆในใจ แต่ยังมิสามารถให้คำตอบกับตัวเอง จะรับได้ไหมถ้าพบเจอผู้หญิงแบบนั้นในชีวิตจริง จนกระทั่งเมื่อวันก่อน จะบอกว่าน้ำตาไหลพรากๆ เกิดความซาบซึ้งกินใจ ทั้งๆที่ก็ดูหนังแนว Holocaust มาเป็นสิบๆ แต่ไม่มีเรื่องไหนกระแทกกระทั้นอารมณ์ความรู้สึกได้รุนแรงมากคลั่งขนาดนี้

โทษว่ากล่าวคงเป็นความผิดของ The Shape of Water (2017) ที่ทำให้ส่วนตัวมีทัศนคติต่อสัตว์ประหลาดเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง ต่อให้เธอมีอดีตอันย่อยยับเยิน เคยเข่นฆ่าคนผู้บริสุทธิ์ตายนับหมื่นแสนล้าน มีภาพลักษณ์พิศดารขนดกรกรุงรัง แต่ถ้าตัวตนแท้จริงภายใน มีความรู้สำนึกดีชอบ เกิดความละอายใจต่อบาปที่เคยกระทำชั่วมา ยังไงผมก็คงรักมากๆ และไม่คิดจะลังเลเปลี่ยนใจง่ายๆด้วย

ตรงกันข้ามกับชาวยิว พวกเขาอาจเคยเป็นผู้น่าสงสารเห็นใจในทศวรรษของการถูกเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่หลังจากผ่านพ้นช่วงเวลานั้นมา หลายคนยังคงความเกลียดชังยึดถือมั่นไม่คิดให้อภัย แถมเสี้ยมสอนคนรุ่นหลังไม่ให้หลงลืมเลือน แปรสภาพสู่ความเย่อหยิ่งทะนงตน ยโสโอหังอวดดี กลายเป็นบุคคลผู้มีจิตใจอัปลักษณ์เลวทราม ยิ่งกว่าเจ้าหน้าที่นาซีหลายคนที่ถูกตราหน้าว่าเป็นสัตว์ประหลาดเสียอีก

แต่ใจความจริงๆของ The Reader ไม่ได้เกี่ยวกับความรักของสาวรุ่นใหญ่ กับเด็กหนุ่มไร้เดียงสาเลยนะ มีนัยยะแฝงถึงชาวเยอรมันสองรุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2,
– การที่ Hanna Schmitz ไม่สามารถอ่านเขียนหนังสือได้เหมือนปกติ สะท้อนความรู้สึกผิดต่อเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว (สูญเสียสิ่งที่เรียกว่าอารยะ คุณค่าของความเป็นมนุษย์) ต้องการปฏิเสธลืมเลือนสิ่งที่คนรุ่นตนกระทำมา แต่มันสามารถเจือจางสูญหายไปได้เสียที่ไหน
– ขณะที่ Michael คือตัวแทนของคนรุ่นใหม่ถัดมา เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นจากไม่เคยรับรู้อดีตความจริงใดๆ แต่เมื่อทราบแล้วก็มีปฏิกิริยาแสดงออกแตกต่างออกไป เริ่มต้นคือแข็งทื่อ (Paralyze) ปฏิเสธต่อต้านยินยอมรับไม่ได้ แต่เพราะความสัมพันธ์ที่แนบแน่นเฟ้น จึงค่อยๆเรียนรู้ปรับตัวอาศัยอยู่ร่วมกับมัน และสุดท้ายคิดตัดสินใจทำบางสิ่งอย่าง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่แม้ไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง แต่คือผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ครั้งนั้น

ลองจินตนาการครุ่นคิดตามดูนะครับ ถ้าคุณเป็นชาวเยอรมันรุ่นใหม่ที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อรับรู้เรื่องราวอดีต การกระทำอันเลวชั่วร้ายผิดมนุษย์มนาของบรรพบุรุษชนชาติตนเอง หรืออาจจะพ่อแม่ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิทหรือคนรัก ฆ่าคนตาย ขายเสพยา หรือฉ้อฉลคอรัปชั่น จะแสดงออกมีปฏิกิริยาความรู้สึกเช่นไร?

ว่าไปหนังเรื่องนี้มีหลายๆโครงสร้าง องค์ประกอบคล้ายๆกับ Sophie’s Choice (1982) เริ่มต้นด้วยการไม่พูดบอกอธิบายตรงๆ ว่าหญิงสาวเคยมีอดีตพบเจออะไรมา แต่จักค่อยๆเปิดเผยออกในช่วงครึ่งหลัง ซึ่งตัวละครของทั้ง Meryl Streep และ Kate Winslet ต่างต้องแบกรับความทุกข์ทรมานจากสิ่งที่เคยพบเจอหรือกระทำไว้ในอดีต ซึ่งการได้พบเจอชายคนหนึ่ง ได้ทำให้พวกเธอเกิด ‘ความหวัง’ เล็กๆขึ้นมาในชีวิต และเพราะมิอาจมีอะไรแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรได้มาก ท้ายสุดจึงลงเอยด้วยเหตุการณ์โศกนาฎกรรม

The Reader (Der Vorleser) ต้นฉบับคือนิยายเขียนโดย Bernhard Schlink (เกิดปี 1944) ทนายความ อาจารย์สอนกฎหมาย และนักปรัชญา สัญชาติ German ตีพิมพ์ปี 1995 โด่งดังขายดีกลายเป็น Bestseller ระดับนานาชาติ ในเยอรมันได้รับการยกย่องเทียบเท่า The Tin Drum (1959) ขายได้เกินกว่า 500,000 เล่มในปีแรก และได้รับการโหวตติดอันดับ 14 ของ 100 Favorite Books of German Readers เมื่อปี 2007

ประมาณปี 1998 สตูดิโอ Miramax Films สามารถติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์นิยายเล่มนี้ได้ มอบหมายให้นักเขียนหลายคนแต่ยังไม่ได้บทที่น่าพึงพอใจ ก่อนมาลงเอยที่ Sir David Hare (เกิดปี 1947) นักเขียนบทละครเวที West End ที่โด่งดังจนกลายเป็นตำนาน ซึ่งเคยพัฒนาบทภาพยนตร์ The Hours (2002) ได้เข้าชิง Oscar: Best Adapt Screenplay

เกร็ด: ในสัญญาของการขายลิขสิทธิ์ดัดแปลง Schlink ต้องการให้หนังสร้างออกมาเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ไม่ได้มีการชี้แจงเหตุผล แต่คงเพื่อให้ลดความรุนแรงสมจริง มากกว่าจะสื่อถึงชาวเยอรมันตรงๆ

คงเป็น Hare แนะนำโปรดิวเซอร์ให้เลือก Stephen Daldry ที่เคยร่วมงาน The Hours (2002) มาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งก็กว่าจะเซ็นสัญญาลุข้อตกลงก็ล่วงมาปี 2007

Stephen David Daldry (เกิดปี 1960) สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Dorset ตั้งแต่เด็กเข้าร่วมกลุ่ม Youth Theatre เป็นนักแสดงสมัครเล่น พออายุ 18 ได้ทุนจากกองทัพอากาศเข้าเรียน University of Sheffield สาขาภาษาอังกฤษ และยังเคยเป็นประธานชมรม Theatre Group ของมหาวิทยาลัย, จบออกมาออกเดินทางทัวร์ Italy กลายเป็นตลกฝึกหัด กลับมาอังกฤษทำงานเบื้องหลังละครเวทีจนประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Billy Elliot (2000) ตามด้วย The Hours (2002), The Reader (2008) และ Extremely Loud & Incredibly Close (2011)

ความสนใจในเรื่องราวนี้ของ Daldry คือผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชาว Germany ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

“I don’t think this is really about WWII-era Germany, but post-war Germany. It’s much more about the consequences of Germans feeling they’re born guilty, rather than an investigation of the actual actions of the time. “The Reader” is about a country, and in particular one person, trying to live under the shadow of the past as she comes out of a situation with a society tearing itself apart through genocide.”

เรื่องราวของ Michael Berg ตอนอายุ 15 (รับบทโดย David Kross) มีโอกาสพบเจอสาวใหญ่ Hanna Schmitz (รับบทโดย Kate Winslet) ที่ได้ให้การช่วยเหลือจนเกิดความประทับใจ หลังหายจากอาการป่วยกลับมาเยี่ยมเยียนถามหา ไม่นานนักก็ได้ตกหลุมรักมีสัมพันธ์รักชู้สาว เปิดบริสุทธิ์ตนเอง แต่แล้วเมื่อถึงจุดๆหนึ่งเธอกลับหนีหายจากเขาไป ไร้ซึ่งคำร่ำลา

เมื่อ Michael เติบใหญ่ขึ้นเป็นหนุ่ม เลือกเรียนวิชากฎหมาย บังเอิญได้เข้าฟังการตัดสินคดีความหนึ่ง จำเลย Hanna Schmitz แท้จริงแล้วเธอคืออดีตเจ้าหน้าที่หญิง Nazi คัดเลือกนำพาชาวยิวสู่ห้องรมแก๊ส และเคยขังพวกเขาไว้ในโบสถ์ ปล่อยให้ไฟไหม้ตายทั้งเป็น, ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ Michael จะยินยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เช่นกันกับการยอมรับความสัมพันธ์ของพวกเขา

หลายปีผ่านไป Michael กลายเป็นผู้ใหญ่กลางคน (รับบทโดย Ralph Fiennes) แต่งงาน มีลูกสาว แล้วเลิกรา เพราะไม่สามารถหลุดพ้นจากอดีตรักที่จมปลัก พยายามค้นหาคำตอบทำความเข้าใจตัวเองแต่ก็มิอาจหาข้อสรุปใดได้ ตัดสินใจช่วยเหลือ Hanna ที่ติดคุกอยู่ ทำให้เธอมีความหวังและพลังในการใช้ชีวิตอยู่ จนกระทั่งถึงช่วงเวลาปล่อยตัว …

Kate Elizabeth Winslet (เกิดปี 1975) นักแสดงหญิงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Reading, Berkshire ปู่ของเธอเป็นนักแสดงและเจ้าของโรงละครเวที ด้วยความสนใจด้านนี้เลยตัดสินใจกลายเป็นนักแสดงตั้งแต่เด็ก อายุ 11 เข้าเรียน Redroofs Theatre School รับบทนำการแสดงโรงเรียนทุกปี จนมีโอกาสแสดงซีรีย์โทรทัศน์ Dark Season (1991), ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด Heavenly Creatures (1994) ของผู้กำกับ Peter Jackson, ตามด้วย Sense and Sensibility (1995) เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actress, กลายเป็นดาวค้างฟ้ากับ Titanic (1997), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Iris (2001), Eternal Sunshine of the Spotless Mind (2004), Little Children (2006) ฯ

ถ้าฟังจากคำปรักปรำให้การในชั้นศาลของพยาน อดีตของ Hanna Schmitz น่าจะคือหัวหน้าเจ้าหน้าที่หญิง ผู้มีความโหดเหี้ยม เลือดเย็นชา ร้ายลึก ยึดมั่นคงในหน้าที่การงาน ไม่เคยเอนอ่อนผ่อนปรนให้ใคร คงคาดหวังไต่เต้าสูงๆ ชีวิตจะได้พบเจอความสะดวกสบาย

แต่ก็ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นหลังสงครามสิ้นสุด ทำให้เธอเกิดความละอายต่อสิ่งที่ทำ กลายเป็น Trauma ฝังใจจนมิอาจจับปากกาเขียนอ่านหนังสือ เลยชอบให้ผู้อื่นอ่านออกเสียง เกิดเป็นภาพจินตนาการเพ้อฝันหวาน เคลิบเคลิ้มหลงใหล แต่เมื่อผลกรรมตามติดมาทันทำให้ถูกตัดสินพิพากษาจำคุก ก็แทบไม่หลงเหลืออะไรในชีวิตให้เป็นหลักพึ่งพิง

ในมุมของเด็กหนุ่ม ครึ่งแรกของหนัง Hanna Schmitz เหมือนกับอาจารย์แม่ (หญิงสาวที่ขึ้นครู เปิดบริสุทธิ์ให้หนุ่มๆ) เรียกเขาว่าเด็กน้อย เสี้ยมสอนท่วงท่า ลีลา และสร้างข้อตกลง เพื่อให้เขาตอบสนองความสุขต่อเธอ กระนั้นเราจะแทบไม่เคยเห็นรอยยิ้มของเธอ ชมชอบความเจ็บปวดทรมาน ก็ขนาดว่าท่ายกขาข้างหนึ่งพาดบ่า เหมือนมันจะดันเข้าไปลึกเจ็บมาก แต่ก็สร้างความพึงพอใจให้เหลือล้น

เกร็ด: เท่าที่ผมไปค้นกามสูตรมา ใกล้เคียงสุดคือ ท่าผ่ากระบอกไม้ไผ่ (The Splitting Bamboo) ภาษาสมัยนี้เรียกว่า ยกล้อข้างเดียว

ช่วงกลางเรื่อง จากสายตาของชายหนุ่มมองลงมาจากแท่นผู้สังเกตการณ์ด้านบน Hanna Schmitz เต็มไปด้วยความสับสนว้าวุ่นวายใจ แม้ตัวเองจะรู้สำนึกผิดในสิ่งที่ทำ แต่ไม่ใช่ในมุมมองของใครคนอื่น ท้อแท้สิ้นหวังหมดอาลัยตายอยาก

ตอนท้ายกับการได้พบเจอกันอีกครั้ง สายตาของชายวัยกลางคนพยายามที่จะเบือนหน้าหนี Hanna Schmitz ที่กลายเป็นหญิงชราร่วงโรยรา ไม่มีอะไรหลงเหลือจะแลกมาหรือพึ่งพิงได้อีกต่อไป จากที่เคยเต็มเปี่ยมด้วยความหวัง เลยหมดสิ้นอาลัยทุกสิ่งอย่าง

Winslet คือตัวเลือกแรกของผู้กำกับ Daldry ซึ่งเธอก็สนใจมากด้วย แต่เพราะคิวไม่ว่างติดถ่ายทำ Revolutionary Road (เธอคงอยากร่วมงานกับเพื่อนเก่าแก่ Leonardo DiCaprio มากกว่าสินะ) เลยจำต้องบอกปัดปฏิเสธไป ทีมงานได้ติดต่อ Nicole Kidman เซ็นสัญญากันแล้วเรียบร้อย ถึงขนาดหยุดกองถ่ายรอเธอให้ถ่ายทำ Australia (2008) ถ่ายทำเสร็จสิ้น แต่ภายหลังขอถอนตัวเพราะกำลังตั้งครรภ์ ทำให้ Winslet ซึ่งกำลังว่างอยู่พอดี หวนกลับมาได้รับบทสำคัญที่สุดในชีวิตนี้

ฉากที่น่าจะคือไฮไลท์ของ Winslet ทำให้ผมน้ำตาคลอเบ้าโดยไม่รู้ตัว คือขณะตัวละครเปิดฟังเทปม้วนแรก สีหน้าในตอนแรกเต็มไปด้วยความสับสนงุนงง จากนั้นค่อยๆบังเกิดความเข้าใจ ร่ำร้องไห้ด้วยความยินดี (จริงๆผมแอบหงุดหงิดไดเรคชั่นของฉากนี้สุดๆเลยนะ คือถ้าจับจ้อง Long Take ใบหน้าของ Winslet ขณะอารมณ์ความเข้าใจกำลังเปลี่ยนแปลงนี้ มันคงสมบูรณ์แบบมากๆเลยละ แต่แค่นี้ก็ถือว่าไม่ธรรมดาแล้ว)

เกร็ด: ทีมงานใช้เวลาแต่งหน้า Winslet ให้ดูแก่เหมือนคนอายุ 60 ประมาณ 7 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน ผมว่าสมัยนี้ 2-3 ชั่วโมงก็น่าจะเสร็จแล้วนะ

David Kross (เกิดปี 1990) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Henstedt-Ulzburg ตอนเด็กมีโอกาสแสดงภาพยนตร์บทเล็กๆใน Hilfe, ich bin ein Junge (2002) เลยตัดสินใจเอาดีด้านนี้ เริ่มจาเข้าร่วมกลุ่มละครเวที Children’s Theatre, คัดเลือกนักแสดงได้รับบท Tough Enough (2005), โด่งดังเป็นที่รู้จักทั่วโลกจาก The Reader (2007), ผลงานเด่นๆตามมา อาทิ War Horse (2011) ฯ

Michael Berg วัยเด็กหนุ่ม เต็มไปด้วยความใคร่อยากรู้อยากลอง ชื่นชอบ Hanna ในความน้ำใจงามของเธอ แต่ก็เพ้อคลั่งเฝ้าแอบมองอยู่ไม่ห่าง จนกระทั่งได้สุขสมหวัง ยินยอมเป็นของเล่นตามใจเธอทุกสิ่งอย่าง แต่เมื่อถูกทิ้งขว้างก็ทุกข์ทรมานแสนสาหัส รักครั้งแรกก็แบบนี้ พอพรากจากเลยเจ็บที่สุด

เติบโตขึ้นเป็นชายหนุ่ม เมื่อพบเห็นอดีตคนรัก (ที่ก็ยังรักอยู่) รับรู้ความจริงทุกอย่างของเธอ มันทำให้เขาอ้ำอึ้ง ทุกข์ทรมานแสนสาหัส ให้คำตอบไม่ได้ ไปต่อไม่ถูก อยากที่จะให้การช่วยเหลือแต่มิกล้า สุดท้ายเลยกลายเป็นตราบาปฝังใจ นำตัณหาและความคับข้องแค้นนั้น ลงเอยระบายกับหญิงสาวคนหนึ่ง ให้กลายเป็นของเล่นของเขาแทน

Kross เริ่มถ่ายทำหนังเรื่องนี้ตอนอายุ 17 ปี เดิมพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ร่ำเรียนจนชำนาญพูดคล่อง แต่สำหรับฉาก Sex Scene ทีมงานรอจนเขาอายุครบ 18 ก่อนค่อยเริ่มถ่ายทำ (เพื่อไม่ให้มีปัญหาข้อกฎหมาย พรากผู้เยาว์) ซึ่ง Winslet ก็มิได้ปกปิดของลับของสงวนตัวเองต่อหน้าหนุ่มน้อยด้วยนะ ความเก้ๆกังๆ กระอักกระอ่วนที่ปรากฎเห็น มันก็คือความไร้เดียงสาแตกเนื้อหนุ่มจริงๆนะแหละ

ผมว่าเก้งก้างคงหลงใหลในเรือนร่างของ Kross อย่างยิ่งเลยละ มีจงใจถ่ายให้เห็นไอ้จ้อนน้อยของเขาด้วย คงได้เกิดความฟินไปตามๆกัน แต่สิ่งที่เป็นไฮไลท์คือการแสดงอารมณ์สองขั้วตรงข้า ช่วงเด็กหนุ่มมีเพียงความไร้เดียสาอ่อนเยาว์วัย พอเติบโตขึ้นอีกนิดกลายเป็นชายหนุ่ม สูบบุหรี่มวนต่อมวน เครียด เงี่ยน คลั่งแค้น สับสนปั่นป่วน เป็นวัยรุ่นมันช่างวุ่นวายเสียวจริง

Ralph Nathaniel Twisleton-Wykeham-Fiennes (เกิดปี 1962) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Ipswich, Suffolk, สืบเชื้อสาย English, Irish, Scottish ตอนแรกมีความสนใจด้านการวาดรูป เข้าเรียน Chelsea College of Art แต่ไปๆมาๆย้ายสู่ Royal Academy of Dramatic Art กลายเป็นนักแสดงละครเวที ตามด้วย Royal Shakespeare Company, ภาพยนตร์เรื่องแรก Emily Brontë’s Wuthering Heights (1992), โด่งดังกับ Schindler’s List (1993), The English Patient (1996), The Constant Gardener (2005) ฯ

Michael Berg วัยผู้ใหญ่กลางคน เคยแต่งงานมีลูกสาว แล้วหย่าร้าง ยังคงมีความทรงจำตราติดตรึงฝังใจถึงอดีต ครุ่นคิดถึง Hanna Schmitz รักแรกหนึ่งเดียวไม่ลืมเลือน อยากที่จะทำบางสิ่งอย่างให้ เดินทางกลับบ้านบันทึกเทปเสียงอ่านส่งให้ ไม่ได้อยากให้เป็นภาระเพราะอีกใจยังรู้สึกคับแค้น แต่เมื่อเธอจากไป ตัวเขาก็ร้องไห้เสียใจอย่างที่สุด

ภาพลักษณ์ของ Fiennes มาด้วยความสุขุม สงบนิ่ง เยือกเย็น (ผสมหล่อเท่ห์) ลอยๆแบบจับต้องไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ แต่ว่าไปไม่ได้มีความละม้ายคล้าย David Kross สักเท่าไหร่ คงต้องถือเสียว่า หนังต้องการให้ภาพลักษณ์เป็นสิ่งสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายในของตัวละครออกมามากกว่า กระนั้น Charisma ของ Fiennes ก็มีความมากล้นเกินไปอยู่ดี ด้วยความดูเป็นผู้ดีมากไป จินตนาการไม่ออกเลยว่าสมัยเด็กจะไปหลงคารมรักกับหญิงสูงวัยกว่าได้อย่างไร

แถมให้กับนักแสดงคนหนึ่ง Professor Rohl อาจารย์สอนวิชากฎหมายของ Michael เห็นว่าในบทคือหนึ่งในผู้รอดชีวิตจาก Holocaust เสียด้วย รับบทโดย Bruno Ganz นักแสดงที่รับบท Adolf Hitler เรื่อง Downfall (2004) เป็นความน่าฉงนที่ทำไมผู้กำกับถึงเลือก Ganz ให้มาแสดง นี่ผมก็ไม่รู้นะ แต่คิดว่าคงอยากให้เขามีภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปในสายตาชาวโลกบ้าง (ไม่ใช่จดจำเขาว่าคือ Hitler แต่เพียงอย่างเดียว)

หนังมีเครดิตตากล้องสองคน, แรกสุดคือ Roger Deakins ถ่ายทำฉากของ Ralph Fiennes ที่ไม่มีตัวละคร Hanna ปรากฎอยู่เลยจนเสร็จสิ้น แต่เพราะตอนนั้น Nicole Kidman ยังติดการถ่ายทำหนังอีกเรื่องอยู่ Deakins เลยหนีไปถ่ายทำ Doubt จากนั้นก็คิวไม่ว่าง เลยต้องเปลี่ยนตากล้องเป็น Chris Menges อีกหนึ่งตำนานของอังกฤษ ที่มีผลงานดังอาทิ Kes (1968), The Killing Fields (1984), The Mission (1986), Notes on a Scandal (2006) ฯ

สิ่งโดดเด่นในงานภาพคือการจัดโทนแสงและใช้สี ซึ่งมีการเลือกให้เหมาะสมกับเรื่องราวเหตุการณ์ในฉากนั้นๆ อาทิเช่น
– ตอนที่ Michael เดินทางไปค่ายกักกันนาซี หรือทุกช็อตในคุก เต็มไปด้วยความมืดมิด และการจัดแสงใช้โทนอ่อน สีน้ำเงิน ให้สัมผัสที่เย็นยะเยือก แห้งแล้ง เจ็บปวดรวดร้าวทุกข์ทรมาน
– ขณะที่ห้องของ Hanna แม้จะมีสภาพซ่อมซ่อร่อแร่ แต่ใช้แสงโทนอบอุ่นสีส้ม มีความจ้าเล็กๆ ราวกับในความฝันแฟนตาซีของเด็กชายหนุ่ม
ฯลฯ

หลายคนอาจมีข้อสงสัย ทำไมครึ่งแรกถึงต้องให้นักแสดงร่างกายเปลือยเปล่าแทบจะตลอดเวลา?, มองในเชิงสัญลักษณ์ เสื้อผ้าอาภรณ์คือสิ่งที่ปกปิดเนื้อหนังมังสา บางอวัยวะที่ไม่อยากให้ผู้อื่นพบเห็น การปลดเปลื้องเปลือยเปล่า ก็เสมือนว่าคนสองได้เปิดเผยตัวตนแท้จริงออกมาให้พบเห็น แม้ว่าช่วงขณะนั้น Michael จะมิรับรู้เบื้องหลังของ Hanna แต่พวกเขาก็อยู่ในสถานะเข้าใจความต้องการของกันและกัน

ผมชอบฉากที่ Hanna อาบน้ำเช็ดตัวให้กับ Michael เพราะสิ่งเลอะเทอะเปรอะเปื้อนภายนอกสามารถล้างออกได้อย่างง่ายดาย แต่ความชั่วร้ายที่สะสมหมักหมมอยู่ภายใน ต่อให้ทำความสะอาดอย่างไรก็ไม่มีวันขัดออกได้สำเร็จหมด

สังเกตว่าเวลาอยู่กับเพื่อนฝูง เราจะไม่เห็น Michael กระโดดลงเล่นน้ำเลยนะ เขาจะนั่งอยู่ริมฝั่งเท้าเตะน้ำไปมา เฝ้ารอคอยวันเวลาที่จะไปหาคนรัก Hanna จนกระทั่งครั้งสุดท้าย เมื่อถูกทิ้งหลงเหลือเพียงตัวคนเดียว เปลื้องผ้าเปลือยเปล่าทิ้งตัวลงน้ำ เริ่มต้นดำดิ่งสู่ความทุกข์โศกเศร้า ที่จักติดตัวเขาไปจนวันตาย

ตัดต่อโดย Claire Simpson ยอดฝีมือสัญชาติอังกฤษ ผลงานเด่น อาทิ Platoon (1986) ** คว้า Oscar: Best Edited, Wall Street (1987), The Constant Gardener (2005), The Reader (2008), All the Money in the World (2017) ฯ

หนังมีลีลาการเล่าเรื่องที่ซับซ้อนเสียเหลือเกิน แม้ทั้งหมดจะเป็นในมุมมองของ Michael Berg แต่เริ่มต้นที่วัยกลางคน ทำการหวนระลึกความทรงจำสมัยวัยรุ่นหนุ่ม ค่อยๆเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตัดกลับมาปัจจุบันบ้าง 2-3 ครา (ถ้าไม่เพราะมีนักแสดงสองคน คงได้อาจมึนตึบเลยละ ซีนไหนย้อนอดีต ซีนไหนปัจจุบัน) แล้วดำเนินมาบรรจบกันที่ Michael ได้รับโทรศัพท์ติดต่อจากสถานคุมขัง บอกว่า Hanna กำลังใกล้พ้นโทษแล้ว ต้องการให้เดินทางมารับและดูแลช่วยเหลือปรับตัว

ความซับซ้อนในการเล่าเรื่องอาจถือว่าไม่เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับ Sequence ที่ทำให้ผมหงุดหงิดใจมากๆ คือขณะที่ Michael ส่งเทปบันทึกเสียงให้กับ Hanna ก็ไม่รู้จะเร่งรีบรวบรัดไปถึงไหน แถมใช้การ Cross-Cutting นำเสนอแบบผ่านๆ ล่องลอยไปเรื่อยๆ กระโดดข้ามวันเดือนปี รู้ตัวอีกทีก็เทปเต็มห้อง แทนที่จะให้เวลากันสักนิด เพื่อเห็นปฏิกิริยาสีหน้าของผู้รับ กลับสนแต่ในมุมมองการกระทำของผู้ส่ง ราวกับว่าเขาไม่ได้สนใจอะไรเธอเลย ทำสิ่งนี้เพื่อชดใช้การตัดสินใจผิดพลาดครั้งนั้นเท่านั้น

ฉากที่โคตรชอบก็พอมีอยู่นะ ตอนที่ Michael ระหว่างร่วมรักครั้งแรกกับ Hanna ตัดสลับกับภาพที่เขาจับจ้องมองพี่ๆน้องๆบนโต๊ะอาหาร ริมฝีปากที่กำลังขยับกลืนกิน เทียบกับรอยจูบจุมพิตที่เขา(ถูก)ประทับ รอยยิ้มกริ่มสะท้อนความสุขหรรษาถึงจุดไคลน์แม็กซ์ นี่เป็นการเปรียบเทียบสองสิ่งนี้ว่าคืออย่างเดียวกัน, ตอนสมัยผมเรียนมหาวิทยาลัย มีอาจารย์สอนจิตวิทยา อธิบายถึงทุกสิ่งอย่างในโลกที่คือการกระทำ สามารถใช้คำว่า Sex ได้ทั้งหมด เช่นว่า กำลังกินข้าว นั่นหมายถึงเรากำลังมีปฏิสัมพันธ์ ร่วมรักมี Sex กับอาหารที่กิน!

เห็นว่าต้นฉบับนิยาย ใช้การเล่าเรื่องด้วยคำบรรยายของ Michael เป็นส่วนใหญ่ นี่เป็นสิ่งที่นักเขียน David Hare นำออกจากบทภาพยนตร์โยนทิ้งไปเลย เพราะมันจะทำให้หนังมีความเยิ่นเยิ้อยืดยาวกว่านี้อีก ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของภาษาภาพในการเล่าเรื่องจะดีเสียกว่า, ต้องถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ยอดเยี่ยม แต่ไดเรคชั่นการลำดับเรื่องราว โดยรวมกลับไม่ค่อยโอเคสักเท่าไหร่

เพลงประกอบโดย Nico Muhly สัญชาติอเมริกัน ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Contemporary Classic

ลักษณะของบทเพลง มักใช้เปียโนเป็นองค์ประกอบหลัก เสริมพื้นหลังคลอด้วย Orchestra ให้สัมผัสที่นุ่มนวล ลุ่มลึก โหยหวนล่องลอย ขณะเดียวกันก็ชวนให้เสียวสันหลังวูบวาบ สะท้อนถึงเบื้องหลังของสิ่งที่พบเห็นนี้ มีอะไรบางอย่างที่น่าหวาดสะพรึงกลัวแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่

The First Bath ให้สัมผัสที่เหมือนความฝันของเด็กชายหนุ่ม ในโลกที่ตัวเขายังไม่เคยไปมาก่อน ช่างมีความน่าพิศวงหลงใหล อัศจรรย์ใจ นั่นรวมถึง First Sex สำหรับเขาด้วย อันจะทำให้ยิ้มกริ่มไปได้ทั้งวัน

มีบทเพลงหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าเจ๋งมากๆ ใช้อธิบายถึงเหตุผลที่ Michael ตัดสินใจไม่เข้าเยี่ยม Hanna ในคุกได้อย่างสวยงามแฝงความหมาย

The Failed Visit ด้วยเสียงอันโหยหวนของ Oboe (ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของ Michael) หลังจากโซโล่บรรเลงไปสักพักด้วยความแน่วแน่มั่นคง อยู่ดีๆค่อยๆถูกกลบเกลื่อนด้วยไวโอลินประสานเสียง จนแทบไม่ได้ยินอะไรอีก จากนั้นไม่นานก็ทำให้ชายหนุ่มตัดสินใจหันหลังกลับออกมา

อาจารย์วิชาสังคมศึกษา ชอบถามคำถามหนึ่ง ‘เราเรียนประวัติศาสตร์ไปเพื่ออะไร?’ คำตอบสุดคลาสสิกก็คือ เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์อันเลวร้ายเกิดขึ้นซ้ำรอยอีก แต่การรับชมหนังเรื่องนี้ทำให้ผมพบเจออีกคำตอบหนึ่ง เพื่อคนรุ่นหลังรับผิดชอบต่อสิ่งที่บรรพบุรุษได้ริเริ่มสร้างกระทำทิ้งไว้

ช่วงเวลาหลายทศวรรษที่คนรุ่นใหม่สัญชาติเยอรมัน ทั้งๆมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องอะไรด้วยเลยกับการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นาซี เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่กลับถูกทั่วโลกตีตราจ่าหัว เพราะคนรุ่นพ่อ-แม่ ปู่-ย่า บรรพบุรุษ นาซี ได้กระทำสิ่งชั่วช้าสามานย์อัปรีย์ต่อมวลมนุษย์ ลูกหลานคนในประเทศชาตินี้มีหรือจะถือว่าเป็นคนดี

ถึงผมไม่ใช่คนที่ชอบเหมารวมทัศนคติของสังคม ‘เด็กเทคนิคมันชอบรวมกลุ่มยกพวกตีกัน’ แต่บางครั้งอคตินี้ก็ยังสามารถเกิดขึ้นในใจได้ ทั้งๆก็รู้อยู่ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นนักเลงโฉดชั่ว เด็กเรียนคนดีก็มีถมไปกลับถูกเหมารวมรวบยอดไปหมด ‘ปลาตายตัวเดียวเน่ายกเข่ง’ นี่แสดงถึงอิทธิพลของสังคมที่มีพลังพลานุภาคยิ่ง สามารถชี้ชักครอบงำ บงการนำความคิดของคนได้โดยง่ายเสียเหลือเกิน

หลายคนที่รับชมหนังเรื่องนี้ เชื่อว่ายังคงมีทัศนคติต่ออดีตเจ้าหน้าที่นาซีเยอรมัน ผู้นำพาชาวยิวพาเรดเดินเข้าสู่ความตายในห้องรมแก๊ส จำต้องเป็นชั่วช้าเลวต่ำทรามสิ้นดี มิสมควรได้รับโอกาสให้อภัยหรือมีชีวิตอยู่, มีภาพยนตร์อยู่หลายเรื่องที่นำเสนอแนวคิดประมาณว่า ถ้าผู้บัญชาการ เจ้าหน้าที่ทหารนาซีเหล่านี้ ได้รับการปฏิบัติย้อนแย้งสู่ตนเอง พวกเขาคงรับรู้ซึ้งถึงความโง่เขลาเบาปัญญาในการกระทำของตน แต่ถ้าเรามองย้อนกลับขึ้นไปอีกชั้น แล้วคนที่เป็นนาซีละ กระทำสิ่งชั่วร้ายด้วยคำสั่ง หน้าที่ ความจำเป็น ถูกตราหน้าตัดสินโทษว่าคือสัตว์ประหลาด อมนุษย์ ชดใช้ความผิดจนสาสม แล้วจะมีใครไหมที่เห็นอกเข้าใจ ยกโทษให้อภัยกันได้

การกระทำของ Hanna Schmitz คงเป็นสิ่งที่หลายคนมิอาจสามารถยกโทษให้อภัย แต่มันไม่ได้จริงๆนะหรือ? กับคนที่เป็นชาวพุทธแท้ๆ น่าจะตอบกันได้ว่า “ไม่มีอะไรในโลกที่ไม่สามารถยกโทษให้อภัยกันไม่ได้” ทุกสิ่งอย่างอยู่ที่จิตใจของเรา ความยึดติดถือมั่นในอารมณ์เป็นสิ่งค่อยๆกัดกร่อนบ่อนทำลาย จนทำให้บุคคลผู้นั้นค่อยๆสูญเสียจิตวิญญาณและทุกสิ่งอย่าง ‘การปล่อยวาง’ ไม่ใช่การมองข้าม หรือพยายามทำให้หลงลืม แต่คือการครุ่นคิด ปุจฉา-วิปัสนา จนเกิดความเข้าใจเห็นแจ้ง โกรธแล้วได้อะไร? โกรธแล้วมีความสุขไหม? จะโกรธเกลียดเคียดแค้นไปจนถึงเมื่อไหร่?

ใจความของหนังเรื่องนี้ เป็นการสะท้อนผลกระทบต่อเนื่องของชาวเยอรมันรุ่นใหม่ (เล่าเรื่องในมุมมองของ Michael Berg) ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจากบรรพบุรุษของพวกเขา ถึงฉันจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรด้วยเลย แต่นั่นเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้เสียที่ไหน

การเพิกเฉยถือเป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะกาลเวลาจะทำให้ผู้คนค่อยๆหลงลืมเลือนสิ่งชั่วร้ายนั้นไปได้เอง แค่ว่าอาจหลายทศวรรษ หรือจนกว่าคนรุ่นนั้นจะสูญเสียสิ้นชีวิตตายจากไปจนหมด (นี่คือเหตุผลการตายของ Hanna การจากไปของคนรุ่นเธอ จะทำให้ทุกสิ่งอย่างดำเนินหน้าต่อไปได้)

แต่สำหรับชาวเยอรมันบางคน การเพิกเฉยเป็นสิ่งที่มิอาจกระทำได้ ดูอย่าง Michael ครั้งหนึ่งเคยปฏิเสธโอกาสการช่วยเหลือ Hanna (Hanna เพิกเฉยต่อการตายของชาวยิว <> Michael เพิกเฉยต่อการช่วยเหลือ Hanna) นั่นทำให้กลายเป็นตราบาปฝังจิตฝังใจ (Hanna มิอาจเขียนอ่านหนังสือได้ <> Michael มิสามารถใช้ชีวิตแต่งงาน หย่าร้างกับภรรยา) เมื่อถึงจุดๆหนึ่งทั้งสองก็เกิดความเข้าใจ สิ่งที่เกิดขึ้นผ่านไปมิอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรได้ วิธีการเดียวที่หลงเหลืออยู่คือกาเริ่มต้นใหม่ มอบสิ่งที่เป็น ‘ความหวัง’ เสียงอ่านนิยายวรรณกรรม (ตัวแทนของความมีอารยธรรม จินตนาการเพ้อฝันแฟนตาซี) มันอาจไม่ได้มีคุณค่าอะไรมากมาย แต่ก็ทำให้ชีวิตของพวกเขามีความหมายขึ้นโดยทันที

สำหรับตอนจบที่แตกต่างจากฉบับนิยาย หนังใช้การเล่าเรื่องอดีตของพ่อ Michael ส่งต่อให้ลูกสาวที่ถือว่าเป็นตัวแทนของคนรุ่นถัดๆไปอีก มันอาจไม่ได้มีความรู้สึกลึกซึ้งตราตรึงน่าจดจำเท่า แต่การถ่ายทอดนำพาไปยังสถานที่แห่งความทรงจำ นั่นคือวิธีการเดียวที่จะสืบสานเล่าต่อประวัติศาสตร์ ไม่ให้อดีตอันเลวร้ายหวนย้อนกลับมาบังเกิดขึ้นอีก

ด้วยทุนสร้าง $32 ล้านเหรียญ ทำเงินในอเมริกาได้ $34.2 ล้านเหรียญ รวมทั้วโลก $108.9 ล้านเหรียญ, แม้เสียงวิจารณ์จะค่อนข้างก้ำกึ่ง แต่หนังเข้าชิง Oscar ถึง 5 สาขา คว้ามา 1 รางวัล
– Best Motion Picture of the Year
– Best Directing
– Best Actress (Kate Winslet) ** คว้ารางวัล
– Best Writing, Adapted Screenplay
– Best Cinematography

สำหรับ Golden Globe ในปีนี้ มีเรื่องพิลึกพิลั่นบังเกิดขึ้น เพราะ Winslet คว้าได้ทั้ง Best Actress for Drama จากเรื่อง Revolutionary Road (2008) และ Best Supporting Actress จาก The Reader (2008) ก็สร้างความประหลาดใจอย่างยิ่ง เพราะไม่เคยมีอะไรแบบนี้เกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งพอ Oscar สตูดิโอ Weinstein เลยเลือกผลักดันเพียง The Reader ให้เข้าชิงนำหญิง (คงเพราะ Oscar มีกฎเขียนไว้ ห้ามนักแสดงเข้าชิงซ้ำสาขาเดียวกัน)

The Reader ไม่ใช่ผลงานการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Winslet แต่ถึงวาระต้องมอบให้สักที เพราะขณะนั้นเธอถือครองสถิติ เข้าชิง Oscar ครั้งที่ 6 ยังไม่ได้รางวัล (ที่ยังมีชีวิตอยู่) ผลโหวตเลยล้นหลามกวาดเรียบแทบทุกสถาบัน,

มีคนให้ข้อสังเกตว่า Winslet เหมือนจะจงใจไม่เอ่ยชื่อของ Harvey Weinstein ในสุนทรพจน์กล่าวขอบคุณ ไม่ใช่เพราะเธอเคยถูกลวนลามข่มขืน แต่ไม่ชอบพฤติกรรมคุกคามที่คงได้มีโอกาสพบเจอเข้ากับตัวเอง

สิ่งที่ทำให้ผมตกหลุมรักหนังเรื่องนี้ มิใช่เรือนร่างอันเซ็กซี่ใหญ่ยานของ Kate Winslet หรือใจความการสำนึกรู้ผิด แต่คือการแสดงออกซึ่งความมีมนุษยธรรม รับผิดชอบต่อสิ่งที่แม้ตนเองไม่ได้ทำ แต่เพราะฉันเป็นส่วนหนึ่ง มันจึงเหมือนหน้าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก่อให้เกิดประกายแห่งความหวัง จุดเริ่มต้นของอนาคตแสงสว่าง เช้าวันใหม่ที่สดใสกำลังเฝ้ารอคอยพวกเขาอยู่

แนะนำกับคอหนังรักโรแมนติก อีโรติก, นักกฎหมาย ทนายความ นักประวัติศาสตร์ศึกษาการตัดสินโทษของอาชญากรรมสงคราม (War Crime), นักจิตวิทยา สังคมสงเคราะห์ พยายามทำความเข้าใจตัวละคร, หลงใหลในการแสดงของ Kate Winslet, ความยะเยือกเย็นชาของ Ralph Fiennes และความไร้เดียงสาบริสุทธิ์ของ David Kross

จัดเรต 18+ กับภาพโป๊เปลือย ทัศนคติสุดโต่งของบางตัวละคร และผลลัพท์โศกนาฎกรรม

TAGLINE | “The Reader ถ้าคุณสามารถอ่านออก ทำความเข้าใจได้ทะลุปรุโปร่ง ก็จักตกหลุมรัก Kate Winslet แบบโงหัวไม่ขึ้น”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LOVE

Europa Europa (1990)


Europa Europa

Europa Europa (1990) German : Agnieszka Holland ♥♥♥♡

ความน่ารักน่าชังของ Julie Delpy ขโมยซีนในหนังรางวัล Golden Globe: Best Foreign Language Film ไปเต็มๆ โดดเด่นกว่าเรื่องราวสุดมหัศจรรย์น่าทึ่งของ Solomon Perel เด็กชายหนุ่มเชื้อสายยิว ที่เอาตัวรอดผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการแปรพักตร์เปลี่ยนข้างไปเรื่อยๆ และยังเข้าร่วม Hitler Youth โดยไม่มีใครจับผิดได้

ยุวชนฮิตเลอร์ (Hitlerjugend หรือ Hitler Youth) เป็นองค์การเยาวชนของพรรคนาซีในประเทศเยอรมนี ประกอบด้วยเยาวชนชายเชื้อสายอารยัน อายุระหว่าง 14 ถึง 18 ปี นำมาเข้าค่าย ฝึกอบรม เสี้ยมสั่งสอน ปลูกฝังแนวคิด ล้างสมอง ให้ยึดถือเชื่อมั่นในอุดมการณ์ของพรรค และท่านผู้นำ Adolf Hitler เพื่อเติบโตขึ้นจะได้เป็นแกนนำหลักของประเทศชาติต่อไป, ซึ่งหลังจากนาซียอมจำนนพ่ายแพ้สงครามเมื่อปี 1945 องค์การนี้ถือว่าสิ้นสุดสภาพโดยพฤตินัย

เชื่อว่าหลายคนอาจพอคาดเดาได้ว่า Europa Europa น่าจะมีส่วนผสมของ Black Comedy ในเชิงเสียดสีล้อเลียน ประชดประชัน เพราะเด็กชายหนุ่มที่มีเชื้อสายยิวเนี่ยนะ จะสามารถเข้าร่วมกลุ่ม Hitler Youth ได้อย่างไรกัน? แต่จะบอกว่านี่คือเรื่องจริงอิงชีวประวัติของ Solomon Perel เลือกได้เขาคงไม่อยากเข้าร่วมหรอก แต่โชคชะตาชีวิตมันจับพลัดจับพลูโดยบังเอิญเสียเหลือเกิน ดิ้นรนจนสามารถเอาตัวรอดมาเล่าเรื่องราวสุดมหัศจรรย์น่าทึ่งนี้ให้ชาวโลกได้มีโอกาสรับรู้

ฉากสุดท้ายที่เป็นภาพของชายสูงวัย ขับร้องเพลงอยู่ริมแม่น้ำ นั่นคือตัวจริงๆของ Solomon Perel ยังคงมีชีวิตอยู่ตอนหนังออกฉาย

ดัดแปลงจากหนังสืออัตชีวประวัติของ Solomon Perel (เปิดปี 1925) เรื่อง Ich war Hitlerjunge Salomon (I Was Hitler Youth Salomon) ตีพิมพ์ปี 1983 (ฉบับแปลภาษาอังกฤษใช้ชื่อ Europa Europa) ไปเข้าตาโปรดิวเซอร์ Artur Brauner หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ Holocaust รีบติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์โดยทันที แต่กว่าจะหาทุนสร้างได้ต้องสูญเวลาไปกว่า 7 ปี ทำให้นักแสดงชุดแรกที่วางตัวไว้อายุเกินกันหมด

มอบหมายหน้าที่กำกับให้ Agnieszka Holland (เกิดปี 1948) นักเขียน ผู้กำกับหญิง สัญชาติ Polish เกิดที่ Warsaw ด้วยความสนใจด้านภาพยนตร์ตั้งแต่เด็ก สอบติด Film and TV School of the Academy of Performing Arts, Prague เข้าสู่วงการโดยเป็นผู้ช่วย Krzysztof Zanussi และ Andrzej Wajda, กำกับฉายเดี่ยวเรื่องแรก Provincial Actors (1978) คว้ารางวัล International Critics Prize เทศกาลหนังเมือง Cannes, ผลงานเด่นๆ อาทิ Angry Harvest เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film, Europa Europa (1991) คว้า Golden Globe: Best Foreign Language Film, In Darkness (2011), Pokot (2017) ฯ

Solomon ‘Sally’ Perel (นำแสดงโดย Marco Hofschneider) เด็กชายหนุ่มเชื้อสาย Jews เติบโตอาศัยอยู่ Peine, Germany เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ใกล้ประทุขึ้น ครอบครัวเห็นท่าไม่ดีเลยอพยพสู่ Łódź, Poland แต่สถานการณ์ยังคงไม่ดีขึ้น ทำให้ Solomon และพี่ชาย ออกเดินทางสู่ตะวันออก พลัดพรากจาก บังเอิญไปพบเจอกองทัพสหภาพโซเวียต ถูกจับเข้าสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เรียนภาษารัสเซียและรู้จักอุดมการณ์ของ Communist

แต่แล้ว Nazi ก็สามารถโจมตียึดครองส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตสำเร็จ ทำให้ Solomon ถูกจับได้ เขาแอบอ้างว่าตัวเป็นเป็นชาวอารยันแท้ๆที่ถูกรัสเซียจับกุมขังไว้ชื่อ Josef ‘Jupp’ Peters ทีแรกไม่มีใครอยากเชื่อ แต่บังเอิญกลายเป็นคนแปลภาษา แล้วหนึ่งในตัวประกันที่จับได้คือ Yakov Dzhugashvili ลูกชายของ Joseph Stalin ใครๆจึงมองเขาคือตัวนำโชควีรบุรุษ แถมยังทำดีความชอบในการสงคราม เลยได้รับการส่งตัวสู่ Berlin เข้าร่วมองค์การ Hitler Youth

ระหว่างนั้นพบเจอตกหลุมรัก Leni Latsch (รับบทโดย Julie Delpy) แต่เพราะเธอเชื้อสายอารยันแท้ๆ มีทัศนคติอุดมการณ์เพื่อพรรคนาซีอย่างหนักแน่นมั่นคง ทำให้เขาไม่กล้าเปิดเผยบอกตัวตนแท้จริงของตนเอง ทั้งสองเลยต้องเลิกรากันอย่างชอกช้ำใจ และขณะนั้นสงครามใกล้ถึงจุดสิ้นสุด กองทัพรัสเซียบุกเข้ามาประชิดกรุง Berlin ทำให้เขายกธงขาวยอมจำนน เอาตัวรอดมาด้วยความบังเอิญพบเจอพี่ชายที่พลัดพรากจาก รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวแทบไม่หลงเหลือใคร ตัดสินใจออกเดินทางออกจาก Germany ไปสู่ Palestine กลายเป็นพลเมือง Israel

เดิมนั้นผู้รับบท Solomon Perel คือ René Hofschneider (เกิดปี 1960) แต่เพราะความล่าช้าของโปรเจค ทำให้เขาแก่เกินวัย แต่บังเอิญมีน้องชาย Marco Hofschneider (เกิดปี 1969) โตถึงวัยพอดี เลยส้มหล่นได้รับบทนี้แทน ส่วน René ก็เปลี่ยนมารับบท Isaak พี่ชายของ Solomon แทน

ต้องถือว่าเป็นเรื่องของโชคชะตาบารมีล้วนๆ ที่ทำให้ Solomon Perel สามารถเอาตัวรอดตายผ่านเหตุการณ์ต่างๆนานามาได้ แปรพักตร์เปลี่ยนข้าง ไม่รัสเซียก็นาซี แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต่อให้เขาพยายามแก้ไขเปลี่ยนแปลงสักขนาดไหนก็มิอาจทำได้ คือตัวตนแท้จริงที่เป็นชาวยิว เพราะตอนแรกเกิดอายุ 8 วัน ต้องเข้าพิธีขริบ (Circumcision) นี่คือสิ่งตีตราว่าเป็นชาวยิว มิอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรได้เอง

Hofschneider เป็นนักแสดงสมัครเล่น ไม่ได้มีฝีมือเก่งกาจอะไร (แม้จะมีผลงานตามมาบ้างประปราย แต่ไม่นานก็เลือนหายไปตามกาลเวลา) ซึ่งไดเรคชั่นของหนังก็ไม่ได้เน้นขายความสมจริงอยู่แล้ว บางครั้งดูเคอะเขิน ฝืนธรรมชาติ พาลให้เกิดความขบขำขัน มองเป็น Dark Comedy ก็พอได้อยู่

Julie Delpy (เกิดปี 1969) นักร้อง นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris พ่อ-แม่ต่างเป็นนักแสดง ทำให้ตั้งแต่เด็กเติบโตด้วยความรักในงานศิลปะ หลงใหลในภาพยนตร์ของ Ingmar Bergman งานศิลปะของ Francis Bacon โตขึ้นเข้าเรียน New York University’s Tisch School of the Arts ได้รับการค้นพบโดย Jean-Luc Godard แสดงเรื่อง Détective (1985), ตามด้วย La Passion Béatrice (1987) เข้าชิง César Award for Most Promising Actress, เป็นที่รู้จักทั่วยุโรปจาก Europa Europa (1990) แม้จะพูดภาษาเยอรมันไม่ได้ ขยับปากเป็นภาษาอังกฤษ แล้วใช้การพากย์ทับเอา

รับบท Leni เพราะเกิดเป็นลูกผู้หญิง เลยมิอาจเข้าร่วม Hitler Youth แต่ก็มีความรักคลั่งในอุดมการณ์ของพรรคนาซี หว่านโปรยเสน่ห์ให้หนุ่มๆอารยัน เลือกเพื่อให้เป็นพ่อพันธุ์ ผลิตลูกหลายให้กับประเทศรุ่นถัดไป

ความน่ารักของ Delpy ในวัยกำลังสวยสะพรั่ง ย่อมทำให้ใครๆต่างเคลิบเคลิ้มหลงใหล แต่ลึกๆภายในของตัวละครกลับเป็นพวกอุดมการณ์ชาตินิยมสุดโต่ง สะท้อนถึงจิตใจมีความอัปลักษณ์พิศดาร ที่ยั่วยวนทำไปไม่ใช่เพื่อความรักใคร่ตัณหาอย่างแน่นอน, ผมว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกของ Solomon Perel เพราะถ้าเขาเปิดเผยตัวตนแท้จริงให้เธอรับรู้ร่วมรัก ย่อมต้องถูกเปิดโปง จับเข้าค่ายกักกัน หรือไม่ก็รมแก๊สพิษ ประหารชีวิตอย่างแน่นอน

จริงๆผมหลงใหล Delpy มาตั้งแต่ Before Sunrise (1995) แต่เพิ่งเคยได้รับชมผลงานเรื่องนี้ที่ถือว่าแจ้งเกิดระดับนานาชาติ ตราตรึงสุดก็คือการจูบแลกลิ้นและสายตาร่านสวาท ที่ฟินชิบหาย! เธอเล่นหนังเรื่องนี้ตอนอายุ 20 ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้วนะ

ถ่ายภาพโดย Jacek Petrycki สัญชาติ Polish, งานภาพเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายอลม่าน ก็ไม่รู้จะเร่งรีบร้อนรวดเร็วไปไหน โฉบเฉี่ยวฉวัดเฉวียน สะท้อนเรื่องราวชีวิต อารมณ์วัยรุ่นของ Solomon Perel ที่ถูกโชคชะตาจับไปวางฝั่งโน้นนี้ เอาแน่เอานอนตัดสินใจทำอะไรด้วยตนเองไม่ได้สักอย่าง

ในบางไดเรคชั่นมันช่างน่าปวดเศียรเวียนเกล้าเสียเหลือเกิน อย่างตอนเสียตัวครั้งแรกของ Solomon กับเจ้าหน้าที่เยอรมันสาวใหญ่บนรถไฟ พวกเขามันทำบ้าอะไรเนี่ย! ใจหนึ่งก็ขำ แต่อีกหนึ่งกลับขำไม่ออก มันอัปลักษณ์พิศดาร ไร้รสนิยมเสียเหลือเกิน (แล้วเจ๊นั่นไม่ได้สังเกตหรือว่าไอ้จ้อนของ Solomon ผ่านการขลิบมา)

อีกครั้งหนึ่งที่น่าหงุดหงิด คือตอน Solomon ได้ยินความจริงของ Leni ผ่านแม่ของเธอ ทำให้เขาต้องสารภาพออกมาว่าเป็นชาวยิว, ชายหนุ่มศีรษะพิงผนังห้อง เงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ขณะที่แม่ของ Leni ก้มหน้าก้มตามองพื้นดิน คือมันก็ดูสมเหตุสมผล เพราะ Solomon ราวกับต้องการถามพระเจ้า มันเกิดบ้าอะไรขึ้น ส่วนแม่เหมือนกำลังตกนรกทั้งเป็น แต่ความเยิ่นเย้อ ยืดยาวของฉากนี้ มันฟูมฟายแบบน่าเกลียดมากๆ แล้วทั้งสองก็กอดจูบกันกลม ราวกับจะ Incest

ตัดต่อโดย Isabelle Lorente, Ewa Smal เล่าเรื่องโดยใช้มุมมองและเสียงบรรยายของ Solomon Perel ทั้งหมด

หนังมีความรวดเร็วฉับไวในการตัดต่ออย่างยิ่ง คาดว่า ASL คงไม่น่าเกิน 3 วินาที ไม่ค่อยมีการแช่ภาพทิ้งไว้นานๆ นี่ยังคงสะท้อนเรื่องราวชีวิต และอารมณ์วัยรุ่นของ Solomon Perel ที่มักจะสลับเปลี่ยนแปลงฝั่งข้างไปมาอยู่เรื่อยๆ เอาแน่เอานอนอะไรไม่ค่อยได้

สองครั้งในหนังที่แทรกใส่ Dream Sequence ซึ่งล้วนเป็นการสะท้อนความต้องการที่อยู่ในภายในจิตใจ Sexual Desire ของ Solomon ออกมาได้อย่างตรงไปตรงมา
– ฝันแรกตอนที่ Solomon จำใจต้องเข้าร่วมกับ Wehrmacht เป็นล่ามแปลภาษารัสเซียให้ทหารเยอรมัน ภาพที่เห็นอยู่ในโบสถ์ ซึ่ง Hitler กับ Stalin เต้นรำวงไปด้วยกัน เสมือนว่าพวกเขาสามารถจับมือเป็นพันธมิตรกันเสียอย่างนั้น
– ฝันที่สองตอนฉี่รดที่นอน (เพราะอยากดึงหนังที่ถูกขลิบออกไป ให้กลับมาปกปิดอวัยวะเพศ แต่ทำไม่ได้ และมันทรมานมากด้วยจนควบคุมปัสสาวะไว้ไม่อยู่) ภาพที่เห็นคือบนโต๊ะอาหาร ครอบครัวของเขากำลังกินไข่ และไม่มีใครอยากให้ความสนใจ Solomon อีกแล้ว, นัยยะนี้สื่อถึง ตัวเขาไม่อยากเป็นชาว Jews อีกแล้ว เลยถูกคนในครอบครัวต่อต้านหันหลังให้

ส่วนตัวไม่ค่อยชอบไดเรคชั่นของหนังสักเท่าไหร่ ทั้งๆที่ใช้เสียงบรรยายของตัวละครเพื่อเข้าใจความคิดอ่าน แต่ไม่อาจทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องราว แค่มองเห็น สังเกตการณ์ หัวเราะขบขัน เครียดลุ้นระทึกไปกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น และสัมผัสถึงความมหัศจรรย์ของชีวิตคนๆหนึ่ง ก็เท่านั้นเอง

เพลงประกอบโดย Zbigniew Preisner สัญชาติ Polish ขาประจำของ Krzysztof Kieślowski,

บทเพลงมุ่งขับเน้นความเจ็บปวด บาดลึก เสียดแทงเข้าไปในจิตใจ ฟังแล้วแสบแก้วหูฉะมัด รู้สึกรวดร้าวทรมานแทนตัวละคร ที่ก็ไม่รู้จะดำเนินชีวิตดิ้นรนเอาตัวรอดยังไง ก็ได้แค่ต้องปล่อยล่องลอยไปตามสายตามธาราแห่งโชคชะตา

“Who was my friend? Who was my enemy? How could they be kind to me and at the same time kill others so horribly? What set us apart? A simple foreskin?”

ใจความของ Europa Europa คือข้อคำถามที่ Solomon Perel ครุ่นคิดสงสัยจากการเปลี่ยนแปรพักตร์ฝักฝ่ายไปเรื่อย ใครกันที่คือมิตร? ใครกันที่คือศัตรู? ตัวเขาพบเจอเพื่อนแท้ในหมู่ทหารเยอรมัน (เพื่อนทหารที่เป็นเกย์ พอรับรู้ว่าเขาขลิบเป็นยิว ก็สัญญาไม่ยอมปริปากใดๆ), เพื่อนทรยศจากรัสเซีย (ยังดีที่ไม่มีใครนอกจากเขาฟังภาษารัสเซียออก), แถมแฟนสาวยังจริตจัด รักมากแต่คบไม่ได้, เหล่านี้เป็นคำถามที่ไม่มีใครตอบได้ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งมันวุ่นวายมากเกินที่เขาจะทนรับไหว เลยตัดสินใจหนีออกมาจากสถานที่แห่งขัดแย้งนั้น สู่โลกใบใหม่ที่คือดินแดนของพรรคพวกเดียวกันเอง

ตอนจบของหนัง บทเพลงที่ Solomon Perel ตัวจริงขับร้องเป็นภาษา Hebrew คือท่อนหนึ่งของ Psalm 133 แปลคำร้องได้ว่า

“See now, how good and how pleasant is the dwelling of brothers, moreover, in unity.”

เห็นไหมโลกใบใหม่ของชาวยิว (ที่ Israel) ช่างมีความร่มรื่น สุขกายสบายใจ แถมมีความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียว ไม่ต้องดิ้นรนทนต่อความขัดแย้ง สับสนวุ่นวายอลม่าน แค่นี้ก็เหลือเฟือเกินพอสำหรับชีวิตแล้ว

ความน่าอัศจรรย์ในเรื่องราวชีวิตของ Solomon Perel เป็นการตบหน้าทั้งคอมมิวนิสต์และนาซี ฉาดใหญ่ๆให้เสียค่าโง่เลยก็ว่าได้ ขนาดว่าครูผู้เชี่ยวชาญเรื่องรูปลักษณ์เชื้อชาติพันธุ์ เรียก Solomon ออกไปหน้าชั้นเรียน ใช้โน่นนี่นั่นวัดอัตราส่วน ไม่ยักรู้การเป็นชาวยิววัดกันได้ด้วยตัวเลขสมการ แต่ที่ไหนได้ข้อสรุป East-Baltic ชายหนุ่มเหลือบตาเงยหน้าขึ้น ราวกับเป็นการขอบคุณพระเจ้า รอดตายมาได้อย่างปาฏิหารย์, นี่เป็นฉากที่ผมขำหนักสุดในหนังแล้วนะ

รับชมหนังเรื่องนี้ ทำให้ผมนึกถึงหนังเรื่อง Unbreakable (2000) ของผู้กำกับ M. Night Shyamalan และมังงะเรื่อง Tottemo! Luckyman คือมันก็มีความเป็นไปได้นะแหละ ที่จะมีบุคคลผู้โคตรโชคดี ฟ้าประทานมาให้พบเจอเรื่องบังเอิญ จับพลัดจับพลู เอาตัวรอดผ่านเรื่องร้ายๆชิบหายมาได้ คือพอมันเป็นเรื่องจริงก็ต้องเรียกปาฏิหารย์นะแหละครับ ไม่มีคำอื่นใดสามารถอธิบายได้ และตอนจบทำให้เขาค้นพบเจอหนทางชีวิตของตนเองด้วย

ไม่มีรายงานทุนสร้าง แต่หนังทำเงินในอเมริกา $5.6 ล้านเหรียญ, และแม้จะคว้ารางวัล Golden Globe Award: Best Foreign Language Film มาครองได้ แต่ประเทศ Germany กลับไม่ยอมส่งเป็นตัวแทนเข้าชิง Oscar เหตุผลสามารถคาดเดาได้ไม่ยาก เพราะนี่เป็นหนังที่มีความ ‘ทรยศ’ ต่อชาวเยอรมัน ทำให้เกิดความอับอายขายหน้ามากกว่าภาคภูมิใจ

กระนั้นหนังได้ยังรับอีกโอกาสให้เข้าชิง Oscar สาขา Best Writing, Screenplay Based on Material Previously Produced or Published ปีถัดมา 1992 พลาดรางวัลให้กับ The Silence of the Lambs (1991)

ส่วนตัวไม่ค่อยชอบหนังเรื่องนี้สักเท่าไหร่ จนกระทั่งพระเอกพบเจอกับตัวละครของ Julie Delpy หญิงสาวได้ขโมยทุกสิ่งอย่าง และหัวใจของผมไปเลยละ ต่อให้ไดเรคชั่นจะเละเทะ วุ่นวาย ขำบ้างไม่ขำบ้างแค่ไหน เธอคนเดียวทำให้โลกสวยขึ้นทันตา

แนะนำกับคอหนัง Wars Drama แนว Survival จับพลัดจับพลูเอาตัวรอดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, หลงใหลในความตลกร้าย Black Comedy, แฟนๆนักแสดง Julie Delpy ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

จัดเรต 15+ กับความตลกร้าย ทั้งขำออกและขำไม่ออกกับการเหยียดชาวยิวของนาซี

TAGLINE | “Europa Europa ทำทุกอย่างเพื่อเอาตัวรอด จนพลาดโอกาสแอ้มสาว Julie Delpy ไปอย่างน่าเจ็บใจ”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

Judgment at Nuremberg (1961)


Judgment at Nuremberg

Judgment at Nuremberg (1961) hollywood : Stanley Kramer ♥♥♥♥

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ได้รับชัยชนะ จัดตั้งตุลาการศาลระหว่างประเทศ (Tribunal) ขึ้นที่ Nuremberg, Germany เพื่อตัดสินโทษความผิดของเหล่าอาชญากรสงคราม นำแสดงโดย Spencer Tracy สมทบด้วย Burt Lancaster, Richard Widmark, Marlene Dietrich, Judy Garland, William Shatner, Montgomery Clift และ Maximilian Schell หนึ่งเดียวที่คว้า Oscar: Best Actor

ใครก็ตามที่เอาตัวรอดชีวิตผ่านช่วงเวลาสงครามโลกครั้งที่ 2 มาได้ โดยเฉพาะผู้มีเชื้อสายชาวยิว ย่อมเกิดความโกรธเกลียดเคียดแค้นนาซี อาจลุกลามเหมารวมถึงชาวเยอรมันทั้งประเทศ ต้องการที่จะแสดงออกกระทำบางสิ่งอย่าง เพื่อทวงคืนความอยุติธรรมที่ตนได้รับทุกข์ทรมานแสนสาหัส

การพิจารณาคดีความที่ Nuremberg ฟังดูเป็นสิ่งสมเหตุสมผล สมควรบังเกิดขึ้น เพื่อคิดบัญชีดำล่าล้างแค้นบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังบงการ แม้ตัวละครหลักๆอย่าง Adolf Hitler, Joseph Goebbels, Hermann Göring, Heinrich Himmler ฯ จะตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ปลิดชีวิตฆ่าตัวตายหนีความผิดไปก่อนหน้านั้น แต่ยังหลงเหลืออีกหลายคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เหมารวมลากเข้ามา ประกาศประจานให้โลกได้รับรู้

แต่ผมมองว่า การพิจารณาคดีความที่ Nuremberg คือฉากบังหน้าสร้างภาพของฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อ(แอบ)อ้างตัวเองว่าเป็นผู้มีคุณธรรมสูงส่งกว่าพวกนาซี โดยมีคำเรียก ‘ความยุติธรรมของผู้ชนะ’ และเป้าหมายหลักๆคือการค้นหา “แพะ” ผู้รับผิดชอบต่อการกระทำอันไร้ซึ่งมนุษยธรรมโลกไม่รู้ลืมนี้

กระนั้นภาพยนตร์เรื่องนี้ของ Stanley Kramer ได้ทำสิ่งที่เหนือเกินความคาดหมาย แตกต่างจากประวัติศาสตร์ข้อเท็จจริงพอสมควร ในมุมมองทัศนะของผู้กำกับ จำลองย่อต่อเหตุการณ์การพิจารณาคดีความที่ Nuremberg ลงท้ายด้วยโคตรสุนทรพจน์กินใจของ Spencer Tracy และคำพูดประโยคสุดท้ายที่ตราตรึงทรงพลัง ก็ทำเอาผมอึ้งทึ่งผงะไปเลยละ

ขอกล่าวถึง Nuremberg Trials ตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์สักนิดก่อนแล้วกัน เป็นการพิจารณาคดีอาชญากรรมสงคราม (War Crime) โดยมีตุลาการศาลระหว่างประเทศและอัยการโจทก์ คือฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบด้วยสี่ประเทศมหาอำนาจ สหภาพโซเวียต, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ยื่นฟ้องบรรดากลุ่มผู้นำของ Nazi Germany ในข้อหากระทำการอันชั่วร้ายต่อมวลมนุษยชาติ มีทั้งหมด 12 การพิจารณา (อาทิ High Command Trial, Ministries Trial, Krupp Trial, Doctors’ Trial, Judges’ Trial ฯ) ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 1946 ถึง 13 เมษายน 1949 ตอนแรกตั้งใจจัดขึ้นที่กรุง Berlin เพราะคือกึ่งกลางของเยอรมันและ Fascist แต่ผลกระทบจากสงครามทำให้สถานที่ราชการส่วนใหญ่อยู่ในสภาพปรักหักพัง จึงตกลงย้ายมายัง Palace of Justice, Nuremberg ที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก

เกร็ด: Nuremberg คือสถานที่ประชุมใหญ่ของพรรคนาซี ทุกๆปีจะมีการเดินสวนสนามขบวนพาเรดสุดยิ่งใหญ่ ดังที่เห็นในภาพยนตร์ชวนเชื่อเรื่อง Triumph of the Will (1935)

สำหรับการพิจารณาที่นำมาเป็นแรงบันดาลใจของหนัง คือ Judges’ Trial ลำดับที่สาม ช่วงระหว่างวันที่ 5 มีนาคม ถึง 4 ธันวาคม 1947 ประกอบด้วยผู้พิพากษา 4 คน นำโดย Carrington T. Marshall (อดีตประธานศาลสูงจากรัฐ Ohio), James T. Brand, Mallory B. Blair, Justin Woodward Harding มีผู้ยื่นฟ้องกองทัพสหรัฐอเมริกา Telford Taylor และผู้ช่วย Charles M. LaFollette จำเลยทั้งหมด 16 คน โดย 9 คนคือผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม Reich Ministry นำโดย Josef Altstötter, Oswald Rothaug, Franz Schlegelberger, Curt Rothenberger ฯ

ซึ่งหนึ่งในหัวข้อที่มีการอ้างอิงกล่าวถึงในหนังคือ Katzenberger Trial เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 1942 ในช่วงการบังคับใช้กฎหมาย Nuremberg Law ว่าด้วยห้ามชาวยิวมีสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงเชื้อสายอารยัน คดีนี้มีประธานผู้พิพากษาคือ Oswald Rothaug ตัดสินประหารชีวิตชายสูงวัยชาวยิว Leo Katzenberger ด้วย Guillotine ส่วนหญิงสาว Irene Seiler แม้จะปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แต่ถูกจำคุก 2 ปี ข้อหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม

Stanley Earl Kramer (1913 – 2001) ผู้สร้างภาพยนตร์สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Manhattan, New York City ในชุมชน Hell’s Kitchen ขึ้นชื่อเรื่องกลุ่มแก๊งค์อันธพาล ครอบครัวเป็นชาว Jews แม่ทำงานเป็นพนักงานใน Paramount Picture ส่วนลุงอยู่ Universal Pictures, โตขึ้นเข้าเรียน New York University เป็นสมาชิกของ Pi Lambda Phi ระหว่างนั้นทำงานเป็นนักเขียน คอลัมนิสต์ เก็บเงินส่งเสียตัวเองเรียนกฎหมายจนจบ, สมัครเป็นทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อยู่หน่วย Signal Corps มีโอกาสร่วมงานสร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อกับ Frank Capra, Anatole Litvak จนได้ยศ First Lieutenant จบออกมาหางานไม่ได้เลยเปิดสตูดิโอสร้างหนังเสียเอง เริ่มต้นจากเป็นโปรดิวเซอร์ So This Is New York (1948), Champion (1949) ฯ

ในยุคที่โปรดิวเซอร์เป็นใหญ่สุดของการสร้างหนัง Kramer ได้ปฏิวัติทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับระบบสตูดิโอ ในแนวทางเรียกว่า Independent (หรือหนัง Indy นั่นเอง) โปรดิวเซอร์ให้เสรีภาพแก่ผู้กำกับอย่างเต็มที่ ไม่เรื่องมากจู้จี้ขี้บ่น ก็มีการถกเถียงกันบ้าง แต่เน้นต่อรองประณีประณอมมากกว่าถึงขั้นหัวเด็ดตีนขาด, Kramer เริ่มต้นกำกับภาพยนตร์ด้วยตัวเอง หลังออกจากภายใต้ร่มเงาของ Columbia Pictures เรื่อง Not as a Stranger (1955) นำแสดงโดย Olivia de Havilland, Robert Mitchum, Frank Sinatra แม้ยังเป็นการลองผิดลองถูก เสียงวิจารณ์ก้ำกึ่ง แต่ทำเงิน Smash Hit

ความสนใจของ Kramer สร้างภาพยนตร์ที่เรียกว่า ‘Message film’ หรือ Social Problem นำเสนอปัญหาของสังคม บริบทที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะใน Hollywood อาทิ
– Racism การเหยียดผิว/สัญชาติ เรื่อง The Defiant Ones (1958), Guess Who’s Coming to Dinner (1967)
– สงครามนิวเคลียร์ เรื่อง On the Beach (1959)
– creationism vs. evolution เรื่อง Inherit the Wind (1960)
– Fascism เรื่อง Judgment at Nuremberg (1961)
– ทุนนิยม เรื่อง It’s a Mad, Mad, Mad, Mad World (1963)
ฯลฯ

Kramer ได้แรงบันดาลใจสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้จากการรับชมตอนหนึ่งของรายการโทรทัศน์ Playhouse 90 (1956 – 1960) ที่ชื่อ Judgment at Nuremberg ซีซัน 3 ตอนที่ 28 ออกอากาศวันที่ 16 เมษายน 1956 กำกับโดย George Roy Hill นักแสดงประกอบด้วย Claude Rains รับบท Judge Dan Haywood, Paul Lukas รับบท Ernst Janning, Maximilian Schell รับบท Otto Rolfe, Werner Klemperer รับบท Emil Hahn ฯ

มอบหมายให้ Abby Mann ชื่อเดิม Abraham Goodman (1927 – 2008) นักเขียนสัญชาติอเมริกาเชื้อสาย Jews ที่เป็นผู้พัฒนาบทตอนนี้ในฉบับโทรทัศน์ มาดัดแปลงสานต่อให้กลายเป็นบทภาพยนตร์ ซึ่งหลังจากนี้เหมือนว่า Mann ยังดัดแปลงต่อเป็นฉบับละครเวที Broadway เปิดการแสดงปี 2001

เรื่องราวเริ่มต้นที่ Judge Dan Haywood (รับบทโดย Spencer Tracy) เดินทางสู่ Nuremberg, Germany เพื่อเป็นประธานตุลาการพิจารณาคดี Nuremberg Trial โดยผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย
– อัยการฝั่งทหารอเมริกัน Col. Tad Lawson (รับบทโดย Richard Widmark)
– ทนายแก้ต่างฝั่งเยอรมัน Hans Rolfe (รับบทโดย Maximilian Schell)
– ผู้ต้องหา/จำเลย ประกอบด้วย Dr. Ernst Janning (รับบทโดย Burt Lancaster), Emil Hahn (รับบทโดย Werner Klemperer), Werner Lampe (รับบทโดย Torben Meyer) และ Friedrich Hofstetter (รับบทโดย Martin Brandt)
– พยานที่เด่นๆ ประกอบด้วย Rudolph Peterson (รับบทโดย Montgomery Clift), Irene Hoffmann-Wallner (รับบทโดย Judy Garland)
– และสมทบอื่นๆ Frau Bertholt (รับบทโดย Marlene Dietrich), Capt. Harrison Byers (รับบทโดย William Shatner)

Spencer Tracy ในช่วงบั้นปลายชีวิต เจ็บป่วยอิดๆออดๆผลกรรมจากความหนักในทุกสิ่งอย่างช่วงวัยหนุ่ม หลังร่วมงานกับ Kramer เรื่อง Inherit the Wind (1960) พวกเขาก็เข้าใจข้อจำกัดของกันและกัน กลายเป็นคู่บารมีใน 3-4 ผลงานสุดท้าย,

รับบท Judge Dan Haywood ผู้มีความใคร่สนใจในตัวบุคคล มากกว่าคดีความที่ตนกำลังพิจารณานี้อยู่เสียอีก มักใช้เวลาวันหยุดออกเดินทางท่องเที่ยว เข้าสังคม เพื่อซึมซับทำความรู้จักประเทศเยอรมัน ในมุมที่คนส่วนใหญ่มิได้ใคร่สนใจ และได้ข้อสรุปตัดสินคดีความ เป็นสุนทรพจน์คำตอบที่กาลเวลาเท่านั้นจะเป็นสิ่งพิสูจน์ทุกสิ่งอย่าง

Tracy ก็ยังคงเป็น Tracy มีความลุ่มลึก มาดนิ่ง เก๋าประสบการณ์ และคมคายในเรื่องการพูดโน้มน้าวคน แต่อุปสรรคของเขาคือต้องไม่โหมหนักเกินไป ทำงาน 5 วันไม่เกิน 5 โมงเย็นต้องกลับบ้าน (หรือแฟน Katharine Hepburn มารับ) กระนั้นความมืออาชีพที่ยังต้องยกย่องคารวะ สามารถถ่ายทำฉากกล่าวสุนทรพจน์ 11 นาที ผ่านได้ในเทคเดียว

Burt Lancaster นักแสดงสัญชาติอเมริกา ที่เมื่อปีก่อนหน้าเพิ่งคว้า Oscar: Best Actor เรื่อง Elmer Gantry (1960) เห็นว่านำรูปปั้นรางวัลมายังกองถ่ายให้หลายๆคนได้เชยชม,

รับบท Dr. Ernst Janning จากผู้พิพากษากลายเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม Reich Ministry ทั้งๆเป็นคนยึดมั่นในอุดมการณ์อย่างแรงกล้า อุทิศตัวเองเพื่อประเทศชาติ กลับเพิกเฉยสิ่งที่เรียกว่ามนุษยธรรมความเท่าเทียม อ้างว่าไม่รับรู้เห็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ลึกๆในใจของเขานั้นคงมีคำตอบนั้นอยู่ในใจแล้ว เป็นสิ่งฟังไม่ขึ้นสักเท่าไหร่

Lancaster เป็นเจ้าของฉายา ‘Tough Guys’ ซึ่งกับหนังเรื่องนี้ถึกระดับศิลา สงบนิ่งไม่มีบทพูดในชั้นศาลเลยจนกระทั่ง 2 ชั่วโมง 15 นาทีผ่านไป (นอกศาลในคุก ก็มีบทพูดอยู่นะ) แต่แค่นั้นก็เหลือเฟือเพียงพอให้ผู้ชมรับรู้ถึง ‘ความหนักแน่น’ มั่นคงไม่สั่นคลอนของตัวละคร ซึ่งพอเขากล่าวสุนทรพจน์แสดงความต้องการของตนเองออกมา แทบทุกสิ่งอย่างก็ไขกระจ่างออกทันที

Richard Widmark นักแสดงสัญชาติอเมริกัน ที่กลายเป็น Typecast จากบท Anti-Hero ในหนังนัวร์นับตั้งแต่ Kiss of Death (1947),

รับบท Col. Tad Lawson อัยการฝั่งทหารอเมริกัน พานพบเห็นสิ่งชั่วร้ายที่เกิดในค่ายกักกันนาซี จึงพยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้คนชั่วได้รับผลกรรมตามสนองอย่างสาสมที่สุด แต่เมื่อถูกกดดันในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เราจะได้พบเห็นธาตุแท้ตัวตนของชายคนนี้

ผมเริ่มมีความคุ้นๆหน้าของ Widmark พบเห็นในหนังหลายๆเรื่อง ซึ่งมักได้รับบทที่มีความโกรธเกลียดคับแค้น แสดงออกซึ่งความเกรี้ยวกราดโหดเหี้ยม สะท้อนออกมาทางสีหน้าสายตาคำพูด มีความเป็นธรรมชาติเกินไปเสียหน่อย เลยไม่แปลกที่จะกลายเป็น Typecast ได้รับแต่บทบาทลักษณะนี้เป็นส่วนใหญ่

Maximilian Schell นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติ Swiss เกิดที่ Vienna, Austria อพยพหนีสงครามโลกไปประเทศ Switzerland พอโตขึ้นหวนกลับเยอรมันไปเล่นหนัง Anti-Wars พอเริ่มมีชื่อเสียงมุ่งสู่ Hollywood เรื่องแรก The Young Lions (1958), พลุแตกกับ Judgment at Nuremberg (1961) ผลงานเด่นอื่นๆตามมา อาทิ Erste Liebe (1970), The Pedestrian (1973), The Man in the Glass Booth (1975), Julia (1977) ฯ

รับบท Hans Rolfe ทนายความแก้ต่างให้จำเลยทั้งสี่ของฝั่งเยอรมัน เรื่องความสามารถต้องยกย่องว่าระดับยอดฝีมือ เก่งกาจเฉลียวฉลาด รอบรู้ เล่นกับจิตวิทยาของพยานได้อย่างทะลุทะลวง ถึงกึ๋น แต่สิ่งทำให้พ่ายแพ้คดีคือข้อเท็จจริงที่มิอาจเปลี่ยนแปลงได้ กระนั้นคำตัดสินนี้ถือว่าเอื้อต่อลูกความเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เขาสามารถพยากรณ์อนาคตได้อย่างถูกเผง

Marlon Brando ต้องการรับบท Hans Rolfe เป็นอย่างยิ่ง (ปกติ Brando จะไม่ค่อยโหยหาอยากเล่นบทอะไรเป็นพิเศษขนาดนี้) ถึงขนาดเข้าหา Kramer พูดคุยต่อรองแสดงความสนใจ ซึ่งผู้กำกับก็แสดงความสนอกสนใจอย่างยิ่งทีเดียว แต่สุดท้ายเลือก Schell เพราะประทับใจการแสดงในต้นฉบับ Playhouse 90 ตราตรึงเกินห้ามใจ ซึ่งโอกาสครั้งนี้ที่คว้าไว้ สามารถไต่เต้าขึ้นสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ (แต่ผมคิดว่าถ้า Brando แสดงบทบาทนี้ มีแนวโน้มอย่างยิ่งจะเจ๋งกว่า Schell นะ)

วันหนึ่งระหว่างการถ่ายทำ เมื่อ Tracy เห็นการแสดงของ Schell พูดกับ Widmark

“We’ve got to watch out for that young man. He’s very good. He’s going to walk away with the Oscar for this picture.”

ใครจะไปคิดว่าคำทำนายนี้จะกลายเป็นจริงไปเสียได้

แซว: ถึง Maximilian Schell จะคว้า Oscar สาขา Best Actor แต่ค่าตัวของเขาในหนังเป็นรอง Spencer Tracy, Burt Lancaster, Richard Widmark, และแม้แต่ Marlene Dietrich (มากกว่า Judy Garland เพราะเธอมาในบทสมทบ)

Marlene Dietrich แม่หญิงเรียวขาสุดเซ็กซี่สัญชาติ German อพยพสู่ Hollywood ก่อนการเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ปฏิเสธคำเชื้อเชิญของนาซี สนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร ออกทัวร์ทั่วยุโรปเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ทหารหาญ และพอรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศบ้านเกิดก็รับไม่ได้อย่างรุนแรง,

รับบท Frau Bertholt ภรรยาหม้ายของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซี อดีตเจ้าของบ้านที่ Judge Dan Haywood พักอาศัยอยู่ระหว่างพิจารณาคดี พวกเขาพบเจอกันโดยบังเอิญ ทำให้มีโอกาสได้รู้จัก เกี้ยวพากันเล็กน้อย ซึ่งเธอพยายามโน้มน้าวให้เขาเกิดความเข้าใจว่า ‘ไม่ใช่ทุกคนในเยอรมัน จะรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวยิว’

แซว: ก่อนหน้าการถ่ายทำเรื่องนี้ ว่ากันว่า Dietrich ไปทำศัลยกรรมอะไรมาสักอย่าง เราจึงไม่ค่อยเห็นการขยับปาก (เห็นว่าต้องใช้การพากย์ทับด้วย เพราะกดเสียงพูดต่ำมากจนแทบไม่ได้ยิน) หรือแสดงออกทางสีหน้ามากนัก ซึ่งตอนหนังฉาย เจ้าตัวเหมือนไม่ค่อยพึงพอใจผลลัพท์นี้สักเท่าไหร่ (คือคงไม่ใช่เรื่องเนื้อหาของหนัง แต่คือถ่ายภาพตนเองออกมาไม่สวยเท่าไหร่)

Montgomery Clift นักแสดงหนุ่มอายุสั้นสัญชาติอเมริกา มักได้รับบทตัวละครขี้อ่อนไหวแต่เจ้าอารมณ์ ถือเป็นรุ่นแรกๆที่ใช้ Method Acting เข้าประกอบการแสดง (เคียงข้าง Brando และ James Dean) โด่งดังกับ Red River (1948), A Place in the Sun (1951), I Confess (1952), From Here to Eternity (1953) ฯ แต่เพราะความจริงจังในบทบาทมากเกินเยียวยา เลยชอบใช้สุราและยาเสพติด อาการหนักทีเดียวตอนมาถึงกองถ่ายเรื่องนี้

รับบท Rudolph Peterson หนึ่งในพยานที่ถูกตัดสินคดีว่าเป็นคนไม่เฉลียวฉลาด ปัญหาสังคม จำต้องถูกกักขัง รักษา และผ่าตัด ทำให้ปัจจุบันมีสภาพเหมือนคนเสียสติไม่เต็มองค์สักเท่าไหร่

Clift เป็นคนที่ไม่ค่อยชอบจดจำบทพูดของตนเอง ประสบปัญหาติดๆขัดๆ เคาะๆเขินๆ จนกระทั่งวันหนึ่งผู้กำกับ Kramer หมดความอดทน บอกว่าอยากพูดอะไร Ad Lib ก็ตามสบาย ปรากฎว่าทำให้เขาผ่อนคลายลงอย่างมาก ไม่น่าเชื่อว่าทุกบทพูดที่กล่าวออกมา ยอดเยี่ยมเกินความคาดหมาย

“He wasn’t always close to the script, but whatever he said fitted in perfectly, and he came through with as good a performance as I had hoped.”

เกร็ด: ว่ากันว่า Clift แสดงบทนี้โดยไม่รับค่าตัวสักดอลลาร์เดียว

Judy Garland แทบแย่ทีเดียวหลังจาก A Star Is Born ห่างหายจากวงการภาพยนตร์ไป 7 ปี ทั้งเข้าบำบัด รักษาอาการป่วย พบเห็นในรายการโทรทัศน์ และการแสดงคอนเสิร์ต แม้ตอนแรก Kramer จะได้ยินกิตติศัพท์เรื่องอารมณ์ขึ้นๆลงๆที่ยากจะร่วมงานด้วย แต่ก็แอบไปย่องดูการแสดงคอนเสิร์ตหนึ่งแล้วก็อึ้งทึ่งไปเลย (คือ Kramer ร่วมงานได้กับนักแสดงข้อจำกัดเยอะๆอย่าง Tracy มีหรือกับแค่หญิงสาวเจ้าอารมณ์อย่าง Garland จะไม่สามารถเข้าใจปัญหาของเธอได้)

รับบท Irene Hoffmann-Wallner หนึ่งในพยานปากเอกที่พอไม่ให้ความร่วมมือกับทางการเยอรมัน เลยถูกจับขังคุกแบบไร้ความผิดอะไร กลายเป็น Trauma อันเจ็บแค้นฝังหุ่น แม้ไม่ค่อยอยากหวนระลึกถึงความทรงจำครั้งนั้นเท่าไหร่นัก แต่ถ้าสามารถนำข้อเท็จจริงออกสู่สาธารณะได้ ทุกข์ทรมานแค่ไหนก็ยินยอม

กองถ่ายหนังต้อนรับ Garland ด้วยรอยยิ้มและเสียงปรบมืออย่างอบอุ่นตั้งแต่วันแรก ทำให้เธอไม่รู้สึกกดดันมากด้วยเพราะมาแค่รับเชิญเพียง 8 วัน ไม่ต้องแบกหนังทั้งเรื่อง แต่เพราะเหตุนี้พอจะเข้าฉากจริงกลับทำไม่ได้

“Damn it, Stanley, I can’t do it. I’ve dried up. I’m too happy to cry,”

Kramer ให้เวลาเธอเพียง 10 นาที สำหรับสงบจิตสงบใจ เตรียมความพร้อมแสดงตัวละครที่เต็มไปด้วยด้านมืดหม่น ก็นึกถึง A Star Is Born (1954) ตอนที่ Garland ต้องเปลี่ยนอารมณ์ฉับพลัน จากกำลังร้องไห้เศร้าโศกเสียใจ วินาทีถัดมาต้องขึ้นเวทีร้องเล่นเต้นด้วยรอยยิ้มแย้มแจ่มใส

“There’s nobody in the entertainment world today, actor or singer, who can run the complete range of emotions, from utter pathos to power…the way she can,”

Garland ไม่ถือว่าเป็นตัวเต็ง Oscar: Best Supporting Actress ในปีนั้น เพราะ Rita Moreno จาก West Side Story เพิ่งคว้า Golden Globe Award สาขานี้ไปครองจึงถือเป็นเต็งหนึ่ง ก็น่าเสียดายแทนจริงๆ แต่ก็ไม่รู้คณะกรรมการ Academy หลายคนยังคงจองเวรเธออยู่หรือเปล่า นับตั้งแต่ตอนโดนปล้น A Star Is Born เพราะความที่เป็นเด็กนิสัยไม่ดี คว้ารางวัลไปจะทำให้สถาบันเสื่อมเสีย

85% ของหนังถ่ายทำในสตูดิโอที่ Hollywood เว้นแต่ฉากภายนอกยังสถานที่จริง Nuremberg และกรุง Berlin ประเทศ Germany, เห็นว่า Hepburn โน้มน้าวให้ Tracy เดินทางไปถ่ายทำฉากภายนอกที่เยอรมันจริงๆ ด้วยความทุ่มเทและพลังที่ยังพอหลงเหลืออยู่ เลยยินยอมเดินทางไป (คงพร้อม Honeymoon และได้พักผ่อนในตัว) ทำให้หนังได้ความสมจริงเพิ่มขึ้นอย่างเยอะ

ถ่ายภาพโดย Ernest Laszlo ตากล้องสัญชาติ Hungarian อพยพสู่อเมริกาเป็นผู้ควบคุมกล้องหนังเรื่อง Wings (1927) ก่อนกลายเป็นขาประจำของ Kramer และคว้า Oscar: Best Cinematography เรื่อง Ship of Fools (1965)

เกินกว่า 90% ของหนังเป็น Medium Shot และ Close-Up (Long Shot จะพบเห็นในฉากนอกชั้นศาลเท่านั้น) มีทั้งไดเรคชั่นที่เจ๋งมากๆ และล้มเหลวแบบกุมขมับ ซึ่งดูเหมือนผู้กำกับ Kramer พยายามเลียนแบบหนังเรื่อง Witness for the Prosecution (1957) ของผู้กำกับ Billy Wilder ที่ก็เป็น Courtroom Drama แต่กลับทำออกมาไม่ถึงระดับนั้น

เอาที่ผมว่าเจ๋งก่อนแล้วกัน คือการถ่ายภาพด้วยเทคนิค Deep-Focus ที่ผู้ชมสามารถมองเห็นมิติของตัวละครในตำแหน่ง ใกล้-ไกล ครอบคลุมทุกรายละเอียดในชั้นศาล ชัดเจนเท่ากันหมด, มุมกล้องที่สื่อความหมายเด่นๆ มักจะคาบเกี่ยวระหว่างสองกลุ่มตัวละคร อาทิ
– จากแท่นอัยการ/ทนายความ โต้เถียงขอความคิดเห็นผู้พิพากษา
– พยานพูดคุยให้การกับอัยการ/ทนายความ และในทางกลับการ
– พยานจับจ้องมองจำเลย Vice Versa

แต่สิ่งที่ผมรำคาญอย่างยิ่งเลย คือการหมุนกล้องไปรอบๆตัวละครระหว่างการให้การ ถ้ามันเลื่อนแค่ทำให้เหมือนว่ากำลังจับจ้องมองใครบางคนอยู่ก็ยังพอรับไหว เพื่อไม่ให้ภาพหยุดอยู่นิ่งเฉยนานจนเกินไป แต่หลายครั้งเล่นหมุนรอบตัวเกือบๆ 360 องศา เพื่ออะไร! เห็นปฏิกิริยาของผู้ฟังโดยรอบ มันจำเป็นขนาดนั้นเลยหรือ?

Rapid Zooming ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชวนให้น่าหงุดหงิดใจ ถึงจะพอเข้าใจได้ว่าเป็นการเรียกร้องสร้างความสนใจให้เกิดขึ้นกับตัวละครนั้นๆโดยทันที แต่มันขัดจังหวะความลื่นไหลของหนัง ฝืนธรรมชาติ และทำเอาผมสะดุ้งขึ้นมาหลายครั้งที่ใช้เทคนิคนี้

มันคงเป็นเรื่องเสียเวลา ถ้ามัวแต่รอให้คนแปลภาษา อังกฤษ <> เยอรมัน ณ จุดๆหนึ่งของหนัง เลยทำการสมมติด้วยการ Rapid Zoom แล้วเปลี่ยนให้นักแสดงที่รับบทเป็นตัวละครสัญชาติเยอรมัน พูดภาษาอังกฤษออกมาแทนเลย แต่ก็ยังทิ้งลีลาต้องหยิบหูฟังเพื่อแปลภาษา ให้ระลึกกันอยู่เสมอว่าพวกเขาพูดคุยกันคนละภาษา แม้เวลาจ้องหน้าสื่อสารกันตรงๆจะเป็นภาษาอังกฤษก็ตามเถอะ

ตัดต่อโดย Frederic Knudtson สัญชาติอเมริกัน ขาประจำของ Kramer ตั้งแต่ The Defiant Ones (1958) จนถึง It’s a Mad, Mad, Mad, Mad World (1963)

หนังใช้มุมมองของ Judge Dan Haywood เป็นส่วนใหญ่ ในชั้นศาลและหลายวันหยุดไปเที่ยวพักผ่อน เข้าสังคม พบเจอโน่นนี่นั่นมากมาย แต่มีสองขณะที่เห็นในมุมมองของตัวละครอื่น
– เพื่อเชื่อมเข้ากับตัวละคร Irene Hoffmann-Wallner นำเสนอในมุมมองของ Col. Tad Lawson ซึ่งผมว่าไม่ค่อยจำเป็นสักเท่าไหร่เลยละ แค่ว่าเป็นการเสริมบทให้ Judy Garland ได้ปรากฎตัวเพิ่มขึ้นอีกฉากก็เท่านั้น
– มุมมองของ Dr. Ernst Janning กับเพื่อนในคุก และขณะสนทนากับทนาย เพราะพี่แกแทบไม่มีบทพูดใดๆในชั้นศาลก่อนถึงฉากนั้น เลยจำต้องเพิ่มซีนอื่นๆให้สนทนาออกมาคุ้มค่าตัว Burt Lancaster ที่เหมือนว่าจะสูงสุดของหนังเลยนะ

การพิจารณาคดี Judge’s Trail ดำเนินไป 9 เดือนเต็ม ซึ่งเวลาในหนังก็ดำเนินเคลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็วแบบไม่รู้วันคืน มุ่งเน้นนำเสนอเฉพาะการให้การของพยานปากเอก และเหตุการณ์สำคัญๆที่มีผลต่อรูปคดีเท่านั้น

เพลงประกอบโดย Ernest Gold อีกหนึ่งขาประจำของ Kramer ที่คว้า Oscar เรื่อง Exodus (1960), ส่วนใหญ่ของหนังเป็นบทเพลงคำร้องภาษา German ซึ่ง Gold เรียบเรียงเขียนทำนองขึ้นใหม่หมด หนึ่งในนั้น Lili Marlene (1938) ขับร้องโดย Marlene Dietrich ซึ่งเธอบันทึกเสียงไว้ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

สำหรับบทเพลงที่ได้ยินในฉากคอนเสิร์ต Beethoven: Piano Sonata No. 8 in C minor, ‘Pathétique’ Op. 13 (1798) ด้วยทำนองอันโหยหวน เศร้าสร้อย สลด (Pathétique ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า น่าสงสารเห็นใจ) สะท้อนอารมณ์ความรู้สึก สิ่งต่างๆที่บังเกิดขึ้นกับประเทศเยอรมันขณะนั้น ออกมาได้อย่างลงตัว เหมาะเจาะ

นำฉบับที่บรรเลงโดย Krystian Zimerman นักเปียโนสัญชาติ Polish ที่สามารถตีความ Beethoven ได้ลงตัวสมบูรณ์แบบมากๆ แต่จะมีสัมผัสของโรแมนติกอยู่เยอะสักหน่อย (คือ Zimerman โดดเด่นกับการตีความ Chopin, Brahms มากกว่าอารมณ์เข้มๆของ Beethoven)

คำตัดสินของสามตุลาการพิพากษา แม้จะมอบโทษจำคุกตลอดชีวิตให้กับจำเลยทั้ง 4 แต่ก็ทิ้งท้ายในคำกล่าวสุนทรพจน์ว่า ‘ให้กาลเวลาอนาคตเป็นผู้ตัดสิน ว่าอะไรควรบังเกิดขึ้นกับพวกเขา’

สำหรับผู้คนยุคสมัยนั้น นี่คงเป็นผลการตัดสินที่ไม่น่าพึงพอใจเอาเสียเลย ราวกับเป็นการเข้าข้างให้โอกาสชาวเยอรมัน เลวชั่วร้ายขนาดนั้นยังสมควรได้รับโอกาสสำนึกแก้ตัวอยู่อีกหรือ!

กาลเวลาไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้ความคิดของคนเปลี่ยนไปได้มากจริงๆ และโดยสิ้นเชิง! หลายคนน่าจะมองเห็นความเข้าท่า สมเหตุสมผลของการตัดสินนี้ เพราะยุคสมัยแห่งความเกลียดชังค่อยๆเลือนลางจางไปแล้ว ทำไมคนชั่วจะมิสมควรได้รับโอกาสแก้ตัวละ ใช่ว่าชาวเยอรมันทุกคนจะรับรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำของ Adolf Hitler

นี่เป็นใจความที่หนังพยายามนำเสนอ พูดบอกกรอกหูอยู่เรื่อยๆ จนผมเองรู้สึกแอบรำคาญนิดๆ ครั้งสองครั้งก็รู้เรื่องแล้วยังย้ำอยู่ได้ แต่เพราะคนยุคสมัยนั้น พวกเขามืดบอดในประเด็นนี้จริงๆนะ เห็นได้ชัดตอนอัยการนำสิ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดี ภาพฟุตเทจค่ายกักกันนาซี มานำเสนอเรียกร้องคะแนนสงสาร เหมารวมให้เหล่าจำเลยผู้พิพากษาต้องหาคดีนี้ ต้องมีความผิดฐานเข้าข่ายเป็นส่วนหนึ่ง ร่วมสนับสนุนระบอบนาซี

นี่คงเป็นการพยายามแนะนำ เสี้ยมสอนสั่ง เปิดโลกทัศน์แนวคิดใหม่ๆให้กับผู้ชมโลกตะวันตก อย่ามัวแต่มืดบอดมองโลกแง่เดียวด้วยความรังเกลียดชัง ชาวเยอรมันก็ถือเป็นมนุษย์เฉกเช่นเดียวกับเรา ถึงเคยกระทำการชั่วร้ายสุดโต่งขนาดไหน ถ้ารู้สำนึกตัวแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ก็ควรได้รับโอกาสแก้ไขปรับปรุงตัวสิ! ถึงเป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสมมีความเป็น ‘มนุษยธรรม’ ปรากฎอยู่

การแทรกใส่ Sub-Plot คดี Katzenberger Trial ถือว่าเป็นประเด็นน่าสนใจทีเดียว เพราะสะท้อนเข้ากับอเมริกายุคสมัยนั้น หลายๆรัฐยังมีกฎหมายห้ามการแต่งงานระหว่างเชื้อชาติพันธุ์สีผิว (Anti-Miscegenation) ซึ่งทำให้หนังถูกแบนในบางรัฐที่ยังมีกฎหมายข้อนี้ห้ามอยู่ด้วย, การเสียดสีประเด็นนี้ มองได้เป็นการแสดงทัศนะของผู้กำกับ Kramer สื่อบอกตรงๆเลยว่า เราส่งผู้พิพากษาไปพิจารณาคดีความถึงเยอรมัน แต่ในประเทศของเราเองกลับยังมีกฎหมาย ‘เหยียด’ หลงเหลืออยู่มากมาย มันใช่เรื่องถูกต้องเหมาะสมเสียที่ไหน!

เกร็ด: ผู้กำกับ Kramer ได้นำแนวคิด Anti-Miscegenation ไปขยี้ต่อใน Guess Who’s Coming to Dinner (1967)

การสร้าง Judgment at Nuremberg ด้วยคำตัดสินพิพากษา ในมุมมองแนวคิดของ Stanley Kramer ผมมองว่าเป็นการแสดงทัศนะไม่เห็นด้วย/ไม่ยอมรับการพิจารณาคดีจริงๆที่เกิดขึ้นนั้น ด้วยเหตุผลก็อย่างที่บอกไป ‘ใช่ว่าชาวเยอรมันทุกคน จะรับรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำของ Adolf Hitler’ ซึ่งบริบทของ Nuremberg Trial เป็นการป้ายสี ค้นหาแพะรับบาป เต็มไปด้วยอารมณ์ความรังเกลียดชัง นี่มันก็ไม่ได้เลวร้ายไปกว่าการกระทำของเหล่านาซีในช่วงสงคราม สักเท่าไหร่เลยนะ

และถึง Kramer ไม่เห็นด้วยกับ Nuremberg Trial แต่เขาก็ตระหนักรับรู้ข้อเท็จจริงทั้งหลายอยู่ในใจ กับคำพูดทิ้งท้ายที่สุดช็อค บอกเลยว่ากว่าผมจะเข้าใจได้ ครุ่นคิดซ้ำอยู่หลายตลบรอบทีเดียว

“Herr Janning, it came to that the first time you sentenced a man to death you knew to be innocent”.

ประโยคนี้ Judge Dan Haywood ย้อนแย้ง Dr. Ernst Janning ต่อคำกล่าวอ้างที่บอกว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีส่วนรับรู้เห็นความชั่วร้ายต่างๆที่บังเกิดขึ้น โดยบอกว่า จุดเริ่มต้นของการเข่นฆ่าล้าเผ่าพันธุ์มนุษย์ มันบังเกิดขึ้นขณะที่นายตัดสินให้ผู้บริสุทธิ์คนแรก มุ่งตรงสู่แดนประหาร

หลายคนอาจยังไม่เข้าใจอยู่ดี ว่าประโยคนี้มีนัยยะความหมายสื่อถึงอะไร, ผมมองว่าคือแนวคิดของผู้กำกับ Kramer ต่อการเกิดขึ้นของ Nazi ว่าเป็นสิ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของชาวเยอรมันทุกคน เพราะตอนเริ่มต้นพวกเขาต่างสนับสนุนส่งเสริมเห็นชอบด้วยให้ Hitler ก้าวขึ้นมามีอำนาจสูงสุด การกระทำต่อจากนั้นจะอ้างว่าไม่รับรู้เห็นจะเป็นไปได้เช่นไร มันฟังไม่ขึ้นอยู่แล้ว

แต่อย่างที่ผมบอกไป Kramer ไม่เห็นด้วยกับ Nuremberg Trials เพราะมันคือการจับแพะชนแกะ หาผู้โชคร้ายมาลงโทษให้สาสมด้วยความรังเกลียดชัง ถ้าจะทำเช่นนั้นมันควรต้องชาวเยอรมันทุกคนเลยสิ ถึงจะถูกต้องเกิดความเท่าเทียมเสมอภาค

ก็แน่ละ นั่นมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ผู้กำกับ Kramer เลยทิ้งข้อสรุปให้เป็นเรื่องของอนาคต กาลเวลาเป็นผู้ตัดสินอดีต แต่ผมจะขอย้อนแย้งกลับไป มันไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลยนะที่ชาวอนาคตจะตัดสินอดีต สิ่งที่เราคนยุคสมัยปัจจุบันทำได้ คือเรียนรู้ศึกษาทำความเข้าใจ สังเกตการณ์ ไม่ใช่พิจารณาตัดสินถูกผิด

คำตอบที่ถูกต้องจริงๆในความคิดของผมเอง คือไม่มีมนุษย์โลกคนใด ยุคสมัยไหน จะสามารถตัดสินดีชั่ว สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สักผู้เดียว มันเป็นหน้าที่ของกฎแห่งกรรม กฎแห่งจักรวาล ใครเคยกระทำอะไรไว้ เดี๋ยวกรรมมันก็ตามย้อนคืนสนองพวกเขาเองนะแหละ สาธุ

ด้วยทุนสร้าง $3 ล้านเหรียญ ทำเงินได้ $10 ล้านเหรียญ, เข้าชิง Oscar 11 จาก 10 สาขา คว้ามา 2 รางวัล
– Best Picture
– Best Director
– Best Actor (Spencer Tracy)
– Best Actor (Maximilian Schell) ** คว้ารางวัล
– Best Supporting Actor (Montgomery Clift)
– Best Supporting Actress (Judy Garland)
– Best Writing, Screenplay Based on Material from Another Medium ** คว้ารางวัล
– Best Cinematography, Black-and-White
– Best Art Direction-Set Decoration, Black-and-White
– Best Costume Design, Black-and-White
– Best Film Editing

ผู้ชนะรางวัลใหญ่ปีนั้นคือ West Side Story กวาดเกือบเรียบ 10 จาก 11 สาขาที่ได้เข้าชิง โดยหนึ่งที่พลาดนั้น สาขาบทดัดแปลงพ่ายให้กับ Judgment at Nuremberg เรื่องนี้แหละ

ถือเป็นปรากฎการณ์ที่พบเจอได้อยู่เรื่อยๆ กับการที่นักแสดงจากหนังเรื่องเดียวกัน เข้าชิงสาขาเดียวกัน แต่เคยมีสถิติ Mutiny on the Bounty (1935) พร้อมกันถึง 3 คน Clark Gable, Charles Laughton และ Franchot Tone กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มีสาขาสมทบ Supporting เกิดขึ้นปีถัดจากนั้น, คือมันก็มีข้อเสียถ้านักแสดงจากเรื่องเดียวกัน เข้าชิงสาขาเดียวกัน คือมักจะไปตัดแย่งคะแนนกันเอง แต่ในกรณีของหนังเรื่องนี้ Schell ได้แรงส่งจากการคว้า Golden Globe: Best Actor ขณะที่ Tracy ไม่ได้แม้จะเข้าชิงรางวัลนั้น เลยกลายเป็นตัวเต็งหนึ่งและคว้ารางวัลไป

ส่วนตัวค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้พอสมควร อึ้งทึ่งกับเรื่องราว การกระทำของตัวละคร Burt Lancaster สุนทรพจน์อันทรงพลังของ Spencer Tracy และประโยคสุดท้ายของหนัง ที่ผมเปิดวนซ้ำครุ่นคิดตามอยู่สักพักกว่าจะแถลงไข ถือเป็นภาพยนตร์มีการตัดสินคดีความได้อย่างน่าพึงพอใจที่สุด

แนะนำคอหนัง Courtroom Drama สนใจประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 เสี้ยวส่วนหนึ่งของการพิจารณาคดีที่ Nuremberg, นักเรียนกฎหมาย ตำรวจ ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา ทำงานเกี่ยวกับตุลาการ ศาลยุติธรรม ต้องดูให้ได้เลยนะ, แฟนๆผู้กำกับ Stanley Kramer และนักแสดง Spencer Tracy, Burt Lancaster, Richard Widmark, Marlene Dietrich, Judy Garland, William Shatner, Montgomery Clift และ Maximilian Schell ไม่ควรพลาด

จัดเรต 15+ กับภาพฟุตเทจค่ายกักกันนาซี ที่จะทำให้คุณท้องไส้ปั่นป่วนอย่างแน่นอน

TAGLINE | “Judgment at Nuremberg คือการตัดสินพิพากษาคดีความของผู้กำกับ Stanley Kramer ต่อการกระทำอันชั่วร้ายของนาซีต่อมวลมนุษย์โลก”
QUALITY | RARE
MY SCORE | LIKE

Sophie’s Choice (1982)


Sophie's Choice

Sophie’s Choice (1982) hollywood : Alan J. Pakula ♥♥♥♡

Meryl Streep คว้า Oscar เป็นตัวที่สองจากหนังเรื่องนี้ ด้วยการรับบท Sophie หญิงสาวชาว Polish หลังเอาตัวรอดจากค่ายกักกันนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อพยพหนีมาใช้ชีวิตอยู่ Brooklyn แต่อดีตความทรงจำอันเลวร้ายและการตัดสินใจครั้งนั้น ยังคงตามมาหลอกหลอนไม่มีวันลบลืมเลือนจางหายไปไหนได้

ในบรรดาผลงานการแสดงของ Meryl Streep ถึงผมจะรับชมยังไม่ครบทั้งหมด แต่รู้สึกโดยสันชาตญาณได้ทันทีเลยว่า Sophie’s Choice น่าจะคือเรื่องที่ทุ่มเทกายใจ โดดเด่นทรงพลัง ยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิต ไม่ใช่แค่สำเนียงเสียงภาษา ลดน้ำหนักจนผอมแห้ง หรือตัดผมสั้นหมดสวย แต่คือความเจ็บปวดรวดร้าวทุกข์ทรมาน อัดแน่นคลั่งอยู่ภายใน สะท้อนผ่านทางสีหน้า ดวงตา และการกระทำเคลื่อนไหวได้อย่างสมจริงเกิ้น

ก็เมื่อ Daniel Day-Lewis มี Masterpiece คือ There Will Be Blood (2007) ฝั่งหญิง Meryl Streep น่าจะเป็น Sophie’s Choice (1982) เรื่องนี้นี่แหละ

ต้นฉบับของ Sophie’s Choice (1979) คือนิยายแต่งโดย William Styron (1925 – 2006) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Newport News, Virginia (ทางตอนใต้ของอเมริกา) ปู่ทวดของเขาเคยเป็นเจ้าของทาสผิวสี ยังคงปลูกฝังลูกหลานให้มีความจงเกลียดชัง แต่เจ้าตัวกลับยินยอมรับความสุดโต่งนี้ไม่ได้เท่าไหร่ ก่อนหน้านี้เขียนหนังสือ The Confessions of Nat Turner (1967) เรื่องราวของ Nathaniel ‘Nat’ Turner ทาสผิวสีที่กลายเป็นผู้นำ Slave Rebellion เมื่อปี 1831 คว้ารางวัล Pulitzer Prize for Fiction (หนังสือเล่มโปรดของ Bill Clinton)

Styron แม้จะเป็นคนผิวขาว แต่มีความเข้าใจหัวอกของชาวผิวสีเป็นอย่างดี เช่นกันกับความขัดแย้งระหว่างนาซี-ชาวยิว ที่แม้ตัวเขาจะไม่ได้มีเชื้อสายความเกี่ยวข้องอะไรด้วยเลย แต่ประเด็นเหยียดสีผิว/เชื้อชาติ มันก็หาได้แตกต่างอะไรกันสักเท่าไหร่

ต้องถือว่า Sophie’s Choice เป็นกึ่งอัตชีวประวัติของผู้เขียน Styron เทียบตัวละคร Stingo ก็คือเขาเองนะแหละ (แค่ชื่อยังมีความคล้ายกันเลย) ตอนสมัยหนุ่มๆเดินทางจากตอนใต้ Virginia มุ่งสู่ Brooklyn เช่าห้องพักเล็กๆเขียนนิยายเล่มแรก ขณะที่ Sophie มีแบบอย่างคือ Ursula Andress นักแสดงหญิงชื่อดัง สัญชาติ Swiss ที่เป็น Bond Girl คนแรกใน Dr. No (1962)

สำหรับใจความสำคัญที่คือการเลือกของ Sohpie ว่ากันว่า Styron ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือ Eichmann in Jerusalem: A Report on the Banality of Evil (1963) จากความทรงจำของ Hannah Arendt (1906 – 1975) นักทฤษฎีการเมืองหญิง เชื้อสาย Jews ที่อพยพหนีออกจาก German ในช่วงนาซีกำลังเริ่มเรืองอำนาจ

ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดย Alan Jay Pakula (1928 – 1998) นักเขียน ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City, เข้าสู่วงการด้วยเป็นผู้ช่วยแผนกวาดการ์ตูนที่ Warner Bros. ย้ายมา Paramount Picture เป็นโปรดิวเซอร์ To Kill a Mockingbird (1962) กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก The Sterile Cuckoo (1969), โด่งดังกับ ‘Paranoid Trilogy’ ประกอบด้วย Klute (1971), The Parallax View (1974), All the President’s Men (1976), อีกผลงานเด่นคือ Sophie’s Choice (1982)

ต้องถือว่า Pakula เป็นผู้กำกับที่มีความเหมาะสมลงตัวมากๆ ในการดัดแปลง Sophie’s Choice เพราะพี่แกโดดเด่นในการนำเสนอด้านหวาดระแวง (Paranoid) ของมนุษย์ออกมา แต่เหมือนว่าหนังเรื่องนี้กลับไม่ได้ใช้ความสามารถนั้นให้เป็นประโยชน์เท่าที่ควร เทคนิคภาษาภาพยนตร์ก็ไม่ได้มีอะไรมากสักเท่าไหร่ เน้นปลดปล่อยให้นักแสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่

ปี 1947, นักเขียนหนุ่มหน้าใส Stingo (รับบทโดย Peter MacNicol) เดินทางสู่ Brooklyn ตั้งใจเขียนนิยายขาย มีโอกาสเป็นเพื่อนกับ Sophie Zawistowski (รับบทโดย Meryl Streep) หญิงสาวผู้อพยพเชื้อสาย Polish และคนรักเจ้าอารมณ์ของเธอ Nathan Landau (รับบทโดย Kevin Kline) ระหว่างที่อดีตความทรงจำอันเลวร้ายของพวกเขากำลังได้รับการเปิดเผยออก Stingo ก็ค่อยๆเรียนรู้เติบโตขึ้นกลายเป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์

Mary Louise ‘Meryl’ Streep (เกิดปี 1949) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกา ได้รับการยกย่องว่า ‘Best Actress of her Generation’ เกิดที่ Summit, New Jersey พ่อมีเชื้อสาย German, Swiss ตอนเด็กเป็นเชียร์ลีดเดอร์, แสดงละครเวทีโรงเรียน แต่ไม่คิดจริงจังจนกระทั้งนำแสดงเรื่อง Miss Julie สร้างความตกตะลึงสมจริงให้กับทุกคน เลยตัดสินใจเข้าเรียนต่อ Yale School of Drama จบออกมาเริ่มจากเป็นนักแสดงละครเวที Broadway จนประสบความสำเร็จคว้า Tony Award: Best Actress เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากความประทับใจ Robert De Niro เรื่อง Taxi Driver (1976), ผลงานเรื่องแรก Julia (1977), โด่งดังพลุแตกกับ The Deer Hunter (1978) [ได้ร่วมงานกับ Idol ของตนเอง], ปีเดียวกันแสดง mini-Series เรื่อง Holocaust (1978), บทเล็กๆใน Manhattan (1979), และคว้า Oscar: Best Supporting Actress จากเรื่อง Kramer vs. Kramer (1979)

มีนักวิจารณ์เปรียบเทียบการแสดงของ Streep คล้ายๆกับ ‘chameleon’ กิ้งก่าเปลี่ยนสี เพราะเธอไม่เคยจะรับบทบาทลักษณะเดิมคล้ายๆกันเลย เปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆทุกแนวภาพยนตร์ (น่าจะยกเว้น Action ที่ไม่ยังเคยเห็นใครกล้าว่าจ้าง) ซึ่งล้วนแล้วแต่ได้รับคำยกย่องสรรเสริญ น่าจะไม่มีใครในโลกมีการแสดงที่หลากหลายเท่านี้อีกแล้ว เข้าชิง Oscar เกิน 20 ครั้ง ใครกันจะไปล้มล้างสถิตินี้ได้

รับบท Zofia ‘Sophie’ Zawistowski สาวหม้ายเชื้อสาย Polish ที่เคยถูกจับอาศัยอยู่ในค่ายกักกัน Auschwitz เอาตัวรอดมาได้ถึงปัจจุบันอพยพลี้ภัยสู่อเมริกา แต่อดีตอันโหดร้ายยังคงเป็น Trauma ตามมาหลอกหลอนให้ต้องหวนระลึกอยู่เรื่อยๆ สภาพปัจจุบันแม้จะดูยิ้มแย้มร่าเริงสดใส กระนั้นหลายครั้งสีหน้าท่าทางเหมือนคนป่วยหนักใกล้ตาย ภายในคงทุกข์ทรมานรวดร้าวแสนสาหัส ด้วยบางสิ่งอย่างที่มิอาจพูดบอกต่อใครได้

Streep ไม่ใช่ตัวแรกของผู้กำกับ Pakula ที่เล็ง Liv Ullmann ให้รับบท Sophie แต่เห็นว่าเธอถึงขนาดคุกเข่าก้มลงกราบอ้อนวอนขอ ถ้าถึงขนาดนั้นไม่ยินยอมให้ก็ถือว่าใจดำเกินไปแล้ว, เหมือนจะไม่มีใครรู้ว่าทำไม Streep ถึงยอมลงทุนทำขนาดนั้น เพราะเคยแสดงมินิซีรีย์ Holocaust (1978)? หรือเกิดความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับตัวละคร? แต่ถึงถือว่าเป็น ‘Passion’ ที่ยินยอมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อบทบาทนี้

ลงทุนเรียนทั้งภาษาเยอรมันและโปแลนด์ เพื่อให้พูดสำเนียงเน่อๆผสมกันของทั้งสองชาติได้ ทั้งยังโกนผม ลดน้ำหนักจนผอมแก้มตอบ และฉากที่เป็นไคลน์แม็กซ์ช่วงท้ายกับการต้องเลือก ระเบิดอารมณ์ออกมาสุดชีวิต ยินยอมถ่ายทำเทคเดียวไม่มีซ่อม เพราะใส่อารมณ์ จิตวิญญาณ ทุกสิ่งอย่างลงไปจนหมดสิ้นเรี่ยวแรง

ทุกครั้งกับช็อต Close-Up ใบหน้าของ Streep อารมณ์ความรู้สึกสะท้อนผ่านสีหน้า ดวงตา และการขยับเล็กๆน้อยๆภาษากาย ที่ทำให้ผู้ชมสัมผัสรับถึงความปั่นป่วนบ้าคลั่งภายใน ก็ไม่รู้ทำยังไงของเธอนะถึงถ่ายทอดออกมาได้สมจริงจังขนาดนี้ ไม่ง่ายที่จะทนดู แต่ยากยิ่งกว่าจะหลบสายตา

เกร็ด: นิตยสาร Premiere จัดอันดับ 100 Greatest Performances of All Time เมื่อปี 2006 การแสดงของ Streep ในบทบาท Sophie Zawistowska ติดสูงถึงอันดับ 3 เป็นรองเพียง 1) Peter O’Toole จาก Lawrence of Arabia (1962) และ 2) Marlon Brando จาก On the Waterfront (1954)

Kevin Delaney Kline (เกิดปี 1947) นักร้อง นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ St. Louis, Missouri พ่อเชื้อสายยิวอพยพจาก German เป็นเจ้าของสตูดิโอบันทึกเสียง (Record Store) ส่วนแม่เป็นนักแสดงละครเวทีเชื้อสาย Irish เลี้ยงดูแบบ Roman Catholic, โตขึ้นเข้าเรียน Indiana University เพื่อนร่วมรุ่นกับ Jonathan Banks ตอนแรกเริ่มจากแต่งเพลงและกำกับวง แต่ตอมาเปลี่ยนเป็นสายการแสดง ได้ทุนเข้าเรียน Juilliard School กลายเป็นนักแสดง Broadway จนคว้า Tony Award: Best Actor, ภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดโด่งดังกับ Sophie’s Choice (1982), และคว้า Oscar: Best Supporting Actor เรื่อง A Fish Called Wanda (1988)

รับบท Nathan Landau แฟนหนุ่มของ Sophie เป็นคนอารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ดูไม่ค่อยปกตินัก ซึ่งก็ไม่ค่อยน่าแปลกใจเท่าไหร่กับการเฉลยว่าเป็น โรคจิตเภทหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenic) ทำให้มีความอ่อนไหว Sensitive ชอบคิดเล็กคิดน้อย จนกลายเป็นความอิจฉาริษยา ซึ่งดูแล้วคงช่วยเหลือแก้ไขอะไรไม่ได้สักเท่าไหร่ นอกจากเป็นแรงกำลังใจและไม่ทอดทิ้งกันและกัน

ผมละชอบหนวดของ Kline เสียเหลือเกิน ชวนให้นึกถึงใบหน้าของ Raj Kapoor และ Charlie Chaplin ดูตลกขบขัน Comedy เล็กๆ สะท้อนออกมาตอนเวลาปกติมีความสนุกสนานร่าเริงเป็นกันเอง แต่พอเมื่อไหร่เกิดความเครียดหวาดระแวงขึ้นมา กระแทกกระทั้นอารมณ์ด้วยคำพูด สายตา และการกระทำมาดร้าย ถึงขนาดจะฆ่าแกงกันให้ตายไปข้าง

Peter MacNicol (เกิดปี 1954) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Dallas, Texas เริ่มต้นเป็นนักแสดงละครเวที ตามด้วย Broadway ภาพยนตร์เรื่องแรก Dragonslayer (1981), แจ้งเกิดกับ Sophie’s Choice (1982) แล้วไปโด่งดังทางฝั่งซีรีย์โทรทัศน์

รับบท Stingo หนุ่มนักเขียนที่ยังบริสุทธิ์หน้าใส อ่อนต่อโลก ออกเดินทางสู่ Brooklyn เพื่อสานต่อความฝันเป็นนักเขียน พบเจอตกหลุมรักแรกพบกับ Sophie แม้เห็นอยู่ว่าเธอมีคนรักอยู่แล้ว แต่ก็ยังพยายามแทรกตัวเข้าไป ต้องการรับรู้เรื่องตัวตนของเธอจากอดีต เพื่อพวกเขาจะได้เป็นของกันแล้วกัน แต่เมื่อสิ่งนั้นถูกเปิดเผยออก มันเลยทำให้ชายหนุ่มได้พบเจอโศกนาฎกรรม

ไม่ได้ต้องใช้การแสดงอะไรมากสำหรับ MacNicol เสมือนว่าตัวละครของเขาเป็นบุคคลที่ 3 จับจ้องมอง Sophie กับ Nathan แสร้งวางตัวเพิกเฉยเป็นกลาง แต่กลับพยายามหาทางแทรกตัวเข้าไปครอบครอง เพื่อสนองตัณหาราคะเปิดบริสุทธิ์ตนเอง

การทำงานของผู้กำกับ Pakula ให้นักแสดงซักซ้อมเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนการถ่ายทำจริง 3 สัปดาห์ และอนุญาติให้มีการปรับปรุงแก้ไขบทพูด ‘Improvise’ การแสดงของตนเองได้ตามใจ

ถ่ายทำโดย Néstor Almendros ตากล้องสัญชาติ Spanish เจ้าของฉายา ‘Master of Light’ มีผลงานเด่นอย่าง Days of Heaven (1978) ** คว้า Oscar: Best Cinematography, Kramer vs Kramer (1979), The Last Metro (1980), Sophie’s Choice (1982)

สถานที่ถ่ายทำส่วนใหญ่ ปักหลักอยู่ที่ Brooklyn, New York City ยกเว้นเพียงฉากย้อนอดีต Flashback ถ่ายทำหลังสุด เดินทางไปยังประเทศ Yugoslavia ปัจจุบันคือ Samobor, Croatia

มันอาจไม่ใช่ไดเรคชั่นการถ่ายภาพที่หวือหวาอะไรมากนัก แต่การจับจ้อง Close-Up ใบหน้าของตัวละครแล้วแช่ค้างเอาไว้ มันช่างมีความทรงพลังเสียเหลือเกิน นั่นเพราะได้สุดยอดการแสดงที่สามารถสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกออกมาได้อย่างสมจริงทรงพลัง

สำหรับส่วนที่โดดเด่นถึงขนาดได้เข้าชิง Oscar: Best Cinematography คือการจัดแสงโทนสีของหนัง แบ่งออกอย่างชัดเจนระหว่าง
– Brooklyn มีสัมผัสโทนอบอุ่น นุ่มนวล สว่างสดใส สะท้อนชีวิตที่ผ่านช่วงเวลาทุกข์ทรมานยากลำบากนั้นมากแล้ว … แต่ก็ใช่ว่าพวกเขาพบเจอความสุขแท้จริง
– ขณะที่ค่ายกักกันนาซี มีความแห้งแล้ง เย็นยะเยือก แข็งกระด้าง สะท้อนความเจ็บปวดรวดร้าวแสนสาหัส

และช็อตเจ๋งที่สุดในหนัง เป็นการแอบบอกใบ้ความหลากหลายทางบุคลิกภาพของ Nathan กับการโบกสะบัดไม้บาตอน เลียนแบบวาทยากรกำกับวงดนตรีในบทเพลง Beethoven: Symphony No. 9 เห็นเป็นเงาสะท้อนกระจกหน้าต่าง ผมก็ไม่ได้ลองนับว่ามี 5 ตัวตนของเขาหรือเปล่านะ

ตัดต่อโดย Evan Lottman สัญชาติอเมริกา ผลงานดังอย่าง The Exorcist (1973), Sophie’s Choice (1982) ฯ

ใช้มุมมองการเล่าเรื่องของ Stingo แต่เสียงบรรยายที่ได้ยินไม่ใช่ของ Peter MacNicol แต่เป็นคนนอกไปเลย Josef Sommer ซึ่งคงเสมือนว่าแทนด้วยผู้แต่งนิยายเรื่องนี้ (รู้สึกทะแม่งๆนะครับ แต่ผู้ชมส่วนใหญ่คงไม่ได้สังเกตจุดนี้แน่), และหนังยังมีการเล่าเรื่องซ้อน แทรกภาพย้อนอดีต Flashback ของ Sophie ขณะเอ่ยถึงพื้นหลังความทรงจำของตนเองให้ Stingo รับฟัง

ปัญหาใหญ่ของหนัง คือหลายครั้งเป็นการเล่าเรื่องด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียว แช่ภาพจับจ้อง Close-Up ใบหน้าของตัวละคร กับคอหนังยุคสมัยใหม่ที่ชื่นชอบความรวดเร็ว โฉบเฉี่ยว ทั้งๆที่มันก็เป็นการแสดงที่โคตรทรงพลัง แต่ก็อาจทำให้หลายคนเบื่อหน่ายในความอืดอาดเชื่องช้า เพราะความ All-Talk เอาแต่พูดพร่ำ ไม่ค่อยมีการกระทำแสดงออกอะไรให้รู้สึกถึงความตื่นเต้นมีชีวิตชีวาสักเท่าไหร่

ตอนแรกผมแอบสงสัย ทำไมหนังถึงแทรกใส่ภาพย้อนอดีตเฉพาะช่วงครึ่งหลังเท่านั้น? แล้วก็มาค้นพบว่า บางเรื่องราวที่ตัวละครเล่าในครึ่งแรก ใช่ว่าจะคือเรื่องจริงทั้งหมด ซึ่ง Flashback ในแนวคิดของหนังจะคือจากความทรงจำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น (คือถ้าแทรกภาพที่ตัวละครโกหกโป้ปดมดเท็จเข้ามาด้วย มันอาจเพิ่มความซับซ้อนให้หนังมากเกินไป เพราะนั่นจะไม่ใช่ Flashback แต่คือจินตนาการแฟนตาซีเพ้อฝัน)

เพลงประกอบโดย Marvin Hamlisch (1944 – 2012) สัญชาติอเมริกัน ที่มีผลงานเด่นอย่าง The Sting (1973), The Way We Were (1974), The Spy Who Loved Me (1977), Sophie’s Choice (1983), A Chorus Line (1985) ฯ

งานเพลงมีส่วนผสมของ Original Score และเลือกใช้บริการบทเพลงคลาสสิกเลื่องชื่ออย่าง
– Beethoven: Symphony No. 6 กับ Symphony No. 9
– Mozart: Eine Kleine Nachtmusik, K525
– Bach: Jesu, Joy of Man s Desiring
– Strauss: Voices of Spring
– Schumann: About Foreign Lands and People
– Handel: The Water Music Suite in F Major
ฯลฯ

Original Score ของหนัง ทุกบทเพลงมีความไพเราะเพราะพริ้ง นุ่มนวลอ่อนไหว ผสมปนด้วยความเจ็บปวดร้าวที่มักไม่แสดงออกมา แต่ลึกๆแล้วสามารถสัมผัสรับรู้ได้ด้วยใจ

บทเพลงที่โดยส่วนตัวมีความหลงใหลอย่างที่สุดคือ Ample Make This Bed [เป็นชื่อกลอนที่ Stingo อ่านจากหนังสือของ Emily Dickinson (1830–1886) รวบรวมอยู่ใน Complete Poems (1924)] มองเห็นความทรงจำครั้นวันวานที่แสนเจ็บปวดรวดร้าวทุกข์ทรมาน แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่เราควรยึดติดไว้ชั่วนิรันดร์ ผ่อนลมหายใจออกเบาๆเพื่อผ่อนคลาย แสงแดดยามเช้าสาดส่องทำให้ต้องเริ่มต้นวันใหม่เสมอ

“AMPLE make this bed.
Make this bed with awe;
In it wait till judgment break
Excellent and fair.

Be its mattress straight
Be its pillow round;
Let no sunrise’ yellow noise
Interrupt this ground.”

อดีตคือสิ่งที่ทำให้เราเป็นตัวเราในปัจจุบัน คนที่ทั้งชีวิตพบเจอแต่ความสุขสำราญ สะดวกสบาย ย่อมไม่มีทางเข้าใจถึงบุคคลที่เคยตกทุกข์ทรมานยากแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนกว่าจะมีชีวิตจนถึงวันนี้

ทุกครั้งที่ผมตกหลุมรักใครสักคน (หรือชมภาพยนตร์สักเรื่อง) ก็เหมือน Stingo อยากรับรู้เบื้องหลังทุกสิ่งของเธอ เคยพานพบประสบเจออะไรมาบ้าง กลายเป็นคนแบบนี้เพราะอดีตมีชีวิตอย่างไร สุข-ทุกข์ สำราญ-เศร้า การได้มีโอกาสเข้าใจเสมือนจักกลายเป็นส่วนหนึ่งในความห้องแห่งความลับ มีเพียงสองเราเท่านั้นที่รู้จักตัวตนของกันและกัน แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะกว่าใครสักคนจะยินยอมเปิดเผยสิ่งนั้นออกมา แค่ว่าเมื่อไหร่สามารถไปถึงจุดนั้นได้ ก็แสดงว่าต่างเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นแรงกล้า พบเห็นคุณค่าความสำคัญของกันและกันที่สุดแล้ว

สิ่งที่ Sophie ค่อยๆเปิดเผยเล่ากล่าวออกมาให้ Stingo ได้รับฟัง ทำให้เขาได้เติบโตขึ้นด้วยความเข้าใจ ความรักที่ค่อยๆได้รับการเติมเต็ม แต่ขณะเดียวกันสำหรับตัวเธอ มันกลับค่อยๆกัดกร่อนกินบ่อนทำลาย ทั้งๆที่ Trauma นั้นควรจะค่อยๆจางหาง ยิ่งเด่นชัดเจนขึ้นกว่าเดิม เพราะเมื่อครั้งนั้นเธอได้เลือกในสิ่งที่ไม่มีใครเลือกได้ ตราบาปที่คือแผลเป็นไม่วันรักษาหาย แค่หวนระลึกพูดเล่าออกมานี้ก็ยากเกินกว่าจะทำใจ Sex สำหรับเธอคือคำขอบคุณที่ยินยอมรับฟัง มิใช่จาก Passion ความต้องการเหมือนที่ชายหนุ่มมี

โศกนาฎกรรมตอนจบเป็นสิ่งที่หลายคนอาจคาดเดาได้อยู่แล้วว่าต้องเกิด มันไม่มีทางที่ชีวิตของพวกเขาจะสามารถสุขสมหวังได้ครองคู่ แผลเป็นจากตราบาปแพร่ขยายลุกลามจนกลายเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ที่ยังยื้อไว้อยู่เพราะได้รับการเยียวยารักษาแผลใจเป็นอย่างดี อย่างน้อยที่สุดแล้วในชีวิตของ Sophie การได้พบเจอบุคคลที่เห็นคุณค่าความสำคัญของตนเอง ยังเป็นที่รักแม้จะพบพานมีอดีตที่เลวร้าย มันก็เหลือเฟือเพียงพอให้จากโลกนี้ไปสู่สุขคติ

ผมเคยเจอคำถามเชิงปรัชญาลักษณะ Sophie’s Choice มาหลายครั้งทีเดียว ผู้คนส่วนใหญ่มักจมปลักอยู่ที่ ถ้าต้องเลือกระหว่างใครสักคนหนึ่งก็ต้องเลือกใครคนหนึ่ง ทุกอย่างมันมีทางเลือกสามสี่ห้าอยู่เสมอถ้าเราสามารถมองออกมานอกกรอบได้ ในกรณีนี้ถ้าผมเป็น Sophie อาจจะเลือกขอยอมตายแทนลูกทั้งสอง หรือไม่ก็ทั้งสามแม่ลูกพากันเดินเข้าห้องรมแก๊สพิษ การต้องตัดสินใจเสียสละใครสักคนหนึ่ง มันย่อมกลายเป็นตราบาปฝังใจต่ออีกฝ่ายที่รอดชีวิตและผู้เลือก แบบนั้นการมีชีวิตอยู่คงไม่มีคุณค่าประโยชน์สักเท่าไหร่ ฟังดูมันอาจเห็นแก่ตัวไปสักนิด แต่ในสถานการณ์ไร้ซึ่งความหวังเช่นนี้ นี่อาจเป็นการกระทำที่มีมนุษยธรรมที่สุดแล้วก็เป็นได้

เราสามารถเปรียบการเลือกของ Sophie’s Choice ในครั้งนั้น ได้กับการเลือกครองรักในครั้งนี้ มีลักษณะสะท้อนตรงข้ามกันเลยละ
– ครั้งนั้นถูกบีบบังคับกดดัน เลือกไม่ได้ ไม่อยากเลือก แต่ต้องเลือก
– ครั้งนี้ไม่มีใครกดดัน ไม่จำเป็นต้องเลือกก็ได้ แต่ตัดสินใจเลือกคนหนึ่ง

การเลือกครั้งหลังด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างจากครั้งแรก เสมือนว่าเป็นการแก้ต่าง/แก้ตัวเอง ให้สามารถตัดสินในสิ่งที่ใจของตนเองต้องการจริงๆ แม้หลายคนอาจมองว่า ความรักแม่-ลูก กับ หญิงสาว-ชายหนุ่ม มันมีความแตกต่างกัน แต่ก็ใช้คำเรียก ‘ความรัก’ ได้เหมือนกัน

กระนั้นใจความของ Sophie’s Choice ไม่ใช่แค่เรื่องราวของการเลือก แต่ยังคือทำความเข้าใจเหตุผลของการเลือก ในบางครั้งอาจมีสิ่งที่เลือกได้ เลือกไม่ได้ อยากเลือก ไม่อยากเลือก ไม่จำเป็นต้องเลือก ครบเครื่องเรื่องการเลือก … แล้วเลือกอะไรละ?

Stingo มีความเพ้อฝันอยากเป็นนักเขียน, Nathan มโนว่าจะคว้ารางวัล Nobel Prize (นี่ความฝันของผู้เขียน Styron เลยหรือเปล่าเนี่ย!), ขณะที่ Sophie ไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่าพบเจอลูกรักของตนเองอีกสักครั้ง, แม้ชีวิตของพวกเขาส่วนใหญ่จะมิอาจประสบพบเจอความสำเร็จนั้น แต่ก็ได้ฝากฝังความหวังถึงอีกบุคคลหนึ่งที่หลงเหลืออยู่ ส่งต่อทุกสิ่งอย่างแล้วตัดสินใจเลือกลาจากไป

“คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่สามารถเลือกชีวิตให้เดินทางตามความฝัน ความต้องการ หรือแม้แต่ความตายของตนเองก็ยังได้”

ด้วยทุนสร้าง $12 ล้านเหรียญ ทำเงินได้ในอเมริกา $30 ล้านเหรียญ, เข้าชิง Oscar 5 สาขา คว้ามา 1 รางวัล
– Best Actress (Meryl Streep) ** คว้ารางวัล
– Best Cinematography
– Best Costume Design
– Best Original Score
– Best Adapted Screenplay

เกร็ด: ตอน Streep ขึ้นรับรางวัลจาก Sylvester Stallone (ปีก่อน Stallone ไม่ได้คว้า Oscar: Best Actor แต่มาแทน Henry Fonda ที่เสียชีวิตจากไปแล้ว) เธอทำโพยที่เตรียมไว้หล่นพื้น น่าจะเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์เลยกระมัง

ส่วนตัวคลั่งไคล้การแสดงของ Meryl Streep เป็นอย่างยิ่ง แบกหนังไว้คนเดียวอย่างหนักอึ้งแบบสบายๆหายห่วง แต่ก็ทำให้อย่างอื่นของหนังไร้ซึ่งความสนใจไปเลย แถมคุณภาพยังทัดเทียมกันไม่ได้สักนิด โดยรวมก็เลยเหลือเพียงชื่นชอบหนัง

แนะนำกับคอหนังดราม่า โรแมนติก รักสามเส้า, นักสังคมสงเคราะห์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ทำความเข้าใจปัญหาของตัวละคร, แฟนๆผู้กำกับ Alan J. Pakula และนักแสดง Meryl Streep, Kevin Kline ไม่ควรพลาด

จัดเรต 15+ กับความบ้าคลั่งเสียสติแตก

TAGLINE | “Sophie’s Choice คือการเลือกตัดสินใจอันทรงพลังที่สุดของ Meryl Streep”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

Son of Saul (2015)


Son of Saul

Son of Saul (2015) Hungarian : László Nemes ♥♥♥♥

ในค่าย Auschwitz ชายชาวยิวเชื้อสาย Hungarian ชื่อ Saul (รับบทโดย Géza Röhrig) ทำงานเป็น Sonderkommando ผู้เก็บกวาดทำความสะอาดหลังการรมแก๊สมรณะเสร็จสิ้น แต่มีครั้งหนึ่งเด็กชายยังไม่สิ้นใจตาย ดิ้นรนเฮือกสุดท้ายก่อนหมดลม ทั้งๆที่ก็ไม่ใช่ลูกแท้ๆของตนเอง แต่เขากลับอยากทำพิธีศพกลบฝังให้ไปสู่สุขคติ, การันตีด้วยรางวัล Grand Prix จากเทศกาลหนังเมือง Cannes และ Best Foreign Language Film จาก Oscar, Golden Globe, BAFTA

Son of Saul เป็นภาพยนตร์ที่น่าจะถือว่า มีพลังความปั่นป่วนท้องไส้ใกล้เคียงกับ Night and Fog (1956) ที่สุดแล้ว Schindler’s List (1993) หรือ The Pianist (2002) ชิดซ้ายตกกระป๋องไปเลย ทั้งๆที่กว่า 80% ของหนังเป็นภาพเบลอๆนอกโฟกัส แต่จินตนาการของมนุษย์มันสามารถล้ำไปไกล ในระดับที่หลายคนคงทนรับไม่ไหวอย่างแน่นอน

ก็ขนาดผมเองเพิ่งมีโอกาสได้รับชม ก็ยังอึ้งทึ่งตะลึงงัน มิเคยคาดคิดมาก่อนจะมีภาพยนตร์กล้านำเสนอด้วยวิธีการสมจริงจังขนาดนี้ แต่น่าเสียดายที่ปี 2015 มันล่วงเลยผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 มาแสนไกลแล้ว คือถ้าสร้างสักทศวรรษ 50s – 70s หนังคงกลายเป็นตำนานโลกไม่รู้ลืมเลยละ

László Nemes (เกิดปี 1977) นักเขียน ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติ Hungarian เกิดที่ Budapest แม่มีเชื้อสาย Jews ส่วนพ่อเป็นผู้กำกับละครเวที ตอนอายุ 12 ครอบครัวอพยพสู่ Paris ด้วยความสนใจด้านภาพยนตร์ตั้งแต่เด็ก ชื่นชอบแนว Horror โตขึ้นได้กลายเป็นผู้ช่วย Béla Tarr ถ่ายทำ The Man from London (2007) ก่อนไปเรียนต่ออเมริกาที่ Tisch School of the Arts จบมาฉายเดี่ยวเรื่องแรก Son of Saul (2015) ประสบความสำเร็จล้มหลาม โด่งดังไปทั่วโลก

เกร็ด: ผู้กำกับคนโปรดของ Nemes ประกอบด้วย Michelangelo Antonioni, Andrei Tarkovsky, Ingmar Bergman, Terrence Malick และ Stanley Kubrick

ระหว่างเป็นผู้ช่วย Béla Tarr อยู่นั้น Nemes มีโอกาสพบเจอหนังสือ The Scrolls of Auschwitz (1985) รวบรวมเขียนโดย Bernard Mark จากคำให้การของเหล่าสมาชิก Sonderkommando พอได้มาเรียนต่อยังอเมริกา พบเจอร่วมงานกับ Clara Royer นักเขียนสัญชาติฝรั่งเศส ร่วมกันพัฒนาบทภาพยนตร์ร่างแรกเสร็จปี 2011 นำไปเสนอหาทุนสร้างจากหลายแหล่ง แต่เพราะชื่อของ Nemes ยังไม่เป็นที่รู้จัก สุดท้ายจึงได้งบประมาณมาเพียง €1.5 ล้านยูโร จากกองทุน Hungarian National Film, Hungarian Tax Credits และองค์กร Claims Conference

นำแสดงโดย Géza Röhrig (เกิดปี 1967) กวี นักแสดงเชื้อสาย Hungary เกิดที่ Budapest แม่ทิ้งเขาไว้ตั้งแต่เกิด พ่อเสียชีวิตตอนอายุ 4 ขวบ เติบโตขึ้นในครอบครัวบุญธรรมเชื้อสาย Jews มีความสนใจเป็นนักดนตรีใต้ดิน ก่อนพบความหลงใหลในภาพยนตร์ Shaoh (1985) เคยออกเดินทางสู่ Poland ทัวร์ค่าย Auschwitz สมัยเรียนมหาวิทยาลัย และยังแต่งบทกลอนเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิต รวบรวมเป็นหนังสือชื่อ Hamvasztókönyv (1995) และ Fogság (1997) จบจาก Academy of Drama and Film in Budapest ได้เป็นนักแสดงภาพยนตร์โทรทัศน์อยู่สักพัก ก่อนอพยพย้ายสู่อเมริกาเพื่อเขียนบทกวีขาย ถูกชักชวนดึงตัวกลับมาแสดงภาพยนตร์ Son of Saul กวาดรางวัลประสบความสำเร็จมากมาย

Saul Ausländer ชาวยิวเชื้อสาย Hungarian ทำงานเป็น Sonderkommando ในค่าย Auschwitz วันๆก็เหนื่อยแทบแย่แล้ว แต่เมื่อพบเห็นเด็กชายหนุ่มคนหนึ่งยังมีลมหายใจรอดชีวิตออกจากห้องรมแก๊ส เกิดความต้องการอยากทำพิธีฝังศพตามศาสนาให้ แม้จะต้องเสี่ยงชีวิตเกือบตายออกตามหาแรบไบ แถมยังทำให้ภารกิจลุกฮือขึ้นต่อสู้กับนาซีตกอยู่ในความเสี่ยงอันตราย แต่ความดื้อรั้นเห็นแก่ตัวนี้ เหมือนเพื่อให้ตัวเองยังคงรู้สึกถึง ‘ความเป็นมนุษย์’ หลงเหลืออยู่

เกร็ด: Sonderkommando (แปลว่า Special Unit) คือกลุ่มชาวยิวที่ทำงานในค่าย Death Camp ของนาซี มีหน้าที่เก็บกวาด ทำความสะอาด กำจัดร่างของผู้เสียชีวิตจากห้องรมแก๊สมรณะ

ใบหน้าของ Röhrig เต็มไปด้วยความตึงเครียด เหน็ดเหนื่อย ทุกข์ทรมาน เบ้าตาลึก ดำคล้ำ ปากแห้ง สีหน้าซีดเผือก ก้มหน้าก้มตาเหมือนศพเดินได้ ไร้ซึ่งจิตวิญญาณเป้าหมายชีวิต แต่ทั้งๆที่ไม่ควรมีใครยิ้มออกในค่ายกักกันนาซี วินาทีสุดท้ายของตัวละครนี้ รอยยิ้มของเขาคือประกายแห่งความหวัง บ่งบอกถึงสิ่งที่เขากระทำ ว่ายังทำให้มีความเป็นมนุษย์หลงเหลืออยู่

เนื่องจากนักแสดงมาจากหลายสัญชาติ ผู้กำกับเลยให้พวกเขาพูดภาษาปากของตนเอง เห็นว่ามีประมาณ 8 ภาษาที่บันทึกสด

ถ่ายภาพโดย Mátyás Erdély สัญชาติ Hungarian ได้รับคำแนะนำจากผู้กำกับทั้งหมด 5 ข้อ
– ภาพยนตร์ที่ถ่ายออกมาห้ามดูสวยงาม
– ภาพยนตร์ที่ถ่ายออกมาห้ามดูน่าสงสารเห็นใจ (Appealing)
– เราไม่ได้สร้างหนัง Horror
– อยู่ติดกับ Saul จะต้องไม่เคลื่อนออกไปไกลจากทัศนวิสัยของเขา
– กล้องเปรียบเสมือนคู่หา เพื่อนสนิท อยู่ติดตัวไปด้วยกันตลอดในนรกขุมนี้

หนังใช้เลนส์ 40mm ที่สามารถปรับโฟกัสได้ทันที ด้วยภาพอัตราส่วน 1.375 : 1 (มีชื่อเรียกว่า Academy Ratio) เทียบเท่ากับภาพถ่ายหน้าตรง (Portrait) นี่เพื่อเป็นการสะท้อนทัศนวิสัยของตัวละครที่มองเห็นออกมา, มีมุมกล้องทั้งหมดเพียง 3 แบบ
– มุมมองบุคคลที่ 1 แทนด้วยสายตาของตัวละคร
– (มุมมองบุคคลที่ 2) ภาพหน้าตรง เห็นใบหน้าปฏิกิริยาของตัวละคร
– มุมมองบุคคลที่ 3 กล้องเดินติดตาม ถ่ายจากด้านหลังข้ามบ่าของตัวละคร

แรงบันดาลใจในการถ่ายภาพสไตล์นี้ มาจากหนังสั้นเรื่อง With a Little Patience (2007) ตามติดบันทึกชีวิตประจำวันของหญิงสาวคนหนึ่ง ที่พอมองออกไปนอกหน้าต่าง เห็นกลุ่มนักโทษชาวยิวถูกปลดเปลื้องเสื้อผ้าโดย Sonderkommando และ SS Officers, สามารถหารับชมหนังสั้นเรื่องนี้ได้ใน Youtube

ความน่าทึ่งของการถ่ายทำลักษณะนี้ คือการจงใจทำให้ภาพเบลอหลุดโฟกัส เพื่อปกปิดบังสิ่งอันน่าหวาดกลัว ขยะแขยง ปั่นป่วนท้องไส้ โดยเฉพาะเรือนร่างอันเปลือยเปล่าไร้วิญญาณของชาวยิวหลังจากถูกรมแก๊สพิษ ลดความรุนแรงทางภาพลงได้บางส่วน ปลดปล่อยให้จินตนาการของผู้ชมคิดเห็นกันเอาเองว่าเป็นอย่างไร

เนื่องจากภาพมันเบลอๆมองอะไรไม่ค่อยเห็น เสียง Sound Effect จึงเป็นส่วนสำคัญยิ่ง ออกแบบ Sound Designer โดย Tamás Zányi อดีตครูสอนดนตรี ผันตัวมาทำงานเบื้องหลัง เคยให้สัมภาษณ์บอกว่าหนังมีประมาณ 270 Tracks ซึ่งหลายครั้งในบทหนังเขียนส่งมาลักษณะนามธรรมมากๆ อาทิ ‘เสียงของ Crematorium’ (สถานที่เผาศพ) ต้องมาไล่ดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในฉากนั้น อาทิ เสียงไฟปะทุ, ไม้หัก, สายลมพัด, ผู้คนตะโกน กรีดร้อง ฯ รวมๆแล้วบางครั้งอาจมีถึง 12-14 Layers/เสียงย่อย ในหนึ่งแทร็คเดียว

ความท้าทายของการออกแบบเสียง คือความดังที่ผู้ชม/ตัวละครจะได้ยินจากสิ่งต่างๆรอบข้าง เพราะเรื่องราวดำเนินไปโดยใช้มุมมองของตัวละครหนึ่งเป็นหลัก เขามักเดินไปมาผ่านโน่นนี่นั่นมากมาย การไล่ระดับเสียงต่างๆจึงมีความจำเป็นและยุ่งยากถึงที่สุด รวมๆแล้วใช้เวลา 4-5 เดือนเฉพาะส่วนของ Sound Design

ตัดต่อโดย Matthieu Taponier สัญชาติ Hungarian, ใช้มุมมองของ Saul Ausländer ในการดำเนินเล่าเรื่องทั้งหมด

หนังเน้นถ่ายทำแบบ Long Take แต่ก็มี Montage สั้นๆตัดสลับคั่นไปมา ระหว่างภาพที่เห็น (มุมมองบุคคลที่ 1) กับปฏิกิริยาสีหน้าของตัวละคร (มุมมองบุคคลที่ 2) รวมๆแล้วมีทั้งหมด 85 คัท ยาวสุดไม่มีเกิน 4 นาที

ลักษณะของ Long Take มักเป็นช่วงที่ตัวละครออกเดินไปมา (ถ่ายด้วยมุมมองบุคคลที่ 3 เห็นด้านหลัง) จากสถานที่หนึ่งลากยาวไปยังอีกสถานที่หนึ่ง แต่เมื่อไหร่ที่เขาหยุดนิ่ง จับจ้องมองบางสิ่ง ถึงค่อยมีการตัดต่อสลับมุมมองภาพที่เห็น

เพลงประกอบโดย László Melis (1953 – 2018) นักไวโอลิน/แต่งเพลง สัญชาติ Hungarian ที่มีความหลงใหลในสไตล์ Minimalist เชื่อว่าหลายคนคงไม่ทันได้ตั้งใจฟังสักเท่าไหร่ มีลักษณะเป็น Subtle คอยสร้างบรรยากาศอยู่ห่างๆ, ถ้าไม่รู้ตัวก็ฟัง Ending Score ไปแล้วกันนะครับ

รับชมหนังเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึง Saving Private Ryan (1998) มันคุ้มแล้วหรือกับการกระทำบางสิ่งอย่างเพื่อใครคนหนึ่ง (ที่ไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าคือใคร) แลกกับความเสี่ยงตาย และสูญเสียโอกาสของส่วนรวม, มันคงไม่มีคำตอบที่ถูกต้องของการกระทำลักษณะนี้ เพราะต่อให้คนทั้งโลกมองว่าเป็นสิ่งไม่มีค่าไร้สาระ แต่ถ้าจิตใจของเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อได้กระทำแล้วจะทำให้ตนเองรู้สึกแตกต่างไปจากที่เป็นอยู่เดิม นั่นถือเป็นชัยชนะเล็กๆที่มีความสุดแสนยิ่งใหญ่

แต่ผมค่อนข้างแอบดีใจที่เขากระทำสิ่งนั้นไม่สำเร็จ ซึ่งหนังได้สอดแทรกแนวคิดของผู้กำกับผ่านไดเรคชั่นฉากว่ายน้ำข้ามลำธารลึก มุมกล้องของฉากนี้เป็นภาพเหนือน้ำทั้งหมด ไม่มีสะเทิ้นใต้ผืนผิวน้ำแม้แต่ช็อตเดียว นั่นมีนัยยะสื่อถึงว่า การกระทำนี้มีลักษณะเป็นเพียงเปลือกนอกด้านบน หาได้มีคุณค่าความสำคัญแท้จริงที่อยู่ภายในจิตใจของคนไม่

แต่วินาทีที่เขามองเห็นเด็กชายผมทองน่าจะเชื้อสายเยอรมัน ราวกับจินตนาการเห็นหนุ่มชาวยิวคนนั้นได้กลับฟื้นคืนชีพมีชีวิต รอยยิ้มที่ค่อยๆแย้มออกหลังจากเดินละห้อยเหี่ยหมดอาลัย มันทำให้เขารับรู้ถึง ‘ความเป็นมนุษย์’ ที่ยังหลงเหลืออยู่ในตนเอง แม้จะไม่สำเร็จลุล่วงดั่งใจหวัง แต่ก็เหลือเฟือเพียงพอแล้ว ความหวังเล็กๆที่โหยหาได้สำเร็จลุล่วงโดยพลัน

ในสถานการณ์ลักษณะนี้ หลายคนย่อมไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพระเอก แต่อยากให้ลองจินตนาการกันสักนิดว่า ถ้าเด็กชายคนนั้นคือลูกของคุณจริงๆ ดั่งชื่อหนัง Son of Saul เชื่อว่าบางคนอาจจะดื้อรั้น เห็นแก่ตัว ไม่ยอมปล่อยให้ล่องลอยไปตามสายน้ำ (อาจจะได้จมน้ำตายไปอีกคน) ยิ่งว่าที่พบเห็นในหนังเสียอีกนะ

ผมคงได้แค่แนะนำว่า ‘ปล่อยวาง’ มันเสียบ้างถ้าคุณตกอยู่ในสถานการณ์ลักษณะคล้ายๆกันนี้ ครุ่นคิดถึงว่า ชีวิตไม่ได้มีแค่ชาตินี้จบสิ้น ร่างกายเป็นเพียงวัตถุหนึ่งไม่ต่างจากก้อนดินหินอากาศธาตุ สิ่งที่มองไม่เห็นอยู่ภายในเรียกว่าจิตวิญญาณ นั่นต่างหากมีความสำคัญกว่าที่สุด

มนุษยธรรม คือสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ หรือธรรมที่เราควรปฏิบัติมีต่อกัน อาทิ เมตตากรุณา, เอื้อเฟื้อเผื่อแฟ่, มีน้ำใจโอบอ้อมอารี ฯ ในทางพุทธเปรียบเทียบใกล้เคียงสุดก็คือ เบญจธรรม (เบญจศีล คือข้อห้าม ๕ ประการ, เบญจธรรม คือข้อแนะนำปฏิบัติ ๕ ประการ) ประกอบด้วย
๑. เมตตา กรุณา
๒. สัมมาอาชีวะ
๓. กามสังวร
๔. สัจจะ
๕. สติ สัมปชัญญะ

บทเรียนจากภาพยนตร์เรื่องนี้ คือการตั้งคำถามว่า ในสถานการณ์ตกอยู่ในนรกทั้งเป็น เราจะยังสามารถมี ‘มนุษยธรรม’ หรือเบญธรรม หลงเหลืออยู่ได้หรือเปล่า? คำตอบคือได้แน่นอน, อันนี้แนะนำฝากไว้กับคนที่เชื่อมั่นว่า ชาตินี้ทำกรรมชั่วไว้มาก ตายไปตกนรกอย่างแน่นอน ว่ากันว่าดินแดนแห่งนั้นจะทำให้คุณทุกข์ทรมานแสนสาหัส ถ้ามีโอกาสเล็กๆ ลองทำสักอย่างที่คือเบญจธรรมนี้ดู มันอาจช่วยเหลือกันไม่ได้สักเท่าไหร่ แต่จักทำให้จิตใจสูงส่งขึ้นโดยไม่รู้ตัว

Claude Lanzmann ผู้กำกับโคตรสารคดี Shoah (1985) ชื่นชอบยกย่องหนังเรื่องนี้อย่างมาก จนมีโอกาสได้กลายเป็นเพื่อนรู้จักกับ Nemes เป็นการส่วนตัว

“It’s a very new film, very original, very unusual. It’s a film that gives a very real sense of what it was like to be in the Sonderkommando. It’s not at all melodramatic. It’s done with a very great modesty”.

แรกสุดหนังได้รับเชิญเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Berlin แต่กลับถูกขอให้อยู่การประกวดสายรอง Panorama Section ไม่ใช่ Main Competition ทีมงานเลยไม่ยอมส่งไป รอคอยเทศกาลหนังเมือง Cannes ซึ่งพอออกฉายกลายเป็นเต็งหนึ่งข้ามคืนที่จะคว้า Palme d’Or แต่คณะกรรมการนำโดยสองพี่น้อง Coens เลือก Dheepan (2015) ภาพยนตร์สัญชาติฝรั่งเศส ของผู้กำกับ Jacques Audiard ให้คว้ารางวัลใหญ่แทน, กระนั้น Son of Saul ก็ยังสามารถกวาดมาได้ถึง 4 รางวัล
– Grand Prix du Jury (อันดับสองของเทศกาล)
– FIPRESCI Prize (รางวัลของนักวิจารณ์)
– François Chalais Prize
– Vulcain Prize for the Technical Artist มอบให้ Tamás Zányi ผู้เป็น Sound Designer

ด้วยทุนสร้างประมาณ $1.8 ล้านเหรียญ ใน Hungary สามารถทุบสถิติภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในประเทศลงได้ ตั้งแต่ก่อนหน้าเริ่มเดินหน้ากวาดรางวัลปลายปีเสียอีก ทำเงินรายรับทั่วโลก $9.7 ล้านเหรียญ

สำหรับรางวัล Best Foreign Language Film ปลายปีที่สามารถกวาดมาครองได้ ประกอบด้วย
– Academy Award
– Golden Globe Award
– BAFTA Award

ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องที่สองของ Hungary ที่สามารถคว้า Oscar: Best Foreign Language Film มาครองได้ โดยเรื่องแรกคือ Mephisto (1981) ระหว่างนั้นก็มีที่ได้เข้าชิง The Boys of Paul Street (1968), Cats’ Play (1974), Hungarians (1978), Confidence (1980), Job’s Revolt (1983), Colonel Redl (1985), Hanussen (1988) และปีล่าสุด On Body and Soul (2017)

เริ่มต้นมาส่วนตัวค่อนข้างชอบพล็อต แนวคิด และไดเรคชั่นของหนังมากๆ แต่สักประมาณกลางเรื่องเริ่มรับไม่ได้กับความดื้อด้านหัวรั้นของตัวละคร มันจะยึดติดในรูปตัวตนมากเกินไปไหม ครุ่นคิดว่าถ้าตอนจบทำพิธีฝังสำเร็จนะ จะโคตรเกลียดเลยละ แต่พอถึงฉากลอยคอกลางแม่น้ำ แค่ตนเองยังเอาตัวไม่รอด ตบโต๊ะฉาด! ใช่เลยละนี่คือสิ่งที่ผมรอคอย ความชื่นชอบประทับใจหวนกลับคืนมาอีกครั้ง

ใจจริงอยากจัดหนังให้ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แต่คิดว่าคนส่วนใหญ่คงทนดูไม่ไหวแน่ ยิ่งจินตนาการของคนสมัยนี้เตลิดเปิดเปิงไปไกล คงมองไม่เห็นคุณค่าใจความเนื้อใน สิ่งสำคัญล้ำค่ามีมนุษยธรรมที่สุดในเหตุการณ์ลักษณะนี้ คือการ ‘ปล่อยวาง’ จากความยึดติดทุกสิ่งอย่าง

แนะนำกับคอหนังรางวัล ขาโหด ชื่นชอบความรุนแรง Sadist, สนใจประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่องราวในค่ายกักกันนาซี โดยเฉพาะการทำงานของ Sonderkommando ในค่าย Auschwitz

จัดเรต 18+ กับภาพ ความรุนแรง และจินตนาการที่จะทำให้ผู้ชมเตลิดเปิดเปิงไปไกล

TAGLINE | “Son of Saul ค้นหาคุณค่าความเป็นคนในค่ายกักกันนาซี แจ้งเกิดผู้กำกับ László Nemes ได้อย่างปั่นป่วนทรงพลัง”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

The Boy in the Striped Pyjamas (2008)


The Boy in the Striped Pyjamas (2008) British : Mark Herman ♥♥♥♡

เด็กชายในชุดนอนลายทาง คือตัวแทนความไร้เดียงสาของชาวยิว นี่ฉันทำอะไรผิดถึงถูกแบ่งแยกกีดกั้นด้วยรั้วลวดหนาม โดนกดขี่ข่มแห่งใช้แรงงาน เข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ก็แม้แต่เด็กชายในชุดปกติยังเกิดความใคร่สงสัย เมื่อเขาทดลองสวมใส่ ทุกคนเลยรับรู้ซึ้งถึงบทเรียนนี้ ในตอนจบที่จะทำให้คุณรวดร้าวทุกข์ทรมาน หมดสิ้นเรี่ยวแรง ศรัทธาและความหวัง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

บทเรียนที่ว่านี้คือข้อคิดสัจธรรมง่ายๆ “กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมคืนสนอง” ทุกสิ่งอย่างที่นาซีกระทำต่อชาวยิว เมื่อไหร่หวนย้อนกลับมาเกิดขึ้นกับพวกเขาเอง ก็จักรับรู้ซึ้งถึงความโง่เขลาเบาปัญญา ถ้าฉันไม่คิดทำเรื่องพรรค์นี้ตั้งแต่ต้น โศกนาฎกรรมตอนจบย่อมไม่เกิด

แต่ก็นะ ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบสิ้นไปเกินกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว คงแทบไม่มีคนรุ่นนั้นหลงเหลือให้รู้สึกซึ้งถึงความโง่เขลาเบาปัญญาของตนเอง ต้องถือว่าเป็นบทเรียนเสี้ยมสั่งสอนคนรุ่นปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ทัศนคติต่อการสงคราม อะไรก็ตามที่แบ่งแยกมนุษย์ออกจากกันด้วยรั้วลวดหนาม นั่นไม่ใช่สิ่งถูกต้องเหมาะสมแม้แต่น้อย สังคมยินยอมรับเรื่องพรรค์นั้นไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

ส่วนตัวมีความคับข้องใจรุนแรงต่อหนังอย่างหนึ่ง คือนักแสดงพูดภาษาอังกฤษสำเนียง British ใครฟังพากย์ไทยหรือจับสำเนียงไม่ได้ต้องถือว่าโชคดีไป แต่ใครแยกออกก็อาจเกาหัว คือพื้นหลังมันนาซี ประเทศเยอรมัน อย่างน้อยสะดิ้งเน่อสักหน่อยก็ยังดีนะ จากควรได้คะแนนเต็มเลยต้องตัดความไม่สมเหตุสมผลนี้ออกไป แถมผมมิอาจทำความเข้าใจได้ด้วย เพราะสร้างโดยชาวอังกฤษ ให้ชาวอังกฤษรับชม แค่นั้นนะหรือ??

เกร็ด: หลายคนอาจมีความสับสนกับชื่อหนัง รู้สึกว่าคำนี้จะเขียนได้ทั้งสองแบบ ซึ่งมีการใช้ Pyjamas ฉบับฉายในอังกฤษ ขณะที่ Pajamas กับฉบับฉายอเมริกา

Mark Herman (เกิดปี 1954) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Bridlington, East Riding of Yorkshire, สมัยเรียนมหาวิทยาลัยชื่นชอบการวาดรูป การ์ตูน อนิเมชั่น เข้าเรียนอนิเมเตอร์ที่ National Film and Television School ก่อนเปลี่ยนมาให้ความสนใจด้านการแสดง กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก See You at Wembley, Frankie Walsh (1987) คว้ารางวัล Student Academy Award, ผลงานเด่นๆ อาทิ Little Voice (1998), The Boy in the Striped Pyjamas (2008)

ดัดแปลงจาก The Boy in the Striped Pyjamas นิยาย Holocaust แต่งโดย John Boyne (เกิดปี 1971) นักเขียนสัญชาติ Irish ตั้งแต่ตีพิมพ์ครั้งแรกปี 2006 กลายเป็น Best-Seller ประมาณการถึงปี 2010 มียอดขาย 5 ล้านเล่มทั่วโลก ซึ่งในประเทศไอร์แลนด์ ขายดีติดอันดับ 1 ยาวนานถึง 57 สัปดาห์

“Childhood is measured out by sounds and smells and sights, before the dark hour of reason grows,”

– โดยนักกวีชื่อดังสัญชาติอังกฤษ Sir John Betjeman (1906 – 1984)

เรื่องราวของเด็กชายอายุ 9 ขวบ Bruno (รับบทโดย Asa Butterfield) เมื่อพ่อของเขา Ralf (รับบทโดย David Thewlis) ได้เลื่อนยศทหาร จำต้องออกไปประจำการนอกเมือง ทำให้ทุกคนในครอบครัวต้องตามติดไปด้วย แต่บ้านชนบทหลังนั้นกลับห้อมล้อมรอบด้วยกำแพงสูง ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวอ้างว้างกับแม่ Elsa (รับบทโดย Vera Farminga) และพี่สาว Gretel (รับบทโดย Amber Beattie) ไม่มีเพื่อนเล่นใกล้ๆแถวนั้น วันหนึ่งจึงแอบลักลอบหนีออกนอกบ้าน พบเจอเด็กชายในชุดนอนลายทางชื่อ Shmuel (รับบทโดย Jack Scanlon) แต่พวกเขาก็ถูกแบ่งกั้นขวางด้วยรั้วลวดหนาม มิอาจไปมาหาสู่กันได้ง่ายๆ

Asa Maxwell Thornton Farr Butterfield (เปิดปี 1997) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Islington, London เริ่มต้นเป็นนักแสดงตั้งแต่อายุ 7 ขวบที่โรงละคร Young Actors Theatre, Islington ได้รับคัดเลือกแสดงซีรีย์โทรทัศน์ ตามด้วยภาพยนตร์ Son of Rambow (2007), โด่งดังกับบท The Boy in the Striped Pyjamas (2008), Hugo (2011), Ender’s Game (2013), The Space Between Us (2017) ฯ

เด็กชาย Bruno ที่ยังไม่รู้ประสีประสาอะไรในชีวิต มิล่วงรับรู้ความแตกต่างระหว่างตัวเขากับชาวยิว ชื่นชอบการผจญภัย รักจินตนาการ ต้องการโผลบินล่องลอยเป็นอิสระ ไม่ชอบถูกกักขังอยู่ในกฎกรอบระเบียบ ด้วยความใคร่รู้ใคร่สนใจ จึงอยากสวมชุดนอนลายพรางแบบเดียวกับเพื่อนสนิทหนึ่งเดียว Shmuel แต่เรื่องราวไม่คาดฝันก็บังเกิดขึ้น

เห็นว่านี่คือบทแจ้งเกิดของ Butterfield เด็กชายผู้มีดวงตาใสซื่อบริสุทธิ์ไร้เดียงสา คำพูดจา การแสดงออก เต็มไปด้วยความเพ้อฝันจินตนาการ แต่เมื่อถูกห้ามก็มีท่าทีคับข้องรำคาญใจ จ้องมองค้นหาทางดิ้นรนให้หลุดจากกรงขังพันธการไว้ โบยบินสู่อิสระเสรี

เกร็ด: ทรงผมของตัวละครนี้ รู้สึกจะเลียนแบบ Adolf Hitler มาเลยนะ

Jack Scanlon (เกิดปี 1995) นักแสดงเด็กสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Leeds ผ่านการคัดเลือกนักแสดง เพราะสามารถเล่นเข้าขากับ Asa Butterfield ได้ยอดเยี่ยมที่สุด หลังจากนี้มีแสดงละครโทรทัศน์อีก 2-3 เรื่อง โตขึ้นเลือกเดินทางสายนักดนตรี เป็นนักกีตาร์วง The Tiffanys

เด็กชาย Shmuel ในค่ายกักกัน คงเพราะถูกใช้งานเยี่ยงทาส จนไม่หลงเหลือเวลาสำหรับครุ่นคิดถึงอนาคต วันๆชอบแอบมานั่งเศร้าสร้อยเหงาหงอยอยู่เดียวดายริมรั้วลวดหนาม ซึ่งการได้พบเจอกับ Bruno เหมือนว่าทำให้เขามีความหวังเล็กๆ แต่ก็ถูกทรยศเมื่อได้โอกาสไปทำงานเช็ดแก้วที่บ้านของเขา

เกร็ด: ในความเป็นจริง ค่ายกักกันนาซีจะไม่มีการนำเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี มาใช้แรงงานอย่างแน่นอน เพราะมักถูกฆ่าหรือไม่ก็ถูกรมแก๊สเสียชีวิตไปแล้ว

David Thewlis ชื่อเดิม David Wheeler (เกิดปี 1963) นักแสดง/ผู้กำกับสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Blackpool, Lancashire, สมัยวัยรุ่นรวมกลุ่มกับเพื่อนตั้งวงดนตรี เล่นกีตาร์ แล้วเปลี่ยนมาเป็นนักแสดงเข้าเรียน Guildhall School of Music and Drama จบออกมาได้รับบทเล็กๆในรายการซิทคอม ซีรีย์โทรทัศน์ โด่งดังพลุแตกกับ Naked (1993) คว้ารางวัล Best Actor จากเทศกาลหนังเมือง Cannes ผลงานเด่นๆ อาทิ Total Eclipse (1995), Seven Years in Tibet (1997), ออดิชั่นบท Quirinus Quirrell ใน Harry Potter ภาคแรก แต่ภายหลังได้รับเลือกเป็น Professor Remus Lupin, Kingdom of Heaven (2005), The New World (2005), Theory of Everything (2014) ,Wonder Woman (2017) ฯ

รับบทพ่อ Ralf ที่ดูภายนอกเหมือนเป็นคนดี รักห่วงใย ทำทุกอย่างเพื่อครอบครัวมีความสุขสบาย แต่ลึกๆแล้วกลับเป็นสัตว์ประหลาด มีทัศนคติยึดมั่นในอุดมการณ์ของพรรคนาซี สามารถเข่นฆ่าชาวยิวได้อย่างเลือดเย็นไม่สนมนุษยธรรม จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมค่ายกักกัน

เหมือนว่า Thewlis มักได้รับบทคล้ายๆกันจนดูเหมือน Typecast ไปเสียแล้ว เพราะภาพลักษณ์มีความสุภาพ นุ่มนวลอ่อนโยน แต่ลึกๆในใจอาจมีบางสิ่งอย่างชั่วร้ายแฝงอยู่ (อย่างบท Remus Lupin วันธรรมดาๆก็ปกติดี แต่พระจันทร์เต็มดวงก็กลายเป็นหมาป่า) ซึ่งบทบาทนี้แรกๆก็สามารถหลอกผู้ชมได้สนิทใจ ผมก็ไม่ได้คิดว่าเขาจะเป็นถึงผู้ควบคุมค่ายกักกันเลยนะ แต่พอหลายสิ่งอย่างค่อยๆได้รับการเปิดเผยออก ตัวละครนี้มันโคตรโหดโฉดชั่ว เลวทรามที่สุดเลยนะ

Vera Ann Farmiga (เกิดปี 1973) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Clifton, New Jersey, ครอบครัวอพยพจาก Ukraine พูดภาษา Ukrainian จนกระทั่งอายุ 6 ขวบเข้าโรงเรียนค่อยได้พูดภาษาอังกฤษ แม้ตอนแรกมิได้สนใจด้านการแสดง แต่ได้รับเลือกบทนำในการแสดงของโรงเรียน จึงตัดสินใจมุ่งความสนใจสายนี้ เข้าเรียน Syracuse University สาขา Bachelor of Fine Arts จบออกมาเป็นนักแสดงละครเวที Broadway แสดงละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องแรก Return to Paradise (1998), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Down to the Bone (2004), สมทบ The Manchurian Candidate (2004), The Departed (2006), The Boy in the Striped Pyjamas (2008), Up in the Air (2009), Source Code (2011), The Conjuring (2013) ฯ

รับบทแม่ Elsa ที่ก็เหมือนลูกๆ ไม่ได้รับรู้เกี่ยวกับหน้าที่การงานของพ่อ แต่เมื่อพบเห็นอะไรต่างๆรอบข้าง ก็สามารถจินตนาการเข้าใจได้ทันทีว่าเขาทำอะไร นั่นทำให้เธอเกิดความคลุ้มคลั่ง รับไม่ได้ เกือบเสียสติแตกควบคุมตนเองไม่อยู่

Farmiga เป็นผู้หญิงที่มีเสน่ห์มากๆคนหนึ่ง ด้วยใบหน้ารีเรียวยาวมีความลึกลับน่าค้นหา สายตาชวนให้น่าหลงใหล, กับหนังเรื่องนี้เธอแทบไม่ต่างอะไรกับ Bruno เต็มเปี่ยมด้วยความไม่รู้ไร้เดียงสา แต่เพราะโตแล้วเป็นผู้ใหญ่จึงมีความเข้าใจอะไรหลายๆอย่าง ซึ่งเมื่อล่วงรู้ความจริงก็ปฏิเสธขัดขัดรับไม่ได้ ใครจะไปคิดว่าสามีที่รักกันมามีลูกถึงสองคน แท้จริงจะคือสัตว์ประหลาดผู้ชั่วร้าย แสดงว่าทุกสิ่งที่ผ่านกันมา มันเป็นเพียงแค่ภาพลวงตาเท่านั้นเองหรือ

เกร็ด: ในเครดิต Ralf กับ Elsa จะขึ้นแค่ Father, Mother นี่เป็นการเคารพคารวะต้นฉบับ ที่ใช้มุมมองของ Bruno ในการเล่าเรื่องทั้งหมด (คือจะไม่มีเอ่ยถึงชื่อจริงของพวกเขา)

ถ่ายภาพโดย Benoît Delhomme สัญชาติฝรั่งเศส ผลงานเด่น 1408 (2007), The Theory of Everything (2014) ฯ

งานภาพของหนังจะเริ่มจากโทนสีอบอุ่น มีความสว่างสดใส กล้องเคลื่อนไหวโฉบเฉี่ยวรวดเร็ว เด็กๆเต็มไปด้วยความสนุกสนานร่าเริง แต่ทุกอย่างจักค่อยๆช้าลง มีบรรยากาศเย็นยะเยือกลงเรื่อยๆ เมื่อไปถึงค่ายกักกันจะหลงเหลือแต่โทนอันจืดชืด ให้สัมผัสที่แห้งแล้ง ไร้ชีวิตชีวา

กิจกรรมที่เด็กๆวิ่งเล่นไล่กัน ชอบที่จะกางแขนสองข้างออกเหมือนเครื่องบิน ที่ล่องลอยโฉบเฉี่ยวเป็นอิสระเสรีท่ามกลางเวหานภาลัย

แต่เมื่อ Bruno ย้ายเข้ามาบ้านใหม่ กลายเป็นราวกับนกในกรงขัง หลบซ่อนอยู่หลังซี่กรงบันได กำแพงบ้านสูงใหญ่ โหยหาเฝ้ารอคอยหาจังหวะโอกาส ที่จะโบยบินเป็นอิสระเสรีเบื้องนอก

ในห้องแห่งความลับของพ่อ ผู้ชมจะไม่ได้รับการเปิดเผยเล่าถึงโดยตรงๆว่าเขาทำงานอะไร อย่างช็อตนี้ในสายตาของแม่ กำลังถูกปิดประตูไม่ให้รับรู้ ชวนให้นึกถึงฉากจบของ The Godfather (1972) โลกของผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กจักไม่สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งได้

ช่วงแตกต่างสุดขั้วระหว่างภายใน/นอก ค่ายกักกัน มองจากมุมสูงนี้จะเห็นพื้นหญ้าสีเขียวกับพื้นดิน แบ่งกั้นด้วยรั้วลวดหนามที่เด็กๆทั้งสองอยากเหลือเกินที่จะข้ามฝากไปมาหากัน

ให้ข้อสังเกตสักเล็กน้อย ระยะห่างของเด็กๆระหว่างการพบเจอ 4-5 ครั้ง พวกเขาจะค่อยๆเข้าใกล้กันเรื่อยๆ จนกระทั่งสุดท้าย Bruno ตัดสินใจมุดลอดเข้าไปหา Shmuel

ตัดต่อโดย Michael Ellis สัญชาติอังกฤษ ผลงานเด่นอาทิ Superman (1978), Death Watch (1980), The Jewel of the Nile (1985) ฯ

เรื่องราวทั้งหมดใช้มุมมองของ Bruno ในการเล่าเรื่อง หลายครั้งจะเห็นเขาจับจ้องแอบมองดูอยู่ห่างๆ และบางครั้งแทนสายตาบุคคลที่ 1 สังเกตค้นหาหนทางแอบหนีออกจากบ้าน

หนังพยายามหลีกเลี่ยงการนำเสนอภาพความโหดเหี้ยมทารุณ ที่เหล่าทหารนาซีกระทำต่อชาวยิว ไม่มีฉากที่ใช้ความรุนแรง เต็มที่คือตะคอกขึ้นเสียงให้ตกใจ หรือพบเห็นรอยแผลจากการถูกลงโทษกระทำร้าย นี่คงเหมือนเพื่อไม่ให้เด็กๆรับรู้ว่าแท้จริงเกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านั้น แต่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่คงสามารถรับรู้จินตนาการตามได้ ว่าเบื้องหลังเหตุการณ์จริงมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ผมมาครุ่นคิดว่า สำหรับผู้ชมที่ไม่เคยรับรู้จักเหตุการณ์ Holocaust แล้วมารับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ จะเกิดความตราตรึงฝังใจขนาดไหน, แน่นอนว่าต้องมีความฉงนสงสัยไปตลอดทาง เบื้องหลังมันคงมีบางสิ่งอย่างรุนแรงมากคลั่งแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่แน่ แม้จะไม่เข้าใจทั้งหมดแต่เมื่อถึงตอนจบ คงเกิดอาการช็อคแทบเป็นลมหมดสติ คาดคิดไม่ถึงว่านั่นจะคือความเลวชั่วร้ายที่มนุษย์ปฏิบัติแสดงออกต่อกัน

เพลงประกอบโดย James Horner (1953 – 2015) สัญชาติอเมริกัน ที่โด่งดังเป็นตำนานกับ Titanic (1997), Avatar (2009) ฯ

Boys Playing Airplanes คือความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาระของเด็กๆที่เต็มไปด้วยอิสระเสรี สามารถกางปีกโบยบินโผลถลาไปมา ไม่มีอะไรเป็นกรอบขอบเขตแดน กักกั้นเหนี่ยวรั้งขังไว้

คงไม่มีบทเพลงไหนโดดเด่นทรงพลัง ค่อยๆเร่งเร้าอารมณ์ความรู้สึกให้ถึงจุดสูงสุดได้เท่า Strange New Clothes, นับตั้งแต่ที่ Bruno สวมใส่ชุดนอนลายทาง จนกระทั่ง… เริ่มต้นด้วยความใคร่รู้ใคร่สงสัย จบสิ้นลงด้วยความรวดร้าวระทม

The Boy in the Striped Pyjamas เป็นภาพยนตร์ที่พยายามทำลายเส้นแบ่งเขตแดนกั้น ระหว่างอะไรก็ตามที่ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองฝั่งฝ่าย ด้วยบทเรียนสอนผู้ใหญ่ที่มักเป็นผู้สร้างรั้วลวดหนามนั้น เพราะเด็กๆลูกหลานของพวกเขาจะแสร้งทำเป็นมองไม่เห็น และเมื่อวิ่งเล่นข้ามไปอีกด้านหนึ่ง สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนั้นคงมีแต่โศกนาฎกรรมโดยไม่รู้ตัว

คือถ้ามันไม่มีเส้นแบ่งเขตแดนกั้นนี้อยู่ โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมย่อมลดน้อยลงหรืออาจไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยก็ได้ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ผู้ใหญ่ทั้งหลายรับรู้ระวังตัว แต่ก็แน่นอนว่าไม่สามารถไปกำหนดควบคุมชี้ชักนำทางได้ทุกวินาที เมื่อไหร่ลับสายตาย่อมมีโอกาสที่อะไรๆจะเกิดขึ้นได้เสมอ

ซึ่งเมื่อใดที่ใครคนหนึ่งประสบพบเจอเหตุการณ์นี้เข้ากับตัวเอง เชื่อว่าส่วนใหญ่น่าจะตระหนักรับรู้ซึ้งถึงความโง่เขลาเบาปัญญาของตนเอง (แต่ถ้าไม่นี่ก็แสดงถีงความโง่บรรลัยเลยนะ กู่ไม่กลับแล้วละคนประเภทนี้) แล้วอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป นั้นคงเป็นสิ่งไม่มีใครตอบได้แน่ แต่เชื่อว่า Trauma นี้จะจดจำฝังลึกในจิตใจพวกเขาไปจนวันตายเลยละ

เรื่องราวของหนัง ถือว่าก้าวผ่านขอบเขตแดนระหว่างนาซี-ยิว ไปสู่อะไรก็ตามที่มนุษย์ขีดเส้นแบ่งออกเป็นสองฝั่งฝ่าย ชาย-หญิง ผิวขาว-ดำ ดี-ชั่ว รวย-จน ชนชั้นสูง-ต่ำ ฯ เจ้าเส้นแบ่งนี้ไม่ได้จำเป็นตั้งมีกำแพงหรือรั่วลวดหนามในลักษณะรูปธรรม แต่อาจคือเส้นบางๆนามธรรมที่จิตใจ/ความคิดของเราจินตนาการมโนขึ้นเอง มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแต่มีอยู่

เคยรึเปล่าเห็นขอทานขี้เมานอนหลับอยู่ป้ายรถเมล์ สภาพสกปรกซกมกแมลงวันตอมหึ่ง วินาทีที่ความรู้สึกอคติ รังเกียจชังบังเกิดขึ้น เส้นแบ่งบางๆที่ผมว่ามานี้ถือว่าได้ปรากฎขึ้นแล้วในใจของคุณ มันไม่ใช่เรื่องดีเลยนะ ลองจินตนาการย้อนกลับดูสิ ถ้าสักวันหนึ่งตัวคุณเองล้มละลาย บ้านที่ดินถูกยึด ไม่มีเงินกินข้าว กลายสภาพเป็นเหมือนขอทานขี้เมาคนนั้น ต้องอาศัยหลับนอนอยู่ป้ายรถเมล์ น้ำท่าไม่ได้อาบ แล้วมีคนแสดงอคติรังเกียจชังใส่เรา จะรู้สึกเช่นไร

เล็กๆน้อยๆพวกนี้เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทั้งหลาย ควรฝึกวิปัสนาครุ่นคิดทำความเข้าใจด้วยตนเอง ยึดหลักคำสอนของพระพุทธองค์ว่าด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ‘กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมคืนสนอง’ อะไรก็ตามที่เราเคย คิด-พูด-กระทำ ต่อใครเอาไว้ อนาคตสักวันอาจไม่ใช่ชาตินี้ สิ่งเหล่านั้นย่อมย้อนกลับคืนมาหา เมื่อใดแตกฉานในสัจธรรมนี้ ความเมตตากรุณา พรหมวิหาร ๔ จักบังเกิด ครุ่นคิดพูดทำอะไรไม่เห็นแก่ตัวนึกถึงแค่ตนเอง แต่ยังผู้อื่นและทุกสรรพสัตว์ในโลกหล้า เมื่อนั้นผลกรรมของความดีจะปรากฎเห็นสู่สายตาอย่างแน่นอน

ด้วยทุนสร้าง $12.5 ล้านเหรียญ ทำเงินได้ทั่วโลก $44.1 ล้านเหรียญ, คำวิจารณ์ตอนออกฉายถือว่าก้ำกึ่ง เพราะนักวิจารณ์ส่วนใหญ่บอกรับไม่ได้กับตอนจบ มันเลวร้ายเกินกว่าตราตรึง

แต่ส่วนตัวกลับชื่นชอบหนังเรื่องนี้ค่อนข้างมากๆเลยนะ มองว่าเป็นตอนจบที่ทรงพลัง และบทเรียนสอนใจอะไรๆได้มาก แต่ก็น่าฉงนทำไมชาวตะวันตกถึงไม่ค่อยเข้าใจเป้าหมายนี้กัน

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ภาพยนตร์เรื่องนี้เหมาะสำหรับผู้ใหญ่โดยเฉพาะ รับชมให้เกิดความตระหนักรู้เข้าใจ ทุกสิ่งอย่างที่พวกเรากระทำ ลูกหลานเด็กรุ่นใหม่ต่างจับจ้องมองอย่างใคร่สงสัยใกล้ชิด อยากให้พวกเขาเติบโตขึ้นเป็นคนดีของสังคม ก็จงทำตัวเป็นแบบอย่างที่เหมาะสมควร ถ้าคุณกระทำอะไรเลวทรามต่ำชั่วช้าไว้ สักวันมันอาจหวนย้อนกลับคืนเข้าหา แบบโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นในหนังก็เป็นได้

จัดเรต 15+ กับความเหยียด และโศกนาฎกรรมช่วงท้ายที่จะทำให้จดจำตราตรึงฝังใจ จนอาจกลายเป็นฝันร้าย

TAGLINE | “The Boy in the Striped Pyjamas คือภาพยนตร์ที่เป็นบทเรียนสอนใจ ให้ผู้ใหญ่เลิกใส่ชุดนอนลายทางได้แล้ว”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

Ida (2013)


Ida

Ida (2013) Polish : Paweł Pawlikowski ♥♥♥♥♡

แม่ชีฝึกหัด Ida ก่อนจะปฏิญาณตนเป็นแม่ชีตลอดชีวิต ถูกขอให้ไปเยี่ยมน้า ญาติคนสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่ รับรู้ความจริงเกี่ยวกับตนเองว่ามีเชื้อสายยิว ออกเดินทางค้นหาพ่อ-แม่ ที่ถูกเข่นฆ่าตายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมื่อพบเจอแล้วเธอจะยังสามารถเลือกเส้นทางแห่งความสุขสงบนี้ได้หรือไม่, หนังมีภาพขาว-ดำ สวยงามระดับ Masterpiece คว้า Oscar: Best Foreign Language Film และ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ประมาณ 70+ กว่านาทีของหนัง ที่การถ่ายภาพตั้งกล้องแช่ทิ้งไว้เฉยๆ สะท้อนถึงความสงบหยุดนิ่งในอารมณ์ความรู้สึก แต่อีกประมาณ 4-5 นาทีสุดท้าย มีการเคลื่อนไหว Tracking Shot ติดตามตัวละครไปเรื่อยๆ นั่นคือวินาทีที่เหมือนว่าชีวิตได้ดำเนินเดินหน้าต่อ ไปไหนก็ไม่รู้นะเปิดอิสระให้ผู้ชมได้ครุ่นคิดตีความเข้าใจเอง

แค่ประมาณ 2-3 ช็อตแรกของหนังก็ทำให้ผมอึ้งทึ่งอ้าปากค้างแล้ว รู้สึกโคตรเสียดายที่ไม่มีโอกาสรับชมในโรงภาพยนตร์ จุดเด่นคือการเลือกตำแหน่งจัดวงองค์ประกอบของภาพ ก็ครุ่นคิดตามไม่ค่อยทันหรอกว่าทำไมถึงต้องถ่ายแบบนั้น แต่แค่รู้สึกว่าสวยงามตราตรึง เกิดสัมผัสทางอารมณ์บางอย่างขึ้น ก็น่าจะเหลือเฟือเพียงพอให้รับรู้ได้ว่านี่คือผลงาน Masterpiece

ว่าไปครั้งสุดท้ายที่หนังขาว-ดำ คว้า Oscar: Best Cinematography คือ Schindler’s List (1993) ซึ่งก็มีหลายเรื่องหลังถัดจากนั้นที่ได้เข้าชิง อาทิ Good Night, and Good Luck (2005), The White Ribbon (2009), Nebraska (2013), The Artist (2011) สำหรับ Ida ถือเป็นครั้งล่าสุดที่สร้างความประหลาดใจให้ใครหลายๆคน เชื่อว่าคณะกรรมการ Academy คงมิได้มีโอกาสเห็นความสวยงามของหนังเท่าไหร่แน่ เพราะต่างหลับหูหลับตาเทใจเทคะแนนให้ Emmanuel Lubezki กับโคตร Long Take จากเรื่อง Birdman or (The Unexpected Virtue of Ignorance) (2015) มีความยากท้าทายในการถ่ายทำกว่ามาก

Paweł Aleksander Pawlikowski (เกิดปี 1957) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติ Polish-British เกิดที่ Warsaw, Poland ทวดมีเชื้อสายยิว เสียชีวิตที่ Auschwitz, ตอนอายุ 14 อพยพติดตามแม่สู่ Berlin ตามด้วย London เพราะทนไม่ได้กับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ มีความเชื่อศรัทธาในศาสนาคริสต์คาทอลิกอย่างเคร่งครัด โตขึ้นเข้าเรียน Creative Arts Fellow ที่ Oxford Brookes University กลายเป็นนักเขียน สร้างสารคดี From Moscow to Pietushki with Benny Yerofeyev (1990), Dostoevsky’s Travels (1991), Serbian Epics (1992) ฯ ขณะที่ Feature Film เรื่องแรกคือ Last Resort (2000), My Summer of Love (2004), The Woman in the Fifth (2011)

เกร็ด: Pawlikowski พูดได้ทั้งหมด 6 ภาษา Polish, English, German, Russian, French, Italian

แม้จะมีผลงานภาพยนตร์มาแล้วหลายเรื่อง แต่ Ida ถือเป็นหนัง Polish เรื่องแรกของ Pawlikowski ด้วยความตั้งใจหวนระลึก รื้อฟื้นความทรงจำสมัยวัยเด็กของตนเอง

“[Ida] is an attempt to recover the Poland of my childhood, among many things”.

พัฒนาบทภาพยนตร์ร่วมกับ Rebecca Lenkiewicz นักเขียนบทละครเวทีสัญชาติอังกฤษ (ที่คาดว่าคงทั้งสองคงกำลังจีบกันอยู่ เพราะภรรยาของ Pawlikowski ด่วนเสียชีวิตจากไปหลายปีก่อนหน้า) ขอทุนสร้างจาก Polish Film Institute ได้มา €2 ล้านยูโร (คงคล้ายๆกับทุนสนับสนุนสร้างภาพยนตร์ จากกระทรวงวัฒนธรรมบ้านเรา)

แรงบันดาลใจตัวละคร Wanda Gruz รับอิทธิพลจาก Helena Wolińska-Brus (1919 – 2008) หนึ่งในอัยการของพรรคคอมมิวนิสต์โปแลนด์ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยสั่งประหารผู้นำกลุ่มต่อต้านรัฐบาลมาหลายชีวิต แต่ภายหลังต้องอพยพลี้ภัยออกนอกประเทศ (เพราะระบอบคอมมิวนิสต์โปแลนด์ล่มสลาย) ซึ่งผู้กำกับ Pawlikowski มีโอกาสพบเจอตัวจริงที่ประเทศอังกฤษในช่วงทศวรรษ 80s ณ และยังพยายามคิดหาแรงบันดาลใจสร้างภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเธอมานานมากทีเดียว

“I couldn’t square the warm, ironic woman I knew with the ruthless fanatic and Stalinist hangman. This paradox has haunted me for years. I even tried to write a film about her, but couldnʼt get my head around or into someone so contradictory”.

พื้นหลังช่วงทศวรรษ 60s ณ สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ (ขณะยังปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์), เรื่องราวของ Anna/Ida Lebenstein (รับบทโดย Agata Trzebuchowska) แม่ชีฝึกหัด อาศัยอยู่ในคอนแวนซ์ตั้งแต่ยังเป็นทารกน้อย ถูกขอให้เดินทางไปเยี่ยมน้า Wanda Gruz (รับบทโดย Agata Kulesza) ญาติคนเดียวที่หลงเหลืออยู่ เพื่อรับรู้ประวัติเรื่องราวพื้นหลังของตนเอง พวกเธอตัดสินใจออกตามหาร่างของพ่อ-แม่ ที่ก็ไม่รู้ถูกฝังไว้แห่งหนไหน ระหว่างทางพบเจอโน่นนี่นั่นมากมาย รวมถึงหนุ่มนักแซกโซโฟน Lis (รับบทโดย Dawid Ogrodnik) ที่มีความหลงใหลชื่นชอบในตัว Ida เป็นพิเศษ

แซว: เพราะผมเพิ่งดู Shoah (1985) จึงรู้สึกหลายๆสถานที่ในหนังเรื่องนี้มีความ Nostalgia เป็นภาพคุ้นเคยอย่างยิ่ง

Agata Kulesza (เกิดปี 1971) นักแสดงสัญชาติ Polish เกิดที่ Szczecin ตั้งแต่เด็กมีความสนใจร้องเพลงกับบัลเล่ต์ แต่พอขึ้นมัธยมเปลี่ยนมาเป็นนักแสดง เข้าเรียน Aleksander Zelwerowicz State Theatre Academy มีผลงานละครเวที ซีรีย์โทรทัศน์ โด่งดังกับภาพยนตร์ Kilka prostych słów (2007), Róża (2011), Ida (2013) ฯ

รับบท Wanda Gruz เพราะเคยเป็นถึงอัยการรัฐ ได้ฉายา ‘Red Wanda’ เป็นคนดื่มหนัก สูบบุหรี่จัด แถมยังร่านรัก ดูแล้วคงไม่เคยแต่งงาน ทั้งหมดนี้เพราะความเจ็บปวดทุกข์ทรมานเคียดแค้น ที่พี่สาวตนเอง (แม่ของ Ida) ถูกชาว Poles ที่ให้การช่วยเหลือหลบซ่อนจากนาซี อยู่ดีๆเกิดความขลาดเขลา เข่นฆ่าเธอเสียชีวิตอย่างเลือดเย็น พยายามหลีกเลี่ยงไม่หวนกลับไป รอจน Ida เติบใหญ่บรรลุนิติภาวะ เลยร่วมกันออกเดินทางเพื่อเอาชนะ Trauma จากอดีตนี้

ถือเป็นการแสดงอันเข้มข้น ทรงพลังตราตรึง ปั้นหน้านิ่วคิ้วขมวดไม่เคยเห็นรอยยิ้ม สะท้อนความเจ็บปวดทุกข์ทรมานแค้นคลั่งที่อัดแน่นอยู่ภายใน ใช้อบายมุขและบุรุษในการระบาย แต่สุดท้ายก็ปั่นป่วนจนมิอาจอดรนทนทานต่อไปได้

Pawlikowski พบเจอความยากลำบากในการหานักแสดงบท Anna/Ida อย่างยิ่ง สัมภาษณ์นักแสดงกว่า 400 คน จนครั้งหนึ่งเพื่อของเขา Malgorzata Szumowska ได้พบเจอ Agata Trzebuchowska (เกิดปี 1992) หญิงสาวหน้าตาจิ้มลิ้ม นั่งอ่านหนังสืออยู่ในร้านกาแฟหนึ่ง ทั้งๆไม่เคยมีประสบการณ์หรือความสนใจด้านการแสดง ถูกชักชวนให้มาพบเจอผู้กำกับ ซึ่งเธอยินยอมตกลงเพราะเป็นแฟนภาพยนตร์เรื่อง My Summer of Love (2004)

Anna/Ida Lebenstein แม่ชีน้อย เติบโตขึ้นในคอนแวนซ์ตั้งแต่เด็ก เป็นคนเงียบๆ พูดน้อย ชอบความสงบ ต้องการอุทิศตนเองให้กับความเชื่อศาสนา แต่เมื่อพบเห็นสิ่งต่างๆผ่านการกระทำของน้า Wanda Gruz เกิดความปั่นป่วนพลุกพร่านในใจเล็กๆ สุดท้ายแล้วจะตัดสินใจอย่างไร ปฏิญาณตนเป็นแม่ชี หรือตกหลุมครองรักกับชายหนุ่ม Lis

ก็ไม่ได้ต้องใช้ฝีมือการแสดงอะไรมากมายสำหรับ Trzebuchowska แค่ทำหน้านิ่งๆ เข้มขรึม หลบซ่อนตัวตนอยู่ในคราบ/ชุดแม่ชี ไม่เคยเห็นยิ้มแย้มเช่นกัน แต่เหมือนว่าภายในคงมีความปั่นป่วนพลุกพร่านอยู่ภายในไม่น้อยทีเดียว

ถ่ายภาพมี 2 เครดิต เริ่มจาก Ryszard Lenczewski ที่เคยร่วมงานกับ Pawlikowski ตั้งแต่ Last Resort (2000) แต่ระหว่างทางเหมือนว่า Lenczewski ล้มป่วยหนักทำให้ต้องถอนตัวออกไป (บ้างว่าเกิดความขัดแย้งกับผู้กำกับ) กลายมาเป็น Łukasz Żal จากผู้ช่วยตากล้อง ขึ้นมาสานงานต่อ

เป็นความตั้งใจของ Pawlikowski ที่จะถ่ายหนังด้วยภาพขาว-ดำ ขนาด 4:3 โดยเฉพาะ ด้วยเหตุผลของการหวนระลึกยุคสมัยนั้น ทศวรรษ 60s และเพื่อให้ผู้ชมเกิดความลังเลไม่แน่ใน กับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น

“We chose black and white and the 1.33 frame because it was evocative of Polish films of that era, the early 1960s. We designed the unusual compositions to make the audience feel uncertain, to watch in a different way.”

บริเวณที่ว่าง ‘Space’ (ที่ไม่ใช่ตัวละครหรือมีการเคลื่อนไหว) หลายครั้งกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของช็อตนั้นๆ ทุกครั้งจะชวนให้ตั้งคำถามว่าทำไม คำตอบบางครั้งก็อาจง่ายๆอย่างช็อตนี้ คือความว่างเปล่าของท้องฟ้า/ชีวิต อธิษฐานกับสิ่งที่อาจไม่มีตัวตน?

สังเกตช็อตนี้ แทบทุกอย่างราวกับเป็นการตั้งฉาก, ต้นไม้ขึ้นตั้งฉากกับพื้นดิน/พื้นหลังลิบๆ/รถ, แม่ชีน้อยนั่งคุกเข่าตั้งฉาก ฯ

อีกช็อตแห่งความว่างเปล่า ต้นไม้ยังคงตั้งฉากกับพื้นดิน และส่วนใหญ่ของภาพคือท้องฟ้าขาวโพลน, นี่เป็นช็อตที่สร้างความตะลึงงันให้ผมมากๆ นาทีที่ชายชาว Poles พาสองสาวเดินทางไปขุดหาศพ/โครงกระดูก คืองานภาพมันสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกนั้นออกมาเลยนะ

สมมติว่าคุณได้รับแจ้งว่าคนในครอบครัว พ่อ-แม่ ญาติมิตร หรือลูกหลาน ได้รับอุบัติเหตุเสียชีวิต และกำลังต้องเดินทางเข้าห้องเย็นเพื่อยืนยันว่าเป็นคนรู้จักของเรา ลองจินตนาการอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของตนเองดูนะครับ หลายคนอาจจะวุ่นวายสับสน แต่บางคนสมองจะว่างเปล่า ครุ่นคิดอะไรไปต่อไม่ถูก … นี่เป็นสิ่งที่ถูกสะท้อนออกมาในช็อตแห่งความว่างเปล่าภาพนี้แหละ

อยู่ในรถคันเดียวกันแท้ๆ แต่หนังเลือกถ่ายภาพฝั่งใครฝันมัน เป็นการสะท้อนมุมมอง ทัศนคติที่แตกต่างตรงกันข้ามสุดขั้วของทั้งสอง คือถ้าไม่ใช่ขณะอยู่ในความสนใจเดียวกัน ก็สังเกตได้เลยว่าพวกเธอก็มักไม่อยู่ร่วมช็อตกัน

ความวุ่นวายคับข้องใจของแม่ชีน้อย สงสัยเพราะ Agata Trzebuchowska ไม่สามารถแสดงออกทางสีหน้าอารมณ์ได้ เลยใช้การกระทำเดินวนไปวนมา จัดเป็น Expression ที่สะท้อนความว้าวุ่นวายทางกาย ก่อนตัดสินใจยุติด้วยการเงยหน้าขึ้นมองขอโทษพระเจ้า (ช็อตนี้น่าจะตรงลานกว้าง ที่วางรูปปั้นพระคริสต์ต้นเรื่อง)

ช็อตนี้เราจะเห็นแค่ท่อนบนและใบหน้าของแม่ชีน้อยเท่านั้น เว้นพื้นที่ว่างไว้เยอะมาก ใช้เป็นบริเวณสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกอันมืดหม่นของเธอออกมา

Crime Scene มีหน้าต่างอยู่กึ่งกลางภาพพอดีเปะ มองเห็นต้นไม้ที่ไร้ใบด้านนอก ราวกับโลกอีกใบหนึ่ง, น้าสาวเดินเข้าจากประตู ลับหายตาไปด้านขวาชั่วครู่ เดินกลับมาวางบุหรี่จากนั้นก็ … ออกเดินทางสู่โลกใหม่

หลังจากน้าสาวตายจากไปแล้ว Ida เดินเข้ามาในห้องจากประตูกึ่งกลาง มีสองประตูทางเลือกซ้าย-ขวาให้เลือกเดิน
– จะกลายเป็นแม่ชีตลอดชีวิต
– กลับคือสู่โลกมนุษย์

Sequence ที่ผมชื่นชอบสุด คือการทดลองเพื่อค้นหาคำตอบของแม่ชีน้อยทุกสิ่งอย่างที่น้าสาวเคยทำ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ร่วมรักกับผู้ชาย แล้ววินาทีหนึ่งกับคำถาม อะไรต่อไป พบเจอแต่ความว่างเปล่าไม่มี

งานภาพช่วงนี้จะใช้การปรับโฟกัส พื้นหลังมักจะเบลอ แต่เห็นใบหน้าตัวละครใสชัดเจน สะท้อนถึงนี่เป็นช่วงเวลาแห่งความเห็นแก่ตัว ทุกสิ่งอย่างอยู่ในความสนใจเกี่ยวกับตนเองเท่านั้นที่เด่นชัด

และสังเกตว่าภาพนี้สะท้อนจากกระจก (ไม่ใช่ตัวของตนเอง) ถ่ายติดขอบลักษณะโค้งมน ดูเหมือน’โลก’กลมๆของเธอ

แถมบางครั้งเห็นภาพไม่เต็ม แค่เพียงเศษเสี้ยวส่วนหนึ่ง จงใจใช้บางสิ่งอย่างบดบัง จะมองว่ามันไม่สลักสำคัญ น่าอับอาย หรือราวกับด้านมืดที่ไม่ต้องใช้ตามอง แค่ความคิดก็สามารถจินตนาการเห็นได้ว่าคืออะไร

ผมชอบพื้นฉากนี้มากเลยนะ เรียงกระเบื้องขาว-ดำ สะท้อนงานภาพสีขาว-ดำ ตัวละคร Ida/Wanda แทบทุกสิ่งอย่างของหนังมีสองสิ่งตรงกันข้ามเสมอ, ทางเข้าทรงครึ่งวงกลมนี้ ก็ยังมองได้เป็นใน ‘โลก’ ของเธอนะครับ ที่มันแค่ครึ่งเดียวเพราะอีกครึ่งได้จากไปแล้ว

ช็อตจบของหนัง Ida ออกเดินทางไปไหน ใช่กลับคอนแวนซ์เพื่อปฏิญาณกลายเป็นแม่ชีตลอดชีวิตหรือเปล่า? นี่คือลักษณะปลายเปิดเล็กๆ ที่ปล่อยให้ผู้ชมครุ่นคิดตีความได้อิสระตามใจ แต่ผมมีคำตอบที่ค่อนข้างชัดเจน ขอเริ่มจากข้อสังเกตก่อนแล้วกัน อาทิ
– ตลอดทั้งเรื่องการถ่ายภาพจะตั้งกล้องแช่ทิ้งไว้เฉยๆ แต่ช็อตนี้จะเคลื่อนนำหน้าตัวละคร ราวกับว่าแม่ชีน้อยได้ค้นพบเจอบางสิ่งอย่าง ที่ทำให้ชีวิตสามารถก้าวเดินต่อไปได้แล้ว
– มันจะมีรถสวนไปคันหนึ่ง นั่นแปลว่าเธอกำลังเดินย้อนศร (เพราะทางมันแคบ เหมือนมีแค่เลนเดียว) คิดตัดสินใจกระทำบางสิ่งอย่างที่แตกต่างตรงกันข้ามกับผู้อื่น
– ภาพถ่าย(น่าจะ)ย้อนแสง เหตุผลเดียวกับรถสวนไปคือการย้อนศรบางสิ่งอย่าง
– พื้นหลังเบลอๆ ภาพจะโฟกัสชัดเฉพาะใบหน้าของแม่ชีน้อยเท่านั้น คืออย่างอื่นไม่ใช่สิ่งน่าสนใจสำหรับเธอแล้ว

ในความเข้าใจส่วนตัว ใช่ครับเธอเดินกลับคอนแวนซ์เพื่อบวช/ปฏิญาณตนเป็นแม่ชีตลอดชีวิต เหตุผลก็คือการได้เรียนรู้จักเข้าใจวิถีของโลก นั่นไม่ใช่สิ่งที่เธอพบเจอแล้วเกิดความพึงพอใจสักเท่าไหร่
– ที่ชีวิตหยุดนิ่งมาตลอดก่อนหน้านี้ เพราะราวกับว่ามีบางสิ่งอย่างเหนี่ยวรั้งเธอไว้ เมื่อโซ่พันธนาการได้หลุดออก ทำให้สามารถออกเดินไปตามทางฝันของตนเองได้สักที
– รถสวนไปกับภาพย้อนแสง มันคือสิ่งตรงกันข้ามกับที่คนปกติกระทำกัน ก็แน่ละกลายเป็นแม่ชีใช่ว่าคือสิ่งที่คนทั่วๆไปทำได้ที่ไหน
– ภาพเบลอๆสะท้อนถึง ณ ตอนนี้ เธอไม่จำเป็นต้องฟังคำแนะนำจากใครอื่นแล้ว ถึงเวลาที่ฉันจะตัดสินใจทำทุกอย่างตามความต้องการตนเองได้สักที

ตัดต่อโดย Jarosław Kamiński ยอดฝีมือสัญชาติ Polish

หนังใช้มุมมองของ Ida และน้าสาว Wanda สลับกันไปมาอย่างเท่าเทียม เว้นเพียงเริ่มต้นและตอนจบจะมีเพียงแม่ชีน้อยเท่านั้น (เริ่มต้นยังไม่รู้ว่าน้าสาวมีตัวตน ตอนจบคือเมื่อน้าสาวจากไปแล้ว)

ทั้งๆที่การตัดต่อเหมือนจะไม่มีความหวือหวาอะไร แต่การลำดับเรื่องราวต้องถือว่ามีความสมบูรณ์แบบมากๆ ทำให้ผู้ชมเห็นภาพเปรียบเทียบ ระหว่าง Ida และ Wanda มีความแตกต่างขั้วตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง

สำหรับเพลงประกอบ ถึงขึ้นเครดิตของ Kristian Eidnes Andersen แต่เป็นแค่ผู้เรียบเรียงเปียโนบทเพลง Bach: Ich ruf zu dir Herr Jesu Christ, BWV 177 (1732) ณ ตอนจบของหนังเท่านั้น (เพลงนี้จริงๆเป็น Orchestra นะครับ),

แซว: ใครรู้จักชื่อเพลงนี้และความหมาย Ich ruf zu dir Herr Jesu Christ (แปลว่า I call to you Lord Jesus Christ) ก็น่าจะได้ข้อสรุปตอนจบของหนังทันทีแบบไม่ต้องครุ่นคิดมากเลยนะ

อีกเพลงหนึ่งที่จะแถมให้ คือขณะที่น้าสาวเปิดฟังก่อนกระโดดลงหน้าต่าง คือ Mozart: Symphony No.41 in C major, K.551 (1788) มีชื่อเล่นว่า Jupiter Symphony อารมณ์เพลงสั้นๆย่อๆ คือชวนให้ล่องลอยไปดาวพฤหัส

Ida คือเรื่องราวของการออกเดินทางสำรวจความทรงจำจากอดีต เพื่อครุ่นคิดค้นหาข้อสรุป ฉันจะทำอะไรกับอนาคตต่อไปดี ซึ่งผลลัพท์ที่ตัวละครครุ่นคิดได้ ราวกับว่าเธอละทิ้งทุกสิ่งอย่าง(ภาระทางโลก)ไว้เบื้องหลัง เพื่อมุ่งสู่วิถีแห่งทางสายสงบ ปล่อยวาง ละกิเลส

มองอีกมุมหนึ่ง Ida คือเรื่องราว Coming-of-Age ของแม่ชีฝึกหัด ก่อนที่เธอจะปฏิญาณตนอุทิศให้กับศาสนาตลอดชีวิต จำเป็นอย่างยิ่งต้องเรียนรู้จัก มีความเข้าใจวิถีของโลกมนุษย์ ซึ่งหลังจากได้สัมผัสพบเห็นอะไรๆหลายอย่าง ก็ทำให้เธอได้ข้อสรุปตัดสินใจ มุ่งสู่วิถีของการเป็นแม่ชีตลอดชีวิตได้อย่างไม่มีอะไรติดขัดค้างคาใจ

สิ่งต่างๆที่ Ida ได้ค้นพบเจอระหว่างการเดินทางครั้งนี้ อาทิ น้าสาวที่มีพฤติกรรมสุดโต่ง, ชาว Poles ทรยศหักหลังชาวยิว พ่อ/แม่ ของตนเอง, ความรักกับชายหนุ่ม ฯ ล้วนคือสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจสุดท้ายของเธอ นั่นนะหรือวิถีของโลกมนุษย์ มันช่างเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายอลม่าน ทดสอบลิ้มลองแล้วหาได้ถูกจริตรสชาติความต้องการของตนเองแม้แต่น้อย ความสงบเข้าหาพระเจ้าต่างหาก ที่ทำให้จิตใจอิ่มเอิบพองโต พบเจอความสุขจริงแท้นิรันดร์

ต้องถือว่า Ida เป็นภาพยนตร์ที่ค่อนข้างแปลกประหลาดทีเดียวในผลลัพท์ตอนจบ เพราะปกติแล้วชาวยุโรป/อเมริกัน มักลงเอยเรื่องราวของการค้นหาเป้าหมายชีวิต ด้วยการกลับสู่วิถีความเป็นมนุษย์แบบปกติ แต่หนังกลับเลือกให้ตัวละครเหมือนจะสามารถปลดปล่อยวางจากทุกสิ่ง หันหน้าเข้าหาศาสนาและพระเจ้า ก็ไม่รู้ว่าแนวคิดนี้เกิดจากผู้กำกับเป็นคาทอลิกที่เคร่งครัด หรือระหว่างพัฒนาเรื่องราวได้ผลลัพท์เป็นบทสรุปนี้มีความสมเหตุสมผลกว่า

ซึ่งการจบแบบนี้ทำให้ผมเกิดความหลงใหลคลั่งไคล้หนังมากๆเลยนะ ถึงมันจะไม่ใช่วิถีหลุดพ้นของศาสนาพุทธ แต่ก็มีความคล้ายคลึงอยู่กันเล็กๆ เพราะถ้าใครสักคนสามารถเรียนรู้จักทำความเข้าใจวัฏจักรของโลก และสุดท้ายเลือกเดินทางสายสงบ ปล่อยวาง ละกิเลส นี่เป็นสิ่งน่ายกย่องนับถือ ไม่ว่าจะศาสนาใดก็ตามทีเถอะ

ด้วยทุนสร้างประมาณ $2.4 ล้านเหรียญ ทำเงินได้ทั่วโลก $11.1 ล้านเหรียญ เข้าชิง Oscar 2 สาขา คว้ามา 1 รางวัล
– Best Foreign Language Film ** คว้ารางวัล
– Best Cinematography

พลาด Golden Globe: Best Foreign Language Film ให้เรื่อง Leviathan (2014) ตัวแทนจากประเทศรัสเซีย

ขณะที่ BAFTA Award เข้าชิง 2 สาขาคว้ามา 1 รางวัล เท่า Oscar เปะๆ
– Best Film Not in the English Language ** คว้ารางวัล
– Best Cinematography

ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์สัญชาติ Poland ถึง 9 เรื่องที่ได้เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film ประกอบด้วย Knife in the Water (1963), Pharaoh (1966), The Deluge (1974), The Promised Land (1975), Nights and Days (1976), The Maids of Wilko (1979), Man of Iron (1981), Katyń (2007), In Darkness (2011) แต่ก็ไม่เคยคว้ารางวัล จนกระทั่ง Ida ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติเลยนะ

ส่วนตัวชื่นชอบหลงใหลคลั่งไคล้ภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะความงามของงานภาพที่เสริมสร้างบรรยากาศเรื่องราว อารมณ์ความรู้สึกได้อย่างทรงพลัง การแสดงของ Agata Kulesza แรงถึงใจ และสิ่งตราตรึงสุดคือการตัดสินใจของนางเอกตอนจบ ไม่เคยคิดมาก่อนว่าหนังจากยุโรปจะสามารถหาข้อสรุปลักษณะนี้ได้เลยนะ

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” คุณค่ามากยิ่งของหนังอยู่ฉากสุดท้าย อะไรคือเหตุผลของ Ida ที่ทำให้เธอเลือกออกเดินทางสู่… ครุ่นคิดหาคำตอบได้ก็อาจค้นพบเจออนาคต มีเป้าหมายปลายทางชีวิตที่สวยงามสดใส

โดยเฉพาะอย่างยิ่งตากล้องภาพขาว-ดำ การันตีความฟิน, ชื่นชอบสนใจประวัติศาสตร์ Holocaust ของประเทศ Poland และสิ่งที่เกิดขึ้นถัดจากนั้นกับรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์, แม่ชี บาทหลวง นักบวช พระ ได้ทุกศาสนาเลยนะ ครุ่นคิดทำความเข้าใจเหตุผลตอนจบ

จัดเรต 18+ กับบรรยากาศอันตึงเครียด หลอกหลอน และการกระทำอันก้าวร้าวรุนแรงของตัวละคร

TAGLINE | “ค้นหาความจริงไปกับ Ida ในโลกแห่งความทรงจำที่แม้ไม่สวยงามนัก แต่จักกำหนดชี้ชะตาอนาคตที่สดใส”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LOVE

The Counterfeiters (2007)


The Counterfeiters

The Counterfeiters (2007) Austrian : Stefan Ruzowitzky ♥♥♥

หนึ่งในแผนการครองโลกของนาซี Operation Bernhard คือการปลอมแปลงธนบัตรเข้าไปในระบบหมุนเวียนเศรษฐกิจ เริ่มจากเงินปอนด์ ตามด้วยดอลลาร์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ‘Counterfeiters’ ล้วนเป็นชาวยิว มันจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะดึงตัวมาจากค่ายกักกัน, การันตีความยอดเยี่ยมด้วยรางวัล Oscar: Best Foreign Language Film

ผมหลงลืมไปสนิทเลยนะ เพิ่งมาหวนระลึกได้ระหว่างรับชม ว่าเคยดูหนังเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์เมื่อตอนเข้าฉาย แสดงว่าโดยรวมไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจให้จดจำสักเท่าไหร่ แต่ถึงขนาดว่าคว้า Oscar สาขาต่างประเทศ แสดงว่ามันคงต้องมีดีบางอย่างบ้างละ

แต่ระหว่างรับชมผมก็เกาหัวไป บอกเลยว่าหาไม่พบสิ่งดีๆของหนังสักเท่าไหร่ จะมีก็แค่อภินันทนาการแชมเปญของบ่อนคาสิโน และแฟนสาวของพระเอก ที่ถึงปากบอกเสียดายเงินทั้งหมดที่สูญไป แต่เธอกลับยังเต้นรำกับเขาริมชายหาดใต้แสงจันทร์ เป็นอะไรที่งดงามอย่างบอกไม่ถูก

Adolf Burger (1917 – 2016) นัก Typographer (ผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์หรือทำตัวพิมพ์) สัญชาติ Slovak เชื้อสาย Jewish เกิดที่ Kakaslomnic, Kingdom of Hungary (ปัจจุบันคือประเทศ Slovakia) ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกจับไปอยู่ค่ายกักกัน Auschwitz-Birkenau ถึง 18 เดือน (รอดมาได้ยังไง!) จากนั้นได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในสมาชิก Operation Bernahard ย้ายสู่ค่ายกักกัน Sachsenhausen ทำงานเป็นผู้ปลอมแปลงธนบัตร จนสามารถเอาชีวิตรอดผ่านมาได้ เขียนหนังสือ Komando padělatelů (1983) แปลเป็นภาษาอังกฤษใช้ชื่อ The Devil’s Workshop

ได้รับการติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดย Stefan Ruzowitzky และขอให้ Burger เข้ามามีส่วนร่วมเป็นที่ปรึกษาโปรเจค ตรวจทานบทหนังทุกหน้าทุกรายละเอียด ให้ใกล้เคียงตรงต่อความจริงมากที่สุด

Stefan Ruzowitzky (เกิดปี 1961) ผู้กำกับ เขียนบท สัญชาติ Austrian เกิดที่ Vienna โตขึ้นเข้าเรียน University of Vienna สาขาประวัติศาสตร์และการแสดง จบออกมาเป็นผู้กำกับ Music Video, โฆษณา, ภาพยนตร์เรื่องแรก Tempo (1996) ตามด้วย The Inheritors (1998) คว้ารางวัล Best Picture จากเทศกาลหนังเมือง Rotterdam

ความสนใจในโปรเจคนี้ของ Ruzowitzky คือความคอรัปชั่นที่แม้แต่นาซีเองต่อชาวยิว กับบุคคลที่ทำผลประโยชน์ให้มหาศาล ย่อมได้รับอภิสิทธิ์พิเศษเหนือกว่าผู้อื่น

“That idea of a counterfeiter in a concentration camp, that sounds great, you know, with all the implications, Would he be able to counterfeit, to manipulate reality in the camps?”

เรื่องราวของ Salomon Smolianoff (รับบทโดย Karl Markovics) นักปลอมแปลงธนบัตรเชื้อสายยิว ถูกจับได้โดย Bernhard ‘Herzog’ Krüger (รับบทโดย Devid Striesow) ส่งตัวไปค่ายกักกัน Mauthausen เอาตัวรอดมาได้สักพักใหญ่ด้วยการเป็นนักวาดรูปชวนเชื่อ จากนั้นส่งตัวมุ่งสู่ Sachsenhausen ได้รับอภิสิทธิ์พิเศษจากการเป็นผู้ปลอมแปลงธนบัตร เริ่มด้วยเงินปอนด์ และเป้าหมายสุดท้ายคือธนบัตรดอลลาร์ แต่ก็มีลูกน้องคนหนึ่ง Adolf Burger (รับบทโดย August Diehl) พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้การปลอมแปลงนี้ประสบความสำเร็จลุล่วง

Karl Markovics (เกิดปี 1963) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติ Austrian เกิดที่ Vienna เข้าสู่วงการตั้งแต่ปี 1990 แสดงภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ แต่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลกกับ The Counterfeiters (2007), กำกับและเขียนบท Atmen (2011), The King’s Choice (2016), ล่าสุดร่วมงานกับ Terrence Malick เรื่อง Radegund (2018)

รับบท Salomon Smolianoff (1899 – 1976) นักปลอมแปลงธนบัตรเชื้อสาย Jews อพยพจากประเทศ Russia เคยแต่งงานกับสาว Italian, เป็นคนจองหองอวดดี เย่อหยิ่งยโสโอหัง เพราะตัวเองสามารถสร้างเงินใช้ได้เองเลยไม่ค่อยเห็นคุณค่าของมัน แต่สิ่งที่เขามองสำคัญสุดคือการมีชีวิต โดยเฉพาะพรรคพวกเพื่อนพ้อง ให้ความช่วยเหลือได้แม้เขาจะต้องเสี่ยงชีวิตก็ตามที

หน้าตาของ Markovics โคตรจะเหมือนโจรเลยนะ พฤติกรรมการแสดงออกของตัวละครก็ใช่ แต่ค่อนข้างน่าทึ่งประหลาดใจทีเดียว เมื่อเสียสละมอบอาหารมื้อเล็กๆให้กับเพื่อนร่วมชะตากรรมคนหนึ่งบนรถไฟ นี่ก็แสดงว่าลึกๆแล้วย่อมมีความดีงามแอบซ่อนอยู่

ในมุมของคนที่สามารถปลอมแปลง ผลิตธนบัตรขึ้นเองได้ ก็แน่ละเมื่อถึงจุดๆหนึ่ง เงินทองก็มิได้มีความสลักสำคัญอะไรในชีวิต กับฉาก Epilogue ที่ตัวละครจับจ่ายใช้สอยเงินทองแบบสุรุ่ยสุร่าย ยอมแพ้แม้ได้ไพ่ดีที่สุดในมือ คงเพราะจิตสำนึกความดีงามในตนเอง นี่มันเงินเปื้อนเลือดไม่อยากนำมาใช้สักเท่าไหร่ แต่หลังจากนี้เขาจะเลือกอาชีพสุจริตไหม คิดว่าคงไม่แน่ๆ

ชีวิตจริงของ Smolianoff หลังได้รับการปลดแอกออกจากค่ายกักกัน เหมือนว่าจะยังคงอยู่ในธุรกิจนี้จนได้รับการหมายหัว ‘Wanted’ จากนานาชาติ อยพยหนีไปยัง Palestine ตามด้วย Uruguay จบที่ Brazil เปลี่ยนอาชีพมาเป็นคนขายของเล่นจนเสียชีวิต

August Diehl (เปิดปี 1976) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Berlin พ่อเป็นนักแสดง แม่เป็นนักออกแบบเสื้อผ้า พี่ชายเป็นนักแต่งเพลง ก็แน่ละที่ว่าโตขึ้น Diehl จะต้องมีความสนใจด้านนี้ เข้าเรียนการแสดงที่ Hochschule für Schauspielkunst Ernst Busch ภาพยนตร์เรื่องแรก 23 (1998), หลังจากมีชื่อเสียงกับ The Counterfeiters (2007) แสดงหนัง Hollywood อาทิ Inglorious Basterds (2009), Salt (2010), Allied (2016), The Young Karl Marx (2017) ฯ

รับบท Adolf Burger ชาวยิวที่เคยอยู่ในค่ายกักกัน Auschwitz-Birkenau ก็ไม่รู้เอาตัวรอดมาได้อย่างไรถึง 18 เดือน ถูกย้ายมายัง Sachsenhausen ในขบวนรถไฟเดียวกับ Salomon Smolianoff โดยไม่รู้ตัวพวกเขาเคยเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเดียวกันที่ Russia แต่ด้วยอุดมการณ์ของ Burger ไม่ต้องการให้นาซีได้รับประโยชน์จากการปลอมแปลงธนบัตร เขาจึงทำบางสิ่งเกี่ยวกับเจลาติน (ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคืออะไร) พลอยให้ชีวิตของเพื่อนร่วมงานอีก 4-5 คน ตกอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก แต่กับ Smolianoff เลือกที่จะไม่ปากโป้งขายเพื่อน และทำบางสิ่งเกี่ยวกับเจลาตินนั้น แก้ไขจนสำเร็จรอดตาย

นี่เป็นตัวละครที่อ้างอิงจากผู้เขียนเอง อาจดูจองหองเห็นแก่ตัวไปสักนิด แต่ก็สะท้อนอุดมการณ์ที่หนักแน่นเข้มแข็ง ต่อให้ร่างกายถูกทรมานฆ่าตาย แต่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จะมิยอมกระทำสิ่งชั่วร้ายขายวิญญาณให้กับปีศาจ

Devid Striesow (เกิดปี 1973) นักแสดงสัญชาติ German ที่เคยร่วมแสดง Downfall (2004) แล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังกับ The Counterfeiters (2007)

รับบท Bernhard Krüger หรือ Sturmbannführer Herzog สังกัดพรรคนาซี ไม่ได้เป็นคนมีความรังเกียจต่อต้านชาวยิว ตรงกันข้ามคือเคารพนับถือให้เกียรติ แต่ก็คิดหาผลประโยชน์เข้าตัวเอง อ้างว่าเพื่อครอบครัว แต่จริงๆแล้วคอรัปชั่นขลาดเขลา ถูกปืนจ่อหัวเยี่ยวราดรดกางเกง

ภาพลักษณ์ของ Striesow ไม่ได้มีความโหดเหี้ยมดุร้าย แรกๆผมรู้สึกว่าไม่ค่อยเข้ากับตัวละครเท่าไหร่ แต่พอถึงฉากตุ๊ดแตก เออว่ะใช่เลย! คือต้องบุคลิก นิสัย คำพูดจาแบบนี้แหละ ถึงสะท้อน Herzog ออกมาได้อย่างโดดเด่นแย่งซีนไปเต็มๆ

ถ่ายภาพโดย Benedict Neuenfels สัญชาติ German, หนังใช้กล้องดิจิตอล แล้วไปใส่ Noise&Gain ระหว่าง Post-Production เพื่อให้ภาพมีความหยาบแตกละเอียด เหมือนถ่ายจากฟีล์มเก่าๆเมื่อหลายปีที่แล้ว

โดดเด่นกับการจัดแสงสี
– ตลอดเวลาในค่ายกักกันใช้โทนสีเย็น มีความหยาบกระด้าง แห้งแล้งเหมือนอยู่ในทะเลทราย สะท้อนความทุกข์ทรมาน ชีวิตที่ยากลำบากแสนเข็น
– ขณะที่ Prologue/Epilogue ณ Monte Carlo ช่วงเวลาหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ทุกอย่างมีความอบอุ่นสว่างสดใส เพราะชีวิตได้ผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากลำบากมาแล้ว

ตัดต่อโดย Britta Nahler สัญชาติ Austria น่าจะคือเพื่อนสนิท รุ่นเดียวกับ Ruzowitzky, ถึงผู้เขียนหนังสือจะคือ Adolf Burger แต่หนังเล่าเรื่องโดยใช้มุมมองของ Salomon Smolianoff คาดว่าส่วนใหญ่คงเป็นการแต่งเพิ่มเข้ามา เว้นแต่ขณะอยู่ในค่ายกักกัน Sachsenhausen น่าจะคือรื่องราวๆจริงๆที่ Burger พบเจอเห็นจาก Smolianoff อย่างใกล้ชิด

หนังมีความรวดเร็วในการเล่าเรื่องค่อนข้างมาก กระโดดตัดข้ามอะไรๆไปมากมาย โดยเฉพาะไม่นำเสนอวิธีปลอมแปลงธนบัตรต่อผู้ชม คงด้วยจรรยาบรรณของผู้สร้างเลยกระมัง เลยทำให้หนังมีความห้วนๆ หลายอย่างจับต้นชนปลายไม่ค่อยถูก อาทิ พระเอกมีหน้าที่ทำงานอะไร? ปัญหาเจลาติน มันคืออะไรละ?

ผู้เขียน Burger เคยให้สัมภาษณ์บอกว่า

“This is a feature film, it is overall truthful. If you want to learn the facts, read my book,”

เพลงประกอบโดย Marius Ruhland สัญชาติ German, Main Theme เลือกใช้ฮาร์โมนิก้า เป่าสไตล์ Tango ที่มีสัมผัสของความอ้างว้าง ล่องลอย โดดเดี่ยว สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายในจิตใจตัวละคร ออกมาได้ค่อนข้างตรงมากทีเดียว

ยังคงเป็นสไตล์ Tango แต่เพิ่มเครื่องดนตรีอีกหลายชนิดเข้าไป ทำนองคล้ายๆเดิม แต่ใส่ลีลาและทำนองมีความพิศดารมากขึ้น แต่ยังคงให้ความหมายสัมผัสคล้ายเดิม สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกภายในที่สุดแสนปั่นป่วน พลุกพล่าน อ้างว้างโดดเดี่ยวออกมา

ถึง The Counterfeiters จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาวยิวที่พยายามเอาตัวรอดในค่ายกักกันนาซี ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ใจความนำเสนอความคอรัปชั่นของมนุษย์ ที่ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับคนที่สามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อตนเอง ย่อมได้รับอภิสิทธิ์ชนเหนือกว่าผู้อื่น

ใจความลักษณะนี้ ว่าไปมันก็ไม่ได้มีสาระประโยชน์สักเท่าไหร่ แค่ทำการสะท้อนปัญหาสังคมออกมา ที่ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนย่อมเต็มไปด้วยคนคอรัปชั่น และผู้มีอภิสิทธิ์ชนเหนือกว่า

เพราะมนุษย์เราต่างโหยหาความสะดวกสบาย มั่นคงปลอดภัย สิทธิพิเศษในชีวิตแตกต่างจากผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ความอภิสิทธิ์ชนจึงคงมีอยู่มิมีวันเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งในโลกทุนนิยมก็ชัดเจนว่า ‘เงิน’ ซื้ออะไรได้หลายๆอย่าง

กับบทเรียนเล็กๆของหนัง ที่พบเจอได้ทั่วๆไปคือ ‘เงินซื้อไม่ได้ทุกอย่าง?’ กับคนที่สามารถสร้างเสกเงินขึ้นมาเองได้แบบ Salomon Smolianoff ชีวิตเขาก็ไม่ได้มีความสุขสำราญอะไรนัก บางสิ่งอย่างกัดกร่อนจิตใจให้จมอยู่ในความทุกข์ แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนว่าทำให้เขาได้รับชีวิตใหม่คืนมา คือความรักจากหญิงสาว แม้ปากพูดว่าเสียดายเงิน แต่การที่เธอเต้นระบำใต้แสงจันทร์กับเขา นั่นเป็นสิ่งเงินซื้อไม่ได้อย่างแน่แท้

ด้วยทุนสร้าง $6.25 ล้านเหรียญ ทำเงินได้ทั่วโลก $20,2 ล้านเหรียญ สมราคาคุยกับที่สามารถคว้า Oscar: Best Foreign Language Film ได้เป็นเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ชาติ Austria

แต่ชัยชนะของหนังเรื่องนี้ได้มาท่ามกลางคำครหา เพราะตัวเต็งปีนั้น 4 Months, 3 Weeks and 2 Days (2007) ภาพยนตร์รางวัล Palme d’or สัญชาติโรมาเนียของผู้กำกับ Cristian Mungiu ยอดเยี่ยมโดดเด่นกว่าหลายเท่าตัว กลับไม่ได้แม้แต่จะเข้าชิง ทำให้นานาชาติต่างเรียกร้องให้คณะกรรมการ Academy เปลี่ยนวิธีการคัดเลือก ซึ่งก็เหมือนว่าจนปัจจุบันก็ยังไม่ดีขึ้นสักเท่าไหร่

ส่วนตัวไม่ได้ชื่นชอบหนังสักเท่าไหร่ ผิดหวังน่าหงุดหงิดใจเสียด้วยซ้ำ คว้า Oscar มาได้อย่างไร! รู้สึกไม่ประหลาดใจเลยที่ผมจะลืมเลือนภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะเมื่อกาลเวลาผ่านไป ไม่มีอะไรหลงเหลือให้น่าจดจำนั่นเอง

แนะนำกับคอหนังรางวัล สนใจเรื่องราวแปลกๆที่พบเจอได้ในค่ายกักกัน Nazi สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2, นายธนาคาร และนักปลอมแปลงธนบัตรทั้งหลาย (แต่ก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไรเท่าไหร่)

จัดเรต 15+ กับบรรยากาศและความรุนแรง

TAGLINE | “The Counterfeiters ได้ทำการปลอมแปลงสิ่งมีค่า ให้กลายเป็นไร้ค่าโดยสิ้นเชิง”
QUALITY | THUMB UP
MY SCORE | LIKE

Downfall (2004)


Downfall

Downfall (2004) German : Oliver Hirschbiegel ♥♥♥

สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงกันอย่างมากต่อหนังเรื่องนี้ ‘มันสมควรแล้วหรือ ที่จะนำเสนอความเป็นมนุษย์ให้กับ Adolf Hitler?’ สิบวันสุดท้ายก่อนฆ่าตัวตาย ช่วงเวลาที่แทบทุกคนใกล้ตัวเริ่มหันหลังให้ จากเคยยิ่งใหญ่คับฟ้าถึงคราตกต่ำ ‘Downfall’ ดำเนินเรื่องแทบทั้งหมดใน Führerbunker ศูนย์บัญชาการและสถานที่หลบภัยใต้ดิน ณ กรุง Berlin

Adolf Hitler ไม่ใช่มนุษย์คนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่เป็นผู้นำการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่อาจเพราะช่วงเวลาทศวรรษนั้นเพิ่งผ่านพ้นมายังไม่ไกลเท่าไหร่ มีหลักฐานบันทึกด้วยหนังสือพิมพ์ ฟีล์มฟุตเทจข่าว ฯ มันเลยยังเป็นประเด็นความสนใจของคนยุคสมัยนี้อยู่ แต่เมื่อไหร่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 หรือใครบางคนเลวชั่วร้ายกว่า Hitler ปรากฎขึ้น ชื่อของผู้นำคนนี้คงค่อยๆเลือนลางจางหายไปตามกาลเวลา

ชาวยิว ชาวยุโรป และอีกชาวโลกอีกหลายๆ ชาตินี้คงจะไม่มีวันให้อภัยการกระทำของ Adolf Hitler อย่างแน่นอน เพราะเป็นผู้ทำให้ประวัติศาสตร์มนุษยชาติหยุดนิ่ง ถดถอยหลังลงคลองไปหลายสิบปี ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงรับไม่ค่อยได้ ต่อต้านสื่อ/ภาพยนตร์ที่พยายามนำเสนออีกด้านหนึ่งของ Hilter ก็แค่มนุษย์คนหนึ่ง พยายามตีตราหน้าว่าคือสัตว์ประหลาดที่เกิดขึ้นจากขุมนรก

ถ้าผมเองเกิดในยุคสมัยนั้น ต้องเป็นทหารเข้าร่วมสงคราม หรือได้รับผลกระทบขึ้นกับใกล้ตัว ก็คงแน่ๆว่าต้องมีโลกทัศนคติปฏิเสธต่อต้านไปทางนั้น แต่เมื่อส่วนตัวอยู่ห่างไกลครึ่งค่อนโลก เวลากว่าครึ่งศตวรรษ มันเลยไร้ซึ่งความโกรธเกลียดชัง คับข้องแค้น มองเป็นเรื่องกฎแห่งกรรมใดใครก่อ ป่านนี้ Hitler คงเสวยสุขสำราญอยู่ในนรก ชดใช้สิ่งที่ตัวเองกระทำไปอย่างสาสมควร คิดแล้วน่าสงสารเห็นใจความโง่เขลาเสียมากกว่า

แต่มีสิ่งหนึ่งที่โดยส่วนตัวอยากที่จะยกย่องชื่นชม Hitler เสียเหลือเกิน มันคือความแน่วแน่ตั้งมั่นในอุดมการณ์ความเชื่ออย่างสุดโต่ง

“I do not want to live in a world without National Socialism,”

นี่เป็นสิ่งที่ชาวประชาธิปไตยอย่างเราๆ หลายคนคงไม่มีวันเข้าใจได้แน่ แต่ขอให้ลองคิดกลับตารปัตรดูนะ ถ้าเปลี่ยนคำพูดเป็นว่า ‘ฉันไม่อยากอาศัยอยู่ในโลกที่ไม่มีประชาธิปไตย’ แบบนี้หลายคนอาจร้องอ๋อขึ้นมาทันที ใครที่พูดได้เช่นนี้น่ายกย่องใช่ไหมละ ก็นั่นแหละคือเหตุผลความประทับใจเล็กๆที่มีต่อท่านผู้นำ

Oliver Hirschbiegel (เกิดปี 1957) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติ German เกิดที่ Hamburg เข้าเรียนที่ Hamburg University of Fine Arts สนใจวาดรูป Graphic Arts จบออกมากำกับซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องแรก Das Experiment (2001), โด่งดังไปทั่วโลกกับ Downfall (2004), ตามด้วย The Invasion (2007), Diana (2013) ฯ

ได้รับมอบหมายจากโปรดิวเซอร์/นักเขียนบท Bernd Eichinger (1949 – 2011) สัญชาติ German ที่เคยดูแลโปรเจค Nowhere in Africa (2001), แฟนไชร์ Resident Evil, และ Fantastic Four ทวิภาคแรก

เรื่องราวดัดแปลงจากหนังสือ 6 เล่ม
– Hitler’s Bunker: The Last Days of the Third Reich (1945) เขียนโดยนักประวัติศาสตร์ Joachim Fest
– Until the Final Hour: Hitler’s Last Secretary (1947) เป็นบันทึกความทรงจำ Memoir ของ Traudl Junge เลขานุการคนสุดท้ายของ Hitler ร่วมเขียนโดย Melissa Müller
– Inside the Third Reich (1969) บันทึกความทรงจำของ Albert Speer หนึ่งในเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของ Nazi สามารถเอาตัวรอดได้ทั้งสงคราม และการพิพากษา Nuremberg
– Das Notlazarett unter der Reichskanzlei: Ein Arzt erlebt Hitlers Ende in Berlin (1995) บันทึกความทรงจำของหมอ Ernst-Günther Schenck
– Hitler’s Last Days: An Eye–Witness Account (1973) บันทึกความทรงจำของ Gerhard Boldt
– Soldat: Reflections of a German Soldier, 1936–1949 (1992) บันทึกความทรงจำของ Siegfried Knappe

สังเกตว่า 5 จาก 6 เล่มเป็นบันทึกความทรงจำ Memoir ของบุคคล/ทหารนาซี ที่อยู่ในเหตุการณ์จริง พบเจอรู้จัก Adolf Hitler ในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป

Prologue/Epilogue ตัดจากสารคดี Im toten Winkel (2002) ภาพของ Traudl Junge กำลังให้สัมภาษณ์แสดงความรู้สึกผิดและละอาย ที่มีความชื่นชอบชม หลงใหลในตัว Adolf Hitler เมื่อครั้นสมัยยังสาวๆ

ฉากแรกของหนัง เดือนพฤศจิกายน 1942, Adolf Hitler (รับบทโดย Bruno Ganz) ทำการเลือกเลขานุการสาวคนใหม่ ตัดสินใจว่าจ้าง Traudl Humps (รับบทโดย Alexandra Maria Lara) หญิงสาวจาก Munich ซึ่งเธอก็ตั้งใจอุทิศตัวเองกายใจให้กับท่านผู้นำหมดทุกสิ่ง

ตัดข้ามไปวันที่ 20 เมษายน 1945, วันเกิดครบรอบ 56 ปีของ Hitler แต่กลับเฉลิมฉลองด้วยเสียงปืนใหญ่ใน Battle of Berlin เมื่อทหารรัสเซีย (Red Army) บุกล้อมเข้าประชิดเมืองหลวง ทำให้ศูนย์บัญชาการใหญ่ต้องปักหลักอยู่ที่ Führerbunker หลุมหลบภัยใต้ดิน ใกล้ๆกับ Führer Headquarters ซึ่งสถานการณ์ค่อยๆเลวร้ายลงเรื่อยๆ คนใกล้ชิดเริ่มหันหลังแปรพักตร์ ยกธงขาวยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร กองกำลังและยุทโธปกรณ์ค่อยๆร่อยหรอ แทบไม่มีใครสามารถตอบสนองความต้องการของท่านผู้นำได้ จนกระทั่งตัดสินใจกิน Cyanide และยิงตัวตายวันที่ 30 เมษายน

Bruno Ganz (เกิดปี 1941) นักแสดงสัญชาติ Swiss เกิดที่ Zürich, Switzerland แต่ข้ามมาเป็นนักแสดงที่ Germany ขาประจำของผู้กำกับ Wim Wenders อาทิ The American Friend (1977), Wings of Desire (1987), Faraway, So Close! (1993) ฯ ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Nosferatu the Vampyre (1979), The Manchurian Candidate (2004), The Reader (2008), Unknown (2011) ฯ

ว่ากันว่าบั้นปลายของ Adolf Hitler ป่วยเป็นโรค Parkinson มือข้างขวาเลยหงิกๆงอๆ สั่นจนควบคุมไม่ค่อยได้ เดินช้าๆหลังค่อม ด้วยความที่ไม่มีใครทำอะไรถูกใจสักอย่าง เลยมักอารมณ์ฉุนเฉียวขึ้นเสียง ตำหนิต่อว่าด่าทอด้วยภาษาที่รุนแรงหยาบคาย แต่หลายครั้งเมื่ออารมณ์สงบก็จะมีความอ่อนไหว รักสัตว์และเด็กๆ

จริงๆอารมณ์ของท่านผู้นำ เป็นสิ่งคาดเดาได้ไม่ยากเท่าไหร่ คือถ้าใครพาข่าวดีมาก็จะยิ้มแย้มแจ่มใส สำหรับข่าวร้ายก็แน่นอนว่าต้องฉุนเฉียวเกรี้ยวกราด บางครั้งแสดงออกมาทันที แต่บางคราเหมือนว่ายังพอมีสติอยู่บ้าง ขับไล่คนอื่นผู้ไม่เกี่ยวข้องออกไปนอกห้อง แล้วพูดจาด่าทอสบประมาทใส่คนสนิท (แต่ก็ยังดังไปถึงคนฟังข้างนอกอยู่ดี)

ขณะที่กับสาวๆ ไม่เคยเห็นพูดจาด่าทอตำหนิต่อว่าใดๆ ตรงกันข้ามมีความสุภาพ นอบน้อม อ่อนโยน ให้ความเคารพรัก ยิ้มแย้ม ให้กำลังใจกันและกันอยู่เรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงรอบๆข้างของ Hitler จึงดูมีความจงรักภักดี พร้อมเสียสละให้ท่านผู้นำ ว่าไปมากกว่าผู้ชายแมนๆอกสามศอกหลายๆคนเป็นไหนๆ

ผมจดจำ Ganz ได้จาก Wings of Desire และภาคต่อ เป็นเทวดาที่มีดวงตาอันอ้างว้างโดดเดี่ยว โหยหาต้องการบางสิ่งอย่าง แต่กลับจดจำแทบไม่ได้เมื่อเห็นไว้ผมและหนวดเหมือน Hitler จนแยกไม่ออก คำพูดการแสดงออกเต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราดรุนแรง แต่ลึกๆแล้วเห็นในดวงตายังคงมีความรวดร้าวระทมใจ โหยหาต้องการบางสิ่งอย่างเช่นเคย

Ganz เตรียมตัวรับบทนี้ด้วยการหัดพูดสำเนียง Austria จากเทปความยาว 11 นาทีที่ได้รับการค้นพบ คำสนทนาระหว่าง Hitler กับ Field Marshal Carl Gustaf Emil Mannerheim ด้วยน้ำเสียงปกติ, ปกติแล้ว Hitler จะไม่ยินยอมให้มีการบันทึกเสียงสนทนาหรือถ่ายภาพของตนเอง แต่เพราะครั้งนั้น หน่วยสืบราชการลับของ Finnish ได้แอบบันทึกไว้ ใครอยากได้ยินคลิกฟังดูได้เลย

มี 2-3 ฉากในหนัง ‘Downfall Parody’ ไม่ใช่แค่เมืองไทยนะครับแต่ทั่วโลกเลยนะ นำไปล้อเลียนใส่ซับนรก ขณะที่ Hitler ระเบิดความเกรี้ยวกราดใส่ลูกน้องทั้งหลาย ด้วยภาษาเยอรมันที่คนส่วนใหญ่ฟังไม่รู้เรื่อง เมื่อแก้ไขเปลี่ยนคำบรรยาย Subtitle มันช่างเสียดสีประชดประชันอะไรๆได้มากทีเดียว

แม้สตูดิโอที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หนังเรื่องนี้ จะออกมาเรียกร้องขอให้ยุติ และมีการลบหลายคลิปดังๆออกไป แต่ตัวผู้กำกับ Hirschbiegel บอกไม่คิดมาก แต่วิธีการดูของเขาต้องปิดเสียง (เพราะตัวเองฟังภาษาเยอรมันรู้เรื่อง)

“Someone sends me the links every time there’s a new one, I think I’ve seen about 145 of them! Of course, I have to put the sound down when I watch. Many times the lines are so funny, I laugh out loud, and I’m laughing about the scene that I staged myself! You couldn’t get a better compliment as a director.”

ดังสุดในไทยน่าจะคลิปนี้นะครับ ใครอยากดูเรื่องอื่นๆเข้าไปใน Youtube ค้นคำว่า ‘ฮิตเลอร์ ซับนรก’ มีเป็นร้อยๆเลยมั้งนะ

Alexandra Maria Lara (เกิดปี 1978) นักแสดงหญิงสัญชาติ Romanian-German เกิดที่ Bucharest ลูกชายของนักแสดง Valentin Plătăreanu เมื่อปี 1983 ครอบครัวอพยพสู่ West Germany เพื่อหนีรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของโรมาเนีย โตขึ้นเข้าเรียนที่ Französisches Gymnasium Berlin แล้วตามพ่อไปเป็นนักแสดงละครเวที ซีรีย์โทรทัศน์ โด่งดังกับ Downfall (2004), The Reader (2008), Rush (2013) ฯ

รับบท Traudl Junge เลขานุการส่วนตัวของ Adolf Hitler ที่ในตอนแรกมีความหลงใหลคลั่งไคล้ในตัวท่านผู้นำเป็นอย่างยิ่ง เคยเอ่ยปากพร้อมจะอยู่เคียงข้างและยินยอมตามพร้อมกับเขา แต่ก็ไม่รู้ทำไมเมื่อถึงจุดๆหนึ่งเกิดความอยากหนีออกไปให้ไกล ไม่ขอเป็นส่วนหนึ่งในทุกสิ่งอย่าง

เกร็ด: นามสกุลเดิมของ Traudl คือ Humps แต่งงานเดือนมิถุนายน 1943 เปลี่ยนเป็น Junge สามีเสียชีวิตเดือนสิงหาคม 1944, เนื่องจากหนังไม่มีเวลาอธิบายเรื่องราวนี้ ชื่อที่แนะนำตัวละครตอนแรก กับสิบวันสุดท้ายเลยอาจชวนให้สับสนงุนงงเล็กน้อย

วัยรุ่นหนุ่มสาว มักมีช่วงเวลาที่มืดบอดโง่เขลา โดยเฉพาะถ้าได้ตกหลุมรักคลั่งไคล้ใครสักคน น้ำต้มผักก็ยังว่าหวาน กงจักรยังเห็นเป็นดอกบัว จนกว่าเมื่อไหร่จะตระหนักรับรู้เห็นความจริง เกิดความเข้าใจขึ้นด้วยเอง ถึงสามารถหลุดออกจากวังวนแห่งความอุบาทว์นั้นได้, ตัวจริงของ Traudl เมื่อสามารถเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นั้น ได้รับการตัดสินว่าเป็น ‘young follower’ กล่าวโทษถึงความโง่เขลาสมัยสาวๆของตนเอง คือมันก็เป็นสิทธิ์ของเธอที่จะแสดงออกเช่นนั้น แต่คนส่วนใหญ่(สมัยนั้น)คงรังเกียจต่อต้านรับไม่ได้ เพราะดูเหมือนการเสแสร้งดิ้นรนเอาตัวรอด กระนั้นถ้ามันออกจากใจเธอจริงๆ (ก็คงมีแต่เจ้าตัวเองที่รับรู้ได้) เราควรจะยกย่องสรรเสริญเสียด้วยซ้ำ เพราะน้อยคนจะรู้สำนึกกลับตัวกลับใจ ผิดเป็นครู และพยายามพูดสอนเตือนสติผู้อื่น คิดทำอะไรให้รอบคอบกว่าที่ตนเองเคยกระทำมา

Juliane Köhler (เกิดปี 1965) นักแสดงหญิงสัญชาติ German เกิดที่ Göttingen, West Germany ครอบครัวเป็นนักเชิดหุ่น (Puppeteer) โตขึ้นเดินทางไป New York เรียนการแสดงที่ HB Acting Studio จบแล้วหวนกลับมาเป็นนักแสดงละครเวที มีชื่อเสียงในภาพยนตร์ Nowahere in Africa (2001) และ Downfall (2004)

รับบท Eva Braun คู่ขาของ Adolf Hitler ที่อาศัยอยู่ร่วมชายคากันมากว่าสิบปี แต่เพิ่งคิดจะแต่งงานกลายเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ในช่วงไม่กี่วันสุดท้ายก่อนทั้งคู่ตัดสินใจฆ่าตัวตายตามร่วมกัน, Bruan เป็นผู้หญิงรักสนุก ชื่นชอบแฟชั่นและปาร์ตี้ สร้างสีสันให้เกิดขึ้นในงานสังคม คงเพราะความน่ารักน่าชังเหมือนเด็กน้อยของ Traudl Junge เรียกเธอว่า ‘My Beautiful Bavaria’ (Bavaria คือชื่อรัฐหนึ่งของ German มีเมืองหลวง Munich) ทั้งสองคงสนิทกันมาถึงขนาดเล่าถึงตัวตนของ Hitler ให้เธอฟัง

“He only talks about dogs and vegetarian meals. He doesn’t want anyone to see deep inside of him.”

ในความร่าเริงสดใสเบื้องหน้า เมื่อลับหลังอยู่คนเดียวก็หุบยิ้มหน้านิ่ง จมปลักอยู่กับความทุกข์เศร้าโศก สายตาของ Köhler สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกออกมาทุกสิ่งอย่าง ก็ไม่รู้ขณะไหนคือตัวตนแท้จริงกันแน่

Ulrich Matthes (เกิดปี 1959) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Berlin รับบท Joseph Goebbels รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาแถลงข่าวและโฆษณาชวนเชื่อ (Reich Minister of Propaganda) ถือว่าเป็นผู้จงรักภักดีที่สุดของ Hitler ขนาดว่าสั่งให้อพยพหนียังขัดขืน ฆ่าตัวตายตามพร้อมภรรยาและลูกๆอย่างเลือดเย็น, ใบหน้าของ Matthes มีความโดดเด่นน่าจดจำพอๆกับการแสดงที่มีความหนักแน่นมั่นคง ไม่มีอะไรในโลกจะสามารถสั่นคลอนความคิดเชื่อมั่นของตนเองลงได้

Corinna Harfouch (เกิดปี 1954) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Suhl, East Germany รับบท Magda Goebbels แม่ผู้วางยานอนหลับลูกๆทั้งหกคน จากนั้นแอบเข้าไปให้พวกเขากัดกลืน Cyanide จนเสียชีวิต, นั่นเป็นฉากสุดแสนทรมาน ยากจะรับชมที่สุดแล้วในหนัง ต้องเป็นคนที่สุดโต่งในอุดมการณ์จริงๆ ถึงกล้ากระทำเช่นนี้ต่อลูกๆของตนเอง ซึ่ง Harfouch แสดงออกมาได้อย่างสมจริงเกินคำบรรยาย นิ่งเงียบภายนอก แต่ภายในรวดร้าวระทมถึงที่สุด

Christian Berkel (เกิดปี 1957) นักแสดงสัญชาติ German ที่หลังจากเรื่องนี้ มีผลงานเด่นอาทิ Flightplan (2005), Black Book (2006), Valkyrie (2008), Inglorious Basterds (2009), Trumbo (2015), Elle (2016) ฯ รับบท Dr. Ernst-Günther Schenck แพทย์และเป็นสมาชิกหน่วย SS ที่มีโอกาสใกล้ชิดในช่วงวันสุดท้ายของ Hitler ระหว่างอุดมการณ์กับชีวิต คนเป็นหมอย่อมเลือกแบบหลัง เพราะคือจรรยาบรรณของตนเอง

ถ่ายภาพโดย Rainer Klausmann สัญชาติ Swiss ขาประจำของ Hirschbiegel ผลงานเด่นๆ อาทิ Head-On (2004), Goodbye Berlin (2016) ฯ

คงรับอิทธิพลจาก Das Boot (1981) ส่วนใหญ่ของหนังถ่ายทำในสถานที่ปิด Führerbunker (จำลองสร้างขึ้นมาที่ Bavaria Studios) ศูนย์บัญชาการและสถานที่หลบภัยใต้ดิน ณ กรุง Berlin อันมีความแออัดคับแคบ, แทบทุกช็อตต้องเห็นผนังกำแพง พื้นหรือเพดาน ให้ความรู้สึกเหมือนพบเจอทางตันไร้ซึ่งทางออก, เน้นมุมเงยที่ให้สัมผัสเหมือนปีศาจ/ความชั่วร้าย, ส่วนใหญ่มีระยะใกล้ Medium Shot กับ Close-Up ใบหน้า เว้นถ้าออกข้างนอกถึงจะพบเห็น Long Shot บ้างบางครา

หลายครั้งเลือกใช้มุมมองบุคคลที่หนึ่งแทนมุมกล้อง เพื่อเป็นการบอกว่า ตัวละครนั้นๆกำลังจับจ้องมองเหตุการณ์/สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ห่างๆแบบใคร่สนใจ มักเป็นในสายตาของ Traudl Junge กับ Dr. Ernst-Günther Schenck

การเสียชีวิตของ Hitler จะไม่ถูกนำเสนอเห็นภาพแบบตรงๆ เริ่มจากได้ยินเสียงปีน ใช้มุมกล้องบดบัง ผ้าคลุมตัวปิดบังหน้า คือผู้ชมจะไม่รับรู้เห็นเลยว่านั่นคือ Hitler (แต่ก็รู้ได้แหละว่านั่นคือตัวจริง) นี่เป็นการให้เกียรติ และไม่เกิดข้อหา จึงถือว่าน่าจะเป็นไดเรคชั่นวิธีการเหมาะสมที่สุดแล้ว

เกร็ด: ภาพวาดชิ้นโปรดของ Hitler คือ Frederick the Great (1712 – 1786) กษัตริย์แห่ง Prussia ขึ้นครองราชย์ 1740 – 1789

ตัดต่อโดย Hans Funck (1953 – 2014) สัญชาติ German ขาประจำของ Hirschbiegel

เรื่องราวของหนังดำเนินไปโดยไม่มีใครเป็นมุมมองหลัก (จะถือว่า Führerbunker คือจุดหมุนของหนังก็ยังได้) นั่นเพราะเรื่องราวนำจากบันทึกความทรงจำ Memoir ของหลายๆคนมาเรียงร้อยประติดประต่อ ซึ่งบางครั้งเราจะเห็นในสายตาของ Traudl Junge (น่าจะเยอะสุดแล้ว) บางครั้งของ Dr. Ernst-Günther Schenck และครั้งหนึ่งของ Albert Speer ฯ

มี Sub-Plot หนึ่งของหนัง ที่ผมว่าไม่น่าใส่มาสักเท่าไหร่ นั่นคือเด็กชาย Peter Kranz ที่เข้าร่วมกลุ่ม Hitler Youth ใช้ปืนต่อสู้อากาศยานต่อสู้สกัดกั้นรถถังไม่ให้เข้ามาในเมือง แต่พวกเขาจะไปทำอะไรได้ สมาชิกทุกคนอื่นๆตายหมด หลงเหลือแค่เด็กชายคนเดียวหาทางกลับบ้าน แต่ภายหลังครอบครัวของเขาก็ถูกเก็บตายเรียบอีก ตอนจบเหมือนจะรู้ตัวสำนึกได้ ออกเดินร่วมกับ Traudl Junge เอาตัวรอดผ่านทหารรัสเซีย, นัยยะประมาณว่า ผู้หญิงและเด็ก ไม่ว่ากระทำอะไรชั่วร้ายในสงครามนี้ สมควรได้รับการยกโทษให้อภัย … เช่นนั้นหรือ?

ถึงเรื่องราวอ้างว่าดำเนินไปในระยะเวลา 10 วันสุดท้ายในชีวิตของ Hitler แต่ผู้ชมก็จะไม่สามารถล่วงรู้วันเวลา ว่าผ่านไปเนิ่นนานเท่าไหร่แล้ว นอกจากมีข้อความปรากฎแสดงขึ้น ซึ่งถ้าใครล่วงรู้ประวัติศาสตร์มาก่อน น่าจะได้เปรียบมากทีเดียว สามารถเตรียมตัวพร้อมรับอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้นได้

ความรวดเร็วฉับไวในการตัดต่อ สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกอันปั่นป่วนพลุกพร่าน สับสนอลม่านของชาวเยอรมัน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซี และท่านผู้นำ ออกมาอย่างตรงไปตรงมา อย่างฉากสนทนาก็มักตัดสลับระหว่างใบหน้าของ Hitler กับปฏิกิริยาของคนอื่นๆที่ก็ไม่รู้ยินยอมฟังคำขึ้นเสียงด่าทออยู่ทำไมให้เสียความรู้สึก

เพลงประกอบโดย Stephan Zacharias สัญชาติ German

ดนตรีมานุ่มๆเบาๆ ลากเสียงไวโอลินให้ต่อเนื่องเยิ่นยาว มีลักษณะเหมือนความทรงจำอันชั่วร้ายจากอดีต ที่ยังคอยหวนกลับมาหลอกหลอน สร้างความเจ็บปวดรวดร้าว ทุกข์ทรมาน เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่อยากลบลืมเลือน แต่มันกลับไม่ยอมเจือจางหายไป ฝังลึกติดแน่นอยู่ในทรวงอก

ในความคิดของชาวโลก Adolf Hitler คือสัตว์ประหลาดเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ผมว่าก็ยังห่างไกลความจริงอยู่มากนะ เทียบกับจิ๋นซีฮ่องเต้, เจงกีสข่าน, ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย (Ivan the Terrible), หรือแม้แต่ผู้นำยุคใหม่อย่าง Joseph Stalin, Francisco Franco, Idi Amin ฯ เหล่านี้อาจบัดซบชั่วช้ายิ่งกว่าเสียอีก แต่เพราะแรงกระเพื่อมของชาวยิว และผลกระทบของสงครามที่ลุกลามแพร่ขยายไปทั่วโลก เลยทำให้ชื่อของท่านผู้นำนี้ติดปาก ฝังอยู่ในบทเรียนประวัติศาสตร์แห่งยุคสมัยปัจจุบัน

การมาถึงของภาพยนตร์เรื่องนี้ ในยุคที่เทคโนโลยีสื่อสารก้าวไกล เสรีภาพทางความคิดเข้าใกล้เข้ามา โลกยุคดี-ชั่ว ขาว-ดำ เริ่มเลือนลางกลายเป็นสีเทา ถือเป็นช่วงเวลาเหมาะสมยิ่งในการที่จะนำเสนออีกมุมมองหนึ่ง ด้านที่คนส่วนใหญ่ไม่คาดคิดถึงกันว่าจะมีของ Adolf Hitler ก็แค่มนุษย์คนหนึ่ง เขาไม่ได้มีความเลวชั่วร้ายติดตัวตลอดเวลา ก็มีชีวิตธรรมดา กินนอน คนรักใคร่ วิตกจริต หวาดกลัวความตาย แต่แค่อุดมการณ์อันสุดโต่ง ทำให้ผู้คนปิดหูหลับตา ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น ก็ขนาดว่ามีนักวิจารณ์คนหนึ่ง เขียนลงหนังสือพิมพ์ตั้งคำถามว่า

“Are we allowed to show the monster as a human being?”

ภาพยนตร์เรื่องนี้เชื่อว่าทำให้หลายๆคน มีโลกทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปต่อท่านผู้นำ จากเคยจินตนาการเห็นภาพของสัตว์ประหลาด มีความอัปลักษณ์ขยะแขยง ก็อาจเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสงสารเห็นใจ ไม่ได้เห็นด้วยยกย่องการกระทำ แต่จักไม่ปฏิเสธต่อต้าน รังเกียจสุดโต่งอีกต่อไป

กระนั้นย่อมมีหลายคนที่รับไม่ได้อย่างแน่นอน ด้วยทัศนคติฝังใจ ‘คนเลวมันต้องไม่มีอะไรดี’ ความชั่วมันเสมอต้นเสมอปลาย ก็แนะนำว่าอย่าเพิ่งไปฝืนตัวเองให้รับได้โดยทันที แต่ขอให้ค่อยๆเริ่มปรับตัวเปลี่ยนแปลงแล้วละ เพราะความคิดสุดโต่งลักษณะนี้ สังคมปัจจุบันเริ่มยินยอมรับไม่ได้แล้วนะ ไม่มีใครเถียงคุณหรอกว่า Hitler คือคนเลว แต่มนุษย์ทุกคนในโลกย่อมต้องมีสิ่งดีๆอยู่ในตัวเอง ใช้จิตใจค้นหาพบเมื่อไหร่ มันจะมีโลกอีกใบที่สวยงามกว่าปรากฎขึ้นในสายตาอย่างแน่นอน

ด้วยทุนสร้าง €13.5 ล้านยูโร (ประมาณ $15 ล้านเหรียญ) ทำเงินรวมทั้งโลก $92.2 ล้านเหรียญ เป็นตัวแทนของประเทศ Germany ได้เข้ารอบ 5 เรื่องสุดท้ายสาขา Best Foreign Language Film แต่พ่ายให้กับ The Sea Inside (2004) จากประเทศสเปน

ส่วนตัวไม่ค่อยชื่นชอบหนังเรื่องนี้เท่าไหร่ ไม่ใช่เพราะ Hitler เลยสักนิดนะ แต่คือไดเรคชั่นของผู้กำกับ Oliver Hirschbiegel วิธีการนำเสนอแบบนี้ไม่ค่อยถูกจริตรสนิยมของผมสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะความรวดเร็วฉับไว อะไรก็ไม่รู้สับสนวุ่นวาย บ้าคลั่ง มันทำให้ผมหงุดหงิด แทบเสียสติแตกไประหว่างการรับชมด้วย

ผมเคยไปอ่านพบเจอแนวคิดเว่อๆ เหมือนจะไร้สาระแต่ก็ชวนให้ฉุกคิด บอกว่า Hitler อาจเป็นพระโพธิสัตว์ลงมาเกิด, ชาวพุทธส่วนใหญ่คงรับไม่ได้หัวชนฝาอย่างแน่นอน แต่ผมจะขอเล่าถึงพระเทวทัตสักหน่อยก่อน บุคคลที่ต้องถือว่าชั่วร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์โลกกัลป์นี้ เพราะชาติก่อนๆเคยมีความอาฆาตแค้นต่อพระโพธิสัตว์โคดม ปฏิญาณสาบานว่าจะขอจองเวรจองล้างจองผลาญเท่าเม็ดทรายที่กำอยู่ ก็สืบเนื่องมาจนชาติสุดท้ายที่ถูกธรณีสูบ แต่วินาทีนั้นสำนึกได้ มอบถวายกระดูกคางเป็นพระพุทธบูชา ทำให้พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ด้วยเหตุนั้น ว่าเมื่อพระเทวทัตสิ้นกรรมจากอเวจีมหานรก จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าอัฏฐิสสระในอนาคต

ก่อนที่ใครคนหนึ่งจะสามารถตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ว่าครั้งหนึ่งต้องเคยเป็นดั่งพระเทวทัต จองล้างจองผลาญพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งใดก่อนหน้า โกรธเกลียดเคียดแค้น เข่นฆ่าคนตายเป็นเบือนับหมื่นพันล้าน เมื่อได้กระทำการอันเลวร้ายที่สุดก็ย่อมสามารถกลับกลายเป็นคนดีที่สุดเช่นกัน คือถ้าคิดแบบนี้ Adolf Hitler ก็ไม่แน่ว่าอาจสามารถกลายเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าจริงๆก็ได้ ใครจะไปรู้

แนะนำกับคอหนังชีวประวัติ สนใจ 10 วันสุดท้ายของ Adolf Hitler ในความพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2, แฟนๆผู้กำกับ Oliver Hirschbiegel และนักแสดง Bruno Ganz, Christian Berkel ไม่ควรพลาด

จัดเรต 18+ กับคำพูดจาหยาบคายใส่อารมณ์รุนแรง เรื่องราวเต็มไปด้วยความบ้าคลั่งอลม่าน และบรรยากาศโคตรอึดอัดทรมาน

TAGLINE | “Downfall ร่วมจมไปกับ Adolf Hitler ผ่านการแสดงอันสุดสมจริงของ Bruno Ganz และชวนให้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหมาะสม”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | SO-SO