George Gershwin: Rhapsody in Blue


rhapsody in blue

George Gershwin: Rhapsody in Blue

บทเพลงพรรณาความงดงามของป่าคอนกรีตแห่งมหานคร New York แจ้งเกิดให้กับคีตกวีอายุสั้น George Gershwin ด้วยการทดลองผสมผสานดนตรีคลาสสิก เข้ากับ Jazz (เรียกว่า Orchestral-Jazz) แม้ตอนแสดงรอบปฐมทัศน์จะได้รับเสียงค่อนข้างแตก แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป Rhapsody in Blue ได้กลายเป็นอีกหนึ่งในบทเพลงอมตะ สัญลักษณ์แทนประเทศอเมริกา

สำหรับคอหนัง เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก An American in Paris (1951) ภาพยนตร์เพลงรางวัล Oscar: Best Picture ของผู้กำกับ Vincente Minnelli นำแสดงโดย Gene Kelly, Leslie Caron และ Oscar Levant ซึ่งหนังได้แรงบันดาลใจจากบทเพลงออเครต้าชื่อ An American in Paris (1928) ประพันธ์โดย George Gershwin เราจะได้ยินบทเพลงนี้เป็น recurring theme บ่อยครั้งในหนังและฉากสุดท้ายไล่ยาวจนจบ

สำหรับ Rhapsody in Blue (1924) บทเพลงแจ้งเกิดระดับนานาชาติของ George Gershwin ใครเดินทางไปอเมริกาบ่อยๆด้วยสายการบิน United Airlines คงได้ยินฟังอยู่ร่ำไป ประกอบทั้งโลโก้ สป็อตโฆษณา ขณะ Boarding กำลังขึ้นเครื่อง ฯ ถือเป็นบทเพลงประจำสายการบินนี้เลยก็ว่าได้

นำหนึ่งในสป็อตโฆษณาของ United Airlines มาให้รับชมกันก่อนนะครับ คลิปนี้เจ๋งอยู่นะ

George Jacob Gershwin (1898 – 1937) คีตกวีและนักเปียโนสัญชาติอเมริกา เกิดที่ New York City ครอบครัวเป็นชาว Jews อพยพมาจาก Saint Petersburg, Russian Empire ตอนยังเด็กก็วิ่งเล่นตามประสาอยู่ตามตรอกซอกซอย ท้องถนนป่าคอนกรีตเมือง New York ไม่เคยสนใจดนตรีจนกระทั่งอายุ 10 ได้ยินเพื่อนคนหนึ่งเล่นไวโอลินแล้วเกิดความหลงใหลจับใจ ที่บ้านมีเปียโนอยู่ตัวหนึ่ง พ่อแม่ซื้อมาให้พี่ชาย Ira Gerhwin แต่กลับเป็น George แย่งเล่นจนเก่ง ต่อมาได้กลายเป็นลูกศิษย์ของ Charles Hambitzer เรียนรู้เทคนิคต่างๆจนกลายเป็นยอดฝีมือ

ตอนอายุ 15 เขียนเพลงแรก When You Want ‘Em, You Can’t Get ‘Em, When You’ve Got ‘Em, You Don’t Want ‘Em ทำเงินได้ 50 Cents ตามมาด้วยบทเพลง Rag ชื่อ Rialto Ripples (1917) ที่พอขายออกได้บ้าง จนกระทั่งมีบทเพลงฮิตระดับชาติ Swanee (1919) จากคำนิยมของ Irving Caesar และ Al Jolson นักร้องนักแสดง Broadways ชื่อดัง ที่ได้ยิน Gershwin เล่นเพลงนี้ในงานปาร์ตี้แห่งหนึ่ง แล้วตัดสินใจนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงละครเวที

เกร็ด: Al Jolson คือเจ้าของเสียงแรกของ Hollywood ร้องเล่นเต้นหนังเรื่อง The Jazz Singer (1927)

ช่วงประมาณต้นทศวรรษ 20s, Gershwin มีโอกาสร่วมงานกับนักร้องชื่อดัง Eva Gauthier ในคอนเสิร์ตที่เป็นการทดลองผสมผสานดนตรี Classical เข้ากับ Jazz ซึ่งหัวหน้าวง Paul Whiteman ได้ท้าทายนักแต่งเพลงหนุ่ม ให้ลองแต่งบทเพลงคล้าย Concerto ที่มีลักษณะ All-Jazz นี่เป็นสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่เพราะเวลาว่างของ Gershwin ไม่ค่อยมีเท่าไหร่ จึงผลัดวันประกันพรุ่งเรื่อยมาจนถึงวันที่ 3 มกราคม 1924 ขณะกำลังเล่น Billiards กับเพื่อนสนิท Buddy De Sylva พี่ชาย Ira Gershwin ได้อ่านหนังสือพิมพ์ New York Tribune บทความหัวข้อ ‘What Is American Music?’ เนื้อหามีประมาณว่า

“George Gershwin is at work on a jazz concerto, Irving Berlin is writing a syncopated tone poem, and Victor Herbert is working on an American suite.”

นี่เองที่ทำให้ Gershwin เกิดอาการร้อนตัว รู้สึกเหมือนกำลังจะโดนแย่งผลงาน จึงตัดสินใจรีบเร่งหาเวลาเขียนบทเพลงนี้โดยทันที,

ระหว่างเดินทางขึ้นรถไฟจาก New York ตรงสู่ Boston เสียงรถไฟกระฉึกกระฉักได้ทำให้เขาเกิดแรงบันดาลใจ เห็นภาพของจังหวะดนตรีที่ค่อยๆดังขึ้น ผืนแผ่นดินแดนอเมริกา ตรอกซอกซอย ท้องถนน ผู้คนพลุกพล่าน ชุมชนเมือง ตึกสูงใหญ่ เมื่อเดินทางถึง Boston พล็อตของบทเพลงนี้ก็กลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาทันที

“It was on the train, with its steely rhythms, its rattle-ty bang, that is so often so stimulating to a composer – I frequently hear music in the very heart of the noise…. And there I suddenly heard, and even saw on paper – the complete construction of the Rhapsody, from beginning to end. No new themes came to me, but I worked on the thematic material already in my mind and tried to conceive the composition as a whole. I heard it as a sort of musical kaleidoscope of America, of our vast melting pot, of our unduplicated national pep, of our metropolitan madness. By the time I reached Boston I had a definite plot of the piece, as distinguished from its actual substance.”

สำหรับ Working Title ของบทเพลงนี้ ตั้งชื่อว่า American Rhapsody ภายหลังเปลี่ยนเป็น Rhapsody in Blue จากคำแนะนำของพี่ชาย Ira Gershwin ที่ได้ไปเยี่ยมชมนิทรรศการจัดแสดงผลงานศิลปะของ James Abbott McNeill Whistler พบเจอภาพสีน้ำมันชื่อ Nocturne in Black and Gold – The Falling Rocket (1875) [เรียกสั้นๆว่า Whistler’s Mother] คงเพราะชื่อสะท้อนอารมณ์ความรู้สึก สีสันของภาพวาดออกมาได้อย่างชัดเจนลงตัว

ภาพวาด Nocturne in Black and Gold – The Falling Rocket

Rhapsody แปลว่า บทเพลงที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก, ส่วนคำว่า Blue หรือ Blau น้ำเงินเข้ม เป็นสีของความเศร้าโศกและความตาย ‘I’m feeling blue.’ มีความหมาย ‘ฉันกำลังเศร้า’, แต่ Blue ยังมีอีกนัยยะหนึ่งคือ Blues/Jazz แนวดนตรีประเภทหนึ่งของคนผิวสี ที่มักถ่ายทอดสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ จากการหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศอเมริกา (เพื่อการเป็นทาส)

สรุปแล้ว Rhapsody in Blue หมายถึง บทเพลงที่เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้า หรือบทเพลงที่ผสมผสานแนวดนตรี Blues/Jazz ให้เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก

Gershwin ใช้เวลา 5 สัปดาห์ในการประพันธ์เพลงนี้ แล้วส่งให้ Ferde Grofé เรียบเรียงเป็นฉบับ Orchestra เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ในคอนเสิร์ต An Experiment in Modern Music ที่หอประชุม Aeolian ย่าน Timesquare วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1924 ร่วมกับ Palais Royal Orchestra, มีนักแต่งเพลงดังๆหลายคนแห่งยุคเข้าร่วมรับฟัง อาทิ John Philip Sousa, Sergei Rachmaninoff ซึ่งการแสดงรอบนี้ Gershwin เป็นผู้บรรเลงเปียโนด้วยตัวเอง

ความสำเร็จของเพลงนี้ต้องถือว่าล้นหลาม จนถึงปี 1927 วงของ Whiteman ได้เล่นเพลง Rhapsody in Blue ทั้งหมด 84 รอบ ขายแผ่นเสียงได้กว่าล้านก็อปปี้, แต่สำหรับคำวิจารณ์กลับได้รับเสียงแตกออกไป นิตยสาร New York Times พูดชื่นชม Gershwin ว่ามีความทะเยอทะยานแต่ยังห่างไกลความสมบูรณ์แบบเหนือชั้น

“This composition shows extraordinary talent, as it shows a young composer with aims that go far beyond those of his ilk, struggling with a form of which he is far from being master…. In spite of all this, he has expressed himself in a significant and, on the whole, highly original form.”

– The New York Times

คงถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะนักวิจารณ์เพลงสมัยนั้นยังมองว่า Jazz คือดนตรีของคนผิวสี ทาส ชนชั้นต่ำของประเทศอเมริกา ความพยายามผสมผสาน ยกขึ้นมาเทียบเท่า แล้ว Fusion กับดนตรีคลาสสิก บรรเลงโดยคนผิวขาว เป็นอะไรที่ยากจะยอมรับได้

แต่กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าบทเพลงนี้ Rhapsody in Blue คือความสำเร็จครั้งแรกของการผสมผสาน Orchestra เข้ากับ Jazz ได้อย่างลงตัวสมบูรณ์แบบเป็นที่สุด

Leonard Bernstein นักดนตรี/คีตกวี/วาทยกรชื่อดังแห่งยุค บอกว่าเขาหลงรักเพลงนี้อย่างยิ่ง ชื่นชมแรงบันดาลใจของบทเพลง ราวกับพระเจ้าสร้างโลก คล้ายๆกับ Tchaikovsky

“The Rhapsody is not a composition at all. It’s a string of separate paragraphs stuck together. The themes are terrific, inspired, God-given. I don’t think there has been such an inspired melodist on this earth since Tchaikovsky. But if you want to speak of a composer, that’s another matter. Your Rhapsody in Blue is not a real composition in the sense that whatever happens in it must seem inevitable. You can cut parts of it without affecting the whole. You can remove any of these stuck-together sections and the piece still goes on as bravely as before. It can be a five-minute piece or a twelve-minute piece. And in fact, all these things are being done to it every day. And it’s still the Rhapsody in Blue.”

คงไม่มีนักดนตรี/วาทยากรคนไหน ตีความพบทเพลงนี้ได้ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่เท่า Leonard Bernstein ผู้คลั่งไคล้เป็นแน่ กำกับและบรรเลงเปียโนเองเลย ร่วมกับ New York Philharmonic คอนเสิร์ตที่ Piano Royal Albert Hall, London วันที่ 3-4 มิถุนายน 1976

เสียงคาริเน็ตเริ่มต้น สร้างสัมผัสความพิศวงสงสัยใคร่รู้ รถไฟค่อยๆเคลื่อนเข้าอุโมงค์แห่งกาลเวลา แสงสว่างเห็นอยู่ปลายทางรำไร รู้สึกตื่นเต้นขนหัวลุกซู่ต่อสิ่งที่กำลังจะได้พบเห็น สุดทางนั่นคือดินแดนโลกใหม่ที่ชื่อว่า New York City, ประเทศสหรัฐอเมริกา

แทน-แท่น-แท้น-แท๊น เมื่อออเครสต้าประสานเสียงบรรเลงกระหึ่มขึ้น ปรากฎภาพตึกสูงระฟ้า เงยหน้าขึ้นมองไม่เห็นยอด สำหรับคนที่มาถึงเมืองนี้ครั้งแรก คงได้แต่อึ้งทึ่งตราตะลึงอ้าปากค้าง ราวกับโลกอนาคตแห่งจินตนาการ ดินแดนแห่งความฝันพลันปรากฎขึ้นต่อหน้า ความสับสนมึนงงเกิดขึ้นในจิตใจ หยิกกัดตบหน้าตัวเองหลายคราให้ตื่นขึ้น แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะที่นี่แหละคือโลกแห่งความจริง

พอเริ่มตระหนักขึ้นได้ว่าฉันไม่ได้ฝันไป รอยยิ้มร่าแห่งความสุขจึงได้บังเกิดปรากฎขึ้น หัวใจเต้นแรงไม่ยอมหยุด โอ้ละหนอดินแดนแห่งนี่แหละสรวงสวรรค์ชั้น 7 ที่ฉันเฝ้ารอคอยได้พบเจอมาแสนนาน ต้องการเป็นส่วนหนึ่ง มีชีวิตอาศัยดำรงอยู่ให้จงได้

เมื่อรถไฟถึงสถานีปลายทาง ก็ถึงเวลาก้าวลงไปสัมผัสรู้จักกับผืนแผ่นดินแดนแห่งนี้ คงยังมีความเซอร์ไพรส์อีกมากที่จะสร้างความประหลาดใจให้ การรอคอยถึงจุดสิ้นสุด สูดหายใจแรกลึกๆเข้าเต็มปอด ยินดีต้อนรับสู่อเมริกา

ส่วนตัวแล้วกับบทเพลงนี้ แรกๆไม่ได้มีความรู้สึกชื่นชอบหลงใหลเสียเท่าไหร่ แต่ก็ไม่รู้ทำไม Youtube ชอบสุ่มเพลงนี้มาให้ฟังบ่อยครั้งเหลือเกินจนเริ่มติดหู และมีใจให้นิดๆ, มันไม่ใช่ว่าผมไม่ชอบอะไรที่มีกลิ่นอายของอเมริกันหรอกนะ แต่ภาพที่จินตนาการเห็นจากบทเพลง คือ การเดินไปมาตามท้องถนน พบเจอแต่หินอิฐปูน ป่าคอนกรีต ตึกระฟ้าสูงใหญ่ มันไม่ได้มีความสวยงามอันเกิดขึ้นตามธรรมชาติของโลก ทั้งหมดเป็นความงดงามจากมนุษย์สร้างขึ้น

มีภาพยนตร์ทั้งหมด 4 เรื่อง ที่ผมเคยได้ยินนำบทเพลงนี้มาใช้ประกอบ
– Rhapsody in Blue (1945) ภาพยนตร์ชีวประวัติของ George Gershwin รับบทโดย Robert Alda ของผู้กำกับ Irving Rapper
– Manhattan (1979) ของผู้กำกับ Woody Allen ต้องบอกว่าฉากเปิดของหนังเรื่องนี้ นำบทเพลงไปใช้บรรยายท้องถนนคอนกรีต ตึกสูงขาว-ดำ ของ New York City ได้สมจริงมากที่สุด
– Fantasia 2000 (1999) ภาพยนตร์อนิเมชั่นของ Walt Disney ที่ต้องการเลียนแบบความสำเร็จของ Fantasy (1940) ใช้บทเพลงประกอบอนิเมชั่น ถึงจะมีความเข้ากันสวยงาม แต่มิตราตรึงเทียบเท่ากับต้นฉบับ
– The Great Gatsby (2013) ของผู้กำกับ Baz Luhrmann ฉากเปิดตัว Jay Gatsby ตัวละครของ Leonardo DiCaprio หันมายกแก้วขึ้น ยิ้มแฉ่ง เป็นหนึ่งในไม่กี่บทเพลงของหนังเรื่องนี้ที่ตรงกับยุคสมัยพื้นหลัง

นอกจากภาพยนตร์แล้ว ยังเคยเป็นเพลงพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา 1984 Summer Olympics ที่ Los Angeles

ความสำเร็จแบบไม่สนนักวิจารณ์ของบทเพลงนี้ ทำให้ George Gershwin กลายเป็นที่รู้จักระดับโลก มีอีกหลายผลงานที่กลายเป็นอมตะ แต่โชคร้ายที่เขาอายุสั้นไปหน่อย เสียชีวิตเมื่อเดือนกรกฎาคม 1937 ด้วยเนื้องอกในสมอง สิริอายุเพียง 38 ปี (มากกว่า Mozart แค่ปีเดียวเท่านั้น)

TAGLINE | “Rhapsody in Blue บทเพลงพรรณาป่าคอนกรีต New York City ของ George Gershwin ยิ่งใหญ่ อลังการ ตราตรึง”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

Beethoven: Symphony No. 5


Beethoven: Symphony No. 5

แท้น แท้น แท้น แทน, โน๊ตสี่ตัวแรกบทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 5 ในบันไดเสียง ซี ไมเนอร์ (Symphony No. 5 in C Minor) ของ Ludwig van Beethoven คือเรื่องบังเอิญหรือเปล่าที่ตรงกับรหัสมอร์ส (สั้น สั้น สั้น ยาว) ตัวอักษร V ซึ่งบทเพลงนี้มักถูกเรียกว่า ‘Victory Symphony’ ซิมโฟนีแห่งชัยชนะ

คนฟังเพลงเป็นไม่จำเป็นต้องคอคลาสสิก น้อยนักจะไม่รู้จัก Symphony No. 5 บทเพลงซิมโฟนีอมตะที่น่าจะมีชื่อเสียงโด่งดัง แพร่หลายเป็นที่รู้จักที่สุดในโลก, ประมาณการว่า Beethoven ประพันธ์ขึ้นช่วง ค.ศ. 1804-1808 ในยุคของ Classical Era (แต่บทเพลงนี้ถูกจัดให้คาบเกี่ยวกับยุค Romantic Era) นำออกแสดงครั้งแรกเมื่อปี 1808 แม้จะไม่ประสบความสำเร็จนัก เพราะบรรเลงควบคู่กับ Symphony No. 6 ซึ่งรวมแล้วความยาวคอนเสิร์ตถึง 4 ชั่วโมง (ผู้ฟังคงเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า) แต่ได้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก จากบทวิจารณ์เพลงของ Ernst Theodor Amadeus Hoffmann ที่ได้บรรยายยกย่องว่า ‘เป็นหนึ่งในผลงานเอกชิ้นสำคัญที่สุดแห่งยุค’

ซิมโฟนีบทนี้มีด้วยกัน 4 Movement ใช้เวลาการแสดงประมาณ 30-40 นาที

  1. Allegro con brio (C minor)
  2. Andante con moto (A major)
  3. Scherzo: Allegro (C minor)
  4. Allegro (C major)

โดยท่อนแรกของบทเพลง ขึ้นต้นด้วยตัวโน้ตหลักเพียง 4 พยางค์

ซึ่งมีความคล้ายกับรหัสมอร์ส (คือ จุด จุด จุด ขีด) เมื่อเทียบกับอักษรโรมันจะตรงกับตัว V ได้รับการค้นพบโดยสถานีวิทยุ BBC ของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงใช้โน้ตหลักนี้เป็นเครื่องหมายของคำว่า ‘Victory’ (ชัยชนะ)

แต่ในความเป็นจริงนั้น รหัสมอร์สที่ได้รับการคิดค้นโดย Samuel F. B. Morse และ Alfred Vail สำเร็จเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1936 มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่ Beethoven จะลอกเลียนแบบ ตรงกันข้ามเสียมากกว่าที่รหัสมอร์สจะได้แรงบันดาลใจตัวอักษรจากบทเพลงนี้ (หรือเป็นเพียงความบังเอิญ)

ว่ากันว่า Beethoven ให้คำนิยามโน๊ต 4 ตัวนี้ว่า “Fate knocking on your door.” (เหมือนเสียงเคาะประตู) อาจเพราะขณะที่เริ่มประพันธ์เพลงนี้ หูของเขาเริ่มที่จะไม่ค่อยได้ยินเสียงแล้ว (หูหนวกสนิทประมาณปี 1819) รู้ตัวเองว่าสักวันคงจะไม่ได้ยินอะไรอีก นี่คือโชคชะตาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้(มาเคาะถึงประตูบ้าน) ก่อให้เกิดมรสุมปั่นป่วนเต็มอก ความหวาดกลัว หลอกหลอน เจ็บปวด สั่นสะท้าน ไม่อยากคาดคิดเลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าฉันเปิดประตูนี้ออก

ท่อนแรก Allegro con brio (C minor) เปิดประตูออกสู่ดินแดนแห่งโชคชะตาที่เต็มไปด้วยความพิศวง เผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆที่ก็ไม่รู้ว่าคืออะไรรายล้อมรอบด้าน เรียกได้ว่าเป็นสัตว์ประหลาดที่จ้องมองเราอย่างฉงนสงสัย เจ้าผู้นี้คือใคร? มาทำอะไรยังดินแดนแห่งเรา? ความหวาดกลัวเกรงค่อยๆแปรสภาพเป็นความใคร่รู้ใคร่สงสัย บางสิ่งตอบโต้อย่างอ่อนหวานนุ่มนวล (ด้วยเสียงเครื่องเป่าลมไม้/ฟลุต, โอโบ หวานๆ) แต่ใช่ว่าทุกสิ่งอย่างจะเป็นมิตรกับเรา (ด้วยเสียงเครื่องสาย/โวโอลิน, ทรัมโบน ประสานเสียงทรงพลัง)

ท่อนสอง Andante con moto (A major) เป็นช่วงเวลาแห่งคลื่นสงบลมนิ่ง ขณะเดินเล่นชมวิว ปรับตัวเข้ากับโลกแห่งใหม่นี้ มันอาจเป็นดินแดนที่มีความสวยงามบรรเจิดกว่าที่ใครคิดก็ได้, แต่ละสถานที่ที่เดินผ่าน จะมีเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้น (Variations) เมื่อได้เรียนรู้ทำความเข้าใจแล้ว ก็เหมือนได้รับชัยชนะ ก้าวออกเดินไปยังสถานที่ต่อไปอย่างวีรบุรุษ

ท่อนสาม Scherzo: Allegro (C minor) ก้าวย่างมาถึงดินแดนแห่งหนึ่ง ถึงเป็นโลกแห่งเดียวกัน แต่มีความแตกต่างจากสถานที่อื่น ราวกับว่าได้รับการชี้ชักนำจากโชคชะตา นำพาสู่ที่แห่งนี้อันเต็มไปด้วยความชั่วร้ายบางอย่าง ไม่ได้อยากมาถึงแต่เท้าก็หยุดไม่ได้, ท่อนนี้ทำนอง แท้น แท้น แท้น แทน จะกลับมาอีกครั้ง แต่เป็นในโน๊ตที่ต่างจากท่อนแรกพอสมควร นุ่มนวลเบากว่า เพราะไม่ได้เป็นการเผชิญหน้าความหวาดหวั่นหวาดกลัว ในระดับเทียบเท่าครั้งแรกอีกแล้ว, ตอนจบของท่อนนี้ เสียงเพลงจะค่อยๆเบาลงจนแทบไม่ได้ยินอะไร เหมือนว่าที่เราหวาดกลัวมาทั้งหมดนี้ มันช่างไม่มีอะไรเลย คิดไปเองทั้งนั้น

ท่อนสี่ Allegro (C major) คือการเฉลิมฉลองชัยชนะที่ได้จากการค้นพบว่า โลกใบนี้มันก็ไม่มีอะไรน่ากลัวเลยนี่หว่า ทุกสิ่งอย่างเป็นมิตรกับเราดี เพียงแค่จิตใจของเราเท่านั้นที่คิดไปเอง, บทเพลงมีความอลังการสนุกสนานยิ่งใหญ่ ทุกผู้สิ่งมีชีวิตที่ได้เจอต่างเข้ามาอำนวยอวยพร แสดงความยิน ขอให้โชคดี แต่ไม่ใช่ว่าเรากำลังจะจากโลกนี้ไปนะครับ เพราะนี่คือโลกแห่งใหม่ของ Beethoven ที่เขาจะต้องอาศัยอยู่ไปจนวันตาย

ไปเจอในบล็อคหนึ่งเปรย 4 ท่อนของเพลงนี้กับอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค … ก็วิเคราะห์มองได้ใกล้เคียงอยู่นะ เพียงแต่มรรคในท่อนสุดท้าย มันไม่ใช่หนทางไปนิพพาน แต่คือความสุขสันต์ปีติยินดีเป็นล้นพ้น เป็นการตรัสรู้เข้าใจตนเอง

มี Maestro สามคนที่ผมอยากแนะนำกับบทเพลงนี้

คนแรก Herbert von Karajan (1908 – 1989) วาทยากรชาว Austrian ร่วมกับ Berlin Philharmonic Orchestra บันทึกเสียงปี 1954, Karajan เป็นคนที่มีความ Intense เข้มข้นทางอารมณ์สูงมากๆ คือทำความเข้าใจบทเพลงในระดับจิตวิญญาณ ดังนั้นท่อนแรกของบทเพลงจึงมีความทรงพลังอย่างเหลือล้น ยากนักที่จะหาใครเปรียบได้

เกร็ด: ประเมินกันว่า แผ่นเสียงของ Herbert von Karajan น่าจะมียอดขายเพลงคลาสสิกสูงสุดในโลก กว่า 200 ล้านก็อปปี้

อยากให้เห็นขณะที่ Herbert von Karajan กำกับวงด้วย นำมาเฉพาะท่อนแรก เพื่อให้เห็นความทุ่มเทสุดตัวระดับ Maestro ทั้งท่าทาง สีหน้า อารมณ์ สังเกตมือซ้ายที่แค่เห็นเกร็งงอมือไว้ ก็เกิดเราอารมณ์คล้อยตามบทเพลงไปด้วย (ดูพี่แกกำกับ เห็นภาษากายแล้วจะยิ่งเข้าใจอารมณ์ของบทเพลงยิ่งขึ้นด้วย)

Maestro คนที่สอง George Szell (1897 – 1970) วาทยากรสัญชาติ Hungarian ร่วมกับ Wiener Philharmoniker บันทึกเสียงปี 1969 นักวิจารณ์เพลงยกย่องว่า Record นี้คือ Symphony No.5 ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในโลก,

Szell เป็นวาทยากรที่ความทรงจำแม่นยำมาก ว่ากันว่าสามารถเล่นเปียโนทั้งคอนเสิร์ตได้โดยไม่ต้องดูโน๊ต ดังนั้นทุกครั้งที่ใครสักคนในวงเล่นผิดแม้เพียงแค่นิดเดียวก็สามารถรู้ได้ทันที ด้วยเหตุนี้บทเพลง Szell จึงมีความสมบูรณ์แบบ ถูกต้อง ครบถ้วนเป็นอย่างยิ่ง

Maestro คนสุดท้าย Carlos Kleiber (1930 – 2004) วาทยากรสัญชาติ German ร่วมกับ Wiener Philharmoniker บันทึกเสียงปี 1974, Kleiber เป็นวาทยากรอัจฉริยะที่มีความเชี่ยวชาญ รอบรู้เรื่องเทคนิคการเล่น/การกำกับวงที่เป็นเลิศ เก่งวิเคราะห์วางแผน และสามารถอธิบายทุกสิ่งอย่างที่ต้องการได้ด้วยตนเอง นี่ทำให้บทเพลงของเขา มีลีลาพริ้วลื่นไหลสวยงามดั่งสายน้ำไหล

ทั้งสาม Maestro ที่ยกมานี้ เกิดมาเพื่อ Symphony ของ Beethoven เลยนะครับ มีความโดดเด่นในสไตล์ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง, ส่วนตัวแล้วผมชื่นชอบฉบับของ Carlos Kleiber นี้ที่สุดเลย เพราะมีจังหวะความลงตัวพอดี และเทคนิคลีลาความต่อเนื่องที่พริ้วลื่นไหลเสียเหลือเกิน ขณะที่ Szell ก็เปะเกินไป (จนไม่เป็นธรรมชาติ) ส่วน Karajan ก็ใส่อารมณ์เยอะไปนิด

กับคนที่ฟังเพลงนี้มาหลากหลายฉบับ จะรู้สึกว่าผมเลือก Maestro ทั้งสามที่ตีความท่อนแรกของเพลง มีความเร็วค่อนข้างสูง, เพราะผมไม่ค่อยประทับใจฉบับที่ดีความช้ากว่านี้เลยนะครับ รู้สึกว่ามันไม่ใช่อ่ะ คืออารมณ์ช่วงแรกมันควรจะต่อเนื่อง เร่งเร้า ทรงพลัง มากกว่ายืดยาดรอคอยจังหวะ ซึ่งก็แล้วแต่รสนิยมของคุณเองนะ กับคนที่ชื่นชอบฉบับช้าๆ ลองไปหาฟังของ Karl Bohm, Bruno Walter (คนนี้ลากเสียงท้ายยาวมากกกก), Sergiu Celibidache, Leonard Bernstein ฯ

มีการถกเถียงกันมากว่า Symphony No. 5 จะจัดเข้าพวกยุคไหนระหว่าง Classical Era กับ Romantic Era เพราะถ้านับจากปียังไงก็ยังอยู่ในช่วงยุคสมัยของคลาสสิก แต่ถ้าวิเคราะห์กันที่เนื้อใจความของเพลง มันสามารถตีความได้ทั้ง Classical และ Romantic ซึ่ง E.T.A. Hoffmann น่าจะเป็นคนแรกเลยที่ในบทความวิจารณ์ของเขา สร้างนิยามของ Romantic Era ให้กับเพลงนี้

“Beethoven’s music wields the lever of fear, awe, horror, and pain, and it awakens that eternal longing that is the essence of the romantic.”

ใครสนใจอ่านบทความวิจารณ์เพลงของ E.T.A. Hoffmann ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1810 คลิกโลด!
reference: [CLICK]

Symphony No. 5 ถูกนำมาใช้แพร่หลายในทุกๆวงการ ขอพูดถึงเฉพาะภาพยนตร์แล้วกันนะครับ
– The Orchestra Conductor (1980) ของผู้กำกับ Andrzej Wajda
– Beethoven(1992) หนังครอบครัวเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์เซนต์เบอร์นาร์ด ชื่อว่า Beethoven โดยใช้เสียงโน้ตท่อนนี้ แทนเรียกเจ้าหมา
– Fantasia 2000 (1999) มีท่อนแรกอยู่นิดนึงตอนต้น
– V for Vendetta (2005) ใช้ท่อนนี้ สื่อถึงการต่อสู้และชัยชนะ โดย V (มาจากเลข 5 และหมายถึง Victory) ยังเป็นชื่อตัวละครเอก

ปกติผมจะไม่ค่อยได้ฟังเพลงซิมโฟนีนี้เท่าไหร่ คือเคยฟังจนติดหูหมดความน่าสนใจไปนานแล้ว ถ้ากับของ Beethoven ชอบฟัง No. 7 กับ No. 9 บางท่อนมากกว่า แต่คราวนี้หลังจากได้ตั้งใจฟังเพื่อวิเคราะห์ตีความบทเพลง เกิดความชื่นชอบท่อนสี่เพิ่มเติมขึ้นมา หลงใหลในเทคนิคและความอลังการ โดยเฉพาะการประสานเสียงเครื่องดนตรีทั้งหลายให้ได้ลงตัวทั้งขนาดนี้ ต้องระดับอัจฉริยะ Beethoven เท่านั้นละถึงทำได้ สมแล้วกับที่บทเพลงนี้กลายเป็นตำนาน

TAGLINE | “Symphony No. 5 คือบทเพลงที่ประตูเปิดสู่ความเป็นอนันต์ของ Ludwig van Beethoven”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Schubert: Winterreise


winterreise

Schubert: Winterreise

คุณเคยฟังเพลงคลาสสิก ที่มีทำนองสะท้อนจิตวิทยาของผู้แต่งหรือเปล่า? Franz Schubert ประพันธ์ Winter Journey ขึ้นจากประสบการณ์เฉียดตายของตน นำคำร้องจากบทกวีของ Wilhelm Müller ที่พรรณาถึงชีวิต ปรัชญา เรียบเรียงเป็น Song Cycle ที่มีเพียงเปียโนกับนักร้องเสียง Tenor/Baritone, การได้ทำความเข้าใจบทเพลงนี้ เสมือนอ่านหนังสือ ‘ปรัชญาชีวิต’ ของคาลิล ยิบราน

วันก่อนที่ผมได้ดูหนังเรื่อง The Piano Teacher (2001) เกิดความติดใจ Im Dorfe (In The Village) ซึ่งเป็นหนึ่งในบทเพลง/บทกลอน ที่มาจาก Winterreise สัมผัสได้ถึงความลึกล้ำไม่ใช่แค่คำร้อง/คำแปล แต่ท่วงทำนอง และเทคนิคการเล่นเปียโน ที่มีนัยยะสื่อความหมายแฝงแทนอารมณ์บางอย่าง เป้าหมายของการเขียนบทความนี้ เพื่อทำการวิเคราะห์ สร้างความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า ‘ภาษาดนตรี’

Johann Ludwig Wilhelm Müller (1794 – 1827) นักกวีชาว Prussian (German) เกิดที่เมือง Dessau เป็นลูกช่างตัดเสื้อ โตขึ้นเข้าเรียนที่ University of Berlin สาขานิรุกติศาสตร์ (Philological) และประวัติศาสตร์ (Historical) ช่วงปี 1813-1814 เป็นอาสาสมัครในกองทัพ Prussian เพื่อสู้รบกับ Napoléon ได้เข้าร่วมสงครามที่ Lützen, Bautzen, Hanau และ Kulm หลังจากสงครามกลับมาเรียนหนังสือต่อ จบแล้วได้เป็นอาจารย์สอนที่ Gelehrtenschule, Dessau และได้รับมอบหมายให้เป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดของจักรวรรดิเยอรมัน (Imperial Librarian), น่าเสียดาย Müller อายุสั้นไปนิด เสียชีวิตจากโรคหัวใจล้มเหลวขณะอายุเพียง 32 ปีเท่านั้น

บทกวีของ Müller ได้รับความนิยมอย่างสูงตั้งแต่ตีพิมพ์ครั้งแรก ถึงขนาด Franz Schubert คีตกวีที่มีชีวิตในยุคสมัยเดียวกันได้นำบทวีของเขา อาทิ Die schöne Müllerin (เขียนขึ้นปี 1820) มาดัดแปลงประพันธ์สร้างทำนองขึ้นในปี 1823 แต่เชื่อว่า Müller น่าจะไม่เคยมีโอกาสได้รับชม/รับฟัง การแสดงดนตรีนี้เป็นแน่

Franz Schubert (1797 – 1828) คีตกวีสัญชาติ Austrian, บิดา Franz Theodor Schubert เป็นครูโรงเรียนมัธยม สอนไวโอลินตั้งแต่อายุ 5 ขวบ พี่ชาย Ignaz สอนเปียโนให้ตอนอายุ 11, ด้วยรักที่ไม่สมหวัง ทั้งชีวิตของเขาได้อุทิศให้กับดนตรี การแต่งเพลง และการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง เสียชีวิตตอนอายุ 32 ตรวจสอบพบสารปรอทในร่างกาย อาจมีสาเหตุจากการรักษาอาการป่วยโรคซิฟิลิส (Syphilis) ที่บ่งบอกว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ

ว่ากันว่า Schubert พบว่าตัวเองเป็นซิฟิลิสประมาณปี 1822 ซึ่งการรักษาสมัยนั้นคือฉีดสารปรอทเข้าร่างกาย ถ้ารับได้ก็อาจหาย ไม่ได้ก็ตายทันที ชีวิตช่วงขณะนั้นทนทุกข์ทรมานมาก แต่ยังมีชีวิตรอดมาได้, รู้จักกับบทกวีของ Wilhelm Müller จากการแนะนำของ Johann Michael Vogl นักร้องเสียง Baritone เชื้อสาย Austrian ที่เป็นเพื่อนสนิทของ Schubert และต่อมาได้เป็นนักร้องขาประจำในบทเพลงที่เขียนขึ้นจากบทกวีของ Müller

สำหรับ Winterreise (Winter Journey, การผจญภัยในช่วงฤดูหนาว) Op.89, D.911 ถือว่าเป็นครั้งที่สองที่ Schubert หวนกลับไปหาบทกวีของ Müller อีกครั้ง ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี 1827 มีทั้งหมด 24 บทเพลง/กลอน

สำหรับคลิปที่แนบมานั้น ส่วนใหญ่จะขับร้องโดย Fischer Dieskau เปียโนโดย Murray Perahia ถือฉบับที่น่าจะไพเราะที่สุดของ Winterreise ที่มีอยู่ใน Youtube แล้วนะครับ

ผมต้องขออภัยไว้ก่อน ณ ที่นี้ที่ยังไม่สามารถเขียนวิเคราะห์ได้ครบทุกบทเพลง/บทกลอน ของ Winterreise แต่ได้นำคำร้อง คำแปล และคลิปใส่แยกเป็นเพลงๆไว้ให้แล้ว เพราะปริมาณ 24 บทเพลงนั้นเยอะมาก ต้องใช้เวลาและพลังอย่างมาก แต่ยังไงตั้งใจว่าจะเขียนให้ครบ ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเมื่อไหร่


1. Gute Nacht (Good Night)

ชายแปลกหน้ามาถึงแล้วจากไป, เมื่อเดือนพฤษภาคม เขาตกหลุมรักหญิงสาวคนหนึ่งหวังว่าจะได้แต่งงานด้วย แต่กลับถูกเธอบอกปัดปฏิเสธ จึงตัดสินใจเก็บข้าวของออกเดินทางในค่ำคืนที่มืดสนิท เดินผ่านประตูหน้าบ้านหญิงสาว เขียนคำว่า Gute Nacht (Goodnight) เป็นการร่ำลาจาก

คำพูด ‘goodbye’ ไม่ได้มีความหมายแค่การลาจากเท่านั้น แต่ยังเป็นการเริ่มสิ่งใหม่ๆ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง Winter Journal

– ย่อหน้าแรกของเพลง โน๊ตของมือซ้ายจะกดย้ำๆซ้ำๆคงที่ ให้สัมผัสของความแปลกแยกแตกต่าง ฉันมาที่นี่ด้วยการเป็นคนแปลกหน้า และกำลังจากไปด้วยการยังเป็นคนแปลกหน้าเช่นเดิม
– ย่อหน้าสอง โน๊ตจะเปลี่ยนไปโดยค่อยๆไล่ลำดับและเสียงดังเน้นขึ้น แสดงถึงความรัก ความประทับใจ ที่สวยงาม ทำให้อิ่มเอิบเป็นสุข
– ย่อหน้าสาม เริ่มต้นโน๊ตยังคงเสียงสูงและดังอยู่ แต่จะค่อยๆลดระดับลงมาเรื่อยๆ (เพราะเข้าสู่ In this darkness.)
– ย่อหน้าสี่ เสียงโน๊ตจะเบาลง กลับไปมีทำนองคล้ายย่อหน้าแรก โน๊ตมือซ้ายจะกดย้ำๆซ้ำๆ เป็นการออกย่ำพร้อมที่จะเดินทาง
– ย่อหน้าห้า จะคล้ายกับย่อหน้าสอง รำพันถึงความผิดหวัง
– ย่อหน้าหก จะคล้ายกับย่อหน้าสาม รำพันถึงความรัก
– ส่วนย่อหน้าเจ็บ เสียงจะเบาที่สุดในบทเพลงนี้ กระซิบกระซาบ เพราะไม่อยากรบกวนความฝันของเธอ (I don’t want to disturb your dreaming,)
– และย่อหน้าแปดสุดท้าย เขียนข้อความ Good Night เพื่อเป็นการสั่งลา ทำนองจะค่อยๆดังขึ้นเรื่อยๆ คงเพราะชายหนุ่มหันกลับมามองบ้านของหญิงสาวเป็นครั้งสุดท้าย จิตใจคงไม่อยากจากไป แต่เพราะคำพูดปฏิเสธของเธอมันทำให้เขาไม่สามารถฝืนทนอยู่ต่อไปได้

Fremd bin ich eingezogen,
Fremd zieh’ ich wieder aus.
Der Mai war mir gewogen
Mit manchem Blumenstrauß.


Das Mädchen sprach von Liebe,
Die Mutter gar von Eh’, –
Nun ist die Welt so trübe,
Der Weg gehüllt in Schnee.


Ich kann zu meiner Reisen
Nicht wählen mit der Zeit,
Muß selbst den Weg mir weisen
In dieser Dunkelheit.


Es zieht ein Mondenschatten
Als mein Gefährte mit,
Und auf den weißen Matten
Such’ ich des Wildes Tritt.


Was soll ich länger weilen,
Daß man mich trieb hinaus ?
Laß irre Hunde heulen
Vor ihres Herren Haus;


Die Liebe liebt das Wandern –
Gott hat sie so gemacht –
Von einem zu dem andern.
Fein Liebchen, gute Nacht !


Will dich im Traum nicht stören,
Wär schad’ um deine Ruh’.
Sollst meinen Tritt nicht hören –
Sacht, sacht die Türe zu !


Schreib im Vorübergehen
Ans Tor dir: Gute Nacht,
Damit du mögest sehen,
An dich hab’ ich gedacht

I came here a stranger,
As a stranger I depart.
May favored me
With many a bunch of flowers.


The girl spoke of love,
Her mother even of marriage –
Now the world is so gloomy,
The road shrouded in snow.


I cannot choose the time
To begin my journey,
Must find my own way
In this darkness.


A shadow of the moon travels
With me as my companion,
And upon the white fields
I seek the deer’s track.


Why should I stay here any longer
So that people can drive me away ?
Let stray dogs howl
In front of their master’s house;


Love loves to wander –
God made it that way –
From one to the other,
My dearest, good night !


I don’t want to disturb your dreaming,
It would be a shame to wake you.
You won’t hearstep,
Softly, softly the door closes !


I write in passing
On your gate: Good night,
So that you may see
That ought of you.


2. Die Wetterfahne (The Weathervane)

Die Wetterfahne (The Weathervane) Looking back, he scolds himself for not seeing the symbolism of the weathervane on his beloved’s house – both love and wind can change direction.

Der Wind spielt mit der Wetterfahne
Auf meines schönen Liebchens Haus.
Da dacht’ ich schon in meinem Wahne,
Sie pfiff den armen Flüchtling aus.


Er hätt’ es eher bemerken sollen,
Des Hauses aufgestecktes Schild,
So hätt’ er nimmer suchen wollen
Im Haus ein treues Frauenbild.


Der Wind spielt drinnen mit den Herzen
Wie auf dem Dach, nur nicht so laut.
Was fragen sie nach meinen Schmerzen ?
Ihr Kind ist eine reiche Braut.

The wind plays with the weathervane
On my lovely darling’s house.
And I thought in my delusion,
That it mocked the poor fugitive.


He should have noticed sooner
The symbol displayed on the house,
So he wouldn’t ever have expected
To find a faithful woman within.


The wind plays with the hearts inside
As it does on the roof, only not so loudly.
Why should they care about my grief ?
Their child is a rich bride.


3. Gefrorne Tränen (Frozen Tears)

Gefrorne Tränen (Frozen Tears) As he walks he is confused by the tears falling down his cheeks.  How can tears burning so hot from his heart turn into frozen tears?

Gefrorne Tropfen fallen
Von meinen Wangen ab:
Ob es mir denn entgangen,
Daß ich geweinet hab’ ?


Ei Tränen, meine Tränen,
Und seid ihr gar so lau,
Daß ihr erstarrt zu Eise
Wie kühler Morgentau ?


Und dringt doch aus der Quelle
Der Brust so glühend heiß,
Als wolltet ihr zerschmelzen
Des ganzen Winters Eis !

Frozen drops are falling
Down from my cheeks.
How could I have not noticed
That I have been weeping ?


Ah tears, my tears,
And are you so tepid
That you freeze to ice
Like cool morning dew ?


Yet you burst from the wellspring
Of my heart so burning hot,
As if you wanted to melt
The entire winter’s ice !


4. Erstarrung (Numbness)

Erstarrung (Numbness) Realizing that his love affair is over, he desperately searches for a memento but finds only her image etched in the ice and in his heart.

Ich such’ im Schnee vergebens
Nach ihrer Tritte Spur,
Wo sie an meinem Arme
Durchstrich die grüne Flur.


Ich will den Boden küssen,
Durchdringen Eis und Schnee
Mit meinen heißen Tränen,
Bis ich die Erde seh’.


Wo find’ ich eine Blüte,
Wo find’ ich grünes Gras ?
Die Blumen sind erstorben,
Der Rasen sieht so blaß.


Soll denn kein Angedenken
Ich nehmen mit von hier ?
Wenn meine Schmerzen schweigen,
Wer sagt mir dann von ihr ?


Mein Herz ist wie erstorben,
Kalt starrt ihr Bild darin;
Schmilzt je das Herz mir wieder,
Fließt auch ihr Bild dahin !

I search the snow in vain
For the trace of her steps.
Where she, arm in arm with me,
Crossed the green meadow.


I want to kiss the ground,
Penetrate ice and snow
With my hot tears,
Until I see the soil.


Where will I find a blossom,
Where will I find green grass ?
The flowers are all dead,
The turf is so pale.


Shall then no memento
Accompany me from here ?
When my pains cease,
Who will tell me of her then ?


My heart is as if dead,
Her image frozen cold within;
If my heart ever thaws again,
Her image will melt away, too !


5. Der Lindenbaum (The Linden Tree)

Der Lindenbaum (The Linden Tree) He remembers a significant tree where once he carved their names but that now haunts his journey, calling him back to find peace once again.

Am Brunnen vor dem Tore
Da steht ein Lindenbaum;
Ich träumt’ in seinem Schatten
So manchen süßen Traum.


Ich schnitt in seine Rinde
So manches liebe Wort;
Es zog in Freud’ und Leide
Zu ihm mich immer fort.


Ich mußt’ auch heute wandern
Vorbei in tiefer Nacht,
Da hab’ ich noch im Dunkeln
Die Augen zugemacht.


Und seine Zweige rauschten,
Als riefen sie mir zu:
Komm her zu mir, Geselle,
Hier find’st du deine Ruh’ !


Die kalten Winde bliesen
Mir grad’ ins Angesicht;
Der Hut flog mir vom Kopfe,
Ich wendete mich nicht.


Nun bin ich manche Stunde
Entfernt von jenem Ort,
Und immer hör’ ich’s rauschen:
Du fändest Ruhe dort !

At the well by the gate
There stands a linden tree;
I dreamed in its shadow
Many a sweet dream.


I carved in its bark
Many a word of love;
In joy and in sorrow
I was always drawn to it.


Again today I had to travel
Past it in the depths of night.
There even in the darkness
I closed my eyes.


And its branches rustled,
As if they called to me:
Come here to me, friend,
Here you’ll find peace !


The cold winds blew
Right into my face;
The hat flew off my head,
I didn’t turn around.


Now I am many hours
Distant from that place,
And I still hear it whispering:
You’d find peace here !


6. Wasserflut (Flood)

Wasserflut (Flood) Tired of watching his tears fall into the snow, he asks the snow to take his tears and flow past his beloved’s house when it melts in the spring.

Manche Trän’ aus meinen Augen
Ist gefallen in den Schnee;
Seine kalten Flocken saugen
Durstig ein das heiße Weh.


Wenn die Gräser sprossen wollen
Weht daher ein lauer Wind,
Und das Eis zerspringt in Schollen
Und der weiche Schnee zerrinnt.


Schnee, du weißt von meinem Sehnen,
Sag’, wohin doch geht dein Lauf ?
Folge nach nur meinen Tränen,
Nimmt dich bald das Bächlein auf.


Wirst mit ihm die Stadt durchziehen,
Muntre Straßen ein und aus;
Fühlst du meine Tränen glühen,
Da ist meiner Liebsten Haus.

Many a tear from my eyes
Has fallen in the snow;
Its cold flakes absorb
Thirstily the burning woe.


When it’s time for the grass to sprout
There blows a mild wind,
And the ice will break apart
And the soft snow melt away.


Snow, you know about my longing,
Tell me, where does your course lead ?
If you just follow my tears,
The brook will soon receive you.


You will flow through the town with it,
In and out of the busy streets;
When you feel my tears burning,
There is my sweetheart’s house.


7. Auf dem Flusse (On the River)

Auf dem Flusse (On the River) At a frozen river he sees a reflection of his own life in the ice – what once flowed freely is now forced to live in an icy prison.

Der du so lustig rauschtest,
Du heller, wilder Fluß,
Wie still bist du geworden,
Gibst keinen Scheidegruß.


Mit harter, starrer Rinde
Hast du dich überdeckt,
Liegst kalt und unbeweglich
Im Sande ausgestreckt.


In deine Decke grab’ ich
Mit einem spitzen Stein
Den Namen meiner Liebsten
Und Stund’ und Tag hinein:


Den Tag des ersten Grußes,
Den Tag, an dem ich ging;
Um Nam’ und Zahlen windet
Sich ein zerbroch’ner Ring.


Mein Herz, in diesem Bache
Erkennst du nun dein Bild ?
Ob’s unter seiner Rinde
Wohl auch so reißend schwillt ?

You who thundered so cheerfully,
You clear, untamed river,
How quiet you have become,
Give no word of farewell.


With a hard stiff crust
You have covered yourself,
Lie cold and unmoving,
Outstretched in the sand.


In your covering I inscribe
With a sharp stone
The name of my sweetheart
And the hour and day, as well.


The day of the first greeting,
The day on which I left;
Around name and figures winds
A broken ring.


My heart, in this stream
Do you now recognize your image ?
And under its crust
Is there also a raging torrent ?


8. Rückblick (Backwards Glance)

Rückblick (Backwards Glance) Boiling over in anger and despair, he compares his arrival at his beloved’s village to his wretched departure yet he still wishes to return.

Es brennt mir unter beiden Sohlen,
Tret’ ich auch schon auf Eis und Schnee,
Ich möcht’ nicht wieder Atem holen,
Bis ich nicht mehr die Türme seh’.


Hab’ mich an jedem Stein gestoßen,
So eilt’ ich zu der Stadt hinaus;
Die Krähen warfen Bäll’ und Schloßen
Auf meinen Hut von jedem Haus.


Wie anders hast du mich empfangen,
Du Stadt der Unbeständigkeit !
An deinen blanken Fenstern sangen
Die Lerch’ und Nachtigall im Streit.


Die runden Lindenbäume blühten,
Die klaren Rinnen rauschten hell,
Und ach, zwei Mädchenaugen glühten. –
Da war’s gescheh’n um dich, Gesell !


Kommt mir der Tag in die gedanken,
Möcht’ ich noch einmal rückwärts seh’n.
Möcht’ ich zurücke wieder wanken,
Vor ihrem Hause stille steh’n.

It’s burning under both my feet,
Even though I walk on ice and snow;
I don’t want to catch my breath
Until I can no longer see the spires.


I tripped on every stone,
As I hurried out of the town;
The crows hurled chunks of snow and ice
On my hat from every house.


How differently you received me,
You town of inconstancy !
At your sparkling windows sang
The lark and nightingale in competition.


The bushy linden trees bloomed,
The clear streams murmured brightly,
And, oh, two maiden’s eyes glowed –
Your fate was sealed, my boy !


Whenever that day enters my thoughts,
I want to look back once more,
I want to turn back again
And stand still before her house.


9. Irrlicht (Will o’ the Wisp)

Irrlicht (Will o’ the Wisp)  Lured down a rocky chasm by a real or imagined illusion, he fights the urge to panic, calmly choosing another way, one that will end his sorrow.

In die tiefsten Felsengründe
Lockte mich ein Irrlicht hin;
Wie ich einen Ausgang finde,
Liegt nicht schwer mir in dem Sinn.


Bin gewohnt das Irregehen,
‘s führt ja jeder Weg zum Ziel;
Uns’re Freuden, uns’re Wehen,
Alles eines Irrlichts Spiel !


Durch des Bergstroms trockne Rinnen
Wind’ ich ruhig mich hinab,
Jeder Strom wird’s Meer gewinnen,
Jedes Leiden auch sein Grab.

Into the deepest mountain chasms
A will o’ the wisp lured me;
How to find a way out
Doesn’t worry me much.


I’m used to going astray,
And every way leads to the goal.
Our joys, our sorrows,
Are all a will o’ the wisp’s game !


Through the mountain stream’s dry channel
I wend my way calmly downward.
Every river finds its way to the ocean,
And every sorrow to its grave.


10. Rast (Rest)

Rast (Rest) After finding a place to stay for the night, he struggles to fall asleep as his utter exhaustion battles with his tempestuous heart.

Nun merk’ ich erst wie müd’ ich bin,
Da ich zur Ruh’ mich lege;
Das Wandern hielt mich munter hin
Auf unwirtbarem Wege.


Die Füße frugen nicht nach Rast,
Es war zu kalt zum Stehen;
Der Rücken fühlte keine Last,
Der Sturm half fort mich wehen.


In eines Köhlers engem Haus
Hab’ Obdach ich gefunden.
Doch meine Glieder ruh’n nicht aus:
So brennen ihre Wunden.


Auch du, mein Herz, in Kampf und Sturm
So wild und so verwegen,
Fühlst in der Still’ erst deinen Wurm
Mit heißem Stich sich regen !

Now I first notice how tired I am
As I lay myself down to rest;
Walking kept me going strong
On the inhospitable road.


My feet didn’t ask for rest,
It was too cold to stand still,
My back felt no burden,
The storm helped to blow me onward.


In a charcoal-burner’s tiny house
I have found shelter;
But my limbs won’t relax,
Their hurts burn so much.


You, too, my heart, in strife and storm
So wild and so bold,
Feel first in the silence your serpent
Stir with burning sting !


11. Frühlingstraum (Dreams of Spring)

Frühlingstraum (Dreams of Spring) Finally asleep he dreams of spring and his beloved only to be rudely awakened by roosters and ravens.  Is nature mocking him?

Ich träumte von bunten Blumen,
So wie sie wohl blühen im Mai;
Ich träumte von grünen Wiesen,
Von lustigem Vogelgeschrei.


Und als die Hähne krähten,
Da ward mein Auge wach;
Da war es kalt und finster,
Es schrien die Raben vom Dach.


Doch an den Fensterscheiben,
Wer malte die Blätter da ?
Ihr lacht wohl über den Träumer,
Der Blumen im Winter sah ?


Ich träumte von Lieb um Liebe,
Von einer schönen Maid,
Von Herzen und von Küssen,
Von Wonne und Seligkeit.


Und als die Hähne krähten,
Da ward mein Herze wach;
Nun sitz’ ich hier alleine
Und denke dem Traume nach.


Die Augen schließ’ ich wieder,
Noch schlägt das herz so warm.
Wann grünt ihr Blätter am Fenster ?
Wann halt’ ich mein Liebchen im Arm ?

I dreamed of many-colored flowers,
The way they bloom in May;
I dreamed of green meadows,
Of merry bird calls.


And when the roosters crowed,
My eye awakened;
It was cold and dark,
The ravens shrieked on the roof.


But on the window panes –
Who painted the leaves there ?
I suppose you’ll laugh at the dreamer
Who saw flowers in winter ?


I dreamed of love reciprocated,
Of a beautiful maiden,
Of embracing and kissing,
Of joy and delight.


And when the roosters crowed,
My heart awakened;
Now I sit here alone
And reflect on the dream.


I close my eyes again,
My heart still beats so warmly.
When will you leaves on the window turn green ?
When will I hold my love in my arms ?


12. Einsamkeit (Loneliness)

Einsamkeit (Loneliness) Despair and loneliness are now second nature to this wanderer.  What once was lovely is now wretched.

Wie eine trübe Wolke
Durch heit’re Lüfte geht,
Wenn in der Tanne Wipfel
Ein mattes Lüftchen weht:


So zieh ich meine Straße
Dahin mit trägem Fuß,
Durch helles, frohes Leben
Einsam und ohne Gruß.


Ach, daß die Luft so ruhig !
Ach, daß die Welt so licht !
Als noch die Stürme tobten,
War ich so elend nicht.

As a dreary cloud
Moves through the clear sky,
When in the crown of the fir tree
A faint breeze blows,


So I travel my road
Onward with sluggish feet,
Through bright, happy life,
Lonely and unrecognized.


Oh, that the air should be so still !
Oh, that the world should be so light !
When the storms still raged,
I was not so miserable.


13. Die Post (The Post)

Die Post (The Post) With the sound of a mailman’s posthorn his heart takes a sudden leap, hoping to find a letter from his beloved.  No luck.

Von der Straße her ein Posthorn klingt.
Was hat es, daß es so hoch aufspringt,
Mein Herz ?


Die Post bringt keinen Brief für dich.
Was drängst du denn so wunderlich,
Mein Herz ?


Nun ja, die Post kommt aus der Stadt,
Wo ich ein liebes Liebchen hat,
Mein Herz !


Willst wohl einmal hinüberseh’n
Und fragen, wie es dort mag geh’n,
Mein Herz ?

From the highroad a posthorn sounds.
Why do you leap so high,
My heart ?


The post does not bring a letter for you,
Why the strange compulsion,
My heart ?


Of course, the post comes from the town,
Where I once had a dear sweetheart,
My heart !


Would you like to take a look over there,
And ask how things are going,
My heart ?


14. Der greise Kopf (The Gray Head)

Der greise Kopf (The Gray Head) Seeing his frost-covered hair he rejoices. When the frost melts, he laments.  How can he still be so young after such a journey?

Der Reif hatt’ einen weißen Schein
Mir übers Haar gestreuet;
Da glaubt’ ich schon ein Greis zu sein
Und hab’ mich sehr gefreuet.


Doch bald ist er hinweggetaut,
Hab’ wieder schwarze Haare,
Daß mir’s vor meiner Jugend graut –
Wie weit noch bis zur Bahre !


Vom Abendrot zum Morgenlicht
Ward mancher Kopf zum Greise.
Wer glaubt’s ? und meiner ward es nicht
Auf dieser ganzen Reise !

The frost has spread a white sheen
All over my hair;
I thought I had become an old man
And was very pleased about it.


But soon it melted away,
And now I have black hair again
So that I am horrified by my youth –
How long still to the grave !


From the sunset to the dawn
Many a head turns white.
Who can believe it ? And mine
Has not on this whole journey !


15. Die Krähe (The Crow)

Die Krähe (The Crow) After being followed by a crow throughout his journey, he addresses it, asking if he will be the faithful one to accompany him to the grave.

Eine Krähe war mit mir
Aus der Stadt gezogen,
Ist bis heute für und für
Um mein Haupt geflogen.


Krähe, wunderliches Tier,
Willst mich nicht verlassen ?
Meinst wohl, bald als Beute hier
Meinen Leib zu fassen ?


Nun, es wird nicht weit mehr geh’n
An dem Wanderstabe.
Krähe, laß mich endlich seh’n
Treue bis zum Grabe !

A crow has accompanied me
Since I left the town,
Until today, as ever,
It has circled over my head.


Crow, you strange creature,
Won’t you ever leave me ?
Do you plan soon as booty
To have my carcase ?


Well, I won’t be much longer
Wandering on the road.
Crow, let me finally see
Loyalty unto the grave !


16. Letzte Hoffnung (Last Hope)

Letzte Hoffnung (Last Hope) Resting beneath a tree he spots a single leaf still attached.  When it trembles, he trembles.  If it falls, his hope falls with it.

Hie und da ist an den Bäumen
Manches bunte Blatt zu seh’n,
Und ich bleibe vor den Bäumen
Oftmals in Gedanken steh’n.


Schaue nach dem einen Blatte,
Hänge meine Hoffnung dran;
Spielt der Wind mit meinem Blatte,
Zittr’ ich, was ich zittern kann.


Ach, und fällt das Blatt zu Boden,
Fällt mit ihm die Hoffnung ab;
Fall’ ich selber mit zu Boden,
Wein’ auf meiner Hoffnung Grab.

Here and there on the trees
There’s a colored leaf to be seen.
And I stop in front of the trees
Often, lost in thought.


I watch a particular leaf
And pin my hopes on it;
If the wind plays with my leaf
I tremble from head to foot.


Oh, and if the leaf falls to earth,
My hopes fall along with it.
I fall to earth as well
And weep on the grave of my hopes.


17. Im Dorfe (In the Village)

Im Dorfe (In the Village) ใจความของเพลงนี้พูดถึงความจริงกับความฝัน ในฝันนั้นทุกสิ่งอย่างเป็นจริงสมดั่งใจหมายปอง แต่ความจริงกลับตรงกันข้าม,
– ท่อนแรกเสียงเปียโนมีลักษณะกดซ้ำๆของโน๊ตสองชุด ให้สัมผัสคล้ายการเขย่าตัวให้ตื่นขึ้นจากความฝัน เงียบเสียงคือสัปหงกหลับไปอีกครั้ง
– ท่อนสองของบทเพลงจะละทิ้งทำนองในช่วงแรก เริ่มตั้งแต่ Und morgen früh ist alles zerflossen. (And the next morning, all is vanished,) คือการตื่นขึ้นจากความฝัน พบกับชีวิตจริง
– และท่อนสามกลับไปคล้ายกับท่อนแรกอีกครั้ง ในค่ำคืนถัดมาก็ยังวนเวียนเป็นวัฏจักรเช่นนี้อีก อย่าเลยได้ไหมไม่ให้ฉันหลับกลับไปเพ้อฝันอีก แต่สุดท้ายก็คงไม่มีทางทำได้

Es bellen die Hunde, es rasseln die Ketten;
Es schlafen die Menschen in ihren Betten,
Träumen sich manches, was sie nicht haben,
Tun sich im Guten und Argen erlaben;


Und morgen früh ist alles zerflossen.
Je nun, sie haben ihr Teil genossen
Und hoffen, was sie noch übrig ließen,
Doch wieder zu finden auf ihren Kissen.


Bellt mich nur fort, ihr wachen Hunde,
Laßt mich nicht ruh’n in der Schlummerstunde !
Ich bin zu Ende mit allen Träumen.
Was will ich unter den Schläfern säumen ?

The dogs are barking, the chains are rattling;
The people are sleeping in their beds,
Dreaming of things they don’t have,
Refreshing themselves in good and bad.


And in the morning all will have vanished.
Oh well, they had their share of pleasure
And hope that what they missed
Can be found again on their pillows.


Drive me out with your barking, you vigilant dogs,
Don’t let me rest when it’s time for slumber.
I am finished with all my dreams.
Why should I linger among the sleepers ?


18. Der stürmische Morgen (The Stormy Morning)

Der stürmische Morgen (The Stormy Morning) Surrounded by a fierce morning storm, the wanderer revels in the violence and drama of the skies that reflect his own emotions.

Wie hat der Sturm zerrissen
Des Himmels graues Kleid !
Die Wolkenfetzen flattern
Umher im matten Streit.


Und rote Feuerflammen
Zieh’n zwischen ihnen hin;
Das nenn’ ich einen Morgen
So recht nach meinem Sinn !


Mein Herz sieht an dem Himmel
Gemalt sein eig’nes Bild –
Es ist nichts als der Winter,
Der Winter kalt und wild !

How the storm has torn asunder
The heavens’ grey cover !
The cloud tatters flutter
Around in weary strife.


And fiery red flames
Dart around among them;
That’s what I call a morning
That really fits my mood !


My heart sees in the heavens
Its own image painted –
It’s nothing but the winter,
Winter cold and wild !


19. Täuschung (Illusion)

Täuschung (Illusion) Faced with a taunting illusion, he gives in and follows its lead, knowing that only in this illusion will he experience what he truly longs for.

Ein Licht tanzt freundlich vor mir her,
Ich folg’ ihm nach die Kreuz und Quer;
Ich folg’ ihm gern und seh’s ihm an,
Daß es verlockt den Wandersmann.


Ach ! wer wie ich so elend ist,
Gibt gern sich hin der bunten List,
Die hinter Eis und Nacht und Graus,
Ihm weist ein helles, warmes Haus.


Und eine liebe Seele drin. –
Nur Täuschung ist für mich Gewinn !

A light does a friendly dance before me,
I follow it here and there;
I like to follow it and watch
The way it lures the wanderer.


Ah, a man as wretched as I am
Is glad to fall for the merry trick
That, beyond ice and night and fear,
Shows him a bright, warm house.


And a loving soul within –
Only illusion lets me win !


20. Der Wegweiser (The Signpost)

Der Wegweiser (The Signpost) After taking unmarked paths throughout his lonely journey, he faces one last signpost that points toward death. He follows.

Was vermeid’ ich denn die Wege,
Wo die ander’n Wand’rer geh’n,
Suche mir versteckte Stege,
Durch verschneite Felsenhöh’n ?


Habe ja doch nichts begangen,
Daß ich Menschen sollte scheu’n, –
Welch ein törichtes Verlangen
Treibt mich in die Wüstenei’n ?


Weiser stehen auf den Straßen,
Weisen auf die Städte zu.
Und ich wandre sonder Maßen
Ohne Ruh’ und suche Ruh’.


Einen Weiser seh’ ich stehen
Unverrückt vor meinem Blick;
Eine Straße muß ich gehen,
Die noch keiner ging zurück.

Why then do I avoid the highways
Where the other travelers go,
Search out the hidden pathways
Through the snowy mountain tops ?


I’ve committed no crime
That I should hide from other men –
What is the foolish compulsion
That drives me into desolation ?


Signposts stand along the highways
Pointing to the cities,
And I wander ever further
Without rest and look for rest.


Before me I see a signpost standing
Fixed before my gaze.
I must travel a road
From which no one ever returned.


21. Das Wirtshaus (The Inn)

Das Wirtshaus (The Inn) Arriving at a graveyard, he earnestly hopes he has found a place to rest but he is turned away before he can collapse – no vacancy here.

Auf einen Totenacker
Hat mich mein Weg gebracht;
Allhier will ich einkehren,
Hab ich bei mir gedacht.


Ihr grünen Totenkränze
Könnt wohl die Zeichen sein,
Die müde Wand’rer laden
Ins kühle Wirtshaus ein.


Sind denn in diesem Hause
Die Kammern all’ besetzt ?
Bin matt zum Niedersinken,
Bin tödlich schwer verletzt.


O unbarmherz’ge Schenke,
Doch weisest du mich ab ?
Nun weiter denn, nur weiter,
Mein treuer Wanderstab !

My way has led me
To a graveyard;
Here I’ll stop,
I told myself.


You green mourning garlands
Must be the sign
That invites weary travelers
Into the cool inn.


What, all the rooms
In this house are full?
I’m tired enough to drop,
Have taken mortal hurt.


Oh, merciless inn,
You turn me away?
Well, onward then, still further,
My loyal walking staff!


22. Mut! (Have Courage!)

Mut! (Have Courage!) Forced back on the road again, he embraces a final surge of defiance – if there is no god on earth, then man is god instead!

Fliegt der Schnee mir ins Gesicht,
Schüttl’ ich ihn herunter.
Wenn mein Herz im Busen spricht,
Sing’ ich hell und munter.


Höre nicht, was es mir sagt,
Habe keine Ohren;
Fühle nicht, was es mir klagt,
Klagen ist für Toren.


Lustig in die Welt hinein
Gegen Wind und Wetter !
Will kein Gott auf Erden sein,
Sind wir selber Götter !

If the snow flies in my face,
I shake it off again.
When my heart speaks in my breast,
I sing loudly and gaily.


I don’t hear what it says to me,
I have no ears to listen;
I don’t feel when it laments,
Complaining is for fools.


Happy through the world along
Facing wind and weather !
If there’s no God upon the earth,
Then we ourselves are Gods !


23. Die Nebensonnen (The Three Suns)

Die Nebensonnen (The Three Suns) This journey began with three suns in the sky: one faded with his beloved, one faded in defiance of God.  If only the last would set…

Drei Sonnen sah ich am Himmel steh’n,
Hab’ lang und fest sie angeseh’n;
Und sie auch standen da so stier,
Als wollten sie nicht weg von mir.


Ach, meine Sonnen seid ihr nicht !
Schaut ander’n doch ins Angesicht !
Ja, neulich hatt’ ich auch wohl drei;
Nun sind hinab die besten zwei.


Ging nur die dritt’ erst hinterdrein !
Im Dunkel wird mir wohler sein.

I saw three suns in the sky,
Stared at them hard for a long time;
And they stayed there so stubbornly
That it seemed they didn’t want to leave me.


Ah, you are not my suns !
Go, look into someone else’s face !
Yes, recently I, too, had three
But now the best two have gone down.


If only the third would also set !
I will feel better in the dark.


24. Der Leiermann (The Hurdy-Gurdy Man)

Der Leiermann (The Hurdy-Gurdy Man) He meets a strange hurdy-gurdy player that no one else wants to see or hear.  Will he lay his songs to rest with him?

Drüben hinterm Dorfe
Steht ein Leiermann
Und mit starren Fingern
Dreht er was er kann.


Barfuß auf dem Eise
Wankt er hin und her
Und sein kleiner Teller
Bleibt ihm immer leer.


Keiner mag ihn hören,
Keiner sieht ihn an,
Und die Hunde knurren
Um den alten Mann.


Und er läßt es gehen,
Alles wie es will,
Dreht, und seine Leier
Steht ihm nimmer still.


Wunderlicher Alter !
Soll ich mit dir geh’n ?
Willst zu meinen Liedern
Deine Leier dreh’n ?

Over there beyond the village
Stands an organ-grinder,
And with numb fingers
He plays as best he can.


Barefoot on the ice,
He totters here and there,
And his little plate
Is always empty.


No one listens to him,
No one notices him,
And the dogs growl
Around the old man.


And he just lets it happen,
As it will,
Plays, and his hurdy-gurdy
Is never still.


Strange old man,
Shall I go with you ?
Will you play your organ
To my songs


ผมมีความเพลิดเพลินมากทีเดียวในการรับฟัง ครุ่นคิดตาม และทำความเข้าใจบทเพลงนี้ แต่จะเขียนให้หมดมันต้องใช้เวลามากจริงๆ (ซึ่งผมก็ไม่ได้มีเวลามากขนาดนั้น) หวนนึกถึงตอนอ่านหนังสือ ‘ปรัชญาชีวิต’ ของคาลิล ยิบราน คือพออ่านได้จบบทหนึ่ง (ประมาณ 1 นาที) ใช้เวลาครุ่นคิดขั้นต่ำก็นั่งถ่ายท้องเสร็จ (10 นาที) แล้ววันนั้นก็ไม่มีกระจิตกระใจอยากอ่านต่อแล้ว เวลาที่เหลือทั้งวันบางทีก็หวนระลึกถึงสิ่งที่คิดไว้ รู้สึกว่าความสวยงามของบทกวีมันจะค่อยๆ ซึมซับ ซึมซาบผ่านสัมผัสของเวลา ทำให้เกิดความเคลิบเคลิ้มหลงใหล เข้าใจอะไรๆมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป, ซึ่งผมก็ตั้งใจทำเช่นนั้นกับบทเพลงนี้ เลยจงใจค้างๆคาๆไว้ไม่เสร็จแบบนี้ รอวันว่างๆมีโอกาสเมื่อไหร่ก็จะมาคิดวิเคราะห์เขียนต่อให้เรื่อยๆนะครับ

และไว้เขียนครบหมดแล้วจะมาแนะนำให้ด้วยว่า ท่อนไหนมีความไพเราะ สอดแทรกความหมายลึกซึ้ง สวยงามประทับใจผมมากที่สุด เพลงลักษณะนี้ต้องค่อยๆฟังไปเรื่อยๆ ศึกษาและซึมซับความงดงาม ระยะเวลาเท่านั้นที่จะบ่งบอกคุณค่าและความยิ่งใหญ่ของบทเพลงนี้ได้

TAGLINE | “Winterreise การเดินทางที่หนาวเหน็บของ Franz Schubert ที่สั่นสะท้านไปถึงขั้วของหัวใจ”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Ave Maria


Ave Maria

Ave Maria

คงมีหลายคนรู้จักบทเพลง Ave Maria (เอวา มารี) บทเพลงคำร้องสักการะพระแม่มารีย์ ที่มีความไพเราะงดงาม แต่ใครกันที่เป็นผู้ประพันธ์บทสวดอันเสนาะหูนี้?

คำตอบคือ ไม่มีการจดบันทึกไว้จึงไม่สามารถตอบได้ว่า ใครเป็นผู้ประพันธ์บทสวด Ave Maria แต่มีคีตกวีชื่อดังแห่งยุคหลายคน ที่ได้ทำการเรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ อาทิ Franz Schubert, Johann Sebastian Bach, Vladimir Vavilov ฯ เพื่อทำการสักการะพระแม่มารีย์ในรูปแบบสไตล์ของตนเอง

Ave Maria หรือ Hail Mary แปลเป็นภาษาไทยคือ ‘ขอสักการะแด่พระแม่มารีย์’ เป็นบทสวดของผู้นับถือศาสนาคริสต์คาทอลิค เพื่ออ้อนวอนขอขมาพระแม่มารีย์ มารดาของพระเยซู โดยฐานของบทสวดมาจากเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลโดยแบ่งออกมาเป็นสองท่อน ก่อนที่จะมีการใส่ท่อนที่สามในเวลาต่อมา แต่ละท่อนมีที่มาจาก:

  1. ลุค 1:28 ซึ่งบรรยายถึงการที่เทวทูตกาเบรียล ได้มาหา และอวยพรแก่พระนางมารีย์พรหมจารีผู้ซึ่งตอนนี้กำลังโอบอุ้มบุตรแห่งพระเจ้าอยู่
  2. ลุค 1:40-42 บรรยายถึงพระแม่มารีย์ซึ่งในขณะนี้ได้ตั้งครรก์ไปเยี่ยมเยียนญาติของพระนางนาม อลิซซาเบธซึ่งก็ตั้งครรก์เช่นกัน และเมื่อนางอลิซซาเบธได้ยินคำทักทายของพระแม่มารีย์ ทารกในครรก์ของนางก็ดิ้นไปมาด้วยความปิติ(ผู้ที่จะเป็นนักบุญยอห์นในภายหลัง) อลิซซาเบธจึงบอกแก่พระนางมารีย์ว่าเธอนั้นได้รับคำอวยพรจากทารกที่พระนางมารีย์กำลังโอบอุ้มอยู่ (ผู้ที่จะเป็นพระเยซูในภายหลัง)
  3. ท่อนสุดท้ายนี้ได้เพิ่มขึ้นมาในช่วงปี 1440 พรรณนาถึงความความศักดิ์สิทธ์ของพระนางมารีย์ และคำอ้อนวอนต่อพระนาง

reference: https://operath.wordpress.com/2016/06/03/ประวัติ-ave-maria-hail-mary-จากคำสวดแด่พ/

ฉบับแรก ขอนำเสนอบทประพันธ์ของ Franz Schubert (1797 -1828) ชาว Austrian เขียนขึ้นเมื่อปี 1825 ที่ดัดแปลงคำร้องจากบทกวีเรื่องเล่าตำนานกษัตริย์อาเธอร์ของ Walter Scott (1771 – 1832) กวีชาวสก็อต แปลเป็นภาษาเยอรมันโดย Adam Storck (1780–1822) มีตอนหนึ่งชื่อว่า Liederzyklus vom Fräulein vom See (Lady of the Lake) กลายเป็นบทเพลงชื่อ Ellens dritter Gesang (Ellen’s Third Song, D. 839, Op. 52, No. 6, 1825)

เรื่องราวเกิดขึ้นกับตัวละครชื่อ Ellen Douglas (หรือ Lady of the Lake) ขณะหลบซ่อนตัวอยู่ในถ้ำ Goblin ได้ปฏิเสธที่จะร่วมกับ Roderick Dhu ในการก่อกบฎต่อ King James, ซึ่งขณะนั้น Roderick Dhu กำลังเตรียมพลกรีธาทัพเข้าสู่สงคราม Ellen Douglas จึงได้สวดอ้อนวอนต่อพระแม่มารี อธิษฐานขอความช่วยเหลือให้ได้รับชัยกลับมา

ฉบับที่นำมาให้ฟัง ขับร้องโดย Barbara Bonney นักร้อง Soprano สัญชาติอเมริกัน ในอัลบัม Voices in Harmony, เสียงร้องของเธอมีลูกคอที่สูงมาก สั่นรัวระริกไปถึงจิตวิญญาณ ฟังแล้วรู้สึกอยากนั่งลงคุกเขา … ราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์

 ภาษาเยอรมัน
โดย Adam Storck
คำแปลภาษาอังกฤษ
(Hymn to the Virgin)
โดย Sir Walter Scott
Ave Maria! Jungfrau mild,
Erhöre einer Jungfrau Flehen,
Aus diesem Felsen starr und wild
Soll mein Gebet zu dir hin wehen.
Wir schlafen sicher bis zum Morgen,
Ob Menschen noch so grausam sind.
O Jungfrau, sieh der Jungfrau Sorgen,
O Mutter, hör ein bittend Kind!
Ave Maria!Ave Maria! Unbefleckt!
Wenn wir auf diesen Fels hinsinken
Zum Schlaf, und uns dein Schutz bedeckt
Wird weich der harte Fels uns dünken.
Du lächelst, Rosendüfte wehen
In dieser dumpfen Felsenkluft,
O Mutter, höre Kindes Flehen,
O Jungfrau, eine Jungfrau ruft!
Ave Maria!

Ave Maria! Reine Magd!
Der Erde und der Luft Dämonen,
Von deines Auges Huld verjagt,
Sie können hier nicht bei uns wohnen,
Wir woll’n uns still dem Schicksal beugen,
Da uns dein heil’ger Trost anweht;
Der Jungfrau wolle hold dich neigen,
Dem Kind, das für den Vater fleht.
Ave Maria!

Ave Maria! maiden mild!
Listen to a maiden’s prayer!
Thou canst hear though from the wild;
Thou canst save amid despair.
Safe may we sleep beneath thy care,
Though banish’d, outcast and reviled –
Maiden! hear a maiden’s prayer;
Mother, hear a suppliant child!
Ave Maria!Ave Maria! undefiled!
The flinty couch we now must share
Shall seem with down of eider piled,
If thy protection hover there.
The murky cavern’s heavy air
Shall breathe of balm if thou hast smiled;
Then, Maiden! hear a maiden’s prayer,
Mother, list a suppliant child!
Ave Maria!

Ave Maria! stainless styled.
Foul demons of the earth and air,
From this their wonted haunt exiled,
Shall flee before thy presence fair.
We bow us to our lot of care,
Beneath thy guidance reconciled;
Hear for a maid a maiden’s prayer,
And for a father hear a child!
Ave Maria!

กับคนเคยดูอนิเมชั่นของ Disney เรื่อง Fantasia (1940) นี่บทเพลงสุดท้ายของหนัง บรรเลงต่อจาก Night on Bald Mountain ของ Modest Mussorgsky หลังจากซาตานความมืดจากไป สิ่งที่หลงเหลืออยู่คือแสงสว่างดั่งเพลง Ave Maria, คำแปลภาษาอังกฤษ เขียนขึ้นใหม่โดย Rachel Field เรียบเรียง Orchestra โดย Leopold Stokowski

ในหนังเรื่อง Bride of Frankenstein (1935) ในฉากที่ชายแก่ตาบอดเล่นไวโอลิน เพื่อขับกล่อมสัตว์ประหลาดให้สงบลงได้ (มีนัยยะถึงสัมผัสของพระแม่มารีย์ ทำให้ความชั่วร้ายเงียบสงบ มีสติขึ้นมาได้)

และในงานศพ ปธน. John F. Kennedy นักร้อง Tenor: Luigi Vena ได้ขับร้องเพื่อไว้อาลัย


ฉบับของ Charles Gounod (1818 – 1893) คีตกวีชาวฝรั่งเศสยุค Romantic มีชื่อเสียงจากการประพันธ์ Opera เรื่อง Faust, สำหรับ Ave Maria เขียนขึ้นเมื่อปี 1853 ใช้ชื่อว่า Méditation sur le Premier Prélude de Piano de S. Bach โดยได้มีการนำ Prelude No. 1 in C major, BWV 846 จากหนังสือรวมเพลง The Well-Tempered Clavier ของ Johann Sebastian Bach (1685 – 1750) ที่ประพันธ์ไว้เมื่อ 137 ปีก่อน มาทำการดัดแปลงเล็กน้อย ใส่คำร้องภาษาละตินของ Ave Maria เข้าไป

ผมนำต้นฉบับของ Bach: Prelude No. 1 in C major มาให้ฟังก่อนนะครับ เป็นเดี่ยวเปียโนบรรเลงโดย Friedrich Gulda บันทึกเมื่อปี 1972

เพลงนี้ที่ใส่คำร้องภาษาละติน หาฟังยากเหลือเกิน ผมเลือกฉบับของ Anna Moffo มาให้ฟัง ใครเปิดลำโพงดังๆหรี่เสียงสักหน่อยนะครับ เสียงเธอสูงมากจนอาจทำให้ลำโพงคุณแตกได้ แต่ผมรู้สึกว่าฉบับนี้ยังไม่ถือว่ายอดเยี่ยมที่สุด (รู้สึกเหมือน Moffo ลีลามากไปหน่อย และขาดความลื่นไหลต่อเนื่องในน้ำเสียงร้อง)

 ภาษาละติน คำแปลภาษาอังกฤษ
Ave Maria, gratia plena,
Dominos tecum.
Benedicta tu in mulieribus,
et benedictus, fructus ventris tui,
Jesus.
Sancta Maria, sancta Maria, Maria,
ora pro nobis, nobis peccatoribus
nunc et in hora, in hora mortis nostrae.
Amen! Amen!
Hail Mary, full of grace,
the Lord is with thee,
blessed art thou among women,
and blessed is the fruit of thy womb,
Jesus.
Holy Mary, mother of God,
pray for us sinners, now, and at
the hour of our death.
Amen.

 

ไฮไลท์ของเพลงนี้ ไม่ใช่เสียงร้อง แต่เป็นการ Cover เป็นเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ, ผมนำฉบับของ Yo-Yo Ma (เชลโล่) เล่นคู่กับ Kathryn Stott (เปียโน) มาให้ฟัง ถือว่านี่เป็นฉบับ Duet ที่มีความไพเราะสวยงามที่สุด

เกร็ด: Yo-Yo Ma นักดนตรีเชลโลสัญชาติอเมริกันเชื้อสายจีน ผู้เป็นอัจฉริยะเล่นดนตรีได้ตั้งแต่อายุ 4 ขวบครึ่ง, เรียนจบ Juilliard School (ที่พระเอก Whiplash เข้าไปเรียน) และ Harvard University มีผลงานกว่า 90 อัลบัม คว้า Grammy Award ถึง 18 ครั้ง (นับถึงปี 2016) ถือได้เป็นยอดฝีมือเชลโล่น่าจะอันดับ 1 ของโลกในปัจจุบัน

มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ที่นำ Ave Maria ของ Bach/Gounod ไปใช้ได้อย่างทรงพลังคือ Departure (2009) หนัง Oscar: Best Foreign Language Film ที่เป็นหนึ่งในหนังเรื่องโปรดของผมเลย และทำให้ผมรู้จัก จดจำเพลงนี้ได้ขึ้นใจ


อีกฉบับหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากๆ ประพันธ์โดย Vladimir Vavilov (1925 – 1973) คีตกวีชาวรัสเซีย ในช่วงปี 1970, ตอนนั้น Vavilov ใช้ชื่อ Anonymous แทนต้นฉบับดั้งเดิมที่ มีการค้นพบหลังเสียชีวิต ว่าต้นฉบับนั้นอาจเป็นของ Giulio Caccini (1551 – 1618) คีตกวีชาวอิตาลี หนึ่งในผู้กำเนิดบทเพลง Opera แต่เหมือนจะไม่มีหลักฐานยืนยันการค้นพบนี้ ซึ่งถ้าใช่ก็ต้องถือว่า Caccini คือคีตกวีคนแรกที่ประพันธ์ทำนอง/คำร้องของ Ave Maria

ผมหยิบเอาฉบับของ Sumi Jo นักร้อง Coloratura Soprano ชาวเกาหลีใต้ ที่เคยได้รางวัล Grammy Award: Best Opera Recording เมื่อปี 1993, น้ำเสียงของเธอมีความนุ่มนวลที่ลุ่มลึก เคลื่อนไหวไม่มาก (อ้าปากไม่กว้าง) สงบนิ่งแต่ทรงพลัง ให้สังเกตเวลาเธอหายใจน้อยจนครั้งนับได้ และทุกครั้งขับร้องจนสุดลมหายใจ ‘breathtaking’

 


ผมไปเจอ Ave Maria ฉบับภาษาสเปน ขับร้องโดย Elīna Garanča ชาว Latvian เป็นนักร้อง Operatic Mezzo-Soprano (เหมือนว่าเสียงเธอจะไม่ถึงระดับ Soprano แต่เหนือกว่า Mezzo นิดหนึ่ง) ต้องบอกว่านี่เป็นฉบับที่ผมบังเอิญคลิกๆ ฟังไปเรื่อยๆแล้วพบเจอ พอได้ยินก็ขนลุกซู่ นี่อาจเป็นฉบับ Ave Maria ที่ยอดเยี่ยมสุด เพราะส่วนใหญ่คนร้องเพลงนี้จะเป็น Soprano เสียงสูงปี๊ด แต่ Garanča ไม่ถึงระดับนั้น แต่กลับมีลูกเล่นลูกคอ ลีลาการใช้น้ำเสียงที่มีมิติลุ่มลึกกว่า Soprano แท้ๆเสียอีก (ประมาณว่าเสียงร้องของเธอจับต้องได้มากกว่า คือไม่ถึงระดับเกินเอื้อมขึ้นสวรรค์ แต่อยู่ระดับบนท้องฟ้าที่มองเห็นสัมผัสได้)

ผมไม่สามารถไปหาคำแปลภาษาสเปนให้ได้นะครับ (รู้ว่าภาษาสเปนจากการอ่าน Comment) ฟังไม่เข้าใจก็ช่างมัน สัมผัสอารมณ์เพลงได้ก็เหลือเฟือแล้ว


Ave Maria เป็นบทเพลงที่มักอยู่คู่กับความเป็น/ความตาย ถือเป็น Chamber Music ที่คีตกวี/นักร้อง หลายคนใฝ่ฝันต้องการประพันธ์ขับร้อง คงเพราะเชื่อว่าจะเป็นสิ่งเสริมศรัทธาความเชื่อของตนเอง แสดงออกถึงความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า

นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผมไม่หลงใหลเพลงนี้เท่าที่ควร ทั้งๆที่มีความไพเราะงดงามจับใจ แต่ความตั้งใจของคีตกวี และความหมายของบทเพลง ได้ทำให้ศรัทธาของผมลดลง

TAGLINE | “Ave Maria เป็นบทเพลงสรรเสริญสักการะพระแม่มารี ที่ถึงมีความไพเราะงดงามสะท้านจับใจ”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

Carl Orff: O Fortuna


o-fortuna

Carl Orff: O Fortuna

บทเพลงคลาสสิกที่ BBC ได้ทำการสำรวจจัดอันดับ ‘most listened to classical piece’ ได้ยินบ่อยครั้งสุดในรอบ 75 ปี คือ O Fortuna บทกวีภาษาละตินที่ใส่ Orchestra โดย Carl Orff คีตกวีชาวเยอรมัน เพื่อเปิดและปิดการแสดง Cantata ชื่อ Carmina Burana, การันตีว่าคุณต้องเคยได้ยินเพลงนี้แน่นอน

O Fortuna เป็นภาษาละตินแปลว่า Fortune, โชคลาภ ทรัพย์สมบัติ ฯ เป็นบทกวีภาษาละตินในยุค Medieval (ยุคกลาง Middle Age) เขียนโดยกลุ่ม Goliard บาทหลวงหัวขบถ ในช่วงศตวรรษที่ 12-13 ที่ได้ไปศึกษาเล่าเรียนความรู้ทั่วยุโรป และได้พบเจอกับวัฒนธรรม ความเชื่อ บทเพลง บทกวี วิถีชีวิตที่แตกต่างออกไป ทำให้เกิดความหลงใหลต้องการออกจากการเป็นพระ จึงได้เขียนบทกวีรำพัน ล้อเลียนถึงโชคชะตา ความเพ้อฝัน และความโง่เง่าของตนเอง (ที่เลือกชีวิตเพื่อผู้อื่น)

ใครอ่านละตินออกลองศึกษาดูนะครับ นี่เป็นภาพถ่ายจากหน้าหนังสือที่จดบันทึกกวีบทนี้ไว้ หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน

 ภาษาละติน คำแปลภาษาอังกฤษ 
O Fortuna
velut luna
statu variabilis,
semper crescis
aut decrescis;
vita detestabilis
nunc obdurat
et tunc curat
ludo mentis aciem,
egestatem,
potestatem
dissolvit ut glaciem.

Sors immanis
et inanis,
rota tu volubilis,
status malus,
vana salus
semper dissolubilis,
obumbrata
et velata
michi quoque niteris;
nunc per ludum
dorsum nudum
fero tui sceleris.

Sors salutis
et virtutis
michi nunc contraria,
est affectus
et defectus
semper in angaria.
Hac in hora
sine mora
corde pulsum tangite;
quod per sortem
sternit fortem,
mecum omnes plangite!

O Fortune,
like the moon
you are changeable,
ever waxing
and waning;
hateful life
first oppresses
and then soothes
as fancy takes it;
poverty
and power
it melts them like ice.

Fate – monstrous
and empty,
you whirling wheel,
you are malevolent,
well-being is vain
and always fades to nothing,
shadowed
and veiled
you plague me too;
now through the game
I bring my bare back
to your villainy.

Fate is against me
in health
and virtue,
driven on
and weighted down,
always enslaved.
So at this hour
without delay
pluck the vibrating strings;
since Fate
strikes down the strong man,
everyone weep with me!

ในปี 1934 คีตกวีชาวเยอรมัน Carl Orff ได้ค้นพบหนังสือชื่อ Carmina Burana ของ Johann Andreas Schmeller ตีพิมพ์เมื่อปี 1847 ที่ได้รวบรวมบทกวีแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 11th – 13th, ร่วมกับ Michel Hofmann นักเรียนกฎหมายที่มีความชื่นชอบภาษากรีกและลาติน ร่วมกันเลือก 24 บทกวี นำมาเรียบเรียงเขียนเป็น Catana ใส่ทำนอง Orchestra เปิดการแสดงครั้งแรกวันที่ 8 มิถุนายน 1937 ที่ Frankfurt Opera ใช้ชื่อการแสดงเต็มๆว่า

(ภาษาละติน) Carmina Burana: Cantiones profanæ cantoribus et choris cantandæ comitantibus instrumentis atque imaginibus magicis

Songs of Beuern: Secular songs for singers and choruses to be sung together with instruments and magic images

บทเพลงของ Beuern: บทเพลงของคนทั่วไป สำหรับนักร้อง คลอรัส ประสานเสียงร่วมกับวงดนตรีและภาพอันมหัศจรรย์

เกร็ด: ** Catana (ภาษาอิตาเลียนแปลว่า ร้องเพลง, sung) เป็นคำเรียกของประเภทการแสดง มีความคล้ายคลึงกับ Opera, Oratorio ใช้การร้องเดี่ยว/ประสานเสียง ควบคู่ไปกับดนตรีบรรเลง แตกต่างที่จุดประสงค์การใช้ มักเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางศาสนา (คริสต์) เป็นส่วนใหญ่

ใจความของ Carmina Burana พูดถึง Fortuna Wheel กงล้อแห่งโชคชะตา ทั้ง 24 บทกวีที่เลือกมา ล้วนมีเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต อาทิ ความไม่แน่นอนของโชคชะตา/ลาภยศสรรเสริญ, ความไม่ยั่งยืนของชีวิต, ความสุขที่ได้รับ, ความหรรษาจากการดื่ม กิน การพนัน และความหลงใหลในกามตัณหา ฯ

“Regnabo, Regno, Regnavi, Sum sine regno”.
(I shall reign, I reign, I have reigned, I am without a realm).

เริ่มต้นจาก O Fortuna โอ้ โชคชะตา จากนั้นกงล้อจึงเริ่มหมุน จากสุขไปทุกข์ สมหวังไปผิดหวัง ความหวังสู่สิ้นหวัง ก่อนจะกลับมาปิดท้ายวัฎจักรที่ O Fortuna อีกครั้ง (เป็น Prologue และ Epilogue)

ทำนองเพลง O Fortuna เริ่มต้นเสียงกลองและคลอรัสที่อลังการ O Fortuna, velut luna, statu variabilis, จากนั้นทุกอย่างจะเงียบสนิท กลายเป็นเสียงกระซิบค่อยๆเร่งความเร็ว ดังขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นตั้งแต่ Sors salutis, et virtutis, michi nunc contraria, เสียงทุกอย่างจะกลับดังอลังการอีกครั้งจนหมดคำร้อง แล้วเสียงฉาบจะดังขึ้น เป็นการเร่งความเร็วถึงจุดสูงสุดครั้งสุดท้ายแล้วจบลง

หลังจากการแสดงรอบปฐมทัศน์ ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก Orff ให้สัมภาษณ์บอกว่า

Everything I have written to date, and which you have, unfortunately, printed, can be destroyed. With Carmina Burana, my collected works begin.

กระทั่ง Nazi ที่ตอนแรกมีความวิตกกังวล เกี่ยวกับใจความ Erotic ของบทกวี แต่พอการแสดงชุดนี้ได้รับความนิยมจึงยอมรับโดยสดุดี (เห็นว่าแม้แต่ Hitler ก็เคยมาฟังการแสดงสดนี้) หลังสงครามโลกผ่านไปก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม (immensely popular) จนกลายเป็น International Classic

ผมนำฉบับของ London Symphony Orchestra กำกับวงโดย Richard Hickox มาให้ฟัง (มีซับภาษาอังกฤษในเพลงด้วย)

นี่เป็นบทเพลงที่ผมเชื่อว่า ครั้งหนึ่งทุกคนต้องเคยได้ยินได้ฟัง แต่อาจไม่รู้ว่าคืออะไร ใครแต่ง ที่มาจุดเริ่มต้น มีความหมายว่าอะไร ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยได้นะครับ

ส่วนตัวค่อนข้างชอบเพลงนี้ แต่ก็แค่นั้นแหละไม่ได้หลงรักประทับใจอะไร ได้ยินก็ขนหัวลุก อะไรมันจะยิ่งใหญ่อลังการขนาดนั้น ว่าไปยิ่งพอๆกับ Beethoven: Symphony No. 5 เลยนะ

กับคนที่สนใจใน Carmina Burana ลองศึกษา ตีความบทกวีเหล่านี้ดูนะครับ มีความลึกซึ้งน่าสนเท่ห์อย่างมาก ผมเองก็ตั้งใจว่า ถ้ามีโอกาสในอนาคต อาจเขียนบทความวิเคราะห์/วิจารณ์ คำกลอนเหล่านี้ดู มันคงน่าสนุกไม่น้อยเลย

แถมให้สำหรับ 10 เพลงที่ BBC ได้ทำการสำรวจ ‘most listened to classical piece’ ได้ยินบ่อยครั้งสุดในรอบ 75 ปี ไว้ถ้ามีโอกาสจะเขียนให้ครบทุกเพลงนะครับ ประกอบด้วย

  1. Orff: O Fortuna
  2. Vaughan Williams: Fantasia On A Theme By Thomas Tallis
  3. Rimsky-Korsakov: Scheherazade
  4. Tchaikovsky: The Sleeping Beauty
  5. Schumann: Romance In F Sharp Major Op 28/2
  6. Delibes: Sylvia
  7. Rachmaninov: Symphony No 2
  8. Holst: The Planets
  9. Tchaikovsky: The Sleeping Beauty
  10. Schubert: Symphony No 5

reference: http://news.bbc.co.uk/2/hi/entertainment/8432499.stm

TAGLINE | “O Fortuna ได้ยินทีไรขนลุกทุกที เป็นบทเพลงที่คงไม่มีใครไม่เคยได้ยิน”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Beethoven: Symphony No. 7


Beethoven: Symphony No. 7

Beethoven: Symphony No. 7

Symphony No. 7 in A major, Op. 92 คือบทประพันธ์ที่ Ludwig van Beethoven บอกว่าเป็นผลงานดีที่สุดของตนเอง, โดยเฉพาะ Movement II Allegretto (A minor) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ได้รับการเปรียบเปรยว่าเป็นเหมือนการประกาศชัยชนะของ Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington ที่มีต่อ Joseph-Napoléon Bonaparte (พี่ชายของนโปเลียน)

ในช่วงกลางยุค 1810s ถึงแม้ Beethoven จะได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเป็นที่รู้จักในวงกว้าง popular หรือมีการแสดงเกิดขึ้นบ่อยๆ, Symphony No. 7 ถือว่าเป็นผลงานยุคหลังๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้ฟังได้วงกว้าง โดยเฉพาะ Movement ที่ 2 ได้รับความนิยมมาก จนได้ถูกนำมาแสดงฉายเดี่ยวๆ ไม่รวมเข้ากับชุดเพลง Symphony บ่อยครั้ง

ประพันธ์ขึ้นระหว่างปี 1811-1812 Beethoven ขณะนั้นสุขภาพไม่ค่อยดี อยู่ระหว่างการพักผ่อนฟื้นฟูร่างกายที่ Bohemian Spa ในเมือง Teplice ขณะนั้นยุโรปอยู่ท่ามกลางสงคราม ฝรั่งเศสนำโดย Napoléon Bonaparte กำลังยึดครอง Vienna อยู่, เพลงนี้แต่งให้กับ Count Moritz von Fries ผู้ดีชาว Austrian เป็นนายธนาคารและผู้อุปถัมถ์งานศิลปะชื่อดังแห่งยุค

Moritz von Fries และครอบครัว, วาดโดย François Gérard ปี 1805

Symphony ลำดับที่ 7 มีความยาวประมาณ 40 นาที แบ่งออกเป็น 4 ท่อน (Movement)

  1. Poco sostenuto – Vivace (A major)
  2. Allegretto (A minor)
  3. Presto – Assai meno presto (trio) (F major) (Trio in D major)
  4. Allegro con brio (A major)

ในรอบปฐมทัศน์ที่เวียนนา วันที่ 8 ธันวาคม 1813 เป็นงานการกุศลสำหรับทหารที่บาดเจ็บใน Battle of Hanau, Beethoven เป็นผู้กำกับวงเอง พูดยกย่องทหารผ่านศึกเหล่านี้ว่า ‘พวกเรารู้สึกประทับใจในความเสียสละรักชาติ ของทหารกล้าเหล่านี้ ที่ทำเพื่ออพวกเรามากเหลือเกิน’

“We are moved by nothing but pure patriotism and the joyful sacrifice of our powers for those who have sacrificed so much for us.”

ก่อนหน้าการแสดง Beethoven ให้สัมภาษณ์ออกมาว่า ‘นี่คือผลงานที่ดีที่สุดของตน’ และหลังจากการแสดงจบ ท่อนที่สอง Allegretto ได้รับเสียงเรียกร้องให้มีการ Encore (เล่นซ้ำอีกรอบ) ในคืนนั้น นี่เรียกว่า Instant Popularity (โด่งดังทันที)

ผมจะขอพูดถึงเฉพาะ Movement ที่ 2 เท่านั้นนะครับ เพราะคือท่อนที่ผมได้ยินล่าสุดจากหนังเรื่อง The King’s Speech เลยอยากจะเขียนถึงสักหน่อย (แต่ผมรู้จักเพลงนี้ครั้งแรกจากตัวอย่างหนังเรื่อง The Fall-2008)

กับฉบับที่ดีที่สุด (ที่หาฟังได้ใน Youtube) คือของ Leonard Bernstein ร่วมกับ Boston Symphony Orchestra ในปี 1990, จุดเด่นของฉบับนี้คือจังหวะ (Tempo) ที่พอดีเท่ากับต้นฉบับ ถือว่าเป็นการตีความที่เคารพ Beethoven มากที่สุดแล้ว (เสียงช่วงแรกๆจะเบาหน่อย แต่อย่าเปิดลำโพงดังไปละ เพราะถึงท่อนกระหึ่มเมื่อไหร่ จะดังมาก)

กับตัวอย่างหนังเรื่อง The Fall (2006) จากผู้กำกับ Tarsem Singh ผมแทรกมาให้ดูด้วย เพราะถือว่าเป็นหนัง/ตัวอย่างหนัง ที่อธิบายความสวยงามของเพลงนี้ได้เลอค่า และตรงที่สุด

ความรู้สึกหลังจากที่ได้ยิน เหมือนดั่งพายุที่ค่อยๆถาโถมเข้ามาจนเต็มอก แต่ไม่สามารถระเบิดออกมาได้ ความอัดอั้นที่พร้อมจะปลิดชีพของเรา แต่เมื่อฟ้าฝนลมพัดได้จางหายไป มันดั่งสรวงสวรรค์ ชัยชนะของความอดกลั้นที่ถึงขีดสุด โลกใบนี้มันช่างสวยงาม เลอค่า เลิศล้ำ ไม่อาจหาอะไรเปรียบ

คำบรรยายชื่นชมบทเพลงนี้ของ Richard Wagner เขียนเป็นบทกวี ไม่ขอแปลนะครับ ถ้าอ่านได้จะเห็นความสวยงาม

“All tumult, all yearning and storming of the heart, become here the blissful insolence of joy, which carries us away with bacchanalian power through the roomy space of nature, through all the streams and seas of life, shouting in glad self-consciousness as we sound throughout the universe the daring strains of this human sphere-dance. The Symphony is the Apotheosis of the Dance itself: it is Dance in its highest aspect, the loftiest deed of bodily motion, incorporated into an ideal mold of tone.”

ผมไม่ค่อยแน่ใจว่า Symphony นี้จะมีคนไทยรู้จักกันมากเท่า Symphony เบอร์ 5 กับ เบอร์ 9 หรือเปล่า แต่ความไพเราะ … นี่ขนาด Beethoven บอกเองว่า เพลงนี้เยี่ยมสุด ก็ควรจะรู้จักไว้นะ

TAGLINE | “Symphony No. 7 คือความอมตะที่ทันทีของ Ludwig van Beethoven โดยเฉพาะ Movement 2 ที่ทำให้รู้สึกว่า หลังฟ้าฝน โลกใบนี้มันช่างสวยงาม”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LOVE

Pachelbel: Canon


Pachelbel

Johann Pachelbel: Canon in D

หนึ่งในเพลงคลาสสิกที่มีความมหัศจรรย์ ทั้งจากตัวโน้ต ท่วงทำนอง วิธีการเล่น แนวคิดและอิทธิพล ที่แม้จะถูกแต่งขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ปัจจุบัน (ศตวรรษที่ 21) ก็ยังคงได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย

นี่เป็นบทเพลงที่ผมไม่รู้จะเขียนอะไรดีนะครับ เพราะถ้าค้นในอินเตอร์เน็ตว่า “ประวัติ Canon in D” จะพบเว็บไทยเป็นล้านที่พูดถึงเพลงนี้ ซึ่งในส่วนประวัติผมจะขอก็อปจากเว็บอื่นมาเลยแล้วกัน แล้วเพิ่มเติมในส่วนแสดงความเห็นนิดหน่อย

Canon หรือ Kanon (สะกดตามต้นฉบับเดิม) เป็นผลงานการประพันธ์ของ Johann Pachelbel คีตกวีและนักออร์แกนสัญชาติ Germany ในยุค Baroque (1600-1750) ที่ถือเป็นช่วงเวลาของความตื่นตัวทางภูมิปัญญาและการใช้เหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์ ยุคของการล่าอาณานิคมและแสวงหาแหล่งวัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในต่างแดน

เกร็ด: กาลิเลโอ (Galileo) เกิดในยุคนี้นะครับ (1564 – 1642) เป็นผู้ค้นพบว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลมิใช่โลกตามที่เคยเชื่อกันมา

ดนตรียุคนี้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนเป็นอย่างมาก (Renaissance, ฟื้นฟูศิลปวิทยาการ) เพลงบรรเลงเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายเช่นเดียวกับเพลงร้อง ผู้ประพันธ์เพลงคิดค้นวิธีการประพันธ์เพลงแบบใหม่ๆ มีการพัฒนาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและคีย์บอร์ดให้ได้มาตรฐาน สถานที่แสดงอุปรากร (opera) เกิดขึ้นในอิตาลีเป็นแห่งแรกในปี 1637 และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ทั้งในราชสำนักและในหมู่สามัญชน ผู้ชมเริ่มอยากชมอุปรากรที่แต่งเนื้อร้องขึ้นมาใหม่หรือสะท้อนภาพชีวิตจริงมากกว่าอุปรากร ที่นำเนื้อเรื่องมาจากเทพนิยายหรือตำนานกรีกโรมัน

การประพันธ์เพลงในยุคนี้นิยมประพันธ์ 2 ทำนองขึ้นไปในเวลาเดียวกัน เรียกว่า Polyphony โดยมีการประพันธ์ในลักษณะทำนองเสียงสูง แล้วอาจเล่นซ้ำอีกครั้งด้วยเสียงต่ำ หรือทำนองเสียงต่ำแล้วสลับไปเล่นทำนองเดิมอีกครั้ง นี่เรียกว่าการสอดประสานทำนอง (Contrapuntal) นอกจากนี้ยังนิยมประพันธ์ให้เกิดลูกล้อลูกขัด เรียกว่า แคนนอน (Kanon) ซึ่งหมายถึงการเล่นไล่กันของ 2 ทำนองที่เหมือนกันแต่บรรเลงในเวลาต่างกัน

อีกลักษณะเ่นของดนตรียุคนี้ คือการทำให้เสียงต่ำหรือเสียงเบส (bass) เคลื่อนที่ตลอดเวลาเรียกว่า Basso Continuo เครื่องดนตรีที่นิยมใช้เล่นเสียงต่ำ อาทิ ฮาร์พซิคอร์ด (harpsichord) ฯ

เกร็ด: ในยุค Baroque เริ่มใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (major) และไมเนอร์ (monor) แทนบันไดเสียงแบบดั้งเดิมที่เรียกว่าโมด (mode) และมีการกำหนดอัตราจังหวะความเร็วชัดเจน เช่น เร็ว (allegro) เร็วปานกลาง (moderato) หรือช้าปกติ (andante) เป็นต้น

เกร็ด: มีเครื่องดนตรี 2 ชิ้นที่ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้ คือไวโอลินมาตรฐาน สร้างขึ้นในปี 1715 เรียกว่า Stradivarius สร้างโดย Niccolo Amati ชาวอิตาเลี่ยน, เครื่องดนตรีอีกชิ้นคือ เปียโน สร้างโดยชาวอิตาลีเช่นกัน Bartolomeo Cristofori ชื่อเดิมของเปียโนคือ Pianoforte ซึ่งมาจาก piano (แปลว่าเบา) และ forte (แปลว่าดัง) เพราะเครื่องดนตรีดังกล่าวสามารถควบคุมการเล่นให้เบาและดังได้จากน้ำหนักที่กดลงไปบนลิ่มนิ้ว (keyboard)

Johann Pachelbel (1653-1706) เกิดในเมือง Nuremberg ประเทศ Germany, ครอบครัวเป็นคนชนชั้นกลาง ได้รับการหัดเล่นดนตรีจาก Heinrich Schwemmer (บางแหล่งข้อมูลก็ว่า Pachelbel เรียนดนตรีจาก Georg Caspar Wecker) ที่เป็นนักดนตรีและนักร้องใน St. Sebaldus Church, Pachelbe มีความสามารถทางดนตรีมาตั้งแต่เด็ก ปี 1669 เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Altdorf และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคนเล่นออร์แกนในโบสถ์ St. Lorenz แต่ปัญหาทางการเงินของเขา ทำให้ต้องออกจากมหาวิทยาลัย (น่าจะไม่มีทุนการศึกษา) ต่อมาได้กลายเป็นลูกศิษย์ของ Kaspar (Caspar) Prentz ที่เป็นนักดนตรีชาวอิตาเลี่ยน นั่นทำให้ Pachelbel เริ่มความสนใจในดนตรีอิตาลีร่วมสมัย พร้อมๆไปกับการแต่งเพลงที่ใช้เล่นในโบสถ์

ปี 1677 Pachelbel ได้ไปเป็นนักออร์แกนประจำราชสำนักของ Eisenach และได้พบ Johann Ambrosius (ผู้เป็นพ่อของ Johan Sebastian Bach) และกลายเป็นครูสอนดนตรีให้กับลูกๆของ Ambrosius อีกด้วย

Kanon und Gigue für 3 Violinen mit Generalbaß หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Pachelbel’s Canon หรือ Canon in D major (PWC 37, T. 337, PC 358) เป็นผลงานประพันธ์ดนตรี ที่มีชื่อเสียงที่สุดของ Johann Pachelbel ดั้งเดิมแต่งขึ้นสำหรับบรรเลงแบบ Kanon ด้วยไวโอลินสามตัว โดยมีการเดินเสียงเบสด้วยเครื่องดนตรี เช่น Cello, Double Bass หรือ Bassoon จับคู่กับจังหวะแบบ Gigue ในระดับเสียงเดียวกัน ไวโอลินทั้งสามตัวเล่นด้วยโน้ตและจังหวะเดียวกัน แต่เริ่มต้นบรรเลงไม่พร้อมกัน โดยห่างกัน 4 ห้องเสียงไล่ตามกันไป และประสานออกมาเป็นเพลง

ว่ากันว่า ต้นฉบับผลงานชิ้นนี้สูญหายไปหลายปี เช่นเดียวกับผลงานชิ้นอื่นๆ ของ Pachelbel และศิลปินในศตวรรษที่ 17 เพิ่งได้รับการถูกค้นพบในศตวรรษที่ 20 และเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี 1919 โดย Gustav Beckmann นักเรียนทุนที่ได้ค้นพบเจอ sheet ของเพลงนี้ และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ใหม่ครั้งแรกเมื่อปี 1929, ได้รับการบันทึกเสียงเป็นครั้งแรกในปี 1940 จากการบรรเลงโดย Boston Pops Orchestra กำกับวงเพลงโดย Arthur Fiedler

นักประวัติศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า ผลงานชิ้นนี้อาจจะแต่งขึ้นสำหรับใช้บรรเลงในงานแต่งงานของ Johann Christoph Bach พี่ชายคนโตของ Johan Sebastian Bach เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 1694

ปี 1968 Jean-François Paillard ได้ทำการเรียบเรียง ดัดแปลงเพลง Canon เสียใหม่ ให้มีความ Romantic style มากขึ้น ลดความเร็วในบางท่อนลง และเพิ่มเครื่องดนตรีที่ใช้เล่น ซึ่งหลังจากได้บันทึกเสียงโดย Stuttgart Chamber Orchestra วางขายในปี 1974 ในชื่อ Pachelbel Kanon: the Record That Made it Famous and other Baroque Favorites. อัลบัมนี้ทำยอดขายสูงสุดของเพลงคลาสสิกในปี 1976, นี่คือเวอร์ชั่นที่เชื่อว่าใครๆคงจะคุ้นหูเป็นอย่างดี เพราะเป็นเวอร์ชั่นประกอบ Ordinary People (1980), My Sassy Girl (2001) และ The Classic (2003)

หนังเรื่อง Ordinary People (1980)ในปี 1980 ได้มีการดัดแปลงเพิ่มเติมเนื้อร้องให้กับเพลง กลายเป็นบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า (Alleluia) ซึ่งเพลงนี้สามารถไต่อันดับ Billboard Classical Albums ถึงอันดับ 1 ในเดือนมกราคม 1982 คงที่ต่อเนื่องถึงเดือนพฤษภาคม

ในปี 1982 นักเปียโน George Winston ได้ดัดแปลง Canon อีกครั้งให้กลายเป็น Solo Piano โดยตั้งชื่อว่า Variations on the Kanon by Johann Pachelbel ในเดือนธันวาคมปีนั้น สามารถทำยอดขายได้ถึง 3 ล้านแผ่น, หนึ่งในท่อนที่ Winston ดัดแปลงคือ Canon in C เป็นเวอร์ชั่นที่นางเอกเล่น ในฉากนั้นของ My Sassy Girl (2001) ไปฟังตัวจริงเล่นเลยนะครับ

Canon เป็นเพลงที่น่าจะเรียกว่าได้รับการ Cover มากที่สุดในโลก ด้วยความที่ทำนอง วิธีการเล่นไม่ได้ยากมากอะไร แต่ความท้าทายคือการดัดแปลงที่เข้ากับยุคสมัยและรสนิยมของผู้เล่น, เชื่อว่าคงมีหลายคนทันยุคของ Youtube กับบทเพลง Canon Rock มี 2 ซุปเปอร์สตาร์ที่โคตรโด่งดังคือ 1) JerryC (Jerry Chang) นักกีตาร์ชาว Taiwanese 2) Jeong-Hyun Lim หรือ Funtwo นักกีตาร์ชาวเกาหลีใต้, ทั้งสองได้เล่น Cover เพลง Canon ปี 2005 ในรูปแบบกีตาร์ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Canon Rock, สื่อต่างๆทั้งหนังสือพิมพ์, New York Times, บล็อก, โทรทัศน์, รายการโชว์ วิทยุทั่วโลกต่างนำคลิปของสองสุดยอดการ cover ครั้งนี้ กลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนนับร้อยนับพัน หัดเล่นกีตาร์แล้วโชว์ความสามารถการแสดงของตนอัพขึ้น Youtube, น่าเสียดายที่คลิปต้นฉบับแท้ๆของทั้ง JerryC และ Funtwo ถูกลบไปแล้ว (คงเพราะเรื่องลิขสิทธิ์) มี reference หนึ่งบอกว่า Canon Rock ของ JerryC มีผู้ชมสูงถึง 64 ล้านครั้ง (คิดว่าตอนก่อนถูกลบน่าจะเยอะกว่านี้อีกนะครับ), ทั้งสองคลิปนี้ปัจจุบันยังมีอยู่นะครับ แต่ไม่ใช่ Original แท้ๆ ผมเลือกของ JerryC มาให้ฟัง ถ้าอยากดูของ Funtwo ค้นหาดูจาก Youtube นะครับ

reference:
– http://www.romanceclassic.com/caonon-in-d-history-johann-pachelbel/
– https://musicnun.wordpress.com/2012/02/24/ประวัติดนตรีตะวันตกยุค/
– http://knowyourmeme.com/memes/canon-rock

กับคนที่ได้ยินเพลงนี้ แบบไม่เคยรู้ประวัติมาก่อน จะรู้สึกว่ามีความหวานแหวว หอมกรุ่น ด้วยท่วงทำนองที่เรียบง่ายฟังสบาย เคลิบเคลิ้ม เพลิดเพลิน ล่องลอย ราวกับอยู่บนสรวงสวรรค์ ฟังหลายสิบรอบก็ไม่เบื่อ (แต่อาจเริ่มเลี่ยน), ถึงคนที่รู้ประวัติของเพลงมาบ้าง อ่านจากบทความนี้หรือจากที่ไหน เชื่อว่าก็ยังอาจไม่รู้สึกตราตรึง ประทับใจ แล้วเข้าใจความสวยงามอันลึกซึ้งของเพลงนี้ จนกว่าคุณจะได้ดูหนังเรื่อง My Sassy Girl (2001), ในบรรดาหนัง 3 เรื่องที่ผมรู้จัก และใช้เพลงนี้ประกอบ Ordinary People (1980), My Sassy Girl (2001) และ The Classic (2003) มีเพียง My Sassy Girl เท่านั้นที่สามารถใช้เพลงนี้ ประกอบช่วงเวลาที่สำคัญและสวยงามที่สุดของหนัง ทำให้คุณ ‘ตระหนัก’ ขึ้นมาทันทีถึงความมหัศจรรย์ที่ทรงคุณค่า บทเพลงที่กลายมามีอิทธิพลต่อความต้องการ ต่อชีวิต ทั้งความหมายของเพลง ความหมายของการใช้เพลง และความหมายที่สื่อออกมาจากเพลง, หนังเรื่อง My Sassy Girl เท่านั้นจะทำให้คุณเห็นความสวยงามที่สุดของเพลงนี้

สมัยวัยรุ่น ผมมีความฝันหนึ่ง หลังจากได้ดูหนังเรื่อง My Sassy Girl (2001) ว่าอยากเล่นโชว์เปียโนเพลง Canon ในงานแต่งงานของตนเอง แต่สงสัยชาตินี้คงไม่มีโอกาสแล้วกระมัง ถ้าใครมีความฝันคล้ายๆกันกับผม อย่าท้อนะครับ เชื่อว่าคงมีหลายคนที่สามารถทำฝันนี้ให้เป็นจริงได้ คิดแล้วมันคงโรแมนติกไม่น้อยเลยละ

TAGLINES | “Pachelbel: Canon in D คือบทเพลงคลาสสิกที่มีความมหัศจรรย์ที่สุดในโลก”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | FAVORITE

Rachmaninoff: Rhapsody on a Theme of Paganini


Rachmaninoff: Rhapsody on a Theme of Paganini

หนึ่งในบทเพลง Classic ที่มีความไพเราะที่สุดในโลก Rhapsody on a Theme of Paganini In A Minor, Op. 43 – Variation #18 เมื่อนำไปบรรเลงควบคู่กับสิ่งต่างๆบนโลก จะทำให้สิ่งนั้นมีความสวยงามที่หาคำมาบรรยายไม่ได้

Sergei Rachmaninoff คีตกวีและวาทกรชาวรัสเซีย หนึ่งในผู้นำแห่งยุค romantic ครั้งหนึ่งผมเคยพูดถึงบทเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาไปแล้ว Piano Concerto No.2 op.18 สำหรับ Rhapsody on a Theme of Paganini จะถือว่าเป็นอันดับ 2 ของ Rachmaninov ก็ได้ด้วยความหลากหลายที่มีถึง 24 Variation ทำให้มีบางท่อนเพราะบ้าง เฉยๆบ้าง ไม่เพราะบ้าง สำหรับท่อนที่ถือว่ามีความไพเราะที่สุด มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ Variation #18: Andante cantabile (D flat major)

ถ้าเปรียบ Sonata ว่าเป็นเสมือนกระบวนการมุ่งสู่จุดหมายปลายทาง, Variation จะคือความพึงพอใจ ระหว่างการเดินทาง, ขณะศิลปินสร้างงานศิลปะชิ้นหนึ่ง เขาสามารถสรรหาเทคนิค วิธีการนำเสนอผลงานออกมาได้หลากหลาย เช่นกันกับงานเพลง 1 แนวคิดก็ สามารถถูกนำเสนอด้วยวิธีการที่แตกออกหลากหลาย กับ Variation จึงเปรียบเสมือนการลองผิดลองถูกหลากหลายรูปแบบ ทดลองโน่นนี่นั่นได้ตามใจอยาก และด้วยความยาวไม่มากจึงสามารถขายเทคนิค โชว์ฝีมือได้อย่างเต็มที่ ผิดกับ Sonata ที่มีเป้าหมายเดียว เรื่องราวใจความเดียว และมีเป้าหมายที่ต้องไปให้ถึง

ขณะ Rachmaninov เริ่มต้นเขียน Rhapsody on a Theme of Paganini เห็นว่าการงานอาชีพของเขาตกต่ำลงมาก ในสายตาของผู้ฟังและนักวิจารณ์สมัยนั้น นับตั้งแต่อพยพออกจาก Russia ผลงานล่าสุดอย่าง Fourth Piano Concerto (1926) ได้เสียงตอบรับที่ค่อนข้างแย่ ฤายุคสมัยของ Romanticism ได้หมดสิ้นลงแล้ว, Rachmaninov ที่ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว จึงได้แต่ง Variation ที่มีความหลากหลาย คิดอะไรได้ ทำอะไรได้ใส่เข้าไปให้หมด เอาว่ะ! มันคงต้องมีสักท่อนที่ขายได้ ซึ่งผลปรากฎว่า มีจริงๆด้วย ท่อนนั้นที่ขายได้

ความตั้งใจของ Rachmaninov ต่อ Rhapsody on a Theme of Paganini คือให้เป็น Solo Piano คู่กับ Symphony Orchestra (หรือคือ Piano Concerto), เริ่มต้นประพันธ์วันที่ 3 กรกฎาคม 1934 ที่ Villa ของเขาใน Villa Senar, Switzerland ประพันธ์เสร็จเมื่อ 18 สิงหาคม 1934, แสดงสดรอบปฐมทัศน์ที่ Lyric Opera House ที่ Baltimore, Maryland USA เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 1934 ร่วมกับ Philadelphia Orchestra กำกับวงโดย Leopold Stokowski

ใช้เครื่องดนตรีประกอบด้วย piccolo, 2 flutes, 2 oboes, English horn, 2 clarinets in B♭, 2 bassoons, 4 horns in F, 2 trumpets in C, 3 trombones, tuba, timpani, triangle, snare drum, cymbals, bass drum, glockenspiel, harp และเครื่องสาย (strings)

Variation #18 ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด เป็นท่อนที่เรียกว่า inversion of the melody ใช้ตัวโน๊ตที่ตรงกันข้ามกับท่อนอื่นเล่น เช่น ถ้าปกติโน้ตเล่น A minor ท่อนนี้จะเป็น D flat major, Rachmaninov อุทิศท่อนนี้ ‘แต่งให้ agent ของเขา’

ว่ากันว่าในรอบปฐมทัศน์ Rachmaninov มีความกลัวที่จะเล่นเพลงของตัวเอง (เขาเล่น piano solo) โดยเฉพาะ Variation #24 ซึ่งทางเทคนิคถือว่าเล่นยากที่สุด เขาดื่มแอลกอฮอล์ย้อมใจ (Crème de menthe) ให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายก่อนขึ้นแสดง นี่เองที่ทำให้ Rachmaninov ตั้งชื่อเล่นของท่อน 24 ว่า Crème de Menthe Variation

ผมเลือก Denis Matsuev และ State Symphony Orchestra of Russia กำกับวงโดย Leonard Slatkin มาให้ฟังนะครับ (เป็นการแสดงเดียวกับที่ผมเลือกมาให้ฟังตอน Piano Concerto No.2 op.18) ถ้าคุณชอบฟังเพลงของ Rachmaninov คอนเสิร์ตนี้ผมถือว่าสมบูรณ์แบบมากแล้ว และคนที่สามารถตีความเพลงของ Rachmaninov ได้ตรงใจผมที่สุดคือ Denis Matsuev คนนี้แหละครับ

ถ้าคุณอยากฟัง Variation #18 กดข้ามไปนาที 15.00 ได้เลยนะครับ แต่ผมแนะนำฟังไปทั้งเพลงเนี่ยแหละ มีท่อนอื่นหลายท่อนที่เพราะๆนะครับ แต่พอถึงท่อน Variation #18 คุณจะแทบรู้ได้ทันทีว่าท่อนนี้แหละ เพราะเสียงดนตรี อารมณ์เพลงจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง นี่เป็นท่อนที่มีเอกลักษณ์ที่สุด ไพเราะที่สุด ฟังแล้วหัวใจจะสั่นไหว รู้สึกสัมผัสได้ทันที
– ขณะนี้ถ้าคุณจินตนาการถึงภาพท้องทุ่งหญ้า แสงแดดยามบ่ายๆ มีลมพัดเย็น จะเห็นเลยว่ามันสวยงามมากๆ
– ถ้าคุณจินตนาการถึงหญิงสาวคนหนึ่ง สายตา ลักแก้ม ริมฝีปาก รอยยิ้ม เธอจะดูสวยขึ้นมากๆ
– และถ้าคุณย้อนนึกถึงอดีต ภาพแห่งช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดในชีวิต มันช่างสวยงาม อิ่มเอิบ เป็นสุขใจในความงดงามของชีวิต

มีนักเปียโนอีกคนที่ผมอยากแนะนำให้รู้จักไว้ Stephen Hough เขาคนนี้ก็ถือว่ามีแนวทางการตีความของตนเองที่โดดเด่นมาก ผมชอบสไตล์และแนวคิดของพี่แกนะ ตรงไปตรงมาดี แต่รู้สึกว่าการตีความ Rhapsody on a Theme of Paganini ทำได้ไม่แนบเนียนลื่นไหลเท่ากับ Matsuev ลองไปฟังที่เขาเล่นดูแล้วกัน เล่นกับ The BBC Symphony Orchestra กำกับวงโดย Sakari Oramo (Variation #18 เริ่มนาที 20:15)

อีกคนที่ต้องแถมให้ Arthur Rubinstein นักเปียโนชาวยิว-อเมริกัน ผู้ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20, ผมเอาเฉพาะท่อน Variation #18 มาให้ฟังเน้นๆเลยนะครับ ฟังแล้วจะรู้สึกว่ามิติของเปียโนลึกมากๆ แต่ Orchestra ยังไม่สามารถทำให้ยิ่งใหญ่เทียบเท่าได้ สไตล์ของ Rubinstein คือเน้นเสียง High Note ชัด คม และสูงมาก ถ้าพูดกันเฉพาะเรื่องตีความเพลง ผมยกให้ Rubinstein อันดับ 1 เลย คนนี้ตำนานของจริง

ผมถือว่าท่อนนี้เป็น mini Version ของ Piano Concerto No.2 op.18 นะครับ (ความยาวแค่ 2 นาทีครึ่ง) เพราะให้อารมณ์ ความรู้สึก สัมผัสที่คล้ายกันมาก พาเราขึ้นสู่สรวงสวรรค์ แล้วล่องลอยเป็นสุขอยู่บนนั้นไม่อยากกลับลงมา

Paganini เป็นชื่อของคีตกวีชื่อดัง Niccolò Paganini เป็นนักไวโอลิน วิโอลา กีตาร์ในยุค Romantic สัญชาติอิตาลี ได้รับการยอมรับถึงฝีมือการเล่นว่าเป็นที่หนึ่งในยุคนั้น ทั้งยังได้พัฒนาเทคนิคการสีไวโอลินรูปแบบใหม่ขึ้นอีกด้วย, ส่วนคำว่า Rhapsody หมายถึง บทเพลงอิสระที่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกอย่างสุดซึ้ง การตั้งชื่อว่า Rhapsody on a Theme of Paganini จึงเป็นการให้เกียรติ และแสดงความรู้สึกต่อคีตกวี Paganini ที่ถือเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้กับ Rachmaninov สร้างสรรค์ผลงาน

ส่วนตัวแล้วผมได้ฟัง Rhapsody on a Theme of Paganini อยู่เรื่อยๆ แต่สงสัยไปไม่เคยถึง Variation #18 หรือไม่เคยได้ตั้งใจฟังท่อนนี้ก็ไม่รู้, ตอนผมได้ยินเพลงนี้ใน Vision of Eight (1973) ขณะ Ludmilla Tourischeva นักยิมนาสติกสาวสุดสวยของสหภาพโซเวียตกำลังทำการแข่งขัน ภาพที่เห็นกับเพลงประกอบ มันช่างสวยงาม งดงามที่สุดเท่าที่ผมเคยได้ยินได้เห็นมา รู้สึกได้ว่าตนคุ้นเคยกับเพลงนี้มาก แต่นึกไม่ออกว่าได้ยินจากไหน, ผมนั่งฟัง Piano Concerto No.2 op.18 อยู่หลายรอบ ก็รู้สึกว่า สไตล์เพลง รูปแบบ ทำนองมันคล้ายกันมาก ต้อง Rachmaninov เท่านั้นแหละที่จะแต่งเพลงลักษณะนี้ ก็เลยเปิด Playlist ของเขาค้างไว้ แล้วอยู่ดีๆ Variation นี้ก็ดังขึ้นมา นี่แหละเพลงที่ตามหา

ผมมาพบเจอว่า หนังเรื่อง Somewhere in Time (1980) ของผู้กำกับ Jeannot Szwarc ที่มี John Barry เป็นคอมโพเซอร์ ได้ใช้เพลงนี้ประกอบหนังด้วย นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมคุ้นเคยกับเพลง เพราะชอบฟังให้ Youtube มัน Randoms เพลง Soundtrack หนัง จึงเลยมีโอกาสได้ยินเพลงนี้บ่อยครั้ง

นอกจาก Variation #18 ท่อนอื่นๆที่ผมแนะนำ เช่น Variation #1, Variation #12, Variation #13, Variation #24 ก็ถือว่ามีความไพเราะไม่แพ้กัน แต่ความโดดเด่นอาจสู้ไม่ได้

ในตอนที่ผมรู้จัก Sergei Rachmaninoff แค่เพลงเดียวคือ Piano Concerto No.2 op.18 ก็รู้ว่าเขาต้องคือ คีตกวีคนโปรดของผมแน่ ซึ่งพอได้พบกับ Rhapsody on a Theme of Paganini In A Minor, Op. 43 – Variation #18 ถือเป็นการยืนยันความรู้สึกนี้ได้อย่างเป็นทางการ ไม่รู้เพราะผมเข้าใจ Rachmaninov หรือ Rachmaninov เข้าใจผมนะ เพลงของเขาสามารถอธิบายตัวตนของผมได้แบบเปะๆเลย

TAGLINES | “Rachmaninoff: Rhapsody on a Theme of Paganini, In A Minor, Op. 43 – Variation #18 เป็นเพลงที่บรรยายความสวยงามของสรรพสิ่งได้ไพเราะที่สุดในโลก”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | FAVORITE

Edward Elgar: Salut d’Amour Op.12


Salut d'Amour

Edward Elgar: Salut d’Amour Op.12

หนึ่งในเพลง Duo ระหว่าง Piano และ Violin ที่มีความหวานแหวว โหยหาย คิดคำนึง อยากได้พบเจอที่สุด ประพันธ์โดย Sir Edward Elgar คีตกวีชาวอังกฤษผู้เป็น Conductors ประจำให้กับ London Symphony Orchestra Principal และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Master of the King’s Music ในปี 1924

ผมตามหาเพลงนี้มาสักพักแล้ว จำไม่ได้ว่าได้ยินครั้งแรกเมื่อไหร่ แต่มาสะดุดหูผมตอนเครดิตหนังเรื่อง Edvard Munch (1974) ที่ทำให้ผมออกตามหาเพลงนี้ (ในเครดิตของ Edvard Munch ก็ดันไม่บอกด้วยว่าเพลงอะไร) ทีแรกนึกว่าเป็นเพลงของ Chopin ซึ่งเริ่มต้นทำนองมันคล้ายกับ Nocturne Op.9 No.2 มากๆ แต่ก็ไม่ใช่ ลองหา Variation อื่นก็ไม่ตรง ไม่ใช่แค่ Chopin นะครับแต่ยัง Liszt, Shubert ศิลปินดังๆที่มีชื่อเรื่องเพลงหวานๆ มดกินน้ำตาล ไม่รู้กี่ร้อยเพลง หาเป็นวันๆก็ยังไม่เจอ ใกล้ถอดใจ สงสัยจะไม่มีโอกาสรู้เสียแล้วว่าเพลงชื่อเพลงอะไร

ชะตามันชอบเล่นตลกกับผม ได้ยินเพลงนี้อีกครั้งในหนังเรื่อง Steamboat Bill, Jr (1928) เป็นเพลงที่บรรเลงประกอบหนังเงียบ เวอร์ชั่นเปียโนโดย William Perry นี่แสดงว่าผมอาจยังมีความหวัง ก็ลองค้นหาจากชื่อผู้บรรเลงดู ก็ยังหาไม่เจอ แต่พบว่า เพลงที่เล่นประกอบหนังเงียบส่วนใหญ่มักเป็น Ragtime (เป็นเพลงประเภทหนึ่งคล้ายๆ Blues, Jazz, Swing ที่มีจังหวะง่ายๆ สนุกสนาน) ก็เลยลองค้นหาดู ทีแรกคิดว่าเป็น Scott Joplin ที่เพลงของพี่แกได้รับความนิยมสูงสุดในแนวนี้ ก็ฟังแทบทุกเพลงที่หาได้ใน Youtube แต่ยังหาไม่เจอ

ไปศึกษาประวัติ Ragtime เพิ่มเติม ได้ที่ : http://pantip.com/topic/31739478

ใจยอมแพ้ไป 90% แล้ว คิดว่าสงสัยชาตินี้คงหาไม่เจอแล้ว อยู่ดีๆวันหนึ่ง (เมื่อวานนี้เลย) ผมก็คลิก Youtube ฟังเพลงเล่นๆเรื่อยๆ จนไปเจอ Sarah Chang ในเพลงที่ผมเคยเขียนรีวิวไปแล้ว ว่าไปการแสดงไวโอลินของเธอก็ให้อารมณ์ที่คล้ายๆกับเพลงนี้ ฤาว่าผมเคยได้ยินเพลงนี้จากหนึ่งในการแสดงของเธอหรือเปล่า ลองคลิกๆดู เห้ย! Eureka!!! ใช่เลย เจอแล้ว เพลงนี้แหละ Salut d’Amour Op.12 ผมต้องเคยได้ยินครั้งแรกจากการเล่นของเธอแน่ๆ คลิปนี้ครับ

การค้นหามาถึงจุดสิ้นสุด ผมดีใจน้ำตาไหลพรากๆ ในที่สุดก็หาเจอ นี่มัน ‘งมเข็มในมหาสมุทร’ ชัดๆเลย ความรู้สึกเหมือนตอนที่ผมกำลังตามหาหนังเรื่องโปรด ที่กว่าจะเจอก็ลากเลือด ดูหนังมาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเรื่อง กว่าจะเจอที่ถูกใจ ผมใส่เพลงนี้ในเพลงโปรดเรียบร้อยแล้ว ถ้าในสถานการณ์ปกติเพลงนี้อาจจะไม่ได้ทำให้ผมรู้สึกอะไรมากมาย แต่เพราะความยากลำบากในการทำ ทำให้ผมต้องฟังแล้วฟังอีก จนมันเพราะจับใจ ช่วงเวลาขณะที่ผมค้นพบ มันเหมือนได้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ นี่แหละที่ฉันเฝ้าค้นหา ตามหา

Salut d’Amour, Op. 12 เป็นผลงานดนตรีสำหรับบรรเลงด้วยไวโอลินและเปียโน ผลงานประพันธ์ของ Sir Edward William Elgar, 1st Baronet (2 มิถุนายน 1857 – 23 กุมภาพันธ์ 1934)

Elgar ประพันธ์ผลงานชิ้นนี้สำหรับประกอบโคลงภาษาอังกฤษชื่อ “The Wind at Dawn” เพื่อใช้จีบ Caroline Alice Roberts, ตอนแรก Elgar ตั้งชื่อเพลงนี้เป็นภาษาเยอรมันว่า “Liebesgruss” ที่แปลว่า Love’s Greeting (ที่ใช้ชื่อเพลงภาษา German เพราะคู่หมั้นของเขาเก่งภาษาเยอรมัน) และบรรเลงเพลงนี้เพื่อเป็นมอบของขวัญ ใช้หมั้นกับเธอเมื่อวันที่ 22 กันยายน 1880

ต่อมา Elgar เปลี่ยนชื่อเพลงเป็นภาษาฝรั่งเศส “à Carice” หรือ “Carice” ที่เป็นการเล่นคำผสมชื่อของภรรยา Caroline Alice และเมื่อทั้งสองแต่งงานกันมีลูกสาว 2 ปีหลังจากนั้น ก็ตั้งชื่อเธอว่า Carice

เพลงนี้ไม่ได้ถูกเผยแพร่ให้กับสาธารณะชนเลย จนกระทั่ง Schott & Co. ได้ขอซื้อลิขสิทธิ์การตีพิมพ์ โดยในเวอร์ชั่นแรกมี 4 แบบ
Duo: Violin กับ Piano
Duo: Cello กับ Piano
Piano Solo
และสำหรับ Orchestra วงเล็ก
วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1889 โดยเปลี่ยนชื่อเพลงเป็นภาษาฝรั่งเศส “Salut d’Amour” และให้ Liebesgruss เป็นชื่อรอง ส่วนชื่อผู้ประพันธ์ใช้นามปากกาว่า ‘Ed. Elgar’ เหตุที่ต้องเปลี่ยนเพราะชื่อเพลงภาษาฝรั่งเศสจะสามารถขายได้ทั่วยุโรป ไม่ใช่แค่ฝรั่งเศส ถ้าใช้ชื่อเยอรมันจะขายไม่ค่อยได้

การแสดงต่อสาธารณะครั้งแรกเป็น Orchestra จัดขึ้นที่ Crystal Palace เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 1889 โดยมีผู้กำกับวง (Conductor) คือ Augus Manns, มีการบันทึกเพลงลงแผ่นเสียงครั้งแรกในปี 1915 โดย The Gramophone Company เป็นเวอร์ชั่น Orchestra กำกับโดย Edward Elgar เองเลย

เพลงนี้ถือว่าได้รับความนิยมอย่างสูงในยุโรปและเมื่อเผยแพร่ไปที่อเมริกาก็ได้รับความนิยมอย่างสูงเช่นกัน เป็นหนึ่งในเพลงที่มีการเรียบเรียงใหม่ให้เข้ากับเครื่องดนตรีหลากหลาย ขนาดว่ามีคนเอาไปแต่งคำร้องชื่อเพลงว่า “Woo thou, Sweet Music” โดย A. C. Bunten น่าเสียดายผมหาเวอร์ชั่นที่มีเนื้อร้องของเพลงนี้ให้ฟังไม่ได้

หลังจากผมได้รู้จักเพลงนี้ ก็ได้เวลาตามหาเวอร์ชั่นที่ไพเราะที่สุด (ที่มีอยู่ใน Youtube) กับนักไวโอลิน ผมคิดว่านี่เป็นเพลงที่น่าจะเป็น ‘บทเรียน’ เพลงหนึ่งนะครับ โน๊ตอาจจะไม่ยากอะไรมาก แต่ขึ้นอยู่กับเทคนิคและการตีความ ซึ่งผมคิดว่าเวอร์ชั่นของ Antonio Stradivari นี้มีความลงตัวที่สุดแล้ว

ผมชอบการตีความที่ให้อารมณ์ความรู้สึก แต่ก็ไม่ทิ้งจังหวะ ไม่เร่ง Tempo มีความต่อเนื่อง และไม่ต้องโชว์เทคนิคอะไรมากมาย, สำหรับผมเวอร์ชั่นนี้ถือว่าลงตัวที่สุดแล้ว ไม่มีจังหวะสะดุด ไม่มีเล่นผิด และสามารถถ่ายทอดอารมณ์เพลงผ่านเสียงดนตรี สีหน้า และอารมณ์เพลงได้ตามความต้องการของผม

แต่มีการตีความอีกเวอร์ชั่นหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ เป็น Piano Solo บรรเลงโดย Heloise Ph. Palmer ที่ 1 นาทีแรกใช้การเล่นด้วยความเร็ว Moderate ผมไม่แน่ใจว่าใน Sheet ของเพลงนี้ ช่วงแรกของเพลงมีความเร็ว Moderate หรือเปล่า แต่รู้สึกได้ว่าอารมณ์เพลงต่างจากเวอร์ชั่นอื่นๆมาก ซึ่งมักเริ่มต้นมามักจะมี Tempo ที่เร็วพอสมควร นี่เป็นเวอร์ชั่นที่มีเพิ่มความหวาน และสร้างอารมณ์โหยหาได้ที่สุดแล้ว, น่าเสียดายคลิปนี้เสียงเบาไปหน่อยนะครับ ต้องเร่งเสียงสุดๆเลยถึงจะได้ยิน

มีนักวิจารณ์เพลงในสมัยนั้นพูดถึงเพลงนี้ว่ามีอารมณ์มากเกินไป (too emotional) ดูไม่เหมาะกับคนชั้นสูงที่จะแสดงความรู้สึกออกมา (too deliberately noble in expression), ไม่มีที่ไหนเขียนไว้นะครับว่าสไตล์เพลงของ Elgar เข้าพวกไหน ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็น ลัทธิแสดงพลังอารมณ์ (Expressionism) ซึ่งถ้าดูจากช่วงเวลาก็ถือว่าใกล้เคียงกันเลย Edward Elgar มีชีวิตในช่วง 1857-1934 ส่วน Expressionism จะอยู่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 (1850-1950) ซึ่ง Elgar คงได้อิทธิพลจากลัทธิแสดงพลังอารมณ์มาเยอะพอสมควร จึงสามารถแต่งเพลงที่แสดงความรู้สึกออกมาได้ขนาดนี้

ใน Edvard Munch นี่เป็นเพลงตอน End Credit ที่ทำให้เรานึกถึงบรรยากาศ วันคืนที่แสนสุข คนรักที่ตอนนั้นเคยรักกัน ต้องการซึ่งกันและกัน (แม้ตอนนี้จะไม่ได้อยู่ด้วยกันแล้ว) แสงแดดสลัวๆยามเช้า สัมผัสอันนุ่มนวล รอยยิ้มของเธอ มันเป็นความทรงจำที่ยากจะลืมเลือน

เห็นล่าสุดใครเล่นเกม Fallout 4 จะมี Classical Radio นี่เป็นเพลงหนึ่งที่ค่ายเกม Bethesda ใส่เข้าไปให้ผู้เล่นได้ยินกันด้วย เหมือนเป็นการบอกว่า นี่เป็นเพลงหนึ่งที่ควรค่าแก่เก็บรักษาไว้เพื่อมนุษยชาติ แม้โลกจะล่มสลายกลายเป็นเถ้าทุลี แต่ความคลาสสิคของเพลงนี้จะยืนยงเป็นอมตะตลอดกาล

นี่เป็นอีกเพลงเพราะที่ผมอยากแนะนำให้ได้รู้จักกันนะครับ คงไม่ค่อยมีโอกาสได้ยินกันบ่อย แต่ถ้ามีอยากให้ระลึกกันได้ว่าเป็นเพลงนี้ ถ้าใครชอบเพลงหวานๆของ Chopin, Liszt หรือ Shubert เพิ่ม Edward Elgar เข้าไปอีกคนนะครับ

TAGLINE | “Salut d’Amour หนึ่งในเพลง Duo ระหว่าง Piano และ Violin ที่มีความหวานแหวว โหยหาย คิดคำนึง อยากได้พบเจอที่สุด ประพันธ์โดย Sir Edward Elgar”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | FAVORI 

Jacques Offenbach: Can Can Polka


Jacques Offenbach: Can Can Polka

เพลง Can Can Polka หลายคนอาจเคยได้ยินได้ฟังมา แต่ไม่รู้ว่าใครแต่งและจุดเริ่มต้นมาจากอะไร วันนี้จะมาเล่าให้ฟังนะครับ

คีตกวีที่ประพันธ์เพลงนี้ชื่อ Jacques Offenbach เกิดในเยอรมันปี 1819 ในครอบครัวชาวยิว ชื่อเดิมของเขาคือ Jacob หรือ Jakob Offenbach มีพ่อเป็นนักดนตรี เมื่ออายุได้ 6 ขวบ พ่อสอน Jacob เล่นไวโอลิน ไม่นานนักก็สามารถเล่นเอง แต่งเพลงเองและหัดเต้นได้ ตอนอายุ 9 ขวบหันมาจับเชลโล และกลายอัจฉริยะ (cellist virtuoso), พี่ชายของเขา Julius Offenbach (แก่กว่า 4 ปี) ก็เติบโตขึ้นเป็นนักดนตรี เมื่อพ่อพาพวกเขาไปย้ายไปอยู่ Paris ฝรั่งเศส ได้เข้าร่วมกับ Paris Conservatoire ทำให้ทั้งสองได้เปลี่ยนชื่อและสัญชาติเป็นฝรั่งเศส จาก Jacob กลายเป็น Jacques และ Julius เป็น Jules, ขณะที่พี่ชายประสบความสำเร็จใน Paris แต่ Jacques ไม่ค่อยชอบชีวิตในโรงเรียนเท่าไหร่ เมื่อโตขึ้นเขาจึงเดินทางกลับเยอรมันบ้านเกิด

เขาเริ่มเขียน Opera ในปี 1853-1855 ร่วมกับ Florimond Ronger (Hervé) เป็นการแสดง 1 Act เล็กๆได้จัดแสดงที่ Théâtre Déjazet ในชื่อ Oyayaye ou La reine des îles เมื่อ 26 มิถุนายน 1855 ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี แม้จะมีนักวิจารณ์บางคนที่พูดว่า “a charming piece of nonsense” สไตล์ของ Jacques มักจะทำ Opera Comedy ที่เน้นเรียกเสียงหัวเราะให้กับผู้ชม

ก่อนหน้าปี 1858 Offenbach ได้ประพันธ์ Opera หลายเรื่อง และได้รับความนิยมอย่างมาก แต่เขายังไม่เคยประพันธ์ full-length opera เลยสักเรื่อง ซึ่งในปีนั้นเขาได้เขียน Orphée aux enfers (Orpheus in the Underworld) เปิดการแสดงที่ Théâtre des Bouffes-Parisiens ในเมือง Paris เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 1858 มีการแสดง 2 Act ใช้นักแสดง 228 คน ขณะฉายได้ถือว่าประสบความสำเร็จปานกลาง แต่ภายหลังเมื่อปี 1860 Carl Binder ได้นำเอาเพลงท่อนหนึ่งใน Act 2 Scene 2 ชื่อ Infernal Galop มาเรียบเรียงใหม่ เป็นท่อนที่มีความสนุกสนานตื่นเต้น ต่อมาท่อนนี้ถูกเรียกในชื่อสากลว่า Can Can Polka

เมื่อพูดถึง Can Can จะต้องพูดถึงการเต้นเสมอ ในยุค 1840s จะมีการเต้นประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากใน music hall คือการเต้นที่ใช้พลังงานสูง (high-energy) ในปัจจุบันมักพบเห็นได้ในการแสดง Cabaret เดิมทีการเต้นแบบนี้จะทั้งกับเพศชายและเพศหญิง แต่ต่อมาเหลือแต่เพศหญิงเท่านั้น ซึ่งมักจะมีการยกกระโปรงขึ้น เท้าใส่ส้นสูงแล้วกระโดดเตะ (high kick) จินตนาการภาพไม่ออกดูในคลิปนะครับ

จุดเริ่มต้นของการเต้น Can Can ว่ากันว่าอาจพัฒนามาจากการเต้น Quadrille ที่มีการดัดแปลงเปลี่ยนไป ช่วงยุค 1820s Charles Mazurier ที่มีชื่อเสียงเรื่องการแสดงผาดโผน (acrobatics) มีท่าเต้นหนึ่งที่ถือว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้น คือกระโดดแยกขา (grand écart หรือ jump splits)

ในศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่แฟชั่นเสื้อผ้า ผู้หญิงนิยมใส่ Pantalettes ทำให้เวลาเต้นผู้ชมจะสามารถมองเห็นอะไรวับๆแวมๆที่อยู่ในกระโปรงได้ ทำให้การแสดงนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มโสเภณี ว่ากันว่านักเต้นมืออาชีพบางคน เพียงแค่ออกไปเต้นโชว์ ใส่บ้างไม่ใส่บ้าง ก็ได้เงินมากพอจะเลี้ยงดูตนเองได้

การแสดงของกลุ่มที่ถือว่าน่าจะสร้างชื่อให้กับการเต้น Can Can มาที่สุดก็คือ Moulin Rouge (แปลว่า Red Hill) เป็นกลุ่มนักแสดง Cabaret สัญชาติฝรั่งเศส ตั้งวงตั้งแต่ปี 1889 มีผู้เรียกการเต้น Can Can ของ Moulin Rouge ว่าเป็นจิตวิญญาต้นกำเนิดการเต้นสมัยใหม่ (spiritual birthplace of the modern form) มีนักแสดงดังๆอย่าง La Goulue และ Jane Avril ที่ว่ากันว่าค่าตัวพวกเธอสูงที่สุดในนักแสดง Cabaret สมัยนั้นเลย, แม้ Moulin Rouge จะประสบปัญหามากมาย แต่ปัจจุบันกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Moulin Rouge ยังเปิดการแสดงอยู่ในฝรั่งเศสนะครับ ใครมีโอกาสไปก็ถามคนท้องถิ่นได้เลย น่าจะเป็นที่รู้จักแน่ๆ

ชื่อ can-can นั้นมาจากภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า เรื่องอื้อฉาว (tittle-tattle หรือ scandle) แต่เมื่อพูดถึงการเต้นจะหมายถึง coin-coin ที่เพี้ยนมาเป็น can-can, ในช่วงแรกๆบ้างก็เรียกว่า chahut แปลจากภาษาฝรั่งเศสว่า หนวกหู (noise) หรือโกลาหน (uproar)

Can Can

ภาพวาด Moulin Rouge โดย Toulouse-Lautrec ก็มีหญิงสาวคนหนึ่งกำลังเต้น Can Can อยู่

สำหรับวงการภาพยนตร์ มีหนังหลายเรื่องที่เอาเพลง Can Can ไปดัดแปลงสร้าง รวมถึง Moulin Rouge ที่เชื่อว่าหลายคนอาจจะรู้จัก เวอร์ชั่นที่ดังๆอาทิ Moulin Rouge (1952) กำกับโดย John Huston, French Cancan (1955) กำกับโดย Jean Renoir และ Moulin Rouge! (2001) โดย Baz Luhrmann

ผมรู้จักเพลงนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนเปียโนนะครับ เป็นเพลงแรกๆที่น่าจะเคยได้เล่นเลย ด้วยทำนองที่สนุกสนาน โน๊ตไม่ยาก หัดเล่นไม่นานก็เป็น ตอนนี้อาจจะเล่นไม่ได้แล้วแต่ยังสามารถฮัมเป็นตัวโน๊ตตามได้เรื่อยๆ, ที่ผมเลือกรีวิวเพลงนี้ก็เพราะรู้สึกช่วงนี้ได้ยินบ่อยมากจนเริ่มรำคาญในหนังแนว Painter & Artist ก็ได้ยินอยู่หลายเรื่อง (งานศิลปะก็มักมีเพลงที่เป็นศิลปะ) จึงเอามาเขียนแนะนำ มันไม่ได้มีแค่หนัง 3 เรื่องที่ผมเอ่ยมาย่อหน้าที่แล้วนะครับ ผมว่ามีเป็นร้อยๆ พันๆเรื่องที่มีการนำเพลง Can-Can ไปใช้ประกอบหนัง เพลงนี้มันกลายเป็นนานาชาติสากลไปแล้ว ที่ถ้าคุณไม่รู้จักจะเรียกว่าโคตรเชย จะเรียกว่า Can Can, Can Can Suite หรือ Can Can Polka เรียกอะไรก็ได้นะครับ ถือว่าเข้าใจตรงกันหมด เวลาได้ยินเพลงนี้ขึ้นทีไร ก็ต้องมีการเต้นครับ ขาจะหยุดไม่ได้ ผู้ชายสมัยนี้ไม่ค่อยมีใครเต้นเพลงนี้กันแล้วเหลือแต่ผู้หญิง ผู้ชายจะกลายเป็นคนส่งเสียงกรี๊ดกร๊าด เจี้ยวจ้าวอยู่ข้างล่างเวทีแทน แนะรู้จักไว้จะได้ไม่ตกเทรนด์นะครับ

TAGLINE | “Can Can Polka ได้ยินแล้วต้องลุกมาเต้น ผู้หญิงยกกระโปรงกระโดดเตะเท้าสูง ส่วนผู้ชายยืนกรี๊ดกร๊าด เจี้ยวจ้าวอยู่ข้างล่างเวที”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LOVE