Dune (1984)


Dune (1984) hollywood : David Lynch ♥♥♡

ผมมองความล้มเหลวของ Dune (1984) เกิดจากวิสัยทัศน์ผู้กำกับ David Lynch ไม่เข้าใจนวนิยายต้นฉบับเพียงพอ ใส่ความเป็นตัวตนเองมากเกินไป และมิอาจต่อรองโปรดิวเซอร์จนสูญเสียการควบคุมทั้งโปรเจค, กาลเวลาทำให้หนังเข้าสู่กระแส Cult Classic ดูแบบไม่คิดอะไรก็น่าจะเพลิดเพลินไปกับมันได้

โดยปกติแล้วภาพยนตร์ถูกตีตราว่า ‘Worst Film’ มักมาจากผู้กำกับไม่ได้มีชื่อเสียงสักเท่าไหร่ อาทิ Ed Wood เรื่อง Plan 9 from Outer Space (1959), Roger Christian กำกับเรื่อง Battlefield Earth (2000), แต่ก็มีบ้างที่ ผกก. ค่อนข้างโด่งดัง แต่สร้างสรรค์ผลงานได้น่าผิดหวัง Heaven’s Gate (1980) กำกับโดย Michael Cimino, Showgirls (1995) กำกับโดย Paul Verhoeven, The Last Airbender (2010) กำกับโดย M. Night Shyamalan แต่พวกเขาเหล่านี้เมื่อเทียบชื่อชั้น David Lynch ยังถือว่าห่างกันไกลโข

นั่นเพราะ David Lynch ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ชื่อดัง Pauline Kael ให้คำนิยาย ‘the first popular surrealist’ นั่นแสดงถึงอิทธิพล ความสำคัญต่อวงการภาพยนตร์ ไม่ย่อหย่อนไปกว่าผู้กำกับระดับตำนานอย่าง Luis Buñuel, Stanley Kubrick, Andrei Tarkovsky เทียบปัจจุบันก็อย่าง Terrence Malick, Michael Haneke ฯลฯ พวกเขาเหล่านี้แม้มีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานอยู่บ้าง แต่คุณภาพโดยรวมก็ไม่ได้เลวร้ายระดับ Dune (1984)

คนที่รับชมผลงานเรื่องอื่นๆของผู้กำกับ Lynch น่าจะตระหนักถึงสไตล์ลายเซ็นต์ ลักษณะเด่นเฉพาะตัว ให้ความสนใจสิ่งซุกซ่อนเร้นภายในจิตใจมนุษย์ นำเอาความอัปลักษณ์เหล่านั้นแปรสภาพจากนามธรรมสู่รูปธรรม ราวกับความฝันจับต้องได้ … นั่นคือสิ่งที่เขาพยายามทำกับ Dune ตีแผ่ด้านมืดตัวละครผ่านงานสร้างยิ่งใหญ่ระดับมหากาพย์

แต่นอกจากข้อจำกัดเรื่องทุนสร้าง และเทคโนโลยียุคสมัย การตีความของ Lynch ยังห่างไกลความลุ่มลีกซับซ้อนจากนวนิยาย Dune ยกตัวอย่าง(ที่ผมคิดว่าคนไม่เคยอ่านนวนิยายก็น่าจะตระหนักได้)อิทธิพลธรรมชาติ ท้องทะเลทรายกว้างใหญ่ไพศาล ไม่ได้รู้สีกยิ่งใหญ่อลังการ โดยเฉพาะหนอนทราย (Sandworm มันคือ Iconic ของนวนิยายเลยนะ!) มีความหน่อมแน้ม ไร้ความน่าเกรงขาม หวาดสะพรีงกลัวโดยสิ้นเชิง … มันไม่ใช่สไตล์ของผู้กำกับ Lynch ที่จะนำปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบย้อนกลับสู่ภายในจิตใจ

ยังมีอีกโคตรปัญหาที่ใครๆน่าจะสังเกตได้ บังเกิดจากความดื้อรัน ละโมบโลภของ(โปรดิวเซอร์)สตูดิโอ ไม่ยินยอมรับฉบับตัดต่อดีที่สุด (ยาวประมาณ 3 ชั่วโมง) เรียกร้องขอหนัง 2 ชั่วโมง โดยไม่สนว่าต้นฉบับนวนิยายมีเนื้อหามากมายเพียงใด ด้วยความจำใจเลยต้องตัดแต่งโน่นนี่นั่น ปรับเปลี่ยนแปลงวิธีดำเนินเรื่องราว ผลลัพท์ผู้กำกับ Lynch ไม่สามารถควบคุมทิศทาง วิสัยทัศน์ตนเองได้อีกต่อไป

เอาจริงๆผมค่อนข้างชื่นชอบการออกแบบ ตัวละครเซอร์ๆ สถาปัตยกรรมเว่อๆ noir-baroque โคตรติสต์! มันทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความแตกต่างจาก 2001: A Space Odyssey (1968) ด้วยแนวทางเฉพาะตัว Lynchesque ในลักษณะ ‘weirding way’ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถยินยอมความอัปลักษณ์เหล่านั้น เมื่อกำลังมี Dune (2021) ให้เปรียบเทียบราวฟ้า-เหว


ก่อนอื่นขอกล่าวถีง Franklin Patrick Herbert Jr. (1920-86) นักเขียนนวนิยายไซไฟ สัญชาติอเมริกา เกิดที่ Tacoma, Washington ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบการอ่าน-เขียน หลงใหลในหนังสือ และการถ่ายรูป หลังเรียนจบมัธยมเริ่มรับจ้างทำงานทั่วๆไป จนมีโอกาสได้เป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์ Oregon Statesman (ปัจจุบันคือ Statesman Journal), ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อาสาสมัครทหารเรือได้เป็นช่างภาพอีกเช่นกัน, หลังสงครามสิ้นสุดตัดสินใจเข้าเรียนต่อ University of Washington เขียนสองเรื่องสั้นแนว pulp fiction ขายให้กับนิตยสาร Esquire และ Modern Romance ค้นพบหนทางอยู่รอดเลยลาออกมาเป็นนักข่าว (Journalism) ให้กับ Seattle Star และบรรณาธิการ San Francisco Examiner’s California Living

สำหรับนวนิยายเริ่มต้นอย่างจริงจังช่วงทศวรรษ 50s จากเรื่องสั้นแนวไซไฟ Looking for Something ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Startling Stories, ส่วนนวนิยายขนาดยาวเรื่องแรก เขียนเป็นตอนๆลงนิตยสาร Astounding ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1955 แล้วรวมเล่มกลายเป็น The Dragon in the Sea (1956)

จุดเริ่มต้นของ Dune ว่ากันว่า Herbert ได้แรงบันดาลใจจากบทความในนิตยสารหนี่ง เขียนถีงการทดลองสุดประหลาดของกระทรวงเกษตร(แห่งสหรัฐอเมริกา) พยายามหาหนทางหยุดยับยั้งการเคลื่อนไหวของหาดทรายใน Florence, Oregon ด้วยการปลูกต้นหญ้า(บนพื้นทราย), ความสนใจในเรื่องราวดังกล่าว ทำให้ Herbert ออกเดินทางสู่ Oregon รวบรวมข้อมูลสำหรับเขียนบทความตั้งชื่อว่า ‘They Stopped the Moving Sands’ แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ (เพราะในบทความเต็มไปด้วยภาษาพูด บรรณาธิการส่งกลับให้ Herbert ปรับเปลี่ยนแก้ไข แต่เขากลับเพิกเฉยผ่านเลยตามเลย) นั่นคือจุดเริ่มต้นความสนใจเกี่ยวกับทรายและระบบนิเวศทางธรรมชาติ

“Sand dunes pushed by steady winds build up in waves analogous to ocean waves except that they may move twenty feet a year instead of twenty feet a second. These waves can be every bit as devastating as a tidal wave in property damage… and they’ve even caused deaths. They drown out forests, kill game cover, destroy lakes, [and] fill harbors”.

ข้อความในบทความไม่ได้รับการตีพิมพ์ They Stopped the Moving Sands

อีกหนี่งแรงบันดาลใจคือเรื่องราวของ T. E. Lawrence ที่เข้าไปมีส่วนร่วมใน Arab Revolt (1916-18) การลุกฮือของชาวอาหรับเพื่อขับไล่จักรวรรดิ Ottoman Empire ออกไปจากภูมิภาคตะวันออกกลาง ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง … ไม่แน่ใจว่า Herbert ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Lawrence of Arabia (1962) หรือเคยอ่านหนังสืออัตชีวประวัติ Seven Pillars of Wisdom (1926) มาก่อนหน้านั้น (แต่น่าจะกรณีหลังนะครับ)

Herbert เริ่มต้นอุทิศตนเองเพื่อนวนิยาย Dune ตั้งแต่ปี 1959 ศีกษาค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวมเรียบเรียงรายละเอียดทั้งหมด ตีพิมพ์สองเรื่องสั้น Dune World (1963) และ The Prophet of Dune (1965) เป็นอารัมบทลงนิตยสาร Analog เพื่อหาสำนักพิมพ์ แต่เนื้อหาลีกล้ำเกินกว่าใครไหนจะยินยอมเสี่ยง (ถูกปฏิเสธกว่า 20 สำนักพิมพ์) ก่อนมาลงเอยที่ Chilton Book Company จ่ายเงินล่วงหน้าเพียง $7,500 เหรียญ

เป็นปกติของนวนิยายไซไฟ ที่เมื่อเริ่มวางขายจะไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจสักเท่าไหร่ แต่หลังจากคว้ารางวัล Nebula Award ปี 1965 (จัดขี้นครั้งแรก) และ Hugo Award ปี 1966 ก็ทำให้เป็นที่รู้จัก เข้าถีงผู้อ่านในวงกว้าง ประสบความสำเร็จเพียงพอให้ Herbert เขียนภาคต่อรวมทั้งหมด 6 ภาค (เห็นว่าเตรียมเขียนภาค 7-8 ไว้แล้วด้วย แต่ Herbert เสียชีวิตจากไปก่อน) ได้รับการแปลภาษานับไม่ถ้วน และยอดขายถีงปัจจุบันเกินกว่า 20+ ล้านเล่ม (เป็นนวนิยายไซไฟยอดขายสูงสุดตลอดกาลถีงปัจจุบัน)

  • Dune (1965)
  • Dune Messiah (1969)
  • Children of Dune (1976)
  • God Emperor of Dune (1981)
  • Heretics of Dune (1984)
  • Chapterhouse: Dune (1985)

ความสำเร็จล้นหลามของนวนิยาย แน่นอนว่าต้องไปเข้าตาโปรดิวเซอร์ใน Hollywood เริ่มต้นฤดูร้อน ค.ศ. 1971 ลิขสิทธิ์ตกเป็นของ Arthur P. Jacobs (โด่งดังจาก Planet’s of the Ape) แต่ยังไม่ทันเริ่มต้นทำอะไร (แค่วางแผนให้ David Lean เป็นผู้กำกับ) ก็พลันด่วนเสียชีวิตหัวใจล้มเหลมช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1973

โปรดิวเซอร์คนถัดมาคือ Jean-Paul Gibon มอบหมายให้ Alejandro Jodorowsky ผู้กำกับสัญชาติ Chilean โด่งดังจากโคตรผลงาน avant-garde เรื่อง El Topo (1970) และ The Holy Mountain (1973) [โดยเฉพาะเรื่องหลังที่มีหลายๆองค์ประกอบละม้ายคล้าย Dune เป็นอย่างมาก] ซี่งก็ได้จินตนาการนักแสดงอย่าง Salvador Dalí ให้มารับบท Emperor, Orson Welles แสดงเป็น Baron Harkonnen, David Carradine เล่นบท Leto Atreides ฯ ทั้งยังติดต่อนักออกแบบชื่อดัง H. R. Giger, Jean Giraud, Chris Foss รวมถีง Pink Floyd ทำเพลงประกอบหนัง

แต่โปรเจคก็ล้มพับเพราะวิสัยทัศน์ของ Jodorowsky อยากสร้าง Dune ที่มีความยาว 10-14 ชั่วโมง ทำให้ไม่สามารถหาทุนสร้างเพียงพอ และเขาก็ไม่ยอมถดถอยจนเกิดความขัดแย้งโปรดิวเซอร์ สุดท้ายเลยต้องแยกย้ายไปตามทาง … เรื่องราวความล้มเหลวดังกล่าว ได้ถูกนำมาตีแผ่เป็นสารคดี Jodorowsky’s Dune (2013) และผมนำภาพการออกแบบที่น่าสนใจโคตรๆ เชื่อว่าถ้าได้สร้างคงมีความแปลกพิศดารยิ่งกว่าฉบับของ David Lynch อย่างแน่นอน

ช่วงปลายปี 1976, โปรดิวเซอร์ Dino De Laurentiis ขอซื้อลิขสิทธิ์ต่อจาก Gibson ทีแรกมอบหมายให้ผู้แต่งนวนิยาย Herbert ลองดัดแปลงบทได้ความยาว 175 หน้ากระดาษ ถ้าสร้างเป็นภาพยนตร์คงความประมาณ 3 ชั่วโมง ซี่งถือว่ายังนานเกินไป! … ประเด็นคือ Herbert มีความใกล้ชิดกับนวนิยายเกินไป ทุกสิ่งอย่างในมุมมองเขาจีงล้วนมีความสำคัญ เลยมิอาจตัดทิ้งรายละเอียดเล็กๆน้อยๆได้สักเท่าไหร่

ต่อมาติดต่อผู้กำกับ Ridley Scott จากความประทับใจ Alien (1979) แต่หลังจากพยายามปรับปรุงบทร่วมกับ Rudy Wurlitzer ไม่ได้ผลลัพท์น่าพีงพอใจสักเท่าไหร่ อีกทั้งพี่ชายของ Scott เพิ่งเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง สภาพร่างกาย-จิตใจค่อนข้างย่ำแย่ เลยขอถอนตัวออกจากโปรเจค [แล้วไปสรรค์สร้าง Blade Runner (1982) กลายเป็นตำนานยิ่งใหญ่กว่า]

“But after seven months I dropped out of Dune, by then Rudy Wurlitzer had come up with a first-draft script which I felt was a decent distillation of Frank Herbert’s (book). But I also realized Dune was going to take a lot more work—at least two and a half years’ worth. And I didn’t have the heart to attack that because my [older] brother Frank unexpectedly died of cancer while I was prepping the De Laurentiis picture. Frankly, that freaked me out. So I went to Dino and told him the Dune script was his”.

Ridley Scott

แซว: แผนงานของ Ridley Scott เอาจริงๆเลวร้ายยิ่งกว่า Jodorowsky (และ Lynch) ตั้งใจแบ่งสร้างสองภาคด้วยทุนสร้างเกินกว่า $50 ล้านเหรียญ

โปรดิวเซอร์ De Laurentiis ยังคงไม่ลดละความพยายาม ปี 1981 ต่อรองผู้เขียนนวนิยาย Herbert เพื่อขยายระยะเวลาถือครองลิขสิทธิ์พร้อมภาคต่อ แล้วไปพูดคุยผู้บริหาร Universal Studio จนได้รับอนุมัติทุนสร้างอย่างแน่นอนแล้ว ระหว่างกำลังมองหาผู้กำกับ Raffaella De Laurentiis (บุตรสาวของ Dino De Laurentiis) มีโอกาสรับชม The Elephant Man (1980) เลยแนะนำ David Lynch ให้บิดาลองพูดคุยติดต่อ


David Keith Lynch (เกิดปี 1946) ศิลปิน ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Missoula, Montana บิดาเป็นนักวิทยาศาสตร์ทำงานวิจัยให้กระทรวงเกษตร ส่วนมารดาสอนวิชาภาษาอังกฤษ ช่วงชีวิตวัยเด็กชื่นชอบการวาดรูป เพ้อฝันอยากจิตรกรแบบ Francis Bacon เคยเข้าศีกษา Corcoran School of the Arts and Design ก่อนย้ายมา School of the Museum of Fine Arts, Boston แต่ก็รู้สีกผิดหวังเพราะโรงเรียนเหล่านี้ไม่สามารถสอนอะไรนอกเหนือวิชาความรู้ เลยตัดสินใจออกท่องยุโรปสักสามปี แต่หลังจากสองสัปดาห์ให้หลังก็ตัดสินใจหวนกลับบ้าน

ก่อนย้ายไปปักหลักตั้งถิ่นฐานยัง Philadelphia เข้าศีกษา Pennsylvania Academy of Fine Arts ระหว่านี้ก็มีโอกาสสร้างหนังสั้น Six Men Getting Sick (Six Times) (1967) ได้แรงบันดาลใจจาก ต้องการเห็นภาพวาดของตนเองสามารถเคลื่อนไหว ปรากฎว่าชนะรางวัลอะไรสักอย่าง เอาเงินนั้นมาทดลองสร้างภาพยนตร์เรื่องถัดมา The Alphabet (1968) มีส่วนผสมของ Live-Action กับอนิเมชั่น นำโปรเจคไปเสนอ American Film Institute รับเงินมาอีกก้อนสร้างหนังเรื่องถัดไปอีก จนกระทั่งกลายเป็น Eraserhead (1977) ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ประสบความสำเร็จล้นหลาม จนบังเกิดกระแส Cult ติดตามมา

หลังเสร็จจากภาพยนตร์ขนาดยาวลำดับที่สอง The Elephant Man (1980) ได้รับติดต่อจาก George Lucas (เป็นแฟนหนัง Eraserhead) ต้องการมอบโอกาสให้โอกาสกำกับ Return of Jedi (1983) แต่เขากลับบอกปัดปฏิเสธ ให้เหตุผลว่านั่นคือภาพยนตร์ที่สะท้อนวิสัยทัศน์ของ Lucas ไม่ควรจะมอบให้คนอื่นมากำกับแทน (แต่ Lucas ก็ยังคงมอบหน้าที่นั้นให้ Richard Marquand)

ระหว่างนั้นผู้กำกับ Lynch ซุ่มพัฒนา Ronnie Rocket ภายใต้ Zoetrope Studios ของ Francis Ford Coppola เป็นโปรเจคครุ่นคิดมาตั้งแต่เสร็จจาก Eraserhead (1977) แต่ด้วยปัญหาการเงินรุมเร้าช่วงปี 1981 ทำให้ทุกสิ่งอย่างวาดฝันไว้ต้องพังทลายลง … ผ่านมาหลายปี โปรเจคนี้คงล้มเลิกความตั้งใจไปเรียบร้อยแล้ว

ช่วงขณะว่างงานอยู่นั้นเอง Lynch ได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์ Dino de Laurentiis ให้ดัดแปลงนวนิยายไซไฟ Dune (1965) ทั้งๆไม่เคยอ่านต้นฉบับ หรือรับรู้เนื้อเรื่องราวใดๆ แต่ด้วยข้อแลกเปลี่ยนสตูดิโอ De Laurentiis Entertainment Group จะให้ทุนสนับสนุนอีกสองโปรเจคหลังจากนั้น (สัญญาภาพยนตร์สองเรื่องถัดไป ประกอบด้วยภาคต่อของ Dune ซี่งไม่ได้สร้างแต่ถือว่านับรวมไว้แล้ว และอีกผลงาน Blue Velvet ค่อนชัดเจนว่าซ่อนเร้นนัยยะอะไรไว้)

“To be honest, when Dino offered me DUNE, I want to see him more out of curiosity than anything else.

I’m not crazy about science fiction and I’d never read Dune before accepted this film. But when I finally got around to it, I was just knocked out. And not only by its adventurous aspects. In a lot of ways, this novel is the antithesis of the usual raygun and spaceship science fiction I’m used to seeing. Dune has believable characters and a lot of depth, a lot of resonance. It’s not all surface flash. In many ways, Herbert created an internal adventure, one with a lot of emotional and physical textures. And I love textures”.

David Lynch

ร่วมดัดแปลงบทกับ Eric Bergren และ Christopher De Vore (ทั้งสองเคยร่วมกันดัดแปลง The Elephant Man) ได้บทร่างแรกจำนวน 200+ หน้ากระดาษ แต่เพราะความคิดเห็นต่างระหว่างตัดทอนรายละเอียด ผ่านไปหกเดือนหลงเหลือเพียง Lynch ปรับเปลี่ยนหลายๆเรื่องราวสู่เสียงบรรยาย คำสนทนา และความคิดตัวละคร จนออกมาได้ 135 หน้ากระดาษ (พี่แกเลยถือเครดิต Written By แต่เพียงผู้เดียว)


ในอนาคตอันไกล ค.ศ. 10191, จักรวาลถูกปกครองโดย Padishah Emperor Shaddam IV สสารที่มีค่าที่สุดในจักรวรรดิคือ Spice (เครื่องเทศ) ซึ่งสามารช่วยยืดอายุไข ขยายจิตสำนึกผู้ใช้ และยังช่วยให้ Spacing Guild เป็นพลังงานสำหรับการเดินทางระหว่างดวงดาว (Interstellar Travellng)

ปัญหาบังเกิดขึ้นเมื่อ Arrakis (หรือ Dune) ดาวเคราะห์แห่งเดียวในจักรวาลที่สามารถเก็บเกี่ยว Spice ถูกยึดครองโดยชนเผ่าพื้นเมือง Fremen และกำลังทำสนธิสัญญาพันธมิตรกับ Duke Leto Atreldes แห่ง House Atreldes นั่นอาจส่งผลกระทบคุกคามต่อ Spacing Guild จึงส่งทูตไปเข้าเฝ้า Emperor Shaddam IV เพื่อรับฟังแผนการทำลายล้าง House Atreldes ด้วยการหยิบยืมมือ Baron Vladimir Harkonnen ร่วมกับหน่วยรบพิเศษของจักรวรรดิ Sardaukar

ทูตของ Spacing Guil พยายามเน้นย้ำ Emperor Shaddam IV ให้กำจัดบุคคลๆหนึ่ง Paul Atreldes บุตรชายของ Duke Leto เพราะคำพยากรณ์จาก Bene Gesserit Sisterhood องค์กรศาสนาที่แทรกซึมไปทั่วทุกหนแห่งในจักรวาล ใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้โบราณฝึกฝนร่างกาย-จิตใจ จนสามารถควบคุมการกำเนิดให้มีแต่เพศหญิงมาหลายยุคสมัย (Breeding Program) จุดประสงค์เพื่อสักวันหนึ่งจะให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตทรงภูมิเหนือจักรวาล Kwisatz Haderach แต่ก่อนจะถึงวันนั้นพยายามควบคุมครอบงำ ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังองค์กรใหญ่ๆ อ้างอุดมการณ์เพื่อรับใช้ แต่แท้จริงต้องการชักใยทุกสิ่งอย่าง

Lady Jessica คือสมาชิกของ Bene Gesserit Sisterhood ที่ถูกมอบหมายให้เป็นภรรยาน้อย Duke Leto โดยธรรมเนียมแล้วต้องให้กำเนิดบุตรสาวเท่านั้น แต่ด้วยความรักต่อสวามี อยากให้มีทายาทสืบวงศ์ตระกูล เลยตัดสินใจทรยศองค์กร คลอดบุตรชาย Paul Atreldes แล้วเสี้ยมสอนองค์ความรู้ทุกสิ่งอย่าง รวมไปถึงการต่อสู้ป้องกันตัวสไตล์ ‘weirding way’ จนสามารถผ่านการทดสอบของ Reverend Mother ได้รับอนุญาตให้ออกเดินทางสู่ Arrakis

โดยไม่มีใครคาดคิด Baron Vladimir Harkonnen แอบซุกซ่อนสายลับในบรรดาคนสนิทของ Duke Leto ทำให้ยังไม่ทันได้พบปะพันธมิตร Fremen เลยถูกเข่นฆ่าทำลายล้าง โชคยังดีที่ Paul และ Lady Jessica สามารถหาหนทางหลบหนี ติดอยู่กลางทะเลทราย เอาตัวรอดจากหนอนทราย (Sandworm) จนได้พบเจอชาว Fremen อาศัยอยู่ใต้ดิน จึงเริ่มครุ่นคิดวางแผนโต้ตอบกลับจักรวรรดิ เริ่มต้นจากเสี้ยมสอนการต่อสู้สไตล์ ‘weirding way’ และเรียกตนเองว่า Paul Muad’Dib


Kyle Merritt MacLachlan (เกิดปี 1959) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Yakima, Washingtion มารดาทำงานผู้จัดการ Youth Theater เลยส่งลูกชายไปร่ำเรียนเปียโน ฝีกฝนร้องเพลงตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ทำให้สามารถขึ้นเวทีการแสดงร้อง-เล่น-เต้น ตั้งแต่อายุ 15 ปี, ช่วงระหว่างกำลังศึกษาสาขาการแสดง University of Washington มีโอกาสเป็นตัวประกอบภาพยนตร์ The Changeling (1980) เลยเกิดความมุ่งมั่นอยากเอาดีด้านนี้, ครั้งหนึ่งระหว่างออกทัวร์การแสดงช่วงปิดเทอม บังเอิญไปเข้าตาแมวมอง รับชักชวนให้มาทดสอบหน้ากล้อง จนกระทั่งมีโอกาสแสดงนำ Dune (1984) เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้กำกับ David Lynch ร่วมงานกันอีกหลายครั้ง Blue Velvet (1986), Twin Peaks (1990–91), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Flintstones (1994), Showgirls (1995) ฯ

Paul Atreides หรือ Muad’Dib เด็กหนุ่มอายุ 15 ปี ผู้มีความเก่งกาจทั้งบุ๋น-บู๋ ได้รับความเข้มแข็ง/จิตใจอ่อนโยนจากบิดา Duke Leto และองค์ความรู้/สไตล์การต่อสู้ ‘weirding way’ จากมารดา Lady Jessica หลังถูกโจมตีจาก Baron Harkonnen ได้รับความช่วยเหลือจาก Fremen ที่ต่างเชื่อว่าเขาคือบุคคลจากคำทำนาย Mahdi (ผู้มาไถ่นำพาชาว Fremen ให้ได้รับอิสรภาพอย่างแท้จริง) เลยตัดสินสอนสไตล์การต่อสู้เพื่อเตรียมล้างแค้น/พร้อมเผชิญหน้าจักรวรรดิ

เส้นทางชีวิตของ Paul มีคำเรียกว่า ‘hero’s journey’ วีรบุรุษผู้ถูกคาดหวังให้ต้องกอบกู้ศรัทธา ต่อสู้ศัตรูแห่งมวลมนุษย์ชาติ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นต้องพานผ่านอุปสรรคขวากหนามมากมาย สูญเสียใครบางคน เผชิญหน้าบทพิสูจน์ตนเอง และได้รับการยอมรับจากทุกผู้คนรอบข้าง ไม่ต่างจากพระพุทธเจ้า, Jesus Christ, Muhammad ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายปลายทางอาจถึงระดับพระเจ้าผู้สร้างโลก (God)

แรงบันดาลใจตัวละครนี้จากบทสัมภาษณ์ของผู้แต่งนวนิยาย Herbert ก็คือ T. E. Lawrence (Lawrence of Arabia) พลเมืองชาวอังกฤษ นำกองทัพอาหรับต่อสู้เอาชนะชาว Turks ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยกลวิธี Guerrilla Tactics ใช้กองกำลังเล็กๆเข้าทำลายหน่วยสื่อสาร ตัดขาดศัตรูไม่ให้ได้รับความช่วยเหลือจากโลกภายนอก นั่นเองที่ทำให้เขากลายเป็น ‘messiah’ มีสถานะเหมือนพระเจ้า (godlike) ของชาวอาหรับ

คำนิยามของผู้กำกับ Denis Villeneuve [ในฉบับ Dune (2021)] ให้ความเห็นตัวละครนี้อย่างน่าสนใจ เปรียบเทียบดั่ง Michael Corleone แฟนไชร์ The Godfather

“He’s training to be the Duke. But as much as he’s been prepared and trained for that role, is it really what he dreams to be? That’s the contradiction of that character. It’s like Michael Corleone in The Godfather–it’s someone that has a very tragic fate and he will become something that he was not wishing to become.”

Denis Villeneuve

นอกจากรูปลักษณ์ที่ไม่เหมือนเด็กหนุ่มอายุ 15 ปี การแสดงของ MacLachlan ก็แทบไม่มีความน่าสนใจอะไรให้ให้พูดกล่าวถึง แม้นี่จะเป็นบทบาทที่โคตรหลงใหล แต่ทุกสิ่งอย่างดูเป็น ‘stereotype’ ปากเบะ หน้าบึ้ง เต็มไปด้วยความตึงเครียดตลอดเวลา เมื่อประกอบเข้ากับเสียงบรรยายความรู้สึกจากภายใน การแสดงจึงไร้มิติซ่อนเร้น จืดชืด น่าเบื่อหน่าย คาดเดาง่าย สิ้นสภาพวีรบุรุษผู้กอบกู้จักรวาล (นอกจากหน้าตาหล่อเหล่าเพียงอย่างเดียว)

“I read Dune for the first time in eight grade, and I’ve read it about once a year ever since, It’s almost been my Bible. I really love that book. So when I was cast for Paul. I couldn’t believe it. I still don’t believe it!”

Kyle MacLachlan

ความที่หนังมีนักแสดงเยอะมากๆ ‘Ensemble Cast’ เลยขอพูดถึงตัวละครอื่นๆโดยคร่าวๆที่น่าสนใจ

  • Duke Leto Atreides ผู้นำตระกูล House Atreides ภายนอกดูเข้มแข็งแกร่ง แต่จิตใจอ่อนโยน มีความรักต่อภรรยา บุตรชาย เป็นห่วงเป็นใยลูกน้องใต้สังกัด มองว่าชีวิตสำคัญกว่าการเก็บเกี่ยวผลผลิต Spice แต่สุดท้ายกลับถูกทรยศหักหลังโดยคนใกล้ตัว
    • รับบทโดย Jürgen Prochnow (เกิดปี 1941) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Berlin หลังประสบความสำเร็จจากการแสดงในประเทศ และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ยอดเยี่ยม เลยได้รับโอกาสจาก Hollywood ผลงานเด่นๆ อาทิ Das Boot (1981), Dune (1984), Beverly Hills Cop II (1987), Air Force One (1997) ฯ
    • House Atreides ได้แรงบันดาลใจจากปกรัมณ์กรีก House Atreus ซึ่งก็ประสบโชคชะกรรม ถูกเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไม่แตกต่าง
  • Lady Jessica สมาชิกของ Bene Gesserit Sisterhood ถูกมอบหมายให้เป็นภรรยาน้อย Duke Leto แต่เพราะรักสวามี เลยตัดสินใจทรยศหักหลังองค์กร คลอดบุตรชาย Paul และกำลังจะให้กำเนิดน้องสาว Alia แต่เมื่อ House Atreides ถูกทำลายล้าง เข้าร่วมกับชาว Fremen และตั้งตนเองกลายเป็น Reverend Mother
    • รับบทโดย Francesca Annis (เกิดปี 1945) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ London บิดาเป็นเจ้าของกิจการ Nightclub ที่ประเทศ Brazil ส่วนมารดาเป็นนักร้อง Blues แต่ทั้งคู่เลิกเราตอนเธออายุ 7 ขวบ ย้ายกลับมาอยู่อังกฤษฝึกฝนบัลเล่ต์ ก่อนมีโอกาสแสดงภาพยนตร์ Cleopatra (1963) ในบทคนรับใช้ Elizabeth Taylor, เริ่มมีชื่อเสียงจากซีรีย์ Great Expectations (1967), ภาพยนตร์ Macbeth (1971), Krull (1983), Dune (1984) ฯ
    • ตัวละครนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Beverly Herbert มารดาของผู้แต่งนวนิยาย เธอมีความเข้มแข็ง เป็นที่รัก เชื่อมั่นในสิ่งถูกต้อง และเหมือนมีความสามารถในการทำนายอนาคต (ของลูกชายตนเอง)
  • Baron Vladimir Harkonnen ชายร่างใหญ่ ป่วยโรคผิวหนังอะไรสักอย่าง ทำให้ไม่สามารถเดินด้วยเท้า ต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างให้ล่องลอยเหนือพื้นดิน อุปนิสัยก็สะท้อนรูปลักษณ์ โหยหาอำนาจ เงินทอง กอบโกยกินทุกสิ่งอย่าง ชื่นชอบการทรมาน ลักร่วมเพศ ฆ่า-ข่มขืน แต่ครั้งหนึ่งยินยอมให้ตัวเองถูกล่อลวงโดย Bene Gesserit Sisterhood ให้กำเนิดบุตรสาวลับๆ Lady Jessica มีศักดิ์เป็นปู่ของ Paul Atreides แต่ก็ยังโกรธเกลียดไม่ชอบขี้หน้า Duke Leto ถึงขนาดยัดสอดไส้สายลับ เมื่อมีโอกาสจึงพร้อมกำจัดให้พ้นภัยพาล
    • รับบทโดย Kenneth McMillan (1932-89) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Brooklyn, New York จากเซลล์แมน ไต่เต้าถึงผู้ดูแลชั้นสามห้างสรรพสินค้า Gimbels Department Store แต่พออายุ 30 ค้นพบความฝันอยากเป็นนักแสดง เข้าศึกษา Fiorello H. LaGuardia High School of Music & Art and Performing Arts แต่กว่าจะเริ่มมีผลงานแรกตัวประกอบ Serpico (1973), ผลงานส่วนใหญ่เป็นบทสมทบ ตำรวจพิทักษ์สันติราษฎร์ จนกระทั่งได้รับโอกาส Dune (1984) แม้เสียเวลาหลายชั่วโมงแต่งหน้าทำผม ได้รับอิสระอย่างเต็มที่ในการทำตัวละครนี้โหดเหี้ยม เลวทราม ชั่วช้าสามาลย์ที่สุด
    • การแสดงของ McMillan ถือว่ามีสีสัน บ้าระห่ำ หลุดโลกที่สุดใน Dune (1984) และดูพี่แกค่อนข้างสนุกไปมัน (อย่างยากลำบาก) แม้ภาพลักษณ์จะแตกต่างจากต้นฉบับนวนิยาย แต่ถือเป็นการตีความที่สื่อนัยยะชัดเจน แค่เห็นก็ขยะแขยง ไม่อยากเข้าใกล้ อัปลักษณ์เกินทน
    • ผู้แต่งนวนิยาย Herbert เล่าว่าใช้การเปิดสมุดโทรศัพท์ (Yellow Book) แล้วค้นพบชื่อ Härkönen ฟังดูเหมือนภาษารัสเซีย (จริงๆเป็นภาษา Finnish) เลยนำมาใช้ตั้งชื่อตัวละคร ในตอนแรกเขียนว่า Valdemar Hoskanner
  • Padishah Emperor Shaddam IV แห่ง House Corrino ผู้ปกครองได้รับการยอมรับทั่วทั้งจักรวาล ออกคำสั่งให้ Duke Leto Atreides เข้าครอบครองดาวเคราะห์ Arrakis แม้รับล่วงรู้ว่าอีกฝ่ายกำลังสร้างพันธมิตรกับชาวพื้นเมือง Fremen แต่นั่นคือแผนกำจัดให้พ้นภัยพาล ด้วยการยืมมือฆ่าโดย Baron Harkonnen แต่หลังจากนั้นการปรากฎของ Muad’Dib สร้างปัญหาให้การเก็บเกี่ยว Spice จน Spacing Guild เรียกร้องให้จักรพรรดิต้องจัดการขั้นเด็ดขาด เลยออกเดินทางมุ่งสู่ Arrakis เพื่อบัญชาการรบด้วยตนเอง
    • รับบทโดย José Ferrer ชื่อจริง José Vicente Ferrer de Otero y Cintrón1 นักแสดงสัญชาติ Puerto Rican เกิดที่ San Juan ครอบครัวอพยพย้ายสู่ New York City ตั้งแต่เขายังเด็ก ช่วงระหว่างร่ำเรียนสถาปัตยกรรม Princeton University ค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดง จบออกมาเลยตัดสินใจมุ่งหน้าสู่ Broadways ค่อยๆสะสมชื่อเสียงจนโด่งดังจากบทบาท Cyrano de Bergerac (1946) คว้ารางวัล Tony Award: Best Actor, ส่วนภาพยนตร์เริ่มต้นจาก Joan of Arc (1948), คว้า Oscar: Best Actor เรื่อง Cyrano de Bergerac (1950), ผลงานเด่นๆ อาทิ Moulin Rouge (1952), The Caine Mutiny (1954), Lawrence of Arabia (1962), Ship of Fools (1965), Dune (1984) ฯ
    • แม้ว่าภาพลักษณ์ของ Ferrer จะดูเหมือนจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แต่การแสดงดูลุกรี้ ร้อนรน ไม่ค่อยเหมือนผู้นำที่พึ่งพาได้ น่าจะได้รับคำแนะนำให้ถ่ายทอดความรู้สึกภายในออกเป็นภาษากาย หลังจากถูกกดดัน/ควบคุมครอบงำโดย Spacing Guild ตระหนักว่าตนเองเป็นเพียงหุ่นเชิดชัดของบางสิ่งอย่างยิ่งใหญ่กว่า
    • ในนวนิยายตัวละครนี้อายุ 72 ปี แต่บรรยายภาพลักษณ์ว่ายังเหมือนคนอายุ 35, แต่ภาพยนตร์บอกว่าอายุเกิน 200+ ปี เพราะได้รับการหนุนหลังจาก Spacing Guild และความช่วยเหลือของ Spice (ที่สามารถทำให้อายุยืนยาว)
  • Chani เป็นชาว Fremen บุตรสาวของ Liet-Kynes ภรรยานอกสมรสของ Paul แต่ได้รับคำยืนยันจากเขาว่าจะรักและดูแลเหมือนดั่งภรรยา (Paul แต่งงานในนามกับ Princess Irulan ด้วยเหตุผลทางการเมือง)
    • รับบทโดย Sean Young (เกิดปี 1959) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน โด่งดังจาก Blade Runner (1982) แต่ถูกลดทอนบทบาทจนไม่มีอะไรให้พูดถึง
  • Siân Phillips รับบท Reverend Mother Gaius Helen Mohiam ผู้นำของ Bene Gesserit และภรรยานอกสมรสของ Emperor Shaddam IV ทีแรกพยายามปฏิเสธการมีตัวตนของ Paul แต่หลังจากเขาสามารถผ่านการทดสอบ จึงเกิดความลังเลใจ ยินยอมให้เขามีชีวิต คาดคิดว่าคงถูกเข่นฆ่าในช่วงการเข่นฆ่าล้าง House Atreides แต่หลังจากมีชีวิตรอด สามารถต่อต้านขัดขืน เธอเองก็มิอาจทำอะไรกับเขาได้
  • Sting รับบท Feyd-Rautha น้องเขยของ Baron Harkonnen (น่าจะเป็นคนรักด้วยกระมัง) คู่ต่อสู้ดวลมีดกับ Paul
    • ว่ากันว่าฉากเดินจากห้องอบไอน้ำ Sting ตั้งใจจะเปลือยเปล่าทั้งตัว แต่ทีมงานก็สรรหาอะไรบางอย่างมาปกปิดไว้ได้ทัน โดดเด่นจนทำให้เก้งๆกังๆกรี๊ดกร๊าดลั่น
  • Patrick Stewart รับบท Gurney Halleck, a troubador-warrior and talented baliset musician in the Atreides court
  • Max von Sydow รับบท Doctor Kynes นักวิทยาดาวเคราะห์ (planetologist) ของชาว Fremen และเป็นบิดาของ Chaniจ

ถ่ายภาพโดย Freddie Francis (1917-2007) ตากล้องสัญชาติอังฤษ เจ้าของสองรางวัล Oscar: Best Cinematography เรื่อง Sons and Lovers (1960), Glory (1989), มีโอกาสร่วมงานผู้กำกับ David Lynch สามครั้ง The Elephant Man (1980), Dune (1984) และ The Straight Story (1999)

เดิมนั้นโปรดิวเซอร์อยากทำโปรดักชั่นที่ประเทศอังกฤษ ทีมงานส่วนใหญ่ก็เป็นชาวยุโรป แต่เพราะต้องสร้าง 80 ฉาก ใน 16 โรงถ่าย ซึ่งมีปริมาณไม่เพียงพอ ถ้าทำที่ Hollywood, Los Angeles ทุนสร้างคงบานเบิก เลยตัดสินใจไปปักหลักยัง Estudios Churubusco Azteca, Mexico City ไม่ห่างไกลจากทะเลทราย Pincate and Grand Desert of Altar

แซว: แม้การถ่ายทำยัง Mexico จะช่วยลดค่าใช้จ่าย/เช่าสถานที่ได้มาก แต่ระหว่างโปรดักชั่นทีมงานเกินกว่าครี่ง (จาก 1,700+ คน) ล้มป่วยโรค Moctezuma’s Revenge ท้องเสียจากอาหารการกินไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ต้องเพิ่มงบประมาณ (ใช้งบเกินกว่าที่ประมาณไว้ $4 ล้านเหรียญ) มาสร้างโรงครัว นำเข้าอาหารทั้งหมดส่งจากสหรัฐอเมริกา ในระยะเวลาถ่ายทำ 6 เดือน!

Production Design โดย Anthony Masters (1919-90) โด่งดังกลายเป็นตำนานกับ 2001: A Space Odyssey (1968) เมื่อได้รับการชักชวนจากผู้กำกับ Lynch ตกลงด้วยภาษิต ‘อะไรเคยพบเห็นหรือทำมาแล้ว โยนมันทิ้งไป!’

“Out motto is: If it’s been done or seen before, throw it out!”

Anthony Masters

แม้มีการออกแบบจากงานสร้างของ Alejandro Jodorowski และ Ridley Scott แต่ผู้กำกับ Lynch ตัดสินใจเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด จินตนาการโดยอ้างอิงโลกปัจจุบันถีงอนาคต 10,000+ ปีข้างหน้า ให้ผู้ชมยังรู้สีกมักคุ้นเคยกับสถานที่ มีความเป็นรูปธรรมมากขี้น (แต่ในสไตล์/คิดสร้างสรรค์ของ Lynch)

4 ดาวเคราะห์หลักในหนังประกอบด้วย

  • Kaitain สถานที่ตั้งพระราชวังของ Padishah Emperor Shaddam IV เป็นดาวเคราะห์สีฟ้าขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยวงแหวน ประกอบด้วยแผ่นดินและผืนน้ำ มีความเจริญก้าวหน้า เต็มไปด้วยตีกระฟ้า สถาปัตยกรรมล้ำอนาคต
  • Giedi Prime สถานที่ตั้งของ House Harkonnen เป็นดาวเคราะห์อุตสาหกรรม ประกอบด้วยโรงงานนับร้อยพัน สร้างเป็นบล็อกๆซ้อนเป็นชั้นๆ สภาพอากาศคงเต็มไปด้วยมลพิษ ไม่เหมาะสำหรับการพักอยู่อาศัยสักเท่าไหร่
  • Caladan สถานที่ตั้งของ House Atreides เป็นดาวเคราะห์สีเขียว รายล้อมรอบด้วยโขดหิน คลื่นสาดกระเซ็น มองออกไปเป็นมหาสมุทรกว้างใหญ่ไพศาล
  • Arrakis ดาวเคราะห์สีแดงดวงเดียวในจักรวาลที่ค้นพบว่ามี Spice พื้นผิวมีเพียงท้องทะเลทราย สภาพอากาศกลางวัน-กลางคืน แปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่ภายใต้ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาว Fremen ซุกซ่อนเร้นลำธารน้ำกว้างใหญ่ไพศาล

ภายในพระราชวังของ Padishah Emperor Shaddam IV สร้างด้วยทองคำทั้งหมด แสดงถึงความร่ำรวย มั่งคั่ง จากการค้า Spice (ให้ความรู้เหมือนเหมือนประเทศค้าน้ำมัน แถวตะวันออกกลาง) ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมคือแท่งเล็กๆแหลมๆ ดูคล้ายฟันเฟืองในเครื่องยนต์กลไก ราวกับว่าสถานที่แห่งนี้คือศูนย์กลางการขับเคลื่อนอะไรอย่างสักอย่าง

ชื่อของจักรพรรดิฟังดูยิ่งใหญ่ เป็นผู้ปกครองจักรวาลที่รู้จัก (Emperor of the Known Universe) แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นหุ่นเชิดชักของ Spacing Guild และ Bene Gesserit Sisterhood ได้รับคำสั่งอะไรมาก็ต้องปฏิบัติตาม

แซว: มันอาจเป็นความบังเอิญหรือจงใจไม่รู้นะ ศีรษะล้านด้านหลังของ José Ferrer นัยยะถึงการไม่เป็นตัวของตนเอง ถูกควบคุมครอบงำด้วยบางสิ่งอย่าง (คือมันไปสอดคล้อง/ตรงกันข้ามกับศีรษะของ Bene Gesserit ที่ผมจะกล่าวต่อไป)

Spacing Guild คือองค์กรที่ควบคุมระบบการขนส่งของจักรวาล โดยใช้ Spice ทำให้ยานอวกาศสามารถเดินทางระหว่างดวงดาวได้เพียงชั่วพริบตา ด้วยเหตุนี้จึงมีอำนาจการต่อรองล้นฟ้า ถ้าผู้นำดาวเคราะห์ไหนไม่ยินยอมศิโรราบ ก็สามารถตัดขาดความสัมพันธ์ ปล่อยทอดทิ้งมิอาจเดินทางไปไหนมาไหนได้อีก

ในนวนิยายเหมือนว่า Spacing Guild จะแค่มีอิทธิพลต่อ Emperor Shaddam IV แต่ฉบับภาพยนตร์มีการพูดบอกอย่างชัดเจนว่าคือหุ่นเชิดชักที่องค์กรแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตนแทนในการปกครองจักรวาล ควบคุมกิจการเก็บเกี่ยว Spice ด้วยเหตุนี้จักรพรรดิจีงมิอาจขัดคำสั่งของ Guild Navigator แต่ตัวเขาก็มีหน้าที่แค่วางแผน สั่งการ หาใช่ผู้ปฏิบัติภารกิจนี้โดยตรงไม่

Guild Navigator หรือ Guildsman หรือ Steersman คือสิ่งมีชีวิตที่บริโภค Spice จนทำให้มีความสามารถเคลื่อนไหวผ่านช่องว่างระหว่างจักรวาล ขนส่งยานอวกาศจากดาวเคราะห์หนึ่งสู่อีกดาวเคราะห์หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (ในสายตามนุษย์คือโดยทันที) ว่ากันว่าเจ้าสิ่งนี้อาจเคยเป็นมนุษย์ ที่หลังจากบริโภค Spice ปริมาณมหาศาลจึงเริ่มกลายพันธุ์ และมีความสามารถพิเศษดังกล่าว แต่ต้องแลกเปลี่ยนคือไม่สามารถออกจากแท็งค์น้ำ (ที่อุดมไปด้วยแก๊ส Spice)

ด้วยความสามารถที่อยู่นอกเหนือกฎจักรวาล ทำให้ Guild Navigator สามารถก่อตั้ง Spacing Guild มีอำนาจต่อรองผู้นำดาวเคราะห์ ไม่เว้นแม่แต่จักรพรรดิ เพื่อให้การเก็บเกี่ยว Spice ดำเนินไหลไปอย่างไม่หยุดหย่อน (เพราะถ้าขาดช่วงเมื่อไหร่ เจ้าสิ่งมีชีวิตตนนี้อาจดับสูญสิ้นไปเลยก็เป็นได้)

Bene Gesserit Sisterhood คือองค์กรที่ใช้ศาสนา/ความเชื่อศรัทธาเป็นข้ออ้าง จุดประสงค์เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตสมบูรณ์แบบ ด้วยการแทรกซีมเข้าไปในทุกๆองค์กรจักรวาล ให้กำเนิดทารกเพศหญิงเพื่อเก็บสะสมพันธุกรรมที่ดีไว้กับตัว สืบสานต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะถีงวันสามารถให้กำเนิดพระเจ้า Kwisatz Haderach ปัจจุบันพานผ่านมาแล้วถึง 90 รุ่น

เกร็ด: Bene น่าจะมาจากคำว่า Benefit หมายถีงผลประโยชน์, Gesserit ออกเสียงคล้ายๆ Jesuits คณะแห่งพระเจ้า กลุ่มบุคคลผู้มีหน้าที่เผยแพร่คำสอนศาสนาสู่สถานที่แห่งหนต่างๆทั่วโลก

จะว่าไปแนวคิดของ Kwisatz Haderach ช่างละม้ายคล้าย Guild Navigator แต่พวกเธอไม่ได้พึ่งพาปัจจัยภายนอกอย่าง Spice จนมีรูปร่างอัปลักษณ์ กลายพันธุ์ ไม่สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป, วิธีการของ Bene Gesserit คือฝีกฝนจิตใจให้เข้มแข็งแกร่ง จนสามารถควบคุม/คัดเลือกสรรค์พันธุกรรมที่ดีส่งต่อให้ทายาทรุ่นถัดๆไป

คงมีหลายครั้งที่สมาชิกของ Bene Gesserit ให้กำเนิดเพศชาย แต่เมื่อเติบโตถึงวัยจักต้องเข้ารับการทดสอบ ทั้งหมดล้วนมิอาจอดรนทนต่อความเจ็บปวดที่บังเกิดขึ้นภายในจิตใจ จึงถูกทิ่มแทงด้วยยาพิษ เสียชีวิตตกตายไป

แซว: ทรงผมสุดแนวของ Bene Gesserit โกนศีรษะเพื่อบอกว่าตนเองไม่ได้ยึดติดกับอะไร มีหน้าที่เพื่อคอยรับใช้ แต่ผ้าคลุมศีรษะห้อยไปด้านหลัง นัยยะถึงแท้จริงแล้วคอยควบคุม ชักใยอยู่เบื้องหลังทุกสรรพสิ่งอย่าง

จากบทสัมภาษณ์ของลูกชายผู้แต่งนวนิยาย Brian Herbert เล่าถึงสิ่งที่น่าจะเป็นแรงบันดาลใจของ Bene Gesserit

“When he (Frank Herbert) was a boy, eight of Dad’s Irish Catholic aunts tried to force Catholicism on him, but he resisted. Instead, this became the genesis of the Bene Gesserit Sisterhood. This fictional organization would claim it did not believe in organized religion, but the sisters were spiritual nonetheless. Both my father and mother were like that as well”.

Brian Herbert

ฉากภายในปราสาท House Atreides บนดาวเคราะห์ Caladan ดูเหมือนใช้ไม้ทำเป็นผนังกำแพง แกะสลักลวดลายต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ-เก้าอี้ ข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ให้ความรู้สึกเก่าแก่ มีมนต์ขลัง (แต่ไปเอาไม้พวกนี้มาจากไหนกันละ?) ซึ่งสะท้อนเข้ากับธรรมชาติของตระกูลนี้ ต่างมีจิตใจดีงาม มั่นคงในอุดมการณ์ อบอุ่นเมื่อได้อยู่เคียงชิดใกล้

การอ้างว่าข้อจำกัดของเทคโนโลยียุคสมัยนั้น มันฟังไม่ขึ้นเลยสักนิด! นี่ไม่ใช่ Tron (1982) ที่สามารถสร้างโมเดลอะไรก็ได้ในโลกคอมพิวเตอร์ คือถ้าทำมันออกมาขี้เหล่ขนาดนี้ ให้นักแสดงต่อสู้กันตรงๆไม่ดีกว่าหรือ? อะไรกันที่ทำให้ David Lynch เข็นความพิลึกพิลั่นนี้ออกมา?

ในนวนิยาย ทักษะการต่อสู้ ‘weirding way’ มันคล้ายๆการฝึกฝนกำลังภายใน หรือ The Force ของ Jedi นั่นคือเหตุผลของผู้กำกับ Lynch (กระมัง) ไม่อยากดำเนินตามรอยนั้น (เพราะเขาปฏิเสธ George Lucas ในการกำกับ Star Wars) ด้วยเหตุนี้เลยครุ่นคิดพัฒนา Weirding Modules ด้วยการให้ตัวละครส่งเสียงเพิ่มพลังโจมตี สามารถทำลายล้างแม้กระทั่งธาตุแข็งแกร่งที่สุดบนดาว Arrakis

แต่ผมว่าแนวคิดของปีนประหลาดๆนี่มันตลกสิ้นดีเลยนะ โดยเฉพาะการต้องส่งเสียงร้องเพื่อเพิ่มพลัง ยิ่งช่วงไคลน์แม็กซ์ของหนังแม้งโคตรน่ารำคาญ ตัวละครทั้งหลายต่างส่งเสียงเจี้ยวจ้าวแทน Sound Effect คิดออกมาได้ไง??

ใครดูหนังกังฟู หรือ Shaw Brothers น่าจะมักคุ้นเคยกับอุปกรณ์ฝีกฝนวิชาการต่อสู้ชนิดนี้เป็นอย่างดี แต่เดี๋ยวนะอนาคต 10,000+ ปีข้างหน้า มันยังจะใช้ไอ้เครื่องแบบนี้อยู่อีกเหรอ?? มันน่าจะมีโฮโลแกรม หรือหุ่นยนต์สำหรับต่อสู้สิ มันถึงสมเหตุสมผลกว่า และการขยับเคลื่อนไหวของมันช่างก๋องแก๋งเหลือทน ไม่ได้มีความน่าตื่นตาตื่นใจเลยสักนิด!

“Fear is the mind-killer”.

Paul Atreides

นี่เป็นฉากที่ผมชื่นชอบสุดแนวคิดที่สุดแล้ว มันคือบททดสอบความเป็นมนุษย์ สิ่งมีชีวิตเดียวเท่านั้นสามารถเผชิญหน้าความหวาดกลัว อดรนทนต่อความเจ็บปวด เอาชนะสันชาตญาณ และเข้าถึงนิพพาน (เดรัจฉานจะไม่สามารถอดรนทนต่อความเจ็บปวด สันชาตญาณจักทำให้ชักมือออกจากกล่องโดยทันที)

ความเจ็บปวดของ Paul ไม่ได้มาจากมือสอดใส่ในกล่อง แต่คือพลังของ Reverend Mother สร้างภาพหลอนควบคุมจิตใจ ให้เขารู้สึกเหมือนถูกแผดเผา มอดไหม้ ราวกับอยู่ในขุมนรก, ในนวนิยายเห็นว่าเธอหยุดเมื่อพลังหมด และยินยอมรับว่า Paul มีแนวโน้มจะกลายเป็น Kwisatz Haderach

Giedi Prime สถานที่ตั้งของ House Harkonnen เป็นดาวเคราะห์อุตสาหกรรม พบเห็นโครงเหล็กซ้อนกันเป็นชั้นๆ เครื่องจักรถูกแบ่งเป็นบล็อกๆ ก็ไม่รู้มันทำงานอะไรของมัน แค่ให้ความรู้สึกของ Surrealist Setting เพียงให้ผู้ชมสัมผัสว่านี่คือโรงงานอุตสาหกรรมก็เท่านั้นเอง

มองจากภายนอก Giedi Prime เป็นดาวเคราะห์สีดำมะเมื่อม ส่วนภายในกลับเป็นใช้โทนสีเขียวของธนบัตร สัญลักษณ์ระบอบทุนนิยม ซ่อนเร้นด้วยความชั่วร้าย

ถ้าถามว่าสิ่งใดในภาพยนตร์เรื่องนี้เทียบแทนสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Lynch ได้ตรงที่สุด คงหนีไม้พ้นรูปลักษณ์ภายนอกของ Baron Vladimir Harkonnen ผมอ่านเจอว่าเพราะพี่แกพยายามข่มขื่น Bene Gesserit ที่ส่งมาเอาน้ำเชื้อของตน เลยถูกเธอผู้นั้นใช้พลังดัดแปลงพันธุกรรมหรืออะไรสักอย่าง จนมีสภาพผิวหนังเน่าเปื่อยพุพอง รักษาไม่มีวันหาย (สะท้อนตัวตนจากภายในที่มีความอัปลักษณ์ ซาดิสต์ โฉดชั่วร้าย)

ในฉบับของ Denis Villeneuve ออกแบบตัวละครนี้แค่อวบอ้วนขึ้นไม่ได้เป็นโรคผิวหนัง ซี่ง(ความอ้วน)เป็นสัญลักษณ์ของบริโภคนิยมกอบโกยกินมากเกินความจำเป็น ส่วนการลอยขึ้นจากพื้น แสดงถึงการทำตัวสูงส่ง เหนือกว่ามนุษย์ ราวกับฉันคือพระเจ้า

เด็กหนุ่มหน้าใส สวมชุดสีขาว ด้านหลังคือดอกไม้ แล้วถูก Baron Harkonnen พุ่งถาโถมเข้าใส่ ชักจุกตรงหัวใจ เลือดพุ่งสาดกระเซ็น เสพสมจนหมดสิ้นลมหายใจ … นัยยะฉากนี้คือการข่มขืน เปิดบริสุทธิ์ ลักร่วมเพศ เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ (เลยมั้ง) ไม่รู้จะชมหรือด่า นำเสนอออกมาได้ซาดิสต์สุดๆ

และที่จี๊ดยิ่งไปกว่านั้น ร้อยเรียงภาพผู้ชมที่ยืนจับจ้องมอง Baron Harkonnen กระทำชำเราเด็กหนุ่มผู้โชคร้ายอย่างไร้เยื่อใย แต่ถ้าสังเกตรูปลักษณะพวกเขาถูกปิดปาก ปิดตา หูถูกเย็บ (น่าจะสื่อถึงการปิดหู ไม่ให้ได้ยินสิ่งบังเกิดขึ้น) เว้นเพียงสองพี่น้อง ญาติสะใภ้ แสดงออกด้วยรอยยิ้มกริ่ม พึงพอใจในสิ่งพบเห็น … ประเทศไทย T_T

ผู้ชมสมัยนี้คงมีภาพการเดินทางระหว่างดวงดาวด้วยการวาร์ป ผ่านรูหนอน ดวงดาวเคลื่อนผ่า่นอย่างรวดเร็ว ฯ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอในเชิงนามธรรม Surrealist ด้วยการให้ยานอวกาศเข้าไปในสถานีอวกาศที่มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก จากนั้น Guild Navigator (ตัวประหลาดๆที่พบตอนต้นเรื่อง) ดูดเข้าไปในปาก แล้วเคลื่อนย้ายตำแหน่งตนเองไปยังดาวเคราะห์เป้าหมายและพ่นมันออกมาเหนือชั้นบรรยากาศ … Sequence นี้ต้องชมในความคิดสร้างสรรค์ บรรเจิดมากๆ (ที่สุดในหนังแล้วกระมัง)

Arrakis ดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวปกคลุมด้วยท้องทะเลทราย แสงแดดร้อนระอุ ทรัพยากรธรรมชาติมีจำกัด ฐานบัญชาการต้องขุดเจาะเข้าไปในเทือกเขา อาศัยธารน้ำเล็กๆ(ในภูเขา)ประทังความอดอยาก และวิธีเดียวสามารถปกป้องกันการโจมตีจากหนอนทราย คือบาเรียคลื่นความถี่สูง

ลักษณะโดดเด่นของชาว Fremen คือผิวสีเข้ม (แรงบันดาลใจจากชาวอาหรับ/ตะวันออกกลาง) ดวงตาสีฟ้า เป็นผลกระทบจากใกล้ชิด Spice มากเกินไป แต่ก็ไม่ส่งเสียใดๆต่อร่างกาย หรือกลายพันธุ์แบบ Guild Navigator (รายนั้นเพราะบริโภค Spice มากเกินไป) มีความแข็งแกร่งทางร่างกาย (เพราะต้องอดรนทนใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก) หลังได้รับการฝึกฝน ‘weirding way’ จึงทำให้จิตใจเข้มแข็งแกร่งขึ้น สามารถต่อสู้เอาชนะได้กระทั่งกองทัพส่วนตัวของจักรพรรดิ

เกร็ด: Fremen มาจากคำว่า Free Men ต้องการสื่อว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีอิสรภาพของตนเอง

หนอนทราย (Sandworm) ออกแบบโดย Anthony Masters ร่วมกับ Ron Miller ส่วนลำตัวได้แรงบันดาลใจจากงวงช้าง ขณะที่บริเวณปากมีการปรับเปลี่ยนอยู่หลายแบบ ก่อนมาลงเอยที่สามแฉกสามารถปิด-เปิด คล้ายๆดอกไม้แรกแย้ม

ก่อสร้างโดย Carlo Rambaldi (1925-2012) นัก Special Effect สัญชาติอิตาเลี่ยน เจ้าของรางวัล Oscar: Best Visual Effects ถีงสามครั้งจาก King Kong (1976) [เป็น Special Achievement], Alien (1979) และ E. T. (1982)

ต้องใช้ช่างทั้งหมด 24 คน ออกแบบกลไก แกะสลัก ขี้นรูป (ไม่ได้มีการใช้ Visual Effect แต่อย่างใด) ก่อสร้างทั้งหมด 15 ตัว ขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ เฉพาะลำตัว/ปาก สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน (ตัวใหญ่สุดขนาด 18ฟุต/5เมตร ยาว 50ฟุต/15เมตร ในฉากที่ Paul ยิงฉมวกแล้วปีนป่ายขี้นบนลำตัว), ส่วนบริเวณปาก Rambaldi เพิ่มเติมฟันแหลมคมให้ดูน่าหวาดกลัวยิ่งขี้น รวมไปถีงกลไกให้สามารถเปิด-ปิด ขยับเคลื่อนไหวจากการควบคุมระยะไกล รวมๆแล้วค่าก่อสร้างเจ้าหนอนทรายสูงถีง $2 ล้านเหรียญ!

reference: https://monsterlegacy.net/2014/04/28/dune-sandworms-arrakis/

รูปลักษณ์ของหนอนทราย (Sandworm) ถูกโจมตีจากแทบทุกนักวิจารณ์ ว่าออกแบบได้จืดชืด ‘cheap’ ดูธรรมดา ไร้ความเกรงขาม ยิ่งใหญ่อลังการ น่าสะพรีงกลัวในลักษณะที่มันควรจะเป็น (นี่คือ Iconic ของนวนิยายเล่มนี้เลยนะ!)

“The heads of the sand worms begin to look more and more as if they came out of the same factory that produced Kermit the Frog (they have the same mouths)”.

นักวิจารณ์ Roger Ebert พูดถีง Sandworm

ชาวพื้นเมือง Fremen เคารพนับถือ Shai-Hulud เปรียบดั่งตัวแทนพระเจ้า (agents of God) การกระทำของพวกมันราวกับสวรรค์บันดาล (divine intervention) ซี่งรูปลักษณะลำตัวยาวตีความได้ถีงลีงค์ อวัยวะเพศชาย เจ้าโลกขนาดใหญ่ ก่อนเดินทางมาถีงจะพบเห็นร่องรอย wormsign และสามารถกลืนกินแทบทุกสรรพสิ่งอย่างที่พยายามแสวงหาผลประโยชน์จาก Spice

การตีความหนอนทรายมีหลากหลายทฤษฎีมากๆ แต่ที่ผมชื่นชอบสุดคือกระจกสะท้อนธรรมชาติมนุษย์ (สื่อถึงตัวละครเพศชายโดยเฉพาะ Emperor Shaddam IV และ Baron Harkonnen) ขนาดของมันแสดงถีงพลังอำนาจ ความยิ่งใหญ่ เต็มไปด้วยความละโมบโลภ สามารถกอบโกยกินทุกสิ่งอย่าง ใช้ความหวาดกลัวในการปกครองดินแดนแห่งนี้ ใครส่งเสียงอะไรที่เป็นจังหวะ(ไม่เป็นธรรมชาติ)จะตรงรี่เข้ามาทำลายล้างโดยทันที [สื่อถึงพวกกบฎ ไม่ใช่พวกเดียวกันเอง]

แซว: ในนวนิยาย บรรยายสรรพคุณหนอนทรายว่ากลัวน้ำ แต่ตอนจบของภาพยนตร์ Paul บันดาลฝนตกลงมา ไม่รู้เหมือนกันว่าจะส่งผลกระทบต่อพวกมันมากน้อยเพียงใด

มุมมองหนึ่ง เราอาจตีความ Spice ได้กับยาเสพติด กัญชา เฮโรอีน ฯลฯ เพราะสรรพคุณขยายโสตประสาทการรับรู้ แต่ถ้าบริโภคมากเกินไปอาจกลายสภาพเป็นอย่าง Guild Navigator รูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ และมิอาจมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากมัน

เช่นกันกับการเก็บเกี่ยวผลิตภัณฑ์ มักถูกโจมตึโดยหนอนทรายที่ทำตัวราวกับเป็นตำรวจไล่ล่าผู้ร้ายลักลอบขนยา และทำลายสิ่งผิดกฎหมายเหล่านั้น (ด้วยการกลืนกิน กอบโกยผลประโยชน์ใส่ตน)

แซว: เจ้ายาน Spice Harvester ให้ความรู้สึกเหมือนเครื่องดูดฝุ่น ซึ่งความสามารถของมันก็คือดูดเอา Spice จากบริเวณโดยรอบเข้ามาในตัว ผ่านเครื่องกลั่นกรองจนออกมาเป็นสสาร Melange

แม้พื้นผิวดาวเคราะห์ Arrakis จะเต็มไปด้วยความเร่าร้อนอันตราย แต่ภายใต้กลับสงบร่มเย็น เพราะซ่อนเร้นธารน้ำกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ความแตกต่างตรงกันข้ามนี้สะท้อนนัยยะอย่างชัดเจนถึง คุณค่าของทุกสรรพสิ่งอย่างไม่ได้อยู่ที่ภาพลักษณ์ภายนอก ความงดงามแท้จริงนั้นล้วนซ้อนเร้นอยู่เบื้องลึกภายในจิตใจ

จริงอยู่ Spice จากพื้นผิวดาวเคราะห์ Arrakis มีมูลค่ามากมายมหาศาล แต่มันเฉพาะคนกลุ่มเล็กๆ (Spacing Guild) ที่สามารถเข้าถึง! ผิดกับผืนน้ำใต้แผ่นดิน ซึ่งถือเป็น ‘Water of Life’ สายธารแห่งชีวิต จิตวิญญาณของมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครสามารถอดกลั้นความกระหาย ไม่ได้ดื่มเพียงวันเดียวก็อาจตายได้ (อาหารขาดแคลนได้หลายวัน แต่ถ้าร่างกายขาดน้ำก็แทบจะสิ้นใจโดยทันที)

Water of Life ในบริบทของ Dune คือน้ำที่กลั่นมาจากตัวอ่อนของ Shai-Hulud (ก็หนอนทรายนะแหละ) ซึ่งจะมีพิษร้ายแรงกว่า Melange (ที่เก็บเกี่ยวจากทะเลทราย) แต่สำหรับ Bene Gesserit สามารถใช้พลังจิตควบคุม ส่งต่อองค์ความรู้ (จาก Reverend Mother ส่งให้กับทายาทรุ่นถัดไป) ให้สามารถซ้อนทับความทรงจำ และปลุกตื่นพลังซ่อนเร้นอยู่ในตนเอง

ในกรณีของ Lady Jessica บังเอิญว่าขณะนั้นกำลังตั้งครรภ์บุตรสาว ฤทธิ์ของ Water of Life จึงถูกส่งต่อถึงทารก Alia ทำให้คลอดก่อนกำหนด แล้วมีพละพลัง ความทรงจำ (ทุกสิ่งอย่างของ Reverend Mother คนก่อน) ถูกปลุกตื่นขึ้นมาตั้งแต่ยังอยู่ในร่างของทารกน้อย นั่นมีคำเรียกว่า Abomination (ประมาณว่าจิตใจเป็นผู้ใหญ่ ติดอยู่ในร่างกายที่ยังเด็ก) โดยปกติแล้วจะถูกกำจัดทิ้งโดยทันที แต่นั่นไม่ใช่วิถีปฏิบัติของครอบครัวนี้

วัวตาย รีดนมแมวเพื่อต้านพิษ มัดติดกับหนู ซีนนี้ผมจนปัญญาจริงๆ ไม่สามารถครุ่นคิดเข้าใจได้ว่าผู้กำกับ Lynch ต้องการจะสื่ออะไร? มนุษย์ต้องพึ่งพาเดรัชฉานเพื่อรอดชีวิต? หรือแค่ต้องการให้เห็นรสนิยมทรมานสัตว์ของ Baron Harkonnen

ขณะที่ตัวละครของ Patrick Steward อุ้มสุนัข Pug เข้าฉากขณะกำลังกราดยิง เห็นว่าได้แรงบันดาลใจจาก The dogs of war คำพูดของ Mark Antony ในบทละคร Julius Caesar ประพันธ์โดย William Shakespeare ซึ่งในบริบทนั้น สุนัขคือสัญลักษณ์ของปืนใหญ่/กระสุนระเบิด

“Cry ‘Havoc!’, and let slip the dogs of war.”

Mark Anthony ในบทละคร Julius Caesar

ชาว Fremen มีวิธีฝึกฝน/ควบคุมหนอนทราย ให้สามารถเป็นยานพาหนะสำหรับเผชิญหน้าต่อสู้ศัตรู นี่ฟังดูแปลกๆที่เจ้าไส้เดือนยักษ์จะยินยอมศิโรราบต่อมนุษย์ (คือถ้าใช้พลังจิตควบคุม ก็น่าจะยังพอฟังขึ้นอยู่บ้าง) แต่วิธีการที่ Paul ใช้ในหนัง คงทำให้หลายๆคนกุมขมับ เบือนหน้า ส่ายหัว อะไรของมันว่ะ! ดูน่าขบขัน แถมประกอบเข้าเพลง Rock มันส์ตรงไหน???

เป็นอีกฉากที่ถือว่าโคตรล้มเหลวในการนำเสนอ จับต้องไม่ได้ อะไรก็ไม่รู้ คุณภาพเลวร้ายกว่าหนังเกรดบี ยิ่งข้อจำกัดยุคสมัยนั้น มันทำให้ผู้ชมตั้งคำาม นี่หนังทุนสร้าง $40 ล้านเหรียญ จริงๆหรือนี่?

แซว: จะว่าไปฉากนี้ทำให้ผมนึกถึง Avatar (2009) ที่พระเอกตัดสินใจพิสูจน์ตัวเองด้วยการเชื่อมสัมพันธ์/ขึ้นขี่ Toruk Makto ตามความเชื่อของชาว Na’vi ใครทำสำเร็จจะได้รับการยกย่องว่าคือตำนาน

เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง Paul ตัดสินใจดื่ม Water of Life ทำให้สามารถปลุกตื่นพลังหลับใหลอยู่ภายใน หนอนทรายรายล้อมศิโรราบ และบังเกิดความเข้าใจทุกสรรพสิ่งอย่าง (เพียงพอต่อกรจักรพรรดิและ Bene Gesserit) ขณะเดียวกันทำให้ Lady Jessica และน้องสาว Alia ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน (แต่ก็ยังรอดชีวิตมาได้)

ใครเคยรับชม Eraserhead (1977) น่าจะมักคุ้นเคยกับช็อตลักษณะคล้ายๆกันนี้ (ที่สื่อถึง Eraser Head) ไม่ได้มีนัยยะอะไรแฝงนะครับ แค่อยากเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับผลงานก่อนหน้าของผู้กำกับ David Lynch

การเสียชีวิตของ Baron Vladimir Harkonnen เกิดจากพลังของ Alia ลากพาให้ล่องลอยเข้ามาใกล้ จากนั้นทิ่มแทงยาพิษ Gom Jabbar (เดียวกับที่ Reverend Mother บีบบังคับให้ Paul นำมือใส่กล่อง) ดึงปลั๊กหัวใจออกทั้งสองข้าง ทำให้ร่างกายเสียสูญ หมุนวน (กรรมสนองกรรม) ถูกสายลมดูดออกภายนอกยานอวกาศ พุ่งเข้าปากหนอนทราย (หวนกลับคืนสู่ธรรมชาติ/คล้ายๆถูกธรณีสูบ)

ในนวนิยายการตายของ Baron Harkonnen เพียงแค่ถูกวางยาพิษโดย Alia ไม่ได้มีความเว่อวังอลังการ ขยับขยายเพื่อให้รู้สึกสาแก่ใจผู้สร้างขนาดนี้!

การต่อสู้ระหว่าง Paul กับลูกพี่ลูกน้อง Feyd-Rautha (สวมชุดที่มีลวดลายรอยหยักเหมือนหนอนทราย) จุดประสงค์เพื่อเข่นฆ่าล้างทำลายเผ่าพันธุ์ House Harkonnen ให้หมดสูญสิ้นไปจากจักรวาล แน่นอนว่าอีกฝั่งฝ่ายตระเตรียมแผนการชั่วร้าย พระเอกเลยตลบแตลงให้ดาบที่ซ่อนเร้นนั้นทิ่มแทงกลับ แล้วใช้มีดของตนเองแทงสวนจากคางทะลุปากถึงศีรษะ นอนตายตาไม่หลับ และระบายความรู้สึกผ่านคำพูด จนผืนแผ่นดินเกิดรอยแตกแยก (ธรณีสูบ)

เกร็ด: Feyd-Rautha เห็นว่าก็เป็นผลผลิตจาก Breeding Program (แบบเดียวกับ Paul) เลยมีพันธุกรรมที่สมบูรณ์แบบ ร่างกายเข้มแข็งแหร่ง สติปัญญาเป็นเลิศ และเพราะเติบโตผ่านการเลี้ยงดูของลุง Baron Harkonnen เลยมีความซาดิสต์ เหี้ยมโหดร้าย ตัวอันตราย

ปาฏิหารย์ของ Paul สามารถดลบันดาลให้ฝนตกลงบนดาวเคราะห์ Arrakis (ปกติไม่มีทางที่ฝนจะตก) นี่เป็นการสำแดงอภินิหาร พลังของ ‘พระเจ้า’ เพื่อสร้างศรัทธาและอำนาจที่แท้จริงให้ประจักษ์แจ้ง อันเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นราชวงศ์ใหม่ด้วยความฉอุ่ม ชุ่มชื่น เบิกบานหัวใจ เติมเต็มคำพยาการณ์ Happy Ending

ใน Deleted Scene จะมีตอนจบแบบเดียวกับในนวนิยาย, Paul ประกาศกร้าวแต่งงานในนามกับ Princess Irulan แล้วส่ง Emperor Shaddam IV ไปคุมขังยัง Saulsa Secundus, ส่วน Chani จักป็นภรรยาแท้จริงของตนเอง

สำหรับการตัดต่อ แรกเริ่มฉบับ rough cut โดย David Lynch ได้ความยาวทั้งสิ้น 4 ชั่วโมง จากนั้นค่อยๆขัดเกลา เลาะเล็มส่วนเกินจนได้ความยาวประมาณ 3 ชั่วโมง (ถือเป็น ‘director’s cut) แต่สตูดิโอ Universal เรียกร้องขอหนัง 2 ชั่วโมง ทำให้ยังต้องตัดหลายๆฉากออกไป และเปลี่ยนอารัมบทด้วยเสียงพูดบรรยายของ Virginia Madsen (รับบท Princess Irulan ลูกสาวคนโตของ Emperor Shaddam IV)

ฉบับฉายโรงภาพยนตร์ความยาว 137 นาที ยังถือว่าอยู่ในการดูแลของผู้กำกับ Lynch แต่หลังจากเสียงตอบรับย่ำแย่ เขาจึงเริ่มปฏิเสธว่าหนังไม่ได้บังเกิดจากวิสัยทัศน์ตนเอง เป็นผลกระทบจากการเข้ามาก้าวก่ายของสตูดิโอ และปฏิเสธให้ความร่วมมือฉบับตัดต่ออื่นๆ และเปลี่ยนชื่อเครดิตเป็น Judas Booth (มาจากชื่อของสองบุคคลชื่อดังในประวัติศาสตร์ Judas Iscariot ทรยศ Jesus Christ และ John Wilkes Booth มือปืนสังหารปธน. Abraham Lincoln)

“Dune, I didn’t have final cut on. It’s the only film I’ve made where I didn’t have. I didn’t technically have final cut on The Elephant Man (1980), but Mel Brooks gave it to me, and on Dune the film, I started selling out, even in the script phase, knowing I didn’t have final cut, and I sold out, so it was a slow dying-the-death, and a terrible, terrible experience. I don’t know how it happened, I trusted that it would work out, but it was very naive and, the wrong move. In those days, the maximum length they figured I could have is two hours and seventeen minutes, and that’s what the film is, so they wouldn’t lose a screening a day, so once again, it’s money talking, and not for the film at all, and so it was like compacted, and it hurt it, it hurt it. There is no other version. There’s more stuff, but even that is putrefied”.

David Lynch

สตูดิโอคงตระหนักถึงความล้มเหลวในการจำกัดเวลาของ Dune (1984) จึงพยายามแก้ตัวด้วยการนำ Deleted Scene กลับมาแทรกใส่ในฉบับฉายทางโทรทัศน์ ‘Special TV Edition’ เครดิตโดย Antony Gibbs ความยาว 176 นาที แต่มันก็สายเกินไปไหม??

นอกจากนี้หนังยังมีอีกฉบับ ‘Alternative Edition Redux’ (เป็นฉบับ fanedit) โดย Spice Diver ความยาว 178 นาที สามารถหารับชมได้บน Youtube เกินกว่าล้านวิวแล้วนะครับ

ผมมีโอกาสรับชมต้นฉบับความยาว 137 นาที เลยได้พบเห็นปัญหาการดำเนินเรื่องมากมาย

  • เริ่มต้นด้วยคำบรรยายบอกเล่าพื้นหลังเรื่องราวของ Princess Irulan จริงอยู่นี่คือวิธีลดทอนเวลาหนังได้มาก แต่มันเป็นการยัดเยียดเนื้อหา ผู้ชมต้องตั้งใจฟัง ทำความเข้าใจสิ่งบอกเล่าในทันที (ถ้าค่อยๆเปิดเผยออกทีละเล็กระหว่างเรื่องราวดำเนินไป มันน่าจะมีความลื่นไหลเป็นธรรมชาติกว่า)
  • เทคนิค Voice-Over ผู้ชมจะได้ยินเสียงครุ่นคิดจากภายในของ(บาง)ตัวละคร อาทิ Paul, Lady Jessica, Reverend Mother ฯ นี่เป็นเทคนิดน่าสนใจสำหรับการดัดแปลงนวนิยายเป็นภาพยนตร์ แต่มันจะลดทอนความลึกลับ สิ่งซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใจพวกเขา ผลลัพท์คือความล้มเหลวด้านการแสดง ไร้มิติน่าค้นหา (มีเพียงภาพลักษณ์ภายนอกที่สะท้อนธาตุแท้ตัวละครออกมา)
  • Time Skip ด้วยการซ้อนภาพ เล่าผ่านๆด้วยเสียงบรรยายว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังที่ Paul ฝึกฝนการต่อสู้ให้ชาว Fremen ด้วยเทคนิค ‘weirding way’ ลากยาวไปถึงประกาศสงครามกับจักรวรรดิ ผลลัพท์ให้ความรู้สึกล่องลอย เหมือนฝัน พอตื่นขึ้นมาก็ร้องอ่าว เรื่องราวมาถึงตอนกำลังจะเผชิญหน้ากันแล้วอย่างงุนงง

มีโครงสร้างดำเนินเรื่องที่ผมอ่านพบว่าแตกต่างจากนวนิยาย (และภาพยนตร์สร้างใหม่) คือการเริ่มต้นด้วย Padishah Emperor Shaddam IV ได้รับคำสั่งจาก Spacing Guild เป็นการเปิดเผยบุคคลผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง ก่อนติดตามด้วยแนะนำ Baron Harkonnen และพระเอก Paul Atreides โผล่มาเกือบท้ายสุด … ในนวนิยายและภาพยนตร์สร้างใหม่ จะไม่พูดเอ่ยถึงบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังตั้งแต่แรก ค่อยๆเปิดเผยเรื่องราวออกทีละเล็ก จนในที่สุดถึงค่อยรับรู้ว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมด

การลำดับเรื่องราวของหนัง ให้ความรู้สึกเหมือน ‘hierarchy’ ลำดับขั้นจากสูงสุดลดหรั่นลงมาจนถึงต่ำสุด เช่นเดียวกับการเดินทางของ Paul จากเคยมีชีวิตสุขสบายบนดาวเคราะห์บ้านเกิด Caladan ถูกคำสั่งจากจักรพรรดิให้ย้ายไปอยู่ Arrakis ห้อมล้อมรอบด้วยทะเลทราย ความตายย่างกรายรอบทิศทาง และท้ายสุดดิ้นรนหลบหนีมาถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของชาว Fremen อยู่ใต้ผืนแผ่นดิน แต่กลับซ่อนเร้นโอเอซิส ผืนน้ำกว้างใหญ่ไพศาล (จากนั้น Paul ก็จะเดินทางย้อนกลับไปจนถึงจุดสูงสุดอีกครั้ง)


สำหรับเพลงประกอบ ว่ากันว่าดั้งเดิมมอบหมายให้ Brian Eno (เกิดปี 1948) นักแต่งเพลงสัญชาติอังกฤษ หนี่งในผู้บุกเบิก Ambient Music ที่มีส่วนผสมของ Rock, Pop และ Electronica แต่เหมือนว่าจะไม่เป็นที่ถูกใจผู้กำกับ Lynch เลยตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้บริการวงดนตรีร็อคสัญชาติอเมริกัน Toto หลงเหลือบทเพลง(ของ Eno)ที่ถูกนำมาใช้เพียง Prophecy Theme มีความล่องลอย ชวนฝัน ต้องมนต์สะกด อยู่เหนือกฎเกณฑ์ธรรมชาติ

ท่ามกลางบทเพลงที่เต็มไปด้วยท่วงทำนองรุกเร้า เมโลดี้มากมาย ถ่ายทอดอารมณ์หลากหลาย Prophecy Theme เป็นบทเพลงเดียวมอบความสงบงาม ‘meditate’ ธรรมชาติอยู่เหนือทุกสรรพสิ่งอย่าง

กลับมาที่ Main Title แต่งโดยนักคีย์บอร์ด David Paich (แห่งวง Toto) บันทีกเสียงร่วมกับ Vienna Symphony Orchestra เป็นบทเพลงที่เน้นความทรงพลัง ให้ความรู้สีกถีงอำนาจ อิทธิพล การได้ครอบครองสิ่งๆหนี่ง กลับสามารถเป็นเจ้าของทั้งจักรวาล! นี่คือใจความของ Dune ถ่ายทอดสู่บทเพลงนี้ได้อย่างขนลุกซาบซ่าน

ผมไม่รู้ว่าผู้กำกับ Lynch พบเห็นอะไรในวง Toto ก่อนหน้านี้ไม่เคยเขียนบทเพลงประกอบภาพยนตร์ และหลังจากนี้ไม่มีอีกเป็นครั้งที่สอง คาดเดาว่าคงต้องการผสมผสานดนตรีร็อคเข้ากับออเคสตร้า (สไตล์ Rock Opera?) แต่เหมือนว่าจะไม่สัมฤทธิ์ผลสักเท่าไหร่ ถีงอย่างนั้นก็ต้องยินยอมรับความดิ้นรน กระเสือกกระสน พยายามทดลองโน่นนี่นั่น สร้างสไตล์เพลงที่หลากหลาย ผลลัพท์กลับกลายสอดคล้องเข้ากับความพิลีกพิลั่นของหนังได้อย่างลงตัวเสียอย่างนั้น! (แม้บทเพลงจะมีสไตล์ที่หลากหลาย แต่ยีดถือ motif จาก Main Title ไว้ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ)

Leto’s Theme คือบทเพลงเดียวกับ Main Title แต่มีท่วงทำนองนุ่มนวล อ่อนไหวกว่า เป็นการสะท้อนตัวละครในฐานะผู้ปกครอง ต้องต่อสู้ครอบครอง แก่งแย่งชิง ‘Spice’ สิ่งๆเดียวสามารถครอบครองทั้งจักรวาล แตกต่างที่บทเพลงนี้สะท้อนสามัญสำนีก จิตวิญญาณของ Duke Leto Atreides ที่มักเป็นห่วงเป็นใยทุกคนรอบข้าง บุคคลใต้สังกัด ไม่ว่าจะสูงต่ำระดับไหน มากกว่ากอบโกยแสวงหาผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว

The Floating Fat Man (The Baron) เป็นบทเพลงที่ใครได้ยินย่อมสัมผัสถีงความเหี้ยมโหดร้าย อันตรายของ Baron Vladimir Harkonnen แวบแรกผมระลีกถีง Paganini: La Campanella แต่มันก็มีส่วนผสมของ Bach: Toccata and Fugue in D minor, BWV 565 เรียกว่านำแรงบันดาลใจจากบทเพลงที่สื่อถีงปีศาจ ยมทูต ความตาย รวบรวมยัดเยียดใส่ในบทเพลงเดียว (ประกอบความอัปลักษณ์ของตัวละคร มันยิ่งสั่นสยอง ขยะแขยง ไม่อยากเคียงชิดใกล้)

ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการใช้สไตล์เพลงร็อคในบทเพลง Dune (Desert Theme) ซี่งยังคงท่วงทำนอง Main Title แค่เปลี่ยนบรรยากาศให้มีความหลุดโลก ล้ำอนาคต ‘Futurist’

แต่ให้ตายเถอะ ผมรู้สีกว่ามันไม่เข้ากับความยิ่งใหญ่ของท้องทะเลทรายเลยสักนิด! มันเหมือนตัวละครมาท่องเที่ยว ปิคนิค รับฟังคอนเสิร์ต ไม่ได้สัมผัสถีงภยันตรายซุกซ่อนเร้น หนอนทรายมันก็เพื่อนเล่นเท่านั้นเองเหรอ T_T

Final Dreams คือการค้นพบตัวตนเองของ Paul Atreides สามารถปลุกตื่นพลังที่แท้จริงจากภายใน กลายเป็น Kwisatz Haderach พระเจ้าที่สามารถกระทำทุกสิ่งอย่าง เติมเต็มความฝันด้วยการแก้แค้น Baron Vladimir Harkonnen, ฉุดคร่า Padishah Emperor Shaddam IV ลงจากบัลลังก์, และสามารถแสดงอภินิหารเสกฝนให้ตกลงมายังดาวเคราะห์ Arrakis แต่นี่ก็ถือเป็นจุดเริ่มความฝันเท่านั้นนะครับ

แก่นแท้ของ Dune ในความเข้าใจของผมนั้นคือ ‘อิทธิพลของธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์’ ซี่งก็คือสสาร Spice ผลผลิตจากหนอนทราย (Sandworm) ที่สามารถยืดเวลาชีวิต และย่นระยะเวลาเดินทางระหว่างดางดาว (ลักษณะคล้ายๆ Wormhole) ด้วยเหตุนี้มันเลยเป็นที่ต้องการของผู้มีอำนาจ พยายามควบคุม ครอบงำ ทำทุกวิถีทางเพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากมันให้มากที่สุด และสถานที่แห่งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ดาวเคราะห์ Arrakis สามารถเรียกได้ว่าหัวใจ/ศูนย์กลางจักรวาล

Spice, เครื่องเทศ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคือ ของหอมฉุน และเผ็ดร้อนที่ได้จากต้นไม้ สำหรับใช้ทำยาและปรุงอาหาร, แต่ในทางสากลจะหมายถึง ส่วนของพืชไม่ว่าจะเป็นชิ้น หรือบดเป็นผงซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดกลิ่น รสเผ็ดร้อนขึ้นในอาหารหรือเครื่องดื่ม ทำให้เกิดความรู้สึกน่ารับประทานและรสชาติดีขึ้น

การตีความ Spice ในบริบทของ Dune ผมมองว่าเป็นสิ่งที่สามารถเพิ่มสีสันของชีวิต (ให้อายุยืนยาวนาน) และทำให้มนุษย์เปิดเผยตัวตน ธาตุแท้จริง สันดานที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในออกมา

  • Bene Gesserit Sisterhood อ้างหลักศาสนาแล้วแทรกซึมเข้าไปในทุกๆองค์กร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Spice โดยตรง แต่การถือกำเนิดของ Paul Atreides ขัดต่อแผนการสร้างพระเจ้า จึงต้องหาทางกำจัดให้พ้นภัยพาล
  • Spacing Guild คือองค์กรที่ใช้ประโยชน์จาก Spice ในการย่นระยะเวลาเดินทางระหว่างดวงดาว จีงถือว่ามีอำนาจ/อิทธิพลรองจาก Bene Gesserit ซี่งเมื่อได้รับทราบคำพยากรณ์ (จาก Bene Gesserit) จีงพยายามกดดัน Emperor Shaddam IV เพื่อให้จัดการปัญหาที่บังเกิดขี้นโดยเร็ววัน
  • Padishah Emperor Shaddam IV แม้มีฐานะเป็นถีงจักรพรรดิปกครองทั่วทั้งจักรวาล แต่มีสภาพไม่ต่างจากหุ่นเชิดชักของ Spacing Guild และ Bene Gesserit Sisterhood ในตอนแรกเป็นผู้วางแผน ออกคำสั่ง นั่งบนบัลลังก์เฝ้ารอคอยผลการกระทำ แต่พอเหตุการณ์ไม่ดำเนินไปตามนั้น ถีงค่อยลงไปบัญชาการจัดการด้วยตนเอง
  • Duke Leto Atreides รับบัญชาจาก Emperor Shaddam IV ออกเดินทางสู่ดาวเคราะห์ Arrakis เพื่อควบคุม/จัดการกระบวนการเก็บเกี่ยวผลผลิต Spice แต่นั่นเป็นเพียงแผนอันชั่วร้ายเพื่อกำจัดตนเองให้พ้นภัยพาล
  • Baron Vladimir Harkonnen รับบัญชาจาก Emperor Shaddam IV ให้ซุ่มจัดการ Duke Leto เข้ายีดครองดาวเคราะห์ Arrakis เพื่อควบคุม/จัดการกระบวนการเก็บเกี่ยวผลผลิต Spice
  • ชาวพื้นเมือง Fremen เจ้าของดาวเคราะห์ Arrakis ต้องการขับไล่ศัตรูที่พยายามกอบโกยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ โดยไม่สนชีวิตเป็นอยู่ ความต้องการของพวก

เรื่องราวของ Paul Atreides หรือ Muad’Dib คือการเดินทางของวีรบุรุษที่หลังจากพานผ่านบททดสอบมากมาย จักให้ความช่วยเหลือปลดแอกชาว Freman นำพาพวกเขาต่อสู้เอาชนะศัตรูผู้มารุกราน ปกป้องผืนแผ่นดิน/ศูนย์กลางจักรวาลนี้ไม่ให้ถูกควบคุมครอบงำโดยใคร หรือเป็นการสื่อว่า ธรรมชาติเป็นของพวกเราทุกคน ไม่ใช่ใครหนี่งใดจะเข้ามากอบโกย แสวงหาผลประโยชน์แล้วจากไป

ความเชื่อของผู้แต่งนวนิยาย Frank Herbert มนุษย์ได้กอบโกย แสวงหาผลประโยชน์ ทำลายธรรมชาติบนผืนโลกไปมากๆแล้ว แนวโน้มในอนาคตจะกลายเป็นแบบ Arrakis ไม่จำเป็นว่าต้องทะเลทรายนะครับ แต่นัยยะถีงอันตรายจากทุกสรรพสิ่งอย่างรอบข้าง สภาพภูมิอากาศแปรปรวน แหล่มน้ำ-อาหารมีจำกัด ไม่เหมาะสมแก่การดำรงชีพ และอาจถือกำเนิดสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์/ภัยพิบัติที่ไม่มีอาวุธชิ้นไหนสามารถต่อกรทำลายล้าง

คงมีเพียงพระผู้มาไถ่ ‘Messiah’ ใครสักคนที่สามารถเป็นผู้นำ เสี้ยมสอนมวลชลให้ใช้ประโยชน์จากพลังธรรมชาติ ต่อสู้ระบอบทุนนิยม โค่นล้มผู้นำคอรัปชั่น และนำความอุดมสมบูรณ์ สันติสุขหวนกลับคืนสู่จักรวาล/โลกใบนี้

อุดมคติดังกล่าวของ Herbert แสดงถีงความท้อแท้สิ้นหวัง โลกได้ก้าวไปถีงจุดที่ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้วจริงๆ มนุษย์ส่วนใหญ่ตกเป็นทาสระบอบทุนนิยม ผู้นำมากมาย(ไม่เว้นแม้ชาติประชาธิปไตย)ล้วนซ่อนเร้นความคอรัปชั่น ผลประโยชน์กอบโกยกิน ทอดทิ้งประชาชนคนชั้นล่าง นี่ไม่ใช่แค่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้นนะครับ ทุกสรรพสิ่งอย่างล้วนเกินเยียวยาแก้ไข

แซว: คำว่า Dune อ่านออกเสียงคล้ายๆ Doom สื่อถีงหายนะต่อมวลมนุษยชาติไม่แตกต่างกัน

สำหรับผู้กำกับ David Lynch ผมมองเห็นสิ่งที่เขาพยายามถ่ายทอดนำเสนออกมา มีเพียงสะท้อนสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายในเชิงรูปธรรม งานสร้างอลังการใหญ่ และภาพความอัปลักษณ์ของตัวละคร บ้างเปิดเผยออกมาตรงๆ บ้างพยายามปกปิดซ่อนเร้น เพียงพระเอกที่ใสซื่อบริสุทธิ์ ไร้สิ่งแปดเปื้อนมลทิน … พบเห็นเพียงสไตล์ลายเซนต์ แต่ไร้ซี่งจิตวิญญาณผู้สร้าง

เรื่องราวของ Dune ถือว่ามีความเป็นอมตะเหนือกาลเวลา ยังคงสั่นพ้องในยุคสมัยปัจจุบันไม่เสื่อมคลาย นายทุนทั้งหลายต่างยังคงกอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติไม่หยุดหย่อน บรรดาผู้นำ/ชนชั้นปกครองต่างเต็มไปด้วยความคอรัปชั่น อำนาจบาดใหญ่ เพิกเฉยไม่สนใจข้อเรียกร้องจากประชาชน จะมีไหมใครสักคนที่สามารถเป็นผู้มาไถ่ ‘Messiah’ ขับไล่ทำลายล้างระบอบทั้งหลายให้หมดสูญสิ้นไป


ด้วยทุนสร้างประมาณ $40-42 ล้านเหรียญ เปิดตัวสัปดาห์แรกเพียงอันดับสอง (รองจาก Beverly Hills Cop) ทำเงินได้ $6.025 ล้านเหรียญ รวมตลอดโปรแกรมฉาย $30.9 ล้านเหรียญ ภาพรวมถือว่าน่าผิดหวัง แต่ถีงอย่างนั้นยอดขายต่างประเทศ (ไม่มีรายงานรายรับ) และกระแส Cult ติดตามมา Home Video น่าจะไม่ขาดทุนสักเท่าไหร่ (เมื่อเทียบกับ Heaven’s Gate หรือ Battlefield Earth)

เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์สมัยนั้นก็แทบจะเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘worst movie of the year’ แต่อาจจะยกเว้นผู้แต่ง Frank Herbert เพราะรู้สีกว่าหนังถ่ายทอดเรื่องราวได้เหมือนการอ่านนวนิยาย (ก็ไม่รู้ว่าติหรือชมนะครับ)

“I enjoyed the film even as a cut and I told it as I saw it: What reached the screen is a visual feast that begins as Dune begins and you hear my dialogue all through it”.

Frank Herbe

สำหรับผู้กำกับ Lynch ตั้งแต่ถูกตัดขาดความสัมพันธ์ครั้งนั้น ก็ปฏิเสธที่จะพูดถีงหนัง หรือหวนกลับไปทำ ‘final cut’ แต่ก็เคยให้สัมภาษณ์มองย้อนกลับไปครั้งหนี่ง ‘ฉันไม่น่ามักมากเห็นแก่เงิน สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เลย!’

“Looking back, it’s no one’s fault but my own. I probably shouldn’t have done that picture, but I saw tons and tons of possibilities for things I loved, and this was the structure to do them in. There was so much room to create a world. But I got strong indications from Raffaella and Dino De Laurentiis of what kind of film they expected, and I knew I didn’t have final cut”.

David Lynch

ผมยังไม่มีโอกาสรับชม Dune (2021) ฉบับสร้างใหม่ของ Denis Villeneuve และยังไม่คิดดูจนกว่าจะสร้างภาคต่อสำเร็จ เชื่อว่าตอนนั้นจะมีการนำภาคแรกมาฉายซ้ำในโรงภาพยนตร์อย่างแน่นอน … เร็วสุดก็คงปลายปี 2023 (แต่ก็ไม่แน่นะครับ ด้วยสเกลงานสร้างและสถานการณ์โควิทที่ไม่ค่อยจะดีขึ้นสักเท่าไหร่ มีแนวโน้มสูงมากๆว่าอาจยืดยาวนานไปอีก 1-2 ปี)

สำหรับฉบับของ David Lynch รับชมแบบไม่คาดหวังมันก็สนุกดีนะครับ เป็นความบันเทิงเกรดบี Cult Classic ดูไว้สำหรับศีกษา ครุ่นคิดหาเหตุผล โต้ถกเถียงกันว่าทำไมหนังถีงล้มเหลว ทั้งด้านงานสร้าง ไดเรคชั่น การดัดแปลง และเสียงตอบรับจากผู้ชม/นักวิจารณ์ นั่นเหมือนจะเป็นบทเรียนที่มีประโยชน์ไม่น้อยเลยนะ

จัดเรต 13+ กับความอัปลักษณ์ทั้งภายนอก-ในของบางตัวละคร

คำโปรย | วิสัยทัศน์ของผู้กำกับ David Lynch ต่อ Dune (1984) ไม่ได้ถือว่าย่ำแย่ แค่มีการตัดสินใจผิดพลาดเยอะไปหน่อย
คุณภาพ | คัลท์คลาสสิก
ส่วนตัว | บันเทิงแบบไม่คาดหวัง

Hannah and Her Sisters (1986)


Hannah and Her Sisters

Hannah and Her Sisters (1986) hollywood : Woody Allen ♥♥♥♡

Hannah และน้องสาวอีกสองคน อาศัยอยู่ท่ามกลางเมืองใหญ่ New York City มองไปทางไหนก็พบเห็นแต่ตึกระฟ้า เต็มไปด้วยสถานที่ลับตา เรื่องวุ่นๆสัปดนชวนหัวในสไตล์ Woody Allen จึงบังเกิดขึ้น

ความสัปดนในผลงานของ Woody Allen ยังคงเป็นสิ่งที่ผมโคตรอคติเดียดฉันท์ ถึงแม้ Hannah and Her Sisters ตัวละครของ Allen จะลงเอยกับน้องสาวอดีตภรรยา แต่ในชีวิตจริงเหตุผลที่เลิกคบหา Mia Farrow ใครๆก็น่าจะรับรู้ว่าตกหลุมรักลูกสาวบุญธรรม Soon-Yi Previn (เป็นตัวประกอบหนึ่งในหนังด้วยนะ) ซึ่งขณะนั้นอายุย่าง 15-16 ปี … ให้ตายเถอะ!

แม้จะยังอีกหลายปีกว่าความจะแตก เมื่อ Farrow พบภาพนู้ดของ Previn ที่บ้านของ Allen เมื่อเดือนมกราคม 1992 อ้างว่าเพิ่งถ่ายเมื่อวันก่อน และมี Sex ครั้งแรกสองสัปดาห์ก่อนนั้น … แต่เรื่องพรรค์นี้มันเชื่อได้ที่ไหนกัน

ถึงอย่างนั้นผมก็อดไม่ได้ที่จะต้องชื่นชมความเฉลียวฉลาด เฉียบคมคายของบทหนัง การแสดงของสาวๆต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดำเนินเรื่องแบ่งออกเป็นตอนๆ ละมุมมองตัวละคร แลดูคล้ายลักษณะของนวนิยาย หลายๆฉากรับอิทธิพลแรงบันดาลใจจาก Fanny and Alexander (1982) และเพลงประกอบสะท้อนรสนิยมอันหลากหลาย คลุกเคล้าทุกสิ่งอย่างเข้ากันได้อย่างกลมกล่อม เต็มอิ่มอรรถรส บันเทิงรมณ์ไม่น้อยทีเดียว


Heywood ‘Woody’ Allen ชื่อเดิมคือ Allan Stewart Konigsberg (เกิดปี 1935) นักแสดง ผู้กำกับสร้างละครเวที/ภาพยนตร์ และเดี่ยวไมโครโฟน สัญชาติอเมริกา เกิดที่ Brooklyn, New York ในครอบครัวชาว Jews ช่วงชีวิตวัยเด็กไม่ค่อยมีความสุขนัก พ่อแม่มีปากเสียงทะเลาะวิวาทกันบ่อยครั้ง ทำให้ Allen จำต้องแปรสภาพความเครียดนี้ให้กลายเป็นเรื่องเล่าสนุกสนานขบขัน (เป็นการหนีตัวเองลักษณะหนึ่ง) พออายุ 15 เริ่มหัดเขียนมุกตลกลงในหนังสือพิมพ์ ไม่นานก็ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ มียอดขายใช้ได้ทีเดียว

ช่วงทศวรรษ 60s เริ่มต้นเป็นเดี่ยวไมโครโฟน Stand-Up Comedy ที่ต้องถือว่าเป็นผู้สร้างนิยามใหม่ให้กับวงการ ด้วยความสนใจในเรื่องจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) [ตัวเขาต้องพึ่งนักจิตวิทยาตั้งแต่อายุยังน้อย] ชอบพูดถึงชีวิตบัดซบๆของตนเองในมุมขบขัน ไม่ค่อยสนใจปัญหาการเมือง สังคม สงคราม ที่ตลกสมัยนั้นชอบนำมาเสียดสีล้อเลียน, นี่ถือสไตล์ Comedy ที่สร้างความแตกต่าง ‘refreshing’ ให้กับคนอเมริกายุคสมัยนั้น

สำหรับภาพยนตร์ เริ่มต้นจากเป็นผู้เขียนบท What’s New Pussycat? (1965) แต่เพราะผลงานออกมาค่อนข้างย่ำแย่ ทำให้ Allen ตั้งปณิธานว่าจะเขียนเองกำกับเองนับจากนั้น โดยเรื่องแรกที่ถือเครดิตผู้กำกับคือ What’s Up, Tiger Lily? (1966), Take the Money and Run (1969), Everything You Always Wanted to Know About Sex* (*But Were Afraid to Ask) (1972), Sleeper (1973), Love and Death (1975), กระทั่งค้นพบแนวทางตนเอง Annie Hall (1977) คว้ารางวัล Oscar: Best Picture, Best Director, Best Actress และ Best Original Screenplay

สำหรับ Hannah And Her Sisters จุดเริ่มต้นจากวันสบายๆของ Allen อยู่ดีๆครุ่นคิดได้ถึงชื่อหนัง ทั้งๆไม่มีแนวคิดใดๆเกี่ยวกับเรื่องราว แต่แค่ชื่อดังกล่าวก็ฟังดูน่าสนใจดี

“I was sitting home working on another script – working on some names or something – and the title of Hannah and Her Sisters came to me. I had no idea of the story or anything. I just thought: That’s an interesting title for something. And I filed it. So that was really the first thing that came”.

– Woody Allen

ระหว่างยังครุ่นคิดอะไรไม่ได้ นั่งอ่านนวนิยาย Anna Karenina (1878) ผลงานก้องโลกของ Leo Tolstoy เกิดความครุ่นคิดถึงวิธีการดำเนินเรื่อง(ของนวนิยาย) เป็นอะไรที่น่านำมาทดลองปรับใช้กับภาพยนตร์

“Then, the summer before last, I reread ‘Anna Karenina,’ and I thought, it’s interesting how this guy gets the various stories going, cutting from one story to another. I loved the idea of experimenting with that”.

เมื่อได้ข้อสรุปโครงสร้างการเล่าเรื่อง แบ่งออกเป็นบทๆตอนๆ เล่าเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร (ที่แตกต่างออกไป) เท่านั้นเองทุกการครุ่นคิดเรื่องราวก็ดำเนินไป โดยนำส่วนใหญ่ๆล้วนจากประสบการณ์ชีวิตของเขาเอง

“Maybe that comes from childhood; my mother had seven sisters and their children were female, so all I knew were aunts and female cousins”.

Hannah (รับบทโดย Mia Farrow) มีน้องสาวสองคน Lee (รับบทโดย Barbara Hershey) และ Holly (รับบทโดย Dianne Wiest) ต่างให้ความช่วยเหลือพึ่งพากันและกันมาโดยตลอด ซึ่งเรื่องราวสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดำเนินขึ้นระยะเวลา 24 เดือน เริ่มต้น-สุดสุด ณ งานเลี้ยงวัน Thanksgiving
– เล่าผ่านมุมมองของ Elliot (รับบทโดย Michael Caine) สามีคนปัจจุบันของ Hannah โดยไม่รู้ตัวตกหลุมรัก Lee ที่มีแม้มีคู่ขา Frederick (รับบทโดย Max Von Sydow) แต่ก็ยังพยายามเกี้ยวพาราสีจนได้ร่วมรักหลับนอน นั่นทำให้ทั้งคู่รู้สึกผิดต่อจิตสำนึกของตนเอง
– Mickey (รับบทโดย Woody Allen) อดีตสามีของ Hannah เป็นนักเขียนรายการโทรทัศน์ ที่มีความละเอียดอ่อนไหวในเรื่องเล็กๆน้อยๆ สาเหตุที่เลิกร้างราเพราะหมอบอกว่าอสุจิอ่อนแอไม่สามารถมีลูกได้ นั่นสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวฉานจนเคยครุ่นคิดฆ่าตัวตาย กาลเวลาผ่านไปหลังจากทำใจได้มีโอกาสนัดเดทกับ Holly ครั้งแรกล้มเหลวไม่เป็นท่า แต่ไปๆมาๆกลับประสบความสำเร็จ ซะงั้น!
– เรื่องราวของ Holly อดีตเคยเสพติดโคเคน ต่อมาต้องการเป็นนักแสดง Broadway แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จได้รับการคัดเลือก เพราะไม่มีงานทำจึงมักขอหยิบยืมเงินจากพี่สาว Hannah เริ่มต้นธุรกิจอาหารกับเพื่อนนักแสดง April (รับบทโดย Carrie Fisher) แต่ไปๆมาๆถูกเธอแย่งแฟนหนุ่มสถาปนิก อีกทั้งออดิชั่นบทบาทเดียวกัน สุดท้ายเปลี่ยนมามุ่งมั่นการเขียนนิยาย/บทละครเวที จับพลัดจับพลูได้หวนกลับมาพบเจอ Mickey ให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาอย่างดี จนตกหลุมรัก และสุดท้ายได้แต่งงานกัน


Mia Farrow รับบท Hannah พี่สาวสามารถเป็นที่พึ่งพาของพ่อ-แม่ น้องๆ ได้ทุกสิ่งอย่าง แต่กับสามีทั้งสอง เหมือนะแทบไม่เคยเข้าใจอะไรๆกัน
– กับ Mickey เพราะเธอพยายามเรียกร้องโน่นนี่นั่นมากจนเกิน แต่เมื่อเขาไม่สามารถให้ได้เลยค่อยๆเหินห่าง
– สำหรับ Elliot มันดูเหมือนว่าจิตใจเขาล่องลอยออกไป ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เลยมิอาจเข้าใจอะไรได้สักเท่าไหร่

แม้ว่า Allen จะเขียนบทบาทนี้สำหรับ Farrow แต่เขาให้อิสระแก่เธอในการเลือกเล่นเป็นใครก็ได้ ซึ่งปฏิกิริยาแรกจริงๆเมื่อได้อ่านบทหนัง ไม่ต่างกับตัวละครที่แสดงออกมา (เมื่ออ่านนิยาย/บทละครของ Holly)

“While we walked, worked, ate, slept and lived our lives, the story of Hannah was fleshed out, detail by familiar detail”.

– Mia Farrow

ผมรู้สึกว่า Farrow ในหนังของ Allen มีความ Typecast ประการหนึ่ง เพราะพวกเขาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน (แต่ไม่ได้อยู่อพาร์ทเม้นท์หลังเดียวกัน) จึงพบเห็นรับรู้จักตัวตน ภาพยนตร์กี่เรื่องต่อกี่เรื่องก็มักเต็มไปพบเห็นความใส่ซื่อ บริสุทธิ์ จริงใจ เมื่อเทียบกับบทบาทเรื่องอื่นๆอย่าง Rosemary’s Baby (1968) หรือ The Omen (2006) แทบจะกลายเป็นคนละคน!


Barbara Hershey ที่ตอนนั้นยังไม่มีชื่อเสียงสักเท่าไหร่ เพิ่งย้ายมา Manhattan ได้เพียงสามวันก็มีโอกาสพบเจอ Woody Allen โดยไม่ทันตั้งใจ ชักชวนมารับบท Lee ผู้มีความโหยหาในรัก และ Sex ได้รับการเสี้ยมสอนเปิดโลกทัศน์โดย Frederick (รับบทโดย Max Von Sydow) เมื่อพร้อมจะโบยบินออกมา ถูกดักจับได้โดย Elliot สร้างความปั่นป่วนว้าวุ่นวายใจ เพราะเขาคือสามีพี่สาว เลยพยายามที่จะดิ้นให้หลุดจากพันธนาการหัวใจอีกครั้งหนึ่ง

“I just fell in love with the role and I came in with lots of wonderful ideas that Woody didn’t like and I had to just let go of them. Because I realized what’s the point of doing a Woody Allen movie unless you’re going to do it his way, unless you’re going to see where he takes you. And as soon as I gave myself to him as an actor, it was great. I relaxed”.

– Barbara Hershey

ผมรู้สึกว่าบทบาทนี้ถูกทำให้เป็น ‘Male Gaze’ ของ Allen (ไม่รู้คือมุมมองของเขาต่อ Hershey เลยหรือเปล่านะ) พยายามจับจ้องมอง ขวนขวายไขว่คว้า ทำทุกสิ่งอย่างให้ได้มาครอบครองเป็นเจ้าของ แต่หลังจากนั้นไม่รู้ยังไงต่อเหมือนกัน ตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือว่าเปิดประตูความสำเร็จให้กับ Hershey มีโอกาสเล่นหนังดีๆมากมาย อาทิ Shy People (1987), A World Apart (1988) [สองเรื่องนี้คว้ารางวัล Best Actress จากเทศกาลหนังเมือง Cannes], The Last Temptation of Christ (1988), The Portrait of a Lady (1996), Insidious (2010), Black Swan (2010) ฯ


Dianne Wiest รับบท Holly เพราะเคยเสพติดโคเคนจนเสียคน แม้ปัจจุบันจะลดละเลิกราไปนานแล้ว แต่สีหน้าสายตายังคงวอกแวก อารมณ์ร้อนรน ขาดความมั่นใจ/กำลังใจจากพี่ๆ ทำอะไรเลยไม่เคยประสบความสำเร็จสักอย่าง จนกระทั่งหวนกลับมาพบเจอ Mickey เพราะพานผ่านอดีตร้ายๆมาคล้ายคลึง โดยไม่รู้ตัวสามารถปรับเข้าหากันได้อย่างดูดดื่ม

Wiest เป็นนักแสดงมาจากฝั่งละครเวที ก่อนหน้านี้เพิ่งได้ร่วมงานผู้กำกับ Allen เรื่อง The Purple Rose of Cairo (1985) ประทับใจความเพี้ยนๆ เล่นเป็นตัวละครพึ่งพาอะไรไม่ได้ค่อยได้สักเท่าไหร่ ซึ่งความสำเร็จของ Hannah and Her Sisters (1986) สามารถคว้า Oscar: Best Supporting Actress ทำให้เธอกลายเป็นนักแสดงยอดฝีมือ ผลงานเด่นๆติดตามมา อาทิ Parenthood (1989), Edward Scissorhands (1990), Bullets over Broadway (1994), The Birdcage (1996), Rabbit Hole (2010) ฯ


Michael Caine รับบท Elliot แม้แต่งงานมีภรรยาอยู่แล้ว แต่ก็มิอาจหักห้ามใจ ลุ่มหลงใหล ตกหลุมรัก Lee ครุ่นคิดสรรหาวิธีการให้ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ จนกระทั่งสำเร็จสมหวังดั่งใจ จากนั้นภายในก็เริ่มปั่นป่วนคลุ้มคลั่ง เพราะไม่รู้จะหาหนทางออกทำอย่างไรต่อไปดี

Caine เป็นเพื่อนของ Farrow มานมนาน (เพิ่งได้ร่วมงานกันก็ครั้ง) เห็นว่ายังเป็นคนแนะนำเธอให้รู้จักกับ Allen อีกต่างหาก แม้แรกเริ่มจะไม่ใช่ตัวเต็งรับบท (ผู้กำกับเล็ง Jack Nicholson ซึ่งก็สนใจแต่ไม่มีเวลาว่าง) ครั้งนี้เลยเป็นโอกาสอันดีร่วมงานกัน

“He’s one of the few people around who can play serious and comedy. There’s not a lot of us around!”

– Woody Allen

แต่การทำงานในกองถ่าย สร้างความกระอักกระอ่วนตัวเกร็งให้ Caine อยู่ไม่น้อย เพราะเขาต้องเข้าฉากเลิฟซีน กอดจูบ Farrow ในห้องนอนของเธอ โดยมีคนรักคนปัจจุบัน Allen จับจ้องมองอยู่ไม่ห่าง … ถึงอย่างนั้นก็คุ้มอยู่นะ ทำให้ Caine คว้า Oscar: Best Supporting Actor ตัวแรกไปครองได้ (แบบมึนๆสักหน่อย)


Woody Allen รับบท Mickey ชายผู้เป็นโรคหวาดระแวง มีความคลุ้มคลั่งเสียสติแตกอยู่ตลอดเวลา แค่ไปหาหมอบอกให้ตรวจเพิ่ม ก็มโนเพ้อภพจินตนาการไปแสนไกล สืบเนื่องจากปมฝังใจที่เลิกร้างรากับ Hannah เพราะได้รับการวินิจฉัยมีลูกไม่ได้ นั่นทำให้แทบสูญสิ้นความเป็นชาย กลายเป็นคนขาดความมั่นใจในตนเอง อะไรเล็กๆน้อยๆก็เก็บไปครุ่นคิดมาก ไม่สามารถหาความสงบสุขให้กับตนเองได้

สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวละครนี้ ก็คือชีวิตช่วงหนึ่งของ Allen เองเลยนะ เพราะไม่สามารถมีลูกได้ตามคำขอของ Farrow พยายามแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เลยแทบสูญสิ้นความเป็นชาย (แต่ภายหลังก็มีได้ น้ำยายังไม่หมด) จำต้องรับอุปการะเลี้ยงดูเด็กๆหลายคน (ลูกๆของพวกเขา มารับเชิญในหนังแทบทั้งหมด)


ทิ้งท้ายกับ Max Von Sydow รับบท Frederick ชายสูงวัย วันๆหมกตัวอยู่แต่ในอพาร์เมนท์ สรรค์สร้างงานศิลปะ ภาพนู้ด ปิดกั้นตนเองจากโลกภายนอก หลงเหลือเพียงคนรัก/ลูกศิษย์ Lee เสี้ยมสั่งสอนเธอทุกสิ่งอย่าง แต่ก็คาดคิดว่าสักวันเธอคงจากไป … และวันนั้นก็กำลังมาถึง

แม้แค่ช่วงเวลาสั้นๆที่ได้ร่วมงาน แต่ก็สร้างความประทับใจให้ทุกคนในกองถ่าย เมื่อหมดสิ้นคิวได้รับการปรบมือจากทีมงาน

“Max is so good, the crew applauds. That never happens for an actor. His gift is so large, it’s universal. Whether he plays sophisticated or unsophisticated, it doesn’t matter”.

– Woody Allen

สำหรับ Von Sydow พูดถึงการร่วมงานกับ Allen

“It was the beginning of a very nice period and I enjoyed very much playing in that film. I was sorry that it didn’t take longer, but I am a great admirer of Woody Allen and I hope he will continue forever”.

– Max Von Sydow


ขาประจำถ่ายภาพของ Allen ก่อนหน้านี้คือ Gordon Willis แต่เพราะติดโปรเจคอื่นเลยจำต้องเปลี่ยนมาเป็น Carlo Di Palma (1925 – 2004) ตากล้องยอดฝีมือสัญชาติอิตาเลี่ยน ก่อนหน้านี้เป็นขาประจำของ Michelangelo Antonioni ผลงานเด่นๆ อาทิ Red Desert (1964), Blowup (1966), Hannah and Her Sisters (1986), Shadows and Fog (1991) ฯ

“Carlo was the opposite of Gordon in that Gordon has prodigious technique in addition to his artistic genius. Carlo was an absolute hunt-and-peck primitive. He would put a light there and look around and try something else, and put a light somewhere else, and somehow arrive at very beautiful lighting. He learned through no schools at all”.

– Woody Allen

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้กำกับ Allen ได้อิทธิพลพอสมควรจาก Fanny and Alexander (1982) ของผู้กำกับ Ingmar Bergman โดยเฉพาะการเริ่มต้นด้วยงานเลี้ยงของครอบครัว เปลี่ยนจากเทศกาลคริสต์มาสมาเป็นวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving) สถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำคืออพาร์ทเม้นท์จริงๆของ Mia Farrow ยัง New York City ยัดนักแสดง ตัวประกอบ และทีมงานกว่า 40 ชีวิตเข้าไปในนั้น!

God, she’s beautiful… เริ่มต้นด้วยด้วยข้อความ เสียงพูด และช็อตแรกของหนังถ่ายให้เห็นว่าเธอคนนั้นคือใครกัน สวยไหมก็ถามใจคุณเอง จากนั้นกล้องทำการแพนนิ่ง เคลื่อนเวียนวนไปรอบๆห้อง พบเห็นผู้คนมากมาย ผนังกำแพงอยู่รอบทิศทาง

สามพี่น้องร่วมช็อตกันครั้งแรก ซ่อนเร้นด้วยนัยยะบางอย่าง
– Hannah ยืนอยู่ด้านซ้าย กำลังตระเตรียมอาหาร ทำทุกสิ่งอย่างด้วยตนเอง (ไม่มีใครช่วยเหลือ)
– Lee ยืนอยู่กึ่งกลาง หันหน้าตั้งฉาก คือเธอเอาตัวรอดด้วยตนเองได้ แต่กลับทำบางสิ่งอย่างลับหลัง Hannah
– Holly ยืนขวาสุด จุดบุหรี่ พึ่งพาตนเองไม่ได้ แต่ก็ยังสนแต่แสวงหาความสุขส่วนตัว

ตั้งแต่ฉากแรกๆแล้วที่ Elliot พยายามเกี้ยวพาราสี Lee อย่าง Long Take ซีนนี้ กล้องจะแพนไปมา ตัวละครเดินสลับสวนทาง ก่อนมาหยุดลงที่ฝ่ายหญิงนั่งลงตรงเตียง (น่าจะเป็นห้องของลูกๆ) และเขากำลังพยายามจะโน้มตัวเข้าไป ถูกภรรยา Hannah เข้ามาขัดจังหวะพอดิบดี

จะว่าไป Allen ก็เป็นแฟนคลับผู้กำกับ Yasujirô Ozu เลยไม่แปลกถ้าฉากบนโต๊ะอาหารนี้ จะมีการลำดับไล่เลียงความสำคัญ หัวโต๊ะคือเจ้าภาพ Elliot ด้านขวามือ(ของเขา)ประกอบด้วยศรีภรรยา ตามด้วยแม่สะใภ้ และน้องสาวทั้งสอง ส่วนด้านซ้ายมือเริ่มจากพ่อสะใภ้ ที่เหลือก็ไม่รู้ว่าใคร และเด็กๆนั่งอยู่ด้านหลัง ทั้งหมดคือลูกๆของ Mia Farrow (และ Woody Allen)

ตอนของ Lee เมื่อกลับมาถึงอพาร์ทเม้นท์ เริ่มต้นจะพบเห็นแต่ศีรษะด้านหลังของ Frederick เพื่อสะท้อนบุคลิกนิสัยของตัวละครที่พยายามปกปิดบัง ซ่อนเร้น ตัดขาดจากโลก (ผู้ชมเลยไม่ได้รับโอกาสมองเห็นใบหน้า)

เพื่อสะท้อนนิสัยหวาดระแวงของ Mickey แรกเริ่มต้นก็ใส่ปัญหาป่วนๆในอาชีพการงาน ระหว่างก้าวย่างเดินยังโถงทางเดิน ผู้คนมากมายรายล้อมด้วยสารพัดปัญหา … นี่น่าจะได้แรงบันดาลใจจาก (นึกไม่ออกแหะ)

New York City เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยตึกสูงระฟ้า มองไปทางไหนก็พบเห็นผนังกำแพง ซึ่งสิ่งที่พบเห็นค่อนข้างบ่อยในหนังแม้ฉากภายใน คือถ่ายจากอีกห้องให้ติดผนัง/ประตู บดบังส่วนหนึ่งของภาพไว้ เพื่อสร้างความรู้สึกอึดอัด คับแบบ (แนวคิดคล้ายๆ In the mood for Love)

อย่างฉากนี้ตัวละครของ Allen ไปหาหมอ ฝั่งของเขาไม่มีอะไรปกปิดบัง แต่ด้านหลังของหมอกับมีกำแพงขวางกั้น นั่นสะท้อนตรงๆเลยว่ามีความผิดปกติบางอย่างที่อาจเกิดขึ้น

ความวิกลจริตของผู้มีจิตหวาดระแวง ต้องการจะล่วงรับรู้แนวโน้มร้ายแรงสุดที่อาจเป็นไปได้ แต่เพราะหมอประจำตัวพยายามหลีกเลี่ยงไม่พูดบอก ตัวละครเลยต้องหาหนทางทำยังไงต้องล่วงรับรู้ให้จงได้ โทรสอบถามเพื่อนหมอ สถานที่ยังตู้โทรศัพท์สาธารณะขณะฝนตก สะท้อนอารมณ์เศร้า เหงา หนาวเหน็บ สีหน้าห่อเกี่ยว(เมื่อรับรู้ว่าตนเองอาจกำลังป่วยเป็นอะไร)

วิธีการโชว์ความ สถาปัตยกรรม New York City ในสไตล์ผู้กำกับ Allen ใช้วิธีการให้ตัวละครหนึ่งเป็นสถาปนิก กำลังจีบสาว พาไปท่องเที่ยวเยี่ยมชม พร้อมพูดบรรยาย ประกอบบทเพลงคลาสสิก Bach: Concerto for Two Violins and Orchestra in D minor, BWV 1043

แต่เงยหน้าแหงนมองเบื้องบนอย่างเดียว จะพลาดความงดงามบางอย่างที่อยู่ภาคพื้น ซึ่งผู้กำกับ Allen ใช้การนำเสนอขณะ Elliot แอบดักซุ่มรอ Lee สรรค์สร้างปาฏิหารย์/ความบังเอิญให้เกิดขึ้นเอง … แต่สภาพสถานที่บนท้องถนน เลือกมาแบบไม่ให้รู้สึกน่าดูชมเลยนะ!

กลับมาเรื่องของ Micky ที่ถูกตรวจพบว่าอสุจิไม่แข็งแรงพอจะสามารถมีบุตรได้ ทำให้เขาตัดสินใจเลือกชายคนนี้ให้บริจาคสเปิร์ม ระหว่างพูดคุยเกลี้ยกล่อมเกลา พี่แกเดินอ้อมไปด้านหลังตำแหน่งนี้ … จะสื่อถึงอะไรกันนะ

แต่เหมือนว่าความตั้งใจนั้นจะล้มเหลว ภาพถัดมา Micky ท่ามกลางความมืดมิดสนิท ไม่ต้องบอกคงรับรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น จำต้องเลิกร้างรากับ Hannah

ตัดข้ามตอนมายังโอเปร่าสี่องก์ Manon Lescaut (1893) แต่งโดยคีตกวีสัญชาติอิตาเลี่ยน Giacomo Puccini (1858 – 1924) ตัดมานำเสนอเฉพาะตอน Sola, perduta abbandonata (แปลว่า Alone, lost, abandoned)

ภาพวาดศิลปะของ Frederick ที่หนังนำเสนอมีเพียงภาพร่างนู้ด 2-3 รูปเท่านั้น (คนที่เป็นแบบก็น่าจะเป็น Lee นะแหละ) ส่วนผลงานอื่นๆถูกเก็บไว้ยังอีกสถานที่หนึ่ง ไม่น่าสนใจพอนำเสนอ เพราะเรื่องราวหลักๆต้องการแสดงความติสต์แตก อดรนทนไม่ได้ของ Elliot (น่าจะเพราะภาพวาดนู้ดเหล่านี้ด้วยส่วนหนึ่ง)

Bach: Harpsichord Concerto in F minor BWV 1056 บทเพลงแนว Baroque เป็นที่ชื่นชอบโปรดปรานของ Elliot ฟังดูไม่ได้สร้างอารมณ์ทางเพศใดๆให้คึกคัก แต่กลับทำให้เขาควบคุมตัวเองไม่อยู่ ซะงั้น! (สถานที่ได้ บรรยากาศโปรด เลยมิอาจหักห้ามหัวใจตนเองได้อีกต่อไป)

อาการหวาดระแวงของ Mickey ทำให้แรกเริ่มจินตนาการ หมอเดินเข้ามาบอกว่าป่วยหนัก เป็นการหลอกล่อผู้ชมให้หลงเชื่อสนิทใจ แล้วมาตบหัวลูกหลังกับรอบสอบ หมอเดินเข้ามาบอกว่าไม่เป็นไร

ออกมาจากโรงพยาบาลด้วยอาการลิงโลด กระโดด แต่ไปๆมาๆยืนหยุดนิ่ง ครุ่นคิดอะไรบางอย่างขึ้นได้ … ฉากนี้ถ่ายทำจากฝั่งตรงกันข้ามถนน กล้องเคลื่อนเลื่อนติดตาม พบเห็นรถวิ่งผ่านไปมาในจังหวะที่พอดิบพอดีไม่น้อยทีเดียว

ความสัมพันธ์ที่พัฒนาไปของ Elliot กับ Lee ในที่สุดก็ลงเอยด้วย Sex นัดพบเจอในโรงแรม สังเกตว่าช็อตนี้เปิดโคมไฟไว้ แต่พวกเขากลับอยู่ตำแหน่งที่เงามืดบิดบังปกคลุม สะท้อนถึงสิ่งกำลังจะทำต่อไป ไม่ใช่เรื่องน่าเปิดเผย/ยินยอมรับได้ตรงไหน

รูปปั้น The Thinker (1902) ต้นแบบฉบับคือผลงานประติมากรรมของ Auguste Rodin (1840 – 1917) สัญชาติฝรั่งเศสตั้งตระหง่านอยู่กรุง Paris แต่ได้รับการลอกเลียนแบบนับครั้งไม่ท้วน ปรากฎพบเห็นอยู่น่าจะทั่วโลกเลยละ

ช็อตนี้เป็นการเปรียบเทียบการเป็นนักคิดเข้ากับตัวละครของ Woody Allen แค่นั้นเองนะ

ผมว่าช็อตนี้มีความพิเศษกับ Woody Allen มากๆเลยนะ เพราะเป็นการสะท้อนว่า ตัวเขาได้ติดกับ ถูกคุมขังคุก ยังมหานคร New York City ไม่สามารถหลบลี้หนีจากไปไหนได้อีก

ก่อนหน้าที่ Holly จะเดินทางไปทำการออดิชั่น นัดพบเจอ Hannah ยังร้านขายเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง ซึ่งสะท้อนถึงการที่เธอไม่สามารถเลือกหาหนทางชีวิตที่เหมาะสมเองได้ (ขณะที่ Hannah หยิบเอาหยิบเอา เรียกว่าตัดสินใจเลือกทุกสิ่งอย่างด้วยตนเอง)

คงไม่ต้องบอกว่าการออดิชั่นของ Holly ประสบความล้มเหลวเช่นไรหรอกนะ

สามพี่น้องนัดพบเจอกันยังร้านอาหาร กล้องเคลื่อนหมุนรอบโต๊ะ 360 องศา (แบบเดียวกับ Reservoir Dogs) ซึ่งเมื่อการสนทนาออกรสเข้มข้นขึ้น ระยะภาพจะเคลื่อนเข้าใกล้ใบหน้าตัวละคร สองฝั่งจับจ้องมอง ใกล้-ไกล เบลอ-ชัด กลายเป็นวิกฤตการณ์สามเส้า … เป็นไดเรคชั่นที่ผมว่าเจ๋งสุดในหนังแล้ว

วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับ Mikey คือสูญความเชื่อมั่นในตนเอง เลยพยายามออกหาที่พึงพาทางศาสนา หนึ่งในนั้นนับถือพระกฤษณะ (ไม่รู้พราหมณ์หรือฮินดู) แต่มันก็แค่ลมปากเท่านั้นที่แสดงความสนใจ เพราะเขาเพียงยืนอยู่อีกฝั่งของรั้ว หาได้กล้าข้ามเข้าไปศึกษาเรียนรู้เข้าใจด้วยตนเองอย่างจริงจัง

ทีแรกผู้กำกับ Allen ครุ่นคิดฉากงานเลี้ยงวัน Thanksgiving แค่อารัมบทของหนังเท่านั้น แต่ไปๆมาๆก็ตัดสินใจถ่ายเพิ่มช่วงท้าย เพื่อให้เรื่องราวมีจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด เวียนวนกลับมาตำแหน่งเดิม

หาพบเจอ Soon-Yi Previn กันไหมเอ่ย?

วิกฤตที่เกิดขึ้นกับ Hannah คือความฉงนสงสัยว่า Holly ล่วงรับรู้ตื้นลึกหนาบางในชีวิตของตนเองได้อย่างไร ถึงสามารถนำมาเขียนเป็นนวนิยาย ซึ่งเมื่อกำลังพูดคุยปรึกษา Elliot ขณะนั้นเต็มไปด้วยความหงุดหงิดหัวเสีย (เพราะเพิ่งถูก Lee บอกเลิก) เลยไม่พยายามใคร่สนใจสิ่งอื่นใด หลบซ่อนตัวอยู่ด้านหลังประตู ช็อตนี้เลยพบเห็นแต่ Hannah พูดพร่ำอยู่เพียงผู้เดียว

แล้วหนังก็มาเฉยคำตอบว่า Holly ล่วงรับรู้ตื้นลึกหนาบางของ Hannah ได้อย่างไร? นั่นเพราะเธอได้บังเอิญพบเจอกับ Mickey ณ ร้านขายแผ่นเสียง ทั้งๆก่อนหน้านี้ชื่นชอบดนตรีคนละสไตล์ แต่ในที่สุดก็สามารถหาความกึ่งกลาง เพียงพอดีต่อกันและกัน

Mickey เล่าย้อนอดีตให้ฟังถึงช่วงเวลาเลวร้ายสุดขีดในชีวิตหลังเลิกร้างรา Hannah ครุ่นคิดยิงปืนเข่นฆ่าตัวตาย แต่ก็ได้แค่ทำลายกระจกแตก สะท้อนถึงจิตใจที่สูญสลาย

ได้รับชมภาพยนตร์ Duck Soup (1933) ระหว่างสี่พี่น้อง Marx Brothers ขับร้องเพลง Freedonia’s Going To War โดยไม่รู้ตัวทำให้ Mickey แปรเปลี่ยนมุมมองทัศนคติต่อชีวิตไปโดยสิ้นเชิง!

เอาจริงๆ Duck Soup เป็นภาพยนตร์ที่ไม่ได้มีสาระประโยชน์อะไรเลยนะ (แค่ชื่อหนังก็จับไปกระเดียดแล้ว) แต่มันสามารถทำให้ตัวละคร Mickey (โดยเฉพาะ Allen ผู้มีความชื่นชอบคลั่งไคล้ Groucho Marx) เกิดความพักผ่อนคลายจากการครุ่นคิด ค้นพบว่าชีวิตไม่ได้จำเป็นต้องมีเป้าหมาย โลกไม่ได้เหี้ยมโหดร้ายขนาดนั้น เมื่อจิตใจเรามีทุกข์ ก็แค่หัวเราะผ่อนคลายไปกับมัน

ช็อตจบของหนังเป็น Long Take ที่กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนแพนนิ่งมาจนถึง Holly จับจ้องมองตนเองในกระจก สาวใช้ค่อยๆหรี่ปิดไฟ แล้วอยู่ดีๆ Micky เข้ามาจากด้านหลังโอกกอดจูบพร่ำรัก … ฉากนี้ให้สัมผัสหลอนๆเหมือนหนังผียังไงชอบกล แล้วตบมุกด้วย XXX ไม่บอกแล้วกันว่าคืออะไร เป็นการล้อกับฉากกลางเรื่องที่ Micky ระหว่างรอคอยฟังคำวินิจฉัยจากหมอ ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นในความครุ่นคิด จินตนาการของเขาเองเท่านั้น!

ตัดต่อโดย Susan E. Morse ขาประจำผู้กำกับ Woody Allen ที่เริ่มงานจากเป็นผู้ช่วยนักตัดต่อ Ralph Rosenblum เรื่อง Annie Hall (1977) ซึ่งก็ได้เข้ามารับหน้าที่แทนหลังจาก Rosenblum เกษียณตนเองตั้งแต่ Manhattan (1979) จนถึง Celebrity (1998)

ผู้กำกับ Allen ได้ครุ่นคิดโครงสร้างการดำเนินเรื่องไว้ก่อนพัฒนาบทหนังเสียอีก นั่นคือให้มีลักษณะเหมือนนวนิยาย แบ่งออกเป็นบทๆ เริ่มต้นด้วยชื่อตอน นำเสนอผ่านสามมุมมองตัวละคร (พร้อมเสียงบรรยายความครุ่นคิด)
– เรื่องราวความสัมพันธ์ลับๆระหว่าง Elliot กับ Lee ที่จะค่อยๆพัฒนาขึ้นและลง
– สำหรับ Micky จะสลับไปมาระหว่างเล่าย้อนอดีต และปัจจุบันกำลังดำเนินไป
– มุมมองของ Molly ที่ช่วงแรกๆจะดำเนินไป ชีวิตมีขึ้นมีลง จนกระทั่งช่วงท้ายซ้อนทับกับ Micky ถึงค่อยพบความพึงพอใจ


สำหรับเพลงประกอบ ผู้กำกับ Allen ได้ทำการคัดเลือกบทเพลงมีชื่อมากมาย ทั้งคลาสสิก แจ๊ส ร็อค เพื่อสะท้อนถึงความหลากหลายที่สามารถพบเจอได้ยังเมือง New York City

บทเพลงที่ผมครุ่นคิดว่า Allen ต้องการให้เป็น Main Theme ดังขึ้นขณะ Opening Credit ดูแล้วเพื่อสร้างกลิ่นบรรยากาศภาพรวมของ New York City ด้วยทำนองแจ๊สคลาสสิก You Made Me Love You (1913) แต่งโดย Joseph McCarthy, James V. Monaco ฉบับที่นำมาใช้บรรเลงโดย Harry James and his Orchestra

Bach: Concerto for Two Violins and Orchestra in D minor, BWV 1043 เป็นตัวเลือกที่เจ๋งมากๆสำหรับการบรรยายสถาปัตกรรม ตึกสูงใหญ่ของกรุง New York City พบเห็นแล้วมอบความรู้สึก ‘คลาสสิก’ เก่าแก่แต่ไม่ถึงขั้นโบราณ เต็มไปด้วยเสน่ห์ มนต์ขลัง น่าลุ่มหลงใหลเสียจริง

Bach: Harpsichord Concerto in F minor BWV 1056 บทเพลงแนว Baroque ที่สุดแสบเรียบง่าย ไม่ได้มีการบีบเค้นคั้นทางอารมณ์ใดๆ แต่กลับสามารถทำให้ตัวละครกระทำสิ่ง … คาดไม่ถึง!

Slip Into the Crowd (1986) บทเพลงร็อค แต่งโดย Michael Bramon ขับร้องโดย The 39 Steps … คือมันไม่ใช่รสนิยมของ Woody Allen ละสินะ

I’m in Love Again (1927) บทเพลงแนว Jazz แต่งโดย Cole Porter ฉบับในหนังขับร้อง/แสดงสดโดย Bobby Short … นี่ต่างหากรสนิยมของ Woody Allen

บทเพลงนำสู่ตอนจบชื่อ Isn’t It Romantic แต่งโดย Richard Rodgers, Lorenz Hart ฉบับในหนังบรรเลงเดี่ยวเปียโนโดย Derek Smith แต่ผมหามาให้ฟังไม่ได้เลยนำฉบับ Oscar Peterson Trio (Oscar Peterson Plays Rodgers & Hart) ประกอบอัลบัม Blue Moon มาให้รับฟังกัน

Hannah and Her Sisters นำเสนอสามเรื่องราวคู่ขนานของ
– ชายผู้ตกหลุมรักน้องสาวภรรยา พยายามทำทุกสิ่งอย่างให้ได้เธอมาครอบครอง
– ชายผู้หมกมุ่นในความตาย มโนเพ้อภพไปไกลแต่สุดท้ายกลับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
– หญิงสาวผู้โหยหาความรัก การยินยอมรับ และมีตัวตนในสังคม (ส่วนนี้สามารถมองได้ทั้ง Lee และ Holly เลยนะ)

สามเรื่องราวดังกล่าวอาจดูไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้อง แต่ทั้งหมดสะท้อนความหมกมุ่นของผู้กำกับ Woody Allen ที่ครุ่นยึดติดจนไม่สามารถปลดปล่อยวางความคิดลงได้ เลยนำมาร้อยเรียงสรรค์สร้างเป็นภาพยนตร์ ที่มีจุดร่วมคือ Hannah รับบทโดยหญิงสาวคนรัก Mia Farrow (พวกเขาไม่ได้แต่งงานกันนะครับ เป็นแค่ Partner ใช้ชีวิตอยู่ร่วมฉันท์สามี-ภรรยา)

ผู้กำกับ Woody Allen จัดเป็น ‘ศิลปิน’ คนหนึ่งที่ไม่สามารถแยกชีวิต การทำงาน และผลงานภาพยนตร์ออกจากกันได้ ถึงเรื่องราวในหนังจะไม่ใช่ทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เนื้อหาประเด็นสำคัญๆ ล้วนสะท้อนความครุ่นคิด การเคยกระทำของตนเองออกมาอย่างแน่นอน!

นั่นทำให้ผมก็มีอคติอย่างรุนแรงต่อผู้กำกับ Allen เพราะหลายๆเรื่องราวที่เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ มันไม่ใช่เรื่องน่านำมาเปิดเผยแพร่ต่อสาธารณะชนสักเท่าไหร่ อย่างการตกหลุมรักน้องสาวภรรยา ลักลอบมีชู้ได้เสียกัน ด้วยไดเรคชั่นของหนัง ทำให้ผู้ชมมองแบบผ่านๆ เห็นเป็นเหตุการณ์ชวนหัว เรียกเสียงหัวเราะตลกขบขัน ไม่ได้ก่อร่างสร้างจิตสำนึกหลังดูจบอย่างจริงจัง นั่นเป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสมควรกระทำได้หรือเปล่า??

กับเหตุการณ์ที่ยกตัวอย่างมา ถ้าถูกนำเสนอในเชิงสรรค์สร้างจิตสำนึกมโนธรรม หรือลักษณะ ‘High Art’ ที่แฝงนัยยะสื่อถึงบางสิ่งอย่าง บอกเลยว่าผมจะไม่เกิดอคติรังเกียจฉันท์ประการใด แต่เพราะภาพยนตร์ของ Woody Allen ล้วนสะท้อนถึงตัวตนเอง ความครุ่นคิดอ่าน ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุการณ์จริงๆที่เขาเคยกระทำ แบบนี้เรียกว่า ‘สาวไส้ให้กากิน’ รับชมแล้วชวนให้รู้สึกอับอายขายขี้หน้าแทนเหลือทน


ด้วยทุนสร้าง $6.4 ล้านเหรียญ ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $40.1 ล้านเหรียญ กลายเป็นผลงานประสบความสำเร็จสูงสุดของ Allen ขณะนั้นโดยทันที

เข้าชิง Oscar ถึง 7 สาขา คว้ามา 3 รางวัล
– Best Picture
– Best Director
– Best Supporting Actor (Michael Caine) ** คว้ารางวัล
– Best Supporting Actress (Diane Wiest) ** คว้ารางวัล
– Best Original Screenplay ** คว้ารางวัล
– Best Film Editing
– Best Set Decoration

เกร็ด:
– จนถึงปัจจุบันมีภาพยนตร์ทั้งหมด 8 เรื่อง สามารถคว้าสาขาสมทบทั้งชาย-หญิง A Streetcar Named Desire (1951), From Here to Eternity (1953), Sayonara (1957), West Side Story (1961), The Last Picture Show (1971), Julia (1977), Hannah and Her Sisters (1986) และ The Fighter (2010)
– Sigourney Weaver ขึ้นรับรางวัลแทน Michael Caine ที่ติดถ่ายหนัง Jaws: The Revenge (1987)
– และ Woody Allen ไม่เข้าร่วมงานประกาศรางวัล พิธีกร Shirley MacLaine เลยกล่าวขอบคุณแทน

ส่วนตัวชื่นชมหนังนะ แต่เพราะสามารถมองเห็นเนื้อในใจความ สิ่งที่พยายามแฝงซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ของผู้กำกับ Woody Allen บอกเลยว่าไม่ค่อยชื่นชอบสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะการเอาเรื่องสัปดนส่วนตนมาอวดอ้าง กลายเป็นความบันเทิงผ่อนคลาย ไม่ได้ให้สาระข้อคิดใดๆเป็นประโยชน์สักเท่าไหร่

ในบรรดาผลงานของ Woody Allen มองเฉพาะคุณภาพหนัง Hannah and Her Sisters (1986) น่าจะติด Top3 ได้เลยละ เคียงข้าง Annie Hall (1977), Manhattan (1979) และ Midnight in Paris (2011)

จัดเรต 13+ กับการลักลอกเป็นชู้ นอกใจคนรัก

คำโปรย | Hannah and Her Sisters เรื่องวุ่นๆสัปดนชวนหัวในสไตล์ Woody Allen ไม่ได้ให้สาระข้อคิดอะไรที่ดีนัก แต่มีความเฉียบคมคาย เต็มอิ่มความบันเทิง
คุณภาพ | ฉี
ส่วนตัว | ชื่นชมแต่ไม่ค่อยชอบ

The Greatest Story Ever Told (1965)


The Greatest Story Ever Told

The Greatest Story Ever Told (1965) hollywood : George Stevens ♥♥♡

ถึง Max von Sydow จะรับบท Jesus Christ ได้อย่างน่าสนใจ แถมหนังยังเข้าชิง Oscar ถึง 5 สาขา แต่กลับได้รับยกย่องว่า The Worst Jesus Christ Story Ever Told ถ่ายทำมีพื้นหลังในอเมริกาทั้งๆพระเยซูประสูติที่ตะวันออกกลาง แถมยังบิดเบือนเนื้อหาต่างๆมากมาย สิ่งหลงเหลือที่ใครๆต่างจดจำหนังเรื่องนี้ได้ มาจากคำพูดของ John Wayne ประโยคสุดท้ายว่า ‘Truly this man was the Son of God.’

นำเอาช็อตที่กลายเป็นตำนาน หลงเหลือได้รับการจดจำยิ่งกว่าหนังทั้งเรื่องมาให้รับชมมาก่อน, ตามตำนานเล่าว่า ผู้กำกับ George Stevens เป็นพวก Perfectionist ทั้งๆที่ John Wayne มีบทแค่ฉากนี้ พูดประโยคเดียวในตลอด 199 นาที แต่ต้องถ่ายทำหลายสิบเทคกว่าจะผ่าน ผลลัพท์ออกมาน้ำเสียงของท่าน Duke จึงแบบว่า …

“Aw, truly this man was the son of Gawd.”

ที่มันกลายเป็นตำนาน เพราะน้ำเสียงนี้ออกไปในทางประชดประชัน เต็มไปด้วยความเบื่อหน่าย เหน็ดเหนื่อย อ่อนล้าสิ้นดี สะท้อนสิ่งอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ในใจของผู้ชมส่วนใหญ่ต่อหนังเรื่องนี้ออกมาได้อย่างตรงที่สุด

George Cooper Stevens (1904 – 1975) ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ นักเขียนบท และตากล้องสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Oakland, California พ่อ-แม่เป็นนักแสดงละครเวที ทำให้เรียนรู้จักการแสดงตั้งแต่เด็ก แต่พอโตขึ้นตัดสินใจเข้าสู่วงการภาพยนตร์ เริ่มจากเป็นตากล้องถ่ายทำหนังสั้นหลายเรื่อง กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Kentucky Kernels (1934), มีชื่อเสียงจาก Alice Adams (1935) นำแสดงโดย Katharine Hepburn, ตามด้วย Swing Time (1936) ของ Fred Astaire กับ Ginger Rogers, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Gunga Din (1939), A Place in the Sun (1951), Shane (1953), Giant (1956), The Diary of Anne Frank (1959) ฯ

แรกสุดเลย The Greatest Story Ever Told เป็นชื่อละครวิทยุ (Radio Series) ออกอากาศเมื่อปี 1947 ความยาวตอนละครึ่งชั่วโมง ได้แรงบันดาลใจ/ดัดแปลงจากพันธสัญญาใหม่ (New Testament) หมวดพระวรสาร (Gospels) ว่าด้วยประวัติพระเยซูคริสต์ และพระธรรมเทศนา, ต่อมาได้รับการดัดแปลงเป็นนิยายชื่อเดียวกันเมื่อปี 1949 โดย Fulton Oursler บรรณาธิการของนิตยสาร Reader’s Digest และโปรดิวเซอร์ Darryl F. Zanuck ผู้บริหารสตูดิโอ 20th Century Fox ติดต่อซื้อลิขสิทธิ์ไว้แต่ยังไม่เคยนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์

เมื่อปี 1958 ระหว่างที่ George Stevens กำกับสร้างหนังเรื่อง The Diary of Anne Frank (1959) ให้กับสตูดิโอ Fox รับรู้การมีอยู่ลิขสิทธิ์นิยายของ Oursler ทำให้เขาก่อตั้งบริษัทใหม่ The Greatest Story Productions แล้วขอ Zanuck ดัดแปลงสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้

ร่วมงานกับ James Lee Barrett ดัดแปลงบทภาพยนตร์ (เป็นครั้งแรกครั้งเดียวที่ Stevens มีชื่อขึ้นเครดิตเขียนบท) ใช้เวลานานถึง 2 ปี เตรียมงานสูญงบประมาณไปแล้วถึง $2.3 ล้านเหรียญ ทำให้ Fox ถอดใจไม่สร้างแล้ว แต่ยังอนุญาติให้ Stevens มองหาสตูดิโออื่นแทนได้ มาลงเอยที่ United Artists คว้าลิขสิทธิ์หนังไป

ช่วงทศวรรษ 50s หลังความสำเร็จอันล้นหลามของ Samson and Delilah (1949) ที่ได้เปิดประตูหนังแนว Biblical Epic ตามมาด้วย Quo Vadis (1951), David and Bathsheba (1951), The Robe (1953) [เรื่องแรกที่ถ่ายด้วย CinemaScope], The Ten Commandments (1956), Ben-Hur (1959) [คว้า Oscar: Best Picture], King of Kings (1961) ที่ต่างก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน แต่การมาถึงของ The Greatest Story Ever Told (1965) ได้ปิดประตูขัง สิ้นสุดกระแสนิยมหนังแนวนี้โดยทันที

Max von Sydow หรือ Carl Adolf von Sydow (เกิดปี 1929) นักแสดงในตำนานสัญชาติ Swedish เกิดที่ Lund ครอบครัวมีฐานะร่ำรวย พ่อเป็นศาสตราจารย์ นักชาติพันธุ์วิทยา ประจำ University of Lund ส่วนแม่เป็นครูสอนหนังสือ สืบเชื้อสายมาจาก German, ตอนเด็กเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนา Lund Cathedral School โตขึ้นเลือกเรียนโรงเรียนสอนการแสดง Royal Dramatic Theatre ที่ Stockholm รุ่นเดียวกับ Lars Ekborg, Margaretha Krook, Ingrid Thulin ฯ มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกๆ ในหนังของ Alf Sjöberg เรื่อง Only a Mother (1949) กับ Miss Julie (1951)

ก่อนหน้านี้ Sydow เป็นที่รู้จักทั่วยุโรปจากการเป็นขาประจำของ Ingmar Bergman มีผลงานดังอย่าง The Seventh Seal (1957), Wild Strawberries (1957), The Virgin Spring (1960) ฯ แต่ในอเมริกายังไม่เป็นที่รู้จักสักเท่าไหร่ ถือเป็นตัวเลือกที่เข้าทางผู้กำกับ Stevens เพราะไม่ต้องการนักแสดงหน้าคุ้นรับบท Jesus Christ

เกร็ด: ก่อนหน้านี้ หนังที่เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ มักจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เห็นหน้าของพระองค์ จนกระทั่ง King of Kings (1961) ที่แหกกฎนี้ในอเมริกาเป็นครั้งแรก [จริงๆมีอีกเรื่องก่อนหน้านี้ เป็นหนังฝรั่งเศส Golgotha (1935)]

พระเยซูในการตีความของ Sydow มีความสง่างาม เพรียบพร้อม ดีเลิศ จิตใจนุ่มนวลอ่อนโยน แต่น่าเกรงขาม คำพูดคำจาร้อยเรียงถ้อยบรรจง ชัดเจนทรงพลัง สายตาเต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อ ตั้งมั่นคง สุจริตแท้ กระนั้นนี่เป็นภาพลักษณ์ที่จับต้องไม่ได้ มีสถานะเหนือระดับกว่ามนุษย์

Sydow เล่าถึงความยากที่สุดในการรับบทนี้ นั่นคือผู้คนรอบข้างรอบกองถ่าย ต่างคาดหวังให้เขาอยู่ในตัวละครตลอดเวลา ภาพลักษณ์ดูดี ทรงภูมิ น่านับถือ ทำให้ไม่สามารถสูบบุหรี่ ดิ่มเหล้า หรือแม้แต่กอดจูบสัมผัสภรรยาในกองถ่ายได้

ผมไม่ผิดใจอะไรกับการตีความพระเยซูในลักษณะนี้ ตรงกันข้ามมีความประทับใจการแสดงมากๆ ถือเป็นการยกย่องให้เกียรติ สมฐานะะบุตรของพระเจ้า พระผู้มาไถ่ (Messiah) อย่างแท้จริง แต่ชาวคริสต์ยุคสมัยนี้ส่วนใหญ่คงจะรู้สึกไกลเกินเอื้อมไปหน่อย เพราะถ้าเคยรับชม
– มินิซีรีย์เรื่อง Jesus of Nazareth (1977) ของผู้กำกับ Franco Zeffirelli,
– The Last Temptation of Christ (1988) ของผู้กำกับ Martin Scorsese
– หรือ The Passion of the Christ (2004) ของผู้กำกับ Mel Gibson

ที่นำเสนอจิตวิทยา/จิตวิเคราะห์ สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของพระเยซูในช่วงขณะต่างๆ เต็มไปด้วยความรุนแรงบ้างคลั่ง สมจริงจัง มันเลยมีความทรงพลังมากยิ่งเสียกว่าหนังเรื่องนี้เป็นไหนๆ เทียบกันไม่ติดเลย

นี่เป็นหนังรวมดารา (Ensemble Cast) นักแสดงมีชื่อมากมายร่วมสมทบ ที่จะโผล่มาแย่งซีน ดึงความสนใจจากผู้ชมไปพอสมควร อาทิ

Charlton Heston ก่อนหน้านี้เคยรับบท Moses ใน The Ten Commandments (1956) คงรู้ตัวเองว่าไม่ควรรับบท Jesus Christ กับเรื่องนี้เลยขอแค่ John the Baptist (นามของท่านได้รับการยกย่องให้เป็น คำเรียกพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน) ที่ขณะพบเจอ Jesus ราวกับนี่คือสิ่งที่ตนรอคอยมาแสนนาน แทบจะก้มลงกราบแทบเท้า เหนือฟ้ายังมีฟ้า

Claude Rains (1889 – 1967) กับบทบาทสุดท้ายในชีวิต Herod the Great พระเจ้าแผ่นดินแห่งมณฑล Judea, Herodian Kingdom ส่วนหนึ่งของ Roman Empire เป็นผู้บ้าอำนาจ เคยฆาตกรรมครอบครัวของตนเองและรับคนรับใช้ เพื่อยึดครองอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว เรื่องราวในหนังเป็นช่วงบั้นปลายชีวิต ด้วยทรงหวดกลัวคำพยากรณ์ถึง ‘พระมหากษัตริย์แห่งชาวยิว’ ทรงมีพระราชโองการให้ประหารเด็กทุกคนในหมู่บ้าน Bethlehem

เกร็ด: มีเพียงพระวรสารของนักบุญ Matthew ที่อ้างว่า พระเจ้าเฮโรดมหาราช มีพระราชโองการดังกล่าว แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่แสดงความเห็นคัดค้านไม่เห็นด้วย หาหลักฐานไม่พบว่าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจริง

นอกจากนี้ยังมี
– Dorothy McGuire รับบท พระแม่มารีย์
– Jose Ferrer รับบท Herod Antipas (บุตรชายของ Harod the Great)
– Telly Savalas รับบท Pontius Pilate
– Martin Landau รับบท Caiaphas
– David McCallum รับบท Judas Iscariot
– Roddy McDowall รับบท Matthew
– Shelley Winters รับบท หญิงสาวที่ได้รับการรักษาจนหาย
– Sidney Poitier รับบท Simon of Cyrene
– และ John Wayne รับบท Centurion at Crucifixion
ฯลฯ

ถ่ายภาพโดย William C. Mellor ขาประจำของ George Stevens ที่คว้า Oscar: Best Cinematography ถึง 2 ครั้งจาก A Place in the Sun (1951) กับ The Diary of Anne Frank (1959) แต่ขณะถ่ายทำไปได้ประมาณครึ่งเรื่อง หัวใจล้มเหลวเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1963 ส่งไม้ต่อให้ Loyal Griggs ตากล้องสัญชาติอเมริกัน ที่เคยร่วมงานกับ Stevens คว้า Oscar: Best Cinematography เรื่อง Shane (1953) และเป็นตากล้อง The Ten Commandments (1956) มาสานงานต่อ

ในตอนแรกหนังถ่ายทำด้วยฟีล์ม 3-strip Cinerama แต่ผ่านไป 1 เดือนเต็ม เหล่าโปรดิวเซอร์กระมังมีความต้องการให้หนังฉายในโรง Ultra-Curved Screen (โรงหนังจอโค้ง) เป็นเหตุให้ต้องเริ่มใหม่ด้วยฟีล์ม Ultra-Panavision ขนาด 70 mm จากเดิมที่วางแผนถ่ายทำไว้ 3 เดือน แถม Mellor มาด่วนเสียชีวิตไปอีก โปรดักชั่นเลยล่วงไป 9 เดือนถึงเสร็จสิ้น

หนังถ่ายทำทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา (U.S. Southwest) ประกอบด้วย
– Pyramid Lake ที่ Arizona ใช้เป็น Sea of Galilee,
– Lake Moab ที่ Utha ใช้เป็น Sermon on the Mount
– Death Vally ที่ California ใช้เป็นสถานที่พระเยซูออกเดินทาง 40 วัน
– เมือง Jerusalem สร้างขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของ RKO Forty Acres, California
– และที่เหลืออีก 47 ฉากที่มีการสร้างขึ้นใน Hollywood, Los Angeles

Stevens ให้เหตุผลที่เลือกถ่ายทำหนังในอเมริกาแทน Middle East ว่าต้องการความอลังการของพื้นหลัง ที่สามารถสะท้อนความยิ่งใหญ่ของพระเยซูคริสต์ออกมาได้ ซึ่งไม่มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ใน Jordan หรือ Palestine จะกว้างใหญ่ไพศาลได้เทียบกับอเมริกันอีกแล้ว

“I wanted to get an effect of grandeur as a background to Christ, and none of the Holy Land areas shape up with the excitement of the American southwest, I know that Colorado is not the Jordan, nor is Southern Utah Palestine. But our intention is to romanticize the area, and it can be done better here.”

เริ่มถ่ายทำตั้งแต่ช่วงฤดูร้อน ล่วงเลยจนเข้าสู่ฤดูหนาว Devid Sheiner ผู้รับบท James the Elder พูดแซวเกี่ยวกับหิมะที่กำลังตกลงมาระหว่างการถ่ายทำ

“I thought we were shooting Nanook of the North.”

หนังมีกองถ่ายสองที่ Stevens ต้องไปไหว้วานผู้กำกับดังสองคนมาช่วยถ่ายทำให้
– Jean Negulesco ผู้กำกับสัญชาติ Romanian ถ่ายทำฉากใน Jerusalem ทั้งหมด รวมถึงตอนประสูติของพระเยซูคริสต์
– David Lean ใช้เวลาช่วงระหว่าง Lawrence of Arabia (1962) กับ Doctor Zhivago (1965) ถ่ายทำ Prologue ฉากของ Herod the Great ซึ่ง Lean เป็นคนเลือก Claude Rains ให้รับบท พระเจ้าเฮโรดมหาราช

หลายฉากได้แรงบันดาลใจจากภาพวาด/ถ่ายทำให้เหมือนภาพวาด อาทิ Sermon on the Mount การเทศนาบนภูเขา ต่อหน้าอัครทูต 12 คนและผู้มาเฝ้าชุมนุม เป็นการเทศนาที่ประมวลคำสอนของพระเยซูที่เคยสั่งสอนตลอดช่วงเวลา 3 ปีในปาเลสไตน์

The Last Supper พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย ของพระเยซูกับอัครทูต ก่อนที่จะทรงถูกทรยศโดย Judas Iscariot ทำให้ถูกจับนำไปตรึงกางเขน (นี่ถ้าไม่ได้ Ultra Panavision อาจถ่ายจะไม่เห็นทั้ง 13 นั่งเต็มโต๊ะแบบนี้)

Crucifixion of Jesus การตรึงพระเยซูที่กางเขน, หลังจากพระเยซูถูกจับและพิพากษา ได้ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยทันทีด้วยการตรึงกางเขน ผูกหรือตอกตะปูเข้ากับไม้แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เสียชีวิต (John Wayne ยืนอยู่ซ้ายสุดของภาพ)

Resurrection of Jesus การคืนพระชนม์ของพระเยซู หลังจากถูกตรึงกางเขน, สิ้นพระชนม์, ถูกนำไปไว้ในที่เก็บศพ, และทรงคืนพระชนม์สามวันหลังจากนั้น สำแดงพระองค์ต่ออัครทูตทั้งสิบสอง และสาวกคนอื่นๆรวมทั้งพี่น้องอีกห้าร้อยคนพร้อมกัน ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์

ถ้าคุณเป็นผู้ชื่นชอบงานภาพสวยๆ อลังการกว้างใหญ่ไพศาล สุดลูกหูลูกตา ไม่ควรพลาดหนังเรื่องนี้เลยนะครับ แค่เฉพาะส่วนของการถ่ายภาพก็ถือว่าเต็มอิ่มหนำ งดงามไร้ที่ติ

เพราะความ Perfectionist ของผู้กำกับ ทำให้ทุกฉากต้องมีการถ่ายทำอย่างน้อย 2 เทคขั้นต่ำกันข้อผิดพลาด แถมจากหลายมุมกล้องอีก และยิ่งขนาดฟีล์มอันมหึมาของ Ultra Panavision เป็นผลให้ตอนถ่ายหนังเสร็จได้ความยาวฟีล์มประมาณ 1,829 กิโลเมตร (เทียบได้กับความยาวรัศมีของดวงจันทร์) ใช้เวลา 1 ปีเต็ม ร่วมกับ Harold F. Kress, Argyle Nelson, Jr. และ Frank O’Neil ตัดต่อได้ฉบับความยาว 225 นาที (3 ชั่วโมง 45 นาที) ออกฉายรอบปฐมทัศน์ ก่อนตัดให้เหลือ 141 นาที เพื่ออกฉายจริง และฉบับที่หลงเหลือถึงปัจจุบันที่ 199 นาที

การตัดต่อถือเป็นปัญหาใหญ่ของหนัง มีความเยิ่นเย้อ ยืดยาว จนทำให้น่าเบื่อ ขาดความน่าสนใจ หลากหลายเรื่องราวสามารถตัดออกได้ แต่กลับนำใส่มาเต็มๆ อาทิ ฉากของ John the Baptism ได้ยินพูดแต่ Repent Repent จนน่ารำคาญ (คงเพราะ Heston เป็นดาราใหญ่ ต้องให้ปรากฎตัวนานๆจะได้ไม่เปลืองค่าตัว), หรืออย่างการตัดสินพระเยซูที่โยนไปโยนมาระหว่าง Pontius Pilate กับ Herod Antipas ฯ

เพลงประกอบโดย Alfred Newman นักแต่งเพลงสัญชาติอเมริกา เจ้าของสถิติ 9 รางวัล Oscar ประกอบด้วย Alexander’s Ragtime Band (1938), Tin Pan Alley (1940), The Song of Bernadette (1943), Mother Wore Tights (1947), With a Song in My Heart (1952), Call Me Madam (1953), Love Is a Many-Splendored Thing (1955), The King and I (1956), Camelot (1967)

บทเพลงมีความยิ่งใหญ่ทรงพลัง ล่องลอยประหนึ่งความฝัน สรวงสวรรค์ที่มนุษย์ต่างเอื้อมมือไขว่คว้าหา หนทางอยู่ตรงหน้าแค่เพียงกล้าเชื่อถือมั่นศรัทธา สิ้นชีวาก็จะมีโอกาสได้ไปถึงแน่นอน

บทเพลง Jesus of Nazareth เป็น Character Song ที่สะท้อนตัวตนของพระเยซูคริสต์ออกมาได้อย่างยิ่งใหญ่ สมเกียรติ สังเกตทำนองในช่วงแรกและช่วงท้าย จะค่อยๆสะสมพลังไต่ขึ้นจนสูงสุด และเมื่อถึงจุดนั้นเปรียบได้กับการขึ้นถึงสรวงสวรรค์ที่เป็นสัจนิรันดร์ของชีวิต

บทเพลงทรงพลังที่สุดของหนัง The Triumph of The Spirit ดังขึ้นสองครั้งในหนัง
1) ตอนจบครึ่งแรกก่อนขึ้น Intermission ขณะเกิดปาฏิหารย์ Raising of Lazarus ชุบชีวิตลาซารัส ที่ได้ล้มป่วย เสียชีวิต ถูกฝังเป็นเวลา 4 วัน และได้รับการชุบชีวิตโดยพระเยซูคริสต์ จนได้รับการขนานนามนักบุญลาซารัสแห่งเบทธานี
2) ตอนจบท้ายสุดของหนัง Resurrection of Jesus การคืนพระชนม์ของพระเยซู

นี่เป็นบทเพลงที่ทรงพลังมากๆ โดยเฉพาะคำร้องคอรัส Hallelujah (เป็นคำอุทานสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า) มีความครึกครื้น ยินดีปรีดาเป็นกำลัง ชวนให้ขนหัวลุกเต้นชูชัน หัวใจอิ่มเอิบเป็นสุข และจิตวิญญาณสัมผัสถึงชัยชนะแห่งความจริง

The Greatest Story Ever Told แค่ชื่อ’หนัง’ก็หลอกตัวเองไปถึงไหนแล้ว แต่ผมไม่ขอเถียงว่า เรื่องราวของพระเยซูคริสต์ตั้งแต่ประสูติถึงสิ้นพระชมน์ มีความยิ่งใหญ่ที่สุดในความเชื่อศรัทธาของชาวคริสเตียน เฉกเช่นกันกับชาวพุทธทั้งหลายย่อมมองว่า ชีวประวัติของพระพุทธเจ้าคือ The Greatest Story Ever Told แต่ที่ผมพูดถึงคือคุณภาพของหนังเรื่องนี้นะครับ มันหาได้มีความ Greatest แม้แต่น้อย

อะไรที่มันจะ Greatest ในทัศนะของผมมองว่า ต้องสามารถ’พิสูจน์’ออกมาให้เห็นได้ เปรียบเทียบความจริงที่เป็นสากล ถ้าดีแต่พูด เชื่อสิแล้วจะเห็นผล หรือผู้ที่ได้รับการเลือกสรรเท่านั้นถึงจะค้นพบ นั่นไม่ใช่’ที่สุด’อย่างแน่นอน

อย่างหนังเรื่องนี้ เมื่อนำไปเปรียบเทียบเฉพาะกับหนังแนว Biblical Film เรื่องอื่นๆ เฉพาะที่เกี่ยวกับพระเยซู อาทิ King of Kings (1961), Jesus of Nazareth (1977), The Last Temptation of Christ (1988), The Passion of the Christ (2004) ฯ คนดูหนังเป็นก็จะเห็นชัดอยู่แล้วว่า คุณภาพเทียบชั้นกันไม่ได้ แค่นี้ก็มิได้มีความ Greatest แม้แต่น้อย

อาจเช่นกันกับคนที่สนใจแค่เนื้อหาของหนัง หรือเคยศึกษาอ่านพระวรสาร คำภีร์ไบเบิล ย่อมเกิดความผิดหวังในการนำเสนอ ภาพ แนวคิด เรื่องราว อะไรหลายๆอย่าง ที่มันบิดเบือนผิดเพี้ยนจากความจริงไปมากๆ แล้วแบบนี้หนังมันจะเรียกตัวเองว่า Greatest ได้เช่นไร

เราไม่มีความจำเป็นต้องไปยกยอปอปั้นศาสนาของตนเองว่ามีความ Greatest ที่สุดในโลก ใครก็ตามที่คิดพูดไปเช่นนี้ แทบทั้งนั้นไม่เคยศึกษาเรื่องราวของศาสนาอื่นอย่างจริงจังให้ทะลุปรุโปร่งแล้วเปรียบเทียบกัน มันจึงถือเป็นเพียง’ความเชื่อ’ของตนเองอย่างแรงกล้าต่อศรัทธาศาสนาหนึ่งใดเท่านั้นที่แสดงออกมา นี่รังแต่จะสร้างความขัดแย้งคับข้องใจให้เกิดกับศาสนาอื่น ที่ต่างยึดถืออัตตาของตนเองเป็นที่ตั้ง ศาสนาของฉันนี่สิคือที่สุดแห่งความจริง

ศาสนาพุทธของเรามีความถ่อมตัวอย่างมาก พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนบอกให้เราแสดงความคิดเห็น ทัศนคติออกมาว่า ‘พุทธนี่แหละยิ่งใหญ่ที่สุด!’ ตรงกันข้ามท้าให้ไปศึกษาคำสอนศาสนาอื่นจนบรรลุถ่องแท้ แล้วค่อยกลับมาลองปฏิบัติตามคำแนะนำสอนของเรา จนกว่าสาแก่ใจก็จะเห็นคำตอบด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องไปโอ้อวดอ้างทะนงตน ปล่อยกลุ่มบุคคลที่ต้องการความยิ่งใหญ่ทั้งหลายเหล่านั้นรบราตีกันเอง เราอยู่แบบนิ่งเฉยเป็นกลางนี่แหละ จะค้นพบกับความสุขสงบที่เกิดขึ้นในใจ

ด้วยทุนสร้าง $20 ล้านเหรียญ (=$148 ล้านเหรียญ ปี 2016) จัดว่าเป็นหนังแพงสุดอันดับสองในอเมริกา รองจาก Cleopatra (1963) แต่ทำเงินได้เพียง $15.5 ล้านเหรียญ เรียกว่าขาดทุนย่อยยับ, กระนั้นได้เข้าชิง Oscar 5 สาขา ไม่ได้สักรางวัล ประกอบด้วย
– Best Cinematography, Color
– Best Art Direction – Set Decoration, Color
– Best Costume Design, Color
– Best Effects, Special Visual Effects
– Best Music, Score – Substantially Original

นอกจากสาขา Best Effects, Special Visual Effects พ่ายให้กับ Thunderball (1965) สาขาอื่นตกเป็นของ Doctor Zhivago (1965) แชมป์สาขาเทคนิคปีนั้น ขณะที่ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตกเป็นของ Sound of Music (1965)

ความล้มเหลวใน Box Office ของหนังเรื่องนี้ ถือว่าสั่นสะเทือนเลือนลั่นทั้งวงการ โดยเฉพาะกับแนว Biblical Epic ที่หลายสตูดิโอพยายามเข็นออกมาสร้างทำเงินเป็นกอบเป็นกำในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น เกิดอาการสะดุดหยุดยุติลงโดยทันที, จริงๆนี่ไม่ใช่หนังเรื่องแรกของแนวนี้ที่ขาดทุนนะครับ แค่เรื่องอื่นมันไม่ทุนสูง ขาดทุนถล่มทลายขนาดนี้ ซึ่งพอถึงความล้มเหลวของ The Greatest Story Ever Told มันเลยเสมือนฟางเส้นสุดท้าย ทำให้บรรดาโปรดิวเซอร์ทั้งหลายตัดสินใจปฏิเสธไม่เอาอีกแล้ว กลายเป็นหนังเรื่องสุดท้ายปิดประตูจุดสิ้นสุดของ Biblical Epic ด้วยอายุเพียง 16 ปี (1949 – 1965) กว่าจะมีหนังเรื่องใหม่ที่ประสบความสำเร็จทำเงิน ก็โน่นเลย The Passion of the Christ (2004) ประมาณเกือบ 40 ปีถัดมาได้

[The Last Temptation of Christ (1988) ของ Martin Scorsese ก็ขาดทุนย่อยยับนะครับ แต่ค่อยๆได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา]

มีหลายสิ่งอย่างที่ส่วนตัวค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้ อาทิ การแสดงของ Max von Sydow, งานภาพสวยๆอลังการ, เพลงประกอบสุดไพเราะทรงพลัง ก็ถือว่าสามารถกลบข้อเสียหลายๆอย่างลงได้

แต่มันอาจมีอีกเหตุผลที่ทำให้ผมค่อนข้างชื่นชอบหนังเรื่องนี้ เพราะตอนรับชมไม่ได้มองว่านี่คือ Biblical Film ไม่มีความรู้หรือเคยอ่านคัมภีร์ไบเบิลมาก่อน จึงหาได้สนใจเรื่องความสมจริง ตรงต่อพระวรสาร เล่าบอกอะไรมาก็เชื่อแบบนั้น ไม่รู้หรอกถูกผิดบิดเบือน (ก็เพิ่งมาทราบตอนเขียนบทความนี้นี่แหละ) และการมองเรื่องราวว่าเป็น Biographical ชีวประวัติบุคคลสำคัญหนึ่งของโลก เลยสามารถประทับใจหนังได้ทั้งๆที่ชาวคริสต์แท้ๆบางคนคงส่ายหัวรับไม่ได้

นี่ทำให้ผมหวนคิดถึงหนังไทยเหมือนกันนะ ผู้กำกับบางคนอ้างว่าทำหนังเกี่ยวกับพุทธศาสนาด้วยความตั้งใจดี แต่คุณภาพราวกับดอกบัวจมโคลนตม ส่วนตัวก็ไม่เคยรับชมเรื่องนั้นหรอกนะ แต่แค่ได้ยินเห็นคนอื่นว่ามาเช่นนั้นก็รู้สึกอับอายขายหน้าประชาชี ศรัทธาความเชื่อมั่นอันแรงกล้าเพียงอย่างเดียว ย่อมมิสามารถทำหนังออกมาดีได้แน่ๆ

แนะนำกับผู้มีความสนใจ ต้องการศึกษาคัมภีร์ไบเบิล พันธสัญญาใหม่ พระวรสาร ชีวประวัติของพระเยซูคริสต์ แต่อย่าชมหนังเรื่องนี้แค่เรื่องเดียวนะครับ หาเรื่องอื่นๆมาเปรียบเทียบกันด้วย น่าจะทำให้ทัศนคติ ความคิดเห็นของคุณเปลี่ยนไปด้วยตามมุมมองของการสร้างครั้งนั้นๆ (แต่เชื่อว่าถ้าอยากจะเข้าใจให้ตรงต่อต้นฉบับมากที่สุด หาไบเบิลมาอ่านเองดีกว่านะครับ)

บอกต่อกับตากล้อง ชื่นชอบงานภาพสวยๆ, นักดนตรี ชื่นชอบบทเพลงเพราะๆ, แฟนๆนักแสดงอย่าง Max von Sydow, Charlton Heston ฯ และผู้กำกับ George Stevens ไม่ควรพลาด

จัดเรต pg เพราะเป็นหนังแห่งศรัทธาความเชื่อ และศาสนา

TAGLINE | “The Greatest Story Ever Told แค่ชื่อหนังก็หลอกตัวเองไปถึงไหนแล้ว”
QUALITY | UNDERESTIMATE
MY SCORE | LIKE

The Exorcist (1973)


The Exorcist

The Exorcist (1973) hollywood : William Friedkin ♥♥♥♥

ปฐมบทการไล่ผีที่สร้างความหลอกหลอน สะพรึงกลัวไปถึงขั้วหัวใจ เรื่องราวเต็มไปด้วยความลึกลับ ซับซ้อน คลาสสิก เมื่อวิทยาศาสตร์แก้ไขปัญหาบางสิ่งไม่ได้ ศาสนาจึงกลายเป็นที่พึ่งทางออกสุดท้าย, กาลเวลาอาจทำให้หนังมีความน่าเบื่อไปบ้าง แต่เทคนิคยังคงตระการตา และความสยองขวัญสั่นประสาทตราตรึงประทับใจ อาจถึงขั้นนอนไม่หลับเลยทีเดียว

ผมไม่ใช่คนกลัวผีนะ เพราะรับรู้ว่าวิญญาณคืออะไร เจ้ากรรมนายเวร เปรต อสูรกาย เข้าใจเหตุผลการมีตัวตนของพวกเขา มันจึงไม่ใช่เรื่องที่จะไปแสดงความหวาดหวั่นในวิถีวัฏจักรของชีิวิต แต่ผมกลับไม่ค่อยชื่นชอบหนังผีเสียเท่าไหร่ เพราะมันเต็มไปด้วยความ’ไร้สาระ’ พยายามสร้างบรรยากาศหลอนๆให้ผู้ชมเกิดความหวาดกลัว สะดุ้ง ตกใจ ขนลุกขนพอง เล่นกับอารมณ์ความรู้สึกมากเกินไป และมักปลูกฝังค่านิยมความเชื่อผิดๆให้กับสังคม แต่ถ้าหนังเรื่องนั้นมีที่มาที่ไป สมเหตุสมผล แฝงข้อคิดสาระ นั่นผมก็ไม่ขัดขืนต่อต้านเสียเท่าไหร่

The Exorcist เป็นภาพยนตร์ที่ผมจดจำได้ว่าเคยรับชมจาก UBC ม้วนวีดีโอ แผ่นซีดี ดีวีดี น่าจะหลายรอบอยู่ คุ้นๆเป็นหนังที่ดูยาก ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่แต่หลอนชิบหาย, รับชมรอบนี้เข้าใจเลยว่าความยากเกิดจากอะไร และไฮไลท์ครึ่งชั่วโมงสุดท้าย ยังมีความทรงพลัง ขนลุกขนพอง อกสั่นขวัญหาย เป็นประสบการณ์ที่ทำเอาผมเกือบจะนอนไม่หลับ แล้วผู้ชมสมัยนั้นไม่ป่วย คลั่งตายกันหรอกหรือ

ลองรับชมตัวอย่างหนัง Teaser Trailer ต้นฉบับแท้ๆเมื่อปี 1973 ที่ถึงไม่มีการเปิดเผยอะไรเลย แต่หลายโรงภาพยนตร์ห้ามฉายเพราะมีความน่าสะพรึงกลัวเกินไป ‘too frightening’ ขอเตือนกับคนขวัญอ่อนเตรียมใจไว้ให้พร้อม

ใครอยากอ่านที่มาที่ไปของหนังโดยละเอียด ผมไปเจอกระทู้ใน pantip ที่ถ่ายรูปบทความจากนิตยสาร PULP สนใจคลิกอ่านเองเลย LINK: https://pantip.com/topic/30593971

William Peter Blatty (1928 – 2017) นักเขียนและผู้สร้างภาพยนตร์สัญชาติอเมริกา เกิดที่ New York City ในครอบครัว Melkite Greek-Catholic ที่เข้มงวด จบการศึกษาสาขาวรรณกรรมภาษาอังกฤษ ปริญญาตรีจาก Georgetown University ปริญญาโทจาก George Washington University สมัครเข้ารับราชการทหารอากาศ ทำงานในแผนก Psychological Warfare Division หลังปลดประจำการได้ทำงานสำนักสารสนเทศ (Information Agency) ประจำที่เมือง Beirut, Lebanon

Blatty มีชื่อเสียงโด่งดังจากการเขียนนิยายเรื่อง The Exorcist (1971) ที่ได้แรงบันดาลใจมาตั้งแต่ครั้นเป็นนักศึกษาอยู่ Georgetown University เมื่อปี 1949 อ่านพบบทความหนึ่งในหนังสือพิมพ์ Washington Post เด็กชายชาวเยอรมันวัย 14 ปี Roland Doe หรือ Robbie Mannheim อาศัยอยู่ที่ Cottage City, Maryland ประสบพบเจอเหตุการณ์ประหลาดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาทิ เตียงนอนสั่นเป็นเจ้าเข้า, เก้าอี้นวมเลื่อนไปมาเองได้, ตัวอักษรนูนขึ้นมาจากท้อง ฯ

ว่ากันว่าจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์นี้ มาจากป้าคนหนึ่งที่เป็นคนทรง แนะนำให้ Roland รู้จักเล่นกับผีถ้วยแก้ว (Ouija) แล้ววันดีคืนดีป้าแกก็เสียชีวิตปัจจุบันทันด่วน ทำให้ Roland พยายามใช้กระดานผีถ้วยแก้วติดต่อสื่อสารพูดคุย จนเป็นเหตุให้ถูกวิญญาณร้ายเข้าสิง ซึ่งดูแล้วก็มีแนวโน้มสูงมว๊ากๆ ว่าจะเป็นวิญญาณของป้าแกเองนั้นแหละที่เข้ามาสิงเด็กชาย

ครอบครัวตัดสินใจปรึกษาบาทหลวง Luther Miles Schulze ที่ได้อาศัยอยู่ในห้องของเด็กชายทั้งคืน เฝ้าสังเกตพบเห็นปรากฎการณ์ต่างๆอันน่าเหลือเชื่อ ทำให้ได้ข้อสรุปว่าเกิดจากผีเข้าสิงร่าง ยื่นเรื่องต่อ Catholic Church เพื่อทำพิธีไล่ผี (Exorcism) ซึ่งก็ทำอยู่หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งได้พบกับหลวงพ่อ Raymond J. Bishop อาจารย์สอนที่ St. Louis University ร่วมกับหลวงพ่ออีกคน William S. Bowdern สามารถขับไล่วิญญาณร้ายได้สำเร็จ

Blatty เขียนนิยายเรื่องนี้ด้วยการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดมากมาย อาทิ อายุ, เพศ (จากเด็กชายเป็นเด็กหญิง), พื้นหลังสถานที่, ลักษณะการถูกเข้าสิง ฯ เพิ่มเรื่องราวคู่ขนานที่ไม่ใช่เพียงแค่การขับไล่ผี แต่ยังรวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์/จิตเวท เพื่อค้นหาคำอธิบายสำหรับเหตุการณ์ลักษณะนี้นี้ และใส่ปีศาจที่เข้าสิงคือ Pazuzu ต้นกำเนิดจากประเทศ Iraq

เกร็ด: Pazuzu ปีศาจจากเทวนิยาย Assyrian และ Babylonian กษัตริย์แห่งลมทิศตะวันตกเฉียงใต้ นำมาซึ่งพายุ โรคระบาด ความแห้งแล้ง, รูปลักษณะร่างกายเป็นมนุษย์ หัวเป็นสิงโตหรือสุนัข ขาเหมือนเหยี่ยว ปีกสองข้าง และหางแมงป่อง มือขวายกขึ้น มือซ้ายปล่อยลง

เพราะหนังสือ The Exorcist เกิดฮิตถล่มทลาย มีหรือ Hollywood จะไม่สนใจซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลง Warner Bros. ขันอาสาเป็นนายทุนให้ แต่เนื่องจากกลัวผลงานจะถูกปู้ยี้ปู้ยำ Blatty จึงตั้งเงื่อนไขว่าต้องขอควบตำแหน่งโปรดิวเซอร์ และดัดแปลงเขียนบทภาพยนตร์ด้วยตนเองเท่านั้น ซึ่งค่ายหนังก็ยินยอมตามโดยดี

การหาตัวผู้กำกับ ชื่อแรกๆที่ติดโผลอาทิ Stanley Kubrick [ต้องการเป็นโปรดิวเซอร์ด้วยเลยถูกค่ายหนังปฏิเสธ], Alfred Hitchcock [ปฏิเสธทั้งขึ้นทั้งร่อง], John Boorman [รู้สึกว่าเรื่องราวน่ากลัวเกินไปสำหรับเด็ก แต่เขาก็กลายมาเป็นผู้กำกับ Exorcist II: The Heretic (1977)], Arthur Penn [ติดสอนหนังสือที่ Yale], Peter Bogdanovich [กำลังสนใจโปรเจคอื่นอยู่], Mike Nichols [ไม่อยากถ่ายหนังที่เกี่ยวกับเด็ก], ขณะกำลังจะได้ Mark Rydell ตัวเลือกของสตูดิโอ Blatty ได้มีโอกาสรับชม The French Connection (1971) ของ William Friedkin ผลักดันให้เขากลายเป็นผู้กำกับหนังเรื่องนี้

William Friedkin (เกิดปี 1935) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์สัญชาติอเมริกา เกิดที่ Chicago, Illinois ในครอบครัวชาว Jewish อพยพมาจาก Ukrane ไม่ใช่เด็กหัวฉลาด มีความชื่นชอบ Basketball ตั้งใจโตขึ้นจะยึดเป็นอาชีพ แต่เพราะได้รับชม Citizen Kane (1941) จึงตัดสินใจกลายเป็นผู้กำกับ, หลังเรียนจบ High School ทำงานในห้อง Mail Room ที่ WGN-TV ไม่นานก็ได้รับโอกาสทำรายการโทรทัศน์ เคยกำกับตอนสุดท้ายของ The Alfred Hitchcock Hour (1962-1965) ชื่อตอน Off Season, สำหรับภาพยนตร์เรื่องแรก Good Times (1967) แม้ได้รับเสียงวิจารณ์ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน แต่ Friedkin ให้สัมภาษณ์บอกว่า มีความสุขสนุกที่สุดตั้งแต่เคยกำกับหนังมา

ผลงานชิ้นเอกของ Friedkin คือ The French Connection (1971) คว้า Oscar 5 สาขา เป็นภาพยนตร์เรต R เรื่องแรกที่คว้า Best Picture และ Best Director,

เกร็ด: ภรรยาคนแรกของ Friedkin คือ Jeanne Moreau นักแสดงหญิงสัญชาติฝรั่งเศส แต่งงานเมื่อปี 1977 หย่าขาดปี 1979

สำหรับนักแสดงบทนำของหนัง ตัวละคร Chris MacNeil แม่เป็นนักแสดงมีชื่อ อาศัยอยู่กับลูกและคนใช้ (สามีแยกกันอยู่) วันดีคืนดีลูกสาวคนเล็กของเธอได้แสดงพฤติกรรมแปลกประหลาดมากมาย พาไปหาหมอ/จิตแพทย์ ไม่มีใครสามารถอธิบายอาการ รักษาหายได้ สุดท้ายเลยต้องหันพึ่งศาสนา ยินยอมประกอบพิธีกรรมไล่ผี

นักแสดงที่ได้รับการติดต่อพิจารณาบท ประกอบด้วย Jane Fonda [ไม่เชื่อเรื่องไสยศาสตร์], Audrey Hepburn [จะรับเล่น ถ้ามาถ่ายทำที่โรม], Anne Bancroft, Geraldine Page, Blatty แนะนำเพื่อนของตนเอง Shirley MacLaine แต่ Friedkin เกิดความลังเลใจ จนกระทั่ง Ellen Burstyn โทรศัพท์หาผู้กำกับ ประกาศกร้าวว่าจะแสดงบทนี้

Ellen Burstyn (เกิดปี 1932) นักแสดงหญิงสัญชาติอเมริกา หนึ่งในผู้คว้า Triple Crown of Acting (Oscar, Emmy, Tony) เกิดที่ Detroit, Michigan สนใจเรียนออกแบบ Fashion แต่เพราะสอบตกเลยกลายมาเป็น Model เดินทางสู่ New York City เป็นนักแสดง Broadways จากนั้นแสดงละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องแรก Goodbye Charlie (1964), เข้าชิง Oscar ครั้งแรกกับ The Last Picture Show (1971) คว้ารางวัล Oscar: Best Actress จากเรื่อง Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Same Time, Next Year (1978) [สร้างจากบทละครเวทีที่เธอคว้า Tony Award: Best Actress], Resurrection (1980), Requiem for a Dream (2000) ฯ

การแสดงของ Burstyn สร้างความร้าวฉานให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก แรกๆดูก็เป็นผู้หญิงที่มีความสุขดี แต่เมื่อเห็นลูกสาวมีพฤติกรรมแปลกๆ ต้องทนทุกข์ทรมานเจ็บปวด ความรวดร้าวแสนสาหัสของแม่ได้รับการถ่ายทอดออกมา ทั้งคำพูด-น้ำเสียง สายตา-น้ำตา ท่าทาง-เรี่ยวแรง สมจริงจับต้องได้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสุดยอดการแสดงของ Burstyn เลยละ

สำหรับบทบาทสำคัญที่ต้องเลือกนักแสดงมีชื่อเสียงพอสมควร Father Lankester Merrin ตัวเลือกของสตูดิโอคือ Marlon Brando แต่ผู้กำกับโหวตค้านเพราะมันจะกลายเป็น ‘หนังของ Brando’ ไปโดยปริยาย ซึ่ง Friedkin ยื่นคำขาดที่ Max von Sydow ที่มีใบหน้าเหมือนบาทหลวงฝรั่งเศสคนหนึ่ง

Max von Sydow หรือ Carl Adolf von Sydow (เกิดปี 1929) นักแสดงในตำนานสัญชาติ Swedish หนึ่งในขาประจำของ Bergman ที่มีผลงานภาพยนตร์หลายชาติหลายภาษา, เกิดที่ Lund ครอบครัวมีฐานะร่ำรวย พ่อเป็นศาสตราจารย์ นักชาติพันธุ์วิทยา ประจำ University of Lund ส่วนแม่เป็นครูสอนหนังสือ สืบเชื้อสายมาจาก German, ตอนเด็กเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนา Lund Cathedral School โตขึ้นเลือกเรียนโรงเรียนสอนการแสดง Royal Dramatic Theatre ที่ Stockholm รุ่นเดียวกับ Lars Ekborg, Margaretha Krook, Ingrid Thulin ฯ มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกๆ ในหนังของ Alf Sjöberg เรื่อง Only a Mother (1949) และ Miss Julie (1951)

บาทหลวง Merrin เป็นนักสำรวจโบราณคดีสูงวัย ขณะกำลังขุดซากโบราณสถาน Hatra อยู่ที่เมือง Mosul, Iraq ค้นพบรูปปั้นที่มีลักษณะคล้าย Pazuzu ปีศาจที่เคยปราบสำเร็จเมื่อหลายปีก่อน ทำให้เขาระลึกได้ว่ามันกำลังจะหวนคืนเพื่อล้างแค้น, ช่วงท้ายปรากฎตัวขึ้นอีกครั้ง ได้รับมอบหมายจากทางคริสต์จักรเพราะมีประสบการณ์เคยไล่ผีมาก่อน แต่เพราะปัญหาโรคหัวใจรุมเร้า จะทำให้สามารถประกอบพิธีกรรมสำเร็จหรือไม่

von Sydow ที่ขณะนั้นอายุ 44 ปี ต้องถูกแต่งหน้าอย่างเนียนโดยนักออกแบบ Special Effect ในตำนาน Dick Smith ให้กลายเป็นชายสูงวัยอายุ 74 ปี ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน สร้างความทรมานให้กับนักแสดงอย่างยิ่ง (เห็นว่าการแต่งหน้าของ von Sydow หนากว่าของเด็กหญิง Linda Blair เสียอีก)

บาทหลวง/ด็อกเตอร์ Damien Karras สตูดิโอคาดหวังให้ Jack Nicholson [แต่ Friedkin มองว่า เขาดูไม่เหมือน Holy Man แม้แต่น้อย], Paul Newman, Al Pacino ฯ ขณะที่ Blatty ถือหาง Stacy Keach ผู้กำกับถือหาง Gene Hackman ทั้งสองมีปากเสียงรุนแรง สุดท้ายลงเอยด้วยการเลือกนักแสดงหน้าใหม่ Jason Miller ที่เพิ่งพบเจอจากละครเวที Broadways ด้วยมีการแสดงที่ผู้กำกับให้นิยามว่า ‘reeked of failed Catholicism’

Jason Miller (1939 – 2001) นักแสดงสัญชาติอเมริกา เกิดที่ Queens, New York ในครอบครัว Irish Catholic เรียนจบสาขาภาษาอังกฤษและปรัชญาที่ University of Scranton ตามด้วยสาขาการพูดและการแสดง Catholic University of America ที่ Washington, D.C. เลือกเป็นนักแสดงละครเวที มีผลงาน Off-Broadway เรื่องแรก That Championship Season (1972) คว้ารางวัล Pulitzer Prize for Drama, ได้รับการชักชวนให้มาแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก The Exorcist (1973) และหวนมารับเชิญในภาคต่อ The Exorcist III (1990)

จากคนที่กำลังหมดศรัทธาในศาสนา เพราะการสูญเสียแม่ที่รักยิ่งจากความเห็นแก่ตัวของตนเอง การพบเจอเรื่องราวเหนือธรรมชาตินี้ทำให้เขาตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิต เพราะปีศาจตนนี้ได้โจมตีจุดอ่อนเรื่องแม่ ซึ่งก็ไม่รู้เขาสามารถเอาชนะได้หรือเปล่า หนังไม่ทันได้ให้คำตอบตรงนี้ แค่ทำให้ชายหนุ่มได้เผชิญหน้ากับด้านมืดของตนเอง

ภาพลักษณ์ของ Miller มีความเข้ากับบทบาทนี้เป็นอย่างมาก ดูเป็นคนเคร่งเครียด อมทุกข์ จริงจัง การแสดงขณะเจ็บปวดทรมานมีความหนักแน่นทรงพลัง สมแล้วกับการได้เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actor

สิ่งยากที่สุดของหนัง คือการค้นหาผู้รับบท Regan MacNeil ถึงจะมองหานักแสดงเด็กมีชื่อใน Hollywood ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย อาทิ Denise Nickerson ที่รับบท Violet Beauregarde ใน Willy Wonka & the Chocolate Factory (1971) แต่ครอบครัวเมื่ออ่านบทหนังก็ไม่อนุญาตให้เล่น, Anissa Jones จากซิทคอม Family Affair มาออดิชั่น แต่ไม่ผ่านการคัดเลือก, ประมาณ 600+ คนที่สรรหา เกือบที่จะยอมแพ้ จนกระทั่งแม่ของ Linda Blair จูงมือลูกสาวมาให้สัมภาษณ์ เพราะเจ้าตัวมีความชื่นชอบนิยายเป็นพิเศษ

Linda Denise Blair (เกิดปี 1959) เกิดที่ St. Louis, Missouri ตั้งแต่อายุ 4 ขวบก็กลายเป็น Child-Model (แม่เธอคงผลักดันมากๆ) มีบทบาทเล็กๆในละครโทรทัศน์ Hidden Faces (1968–69) ภาพยนตร์เรื่องแรก The Way We Live Now (1970), หลังจากหนังเรื่องนี้เธอกลับมารับบทเดิมในภาคต่อ Exorcist II: The Heretic (1977) แล้วค่อยๆจางหายไปจากวงการ กลายเป็นนักแสดงเกรด B ไม่มีผลงานอื่นใดให้พูดถึง

การแสดงของ Blair ว่ากันตามตรงไม่มีอะไรให้พูดถึงนัก นอกจากความทุ่มเทเสียสละทางกาย ที่ต้องเสียเวลาแต่งหน้าทำ Special Effect ให้หลอนๆ ส่งเสียงกรี๊ด สถบ ร้องลั่น แต่เสียงปีศาจที่ได้ยิน แท้จริงเป็นของ Mercedes McCambridge (นักแสดงที่ Orson Welles ยกย่องว่า ‘the world’s greatest living radio actress’) ในตอนแรกเธอพากย์เสียงโดยไม่ขอเครดิต ซึ่งหนังก็ไม่ได้ขึ้นเครดิตให้กับเธอ แต่พอ Blair ได้เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actress ทำให้เบื้องหลังนี้ได้ถูกเปิดเผย กลายเป็นเรื่องใหญ่โต แล้วอยู่ดีๆ McCambridge ก็ฟ้องสตูดิโอที่ไม่ให้เครดิตเธอ (เป็นผู้หญิงเอาใจยากเสียจริง)

เกร็ด: มีหลายช็อตหลอนๆทีเดียว ที่ใช้หุ่นแทนนักแสดงนะครับ (ก็แหงละ มนุษย์ที่ไหนจะหันหัว 180 องศาได้)

หลังจากหนังออกฉาย เด็กหญิง Linda Blair ได้รับจดหมายขู่ฆ่าจากกลุ่มศาสนาที่มีความเชื่อว่า เธอเป็นผู้ ‘glorified Satan’ นี่ทำให้ Warner Bros. ต้องว่าจ้าง bodyguards ดูแลปกป้องเธออย่างใกล้ชิด ตลอด 6 เดือนหลังหนังออกฉาย

สไตล์การกำกับของ Friedkin พยายามเลียนแบบ old-Hollywood คือสร้างสถานการณ์ เตรียมความพร้อมทุกอย่าง ให้นักแสดงมีปฏิกิริยาความรู้สึกออกมาอย่างแท้จริงและเป็นธรรมชาติ อาทิ ฉากไคลน์แม็กซ์ในห้องนอนของ Regan ติดตั้งเครื่องปรับอากาศถึง 4 ตัว เพื่อต้องการอุณหภูมิ -30 องศา ไอที่ออกจากปากนักแสดงคือความหนาวเหน็บจริงๆ, Jason Miller คือนักแสดงผู้โชคร้ายสุดในหนัง ฉากหนึ่งที่ต้องแสดงสีหน้าช็อคตกตะลึง ผู้กำกับอยู่ดีๆยกปืนขึ้นมายิงเฉียดผ่านหน้าเขาไปไม่กี่นิ้วเท่านั้น และตอนถูกอ๊วกพุ่งใส่ (มันคือซุปถั่ว Peas Soup ที่ทำให้เละๆ) เตี้ยมกันจะถูกแค่เสื้อผ้าหน้าอก แต่กลับพุ่งเข้าไปเต็มหน้า แสดงความรังเกียจขยะแขยงออกมาชัดเจน (เจ้าตัวไม่พอใจซีนนี้มากด้วยนะ เทคเดียวจบเลยไม่เล่นอีก)

ถ่ายภาพโดย Owen Roizman [ขาประจำของ Friedkin ที่ร่วมงานกันมาจาก The French Connection ผลงานอื่น อาทิ Network (1977), Tootsie (1983)] และ Billy Williams [ตากล้องสัญชาติอังกฤษ ที่มีผลงานดังอย่าง Women in Love (1969), Gandhi (1982), On Golden Pond (1981)] เรื่องราวเปลี่ยนพื้นหลังให้อยู่ที่ Washington D.C. แต่สถานที่ถ่ายทำส่วนใหญ่อยู่ New York City

งานภาพของหนังมีความพยายามทำให้ผู้ชมเกิดสัมผัสทางอารมณ์ และบรรยากาศที่ลึกลับ น่าพิศวง ใช้เทคนิคคลาสสิกอย่าง ค่อยๆซูมเข้าออก, กล้องสั่นไหว, เอียงกะเทเร่, แสงเงา/หมอกควัน ฯ ขณะที่นักแสดงแสดงปฏิกิริยาหวาดกลัว เครียด ร้องไห้ เสียสติ ก็จะ Close-Up ใบหน้าให้เห็นชัดๆเต็มๆ ตัดสลับแบบ Montage ให้รับรู้ว่าพวกเขามองเห็นอะไรเกิดขึ้น

ฉากที่บาทหลวง Merrin เดินทางถึงบ้านของครอบครัว MacNeil คือฉากแรกในคิวถ่ายทำของ von Sydow ยามค่ำคืน ท้องถนนเต็มไปด้วยหมอกควัน แสงสว่างส่องลอดออกมาจากหน้าต่างห้องนอน, นี่เป็นช็อตที่ได้รับการพูดถึงกล่าวขานมากที่สุดของหนัง ได้แรงบันดาลใจจากภาพวาดสีน้ำมันชื่อ L’Empire des lumières (Empire of Light) โดย René Magritte (1898 – 1967) จิตรกร Surrealist สัญชาติ Belgian เมื่อประมาณปี 1953 – 54

Genesis 1 verse 4:
“And God saw the light, that it was good: and God divided the light from the darkness.”

ตัดต่อโดย Evan A. Lottman และ Norman Gay นี่เป็นส่วนที่ทำให้หนังดูยากอย่างมาก เพราะมีการตัดสลับไปมาระหว่างเรื่องราวแบบไม่ทันให้ตั้งตัว ซึ่งกว่าทุกเส้นทางจะมาบรรจบ ก็ลากยาวไปช่วงท้ายของหนังแล้ว

เส้นทางของหนังแบ่งออกเป็น 3 สาย
1) เรื่องราวของบาทหลวง Lankester Merrin เริ่มต้นด้วยการอารัมภบท แนะนำปีศาจ Pazuzu
2) เรื่องราวของครอบครัว MacNeil แม่ที่รับรู้ว่าลูกสาวพบเจอปรากฎการณ์ประหลาดมากมาย
3) เรื่องราวของบาทหลวง Damien Karras ที่กำลังหมดสิ้นศรัทธาในคริสตศาสนา

โดยหนังจะเริ่มเล่าเรื่องจากทางสาย 1) ที่ประเทศ Iraq ซึ่งพอ Merrin เผชิญหน้ากับ Pazuzu ก็จะถือว่าจบสิ้นเรื่องราวสายนี้ จากนั้นหนังจะตัดกลับมาที่ Georgetown, Washington D.C. มีการตัดสลับเรื่องราวไปมาระหว่าง 2) กับ 3) ต้องใช้การสังเกตให้ออกเองว่า ขณะนี้เป็นเรื่องราวของ Karras หรือ Mac Neil ซึ่งเมื่อถึงจุดๆหนึ่ง พวกเขาทั้งสองก็จะได้พบเจอกัน และ Merrin จะกลับมาร่วมแจมอีกครั้งในตอนท้าย

การตัดต่อมีขณะหนึ่ง ตอนที่ Merrin ยืนเผชิญหน้ากับรูปปั้น Pazuzu จะมีการซ้อนภาพพระอาทิตย์กำลังตกดิน ช็อตนี้คงมีนัยยะถึงการต่อสู้เผชิญหน้า ระหว่าง สวรรค์vsนรก, ความดีvsความชั่ว, วิทยาศาสตร์vsศาสนา ฯ หรือจะมองว่าคือการเดินทางปลิวลมของ Pazuzu ก็ได้นะครับ บินตรงจาก Iraq สู่ Washington D.C. (หนังภาคนี้จะไม่มีคำอธิบายว่าทำไม Reagan ถึงถูกปีศาจตนนี้เขาสิง แต่ในภาคต่อๆมาจะโม้ว่าล่องลอยบินมา)

นอกจากนี้ หนังยังมีการแทรกใส่ภาพหน้าปีศาจปรากฎแวบๆเพียงเสี้ยววินาที นี่ทำให้ผู้ชมสมัยนั้นตกใจกลัว คิดว่าตัวเองเห็นภาพหลอน ปีศาจ แต่นี่เป็นเทคนิคที่ผู้กำกับได้แรงบันดาลใจจากหนังสารคดี Night and Fog (1956) โดยภาพดังกล่าวเป็นการ Make-Up ทดลองแต่งหน้าของ Eileen Dietz ที่เป็นนักแสดงแทน Linda Blair

ส่วนช็อตนี้เป็นการซ้อนภาพปีศาจเข้าไปนะครับ (แต่ผู้ชมสมัยนั้นหลงคิดว่า ถ่ายติดผี)

ฉบับแรกสุดของหนังความยาว 132 นาที เมื่อนำไปฉายให้ผู้บริหารของ Warner Bros. ถูกสั่งให้ตัดออกหลายๆฉาก จนเหลือเพียง 122 นาที ก็นึกว่าฟุจเทจที่ทิ้งไปจะสูญหายไปแล้ว กระทั่งมี Extended Director’s Cut ออกเมื่อปี 2000 ใส่ฉากเหล่านี้กลับเข้ามา อาทิ
– บทสนทนาทางโทรศัพท์ของ Chris ที่ว่า I’ve been on this fucking line for 20 minutes!
– ฉากที่หมอสนทนากับ Chris บอกว่า Regan พูดกับเขาว่า keep your fingers away from her, goddamn cunt.
– ฉากงานเลี้ยงปาร์ตี้ที่ Regan หัวเราะและฉี่ราด
– ฉาก Spider-walk ลงจากบันได
– ตอนท้ายที่ Chris มอบเหรียญของหลวงพ่อ Damian ให้กับหลวงพ่อ Dyer แต่เขากลับส่งคืนพูดว่า I think you should keep it.
– ฉากตอนจบที่ Lt. Kinderman สนทนากับ Father Dyer เสียงเพลงนำมาจากทำนอง Casablanca (1942) ตัดจบก่อนที่เหมือนตัวละครจะพูดว่า I think this is the beginning of a beautiful friendship.
ฯลฯ

ผมเคยรับชมทั้งสองฉบับแล้ว ไม่ค่อยอยากแนะนำ Director’s Cut เลยนะครับ เพราะมันมีหลายฉากที่ก็ไม่รู้ใส่มาทำไม ไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย กระนั้นบางฉากที่เพิ่มเข้ามามีความขนลุกขนพองใช้ได้, ถ้ากับคนที่กำลังจะรับชมครั้งแรก แนะนำให้หาฉบับปกติมาดูก่อนนะครับ ถ้าชื่นชอบมีโอกาสค่อยตามหา Version You’ve Never Seen Before

เพลงประกอบของหนังส่วนใหญ่ นำมาจากบทเพลงที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว อาทิ Cello Concerto No. 1 (1972) ของ Krzysztof Penderecki (เกิดปี 1933) คีตกวีสัญชาติ Polish ได้รับการยกย่องว่า ‘the greatest living Polish composer.’

ขอเตือนไว้ก่อนเลยว่า นี่เป็นบทเพลงที่หลอนแบบทรงพลังมากๆ เสียงเครื่องสายทั้งหลายกระแทกกระทั้นรุนแรง เหมือนจะมั่วแต่มีรูปแบบ แสดงถึงความบ้าคลั่ง สับสนอลม่านวุ่นวาย สร้างความสะพรึง สั่นสะท้าน ทรมานทั้งหูและจิตใจเป็นอย่างยิ่ง, ใครก็ตามที่สามารถแต่งเพลงลักษณะนี้ได้ ต้องนรกส่งมากเกิดเลยนะ

สำหรับ Main Theme ของหนัง แต่งโดย Mike Oldfield นักดนตรี/แต่งเพลง Progressive Rock สัญชาติอังกฤษ เน้นเสียง Tubular Bells (ระฆังราว) ที่สร้างความขนลุกขนพอง บางสิ่งอย่างกำลังค่อยๆคืบคลานใกล้เข้ามา

แต่หนังเรื่องนี้เพลงประกอบไม่ใช่พระเอกนะครับ เป็นเสียง Sound Effect สร้างโดย Gonzalo Gavira ที่มีผลงาน El Topo (1970) เราจะได้ยิน อาทิ หมาคราง, หมูขณะกำลังถูกเชือด, เสียงผึ้งบินหึ่งๆ ฯ ที่ได้รับการพูดถึงอย่างยิ่งคือการหันหัว 180 องศา เป็นเสียงบิดกระเป๋าสตางค์หนัง ที่ข้างในดันมีบัตรเครดิตไม่ได้หยิบออก

The Exorcist คือเรื่องราวความพิศวงของชีวิต กับสิ่งที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายหาคำตอบด้วยหลักเหตุผล แต่ศาสนากลับแก้ปัญหาได้ ก็อยู่ที่ศรัทธาความเชื่อของคุณเอง จะยินยอมรับสิ่งที่ปรากฎเห็นขึ้นต่อตา สิ่งเหนือธรรมชาตินี้อย่างไร

ปรากฎการณ์ผีสิง เป็นสิ่งพบเจอได้ทั่วโลกทั่วไปทุกศาสนาเลยนะครับ เพราะวิญญาณของคนตายบางทียังมีห่วงอยู่บนโลก จึงพยายามที่จะเข้าสิง หาทางกลับมาเกิด เพื่อทำในสิ่งยังไม่ได้ทำ เตือนภัยให้กับคนที่หลงระเริงในชีวิต, บางครั้งอาจมีจุดประสงค์ดี แต่ส่วนใหญ่มักจะมาร้ายทั้งนั้น กล่าวคือ เป็นคนที่ยังยึดติดกับการมีชีวิต ไม่สามารถปล่อยวาง ยินยอมรับความตายของตนเองได้

ในเมืองไทยก็สามารถพบเจอเยอะแยะไปไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะครับ กับคนเมืองผู้ยึดมั่นศรัทธาในวิทยาศาสตร์คงไม่ค่อยได้พบเจออะไรพวกนี้เท่าไหร่ แต่คนต่างจังหวัด ใกล้ชิดศาสนา เข้าวัดทำบุญบ่อยๆ ย่อมต้องเคยได้ยินเรื่องราวสุดประหลาดๆคล้ายแบบนี้มากมาย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดเสียเท่าไหร่ เพราะชาวเรารับรู้เข้าใจว่าวิญญาณ โลกหลังความตายมีจริง พ่อ-แม่ ญาติพี่น้องที่เสียชีวิต บางคนคงยังคงวนเวียนอยู่ข้างกาย ปกป้องปัดเป่าเสนียดจัญไร ราวกับเทวดาประจำตัว แต่โดยทั่วไปพวกท่านก็จะไม่มารบกวนอะไรเราหรอก เข้าฝันบ้างนานๆที เรียกว่าเป็นผีดีก็ยังได้

วิญญาณทั้งหลายก็เหมือนกับมนุษย์ (เพราะผีทุกตัว ล้วนต้องเคยเกิดเป็นมนุษย์ทั้งนั้น) มีโลภ โกรธ หลง ราคะ ไปทำอะไรให้เขาขัดแย้งผิดใจ ลำบากทุกข์ทรมาน ขับไล่ที่ หรือทำบัดสีบัดเถลิง ฯ ย่อมเกิดความแค้นโกรธเคือง ถ้าเป็นผีมีฤทธิ์ก็จะออกตามล่าอาฆาต ทำให้บุคคลนั้นมีอันต้องพบกับเหตุร้าย อันตราย รุนแรงก็ถึงตาย นี่เรียกว่า วิญญาณอาฆาต มีอยู่จริงๆนะครับไม่ได้พูดเล่น

ปฏิกิริยาของผู้ชมสมัยนั้น เพราะความที่หนังลักษณะนี้ยังไม่ได้แพร่หลายมีมากมายเต็มไปหมดเหมือนปัจจุบัน หลายคนถึงขั้นหน้ามืดเป็นลมหมดสติ ฉากไหนน่ากลัวมากๆก็จะกรี๊ดลั่นวิ่งออกจากโรงภาพยนตร์ บางคนอ๊วกแตกอ๊วกแตนขยะแขยงรับไม่ได้ ฯ พิลึกที่กระแสลักษณะนี้ ชักชวนผู้คนให้ต่อแถวยาวเหยียดหน้าโรงภาพยนตร์ ต้องการพบเห็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิต

ด้วยทุนสร้าง $12 ล้านเหรียญ หนังทำเงินได้ $66.3 ล้านเหรียญในการออกฉายครั้งแรก แต่เพราะมีการฉายซ้ำต่อเนื่องอยู่เรื่อยๆ ในอเมริกาจนถึงปัจจุบันมีรายรับที่ $232.9 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $441.3 ล้านเหรียญ ปรับค่าเงินเป็นสมัยปัจจุบัน อยู่ที่อันดับ 9 หนังทำเงินสูงสุดตลอดกาล

ด้วยเหตุนี้ Warner Bros. จึงเข็นภาคต่อออกมามากมาย แต่ไม่มีเรื่องไหนประสบความสำเร็จทั้งคำวิจารณ์และรายได้ เทียบเท่ากับต้นฉบับอีกแล้ว
– Exorcist II: The Heretic (1977)
– The Exorcist III (1990)
– Exorcist: The Beginning (2004)
– Dominion: Prequel to the Exorcist (2005)

ล่าสุดเห็นมีการทำเป็นซีรีย์ The Exorcist (2016) ฉายทางช่อง Fox ได้เสียงตอบรับปานกลาง ผู้ชมเฉลี่ย 1.8 ล้านคน

กระแสของ The Exorcist จุดประกายหนังแนว Evil Kid อันประกอบด้วย The Omen(s), Child’s Play/Chucky, Children of the Corn(s), Pet Sematary, Orphan ฯ

หนังเข้าชิง Oscar 10 สาขา คว้ามาเพียง 2 รางวัล
– Best Picture
– Best Director
– Best Actress (Ellen Burstyn)
– Best Actor in a Supporting Role (Jason Miller)
– Best Actress in a Supporting Role (Linda Blair)
– Best Writing, Screenplay Based on Material from Another Medium ** ได้รางวัล
– Best Cinematography
– Best Art Direction-Set Decoration
– Best Film Editing
– Best Sound ** ได้รางวัล

ก่อนหน้างานประกาศรางวัล ผู้กำกับ George Cukor ออกมาขู่ว่าจะลาออกจาก Academy ถ้าหนังเรื่องนี้คว้า Oscar: Best Picture

สำหรับเรื่องที่คว้ารางวัลใหญ่ปีนี้คือ The Sting (1973) ตัวเต็งอื่นคือ American Graffiti (1973) และ Cries & Whispers (1972) ถือว่าเป็นปีที่สายแข็งมากๆ

ส่วนตัวค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้ ในส่วนของเนื้อเรื่อง การแสดง และการสร้างบรรยากาศ ที่ไม่ได้สักแต่จะไล่ผีให้ตกใจกลัว แต่ใจความเป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อ ศรัทธา ท้าพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์ แม้ผมจะไม่ใช่ชาวคริสต์ยังรู้สึกคับข้องใจแทน จากความที่โลกสมัยนี้มีเทคโนโลยีก้าวล้ำหน้า แต่คุณค่าทางจิตใจของมนุษย์กลับลดต่ำลงมาก

นี่คือลักษณะของหนังแนว Horror ที่ดีในมุมมองของผมนะครับ  คือไม่ได้สักแค่จะทำให้ผู้ชมเกิดความหวาดกลัว สะดุ้ง ตกใจ ขนลุกขนพอง หรือเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกมากเกินไป แต่มีความสมเหตุสมผล ฟังดูเป็นไปได้น่าเชื่อถือ และเมื่อนี่อ้างอิงจากเหตุการณ์จริง ผีฝรั่งก็แบบนี้แหละ จะเอานิยามผีไทยไปเปรียบเทียบคงไม่ได้แน่ แต่เราก็ยังสามารถเข้าใจ ขนลุกขนพอง หวาดกลัว สยองขวัญ

แนะนำกับคอหนังแนว Horror-Classic เรื่องราวเหนือธรรมชาติ ศรัทธาศาสนาคริสต์, ชื่นชอบบรรยากาศ ระทึก สยองขวัญ หวาดกลัว คลาสสิก, แฟนๆหนังรางวัล และนักแสดงอย่าง Max von Sydow, Ellen Burstyn

จัดเรต 18+ กับบรรยากาศ ความน่ากลัว สยดสยอง

TAGLINE | “The Exorcist ปฐมบทการไล่ผีที่สร้างความหวาดกลัว ขนลุกขนพองให้กับผู้ชมสมัยนั้นอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าสมจริงแบบคลาสสิก”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Hour of the Wolf (1968)


Hour of the Wolf

Hour of the Wolf (1968) Swedish : Ingmar Bergman ♥♥♡

หนังแนว Gothic Horror ที่เป็นกึ่งอัตชีวประวัติของผู้กำกับ Ingmar Bergman โดยมี Max von Sydow เป็นตัวตายตัวแทน และชู้สาวที่รักมากขณะนั้น Liv Ullmann เป็นภรรยา, นี่แปลว่าจิตใจของผู้กำกับขณะนั้น มีความหวาดหวั่นกลัว อกสั่นขวัญผวาต่อบางสิ่งบางอย่าง แต่จะคืออะไรละ?

ถือว่าผมโชคดีที่ได้ศึกษาค้นคว้า อ่านผ่านตาชีวประวัติของผู้กำกับ Ingmar Bergman มาพอสมควร จึงสามารถรับรู้ได้เลยว่านี่คือหนังกึ่งอัตชีวประวัติ มีหลายสิ่งอย่างนำมาจากเรื่องเล่าอดีตอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งถ้าคุณจับจุดนี้ได้แล้วนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ ก็อาจพอเข้าใจได้ว่าหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร

Ernst Ingmar Bergman (1918 – 2007) ปรมาจารย์ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Swedish เกิดที่ Uppsala ทางตะวันตกของประเทศ พ่อ Erik Bergman เป็นพระผู้สอนศาสนาในนิกาย Lutheran ของชาวเดนมาร์ก (ต่อมาได้กลายเป็น Chaplain/อนุศาสนาจารย์ของกษัตริย์สวีเดน) ส่วนแม่มาจากครอบครัวฐานะร่ำรวย, ชีวิตวัยเด็กไร้ความสุขสบาย ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเคร่งครัด เคยถูกพ่อขังในตู้เสื้อผ้าที่มืดมิดหลายครั้ง ด้วยเหตุนี้ผลงานภาพยนตร์ของ Bergman จึงมักตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น ศาสนา-ความเชื่อ-ศรัทธา บทบาทของพ่อ และความเจ็บปวดทุกข์ทรมานของลูกชาย ซึ่งเพื่อนที่ดีที่สุดขณะนั้นก็คือแม่ของเขาเอง

ในวัย 10 ขวบ Bergman ได้เริ่มสร้างตุ๊กตาเพื่อจัดแสดงในโรงละครหุ่นชัก โดยได้แสดงครั้งแรกในปี 1935 ซึ่งเริ่มแสดงให้เห็นพรสวรรค์ทางด้านศิลปะของเขา ก่อนที่จะไปศึกษาด้านวรรณกรรมและศิลปะ เรียนวาดรูปที่ Stockholm College (ปัจจุบันชื่อ Stockholm University) แต่กลับเบี่ยงเบนความสนใจในการละครและภาพยนตร์แทน, เมื่อเรียนจบก็เริ่มฝึกงานด้านการกำกับที่โรงละคร Stockholm พร้อมๆกับเขียนเรื่องสั้น บทละครอีกหลายเรื่อง จนอายุ 26 ปี ก็กลายเป็นผู้จัดการโรงละครที่อายุน้อยที่สุดในยุโรป

ประมาณช่วงฤดูใบไม้ผล (Autumn) ปี 1964, Bergman ได้พัฒนาบทภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ตั้งชื่อว่า The Cannibals ตั้งใจเปิดกล้องถ่ายทำปีถัดมา แต่กลับล้มป่วยด้วยโรคปอดบวม เข้านอนโรงพยาบาลอยู่หลายเดือน ทำให้โปรเจคนี้ต้องขึ้นหิ้งค้างไว้ก่อน และขณะกำลังทนทุกข์ทรมานแสนสาหัส ได้เกิดแนวคิดโปรเจคใหม่เรื่อง Persona ซึ่งหลังออกจากโรงพยาบาลก็เดินหน้าสร้างหนังเรื่องนี้ขึ้นก่อน จนได้รับการยกย่องว่าเป็น Masterpiece

หลังเสร็จสิ้นจาก Persona (1966) ผู้กำกับก็ได้หวนนำเอา The Cannibals มาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชื่อใหม่เป็น Hour of the Wolf โดยให้คำนิยาม ‘ชั่วโมงหมาป่า’ นี้ว่า

“The hour of the wolf is the hour between night and dawn. It is the hour when most people die, when sleep is the deepest, when nightmares feel most real. It is the hour when the demons are most powerful. The hour of the wolf is also the hour when most children are born.”

ประเทศสวีเดน เป็นดินแดนในแถบสแกนดิเนเวียที่ถูกขนานนามว่า ‘ดินแดนพระอาทิตย์เที่ยงคืน’ (Midnight Sun) อยู่ใกล้กับขั้วโลกเหนือ เมื่อถึงช่วงฤดูร้อน (ระหว่างเดือนเมษายนถึงสิงหาคม) บริเวณนี้จะได้รับแสงสว่างตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ตรงกันข้ามกับช่วงฤดูหนาว ก็จะมืดมิดสนิทตลอด 24 ชั่วโมง, ซึ่งช่วงเวลาระหว่างรอยต่อนั้น บางวันพระอาทิตย์ตกชั่วโมงเดียว/ขึ้นชั่วโมงเดียว อาศัยอยู่ประเทศแถบนี้ดูฤกษ์โมงยามจากพระอาทิตย์ไม่ได้แน่นอน

‘ชั่วโมงของหมาป่า’ ก็ไม่รู้ช่วงเดือนไหนของประเทศนี้ ที่พระอาทิตย์จะตกดินมืดมิดเพียงไม่กี่ชั่วโมง (นับตั้งแต่หลังเที่ยงคืนจนถึงหกโมงเช้า) ถือเป็นระยะเวลาที่สั้นแต่ทรมานแทบขาดใจ, ตามตำนานเล่าว่า ช่วงเวลาขณะนี้เหล่าปีศาจ/หมาป่า จะครึกครื้น เริงร่า แผ่ซ่านพลังความชั่วร้ายสูงสุด (เพราะช่วงฤดูร้อนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน ทำให้ไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้ ซึ่งพอถึงช่วงพระอาทิตย์เริ่มตกดิน แม้แค่ชั่วโมงเดียวก็ได้เวลาออกมายืดเส้นยืดสาย ปลดปล่อยความชั่วของตนเองได้สักที) ซึ่งกับบุคคลที่มีบางสิ่งอย่างเก็บกดปกปิดซ่อนเร้นไว้ข้างใน ย่อมมีความหวาดเกรงกลัวภัยต่อความมืดมิด เพราะช่วงเวลานี้อะไรๆก็เกิดขึ้นได้

เกร็ด: หมาป่ากับชาวสแกนดิเนเวีย ถือว่าเป็นสัตว์สัญลักษณ์แสดงถึงความชั่วร้าย แบบเดียวกับ นิทานหนูน้อยหมวกแดง, ลูกหมูสามตัว ฯ ที่ต่างให้หมาป่าเป็นตัวร้ายทั้งสิ้น

เรื่องราวของ Johan Borg (รับบทโดย von Sydow) จิตรกรวาดรูปที่คงมีชื่อเสียงพอสมควร ใช้ชีวิตอยู่กับภรรยาสาว Alma (รับบทโดย Liv Ullmann) ที่เกาะเล็กๆห่างไกลผู้คน แต่แล้วเหตุการณ์แปลกประหลาดต่างๆนานาก็เริ่มเกิดขึ้น หลังจากพวกเขาได้รับเชิญไปงานเลี้ยงเล็กๆที่ปราสาทของ Baron von Merkens (รับบทโดย Erland Josephson) อดีตที่ตามมาหลอกหลอน ความฝันกลับกลายเป็นความจริง สุดท้ายแล้ว Johan จะเลือกใคร ระหว่างภรรยาสาว Alma กับหญิงสาวในภาพวาด Veronica Vogler (รับบทโดย Ingrid Thulin)

Max von Sydow หรือ Carl Adolf von Sydow (เกิดปี 1929) นักแสดงในตำนานสัญชาติ Swedish หนึ่งในขาประจำของ Bergman ที่มีผลงานภาพยนตร์หลายชาติหลายภาษา, เกิดที่ Lund ครอบครัวมีฐานะร่ำรวย พ่อเป็นศาสตราจารย์ นักชาติพันธุ์วิทยา ประจำ University of Lund ส่วนแม่เป็นครูสอนหนังสือ สืบเชื้อสายมาจาก German, ตอนเด็กเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนา Lund Cathedral School โตขึ้นเลือกเรียนโรงเรียนสอนการแสดง Royal Dramatic Theatre ที่ Stockholm รุ่นเดียวกับ Lars Ekborg, Margaretha Krook, Ingrid Thulin ฯ มีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกๆ ในหนังของ Alf Sjöberg เรื่อง Only a Mother (1949) และ Miss Julie (1951)

ปี 1955, Sydow ย้ายไปอยู่ที่เมือง Malmö ที่ซึ่งได้พบเจอกับ Ingmar Bergman ทั้งสองร่วมงานกันในละครเวทีเรื่อง Malmö Municipal Theatre และกลายมาเป็นขาประจำในภาพยนตร์ อาทิ The Seventh Seal (1957), Wild Strawberries (1957), The Virgin Spring (1960) ฯ

รับบท Johan Borg ชายผู้มีสีหน้าอมทุกข์ อึดอัดอั้นด้วยปมอดีตบางอย่างฝังลึกในใจ ไม่อาจหลงลืมถอนตัวกลับขึ้นได้ ทำให้ปัจจุบันเกิดความหวาดทุกข์ทรมาน หวาดกลัวความมืดมิด จนแล้วจนรอดในที่สุดก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต้องย้อนกลับคืนไปหา แต่มันเพราะจริงๆแล้ว นั่นอาจคือสิ่งที่ตนรักยิ่ง รักมากที่สุด (กว่าภรรยาคนปัจจุบันของตนเองอีก)

ใครๆหลายคนคงรับรู้ได้ ว่าตัวละครนี้เป็นตัวแทนของผู้กำกับ Ingmar Bergman ที่เคยถูกกักขังในตู้เสื้อผ้ามืดมิด, ชื่นชอบการวาดรูป (แต่ชอบภาพยนตร์/การแสดงมากกว่า), เคยมีปมอดีตกับผู้หญิง และสำคัญที่สุดคือปัจจุบันขณะนั้นกำลังตกหลุมรักคลั่งอยู่กับ Liv Ullmann

Liv Johanne Ullmann (เกิดปี 1938) นักแสดง/ผู้กำกับหญิงสัญชาติ Norwegian เกิดที่ Tokyo, ประเทศญี่ปุ่น เพราะขณะนั้นพ่อที่เป็นชาวนอร์เวย์ ทำงานวิศวกรการบินอยู่ที่ญี่ปุ่นพอดี ช่วงวัยเด็กจึงมีโอกาสเดินทางไปหลายประเทศทั่วโลก ก่อนมาปักหลักอาศัยอยู๋ที่ Trondheim, Norway หลังจากพ่อเสียชีวิต, Ullmann เริ่มมีผลงานจากการเป็นนักแสดงละครเวทีที่ Norway ก่อนไปเข้าตาผู้กำกับ Bergman ชักชวนเกี้ยวพาจนได้ร่วมงานกันและมีลูกนอกสมรสหนึ่งคน ผลงานเด่นของพวกเขา อาทิ Persona (1966), The Passion of Anna (1969), Cries and Whispers (1972) Autumn Sonata (1978) ฯ เคยคว้ารางวัล Golden Globe Award: Best Actress จากหนังเรื่อง The Emigrants (1971)

รับบท Alma ภรรยาสาวที่รักสามีมาก ขณะนั้นกำลังตั้งครรภ์ พยายามทำทุกอย่างให้เขาสนใจรักตอบ แต่จนแล้วจนรอดเมื่อได้แอบอ่านไดอารี่ส่วนตัว ก็ค้นพบความจริง สิ่งที่ Johan รักที่สุดกลับไม่มีวันเป็นเธอ

Bergman แต่งงานกับภรรยาคนที่สี่ นักเปียโน Käbi Laretei เมื่อปี 1959 ช่วงแรกๆก็ไปด้วยกันดี มีลูกชายสุดหล่อหนึ่งคน แต่พอถูกจับได้ว่าลักลอบเป็นชู้กับ Ullmann ตั้งแต่ปี 1965 เธอก็พยายามฟ้องหย่า กว่าจะสำเร็จก็ปี 1969, ตอน Bergman พัฒนาบทหนังเรื่องนี้ ความรักของเขากับ Laretei อยู่ในช่วงสั่นคลอนร้าวรานอย่างรุนแรง มองเห็นทุกสิ่งอย่างรอบตัวราวกับสัตว์ประหลาดในจินตนาการ กอปรกับการล้มป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล แต่เพราะได้ Ullmann มาช่วยเยี่ยวยารักษาแผลใจ ทำให้ผ่านช่วงเวลาเจ็บปวดทรมานที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตไปได้

Ullmann เป็นผู้หญิงคนเดียวที่ไม่แต่งงานกับ Bergman แต่มีลูกด้วยกันหนึ่งคน คงเพราะเธอเข้าใจนิสัยเจ้าชู้ประตูดินของเขาเป็นอย่างดี จึงไม่อยากเสียเวลา ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ทั้งคู่ก็แยกจากกันเมื่อปี 1970, ในบรรดาหญิงสาวทั้งหลายที่เข้ามาในชีวิตของผู้กำกับ เคยบอกว่า Ullmann คือคนที่เขารักมากที่สุด

ถ่ายภาพโดย Sven Nykvist ขาประจำที่สุดของ Bergman, อาจมีคนคุ้นๆสถานที่ถ่ายทำ Hovs hallar ที่เมือง Hallandsåsen เป็นสถานที่เดียวกับ The Seventh Seal (1957) เห็นว่า Bergman เคยชักชวน Andrei Tarkovsky มาพักร้อนที่เกาะแห่งนี้ ซึ่งต่อมาได้ถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำหนังเรื่อง The Sacrifice (1986) [และถ่ายภาพโดย Sven Nykvist]

การออกแบบภายในปราสาท มีความบิดเบี้ยวแปลกประหลาด คล้ายๆกับสไตล์ Gothic ผสม German Expressionist และเมื่อถูกจัดให้เข้ากับมุมกล้อง การจัดแสง ได้ช่วยเพิ่มความลึกลับพิศดาร สยองขนหัวลุก ทั้งๆที่บางฉากก็ไม่มีอะไรเลยเป็นห้องว่างๆ แต่ตัวละครกลับสามารถเดินไต่พนังเกาะเพดาน (มนุษย์แมงมุม) หรืออีกฉากที่มีฝูงนกเกาะเต็มไปหมด (มนุษย์นก) ฯ เห็นแล้วอกสั่นขวัญหา เสียววูบวาบในหัวใจ

ผมค่อนข้างชอบ direction ถ่ายภาพรอบโต๊ะอาหาร งานเลี้ยงที่ปราสาทช่วงกลางเรื่องเป็นอย่างยิ่ง, กล้องเคลื่อนหมุนรอบโต๊ะให้เห็นทุกตัวละครทั้งด้านหลังด้านหน้า ซึ่งแต่ละคนจะมีบทสนทนาเด่นของตัวเองดังขึ้นแบบก็ไม่รู้ว่าพวกเขา/เธอ กำลังพูดคุยสนทนากับใคร, จากนั้นถ่ายภาพด้านหน้า ซึ่งตำแหน่งที่ Johan กับ Alma นั่ง จะมีใครสักคนคั่นขวางอยู่ กล้องเคลื่อนหมุนกลับไปกลับมา โคลงเคลงราวกับนั่งอยู่บนเรือ (แต่ไม่ใช่แนวดิ่งนะครับ เป็นแนวนอนหมุนรอบโต๊ะ) วิธีการนี้ชวนให้เกิดความสับสน มึนงง เหมือนจะมั่ว … ซึ่งผมว่าก็มั่วจริงๆนะแหละ, ความตั้งใจของฉากนี้คงให้ผู้ชมเกิดความใคร่สงสัย สังเกตเห็นความผิดปกติของคนกลุ่มนี้ ว่าต้องมีลับเล่ห์คมในบางสิ่งอย่างซ่อนเร้นอยู่

อีกฉากที่ต้องพูดถึงเลยคือในป่าโกงกาง น่าจะเป็นการเซตฉากขึ้นถ่ายในสตูดิโอ ต้นไม้มีลักษณะเต็มไปด้วยกิ่งก้าน หนามแหลม คดเคี้ยว ราวกับเส้นเลือดในสมองที่โยงใยกันอย่างยุ่มย่าม, เรื่องราวในฉากนี้เป็นมุมมองของ Alma (เหมือนเป็นภาพในจินตนาการของเธอ) ต่อการหายตัวไปของสามี ถูกกลุ่มคนที่มีความแปลกประหลาดพิศดารทำร้ายลักพาตัวไป แต่จะว่าไปสถานที่ราวกับเส้นทางรอยต่อระหว่างโลกมนุษย์กับโลกปีศาจ

ตัดต่อโดย Ulla Ryghe ขาประจำช่วงทศวรรษ 60s ของ Bergman, ถ้าใครสังเกตในช่วง Opening Credit เสียงที่ได้ยินทีแรกผมคิดว่าเป็นการเตรียมตัวเพื่อก่อนการแสดงคอนเสิร์ตดนตรีคลาสสิก แต่กลับกลายเป็นเสียงในกองถ่าย กำลังเตรียมพร้อมเริ่มต้นจะถ่ายทำภาพยนตร์ Ready Action! … นี่มิใช่นัยยะแฝงที่บ่งบอกว่า หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับ ‘ภาพยนตร์’ และผู้กำกับ Ingmar Bergman หรอกหรือ!

หนังใช้การเล่าเรื่องแบบย้อนอดีต (Flashback) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเราสามารถแบ่งองก์ประกอบของหนัง ได้ทั้งหมด 7 ช่วง
1. Prologue เริ่มต้นมีลักษณะการให้สัมภาษณ์ของตัวละคร Alma ต่อเหตุการณ์หายตัวไปของสามี Johan
2. Arrival การมาถึงของคู่รักสองสามีภรรยา ช่วงแรกเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขสันต์ แต่ภายหลัง Johan เปลี่ยนไปเป็นคนละคร จากการได้จินตนาการพบเจอคิดฝันถึงสิ่งมีชีวิตแปลกประหลาด
3. The Diary หญิงชราคนหนึ่ง (อ้างว่าอายุกว่า 200 ปี) พูดบอกกับ Alma ให้อ่านบันทึกของสามี, ขณะ Alma อ่านไดอารี จะตัดให้เห็นภาพจินตนาการย้อนอดีตที่เกิดขึ้นกับ Johan ที่ได้พบปะผู้คนต่างๆ (จนอาจเป็นเหตุให้เก็บเอามาคิดฝัน)
4. The Party นี่เป็นงานเลี้ยงที่แปลกประหลาดมาก แม้จะมีคนไม่เยอะแต่คำพูดคำจา ท่าทางการแสดงออก บ่งบอกว่ามีบางสิ่งอย่างที่ผิดเพี้ยนแตกต่างจากคนปกติ แต่จริงๆอาจจะไม่มีอะไรเลยก็ได้
5. The Hour of the Wolf เมื่อ Johan ตัดสินใจเล่าบางอย่างที่เกิดขึ้นกับเขาในอดีต กับการเผลอฆ่าเด็กชายคนหนึ่งแล้วโยนทิ้งไว้ริมฝั่งมหาสมุทร นี่คือจุดเริ่มต้นของความหวาดระแวง หลอนคลั่งไร้สติ และความกลัวต่อความมืดใน Hour of the Wolf
6. The Shattering ในมุมมองของ Johan ตัดสินใจเดินทางกลับไปที่ปราสาท พบว่าทุกสิ่งอย่างที่คิดพูดจินตนาการไว้ เกิดขึ้นกลายเป็นจริงทั้งหมด รวมทั้ง Veronica Vogler
7. Epilogue บทสัมภาษณ์ส่งท้าย ในมุมมองของ Alma ครุ่นคิด/ออกค้นหาไปถึงป่าโกงกาง พบว่า Johan ถูกคนกลุ่มหนึ่ง (ที่พบเจอในปราสาท) ฆาตกรรม/ลักพาตัวไป

ความจริง-ความฝัน อดีต-ปัจจุบัน หนังใช้การผสมคลุกคละเคล้าปะปนกันไปหมดในการเล่าเรื่อง (นี่ได้อิทธิพลจาก 8 1/2 ของ Fellini แน่ๆ) ซึ่งสององก์สุดท้ายของหนัง ฉากในปราสาทและป่าโกงกาง ก็แล้วแต่ผู้ชมจะคิดมองทำความเข้าใจเองเลยนะครับ ว่านั่นคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ หรือเป็นเพียงจินตนาการความคิดเพ้อฝันของ Johan และ Alma แบบไหนก็ถือว่าเป็นไปได้ทั้งนั้น ไม่ได้มีความสำคัญต่อใจความแท้จริงของหนัง

เบื้องต้นสำหรับคนที่มีความต้องการจะเข้าใจให้ได้ ผมแนะนำให้มองสององก์สุดท้าย เป็นในความคิดจินตนาการของทั้ง Johan และ Alma
– องก์ที่ 6 ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้น เป็นในความคิดจินตนาการของ Johan ทั้งหมด ซึ่งเราสามารถใช้หลักจิตวิเคราะห์ของ Sigmund Freud เข้ามาช่วยครุ่นคิดพิจารณาหาคำตอบได้, เพราะความที่นิสัยของตัวละคร เป็นคนไม่ชอบวุ่นวายกับผู้อื่น แต่ใครต่อใครมากมายต่างพยายามเข้ามาจุ้นจ้านกับเขา จึงเก็บเอาภาพคนพวกนั้นมาฝัน จินตนาการให้อัปลักษณ์พิศดารเหมือนสัตว์ประหลาด และสุดท้ายตัวเองก็ถูกกลืนกิน กลายเป็นหนึ่งในบุคคลเหล่านั้น

มีจุดสังเกตหนึ่ง ณ ช็อตสุดท้ายตอนจบองก์ที่ 6 ภาพถ่ายให้เห็นพื้นผิวน้ำพริ้วไหว สถานที่ที่ Johan เล่าว่าเขาฆาตกรรมเด็กชายและทิ้งจมลงริมทะเล แต่น่าคิดว่าการแทรกใส่ภาพนี้เข้ามาตำแหน่งนี้ อาจมีนัยยะสื่อถึง การเสียชีวิตของ Johan อาจเดินผ่านมาถึงแล้วถูกฆ่า/ลื่นหกล้ม/จงใจฆ่าตัวตาย และกำลังจมลงใต้น้ำ ณ ตำแหน่งนี้นี่แหละ

– องก์ที่ 7 เพราะการหายไปของ Johan ทำให้ Alma เกิดความเคว้งคว้างล่องลอยคิดทำอะไรไม่ถูก เพื่อเป็นการปกป้องตนเอง(และลูก)จึงคิดเพ้อจินตนาการ หาข้อสรุปขึ้นมาเองว่า ในป่าโกงกางแห่งหนึ่ง สามีถูกกลุ่มคนที่เธอเคยพบเจอจากปราสาท ฆาตกรรม/ลักพา/หายตัวไป (นี่ก็ใช้หลักจิตวิเคราะห์มองได้เช่นกัน)

ความเห็นส่วนตัว: ผมคิดว่า ในองก์ที่ 5 เหตุการณ์ที่ Johan เล่าให้ Alma ฟังว่าเขาฆ่าเด็กชายคนหนึ่ง … นี่อาจจะเป็นในความฝันก็ได้เช่นกัน ซึ่งตัวเขาอาจเกิดความสับสนปนเป แยกแยะไม่ออกว่าอะไรคือความจริง อะไรคือความฝัน, มันมีประเด็นนิดนึงที่ทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมา เพราะเด็กชายเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา ตัวเขาไม่ได้มีจิตคิดกระทำร้ายต่อใคร แค่ฉงนสงสัยในการกระทำของ Johan แต่แค่การมีตัวตนป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้น ทำให้ชายหนุ่มเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจ สุดท้ายทนไม่ได้ใช้หินทุบหัวให้ตาย นี่ไม่ใช่สิ่งที่คนปกติทั่วไปกระทำกันแน่ ต้องเป็นคนไร้ซึ่งสติขาดจิตสำนึก … นั่นแหละครับ ที่ทำให้ผมเอะใจขึ้นมา มันเหมือนว่าบางสิ่งบางอย่างได้ตายจากไปในตัวตนของ Johan ซึ่งทำให้เขากลายเป็นคนเพ้อ บ้าคลั่ง เสียสติโดยสิ้นเชิง

เพลงประกอบ ยังคงเหมือนหนังหลายๆเรื่องของ Bergman ที่ใช้แค่บทเพลงคลาสสิกของคีตกวีชื่อดังยุคก่อน, กับหนังเรื่องนี้ ที่โด่งดังสุดคงเป็น Opera เรื่อง ขลุ่ยวิเศษ (The Magic Flute) ประพันธ์โดย Wolfgang Amadeus Mozart นี่คืออุปรากรที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก เป็นผลงาน Masterpiece น่าจะชิ้นสุดท้ายของ Mozart ก่อนเสียชีวิตหลังจากเริ่มเปิดการแสดงเพียงสองเดือนเท่านั้น ไว้มีโอกาสผมจะเขียนถึงโอเปร่าเรื่องนี้แน่นอน (และ Bergman ก็ได้ดัดแปลงสร้างภาพยนตร์จากอุปรากรเรื่องนี้ด้วยนะครับ)

สำหรับหุ่นเชิดชักที่เห็นในหนัง น่าจะคือผลงานการสร้างของ Bergman เองเลยละ เป็นความชอบส่วนตัวตั้งแต่สมัยเด็ก แต่การเคลื่อนไหวมีความสมจริงอย่างมาก ไม่รู้เหมือนกันว่าทำได้ยังไง

ภาพยนตร์คืองานศิลปะ เฉกเช่นเดียวกับการวาดภาพ –> ซึ่งการที่ตัวละคร Johan วาดภาพ ก็เสมือน Bergman สร้างภาพยนตร์ –> ดังนั้นกลุ่มบุคคลที่หลงใหลคลั่งไคล้ในผลงานของ Johan ก็คือคนดู/นักวิจารณ์/ผู้สร้างภาพยนตร์ ฯ –> การที่พวกเขากลายร่างเป็นกลุ่มของมนุษย์กินคน (Cannibals) อาทิ
– Spider-Man คนที่ปีนกำแพงได้ (มีหลายขา สัญลักษณ์ของความอิจฉาริษยา)
– The Lady With a Hat พอถอดหมวก เนื้อหนังมังสาได้ร่วงโรยหล่น ถอดลูกตาออกมา (การแสดงออกภายนอก ตรงกันข้ามกับภายใน)
– Bird-Man เป็นผู้แต่งองก์ทรงเครื่องให้ Johan ชี้ชักนำพา ส่วนตัวเองกางปีกโผลบิน (คล้ายนักข่าวที่ชอบปั้นแต่งสร้างเรื่องราว ตัวเองมีอิสระบินไปไหนก็ได้ตามใจ)
– The Insect แมลงตัวเล็กๆ ซุบซิบนินทาน่ารำคาญ
– The Meat-Eaters
– The Schoolmaster
ฯลฯ

เหล่านี้คือจินตนาการความอัปลักษณ์ต่อมนุษย์ทุกคนรอบข้าง ที่เกิดขึ้นในจิตใจของ Ingmar Bergman, ก็ไม่รู้เพราะอะไรผู้กำกับถึงมองโลกในแง่ร้ายได้ขนาดนี้ ความเครียด เพ้อคลั่ง วิตกจริต ผิดหวังกับชีวิตคู่แต่งงาน ผลงานภาพยนตร์ได้รับการตอบรับไม่ดี ฯ หลายๆอย่างคงสุมรวมอยู่เต็มอก ไม่ได้รับการระบายผ่อนคลายออก (เลยต้องมาลงกับภาพยนตร์ที่สร้าง) แต่คนที่คิดมองผู้อื่นด้วยภาพลักษณะนี้ จิตใจของเขาย่อมต้องเต็ฒไปด้วยความอัปลักษณ์ ชั่วร้าย ราวกับปีศาจก็ไม่ปาน

Veronica Vogler หญิงสาวที่ในหนังบอกว่าเป็นคนรักเก่าของ Johan เริ่มต้นเธอเป็นเพียงภาพวาด ต่อมากลับกลายมาชีวิต ซึ่งเราสามารถเปรียบตัวละครนี้ได้กับ ‘ภาพยนตร์’ ทั้งหลายที่ Bergman สร้างขึ้น ซึ่งเขารักยิ่ง … ยิ่งกว่า Alma (ภาษาสเปน แปลว่า จิตวิญญาณ) หรือ Liv Ullmann ที่เขากำลังรักอยู่ขนาดนี้เสียอีก แม้ต้องถูกหัวเราะเยาะเย้ย ถากถาง พูดจาแสดงความสมน้ำหน้า จากเหล่าปีศาจผู้ชั่วร้ายทั้งหลาย แต่ก็ไม่วายยินยอมรับได้ เพราะนี่คือสิ่งที่เขารักยิ่งอย่างแท้จริง

“Is it true that a woman who lives a long time with a man, eventually winds up being like that man? “

ตอนจบของหนังเมื่อ Johan ถูกแทงน่าจะเสียชีวิตแต่กลับหายตัวลับไป ราวกับพิธีกรรมที่ทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในกลุ่มคนพวกนั้น, นี่เทียบเท่าผู้กำกับ Bergman ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับผลงานภาพยนตร์ที่เขาสร้าง กล่าวคือ ‘เป็นอมตะ’

‘ชั่วโมงหมาป่า’ คาดว่าเป็นช่วงเวลาที่ Ingmar Bergman มีความอึดอัดอั้น ทุกข์ทรมานใจที่สุดเป็นอย่างยิ่ง, คุ้นๆว่าเขาเคยคิดฆ่าตัวตายหลายครั้ง นับตั้งแต่ตอนสร้าง The Seventh Seal (1957) นั่นก็ครึ่งหนึ่งแล้ว ตอนสร้าง Persona (1966) ก็อีกครั้งหนึ่ง ผมเชื่อว่าร้อยทั้งร้อยเป็นความผิดหวังที่เกิดจาก’ผู้หญิง’แทบทั้งสิ้น ก็ไม่รู้จะเห็นใจ สงสาร หรือสมน้ำหน้าดี ซึ่งการสร้างภาพยนตร์เปรียบได้กับการบำบัดความใคร่ ระบายความทุกข์ลักษณะหนึ่ง, เอาว่าถ้าสร้างหนังออกมาแล้ว ทำให้ตัวเองไม่ต้องฆ่าตัวตายก็ทำไปเถอะครับ นี่คืออิทธิพลของภาพยนตร์ที่มีผลอย่างยิ่งต่อคนสมัยก่อน สูงสุดคือระดับแยกกันไม่ออกระหว่างชีวิต ความจริง ความฝัน และภาพยนตร์ นี่แหละที่ใครๆต่างยกย่อง Ingmar Bergman ว่าเป็นโคตรศิลปิน ปรมาจารย์แห่งผู้กำกับ และหนึ่งในเสาหลักของวงการภาพยนตร์

ผมรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีความลึกลับสลับซับซ้อนเกินไปอย่างมากๆ เพราะต่อให้คุณรับชมครุ่นคิดหนังในแนวทางของ Gothic Horror ก็ยังอาจเกิดความไม่แน่ใจในแนวคิด จุดประสงค์เหตุผล เป้าหมายของหนัง, เพราะความตั้งใจจริงของผู้กำกับ Bergman ต้องการแสดง Expression ความรู้สึกที่อยู่ภายในจิตใจของเขาต่อช่วงเวลานั้นออกมา มันจึงแทบจะเป็นคนละเรื่อง ถ้าคุณจะพยายามเข้าใจหนังในรูปแบบอื่น

ส่วนตัวเลยไม่ค่อยชอบหนังเรื่องนี้เท่าไหร่ แม้จะครุ่นคิดได้ว่าคืออะไร มีสิ่งใดแอบซ่อนแฝงอยู่ แต่ใครกันจะไปอยากรับรู้เห็นความอัปลักษณ์ดำมืดที่อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ … แต่ก็คงมีเยอะอยู่ ผู้ที่ชื่นชอบหนังแนว Horror สยดสยอง อัปลักษณ์ เลือดสาด ซึ่งผมคงไปต่อว่ารสนิยมเหล่านั้นของพวกคุณมิได้ แค่จะบอกไม่ใช่แนวชื่นชอบส่วนตัวเท่านั้น

แนะนำกับคอหนัง Gothic Horror ที่สามารถครุ่นคิด วิเคราะห์ เข้าใจหนัง Art House, ชื่นชอบความสยดสยอง หลอกหลอน ทั้งแนวคิดและบรรยากาศ, แฟนๆผู้กำกับ Ingmar Bergman นักแสดงนำอย่าง Max von Sydow และ Liv Ullmann ไม่ควรพลาด

จัดเรต 15+ กับความอัปลักษณ์ Horror, Expression ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในหนัง

TAGLINE | “Hour of the Wolf ชั่วโมงแห่งความเป็นตายของ Ingmar Bergman ที่ได้แสดงความอัปลักษณ์ในจิตใจตนเองออกมา แต่ใครที่ไหนจะอยากเห็นเข้าใจกัน!”
QUALITY | THUMB UP
MY SCORE | SO-SO

Never Say Never Again (1983)


Never Say Never Again

Never Say Never Again (1983) British : Irvin Kershner ♥♥♥♡

Sean Connery กลืนน้ำลายตัวเองครั้งที่ 2 กลับมารับบท James Bond ครั้งสุดท้ายเมื่อตอนอายุ 52, พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ ไม่ใช่สายลับ 007 แบบฉบับที่ผู้ชมคุ้นเคย แต่ดูแล้วจะทำให้ตระหนักได้ทันที ว่าแฟนไชร์นี้มีสไตล์ลายเซ็นต์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวขนาดไหน

ชื่อ Never Say Never Again หาได้เกี่ยวกับเรื่องราวของหนังเลยนะครับ เป็นคำประกาศของ Sean Connery หลังจากรับบทใน Diamond Are Forever (1971) ว่า ฉันจะ never again ไม่อีกแล้วที่จะรับบท James Bond, แต่เขาก็หักคอตัวเองหน้าด้านๆ ด้วยการกลับมารับบทนี้ 12 ปีถัดมา

ไม่มีใครรู้เหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไม Sean Connery ถึงกลับลำอีกเป็นครั้งที่ 2, เรื่องเงินคงไม่ใช่ เพราะ Connery น่าจะร่ำรวยกินดีอยู่ดีไปจนตายโดยไม่ต้องเล่นหนังเรื่องไหนอีกแล้ว, ผมคิดว่าอาจเป็นเพราะ Roger Moore ที่รับไม้ต่อจาก Connery แล้วทำให้ภาพลักษณ์ของ James Bond เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง สร้างความไม่พอใจลึกๆต่อ Connery จึงตัดสินใจกลับมาอีกครั้ง เพื่อให้ผู้ชมระลึกถึง เห็นความแตกต่าง พิสูจน์ให้เห็นไปเลยว่า ใครกันที่คือ James Bond แท้จริง

Never Say Never Again ดัดแปลงมาจากบทภาพยนตร์เรื่อง Thunderball ที่ Ian Fleming ร่วมกับโปรดิวเซอร์ Kevin McClory และนักเขียน Jack Whittingham พัฒนาขึ้นในต้นยุค 60s มีชื่อเดิม Longitude 78 West นี่อาจจะเป็น James Bond ภาคแรกถ้าพวกเขาไม่เกิดความขัดแย้งกันเสียก่อน, Fleming เกิดความไม่ประทับใจในตัว McClory มาก่อนหน้านี้ จึงพยายามผลักเขาออกจากโปรเจคแต่ไม่สำเร็จ แต่เพราะไม่อยากเสียเรื่องราวดีๆ เขาจึงนำบทภาพยนตร์นี้ไปเขียนเป็นนิยายเรื่อง Thunderball ซึ่งทำให้เกิดเป็นเรื่องฟ้องร้องขึ้นศาลใหญ่โต, หลังจากได้ข้อไกล่เกลี่ย Eon Productions ที่ได้รับสิทธิ์ในการดัดแปลงนิยาย James Bond จึงได้นำ Thunderball สร้างเป็นฉบับภาพยนตร์ออกฉายเมื่อปี 1965, ส่วน McClory ที่ชนะลิขสิทธิ์ในตัวบทภาพยนตร์เดิม เขารอเวลาหลัง Thunderball สร้างเสร็จถึง 10 ปี ช่วงกลางยุค 70s ได้นำเรื่องราวนี้ กลับมาปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่ ด้วยความตั้งใจให้แนวทางต่างจาก Eon Productions ตั้งชื่อโปรเจค Warhead แล้วไปว่าจ้าง Len Deighton ให้เข้ามาพัฒนาบทหนังร่วมกับ Sean Connery (หลังจากประกาศรีไทร์จากบน Bond ไปแล้ว)

แน่นอนว่าขณะสร้าง Eon Production ต้องไม่ยอม ส่งเรื่องฟ้องศาล แต่ก็พ่ายแพ้เพราะบริษัทถือสิทธิ์เฉพาะในตัวนิยายเท่านั้น ส่วน McClory มีสิทธิ์ในบทภาพยนตร์และการดัดแปลงใหม่ได้ นี่ทำให้ปลายยุค 70s โปรเจคใหม่นี้จึงเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา

เรื่องราวขององค์กร SPECTRE ที่ได้โจรกรรมหัวรบนิวเคลียร์ 2 ลูก และขู่ blackmail รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษ ให้จ่ายเงินค่าปิดปาก, ทำให้ James Bond ต้องเดินทางไป Nassau, Bahamas ร่วมกับสหาย CIA Felix Leiter เพื่อช่วยกันตามหาว่า หัวรบนิวเคลียร์ทั้งสองลูกแอบซ่อนอยู่ที่ไหน

Sean Connery ตอนแรกที่เข้าร่วมกับโปรเจคนี้ ก็เพื่อร่วมพัฒนาบทหนัง ไม่มีความตั้งใจที่จะกลับมารับบท James Bond จนกระทั่งโปรดิวเซอร์ Jack Schwartzman ที่พอเข้ามาร่วมงาน ก็เอ่ยปากชวนเขา ก็ไม่รู้อะไรดลใจ Connery ยอมตกลงรับปาก พร้อมขอค่าตัวสูงถึง $3 ล้านเหรียญ มีหรือโปรดิวเซอร์จะไม่ยินยอม

ด้วยวัยวุฒิที่สูงขึ้น ความกระฉับกระเฉงของ Sean Connery เริ่มลดลง บอนด์ในภาคนี้ดูไม่ Sexy เหมือนแต่ก่อน เห็นริ้วรอยความแก่ชรา ที่พอมาประกบกับหญิงสาวสวยหน้าตาจิ้มลิ้มแล้ว ดูเหมือนพ่อกับลูก มากกว่าคนหนุ่มสาว, แต่ Connery ยังคงมีภาพของ James Bond ที่เป็นคลาสสิกอมตะ การแสดงของเขาดูดีกว่า Diamond Are Forever เป็นไหนๆ เพราะไม่ต้องแสดงอารมณ์ภายในออกมามากนัก ใช้ความหล่อเท่ห์มีเสน่ห์ ขนหน้าอกเยอะๆ หลอกล่อยั่วยวนใจสาวๆให้มาติดกับโดยง่ายดาย

สาว Bond ในภาคนี้ Kim Basinger รับบท Domino Petachi, ตอนที่ Basinger รับบทนี้ เธออายุเกือบๆ 30 แล้วแต่ยังสวยเซ็กซี่หุ่นดีเลิศ ตัวละครนำเสนอด้านอ่อนไหวและยั่วยวนผสมกันได้อย่างลงตัว, ผมไม่อยากเทียบเธอกับ Claudine Auger ที่รับบทนี้ใน Thunderball แต่ก็อดไม่ได้ เพราะ Basinger สามารถตีความทางอารมณ์ แสดงออกมาผ่านสีหน้าท่าทาง คำพูดได้ดีกว่ามาก

ชอบที่สุดคือตอน Bond เต้น Tango กับ Domino ทั้งสองเข้าขากันเป็นอย่างดี ซึ่งคู่ที่จะเต้น Tango ได้เลิศขนาดนี้ ต้องมองตาแล้วรู้ใจ ทุกลีลาการสะบัดต้องเย้ายวน เซ็กซี่ (Tango มันเหมือนท่าการเต้นเย้ายวน ที่มีจังหวะรุกเร้า ระทึก เหมือนชายหญิงกำลังมี Sex อย่างเมามันส์ แบบมีสไตล์)

ตัวร้ายภาคนี้ ขอเริ่มจาก Ernst Stavro Blofeld หัวหน้าใหญ่กลุ่ม SPECTRE รับบทโดย Max von Sydow ชื่อนี้คอหนัง Swedish คงรู้จักเป็นอย่างดี นักแสดงขาประจำของ Ingmar Bergman, แม้บทของ Sydow จะมีไม่มาก แต่เขาสร้างมิติให้กับ Blofeld ดูเฉลียวฉลาด ลุ่มลึก เฉกเช่นเดียวกับ Donald Pleasence ตอนปรากฎตัวครั้งแรกใน You Only Live Twice

Klaus Maria Brandauer รับบท Maximillian Largo (ใน Thunderball ใช้ชื่อว่า Emilio Largo), Brandauer เป็นนักแสดงที่มีเสน่ห์ และความน่ารักในตนเองสูง ตอนผมเห็น Brandauer ครั้งแรกในหนัง ไม่คิดว่าเขาจะสามารถทำให้ Largo เป็นตัวละครที่มีมิติลึกได้ขนาดนี้ นี่เป็นตัวละครประเภทแอบซ่อนความปรารถนาลึกๆไว้ภายใน แล้วแสดงออกด้วยท่าทางน่ารักน่าชัง หน้านิ่ง แต่ข้างชั่วร้ายยิ่งกว่าอสรพิษ, ฉากที่ผมชอบที่สุด เป็นฉากง่ายๆ ตอนที่ Domino ถามเขาว่า ถ้าเราต้องเลิกกันละ… คำตอบของ Largo ยิ้มกว้างๆ แล้วพูดว่า ‘ฉันจะเชือดคอเธอ’

Barbara Carrera รับบท Fatima Blush (ใน Thunderball ใช้ชื่อ Fiona Volpe), ว๊าว! นี่เป็นตัวละครที่ Sexist สูงมาก เป็นพวก Maso+Sado Bisexual ดูจากการแต่งกาย ท่าทาง คำพูด รสนิยม มีสไตล์ที่โดดเด่น สวยระเบิด, ตอนเธอถามบอนด์ว่า ผู้หญิงคนไหนที่เขาเคย Sex ด้วยที่ยอดเยี่ยมที่สุด? … ผมหลงรักตัวร้ายนี้ขึ้นมาทันที, สิ่งที่อยู่ในใจของเธอ คือความต้องการเป็นที่หนึ่ง ยิ่งใหญ่เกรียงไกรเหนือผู้ชาย (สงสัยตอนเด็กมีปมเรื่องพ่อที่ดูถูกกดขี่… อาจจะทางเพศต่อเด็กหญิง) มันดูตลกสักนิดที่ให้ Bond เขียนคำตอบแล้วลงลายเซ็นต์ แต่ก็พอยอมรับได้นะครับ เพราะเป็นการจงใจให้บอนด์โชว์ของเล่นเอาตัวรอดจากฉากนั้นไปได้

Rowan Atkinson มารับเชิญในหนังด้วยนะครับ เรียกเสียงหัวเราะได้เปิ่นมากๆ ซึ่งเขาได้กลายเป็น parody ของ James Bond ในหนังที่สร้างชื่อให้เขาเรื่อง Johnny English (2003)

ถ่ายภาพโดย Douglas Slocombe, ปกติแล้วเทรนด์การถ่ายภาพของหนัง Bond จะคือ fast-motion แต่หนังเรื่องนี้ไม่มีการถ่ายลักษณะนั้นเลย, ผมเรียกงานถ่ายภาพลักษณะนี้ว่า Classic Motion คือ ใช้การเคลื่อนกล้องแบบเรียบง่าย ธรรมดาๆ ตรงไปตรงมา, แพนกล้องในรัศมี, มีมุมภาพทดลองแปลกๆ อาทิ มุมก้ม มุมเงย, เดินลงบันไดถ่ายที่ขา, เห็นเหลี่ยมมุมของบันไดชัดเจน ฯ งานภาพอาจไม่ดูอลังการ แต่มีความแปลกพิศดาร ผมเรียกว่าคลาสสิก ไม่เหมือนหนัง Bond เรื่องไหนเลย

ฉากต่อสู้ใต้น้ำ ดูไม่หรูหราอลังการงานสร้างเทียบเท่า แต่ผมกลับรู้สึกปะการัง/มหาสมุทรในหนังเรื่องนี้สวยกว่า Thunderball เป็นไหนๆ, คงด้วยวิธีการถ่ายภาพที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบเร่ง สร้างบรรยากาศ ทำให้เราซึมซับ เห็นความสวยงามของท้องทะเลใต้น้ำได้มากกว่า

ฉากหนีฉลามนี่น่ากลัว อันตรายมาก (ไม่รู้ Connery เอาชนะความกลัวที่เขาเคยพูดไว้ใน Thunderball ได้ยังไง) หรือฉลามทั้งหมดเป็นฉลามเลี้ยง/ฉลามหุ่น เป็นผมเห็นฉลามเยอะขนาดนั้นว่ายวนรอบๆ ก็ชิบหายแล้วละครับ เตรียมตัวเตรียมใจตายได้ อันตรายโคตรๆ, ยกนิ้วให้กับ Stuntman ภาคนี้เลย กล้าหาญมากๆ

เมื่อหนังใช้ช็อต Gun Barrel ที่ James Bond เดินเข้ามายิงปืนเปิดเรื่องไม่ได้ (ติดเรื่องลิขสิทธิ์) จึงเปลี่ยนมาใช้ตัวเลข 007 ขึ้นเต็มจอ ตอนแรกเห็นไกลๆ นึกว่าเป็นตาราง/ตาข่าย พอซูมเข้ามาใกล้ก็จะเห็นเป็นตัวเลข แล้วเคลื่อนผ่านไปกล้องไป นำเข้าสู่ฉากแรกของหนัง

ตัดต่อโดย Ian Crafford, หนังมีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจกว่า Thunderball มาก แม้ใช้การตัดสลับระหว่างภารกิจ Bond กับ Largo เหมือนกัน แต่หนังเรื่องนี้ไม่มีความรีบเร่งในการตัดสลับไปมา คือให้เรื่องราวหนึ่งดำเนินไปจนจบก่อน แล้วค่อยตัดไปอีกเรื่องหนึ่ง มันอาจรู้สึกช้าไม่ตื่นเต้น แต่ทำให้หนังดูไหลลื่น มีความต่อเนื่องมากกว่า

บางฉากจะมีการตัดสลับระหว่าง 2 เหตุการณ์ เช่น Sex Scene ระหว่าง Bond กับ Blush ตัดสลับกับปะการังใต้น้ำ (เป็น montage มีนัยยะถึง Sex ที่จมดิ่งลงสู่ก้นเบื้องใต้ทะเล), ตอนที่ Bond ถูกล่ามโซ่อยู่ภายนอก ตัดสลับกับ Domino ถูกล่ามโซ่อยู่ภายนอก นี่แทบจะช็อตต่อช็อตเลย สวยงามมากๆ

เพลงประกอบโดย Michel Legrand, กับดนตรีที่ไม่คุ้นเคย ทำให้กลิ่นอายของหนังเปลี่ยนไปมาก แม้จะมีความหลากหลายค่อนข้างสูง อาทิ ดนตรี Jazz เสียงแซกโซโฟน (ฉากเลิฟซีน+ใต้น้ำ), เพลง Mexican (ขี่ม้าไล่ล่า), จังหวะ Tango (ตอนเต้นลีลาศ) ฯ แต่โดยรวมถือว่า ไม่กลมกล่อมเข้ากับหนังแม้แต่น้อย นี่ถือเป็นส่วนที่น่าผิดหวังที่สุดของหนัง

สำหรับเพลง Never Say Never Again แต่งเนื้อร้องโดย Alan และ Marilyn Bergman ขับร้องโดย Lani Hall, นี่เป็นเพลงที่ผมได้ยินแล้วกุมขมับเลย คือมันเหมือนจะไพเราะ แต่กลับไม่มีอะไรเข้ากับเนื้อเรื่องของหนังเลย ทำไมถึงใช้เพลงนี้!

แต่ก็มีเพลงหนึ่งที่ผมชอบ และเป็นฉากประทับใจที่สุดในหนัง คือ Tango of Death เอามาให้ฟัง/เห็นกันอีกเพลงนะครับ, ใครเป็นขาเต้น ได้ยินจังหวะ Tango แล้วขยับขาตามทันหรือเปล่า

ใจความของหนังเรื่องนี้ เหมือนกับ Thunderball คือ สะท้อนความหวาดกลัว ต่อระเบิดนิวเคลียร์ ของประเทศมหาอำนาจ ที่อาจก่อให้เกิดสงครามโลก จึงได้ส่งสายลับไปทำทุกสิ่งอย่างเพื่อกู้ระเบิดกลับคืนมา, หนังมีหลายๆประเด็นที่นำเสนอต่างออกไป เช่น M ต้องการปิดหน่วย 00 เพราะไม่ค่อยได้ใช้งาน, หน่วย Q ก็โดนลดงบประมาณ, James Bond ก็ไม่ค่อยมีงานทำ ต้องไปฝึกซ้อมเพื่อฟิตร่างกาย (ไม่ให้ขี้เกียจ) ฯ ถือว่าเป็นการตีความเรื่องราวของ Thunderball ในอีกมุมหนึ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจ (และอาจตรงกับนิยายมากกว่าหนังฉบับแรกเสียอีก)

สิ่งที่ทำให้หนังสองเรื่องนี้แตกต่างกันมาก คือวิธีการนำเสนอ ที่พอทิ้งสไตล์ James Bond ไป นี่ก็คือหนังสายลับทั่วๆไปเรื่องหนึ่ง, วิธีจะดูหนังเรื่องนี้ให้สนุก ต้องสมมติว่าตัวคุณไม่เคยดู James Bond มาก่อน ทิ้งความทรงจำใน สไตล์ รูปแบบ, ความมีเสน่ห์ เซ็กซี่ของ James Bond, สาวบอนด์สวยๆน่ารักๆ, Vodka Matini, เพลงประกอบเพราะๆ ฯ ทำเป็นไม่เคยรู้จัก ไม่เคยรับชม ดูอย่างไม่มีอคติ ก็อาจจะสามารถทนดูหนังเรื่องนี้ได้

เพราะนี่คือ ‘เปลือก’ ของแฟนไชร์ James Bond ที่เมื่อเอา ‘แก่น’ ความรู้ความเข้าใจออกไป สิ่งที่เหลืออยู่ ก็คือหนังเรื่องนี้แหละ

ถ้าเปรียบ Thunderball คือหนัง Blockbuster แล้ว Never Say Never Again จะคือหนังคลาสสิก ที่ดันสร้างทีหลังแต่ให้ความรู้สึกเก่าแก่กว่า

ด้วยทุนสร้าง $36 ล้านเหรียญ หนังทำเงินทั่วโลก $160 ล้านเหรียญ ได้มากกว่า Thunderball (1965) แต่ยังน้อยกว่า Octopussy (1983) ของ Roger Moore ที่ฉายปีเดียวกัน ทำเงินได้ $183.7 ล้านเหรียญ, นี่ไม่ได้แปลว่า Connery เริ่มถูกลืมเลือนจากผู้ชมนะครับ มันมีหลายเหตุผลที่คนไปดูน้อยกว่า อาทิ
1) ป๋า Connery ดูแก่ขึ้นมาก
2) หนังไม่มีกลิ่นอายของ James Bond ที่คุ้นเคยอยู่เลย
3) นี่เป็นเหมือน remake ของ Thunderball จึงไม่รู้จะดูซ้ำเพื่ออะไร

สามข้อนี้กลายเป็นกระแสปากต่อปาก ให้คนไปดูซ้ำน้อยลง (คำจากนักวิจารณ์ออกไปทางต่อว่าเสียๆหายๆ) ทั้งๆที่หนังเปิดตัวสัปดาห์แรกมากกว่า Octopussy ด้วยซ้ำ แต่ยอดปิดโปรแกรมสู้ไม่ได้

ส่วนตัวค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้ พอมันไม่มีกลิ่นอาย สไตล์ รูปแบบของหนัง James Bond แรกๆอาจรู้สึกไม่คุ้นเคย แต่เมื่อทำความเข้าใจได้ จะพบว่านี่คือหนังทั่วๆไปเรื่องหนึ่ง ที่มีความสนุกสนาน ลุ้นระทึก, ว่าไปผมชอบ Never Say Never Again มากกว่า Thunderball เยอะเลยละครับ โดยเฉพาะการเล่าเรื่องและตัวละคร ที่เน้นขยี้แนวคิด อารมณ์ให้แหลกละเอียด ทำให้เข้าใจเรื่องราว/ตัวละครได้อย่างลึกซึ้ง มีความสวยงามมากกว่ามีสไตล์

ชอบที่สุดคือสองตัวร้ายหลัก Klaus Maria Brandauer และ Barbara Carrera มีอัตลักษณ์ตัวตนชัดเจนมาก ถือว่าเป็นผู้สร้างสีสันให้กับหนัง จนไม่รู้สึกเบื่อเลย

แนะนำกับ คนชอบหนังแนวสายลับมาดเท่ห์ และครั้งสุดท้ายของ Sean Connery กับบท James Bond, จิตแพทย์ นักจิตวิทยา มีตัวละครแนวๆให้ศึกษาวิเคราะห์หลายคนเลย, คนชอบดำน้ำดูปะการัง ภาพใต้ทะเลสวยๆ ฉลามเยอะๆ ไม่ควรพลาด

จัดเรต 13+ กับฉากโป๊เปลือยความรุนแรง

TAGLINE | “Never Say Never Again ไม่ใช่หนัง James Bond ในแบบที่คุ้นเคย แต่จะทำให้ตระหนักว่า แฟนไชร์นี้มีสไตล์ลายเซ็นต์ที่โดดเด่นขนาดไหน”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

Winter Light (1963)


Winter Light

Winter Light (1963) Swedish : Ingmar Bergman ♥♥♥♡

ถึง Ingmar Bergman จะบอกว่า Nattvardsgästerna เป็นหนังในกำกับที่ชื่นชอบที่สุด ตั้งคำถามกับ ‘การมีตัวตนของพระเจ้า’ แต่ผมก็อดสมเพชเวทนาไม่ได้ เพราะเขาไม่สามารถหาคำตอบนี้ได้

ผมเขียนหนังเรื่องนี้ขึ้นก่อน Through a Glass Darkly (1961) นะครับ หลายทัศนคติจึงไม่ได้ปรับเปลี่ยนไป (โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า Bergman ทำหนังเพื่อ ตั้งคำถาม)

ในบรรดาหนังของ Ingmar Bergman แทบทั้งนั้นมักจะเป็น อัตชีวประวัติ ไม่นำเสนอเหตุการณ์เรื่องราวที่เขาเคยผ่านมา ก็เป็นแนวคิด ทัศนคติที่เขามองเห็น ต่อโลก ต่อการมีชีวิต ต่อความตาย ฯ สำหรับหนังเรื่องนี้ Bergman บอกว่าเป็นหนังที่สร้างแล้วตนรู้สึกว่า ‘ตระหนักได้ว่า ฉันคือใคร’ (realized who he really are) นำเสนอทัศนคติ มุมมอง ความคิด ความรู้สึกของตนเอง หนังของเขาแทบทุกเรื่องจะตั้งคำถาม ‘ฉันเกิดมาทำไม?’ ‘พระเจ้ามีจริงไหม?’ ‘ตายแล้วไปไหน?’ นี่เป็นคำถามเชิงปรัชญาของชาวตะวันตก กับการมีตัวตน ‘ฉันคือใคร?’ ‘เป้าหมายชีวิตคืออะไร?’ นี่เป็นปริศนาที่พวกเขาเชื่อว่าไม่มีคำตอบ แต่สำหรับชาวตะวันออก 5 คำถามนี้ มีคำตอบนะครับ ลองถามตัวเอง คุณรู้คำตอบเหล่านี้หรือเปล่า?

ขอพูดถึงตัวหนังก่อนแล้วกัน Winter Light ถือเป็นหนังเรื่องที่ 2 ในไตรภาค Silence of God ถัดจาก Through a Glass Darkly (1961) และปิดท้ายด้วย The Silence (1963) ทั้งสามเรื่องนี้มีใจความเกี่ยวกับจิตวิญญาณ (Spiritual) การมีตัวตนของพระเจ้า และที่สุดคือการตั้งคำถาม ‘พระเจ้ามีจริงไหม?’ ทั้งสามเรื่องไม่ได้มีเรื่องราวต่อกัน ผู้กำกับก็ไม่ได้ตั้งใจสร้างเป็นภาคต่อ แต่ใจความ แก่นสาระที่คล้ายๆกัน สามารถจัดรวมอยู่เป็นประเภทเดียวกันได้ ไม่จำเป็นต้องดูต่อกัน แต่ถ้าอยากเข้าใจแนวคิดของ Ingmar Bergman ทั้งหมด คงต้องดูทั้งสามเรื่อง (รู้สึก Through a Glass Darkly จะได้ Oscar สาขา Best Foreign Language Film ด้วยนะครับ)

ชื่อหนัง Winter Light เป็นคำอุปมาหมายถึง แสงสว่างของฤดูหนาวที่มักจะไม่มองค่อยเห็น (แต่ในหนังจะมีฉากหนึ่งที่เห็นแสงอาทิตย์เต็มๆเลย) เปรียบได้กับตัวละครทั้ง 6-7 ตัวในหนัง ที่ต่างห่างไกล มืดมัวหนทาง ต่อความเข้าใจจริงแท้ของศาสนา ผมขอพูดในบริบทหนังเลยแล้วกัน คือ ห่างไกลจากพระเจ้า แต่การได้อาบแสงในฤดูนี้ถือเป็นความมหัศจรยย์ ราวกับสัมผัสของพระเจ้า

เปิดเรื่องมา 10 นาทีแรกถ่ายให้เราเห็น พิธีมิสซาฯ เช้าวันอาทิตย์ กับคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์อาจไม่เข้าใจว่านี่มันพิธีกรรมอะไรกัน?, พิธีมิสซาฯ คือ พิธีบูชา ระลึกถึงพระคุณของพระเยซูคริสต์ ที่เป็นผู้ไถ่บาปแทนมนุษย์, ในความเชื่อ ตอนพระเจ้าสร้างโลก 6 วัน พอถึงวันที่ 7 ทรงพักผ่อนหยุดงานทั้งหมด คริสตชนจึงถือว่า วันอาทิตย์จำต้องเว้นจากการงานธุรกิจ เข้าโบสถ์ร่วมมิสซา ถวายคารวกิจแด่พระผู้เป็นเจ้า

ถ้าคุณไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ เห็นฉากนี้ก็จะตระหนักได้ทันที นี่เป็นหนังแนวศาสนาแน่ๆ (Religious) ก็ไม่ผิดครับ แต่อย่าเพิ่งปิดหนังทิ้งไป ยังไม่ถึงจุดที่คุณจะรู้เลยว่า ใจความของหนังคืออะไร, แม้ทั้งเรื่อง เราจะไม่เห็นว่าเมืองในหนังใหญ่แค่ไหน แต่คนที่มาเข้าร่วมมิสซา นับได้ไม่ถึง 10 คน และมี 5 คนเท่านั้น ที่เข้ามารับส่วนแบ่งขนมปัง จิบไวน์ (คนที่จะมารับส่วนแบ่งนี้ ถือว่าต้องเตรียมพร้อมทั้งกายใจ เชื่อมั่น ศรัทธาในพระเจ้าถึงที่สุดเท่านั้น) นี่แสดงถึงความเชื่อทางศาสนาในเมืองแห่งนี้ที่เริ่มเสื่อมศรัทธา ผู้คนห่างไกลความเชื่อ และศรัทธาในพระเจ้า

หลังมิสซาเสร็จสิ้น เรื่องราวก็ยังวนเวียนอยู่ในโบสถ์ 4 ใน 5 คนที่เข้ามารับส่วนแบ่งขนมปัง ต่างมีปัญหาคาคับข้องใจ ต้องการที่จะปรึกษากับบาทหลวง (Pastor) ทั้งนั้นล้วนเป็นข้อสงสัยเกี่ยวกับพระเจ้า และความเชื่อ

Gunnar Björnstrand รับบท Tomas Ericsson บาทหลวงที่มีความลึกลับพิศวง เขาดูเป็นคน Ego สูงและเห็นแก่ตัว ซึ่งเราจะค่อยๆเข้าใจตัวตนของเขาขึ้นเรื่อยๆ ผ่านอดีตที่ค่อยๆได้รับการเปิดเผยออกทีละเล็ก ว่าแท้จริงแล้วมีเบื้องหลังบางอย่างที่ทำให้เขากลายมาเป็นแบบนี้, ผู้นำทางศาสนา ถือเป็นคนที่มีอิทธิพลต่อประชาชนอย่างมาก ถ้าเป็นคนมีความสามารถ มีบารมี ผู้คนก็ใคร่ศรัทธา ให้ความสนับสนุน แต่ถ้าผู้นำไม่ดี ถือตัวเอง มีลับลมคมใน ใครที่ไหนจะอยากเข้าใกล้ (เพราะมีบาทหลวงแบบนี้ ใครกันจะอยากเข้าโบสถ์!),

การแสดงของ Björnstrand ธรรมดาที่ไหนกัน การได้เห็นเขาจากหนังเรื่องนี้ ทำให้ผมเกิดภาพในหัวว่า Björnstrand คือตัวแทนของ Ingmar Bergman ไม่ใช่ Max von Sydow (เหมือน Marcello Mastroianni เป็นตัวแทนของ Federico Fellini และ Toshiro Mifune เป็นตัวแทนของ Akira Kurosawa) ถึงเราจะจดจำภาพของ Max von Sydow ในหนังของ Bergman มากกว่า แต่ตัวละครถือได้ว่าเป็นตัวแทนแนวคิด ตัวตนของผู้กำกับ ผมว่า Björnstrand คนนี้แหละ ใกล้เคียงกว่ามาก

Ingrid Thulin รับบท Märta Lundberg, ครูสอนหนังสือ ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า แต่ที่เข้าโบสถ์เพราะตกหลุมรักบาทหลวง Ericsson แบบโงหัวไม่ขึ้น ทั้งๆที่เขาแสดงออกว่าไม่ต้องการเธอ แต่ก็หาสนใจไม่, ผมเป็นพวกแพ้สาวแว่นนะครับ ตอนเห็นเธอร้องไห้ เจ็บปวดจากคำพูดของ Ericsson ก็คลั่งแทบทนไม่ได้ ทั้งๆที่ก็เข้าใจนะ ว่าทำไมเขาถึงแสดงออกมาแบบนั้น แต่ก็ทำใจไม่ได้อยู่ดี, หนังเรื่องนี้มาหลายฉากเลยที่ Thulin แสดงได้สุดยอดมาก ขยี้อารมณ์สุดๆเลย ตอน Wild Strawberries ผมยังไม่ได้หลงเธอขนาดนี้ พอเห็นใส่แว่นในหนังเรื่องนี้แล้ว ใจละลาย

ถึงตัวละคร Ericsson กับ Lundberg จะไม่ถูกกันในหนังเรื่องนี้ แต่ผมกลับรู้สึกเคมีระหว่าง Björnstrand และ Thulin เข้ากันมาก คนหนึ่งมีความพิศวงลึกลับ อีกคนกล้าใคร่สนใจอยากรู้ค้นหาคำตอบ ผมละอยากเห็นเหลือเกิน หนังเรื่องที่ทั้งสองเข้าคู่เป็นพระนางกันจริงๆ (ไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า)

Max von Sydow กับหนังเรื่องนี้รับบท Jonas Persson ชายหนุ่มพิศวงผู้ตั้งคำถามกับตนเอง ‘เราจะมีชีวิตไปทำไม?’ ผมคิดว่าอาการเขาไม่เลวร้ายเท่าไหร่นะครับ ถ้าได้พบจิตแพทย์ก็อาจจะหาย แต่ดันไปพบพระเสียนี่ ลางสังหรณ์ของความตายเกิดขึ้นขณะตัวละคร Ericsson รอคอยการมาของ Persson แล้วมีฉากพื้นหลังหนึ่ง ไปสะดุดกับสัญลักษณ์รูปหัวกระโหลกเข้า นั่นทำให้เกิดลางสังหรณ์ แต่จะมีใครตายไหม ผมไม่บอกแล้วกัน, ปัญหาของตัวละครนี้คือเป็นโรคซึมเศร้า เกิดความสงสัยในการมีชีวิต มองไม่เห็นคุณค่าของตนเอง ย้ำคิดย้ำทำจนไม่สามารถทำอะไรได้ สาเหตุของผู้ป่วยประเภทนี้ มักเกิดจาก Trauma บางอย่างที่รุนแรง อาจจะตั้งแต่เด็กหรือโตขึ้นมาได้พบเจอกับเหตุการณ์อะไรบางอย่าง เช่น สงคราม ความรุนแรง ฯ แล้วจำติดตาเกิดเป็นภาพติดใจ เมื่อได้พบกับอะไรบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายกัน ก็เกิดความหวั่นวิตกกังวล เพ้อไปว่าสิ่งนั้นอาจจะเกิดขึ้นซ้ำอีก (paranoid) เขาจึงมองหาทางออกอื่น

ถ่ายภาพโดย Sven Nykvist แทบทั้งเรื่องใช้การถ่ายนิ่งเกือบทั้งหมด (ยกเว้นฉากเดียวที่มีการค่อยๆเคลื่อนเข้าและเคลื่อนออก) ส่วนใหญ่เป็นฉากภายในให้สัมผัสถึงความหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก ขมขื่น ราวกับเป็นสถานที่ที่ไม่น่ามีคนอาศัยอยู่ได้, Nykvist ทดลองการใช้มุมกล้องต่ำ (low-angle) เราจะเห็นตัวละครขนาดใหญ่ขึ้น (แสดงถึง Ego ของมนุษย์) และเพื่อกำหนดทิศทางของแสง,

มีฉากหนึ่งที่สวยมากๆ แสงส่องอาทิตย์ส่องลอดผ่านหน้าต่างยามเช้า เห็นเป็นลำแสงสวยมาก (ใน Sweden พระอาทิตย์มักขึ้นไม่ตรงเวลานะครับ เพราะอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ บางวันในฤดูร้อนพระอาทิตย์ไม่ตกเลยก็มี ส่วนในฤดูหนาวจะขึ้นช้ามาก บางวันไม่ขึ้นเลยก็มี) ก็ไม่รู้เสียเวลากันแค่ไหนกว่าจะได้ช็อตนี้ ไม่ได้มากันง่ายๆแน่ๆ

ฉากที่ Ericsson อ่านจดหมายของ Lundberg ถ่ายเป็น long take ภาพ close-up หน้าตรง ตัวละครจ้องมองกล้องขณะพูดแสดงความรู้สึก นี่ทำให้นึกถึงคำพูดโรแมนติกที่ผมเคยใช้เวลาเขียนจดหมายจีบสาว ‘เวลาอ่านจดหมาย เธอจะเห็นใบหน้าของฉันกำลังพูดคุยกับเธอ’ น่าจะเป็นคอนเซ็ปนี้นะครับ

กับฉากเดียวของหนังที่มีการเคลื่อนเข้า-ออก ฉากนี้ให้ความรู้สึกเหมือน ‘สัมผัสของพระเจ้า’ เป็นขณะที่ Ericsson ได้ระบายความในใจของตนออกมาหมดแล้ว ทำให้เขารู้สึกเหมือนคนโล่งออก เป็นอิสระจากสิ่งที่เคยเหนี่ยวรั้งตัวเขาไว้ ฉากถัดมาเราจะเห็นลำแดงอาทิตย์ส่องลอดผ่านหน้าต่างยามเช้าด้วย นี่ถือว่าเป็นเหมือนปาฏิหารย์นะครับ เพราะปกติ ฤดูหนาวในแถบสแนดิเนเวีย มักจะไม่ค่อยได้เห็นแสงอาทิตย์เท่าไหร่ ถ้าได้เห็นในวันทั่วๆไป มักเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าจุดสิ้นสุดของฤดูหนาวใกล้เข้ามาแล้ว

ตัดต่อโดย Bergman ค่อนข้างเรียบง่าย ตรงไปตรงมาเหมือนงานภาพ ไม่มีความหวือหวามาก ส่วนเพลงประกอบ ไม่มีนะครับ (มีแค่เพลงในพิธีมิสซาเท่านั้น)

หนังของ Bergman มักตั้งคำถามเกี่ยวกับ ความเชื่อ, พระเจ้า, ความตาย และมักจะไม่มีคำตอบใดๆเกิดขึ้น นี่ทำให้ผมคิดว่า Bergman สร้างกรอบให้กับตนเองหรือเปล่า ว่าคริสต์ศาสนาคือความเชื่อหนึ่งเดียว ที่เป็นจริงและยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก, ผมนับถือ Bergman ในแง่ความเป็นศิลปิน แต่ความเชื่อของเขาและสิ่งที่นำเสนอออกมา ยิ่งได้เห็นจากหนังหลายๆเรื่องก็พบว่า มุมมองเขาช่างแคบนัก เหมือนกบอยู่ในกะลา ไม่เคยออกไปพบกับโลก เรียนรู้ ศึกษา หาคำตอบให้กับคำถามของตนเอง ถ้าคริสต์ให้คำตอบไม่ได้ อิสลาม พราหมณ์ ฮินดู ซิกส์ พุทธ ฯ คงต้องมีสักที่ที่ให้คำตอบได้, มนุษย์ส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้นะครับ คือกล้าตั้งคำถามแต่ไม่ชอบหาคำตอบ โดยเฉพาะเรื่องของทางศาสนา เห็นเป็นสิ่งไกลตัวมากๆ บางอย่างหาคำตอบได้นะครับ อย่าง ‘พระเจ้ามีจริงไหม?’ ถ้าคุณตั้งใจศึกษาศาสนาจริงๆ จะพบว่าบางศาสนาสามารถพิสูจน์ให้เห็น ‘กับตา’ ได้เลยว่ามีจริงหรือเปล่า คนที่เชื่อว่าคำถามพวกนี้ไม่มีคำตอบ ถือว่าทัศนะ โลกทัศน์คุณยังเป็นพวกโลกแคบอยู่นะครับ ไม่รู้จริง ไม่เข้าใจจริง แต่ทำเป็นเหมือนรู้ทุกอย่างเหมือนหมาเห่าใบตองแห้ง, หลังดูหนังเรื่องนี้จบ ผมรู้สึก Ingmar Bergman เป็นศิลปินที่น่าสมเพชเวทนายิ่งนัก กล้าตั้งคำถาม แต่ไม่กล้าหาคำตอบ ตายไปหวังว่าจะได้พบคำตอบที่ตามหามาตลอดชีวิตนะครับ

นี่เป็นหนังที่ ในแง่ศิลปะมีความสมบูรณ์แบบมากๆ ทุกองค์ประกอบมีความเข้ากัน ลงตัว ไม่มีส่วนไหนขาดเกินตกหล่นแม้แต่น้อย เว้นแต่เพียง แนวคิดหลักของหนังที่ถูกกรอบบางอย่างครอบงำไว้, ผมมองเห็นเป็นหนังชวนเชื่อ ที่ตั้งคำถามชวนให้คนคิด แต่กลับไม่มีแนวทาง ทางเลือก หรือคำตอบที่น่าพึงพอใจ ซึ่งถ้าคุณเป็นคนนับถือศาสนาอื่น ดูหนังเรื่องนี้ อาจมองเป็นหนังขยะของชาวตะวันตกเลยนะครับ พระเจ้าของบางศาสนาไม่ต้องการการพิสูจน์ ถึงคุณจะรู้สึกขัดใจแค่ไหน ก็ไปเปลี่ยนความเชื่อของเขาไม่ได้ และบางศาสนาพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีหรือไม่มีจริง แต่คุณกลับขัดใจเพราะไม่เชื่อว่าเขารู้ได้และไม่ยอมพิสูจน์ด้วยตนเอง

ถ้าคุณนับถือศาสนาคริสต์ แนะนำอย่างยิ่งให้ดูนะครับ นี่อาจเป็นหนังที่ทำให้โลกทัศน์ของคุณเปิดกว้างมากขึ้น, นักปรัชญา จิตวิทยา ศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจ, แฟนหนัง Ingmar Bergman และตากล้องสุดเทพ Sven Nykvist ไม่ควรพลาดเลย

จัดเรต 15+ กับทัศนคติด้านศาสนา เหมาะกับเด็กโตที่เริ่มคิดวิเคราะห์เองได้

TAGLINE | “Winter Light เป็นหนังศาสนาที่ตั้งคำถามกับการมีตัวตนของพระเจ้า แต่เหมือน Ingmar Bergman จะไม่พบคำตอบนั้น”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | SO-SO

Through a Glass Darkly (1961)


Through a Glass Darkly

Through a Glass Darkly (1961) Swedish : Ingmar Bergman ♥♥♥♡

หนัง Oscar สาขา Best Foreign Language Film ของผู้กำกับ Ingmar Bergman และการร่วมงานครั้งที่สองกับตากล้องคู่ใจ Sven Nykvist, ถ้าสมมติว่ามีคนหนึ่งในครอบครัว มองเห็น สัมผัสได้ถึงการมีตัวตนของพระเจ้า เราผู้มองไม่เห็นจะคิด รู้สึกต่อเธออย่างไร? มองเธอเป็นผู้มาไถ่ หรือผู้ป่วยจิตเภท

เป็นอีกครั้งที่ผมดูหนังของ Ingmar Bergman แล้วหัวเสียมากๆ แม้ผมจะยกย่องเขาในฐานะศิลปินที่ถ่ายทอดผลงานออกมาได้เป็นเลิศ แต่แนวคิดของเขาเกี่ยวกับศาสนา พระเจ้า ยิ่งผมหงุดหงิดมากขณะดู โดยเฉพาะหนังเรื่องนี้ รู้สึกเหมือนเป็นหนังชวนเชื่อประเภทล้างสมอง แม้ใจความของหนังจะตั้งคำถามเกี่ยวกับศรัทธาว่า ‘พระเจ้ามีจริงหรือเปล่า?’ แต่ผู้กำกับกลับแสดงออกด้วยความเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ รู้คำตอบอยู่แล้วว่า ‘พระเจ้ามีจริง’

ก่อนหน้าที่จะดูหนังเรื่องนี้ ผมเข้าใจมาโดยตลอดว่า Bergman เป็นคนที่ยังหาคำตอบให้กับความเชื่อของตนเองไม่ได้ว่า ‘พระเจ้ามีจริงหรือเปล่า?’ แต่พอได้ดูหนังเรื่องนี้ ผมเกิดความเข้าใจบางอย่างที่ทำให้รู้ว่า Bergman เชื่อโดยสนิทใจมาตลอด ตั้งแต่แรกแล้วว่า ‘พระเจ้ามีจริง’ กับหนังทุกเรื่องที่พี่แกนำเสนอมา ก็เพื่อ ‘ท้าทายความเชื่อ’ ไม่ใช่ ‘ต้องการหาคำตอบ’, นี่อาจเป็นความเข้าใจผิดของผมเองตั้งแต่ต้นที่คิดมาแบบนี้ แต่เมื่อถึงจุดๆหนึ่งกับหนังเรื่องนี้ ผมได้เกิดข้อสงสัย ถ้าคนที่ไม่ได้มีศรัทธาแรงกล้าแน่วแน่มั่นคง จะสามารถกล้าตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อ แล้วไม่หลุดออกจากศรัทธาเดิมของตนได้ยังไง? นี่ทำให้ผมได้ข้อสรุปว่า เพราะ Bergman มีความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างแรงกล้า เขาจึงต้องการตั้งคำถาม ให้กับคนที่ยังลังเลไม่แน่ใจ ให้ได้เข้าถึงศรัทธา ความเชื่อแบบไม่งมงาย ด้วยการตั้งคำถาม ที่ไม่มีคำตอบ แต่ชี้แนะแนวทางในการคิดที่สมควร ‘พระเจ้าคือความรัก’ (God is love.), นี่ถือเป็นสาระของหนัง ‘ชวนเชื่อ’ นะครับ

กับนักวิจารณ์ทั่วโลก ผมเชื่อว่าแทบทั้งนั้นนับถือศาสนาคริสต์ อเมริกา, ยุโรป ฯ แน่นอนพวกเขาซูฮกหนังเรื่องนี้ ในการท้าทายความเชื่อ ศรัทธา และแนวคิดของศาสนาของตน และกับคุณภาพหนังที่ต้องบอกว่า คะแนนเต็มเท่าไหร่ก็ต้องรีบเขวี้ยงขว้างใส่ให้เต็มหมด เพราะมันไร้ตำหนิ สมบูรณ์แบบที่สุด, แต่กับผู้ชมศาสนาอื่น ที่มีความเชื่อในพระเจ้ารูปแบบที่แตกต่าง หรือศาสนาที่พิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่มีจริง กับหนังเรื่องนี้ถือว่าเป็นขยะศรัทธา ของอัครสาวกผู้เชื่อมั่นอย่างที่สุดในศาสนาของตนเอง, เรื่องความเชื่อ ศาสนา เป็นสิ่งที่ไม่มีใครยอมใครนะครับ หนังที่ใส่ความเชื่อทางศาสนามากไป ไม่มีทางเข้าถึงได้กับผู้ชมทั้งโลกเป็นอันขาด

จุดเริ่มต้นของหนังเรื่องนี้ เกิดขึ้นขณะ Bergman เขียนบทหนังเรื่อง The Virgin Spring (1960) แล้วเกิดไอเดียเกี่ยวกับ The Wallpaper (นี่เป็น Working Title ของหนังด้วย) หญิงสาวที่อาศัยอยู่ในห้องพักเล็กๆ ที่มี Wallpaper ลึกลับ ที่เหมือนว่ามีเสียงพูดดังออกมาจากในนั้น

Bergman ให้คำจำกัดความ Through a Glass Darkly ว่าเป็น ‘Chamber film’ นี่ถือเป็นอีกประเภท genre ของหนังนะครับ, คำว่า Chamber แปลว่าห้อง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเกิดขึ้นในห้องๆเดียว เหมารวมถึง บ้านหรือสถานที่ที่มีการจำกัดพื้นที่ อาทิ บนเกาะ ในเมือง ฯ ตัวละครมีจำนวนจำกัด 2-4 คน ไม่มากกว่านี้ และเรื่องราวดำเนินขึ้นภายใน 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง, ผู้ให้กำเนิดนิยาม Chamber film ก็ไม่ใช่ใครอื่นไกล Ingmar Bergman นี่แหละ เริ่มต้นได้แนวคิดมาจาก Chamber Music และ Chamber Play (การแสดงเพลงหรือละครเวทีที่มีการจำกัดสถานที่ ผู้เล่น ฉาก ฯ) ซึ่งหนังประเภทนี้ก็ให้ความรู้สึกเหมือนผู้ชมกำลังดู ‘ละครเวที’ ขนาดเล็กอยู่นั่นเอง, กับหนังเรื่องที่โด่งดังของประเภทนี้ แทบทั้งนั้นก็คือหนังของ Bergman อาทิ Through a Glass Darkly (1961), Persona (1966) ฯ

เรื่องราวของหนังเกิดขึ้นบนเกาะ Fårö ส่วนหนึ่งของ Gotland เกาะที่ใหญ่ที่สุดของ Sweden สมาชิก 4 คนของครอบครัวหนึ่ง มาอาศัยพักผ่อนอาศัยอยู่ที่นี่ เรื่องราวเกิดขึ้นใน 1 วัน (24 ชั่วโมง)

Karin (รับบทโดย Harriet Andersson) หญิงสาวที่เพิ่งได้รับการรักษาตัวออกจากโรงพยาบาล (หนังไม่ได้บอกว่าเธอเป็นโรคอะไร แต่ใครๆคงคาดเดาได้ว่าเธอเป็นจิตเภท-Schizophrenia), โรคที่เธอป่วย อ้างว่าเกิดจากประสาทสัมผัสการได้ยินอ่อนไหวผิดปกติ ได้ยินเสียงจากไกลๆที่ไม่มีใครได้ยิน

Martin (Max von Sydow) สามีของ Karin ที่ต้องการช่วยเหลือเธอให้สามารถใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวได้อย่างปกติสุข แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากนอกจากเป็นแรงใจให้เธอ

David (Gunnar Björnstrand) พ่อของ Karin มีอาชีพเป็นนักเขียนนิยาย ทุ่มเทเวลาให้กับงานมากกว่าครอบครัว แม้แต่ตอนภรรยา (แม่ของ Karin) เสียชีวิต เขาก็ไม่ได้กลับมา, ครั้งนี้เพราะเขาประสบปัญหา Writer’s Block สมองตัน คิดเขียนอะไรไม่ออก จึงตัดสินใจมาพักผ่อนคลายกับครอบครัว

Minus (Lars Passgård) น้องชายของ Karin ที่เธอมักมองเขาเป็นเหมือนเด็กชาย แค่ตัวโตสูงกว่า แต่ความคิด นิสัยยังไม่โตเป็นผู้ใหญ่สักเท่าไหร่

นักแสดงทั้ง 4 เป็นขาประจำทั้งหมดของ Bergman นะครับ ยกเว้นแค่ Lars Passgård ที่กับหนังเรื่องนี้ เพิ่งจะเป็นหนังเรื่องแรกของเขา, โดดเด่นที่สุด คือการแสดงของ Andersson ถือว่า breakthrough อาชีพนักแสดงของเธอเลย ที่ว่ากันว่าผู้ชมบางคนถึงขั้นช็อคขณะเห็นท่าทางการแสดง ขณะที่เธอได้สัมผัสพบกับพระเจ้า (ในจินตนาการของเธอ) เพราะคิดว่า Karin ได้พบกับพระเจ้าจริงๆ

ในบทหนังของ Bergman เรื่องราวของ Karin เธอได้พบกับพระเจ้าจริงๆ นะครับ

‘พระเจ้าพูดกับเธอ ทำให้เธอเชื่อ ยอมรับ จำนนโดยไม่ขัดขืน (เพราะเธอเทิดทูนพระเจ้า) เริ่มแรกมาจากเสียงภายใน จากคำแนะนำกลายเป็นกระตุ้นทำตามคำสั่ง ทดสอบเธอในเรื่องความรัก เสียสละ และการอุทิศตน แต่พระเจ้ามีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง บางครั้งให้คำแนะนำง่ายๆ อาทิ ดื่มน้ำทะเล ฆ่าสัตว์ ทำโน่นทำนี่ ฯ แต่บางครั้งก็บอกให้เธอทำ ในสิ่งที่ร่างกายขัดขืนไม่ได้ รวมถึง incest กับน้องชาย เมื่อเธอได้ทำทุกอย่างครบตามที่พระเจ้าขอ ท่านก็จากไป ทิ้งไว้ด้วยความว่างเปล่า นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Karin ในตอนจบ’

การที่ Bergman สร้างพระเจ้าให้เป็นทั้งด้านมืดด้านสว่าง มุมหนึ่งอาจมองว่าเขาตั้งคำถามกับการมีตัวตนของพระเจ้า แต่อีกมุมหนึ่งที่ผมพบคือ เขาต้องการทำให้ผู้คนสัมผัส เข้าใจพระเจ้าได้ในระดับหนึ่ง, นับตั้งแต่ Michelangelo วาดภาพ The Creation of Adam บนโบสถ์น้อยซิสทีน ภาพของพระเจ้าได้รับการเปรียบให้คล้ายกับมนุษย์ มีหน้าตา ตัวตน จับต้องได้ จากที่เคยเปรียบเสมือนทวยเทพผู้สู่งส่งยิ่งใหญ่ แต่พอได้ถูกนำเสนอในรูปแบบนี้ ทำให้พระเจ้ากลายเป็นสิ่งที่มนุษย์เริ่มสัมผัส เข้าใจ จับต้องได้, กับหนังเรื่องนี้ Bergman ทำให้เราสัมผัสถึงพระเจ้าได้ในอีกรูปแบบ คือทั้งดีและชั่ว เหมือนว่าในพจนานุกรมของท่าน ไม่มีหรอกดีชั่ว มีแต่ความรัก ความเสียสละ อุทิศตน มองในมุมหนึ่งการกระทำอย่าง Incest กับน้องชายเป็นสิ่งที่ผิด แต่ถ้าพระเจ้าประสงค์ มันก็คงไม่ผิดอะไร!

น่าจะพอเข้าใจกันแล้วนะครับ ว่าทำไมผมถึงดูหนังเรื่องนี้แล้วหงุดหงิด หัวเสียอย่างมาก ไม่ใช่มุมมองความเชื่อที่ผิด แต่เป็นผู้กำกับ Bergman ที่หลอกให้ผมเชื่อมาหลายปี ว่าเขาต้องการหาคำตอบเรื่องพระเจ้า แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เลย

ถ่ายภาพโดย Sven Nykvist, กับหนังเรื่องนี้ แนะนำให้ลองสังเกตกันนะครับ แทบทุกช็อต จะเห็นนักแสดงแค่ 2 คนเท่านั้น (เวลาอยู่ด้วยกัน 4 คน ก็จะแยก 2 ฝั่ง) ทั้งสองไม่เคยสบตาหรือหันหน้าเข้าหากันเลย นี่เหมือนเป็นการบอกว่า มนุษย์แต่ละคนมีมุมมองความเชื่อ และการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน ถึงอยู่ฉากเดียวกันแต่มีเส้นบางๆแยกกันอยู่, เวลาคนหนึ่งมองไปทางซ้าย อีกคนจะหันไปทางขวา(หรือทิศอื่น) และถ้าสังเกตดีๆ การจัดแสงสะท้อนผิวหน้าของคนสองคน ก็จะไม่เหมือนกันด้วย

ตอนแรกผมก็ไม่สังเกตหรอกนะครับ เป็นนักวิจารณ์ Roger Ebert ชี้ให้เห็นในบทวิจารณ์ของเขา ที่ 3 ย่อหน้าแรก เล่นพูดแต่การจัดองค์ประกอบภาพ สายตาของนักแสดง และการถ่ายภาพ จนผมต้องเปิดหนังย้อนกลับไปดูและเห็นว่าจริง ไม่ใช่แค่กับหนังเรื่องนี้เท่านั้น แต่หนังของ Bergman แทบทุกเรื่องเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Persona (1966) กับฉากที่ถือเป็นตำนานของหนัง ตัวละคร 2 ตัว หันมองในทิศทำมุมกัน 90 องศา

สายตาของตัวละคร Karin มักจะเงยหน้า มองสูงขึ้นไป ทั้งๆที่ก็ไม่มีใครหรืออะไรอยู่ตรงนั้น แต่เหมือนว่าเธอกำลังเห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น, ผมคิดว่า Bergman คงสร้างจุดกำกับบอกให้กับนักแสดงมองไปทางนั้น และให้จินตนาการ แสดงออก ราวกับว่ามีบางสิ่งบางอย่าง หรือมีใครยืนอยู่ตรงนั้นจริงๆ

ผมไม่แน่ใจว่าหนังถ่ายช่วงฤดูหนาวหรือเปล่า เพราะตี 3-4 พระอาทิตย์ก็ขึ้นแล้ว, ที่ Sweden ก็จะเป็นอย่างนี้นะครับ ผมเห็นมาหลายเรื่องแล้ว เราต้องคอยสังเกตเวลาด้วยตนเอง ถ้าดูจากแสงสว่างจะบอกไม่ได้ว่าฉากนั้นกลางวันหรือกลางคืน, ผลลัพท์ของแสงในตอนกลางวัน จึงดูไม่ต่างจากตอนกลางคืนมากนัก นี่ทำให้หนังได้สัมผัสเหมือน ‘waking dream’ ถึงจะตื่นแต่ก็ยังเหมือนฝันอยู่ เรื่องราวของหนังก็ให้สัมผัสเช่นนี้

ตัดต่อโดย Ulla Ryghe หนังมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 2+2 แทบทั้งเรื่อง ส่วนใหญ่จะเป็น David+Martin และ Karin+Minus การตัดต่อก็จะสลับไปมา ให้เวลากับพวกเขาเกลี่ยเท่าๆกัน (แต่ว่าไปผมไม่เห็น Martin+Minus เลยนะครับ เหมือนทั้งสองแทบจะไม่ได้คุยกันด้วยซ้ำ)

เพลงประกอบ ไม่มี แต่มีการใช้ Suite No. 2 in D minor for Cello, BWV 1008 ท่อน 4 (Sarabande) ของ Johann Sebastian Bach บรรเลงโดย Erik Nordgren สร้างสัมผัสบางอย่างให้กับหนัง, เพลงนี้ Bach แต่งขึ้นเพื่อ Cello โดยเฉพาะ ไม่ต้องใช้เครื่องดนตรีอื่นเล่น มีทั้งหมด 6 Suites ละ 6 ท่อน นี่ก็มีนัยยะเล็กๆถึงการมีตัวตนเป็นเอกเทศน์ ไม่ขึ้นกับใคร, ผมไม่รู้ทำไม Bergman ถึงเลือกเพลงนี้ท่อนนี้นะครับ เหมือนว่าเขาต้องการให้ผู้ชมสัมผัสกับจิตวิญญาณ ธรรมชาติของพระเจ้า, กับคนที่อยากฟังท่อนที่ใช้ในหนัง กระโดดข้ามไปนาทีที่ 10:47 ได้เลย

ชื่อหนังมาจากเนื้อเรื่องหนึ่งในพระคัมภีร์ไบเบิล (1 Corinthians 13:12) ชื่อภาษา Swedish แปลว่า In a Mirror แต่ประโยคนี้ในภาษาอังกฤษจะเขียนว่า “For now we see through a glass, darkly.” การตีความ glass ในประโยคนี้มักจะพูดถึง ‘กระจก’ ที่หมายถึงการสะท้อน อาทิ ตัวตน, แสงเงา, ความคิด, ศรัทธา ฯลฯ มีประโยคหนึ่งที่พูดว่า “All the prophets had a vision of God as He appeared through nine specula while Moses saw God through one speculum.” ที่สามารถตีความได้ว่า กระจกนี้คือเปรียบเหมือนการมองเห็น ‘พระเจ้า’

กับคนที่ขาดศรัทธา เขาจะมองว่าสิ่งที่ Karin เห็นนั้นคือภาพลวง ของคนที่มีปัญหาทางจิต หรือเรียกว่า โรคจิตเภท (Schizophrenia) คือ กลุ่มอาการของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของความคิด ทำให้มีการคิดและรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งจะมีผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน, เชื่อกันว่ามีสาเหตุมาจากทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 1) ด้านร่างกาย ทางพันธุกรรม ยิ่งมีความใกล้ชิดทางสายเลือดกับผู้ป่วยมากยิ่งมีโอกาสสูง จากความผิดปกติของสมอง โดยสารเคมีในสมองมีความผิดปกติและจากโครงสร้าง ของสมองบางส่วนที่มีความผิดปกติเล็กน้อย 2) ด้านจิตใจ จากความเครียดในชีวิตประจำวัน เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเจ็บป่วย การใช้อารมณ์กับผู้ป่วย การตำหนิ มีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรหรือจู้จี้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยมากไปก็มีผลต่อการกำเริบของโรคได้

สิ่งที่หนังเรื่องนี้นำเสนอออกมา สามารถมองได้ทั้ง 2 อย่างเลย ว่าพระเจ้าลงมาหา Karin จริงๆ และเธอเป็นจิตเภทมีปัญหาทางความคิด, แม้คนส่วนใหญ่จะเชื่อจาก ผลลัพท์สุดท้ายที่ Karin ถูกส่งตัวไปโรงพยาบาล แต่ก็ไม่มีอะไรยืนยันได้ว่า เธอไม่ได้เห็นพระเจ้า, นี่คือความตั้งใจ จงใจของ Bergman เลยนะครับ ที่จะให้คุณตั้งข้อสงสัยและไม่ให้คำตอบ กับสิ่งที่ Karin ประสบเข้ากับตัวเอง ว่าเป็นเรื่องจริงหรือเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย แต่สิ่งที่ Bergman ทิ้งท้ายไว้ คือการสร้างการมีตัวตนของพระเจ้าขึ้นมา ‘God is Love.’ นี่ฟังดูอาจเป็นคำแก้ต่างของหนังและ Bergman แต่คือสิ่งที่เป็นคำตอบในศรัทธาของเขา ที่แม้ตนจะไม่สามารถสัมผัส มองเห็นพระเจ้าได้ แต่รู้และเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ‘พระเจ้ามีจริง’

ถ้าคุณนับถือศาสนาคริสต์ และต้องการท้าทายศรัทธาความเชื่อของตนเอง ลองหาหนังเรื่องนี้มาดูนะครับ

แนะนำอย่างยิ่งกับนักเรียน คนทำงานสายภาพยนตร์ นี่เป็นหนังที่เลิศมากๆในการสร้าง ทั้งการแสดง ทิศทางการกำกับ การถ่ายภาพ ฯ ถือว่าเป็นหนังที่สมบูรณ์แบบที่สุดเรื่องหนึ่ง, แฟนหนัง Ingmar Bergman และตากล้องระดับเทพ Sven Nykvist ไม่ควรพลาด

จัดเรต 15+ กับการแสดงออกที่เหมือนจิตเภท และความท้าทายศรัทธาความเชื่อ

TAGLINE | “Through a Glass Darkly ถึงหนังจะตั้งคำถามกับศรัทธา แต่ผู้กำกับ Ingmar Bergman กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธาที่แน่วแน่มั่นคง”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | SO-SO

Miss Julie (1951)


Miss Julie

Miss Julie (1951) Swedish : Alf Sjöberg ♥♥♥♡

หนังรางวัล Grand Prize (หรือ Palme d’Or) ผลงานกำกับของ Alf Sjöberg อีกหนึ่งปรมาจารย์สัญชาติ Swedish, ก่อนที่จะมี Ingmar Bergman ผู้ยิ่งใหญ่ Alf Sjöberg ถือเป็นผู้กำกับระดับแนวหน้าของ Sweden ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นผู้กำกับคนแรกที่มีหนังได้รางวัล Palme d’Or ถึง 2 เรื่อง

Iris and the Lieutenant (1946) และ Miss Julie (1951) ของผู้กำกับ Alf Sjöberg เป็นหนังสองเรื่องที่คว้ารางวัล Grand Prize ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่ฉายในสายประกวด นี่เป็นชื่อก่อนที่ Cannes จะเปลี่ยนมาใช้ Palme d’Or ในปี 1955, ถือเป็นหนังรางวัลจากเทศการหนังยุคแรกๆเลย Cannes เริ่มจัดเทศกาลหนังครั้งแรกปี 1939 แต่เริ่มมีการมอบรางวัลสายประกวดครั้งแรกปี 1946 ซึ่งมีหนังที่ได้รางวัล 11 เรื่อง Iris and the Lieutenant คือหนึ่งในนั้น, ที่ผมขุดหนังเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เพื่ออยากแนะนำให้รู้ว่า ผู้กำกับสัญชาติ Swedish ที่เด่นๆ คนส่วนใหญ่จะรู้จักแค่ Ingmar Bergman แต่มีคนอื่นด้วยนะครับ ว่ากันว่าถ้าไม่มี Alf Sjöberg ที่กรุยทางให้วงการภาพยนตร์ Sweden เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ ก็อาจไม่มี Ingmar Bergman หนึ่งในผู้กำกับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกเกิดขึ้นก็เป็นได้

Miss Julie ดัดแปลงมาจากละครเวทีชื่อเดียวกันของ August Strindberg ที่รู้สึกว่า Alf Sjöberg จะเป็นผู้กำกับการแสดงละครเวทีเรื่องนี้เมื่อปี 1949, บทของ August Strindberg เห็นว่ามีส่วนคล้ายกับ Shakespeare เรื่อง A Midsummer Night’s Dream โดยเรื่องราวของ Miss Julie ก็ดำเนินเรื่องในคืน Midsummer Night เช่นกันเป็น Nordic midnight sun (ของ Shakespeare ใช้ Mendelssohn เป็นพื้นหลัง)

เรื่องราวเกี่ยวกับหญิงสาวชื่อ Julie ลูกของท่าน Count ที่เป็นคนเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ เพราะปมวัยเด็กของเธอ ที่แม่ไม่รักและพ่อที่เคร่งครัดเกิดกว่าเหตุ, เธอดันไปตกหลุมรักกับคนใช้หนุ่มสุดหล่อ ซึ่งเขาก็ใช้โอกาสนี้เอาเปรียบเธอ เพื่อตนเองจะได้ไต่เต้าขึ้นไปโดยลากเธอลงจากสรวงสวรรค์ หญิงสาวที่พอคิดได้จึงเกิดความละอายในสิ่งที่ทำ จึงตัดสินใจปลิดชีพฆ่าตัวตาย

นี่เป็นหนังที่มีบรรยากาศเหมือน ‘เทพนิยาย’ ด้วยเสื้อผ้าหน้าผมของตัวละคร ฉากพื้นหลัง บ้านที่ดูหรูหราราวกับคฤหาสถ์ และแนวคิดของตัวละครที่เหมือนเจ้าหญิงถูกขังในกรงทอง ตกหลุมรักกับเจ้าชายยาจกที่เป็นคนใช้ผู้ต่ำต้อยแต่หวังสูง, เหตุการณ์เกิดขึ้นในคืนฟ้าสว่าง (Midsummer Night) ในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย จะมีช่วงหนึ่งในแต่ละปีที่ตะวันจะไม่ตกดิน เที่ยงคืนแล้วฟ้ายังสว่างอยู่ นี่ยิ่งดูเหมือนเมืองในเทพนิยายเข้าไปใหญ่ มีแต่กลางวันไม่มีกลางคืน

เห็นในเวอร์ชั่นละครเวที ใช้นักแสดงเพียง 3 คนเท่านั้น ซึ่งภายหลังพอผู้กำกับตั้งใจจะทำเป็นเวอร์ชั่นภาพยนตร์ ก็ตั้งใจจะเลือกนักแสดงชุดเดิม แต่เพราะนางเอกกับการแสดงละครเวทีที่รับบทโดย Inga Tidblad อายุมากไปเสียหน่อย เลยเลือกนักแสดงหญิงคนใหม่ที่เด็กกว่าแทน, ส่วนอุปกรณ์และฉากที่ใช้ในการแสดงละครเวทีไว้ ก็ยังถูกเก็บไว้ นำมาใช้ถ่ายหนังเพื่อประหยัดงบประมาณอีกด้วย

นำแสดงโดย Anita Björk รับบท Julie นี่เป็นนักแสดงที่ผู้กำกับเลือกมาแทน Inga Tidblad, ใบหน้าและการแสดงของเธอทำเอาผมนึกถึง Vivien Leigh ขณะเล่นหนังเรื่อง Gone With The Wind (1939) ด้วยแววตาที่จิกกัด มีความขี้อิจฉาน้อยใจ เป็นคนเอาแต่ใจ ต้องการให้คนอื่นตามใจ, ฉาก Open Credit ของหนัง เราจะเห็นตัวละครของเธอจะแอบซ่อนอยู่หลบอยู่ข้างๆผ้าม่าน (กลัวคนเห็น) นี่เป็นการแนะนำตัวละครที่ ไม่ต้องมีคำพูดบรรยายใดๆ เราก็สามารถเข้าใจได้เลยว่าเธอมีนิสัยอย่างไร

ฝ่ายชาย Ulf Palme รับบท Jean ผมไม่คิดว่าเขาหล่อเท่าไหร่นะ แต่คงทำให้สาวหลงได้ (มั้ง), จริงๆแล้วตัวละครนี้เป็นคนขี้ขลาด แต่มีความทะเยอทะยาน ใจเย็นและมองหาโอกาสที่เหมาะสม, มีฉากหนึ่งที่เล่าถึงความฝันของ Julie และ Jean, ในฝันนั้น Juliet ปืนขึ้นไปอยู่บนยอดไม้แล้วหาทางลงไม่ได้ ส่วน Jean ฝันว่าปืนขึ้นไปเพื่อเด็ดดอกฟ้า ฉากนี้แทนตัวตนของทั้งสองตัวละครนำได้ชัดเลย

อีกหนึ่งนักแสดงจากเวอร์ชั่นละครเวที Märta Dorff รับบท Kristin คู่หมั้นของ Jean และเป็นแม่ครัวของท่าน Count, การแสดงของเธอติดดินมากๆ ท่าทาง กิริยา เป็นผู้หญิงที่เหมือนคนใช้จริงๆ (เหมือนว่าเธอจะใส่ฟันปลอมด้วยนะ), บทของเธออาจไม่เยอะเท่า Julie กับ Jean แต่ถือเป็นตาชั่งอีกด้านหนึ่ง ที่มี Jean อยู่ตรงกลาง Julie คือฝั่งซ้าย และ Kristin คือฝั่งขวา

Max von Sydow กับบทเล็กๆ เป็นคนเลี้ยงม้า ที่ชอบแอบดูนาย หน้าของพี่แกเหมาะกับการเป็นคนใช้มาก แต่ไม่รู้ไฉน Ingmar Bergman ถึงจับพี่แกมาเป็นพระเอกได้ตั้งหลายเรื่อง

ถ่ายภาพโดย Göran Strindberg, นี่เป็นหนังที่มีการถ่ายภาพเจ๋งมากๆ มีการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ เดี๋ยวเคลื่อนเข้า เคลื่อนออก (ไม่ใช่ซูมนะครับ) เคลื่อนตามตัวละคร แพนกล้อง มีฉากที่ตั้งกล้องไว้เฉยๆน้อยมาก, มีการใช้เทคนิคซ้อนภาพด้วย ในฉากที่ 2 พระนางบรรยายถึงความฝัน ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นจะปรากฏขึ้นด้านหลังของทั้งคู่ นี่อาจไม่ใช่เทคนิคที่แปลกใหม่ แต่การใช้ในหนังเรื่องนี้กลับทำให้ผมรู้สึกตื่นตาตื่นใจมาก และนี่คือจุดที่ทำให้หนังต่างจากละครเวที เพราะหนังสามารถนำเสนอภาพ ความฝันกับความจริง หรือ อดีตกับปัจจุบัน ให้เกิดขึ้นพร้อมกันในซีนเดียวได้

ตัดต่อโดย Lennart Wallén, นี่ก็ถือว่าโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร แทบจะครึ่งหนึ่งที่หนังเล่าย้อนอดีต เป็น Flashback ท้าวความถึงชีวิตวัยเด็กของสองพระนาง นี่อาจทำให้เรื่องราวของหนังไม่ดำเนินไปข้างหน้า แต่ถือเป็นการสำรวจพื้นฐาน เข้าใจเหตุผลว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีตที่ทำให้ปัจจุบันตัวละครกลายเป็นแบบนี้, การเปลี่ยนฉากถ้าผมจำไม่ผิด มีแบบเลื่อนภาพไปทางซ้ายบ้าง ขวาบ้าง และตอนที่เริ่มเล่าย้อนอดีต ใช้การซูมเข้าซูมออก หลอกผู้ชมให้คิดว่าฉากนั้นคือปัจจุบัน แต่ภาพได้ย้อนไปอดีตเรียบร้อยแล้ว, ผมสังเกตหนังที่มีเรื่องราวลักษณะนี้ ก็มักมีการเปลี่ยนฉากที่ไม่ใช่แค่ตัดต่อ แต่ใส่การเปลี่ยนภาพแปลกๆ ผมเรียกว่า Fantasy Transition นะครับ

เพลงประกอบที่ราวกับอยู่ในเทพนิยาย โดย Dag Wirén หนังเต็มไปด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาว Nordic เสียงจะไม่คุ้นหูเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณเคยฟังเพลงลักษณะคล้ายๆกันนี้มาก็จะนึกออกว่าเป็นยังไง, เพลงประกอบส่วนใหญ่ในหนัง เรามักจะได้ยินจากวงดนตรีที่เล่นอยู่ มีจังหวะสนุกสนานครื้นเครง ส่วนฉากสำคัญๆของหนังมักไม่มีเพลงประกอบ จะเงียบๆ น้ำนิ่งไหลลึก, ผมเรียกเพลงที่ใช้แบบหนังเรื่องนี้ว่า เพลงประกอบภาพ ไม่ได้ใช้เพื่อสร้างอารมณ์หรือสร้างบรรยากาศให้กับหนังแม้แต่น้อย

กับคนที่เคยดู Wild Strawberries ของ Ingmar Bergman มาแล้ว มันมีความสัมพันธ์บ่างอย่างระหว่างกับหนังเรื่องนี้ ในการเดินทางที่ตัวละครได้พบกับความทรงจำ, ภาพ Flashback, ความฝัน และฝันร้าย จะว่ารูปแบบ ลำดับ วิธีการของ Bergman น่าจะได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากหนังเรื่องนี้ก็ว่าได้

เกร็ด: คนที่กำกับบทหนังเรื่องแรกที่เขียนโดย Ingmar Bergman คือ Alf Sjöberg ผู้กำกับหนังเรื่องนี้นะครับ

ในโลกของ Miss Julie ชนชั้นกับความสัมพันธ์ (Sex) ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างมาก นี่อาจมองดูเป็นหนัง Period ด้วยก็ได้ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างคนชั้นสูง กับคนใช้ จึงเปรียบได้กับนางฟ้ากับหมาวัด แต่คนใช้ไม่ใช่ทาส พวกเขามีอิสระในการคิดตัดสินใจและการกระทำ ซึ่งถ้ามองในมุมนี้จะเห็นอีกโลกหนึ่งของคนชั้นสูง ที่ผูกมัดตัวเองกลายเป็นทาสของโครงสร้างสังคม เหมือนนกที่เป็นสัตว์เลี้ยงของ Julie ขนาดว่าเธอกำลังจะหนีไปกับ Jean ดันเอานกและกรงไปด้วย (เสื้อผ้าไม่สำคัญเท่านกในกรง!) ซึ่งเหตุที่ Jean ต้องฆ่านก จริงๆปล่อยให้มันโผบินหนีไปก็ได้ แต่เพราะหนังเปรียบชะตากรรมของนกเช่นเดียวกับ Julie มันเลยต้องตาย และ Julie ก็ตายตอนจบ

แม่ของ Julie ถือว่าเป็นตัวแทนของผู้หญิงรุ่นใหม่ที่ไม่อยู่ในกรอบ แต่คนสมัยก่อนจะมองเธอว่าเป็นผู้หญิงที่ไร้ยางอาย (เป็นคนชั้นต่ำ) แต่พอเธอแต่งงานกับสามีที่เป็นคนชั้นสูง ก็ไม่มีใครสามารถทำอะไรเธอได้, ตัวละครนี้ต้องเรียกว่า ‘ตัวแม่’ เลยละ ผมก็ไม่รู้เธอคิดบ้าอะไร เป็นหญิงสาวที่ ทุกอย่างต้องได้ตามใจฉัน ไม่พอใจอะไรนิดหน่อยก็ประท้วง กระทำการที่โคตรเรียกร้องความสนใจ คนที่มีปมแบบนี้ ก็จากพ่อแม่ที่โคตรตามใจ, หนังมันก็สะท้อนซึ่งกันและกันนะครับ Julie กับ แม่ แทบจะไม่มีอะไรต่างกันเลย ใช้นักแสดงคนเดียวกันยังได้

ถ้าใครสังเกตหน่อย ตอนจบของหนังเรื่องนี้ไม่มี The End ขึ้นนะครับ ผู้กำกับลืมหรือเปล่า หรือถูกตัดออก? ไม่เลยครับ หนังจงใจที่จะไม่ใส่ไว้เพื่อเป็นการบอกว่า เรื่องราวแบบนี้ไม่มีจุดจบ มันคือสิ่งที่ยังพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันทั่วไป, ฉากจบคือการเคลื่อนกล้องเข้าไปหน้ารูปภาพแม่ของ Julie มันมีความรู้สึกราวกับว่าเธอเป็นผู้ชนะ รอยยิ้มที่เย่อหยิ่งของหอง เธอเอาชนะใคร ชนะอะไร? คำตอบคืออิสระภาพ เอาชนะกรอบความคิดทุกอย่างที่ผู้หญิงถูกปลูกฝังไว้

นี่เป็นหนัง Feminist ไม่ผิดเลย ตัวละครผู้หญิงที่มีอิสระภาพ การคิด การตัดสินใจด้วยตัวเอง การเอาชนะกรอบ ระเบียบ ข้อกำหนดของสังคมและวิถีปฏิบัติ, แต่กับตัวละคร Julie มันเหมือนสะท้อนอีกภาพหนึ่ง คืออิสระภาพที่มากเกินไป ทำให้หลงระเริง ลื่นไหลถลำเข้าไปเกิดขอบเขตข้อจำกัดที่สามารถรับได้, ผมชอบการสะท้อนมุมมองนี้ คือตัวละครรู้ตัวเองว่าถลำลึกเกินไป แต่เธอไม่ยอมถอยกลับออกมา เข้าไปลึกจนจิตใจรับไม่ได้ สุดท้ายจบลงด้วยการปลิดชีวิตตัวเอง

มีหนังเรื่อง Miss Julie (2014) ที่ดัดแปลงมาจากบทละครของ August Strindberg กำกับโดย Liv Ullmann นำแสดงโดย Jessica Chastain, Colin Farrell และ Samantha Morton, จะว่าเป็น Remake ของหนังเรื่องนี้เลยก็ได้ แต่ได้ยินว่าทำออกมาได้น่าผิดหวังสุดๆ  กับคนที่อยากดูหนังคุณภาพ แนะนำให้คุณหาเวอร์ชั่น Classic นี้ดูดีกว่านะครับ

แนะนำกับคนที่ชอบหนังแนวโรแมนติก เทพนิยาย, ชอบดูหนังดีๆ คลาสสิค เก่าๆ, ใครเคยดูหนังของ Ingmar Bergman แนะนำให้ลองหาหนังของ Alf Sjöberg มาดูด้วยนะครับ ถึงมันไม่ได้คล้ายกันเลย แต่เป็นหนังจากประเทศ Sweden เหมือนกัน แรงบันดาลใจของ Bergman ส่วนหนึ่งก็มาจากหนังของ Sjöberg นี่แหละ

จัดเรต 13+ กับนิสัยแย่ๆของ Julie และแม่

TAGLINE | “Miss Julie ของผู้กำกับ Alf Sjöberg พาเราเข้าสู่โลกแห่งเทพนิยาย ไปกับตัวละครที่มีนิสัยไม่รู้เหมือนเจ้าหญิงหรือตัวร้าย สุดยอดการแสดงของ Anita Björk”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE 

The Virgin Spring (1960)


The Virgin Spring

The Virgin Spring (1960) : Sweden – Ingmar Bergman

หนังรางวัล Best Foreign Language Film จากประเทศ Sweden โดยผู้กำกับ Ingmar Bergman นำแสดงโดย Max von Sydow และเป็นการร่วมงานครั้งแรกกับตากล้อง Sven Nykvist เรื่องราวเกิดขึ้นในยุคกลาง (Middle Ages) ช่วงศตวรรษที่ 13 หนังตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา ศีลธรรม การแก้แค้น ความยุติธรรม และการสำนึกบาป อีกหนึ่ง masterpiece กับการค้นหาคำตอบของการมีชีวิตตามสไตล์ของ Ingmar Bergman ที่คุณจะทึ่งไปกับวิธีการและเทคนิคการเล่าเรื่องที่เหนือชั้น

ผมเคยดูหนังเรื่องนี้เมื่อนานมาแล้ว พร้อมๆกับหนังเรื่องอื่นๆใน collection ของ Ingmar Bergman ตอนนั้นผมยังไม่เข้าใจวิถีหนังของ Bergman เท่าไหร่ เป็นคนดูหนังทั่วๆไป พบว่าหนังเรื่องนี้อืดอาดมาก ความยาว 89 นาทียังถือว่ายาวเกินไป เนื้อเรื่องผมว่า 30-40 นาทีก็จบได้แล้ว ประเด็นในหนังมันก็ธรรมดา ไม่มีอะไรน่าสนใจเลย ลูกสาวถูกฆ่าข่มขืน พ่อล้างแค้นแทนลูก ไฉนหนังกลับได้รับการยอมรับขนาดนั้น … กลับมาดูครั้งนี้ โอ้! นี่มันหนังไม่ธรรมดาเลย ข้อเสียทั้งหลายที่ผมเอ่ยมา มันสามารถมองเป็นศิลปะที่สวยงาม เต็มไปด้วยเทคนิค มีความประณีตละเอียดอ่อน ทำให้ผู้ชมได้ดื่มด่ำ-เต็มอิ่มไปกับบรรยากาศ ความรู้สึกและประเด็นของหนังคือการตั้งคำถามที่เมื่อได้คิดต่อแล้วจะได้ข้อคิดดีๆในการใช้ชีวิตมากมาย

หนังได้แรงบันดาลใจมาจาก Swedish ballad (บทกวี) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 เรื่อง Töres döttrar i Wänge (Töre’s daughters in Vänge) ดัดแปลงโดย Ulla Isaksson มีเรื่องราวเกี่ยวกับลูกสาว 3 คนของ Tore ที่อาศัยอยู่ใน Vange ถูกฆ่าโดยคนเลี้ยงแพะทั้งสาม (Herdsman) เมื่อ Tore รู้เข้าเลยฆ่าล้างแค้น 2 ใน 3 ของคนเลี้ยงแพะ … มีหลายสิ่งที่ Bergman เพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลง เช่น จากที่มี Tore มีลูกสาว 3 คนเหลือเพียง Karin คนเดียว, ตัวละคร Ingeri ใส่เพิ่มเข้ามาเป็นตัวละครที่ตรงข้ามกับ Karin (มองโลกในแง่ร้าย, กร้านโลก, ใจไม่บริสุทธิ์), เด็กชายหนึ่งในคนเลี้ยงแพะ เดิมตัวละครนี้เป็นผู้ใหญ่และเป็นคนที่ไม่ถูก, Virgin Spring เกิดขึ้นทันทีที่เมื่อลูกสาวทั้งสามของ Tore ถูกฆ่า ไม่ใช่หลังจากที่ Tore พูดเพื่อขอล้างบาปจากจากพระเจ้า ฯ

นักแสดงนำขาประจำโดย Max von Sydow กับบท Tore นี่เป็นการแสดงที่ยอดเยี่ยมมากๆ ตอน The Seventh Seal ผมก็ว่าเยี่ยมแล้ว แต่กับบท Tore นี่ยอดเยี่ยมกว่าอีก โดยเฉพาะช่วงที่เขารู้ว่าลูกสาวถูกฆ่า ทั้งแววตา การแสดง ความรู้สึก มันเหมือนกับว่าเขาอยากจะร้องไห้ ตะโกน กรีดร้อง ดิ้นทุรนทุรายออกมา แต่ก็ฝืนทนอดกลั้นไว้ ไม่ให้ใครเห็น แต่ไปลงกับต้นไม้ (Birch) ผมละคลั่งไปกับพี่แกด้วย การระเบิดออกของความอัดอั้นคือการแก้แค้น และเมื่อทำสำเร็จเขา มือที่เปื้อนเลือดทำให้เขารู้สึกตัวและต้องการไถ่โทษในสิ่งที่ตัวเองทำ

Birgitta Pettersson เธอเล่นเป็น Karin ได้ใสซื่อบริสุทธิ์ไร้เดียงสามาก แต่เหมือนเธอจะไม่ชอบงานแสดงเท่าไหร่ ในเครดิตเธอแสดงหนังไม่กี่เรื่องเท่านั้น คนที่แย่งซีนจริงๆคือ Ingeri นำแสดงโดย Gunnel Lindblom คนนี้เป็นหนึ่งในขาประจำของ Bergman นะครับ เริ่มตั้งแต่ The Seventh Seal มาเลย (ยายแกยังมีชีวิตอยู่นะครับ เห็นเล่นหนังเรื่อง The Girl with the Dragon Tattoo เวอร์ชั่นปี 2009 ด้วย) ตัวละคร Karin มีจิตใจที่มืดดำ ชั่วร้าย คิดแต่สิ่งไม่ดี คงเพราะวัยเด็กเธอเจออะไรที่แย่ๆมามาก ได้รับการอุปถัมถ์จากครอบครัว Tore ให้อาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นเพื่อนวัยเดียวกับ Karin ในหนังเราจะเห็นชัดมากว่า Ingeri เป็นตัวละครที่ตรงกันข้ามกับ Karin โดยสิ้นเชิง คนหนึ่งใสซื่อบริสุทธิ์ไร้เดียงสา อีกคนหนึ่งกร้านโลก จิตใจชั่วร้าย ภายนอกถึงทั้งสองจะเป็นเพื่อนกันแต่ Ingeri กลับเกลียด Karin เข้าไส้คงด้วยความที่เธอดีมีพร้อมทุกอย่าง เลยเกิดความอิจฉาริษยา ตอนที่ Karin ตาย ดูเหมือน Ingeri จะสะใสสมน้ำหน้า ดีใจที่ส่ิงที่เธอคิดเป็นจริง แต่ผมเชื่อว่าเมื่อถึงจุดๆหนึ่ง Ingeri น่าจะสำนึกได้ ว่าเธอได้สูญเสียเพื่อนรักที่สุดของเธอไปแล้ว

3 Herdsman ประกอบด้วย Thin นำแสดงโดย Axel Düberg, Mute โดย Tor Isedal และเด็กชายโดย Ove Porath เราจะเห็นทั้ง 3 เป็นตัวละครเชิงสัญลักษณ์ ที่ชื่อ การกระทำ และผลลัพท์ส่งผลต่อพวกเขาอย่างชัดเจน Mute เป็นคนข่มขืน Karin เขาถูกแทงที่คอ ตายเหมือนถูกตรึงกางเขน ส่วน Thin พูดจาโน้มน้าว หลอกลวง Karin ให้หลงเชื่อ ชะตากรรมถูกรัดจนหายใจไม่ออกและไฟครอกตาย และเด็กชายเขาไม่ได้ทำอะไร แค่อยู่ในสถา่นที่เกิดเหตุเป็นคนเห็นเหตุการณ์เท่านั้น แต่เพราะความเป็นเด็กที่ใสซื่อบริสุทธิ์ เขารับไม่ได้กับความชั่วร้าย ท้องไส้ปั่นป่วน รู้สึกขยะแขยงต่อตนเอง ช่วงท้ายตายโดยถูกทุ่มลงพื้นช้ำในตาย

อะไรเป็นเหตุให้ Herdsman ทำในสิ่งที่ขัดต่อศีลธรรมนี้ ผมว่ามันเข้าใจได้ไม่ยากเลยนะครับ คนที่ไม่มีความเชื่อใดๆ ย่อมไม่มีสิ่งที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจให้ยับยั้งความต้องการของตัวเอง นี่เป็นสิ่งที่แบ่งเส้นบางๆระหว่างมนุษย์กับสัตว์ คือการที่มนุษย์มีสติปัญญาสามารถคิดไตร่ตรอง ยับยั้งชั่งใจให้ไม่ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ ผิดกับสัตว์ที่ทำทุกอย่างโดยสัญชาติญาณ ไม่สามารถคิดอธิบายเหตุผลได้ คนที่เป็นแบบหลังก็คือสัตว์ในร่างมนุษย์ ไม่สามารถหักห้ามความต้องการของตัวเองได้ กระนั้นผมไม่คิดว่าการกระทำของพวกเขาเป็นสิ่งชั่วร้ายนะครับ เพราะการกระทำตามสัญชาติญาณ มันคือวิธีการเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด (ไม่เว้นแม้แต่มนุษย์) การกระทำที่เกิดจากการคิดอย่างรอบครอบ ไตร่ตรองอย่างดีต่างหาก ที่ผมเรียกว่าเป็นการกระทำที่ชั่วร้าย การกระทำของ Tore ต่อ Herdsman ทั้ง 3 เป็นสิ่งที่ผิดแน่นอน มันมีทางออกมากมายแทนการ “ฆ่าล้างแค้น” แต่แววตาเขากลับมืดบอด ไม่สามารถคิดให้รอบครอบ หรือห้ามใจตัวเองได้ ทั้งๆที่รู้ว่านั่นเป็นสิ่งไม่ดี จุดนี้ผมยกย่อง Bergman เลยว่านำเสนออกมาได้สวยงามมากๆ

ทำไมผมถึงมองว่า การกระทำที่ผ่านการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ต่อการกระทำในสิ่งที่ขัดต่อศีลธรรมเป็นสิ่งผิด นี่มันตรงๆเลยนะครับ เวลาเราทำความผิดอะไร ถ้าจิตใจเรามีความบริสุทธิ์ คือไม่คิดว่าเลว ไม่รู้ว่าเลว ทำออกมาเลว มันคือความไม่ตั้งใจ จะถือว่าผิดไปไม่ได้ กระนั้นผู้กระทำความผิดก็ต้องได้รับผลตอบแทนจากสิ่งที่เขาทำ เช่น ขโมยของโดยไม่คิดว่าคนอื่นเห็น สักวันเขาก็จะถูกขโมยของกลับคืนด้วยความที่คนขโมยไม่คิดว่าผิด แต่กับคนที่ทำการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ รู้ว่าการกระทำนั่นเป็นสิ่งผิด สิ่งไม่ดี แต่ยังกระทำ นี่แสดงถึงการยอมรับในการกระทำความผิดของตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ความตั้งใจมันผิดรุนแรงกว่าความไม่ตั้งใจมากนะครับ เช่น ตั้งใจจะขโมยของ ในชั้นศาลผลการตัดสินว่าตั้งใจขโมยของมันหนักกว่าการไม่ตั้งใจมากๆเลยนะครับ

และเมื่อลากพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง คำพูดของ Tore นั่นตรงสุดๆเลย “ท่านเห็นที่คนพวกนี้ฆ่าข่มขืนลูกสาวของฉัน ท่านเห็นฉันฆ่าพวกมันอย่างเลือดเย็น แต่ท่านเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย” นี่เป็นคำถามที่ผมเชื่อว่าชาวคริสต์และคนที่เชื่อในพระเจ้าแทบทุกคนต้องเคยถามตัวเอง เป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อ ฟังดูมันเหมือนการโทษพระเจ้า แต่คนที่เคร่งในศาสนามากๆ เขาจะรู้ว่าการโทษพระเจ้าเป็นสิ่งที่ผิด เพราะพระเจ้าท่านไม่ได้มีหน้าที่เพื่อจะตัดสินใคร อะไรจะเกิดก็เกิด ไม่ได้มีหน้าที่ไปขัดขวาง ช่วยเหลือ เป็นมนุษย์เท่านั้นแหละที่คิดเอง เออเอง คาดเดาไปเองต่างๆนานา ในมุมพุทธเราจะสอนว่า การไปโทษคนอื่นมันก็ผิดแล้วนะครับ เราต้องเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นและให้อภัย วางตัวเป็นกลาง ต่อให้เขาฆ่าลูกเรา ก็ใช่ว่าเราควรจะไปฆ่าลูกเค้า เพราะการทำแบบนั้นมันเป็นกงกรรมกงเกวียน กี่ชาติต่อๆไปก็จะเป็นแบบนี้อยู่เรื่อยไป เขาฆ่าลูกเรา เราฆ่าลูกเขา จนกว่าใครสักคนจะสามารถให้อภัยได้ วัฏจักรนี้ไม่มีทางจบสิ้น

มีวิธีการมากมายที่ Tore จะใช้แก้ปัญหาได้ เช่น พูดคุยสอบถามปรับความเข้าใจ, หรือปล่อยพวกเขาไปไม่ยึดติดกับการแก้แค้น, หรือเรียกรวมคนจากหมู่บ้านใกล้เคียง ตั้งลูกขุนให้ช่วยตัดสิน ใช้ประชามติลงความเห็น ฯลฯ มีวิธีมากมายที่สามารถทำได้ไม่ใช่แค่การฆ่าล้างแค้น ตาต่อตาฟันต่อฟัน มันไม่แน่ว่าถึงมีหลักฐานชัดเจนขนาดนั้น Herdsman อาจจะไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยก็ได้ เหมือนกับเด็กชายที่ไม่ถือว่ามีความผิดอะไรด้วยเลยแต่พลอยโดยลูกหลงไปด้วย ความหน้ามืดตามัว โกรธแค้น เกลียดชัง ณ เวลานั้น พระเจ้าของเขาก็ไม่ช่วยอะไรได้ นั่นเป็นเหตุให้เขารู้สึกสำนึกเมื่อสายไปเสียแล้ว ผมคิดว่า Tore คงคิดนะ ว่าถ้าตอนนั้นเขาไม่ฆ่า เลือกที่จะปล่อยไป อะไรมันจะเกิดขึ้นได้บ้าง มันยังมีโอกาสไหมที่ Herdsman จะสำนึก ถ้าพูดคุยกัน ไม่แน่พวกเขาอาจกลายเป็นคนดีต่อไปในอนาคตก็ได้ แต่เมื่อพวกเขาถูกฆ่า บาปตกลงมาที่มือของ Tore การตายมันช่างง่ายดาย เหมือนการหนีปัญหา ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ พวกเราโชคดีที่เกิดในยุคสมัยนี้นะครับ สมัยนั้นทำผิดอาจจะตายสถานเดียว สมัยนี้ทำผิดนอนติดคุกสบาย ไม่นานก็ออกมา การตายถือเป็นเรื่องใหญ่นะครับ หนังของ Bergman ทุกเรื่องจะวนเวียนอยู่กับประเด็นการตาย death ในหนังเรื่องนี้ออกมาในรูปของการแก้แค้น ตายเพราะความบริสุทธิ์ กับตายเพราะความชั่วร้าย

ถ่ายภาพโดย Sven Nykvist นี่เป็นหนังเรื่องแรกที่เขาได้ร่วมงานกับ Bergman ทั้งสองกลายเป็นผู้กำกับ-ตากล้องคู่บุญในเวลาต่อมา สำหรับ The Virgin Spring ความสวยงามของการถ่ายภาพคือการจัดแสง ช่วงแรกจะรู้สึกภาพสว่างมากแม้ฉากที่ถ่ายในบ้านยังดูสว่างสดใส แต่พอครึ่งหลังโทนภาพแสงจะออกหม่นๆ นอกจากนี้เรายังเห็นการถ่าย long-take ที่ให้นักแสดงสร้างสรรค์การแสดงออกมาอย่างเต็มที่ การจัดองค์ประกอบภาพ ตัวละครจะอยู่กลางเฟรมเสมอ ภาพที่ผมชอบที่สุดคือ Karen นั่งตรงกลางและมี 3 Herdsman ล้อมซ้ายขวา และภาพที่ Tore นั่งบนเก้าอี้ที่โต๊ะอาหารและมีผู้คนห้อมล้อม (ภาพนี้มันคล้ายๆ The Last Suppe)

ตัดต่อโดย Oscar Rosander เขาเป็นขาประจำของ Bergman มาตั้งแต่หนัง debut เรื่อง Crisis (1946) หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า เพราะใช้การตัดต่อนำเสนอภาพที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีรีบเร่ง ให้เวลาให้นักแสดงได้แสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาอย่างเต็มที่ก่อนจะตัดซีน เหตุผลของการให้หนังค่อยเป็นค่อยไปนั้นก็เพื่อให้เวลากับคนดูในการคิด และสะสมอารมณ์ความรู้สึกให้คุกกรุ่นไปกับตัวละคร ช่วงตั้งแต่ที่ Tore ตัดสินใจฆ่า Herdsman ทั้ง 3 หนังใช้เวลาเกือบ 10 นาที ในการเตรียมตัวทำโน่นทำนี่ ไม่ใช่ปุ๊ปปั๊ปเดินตรงเข้าไปฆ่าเลย นี่คือสิ่งที่คนดูทั่วไปมองว่าเป็นการถ่วงเวลา แต่กับนักดูหนัง นี่เป็นการเล่นกับอารมณ์ตัวละครและความรู้สึกของคนดู ที่ช่วยสะสมความอัดอั้นให้เต็มเปี่ยม ก่อนจะระเบิดออกมา เทคนิคนี้คล้ายๆกับ Dr.Strangelove เลย แต่คงไม่ถือว่าใครลอกใครนะครับ

เพลงประกอบ มีนิดหน่อย โดย Erik Nordgren หนังเรื่องนี้เพลงประกอบไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญ ระหว่างเรื่องแทบผมได้ยินเพลงดังขึ้นเลย มีแค่ช่วง Karen เริ่มออกเดินทาง เป็นเสียงเครื่องเป่า (คล้ายฟลุต/คาลิเน็ต) ที่ให้อารมณ์หวิวๆ เหมือนการลาจาก ฉากสู้กันไม่ใช้เพลงสร้างอารมณ์ จะมีอีกทีก็ตอนจบที่เป็นเหมือนเสียงสวดมนต์ หนังของ Bergman ถือว่าเพลงไม่เด่นอยู่แล้ว เขาให้ความสำคัญกับเนื้อเรื่อง การแสดงและการถ่ายภาพมากกว่า

เห็นว่าแรงบันดาลใจการสร้าง The Virgin Spring ของ Bergman มาจาก Rashomon ของ Akira Kurosawa ผมพยายามมองหาความสัมพันธ์ของหนังทั้งสองเรื่อง แต่ก็หาไม่เจอเลยนะครับ คิดว่าแรงบันดาลใจของ Bergman น่าจะมาจากแนวคิดจากความเชื่อของตัวละคร ใน Rashomon  หนังเล่นกับ Ego ของมนุษย์ คำสารภาพของแต่ละคน สะท้อนถึงความต้องการในใจของเขาเองออกมา ส่วน The Virgin Spring เล่นกับประเด็นศีลธรรม ความเชื่อ ตัวละครต้องทำอะไรบางอย่างที่เขาไม่อยากทำเพื่อทวงคืนความยุติธรรม

ฉากข่มขืน ผมไม่คิดว่ามันจะดูรุนแรงเท่าไหร่นะครับ ไม่มีภาพโป๊เปลือยแม้แต่น้อย แต่วิธีการนำเสนอทำให้เรารู้สึกว่ามันรุนแรงมากๆ จริงๆมันก็ควรรุนแรงแบบในหนังนะแหละถูกแล้ว เพราะถือว่ามันเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน รุนแรง มนุษย์ที่มีความคิดไม่ควรข่มขืนใคร มันเป็นการกระทำของสัตว์ร้าย แต่ที่ผมวิเคราะห์ให้ฟังไปด้านบน การกระทำของคนโดยสัญชาติญาณไม่ถือสิ่งที่ชั่วร้าย เราจะไปโทษหมาป่าก็ไม่ได้ เพราะมันหิว หรือโทษเด็กหญิงที่ไร้เดียงสา เธอไม่เคยเจอฝูงหมาป่าที่หิวโหยมาก่อนจะรู้ได้ยังไง การตายของเธอจึงถือเป็นธรรมชาติ

สำหรับ Virgin Spring ในบริบทของหนัง เราจะมองว่ามันเป็นปาฏิหารย์ก็ได้ เพราะมันเกิดขึ้นเมื่อ Tore พูดกับพระเจ้าถึงสิ่งที่เขาจะทำต่อไป คือการสร้างโบสถ์ มันเหมือนเป็นคำตอบจากพระเจ้าว่า “ใช่ จงทำในสิ่งที่พูดเถิด” ตอนผมเห็นฉากนี้ครั้งแรกเชื่อว่าไม่เข้าใจแน่ๆว่า Virgin Spring มันหลายถึงอะไร ดูครั้งนี้ร้องอ๋อเลย คำว่า Spring มันไม่ได้แปลว่าฤดูใบไม้ผลิอย่างเดียวนะครับ มันแปลว่า ตาน้ำ หรือบ่อน้ำพุก็ได้ ฉากตอนจบจังหวะที่ Tore อุ้ม Karen ขึ้นมา มีตาน้ำไหลมาจากบริเวณนั้นพอดี อะไรจะบังเอิญขนาดนั้น บริบทของหนังให้ตีความไปเลยว่ามันคือปาฏิหารย์ และที่เรียก Virgin เพราะเปรียบคือตัวละคร Karen เธอคือหญิงสาวบริสุทธิ์ตอนต้นเรื่อง การตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า Virgin Spring จึงเป็นการอุทิศให้แก่เธอ เป็นชื่อที่เหมาะสมอย่างยิ่งเลย

ผมแนะนำหนังเรื่องนี้กับพ่อ-แม่ คนที่มีครอบครัว มีลูกสาวควรจะหามาดูอย่างยิ่ง เพื่อตรวจสอบความคิดของตนเอง ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบในหนัง คุณจะทำอย่างไร จะเป็นแบบ Tore หรือเปล่า (แนะนำว่าอย่าเป็นนะครับ) แฟนหนังของ Bergman คอหนังยุโรปไม่ควรพลาด คนดูหนังทั่วๆไป ถ้าไม่ได้สนใจแนวคิดเป็นพิเศษก็ข้ามไปเลยนะครับ หนังแนวนี้มันไม่สนุกถ้าดูแล้วไม่คิดตาม จัดเรต 13+ ผมว่าเด็กโตหน่อยดูได้ โดยเฉพาะผู้หญิง หนังสอนแนวคิดดีเลยละ

คำโปรย : “The Virgin Spring หนัง Oscar รางวัล Best Foreign Language Film โดย Ingmar Bergman พบกับสุดยอดการแสดงของ Max von Sydow ตั้งคำถามกับความเชื่อต่อศาสนา พระเจ้า ความยุติธรรม การล้างแค้น และการชดใช้บาป คนที่ชอบดูหนังแนวคิดไม่ควรพลาด”
คุณภาพ : RARE-GENDARY 
ความชอบ : LIKE