La Pyramide humaine (1961)


The Human Pyramid (1961) French : Jean Rouch ♥♥♥♥

หลังจากหลายๆประเทศในแอฟริกาได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ หลุดพ้นจากลัทธิอาณานิคม ผู้กำกับ Jean Rouch ทำการทดลองให้กลุ่มนักเรียนคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน มาอาศัยอยู่ร่วมชั้นเรียนเดียวกัน พวกเขาจะสามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ยินยอมรับกันและกันได้หรือไม่?

การทดลองดังกล่าวของผกก. Jean Rouch ถือว่ามีความน่าสนใจอย่างมากๆ แต่วิธีการนำเสนอที่ไม่เชิงสารคดี กึ่งเรื่องแต่ง (Docu-Drama หรือ Docu-Fiction) อาจสร้างความรู้สึกขัดย้อนแย้ง (Controversial) ให้ใครหลายคน

นั่นเพราะวิธีการของผกก. Rouch เริ่มต้นอ้างว่าให้อิสระนักแสดงในการดั้นสด (Improvised) โดยไม่เข้ามายุ่งย่ามก้าวก่ายใดๆ แต่ทิศทาง มุมกล้อง องค์ประกอบต่างๆ รวมถึงลีลาตัดต่อ และพากย์เสียงภายหลัง (Post-Synchronization) มันสังเกตได้ชัดเจนว่ามีการวางแผน ปรุงแต่ง ผ่านการครุ่นคิดมาโดยละเอียด … มันฟังดูไม่ขัดย้อนแย้งกันหรอกหรือ?

I want the racists to talk like racists. For a film on robbery, I’d ask someone to steal. But even if it’s a fake theft, I’d be an accomplice, even if I’m filming.

Jean Rouch

ระหว่างรับชมผมเองก็รู้สึกอึดอัด กระอักกระอ่วน เพราะรับรู้สึกได้ว่าทุกอย่างมันเฟค จอมปลอม หลอกหลวง คือถ้าตอนต้นเรื่องผกก. Rouch ไม่ยืนกรานว่ามอบอิสรภาพให้นักแสดงในการดั้นสด ทำออกมาเป็นภาพยนตร์ ‘fictional’ แบบทั่วๆไป มันคงไม่เกิดข้อขัดแย้งดังกล่าวให้ถกเถียงจนวุ่นวายใจ

แต่อย่างไรก็ดี The Human Pyramid (1961) เป็นสารคดี/ภาพยนตร์ที่ชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดค้นหาความเป็นไปได้ถึงวิวัฒนาการ ความสัมพันธ์ระหว่างคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน ซึ่งเมื่ออคติชาติพันธุ์เลือนลางจางหาย สุดท้ายแล้วพวกเขาจะสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว เป็นอันหนึ่งเดียวกันได้หรือไม่?


Jean Rouch (1917-2004) นักมานุษยวิทยา (Anthropologist) และผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris บิดาเป็นนักสำรวจ ทหารเรือ(ในช่วง WW1) พบเจอว่าที่ภรรยาระหว่างภารกิจขั้วโลกใต้ Antarctica, สำหรับบุตรชาย โตขึ้นร่ำเรียนวิศวกรรม École nationale des ponts et chaussées (National School of Bridges and Roads) จากนั้นได้รับมอบหมายให้ไปควบคุมงานก่อสร้างถนนหนทางยังประเทศ Niger ครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่า มีแรงงานหลายสิบเสียชีวิต พบเห็นพิธีกรรมไล่ผีสาง ปัดเป่าความชั่วร้าย นั่นทำให้เขาเกิดความสนใจในชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnography)

หลังสงครามโลกครั้งที่สองเดินทางกลับฝรั่งเศส เข้าคอร์สเกี่ยวกับมานุษยวิทยา (Anthropologist) รวมถึงการถ่ายภาพยนตร์ ก่อนหวนกลับสู่ทวีปแอฟริกา ถ่ายทำสารคดีสั้นเรื่องแรกๆ Au pays des mages noirs (1947) แปลว่า In the Land of the Black Magi ได้รับการยกย่องเป็นผู้บุกเบิกวงการภาพยนตร์ “father of Nigerien cinema”

ผลงานในยุคแรกๆของผกก. Rouch เพียงการบันทึกภาพวิถีชีวิต ผู้คน สภาพสังคม ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม นำเสนอออกมาในลักษณะ Ethnographic Film อาทิ In the Land of the Black Magi (1947), Initiation into Possession Dance (1949), จากนั้นจึงเริ่มครุ่นคิดมองหาแนวคิดอะไรใหม่ๆ ทำการผสมผสานเรื่องราวปรุงแต่งสร้างขึ้น Docu+Drama พัฒนากลายมาเป็น Ethno+Fiction (ส่วนผสมของ Ethnographic+Fiction) เริ่มต้นกับ The Mad Masters (1955), Mon, un noir (1958), La pyramide humaine (1961) ฯ

ช่วงระหว่างกันยายน ค.ศ. 1958 จนถึงตุลาคม ค.ศ. 1960 มีอาณานิคมฝรั่งเศส (French Colonial) ในทวีปแอฟริกาจำนวนถึง 15 ประเทศ ได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ นั่นทำให้ผกก. Rouch เกิดความสนใจเดินทางสู่ Côte d’Ivoire (Ivory Coast) ตั้งใจจะบันทึกภาพปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนขาวกับชาวแอฟริกัน ณ โรงเรียนมัธยมปลายที่ Abidjan ก่อนค้นพบความผิดหวัง เพราะมันไม่เคยมีอะไรบังเกิดขึ้น “relations between black and white students virtually non-existent”

ด้วยเหตุนี้ผกก. Rouch จึงครุ่นคิดทำการทดลอง โดยนำเอาสองกลุ่มนักเรียนคนขาวและชาวแอฟริกันจำนวนสิบคน (ฝั่งละห้าคน) มาอาศัยอยู่ร่วมชั้นเรียนเดียวกัน ให้อิสระพวกเขาการครุ่นคิด ดั้นสด สร้างเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้น “Breaking the Ice” สารคดี/ภาพยนตร์เรื่องนี้นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของทวีปแอฟริกัน

สำหรับชื่อสารคดี La Pyramide humaine แปลตรงตัว The Human Pyramid มาจากชื่อหนังสือ Les Dessous d’une vie ou la Pyramide humaine (1926) แปลว่า An Underbelly of Life or A Human Pyramid รวบรวมบทกวีของ Paul Éluard (1895-1952) สัญชาติฝรั่งเศส หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหว Surrealism และได้รับการยกย่องย่อง “The Poet of Freedom”

As a child I opened my arms to purity. ‘Twas but a flutter in my eternal skies. A loving heart beating in a subdued chest. In love with love I could not fall. The Light blinds me yet I save enough to watch the night nightly, all nights. All virgins differ. I only dream of one. Black-smocked she sits in the class before me. When she turns to ask me for an answer her innocent eyes so confuse me that in pity she slips her arms around my neck. Then she leaves and goes aboard a ship. We’re almost strangers. So young is she her kiss does not surprise me. When she is ill I hold her hand in mine til death, til I awake. I race to meet her, fearing to arrive after other thoughts have stolen me from myself. The world nearly ended and we didn’t know our love. Slowly and caressingly she searches for my lips. That night I thought to bring her to the day. ‘Tis ever the same vow, same youth, same eyes, same arms around my neck, same caress and revelation, but never the same woman. The cards say I shall meet her but until I know her, let us love Love.


ถ่ายภาพโดย Louis Miaille, Roger Morillière และ Jean Rouch ใช้กล้องขนาดเบา Kodachrome ฟีล์ม 16mm แลปสี Eastmancolor ที่สามารถแบกขึ้นบ่า เดินไปเดินมา ‘unchained camera’ ไม่มีอุปกรณ์บันทึกเสียง เมื่อได้ฟุตเทจเพียงพอเข้าสู่กระบวนการตัดต่อ (Post-Production) ถึงให้นักแสดงพากย์เสียงทับ พร้อมกับบันทึกเสียงเพลงประกอบ (Post-Synchronization)

ถึงผกก. Rouch จะกล่าวอ้างว่าไม่ได้ครุ่นคิด สร้างเรื่องราวใดๆขึ้นมา ทั้งหมดเกิดจากการให้อิสระกลุ่มนักแสดงสมัครเล่นที่คัดเลือกมาอาศัยอยู่ร่วมกัน แต่เวลาถ่ายทำจริงนั้นกลับพบเห็นทิศทาง มุมกล้อง จัดวางองค์ประกอบภาพ (ช่วงแรกๆมีการแบ่งแยกฝั่งนักเรียนคนขาวและชาวแอฟริกันออกจากกัน แต่พอพวกเราเริ่มสานสัมพันธ์จะสลับตำแหน่งที่นั่งโดยไม่แบ่งแยกสีผิว/ชาติพันธุ์) โดยเฉพาะการโคลสอัพใบหน้าตัวละคร ล้วนมีการวางแผนเป็นเรื่องเป็นราว เป็นมืออาชีพ บทพูดสนทนาก็เฉกเช่นเดียวกัน!

คนที่มีความเข้าใจในศาสตร์สารคดี น่าจะสังเกตเห็นความผิดปกติดังกล่าวไม่ยากเย็น แต่สำหรับผู้ชมทั่วไปอาจเพลิดเพลินกับเรื่องราวจนหลงลืมว่านี่ควรเป็น ‘สารคดี’ มันจัดวางองค์ประกอบ ถ่ายมุมกล้องแบบนั้นนี้ได้อย่างไรกัน?? ลักษณะดังกล่าวมีคำเรียก Docu+Fiction หรือ Docu+Drama หรือจะ Ethno+Fiction เป็นการผสมผสานการนำเสนอสไตล์สารคดี+ปรุงแต่งสร้างเรื่องราวขึ้นใหม่ … ในปัจจุบันก็ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่ว่าสไตล์ภาพยนตร์ลักษณะนี้ควรเรียกสารคดีจริงๆนะหรือ??

สำหรับสถานที่ถ่ายทำมีทั้งกรุง Paris, France พบเห็นประตูชัย Arc de Triomphe บนถนน Champs-Elysees และโรงเรียนมัธยมปลาย Lycée Français ณ Abidjan, Côte d’Ivoire (Ivory Coast)

แซว: ผมจับจ้องภาพช็อตนี้อยู่นาน ทำไมสถานที่พื้นหลังดูมักคุ้นยิ่งนัก ก่อนพบว่าถนนเส้นนี้มีคำเรียก “Champs-Elysées-shot New Wave” เป็นบริเวณที่บรรดาผู้กำกับรุ่น French New Wave ชื่นชอบถ่ายกันจัง เหมือนจะเริ่มต้นจาก Breathless (1960) ระหว่างสุดสวย Jean Seberg กำลังขายหนังสือพิมพ์ New York Herald Tribune

ตัดต่อโดย Marie-Josèphe Yoyotte (Love in Jamaica, The 400 Blows, Testament of Orpheus, Léon Morin, Priest) และ Geneviève Bastid

ในช่วงแรกๆที่ยังมีการแบ่งแยกกลุ่มนักเรียนคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน การดำเนินเรื่องจะตัดสลับทั้งสองฟากฝั่งไปมา จนกระทั่งต่างฝ่ายต่างเริ่มเปิดใจ พูดคุย แลกเปลี่ยนกิจกรรม สานสัมพันธ์ จึงเกิดการรวมตัวผสมผสาน และเมื่ออ่านบทกวี La Pyramide humaine ครึ่งหลังนำเข้าสู่เรื่องราวความรักระหว่างชาติพันธุ์ อันจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง ใช้กำลังรุนแรง และสมมติการกระทำอัตวินิบาต

  • อารัมบท, ผกก. Rouch อธิบายการทดลองของสารคดี คัดเลือกนักเรียนสองกลุ่มมาอาศัยอยู่ร่วมกัน
  • เริ่มต้นสานสัมพันธ์
    • ช่วงแรกๆนักเรียนทั้งสองกลุ่มต่างแยกกันอยู่ ทำกิจกรรมฟากฝั่งของตนเอง ซุบซิบนินทาฟากฝั่งตรงข้าม
    • กระทั่งวันหนึ่งหลังคาบเรียน ฟากฝั่งคนขาวชักชวนเพื่อนผิวสีเข้าร่วมกิจกรรม เล่นกีตาร์ เตะฟุตบอล ซุบซิบนินทา
    • ความขัดแย้งบังเกิดขึ้นจากการที่ใครคนหนึ่งเรียกอีกฝ่ายด้วยถ้อยคำไม่สุภาพ (เกี่ยวกับคำเรียกสรรพนาม Ju, Tu) จึงมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรับความเข้าใจ
    • ฟากฝั่งชาวแอฟริกันผิวสี ชักชวนนักเรียนคนขาวเข้าร่วมงานเต้นรำยามค่ำคืน
  • เรื่องราวความรักต่างชาติพันธุ์
    • วันหนึ่งในห้องเรียน ครูให้อ่านบทกวี La Pyramide humaine
    • นั่นทำให้ใครต่อใครตกหลุมรัก Nadine
      • เพื่อนผิวสีปั่นจักรยานเล่นด้วยกัน
      • เพื่อนคนขาวพาไปปิกนิคบนเรือร้าง
      • เพื่อนผิวสีอีกคนพาล่องเรือข้ามแม่น้ำ
      • เพื่อนคนขาวนักดนตรี พาไปยังอาคารร้าง สถานที่หลบซ่อนของตนเอง
    • แม้ว่า Nadine จะเห็นทุกคนเป็นเหมือนเพื่อน แต่หนุ่มๆไม่ว่าจะสีผิวอะไรต่างบังเกิดความหึงหวง ต้องการเอาชนะ จะได้ครองคู่แต่งงาน
    • เพื่อนทั้งคนขาวและชาวแอฟริกัน ต่างพยายามพูดเตือนสติ Nadine ให้เลือกใครสักคน แต่เธอกลับไม่เอาใครสักคน
  • โศกนาฎกรรม(สมมติ)
    • ในห้องเรียน เพื่อนๆต่างถกเถียงถึงอิสรภาพ/การปฏิวัติในแอฟริกา
    • รับชมฟุตเทจภาพยนตร์ร่วมกัน
    • ผองเพื่อนทั้งหมดมาเที่ยวเล่นยังบนเรือร้าง แล้วมีเพื่อนคนหนึ่งตัดสินใจฆ่าตัวตายประชดรัก
    • เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทุกคนตกอยู่ในความหดหู่ สิ้นหวัง Nadine เลยตัดสินใจเดินทางกลับฝรั่งเศส
  • ปัจฉิมบท, จบลงด้วยคำบรรยายของผกก. Rouch

หลายคนอาจรู้สึกว่ามันเป็นความพิลึกพิลั่น เหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเป็นการทดลอง ปรุงแต่งสรรค์สร้างขึ้น แล้วไฉนยังต้องพูดบอกสมมติการกระทำอัตวินิบาต? เตือนสติผู้ชมที่อาจหลงลืมไปว่านี่สารคดี Docu-Fiction? ความตั้งใจของผกก. Rouch ดังคำบรรยายช่วงท้าย

No matter whether the story is plausible, no matter the camera or the mic, or the director or whether, a film was born or never existed. More important is what happened around the camera. Something did occor in the decors and childish, poetic loves and fake catastrophes.

Jean Rouch

ในส่วนของ Post-Production มีการบันทึกเสียงพากย์ เพลงประกอบ และเสียงประกอบ (Sound Effect) ไปพร้อมๆกันยังสตูดิโอที่กรุง Paris ด้วยข้อจำกัดของยุคสมัยนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่จะทำให้เสียงพูดตรงกับปากขยับ แต่นั่นคือความจงใจของผกก. Rouch เพื่อสร้างบรรยากาศ ‘dream-like’ ราวกับเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นในความฝัน จินตนาการล่องลอย จับต้องไม่ได้สักเท่าไหร่

สำหรับเพลงประกอบไม่มีเครดิต ก็มีทั้งการผิวปาก ร้อง-เล่นดนตรีสด (ระหว่างบันทึกเสียง) และเปิดจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง ทั้งหมดถือเป็น ‘diegetic music’ ต้องได้ยินจากแหล่งกำเนิด (ยกเว้นระหว่าง Opening & Closing Credit)


ในอดีตคนขาวก็อยู่ส่วนคนขาว คนดำก็อยู่ส่วนคนดำ ความแตกต่างทางสีผิวทำให้เกิดการแบ่งแยก ความขัดแย้ง หวาดกลัวการมีปฏิสัมพันธ์ พวกคนขาวที่มีความเฉลียวฉลาด/เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จึงใช้วิธียึดครอบครอง ออกล่าอาณานิคม (Colonialism) สร้างสถานะนาย-บ่าว ข้าทาส คนรับใช้ ยกยอปอปั้นตนเองว่ามีความยิ่งใหญ่ สูงส่ง และปลูกฝังทัศนคติดังกล่าวสืบทอดส่งต่อลูกหลานเหลนโหลน ให้ดูถูกเหยียดหยามบุคคลชนชั้นต่ำต้อยด้อยค่ากว่าตน

สงครามโลกครั้งที่สองถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ที่ทำให้ความเจริญแพร่กระจายสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วโลก เมืองขยับขยาย คนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาระดับสูง ทำให้แนวคิดอาณานิคม (Colonialism) ค่อยๆเสื่อมถดถอย จนกระทั่งถูกล้มล้าง หลายๆประเทศสามารถปลดแอก ประกาศอิสรภาพ ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยแห่งความเสมอภาคเท่าเทียม

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแม้บังเกิดขึ้นแล้วในหลายๆประเทศ แต่อคติต่อชาติพันธุ์ ความทรงจำต่อลัทธิอาณานิคม ยังคงฝังรากลึกอยู่ในจิตใจ คนขาว-คนดำจึงยังคงแยกกันอยู่ ไม่ต้องสุงสิง คบค้าสมาคม ปรับตัวเข้าหาได้โดยทันที!

แม้เหตุการณ์ทั้งหมดในสารคดีเรื่องนี้จะเป็นการปรุงแต่ง สร้างขึ้นมา แต่ความตั้งใจของผกก. Rouch ต้องการให้เป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างคนขาวและชาวแอฟริกัน ทำการทดลองให้นักเรียนสองชาติพันธุ์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน จากเคยเหินห่าง หมางเมิง พอเริ่มเปิดใจกว้าง มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็น ย่อมสามารถยินยอมรับ ปรับตัว กลายเป็นเพื่อนสนิทสนม หลงลืมความขัดแย้งของบรรพบุรุษที่เคยสะสมมา

และที่สุดของวิวัฒนาการความสัมพันธ์ คือรักไร้พรมแดน ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างสีผิว เชื้อชาติ นั่นคือคนขาวตกหลุมรักสาวผิวสี …vice versa… ชาวแอฟริกันตกหลุมรักหนุ่มฝรั่งเศส อะไรก็สามารถบังเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น!

แม้ท้ายที่สุดอคติระหว่างชาติพันธุ์จะหมดสูญสิ้นไป เรื่องราวรักๆใคร่ๆของคนสอง-สาม-สี่ ย่อมสร้างความอิจฉาริษยา กลับนำไปสู่ความขัดแย้ง ใช้กำลังรุนแรง และอาจถึงขั้นโศกนาฎกรรม … หลายคนอาจมองว่าไคลน์แม็กซ์หลุดประเด็นไปไกล แต่เหตุการณ์ลักษณะนี้บังเกิดขึ้นได้เมื่อวิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ ดำเนินไปถึงจุดที่ไม่มีใครคำนึงถึงสีผิวของกันและกัน นั่นถือเป็นอุดมคติของความเสมอภาคเท่าเทียม

For those ten people, racism no longer means anything. The movie end but the story is not over.

Jean Rouch

ชื่อสารคดี The Human Pyramid อาจฟังดูสับสน ขัดย้อนแย้ง เพราะลักษณะของพีระมิดมักใช้ในการแบ่งแยกสถานะ ชนชั้น คล้ายๆห่วงโซ่อาหาร ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างคนขาวกับชาวแอฟริกันในยุคอาณานิคม (คนขาวอยู่เบื้องบน คนดำอยู่เบื้องล่าง) ไม่ได้มีความสอดคล้องเข้ากับวัตถุประสงค์ผู้สร้าง

แต่เท่าที่ลองพยายามสอบถาม AI มองว่า ‘Human Pyramid’ คือสัญลักษณ์ความสมัครสมาน สามัคคี เพราะบุคคลที่เป็นฐานเบื้องล่างต้องมีความแข็งแกร่ง เสียสละตนเองเพื่อให้พวกพ้องสามารถปีนป่าย ต่อตัวให้กลายเป็นรูปทรงพีระมิดที่มีความงดงาม … ตีความแบบนี้ก็พอฟังขึ้นระดับหนึ่ง สอดคล้องเข้ากับความพยายามทำให้นักเรียนคนขาวและชาวแอฟริกันบังเกิดมิตรภาพต่อกัน แต่ผมยังรู้สึกว่าเป็นชื่อที่ไม่ค่อยเหมาะสมสักเท่าไหร่


แม้สารคดีจะได้เสียงตอบรับอย่างดีในฝรั่งเศส (เป็นหนึ่งในหนังเรื่องโปรดของผกก. Éric Rohmer) แต่กลับถูกทางการสั่งห้ามนำออกฉายในแทบทุก(อดีต)ประเทศอาณานิคมแอฟริกันที่พูดภาษาฝรั่งเศส (มีคำเรียก Francophone Africa) เพราะหวาดกลัวความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชาติพันธุ์ (Miscegenation) จะลุกลาม บานปลาย นั่นทำให้ความตั้งใจของผกก. Rouch แทบสูญสลาย

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 2K เมื่อปี ค.ศ. 2017 โดย Centre National du Cinema และ Les Films de la Pleidade สามารถหาซื้อ DVD (ไม่มี Blu-Ray) คอลเลคชั่น Eight Films by Jean Rouch ของค่าย Icarus Films ประกอบด้วย

  • Mammy Water (1955)
  • The Mad Masters (1956)
  • I, a Negro (1958)
  • The Human Pyramid (1961)
  • The Punishment (1962
  • The Lion Hunters (1965)
  • Jaguar (1967)
  • Little by Little (1969)

แม้ผลงานของผกก. Rouch จะมีความน่าสนใจอย่างมากๆ แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความขัดแย้ง ครุ่นคิดเห็นต่างให้กับผู้ชมไม่น้อย, ผมเองก็เฉกเช่นเดียวกัน อยากจะชื่นชอบ แต่วิธีการนำเสนอสร้างความอึดอัด กระอักกระอ่วน เอาว่าชอบครึ่ง-ไม่ชอบครึ่ง มันช่างสมกับความกึ่งสารคดี กึ่งเรื่องแต่ง (Docu-Drama หรือ Docu-Fiction)

สำหรับคนที่ยังรู้สึกอคติต่อสารคดีเรื่องนี้ ไม่ชื่นชอบวิธีการนำเสนอ แนะนำให้ลองหา Chronique d’un été (1961) แปลว่า Chronicle of a Summer ผลงานชิ้นเอกของผกก. Rouch (ร่วมกำกับ Edgar Morin) ก็อาจสามารถทำความเข้าใจอะไรๆเพิ่มขึ้นได้อีกพอสมควร

จัดเรต 13+ กับเรื่องราวรักๆใคร่ๆ ฆ่าตัวตายเพราะรัก

คำโปรย | The Human Pyramid กึ่งสารคดี กึ่งเรื่องแต่ง (Docu-Fiction) นำเสนอวิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างคนขาว-ชาวแอฟริกัน ที่แม้เส้นแบ่งชาติพันธุ์เจือจางลง แต่ยังคงมีบางสิ่งทำให้มนุษย์เกิดความขัดแย้ง แยกจากกัน 
คุณภาพ | พีมิ
ส่วนตัว | ชอบครึ่งไม่ชอบครึ่ง

Urga – territoriya lyobvi (1991)


Close to Eden (1991) USSR, French : Nikita Mikhalkov ♥♥♥♡

ถ่ายทำยังท้องทุ่งกว้าง พื้นที่ราบในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (Inner Mongolia) ช่างมีความงดงาม ราวกับสรวงสวรรค์ (Close to Eden) ดินแดนแห่งอิสรภาพที่กำลังเลือนลาง ถูกคุกคามโดยสังคมเมืองใหญ่, คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice

ชื่อหนังภาษาอังกฤษ Close to Eden เป็นการแปลที่ไม่ค่อยตรงสักเท่าไหร่ У́рга — территория любви อ่านว่า Urga — territoriya lyobvi แปลว่า Urga — Territory of Love, ซึ่งความหมายของ Urga นอกจากเป็นชื่อเดิมของ Ulaanbaatar เมืองหลวงประเทศ Mongolia, ยังคือท่อนไม้ยาวๆที่มีบ่วงบาศตรงปลาย สำหรับคล้องม้า จับสัตว์ รวมถึงผูกมัดสตรี/ภรรยา ปักเอาไว้กลางทุ่งเพื่อประกาศอาณาเขต ไม่ให้ใครอื่นมาเข้าใกล้ เพราะฉันกำลังพรอดรัก ร่วมเพศสัมพันธ์ … ถึงสรวงสวรรค์เหมือนกันกระมัง!

ตอนผมเห็นรายละเอียดคร่าวๆของ Close to Eden (1991) ถ่ายทำยังพื้นที่ราบ Inner Mongolia (ไม่ใช่ประเทศมองโกเลียนะครับ คือเขตปกครองตนเองของสาธารณรัฐประชาชนจีน) ก็แอบคาดหวังว่าคงละม้ายคล้าย The Horse Thief (1986) ครึ่งแรกต้องชมเลยว่าทิวทัศนธรรมชาติมีความงดงาม สร้างความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ล่องลอยสู่สรวงสวรรค์ ไฮไลท์คือความสัมพันธ์ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา แม้จีน-รัสเซียสื่อสารไม่เข้าใจ แต่สามารถสัมผัสได้ด้วยจิตวิญญาณ

น่าเสียดายที่ครึ่งหลัง ผกก. Mikhalkov ดันทำเรื่องง่ายให้กลายเป็นเรื่องยาก ใส่ความติสต์แตกของตนเอง เพื่อรำพันสถานการณ์ไม่สงบในสหภาพโซเวียต (ที่ใกล้ถึงวันล่มสลาย ค.ศ. 1991), วิพากย์วิจารณ์นโยบายลูกคนเดียวของสาธารณรัฐประชาชนจีน, รวมถึงพยายามเลือนลางระหว่างสรวงสวรรค์กับโลกความจริง (พบเห็นภาพในจอโทรทัศน์ ซ้อนทับโลกความจริง), นอกจากรางวัลสิงโตทองคำ ยังได้เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film ไปถึงห้าเรื่องสุดท้าย!


Nikita Sergeyevich Mikhalkov, Никита Сергеевич Михалков (เกิดปี 1945) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Moscow ในตระกูลผู้ดีเก่า Mikhalkov family, ปู่ทวดเคยปกครองแคว้น Yaroslavl, บิดา Sergey Mikhalkov เป็นนักเขียนวรรณกรรมเด็ก และประพันธ์เนื้อเพลงชาติรัสเซียที่ใช้ในปัจจุบัน, ส่วนพี่ชาย Andrei Konchalovsky คือนักเขียน/ผู้กำกับชื่อดัง (เพื่อนร่วมรุ่น Andrei Tarkovsky ช่วยกันพัฒนาบท Ivan’s Childhood (1962) และ Andrei Rublev (1966))

ตั้งแต่เด็ก Mikhalkov เข้าโรงเรียนการแสดง Moscow Art Theatre ต่อด้วย Shchukin School ของโรงละคอน Vakhtangov Theatre ระหว่างนั้นมีโอกาสแสดงภาพยนตร์ Walking the Streets of Moscow (1964), โตขึ้นเข้าศึกษาต่อ All-Union State Institute of Cinematography (VGIK) ร่ำเรียนการกำกับจาก Mikhail Romm, สรรค์สร้างหนังสั้นนักศึกษา ภาพยนตร์เรื่องแรก At Home Among Strangers (1974), เริ่มมีชื่อเสียงตั้งแต่ A Slave of Love (1976), An Unfinished Piece for Mechanical Piano (1977), โด่งดังระดับนานาชาติกับ Dark Eyes (1987), Close to Eden (1991), Burnt by the Sun (1994), The Barber of Siberia (1998), 12 (2007) ฯ

ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 80s สถานการณ์การเมืองในสหภาพโซเวียตกำลังมีความโกลาหล ใกล้ถึงจุดล่มสลาย ผกก. Mikhalkov จึงเริ่มมองช่องทางออกของตนเองตั้งแต่ Dark Eyes (1987) ร่วมทุนสร้าง Italian & Soviet เพื่อหลบหลีกหนีความวุ่นๆวายๆที่กำลังจะบังเกิดขึ้น

It not only avoids the complicated and chaotic situation in the country, but also uses the movie to accomplish another heavy contemplation about the nation and history.

Nikita Mikhalkov

เมื่อปี ค.ศ. 1987 ตัดสินใจก่อตั้งสตูดิโอโปรดักชั่นของตนเอง Студия ТриТэ, Studio Trite (แปลว่า Three T ในภาษารัสเซีย Товарищество, Творчество, Труд ประกอบด้วย Companionship, Creation, Labour) สำหรับระดุมทุนนานาชาติ สรรค์สร้างโปรเจคใหม่ๆ โดยไม่ต้องยุ่งวุ่นวาย เฝ้ารอคอยทางการรัสเซียคอยสนับสนุนงบประมาณให้

ความสำเร็จของ Dark Eyes (1987) ทำให้ผกก. Mikhalkov สามารถนำเสนอโปรเจคถ่ายทำยังพื้นที่ราบ Hulunbuir Prairie, Inner Mongolia (ติดชายแดนรัสเซีย-มองโกเลีย) รวบรวมทุนสร้างจากสตูดิโอ Camera One, Hachette Première, UGC Images, Arion Productions รวมถึงกระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส (Ministère de la Culture et de la Communication) และสถาบัน Centre national du cinéma et de l’image animée (CNC)

สำหรับบทภาพยนตร์ผกก. Mikhalkov ร่วมพัฒนากับ Rustam Ibragimbekov (1939-2022) นักเขียนชาว Azerbaijani เห็นว่าได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งจากวรรณกรรมซีรีย์สำหรับเด็ก The Black Stallion (1941) ของ Walter Farley (1915-89) นักเขียนชาวอเมริกัน (เรื่องเล่าเกี่ยวกับม้าที่เหมาะสำหรับเด็ก)

เกร็ด: หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ผกก. Mikhalkov ยังได้ร่วมงานกับนักเขียน Rustam Ibragimbekov อีกสองครั้ง Burnt by the Sun (1994) และ The Barber of Siberia (1998)


Gombo คนเลี้ยงแกะอาศัยอยู่ยังพื้นที่ราบ/ทุ่งหญ้า Inner Mongolia มีความระริกระรี้ อยากร่วมเพศสัมพันธ์กับภรรยา Pagma แต่เธอกลับต่อต้านขัดขืน เรียกร้องขอให้สามีไปซื้อถุงยางอนามัย ไม่รู้หรือไรประเทศจีนมีการประกาศนโยบายลูกคนเดียว (ขณะนั้นพวกเขามีบุตรกันแล้วสามคน!)

ระหว่างนั้นคนขับรถบรรทุกชาวรัสเซีย Sergei กำลึงง่วงหงาวหาวนอน โดยไม่รู้ตัวเกือบขับรถตกแม่น้ำ ตะโกนโหวกเหวกขอความช่วยเหลือ พอดิบดี Gombo อาศัยอยู่ละแวกนั้น เลยชักชวนมาพักค้างแรมยังกระโจมชั่วคราว (มีคำเรียก Yurt หรือ Ger) รับประอาหารเย็น ดื่มด่ำเมามาย วันถัดมาจึงอาสาขับรถพาเข้าเมือง แต่ก็ยังสองจิตสองใจ จะซื้อถุงยางอนามัยดีหรือไม่?


ในส่วนของนักแสดง หลายคนอาจครุ่นคิดว่า Gombo และ Pagma คือสามี-ภรรยาชาวจีน/มองโกเลียใน ที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบ Inner Mongolia น่าจะไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการแสดง แต่แท้จริงแล้วทั้งคู่ต่างเป็นนักแสดงอาชีพ เลยไม่มีความกระอักกระอ่วน เก้ๆกังๆต่อหน้ากล้อง เข้าถึงบทบาทตัวละครได้อย่างเป็นธรรมชาติ (พวกเขาไม่ได้เป็นสามี-ภรรยากันนะครับ)

  • Gombo รับบทโดย Bayaertu ผมหาข้อมูลได้แค่เป็นนักแสดงละคอนเวที
  • Pagma รับบทโดย Badema เป็นนักร้อง/นักแสดง มาจากครอบครัวศิลปิน/นักร้อง Traditional Mongolian Folk Song, สำเร็จการศึกษาจาก Central Conservatory of Music (ที่ Beijing) ก่อนหน้านี้เคยแสดงนำภาพยนตร์ Joan of Arc of Mongolia (1988), และหลังจากนี้ Norjmaa (2013) คว้ารางวัล Golden Rooster Award: Best Actress

สำหรับนักแสดงรัสเซีย Vladimir Vasilyevich Gostyukhin, Влади́мир Васи́льевич Гостю́хин (เกิดปี 1946) เกิดที่ Sverdlovsk, Sverdlovsk Oblast โตขึ้นเรียนจบเทคนิค ทำงานวิศวกรช่างไฟ ก่อนค้นพบความสนใจด้านภาพยนตร์ มุ่งสู่ Moscow เข้าศึกษา Russian State Institute of Performing Arts (GITIS) หลังกลับจากเกณฑ์ทหาร กลายเป็นนักแสดงละคอนเวที มีผลงานภาพยนตร์ อาทิ The Ascent (1977), Close to Eden (1991) ฯ

รับบท Sergei คนขับรถบรรทุก สำหรับบุกเบิกเส้นทางถนนยัง Inner Mongolia เกิดอาการหลับใน จนเกือบพลัดตกแม่น้ำ ได้รับความช่วยเหลือจาก Gombo แม้พูดคุยสื่อสารไม่ค่อยจะรู้เรื่อง แต่บังเกิดมิตรภาพผองเพื่อน อาสาขับรถพาเข้าเมือง ค่ำคืนนั้นดื่มด่ำเมามาย ระบายความอึดอัดอั้นถึงชีวิตครอบครัว โหยหาอิสรภาพแบบชาวเพื่อนรักชาวมองโกเลียใน

การแสดงของ Gostyukhin อาจดูลุกรี้ร้อนรน สติสตางค์ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เอาแต่พูดพร่ำเพ้อไม่เคยหยุดหย่อน (แม้สื่อสารไม่รู้เรื่องก็ตามเถอะ) อาจสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ แต่หนังพยายามแสดงให้เห็นความแตกต่างกับ Gombo & Pagma ที่ดูสงบเสงี่ยม พูดน้อย เน้นแสดงออกภาษากาย เพียงมองตาก็สามารถรับรู้ความต้องการอีกฝ่าย … สะท้อนถึงชีวิตที่สงบสุข vs. วุ่นๆวายๆ

แน่นอนว่าตัวละคร Sergei ย่อมสะท้อนถึงผกก. Mikhalkov ชาวรัสเซียเดินทางมายังต่างที่ต่างถิ่น ทีแรกก็เต็มไปด้วยอคติ รับไม่ได้กับวิถีชีวิต ไม่สามารถพูดคุยสื่อสาร แต่โดยไม่รู้ตัวพวกเขากลับสามารถเข้าใจกันและกัน เหมือนได้รับการปลดปล่อย ผ่อนคลายจากความวุ่นๆวายๆ … ฉากขึ้นร้องเพลงบนเวที (แล้วถูกจับกุม) นั่นสะท้อนความรักชาตินิยมของผกก. Mikhalkov ได้อย่างชัดเจน!


ถ่ายภาพโดย Vilen Aleksandrovich Kalyuta, Вілен Олександрович Калюта (1930-99) ตากล้องชาว Ukrainian เกิดที่ Huliaipole, Zaporizhzhia Oblast (ปัจจุบันคือประเทศ Ukraine) ฝึกฝนการถ่ายภาพจาก Dovzhenko Film Studios มีผลงานขาประจำ Studio Trite (Russia) และ Camera One (France) อาทิ Close to Eden (1991), Burnt by the Sun (1994) ฯ

สถานที่สวยๆทำให้การถ่ายภาพมีชัยไปกว่าครึ่ง! พื้นที่ราบ Hulunbuir Prairie, Inner Mongolia เป็นดินแดนที่มีความกว้างใหญ่ไพศาล ท้องทุ่งหญ้าสุดลูกหูลูกตา ทิวเขาลิบๆ เมฆหมอกเต็มท้องฟ้า ทำให้ผู้ชมรู้สึกผ่อนคลาย เบาสบาย ราวกับจิตวิญญาณได้รับการปลดปล่อยสู่อิสรภาพ, ผิดแผกแตกต่างจากครึ่งหลังเมื่อเข้าไปถ่ายทำในเมืองใหญ่ เต็มไปด้วยแสงสีสัน ความว้าวุ่นวาย ผู้คนมากมาย เหม่อมองไปทางไหนพบเห็นตึกรามบ้านช่อง กฎกรอบห้อมล้อมรอบ ไม่ต่างจากการถูกควบคุมขัง

จากนั้นพอเข้าสู่องก์สามของหนัง ความติสต์แตกของผกก. Mikhalkov คือพยายามซ้อนทับระหว่างอดีต-ปัจจุบัน ความจริง-เพ้อฝัน (หลังฝันถึงเจงกีสข่าน) พบเห็นภาพในจอโทรทัศน์ ซ้อนทับโลกความจริง! นั่นอาจสร้างความสับสน มึนงงให้กับผู้ชมทั่วไป แต่ถ้าสามารถขบครุ่นคิดตามได้ ก็อาจเข้าใจคำพยากรณ์อนาคต จุดจบของสรวงสวรรค์อยู่อีกไม่ไกล


โปสเตอร์ภาพยนตร์ Cobra (1986) นำแสดงโดย Sylvester Stallone, ผมเคยรับชมเมื่อนานมากๆแล้ว เน้นเอามันส์อย่างเดียว จดจำเนื้อเรื่องไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ แต่ก็พยายามหาอ่านเรื่องย่อเพื่อมองหาสัมพันธ์ แล้วพบว่ากลุ่มก่อการร้ายที่มือปราบกระดูกเหล็กต้องเผชิญหน้ามีชื่อว่า “New World” น่าจะพอเชื่อมโยงกับหนังเรื่องนี้ได้อยู่กระมัง

แทนที่เด็กหญิงจะฝึกฝนเครื่องดนตรีพื้นบ้านมองโกเลียใน เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น กลับไปฝึกฝนแอคคอร์เดียนที่เป็นเครื่องดนตรีประจำชาติฝรั่งเศส! นี่แฝงนัยยะถึงการค่อยๆถูกแทรกซึม กลืนกิน วัฒนธรรมท้องถิ่นกำลังใกล้สูญหาย คนรุ่นใหม่ไม่เห็นคุณค่าความสำคัญของประวัติศาสตร์

ถ้าไม่เพราะผมเพิ่งรับชม Burnt by the Sun (1994) ก็คงไม่สามารถจดจำผกก. Mikhalkov แอบมาปรากฎตัว (Cameo) ปั่นจักรยานตัดหน้ากล้อง (สวมเสื้อสีเขียว)

ระหว่างที่อยู่ในเมือง Gombo เตร็ดเตร่เร่ร่อนอยู๋ในเมืองใหญ่ เดินไปเดินมาถึงสวนสนุก จ่ายเงินขึ้นนั่งเครื่องบินเด็กเล่น นี่ไม่ได้สื่อถึงชีวิตอันโลดโผน หรือเคว้งคว้างล่องลอยอย่างไร้แก่นสาร แต่นัยยะคล้ายๆการไต่รถถังของ The 400 Blows (1959) สะท้อนชีวิตชาวเมืองที่เวียนวนไปวนมา เหมือนได้รับอิสรภาพโบยบิน แต่กลับถูกยึดเหนื่ยวรั้งด้วยบางสิ่งอย่าง

ข้อดีของโทรทัศน์/สื่อสารมวลชน ทำให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร แม้จากสถานที่ทุรกันดารห่างไกล แต่ขณะเดียวกันมันก็ค่อยๆบ่อนทำลายอัตลักษณ์ สูญเสียวัฒนธรรม ผู้ชมได้รับอิทธิพลจากสิ่งต่างๆพบเห็น ค่อยถูกชวนเชื่อ ล้างสมอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แล้วสักวันในอนาคต สิ่งเคยพบเห็นในชีวิตจริง ก็จักหลงเหลือเพียงภาพ(ยนตร์) ประวัติศาสตร์ ฉายผ่านจอตู้สี่เหลี่ยม … รวมถึงเรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

ภาพสุดท้ายของหนังเป็นสิ่งที่น่าหวาดสะพรึงกลัวยิ่งนัก! จากทุ่งหญ้าเคยเขียวขจี มีท่อนไม้ Urga ปักอยู่กลางท้องทุ่ง เปลี่ยนแปลงสภาพกลายเป็นปล่องควันโรงงานอุตสาหกรรม ผืนดินแปรสภาพลูกรัง นั่นคือภาพสะท้อนอนาคต (หรือปัจจุบันนั้น-นี้) อิทธิพลโลกภายนอกทำให้ชนพื้นเมือง Inner Mongolia สูญเสียวิถีชีวิต ถูกกลืนกินวัฒนธรรม ไม่หลงเหลือภาพสรวงสวรรค์อีกต่อไป

ตัดต่อโดย Joëlle Hache, เรื่องราวของหนังเวียนวนอยู่กับสามตัวละคร Gombo, Pagma และชายชาวรัสเซีย Sergei ครึ่งแรกดำเนินเรื่องอยู่ยังพื้นที่ราบ Hulunbuir Prairie, Inner Mongolia ส่วนครึ่งหลัง Sergei ขับรถพา Gombo เดินทางเข้าไปในเมืองใหญ่ จากนั้นจะร้อยเรียงภาพของทั้งสาม ทำสิ่งแตกต่างกันไป

  • พื้นที่ราบ Hulunbuir Prairie, Inner Mongolia
    • Gombo พยายามใช้ Urga คล้องภรรยาเพื่อร่วมเพศสัมพันธ์ แต่เธอกลับต่อต้านขัดขืน เพราะไม่ต้องการทำผิดกฎหมายจากนโยบายลูกคนเดียว
    • การมาถึงของคนขับรถบรรทุก Sergei ในสภาพง่วงหงาวหาวนอน ครึ่งหลับครึ่งตื่น เกือบจะไม่ฟื้น อีกนิดเกือบพุ่งลงแม่น้ำ
    • Gombo ได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของ Sergei แต่ตอนนี้เย็นแล้วจึงชักชวนมายังกระโจมบ้านพัก
    • ฆ่าแกะทำอาหารเย็น ดื่มสุราเมามาย ค่ำคืนนี้นอนหลับฝันดี
    • เช้าวันถัดมา Pagma พยายามโน้มน้าวให้ Gombo ซื้อโทรทัศน์และถุงยางอนามัย
  • เดินทางสู่เมืองใหญ่
    • Sergei อาสาพา Gombo เดินทางเข้าเมืองใหญ่
      • Gombo แวะเวียนเข้าร้านขายยา แต่ก็สองจิตสองใจ ไม่อยากซื้อถุงยางอนามัย จากนั้นล่องลอยเรื่อยเปื่อยในเมืองใหญ่ ซื้อของฝาก ขึ้นเครื่องบินสวนสนุก
      • ขณะที่ Sergei หวนกลับหาภรรยา ร่วมเพศสัมพันธ์
      • ตัดกลับมา Pagma และลูกๆ เฝ้ารอคอยการกลับมาของสามีอย่างใจจดใจจ่อ
    • ค่ำคืนนั้น Sergei ชักชวน Gombo มาดื่มด่ำในผับบาร์ พอมึนเมามายขึ้นร้องเพลงบนเวที ถูกตำรวจจับกุม
    • Gombo ขอความช่วยเหลือจากพี่ชายของภรรยา จนสามารถลากพา Sergei กลับออกมา
  • ระหว่างทางกลับบ้าน
    • เช้าวันถัดมา Gombo จึงซื้อสิ่งข้าวของฝาก แล้วออกเดินทางกลับบ้าน
    • ระหว่างทางกลับบ้าน Gombo แวะเวียนยังวัดแห่งหนึ่ง เหมือนต้องการอธิษฐานขอพรอะไรสักอย่าง
    • ช่วงพักทานอาหาร เหมือนจะนอนหลับฝันกลางวัน พบเห็นภรรยาควบขี่ม้ามากับเจงกิสข่าน
    • พอกลับมาถึงบ้าน ติดตั้งเสาสัญญาณ พบเห็นภาพในโทรทัศน์ซ้อนทับเหตุการณ์จริง
    • Sergei หวนกลับมาเยี่ยมเยียน เสียงบรรยายของบุตรชายกล่าวถึงอนาคต

ช่วงแรกของหนังดำเนินไปอย่างเรื่อยเปื่อย เอื่อยเฉื่อย ไม่เร่งรีบร้อน เพื่อให้ผู้ชมสามารถซึมซับความงดงามทิวทัศน์ท้องทุ่ง/พื้นที่ราบกว้างใหญ่ แต่พอเข้าสู่องก์สองและสาม การตัดต่อจะเริ่มมีความเร่งรีบ สลับมุมมองชวนให้สับสน ชีวิตเต็มไปด้วยความวุ่นๆวายๆ ซึ่งสะท้อนวิถีสังคมเมือง และทิศทางอนาคตที่ชนบทกำลังจะถูกกลืนกิน หมดสูญสิ้น


เพลงประกอบโดย Eduard Nikolayevich Artemyev, Эдуа́рд Никола́евич Арте́мьев (1937-2022) นักแต่งเพลง สัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Novosibirsk, สำเร็จการศึกษาจาก Moscow Conservatory เป็นลูกศิษย์ของ Yuri Shaporin, มีความสนใจในดนตรีไฟฟ้า (Electronic) และเครื่องสังเคราะห์ (Synthesizer) ออกอัลบัม ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ ขาประจำผู้กำกับ Andrei Tarkovsky, Andrei Konchalovsky และ Nikita Mikhalkov. อาทิ Solaris (1972), A Slave of Love (1976), An Unfinished Piece for Mechanical Piano (1977), Stalker (1979), Siberiade (1979), Close to Eden (1991), Burnt by the Sun (1994), The Barber of Siberia (1998), 12 (2007), The Postman’s White Nights (2014) ฯ

ผมแอบคาดหวังไว้พอสมควรว่าจะได้ยินบทเพลงพื้นบ้านมองโกเลียใน (Traditional Mongolian Folk Song) แต่ส่วนใหญ่กลับกลายเป็นเสียงขลุ่ย (Flute) มีความล่องลอยโหยหวน พัดพาจิตวิญญาณให้ล่องลอยไป พร้อมภาพทิวทัศน์กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ผสมผสานคลุกเคล้าเครื่องดนตรีไฟฟ้า/สังเคราะห์เสียง (สไตล์ถัดของ Artemyev) เพื่อสื่อถึงการแทรกซึม แทรกแซม อนาคตทุกสิ่งอย่างจะเลือนลางเข้าหากัน

ด้วยความที่นักแสดงนำหญิง Badema ในชีวิตจริงยังเป็นนักร้องเพลงพื้นบ้าน จึงมีหลายบทเพลงที่เธอทั้งแต่งและขับร้อง ถึงฟังความหมายไม่ออก แต่ผู้ฟังย่อมสามารถสัมผัสถึงจิตวิญญาณ บางสิ่งอย่างจากท่วงทำเพลง

Amtataig idsen chi, Garandaa shingeehgue
(Even if its delicious, it doesn’t soak into your hand/mouth)
Altin edend chi, Altan biend naaldahgue
(Even if its gold, it doesn’t stick on your body)
Amtataig idsen chi, Garandaa shingeehgue
(Even if its delicious, it doesn’t soak into your hand/mouth)
Hairtai chi mini alas yavad ireh shinjgue
(And my lovely dear whose gone far away, seems won’t come back)
Huils haa baivak suuder tendee shuu
(Where huils?.. there is shadow)
Hairtai nuhur mini haa baival setgel tendee shuu
(Where my lovely husband there is my heart/soul)

บทเพลงไพเราะสุดของหนังคือ Urga Love เริ่มต้นด้วยเสียงเป่าขลุ่ย มีความพริ้วไหว ราวกับจิตวิญญาณล่องลอยไป ก่อนค่อยๆแปรสภาพกลายเป็นเครื่องสังเคราะห์เสียง/ดนตรีไฟฟ้า บรรเลงท่วงทำนองเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการ ปัจจุบัน-อนาคต โลกกำลังปรับเปลี่ยนแปลง แต่เรื่องราวความรักไม่ว่ายุคสมัยนั้นก็ยังคงเดิมตลอดกาลนาน

บทเพลงของ Artemyev มักได้ยินในรูปแบบ Soundtrack (Non-Diegetic) คลอประกอบพื้นหลัง พร้อมๆภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ ท้องทุ่งกว้างใหญ่, แต่ก็ยังมีบทเพลงอื่นๆดังจากแหล่งกำเนิดเสียง (Diegetic Music) วิทยุ/โทรทัศน์, แสดงดนตรีสด/ขับร้องเพลงในผับบาร์, เดี่ยวเปียโน (Chopin: Nocturne Op.9 No.2), เดี่ยวแอคคอร์เดียน ฯ

สำหรับบทเพลงที่บุตรสาวโชว์เดี่ยวแอคคอร์เดียนหลังรับประทานอาหารเย็นชื่อว่า España cañí (แปลว่า Gypsy Spain) หรือ Spanish Gypsy Dance แต่งโดย Pascual Marquina Narro (1873–1948)

และบทเพลงที่อยู่บนแผ่นหลังของ Sergei ก็คือ On the Hills of Manchuria (1906) ชื่อเต็มๆ The Mokshansky Regiment on the Hills of Manchuria ท่วงทำนอง Waltz ประพันธ์โดย Ilya Alekseevich Shatrov (1879/85-1952) นักแต่งเพลงประจำกองทัพรัสเซีย ครุ่นคิดเขียนขึ้นจากประสบการณ์ Battle of Mukden (1905) ระหว่าง Russo-Japanese War (1904-05) อุทิศให้เพื่อนสนิทคนหนึ่งที่เสียชีวิตจากไป

On the Hills of Manchuria เรียกได้ว่า ‘เพลงชาติ’ ประจำกองทัพรัสเซีย สำหรับปลุกใจทหารหาญ ให้พร้อมเสียสละชีพเพื่อชาติ ซึ่งการเลือกใช้บทเพลงนี้แสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์รักชาตินิยม (Nationalism) ของผกก. Mikhalkov ไม่มีวันสั่นคลอน แม้สถานการณ์การเมืองในประเทศจะย่ำแย่ลงสักเพียงใด

คำร้องรัสเซียคำอ่านรัสเซียคำแปลอังกฤษ
Тихо вокруг, сопки покрыты мглой,
Вот из-за туч блеснула луна,
Могилы хранят покой.
Белеют кресты – это герои спят.
Прошлого тени кружат давно,
О жертвах боёв твердят.

Плачет, плачет мать родная,
Плачет молодая жена,
Плачут все, как один человек,
Злой рок и судьбу кляня!

Тихо вокруг, ветер туман унёс,
На сопках маньчжурских воины спят
И русских не слышат слёз.
Пусть гаолян вам навевает сны,
Спите герои русской земли,
Отчизны родной сыны.

Плачет, плачет мать родная,
Плачет молодая жена,
Плачут все, как один человек,
Злой рок и судьбу кляня!

Вы пали за Русь, погибли вы за Отчизну,
Поверьте, мы за вас отомстим
И справим кровавую тризну!
Tiho vokrug, sopki pokryty mgloj,
Vot iz-za tuč blesnula luna,
Mogily hranjat pokoj.
Belejut kresty – èto geroi spjat.
Prošlogo teni kružat davno,
O žertvah boëv tverdjat.

Plačet, plačet matʹ rodnaja,
Plačet molodaja žena,
Plačut vse, kak odin čelovek,
Zloj rok i sudʹbu kljanja!

Tiho vokrug, veter tuman unës,
Na sopkah manʹčžurskih voiny spjat
I russkih ne slyšat slëz.
Pustʹ gaoljan vam navevaet sny,
Spite geroi russkoj zemli,
Otčizny rodnoj syny.

Plačet, plačet matʹ rodnaja,
Plačet molodaja žena,
Plačut vse, kak odin čelovek,
Zloj rok i sudʹbu kljanja!

Vy pali za Rusʹ, pogibli vy za Otčiznu,
Poverʹte, my za vas otomstim
I spravim krovavuju triznu!
Around us, it is calm; Hills are covered by mist,
Suddenly, the moon shines through the clouds,
Graves hold their calm.
The white glow of the crosses – heroes are asleep.
The shadows of the past circle around,
Recalling the victims of battles.

Dear mother is shedding tears,
The young wife is weeping,
All like one are crying,
Cursing fate, cursing destiny!

Around us, it’s calm; The wind blew the fog away,
Warriors are asleep on the hills of Manchuria
And they cannot hear the Russian tears.
Let sorghum’s rustling lull you to sleep,
Sleep in peace, heroes of the Russian land,
Dear sons of the Fatherland.

Dear mother is shedding tears,
The young wife is weeping,
All like one are crying,
Cursing fate, cursing destiny!

You fell for Russia, perished for Fatherland,
Believe us, we shall avenge you
And celebrate a bloody wake!

ชายชาวรัสเซีย มีความอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ครึ่งหลับครึ่งตื่น เกือบจะไม่ฟื้นเพราะขับรถพุ่งลงแม่น้ำ โชคดีได้รับความช่วยเหลือจากคนพื้นเมือง Inner Mongolia แม้พูดคุยสื่อสารไม่รู้เรื่อง แต่แค่มองตา ภาษากาย ก็สามารถทำความเข้าใจ รับรู้ความต้องการ บังเกิดมิตรภาพคาดไม่ถึง

แต่สรวงสวรรค์แห่งนี้กำลังได้รับผลกระทบ อิทธิพลจากโลกภายนอกค่อยๆแทรกซึมเข้ามา อาหารการกิน, สิ่งอำนวยความสะดวก, ของเด็กเล่น, เครื่องดนตรี (แอคคอร์เดียน), เครื่องใช้ไฟฟ้า, โทรทัศน์, วิทยุ, โปสเตอร์ภาพยนตร์, ท้องถนนหนทาง, รวมถึงนโยบายลูกคนเดียวของสาธารณรัฐประชาชนจีน บีบบังคับให้ประชาชนใช้ถุงยางอนามัยในการคุมกำเนิด แต่นั่นเป็นการบ่อนทำลายวิถีชีวิต กลืนกินวัฒนธรรม กิจกรรมทางเพศมันหักห้ามกันได้เสียที่ไหน!

อิทธิพลภายนอกที่กำลังคืบคลานเข้ามา ทำให้ผกก. Mikhalkov แสดงทัศนะถึงอนาคตอันใกล้ สรวงสวรรค์แห่งนี้จักค่อยๆเลือนลาง วัฒนธรรมเจือจางหาย วิถีชีวิตปรับเปลี่ยนแปลงไป จนในที่สุดอาจหลงเหลือเพียงภาพ(ยนตร์)ในจอโทรทัศน์ เก็บบันทึกประวัติศาสตร์ เจงกีสข่านไว้ให้คนรุ่นหลังได้เชยชม

ตัวละคร Sergei อย่างที่อธิบายไปแล้วว่าคือตัวแทนผกก. Mikhalkov พลัดหลงมายังดินแดนห่างไกล พบเห็นวิถีชีวิต วัฒนธรรมแปลกใหม่ ตกหลุมรักธรรมชาติงดงาม บังเกิดความสงบสุขขึ้นภายใน, ตอนรำพันถึงภรรยาขณะมึนเมามาย สามารถสะท้อนสถานการณ์ความไม่สงบในสหภาพโซเวียต นั่นคือเหตุผลของการออกเดินทาง สรรค์สร้างภาพยนตร์ยังต่างประเทศ นั่นไม่ได้แปลว่าตนเองทรยศต่อชาติบ้านเกิด ตรงกันข้ามกลับยิ่งโหยหา ครุ่นคิดถึง (เมาแล้ว)จึงขึ้นไปร่ำร้องเพลง ประกาศให้โลกรับรู้ถึงความรักต่อมาตุภูมิ …. รักชาตินิยม (Nationalism)


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice เสียงตอบรับถือว่าดีเยี่ยม (ประธานกรรมการปีนั้น Gian Luigi Rondi คือนักเขียน/วิจารณ์ภาพยนตร์ ซึ่งยังได้เชิญเพื่อนนักวิจารณ์มาร่วมสังฆกรรมอีกสองคน) สามารถคว้ามาสามรางวัลรวมถึง Golden Lion โดยเอาชนะภาพยนตร์อย่าง Edward II, The Fisher King, Mississippi Masala, My Own Private Idaho, Raise the Red Lantern ฯ

  • Golden Lion
  • OCIC Award
  • Pasinetti Award – Best Film

ช่วงปลายปียังได้เข้าชิงสาขาภาพยนตร์ต่างประเทศจากหลากหลายสถาบัน แต่ส่วนใหญ่พ่ายให้กับ Indochine (1992) กำกับโดย Régis Wargnier ตัวแทนจากฝรั่งเศส

  • Academy Award: Best Foreign Language Film
  • César Awards: Best Foreign Film (Meilleur film étranger)
  • European Film Award: European Film of the Year ** คว้ารางวัล
  • Golden Globe Award: Best Foreign Language Film

หนังอาจหารับชมยากสักหน่อย มีจัดจำหน่ายเพียง DVD คุณภาพก็ตามมีตามเกิด หรือหาทางออนไลน์ใน Youtube ค้นชื่อภาษาอังกฤษไม่เจอก็ใช้ภาษารัสเซีย ไม่ต้องซับไตเติ้ลก็ยังพอดูรู้เรื่อง

ส่วนตัวชื่นชอบครึ่งแรกของหนังมากๆ เพลิดเพลินกับความงดงามของทิวทัศน์ท้องทุ่ง/พื้นที่ราบ และความสัมพันธ์ต่างเชื้อชาติ-ต่างภาษา น่าเสียดายความติสต์แตกของผกก. Mikhalkov ครึ่งหลังทำให้ผมหงุดหงิด หัวเสีย ทำไมต้องทำเรื่องง่ายๆให้กลายเป็นเรื่องยุ่งยาก ขึ้นสวรรค์อยู่ดีๆตกนรกโดยพลัน

จัดเรต pg ภาพการฆ่าสัตว์ ดื่มสุราเมามาย ระริกระรี้อยากมีเพศสัมพันธ์

คำโปรย | ความงดงามของพื้นที่ราบ Inner Mongola ราวกับสรวงสวรรค์ Close to Eden ถ้าไม่เพราะความติสต์แตกของผู้กำกับ Nikita Mikhalkov อาจสมบูรณ์แบบยิ่งกว่านี้!
คุณภาพ | ค์ติสต์แตก
ส่วนตัว | ล่องลอย

Tini zabutykh predkiv (1965)


Shadows of Forgotten Ancestors (1965) USSR : Sergei Parajanov ♥♥♥♥

หลังมีโอกาสรับชม Ivan’s Childhood (1962) ผู้กำกับ Sergei Parajanov ประกาศทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างเคยสรรค์สร้าง ขอเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่กับ Shadows of Forgotten Ancestors (1965) เลือกทำในสิ่งตอบสนองความสนใจส่วนตน ค่อยๆพัฒนาสไตล์ลายเซ็นต์สู่ความเป็น ‘ศิลปิน’

Shadows of Forgotten Ancestors (1965) ได้รับการโหวตอันดับ #1 “The 100 Best Films in the History of Ukrainian Cinema” จัดโดย National Oleksandr Dovzhenko Film Centre หอภาพยนตร์ของประเทศ Ukrane เมื่อปี ค.ศ. 2021 (อันดับสองคือ Earth (1930) และอันดับสาม Man with a Movie Camera (1929))

ผมมีความกระตือรือล้น อยากรับชม Shadows of Forgotten Ancestors (1965) มาตั้งแต่เขียนถึง The Color of Pomegranates (1969) เพราะอยากพบเห็นจุดเริ่มต้น วิวัฒนาการของผกก. Parajanov (เผื่อว่าเมื่อหวนกลับมารับชม The Color of Pomegranates จะได้มีความเข้าใจอะไรๆมากขึ้น) และเห็นว่าคะแนนใน IMDB สูงกว่าเสียด้วยนะ (#SoFA ได้คะแนน 7.8, #TCoP ได้คะแนน 7.6)

แม้ว่า Shadows of Forgotten Ancestors (1965) จะไม่ได้สรรค์สร้างขึ้นในสไตล์ The Color of Pomegranates (1969) แต่ก็มีความโดดเด่นเฉพาะตัวที่ทำให้ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญ และยังพอพบเห็นแนวคิด วิวัฒนาการของผกก. Parajanov กำลังมองหา ‘ลายเซ็นต์’ ซึ่งก็พอสังเกตเห็นในหลายๆช็อตฉาก

ไฮไลท์ของ Shadows of Forgotten Ancestors (1965) นอกจากความงดงามของวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ดนตรีของชนกลุ่มน้อย Hutsuls ในประเทศ Ukraine (มีคำเรียก ethnic film หรือ race film) ยังคือลีลาการขยับเคลื่อนเลื่อนกล้องมีความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน เต็มไปด้วย ‘long take’ ราวกับอยู่บนรถไฟเหาะ (Roller Coaster) และใช้เพียงแสงจากธรรมชาติเท่านั้น! … ฝีไม้ลายมือของตากล้อง Yuri Ilyenko สามารถเทียบชั้นกับ Sergey Urusevsky (The Cranes Are Flying), Bruno Nuytten (Possession) และ Emmanuel Lubezki (The Revenant) ได้สบายๆ

‘Shadows of Forgotten Ancestors’ could stand as an example of the sort of film he was calling for. It’s one of the most unusual films I’ve seen, a barrage of images, music and noises, shot with such an active camera we almost need seatbelts.

And for anyone who’s interested in the Ukrainian culture and customs of perhaps a century ago, ‘Shadows of Forgotten Ancestors’ is a treasure, a repository of costumes, masks, superstitions and beliefs, courtship customs and the sufferings of short lives with too much work in them.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 3.5/4

เกร็ด: ภาพโปสเตอร์ของหนัง ออกแบบโดย Georgy Vyacheslavovych (1930-2000) ศิลปินแห่งชาติ นักออกแบบ ‘Graphic Artist’ ชาว Ukrainian โด่งดังจากภาพแกะสลักไม้ ด้วยเทคนิค Linocut


Sergei Parajanov ชื่อจริง Sarkis Hovsepi Parajaniants, Սարգիս Հովսեփի Փարաջանյանց (1924-90) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Armenian เกิดที่ Tbilisi, Georgian (ขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครอง Soviet Union), วัยเด็กไม่ค่อยชอบเรียนหนังสือ แต่มีความหลงใหลในวรรณกรรม ดนตรี โดยเฉพาะการร้องเพลง หลังเลิกเรียนทำงานพิเศษในโรงงานของเล่น ตุ๊กตาไม้, โตขึ้นเข้าเรียนการก่อสร้าง Tbilisi Institute of Railway Transport แต่แค่เพียงปีกว่าๆย้ายมาเรียนร้องเพลง Tbilisi State Conservatoire, หลังสงครามโลกเดินทางสู่ Moscow สมัครเข้าศึกษาต่อ Moscow State Conservatory ก่อนเปลี่ยนความสนใจสู่การกำกับภาพยนตร์ All-Russian University of Cinematography (VGIK) เป็นลูกศิษย์ของ Igor Savchenko และ Alexander Dovzhenko

เมื่อปี ค.ศ. 1948, Parajanov ถูกจับกุมข้อหารักร่วมเพศ ได้รับโทษตัดสินจำคุกห้าปี ก่อนถูกปล่อยตัวสามเดือนให้หลัง เพราะไม่พบเจอหลักฐานใดๆ (คาดกันว่าเหตุผลแท้จริงที่ถูกจับ เพราะแสดงทัศนคติต่อต้านการเมือง)

เมื่อปี ค.ศ. 1950, แต่งงานกับภรรยาคนแรก Nigyar Kerimova ซึ่งเป็นชาวมุสลิมเปลี่ยนมานับถือ Eastern Orthodox Christianity เพื่อให้ได้ครองรักกับเขา แต่ไม่นานกลับถูกลอบสังหารโดยญาติของเธอ เพราะมิอาจยอมรับการเปลี่ยนศาสนา! ด้วยเหตุนี้ Parajanov จึงอพยพย้ายมาปักหลัก Kyiv, Ukraine สรรค์สร้างสารคดี & ภาพยนตร์ อาทิ Andriesh (1954), The First Lad (1958), Ukrainian Rhapsody (1961), Flower on the Stone (1962) ฯ

เมื่อปี ค.ศ. 1956, แต่งงานกับภรรยาคนที่สอง Svitlana Ivanivna Shcherbatiuk เป็นชาว Ukrainian มีบุตรชายร่วมกันหนึ่งคน แต่คงมิอาจหลงลืมรักครั้งแรก ไม่นานพวกเขาก็ตัดสินใจเลิกราหย่าร้าง ค.ศ. 1962

ในปีเดียวกันนั้น Parajanov มีโอกาสรับชม Ivan’s Childhood (1962) ผลงานแจ้งเกิดผกก. Andrei Tarkovsky ราวกับได้ค้นพบตัวตน (Self-Discovery) เปิดมุมมองโลกกว้าง เข้าใจความหมายแท้จริงของศิลปะภาพยนตร์ ทำไมต้องอยู่ภายใต้กฎกรอบข้อบังคับ สิ่งที่สหภาพโซเวียตควบคุมครอบงำให้สรรค์สร้างแต่ ‘socialist realism’

Tarkovsky, who was younger than I by ten years, was my teacher and mentor. He was the first in Ivan’s Childhood to use images of dreams and memories to present allegory and metaphor. Tarkovsky helped people decipher the poetic metaphor. By studying Tarkovsky and playing different variations on him, I became stronger myself … I did not know how to do anything and I would not have done anything if there had not been Ivan’s Childhood.

Sergei Parajanov

ต้นฉบับของ Shadows of Forgotten Ancestors (1912) คือนวนิยายแต่งโดย Mykhailo Kotsiubynsky (1864-1913) นักเขียนสัญชาติ Ukrainian ผู้บุกเบิกแนวชาติพันธุ์ (Ethnographic Realism) ก่อนพัฒนาสไตล์มาเป็น Impressionist และ Modernist

เกร็ด: ชื่อนวนิยายภาษายูเครน Тіні забутих предків อ่านว่า Tini zabutykh predkiv สามารถแปลตรงตัว Shadows of Forgotten Ancestors หรือ Shadows of Our Forgotten Ancestors หรือ Shadows of Our Ancestors

เมื่อปี ค.ศ. 1910, Kotsiubynsky มีโอกาสเดินทางไปยังหมู่บ้าน Carpathian ณ Kryvorivnia, Ivano-Frankivsk Oblast ทางตะวันตกของ Ukraine (ติดกับพรมแดนตอนเหนือ Romania) แม้พักอาศัยอยู่ไม่นาน แต่มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิต ศึกษาวัฒนธรรมชาว Hutsuls ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันมานาน อยากเขียนเรื่องราวชนกลุ่มน้อย/ชาติพันธุ์กลุ่มนี้

Hutsuls, Гуцули (ภาษา Romanian แปลว่า Outlaw) คือชนกลุ่มน้อย ชาติพันธุ์ชาว East Slavic ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตะวันตกของ Ukraine และตอนเหนือของ Romania คาดว่าสืบเชื้อสายบรรพบุรุษจาก White Croats จึงมีวิถีชีวิต ประเพณี ดนตรี ภาษาสื่อสาร เครื่องแต่งกาย สถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

เรื่องราวของนวนิยาย Shadows of Forgotten Ancestors ได้รับการเปรียบเทียบ Romeo & Juliet ชายหนุ่มชาว Hutsul ตกหลุมรักหญิงสาวตระกูลพ่อค้า แต่เนื่องจากทั้งสองครอบครัวเคยมีเรื่องบาดหมางกันอย่างรุนแรง จึงแทบไม่มีโอกาสที่พวกเขาจะได้ครองรักกัน!

ด้วยความที่ผกก. Parajanov เพิ่งหย่าร้างภรรยาได้ไม่นาน ระหว่างพัฒนาบทภาพยนตร์เรื่องนี้จึงปักหลักอาศัยอยู่บ้านเพื่อนนักเขียน Ivan Chendej หลับนอนบนโซฟา ตื่นเช้ามาก็พูดคุยเรื่องงาน ยาวนานนับเดือนจนบังเกิดความสนิทสนมกับภรรยาและลูกๆของอีกฝ่าย

สตูดิโอ Dovzhenko Film Studios [ตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติผกก. Alexander Dovzhenko ผู้บุกเบิกวงการภาพยนตร์ Ukrainian] ขณะนั้นกำลังมองหาโปรเจคภาพยนตร์ สำหรับเฉลิมฉลองร้อยปีชาตกาล Mykhailo Kotsiubynsky พอดิบดีผกก. Parajanov ยื่นบทหนังเรื่องนี้ เลยได้รับการตอบอนุมัติแทบจะโดยทันที

เกร็ด: Dovzhenko Film Studios เคยเป็นสตูดิโอสร้างหนังเงียบของผกก. Dovzhenko ก่อนค่อยๆเลือนหายไปในยุคหนังพูด จนกระทั่งช่วงทศวรรษ 60s ทำการรื้อฟื้นเพื่อตัดตอนภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นใน Ukrainian SSR ไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจอนุมัติโดย Goskino (กองเซนเซอร์สหภาพโซเวียต)


ณ หมู่บ้านบนเทือกเขา Carpathian, ชายหนุ่ม Ivan (รับบทโดย Ivan Mykolaichuk) สืบเชื้อสาย Hutsuls ตกหลุมรักหญิงสาวจากตระกูลพ่อค้า Marichka (รับบทโดย Larisa Kadochnikova) แต่ครอบครัวของพวกเขามีความบาดหมางกันอย่างรุนแรง เนื่องจากบิดาของ Marichka เคยเข่นฆ่าบิดาของ Ivan ถึงอย่างนั้นคู่รักหนุ่ม-สาว ก็หาได้สนคำทัดทานผู้ใหญ่ เพื่อที่จะเก็บเงินแต่งงาน Ivan จึงตัดสินใจเดินทางออกจากหมู่บ้านไปรับจ้างทำงาน แต่พอหวนกลับมาพบว่า Marichka ประสบอุบัติเหตุพลัดตกแม่น้ำเสียชีวิต

ในสภาพหมดอาลัยตายอยาก Ivan ยังคงก้มหน้าก้มตาทำงาน จนกระทั่งได้พบเจอหญิงคนใหม่ Palahna (รับบทโดย Tatyana Bestayeva) ยินยอมแต่งงานตามประเพณี Hutsul แต่หลังอาศัยอยู่ร่วมกัน สามีกลับไม่ค่อยทำการบ้าน ภรรยาเลยไม่ตั้งครรภ์สักที นั่นเพราะเขายังคงหวนระลึกถึงอดีตหญิงคนรัก ทำให้ Palahna มิอาจอดรนทน คบชู้ชายคนใหม่ ทุบตีกระทำร้าย Ivan จนกระทั่งสิ้นใจตาย


Ivan Vasylyovych Mykolaichuk, Іван Васильович Миколайчук (1941-87) นักแสดงสัญชาติ Ukrainian เกิดที่ Chortoryia, Western Ukraine ในครอบครัวชาวนา โตขึ้นเข้าเรียนยัง Chernivtsi Music College ตามด้วยฝึกฝนการแสดงจาก Chernivtsi Music-Drama Theater, Olha Kobylianska และ Memorial Kyiv Institute of Theatrical Arts, Karpenko-Karyi (ปัจจุบันคือ Ukrainian National University of Theater, Film and TV) เริ่มมีผลงานละคอนเวที จนกระทั่งได้รับเลือกจากผู้กำกับ Sergei Parajanov แสดงนำภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด Shadows of Forgotten Ancestors (1965)

รับบท Ivan ชายหนุ่มเชื้อสาย Hutsuls ตกหลุมรักหญิงสาวจากตระกูลพ่อค้า Marichka พร้อมทำทุกสิ่งอย่างโดยไม่สนความขัดแย้งครอบครัว เพื่อให้ได้ครองคู่อยู่ร่วม แต่แล้วเธอกลับประสบอุบัติเหตุตายจากไป ทำให้ชีวิตจมปลักอยู่กับความสิ้นหวัง ถึงภายหลังจะได้แต่งงานกับ Palahna ก็ไม่เคยทุ่มเทความรักภักดี จนถูกอีกฝ่ายทรยศหักหลัง ถึงอย่างนั้นความตายทำให้เขาได้ปลดปล่อยสู่อิสรภาพ

แรกเริ่มนั้นผกก. Parajanov อยากได้นักแสดงรัสเซียชื่อดังอย่าง Genadi Yukhtin เพื่อให้เกิดกระแสความสนใจในภาพยนตร์ แต่กลับถูกทัดทานจากเพื่อนร่วมงาน รวมถึงตากล้อง Yuri Ilyenko

Yukhtin just did not fit the part and when [during the try-outs] he dressed in the Ukrainian hutsul garments, it wasn’t a fit for him.

Yuri Ilyenko

ด้วยความที่ Mykolaichuk ยังไม่เคยปรากฎตัวบนจอเงินมาก่อน อีกทั้งมาจาก Western Ukraine จึงมีรูปร่างหน้าตาละม้ายคล้ายชนกลุ่มน้อย Hutsuls ในขณะที่ฝีไม้ลายมือถือว่าไม่ธรรมดา บทพูดอาจไม่มาก แต่โดดเด่นในการแสดงสีหน้า ปฏิกิริยาท่าทาง สามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้หลากหลาย (สไตล์หนังเงียบ) ร่าเริงสดใส-มุ่งมั่นจริงจัง-เศร้าโศกสิ้นหวัง-ยังคงโหยหาเธอคนรัก ผู้ชมจับต้องความรู้สึกต่างๆเหล่านั้นได้โดยทันที!

การแสดงของ Mykolaichuk อาจไม่ได้ลุ่มลึกล้ำ สลับซับซ้อน เพียงถ่ายทอดอารมณ์ตัวละครอย่างตรงไปตรงมา แต่ด้วยภาพลักษณ์บุคคลธรรมดาๆ บริสุทธิ์ไร้เดียงสา ทำให้ผู้ชมเกิดความเอ็นดู ห่วงใย สงสารเห็นใจ บรรดานักวิจารณ์ชาว Ukrainian ถึงขนาดยกย่อง “Greatest Actor in the History of Ukrainian Cinema”

ความสำเร็จของ Shadows of Forgotten Ancestors (1965) ทำให้ Mykolaichuk คว้าเหรียญเกียรติยศ Lenin Komsomol Prize of Ukraine (1967) ถือว่าแจ้งเกิดในวงการภาพยนตร์อย่างเต็มตัว มีผลงานติดตามมามากมาย น่าเสียดายพลันด่วนเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1987 สิริอายุเพียง 46 ปี!


ถ่ายภาพโดย Yuri Ilyenko (1936-2010) ผู้กำกับ/ตากล้อง สัญชาติ Ukrainian เกิดที่ Cherkasy ก่อนอพยพสู่ Siberia ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, สำเร็จการศึกษาด้านการถ่ายภาพจาก All-Union State Institute of Cinematography (VGIK) แล้วฝึกงาน/เป็นตากล้องอยู่ยัง Yalta Film Studio ก่อนย้ายไป Dovzhenko Film Studios ถ่ายภาพ Shadows of Forgotten Ancestors (1965), กำกับภาพยนตร์ A Spring for the Thirsty (1965), The White Bird Marked with Black (1970) ฯ

งานภาพของหนังต้องถือว่ามีความสุดเหวี่ยงมากๆเรื่องหนึ่ง ราวกับขึ้นรถไฟเหาะ (Roller Coaster) และต้องรัดเข็มขัดนิรภัยด้วยนะ (Fasten Seat Belt) ด้วยลีลาการเคลื่อนเลื่อนกล้องที่มีความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียด ส่ายไปส่ายมา ผู้ชมแทบไม่สามารถคาดเดาทิศทางดำเนินไป ใช้เพียงแสงธรรมชาติ จัดจ้านด้วยเฉดสีสัน (มีช่วงขณะหนึ่งถ่ายภาพขาว-ดำ สร้างบรรยากาศหดหู่ เศร้าโศก สิ้นหวัง) สารพัดลูกเล่นภาพยนตร์ เพื่อสะท้อนห้วงอารมณ์ตัวละครขณะนั้นๆออกมา

หนังถ่ายทำยังสถานที่จริง! ณ หมู่บ้าน Kryvorivnia บนเทือกเขา Carpathian Mountains ใช้เวลาโปรดักชั่นนานเกือบปี เพราะผกก. Parajanov มักหาโอกาสไปร่วมงานแต่ง-งานศพของชาว Hutsuls เพื่อศึกษาประเพณีวัฒนธรรมเหล่านั้น นำมาแทรกใส่ลงในภาพยนตร์, ส่วนฉากภายในอื่นๆหวนกลับมาถ่ายทำยัง Dovzhenko Film Studio

I had to make the film under the most difficult conditions. I had no technical pre-requisites, no Kodak material, no processing of the film stock in Moscow. I had absolutely nothing. I had neither enough lighting, nor a wind-machine, nor any possibility for special effects. Nevertheless, the quality of the film is indisputable.

Sergei Parajanov

เกร็ด: บ้านหลังที่ผกก. Parajanov ปักหลักพักอาศัยและใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำ ปัจจุบันถูกทำเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับนักท่องเที่ยวขึ้นมาเยี่ยมชม-เช็คอินไม่ขาดสาย

ผมไม่ค่อยอยากสปอยความน่าอัศจรรย์ของลีลาการถ่ายภาพมากนัก แต่มันก็มีหลายช็อตฉากที่อดกล่าวถึงไม่ได้ อย่างวินาทีที่บิดาของ Ivan ถูกเข่นฆาตกรรม ขวานจามลงบนศีรษะ พบเห็นเลือดไหลอาบฉาบจอภาพเอียงๆ (Dutch Angle) ก่อนตัดไปภาพม้าย้อมสีแดง (สัญลักษณ์ของชีวิต) กำลังกระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง ราวกับวิญญาณล่องลอยออกจากร่าง ออกเดินทางสู่โลกหลังความตาย

แม้ว่า Ivan จะแรกพบเจอ Marichka ตั้งแต่อยู่ในโบสถ์ แต่เหตุการณ์ที่ทำให้พวกเขารับรู้จัก จดจำกันไม่รู้ลืม (และร่ำลาจากกันชั่วนิรันดร์) เกิดขึ้นบริเวณริมแม่น้ำ เด็กหญิงโดนกลั่นแกล้ง ตบหน้า ถูกขโมยผ้าพันคอ และเด็กชายเป่าขลุ่ยน่าจะ Pipe-Dentsivka มันช่างเป็น ‘ธาราแห่งชีวิต’

เกร็ด: ผมคุ้นๆว่าเคยเห็นช็อตลักษณะคล้ายๆกันนี้ในโคตรหนังเงียบ By the Law (1926) ของ Lev Kuleshov มันอาจไม่ใช่การเคารพคารวะ แต่เป็นภาพที่ติดตราฝังใจบรรดาผู้กำกับชาวรัสเซียอย่างแน่นอน!

ภาพแรกชวนให้นึกถึงโคตรหนังเงียบ Earth (1930) ของผู้กำกับ Alexander Dovzhenko สะท้อนช่วงเวลาเด็กชาย-หญิง วัยไร้ประสีประสา กำลังวิ่งเล่นสนุกสนาน โดยไม่รับรู้ความครอบครัวของพวกมีความบาดหมางไม่ลงรอย

ส่วนภาพสองพยายามทำออกมาละม้ายคล้าย Ivan’s Childhood (1962) ของผู้กำกับ Andrei Tarkovsky ระหว่างเด็กชาย-หญิง พานผ่านสถานที่รกร้าง ถูกทอดทิ้งขวาง หลงเหลือเพียงสภาพปรักหักพัง

เด็กชาย-หญิง พอเติบโตเป็นคนหนุ่ม-สาว Marichka รำพันถึงอุปสรรคความรักกับ Ivan ไม่มีทางที่พวกเขาจะได้รับอนุญาตจากครอบครัว สังเกตกล้องถ่ายมุมเงย ท้องฟ้าอึมครื้ม เต็มไปด้วยท่อนไม้ สิ่งกีดขวาง บดบังความมืดมิด แต่ทั้งหมดนี้ไม่มีสิ่งไหนสามารถกีดกั้นความรู้สึกพวกเขาทั้งสอง

เมื่อตอนยังเป็นเด็ก Ivan และ Marichka มักจับมือวิ่งหมุนวงกลม (กล้องตั้งไว้เฉยๆ) แต่พอเติบใหญ่กลายเป็นคนหนุ่ม-สาว เมื่อพวกเขาโอบกอด พรอดรัก กล้องเปลี่ยนมาหมุนรอบ 360 องศา เพื่อสื่อถึงความรักคือศูนย์กลางจักรวาล!

ตลอดทั้งซีเควนซ์โศกนาฎกรรมของ Marichka น่าจะถ่ายทำช่วงฤดูหนาว เต็มไปด้วยหมอกขาวโพลน (ไม่น่าจะใช่จากเครื่องทำควัน) สร้างบรรยากาศอึมครึม บดบังทัศนียภาพโดยรอบ มอบสัมผัสหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก ลุ้นระทึกโชคชะตาหญิงสาวจะรอดหรือไม่รอด

ให้ข้อสังเกตอีกสักนิด แทบตลอดทั้งซีเควนซ์มักถ่ายมุมเงยเห็นท้องฟ้า ราวกับเบื้องบน/สวรรค์บันดาลให้บังเกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมครั้งนี้

หลังพบเจอศพของ Marichka จะมีการ Fade-to-Red พบเห็นภาพสีแดงฉานระหว่าง Ivan ปักไม้กางเขนบนหลุมศพ จากนั้นตลอดทั้งซีเควนซ์ Loneliness จะถ่ายด้วยฟีล์มขาว-ดำ มอบสัมผัสท้อแท้สิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยาก ใช้ชีวิตทำงานเรื่อยเปื่อยไปวันๆอย่างไร้จุดมุ่งหมาย

ยามค่ำคืนเวลานอนหลับฝัน ยังมีการซ้อนภาพ Ivan กับภาพวาดพระเยซูคริสต์ นี่เป็นความพยายามเปรียบเทียบอาการทุกข์ทรมาน(ทางจิตวิญญาณ)ของตัวละคร ไม่ต่างจากความเจ็บปวด(ทางกาย)ของพระเยซูระหว่างถูกตรึงกางเขน … เป็นการเชื่อมโยงความเจ็บปวดเข้ากับศาสนา

การมาถึงของ Palahna ทำให้ชีวิตของ Ivan กลับมามีสีสันขึ้นอีกครั้ง (หวนกลับมาถ่ายภาพสีอีกครั้ง) โดยแรกพบเจอของพวกเขานั้น ฝ่ายหญิงเดินทางมาให้ซ่อมเกือกม้า โดยปกติแล้วคือสัญลักษณ์ของการเดินทาง แต่ด้วยความที่มันเป็นของต่ำ สะท้อนความสัมพันธ์ทั้งสองไม่ใช่ด้วยรัก เพียงตอบสนองอารมณ์ และข้อเรียกร้องสังคม

พิธีแต่งงานของชาว Hutsuls สังเกตว่าคู่บ่าว-สาวจะถูกปิดตา และคล้องคอด้วยคานไม้ (คล้ายๆวัวเทียมเกวียน) ผมไม่แน่ใจในความหมายของชนพื้นเมือง แต่มุมมองคนนอกดูเหมือนพันธนาการนักโทษ ไม่ให้พวกเขาดิ้นหลุดพ้น ต้องครองคู่รักตราบจนกว่าจะมีใครตกตาย

แม้ว่า Palahna จะทำการยั่วเย้า เรียกร้องให้ Ivan ทำหน้าที่สามี แต่อีกฝ่ายกลับเมินเฉย เฉื่อยชา ไม่ได้ยี่หร่า ไร้ความกระตือร้น ครั้งหนึ่งภาพถ่ายจากใต้พื้นผิวน้ำ สถานที่ที่เขายังคงหวนระลึก พบเจอ-พรากจากหญิงสาวคนรัก ท่าดื่มน้ำไม่ต่างจากการจุมพิต ราวกับพบเห็นภาพเธออยู่ในนั้น (ภาพสะท้อนโลกหลังความตาย)

ด้วยความเอือมระอาของ Palahna จึงตัดสินใจเปลื้องผ้า ออกเดินไปตามท้องทุ่งยามค่ำคืน ต้องการอธิษฐานขอพระเป็นเจ้า คาดหวังให้พระองค์ประทานบุตรในครรภ์ กลับพบเจอตัวแทนซาตาน ใครคนหนึ่งตรงเข้ามาจะข่มขืนกระทำชำเรา … เป็นซีเควนซ์ที่มีบรรยากาศขมุกขมัว ฟ้าสลัวๆ(ยามค่ำคืน) ราวกับหนทางสู่ขุมนรก

ผมละขำกลิ้งวินาทีที่กล้องทำการ Whip-Pan ในทิศทาง Tilt-Up จากใบหน้าของ Palahna หลังยินยอมให้กับชู้รัก Yurko พบเห็นต้นไม้จู่ๆไฟลุกพรึบ ราวกับอาเพศ ลางบอกเหตุร้าย เพราะเธอได้กระทำสิ่งขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของพระเป็นเจ้า กลายเป็นคนนอกรีต ฝักใฝ่ลัทธิซาตาน

ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าหนังใช้เทคนิคอะไร น่าจะเป็นการย้อมสีด้วยเคมีบางอย่าง ให้ภาพออกมีดูแจ๊สๆ เฉดสีส้ม-แดง แสดงอาการปวดศีรษะ เลือดคลั่งในสมอง หลังจาก Ivan ถูกทุบตีโดย Yurko (ชู้ของภรรยา) ก้าวออกจากโรงเตี๊ยม ดำเนินสู่ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต

หลังจากแอบถ้ำมองภรรยาพรอดรักกับชู้ Ivan เลยตัดสินใจก้าวออกเดิน แสวงหาสถานที่นอนตายอย่างสงบ พานผ่านท้องทุ่งที่ต้นไม้ถูกตัดเหี้ยน เหลือเพียงตอและควันไฟ (ชีวิตที่ไม่หลงเหลืออะไร ถูกทำลายหมดสิ้น) จากนั้นมาถึงแม่น้ำจินตนาการภาพสะท้อนภรรยา บทเพลงแห่งความโหยหา ก่อนวิ่งหน้าตั้งเข้าไปในป่าพงหนาม สภาพอากาศหนาวเหน็บ ราวกับกำลังมุ่งสู่โลกหลังความตาย หวังจะได้พบเจอเธออีกครั้ง

ตอนจบของหนังตั้งชื่อว่า Pieta (ภาษาอิตาเลี่ยนแปลว่า สงสาร) หลายคนอาจนึกถึงประติมากรรมแกะสลักหินอ่อน หนึ่งในผลงานชิ้นเอกของ Michelangelo พระเยซูหลังถูกตรึงกางเขนในอ้อมอกพระแม่มารีย์

ในบริบทนี้ก็คือความตายที่น่าสงสารของ Ivan พิธีศพรายล้อมรอบด้วยบุคคลไม่รู้จัก แถมคนเหล่านี้ไม่ต่างจากอีแร้งกา สนเพียงแสวงหาผลประโยชน์จากผู้เสียชีวิต กล้องแพนนิ่งหมุนรอบห้อง 360 องศา ซึ่งจะค่อยๆเร่งความเร็วขึ้นตามลำดับ พร้อมเสียงหัวเราะ ซุบซิบนินทา สังสรรค์เฮฮาปาร์ตี้ … แต่เด็กๆกลับไม่อนุญาตให้ออกจากบ้าน เพียงจับจ้องมองกิจกรรมของผู้ใหญ่ผ่านบานหน้าต่าง

แซว: ภาพสุดท้ายของหนังนี้แอบเคลือบแฝงนัยยะทางการเมือง เด็กๆเหล่านี้ไม่ต่างจากชาว Ukrainian ถูกคุมขัง ต้องอยู่ภายใต้กฎกรอบข้อบังคับ คำสั่งของผู้หลักผู้ใหญ่จากสหภาพโซเวียต

ตัดต่อโดย Marfa Ponomarenko (1926-2015) สัญชาติ Ukrainian, ทำงานให้กับสตูดิโอ Dovzhenko Film Studios เลยได้มีโอกาสเป็นขาประจำผกก. Sergei Parajanov ตั้งแต่ Ukrainian Rhapsody (1961), Shadows of Forgotten Ancestors (1965), The Color of Pomegranates (1969) และ The Legend of Suram Fortress (1985)

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตา Ivan สมาชิกชนชาติพันธุ์ Hutsuls ตั้งแต่เมื่อครั้นยังเด็กพบเห็นบิดาถูกฆาตกรรม พอเติบโตขึ้นกลับตกหลุมรักบุตรสาวของศัตรู Marichka พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้ครองคู่อยู่ร่วม แต่โชคชะตาทำให้พวกเขาพลัดพรากจากกันชั่วนิรันดร์ ตกอยู่ความท้อแท้สิ้นหวัง แม้ได้แต่งงานกับหญิงสาวอีกคน Palahna ก็มิอาจลบเลือนความทรงจำรักครั้งแรก

เรื่องราวของหนังจะมีการแบ่งออกเป็นตอนๆ ปรากฎข้อความ (Title Card) แยกตามเหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้นในชีวิตของ Ivan

  • The Carpathians, a Gutsul land, forgotten by God and people…
    • Ivan พบเห็นความตายของพี่ชาย ถูกต้นไม้ทับเสียชีวิต
    • Ivan และครอบครัวเข้าร่วมพิธีมิสซา
    • บิดาของ Ivan ถูกฆาตกรรมโดยตระกูลพ่อค้า
    • พิธีศพของพี่ชายและบิดา
  • Ivan and Marichka
    • เด็กชาย-หญิง เติบใหญ่เป็นชายหนุ่ม-สาว
    • แม้ถูกครอบครัวทัดทาน Ivan ยังต้องการแต่งงานกับ Marichka จึงตัดสินใจออกไปรับจ้างทำงาน
  • Meadow
    • Ivan รับจ้างทำงานดูแลแกะในทุ่งกว้า
    • Marichka ประสบอุบัติเหตุพลัดตกน้ำเสียชีวิต
    • Ivan พอรับทราบข่าวคราว พยายามออกติดตามหา พบเจอเพียงร่างไร้วิญญาณ
  • Loneliness
    • Ivan ตกอยู่สภาพท้อแท้ หมดอาลัยตายอยาก วันๆเอาแต่ทำงานหนัก ไม่รับรู้เดือนตะวัน
    • จนกระทั่งได้พบเจอกับ Palahna
  • Ivan and Palahna
    • พิธีแต่งงานระหว่าง Ivan กับ Palahna
  • Workdays
    • แต่หลังการแต่งงาน เหมือนว่า Ivan กลับไม่ค่อยสนใจทำการบ้านสักเท่าไหร่
  • Chrismas
    • Ivan เลยถูกกดดันจากญาติพี่น้อง ทำไมภรรยาไม่ตั้งครรภ์สักที
    • เฉลิมฉลองวันคริสต์มาส Palahna พยายามเกี้ยวพาราสี แต่เขากลับไม่สนใจใยดี
  • Tomorrow is Spring
    • Palahna เปลื้องผ้ายามค่ำคืน ต้องการอธิษฐานขอบุตรจากพระเจ้า กลับพบเจอชายแปลกหน้าพยายามจะข่มขืนกระทำชำเรา
  • Socoery
    • เมื่อไม่สามารถขอจากพระเจ้า เลยพึ่งพาเวทย์มนต์คาถา ซาตานจึงนำพา Yurko มาให้ร่วมรักหลับนอน
  • Tavern
    • ภายในโรงเตี๊ยม Palahna พยายามเกี้ยวพาให้ Yurko กระทำร้าย เข่นฆาตกรรมสามี Ivan
    • Ivan ในสภาพถูกทุบตีศีรษะ ก้าวเดินอย่างเรื่อยเปื่อย มองหาสถานที่ทิ้งตัวลงนอนสิ้นใจตาย
  • Pieta
    • พิธีศพของ Ivan

แซว: โดยปกติแล้วการเปลี่ยนฉาก (Film Transition) มักใช้ลูกเล่น Fade-to-Black แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับเป็น Fade-to-Red เต็มไปด้วยความเจ็บปวด ความทรงจำเปื้อนเลือด


เพลงประกอบโดย Myroslav Skoryk (1938-2020) คีตกวีสัญชาติ Ukrainian เกิดที่ Lwów, Second Polish Republic (ปัจจุบันคือ Lviv, Ukraine) บิดาเป็นนักประวัติศาสตร์ ชื่นชอบศึกษาเกี่ยวกับชาติพันธุ์ (Ethonographer) แม้ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านดนตรี แต่พบเห็นเล่นไวโอลินร่วมกับมารดาบรรเลงเปียโนบ่อยครั้ง สร้างอิทธิพลให้กับบุตรชาย โตขึ้นเข้าศึกษายัง Lviv Conservatory ตามด้วยปริญญาโท Moscow Conservatory ร่ำเรียนกับอาจารย์ Dmitry Kabalevsky เริ่มแต่งเพลง Symphony, Sonata, Chamber Music และ Vocal Music, หลังเรียนจบได้เป็นอาจารย์สอนอยู่ Lviv Conservatory ก่อนย้ายมา Kyiv Conservatory สร้างชื่อจากแนวเพลง Ukrainian Folk Music จนได้รับชักชวนจากผกก. Sergei Parajanov ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ Shadows of Forgotten Ancestors (1965)

no Ukrainian film knew such a wealth of sound components before “Shadows of Forgotten Ancestors”, which is one of the innovative features of the film.

นักวิจัยภาพยนตร์ Oksana Vasylivna ชาว Ukrainian

ด้วยความที่ยังไม่เคยมีการบันทึกบทเพลงของชาว Hutsuls มาก่อน! มันจึงไม่เรื่องง่ายที่จะแต่งเพลงขึ้นใหม่ ส่วนใหญ่จึงเลือกใช้เพลงพื้นบ้านที่มีอยู่ ขนาดว่า Skoryk ต้องเดินทางไปคัดเลือกนักดนตรี(ชาว Hutsuls)เพื่อพามาอัดเสียงยังสตูดิโอ ณ กรุง Kyiv ถือเป็นครั้งแรกๆของโลกที่ได้รับรู้จัก/ได้ยินเสียงเครื่องดนตรี อาทิ Pipe-Dentsivka (сопілка-денцівка), Floyara (флояра), Koza (коза), Drim-Ba (дримба), Trembita (трембіта) ฯ

The Hutsuls were even taken to Kyiv, where they were recorded in a studio. There were no such recordings before. And even now they cannot be found… And I also remember how we had to record trembitas. It was difficult to do it outdoors, and Parajanov barely squeezed ten trembitas players with trembitas into a plane and brought them to Kyiv. Moreover, the instruments were transported in the passenger cabin. I went on expeditions to the Carpathians to select musicians.

Myroslav Skoryk

นอกจากบรรดาสารพัดเพลงพื้นบ้านที่ได้ยินในหนัง Skoryk ยังมีโอกาสประพันธ์บทเพลงคำร้อง (ด้วยภาษา Hutsuls) รำพันความตายของ Ivan ที่จักได้หวนกลับมาครองรัก Marichka ซึ่งสะท้อนความเชื่อของชาว Hutsuls ด้วยเช่นกัน!

เรื่องราวของ Shadows of Forgotten Ancestors (1965) เริ่มต้นด้วย ‘Romeo & Juliet’ ความรักที่ไม่มีทางเป็นไปได้ ชายหนุ่มตกหลุมรักหญิงสาว แต่กลับถูกปฏิเสธจากครอบครัวของพวกเขา เพราะความบาดหมางกันตั้งแต่ปางก่อน นำพาให้บังเกิดเหตุโศกนาฎกรรม ทำให้บุคคลยังมีชีวิตตกอยู่ในความหดหู่ ท้อแท้สิ้นหวัง แม้ได้แต่งงานกับหญิงสาวคนใหม่ ก็ไม่อาจลบเลือนความทรงจำรักครั้งแรก

ถ้าเราปรับเปลี่ยนความรักหนุ่ม-สาว มาเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ กาลเวลาเคลื่อนพานผ่านไปนั้น แม้ทำให้อดีตค่อยๆเลือนลาง แต่วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม สายเลือดบรรพบุรุษยังคงได้การสืบทอด ส่งต่อ ธำรงรักษาไว้ให้ลูก-หลาน-เหลน-โหลน ไม่มีวันเจือจางหายไป

ผกก. Parajanov สูญเสียภรรยาคนแรก Nigyar Kerimova ถูกฆาตกรรมเพราะเปลี่ยนศาสนา ตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง ออกเดินทางสู่ Kyiv, Ukraine สรรค์สร้างสารคดี & ภาพยนตร์ ดำเนินชีวิตเรื่อยเปื่อยไปวันๆ จนกระทั่งได้แต่งงานกับภรรยาคนที่สอง Svetlana Tscherbatiuk มีบุตรชายร่วมกันหนึ่งคน ถึงอย่างนั้นเขายังคงคร่ำครวญโหยหารักครั้งแรก สุดท้ายเลยต้องเลิกราหย่าร้าง(กับภรรยาคนที่สอง)

ระหว่างรับชมผมไม่ได้เอะใจว่าเรื่องราวของหนังมีความสัมพันธ์อันใดต่อผกก. Parajanov แต่พอได้อ่านประวัติก็เกิดอาการจุกแน่นหน้าอก เข้าถึงความเป็นส่วนตัว อารมณ์ ‘ศิลปิน’ ย้อนกลับไปดูฉากโศกนาฎกรรมซ้ำอีกรอบ ก็มิอาจกลั้นธารน้ำตา แถมลีลาขยับเคลื่อนเลื่อนกล้อง ช่วยสร้างสัมผัสหายนะ (Devastating) แล้วโลกทั้งใบพลันมืดหม่น หดหู่ แทบไม่อยากมีชีวิตอยู่ … ช่างมีพลังทำลายล้างสูงยิ่งนัก!

วินาทีแห่งความตายของ Ivan ตามความเชื่อของชาว Hutsuls จักมีโอกาสพบเจออดีตคนรัก สามารถเปรียบเทียบถึงผกก. Parajanov หลังจากรับชม Ivan’s Childhood (1962) ก็ราวกับได้ถือกำเนิด เกิดใหม่ ตัดสินใจทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง(ที่เคยสรรค์สร้าง) เพื่อดำเนินตามเป้าหมายชีวิต ค้นพบความหมายแท้จริงของสื่อภาพยนตร์

แม้ว่าหลายสิ่งอย่างของหนังมีการอ้างอิงถึงศาสนาคริสต์ (Eastern Orthodox) และผกก. Parajanov ได้รับการยกย่องในฐานะ ‘Religion Icon’ แต่เขาไม่เคยพูดกล่าวถึงความเชื่อ/ศรัทธาของตนเอง ซึ่งมีแนวโน้มว่าศาสนา(ไม่ต่างจากประเพณี วัฒนธรรม)เพียงอิทธิพลสำหรับสรรค์สร้างผลงานศิลปะเท่านั้น! … ไม่ใช่ผู้กำกับสายศาสนาอย่าง Carl Theodor Dreyer, Ingmar Bergman, Martin Scorsese ฯ เห็นเคยกล่าวยกย่อง Pier Paolo Pasolini ราวกับ “like a God”

The film became not only another peak of the Ukrainian national spirit’s elevation but also a convenient pretext for party officials and the KGB to crack down on the freethinking in the republic.

นักวิจารณ์ Olexiy Rosoverskiy

อิทธิพลของ Shadows of Forgotten Ancestors (1965) ที่มีต่อ Ukrainian Cinema สามารถเทียบเท่า Citizen Kane (1942) ต่อวงการภาพยนตร์ (อันนี้กล่าวโดยนักวิจารณ์ Olexiy Rosoverskiy) เพราะนอกจากบันทึกชาติพันธุ์ เชื่อมโยงความเป็นส่วนตัวของศิลปิน การสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ยังสร้างแรงกระตุ้นให้ชาว Ukrainian ยุคสมัยนั้นเกิดความกระเหี้ยนกระหือรือ ปลุกจิตวิญญาณ โหยหาอิสรภาพในการครุ่นคิด แสดงออก ต่อต้านสหภาพโซเวียต (ช่วงเวลาใกล้ๆเคียงกัน Prague Spring) แม้ผลลัพท์จะไม่สบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่ถือเป็นรอยแตกร้าวแรกๆ นำไปสู่การล่มสลาย(ของสหภาพโซเวียต)ในอีกสองทศวรรษถัดมา


หนังสร้างเสร็จตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1964 แต่กว่าจะเข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Kyiv, Ukrainian SSR ก็อีกปีถัดมา นั่นเพราะผกก. Parajanov พยายามปฏิเสธไม่ยินยอมทำฉบับพากย์รัสเซีย (ดั้งเดิมเป็นภาษา Ukrainian และท้องถิ่นชาว Hutsuls) ตามคำร้องขอของทางการสหภาพโซเวียต

the ministry asked me to make a Russian [dubbed] version [of the film]. The film was not only shot in the Ukrainian language, but it was also in the Hutsul dialect [of Ukrainian language]. They asked me to dub the film in Russian but I turned them down categorically.

Sergei Parajanov

สุดท้ายยินยอมอนุญาตให้ออกฉายเพราะสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองระหว่าง Ukrainian SSR กับ Soviet Union, และถึงเวลาครบรอบร้อยปีชาตกาล Mykhailo Kotsiubynsky จึงไม่สามารถยื้อยักได้อีกต่อไป

ผลลัพท์ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามใน Ukrainian SSR (แต่ประเทศอื่นในเครือสหภาพโซเวียต จะเพียงเข้าฉายจำกัดโรง) มียอดจำหน่ายตั๋วสูงถึง 6.5-8.5 ล้านใบ! และออกเดินทางไปกวาดรางวัลจากเทศกาลหนังมากมาย … แต่การเข้าฉายต่างประเทศ ทีมงาน/นักแสดงถูกบังคับให้กล่าวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นตัวแทนจาก USSR ไม่ใช่ UkrSSR

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 2K ในโอกาสครบรอบ 50th Anniversary โดย Ukrainian State Film Agency ร่วมกับ Ukraine’s Ministry of Culture เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2015 สามารถหารับชมได้ตามช่องทางออนไลน์ทั่วไป youtube, archive.org แต่ถ้าต้องการคุณภาพเยี่ยมๆแนะนำเว็บ easterneuropeanmovies.com

Shadows of Forgotten Ancestors (1965) เป็นภาพยนตร์ที่ดูเพลิน มอบความรู้ ความบันเทิง บันทึกภาพวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี บทเรียนประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ Ukrainian (นั่นคือเหตุผลที่ได้รับการโหวตติดอันดับ #1 “The 100 Best Films in the History of Ukrainian Cinema”) มีความสมบูรณ์แบบไร้ที่ติ!

แถมยังซ่อนเร้นความเป็นศิลปินของผกก. Parajanov น่าเสียดายที่อิทธิพลของหนังอาจไม่ยิ่งใหญ่เทียบเท่า The Color of Pomegranates (1969) แต่การันตีคุณภาพไม่ด้อยกว่าอย่างแน่นอน และเข้าถึงผู้ชมทั่วไปได้ง่ายกว่าด้วยนะ

จัดเรต pg กับความฉวัดเฉวียนของงานภาพ เรื่องราวรักๆใคร่ๆ ความรุนแรง ขัดแย้ง ฆาตกรรม

คำโปรย | Shadows of Forgetten Ancestors ของผู้กำกับ Sergei Parajanov มีความเจิดจรัส ที่ทำให้คนรุ่นหลังไม่รู้ลืมเลือนบรรพบุรุษ
คุณภาพ | วิจิศิป์
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

Sol’ Svanetii (1930)


Salt for Svanetia (1930) USSR : Mikhail Kalatozov ♥♥♥♥

หนังเงียบกึ่งสารคดี ถ่ายทำวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ Svans อาศัยบนเทือกเขาในจังหวัด Svanetia (ปัจจุบันคือประเทศ Georgia) มีความแร้นเค้น ทุรกันดาร ต่อสู้ชีวิตอย่างทุกข์ยากลำบาก แต่ด้วยแผนพัฒนาประเทศ 5 ปี (1928-32) ของ Joseph Stalin ดินแดนห่างไกลแห่งนี้กำลังจะมีท้องถนนตัดผ่าน

ก่อนที่ Mikhail Kalatozov จะกลายเป็นผู้กำกับระดับตำนานจากโคตรภาพยนตร์ The Cranes Are Flying (1957) และ I Am Cuba (1964) ก่อนหน้านั้นเคยมีผลงานหนังเงียบที่ต้องบอกเลยว่าตราตะลึง เต็มไปด้วยความอึ้งทึ่ง ชวนให้นึกถึง Land Without Bread (1933) ของผกก. Luis Buñuel ขึ้นมาโดยพลัน!

ไม่รู้เป็นความบังเอิญหรือตั้งใจ ผมรู้สึกว่า Salt for Svanetia (1930) มีความละม้ายคล้าย Land Without Bread (1933) เพราะต่างเดินทางไปถ่ายทำยังดินแดนทุรกันดารห่างไกล และวิธีการของผู้กำกับทั้งสอง Kalatozov & Buñuel ต่างผสมผสานฟุตเทจสถานที่จริง เข้ากับการจัดฉากถ่ายทำ (ในลักษณะของ ‘docu-fiction’ หรือ ‘docudrama’) ผลลัพท์อาจเรียกว่า Mockumentary หรือ Surrealist Documentary

สำหรับวัตถุประสงค์การสร้าง Salt for Svanetia (1930) ก็เพื่อโปรโมท ประชาสัมพันธ์ โฆษณาชวนเชื่อแผนพัฒนาประเทศห้าปี (1928-32) ของ Joseph Stalin หนึ่งในนั้นคือการแพร่ขยายความเจริญสู่ชนบท ก่อสร้างถนนมุ่งสู่จังหวัด Svanetia ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ Svans ไม่ต้องขาดแคลน ‘เกลือ’ สำหรับบริโภคอีกต่อไป

แม้ว่าตากล้องของ Salt for Svanetia (1930) จะยังไม่ใช่ Sergey Urusevsky ที่เป็นขาประจำผกก. Kalatozov แต่เรายังได้พบเห็นมุมกล้องสวยๆที่ดูแปลกตา ร่วมกับลีลาตัดต่อสร้างความตื่นเต้น สามารถปลุกเร้าอารมณ์ ถือเป็นโคตรๆผลงานอันทรงพลัง งดงามวิจิตรศิลป์ แต่เพราะใจความ’ชวนเชื่อ’เลยเลือนหายไปตามกาลเวลา


Mikhail Konstantinovich Kalatozov (1903-73) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Georgian เกิดที่ Tiflis, Caucasus Krai ขณะนั้นอยู่ภายใต้ Russian Empire (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศ Georgia) ในตระกูลขุนนาง/ชนชั้นสูง Amirejibi แต่หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ทำให้เด็กชาย Kalatozov ต้องเริ่มหางานทำขณะอายุเพียง 14 ปี จนกระทั่งมีโอกาสเข้าร่วม Georgian Film Studio เริ่มจากเป็นโชเฟอร์ขับรถ ช่างเทคนิค ผู้ช่วยตัดต่อ ผู้ช่วยตากล้อง จนมีโอกาสแสดงตัวประกอบ The Case of Tariel Mklavadze (1925), เขียนบท-ถ่ายภาพ Giuli (1927), ร่วมกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Their Empire (1928)

สำหรับภาพยนตร์เรื่องถัดมา Слепая (1929) แปลว่า The Blind ทำการบันทึกภาพวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม แสดงให้เห็นความทุรกันดารของชาว Svans นำจากประสบการณ์ การสังเกตการณ์ เพราะว่า Kalatozov ก็เป็นชาว Georgian เคยเดินทางไปท่องเที่ยวหลายต่อหลายสถานที่ แต่หนังไม่เคยถูกนำออกฉาย เพราะโดนตีตราจากบรรดาผู้กำกับฝั่งขวา (Leftist) ว่ามีความเป็น Formalism

จนกระทั่งมีโอกาสอ่านบทความ ущельные люди (อ่านว่า ooshchil’nyye ludi, แปลว่า Gorge People) จากนิตยสาร Красная Новь (อ่านว่า Krasnaya Nov, แปลว่า Red Virgin Soil) ฉบับปี ค.ศ. 1928 โดยนักเขียน/นักข่าว Sergei Tretyakov ซึ่งมีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวเทือกเขา Caucasus แล้วการกล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ Svaneti ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้ผกก. Kalatozov ติดต่อชักชวนมาร่วมพัฒนาบท Соль Сванетии (อ่านว่า Sol’ Svanetii, แปลว่า Salt for Svanetia)

ดั้งเดิมนั้นผกก. Kalatozov และนักเขียน Tretyakov ร่วมกันพัฒนาบท สร้างเรื่องราวที่ถือเป็นเรื่องแต่ง (Fiction Story) แต่ระหว่างตัดต่อ ตัดสินใจนำเอาฟุตเทจที่เคยถ่ายทำ The Blind (1929) นำมาแทรกแซม แปะติดปะต่อเข้าไปด้วย ผลลัพท์ทำให้หนังมีลักษณะกึ่งสารคดี ‘docu-fiction’ หรือ ‘docudrama’


Salt for Svanetia (1929) นำเสนอภาพวิถีชีวิตชาว Svans ในหมู่บ้าน Ushguli อาศัยอยู่บนเทือกเขาสูง มีความทุรกันดาร ลำบากยากแค้น แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของ Vladimir Lenin วางแผนพัฒนาประเทศห้าปี (1928-32) หนึ่งในนั้นก็คือการสร้างถนนเข้าสู่ดินแดนห่างไกลแห่งนี้

Even now there are far reaches of the Soviet Union where the patriarchal way of life persists along with remnants of the clan system.

Vladimir Lenin

เพราะหมู่บ้านอยู่ห่างไกล กอปรกับภัยทางธรรมชาติ ทำให้สิ่งขาดแคลนที่สุดก็คือ ‘เกลือ’ ในขณะที่สรรพสัตว์สามารถหาทดแทนอย่างเหงื่อไคล เลือดไหล ฯ แต่สำหรับเด็กทารกอาจทำให้ถึงแก่ชีวิต (จริงไหมก็ไม่รู้เหมือนกัน) การสร้างถนนหนทางตามแผนพัฒนาห้าปี จักช่วยนำพาความเจริญเข้ามายังสถานที่แห่งนี้ ไม่ให้โศกนาฎกรรมดังกล่าวบังเกิดขึ้นอีกต่อไป


ถ่ายภาพโดย Mikhail Kalatozov ร่วมกับ Shalva Gegelashvili (1902-70) สัญชาติ Georgian โตขึ้นได้รับทุนการศึกษา State Film Industry of Georgia เข้าเรียนภาพยนตร์ยังประเทศเยอรมัน Institut für Film und Bild in Wissenschaft und Unterricht (FWU) จบออกมาปักหลังทำงานอยู่กับ Georgian Film Studio ผลงานเด่นๆ อาทิ Salt for Svanetia (1930), Stakan vody (1957) ฯ

งานภาพของหนังแพรวพราวด้วยเทคนิค ถือว่ามีความสไตล์ลิสต์ (Stylish) ตั้งแต่การขยับเคลื่อน ทิศทางมุมกล้อง ก้ม-เงย เอียงซ้าย-ขวา ระยะภาพไกล-ใกล้ (Extreme-Long Shot กับ Close-Up จะมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ) มันช่างดูมีความผิดแผกแปลกตา แถมทุกช็อตสามารถสร้างสัมผัสทางอารมณ์ ให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกร่วมกับภาพเหตุการณ์ ซึ่งเทคนิคต่างๆยังทำออกมาให้สอดคล้องเรื่องราวขณะนั้นๆอีกด้วย

I wanted to use the camera to show the beauty of the landscape and the harshness of the life of the people who lived there. I wanted to create a sense of dynamism and excitement in the film. And I wanted to use the camera to tell the story.

I knew that I could not do this with traditional filmmaking techniques. I needed to find a new way to see the world, a new way to tell a story. So I developed a new style of camerawork, a style that was based on long takes, low-angle shots, and tracking shots. These techniques allowed me to capture the beauty and harshness of the landscape, the dynamism and excitement of the people, and the story itself. They allowed me to create a film that was both visually stunning and emotionally powerful.

Mikhail Kalatozov

การเลือกหมู่บ้าน Ushguli บนเทือกเขา Caucasus Mountains ในจังหวัด Svanetia เพราะเป็นสถานที่ทุรกันดารห่างไกล ความศิวิไลซ์ยังเข้ามาไม่ถึง ทำให้วัฒนธรรมประเพณี ดำเนินตามวิถีชีวิตดั้งเดิม

I wanted to show the life of the Svan people in their natural setting, without any artificiality or staging. I wanted to capture the beauty of their land and the strength of their culture.


ทิศทางมุมกล้องของหนัง ผมถือว่ามีความพิศดารอย่างมากๆ ละเล่นกับการก้ม-เงย เอียงซ้าย-ขวา (Dutch Angle) ดูมีความผิดแผกแปลกตา แต่เต็มไปด้วยเสน่ห์ ต้องมนต์ขลัง มอบสัมผัสราวกับหมู่บ้านแห่งนี้คือโลกอีกใบ ดินแดนห่างไกลอารยธรรม … ใครเคยรับชมหลายๆผลงานของผกก. Kalatozov ย่อมตระหนักถึง ‘วิสัยทัศน์’ มุมมองการถ่ายภาพที่ไม่เคยซ้ำแบบใคร

หลายๆการถ่ายภาพระยะไกล (Extreme-Long Shot) ไม่ว่าจะท้องฟ้า ขุนเขา ล้วนเพื่อสร้างสัมผัสมนุษย์ตัวกระจิดริด vs. ธรรมชาติกว้างใหญ่ ไม่มีทางที่ใครจะสามารถเอาชนะ ทำได้เพียงต่อสู้ดิ้นรน กระเสือกกระสน หาหนทางธำรงชีพรอดก็เท่านั้น … นี่อาจคือเหตุผลหนึ่งกระมัง ทำให้หนังได้เสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่จากทางการโซเวียต (เพราะอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ พยายามเอาชนะธรรมชาติกว้างใหญ่)

หนึ่งในเทคนิคการถ่ายภาพที่(แอบ)สร้างความตกตะลึงให้ผมไม่น้อย คือการหมุนกล้องขึ้น-ลง (Tilt Up-Down) ให้มีความพร้อมเพรียงกับการทุ่มก้อนหิน (ระหว่างกำลังขับไล่ศัตรู) นี่ถือเป็นสัมผัสของบทกวี เทคนิคถ่ายภาพ = การกระทำของตัวละคร ซึ่งสามารถปลุกเร้าอารมณ์ผู้ชมให้กวัดแกว่งตามภาพพบเห็นด้วยเช่นกัน!

ภาพที่น่าจะสร้างความเกรี้ยวกราดให้ผู้ชมอย่างรุนแรง คือการเสียชีวิตของทารกน้อย แล้วมารดาบีบน้ำนมลงบนหลุมฝังศพ สาเหตุจากความยากไร้ ทุรกันดารห่างไกล ขาดแคลนแพทย์ ยารักษา รวมถึงประเพณีคนท้องถิ่น (ทารกคลอดในวันที่มีคนตาย ถือเป็นกาลกินี) พบเห็นแล้วรู้สึกวาบหวิว เศร้าโศก สั่นสะท้านทรวงใน ถือเป็นไคลน์แม็กซ์ในเชิงสัญลักษณ์ที่ทรงพลังไม่น้อยเลยละ

The mother milking the soil is a powerful image of grief and resilience. It is a reminder that even in the face of tragedy, the human spirit can find strength and hope.

Mikhail Kalatozov

ตัดต่อไม่มีเครดิต แต่คาดคิดว่าก็คง Mikhail Kalatozov

การดำเนินเรื่องของหนังไม่ได้นำเสนอผ่านมุมมองตัวละครใด แต่ใช้หมู่บ้าน Ushguli บนเทือกเขาในจังหวัด Svanetia เป็นจุดศูนย์กลาง โดยสามารถแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆดังต่อไปนี้

  • เริ่มต้นแนะนำสถานที่ การมีอยู่ของป้อมปราการ ต่อสู้ศัตรูเข้ามาบุกรุกราน
  • ร้อยเรียงวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวันของชาว Svans เจาะหิน เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ไถนา
  • การมาถึงของภัยพิบัติ พายุหิมะมาถึงโดยไม่ทันตั้งตัว ทำลายพืชผลทางการเกษตรเสียหาย ทำให้ชาวบ้านต้องหาหนทางต่อสู้ดิ้นรน
  • อารัมบทเรื่องราวของเกลือ สิ่งอุปโภคที่ขาดแคลนในหมู่บ้านแห่งนี้
  • การเดินทางเพื่อขนส่งเกลือมายังหมู่บ้าน เต็มไปด้วยอุปสรรค และเสี่ยงอันตราย
  • ความตายของคนส่งเกลือ พบเห็นการจัดพิธีศพ ตัดสลับกับการคลอดบุตร
  • และการโฆษณาชวนเชื่อแผนพัฒนาห้าปีของสหภาพโซเวียต พบเห็นคนงาน ระเบิดภูเขา ตัดต้นไม้ สร้างถนนหนทางมุ่งสู่หมู่บ้านแห่งนี้

ลีลาการตัดต่อของหนัง แม้พบเห็นหลากหลายอิทธิพลจาก ‘Soviet Montage’ อาทิ rapid cuts, juxtaposition, cross-cutting, symbolism ฯ แต่เป้าหมายไม่ได้ต้องการสร้างนิยามทางการเมืองใหม่ๆ นั่นเพราะ Salt for Svanetia (1929) มีลักษณะ ‘กวีภาพยนตร์’ ใช้การตัดต่อเพื่อสร้างบรรยากาศและสัมผัสทางอารมณ์

I wanted to use editing to create a sense of rhythm and flow in the film. I wanted the film to be visually stunning, but I also wanted it to be emotionally powerful. Editing was the key to achieving this balance.

Mikhail Kalatozov

‘เกลือ’ หนึ่งในเครื่องปรุงรสที่มีความเก่าแก่ สำหรับเพิ่มความเค็ม ถนอมอาหาร ใช้รักษาอาการป่วย ฯ สามารถหาได้ง่ายตามธรรมชาติ แต่อาจไม่ใช่สำหรับชาวภูเขาอาศัยอยู่บนที่สูง (จริงๆมันเกลือสินเธาว์ที่สามารถขุดจากบ่อน้ำใต้ดิน แค่ว่าไม่มีสารไอโอดีน) ห่างไกลจากทะเล-มหาสมุทร จำเป็นต้องเดินทางขนส่ง พานผ่านเส้นทางที่เสี่ยงอันตราย

ในยุคสมัยโรมัน ‘เกลือ’ เคยมีมูลค่ามากกว่าทองคำ! สามารถนำมาจับจ่ายใช้สอยแทนเงินตรา เพราะเป็นสิ่งหาได้ยาก (สมัยนั้นยังไม่มีนาเกลือสมุทร ต้องใช้การขุดเหมืองลงไปเอาเกลือสินเธาว์ขึ้นมาจากใต้ดิน) กระบวนการขนส่งซับซ้อน แถมยังถูกผูกขาดโดยรัฐบาลกลาง เพราะใช้เป็นค่าตอบแทนทหารหลังกลับจากสงคราม (คำว่า Salt ภายหลังจึงอาจเพี้ยนกลายมาเป็น Salary)

สถานการณ์ขาดแคลนเกลือยัง Svanetia เอาจริงๆมันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่หนังพยายามนำเสนอหรอกนะ (เพราะย่านนั้นมีเหมืองเกลือสินเธาว์ Tskhalta Salt Mine อายุกว่า 2,000 ปี) แต่ผกก. Kalatozov ต้องการใช้เป็นสัญลักษณ์ชวนเชื่อ เพื่อให้ชาวรัสเซียตระหนักถึงความสำคัญ ขาดแคลนไม่ได้ในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกล การตัดถนนหนทางจักช่วยให้กลุ่มชาติพันธุ์ Svans สามารถเข้าถึงโอกาส พัฒนาความเจริญ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองอุดมการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียม

Salt is a symbol of life and hope. It is a reminder that even in the most remote and isolated places, there is always the possibility of a better future.

Mikhail Kalatozov

แต่หนังก็ถูกตั้งคำถามว่าต้องการโฆษณาแผนพัฒนาประเทศห้าปีจริงๆหรือ? เพราะมันมีการชวนเชื่อแค่ประมาณ 5 นาทีสุดท้ายที่นำเสนอภาพคนงาน ระเบิดภูเขา ตัดต้นไม้ แล้วก่อสร้างถนนหนทางเสร็จสรรพ ยังไม่ทันที่ผู้ชมจะสัมผัสถึงอิทธิพล ผลกระทบ ความเปลี่ยนแปลงที่บังเกิดขึ้นจากถนนเส้นดังกล่าว … เมื่อเปรียบเทียบกับภาพยนตร์อีกเรื่องที่ออกฉายใกล้เคียงกัน Turksib (1930) นำเสนอการสร้างทางรถไฟ Turkestan–Siberia เต็มไปด้วยรายละเอียดชวนเชื่อเด่นชัดเจนกว่ามากๆ

อาจเพราะความตั้งใจผกก. Kalatozov ต้องการนำเสนอเรื่องราวผ่านมุมมอง วิถีชีวิตชาว Svans เพื่อให้ผู้ชมตระหนักถึงสิ่งจำเป็น (เกลือ) ความสำคัญของการมีท้องถนนหนทางตัดผ่าน จักทำให้ท้องถิ่นทุรกันดารแห่งนี้ เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป … คือไม่ได้จะชวนเชื่อเนื้อหาของแผนพัฒนา แต่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สามารถบังเกิดขึ้น

I wanted to make a film about the Svan people, who are a very ancient and mysterious people. I wanted to show their way of life, their traditions, and their culture. I also wanted to show the challenges they face, and the hope they have for the future.

I wanted to make a film that showed the power of the Soviet Union to bring about positive change in the world. I wanted to show how the Soviet Union was helping people to live better lives, even in the most remote and isolated places.


น่าเสียดายที่ทางการสหภาพโซเวียตมองว่า ผกก. Kalatozov มุ่งเน้นนำเสนอความล้าหลังของชาว Svans มากจนเกินไป ขณะที่ใจความโปรโมท ประชาสัมพันธ์ โฆษณาชวนเชื่อแผนพัฒนาประเทศห้าปี กลับมีเพียงแค่ห้านาทีสุดท้าย! แม้ว่า Salt for Svanetia (1930) จะไม่ได้ถูกห้ามฉาย แต่ผลงานถัดไป Nail in the Boot (1931) กลับโดนแบนแบบไม่ทันตั้งตัว

The film Salt for Svanetia is a vulgar distortion of reality. It shows the Svanetian people as backward and superstitious, and it does not show the great progress that has been made in Svanetia under the Soviet government. The film is a clear example of bourgeois formalism, and it should be banned.

กาลเวลาอาจไม่ทำให้หนังเป็นที่รู้จักในวงกว้างสักเท่าไหร่ แต่ได้รับการยกย่องสรรเสริญโดยนักประวัติศาสตร์ และบรรดาผู้กำกับชาวรัสเซียหลายๆคน โดยเฉพาะ Andrei Tarkovsky กล่าวถึงอิทธิพลของ Kalatozv ว่ามีความมากล้นต่อวงการภาพยนตร์รัสเซีย

Mikhail Kalatozov was a great director. He made some very interesting films, such as Salt for Svanetia and The Cranes Are Flying. His films are very poetic, and he was one of the most important directors of the Soviet cinema.

Andrei Tarkovsky

ปัจจุบันยังไม่มีข่าวคราวการบูรณะภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่สามารถหารับชมออนไลน์ได้ทาง Youtube หรือซื้อแผ่น DVD Boxset ขายคู่กับ Nail in the Boot (1931) หรือถ้าใครงบเยอะแนะนำ Landmarks of Early Soviet Film (1924-30) มีทั้งหมดแปดเรื่องประกอบด้วย The Extraordinary Adventures of Mr. West in the Land of the Bolsheviks (1924), By the Law (1926), Stride, Soviet! (1926), Fall of the Romanov Dynasty (1927), The House on Trubnaya (1928), Old and New (1929), Turksib (1930) และ Salt for Svanetia (1930)

ถ้าไม่เพราะผมเพิ่งรับชม In Spring (1929) ก็อาจหลงใหลคลั่งไคล้ Salt for Svanetia (1930) มันเกิดการเปรียบเทียบเพราะทั้งเรื่องนั้นมีความเป็น Cinéma Pur ที่ไม่มี Title Card/Intertitles ปรากฎขึ้นมาให้หงุดหงิดรำคาญใจ แต่ส่วนตัวก็ประทับใจมุมมอง วิสัยทัศน์ผกก. Kalatozov แม้ยังไม่มีตากล้อง Sergey Urusevsky ต้องถือว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว งดงามวิจิตรศิลป์ในสไตล์ของตนเอง

แนะนำสำหรับคนที่ชื่นชอบหนังชาติพันธุ์ (Ethnographic Film) แม้ว่า Salt for Svanetia (1930) จะเต็มไปด้วยการปรุงแต่ง สร้างเรื่องราว แต่ก็มีมุมมอง วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมที่น่าสนใจมากมาย

จัดเรต 15+ กับภาพถ่าย-ตัดต่อที่ชวนวิงเวียน วิถีชีวิตชาวภูเขาที่เหี้ยมโหดร้ายยิ่งนัก

คำโปรย | Salt for Svanetia ภาพยนตร์ชวนเชื่อสหภาพโซเวียตที่เต็มไปด้วยลายเซ็นต์ผู้กำกับ Mikhail Kalatozov มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว งดงามวิจิตรศิลป์ในสไตล์ของตนเอง
คุณภาพ | วิจิศิป์
ส่วนตัว | ทรงพลัง

Grass (1925)


Grass

Grass (1925) hollywood : Merian C. Cooper, Ernest B. Schoedsack ♥♥♥♥

การร่วมงานครั้งแรกของสองผู้กำกับ Merian C. Cooper, Ernest B. Schoedsack (Chang: A Drama of the Wilderness, King Kong) บันทึกภาพการอพยพย้ายถิ่นฐานชนเผ่า Bakhtiari เชื้อสาย Lurs (Irianian) กว่า 50,000 ชีวิต ฝูงสรรพสัตว์นับไม่ถ้วน ข้ามแม่น้ำ Karun River ปีนป่ายเทือกเขา Zagros Mountais เพื่อมุ่งสู่ทุ่งหญ้าเขียวขจีแห่งดินแดน Persia, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ภาพยนตร์สารคดีมีจุดเริ่มต้นที่ Nanook of the North (1922) ของผู้กำกับ Robert J. Flaherty แต่เบื้องหลังข้อเท็จจริงกลับเป็น Docudrama จัดฉากถ่ายทำ สมมติชื่อตัวละคร พัฒนาเนื้อเรื่องราวให้สอดคล้องวิถีชีวิตชนพื้นเมืองเท่านั้น

ผิดกับ Grass: A Nation’s Battle for Life (1925) ที่สองผู้กำกับ Merian C. Cooper, Ernest B. Schoedsack และอีกหนี่งสาวแกร่ง Marguerite Harrison ออกเดินทางร่วมไปกับชนเผ่า บันทีกภาพเหตุการณ์จริงๆ ไม่มีวางแผนล่วงหน้า พบเจออุปสรรคขวากหนามอะไรก็ถ่ายทำไว้

(ส่วนใหญ่จะคิดว่าสองผู้กำกับ ได้แรงบันดาลใจสร้าง Grass หลังจากรับชม Nanook of the North แต่พวกเขาต่างยืนกรานว่าไม่เคยรู้จักภาพยนตร์เรื่องนั้น กระทั่งถ่ายทำเสร็จเดินทางกลับจาก Persia)

ไม่นานมานี้ผมเพิ่งเขียนถีง The Covered Wagon (1923) ภาพยนตร์สร้างโดย Hollywood คณะคาราวานออกเดินทางเพื่อบุกเบิกดินแดนตะวันตกแห่งสหรัฐอเมริกา สังเกตเห็นความคล้ายคลีงนานัปประการ แต่ในเรื่องสัมผัสอารมณ์ ความรู้สีกหลังการรับชมเมื่อเทียบกับ Grass (1925) ช่างแตกต่างราวฟ้ากับเหว … ภาพที่เกิดจากการปรุงแต่งรังสรรค์สร้าง แม้แลดูสวยงาม แต่เทียบไม่ได้กับภาพจากเหตุการณ์จริง ซี่งมีความตราตรีงทรงพลังยิ่งๆกว่า


Ernest Beaumont Schoedsack (1893-1979) เกิดที่ Council Bluffs, Iowa ตอนอายุ 14 หนีออกจากบ้าน กลายเป็นสมาชิก Road Gangs มาจนถึง San Francisco ได้ทำงานเป็นนักสำรวจ (Surveyor) และช่างถ่ายภาพหนังสือพิมพ์ The New York Times, ด้วยความสูง 6 ฟุต 5 นิ้ว (1.96 เมตร) เพื่อนๆให้ฉายาเขาว่า Shorty

Merian Caldwell Cooper (1893 – 1973) เกิดที่ Jacksonville, Florida เป็นลูกคนสุดท้อง ตอนอายุ 6 ขวบ ตั้งใจว่าจะเป็นนักสำรวจ หลังเรียนจบอาสาสมัครทหารเรือแต่ถูกไล่ออกปีสุดท้าย เลยเปลี่ยนมากองทัพอากาศ ขับเครื่องบินรบช่วงสงครามโลกครั้งที่หนี่ง เคยเครื่องบินตก เชลยสงคราม กระทั่งถูกตัดสินประหารชีวิตแต่ก็หลบหนีรอดออกมาได้, หลังสงครามสมัครงานนักข่าวหนังสือพิมพ์ The New York Times

Schoedsack พบกับ Cooper ครั้งแรกที่กรุงเวียนนา เมื่อปี 1918 ขณะทำงานเป็นนักข่าวสังกัด The New York Times ด้วยความชื่นชอบ Lifestyle หลงใหลการท่องเที่ยว ผจญภัย ไม่นานกลายเป็นเพื่อนสนิท และตัดสินใจสร้างภาพยนตร์

“I was at the Franz Josef Railroad Station. Down a platform came this Yank in a dirty uniform, wearing one French boot and one German one. It was Coop. He was just out of German prison and he wanted to get to Warsaw. He had once been kicked out of the Naval Academy and had sold his sword. Now he’d found the guy who had it and he’d bought it back”.

Ernest B. Schoedsack เล่าถีงการพบเจอครั้งแรกกับ Merian C. Cooper

Marguerite Elton Harrison (1879–1967) นักข่าว/สายลับ ผู้ก่อตั้ง Society of Woman Geographers เกิดที่ Baltimore, Maryland บิดาเป็นเจ้าของธุรกิจนำเข้า-ส่งออก (Shipping) มีอิทธิพลอย่างมากในพื้นที่ เลี้ยงดูแลลูกๆดั่งเจ้าหญิง แต่ความเจ้ากี้เจ้าการของมารดาทำให้อดรนทนไม่ได้เท่าไหร่ ครั้งหนี่งระหว่างร่ำเรียน Radcliffe College ถูกจับได้ว่ามีความสัมพันธ์ชู้สาวกับเจ้าของบ้านพัก เลยถูกขับไล่ไปอยู่อิตาลี แต่งงานกับสามีที่แทบไม่เงินติดตัว เรียกว่าไม่สนฐานะ วงศ์ตระกูล มองตนเองเป็นชนชั้นสูงประการใด

แต่โชคร้ายสามีพลันด่วนเสียชีวิตจากไปเมื่อปี 1915 ประกอบกับติดหนี้ยืมสินมหาศาล ทำให้ต้องขายบ้าน ดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยวิธีการสารพัดเพ ต่อมาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ The Baltimore Sun เขียนหนังสือ บทความลงหนังสือพิมพ์ ทั้งยังปลอมตัวสายลับคอยสืบข่าวประจำอยู่ยุโรปช่วงสงครามโลกครั้งที่หนี่ง เคยถูกจับ ติดคุก ทรมานหลายครั้ง แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือเอาตัวรอดมาเขียนหนังสือ อาทิ Marooned in Moscow: the Story of an American Woman Imprisoned in Russia (1921), Unfinished Tales from a Russian Prison (1923) ฯ

Harrison มีโอกาสพบเจอ Cooper (ขณะยังเป็นทหาร) ที่งานเลี้ยงเต้นรำ ณ กรุง Warsaw ช่วงระหว่างความขัดแย้งระหว่าง Russo-Polish เคยให้ความช่วยเหลือขณะเป็นสายลับ พาไปซ่อนตัว หลบหนี โดยเฉพาะขณะที่เขาเป็นนักโทษสงครามในรัสเซีย ช่วงปี 1920 … ไม่รู้เหมือนกันว่าความสัมพันธ์ของทั้งคู่เกินเลยเถิดไปถีงไหนหรือเปล่า แต่หลังสงครามสิ้นสุดก็ยังคงพูดคุยติดต่อ และเมื่อตัดสินใจสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เธอก็อาสาออกทุนให้แลกกับการออกเดินทางไปผจญภัยร่วมด้วย (แต่ได้ยินว่า เธอไม่เคยช่วยเหลืออะไรพวกเขาสักอย่างในระหว่างการเดินทางครั้งนี้)


จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้ เกิดขี้นระหว่าง Cooper กำลังค้นคว้าวิจัยเพื่อเขียนบทความให้ American Geographical Society มีโอกาสเรียนรู้จักชาวเคิร์ด (Kurds) กลุ่มชน Iranian ที่เป็นกลุ่มภาษาชาติพันธุ์ ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ยัง Kurdistan (บริเวณคาบเกี่ยวระหว่าง Turkey, Syria, Iray, Iran) สมัยนั้นเลื่องลือชาในวัฒนธรรม การแต่งกาย และสถานที่สวยๆมากมาย

เมื่อสามารถสรรหางบประมาณ กล้องสำหรับถ่ายทำ นัดหมายวันเวลา ทั้งสามก็เดินทางมาถีงยังประเทศ Turkey แต่กลับค้นพบว่าชนเผ่า Kudish ไม่ได้มีความน่าสนใจดั่งคาดหวังไว้ พวกเขาเลยออกเดินทางต่อ หวังไปตายเอาดาบหน้าถีงประเทศ Iraq บังเอิญโชคดี Harrison เคยรู้จัก/สัมภาษณ์ Gertrude Bell (1868 – 1926) นักเขียน/นักสำรวจ/โบราณคดี ชาวอังกฤษ กูรูผู้เชี่ยวชาญดินแดนแถบตะวันออกกลาง แนะนำให้รู้จักชนเผ่า Bakhtiari เลื่องลือชาในการอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นประจำทุกๆปี สามารถพบเจออยู่แถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ Iraq

ความที่ไม่มีอะไรจะเสีย จีงมุ่งหน้าติดตามค้นหาไปจนพบเจอชนเผ่าชื่อ Baba Ahmedi เข้าต่อรองผู้นำขณะนั้นคือ Haidar Khan เห็นว่าใช้เวลาพักใหญ่ๆเลยทีเดียวกว่าจะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมคณะเดินทาง (ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีชาวต่างชาติเข้าร่วมมาก่อน) 42 วันแห่งการอพยพ บนเส้นทางจาก Angora (ปัจจุบันคือเมือง Ankara, Turkey) พานผ่านแม่น้ำ Karun River ปีนป่ายยอดเขา Zagros Mountains ปลายทางคือ Kurdistan (ในหนังใช้ชื่อ The Forgetting People)

ในการทำงานนั้น Schoedsack จะเป็นคนถ่ายภาพ (ด้วยกล้อง Debrie Sept น้ำหนักเบา พกพาสะดวก) ทุกๆวันจะออกเดินทางนำไปก่อนล่วงหน้า เพื่อมองหา ครุ่นคิดวิธีการ จะถ่ายตรงไหน อะไร อย่างไร ให้ออกมาดูดีมากสุด

ขณะที่ Cooper จะเป็นคนเข้าหาชนเผ่า พูดคุย สอบถาม เรียกร้องขอเวลาต้องการให้พวกเขาทำอะไร … อธิบายง่ายๆก็คือ มีหน้าที่เป็นผู้กำกับ

ส่วน Harrison อย่างที่บอกไปตอนต้นว่าแทบไม่ทำอะไร ‘she had not done a damn thing during the expedition!’ วันๆราวกับมาเที่ยวเล่น สนุกสนาน เรื่อยเปื่อย


แม้จะเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก แต่ Schoedsack ถือว่ามีประสบการณ์ถ่ายภาพมามากพอสมควร (ก่อนหน้านี้ทำงานเป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์ The New York Times) สังเกตจากตำแหน่ง ทิศทาง จัดวางองค์ประกอบภาพ ล้วนออกมาสวยงาม อลังการ แลดูราวกับภาพนิ่ง ได้รับคำชมมากยิ่งตั้งแต่ช็อตแรก

หนังมีการแต่งแต้มลงสี (Tinting) ซี่งเป็นกระบวนการหลังการถ่ายทำ เพื่อเพิ่มสัมผัสบรรยากาศในการรับชม แต่ก็แค่ไม่กี่ช็อตไฮไลท์เท่านั้นนะครับ (ถ้าลงสีหมด จะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณเปล่าๆ)

ฉากข้ามแม่น้ำ Karun ต้องชื่นชมภูมิปัญญาแท้ๆของชาว Bakhtiari ครุ่นคิดได้ยังไง? คือถ้าไม่เคยผ่านการทดลองผิดลองถูก ประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ยาวนาน การข้ามแม่น้ำสายนี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด และผลลัพท์เมื่อถูกนำเสนอออกมาเป็นภาพยนตร์ จีงเต็มไปด้วยความตื่นตระการตา ตกอกตกใจ คาดคิดไม่ถีงอย่างยิ่งยวด … แต่ก็ไม่เคยเห็นหนังเรื่องอื่นใดพยายามลอกเลียนแบบวิธีการดังกล่าวนี้นะ

ขณะที่ช็อตไฮไลท์ของหนัง คือขณะเดินเรียงแถวซิกแซกขี้นเขา … ย้ำอีกรอบว่านี่คือภาพถ่ายจากเหตุการณ์การอพยพจริงๆ มันจีงมอบสัมผัสที่ชวนขนลุก ยิ่งใหญ่อลังการ แตกต่างจาก The Covered Wagon (1923) และ The Gold Rush (1925) พอสมควรเลยละ

เรื่องราวของหนังใช้สามนักผจญภัย (ซี่งก็คือสองผู้กำกับ และหนี่งผู้ติดตาม) นำเสนอราวกับบันทีกการเดินทาง ‘Travelogue’ สามารถแบ่งออกเป็นสามองก์

  1. ช่วงขณะออกเดินทางติดตามค้นหาชนเผ่า Bakhtiari มีโอกาสพานพบเจอผู้คนมากหน้า หลากหลายเมืองใหญ่
  2. เมื่อพบเจอชนเผ่า Bakhtiari พูดคุยต่อรอง แนะนำโน่นนี่นั่น เริ่มออกเดินทาง และพานพบอุปสรรคแรก อพยพข้ามแม่น้ำ Karun River
  3. และไคลน์แม็กซ์ของหนังคือการปีนป่ายเทือกเขา Zagros Mountains ไปจนถีงเป้าหมายปลายทาง

องก์แรกของหนังเป็นเพียงอารัมบท แนะนำการเริ่มต้นเดินทางของสามสหาย ซี่งก็คือเหตุการณ์จริงๆที่พวกเขาพานผ่านอุปสรรค ก่อนพบเจอชนเผ่า Bakhtiari ซี่งพอเข้าองก์สองเริ่มต้นการอพยพ ภาพฝูงชนหลายหมื่น สรรพสัตว์ครี่งล้าน มันช่างน่าตกอกตกใจ ตื่นตราตะลีง หัวอกสั่นไหว และขณะต้องข้ามแม่น้ำกว้างใหญ่ คงไม่มีใครสามารถสงบนิ่งอยู่กับที่ได้อีกต่อไป

ขณะที่องก์สาม เป็นการเติมเต็มความยิ่งใหญ่สมบูรณ์แบบของหนัง เริ่มจากบุรุษกลุ่มผู้นำถอดรองเท้าย่ำหิมะ ใช้จอบเสียบถากถางทางเดิน ฝูงชนเรียงแถวค่อยๆไต่ระดับขี้นสูง … นี่เป็นวินาทีแห่งความอี้งที่ง ตาถมีงตีง อ้าปากค้าง ไม่สามารถหาถ้อยคำพรรณาความมโหฬาร นี่มันเหตุการณ์จริงๆบังเกิดขี้นบนโลกหรือนี่!

ผมค่อนข้างประทับใจการร้อยเรียงชุดภาพจากมุมมองต่างๆ ทำให้ผู้ชมสามารถพบเห็นเหตุการณ์จากหลากหลายทิศทาง ก่อเกิดความตระหนักในปริมาณที่มีมากมายมหาศาล โดยเฉพาะขณะกำลังข้ามแม่น้ำ (ฉายภาพซ้ำๆขณะมัดลูกแกะบนแพ, สรรพสัตว์ล่องลอยคอไหลตามกระแสน้ำ, จนกระท่งมาถีงขี้นอีกฝั่ง) และเรียงแถวไต่ระดับขี้นเขา (เริ่มจากมุมเงยตีนเขา ค่อยๆไต่ไล่ระดับ กระทั่งมาถีงยอดก้มลงมามองเบื้องล่าง)

ไม่แน่ใจว่าหนังได้รับการบูรณะแล้วหรือยัง แต่ฉบับ DVD วางขายเมื่อปี 2004 มีการใส่เพลงประกอบที่เป็นดนตรีพื้นบ้าน Iranian เรียบเรียงโดย Gholam Hosain Janati-Ataie, Kavous Shirzadian และ Amir Ali Vahabzagedegan ซี่งมีความไพเราะเพราะพริ้ง แถมทำให้ผู้ชมสัมผัสได้ถีงกลิ่นอาย/จิตวิญญาณชาว Persian อย่างแท้จริง … ถือเป็น Soundtrack ประกอบหนังเงียบมีความงดงามตราตรีงที่สุดเรื่องหนี่งเลยก็ว่าได้


เหตุผลของการที่ชนเผ่า Bakhtiari ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นประจำทุกๆปี นั่นเพราะเมื่อช่วงเวลาย่างกรายเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศเย็นยะเยือก หิมะตกหนาโพลน เป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์เลี้ยง อาหารคือสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะทุ่งหญ้าสีเขียว ซี่งถูกคั่นแบ่งโดยเทือกเขา Zagros Mountain (เมื่อฝั่งหนี่งเข้าสู่ฤดูหนาว อีกฝั่งจะอบอุ่นอ้าว ปรากฎทุ่งหญ้าเขียวขจี) เลยมีความจำเป็นที่ทุกๆปีต้องมีการอพยพย้ายถิ่นฐาน ไปยังสถานที่/ดินแดนมีความเหมาะสมอาศัยอยู่มากกว่า

(สภาพอากาศอาจคือสาเหตุผลหลักๆในการอพยพย้ายถิ่นฐาน แต่ผมคิดว่ามีนัยยะซ่อนเร้นของคนโบราณแฝงอยู่ด้วย เพื่อให้พืชผลต้นหญ้ามีเวลาพักฟื้น เติบโต อีกครี่งปีถัดมาจะได้กลายเป็นอาหารอันบริบูรณ์โอชา เลี้ยงสรรพสัตว์มากมายอิ่มหนำ)

การอพยพย้ายถิ่นฐานของชนเผ่า Bakhtiari สะท้อนถีงความยิ่งใหญ่/เหี้ยมโหดร้ายของธรรมชาติ ที่มนุษย์(ยุคสมัยนั้น)ยังไม่สามารถครุ่นคิดหาวิธีรับมือ โต้ตอบกลับ จีงทำได้เพียงเบี่ยงบ่าย หลบหนี เอาชีพรอดไว้ก่อน ไล่เรื่อยมาตั้งแต่โบราณกาล ค่อยๆวิวัฒนาการจนกลายมาเป็นวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีท้องถิ่น … ไม่รู้ปัจจุบันจะยังมีหลงเหลืออยู่หรือป่าวนะ

Grass, ต้นหญ้า พืชพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ง่าย สามารถใช้เป็นอาหารของสรรพสัตว์เลี้ยง เมื่อปรากฎอยู่ทั่วทั้งผืนดินแดน สร้างความรู้สีกสดชื่น เบิกบาน สุขสำราญภายในจิตใจ, สามารถตีความหมายถีง ‘การมีชีวิต’ ซี่งในบริบทหนังยังเป็นเป้าหมายของการเดินทาง สื่อความถีง ‘สรวงสวรรค์’ (อาณาจักรของพระเจ้า)

สำหรับสองผู้กำกับ (และหนี่งสหาย) ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นการตอบสนองทางจิตวิญญาณ ความต้องการ เพ้อใฝ่ฝัน ตัวตนของพวกเขา จุดเริ่มต้นออกเดินทางสู่ดินแดนไม่เคยมีใครรู้จัก แล้วนำ(ภาพยนตร์)กลับมาพิสูจน์ตนเอง เปิดเผยให้ทั่วโลกได้ประจักษ์พบเห็น … นี่มันพล็อตหนัง King Kong (1933) หรือยังไงเนี่ย?


เงินทุนของหนังมาจาก 2 ส่วน, $5,000 แรกหยิบยืมจากบิดาของ Merian C. Cooper และอีก $5,000 เป็นของ Marguerite Harrison แลกกับการร่วมออกเดินทางครั้งนี้ด้วย [บางแหล่งข่าวบอกมีค่าทำ Post Production อีก $2,000 เหรียญ]

แม้เสียงตอบรับจะดีเยี่ยมจนได้รับการซื้อไปโดยผู้จัดจำหน่าย Paramount Pictures แต่เมื่อออกฉายยัง Criterion Theater, New York กลับไม่ประสบความสำเร็จทำเงินสักเท่าหร่

เมื่อปี 1947, ผู้กำกับ Cooper อยากที่จะสร้างใหม่ (Remake) ภาพยนตร์เรื่องนี้ ด้วยการถ่ายทำภาพสี บันทีกเสียง เพิ่มเติมเรื่องราวในส่วนขาดหาย แต่ถูกทัดทานโดย Schoedsack บอกว่าบริเวณถิ่นที่อยู่ชาว Baktiari ขณะนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการตัดถนน ทางรถไฟ อีกทั้งแม่น้ำ Karun ก็มีสะพานพาดผ่านเรียบร้อยแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างหนังเรื่องใหม่ให้ออกมารูปแบบคล้ายเดิม

มันเป็นความรู้สีกแปลกประหลาดไม่น้อยในการรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ แม้ระหว่างอพยพย้ายถิ่นฐานจะพานพบอุปสรรคขวากหนามมากมาย อันตราย เสี่ยงตาย แต่พอไปถีงเป้าหมายปลายทางเส้นชัย กลับเกิดความอิ่มอก สุขสำราญ พีงพอใจ ทุ่งหญ้าเขียวขจีราวกับสรวงสวรรค์ที่ทำให้จิตวิญญาณเคลิบเคลิ้ม พักผ่อนคลาย เบาสบาย นำพาความชุ่มชื้น เขียวฉอุ่ม มาสู่ภายในจิตใจ

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” การอพยพย้ายถิ่นฐานสามารถเปรียบเปรย/อุปมาอุปไมยได้ถีงการใช้ชีวิต ทุกวี่วันเราต้องพานผ่านอุปสรรคปัญหา ครุ่นคิดหาหนทางแก้ไข แหวกว่าย ปีนป่าย ก้าวข้ามผ่าน เมื่อไหร่สามารถมาถีงเป้าหมายเส้นชัยชนะ อารมณ์ขณะนั้นละงดงามทรงคุณค่าเกือบที่สุดแล้ว

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | Grass เป็นสารคดีที่จะนำพาความชุ่มชื้น เขียวฉอุ่ม มาสู่จิตใจผู้ชม
คุณภาพ | ชุ่ชื้น-เขียวฉอุ่ม
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ