Fight Club (1999)


Fight Club (1999) hollywood : David Fincher ♥♥♥♥♥

ชมรมการต่อสู้กับตัวตนเอง เพื่อก้าวออกมาจากโลกที่เต็มไปด้วยวัตถุ สิ่งข้าวของ ระบอบทุนนิยม ล้างสบู่ในอ่างทองคำ แล้วจุดระเบิดทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง แต่ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นภายในความครุ่นคิด จิตใต้สำนึกของผู้กำกับ David Fincher เท่านั้น!

เพราะจนถึงปัจจุบัน ผู้กำกับ Fincher ยิ่งเต็มไปด้วยความหมกมุ่นครุ่นยึดติดจากอุปนิสัย ‘perfectionist’ ใส่ใจในรายละเอียดภาพยนตร์ทุกกระเบียดนิ้ว ผมว่าอาจเลวร้ายเสียยิ่งกว่าตัวละครของ Edward Norton มิอาจปล่อยละวางทางโลกได้เหมือน Brad Pitt/Tyler Durden แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองโลกทัศน์ ปฏิวัติวงการภาพยนตร์ (และ Home Video) ได้ระดับหนึ่ง

Fight Club (1999) เมื่อตอนออกฉายได้เสียงตอบรับอย่างเกรี้ยวกราด จัดเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ Most Controversial of All-Time ทั้งเรื่องการใช้ความรุนแรง, ถูกตีตรา Facism, ต่อต้านการบริโภค Anti-Consumerism, ต่อต้านระบอบทุนนิยม Anti-Capitalism, ถึงอย่างนั้นกลับเป็นที่ชื่นชอบของชาวคริสเตียนนิกาย Evangelicalism … โลกมันช่างแปลกประหลาดแท้

Fight Club is shaping up to be the most contentious mainstream Hollywood meditation on violence since Stanley Kubrick’s A Clockwork Orange.

นักวิจารณ์ Christopher Goodwin

ผู้ชมส่วนใหญ่มักมองหนังคือวิวัฒนาการของ Rebel Without a Cause (1955), The Graduate (1967) ฯลฯ ในแง่มุมความ ‘หัวขบถ’ ของวัยรุ่น Generation X ต่อต้านค่านิยมยุคสมัยแห่งการโฆษณา ชวนเชื่อ ระบอบทุนนิยม ด้วยความรุนแรงระดับเดียวกับ The Clockwork Orange (1971)

We’re designed to be hunters and we’re in a society of shopping. There’s nothing to kill anymore, there’s nothing to fight, nothing to overcome, nothing to explore. In that societal emasculation this everyman [the Narrator] is created.

David Fincher

ผมมอง Fight Club (1999) รับอิทธิพลเต็มๆจาก Persona (1966) สลับจากสองหญิงเป็นสองชาย ต่างคือบุคคลเดียวกันที่มีความแตกต่างตรงกันข้าม [แอบแทรกภาพ Penis ในเสี้ยววินาทีเหมือนกันด้วยนะ] ในทางจิตวิเคราะห์ทำการเปรียบเทียบ Id vs. SuperEgo เมื่อบังเกิดความขัดแย้ง ครุ่นคิดเห็นแตกต่าง เลยทำการต่อสู้ชกต่อย ผู้ชนะจักกลายมาเป็นการแสดงออกของ Ego … ถ้าคุณสามารถนำเอาความรุนแรงมาวิเคราะห์ในเชิงสัญลักษณ์ ก็อาจค้นพบความอัศจรรย์อันเหนือล้ำของภาพยนตร์เรื่องนี้!

ในบรรดาผลงานโลกตะลึงของผู้กำกับ Fincher ผมครุ่นคิดว่า Fight Club (1999) น่าจะมีความสุดโต่ง รุนแรง สลับซับซ้อนที่สุด(จนถึงปัจจุบัน) ซึ่งนั่นทำให้หนังได้รับสถานะ Cult Following สร้างอิทธิพลจับต้องได้ โดยเฉพาะ Home Video ที่ต้องหาเก็บ กลายเป็นอีกผลงานเหนือกาลเวลาไปเรียบร้อยแล้ว


ต้นฉบับของ Fight Club มาจากนวนิยายแต่งโดย Chuck Palahniuk (เกิดปี 1962) นักข่าวชาวอเมริกัน ที่พอเบื่อหน่ายในอาชีพการงาน ออกมาเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือบุคคลไร้บ้าน พาเข้าร่วมกลุ่มที่ปรึกษา (Support Group) แต่หลังการเสียชีวิตของเพื่อนผู้ป่วยที่สนิทสนม เลยตัดสินใจยุติบทบาทดังกล่าวลง

ระหว่างทำงานอาสาสมัครนั้นเอง Palahniuk ได้มีโอกาสเข้าร่วม Workshops ของกลุ่มนักเขียนจัดโดย Tom Spanbauer เพื่อนใหม่ๆช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ทดลองเขียนนวนิยายเล่มแรก Invisible Monsters แต่ถูกปฏิเสธจากทุกสำนักพิมพ์

ครั้งหนึ่งที่ Palahniuk เดินทางไปแคมปิ้งกับเพื่อนฝูง แล้วเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทชกต่อยตีกับเต้นท์ข้างๆ (เพราะเปิดวิทยุส่งเสียงดังเกินไป) พอกลับมาทำงานในสภาพใบหน้าบวมเป่ง แต่ไม่มีใครสักคนสอบถามว่าเกิดห่าเหวอะไรขึ้น นั่นเองกลายเป็นแรงบันดาลใจพัฒนาเรื่องสั้น Pursuit of Happiness (บทที่หกของนวนิยาย) พอส่งสำนักพิมพ์ได้รับคำตอบกลับ แนะนำให้ขยับขยายกลายเป็นนวนิยาย Fight Club ตีพิมพ์ปี 1996

เกร็ด: Fight Club มีภาคสองและสามต่อด้วยนะครับ แต่เป็นลักษณะหนังสือการ์ตูน Fight Club 2: The Tranquility Gambit (2015-16) และ Fight Club 3 (2019)

ยังไม่ทันที่นวนิยายจะตีพิมพ์ แมวมอง (Book Scout) ของสตูดิโอ Fox Searchlight Pictures ก็รีบติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ มูลค่าสูงถึง $10,000 เหรียญ ในตอนแรกต้องการมอบหมาย Buck Henry ผู้เขียนบท The Graduate (1967) แต่ยังไม่ทันเริ่มงานถูกล็อบบี้ให้เปลี่ยนมาเป็น Jim Uhls นักเขียนหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ใดๆ

สำหรับผู้กำกับ แรกเริ่มมีการติดต่อ Peter Jackson แต่ขณะนั้นกำลังยุ่งวุ่นอยู่กับ The Frighteners (1996), ต่อด้วย Bryan Singer ที่ได้รับหนังสือแต่ไม่มีเวลาอ่าน, Danny Boyle แสดงความชื่นชอบแต่ก็ติดพันโปรเจคอื่น, สุดท้ายมาลงเอย David Fincher ขวยขวายอยากได้ลิขสิทธิ์มาช้านาน


David Andrew Leo Fincher (เกิดปี 1962) ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Denver, Colorado บิดาทำงานนักข่าวนิตยสาร Life, มารดาเป็นนางพยาบาลดูแลผู้ป่วยติดยา, เมื่อตอนอายุ 2 ขวบ ครอบครัวอพยพย้ายสู่ San Anselmo, California สนิทสนมกับเพื่อนข้างบ้าน George Lucas เลยเกิดความชื่นชอบหลงใหลภาพยนตร์ตั้งแต่เด็ก โตขึ้นได้เข้าทำงานในสตูดิโอของ John Korty เริ่มจากอยู่แผนก Visual Effect ทำอนิเมชั่น Twice Upon a Time (1983), ต่อมาเข้าร่วมบริษัท Industrial Light & Magic (ของ Lucas) ในฐานะผู้ช่วยตากล้อง ช่างภาพถ่ายทำ Matte Photography, พอออกจาก ILM ได้รับว่าจ้างทำโฆษณาให้ American Cancer Society จึงเริ่มเข้าตาโปรดิวเซอร์จาก Hollywood, ต่อด้วยสรรค์สร้างสารคดี The Beat of the Live Drem (1985), แล้วร่วมก่อตั้ง Propaganda Films สำหรับสรรค์สร้างหนังสั้น-โฆษณา-Music Video สะสมประสบการณ์ก่อนกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ALIEN³ (1992)

I read the book and thought, How do you make a movie out of this? It seemed kind of like The Graduate, a seminal coming of age for people who are coming of age in their thirties instead of in their late teens or early twenties.

I was in my late thirties, and I saw that book as a rallying cry. Chuck was talking about a very specific kind of anger that was engendered by a kind of malaise: ‘We’ve been inert so long, we need to sprint into our next evolution of ourselves.’ And it was easy to get swept away in just the sheer juiciness of it.

David Fincher

ผู้กำกับ Fincher พอรับรู้ว่าลิขสิทธิ์นวนิยาย Fight Club ตกอยู่ในมือสตูดิโอ Fox ก็เกิดความโล้เล้ลังเลใจ ยังขยาดจากประสบการณ์ ALIEN³ (1992) แต่หลังจากเข้าพบผู้บริหาร พูดคุยปรับความเข้าใจ คงประมาณห้ามมายุ่งย่ามในส่วนงานสร้าง ก็เลยยินยอมตอบตกลงร่วมงานกันโดยดี

การเข้ามาของ Fincher ได้ปรับเปลี่ยนแก้ไขบทหนังของ Uhls เพิ่มเติม-ตัดออกหลายๆสิ่งอย่าง โดยเฉพาะการใช้เสียงบรรยาย Narrator’s Voice แสดงความคิดเห็นว่าคือส่วนที่สามารถแทรกใส่อารมณ์ขัน และไม่ทำให้ตัวละครดู “sad and pathetic” รวมถึงการตัดทิ้งชื่อ Jack (ของ Edward Norton) กลายมาเป็นชายนิรนาม สำหรับเทียบแทนถึงบุคคลทั่วๆไป

ในช่วงการปรับปรุงบทหนัง Fincher ยังขอคำแนะนำจาก Cameron Crown, Andrew Kevin Walker (ไม่รับเครดิต) รวมถึงสองนักแสดงนำ Brad Pitt และ Edward Norton เข้ามาร่วมพูดคุย โต้ถกเถียง แสดงความคิดเห็น ปรับแก้ไขรายละเอียดต่างๆ รวมระยะเวลาเตรียมงานสร้างเกือบๆปีเต็ม เรียกว่าเป็น ‘input’ ที่ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม กระตือรือล้นต่อโปรเจคนี้


ผู้บรรยายนิรนาม แต่ผมจะขอเรียกตามบทหนังว่า Jack (รับบทโดย Edward Norton) ผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบรถเรียกคืน (recall specialist) ด้วยความเบื่อหน่ายต่ออาชีพการงาน เป็นเหตุให้นอนไม่ค่อยหลับ (insomnia) เลยมองหาสิ่งที่สามารถสร้างความกระตือลือล้นให้ชีวิต จับพลัดจับพลูเข้าร่วมกลุ่มที่ปรึกษา (Support Group) รับฟังปัญหาของผู้อื่น โดยไม่รู้ตัวทำให้เขาหลับสนิทอยู่หลายคืน จนกระทั่งการมาถึงของ Marla Singer (รับบทโดย Helena Bonham Carter) สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ หวนกลับมาแสดงอาการนอนไม่หลับอีกครั้ง

วันหนึ่งระหว่างโดยสารเครื่องบิน พบเจอนักธุรกิจขายสบู่ Tyler Durden (รับบทโดย Brad Pitt) พูดคุยสนิทสนม กลายเป็นมากกว่าแค่เพื่อนร่วมทางครั้งเดียว ซึ่งพอกลับมาถึงอพาร์ทเม้นท์ปรากฎว่าทุกสิ่งอย่างราบเรียบเป็นหน้ากลอง ด้วยเหตุนี้เลยขอคำปรึกษาจาก Tyler หลังจากดื่มเบียร์กรึ่มๆ พวกเขาก็เริ่มชกต่อยกันและกัน ใครมาพบเห็นเกิดความชื่นชอบประทับใจ ไม่นานกลายเป็นก่อตั้งชมรม Fight Club สามารถนอนหลับสนิททั้งคืน แม้อาศัยอยู่ในบ้านผุๆพังๆ

จนกระทั่งการมาถึงของ Marla Singer อีกครั้ง! คราวนี้เธอร่วมรักหลับนอนกับ Tyler จนสร้างความหงุดหงิดรำคาญ พยายามพูดขับไล่ แต่เธอกลับมีสีหน้าไม่เข้าใจ ไม่พึงพอใจอะไรสักอย่าง นอกจากนี้ Tyler ยังแอบพัฒนา Fight Club ให้กลายมาเป็น Project Mayham รับสมัครสมาชิกที่ทุกคนต่างไร้ชื่อเสียงเรียงนาม เพียงปฏิบัติภารกิจตามคำสั่ง จุดประสงค์เพื่อทำลายล้างระบอบทุนนิยมให้พังทลายราบเรียบเป็นหน้ากลอง


Edward Harrison Norton (เกิดปี 1969) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Boston, Massachusetts มีความชื่นชอบหลงใหลการแสดงตั้งแต่เด็ก เคยไปเข้าค่ายการแสดงแล้วชนะรางวัล Acting Cup โตขึ้นเข้าเรียน Yale University รุ่นเดียวกับ Ron Livingston และ Paul Giamatti จบ Bachelor of Arts สาขาประวัติศาสตร์ เคยทำงานในบริษัทของปู่อยู่ Osaka, Japan พอพูดภาษาญี่ปุ่นได้ หวนกลับมาเลือกเดินทางสายการแสดง Off-Broadway ภาพยนตร์เรื่องแรก Primal Fear (1996) เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actor, ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ American History X (1998), Fight Club (1999), Red Dragon (2002), The Illusionist (2006), The Incredible Hulk (2008), Moonrise Kingdom (2012), THe Grand Budapest Hotel (2014), Birdman or (The Unexpected Virtue of Ignorance) (2014) ฯ

รับบทผู้บรรยายพึ่งพาไม่ได้ (Unreliable narrator) ทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบรถเรียกคืน (recall specialist) อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์หรู เต็มไปด้วยเฟอร์นิเจอร์มากมาย กำลังเกิดความเบื่อหน่ายในกิจวัตรประจำวัน จนกลายเป็นโรคนอนไม่หลับ (insomnia) จึงพยายามมองหาสิ่งสร้างความกระตือรือล้น ตื่นเต้นเร้าใจ ทีแรกเข้าร่วมกลุ่มทึ่ปรึกษา (support group) รับฟังปัญหา ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานของผู้อื่น แต่มันก็เทียบไม่ได้กับการพบเจอประสบการณ์ชีวิต หลังจากรับรู้จัก Tyler Durden ร่วมก่อตั้งชมรม Fight Club ความเจ็บปวด เลือดไหลนอง นั่นทำให้เขานอนหลับสบาย

เกร็ด: ในนวนิยายก็ไม่ได้ตั้งชื่อตัวละครนี้เช่นกัน แต่ใช้คำเรียก Joe ส่วนฉบับภาพยนตร์ไม่มีการเอ่ยกล่าวชื่อ ยกเว้นเพียงในบทเรียกว่า Jack

ในตอนแรกสตูดิโอต้องการติดต่อ Matt Damon, Sean Penn แต่ผู้กำกับ Fincher แสดงความสนใจ Edward Norton จากผลงาน The People vs. Larry Flynt (1996) ทีแรกตอบปัดปฏิเสธเพราะติดสัญญาอยู่กับ Paramount Pictures หลังจากพูดคุยต่อรอง มีส่วนร่วมในบทหนัง ทำให้เขากระตือรือล้นต่อบทบาทนี้อย่างมากๆ ปฏิเสธข้อเสนอภาพยนตร์เรื่องอื่น รับค่าจ้าง $2.5 ล้านเหรียญ

ลักษณะกายภาพของ Norton แตกต่างจาก Pitt โดยสิ้นเชิง! ไม่ได้หล่อเหลา แถมยังผอมแห้ง การแสดงก็ดูรุกรี้รุกรน เต็มไปด้วยความสับสน เหมือนคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ถ้าตามมาตรฐาน Hollywood ดูยังไงก็ไม่น่าได้เป็นนักแสดง แต่เขากลับสามารถใช้ข้อด้อยดังกล่าวสร้างความโดดเด่นให้ตนเอง พร้อมทุ่มเททั้งร่างกาย-จิตใจ สวมวิญญาณ ‘method acting’ กลายเป็นตัวละครได้อย่างสมบทบาท

We decided early on that I would start to starve myself as the film went on, while [Brad Pitt] would lift and go to tanning beds; he would become more and more idealized as I wasted away.

Edward Norton

หลายคนอาจรู้สึกว่าบทบาทของ Norton ดูจืดชืดเมื่อเปรียบเทียบกับ Pitt ที่โดดเด่นทั้งภาพลักษณ์และ Charisma แต่นั่นคือความจงใจเพื่อให้ตัวละครนี้แทนบุคคลทั่วๆไป ไม่ใช่ทุกคนจะหล่อเหลา หุ่นดี หน้าตาบ้านๆแบบนี้ก็สามารถมีความเบื่อหน่าย โหยหากระทำบางสิ่งอย่าง เพื่อสร้างความสุข ตอบสนองกิเลสตัณหา ความพึงพอใจส่วนตน ดิ้นหลุดพ้นสนามแข่ง ‘Rat Race’ ให้ได้รับเสรีภาพในการใช้ชีวิต

เห็นว่า Norton อดอาหารแบบจริงๆจังๆจนน้ำหนักลดไปหลายสิบปอนด์ รวมถึงไม่ได้หลับไม่ได้นอน ดวงตาดำคล้ำโดยไม่ต้องแต่งหน้า แต่การแสดงยังคงเต็มไปด้วยสติ สมาธิ รับรู้ตัวเองว่ากำลังทำอะไร นั่นถือว่าโคตรๆน่าประทับใจ หนึ่งในบทบาทยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้


William Bradley ‘Brad’ Pitt (เกิดปี 1963) นักแสดง/โปรดิวเซอร์ สัญชาติอเมริกา เกิดที่ Shawnee, Oklahoma แล้วมาเติบโตยัง Springfield, Missouri บิดาเป็นเจ้าของกิจการรถบรรทุก ฐานะมั่งมี วัยเด็กชื่นชอบเล่นกีฬา ดนตรี สอบเข้า University of Missouri ตั้งใจจะเป็นนักข่าว หรือทำงานเกี่ยวกับโฆษณา แต่ก่อนจะเรียนจบเพียงสองสัปดาห์ ตัดสินใจเดินทางมา Los Angeles ร่ำเรียนการแสดงจาก Roy London จากนั้นเป็นตัวประกอบ รับเชิญรายการซิทคอม บทนำครั้งแรก The Dark Side of the Sun (1988), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Thelma & Louise (1991), A River Runs Through It (1992), นักวิจารณ์ชื่นชมว่าคือ Robert Redford คนต่อไป, ผลงานเด่นๆ อาทิ Interview with the Vampire (1994), Se7en (1995), 12 Monkeys (1995), Fight Club (1999), Ocean’s Eleven (2001), Troy (2004), Mr. & Mrs. Smith (2005), The Curious Case of Benjamin Button (2008), Inglorious Basterds (2009), The Tree of Life (2011), Moneyball (2011), Once Upon a Time in Hollywood (2019) ** คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor

รับบท Tyler Durden หนุ่มหล่อ เจ้าของธุรกิจขายสบู่ ดูเป็นคนไม่ยี่หร่าอะไรใคร อาศัยอยู่บ้านร้างชานเมือง แทบไม่มีข้าวของเครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ เมื่อพบเจอ Jack (ตัวละครของ Edward Norton) อาสาให้ความช่วยเหลือ ท้าทายให้ชกต่อยตี แลกหมัดทำร้ายร่างกาย ความเจ็บปวดแสดงถึงเสรีภาพชีวิต ตามด้วยเป็นผู้ก่อตั้งชมรม Fight Club รวบรวมสมัครพรรคพวกมอบหมายภารกิจ Project Mayham และแอบสานสัมพันธ์ ร่วมรักหลับนอน Marla Singer อย่างถึงพริกถึงขิง!

นักแสดงคนแรกที่ได้รับการติดต่อคือ Russell Crowe ก่อนมาลงเอย Brad Pitt ที่แม้เพิ่งล้มเหลวจาก Meet Joe Black (1998) แต่พลังดารานั้นสูงกว่า (ช่วงนั้น Crowe ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกา จนกว่าการมาถึงของ Gladiator (2000)) ยินยอมจ่ายค่าจ้างสูงถึง $17.5 ล้านเหรียญ (นี่คือเหตุผลหนึ่งที่งบประมาณหนังบานปลายเกินกว่าเท่าตัว)

หลายคนน่าจะสามารถขบครุ่นคิดได้อยู่แล้วว่า Tyler คือจินตนาการสร้างขึ้นของ Jack ให้เป็นบุคคลดีพร้อม สมบูรณ์แบบ แตกต่างตรงกันข้ามกับตนเอง รูปหล่อ ล่ำบึก เข้มแข็งแกร่ง วาทะศิลป์เป็นเลิศ ลีลาบนเตียงไม่เป็นสองรองใคร นิสัยหัวขบถ นักวางแผน จอมบงการ ต้องการทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง

ต้องยอมรับว่า Pitt เป็นผู้ชายสมบูรณ์แบบ เต็มไปด้วยเสน่ห์ พลังการแสดง (Charisma) แรงดึงดูดทางเพศ (ได้ทั้งชาย-หญิง) รวมถึงการต่อสู้ที่ดูเจ็บจริง สมจริง เหมือนคนพานผ่านอะไรๆมามาก เอ่อล้นด้วยประสบการณ์ สามารถครุ่นคิดวางแผน จอมบงการสิ่งต่างๆให้ดำเนินตามความต้องการของตนเอง … ถือเป็นหนึ่งในบทบาทได้รับการจดจำสูงสุดเลยก็ว่าได้

เกร็ด: นิตยสาร Empire เมื่อปี 2008 มีการจัดอันดับ The 100 Greatest Movie Characters Of All Time โหวตให้ตัวละคร Tyler Durden ติดอันดับ #1


Helena Bonham Carter (เกิดปี 1966) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Islington, London เมื่อตอนอายุห้าขวบ พบเห็นมารดาแสดงอาการสติแตก (nervous breakdown) ต้องรักษาตัวอยู่หลายปี ส่วนบิดาหลังผ่าตัดเนื้องอกกลายเป็นอัมพาตครึ่งซีก แต่โชคดีที่ครอบครัวมีฐานะ เลยไม่ต้องทนทุกข์ยากลำบากในการใช้ชีวิต, ด้วยความที่เป็นเด็กเฉลียวฉลาด สอบได้เกรด A ทุกวิชา สามารถสอบเข้าเรียนต่อ King’s College, Cambridge แต่ตอนสัมภาษณ์บอกว่าอนาคตอยากเป็นนักแสดง ทางมหาวิทยาลัยกลัวเธอจะดรอปเรียนเลยปฏิเสธรับเข้าศึกษา จากนั้นได้รับโอกาสแสดงโฆษณา, ตัวประกอบซีรีย์ A Pattern of Roses (1983), เล่นบทนำครั้งแรก Lady Jane (1986), แจ้งเกิดโด่งดัง A Room with a View (1985), Howards End (1992), The Wings of the Dove (1997), Fight Club (1999), ขาประจำ(อดีต)สามี Tim Burton ตั้งแต่ Big Fish (2003), Charlie and the Chocolate Factory (2005), Sweeney Todd: The Demon Barber of Fleet Street (2007), Alice in Wonderland (2011), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ แฟนไชร์ Harry Potter (2007-11) บทบาท Bellatrix Lestrange, The King’s Speech (2010), Les Misérables (2012) ฯลฯ

รับบท Marla Singer หญิงสาวผู้มีความเบื่อหน่ายในชีวิต ไม่แตกต่างจากผู้บรรยายพึ่งพาไม่ได้ นั่นทำให้เมื่อพวกเขาพบเจอกัน ก็เกิดความตระหนักรู้ ‘ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่’ จนกระทั่งครั้งหนึ่งแสร้งว่าครุ่นคิดฆ่าตัวตาย ได้รับการช่วยเหลือจาก Tyler Durden จึงมีโอกาสสานสัมพันธ์ ร่วมรักหลับนอนกันอย่างเร่าร้อนรุนแรง ก่อนบังเกิดความโคตรสับสน หมอนี่เป็นคนยังไงกันแน่

ผู้กำกับ Fincher มีความสนใจ Janeane Garofalo แต่ถูกบอกปัดเพราะเนื้อหาทางเพศ ตัวเลือกถัดมา Courtney Love, Winona Ryder , Reese Witherspoon ก่อนมาลงเอย Helena Bonham Carter หลังรับชมภาพยนตร์ The Wings of the Dove (1997)

แค่หน้าตาของ Bonham Carter ก็กินขาดถึงความอัปลักษณ์ ในรูปแบบที่ใครๆพบเห็นย่อมมักคุ้นเคยทันที (ตั้งแต่คบหา Tim Burton) ทรงผมยุ่งๆ หน้ามุ่ยๆ ขอบตาดำคล้ำ เหมือนคนไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง ไม่ยี่หร่าอะไรกับชีวิต … เห็นว่าเธออ้างอิงตัวละครนี้จาก Judy Garland ในช่วงบั้นปลายชีวิต แถมยังขอให้ผู้กำกับ Fincher เรียกเธอว่า Judy ตลอดการถ่ายทำ

แซว: Bonham Carter บอกให้นักแต่งหน้าประจำตัว Julie Pearce ทำทุกสิ่งอย่างด้วยมือซ้าย (ข้างที่ไม่ถัด) เพื่อแทนความไม่ยี่หร่าของตัวละคร จะเขียนคิ้วเขียนตา ตรงหรือไม่ตรง ฉันก็ไม่สนใจอยู่แล้ว

สิ่งน่าอัศจรรย์ใจสุดของตัวละครนี้ก็คือ ได้พบเห็นความเปลี่ยนแปลงจาก Tyler มาสู่ Jack จากแค่เพียงหลังเสร็จกามกิจ พอลงมาชั้นล่างก็ราวกับเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนละคน (เพราะทั้งสองคือบุคคลเดียวกัน) แต่การที่หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองผู้บรรยายพึ่งพาไม่ได้ เราจึงพบเห็นเธอมีอาการสับสน งุนงง หมอนี่เป็นอะไร ทำไมถึงแสดงพฤติกรรมผีเข้าผีออก เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย … เป็นเงื่อนงำให้ผู้ชมได้สังเกต ขบครุ่นคิด ค้นหาความจริง ใครตาดีได้ตาร้ายเสีย!


ถ่ายภาพโดย Jeff Cronenweth (เกิดปี 1962) ตากล้องชาวอเมริกัน บุตรชายของ Jordan Cronenweth (ตากล้อง Blade Runner (1982) ดำเนินตามรอยเท้าบิดาจากเป็นผู้ช่วย, ควบคุมกล้อง (Camera Operator) เคยร่วมงานผู้กำกับ David Fincher ตั้งแต่ ALIEN³ (1992) จนกระทั่งก้าวขึ้นมีรับเครดิตถ่ายภาพเต็มตัวเรื่องแรก Fight Club (1999), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Social Network (2010), The Girl with the Dragon Tattoo (2011), Gone Girl (2014), Being the Ricardos (2021) ฯ

งานภาพของหนังเต็มไปด้วยลูกเล่นลีลา หลากหลายเทคนิค ที่มีความโมเดิร์นล้ำยุคสมัยนั้น อีกทั้งยังผสมผสาน CGI (Computer Graphic Interface) ช่วยขยับขยายมุมมอง เหนือจินตนาการ พานผ่านมาสองทศวรรษ (ค.ศ. 2022) ยังรู้สึกถึงความสดใหม่

ผกก. Fincher พยายามสร้างโลกของหนัง (ซึ่งก็คือในจินตนาการของตัวละคร) ให้มีความผิดแผกแตกต่างจากมุมมองปกติ ทั้งการปรับ Contrast, Underexposed, Bleach bypass ฯลฯ เพื่อให้ผลลัพท์งานภาพมอบสัมผัส ‘grubbiness’ ตั้งชื่อเล่นว่า ‘dirty patina’ เต็มไปด้วยคราบสกปรก รกๆรุงรัง

นอกจากนี้ช็อตเกี่ยว Tyler ยังมีกฎข้อห้ามเช่นว่า จะไม่พบเห็นภาพ Two-Shot หรือถ่ายข้ามไหล่ (Over the Shoulder) ระหว่างสนทนากับตัวละครอื่น (จะมี Two-Shot แค่กับ Jack และ Tyler) และถ้าใครช่างสังเกต Tyler, Jack และ Marla ทั้งสามไม่เคยอยู่ร่วมช็อตเดียวกัน

หนังใช้เวลาถ่ายทำนานถึง 138 วัน กว่า 200 สถานที่ถ่ายทำ 72 ฉากสร้างขึ้น (โดย Alex McDowell) ปักหลักอยู่แถวๆ Los Angeles ผสมๆระหว่างสถานที่จริง และฉากในสตูดิโอ (ส่วนใหญ่ถ่ายทำตอนกลางคืน)

แซว: ความหนังถ่ายทำหลายร้อยกว่าสถานที่ สร้างความเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่ายให้ผกก. Fincher ต้องขนของขึ้นรถ-ลงรถ จนทำให้ผลงานเรื่องถัดไป Panic Room (2002) แทบจะหลงเหลือถ่ายทำเพียงสถานที่แห่งเดียวเท่านั้น

I felt like I was spending all my time watching trucks being loaded and unloaded so I could shoot three lines of dialogue. There was far too much transportation going on.

David Fincher

Title Sequence นำเสนอด้วย CGI ออกแบบโดย Kevin Mack (1959-) เจ้าของรางวัล Oscar: Best Visual Effects จากผลงาน What Dreams May Come (1998)

เริ่มต้นจากกึ่งกลางสมอง ส่งสัญญาณความกลัวผ่านเส้นประสาท ค่อยๆเคลื่อนถอยหลัง ซูมออกมาเรื่อยๆจนพบเห็นรูขุมขน และปลายกระบอกปืนยัดอยู่ในปากของ Jack เพื่อจะบอกว่านี่คือเรื่องราวของบุคคลผู้ ‘fuck up’ ดำเนินชีวิตมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร และเป็นการบอกใบ้ด้วยว่าทั้งหมดเกิดขึ้นภายในจินตนาการเพ้อฝันของตัวละคร

We wanted a title sequence that started in the fear center of the brain. [When you hear] the sound of a gun being cocked that’s in your mouth, the part of your brain that gets everything going, that realizes that you are fucked—we see all the thought processes, we see the synapses firing, we see the chemical electrical impulses that are the call to arms. And we wanted to sort of follow that out. Because the movie is about thought, it’s about how this guy thinks. And it’s from his point of view, solely.

So I liked the idea of starting a movie from thought, from the beginning of the first fear impulse that went, Oh shit, I’m fucked, how did I get here?

David Fincher

แซว: ต้องถือว่านี่คือ Title Sequence ที่ทรงอิทธิพลอย่างมากๆ เพราะถือว่าเป็นครั้งแรกๆใช้ CGI ทำออกมาแบบนี้ เลยมีภาพยนตร์นับไม่ถ้วนนำไปเป็นแรงบันดาลใจ โดยเฉพาะแฟนไชร์ X-Men

หลังจาก Title Sequence และอารัมบทงงๆ เสียงผู้บรรยายก็เริ่มเล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) โดยสิ่งแรกพบเห็นคือ Jack ในอ้อมอกของ Bob (รับบทโดย Meat Loaf) ชายผู้มีความผิดปกติอะไรสักอย่างเกี่ยวกับฮอร์โมน ทำให้มีหน้าอกขนาดใหญ่เหมือนเพศหญิง … สื่อถึงสิ่งที่ตัวละครรู้สึกขาดหาย ความรักความอบอุ่นจากครอบครัว อ้อมอกมารดา (รวมถึงอาการโหยหาความรักจากหญิงสาว)

Meat Loaf หรือ Michael Lee Aday (1947-2022) นักร้องเพลงร็อคสัญชาติอเมริกัน เจ้าของรางวัล Grammy Award หลายสาขา ทั้งยังมีผลงานการแสดงภาพยนตร์ The Rocky Horror Picture Show (1975), Fight Club (1999) ฯลฯ ตัวจริงของพี่แกก็ขนาดตัวใหญ่พอสมควร แต่ยังต้องใส่ ‘fat suit’ ยัดด้วยอาหารนก (birdseed) เพื่อให้ดูย้วนๆเหมือน ‘bitch tits’ น้ำหนักรวมแล้วกว่า 90 ปอนด์

เกร็ด: Rob Bottin ผู้ออกแบบ ‘fat suit’ เตรียมไว้สองชุดคือที่มีหัวนมกับไม่มีหัวนม เพราะไม่รู้ว่าสตูดิโอ Fox จะอนุญาติรึเปล่า ผลลัพท์ก็ลองสังเกตจากรูปดูเอาเองนะครับ

ถ้าไม่นับอารัมบท นี่คือการปรากฎตัวครั้งแรกของ Tyler Durden มาแบบแวบๆ เสี้ยววินาที ไม่ทันกระพริบตา ระหว่างที่ Jack กำลังถ่ายเอกสาร ในสภาพสลึมสลือ ครึ่งหลับครึ่งตื่น “Everything’s a copy of a copy” ไอ้หมอนี่ก็คือก็อปปี้ของเขาเองนะแหละ (Tyler คือบุคคลในจินตนาการ/จิตใต้สำนึกของ Jack นั่นเอง)

ล้อกับตอน Title Sequence ที่กล้องเคลื่อนจากกึ่งกลางสมอง ออกมาทางเส้นประสาท และรูขุมขน, ฉากนี้กล้องเคลื่อนจากถังขยะที่เต็มไปด้วยสิ่งข้าวของ ภาชนะบรรจุภัณฑ์ อาหาร เครื่องดื่ม แบรนด์แนม นี่เป็นการสะท้อนวิถีชีวิตในระบอบทุนนิยม ทุกสิ่งอย่างล้วนมีความ ‘สำเร็จรูป’ ใช้แล้วทิ้ง มนุษย์ก็เช่นกัน สภาพของ Jack ขณะนั้นรู้สึกไม่ต่างจากขยะสังคม!

แซว: มันอาจเป็นคำพูดเล่นๆ แต่ผมก็ขี้เกียจตรวจสอบว่าจริงหรือเปล่า ผู้กำกับ Fincher บอกว่าทุกฉากของหนัง จะต้องมีถ้วยกาแฟ Starbucks ซุกซ่อนเร้นอยู่ … มันเลยมีคำกล่าว The Planet Starbuks

หนึ่งในฉากที่ผมโปรดปรานอย่างมากๆ -เพราะชีวิตจริงตอนเคยซื้ออพาร์ทเม้นท์ก็แบบนี้เลยแหละ- เริ่มต้นจาก Jack นั่งขี้ในห้องน้ำ (เป็นการบอกว่าทั้งซีนนี้มันคือความ ‘shit’) จากนั้นเปิดดูแคตาล็อค IKEA จากนั้นตัดไปช็อตอพาร์ทเม้นท์ที่ว่างเปล่า จากนั้นกล้องค่อยๆแพนนิ่ง แล้วบรรดาเฟอร์นิเจอร์(พร้อมคำบรรยายและราคา)ก็ปรากฎขึ้นมา เพื่อสื่อว่าชายคนนี้อาศัยอยู่ในโลกแห่งการบริโภคนิยม

So we brought in a motion control camera and filmed Edward walking through the set, then filmed the camera pan across the set, then filmed every single piece of set dressing and just slipped them all back together, then used this type program so that it would all pan. It was just the idea of living in this fraudulent idea of happiness.

There’s this guy who’s literally living in this IKEA catalog.

David Fincher

แซว: Commentary ของ Edward Norton บอกว่าฉากนี้เขากำลังถ่ายท้องจริงๆ ไม่ได้สวมใส่กางเกงในระหว่างนั่งขี้ นั่นสร้างความตกตะลึงให้ผู้กำกับ David Fincher เพิ่งมารับรู้เอาตอนนั้นเอง

ในหนังมีการกล่าวถึงทั้งหมด 9 กลุ่มที่ปรึกษา (Support Group) ประกอบด้วย

  • Adult Children Of Alcoholics
  • Alcoholics Anonymous
  • Certain Resolve
  • Glorious Day
  • Incest Survivors Group
  • Learning To Soar
  • Overeaters Anonymous
  • Positive Positivity
  • Sex Addicts Anonymous
  • Taking Flight
  • Triumphant Tomorrows

การมาถึงของ Marla Singer รุกรานทุกๆกลุ่มที่ปรึกษา (Support Group) ด้วยการพ่นควันบุหรี่ออกอย่างช้าๆ (การกระทำเช่นนี้สื่อถึงความพึงพอใจส่วนตน) อีกทั้งยังรุกล้ำเข้ามาในถ้ำน้ำแข็งของ Jack (สถานที่ฝึกสมาธิให้สามารถสงบจิตสงบใจ เกิดความเยือกเย็นชาขึ้นภายใน จนสามารถใช้ชีวิตอย่างลื่นไถล ‘slide’ ไม่ยี่หร่าต่อสิ่งรอบข้างใดๆ)

ทั้งคำพูด สีหน้า ปฏิกิริยาของ Jack แม้เต็มไปด้วยอคติต่อต้าน Marla Singer แต่การมีตัวตนของเธอที่สร้างความว้าวุ่นวายใจนี้ เป็นสิ่งที่เขายังไม่เข้าใจตนเองว่าคือความรู้สึกอะไร เหตุใดถึงเกิดความหมกหมุ่น ลุ่มหลงใหล ถึงขนาดรุกรานเข้ามาถึงภายใน

ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย แม้จะสามารถยินยอมรับความตาย แต่สิ่งที่เธอต้องการสูงสุดนั้นคือใครสักคนยินยอมร่วมรักหลับนอน มีเพศสัมพันธ์กับตนเอง … คำพูดดังกล่าวสะท้อนสิ่งขาดหาย ความต้องการแท้จริงของ Jack ด้วยเช่นเดียวกัน! แต่ขณะนี้เขายังไม่สามารถรับรู้เข้าใจตนเอง นั่นเพราะ SuperEgo (ทางศีลธรรม)ยังคงค้ำคอเขาไว้

สำหรับคนช่างสังเกตก็อาจหาพบเจอได้ไม่ยาก ก่อนหน้าที่ Jack จะเริ่มต้นพูดคุยสนทนาครั้งแรกกับ Tyler บนเครื่องบิน ชายแปลกหน้าคนนี้ปรากฎตัวขึ้นมาแวบๆอยู่หลายครั้ง … ตาดีได้ ตาร้ายเสีย

เมื่อ Jack ตื่นขึ้นมาจากความฝันร้าย (เครื่องบินกำลังตก) แรกพบเจอ Tyler นั่งอ่านคู่มือการเอาตัวรอดอยู่ข้างๆ แสดงความคิดเห็น คำแนะนำดังกล่าวไม่ได้ช่วยห่าเหวอะไร (คู่มือเอาตัวรอด สามารถสะท้อนถึงทิศทางที่สังคมกำหนดให้เราเลือกดำเนินชีวิตไปตามครรลอง) มันคือวิธีการที่ทำให้คนรู้สึกปลอดภัย สูดออกซิเจนเพื่อสามารถยินยอมรับความตาย

An exit-door procedure at 30,000 feet. Mm-hm. The illusion of safety.

You know why they put oxzgen masks on planes? Oxzgen gets you high. In a catastrophic emergency, you take giant panic breaths. Suddenly you become euphoric, docile. You accept your fate. It’s all right here. Emergency water landing, 600mph. Blank faces. Calm as Hindu cows.

Tyler Durden

เกร็ด: ตามความเชื่อศาสนาฮินดู วัวคือสิ่งมีชีวิตศักดิ์สิทธิ์ สำหรับบูชายันต์แก่พระเป็นเจ้า และรับประทานเนื้อหนังเป็นอาหาร … กล่าวคือ เป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้ด้วยเหตุผลของการเข่นฆ่า

อาชีพของ Jack คือผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบรถเรียกคืน (recall specialist) เลยพบเห็นออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อเก็บรายละเอียด สภาพปรักหักพังของรถ เลยไม่แปลกที่จะมีความรอบรู้เกี่ยวกับระเบิด ไขมัน และสบู่ แต่สูตรสำหรับทำไดนาไมท์นั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบจึงทำการครุ่นคิดขึ้นอย่างมั่วๆ ไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง

สบู่ คือสิ่งสำหรับชะล้างเหงื่อไคล ทำความสะอาดเรือนร่างกาย (สามารถสื่อถึงการปรับเปลี่ยนแปลงตนเอง ถือกำเนิด เริ่มต้นใหม่) แต่มันกลับทำขึ้นจากไขมันที่อยู่ภายใต้เนื้อหนัง (=การเปลี่ยนแปลงจะบังเกิดขึ้นได้ ก็ต้องเริ่มจากตัวเราเอง) และแม้เป็นสิ่งสร้างประโยชน์ ก็สามารถก่อให้เกิดโทษมหันต์ นำไปทำไดนาไมท์สำหรับระเบิดล้างผลาญ (การเปลี่ยนแปลงย่อมมีทั้งทิศทางดีขึ้น-ย่ำแย่ลง ขึ้นอยู่กับตัวเราเองจะเลือกดำเนินไปทิศทางไหน)

มันไม่ใช่ว่า Tyler เป็นคนวางระเบิดอพาร์ทเม้นท์ของ Jack นะครับ แต่คือตัวเขาเองนะแหละที่จงใจทำให้มันเกิดขึ้น เพราะความเบื่อหน่ายในวิถีชีวิต จึงต้องการทำอะไรสักสิ่งอย่าง เป็นข้ออ้างให้ตนเองสามารถดิ้นหลุดพ้น ก้าวออกมาจากวังวน ‘rat race’ เลือกใช้ชีวิตตามหัวใจปรารถนา … เอาจริงๆก็อาจตั้งแต่ Tyler ขโมยรถหรู, Jack นั่งรถแท็กซี่ แท้จริงแล้วตัวละครกลับอพาร์ทเม้นท์ยังไง ก็แล้วแต่ผู้ชมจะขบครุ่นคิดจินตนาการ

Jack จินตนาการอาชีพของ Tyler ว่าเป็นนักฉายภาพยนตร์ มีหน้าที่ตัดต่อ/เชื่อมต่อม้วนฟีล์มระหว่างกำลังทำการฉายหนัง ซึ่งในเสี้ยววินาทีนั้นสามารถแทรกใส่อะไรบางสิ่งอย่าง -ไอ้จ้อนหนึ่งอัน- เหมือนการที่เขาปรากฎตัวแวบขึ้นมาหลายครั้งก่อนหน้า เพื่อสื่อถึงการมีตัวตนแค่บนแผ่นฟีล์ม หาใช่บุคคลจริงๆที่ใครอื่น(ตัวประกอบในหนัง)สามารถพบเห็น

เกร็ด: ผู้กำกับ David Fincher เคยทำงานพาร์ทไทม์เป็นนักฉายภาพยนตร์ (Projectionist) ในช่วงสมัยวัยรุ่น

มีเทคนิคหนึ่งที่หนังทำการอธิบาย สำหรับการฉายภาพยนตร์ฟีล์มสมัยก่อน เมื่อใกล้ฟีล์มใกล้จะหมดม้วน มักมีการทำสัญลักษณ์บางอย่างให้ปรากฎขึ้นริมจอ สังเกตเห็นโดยง่าย (ไม่จำเป็นต้องเป็นวงกลมหรือมีตำแหน่งตามรูปนะครับ ขึ้นอยู่กับเทคนิค/วิธีการของนักฉายภาพยนตร์นั้นๆ) นอกจากขณะที่ Tyler ทำการชี้จุดสังเกต ซึ่งพอเขากำลังลุกขึ้นยืน จู่ๆก็ปรากฎวงกลมนี้ขึ้นอีกครั้ง เพื่อบอกว่าฟีล์มกำลังหมดม้วนจริงๆ

ปล. ปัจจุบันเทคนิคดังกล่าวแทบจะสูญพันธุ์ไปแล้วนะครับ (เพราะการฉายแบบดิจิตอล รวมถึง Home Video มันไม่ต้องใช้การเปลี่ยนม้วนฟีล์มอีกต่อไป) ต้องพวกหนังกลางแปลง หรือโรงฉายเก่าๆที่ยังฉายฟีล์ม ก็ยังอาจพบเห็นร่องรอยขีดๆข่วนๆแบบนี้

อีกอาชีพหนึ่งของ Tyler คือเป็นบริกรในโรงแรมหรู แต่แท้จริงนั้นตามคำอธิบายของ Jack เรียกว่า ‘guerrilla terrorist of the food service industry’ สิ่งที่ทำก็อย่าง ปัสสาวะใส่ซุป (สงสัยจะกลัวผู้ชมไม่เห็นภาพ เลยหยิบแก้วน้ำขึ้นมาเทระหว่างยืนปัสสาวะ) อย่างอื่นก็ไปจินตนาการต่อเองแล้วกัน

ปล. คำบรรยายอาชีพของ Tyler มันก็คืองานพาร์ทไทม์ของ Jack เองนะแหละ! เพราะเขาเป็นโรคนอนไม่หลับ (insomnia) จึงออกหางานทำในยามค่ำคืนแก้ง่วง

Tyler ท้าทายให้ Jack ชกต่อยตนเอง แม้ตอนเตี้ยมจะตั้งใจจะแค่หลอกๆ แต่ผู้กำกับ Fincher กระซิบบอก Norton เอาจริงเลย ตบกดหู นี่คือปฏิกิริยาจริงๆของ Pitt เจ็บปวดไม่ใช่น้อย!

เพื่อเตรียมตัวเข้าฉากการต่อสู้ ทั้ง Pitt และ Norton ต้องไปเข้าคอร์สชกมวย, เทควันโด, ปล้ำจับล็อก (grappling) และยังร่ำเรียนทำสบู่ (ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้มั้ง) นอกจากนี้ Pitt ยังไปหาหมอฟัน เพื่อทำให้ฟันหน้าดูบิดๆเบี้ยวๆ (เพราะฟันของเขาสวยงามเกินไป) แล้วค่อยซ่อมแซมเอาภายหลังถ่ายเสร็จ

สำหรับใบหน้านักแสดงที่เต็มไปด้วยริ้วรอยบาดแผล ฟกช้ำดำขาว (makeup artist) Julie Pearce บอกว่าได้แรงบันดาลใจจากรับชมการต่อสู้บนสังเวียน UFC (Ultimate Fighting Championship) สังเกตนักสู้ที่มักมีสภาพยับเยิน นำมาเป็นต้นแบบในการแต่งหน้านักแสดง

บ้านของ Tyler ถูกสร้างเฉพาะภายนอกขึ้นมาใหม่ ยังบริเวณชานเมือง Wilmington, California ให้มีสภาพรกร้าง ถูกทิ้งขว้าง ห่างไกลชุมชน Paper Street (A Place To Be Nobody) [ไม่มีถนนสายนี้อยู่จริงนะครับ] ถือว่ามีสภาพแตกต่างตรงกันข้ามกับอพาร์ทเม้นท์หรูของ Jack บนตึก Pearson Towers (A Place To Be Somebody)

ส่วนภายในบ้าน (ถ่ายทำในสตูดิโอ) ก็มีสภาพตามมีตามเกิด เฟอร์นิเจอร์เก่าๆผุๆ น้ำปะปาไม่ไหล ไฟฟ้าติดๆดับๆ แทบจะไร้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกใดๆ นี่คือเสรีภาพตามใจอยากของ Tyler อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ไม่มีอะไรสักสิ่งอย่างก็อาศัยอยู่ได้ ไม่เห็นจะตกตาย

ทั้งต้นฉบับนวนิยายและภาพยนตร์ เริ่มต้นออกกฎของ Fight Club ทั้งหมด 8 ข้อ

  1. You don’t talk about fight club.
  2. You don’t talk about fight club.
  3. When someone says stop, or taps out, or goes limp, the fight is over.
  4. Only two guys to a fight.
  5. One fight at a time.
  6. They fight without shirts or shoes.
  7. The fights go on as long as they have to.
  8. If this is your first night at fight club, you have to fight.

แต่ต่อมาจะมีการออกกฎเพิ่มเติมอีกสองข้อ (เหมือนในหนังจะไม่มีการกล่าวถึง)

  1. Nobody is the center of the fight club except for the two men fighting.
  2. And the fight club will always be free.

สำหรับ Project Mayham ในหนังมีกล่าวถึงแค่กฎบางข้อ แต่ในนวนิยายจะมีทั้งหมด 5 ข้อ

  1. You don’t ask questions.
  2. You don’t ask questions.
  3. No excuses.
  4. No lies.
  5. You have to trust Tyler.

กฎข้อสองที่เป็นการเน้นย้ำเตือนกฎข้อแรก ก็เพื่อให้เพื่อนสมาชิกจดจำฝังใจ ไม่ให้พูดถึง ไม่ให้ตั้งคำถาม เพียงความเงียบงัน รับล่วงรู้อยู่ในใจ นี่คือลักษณะหนึ่งของเผด็จการ Fascism หุบปากแล้วทำตามคำสั่ง … นั่นรวมถึงยังเป็นการย้ำเตือนกับผู้ชม กรุณาอย่างสปอยภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างเด็ดขาด!

เกร็ด: ประโยค “The first rule of Fight Club is: you do not talk about Fight Club” ได้รับการโหวตจากนิตยสาร Premiere ติดอันดับ 27 ชาร์ท The 100 Greatest Movie Lines เมื่อปี 2007

Jack และ Tyler พูดคุยถึงบุคคลในประวัติศาสตร์ที่พวกเขาอยากต่อสู้ ชกต่อยตี แต่สังเกตว่าพวกเขาเหล่านี้ล้วนเป็นคนรักสงบ โหยหาสันติภาพ ไม่มีใครชื่นชอบความรุนแรงสักเท่าไหร่

  • Ernest Hemingway (1899-1961) ผู้แต่งวรรณกรรมต่อต้านสงคราม อาทิ The Sun Also Rises (1926), A Farewell to Arms (1929), For Whom the Bell Tolls (1940), The Old Man and the Sea (1952) ฯลฯ
  • William Shatner (1931-) นักแสดงโด่งดังจากบทบาท James T. Kirk แฟนไชร์ Star Trek
  • Abraham Lincoln (1809-65) ประธานาธิบดีคนที่ 16 แห่งสหรัฐอเมริกา นำพาประเทศชาติก้าวผ่านสงครามกลางเมือง ประกาศเลิกทาส และถูกลอบสังหาร ค.ศ. 1865
  • Mahatma Gandhi (1869-1948) ผู้นำและนักการเมืองชาวอินเดีย ยึดถือหลักอหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

ฉากฟันหลุด ชวนให้ผมนึกถึงสมัยเด็กๆเมื่อฟันน้ำนมหลุด คือสัญลักษณ์ของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ในบริบทนี้ก็น่าจะเหตุผลเดียวกัน แต่เอาจริงๆถ้าฟันแท้หลุด มันควรหมายความถึงช่วงวัยชราภาพเสียมากกว่า!

Sex Scene ระหว่าง Marla Singer กับ Tyler (หรือ Jack หว่า?) นอกจากใบหน้าเบลอๆ (เพราะใช้นักแสดงแทนทั้งหมด ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความเลือนลางระหว่าง Tyler กับ Jack ได้อีกต่างหาก) ยังใช้วิธีการถ่าย ‘bullet-time’ ทำเดียวกับ The Matrix (1999) กล้องจำนวนนับไม่ถ้วนวางเรียงรายโดยรอบฉาก กดชัตเตอร์พร้อมๆกันแล้วนำมาร้อยเรียงต่อกันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วใช้ CGI ปรับแต่งให้ดูสวยงาม (หน้าอกของ Bonham Carter ถูกปิดบังไว้ตอนถ่ายทำ) ทำให้เห็นภาพเคลื่อนไหลแต่นักแสดงหยุดอยู่นิ่ง (หรือขยับเคลื่อนอย่างช้าๆ)

แซว: ส่วนเสียงครวญครางระหว่างมีเพศสัมพันธ์ Brad Pitt เล่าติดตลกว่าต้องใช้เวลากว่า 3 วัน ถึงสามารถสร้างความเร้าใจสนองความต้องการผู้กำกับ Fincher

I spent so many days coming in and basically doing voice-off orgasm sounds on this film. The first time was a bit embarrassing, but I got used to it. And David [Fincher] would say, ‘And roll. And Edward: Act. And Helena: Orgasm.’ It can make you quite dizzy, because you can tend to hyperventilate. But I think I got that technique down. That was one major thing I learned on this film: faking orgasms repeatedly.

Helena Bonham Carter

มันจะมีครั้งหนึ่งที่ Jack แอบมองภายในห้องของ Tyler สภาพเปลือยเปล่า แต่สวมถุงมือยาง (ถุงยาง?) เอาจริงๆผมครุ่นคิดไม่ออกว่ามันสื่อนัยยะอะไร แต่ชาวอเมริกันเหมือนจะเข้าใจดี ถึงขนาดโปรดิวเซอร์เรียกร้องขอให้ตัดซีนนี้ออก (แต่ที่ไม่ตัดเพราะเสียงตอบรับดีมากๆ ผู้ชมหัวเราะลั่น ขบขันตกเก้าอี้)

ผมละโคตรอยากรู้ว่าซับไตเติ้ลคำพูดของ Marla Singer จะกล้าแปลภาษาไทย “ฉันไม่ได้มีเพศสัมพันธ์แบบนี้ตั้งแต่สมัยเรียนประถม” แน่นอนว่าโปรดิวเซอร์ย่อมอยากตัดออก แต่นี่เป็นประโยคที่มีการแก้ไขมาแล้วรอบหนึ่ง รุนแรงไม่แพ้กัน

I want to have your abortion.

Marla Singer

แซว: คำว่า ‘grade school’ ที่ประเทศอังกฤษหมายถึงระดับชั้นมัธยม ซึ่ง Helena Boham Carter ก็ครุ่นคิดเข้าใจเช่นนั้น แต่สำหรับชาวอเมริกันหมายถึงระดับชั้นประถม พอเธอรับรู้เข้าภายหลังก็ ‘Oh Shit!’

ไฮกุ, Haiku บทกวีญี่ปุ่น ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีลักษณะ 3 วรรค ความยาว 5-7-5 รวมเป็นตัวอักษรเพียง 17 ตัว เน้นความเรียบง่าย ดั้งเดิม ไม่ยึดติดกับรูปแบบแผน ไร้ข้อจำกัด ไหลเรื่อยตามธรรมชาติ สั้นกระชับ ตรงที่สุด และเป็นไปอย่างฉับพลัน สำหรับพรรณาสภาวะสัจจะนั้นๆ แสดงความงาม เศร้าโศก สงบสันติ ปีติยินดี เก่าแก่ เปลือยเปล่า

Worker bees can leave
Even drones can fly away
The queen is their slave

ปล. สำหรับรายชื่ออีเมล์ที่อยู่ด้านหลัง คือบรรดาผู้ช่วย Production Assistants ของหนัง

นี่เป็นช็อตที่ทำให้ผมขำก๊ากในความตลกร้ายของหนัง Marla สวมชุดแต่งงานราคา $1 ดอลลาร์ พยายามเกี้ยวพาราสี Jack กำลังขัดคราบเลือด (เปิดบริสุทธิ์?) ออกจากเสื้อผ้า (ท่าทางคล้ายการช่วยตนเอง Masterbation) พอเธอเดินเข้ามาใกล้ๆ มือข้างที่ถือบุหรี่คว้าจับเป้ากางเกง (ปลดูเหมือนไอ้จ้อนจิ๋วที่เมื่อทำการดูด จักสร้างความสุขกระสันต์ซ่าน)

แนวคิดของ Tyler ทั้งการก่อตั้งชมรม Fight Club, Project Mayham รวมถึงการทรมานร่างกาย (ด้วย Lye = สารละลายด่างในน้ำ) ท้าเสี่ยงความตาย (เอาปืนจ่อศีรษะ, ขับรถพุ่งตกถนน) ก็เพื่อให้ตนเองได้รับสิ่งที่เรียกว่า ‘ประสบการณ์ชีวิต’ เมื่อพบเจอเหตุการณ์อันเลวร้าย แล้วสามารถก้าวข้ามผ่านมันไป ย่อมทำให้เราบังเกิดความเข้มแข็ง ไร้ซึ่งความหวาดกลัวเกรงต่อสิ่งใดๆอีกต่อไป

เปรียบเทียบถึงสิ่งที่ผู้กำกับ Fincher เคยพานผ่านเมื่อครั้นหายนะจากการสรรค์สร้าง ALIEN³ (1992) ซึ่งปัจจุบันนั้นเขาก้าวข้ามช่วงเวลาอันเลวร้าย กลายเป็นบทเรียน ประสบการณ์ชีวิต อีกทั้งยังสามารถหวนกลับมาร่วมงานสตูดิโอ Fox ในการสร้างสรรค์ Fight Club (1999) ได้อีก! … ดังสำนวน “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร”

จริงๆแล้วมันจะมีกฎข้อ 6 ที่นักสู้ทั้งสองต้องถอดเสื้อและรองเท้า แต่มีข้อยกเว้นสำหรับ Bob เพราะคงไม่ใครใคร่อยากเห็นหน้าอกของเขาสักเท่าไหร่ และยังสามารถปกปิด ‘fat suit’ ที่สวมอยู่ภายในได้อีกด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่าง Jack และ Bob ต่างถือว่าทั้งรักทั้งเกลียด เป็นบุคคลแรกที่ทำให้พวกเขารับรู้สึกถึงมิตรภาพ พรรคพวกพ้อง เพราะพานผ่านทั้งอ้อมอก (คราบน้ำตา) และสังเวียน Fight Club (คราบเลือด) ด้วยเหตุนี้ความเป็น-ตายของตัวละคร จึงสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวทรวงใน ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของชีวิต และการมีตัวตนของมนุษย์

หลายๆช็อตเกี่ยวกับหัวหน้า มักถ่ายมุมเงยติดเพดาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการมีอำนาจ อิทธิพล สามารถชี้นิ้วออกคำสั่งลูกน้อง จนกระทั่งเมื่อถึงจุดๆหนึ่ง Jack ก็ลุกขึ้นจากโต๊ะทำงาน จับจ้องมองด้วยระดับสายตาเดียวกัน และอีกครั้งบุกเข้าไปในห้องของหัวหน้า ทุกสิ่งอย่างจึงได้พลิกกลับตารปัตร … กลายเป็น Jack ที่สามารถควบคุมบงการ มีอำนาจต่อรองจนได้ในสิ่งที่เขาต้องการแม้คุกเข่าลงกับพื้น (เล่นละครตบตาได้อย่างแนบเนียนสุดๆ)

เมื่อคนเราพานผ่านประสบการณ์เฉียดตาย ถึงสามารถตระหนักได้ถึงคุณค่าชีวิต! นี่คือบทเรียนของ Tyler Durden เสี้ยมสอนพนักงานร้านสะดวกซื้อคนนี้ ด้วยการเอาปืนจ่อศีรษะ สอบถามถึงความเพ้อฝัน อนาคตอยากเป็นอะไร ทำไมไม่เร่งรีบทำให้ประสบความสำเร็จ

ไม่เพียงเท่านี้ คำสอนดังกล่าวยังเป็นการอธิบายต่อ Jack และผู้ชมภาพยนตร์ ให้บังเกิดจิตสำนึก กระตือรือล้นในการค้นหาความฝัน และพุ่งทะยานเข้าหามัน! อย่าปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปอย่างเรื่อยเปื่อย เฉื่อยชา ไร้จุดหมาย รอความตายไปวันๆ

ผมเพิ่งมาสังเกตเห็นช็อตนี้ว่า สำนักงานใหญ่ของชมรม Fight Club ป้ายชื่อด้านบนบาร์แห่งนี้มีลักษณะเหมือน … Dick … ปรากฎในค่ำคืนที่ Jack ต่อสู้กับเด็กหนุ่มผมขาว Angel Face (รับบทโดย Jared Leto) ก่อนถูกต่อยหน้าบวมจนแทบจดจำใบหน้าไม่ได้

ฉากที่ Tyler ถอนมือจากพวงมาลัย ปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปตามครรลอง ไม่จำเป็นต้องไปควบคุม กำหนดทิศทาง จะพุ่งชนอะไรก็ช่าง (สะท้อนเข้ากับอุดมการณ์ชีวิตของ Tyler ที่แตกต่างตรงกันข้ามกับ Jack) ได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ Pierrot le Fou (1965) ของผู้กำกับ Jean-Luc Godard ที่ก็เป็นหนึ่งในหนังโปรดของผมเช่นกัน

ขณะเดียวกันฉากนี้ยังล้อกับ The Game (1997) ไม่ใช่แค่ฉากขับรถพุ่งลงอ่าว San Francisco ยังเป็นหนึ่งในภาพจิตวิทยาที่ตัวละครของ Michael Douglas ให้คำนิยามว่า Whoops!

แซว: ช็อตนี้ Tyler นั่งอยู่ตำแหน่งคนขับ แต่หลังจากรถคว่ำเขากลับถูกลากออกมาจากตำแหน่งข้างคนขับ … นี่เป็นความจงใจอย่างแน่นอนนะครับ

ถึงผมไม่ค่อยเข้าใจแผนการของพวก Space Monkey (คำล้อเลียนสิ่งมีชีวิตไร้สมอง ไร้ตัวตน สมาชิก Project Mayham) ว่ากำลังกระทำอะไร แต่สังเกตจากลูกบอลขนาดใหญ่กลิ้งไปรอบๆ นอกจากสามารถสื่อถึงโลกใบนี้ (แผนการของ Project Mayham ทำให้โลกใบนี้เกิดความปั่นป่วน สับสนวุ่นวาย) มันยังเป็นศัพท์แสลงของฝรั่ง balls = ลูกอัณฑะ ลองไปจินตนาการต่อเองนะครับว่าสามารถสื่อถึงอะไร

แซว: คำเรียก Space Money ล้อกับภาพยนตร์ 12 Monkeys (1995) กำกับโดย Terry Gilliam นำแสดงโดย Brad Pitt รับบทชายหนุ่มสติเฟื่อง บ้าๆบอๆ ก่อตั้งกลุ่ม 12 Monkeys สำหรับแพร่ไวรัส ปล่อยสรรพสัตว์ จนทำให้เกิดวันสิ้นโลก

ช่วงเวลาที่ Jack ตระหนักรับรู้ความจริงว่า Tyler ก็คือตัวตนเอง สถานที่คือภายในห้องพักโรงแรม ซึ่งขณะนี้ทั้งสองมีความแตกต่าง กลับตารปัตรตรงกันข้าม

  • Tyler นั่งอยู่ตรงเก้าอี้มีโคมไฟอยู่เหนือศีรษะ, Jack นั่งบนเตียงและโคมไฟอยู่ห่างๆด้านหลัง
  • Tyler แต่งตัวอย่างโก้หรู เสื้อผ้าแบรนด์เนม รองเท้าหนัง (ดูราวกับสัตว์ปีก โบยบินสู่เสรีภาพ), Jack แต่งตัวซอมซ่อ ร่อมร่อ
  • Tyler มีใบหน้าเปร่งปรั่ง เป็นประกาย, Jack ดูซีดเซียว ห่อเหี่ยว ใกล้หมดสิ้นเรี่ยวแรง

เหล่านี้ก็เพื่อสื่อถึงวิถีชีวิตในทิศทางตรงกันข้ามของทั้ง ขณะที่ Jack ดำเนินไปอย่างไร้ค่า, Tyler กลับมีมูลค่า(ทางสินค้า)เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

ฉากที่ Jack เข้ามอบตัวกับตำรวจ ทำให้ผมนึกถึงไคลน์แม็กซ์ภาพยนตร์ Se7en (1995) (ที่ฆาตกรต่อเนื่องจู่ๆเข้ามอบตัวกับตำรวจ) แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนอยู่ในการคาดการณ์ แผนการของ Project Mayham พวกสมาชิกแทรกซึมอยู่ทั่วทุกหนระแหง ซึ่งก็ได้จัดแจงถอดกางเกง (ไม่ได้จะข่มขืน แต่เป็นสัญลักษณ์ของการปลดเปลื้องอะไรความต้องการแท้จริง)

การถูกถอดกางเกง หลงเหลือเพียงบ็อกเซอร์ ก็เพื่อจะสื่อถึงความต้องการสูงสุดของ Jack นั่นคือได้ครอบครองรักกับหญิงสาว และแผนการทุกสิ่งอย่างก็เพื่อความโรแมนติกที่สุดในการขอแต่งงาน

ระหว่างกำลังหลบหนี Jack ออกวิ่งเป็นเส้นตรงบริเวณกึ่งกลางถนน นี่ก็ล้อกับภาพยนตร์ The Game (1997) แสดงถึงการไม่สามารถออกนอกลู่นอกทาง ปลดปล่อยชีวิตไปตามครรลองคลองธรรม ยังคงหมกมุ่นยึดติดอยู่กับหลายๆสิ่งอย่าง (คือถ้ากำลังขับรถ คงไม่ยินยอมปล่อยพวงมาลัยแบบฉากก่อนหน้าได้อีกต่อไป)

เพื่อหักดิบระหว่าง Jack กับ Tyler พวกเขาจึงเกิดความขัดแย้งกันอีกครั้ง(สุดท้าย) เริ่มต้นจากความครุ่นคิด (สายไหนปลดชนวนระเบิด?) พูดคำโน้มน้าว จากนั้นภาพตัดสลับไปมาระหว่างสองตัวละครกำลังต่อสู้ และ Jack ต่อยกับตนเอง (ในกล้องวงจรปิด) ก่อนสิ้นสุดลงด้วยช็อตนี้ ชัยชนะของ Tyler ยืนอยู่เบื้องบนบันได … นี่ก็ช็อตลักษณะคล้ายๆ The Game (1997) เพื่อแสดงถึงอำนาจ อิทธิพล สูงส่ง เหนือกว่า

ภาพยนตร์เรื่อง Inception (2010) มีคำเรียกว่า ‘Architecture of the Mind’ ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากซีเควนซ์นี้ของ Fight Club (1999) ตึกระฟ้าด้านหลังให้ความรู้สึกเหมือนสถาปัตยกรรม/ทิวทัศน์ภายในจิตใจตัวละคร ภาพสะท้อนโลกยุคสมัยนั้น-นี้ เต็มไปด้วยตึกระฟ้า ตัวแทนสังคมแห่งการบริโภค ผู้คนตกเป็นทาสระบอบทุนนิยม ไม่สามารถดิ้นหลุดพ้นออกจากวังวน ‘rat race’

การทำร้ายตนเอง ทำลาย Tyler Durden แง่มุมหนึ่งคือการตระหนักรู้ของ Jack ว่าไม่สามารถดิ้นหลุดพ้น ก้าวออกจากวังวนดังกล่าว แต่บทเรียนได้รับคือประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้เขาปรับเปลี่ยนมุมมอง โลกทัศน์ ทำลายสถาปัตยกรรมภายในจิตใจ ตึกระฟ้า การบริโภค ระบอบทุนนิยม ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสูงสุดอีกต่อไป!

สิ่งสำคัญที่สุด(ในขณะนี้)สำหรับ Jack คือได้ตกหลุมรัก Marla Singer และช็อตนี้คือพวกเขากำลังได้รับประสบการณ์(ขอแต่งงาน)อันน่าทึ่ง สามารถสื่อถึง (ต่อให้)ฟ้าถล่มดินทลายฉันก็จะรักเธอชั่วนิรันดร์ … โรแมนติกสุดๆ

เมื่อตอนต้นเรื่องที่มีการอธิบายอาชีพนักฉายภาพยนตร์ของ Tyler จะพบเห็นไอ้จ้อนที่เขาแอบตัดต่อแทรกเข้าไปในฟีล์มหนัง ซึ่งภาพดังกล่าวจักปรากฎขึ้นเกือบๆช็อตสุดท้าย เมื่อโลก(ในจินตนาการ)ของ Jack กำลังสั่นคลอน พังทลาย ล่มสลาย เพื่อสื่อถึงจุดสิ้นสุดของ(ม้วนฟีล์ม)ภาพยนตร์เช่นเดียวกัน

แซว: ภาพไอ้จ้อนอันนี้ล้อกับภาพยนตร์ Persona (1966) ของผู้กำกับ Ingmar Bergman ที่ปรากฎขึ้นตั้งแต่ตอนต้นเรื่อง เพื่อสื่อถึงจุดกำเนิด เริ่มต้น การปฏิสนธิทำให้เกิดแสงสว่างภาพยนตร์

ตัดต่อโดย James Haygood ร่วมงานผู้กำกับ David Fincher ตั้งทำโฆษณา Music Video มีผลงานภาพยนตร์ อาทิ The Game (1997), Fight Club (1999), Panic Room (2002), Where the Wild Things Are (2009), Tron: Legacy (2010) ฯลฯ

หนังนำเสนอผ่านมุมมองสายตาของผู้บรรยายนิรนาม/พึ่งพาไม่ได้ หรือก็คือ Jack (รับบทโดย Edward Norton) แต่เรื่องราวทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นในความครุ่นคิด จินตนาการเพ้อฝัน เริ่มจากจุดสิ้นสุดหวนกลับสู่เริ่มต้น เพื่อนำเสนอการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โลกทัศนคติ และค้นพบสิ่งที่ขวนขวายไขว่คว้า

  • ความน่าเบื่อหน่ายของผู้บรรยายนิรนาม
    • เล่าถึงอาชีพการงาน ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบรถเรียกคืน
    • กิจวัตรสำหรับสร้างความผ่อนคลาย เข้าร่วมกลุ่มที่ปรึกษา (Support Group)
    • การมาถึงของ Marla Singer ทำลายความสงบสุขของชีวิต
  • การมาถึงของ Tyler Durden
    • พบเจอ Tyler บนเครื่องบิน
    • เมื่อพบเห็นสภาพปรักหักพักของอพาร์ทเมนท์ โทรศัพท์หา Tyler คุยปลดทุกข์ จากนั้นระบายความคลุ้มคลั่ง
    • ก่อตั้งชมรมต่อสู้ Fight Club
    • การมาถึงอีกครั้งของ Marla Singer แต่คราวนี้สานสัมพันธ์กับ Tyler แบบไม่ยี่หร่าอะไรใคร
  • ช่วงเวลาแห่งการทดลอง เรียนรู้ เข้าใจประสบการณ์ชีวิต
    • Tyler ทำการทดลองหลายๆอย่าง เพื่อเสี้ยมสอนให้ Jack เรียนรู้จักประสบการณ์เฉียดตาย เกิดความเข้าใจในคุณค่าของชีวิต
  • Project Mayham
    • Tyler รับสมัครลูกน้องเพื่อพัฒนา Project Mayham
    • แผนก่อการร้ายของ Tyler ต้องการทำลายทุกสรรพสิ่งอย่าง
    • Jack จึงพยายามหาหนทางหยุดยับยั้ง มอบตัวแก่ตำรวจ จนแล้วจนรอดกว่าจะได้ค้นพบความจริง

ลีลาการตัดต่อ ‘สไตล์ Fincher’ มันช่างสุดเหวี่ยง เมามันส์ คลุ้มบ้าคลั่งจริงๆ เพราะต้องให้ทันกับเสียงบรรยาย จึงมีความรวบรัดตัดตอน รับชมครั้งแรกๆอาจรู้สึกรวดเร็วเกินไปจนแทบติดตามรายละเอียดไม่ทัน แต่ครั้งหลังๆจะพบจังหวะชีวิตอย่างเพียงพอดี ยียวนกวนประสาทได้ที่

สิ่งน่าทึ่งมากๆคือมุมมองการนำเสนอ ที่ยึดเอาแต่ผู้บรรยายนิรนาม ทำให้ผู้ชมมีสภาพเหมือนตัวละคร ไม่สามารถรับรู้เข้าใจแผนการของ Tyler ช่วงแรกๆก็อาจเต็มไปด้วยความสับสน มึนงุนงง แต่ก็ท้าทายให้ขบครุ่นคิด ติดตามค้นหาว่ามันเกิดเหตุการณ์ห่าเหวอะไร


สำหรับเพลงประกอบ ผู้กำกับ Fincher ต้องการท่วงทำนองสดใหม่ มีความร่วมสมัยปัจจุบันนั้น เลยมองหาศิลปิน/วงดนตรี ในตอนแรกติดต่อ Radiohead แต่ถูกบอกปฏิเสธเพราะพวกเขาเพิ่งออกอัลบัมใหม่ ก่อนมาลงเอย Dust Brothers ประกอบด้วย E.Z. Mike (ชื่อจริง Michael Simpson) และ King Gizmo (ชื่อจริง John King) โดดดังจากแนวเพลง Breakbeat, Post-Modern

ลักษณะของ Post-Modern Music หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าคือการใช้เสียงสังเคราะห์ที่มอบสัมผัสล้ำยุคสมัย แท้จริงแล้วคือแนวคิดที่ต้องการทำลายกฎกรอบของ Modern Music โดยเฉพาะโครงสร้างและรูปแบบวิธีการ ไม่จำกัดอยู่กับท่วงทำนองเดียว สไตล์เพลงเดียว หรือแม้แต่เครื่องดนตรี กลายมาเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถให้กำเนิด ‘เสียง’

Fincher wanted to break new ground with everything about the movie, and a nontraditional score helped achieve that.

E.Z. Mike

เอกลักษณ์ของ Dust Brothers คือการใช้กลองบรรเลงประกอบพื้นหลัง สำหรับสร้างจังหวะ เน้นๆย้ำๆ (เหมือนเสียงเต้นชีพจร/จังหวะของหัวใจ) แล้วปะติดปะต่อด้วยองค์ประกอบเสียงอื่นๆที่มีความหลากหลาย เหนือล้ำจินตนาการ เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับสถานการณ์ขณะนั้นๆ

ขอเริ่มจากบทเพลงที่ผมชื่นชอบสุดในหนังก่อนแล้วกัน Corporate World ขณะกล้องค่อยๆแพนนิ่งรอบอพาร์ทเม้นท์ ตามด้วยการปรากฎขึ้นของเฟอร์นิเจอร์ IKEA และป้ายราคา ให้ความรู้สึกเหมือน ‘เสียงสำเร็จรูป’ มันช่างมีความยียวนกวนบาทา ต่อให้ราคาแพงแค่ไหนก็ไม่ได้มีมูลค่าทางจิตใจสักเท่าไหร่

What Is Fight Club? เริ่มต้นด้วยเสียงฉับฉาบเพื่อสร้างความพิศวง ฉงนสงสัย ชมรมต่อสู้นี้คืออะไร? คำตอบของบทเพลงนี้คือเสียงกลองที่ดังขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ราวกับชีพจร จังหวะการเต้นของหัวใจ และคลอประกอบเบาๆด้วยเครื่องสังเคราะห์เสียง ราวกับวิญญาณล่องลอยไป … ในความเข้าใจของผมเอง บทเพลงนี้ต้องการสื่อว่า Fight Club ก็คือชีวิตและจิตวิญญาณ

Who Is Tyler Durden? เต็มไปด้วยความลึกลับ สลับซับซ้อน แวบแรกให้ความรู้สึกเหมือน Industrial Music (จากเสียงทุบโลหะ?) แต่มันจะเสียงเหมือนแมลงอะไรก็ไม่รู้ยั้วเยี้ย ตะเกียกตะกาย นั่นคือสัมผัสของสิ่งชั่วร้ายที่ซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใน บ่งบอกว่าชายคนนี้คือบุคคลอันตราย อย่าเข้าใกล้ถ้ายังไม่อยากตกตาย

บทเพลงที่ผมเชื่อว่าถ้าคุณลองตั้งใจฟัง น่าจะทำให้เกิดความเข้าใจถึง Post-Modern Music ได้อย่างเด่นชัดเจนก็คือ Chemical Burn เริ่มต้นด้วยเสียงหวอ สัญญาณเตือนภัย สะท้อนถึงเหตุการณ์อันเลวร้ายกำลังเกิดขึ้น (บนมือของ Jack) จากนั้นเสียงกลองอันหนักแน่น ตัดกับการลีดกีตาร์อย่างบิดๆเบี้ยวๆ กึกก้องกังวาลย์ คือระยะเวลาที่สารเคมีกำลังกัดกร่อนผิวหนัง และจิตวิญญาณลงอย่างช้าๆ

ช่วงท้ายของบทเพลงเสียงหวิวๆดังกล่าวจะค่อยๆเลือนลาง เจือจาง หวนกลับมาเป็นท่วงทำนอง Rock หรือคือทุกสิ่งอย่างหวนกลับสู่ความเป็นปกติ! แผลที่มือของ Jack ได้รับการล้างออก ปลอดภัย รอดตายอย่างหวุดหวิด

อีกบทเพลงที่มีความสุดโต่งอย่างมากๆก็คือ Space Monkeys เริ่มต้นด้วยเสียงอะไรก็ไม่รู้ (น่าจะเป็นการดัดแปลงเสียงสังเคราะห์) มอบสัมผัสอันยืดยาด เฉื่อยชา ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า จากนั้นลิงอวกาศก็เริ่มต้นปฏิบัติภารกิจที่ดูเหมือนไร้สาระ กุ๊กกิ๊กก๊อก แต่มันกลับแพร่ระบาดไปทุกแห่งหน จนสามารถควบคุมครอบงำทุกสรรพสิ่งอย่าง ‘ล้างสมอง’ ภายในมนุษย์ทั้งหมด จนหลงเหลือเพียงความว่างเปล่า

ทิ้งท้ายด้วยบทเพลง Finding the Bomb ที่จะค่อยๆทวีความรุนแรง เอาจริงเอาจัง คลุ้มบ้าคลั่งขึ้นเรื่อยๆ จากการให้จังหวะด้วยเสียงกลอง (รูปธรรม) ช่วงท้ายๆเปลี่ยนมาไล่ระดับเสียงสังเคราะห์ ‘Shepard Tone’ (นามธรรม) แม้งเมื่อไหร่จะถึงจุดสูงสุดเสียที แต่นั่นคือเสียงหลอน (Sound Illusion) ล่อหลอกผู้ชมให้หลงเข้าใจผิด ทุกสิ่งอย่างมันก็แค่จินตนาการเพ้อฝัน ปะทุระเบิดขึ้นในจิตวิญญาณ

Id หมายถึง จิตไร้สำนึก สัญชาตญาณ และความต้องการต่างๆ เป็นสิ่งที่อยู่ติดตัวเรามาตั้งแต่ถือกำเนิด ช่วงวัยเด็กจะยังไม่สามารถควบคุมตนเองได้ แต่เมื่อเติบโตขึ้นจะค่อยๆพัฒนา Ego และ Superego ขึ้นมาหยุดยับยั้งชั่งใจ

Superego หมายถึง อภิอัตตา จิตส่วนที่คิดถึงศีลธรรมจรรยา เป็นแนวทางสำหรับการแสดงออก และช่วยตัดสินว่าอะไรผิดและถูก นี่เป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ซึมซับมาจากทุกสิ่งอย่างรอบข้าง ครอบครัว เพื่อนฝูง สภาพแวดล้อม กฎระเบียบ บรรทัดฐานทางสังคม

Ego หมายถึง อัตตา หรือตัวตนแห่งความเป็นจริง พฤติกรรมที่พัฒนาขึ้นหลังการต่อสู้ระหว่าง Id และ Superego คือผลลัพท์ บรรทัดฐาน มาตรฐานของตัวเราเองในการครุ่นคิดแสดงออก ว่าจะสนองความต้องการส่วนตน (id) หรือทำตามความคาดหวังของสังคม (Superego) ฝั่งฝ่ายไหนมากกว่ากัน

Tyler Durden คือตัวแทนของ Id สนเพียงกระทำตามความครุ่นคิด ตอบสนองสันชาตญาณ ไม่สนห่าเหวอะไรใคร ต่อต้านสังคม ต่อต้านระบอบทุนนิยม ไม่ชอบอยู่ภายใต้กฎกรอบ การถูกบีบบังคับ นิยมความรุนแรง วางแผนทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง

ผู้บรรยายนิรนาม/Jack คือตัวแทนของ Superego ดำเนินชีวิตภายใต้กฎกรอบ ระเบียบแบบแผน ตามความคาดหวังของสังคม เรียนจบ ทำงาน ได้รับเงินทอง จับจ่ายใช้สอย ซื้อสิ่งข้าวของ อพาร์ทเม้นท์หรู เฟอร์นิเจอร์แบรนด์เนม นั่นคือสูตรสำเร็จตามแนวคิดทุนนิยม อ้างว่าจักทำให้ชีวิตสะดวกสบายกาย แต่ไฉนเขากลับไม่มีความสุขเลยสักนิด!

Fight Club ไม่ใช่เรื่องราวการต่อสู้ (ทางกายภาพ) เพราะทั้ง Tyler และ Jack ต่างเป็นบุคคลคนเดียวกัน แค่เพียงมีลักษณะสุดโต่งขั้วตรงข้าม Id vs. SuperEgo ส่วนใหญ่มักหาหนทางประณีประณอม แต่ถ้าไม่สำเร็จก็จักเกิดการต่อสู้ภายใน (ทางจินตภาพ) จนกว่าจะได้ผู้ชนะถึงแสดงพฤติกรรมฝั่งฝ่ายนั้นออกมา (Ego)

Self-improvement is masturbation. Now, self-destruction is the answer.

Tyler Durden

และมันก็ไม่ใช่เรื่องของใครแพ้-ใครชนะ แต่คือการต่อสู้กับตัวตนเอง และค้นพบเป้าหมายชีวิต ซึ่งในกรณีของ Jack แอบชื่นชอบ Marla Singer จากแรกเริ่มเคยเต็มไปด้วยอคติ แสดงพฤติกรรมรังเกียจต่อต้าน เมื่อตัวละครเรียนรู้วิธีปลดปล่อยความต้องการ ดำเนินตามสันชาตญาณบ้างบางที เลยสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองโลกทัศน์ ได้รับประสบการณ์ชีวิต พังทลายความครุ่นคิดแบบเก่า จนท้ายที่สุดเขาก็ได้ครอบครองรักหญิงสาว … จริงหรือเปล่า? หรือแค่เพ้อฝันไป?

ในเชิงมหภาคของหนัง Tyler ยังเป็นตัวแทนของเผด็จการ Facism, ต่อต้านการบริโภค Anti-Consumerism และต่อต้านทุนนิยม Anti-Capitalism, ครุ่นคิดวางแผนก่อการร้าย ต้องการทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่างให้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง แต่ถูกขัดขวางโดย Jack (จะมองว่าเป็นฝั่งเสรีประชาธิปไตยก็ได้) พยายามปกป้องรักษาสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต (นั่นคือ Marla Singer) ถึงขนาดตัดสินใจยิงตัวเอง หรือคือกำจัดอีกฝั่งฝ่ายให้พ้นภัยพาล

ขณะที่ The Game (1997) นำเสนอการพบเจอประสบการณ์หลอกๆ สามารถปรับเปลี่ยนแปลงมุมมอง ความครุ่นคิด โลกทัศนคติต่อวิถีชีวิตที่เป็นอยู่, Fight Club (1999) ราวกับภาคต่อนำเสนอวิธีสร้างประสบการณ์ที่จับต้องได้ ท้าเสี่ยงเป็นเฉียดตายนับครั้งไม่ถ้วน เพื่อให้ตัวละครและผู้ชมค้นพบหนทางเดิน เลือกดำเนินวิถีชีวิตตามอย่างเพ้อฝันไว้

I don’t know if it’s Buddhism, but there’s the idea that on the path to enlightenment you have to kill your parents, your god, and your teacher. So the story begins at the moment when the Edward Norton character is twenty-nine years old. He’s tried to do everything he was taught to do, tried to fit into the world by becoming the thing that he isn’t … And so the movie introduces him at the point when he’s killed off his parents and he realizes that they’re wrong. But he’s still caught up, trapped in this world he’s created for himself. And then he meets Tyler Durden, and they fly in the face of God—they do all these things that they’re not supposed to do, all the things that you do in your twenties when you’re no longer being watched over by your parents, and end up being, in hindsight, very dangerous. And then finally, he has to kill off his teacher, Tyler Durden.

David Fincher

หลังจากอ่านความคิดเห็นนี้ของผู้กำกับ Fincher ทำให้ผมตระหนักว่าเขาไม่ได้ต้องการเป็นอย่าง Jack หรือ Tyler, แสดงทัศนคติต่อต้านการบริโภค (Anti-Consumerism), ต่อต้านระบอบทุนนิยม (Anti-Capitalism) หรือฝักใฝ่ Fascism, แต่ทั้งหมดล้วนคือกระบวนการ “kill your parents, your god, and your teacher” เพื่อให้สามารถตรัสรู้ (ไม่ใช่เพื่อบรรลุหลุดพ้นนะครับ) ค้นพบเป้าหมายชีวิต และเข้าใจความต้องการแท้จริงของตนเอง

กระบวนการเข่นฆ่า ทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่างของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือสิ่งบังเกิดขึ้นภายใต้จิตสำนึกผู้กำกับ Fincher เปรียบเทียบถึงการยินยอมหวนกลับมาร่วมงานสตูดิโอ Fox มองข้ามอคติที่เคยขัดแย้ง ประสบการณ์ทำงานอันย่ำแย่ เพราะมนุษย์สามารถพูดคุยสื่อสาร ปรับความเข้าใจ เคยมีเวรมีกรรมก็สามารถยกโทษให้อภัย อดีตเลวร้ายเมื่อก้าวข้ามผ่าน จักทำให้ตัวเราเข้มแข็ง ไม่มีอะไรให้หวาดกลัวเกรงอีกต่อไป

Fight Club (1999) ถือเป็นการรวบรวมประสบการณ์ของผกก. Fincher ทุกสิ่งอย่างที่หล่อหลอม เสี้ยมสอน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายใน มองจากภายนอกเหมือนไม่อะไรปรับเปลี่ยนแปลงไป แต่มุมมอง โลกทัศนคติ ความครุ่นคิด บัดนี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ สามารถเข้าใจตนเอง ค้นพบเป้าหมายชีวิต ด้วยจิตวิญญาณอันเข้มแข็งแกร่ง


จากทุนสร้างตั้งต้น $23 ล้านเหรียญ ค่อยๆพุ่งทะยานสู่ $50 ล้านเหรียญ ก่อนลงเอ่ยที่ประมาณ $63-65 ล้านเหรียญ แม้สัปดาห์แรกสามารถขึ้นสูงถึงอันดับหนึ่ง แต่กลับทำเงินในสหรัฐอเมริกาตลอดโปรแกรมฉายได้เพียง $37 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $101.2 ล้านเหรียญ เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน่าผิดหวัง

ถึงอย่างนั้นผู้กำกับ Fincher เป็นบุคคลแรกๆในวงการภาพยนตร์ที่ลงมาดูแลในส่วนการทำ DVD/Blu-Ray ด้วยตนเอง ตั้งแต่ออกแบบแพ็กเก็จ, เมนู (ที่ถูกแฮ็คโดย Tyler Durden), Special Feature, เบื้องหลังงานสร้าง, Deleted Scene, Outtakes, Commentary ฯลฯ ผลลัพท์ทำยอดขายระดับถล่มทลาย ได้รับยกย่องในแง่คุณภาพ ต้องหาซื้อเก็บ! มีรายงานว่าสิบปีแรกมียอดจำหน่ายกว่า 6 ล้านก็อปปี้ คิดเป็นมูลค่า $55 ล้านเหรียญ สูงสุดในประวัติศาสตร์ Home Video เลยกระมัง!

แซว: ทีแรกผู้กำกับ Fincher ครุ่นคิดจะเอาใบหน้า Tyler Durden ปรากฎบนโลโก้ 20th Century Fox (คล้ายๆแบบ Tom & Jerry ที่ชอบโผล่แทนสิงโต M-G-M) แต่ถูกปฏิเสธจากสตูดิโอ

LINK: https://www.ebay.com/itm/313794481054

นอกจากนี้ฉบับ Blu-Ray ที่จัดจำหน่ายเมื่อปี 2009 ผู้กำกับ Fincher ก็ได้สร้างเมนูปลอม ล่อหลอกผู้ชมเมื่อเปิดขึ้นมาพบเห็นหน้าจอภาพยนตร์ Never Been Kissed (1999) นำแสดงโดย Drew Barrymore เป็นยังไงไปดูในคลิป

ในบรรดาสามผลงาน Top 3 ของผู้กำกับ Fincher ประกอบด้วย Se7en (1995), Fight Club (1999) และ The Social Network (2010) ส่วนตัวมีความโปรดปราน Fight Club (1999) มาตั้งแต่สมัยวัยสะรุ่น เคยพานผ่านประสบการณ์คล้ายๆตัวละครของ Edward Norton ซื้ออพาร์ทเม้นท์ เฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดัง ใช้ชีวิตเยี่ยงทาสระบอบทุนนิยม แต่หลังจากค้นพบตัวตนเองก็ตระหนักว่าวัตถุสิ่งข้าวของเหล่านั้น ตอบสนองเพียงความสุขทางกาย พอสามารถออกจากเมืองกรุงฯ ละทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง ก็พบความสุขทางใจที่มีมูลค่าสูงกว่ามากๆ ไม่ต้องตึงเครียด ไม่ต้องแข่งขัน ใช้ชีวิตอย่าง ‘slow life’ เล่นเกม อ่านหนังสือ ดูอนิเมะ เขียนวิจารณ์ภาพยนตร์ แค่นี้ก็เพียงพอใจในสิ่งพึงมี

Fight Club (1999) ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ทำให้ผมเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตโดยทันที แต่ถือเป็นเสี้ยวส่วนหนึ่งที่ช่วยปลูกฝังแนวคิด สร้างแรงบันดาลใจ เพาะบ่มจนเมื่อปีกกล้าขาแข็ง ก็สามารถก้าวออกมาใช้ชีวิตอย่าง Brad Pitt/Tyler Durden ไม่หมกมุ่นยึดติดอยู่กับวัตถุสิ่งข้าวของ ระบอบทุนนิยม … ละเว้นเรื่องการใช้ความรุนแรง และเผด็จการ Fascism ไว้ในฐานที่เข้าใจ

ผมรู้สึกว่าผู้ชมที่ยังเป็นวัยรุ่น คนหนุ่มสาว รับชม Fight Club (1999) จะสามารถเข้าถึงสาสน์สาระเชิงนามธรรมของหนังได้ดีกว่าบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ที่มักพยายามมองหาสิ่งรูปธรรม วิธีการจับต้องได้ ทำอย่างไรถึงดิ้นหลุดพ้นวังวน ‘rat race’ (เพราะพวกเขาอยู่ภายใต้วิถีดังกล่าวมาสักพักใหญ่ๆแล้ว) ความรุนแรงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร หรือถ้าจะให้จู่ๆลาออกจากงานแล้วไปใช้ชีวิตตามท้องถนน มันก็อุดมคติเกินไป

เอาจริงๆผมเพิ่งมาตระหนักได้ระหว่างการรับชมรอบนี้ ว่าหนังไม่เหมาะสำหรับผู้ชมส่วนใหญ่ เพราะความรุนแรงสุดโต่ง ไม่ใช่สิ่งที่สังคมให้การยินยอมรับ น้อยคนจะสามารถขบครุ่นคิดวิเคราะห์ในเชิงสัญลักษณ์ หรือตีความทางจิตวิเคราะห์ แนะนำให้เตรียมตัวเตรียมใจ ทั้งหมดนี้ก็แค่การแสดง อย่าไปเอาจริงเอาจังกับมันมาก … หนังแอ็คชั่น/ซุปเปอร์ฮีโร่สมัยนี้ใส่ภาพรุนแรงกว่านี้เสียอีก

ปล. ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบความรุนแรง หรือกีฬาต่อสู้ที่สนเพียงเอาชนะ ใช้พละกำลังเข้าห่ำหั่น เลือดตกยางออก แต่ยกเว้นเพียงมวยปล้ำเพราะมันคือการแสดง (Sport Entertainment) กีฬาชนิดเดียวในโลกที่สร้าง’เรื่องราว’ให้ผู้ชมรู้สึกจับต้องทางอารมณ์ สรรหาเหตุผลการต่อสู้ ดูสนุกกว่า สมจริงกว่าหนัง Action สมัยนี้เป็นไหนๆ

จัดเรต 18+ กับความรุนแรง โลกทัศน์บิดๆเบี้ยว

คำโปรย | Fight Club ชมรมการต่อสู้เพื่อค้นหาตัวตนเองของผู้กำกับ David Fincher สร้างความเจ็บปวดจนฝังลึกทรวงใน
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว |

The Birth of a Nation (1915)


the-birth-of-a-nation

The Birth of a Nation (1915) : D. W. Griffith

นี่เป็นหนังที่เซอร์ไพรส์มากๆ ไม่คิดว่าจะยอดเยี่ยมขนาดนี้, หนังเงียบเรื่องนี้เป็น ‘ภาพยนตร์’ (Motion Picture) ที่ทำเงินได้สูงที่สุดเรื่องแรกของโลก (Highest Grossing) แต่นั่นมันเมื่อ 100 ปีที่แล้วนะครับ วันนี้จะมาวิเคราะห์ว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมหนังถึงทำเงินได้มากขนาดนั้น และนำเทคนิคที่จะทำให้คุณดูหนังเงียบได้ไม่เบื่อแถมให้ด้วย, ครั้งหนึ่งในชีวิต “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

The Birth of a Nation แค่ชื่อก็ดูไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แถมเป็นหนังเงียบ เชื่อว่าหลายคนคงไม่ถูกจริตเป็นแน่ เพราะหนังเงียบดูยาก ต้องใช้ความอดทน สมาธิสูง เหตุผลเหล่านี้ทำให้หลายคนมองข้าม ไม่สนใจหนังเรื่องนี้, ผมเองก็เช่นกัน ยิ่งเห็นความยาว 190 นาทีก็ท้อเสียยิ่งกว่าแท้ มันไม่เหมือนหนังอย่าง Gone With The Wind หรือ Lawrence of Arabia ที่ต่อให้ 3-4 ชั่วโมงก็ยังทนนั่งดูได้ ถ้าไม่ใช่คนรักหนังจริงๆ น้อยคนจะยอมเสียเวลาหาหนังเรื่องนี้มา, แต่มีสิ่งที่ทำให้ผมเกิดความใคร่อยากรู้ และต้องลองให้ได้ เมื่อรู้ว่า กาลครั้งหนึ่งเมื่อร้อยปีที่แล้ว หนังเรื่องนี้เคยทำเงินมากที่สุดในโลก!

ในยุคแรกๆของวงการภาพยนตร์ ที่โรงหนังไม่ได้มีเกลื่อนกลาด ความนิยมต่อสื่อภาพยนตร์ยังไม่ได้มีมาก มีการประเมินกันว่า หนังเรื่องนี้ทำเงินไปประมาณ $50-100 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขนี้เทียบกับปัจจุบันก็หลักหลายพันล้านเหรียญ อาจจะมากกว่าตัวเลขจริงของหนังทำเงินสูงที่สุดในโลกเรื่องปัจจุบันเสียอีก นี่ถือเป็นตัวเลขหลักมหาศาลเลยนะครับ มันต้องมีความยิ่งใหญ่อลังการบางอย่าง ไม่เช่นนั้นไม่มีทางทำเงินได้สูงขนาดนี้เป็นแน่

กับหนังที่ทำเงินมากที่สุดในโลก จะได้รับการยกย่องว่าเป็น King of the World (เริ่มต้นจากหนังเรื่อง Titanic) The Birth of a Nation ถือเป็นปฐมกษัตริย์ สถาปนาตนเองขึ้นครองบัลลังก์นี้ด้วยระยะเวลานานถึง 25 ปี ก่อนถูกโค่นล้มลงโดย Gone With The Wind ที่ฉายปี 1939 และไต่เต้าทำรายได้แซงสำเร็จเมื่อปี 1940, ทั้งสองเรื่องเป็นหนังทำเงินสูงสุดในโลกต่อเนื่องยาวนานเป็นระยะเวลา 25 ปีเท่ากัน (Gone With The Wind เสียสถิติให้กับ The Sound of Music ในปี 1965)

เกร็ด: หนังที่ทำเงินสูงที่สุดในโลก ประกอบด้วย
– The Birth of a Nation (1915)
– Gone with the Wind (1939)
– The Sound of Music (1965)
– The Godfather (1972)
– Jaws (1975)
– Star Wars (1977)
– E.T. the Extra-Terrestrial (1982)
– Jurassic Park (1993)
– Titanic (1997)
– Avatar (2009)

แนะนำว่า ทั้ง 10 เรื่องทำเงินสูงสุดในโลกนี้ คอหนังควรจะต้องดูให้ได้ก่อนตายทุกเรื่องเลยนะครับ เพราะถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์ที่สำคัญที่สุด

กับคนที่ดูทั้ง The Birth of a Nation และ Gone With The Wind มาแล้ว จะพบหลายสิ่งอย่างที่คล้ายคลึงกันอย่างคาดไม่ถึง, ครึ่งแรกของหนังทั้งสองเรื่อง ดำเนินเรื่องในช่วงสงครามกลางเมือง (American Civil War) ฝ่ายเหนือสู้กับฝ่ายใต้ และครึ่งหลังเป็นเรื่องราวในยุค Reconstruction Era มันจะบังเอิญไปหรือเปล่าที่หนังทำเงินมากที่สุดในโลก 2 เรื่อง มีโครงสร้างหนังแบบเดียวกัน!

มาวิเคราะห์ดู อเมริกาในยุคนั้น เป็นช่วงรอยต่อระหว่างสงคราม The Birth of a Nation อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วน Gone With The Wind อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งสองเรื่องมีประเด็นอ่อนไหวต่อสงครามที่อาจส่งผลต่อผู้คนในวงกว้าง ผมคิดว่าความบังเอิญนี้ มันอาจตรงกับความต้องการของผู้คนอย่างมากจนทำให้เกิดกระแสปากต่อปาก จนกลายเป็นกระแสนิยมฮิตถล่มทลาย

D.W. Griffith ผู้กำกับรุ่นบุกเบิกของวงการภาพยนตร์ ได้รับฉายา นักประดิษฐ์แห่ง hollywood (Inventor of Hollywood) Charlie Chaplin ยกเขาว่าเป็นบรมครู (The Teacher of us All) ก่อนที่ Griffith จะเริ่มต้นเป็นผู้กำกับ เขาเริ่มจากการเป็นนักเขียนบทละคร แต่มีเพียงเรื่องเดียวที่ได้เคยถูกดัดแปลงเป็นละครเวที นั่นทำให้เขาเปลี่ยนความตั้งใจเสียใหม่ กลายเป็นนักแสดง จนได้มีโอกาสเป็นตัวประกอบในหนังสั้นหลายๆเรื่องให้กับ American Mutoscope and Biograph Company หรือที่รู้จักกันในชื่อสตูดิโอ Biograph, ปี 1908 Wallace McCutcheon ผู้กำกับของ Biograph ป่วยหนัก เขาขอให้ Griffith กำกับหนังเรื่องหนึ่งแทน นั่นคืออีกจุดเปลี่ยนหนึ่งของเขาที่ทำให้กลายเป็นผู้กำกับ, หนังสั้นเรื่องแรกที่กำกับคือ The Adventures of Dollie เห็นว่าในปีนั้น Griffith กำกับหนังสั้นทั้งหมด 48 เรื่อง (เชื่อว่าส่วนใหญ่ฟีล์มสูญหายไปหมดแล้ว)

ปี 1913 Griffith ได้กำกับหนังยาวเรื่องแรก Judith of Bethulia (1914) ถือว่าเป็นหนังที่มีความยาวเกิน 1 ชั่วโมงเรื่องแรกๆของ hollywood, ณ ตอนนั้น ผู้คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า การดูหนังยาวๆจะทำให้สายตาเสีย ซึ่งการสร้าง Judith of Bethulia ทำให้ Griffit เกิดความขัดแย้งกับสตูดิโอ Biograph เพราะพวกเขาไม่อยากทำหนังขนาดยาว (feature length) และหนังใช้ทุนสร้างสูงถึง 30,000 ดอลลาร์ นี่เองทำให้ Griffith ต้องออกจาก Biograph และได้ก่อตั้งสตูดิโอใหม่ ร่วมกับ Harry Aitken เจ้าของสตูดิโอ Majestic Studio ใช้ชื่อว่า Reliance-Majestic Studio (ตอนหลังเปลี่ยนเป็น Fine Arts Studio)

หนังเรื่องแรกที่ผลิตในนาม Reliance-Majestic Studio ก็คือ The Birth of a Nation ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง The Clansman และ The Leopard’s Spots เขียนโดย T. F. Dixon, ทีแรก Griffith ทำสัญญาด้วยค่าลิขสิทธิ์สูงถึง 10,000 ดอลลาร์ (เทียบค่าเงินปี 2016 ประมาณ 2 แสนดอลลาร์) แต่ภายหลังเงินไม่พอ จึงจ่ายได้แค่ 2,500 ดอลลาร์ แต่เพิ่มข้อเสนอให้ 25% ของกำไรที่ได้จากการฉาย ซึ่ง Dixon ก็ยอมตกลง สุดท้ายเมื่อหนังทำเงินมหาศาล ไม่มีใครรู้ว่า Dixon ได้เงินสุทธิไปเท่าไหร่ (ว่ากันว่าหลักล้านดอลลาร์) เขากลายเป็นนักเขียนนิยายที่ได้เงินจากการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์มากที่สุด

Griffith มีทุนสร้าง The Clansman เริ่มต้นที่ 40,000 ดอลลาร์ (=$940,000-2016) แต่ใช้เกินทุนไปถึง 100,000 ดอลลาร์ (=$2,340,000-2016) งบส่วนใหญ่หมดไปกับค่าตัวประกอบและเตรียมฉากสงคราม

ถ่ายภาพโดย G.W. Bitzer ตากล้องคนโปรดของ Griffith พบกันตั้งแต่สมัยที่ Griffith ยังเป็นนักแสดงตัวประกอบให้กับสตูดิโอ Biograph และเมื่อ Griffith ออกมาตั้งสตูดิโอเอง ก็ลาก Bitzer ออกมาด้วย, ภาพที่เราเห็นในหนัง ถือว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ ความยาว 191 นาที ใช้ฟีล์มจำนวน 12 reel (1 reel=10-20 นาที) ซึ่ง The Birth of a Nation อ้างตัวเองว่าเป็นหนัง feature length เรื่องแรกของโลก (ภายหลังมีการกำหนดว่า feature length คือหนังที่มีความยาวเกิน 40 นาที ถ้าใช้หลักการนี้ The Birth of Nation ไม่ใช่หนัง feature length แน่นอน)

การถ่ายภาพมีการทดลองมากมายหลายรูปแบบ อาทิตั้งกล้องไว้และให้นักแสดงเดินเข้าออกฉาก, แพนกล้อง, เคลื่อนกล้องไปพร้อมกับนักแสดง ฯ สมัยนั้นยังไม่มีการโฟกัสจึงเน้นถ่ายให้เห็นนักแสดงเต็มตัว

ฉากที่ถือว่ายอดเยี่ยมมากๆ คือสงครามกลางเมือง ฉากนี้ไม่มีการโคลสอัพไปที่ตัวละครไหนเลย เป็นการภาพถ่าย Long Shot มุมกว้างไกลๆ เห็นการต่อสู้ของทหารทั้งสองฝ่ายในซีนเดียวกัน และใช้การตัดต่อสลับไปมา, บอกตามตรง ฉากนี้ผมแยกไม่ออก ว่าใครเป็นทหารฝ่ายใด แต่หนังใช้การแบ่งฝั่งซ้ายกับฝั่งขวา เราสามารถรู้ว่าได้ตัวละครที่วิ่งมาจากทางซ้าย เป็นศัตรูกับตัวละครที่วิ่งมาจากฝั่งขวา… ร้อยปีที่แล้ว หนังสงครามทำได้ระดับนี้ถือว่าสุดยอดแล้วครับ

เทคนิคอื่นที่ใช้ ผมไม่รู้ฟีล์มสมัยนั้นมันแสดงสีได้จริงหรือเปล่า แต่แทนที่หนังฟีล์มขาว-ดำ จะต้องเป็นโทนดำ-เทา เท่านั้น Griffith ใช้การถ่ายแต่ละฉากโดยใช้สีต่างกัน, เราจะเห็นฉากที่มีการต่อสู้ เต็มไปด้วยควันจะมีภาพสีแดง ส่วนฉากที่ดูสงบ สดใส งานภาพจะสีฟ้า นอกจากนี้ยังมีสีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล ผมไม่รู้ทั้งเรื่องใช้ฟีล์มกี่สีนะ ไม่รู้ตอนฉายสมัยนั้นเห็นสีหรือเปล่า แต่ฉบับที่ผมดู พบว่ามันมีสีจริงๆ

พวกฉากยิงปืนใส่ตัวละคร สมัยนั้นมันยังไม่มีเทคนิคที่สมจริง ดูก็รู้ว่ายิงไม่โดน บ้างใช้การตัดต่อเล่นมุมกล้องเอา ส่วนตัวละครที่ถูกยิงดิ้นไปมาแล้วล้มลงตาย มันดูตลกๆนะ แต่เอาว่ะ เหมือนกำลังดูละครเวทีอยู่, อีกเทคนิคที่ใช้เยอะ คือควัน หนังเรื่องนี้ควันเยอะมาก ยืงปืนนัดนึงควันพุ่งไปทั่วทั้งฉากเลย ฉากสงครามมีควันเต็มจอ มันทำให้เรามองไม่เห็นอะไรก็จริง แต่ให้ความรู้สึกสมจริงสุดๆ นักแสดงเข้าฉาก 100 คน แต่ควันนี่แหละที่ทำให้คนดูรู้สึกเหมือนเห็นนักแสดงเป็นพันเป็นหมื่น

มีสิ่งที่ตลกมากๆในหนัง คือ การให้นักแสดงผิวขาว แต่งหน้าทาผิวให้เล่นเป็นตัวละครผิวสี … เอิ่ม … มีหลายตัวละครเลยละที่ผมดูไม่ออกว่าเขาเล่นบทเป็นคนดำ เพราะหน้าตาเค้าโครงหน้าเขาเป็นคนยุโรป ไม่ใช่คนแอฟริกา … ผมไม่เคยอ่านบทรีวิวหนังเรื่องนี้จากที่ไหนมาก่อนนะครับ ขณะดูก็เอะใจ นี่คิดไปเองหรือเปล่านิ มาเช็คดูไม่ผิดครับ เอาคนขาวมาเล่นบทคนดำจริงๆ นี่เป็นการกระทำที่แสดงถึงการเหยียดผิวมากๆ อาจเพราะสมัยนั้นการคัดเลือกนักแสดงผิวสีมาเล่นหนัง ไม่ใช่สิ่งที่ใครเขาทำกัน คนยังมองว่าคนผิวสีเป็นทาส และตนเองเป็นนาย อีกอย่างถ้าให้เล่นแล้วใครจะมาดู พวกคนผิวสีไม่มีเงินจ่ายค่าหนังหรอก… การที่ Griffinth ใช้วิธีนี้ ก่อให้เกิด… เดี๋ยวผมจะเล่าต่อช่วงท้ายนะครับ

เพลงประกอบ … หนังเงียบจะมีเพลงประกอบได้ยังไง … เดี๋ยวก่อน ถึงจะเป็นหนังเงียบแต่ใช่ว่าจะมีเพลงประกอบไม่ได้ นี่เป็นหนังเรื่องแรกที่ใช้ musical cue sheets ก็คือมีการประพันธ์เพลงไว้ และขณะหนังฉายก็ใช้การเล่นดนตรีสดประกอบ, มีคีตกวี 2 คนที่ทำเพลงให้หนังเรื่องนี้ คนแรกคือ Carli Elinor เขาเล่นเพลงประกอบตอนฉายรอบปฐมทัศน์ที่ Los Angeles และที่ West Coast เท่านั้น ส่วนที่อื่นจะใช้บทเพลงที่แต่งโดย Joseph Carl Breil บรรเลงครั้งแรกเมื่อหนังฉายที่ Liberty Theatre ใน New York

หนังออกฉายวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1915 ที่ Clune’s Auditorium ใน downtown เมือง Los Angeles ในรอบนั้นหนังยังใช้ชื่อว่า The Clansman อยู่ แต่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น The Birth of Nation เพื่อสะท้อนความเชื่อของ Griffith ที่ว่า ความเป็นประเทศ(สหรัฐอเมริกา) เกิดขึ้นจากหยาดเหงื่อของผู้คนในยุคสงครามกลางเมืองและผู้คนในยุค Reconstruction

นี่เป็นหนังเรื่องที่ 2 ที่ได้ฉายในทำเนียบขาว โดยหนังเรื่องแรกเป็นหนังอิตาเลี่ยน เรื่อง Cabiria (1914) ประธานาธิปดีสหรัฐตอนนั้นคือ Woodrow Wilson เขาเป็นเพื่อนสมัยเรียนกับ T. F. Dixon ผู้เขียนนิยาย The Clansman จะว่าทำเนียบขาวโดนหลอกก็ได้ เพราะ Dixon ใช้เส้นสายพอสมควรเพื่อให้หนังฉายได้ฉายที่นั่น โดยที่ ปธน. ไม่รู้ด้วยซ้ำว่านี่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เมื่อฉายจบ Dixon ได้อ้างคำพูดของ ปธน. Wilson พูดถึงหนังว่า ราวกับการเขียนประวัติศาสตร์ด้วยลำแสงจากสายฟ้า สิ่งเดียวที่เขารู้สึกเสียใจคือ มันเป็นเรื่องจริง “It is like writing history with lightning. And my only regret is that it is all so terribly true” ผมไม่รู้สึกคำพูดประโยคนี้ออกไปทางไม่ดีนะครับ แต่สมัยนั้นมันอาจสร้างกระแสความเกลียดชังบางอย่างของคนดำกับคนขาว ขนาดว่ามีคนใกล้ชิด Joseph Tumulty ออกมาพูดว่า ปธน. Wilson ไม่ได้พูดอะไรแบบนี้ เขาไม่ได้แสดงความเห็นอะไรต่อหนังทั้งนั้น

ผมขอข้ามครึ่งแรกของหนังไปนะครับ เรื่องสงครามกลางเมือง การพรากจาก การสูญเสีย มีหนังหลายเรื่องในศตวรรษที่มีเรื่องราวคล้ายๆกันนี้, ไฮไลท์อยู่ที่ครึ่งหลัง มีหลายเรื่องราวที่ผมไม่คิดว่าจะมีหนังเรื่องไหนที่จะกล้านำเสนอแบบนี้อีกแน่ เริ่มเรื่องหลังจากที่ ประธานาธิบดีลินคอร์นถูกลอบสังหาร คนผิวสีเริ่มตระหนักถึงความเท่าเทียม มีเมืองหนึ่งที่คนผิวสีก้าวขึ้นมามีอำนาจจนกลายเป็นผู้นำเมือง สร้างความตึงเครียดระหว่างคนขาวกับคนดำ มีคนขาวจำนวนมากมายที่ยอมรับไม่ได้ ความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มการรวมตัวของคนที่เกลียดคนผิวสี Ku Klux Klan (KKK) จึงบังเกิดขึ้น, หนังเรื่องนี้ คนผิวสีไม่ใช่พระเอกนะครับ พวกเขาถูกมองเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย ความรังเกียจของต่อคนผิวดำถูกแสดงออกอย่างชัดเจน เช่น การออกกฎให้คนผิวขาวต้องตะเบะทหารผิวสี, ผู้หญิงผิวขาวที่ขอยอมตายเสียกว่าที่จะต้องแต่งงานกับคนผิวสี, ฉากฆ่าคนผิวสีอย่างเลือดเย็นของ KKK …

เล่ามาแบบนี้ นี่เป็นหนังเหยียดผิวชัดๆเลย แล้วคนผิวสีในยุคนั้นมันจะทนได้เหรอ ใช่ครับ! พวกเขาทนไม่ได้แน่นอน สมาคม National Association for the Advancement of Colored People (NAACP) ก่อตั้งเมื่อปี 1909, หลังหนังเรื่องนี้ฉาย ก็ได้ออกมาต่อต้านและขอความร่วมมือห้ามฉายในระดับประเทศ แต่กระแสบอยคอตนี้ (boycott) ยิ่งฉาวยิ่งดัง ประชาชนโดยเฉพาะคนผิวขาวเกิดความสนใจใคร่รู้ว่าเป็นยังไง ก็รีบแห่กันไปดู โรงฉายหนังก็รีบตักตวงผลกำไรโดยไม่สนอะไรทั้งนั้น, ที่ Boston เกิดการจราจล (riots) ระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำ, ที่ Lafayette คนขาวฆาตกรรมหญิงผิวสี, มีเพียงไม่กี่รัฐเท่านั้นที่ออกกฎห้ามฉาย Iowa เป็นเมืองแรก นี่เป็นหนังที่สร้างความขัดแย้ง (controversial) ในระดับชาติเรื่องแรกของอเมริกา

ผมคิดว่าเหตุที่คนขาวอยากดูหนังเรื่องนี้ เพราะดูแล้วมันเกิดความ ‘สะใจ’ เพราะคนอเมริกาขณะนั้นยังคงต่อต้านเรื่องการเลิกทาส, นี่จึงเป็นหนังแห่งประวัติศาสตร์ที่ทำให้สิ่งที่ ปธน.ลินคอร์น พยายามสร้างมาเรื่องความเสมอภาคเท่าเทียม ถอยหลังลงคลองไปโดยพลัน,  กระนั้นมันกลับเป็นจุดเริ่มต้น ให้ธุรกิจ ‘ภาพยนตร์’ ได้รับการจับตามองมากขึ้น ด้วยความที่เป็นสื่อบันเทิงและเข้าถึงคนได้ง่าย นี่ถือเป็นความสำเร็จแรก ที่ทำให้นักลงทุนมองธุรกิจภาพยนตร์นี้อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก

The Birth of a Nation was the first picture that really made people take the motion picture industry seriously.

ผมเชื่อว่า Griffith คงไม่คิดว่าหนังของตนจะกลายเป็นประเด็นสังคมที่มีความรุนแรงขนาดนี้ เขาพยายามออกมาขอโทษต่อชุมชนคนผิวสี (แต่เชื่อว่าคงไม่มีใครให้อภัยเขาแน่ๆ) หนังเรื่องถัดมา Intolerance (1916) เขามีความตั้งใจสร้างเพื่อเป็นการขอโทษ ด้วยการนำเสนอเรื่องราวของผู้คนในยุคต่างๆที่ต้องมีความอดทนต่อการมีชีวิตอย่างยากลำบาก, ผมได้ดู Intolerance แล้ว บอกเลยว่า สาสน์ที่ Griffith พยายามสื่อออกมามันไม่ตรง คนละประเด็นกันเลย ความตั้งใจในการสร้าง Intolerance ที่ผมสัมผัสได้ เหมือนเพื่อเล่าถึงความรู้สึกของตนเองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นใน The Birth of a Nation มากกว่า

อิทธิพลของหนังเรื่องนี้ทำให้เกิดภาคต่อ Sequence เรื่องแรกของโลกชื่อ The Fall of a Nation (1916) กำกับโดย T.J. Dixon เจ้าของนิยายดัดแปลงเองเลย (พี่แกคงเอาเงินที่ได้จาก The Birth of a Nation มาใช้เป็นทุนสร้าง) หนังเรื่องนี้ถือว่าประสบความสำเร็จในตลาดโลก แต่ล้มเหลวในอเมริกา น่าเสียดายที่ฟีล์มหนังเรื่องนี้ยังไม่ถูกค้นพบ และคาดว่าน่าจะสูญหายไปแล้ว

ปี 1918 หนังเรื่อง The Birth of a Race กำกับโดย John W. Noble หนังเรื่องนี้สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโต้กับ The Birth of a Nation โดยเล่าเรื่องสงครามในอีกมุมหนึ่ง แน่นอนว่าหนังล้มเหลวไม่เป็นท่า

ปี 1919 หนังเรื่อง Within Our Gates กำกับโดย Oscar Micheaux (ผู้กำกับผิวสีคนแรกของโลก) เป็นหนังของคนผิวสี ที่เล่าเรื่อง ผู้หญิงผิวสีที่ถูกทำร้ายโดยผู้ชายผิวขาว

ตอนดูหนังเรื่องนี้ ผมค้นพบเทคนิคหนึ่งที่ทำให้สามารถดูหนังเงียบได้เพลิดเพลินและรวดเร็วขึ้น คือการ Fast Forward, ปกติแล้วเราไม่สามารถเร่งความเร็วกับหนังพูดได้ เพราะจะทำให้ภาพ/เสียงกระตุกจนดู/ฟังไม่รู้เรื่อง แต่กับหนังเงียบ เราสามารถทำได้นะครับ และมันไม่ทำให้อรรถรสในการชมหนังเงียบเปลี่ยนไปเลย … เหตุเกิดขึ้นจากผมไปอ่านเจอมาว่าความยาวจริงๆของ The Birth of a Nation คือ 133 นาที แต่ในเวอร์ชั่นปัจจุบันกลับความ 190 นาที นั่นเพราะใช้ความเร็วในการฉาย 16 เฟรมต่อวินาที นั่นหมายความว่าภาพหนังจะช้ากว่าปกติมาก, ภาพยนตร์ในปัจจุบันมีความเร็ว 25-29 เฟรมต่อวินาที พวก stop-motion จะประมาณ 20 เฟรมต่อวินาที เทียบกับหนังเรื่องนี้ที่ 16 เฟรมต่อวินาที มันคนละเรื่องเลย, ด้วยเหตุนี้ผมเลยลอง Fast Forward ดู ปรากฏว่า เราสามารถดูหนังได้ตามปกติ ราวกับความเร็วปกติทั่วไป แถมลดเวลาการดู จาก 3 ชั่วโมง เหลือเพียงแค่ 1 ชั่วโมง 40 นาทีเท่านั้น! (ด้วยความเร็ว 3x)

เทคนิคนี้สร้างความประหลาดใจให้ผมแปลกใจไม่น้อย เพราะภาพที่เร็วขึ้น ทำให้ความรู้สึกที่ต้องอดทนต่อการดูหนังเงียบลดอย่างมาก ให้ความรู้สึกเหมือนดูหนังด้วยความเร็วเท่ากับหนังในยุคปัจจุบัน (ผมคิดว่าที่หนังเงียบแทบทุกเรื่องมันดูช้าๆ เนือยๆ คงเพราะเฟรมเรตต่อวินาทีที่ลดลงในช่วงการแปลงหนังจากฟีล์มเป็นดิจิตอล อาจทำให้หนังยาวกว่าปกติ) เทคนิคนี้น่าจะใช้กับหนังเรื่องอื่นได้ด้วย ไว้ถ้าเรื่องไหน ผมทดลองแล้วไม่มีปัญหา จะมาบอกต่อนะครับ

The Birth of a Nation นี่แนะนำเลย สำหรับคนที่ไม่อยากเสียเวลาถึง 3 ชั่วโมง หรือภูมิคุ้มกันหนังเงียบต่ำๆ กด Fast Foward ความเร็ว 2x หรือ 3x ได้เลย และผมเชื่อว่านี่คืออรรถรสที่แท้จริงตอนที่หนังฉายสมัยนั้น

ขอแนะนำหนังเรื่องนี้สำหรับคอหนังทุกท่าน และจัดเป็น “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ให้โอกาสหนังหน่อยนะครับ เพราะ นี่คือเรื่องสำคัญในประวัติศาสตร์ของวงการภาพยนตร์โลก หนังทำเงินสูงสุดเรื่องแรกที่มีการจดบันทึกไว้ คอหนังจะพลาดไปได้ยังไง

ดูหนังเรื่องนี้จะทำให้คุณเข้าใจทันที ว่าทำไมคนอเมริกาถึงชอบการเหยียดผิว, จัดเรต 15+ สำหรับความรุนแรง และแนวคิดการเหยียด

คำโปรย : “The Birth of a Nation หนังเงียบที่ครั้งหนึ่งเคยทำเงินมากที่สุดในโลก โดยบรมครู D.W. Griffith คนรักหนังต้องดูให้ได้ก่อนตาย แต่หนังแลกมาด้วยความขัดแย้งที่รุนแรงของการเหยียดสีผิว”
คุณภาพ : SUPERB
ความชอบ : LIKE