The Truman Show (1998)


The Truman Show (1998) hollywood : Peter Weir ♥♥♥♥

ตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์ Truman Burbank (รับบทโดย Jim Carrey) ถูกบันทึกภาพ แอบถ่าย ฉายรายการเรียลลิตี้ (Reality Show) โดยไม่เคยรับรู้ตนเอง จนกระทั่งเติบใหญ่ ถึงวัยทำงาน โหยหาอิสรภาพ ต้องการออกไปจากโลกปลอมๆใบนี้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

The Truman Show (1998) ไม่ใช่แค่พยากรณ์การมาถึงของรายการเรียลลิตี้ (Reality Show) แต่ยังวิถีโลกยุคสมัยใหม่ที่ไม่ว่าสถานที่แห่งหนไหน ล้วนเต็มไปด้วยกล้องวงจรปิด ทั้งแอบถ่าย-ไม่แอบถ่าย หลายคนยังทำตัวเหมือนกล้องเดินได้ (ด้วยการไลฟ์สดตลอดเวลา) นั่นทำให้มนุษย์สูญเสียความเป็นส่วนตัว ถูกจับจ้อง ถ้ำมอง โดยใครก็ไม่รู้ ไม่เคยพบเจอ ไม่เคยรับรู้จัก ครุ่นคิดว่าฉันคือบุคคลสำคัญ มีชื่อเสียงโด่งดัง โลกต้องหมุนรอบตัวฉัน

ส่วนเนื้อหาสาระของหนังสามารถตีความได้หลากหลาย อาทิ เจตจำนงเสรี (Free Will), การมีตัวตน (Existentialism), ความเป็นส่วนบุคคล (Privacy), ศาสนา (Religion), อภิปรัชญา (Metaphilosophy) ฯ โดยเรื่องราวยังพยายามผสมผสานดราม่า-จิตวิทยา (Psychological Drama), รอม-คอม (Romantic Comedy), ตลกล้อเลียน (Comedy Satire), กลิ่นอายไซไฟ (Science Fiction) … ใกล้เคียงสุดเท่าที่ผมนึกออกก็อย่างภาพยนตร์ Last Year at Marienbad (1961), The Matrix (1999)

เอาจริงๆผมตั้งใจจะเขียน The Truman Show (1998) ต่อจาก Synecdoche, New York (2008) แต่มันมีเหตุบางอย่างทำให้ต้องหยุดงานไปหลายสัปดาห์ โชคดีที่ House Samyan นำเข้าฉายช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๖ คาดว่าน่าจะฉบับบูรณะ 4K ใครพลาดโอกาสรับชมในโรงภาพยนตร์ถือว่าน่าเสียดายอย่างมากๆ

เกร็ด: ภาพโปสเตอร์ใบหน้า Jim Carrey ที่ทำการผสมผสานภาพถ่ายของ Jim Carrey นับร้อยๆรูป ออกแบบสร้างโดย Rob Silverman ข่าวลือว่าต้องใช้เงินสูงถึง $75,000 เหรียญ กว่าจะทำออกมาได้สำเร็จ!


จุดเริ่มต้นของ The Truman Show เริ่มต้นจาก Treatment ความยาว 1 หน้ากระดาษ (ตอนแรกตั้งชื่อว่า The Malcolm Show) พัฒนาขึ้นโดย Andrew M. Niccol (เกิดปี 1964) นักเขียน/ผู้กำกับ สัญชาติ New Zealand, รายละเอียดเกี่ยวกับชายคนหนึ่งอาศัยอยู่ยัง New York City แต่ไม่เคยรับรู้ว่าตนเองกำลังถูกแอบถ่าย ปรากฎตัวในรายการเรียลลิตี้ จนเมื่อค้นพบความจริง ทุกสิ่งอย่างล้วนเกิดขึ้นใน Hollywood Backlot … สามารถขายลิขสิทธิ์ให้โปรดิวเซอร์ Scott Rudin มูลค่าสูงกว่า $1 ล้านเหรียญ!

In original version, Truman’s world is a fake, rain-drenched New York built on a Hollywood soundstage, Truman himself addicted to alcohol and emotionally disengaged from society and his wife Meryl (really an actress named Hannah). The truth of Truman’s life is treated like a mystery, his existence in a reality show rendered a third-act plot twist, with the character of Christof, the all-seeing God figure behind the show, here perpetually lurking around set corners like Dick Dastardly in a wireless headset.

บทความจาก Dazed & Confused Magazine

ด้วยความที่ Niccol เรียกร้องขอกำกับด้วยตนเอง (เคยมีประสบการณ์กำกับโฆษณา) ด้วยงบประมาณสูงถึง $80 ล้านเหรียญ! สร้างความลังเลใจให้สตูดิโอ Paramount Pictures จึงยินยอมจ่ายค่าลิขสิทธิ์สูงหลักล้าน! เพื่อต่อรองให้อีกฝ่ายยินยอมลดบทบาท หลีกทางผู้กำกับมากประสบการณ์ (A-list Director) เข้ามาดูแลงานสร้างแทน

ในตอนแรกโปรดิวเซอร์ Scott ติดต่อได้ผกก. Brian De Palma แต่อีกฝ่ายเหมือนมีปัญหา ‘midlife crisis’ เลยถอนตัวออกไป, จากนั้นบทหนังถูกส่งต่อให้ Tim Burton, Sam Raimi, Terry Gilliam, David Cronenberg, Barry Sonnenfeld, Steven Spielberg รวมถึง Bryan Singer พยายามล็อบบี้ขอโอกาสจาก Paramount แต่สุดท้ายกลับเลือกใช้บริการ Peter Weir

Peter Lindsay Weir (เกิดปี 1944) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Australian เกิดที่ Sydney, New South Wales โตขึ้นเข้าเรียนศิลปะและกฎหมายยัง University of Sydney ขณะที่ความสนใจในภาพยนตร์เกิดขึ้นหลังจากพบเจอ Phillip Noyce ร่วมกันก่อตั้งสตูดิโอ Ubu Films, ช่วงกลางทศวรรษ 60s ทำรายการโทรทัศน์ สารคดี หนังสั้น Homesdale (1971), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก The Cars That Ate Paris (1974), โด่งดังกับ Picnic at Hanging Rock (1975), The Last Wave (1977), มุ่งสู่ Hollywood สรรค์สร้าง Witness (1985), Dead Poets Society (1989), The Truman Show (1998), Master and Commander: The Far Side of the World (2003) ฯ

If you build Manhattan, you must be making money beyond what any show could generate. And why recreate something that is already there and full of problems?

Peter Weir

การเข้ามาของ Weir ช่วยปรับปรุงบทของ Niccol ให้มีบรรยากาศสว่างสดใส ลดความเป็นไซไฟ ปรับเปลี่ยนพื้นหลังจาก Manhattan, New York City มายัง Seaside, Florida (ทำให้ลดทุนสร้างลงเหลือ $60 ล้านเหรียญ) และเมื่อตัดสินใจเลือกนักแสดง Jim Carrey ยินยอมรอคอยคิวว่างหนึ่งปีเต็ม ระหว่างนั้นพวกเขาก็ร่วมกันแก้ไขบทไม่น้อยกว่า 16+12 ครั้ง (16 คือก่อนที่ Carrey จะตอบตกลง, 12 คือหลังจากตอบตกลง)

where [Niccol] had it depressing, I could make it light. It could convince audiences they could watch a show in this scope 24/7.

เกร็ด: ในขณะที่ Niccol ปรับปรุงบทหนังซ้ำแล้วซ้ำอีก และถ่ายทำภาพยนตร์ Gattaca (1997) จนแล้วเสร็จ, ผกก. Weir ก็ช่วยครุ่นคิดรายละเอียดตัวละคร (โดยเฉพาะ Truman และ Christof) รวมถึงพื้นหลังรายการเรียลลิตี้ในแต่ละปีๆ เห็นว่าได้ออกมาเป็นเล่มๆ สำหรับมอบให้นักแสดงใช้ในการอ้างอิงถึง


เรื่องราวของ Truman Burbank (รับบทโดย Jim Carrey) ได้รับเลือกตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์ ให้มาปรากฎตัวในรายการเรียลลิตี้ (Reality Show) ออกฉาย 24/7 ชั่วโมง โดยไม่รับรู้ว่าทุกสิ่งอย่างรอบข้าง คน-สัตว์-สิ่งของ ล้วนเกิดจากการจัดฉาก ปลอมแปลง สร้างขึ้น ณ Seaheaven Island ภายใต้โดมขนาดมหึมามองเห็นจากดวงจันทร์ สามารถควบคุมกลางวัน-กลางคืน สภาพอากาศ ฟ้า-ฝน ลมพายุ โดยพระเจ้าโปรดิวเซอร์เจ้าของรายการ Christof (รับบทโดย Ed Harris)

จนกระทั่งใกล้วันครบรอบ 30 ปี Truman มีความกระตือรือล้นอยากเดินทางไปเกาะ Fiji สถานที่ที่อดีตหญิงสาวรักแรกพบถูก(บิดา)ลักพาตัวไป ขณะเดียวกันก็เริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติมากมายของเมืองแห่งนี้ จึงพยายามหาหนทางดิ้นรน หลบหนี เอาชนะปมกลัวน้ำ (Aquaphobia) จนในที่สุดสามารถพบเจอปลายขอบฟ้า และก้าวออกมาสู่โลกภายนอกได้สำเร็จ!


James Eugene ‘Jim’ Carrey (เกิดปี 1962) นักแสดงสัญชาติ Canadian เกิดที่ Newmarket, Ontario ในครอบครัว Roman Catholic ตอนอายุ 10 ส่งจดหมายถึงรายการโชว์ Carol Burnett Show บอกว่าตัวเองเชี่ยวชาญด้านการลอกเลียนแบบผู้อื่น แม้ไม่ได้ไปออกโทรทัศน์แต่ก็มีจดหมายตอบกลับที่เป็นกำลังใจอย่างมากๆ

Unfortunately, at this time we aren’t hiring children, Just grown-ups. But stay in school, study hard, and keep watching our show.

Carol Burnett

พออายุ 15 เดินทางสู่ Toronto เริ่มต้นการแสดง Stand-Up Comedy ยังไนท์คลับ Yuk Yuk แต่กลับล้มเหลวไม่เป็นท่า เลยเปลี่ยนแผนมาเป็นนักแสดงละครเวที (แต่ก็ทำการแสดง Stand-Up Comedy เก็บเกี่ยวสะสมประสบการณ์ไปด้วย) จนเข้าตาโปรดิวเซอร์จับเซ็นสัญญามุ่งสู่ Hollywood มีโอกาสปรากฎตัวรายการโทรทัศน์ An Evening at the Improv (1982), แสดงซิทคอม The Duck Factory, ซีรีย์ตลก In Living Color, ก่อนสร้างชื่อกับภาพยนตร์ Ace Ventura: Pet Detective (1994), The Mask (1994), Dumb and Dumber (1994), Batman Forever (1995), ได้รับคำชมล้นหลามกับ The Truman Show (1998), Man on the Moon (1999), How the Grinch Stole Christmas (2000), Bruce Almighty (2003), Eternal Sunshine of the Spotless Mind (2004) ฯ

รับบท Truman Burbank ชายหนุ่มหน้าใส มองโลกในแง่ดี มีรอยยิ้มเบิกบาน ทำสิ่งต่างๆด้วยความร่าเริง เอ่อล้นด้วยความบันเทิง ถึงอย่างนั้นเมื่อต้องใช้ชีวิตแบบเดิมๆซ้ำๆ เริ่มเกิดความเบื่อหน่ายในกิจวัตรประจำวัน ยังคงโหยหาอดีตรักแรกพบ เธอคนนั้นถูก(บิดา)ลักพาตัวไปเกาะ Fiji กลายเป็นสถานที่ในอุดมคติ เพ้อฝันใฝ่ อยากเดินทางไปสถานที่แห่งนั้น

ดั้งเดิมนั้นโปรดิวเซอร์อยากได้ Robin Williams แต่หลังจากผกก. Weir พบเห็นการแสดงของ Carrey ในภาพยนตร์ Ace Ventura: Pet Detective (1994) เกิดความชื่นชอบประทับใจ ยกย่องอีกฝ่ายคือสุดยอดนักแสดงระดับ Charlie Chaplin แถมยินยอมรอคอยคิวถ่ายทำหลังจาก The Cable Guy (1996) และ Liar Liar (1997) เรียกว่าทุกสิ่งอย่างล้วนหมุนรอบชายคนนี้!

I thought, ‘What a man touched with genius!’ If this were the silent era he would be up there with Keaton and Chaplin. And he was able to suggest why people watched The Truman Show, because he’s funny and you can patronise him: he’s a little goofy, a boy-man. His whole development as a human being is arrested; he’s in desperate trouble really. There were warnings that we would go down in flames. That Jim would drag in so many million on the opening weekend, and then people would say, ‘It’s neither funny enough nor dramatic enough nor emotional enough’. After all, this is a film of ideas, which is not traditional Hollywood fare.

Peter Weir กล่าวชื่นชม Jim Carrey

Carrey มีความชื่นชอบบทหนังอย่างมากๆ ตอบตกลงพร้อมยินยอมลดค่าตัวจากปกติ $20 ล้านเหรียญ เหลือแค่ $12 ล้านเหรียญ และยังได้รับอิสรภาพในการปรับแก้ ดั้นสด ‘improvised’ … ทีแรกผกก. Weir ก็ไม่ค่อยเห็นด้วยกับวิธีการนี้ แต่ผลลัพท์หลายๆครั้งมีความมหัศจรรย์มากๆ เลยยิ่งชื่นชม เห็นชอบด้วย

บทบาท Comedy ของ Carrey โดดเด่น โด่งดังจากการแสดงออกทางใบหน้า ปฏิกิริยาท่าทาง น้ำเสียงพูดคุย เน้นความเว่อวังอลังการจนดูจอมปลอม แต่สามารถสร้างเสียงหัวเราะ ยียวนกวนประสาท ซึ่งสำหรับ The Truman Show (1998) ก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิมมากนัก แต่กลับถือเป็นไฮไลท์ในอาชีพการงานเพราะมัน เฟคจนดูไม่เฟค! …. กล่าวคือตัวละครไม่รับรู้ว่าตนเองอยู่ในโลกปลอมๆ การแสดงออกเหล่านั้นล้วนได้รับอิทธิพลจากทุกสรรพสิ่งอย่างรอบข้าง มันเลยดูมีความเป็นธรรมชาติ สมจริงอย่างคาดไม่ถึง!

แต่ไฮไลท์จริงๆของ Carrey คือการสีหน้าตึงเครียด จริงจัง น่าเสียดายที่ผู้ชมส่วนใหญ่มองเป็นความตลกขบขัน (นักแสดงสายคอมเมอดี้ ที่พอมาเล่นบทบาทดราม่า คนส่วนใหญ่มักมองว่าไม่สมจริง ไม่ค่อยน่าเชื่อถือสักเท่าไหร่)

แซว: Jim Carrey ตั้งใจว่าบทบาทนี้จะช่วยให้ตนเองหลุดจากภาพจำ (Typecast) ในฐานะนักแสดงตลก แบบเดียวกับตัวละคร Truman Burbank พยายามดิ้นหลบหนีออกจากโลกปลอมๆใบนี้! แต่ที่ไหนได้กลับการันตีความเป็นอมตะใน คอมเมอดี้สไตล์ Jim Carrey ซะงั้น!


Edward Allen Harris (เกิดปี 1950) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Englewood, New Jersey, เติบโตขึ้นในครอบครัว Presbyterian ตอนเด็กชื่นชอบการเล่นฟุตบอลจนเป็นดาวของโรงเรียน แต่พอย้ายไปอยู่ New Mexico เกิดความสนใจด้านการแสดง สอบเข้า University of Oklahoma ตามด้วย California Institute of the Arts จบคณะวิจิตรศิลป์ (Bachelor of Fine Arts), เริ่มทำงานจากเป็นนักแสดงละครเวที ซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์สร้างชื่อคือ The Right Stuff (1984), ผลงานเด่นๆ อาทิ Apollo 13 (1995), The Truman Show (1998), Pollock (2000), A Beautiful Mind (2001), The Hours (2002), A History of Violence (2005) ฯลฯ

รับบทโปรดิวเซอร์ Christof ผู้ครุ่นคิดรายการ The Truman Show ตั้งแต่เมื่อสามสิบปีก่อน คอยกำหนดทิศทาง วางแผนงาน ออกคำสั่งลูกน้องให้ทำโน่นนี่นั่น ราวกับพระเจ้าผู้สรรค์สร้าง Truman Burbank พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อไม่ให้อีกฝ่ายก้าวออกจากโลกใบนี้

ดั้งเดิมนั้นบทบาทนี้ตกเป็นของ Dennis Hopper เห็นว่าถ่ายทำได้สองวันก็ถูกไล่ออก ด้วยเหตุผลคลาสสิก ‘creative differences’ ไม่มีใครเห็นชอบลีลาการแสดงของอีกฝ่าย, มีนักแสดงหลายคนได้รับการติดต่อไป แต่ไม่มีใครอยากรับงานเฉพาะหน้านี้สักเท่าไหร่ Ed Harris ยินยอมตอบตกลงเพราะผกก. Wier มอบหนังสือที่เขียนรายละเอียดพื้นหลังตัวละคร ทำให้เขาไม่ต้องเสียเวลาตระเตรียมความพร้อมมากนัก!

สามสิบปีเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน Harris จึงออกแบบตัวละครให้มีความเย่อหยิ่ง ทะนงตน ลุ่มหลงตัวเอง ปิดกั้นความคิดเห็น เชื่อมั่นว่าฉันกำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง (จะเรียกว่าเผด็จการก็ได้กระมัง) ทุกอากัปกิริยา คำพูดจา จึงมีความหนักแน่น ท่าทางจริงจัง ไม่ยินยอมรับความผิดพลาด โหยหาความสมบูรณ์แบบ ‘Perfectionist’ … ตัวละคร Christof ถือว่ามีความแตกต่างขั้วตรงข้ามกับ Truman Burbank

เกร็ด: ด้วยความที่ตัวละครทั้งสองไม่เคยพบเจอหน้ากัน ระหว่างถ่ายทำ Ed Harris และ Jim Carrey ก็ไม่เคยพบเจอเช่นเดียวกัน


ถ่ายภาพโดย Peter Biziou (เกิดปี 1944) สัญชาติ Wales เป็นบุตรของตากล้อง Leon Bijou, เข้าสู่วงการในช่วงทศวรรษ 60s เริ่มจากถ่ายทำหนังสั้น, แจ้งเกิดกับภาพยนตร์ Bugsy Malone (1976), Monty Python’s Life of Brian (1979), ผลงานเด่นๆ อาทิ Time Bandits (1981), Pink Floyd – The Wall (1982), Mississippi Burning (1988), In the Name of the Father (1993), The Truman Show (1998) ฯ

หลายคนน่าจะสังเกตเห็นความผิดแผกแปลกประหลาดของมุมกล้อง มีความบิดๆเบี้ยวๆ (ด้วยเลนส์ Wide Angle) พยายามหลบซุกซ่อน (เหมือนมีบางสิ่งอย่างครอบขอบข้าง ดูคล้ายๆ Iris Shot) วางอยู่ในตำแหน่งไม่มีใครคาดคิดถึง! ซึ่งนั่นเป็นความจงใจเพื่อไม่ให้ตัวละครรับรู้ว่าตนเองกำลังถูกบันทึกภาพ แอบถ่าย ฉายสดรายการเรียลลิตี้

ผกก. Weir ถ่ายทำหนังทั้งเรื่องด้วยอัตราส่วนภาพ European Widescreen (1.66:1) เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนการฉายรายการเรียลลิตี้ผ่านทางโทรทัศน์ แต่น่าเสียดายที่โปรดิวเซอร์ไม่เห็นความสำคัญดังกล่าว ฉบับภาพยนตร์มีการครอบตัด (Crop) ให้ได้อัตราส่วน Widescreen (1.85:1) ส่วนฉบับบูรณะและ Blu-Ray ถูกครอบตัดจนเหลือ 1.78:1 (จะมีเฉพาะ DVD ต้นฉบับปี ค.ศ. 1999 ที่ยังคงอัตราส่วนดั้งเดิม)

สำหรับสถานที่ถ่ายทำ ผกก. Weir เริ่มต้นออกทำการสำรวจย่าน Eastern Florida แต่ยังรู้สึกไม่เป็นที่พึงพอใจสักเท่าไหร่ เกือบที่จะตัดสินใจถ่ายทำทั้งหมดในสตูดิโอ จนกระทั่งภรรยาแนะนำอีกสถานที่ Seaside, Florida เป็นชุมชนบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ที่เพิ่งสร้างขึ้น (Master-Planned Community) แม้ภายนอกมีความร่มรื่น เรียงง่าย บรรยากาศวินเทจ แต่ขณะเดียวกันก็ดูจอมปลอม ฝืนธรรมชาติ

The town needed a feeling of having been purpose-built, and built all at one time as with any television or movie set.

[Seaside, Florida] looked it had been built for our show. I knew we could enhance it to create the ideal setting for Seahaven.

Peter Weir

ในส่วนของแฟชั่น เสื้อผ้าหน้าผม รับอิทธิพลจากภาพวาด/โปสเตอร์ของศิลปิน Norman Rockwell (1894 – 1978), รวมถึงหน้าปกหนังสือแฟชั่น The Saturday Evening Post เคยได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษ 40s ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสไตล์ Vintage เน้นความเรียบง่าย (เพราะเสื้อผ้าตัวประกอบ หยิบยืมมาจากที่เคยใช้ในรายการโทรทัศน์อื่นๆ)

Our challenge was to avoid making the costumes too cartoonish and also not to make them too tied into a specific period of time.

นักออกแบบเสื้อผ้า Marilyn Matthews

Truman Burbank is the only person on ‘The Truman Show’ that dresses himself- the others are all dressed by the wardrobe department of the television show – so I wanted his look to be a bit different, not quite as polished.

Wendy Stites ที่ปรึกษาด้านการออกแบบ

แซว: ภาพแรกที่ผมนำมาชื่อว่า Dewey vs. Truman (The Great Debate) (1948) การโต้ถกเถียงว่าเลือกประธานาธิบดีคนไหนระหว่าง Thomas E. Dewey (Republican) vs. Harry S. Truman (Democratic) ซึ่งการตั้งชื่อตัวละคร Truman นอกจากบุคคลเดียวที่แสดงออกอย่าง ‘True Man’ ยังอาจได้แรงบันดาลใจจากชื่อ ปธน. คนที่ 41 นี้เอง!

สำหรับคนที่เพิ่งรับชมหนังครั้งแรก ย่อมเต็มไปด้วยข้อฉงนสงสัย หลอดไฟหล่นจากท้องฟ้ามาได้อย่างไร? แถมมีข้อความปรากฎ Sirius (9 Canis Major) ชื่อดาวฤกษ์ส่องสว่างที่สุดยามกลางคืน คนไทยมักเรียกว่าดาวโจร ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ … คนที่รับชมจนจบแล้วย่อมตระหนักว่านี่คือหลอดไฟที่ใช้แทนดาวฤกษ์ส่องสว่างยามค่ำคืน เพราะโลกของ Truman อยู่ภายใต้โดมขนาดมหึมา มันคงเกิดอุบัติเหตุ ขัดข้องทางเทคนิค ขณะเดียวกันยังสามารถสื่อถึงหายนะ จุดจบใกล้มาถึงของรายการ The Truman Show

ผมมองเป็นความน่าอัศจรรย์ในการสรรหามุมกล้องแปลกๆ บิดๆเบี้ยวๆ พยายามทำออกให้ดูเหมือนการแอบถ่าย ติดตั้งกล้องยังตำแหน่งที่ Truman ไม่สามารถสังเกต รับรู้เห็น ผู้ชมเองก็ครุ่นคิดคาดไม่ถึง! … แต่มันก็แอบแปลกอยู่เล็กๆที่เขาจะไม่พบเห็นกล้องที่ซุกซ่อนอยู่เลยได้อย่างไร?

จริงๆมันมีหลายครั้งมากๆที่จงใจสอดแทรกโฆษณาแฝง (Product Placement) แต่ผมเลือกมาเฉพาะสองครั้งที่ Meryl (ภรรยาของ Truman) จู่ๆมีปฏิกิริยาท่าทางแปลกๆ ราวกับถูกวิญญาณร้ายเข้าสิง รอยยิ้มแห้งๆ ดวงตาพองโต พูดคำโปรโมทตามสคริปท์เขียนไว้ มันจึงมีความจอมปลอม ปอกลอก ดูไม่ค่อยจริงใจสักเท่าไหร่

ท้องฟ้า พระอาทิตย์ ดวงจันทร์ เมฆหมอก รวมถึงฝนตกไม่ทั่ว เหล่านี้ล้วนมีความผิดแผก มองดูแปลกประหลาด ยิ่งสร้างความเอะใจให้ทั้งผู้ชมและตัวละคร เหมือนสถานที่แห่งนี้มีบางสิ่งอย่างลับลมคมใน พยายามกีดกันไม่ให้ Truman ก้าวออกจากเกาะ รถเสีย สะพานสร้างไม่เสร็จ อุบัติเหตุสารพิษรั่วไหล ไม่มีเที่ยวบินใดๆ ฯ

เหตุผลที่ Truman มีปมกลัวน้ำ/กลัวทะเล (Aquaphobia) ไม่กล้าขึ้นเรือ เยียบย่างลงท้องทะเล เพราะวัยเด็กเคยมีประสบการณ์จดจำฝังใจ ระหว่างออกทะเลล่องเรือกับบิดา แล้วจู่ๆเกิดคลื่นลมแรง พายุมรสุมพัดผ่านมา โชคดีว่าเด็กชาย Truman สามารถเอาตัวรอดชีวิต แต่บิดากลับสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย … แต่ทั้งหมดนี้เกิดจากการจัดฉาก สร้างสถานการณ์ของ Christof เพื่อควบคุมครอบงำ Truman ไม่ให้ครุ่นคิดก้าวออกไปจากเกาะ สภาพแวดล้อม/โดมที่สรรค์สร้างขึ้น

ด้วยความรู้สึกผิดของ Truman ครุ่นคิดว่าตนเองเป็นต้นสาเหตุให้บิดาต้องเสียชีวิต ทำให้เขาไม่กล้าขึ้นเรือ กลัวการออกท้องทะเล แต่หลังจากบิดาหวนกลับคืนมา ทำให้ปมดังกล่าวรักษาหายโดยพลัน! เกิดความหาญกล้า บ้าบิ่น ไม่หวาดกลัวเกรงอันตรายอีกต่อไป (บางคนอาจมองว่าเพราะบิดาสามารถเอาตัวรอดชีวิตจากคลื่นลมมรสุม เลยเกิดความครุ่นคิดว่าตนเองก็น่าจะทำได้เฉกเช่นเดียวกัน)

การเผชิญหน้าคลื่นลมมรสุม สามารถมองในเชิงสัญลักษณ์ของการฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม ชีวิตคนต้องพานผ่านช่วงเวลาทุกข์ยากลำบาก เต็มไปด้วยปัญหามากมาย แต่ถ้าเราสามารถอดรนทน ไม่ย่นย่อท้อ ยินยอมรับความพ่ายแพ้ ต่อให้พายุจะเลวร้ายรุนแรงสักแค่ไหน ย่อมสามารถไปถึงเป้าหมายปลายทาง ฟากฝั่งฝัน สุดขอบท้องฟ้า โลก และจักรวาล

นอกจากปมเรื่องบิดา Truman ยังคงจดจำรักแรกพบ Lauren/Sylvia นั่นไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในสคริปท์ของ Christof (จึงลบตัวละครนี้ออกด้วยการขับไล่ แสร้งว่าอพยพย้ายไป Fiji) แต่เป็นความรู้สึกแท้จริงของจิตใจ กาลเวลาพานผ่านไปยังคงจดจำไม่ลบเลือน เพ้อใฝ่ฝันอยากเดินทางสู่ Fiji และยังพยายามสรรหารูปนางแบบมาแปะติดปะต่อ ให้ใบหน้าใกล้เคียงกับเธอในอุดมคติมากที่สุด!

แซว: แม้วัยจะย่างเข้าสามสิบ แต่ท่านั่งของ Truman ระหว่างหวนระลึกความหลัง นั่งขด ตัวงอ ยืดข้อเท้า ทำราวกับเด็กน้อย จมปลักตนเองอยู่ในอดีต ยังไม่สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่สักที!

การไขว้นิ้วในภาพงานแต่งงาน ทำให้ Truman เกิดความฉงนสงสัยว่าภรรยา Meryl Burbank/Hannah Gill ที่ระริกระรี้เข้าหาตั้งแต่สมัยมัธยม มีความจงรักภักดีต่อตนเองหรือไม่? หรือทั้งหมดเป็นเพียงการละคอน สร้างภาพลวงหลอกตา ซึ่งปฏิกิริยาท่าทางของเธอก็ค่อนข้างชัดเจนว่าใกล้ถึงจุดแตกหัก ลุกรี้ร้อนรน ท่าทางหวาดกังวลกระวาย แทบมิอาจอดรนทนอยู่กับชายที่ตนเองไม่ได้รักอีกต่อไป … ก็ขนาดว่า Christof ยังครุ่นคิดบทใหม่ของ The Truman Show จะให้เลิกราหย่าร้างกันอีกไม่ช้านาน

Louis Coltrane/Marlon เพื่อนสนิทของ Truman มักคอยเป็นที่ปรึกษา พูดคุยสนทนา แต่สีหน้าท่าทางของเขาเต็มไปด้วยอึดอัด อัดอั้น เพราะทุกคำแนะนำล้วนเคลือบแฝงด้วยการโป้ปดหลอกลวง เล่นละคอนตบตามาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก แต่ตนเองก็ไม่สามารถอะไรนอกเหนือคำสั่งเจ้านาย เพราะจะเป็นการทำลายโลกทั้งใบนี้

My character is in a lot of pain. He feels really guilty about deceiving Truman. He’s had a serious drug addiction for many years. Been in and out of rehab.

Noah Emmerich รับบท Louis Coltrane สวมบทบาทเป็น Marlon

เกร็ด: ชื่อตัวละคร Louis Coltrane เป็นส่วนผสมของสองนักดนตรี Jazz ชื่อดัง Louis Armstrong และJohn Coltrane ซึ่งจะมีฉากที่ชายคนนี้เป่าทรัมเป็ตด้วยละ

เสียงซุบซิบของผู้กำกับ Simeon (รับบทโดย Paul Giamatti) คาดเดาสิ่งที่ Truman วาดบนกระจกคือแมว แต่แท้จริงแล้วมันคือชุดนักบินอวกาศ และพอกล่าวว่า “Trumania of the Burbank Galaxy.” จะมีการวาดธงข้างๆ และเขียนตัวอักษร T (น่าจะแทนด้วย Truman)

เกร็ด: ซีเควนซ์ที่ Truman พูดคุยเล่นหน้ากระจก ล้วนเป็นการดั้นสด ‘improvised’ ของ Jim Carrey ไม่มีอยู่ในบทหนัง

ผมนึกอยู่นานว่าช็อตนี้มันคุ้นๆเหมือนเคยเห็นจากไหน คำตอบคือภาพยนตร์ Persona (1966) เด็กชายเอื้อมมือไขว่คว้าใบหน้าหญิงสาว/มารดาขนาดใหญ่, ในบริบทของหนัง Christof เอื้อมมือสัมผัสใบหน้า Truman แต่เราสามารถตีความในทิศทางกลับตารปัตร นั่นเพราะ Christof เปรียบดั่งบิดา/พระเจ้า ผู้คอยควบคุมดูแล กำหนดทิศทางชีวิตให้ Truman ราวกับบุตรชายของตนเอง

การเดินลัดเลาะสุดปลายขอบฟ้า แล้วก้าวขึ้นบันไดสู่ประตูทางออก นี่ถือเป็นภาพ ‘Iconic’ ของหนังที่สื่อถึงจุดสิ้นสุดการเดินทาง Truman ได้บรรลุถึงเป้าหมาย เอาชนะขีดจำกัดตนเอง พร้อมจะก้าวออกสู่โลกภายนอก เผชิญหน้าความเป็นจริง โบยบินออกจากกรงขัง ได้รับอิสรภาพชีวิต หรือจะตีความถึงการบรรลุหลุดพ้น ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฎฎะสังสารอีกต่อไป

วินาทีก่อนที่ Truman กำลังจะก้าวเข้าสู่ประตูทางออก จู่ๆมีเสียงของใครก็ไม่รู้ดังกึกก้องกังวาล มีการตัดภาพไปที่พระอาทิตย์สาดส่องแสง ราวกับเสียงของพระเจ้า แต่แท้จริงแล้วบนดวงอาทิตย์/ดวงจันทร์ คือห้องควบคุม (Control Room) ของ Christof ผู้คอยกำกับดูแลทุกสิ่งอย่างในโดมหลังนี้

สิ่งที่ผมแอบประหลาดใจที่สุดคือท่านั่งของ Christof ระหว่างสนทนาผ่านหน้าจอมอนิเตอร์ (ล้อกับตอนที่ Truman นั่งอยู่ห้องใต้ดิน หวนระลึกความทรงจำในอดีต) นั่งขด ตัวงอ ยืดข้อเท้า ทำราวกับเด็กน้อย รับรู้ตนเองว่ากำลังจะสูญเสียของเล่น พยายามพูดคำโน้มน้าว Truman ไม่ให้ก้าวออกจากโดมหลังนี้ แต่เจตจำนงเสรีของมนุษย์ ไม่ใช่สิ่งที่ใครไหนจะสามารถควบคุม ครอบงำ บีบบังคับ แม้แต่พระเป็นเจ้าเองก็ตาม

ประโยคสุดท้ายของ Truman เป็นการล้อกับคำติดปากของตนเอง (Catchphase) ทุกเช้าเมื่ออกจากบ้านทักทายผู้คนรอบข้าง “In case I don’t see you, Good Afternoon, Good Evening, and Good Night.” เรียกได้ว่าสูงสุดกลับสู่สามัญ คำทักทายและร่ำจากลาในคราเดียวกัน

ตัดต่อโดย William Anderson และ Lee Smith

  • William M. Anderson (เกิดปี 1948) สัญชาติ Irish, ขาประจำผู้กำกับ Peter Weir ผลงานเด่นๆ อาทิ Dead Poets Society (1989), The Truman Show (1998), Master and Commander: The Far Side of the World (2003) ฯ
  • Lee Smith (เกิดปี 1960) สัญชาติ Australian, แจ้งเกิดจากการร่วมงานผกก. Peter Weir อาทิ The Truman Show (1998), Master and Commander: The Far Side of the World (2003), จากนั้นกลายเป็นขาประจำ Christopher Nolan, Sam Mendes ผลงานเด่นๆ อาทิ Batman Begins (2005), The Dark Knight (2008), Inception (2010), Interstellar (2014), Spectre (2015), Dunkirk (2017), 1917 (2019) ฯ

ถัดจากอารัมบทที่เป็นบทสัมภาษณ์โปรดิวเซอร์/นักแสดง, ครึ่งแรกของหนังจะนำเสนอผ่านมุมกล้อง ถ้ำมอง แอบถ่ายกิจวัตรประจำวันของ Truman Burbank โดยที่ผู้ชม(และตัวละคร)อาจยังไม่รับรู้ว่ามีบางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้น แต่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติ สัมผัสได้ว่ามีบางสิ่งแปลกประหลาดบังเกิดขึ้น

  • กิจวัตรประจำวันของ Truman ตื่นเช้า เดินทางไปทำงาน ค่ำคืนดื่มกับเพื่อนสนิท Louis Coltrane
  • (Flashback) เล่าย้อนอดีต ปมที่ทำให้เป็นโรคกลัวน้ำ (Aquaphobia)
  • วันถัดมาพบเจอบิดาที่น่าจะเสียชีวิตจากไปแล้ว จู่ๆถูกลักพาตัวไปต่อหน้าต่อตา จึงพยายามออกติดตามค้นหา
  • (Flashback) หวนระลึกถึงรักแรกพบ Sylvia แต่ไม่นานเธอก็ถูก(บิดา)ลักพาตัวไป Fiji
  • Truman เริ่มสังเกตพบเห็นสิ่งผิดแผกแปลกประหลาดบนโลกใบนี้
  • วันถัดมาสังเกตเห็นพฤติกรรมแปลกๆของภรรยา จึงแอบติดตามภรรยาไปโรงพยาบาล
  • พยายามหาหนทางออกไปจากโลกใบนี้ ทางรถ ทางเรือ ล้วนมีเหตุไม่ให้เขาสามารถออกเดินทางไปไหน
  • ค่ำคืนระหว่างนั่งดื่มกับ Louis ก็ได้พบเจอกับบิดาผู้สูญหาย

ส่วนครึ่งหลังจะสลับสับเปลี่ยนมาเป็นมุมมองโปรดิวเซอร์ Christof รวมถึงพนักงาน/ผู้ชมทางบ้าน คอยสังเกต จับจ้อง ลุ้นระทึกเหตุการณ์ชีวิตที่บังเกิดขึ้นกับ Truman Burbank

  • วินาทีที่ Truman ได้พบเจอบิดาผู้สูญหาย จะมีการสลับสับเปลี่ยนมุมมองมายังห้องควบคุม โปรดิวเซอร์ Christof กำกับทีมงานเบื้องหลัง
  • การสัมภาษณ์โปรดิวเซอร์ Christof ถึงโปรเจค The Truman Show ระหว่างนั้นถูกขัดจังหวะด้วยการโทรศัพท์เข้ามาก่อกวนของ Sylvia (รักแรกพบของ Truman)
  • กิจวัตรประจำวันของ Truman เหมือนดำเนินไปอย่างปกติ แต่ค่ำคืนนี้เขากลับสูญหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย
  • ทำให้ทีมงาน นักแสดง ต่างต้องออกติดตามค้นหา Truman สูญหายตัวไปไหน
  • ก่อนพบว่าเขากำลังล่องเรือ เอาชนะความหวาดกลัว เพื่อออกไปจากโลกใบนี้
  • Christof พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อหยุดยับยั้ง Truman ทั้งลมฝน พายุ แต่จนแล้วจนรอดเขาก็ไม่ยินยอมรับความพ่ายแพ้
  • Truman ล่องเรือมาจนถึงสุดขอบโลก Christof จึงส่งเสียงประกาศเพื่อโน้มน้าวให้อีกฝ่ายหวนกลับ แต่เขากลับตัดสินใจก้าวออกจากประตู

ผมรู้สึกว่าลีลาการตัดต่อของหนังมีความน่าประทับใจอยู่ไม่น้อย ตัดสลับไปมาระหว่างเรื่องราวชีวิต Truman, แทรกภาพย้อนอดีต (Flashback), ห้องควบคุม/ทีมงานเบื้องหลัง, รวมถึงร้อยเรียงปฏิกิริยาผู้ชมทางบ้าน! น่าแปลกใจที่ถูกมองข้ามจากแทบทุกสถาบัน อาจเพราะถูกมองว่าเป็นหนังตลกกระมัง?


เพลงประกอบโดย Burkhard von Dallwitz (เกิดปี 1959) นักแต่งเพลงสัญชาติ German เกิดที่ Bad Homburg vor der Höhe, ฝึกฝนเปียโนตั้งแต่อายุแปดขวบ แต่งเพลงแรกตอนอายุสิบห้า โตขึ้นเดินทางสู่ Melbourne, Australia ร่ำเรียนสาขาแต่งเพลง La Trobe University, จบออกมาทำงานในสังกัด Nine Network Australia จนกระทั่งผกก. Peter Weir มีโอกาสรับฟังอัลบัม Worlds Apart (1996) จึงชักชวนมาทำเพลงประกอบภาพยนตร์ The Truman Show (1998)

งานเพลงของ Dallwitz มักมีลักษณะชวนฝัน เคลิบเคลิ้มล่องลอย เหมือนคนอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น ชีวิต(ของ Truman)ช่างเต็มไปด้วยความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ดำเนินไปตามครรลอง ไม่จำเป็นต้องดิ้นรน It’s a Life ชีวิตในอุดมคติอเมริกันชน

นอกจาก Dallwitz ผกก. Weir ยังทำการติดต่อ Philip Glass (เกิดปี 1937) นักแต่งเพลง Minimalism สัญชาติอเมริกัน ผู้เลื่องชื่อในท่วงทำนองเวียนวน ซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวของ Truman ดำเนินชีวิตวันๆอย่างเรื่อยเปื่อย ซ้ำๆซากๆ แต่ภายในจิตใจลึกๆยังคงครุ่นคิดโหยหา Dreaming of Fiji สักวันอยากไปย่างเหยียบสุดปลายขอบฟ้า

ผมแอบคาดไม่ถึงอยู่เล็กๆเมื่อได้ยิน Chopin: Romance-Larghetto ในฉากที่ Truman ตกหลุมรัก Sylvia พาเธอไปยังริมชายหาด แค่ชื่อเพลงก็บ่งบอกถึงความโรแมนติก ชวนฝัน หนึ่งในไม่กี่ครั้งที่เขาค้นพบความปรารถนาแท้จริงของหัวใจ ก่อนถูกทำให้พลัดพรากจากไป กลายเป็นช่วงเวลาเล็กๆจดจำฝังใจไม่รู้ลืมเลือน

บทเพลง Reunion แต่งโดย Dallwitz, เริ่มต้นด้วยเสียงเชลโล่ เครื่องสายเสียงทุ้มต่ำ แสดงถึงอารมณ์เก็บกดที่ซุกซ่อนอยู่ภายในจิตใจของ Truman วินาทีที่เขาได้(หวนกลับมา)พบเจอบิดา เสียงเปียโนเปรียบดั่งประกายแสงสว่าง ติดตามด้วยออร์เคสตราอันทรงพลัง ทุกสิ่งอย่างอัดอั้นภายในราวกับได้ปะทุระเบิดออกมา ธารน้ำตามิอาจกลั้นหลั่ง กว่ายี่สิบปีพ่อ-ลูกก็มีโอกาสได้อยู่เคียงข้างกันอีกครั้ง!

บทเพลงที่เหมาะสำหรับรับฟังระหว่างหลับนอน Truman Sleeps ทำการครอบตัด (Crop) จากอัลบัม Glassworks (1991) ผลงาน(น่าจะ)ยอดเยี่ยมที่สุดของ Philips Glass ที่ถ้าคุณหลับตา ตั้งใจรับฟัง เสียงเปียโนที่เล่นซ้ำๆ ย้ำๆ วนไปวนมา ให้ความรู้เหมือนเสียงแก้วกระทบ ‘Glass Work’ ได้อย่างน่ามหัศจรรย์

สิ่งที่สร้างความตกตะลึงให้ผมมากสุดในหนัง ไม่ใช่เรื่องราวหรือการก้าวออกจากโดมของ Truman แต่คือบทเพลงที่ใช้ในวินาทีนั้น Mishima: Opening แต่งโดย Philip Glass เพื่อประกอบโคตรภาพยนตร์ Mishima: A Life in Four Chapters (1985) มันช่างมีความเหมาะเจาะ พอดิบดี ราวกับการได้พบเจอโลกใบใหม่

ทำนองที่ได้ยินในหนังครอปตัด (Crop) ตั้งแน่นาทีที่ 1:25 จนถึงประมาณนาทีที่ 2:00 เท่านั้นนะครับ

บทเพลงไพเราะสุดในอัลบัม ดังขึ้นระหว่าง Closing Credit ใช้เป็นบทสรุปการเดินทางของ Truman สามารถเอาตัวรอดพานผ่านพายุมรสุมโหมกระหน่ำ (เสียงรัวกลองสร้างความตื่นเต้น รุกเร้าใจ) จนมาถึงสุดปลายขอบฟ้า (เสียงไวโอลินกรีดกราย) และก้าวย่างออกทางประตู (ทุกสิ่งอย่างเงียบสงัดลง) เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ A New Life (แต่งโดย Dallwitz)

ทิ้งท้ายกับบทเพลง Twentieth Century Boy (1973) แต่งโดย Marc Bolan ขับร้องโดย T. Rex วงร็อคสัญชาติอังกฤษ ได้ยินในซีเควนซ์งานพรอมของโรงเรียน ท่วงทำนองสนุกสนาน ครื้นเครง วัยรุ่นศตวรรษที่ 20th

Oww!
(Ahh)

Friends say it’s fine, friends say it’s good
Everybody says it’s just like Robin Hood
Yeah!
I move like a cat, charge like a ram
Sting like a bee, babe, I wanna be your man, hey!

Well, it’s plain to see you were meant for me, yeah
I’m your boy, your 20th century toy
Yeah!

Friends say it’s fine, my friends say it’s good
Everybody says it’s just like Robin Hood
Fly like a plane, drive like a car
Bawl like a hound, babe, I wanna be your man, hoo!

Well, it’s plain to see you were meant for me
And I’m your toy, your 20th century boy

20th century toy, I wanna be your boy-ah
20th century toy, I wanna be your boy
20th century toy, I wanna be your boy
20th century toy, I wanna be your boy

Friends say it’s fine, friends say it’s good
Everybody says it’s just like Robin Hood, nah, nah
Move like a cat, charge like a ram
Sting like a bee
Oh, oh, babe, I wanna be your man
And, um, and, oh, oh

Well it’s plain to see you were meant for me
And I’m your toy, your 20th century boy

20th century toy, I wanna be your boy
20th century toy, I wanna be your boy
20th century toy, I wanna be your toy
20th century boy-ah, I wanna be your toy

Yeah-ah
Ah, oh, oh, yeah
My friends say it’s fine, they say it’s good
I don’t believe it’s like Robin Hood
I’m like a car, I drive like a plane
I wanna hang your head in the falling rain
Ah, oh yeah
Wow!

Truman Burbank ตั้งแต่ถือกำเนิด ถูกจับจ้อง แอบถ้ำมอง อยู่ในสายตาของผู้ชมทั่วโลกผ่านรายการเรียลลิตี้ (Reality Show) ทุกสิ่งอย่างล้วนถูกควบคุมครอบงำ กำหนดทิศทางชีวิตโดยโปรดิวเซอร์/พระเจ้า Christof ไม่เคยตระหนักรับรู้ตัวตนเอง จนกระทั่งเติบใหญ่ ถึงวัยทำงาน โหยหาอิสรภาพ ค่อยๆสังเกตเห็นความผิดปกติ พยายามต่อสู้ดิ้นรน หาหนทางก้าวออกจากโลกปลอมๆใบนี้

ด้วยความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี รวมถึงกระแสนิยมสื่อโทรทัศน์ที่แพร่หลายในช่วงทศวรรษ 90s The Truman Show (1998) เปรียบดั่งคำพยากรณ์การมาถึงของรายการเรียลลิตี้ (Reality Show) อาทิ Big Brother, Survivor, The Amazing Race ฯ ถ้าเป็นสมัยก่อนยังต้องดูผ่านจอโทรทัศน์เท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้มีระบบสตรีมมิ่ง (Streaming) ถ่ายทอดสดได้ตลอด 24 ชั่วโมง ใครก็สามารถโด่งดังได้แค่มีโทรศัพท์มือถือ!

There has always been this question: is the audience getting dumber? Or are we film- makers patronising them? Is this what they want? Or is this what we’re giving them? But the public went to my film in large numbers. And that has to be encouraging.

Andrew Niccol

ผมยังจดจำได้ตอนรับชม Big Brother Thailand ซีซันแรกๆ ผู้ชมต่างแสดงความคิดเห็น วิพากย์วิจารณ์กันอย่างเมามัน (เว็บพันทิปยุคนั้น ตั้งกระทู้แทบจะต่อกระทู้) เด็กรุ่นใหม่ไม่มีอะไรทำแล้วหรือไร ถึงเอาเวลามานั่งดูชีวิตคนอื่น? พวกผู้จัดรายการ โปรดิวเซอร์ก็มักง่ายกันจัง แทบไม่ต้องทำอะไรก็มีผู้ชมตลอด 24/7?

กาลเวลามันเพิ่งจะพานผ่านมาทศวรรษกว่าๆ เรียลลิตี้ สตรีมมิ่งในปัจจุบัน ได้พัฒนามาจนสามารถสร้างงานสร้างอาชีพ รายได้เป็นกอบเป็นกำ ยอดวิวหลักพันก็อาจเอาตัวรอดได้แล้ว(กระมัง) ใครยังมีอคติต่อสิ่งพรรค์นี้ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ ตกยุคตกสมัยไปเรียบร้อยแล้วนะครับ!

ลองย้อนกลับมามองมุมผู้ชม มันอาจไม่ใช่เพราะเรามีเวลาว่าง แต่ส่วนใหญ่คือความอยากรู้อยากเห็น อยากเป็นแบบบุคคลที่ออกรายการเรียลลิตี้/ทำการสตรีมมิ่ง (พูดง่ายๆก็คืออยากเสือกเรื่องชาวบ้าน) เพราะบางคนอาจไม่สามารถกระทำสิ่งเหล่านั้น บางคนอาจต้องการการเปรียบเทียบกับตนเอง ฯ ซึ่งกรณีของ Truman Burbank เติบโตขึ้นในสังคมอุดมคติ (Utopia) หรือจะเรียกว่าวิถีอเมริกัน (American Dream) นั่นอาจคือเหตุผลให้รายการนี้ได้รับความนิยม ประสบความสำเร็จล้นหลาม (เพราะชาวอเมริกัน)ต่างคาดหวังให้ชายหนุ่มผู้นี้สามารถเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน กระทำสิ่งต่างๆสำเร็จสมดั่งใจหวัง เฮลั่นบ้านเมื่อเขาก้าวผ่านประตูสุดขอบฟ้า

นั่นแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อ มีความทรงพลัง และน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก (ถ้านำไปใช้ในทางไม่ถูกต้อง) สังเกตจากสารพัดวิธีการที่ Christof ใช้ควบคุมครอบงำ/ล้างสมอง Truman สร้างโลกปลอมๆขึ้นมาห้อมล้อมรอบ ปลูกฝังความครุ่นคิด ทัศนคติ วิธีการใช้ชีวิต ไม่ให้พยายามหลบหนี ดิ้นหลุดพ้น ก้าวออกจากเกาะแห่งนี้ เพียงเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ส่วนตน/รายการ The Truman Show จักสามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ ไม่รู้จักจบจักสิ้น

เรียกได้ว่าสื่อสารมวลชน (เหมารวมถึงสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่บรรดาเซเลปในเครือข่ายสังคมออนไลน์) ล้วนสามารถสร้างอิทธิพลให้กับผู้ชม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ปลูกฝังแนวความคิด สร้างภาพ ชวนเชื่อ เพื่อผลประโยชน์ ชื่อเสียง เงินทอง และความสำเร็จ


ถัดจากประเด็นขายความเป็นส่วนตัวในรายการเรียลลิตี้ (Reality Show) ก็มาถึงการตั้งคำถามอัตถิภาวนิยม (Existentialism) บางคนจำลองโดมแห่งนี้ = โลกและจักรวาล, Truman Burbank คือตัวมนุษย์, Christof เปรียบดั่งพระเจ้าผู้สรรค์สร้างทุกสรรพสิ่งอย่าง แล้วยังคอยควบคุมครอบงำ กำหนดทิศทางชีวิตของ(บุตรชาย) Truman เฉกเช่นนั้นแล้วเขายังมีเจตจำนงเสรี (Free Will) อยู่หรือไม่?

เท่าที่ผมหาหาอ่านการตีความของชาวคริสเตียน มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่ามนุษย์มีเจตจำนงเสรี (Free Will) หรือทุกสิ่งอย่างล้วนอยู่ในการควบคุมของพระเจ้า (God Will) ซึ่งรวมถึงการเลือกนับถือหรือทอดทิ้งความเชื่อศรัทธา ก้าวหรือไม่ก้าวออกจากโลกที่พระองค์สรรค์สร้างขึ้น … ผมรู้สึกว่า The Truman Show (1998) ตอบคำถามประเด็นนี้ได้ชัดเจนทีเดียว

ในทางปรัชญามีการเปรียบเทียบอุปมานิทัศน์เรื่องถ้ำ (Allegory of the cave) หรือเรียกสั้นๆ ถ้ำของเพลโต (Plato’s Cave) บรรยายถึงกลุ่มนักโทษที่ใช้ชีวิตโดยถูกตรึงและหันหน้าเข้าผนังถ้ำตลอดเวลา คนเหล่านี้เฝ้าดูเงาที่ฉายบนผนังจากสิ่งของที่เคลื่อนผ่านเปลวไฟด้านหลัง สำหรับพวกเขาแล้วเงาเหล่านั้นเป็นความจริง! จนกว่าจะได้รับการปลดปล่อยถึงสามารถเข้าใจเบื้องหลัง ข้อเท็จจริง และเมื่อถูกส่งกลับเข้าไปในถ้ำอีกครั้ง จะรู้สึกสงสารบุคคลอื่นๆที่ไม่รับล่วงรู้ความจริงดังกล่าว

ปัจจุบันมีคำเรียกอาการป่วยจิตเภท ประเภทหลงผิด The Truman Show Delusion หรือย่อๆ Truman Syndrome ค้นพบโดยสองพี่น้อง Dr. Joel & Ian Gold จิตแพทย์ทำงานอยู่ Bellevue Hospital Center, New York City ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 (หลังเหตุการณ์ 9/11) เริ่มสังเกตเห็นผู้ป่วยจำนวนมาก เชื่อว่าชีวิตตนเองถูก ‘จัดฉาก’ ทุกสิ่งอย่างบันทึกไว้สำหรับเผยแพร่เพื่อความบันเทิง

เกร็ด: จริงๆแล้วลักษณะอาการหลงผิด (Delusion) มันมีมาทุกยุคทุกสมัย ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยแวดล้อมรอบข้าง, Truman Syndrome ปรากฎขึ้นในปัจจุบันนี้เพราะทุกกิจกรรมของเรามักถูกบันทึกไว้บนอินเตอร์เน็ต สังคมออนไลน์ กล้องวงจรปิดมากมายเต็มไปหมด ระบบรักษาความปลอดภัยก็ใช่ว่าจะสามารถป้องกันการโจรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Crime) … มีคนกล่าวไว้ว่าอาการ Truman Syndrome สะท้อนปัญหาสังคมได้ชัดเจนกว่าสะท้อนความเป็นปัจเจกบุคคลเสียอีก!

สิ่งสุดท้ายที่ผมอยากเปรียบเทียบถึง เริ่มจากความทุกข์ทรมานใจของ Truman ทำให้เขาโหยหาอิสรภาพ พยายามต่อสู้ดิ้นรน ล่องเรือฟันฝ่าพายุมรสุม เพื่อให้สามารถเดินทางถึงสุดปลายขอบฟ้า ก้าวออกจากประตู บรรลุหลุดพ้น ไม่ต้องแหวกว่ายเวียนวนในวัฎฎะสังสารอีกต่อไป


ดั้งเดิมหนังวางโปรแกรมฉาย 8 สิงหาคม ค.ศ. 1997 แต่น่าจะติดคิวงานของ Jim Carrey เลยเลื่อนไป 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 ไม่รู้ยังตัดต่อไม่เสร็จหรืออะไรถึงเลื่อนอีกรอบ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1998 ซึ่งต้องถือว่าโคตรๆโชคดีอย่างมากๆ เพราะถ้าเข้าฉายปลายปีมันจะคาบเกี่ยวการมาถึงของ Titanic (1997) ซึ่งสร้างหายนะให้กับรายรับอย่างแน่นอน

ด้วยทุนสร้าง $60 ล้านเหรียญ (เฉพาะค่าตัว Carrey ก็ซัดไป $12 ล้านเหรียญ) ด้วยเสียงตอบรับดียอดเยี่ยม ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $125.6 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $264.1 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม แถมช่วงปลายปียังได้เข้าชิง Oscar, Golden Globe อีกหลายสาขา

  • Academy Awards
    • Best Director
    • Best Supporting Actor (Ed Harris)
    • Best Original Screenplay
  • Golden Globe Awards
    • Best Motion Picture – Drama
    • Best Director
    • Best Actor (Jim Carrey)
    • Best Supporting Actor (Ed Harris)
    • Best Screenplay
    • Best Original Score

น่าเสียดายที่ The Truman Show (1998) ถูกมองข้าม (SNUB) หลากหลายสาขามากๆ Best Picture, Best Actor, Best Cinematographer ฯ อาจเพราะคณะกรรมการ Oscar มองว่าคือหนังตลก การแสดงของ Jim Carrey โอเว่อแอ็คติ้งเกินไป และผู้ชนะปีนั้น Shakespeare in Love (1998) อย่าไปพูดถึงมันเลยดีกว่า!

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 4K Ultra HD ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 25th Anniversary เมื่อปี ค.ศ. 2023 จัดจำหน่ายโดย Paramount Home Entertainment พร้อมสารคดีเบื้องหลัง ฉากตัดออกไป คุณภาพไร้ตำหนิ

ส่วนตัวชื่นชอบแนวคิดของหนังมากๆ ละม้ายคล้าย The Matrix (1999) เกี่ยวกับการต่อสู้ ดิ้นรน หาหนทางหลุดพ้น ก้าวออกจากวัฎฎะสังสาร ผสมผสานการแสดงชวนป่วนของ Jim Carrey งานภาพสวยๆ โปรดักชั่นชวนฝัน ดินแดนสุดขอบฟ้านั้น คือเป้าหมายปลายทางของมนุษยชาติ

The Truman Show (1998) เป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนเข้ากับโลกยุคสารสนเทศ 4G 5G xG ได้ยิ่งกว่าสมัยที่เพิ่งออกฉายเสียอีก! สมควรอย่างยิ่งแก่การ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” เพื่อให้ผู้ชมรุ่นใหม่เกิดความตระหนักถึงอิทธิพลสื่อสารมวลชน เรียนรู้จัก ค้นพบตัวตนเอง สามารถหาทางดิ้นหลุดพ้น ก้าวออกจากหน้าจอ กรอบสี่เหลี่ยม มาใช้ชีวิตอยู่บนโลกความจริง!

จัดเรต pg กับโลกปลอมๆของรายการเรียลลิตี้

คำโปรย | The Truman Show สร้างความตระหนักให้กับ Jim Carrey จนสามารถก้าวออกจากดินแดนแห่งความฝัน หลุดพ้นวัฎฎะสังสาร
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

Dead Poets Society (1989)


Dead Poets Society

Dead Poets Society (1989) hollywood : Peter Weir ♥♥♥♡

มนุษย์มีสิทธิ์จะเพ้อฝัน อิสรภาพในสิ่งที่อยากทำ แต่ถ้าไม่รับรู้จักหักห้ามควบคุมตนเอง มันแตกต่างอะไรกับเดรัจฉาน? Dead Poets Society นำเสนออุดมการณ์ชวนเชื่อซ้ายจัด (เสรีนิยม) แม้สามารถเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ สร้างแรงบันดาลใจให้ใครต่อใคร แต่ใช่ว่าทุกคนจะต้องการลุกขึ้นยืน

ผมพยายามวางตัวเป็นกลางในการวิจารณ์ วิพากย์การเมือง รวมไปถีงการใช้ชีวิต ‘ทางสายกลาง’ แต่ฝูงชนยุคสมัยนี้ต่างเรียกร้องให้ทุกคนเลือกข้าง แถมถ้าคุณไม่ได้อยู่ฝั่งฉันก็แปลว่าเป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม … สังคมลักษณะนี้มันวิปริต เห็นแก่ตัว ไม่เคารพสิทธิเสรีภาพของอีกฝ่ายเลยสักนิด!

Dead Poets Society (1989) เป็นภาพยนตร์ที่มักถูกปลุกขึ้นในช่วงความต้องการโค่นล้มขั้วอำนาจเก่าทางการเมือง ซึ่งก็ถือว่าเหมาะสมเพราะสาสน์สาระ ‘ชวนเชื่อ’ สามารถระดมผู้ชมฝั่งซ้ายจัด (เสรีนิยม) ให้เกิดอคติต่อระบบ แสดงทัศนคติใหม่ๆ หึกเหิมหาญกล้าลุกขึ้นมา ‘Carpe diem’ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด!

แต่ถ้าคุณมองภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างเป็นกลาง จะพบเห็นความเอนเอียงเลือกข้างอย่างชัดเจน หลายๆประเด็นโคตรเพ้อเจ้อ ตัวละครไม่สามารถควบคุมตนเอง ลุ่มหลงระเริงไปกับอิสรภาพ และสิ่งเกิดขึ้นตอนจบมันคือการครอบงำ ชักจูง ‘manipulation’ ให้ผู้ชมเห็นพ้องคล้อยตามในอุดมการณ์ความคิดของผู้สร้างทิศทางเดียว

ผมเชื่อว่าผู้ชมหนังฝ่ายขวาจัด (อนุรักษ์นิยม) รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้คงได้อ๊วกแตกอ๊วกแตน ยินยอมรับไม่ได้กับเนื้อหาสาระ ใจความชักชวนเชื่อ ถ้าสังคมไร้ซึ่งกฎกรอบ นักเรียน/ประชาชนทำตัวไม่เห็นหัวผู้หลักผู้ใหญ่ อ้างอิสรภาพแต่ไร้ซึ่งการควบคุมตนเอง ความสงบสันติสุขมันจะบังเกิดขึ้นได้อย่างไร?


จุดเริ่มต้นของ Dead Poets Society เกิดจากการพัฒนาบทดั้งเดิมของ Thomas H. Schulman (เกิดปี 1951) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Nashville, Tennessee นำแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ตนเอง ขณะเข้าโรงเรียนเตรียมฯ Montgomery Bell Academy

ตัวละครต่างๆล้วนได้แรงบันดาลใจจากบุคคลจริงๆ อย่าง John Keating มาจากครูสองคน

  • Harold Clurman ครูสอนการแสดงที่มักมีประโยคคำพูดชวนให้ขบคิด สร้างแรงบันดาลใจ
  • Samuel Pickering ครูสอนภาษาอังกฤษผู้เลื่องลือชาในวิธีการสอนแบบ Unorthodox ยืนบนโต๊ะสอนหนังสือ, พาออกนอกห้อง, ร่วมเล่นฟุตบอลกับนักเรียน ฯ

เกร็ด: Samuel Pickering เคยพูดถึงวิธีการสอนหนังสือของตนเองว่า

“I did such things not so much to awaken students as entertain myself. If I had fun, I suppose I thought, the boys would have fun, too, and maybe even enjoy reading and writing”.

Samuel Pickering

Schulman นำโปรเจคไปเสนอขายตามสตูดิโอต่างๆ จนกระทั่งได้เซ็นสัญญากับ Walt Disney ให้คำแนะนำเปลี่ยนเรื่องราวพื้นหลังจากบทกวีมาเป็นการเต้นลีลา (Passion Dance) คล้ายๆภาพยนตร์เรื่อง Fame (1980) แถมตั้งชื่อใหม่ให้เสร็จสรรพ The Sultans of Strut หรือ Sultans of Swing

แน่นอนว่า Schulman ไม่ยินยอมแก้ไขปรับเปลี่ยนแปลงใดๆ ซึ่ง Disney ก็มิอาจทำอะไรเลยส่งต่อโปรเจคนี้ให้สตูดิโอลูก Touchstone Pictures ที่เพิ่งก่อตั้งปี 1984 สำหรับสรรค์สร้าง/จัดฉายภาพยนตร์ที่ไม่ต้องการให้ติดโลโก้ Walt Disney (แบรนด์ของ Walt Disney จะเน้นเด็กและเยาวชนเป็นหลัก, Touchstone Pictures มีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ใหญ่)

สำหรับผู้กำกับแรกเริ่มคือ Jeff Kanew โด่งดังจากการตัดต่อ Ordinary People (1980) และผลงานสร้างชื่อ Revenge of the Nerds (1984), เห็นว่าตระเตรียมงานสร้าง พร้อมถ่ายทำเสร็จสิ้นเรียบร้อย แต่วันแรกเปิดกอง Robin Williams กลับปฏิเสธร่วมงาน (ไม่รู้มีความขัดแย้งอะไรกัน) สตูดิโอ Disney เลยขับไล่เขาออก เผาทุกสิ่งอย่างทิ้งไม่ให้หลงเหลือ

(สาเหตุผลหนึ่งอาจเพราะ Kanew อยากได้ Liam Neeson แต่สตูดิโอยืนกรานต้อง Robin William มารับบทอาจารย์ Keating จึงเกิดความขัดแย้งไม่ลงรอย มองหาโอกาสเปลี่ยนตัวผู้กำกับมาสักพักหนึ่งแล้ว)

“The studio wanted Robin Williams, and Robin wouldn’t say no, but he wouldn’t say yes, to working with that director. In fact, we prepped the movie, built the sets—it was going to be shot outside of Atlanta—and Robin just didn’t show up for the first day of shooting. He never said he would, but Disney kept trying to pressure him by moving forward. After the first day he didn’t show up, they canceled the production and burned the sets. We actually have dailies of the sets burning”.

Tom Schulman พูดถึงงานสร้างกับ Jeff Kanew

ตัวเลือกถัดๆมาคือ Dustin Huffman ตั้งใจจะแสดงนำ/กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก แต่กลับติดคิวงานอื่นเลยต้องถอนตัวจากโปรเจค ก่อนมาส้มหล่นใส่ Peter Weir ได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์ Jeffrey Katzenberg พิจารณาอ่านบทระหว่างนั่งเครื่องบินกลับ Sydney อีกหกสัปดาห์ถัดมาบินกลับมา Los Angeles เพื่อเริ่มต้นคัดเลือกนักแสดง

Peter Lindsay Weir (เกิดปี 1944) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Australian เกิดที่ Sydney, New South Wales โตขึ้นเข้าเรียนศิลปะและกฎหมายยัง University of Sydney ขณะที่ความสนใจในภาพยนตร์เกิดขึ้นหลังจากพบเจอ Phillip Noyce ภายหลังร่วมกันก่อตั้งสตูดิโอ Ubu Films, ช่วงกลางทศวรรษ 60s ทำงานรายการโทรทัศน์ สร้างสารคดี หนังสั้น Homesdale (1971), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก The Cars That Ate Paris (1974), โด่งดังกับ Picnic at Hanging Rock (1975), The Last Wave (1977), มุ่งสู่ Hollywood สรรค์สร้าง Witness (1985), The Mosquito Coast (1986), Dead Poets Society (1989), The Truman Show (1998), Master and Commander: The Far Side of the World (2003) ฯลฯ

ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1959 ณ โรงเรียนเตรียมฯ ชายล้วน Welton Academy (ชื่อเล่น Hell-ton Academy), เรื่องราวของนักเรียนปีสุดท้ายกลุ่มหนึ่ง ร่วมกันฟื้นฟูสมาคม Dead Poets Society จากความประทับใจ/คำแนะนำของครูสอนภาษาอังกฤษคนใหม่ John Keating (รับบทโดย Robin Williams) แต่โดยไม่รู้ตัวอุดมการณ์ แนวความคิด โลกทัศนคติที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปของพวกเขา กลับนำมาซึ่งหายนะไม่มีใครคาดคิดถึง


Robin McLaurin Williams (1951 – 2014) นักแสดง/ตลก สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Chicago, Illinois วัยเด็กเป็นคนขี้อาย ไม่ค่อยชอบพูดจา จนกระทั่งมีโอกาสเป็นนักแสดงละครเวทีของโรงเรียน เพื่อนๆต่างชื่นชมในความตลกโปกฮา เคยร่ำเรียนคณะรัฐศาสตร์ Claremont Men’s College แต่ตัดสินใจลาออก/ย้ายมา College of Marin แล้วได้ทุนเรียนต่อ Juilliard School รุ่นเดียวกับ Christopher Reeve, William Hurt, Mandy Patinkin ถึงอย่างนั้นเจ้าตัวก็เรียนไม่จบ (เพราะครูไม่มีอะไรจะสามารถสอนได้) ออกมาเริ่มต้นทำงาน Stand-Up Comedy ไม่นานเข้าตาโปรดิวเซอร์ชักชวนมาเล่นตลกในรายการโทรทัศน์ เข้าสู่วงการภาพยนตร์ปี 1977 แต่เริ่มมีชื่อเสียงกับ Popeye (1980) ผลงานเด่นๆ อาทิ Good Morning, Vietnam (1987), Dead Poets Society (1989), Awakenings (1990), The Fisher King (1991), Good Will Hunting (1997), Patch Adams (1998) ฯ

รับบท John Keating ลูกศิษย์เก่าของ Welton Academy แต่ทั้งๆล่วงรับรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี กลับยังคงต้องการสอนหนังสือด้วยรูปแบบวิธีใหม่ๆ ฉีกตำรา พาออกนอกห้อง ให้นักเรียนครุ่นคิดแต่งกลอนสดๆ เลือกเฉพาะบทมีเนื้อหาน่าสนใจ สามารถสรรค์สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาทั้งหลาย หาญกล้าลุกขึ้นมามองโลกในมุมที่แตกต่าง

Keating น่าจะคือผู้ก่อตั้งสมาคม Dead Poets Society เมื่อสมัยที่ยังร่ำเรียนอยู่ ส่งต่อหนังสือ แนวความคิด และวิธีการให้เด็กๆ คาดหวังว่าพวกเขาจะได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ‘Carpe diem’ เติมเต็มความใฝ่ฝัน เป็นตัวของตนเอง กล้าครุ่นคิดตัดสินใจ ไม่ถูกควบคุมครอบงำอยู่ในกฎกรอบเกณฑ์ใดๆ

มีนักแสดงหลายคนที่สนใจ/ได้รับการติดต่อ/ทาบทามให้มารับบท อาทิ Liam Neeson, Dustin Hoffman, Mel Gibson (เรียกร้องค่าตัวสูงเกินไป), Tom Hanks, Mickey Rourke (เรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนบทตามความสนใจตนเอง), Bill Murray, Alec Baldwin ฯ

สำหรับ Robin Williams ทีแรกก็ไม่ได้มีกระจิตกระใจอยากรับบทนี้นัก เพราะเจ้าตัวเพิ่งเลิกราหย่าร้างภรรยา Valerie Velardi เมื่อปี 1988 แต่ถูกคะยั้นคะยอโดยโปรดิวเซอร์ของ Walt Disney แล้วค่อยๆปรับเปลี่ยนทัศนคติระหว่างการถ่ายทำ กว่า 15% เป็นการดั้นสด ‘improvised’ ทำให้มีความลื่นไหลเป็นธรรมชาติอย่างมาก

มีถึง 2 ฉากที่ผมตราตรึงกับการแสดงของ Williams

  • ขณะดั้นสด (Improvised) เลียนแบบคำพูด/น้ำเสียงของ Marlon Brando และ John Wayne ซึ่งถือเป็นความสามารถพิเศษของ Williams อย่างแท้จริงเลยละ!
  • เดินวนรอบ Todd Anderson (รับบทโดย Ethan Hawke) พูดน้ำเสียงเย้ยหยัน สร้างความกดดันให้เด็กหนุ่มกล้าพูด/แสดงศักยภาพที่หลบซ่อนเร้นภายในออกมา

ตัวละครของ Williams มองในมุมฝั่งซ้ายจัด ถือว่าเป็นบุคคลผู้ทรงคุณค่า เปี่ยมล้นด้วยพลังในการชักนำทางความครุ่นคิด/จิตวิญญาณคนรุ่นใหม่ ให้เห็นพ้องคล้อยตามว่าอิสรภาพคือสิ่งถูกต้องเหมาะสมควร

ตรงกันข้ามฝ่ายขวาจัด/อนุรักษ์นิยม ตัวละครนี้ถือว่ามีความหัวขบถ เป็นคนนอกรีต กระทำการนอกรอย พยายามโน้มน้าวชักชวนเชื่อ สร้างทัศนคติผิดๆเกี่ยวกับชีวิตและอิสรภาพ ทำให้เด็กๆกล้าพูดแสดงออกโดยไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว คุณธรรม ศีลธรรม กฎระเบียบทางสังคม มีเพียงความเห็นแก่ตัว สนองพึงพอใจส่วนตนเท่านั้น

ส่วนตัวแม้ชื่นชอบลวดลีลาการแสดงของ Williams สร้างความดึงดูด น่าสนใจ เฝ้ารอคอยจะเสี้ยมสอนอะไรในคาบเรียนถัดไป แต่ลึกๆกลับรู้สึกว่าตัวละครมีมิติตื้นเขิน ไม่ได้สลับซับซ้อนหรือมีความขัดแย้งภายในจิตใจสักเท่าไหร่ นั่นอาจเพราะหนังไม่ได้นำเสนอสาเหตุผล แรงจูงใจ เพราะเหตุใดทำไมถึงสอนหนังสือด้วยวิธีการนี้ (ถ้าเป็นบทดั้งเดิมของหนัง จะมีการให้คำตอบตอนจบว่า ตัวละครล้มป่วยลูคิเมีย จึงพยายามเสี้ยมสั่งสอนนักเรียน ตงทำวันนี้ให้ยิ่งใหญ่ที่สุด!)

เกร็ด: ในบรรดาผลงานการแสดงของตนเอง Robin Williams ชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้มากที่สุด


Ethan Green Hawke (เกิดปี 1970) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Austin, Texas ครอบครัวหย่าร้างเมื่อเขาอายุ 4 ขวบ อาศัยอยู่กับแม่แต่งงานใหม่เมื่อเขาอายุ 10 ขวบ ช่วงมัธยมใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขียน แล้วเปลี่ยนมาสนใจด้านการแสดง ขึ้นเวทีครั้งตอนอายุ 13 ร่ำเรียนการแสดงที่ Carnegie Mellon University, Pittsburgh และตัดสินใจดรอปเรียนเมื่อได้รับคัดเลือกแสดง Dead Poets Society (1989)

รับบท Todd Anderson เด็กชายนิสัยขี้อาย ไร้ซึ่งเป้าหมาย/ความต้องการในชีวิต พยายามปลีกตัวออกห่าง แต่มักถูกเพื่อนๆบีบบังคับให้ต้องเออออห่อหมกหลายครั้ง แม้แต่อาจารย์ John Keating ยังช่วยเหลือผลักดันให้เขาค่อยๆค้นพบตนเอง จนกระทั่งการจากไปของเพื่อนสนิท สร้างวิกฤตทางจิตใจ กลัวๆเกรงๆอยู่สักพัก และที่สุดคือคนแรกหาญกล้าลุกขึ้นมายืนหยัดในสิ่งตนเองเชื่อว่าถูกต้อง

ผมจดจำภาพลักษณ์ของ Hawke จากหลายๆผลงานผู้กำกับ Richard Linklater ที่มักได้รับบทตัวละครมีความมุ่งมั่น ชัดเจนในความต้องการ แต่สำหรับ Dead Poets Society กลับตราปัตรตรงกันข้ามกับที่เคยพบเห็นมา ใบหน้าละอ่อนเยาว์วัย ขี้เหนียมอาย ขาดความเชื่อมั่นใจ ไร้เดียงสาต่อทุกสิ่งอย่างบนโลก … ราวกับว่าภาพยนตร์เรื่องนี้คือจุดเปลี่ยน ค้นพบตนเอง และเติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่

เท่าที่อ่านจากบทสัมภาษณ์ของพี่แก ก็พบว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆด้วยนะครับ

“That was the scene where I was supposed to read a poem in front of the class and it was the first time in my life that I ever experienced the thrill of acting and the thrill of losing yourself. You know, there’s this whole thing in the public that acting is this huge celebration of the personality and the ego, of course, and the irony is that whenever it’s any good, it’s devoid of ego. It’s a high that I’ve chased my whole life since that day with Robin. It’s this way of losing yourself, where you lose yourself inside a story, a story that’s in service of something way beyond you. And I felt that in Dead Poets Society”.

Ethan Hawke

แซว: Dead Poets Society (1989) คือผลงานประสบความสำเร็จทำเงินสูงสุดของ Ethan Hawke เพราะหลังจากนี้จะเน้นรับงานหนัง Indy เป็นส่วนใหญ่


Robert Sean Leonard (เกิดปั 1969) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Westwood, New Jersey โตขึ้นเข้าเรียนการแสดงยัง HB Studio, ภาพยนตร์เรื่องแรก The Manhattan Project (1986), แจ้งเกิดโด่งดัง Dead Poets Society (1989), ผลงานเด่นอื่นๆ ซีรีย์ House (2004-12)

รับบท Neil Perry รูมเมทชั้นปีสุดท้ายของ Todd Anderson เป็นหัวหน้ากลุ่มที่มีความสามารถในการโน้มน้าวชักจูงเพื่อนฝูงให้เห็นพ้องคล้อยตาม ฟื้นฟูและกลายเป็นผู้นำสมาคม Dead Poets Society ต่อมาค้นพบความสนใจด้านการแสดง ได้รับเลือกแสดงบทบาท Puck จากโปรดักชั่น A Midsummer Night’s Dream แต่ความที่บิดาเป็นคนเข้มงวดกวดขัน พยายามควบคุมครอบงำ บีบบังคับให้ต้องทำตามคำสั่งเท่านั้น ความเก็บกดดันบีบคั้นแสนสาหัส ทำให้ตัดสินใจครุ่นคิดสั้นฆ่าตัวตาย

ในบรรดาสมาชิก Dead Poets Society น้อยคนจะครุ่นคิดว่า Neil Perry สามารถคิดสั้นฆ่าตัวตาย เพราะเมื่อพบเห็นอยู่กับผองเพื่อนมักแสดงออกอย่างร่าเริง สนุกสนาน หาญกล้าทำในสิ่งต่างๆ แทบไร้ความเกรงกลัวอะไร เว้นเพียงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับบิดา ได้แต่ก้มหน้าก้มตา ยินยอมรับโชคชะตากรรม (ฟังดูขัดย้อนแย้งกันเอง แต่การแสดงออกของตัวละครล้วนเพื่อพิสูจน์ตนเอง ต้องการให้บิดาประจักษ์เห็นความสามารถ) ทำให้การกระทำช่วงท้ายของเขาดูราวกับเป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบ ขาดการครุ่นคิดไตร่ตรองอย่างรัดกุม นั่นอาจเพราะการได้ลิ้มลองอิสรภาพทำให้ขาดความอดรนทน เมื่อถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวเลยตัดสินใจเรียกร้องสิทธิ์ให้ตนเอง โดยไม่สนความจริง/ปัญหาติดตามมาหลังจากนั้น

บทบาทของ Leonard ถือว่าแตกต่างตรงกันข้ามกับ Hawke, มีภาพลักษณ์ผู้นำ เต็มเปี่ยมด้วยความมุ่งมั่น ทะเยอทะยาน รายล้อมด้วยพรรคเพื่อนฝูง ทักษะเข้าสังคมเป็นเลิศ แถมยังค้นพบความต้องการของตนเองอย่างรวดเร็ว และสามารถประสบความสำเร็จดั่งเพ้อฝัน แต่หายนะของตัวละครเกิดขึ้นเพราะไม่ยินยอมสูญเสียสิ้นอิสรภาพ ขอปลิดชีพตัวเองดีกว่าถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังตายทั้งเป็น

ถ้าคุณมีทัศนคติซ้ายจัดสุดโต่ง การกระทำของตัวละครนี้สมควรได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่ง เพราะอิสรภาพคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ถ้าต้องสูญเสียไปขอยอมตายเสียยังดีกว่า! โทษว่ากล่าวความผิดของบิดา/ครอบครัว พยายามบีบบังคับ กดดัน ไม่ยินยอมรับฟัง นั่นคือระเบิดเวลาที่เมื่อเด็กชายหนุ่มอดรนทนไม่ได้ก็ถึงคราปะทุออกมา

สำหรับคนขวาจัด มองการกระทำของ Neil Perry เป็นสิ่งโง่เขลาเบาปัญญาอ่อน แต่จะไม่ได้มองเบื้องหลัง/สาเหตุผลมาจากปัญหาครอบครัว ความเผด็จการของบิดา เป็นสภาพแวดล้อมจากโรงเรียน ครูอาจารย์ หรือไม่ก็พรรค์เพื่อนพ้อง ปลูกฝังเสี้ยมสั่งสอน ล้างสมอง ชี้ชักนำพาให้เขาเกิดความหลงผิด ไม่เป็นตัวของตนเอง ถูกวิญญาณชั่วร้ายเข้าครอบงำ


ถ่ายภาพโดย John Seale (เกิดปี 1942) สัญชาติ Australian ผลงานเด่นๆ อาทิ Witness (1985), Rain Man (1988), Dead Poets Society (1989), The English Patient (1996) ** คว้า Oscar: Best Cinematography, Harry Potter and the Philosopher’s Stone (2001), Cold Mountain (2003), Mad Max: Fury Road (2015) ฯ

หนังปักหลักถ่ายทำยังเมือง Delaware ในช่วงฤดูหนาว (ไม่ต้องสิ้นเปลืองหิมะปลอม) เลือกโรงเรียน St. Andrew’s School ซึ่งมีกลิ่นอายเก่าแก่ โบร่ำโบราณ และโรงละคร Everett Theatre อยู่ไม่ไกลห่างสักเท่าไหร่

แม้ว่านี่เป็นภาพยนตร์สัญชาติอเมริกัน แต่งานภาพให้สัมผัสเหมือนหนังอังกฤษที่มักรายล้อมด้วยอาคารเก่าแก่ สร้างด้วยไม้ กลิ่นอายโบร่ำโบราณ นักเรียนสวมใส่เครื่องแบบอยู่แทบตลอดเวลา มีความเคร่งครัดในระเบียบกฎกรอบตามขนบประเพณี

เวลาตัวละครพูดคุยสนทนา มุมกล้องมักถ่ายระยะ Medium-Shot และ/หรือ Close-Up เพื่อให้เห็นปฏิกิริยาสีหน้าอารมณ์ของนักแสดง ขณะเดียวกันคงต้องการนำเสนอความเป็นปัจเจกบุคคล ‘individual’ แต่ละคนล้วนมีความครุ่นคิดอ่าน ต้องการ เป็นตัวของตนเอง ไม่ใช่สิ่งที่ใครอื่นจะมาควบคุม ครอบงำ ชี้ชักนำ กำหนดทิศทางชีวิตให้เรา

ชื่อหนังปรากฎขึ้นขณะใครคนกำลังจุดเทียนไข สัญลักษณ์แสงสว่างแห่งชีวิต จิตวิญญาณ (ตรงกันข้ามกับคำว่า ‘Dead’) เด็กวันนี้คือความหวัง/อนาคตผู้ใหญ่ในวันหน้า สามารถสืบสานส่งต่อ และเริ่มต้นการเป็นตัวของตนเอง

Todd Anderson เป็นคนที่มีความผิดแผกแตกต่างจากคนอื่น สังเกตจากช็อตนี้ที่เพื่อนๆทุกคนต่างล้อมวงหันหน้าเข้าหากัน มีเพียงเขาเท่านั้นที่กำลังยืนเก็บของหันหลังให้ ทำเป็นไม่ใคร่สนใจอะไร (แต่หูก็รับฟังอย่างชิดใกล้)

เพื่อสร้างความสนิทสนมให้นักแสดงชุดนี้ ผู้กำกับ Weir ให้พวกเขาพักอาศัยหลับนอนห้องหอพักเดียวกัน เวลาไปไหนก็แห่กันไปเป็นกลุ่ม แทบจะไม่เหินห่างตลอดการถ่ายทำ เคมี ลูกรับลูกส่ง จึงค่อนข้างเป็นไปด้วยดี

ภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามทำตัวเป็น ‘กวีนิพนธ์’ ด้วยเช่นกันนะครับ! ด้วยการแทรกใส่ภาพธรรมชาติ ฝูงนกกำลังโบยบินขึ้นสู่ฟากฟ้า สามารถเทียบแทนบรรดาเด็กๆวัยรุ่นกำลังเติบโต อีกไม่นานคงพร้อมออกจากบ้านเพื่อเผชิญหน้าโลกกว้างใหญ่

หนึ่งในวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจมากๆของหนังคือการหมุนกล้อง 360 องศาไปเรื่อยๆ พบเห็นครั้งแรกคือขณะวันเปิดเทอม นักเรียนทั้งหลายกำลังกรูลงมาจากบันไดชั้นบน สะท้อนถึงวังวนเวียนวัฎจักรแห่งการศึกษา เช้าตื่นไปเรียน ทำการบ้าน สอบให้ผ่าน ไม่ได้แตกต่างอะไรไปกับวิถีชีวิตสักเท่าไหร่

คาบเรียนแรกของ John Keating เดินเข้ามา ผิวปากเพลง Tchaikovsky: 1812 Overture, Op. 49 แล้วออกทางประตูหลัง ชักนำพาทุกคนออกจากห้องเรียนอันคับแคบ แนะนำตนเอง

“O Captain! My Captain!”

แต่งโดย Walt Whitman เมื่อปี 1865 เพื่ออุทิศให้การเสียชีวิต ปธน. Abraham Lincoln

ถึงยังสถานที่แห่งประวัติศาสตร์(ของโรงเรียน) พบเห็นบุคคลเคยมีชื่อเสียงจากอดีตทั้งหลาย ปัจจุบันน่าจะกลายเป็นขี้เถ้าถ่านไปหมดแล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่าพวกเขาเหล่านั้นเคยมีชีวิตสมดังที่วาดฝันไว้หรือเปล่า แต่บทเรียนที่สามารถสอนสั่ง

“Carpe diem. Seize the day, boys. Make your lives extraordinary”

แต่งโดย Horatius Flaccus (65BC-8BC) จากผลงาน Odes (23 BC)
ติดอันดับ 95 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes

คาบเรียนที่สองของ John Keating แรกเริ่มมาทำเหมือนว่าจะให้ความสนใจเนื้อหาสาระในหนังสือ ซึ่งมีใจความเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณค่าของบทกวี แต่นั่นเป็นทฤษฎี/สิ่งไร้สาระโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้เขาจึงสั่งให้ทุกคนฉีกอารัมบทนี้ออกไป สังเกตว่ามีทั้งคนที่เต็มใจ กระชากอย่างไม่ยั้ง, บางคนเกิดความลังเล สองจิตสองใจ ก่อนเอาไม้บรรทัดวางแล้วค่อยๆฉีกออกอย่างเรียบร้อย สร้างความตกตะลึงให้อาจารย์คนอื่นที่มาพบเห็นโดยบังเอิญ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ผู้อยู่ในกฎกรอบเกณฑ์ หัวโบร่ำโบราณ อนุรักษ์นิยม ไม่สามารถยินยอมรับได้อย่างเด็ดขาด!

ในมุมมองของผมเอง ทฤษฎีไม่ใช่สิ่งไร้สาระประโยชน์โดยสิ้นเชิง! จริงอยู่เราไม่จำเป็นต้อศึกษาเรียนรู้ถ้ามิได้ใคร่สนใจเรื่องราวนั้นๆ แต่บางครั้งก็มีความจำเป็นไม่ใช่เพื่อสอบหรือนำไปโอ้อวดอ้างพูดคุยในวงสนทนาชนชั้นสูง เราสามารถอ่านเพื่อเปิดมุมมองโลกทัศน์ เก็บตกเนื้อหาที่อาจยังครุ่นคิดไม่ถึง (เพราะทฤษฎีมันต้องรวบรวมมุมมอง/ความเป็นไปได้ที่หลากหลายไว้อยู่แล้ว) ย่นย่อระยะเวลาทำความเข้าใจอะไรๆได้มากทีเดียวเลยนะ!

หนังสือรุ่นที่อยู่ในมือ เห็นว่าเป็นของ Robin Williams จริงๆขณะศึกษาอยู่ Redwood High School ณ Larkspur, California เจ้าตัวพบเห็นเกิดอาการตกตะลึง คาดไม่ถึงอยู่เล็กน้อย (เพราะทีมงานแอบไปขุดคุย สร้างความเซอร์ไพรส์ บันทึกภาพปฏิกิริยาขณะนั้นได้อย่างน่าประทับใจ)

แซว: สังเกตว่า Todd Anderson คือคนที่หลบอยู่ด้านหลัง เห็นเพียงศีรษะลิบๆ ถูกบดบังโดยเพื่อนสนิท Neil Perry

ผมเชื่อว่าใครๆน่าจะสามารถบอกได้ ถ้ำแห่งนี้มันของปลอม จำลองสร้างขึ้นในสตูดิโอ หาความสมจริงไม่ได้เลยสักนิด! แต่ให้ลองครุ่นคิดอีกมุมมองหนึ่ง นี่คือสถานที่แห่งความเพ้อฝันของหนุ่มๆ แหล่งมั่วสุมสมาคม Dead Poets Society ที่ไม่ควรมีตัวตน มันจึงสามารถสรรค์สร้างออกมาให้ดูผิดแผก แตกต่าง เหนือจริงไปบ้างก็ไม่เป็นไร

จู่ๆ John Keating เดินขึ้นไปอยู่บนโต๊ะ เสี้ยมสอนให้เด็กเรียนรู้จักการมองโลกในแง่มุมอื่นๆ ไม่จำกัดอยู่แค่สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เพราะจะทำให้เรามีความครุ่นคิดที่แตกต่าง วิสัยทัศน์กว้างไกลเกินกว่าคนทั่วไปจะสามารถเข้าใจ

Todd Anderson พยายามแต่งกลอนทำการบ้าน แต่จนแล้วจนรอดไม่สำเร็จ กลับถูกกลั่นแกล้งโดย Neil Perry แล้วออกวิ่งวนไปรอบห้อง, นัยยะของฉากนี้ยังคงสะท้อนถึงการครุ่นคิดเวียนวนอยู่ซ้ำๆ ไม่ค้นพบหนทางออก คำตอบที่ต้องการของเด็กชาย แต่เขาก็ยังสามารถเล่นสนุกสนานไปได้ เป่าขลุ่ย ตีกลอง ร้องรำทำเพลง เฮฮาปาร์ตี้

คาบเรียนที่ให้นักเรียนมายังสนามจริง อ่านบทกวีแต่งสดๆ แตะลูกบอลเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการกระทำ ยิ่งให้เข้าประตูถึงเป้าหมาย และเปิดบทเพลงคลาสสิก Handel: Water Music : Suite No. 3 in D ท่อน Allegro

ผมมีความประทับใจฉากนี้ที่สุดของหนังนะครับ (ไม่ใช่ช่วงท้ายไคลน์แม็กซ์) เป็นความพยายามของอาจารย์ John Keating ที่จะดึงเอาศักยภาพ/ความสามารถแท้จริงของ Todd Anderson ในสถานการณ์ตึงเครียด กดดัน ทำให้เขาสามารถครุ่นคิดบทกลอนที่สร้างความประทับใจ มีความไพเราะ งดงามอย่างที่สุด!

กล้องเคลื่อนหมุน 360 องศารอบตัวละครคือจุดศูนย์กลาง เพื่อสะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนล้วนสามารถครุ่นคิด พูด กระทำในสิ่งที่เป็นตัวของตนเอง แม้ครานี้ได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์ แต่เพราะค้นพบหนทาง รับรู้ตนเองแล้วว่าทำได้ ครั้งต่อไปย่อมสามารถบังเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

เหตุการณ์ดังกล่าวนำพาให้ฉากถัดมาได้ยินบทเพลงคลาสสิก Beethoven: Symphony No. 9 in D Minor, Op. 125 ท่อนที่ 4 หรือที่ใครๆรู้จักในชื่อ Ode to Joy แสดงความปีติยินดีต่อชัยชนะของ Todd Anderson สามารถก้าวข้ามผ่านขอบเขตจำกัดของตนเอง โดยบรรดาสมาชิกสมาคม Dead Poets Society ต่างอุ้มแบกหามโค้ช John Keating (ที่ลงมาร่วมเล่นฟุตบอล) ยกย่องเชิดชูเหนือพระอาทิตย์กำลังตกดินพอดิบดี … ช็อตนี้น่าจะสวยสุดในหนังแล้วนะ!

คาบเรียนนี้ John Keating ต้องการเสี้ยมสอนให้นักเรียนทุกคน เลือกวิถีทางก้าวเดินของตนเอง ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร ทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม แต่ไม่ใช่กับครูใหญ่ที่จับจ้องมองลงมา เขาคนนี้สนเพียงให้นักเรียนดำเนินเดินตามรอยเส้นทางที่พวกตนขีดเส้น/กำหนดไว้เท่านั้น

A Midsummer Night’s Dream บทละคร Comedy ประพันธ์โดย William Shakespeare เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1595/96 ขอไม่กล่าวถึงเรื่องราวโดยย่อ แต่จะพูดถึงตอนจบอันยียวนกวนบาทา เมื่อตัวละคร Puck (ที่แสดงโดย Neil Perry) จู่ๆกล่าวทิ้งท้ายประมาณว่า ‘สิ่งที่ได้รับชมไปอาจจะไม่มีอะไร แต่เป็นแค่ในความเพ้อฝัน’

If we shadows have offended … think but this and all is mended.
That you have but slumber’d here while these visions did appear.
And this weak and idle theme no more yielding but a dream.
Gentles do not reprehend. If you pardon we will mend.
And as I am an honest Puck if we have unearned luck now to ‘scape the serpent’s tongue we will make amends ere long; else the Puck a liar call.

So good night unto you all.
Give me your hands if we be friends and Robin shall restore amends.

Neil Perry พยายามลุกขึ้นยืนเพื่อเผชิญหน้ากับบิดา (มารดานั่งอยู่ด้านหลัง แม้มุมกล้องช็อตนี้อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างทั้งสอง แต่กลับไร้สิทธิ์เสียงพูดแสดงออกความคิดเห็นใดๆ) แต่ก็ไม่รู้ภายในของเขาครุ่นคิด/รับรู้สึกอะไรถึงมิอาจหาญกล้า หลังพ่ายแพ้การโต้เถียงค่อยๆทรุดตัวลงนั่ง ราวกับได้ครุ่นคิดตัดสินใจกระทำบางสิ่งอย่างที่จะทำให้ตนเองได้รับอิสรภาพชั่วนิจนิรันดร์

วางมงกุฏแห่งความฝันไว้ริมหน้าต่าง เปิดทิ้งไว้ให้หิมะแห่งความหนาวเหน็บค่อยๆคืบคลานเข้ามา ถอดเสื้อออกเพื่อแสดงให้เห็นถึงตัวตนภายใน/ความต้องการจากจิตใจ กล้องค่อยๆถอยออกอย่างช้าๆให้สัมผัสผ่อนคลาย เบาสบาย ความตายหลังจากนี้ทำให้ชีวิตของ Neil Perry ราวกับได้รับอิสรภาพที่แท้จริง

Ethan Hawke ถ่ายทำฉากนี้เทคเดียวผ่าน (หลายรอบไม่ไหว คงเพราะอากาศหนาวเหน็บไปถึงขั้วหัวใจ) การจัดองค์ประกอบภาพสะท้อนสภาพจิตใจตัวละคร (ที่ยังมีชีวิตอยู่) ช่างหนาวเหน็บสั่นสะท้าน ว่างเปล่าขาวโพลน แห้งแล้งเหลือแต่กิ่งก้านไร้ใบ ก้าวออกเดินอย่างไร้เป้าหมาย

การยืนบนโต๊ะเรียน กลายเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วง เรียกร้องสิทธิ เสรีภาพในการครุ่นคิดแสดงออก ไม่ยินยอมอยู่ภายใต้ระเบียบกฎกรอบที่ไร้ความยุติธรรม ซึ่งสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็นการแสดงความขอบคุณ John Keating ที่ได้สอนให้พวกเขามองโลกในแง่มุมที่แตกต่าง สามารถเติบโตขึ้นด้วยอิสรภาพ เป็นตัวของตนเอง ไม่ถูกใครไหนควบคุมครอบงำ อยู่ภายใต้อำนาจใคร

นี่ถือเป็นช็อตได้รับการจดจำมากสุดของหนัง แต่สังเกตว่าไม่ใช่ทุกคนจะหาญกล้ายืนขึ้นบนโต๊ะ คร่าวๆประมาณ 1 ใน 3 ของชั้นเรียนนี้เท่านั้น (เกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกสมาคม Dead Poets Society) เป็นตัวเลขที่ใครๆน่าจะรับรู้สึกว่าใกล้เคียงความจริง เพราะคนส่วนใหญ่มักยินยอมก้มหัว ขลาดหวาดกลัวการแสดงออก จะนำมาซึ่งหายนะย้อนเข้าสู่ตนเอง

Dead Poets Society

ช็อตสุดท้ายของหนังค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว Todd Anderson คือคนแรกที่หาญกล้าลุกขึ้นมากล่าวขอโทษ John Keating แต่เขายืนตำแหน่งไกลสุด (สื่อถึงว่าเป็นคนสุดท้ายที่สามารถค้นพบตัวตนเอง) และภาพนี้ถ่ายลอดระหว่างขาเพื่อนคนหนึ่ง อาจจะสื่อถึงนี่คือความพึงพอใจส่วนตัวที่แสดงออกมาด้วยความต้องการของตนเอง

จะว่าไปภาพช็อตนี้ทำให้ผมระลึกถึงรูปถ่ายในหนังสือรวมรุ่น ที่จักหลงเหลือกลายเป็นความทรงจำเมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่านไป และมีแนวโน้มมากๆว่าตัวละคร Todd Anderson อาจกลายเป็น John Keating คนต่อไป


ตัดต่อโดย William M. Anderson (เกิดปี 1948) สัญชาติ Irish ขาประจำผู้กำกับ Peter Weir ผลงานเด่นๆ อาทิ Dead Poets Society (1989), The Truman Show (1998), Master and Commander: The Far Side of the World (2003) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองกลุ่มเด็กนักเรียน สมาชิกสมาคม Dead Poets Society ทั้ง 7-8 คน โดยในช่วงแรกๆพวกเขาแทบจะตัวติดกันไม่เคยเหินห่างไกล แต่หลังจากพานผ่านการเรียนการสอนของ John Keating แต่ละคนเริ่มแยกย้ายไปตามความใคร่สนใจของตนเอง (แนะนำเฉพาะตัวละครที่มีบทบาทสำคัญๆเท่านั้นนะครับ)

  • Todd Anderson เป็นคนขี้เหนียมอาย พยายามทำตัวเอกเทศ แปลกแยก ไม่ให้โดดเด่น แต่ก็มักถูก Neil Perry ลากนำพาเข้าร่วมกลุ่มอยู่เสมอ จนกระทั่งได้รับแรงผลักดันจากอาจารย์ John Keating จึงค้นพบความต้องการของตนเอง และหาญกล้าเผชิญหน้าในสิ่งเชื่อว่าถูกต้องเหมาะสม
  • Neil Perry หัวหน้ากลุ่มผู้ริเริ่มฟื้นฟูสมาคม Dead Poets Society ค้นพบความฝันต้องการเป็นนักแสดง โดดเด่นจนมีบทบาทละครเวที A Midsummer Night’s Dream แต่กลับเลือกจบชีวิตคิดสั้น ฆ่าตัวตายประชดประชันครอบครัว
  • Knox Overstreet ตกหลุมรักหญิงสาวที่มีแฟนอยู่แล้ว แต่ปฏิเสธจะยินยอมแพ้แม้ต้องเจ็บตัว ดื้อรันจนอาจทำให้เธอใจอ่อนลงได้กระมัง
  • Charlie Dalton เป็นคนที่ค่อนข้างขี้เกียจคร้าน แต่มีความสลับซับซ้อนทางอารมณ์สูง จู่ๆเล่นแซ็กโซโฟน นำพาสาวๆมาเข้าร่วม Dead Poets Society ทั้งยังเป็นปากเสียงให้สมาคม เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ จนถูกครูใหญ่ลงโทษทุบตี แต่ปฏิเสธไม่ยินยอมปากโป้ง ชกต่อย Richard Cameron จนสุดท้ายถูกขับไล่ออกจากโรงเรียน
  • Richard Cameron เป็นคนขี้ขลาดเขลาที่สุด สาเหตุที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก Dead Poets Society เพียงเพราะติดตามเพื่อนมา อยากรู้อยากลอง แต่เมื่อพบเห็นว่าไม่มีประโยชน์ก็ปฏิเสธผลักไส ปากโป้งใส่ร้ายป้ายสีอาจารย์ John Keating และปฏิเสธลุกขึ้นยืนบนโต๊ะเพราะไม่ต้องการทำผิดกฎระเบียบใดๆ

เพลงประกอบโดย Maurice Jarre (1924 – 2009) สัญชาติฝรั่งเศส ขาประจำผู้กำกับ David Lean สรรค์สร้างตำนาน Lawrence of Arabia (1962), Doctor Zhivago (1965), A Passage to India (1984)

งานเพลงของ Jarre มักสร้างสัมผัส ‘impression’ ให้ผู้ฟังเคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย เบาสบาย ราวกับกำลังล่องลอยอยู่ท่ามกลางสายลม สรวงสวรรค์ บทเพลง Carpe Diem ใช้เครื่องสายตัดกับเสียงลมเป่า แหลม-ทุ้ม สามารถผสมผสานคลุกเเข้ากันได้อบ่างกลมกลืนลื่นหู

Keating’s Triumph ดังขึ้นช่วงท้ายของหนังเพื่อสร้างความฮึกเหิมให้ตัวละคร/ผู้ชม หาญกล้าลุกขึ้นมาต่อสู้เผชิญหน้าความอยุติธรรม ทำในสิ่งสนองความต้องการ/พึงพอใจส่วนตัว นั่นถือเป็นชัยชนะยิ่งใหญ่ในโลกทัศนคติของกลุ่มชนซ้ายจัด

เสียงเครื่องดนตรี Bagpipes หรือปี่สก็อต ที่คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยได้ยินในพิธีศพ (ชาว British) ในบริบทนี้ไม่ได้จะสื่อถึงความตายของตัวละครไหน แต่ดังขึ้นกึ่งกลางเพลงเพื่อประโคมชัยชนะแห่งเสรีภาพที่ไม่มีวันตาย

ไม่ใช่แค่ Original Score ที่ประพันธ์โดย Maurice Jarre หลายๆบทเพลงของหนังคัดเลือกสรรค์บทเพลงคลาสสิกมีชื่อดัง ฟังคุ้นหู เพื่อผู้ชมจักสามารถรับรู้สึกทางอารมณ์ได้โดยทันที อาทิ

  • Tchaikovsky: 1812 Overture, Op. 49
  • Beethoven: Piano Concerto No. 5 in E Flat Major, Op. 73 หรือในชื่อ Emperor
  • Handel: Water Music : Suite No. 3 in D ท่อน Allegro
  • Beethoven: Symphony No. 9 in D Minor, Op. 125 ท่อนที่ 4 ชื่อ Ode to Joy

นำบทเพลงเต็มที่ Charlie Dalton เล่นแซกโซโฟนมาให้รับฟัง ต้นฉบับคือ Betty et Zorg ประกอบภาพยนตร์เรื่อง Betty Blue (1986) กำกับโดย Jean-Jacques Beineix, บทเพลงแต่งโดย Gabriel Yared

“The Dead Poets were dedicated to sucking the marrow out of life”.

อะไรคือ Dead Poets? บทกวีแห่งความตาย ที่เมื่อไหร่มีใครร่ายมันออกมา จะทำให้ผู้อ่านและผู้ฟัง เกิดความเคลิบเคลิ้ม ลุ่มหลงใหล สามารถดึงดูดเอาพลังชีวิต สูบจิตวิญญาณออกจากร่างไป แล้วบังเกิดความพึงพอใจอย่างถึงที่สุด

ฟังดูพิลึกๆ แต่มันมีบทกวีลักษณะนี้บนโลกด้วยหรือ? จริงๆมันไม่ใช่ประเด็นว่า มี-ไม่มี แต่คือคุณสามารถเข้าถึงนัยยะสื่อความหมาย อรรถรสชาด ความงดงามของการละเล่นคำ สัมผัสนอกใน เคลิบเคลิ้มจิตวิญญาณลอยละล่องไป ได้หรือเปล่าต่างหาก?

ยกตัวอย่างกลอนบทสำคัญๆในหนัง ลองครุ่นคิดพินิจดูสักนิดว่า คุณสามารถทำความเข้าใจได้ลึกซึ้งมากน้อยเพียงไหน

Gather ye rosebuds while ye may.
Old Time is still a- flying.
And this same flower that smiles today tomorrow will be dying.”

To the Virgins, to Make Much of Time (1648) แต่งโดย By Robert Herrick

I went to the woods because I wanted to live deliberately.
I wanted to live deep and suck out all the marrow of life.
To put to rout all that was not life.
And not when I had come to die discover that I had not lived.

Henry David Thoreau (1817 – 1862)

กิจกรรมของสมาคม Dead Poets Society หลักๆคือสมาชิกผลัดกันอ่านบทกวี แล้วให้สัมผัสทางความรู้สึกซึมซาบซ่านเข้ามาสู่จิตวิญญาณ, ในมุมของชาวโลกเสรีคงถือเป็นความบันเทิงระดับสูง สามารถยกระดับความคิด ทัศนคติ และจิตใจให้สูงยิ่งขึ้นกว่าเดิม, แต่สำหรับกลุ่มชนอนุรักษ์นิยม คงเห็นเป็นกิจกรรมโคตรไร้สาระ หาคุณประโยชน์ความจำเป็นไม่ได้เลยสักนิด เสียเวลาว่างชีวิตทิ้งไปเปล่าๆ

มันเลยไม่แปลกที่เมื่อครูใหญ่พบเห็นการตีพิมพ์ชื่อสมาคม Dead Poets Society ลงในหนังสือพิมพ์โรงเรียน จึงกุลีกุจอ เร่งรีบร้อน ติดตามหาบุคคลต้นสาเหตุนำมาลงโทษทัณฑ์ เพราะมองว่ากิจกรรมของสมาคมนี้ไม่ได้มีความสร้างสรรค์ประโยชน์ในการร่ำเรียนหนังสือ สอบเข้ามหาวิทยาลัยแม้แต่น้อย

อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ชมเองแล้วนะครับว่า คุณครุ่นคิดเห็นสมาคม Dead Poets Society นั่นดีมีประโยชน์หรือไร้สาระโคตรๆ แต่อย่าตอบประมาณว่า ฉันไม่เข้าใจในความงดงามของบทกวีเลยไม่อาจมองเห็นคุณค่าความสำคัญ แบบนี้มันแสดงถึงความไม่ได้สนใจใคร่ครุ่นคิดเลยสักนิดนี่หน่า

Dead Poets Society เป็นภาพยนตร์ที่พยายามสร้างค่านิยม ปลูกฝังแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ อิสรภาพในการครุ่นคิดตัดสินใจ ทำในสิ่งที่อยากทำ สมาคมไร้สาระแล้วยังไง ไม่จำเป็นต้องควบคุมตนเอง หรือสนในกฎกรอบ ค่านิยมทางสังคม ถูก-ผิด ดี-ชั่ว คุณธรรม-ศีลธรรมประการใด

แต่ผมอยากให้ลองถามตนเองดูว่า เสรีภาพที่ไร้การควบคุม มันเป็นสิ่งที่คุณหาญกล้าจะยินยอมรับได้หรือไม่ ยกตัวอย่างสามตัวละครที่ถือว่ามีพฤติกรรมแสดงออก เกินเลยเถิดไปไกล

  • Neil Perry เพราะได้ลิ้มลองแอปเปิ้ลแห่งอิสรภาพ เมื่อถูกบิดาจับได้คาหนังคาเขา พยายามบีบบังคับ วางแผนอนาคตสิบปี แทนที่จะพยายามต่อล้อต่อรอง กลับก้มหน้าก้มตายินยอมรับโชคชะตากรรม และกระทำสิ่งโง่เขลาเพื่อให้ตนเองได้รับอิสรภาพที่แท้จริง … มันคุ้มกันแล้วหรือ?
  • Knox Overstreet มองมุมหนึ่งคือบุคคลผู้ยึดถือเชื่อมั่นในรักแท้ แต่กลับพยายามไปแก่งแย่งชิงเธอมา ชักจูงให้หญิงสาวลักลอบเป็นชู้นอกใจแฟน ถึงถูกทำร้ายร่างกายเจ็บปวดเจียนตายก็พร้อมยินยอม … นั่นมันไม่เห็นแก่ตัวไปหรอกหรือ ผิดหลักศีลธรรมอีกต่างหาก
  • Charlie Dalton เพราะมิอาจอดรนทนต่อคนทรยศ จึงใช้กำลังความรุนแรงเข้าโต้ตอบชกหน้า Richard Cameron แสดงถึงความมิอาจควบคุมตนเองให้อดกลั้น ฝืนทน สนเพียงการกระทำเพื่อตอบโต้ สนองความพึงพอใจ ระบายความอึดอัดอั้นออกมา ทำให้โดนขับไล่ออกจากโรงเรียน … อารมณ์ชั่ววูบ ทำให้อนาคตสูญสลาย

การลุกขึ้นยืนเพื่อต่อต้านความอยุติธรรมในสังคม แน่นอนว่าเป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสม แต่บางพฤติกรรมแสดงออก ข้อเรียกร้องที่ไร้ขอบเขต นั่นเป็นสิ่งไม่มากเกินไปหรอกหรือ? โดยเฉพาะค่านิยมที่คนสมัยนี้ต่างเห็นพ้องต้องกัน ถ้าไม่ใช่ฝั่งเดียวกับฉันย่อมถือเป็นสัตว์ตรูคู่อาฆาต โลกกำลังแตกแยกเป็นเสี่ยงๆเพราะความคิดเห็นกงจักรเป็นดอกบัวนี้

ตัวละคร Richard Cameron คือตัวอย่างของบุคคลผู้ปฏิเสธลุกขึ้นยืนเพื่ออิสรภาพ ในมุมชาวฝั่งซ้ายย่อมครุ่นคิดเห็นว่าหมอนี่คือคนทรยศ น่ารังเกียจ ปลิ้นปล้อนกะล่อนหลอกลวง แต่สำหรับชาวฝ่ายขวาจักคือวีรบุรุษผู้น่ารัก เล่นตามกฎกรอบเกณฑ์ ยึดถือเชื่อมั่นในระบบ นำมาซึ่งอนาคตอันรุ่งโรจน์ … บุคคลลักษณะนี้ ไม่มีทางที่ใครจะสามารถตัดสินเขาได้ว่าถูก-ผิด ดี-ชั่ว มันคือวิถีของโลกที่เหมือนเหรียญสองด้าน มองมุมหนึ่งได้รับการยกย่อง มองอีกด้านกลับถูกเดียดฉันท์ ถ้าคุณไม่สามารถมองเห็น/เข้าใจเป็นทั้งสองฝั่ง หรือยังตัดสินผู้อื่นด้วยอารมณ์ความรู้สึก ก็เหมือนการเดินปิดตาข้างหนึ่งอาจทำให้ตุปัดตุเป๋ตกท่อระบายน้ำ เมื่อไหร่ลืมตาทั้งสองข้างย่อมพบเห็นจักรวาลเปิดกว้างออกไป


ด้วยทุนสร้าง $16.4 ล้านเหรียญ ไม่เคยไต่ขึ้นอันดับ 1 บน Boxoffice แต่ทำเงินในสหรัฐอเมริกา $95.8 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $235.9 บ้านเหรียญ ประสบความสำเร็จรายรับสูงสุดอันดับ 5 ของปี

แม้เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์จะแค่ดี (ถูกโจมตีจากฝั่งอนุรักษ์นิยมอย่างรุนแรง) แต่ก็สามารถเข้าชิง Oscar 4 สาขา คว้ามา 1 รางวัล

  • Best Picture
  • Best Director
  • Best Actor (Robin Williams)
  • Best Original Screenplay ** คว้ารางวัล

เอาจริงๆหนังไม่ใช่ตัวเต็งจะคว้ารางวัลอะไร แถมสาขาที่ได้ Best Original Screenplay ค่อนข้างน่าประหลาดใจ เพราะสามารถเอาชนะตัวเต็งอย่าง Do the Right Thing (1989) อย่างน่ากังขาทีเดียว

ส่วนตัวแค่ชื่นชอบหนัง แม้หลายๆฉากมีแนวคิด/ไดเรคชั่นน่าสนใจ แต่อย่างที่บอกไปว่าเนื้อหาสาระชวนเชื่อซ้ายจัด หลายประเด็นค่อนข้างไร้สาระ เกินเลยเถิด และขาดการควบคุมให้เพียงพอดี มันเลยไม่น่าอภิรมณ์สำหรับผู้ชมที่ไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายเดียวกันสักเท่าไหร่

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” นี่เป็นภาพยนตร์ที่สามารถเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ แม้คุณจะอยู่ฝ่ายขวาจัด เกิดอคติมากมาย แต่ก็น่าจะได้แนวความคิด แรงบันดาลใจบางอย่าง เห็นต่างอย่างมีสาระ, ขณะที่ฝั่งซ้ายจัด พยายามรับชมอย่างมีสตินะครับ อย่าใส่อารมณ์มากเกินไป และลองครุ่นคิดในมุมอีกฝ่ายดูบ้าง ปิดตาข้างเดียวมองเห็นไม่ถ้วนทั่วหรอกนะ

โคตรแนะนำกับนักกวี หลงใหลในบทประพันธ์ร้อยกรองภาษาอังกฤษ มีความสำบัดสำนวน สัมผัสเล่นคำ นัยยะลุ่มลึกล้ำ (แน่นอนว่าแทบทั้งหมดล้วนสอดแทรกแนวคิดหัวก้าวหน้า/ซ้ายจัด)

แนะนำต่อกับผู้ชื่นชอบภาพยนตร์เกี่ยวกับบทกวี L’Étoile de mer (1928), Pyaasa (1957), Poetry (2010) ฯลฯ

จัดเรต PG กับการฆ่าตัวตาย

คำโปรย | Dead Poets Society นำเสนออุดมการณ์ชวนเชื่อซ้ายจัด แม้สามารถเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ แต่ใช่ว่าทุกคนจะต้องการลุกขึ้นยืน
คุณภาพ | ยอดเยี่ยม-ซ้ายจัด
ส่วนตัว | ชื่นชอบ