White Material (2009)


White Material (2009) French : Claire Denis ♥♥♥♡

ณ ประเทศสมมติในทวีปแอฟริกา กำลังเกิดสงครามกลางเมือง (Civil Wars) กองทัพฝรั่งเศสตัดสินใจล่าถอย แต่เจ้าของไร่กาแฟรับบทโดย Isabelle Huppert กลับปฏิเสธจะทอดทิ้งสิ่งที่เป็นของตนเอง หมกมุ่นยึดติดกับ “White Material”

ผลงานลำดับที่ 9 ของผกก. Claire Denis แต่เพิ่งเป็นครั้งที่สาม (ทั้งสามเรื่องห่างกันเกือบๆ 10 ปี) เดินทางกลับบ้านเกิด ถ่ายทำในทวีปแอฟริกา นักวิจารณ์หลายคนมองว่าราวกับภาคต่อ Chocolat (1988) เพราะนักแสดง Isaach de Bankolé จากคนรับใช้ (Protée) กลายมาเป็นนักปฏิวัติ (The Boxer) ถึงอย่างนั้นเนื้อหาของทั้งสองเรื่อง ไม่ได้มีความต่อเนื่องสัมพันธ์อะไร

No, White Material is not related to Chocolat. There is no connection at all. They are entirely different visions of Africa and the cinema. Chocolat is about friendship and family, and maybe sex and longing, and White Material is about remaining strong in the face of danger.

Claire Denis

ความน่าสนใจของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ Isabelle Huppert รูปร่างผอมเพียวช่างมีความพริ้วไหว (ชวนให้นึกถึง Katharine Hepburn จากภาพยนตร์ Summertime (1955)) ทั้งสีหน้า ท่วงท่า ลีลาของเธอเอ่อล้นด้วยความเชื่อมั่น เต็มเปี่ยมด้วยพลัง ใครบอกอะไรไม่สน ฉันสามารถทำทุกสิ่งอย่าง ไม่หวาดกลัวเกรงอันตราย สุดท้ายเมื่อตระหนักถึงความเป็นจริง เลยสูญเสียสิ้น ไม่หลงเหลืออะไรสักสิ่งอย่าง

Isabelle Huppert is an immoveable object surrounded by unstoppable forces.

คำนิยมจาก RottenTomatoes

…small and slender, [she] embodies the strength of a fighter. In so many films, she is an indomitable force, yet you can’t see how she does it. She rarely acts broadly. The ferocity lives within. Sometimes she is mysteriously impassive; we see what she’s determined to do, but she sends no signals with voice or eyes to explain it.

นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 3.5/4

จริงๆยังมีอีกหลายผลงานของผกก. Denis ที่ผมอยากเขียนถึง แต่ตัดสินใจเลือก White Material (2009) เพราะเรื่องราวมีพื้นหลังถ่ายทำยังทวีปแอฟริกา และถือว่าปิดไตรภาค ‘African Film’ จะได้เขียนถึงหนังจากแอฟริกันเรื่องอื่นสักที!


Claire Denis (เกิดปี 1946) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris แต่เติบโตยังประเทศอาณานิคม French Africa ติดตามบิดาทำงานข้าราชการพลเรือน (Civil Servant) เคยอาศัยอยู่ Burkina Faso, Cameroon, French Somaliland และ Senegal, วันว่างๆชอบอ่านหนังสือ พออายุ 12 ล้มป่วยโปลิโอ จึงต้องเดินทางกลับฝรั่งเศส ปักหลักอยู่ชานเมือง Sceaux, โตขึ้นเข้าศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ก่อนค้นพบว่าไม่ได้มีความชื่นชอบสักเท่าไหร่ เลยย้ายคณะภาษาต่างประเทศ แล้วเข้าศึกษาภาพยนตร์ L’Institut des hautes études cinématographiques (IDHEC)

I’m not French but a daughter of Africa. I grew up in Africa where there were no cinemas so I discovered cinema late, at 14 or 15 years old, all at once and indiscriminately. Cinephilia, in the classic sense of the Cinemathèque and Cahiers du cinéma, was something I came to much later, perhaps when I was 25 years old.

Claire Denis

หลังเรียนจบทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ อาทิ Jacques Rivette เรื่อง Out 1 (1971), Costa-Gavras เรื่อง Hanna K. (1983), Wim Wenders เรื่อง Paris, Texas (1984), Wings of Desire (1987) ฯ กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Chocolat (1988), Nénette and Boni (1996), Beau Travail (1999), The Intruder (2004), 35 Shots of Rum (2008) ฯ

หลังเสร็จงานสร้างภาพยนตร์ Vendredi soir (2002) หรือ Friday Night, ผกก. Danis มีโอกาสพบเจอ Isabelle Huppert พูดคุยสอบถาม ชักชวนมาร่วมงานกัน ในตอนแรกแนะนำให้ดัดแปลง The Grass Is Singing (1950) นวนิยายเรื่องแรกของนักเขียนชาวอังกฤษ Doris Lessing (1919-2013) ซึ่งมีพื้นหลัง Southern Rhodesia (ปัจจุบันคือประเทศ Zimbabwe) ทางตอนใต้ทวีปแอฟริกา ช่วงทศวรรษ 40s

ผกก. Denis มีความชื่นชอบหนังสือเล่มดังกล่าวเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว เพราะคือหนึ่งในแรงบันดาลใจภาพยนตร์ Chocolat (1988) แต่เหตุผลที่บอกปฏิเสธเพราะเธอไม่เคยอาศัยใช้ชีวิต รับรู้อะไรเกี่ยวกับ South Africa (สมัยวัยเด็ก ผกก. Denis ใช้ชีวิตอยู่แถบ East & West Africa ไม่เคยลงใต้ไปถึง South Africa ซึ่งเป็นอาณานิคมอังกฤษ) ถึงอย่างนั้นก็เสนอแนะว่าจะครุ่นคิดพัฒนาเรื่องราวขึ้นใหม่จากวิสัยทัศน์ของตนเอง

after I made Friday Night, Isabelle [Huppert] asked me if I would like to work with her, to which I said “yes!” She wondered if I wanted to adapt a Doris Lessing novel called The Grass Is Singing, which is the story of her parents in the ‘30s in South Africa. It’s about a couple of originated English people trying to farm—although they are not farmers, know nothing about farming—and the fight to farm land they don’t know. It ends with…cows. It’s more or less what Doris Lessing described of her own family. Later, she wrote a novel about her brother who stayed in South Africa, actually in old Rhodesia—Zimbabwe now—who’s a farmer and it’s a disaster.

So I was thinking, and I told Isabelle that although I like the book very much—actually it’s a very important book for me because it was one of the sources of inspiration for Chocolat (1988)—I told her that to go back to that period in Africa, especially in South Africa—I’m not a South African, and for me, I don’t know how to say it, for me to imagine us to go somewhere in South Africa together and do a period movie in a country that has changed so much, after Mandela has been elected and apartheid is finished, I thought I’m going to make a wrong move. So I said if you want, I have a story, I’ll think about a story of today. I was reading many books about the Liberia and Sierra Leone. I told Isabelle I was trying to do my own…to say “vision” is a bit too much, but to describe something I feel, it could be a very good story for her, and I would be interested.

เรื่องราวของ White Material (ไม่มีชื่อฝรั่งเศส อ่านทับศัพท์ไปเลย) ได้แรงบันดาลใจจากสารพัดสงครามกลางเมือง (Civil Wars) ที่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกันช่วงหลายๆทศวรรษนั้น อาทิ Ethiopian Civil War (1974-91), Rwandan Civil War (1990-94), Djiboutian Civil War (1991-94), Algerian Civil War (1991-2002), Somali Civil War (1991-), Burundi Civil War (1993-2005), Republic of the Congo Civil War (1997-99), First Ivorian Civil War (2002-07) ฯลฯ นี่แค่ตัวอย่างผิวเผินเท่านั้นเองนะครับ ผมเห็นปริมาณรายการความขัดแย้ง/สงครามกลางเมืองจากวิกิพีเดียแล้วรู้สึกสั่นสยองขึ้นมาทันที [List of conflicts in Africa]

สงครามกลางเมืองเหล่านี้ ถ้าขบครุ่นคิดดีๆจะพบว่าล้วนเป็นผลกระทบภายหลังการปลดแอก ได้รับอิสรภาพจากการเป็นประเทศอาณานิคม สิ่งที่พวกจักรวรรดินิยมทอดทิ้งไว้ให้นั้น สร้างความลุ่มหลง งมงาย ประชาชนยึดติดในอำนาจ วัตถุนิยม สิ่งข้าวของเครื่องใช้ “White Material” โหยหาเงินทอง ความสะดวกสบาย ใช้ความรุนแรง โต้ตอบเอาคืน “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”

ผกก. Denis ร่วมงานกับนักเขียนนวนิยาย Marie NDiaye (เกิดปี 1967) สัญชาติ French-Senegalese เคยได้รับรางวัล Prix Femina จากนวนิยาย Rosie Carpe (2001) และ Prix Goncourt (เทียบเท่า Nobel Prize สาขาวรรณกรรมของฝรั่งเศส) ผลงาน Trois femmes puissantes (2009) … หลังจาก White Material (2009) ยังโด่งดังกับการร่วมพัฒนาบท Saint Omer (2022)

ด้วยความที่ NDiaye ไม่เคยมีประสบการณ์เขียนบทภาพยนตร์มาก่อน จึงต้องปรับตัวไม่น้อยระหว่างร่วมงานผกก. Denis ทั้งสองออกเดินทางสู่แอฟริกาเพื่อค้นคว้าข้อมูล และร่วมกันพัฒนาบท White Material จนแล้วเสร็จสรรพ

There were circumstances at the beginning of our relationship that we had to sort out. Marie is a writer and she is used to spending a lot of time on her own, but I always work with people and when I do that I have to spend time with them. I know that Marie found this difficult at first. She was used to working and thinking without a partner. But we travelled together to Africa and that’s when the work came together. I had an African childhood, which Marie did not have, and we discussed that, and what it meant to be white in Africa, and it was from that contradiction that we began to put together White Material.


ณ ประเทศสมมติในทวีปแอฟริกา กำลังเกิดสงครามกลางเมือง (Civil Wars) กองทัพฝรั่งเศสตัดสินใจล่าถอย แต่เจ้าของไร่กาแฟ Maria Vial (รับบทโดย Isabelle Huppert) กลับปฏิเสธทอดทิ้งเมล็ดกาแฟที่กำลังออกผลผลิต แม้คนงานหลบลี้หนีหาย ก็ยังพยายามใช้เงินซื้อหา ว่าจ้างคนท้องถิ่นมาช่วยเก็บเกี่ยวผลผลิต

แต่แล้วสงครามกลางเมืองก็ค่อยๆคืบคลานเข้าหา กลุ่มผู้ก่อการร้ายเด็ก (Child Soldiers) บุกรุกเข้ามาในไร่กาแฟ เป็นเหตุให้บุตรชาย Manuel ถูกจี้ปล้น โดนบังคับให้ถอดเสื้อผ้า นั่นทำให้จากเคยเป็นคนเฉื่อยชา ตัดสินใจโกนศีรษะ เข้าร่วมกลุ่มผู้ก่อการร้าย

ด้วยความที่รัฐบาลครุ่นคิดว่าพวกคนขาวให้ที่หลบซ่อนผู้ก่อการร้าย ทหารกลุ่มหนึ่งจึงบุกเข้ามาในไร่กาแฟของ Maria (โชคดีว่าขณะนั้นเธอไม่อยู่บ้าน) ทำการเชือดคอทหารเด็ก กราดยิง เผาทั้งเป็น เมื่อเธอหวนกลับมาเห็น ก็ตกอยู่ในสภาพหมดสิ้นหวังอาลัย ไม่หลงเหลืออะไรสักสิ่งอย่าง


Isabelle Anne Madeleine Huppert (เกิดปี 1953) นักแสดง สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris บิดาเป็นชาว Jews ส่วนมารดาทำงานครูสอนภาษาอังกฤษ ผลักดันให้ลูกๆเป็นนักแสดงตั้งแต่ยังเด็ก ต่อมาได้เข้าเรียน Conservatoire à rayonnement régional de Versailles ติดตามด้วย Conservatoire national supérieur d’art dramatique (CNSAD) เริ่มต้นมีผลงานภาพยนตร์โทรทัศน์ Le Prussien (1971), ตามด้วยภาพยนตร์ Faustine et le Bel Été (1972), Les Valseuses (1974), La Dentelliere (1977) คว้ารางวัล BAFTA Award: Most Promising Newcomer, ผลงานเด่นๆ อาทิ Aloïse (1975), Violette Nozière (1978), Une affaire de femmes (1988), La Cérémonie (1995), The Piano Teacher (2001), Gabrielle (2005), Amour (2012), Elle (2016) ฯ

รับบท Maria Vial สืบทอดกิจการไร่กาแฟจากบิดา Henri ของอดีตสามี Andre (คาดว่าหย่าร้างเพราะจับได้ว่าเขาแอบมีความสัมพันธ์กับคนรับใช้ผิวสี) จึงมีความหมกมุ่น ยึดติดกับสถานที่แห่งนี้ แม้ได้รับคำตักเตือนจากกองทัพฝรั่งเศสที่กำลังถอยร่นระหว่างสงครามกลางเมือง กลับแสดงความดื้อรั้น ปฏิเสธรับฟัง เชื่อมั่นว่าตนเองจักสามารถเอาตัวรอด เงินทองซื้อได้ทุกสิ่งอย่าง

ภาพจำของ Huppert แม้ร่างกายผอมบาง แต่มีจิตวิญญาณอันเข้มแข็งแกร่ง เอ่อล้นด้วยพลัง ความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่หวาดกลัวเกรงภยันตรายใดๆ ล้มแล้วลุก ปฏิเสธยินยอมรับความพ่ายแพ้ พร้อมเผชิญหน้าต่อสู้กับทุกสิ่งอย่าง!

การเดินทางสู่แอฟริกาของ Huppert ทำให้เธอต้องใช้ศักยภาพทางร่างกายค่อนข้างมาก ฝึกฝนขับรถ ขับมอเตอร์ไซด์ ห้อยโหยท้ายรถโดยสาร รวมถึงเรียนรู้วิธีการเก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟที่เต็มไปด้วยขั้นตอนหลากหลาย แต่ทุกท่วงท่า อากัปกิริยาของเธอ เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น จริงจัง ฉันสามารถทำได้ทุกสิ่งอย่าง นั่นแสดงถึงความลุ่มหลง งมงาย ยึดติดกับ White Material แม้ใช้ชีวิตอาศัยอยู่ทวีปแอฟริกา แต่ไม่มีทางจะได้รับการยอมรับ กลายเป็นส่วนหนึ่งของชาวแอฟริกัน!

สำหรับความสิ้นหวังของตัวละคร สังเกตว่าไม่ได้มีการร่ำร้องไห้ หรือเรียกหาความสนใจ แต่ยังแสดงความดื้อรั้น ดึงดัน ไม่สนคำทัดทานผู้ใด พยายามทุกสิ่งอย่างเพื่อหวนกลับไป แล้วกระทำสิ่งไม่มีใครคาดคิดถึง … บางคนอาจรู้สึกสงสารเห็นใจ แต่ผมสมเพศเวทนากับความลุ่มหลง งมงาย หมกมุ่นยึดติดใน White Material


สำหรับสมาชิกครอบครัวแตกแยก (Dysfunctional Family) ของ Maria Vial ประกอบด้วย

  • อดีตสามี André (รับบทโดย Christopher Lambert) คาดว่าสาเหตุที่หย่าร้างเพราะแอบคบชู้นอกใจ สานสัมพันธ์กับหญิงผิวสีชาวแอฟริกัน จนมีบุตรชายลูกครึ่ง Jose 
    • André พยายามเกลี้ยกล่อมบิดาให้ยกไร่กาแฟให้กับตนเอง เพื่อจะนำไปขายต่อให้กับชาวแอฟริกัน แล้วหาทางหลบหนีออกจากประเทศแห่งนี้ พยายามเกลี้ยกล่อมบิดา จนแล้วจนรอด ท้ายสุดถูกฆาตกรรมโดยกองทัพรัฐบาล
  • บิดาของ André (รับบทโดย Michel Subor) เกิด-เติบโตยังทวีปแอฟริกา เป็นเจ้าของไร่กาแฟสืบทอดจากบิดา ตั้งใจจะมอบทุกสิ่งอย่างให้กับลูกสะใภ้ Maria ส่วนตนเองใช้ชีวิตวัยเกษียณ เดินไปเดินมา เฝ้ารอคอยความตาย แต่สุดท้ายกลับถูกฆาตกรรม/ทรยศหักหลังโดย Maria
  • Manuel (รับบทโดย Nicolas Duvauchelle) บุตรชายของ Maria และ André อายุประมาณ 17-18 มีความเกียจคร้าน ขี้เกียจสันหลังยาว แต่หลังจากถูกกลั่นแกล้ง ทำให้อับอายโดยพวกทหารเด็ก กลับมาบ้านตัดสินใจโกนศีรษะ อาสาสมัครเข้าร่วมกลุ่มผู้ก่อการร้าย ก่อนถูกเผาตายทั้งเป็นโดยกองทัพรัฐบาล
    • เมื่อตอนที่ Manuel โกนศีรษะ ชวนให้ผมนึกถึง Travis Bickle จากภาพยนตร์ Taxi Driver (1976) ทำผมทรงโมฮอกแสดงอาการน็อตหลุด ใกล้จะคลุ้มบ้าคลั่ง ไม่สามารถควบคุมตนเอง เรียกร้องความสนใจ ต้องการทำบางสิ่งอย่างเพื่อพิสูจน์การมีตัวตน ฉันก็เป็นลูกผู้ชาย (นั่นอาจคือเหตุผลที่หนังจงใจถ่ายให้เห็นไอ้จ้อน ระหว่างถูกทำให้เปลือยกายล่อนจ้อน)
  • Jose อายุ 12 ปี แม้เป็นบุตรชายของ André กับชู้รัก คนรับใช้ชาวแอฟริกัน แต่ยังได้รับความรักจาก Maria คอยไปรับไปส่ง ดูแลเหมือนลูกแท้ๆ ตอนจบไม่รับรู้โชคชะตา (แต่ก็คาดเดาไม่ยากเท่าไหร่)

ถ่ายภาพโดย Yves Cape (เกิดปี 1960) ตากล้องสัญชาติ Belgian โตขึ้นเข้าศึกษาด้านการถ่ายภาพยัง Institut national supérieur des arts du spectacle et des techniques de diffusion (INSAS) จากนั้นเริ่มทำงานเป็นผู้ช่วย แจ้งเกิดกับภาพยนตร์ Ma vie en rose (1997), Humanity (1999), Buffalo Boy (2004), White Material (2009), Holy Motors (2012) ฯ

ปล. เหตุผลที่ผกก. Denis ไม่ได้ร่วมงานตากล้องขาประจำ Agnès Godard เพราะอีกฝ่ายกำลังตั้งครรภ์ และมารดายังล้มป่วยหนัก เห็นว่าเสียชีวิตใกล้ๆกับตอนโปรดักชั่น เลยตัดสินใจมองหาตากล้องคนอื่นขัดตาทัพไปก่อน

แตกต่างจากผลงานเรื่องอื่นๆของผกก. Denis ที่มักพยายามรังสรรค์งานภาพให้ออกมาเสมือนภาพนิ่ง บรรยากาศโหยหา คร่ำครวญ หวนรำลึกนึกถึงอดีต, อาจเพราะ White Material (2009) มีพื้นหลังในช่วงระหว่างสงครามกลางเมือง จึงเลือกใช้กล้อง Hand-Held แบกขึ้นบ่า เดินไปเดินมา ซึ่งสามารถสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ของตัวละคร อาการสั่นไหว หวาดกังวล โดยไม่รับรู้ตัวว่าหายนะกำลังคืบคลานเข้าหา

ในหลายๆบทสัมภาษณ์ของผกก. Denis มักกล่าวพาดพิงถึง First Ivorian Civil War (2002-07) สงครามกลางเมืองในประเทศ Ivory Coast (หรือ Côte d’Ivoire) แม้เมื่อตอนเริ่มต้นโปรดักชั่น สงครามได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่สถานการณ์การเมืองยังถือว่าไม่น่าปลอดภัย [Second Ivorian Civil War เกิดขึ้นติดตามมาระหว่าง ค.ศ. 2010-11] ด้วยเหตุนี้เลยต้องมองหาสถานที่อื่น ถ่ายทำยังประเทศ Cameroon ติดชายแดน Nigeria

It’s not my intention to be vague. The film is inspired by real events in the Ivory Coast. Of course, it was impossible to shoot the film there because a near-civil war is still going on there. I thought it was better to shoot in a country at peace. Also, I wanted the child soldiers to be played by normal children who go to school. I think it’s necessary for a film containing certain violence. I didn’t want to write, “This story takes place in 2003 in the Ivory Coast” over the credits. Anyone who knows Cameroon could recognize that’s where I shot it. The border of Nigeria and Cameroon is very visible. Many times at screenings in France, people recognized the locations. If I had claimed it was set in the Ivory Coast, it would have been a lie. Otherwise, I would take the risk to shoot there.

Claire Denis

เกร็ด: ผกก. Denis เลื่องชื่อในการทำงาน “shooting fast, editing slowly” เห็นว่าใช้เวลาถ่ายทำ White Material (2009) แค่เพียงสิบวันเท่านั้น!


จริงๆมันมีสถานที่มากมายที่จะให้ตัวละคร Maria หวนระลึกเหตุการณ์บังเกิดขึ้น แต่การให้เธอปีนป่ายหลังรถโดยสาร นั่งอยู่ท่ามกลางชาวผิวสี เพื่อสื่อถึงการเดินทาง/สถานการณ์ที่ตนเองไม่สามารถควบคุม กำหนดทิศทางชีวิต แม้แต่จะขอให้หยุดจอด หรือเรียกร้องขอโน่นนี่นั่น (คือสิ่งที่คนขาว หมกมุ่นยึดติดกับ “White Material”) เพียงสงบสติอารมณ์ แล้วปล่อยให้ทุกสิ่งอย่างดำเนินไปตามครรลองของมัน

ผมไม่ได้มีความสนใจในเครื่องแต่งกายตัวละครมากนัก บังเอิญพบเห็นบทสัมภาษณ์ของผกก. Denis เปรียบเทียบชุดเดรสสีชมพู (พร้อมกับทาลิปสติก) ดูราวกับเกราะคุ้มกันภัย นั่นทำให้ตัวละครมีความเป็นเพศหญิง … บางคนอาจมองพฤติกรรมห้าวเป้งของตัวละคร ดูเหมือนทอมบอย เพศที่สาม แต่การเลือกใส่ชุดกระโปรง ถือว่าตัดประเด็นนั้นทิ้งไปได้เลย (สวมใส่กางเกง รองเท้าบูท เฉพาะระหว่างทำงานในไร)

It’s very feminine. We used color to speak about the character without psychology. There is a yellow dress at the beginning, and the second dress is pink. We tried a turquoise dress, but it didn’t seem to belong to the story. The others fit it. The camera lingers on the pink dress because she puts it on to seem strong. It’s like armor.

Claire Denis

ตัวละคร The Boxer (รับบทโดย Isaach de Bankolé) เหมือนว่าจะเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มต่อต้าน/ผู้ก่อการร้าย (สังเกตจากสวมหมกสีแดง) ที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาล ถูกยิงบาดเจ็บ จึงมาหลบซ่อนตัวในไร่กาแฟของ Maria โดยอ้างว่าเป็นญาติกับคนงาน เลยได้รับความช่วยเหลือ แต่สุดท้ายเหมือนว่าทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียชีวิตก่อนการมาถึงของกองทัพรัฐบาล

เพราะเคยมีบทบาทเด่นในภาพยนตร์ Chocolat (1988) ผมก็นึกว่าบทบาทของ Bankolé จะมีความสลักสำคัญต่อเรื่องราว แต่ตลอดทั้งเรื่องได้รับบาดเจ็บ นั่งๆนอนๆอยู่บนเตียง ถึงอย่างนั้นภาพวาดฝาผนัง แสดงให้ถึงการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ … นำพาหายนะมาให้กับครอบครัวของ Maria

ไร่กาแฟ (Coffee Plantation) เป็นผลิตภัณฑ์พบได้ทั่วไปในทวีปแอฟริกา ทีแรกผมก็ไม่ได้เอะใจอะไรจนกระทั่งพบเห็นช็อตนี้ จากเมล็ดที่เคยเป็นสีดำ ถูกนำไปผ่านกรรมวิธีอะไรสักอย่าง ขัดสีฉวีวรรณจนกลายเป็นเมล็ดขาว นี่แฝงนัยยะถึงการฟอกขาว (Whitewashing) วิธีการของลิทธิจักรวรรดินิยม เมื่อเข้ายึดครอบครอง พยายามปรับเปลี่ยนทุกสิ่งอย่างของประเทศอาณานิคมให้กลายเป็นแบบของตนเอง

หลายคนอาจมองว่า Maria คงคลุ้มบ้าคลั่ง สูญเสียสติแตกไปแล้วกระมัง ถึงกระทำการ !@#$% แต่มุมมองคิดเห็นของ Huppert ถือว่าน่าสนใจทีเดียว มองในเชิงสัญลักษณ์ถึงการทำลาย ‘ความเป็นคนขาว’ ของตนเอง!

For me, is very metaphorical. It’s not like she’s committing an act of revenge like in a thriller, but she’s symbolically murdering the white part of herself by killing the ultimate white man — who just happens to be her step-father. She’s almost taking a Swiss-like side in the matter —  having gone through her own son’s death, and her ex-husband’s death, she comes to realize that no matter how trustful she is of other people, she still have to face this internal antagonist in her herself.

Isabelle Huppert

ตัดต่อโดย Yann Dedet (เกิดปี 1946) สัญชาติฝรั่งเศส เริ่มจากเป็นผู้ช่วยตัดต่อ The Bride Wore Black (1968), แล้วกลายเป็นขาประจำ François Truffaut, Maurice Pialat และ Nicole Garcia, ผลงานเด่นๆ อาทิ Day for Night (1973), Under the Sun of Satan (1987), Van Gogh (1991), Nénette and Boni (1996), White Material (2009), I Am Not a Witch (2017) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Maria Vial หญิงผิวขาว ชาวฝรั่งเศส เจ้าของไร่กาแฟแห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกัน (ไม่มีการระบุประเทศ) ระหว่างสงครามกลางเมือง กองทัพฝรั่งเศสตัดสินใจล่าถอย แต่เธอกลับดื้อรั้น ดึงดัน ปฏิเสธรับฟัง จนสถานการณ์ลุกลามบานปลาย พยายามหาหนทางกลับบ้าน ระหว่างนั่งอยู่ในรถโดยสาร หวนระลึกนึกย้อน ทบทวนเหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้น

  • อารัมบท, (อนาคต) ร้อยเรียงภาพหายนะของไร่กาแฟ ทุกสิ่งอย่างกำลังมอดไหม้ ฝุ่นควันฟุ้งกระจาย
  • ความดื้อรั้นของ Maria
    • (ปัจจุบัน) Maria หลบซ่อนจากกลุ่มผู้ก่อการร้าย ก่อนโบกรถหาทางกลับบ้าน ห้อยโหยตรงบันไดด้านหลัง
    • ครุ่นคิดถึงตอนที่เฮลิคอปเตอร์พยายามตะโกนบอก Maria ให้ออกไปจากประเทศแห่งนี้ แต่เธอกลับทำหูทวนลม
    • The Boxer หลบหนีจากกองทัพรัฐบาล หลบซ่อนตัวในไร่กาแฟของ Maria
    • Maria ระหว่างทางกลับบ้าน พบเห็นคนงานต่างอพยพหลบหนี ไม่ต้องการเสี่ยงชีวิตเพื่อ White Material
    • เมื่อกลับมาถึงบ้านก็เตรียมตัวออกหาคนงานใหม่ ไม่ต้องการให้ไร่กาแฟเสียหาย
    • พอขับรถมาถึงกลางทางถูกรีดไถเงิน แวะเข้าเมืองซื้อของ แล้วเดินทางไปว่าจ้างคนงาน
    • ขากลับแวะเวียนไปรับหลานชายลูกครึ่ง Jose (บุตรของอดีตสามี มีความสัมพันธ์กับคนใช้ผิวสี)
  • สถานการณ์ตึงเครียด
    • ยามเช้า Maria ปลุกตื่นบุตรชาย Manuel ระหว่างกำลังเล่นน้ำ เกือบถูกลอบฆ่าโดยทหารเด็ก
    • ทหารเด็กแอบเข้ามาในไร่กาแฟ ทำการประจาน Manuel จนเกิดอาการคลุ้มคลั่ง โกนศีรษะ ต้องการเข้าร่วมกลุ่มผู้ก่อการร้าย
    • Maria เก็บเกี่ยวเมล็ดกาแฟ
    • ค่ำคืนนี้แบ่งปันเสบียงกรังกับคนงาน
  • เหตุการณ์เลวร้าย หายนะบังเกิดขึ้น
    • รายงานข่าวแจ้งว่ากองทัพรัฐบาลมีความเคลือบแคลงสงสัย ว่าพวกคนขาวเจ้าของไร่กาแฟ ให้สถานที่หลบภัยต่อกลุ่มผู้ก่อการร้าย
    • คนงานเรียกร้องขอค่าจ้าง ต้องการไปจากสถานที่แห่งนี้ แต่เงินในตู้เซฟกลับถูกลักขโมย สูญหายหมดสิ้น
    • ระหว่างขับรถเข้าเมือง ถูกพวกผู้ก่อการร้ายดักปล้น เข่นฆ่าผู้คน
    • กองทัพรัฐบาลบุกเข้าในไร่กาแฟ เชือดคอทหารเด็ก เผาทำลายทุกสิ่งอย่าง
    • (ปัจจุบัน) Maria พยายามหาหนทางกลับบ้าน ก่อนพบเห็นภาพบาดตาบาดใจ และตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง

ผกก. Denis ดูมีความชื่นชอบการเล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) หวนระลึกความทรงจำ ทำแบบนี้เพื่อให้ตัวละครเกิดความตระหนัก รับรู้ตัว และสาสำนึกผิด ถ้าฉันไม่หมกมุ่นยึดติดกับ “White Material” ก็คงไม่ตกอยู่ในสถานการณ์ช่วยตนเองไม่ได้แบบนี้ แต่ปัญหาเล็กๆคือมันไม่จำเป็นต้องกระโดดไปกระโดดมาบ่อยครั้งก็ได้

เมื่อตอน Beau Travail (1999) แม้ใช้วิธีเล่าเรื่องกระโดดไปกระโดดมา อดีต-ปัจจุบัน คล้ายๆเดียวกัน แต่ตัวละคร Galoup ในปัจจุบันยังเดินทางไปไหนมาไหนทั่วกรุง Marseille ไม่ซ้ำซากจำเจอยู่แต่ในห้อง, ผิดกับ White Material (2009) พบเห็นเพียง Maria Vial นั่งหง่าวอยู่ในรถโดยสาร ไม่สามารถทำอะไร ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ตกอยู่ในความสิ้นหวังอาลัย … เหตุผลการทำแบบนี้ก็อย่างที่อธิบายไป แต่การเน้นๆย้ำๆหลายครั้ง มันสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ


เพลงประกอบโดย Stuart Ashton Staples (เกิดปี 1965) นักร้อง นักกีตาร์ สัญชาติอังกฤษ, ร่วมก่อตั้งวง Tindersticks แนว Alternative Rock มีโอกาสร่วมงานผกก. Claire Denis ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ Nénette et Boni (1996), Trouble Every Day (2001), The Intruder (2004), White Material (2009), High Life (2018) ฯ

งานเพลงของหนังมีลักษณะของ Ambient Music (หรืออาจจะเรียกว่า Rock Ambient เพราะใช้เบส กีตาร์ เครื่องดนตรีไฟฟ้า ในการสร้างเสียง) แนวเพลงที่เน้นเรื่องของเสียงมากกว่าตัวโน้ต พยายามสร้างบรรยากาศให้สอดคล้องเข้ากับสภาพแวดล้อม คลอประกอบพื้นหลังเบาๆจนบางครั้งเหมือนไม่ได้ยินเสียงอะไร แต่ผู้ฟังกลับรู้สึกปั่นป่วนมวนท้องไส้ มึนๆตึงๆ สัมผัสอันตราย หายนะกำลังคืบคลานเข้ามา

ปล. ในอัลบัม Soundtrack เรียกสไตล์เพลงลักษณะนี้ว่า Art Rock ก็แล้วแต่จะเรียกแล้วกันนะครับ

การเลือกใช้วงดนตรีร็อค แทนที่จะเป็นออร์เคสตรา ทำให้หนังมีกลิ่นอายร่วมสมัย (Contemporary) ใกล้ตัว จับต้องได้ อย่างบทเพลง Attack on the Pharmacy มีลีลาลีดกีตาร์อย่างโหยหวน ท้องไส้ปั่นป่วน (จากพบเห็นภาพความตาย) จังหวะกลองทำให้เจ็บปวดรวดร้าว หัวใจแทบแตกสลาย

[White Material]’s could mean two things, an object or person. In pidgin English, when ivory smugglers were very efficient they were called white material. Ivory and ebony instead of white and black. And in some slang they call white people “whitie” or “the white stuff,” you know? So I mixed it.

White Material แปลตรงตัว วัสดุสีขาว แต่ในบริบทของหนังสื่อถึง สิ่งข้าวของ(ของ)พวกคนผิวขาว อะไรก็ตามที่นำเข้าจากต่างประเทศ “สร้างโดยคนขาว เป็นของคนขาว ใช้โดยคนขาว” เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย ทำสิ่งต่างๆโดยง่าย ล้ำยุคทันสมัย ไม่ใช่ของชนชาวแอฟริกัน

การมาถึงของคนขาวในทวีปแอฟริกัน ตั้งแต่ยุคจักรวรรดินิยมล้วนเพื่อยึดครอบครอง เสาะแสวงหาทรัพยากรมนุษย์และธรรมชาติ โดยใช้ข้ออ้างนำความเจริญทางอารยธรรมเข้ามาเผยแพร่ แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนคือ “White Material” สำหรับกอบโกยผลประโยชน์ ตอบสนองความพึงพอใจส่วนตนเอง

เรื่องราวของ White Material (2009) เกี่ยวกับหญิงผิวขาว ชาวฝรั่งเศส ผู้มีความหมกมุ่นยึดติดใน “White Material” ไม่ยินยอมพลัดพราก แยกจาก ปฏิเสธรับฟังคำทัดทาน เชื่อมั่นว่าตนเองจะสามารถเอาตัวรอดปลอดภัยในสงครามกลางเมือง ฉันคือส่วนหนึ่งของแอฟริกัน แต่ความเป็นจริงนั้นกลับเพียงภาพลวงหลอกตา

I wanted to show in this film how being white in Africa gives you a special status, almost a kind of magical aura. It protects you from misery and starvation. But although it can protect you, it is dangerous too. This is what Maria has to learn. The danger for Maria is that she thinks she belongs in Africa because she is close to the land and the people. She cannot return to France because she thinks that it will weaken her. But she learns that she doesn’t belong in Africa as much as she thinks. For many white people in Africa this is the reality.

Claire Denis

ในบทสัมภาษณ์ของ Hoppert มองเห็น Maria ในมุมที่แตกต่างออกไป จริงอยู่ว่าตัวละครหมกมุ่นยึดติดใน “White Material” แต่ขณะเดียวกันเธอไม่เคยครุ่นคิดถึงความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์ ฉันอาศัยอยู่สถานที่แห่งนี้มานานหลายปี มีลูก รับเลี้ยงหลานลูกครึ่ง(แอฟริกัน) ไม่เคยแสดงอคติ รังเกียจเหยียดยาม แอฟริกาคือบ้านของฉัน แต่สุดท้ายกลับถูกทรยศหักหลัง ตกอยู่ในสภาวะไม่สามารถยินยอมรับความจริง (State of Denial)

Therefore, I think that my character Maria carries this hope or illusion that all these differences between people should be abolished and not exist. She believes this so strongly that she has blinders on to what’s happening around her, and is in a state of denial.

Isabelle Huppert

ความคิดเห็นที่แตกต่างของ Huppert ทำให้ผมมองว่าผกก. Denis ก็ไม่แตกต่างจากตัวละคร Maria แม้เคยอาศัยใช้ชีวิตมาตั้งแต่เด็ก ถึงขนาดเรียกตนเองว่า “Daughter of African” แต่นั่นคือความลุ่มหลง ทะนงตน ยึดติดมโนคติ ภาพลวงตา คงเพิ่งตระหนักได้ว่าไม่มีวันที่ฉันจะเป็นชาวแอฟริกัน … เส้นแบ่งระหว่างสีผิว ชาติพันธุ์ เป็นสิ่งไม่มีอยู่จริง แต่ขณะเดียวกันกลับมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า!

จะว่าไป White Material ไม่ได้สื่อถึงแค่วัสดุ สิ่งข้าวของ ในเชิงรูปธรรมเท่านั้นนะครับ แต่ยังรวมถึงแนวคิด วิถีชีวิต เป้าหมาย อุดมการณ์ของคนขาว ล้วนมีความแตกต่างจากชาวผิวสี (เหมารวมเอเชีย แอฟริกัน อเมริกาใต้ ฯ) ผลกระทบจากการตกเป็นอาณานิคม จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เลือนหาย ภายหลังการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ หลายๆประเทศในแอฟริกันก็ยังคงหาความสงบสุขไม่ได้จนถึงปัจจุบัน


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Venice เสียงตอบรับกลางๆ เลยไม่ได้รางวัลใดๆติดไม้ติดมือกลับมา ทำให้ทุนสร้าง $6.3 ล้านเหรียญ (ในวิกิฝรั่งเศสบอกว่า €6.3 ล้านยูโร) ทำเงินได้เพียง $1.9 ล้านเหรียญ ยอดจำหน่ายตั๋วในฝรั่งเศสเพียง 147,295 ใบ ถือว่าขาดทุนย่อยยับเยิน!

หนังได้รับการจัดจำหน่าย DVD/Blu-Ray โดย Criterion Collection ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2011 ซึ่งมีการสแกนดิจิตอล (digital transfer) ผ่านการตรวจอนุมัติโดยผกก. Denis และตากล้อง Yves Cape

ถึงส่วนตัวจะหลงใหลสไตล์ลายเซ็นต์ผกก. Denis และการแสดงอันโดดเด่นของ Isabelle Huppert แต่เนื้อเรื่องราวของ White Material (2009) สร้างความหงุดหงิด รำคาญใจ รู้สึกสมเพศเวทนาพวกคนขาว/จักรวรรดินิยม เลยไม่สามารถชื่นชอบประทับใจหนังได้เท่าที่ควร … เป็นแนวไม่ค่อยถูกจริตสักเท่าไหร่

และผมยังรู้สึกว่าหนังขาดมนต์เสน่ห์หลายๆอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับ Chocolat (1988) และ Beau Travail (1999) ที่อย่างน้อยภาพสวย เพลงไพเราะ, White Material (2009) นอกจากการแสดงของ Huppert ก็แทบไม่มีอะไรอย่างอื่นให้น่าจดจำ

จัดเรต 18+ กับบรรยากาศสงครามกลางเมือง ความรุนแรง อคติต่อชาติพันธุ์ และทหารเด็กก่อการร้าย

คำโปรย | ความลุ่มหลง ทะนงตน หมกมุ่นยึดติดใน White Material ของ Isabelle Huppert (รวมถึงพวกจักรวรรดินิยม) ทำให้สูญเสียสิ้นทุกสิ่งอย่าง
คุณภาพ | สูญเสียสิ้น
ส่วนตัว | สมเพศเวทนา