Hyènes (1992)


Hyènes (1992) Senegalese : Djibril Diop Mambéty ♥♥♥♥

ภาพยนตร์กึ่งสุขกึ่งโศก (Tragi-Comedy) เมื่อมหาเศรษฐีนีเดินทางกลับบ้านเกิด ณ Colobane, Senegal พร้อมมอบเงินก้อนใหญ่ ให้ใครก็ตามลงมือเข่นฆาตกรรมอดีตชู้รัก เคยข่มขืนตนเองตอนอายุ 17 จนตั้งครรภ์ ระหว่างศีลธรรม ความถูกต้อง หรืออำนาจของเงิน ชาวบ้านแห่งนี้จะตัดสินใจเช่นไร?, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

เกร็ด: Hyènes หรือ Hyenas สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ รูปร่างคล้ายสุนัขหรือหมาป่า กระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกา (และบางส่วนของอาหรับ อินเดีย) มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยมีตัวเมียเป็นจ่าฝูง (เพราะตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ และเพื่อป้องกันการกินลูกของตนเอง) เป็นสัตว์กินไม่เลือก แม้แต่กระดูก ซากสัตว์ ขึ้นชื่อเรื่องความเจ้าเล่ห์เพทุบาย และมีเสียงร้องเหมือนกับเสียงหัวเราะ

มนุษย์ไฮยีน่า คล้ายๆกับพวกแมงดา คือบุคคลที่ชอบกอบโกย เกาะกิน แสวงหาผลประโยชน์(จากความเดือดร้อน)ของผู้อื่น ในบริบทของหนังก็คือชาวเมือง Colobane ที่พอมหาเศรษฐีนี Linguere Ramatou ผู้ร่ำรวยยิ่งกว่าธนาคารโลกเดินทางกลับมา ก็พร้อมเลียแข้งเลียขา ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้เศษเงินทอง นำมาสนองความสุขสำราญ ใช้ข้ออ้างความเจริญรุ่งเรืองของชุมชน โดยไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว ทอดทิ้งหลักศีลธรรม ตกเป็นทาสลัทธิบริโภคนิยม (Consumerism) ไม่ต่างจากการถูกล่าอาณานิคม (Neo-Colonialism)

ความประทับใจจาก Touki Bouki (1973) ทำให้ผมขวนขวายมองหาผลงานอื่นของผกก. Djibril Diop Mambéty พอค้นพบว่า Hyènes (1992) ได้รับการบูรณะเรียบร้อยแล้ว จะให้พลาดได้อย่างไร แค่ช็อตแรกๆก็อ้าปากค้าง ภาพสวยชิบหาย พยายามย้อมเหลือง-ทอง เพื่อสร้างความมันวาว เปร่งประกายให้กับสีผิวชาวแอฟริกัน แม้ลีลาการกำกับ ลูกเล่นภาพยนตร์จะไม่แพรวพราวเท่าผลงานก่อน แต่เนื้อเรื่องราวแฝงสาระข้อคิด มีความทรงคุณค่ายิ่งๆนัก


Djibril Diop Mambéty (1945-1998) นักกวี นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Senegalese เกิดที่ Colobane ชานเมืองหลวง Dakar, Senegal ในครอบครัวมุสลิม ชนเผ่า Lebou แม้ฐานะยากจนแต่มักหาโอกาสรับชมภาพยนตร์ฉายกลางแจ้ง บางครั้งไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปข้างใน แค่เพียงฟังเสียงอยู่ข้างนอกก็ยังดี (นั่นคือหนึ่งในอิทธิพลที่ทำให้เสียงในผลงานของ Mambéty มีความสำคัญอย่างมากๆ) โตขึ้นเข้าร่วมคณะการแสดง Théâtre National Daniel-Sorano แต่ไม่ทันไรกลับถูกไล่ออกเพราะทำผิดวินัยร้ายแรง

แม้ไม่เคยร่ำเรียนอะไรเกี่ยวกับภาพยนตร์ ด้วยความหลงใหลใน Italian Neorealist และ French New Wave เมื่อตอนอายุ 21 ปี ขอหยิบยืมกล้อง 16mm จาก French Cultural Centre ร่วมกับผองเพื่อนถ่ายทำหนังสั้น Badou Boy (1966) [แล้วรีเมค Badou Boy (1970)] บันทึกการเดินทางของชายหนุ่ม Badou Boy ตามท้องถนนหนทางเมือง Dakar [น่าจะได้แรงบันดาลใจจาก Borom Sarret (1963) ของ Ousmane Sembène] เข้าฉายเทศกาลหนัง Mondial des Arts Nègres (จัดที่ Dakar) ได้รับคำชื่นชมอย่างล้นหลาม

หลังเสร็จสร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Touki Bouki (1973) ผกก. Mambéty ก็สูญหายตัวไปอย่างลึกลับกว่า 15+ ปี ผมไม่สามารถหาข้อมูลได้ว่าเอาเวลาไปทำอะไร (คงคล้ายๆ Terrence Malick ที่ก็หายตัวไปเกือบ 20 ปี น่าจะออกค้นหาตัวตนเองกระมัง) บทสัมภาษณ์ที่พบเจอให้คำอธิบายประมาณว่า

I loved pictures when I was a very young boy — but pictures didn’t mean cinema to me then. When I was young, I preferred acting to making pictures. So I decided to study drama, but one day in the theater, I realized that I love pictures. That was how I found myself in this thing called cinema. From time to time, I want to make a film, but I am not a filmmaker; I have never been a filmmaker.

Djibril Diop Mambéty

ผกก. Mambéty หวนกลับมายุ่งเกี่ยวกับภาพยนตร์อีกครั้ง จากการช่วยงานเพื่อนผกก. Idrissa Ouedraogo ถ่ายทำภาพยนตร์ Yaaba (1989) ซึ่งระหว่างนั้นเจ้าตัวยังได้ถ่ายทำสารคดีขนาดสั้น บันทึกเบื้องหลังการถ่ายทำ Parlons Grand-mère (1989)

สำหรับ Hyènes (1992) มีจุดเริ่มต้นจากความต้องการติดตามหา(จิตวิญญาณ)ตัวละคร Anta จากภาพยนตร์ Touki Bouki (1973) ที่ตอนจบตัดสินใจขึ้นเรือออกเดินทางสู่ฝรั่งเศส (ไม่ใช่ค้นหานักแสดง Mareme Niang ที่รับบท Anta นะครับ) อยากรับรู้ว่าเมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน โชคชะตาของเธอจะปรับเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร

I began to make Hyènes when I realized I absolutely had to find one of the characters in Touki Bouki, which I had made twenty years before. This is Anta, the girl who had the courage to leave Africa and cross the Atlantic alone. When I set out to find her again, I had the conviction that I was looking for a character from somewhere in my childhood. I had a vision that I already had encountered this character in a film. Ultimately, I found her in a play called The Visit (1956) by Friedrich Dürrenmatt. I had the freedom and confidence to marry his text with my film and make his story my own.

หลังจากใช้เวลาครุ่นคิดค้นหาอยู่สักพักใหญ่ๆ ผกก. Mambéty ก็ได้ค้นพบ(จิตวิญญาณ)ตัวละคร Anta อยู่ในบทละคอนสามองก์ แนวกึ่งโศกนาฏกรรมกึ่งสุขนาฏกรรม (Tragi-Comedy) เรื่อง The Visit (1956) แต่งโดย Friedrich Dürrenmatt (1921-90) นักเขียนชาว Swiss ทำการแสดงรอบปฐมทัศน์ ณ Schauspielhaus Zürich, Switzerland เมื่อปี ค.ศ. 1956 ประสบความสำเร็จจนมีโอกาสเดินทางไป West-End และ Broadway ในปีถัดๆมา

เกร็ด: ชื่อเต็มๆของบทละคอนนี้คือ (เยอรมัน) Der Besuch der alten Dame, (ฝรั่งเศส) La visite de la vieille dame, (อังกฤษ) The Visit of the Old Lady

เกร็ด 2: ก่อนหน้านี้มีการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ The Visit (1964) กำกับโดย Bernhard Wicki, นำแสดงโดย Ingrid Bergman และ Anthony Quinn เสียงตอบรับค่อนข้างดี แต่กลับไม่ทำเงินสักเท่าไหร่ อาจเพราะมีการปรับเปลี่ยนตอนจบ Happy Ending สไตล์ Hollywood

อธิบายแบบนี้หลายคนคงครุ่นคิดว่า Hyènes (1992) คือภาคต่อ(ทางจิตวิญญาณ)ของ Touki Bouki (1973) แต่ผกก. Mambéty ไม่ได้จำกัดตนเองอยู่ภายในกรอบนั้น รวมถึงการดัดแปลงบทละคอน The Visit ที่ก็มีเพียงพล็อตดราม่าหลวมๆ แต่รายละเอียดอื่นๆล้วนคืออิสรภาพในการสร้างสรรค์ วิสัยทัศน์ของผู้สร้างในการถ่ายทอดเรื่องราวออกมา

I focused on the notion of freedom, which includes the freedom not to know. That implies confidence in your ability to construct images from the bottom of your heart. When artists converge on these images, there is no longer room for ethnic peculiarities; there is only room for talent. You mustn’t expect me to cut the patrimony of the mind into pieces and fragments. A film is a kind of meeting; there is giving and receiving. Now that I have made it, Hyènes belongs as much to the viewer as to me. You must have the freedom and confidence to understand and critique what you see.


เรื่องราวของมหาเศรษฐีนี Linguere Ramatou ผู้มีความร่ำรวยยิ่งกว่าธนาคารโลก ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเกิด ณ Colobane, Senegal ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากบรรดาชาวเมือง รวมถึงคนรักเก่า Dramaan Drameh คาดหวังให้เธอช่วยกอบกู้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ เมืองแห่งนี้ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง

แต่สิ่งที่ Linguere Ramatou เรียกร้องขอต่อชาวเมือง Colobane คือการเข่นฆาตกรรมอดีตคนรัก Dramaan Drameh เล่าว่าเมื่อตอนอายุ 17 โดนข่มขืนจนตั้งครรภ์ แล้วถูกขับไล่ ผลักไส กลายเป็นโสเภณี แล้วยังต้องเดินทางจากบ้านเกิดไปแสวงโชคยังต่างแดน

ในตอนแรกๆชาวเมืองต่างปฏิเสธเสียงขันแข็ง ด้วยข้ออ้างหลักศีลธรรมที่ยึดถือปฏิบัติมาช้านาน จะให้เข่นฆ่าพวกพ้องมิตรสหายได้อย่างไรกัน นั่นทำให้ Linguere Ramatou ค่อยๆเอาวัตถุ ข้าวของ พัดลม ตู้เย็น ฯ สารพัดสิ่งอำนวยสะดวกสบายมาล่อซื้อใจ รวมถึงเศรษฐกิจของเมือง Colobane กลับมาเฟื่องฟู รุ่งเรือง นั่นทำให้ความครุ่นคิดของชาวเมืองค่อยๆผันแปรเปลี่ยน ก่อนในที่สุดจะตัดสินใจ …


ผกก. Mambéty โอบรับแนวคิดของ Italian Neorealism เลยเลือกใช้นักแสดงสมัครเล่นทั้งหมด ไม่เคยมีประสบการณ์ภาพยนตร์มาก่อน ล้วนคือชาวเมือง Colobane ที่มีรูปร่างหน้าตาใกล้เคียงภาพลักษณ์ตัวละคร

  • Dramaan Drameh (รับบทโดย Mansour Diouf) เจ้าของร้านขายของชำ ภายนอกเป็นคนอัธยาศัยดี มีไมตรีต่อเพื่อนพ้อง ขณะเดียวกันแอบหวาดกลัวภรรยา พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อปกป้องชื่อเสียง ไม่ต้องการถูกตีตรา มีปัญหาเรื่องรักๆใคร่ๆ นั่นเพราะในอดีตเคยตกหลุมรัก แอบสานสัมพันธ์ Linguère Ramatou พลั้งพลาดทำเธอตั้งครรภ์ จ่ายสินบนให้พยานสองคน เพื่อตนเองจะได้รอดพ้นมลทิน
    • ผมไม่สามารถหารายละเอียดใดๆเกี่ยวกับ Mansour Diouf แต่ความน่าสนใจคือภาพลักษณ์ที่ดูไม่เหมือนบุคคลโฉดชั่วร้าย แถมยังอัธยาศัยดี มีมิตรไมตรีต่อเพื่อนพ้อง คำกล่าวอ้างของ Linguère Ramatou หลายคนอาจรู้สึกฟังไม่ขึ้น หลักฐานไม่เพียงพอ เกิดความสงสารเห็นใจ เหมือนถูกกลั่นแกล้ง/ผลกรรมตามทัน ท่าทางห่อเหี่ยว สิ้นหวัง ค่อยๆยินยอมรับสภาพความจริง เตรียมตัวเตรียมใจ ไม่มีอะไรจะพูดก่อนตาย
  • Linguère Ramatou (รับบทโดย Ami Diakhate) หญิงสูงวัยผู้พานเคยผ่านอะไรมามาก หลังโดนข่มขืน ตั้งครรภ์ ถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้าน กลายเป็นโสเภณี ไต่เต้าจนกลายเป็นเศรษฐีนี หลังเอาตัวรอดจากเหตุการณ์เครื่องบินตก แขน-ขาพิการ ทำให้เธอตัดสินใจหวนกลับบ้านเกิดเพื่อล้างแค้น เอาคืน ไม่มีอะไรให้หวาดกลัวเกรงความตาย
    • ผมอ่านเจอว่าผกก. Mambéty พบเจอ Ami Diakhate เป็นแม่ค้าขายซุป (น่าจะก๋วยเตี๋ยว) อยู่ในตลาดเมือง Daker ด้วยน้ำเสียงหยาบกระด้าง เหมือนคนกร้านโลก พานผ่านอะไรมามาก และท่าทางเริดเชิด เย่อหยิ่งยโสโอหัง เหมาะกับบทนางร้าย มหาเศรษฐีนี จิตใจเลวทราม พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อแก้ล้างแค้น โดยไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว อะไรทั้งนั้น
  • ผกก. Mambéty ยังรับบทตัวละครชื่อ Gaana ทีแรกผมนึกว่าคือบอดี้การ์ดของ Linguère Ramatou แต่แท้จริงแล้วคืออดีตผู้นำหมู่บ้าน Colobane ถูกใส่ร้ายป้ายสีหรืออะไรสักอย่าง ทำให้สูญเสียตำแหน่งของตนเอง ซึ่งก็ไม่รู้มีโอกาสไปพบเจอ ต่อรองอะไรถึงยินยอมร่วมมือกับ Ramatou เพื่อทำการยึดครอบครอง Colobane ปรับเปลี่ยนสถานที่แห่งนี้ให้กลายเป็น …
    • ผมยังครุ่นคิดไม่ตกว่าทำไมผกก. Mambéty ถึงตัดสินใจเลือกรับบทบาทนี้ เหมือนตัวเขามีความเพ้อฝัน อยากจะฟื้นฟูบ้านเกิด Colobane ให้มีความรุ่งเรือง ไม่ใช่เสื่อมโทรมอย่างที่อาจเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น

ผมอ่านเจอว่าต้นฉบับบทละคร The Visitor ตัวละครมหาเศรษฐีนี Claire Zachanassian เพราะมีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก เมื่อหวนกลับบ้านเกิดจึงมีพวกนักข่าว ปาปารัสซี่ ติดสอยห้อยติดตาม ถ่ายภาพทำข่าวไม่ยอมเหินห่าง แต่ภาพยนตร์ของผกก. Mambéty เลือกตัดทิ้งความวุ่นๆวายๆนั้นไป ปรับเปลี่ยนมาเป็นบอดี้การ์ด และสาวรับใช้ 3-4 คน (หรือชู้รักก็ไม่รู้นะ) หนึ่งในนั้นคือหญิงชาวญี่ปุ่น ซึ่งดูผิดแผกแปลกประหลาดมากๆ เหตุผลก็คือ …

The point is not that she is Asian. The point is that everyone in Colobane–everyone everywhere–lives within a system of power that embraces the West, Africa, and the land of the rising sun. There is a scene where this woman comes in and reads: she reads of the vanity of life, the vanity of vengeance; that is totally universal. My goal was to make a continental film, one that crosses boundaries. To make Hyènes even more continental, we borrowed elephants from the Masai of Kenya, hyenas from Uganda, and people from Senegal. And to make it global, we borrowed somebody from Japan, and carnival scenes from the annual Carnival of Humanity of the French Communist Party in Paris. All of these are intended to open the horizons, to make the film universal. The film depicts a human drama. My task was to identify the enemy of humankind: money, the International Monetary Fund, and the World Bank. I think my target is clear.

Djibril Diop Mambéty

ถ่ายภาพโดย Matthias Kälin (1953-2008) ตากล้องถ่ายทำภาพยนตร์/สารคดี สัญชาติ Swiss ผลงานเด่นๆ อาทิ Yaaba (1989), สารคดี Lumumba: Death of a Prophet (1991), Hyènes (1992) ฯ

งานภาพของหนังอาจไม่ได้แพราวพราวด้วยลูกเล่น ลีลาภาพยนตร์เหมือนกับ Touki Bouki (1973) แต่มีการย้อมสีเหลือง-ทอง เพื่อสร้างความมันวาว กลมกลืนเข้ากับพื้นหลังดินลูกรัง ทะเลทราย และยังทำให้สีผิวชาวแอฟริกันดูโดดเด่น เปร่งประกาย … กล้องที่ไม่ค่อยขยับเคลื่อนไหว หรือดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ทำให้ผู้ชมสัมผัสเหือดแห้ง อดอยากปากแห้ง ดินแดนขาดความสดชื่น ไร้ชีวิตชีวา

การมาถึงของมหาเศรษฐีนี Linguère Ramatou แม้นำพาพัดลม โทนสีฟ้า น้ำทะเล รวมถึงสีสันอื่นๆที่ทำให้ดูร่มเย็น คลายความร้อนจากแสงแดดแผดเผาชาวเมือง Colobane แต่ขณะเดียวกันกลับสร้างความลุ่มร้อน มอดไหม้ทรวงใน เพราะข้อเรียกร้องของเธอบ่อนทำลายจิตวิญญาณผู้คน กำลังจะสูญสิ้นความเป็นมนุษย์


ทีแรกผมก็แอบงงๆ เพราะหนังชื่อ Hyènes (1992) แต่ภาพช็อตแรกกลับถ่ายให้เห็นฝูงช้างแอฟริกันกำลังอพยพ ก้าวออกเดิน ก่อนตัดมาภาพฝูงชนชาว Colobane ก็กำลังก้าวเดินเช่นกัน นี่เป็นความพยายามเปรียบเทียบคู่ขนานระหว่างมนุษย์ = สัตว์ เป็นภาษาภาพยนตร์ที่จะพบเห็นได้บ่อยครั้ง!

ไฮไลท์คือชื่อหนัง Hyènes ปรากฎขึ้นระหว่างฝูงชนกลุ่มนี้กำลังก้าวเดินขึ้นมา นี่เป็นการเปรียบเทียบอย่างตรงไปตรงมาเลยว่ามนุษย์ = ไฮยีน่า

แซว: มันไม่ใช่ว่าภาพสรรพสัตว์เหล่านี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปใน Colobane, Senegal แต่ผกก. Mambéty เดินทางไปขอถ่ายทำสัตว์เหล่านี้ทั่วแอฟริกัน Kenya, Uganda ฯ

To make Hyènes even more continental, we borrowed elephants from the Masai of Kenya, hyenas from Uganda, and people from Senegal.

Djibril Diop Mambéty

เรื่องราวส่วนใหญ่ของหนังดำเนินเรื่องยังร้านอาหาร ขายของชำ สถานที่แห่งความวุ่นๆวายๆ ชิบหายวายป่วน ชวนให้ผมนึกถึงโรงเตี๊ยมของหนังจีน(กำลังภายใน) นี่แสดงให้เห็นว่าแม้วัฒนธรรม ชาติพันธุ์แตกต่างกัน แต่วิถีของมนุษย์ไม่ว่าจะซีกโลกไหน ล้วนมีบางสิ่งอย่างละม้ายคล้ายคลึงกัน

ผู้นำหมู่บ้านนักเรียกประชุมแกนนำ สำหรับวางแผนเตรียมการต้อนรับ Linguère Ramatou ยังสถานที่ที่ชื่อว่า “Hyena Hole” แค่ชื่อก็บอกใบ้อะไรหลายๆอย่าง ซึ่งก่อนนำเข้าฉากนี้ยังพบเห็นฝูงอีแร้งบินโฉบลงมา มันคือสัตว์ชอบกินเศษเนื้อที่ตายแล้ว พฤติกรรมไม่แตกต่างจากไฮยีน่าสักเท่าไหร่ (อีแร้งฝูงนี้ = แกนนำหมู่บ้าน)

สถานที่แห่งนี้ “Hyena Hole” ยังมีสภาพปรักหักพัง ซึ่งแสดงถึงความเสื่อมทรามของเมือง Colobane ไม่ใช่แค่สภาพเศรษฐกิจ สังคม ยังผู้คนเหล่านี้ที่ทำตัวลับๆล่อๆ พูดคุยวางแผนที่จะแสวงหา กอบโกยผลประโยชน์จากเศรษฐีนี Ramatou ไม่ต่างจากพวกอีแร้งนี้สักเท่าไหร่

หนึ่งในการตัดต่อคู่ขนานที่งดงามอย่างมากๆ อยู่ระหว่างพิธีต้อนรับ Linguere Ramatou มีการล้อมเชือดวัว และหญิงชุดแดงทำการโยกเต้นเริงระบำ (ทำเหมือนยั่ววัว) ด้วยท่าทางอันสุดเหวี่ยงของเธอ สะท้อนการต่อสู้ดิ้นรนของเจ้าวัวที่ไม่ต้องการถูกเชือด ก่อนท้ายสุดจะดับดิ้น สิ้นชีวิน

ซีเควนซ์นี้ถือเป็นอารัมบท นำเข้าสู่เหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับ Dramaan Drameh จู่ๆตกเป็นบุคคลเป้าหมายของ Linguère Ramatou และช่วงท้ายไคลน์แม็กซ์ของหนัง บรรดาชาวบ้านทั้งหลายก็ห้อมล้อมเข้าหาชายคนนี้ โชคชะตาไม่ต่างจากเจ้าวัวกระทิง!

ผมเรียกว่า “Citizen Kane style” มุมก้ม-เงย ตำแหน่งสูง-ต่ำ แสดงถึงวิทยฐานะทางสังคมของตัวละคร ซึ่งในบริบทของหนังนี้ Linguère Ramatou พอกลายเป็นมหาเศรษฐีนี ก็ได้รับการยกย่องเทิดทูน ยืนอยู่เบื้องบน ทำตัวสูงส่งกว่าชาวบ้าน Colobane แทบจะไร้สิทธิ์เสียง ทำได้เพียงก้มหัวศิโรราบ แม้ครั้งนี้ศักดิ์ศรียังค้ำคอ แต่อีกไม่นานทุกคนจักถูกซื้อใจ จนไม่หลงเหลือความเป็นมนุษย์อีกต่อไป

หลังจากค้นพบว่าตำรวจ และผู้นำหมู่บ้าน ถูกซื้อใจไปเรียบร้อยแล้ว Dramaan Drameh เดินลงมาชั้นล่าง สถานที่ประกอบพิธีมิสซาศาสนาคริสต์ คาดหวังว่าสถานที่แห่งนี้คงไม่ได้รับผลกระทบ เงินซื้อไม่ได้ แต่กลับกลายเป็น … กล้องถ่ายผ่านโคมระย้า หรูหรา ราคาแพง พบเห็นใบหน้าของ Drameh สอดแทรกอยู่ตรงกลาง สื่อถึงการถูกห้อมล้อมทุกทิศทาง จนแทบไร้หนทางออก

ยามดึกดื่น Dramaan Drameh ต้องการจะขึ้นรถไฟ หลบหนีไปจากเมืองแห่งนี้ แต่กลับถูกปิดกั้นโดยชาวเมือง กรูเข้ามาห้อมล้อม ทำตัวไม่ต่างจากฝูงไฮยีน่าที่กำลังเฝ้ารอคอยเหยื่ออันโอชา จนกระทั่งรถไฟเคลื่อนออกจากชานชาลา นั่นทำให้เขาเกิดความตระหนักรับรู้ตนเองว่า คงไม่สามารถหลบหนีพ้นโชคชะตา

ซึ่งระหว่างกำลังนั่งเหม่อมองพระอาทิตย์ขึ้น มีการแทรกภาพไฮยีน่าตัวหนึ่งกำลังคาบเหยื่อวิ่งหลบหนี … Dramaan Drameh ตกเป็นเหยื่อของ Linguère Ramatou เรียบร้อยแล้วสินะ!

ก่อนเข้าพิธีละหมาดวันศุกร์ ผู้นำหมู่บ้านและครูสอนหนังสือ เดินทางมาพูดคุยต่อรองกับ Linguère Ramatou ร้องขอให้เปิดโรงงาน เพื่อว่าเศรษฐกิจของเมืองจะได้กลับมาเฟื่องฟู แต่เธอกลับบอกปัดปฏิเสธ เพราะจุดประสงค์แท้จริงไม่ได้ต้องการแค่จะล้างแค้น Dramaan Drameh แต่ยังต้องการให้ชาวเมือง Colobane ติดหนี้ติดสิน ยากจนตลอดชีวิต!

เมื่อเธอพูดประโยคดังกล่าว มีการฉายภาพพระอาทิตย์ทรงกลด ผมไม่ค่อยแน่ใจความเชื่อของชาวแอฟริกัน เป็นไปได้ว่าอาจจะสื่อถึงลางร้าย หายนะ ภัยพิบัติที่กำลังมาเยี่ยมเยือน หรือก็คือโศกนาฎกรรมบังเกิดขึ้นกับชาวเมือง Colobane

ด้วยความที่ครูสอนหนังสือตระหนักรับรู้โชคชะตาของ Dramaan Drameh จึงเดินทางมาดื่มเหล้า มึนเมา โหวกเหวกโวยวาย รับไม่ได้กับเหตุการณ์บังเกิดขึ้น จากนั้นจิตรกรเอารูปภาพวาด (ของ Dramaan Drameh) ฟาดใส่ศีรษะ ห้อยคอต่องแต่ง แสดงถึงการสูญเสียตัวตน จิตวิญญาณ (ภาพวาดมักคือภาพสะท้อนตัวตน จิตวิญญาณของบุคคลนั้นๆ)

Dramaan Drameh เดินทางมาพูดคุยต่อรองกับ Linguère Ramatou นั่งอยู่บนดาดฟ้า เหม่อมองออกไปยังท้องทะเลกว้างไกล ภาพนี้ชวนให้ผมนึกถึง Le Mépris (1963) ของผกก. Jean-Luc Godard และคุ้นๆว่า Touki Bouki (1973) ก็มีช็อตคล้ายๆกัน งดงามราวกับสรวงสวรรค์ แต่แท้จริงนั้นคือสัญลักษณ์ความตาย กลายเป็นนิจนิรันดร์

และวินาทีที่ Dramaan Drameh ถูกห้อมล้อม เข่นฆาตกรรม Linguère Ramatou ก็ก้าวเดินลงบันได ภายในเงามืด ซึ่งก็สามารถสื่อนัยยะถึงความตาย ลงสู่ขุมนรก ไม่แตกต่างกัน!

สถานที่แห่งนี้ชื่อว่า Elephant Cementery ชาวเมืองต่างสวมใส่วิกผม เสื้อกระสอบ ทาแป้งให้หน้าขาว เลียนแบบผู้พิพากษาของพวกยุโรป/สหรัฐอเมริกา ทำการตัดสินความผิดของ Dramaan Drameh อะไรก็ไม่รู้ละ แต่ลงโทษประหารชีวิตด้วยการห้อมล้อมกันเข้ามา แลดูเหมือนการย้ำเหยียบของฝูงช้าง หรือจะมองว่าคือการกัดแทะของไฮยีน่า (เพราะไม่หลงเหลือแม้เศษซากโครงกระดูก)

The people of Colobane are dressed in rice bags. They are hungry; they are ready to eat Draman Drameh. They are all disguised because no one wants to carry the individual responsibility for murder. So what they have in common is cowardice. For each individual to have clean hands, everybody has to be dirty, to share in the same communal guilt. So the people of Colobane become animals. Their hair makes them buffaloes. The only thing they have that is human is greed.

Djibril Diop Mambéty

หลังถูกกัดกินจากความละโมบโลภมากของชาวเมือง Colobane สิ่งหลงเหลือสำหรับ Dramaan Drameh มีเพียงเศษผ้าขี้ริ้ว ที่จะถูกรถแทรคเตอร์ดันดินลูกรังเข้ามากลบทับ จนราบเรียบ ไม่หลงเหลืออะไรสักสิ่งอย่าง สัญลักษณ์ของการถูกกลืนกินโดยลัทธิบริโภคนิยม (Consumerism) และอาณานิคมใหม่ (Neo-Colonialism) และพบเห็นต้นไม้ลิบๆ รากเหง้าชาวแอฟริกันที่กำลังเลือนหาย สูญสลาย หมดสิ้นไป

ตัดต่อโดย Loredana Cristelli (เกิดปี 1957) เกิดที่อิตาลี แล้วไปร่ำเรียนการถ่ายภาพยัง Zürich ก่อนกลายมาเป็นผู้ช่วยตัดต่อภาพยนตร์ของ Alain Tanner, Jean-Luc Godard, Nicolas Gessnet, ผลงานเด่นๆ อาทิ Yaaba (1989), Hyènes (1992) ฯ

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Dramaan Drameh เจ้าของร้านขายของชำในเมือง Colobane, Senegal เมื่อได้ยินข่าวคราวการหวนกลับมาของมหาเศรษฐีนี Linguère Ramatou ได้รับมอบหมายจากผู้นำหมู่บ้านให้มาคอยต้อนรับขับสู้ หาวิธีการให้เธอช่วยฟื้นฟูดูแลเมืองแห่งนี้ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง แต่ผลลัพท์กลับแลกมาด้วยข้อเรียกร้องที่ทำให้ทุกคนเกิดอาการอ้ำอึ้ง กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

  • อารัมบท
    • เริ่มต้นด้วยคนงาน แวะเวียนมายังร้านขายของชำของ Dramaan Drameh
    • นำเสนอความยากจนข้นแค้นของเมือง Colobane
    • ผู้นำหมู่บ้านเรียกประชุมแกนนำ วางแผนเตรียมการต้อนรับ Linguère Ramatou
  • การหวนกลับมาของมหาเศรษฐีนี Linguère Ramatou
    • Linguère Ramatou เดินทางมาถึงพร้อมบอดี้การ์ดและสาวใช้ ได้รับการต้อนรับยังสถานีรถไฟ
    • Linguère Ramatou หวนระลึกความหลังกับ Dramaan Drameh
    • ระหว่างการเชือดวัว Linguère Ramatou ได้ป่าวประกาศข้อเรียกร้อง พร้อมมอบเงินจำนวนมหาศาลให้กับใครก็ตามที่ยินยอมเข่นฆ่า Dramaan Drameh
  • ชีวิตอันน่าเศร้าของ Dramaan Drameh
    • บรรดาชาวเมืองต่างได้รับสินบนจาก Linguère Ramatou แวะเวียนมายังร้านของ Dramaan Drameh จับจ่ายใช้สอยมือเติบโดยขอให้ขึ้นบัญชีเอาไว้
    • Dramaan Drameh พยายามขอความช่วยเหลือจากตำรวจ ผู้นำชุมชุน แต่ก็ค้นพบว่าทุกคนต่างถูกซื้อตัวไปหมดสิ้น
    • ชาวบ้านเข้าร่วมงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง ตรงกันข้ามกับ Dramaan Drameh ต้องการเดินทางไปจากหมู่บ้านแห่งนี้ แต่กลับถูกยื้อยั้ง หักห้าม ตกอยู่ในความสิ้นหวัง
  • ความจริงเริ่มปรากฎ สันดานธาตุแท้ของผู้คนได้รับการเปิดเผย
    • ผู้นำหมู่บ้านพยายามต่อรองร้องขอ Linguère Ramatou ให้เปิดโรงงาน เศรษฐกิจชุมชนจะได้กลับฟื้นคืน แต่เธอกลับบอกปัดปฏิเสธ
    • นั่นทำให้ครูสอนหนังสือตระหนักถึงหายนะที่กำลังจะคืบคลานเข้ามา ดื่มสุรามึนเมา เศร้ากับโชคชะตาของ Dramaan Drameh
    • Dramaan Drameh ถูกผู้นำหมู่บ้านเรียกประชุม ตัดสินโชคชะตา
    • การตัดสินโชคชะตาของ Dramaan Drameh

หนังอาจดำเนินเรื่องไปอย่างเชื่องช้า เพื่อให้ผู้ชมซึมซับบรรยากาศสถานที่ ความลุ่มร้อน แผดเผา จนมอดไหม้ทรวงใน แต่หลายๆครั้งยังมีการแทรกภาพสิงสาราสัตว์ ช้าง ม้า วัว (ไม่มีควาย) สุนัข ลิง ไฮยีนา ฯ เพื่อเปรียบเทียบในเชิงสัญลักษณ์ ไม่ก็สะท้อนถึงพฤติกรรมมนุษย์ขณะนั้นๆ

ซีเควนซ์ที่ผมชื่นชอบสุดก็คือขณะล้อมเชือดวัว (เพื่อเตรียมงานเลี้ยงฉลอง) มีการนำเสนอคู่ขนานชาวบ้านกำลังไล่ต้อน ห้อมล้อมรอบเจ้าวัว ตัดสลับกับหญิงสาวชุดแดงคนหนึ่ง กำลังโยกเต้นเริงระบำ ท่าทางดิ้นรน ตะเกียกตะกาย (เลียนแบบความตายของเจ้าวัว) จากนั้น Linguère Ramatou ป่าวประกาศข้อเรียกร้อง พร้อมมอบเงินจำนวนมหาศาลให้กับใครก็ตามที่ยินยอมเข่นฆ่า Dramaan Drameh … นัยยะเชิงสัญลักษณ์ของซีเควนซ์นี้ช่างละม้ายคล้ายสำนวนไทย ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’


เพลงประกอบโดย Wasis Diop (เกิดปี 1950) น้องชายผกก. Djibril Diop Mambéty สัญชาติ Senegalese, โตขึ้นเดินทางสู่ฝรั่งเศส ตั้งใจจะร่ำเรียนวิศวกรรม ก่อนหันเหความสนใจมาด้านดนตรี รวมกลุ่มกับ Umbañ U Kset ก่อตั้งวง West African Cosmos ไม่นานก็ออกมาฉายเดี่ยว โดดเด่นจากการผสมผสานดนตรีพื้นบ้าน (Senegalese Folk Song) เข้ากับ Jazz และ Pop Music, ก่อนแจ้งเกิดจากการทำเพลงประกอบภาพยนตร์ Hyènes (1992)

ทีแรกผมคาดหวังจะได้ยินบทเพลงพื้นบ้านแอฟริกัน แต่เริ่มต้นกลับเป็นดนตรี Pop บางบทเพลงก็เป็น Jazz ได้ยินเสียงคีย์บอร์ด เครื่องดนตรีไฟฟ้า ท่วงทำนองโหยหวน คร่ำครวญ ลากเสียงโน๊ตยาวๆ อาจต้องรับชมจนจบถึงค้นพบว่าหนังนำเสนอเรื่องราวอันน่าเศร้าสลด โศกนาฎกรรมที่สร้างความขัดแย้งภายในจิตใจ จะว่าไปให้ความรู้สึกคล้ายๆ Funeral Song ไว้อาลัยให้กับการสูญสิ้นจิตวิญญาณ ความเป็นมนุษย์

ปล. อัลบัมเพลงประกอบของ Wasis Diop ไม่ได้นำจากที่ใช้ในหนังมาใส่ทั้งหมด แต่มักทำการเรียบเรียง ปรับปรุงท่วงทำนองเสียใหม่ บางบทเพลงใส่เนื้อคำร้องเพิ่มเติม ฯ ยกตัวอย่าง Colobane ลองฟังเทียบกับ Opening Credit ในหนัง จะมีสัมผัสทางอารมณ์ที่แตกต่างกันพอสมควร

นอกจากลีลาตัดต่อที่ชอบแทรกภาพสารพัดสรรพสัตว์ บางบทเพลงประกอบยังใส่เสียง(หัวเราะ)ไฮยีน่า สิงสาราสัตว์ อย่างบทเพลง Dune นอกจากบรรเลงกีตาร์อันโหยหวน ทะเลทรายอันเวิ้งว่างเปล่า เหมือนได้ยินเสียงงูหางกระดิ่ง (จริงๆคือเสียงลูกแซก/ไข่เขย่า Maracas) ไม่เพียงเข้ากับบรรยากาศพื้นหลัง ยังสร้างสัมผัสอันตราย หายนะค่อยๆคืบคลานเข้ามา … เพลงนี้ดังขึ้นระหว่าง Dramaan Drameh นำพา Linguère Ramatou ไปหวนระลึกความหลังยังทะเลทราย บริเวณที่ทั้งสองร่วมรัก/ถูกข่มขืนกระทำชำเรา

เอาจริงๆหนังแทบไม่มีบทเพลงพื้นบ้านแอฟริกัน นอกเสียงจากคำร้องภาษา Wolof และการรัวกลองขณะเชือดวัว อาจเพราะต้องการแสดงให้ถึงการสูญเสียวิถีชีวิต วัฒนธรรม กำลังค่อยๆถูกกลืนกิน ตกเป็นทาสอาณานิคมรูปแบบใหม่ (Neo-Colonialism) ลุ่มหลงใหลการบริโภคนิยม (Consumerism) ในระบอบทุนนิยม (Capitalism)

The hyena is an African animal — you know that. It never kills. The hyena is falsehood, a caricature of man. The hyena comes out only at night; he is afraid of daylight always travels at night. The hyena is a permanent presence in humans, and that is why man will never be perfect. The hyena has no sense of shame, but it represents nudity, which is the shame of human beings.

After I unveiled this very pessimistic picture of human beings and society in their nakedness in Hyènes, I wanted to build up the image of the common people. Why should I magnify the ordinary person after this debauch of defects? The whole society of Colobane is made up of ordinary people. I do not want to remain forever pessimistic. That is why I have fished out cases where man, taken individually, can defeat money.

Djibril Diop Mambéty

แม้เรื่องราวจะมีพื้นหลัง Colobane, Senegal แต่เราสามารถเหมารวมถึงชาวแอฟริกัน ภายหลังการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ (ในช่วงปี ค.ศ. 1959-60) ถึงอย่างนั้นแทบทุกอดีตประเทศอาณานิคม กลับยังต้องพึ่งพาอาศัย รับความช่วยเหลือจากอดีตจักรวรรดินิยม ซึ่งโดยไม่รู้ตัวซึมซับรับอิทธิพลทางความคิด ทัศนคติสมัยใหม่ ถูกแทรกแซงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมท้องถิ่นค่อยๆสูญสิ้น กลืนกินวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม … มีคำเรียกอาณานิคมรูปแบบใหม่ (Neo-Colonialism)

เงิน กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของสังคม สิ่งที่ใช้แบ่งแยกผู้คน สถานะรวย-จน ชนชั้นสูง-ต่ำ รวมถึงความมีอภิสิทธิ์ชน ดูถูกเหยียดหยาม กดขี่ข่มเหงบุคคลต่ำต้อยด้อยค่ากว่าตน ยินยอมพร้อมทำทุกสิ่งอย่างโดยไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว หลักคำสอนศาสนา หรือแม้แต่กฎหมายบ้านเมือง เพื่อให้ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ กินหรูอยู่สบาย ตอบสนองตัณหาความใคร่ส่วนบุคคล

Hyènes (1992) เป็นอีกภาพยนตร์สัญชาติแอฟริกัน พยายามนำเสนอโทษทัณฑ์ของเงิน ลัทธิบริโภคนิยม (Consumerism) เหมารวมถึงระบอบทุนนิยม (Capitalism) เพราะการมีเงินทำให้ชีวิตสุขสบาย สามารถจับจ่ายใช้สอย ซื้อสิ่งข้าวของมาอำนวยความสะดวก ตอบสนองความพึงพอใจ จนท้ายที่สุดยินยอมละทอดทิ้งหลักศีลธรรม ความถูกต้องเหมาะสม สรรหาข้ออ้างเพื่อส่วนรวม แท้จริงแล้วกลับเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคลทั้งนั้น!

The film depicts a human drama. My task was to identify the enemy of humankind: money, the International Monetary Fund, and the World Bank. I think my target is clear.

ความร่ำรวยของ Linguère Ramatou ถือว่าได้มาอย่างโชคช่วย พร้อมๆกับการสูญเสียเกือบจะทุกสิ่งอย่าง (ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ) แต่แทนที่เธอจะบังเกิดความสาสำนึก นำมาเป็นบทเรียนชีวิต กลับเลือกโต้ตอบเอาคืน “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เป้าหมายแม้คือการเข่นฆาตกรรม Dramaan Drameh แท้จริงแล้วยังพยายามจะล้างแค้นชาวเมือง Colobane ด้วยการทำลายเศรษฐกิจ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เมื่อไม่มีงาน ไม่มีเงิน แล้วจะเอาที่ไหนใช้คืนหนี้สิน

ส่วนความตายของ Dramaan Drameh มันอาจฟังดูดี สมเหตุสมผล เสียสละบุคคลเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม แต่นั่นใช่หนทางถูกต้องหรือไม่? สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้หรือเปล่า? หรือเพียงความละโมบโลภมาก จนหน้ามืดตามัว มองไม่เห็นอนาคตที่มืดมิด สิ้นหวัง มันจึงเป็นความตลกร้าย คนที่สามารถทำความเข้าใจย่อมหัวเราะไม่ออกเลยสักนิด!

ภาพยนตร์ในทวีปแอฟริกัน น่าจะเป็นสิ่งหรูหรา ราคาแพง ยุคสมัยนั้นต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อย นั่นอาจคือเหตุผลหนึ่งที่ผกก. Mambéty ไม่ได้มีความกระตือรือล้นกับมันมากนัก จนกระทั่งช่วงทศวรรษ 90s ที่ค่ากล้อง ค่าฟีล์มราคาถูกลง เลยทำให้เขาเล็งเห็นโอกาสที่จะทดลองทำสิ่งใหม่ๆ สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคม แอฟริกันที่เปลี่ยนแปลงไป และสร้างค่านิยมชวนเชื่อรูปแบบใหม่

Africa is rich in cinema, in images. Hollywood could not have made this film, no matter how much money they spent. The future belongs to images. Students, like the children I referred to earlier, are waiting to discover that making a film is a matter of love, not money.


เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes แม้เสียงตอบรับจะดีเยี่ยม แต่กลับไม่สามารถคว้ารางวัลใดๆติดมือกลับมา ถึงอย่างนั้นก็ยังมีโอกาสเดินทางไปฉายตามเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆทั่วโลก

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 2K โดย Thelma Film AG ร่วมกับ Cinémathèque suisse และห้องแล็ป Eclair Cinema เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2017 เข้าฉาย 2018 Cannes Classic และสามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray ของค่าย Kino Lorber

เกร็ด: ผู้กำกับ Rungano Nyoni เคยกล่าวว่า Hyènes (1992) คือแรงบันดาลใจในการสรรค์สร้างภาพยนตร์ I Am Not a Witch (2017)

อาจเพราะความสำเร็จของ Touki Bouki (1973) ทำให้ผู้ชมส่วนใหญ่มองข้าม Hyènes (1992) ไม่ได้มีลูกเล่นภาพยนตร์น่าตื่นตาตื่นใจเทียบเท่า แต่ถ้าเอาเฉพาะเนื้อหาสาระ ผมคิดเห็นว่า Hyènes (1992) แฝงข้อคิด มีความทรงคุณค่ากว่ามากๆ

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ระหว่างจิตสามัญสำนึก หลักศีลธรรม vs. อำนาจของเงิน, ภาพยนตร์เรื่องนี้น่าจะสร้างความตระหนักให้กับผู้ชม บทเรียนเกี่ยวกับอำนาจของเงิน สะท้อนอิทธิพลของลัทธิทุนนิยม+บริโภคนิยม คนสมัยใหม่เชื่อว่าเงินสามารถซื้อได้ทุกสิ่งอย่าง มันช่างเป็นเรื่องน่าเศร้า ขำไม่ออกเลยสักนิด!

จัดเรต 13+ กับพฤติกรรมไฮยีน่า อดีตชั่วช้า การแก้แค้น และตัดสินด้วยศาลเตี้ย

คำโปรย | Hyènes ภาพยนตร์กึ่งสุขกึ่งโศกของ Djibril Diop Mambéty รสชาดของการแก้แค้นมันช่างหอมหวาน และขื่นขม ทำให้ผู้คนจมอยู่ในลัทธิบริโภคนิยม (Consumerism) ตกเป็นทาสอาณานิคมใหม่ (Neo-Colonialism)
คุณภาพ | กึ่สุกึ่
ส่วนตัว | ขื่นขม

Three Colours: White (1994)


Three Colours: White (1994) PolishFrench : Krzysztof Kieślowski ♥♥♥

ความเสมอภาคในโลกทัศน์ของ Krzysztof Kieślowski ถ้าเคยถูกใครกระทำอะไรมา ก็ต้องล้างแค้นเอาคืนอย่างสาสม ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน แต่โดยไม่สนวิธีการถูก-ผิด ดี-ชั่ว พร้อมจะกลับกลอก หลอกลวง คิดคดทรยศหักหลังแม้กระทั่งหญิงสาวคนรัก!

ในบรรดาไตรภาคสามสี Three Colours, Trois couleurs (French), Trzy kolory (Polish) ผลงานได้รับการพูดกล่าวถึงน้อยที่สุดก็คือสีขาว White, Blanc, Biały ด้วยลักษณะ Anti-Comedy ไม่ได้ต้องการให้ตลกแต่เต็มไปด้วยความขบขัน รวมถึงตรรกะเพี้ยนๆของผู้กำกับ Kieślowski ต่อวิธีการให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ ไต่เต้าถึงจุดสูงสุดชีวิต ที่ดูยังไงก็ขำไม่ออก!

ผมไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงกับการใช้คำกล่าวอ้าง ‘เสมอภาค’ แล้วโต้ตอบกลับสิ่งที่อีกฝั่งฝ่ายกระทำมา ต่อให้เคยถูกใช้ความรุนแรง โดนฟ้องหย่า ประจานว่านกเขาไม่ขัน ฯลฯ พฤติกรรมแก้ล้างแค้น (Revenge) มันคือโลกทัศน์อันคับแคบของผู้ขาดสติ ไร้จิตสามัญสำนึก ไม่สามารถครุ่นคิดหน้า-คิดหลัง โดยเฉพาะการใช้ข้ออ้างความรักต่อภรรยา เพื่อให้ฉันและเธอบังเกิดอารมณ์ทางเพศร่วมกัน O-o

อาจเพราะความตั้งใจของผู้กำกับ Kieślowski ต้องการเปรียบเทียบสถานะภาพ Poland ในมุมมองยุโรปตะวันตก (อาจโดยเฉพาะฝรั่งเศส) ที่ยุคสมัยนั้นใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product, GDP) เป็นดัชนีชี้วัดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ความเจริญมั่งคั่งของประชาชน (ตามแนวคิดระบอบทุนนิยม) ซึ่งประเทศฝั่งยุโรปตะวันออกที่เพิ่งปลดแอกคอมมิวนิสต์/แยกตัวจากสหภาพโซเวียต จะไปเรียนรู้กระบวนการธุรกิจดังกล่าวจากแห่งหนไหน? เลยถูกพวกหมาอำนาจประชาธิปไตยส่งสายตาดูถูกเหยียดหยาม (Racism)

what about equality? Is it because I don’t speak French that the court won’t hear my case?

Karol Karol

นี่เป็นประโยคที่ผู้ชมได้ยินมาตั้งแต่ Blue (1993) ติดตามมายัง White (1994) ไหนละความเสมอภาคตามคำขวัญประจำชาติฝรั่งเศส Liberté (Liberty), Égalité (Equality), Fraternité (Fraternity) มันช่างจอมปลอม หลอกหลวง โลกใบนี้ไม่ได้มีความเท่าเทียมอยู่เลยสักนิด!

ถ้าสักวันหนึ่งประเทศ Poland มีการเจริญเติบโตจนกลายเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก ก็คงอยากเอาคืน โต้ตอบกลับ แก้ล้างแค้นพวกหมาอำนาจประชาธิปไตย ด้วยสิ่งที่เคยได้รับการดูถูกเหยียดหยาม จนกว่าอีกฝั่งฝ่ายจะรู้สึกสาสำนึกแก่ใจ … แม้ตอนจบผู้กำกับ Kieślowski จะทำให้เหมือนว่าตัวละครได้รับบทเรียนจากการถูก ‘social humiliation’ จึงสามารถเข้าใจแนวคิดความเสมอภาคที่แท้จริง แต่วิธีการดำเนินไปจนถึงจุดนั้นมันขำไม่ออกจริงๆนะ


Krzysztof Kieślowski (1941-96) ผู้กำกับชาว Polish เกิดที่ Warsaw ในช่วงที่ Nazi Germany เข้ายึดครอบครอง Poland ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง, บิดาทำงานวิศวกรโยธา เลี้ยงดูบุตรชายตามแบบ Roman Catholic, พออายุ 16 ถูกส่งไปฝึกฝนอาชีพนักผจญเพลิง เพียงสามเดือนก็ตัดสินใจลาออก จากนั้นเข้าเรียน College for Theatre Technicians จบออกมาต้องการเป็นผู้กำกับละครเวที แต่เพราะไม่มีวุฒิปริญญาเลยไม่ได้รับการจ้างงาน เพื่อหลบหนีเกณฑ์ทหารจึงยื่นใบสมัครถึงสามรอบกว่าจะได้เข้าศึกษาต่อภาพยนตร์ยัง Łódź Film School

เกร็ด: ภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Krzysztof Kieślowski คือ Kes (1969) กำกับโดย Ken Loach

เริ่มต้นยุคแรก Early Work (1966-75), ด้วยการสรรค์สร้างสารคดี บันทึกภาพวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วๆไป The Office (1966), Tramway (1966), From the City of Łódź (1968), Factory (1970), จนกระทั่ง Workers ’71: Nothing About Us Without Us (1971) นำเสนอภาพการชุมนุมประท้วงหยุดงานเมื่อปี 1970 โดยไม่รู้ตัวเริ่มถูกทางการสั่งเซนเซอร์, Curriculum Vitae (1975) เลยแทรกใส่แนวคิดต่อต้านหน่วยงานรัฐ (Anti-Authoritarian) ทำให้โดนเพื่อนร่วมอาชีพตำหนิต่อว่า ถูกวิพากย์วิจารณ์อย่างรุนแรง

Polish Film Carrier (1975-88), ช่วงที่ Kieślowski เริ่มสรรค์สร้างผลงานที่ไม่ใช่สารคดี ภาพยนตร์เรื่องแรก Personnel (1975) ** คว้ารางวัล Grand Prize จากเทศกาลหนัง Mannheim International Filmfestival (ที่ประเทศ Germany), ติดตามด้วย The Scar (1976), Camera Buff (1979), Blind Chance (1981), No End (1984) และผลงานชิ้นเอก Dekalog (1988) ซีรีย์ฉายโทรทัศน์ความยาวสิบตอน ได้แรงบันดาลใจจากพระบัญญัติ 10 ประการ

International Film Carrier (1991-94), แม้ช่วงสุดท้ายในชีวิตและอาชีพการงานของ Kieślowski จะมีผลงานเพียง 4 เรื่อง แต่ล้วนประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ การันตีความเป็นตำนานผู้กำกับภาพยนตร์ The Double Life of Veronique (1991), Blue (1993), White (1994), Red (1994)


ทนายความ/นักเขียน Krzysztof Piesiewicz (รับรู้จักผู้กำกับ Kieślowski มาตั้งแต่ผลงาน No End (1985)) ระหว่างกำลังสรรค์สร้าง The Double Life of Veronique (1991) เป็นผู้เสนอแนะแนวคิดเกี่ยวสรรค์สร้างภาพยนตร์ไตรภาค โดยอ้างอิงจากคำขวัญประจำชาติฝรั่งเศส Liberté (Liberty), Égalité (Equality), Fraternité (Fraternity) เสรีภาพ เสมอภาพ ภราดรภาพ

The words [liberté, egalité, fraternité] are French because the money [to fund the films] is French. If the money had been of a different nationality we would have titled the films differently, or they might have had a different cultural connotation. But the films would probably have been the same.

Krzysztof Kieślowski

โดยความตั้งใจแรกเริ่มต้องการทำออกมาให้คล้ายๆ Dekalog (1988) ที่อ้างอิงพระบัญญัติสิบประการ (The Ten Commandments) สรรค์สร้างสิบเรื่องราวที่มีสาสน์สาระอ้างอิงพระบัญญัติทั้งสิบข้อ แต่หลังจากเริ่มต้นพัฒนาบท Blue พวกเขาก็ไม่ได้ใคร่สนใจอะไรเกี่ยวกับแนวคิดเสรีภาพ Liberté (Liberty) เลยสักนิด!

สำหรับ White กับแนวคิดเสมอภาค Égalité (Equality) สร้างขึ้นจากความรู้สึกของผู้กำกับ Kieślowski หลังจากประเทศ Poland ได้รับการปลดแอก/กลายเป็นไทจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ (เมื่อปี 1989) ด้วยความเชื่อว่าอะไรๆคงจะดีขึ้นโดยทันที แต่ในความเป็นจริงกลับมีอะไรๆให้ต้องเรียนรู้ปรับตัวอีกมากๆๆๆ แต่ปัญหาใหญ่สุดคือไม่ได้รับการยอมรับประเทศหมาอำนาจ (น่าจะโดยเฉพาะฝรั่งเศส) … อดีตเคยเป็นศัตรูสู้รบกันมานมนาน จะให้เปลี่ยนทัศนคติโดยทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว!

สิ่งที่ยุโรปตะวันออก (Eastern Bloc) และอดีตสหภาพโซเวียตไม่เคยเข้าใจมาก่อน (เพราะพวกเขาอยู่ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์มาหลายทศวรรษ) นั่นคือประชาธิปไตย=ระบอบทุนนิยม โลกตะวันตกได้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี จนก้าวรุดหน้าถึงไหนต่อไหน ถ้าให้เปรียบเทียบ Poland ก็ไม่ต่างจาก(ประเทศ)ชนบทหลังเขา ธุรกันดารห่างไกล แรกพบเห็นความแตกต่างย่อมบังเกิดอาการ ‘Cultural Shock’ เลยเป็นธรรมดาที่จะถูกคนเมืองผู้มั่งคั่งร่ำรวย (เชื่อว่าตนเอง)มีชีวิตสุขสบายกว่า มองด้วยสายตาดูถูกเหยียดหยาม (Racism)

วิถีของยุโรปตะวันตก คงสร้างความเกรี้ยวกราดอย่างรุนแรงให้ผู้กำกับ Kieślowski ตระหนักถึงความเสมอภาคที่เป็นหนึ่งในคำขวัญประเทศฝรั่งเศสนั้นไม่มีอยู่จริง! แต่ก็ครุ่นคิดต่อว่าทำอย่างไรถึงให้ได้มาซึ่งอุดมคตินั้น คำตอบที่ค้นพบคือแนวคิด “ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน” บุคคลจะสามารถเข้าใจความเท่าเทียม Égalité (Equality) จำต้องเคยได้รับประสบการณ์ลักษณะเดียวกันนั้นมาก่อน!

This is a narrative about equality understood as negation. The notion of equality suggests that we are all the same. I don’t think this is true. Nobody truly wishes to be equal. Everybody wants to be more equal than others.


เรื่องราวเริ่มต้นที่กรุง Paris, เมื่อนักตัดผมหนุ่ม Karol Karol (รับบทโดย Zbigniew Zamachowski) ผู้อพยพชาว Polish ถูกภรรยาสาวสวย Dominique (รับบทโดย Julie Delpy) สัญชาติ French ยื่นฟ้องศาลเพื่อทำการหย่าร้าง ด้วยคำกล่าวอ้างหลังแต่งงานไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ร่วมกัน

หลังจากศาลตัดสินให้ทั้งสองเลิกรา สิ่งหลงเหลือสำหรับ Karol มีเพียงกระเป๋าเสื้อผ้าหนึ่งใบ จำใจกลายเป็นขอทานยังสถานีรถไฟ บังเอิญได้พบเจอ Mikołaj (รับบทโดย Janusz Gajos) ให้ความช่วยเหลือพากลับ Poland ด้วยการแอบซ่อนอยู่ในกระเป๋าเดินทาง … เอาตัวรอดชีวิตใต้ท้องเครื่องบินได้ยังไงก็ไม่รู้เหมือนกัน

เมื่อเดินทางกลับถึงบ้าน Karol พยายามมองหาอาชีพใหม่ที่สามารถสร้างโอกาส ความก้าวหน้า กวาดซื้อที่ดินถูกๆแล้วขายต่อราคาสูงลิบลิ่วจนร่ำรวยเงินทอง แล้วนำไปลงทุนทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ประสบความสำเร็จกลายเป็นมหาเศรษฐี แต่เพราะยังครุ่นคิดถึงอดีตภรรยา จึงแสร้งว่าประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ทำให้เธอเดินทางมายัง Poland แล้วถูกตำรวจควบคุมตัว (เป็นผู้ต้องสงสัยว่าเข่นฆาตกรรมสามีเพื่อเงินมรดก) ชดใช้กรรมใดๆที่เคยกระทำเอาไว้


Zbigniew Zamachowski (เกิดปี 1961) นักแสดงสัญชาติ Polish เกิดที่ Brzeziny , ร่ำเรียนการแสดงจาก National Film School, Łódź เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 1981 มีชื่อเสียงในบทบาท Comedy ก่อนหน้านี้เคยร่วมงานผู้กำกับ Krzysztof Kieślowski ตอนที่สิบ Dekalog (1988) และ Three Colours: White (1994)

รับบท Karol Karol ช่างตัดผมชาว Polish เคยคว้ารางวัลชนะเลิศจากทุกๆการประกวด จนมาถึงฝรั่งเศสมีโอกาสพบเจอตกหลุมรัก Dominique Vidal แต่พอแต่งงานกลับไม่สามารถปรนเปรอปรนิบัติ นกเขาไม่ขัน เลยถูกเธอขับไล่ ฟ้องศาลขอเลิกรา หลงเหลือเพียงกระเป๋าเสื้อผ้า นั่นสร้างความเจ็บแค้นเคืองโกรธ กระเสือกกระสนจนสามารถเดินทางกลับ Poland แล้วครุ่นคิดแผนการล้างแค้นเอาคืน โดยไม่สนว่าสิ่งที่ทำนั้นถูก-ผิด ดี-ชั่ว ขอแค่ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง และเมื่อตนเอง(แสร้งว่า)ตายจากไป ผลกรรมทั้งหมดจะตกเป็นของเธอเพียงผู้เดียว!

คนที่ไม่เคยรับรู้จัก Zamachowski น่าจะตระหนักได้ทันทีว่าคือนักแสดงตลกสายเจ็บตัว (Slapstick Comedy) ชอบตีหน้าเซ่อ ทำตัวเอ๋อเหรอ รุกรี้รุกรน ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก แต่สามารถเรียกเสียงหัวเราะ สร้างความขบขันอย่างไร้เดียงสา แค่ท่วงท่าเดินก็ดูประหลาดๆเหมือน Chaplinesque (ชื่อตัวละคร Karol ภาษา West Slavic ตรงกับคำอังกฤษ Charles หรือ Carl)

เพราะเป็นหนังตลก (Anti-Comedy) การแสดงของ Zamachowski จึงไม่เน้นความสมจริง พยายามให้ดูเว่อๆเข้าไว้ (Over-Acting) ทั้งตอนดีใจ-เสียใจ ตกหลุมรัก โกรธเกลียดเคียดแค้น เมื่อสิ่งเหล่านี้มีมากล้นจนผู้ชมเริ่มจับต้องไม่ได้ จักแปรสภาพสู่นามธรรม (Abstact) ลัทธิเหนือจริง (Surrealist) นั่นน่าจะคือเป้าหมายของผู้กำกับ Kieślowski ในการสรรค์สร้างตัวละครนี้


Julie Delpy (เกิดปี 1969) นักแสดงสัญชาติ French-American เกิดที่ Paris เป็นบุตรของนักแสดง Albert Delpy และ Marie Pillet, เมื่ออายุเพียง 14 ปี พบเจอโดย Jean-Luc Godard เล่นบทสมทบ Détective (1985), แจ้งเกิดกับ La Passion Béatrice (1987), โด่งดังระดับนานาชาติจาก Europa Europa (1990), ผลงานเด่นๆ อาทิ Voyager (1991), Three Colours: White (1994), Before Trilogy, An American Werewolf in Paris (1997) ฯลฯ

รับบท Dominique Vidal ช่างตัดผมชาว French พบเจอตกหลุมรัก Karol ยังงานประกวดการตัดผมรายการหนึ่ง แต่หลังจากแต่งงานเขาไม่สามารถเติมเต็มความต้องการของตนเอง จึงตัดสินใจยื่นฟ้องศาลขอหย่าร้าง แล้วขับไล่เขาออกจากห้องพัก ค่ำคืนนั้นก็ร่วมรักกับชายแปลกหน้าโดยทันที … หลายวัน-เดือน-ปีถัดมา รับทราบข่าวคราวของอดีตสามี ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตจึงเดินทางสู่ Poland แต่หลังงานศพกลับถึงโรงแรม พบเห็นเขายังมีชีวิตอยู่ บังเกิดอารมณ์อย่างรุนแรงจนสามารถร่วมรักกับเขา แต่เช้าวันถัดมากลับถูกตำรวจควบคุมตัวในฐานะผู้ต้องสงสัยเข่นฆาตกรรมสามีเพื่อเงินมรดก พยายามอธิบายแต่ก็ตระหนักว่านี่คือการแก้แค้นเอาคืนของเขา

Delpy เคยมาทดสอบหน้ากล้อง The Double Life of Veronique (1991) แต่พลาดบทบาทดังกล่าวให้ Irène Jacob แต่เธอก็ยังอยู่ในใจผู้กำกับ Kieślowski จนมีโอกาสร่วมงาน Three Colours: White (1994) แม้เพียงบทบาทสมทบ ปรากฎตัวไม่นานเท่าไหร่ (ช่วงกลางเรื่องหายตัวไปเลยนะ) แต่ด้วยความเจิดจรัส เปร่งประกาย โดยเฉพาะเมื่อสาดแสงสีขาวดูราวกับเทพธิดา และเมื่อถูกปกคลุมด้วยความมืดมิดกลายเป็นซาตาน ต่างไม่มีใครสามารถอาจเอื้อมมือไขว่คว้า

แซว: Julie Delpy เล่าถึงความแม่นเปะของผู้กำกับ Krzysztof Kieślowski ในฉาก Sex Scene มีการบอกระยะเวลาว่าต้องครวญครางกี่วินาที ซึ่งเธอต้องค่อยๆไล่ระดับเสียงไปถึงจุดสูงสุดตรงตามนั้น

ผมรู้สึกเสียดายบทบาทของ Delpy มีน้อยยังไม่เท่าไหร่ แต่ไร้ความตื้นลึกหนาบาง คำอธิบายที่มาที่ไป แม้แต่บรรดานักวิจาณ์ยังมองว่าไม่แตกต่างจากวัตถุทางเพศ (Object of Desire) สนเพียงเรื่องรักๆใคร่ๆ ตอบสนองความต้องการหัวใจ และเพศสัมพันธ์! แค่นั้นเองนะเหรอ??

แต่ผมต้องกล่าวชมปัจฉิมบทของหนัง (ถ่ายเพิ่มเติมหลังปิดกองไปแล้ว) เมื่อตัวละครของ Delpy สื่อสารด้วยภาษามือ สามารถถ่ายทอดความสาสำนึก ตระหนักถึงแก่ใจ กลั่นออกมาจากความรู้สึกภายในได้อย่างทรงพลังมากๆ

You and I will leave together when I’ll get out of jail, right? Or we’ll stay here, together, and we’ll get married again.

คำแปลภาษามือของ Dominique Vidal

Janusz Gajos (เกิดปี 1939) นักแสดงสัญชาติ Polish เกิดที่ Dąbrowa Górnicza, โตขึ้นพยายามสมัครเรียน National Film School, Łódź เคยถูกปฏิเสธถึงสามครั้ง แต่สำเร็จการศึกษาด้วยผลการเรียนสูงสุด, จากนั้นมีผลงานละครเวที ภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ Man of Iron (1981), Interrogation (1982), Dekalog (1989), Escape from the ‘Liberty’ Cinema (1990), Three Colors: White (1994) ฯลฯ

รับบท Mikołaj ชายวัยกลางคน แต่งงานมีครอบครัว ไม่รู้ทำงานอะไรแต่ไร้ปัญหาเรื่องการเงิน ถึงอย่างนั้นกลับมีชีวิตที่น่าเบื่อหน่าย พยายามมองหาใครสักคนว่าจ้างให้มาเข่นฆาตกรรมตนเอง (พร้อมจ่ายค่าตอบแทนให้มหาศาล) จนกระทั่งพานพบเจอ Karol ยังสถานีรถไฟใต้ดิน Paris Métro หลังให้ความช่วยเหลือพากลับบ้านที่ Poland ได้รับการตอบแทนด้วยการยินยอมเป็นเพชรฆาต … วินาทีที่เสียงปืนลั่น คาดคิดว่าทุกอย่างคงจบสิ้น แต่ Karol กลับไม่ได้ใส่กระสุน นั่นทำให้ Mikołaj ราวกับได้ถือกำเนิดใหม่ ต่อจากนี้จะใช้เวลาที่หลงเหลืออย่างเต็มที่สุดเหวี่ยง ไม่ยี่หร่าอะไรใครอีกต่อไป

ผมอดไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึงตัวละครนี้ หนังไม่ได้อธิบายว่าเพราะอะไร ทำไม Mikołaj ถึงต้องการกระทำอัตวินิบาต (ถึงให้ผู้อื่นลงมือสังหาร แต่ในกรณีนี้ถือว่าเป็นการฆ่าตัวตายนะครับ) แต่หลังจากกระสุนเปล่า เสียงปืนลั่น วินาทีนั้นทำให้เขาตระหนักถึงคุณค่าของชีวิต ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่านี้อีกแล้ว!

เราสามารถเปรียบเทียบตัวละครนี้ถึงผู้กำกับ Kieślowski หลังรับรู้ว่าตนเองมีปัญหาโรคหัวใจ คงตกอยู่ในสภาพสิ้นหวัง หรืออาจเคยอยากจะฆ่าตัวตาย แต่เมื่อเริ่มบังเกิดสติ ครุ่นคิดทบทวน ตระหนักได้ว่าฉันควรใช้เวลาที่หลงเหลือให้คุ้มค่า ค้นพบเป้าหมายชีวิตของตนเอง ต่อจากนี้ไม่มีอะไรต้องหวาดสะพรึงกลัวอีกต่อไป!

แต่ผมงงๆกับหลังการเกิดใหม่ของ Mikołaj เหมือนหนังพยายามทำให้เขากลายเป็นลูกน้องของ Karol (ทั้งๆที่ควรคือหุ้นส่วน/เพื่อนร่วมงาน) เพราะมันดูดีในแง่การวิเคราะห์ถึงเรื่องราวที่กลับตารปัตร ครึ่งแรก-ครึ่งหลัง หน้ามือ-หลังมือ แต่เมื่อนำเสนอเช่นนั้นทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เริ่มเหินห่าง ไกลออกไป กลายเป็นตัวประกอบ ไม่หลงเหลือสิ่งน่าสนใจ


ถ่ายภาพโดย Edward Kłosiński (1943-2008) สัญชาติ Polish ร่ำเรียนการถ่ายภาพจาก National Film School, Lodz จบออกมาเป็นช่างภาพนิ่ง, Camera Operator, กระทั่งมีโอกาสร่วมงาน/กลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Andrzej Wajda ตั้งแต่ The Promised Land (1975), Man of Marbel (1977), Man of Iron (1981), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Illumination (1973), Camouflage (1977), Dekalog (1988), Europa Europa (1991), Three Colour: White (1994), Three Colour: Red (1994), Gloomy Sunday (1999) ฯลฯ

สำหรับ Kłosiński ถือเป็นอีกโคตรตากล้องชาว Polish ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ! อาจไม่ได้จัดจ้านด้วยเทคนิคลีลาเหมือน Sławomir Idziak หรือพานผ่านงานด้านสารคดีแบบ Jacek Petrycki (ทั้งสองคือขาประจำคนก่อนของ Kieślowski) แต่ประสบการณ์จากการร่วมงานหลากหลาย ทำให้สามารถปรับตัว ตอบสนองวิสัยทัศน์ของผู้กำกับได้อย่างครบเครื่อง

การใช้ชื่อไตรภาค Three Colours Trilogy ใครต่อใครมักคาดคิดว่าต้องมีการละเลงสีสันที่จัดจ้าน ละลานตา แต่สำหรับภาพยนตร์เรื่อง White (1994) สีขาวเป็นสีแห่งความบริสุทธิ์ มันจึงไร้เฉดที่ฉูดฉาด ซึ่งสร้างความจืดชืด เจือจาง ทำให้หนังแทบไม่มีความโดดเด่นด้านสีสันประการใด … แต่ถ้าใครช่างสังเกตจะพบว่าทุกช็อตฉากของหนัง ต้องมีอะไรสักอย่างที่เป็นสีขาวซุกซ่อนเร้นอยู่!

สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกต งานภาพส่วนใหญ่ของหนังมีการจัดแสงที่หยาบกระด้าง (Hard Light) เพื่อสะท้อนช่วงเวลาฤดูหนาว/หิมะตก และสภาพจิตใจตัวละครที่มีความหนาวเหน็บ ทนทุกข์ทรมาน (จากการถูกภรรยาทอดทิ้ง/ทรยศหักหลัง) ผู้ชมก็(อาจ)สัมผัสได้ถึงความยะเยือกเย็นชา

หนังถ่ายทำต่อเนื่องจาก Blue (1993) โดยเริ่มจาก Paris, France ประกอบด้วยที่ทำการศาล Palais de Justice, สถานีรถไฟ Paris Métro, ก่อนย้ายมา Warsaw, Poland ที่สถานีรถไฟ Warszawa Centralna, สุสาน Powązki Cemetery, โรงแรม Hotel Bristol ฯลฯ


ช็อตแรกของไตรภาค Three Colours Trilogy จะเริ่มต้นด้วยภาพการเดินทาง

  • Blue (1993) พบเห็นล้อรถกำลังขับเคลื่อนบนท้องถนน
  • White (1994) กระเป๋าเดินทาง (ที่ภายในมีใครบางคนหลบซ่อนตัวอยู่) และช็อตถัดมา Karol กำลังกึ่งเดินกึ่งวิ่งตรงไปยังที่ทำการศาล
  • Red (1994) การเดินทางของคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ จากต้นสายสู่ปลายสาย

การเดินทางด้วยกระเป๋าเดินทางของ White (1994) จริงๆแล้วจะเกิดขึ้นเมื่อเรื่องราวดำเนินผ่านไปประมาณหนึ่งในสาม ซึ่งถ้าเรามองว่านั่นคือจุดเริ่มต้น (เพราะเป็นช็อตแรกของหนัง) เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกรุง Paris จะราวกับการย้อนอดีต (Flashback) แต่ผมแนะนำว่าให้มองข้ามเจ้ากระเป๋าเดินทางนี้ไปก่อนเลยก็ได้นะครับ

กระเป๋าเดินทาง มองในเชิงสัญลักษณ์คือสัมภาระ/สิ่งข้าวของที่มีความจำเป็นจริงๆต่อการดำรงชีวิต แต่ละคนย่อมมีขนาดไม่เท่ากันขึ้นกับความหมกมุ่นยึดติด ลุ่มหลงใหลในมายาคติ … ภาพยนตร์ที่อธิบายแนวคิดกระเป๋าเดินทางได้เจ๋งสุดๆก็คือ Up in the Air (2009) ลองไปหาชมดูนะครับ

ใครเคยรับชมหลายๆผลงานของผู้กำกับ Kłosiński น่าจะสัมผัสได้ถึงสิ่งลี้ลับ เหนือธรรมชาติ แม้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็มักเกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครสามารถให้คำอธิบาย อย่างนกขี้หล่นใส่ Karol คือลางสังหรณ์แห่งความโชคร้าย (ที่ใครๆก็ต่างรู้กัน) เป็นการบอกใบ้ ชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดคาดเดา อะไร(ร้ายๆ)จะบังเกิดขึ้นกับตัวละครต่อจากนี้

ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติของผู้กำกับ Kłosiński เหมือนได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ Blind Chance (1981) ที่เกี่ยวกับโชคชะตา หนทางเลือก ก่อนจะเริ่มชัดเจนตอน No End (1985) ปรากฎภาพวิญญาณล่องลอย แอบให้ความช่วยเหลือภรรยาที่ยังมีชีวิต และเมื่อสรรค์สร้าง Dekalog (1988) อ้างอิงจากพระบัญญัติสิบประการ (The Ten Commandment) แสดงถึงถึงความศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า สัมผัสถึงพลังลึกลับที่แม้มองไม่เห็นแต่รับรู้ว่ามีอยู่จริง

ขณะที่โคมไฟสีขาว (สัญลักษณ์ของความเสมอภาค) ห้อยบนระย้าอยู่เบื้องบนชั้นศาล (ยกไว้เป็นคำขวัญเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม) แต่บนโต๊ะทำงานของผู้พิพากษากลับเป็นโคมคว่ำสีเขียว สัญลักษณ์ของสิ่งชั่วร้าย ความคอรัปชั่นภายในจิตใจ บ้างก็เปรียบว่าคือสีของธนบัตร สื่อให้มูลค่าความสำคัญกับบุคคลที่มีพื้นฐาน/สัญชาติเดียวกัน ถึงเรียกว่าเสมอภาคเท่าเทียม

หลายคนอาจมองว่าการเลิกราเพราะอีกฝ่ายนกเขาไม่ขัน มันช่างเป็นเรื่องน่าขบขัน🤣 แต่ถ้าครุ่นคิดให้ดีๆจะพบว่ามันไม่น่าหัวร่อตรงไหน😠 ที่ทั้งสองแต่งงานกันเพราะความรัก แล้วปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์มันเกี่ยวเนื่องอะไร? นี่แปลว่าทัศนคติของชาวตะวันตก Love=Sex แค่นั้นเองใช่ไหม???

คำตัดสินของศาลให้หย่าร้างด้วยข้ออ้างดังกล่าวเป็นสิ่งถูกต้องหรือไม่? เอาจริงๆมันบอกไม่ได้นะครับ รายละเอียดที่นำเสนอมาถือว่าน้อยเกินไป แต่เราไม่จำเป็นต้องไปรับรู้อะไรมากมายอย่างจริงๆจังๆ เพราะผู้กำกับ Kieślowski ต้องการทำให้หนังออกมาดูเว่อวัง เหนือจริง จับต้องไม่ได้ (Surreal) ด้วยเหตุผลเชิงสัญลักษณ์เสียมากกว่า

ใครที่เคยรับชม Blue (1993) ย่อมคาดหวังการปรากฎตัวของ Juliette Binoche คือหนึ่งในจุดเชื่อมโยงระหว่าง Three Colours Trilogy พอดิบพอดีกับที่ Karol กำลังพูดแสดงความไม่พึงพอใจต่อการตัดสินของศาล

what about equality? Is it because I don’t speak French that the court won’t hear my case?

Karol Karol

ในบริบทนี้เป็นการแสดงทัศนคติต่อความดูถูกเหยียดยาม (Racism) ที่ไม่ใช่แค่ชาวฝรั่งเศส (French) มีต่อคนโปแลนด์ (Polish) แต่ยังสามารถเหมารวมถึงกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก (Western European) vs. ยุโรปตะวันออก (Eastern Europena) แบ่งแยกกันด้วยกำแพงเบอร์ลิน ระหว่างประชาธิปไตย vs. คอมมิวนิวต์/อดีตพันธมิตรสหภาพโซเวียต

ผมไม่ค่อยแน่ใจนักว่าฉากนี้ถ่ายทำยังไง? คาดคิดว่าน่าจะใช้ฟิลเลอร์ที่มีสีขาวๆขุ่นๆ (ไม่รู้มีรึเปล่านะ หรืออาจจะทำขึ้นมาใหม่) และเปิดรูรับแสงให้กว้างๆ เพิ่มความฟุ้งๆ ขณะแสงจร้าๆ เพื่อทำให้ Julie Delpy งดงามราวกับเทพธิดา นางฟ้าลงมาจากสรวงสวรรค์ (แสงสีขาวยังทำให้ผมบลอนด์ของเธอดูเปร่งประกายยิ่งๆขึ้นอีก)

นี่เป็นภาพปรากฎขึ้นบ่อยครั้งขณะ Karol ครุ่นคิดถึงหญิงสาวคนรัก สามารถเปรียบเทียบกลับตารปัตรกับ Blue (1993) ทุกครั้งที่ Julie หวนระลึกถึงสามีผู้ล่วงลับจะมีการ Fade-to-Black เหมือนลมหายใจขาดห้วงไปชั่วขณะ … ทั้งเรื่องสื่อนัยยะเดียวกันถึงความยังหมกมุ่นครุ่นยึดติด ไม่สามารถปล่อยละวางจากความสูญเสีย/เลิกร้างรา

ในกรณีที่บัญชีโดนแช่แข็งหรือถูกปิด น่าจะเป็นปกติอยู่แล้วที่เจ้าหน้าที่พนักงานจะต้องทำลายบัตรเอทีเอ็ม/เครดิต ซึ่งวิธีการที่หนังใช้คือกรรไกรตัดฉับ สัญลักษณ์ของการแบ่งแยก ฝรั่งเศส vs. โปแลนด์ หรือดินแดนยุโรปตะวันตก vs. ตะวันออก จากกันด้วยมูลค่าการเงิน สถานะทางเศรษฐกิจ

นี่เป็นอีกฉากที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ใน Three Colours Trilogy ต่างพบเห็นคุณยายหลังค่อมกำลังพยายามยัดขวดลงถังขยะที่อยู่เหนือศีรษะ ซึ่งขณะนี้ Karol แม้ว่านั่งอยู่ใกล้มากๆ แต่กลับเพียงจับจ้องมอง หัวเราะหึๆ แทนที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ … เหตุผลที่เขาทำได้แค่มอง เพราะหนังต้องการสื่อว่าตัวเขาเองขณะนี้ยังเอาตัวไม่รอด จะไปมีน้ำใจช่วยเหลืออะไรใคร (แต่ถ้ามองในแง่มนุษยธรรม เรื่องแค่นี้มันก็แสดงถึงความเห็นแก่ตัวโคตรๆแล้วนะ!)

เพียงเพราะไม่สามารถเต็มเต็ม/ตอบสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน Dominique จึงตัดสินใจเผาผ้าม่านสีขาว (ผ้าม่าน=สิ่งที่ใช้ปกปิดไม่ให้คนนอกมองเห็นสิ่งที่อยู่ภายใน, การเผาผ้าม่าน=การเปิดเผยธาตุแท้ตัวตนออกมา ทำลายสัญลักษณ์ของความเสมอภาค) เพื่อขับไล่ Karol ออกไปจากร้านตัดผม/ประเทศฝรั่งเศสแห่งนี้

Karol นำเงินที่หลงเหลืออยู่น้อยนิดไปซื้อรูปปั้นดินเผา หน้าตาดูละม้าย(อดีต)ภรรยา Dominique ผิวพรรณซีดขาว ดูราวกับเทพธิดา แต่ไม่รู้ทำไมแวบแรกผมกลับเห็นเป็น Marianne บุคลาธิษฐานประจำชาติฝรั่งเศส (National Personification) สตรีเพศผู้เป็นตัวแทนแห่งเสรีภาพ … ซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบ Dominique = Marianne แทนด้วยสัญลักษณ์ประเทศฝรั่งเศส หลังจากเลิกราสามีก็เท่ากับได้รับเสรีภาพ (คล้ายๆกับ Blue (1993) ที่หลังการสูญเสียครอบครัว Julie ก็ถือว่าได้รับเสรีภาพ)

ปล. ชื่อตัวละคร Dominique มาจากภาษาละตินแปลว่า belonging to a lord หรือ of the Lord, เป็นของพระเจ้า หรือคือพระเจ้า (นางฟ้าจากสรวงสวรรค์ก็ได้กระมัง)

ซึ่งหลังจาก Karol เดินทางกลังถึง Poland รูปปั้นอันนี้ก็ถูกทำให้แตกละเอียด (โดยพวกหัวขโมย) แต่เขาก็ยังไม่ปล่อยละวาง (แบบเดียวกับ Julie เรื่อง Blue (1993)) พยายามปะติดปะต่อขึ้นใหม่ นอกจากไว้ดูต่างหน้า ยังคือเป้าหมายสำหรับไขว่คว้า ต้องการฉุดคร่าเธอลงมาจากสรวงสวรรค์ ให้เป็นของฉันแต่เพียงผู้เดียว!

หวีที่ควรเป็นอุปกรณ์สำหรับทำผม แต่ถูกนำมาห่อกระดาษแล้วใช้เป็นเครื่องดนตรีเป่าลม สามารถสื่อถึงชีวิตที่กลับตารปัตร จากเคยอยู่จุดสูงสุดจากเป็นผู้ชนะการประกวดตัดแต่งทรงผม ตอนนี้ต้องมานั่งขอทานในสถานีรถไฟใต้ดิน Paris Métro รอดหรือไม่รอดก็อยู่ที่โชคและชะตากรรม จะมีโอกาสหวนกลับบ้านที่ Poland เพื่อเริ่มต้นนับหนึ่งให้กับชีวิตหรือไม่?

ช่างตัดผม คืออาชีพที่สามารถปรับเปลี่ยน สร้างภาพลักษณ์ จากอัปลักษณ์ให้ดูสวยหล่อ ขอทานกลายเป็นมหาเศรษฐี แต่ก็แค่เปลือกภายนอกเท่านั้นนะครับ! ในเชิงสัญลักษณ์สามารถสื่อถึงการสร้างภาพมายา สิ่งลวงหลอกตา หรือจะมองว่าคือการปรับเปลี่ยนแปลงตนเอง ต้องการทอดทิ้งอดีต เพื่อเริ่มต้น/ถือกำเนิดชีวิตใหม่ (ผมชอบนึกถึง เพื่อนสนิท (พ.ศ. ๒๕๔๘) ไอ้ไข่ย้อยตัดผมเพื่อลืมเธอ/เริ่มต้นชีวิตใหม่)

ขณะนี้ที่ Karol ตัดผมให้ Mikołaj แม้เป็นแค่การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ (ภายนอก) แต่มันจะไปล้อครึ่งหลังที่ Karol ได้ทำบางสิ่งอย่างให้ Mikołaj ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของจิตใจ(ภายใน) ราวกับชีวิตได้ถือกำเนิดขึ้นใหม่

  • ครึ่งแรก Mikołaj ให้ความช่วยเหลือ Karol จนสามารถหวนกลับ Poland และได้เริ่มต้นชีวิตใหม่
  • ครึ่งหลัง Karol ทำบางสิ่งอย่างกับ Mikołaj จากเคยต้องการฆ่าตัวตาย ก็ราวกับได้ถือกำเนิดใหม่เช่นกัน!

Le Mépris (1963) หนึ่งในผลงานเรื่องสำคัญของผู้กำกับ Jean-Luc Godard นำแสดงโดย Brigitte Bardot ใครเคยรับชมน่าจะจดจำฉากนอนเปลือยบนเตียง ที่กลายเป็น Iconic แห่งยุคสมัย!

เท่าที่ผมหวนระลึกถึงเรื่องราวของ Le Mépris (1963) เหมือนไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆกับ White (1994) คาดว่าต้องการอ้างอิงถึง Brigitte Bardot บุคคลที่เป็น ‘Sex Symbol’ สัญลักษณ์ทางเพศของฝรั่งเศสช่วงทศวรรษ 50s-60s ซึ่งจะว่าไปก็ไม่แตกต่างจาก Marianne บุคลาธิษฐานประจำชาติฝรั่งเศส (National Personification) และต่างเป็นสตรีเพศผู้เป็นตัวแทนแห่งเสรีภาพ … หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าเหมือนกันยังไง? แต่อย่าลืมว่าหนังมีลักษณะ ‘Anti-Comedy’ นี่คือการเสียดสีล้อเลียน คำด่าทอของผู้กำกับ Kieślowski โดยใช้สัญลักษณ์ประเทศฝรั่งเศส Marianne ต่างอะไรจาก ‘Sex Symbol’ ของ Brigitte Bardot

และการที่กล้องเคลื่อนเลื่อนจากโปสเตอร์นี้มายังห้องพักของ Dominique ก็เป็นการเปรียบเทียบอย่างตรงไปตรงมาถึง (Julie Delpy อาจไม่เซ็กซี่เท่า Brigitte Bardot แต่ก็ผิวขาว ผมบลอนด์ งดงามราวกับนางฟ้า)

แซว: ผมรู้สึกว่าโปสเตอร์ขนาดมหึมานี้ ถือเป็นอีกจุดเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณกับ Red (1994) ที่ก็มีโปสเตอร์ถ่ายแบบผืนใหญ่ของนางเอก Irène Jacob ตั้งตระหง่านกลางสี่แยก (เชื่อมโยงกันด้วยภาพโปสเตอร์ขนาดใหญ่)

ระหว่างที่ Karol โทรศัพท์หา Dominique รับฟังเสียงการร่วมรัก ส่งเสียงครวญคราง นางฟ้ากำลังเสพสุขสำราญอยู่บนสรวงสวรรค์ นั่นสร้างความอับอายขายขี้หน้า (humiliation) โกรธเกลียดเคียดแค้นจนเกิดปณิธานอันแน่วแน่ จากนี้พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อหวนกลับประเทศ Poland เริ่มต้นนับหนึ่งแล้วไปให้ถึงจุดสูงสุด เพื่อว่าสักวันจักหวนกลับมาแก้แค้นเอาคืนเธอให้สาสมแก่ใจ!

ภาพสะท้อนหลอดไฟยาวสีขาว สังเกตว่ามีทิศทางคนละระนาบ คาดว่าน่าจะสื่อถึงความเสมอภาค(สีขาว)ที่ไม่เท่าเทียม หรือคือคำขวัญประเทศฝรั่งเศสที่ว่า Égalité (Equality) ไม่เคยเป็นจริง! เหมือนเสรีภาพปลอมๆของ Blue (1993) และภารดรภาพแค่พวกพ้องของ Red (1994)

ปล. แม้นี่ไม่ใช่การแอบดักฟังโทรศัพท์ แต่เราสามารถมองเป็นอีกจุดเชื่อมโยงกับ Red (1994) ที่ตัวละครได้ยินสิ่งที่ควรไม่ได้ยินผ่านอุปกรณ์สื่อสาร

ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าสถานที่นี้คือแห่งหนไหน คาดว่าน่าจะชานเมืองกรุง Warsaw เชื่อว่าปัจจุบันคงเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง กลายเป็นป่าคอนกรีตเรียบร้อยแล้วละ!

สถานที่แห่งนี้แม้ดูรกๆ สกปรก ปกคลุมด้วยหิมะ เต็มไปด้วยความหนาวเหน็บ ห่างไกลความเจริญ แต่แค่เพียงแวบแรก Karol ก็ระลึกได้ทันทีว่ากลับถึงบ้าน “Home at last!” … หนังใช้การเปรียบเทียบสถานที่แห่งนี้คือมุมมองที่พวกยุโรปตะวันตก (Western European) รวมถึงชาวฝรั่งเศส ครุ่นคิดเห็นต่อประเทศ Poland และฝั่งยุโรปตะวันออก (Eastern European) ว่าเป็นดินแดนทุรกันดาร ไร้อารยธรรม ไม่ต่างจากชนบทหลังเขา (นี่คือลักษณะของการดูถูกเหยียดหยาม, Racism แต่ก็สะท้อนสภาพความเป็นจริงยุคสมัยนั้นเช่นกัน!)

มีอีกช็อตของสถานที่แห่งนี้ ถ่ายให้เห็นฝูงนกมากมาย แต่ไม่รู้ทำไมผมกลับนึกถึงพวกอีแร้งกา สัตว์ปีกที่คอยหาอาหารจากเศษซากกองขยะ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบถึงสถานภาพประเทศ Poland/ยุโรปตะวันออกสมัยนั้น แม้สามารถดิ้นหลุดพ้นร่มเงาสหภาพโซเวียต แต่ก็ยังไม่สามารถปรับเอาตัวรอดในระบบเศรษฐกิจใหม่/ระบอบทุนนิยม เลยต้องกัดก้อนเกลือกินจากสิ่งที่หลงเหลือ (คล้ายๆเศษซากกองขยะเหล่านี้)

“This is Europe now.” คำอธิบายของพี่ชายต่อการทำป้ายร้านตัดผมด้วยหลอดไฟนีออนสีแดง (สัญลักษณ์ของภารดรภาพ ความเป็นพี่เป็นน้อง) เพื่อสื่อถึงประเทศ Poland ภายหลังปลดแอกจากคอมมิวนิสต์/สหภาพโซเวียต ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของทวีปยุโรป (ไม่ใช่แบ่งแยกตะวันออก vs. ตะวันออก) แต่นั่นก็เฉพาะโลกทัศน์/ความเข้าใจชาว Polish เท่านั้นนะครับ มุมมองทางฝั่งประเทศยุโรปตะวันตกสมัยนั้นยังคงเห็น ‘ตะวันออกคือตะวันออก’ ไม่ได้ปรับเปลี่ยนแปลงจากเดิมสักเท่าไหร่

นัยยะของร้านตัดผม ก็แบบเดียวกับช่างตัดผมที่อธิบายไป แค่เปลี่ยนเป็น’สถานที่’สำหรับการละทอดทิ้งอดีต เริ่มต้นสร้างภาพลักษณ์ มายาคติ ชีวิตใหม่ของ Karol เพื่อให้ตนเองและประเทศ Poland ได้รับการยินยอมรับจากหมาอำนาจยุโรปตะวันตก

แม้จะมีทักษะความสามารถด้านการตัดแต่งทำผมชนะเลิศ แต่ Karol กลับเลือกทอดทิ้ง (รับงานเพียงบางครั้งครา) เพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ๆ เข้าทำงานยังบริษัทการเงินแห่งหนึ่ง เป็นบอดี้การ์ดถือปืนอัดลม (ไม่ได้ใส่กระสุนจริง) หยิบขึ้นมาส่องตนเองด้วยความฉงนสงสัย ไม่หวาดเกรงกลัวอันตราย พร้อมทำทุกสิ่งอย่างโดยไม่สนความเสี่ยง (ผมตีความช็อตนี้คือการเอาชีวิตเป็นเดิมพัน) เพื่อโอกาสร่ำรวยทางลัด

Blue (1993), ด้วยความที่สามีของ Julie สิ้นชีวิตจากไปไม่มีวันหวนกลับ เธอจึงจำต้องเก็บกดความรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวไว้ภายใน ไม่สามารถเปิดเผยแสดงออกมา (จนตอนจบชายคนรักก็ยังคงอยู่ในนั้นไม่หายไปไหน)

White (1994), Dominique เพียงเลิกราหย่าร้าง แค่ไม่ยินยอมอยู่เคียงชิดใกล้ นั่นทำให้ Karol ยังมีโอกาส ความหวังที่จะเริ่มต้นใหม่ สามารถแสดงออกในเชิงรูปธรรมด้วยการจุมพิตรูปปั้น (ที่ซื้อมาจากฝรั่งเศส) แสดงถึงความหมกมุ่นครุ่นคิดถึง ต้องการแก้ล้างแค้นเอาคืนให้สาสม

แผนการร่ำรวยของ Karol คือกวาดซื้อที่ดินราคาถูกๆจากชาวบ้าน (ทำตัวราวกับพระแม่มารีย์ & พระเยซูคริสต์ ช่วยเหลือคนยากคนจน) รวบรวมพิกัดสำคัญๆทาด้วยมาร์คเกอร์สีแดง (ให้ความรู้สึกเหมือนการรวบหัวเมือง/ประเทศฝั่งยุโรปตะวันออกเข้าด้วย เพื่อใช้เป็นอำนาจต่อรองนายทุน) จากนั้นขายต่อด้วยราคาสูงกว่าเดิมสิบเท่า!

โดยปกติแล้วแผนการเกร็งกำไรแบบนี้ Karol ย่อมต้องพวกนายทุนเป่าหัว เก็บเข้ากรุอย่างแน่นอน แต่เพราะเขาได้เตรียมแผนสำรวจ เขียนพินัยกรรมถ้าเสียชีวิตจักบริจาคที่ดินทั้งหมดให้การกุศล … วนกลับมาทำตัวเหมือนภาพวาดพระแม่มารีย์ & พระเยซูคริสต์นี้อีกครั้ง

แม้หนังจะบอกใบ้อยู่แล้วว่ Karol ได้ครอบครองปืนอัดลม แต่เชื่อว่าหลายคนคงตื่นตกอกตกใจเมื่อลั่นไกใส่ Mikołaj (จริงๆตอนเปิดเผยว่าเขาอยากฆ่าตัวตาย ก็คาดไม่ถึง ตกตะลึงไม่แพ้กัน) โดยเฉพาะภาพสโลโมชั่นแล้วเขาค่อยๆทิ้งตัวลงกับพื้น แน่นิ่งแล้วลืมตาตื่นค่อยตระหนักว่าไม่มีกระสุนนี่หว่า … แต่วินาทีนั้นให้ความรู้สึกเหมือนว่าบางสิ่งอย่างได้ตกตายไปแล้วจริงๆ

มีหนังหลายเรื่องเลยนะที่ลอกเลียนแนวคิด/เสี้ยววินาทีนี้ ผมเพิ่งรับชมล่าสุดก็ All About Lily Chou-Chou (2001) ระหว่างทริป Okinawa หลังจาก Shūsuke Hoshino พานผ่านประสบการณ์เฉียดตายถึงสองครั้งติดๆ หมอนี่เลยมีความเปลี่ยนแปลงในทิศทางกลับตารปัตรตรงกันข้าม!

จากภายใต้สถานีรถไฟ Warszawa Centralna หนุ่มๆทั้งสองก็ก้าวออกมาโลดแล่น เริงระบำ ไถลไปบนพื้นน้ำแข็ง ปรับตัวเปลี่ยนแปลงมุมมองโลกทัศน์ ราวกับชีวิตได้ถือกำเนิดขึ้นใหม่ ต่อจากนี้ไม่อีกแล้วคิดสั้นฆ่าตัวตาย ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของทุกลมหายใจ

เมื่อบรรดานายทุนจับได้ว่า Karol แอบกว้านซื้อที่ดินสำหรับเกร็งกำไร ก็รีบตรงรี่ไปหาตั้งแต่เช้าตรู (ยังสวมเสื้อกล้ามอยู่เลย) ถูกกระทำร้ายร่างกาย ลากศีรษะมาวางไว้ตรงอ่างล้างหน้า ราวกับจะเชือดคอ ตัดสินประหารชีวิต

แต่หลังจากพูดคุยต่อรอง ยื่นข้อเรียกร้องขายที่ดินในราคาสิบเท่า ถึงสามารถเดินกลับขึ้นห้องมาสวมเสื้อผ้า (=ชีวิตที่กำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป) หยิบเอกสารที่ดินซุกซ่อนไว้ข้างหลังภาพทิวทัศน์ (พบเห็นท้องฟ้า ทุ่งหญ้า ฝูงสรรพสัตว์ ดูราวกับสรวงสวรรค์/ดินแดนในอุดมคติที่เพ้อใฝ่ฝัน) และตรงหน้าต่างมีรูปปั้น Marianne ทั้งหมดที่ทำไปนี้เพื่อเธอเท่านั้น!

หลังจากได้เงินมาทั้งหมดก็พร้อมนำไปลงทุนตั้งบริษัท ภาพลักษณ์ของ Karol ก็ปรับเปลี่ยนแปลงกลายเป็นนักธุรกิจ หวีผมซะเรียบเนียน สวมสูทอย่างหล่อเหลา แล้วเข้าไปชักชวน Mikołaj ให้มาร่วมบริหารจัดการ … ภาพลักษณ์ดังกล่าวสะท้อนถึงอิทธิพลของเงินๆทองๆ ระบอบทุนนิยม คือสิ่งที่ทำให้มนุษย์ปรับเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก-ใน ร่างกาย-จิตใจ (แต่หนังยังพยายามทำให้ Karol รักเดียวใจเดียว Dominique อย่างไม่เสื่อมคลาย)

เหมือนเป็นธรรมเนียมของบริษัทที่ประสบความสำเร็จ จะต้องมีสำนักงานยังอาคารสูงๆ ตึกระฟ้า ห้องหัวหน้าอยู่ชั้นบนๆ ทำตัวเหมือนพระเจ้า/พระราชา เมื่อเหม่อมองลงมาเห็นทุกสรรพสิ่งอย่างราวกับอยู่ในเงื้อมมือ ใต้ฝ่าเท้าของตนเอง … แต่สำหรับ Karol แม้มาถึงจุดนี้เขายังคงหยิบหวีและกระดาษ ขึ้นมาเป่าบทเพลงที่ชวนให้ระลึกถึงความหลัง (สื่อถึงการไม่หลงลืมรากเหง้าของตนเอง)

เมื่อ Karol อยู่บนจุดสูงสุดของชีวิต ก็มีเงินสำหรับปรับปรุงบ้านหลังใหม่ (สามารถมองเป็นสัญลักษณ์ประเทศ Poland ได้ตรงๆเลยละ) ทำการเปลี่ยนแปลงโน่นนี่นั่นมากมาย ทุบทำลายกำแพงเดิม (ของพรรคคอมมิวนิสต์) แล้วสร้างขึ้นใหม่ตามความตั้งใจตนเอง (สื่อถึงกำแพงที่สร้างด้วยมือของประชาชน ไม่ใช่จากกลุ่มคนหนึ่งใด)

แม้บนจุดสูงสุดของชีวิต Karol ยังคงครุ่นคิดถึงอดีตภรรยา Dominique โทรศัพท์หาแต่อีกฝ่ายปิดปากเงียบสนิท ในห้องทำงานที่บานเกร็ดสาดส่องแสงเหมือนซี่กรงเหล็ก (=กักขังความรู้สึกไว้ภายใน) รูปปั้น Marianne ยังดูซึมเศร้าโศกเสียใจ และภาพวาดขวดเหล้าที่แสนเดียวดาย (มึนเมาในรัก กระมัง)

ล้อกับตอนที่ Karol ถูกกรรไกรตัดบัตรเอทีเอ็ม/เครดิต แต่ครานี้เป็นการทำลาย Passport ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของบุคคล การมีตัวตน เพื่อตระเตรียมแผนการแสร้งว่าเสียชีวิต

  • ขณะที่ Mikołaj ต้องการฆ่าตัวตายจริงๆ แต่สิ่งที่สูญเสียคือบางสิ่งในจิตวิญญาณ จึงราวกับสามารถถือกำเนิดใหม่
  • Karol แสร้งว่าประสบอุบัติเหตุ มีศพเสียชีวิตจริงๆ แล้วเหมือน(พระเยซูคริสต์)สามารถฟืนคืนชีพขึ้นใหม่

แผนการที่ Karol ครุ่นคิดลวงล่อหลอก Dominique คือแสร้งว่าประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต เพื่อว่าเธอจักต้องเดินทางมาร่วมพิธีศพ จากนั้นมอบเงินมอบทอง สิ่งข้าวของ มรดกทุกสิ่งอย่าง (เพื่อบ่งบอกว่าฉันยังคงรักเธอไม่เสื่อมคลาย) ซึ่งเจ้าตัวก็แอบจับจ้องมอง สังเกตปฏิกิริยาอดีตคนรักที่เต็มไปด้วยความเศร้าโศกเสียใจ นั่นน่าจะเป็นความรู้สึกจริงๆ ไม่ได้ผ่านการปรุงปั้นแต่ง ไร้เหตุผลให้ต้องปกปิด บิดเบือน จะทำไปเพื่อลวงหลอกใครละ? … วินาทีที่ตระหนักได้นี้ทำให้เขาล้มเลิกความตั้งใจหนีไปฮ่องกง แต่แอบซ่อนตัวในห้องโรงแรมรอสร้างความประหลาดใจ

เกร็ด: สุสาน Powązki Cemetery ยังคือสถานที่ฝังศพร่างของผู้กำกับ Krzysztof Kieślowski

พอเข้ามาในห้องแล้วเปิดไฟตรงหัวเตียง Dominique ก็เดินถอยหลังก้าวใหญ่ๆ ตกตะลึง คาดไม่ถึง นี่ฉันฝันไปหรือไร? หรือจะมองว่า Karol ฟื้นคืนชีพขึ้นมา (เหมือนพระเยซูคริสต์/พระบุตรของพระเจ้า) จากนั้นก็ยื่นมือจับสัมผัส นี่คือ Michelangelo: The Creation of Adam วินาทีที่หญิงสาวผู้มีความงดงามดั้งเทพธิดาบนสรวงสวรรค์ ยินยอมรับความเสมอภาคเท่าเทียมกับมนุษย์โลกคนนี้ (พระบุตรของพระเจ้า) … แต่ดูจากลักษณะการกำมือ Karol ราวกับกำลังฉุดคร่านางฟ้า Dominique ลงจากสรวงสวรรค์เสียมากกว่า

If I say I love you, you don’t understand. And if I say I hate you, you still don’t understand.

Karol Karol

ท่วงท่าการร่วมรักระหว่าง Karol กับ Dominique จะกลับตารปัตรจากตอนต้นเรื่อง ท่านั่งเก้าอี้ vs. นอนบนเตียง, ฝ่ายหญิงอยู่ด้านบน vs. ฝั่งชาย On-the-Top, กลางวัน vs. กลางคืน, พื้นหลังผ้าม่านสีขาว vs. ผ้าปูเตียงสีแดง (สัญลักษณ์ของภารดรภาพ) ฯลฯ

ลักษณะกลับตารปัตรตรงกันข้าม ล่มปากอ่าว vs. สำเร็จสมหวัง ล้วนสะท้อนแนวคิดความเสมอภาค เพื่อเขาและเธอผ่านช่วงเวลาทั้งสุข-ทุกข์ ย่อมบังเกิดความรัก เข้าใจความหมายเท่าเทียม กันและกัน

ไฮไลท์ของ Sex Scene คือเสียงร้องครวญครางของ Dominique ที่ค่อยๆทวีความเร่าร้อนรุนแรง และไล่ระดับเสียงขึ้นทีละสเต็บ ซึ่งพอถึงจุดสูงสุดไคลน์แม็กซ์จะมีการ Fade-To-White นั่นคือสรวงสวรรค์ชั้นเจ็ด (กลับตารปัตรตรงกันข้ามกับ Blue (1993) ที่เป็นการ Fade-To-Black ทำให้ตัวละครราวกับตกนรกชั่วขณะ)

หลังจากที่ Karol สามารถเติมเต็มรสรักให้กับ Dominique ทั้งสองก็สามารถนอนแผ่ราบ ด้วยลักษณะของความเสมอภาค เท่าเทียมระหว่างชาย-หญิง, สามี-ภรรยา, ประเทศ Poland-France และยุโรปตะวันออก-ตะวันตก

ที่แท้หวีของ Karol สามารถใช้เป็นมาตรวัดความเสมอภาค (จริงๆสองด้านของหวีมันไม่เท่ากันนะ) ด้วยการยกขึ้นมองผ่านดวงตาฝั่งขวา(ของภาพ) แล้วเลื่อนแนวราบมาจนถึงด้านซ้าย นี่คือขณะที่ทุกสิ่งอย่างพลิกกลับตารปัตร Dominique ถูกตำรวจจับกุม ควบคุมขัง เคยกระทำอะไรไว้ วินาทีนี้เลยได้รับผลกรรมคืนกลับสนอง “ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน”

ดั้งเดิมนั้นหนังจบลงที่การขยับเคลื่อนหวีฉากนี้ (และภาพย้อนอดีตตอนจุมพิตวันแต่งงาน) เพราะถือว่าครบรอบแนวคิดเสมอภาคเท่าเทียม “ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน” แต่ผู้กำกับ Kieślowski รู้สึกว่าเป็นตอนจบที่เลวร้ายรุนแรงเกินไปมั้ง เดือนกว่าๆให้หลังเลยเรียกตัวนักแสดงกลับมาถ่ายทำปัจฉิมบทเพิ่มเติม

สังเกตว่าทรงผม/การแต่งตัวของ Karol กลับมาเป็นเหมือนเดิม (ไม่หวีเนี๊ยบหรือใส่สูทอีกต่อไป) นั่นสื่อถึงภายหลังการแก้แค้นเอาคืน เขาก็สามารถปล่อยละวางความหมกมุ่นยึดติด อคติที่เคยมีมา เฉกเช่นเดียวกับ Dominique หลังได้รับผลกรรมคืนตอบสนอง ก็เรียนรู้เข้าใจความหมายเสมอภาคเท่าเทียม ใช้ภาษามือสื่อสาร หลังพ้นโทษออกมาเมื่อไหร่ พวกเราจะใช้ชีวิตอยู่เคียงข้างกันตลอดไป

ภาษามือนี้อ่านไม่ยากเลยนะ ผมพอคาดเดาจากท่วงท่าชี้นิ้วออกไปด้านนอก และขณะสวมแหวนนิ้วนาง รวมถึงรอยยิ้มของ Dominique และคราบน้ำตาของ Karol แม้ตอนนี้เราไม่สามารถอยู่เคียงข้างกัน แต่อนาคตคงไม่ห่างไกลเกินรอ

You and I will leave together when I’ll get out of jail, right? Or we’ll stay here, together, and we’ll get married again.

Dominique Vidal

ความที่ Jacques Witta นักตัดต่อขาประจำผู้กำกับ Kieślowski กำลังง่วนอยู่กับ Three Colors: Red (1994) เลยมอบหมายให้ผู้ช่วยคนสนิท Urszula Lesiak ทำงานแทนในส่วนของ Three Colors: White (1994)

หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Karol ตั้งแต่วันที่ถูกภรรยาฟ้องหย่า ทำให้สูญเสียแทบทุกสิ่งอย่าง เลยต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนจาก Paris, France หวนกลับสู่บ้านเกิด Warsaw, Poland แล้วเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ค่อยๆก่อร่างสร้างตัว ไต่เต้าจนประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง ถึงจุดสูงสุดในอาชีพการงาน จากนั้นวางแผนการแก้ล้างแค้น ลวงล่อหลอก Dominique ให้มาชดใช้ผลกรรมเคยกระทำไว้กับตนเอง

  • เรื่องราวที่ Paris, France
    • Karol เดินทางไปยังที่ทำการศาล Palais de Justice ถูกคำตัดสินให้หย่าร้างภรรยา Dominique
    • ถูกภรรยาขับไล่ออกจากบ้าน หลงเหลือเพียงกระเป๋าเดินทางหนึ่งใบ
    • พบเจอ Mikołaj ยังสถานีรถไฟ Paris Métro ให้ความช่วยเหลือโหลดสัมภาระใต้ท้องเครื่องบิน นำพากลับบ้าน
  • เรื่องราวที่ Warsaw, Poland
    • กระเป๋าเดินทางของ Karol ถูกลักขโมยโดยหัวขโมยชาวรัสเซีย เลยโดนกระทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส
    • เริ่มต้นทำงานบอดี้การ์ดสถาบันทางการเงินแห่งหนึ่ง
    • กว้านซื้อที่ดิน (จากการแอบรับฟัง) นำมาเกร็งกำไรจนเริ่มมีเงินเก็บ
    • พบเจอ Mikołaj ยังสถานีรถไฟ Warszawa Centralna ให้ความช่วยเหลือตายแล้วเกิดใหม่
    • Karol นำเงินทั้งหมดที่ได้มาลงทุนทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออก จนประสบความสำเร็จ ร่ำรวยมั่งคั่ง
  • การแก้ล้างแค้นของ Karol
    • ครุ่นคิดแผนการแก้ล้างแค้น แสร้งว่าตนเองเสียชีวิต Dominique จึงเดินทางมาร่วมงานศพ
    • แต่เมื่อกลับถึงโรงแรมกลับพบว่าเขายังมีชีวิตอยู่ ร่วมรักหลับนอน เติมเต็มความต้องการของกันและกัน
    • เช้าวันถัดมาหลังจาก Karol สูญหายตัวไป Dominique ถูกตำรวจควบคุมตัว กลายเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเข่นฆาตกรรมอดีตสามีเพื่อเงินมรดก
  • ปัจฉิมบท, Karol ส่องกล้องมอง Dominique วาดฝันถึงอนาคตร่วมกันอย่างเสมอภาค

เมื่อเทียบกับ Blue (1993) การดำเนินเรื่องของ White (1994) แทบไม่มีลูกเล่น ความน่าตื่นเต้น ชวนให้ติดตามสักเท่าไหร่ มากสุดก็หวนระลึกภาพวันแต่งงาน Julie Delpy งดงามราวกับเทพธิดา นางฟ้าลงจากสรวงสวรรค์ ส่วนที่เหลือคือโชคชะตาพาซวยของ Karol ที่เต็มไปด้วยความเหนือจริง (Surreal) จับต้องแทบไม่ได้ แต่นั่นคือความจงใจนำเสนอในเชิงสัญลักษณ์ ชวนให้ขบครุ่นคิดวิเคราะห์ตามเท่านั้นเอง


เพลงประกอบโดย Zbigniew Preisner (เกิดปี 1955) นักแต่งเพลงสัญชาติ Polish เกิดที่ Bielsko-Biała วัยเด็กชื่นชอบกีตาร์กับเปียโน หัดเล่น-เขียนบทเพลงด้วยตนเอง (ไม่เคยเข้าศึกษาที่ไหน) โตขึ้นร่ำเรียนประวัติศาสตร์และปรัชญา Jagiellonian University, Krakow จบออกมาทำงานยังโรงละคร Stary Theater, ระหว่างทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแรก Prognoza pogody (1981) มีโอกาสรับรู้จักผู้กำกับ Krzysztof Kieślowski เริ่มร่วมงานกันตั้งแต่ No End (1995) จนถึงเรื่องสุดท้าย Three Colours (Blue, White, Red)

งานเพลงของ White (1994) ไม่ได้มีความยิ่งใหญ่อลังการขนาด Blue (1993) แต่ถือว่าเต็มไปด้วยลูกล่อลูกชน หยอกล้อเล่นกับผู้ชม เพราะตัวละครต้องผจญเรื่องวุ่นๆวายๆ เหนือเกินจริง จับต้องไม่ค่อยได้ (Surreal) บทเพลงเลยต้องคอยสร้างความฉูดฉาด (แทนสีสันที่มองไม่ค่อยเห็นของหนัง)

หลังจากรับฟังทั้งอัลบัม ผมรู้สึกว่าสามารถแบ่งเพลงออกเป็น Paris vs. Warsaw ในช่วงแรกๆ(ที่ France) จะมีความหดหู่ ท้อแท้สิ้นหวัง เพราะตัวละครถูกกระทำร้ายจนชอกช้ำทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ, แต่หลังจากเดินทางกลับบ้าน(ที่ Poland) ทุกสิ่งอย่างจะพลิกกลับตารปัตร ดนตรีเริ่มเต็มไปด้วยสีสัน จังหวะสนุกสนาน ด้วยสไตล์เพลง Tango (ที่ได้รับความนิยมในการเต้นลีลาศ)

เริ่มจากบทเพลงฝั่ง Paris จะได้ยินเสียงเป่าเครื่องลมที่มีความทุ้มต่ำ มอบสัมผัสอันเวิ้งว้างว่างเปล่า หมดสิ้นหวังอาลัย สื่อถึงชีวิตตัวละครที่ได้สูญเสียทุกสิ่งอย่าง ไร้แม้กระทั่งหนทางจะกลับบ้าน เต็มไปด้วยความเก็บกด อึดอัดอั้น นี่ฉันทำผิดอะไรถึงต้องมาทนทุกข์ทรมานขนาดนี้

Home at last เป็นบทเพลงที่ได้ยินแล้วทำให้จิตใจรู้สึกชุ่มชื้น กระชุ่มกระชวย เริ่มต้นด้วยเสียงเปียโนที่แสดงออกถึงความดีใจอย่างสุดซึ้ง ต่อจากนี้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็เชื่อว่าจะสามารถเอาตัวรอด พานผ่านเรื่อยร้ายๆได้ด้วยดี และครึ่งหลังบทเพลงนี้คืออารัมบทของชีวิตที่กำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป ลุกขึ้นมาโยกเต้นจังหวะ Tango โดยไม่ยี่หร่าอะไรใคร

ผมเลือกบทเพลงที่มีความยาวสุดในครึ่งหลังอัลบัม Morning at the Hotel จากท่วงทำนอง Tango ได้ยินซ้ำๆจนมักคุ้นชิน แสดงถึงสีสันของชีวิต เต็มไปด้วยความหยอกเย้า หรรษาเริงร่า ยียวนกวนบาทา เหมือนการหักเหลี่ยมเฉือนคม ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน เธอทำกับฉัน ฉันทำกับเธอ แล้วสักวันหนึ่งเราจะครองคู่รักกัน

มนุษย์จะบังเกิดความเข้าใจคุณค่าชีวิต ถือกำเนิดมาเพื่ออะไร? ก็ต่อเมื่ออยู่ในจุดตกต่ำสุด หรือพานผ่านประสบการณ์เฉียดตาย! ผู้กำกับ Kieślowski หลังรับรู้ว่าตนเองมีปัญหาโรคหัวใจ คงตกอยู่ในสภาวะมืดหม่น หมดสิ้นหวัง น่าจะเคยครุ่นคิดกระทำอัตวินิบาตกรรม แต่หลังจากสติหวนกลับคืนมา สามารถครุ่นคิดทบทบวน ทำให้เกิดความเข้าใจอะไรๆมากมาย ค้นพบเป้าหมายชีวิต ต้องการสรรค์สร้างบางสิ่งอย่างอันทรงคุณค่าในช่วงเวลาที่(อาจ)หลงเหลืออยู่

ด้วยเวลาชีวิตที่เหลือน้อยลงทุกวินาที Kieślowski จึงไม่ใคร่สนอะไรที่มันอ้อมค้อม ประณีประณอม ยื้อยักชักช้า ลีลาเล่นตัว ก็เหมือนความรู้สึกที่เขาได้รับจากการถูกหมาอำนาจทางเศรษฐกิจ/ยุโรปตะวันตก มองด้วยสายตาดูถูกเหยียดยามต่อประเทศ Poland รับรู้ทันทีว่านั่นเป็นการแสดงออกที่ไม่ถูกต้อง ขัดย้อนแย้งต่อคำขวัญเสมอภาค Égalité (Equality) ด้วยเหตุนี้จึงนำเสนอวิธีแก้ปัญหาแบบ “ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน” ใครทำอะไรฉันไว้เมื่อได้รับสิ่งนั้นคืนตอบสนอง ย่อมบังเกิดความสาแก่ใจ รู้สำนึกผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี และสามารถปรับเปลี่ยนตนเองสู่อุดมคติแห่งความเท่าเทียมที่แท้จริง

เอาจริงๆผมโคตรชอบแนวคิดนี้นะ เพราะมันสะท้อนหลักพุทธศาสนา “กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมคืนสนอง” แต่เราต้องทำถึงขนาดนั้นเชียวหรือ? ยินยอมละทอดทิ้งสามัญสำนึก? กลับกลอก หลอกลวง คิดคดทรยศหักหลังผู้อื่น ไต่เต้าสู่จุดสูงสุดของชีวิต เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียม และการยินยอมรับจากผู้อื่น … นี่ฟังดูเหมือนการเรียกร้องความสนใจมากกว่านะ!

วิธีการนำเสนอของผู้กำกับ Kieślowski แม้ในลักษณะล้อเลียนเสียดสีระบอบทุนนิยม (ใช้กลวิธีอันเลวร้ายเพื่อให้ได้เงินๆทองๆ สำหรับกระทำสิ่งตอบสนองความต้องการ) จนมีความเหนือจริงจับต้องไม่ได้ (Surreal) แต่สุดท้ายมันกลับเป็นการสร้างแนวคิดที่ว่า ถ้าเราต้องการความเสมอภาค ก็ต้องทำตัวให้เท่าเทียมกับผู้อื่น … นี่ไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องเสียทีเดียว

จริงอยู่ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ พวกหมาอำนาจจ้าวโลกล้วนสนเพียงประเทศที่สามารถตอบสนองความต้องการ มีสิ่งพึงประสงค์อยากได้ ถึงมีสิทธิ์ในการแลกเปลี่ยน เผชิญหน้าอย่างเสมอภาคเท่าเทียม แต่ถ้าคุณไร้ซึ่งทรัพยากร สินค้าต่อรองใดๆ ก็ย่อมไม่มีใครไหนหันแลเหลียว (เหมือนการที่สิบประเทศ ASEAN ต้องรวมตัวกันเพื่ออำนาจต่อรองการค้ากับประเทศอื่นๆ)

แต่ในแง่ความเสมอภาคของมนุษย์นั้น เราไม่จำเป็นต้องพิสูจน์อะไร หรือกระทำสิ่งใดแสดงออกว่าฉันมีความเท่าเทียมกับผู้อื่น เพราะนั่นคือสัจธรรมจริงแท้ ไม่ต้องต่อรอง ไม่ต้องร้องขอ คนที่แสดงพฤติกรรมดูถูกหยามเหยียด ก็ให้เข้าใจไปเลยว่าบุคคลนั่นไม่ใช่มนุษย์ เดรัจฉานตัวหนึ่งเท่านั้น!

สำหรับความเสมอภาคระหว่างสามี-ภรรยา ค่อนข้างละม้ายคล้ายการค้าระหว่างประเทศ เพราะต้องใช้ข้อตกลง มีผลประโยชน์บางอย่างร่วมกัน จริงๆมันมีรายละเอียดอีกมากมาย แต่ผู้กำกับ Kieślowski สนเพียงแก่นแท้/ความต้องการสูงสุดของมนุษย์ทั้งสองนั่นคือเพศสัมพันธ์ เมื่อไหร่ต่างฝ่ายสามารถเติมเต็มรสรัก กามสูตร ถึงจุดสูงสุด ขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เมื่อนั้นความเท่าเทียมถึงจักบังเกิด … เป็นความจริงที่ขำไม่ออก!

จะว่าไปวิธีการที่ผู้กำกับ Kieślowski สรรค์สร้าง White (1994) เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียมนั้น เต็มไปด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด โกรธเกลียด ไม่พึงพอใจอย่างรุนแรง นั่นทำให้ผมรู้สึกว่าเขาแค่อยากระบายความอึดอัดอั้น โต้ตอบกลับ “ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน” คงเพิ่งตระหนักว่าโลกภายนอกกำแพงอิฐ (หลังการล่มสลายของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ Poland) มันช่างเหี้ยมโหด เลวร้าย โลกทุนนิยมอาจอันตรายยิ่งกว่าคอมมิวนิสต์เสียอีก! แต่นั่นคือสิ่งที่ต้องอดรนทน ยินยอมรับ สักวันหนึ่งประเทศของเราจะไปถึงจุดๆนั้น

แซว: แต่จนถึงปัจจุบัน Poland (รวมถึงยุโรปตะวันออก) ก็ไม่มีประเทศไหนที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจ GDP สูงไปกว่าประเทศหมาอำนาจเก่าเลยนะครับ


เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Berlin แต่เสียงตอบรับไม่หวือหวาเท่า Blue (1993) เมื่อตอนออกฉายเทศกาลหนังเมือง Venice เลยพลาดรางวัล Golden Bear ให้ภาพยนตร์ In the Name of the Father (1994) ถึงอย่างนั้นก็อีกคว้ารางวัลปลอบใจ Silver Bear: Best Director

และที่น่าแปลกใจโคตรๆคือไม่ใช่ Blue (1993) หรือ Red (1994) แต่กลับเป็น White (1994) ได้เป็นตัวแทนประเทศ Poland ลุ้นรางวัล Oscar: Best Foreign Language Film ผลลัพท์ไม่ผ่านเข้ารอบใดๆ [ถ้าเป็น Blue หรือ Red ก็น่าจะยังมีโอกาสลุ้นอยู่บ้างนะ!]

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ (Digital Restoration) คุณภาพ High-Definition คุณภาพเสียง 2.0 DTS-HD โดยรวมถือว่ายอดเยี่ยม สามารถหารับชมช่องทางออนไลน์ได้แทบจะทุกค่ายใหญ่ๆ แต่ถ้าต้องการซื้อแผ่น Blu-Ray เลือกได้ทั้งฉบับของ MK2 และ Criterion (สแกนได้ดีทั้งคู่แต่ Criterion จะมี Special Feature มากกว่าพอสมควร)

ส่วนฉบับบูรณะ 4K เพิ่งแล้วเสร็จเมื่อกลางปี 2022 เมืองไทยนำเข้าฉายกรกฎา-สิงหา-กันยา ไล่เลี่ยกับสหรัฐอเมริกาเลยนะครับ ถ้าใครพลาดโอกาสนี้คงต้องรออีกพักใหญ่ๆก่อนสามารถหารับชมช่องทางอื่น

สิ่งที่โดยส่วนตัวรู้สึกผิดหวังสุดๆๆต่อ White (1994) ก็คือโลกทัศน์ของผู้กำกับ Kieślowski ใช้แนวคิดความเสมอภาค ด้วยการโต้ตอบกลับพฤติกรรมไม่เหมาะสมด้วยการกระทำที่ไม่เหมาะสม ถึงสอดคล้องสำนวนตาต่อตา-ฟันต่อฟัน คาดหวังเป็นบทเรียนให้รู้จักความเท่าเทียมที่แท้จริง แต่การจะไปถึงจุดนั้นที่ต้องแลกมาด้วยความกลับกลอก หลอกลวง ทรยศหักหลังผู้อื่น มันผิดตั้งแต่คิดจะแก้แค้นแล้วนะ!

แนะนำคอหนังตลก-ดราม่า (Anti-Comedy) แนวแก้ล้างแค้น (Revenge), นักประวัติศาสตร์ ยุโรปตะวันออก นำเสนอวิถีชีวิต สภาพสังคมประเทศ Poland ช่วงทศวรรษ 90s, และโดยเฉพาะแฟนๆนักแสดง Julie Delpy เรื่องนี้เป็นทั้งนางฟ้าและซาตาน!

จัดเรต 13+ กับความกลับกลอก หลอกลวง เต็มไปด้วยพฤติกรรมคอรัปชั่น คิดคดทรยศหักหลังแม้กระทั่ง(อดีต)ภรรยา

คำโปรย | ความเสมอภาคของ Three Colours: White ในโลกทัศน์ของ Krzysztof Kieślowski เต็มไปด้วยความกลับกลอก หลอกลวง ไม่ตลกเลยสักนิด!
คุณภาพ | ขาวซีดเผือก
ส่วนตัว | จืดชืด

Chinesisches Roulette (1976)


Chinese Roulette (1976) German : Rainer Werner Fassbinder ♥♥♥♡

สามีและหญิงชู้ จับพลัดจับพลูพบเจอ ภรรยาและชายชู้ โดยบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว คือบุตรสาวพิการของทั้งคู่ เพราะเธอสูญเสียความรักจากบิดา-มารดา เลยไม่ยินยอมให้พวกเขาแอบไปมีความสุขขณะที่ตนเองต้องทนทุกข์ทรมาน

ทำเอาผมอ้ำอึ้งไปเลยเมื่อ สามีและหญิงชู้ จับพลัดจับพลูพบเจอ ภรรยาและชายชู้ ต่างฝ่ายต่างไม่ได้กรีดกราย ตรงเข้าไปกระทำร้าย ใช้ความรุนแรง หรือพูดแสดงความไม่พอใจ แต่คือจับจ้อง มองหน้า เกิดบรรยากาศมาคุ … ราวกับว่าพวกเขาต่างรับรู้ คาดหวัง ยินยอมรับกันและกันได้ซะงั้น

สามัญสำนึกของคนสมัยนี้คงยินยอมรับไม่ได้กับเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ผู้กำกับ Fassbinder ก็ครุ่นคิดหาเหตุผลรอบรับที่ฟังดูน่าสนใจ นั่นคือบุตรสาวขาพิการ 11 ปีก่อนเมื่อเธอล้มป่วยโปลิโอ นั่นคือระยะเวลาที่บิดาเริ่มคบหาหญิงชู้, 7 ปีให้หลังเมื่อหมอบอกว่าไม่มีทางรักษาหาย นั่นคือระยะเวลาที่มารดาเริ่มคบหาชายชู้ … ทั้งพ่อและแม่ต่างไม่มีความสุขในชีวิตคู่ มิอาจทนดูอาการเจ็บป่วยของบุตรสาว ถึงอย่างนั้นพวกเขาก็ยังคงใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ไม่เคยครุ่นคิดเลิกราหย่าร้าง แค่ต่างหาเวลาส่วนตัว คืนความสุขให้กับตนเองบ้างเท่านั้น!

Chinese Roulette (1976) คืออีกจุดเปลี่ยนของผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder จากยุคสมัย Melodrama Period (1971-76) สู่ช่วงเวลาโกอินเตอร์ International Period (1976–1982) เริ่มต้นจากภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการร่วมทุนสร้างเยอรมัน-ฝรั่งเศส ทำให้มีโอกาสร่วมงานสองนักแสดงชื่อดัง Anna Karina และ Macha Méril พวกเธอน่าจะคือไอดอลของ Fassbinder เลยนะ! ต่างเป็นไอคอนแห่งยุคสมัย French New Wave โดยเฉพาะ Karina นักแสดงขาประจำและอดีตภรรยาของผู้กำกับคนโปรด Jean-Luc Godard

ต้องชมก่อนว่าสององก์แรกของหนังทำออกมาได้ดี มีความลงตัว กลมกล่อม ค่อยๆขมวดประเด็นต่างๆอย่างน่าสนใจ แต่ผมกลับไม่ค่อยชื่นชอบองก์สาม Chinese Roulette สักเท่าไหร่ นี่เป็นเกมสำหรับงานปาร์ตี้ (ไม่แน่ใจว่า Fassbinder ครุ่นคิดขึ้นมาเอง หรือเคยพบเห็นแห่งหนไหน) สำหรับทายว่าโจทก์คือใคร? (คล้ายๆเกมมนุษย์หมาป่า) แต่ประเด็นคือหนังเลือกโจมตีแค่บุคคลเดียว ไม่ได้กล่าวถึงปัญหาทั้งหมด แล้วตัดจบแบบ Happy Ending เลยซะงั้น!

ผมมองว่าผู้กำกับ Fassbinder ยึดติดกับ Chinese Roulette มากจนเกินไป! ต้องการใช้เกมนี้สำหรับล้างแค้น เอาคืนใครบางคน แต่โดยไม่รู้ตัวครุ่นคิดพัฒนาเรื่องราวจนมีความใหญ่โต เกินกว่าเกมเล็กๆนี้จะสามารถขมวดปมปัญหาครอบครัวได้ทั้งหมด


R. W. Fassbinder หรือ Rainer Werner Fassbinder (1945-82) นักแสดง ผู้กำกับ สัญชาติเยอรมัน เกิดที่ Bad Wörishofen, Bavaria เพียงสามสัปดาห์หลังจากนาซี ประกาศยอมพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง, บิดาเป็นแพทย์ที่มีความหลงใหลในการเขียนบทกวี ส่วนมารดาทำงานล่ามแปลภาษา (German <> English) ครอบครัวหย่าร้างเมื่อเขาอายุได้หกขวบ อาศัยอยู่กับแม่ที่มักส่งบุตรชายไปดูหนังเพื่อไม่ให้รบกวนเวลาทำงาน (และกุ๊กกิ๊กกับคนรักใหม่) นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ Fassbinder ชื่นชอบหลงใหลภาพยนตร์ โดยเฉพาะผลงานของผู้กำกับ Jean-Luc Godard

ช่วงวัยรุ่นถูกส่งไปโรงเรียนประจำ แต่พยายามหลบหนีหลายครั้ง จนบิดาต้องพามาอาศัยอยู่ด้วยกัน กลางวันช่วยทำงานหาเงิน กลางคืนร่ำเรียนหนังสือ และค้นพบความหลงใหลในการเขียนบทกวี ละคร เรื่องสั้น (จากอิทธิพลของบิดา), พออายุ 18 มุ่งหน้าสู่ Munich เข้าเรียนการแสดงยัง Fridl-Leonhard Studio ทำให้พบเจอว่าที่(นักแสดง)ขาประจำ Hanna Schygulla ระหว่างนั้นก็ได้ทำงานผู้ช่วยผู้กำกับ บันทึกเสียง Sound Man เขียนบทละคร สร้างหนังสั้น เคยยืนใบสมัคร Berlin Film School แต่ได้รับการบอกปัดปฏิเสธ, กระทั่งเมื่อปี 1967 มีโอกาสเข้าร่วม Munich Action-Theater ได้เป็นทั้งนักแสดง เขียนบท ผู้กำกับ ไม่นานก็ประสบความสำเร็จ จากนั้นร่วมก่อตั้งคณะการแสดง Aktion-Theater (แปลว่า Anti-Theater) สรรค์สร้างผลงานที่ผิดแผก แหกขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของวงการละครเวที! กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Love Is Colder Than Death (1969) เป็นการทดลองแนว Avant-Garde ที่ได้รับเสียงโห่ไล่เมื่อฉายรอบปฐมทัศน์เทศกาลหนังเมือง Berlin แต่กลับมาคว้ารางวัล German Film Award ถึงสองสาขา

ในช่วงเวลา Avant-garde Period (1969–1971) ผู้กำกับ Fassbinder ได้รับอิทธิพลจากยุคสมัย French New Wave โดยเฉพาะ Jean-Luc Godard สรรค์สร้างผลงานสิบกว่าเรื่องในระยะเวลา 2 ปีเศษๆ ด้วยไดเรคชั่นที่ไม่ประณีประณอมผู้ชม มีความเป็นส่วนตัวสูงมากๆ จึงมิอาจเข้าถึงบุคคลทั่วไป จนกระทั่งหลังเสร็จจาก Pioniere in Ingolstadt (1971) ได้รับชักชวนเข้าร่วมงานสัมมนาที่ Münchner Stadtmuseum (Munich Film Archive) มีโอกาสรับชมภาพยนตร์ของ Douglas Sirk อาทิ All That Heaven Allows (1955), Imitation of Life (1959) ฯลฯ บังเกิดความหลงใหลคลั่งไคล้ ต้องการปรับเปลี่ยนแนวทางสรรค์สร้างผลงานของตนเองโดยทันที

ส่วนการเปลี่ยนผ่านจาก Melodrama Period (1971-76) สู่ช่วงเวลาโกอินเตอร์ International Period (1976–1982) จะไม่มีความแตกต่างในส่วนของเนื้อหาสาระ ประเด็นความสนใจ หรือไดเรคชั่นการกำกับ แต่จะได้รับงบประมาณเพิ่มสูงขึ้น ร่วมทุนระดับนานาชาติ และมีโอกาสเลือกนักแสดงที่เคยเพ้อใฝ่ฝันอยากพบเจอหน้าสักครั้ง

แซว: จริงๆแล้วก่อนหน้านี้ผู้กำกับ Fassbinder เคยสรรค์สร้างภาพยนตร์ Whity (1971) ที่เป็นการร่วมทุนสร้างเยอรมัน-สเปน แต่ผลลัพท์ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ และยังอยู่ในช่วง Avant-Garde Period เลยไม่ได้รับการจัดร่วมกลุ่ม International Period

สำหรับ Chinese Roulette เป็นโปรเจคร่วมทุนสร้างระหว่าง Albatros-Produktion (เยอรมัน) กับ Les Films du Losange & Tango Film (ฝรั่งเศส) โดยได้รับการติดต่อจากโปรดิวเซอร์ Michael Fengler

ระหว่าผู้กำกับ Fassbinder เริ่มครุ่นคิดมองหาเรื่องราวที่น่าสนใจ ตากล้อง Michael Ballhaus ได้แนะนำปราสาท Stöckach, Unterfranken แว่นแคว้น Franconia (ตอนเหนือของรัฐ Baviria) เพราะสมัยเด็กเคยอาศัยอยู่ละแวกนั้น เลยรู้จักมักคุ้นเคยสถานที่เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับไปพักผ่อน ตากอากาศ ยังชนบทห่างไกล

เมื่อได้รับคำแนะนำดังกล่าว ผู้กำกับ Fassbinder เลยขับรถออกไปสำรวจสถานที่จริง 14 วันให้หลังเดินทางกลับมาพร้อมบทหนังพัฒนาเสร็จสิ้น เริ่มต้นตระเตรียมงานสร้างโดยทันที!


ครอบครัว Christ ประกอบด้วยบิดา Gerhard (รับบทโดย Alexander Allerson), มารดา Ariane (รับบทโดย Margit Carstensen) และบุตรสาววัยสิบสองขวบ Angela (รับบทโดย Andrea Schober) ล้มป่วยโปลิโอทำให้ไม่สามารถก้าวเดินด้วยตนเอง ต้องใช้ไม้เท้าค้ำยัน และได้รับการช่วยเหลือจาก Traunitz (รับบทโดย Macha Méril) ผู้ดูแลใบ้ ใช้ภาษามือในสื่อสาร

โดยปกติแล้วสมาชิกครอบครัว Christ มักใช้ช่วงเวลาวันหยุดยังคฤหาสถ์ที่เมือง Munich ซึ่งมีแม่บ้าน Kast (รับบทโดย Brigitte Mira) อาศัยอยู่กับบุตรชาย Gabriel (รับบทโดย Volker Spengler) แต่ครั้งนี้เกิดเหตุการณ์วุ่นๆเมื่อ Gerhard มาพร้อมกับหญิงชู้ Irene Cartis (รับบทโดย Anna Karina) และ Ariane มาพร้อมกับชายชู้ Kolbe (รับบทโดย Ulli Lommel) เผชิญหน้ากันโดยไม่รู้ตัวจากการจัดแจงของ Angela

แต่ในค่ำคืนแรก Gerhard และ Ariane ต่างไม่ยี่หร่าต่อความเป็นสามี-ภรรยา ยังคงร่วมรักหลับนอนกับชู้รักของตนเอง จนกระทั่ง Angela เดินทางมาถึงพร้อมกับ Traunitz พร้อมจัดแจงกิจกรรมหลังอาหารมื้อเย็น เรียกร้องให้ทุกคนเล่นเกม Chinese Roulette แบ่งสมาชิกออกเป็นสองฝั่งฝ่าย

  • กลุ่มแรกประกอบด้วย Gerhard, Angela, Traunitz และ Gabriel
  • กลุ่มสองประกอบด้วย Ariane, Irene, Kolbe และ Kast

จากนั้นกลุ่มแรกของ Angela จะทำการเลือกใครบางคน (จากกลุ่มสอง) แล้วให้สมาชิกกลุ่มสองตั้งคำถามคนละ 2 ข้อ (+1 คำถามสุดท้าย) เพื่อค้นหาบุคคลที่เป็นโจทก์ปริศนา จากคำตอบของสมาชิกทั้งสี่ของกลุ่มแรก โดยคำถามสุดท้ายซึ่งมีความเลวร้ายที่สุดก็คือ

What would this person have been in the Third Reich?

Ariane Christ

Margit Carstensen (เกิดปี 1940) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Kiel โตขึ้นเข้าเรียนการแสดงยัง Hochschule für Musik und Theater Hamburg จนมีโอกาสเล่นละครเวที Deutsches Schauspielhaus (German Playhouse), เมื่อปี 1969 ย้ายมาเข้าร่วม Theater am Goetheplatz ที่กรุง Bremen มีโอกาสพบเจอผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder เลยกลายเป็นเพื่อนสนิท ขาประจำ ร่วมงานกันทั้งละครเวที ซีรีย์ และภาพยนตร์ อาทิ The Bitter Tears of Petra von Kant (1972), Martha (1974), Chinese Roulette (1976) ฯลฯ

รับบท Ariane Christ มารดาผู้มีความจงเกลียดจงชังบุตรสาว เพราะคือจุดเริ่มต้นให้สูญเสียสามี Gerhard หลบหนีไปมีหญิงชู้เมื่อ 11 ปีก่อน พอหมอบอกว่าไม่ทางรักษาอาการป่วยของ Angela ตนเองเลยลักลอบคบหาชายชู้เมื่อ 7 ปีก่อน มาวันนี้คือบุคคลทำให้ความสุขของเธอพังทลาย ถึงขนาดครุ่นคิดจะเข่นฆ่าให้ตกตาย แสดงความอาฆาต เกรี้ยวกราด รังเกียจเดียดชัง

ในบรรดานักแสดงทีมนักแสดง (Ensemble Cast) มีเพียง Carstensen ที่ถูกผลักออกมาให้เจิดจรัส เปร่งประกาย (ฝีไม้ลายมือของเธอระดับ Superstar จริงๆ) เพราะบทบาทต้องเผชิญหน้ากับบุตรสาว เต็มไปด้วยอาการอาฆาต เคียดแค้นอย่างรุนแรง พร้อมกระทำสิ่งชั่วร้ายเพื่อกำจัดปีศาจขัดขวางความสุข โดยไม่สนถูก-ผิด สูญสิ้นสามัญสำนึกความเป็นมารดา

สิ่งที่ผมชื่นชอบมากๆของตัวละครนี้ไม่การเผชิญหน้ากับบุตรสาว แต่คือความพยายามลอกเลียนแบบสามี เห็นเขาสัมผัสโอบกอดจูบหญิงชู้ จึงส่งสายตาให้ชายคนรักกระทำกับตนเองเช่นนั้นบ้าง แต่เขากลับปอดแหก ไร้ความหาญกล้า ไม่รู้จะหวาดกลัวเกรงอะไร ค่อยๆสะสมความผิดหวังเพิ่มขึ้นทีละนิด จนกระทั่งตระหนักว่าต้นสาเหตุคือยัยบุตรสาวทรพี อย่าให้เจอหน้าเชียวนะ เดี๋ยวแม่จะ …

ผมพยายามครุ่นคิดหาเหตุผล ทำไมถึงต้องตัวละครนี้? อาจเพราะเธอคือจุดศูนย์กลางของทุกสิ่งอย่าง ผู้ให้กำเนิดบุตรสาว ภรรยาของสามี ว่าจ้างผู้ดูแล แม่บ้าน หรือแม้แต่คนรักของชายชู้ กล่าวคือแทบทุกตัวละคร (ยกเว้นหญิงชู้ของสามี) ล้วนมีความสัมพันธ์บางอย่างกับเธอ … แต่เหตุผลจริงๆผมครุ่นคิดว่าผู้กำกับ Fassbinder เพียงต้องการโจมตีภรรยา(ขณะนั้น)ของตนเองมากกว่านะ!


สำหรับนักแสดงอื่นๆ ขอกล่าวถึงแค่เพียงคร่าวๆนะครับ เขียนหมดคงไม่ไหว

  • Gerhard Christ บิดาที่ไม่เคยเหลียวแลบุตรสาว แต่ยินยอมตามใจทุกอย่าง, สามีผู้แสร้งว่าไม่มีความผิดปกติกับภรรยา แต่ลักลอบคบหาหญิงชู้ หรือเมื่อเผชิญหน้าชายชู้ ก็ไม่ปฏิเสธต่อต้าน, เช่นกันกับแม่บ้าน หรือบุตรชายของเธอ สนเพียงการให้บริการ อาหารอร่อย ไม่ใคร่ส่งเสริมสนับสนุนอะไรอย่างอื่น … เรียกได้ว่าเป็นบุคคลที่เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ไม่สนอะไรนอกจากความพึงพอใจของตนเอง
    • รับบทโดย Alexander Allerson (เกิดปี 1930) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Osterode, East Prussia หลังเรียนจบมัธยม เข้าศึกษาการแสดง จนมีโอกาสขึ้นเวที Düsseldorfer Schauspielhaus เริ่มเข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 1962 ผลงานเด่นๆ อาทิ The Battle of Britain (1969), Ludwig (1973), The Outsiders (1976), Chinese Roulette (1976) ฯ
    • ภาพลักษณ์ของ Allerson ดูเหมือนเพลย์บอยที่ชอบล่อลวงหญิงสาวไปทั่ว ด้วยเหตุนี้เมื่อเผชิญหน้าภรรยา จึงไม่ได้มีความตื่นตระหนก วิตกจริต สามารถครุ่นคิดเข้าใจ พร้อมยินยอมเสียสละเธอให้กับชายชู้ (ถ้าเขาร้องขอ) แต่จุดอ่อนเดียวคือบุตรสาว จึงพยายามเอาอกตามใจ ให้ความช่วยเหลือเท่าที่ตนเองจะสามารถทุกสิ่งอย่าง
    • คำพร่ำบอกว่ารักของ Gerhard ต่อภรรยา Ariane มันช่างเหมือนคำพูดเลื่อนลอย ไร้มีความรู้สึกใดๆซุกซ่อนเร้น ได้ยินซ้ำบ่อยครั้งมันก็เริ่มไม่มีความหมาย คล้ายเด็กเลี้ยงแกะโกหกพกลมไปวันๆ จนกระทั่งเมื่อเธอกระทำการอันโง่เขลา นั่นน่าจะเป็นครั้งแรกในรอบสิบกว่าปีที่เขาเอ่ยคำรักออกมาจากใจจริง … แต่ผู้ชมทั่วไป (และผมเอง) กลับไม่ค่อยรู้สึกอยากเชื่อสักเท่าไหร่ (ด้วยเหตุผลของเด็กเลี้ยงแกะ อย่างที่กล่าวไป)
  • Angela บุตรสาววัย 14 ปี เมื่อตอนอายุ 3-4 ขวบ ล้มป่วยจากโรคโปลิโอทำให้ขาเล็กลีบกลายเป็นคนพิการ ไม่มีหนทางรักษาหาย เลยถูกบิดา-มารดาทอดทิ้งขว้าง ไม่เคยมอบความรักเป็นห่วงเป็นใย เพียงผู้ดูแลบ้าใบ้ Traunitz สื่อสารด้วยภาษามือ คอยให้ความช่วยเหลือ ชี้แนะนำ ควบคุมครอบงำ ร่วมกันครุ่นคิดวางแผนให้ทุกบุคคลมาเผชิญหน้ากัน เพื่อจักได้ล้างแค้นเอาคืน ทำบางสิ่งอย่างเพื่อให้พวกเขาหันมาเหลียวแลตนเอง
    • รับบทโดย Andrea Schober ชื่อเดิม Andrea Popadic (เกิดปี 1964) นักแสดงสัญชาติ German เป็นนักแสดงเด็กขาประจำในหนังของผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder ตั้งแต่ The Merchant of Four Seasons (1971), Effi Briest (1974) และ Chinese Roulette (1976)
    • ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะ จะหานักแสดงเด็กที่มีสายตาอาฆาตมาดร้าย น้ำเสียงพูดก็ฟังดูโฉดชั่วร้าย จอมวางแผน พร้อมกระทำทุกสิ่งอย่างเพื่อทวงคืนสิทธิ์ของตนเอง ซึ่งผู้ชมน่าจะตระหนักไม่ยากว่า การที่เธอมีสภาพแบบนี้เพราะถูกผู้ดูแล Traunitz เสี้ยมสอน ชี้แนะนำ คอยบงการทุกสิ่งอย่างอยู่เบื้องหลัง
  • Traunitz ผู้ดูแลส่วนตัวของ Angela แม้ไม่สามารถพูดเอ่ยคำสนทนา แต่ก็ยังได้ยินและสื่อสารภาษามือ (แต่ก็มีเพียง Angela ที่สามารถทำความเข้าใจ) ทั้งสองจึงมีความสนิทสนม พึ่งพากันและกัน สามารถควบคุมครอบงำ บงการเธออยู่เบื้องหลัง แม้ในอดีตเคยมีความสัมพันธ์กับ Gabriel แต่ปัจจุบันพยายามกีดกัน ผลักไส ทำตัวเริดเชิดหยิ่ง ไม่สนหัวบุคคลต่ำต้อยกว่าตน
    • Macha Méril ชื่อจริง Princess Maria-Magdalena Vladimirovna Gagarina (เกิดปี 1940) เกิดที่ Rabat, Morocco บิดาคือเจ้าชาย House of Gagarin แห่งจักรวรรดิรัสเซีย ส่วนมารดาเป็นผู้ดีชาว Ukranian, เติบโตขึ้นในฝรั่งเศส หลงใหลวรรณกรรม ต่อมาค้นพบความชื่นชอบด้านการแสดง เคยไปร่ำเรียน Actors Studio ที่ New York ระหว่างปี 1960-65 ระหว่างนั้นก็มีผลงานละครเวที ภาพยนตร์ ผลงานเด่นๆ อาทิ A Married Woman (1964), Belle de jour (1967), Chinese Roulette (1976), Sans toit ni loi (1985) ฯ
    • ผมครุ่นคิดว่าเหตุผลที่ให้ตัวละครนี้เป็นใบ้ เพราะ Méril ไม่สามารถพูดภาษาเยอรมัน เลยต้องพึ่งพา Karina ในการสื่อสาร (แบบเดียวกับในหนังที่ Angela ต้องแปลภาษามือของตัวละคร)
    • ถึงจะไม่สามารถพูดคุยสื่อสาร แต่แค่สีหน้า ท่าทาง การวางตัวของ Méril โดยเฉพาะฉากเอาไม้เท้าเต้นเพลง Kraftwerk: Radioactivity ถือว่าแย่งซีนไปเต็มๆ (ผมว่าโดดเด่นกว่า Karina เสียอีกนะ!)
  • Irene Cartis ชู้รักของ Gerhard เดินทางตรงมาจากฝรั่งเศส ตั้งใจจะใช้เวลาสุดสัปดาห์อย่างแช่มชื่น พรอดรักกอดจูบกันอย่างดูดดื่ม แต่เมื่อพบเห็นภรรยาของชายคนรัก ก็แสดงอาการตะขิดตะขวง เกรงกลัวว่าจะมีเรื่องร้ายๆ แต่เขาก็พยายามฉุดเหนี่ยวรั้งเธอเอาไว้ โดยไม่ใคร่สนใจอะไรทั้งสิ้น
    • รับบท Anna Karina ชื่อจริง Hanne Karin Bayer (1940-2019) เกิดที่ Frederiksberg, Denmark โตขึ้นเริ่มจากเป็นนักร้อง-เต้นคาบาเร่ต์ ตามด้วยโมเดลลิ่ง แสดงหนังสั้นที่คว้ารางวัลเทศกาลหนังเมือง Cannes เลยตัดสินใจปักหลักอยู่กรุง Paris (ยังพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ได้ด้วยซ้ำ) ได้รับการค้นพบโดยแมวมอง พามาถ่ายแบบ นิตยสาร กระทั่ง Jean-Luc Godra ชักชวนมารับบทนำ Breathless (1960) แต่กลับบอกปัดปฏิเสธ ถึงอย่างนั้นก็ยินยอมร่วมงาน ตกหลุมรัก แต่งงาน มีผลงานร่วมกันตั้งแต่ A Woman Is a Woman (1961), My Life to Live (1962), The Little Soldier (1963), Band of Outsiders (1964), Pierrot le Fou (1965), Alphaville (1965) และ Made in USA (1966), ผลงานเด่นๆหลังจากนั้น อาทิ The Nun (1966), The Stranger (1967), Man on Horseback (1969) ฯ
    • บทบาทนี้เริ่มต้นเหมือนจะมีความน่าสนใจ แต่ไปๆมาๆก็แทบไม่มีบทพูด ไร้ความโดดเด่น แค่เพราะเป็นนักแสดงมีชื่อเสียงโด่งดัง ปรากฎเป็นส่วนหนึ่งในหนังก็สร้างความน่าสนใจมากๆแล้ว
  • Kolbe ชู้รักของ Ariane ดูเป็นคนอ่อนแอ ขลาดเขลา พึ่งพาไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ (น่าจะเพราะทรงผมเถิกๆกระมัง) เมื่อต้องเผชิญหน้าสามีของชายคนรัก ก็แสดงอาการหวาดกลัวเกรงว่าจะมีเรื่องร้ายๆ เลยปฏิเสธจะสัมผัส กอดจูบลูบไล้ แต่พอลับหลังก็ถ้าโถมด้วยความรุนแรงเข้าใส่
    • Ulli Lommel (1944-2017) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติ German เกิดที่ Zielenzig, Oststernberg (ปัจจุบันคือ Sulęcin, Lubuskie ประเทศ Poland) ขณยังเป็นทารก ครอบครัวต้องหลบหนีจากกองทัพ Red Army (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) เติบโตขึ้นที่ Bad Nauheim มีความชื่นชอบหลงใหล Elvis Presley เลยตัดสินใจก้าวสู่วงการแสดง ภาพยนตร์เรื่องแรก Fanny Hill (1964), เริ่มมีชื่อเสียงจาก Love Is Colder Than Death (1969) กลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder, อพยพสู่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1977 สนิทสนมกับ Andy Warhol ร่วมสรรค์สร้างภาพยนตร์กันหลายเรื่อง อาทิ Cocaine Cowboys (1979), Blank Generation (1980), The Boogeyman (1980) ฯ
    • บทบาทของ Lommel แตกต่างตรงกันข้ามจากที่ผมเคยรับชมเรื่อง Love Is Colder Than Death (1969) ไม่ได้มีสง่าราศี สุขุม เยือกเย็นชา กลายเป็นบุคคลดูพึ่งพาไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ (ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน)
  • Kast แม่บ้านคอยรับใช้ครอบครัว Christ มาหลายสิบปี คอยปกปิดความสัมพันธ์ชู้รักของทั้ง Gerhard และ Ariane แต่ก็ไม่พึงพอใจนักที่ Angela จัดแจงให้เกิดการเผชิญหน้าครั้งนี้ แสดงอาการฉุนเฉียว ไม่พึงพอใจ ใช้คำพูดเสียดสี ถากถางออกมาซึ่งๆหน้า แต่เธอก็เป็นเพียงแค่แพะรับบาป ไม่ได้กระทำอะไร ผิดต่อใครทั้งนั้น
    • Brigitte Mira (1910 – 2005) นักแสดงสัญชาติเยอรมัน เกิดที่ Hamburg, Weimar Republic บิดาเป็นนักเปียโนชาวรัสเซีย เชื้อสาย Jewish โตขึ้นมุ่งสู่กรุง Munich เริ่มจากเป็นนักเต้นบัลเล่ต์ แสดงละครเวที ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเอาตัวรอดด้วยการปกปิดชาติกำเนิด แสดงหนังชวนเชื่อให้กับนาซี สามารถสู่วงการภาพยนตร์เต็มตัวช่วงทศวรรษ 50s สนิทสนมเป็นขาประจำของ Fassbinder ผลงานเด่นๆ อาทิ Ali: Fear Eats the Soul (1974), Berlin Alexanderplatz (1980) ฯ
    • แม้จะเป็นบทสมทบเล็กๆ แต่คุณป้า Mira คงจริตได้จัดจ้าน ทั้งสีหน้าขยะแขยง รังเกียจเดียจฉันท์ โดยเฉพาะคำพูดเสียดแทงใจดำได้อย่างเจ็บแสบกระสันต์ ดูเธอเบื่อหน่ายในวิถีชีวิต เป็นได้แค่ขี้ข้าคอยรับใช้ ไม่เคยได้รับโอกาสสนับสนุน อิสรภาพของตนเอง
  • Gabriel Kast บุตรชายนอกสมรสของ Kast ดูมีความไม่สมประกอบ สมองเชื่องช้า ลูกติดแม่ นิสัยกร้าวร้าว ชื่นชอบแอบฟังการสนทนาผู้อื่น ขณะเดียวกันอ้างว่ามีความสามารถด้านการเขียนหนังสือ แต่แท้จริงแล้วไปคัทลอกขโมยผลงานผู้อื่น ไม่ได้มีความซื่อสัตย์ จริงใจ สนเพียงต้องการครอบครองรักกับ Traunitz แต่กลับถูกเธอบอกปัดปฏิเสธ ไม่เอาอีกแล้ว
    • Volker Spengler (1939-2020) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Berlin เมื่อตอนอายุ 14 ทำงานกะลาสี ออกท่องมหาสมุทร ใช้เวลาพักร่ำเรียนฝึกฝนการแสดง พอค้นพบหนทางเอาตัวรอดก็มุ่งมั่นด้านแสดงละครเวที กระทั่งพบเจอผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder ร่วมงานกันหลายครั้ง อาทิ Chinese Roulette (1976), The Marriage of Maria Braun (1978), Berlin Alexanderplatz (1980), Veronika Voss (1982) ฯ
    • การแสดงของ Spengler ถือว่าไม่ธรรมดาเลยนะ สร้างภาพลักษณ์ตัวละครให้ดูเนิร์ดๆ เหมือนคนทึ่มๆ ไม่ค่อยเฉลียวฉลาดสักเท่าไหร่ แต่ความเป็นจริงชอบสอดรู้สอดเห็น เพื่อปกปิดซุกซ่อนเร้นบางสิ่งอย่าง ทำให้ผู้ชมเกิดความฉงนสงสัย แท้จริงแล้วหมอนี่มีเป้าหมาย/ต้องการอะไรกันแน่
    • พฤติกรรมลับๆล่อๆ เต็มไปด้วยเลศนัยของตัวละครนี้ สะท้อนบรรยากาศของหนังที่ภายนอกดูเหมือนไม่มีอะไร แต่กลับซุกซ่อนเร้นด้วยภยันตราย ไม่รู้สึกปลอดภัย มีความผิดปกติบางอย่างถูกปกปิดซ่อนเร้นไว้

ถ่ายภาพโดย Michael Ballhaus (1935-2017) ตากล้องสัญชาติ German เกิดที่ Berlin เป็นบุตรของนักแสดง Lena Hutter กับ Oskar Ballhaus, ช่วงวัยเด็กมีโอกาสเป็นตัวประกอบภาพยนตร์เรื่อง Lola Montès (1955) จึงตัดสินใจเอาดีด้านการถ่ายภาพ เริ่มมีชื่อเสียงจากการร่วมงานผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder อาทิ The Bitter Tears of Petra von Kant (1972), Chinese Roulette (1976), The Marriage of Maria Braun (1978), แล้วยังโกอินเตอร์กลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Martin Scorsese อาทิ The Last Temptation of Christ (1988), Goodfellas (1990), The Age of Innocence (1993), Gangs of New York (2002), The Departed (2006) ฯลฯ

แม้ไดเรคชั่นของหนังยังคงได้รับอิทธิพล ‘สไตล์ Sirk’ แต่การถ่ายภาพของภาพยนตร์เรื่องนี้ มีความพยายามที่จะให้กล้องราวกับเป็นตัวละครหนึ่ง ขยับเคลื่อนไหว Tracking-Panning-Zooming ดำเนินไปมาราวกับการเต้นบัลเล่ต์ เคลื่อนวนไปรอบๆห้อง พร้อมภาพสะท้อนในกระจกมากมายเต็มไปหมด

In Chinese Roulette, the camera became a person, so to speak, a performer. We had developed a visual language that was very precise and very interesting.

Michael Ballhaus

สถานที่ถ่ายทำหลักๆก็คือ Stöckach, Unterfranken แว่นแคว้น Franconia (ตอนเหนือของรัฐ Baviria) ปราสาทเก่าแก่คาดกันว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงศตวรรษ 14-15th … เห็นว่าทีมงานทั้งหมดก็ปักหลักพักอาศัย หลับนอนอยู่ในปราสาทหลังนี้ตลอดการถ่ายทำ พวกเขาจึงมีความสนิทสนมชิดเชื้อกันมากๆ

แซว: แทบทุกคืนทีมงาน นักแสดง แม้แต่ผู้กำกับ Fassbinder ก็ร่วมกันเล่นเกม Chinese Roulette ทำให้มีความสนิทสนมชิดเชื้อ บรรยากาศผ่อนคลาย นำหลายๆแนวคิดมาใช้จริงในภาพยนตร์

this film was made in an atmosphere that I found to be one of the most positive I’ve ever shot in. Everyone lived in one house and played the same games in the evenings and all night that are in the film .

Rainer Werner Fassbinder

สองช็อตแรกของหนังมีความเหมือนที่แตกต่างตรงกันข้าม ถ่ายทำบริเวณเครื่องทำความร้อน (สัญลักษณ์ของความลุ่มร้อนสุมทรวงใน) พบเห็นหน้าต่างสองบาน ด้านนอกมีต้นไม้ใหญ่ ใบไม้สีเขียวดูสดชื่นสายตา

  • มารดา Ariane เหม่อมองออกไปนอกหน้าตา โหยหาถึงอิสรภาพ ไม่ต้องการถูกพันธการไว้ยังสถานที่แห่งนี้
  • บุตรสาว Angela เพราะขาพิการเดินกระโผกกระเผก หันหน้าเข้ามาด้านใน สื่อถึงการไม่มีโอกาสเพ้อใฝ่ฝัน ขวนไขว่คว้าอิสรภาพ สถานที่แห่งนี้สำหรับเธอราวกับค่ายกักกัน (โดยมีมารดาของเธอนั้นเปรียบกับผู้ควบคุมดูแล)

ระหว่างที่บิดา Gerhard โทรศัพท์คุยอะไรสักอย่างกับบุตรสาว พอดิบพอดีกับ Traunitz กำลังเป่าขลุ่ยส่งเสียงดังหนวกหู มองผิวเผินการกระทำดังกล่าวดูไม่มีมารยาทเอาเสียเลย แต่นัยยะฉากนี้ต้องการสื่อถึงคำพูดของบิดา มีเพียงการโป้ปด หลอกลวง น่ารำคาญกว่าเสียงเป่าขลุ่ยเสียอีก!

สำหรับตุ๊กตา เป็นการเปรียบเทียบอย่างตรงไปตรงมาถึง Angela (=ตุ๊กตา) ขณะเดียวกันเธอต้องพามันติดตัวไม่ว่าจะเดินทางไปแห่งหนไหน คงไม่ต้องอธิบายนัยยะถึง A Doll’s House กระมังนะ

เด็กปั๊มคนนี้ก็คือ Armin Meier หนึ่งในคู่ขาของผู้กำกับ Fassbinder ที่ถ้าใครเคยรับชม Fox and His Friend (1975) ได้แรงบันดาลใจจากชายคนนี้ อดีตเป็นพ่อค้าขายเนื้อชนชั้นทำงาน (Working Class) ได้รับการชักจูงจมูก (จาก Fassbinder) จนกลายเป็นพลเมืองชนชั้นกลาง (Bourgeoisie)

การเติมน้ำมันฉากนี้ชวนให้ผมนึกถึงภาพยนตร์ Written on the Wind (1956) ของผู้กำกับ Douglas Sirk ส่วนจะแฝงนัยยะอะไรนั้นให้ลองไปหาอ่านจะเรื่องนั้นดูนะครับ

วินาทีที่ Gerhard (กับ Irene) เปิดประตูเข้ามาพบเจอ Ariane (กับ Kolbe) สังเกตว่ากล้องมีการเคลื่อนขึ้นสูงจนเห็นขอบด้านบนประตูถ่ายมุมก้มลงมา เหมือนต้องการจะสื่อว่าสิ่งเกิดขึ้นนี้ราวกับสวรรค์บันดาล โชคชะตาฟ้ากำหนด จริงอยู่ว่า Angela เป็นคนจัดแจง แต่เรื่องการคบชู้นอกใจ สักวันหนึ่งต่างฝ่ายต่างต้องเผชิญหน้ากันและกัน ไม่มีหนทางหลีกเลี่ยงได้อยู่แล้ว

ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมคงวิเคราะห์ลงรายละเอียดยิบๆ ว่าทุกทิศทางการเคลื่อนกล้อง ภาพสะท้อนในกระจกต้องการสื่อถึงอะไร ความขี้เกียจทำให้ผมขี้เกียจนะครับ เราสามารถเพลิดเพลินไปกับไดเรคชั่นของฉากเหล่านี้โดยไม่ต้องครุ่นคิดอะไรเลยก็ได้! เพียงสังเกตปฏิกิริยาสีหน้า การกระทำ ตำแหน่งของตัวละคร หรือถ้ามีภาพสะท้อน/ลอดผ่านกระจกก็แสดงว่ามีบางสิ่งอย่างซุกซ่อนเร้น (ภายนอกกับภายในมีความแตกต่าง/ขัดแย้งกัน) เบื้องต้นเข้าใจแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว …ละมั้ง

อย่างที่อธิบายไปตอนต้นว่า ลีลาการเคลื่อนกล้องจะมีความพริ้วไหวไปมา (ด้วยดอลลี่) เดี๋ยวเร็ว เดี๋ยวช้า บางครั้งก็หมุน 360 องศา ราวกับการเต้นลีลาศ/บัลเล่ต์ ซึ่งนักแสดงจักต้องมีการซักซ้อม ขยับเคลื่อนไหวไปตามตำแหน่งเปะๆ … นี่ผิดปกติไดเรคชั่นของผู้กำกับ Fassbinder ที่มักเทคเดียวผ่าน แต่เรื่องนี้มีอะไรๆให้เตรียมการพอสมควรก่อนเริ่มถ่ายทำได้จริง เลยใช้เวลาโปรดักชั่นค่อนข้างยาวนานหลายสัปดาห์

แค่มาบอกให้แม่บ้าน Kast ตระเตรียมอาหารมื้อเย็นเพิ่มขึ้น Gerhard ต้องนั่งเตะท่า ยกเท้าขึ้นมาวางบนโต๊ะขณะดูไพ่ นี่เป็นพฤติกรรมที่ต้องการสื่อว่า ตนเองสามารถควบคุมสถานการณ์นี้ เอาอยู่! ไม่มีอะไรให้ต้องหวาดวิตกกังวล ทุกสิ่งอย่างจักดำเนินไปที่มันควรเป็นตั้งแต่แรก

วินาทีที่มารดา Ariane พบเห็นการมาถึงของบุตรสาว Angela ตระหนักว่าทั้งหมดนี้คือแผนการ(อันชั่วร้าย)ของเธอ ต้องการตรงเข้าไปตบหน้า ทุบตีกระทำร้าย แต่ถูกสามี Gerhard ฉุดเหนี่ยวรั้งเอาไว้ สิ่งน่าสนใจของช็อตนี้คือความดำมืดที่ปกคลุมครึ่งหนึ่งของภาพ (น่าจะเป็นบานประตูกระมัง) นั่นอาจแทนด้วยตัวตน/ความมิดมิดภายในจิตใจของ Angela (หรือจะของ Ariane ก็เช่นกัน)

การแสดงออกสุดท้ายของ Ariane คือการเขวี้ยงขว้างถ้วยกาแฟ ทำตัวเหมือนเด็กน้อยไม่พึงพอใจหลังสูญเสียของรักของห่วง แถมยังทำให้แม่บ้าน Kast ต้องเข้ามาเก็บกวาด ทำความสะอาดในสิ่งไม่ใช่ภาระหน้าที่ของตนเองสักนิด!

ล้อกับช็อตบนของมารดา ขณะนี้คือตอนที่ Angela เดินเข้าไปในห้องพัก พบเห็นผนังกำแพงสีขาวกินพื้นที่เกินครึ่งหนึ่งของภาพ ราวกับเธอกำลังก้าวเข้าสู่โลกอันบริสุทธิ์ เวิ่งว่างเปล่าของตนเอง

เช้าวันถัดมา Angela ออกสำรวจกามกิจของบิดา-มารดา ทั้งสองห้องมีความแตกต่างกันพอสมควร

  • ห้องของบิดา, Gerhard นอนคว่ำในสภาพเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า (เมื่อคืนคงร่วมรักหนักเกินไปหน่อย) ส่วน Irene นั่งอยู่บนเครื่องทำความร้อน เหม่อมองออกไปนอกหน้าต่าง (แบบเดียวกับ Ariane ตอนช็อตแรกของหนัง) สื่อถึงความต้องการหลบลี้หนีออกจากสถานที่แห่งนี้ (แต่กลับถูกฉุดเหนี่ยวรั้งโดยชู้รัก ไม่ยินยอมให้จากไปไหน)
  • ห้องของมารดา, Ariane นั่งเปลือยอก สวมใส่ตาข่ายบนศีรษะ (สื่อถึงการกำลังครุ่นคิด หาหนทางออกจากสถานการณ์นี้) ส่วนชายชู้ Kolbe นอนอยูเคียงข้าง รอที่จะถาโถมเข้าใส่ ยังไม่เต็มอิ่มหนำใจกับการร่วมรักเมื่อค่ำคืน (แต่ไม่ใช่กับ Ariane ที่รู้เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานทรวงใน)

I is another. If the brass wakes the trumpet, it’s not its fault. That’s obvious to me: I witness the unfolding of my own thought: I watch it, I hear it: I make a stroke with the bow: the symphony begins in the depths, or springs with a bound onto the stage.

If the old imbeciles hadn’t discovered only the false significance of Self, we wouldn’t have to now sweep away those millions of skeletons which have been piling up the products of their one-eyed intellect since time immemorial, and claiming themselves to be their authors!

บทกวีประพันธ์โดย Arthur Rimbaud

คำแปลใน Subtitle อาจแตกต่างจากบทกวีเต็มๆที่ผมนำมานี้นะครับ คงเพราะคนแปลต้องการให้ผู้ชมเข้าใจว่า ‘I is another’ คือการสื่อถึง Ego ของมนุษย์ สิ่งที่มีความซับซ้อน ซ่อนอยู่ในตัวเราเอง เพื่อสะท้อนเหตุผลการยังคงสถานะครอบครัว การแต่งงาน ระหว่างบิดา-มารดา (ทั้งสองต่างทะนงในเกียรติของตนเอง ไม่ยินยอมรับความจริงว่ามีสภาพเหมือนสิ่งมีชีวิตที่ดับดิ้นมานาน) ซึ่งระหว่างที่ Angela อ่านบทกวีนี้จะปรากฎสองภาพธรรมชาติ

  • กล้องค่อยๆแพนนิ่งทิวทัศน์ ท้องทุ่งกว้าง เคลื่อนมาจนถึงไม้กางเขนตรึงพระเยซู (ดูไม่เหมือนรูปปั้น น่าจะเป็นใครสักคนขึ้นไปห้อยต่องแต่ง) ซึ่งคือสัญลักษณ์ความทุกข์ทรมาน การเสียสละของพระผู้มาไถ่ และยังสื่อถึงการถือกำเนิดใหม่
    • หนังจงใจตั้งนามสกุลของครอบครัวนี้ว่า Christ ก็เพื่อสื่อถึงฉากนี้เลยกระมัง! สภาพของพวกขณะนั้นมีต่างจมปลักอยู่ในความทุกข์ทรมาน ต้องการใครสักคนเป็นผู้เสียสละ เพื่อสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่
  • ศีรษะของกวาง (มั้งนะ) ในสภาพเน่าเปื่อย หนอนชอนไช ดูแล้วคงสูญเสียชีวิตมาระยะเวลาหนึ่ง
    • สามารถสื่อถึงสภาพครอบครัว Christ ขณะนั้น ทุกคนต่างมีสภาพปางตาย ไร้ชีวิต จิตวิญญาณ สนเพียงตัวตนเอง ไม่หลงเหลือความเป็นครอบครัว หรือสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าอีกต่อไป

ขอทานตาบอด มาขอเศษเงินจาก Kast แต่เมื่อได้รับแล้วกลับเดินปร๋อ ขับรถกลับ เห้ย! มรึงไม่ได้ตาบอดจริงนี่หว่า? เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนถึงครอบครัว Christ ทั้งบิดา-มารดา Gerhard-Ariane ต่างรับรู้อยู่ว่าพวกเขามีปัญหาอะไร (กับ Angela) แต่แสร้งว่ามองไม่เห็น ทำเป็นสายตามืดบอด แล้วยังคงดำรงชีวิตต่อไปด้วยการลวงหลอกตนเอง (และผู้อื่น)

การเต้นระบำของ Traunitz ด้วยการใช้ไม้เท้าของ Angela (สื่อถึงการที่ Traunitz เป็นบุคคลมีอิทธิพลต่อ Angela สามารถควบคุมครอบงำ บงการทุกก้าวย่างเดิน ทำเป็นแบบอย่าง) ขณะเปิดบทเพลง Kraftwerk: Radioactivity แนว Electropop มอบสัมผัสถึงภยันตราย สิ่งชั่วร้ายรายล้อมรอบทั่วปราสาทหลังนี้ (Radioactivity แปลว่า กัมมันตภาพรังสี สิ่งที่สามารถปนเปื้อนอยู่ในอากาศ แล้วสร้างอันตรายให้ร่างกาย อาจถึงขั้นล้มป่วย-ตกตาย)

ขณะที่บุรุษกำลังเพลิดเพลินกับเกมหมากรุก หักเหลี่ยมเฉือนคม เพื่อพิสูจน์ใครเหนือกว่าเป็นผู้ชนะ (ใช้เกมหมากรุกเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงอำนาจ ความสามารถ ยกตนข่มท่าน) ส่วนสาวๆกลับกำลังแต่งสวยทำผม มองผิวเผินเหมือนความเสมอภาคเท่าเทียม แต่สังเกตว่า Irene กำลังจัดทรงผมให้ Ariane เหมือนจะสื่อว่าภรรยาย่อมมีกรรมสิทธิ์ในสามีเหนือกว่าเมียน้อย

ช็อตแรกขององก์สาม เมื่อทุกคนมารวมตัวพร้อมหน้ายังโต๊ะอาหาร สังเกตกล้องถ่ายมุมกล้องลงมา (ยกสูงติดเพดาน) ราวกับจะสื่อว่าเหตุการณ์ต่อจากนี้ สวรรค์(ผู้ชม)จับจ้องมอง ถึงเวลาแห่งการเผชิญหน้า และประสบโชคชะตากรรมตามสิ่งที่พวกเขาแต่ละคนเคยกระทำอะไรใครไว้

สำหรับคนที่ไม่เข้าใจเกม Chinese Roulette แนะนำให้ดูจนจบ ค้นพบว่าบุคคลปริศนา แล้วค่อนย้อนกลับมารับชมตั้งแต่ตอนต้นองก์สามอีกสักรอบ จะสามารถเข้าใจคำถาม-คำตอบ ของตัวละครทั้งหลาย ว่าต้องการสื่อถึงโจทก์ผู้นั้นเช่นไร

ไดเรคชั่นระหว่างเกม Chinese Roulette จะมีทั้งการเคลื่อนไหวเดินไปเดินมา สลับสับเปลี่ยนตำแหน่ง ทิศทางมุมกล้อง ภาพสะท้อน/ลอดผ่านกระจก เบลอ-ชัด ปรับโฟกัสใกล้-ไกล หรือจำนวนบุคคลในช็อตนั้น ฯลฯ ผมสังเกตดูแล้วมันแทบไม่มีการบอกใบ้ในภาษาภาพยนตร์ ต้องสังเกตจากคำถาม-คำตอบ ของตัวละครเท่านั้น!

ผมเลือกนำช็อตที่ Kast ครุ่นคิดว่าตนเองคือบุคคลปริศนา ในตอนแรกยืนเบลอๆอยู่ด้านหลังระหว่าง Gerhard กับ Kolbe กระทั่งพอเธอพูดแสดงความคิดเห็นออกไป ถึงมีการปรับโฟกัสให้คมชัด และกล้องเคลื่อนเลื่อนไปจับจ้องใบหน้า … ไดเรคชั่นดังกล่าวเป็นการบอกใบ้อยู่เล็กๆว่า นั่นไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง เพราะการปรับโฟกัสเบลอ-ชัด สื่อถึงความโล้เล้ลังเล แถมยืนอยู่ด้านหลังไม่ได้มีส่วนร่วมอะไร ยินยอมเสียสละ กลายเป็น ‘แพะรับบาป’ เสียมากกว่า

เสียงหัวเราะของ Angela สร้างความไม่พึงพอใจอย่างรุนแรงต่อมารดา Ariane จนเธอปัดเกมหมากรุก (สื่อถึงการล้มกระดาน ทำลายแผนการอันชั่วร้ายของบุตรสาว) หยิบปืนขึ้นมาเล็งบุตรสาว แต่สังเกตว่าช็อตนี้เธออยู่ด้านหลังกรงนก (จิตใจที่ถูกควบคุมครอบงำ โหยหาอิสรภาพของพันธการ ‘ครอบครัว’) และบริเวณด้านหลังตู้ใส่สุรา Traunitz แอบหลบซ่อนข้างๆประตู คอยชักใย บงการทุกสิ่งอย่างอยู่เบื้องหลัง

Are you willing to take each other in marriage, to love and cherish each other, till death do you part?

ประโยคนี้น่าจะคือบทพูดของชาวคริสต์ระหว่างเข้าพิธีแต่งงาน ป่าวประกาศต่อหน้าบาทหลวง (และผู้เข้าร่วมเป็นประจักษ์พยาน) ว่าจะครองรักเป็นสามี-ภรรยา อยู่เคียงคู่ตราบจนวันตาย การขึ้นประโยคนี้พร้อมเสียงปืนลั่นนัดที่สอง หรือว่าทั้ง Gerhard และ Ariane ต่างกระทำ …

ตัดต่อโดย Ila von Hasperg ในเครดิตร่วมงานผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder เพียงสองครั้งเท่านั้น Chinese Roulette (1976) และซีรีย์ Bolwieser (1977)

นอกจากช่วงอารัมบท หนังใช้ปราสาท Stöckach (สมมติให้ตั้งอยู่กรุง Munich ประเทศ Italy) คือจุดหมุนเรื่องราว ร้อยเรียงผ่าน 8 ตัวละคร ตัดสลับไปมาเพื่อนำเข้าสู่องก์สาม เล่นเกม Chinese Roulette ในห้องหับแห่งหนึ่ง

  • อารัมบท แนะนำตัวละคร
    • บิดา-มารดา พาบุตรสาวมาพักผ่อนยังคฤหาสถ์หลังหนึ่ง ส่วนพวกเขาต่างเตรียมตัวออกเดินทาง อ้างว่าไปทำงาน แต่จริงๆแล้วลักลอบหาชู้รัก
    • Gerhard เดินทางไปรับ Irene ยังสนามบิน แล้วขับรถพามาคฤหาสถ์/รังรักของพวกเขา
  • องก์หนึ่ง, การเผชิญหน้า ค่ำคืนแรก
    • Gerhard เปิดประตูออกมาพบเห็น Ariane กำลังพรอดรักกับ Kolbe
    • รับประทานอาหารมื้อเย็น ก่อนแยกย้ายไปหลับนอนกับชู้รักของตนเอง
    • การมาถึงของ Angela ขัดจังหวะการอ่านหนังสือของ Gabriel 
  • องก์สอง, กลางวันที่สอง
    • ร้องเรียงรุ่งอรุณของแต่ละตัวละคร
    • อาหารมื้อเช้า และเกมหมากรุก
  • องก์สาม, Chinese Roulette
    • หลังรับประทานอาหารเย็น Angela ต้องการเล่นเกม Chinese Roulette เริ่มจากแบ่งฝั่งฝ่าย ถาม-ตอบใครคือบุคคลปริศนา
    • การกระทำอันบ้าคลั่งของ Ariane และเหตุการณ์หลังจากนั้น

การตัดต่อถือเป็นอีกไฮไลท์ของหนัง โดยเฉพาะองก์สามที่ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองตัวละครอยู่แทบตลอดเวลา เพื่อตั้งคำถาม-รับฟังคำตอบ ที่ต้องมีลำดับ ความแม่นยำ และรู้สึกลื่นไหลต่อเนื่อง … ถือเป็น Sequence ที่มีความเพลิดเพลิน เอกเทศ ลงตัวแทบทุกสิ่งอย่าง (ยกเว้นการเป็นไคลน์แม็กซ์ของหนัง ที่ไม่สามารถเติมเต็มผู้ชมได้สักเท่าไหร่)


เพลงประกอบโดย Peer Raben (1940-2007) หนึ่งในเพื่อนสนิท เคยเป็นคู่ขาผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder และร่วมก่อตั้ง Aktion-Theater มีผลงานร่วมกัน (ทั้งภาพยนตร์และละครเวที) หลายเรื่องทีเดียว

งานเพลงของ Raben ถือว่ามีความสำคัญต่อหนังมากๆ เพราะใช้สื่อสารอารมณ์ความรู้สึก สิ่ง(ชั่วร้าย)ซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ความเงียบงัน และลีลาเคลื่อนกล้อง (และตัวละคร) เลยเขียนบทเพลงที่มีลักษณะคล้ายการเต้นบัลเล่ต์ เน้นความพริ้วไหว จิตวิญญาณล่องลอยไป สัมผัสถึงภยันตรายล้อมรอบทิศทาง

Chinese roulette comes to mind. He shot scenes as if the movements of the characters corresponded to a ballet choreography. I was then able to write ballet music for it.

Peer Raben

ผมชื่นชอบการบรรเลงเปียโนของบทเพลงนี้มากๆ มีทั้งความลื่นไหล (เหมือนการเต้นบัลเล่ต์) ระยิบระยับ (เหมือนแก้ว/กระจก ภาพสะท้อนที่พบเห็นบ่อยครั้งในหนัง) และมอบสัมผัสถึงบางสิ่งอย่าง(ชั่วร้าย)ซุกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ เต็มไปด้วยความลึกลับ พิศวง ภยันตรายล้อมรอบข้างกาย

การเลือกใช้บทเพลงมีทั้งดนตรีคลาสสิก, Electropop ล้วนเพื่อสะท้อนสิ่งซุกซ่อนเร้นที่อยู่ภายในจิตใจตัวละคร เติมเต็มความเงียบงัน หรือถ้าดังขึ้นขณะกำลังพูดคุยสนทนา ย่อมต้องแฝงนัยยะอะไรบางอย่าง

  • Gustav Mahler: Symphony No. 8, Part II: Closing scene from Goethe’s Faust
    • ได้ยินฉากแรกของหนัง เพื่อสื่อถึงสิ่งชั่วร้ายที่ซุกซ่อนอยู่ในจิตใจตัวละคร(มารดา)
  • เสียงเป่าขลุ่ยที่น่ารำคาญของ Traunitz
    • ดังขึ้นขณะบิดาโทรศัพท์หา Angela สะท้อนการสนทนาของเขาที่เต็มไปด้วยคำโป้ปด หลอกลวง หนวกหูเหลือทน
  • Kraftwerk: Radioactivity (1975)
    • Gabriel เปิดประตูเข้ามาพบเห็น Traunitz หยิบไม้เท้าของ Angela แสร้งว่าตนเองพิการ โยกเต้นเดินไปเดินมาบทเพลงแนว Electropop ช่างดูฝืนธรรมชาติ จอมปลอม หลอกลวง

มองอย่างผิวเผิน Chinese Roulette คือเรื่องราวการแก้แค้น ทวงคืนความสุขของบุตรสาว Angela ที่ได้สูญเสียทั้งบิดา-มารดา จากความผิดปกติทางร่างกายของตนเอง ทำให้ครอบครัวไม่สามารถก้าวเดินต่อ แม้พวกเขายังคงสถานะแต่งงาน สามี-ภรรยา แต่ต่างฝ่ายต่างออกไปคบชู้ เติมเต็มตัณหา ความต้องการส่วนบุคคล แล้วฉันละจะสามารถทำอะไรแบบนั้นได้เมื่อไหร่

ความสนใจของผู้กำกับ Fassbinder คือเรื่องของการ ‘แต่งงาน’ แม้เขาจะเป็น Bisexual แต่ก็เคยจดทะเบียนสมรสกับ Ingrid Caven แน่นอนว่าชีวิตคู่ย่อมไม่ราบรื่น (เพราะเธอไม่สามารถยินยอมรับรสนิยมชาย-ชาย) เมื่อต่างฝ่ายต่างหมดความรัก สิ้นสุดความสัมพันธ์ กลับยังคงอาศัยอยู่ร่วมกัน ดำเนินชีวิตราวกับ ‘พิธีกรรม’ ซ้ำไปซ้ำมาอยู่อย่างนั้นเหมือนคนไร้ซึ่งจิตวิญญาณ

The story is about the characters being so alienated that they continue their relationships long after they ended. All human relationships have been reduced to repetitions and rituals – we want to uncover that, but not by showing how people actually behave or how this is reflected in their faces, we want to show it with the movements of the camera. If the camera moves around something dead for a very long time, then the dead will be recognizable as dead, and then the longing for something alive will be able to arise, and therefore one will long to break with bourgeois ritual.

Rainer Werner Fassbinder

สิ่งที่ Fassbinder ต้องการนำเสนอก็คือการทำลาย ‘พิธีกรรม’ ระหว่างสามี-ภรรยา กิจกรรมบางอย่างที่จะทำให้พวกเขาสามารถเผชิญหน้า กระทำบางสิ่งอย่าง ก่อเกิดความขัดแย้งไม่ลงรอย นั่นอาจทำให้พวกเขาตระหนักถึงช่วงเวลาแรกพบตกหลุมรัก ถ้ายังสามารถยินยอมรับ ให้อภัยกันและกัน ย่อมมีโอกาสหวนกลับมาคืนดี สุขีชื่นมื่นอีกครั้ง … แต่ถ้าไม่ก็คงต้องตระเตรียมการเลิกราหย่าร้างแบบจริงๆจังๆ

มันไม่ใช่ว่าผู้กำกับ Fassbinder ต่อต้านเรื่องการแต่งงานนะครับ เขาแค่ต้องการค้นหาคุณค่าความสำคัญของมัน สิ่งหลงเหลือหลังความมักคุ้นชินที่ไม่ใช่แค่พิธีกรรมซ้ำไปซ้ำมา จนกว่าจะมีเหตุการณ์ขัดแย้งบังเกิดขึ้น นั่นคือบทพิสูจน์ความมั่นคง รักแท้จริงที่(อาจ)ยั่งยืนนานตราบจนวันตาย

Marriage as an institution gives people a pseudo-security of belonging that no longer forces them to constantly examine this security in a positive and tender way; they are only forced to do so when there is conflict. That is, if there are conflicts, the marriage is already broken. Then it’s just putty.

เมื่อพูดถึง Chinese Roulette อาจทำให้หลายคนระลึกถึง Russian Roulette เกมวัดดวงด้วยการนำกระสุนใส่ปืนลูกโม่แล้วจ่อยิงศีรษะ ผู้ชนะคือบุคคลเดียวที่รอดชีวิต! สำหรับ Chinese Roulette แม้ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บถึงตาย (ทางร่างกาย) แต่สภาพจิตใจเมื่อตระหนักถึงความครุ่นคิดเห็นของคนอื่นที่มีต่อตน (ในกรณีที่ตกเป็นโจทก์/บุคคลปริศนา) อาจสร้างความเศร้าโศก ยินยอมรับความจริงไม่ได้ เลวร้ายอาจถึงขั้นตกตายทั้งเป็น

แซว: เอาจริงๆเกมนี้มันไม่ได้เลวร้ายถึงขั้นทำลายจิตใจคนนะครับ จุดประสงค์เพื่อให้เราเรียนรู้จักการเผชิญหน้าความจริง รับฟังความครุ่นคิดเห็นของผู้อื่น (ต่อตัวเรา) จักได้ปรับตัว เปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นกว่าเก่า

ข้อเสียอีกประการของ Chinese Roulette คือการจับจ้องไปที่เป้าหมายหนึ่งเดียว ในบริบทของหนังก็คือมารดา จริงอยู่เธอเป็นบุคคลบังเกิดอคติมากที่สุด ถึงขนาดเคยครุ่นคิดจะเข่นฆ่าบุตรสาวตนเอง แต่นั่นทำให้ปัญหาอื่นๆถูกมองข้าม ตั้งแต่การนอกใจของบิดา, ความพยายามควบคุมครอบงำของผู้ดูแล, แม่บ้านหน้าไหว้หลังหลอก, บุตรชาย(แม่บ้าน)มีนิสัยกลับกลอก ฯลฯ ซึ่งเมื่อบุคคลปริศนาได้รับการเปิดเผย ก็นำเข้าสู่จุดจบที่ทำให้ทุกคนหลงลืมปมประเด็นอื่นไปหมดสิ้น

แม้ว่าการกระทำอันเสียสติแตกของมารดา ได้ทำให้วังวนอุบาศว์นี้จบสิ้นลง แต่หนังกลับใส่เสียงปืนนัดที่สองตอน Ending Credit ทิ้งอีกประเด็นคลุมเคลือให้ผู้ชมครุ่นคิดอีกว่ามีความน่าจะเป็นอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง

  • แค่เพียงพลาดพลั้ง ปืนลั่น ไม่ได้มีใครเป็นอะไร
  • Ariane ตัดสินใจคิดสั้นฆ่าตัวตาย เธออาจทำสำเร็จ/ไม่สำเร็จ Gerhard ช่วยไว้ได้ทัน/ไม่ได้ทัน หรือถูกกระสุนลูกหลง
  • Gerhard ตัดสินใจคิดสั้นฆ่าตัวตาย เธออาจทำสำเร็จ/ไม่สำเร็จ Arianeช่วยไว้ได้ทัน/ไม่ได้ทัน หรือถูกกระสุนลูกหลง
  • หรือบางทีปืนลั่น กระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว ทั้ง Ariane และ Gerhard ตกตายไปพร้อมกัน

คือมันไม่มีทางที่เราจะสามารถครุ่นคิดคาดเดาเหตุการณ์บังเกิดขึ้นได้เลยนะครับ! เช่นนั้นแล้วคงต้องมองในเชิงสัญลักษณ์ของจุดจบเรื่องราว ความสัมพันธ์ ปลดปล่อยสู่อิสรภาพ หรือการเริ่มต้น(ชีวิต)ใหม่ … นี่เช่นกันจะมองว่า Happy Ending หรือ Bad Ending ก็แล้วแต่จะคาดหวัง


หนังใช้ทุนสร้างสูงถึง DEM 1.1 ล้านมาร์ค (เทียบโปรดักชั่นปกติของผู้กำกับ Fassbinder ได้ 3-4 เรื่องเลยนะ) ใช้เวลาถ่ายทำ 7 สัปดาห์ (ระหว่างเมษายน – มิถุนายน 1976) เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ต่างประเทศค่อนข้างดี แต่ใน West German กลับไม่ประทับใจความสลับซับซ้อนของเกมนี้สักเท่าไหร่

การจะรับชมหนังเรื่องนี้ให้เข้าใจ ต้องพยายามสังเกตปฏิกิริยาตัวละคร พฤติกรรมแสดงออก ครุ่นคิดในเชิงจิตวิเคราะห์ ถึงขนาดนักวิจารณ์ชาวอเมริกัน Andrew Sarris เปิดคอร์สมหาวิทยาลัยเพื่อชักชวนนักศึกษามาร่วมตีความเชิงลึก Chinese Roulette (1976) ถึงสถาวะทางจิตใจมนุษย์

แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะหารับชมได้ทาง Criterion Channel แต่กลับไม่ได้จัดจำหน่าย Blu-Ray หรือมีข่าวคราวการบูรณะ น่าจะเพราะลิขสิทธิ์ที่เป็นการร่วมทุนสร้าง ด้วยเหตุนี้มูลนิธิ Rainer Werner Fassbinder Foundation เลยไม่สามารถทำอะไรได้มาก

ส่วนตัวมีความชื่นชอบองก์หนึ่ง-สอง ของหนังมากๆ ตั้งแต่การสร้างบรรยากาศ ถ่ายภาพ-เพลงประกอบ ไดเรคชั่นผู้กำกับ Fassbinder นักแสดงคุ้นๆหน้า แม้ว่าเกม Chinese Roulette (ในองก์สาม) จะมีอะไรๆให้ครุ่นคิด ผ่านปริศนา-คำตอบ อย่างลุ่มลึกล้ำ แต่กลับไม่สามารถเติมเต็ม ขมวดปมปัญหาครอบครัวได้อย่างน่าพึงพอใจ

แนะนำคอหนัง Family Drama ที่มีลักษณะ Psychological Thriller, ชื่นชอบการครุ่นคิดไขปริศนา ค้นหาคำตอบว่าบุคคลนั้นคือใคร?, โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ศึกษาปัญหาครอบครัว ค้นหาเหตุผลต้นตอของทุกสิ่งอย่าง

จัดเรต 13+ กับบรรยากาศของความเคียดแค้น พ่อ-แม่ไม่สนใจฉัน

คำโปรย | Chinese Roulette เกมการเอาคืนที่แสดงถึงอัจฉริยภาพของผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder แต่ได้รับผลเดี๋ยวแพ้-เดี๋ยวชนะ มีทั้งส่วนยอดเยี่ยมและน่าผิดหวัง
คุณภาพ | รูเล็ตต์ (เดี๋ยวแพ้-เดี๋ยวชนะ)
ส่วนตัว | ชื่นชอบ
แต่ก็ผิดหวัง

The Revenant (2015)


The Revenant

The Revenant (2015) hollywood : Alejandro González Iñárritu ♥♥♥♥

ธรรมชาติวิทยาของมนุษย์ ใครเข่นฆาตกรรมลูกเราก็ต้องติดตามล้างแค้นเอามันคืน! แต่นั่นมันสัจธรรมความจริงเสียที่ไหน เมื่อใดผู้ถูกกระทำเรียนรู้จักการให้อภัย สามารถปลดปล่อยวางอคติ ความหมกมุ่นครุ่นยึดติด สูดลมหายใจเข้า-ออกช้าๆเกิดเป็นสมาธิ จิตวิญญาณก็จักพบเจอความสงบสันติสุขในชีวิต

ชีวิตของผู้กำกับ Iñárritu พานผ่านความรุนแรงมากมายเมื่อครั้นอาศัยอยู่ประเทศบ้านเกิดเม็กซิโก พ่อเคยถูกลักพาตัวเรียกค่าไถ่ แม่โดนโจรปล้นทำร้ายร่างกาย ฯลฯ นั่นทำให้พอเขาสร้างภาพยนตร์ ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงโด่งดัง ตัดสินใจอพยพย้ายครอบครัวสู่สหรัฐอเมริกา

“Coming from a violent country, I don’t find violence funny. And now that the western world is getting to how it feels in my country, to be vulnerable every moment, now violence has to stop being fun”.

– Alejandro González Iñárritu

ฟังดูอาจรู้สึกย้อนแย้งกันเองที่ Iñárritu ให้สัมภาษณ์บอกว่าไม่ชื่นชอบความรุนแรง แต่กลับสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่ผลงานเรื่องแรกๆ เต็มไปด้วยเลือด ความเกรี้ยวกราด หมากัดกัน! ซึ่งคงมีแต่ศิลปินระดับนี้เท่านั้น ถึงสามารถนำเสนอความรุนแรงให้ผู้ชมตระหนักรับรู้สึกว่า เราไม่ควรพานผ่านเข้าไปยุ่งเกี่ยวข้องแว้งกับมัน

The Revenant นำเสนอความกระเสือกกระสนดิ้นรนพยายามของ Hugh Glass เพื่อที่จะติดตามล้างแค้นเอาคืน John Fitzgerald ผู้เข่นฆาตกรรมบุตรชายต่อหน้าต่อตา … เรื่องราวมีเพียงเท่านี้ แต่ความยิ่งใหญ่อลังการของหนังคือโปรดักชั่นงานสร้าง ทุกฉากถ่ายทำจากสถานที่จริง ในสภาพแวดล้อมหนาวเหน็บต่ำกว่าศูนย์องศา

คำถามที่คงเกิดขึ้นภายในจิตใจของใครหลายๆคน ผู้กำกับแม้งบ้าป่าวว่ะ จะไปทนทรมานตนเองทำไม? คุ้มกันแล้วหรือ? เรื่องพรรค์นี้ถือเป็นความเชื่อส่วนบุคคล สิ่งที่ผู้กำกับ Iñárritu โหยหาไขว่คว้าคือสิ่งเรียกว่า ‘Pure Cinema’ ความงามบริสุทธิ์ของงานศิลปะ ที่(อาจ)จะทำให้ผู้ชมพานพบเห็นแล้วตระหนักเข้าถึงสัจธรรมความจริงแห่งชีวิต

จะบอกว่า The Revenant (2015) ไม่ใช่เรื่องแรกของความพยายามกระเสือกกระสนดิ้นรนของผู้กำกับ ที่ต้องการท้าทายขีดจำกัดภาพยนตร์ ตั้งคำถาม ‘มนุษย์ vs. ธรรมชาติ’ แรงบันดาลใจของ Iñárritu ประกอบด้วย Andrei Rublev (1966), Aguirre, the Wrath of God (1972), Dersu Uzala (1975), Fitzcarraldo (1982) แถมยังเปรียบเทียบกองถ่ายกับ Apocalypse Now (1979) และผมขอแนะนำเพิ่มเติมกับ Letter Never Sent (1960), Man in the Wilderness (1971), Walkabout (1971) ฯ


ก่อนอื่นขอพูดถึง Hugh Glass (1783 – 1833) นักสำรวจชื่อดัง สัญชาติอเมริกัน เลื่องลือนามกับการบุกเบิก Missouri Territory ครั้งหนึ่งสามารถต่อสู้เอาชนะหมี Grizzly ได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงถูกลูกน้องสองคนทอดทิ้งให้ตาย หลังจากกระเสือกกระสนดิ้นรนเอาตัวรอด เลยติดตามเพื่อจะล้างแค้นเอาคืน แต่ก็ไม่ได้เข่นฆาตกรรมพวกเขานะครับ แค่หวนกลับไปเผชิญหน้าและให้ได้รับโทษทัณฑ์ตามกฎหมาย

เรื่องราวของ Glass ได้กลายเป็นปรัมปรา เรื่องเล่า บทกวี The Song of Hugh Glass (1915), ภาพยนตร์เรื่อง Man in the Wilderness (1971) และนวนิยาย The Revenant: A Novel of Revenge (2002) แต่งโดย Michael Punke (เกิดปี 1964) นักเขียนสัญชาติอเมริกัน

เกร็ด: นวนิยาย The Revenant แค่อ้างอิงตำนานของ Glass แล้วแต่งเติมเสริมรายละเอียดเข้าไปใหม่หมด นำจากประสบการณ์ส่วนตัวผู้เขียน Punke ที่ชื่นชอบท่องเที่ยวไปตามป่าเขาลำเนาไพร

โปรดิวเซอร์ Akiva Goldsman ไม่รู้ไปแว่วนวนิยาย The Revenant จากใครไหน ติดต่อขอลิขสิทธิ์ดัดแปลงสร้างภาพยนตร์กับ Punke ล่วงหน้าตั้งแต่สิงหาคม ค.ศ. 2001 ก่อนวางขายจัดจำหน่ายเสียอีก! มอบหมายให้ David Rabe ดัดแปลงบท ได้ผู้กำกับ Park Chan-wook ให้ความสนใจ และเล็งนักแสดงนำ Samuel L. Jackson

แต่หลังจาก Park ถอนตัวออกไป โปรเจคเลยขึ้นหิ้งอยู่นานหลายปี กระทั่ง ค.ศ. 2010 นักเขียน Mark L. Smith ทำการดัดแปลงบทหนังใหม่ ติดต่อได้ผู้กำกับ John Hillcoat นำแสดงโดย Christian Bale แต่ไม่นาน Hillcoat ก็ถอนตัวออกไป กระทั่งบทหนังพานผ่านมาถึงมือ Alejandro González Iñárritu ตกลงเซ็นสัญญากำกับ สิงหาคม ค.ศ. 2011

Alejandro González Iñárritu (เกิดปี 1963) ชื่อเล่น Negro ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Mexican เกิดที่ Mexico City คนสุดท้องจากพี่น้อง 7 คน เมื่ออายุ 16 ปี ทำงานในเรือขนส่งสินค้าข้ามมหาสมุทร Atalantic จึงมีโอกาสเปิดโลกกว้าง ท่องเที่ยวยุโรป แอฟริกา (ทริปแรกคือ Barcelona) สองปีถัดมาเรียนต่อสาขาสื่อสาร Universidad Iberoamericana, จบแล้วได้เป็นนักจัดรายการวิทยุ สถานี WFM ต่อมากลายเป็นโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ โฆษณา สร้างหนังสั้น ซีรีย์โทรทัศน์ และภาพยนตร์เรื่องแรก Amores perros (2000)

ความสนใจของ Iñárritu ต่อเรื่องราวชีวิตของ Hugh Glass คือ

“How would a man be shaped by that experience? What’s going on in the mind of somebody who has the will, the endurance, and the resilience to survive? What makes people survive and fight? What is that? And how would a man be transformed and shaped by nature?”

– Alejandro González Iñárritu

ความล่าช้าของโปรเจคเกิดขึ้นจากสองปัจจัย อย่างแรกคือคอยการแก้ไขปรับปรุงบทกับ Smith และเมื่อได้นักแสดงนำ Leonardo DiCaprio ต้องรอคิวต่อจาก The Wolf of Wall Street (2013) ทำให้ Iñárritu ตัดสินใจหนีไปกำกับ Birdman or (The Unexpected Virtue of Ignorance) ซึ่งพอเสร็จจากเรื่องนั้นก็เริ่มต้นโปรดักชั่นเรื่องนี้ต่อโดยทันที

ประมาณปลายปี ค.ศ. 1823, Hugh Glass (รับบทโดย Leonardo DiCaprio) ทำงานเป็นไกด์ออกล่าขนสัตว์ ยังดินแดนตะวันตกที่ไม่มีใครล่วงรู้จัก วันหนึ่งถูกโจมตีโดยหมี Grizzly ได้รับบาดเจ็บสาหัส หัวหน้ากลุ่มมอบหมายให้ John Fitzgerald (รับบทโดย Tom Hardy) และ Jim Bridger (รับบทโดย Will Poulter) เฝ้ารอคอยวาระสุดท้ายแล้วกลบฝังตามประเพณี แต่ Fitzgerald กลับทรยศหักหลังโดยการเข่นฆ่ากรรม Hawk (รับบทโดย Forrest Goodluck) บุตรชายของ Glass ที่เป็นลูกครึ่ง-Pawnee แล้วหลอกล่อ Bridger ว่ากำลังถูกโจมตีจากชนเผ่าพื้นเมืองทำให้ทอดทิ้งเขาไว้เบื้องหลัง ตะเกียกตะกายขึ้นจากหลุม ด้วยเป้าหมายสุดท้ายของชีวิตติดตามล้างแค้นเอาคืนให้สาสม!


Leonardo Wilhelm DiCaprio (เกิดปี 1974) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles, California เมื่อตอนอายุ 5 ขวบ ได้รับคัดเลือกแสดงรายการเด็ก Romper Room แต่ถูกไล่ออกเพราะไปสร้างความวุ่นวายให้ผู้อื่น หลังจากนั้นมีผลงานโฆษณา ซิทคอม ซีรีย์ The New Lassie (1989-92), ภาพยนตร์เรื่องแรก Parenthood (1989), สมทบ Poison Ivy (1992), This Boy’s Life (1993), แจ้งเกิดโด่งดัง What’s Eating Gilbert Grape (1993), The Basketball Diaries (1995), Romeo + Juliet (1996), พลุแตกกับ Titanic (1997), กลายเป็นขาประจำของ Martin Scorsese ตั้งแต่ Gangs of New York (2002), และคว้า Oscar: Best Actor เรื่อง The Revenant (2005)

รับบท Hugh Glass ไกด์นำทางผู้รอบรู้ในพื้นที่เป็นอย่างดี ก่อนหน้านี้แต่งงานภรรยาชาวพื้นเมือง Pawnee หลังถูกฆาตกรรม ทั้งชีวิตหลงเหลือเพียงบุตรชายเพียงคนเดียวเท่านั้น แต่เพราะความลูกครึ่งผิวเหลืองเลยไม่ค่อยได้รับความยินยอมรับจากใคร คนเป็นพ่อเลยพยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อปกป้อง แต่โชคชะตานำพาให้ต้องพบเห็นเขาถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตา เก็บเอาความโกรธเกลียดเคียดแค้นสะสม แม้ร่างกายได้รับบาดเจ็บสาหัสก็ยังพยายามกระเสือกกระสนดิ้นรน จนในที่สุด…

“Every single day of this movie was difficult. It was the most difficult film I’ve ever done.”

– Leonardo DiCaprio

ความท้าทายของ Leo ในบทบาทนี้ ไม่ใช่แค่ความอดทนต่อสภาพอากาศหนาวเหน็บจนป่วยไข้ขึ้นหลายครั้ง หรือแบกเสื้อคลุมขนสัตว์หนักเกือบๆ 100 ปอนด์ (=45 กิโลกรัม) แต่คือการแสดงที่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านสีหน้า ท่าทาง แทบจะไร้บทพูดสนทนา (เพราะถูกหมีตบคอ พูดดังมากไม่ได้) โดยเฉพาะฉากพบเห็นลูกชายถูกเข่นฆาตกรรม โกรธจนเลือดขึ้นหน้า นั่นคือพลังที่แปรสภาพเป็นแรงผลักดันให้ยังชีวิตอยู่ได้จนกว่าแค้นชำระเสร็จสิ้น

ผมว่าผู้ชมส่วนใหญ่น่าจะตระหนักได้ว่า บทบาทนี้ของ Leo ไม่ใช่การแสดงยอดเยี่ยมที่สุด แต่เพราะพี่แกพลาด Oscar: Best Actor หลายครั้งมากๆแล้ว มันจึงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ๆไปเถอะ! ด้วยเหตุนี้ปลายปีเลยแทบเอกฉันท์ทุกสถาบัน กวาดเรียบ 32 รางวัล ปิดแคมเปญเกมล้อเลียน Leo’s Red Carpet Rampage (LINK: เล่นเกม)

เกร็ด: Leo เป็นมังสวิรัติตั้งแต่ปี 1992 แต่เรื่องนี้เพราะเนื้อปลอมมันดูไม่สมจริง เลยขอให้ผู้กำกับโยนของจริงมา กัดเข้าไปคำหนึ่งก็แทบอาเจียนออกมา แต่เพื่อความสมจริงก็ละเว้นไว้ครึ่งเดียวเท่านั้น


Edward Thomas Hardy (เกิดปี 1977) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Hammersmith, London แม่เป็นจิตรกร พ่อเขียวนวนิยายตลก ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบหลงใหลการแสดงของ Gary Oldman โตขึ้นเข้าเรียนยัง Richmond Drama School ตามด้วย Drama Centre London, เมื่ออายุ 21 ชนะการประกวด The Big Breakfast’s Find Me a Supermodel จนมีโอกาสแสดงมินิซีรีย์ Band of Brothers (1998), ภาพยนตร์เรื่องแรก Black Hawk Down (2001), Star Trek: Nemesis (2002), Layer Cake (2004), โด่งดังระดับนานาชาติกับ Inception (2010), Tinker Tailor Soldier Spy (2011), The Dark Knight Rises (2012), Mad Max: Fury Road (2015), Dunkirk (2017) ฯ

รับบท John Fitzgerald ชายผู้มีความเห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง ต้องการกระทำสิ่งสนองความพึงพอใจส่วนตนเองเท่านั้น ไม่ชอบรับฟังความครุ่นคิดเห็นใคร ถึงมิใช่ศัตรูกับ Hugh Glass แต่เล็งเห็นโอกาสทำเงิน เลยขันอาสาเฝ้ารอคอยวาระโอกาสสุดท้าย จากนั้นเมื่อลวดลายครามออก เข่นฆาตกรรม Hawks และปล่อยทิ้งให้ตาย สุดท้ายคาดคิดไม่ถึงวาระกรรมจะติดตามทัน

ตัวเลือกแรกของ Iñárritu คือ Sean Penn เคยร่วมงานกันตอน 21 Grams (2003) แต่จนแล้วจนรอดไม่สามารถหาเวลาว่างได้ Leo เลยเสนอแนะ Tom Hardy นำบทไปให้อ่านแต่เจ้าตัวไม่ใครสนใจ พูดจาเกลี้ยกล่อมจนยินยอมตกลง ถึงกระนั้นความล่าช้าของหนัง ทำให้ Hardy พลาดโอกาสเล่น Splinter Cell [เรื่องนี้ถึงปี 2019 ก็ยังไม่ได้สร้างสักที] และ Suicide Squad (2016) [ได้กลายเป็น Venom (2018) แทน]

ผมละโคตรชื่นชอบความไม่เข้าพวกของ Hardy โดยแท้! ทำตัวไม่แคร์หยี่ร่าต่อสิ่งใดๆ คอยยียวน ก่อกวน พูดจาปั่นหัว (ราวกับอยากรีบเร่งถ่ายทำให้เสร็จๆ จะได้เอาเวลาไปทำอย่างอื่นต่อ) ให้ความรู้สึกคล้ายๆตัวละคร Tom Berenger จากเรื่อง Platoon (1986) ต้องชมเลยว่านั่นคือการแสดงอันทรงพลัง ผู้ชมเกิดความหงุดหงิดรำคาญ หมอนี่มันจะพาล มักมาก เห็นแก่ตัวไปถึงไหน!

แซว: Leo ท้าพนัน Hardy เชื่อมั่นว่าจะได้เข้าชิง Oscar แน่ๆ หลังจากประกาศรายชื่อเข้าชิง ผู้แพ้สักข้อความ “Leo Knows All” ตรงกล้ามแขนขวา


ถ่ายภาพโดย Emmanuel Lubezki หรือ Chivo ตากล้องยอดฝีมือสัญชาติ Mexican เพื่อนสนิทร่วมรุ่นเดียวกับ Cuarón เจ้าของสามรางวัลติด Oscar: Best Cinematography ประกอบด้วย Gravity (2013), Birdman or (The Unexpected Virtue of Ignorance) (2014), The Revenant (2015)

เดิมนั้นสถานที่ถ่ายทำตั้งใจไว้เพียงสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แต่ความล่าช้าจากสภาพอากาศ และสภาวะโลกร้อนทำให้หิมะละลายเร็ว ยังไม่ทันเสร็จสิ้นจำต้องอพยพย้ายกองถ่ายไปยังประเทศอาร์เจนติน่า (คนละขั้วโลกเลยนะ!)

ความทะเยอทะยานของ Iñárritu ต้องการถ่ายทำหนังยังสถานที่จริง สภาพอาการหนาวเหน็บอุณหภูมิติดลบ ด้วยแสงธรรมชาติทั้งหมด และหลายช็อตเป็น Long Take นั่นต้องใช้การซักซ้อมตระเตรียมการล่วงหน้าเป็นอย่างดี เพราะเมื่อเริ่มเดินกล้องจะให้เกิดความผิดพลาดบ่อยครั้งไม่ได้ (ปริมาณเทคโดยเฉลี่ยแค่หลักหน่วย น้อยกว่า Birdman ที่ถ่ายซีนหนึ่ง 20-30 เทค)

Chivo เป็นตากล้องที่ถ่ายภาพย้อนแสงอาทิตย์ได้สวยงามมากๆ มีความช่างสังเกต รับรู้ตำแหน่งมุมมอง และสันชาติญาณเคลื่อนไหวกล้องได้สอดคล้องรับจังหวะนักแสดง ทำให้ภาพที่ออกมาคมชัด ลื่นไหล ดูมีมิติ ชวนให้อึ้งทึ่งอ้าปากค้างแทบทุกช็อตฉาก

ช็อตแรกของหนังเริ่มต้นด้วยสายน้ำ(แห่งชีวิต) เคลื่อนไหลดำเนินไป สะท้อนภาพมนุษย์กับธรรมชาติ พบเห็นอยู่แทบทุกฉากสำคัญๆ ให้การช่วยเหลือ Hugh Glass รอดพ้นจากความตาย และสุดท้ายเรียนรู้จักปล่อยวางความแค้นให้ล่องลอยไปกับธารา

กวาง เป็นสัตว์สง่างามแห่งพงไพร กินพืชเป็นอาหารไม่เคยทำร้ายใคร การที่ Hugh Glass เข่นฆ่ามันตั้งแต่ฉากแรก ราวกับได้กลายเป็นกรรมสนองให้บุตรชายถูกฆาตกรรมกลางเรื่อง (ว่าไป หนังมีลักษณะว่ายเวียนวนอยู่กับกฎแห่งกรรม บ่อยครั้งทีเดียวเลยนะ!)

แซว: เห็นกวางถูกฆ่า ชวนให้นึกถึง The Deer Hunter (1975)

ช็อตแรกของ John Fitzgerald มันช่างยียวนกวนประสาทเสียจริง กำลังปัสสาวะ ยืนบดบังแสงอาทิตย์ พอได้ยินเสียงปืนก็หันมาสถบ เรียกว่าเป็นคนย้อนขัดแย้งต่อทุกสิ่งอย่างพึงปฏิบัติ

ความเจ๋งเป้งของอินเดียแดงบุก คือความตายที่เวียนวน ‘กรรมสนองกรรม’ คนหนึ่งฆ่าศัตรู ถูกศัตรูฆ่า อีกคนมาฆ่าศัตรู ถูกศัตรูฆ่า ซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้นด้วย Long Take มันช่างงดงาม

ส่วนการหลบหนีขึ้นเรือ ดูเหมือนเป็นการเคารพคารวะ Aguirre, the Wrath of God (1972) อยู่เล็กๆ

ฉากนี้เรียกได้ว่า ‘แกว่งเท้าหาเสี้ยน’ มีอย่างที่ไหนกระชากปืนจาก Hugh Glass โดยปลายกระบอกจ่อเข้าหาตนเอง! นั่นสะท้อนพฤติกรรมของ John Fitzgerald ครุ่นคิดทำอะไรไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่สนใจอะไรนอกจากตัวตนเอง

ผมละชอบแคมเปญล้อเลียน Leo ที่ว่า Oscar Goes To … Grizzly Bear แถมข่าวลือที่ว่าถูกหมีข่มขืน ใครกันมโนเพ้อภพไปได้ไกลถึงขนาดเชียว

เจ้า Grizzly ตัวนี้ เกิดจากสตั๊นแมนสองคนประกอบร่างกัน แล้วใช้ CGI เข้าช่วยเพื่อให้ออกมาดูเหมือนหมีจริงๆ

“In rehearsals, I would wear a blue suit with a bear head which obviously doesn’t make it into the film as the CGI guys paint the bear in. Alejandro G. Inarritu was adamant that the blue bear move just like a real bear would move and it was essential that it had the same nuances that a bear would have. Even though it was a big Smurf bear, it still had to be as authentic as possible.”

– บทสัมภาษณ์ของ  Glenn Ennisหนึ่งในสองสตั๊นแมน

การต่อสู้กับหมี Grizzly มักได้รับการเปรียบเทียบ อารัมบทก่อนสู้จริงกับ John Fitzgerald (เพราะ Tom Hardy มีร่างกายบึกบึนกำยำเหมือนหมี) เข้าข้างหลัง=ทรยศหักหลัง ยิงปืนแต่ยังไม่ตาย สุดท้ายดวลมีดถึงสามารถล้มลง

สภาพอันร่อแร่ โคม่า ใกล้ตายของ Hugh Glass ทำให้เขาเกิดความฝัน/ความทรงจำ/จินตนาการ มี 2-3 ภาพที่น่าสนใจมากๆ

ภาพแรกคือวินาทีที่ภรรยาชาว Pawneen (ชนพื้นเมืองทั่วไป) เสียชีวิต สังเกตหน้าอกของเธอจะมีนกชนิดหนึ่ง (พิราบ?) ดิ้นแทรกตัวและโบยบินออกไป นี่ราวกับคือการแปรสภาพ ‘Transcendence’ จิตวิญญาณได้รับอิสรภาพออกจากร่างกาย นี่เป็นการสะท้อนวิถีความเชื่อชาวอินเดียแดง มนุษย์คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ความตายนั้นไม่สูญแต่คือการเกิดใหม่สู่…

ภาพที่สองขอเรียกว่า พิระมิดโครงกระดูกชาวอินเดียแดง ความตายที่เกิดจากการล่าอาณานิคม เพราะเขาคือคนผิวขาว/หนึ่งในผู้มาบุกรุกรานผืนแผ่นดิน แม้ต่อมาจะกลายเป็นส่วนหนึ่งร่วมวิถีชีวิตกับพวกเขา แต่ถือว่าคือชนวนเหตุให้เกิดหายนะ เข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

นัยยะของภาพนี้เสมือนตราบาปที่ฝังใจ Hugh Glass ทำให้ชีวิตเขาเลือกที่จะแบกรับผิดชอบต่อบุตรชาย ทายาทคนสุดท้ายสืบเชื้อสาย Pawneen เมื่อถูกเข่นฆาตกรรมก็เท่ากับหมดสิ้นสูญเชื้อชาติพันธ์ุ มันจึงเป็นความตายที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกเลยละ!

ขอตัดมาฉากนี้ก่อนแล้วกัน, เมื่อพูดถึงการตะเกียกตะกาย(ขึ้นจากหลุม) นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของ Leo ที่ทุ่มเทขนาดนี้ The Wolf of Wall Street (2013) ก็มีฉากเมายาแล้วกลิ้งเกลือกขึ้นรถ นั่นก็คลานสุดเหวี่ยงเหมือนกัน

การฟื้นคืนชีพตะเกียกตะกายขึ้นจากหลุม นี่เปรียบได้กับ ‘การเกิดใหม่’ (ของความเคียดแค้น) ร่างกายจากเต็มไปด้วยบาดแผล อ่อนเรี่ยวแรง ซึ่งจะค่อยๆฟื้นฟูขึ้นเรื่อยๆ (เหมือนการเติบโตจากเด็ก->ผู้ใหญ่)

เพื่อที่จะเอาตัวรอด Hugh Glass ดิ้นรนตะเกียกตะกาย แหวกว่าย [แบบหนังเงียบ Way Down East (1920)] รักษาตนเอง มาจนพานพบเจอ Hikuc (รับบทโดย Arthur Redcloud) ชาวอินเดียแดงที่เต็มไปด้วยความโกรธเกลียดเคียดแค้นเช่นเดียวกัน เลยให้ความช่วยเหลือนำพาออกเดินทางร่วมไปด้วย

มุมกล้องเงยขึ้นนี้ แสดงถึงความมีอำนาจของ Hikuc ที่สามารถทำอะไรก็ได้ต่อ Hugh Glass แต่เขาก็ไม่ได้มาร้ายเมื่อพบเห็นสภาพบาดแผลปางตาย แถมยังยินยอมให้ความช่วยเหลืออีก ซึ่งตัวละครนี้เป็นชาวพื้นเมือง สัญลักษณ์ของธรรมชาติ/โชคชะตา นำพาเขาสู่การเดินทางต่อไป

อีกหนึ่งความฝันที่น่าสนใจของ Hugh Glass เดินมาพบเจอสภาพปรักหักพังของโบสถ์คริสต์หลังหนึ่ง ตามคำอธิบายของ Iñárritu เปรียบได้กับประตูแห่งความตาย ถึงกระนั้น Glass กลับสามารถฟื้นคืนชีพมาอีกรอบ แต่ต้องแลกกับความตายของ Hikuc (ถูกแขวนคอเสียชีวิต)

ฉากกินตับว่าแหยะแล้ว มาเจอควักไส้ม้าแล้วแทรกตัวเข้าไปหลบหนาวช็อตนี้ อ๊วกแตกอ๊วกแตนกันเป็นทิวแถว แต่ทั้งหมดไม่ใช่ของจริงนะครับ คือของปลอมสร้างขึ้นมา แต่มีความแนบเนียนสมจริงมากๆเลยละ!

การหลบซ่อนตัวหนีหนาวในม้า ตีความได้ราวกับทำตัวเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ นั่นคือสาเหตุที่ทำให้ Hugh Glass อาการบาดเจ็บดูดีขึ้นเรื่อยๆ (ราวกับธรรมชาติเป็นผู้รักษาเขา)

นี่เป็นอีกช็อตที่ผมชอบมากๆ ‘Fitzgerald kill my son’ แต่ตัวอักษรที่ Hugh Glass แกะสลักนั้นคือบนพื้นน้ำแข็ง/หิมะ เดี๋ยวฤดูหนาวพานผ่านไป ทุกสิ่งอย่างก็จักหลอมละลาย เลือนลางจางหายไป ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น … เฉกเช่นนั้น มนุษย์เราจะโกรธแค้นเคืองโกรธผู้อื่นไปใยมีประโยชน์อันใด

ในที่สุด Hugh Glass ก็มาจนถึง Fort Kiowa พานพบเจอช็อตนี้ถ่ายมุมเงย พบเห็นดวงจันทร์ถูกบดบังอยู่ตรงศีรษะ (แหม! พอไม่มีพระอาทิตย์ Chivo เลยจัดเก็บแสงจันทร์แทน) นี่เรียกได้ว่าความมืดมิดในชีวิต ได้พบเจอหนทางออกเสียที

ผู้ชมอาจไม่ทันสังเกตสักเท่าไหร่ แต่ภาพหิมะถล่มตรงพื้นหลังช็อตนี้ต้องตระเตรียมการอย่างยุ่งยากวุ่นวาย ใช้เครื่องบินปล่อยระเบิดบนยอดเขา Fortress Mountain ณ Alberta, Canada แต่นักแสดงไม่ได้อยู่ในฉากนะครับ บันทึกภาพด้วยเครน เพราะมันมีความเสี่ยงสูง อันตรายมากๆ

Hugh Glass กับ John Fitzgerald เป็นคู่ปรับที่มากด้วยเล่ห์กล สามารถต่อกร ตลบหลัง ห่ำหั้นกันได้อย่างสมศักดิ์ศรี วิ่งลงจากเนินสูงลงมาถึงริมธารน้ำ สังเวียนสุดท้ายของการสู้รบ

ขณะที่มุมกล้องฝั่ง Fitzgerald ถ่ายจากระดับศีรษะ สะท้อนความต้องการมีชีวิต ใช้มันสมองหาวิธีดิ้นรนเอาตัวรอด พูดจาโน้มน้าวเกลี้ยกล่อมเกลา, ทางฝั่งของ Glass ถ่ายมุมก้มเงยขึ้น อาวุธขวานอยู่ระดับสายตา นี่ก็แปลว่าความต้องการของเขามีเพียง เข่นฆาตกรรม ล้างแค้นเอาคืน ไม่ต้องการให้หมอนี่ดิ้นรนเอาตัวรอดไปไหนได้อีก

ไดเรคชั่น Long Take ของการต่อสู้ สังเกตว่ากล้องจะจับจ้องที่ใบหน้า/ศีรษะของพวกเขา มากกว่าการโฟกัสไปที่อาวุธ หรืออวัยวะที่ถูกแทง ฟัน ก็พอดูเป็นความอาร์ทอย่างหนึ่ง แฝงนัยยะถึงบางสิ่งอย่าง
– เริ่มต้นจาก Glass ตัดนิ้วก้อยนางของ Fitzgerald สะท้อนความสัมพันธ์ที่แตกหักของทั้งคู่ (นิ้วนาง=แต่งงาน, นิ้วก้อย=เกี่ยวก้อยสานสัมพันธ์)
– มีดเฉือนแก้ม Glass ทำลายภาพลักษณ์ใบหน้า เปิดเผยธาตุแท้ตัวตน
– ระหว่าง Glass เอาด้ามขวานรัดคอ Fitzgerald ทิ่มแทงมีดปักเข่า สัญลักษณ์ของการทรยศหักหลัง
– กอดรัดฟัดเหวี่ยงกลิ้งเกลือกไปมา (เหมือนหมี)
– Fitzgerald กัดหู Glass (ไมค์ ไทสัน) สะท้อนถึงการไม่รับฟังคำใดๆของฝ่ายตรงข้าม … น่าจะสื่อถึงทั้งคู่เลยนะครับ ต้องการล้างแค้นฆ่ากันอย่างเดียว ยังไม่ครุ่นคิดให้อภัยใคร
– Fitzgerald ถือมีดด้วยมือตนเอง ถูก Glass บิดหักและปักเข้าไปตรงท้อง นี่เรียกว่า กรรมสนองกรรม ย้อนรอยกระทำของตนเอง
– Fitzgerald ดึงมีดออกมาทิ่มแทงแขน ดูเหมือนการปักไม้กางเขนชำระล้างความผิด
– Glass กวาดขวานเข้าที่ท้องของ Fitzgerald อีกคำรบ เป็นการตอกย้ำความผิด (ต่อคนที่ไม่รู้สึกสำนึก/ไม่ยอมตายสักที)
– Glass ดึงมีดออกมา สวนกลับด้วยการทิ่มแทงด้านหลังเข่า ย้อนแย้งกับที่โดนปักเข่าตอนต้น สะท้อนการเอาคืน/ทรยศหักหลังศัตรูเช่นกัน
– ท้ายสุด Glass ตั้งใจจะบีบคอ Fitzgerald ให้ขาดอากาศหายใจตาย แต่พลันพบเห็นชาวอินเดียแดงอีกฝั่งของสายน้ำ ครุ่นคิดได้เลยปลดปล่อยเขาให้ล่องลอยธาราไป

คราบเลือดบนผืนหิมะ เช่นเดียวกับตัวอักษรแกะสลักที่ผมอธิบายไป เมื่อฤดูหนาวพานผ่าน ทุกสิ่งอย่างหลอมละลาย เลือนลางจางหายไป ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น … ความเคียดแค้นของมนุษย์ก็เฉกเช่นเดียวกัน หลงเหลือเพียงตำนาน/ปรัมปรา/ความทรงจำ บุคคลทั้งสองสุดท้ายก็หมดสิ้นลมหายใจ ตายจากไป ทุกสิ่งอย่างก็หมดสิ้นสูญความหมาย

ลำธารสายนี้สามารถใช้เปรียบเทียบได้กับ โลกนี้-โลกหลังความตาย, โลกมนุษย์-ธรรมชาติ/ชนชาวพื้นเมือง ซึ่งความครุ่นคิดได้ของ Huge Glass

อะไรคือสิ่งที่ Huge Glass พบเห็นในช็อตสุดท้ายของหนังนี้ สังเกตว่าบริเวณโดยรอบข้างถูกทำให้เบลอๆหลุดโฟกัส วินาทีสุดท้ายเหมือนจะหันมาจับจ้องมองกล้อง ‘Break the Fourth Wall’ และตัดภาพดำขึ้น Closing Credit แต่เสียงลมหายใจเข้าออกยังคงดังขึ้น

ผมครุ่นคิดว่าสิ่งที่ Glass พบเห็นครั้งนี้ คือการเข้าถึงธรรมชาติของชีวิต เกิด-ตาย ฆ่าล้างแค้นเสร็จสำเร็จแล้วมีประโยชน์อะไร จนสามารถปลดปล่อยวางจากความยึดติด ซึ่งในมุมของชาวคริสต์คงประได้พบเห็นพระเจ้า (แบบที่ตัวละคร John Fitzgerald เล่าถึงพ่อพบกระรอก และเรียกมันว่า ‘I found God’)

การหันมาจับจ้องมองกล้อง มักมีนัยยะถึงการชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถาม ในบริบทนี้คงเป็น คุณได้บทเรียน/ข้อคิดอะไรจากหนัง? ความโกรธเกลียดเคียดล้างแค้น มีประโยชน์อันใดกับชีวิต?

และเสียงลมหายใจแม้เมื่อขึ้น Closing Credit ผมรู้สึกเหมือนการทำสมาธิของผู้กำกับ Iñárritu วิธีการให้จิตสงบ ซึ่งสามารถใช้ในบริบทนี้ ผ่อนคลายความโกรธเกลียดเคียดแค้นให้บรรเทาเบาบางลงได้ จนเกิดความว่างเปล่าขึ้นภายใน

ตัดต่อโดย Stephen Mirrione ขาประจำของ Iñárritu ตั้งแต่ 21 Grams (2003), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Traffic (2000), Good Night, and Good Luck (2005), The Hunger Games (2012) ฯ

หนังมักใช้การดำเนินเรื่องคู่ขนานระหว่าง Huge Glass กับ John Fitzgerald (แต่ส่วนใหญ่เป็นของ Glass) ซึ่งจะมีแทรกเข้ามาในฉากสลบไสลสภาพร่อแร่หรือช่วงเวลาสำคัญๆ คือความทรงจำ/เพ้อฝัน/จินตนาการ ถึงภรรยา บุตรชาย และชีวิตหลังความตาย

ปัญหาของหนังที่ถูกนักวิจารณ์บ่นอุบคือความยาว 156 นาที (นานสุดของ Iñárritu จนถึงปัจจุบัน) ให้เวลากับการเดินทางค้นหาตนเอง ทิวทัศนียภาพกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ถึงเชื่องช้าแต่ก็มีความอลังการ งดงามดั่งบทกวีร้อยกรอง

เพลงประกอบโดย Ryuichi Sakamoto คีตกวีชื่อดังชาวญี่ปุ่น ร่วมมือกับ Alva Noto นักดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ชาวเยอรมัน และเพิ่มเติมโดย Bryce Dessner, รังสรรค์สร้างบทเพลงที่มีสัมผัสอันเย็นยะเยือก เหี้ยมโหดร้ายทารุณ โดยใช้ออเครสต้าเครื่องสายเป็นหลัก แต่ก็ใช่ว่าท้ายที่สุดโลกจะปกคลุมด้วยความมืดมิดตลอดกาล แสงสว่างแม้เพียงประกายไฟ ก็สามารถมอบไออบอุ่นให้พึ่งพิง

จะว่าไปความวูบวาบของบทเพลง เดี๋ยวดังเดี๋ยวเงียบ มอบสัมผัสที่คล้ายกับลมหายใจ เสียงเต้นตุบ-ตับของหัวใจ ก้าวย่างเท้าเดิน ชีวิตที่ดำเนินไป

เสียงเชลโล่กรีดทุ้มต่ำ ตัดกับเสียงเปียโนคลอประกอบ มอบสัมผัสความตื่นตระหนกหวาดหวั่นสั่นสะพรึงกลัวที่หลบซ่อนภายในจิตใจของมนุษย์ เช่นกันกับการเดินทางของ Huge Glass กำลังมุ่งสู่ดินแดน(ทางจิตวิญญาณ)ที่เขาไม่เคยพานพบเจอมาก่อนในชีวิต

เท่าที่ผมสังเกต Soundtrack ของหนัง จะมีการใส่ Sound Effect ที่เป็นเสียงเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ (ส่วนนั้นเป็นผลงานของ Alva Noto) มอบสัมผัสอันเป็นธรรมชาติ สายน้ำ จิ้งหรีดเรไร ฯ

การต่อสู้ครั้งสุดท้าย Final Fight เร้าใจด้วยเสียงรัวกลองโต้ตอบกัน บาดสีด้วยเชลโล่สะท้อนความหวาดสะพรึงกลัวตาย ภายในปั่นป่วนคลุ้มคลั่ง กอดรัดฟัดเหวี่ยง กลิ้งเกลือกไปมา จนกระทั่งวินาทีที่ Hugh Glass เกิดการตรัสรู้ พบเห็น เข้าใจบางสิ่งอย่าง ประสานเสียงออเครสต้าเครื่องสายดังขึ้น การให้อภัย ปลดปล่อยวางจึงบรรลุมรรคผล

มีนักข่าวสัมภาษณ์ถาม Alejandro González Iñárritu ภาพยนตร์ในมุมมองของเขาคืออะไร?

“For me, cinema is the ocean. It’s an infinite, endless form of human expression. The ocean of expression. And it’s enormous. After 120 years of making films, we’re still on the beach – we’re splashing in the shallows, and I believe we have a lot deeper to go”.

ภาพยนตร์คือมหาสมุทรแห่งอารมณ์/การแสดงออก มันช่างกว้างใหญ่ไพศาลไร้จุดจบสิ้น ซึ่ง 120 ปีของวงการ เรายังอยู่แค่ชายหาด เดินเตะคลื่นที่ซัดเข้าหาชายฝั่ง ยังอีกห่างไกลนักจะเข้าถึงส่วนลึกสุดใต้ผืนมหาสมุทร

ความสนใจในภาพยนตร์ของ Iñárritu ถึงขณะสร้าง The Revenant คือการสำรวจสิ่งที่อยู่ภายในจิตใต้สำนึก ค้นหาเหตุผลแรงผลักดัน/บันดาลใจ ประสบการณ์ชีวิต อะไรบ้างที่ส่งผลต่อพฤติกรรมแสดงออกมาของมนุษย์

“The Revenant was a way for me to express an extreme human experience through what I call ‘pure cinema’.”

คำว่า Revenant ตามเรื่องเล่าตำนาน Folklore คือผี/โครงกระดูกที่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาหลอกหลอนคนเป็น, ต้นคำคือภาษาฝรั่งเศส Revenir แปลว่า Returning/Come Back

ในบริบทของหนัง The Revenant คือการหวนกลับมาล้างแค้นเอาคืน บุคคลผู้กระทำสิ่งชั่วช้าสามาลย์ให้ได้รับการชดใช้คืนอย่างสาสม แต่ถึงกระนั้นท้ายสุดกลับก่อเกิดการตระหนัก ตรัสรู้ เข้าถึงสัจธรรมแห่งชีวิต นี่ฉันมัวทำบ้าบอคอแตกอะไรอยู่ เข่นฆ่าหมอนี่ไปก็ใช่จะได้ทุกสิ่งอย่างหวนกลับคืนมา

“Revenge, from my personal point of view, is an unwholesome emotion. And I wanted to explore in the film– if revenge is hollow, if your meaning of life is revenge, once you accomplish it, then what is the meaning of life? What is after revenge? Most importantly, the question for me in the film was this: Could revenge really bring back what we’ve lost, what we are looking for? Can it bring it all back?”

การล้างแค้น ในยุคสมัยปัจจุบันนี้ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ แรงผลักดันเพื่อให้สามารถต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด และอิทธิพลจากภาพยนตร์แนว Western ซึ่งมักเป็นแนวล้างแค้นเอาคืนคนชั่ว นี่สร้างค่านิยมประเภท ‘Revenge is Cool.’ นั่นหาใช่สิ่งถูกต้องเหมาะสมเลยสักนิด

ดูอย่างตัวละคร Huge Glass กว่าที่เขาจะไปถึงจุดสามารถล้างแค้นเอาคืน John Fitzgerald มันช่างเป็นการเดินทางยากลำบากแสนเข็ญ เหน็ดเหนื่อยทุกข์ทรมานสายตัวแทบขาด ตายแล้วฟื้นจะได้อีกสักกี่ค่ำคืน ชีวิตรอดมาได้ถึงขนาดนี้แล้วยังมาทิ้งๆขว้างๆกับความโกรธเคืองแค้น มองไม่เห็นหรือไรว่าเป็นสิ่งโง่เขลาเบาปัญญาแท้!

โลกเราทุกวันนี้รายล้อมไปด้วยความรุนแรงทุกทิศทาง ถูกสื่อสมัยใหม่เสี้ยมสั่งสอนปลูกฝังกล่อมเกลาโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเมื่อไม่สามารถลบเลือนออกจากชีวิตประจำวันได้แล้ว สิ่งสำคัญสุดที่ควรตระหนักเข้าใจให้ได้ก็คือ ทุกสิ่งอย่างล้วนมีผลกระทบที่เท่าเทียม ทำร้ายเข่นฆ่าคนอื่นสักวันอาจถูกล้างแค้นเอาคืน สอดคล้องสัจธรรมความจริงที่ว่า ‘กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมคืนสนอง’

“You cannot deny violence, because we are violent, but every act of violence has a painful consequence no matter what. I think it’s important to remind people of that”.


จากทุนสร้างตั้งต้น $60 ล้านเหรียญ ความล่าช้าเนื่องจากสภาพอากาศ ทำให้งบประมาณเพิ่มสูงขึ้นเป็น $95 ล้านเหรียญ และไต่ไปถึง $135 ล้านเหรียญ (กลายเป็นภาพยนตร์ระดับ Blockbuster)

ผมมองว่าเพราะพลังดาราของ DiCaprio การันตีรางวัล Oscar: Best Actor ช่วยพยุงหนังทั้งเรื่องให้สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกา $183.6 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $533 ล้านเหรียญ กำไรแบบไม่มีใครคาดคิดถึง!

เข้าชิง Oscar 12 สาขา คว้ามา 3 รางวัล
– Best Picture
– Best Director ** คว้ารางวัล
– Best Actor (Leonardo DiCaprio) ** คว้ารางวัล
– Best Supporting Actor (Tom Hardy)
– Best Cinematography ** คว้ารางวัล
– Best Film Editing
– Best Production Design
– Best Costume Design
– Best Sound Editing
– Best Sound Mixing
– Best Makeup and Hairstyling
– Best Visual Effects

เกร็ดรางวัล:
– Iñárritu กลายเป็นผู้กำกับสัญชาติ Mexican คนแรกคว้า Oscar: Best Director ตัวที่สอง, และเป็นคนที่สามคว้ารางวัลสองปีติด ถัดจาก John Ford และ Joseph L. Mankiewicz
– Lubezki กลายเป็นตากล้องคนแรกคว้า Best Cinematography สามครั้งติด
– มีเพียงสามครั้งที่หนังคว้า Best Director, Best Actor แต่พลาด Best Picture อีกสองเรื่องคือ The Informer (1935) และ The Pianist (2002)
– หนังถูกตัดสิทธิ์เข้าชิง Best Original Score เพราะถูกมองว่าเป็นการรวบรวม/เรียบเรียงบทเพลงจากผู้แต่งมากกว่าหนึ่งคน!

ส่วนตัวชื่นชอบหนังมากๆ ประทับใจงานภาพสวยๆ การแสดงสุดตราตรึงของ Leonardo DiCaprio และ Tom Hardy แต่ค่อนข้างเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่ายในความเยิ่นเย้อยืดยาว หาจังหวะผ่อนคลายไม่ได้เลยสักนิด

แนะนำคอหนัง Survival ต่อสู้กับธรรมชาติ ผจญภัยสู่ความหนาวเหน็บ, นักปรัชญา ตั้งคำถามชีวิต เป้าหมายการล้างแค้น, ชื่นชอบนวนิยาย สนใจชีวประวัติของ Hugh Glass, งานภาพสวยๆของ Emmanuel Lubezki, เพลงประกอบของ Ryuichi Sakamoto, แฟนๆผู้กำกับ Alejandro González Iñárritu และสองนักแสดงนำ Leonardo DiCaprio, Tom Hardy ไม่ควรพลาด

จัดเรต 18+ กับเลือด ความรุนแรง การแก้แค้น และสภาพอากาศอันหนาวเหน็บเย็นยะเยือก

คำโปรย | การแก้แค้นของ The Revenant อลังการหนาวเหน็บไปถึงขั้วหัวใจ
คุณภาพ | น็-ถึงขั้วหัวใจ
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

Inglourious Basterds (2009)


Inglourious Bastards

Inglourious Basterds (2009) hollywood : Quentin Tarantino ♥♥♥♥

คงมีแต่ใน(โรง)ภาพยนตร์เท่านั้นกระมัง ที่สามารถเข่นฆ่าล้างแค้นบรรดาผู้นำพรรคนาซี ให้ดับดิ้นสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทันท่วงที และก็คงมีแต่ผู้กำกับ Quentin Tarantino อีกเช่นกัน หาญกล้าพูดออกมาตรงๆผ่านตัวละครของ Brad Pitt ตอนจบว่า “I think this just might be my masterpiece.”

ใครที่ยังไม่ได้มีโอกาสรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ อ่านคำนำย่อหน้าแรกที่ผมเขียนไว้จะเกิดความเข้าใจจินตนาการเห็นภาพอย่างหนึ่่ง แต่สำหรับคนที่ดูหนังแล้ว เชื่อว่าน่าจะระลึกถึงอีกความหมายได้ สถานที่ในฉากไคลน์แม็กซ์ ถือเป็นมุกสะท้อนเสียดสี เปรียบเทียบแนวคิดแบบกวนๆ ‘สไตล์ Tarantino’ ซึ่งถ้าคุณสามารถเห็นภาพ เกิดความเข้าใจกระจ่างได้ถึงจุดนี้ ก็คงเห็นด้วยกับคำกล่าวอ้างหน้าด้านๆ ประโยคสุดท้ายของหนัง ‘Masterpiece’ ได้อย่างแน่นอน

กระนั้นโดยความเห็นส่วนตัว เมื่อเทียบกับ Reservoir Dogs (1992), Pulp Fiction (1994) หรือ Kill Bill (2003-2004) จริงอยู่ที่ไดเรคชั่น ‘สไตล์ Tarantino’ ได้รับการพัฒนาถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่ความทรงพลัง Impact ต่อนักวิจารณ์และผู้ชม รวมถึงสาระข้อคิดที่จับต้องไม่ได้สักเท่าไหร่ ถือว่ายังห่างไกลความสมบูรณ์แบบอยู่หลายสิบหลุม

ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่มิอาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป มีคุณค่าเป็นความรู้บทเรียนต่ออนาคต ‘อย่าให้ประวัติศาสตร์เกิดขึ้นซ้ำรอย’ กระนั้นงานศิลปะทุกแขนงสามารถสร้างสิ่งที่เรียกว่า ‘Alternate History’ ประวัติศาสตร์/จักรวาลคู่ขนาน จินตนาการสมมติบางสิ่งอย่างที่อาจเคยมีตัวตนอยู่จริง แล้วปรับเปลี่ยนแปลงให้แตกต่าง ตรงกันข้าม

ประโยชน์ของการ Alternate History นอกจากสุนทรียะทางความบันเทิงแล้ว ยังเป็นการชี้แนะนำสอนให้มนุษย์รู้จักครุ่นคิด-วิเคราะห์-ทำความเข้าใจ เรื่องราวนั้นๆในมุมมองที่แตกต่างออกไป

แต่ข้อควรระวังต่อการ Alternate History คือถ้าผู้บริโภครับสาสน์ เกิดความเข้าใจคาดเคลื่อน ผิดพลาด หรือหลงเชื่อว่านั้นเป็นความจริง … ยกตัวอย่างไม่ต้องมองไกล ในประวัติศาสตร์โลก Adolf Hitler และพลพรรคนาซี หนึ่งในวิธีการของพวกเขาคือการสร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อ ปลูกฝังแนวคิด มุมมอง ทัศนคติต่อต้านชาวยิว ทำให้ชาวเยอรมันเกิดความเข้าใจผิดๆ

ก็แม้แต่ชื่อหนัง Inglourious Basterds หลายคนอาจไม่ทันสังเกตว่ามันสะกดผิด ที่ถูกต้อง Inglourious Bastards นี่เป็นความจงใจของผู้กำกับ Tarantino เพื่อจะสื่อถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดในหนัง เป็นเพียง Alternate History หาใช่เหตุการณ์ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์โลก

เหตุผลย่อหน้าที่แล้วนี่ผมคิดขึ้นมาเองนะครับ เพราะมีนักข่าวไปสัมภาษณ์ถาม Tarantino ทำไมถึงจงใจเขียนผิด เขาตอบว่า

“I’m never going to explain that,  When you do an artistic flourish like that, to describe it, to explain it, would just … invalidate the whole stroke in the first place.”

แต่ก็ได้เปรียบเทียบตัวเองกับ Jean-Michel Basquiat ศิลปินจิตรกร Abstraction ชื่อดังโคตรแนวสัญชาติอเมริกัน ที่มีผลงานรูปวาดหนึ่ง แอบขโมยป้ายตัวอักษร L จากโรงแรมที่พักอาศัย แล้วนำมาติดใส่รูปภาพวาด

“If he describes why he did it, he might as well not have done it at all.”

ก็เรียกมันง่ายๆว่า คำเขียนสไตล์ Tarantino ไปก็แล้วกัน

Quentin Jerome Tarantino (เกิดปี 1963) ผู้กำกับ/นักเขียน/นักแสดง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Knoxville, Tennessee ตั้งแต่เด็กจนโตแม่ Connie McHugh แต่งงานใหม่ 3 ครั้ง
– Tony Tarantino พ่อแท้ๆมีเชื้อสายสัญชาติ Italian เลิกกับแม่ตอน Quentin อายุได้ 3 ขวบ เห็นว่าไม่เคยพบกับพ่อแท้ๆของตัวเองสักครั้งเลย
– Curtis Zastoupil พ่อคนที่สอง เป็นนักดนตรีแนวๆอาศัยอยู่ Los Angeles ชอบพา Quentin ไปดูหนังผู้ใหญ่ตั้งแต่เด็ก อาทิ The Wild Bunch (1969), Carnal Knowledge (1971), Deliverance (1972) ฯ เป็นเหตุให้เขาคลั่งความรุนแรงมาก
– Jan Buhusch อยู่กินกันถึง 8 ปีจนกระทั่ง Quentin อายุ 15-16 ตัดสินใจออกจากโรงเรียน Narbonne High School, Los Angeles ได้งานทำเป็นพนักงานฉายหนังโป๊ในโรงภาพยนตร์ Pussycat Theatre (ด้วยการอ้างว่าตัวเองอายุ 18)

ตอนอายุ 22 ได้งานทำที่ Manhattan Beach Video Archives ร้านเช่าวิดีโอที่ Manhattan Beach, California สถานที่ซึ่งวันๆแทบไม่ต้องทำอะไรเลย เอาแต่ดูหนัง พูดคุยวิจารณ์ และแนะนำหนังกับลูกค้า, ซึ่งที่นี่เอง Tarantino ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องแรก (แต่ไม่สำเร็จ เพราะไฟไหม้ฟีล์มหมดสิ้น) ชื่อ My Best Friend’s Birthday (1986) และพัฒนาบทภาพยนตร์เรื่องแรก True Romance (1993) ที่ต่อมาได้รับการสร้างโดยผู้กำกับ Tony Scott

เข้าสู่วงการภาพยนตร์ครั้งแรก จากการพัฒนาบทภาพยนตร์ร่วมกับ Robert Kurtzman เรื่อง From Dusk Till Dawn (1996) กำกับโดย Robert Rodriguez ซึ่ง Tarantino ยังร่วมแสดงในหนังด้วย, กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Reservoir Dogs (1992) แนว Neo-Noir, Crime, Thriller ที่ตลอดชั่วโมงครึ่งเอาแต่พูดๆๆ แล้วยิงกันเลือดสาดไม่เกิน 5 นาที ฉายในเทศกาลหนังเมือง Sundance Film Festival ได้รับความนิยมโดยทันที เป็นที่ชื่นชอบของนักวิจารณ์, ตามด้วย Pulp Fiction (1994) คว้า Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes และเข้าชิง Oscar อีกหลายสาขา

ประมาณปี 2002 (ก่อนเริ่มสร้าง Kill Bill) ผู้กำกับ Trantino ครุ่นคิดถึงโปรเจคหนึ่ง เป็นหนังแนว Spaghetti Westerns ที่ไม่ใช่บนดินแดนรกร้างของ Western พื้นหลังในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อทหารอเมริกัน, พลเมืองฝรั่งเศส และกลุ่มต่อต้าน (French Resistance) ต่างต้องการต่อสู้ ขับไล่ จัดการกับพลพรรคนาซีเยอรมัน ในช่วงกำลังถูกยึดครอง (Occupied France)

“I’m going to find a place that actually resembles, in one way or another, the Spanish locales they had in spaghetti westerns – a no man’s land. With U.S. soldiers and French peasants and the French resistance and German occupation troops, it was kind of a no man’s land. That will really be my spaghetti Western but with World War II iconography.”

แต่เพราะ Tarantino ยังครุ่นคิดหาตอนจบไม่ได้ เลยขึ้นหิ้งบทที่กำลังพัฒนานี้ไว้ก่อน นำเวลาไปกำกับสร้าง Kill Bill (2003-2004) เสร็จสิ้นแล้วหวนกลับมาขัดเกลา ได้เรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มทหารที่หลบหนีพ้นรอดชีวิตจากการถูกประหาร ตัดสินใจเข้ารับภารกิจพิเศษเข่นฆ่าล้างนาซี เพื่อช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธ์มิตรให้ชนะสงคราม

ก็ตั้งใจว่าจะเริ่มโปรดักชั่นต้นปี 2005 แต่มีหลายสิ่งอย่างดึงดูดความสนใจของ Tarantino ไปรับเชิญแสดงในหนัง Sukiyaki Western Django (2007) ของ Takashi Miike ตามด้วยร่วมกำกับ Grindhouse (2007) ตอน Death Proof และในที่สุดว่างสักที กลับมาพัฒนาบทหนังเรื่องนี้ต่อจนเสร็จ ตอนแรกตั้งชื่อว่า Once Upon a Time in Nazi-Occupied France แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็น Inglourious Basterds ได้แรงบันดาลใจ(กึ่งเลียนแบบ)จากชื่อหนังสัญชาติอิตาเลี่ยน The Inglorious Bastards (1978) ของผู้กำกับ Enzo G. Castellari

เกร็ด: ผู้กำกับ Castellari เห็นว่ามารับเชิญ Cameo ในหนังด้วย เป็นพลเอกที่อยู่ในงานฉายภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์ แต่เหมือนว่าซีนของเขาจะถูกตัดออกไป, กระนั้นตัวละคร Brad Pitt ใช้ชื่อปลอมว่า Enzo Gorlomi ก็เพื่อเป็นการเคารพคารวะผู้กำกับดังเช่นกัน

สำหรับนักแสดงคนแรกที่ Tarantino ติดต่อพบเจอได้มาคือ Brad Pitt ขณะอาศัยอยู่กับอดีตภรรยา Jolie ที่ Chateau Miraval ประเทศฝรั่งเศส พวกเขาใช้เวลาพูดคุยสนทนาทั้งคืน หมดไวน์ Pink Floyd ไปห้าขวด ก่อนยินยอมตกลงแสดงนำ

William Bradley ‘Brad’ Pitt (เกิดปี 1963) นักแสดง โปรดิวเซอร์สัญชาติอเมริกา เป็นดาราชายน่าจะถือได้ว่ามีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในโลก, ผลงานแรกที่ทำให้เขาเริ่มเป็นที่รู้จักคือ Thelma & Louise (1991), A River Runs Through It (1992) จนนักวิจารณ์ชมว่าต่อไปคงโด่งดังเหมือน Robert Redford สมัยหนุ่มๆ ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับ Seven และ 12 Monkeys ตามมาด้วย Fight Club (1999) และผลงานอื่นๆ อาทิ Ocean’s Eleven (2001), Troy (2004), Mr. & Mrs. Smith (2005), The Curious Case of Benjamin Button (2008), The Tree of Light (2011), World War Z (2013) ฯ

รับบทร้อยโท Aldo ‘The Apache’ Raine (ออกเสียงเหมือน Aldo Ray นักแสดงหนังเกรดบีชื่อดัง) สังกัดกองทัพอเมริกัน หัวหน้ากลุ่ม Basterds ทำการคัดเลือกนายทหาร 8 คน เพื่อปฏิบัติภารกิจเข่นฆ่าล้างนาซีให้สูญสิ้นเผ่าพันธุ์, ด้วยสำเนียงเสียงพูดจากตอนใต้ (ชาว Southern ของอเมริกา ขึ้นชื่อลือชาเรื่องการเหยียดสีผิว) ชอบทำปากยื่นๆ มีความสุขุมเยือกเย็น ใครร้ายมาก็เลวตอบ แต่ทั้งเรื่องเห็นฆ่านาซีเพียงคนเดียว (ตอนท้ายเรื่อง ยิงปืนใส่ผู้ช่วยของ Hans Landa) และงานอดิเรกคือกรีดสัญลักษณ์นาซี บนหนังศีรษะของทหารที่ถูกไว้ชีวิต

ฉากที่ผมประทับใจสุดสำหรับ Pitt ตอนทำหน้าเหวอออก มีสองครั้งคือ
– ขณะปลอมตัวเป็นอิตาเลี่ยน แล้วถูก Hans Landa ฝอยสปาเก็ตตี้ใส่ ผมค่อนข้างเชื่อนะว่าตัวละครนี้น่าจะฟังไม่รู้เรื่องสักเท่าไหร่ ตอบ Grazie!
– เหวอออกรอบสองก็ตอน ‘That’s a bingo!’ คาดคิดไม่ถึงอย่างที่สุดเมื่อ Hans Landa ทั้งๆที่เลวสุดชั่ว แต่กลับยื่นข้อเสนอที่แม้แต่ตัวเขาเองก็ปฏิเสธไม่ลง

ปัญหาของ Tarantino ในการคัดเลือกนักแสดงคือบท SS Colonel Hans Landa ที่ในตอนแรกเล็ง Leonardo DiCaprio แต่ก็เปลี่ยนใจเพราะอยากได้นักแสดงสัญชาติ German มากกว่า ทำการคัดเลือกนักแสดงหลายร้อยไม่คิดว่าจะหาได้แล้วจนกระทั่งพบเจอ Christoph Waltz ผู้ไร้ซึ่งความหวาดกลัวเกรงต่อสิ่งใด

Christoph Waltz (เกิดปี 1956) นักแสดงสัญชาติ Austrian เกิดที่ Vienna ตอนสมัยวัยรุ่นเคยเดินทางมาร่ำเรียนการแสดง Method Acting โดยตรงจาก Lee Strasberg และ Stella Adler กลายเป็นนักแสดงละครเวที มีผลงานภาพยนตร์ภาษาเยอรมัน และซีรีย์โทรทัศน์ มักได้รับบทสมทบ ชื่อเสียงปานกลาง แทบไม่เคยได้รับรางวัลอะไร ซึ่งการได้รับโอกาสกับ Inglourious Basterds ไม่เพียงแจ้งเกิด แต่ยังประสบความสำเร็จน่าจะสูงสุดในชีวิตเลยละ เริ่มจากคว้า Best Actor จากเทศกาลหนังเมือง Cannes จากนั้นกวาดเรียบทุกสถาบันช่วงปลายปี

พันเอก Hans Landa เจ้าของฉายา The Jews Hunter เป็นนักสืบสัญชาติเยอรมันที่มีความเฉลียวฉลาด รอบรู้ ชื่นชอบการสนทนา ภาษาคมคาย (พูดได้ 4 ภาษา อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาเลี่ยน) ชอบใช้จิตวิทยาในการกดดัน จับผิดผู้อื่น ด้วยเหตุนี้คิดทำอะไรจึงประสบความสำเร็จโดยตลอด จนกระทั่งมาพบเจอกับ Aldo Raine มีบางอย่างที่เขาจะได้รับไปตอนจบแบบคาดคิดไม่ถึง

Waltz อาจไม่ใช่นักแสดงระดับ Daniel Day-Lewis แต่เขาสามารถสวมวิญญาณ ทำความเข้าใจตัวละคร มานิ่งๆแต่ลุ่มลึกล้ำ ก่อนแสดงความเกรี้ยวกราด หรือหลุดหัวเราะออกมาอย่างบ้าคลั่งเสียสติ โดยไร้ซึ่งความหวาดกลัวเกรงต่อสิ่งใด

ฉากที่โดยส่วนตัวชื่นชอบสุด คือตอนหลุดหัวเราะกับเรื่องโป้ปดของ Bridget von Hammersmark (รับบทโดย Diane Kruger) เพราะผู้ชมรับรู้อยู่แล้วว่า Hans Landa รับรู้ความจริงว่าเกิดอะไรขึ้นกับเท้าของเธอ แต่ก็ยังอดไม่ได้ที่จะหลุดหัวเราะกับคำกล่าวอ้างที่โคตรจะไร้สาระ แสร้งถามภูเขาลูกไหน แล้วบอกพูดเล่น เสร็จแล้วลากพาเข้าห้อง สวมรองเท้าแก้ว Cinderella จากนั้นก็แมงมุมขยุ้มหลังคา

เกร็ด: มือที่เห็นในฉากบีบคอเป็นของ Tarantino ไม่ใช่ของ Waltz เพราะผู้กำกับต้องการปฏิกิริยา บีบจริง เกือบตายจริง ตกลงกับ Kruger ว่าจะบีบเอง เผื่อว่าถ้าเธอตายจริงก็จะได้เป็นผู้รับผิด … ไม่ใช่แล้ว!

คำชมของ Tarantino ที่มีต่อ Waltz แทบทุกฉากจะต้องยกนิ้วโป้งชูขึ้น นี่เป็นสิ่งแม้แต่ Brad Pitt ยังรู้สึกอิจฉา คือถูกใจผู้กำกับอย่างมาก

“I think that Landa is one of the best characters I’ve ever written and ever will write, and Christoph played it to a tee. It’s true that if I couldn’t have found someone as good as Christoph I might not have made Inglourious Basterds”.

เกร็ด: รางวัล Oscar ของ Waltz คือครั้งที่ 6 ของนักแสดงพูดภาษาอื่นมากกว่าอังกฤษ ก่อนหน้านี้ประกอบด้วย Sophia Loren, Robert De Niro, Roberto Benigni, Benicio Del Toro และ Marion Cotillard

สำหรับบท Lt. Archie Hicox เดินนั้นเล็ง Simon Pegg แต่ถอนตัวเพราะติดโปรเจค Tintin ก่อนมาลงเอย Michael Fassbender ที่มีเชื้อสาย Irish-German สามารถพูดสำเนียงภาษาเยอรมันได้อย่างคล่องแคล่ว

Michael Fassbender (เกิดปี 1977) เกิดที่ Heidelberg, Baden-Württemberg, West Germany พ่อเป็นชาว German แม่มีเชื้อสาย Irish ตอนอายุได้ 2 ขวบ ย้ายสู่ประเทศ Killarney, Ireland แต่ก็ไปพักร้อนเที่ยวเล่นเยอรมันทุกๆหน้าร้อน, โตขึ้นมุ่งสู่ประเทศอังกฤษ เข้าเรียนการแสดงที่ Drama Centre London ไม่นานก็ลาออก เข้าร่วมกลุ่มนักแสดงเร่ Oxford Stage Company ได้รับโอกาสเป็นหนึ่งในนักแสดงมินิซีรีย์ Band of Brothers (2001), เริ่มมีชื่อเสียงจาก 300 (2006), Hunger (2008), พลุแตกกับ Inglourious Basterds (2009) ซึ่งน่าจะบทบาทนี้แหละ ทำให้ได้เป็นนักแสดง X-Men: First Class (2011) รับบท Erik Lehnsherr หรือ Magneto

รับบท Lieutenant Archie Hicox เดิมเป็นนักแสดง สัญชาติเยอรมัน หลบหนีลี้ภัยสู่ประเทศอังกฤษ กลายเป็นทหาร ได้รับคำสั่งให้เดินทางมายังประเทศฝรั่งเศส เข้าร่วมฉายปฐมทัศน์ภาพยนตร์เรื่องใหม่ โดยสายที่ได้รับการติดต่อคือ Bridget von Hammersmark พบเจอในบาร์แห่งหนึ่ง ที่โดยปกติต้องไม่มีใครอยู่ แต่วันนั้นโชคไม่ดีเข้าอย่างแรง เรื่องวุ่นๆจึงบังเกิดขึ้น

บทสมทบนี้ของ Fassbender อาจไม่ได้โดดเด่นอะไรนัก นอกจากสำเนียงเสียงพูดเหน่อเยอรมัน ที่คนส่วนใหญ่คงฟังไม่ออก แต่ก็เป็นผู้สร้างสีสันอย่างมาก เพราะเป็นคนที่หลุดพลาดพลั่ง ทำให้ความบัดซบวุ่นวายบังเกิดแบบคาดคิดไม่ถึง

Diane Kruger (เกิดปี 1976) นักแสดง โมเดลลิ่งสัญชาติ German-American เกิดที่ Algermissen, Lower Saxony, West Germany ตอนเด็กต้องการเป็นนักเต้นบัลเล่ต์ ครอบครัวส่งไปเรียนที่ Royal Ballet School, London แต่ภายหลังเปลี่ยนใจไปเป็นนางแบบ โมเดลลิ่งที่ Paris ไม่นานนักเกิดความสนใจด้านการแสดง เริ่มจากละครโทรทัศน์ มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง Troy (2004), National Treasure (2004), ล่าสุดคว้า Best Actress จากเทศกาลหนังเมือง Cannes เรื่อง In the Fade (2017) ฯ

รับบท Bridget von Hammersmark นักแสดงชื่อดังสัญชาติเยอรมัน แต่เป็นเส้นสายลับให้กับฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อหาทางกำจัดทำลายล้างนาซี ด้วยปฏิบัติการแผน Kino Operation จัดหาบัตรเชิญเข้าร่วมรอบปฐมทัศน์ แต่เรื่องวุ่นๆก็บังเกิดขึ้น และเธอก็ได้รับกรรมตามสนองอย่างสาสม จากการทรยศหักหลังเป็นไส้ศึกของประเทศชาติ

เดิมนั้น Tarantino สนใจร่วมงานกับ Nastassja Kinski ถึงขนาดบินไปพูดคุยกับเธอถึงเยอรมัน แต่ก็หาข้อตกลงไม่ได้ Kruger เลยได้รับโอกาสนั้นแทน ซึ่งขณะนั้นกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังจาก National Treasure (2004), สิ่งโดดเด่นของ Kruger คือสำเนียงการพูด (ภาษาอังกฤษเหน่อๆ พอจะฟังออกบ้าง) และท่าทางของความหวาดกลัว พิศวงสงสัย สีหน้าตอนถูกบีบคอสมจริงเกินไปไหม แต่ผมชอบสุดตอนทำหน้าเหว๋อขณะ Hans Landa หลุดหัวเราะแบบเสียสติ หมอนี่มันเพี้ยนเสียสติหรือยังไงเนี่ย!

Mélanie Laurent (เกิดปี 1983) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris ในครอบครัวเชื้อสาย Jews พ่อเป็นนักพากย์ แม่เป็นนักบัลเล่ต์ ตอนเด็กได้รับการชักชวนจาก Gérard Depardieu สนใจเป็นนักแสดงไหม เธอตอบ ‘Why Not?’ ไม่เคยเข้าเรียนการแสดงจากที่ไหน เริ่มจากบทสมทบเล็กๆ ไม่นานแจ้งเกิดกับ Don’t Worry, I’m Fine (2006) คว้ารางวัล César Award: Most Promising Actress, โด่งดังทั่วโลกเรื่อง Inglourious Basterds (2009), ผลงานอื่นๆ อาทิ Beginners (2011), Now Yor See Me (2013), Enemy (2013) ฯ

รับบท Shosanna Dreyfus เด็กหญิงสาวชาวยิว หลังวิ่งหนีรอดพ้นจากการถูกตามล่าฆ่าโดย Hans Landa เปลี่ยนชื่อใหม่ Emmanuelle Mimieux ได้รับมรดกกลายเป็นเจ้าของกิจการโรงภาพยนตร์ เพราะความจิ้มลิ้มน่ารักน่าชัง ไปเข้าตา Fredrick Zoller (รับบทโดย Daniel Brühl) วีรบุรุษทหารเยอรมัน ทำการเกี้ยวพา บีบบังคับให้เธอจัดฉายภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์ที่ตนเองนำเสนอ โดยไม่รู้ตัวนั่นกลายเป็นโอกาสของหญิงสาวที่ไม่คิดว่าชีวิตนี้จะได้รับ วางแผนคิดกระทำการบางอย่างเพื่อล้างแค้นสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองในอดีต

ตอนที่ Hans Landa เข้ามานั่งสืบประวัติของเธอในร้านอาหารแห่งหนึ่ง แค่เสียงของเขาที่หญิงสาวจดจำได้ ก็สร้างความหวาดสะพรึงขนหัวลุกซู่ ไอ้นี่มันฆาตกรฆ่าพ่อแม่พี่น้องของตนเอง แต่ก็พยายามทำทุกอย่าง เก็บกดดันอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เพื่อบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า ต้องข้ามผ่านช่วงเวลาเล็กๆนี้ไปให้ได้

เท่ห์สุดของ Laurent คือตอนสวมชุดแดงยืนอยู่ตรงกระจกหน้าต่าง มองลงมาน่าจะเห็นบรรดาผู้นำชั้นสูงของเยอรมัน รอยยิ้มกริ่มเล็กๆปรากฎขึ้นในใจ แต้มทาสีแดงตรงสองข้ามแก้ม ทำเหมือนอินเดียแดงขณะเตรียมพร้อมเข้าสู่สงคราม

ทิ้งท้ายกับ Daniel César Martín Brühl González (เกิดปี 1978) นักแสดงสัญชาติ German-Spanish เกิดที่ Barcelona พูดได้ทั้งภาษาอังกฤษ, สเปน, เยอรมัน, ฝรั่งเศส เข้าสู่วงการมีชื่อเสียงกับ No Regrets (2001), Good Bye, Lenin! (2003), Salvador (Puig Antich) (2006), The Bourne Ultimatum (2007), Rush (2013), Captain America: Civil War (2016) รับบท Helmut Zemo

รับบทสิบตรี Fredrick Zoller นายทหารแม่นปืนสัญชาติ German มีความแม่นยำจนกลายเป็นวีรบุรุษของชาติ ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการติดต่อจาก Joseph Goebbels รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาชวนเชื่อของนาซีเยอรมัน ให้มาเป็นนักแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง Stolz der Nation (Nation’s Pride) ซึ่งเมื่อถ่ายทำเสร็จ เจ้าตัวยืนกรานอยากให้จัดฉายรอบปฐมทัศน์ที่โรงภาพยนตร์ของ Emmanuelle Mimieux หญิงสาวชาวฝรั่งเศสที่เขาตกหลุมรักแรกพบจนโงหัวไม่ขึ้น

ใบหน้าอันหล่อเหลาของ González ถ้าไม่ติดว่าสวมเครื่องแบบทหารเยอรมัน สาวๆคงติดตรึมแน่ แต่เพราะนั่นคือสัญลักษณ์แห่งความชั่วร้าย จิตใจของตัวละครก็ชัดเจนเลยว่าไม่ได้มาดี ชาตินิยมรุนแรง แถมชื่นชอบการใช้กำลัง นี่ถ้ารับรู้ว่าแฟนสาวที่ตนแอบจีบอยู่เป็นชาวยิว คงได้คลั่งฆ่าให้ตายแน่

แซว: ขาประจำอย่าง Samuel L. Jackson และ Harvey Keitel ก็โผล่มาแจมนะครับ แต่จะได้ยินแค่เสียงพูดไม่กี่ประโยค

เกร็ด: ภาพยนตร์ชวนเชื่อ Stolz der Nation (Nation’s Pride) กำกับโดย Eli Roth และ Gabriel Roth ความยาว 6 นาที 11 วินาที หารับชมได้ใน Youtube

ถ่ายภาพโดย Robert Richardson ตากล้องยอดฝีมือสัญชาติอเมริกา ขาประจำของ Oliver Stone, Martin Scorsese, เริ่มร่วมงานกับ Tarantino ครั้งแรกตอน Kill Bill หลังจากนี้ก็ Django Unchained (2012), The Hateful Eight (2018) ฯ

แม้พื้นหลังของหนังจะคือประเทศฝรั่งเศส แต่สถานที่ถ่ายทำหลักคือเมือง Saxony และ Brandenburg, Germany

ความ Spaghetti ของหนัง สังเกตเห็นได้ตั้งแต่การถ่ายภาพที่มีไดเรคชั่นหลากหลาย ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความสนใจของผู้กำกับต่อฉากนั้นๆ เอาแน่เอานอนอะไรไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่

Sequence แรกของหนัง เริ่มจากถ่ายภาพ Long Shot ให้อารมณ์เหมือนหนัง Spaghetti Western เรื่องหนึ่ง จากนั้นเมื่อภัยร้ายค่อยๆคุกคามใกล้เข้ามา ใช้บทเพลงกลิ่นอายของ Ennio Morricone รัวเปียโนท่อนแรกของ Beethoven: Für Elise

เราจะพบเห็นมุมเงย (ของปีศาจ) บ่อยครั้งมากในหนัง ครั้งแรกสุดก็คือ Hans Landa ก้มลงมองชาวยิวที่ถูกกระหน่ำยิง ตรงกันข้ามกับฉากตอนจบ ตัวเขาลงไปนอนกองกับพื้น และบุคคลที่เห็นมุมเงยขึ้นมาคือ Aldo Raine

คือมันเป็นการถ่ายมุมเงยที่สูงมากๆเลยนะ สะท้อนถึงความโหดโฉดชั่วร้ายของตัวละครนั้นๆ ถ้ายิ่งเงยมากก็จะเลวบัดซบที่สุด

ไดเรคชั่นที่โดยส่วนตัวชื่นชอบสุดในหนัง ตอนที่ Shosanna/Emmanuelle ถูก(ลัก)พาตัวมายังร้านอาหารแห่งหนึ่งแบบไม่เต็มใจนัก พบเจอกับว่าที่แฟนหนุ่ม Fredrick Zoller และ Joseph Goebbels ระยะประชิดตัว แต่นั้นก็เทียบไม่ได้เมื่อเจอกับฆาตกรสังหารโหดครอบครัว Hans Landa เริ่มต้นที่ช็อตนี้ มาด้วยเสียงพูด ดาวประดับเต็มอก และมือประทับบนไหล่ แค่นี้ก็ชวนให้ขนลุกซู่ เสียวสันหลังวาบ ทำเอาหญิงสาวแทบไปต่อไม่ถูก

การขัดจังหวะของบริกรฉากนี้ (ชวนให้นึกถึงหนังเรื่องหนึ่งของ Luis Buñuel) ทำให้สติสตางค์ของหญิงสาวแทบคลั่งไม่อยู่กับเนื้อกับตัว หายใจแทบไม่ออก คืออยากเร่งรีบให้การสัมภาษณ์มันเสร็จสิ้นเร็วไวๆ แต่อะไรก็ไม่รู้มาขัดจังหวะอยู่เรื่อย ซึ่งวินาทีที่ Hans Landa เดินลับหายจากไป เธอก็ถอนหายใจโล่งอก เกือบจะหลั่งร้องไห้ออกมา

มี Long-Take ฉากหนึ่งสวยมากทีเดียว ก่อนเริ่มฉายหนังรอบปฐมทัศน์ เมื่อ Shosanna/Emmanuelle เริ่มออกเดินลงบันไดจากชั้นสอง กล้องเคลื่อนไหลติดตามด้วยเครนลงมาถึงชั้นล่าง หยุดสนทนากับ Goebbels และ Emil Jannings (นักแสดงเจ้าของรางวัล Oscar: Best Actor คนแรกของโลก) แต่กล้องยังคงเคลื่อนต่อขึ้นชั้นสองไปยัง Hans Landa ที่พอมองเห็นใครสักคนก็ออกเดินลงมายังชั้นหนึ่ง จบสิ้นที่ประจันหน้า Bridget von Hammersmark

ระหว่างที่ Bridget von Hammersmark กำลังสนทนา โม้โป้ปดกับ Hans Landa อ้างว่าไปปีนตกเขาได้รับบาดเจ็บขาเข้าเฝือก กล้องหมุนรอบพวกเขา 360 องศา (รอบโลกเลยก็ว่าได้) มันก็สื่อได้หลายอย่างนะ อาทิ จุดศูนย์กลางความเห็นแก่ตัว, หมุนไปเรื่อยๆคือการแถ วกวนอ้อม นอกเรื่อง ฯ

Eli Roth กับ Omar Doom เกือบเอาตัวไม่รอดในฉากเผาโรงภาพยนตร์ เพราะฟิล์มไนเตรตที่ลุกไหม้ร้อนแรงกว่าปกติ ประมาณอุณหภูมิสูงถึง 750 องศาฟาเรนไฮต์ (กว่า 400 องศาเซลเซียส) ทำให้ฉาก โครงเหล็ก ถูกเผามอดไหม้ วอดวายอย่างรวดเร็ว ทำเอาผนังเพดานเกือบถล่มแล้วละ ซึ่งทีมนักดับเพลิงแซวพวกเขาว่า ถ้าเผ่นออกจากฉากนั้นช้ากว่าอีกสัก 15 วินาที คงมีโอกาสโครงสร้างถล่ม ถูกไฟครอกตายได้เลย

Smoke Screen ช็อตนี้ เห็นว่านำแรงบันดาลใจจาก The Wizard of Oz (1939) เมื่อตอนใบหน้าของ Oz ปรากฎขึ้นบนเปลวไฟ (เปลี่ยนไฟเป็นควันแทน ดูหลอนๆน่ากลัวยิ่งกว่า)

ตัดต่อโดย Sally Menke (1953 – 2010) ขาประจำของ Tarantino ตั้งแต่ Reservoir Dogs (1992) ได้เข้าชิง Oscar: Best Edited สองครั้ง Pulp Fiction (1994) และ Inglourious Basterds (2009)

เราสามารถแบ่งมุมมองของหนัง เล่าเรื่องผ่าน 3 กลุ่มตัวละคร ประกอบด้วย
– มุมมองของฝ่ายผู้ร้าย นำโดย Colonel Hans Landa, Adolf Hiter, Joseph Goebbels ฯ
– มุมมองของกลุ่มพระเอก Basterds นำโดย Aldo Raine และผองพวก
– มุมมองของนางเอก Shosanna Dreyfus หรือ Emmanuelle Mimieux

เป้าหมายของกลุ่มพระเอกและนางเอกคือสิ่งเดียวกัน ต้องการเข่นฆ่าล้างแค้น กำจัดศัตรูนาซีฝั่งผู้ร้ายให้สูญสิ้นซาก แต่พวกเขาไม่เคยได้พบเจอ ร่วมมือ หารือกันเลยสักครั้งเดียว ในขณะที่ Hans Landa กลับรู้จักไปหมดทั่วทั้งสองฝั่ง ซึ่ง…
– ต้นเรื่อง Hans Landa เข่นฆ่าครอบครัวของ Shosanna Dreyfus ทำให้ต้องวิ่งหนีเอาตัวรอด
– ท้ายเรื่อง Hans Landa กำลังพยายามหนีเอาตัวรอด ยอมจำนนกลายเป็นนักโทษให้กับ Aldo Raine

ความกวนประสาทในสไตล์ของ Tarantino คืออยากใส่ Reference/Flashback เล่าย้อนอดีต อธิบายเกร็ดความรู้ ที่มาที่ไป ของใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร ก็แทรกใส่เข้ามา ณ ตำแหน่งตรงนั้นเลย อาทิเช่น
– ตอนแนะนำสมาชิกใหม่ของกลุ่ม Basterds ตัดให้เห็นใบหน้าของ Sergeant Hugo Stiglitz (รับบทโดย Til Schweiger) แช่ภาพค้างไว้แปปหนึ่ง จากนั้นเล่าย้อนประวัติความเป็นมาโดยคร่าวๆ เสร็จสิ้นแล้วก็หวนกลับมาเหตุการณ์ปัจจุบัน
– แนะนำประวัติฟีล์มไนเตรต ที่ทำไมติดไฟง่ายเหลือเกิน

ปกติแล้วการเล่าเรื่อง ‘สไตล์ Tarantino’ มักจะให้แต่ละเหตุการณ์ดำเนินไปเรื่อยๆ สนทนาพูดคุยอย่างเยิ่นยาวนานจนกระทั่งเกิดอะไรบางอย่าง แล้วถึงจุดสิ้นสุดจบฉาก เว้นเฉพาะไคลน์แม็กซ์ของหนังเรื่องนี้ ที่ใช้วิธีการตัดสลับไปมาระหว่าง 2-3 กลุ่มตัวละคร เพื่อปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของตัวเอง ไม่ได้มีเกี่ยวเนื่องกันอย่างตรงๆ แต่โยงใยกันอย่างยุ่มย่าม
– Colonel Hans Landa กำลังยื่นข้อเสนอต่อรองกับ Aldo Raine เพื่อความอยู่รอดของตนเอง
– สมาชิกกลุ่ม Basterds สองคน กำลังหาหนทางไปปลิดชีพ Adolf Hitler และผองพวก
– Shosanna Dreyfus ก็เตรียมตัวรอเวลาส่งสัญญาณ แต่ก็มีแฟนหนุ่มมาขัดจังหวะ

เกร็ด: นับตั้งแต่ Kill Bill ผู้กำกับ Tarantino ชักชวนให้นักแสดงของเขาทุกคน เมื่อถ่ายทำเสร็จทุกเทค/ทุกฉาก หันหน้ามองกล้องแล้วพูดว่า ‘Hello Sally’ เพื่อเป็นการทักทาย Sally Menke นักตัดต่อขาประจำของ Tarantino แต่นี่คือเรื่องสุดท้าย เพราะเธอเสียชีวิตปี 2010 ภายหลังจากได้รับ Honorary Award ไปไม่กี่เดือน

Tarantino เป็นแฟนคลั่งเพลงประกอบของ Ennio Morricone มาช้านาน ติดต่อขอทำเพลงให้ แต่โชคไม่ดีที่ติดโปรเจคอื่นอยู่ (แต่ฝันของ Tarantino ก็เป็นจริงกับ The Hateful Eight) กระนั้นก็ได้ลิขสิทธิ์นำหลายเพลงของ Morricone มาใช้ประกอบหนังแทน

จนถึงปัจจุบันรู้สึกจะมีแค่ The Hateful Eight ที่ Tarantino เลือกใช้เพลงประกอบ Original Score เรื่องอื่นๆรวมทั้ง Inglourious Basterds นำบทเพลงมีชื่อ หรือประกอบภาพยนตร์เรื่องดัง มารวบรวมเป็น Album/Spaghetti ตามรสนิยมความชื่นชอบส่วนตัว

บทเพลง The Verdict (La Condanna) แต่งโดย Ennio Morricone นำจากหนังเรื่อง The Big Gundown (1966) นำแสดงโดย Lee Van Cleef เสียงเปียโนเล่นรัวๆของ Beethoven: Für Elise ให้สัมผัสชวนฉงนสงสัย ลึกลับพิศวง น่าสะพรึงกลัว (มากกว่าจะบอกรักถึง Elise ตามชื่อของบทเพลงนี้)

Slaughter ขับร้องโดย Billy Preston จากภาพยนตร์เรื่อง Slaughter (1972)

ว๊าว เพลงนี้ถือว่าเป็น Character Song ของกลุ่ม Basterds เลยก็ได้ เพราะการกระทำของพวกเขามันคือการ Slaughter เข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทหารนาซีให้หมดสูญสิ้นชาติไป

บทเพลง One Silver Dollar (Un Dollaro Bucato) แต่งโดย Gianni Ferrio จากภาพยนตร์เรื่อง Blood for a Silver Dollar (1965)

สาวฝรั่งเศสสุดสวยน่ารักนั่งอยู่ในร้านอาหาร กำลังอ่านหนังสือ สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ นี่มันลักษณะของการอ่อยเหยื่อ ให้ชายหนุ่มโสดทั้งหลาย หลงเข้าไปหาโปรยเสน่ห์เสียเหลือเกิน

บทเพลง Cat People (Putting Out Fire) ชื่อเล่น Gasoline ขับร้องโดย David Bowie จากหนังเรื่อง Cat People (1982)

ดังขึ้นขณะที่ Shosanna/Emmanuelle กำลังเตรียมสำหรับสุมไฟ พร้อมเข่นฆ่าสังหารล้างแค้นพลพรรคนาซี ให้มอดไหม้วอดวายไปราวกับถูกเผาด้วยแก๊สโซลีน, แม้จะเป็นบทเพลงที่ไม่เข้ากับบรรยากาศย้อนยุคของหนัง แต่คำร้องและทำนองมันกวนประสาทมากเลยนะ (นี่ก็ถือเป็นอีก Spaghetti ของหนัง)

บทเพลง Ending Credit ชื่อ Rabbia e Tarantella (แปลว่า Rage/Fury) แต่งโดย Ennio Morricone จากภาพยนตร์เรื่อง Allonsanfàn (1974) กำกับโดย Paolo และ Vittorio Taviani นำแสดงโดย Marcello Mastroianni

เชลโล่ประสานเสียง สะท้อนความเกรี้ยวกราดโกรธ อึดอัดอั้นคับแค้น ที่สะสมคับคลั่งเป็นมวลรวมอยู่ภายใน แม้สงครามจะจบสิ้นลงแล้ว แต่ใช่ว่าความชั่วที่เคยกระทำจะลบเลือนลางจางหาย มันสมควรต้องสร้างรอยแผลเป็นบากไว้ มิให้หลงลืมเลือนตัวตน

ผมเคยเขียนไว้เมื่อตอน Pulp Fiction (1994) ที่คือจุดเริ่มต้นของยุคสมัย Post-Modern ในวงการภาพยนตร์ ทุกสิ่งอย่างในผลงานของ Tarantino ล้วนอ้างอิงกล่าวถึงจากหนังเก่าๆที่เคยรับชมสมัยเป็นเด็กร้านเช่าร้านวีดิโอ ก็เล่นดูมันทุกเรื่องจนรอบรู้เสียยิ่งกว่าห้องสมุดเคลื่อนที่ได้

ใน IMDB จะมีหน้า References ที่บอกว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ อ้างอิงหรือมีการเอ่ยกล่าวถึงจากหนังเรื่องใดบ้าง พอเปิดของ Inglourious Basterds ก็ทำเอาผมอึ้งทึ่งไปเลย นับดูประมาณ 80+ กว่าเรื่อง เรียกว่าแทบจะทุกกระเบียดนิ้ว คำพูดสนทนาอันคมคาย ไดเรคชั่น บทเพลงประกอบ ฯ นำมาจับไฉ่ใส่มันแทบทุกอย่าง กลายเป็น Spaghetti (ในสไตล์อิตาเลี่ยน) บ้านเราคงเรียกว่า ต้มยำกุ้ง

ผมพยายามครุ่นคิดหาสาระประโยชน์ นอกเหนือจากความบันเทิงของหนังเรื่องนี้ ก็พบว่า … กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมคืนสนอง มันคงไม่มีอะไรไปมากกว่านี้ ใครครุ่นคิดหาได้ก็ช่วยบอกต่อทีนะครับ ส่ายหัวหมดปัญญาจริงๆ

สำหรับใจความสำคัญของหนัง มันคือการล้างแค้นเอาคืน ต่อความชั่วร้ายที่เป็นตราบาปฝังใจมนุษย์มากว่าครึ่งศตวรรษ ด้วยลักษณะตาต่อตา ฟันต่อฟัน, เมื่อพวกนาซีใช้ความรุนแรงเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว แล้วทำไมในทางกลับกัน ชาวยิวจะไม่สามารถรวมกลุ่มเพื่อฆ่าล้างแค้นเอาคืน ถลกหนักศีรษะ ตราสัญลักษณ์ติดหน้าผาก ไม่ให้ชาตินี้ลบลืมเลือนความชั่วร้ายบัดซบที่พวกมันเป็นผู้ก่อขึ้นได้

แต่ทุกสิ่งอย่างที่ Tarantino จินตนาการเพ้อมโนขึ้นมานี้ ล้วนแล้วบังเกิดขึ้นแต่ใน(โรง)ภาพยนตร์เท่านั้น เสียงหัวเราะ ยิ้มเยาะ รวมถึงกรีดร้อง ตะเกียกตะกาย ปืนกลและเสียงระเบิด ล้วนดังมาจากข้างใน มิสามารถลุกลามออกสู่โลกความจริงภายนอกได้แม้แต่น้อย

และเพราะทั้งแบบนั้น ก็ยังมีใครบางคนที่สามารถรู้หลบเป็นปีก สามารถหลีกหนีเอาตัวรอดออกจากสิ่งที่เกิดขึ้นใน(โรง)ภาพยนตร์ได้ นั่นเป็นสิ่งสร้างความช็อค ตะลึงงัน ให้กับผู้ชมและตัวละคร คือมันก็ต้องมีแหละคนลักษณะนี้ ชั่วร้ายเกินกว่าหนังเรื่องหนึ่งจะแบกรับไว้ได้ ด้วยเหตุนี้วิธีการเดียวหลงเหลือเพื่อไม่ให้ลืมเลือน คือกรีดบาดตราหน้าแม้งไปเลย คราวนี้แหละไม่มีใครเห็นผิดชอบชั่วเป็นดีอย่างแน่นอน

Tarantino สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เปรียบตัวเองได้กับหัวหน้ากลุ่ม Basterds ผู้มีความหิวกระหายอยากกระทำบางสิ่งอย่างที่เป็นความรุนแรง ย้อนแย้ง ต่อสิ่งที่บังเกิดขึ้นในอดีต ปรากฎอยู่ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์นับร้อยพันเรื่อง ซึ่งการรับเชิญ Cameo ในบททหารนาซีที่ถูกถลกหนังหัวเป็นคนแรก มีนัยยะถึงการยินยอมเปิดเผยทุกสิ่งอย่างที่อยู่ในหัวสมองของตนเองออกมา ผู้ชมจะได้รับรู้พบเห็นตัวตนแท้จริงของเขา ที่ยังคือเด็กชายหนุ่มน้อย ยังคงอาศัยอยู่ในโลกแห่งความฝัน ถึงไม่เคยพบเจอทหารนาซีตัวจริง แต่ก็ได้คิดเพ้อจินตนาการ อยากกราดยิงเผาแม้งให้วอดวาย ชีวิตจริงทำไม่ได้ ภาพยนตร์นี่และลำยอง

หนังฉายรอบปฐมทัศน์ล่วงหน้าที่เทศกาลหนังเมือง Cannes แต่เพราะเสียงวิจารณ์แตกเกินไปนิด เลยหมดลุ้นรางวัลใหญ่ แต่ Christoph Waltz ก็สามารถคว้ารางวัล Best Actor ไปครองได้

ด้วยทุนสร้างสูงถึง $70 ล้านเหรียญ ทำเงินในอเมริกา $120.5 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $321.4 ล้านเหรียญ กลายเป็นหนังทำเงินสูงสุดของ Tarantino ก่อนผลงานถัดไป Django Unchaines (2012) จะทุบทำลายสถิติของตนเองลงได้อีก

เข้าชิง Oscar 8 สาขา คว้ามา 1 รางวัล
– Best Motion Picture of the Year
– Best Directing
– Best Supporting Actor (Christoph Waltz) ** คว้ารางวัล
– Best Writing, Original Screenplay
– Best Cinematography
– Best Film Editing
– Best Sound Mixing
– Best Sound Editing

เกร็ดไร้สาระ: การคว้า Oscar: Best Supporting Actor ของ Christoph Waltz คือจุดเริ่มต้นของนักแสดงที่ชื่อนำหน้า Christ แล้วได้รางวัลสาขานี้ถึง 4 ปีติด
– Christian Bale ได้กับ The Fighter (2010)
– Christopher Plummer เรื่อง Beginners (2010)
– และ Christoph Waltz กลับมาคว้าอีกครั้งกับ Django Unchained (2012)

สิ่งที่ผมชื่นชอบสุดในหนัง คือการแสดงของ Christoph Waltz เป็นตัวร้ายมากลีลา คมคาย เฉลียวฉลาด ใช้จิตวิทยากดดันความรู้สึกเก่ง บางครั้งแค่ได้ยินเสียงก็ทำให้เกิดความน่าหวาดสะพรึงกลัวอย่างยิ่ง แม้ไม่ถึงระดับของ Hannibal Lecter แต่ก็ถือว่ามีสไตล์ ระดับความโฉดชั่วของตนเอง

คอหนัง Black Comedy ชื่นชอบความรุนแรง Sadist สนใจประวัติศาสตร์(ทั้งจริงและปลอม)ของนาซี และวงการภาพยนตร์เยอรมัน, แฟนๆผู้กำกับ Quentin Tarantino และนักแสดง Brad Pitt, Christoph Waltz, Michael Fassbender, Eli Roth, Diane Kruger ไม่ควรพลาด

จัดเรต 18+ กับภาพ ความคิด-พูด-กระทำ ที่มีความรุนแรงวิปริตพิศดาร

TAGLINE | “Quentin Tarantino คือหัวหน้ากลุ่ม Inglourious Basterds ออกคำสั่งให้ Brad Pitt กับ Christoph Waltz กระทำสิ่งบ้าคลั่งรุนแรงยิ่งกว่าการเข่นฆ่าล้างนาซี/ยิว”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Audition (1999)


Audition

Audition (1999) Japanese : Takashi Miike ♥♥♥♡

พ่อสูญเสียแม่ไปหลายปี ลูกชายเร่งเร้าให้แต่งงานใหม่ เพื่อนเลยแนะนำให้ทำการ Audition เลือกเอาคนถูกใจ แต่ใช่ว่าอายุปูนนี้แล้วจะไม่มืดบอดในความรัก นั่นทำให้เขาพบเจอหญิงสาวที่ … หนังเรื่องนี้มาคล้ายคลึงกับ Carrie (1976) ชั่วโมงแรกนำพาอารมณ์ไปอย่าง พอถึงจุดแตกหักไคลน์แม็กซ์ คุณอาจกัดเล็บจนนิ้วกุดแบบไม่รู้ตัว

ขอเตือนไว้ก่อนกับคนโลกสวย ขวัญอ่อน กำลังท้อง หรือวัยรุ่นยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้หลีกเลี่ยงหนังเรื่องนี้ไปเลยนะครับ เพราะมันมีภาพที่จะทำให้คุณเกิดความทรมาน หลอกหลอนฝังใจ ในลักษณะของ Torture Porn ตัวละครมีความสนุกสนาน หัวเราะคิกคักเมื่อเห็นผู้อื่นเจ็บปวด (Sadist)

เกร็ด: Torture Porn, ทัณฑ์ทรมาน แนวใหม่ของภาพยนตร์ Horror ในช่วงทศวรรษ 2000s มีส่วนผสมของ Spatter และ Slasher Film มักนำเสนอภาพความรุนแรงออกมาตรงๆ เต็มไปด้วยเลือด ภาพโป๊เปลือย ตัวละครถูกทรมาน มีการตัดอวัยวะ ผู้ร้ายเกิดความพึงพอใจในกระทำการอันซาดิสม์, ภาพยนตร์ที่เป็นไฮไลท์ของแนวนี้ อาทิ Saw (2004), Hostel (2005), Wolf Creek (2005), The Human Centipede (First Sequence) (2009), A Serbian Film (2010) ฯ

เกร็ด 2: Eli Roth สร้าง Hostel (2005) โดยได้แรงบันดาลใจจากการรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้

เกร็ด 3: ผู้กำกับดัง Quentin Tarantino ยกให้นี่คือหนึ่งในหนังเรื่องโปรด นับตั้งแต่ปี 1992 (ที่เขาเริ่มสร้างภาพยนตร์)

ส่วนตัวรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เจ๋งมากๆเลยนะ แฝงข้อคิดระแวดระวังภัย เตือนสติมนุษย์เพศชายได้อย่างจู๋หด โดยเฉพาะทัณฑ์ทรมานช่วงท้าย สามารถสะท้อนกฎแห่งกรรม คิดกระทำอะไรเลวๆไว้ สักวันผลนั้นย่อมคืนสนอง

Takashi Miike (เกิดปี 1960) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ พ่อ-แม่เป็นชาวเกาหลี เกิดที่ Yao, Osaka เลยได้สัญชาติญี่ปุ่น เข้าเรียนที่ Yokohama Vocational School of Broadcast and Film ลูกศิษย์ของ Shohei Imamura เริ่มทำงานจากสร้าง direct-to-video หลายสิบเรื่องก่อนมีภาพยนตร์เรื่องแรก Shinjuku Triad Society (1995), มีชื่อเสียงระดับนานาชาติกับ Audition (1999), Ichi the Killer (2001), กำกับตอนหนึ่งของ Three… Extremes (2004), Crows Zero (2007), Terra Formars (2016), Blade of the Immortal (2017) ฯ

เกร็ด: Miike เคยเป็นนักแสดงรับเชิญใน Last Life in the Universe (2003) กับ Hostel (2006)

สไตล์ความสนใจของ Miike ชอบที่จะนำเสนอภาพความรุนแรง เต็มไปด้วยเลือด การทรมานอันโหดร้าย ฯ มักเกี่ยวข้องกับนักเลง, ยากูซ่า, ผู้ป่วยโรคจิต และ Gaijin (ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น) นี่สะท้อนกับตัวตนของเขาวัยเด็ก ราวกับเป็นคนนอกในสังคมญี่ปุ่น

(ญี่ปุ่นเป็นประเทศขึ้นชื่อเรื่องชาตินิยม กีดกันชาวต่างชาติ ถ้ากับเด็กๆมักถูกเพื่อนรวมหัว กลั่นแกล้งสารพัดเพ นี่คงเป็นสภาพแวดล้อมที่ Miike เติบโตมาสินะ)

หนังเรื่องโปรดของ Miike คือ Starship Troopers (1997) ส่วนผู้กำกับที่ชื่นชอบ อาทิ Akira Kurosawa, Hideo Gosha, David Lynch, David Cronenberg, Paul Verhoeven

จากความสำเร็จอันล้นหลามของ Ringu (1998) ทำให้หลายสตูดิโอในญี่ปุ่นกลายเป็นกระต่ายตื่นตูม สนใจสรรหาสร้างภาพยนตร์แนว Horror มากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ Omega Project แต่เพราะไม่ต้องการซ้ำแนวผี เรื่องราวเหนือธรรมชาติ เลือกซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงนิยาย Audition (1997) ของ Ryū Murakami ที่เป็นแนว Psychological Horror ได้รับการยกย่องว่า ‘Japanese Psycho’ [มีความคล้ายกับหนังเรื่อง Psycho (1960)]

มอบหมายพัฒนาบทภาพยนตร์ให้ Daisuke Tengan ลูกชายคนโตของผู้กำกับ Shohei Imamura มีผลงานเขียนบทเรื่อง The Eel (1997), 13 Assassins (2010) ฯ

Shigeharu Aoyama (รับบทโดย Ryo Ishibashi) พ่อหม้ายวัยกลางคน หลังจากสูญเสียภรรยาจากโรคมะเร็งไป 7 ปี ได้รับการเร่งเร้าจากลูกชายวัย 17 ปี Shigehiko (รับบท Tetsu Sawaki) ที่โตพอเข้าใจความต้องการของผู้ชายด้วยกัน จึงอยากให้พ่อแต่งงานใหม่ (เจ้าตัวเอาแฟนสาวมาอวดถึงบ้านก่อนเลย), นำเรื่องนี้ไปพูดคุยกับเพื่อนสนิท Yasuhisa Yoshikawa (รับบทโดย Jun Kunimura) โปรดิวเซอร์ผู้สร้างภาพยนตร์ วางแผนทำการ Audition อ้างว่าหาหญิงสาวมาคัดเลือกนำแสดงในภาพยนตร์เรื่องใหม่ แต่แท้จริงแล้วคือเพื่อหาว่าที่ภรรยาใหม่ของ Shigeharu พบเจอตกหลุมรัก Asami Yamazaki (รับบท Eihi Shiina) จนหน้ามืดตามัวบอด ไม่สนฟังคำเตือนใคร

Ryo Ishibashi (เกิดปี 1956) นักแสดง นักร้อง สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Fukuoka, Kyūshū เริ่มต้นอาชีพจากการเป็นนักร้องนำวงร็อค ARB (Alexander Ragtime Band) เมื่อปี 1977 – 1990 หลังจากนั้นเข้าสู่วงการแสดง โด่งดังกับ Audition (1999), Suicide Club (2002), The Grudge (2004), The Grudge 2 (2006) ฯ

รับบท Shigeharu Aoyama ชายวัยกลางคน ทุ่มเทชีวิตให้กับลูกและการงาน (เป็นผู้สร้างสารคดี) ไม่มีเวลาออกเดทกับสาวไหน แต่เมื่อถูกลูกชายที่โตเป็นหนุ่มเร่งเร้าท้าทายให้หาภรรยาใหม่ คิดเพ้อจินตนาการถึงหญิงสาวในอุดมคติ ยินยอมทำตามคำแนะนำของเพื่อนสนิทโดยไม่สนความถูกต้องเหมาะสม หลังจากได้พบเจอเธอ ก็หลงใหลคลั่งไคล้ หน้ามืดตามัวไม่สนฟังคำเตือนใคร

มุมหนึ่ง Ishibashi ดูเป็นผู้ใหญ่ที่ทรงภูมิ รอบคอบเฉลียวฉลาด เต็มเปี่ยมด้วยมโนธรรม มีความนับน่าถือตา แต่พอตัวละครตกอยู่ในห้วงอารมณ์แห่งความรัก หลงใหลคลั่งไคล้ กลับกลายเป็นเหมือนเด็กวัยรุ่นใจร้อน เต็มเปี่ยมด้วย passion ตัณหา สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกออกมาจากข้างในได้อย่างสมจริง

ทรงผมรับกับใบหน้าของ Ishibashi มีลักษณะเหมือน Phallic ลึงค์ เป็นอย่างยิ่ง ไม่รู้ผมคิดไปเองหรือผู้กำกับจงใจแฝงนัยยะนี้ไว้หรือเปล่านะ ซึ่งความหมายถือว่าตรงกับ passion ความต้องการของตัวละครนี้เลยละ

Eihi Shiina (เกิดปี 1976) โมเดลลิ่ง นักแสดงหญิงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่เมือง Fukuoka, เมื่อปี 1995 ได้เดินแบบให้กับ Benetton หลังจากเป็นตัวแทนประเทศญี่ปุ่น ในการประกวด Elite Model Look ’95, ได้รับบทบาทเล็กๆใน Open House (1998) หลังจากพูดคุยสนทนาแบบเปิดอก เกี่ยวกับทัศนคติเรื่องความรักความสัมพันธ์ ถูกใจผู้กำกับได้รับการร้องขอให้มารับบทนี้

รับบท Asami Yamazaki หญิงสาวผู้โชคร้ายตั้งแต่เกิด พ่อแม่หย่าร้าง ครอบครัวบุญธรรมเลี้ยงดูเธอแบบไม่สนหัว พ่อเลี้ยงกระทำรุนแรง (ไม่ใช่แค่เอาเหล็กเผาไฟจี้ แต่น่าจะถึงระดับข่มขืน) ใช้การเต้นบัลเล่ต์ที่แสนยากเป็นหนทางระบายออกซึ่งความทุกข์ทรมาน แต่เมื่อได้รับอุบัติเหตุรุนแรงจนต้องเลิกเต้น ความเคียดแค้นสะสมจะระเบิดออก ใครก็ตามทำไม่ดีกับเธอจักต้องได้รับผลกรรมนั่นตามสนอง

การได้มา Audition พบเจอกับ Shigeharu Aoyama เหมือนว่าแท้จริงแล้วไม่ได้ต้องการเล่นหนัง หรือตกหลุมรัก หาคนดูแลแต่ประการใด เป้าหมายคือหาเหยื่อผู้โชคร้ายรายใหม่ ที่จะทำให้สามารถระบายความทุกข์อัดอั้นนี้ออกไป ได้เห็นผู้อื่นเจ็บปวดถูกทรมาน ฉันก็หัวเราะคิกๆอย่างสุขสำราญใจ

การแสดงของ Shiina โรคจิตเข้าขั้นทีเดียว รอยยิ้มแฝงไว้ด้วยความคิดชั่วร้าย แถมเรือนร่างอันผอมบอบบางติดกระดูก ฉากที่นั่งรอคอยโทรศัพท์ของ Shigeharu มีความหลอกหลอนน่ากลัวยิ่งนัก, รู้สึกว่าเธอจะกลายเป็น typecast ไปโดยทันทีหลังจากหนังเรื่องนี้ ใครที่ไหนจะกล้าให้มารับบทปกติทั่วไป สภาพแทบไม่ต่างกับ Anthony Perkins จากเรื่อง Psycho (1960)

ผู้กำกับ Miike ขึ้นชื่อเรื่องการทำงานที่ประหยัด รวดเร็วทันใจ (คงเพราะเติบโตมาจากการสร้าง direct-to-video โดยเฉลี่ยขั้นต่ำปีละ 4-5 เรื่อง) เห็นว่าหนังใช้เวลาถ่ายทำ 3 สัปดาห์ แทบทั้งหมดถ่ายทำยังสถานที่จริง

ถ่ายภาพโดย Hideo Yamamoto ตากล้องขาประจำของ Miike ผลงานเด่นอาทิ Hanabi (1997), Ringu 2 (1999), Audition (1999), Ichi the Killer (2001), The Grudge (2004), Hula Girls (2006) ฯ

เหตุผลที่ Miike เลือก Yamamoto ให้มาเป็นตากล้อง เพราะเป็นคนที่มีความอ่อนไหวต่อความตายอย่างยิ่ง พ่อ-แม่ เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก ทำให้เป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัว สงบเสงี่ยม แต่ดูก็รู้อาศัยอยู่กับความหวาดกลัวตลอดเวลา

“[Yamamoto was] living in fear, and that sensibility comes through in his work. It’s something I want to make the most of”.

ต้องชมเลยว่างานภาพของ Yamamoto สามารถสะท้อนอารมณ์ความรู้สึก (Expression) ของตัวละครได้เป็นอย่างดี พบเจอมุมกล้องแปลกประหลาดมากมาย และการจัดแสงสีมีนัยยะสำคัญ

ช่วงแรกๆของหนัง มุมกล้องจะถ่ายแบบตรงไปตรงมาเพราะยังไม่มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นกระทบกระเทือนจิตใจของตัวละคร แต่เมื่อ Shigeharu พบเจอกับ Asami จะเริ่มเห็นมุมกล้องแปลกๆ ก้ม-เงย เอียงกระเท่เร่ (Dutch Angle) ถ่ายจากบนเพดาน (Bird Eye View) สายตามด (Ant Eye View) มีความพิศดารหลากหลาย

สำหรับแสงสีก็เช่นกัน ในช่วงแรกๆจะเป็นแสงจากธรรมชาติแทบทั้งหมด แต่หลังจากพบเจอ Asami ราวกับว่าโลกในสายตาของ Shigeharu ได้เปลี่ยนแปลงเต็มไปด้วยแสงสีต่างๆ ที่สะท้อนอารมณ์บรรยากาศของฉากนั้นๆออกมา อาทิ ร้านอาหารเน้นสีเหลือง-แดง (อบอุ่น, สำราญใจ), อดีตโรงเรียนสอนบัลเล่ต์ใช้สีส้มอ่อน (แสงตะวันที่ใกล้ตกดิน), บันไดทางเดินลงสู่ผับมีสีแดง (เลือด/ความตาย),ในห้องโรงแรมเป็นสีน้ำเงิน (เย็นยะเยือก) ฯ

ช็อตหนึ่งในร้านอาหาร ฝั่งของพระเอกนั่งอยู่ในกรอบกระจก สะท้อนถึงความเข้าใจต่อตัวตนของหญิงสาว เป็นเพียงในจินตนาการความคิดของตนเองเท่านั้น

ถ่ายจากเพดานในอีกร้านอาหารหนึ่ง มุมกล้องดีอยู่ดีๆก็ปรากฎช็อคแทรกเข้ามา มีการแบ่งครึ่งราวกับว่าสองฝั่งสะท้อนกันและกัน
– สองฝั่งมีสองโต๊ะ สองคนนั่ง ในมุมที่เอียงตั้งฉากกัน คงสื่อถึงความต้องการจริงๆของพระเอก อยากนั่งข้างๆติดกันมากกว่านั่งตรงข้าม
– เปียโนแกรนด์ เป็นสัญลักษณ์ของความบันเทิง แสดงถึงพระเอกกำลังมีความเพลิดเพลิน เคลิบเคลิ้มกับการสนทนานี้
– พื้นหลังสีแดง ฉากนี้มีนัยยะถึง Passion เสียมากกว่านะ

ฉากในโรงแรม ห้องหอของทั้งสอง ในตอนแรกเปิดไฟยังมีสีสว่างขาวอยู่บ้าง แต่พอปิดแล้วก็หลงเหลือแต่แสงสีน้ำเงินให้สัมผัสที่เย็นยะเยือก, สังเกตว่าช็อตนี้ ผนังประตู ผ้าม่านผ่าห่ม ล้วนเป็นสีขาวทั้งหมด (อาบด้วยแสงสีน้ำเงิน) แต่สูทของพระเอกกลับเป็นสีดำตรงกันข้าม กำลังจะได้รับการถอดออก

อดีตโรงเรียนสอนบัลเล่ต์ โดดเด่นมากกับแสงสีส้มอ่อน มีความคล้ายแสงตะวันที่ใกล้ลับขอบฟ้า และการเว้นระยะห่างระหว่างสองตัวละคร, มันจะมีฉากถัดๆมาของสถานที่แห่งนี้ จะเปลี่ยนการใช้แสงเป็นสีน้ำเงิน ขณะนั้นความตายกำลังจะมาเยือนชายขาพิการที่กำลังนั่งเล่นเปียโนอยู่

ผมชื่นชอบฉากนี้ที่สุดในหนังเลยนะ เต็มไปด้วยมุมเอียง (Dutch Angle) หลากหลายสุดพิศดาร ใช้แสงสีแดงสร้างบรรยากาศ สะท้อนว่านี่เป็นสถานที่แห่งความตาย และจังหวะการตัดต่อขณะพระเอกรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเจ้าของไนท์คลับแห่งนี้ สร้างความสะดุ้งตกใจกลัว อยู่ดีๆขนลุกซู่ขึ้นมาได้เลยละ

ตัดต่อโดย Yasushi Shimamura ขาประจำของ Miike, ใช้การเล่าเรื่องในมุมมองของ Shigeharu Aoyama แทบทั้งหมด เว้นเพียง Flashback ภาพย้อนอดีตของ Asami ที่แทรกเข้ามาขณะกำลังเล่าเรื่องถึงตัวเอง, ช่วงแรกดำเนินเรื่องไปข้างหน้าเป็นปกติ แต่พอพบเจอกับหญิงสาว การตัดต่อมีกระโดดไปมา ผสมผสานระหว่างเรื่องเล่าย้อนอดีต (Flashback), ความทรงจำ และเพ้อฝันจินตนาการ (จากจิตใต้สำนึก)

การลำดับเรื่องราวลักษณะนี้ เหมือนเพื่อสะท้อนความมืดบอดในรักของ Shigeharu, ช่วงแรกๆเราจะเห็นเฉพาะด้านดีๆของ Asami แต่พอถลำลึกเข้าไปมากๆ (ตั้งแต่เข้าโรงแรม ได้เสียกัน) ด้านมืดของหญิงสาวค่อยๆได้รับการเปิดเผยออกทีละนิด เมื่อบางสิ่งอย่างเกิดขึ้นกับตัว ทำให้หวนระลึกนึกถึงตอนพูดคุยคบกันแรกๆ ที่เธอได้แอบทิ้งคำใบ้ตัวตนแท้จริง เศษขนมปังบอกเล่าไว้ให้แล้ว ซึ่งผู้ชมจะสามารถรับรู้เรื่องราวนี้ได้ ก็ตามความเข้าใจของพระเอกเท่านั้น

ถึงฉากไคลน์แม็กซ์ช่วงท้าย จะมีความรุนแรงบ้าคลั่งอย่างหนัก แต่ส่วนใหญ่จงใจใช้มุมกล้องบดบัง ให้เห็นว่ากำลังทำอะไรแต่จะไม่เห็นขณะกระทำ การตัดต่อจะแทรกภาพนั้นแบบแวปๆ สลับกับปฏิกิริยาของตัวละคร เสียงร้องกรีดกราย ‘kiri-kiri-kiri’ และ Sound Effect มีความสมจริงอย่ามาก

แซว: ฉากทัณฑ์ทรมาน Ishibashi สังเกตเห็นผู้กำกับ Miike มีความตื่นเต้น เพลิดเพลิน พึงพอใจอย่างยิ่ง ‘having so much fun with that scene’ โดยเฉพาะขณะตัวละครของเขาถูกตัดเท้าออก ใบหน้าสายตาแบบว่าซาดิสม์สุดๆ

เพลงประกอบโดย Kōji Endō อีกหนึ่งขาประจำของ Miike, มานุ่มๆเบาๆกลมกลืนเข้ากับหนัง แทบจะไม่ได้ยินอะไร แต่มีความลุ่มลึกด้วยเสียงเชลโล่ (ความชั่วร้ายแท้จริงของมนุษย์ หลบซ่อนอยู่ภายในเนื้อหนังที่มองไม่เห็น) สร้างสัมผัสบรรยากาศ ให้เกิดความหลอกหลอน ทะมึนๆ

ในห่วงโซ่อาหารประกอบด้วยผู้ล่ากับผู้ถูกล่า ขณะที่สังคมมนุษย์ จะใช้คำว่าผู้เลือกกับผู้ถูกเลือก,
– ผู้เลือก/ผู้ล่า มักมีสิทธิ์ อำนาจ อิทธิพลเหนือกว่าผู้ถูกเลือก/เหยื่อ เพื่อให้สนองความต้องการในทุกสิ่งอย่าง จนกว่าจะสมมูลค่าที่ได้จับจ่ายใช้สอยแลกเปลี่ยน
– ผู้ถูกเลือก/เหยื่อ มักไร้สิทธิ์ ไม่มีอำนาจ คิดกระทำอะไรได้ด้วยตนเอง ตกเป็นเบี้ยล่างของผู้เลือก กระทำหลายสิ่งอย่างเพื่อตอบสนองตามข้อตกลง ทั้งนี้แลกมาด้วยผลตอบแทน ถ้ามันคุ้มค่าพึงพอใจคงยินยอม ก้มหัว รับได้

ตั้งแต่อดีตกาล ผู้ชายมักมีสถานะเป็นผู้เลือก/ผู้ล่า เพราะสรีระร่างกายถูกออกแบบมาให้มีความแข็งแกร่งเหนือกว่า พึงพาได้ ขณะที่ผู้หญิงจักคือผู้ถูกเลือก/เหยื่อ มีช่วงเวลาอ่อนแอคือประจำเดือน ตั้งครรภ์คลอดบุตร จำเป็นต้องได้รับการปกป้องดูแลจากผู้อื่น

เราสามารถตีความหนังได้ว่ามีองค์ประกอบของ Feminist นำเสนออาการขัดขืนของหญิงสาวคนหนึ่ง ตั้งแต่เกิดตกเป็นเบี้ยล่างของผู้ชาย เก็บกดสะสมความทุกข์ทรมาน เมื่อโตขึ้นพบเจอหนทางแก้แค้นเอาคืน ด้วยการทรมานผู้อื่น
– ฉีดยาชาเข้าที่ลิ้น ทำให้พูด(โกหก)อีกไม่ได้
– ฝังเข็ม, ที่ญี่ปุ่นจะมีบทเพลงเกี่ยวก้อยสัญญา ‘ใครโกหก ต้องกินเข็มพันเล่ม’
– ตัดแขนขา เพื่อไม่ให้อนาคตสามารถไปกระทำอะไรกับใครอื่นได้อีก

ตรงกันข้ามกับ Feminist คือ Misogynist (ผู้เกลียดชังผู้หญิง) หนังสามารถตีความลักษณะนี้ได้เช่นกัน เพราะการกระทำของหญิงสาวเฉพาะกับเพศชายเท่านั้น มองเป็นการแก้แค้นเอาคืน หมกมุ่น เต็มไปด้วยความเกลียดชัง

ต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมดนี้เกิดความต้องการทางเพศ ‘Sex’ ผู้ชายฝักใฝ่ต้องการครอบครอง ‘เป็นเจ้าของ’หญิงสาว แทบจะได้มิเคยฟังคำ สนใจข้อเรียกร้อง ความต้องการของเธอเลย มืดบอดเมื่อสันชาตญาณความเงี่ยนเข้าครอบงำ เสร็จกิจแล้วก็ทิ้งขว้างเหมือนหมูเหมือนหมา นี่หรือที่เรียกตัวเองว่าสัตว์ประเสริฐ

ผู้กำกับ Miike คงแทนตัวเองด้วย Asami และประเทศญี่ปุ่นคือ Shigeharu ที่เขาอยากเลื่อยขาเก้าอี้ … ไม่ใช่แล้ว! มันเป็นความเก็บกดรุนแรง ที่ตัวเองเติบโตในสังคมรอบข้างไม่ยินยอมรับ คงอยากที่จะทำการล้างแค้นทวงคืนความยุติธรรมแบบหญิงสาวแน่ๆ แต่อดีตอันโหดร้ายสำหรับเขานั้นได้จบสิ้นผ่านไปแล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกฎแห่งกรรม จัดการบุคคลเลวชั่วร้ายนั้นเองแหละ

ความสำเร็จของหนังไม่ได้แค่เฉพาะในญี่ปุ่นทั้งนั้น เสียงตอบรับฝั่งยุโรปและ Hollywood ต่างยกย่องในความสมจริงทำลายล้าง ที่ค่อยๆทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ขนาดว่าผู้กำกับ Miike บอกว่า ‘no idea’ ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าถูกใจชาวตะวันตกได้อย่างไร

“[I have] no idea what goes on in the minds of people in the West and I don’t pretend to know what their tastes are. And I don’t want to start thinking about that. It’s nice that they liked my movie, but I’m not going to start deliberately worrying about why or what I can do to make it happen again”.

ส่วนตัวค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้ มันเจ็บจี๊ดรวดร้าวรานกับสิ่งที่พระเอกพบเจอ หวนนึกถึงคำโบราณ “รู้หน้าไม่รู้ใจ” ถ้าชีวิตจริงเจอแบบในหนังถือว่าโคตรซวยสุดๆ ต่อจากนี้ต้องระวังตัวเองให้มากๆแล้วละ, ประทับใจสุดของหนังคืองานภาพ ที่ค่อยๆมีความตื่นตา น่าสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่การตัดต่อคิดว่าซับซ้อนเกินไปหน่อยนะ

 

แนะนำกับคอหนัง Horror แนวจิตๆ มีความ Sadist ผสมโรแมนติก, หมอ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ศึกษาทำความเข้าใจอาการของผู้ป่วย, แฟนๆผู้กำกับ Takashi Miike ไม่ควรพลาด

แนะนำเป็นพิเศษกับคาสโนว่า และคนปลิ้นปล้อน ชอบพูดโกหกหลอกลวงทั้งหลาย หนังคงไม่ทำให้คุณเลิกกระทำอสุจริตนี้ แต่คงมีความระแวดระวังตัวมากขึ้นแน่

จัดเรต 18+ กับความซาดิสม์ รุนแรง

TAGLINE | “Audition ของผู้กำกับ Takashi Miike ทำให้คุณกลายเป็นผู้ถูกเลือก พบเจอความทรมานซาดิสม์ สมจริงจนอาจเกินรับไหว”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

The Bride Wore Black (1968)


The Bride Wore Black

The Bride Wore Black (1968) French : François Truffaut ♥♥♡

หลังจาก François Truffaut ได้สัมภาษณ์ Alfred Hitchcock เป็นเวลา 8 วัน เพื่อเขียนหนังสือเรื่อง Hitchcock/Truffaut ก็ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ La Mariée était en noir เพื่อเป็นการเคารพคารวะไอดอลของตนเอง, กระนั้น Truffaut ก็มิใช่ Hitchcock คงเหลือแต่ Jeanne Moreau ที่ทำให้หนังเรื่องนี้คงความน่าสนใจอยู่

François Truffaut (1932 – 1984) ผู้กำกับภาพยนตร์สัญชาติฝรั่งเศส หลังจากได้ทำงานเป็นนักวิจารณ์ของนิตยสาร Cahiers du cinéma ก้าวขึ้นมากำกับภาพยนตร์เรื่องแรก The 400 Blows (1959) กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากการเป็นหนึ่งในผู้นำยุคสมัย French New Wave, เมื่อปี 1962 ติดต่อขอสัมภาษณ์ผู้กำกับดังในดวงใจ Alfred Hitchcock ซึ่งก็ได้ยินยอมเสียสละเวลาเป็นสัปดาห์ ถูกกักตัวคุมขังอยู่ที่ Universal Studio โดยหัวข้อหลักของการสนทนาครั้งนี้ คือการเปิดเผยแนวคิดรูปแบบวิธีการทำงาน สร้างภาพยนตร์ของ Hitchcock ตั้งแต่เรื่องแรกถึงล่าสุดขณะนั้น

บทสัมภาษณ์ระหว่าง Truffaut กับ Hitchcock เกือบครึ่งศตวรรษให้หลัง ได้ผู้กำกับ Kent Jones นำฟุตเทจมาเรียบเรียงตัดต่อใหม่กลายเป็นสารคดีความยาว 80 นาทีเรื่อง Hitchcock/Truffaut (2015) ใครสนใจลองหารับชมดูนะครับ

ส่วนถ้าใครอยากหาอ่านหนังสือ Hitchcock/Truffaut คงต้องสั่งซื้อจากเว็บต่างประเทศ (เมืองไทยน่าจะไม่มีขาย)

เห็นว่าหนังสือ Hitchcock/Truffaut เล่มนี้ ได้พลิกโฉมวงการภาพยนตร์เลยนะครับ เพราะรายละเอียดเป็นการเปิดเผยเบื้องหลังการทำงาน ที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับรู้เข้าใจมาก่อน เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้สร้างภาพยนตร์และคนรักหนัง อาจถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ Director Commentary เลยก็ว่าได้

หลังสัมภาษณ์ Truffaut ใช้เวลารวบรวมเรียบเรียงเขียนหนังสืออยู่หลายปี เสร็จสิ้นตีพิมพ์เมื่อปี 1966 เกิดความต้องการที่จะสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเพื่อเป็นการ Homage ยกย่องให้เกียรติผู้กำกับคนโปรด ตัดสินใจเลือกนิยาย The Bride Wore Black (1940) ของนักเขียนสัญชาติอเมริกา Cornell George Hopley-Woolrich ที่ใช้นามปากกาว่า William Irish (บางครั้งก็ใช้นามปากกา George Hopley) ที่ Hitchcock เคยนำนิยายเรื่อง It Had to Be Murder (1942) มาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง Rear Window (1954)

เรื่องราวของหนังเป็นแนวตามฆ่าล้างแค้น (Revenge) หญิงสาวหม้ายคนหนึ่ง Julie Kohler (รับบทโดย Jeanne Moreau) แต่งชุดดำออกตามฆ่าชาย 5 คน ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกเขาได้ฆ่าสามีของเธอในวันแต่งงาน

Jeanne Moreau (1928 – 2017) นักแสดงหญิงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris เติบโตขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2, ตอนอายุ 16 เกิดความสนใจด้านการแสดง เข้าเรียนร้องเล่นเต้นที่ Conservatoire de Paris จากนั้นเป็นนักแสดงละครเวที แจ้งเกิดกับภาพยนตร์เรื่อง Elevator to the Gallows (1958) ของผู้กำกับ Louis Malle โด่งดังที่สุดคงเป็น Jules et Jim (1962) ของผู้กำกับ François Truffaut

Moreau เป็นนักแสดงที่มีความหลากหลาย เล่นได้ทุกบทบาท เป็นที่ต้องการตัวของผู้กำกับดังทั่วยุโรป มีผลงานทั้งหนังฝรั่งเศส, อิตาลี, เยอรมัน, อังกฤษ ฯ ผลงานเด่นอื่นๆอาทิ
– La Notte (1961) ของผู้กำกับ Michelangelo Antonioni,
– The Trial (1962) กับ Chimes at Midnight (1962) ของผู้กำกับ Orson Welles,
– Bay of Angels (1963) ของผู้กำกับ Jacques Demy,
– Diary of a Chambermaid (1964) ของผู้กำกับ Luis Buñuel

คว้ารางวัลการแสดง
– เทศกาลหนังเมือง Cannes: Best Actress เรื่อง Moderato cantabile (1960)
– เทศกาลหนังเมือง Venice: Best Actress (Special Award) เรื่อง Les amants (1958)
– BAFTA Award: Best Foreign Actress เรื่อง Viva Maria! (1965)
– César Award: Best Actress เรื่อง La vieille qui marchait dans la mer (1991)

เป็นนักแสดงไม่รู้คนเดียวหรือเปล่าที่ Big 3 สามเทศกาลหนังใหญ่ของโลกมอบรางวัล
– Cannes: Honorary Palme d’Or
– Venice: Career Golden Lion
– Berlin: Honorary Golden Berlin Bear

สำหรับหนังเรื่องนี้รับบท Julie Kohler หญิงสาวที่มีรอยยิ้มร่าเริงสดใส เข้าพิธีวิวาห์กับแฟนหนุ่มเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กำลังเดินออกมาข้างนอกโบสถ์ แล้วอยู่ดีๆสามีก็ล้มลง ถูกกระสุนจากที่ไหนไม่รู้ปลิดชีพเสียชีวิต, ความเศร้าโศกเสียใจอมทุกข์ ต้องการจะฆ่าตัวตายตามแต่ไม่สำเร็จ สิ่งเดียวเท่านั้นที่หลงเหลืออยู่ในชีวิตเธอคือการแก้แค้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น จะต้องหน้านิ่งใจเย็นชา และเอาคืนด้วยความโหดเหี้ยมที่สุด

ด้วยเหตุนี้ ตัวละครจึงใส่ชุดสีดำขณะจะฆาตกรรมชายทั้งห้า แต่หลายครั้งก็จะใส่สีขาว (ประมาณว่า สีขาว=บริสุทธิ์, สีดำ=ความชั่วร้าย) และมีอยู่ครั้งหนึ่งชุดจะเป็นสีขาว-ดำ ก็ไม่รู้ดีหรือชั่ว

การแสดงของ Moreau คือจุดเด่นของหนังเรื่องนี้ ที่ได้สร้างมิติลึกล้ำให้กับตัวละคร ใบหน้าของเธออมทุกข์ ทรมาน โศกเศร้า แม้แต่รอยยิ้มยังแฝงด้วยความเจ็บปวด ทุกวินาทีจมอยู่กับความรวดร้าว เห็นแล้วอึดอันทรมานใจสิ้นดี แต่ก็มิอาจละสายตายไปจากเธอได้, นี่น่าจะถือเป็นหนึ่งในการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Moreau ถ้าหนังทำออกมาดีกว่านี้สักหน่อย คงได้เจิดจรัสฉาย พูดถึงยกย่องมากกว่านี้แน่

สำหรับชายทั้ง 5 ผมขอพูดถึงลักษณะและการตายของพวกเขาแค่ผ่านๆแล้วกัน
– Bliss (รับบทโดย Claude Rich) ชายคนนี้เป็นเสือผู้หญิง มีอพาร์ทเม้นต์อยู่ชั้นบนๆตึกสูง ชื่นชอบพาสาวๆไม่ซ้ำหน้ามาค้างแรม, ในคืนวันก่อนแต่งงาน (Wedding Eve) จัดงานเลี้ยงปาร์ตี้เตรียมสละโสด ถูกหญิงสาวใช้คำพูดเสน่ห์เย้ายวน ผลักตกตึกลงมาเสียชีวิต

– Coral (รับบทโดย Michel Bouquet) ครูสอนหนังสืออาศัยอยู่คนเดียวในอพาร์ทเมนท์ (พึงพอใจกับการเป็นโสด) วันหนึ่งได้รับตั๋วชมคอนเสิร์ตพบเจอกับหญิงสาว เธอขอให้เขาชักชวนไปที่ห้องพัก แล้ววางยาพิษใน Arak (เหล้ากลั่นจากน้ำตาลอ้อย) มอมเมาจนเสียชีวิต

– Morane (รับบทโดย Michel Lonsdale) ว่าที่นักการเมือง แต่งงานแล้วมีลูกชายเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาล, หญิงสาวต้องวางแผนให้ภรรยาของเขาไม่อยู่บ้าน ตีสนิทกับลูกชายอ้างเป็นครูสอนหนังสือ แล้วใช้การกักขังชายผู้นี้ในห้องใต้บันได ขาดอากาศหายใจเสียชีวิต

– Fergus (รับบท Charles Denner) ศิลปินนักวาดรูป กำลังมองหานางแบบที่มีรูปลักษณ์คล้ายเทพธิดาโรมัน Diana the Huntress ได้หญิงสาวกลายเป็นแบบ พบเจอกันหลายครั้งจนแสดงออกว่าตกหลุมรัก สุดท้ายถูกธนูปักคาหลังสิ้นใจ

– Delvaux (รับบทโดย Daniel Boulanger) เจ้าของร้านรับซื้อขยะของเก่า ในตอนแรกวางแผนจะฆ่าด้วยปืนพก แต่เขากลับถูกตำรวจจับข้อหาขายรถเถื่อน, ช่วงท้ายหญิงสาวตัดสินใจยอมมอบตัวพร้อมกับยอมรับทุกข้อกล่าวหา เข้าไปอยู่ในเรือนจำเดียวกับ Delvaux มีความประพฤติดีจนได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจให้เป็นคนเสิร์ฟอาหาร ใช้โอกาสนั้นเอามีแทงเสียชีวิต (แต่เราจะไม่เห็นการกระทำนี้เลยนะ แค่ได้ยินเสียงร้องครวญครางแล้วหนังก็จะตัดจบลงเลย)

ถ่ายภาพโดย Raoul Coutard ขาประจำของ French New Wave ก่อนหน้าเข้าสู่วงการภาพยนตร์ เคยทำงานเป็นช่างภาพทำข่าวสงคราม จึงมีความคล่องตัว เชี่ยวชาญในการถ่ายภาพที่รวดเร็วอย่างมีสไตล์, ว่ากันว่าเป็นความจับพลัดพลูตอนที่ร่วมงานกับ Jean-Luc Godard เรื่อง À bout de souffle (1960) เป็นการถูกบังคับหักคอมาให้เป็นตากล้อง แต่ไปๆมาๆด้วยสไตล์การทำงานที่ถูกใจผู้กำกับยุคนี้ เลยกลายเป็นขาประจำของทั้ง Godard, Truffaut และ Jacques Demy

ลีลาการถ่ายภาพของหนังเรื่องนี้ต้องถือว่า ไม่มีหยุดนิ่ง ทุกฉากอย่างน้อยที่สุดต้องมีเคลื่อนไหว (ยกเว้นฉากสุดท้าย ที่ทุกอย่างจบสิ้นแล้ว กล้องเลยแน่นิ่งแช่อยู่กับที่) ถ้าไม่แพนซ้าย-ขวา ซูมเข้า-ออก ก็ต้องเดินไปมา, ผมเพิ่งมานึกได้ว่าสไตล์การถ่ายภาพลักษณะนี้ เริ่มต้นก็จากหนังของ Truffaut นี่แหละ เรื่อง The 400 Blows (1959) ที่แม้มีเพียงการซูมออกแพนกล้องแล้วซูมเข้า แต่ก็ได้พัฒนาต่อยอดขึ้นมาเรื่อยๆ

เราสามารถเปรียบการเคลื่อนกล้องของหนังเรื่องนี้ ได้กับจิตใจของหญิงสาวที่เต็มไปด้วยความว้าวุ่นวาย สับสนอลม่าน ช่วงแรกๆมีความรุนแรง รวดเร็ว แต่จะค่อยๆช้าลง เบาขึ้น จนกระทั่งช็อตสุดท้ายของหนังไม่มีหลงเหลือการเคลื่อนไหวใดๆ นั่นคือ จิตใจของเธอคงได้สงบลงแล้วเสียที

ตัดต่อโดย Claudine Bouché ขาประจำของ Truffaut, เราสามารถแบ่งเรื่องราวของหนังออกเป็น 5 องก์ ตาม 5 ตัวละครที่หญิงสาวทำการฆาตกรรม

การดำเนินเรื่องจะเริ่มจากปริศนาความพิศวง ชวนให้ผู้ชมเกิดข้อสงสัย 5 ประการ
1) หญิงสาวคนนี้คือใคร?
2) จุดประสงค์/แรงจูงใจ เพื่ออะไร?
3) เป้าหมายของเธอคือใคร?
4) เป้าหมายมีทั้งหมดเท่าไหร่?
5) และสุดท้ายจะทำสำเร็จครบหมดหรือไม่

คำตอบเหล่านี้จะค่อยๆได้รับการเฉลยทีละเปราะ ส่วนใหญ่ด้วยการเล่าเรื่องย้อนอดีตในมุมมองของหญิงสาว แต่จะมีตอนเฉลยเป้าหมายพวกเขาเป็นใคร จำต้องเปลี่ยนไปใช้มุมมองของหนึ่งในชายทั้ง 5 คน อธิบายเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น

เพลงประกอบโดย Bernard Herrmann ด้วยความที่เป็นขาประจำของ Alfred Hitchcock กับหนังที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติในสไตล์ Hitchcock จะมีใครอื่นที่เหมาะสมกว่าชายผู้นี้

เราจะได้ยินเพลงประกอบดังขึ้นตลอดแทบทั้งเรื่อง ชี้ชักนำพาอารมณ์ของผู้ชมให้เป็นไปตามเรื่องราวความรู้สึกของหนัง เรียกว่าเป็นความพยายามบิ้ว สร้างบรรยากาศอย่างถึงที่สุดเลย, เราสามารถหลับตาแล้วนั่งฟังเฉพาะเพลงประกอบ ก็ยังสามารถรับรู้อารมณ์ทั้งหมดของหนังได้เลยนะครับ

สำหรับบทเพลงคลาสสิกที่หญิงสาวเปิดในห้องของ Coral คือ Mandolin Concerto in C major, RV 425 ของ Antonio Vivaldi คีตกวีสัญชาติอิตาเลี่ยนเมื่อปี 1725 มีทั้งหมด 3 Movement, นี่เป็นบทเพลงที่มักบรรเลงเคียงคู่กับ Four Seasons เพราะสัมผัสทางอารมณ์ที่คล้ายคลึงใกล้เคียงกัน

เกร็ด: Mandolin เป็นเครื่องดนตรีตระกูล Lute มีสาย 4 คู่ (8 สาย) หรือ 6 คู่ (12 สาย) ลักษณะการเล่นคล้ายการดีดกีตาร์โดยใช้พิค (Pick) เสียงที่เกิดจากแมนโดลินมีความไพเราะ เร้าอารมณ์ได้ดีโดยเฉพาะโศกเศร้าเกี่ยวกับความรัก, มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอิตาลี นิยมแพร่หลายกันในศตววรษที่ 18

ความตั้งใจของผู้กำกับ Truffaut สร้างหนังเรื่องนี้เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูสไตล์ของ Hitchcockian ความคล้ายคลึง อาทิ
– อุบัติเหตุ ความตายของสามีที่อยู่ดีๆก็เกิดขึ้น สร้างความพิศวงสงสัย ทำให้ภรรยาสาวต้องออกเดินทางตามหาความจริง
– ความเข้าใจผิด จับพลัดจับพลู หลายตัวละครที่เป็นผู้บริสุทธิ์แต่ต้องมารับเคราะห์กรรมบางอย่าง
– ลีลาการฆาตกรรม ใช้มุมกล้อง ตัดต่อ เล่นกับภาษาภาพยนตร์ได้อย่างเหนือชั้น
– ความลุ้นระทึกที่จะค่อยๆทวีความตื่นเต้นเร้าใจ คาดการณ์อะไรไม่ได้ บางสิ่งอย่างอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว

แต่สิ่งที่แตกต่าง
– หนังของ Hitchcock จะไม่ค่อยมีการเคลื่อนกล้อง/ซูมเข้าออก หวือหวารุนแรงมากมายขนาดนี้ (แต่ถ้ามองว่านี่คือลายเซ็นต์ของ Truffaut เป็นการทำเพื่อคารวะให้เกียรติก็ยังพอรับได้อยู่)
– ปกติแล้วหนังของ Hitchcock มักต้องมีอธิบายการเกิดขึ้นของทุกสิ่งอย่าง แต่กับเรื่องนี้ทิ้งเหตุผลที่ว่า ทำไมหญิงสาวถึงได้รู้ว่ามีชาย 5 คน แหล่งข่าว ข้อมูลนั้นมาจากไหน?
– เหมือนว่าผู้กำกับพยายามชักจูงให้ผู้ชมสนใจวิธีการทำงาน/แผนฆาตกรรมของหญิงสาว มากกว่าที่จะสร้างบรรยากาศตื่นเต้นลุ้นระทึก พิศวงสงสัย

เพราะนี่คือหนังของ Truffaut ไม่ใช่ของ Hitchcock แม้จะเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ เรียนรู้ศึกษาเข้าใจอย่างถ่องแท้ พยายามนำเสนอในรูปแบบคล้ายคลึง (เลียนแบบ) ใกล้เคียงกันมากที่สุด แต่ไม่วาย ยังไงก็ไม่มีทางเหมือนได้เปะอยู่ดี, ภาพรวมของหนังมองเป็น Homage ก็ถือว่ายังพอรับได้อยู่ ซึ่งผลลัพท์จากการสร้างหนังเรื่องนี้แล้วได้เสียงตอบรับอันเลวร้ายจากนักวิจารณ์ ก็ทำให้ Truffaut รู้ตัวเลยละ ฉันก็คือฉัน ทำไมต้องไปแส่หาเรื่องพยายามทำหนังเลียนแบบคนอื่นด้วย!

สำหรับใจความสำคัญ หลายคนคงตั้งคำถามทางศีลธรรม ‘มีประโยชน์อะไรกับการแก้แค้น?’ แต่หนังไม่ได้ชวนให้เราเกิดความรู้สึกอยากตั้งคำถามนี้เลยนะครับ ด้วยเพราะวิธีการนำเสนอ เล่าเรื่องโดยให้เกิดการลุ้นระทึกของหญิงสาว ว่าเธอจะฆาตกรรมคนที่ฆ่าสามีตนเองสำเร็จได้หรือไม่ ซึ่งทุกครั้งเมื่อทำสำเร็จ ผมเกิดความพึงพอใจขึ้นมากกว่าจะรู้สึกขยะแขยงต่อต้าน

นี่แปลว่าหนังมันไม่ได้มีสาระหรือทำให้ผู้ชมตั้งคำถามอะไรนั้นเลยนะครับ เป็นความพึงพอใจทางอารมณ์ต่อเรื่องราวของการแก้แค้นล้วนๆ นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ Hitchcock ไม่มีวันสร้างหนังแบบนี้ขึ้นแน่ อย่างน้อยที่สุดกับคนสุดท้าย หญิงสาวน่าจะปล่อยเขาไปหรือไม่ก็เกิดการ ‘ให้อภัย’ แบบนี้อาจจะหักมุมคาดไม่ถึงยิ่งกว่า

ส่วนตัวไม่ค่อยชอบหนังเท่าไหร่ อย่างที่บอกไป แทนที่ผู้ชมควรจะรู้สึกขยะแขยงต่อต้านกับการกระทำล้างแค้นนี้ แต่กลับพึงพอใจ ยินดีปรีดาแทนตัวละครที่กระทำสำเร็จ แบบนี้ผมไม่โอเคเท่าไหร่, เว้นกับการแสดงของ Jeanne Moreau ต้องบอกว่าตราตรึง เห็นใจ น่าประทับใจเสียจริง โดดเด่นล้ำค่ากว่าส่วนอื่นใดของหนังโดยแท้

แนะนำกับคอหนังฝรั่งเศส ชื่นชอบแนวฆาตกรรมล้างแค้นอย่างมีศิลปะๆ แฟนๆของผู้กำกับ François Truffaut ในสไตล์ของ Alfred Hitchcock และคนรัก Jeanne Moreau ห้ามพลาดเด็ดขาด

จัดเรต 13+ กับการฆ่าล้างแค้น

TAGLINE | “The Bride Wore Black เป็นหนังที่ Jeanne Moreau ควรสวมชุดดำให้กับ François Truffaut มากกว่า”
QUALITY | THUMB UP
MY SCORE | SO-SO

Our Hospitality (1923)


Our Hospitality

Our Hospitality (1923) hollywood : Buster Keaton, John G. Blystone 

(mini Review) ภาพยนตร์ Masterpiece เรื่องแรกของ Buster Keaton, ความขัดแย้งระหว่าง 2 ครอบครัว ที่ถึงขนาดพ่อต้องเสี้ยมสอนลูกหลานให้เหม็นขี้หน้าศัตรู เจอกันต้องฆ่าให้ตาย แล้วมันจะมีวิธีไหนไหม ที่จะหยุดวงจรอุบาทว์นี้

ผมสองจิตสองใจ จะบอกหรือไม่บอกคำตอบของหนังนี้ดี คือถ้าใช้ Common Sense ก็จะค้นพบคำตอบได้ไม่ยาก… เอาเป็นว่าผมไม่บอกตรงๆแล้วกัน อ่านจากบทความนี้คงรู้ได้ ซึ่งถ้าคุณไม่อยากรู้ 74 นาทีของหนัง แปปเดียวเองนะครับ ไปหาดูเสียก่อน ใน Youtube มีเต็มเรื่อง แล้วค่อยกลับมาอ่านบทวิจารณ์จะได้อรรถรสมากขึ้น

ช่วงแรกๆในวงการภาพยนตร์ Keaton ทำหนังสั้นออกมาประสบความสำเร็จมากมายนับไม่ถ้วน จนถึงเวลาเริ่มต้นกับภาพยนตร์ขนาดยาว, Three Ages (1923) คือภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกที่ Keaton เขียนบท/กำกับ/นำแสดงเอง ประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่ยังไม่ถือว่าถูกใจนักวิจารณ์นัก จนกระทั่งการมาของ Our Hospitality เรื่องถัดมาในปีเดียวกัน ที่ถึงขนาดได้รับการยกย่องว่าเป็น Masterpiece เรื่องแรกของ Keaton เลยทีเดียว

ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริง ความขัดแย้งระหว่าง Hatfield-McCoy สองครอบครัวที่เคยเป็นเพื่อนสนิท แต่ไปๆมาๆเกลียดขี้หน้า พี่น้องฆ่ากันตาย แล้วพ่อเสี้ยมสอนลูกหลานให้รังเกียจฝ่ายตรงข้าม, เหตุการณ์เกิดขึ้นช่วงระหว่างปี 1878 ถึง 1890, แต่ Keaton เปลี่ยนแปลงพื้นหลัง ให้อยู่ในยุค 1830s เพราะขณะนั้นเขามีความสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รถไฟ และต้องการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ หัวรถจักรรุ่นแรกๆที่ออกดำเนินการในอเมริกา

ว่าจ้าง Art Director นักออกแบบ Fred Grabourne ให้สร้างหัวรถจักรจำลอง (Locomotive) ตามแบบต้นฉบับจริง เขาเลือก Stephenson’s Rocket เพราะมันมีลักษณะภายนอกดูตลก (เห็นจากรูปก็รู้สึกว่าดูตลก ประหลาดดีนะครับ), กับสถานที่ถ่ายใช้ทำฉากนี้ เห็นว่าเป็นที่เดียวกับตอนถ่าย The General (1926) [จะว่าการเกิดขึ้นของ The General ได้อิทธิพลมาจากหนังเรื่องนี้ก็ได้]

Stephenson's

สำหรับนางเอก Keaton เลือกภรรยาของเขาขณะนั้น Natalie Talmadge รับบท Virginia (ก็ว่าอยู่ ทำไมดูหลงใหลคลั่งไคล้กันจัง) หญิงสาวเชยๆ ไร้เดียงสา ก็ไม่รู้อีท่าไหนถึงตกหลุมรักพระเอก (คงประมาณเห็นใจ และคิดว่านี่อาจเป็นทางเดียวที่ทำให้ความขัดแย้งของสองครอบครัวยุติลงได้)

นอกจากนี้ Keaton ยังให้พ่อของเขา Joe Keaton รับบท คนขับรถไฟ, และลูกชายที่เพิ่งเกิด Buster Keaton Jr. รับบทเป็น Willie McKay ตอนเพิ่งเกิด, นี่เป็นหนังเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่ ตระกูล Keaton ทั้ง 3 รุ่นเล่นหนังพร้อมกัน

Keaton เป็นนักแสดงที่ขึ้นชื่อเรื่องเล่นฉาก Stunt อันตรายด้วยตนเอง, ระหว่างการถ่ายทำ ในฉากที่ Keaton ตกน้ำและถูกกระแสน้ำพัด เกิดอุบัติเหตุสลิงขาด ทำให้เขาพลัดตกลงไปในแม่น้ำ Truckee River ใช้เวลากว่า 10 นาทีที่ทีมงานจะช่วยเหลือสำเร็จ ถือเป็นบทเรียนความปลอดภัยครั้งใหญ่ ที่ทำให้ Keaton ตัดสินใจสร้างฉากนี้ขึ้นในสตูดิโอที่ Los Angeles ถ่ายทำต่อ จะได้ดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ดีกว่า

ใจความของหนังเรื่องนี้ คือการหาวิธีเพื่อจะทำให้ ความโกรธแค้น อคติ กลายเป็น Hospitality (เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ) มันไม่มีอะไรในโลกที่มนุษย์ให้อภัยกันไม่ได้นะครับ ถ้าเพียงเราไม่ยึดติดกับอารมณ์ ความเจ็บปวดเคียดแค้น ต่อให้ใครมาฆ่าพ่อแม่ ฆ่าภรรยา ฆ่าลูกหลาน ก็ล้วนสามารถมีน้ำใจ ให้อภัย อโหสิกรรมกับเขาได้

สิ่งที่ถือเป็น Ground Breaking ของหนังเรื่องนี้ คือความขบขันเกิดขึ้นจากความตื่นเต้นในสิ่งที่ตัวละครกระทำ อาทิ
– วิธีปั่นจักรยานสมัยก่อน ที่ไม่เหมือนสมัยนี้
– วิธีเก็บฟืนแบบที่ไม่ต้องเสียเวลาตัด (เอาหินขว้างคนขับรถไฟ แล้วเขาจะขว้างฟืนลงมาให้)
– วิธีย้ายลา (donkey=คนโง่) ออกจากรางรถไฟ, vice versa
– วิธีการใส่หมวกสูง บนเพดานรถที่แสนต่ำ (นี่คือเหตุผลทำไมตัวละครของ Keaton ถึงใส่หมวก porkpie)
– วิธีสร้างผู้หญิงจากหลังม้า
ฯลฯ

เหล่านี้คือสิ่งไม่สาระอะไรเลย ในชีวิตจริงคงไม่มีใครคิด-ทำ แต่พอได้รับการนำเสนอออกมา กลับเป็นความขบขันอย่างน่าเหลือเชื่อคาดไม่ถึงว่าสิ่งไร้สาระพวกนี้ จะสร้างความบันเทิงได้มากถึงมากที่สุด

ส่วนตัวค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้มาก ไม่ถึงขั้นตกหลุมรัก แต่ได้หลุดหัวเราะขำขันอยู่หลายที (ผมดูเรื่องนี้ต่อจาก The Cameraman รู้สึกว่าเรื่องนั้นมันไม่ขำเท่าไหร่ ดู Our Hospitality ยังรู้สึกสนุกมากกว่า) มีหลายฉากน่าจดจำ ตราตรึง แต่เพราะหนังเก่าไปหน่อย มันเลยเรียบง่ายธรรมดาไปเสียหาย

นี่ถือเป็นหนังที่แอบใส่สาระดีๆเข้าไป แต่ผู้ชมส่วนใหญ่มักมองข้ามไม่เห็น เพราะมัวแต่หัวเราะขบขัน จนลืมสนใจ ใจความสำคัญของหนัง กระนั้นหนังก็ยังควรค่าแก่การรับชมนะครับ

แนะนำกับแฟนหนังเงียบของ Buster Keaton, แนว Slapstick Comedy ที่ได้หัวเราะยิ้มร่าจนเหนื่อยแน่

จัดเรต PG กับการฆ่าๆแกงๆ

TAGLINE | “Our Hospitality คือ Masterpiece แรกของ Buster Keaton ที่ใส่สาระดีๆไว้ แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าไม่ถึง”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Elle (2016)


Elle

Elle (2016) French : Paul Verhoeven ♥♥♥♥

คงจะมีแต่ผู้กำกับ Paul Verhoeven เท่านั้นกระมังที่สามารถเล่นตลก(แบบไม่ตลก) กับประเด็นการถูกข่มขืนของเพศหญิงได้อย่างลึกล้ำ จริงอยู่มันไม่น่าอภิรมย์เท่าไหร่กับการแสดงของ Isabelle Huppert แต่เธอได้เปิดโลกทัศนคติที่ว่า ถ้าคุณโดนข่มขืนทำไมไม่…

“Shame isn’t a strong enough emotion to stop us doing anything at all,”

การข่มขืน คือลักษณะของเหตุการณ์ประเภทหนึ่งที่เหมือน การเกิดการตาย มีผลกระทบทางจิตใจเป็นอย่างมาก กับคนที่ใช้อารมณ์ในการดำเนินชีวิตย่อมได้รับผลกระทบรุนแรง ไม่ใช่แค่กับตนเอง คนรอบข้างใกล้ตัวมักมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบด้วย

องค์การสหประชาชาติได้ทำการสำรวจ/ประเมินว่า ในปีๆหนึ่ง มีคนถูกข่มขืน (ไม่จำกัดเพศว่าชาย/หญิง) ปีละประมาณ 250,000 คน
– 9 ใน 10 ของผู้ที่ถูกข่มขืน เป็นผู้หญิง
– ผู้หญิง 1 ใน 6 จะตกเป็นเหยื่อการข่มขืน
– ผู้ชาย 1 ใน 33 เป็นเหยื่อการข่มขืน
– 15% ของคดีข่มขืน เกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี โดยช่วงอายุที่มีความเสี่ยงจะถูกล่วงละเมิดมากที่สุดคือ อายุ 12-34 ปี

ถ้านับจำนวนคดีข่มขืนในประเทศไทยติดอันดับ 10 ด้วยสถิติ 5-6 พันคนต่อปี เฉพาะแค่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีผู้หญิงและเด็กถูกกระทำชำเราเฉลี่ย 87 คนต่อวัน หรือทุกๆ 15 นาที จะมีคนถูกข่มขืน 1 คน

reference: https://pantip.com/topic/32308448

คนที่ถูกข่มขืน(แบบไม่สมยอม) ภายหลังเหตุการณ์มักจะตกอยู่ในอาการซึมเศร้า (PTSD) หวาดระแวง เครียด หดหู่ ไม่เป็นอันคิดทำอะไรได้อีกสักพัก เจ็บปวดทางร่างกายไม่นานก็หาย แต่ทางใจหลายคนคงกลายเป็นแผลเป็นติดตัวไปทั้งชีวิต

หนังเรื่องนี้ถือว่าเป็นการตบหน้าคนประเภทนี้ฉาดใหญ่ แล้วไง! ถูกข่มขืนครั้งหนึ่งชีวิตจบสิ้นลงตรงนั้นเลยหรือ? แทนที่จะมองโลกในแง่ร้าย (Negative) กลับมองโลกในเชิงบวก (Positive) ในเชิงประชดเสียดสี ทำไมไม่คิดว่าเดี๋ยวมันก็ผ่านไป จดจำเป็นบทเรียนชีวิตแล้วก้าวเดินต่อไป

ดัดแปลงจากนิยายเรื่อง Oh… เขียนโดย Philippe ตีพิมพ์ปี 2012 ได้รางวัล Prix Interallié (National Literary Award) ของประเทศฝรั่งเศส ดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์โดย David Birke

สร้างโดยผู้กำกับ Paul Verhoeven (เกิดปี 1938) ชาว Dutch ที่มีผลงานดังอย่าง RoboCop (1987), Total Recall (1990), Basic Instinct (1992), Showgirls (1995), Starship Troopers (1997) ฯ เนื่องจากมีชีวิตเติบโตขึ้นในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เขาจดจำภาพความโหดร้ายรุนแรงของสงคราม เป็นปมหลบลึกๆอยู่ในจิตใจ จึงมีความหลงใหลในเรื่องราวเกี่ยวกับความรุนแรง เพศและการเสียดสีสังคม (violent, sexual content และ social satire)

หลังเสร็จจาก Black Book (2006) ชื่อของผู้กำกับ Verhoeven ก็ค่อยๆเงียบหายไป (คงเพราะอายุเข้าเลข 7 จึงเลือกงานมากขึ้น) จนกระทั่งปี 2014 ที่เทศกาลหนังเมือง Cannes เจ้าตัวได้ให้สัมภาษณ์ว่ากำลังซุ่มทำโปรเจคใหม่ เป็นแบบ ‘pure Verhoeven, extremely erotic and perverted.’ และกำลังสรรหานักแสดงนำอยู่

Elle (ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า her, she, หญิงสาว) เป็นเรื่องราว 30 วันของ Michèle Leblanc (รับบทโดย Isabelle Huppert) หลังจากถูกข่มขืนในช่วงสัปดาห์ใกล้วันคริสต์มาส เธอไม่ยอมให้ตัวเองกลายเป็นเหยื่อ (Victim) เพราะพื้นหลังที่มีพ่อเคยทำ… เธอจึงลุกขึ้นเตรียมตัวทำทุกอย่างเพื่อปกป้องตัวเอง ด้วยสัญชาติญาณความหวาดระแวงที่ว่าผู้ร้ายอาจเป็นคนใกล้ตัว และวนเวียนกลับมาหาอีก

ข้อสังเกต: Elle เป็นคำที่มีในชื่อนางเอก Isabelle และ Michèle

Isabelle Anne Madeleine Huppert (เกิดปี 1953) นักแสดงหญิงยอดฝีมือ สัญชาติฝรั่งเศสที่มีผลงานตั้งแต่ปี 1971 ได้รับการเปรียบเทียบว่าเป็น ‘Meryl Streep ของฝรั่งเศส’
– เข้าชิง César Award (รางวัล Oscar ของฝรั่งเศส) 16 ครั้ง (มากที่สุด) ได้มา 2 รางวัลจาก La Ceremonie (1995) กับ Elle (2016),
– ได้ Best Actress จากเทศกาลหนังเมือง Cannes 2 ครั้งจาก Violette Nozière (1978) กับ The Piano Teacher (2001)
– เช่นกันกับ Volpi Cup for Best Actress จากเทศกาลหนังเมือง Venice เรื่อง Story of Women (1988) กับ La Ceremonie (1995)

Michèle เป็นผู้หญิงกร้านโลก เธอมี Lifestyle ที่ถือว่ามาจากความเก็บกด ปมหลังในอดีตที่มีพ่อ… ถือว่าเรื่อง Sex มีความวิตถารอยู่บ้าง แต่ไม่ถึงขั้นใช้ความรุนแรงอย่างโหดเหี้ยม, เธอเป็นเจ้าของบริษัทสร้างเกม(แฟนตาซี)แห่งหนึ่ง เป็นชู้กับสามีเพื่อนร่วมงาน มีแม่ที่อยากแต่งงานใหม่ อดีตสามีคบหญิงสาวจบใหม่ ลูกชายไม่เอาถ่าน ถูกแฟนสาวหลอกแต่งงานอ้างว่าท้องด้วย … เห้อ! ชีวิตมีอะไรดีบ้างเนี่ย แต่นั่นไม่เคยทำให้ Michèle ตกอยู่ในสถานภาพ ‘เหยี่อ’ แต่ยังคงเป็น ‘ผู้ล่า’ ตลอดเวลา

เกร็ด: เห็นว่าในนิยาย Michèle ไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัทสร้างเกม แต่เป็น CEO บริษัทที่รับจ้างเขียนบทสำหรับโทรทัศน์/ภาพยนตร์ ฯ แต่เพราะถ้าคงพื้นหลังนี้ไว้ มันจะมีความยุ่งยาก วุ่นวาย ซับซ้อนเกินไป, ลูกสาวของ Verhoeven เป็นคนเสนอแนะให้เปลี่ยนมาเป็นบริษัทสร้างเกมแทน

การแสดงของ Huppert มีความเฉลียวฉลาด หลักแหลม เฉียบคม ด้วยสายตา ท่าทาง (เชิดคอนิดๆ) คำพูด และการเคลื่อนไหว มีความมั่นใจเป็นตัวของตนเองสูง, คงเพราะบุคลิกนิสัยตัวตนของเธอมีความไม่ยี่หร่ากับอะไร (คล้ายๆกับตัวละคร) และประสบการณ์ส่วนตัวเคยรับบทที่ต้องใช้การวิเคราะห์ตัวละครมานักต่อนัก อาทิ  La Ceremonie (1995), The Piano Teacher (2001) หรือตัวละครที่มีปมอย่าง Amour (2012)

Huppert ไม่ใช่ตัวเลือกแรกของ Verhoeven ที่เล็งนักแสดงอเมริกัน อาทิ Nicole Kidman, Charlize Theron, Julianne Moore, Sharon Stone, Marion Cotillard, Diane Lane, Carice van Houten หรือแม้แต่ Jennifer Jason Leigh แต่กลับไม่มีใครกล้าที่จะเสี่ยง รับบทตัวละครลักษณะนี้เลย (คงหวั่นๆในชื่อเสียงของ Verhoeven ด้วยกระมัง)

แต่จริงๆไม่ใช่ Verhoeven ที่เลือกเธอนะครับ กลับกัน เพราะคนที่สนใจในโปรเจคนี้คนแรกคือ Huppert ที่ได้อ่านนิยายเล่มนี้ แล้วได้ติดต่อโปรดิวเซอร์/นักเขียนบท บอกว่าอยากเล่นหนังเรื่องนี้ ซึ่งเธอได้เอ่ยชื่อ Verhoeven ให้เป็นผู้กำกับตั้งแต่แรกแล้ว

สำหรับนักแสดงสมทบอื่น ถือว่าเต็มไปด้วยยอดฝีมือทั้งนั้น อาทิ
– Christian Berkel นักแสดงสัญชาติเยอรมันที่มีผลงาน อย่าง Downfall (2004), Black Book (2006), Valkyrie (2008), Inglourious Basterds (2009), รับบท Robert สามีเพื่อนร่วมงานที่เป็นชู้กับ Michèle สิ่งที่ตัวละครนี้ต้องการในหนังทั้งเรื่องมีแค่ Sex กับเธอเท่านั้น
– Anne Consigny รับบท Anna เพื่อนสนิทสาว (ที่เป็นเลส) กับ Michèle และเป็นภรรยากับ Robert
– Laurent Lafitte รับบท Patrick เพื่อนบ้านของ Michèle แต่งงานมีภรรยาแล้ว แต่ด้วยความหล่อกระชากใจ ทำให้เธอมีความใคร่ยั่วยวนให้พวกเขามีชู้กัน
– Charles Berling รับบท Richard Casamayou สามีเก่าของ Michèle ที่ไม่เอาถ่าน
– Judith Magre รับบท Irène Leblanc แม่ของ Michèle ที่สนแต่ความสุขในชีวิต Sex ของตนเอง
ฯลฯ

เกร็ด: ผู้กำกับ Verhoeven ตัดสินใจเข้าเรียนคอร์สภาษาฝรั่งเศส เพื่อใช้สื่อสารกับนักแสดงโดยเฉพาะ

ถ่ายภาพโดย Stéphane Fontaine ตากล้องชาวฝรั่งเศสที่มีผลงานอย่าง A Prophet (2011), Captain Fantastic (2016), Jackie (2016) ฯ

หนังเปิดกล้องถ่ายทำตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2015 แต่ต้องหยุดชะงักสักพักเนื่องจากเกิดเหตุการยิงกันที่ Paris (วันที่ 7 มกราคม 2015) ทำให้การถ่ายทำล่าช้าออกไป รวมเวลาแล้ว 10 สัปดาห์ เกือบๆ 3 เดือน

วิธีการถ่ายทำที่ Verhoeven ใช้ ได้แรงบันดาลใจจาก 8½ ของ Federico Fellini คือให้นักแสดงมีการเคลื่อนไหวอย่างมีจังหวะ ทิศทางอย่างพร้อมเพียง (ไม่รู้เปิดเพลงในฉากแบบที่ Fellini ทำด้วยหรือเปล่า) ใช้กล้อง Red Dragon 2 ตัว ถ่ายทำพร้อมๆกัน เพื่อแก้ปัญหาการถ่ายซ้ำๆซากฉากเดิมแต่เปลี่ยนทิศทางแล้วการแสดงแตกต่างออกไป (ลดปริมาณการแสดงฉากเดิมซ้ำๆได้มาก)

สำหรับการแสดงของ Huppert เห็นว่า Verhoeven แทบไม่เคยคุยวิธีการนำเสนอ แสดงออกของตัวละครกันเลย แบบว่าผู้กำกับให้อิสระกับนักแสดงในการสร้างสรรค์ออกมาอย่างเต็มที่ ซึ่งเขาบอกว่า ไม่จำเป็นจริงๆ เพราะทุกสิ่งที่ Huppert แสดงออกมา ยอดเยี่ยมเกินกว่าที่เขาคาดหวังไว้มาก

ตัดต่อโดย Job ter Burg ชาว Dutch ที่เคยร่วมงานกับ Verhoeven ตอน Black Book (2006)

หนังเปิดเรื่องมาด้วยเสียงร้อง แจกันหล่นแตก (จิตใจที่แตกสลาย) แมวดำจ้องมอง (อย่างใสซื่อบริสุทธิ์) และภาพการบังคับข่มขืนของชายใส่หน้ากาก, เมื่อการกระทำชำเราเสร็จสิ้น ชายผู้นั้นจากไป หญิงสาวค่อยๆลุกขึ้นเก็บกวาดแจกัน ถอดเสื้อผ้าเผาทิ้ง ไปอาบน้ำชำระร่างกาย เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เธอกลับไปมีชีวิตอย่างปกติ

หลังฉากแรก หนังทำการแนะนำตัวละครต่างๆที่อยู่ในชีวิตของ Michèle ไล่เรียงเรื่องราว ความสัมพันธ์ไปทีละคนอย่างกระจัดกระจายในมุมมองของเธอ คู่ขนานไปกับการค้นหาไล่ล่าผู้ร้ายที่อาจเป็นคนข่มขืนเธอ, ทุกตัวละครได้มารวมกันใน 2-3 โอกาส
1) งานเลี้ยงคริสต์มาสที่บ้านของ Michèle
2) งานเลี้ยงหลังเกมเสร็จ ที่ไคลน์แม็กซ์ของหนัง

ลักษณะการเล่าเรื่องมีส่วนคล้ายคลึง Belle de jour (1967) กับ Le charme discret de la bourgeoisie (1972) ของ Luis Buñuel อย่างยิ่ง คือแต่ละช่วงแต่ละตัวละคร จะมีการพูดคุยสนทนาแค่ประมาณ 2-3 นาทีต่อฉากเท่านั้น ยกเว้นงานใหญ่ 2-3 โอกาสที่ผมว่ามา จะลากยาวหลายสิบนาที แต่ตัวละครทั้งหลายจะแยกย้ายกันไปพูดคุยสนทนาในงานเลี้ยงโดยรอบ (ซึ่งก็ครั้งละไม่เกิน 2-3 นาทีเช่นกัน) ปกติผมจะเปรียบการเล่าเรื่องลักษณะนี้เหมือนลมหายใจเข้าออก แต่เนื่องจากชื่อหนัง Elle แปลว่าผู้หญิง เลยขอเปรียบเทียบดั่งอารมณ์ของหญิงสาว เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง เดี๋ยวช้าเดี๋ยวเร็ว เรียกว่าอ่านใจไม่ได้ ก็แบบหนังเรื่องนี้

เพลงประกอบโดย Anne Dudley คอมโพเซอร์หญิงชาวอังกฤษ มีผลงานที่ได้ Oscar: Best Original Score จากหนังเรื่อง The Full Monty (1997), ผลงานดังอื่นๆ อาทิ American History X (1998), Black Book (2006), Les Misérables (2012) [เป็น music producer]

ความหลอนของบทเพลง ลุ่มลึกด้วยเปียโน สั่นสะท้านด้วยไวโอลิน สร้างบรรยากาศระทึกขวัญ (Thriller) ลึกลับชวนให้พิศวง ขณะเดียวกันผสมผสานความเจ็บปวดที่อยู่ในขั้วหัวใจ, เสียงอันแหลมของไวโอลินประสานเปรียบเสมือนใบมีดโกน ที่เสียดแทงบาดลึกเข้าไปถึงขั้วของหัวใจ

เพลงประกอบตอนที่ Michèle ถูกข่มขืน ต้องบอกว่าแหลมจี๊ดมากๆ แม้เสียงร้องด้วยความเจ็บปวดของ Huppert จะดังกว่า (ทางกาย) แต่เสียงไวโอลินได้สร้างอีกสัมผัสของความเจ็บปวดที่ลึกกว่า (ทางใจ)

Elle เป็นเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่ง ได้พบเจอกับเหตุการณ์ที่กระทบกระทั่งจิตใจของเธออย่างรุนแรงมานักต่อนัก จนความรู้สึกด้านชาพบว่าไม่มีอะไรในชีวิตที่จะควรค่ากับการแสดงความเจ็บปวดเสียใจ (เราจะไม่เห็น Michèle ร้องไห้เสียน้ำตาสักหยด) การถูกข่มขืน มันก็แค่เหตุการณ์หนึ่งของชีวิต ไม่ได้มีความสลักสำคัญอะไรเท่าการเกิด/การตาย ที่เดี๋ยวมันก็ผ่านพ้นไป แต่ต้องนำความเจ็บปวดนั้นมาเป็นบทเรียนให้กับชีวิต เปลี่ยนแปลงทัศนแนวคิด ให้กลายเป็นคนที่ดีกว่าเดิม สามารถก้าวเดินต่อไปได้

อีกหนึ่งในใจความของหนังคือ แมวไล่จับหนู, Michèle ไล่ล่าหาคนที่ข่มขืนเธอ/ค้นหาคนที่ทำคลิป, แม่หาทางจับผู้ชายแต่งงานใหม่, ลูกชายที่ถูกผู้หญิงไล่จับ (หาพ่อของเด็ก), ชู้ที่หาทางแอบมี Sex กับหญิงสาว, เพื่อนร่วมงานที่หาทางไล่จับหญิงที่สามีมีชู้, แม้แต่สัตว์ประหลาดในเกมที่ไล่ล่าตัวละครหนึ่งเพื่อ… ฯ ทุกตัวละครต่างมีความต้องการบางสิ่งอย่างในชีวิต แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถทำได้สำเร็จ บางคนจากผู้ล่ากลายเป็นเหยื่อ หรือจากผู้ถูกล่ากลายเป็นผู้ล่าเสียเอง ความสัมพันธ์อันวุ่นวายนี้ กับคนที่เคยดูหนังเรื่อง The Rules of the Game (1939) โคตรหนังฝรั่งเศสของผู้กำกับ Jean Renoir มาแล้ว จะมองเห็นถึงความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันในระดับจิตวิญญาณเลยละ

การข่มขืนถือเป็นประเด็นอ่อนไหวในสังคมบ้านเราและหลายๆประเทศ สาเหตุผมมองเห็นเพียง 2 ประการเท่านั้น
1. กับคนที่ถูกข่มขืน แต่งตัวโป๊เปลือย ทำตัวเย่ายวน ปล่อยตัวให้อยู่ในสถานที่/สถานการณ์อันล่อแหลม
2. กับคนที่ข่มขืน ทนต่อสิ่งเร้าเย้ายวน ควบคุมตนเองไม่ได้ มีปัญหาทางจิต ปมในอดีตไม่ได้รับการแก้ไข

ผมไม่ได้อยากพูดสิ่งที่อยู่ในใจออกมาตรงๆ เพราะกับคนที่ถูกข่มขืนย่อมต้องมีความเจ็บชอกช้ำในใจอยู่แล้ว, แต่มันค่อนข้างชัดว่า คนที่ถูกข่มขืนด้วยสาเหตุแรก เกิดจากการทำตัวเองแท้ๆ ไปโทษคนอื่นรวมถึงผู้ที่ข่มขืนตน มันไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย น่าสมเพทสมน้ำหน้าเสียมากกว่า, แต่ถ้าเพราะสาเหตุประการหลัง นี่น่าเห็นใจจริงๆ ทั้งคนที่ข่มขืนและคนถูกข่มขืน

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวในโลกที่สามารถหักห้ามความต้องการของตนเองได้เรียกว่าสัตว์ประเสริฐ แต่ถ้ามนุษย์คนไหนไม่สามารถอดกลั้นสันชาติญาณของตนเองได้ นั่นหมายความว่าอะไรคงไม่ต้องอธิบายกันนะครับ

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยถูกข่มขืน ไม่ว่าจะทางกายหรือทางใจ/ผู้ชายหรือผู้หญิง ดูหนังเรื่องนี้แล้วคิดถามตัวเอง ชีวิตเรานับจากวินาทีนั้นเปลี่ยนไปได้ระดับ Michèle เลยหรือเปล่า? คือถ้าตัดความวิปริตทางเพศของเธอออกไป เรื่องแนวคิด ความหวาดระแวง การป้องกันตัว ยอมรับตัวเอง แม้แต่การพูดคุย เอ่ยถึงเหตุการณ์นั้นต่อหน้าเพื่อนฝูง ผมมองว่าสิ่งที่หนังนำเสนอ เป็นระดับ’เปิดโลกทัศน์’มุมมองความเข้าใจต่อเหตุการณ์นี้เลยละ แทนที่จะนั่งทนทุกข์ซึมเศร้าฟูมฟายแทบเป็นแทบตาย เปลี่ยนมามองโลกในแง่บวก โดนข่มขืนแล้วไง! ก็ไม่ได้เห็นมันจะเลวร้ายเท่าไหร่ มีเรื่องอื่นในชีวิตที่บัดซบกว่านี้มากมาย … นี่ผมเห็นด้วยล้านเปอร์เซ็นต์เลยนะครับ

จริงอยู่ผมไม่เคยเจอเรื่องพรรค์นี้เข้ากับตัวเอง บอกไม่ได้หรอกว่าจะทำใจได้หรือเปล่า แต่ผมมีแนวคิดและความเชื่อมั่นที่ว่า ไม่มีอะไรในโลกที่เลวร้ายไปกว่าการเวียนว่ายตายเกิด ทำบาปแล้วตกนรก ทนทุกข์ทรมานไร้สาระนับแสนนับล้านปี กับเรื่องการถูกข่มขืนแค่นี้ มันเล็กกระจิดริด ชาติก่อนเราคงเคยไปกระทำร้าย หรือข่มขืนคนผู้นั้นมา ชาตินี้เขาจึงตามทวงเอาคืน ถือเป็นกงกรรมของเรา อโหสิให้เขา ให้เขาอโหสิให้เรา แค่นี้แหละครับจะได้ไม่เป็นกงเกวียน ชาติต่อๆไปเมื่อจะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอีก มันจะเบาลง ในวินาทีนั้นสักชาติหนึ่งเขาอาจจะเริ่มมีสติคิดขึ้นมาได้ และยอมปล่อยเราไป เมื่อนั้นถือว่าได้หลุดจากวัฏจักรนี้เสียที

หนังใช้ทุนสร้างประมาณ $9.1 ล้านเหรียญ ทำรายได้ในฝรั่งเศสไปเพียง $4.2 ล้านเหรียญ ต่อให้รวมรายรับทั่วโลกคงไม่ได้กำไรแน่ๆ
– เข้าชิง Oscar 1 สาขา ไม่ได้รางวัล
> Best Actress (Isabelle Huppert)
– Golden Globe Award เข้าชิง 2 สาขา กวาดเรียบ
> Best Foreign Language Film
> Best Actress (Isabelle Huppert)
– César Award เข้าชิง 11 สาขา ได้มา 2 รางวัล
> Best Film ** ได้รางวัล
> Best Director
> Best Actress (Isabelle Huppert) ** ได้รางวัล
> Best Supporting Actor (Laurent Lafitte)
> Best Supporting Actress (Anne Consigny)
> Most Promising Actor (Jonas Bloquet)
> Best Adaptation
> Best Cinematography
> Best Editing
> Best Original Music
> Best Sound

ปกติผมจะไม่ชอบหนังแนวลักษณะนี้ แต่กับเรื่องนี้ถือเป็นข้อยกเว้น เพราะใจความของหนังมีข้อคิดที่ผมรู้สึกว่าเยี่ยมไปเลย มองโลกในมุมที่แตกต่าง แม้มันจะมีฉากรุนแรงชวนให้อึดอัดเกิดขึ้นมากมาย แต่เราจะเห็น’ผลลัพท์’จากการกระทำเช่นนั้นแบบจดจำฝังใจ

ผมละอยากแนะนำหนังเรื่องนี้ให้กับผู้หญิงทุกคนในโลก ร่วมกับ 4 Months, 3 Weeks and 2 Days (2007) ที่สอนความหมายและคุณค่าของ ‘เพศหญิง’ ได้อย่างลึกซึ้งยอดเยี่ยม ที่อาจจะเปลี่ยนทัศนะความคิดของคุณไปโดยสิ้นเชิง

แนะนำอย่างยิ่งกับจิตแพทย์ นักจิตวิทยา ทำงานสังคมสงเคราะห์ ศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจ เพื่อใช้แนะนำกับผู้ป่วย น่าจะเป็นประโยชน์แน่

จัดเรต R กับความรุนแรง การข่มขืน และวิตถาร

TAGLINE | “Elle ของ Paul Verhoeven ได้เปิดโลกทัศน์ของเพศหญิงต่อการถูกข่มขืนได้อย่างถึงใจ ด้วยการแสดงอันสมบูรณ์แบบของ Isabelle Huppert ไร้ที่ติ”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Unforgiven (1992)


unforgiven

Unforgiven (1992) hollywood : Clint Eastwood ♥♥♥♥

แด่ Don Siegel กับ Sergio Leone เพื่อนและอาจารย์ผู้ล่วงลับของ Clint Eastwood, ในยุคที่ภาพยนตร์ตระกูล Cowboy Western กำลังตายจากไป Unforgiven ได้ปลุกผีย้ำเตือนกับชาวโลกว่า หนังแนวนี้จะไม่มีวันจางหาย อย่าเผลอไปสร้างความแค้นอะไรให้กับพวกเขาละ แก่แค่ไหนยังสามารถลุกขึ้นมายิงหัวกระจุยได้, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

วันก่อนได้ดู Logan (2017) หนังแฟนไชร์ X-Men ของ Wolverine ที่เป็นการรับบทครั้งสุดท้ายของ Huge Jackman และ Patrick Stewart, ต้องบอกว่าอดไม่ได้จริงๆที่ต้องเปรียบเทียบกับหนังเรื่องนี้ ด้วยโครงสร้างเรื่องราวที่มีความคล้ายคลึง ตัวละครก็มีปมจากอดีตแบบเดียวกัน แปลว่าต้องได้อิทธิพลแรงบันดาลใจจากหนังเรื่องนี้มาแน่ๆ

Clint Eastwood สร้าง Unforgiven ในช่วงเวลาที่เหมาะสมยิ่งนัก ตัวเขาขณะนั้นอายุ 60 ปี (เกิดปี 1930) ได้เก็บสะสมประสบการณ์จากการแสดงหนังแนวนี้นับไม่ถ้วน โดยเฉพาะจากผู้กำกับ Don Siegel และ Sergio Leone
– Eastwood ร่วมงานกับ Sergio Leone 3 เรื่อง Dollars Trilogy ประกอบด้วย A Fistful of Dollars (1964), For a Few Dollars More (1965) and The Good, the Bad and the Ugly (1966)
– และร่วมงานกับ Siegel ทั้งหมด 5 เรื่อง ประกอบด้วย Coogan’s Bluff (1968), Two Mules for Sister Sara (1970), The Beguiled (1971), Dirty Harry (1971), Escape from Alcatraz (1979)

เหตุที่ Eastwood ผันตัวมาเป็นผู้กำกับ เพราะวัยวุฒิที่เพิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ตัวเขาเริ่มหาการแสดงที่มีความท้าทายไม่ค่อยได้แล้ว และการเป็นผู้กำกับทำให้มีสิทธิ์เลือกสิ่งน่าสนใจได้มากกว่า, การสร้างหนังเรื่องนี้ ถือว่าเป็นการอุทิศให้กับผู้กำกับดังทั้งสอง Leone เสียชีวิตปี 1989 และ Siegel เมื่อปี 1991

เขียนบทโดย David Webb Peoples ที่มีผลงานดังอย่าง The Day After Trinity (1980), Blade Runner (1982), 12 Monkeys (1995) ฯ เห็นว่า Peoples พัฒนาบทหนังเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 1976 แต่ไม่สามารถหาผู้สนใจสร้างได้ Eastwood เองก็เคยอ่านบทหนังนี้ตั้งแต่ปี 1984 แต่ยังไม่มีความสนใจที่จะสร้าง เพราะตัวเองอยากทำอย่างอื่นก่อน จนกระทั่งการเสียชีวิตของ Leone และ Siegel ทำให้เขารู้ตัว ว่าถึงเวลาต้องเริ่มพัฒนาโปรเจคนี้อย่างจริงจังเสียที

ก่อนหน้าที่จะมาสร้างหนังเรื่องนี้ Eastwood มีผลงานกำกับหลากหลายแนวกว่า 10 เรื่อง เริ่มตั้งแต่เรื่องแรก Play Misty for Me (1971) เป็นแนว Psychological Thriller ตัวเขารับบทเป็นคนจัดรายการวิทยุที่ถูกแฟนสาวโรคจิตสะกดรอยติดตาม (Stalker) ฯ, ภาพยนตร์ทั้งหลายที่ Eastwood กำกับมีทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว แต่ยังไม่ได้ถึงจุดที่จะดีพอจะได้รับการยกย่องจดจำ จนกระทั่งการมาของ Unforgiven ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

สำหรับสไตล์การกำกับ นิตยสาร Life สรุปใจความย่อๆว่า ‘สไตล์ของ Eastwood ชอบที่จะถ่ายก่อน การแสดงค่อยว่ากัน คือนิยมให้นักแสดงแสดงออกทางการกระทำมากกว่าใช้คำพูด’

“Eastwood’s style is to shoot first and act afterward. He etches his characters virtually without words. He has developed the art of underplaying to the point that anyone around him who so much as flinches looks hammily histrionic.”

ส่วนประเด็นความสนใจ มักมีเรื่องราวสำรวจคุณค่าทางจริยธรรม (ethical values) มุมมองของความยุติธรรม (justice), ความมีเมตตา (mercy), และความตาย (suicide and the angel of death)

เกร็ด: Eastwood เป็นพวกขวาจัดอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรง ให้การสนับสนุนพรรค Republican อย่างออกนอกหน้า โดยเฉพาะ Donald Trump

ชื่อไทย ‘ไถ่บาปด้วยบุญปืน’ เรื่องราวเกิดขึ้นปี 1880 โสเภณีรายหนึ่งถูกชายสองคนทำร้ายร่างกายจนใบหน้าเสียโฉม เพื่อนของเธอรู้สึกคับแค้นใจจึงประกาศค่าหัวจับตายของเป็นเงินสูงถึง 1,000 เหรียญ ทำให้ William Munny (รับบทโดย Clint Eastwood) คาวบอยสูงวัยที่วางมือจากการดวลปืนมานาน เมื่อได้ยินเรื่องนี้จึงต้องการนำเงินมาเลี้ยงดูครอบครัวของเขา ร่วมมือกับ Ned (รับบทโดย Morgan Freeman) อดีตคู่หูเก่า และคาวบอยหนุ่มตาสั้น Schofield Kid (รับบทโดย Jaimz Woolvett) เพื่อออกติดตามไล่ล่า แต่ถูกขัดขวางโดย Little Bill (รับบทโดย Gene Hackman) นายอำเภอสุดกร่าง พวกเขาจะทำงานนี้ได้สำเร็จหรือไม่

William ‘Will’ Munny เป็นพ่อที่ไม่เอาถ่าน แค่ไล่จับหมูยังหน้าคะมำคลุกขี้ดิน ยากที่ใครจะเชื่อว่าสมัยก่อนเคยเป็นคาวบอยที่มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ ต้องขอบคุณสิบกว่าปีที่ภรรยาได้เสี้ยมสอนตัดเขี้ยวเล็บจากราชสีห์เป็นลูกแมวน้อยกลายเป็นคนธรรมดาทั่วไป (เมียดีเป็นศรีแก่ตนจริงๆ) แต่จนแล้วจนรอดหลังภรรยาจากไป เพราะความยากจน พ่อจึงจำต้องหวนคืนสู่วงการ แม้ตนจะยิงปืนไม่แม่น ขี่ม้าก็ขึ้นแทบไม่ได้ แต่เงินนี้เพื่อลูก ครั้งนี้ครั้งเดียวเท่านั้น

Eastwood รับบทตัวละครนี้ได้น่าสมเพศเห็นใจมากๆ นี่เป็นสิ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับพระเอกหนังคาวบอย ที่ส่วนมากต้องหล่อเท่ห์ยิงปืนแม่นสาวกรี๊ด แต่เรื่องนี้คลุกดินคลุกเลน โดนกระถืบ ป่วยหนักปางตาย มีอะไรดีบ้างเนี่ย แต่มันก็ยังไม่เท่าเมื่อเพื่อนรักถูกฆ่า วินาทีนั้นหยิบเหล้าขึ้นมากระดก มือหยุดสั่น ยิงปืนแม่นยิ่งกว่าจับวาง คงไม่มีใครสามารถเล่นบทนี้ได้ดีกว่าชายที่ชื่อ Clint Eastwood อีกแล้ว

‘Little’ Bill Daggett นายอำเภอสุดกร่าง พื้นหลังของเขาค่อนข้างคลุมเคลือ รู้ว่าเคยเป็นสหายกับ English Bob นี่อาจหมายความว่า Little Bill สมัยยังหนุ่มต้องไม่ธรรมดาทีเดียว, ตรรกะของชายคนนี้คือ ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ ใครก็ตามที่ไม่ปฏิบัติตามกฎของสังคม(ที่เขาเป็นคนออก) ต้องได้รับโทษอย่างสาสม ฟังดูเหมือนเป็นคนดี แต่จิตใจก็มีความเคี้ยวคดอัปลักษณ์ ซาดิสต์โหดเหี้ยม ไม่ไว้หน้าใคร ไม่แคร์อะไรเท่านั้น (จะเรียกว่าหลง’อำนาจ’ก็ยังได้)

Gene Hackman กับบทบาทที่ทำให้ได้ Oscar ตัวที่สอง (ตัวแรกจาก The French Connection) มีความโหดลึกเข้มข้น โดยเฉพาะขณะที่พูดประโยคว่า ‘I don’t deserve this. To die like this. I was building a house.’ จะมีใครเห็นใจตัวละครนี้บ้างละเนี่ย, ก่อนหน้าที่ Eastwood จะเข้ามารับหน้าที่กำกับโปรเจคนี้ Hackman เคยได้รับการติดต่อให้มารับบทนำ ตอบตกลง แต่โปรเจคล่าช้าถอนตัว ภายหลัง Eastwood กลับมาเกลี้ยกล่อมอีกรอบจนยอมรับบท แต่เขามีความวิตกกังวลต่อความรุนแรงที่ถ่ายทอดออกมาของตัวละครนี้ ซึ่งผู้กำกับให้ความเชื่อมั่นบอกว่า หนังไม่ได้มีใจความยกย่องเทิดทูนความรุนแรง แต่จะทำให้เห็นความเลวร้ายของมันมากกว่า

นักแสดงสมทบอื่น อาทิ
– Morgan Freeman รับบท Ned Logan สหายคาวบอยเก่าของ Will ที่ปัจจุบันก็รีไทร์มาหลายปี แต่อ้างว่ายังยืนปืนแม่นเหมือนจับวาง กระนั้นเมื่อถึงเวลาเข้าด้ายเข้าเข็มจริงๆ ก็ไม่สามารถย้อนกลับไปได้อีก
– Jaimz Woolvett รับบท Schofield Kid คาวบอยหนุ่มสายตาสั้นมีดีแค่ปาก แต่ก็ยังใจกล้าทำหน้าที่ของตนเองได้สำเร็จ, สมัยก่อนฉายาคาวบอยจะตั้งโดยคนอื่น แต่เด็กหนุ่มคนนี้ตั้งฉายาให้ตนเอง โลกมันเปลี่ยนไปจริงๆ
– Richard Harris รับบท English Bob หนุ่มอังกฤษแม่นปืน ที่ปากดี(ชอบขี้โม้โอ้อวด)แต่ก็พอมีฝีมืออยู่บ้าง กระนั้นก็ยังเป็นคนปอดแหก (ไม่กล้ารับปืนจาก Beauchamp) ทำให้เป็นได้เพียงกระสอบทรายให้สหายเก่า
– Saul Rubinek รับบท W. W. Beauchamp ชายหนุ่มนักเขียนหนังสือ ชีวิตเขาสนใจแค่ความเท่ห์ของคาวบอยสมัยก่อน จับพลัดจับพลูอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้หนังสือเขาขายดีแน่ๆ

ถ่ายภาพโดย Jack N. Green ที่เข้าวงการจากการชักชวนของ Eastwood มีผลงานแรกร่วมกันตั้งแต่ Heartbreak Ridge (1986)

Eastwood มีความชื่นชอบการจัดแสง low-key และถ่ายโดยใช้ back-lighting (ถ่ายภาพย้อนแสง) ทำให้ภาพค่อนข้างมืด มีกลิ่นอายหนังนัวร์ติดอยู่บ้าง, กับภาพในตำนานของหนัง ไม่ต้องหาไกลคือช็อตแรกขณะ Open-Credit

unforgiven1

ช็อตนี้ช็อตเดียว สามารถอธิบายเรื่องราวของหนังได้ทั้งเรื่อง, โทนสีส้มค่อนไปทางแดง เกิดจากแสงอาทิตย์ที่ใกล้ตกดิน (เป็นสีหลักของหนัง) ต้นไม้สูงใหญ่เดียวดายไร้ใบ (ชีวิตที่โรยรา) บ้านหลังเดียวคือสิ่งที่เหลืออยู่ในชีวิตของพระเอก, ครึ่งล่างของภาพมืดมิด แทนด้วยสิ่งที่อยู่ภายใต้ในจิตใจ เต็มไปด้วยความมืดหม่น อดีตชั่วร้ายที่อยากหลงลืม ชื่อ Unforgiven ไม่สามารถให้อภัยต่อสิ่งที่เคยเกิดได้

ลีลาการเคลื่อนกล้องถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเด่น, หนังของ Eastwood แทบทุกเรื่องจะไม่มีการเคลื่อนไหวที่โฉบเฉี่ยว หรือตัดต่อที่ฉับไว ทุกอย่างจะเนิบนาบใจเย็น ค่อยเป็นค่อยไป เคลื่อนเข้าออกอย่างช้าๆ เพื่อให้ผู้ชมค่อยๆซึมซับสัมผัสบรรยากาศของหนังได้อย่างเต็มอิ่ม

แน่นอนว่า Green ได้เข้าชิง Oscar: Best Cinematography แต่พ่ายให้กับ A River Runs Through It ของ Robert Redford (สาขานี้ถือว่าสูสีมากๆ ใครชนะก็พอรับได้)

ตัดต่อโดย Joel Cox ขาประจำของ Eastwood เข้าชิง Oscar 3 ครั้งจาก Unforgiven (1992), Million Dollar Baby (2004), American Sniper (2014) ได้รางวัลเฉพาะกับหนังเรื่องนี้

มีสองเรื่องราวเกิดขึ้นคู่ขนานกัน ฝั่งของพระเอก และฝั่งของผู้ร้าย, การตัดต่อจะสลับกันทีละเรื่องๆอย่างไม่รีบร้อน มีเพียง 2 ครั้งที่พวกเขาพบเจอกันในฉากเดียว ซึ่งขณะประจันหน้าก็มักจะตัดสลับแบบ 1-1 เช่นกัน (ที่ก็ไม่รีบเร่งเท่าไหร่)

ไฮไลท์อยู่ที่ช่วงท้ายเมื่อพระเอกตัวคนเดียว ประจันหน้ากับศัตรูไม่รู้เท่าไหร่ การตัดต่อเลือกมุมกล้องที่มองเห็นตำแหน่งชัดเจน คือรู้ว่าใครเป็นคนยิง ใครถูกยิง ในมุมมองที่รับรู้ได้ว่าคนโดนยิงเสียชีวิตหรือไม่ (แต่มักจะไม่เห็นขณะถูกยิง) จะมีการทิ้งเวลาสักแปปทุกขณะยิง ไม่ใช่ปุ๊ปปับฉับไวดูไม่รู้เรื่องว่าใครยิงใครแบบหนังสมัยนี้, มันเหมือนว่า ทุกความตายมีความสำคัญ ไม่ใช่สักแต่ยิงๆตายๆ การชะรอความเร็ว ทำให้กลายเป็นภาพติดตาของผู้ชม(และตัวละคร) ให้รับรู้ว่า การฆ่ากันตายไม่ใช่เรื่องน่าอภิรมย์แม้แต่น้อย

เพลงประกอบโดย Lennie Niehaus นักดนตรี แต่งเพลงชาวอเมริกา ถนัดแนว Alto saxophone ร่วมงานทำเพลงประกอบภาพยนตร์กับ Eastwood หลายเรื่องทีเดียว

แต่เพลงหลักของหนัง Claudia’s Theme เสียงกีตาร์ที่ได้ยินนั้น เป็น Clint Eastwood แต่งขึ้นเอง (เพลงนี้เพราะสุดในหนัง) ให้สัมผัสของความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน โหยหวน อดีตอันขื่นขม บางสิ่งอย่างในชีวิตไม่สามารถให้อภัยกันได้ ฯ ถึงคุณไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ เชื่อว่าย่อมต้องเคยได้ยินจากที่ไหนสักที่เป็นแน่

ใจความของหนังเรื่องนี้คือ ‘บางสิ่งอย่างไม่สามารถยกโทษให้อภัย/ลืมเลือนได้’
– อดีตของพระเอก เป็นคนเลวทรามต่ำช้า แม้จะถูกภรรยาเสี้ยมสอนจนเหมือนจะเปลี่ยนมาเป็นคนดีแล้ว แต่ไม่วายหวนกลับมาจับปืน กลายเป็นแบบเดิมอีก
– การทำร้ายโสเภณีจนเสียโฉม พวกเธอไม่สามารถให้อภัยหนุ่มๆพวกนั้นได้
– นายอำเภอฆ่าเพื่อนเก่าเพื่อนรักที่รู้จักมานาน แถมทำให้อับอายขายหน้า เป็นเรื่องให้อภัยไม่ได้เช่นกัน
ฯลฯ

กับหนังเรื่องนี้ เหตุเกิดจากการไม่ยอมให้อภัย ยอมความกันไม่ได้ ทำให้เรื่องราวบานปลายไปจนคนตายเต็มไปหมด, กับคนที่ผมมองว่ามีความผิดที่สุดในหนังเรื่องนี้ คือกลุ่มเพื่อนๆโสเภณีที่เดือดเนื้อร้อนใจแทนเจ้าทุกข์ (คือผมไม่เห็นเจ้าตัวจะเป็นทุกข์เป็นร้อนอะไรเท่าไหร่) การตัดสินของนายอำเภอ Little Bill ในตอนแรกผมว่ายุติธรรมเพียงพอแล้วนะ คือเธอก็แค่เสียโฉมไม่ได้เสียชีวิต แลกมาด้วยม้า 5-6 ตัว ก็เหลือเฟือเพียงพอแล้ว ไม่เห็นจำเป็นต้องฆ่าแกงกันให้ตายไปข้างหนึ่ง

แต่ผมไม่ได้สนับสนุนความรุนแรงของนายอำเภอ Little Bill หลังจากนั้นนะครับ, สำหรับตัวละครนี้ ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย จะถือว่าเป็นพ่อพระเลยละ แต่เมื่อไหร่มีการตายเกิดขึ้น ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ แสดงความโหดเหี้ยมรุนแรงซาดิสต์ออกมาแบบไร้พิกัด

“เพราะการฆ่าคนอื่นตาย เป็นเรื่องที่ให้อภัยไม่ได้”

กับคนอ่านบทความในบล็อคนี้บ่อยๆ น่าจะเห็นผมพูดอยู่เสมอๆว่า “ไม่มีอะไรในโลกที่เราไม่สามารถอโหสิ ยกโทษ ให้อภัยกันไม่ได้” ต่อให้ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ฆ่าคนรัก ฆ่าลูกฆ่าหลาน หรือกระทั่งฆ่าคุณเอง ตายไปก็ยังสามารถอโหสิกรรมไม่ถือโทษโกรธเคืองได้อยู่ เพราะถ้าเรามัวคิดแต่จะล้างแค้นเอาคืน เรื่องมันจะไม่จบแค่ภพชาตินี้ ต่อเนื่องยาวออกไปไม่รู้จักจบจักสิ้น ฉันฆ่าพ่อนาย พอลูกโตขึ้นก็หวนกลับมาล้างแค้นฆ่าพ่อฉัน กลายเป็นวัฏจักรวนเวียนอยู่แบบนี้ จนกว่าจะมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถเริ่มให้อภัยแกกัน วงจรนี้ก็ไม่มีวันจบสิ้น

ในยุคสมัยที่หนัง Western ค่อยๆเสื่อมความนิยมลง และสองผู้กำกับที่ถือเป็น Iconic รุ่นสุดท้ายจากยุคทองได้จากไปแล้ว เราสามารถเปรียบหนังแนว Western ได้กับคนสูงวัยชราภาพใกล้ตาย ที่ห่างร้างจากช่วงวัยหนุ่มแน่นแข็งแกร่ง, กระนั้นอย่าได้ถูกไป คนแก่มากประสบการณ์มีเยอะ เมื่อถูกทำให้จนตรอกใช่ว่าจะหมดสิ้นไร้น้ำยา ยังคงมีฝีมือ เรื่องราว ความยิ่งใหญ่ไม่เป็นสองรองใคร เช่นกันกับหนังแนว Western ถึงกาลเวลาแห่งความยิ่งใหญ่จะได้หมุนเปลี่ยนผ่านไปแล้ว แต่เชื่อว่าสักวันหนึ่ง ต้องสามารถกลับมาครองความยิ่งใหญ่ได้อีกแน่

นี่คือความยิ่งใหญ่ของหนังเรื่องนี้ ที่ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะของหนังแนว Western ในสมัยนั้น จริงอยู่ฉันแก่แล้ว แต่ยังคงไว้ลาย และไม่มีวันตายจากไป

ด้วยทุนสร้าง $14.4 ล้านเหรียญ ใช้เวลา 318 วันถึงทำเงินเกิน $100 ล้านเหรียญ ไม่ยอมตายจริงๆ! (ใช้เวลาทำเงินถึงร้อยล้านนานที่สุด ตามสถิติของ Boxofficemojo) ทำเงินรวมในอเมริกา $101.1 ล้านเหรียญ (เป็นหนังร้อยล้านเรื่องแรกในชีวิตของ Eastwood) รวมทั้งโลก $159.2 ล้านเหรียญ

หนังเข้าชิง Oscar 9 สาขาได้มา 4 รางวัล ประกอบด้วย
– Best Picture ** ได้รางวัล
– Best Director  ** ได้รางวัล
– Best Actor (Clint Eastwood) พ่ายให้กับ Al Pacino จาก Scent of a Woman
– Best Supporting Actor (Gene Hackman) ** ได้รางวัล
– Best Original Screenplay
– Best Cinematography
– Best Film Editing ** ได้รางวัล
– Best Art Direction
– Best Sound

ในปีนั้นมี 4 สาขาของหนังที่ถูก SNUB คือ Best Actor (Clint Eastwood), Best Original Screenplay, Best Cinematography และ Best Art Direction

เกร็ด: มีหนัง Western เพียง 4 เรื่องเท่านั้นที่ได้ Oscar: Best Picture ประกอบด้วย Cimarron (1930/31), Dances With Wolves (1990), Unforgiven (1992) และ No Country For Old Men (2007)

ส่วนตัวค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้ ในบรรยากาศความมืดหม่น การแสดง เพลงประกอบ และกลิ่นอายสไตล์ Cowboy Western แต่ไม่ค่อยชอบความรุนแรงอันบ้าคลั่งในหนังเท่าไหร่ โดยเฉพาะตัวละครของ Gene Hackman ที่ผมรู้สึกมันมากเกินไป (ขนาด 20-30 ปีผ่านไป ยังรู้สึกว่ามันรุนแรงมากอยู่เลย) แต่ถ้าไม่ทำให้รุนแรงขนาดนั้นผู้ชมคงไม่รู้สึกถึงความไม่สมควรยกโทษให้ของตัวละครนี้เป็นแน่

นี่เป็นหนังเรื่องที่ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติการกระทำอะไรบางอย่างที่มีความบ้าคลั่งรุนแรง (ซาดิส/คอรัปชั่น) และไม่ควรกลายเป็นคนหมกมุ่นเรื่องความแค้น จนไม่สามารถให้อภัยใครได้เลย (แม้แต่ตัวเอง)

แนะนำกับคนชื่นชอบหนังสไตล์ Cowboy, Western, Epic ภาพสวยเพลงเพราะ แฟนๆ Clint Eastwood, Gene Hackman, Morgan Freeman, Richard Harris ไม่ควรพลาด

นี่เป็นหนังที่แฝงความรุนแรงอย่างยิ่ง จัดเรต 18+

TAGLINE | “Unforgiven ของ Clint Eastwood ยอดเยี่ยมเกินกว่าจะหลงลืมได้”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE